ค้นว่าอยู่เล่มใด แล้วกด [ctrl]+f หรือใช้คำสั่งของเครื่องหาตำแหน่งในเล่มอีกทีนะครับ



จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อความสะดวก และสวยงาม
(เฉพาะหน้าจอใหญ่ เช่น คอมพิวเตอร์)
กรุณาคลิก จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อให้กรอบ
ค้นข้อความ ปรากฎที่ด้านซ้ายของหน้า

พระไตรปิฎกภาษาไทย
ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม (ปกสีฟ้า)
ทั้งออนไลน์และออฟไลน์
ที่มาของข้อมูล : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มจร.
MCUTRAI Version 1.0

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๐-๑ อภิธรรมปิฎกที่ ๐๗ ปัฏฐาน ภาค ๑

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] มาติกานิกเขปวาร ๑. ปัจจยุทเทส

พระอภิธรรมปิฎก
ธัมมานุโลม ติกปัฏฐาน
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

มาติกานิกเขปวาร
๑. ปัจจยุทเทส

๑. เหตุปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นเหตุ
๒. อารมฺมณปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นอารมณ์
๓. อธิปติปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นอธิบดี
๔. อนนฺตรปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความติดต่อกันไม่มีระหว่างคั่น
๕. สมนนฺตรปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความติดต่อกันไม่มีระหว่างคั่น
ด้วยดี
๖. สหชาตปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเกิดพร้อมกัน
๗. อญฺญมญฺญปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นปัจจัยแก่กันและกัน
๘. นิสฺสยปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นที่อาศัย
๙. อุปนิสฺสยปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นที่อาศัยที่มีกำลัง
๑๐. ปุเรชาตปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเกิดก่อน
๑๑. ปจฺฉาชาตปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเกิดทีหลัง
๑๒. อาเสวนปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเสพบ่อย ๆ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ปัจจยวิภังควาร ๒. ปัจจยนิทเทส

๑๓. กมฺมปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นกรรม
๑๔. วิปากปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นวิบาก
๑๕. อาหารปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นอาหาร
๑๖. อินฺทฺริยปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นอินทรีย์
๑๗. ฌานปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นฌาน
๑๘. มคฺคปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นมรรค
๑๙. สมฺปยุตฺตปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นการประกอบ
๒๐. วิปฺปยุตฺตปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นการไม่ประกอบ
๒๑. อตฺถิปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นภาวะที่ยังมีอยู่
๒๒. นตฺถิปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นภาวะที่ไม่มีอยู่
๒๓. วิคตปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความปราศจากไป
๒๔. อวิคตปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความไม่ปราศจากไป

ปัจจยุทเทส จบ

ปัจจยวิภังควาร
๒. ปัจจยนิทเทส
[๑] เหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยเหตุและ
รูปที่มีธรรมอันสัมปยุตด้วยเหตุนั้นเป็นสมุฏฐานโดยเหตุปัจจัย
[๒] อารัมมณปัจจัย ได้แก่ รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณธาตุและ
สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยจักขุวิญญาณธาตุนั้นโดยอารัมมณปัจจัย
สัททายตนะ เป็นปัจจัยแก่โสตวิญญาณธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
โสตวิญญาณธาตุนั้นโดยอารัมมณปัจจัย
คันธายตนะ เป็นปัจจัยแก่ฆานวิญญาณธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
ฆานวิญญาณธาตุนั้นโดยอารัมมณปัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๒ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ปัจจยวิภังควาร ๒. ปัจจยนิทเทส
รสายตนะเป็นปัจจัยแก่ชิวหาวิญญาณธาตุ และสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
ชิวหาวิญญาณธาตุนั้นโดยอารัมมณปัจจัย
โผฏฐัพพายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
กายวิญญาณธาตุนั้นโดยอารัมมณปัจจัย
รูปายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ และโผฏฐัพพายตนะเป็นปัจจัย
แก่มโนธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้นโดยอารัมมณปัจจัย
สภาวธรรมทั้งปวงเป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
มโนวิญญาณธาตุนั้นโดยอารัมมณปัจจัย
สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิกใด ๆ ปรารภสภาวธรรมใด ๆ เกิดขึ้น สภาว-
ธรรมนั้น ๆ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิกนั้น ๆ โดยอารัมมณปัจจัย
[๓] อธิปติปัจจัย ได้แก่ ฉันทาธิบดีเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุต
ด้วยฉันทะและรูปที่มีธรรมอันสัมปยุตด้วยฉันทะนั้นเป็นสมุฏฐานโดยอธิปติปัจจัย
วิริยาธิบดีเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยวิริยะและรูปที่มีธรรมอันสัมปยุต
ด้วยวิริยะนั้นเป็นสมุฏฐานโดยอธิปติปัจจัย
จิตตาธิบดี เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยจิตและรูปที่มีธรรมอัน
สัมปยุตด้วยจิตนั้นเป็นสมุฏฐานโดยอธิปติปัจจัย
วิมังสาธิบดี เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยวิมังสา และรูปที่มีธรรมอัน
สัมปยุตด้วยวิมังสานั้นเป็นสมุฏฐานโดยอธิปติปัจจัย
สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิกใด ๆ ทำสภาวธรรมใด ๆ ให้เป็นอารมณ์อย่าง
หนักแน่นเกิดขึ้น
สภาวธรรมนั้น ๆ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิกนั้น ๆ โดย
อธิปติปัจจัย
[๔] อนันตรปัจจัย ได้แก่ จักขุวิญญาณธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
จักขุวิญญาณธาตุนั้นเป็นปัจจัยแก่มโนธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนธาตุ
นั้นโดยอนันตรปัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๓ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ปัจจยวิภังควาร ๒. ปัจจยนิทเทส
มโนธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้น เป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณ-
ธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนวิญญาณธาตุนั้นโดยอนันตรปัจจัย
โสตวิญญาณธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยโสตวิญญาณธาตุนั้นเป็นปัจจัย
แก่มโนธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้นโดยอนันตรปัจจัย
มโนธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้น เป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณ-
ธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนวิญญาณธาตุนั้นโดยอนันตรปัจจัย
ฆานวิญญาณธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยฆานวิญญาณธาตุนั้นเป็นปัจจัย
แก่มโนธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้นโดยอนันตรปัจจัย
มโนธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้น เป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณธาตุ
และสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนวิญญาณธาตุนั้นโดยอนันตรปัจจัย
ชิวหาวิญญาณธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยชิวหาวิญญาณธาตุนั้น เป็น
ปัจจัยแก่มโนธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้นโดยอนันตรปัจจัย
มโนธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้น เป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณ-
ธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนวิญญาณธาตุนั้นโดยอนันตรปัจจัย
กายวิญญาณธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยกายวิญญาณธาตุนั้นเป็นปัจจัย
แก่มโนธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้นโดยอนันตรปัจจัย
มโนธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้น เป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณ-
ธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนวิญญาณธาตุนั้นโดยอนันตรปัจจัย
สภาวธรรมที่เป็นกุศลซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นกุศลซึ่งเกิด
หลัง ๆ โดยอนันตรปัจจัย
สภาวธรรมที่เป็นกุศลซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต
ซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอนันตรปัจจัย
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอกุศล
ซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอนันตรปัจจัย


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๔ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ปัจจยวิภังควาร ๒. ปัจจยนิทเทส
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต
ซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอนันตรปัจจัย
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็น
อัพยากฤตซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอนันตรปัจจัย
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นกุศล
ซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอนันตรปัจจัย
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็น
อกุศลซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอนันตรปัจจัย
สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิกใด ๆ เกิดขึ้นในลำดับแห่งสภาวธรรมใด ๆ
สภาวธรรมนั้น ๆ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิกนั้น ๆ โดยอนันตร-
ปัจจัย
[๕] สมนันตรปัจจัย ได้แก่ จักขุวิญญาณธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
จักขุวิญญาณธาตุนั้น เป็นปัจจัยแก่มโนธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนธาตุ
นั้นโดยสมนันตรปัจจัย
มโนธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้น เป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณ-
ธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนวิญญาณธาตุนั้นโดยสมนันตรปัจจัย
โสตวิญญาณธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยโสตวิญญาณธาตุนั้นเป็นปัจจัย
แก่มโนธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้นโดยสมนันตรปัจจัย
มโนธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้น เป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณ-
ธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนวิญญาณธาตุนั้นโดยสมนันตรปัจจัย
ฆานวิญญาณธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยฆานวิญญาณธาตุนั้นเป็นปัจจัย
แก่มโนธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้นโดยสมนันตรปัจจัย
มโนธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้นเป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณ-
ธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนวิญญาณธาตุนั้นโดยสมนันตรปัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๕ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ปัจจยวิภังควาร ๒. ปัจจยนิทเทส
ชิวหาวิญญาณธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยชิวหาวิญญาณธาตุนั้นเป็นปัจจัย
แก่มโนธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้นโดยสมนันตรปัจจัย
มโนธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้นเป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณ-
ธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนวิญญาณธาตุนั้นโดยสมนันตรปัจจัย
กายวิญญาณธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยกายวิญญาณธาตุนั้นเป็นปัจจัย
แก่มโนธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้นโดยสมนันตรปัจจัย
มโนธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้นเป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณ-
ธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนวิญญาณธาตุนั้นโดยสมนันตรปัจจัย
สภาวธรรมที่เป็นกุศลซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นกุศลซึ่งเกิด
หลัง ๆ โดยสมนันตรปัจจัย
สภาวธรรมที่เป็นกุศลซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต
ซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยสมนันตรปัจจัย
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอกุศลซึ่ง
เกิดหลัง ๆ โดยสมนันตรปัจจัย
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต
ซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยสมนันตรปัจจัย
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็น
อัพยากฤตซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยสมนันตรปัจจัย
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นกุศล
ซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยสมนันตรปัจจัย
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอกุศล
ซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยสมนันตรปัจจัย
สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิกใด ๆ เกิดขึ้นในลำดับแห่งสภาวธรรมใด ๆ สภา
วธรรมนั้น ๆ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิกนั้น ๆ โดยสมนันตรปัจจัย


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๖ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ปัจจยวิภังควาร ๒. ปัจจยนิทเทส
[๖] สหชาตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๔ ที่ไม่เป็นรูปเป็นปัจจัยแก่กันและกัน
โดยสหชาตปัจจัย มหาภูตรูป ๔ เป็นปัจจัยแก่กันและกันโดยสหชาตปัจจัยใน
ปฏิสนธิขณะ นามรูป เป็นปัจจัยแก่กันและกันโดยสหชาตปัจจัย
สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิกเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป๑โดยสหชาต-
ปัจจัย มหาภูตรูปเป็นปัจจัยแก่อุปาทายรูปโดยสหชาตปัจจัย สภาวธรรมที่
เป็นรูป บางคราวเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปโดยสหชาตปัจจัย บางคราว
ไม่เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย
[๗] อัญญมัญญปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๔ ที่ไม่เป็นรูปเป็นปัจจัยโดยอัญญมัญญ-
ปัจจัย มหาภูตรูป ๔ เป็นปัจจัยโดยอัญญมัญญปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ นามรูปเป็น
ปัจจัยโดยอัญญมัญญปัจจัย
[๘] นิสสยปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๔ ที่ไม่เป็นรูปเป็นปัจจัยแก่กันและกันโดย
นิสสยปัจจัย มหาภูตรูป ๔ เป็นปัจจัยแก่กันและกันโดยนิสสยปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ
นามรูป เป็นปัจจัยแก่กันและกันโดยนิสสยปัจจัย
สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิกเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยนิสสย-
ปัจจัย มหาภูตรูป เป็นปัจจัยแก่อุปาทายรูปโดยนิสสยปัจจัย
จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย จักขุ-
วิญญาณธาตุนั้นโดยนิสสยปัจจัย
โสตายตนะเป็นปัจจัยแก่โสตวิญญาณธาตุ และสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
โสตวิญญาณธาตุนั้นโดยนิสสยปัจจัย
ฆานายตนะเป็นปัจจัยแก่ฆานวิญญาณธาตุ และสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
ฆานวิญญาณธาตุนั้นโดยนิสสยปัจจัย

เชิงอรรถ :
๑ รูปที่เกิดจากจิตมี ๑๗ คือ วิญญัตติรูป ๒ วิการรูป ๓ อุปจยรูป ๑ สันตติรูป ๑ สัททรูป ๑ ปริจเฉทรูป
๑ และอวินิพโภครูป ๘ (อภิ.สงฺ. ๓๔/๗๖๒๑๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๗ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ปัจจยวิภังควาร ๒. ปัจจยนิทเทส
ชิวหายตนะเป็นปัจจัยแก่ชิวหาวิญญาณธาตุ และสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
ชิวหาวิญญาณธาตุนั้นโดยนิสสยปัจจัย
กายายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณธาตุ และสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
กายวิญญาณธาตุนั้นโดยนิสสยปัจจัย
รูปที่มโนธาตุและมโนวิญญาณธาตุอาศัยเป็นไปเป็นปัจจัยแก่มโนธาตุ มโน-
วิญญาณธาตุ และสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยธาตุทั้ง ๒ นั้นโดยนิสสยปัจจัย
[๙] อุปนิสสยปัจจัย ได้แก่ สภาวธรรมที่เป็นกุศลซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัย
แก่สภาวธรรมที่เป็นกุศลซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอุปนิสสยปัจจัย
สภาวธรรมที่เป็นกุศลซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอกุศลบาง
เหล่าซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอุปนิสสยปัจจัย
สภาวธรรมที่เป็นกุศลซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต
ซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอุปนิสสยปัจจัย
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอกุศลซึ่ง
เกิดหลัง ๆ โดยอุปนิสสยปัจจัย
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นกุศลบาง
เหล่าซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอุปนิสสยปัจจัย
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัพยา-
กฤตซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอุปนิสสยปัจจัย
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็น
อัพยากฤตซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอุปนิสสยปัจจัย
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นกุศล
ซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอุปนิสสยปัจจัย
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็น
อกุศลซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอุปนิสสยปัจจัย
แม้อุตุและโภชนะก็เป็นปัจจัยโดยอุปนิสสยปัจจัย แม้บุคคลก็เป็นปัจจัยโดย
อุปนิสสยปัจจัย แม้เสนาสนะก็เป็นปัจจัยโดยอุปนิสสยปัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๘ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ปัจจยวิภังควาร ๒. ปัจจยนิทเทส
[๑๐] ปุเรชาตปัจจัย ได้แก่ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณธาตุและ
สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยจักขุวิญญาณธาตุนั้นโดยปุเรชาตปัจจัย
โสตายตนะเป็นปัจจัยแก่โสตวิญญาณธาตุ และสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
โสตวิญญาณธาตุนั้นโดยปุเรชาตปัจจัย
ฆานายตนะเป็นปัจจัยแก่ฆานวิญญาณธาตุ และสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
ฆานวิญญาณธาตุนั้นโดยปุเรชาตปัจจัย
ชิวหายตนะเป็นปัจจัยแก่ชิวหาวิญญาณธาตุ และสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
ชิวหาวิญญาณธาตุนั้นโดยปุเรชาตปัจจัย
กายายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณธาตุ และสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
กายวิญญาณธาตุนั้นโดยปุเรชาตปัจจัย
รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณธาตุ และสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
จักขุวิญญาณธาตุนั้นโดยปุเรชาตปัจจัย
สัททายตนะ เป็นปัจจัยแก่โสตวิญญาณธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
โสตวิญญาณธาตุนั้นโดยปุเรชาตปัจจัย
คันธายตนะเป็นปัจจัยแก่ฆานวิญญาณธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยฆาน-
วิญญาณธาตุนั้นโดยปุเรชาตปัจจัย
รสายตนะเป็นปัจจัยแก่ชิวหาวิญญาณธาตุ และสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
ชิวหาวิญญาณธาตุนั้นโดยปุเรชาตปัจจัย
โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
กายวิญญาณธาตุนั้นโดยปุเรชาตปัจจัย
รูปายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ และโผฏฐัพพายตนะเป็นปัจจัย
แก่มโนธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้นโดยปุเรชาตปัจจัย
รูปที่มโนธาตุและมโนวิญญาณธาตุอาศัยเป็นไปเป็นปัจจัยแก่มโนธาตุ และ
สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้นโดยปุเรชาตปัจจัย บางคราวเป็นปัจจัยแก่
มโนวิญญาณธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนวิญญาณธาตุนั้นโดยปุเรชาตปัจจัย
บางคราวไม่เป็นปัจจัยโดยปุเรชาตปัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๙ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ปัจจยวิภังควาร ๒. ปัจจยนิทเทส
[๑๑] ปัจฉาชาตปัจจัย ได้แก่ สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิกซึ่งเกิดภายหลัง
เป็นปัจจัยแก่กายนี้ซึ่งเกิดก่อนโดยปัจฉาชาตปัจจัย
[๑๒] อาเสวนปัจจัย ได้แก่ สภาวธรรมที่เป็นกุศลซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัย
แก่สภาวธรรมที่เป็นกุศลซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอาเสวนปัจจัย
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอกุศลซึ่ง
เกิดหลัง ๆ โดยอาเสวนปัจจัย
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากตกิริยาซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็น
อัพยากตกิริยาซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอาเสวนปัจจัย
[๑๓] กัมมปัจจัย ได้แก่ กรรมที่เป็นกุศลและอกุศลเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็น
วิบากและกฏัตตารูปโดยกัมมปัจจัย
เจตนา เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตและรูปมีสภาวธรรมนั้นเป็นสมุฏฐาน
โดยกัมมปัจจัย
[๑๔] วิปากปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๔ ที่เป็นวิบาก ซึ่งไม่เป็นรูป เป็นปัจจัยแก่
กันและกันโดยวิปากปัจจัย
[๑๕] อาหารปัจจัย ได้แก่ กวฬิงการาหารเป็นปัจจัยแก่กายนี้โดยอาหาร-
ปัจจัย อาหารที่ไม่เป็นรูปเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตและรูปซึ่งมีสภาวธรรม
นั้นเป็นสมุฏฐานโดยอาหารปัจจัย
[๑๖] อินทรียปัจจัย ได้แก่ จักขุนทรีย์เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณธาตุ และ
สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยจักขุวิญญาณธาตุนั้นโดยอินทรียปัจจัย
โสตินทรีย์เป็นปัจจัยแก่โสตวิญญาณธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยโสต-
วิญญาณธาตุนั้นโดยอินทรียปัจจัย
ฆานินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่ฆานวิญญาณธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยฆาน-
วิญญาณธาตุนั้นโดยอินทรียปัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๐ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ปัจจยวิภังควาร ๒. ปัจจยนิทเทส
ชิวหินทรีย์เป็นปัจจัยแก่ชิวหาวิญญาณธาตุ และสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
ชิวหาวิญญาณธาตุนั้นโดยอินทรียปัจจัย
กายินทรีย์เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณธาตุ และสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
กายวิญญาณธาตุนั้นโดยอินทรียปัจจัย
รูปชีวิตินทรีย์เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปโดยอินทรียปัจจัย
อินทรีย์ที่ไม่เป็นรูปเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุต และรูปซึ่งมีสภาวธรรม
นั้นเป็นสมุฏฐานโดยอินทรียปัจจัย
[๑๗] ฌานปัจจัย ได้แก่ องค์ฌานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
ฌานและรูปซึ่งมีสภาวธรรมนั้นเป็นสมุฏฐานโดยฌานปัจจัย
[๑๘] มัคคปัจจัย ได้แก่ องค์มรรคเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
มรรคและรูปซึ่งมีสภาวธรรมนั้นเป็นสมุฏฐานโดยมัคคปัจจัย
[๑๙] สัมปยุตตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๔ ที่ไม่เป็นรูปเป็นปัจจัยแก่กันและกัน
โดยสัมปยุตตปัจจัย
[๒๐] วิปปยุตตปัจจัย ได้แก่ สภาวธรรมที่เป็นรูปเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่ไม่เป็นรูปโดยวิปปยุตตปัจจัย
สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูป เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นรูปโดยวิปปยุตตปัจจัย
[๒๑] อัตถิปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๔ ที่ไม่เป็นรูปเป็นปัจจัยแก่กันและกันโดย
อัตถิปัจจัย
มหาภูตรูป ๔ เป็นปัจจัยแก่กันและกันโดยอัตถิปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ นามรูป
เป็นปัจจัยแก่กันและกันโดยอัตถิปัจจัย สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิกเป็นปัจจัย
แก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย มหาภูตรูปเป็นปัจจัยแก่อุปาทายรูปโดย
อัตถิปัจจัย
จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณธาตุ และสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
จักขุวิญญาณธาตุนั้นโดยอัตถิปัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๑ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ปัจจยวิภังควาร ๒. ปัจจยนิทเทส
โสตายตนะ เป็นปัจจัยแก่โสตวิญญาณธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
โสตวิญญาณธาตุนั้นโดยอัตถิปัจจัย
ฆานายตนะ เป็นปัจจัยแก่ฆานวิญญาณธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
ฆานวิญญาณธาตุนั้นโดยอัตถิปัจจัย
ชิวหายตนะ เป็นปัจจัยแก่ชิวหาวิญญาณธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
ชิวหาวิญญาณธาตุนั้นโดยอัตถิปัจจัย
กายายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
กายวิญญาณธาตุนั้นโดยอัตถิปัจจัย
รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยจักขุ-
วิญญาณธาตุนั้นโดยอัตถิปัจจัย
สัททายตนะ เป็นปัจจัยแก่โสตวิญญาณธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
โสตวิญญาณธาตุนั้นโดยอัตถิปัจจัย
คันธายตนะ เป็นปัจจัยแก่ฆานวิญญาณธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
ฆานวิญญาณธาตุนั้นโดยอัตถิปัจจัย
รสายตนะ เป็นปัจจัยแก่ชิวหาวิญญาณธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
ชิวหาวิญญาณธาตุนั้นโดยอัตถิปัจจัย
โผฏฐัพพายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
กายวิญญาณธาตุนั้นโดยอัตถิปัจจัย
รูปายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ และโผฏฐัพพายตนะเป็นปัจจัย
แก่มโนธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้นโดยอัตถิปัจจัย
รูปที่มโนธาตุ และมโนวิญญาณธาตุอาศัยเป็นไป เป็นปัจจัยแก่มโนธาตุ
มโนวิญญาณธาตุ และสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยธาตุทั้ง ๒ นั้นโดยอัตถิปัจจัย
[๒๒] นัตถิปัจจัย ได้แก่ สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิกที่ดับไปไม่มีระหว่าง
คั่นด้วยดีเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิกที่เป็นปัจจุบันโดยนัตถิปัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๒ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ปัจจยวิภังควาร ๒. ปัจจยนิทเทส
[๒๓] วิคตปัจจัย ได้แก่ สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิกที่ปราศจากไปไม่มี
ระหว่างคั่นด้วยดี เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิกที่เป็นปัจจุบันโดย
วิคตปัจจัย
[๒๔] อวิคตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๔ ที่ไม่เป็นรูป เป็นปัจจัยแก่กันและกันโดย
อวิคตปัจจัย
มหาภูตรูป ๔ เป็นปัจจัยแก่กันและกันโดยอวิคตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ
นามรูป เป็นปัจจัยแก่กันและกันโดยอวิคตปัจจัย สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิก
เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยอวิคตปัจจัย
มหาภูตรูป เป็นปัจจัยแก่อุปาทายรูปโดยอวิคตปัจจัย
จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
จักขุวิญญาณธาตุนั้นโดยอวิคตปัจจัย
โสตายตนะ เป็นปัจจัยแก่โสตวิญญาณธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
โสตวิญญาณธาตุนั้นโดยอวิคตปัจจัย
ฆานายตนะ เป็นปัจจัยแก่ฆานวิญญาณธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
ฆานวิญญาณธาตุนั้นโดยอวิคตปัจจัย
ชิวหายตนะ เป็นปัจจัยแก่ชิวหาวิญญาณธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
ชิวหาวิญญาณธาตุนั้นโดยอวิคตปัจจัย
กายายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
กายวิญญาณธาตุนั้นโดยอวิคตปัจจัย
รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
จักขุวิญญาณธาตุนั้นโดยอวิคตปัจจัย
สัททายตนะ เป็นปัจจัยแก่โสตวิญญาณธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
โสตวิญญาณธาตุนั้นโดยอวิคตปัจจัย
คันธายตนะ เป็นปัจจัยแก่ฆานวิญญาณธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
ฆานวิญญาณธาตุนั้นโดยอวิคตปัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๓ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ปุจฉาวาร ๑. ปัจจยานุโลม
รสายตนะ เป็นปัจจัยแก่ชิวหาวิญญาณธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
ชิวหาวิญญาณธาตุนั้นโดยอวิคตปัจจัย
โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
กายวิญญาณธาตุนั้นโดยอวิคตปัจจัย
รูปายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ และโผฏฐัพพายตนะ เป็น
ปัจจัยแก่มโนธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้นโดยอวิคตปัจจัย
รูปที่มโนธาตุและมโนวิญญาณธาตุอาศัยเป็นไป เป็นปัจจัยแก่มโนธาตุ
มโนวิญญาณธาตุ และสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยธาตุทั้ง ๒ นั้นโดยอวิคตปัจจัย
ปัจจยนิทเทส จบ

ปุจฉาวาร
๑. ปัจจยานุโลม
เอกมูลกนัย ๑. กุสลบท
[๒๕] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลพึงเกิดขึ้นเพราะ
เหตุปัจจัยได้บ้างไหม
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลพึงเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย
ได้บ้างไหม
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลพึงเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย
ได้บ้างไหม
สภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลพึงเกิดขึ้น
เพราะเหตุปัจจัยได้บ้างไหม
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลพึง
เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยได้บ้างไหม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๔ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ปุจฉาวาร ๑. ปัจจยานุโลม
สภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลพึงเกิดขึ้นเพราะ
เหตุปัจจัยได้บ้างไหม
สภาวธรรมที่เป็นกุศลที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศล
พึงเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยได้บ้างไหม

๒. อกุสลบท
[๒๖] สภาวธรรมที่เป็นอกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลพึงเกิดขึ้นเพราะ
เหตุปัจจัยได้บ้างไหม
สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลพึงเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย
ได้บ้างไหม
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลพึงเกิดขึ้นเพราะ
เหตุปัจจัยได้บ้างไหม
สภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลพึงเกิดขึ้น
เพราะเหตุปัจจัยได้บ้างไหม
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลพึงเกิด
ขึ้นเพราะเหตุปัจจัยได้บ้างไหม
สภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลพึงเกิดขึ้น
เพราะเหตุปัจจัยได้บ้างไหม
สภาวธรรมที่เป็นกุศลที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็น
อกุศลพึงเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยได้บ้างไหม

๓. อัพยากตบท
[๒๗] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตพึงเกิดขึ้น
เพราะเหตุปัจจัยได้บ้างไหม
สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตพึงเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย
ได้บ้างไหม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๕ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ปุจฉาวาร ๑. ปัจจยานุโลม
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตพึงเกิดขึ้นเพราะ
เหตุปัจจัยได้บ้างไหม
สภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต
พึงเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยได้บ้างไหม
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต
พึงเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยได้บ้างไหม
สภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตพึง
เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยได้บ้างไหม
สภาวธรรมที่เป็นกุศลที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็น
อัพยากฤตพึงเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยได้บ้างไหม

๔. กุสลาพยากตบท
[๒๘] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤต
พึงเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยได้บ้างไหม
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤตพึง
เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยได้บ้างไหม
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤต
พึงเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยได้บ้างไหม
สภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่
เป็นอัพยากฤตพึงเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยได้บ้างไหม
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่
เป็นอัพยากฤต พึงเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยได้บ้างไหม
สภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็น
อัพยากฤตพึงเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยได้บ้างไหม
สภาวธรรมที่เป็นกุศลที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็น
กุศลและที่เป็นอัพยากฤตพึงเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยได้บ้างไหม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๖ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ปุจฉาวาร ๑. ปัจจยานุโลม
๕. อกุสลาพยากตบท
[๒๙] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤต
พึงเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยได้บ้างไหม
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤตพึงเกิด
ขึ้นเพราะเหตุปัจจัยได้บ้างไหม
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤตพึง
เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยได้บ้างไหม
สภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลและที่
เป็นอัพยากฤตพึงเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยได้บ้างไหม
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลและ
ที่เป็นอัพยากฤต พึงเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยได้บ้างไหม
สภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลและที่เป็น
อัพยากฤตพึงเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยได้บ้างไหม
สภาวธรรมที่เป็นกุศลที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็น
อกุศลและที่เป็นอัพยากฤตพึงเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยได้บ้างไหม

๖. กุสลากุสลบท
[๓๐] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอกุศลพึง
เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยได้บ้างไหม
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอกุศลพึงเกิดขึ้น
เพราะเหตุปัจจัยได้บ้างไหม
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอกุศลพึง
เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยได้บ้างไหม
สภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่
เป็นอกุศลพึงเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยได้บ้างไหม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๗ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ปุจฉาวาร ๑. ปัจจยานุโลม
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่
เป็นอกุศลพึงเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยได้บ้างไหม
สภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็น
อกุศลพึงเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยได้บ้างไหม
สภาวธรรมที่เป็นกุศลที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็น
กุศลและที่เป็นอกุศลพึงเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยได้บ้างไหม

๗. กุสลากุสลาพยากตบท
[๓๑] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศล ที่เป็นอกุศล และ
ที่เป็นอัพยากฤตพึงเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยได้บ้างไหม
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศล ที่เป็นอกุศล และที่เป็น
อัพยากฤตพึงเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยได้บ้างไหม
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศล ที่เป็นอกุศล และที่
เป็นอัพยากฤตพึงเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยได้บ้างไหม
สภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศล ที่เป็น
อกุศล และที่เป็นอัพยากฤตพึงเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยได้บ้างไหม
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศล ที่
เป็นอกุศล และที่เป็นอัพยากฤตพึงเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยได้บ้างไหม
สภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศล ที่เป็นอกุศล
และที่เป็นอัพยากฤตพึงเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยได้บ้างไหม
สภาวธรรมที่เป็นกุศลที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศล
ที่เป็นอกุศล และที่เป็นอัพยากฤตพึงเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยได้บ้างไหม
เหตุปัจจยวาร จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๘ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ปุจฉาวาร ๑. ปัจจยานุโลม
[๓๒] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลพึงเกิดขึ้นเพราะ
อารัมมณปัจจัยได้บ้างไหม
(แม้อารัมมณปัจจัยก็พึงอธิบายให้พิสดารเหมือนเหตุปัจจัยตามแนวแห่งคำสอน)
[๓๓] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลพึงเกิดขึ้นเพราะ
อธิปติปัจจัยได้บ้างไหม
... เพราะอนันตรปัจจัย เพราะสมนันตรปัจจัย เพราะสหชาตปัจจัย เพราะ
อัญญมัญญปัจจัย เพราะนิสสยปัจจัย เพราะอุปนิสสยปัจจัย เพราะปุเรชาตปัจจัย
เพราะปัจฉาชาตปัจจัย เพราะอาเสวนปัจจัย เพราะกัมมปัจจัย เพราะวิปากปัจจัย
เพราะอาหารปัจจัย เพราะอินทรียปัจจัย เพราะฌานปัจจัย เพราะมัคคปัจจัย
เพราะสัมปยุตตปัจจัย เพราะวิปปยุตตปัจจัย เพราะอัตถิปัจจัย เพราะนัตถิปัจจัย
เพราะวิคตปัจจัยได้บ้างไหม
[๓๔] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลพึงเกิดขึ้นเพราะ
อวิคตปัจจัยได้บ้างไหม ฯลฯ อาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศล ฯลฯ อาศัยสภาวธรรม
ที่เป็นอัพยากฤต ฯลฯ อาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤต ฯลฯ
อาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤต ฯลฯ อาศัยสภาวธรรมที่เป็น
กุศลและที่เป็นอกุศล ฯลฯ
สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศล ที่เป็นอกุศล และที่เป็น
อัพยากฤตพึงเกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมที่เป็นอกุศลพึงเกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรม
ที่เป็นอัพยากฤตพึงเกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤตพึงเกิดขึ้น
ฯลฯ สภาวธรรมที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤตพึงเกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมที่
เป็นกุศลและที่เป็นอกุศลพึงเกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมที่เป็นกุศลที่เป็นอกุศลและที่
เป็นอัพยากฤตพึงเกิดขึ้นเพราะอวิคตปัจจัยได้บ้างไหม
(แม้อวิคตปัจจัยก็พึงอธิบายให้พิสดารเหมือนเหตุปัจจัยตามแนวแห่งคำสอน)
เอกมูลกนัย จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๙ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ปุจฉาวาร ๑. ปัจจยานุโลม
ทุมูลกนัยเป็นต้น
เหตุมูลกนัย
[๓๕] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลพึงเกิดขึ้นเพราะ
เหตุปัจจัย เพราะอารัมมณปัจจัยได้บ้างไหม ฯลฯ สภาวธรรมที่เป็นกุศลที่เป็น
อกุศลและที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤต
พึงเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย เพราะอารัมมณปัจจัยได้บ้างไหม
[๓๖] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลพึงเกิดขึ้นเพราะ
เหตุปัจจัย เพราะอธิปติปัจจัยได้บ้างไหม ฯลฯ เพราะเหตุปัจจัย เพราะอนันตรปัจจัย
ฯลฯ เพราะเหตุปัจจัย เพราะสมนันตรปัจจัย ฯลฯ เพราะเหตุปัจจัย เพราะ
อวิคตปัจจัยได้บ้างไหม

ทุมูลกนัย จบ
[๓๗] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลพึงเกิดขึ้นเพราะ
เหตุปัจจัย เพราะอารัมมณปัจจัย เพราะอธิปติปัจจัยได้บ้างไหม ฯลฯ เพราะ
เหตุปัจจัย เพราะอารัมมณปัจจัย เพราะอนันตรปัจจัย ฯลฯ เพราะเหตุปัจจัย
เพราะอารัมมณปัจจัย เพราะอวิคตปัจจัยได้บ้างไหม

ติมูลกนัย จบ
[๓๘] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลพึงเกิดขึ้นเพราะ
เหตุปัจจัย เพราะอารัมมณปัจจัย เพราะอธิปติปัจจัย เพราะอนันตรปัจจัยได้บ้างไหม
ฯลฯ เพราะเหตุปัจจัย เพราะอารัมมณปัจจัย เพราะอธิปติปัจจัย เพราะอวิคตปัจจัย
ได้บ้างไหม

จตุมูลกนัย จบ
(ท่านได้ย่อปัญจมูลกนัยเป็นต้นไว้แล้ว ผู้รู้พึงอธิบายเอกมูลกนัย ทุมูลกนัย
ติมูลกนัย จตุมูลกนัย ปัญจมูลกนัย สัพพมูลกนัยของบทแต่ละบทให้พิสดาร)
เหตุมูลกนัย จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๒๐ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ปุจฉาวาร ๑. ปัจจยานุโลม
อารัมมณมูลกนัยเป็นต้น
[๓๙] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลพึงเกิดขึ้นเพราะ
อารัมมณปัจจัย เพราะเหตุปัจจัยได้บ้างไหม เพราะอารัมมณปัจจัย เพราะอธิปติ-
ปัจจัย ฯลฯ เพราะอารัมมณปัจจัย เพราะอวิคตปัจจัยได้บ้างไหม
สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลพึงเกิดขึ้นเพราะอธิปติปัจจัย
ได้บ้างไหม เพราะอนันตรปัจจัย เพราะสมนันตรปัจจัย เพราะสหชาตปัจจัย
เพราะอัญญมัญญปัจจัย เพราะอวิคตปัจจัย เพราะเหตุปัจจัย เพราะอวิคตปัจจัย
เพราะอารัมมณปัจจัย เพราะอวิคตปัจจัย เพราะอธิปติปัจจัย ฯลฯ เพราะ
อวิคตปัจจัย เพราะวิคตปัจจัยได้บ้างไหม

ทุมูลกนัย จบ
[๔๐] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลพึงเกิดขึ้นเพราะ
อวิคตปัจจัย เพราะเหตุปัจจัย เพราะอารัมมณปัจจัยได้บ้างไหม เพราะอวิคตปัจจัย
เพราะเหตุปัจจัย เพราะอธิปติปัจจัย เพราะอวิคตปัจจัย เพราะเหตุปัจจัย เพราะ
อนันตรปัจจัย ฯลฯ เพราะอวิคตปัจจัย เพราะเหตุปัจจัย เพราะวิคตปัจจัยได้
บ้างไหม
[๔๑] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลพึงเกิดขึ้นเพราะ
อวิคตปัจจัย เพราะเหตุปัจจัย เพราะอารัมมณปัจจัย เพราะอธิปติปัจจัยได้บ้างไหม
เพราะอวิคตปัจจัย เพราะเหตุปัจจัย เพราะอารัมมณปัจจัย เพราะอนันตรปัจจัย
ฯลฯ เพราะวิคตปัจจัยได้บ้างไหม
(ผู้รู้พึงอธิบายเอกมูลกนัย ทุมูลกนัย ติมูลกนัย จตุมูลกนัย ปัญจมูลกนัย
สัพพมูลกนัยของบทแต่ละบทให้พิสดาร)
อนุโลมมีนัยอันลึกซึ้ง ๖ ประการ คือ
๑. ติกปัฏฐาน ๒. ทุกปัฏฐาน
๓. ทุกติกปัฏฐาน ๔. ติกทุกปัฏฐาน
๕. ติกติกปัฏฐาน ๖. ทุกทุกปัฏฐาน
แต่ละปัฏฐานประเสริฐสูงสุด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๒๑ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ปุจฉาวาร ๒. ปัจจยปัจจนียะ
๒. ปัจจยปัจจนียะ
[๔๒] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลพึงเกิดขึ้นเพราะ
นเหตุปัจจัย๑ ได้บ้างไหม
(พึงอธิบายนเหตุปัจจัยแม้ในปัจจนียะให้พิสดารเหมือนเหตุปัจจัยในอนุโลม)
[๔๓] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลพึงเกิดขึ้นเพราะ
นอารัมมณปัจจัยได้บ้างไหม เพราะนอธิปติปัจจัย เพราะนอนันตรปัจจัย เพราะ
นสมนันตรปัจจัย เพราะนสหชาตปัจจัย เพราะนอัญญมัญญปัจจัย เพราะ
นนิสสยปัจจัย เพราะนอุปนิสสยปัจจัย เพราะนปุเรชาตปัจจัย เพราะนปัจฉาชาต-
ปัจจัย เพราะนอาเสวนปัจจัย เพราะนกัมมปัจจัย เพราะนวิปากปัจจัย เพราะ
นอาหารปัจจัย เพราะนอินทรียปัจจัย เพราะนฌานปัจจัย เพราะนมัคคปัจจัย
เพราะนสัมปยุตตปัจจัย เพราะนวิปปยุตตปัจจัย เพราะโนอัตถิปัจจัย เพราะ
โนนัตถิปัจจัย เพราะโนวิคตปัจจัย เพราะโนอวิคตปัจจัยได้บ้างไหม
[๔๔] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลพึงเกิดขึ้นเพราะนเหตุ-
ปัจจัย เพราะนอารัมมณปัจจัยได้บ้างไหม
(แม้ในปัจจนียะ ผู้รู้พึงอธิบายเอกมูลกนัย ทุมูลกนัย ติมูลกนัย จตุมูลกนัย
จนถึงเตวีสติมูลกนัยของบทแต่ละบทให้พิสดารเหมือนในอนุโลม)
ปัจจนียะมีนัยอันลึกซึ้ง ๖ ประการ คือ
๑. ติกปัฏฐาน ๒. ทุกปัฏฐาน
๓. ทุกติกปัฏฐาน ๔. ติกทุกปัฏฐาน
๕. ติกติกปัฏฐาน ๖. ทุกทุกปัฏฐาน
แต่ละปัฏฐานประเสริฐสูงสุด

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงปัจจัยอื่น ๆ ตามสมควรที่ไม่ใช่เหตุปัจจัย แม้อารัมมณปัจจัยเป็นต้นก็พึงทราบโดยนัยนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๒๒ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ปุจฉาวาร ๓. ปัจจยานุโลมปัจจนียะ
๓. ปัจจยานุโลมปัจจนียะ
[๔๕] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลพึงเกิดขึ้นเพราะ
เหตุปัจจัย เพราะนอารัมมณปัจจัยได้บ้างไหม
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลพึงเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย
เพราะนอารัมมณปัจจัยได้บ้างไหม
(แม้ในอนุโลมปัจจนียะ ผู้รู้พึงอธิบายบทให้พิสดารเหมือนกับเหตุปัจจัยใน
อนุโลม)
[๔๖] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลพึงเกิดขึ้นเพราะ
เหตุปัจจัย เพราะนอธิปติปัจจัยได้บ้างไหม เพราะเหตุปัจจัย เพราะนอนันตรปัจจัย
ฯลฯ เพราะเหตุปัจจัย เพราะโนอวิคตปัจจัยได้บ้างไหม
[๔๗] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลพึงเกิดขึ้นเพราะ
เหตุปัจจัย เพราะอารัมมณปัจจัย เพราะนอธิปติปัจจัยได้บ้างไหม เพราะเหตุปัจจัย
เพราะอารัมมณปัจจัย เพราะนอนันตรปัจจัย ฯลฯ เพราะเหตุปัจจัย เพราะ
อารัมมณปัจจัย เพราะโนอวิคตปัจจัยได้บ้างไหม
... เพราะเหตุปัจจัย เพราะอารัมมณปัจจัย เพราะอธิปติปัจจัย เพราะ
นอนันตรปัจจัย ฯลฯ เพราะเหตุปัจจัย เพราะอารัมมณปัจจัย เพราะอธิปติปัจจัย
เพราะโนอวิคตปัจจัยได้บ้างไหม
... เพราะเหตุปัจจัย เพราะอารัมมณปัจจัย เพราะอธิปติปัจจัย เพราะอนันตร-
ปัจจัย เพราะนสมนันตรปัจจัย ฯลฯ เพราะเหตุปัจจัย เพราะอารัมมณปัจจัย
เพราะอธิปติปัจจัย เพราะอนันตรปัจจัย เพราะโนอวิคตปัจจัย ฯลฯ
... เพราะเหตุปัจจัย เพราะอารัมมณปัจจัย เพราะอธิปติปัจจัย เพราะ
อนันตรปัจจัย เพราะสมนันตรปัจจัย เพราะสหชาตปัจจัย เพราะอัญญมัญญปัจจัย
เพราะนิสสยปัจจัย เพราะอุปนิสสยปัจจัย เพราะปุเรชาตปัจจัย เพราะ
ปัจฉาชาตปัจจัย เพราะอาเสวนปัจจัย เพราะกัมมปัจจัย เพราะวิปากปัจจัย
เพราะอาหารปัจจัย เพราะอินทรียปัจจัย เพราะฌานปัจจัย เพราะมัคคปัจจัย
เพราะสัมปยุตตปัจจัย เพราะวิปปยุตตปัจจัย เพราะอัตถิปัจจัย เพราะนัตถิปัจจัย
เพราะวิคตปัจจัย เพราะโนอวิคตปัจจัยได้บ้างไหม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๒๓ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ปุจฉาวาร ๔. ปัจจยปัจจนียานุโลม
[๔๘] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลพึงเกิดขึ้นเพราะ
อารัมมณปัจจัยได้บ้างไหม
... เพราะอธิปติปัจจัย เพราะอนันตรปัจจัย ฯลฯ เพราะอวิคตปัจจัย เพราะ
นเหตุปัจจัย เพราะอวิคตปัจจัย เพราะนอารัมมณปัจจัย ฯลฯ เพราะอวิคตปัจจัย
เพราะโนวิคตปัจจัยได้บ้างไหม
... เพราะอวิคตปัจจัย เพราะเหตุปัจจัย เพราะนอารัมมณปัจจัย ฯลฯ เพราะ
อวิคตปัจจัย เพราะเหตุปัจจัย เพราะโนวิคตปัจจัยได้บ้างไหม
... เพราะอวิคตปัจจัย เพราะเหตุปัจจัย เพราะอารัมมณปัจจัย เพราะ
นอธิปติปัจจัย ฯลฯ เพราะอวิคตปัจจัย เพราะเหตุปัจจัย เพราะอารัมมณปัจจัย
เพราะโนวิคตปัจจัยได้บ้างไหม
... เพราะอวิคตปัจจัย เพราะเหตุปัจจัย เพราะอารัมมณปัจจัย เพราะ
อธิปติปัจจัย เพราะอนันตรปัจจัย เพราะสมนันตรปัจจัย เพราะสหชาตปัจจัย ฯลฯ
เพราะโนวิคตปัจจัยได้บ้างไหม
อนุโลมปัจจนียะมีนัยอันลึกซึ้ง ๖ ประการ คือ
๑. ติกปัฏฐาน ๒. ทุกปัฏฐาน
๓. ทุกติกปัฏฐาน ๔. ติกทุกปัฏฐาน
๕. ติกติกปัฏฐาน ๖. ทุกทุกปัฏฐาน
แต่ละปัฏฐานประเสริฐสูงสุด

๔. ปัจจยปัจจนียานุโลม
[๔๙] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลพึงเกิดขึ้นเพราะ
นเหตุปัจจัย เพราะอารัมมณปัจจัยได้บ้างไหม
สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลพึงเกิดขึ้นเพราะนเหตุปัจจัย
เพราะอธิปติปัจจัย ฯลฯ เพราะนเหตุปัจจัย เพราะอวิคตปัจจัยได้บ้างไหม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๒๔ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ปุจฉาวาร ๔. ปัจจยปัจจนียานุโลม
[๕๐] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลพึงเกิดขึ้นเพราะ
นเหตุปัจจัย เพราะนอารัมมณปัจจัย เพราะอธิปติปัจจัย ฯลฯ เพราะอวิคตปัจจัย
ได้บ้างไหม
... เพราะนเหตุปัจจัย เพราะนอารัมมณปัจจัย เพราะนอธิปติปัจจัย ฯลฯ
เพราะอวิคตปัจจัยได้บ้างไหม เพราะนเหตุปัจจัย เพราะนอารัมมณปัจจัย เพราะ
นอธิปติปัจจัย เพราะนอนันตรปัจจัย เพราะนสมนันตรปัจจัย ฯลฯ เพราะโนอัตถิ-
ปัจจัย เพราะโนนัตถิปัจจัย เพราะโนวิคตปัจจัย เพราะอวิคตปัจจัยได้บ้างไหม
[๕๑] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลพึงเกิดขึ้นเพราะ
นอารัมมณปัจจัย เพราะเหตุปัจจัยได้บ้างไหม
[๕๒] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลพึงเกิดขึ้นเพราะ
นอารัมมณปัจจัย เพราะอธิปติปัจจัย ฯลฯ เพราะนอารัมมณปัจจัย เพราะ
อวิคตปัจจัย ฯลฯ เพราะโนอวิคตปัจจัย เพราะเหตุปัจจัย เพราะโนอวิคตปัจจัย
เพราะอารัมมณปัจจัย ฯลฯ เพราะโนอวิคตปัจจัย เพราะวิคตปัจจัยได้บ้างไหม
... เพราะโนอวิคตปัจจัย เพราะนเหตุปัจจัย เพราะอารัมมณปัจจัย ฯลฯ
เพราะโนอวิคตปัจจัย เพราะนเหตุปัจจัย เพราะวิคตปัจจัยได้บ้างไหม
... เพราะโนอวิคตปัจจัย เพราะนเหตุปัจจัย เพราะนอารัมมณปัจจัย เพราะ
นอธิปติปัจจัย ฯลฯ เพราะโนอัตถิปัจจัย เพราะโนนัตถิปัจจัย เพราะวิคตปัจจัย
ได้บ้างไหม
ปัจจนียานุโลมมีนัยอันลึกซึ้ง ๖ ประการ คือ
๑. ติกปัฏฐาน ๒. ทุกปัฏฐาน
๓. ทุกติกปัฏฐาน ๔. ติกทุกปัฏฐาน
๕. ติกติกปัฏฐาน ๖. ทุกทุกปัฏฐาน
แต่ละปัฏฐานประเสริฐสูงสุด
ปัณณัตติวาร จบ
ปัจจัย ๒๓ ในนิทเทสวาร จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๒๕ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร
๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร
๑. ปัจจยานุโลม ๑. วิภังควาร
อนุโลม เหตุปัจจัย
[๕๓] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดขึ้นเพราะเหตุ-
ปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น
ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย
ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น (๒)
สภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดขึ้น
เพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น
ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป
อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น (๓)
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย
ได้แก่ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น
ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย
ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น (๒)
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น
เพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น
ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป
อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น (๓)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเกิดขึ้นเพราะ
เหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๒๖ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร
และที่เป็นอัพยากตกิริยาเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น
ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๓ และ
กฏัตตารูปอาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบากเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ และกฏัตตารูปอาศัย
ขันธ์ ๓ เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ และกฏัตตารูปอาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น หทัยวัตถุอาศัย
ขันธ์เกิดขึ้น ขันธ์อาศัยหทัยวัตถุเกิดขึ้น มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น
มหาภูตรูป ๑ อาศัยมหาภูตรูป ๓ เกิดขึ้น มหาภูตรูป ๒ อาศัยมหาภูตรูป ๒ เกิดขึ้น
จิตตสมุฏฐานรูป และกฏัตตารูปที่เป็นอุปาทายรูปอาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤต
เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นกุศลและอาศัย
มหาภูตรูปเกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤต
เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นอกุศลและอาศัย
มหาภูตรูปเกิดขึ้น (๑)

อารัมมณปัจจัย
[๕๔] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดขึ้นเพราะ
อารัมมณปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ อาศัย
ขันธ์ ๓ เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลเกิดขึ้นเพราะอารัมมณ-
ปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์ ๓
เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเกิดขึ้นเพราะ
อารัมมณปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบากและที่เป็น
อัพยากตกิริยาเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น
ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบากเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ อาศัย
ขันธ์ ๓ เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น ขันธ์อาศัยหทัยวัตถุเกิดขึ้น (๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๒๗ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร
อธิปติปัจจัย
[๕๕] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดขึ้นเพราะอธิปติ-
ปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น
ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดขึ้นเพราะอธิปติปัจจัย
ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น (๒)
สภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดขึ้น
เพราะอธิปติปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศล
เกิดขึ้น ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ และ
จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น (๓)
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลเกิดขึ้นเพราะอธิปติปัจจัย
ได้แก่ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น
ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลเกิดขึ้นเพราะอธิปติ-
ปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น (๒)
สภาวธรรมที่เป็นอกุศล และที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศล
เกิดขึ้นเพราะอธิปติปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็น
อกุศลเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ และ
จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น (๓)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเกิดขึ้นเพราะ
อธิปติปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากต-
วิบากและอัพยากตกิริยาเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๓ เกิด
ขึ้น ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น มหาภูตรูป ๓ อาศัย
มหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น มหาภูตรูป ๑ อาศัยมหาภูตรูป ๓ เกิดขึ้น มหาภูตรูป
๒ อาศัยมหาภูตรูป ๒ เกิดขึ้น จิตตสมุฏฐานรูปที่เป็นอุปาทายรูปอาศัยมหาภูตรูป
เกิดขึ้น (๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๒๘ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤต
เกิดขึ้นเพราะอธิปติปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นกุศลและอาศัย
มหาภูตรูปเกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤต
เกิดขึ้นเพราะอธิปติปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นอกุศลและ
อาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น (๑)

อนันตรปัจจัยและสมนันตรปัจจัย
[๕๖] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดขึ้นเพราะอนันตร-
ปัจจัย เพราะสมนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น
(อนันตรปัจจัยและสมนันตรปัจจัยเหมือนกับอารัมมณปัจจัย)

สหชาตปัจจัย
[๕๗] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดขึ้นเพราะสหชาต-
ปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น
ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดขึ้นเพราะสหชาต-
ปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น (๒)
สภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดขึ้น
เพราะสหชาตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศล
เกิดขึ้น ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ และ
จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น (๓)
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลเกิดขึ้นเพราะสหชาตปัจจัย
ได้แก่ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น
ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลเกิดขึ้นเพราะสหชาต-
ปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น (๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๒๙ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร
สภาวธรรมที่เป็นอกุศล และที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศล
เกิดขึ้นเพราะสหชาตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็น
อกุศลเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ และ
จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น (๓)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเกิดขึ้นเพราะ
สหชาตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากต-
วิบากและที่เป็นอัพยากตกิริยาเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๓
เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น ในปฏิสนธิขณะ
ขันธ์ ๓ และกฏัตตารูปอาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบากเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ และ
กฏัตตารูปอาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ และกฏัตตารูปอาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น
หทัยวัตถุอาศัยขันธ์เกิดขึ้น ขันธ์อาศัยหทัยวัตถุเกิดขึ้น มหาภูตรูป ๓ อาศัย
มหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น มหาภูตรูป ๑ อาศัยมหาภูตรูป ๓ เกิดขึ้น มหาภูตรูป ๒
อาศัยมหาภูตรูป ๒ เกิดขึ้น จิตตสมุฏฐานรูปและกฏัตตารูปที่เป็นอุปาทายรูป
อาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ ที่เป็นภายนอกเกิดขึ้น
มหาภูตรูป ๑ อาศัยมหาภูตรูป ๓ เกิดขึ้น มหาภูตรูป ๒ อาศัยมหาภูตรูป ๒
เกิดขึ้น อุปาทายรูปอาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑
ที่มีอาหารเป็นสมุฏฐานเกิดขึ้น มหาภูตรูป ๑ อาศัยมหาภูตรูป ๓ เกิดขึ้น
มหาภูตรูป ๒ อาศัยมหาภูตรูป ๒ เกิดขึ้น อุปาทายรูปอาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น
มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ ที่มีอุตุเป็นสมุฏฐานเกิดขึ้น มหาภูตรูป ๑ อาศัย
มหาภูตรูป ๓ เกิดขึ้น มหาภูตรูป ๒ อาศัยมหาภูตรูป ๒ เกิดขึ้น อุปาทายรูป
อาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น สำหรับเหล่าอสัญญสัตตพรหม มหาภูตรูป ๓ อาศัย
มหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น มหาภูตรูป ๑ อาศัยมหาภูตรูป ๓ เกิดขึ้น มหาภูตรูป
๒ อาศัยมหาภูตรูป ๒ เกิดขึ้น กฏัตตารูปที่เป็นอุปาทายรูปอาศัยมหาภูตรูป
เกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤต
เกิดขึ้นเพราะสหชาตปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นกุศลและอาศัย
มหาภูตรูปเกิดขึ้น (๑)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๓๐ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤต
เกิดขึ้นเพราะสหชาตปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นอกุศลและอาศัย
มหาภูตรูปเกิดขึ้น (๑)

อัญญมัญญปัจจัย
[๕๘] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดขึ้นเพราะอัญญ-
มัญญปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์ ๓
เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลเกิดขึ้นเพราะอัญญมัญญ-
ปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์ ๓
เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเกิดขึ้นเพราะ
อัญญมัญญปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบากและที่เป็น
อัพยากตกิริยาเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น
ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๓ และหทัยวัตถุอาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบากเกิดขึ้น
ขันธ์ ๑ และหทัยวัตถุอาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ และหทัยวัตถุอาศัยขันธ์ ๒
เกิดขึ้น หทัยวัตถุอาศัยขันธ์เกิดขึ้น ขันธ์อาศัยหทัยวัตถุเกิดขึ้น มหาภูตรูป
๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น มหาภูตรูป ๑ อาศัยมหาภูตรูป ๓ เกิดขึ้น
มหาภูตรูป ๒ อาศัยมหาภูตรูป ๒ เกิดขึ้น ที่เป็นภายนอก ... ที่มีอาหารเป็น
สมุฏฐาน ... ที่มีอุตุเป็นสมุฏฐาน ... สำหรับเหล่าอสัญญสัตตพรหม มหาภูตรูป
๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น มหาภูตรูป ๑ อาศัยมหาภูตรูป ๓ เกิดขึ้น
มหาภูตรูป ๒ อาศัยมหาภูตรูป ๒ เกิดขึ้น (๑)

นิสสยปัจจัย
[๕๙] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดขึ้นเพราะนิสสย-
ปัจจัย ได้แก่ ... อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศล (นิสสยปัจจัยเหมือนกับสหชาตปัจจัย)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๓๑ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร
อุปนิสสยปัจจัย
[๖๐] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดขึ้นเพราะอุป-
นิสสยปัจจัย ได้แก่ ... อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศล (อุปนิสสยปัจจัยเหมือนกับ
อารัมมณปัจจัย)

ปุเรชาตปัจจัย
[๖๑] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดขึ้นเพราะปุเรชาต-
ปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์ ๓
เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น ขันธ์อาศัยหทัยวัตถุเกิดขึ้นเพราะ
ปุเรชาตปัจจัย (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลเกิดขึ้นเพราะปุเรชาต-
ปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์ ๓
เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น ขันธ์อาศัยหทัยวัตถุเกิดขึ้นเพราะปุเรชาต-
ปัจจัย (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเกิดขึ้นเพราะ
ปุเรชาตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบากและที่เป็น
อัพยากตกิริยาเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น
ขันธ์อาศัยหทัยวัตถุเกิดขึ้นเพราะปุเรชาตปัจจัย (๑)

อาเสวนปัจจัย
[๖๒] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดขึ้นเพราะอาเสวน-
ปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น
ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลเกิดขึ้นเพราะอาเสวน-
ปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์ ๓
เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น (๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๓๒ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเกิดขึ้นเพราะ
อาเสวนปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตกิริยาเกิดขึ้น ขันธ์ ๑
อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น (๑)

กัมมปัจจัย
[๖๓] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดขึ้นเพราะกัมมปัจจัย
ได้แก่ ... อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศล ... มี ๓ วาระ

... อาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศล ... มี ๓ วาระ /l

สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเกิดขึ้นเพราะ
กัมมปัจจัย ได้แก่ ... อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบากและที่เป็นอัพยากตกิริยา
ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น ฯลฯ
จิตตสมุฏฐานรูป และกฏัตตารูปที่เป็นอุปาทายรูปอาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น สำหรับ
เหล่าอสัญญสัตตพรหม มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น ฯลฯ
กฏัตตารูปที่เป็นอุปาทายรูปอาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤต
เกิดขึ้นเพราะกัมมปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นกุศลและอาศัย
มหาภูตรูปเกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤต
เกิดขึ้นเพราะกัมมปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นอกุศลและอาศัย
มหาภูตรูปเกิดขึ้น (๑)

วิปากปัจจัย
[๖๔] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเกิดขึ้น
เพราะวิปากปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็น
อัพยากตวิบากเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น ขันธ์ ๒
และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๓ และกฏัตตารูป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๓๓ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร
อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบากเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ และกฏัตตารูปอาศัยขันธ์ ๓
เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ และกฏัตตารูปอาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น หทัยวัตถุอาศัยขันธ์เกิดขึ้น
ขันธ์อาศัยหทัยวัตถุเกิดขึ้น มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น มหาภูตรูป
๑ อาศัยมหาภูตรูป ๓ เกิดขึ้น มหาภูตรูป ๒ อาศัยมหาภูตรูป ๒ เกิดขึ้น
จิตตสมุฏฐานรูปและกฏัตตารูปที่เป็นอุปาทายรูปอาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น (๑)

อาหารปัจจัย
[๖๕] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดขึ้นเพราะอาหาร-
ปัจจัย ได้แก่ ... อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศล ... มี ๓ วาระ
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลเกิดขึ้นเพราะอาหาร-
ปัจจัย ได้แก่ ... อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศล ... มี ๓ วาระ
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเกิดขึ้นเพราะ
อาหารปัจจัย ได้แก่ ... อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบากและที่เป็นอัพยากตกิริยา
ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น ฯลฯ
จิตตสมุฏฐานรูปและกฏัตตารูปที่เป็นอุปาทายรูปอาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น ... อาศัย
มหาภูตรูป ๑ ที่มีอาหารเป็นสมุฎฐาน ฯลฯ อุปาทายรูปอาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น (๑)

... อาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤต ฯลฯ (๑)

สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤต
เกิดขึ้นเพราะอาหารปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นอกุศลและ
อาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น (๑)

อินทรียปัจจัย
[๖๖] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดขึ้นเพราะอินทรีย-
ปัจจัย ได้แก่ ... อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศล ... มี ๓ วาระ

... อาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศล ... มี ๓ วาระ
... อาศัยสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต ฯลฯ สำหรับเหล่าอสัญญสัตตพรหม ...

อาศัยมหาภูตรูป ๑ ฯลฯ (อินทรียปัจจัยเหมือนกับกัมมปัจจัย)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๓๔ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร
ฌานปัจจัยและมัคคปัจจัย
[๖๗] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดขึ้นเพราะฌานปัจจัย
... เพราะมัคคปัจจัย
(ฌานปัจจัยและมัคคปัจจัยเหมือนกับเหตุปัจจัย)

สัมปยุตตปัจจัย
[๖๘] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดขึ้นเพราะสัมปยุตต-
ปัจจัย ได้แก่ ... อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศล ... (สัมปยุตตปัจจัยเหมือนกับ
อารัมมณปัจจัย)

วิปปยุตตปัจจัย
[๖๙] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดขึ้นเพราะวิปปยุตต-
ปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น
ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น ขันธ์อาศัยหทัยวัตถุเกิดขึ้นเพราะวิปปยุตตปัจจัย (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดขึ้นเพราะวิปปยุตต-
ปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น จิตตสมุฏฐานรูปอาศัย
ขันธ์เกิดขึ้นเพราะวิปปยุตตปัจจัย (๒)
สภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดขึ้น
เพราะวิปปยุตตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็น
กุศลเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ และ
จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น ขันธ์อาศัยหทัยวัตถุเกิดขึ้นเพราะวิปปยุตต-
ปัจจัย จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์เกิดขึ้นเพราะวิปปยุตตปัจจัย (๓)
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลเกิดขึ้นเพราะวิปปยุตต-
ปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น
ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น ขันธ์อาศัยหทัยวัตถุเกิดขึ้นเพราะวิปปยุตตปัจจัย (๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๓๕ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลเกิดขึ้นเพราะวิปปยุตต-
ปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น จิตตสมุฏฐานรูปอาศัย
ขันธ์เกิดขึ้นเพราะวิปปยุตตปัจจัย (๒)
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลเกิด
ขึ้นเพราะวิปปยุตตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็น
อกุศลเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ และ
จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น ขันธ์อาศัยหทัยวัตถุเกิดขึ้นเพราะวิปปยุตต-
ปัจจัย จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์เกิดขึ้นเพราะวิปปยุตตปัจจัย (๓)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเกิดขึ้นเพราะ
วิปปยุตตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากต-
วิบากและที่เป็นอัพยากตกิริยาเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๓
เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น ขันธ์อาศัยหทัยวัตถุเกิด
ขึ้นเพราะวิปปยุตตปัจจัย จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์เกิดขึ้นเพราะวิปปยุตตปัจจัย
ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๓ และกฏัตตารูปอาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบากเกิดขึ้น
ขันธ์ ๑ และกฏัตตารูปอาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ และกฏัตตารูปอาศัยขันธ์ ๒
เกิดขึ้น ขันธ์อาศัยหทัยวัตถุเกิดขึ้นเพราะวิปปยุตตปัจจัย กฏัตตารูปอาศัยขันธ์เกิด
ขึ้นเพราะวิปปยุตตปัจจัย หทัยวัตถุอาศัยขันธ์เกิดขึ้น ขันธ์อาศัยหทัยวัตถุเกิดขึ้น
ขันธ์อาศัยหทัยวัตถุเกิดขึ้นเพราะวิปปยุตตปัจจัย หทัยวัตถุอาศัยขันธ์เกิดขึ้นเพราะ
วิปปยุตตปัจจัย มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น มหาภูตรูป ๑ อาศัย
มหาภูตรูป ๓ เกิดขึ้น มหาภูตรูป ๒ อาศัยมหาภูตรูป ๒ เกิดขึ้น จิตตสมุฏฐานรูป
และกฏัตตารูปที่เป็นอุปาทายรูปอาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น จิตตสมุฏฐานรูปและ
กฏัตตารูปที่เป็นอุปาทายรูปอาศัยขันธ์เกิดขึ้นเพราะวิปปยุตตปัจจัย (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤต
เกิดขึ้นเพราะวิปปยุตตปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นกุศลและอาศัย
มหาภูตรูปเกิดขึ้น จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์เกิดขึ้นเพราะวิปปยุตตปัจจัย (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤต
เกิดขึ้นเพราะวิปปยุตตปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นอกุศลและ
อาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์เกิดขึ้นเพราะวิปปยุตตปัจจัย (๑)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๓๖ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร
อัตถิปัจจัย
[๗๐] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดขึ้นเพราะอัตถิปัจจัย
ได้แก่ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น (ย่อ) (อัตถิปัจจัยเหมือนกับ
สหชาตปัจจัย)

นัตถิปัจจัยและวิคตปัจจัย
[๗๑] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดขึ้นเพราะนัตถิปัจจัย
เพราะวิคตปัจจัย (นัตถิปัจจัยและวิคตปัจจัยเหมือนกับอารัมมณปัจจัย)

อวิคตปัจจัย
[๗๒] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดขึ้นเพราะอวิคตปัจจัย
ได้แก่ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น (อวิคตปัจจัยเหมือนกับสหชาตปัจจัย)
(ผู้สาธยายพึงขยายปัจจัย ๒๓ เหล่านี้ให้พิสดาร)

๑. ปัจจยานุโลม ๒. สังขยาวาร
คณนเหตุมูลกนัย

[๗๓] เหตุปัจจัย มี ๙ วาระ
อารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ
อธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ
อนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ
สมนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ
สหชาตปัจจัย มี ๙ วาระ
อัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ
นิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ
อุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๓๗ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร

ปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ
อาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ
กัมมปัจจัย มี ๙ วาระ
วิปากปัจจัย มี ๑ วาระ
อาหารปัจจัย มี ๙ วาระ
อินทรียปัจจัย มี ๙ วาระ
ฌานปัจจัย มี ๙ วาระ
มัคคปัจจัย มี ๙ วาระ
สัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ
วิปปยุตตปัจจัย มี ๙ วาระ
อัตถิปัจจัย มี ๙ วาระ
นัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ
วิคตปัจจัย มี ๓ วาระ
อวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ

ทุกนัย

[๗๔] อารัมมณปัจจัย กับเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ
อธิปติปัจจัย ” มี ๙ วาระ
อนันตรปัจจัย ” มี ๓ วาระ
สมนันตรปัจจัย ” มี ๓ วาระ
สหชาตปัจจัย ” มี ๙ วาระ
อัญญมัญญปัจจัย ” มี ๓ วาระ
นิสสยปัจจัย ” มี ๙ วาระ
อุปนิสสยปัจจัย ” มี ๓ วาระ
ปุเรชาตปัจจัย ” มี ๓ วาระ
อาเสวนปัจจัย ” มี ๓ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๓๘ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร

กัมมปัจจัย กับเหตุปัจจัย มี ๙ วาระ
วิปากปัจจัย ” มี ๑ วาระ
อาหารปัจจัย ” มี ๙ วาระ
อินทรียปัจจัย ” มี ๙ วาระ
ฌานปัจจัย ” มี ๙ วาระ
มัคคปัจจัย ” มี ๙ วาระ
สัมปยุตตปัจจัย ” มี ๓ วาระ
วิปปยุตตปัจจัย ” มี ๙ วาระ
อัตถิปัจจัย ” มี ๙ วาระ
นัตถิปัจจัย ” มี ๓ วาระ
วิคตปัจจัย ” มี ๓ วาระ
อวิคตปัจจัย ” มี ๙ วาระ

ติกนัย

[๗๕] อธิปติปัจจัย กับเหตุปัจจัยและอารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ
อนันตรปัจจัย ” ” มี ๓ วาระ
สมนันตรปัจจัย ” ” มี ๓ วาระ
สหชาตปัจจัย ” " มี ๓ วาระ
อัญญมัญญปัจจัย ” ” มี ๓ วาระ
นิสสยปัจจัย ” ” มี ๓ วาระ
อุปนิสสยปัจจัย ” ” มี ๓ วาระ
ปุเรชาตปัจจัย ” ” มี ๓ วาระ
อาเสวนปัจจัย ” ” มี ๓ วาระ
กัมมปัจจัย ” ” มี ๓ วาระ
วิปากปัจจัย ” ” มี ๑ วาระ
อาหารปัจจัย ” ” มี ๓ วาระ
อินทรียปัจจัย ” ” มี ๓ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๓๙ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร

ฌานปัจจัย กับเหตุปัจจัยและอารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ
มัคคปัจจัย ” ” มี ๓ วาระ
สัมปยุตตปัจจัย ” ” มี ๓ วาระ
วิปปยุตตปัจจัย ” ” มี ๓ วาระ
อัตถิปัจจัย ” ” มี ๓ วาระ
นัตถิปัจจัย ” ” มี ๓ วาระ
วิคตปัจจัย ” ” มี ๓ วาระ
อวิคตปัจจัย ” ” มี ๓ วาระ ฯลฯ

ทวาทสกนัย
[๗๖] กัมมปัจจัย กับเหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย อธิปติปัจจัย อนันตรปัจจัย
สมนันตรปัจจัย สหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย
ปุเรชาตปัจจัย และอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ

อาหารปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ
อินทรียปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ
ฌานปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ
มัคคปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ
สัมปยุตตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ
วิปปยุตตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ
อัตถิปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ
นัตถิปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ
วิคตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ
อวิคตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ ฯลฯ

พาวีสกนัย
[๗๗] อวิคตปัจจัย กับเหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย ฯลฯ อาเสวนปัจจัย
กัมมปัจจัย อาหารปัจจัย อินทรียปัจจัย ฌานปัจจัย มัคคปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย
วิปปยุตตปัจจัย อัตถิปัจจัย นัตถิปัจจัย และวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๔๐ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร
เตรสกนัย
[๗๘] อาหารปัจจัย กับเหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย ฯลฯ ปุเรชาตปัจจัย
กัมมปัจจัย และวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ

อินทรียปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
ฌานปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
มัคคปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
สัมปยุตตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
วิปปยุตตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
อัตถิปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
นัตถิปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
วิคตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
อวิคตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ ฯลฯ

พาวีสกนัย
[๗๙] อวิคตปัจจัย กับเหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย ฯลฯ ปุเรชาตปัจจัย
กัมมปัจจัย วิปากปัจจัย อาหารปัจจัย อินทรียปัจจัย ฌานปัจจัย มัคคปัจจัย
สัมปยุตตปัจจัย วิปปยุตตปัจจัย อัตถิปัจจัย นัตถิปัจจัย และวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ
การนับวาระ มีเหตุปัจจัยเป็นมูล จบ

ทุกนัยมีอารัมมณปัจจัยเป็นต้น
(ปัจจัยทั้งปวงกับปัจจัยที่ตั้งอยู่ในอารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ เท่านั้น)

[๘๐] เหตุปัจจัย กับอารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ
อธิปติปัจจัย ” มี ๓ วาระ ฯลฯ
อวิคตปัจจัย ” มี ๓ วาระ ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๔๑ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร

เหตุปัจจัย กับอธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ
อารัมมณปัจจัย ” มี ๓ วาระ ฯลฯ
อวิคตปัจจัย ” มี ๙ วาระ ฯลฯ
เหตุปัจจัย กับอนันตรปัจจัยและสมนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ฯลฯ
อวิคตปัจจัย ” ” มี ๓ วาระ ฯลฯ
เหตุปัจจัย กับสหชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ฯลฯ
เหตุปัจจัย กับอัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ฯลฯ
เหตุปัจจัย กับนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ ฯลฯ
เหตุปัจจัย กับอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ฯลฯ
เหตุปัจจัย กับปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ฯลฯ

อาเสวนทุกนัย

[๘๑] เหตุปัจจัย กับอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ
อารัมมณปัจจัย ” มี ๓ วาระ
อธิปติปัจจัย ” มี ๓ วาระ
อนันตรปัจจัย ” มี ๓ วาระ
สมนันตรปัจจัย ” มี ๓ วาระ
สหชาตปัจจัย ” มี ๓ วาระ
อัญญมัญญปัจจัย ” มี ๓ วาระ
นิสสยปัจจัย ” มี ๓ วาระ
อุปนิสสยปัจจัย ” มี ๓ วาระ
ปุเรชาตปัจจัย ” มี ๓ วาระ
กัมมปัจจัย ” มี ๓ วาระ
อาหารปัจจัย ” มี ๓ วาระ
อินทรียปัจจัย ” มี ๓ วาระ
ฌานปัจจัย ” มี ๓ วาระ
มัคคปัจจัย ” มี ๓ วาระ
สัมปยุตตปัจจัย ” มี ๓ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๔๒ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร

วิปปยุตตปัจจัย กับอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ
อัตถิปัจจัย ” มี ๓ วาระ
นัตถิปัจจัย ” มี ๓ วาระ
วิคตปัจจัย ” มี ๓ วาระ
อวิคตปัจจัย ” มี ๓ วาระ

(ปัจจัยที่มีอาเสวนปัจจัยเป็นมูลไม่มีวิปากปัจจัย)

กัมมทุกนัย

[๘๒] เหตุปัจจัย กับกัมมปัจจัย มี ๙ วาระ ฯลฯ

วิปากทุกนัย

[๘๓] เหตุปัจจัย กับวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ
อารัมมณปัจจัย ” มี ๑ วาระ
อธิปติปัจจัย ” มี ๑ วาระ
อนันตรปัจจัย ” มี ๑ วาระ
สมนันตรปัจจัย ” มี ๑ วาระ
สหชาตปัจจัย ” มี ๑ วาระ
อัญญมัญญปัจจัย ” มี ๑ วาระ
นิสสยปัจจัย ” มี ๑ วาระ
อุปนิสสยปัจจัย ” มี ๑ วาระ
ปุเรชาตปัจจัย ” มี ๑ วาระ
กัมมปัจจัย ” มี ๑ วาระ
อาหารปัจจัย ” มี ๑ วาระ
อินทรียปัจจัย ” มี ๑ วาระ
ฌานปัจจัย ” มี ๑ วาระ
มัคคปัจจัย ” มี ๑ วาระ
สัมปยุตตปัจจัย ” มี ๑ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๔๓ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร

วิปปยุตตปัจจัย กับวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ
อัตถิปัจจัย ” มี ๑ วาระ
นัตถิปัจจัย ” มี ๑ วาระ
วิคตปัจจัย ” มี ๑ วาระ
อวิคตปัจจัย " มี ๑ วาระ

(ปัจจัยที่มีวิปากปัจจัยเป็นมูลไม่มีอาเสวนปัจจัย)

ทุกนัยมีอาหารปัจจัยเป็นต้น

[๘๔] เหตุปัจจัย กับอาหารปัจจัย มี ๙ วาระ ฯลฯ
เหตุปัจจัย กับอินทรียปัจจัย มี ๙ วาระ ฯลฯ
เหตุปัจจัย กับฌานปัจจัย มี ๙ วาระ ฯลฯ
เหตุปัจจัย กับมัคคปัจจัย มี ๙ วาระ ฯลฯ
เหตุปัจจัย กับสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ฯลฯ
เหตุปัจจัย กับวิปปยุตตปัจจัย มี ๙ วาระ ฯลฯ
เหตุปัจจัย กับอัตถิปัจจัย มี ๙ วาระ ฯลฯ
เหตุปัจจัย กับนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ฯลฯ
เหตุปัจจัย กับวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ ฯลฯ

อวิคตทุกนัย

[๘๕] เหตุปัจจัย กับอวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ
อารัมมณปัจจัย " มี ๓ วาระ
อธิปติปัจจัย " มี ๙ วาระ ฯลฯ
นัตถิปัจจัย " มี ๓ วาระ
วิคตปัจจัย " มี ๓ วาระ

(ผู้สาธยายพึงทำปัจจัยแต่ละอย่างให้เป็นมูลแล้วนับดูเถิด)
อนุโลม จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๔๔ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร
๒. ปัจจยปัจจนียะ ๑. วิภังควาร
ปัจจนียะ นเหตุปัจจัย
[๘๖] สภาวธรรมที่เป็นอกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลเกิดขึ้นเพราะ
นเหตุปัจจัย ได้แก่ โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วยอุทธัจจะอาศัยขันธ์
ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วยอุทธัจจะเกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเกิดขึ้นเพราะ
นเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอเหตุกะซึ่งเป็น
อัพยากตวิบากและที่เป็นอัพยากตกิริยาเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัย
ขันธ์ ๓ เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น ในปฏิสนธิขณะ
ที่เป็นอเหตุกะ๑ ขันธ์ ๓ และกฏัตตารูปอาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบากเกิดขึ้น
ขันธ์ ๑ และกฏัตตารูปอาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ และกฏัตตารูปอาศัย
ขันธ์ ๒ เกิดขึ้น หทัยวัตถุอาศัยขันธ์เกิดขึ้น ขันธ์อาศัยหทัยวัตถุเกิดขึ้น มหา-
ภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น มหาภูตรูป ๑ อาศัยมหาภูตรูป ๓ เกิดขึ้น
มหาภูตรูป ๒ อาศัยมหาภูตรูป ๒ เกิดขึ้น จิตตสมุฏฐานรูปและกฏัตตารูปที่เป็น
อุปาทายรูปอาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น... ที่เป็นภายนอก... ที่มีอาหารเป็นสมุฏฐาน...
ที่มีอุตุเป็นสมุฏฐาน... สำหรับเหล่าอสัญญสัตตพรหม มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหา-
ภูตรูป ๑ เกิดขึ้น มหาภูตรูป ๑ อาศัยมหาภูตรูป ๓ เกิดขึ้น มหาภูตรูป ๒ อาศัย
มหาภูตรูป ๒ เกิดขึ้น กฏัตตารูปที่เป็นอุปาทายรูปอาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น (๑)

นอารัมมณปัจจัย
[๘๗] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดขึ้นเพราะ
นอารัมมณปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลเกิดขึ้นเพราะนอารัมมณ-
ปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น (๑)

เชิงอรรถ :
๑ ได้แก่ อุเปกขาสันตีรณจิต ๒ ขณะทำหน้าที่ปฏิสนธิของทุคคติอเหตุกบุคคลและสุคติอเหตุกบุคคลใน
กามภูมิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๔๕ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเกิดขึ้นเพราะ
นอารัมมณปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นอัพยากตวิบากและที่เป็น
อัพยากตกิริยาเกิดขึ้น ในปฏิสนธิขณะ กฏัตตารูปอาศัยขันธ์ที่เป็นอัพยากตวิบาก
เกิดขึ้น หทัยวัตถุอาศัยขันธ์เกิดขึ้น มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น
มหาภูตรูป ๑ อาศัยมหาภูตรูป ๓ เกิดขึ้น มหาภูตรูป ๒ อาศัยมหาภูตรูป ๒ เกิดขึ้น
จิตตสมุฏฐานรูปและกฏัตตารูปที่เป็นอุปาทายรูปอาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น ... ที่เป็น
ภายนอก ... ที่มีอาหารเป็นสมุฏฐาน ... ที่มีอุตุเป็นสมุฏฐาน ... สำหรับเหล่า
อสัญญสัตตพรหม มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น มหาภูตรูป ๑
อาศัยมหาภูตรูป ๓ เกิดขึ้น มหาภูตรูป ๒ อาศัยมหาภูตรูป ๒ เกิดขึ้น กฏัตตารูป
ที่เป็นอุปาทายรูปอาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤต
เกิดขึ้นเพราะนอารัมมณปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นกุศลและ
มหาภูตรูปเกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤต
เกิดขึ้นเพราะนอารัมมณปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นอกุศลและ
มหาภูตรูปเกิดขึ้น (๑)

นอธิปติปัจจัย
[๘๘] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดขึ้นเพราะนอธิปติ-
ปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น
ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดขึ้นเพราะนอธิปติ-
ปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดขึ้น
เพราะนอธิปติปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศล
เกิดขึ้น ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ และจิตต-
สมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น (๑)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๔๖ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลเกิดขึ้นเพราะนอธิปติปัจจัย
ได้แก่ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น
ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลเกิดขึ้นเพราะนอธิปติ-
ปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศล
เกิดขึ้นเพราะนอธิปติปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๑ ที่
เป็นอกุศลเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ และ
จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเกิดขึ้นเพราะ
นอธิปติปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากต-
วิบาก และที่เป็นอัพยากตกิริยาเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์
๓ เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น ในปฏิสนธิขณะ
ขันธ์ ๓ และกฏัตตารูปอาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบากเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ และ
กฏัตตารูปอาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ และกฏัตตารูปอาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น
หทัยวัตถุอาศัยขันธ์เกิดขึ้น ขันธ์อาศัยหทัยวัตถุเกิดขึ้น มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหา-
ภูตรูป ๑ เกิดขึ้น มหาภูตรูป ๑ อาศัยมหาภูตรูป ๓ เกิดขึ้น มหาภูตรูป ๒ อาศัย
มหาภูตรูป ๒ เกิดขึ้น จิตตสมุฏฐานรูป และกฏัตตารูปที่เป็นอุปาทายรูปอาศัย
มหาภูตรูปเกิดขึ้น ... ที่เป็นภายนอก ... ที่มีอาหารเป็นสมุฏฐาน ... ที่มีอุตุเป็น
สมุฏฐาน ... สำหรับเหล่าอสัญญสัตตพรหม มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑
เกิดขึ้น มหาภูตรูป ๑ อาศัยมหาภูตรูป ๓ เกิดขึ้น มหาภูตรูป ๒ อาศัยมหาภูตรูป
๒ เกิดขึ้น กฏัตตารูปที่เป็นอุปาทายรูปอาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤต
เกิดขึ้นเพราะนอธิปติปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นกุศลและอาศัย
มหาภูตรูปเกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤต
เกิดขึ้นเพราะนอธิปติปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นอกุศลและ
อาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น (๑)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๔๗ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร
นอนันตรปัจจัยและนสมนันตรปัจจัย
[๘๙] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดขึ้นเพราะ
นอนันตรปัจจัย เพราะนสมนันตรปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นกุศล
เกิดขึ้น (นอนันตรปัจจัยและนสมนันตรปัจจัยเหมือนกับนอารัมมณปัจจัย)

นอัญญมัญญปัจจัย
[๙๐] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดขึ้นเพราะ
นอัญญมัญญปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลเกิดขึ้นเพราะ
นอัญญมัญญปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเกิดขึ้นเพราะ
นอัญญมัญญปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นอัพยากตวิบากและที่
เป็นอัพยากตกิริยาเกิดขึ้น ในปฏิสนธิขณะ กฏัตตารูปอาศัยขันธ์ที่เป็นอัพยากต-
วิบากเกิดขึ้น จิตตสมุฏฐานรูปและกฏัตตารูปที่เป็นอุปาทายรูปอาศัยมหาภูตรูปเกิด
ขึ้น อุปาทายรูปอาศัยมหาภูตรูปที่เป็นภายนอกเกิดขึ้น อุปาทายรูปอาศัยมหาภูตรูป
ที่มีอาหารเป็นสมุฏฐานเกิดขึ้น อุปาทายรูปอาศัยมหาภูตรูปที่มีอุตุเป็นสมุฏฐาน
เกิดขึ้น สำหรับเหล่าอสัญญสัตตพรหม กฏัตตารูปที่เป็นอุปาทายรูปอาศัยมหา-
ภูตรูปเกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤต
เกิดขึ้นเพราะนอัญญมัญญปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นกุศลและ
อาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤต
เกิดขึ้นเพราะนอัญญมัญญปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นอกุศลและ
อาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น (๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๔๘ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร
นอุปนิสสยปัจจัย
[๙๑] ภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดขึ้นเพราะ
นอุปนิสสยปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น (นอุปนิสสย-
ปัจจัยเหมือนกับนอารัมมณปัจจัย)

นปุเรชาตปัจจัย
[๙๒] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดขึ้นเพราะนปุเร-
ชาตปัจจัย ได้แก่ ในอรูปาวจรภูมิ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น ขันธ์ ๑
อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดขึ้นเพราะนปุเรชาต-
ปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น (๒)
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลเกิดขึ้นเพราะนปุเรชาตปัจจัย
ได้แก่ ในอรูปาวจรภูมิ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ อาศัย
ขันธ์ ๓ เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลเกิดขึ้นเพราะนปุเรชาต-
ปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น (๒)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเกิดขึ้นเพราะ
นปุเรชาตปัจจัย ได้แก่ ในอรูปาวจรภูมิ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบาก
และที่เป็นอัพยากตกิริยาเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ อาศัย
ขันธ์ ๒ เกิดขึ้น จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นอัพยากตวิบากและที่เป็น
อัพยากตกิริยาเกิดขึ้น ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๓ และกฏัตตารูปอาศัยขันธ์ ๑
ที่เป็นอัพยากตวิบากเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ และกฏัตตารูปอาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น ขันธ์
๒ และกฏัตตารูปอาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น หทัยวัตถุอาศัยขันธ์เกิดขึ้น ขันธ์อาศัย
หทัยวัตถุเกิดขึ้น มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น มหาภูตรูป ๑
อาศัยมหาภูตรูป ๓ เกิดขึ้น มหาภูตรูป ๒ อาศัยมหาภูตรูป ๒ เกิดขึ้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๔๙ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร
จิตตสมุฏฐานรูป๑ และกฏัตตารูป๒ ที่เป็นอุปาทายรูปอาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น ... ที่
เป็นภายนอก ... ที่มีอาหารเป็นสมุฏฐาน ... ที่มีอุตุเป็นสมุฏฐาน ... สำหรับเหล่า
อสัญญสัตตพรหม มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น มหาภูตรูป ๑
อาศัยมหาภูตรูป ๓ เกิดขึ้น มหาภูตรูป ๒ อาศัยมหาภูตรูป ๒ เกิดขึ้น กฏัตตารูปที่
เป็นอุปาทายรูปอาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤต
เกิดขึ้นเพราะนปุเรชาตปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นกุศลและ
อาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤต
เกิดขึ้นเพราะนปุเรชาตปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นอกุศลและ
อาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น (๑)

นปัจฉาชาตปัจจัยและนอาเสวนปัจจัย
[๙๓] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดขึ้นเพราะนปัจฉา-
ชาตปัจจัย ได้แก่ ... อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศล ฯลฯ
สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดขึ้นเพราะนอาเสวนปัจจัย
ได้แก่ ... อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศล ฯลฯ (นปัจฉาชาตปัจจัยและนอาเสวนปัจจัย
เหมือนกับนอธิปติปัจจัย)

นกัมมปัจจัย
[๙๔] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดขึ้นเพราะนกัมม-
ปัจจัย ได้แก่ เจตนาที่เป็นกุศลอาศัยขันธ์ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลเกิดขึ้นเพราะนกัมมปัจจัย
ได้แก่ เจตนาที่เป็นอกุศลอาศัยขันธ์ที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น (๑)

เชิงอรรถ :
๑ ในที่นี้ได้แก่ จิตตชรูป ๑๓
๒ ในที่นี้ได้แก่ กัมมชรูป ๑๖ ที่เกิดพร้อมกับอุปาทขณะของปฏิสนธิวิญญาณ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๕๐ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเกิดขึ้นเพราะ
นกัมมปัจจัย ได้แก่ เจตนาที่เป็นอัพยากตกิริยาอาศัยขันธ์ที่เป็นอัพยากตกิริยาเกิดขึ้น
... ที่เป็นภายนอก ... ที่มีอาหารเป็นสมุฏฐาน ... มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป
๑ ที่มีอุตุเป็นสมุฏฐานเกิดขึ้น มหาภูตรูป ๑ อาศัยมหาภูตรูป ๓ เกิดขึ้น มหา-
ภูตรูป ๒ อาศัยมหาภูตรูป ๒ เกิดขึ้น อุปาทายรูปอาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น (๑)

นวิปากปัจจัย
[๙๕] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดขึ้นเพราะนวิปาก-
ปัจจัย ได้แก่ ... อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศล ... มี ๓ วาระ
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลเกิดขึ้นเพราะนวิปากปัจจัย
... มี ๓ วาระ
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเกิดขึ้นเพราะ
นวิปากปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากต-
กิริยาเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ และ
จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิด
ขึ้น ฯลฯ จิตตสมุฏฐานรูปที่เป็นอุปาทายรูปอาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น ... ที่เป็น
ภายนอก ... ที่มีอาหารเป็นสมุฏฐาน ... ที่มีอุตุเป็นสมุฏฐาน ... สำหรับเหล่า
อสัญญสัตตพรหม มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น ฯลฯ กฏัตตารูป
ที่เป็นอุปาทายรูปอาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤต
เกิดขึ้นเพราะนวิปากปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นกุศลและ
อาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤต
เกิดขึ้นเพราะนวิปากปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นอกุศลและ
อาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น (๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๕๑ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร
นอาหารปัจจัย
[๙๖] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเกิดขึ้น
เพราะนอาหารปัจจัย ได้แก่ ... ที่เป็นภายนอก ... ที่มีอุตุเป็นสมุฏฐาน ... สำหรับ
เหล่าอสัญญสัตตพรหม มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น ฯลฯ
กฏัตตารูปที่เป็นอุปาทายรูปอาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น (๑)

นอินทรียปัจจัย
[๙๗] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเกิด
ขึ้นเพราะนอินทรียปัจจัย ได้แก่ ... ที่เป็นภายนอก ... ที่มีอาหารเป็นสมุฏฐาน ...
มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ ที่มีอุตุเป็นสมุฏฐานเกิดขึ้น ฯลฯ อุปาทายรูป
อาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น สำหรับเหล่าอสัญญสัตตพรหม รูปชีวิตินทรีย์อาศัย
มหาภูตรูปเกิดขึ้น

นฌานปัจจัย
[๙๘] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเกิดขึ้น
เพราะนฌานปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่สหรคตด้วยปัญจวิญญาณเกิด
ขึ้น ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น ... ที่เป็น
ภายนอก ... ที่มีอาหารเป็นสมุฏฐาน ... ที่มีอุตุเป็นสมุฏฐาน ... สำหรับเหล่า
อสัญญสัตตพรหม มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น ฯลฯ กฏัตตารูป
ที่เป็นอุปาทายรูปอาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น (๑)

นมัคคปัจจัย
[๙๙] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเกิดขึ้น
เพราะนมัคคปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอเหตุกะ
ซึ่งเป็นอัพยากตวิบากและอัพยากตกิริยาเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูป
อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น ใน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๕๒ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร
ปฏิสนธิขณะที่เป็นอเหตุกะ ขันธ์ ๓ และกฏัตตารูปอาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากต-
วิบากเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ และกฏัตตารูปอาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ และกฏัตตารูป
อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น หทัยวัตถุอาศัยขันธ์เกิดขึ้น ขันธ์อาศัยหทัยวัตถุเกิดขึ้น
มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น มหาภูตรูป ๑ อาศัยมหาภูตรูป ๓ เกิดขึ้น
มหาภูตรูป ๒ อาศัยมหาภูตรูป ๒ เกิดขึ้น จิตตสมุฏฐานรูปและกฏัตตารูปที่เป็น
อุปาทายรูปอาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น ... ที่เป็นภายนอก ... ที่มีอาหารเป็นสมุฏฐาน
... ที่มีอุตุเป็นสมุฏฐาน ... สำหรับเหล่าอสัญญสัตตพรหม มหาภูตรูป ๓ อาศัย
มหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น ฯลฯ กฏัตตารูปที่เป็นอุปาทายรูปอาศัยมหาภูตรูปเกิด
ขึ้น (๑)

นสัมปยุตตปัจจัย
[๑๐๐] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดขึ้นเพราะ
นสัมปยุตตปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น (ปัจจัยนี้
เหมือนกับนอารัมมณปัจจัย)

นวิปปยุตตปัจจัย
[๑๐๑] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดขึ้นเพราะนวิปป-
ยุตตปัจจัย ได้แก่ ในอรูปาวจรภูมิ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น ขันธ์
๑ อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลเกิดขึ้นเพราะนวิปปยุตต-
ปัจจัย ได้แก่ ในอรูปาวจรภูมิ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น ขันธ์ ๑
อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเกิดขึ้นเพราะ
นวิปปยุตตปัจจัย ได้แก่ ในอรูปาวจรภูมิ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากต-
วิบากและที่เป็นอัพยากตกิริยาเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น ขันธ์ ๒
อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น ... ที่เป็นภายนอก ... ที่มีอาหารเป็นสมุฏฐาน ... ที่มีอุตุเป็น
สมุฏฐาน ... สำหรับเหล่าอสัญญสัตตพรหม มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑
เกิดขึ้น ฯลฯ กฏัตตารูปที่เป็นอุปาทายรูปอาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น (๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๕๓ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร
โนนัตถิปัจจัยและโนวิคตปัจจัย
[๑๐๒] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดขึ้นเพราะ
โนนัตถิปัจจัย เพราะโนวิคตปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นกุศล
เกิดขึ้น (สองปัจจัยนี้เหมือนกับนอารัมมณปัจจัย)

๒. ปัจจยปัจจนียะ ๒. สังขยาวาร
คณนมูลกนัย

[๑๐๓] นเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ
นอารัมมณปัจจัย มี ๕ วาระ
นอธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ
นอนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ
นสมนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ
นอัญญมัญญปัจจัย มี ๕ วาระ
นอุปนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๙ วาระ
นอาเสวนปัจจัย มี ๙ วาระ
นกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ
นวิปากปัจจัย มี ๙ วาระ
นอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ
นอินทรียปัจจัย มี ๑ วาระ
นฌานปัจจัย มี ๑ วาระ
นมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ
นสัมปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ
โนนัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ
โนวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๕๔ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร
นเหตุทุกนัย

[๑๐๔] นอารัมมณปัจจัย กับนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ
นอธิปติปัจจัย ” มี ๒ วาระ
นอนันตรปัจจัย ” มี ๑ วาระ
นสมนันตรปัจจัย ” มี ๑ วาระ
นอัญญมัญญปัจจัย ” มี ๑ วาระ
นอุปนิสสยปัจจัย ” มี ๑ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย ” มี ๒ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย ” มี ๒ วาระ
นอาเสวนปัจจัย ” มี ๒ วาระ
นกัมมปัจจัย ” มี ๑ วาระ
นวิปากปัจจัย ” มี ๒ วาระ
นอาหารปัจจัย ” มี ๑ วาระ
นอินทรียปัจจัย ” มี ๑ วาระ
นฌานปัจจัย ” มี ๑ วาระ
นมัคคปัจจัย ” มี ๑ วาระ
นสัมปยุตตปัจจัย ” มี ๑ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย ” มี ๒ วาระ
โนนัตถิปัจจัย ” มี ๑ วาระ
โนวิคตปัจจัย ” มี ๑ วาระ

ติกนัย

[๑๐๕] นอธิปติปัจจัย กับนเหตุปัจจัยและนอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ
นอนันตรปัจจัย ” ” มี ๑ วาระ
นสมนันตรปัจจัย ” ” มี ๑ วาระ
นอัญญมัญญปัจจัย ” ” มี ๑ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๕๕ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร

นอุปนิสสยปัจจัย กับนเหตุปัจจัยและนอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย ” ” มี ๑ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย ” ” มี ๑ วาระ
นอาเสวนปัจจัย ” ” มี ๑ วาระ
นกัมมปัจจัย ” ” มี ๑ วาระ
นวิปากปัจจัย ” ” มี ๑ วาระ
นอาหารปัจจัย ” ” มี ๑ วาระ
นอินทรียปัจจัย ” ” มี ๑ วาระ
นฌานปัจจัย ” ” มี ๑ วาระ
นมัคคปัจจัย ” ” มี ๑ วาระ
นสัมปยุตตปัจจัย ” ” มี ๑ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย ” ” มี ๑ วาระ
โนนัตถิปัจจัย ” ” มี ๑ วาระ
โนวิคตปัจจัย ” ” มี ๑ วาระ ฯลฯ

วีสกนัย
[๑๐๖] โนวิคตปัจจัย กับนเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย นอธิปติปัจจัย
นอนันตรปัจจัย นสมนันตรปัจจัย นอัญญมัญญปัจจัย นอุปนิสสยปัจจัย นปุเร-
ชาตปัจจัย นปัจฉาชาตปัจจัย นอาเสวนปัจจัย นกัมมปัจจัย นวิปากปัจจัย
นอาหารปัจจัย นอินทรียปัจจัย นฌานปัจจัย นมัคคปัจจัย นสัมปยุตตปัจจัย
นวิปปยุตตปัจจัย และโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ
นเหตุมูลกนัย จบ

นอารัมมณทุกนัย

[๑๐๗] นเหตุปัจจัย กับนอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ
นอธิปติปัจจัย ” มี ๕ วาระ
นอนันตรปัจจัย ” มี ๕ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๕๖ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร
นสมนันตรปัจจัย กับนอารัมมมณปัจจัย มี ๕ วาระ
นอัญญมัญญปัจจัย ” มี ๕ วาระ
นอุปนิสสยปัจจัย ” มี ๕ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย ” มี ๕ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย ” มี ๕ วาระ
นอาเสวนปัจจัย ” มี ๕ วาระ
นกัมมปัจจัย ” มี ๑ วาระ
นวิปากปัจจัย ” มี ๕ วาระ
นอาหารปัจจัย ” มี ๑ วาระ
นอินทรียปัจจัย ” มี ๑ วาระ
นฌานปัจจัย ” มี ๑ วาระ
นมัคคปัจจัย ” มี ๑ วาระ
นสัมปยุตตปัจจัย ” มี ๕ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย ” มี ๑ วาระ
โนนัตถิปัจจัย ” มี ๕ วาระ
โนวิคตปัจจัย ” มี ๕ วาระ ฯลฯ
จตุกกนัย
[๑๐๘] นอนันตรปัจจัย กับนอารัมมณปัจจัย นเหตุปัจจัย และนอธิปติปัจจัย
มี ๑ วาระ ฯลฯ
โนนัตถิปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
โนวิคตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ ฯลฯ

นอธิปติทุกนัย
[๑๐๙] นเหตุปัจจัย กับนอธิปติปัจจัย มี ๒ วาระ
นอารัมมณปัจจัย ” มี ๕ วาระ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๕๗ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร

นอนันตรปัจจัย กับนอธิปติปัจจัย มี ๕ วาระ
นสมนันตรปัจจัย ” มี ๕ วาระ
นอัญญมัญญปัจจัย ” มี ๕ วาระ
นอุปนิสสยปัจจัย ” มี ๕ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย ” มี ๗ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย ” มี ๙ วาระ
นอาเสวนปัจจัย ” มี ๙ วาระ
นกัมมปัจจัย ” มี ๓ วาระ
นวิปากปัจจัย ” มี ๙ วาระ
นอาหารปัจจัย ” มี ๑ วาระ
นอินทรียปัจจัย ” มี ๑ วาระ
นฌานปัจจัย ” มี ๑ วาระ
นมัคคปัจจัย ” มี ๑ วาระ
นสัมปยุตตปัจจัย ” มี ๕ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย ” มี ๓ วาระ
โนนัตถิปัจจัย ” มี ๕ วาระ
โนวิคตปัจจัย ” มี ๕ วาระ

ติกนัย

[๑๑๐] นอารัมมณปัจจัย กับนอธิปติปัจจัยและนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ
นอนันตรปัจจัย " ” มี ๑ วาระ
นสมนันตรปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นอัญญมัญญปัจจัย ” ” มี ๑ วาระ
นอุปนิสสยปัจจัย ” ” มี ๑ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย ” ” มี ๒ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย ” ” มี ๒ วาระ
นอาเสวนปัจจัย ” ” มี ๒ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๕๘ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร

นกัมมปัจจัย กับนอธิปติปัจจัยและนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ
นวิปากปัจจัย ” ” มี ๒ วาระ
นอาหารปัจจัย ” ” มี ๑ วาระ
นอินทรียปัจจัย ” ” มี ๑ วาระ
นฌานปัจจัย ” ” มี ๑ วาระ
นมัคคปัจจัย ” ” มี ๑ วาระ
นสัมปยุตตปัจจัย ” ” มี ๑ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย ” ” มี ๒ วาระ
โนนัตถิปัจจัย ” ” มี ๑ วาระ
โนวิคตปัจจัย ” ” มี ๑ วาระ

จตุกกนัย

[๑๑๑] นอนันตรปัจจัย กับนอธิปติปัจจัย นเหตุปัจจัย และนอารัมมณปัจจัย

มี ๑ วาระ (ทุกปัจจัยมีปัจจัยละ ๑ วาระ)

นวิปปยุตตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
โนนัตถิปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
โนวิคตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ ฯลฯ

นอนันตรปัจจัยเป็นต้น

[๑๑๒] ... กับนอนันตรปัจจัย นสมนันตรปัจจัย นอัญญมัญญปัจจัย และ

นอุปนิสสยปัจจัย (ปัจจัยนี้เหมือนกับนอารัมมณปัจจัย)
นปุเรชาตทุกนัย

[๑๑๓] นเหตุปัจจัย กับนปุเรชาตปัจจัย มี ๒ วาระ
นอารัมมณปัจจัย ” มี ๕ วาระ
นอธิปติปัจจัย ” มี ๗ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๕๙ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร

นอนันตรปัจจัย กับนปุเรชาตปัจจัย มี ๕ วาระ
นสมนันตรปัจจัย ” มี ๕ วาระ
นอัญญมัญญปัจจัย ” มี ๕ วาระ
นอุปนิสสยปัจจัย ” มี ๕ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย ” มี ๗ วาระ
นอาเสวนปัจจัย ” มี ๗ วาระ
นกัมมปัจจัย ” มี ๓ วาระ
นวิปากปัจจัย ” มี ๗ วาระ
นอาหารปัจจัย ” มี ๑ วาระ
นอินทรียปัจจัย ” มี ๑ วาระ
นฌานปัจจัย ” มี ๑ วาระ
นมัคคปัจจัย ” มี ๑ วาระ
นสัมปยุตตปัจจัย ” มี ๕ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย ” มี ๓ วาระ
โนนัตถิปัจจัย ” มี ๕ วาระ
โนวิคตปัจจัย ” มี ๕ วาระ

ติกนัย

[๑๑๔] นอารัมมณปัจจัย กับนปุเรชาตปัจจัย และนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ
นอธิปติปัจจัย ” ” มี ๒ วาระ
นอนันตรปัจจัย ” ” มี ๑ วาระ
นสมนันตรปัจจัย ” ” มี ๑ วาระ
นอัญญมัญญปัจจัย ” ” มี ๑ วาระ
นอุปนิสสยปัจจัย ” ” มี ๑ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย ” ” มี ๒ วาระ
นอาเสวนปัจจัย ” ” มี ๒ วาระ
นกัมมปัจจัย ” ” มี ๑ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๖๐ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร

นวิปากปัจจัย กับนปุเรชาตปัจจัยและนเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ
นอาหารปัจจัย ” ” มี ๑ วาระ
นอินทรียปัจจัย ” ” มี ๑ วาระ
นฌานปัจจัย ” ” มี ๑ วาระ
นมัคคปัจจัย ” ” มี ๑ วาระ
นสัมปยุตตปัจจัย ” ” มี ๑ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย ” ” มี ๒ วาระ
โนนัตถิปัจจัย ” ” มี ๑ วาระ
โนวิคตปัจจัย ” ” มี ๑ วาระ

จตุกกนัย

[๑๑๕] นอธิปติปัจจัย กับนปุเรชาตปัจจัย นเหตุปัจจัยและนอารัมมณปัจจัย
มี ๑ วาระ

นอนันตรปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ (ทุกปัจจัยมีปัจจัยละ ๑ วาระ)
โนนัตถิปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
โนวิคตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ ฯลฯ

นปัจฉาชาตะและนอาเสวนทุกนัย

[๑๑๖] นเหตุปัจจัย กับนปัจฉาชาตปัจจัยและนอาเสวนปัจจัย มี ๒ วาระ


นอารัมมณปัจจัย ” ” มี ๕ วาระ
นอธิปติปัจจัย ” ” มี ๙ วาระ
นอนันตรปัจจัย ” ” มี ๕ วาระ
นสมนันตรปัจจัย ” ” มี ๕ วาระ
นอัญญมัญญปัจจัย ” ” มี ๕ วาระ
นอุปนิสสยปัจจัย ” ” มี ๕ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย ” ” มี ๗ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย ” ” มี ๙ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๖๑ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร

นกัมมปัจจัย กับนปัจฉาชาตปัจจัยและนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ
นวิปากปัจจัย ” ” มี ๙ วาระ
นอาหารปัจจัย ” ” มี ๑ วาระ
นอินทรียปัจจัย ” ” มี ๑ วาระ
นฌานปัจจัย ” ” มี ๑ วาระ
นสัมปยุตตปัจจัย ” ” มี ๕ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย ” ” มี ๓ วาระ
โนนัตถิปัจจัย ” ” มี ๕ วาระ
โนวิคตปัจจัย ” ” มี ๕ วาระ

ติกนัย

[๑๑๗] นอารัมมณปัจจัย กับนอาเสวนปัจจัย และนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ
นอธิปติปัจจัย ” ” มี ๒ วาระ
นอนันตรปัจจัย ” ” มี ๑ วาระ
นสมนันตรปัจจัย ” ” มี ๑ วาระ
นอัญญมัญญปัจจัย ” ” มี ๑ วาระ
นอุปนิสสยปัจจัย ” ” มี ๑ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย ” ” มี ๒ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย ” ” มี ๒ วาระ
นกัมมปัจจัย ” ” มี ๑ วาระ
นวิปากปัจจัย ” ” มี ๒ วาระ
นอาหารปัจจัย ” ” มี ๑ วาระ
นอินทรียปัจจัย ” ” มี ๑ วาระ
นฌานปัจจัย ” ” มี ๑ วาระ
นมัคคปัจจัย ” ” มี ๑ วาระ
นสัมปยุตตปัจจัย ” ” มี ๑ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๖๒ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร


นวิปปยุตตปัจจัย กับนอาเสวนปัจจัยและนเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ
โนนัตถิปัจจัย " " มี ๑ วาระ
โนวิคตปัจจัย " " มี ๑ วาระ

จตุกกนัย

[๑๑๘] นอธิปติปัจจัย กับนอาเสวนปัจจัย นเหตุปัจจัย และนอารัมมณปัจจัย

มี ๑ วาระ

นอนันตรปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ (ทุกปัจจัยมีปัจจัยละ ๑ วาระ
โนนัตถิปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
โนวิคตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ ฯลฯ

นกัมมทุกนัย

[๑๑๙] นเหตุปัจจัย กับนกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ
นอารัมมณปัจจัย " มี ๑ วาระ
นอธิปติปัจจัย " มี ๓ วาระ
นอนันตรปัจจัย " มี ๑ วาระ
นสมนันตรปัจจัย " มี ๑ วาระ
นอัญญมัญญปัจจัย " มี ๑ วาระ
นอุปนิสสยปัจจัย " มี ๑ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย " มี ๓ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย " มี ๓ วาระ
นอาเสวนปัจจัย " มี ๓ วาระ
นวิปากปัจจัย " มี ๓ วาระ
นอาหารปัจจัย " มี ๑ วาระ
นอินทรียปัจจัย " มี ๑ วาระ
นฌานปัจจัย " มี ๑ วาระ
นมัคคปัจจัย " มี ๑ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๖๓ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร

นสัมปยุตตปัจจัย กับนกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย " มี ๓ วาระ
โนนัตถิปัจจัย " มี ๑ วาระ
โนวิคตปัจจัย " มี ๑ วาระ

ติกนัย

[๑๒๐] นอารัมมณปัจจัย กับนกัมมปัจจัย และนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ


นอธิปติปัจจัย " มี ๑ วาระ (ทุกปัจจัยมีปัจจัยละ ๑ วาระ)
โนนัตถิปัจจัย " มี ๑ วาระ
โนวิคตปัจจัย " มี ๑ วาระ ฯลฯ

นวิปากทุกนัย

[๑๒๑] นเหตุปัจจัย กับนวิปากปัจจัย มี ๒ วาระ
นอารัมมณปัจจัย " มี ๕ วาระ
นอธิปติปัจจัย " มี ๙ วาระ
นอนันตรปัจจัย " มี ๕ วาระ
นสมนันตรปัจจัย " มี ๕ วาระ
นอัญญมัญญปัจจัย " มี ๕ วาระ
นอุปนิสสยปัจจัย " มี ๕ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย " มี ๗ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย " มี ๙ วาระ
นอาเสวนปัจจัย " มี ๙ วาระ
นกัมมปัจจัย " มี ๓ วาระ
นอาหารปัจจัย " มี ๑ วาระ
นอินทรียปัจจัย " มี ๑ วาระ
นฌานปัจจัย " มี ๑ วาระ
นมัคคปัจจัย " มี ๑ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๖๔ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร

นสัมปยุตตปัจจัย กับนวิปากปัจจัย มี ๕ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย " มี ๓ วาระ
โนนัตถิปัจจัย " มี ๕ วาระ
โนวิคตปัจจัย " มี ๕ วาระ

ติกนัย

[๑๒๒] นอารัมมณปัจจัย กับนวิปากปัจจัยและนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ
นอธิปติปัจจัย " " มี ๒ วาระ
นอนันตรปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นสมนันตรปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นอัญญมัญญปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นอุปนิสสยปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย " " มี ๒ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย " " มี ๒ วาระ
นอาเสวนปัจจัย " " มี ๒ วาระ
นกัมมปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นอาหารปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นอินทรียปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นฌานปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นมัคคปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นสัมปยุตตปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย " " มี ๒ วาระ
โนนัตถิปัจจัย " " มี ๑ วาระ
โนวิคตปัจจัย " " มี ๑ วาระ

จตุกกนัย

[๑๒๓] นอธิปติปัจจัย กับนวิปากปัจจัย นเหตุปัจจัย และนอารัมมณปัจจัย

มี ๑ วาระ (ทุกปัจจัยมีปัจจัยละ ๑ วาระ)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๖๕ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร

โนนัตถิปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
โนวิคตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ ฯลฯ

ทุกนัยมีนอาหารปัจจัยเป็นต้น

[๑๒๔] นเหตุปัจจัย กับนอาหารปัจจัย ฯลฯ นอินทรียปัจจัย ฯลฯ

นฌานปัจจัย ฯลฯ นมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ (ทุกปัจจัยมีปัจจัยละ ๑ วาระ)

โนนัตถิปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
โนวิคตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ ฯลฯ

นสัมปยุตตทุกนัย

[๑๒๕] นเหตุปัจจัย กับนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ
นอารัมมณปัจจัย " มี ๕ วาระ

(ปัจจัยนี้เหมือนกับนอารัมมณปัจจัย)

โนวิคตปัจจัย " มี ๕ วาระ

นวิปปยุตตทุกนัย

[๑๒๖] นเหตุปัจจัย กับนวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ วาระ
นอารัมมณปัจจัย " มี ๑ วาระ
นอธิปติปัจจัย " มี ๓ วาระ
นอนันตรปัจจัย " มี ๑ วาระ
นสมนันตรปัจจัย " มี ๑ วาระ
นอัญญมัญญปัจจัย " มี ๑ วาระ
นอุปนิสสยปัจจัย " มี ๑ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย " มี ๓ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย " มี ๓ วาระ
นอาเสวนปัจจัย " มี ๓ วาระ
นกัมมปัจจัย " มี ๓ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๖๖ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร

นวิปากปัจจัย กับนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ
นอาหารปัจจัย " มี ๑ วาระ
นอินทรียปัจจัย " มี ๑ วาระ
นฌานปัจจัย " มี ๑ วาระ
นมัคคปัจจัย " มี ๑ วาระ
นสัมปยุตตปัจจัย " มี ๑ วาระ
โนนัตถิปัจจัย " มี ๑ วาระ
โนวิคตปัจจัย " มี ๑ วาระ

ติกนัย

[๑๒๗] นอารัมมณปัจจัย กับนวิปปยุตตปัจจัยและนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ
นอธิปติปัจจัย " " มี ๒ วาระ
นอนันตรปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นสมนันตรปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นอัญญมัญญปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นอุปนิสสยปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย " " มี ๒ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย " " มี ๒ วาระ
นอาเสวนปัจจัย " " มี ๒ วาระ
นกัมมปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นวิปากปัจจัย " " มี ๒ วาระ
นอาหารปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นอินทรียปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นฌานปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นมัคคปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นสัมปยุตตปัจจัย " " มี ๑ วาระ
โนนัตถิปัจจัย " " มี ๑ วาระ
โนวิคตปัจจัย " " มี ๑ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๖๗ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร
จตุกกนัย

[๑๒๘] นอธิปติปัจจัย กับนวิปปยุตตปัจจัย นเหตุปัจจัย และนอารัมมณปัจจัย

มี ๑ วาระ

นอนันตรปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ (ทุกปัจจัยมีปัจจัยละ ๑ วาระ)
โนนัตถิปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
โนวิคตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ ฯลฯ

โนนัตถิและโนวิคตทุกนัย

[๑๒๙] นเหตุปัจจัย กับโนนัตถิปัจจัยและโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ
นอารัมมณปัจจัย " " มี ๕ วาระ
นอธิปติปัจจัย " " มี ๕ วาระ
นอนันตรปัจจัย " " มี ๕ วาระ
นสมนันตรปัจจัย " " มี ๕ วาระ
นอัญญมัญญปัจจัย " " มี ๕ วาระ
นอุปนิสสยปัจจัย " " มี ๕ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย " " มี ๕ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย " " มี ๕ วาระ
นอาเสวนปัจจัย " " มี ๕ วาระ
นกัมมปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นวิปากปัจจัย " " มี ๕ วาระ
นอาหารปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นอินทรียปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นฌานปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นมัคคปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นสัมปยุตตปัจจัย " " มี ๕ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย " " มี ๑ วาระ
โนนัตถิปัจจัย " " มี ๕ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๖๘ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร
ติกนัย

[๑๓๐] นอารัมมณปัจจัย กับโนวิคตปัจจัยและนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ
นอธิปติปัจจัย " " มี ๑ วาระ

(ทุกปัจจัยมีปัจจัยละ ๑ วาระ)

นวิปปยุตตปัจจัย " " มี ๑ วาระ
โนนัตถิปัจจัย " " มี ๑ วาระ ฯลฯ

ปัจจนียะ จบ

๓. ปัจจยานุโลมปัจจนียะ
เหตุทุกนัย

[๑๓๑] นอารัมมณปัจจัย กับเหตุปัจจัย มี ๕ วาระ
นอธิปติปัจจัย " มี ๙ วาระ
นอนันตรปัจจัย " มี ๕ วาระ
นสมนันตรปัจจัย " มี ๕ วาระ
นอัญญมัญญปัจจัย " มี ๕ วาระ
นอุปนิสสยปัจจัย " มี ๕ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย " มี ๗ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย " มี ๙ วาระ
นอาเสวนปัจจัย " มี ๙ วาระ
นกัมมปัจจัย " มี ๓ วาระ
นวิปากปัจจัย " มี ๙ วาระ
นสัมปยุตตปัจจัย " มี ๕ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย " มี ๓ วาระ
โนนัตถิปัจจัย " มี ๕ วาระ
โนวิคตปัจจัย " มี ๕ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๖๙ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร
ติกนัย

[๑๓๒] นอธิปติปัจจัย กับเหตุปัจจัย และอารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย " " มี ๓ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย " " มี ๓ วาระ
นอาเสวนปัจจัย " " มี ๓ วาระ
นกัมมปัจจัย " " มี ๓ วาระ
นวิปากปัจจัย " " มี ๓ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย " " มี ๓ วาระ

จตุกกนัย

[๑๓๓] นปุเรชาตปัจจัย กับเหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย และอธิปติปัจจัย มี

๓ วาระ

นปัจฉาชาตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ
นอาเสวนปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ
นกัมมปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ
นวิปากปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ ฯลฯ

เอกาทสกนัย

[๑๓๔] นปัจฉาชาตปัจจัย กับเหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย อธิปติปัจจัย


อนันตรปัจจัย สมนันตรปัจจัย สหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย


อุปนิสสยปัจจัย และปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ


นอาเสวนปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ
นกัมมปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ
นวิปากปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๗๐ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร
ทวาทสกนัย (สาเสวนะ)
[๑๓๕] นปัจฉาชาตปัจจัย กับเหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย ฯลฯ ปุเรชาตปัจจัย
และอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ

นกัมมปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ
นวิปากปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ ฯลฯ

เตวีสกนัย
[๑๓๖] นปัจฉาชาตปัจจัย กับเหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย ฯลฯ ปุเรชาตปัจจัย
อาเสวนปัจจัย กัมมปัจจัย อาหารปัจจัย อินทรียปัจจัย ฌานปัจจัย มัคคปัจจัย
สัมปยุตตปัจจัย วิปปยุตตปัจจัย อัตถิปัจจัย นัตถิปัจจัย วิคตปัจจัย และอวิคต-
ปัจจัย มี ๓ วาระ

นวิปากปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ

เตรสกนัย (สวิปากะ)
[๑๓๗] นปัจฉาชาตปัจจัย กับเหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย ฯลฯ ปุเรชาตปัจจัย
กัมมปัจจัย และวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ

นอาเสวนปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ ฯลฯ

เตวีสกนัย
[๑๓๘] นปัจฉาชาตปัจจัย กับเหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย ฯลฯ ปุเรชาตปัจจัย
กัมมปัจจัย วิปากปัจจัย อาหารปัจจัย อินทรียปัจจัย ฌานปัจจัย มัคคปัจจัย
สัมปยุตตปัจจัย วิปปยุตตปัจจัย อัตถิปัจจัย นัตถิปัจจัย วิคตปัจจัย และ
อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ

นอาเสวนปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ

เหตุมูลกนัย จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๗๑ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร
อารัมมณทุกนัย

[๑๓๙] นเหตุปัจจัย กับอารัมมณปัจจัย มี ๒ วาระ
นอธิปติปัจจัย " มี ๓ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย " มี ๓ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย " มี ๓ วาระ
นอาเสวนปัจจัย " มี ๓ วาระ
นกัมมปัจจัย " มี ๓ วาระ
นวิปากปัจจัย " มี ๓ วาระ
นฌานปัจจัย " มี ๑ วาระ
นมัคคปัจจัย " มี ๑ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย " มี ๓ วาระ

ติกนัย

[๑๔๐] นอธิปติปัจจัย กับอารัมมณปัจจัยและเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย " " มี ๓ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย " " มี ๓ วาระ
นอาเสวนปัจจัย " " มี ๓ วาระ
นกัมมปัจจัย " " มี ๓ วาระ
นวิปากปัจจัย " " มี ๓ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย " " มี ๓ วาระ

อารัมมณมูลกนัย จบ
(พึงขยายให้พิสดารเหมือนวาระที่มีเหตุปัจจัยเป็นมูล)

อธิปติทุกนัย

[๑๔๑] นอารัมมณปัจจัย กับอธิปติปัจจัย มี ๕ วาระ
นอนันตรปัจจัย " มี ๕ วาระ
นสมนันตรปัจจัย " มี ๕ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๗๒ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร

นอัญญมัญญปัจจัย กับอธิปติปัจจัย มี ๕ วาระ
นอุปนิสสยปัจจัย " มี ๕ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย " มี ๗ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย " มี ๙ วาระ
นอาเสวนปัจจัย " มี ๙ วาระ
นกัมมปัจจัย " มี ๓ วาระ
นวิปากปัจจัย " มี ๙ วาระ
นสัมปยุตตปัจจัย " มี ๕ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย " มี ๓ วาระ
โนนัตถิปัจจัย " มี ๕ วาระ
โนวิคตปัจจัย " มี ๕ วาระ ฯลฯ

จตุกกนัย

[๑๔๒] นปุเรชาตปัจจัย กับอธิปติปัจจัย เหตุปัจจัย และอารัมมณปัจจัย มี ๓
วาระ


นปัจฉาชาตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ
นอาเสวนปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ
นกัมมปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ
นวิปากปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ ฯลฯ

อนันตระและสมนันตรทุกนัย
(พึงขยายอนันตรปัจจัยและสมนันตรปัจจัย ให้พิสดารเหมือนกับอารัมมณปัจจัย)

สหชาตทุกนัย

[๑๔๓] นเหตุปัจจัย กับสหชาตปัจจัย มี ๒ วาระ
นอารัมมณปัจจัย " มี ๕ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๗๓ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร

นอธิปติปัจจัย กับสหชาตปัจจัย มี ๙ วาระ
นอนันตรปัจจัย " มี ๕ วาระ
นสมนันตรปัจจัย " มี ๕ วาระ
นอัญญมัญญปัจจัย " มี ๕ วาระ
นอุปนิสสยปัจจัย " มี ๕ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย " มี ๗ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย " มี ๙ วาระ
นอาเสวนปัจจัย " มี ๙ วาระ
นกัมมปัจจัย " มี ๓ วาระ
นวิปากปัจจัย " มี ๙ วาระ
นอาหารปัจจัย " มี ๑ วาระ
นอินทรียปัจจัย " มี ๑ วาระ
นฌานปัจจัย " มี ๑ วาระ
นมัคคปัจจัย " มี ๑ วาระ
นสัมปยุตตปัจจัย " มี ๕ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย " มี ๓ วาระ
โนนัตถิปัจจัย " มี ๕ วาระ
โนวิคตปัจจัย " มี ๕ วาระ

ติกนัย

[๑๔๔] นอารัมมณปัจจัย กับสหชาตปัจจัยและเหตุปัจจัย มี ๕ วาระ
นอธิปติปัจจัย " " มี ๙ วาระ
นอนันตรปัจจัย " " มี ๕ วาระ
นสมนันตรปัจจัย " " มี ๕ วาระ
นอัญญมัญญปัจจัย " " มี ๕ วาระ
นอุปนิสสยปัจจัย " " มี ๕ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย " " มี ๗ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๗๔ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร

นปัจฉาชาตปัจจัย กับสหชาตปัจจัยและเหตุปัจจัย มี ๙ วาระ
นอาเสวนปัจจัย " " มี ๙ วาระ
นกัมมปัจจัย " " มี ๓ วาระ
นวิปากปัจจัย " " มี ๙ วาระ
นสัมปยุตตปัจจัย " " มี ๕ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย " " มี ๓ วาระ
โนนัตถิปัจจัย " " มี ๕ วาระ
โนวิคตปัจจัย " " มี ๕ วาระ

จตุกกนัย

[๑๔๕] นอธิปติปัจจัย กับสหชาตปัจจัย เหตุปัจจัย และอารัมมณปัจจัย มี ๓

วาระ

นปุเรชาตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ
นอาเสวนปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ
นกัมมปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ
นวิปากปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ

(พึงขยายให้พิสดารเหมือนวาระที่มีเหตุปัจจัยเป็นมูล)

อัญญมัญญทุกนัย

[๑๔๖] นเหตุปัจจัย กับอัญญมัญญปัจจัย มี ๒ วาระ
นอารัมมณปัจจัย " มี ๑ วาระ
นอธิปติปัจจัย " มี ๓ วาระ
นอนันตรปัจจัย " มี ๑ วาระ
นสมนันตรปัจจัย " มี ๑ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๗๕ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร

นอุปนิสสยปัจจัย กับอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย " มี ๓ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย " มี ๓ วาระ
นอาเสวนปัจจัย " มี ๓ วาระ
นกัมมปัจจัย " มี ๓ วาระ
นวิปากปัจจัย " มี ๓ วาระ
นอาหารปัจจัย " มี ๑ วาระ
นอินทรียปัจจัย " มี ๑ วาระ
นฌานปัจจัย " มี ๑ วาระ
นมัคคปัจจัย " มี ๑ วาระ
นสัมปยุตตปัจจัย " มี ๑ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย " มี ๓ วาระ
โนนัตถิปัจจัย " มี ๑ วาระ
โนวิคตปัจจัย " มี ๑ วาระ

ติกนัย

[๑๔๗] นอารัมมณปัจจัย กับอัญญมัญญปัจจัยและเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ
นอธิปติปัจจัย " " มี ๓ วาระ
นอนันตรปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นสมนันตรปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นอุปนิสสยปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย " " มี ๓ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย " " มี ๓ วาระ
นอาเสวนปัจจัย " " มี ๓ วาระ
นกัมมปัจจัย " " มี ๓ วาระ
นวิปากปัจจัย " " มี ๓ วาระ
นสัมปยุตตปัจจัย " " มี ๑ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๗๖ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร

นวิปปยุตตปัจจัย กับอัญญมัญญปัจจัยและเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ
โนนัตถิปัจจัย " " มี ๑ วาระ
โนวิคตปัจจัย " " มี ๑ วาระ

จตุกกนัย

[๑๔๘] นอธิปติปัจจัย กับอัญญมัญญปัจจัย เหตุปัจจัย และอารัมมณปัจจัย

มี ๓ วาระ

นปุเรชาตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ
นอาเสวนปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ
นกัมมปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ
นวิปากปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ

(พึงขยายให้พิสดารเหมือนวาระที่มีเหตุปัจจัยเป็นมูล)

นิสสยะและอุปนิสสยทุกนัย

[๑๔๙] นเหตุปัจจัย กับนิสสยปัจจัย มี ๒ วาระ
นอารัมมณปัจจัย " มี ๕ วาระ

(วาระที่มีนิสสยปัจจัยเป็นมูลเหมือนกับวาระที่มีสหชาตปัจจัยเป็นมูล และ
วาระที่มีอุปนิสสยปัจจัยเป็นมูลเหมือนกับวาระที่มีอารัมมณปัจจัยเป็นมูล)

ปุเรชาตทุกนัย

[๑๕๐] นเหตุปัจจัย กับปุเรชาตปัจจัย มี ๒ วาระ
นอธิปติปัจจัย " มี ๓ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย " มี ๓ วาระ
นอาเสวนปัจจัย " มี ๓ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๗๗ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร

นกัมมปัจจัย กับปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ
นวิปากปัจจัย " มี ๓ วาระ
นฌานปัจจัย " มี ๑ วาระ
นมัคคปัจจัย " มี ๑ วาระ

ติกนัย

[๑๕๑] นอธิปติปัจจัย กับปุเรชาตปัจจัยและเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย " " มี ๓ วาระ
นอาเสวนปัจจัย " " มี ๓ วาระ
นกัมมปัจจัย " " มี ๓ วาระ
นวิปากปัจจัย " " มี ๓ วาระ

(พึงขยายให้พิสดารเหมือนวาระที่มีเหตุปัจจัยเป็นมูล)

อาเสวนทุกนัย

[๑๕๒] นเหตุปัจจัย กับอาเสวนปัจจัย มี ๒ วาระ
นอธิปติปัจจัย " มี ๓ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย " มี ๓ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย " มี ๓ วาระ
นกัมมปัจจัย " มี ๓ วาระ
นวิปากปัจจัย " มี ๓ วาระ
นมัคคปัจจัย " มี ๑ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย " มี ๓ วาระ

ติกนัย

[๑๕๓] นอธิปติปัจจัย กับอาเสวนปัจจัยและเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย " " มี ๓ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๗๘ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร

นปัจฉาชาตปัจจัย กับอาเสวนปัจจัยและเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ
นกัมมปัจจัย " " มี ๓ วาระ
นวิปากปัจจัย " " มี ๓ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย " " มี ๓ วาระ

(พึงขยายให้พิสดารเหมือนวาระที่มีเหตุปัจจัยเป็นมูล)

กัมมทุกนัย

[๑๕๔] นเหตุปัจจัย กับกัมมปัจจัย มี ๒ วาระ
นอารัมมณปัจจัย " มี ๕ วาระ
นอธิปติปัจจัย " มี ๙ วาระ
นอนันตรปัจจัย " มี ๕ วาระ
นสมนันตรปัจจัย " มี ๕ วาระ
นอัญญมัญญปัจจัย " มี ๕ วาระ
นอุปนิสสยปัจจัย " มี ๕ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย " มี ๗ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย " มี ๙ วาระ
นอาเสวนปัจจัย " มี ๙ วาระ
นวิปากปัจจัย " มี ๙ วาระ
นอาหารปัจจัย " มี ๑ วาระ
นอินทรียปัจจัย " มี ๑ วาระ
นฌานปัจจัย " มี ๑ วาระ
นมัคคปัจจัย " มี ๑ วาระ
นสัมปยุตตปัจจัย " มี ๕ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย " มี ๓ วาระ
โนนัตถิปัจจัย " มี ๕ วาระ
โนวิคตปัจจัย " มี ๕ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๗๙ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร
ติกนัย

[๑๕๕] นอารัมมณปัจจัย กับกัมมปัจจัยและเหตุปัจจัย มี ๕ วาระ
นอธิปติปัจจัย " " มี ๙ วาระ
นอนันตรปัจจัย " " มี ๕ วาระ
นสมนันตรปัจจัย " " มี ๕ วาระ
นอัญญมัญญปัจจัย " " มี ๕ วาระ
นอุปนิสสยปัจจัย " " มี ๕ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย " " มี ๗ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย " " มี ๙ วาระ
นอาเสวนปัจจัย " " มี ๙ วาระ
นวิปากปัจจัย " " มี ๙ วาระ
นสัมปยุตตปัจจัย " " มี ๕ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย " " มี ๓ วาระ
โนนัตถิปัจจัย " " มี ๕ วาระ
โนวิคตปัจจัย " " มี ๕ วาระ

จตุกกนัย

[๑๕๖] นอธิปติปัจจัย กับกัมมปัจจัย เหตุปัจจัย และอารัมมณปัจจัย มี ๓

วาระ

นปุเรชาตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ
นอาเสวนปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ
นวิปากปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ

(พึงขยายให้พิสดารเหมือนวาระที่มีเหตุปัจจัยเป็นมูล)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๘๐ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร
วิปากทุกนัย

[๑๕๗] นเหตุปัจจัย กับวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ
นอารัมมณปัจจัย " มี ๑ วาระ
นอธิปติปัจจัย " มี ๑ วาระ
นอนันตรปัจจัย " มี ๑ วาระ
นสมนันตรปัจจัย " มี ๑ วาระ
นอัญญมัญญปัจจัย " มี ๑ วาระ
นอุปนิสสยปัจจัย " มี ๑ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย " มี ๑ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย " มี ๑ วาระ
นอาเสวนปัจจัย " มี ๑ วาระ
นฌานปัจจัย " มี ๑ วาระ
นมัคคปัจจัย " มี ๑ วาระ
นสัมปยุตตปัจจัย " มี ๑ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย " มี ๑ วาระ
โนนัตถิปัจจัย " มี ๑ วาระ
โนวิคตปัจจัย " มี ๑ วาระ

ติกนัย

[๑๕๘] นอารัมมณปัจจัย กับวิปากปัจจัยและเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ
นอธิปติปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นอนันตรปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นสมนันตรปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นอัญญมัญญปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นอุปนิสสยปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย " " มี ๑ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๘๑ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร

นอาเสวนปัจจัย กับวิปากปัจจัยและเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ
นสัมปยุตตปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย " " มี ๑ วาระ
โนนัตถิปัจจัย " " มี ๑ วาระ
โนวิคตปัจจัย " " มี ๑ วาระ

จตุกกนัย

[๑๕๙] นอธิปติปัจจัย กับวิปากปัจจัย เหตุปัจจัย และอารัมมณปัจจัย มี

๑ วาระ

นปุเรชาตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
นอาเสวนปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ

ปัญจกนัย

[๑๖๐] นปุเรชาตปัจจัย กับวิปากปัจจัย เหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย และ

อธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ

นปัจฉาชาตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
นอาเสวนปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ ฯลฯ

เตวีสกนัย

[๑๖๑] นปัจฉาชาตปัจจัย กับวิปากปัจจัย เหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย

อธิปติปัจจัย อนันตรปัจจัย สมนันตรปัจจัย สหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย
นิสสยปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย กัมมปัจจัย อาหารปัจจัย อินทรีย-
ปัจจัย ฌานปัจจัย มัคคปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย วิปปยุตตปัจจัย อัตถิปัจจัย
นัตถิปัจจัย วิคตปัจจัย และอวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ

นอาเสวนปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๘๒ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร
อาหารทุกนัย

[๑๖๒] นเหตุปัจจัย กับอาหารปัจจัย มี ๒ วาระ
นอารัมมณปัจจัย " มี ๕ วาระ
นอธิปติปัจจัย " มี ๙ วาระ
นอนันตรปัจจัย " มี ๕ วาระ
นสมนันตรปัจจัย " มี ๕ วาระ
นอัญญมัญญปัจจัย " มี ๕ วาระ
นอุปนิสสยปัจจัย " มี ๕ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย " มี ๗ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย " มี ๙ วาระ
นอาเสวนปัจจัย " มี ๙ วาระ
นกัมมปัจจัย " มี ๓ วาระ
นวิปากปัจจัย " มี ๙ วาระ
นอินทรียปัจจัย " มี ๑ วาระ
นฌานปัจจัย " มี ๑ วาระ
นมัคคปัจจัย " มี ๑ วาระ
นสัมปยุตตปัจจัย " มี ๕ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย " มี ๓ วาระ
โนนัตถิปัจจัย " มี ๕ วาระ
โนวิคตปัจจัย " มี ๕ วาระ

ติกนัย

[๑๖๓] นอารัมมณปัจจัย กับอาหารปัจจัยและเหตุปัจจัย มี ๕ วาระ
นอธิปติปัจจัย " " มี ๙ วาระ
นอนันตรปัจจัย " " มี ๕ วาระ
นสมนันตรปัจจัย " " มี ๕ วาระ
นอัญญมัญญปัจจัย " " มี ๕ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๘๓ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร

นอุปนิสสยปัจจัย กับอาหารปัจจัยและเหตุปัจจัย มี ๕ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย " " มี ๗ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย " " มี ๙ วาระ
นอาเสวนปัจจัย " " มี ๙ วาระ
นกัมมปัจจัย " " มี ๓ วาระ
นวิปากปัจจัย " " มี ๙ วาระ
นสัมปยุตตปัจจัย " " มี ๕ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย " " มี ๓ วาระ
โนนัตถิปัจจัย " " มี ๕ วาระ
โนวิคตปัจจัย " " มี ๕ วาระ

จตุกกนัย

[๑๖๔] นอธิปติปัจจัย กับอาหารปัจจัย เหตุปัจจัย และอารัมมณปัจจัย มี

๓ วาระ

นปุเรชาตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ
นอาเสวนปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ
นกัมมปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ
นวิปากปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ

(พึงขยายให้พิสดารเหมือนวาระที่มีเหตุปัจจัยเป็นมูล)

อินทรียทุกนัย

[๑๖๕] นเหตุปัจจัย กับอินทรียปัจจัย มี ๒ วาระ
นอารัมมณปัจจัย " มี ๕ วาระ
นอธิปติปัจจัย " มี ๙ วาระ
นอนันตรปัจจัย " มี ๕ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๘๔ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร

นสมนันตรปัจจัย กับอินทรียปัจจัย มี ๕ วาระ
นอัญญมัญญปัจจัย " มี ๕ วาระ
นอุปนิสสยปัจจัย " มี ๕ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย " มี ๗ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย " มี ๙ วาระ
นอาเสวนปัจจัย " มี ๙ วาระ
นกัมมปัจจัย " มี ๓ วาระ
นวิปากปัจจัย " มี ๙ วาระ
นอาหารปัจจัย " มี ๑ วาระ
นฌานปัจจัย " มี ๑ วาระ
นมัคคปัจจัย " มี ๑ วาระ
นสัมปยุตตปัจจัย " มี ๕ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย " มี ๓ วาระ
โนนัตถิปัจจัย " มี ๕ วาระ
โนวิคตปัจจัย " มี ๕ วาระ

ติกนัย

[๑๖๖] นอารัมมณปัจจัย กับอินทรียปัจจัยและเหตุปัจจัย มี ๕ วาระ
นอธิปติปัจจัย " " มี ๙ วาระ
นอนันตรปัจจัย " " มี ๕ วาระ
นสมนันตรปัจจัย " " มี ๕ วาระ
นอัญญมัญญปัจจัย " " มี ๕ วาระ
นอุปนิสสยปัจจัย " " มี ๕ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย " " มี ๗ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย " " มี ๙ วาระ
นอาเสวนปัจจัย " " มี ๙ วาระ
นกัมมปัจจัย " " มี ๓ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๘๕ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร

นวิปากปัจจัย กับอินทรียปัจจัยและเหตุปัจจัย มี ๙ วาระ
นสัมปยุตตปัจจัย " " มี ๕ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย " " มี ๓ วาระ
โนนัตถิปัจจัย " " มี ๕ วาระ
โนวิคตปัจจัย " " มี ๕ วาระ

จตุกกนัย

[๑๖๗] นอธิปติปัจจัย กับอินทรียปัจจัย เหตุปัจจัย และอารัมมณปัจจัย มี

๓ วาระ

นปุเรชาตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ
นอาเสวนปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ
นกัมมปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ
นวิปากปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ

(พึงขยายให้พิสดารเหมือนวาระที่มีเหตุปัจจัยเป็นมูล)

ฌานทุกนัย

[๑๖๘] นเหตุปัจจัย กับฌานปัจจัย มี ๒ วาระ
นอารัมมณปัจจัย " มี ๕ วาระ
นอธิปติปัจจัย " มี ๙ วาระ
นอนันตรปัจจัย " มี ๕ วาระ
นสมนันตรปัจจัย " มี ๕ วาระ
นอัญญมัญญปัจจัย " มี ๕ วาระ
นอุปนิสสยปัจจัย " มี ๕ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย " มี ๗ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๘๖ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร

นปัจฉาชาตปัจจัย กับฌานปัจจัย มี ๙ วาระ
นอาเสวนปัจจัย " มี ๙ วาระ
นกัมมปัจจัย " มี ๓ วาระ
นวิปากปัจจัย " มี ๙ วาระ
นมัคคปัจจัย " มี ๑ วาระ
นสัมปยุตตปัจจัย " มี ๕ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย " มี ๓ วาระ
โนนัตถิปัจจัย " มี ๕ วาระ
โนวิคตปัจจัย " มี ๕ วาระ

ติกนัย

[๑๖๙] นอารัมมณปัจจัย กับฌานปัจจัยและเหตุปัจจัย มี ๕ วาระ
นอธิปติปัจจัย " " มี ๙ วาระ
นอนันตรปัจจัย " " มี ๕ วาระ
นสมนันตรปัจจัย " " มี ๕ วาระ
นอัญญมัญญปัจจัย " " มี ๕ วาระ
นอุปนิสสยปัจจัย " " มี ๕ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย " " มี ๗ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย " " มี ๙ วาระ
นอาเสวนปัจจัย " " มี ๙ วาระ
นกัมมปัจจัย " " มี ๓ วาระ
นวิปากปัจจัย " " มี ๙ วาระ
นสัมปยุตตปัจจัย " " มี ๕ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย " " มี ๓ วาระ
โนนัตถิปัจจัย " " มี ๕ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๘๗ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร
จตุกกนัย

[๑๗๐] นอธิปติปัจจัย กับฌานปัจจัย เหตุปัจจัย และอารัมมณปัจจัย มี ๓

วาระ

นปุเรชาตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ
นอาเสวนปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ
นกัมมปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ
นวิปากปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ

(พึงขยายให้พิสดารเหมือนวาระที่มีเหตุปัจจัยเป็นมูล)

มัคคทุกนัย

[๑๗๑] นเหตุปัจจัย กับมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ
นอารัมมณปัจจัย " มี ๕ วาระ
นอธิปติปัจจัย " มี ๙ วาระ
นอนันตรปัจจัย " มี ๕ วาระ
นสมนันตรปัจจัย " มี ๕ วาระ
นอัญญมัญญปัจจัย " มี ๕ วาระ
นอุปนิสสยปัจจัย " มี ๕ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย " มี ๗ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย " มี ๙ วาระ
นอาเสวนปัจจัย " มี ๙ วาระ
นกัมมปัจจัย " มี ๓ วาระ
นวิปากปัจจัย " มี ๙ วาระ
นสัมปยุตตปัจจัย " มี ๕ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย " มี ๓ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๘๘ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร

โนนัตถิปัจจัย กับมัคคปัจจัย มี ๕ วาระ
โนวิคตปัจจัย " มี ๕ วาระ

ติกนัย

[๑๗๒] นอารัมมณปัจจัย กับมัคคปัจจัยและเหตุปัจจัย มี ๕ วาระ
นอธิปติปัจจัย " " มี ๙ วาระ
นอนันตรปัจจัย " " มี ๕ วาระ
นสมนันตรปัจจัย " " มี ๕ วาระ
นอัญญมัญญปัจจัย " " มี ๕ วาระ
นอุปนิสสยปัจจัย " " มี ๕ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย " " มี ๙ วาระ
นอาเสวนปัจจัย " " มี ๙ วาระ
นกัมมปัจจัย " " มี ๓ วาระ
นวิปากปัจจัย " " มี ๙ วาระ
นสัมปยุตตปัจจัย " " มี ๕ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย " " มี ๓ วาระ
โนนัตถิปัจจัย " " มี ๕ วาระ
โนวิคตปัจจัย " " มี ๕ วาระ

จตุกกนัย

[๑๗๓] นอธิปติปัจจัย กับมัคคปัจจัย เหตุปัจจัย และอารัมมณปัจจัย มี ๓

วาระ

นปุเรชาตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ
นอาเสวนปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๘๙ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร

นกัมมปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ
นวิปากปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ

(พึงขยายให้พิสดารเหมือนวาระที่มีเหตุปัจจัยเป็นมูล)

สัมปยุตตทุกนัย

[๑๗๔] นเหตุปัจจัย กับสัมปยุตตปัจจัย มี ๒ วาระ
นอธิปติปัจจัย " มี ๓ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย " มี ๓ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย " มี ๓ วาระ
นอาเสวนปัจจัย " มี ๓ วาระ
นกัมมปัจจัย " มี ๓ วาระ
นวิปากปัจจัย " มี ๓ วาระ
นฌานปัจจัย " มี ๑ วาระ
นมัคคปัจจัย " มี ๑ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย " มี ๓ วาระ

ติกนัย

[๑๗๕] นอธิปติปัจจัย กับสัมปยุตตปัจจัยและเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย " " มี ๓ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย " " มี ๓ วาระ
นอาเสวนปัจจัย " " มี ๓ วาระ
นกัมมปัจจัย " " มี ๓ วาระ
นวิปากปัจจัย " " มี ๓ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย " " มี ๓ วาระ

(พึงขยายให้พิสดารเหมือนวาระที่มีเหตุปัจจัยเป็นมูล)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๙๐ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร
วิปปยุตตทุกนัย

[๑๗๖] นเหตุปัจจัย กับวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ วาระ
นอารัมมณปัจจัย " มี ๕ วาระ
นอธิปติปัจจัย " มี ๙ วาระ
นอนันตรปัจจัย " มี ๕ วาระ
นสมนันตรปัจจัย " มี ๕ วาระ
นอัญญมัญญปัจจัย " มี ๕ วาระ
นอุปนิสสยปัจจัย " มี ๕ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย " มี ๕ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย " มี ๙ วาระ
นอาเสวนปัจจัย " มี ๙ วาระ
นกัมมปัจจัย " มี ๓ วาระ
นวิปากปัจจัย " มี ๙ วาระ
นฌานปัจจัย " มี ๑ วาระ
นมัคคปัจจัย " มี ๑ วาระ
นสัมปยุตตปัจจัย " มี ๕ วาระ
โนนัตถิปัจจัย " มี ๕ วาระ
โนวิคตปัจจัย " มี ๕ วาระ

ติกนัย

[๑๗๗] นอารัมมณปัจจัย กับวิปปยุตตปัจจัยและเหตุปัจจัย มี ๕ วาระ
นอธิปติปัจจัย " " มี ๙ วาระ
นอนันตรปัจจัย " " มี ๕ วาระ
นสมนันตรปัจจัย " " มี ๕ วาระ
นอัญญมัญญปัจจัย " " มี ๕ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๙๑ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร

นอุปนิสสยปัจจัย กับวิปปยุตตปัจจัยและเหตุปัจจัย มี ๕ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย " " มี ๕ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย " " มี ๙ วาระ
นอาเสวนปัจจัย " " มี ๙ วาระ
นกัมมปัจจัย " " มี ๓ วาระ
นวิปากปัจจัย " " มี ๙ วาระ
นสัมปยุตตปัจจัย " " มี ๕ วาระ
โนนัตถิปัจจัย " " มี ๕ วาระ
โนวิคตปัจจัย " " มี ๕ วาระ

จตุกกนัย

[๑๗๘] นอธิปติปัจจัย กับวิปปยุตตปัจจัย เหตุปัจจัย และอารัมมณปัจจัย

มี ๓ วาระ

นปุเรชาตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ
นอาเสวนปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ
นกัมมปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ
นวิปากปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ

ปัญจกนัย

[๑๗๙] นปัจฉาชาตปัจจัย กับวิปปยุตตปัจจัย เหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย

และอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ

นอาเสวนปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ
นกัมมปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ
นวิปากปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๙๒ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร
ทวาทสกนัย

[๑๘๐] นปัจฉาชาตปัจจัย กับวิปปยุตตปัจจัย เหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย
อธิปติปัจจัย อนันตรปัจจัย สมนันตรปัจจัย สหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย
นิสสยปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย และปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ


นอาเสวนปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ
นกัมมปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ
นวิปากปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ

เตวีสกนัย (สาเสวนะ)
[๑๘๑] นปัจฉาชาตปัจจัย กับวิปปยุตตปัจจัย เหตุปัจจัย ฯลฯ ปุเรชาตปัจจัย
อาเสวนปัจจัย กัมมปัจจัย อาหารปัจจัย ฯลฯ อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ
นวิปากปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ

จุททสกนัย (สวิปากะ)
[๑๘๒] นปัจฉาชาตปัจจัย กับวิปปยุตตปัจจัย เหตุปัจจัย ฯลฯ ปุเรชาต-
ปัจจัย กัมมปัจจัย และวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ
นอาเสวนปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ

เตวีสกนัย
[๑๘๓] นปัจฉาชาตปัจจัย กับวิปปยุตตปัจจัย เหตุปัจจัย ฯลฯ ปุเรชาต-
ปัจจัย กัมมปัจจัย วิปากปัจจัย อาหารปัจจัย ฯลฯ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ
นอาเสวนปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ

อัตถิทุกนัย
[๑๘๔] นเหตุปัจจัย กับอัตถิปัจจัย มี ๒ วาระ
นอารัมมณปัจจัย " มี ๕ วาระ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๙๓ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร

นอธิปติปัจจัย กับอัตถิปัจจัย มี ๙ วาระ
นอนันตรปัจจัย " มี ๕ วาระ
นสมนันตรปัจจัย " มี ๕ วาระ
นอัญญมัญญปัจจัย " มี ๕ วาระ
นอุปนิสสยปัจจัย " มี ๕ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย " มี ๗ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย " มี ๙ วาระ
นอาเสวนปัจจัย " มี ๙ วาระ
นกัมมปัจจัย " มี ๓ วาระ
นวิปากปัจจัย " มี ๙ วาระ
นอาหารปัจจัย " มี ๑ วาระ
นอินทรียปัจจัย " มี ๑ วาระ
นฌานปัจจัย " มี ๑ วาระ
นมัคคปัจจัย " มี ๑ วาระ
นสัมปยุตตปัจจัย " มี ๕ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย " มี ๓ วาระ
โนนัตถิปัจจัย " มี ๕ วาระ
โนวิคตปัจจัย " มี ๕ วาระ

ติกนัย

[๑๘๕] นอารัมมณปัจจัย กับอัตถิปัจจัยและเหตุปัจจัย มี ๕ วาระ
นอธิปติปัจจัย " " มี ๙ วาระ
นอนันตรปัจจัย " " มี ๕ วาระ
นสมนันตรปัจจัย " " มี ๕ วาระ
นอัญญมัญญปัจจัย " " มี ๕ วาระ
นอุปนิสสยปัจจัย " " มี ๕ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย " " มี ๗ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย " " มี ๙ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๙๔ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร

นอาเสวนปัจจัย กับอัตถิปัจจัยและเหตุปัจจัย มี ๙ วาระ
นกัมมปัจจัย " " มี ๓ วาระ
นวิปากปัจจัย " " มี ๙ วาระ
นสัมปยุตตปัจจัย " " มี ๕ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย " " มี ๓ วาระ
โนนัตถิปัจจัย " " มี ๕ วาระ
โนวิคตปัจจัย " " มี ๕ วาระ

จตุกกนัย

[๑๘๖] นอธิปติปัจจัย กับอัตถิปัจจัย เหตุปัจจัย และอารัมมณปัจจัย มี ๓

วาระ

นปุเรชาตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ
นอาเสวนปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ
นกัมมปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ
นวิปากปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ

(พึงขยายให้พิสดารเหมือนวาระที่มีเหตุปัจจัยเป็นมูล)

นัตถิวิคตทุกนัย

[๑๘๗] l นเหตุปัจจัย กับนัตถิปัจจัย ฯลฯ วิคตปัจจัย มี ๒ วาระ
นอธิปติปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ
นอาเสวนปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ
นกัมมปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๙๕ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร

นวิปากปัจจัย กับ ฯลฯ วิคตปัจจัย มี ๓ วาระ
นฌานปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
นมัคคปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ

(พึงขยายให้พิสดารเหมือนวาระที่มีอารัมมณปัจจัยเป็นมูล)

อวิคตทุกนัย

[๑๘๘] นเหตุปัจจัย กับอวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ
นอารัมมณปัจจัย " มี ๕ วาระ
นอธิปติปัจจัย " มี ๙ วาระ
นอนันตรปัจจัย " มี ๕ วาระ
นสมนันตรปัจจัย " มี ๕ วาระ
นอัญญมัญญปัจจัย " มี ๕ วาระ
นอุปนิสสยปัจจัย " มี ๕ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย " มี ๗ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย " มี ๙ วาระ
นอาเสวนปัจจัย " มี ๙ วาระ
นกัมมปัจจัย " มี ๓ วาระ
นวิปากปัจจัย " มี ๙ วาระ
นอาหารปัจจัย " มี ๑ วาระ
นอินทรียปัจจัย " มี ๑ วาระ
นฌานปัจจัย " มี ๑ วาระ
นมัคคปัจจัย " มี ๑ วาระ
นสัมปยุตตปัจจัย " มี ๕ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย " มี ๓ วาระ
โนนัตถิปัจจัย " มี ๕ วาระ
โนวิคตปัจจัย " มี ๕ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๙๖ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร
ติกนัย

[๑๘๙] นอารัมมณปัจจัย กับอวิคตปัจจัยและเหตุปัจจัย มี ๕ วาระ
นอธิปติปัจจัย " " มี ๙ วาระ
นอนันตรปัจจัย " " มี ๕ วาระ
นสมนันตรปัจจัย " " มี ๕ วาระ
นอัญญมัญญปัจจัย " " มี ๕ วาระ
นอุปนิสสยปัจจัย " " มี ๕ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย " " มี ๗ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย " " มี ๙ วาระ
นอาเสวนปัจจัย " " มี ๙ วาระ
นกัมมปัจจัย " " มี ๓ วาระ
นวิปากปัจจัย " " มี ๙ วาระ
นสัมปยุตตปัจจัย " " มี ๕ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย " " มี ๓ วาระ
โนนัตถิปัจจัย " " มี ๕ วาระ
โนวิคตปัจจัย " " มี ๕ วาระ

(พึงขยายให้พิสดารเหมือนวาระที่มีเหตุปัจจัยเป็นมูล)
การนับจำนวนปัจจัยในอนุโลมปัจจนียะ จบ

๔. ปัจจยปัจจนียานุโลม
นเหตุทุกนัย

[๑๙๐] อารัมมณปัจจัย กับนเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ
อนันตรปัจจัย " มี ๒ วาระ
สมนันตรปัจจัย " มี ๒ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๙๗ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร

สหชาตปัจจัย กับนเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ
อัญญมัญญปัจจัย " มี ๒ วาระ
นิสสยปัจจัย " มี ๒ วาระ
อุปนิสสยปัจจัย " มี ๒ วาระ
ปุเรชาตปัจจัย " มี ๒ วาระ
อาเสวนปัจจัย " มี ๒ วาระ
กัมมปัจจัย " มี ๒ วาระ
วิปากปัจจัย " มี ๑ วาระ
อาหารปัจจัย " มี ๒ วาระ
อินทรียปัจจัย " มี ๒ วาระ
ฌานปัจจัย " มี ๒ วาระ
มัคคปัจจัย " มี ๑ วาระ
สัมปยุตตปัจจัย " มี ๒ วาระ
วิปปยุตตปัจจัย " มี ๒ วาระ
อัตถิปัจจัย " มี ๒ วาระ
นัตถิปัจจัย " มี ๒ วาระ
วิคตปัจจัย " มี ๒ วาระ
อวิคตปัจจัย " มี ๒ วาระ

ติกนัย

[๑๙๑] สหชาตปัจจัย กับนเหตุปัจจัยและนอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ
อัญญมัญญปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นิสสยปัจจัย " " มี ๑ วาระ
กัมมปัจจัย " " มี ๑ วาระ
วิปากปัจจัย " " มี ๑ วาระ
อาหารปัจจัย " " มี ๑ วาระ
อินทรียปัจจัย " " มี ๑ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๙๘ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร

ฌานปัจจัย กับนเหตุปัจจัยและนอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ
วิปปยุตตปัจจัย " " มี ๑ วาระ
อัตถิปัจจัย " " มี ๑ วาระ
อวิคตปัจจัย " " มี ๑ วาระ ฯลฯ

สัตตกนัย

[๑๙๒] สหชาตปัจจัย กับนเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย นอธิปติปัจจัย

นอนันตรปัจจัย นสมนันตรปัจจัย และนอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ

นิสสยปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
กัมมปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
วิปากปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
อาหารปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
อินทรียปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
ฌานปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
วิปปยุตตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
อัตถิปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
อวิคตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ

(ทุกปัจจัยมีปัจจัยละ ๑ วาระ) ฯลฯ

ทสกนัย

[๑๙๓] ... กับนเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย นอธิปติปัจจัย นอนันตรปัจจัย
นสมนันตรปัจจัย นอัญญมัญญปัจจัย นอุปนิสสยปัจจัย นปุเรชาตปัจจัย
นปัจฉาชาตปัจจัย และนอาเสวนปัจจัย ...
(ทุกปัจจัยจนถึงอาเสวนปัจจัยเหมือนกัน เมื่อนับนกัมมปัจจัยเข้าแล้วก็มี ๕
วาระ)
สหชาตปัจจัย กับนเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย ฯลฯ นอาเสวนปัจจัย
และนกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๙๙ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร

นิสสยปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
อาหารปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
อัตถิปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
อวิคตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ ฯลฯ

จุททสกนัย

[๑๙๔] สหชาตปัจจัย กับนเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย นอธิปติปัจจัย

นอนันตรปัจจัย นสมนันตรปัจจัย นอัญญมัญญปัจจัย นอุปนิสสยปัจจัย
นปุเรชาตปัจจัย นปัจฉาชาตปัจจัย นอาเสวนปัจจัย นกัมมปัจจัย นวิปากปัจจัย
และนอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ

นิสสยปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
อัตถิปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
อวิคตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ ฯลฯ

เอกวีสกนัย

[๑๙๕] สหชาตปัจจัย กับนเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย นอธิปติปัจจัย

นอนันตรปัจจัย นสมนันตรปัจจัย นอัญญมัญญปัจจัย นอุปนิสสยปัจจัย นปุเร-
ชาตปัจจัย นปัจฉาชาตปัจจัย นอาเสวนปัจจัย นกัมมปัจจัย นวิปากปัจจัย
นอาหารปัจจัย นอินทรียปัจจัย นฌานปัจจัย นมัคคปัจจัย นสัมปยุตตปัจจัย
นวิปปยุตตปัจจัย โนนัตถิปัจจัย และโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ

นิสสยปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
อัตถิปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
อวิคตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ

นอารัมมณทุกนัย

[๑๙๖] เหตุปัจจัย กับนอารัมมณปัจจัย มี ๕ วาระ
อธิปติปัจจัย " มี ๕ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๐๐ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร

สหชาตปัจจัย กับนอารัมมณปัจจัย มี ๕ วาระ
อัญญมัญญปัจจัย " มี ๑ วาระ
นิสสยปัจจัย " มี ๕ วาระ
กัมมปัจจัย " มี ๕ วาระ
วิปากปัจจัย " มี ๑ วาระ
อาหารปัจจัย " มี ๕ วาระ
อินทรียปัจจัย " มี ๕ วาระ
ฌานปัจจัย " มี ๕ วาระ
มัคคปัจจัย " มี ๕ วาระ
วิปปยุตตปัจจัย " มี ๕ วาระ
อัตถิปัจจัย " มี ๕ วาระ
อวิคตปัจจัย " มี ๕ วาระ

ติกนัย

[๑๙๗] สหชาตปัจจัย กับนอารัมมณปัจจัยและนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ
อัญญมัญญปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นิสสยปัจจัย " " มี ๑ วาระ
กัมมปัจจัย " " มี ๑ วาระ
วิปากปัจจัย " " มี ๑ วาระ
อาหารปัจจัย " " มี ๑ วาระ
อินทรียปัจจัย " " มี ๑ วาระ
ฌานปัจจัย " " มี ๑ วาระ
วิปปยุตตปัจจัย " " มี ๑ วาระ
อัตถิปัจจัย " " มี ๑ วาระ
อวิคตปัจจัย " " มี ๑ วาระ

(พึงขยายให้พิสดารเหมือนวาระที่มีนเหตุปัจจัยเป็นมูล)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๐๑ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร
นอธิปติทุกนัย

[๑๙๘] เหตุปัจจัย กับนอธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ
อารัมมณปัจจัย " มี ๓ วาระ
อนันตรปัจจัย " มี ๓ วาระ
สมนันตรปัจจัย " มี ๓ วาระ
สหชาตปัจจัย " มี ๙ วาระ
อัญญมัญญปัจจัย " มี ๓ วาระ
นิสสยปัจจัย " มี ๙ วาระ
อุปนิสสยปัจจัย " มี ๓ วาระ
ปุเรชาตปัจจัย " มี ๓ วาระ
อาเสวนปัจจัย " มี ๓ วาระ
กัมมปัจจัย " มี ๙ วาระ
วิปากปัจจัย " มี ๑ วาระ
อาหารปัจจัย " มี ๙ วาระ
อินทรียปัจจัย " มี ๙ วาระ
ฌานปัจจัย " มี ๙ วาระ
มัคคปัจจัย " มี ๙ วาระ
สัมปยุตตปัจจัย " มี ๓ วาระ
วิปปยุตตปัจจัย " มี ๙ วาระ
อัตถิปัจจัย " มี ๙ วาระ
นัตถิปัจจัย " มี ๓ วาระ
วิคตปัจจัย " มี ๓ วาระ
อวิคตปัจจัย " มี ๙ วาระ

ติกนัย

[๑๙๙] อารัมมณปัจจัย กับนอธิปติปัจจัยและนเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ
อนันตรปัจจัย " " มี ๒ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๐๒ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร

สมนันตรปัจจัย กับนอธิปติปัจจัยและนเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ
สหชาตปัจจัย " " มี ๒ วาระ
อัญญมัญญปัจจัย " " มี ๒ วาระ
นิสสยปัจจัย " " มี ๒ วาระ
อุปนิสสยปัจจัย " " มี ๒ วาระ
ปุเรชาตปัจจัย " " มี ๒ วาระ
อาเสวนปัจจัย " " มี ๒ วาระ
กัมมปัจจัย " " มี ๒ วาระ
วิปากปัจจัย " " มี ๑ วาระ
อาหารปัจจัย " " มี ๒ วาระ
อินทรียปัจจัย " " มี ๒ วาระ
ฌานปัจจัย " " มี ๒ วาระ
มัคคปัจจัย " " มี ๑ วาระ
สัมปยุตตปัจจัย " " มี ๒ วาระ
วิปปยุตตปัจจัย " " มี ๒ วาระ
อัตถิปัจจัย " " มี ๒ วาระ
นัตถิปัจจัย " " มี ๒ วาระ
วิคตปัจจัย " " มี ๒ วาระ
อวิคตปัจจัย " " มี ๒ วาระ

จตุกกนัย

[๒๐๐] สหชาตปัจจัย กับนอธิปติปัจจัย นเหตุปัจจัย และนอารัมมณปัจจัย

มี ๑ วาระ

อัญญมัญญปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
นิสสยปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
กัมมปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
วิปากปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๐๓ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร

อาหารปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
อินทรียปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
ฌานปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
วิปปยุตตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
อัตถิปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
อวิคตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ (ย่อ)

ทุกนัยมีนอนันตรปัจจัยเป็นต้น

[๒๐๑] เหตุปัจจัย กับนอนันตรปัจจัย นสมนันตรปัจจัย นอัญญมัญญปัจจัย

และ นอุปนิสสยปัจจัยมี ๕ วาระ

อธิปติปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๕ วาระ
สหชาตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๕ วาระ
อัญญมัญญปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
นิสสยปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๕ วาระ
กัมมปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๕ วาระ
วิปากปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
อาหารปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๕ วาระ
อินทรียปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๕ วาระ
ฌานปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๕ วาระ
มัคคปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๕ วาระ
วิปปยุตตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๕ วาระ
อัตถิปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๕ วาระ
อวิคตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๕ วาระ

ติกนัย

[๒๐๒] สหชาตปัจจัย กับนอุปนิสสยปัจจัยและนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ
อัญญมัญญปัจจัย " " มี ๑ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๐๔ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร

นิสสยปัจจัย กับนอุปนิสสยปัจจัยและนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ
กัมมปัจจัย " " มี ๑ วาระ
วิปากปัจจัย " " มี ๑ วาระ
อาหารปัจจัย " " มี ๑ วาระ
อินทรียปัจจัย " " มี ๑ วาระ
ฌานปัจจัย " " มี ๑ วาระ
วิปปยุตตปัจจัย " " มี ๑ วาระ
อัตถิปัจจัย " " มี ๑ วาระ
อวิคตปัจจัย " " มี ๑ วาระ (ย่อ)

นปุเรชาตทุกนัย

[๒๐๓] เหตุปัจจัย กับนปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ
อารัมมณปัจจัย " มี ๓ วาระ
อธิปติปัจจัย " มี ๗ วาระ
อนันตรปัจจัย " มี ๓ วาระ
สมนันตรปัจจัย " มี ๓ วาระ
สหชาตปัจจัย " มี ๗ วาระ
อัญญมัญญปัจจัย " มี ๓ วาระ
นิสสยปัจจัย " มี ๗ วาระ
อุปนิสสยปัจจัย " มี ๓ วาระ
อาเสวนปัจจัย " มี ๓ วาระ
กัมมปัจจัย " มี ๗ วาระ
วิปากปัจจัย " มี ๑ วาระ
อาหารปัจจัย " มี ๗ วาระ
อินทรียปัจจัย " มี ๗ วาระ
ฌานปัจจัย " มี ๗ วาระ
มัคคปัจจัย " มี ๗ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๐๕ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร

สัมปยุตตปัจจัย กับนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ
วิปปยุตตปัจจัย " มี ๕ วาระ
อัตถิปัจจัย " มี ๗ วาระ
นัตถิปัจจัย " มี ๓ วาระ
วิคตปัจจัย " มี ๓ วาระ
อวิคตปัจจัย " มี ๗ วาระ

ติกนัย

[๒๐๔] อารัมมณปัจจัย กับนปุเรชาตปัจจัยและนเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ
อนันตรปัจจัย " " มี ๒ วาระ
สมนันตรปัจจัย " " มี ๒ วาระ
สหชาตปัจจัย " " มี ๒ วาระ
อัญญมัญญปัจจัย " " มี ๒ วาระ
นิสสยปัจจัย " " มี ๒ วาระ
อุปนิสสยปัจจัย " " มี ๒ วาระ
อาเสวนปัจจัย " " มี ๑ วาระ
กัมมปัจจัย " " มี ๒ วาระ
วิปากปัจจัย " " มี ๑ วาระ
อาหารปัจจัย " " มี ๒ วาระ
อินทรียปัจจัย " " มี ๒ วาระ
ฌานปัจจัย " " มี ๒ วาระ
มัคคปัจจัย " " มี ๑ วาระ
สัมปยุตตปัจจัย " " มี ๒ วาระ
วิปปยุตตปัจจัย " " มี ๑ วาระ
อัตถิปัจจัย " " มี ๒ วาระ
นัตถิปัจจัย " " มี ๒ วาระ
วิคตปัจจัย " " มี ๒ วาระ
อวิคตปัจจัย " " มี ๒ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๐๖ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร
จตุกกนัย

[๒๐๕] สหชาตปัจจัย กับนปุเรชาตปัจจัย นเหตุปัจจัย และนอารัมมณปัจจัย

มี ๑ วาระ

อัญญมัญญปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
นิสสยปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
กัมมปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
วิปากปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
อาหารปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
อินทรียปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
ฌานปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
วิปปยุตตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
อัตถิปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
อวิคตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ (ย่อ)

นปัจฉาชาตทุกนัย

[๒๐๖] เหตุปัจจัย กับนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๙ วาระ
อารัมมณปัจจัย " มี ๓ วาระ
อธิปติปัจจัย " มี ๙ วาระ
อนันตรปัจจัย " มี ๓ วาระ
สมนันตรปัจจัย " มี ๓ วาระ
สหชาตปัจจัย " มี ๙ วาระ
อัญญมัญญปัจจัย " มี ๓ วาระ
นิสสยปัจจัย " มี ๙ วาระ
อุปนิสสยปัจจัย " มี ๓ วาระ
ปุเรชาตปัจจัย " มี ๓ วาระ
อาเสวนปัจจัย " มี ๓ วาระ
กัมมปัจจัย " มี ๙ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๐๗ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร

วิปากปัจจัย กับนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ
อาหารปัจจัย " มี ๙ วาระ
อินทรียปัจจัย " มี ๙ วาระ
ฌานปัจจัย " มี ๙ วาระ
มัคคปัจจัย " มี ๙ วาระ
สัมปยุตตปัจจัย " มี ๓ วาระ
วิปปยุตตปัจจัย " มี ๙ วาระ
อัตถิปัจจัย " มี ๙ วาระ
นัตถิปัจจัย " มี ๓ วาระ
วิคตปัจจัย " มี ๓ วาระ
อวิคตปัจจัย " มี ๙ วาระ

ติกนัย

[๒๐๗] อารัมมณปัจจัย กับนปัจฉาชาตปัจจัยและนเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ
อนันตรปัจจัย " " มี ๒ วาระ
สมนันตรปัจจัย " " มี ๒ วาระ
สหชาตปัจจัย " " มี ๒ วาระ
อัญญมัญญปัจจัย " " มี ๒ วาระ
นิสสยปัจจัย " " มี ๒ วาระ
อุปนิสสยปัจจัย " " มี ๒ วาระ
ปุเรชาตปัจจัย " " มี ๒ วาระ
อาเสวนปัจจัย " " มี ๒ วาระ
กัมมปัจจัย " " มี ๒ วาระ
วิปากปัจจัย " " มี ๑ วาระ
อาหารปัจจัย " " มี ๒ วาระ
อินทรียปัจจัย " " มี ๒ วาระ
ฌานปัจจัย " " มี ๒ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๐๘ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร

มัคคปัจจัย กับนปัจฉาชาตปัจจัยและนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ
สัมปยุตตปัจจัย " " มี ๒ วาระ
วิปปยุตตปัจจัย " " มี ๒ วาระ
อัตถิปัจจัย " " มี ๒ วาระ
นัตถิปัจจัย " " มี ๒ วาระ
วิคตปัจจัย " " มี ๒ วาระ
อวิคตปัจจัย " " มี ๒ วาระ

จตุกกนัย

[๒๐๘] สหชาตปัจจัย กับนปัจฉาชาตปัจจัย นเหตุปัจจัย และนอารัมมณปัจจัย

มี ๑ วาระ

อัญญมัญญปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
นิสสยปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
กัมมปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
วิปากปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
อาหารปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
อินทรียปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
ฌานปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
วิปปยุตตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
อัตถิปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
อวิคตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ (ย่อ)

นอาเสวนทุกนัย

[๒๐๙] เหตุปัจจัย กับนอาเสวนปัจจัย มี ๙ วาระ
อารัมมณปัจจัย " มี ๓ วาระ
อธิปติปัจจัย " มี ๙ วาระ
อนันตรปัจจัย " มี ๓ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๐๙ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร

สมนันตรปัจจัย กับนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ
สหชาตปัจจัย " มี ๙ วาระ
อัญญมัญญปัจจัย " มี ๓ วาระ
นิสสยปัจจัย " มี ๙ วาระ
อุปนิสสยปัจจัย " มี ๓ วาระ
ปุเรชาตปัจจัย " มี ๓ วาระ
กัมมปัจจัย " มี ๙ วาระ
วิปากปัจจัย " มี ๑ วาระ
อาหารปัจจัย " มี ๙ วาระ
อินทรียปัจจัย " มี ๙ วาระ
ฌานปัจจัย " มี ๙ วาระ/l/l
มัคคปัจจัย " มี ๙ วาระ
สัมปยุตตปัจจัย " มี ๓ วาระ
วิปปยุตตปัจจัย " มี ๙ วาระ
อัตถิปัจจัย " มี ๙ วาระ
นัตถิปัจจัย " มี ๓ วาระ
วิคตปัจจัย " มี ๓ วาระ
อวิคตปัจจัย " มี ๙ วาระ

ติกนัย

[๒๑๐] อารัมมณปัจจัย กับนอาเสวนปัจจัยและนเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ
อนันตรปัจจัย " " มี ๒ วาระ
สมนันตรปัจจัย " " มี ๒ วาระ
สหชาตปัจจัย " " มี ๒ วาระ
อัญญมัญญปัจจัย " " มี ๒ วาระ
นิสสยปัจจัย " " มี ๒ วาระ
อุปนิสสยปัจจัย " " มี ๒ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๑๐ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร

ปุเรชาตปัจจัย กับนอาเสวนปัจจัยและนเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ
กัมมปัจจัย " " มี ๒ วาระ
วิปากปัจจัย " " มี ๑ วาระ
อาหารปัจจัย " " มี ๒ วาระ
อินทรียปัจจัย " " มี ๒ วาระ
ฌานปัจจัย " " มี ๒ วาระ
มัคคปัจจัย " " มี ๑ วาระ
สัมปยุตตปัจจัย " " มี ๒ วาระ
วิปปยุตตปัจจัย " " มี ๒ วาระ
อัตถิปัจจัย " " มี ๒ วาระ
นัตถิปัจจัย " " มี ๒ วาระ
วิคตปัจจัย " " มี ๒ วาระ
อวิคตปัจจัย " " มี ๒ วาระ

จตุกกนัย

[๒๑๑] สหชาตปัจจัย กับนอาเสวนปัจจัย นเหตุปัจจัย และนอารัมมณปัจจัย

มี ๑ วาระ

อัญญมัญญปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
นิสสยปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
กัมมปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
วิปากปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
อาหารปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
อินทรียปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
ฌานปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
วิปปยุตตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
อัตถิปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
อวิคตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ (ย่อ)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๑๑ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร
นกัมมทุกนัย

[๒๑๒] เหตุปัจจัย กับนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ
อารัมมณปัจจัย " มี ๓ วาระ
อธิปติปัจจัย " มี ๓ วาระ
อนันตรปัจจัย " มี ๓ วาระ
สมนันตรปัจจัย " มี ๓ วาระ
สหชาตปัจจัย " มี ๓ วาระ
อัญญมัญญปัจจัย " มี ๓ วาระ
นิสสยปัจจัย " มี ๓ วาระ
อุปนิสสยปัจจัย " มี ๓ วาระ
ปุเรชาตปัจจัย " มี ๓ วาระ
อาเสวนปัจจัย " มี ๓ วาระ
อาหารปัจจัย " มี ๓ วาระ
อินทรียปัจจัย " มี ๓ วาระ
ฌานปัจจัย " มี ๓ วาระ
มัคคปัจจัย " มี ๓ วาระ
สัมปยุตตปัจจัย " มี ๓ วาระ
วิปปยุตตปัจจัย " มี ๓ วาระ
อัตถิปัจจัย " มี ๓ วาระ
นัตถิปัจจัย " มี ๓ วาระ
วิคตปัจจัย " มี ๓ วาระ
อวิคตปัจจัย " มี ๓ วาระ

ติกนัย

[๒๑๓] อารัมมณปัจจัย กับนกัมมปัจจัยและนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ
อนันตรปัจจัย " " มี ๑ วาระ
สมนันตรปัจจัย " " มี ๑ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๑๒ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร

สหชาตปัจจัย กับนกัมมปัจจัยและนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ
อัญญมัญญปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นิสสยปัจจัย " " มี ๑ วาระ
อุปนิสสยปัจจัย " " มี ๑ วาระ
ปุเรชาตปัจจัย " " มี ๑ วาระ
อาเสวนปัจจัย " " มี ๑ วาระ
อาหารปัจจัย " " มี ๑ วาระ
อินทรียปัจจัย " " มี ๑ วาระ
ฌานปัจจัย " " มี ๑ วาระ
สัมปยุตตปัจจัย " " มี ๑ วาระ
วิปปยุตตปัจจัย " " มี ๑ วาระ
อัตถิปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นัตถิปัจจัย " " มี ๑ วาระ
วิคตปัจจัย " " มี ๑ วาระ
อวิคตปัจจัย " " มี ๑ วาระ

จตุกกนัย

[๒๑๔] สหชาตปัจจัย กับนกัมมปัจจัย นเหตุปัจจัย และนอารัมมณปัจจัย

มี ๑ วาระ

อัญญมัญญปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
นิสสยปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
อาหารปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
อัตถิปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
อวิคตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ (ย่อ)

นวิปากทุกนัย

[๒๑๕] เหตุปัจจัย กับนวิปากปัจจัย มี ๙ วาระ
อารัมมณปัจจัย " มี ๓ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๑๓ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร

อธิปติปัจจัย กับนวิปากปัจจัย มี ๙ วาระ
อนันตรปัจจัย " มี ๓ วาระ
สมนันตรปัจจัย " มี ๓ วาระ
สหชาตปัจจัย " มี ๙ วาระ
อัญญมัญญปัจจัย " มี ๓ วาระ
นิสสยปัจจัย " มี ๙ วาระ
อุปนิสสยปัจจัย " มี ๓ วาระ
ปุเรชาตปัจจัย " มี ๓ วาระ
อาเสวนปัจจัย " มี ๓ วาระ
กัมมปัจจัย " มี ๙ วาระ
อาหารปัจจัย " มี ๙ วาระ
อินทรียปัจจัย " มี ๙ วาระ
ฌานปัจจัย " มี ๙ วาระ
มัคคปัจจัย " มี ๙ วาระ
สัมปยุตตปัจจัย " มี ๓ วาระ
วิปปยุตตปัจจัย " มี ๙ วาระ
อัตถิปัจจัย " มี ๙ วาระ
นัตถิปัจจัย " มี ๓ วาระ
วิคตปัจจัย " มี ๓ วาระ
อวิคตปัจจัย " มี ๙ วาระ

ติกนัย

[๒๑๖] อารัมมณปัจจัย กับนวิปากปัจจัยและนเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ
อนันตรปัจจัย " " มี ๒ วาระ
สมนันตรปัจจัย " " มี ๒ วาระ
สหชาตปัจจัย " " มี ๒ วาระ
อัญญมัญญปัจจัย " " มี ๒ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๑๔ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร

นิสสยปัจจัย กับนวิปากปัจจัยและนเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ
อุปนิสสยปัจจัย " " มี ๒ วาระ
ปุเรชาตปัจจัย " " มี ๒ วาระ
อาเสวนปัจจัย " " มี ๒ วาระ
กัมมปัจจัย " " มี ๒ วาระ
อาหารปัจจัย " " มี ๒ วาระ
อินทรียปัจจัย " " มี ๒ วาระ
ฌานปัจจัย " " มี ๒ วาระ
มัคคปัจจัย " " มี ๑ วาระ
สัมปยุตตปัจจัย " " มี ๒ วาระ
วิปปยุตตปัจจัย " " มี ๒ วาระ
อัตถิปัจจัย " " มี ๒ วาระ
นัตถิปัจจัย " " มี ๒ วาระ
วิคตปัจจัย " " มี ๒ วาระ
อวิคตปัจจัย " " มี ๒ วาระ

จตุกกนัย

[๒๑๗] สหชาตปัจจัย กับนวิปากปัจจัย นเหตุปัจจัย และนอารัมมณปัจจัย

มี ๑ วาระ

อัญญมัญญปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
นิสสยปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
กัมมปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
อาหารปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
อินทรียปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
ฌานปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
วิปปยุตตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
อัตถิปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
อวิคตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ (ย่อ)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๑๕ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร
นอาหารทุกนัย

[๒๑๘] สหชาตปัจจัย บนอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ
อัญญมัญญปัจจัย " มี ๑ วาระ
นิสสยปัจจัย " มี ๑ วาระ
กัมมปัจจัย " มี ๑ วาระ
อินทรียปัจจัย " มี ๑ วาระ
อัตถิปัจจัย " มี ๑ วาระ
อวิคตปัจจัย " มี ๑ วาระ (ย่อ)

นอินทรียทุกนัย

[๒๑๙] สหชาตปัจจัย กับนอินทรียปัจจัย มี ๑ วาระ
อัญญมัญญปัจจัย " มี ๑ วาระ
นิสสยปัจจัย " มี ๑ วาระ
กัมมปัจจัย " มี ๑ วาระ
อาหารปัจจัย " มี ๑ วาระ
อัตถิปัจจัย " มี ๑ วาระ
อวิคตปัจจัย " มี ๑ วาระ (ย่อ)

นฌานทุกนัย

[๒๒๐] อารัมมณปัจจัย กับนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ
อนันตรปัจจัย " มี ๑ วาระ
สมนันตรปัจจัย " มี ๑ วาระ
สหชาตปัจจัย " มี ๑ วาระ
อัญญมัญญปัจจัย " มี ๑ วาระ
นิสสยปัจจัย " มี ๑ วาระ
อุปนิสสยปัจจัย " มี ๑ วาระ
ปุเรชาตปัจจัย " มี ๑ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๑๖ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร

กัมมปัจจัย กับนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ
วิปากปัจจัย " มี ๑ วาระ
อาหารปัจจัย " มี ๑ วาระ
อินทรียปัจจัย " มี ๑ วาระ
สัมปยุตตปัจจัย " มี ๑ วาระ
วิปปยุตตปัจจัย " มี ๑ วาระ
อัตถิปัจจัย " มี ๑ วาระ
นัตถิปัจจัย " มี ๑ วาระ
วิคตปัจจัย " มี ๑ วาระ
อวิคตปัจจัย " มี ๑ วาระ (ย่อ)

นมัคคติกนัย

[๒๒๑] อารัมมณปัจจัย กับนมัคคปัจจัยและนเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ
อนันตรปัจจัย " " มี ๑ วาระ
สมนันตรปัจจัย " " มี ๑ วาระ
สหชาตปัจจัย " " มี ๑ วาระ
อัญญมัญญปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นิสสยปัจจัย " " มี ๑ วาระ
อุปนิสสยปัจจัย " " มี ๑ วาระ
ปุเรชาตปัจจัย " " มี ๑ วาระ
อาเสวนปัจจัย " " มี ๑ วาระ
กัมมปัจจัย " " มี ๑ วาระ
วิปากปัจจัย " " มี ๑ วาระ
อาหารปัจจัย " " มี ๑ วาระ
อินทรียปัจจัย " " มี ๑ วาระ
ฌานปัจจัย " " มี ๑ วาระ
สัมปยุตตปัจจัย " " มี ๑ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๑๗ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร

วิปปยุตตปัจจัย กับนมัคคปัจจัยและนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ
อัตถิปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นัตถิปัจจัย " " มี ๑ วาระ
วิคตปัจจัย " " มี ๑ วาระ
อวิคตปัจจัย " " มี ๑ วาระ

จตุกกนัย

[๒๒๒] สหชาตปัจจัย กับนมัคคปัจจัย นเหตุปัจจัย และนอารัมมณปัจจัย

มี ๑ วาระ

อัญญมัญญปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
นิสสยปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
กัมมปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
วิปากปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
อาหารปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
อินทรียปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
ฌานปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
วิปปยุตตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
อัตถิปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
อวิคตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ (ย่อ)

นสัมปยุตตทุกนัย

[๒๒๓] เหตุปัจจัย กับนสัมปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ
อธิปติปัจจัย " มี ๕ วาระ
สหชาตปัจจัย " มี ๕ วาระ
อัญญมัญญปัจจัย " มี ๑ วาระ
นิสสยปัจจัย " มี ๕ วาระ
กัมมปัจจัย " มี ๕ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๑๘ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร

วิปากปัจจัย กับนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ
อาหารปัจจัย " มี ๕ วาระ
อินทรียปัจจัย " มี ๕ วาระ
ฌานปัจจัย " มี ๕ วาระ
มัคคปัจจัย " มี ๕ วาระ
วิปปยุตตปัจจัย " มี ๕ วาระ
อัตถิปัจจัย " มี ๕ วาระ
อวิคตปัจจัย " มี ๕ วาระ

ติกนัย

[๒๒๔] สหชาตปัจจัย กับนสัมปยุตตปัจจัยและนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ
อัญญมัญญปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นิสสยปัจจัย " " มี ๑ วาระ
กัมมปัจจัย " " มี ๑ วาระ
วิปากปัจจัย " " มี ๑ วาระ
อาหารปัจจัย " " มี ๑ วาระ
อินทรียปัจจัย " " มี ๑ วาระ
ฌานปัจจัย " " มี ๑ วาระ
วิปปยุตตปัจจัย " " มี ๑ วาระ
อัตถิปัจจัย " " มี ๑ วาระ
อวิคตปัจจัย " " มี ๑ วาระ (ย่อ)

นวิปปยุตตทุกนัย

[๒๒๕] เหตุปัจจัย กับนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ
อารัมมณปัจจัย " มี ๓ วาระ
อธิปติปัจจัย " มี ๓ วาระ
อนันตรปัจจัย " มี ๓ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๑๙ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร

สมนันตรปัจจัย กับนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ
สหชาตปัจจัย " มี ๓ วาระ
อัญญมัญญปัจจัย " มี ๓ วาระ
นิสสยปัจจัย " มี ๓ วาระ
อุปนิสสยปัจจัย " มี ๓ วาระ
อาเสวนปัจจัย " มี ๓ วาระ
กัมมปัจจัย " มี ๓ วาระ
วิปากปัจจัย " มี ๑ วาระ
อาหารปัจจัย " มี ๓ วาระ
อินทรียปัจจัย " มี ๓ วาระ
ฌานปัจจัย " มี ๓ วาระ
มัคคปัจจัย " มี ๓ วาระ
สัมปยุตตปัจจัย " มี ๓ วาระ
อัตถิปัจจัย " มี ๓ วาระ
นัตถิปัจจัย " มี ๓ วาระ
วิคตปัจจัย " มี ๓ วาระ
อวิคตปัจจัย " มี ๓ วาระ

ติกนัย

[๒๒๖] อารัมมณปัจจัย กับนวิปปยุตตปัจจัยและนเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ
อนันตรปัจจัย " " มี ๒ วาระ
สมนันตรปัจจัย " " มี ๒ วาระ
สหชาตปัจจัย " " มี ๒ วาระ
อัญญมัญญปัจจัย " " มี ๒ วาระ
นิสสยปัจจัย " " มี ๒ วาระ
อุปนิสสยปัจจัย " " มี ๒ วาระ
อาเสวนปัจจัย " " มี ๑ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๒๐ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร

กัมมปัจจัย กับนวิปปยุตตปัจจัยและนเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ
อาหารปัจจัย " " มี ๒ วาระ
อินทรียปัจจัย " " มี ๒ วาระ
ฌานปัจจัย " " มี ๒ วาระ
มัคคปัจจัย " " มี ๑ วาระ
สัมปยุตตปัจจัย " " มี ๒ วาระ
อัตถิปัจจัย " " มี ๒ วาระ
นัตถิปัจจัย " " มี ๒ วาระ
วิคตปัจจัย " " มี ๒ วาระ
อวิคตปัจจัย " " มี ๒ วาระ

จตุกกนัย

[๒๒๗] สหชาตปัจจัย กับนวิปปยุตตปัจจัย นเหตุปัจจัย และนอารัมมณ-

ปัจจัยมี ๑ วาระ

อัญญมัญญปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
นิสสยปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
กัมมปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
อาหารปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
อินทรียปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
อัตถิปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
อวิคตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ (ย่อ)

โนนัตถิและโนวิคตทุกนัย

[๒๒๘] เหตุปัจจัย กับโนนัตถิปัจจัยและโนวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ
อธิปติปัจจัย " " มี ๕ วาระ
สหชาตปัจจัย " " มี ๕ วาระ
อัญญมัญญปัจจัย " " มี ๑ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๒๑ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร

นิสสยปัจจัย กับโนนัตถิปัจจัยและโนวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ
กัมมปัจจัย " " มี ๕ วาระ
วิปากปัจจัย " " มี ๑ วาระ
อาหารปัจจัย " " มี ๕ วาระ
อินทรียปัจจัย " " มี ๕ วาระ
ฌานปัจจัย " " มี ๕ วาระ
มัคคปัจจัย " " มี ๕ วาระ
วิปปยุตตปัจจัย " " มี ๕ วาระ
อัตถิปัจจัย " " มี ๕ วาระ
อวิคตปัจจัย " " มี ๕ วาระ

ติกนัย

[๒๒๙] สหชาตปัจจัย กับโนวิคตปัจจัยและนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ
อัญญมัญญปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นิสสยปัจจัย " " มี ๑ วาระ
กัมมปัจจัย " " มี ๑ วาระ
วิปากปัจจัย " " มี ๑ วาระ
อาหารปัจจัย " " มี ๑ วาระ
อินทรียปัจจัย " " มี ๑ วาระ
ฌานปัจจัย " " มี ๑ วาระ
วิปปยุตตปัจจัย " " มี ๑ วาระ
อัตถิปัจจัย " " มี ๑ วาระ
อวิคตปัจจัย " " มี ๑ วาระ ฯลฯ

อัฏฐกนัย

[๒๓๐] สหชาตปัจจัย กับโนวิคตปัจจัย นเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย

นอธิปติปัจจัย นอนันตรปัจจัย นสมนันตรปัจจัย และนอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๒๒ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร

นิสสยปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
กัมมปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
วิปากปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
อาหารปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
อินทรียปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
ฌานปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
วิปปยุตตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
อัตถิปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
อวิคตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ ฯลฯ

เตรสกนัย

[๒๓๑] สหชาตปัจจัย กับโนวิคตปัจจัย นเหตุปัจจัย ฯลฯ นกัมมปัจจัย มี

๑ วาระ

นิสสยปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
อาหารปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
อัตถิปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
อวิคตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ ฯลฯ

ปัณณรสกนัย

[๒๓๒] สหชาตปัจจัย กับโนวิคตปัจจัย นเหตุปัจจัย ฯลฯ นกัมมปัจจัย

นวิปากปัจจัย และนอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ

นิสสยปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
อัตถิปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
อวิคตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๒๓ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร
เอกวีสกนัย
[๒๓๓] สหชาตปัจจัย กับโนวิคตปัจจัย นเหตุปัจจัย ฯลฯ นกัมมปัจจัย
นวิปากปัจจัย นอาหารปัจจัย นอินทรียปัจจัย นฌานปัจจัย นมัคคปัจจัย
นสัมปยุตตปัจจัย นวิปปยุตตปัจจัย และโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ

นิสสยปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
อัตถิปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
อวิคตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ

ปัจจนียานุโลม จบ

ปฏิจจวาร จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๒๔ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๒. สหชาตวาร
๑. กุสลติกะ ๒. สหชาตวาร
๑. ปัจจยานุโลม ๑. วิภังควาร
เหตุปัจจัย
[๒๓๔] สภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดพร้อมกับสภาวธรรมที่เป็นกุศลเพราะเหตุปัจจัย
ได้แก่ ขันธ์ ๓ เกิดพร้อมกับขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศล ขันธ์ ๑ เกิดพร้อมกับขันธ์ ๓
ขันธ์ ๒ เกิดพร้อมกับขันธ์ ๒ (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเกิดพร้อมกับสภาวธรรมที่เป็นกุศลเพราะเหตุปัจจัย
ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปเกิดพร้อมกับขันธ์ที่เป็นกุศล (๒)
สภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤตเกิดพร้อมกับสภาวธรรมที่เป็นกุศล
เพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปเกิดพร้อมกับขันธ์ ๑ ที่เป็น
กุศล ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูปเกิดพร้อมกับขันธ์ ๓ ขันธ์ ๒ และจิตต-
สมุฏฐานรูปเกิดพร้อมกับขันธ์ ๒ (๓)
[๒๓๕] สภาวธรรมที่เป็นอกุศลเกิดพร้อมกับสภาวธรรมที่เป็นอกุศลเพราะเหตุ-
ปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ เกิดพร้อมกับขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศล ขันธ์ ๑ เกิดพร้อมกับ
ขันธ์ ๓ ขันธ์ ๒ เกิดพร้อมกับขันธ์ ๒ (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเกิดพร้อมกับสภาวธรรมที่เป็นอกุศลเพราะเหตุปัจจัย
ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปเกิดพร้อมกับขันธ์ที่เป็นอกุศล (๒)
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤตเกิดพร้อมกับสภาวธรรมที่เป็นอกุศล
เพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปเกิดพร้อมกับขันธ์ ๑ ที่เป็น
อกุศล ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูปเกิดพร้อมกับขันธ์ ๓ ขันธ์ ๒ และจิตต-
สมุฏฐานรูปเกิดพร้อมกับขันธ์ ๒ (๓)
[๒๓๖] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเกิดพร้อมกับสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต
เพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปเกิดพร้อมกับขันธ์ ๑ ที่เป็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๒๕ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๒. สหชาตวาร
อัพยากตวิบากและที่เป็นอัพยากตกิริยา ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูปเกิดพร้อมกับ
ขันธ์ ๓ ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูปเกิดพร้อมกับขันธ์ ๒ ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๓
และกฏัตตารูปเกิดพร้อมกับขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบาก ขันธ์ ๑ และกฏัตตารูป
เกิดพร้อมกับขันธ์ ๓ ขันธ์ ๒ และกฏัตตารูปเกิดพร้อมกับขันธ์ ๒ หทัยวัตถุ
เกิดพร้อมกับขันธ์ ขันธ์เกิดพร้อมกับหทัยวัตถุ มหาภูตรูป ๓ เกิดพร้อมกับ
มหาภูตรูป ๑ มหาภูตรูป ๑ เกิดพร้อมกับมหาภูตรูป ๓ มหาภูตรูป ๒ เกิด
พร้อมกับมหาภูตรูป ๒ จิตตสมุฏฐานรูปและกฏัตตารูปที่เป็นอุปาทายรูปเกิดพร้อม
กับมหาภูตรูป (๑)
[๒๓๗] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเกิดพร้อมกับสภาวธรรมที่เป็นกุศลและ
ที่เป็นอัพยากฤตเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปเกิดพร้อมกับขันธ์ที่เป็น
กุศลและมหาภูตรูป (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเกิดพร้อมกับสภาวธรรมที่เป็นอกุศลและที่เป็น
อัพยากฤตเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปเกิดพร้อมกับขันธ์ที่เป็นอกุศล
และมหาภูตรูป (๑)
(พึงขยายให้พิสดารเหมือนในปฏิจจวาร)

๑. ปัจจยานุโลม ๒. สังขยาวาร

[๒๓๘] เหตุปัจจัย มี ๙ วาระ
อารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ
อธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ
อนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ
สมนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ
สหชาตปัจจัย มี ๙ วาระ
อัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ
นิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ
อุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๒๖ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๒. สหชาตวาร

ปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ
อาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ
กัมมปัจจัย มี ๙ วาระ
วิปากปัจจัย มี ๑ วาระ
อาหารปัจจัย มี ๙ วาระ
อินทรียปัจจัย มี ๙ วาระ
ฌานปัจจัย มี ๙ วาระ
มัคคปัจจัย มี ๙ วาระ
สัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ
วิปปยุตตปัจจัย มี ๙ วาระ
อัตถิปัจจัย มี ๙ วาระ
นัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ
วิคตปัจจัย มี ๓ วาระ
อวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ

อนุโลม จบ
(พึงนับวาระเหมือนการนับในปฏิจจวาร)

๒. ปัจจยปัจจนียะ ๑. วิภังควาร
นเหตุปัจจัย

[๒๓๙] สภาวธรรมที่เป็นอกุศลเกิดพร้อมกับสภาวธรรมที่เป็นอกุศลเพราะ

นเหตุปัจจัย ได้แก่ โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วยอุทธัจจะเกิดพร้อม
กับขันธ์ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเกิดพร้อมกับสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเพราะ
นเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปเกิดพร้อมกับขันธ์ ๑ ที่เป็นอเหตุกะ
ซึ่งเป็นอัพยากตวิบากและอัพยากตกิริยา ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูปเกิดพร้อมกับ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๒๗ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๒. สหชาตวาร
ขันธ์ ๓ ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูปเกิดพร้อมกับขันธ์ ๒ ในปฏิสนธิขณะที่เป็น
อเหตุกะ ขันธ์ ๓ และกฏัตตารูปเกิดพร้อมกับขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบาก ขันธ์ ๑
และกฏัตตารูป เกิดพร้อมกับขันธ์ ๓ ขันธ์ ๒ และกฏัตตารูปเกิดพร้อมกับขันธ์ ๒
หทัยวัตถุเกิดพร้อมกับขันธ์ ขันธ์เกิดพร้อมกับหทัยวัตถุ มหาภูตรูป ๓ เกิดพร้อม
กับมหาภูตรูป ๑ มหาภูตรูป ๑ เกิดพร้อมกับมหาภูตรูป ๓ มหาภูตรูป ๒ เกิด
พร้อมกับมหาภูตรูป ๒ จิตตสมุฏฐานรูปและกฏัตตารูปที่เป็นอุปาทายรูปเกิดพร้อม
กับมหาภูตรูป ... ที่เป็นภายนอก ... ที่มีอาหารเป็นสมุฏฐาน ... ที่มีอุตุเป็นสมุฏฐาน ...
สำหรับเหล่าอสัญญสัตตพรหม มหาภูตรูป ๓ เกิดพร้อมกับมหาภูตรูป ๑ ฯลฯ
กฏัตตารูปที่เป็นอุปาทายรูปเกิดพร้อมกับมหาภูตรูป
(พึงขยายให้พิสดารเหมือนในปฏิจจวาร)

๒. ปัจจยปัจจนียะ ๒. สังขยาวาร

[๒๔๐] นเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ
นอารัมมณปัจจัย มี ๕ วาระ
นอธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ
นอนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ
นสมนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ
นอัญญมัญญปัจจัย มี ๕ วาระ
นอุปนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๙ วาระ
นอาเสวนปัจจัย มี ๙ วาระ
นกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ
นวิปากปัจจัย มี ๙ วาระ
นอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ
นอินทรียปัจจัย มี ๑ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๒๘ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๒. สหชาตวาร

นฌานปัจจัย มี ๑ วาระ
นมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ
นสัมปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ
โนนัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ
โนวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ

ปัจจนียะ จบ

๓. ปัจจยานุโลมปัจจนียะ

[๒๔๑] นอารัมมณปัจจัย กับเหตุปัจจัย มี ๕ วาระ
นอธิปติปัจจัย " มี ๙ วาระ
นอนันตรปัจจัย " มี ๕ วาระ
นสมนันตรปัจจัย " มี ๕ วาระ
นอัญญมัญญปัจจัย " มี ๕ วาระ
นอุปนิสสยปัจจัย " มี ๕ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย " มี ๗ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย " มี ๙ วาระ
นอาเสวนปัจจัย " มี ๙ วาระ
นกัมมปัจจัย " มี ๓ วาระ
นวิปากปัจจัย " มี ๙ วาระ
นสัมปยุตตปัจจัย " มี ๕ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย " มี ๓ วาระ
โนนัตถิปัจจัย " มี ๕ วาระ
โนวิคตปัจจัย " มี ๕ วาระ

อนุโลมปัจจนียะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๒๙ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๒. สหชาตวาร

๔. ปัจจยปัจจนียานุโลม

[๒๔๒] อารัมมณปัจจัย กับนเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ
อนันตรปัจจัย " มี ๒ วาระ
สมนันตรปัจจัย " มี ๒ วาระ
สหนันตรปัจจัย " มี ๒ วาระ
อัญญมัญญปัจจัย " มี ๒ วาระ
นิสสยปัจจัย " มี ๒ วาระ
อุปนิสสยปัจจัย " มี ๒ วาระ
ปุเรชาตปัจจัย " มี ๒ วาระ
อาเสวนปัจจัย " มี ๒ วาระ
กัมมปัจจัย " มี ๒ วาระ
วิปากปัจจัย " มี ๒ วาระ
อินทรียปัจจัย " มี ๒ วาระ
ฌานปัจจัย " มี ๒ วาระ
มัคคปัจจัย " มี ๒ วาระ
สัมปยุตตปัจจัย " มี ๒ วาระ
วิปปยุตตปัจจัย " มี ๒ วาระ
อัตถิปัจจัย " มี ๒ วาระ
นัตถิปัจจัย " มี ๒ วาระ
วิคตปัจจัย " มี ๒ วาระ
อวิคตปัจจัย " มี ๒ วาระ

ปัจจนียานุโลม จบ
สหชาตวาร จบ

(ที่เป็นปฏิจจวาร ได้แก่ สหชาตวาร ที่เป็นสหชาตวาร ได้แก่ ปฏิจจวาร)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๓๐ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๓. ปัจจยวาร
๑. กุสลติกะ ๓. ปัจจยวาร
๑. ปัจจยานุโลม ๑. วิภังควาร
เหตุปัจจัย
[๒๔๓] สภาวธรรมที่เป็นกุศลทำสภาวธรรมที่เป็นกุศลให้เป็นปัจจัย๑เกิดขึ้น
เพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ ทำขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น
ขันธ์ ๑ ทำขันธ์ ๓ ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ขันธ์ ๒ ทำขันธ์ ๒ ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตทำสภาวธรรมที่เป็นกุศลให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น
เพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปทำขันธ์ที่เป็นกุศลให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๒)
สภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤตทำสภาวธรรมที่เป็นกุศลให้เป็น
ปัจจัยเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปทำขันธ์ ๑ ที่เป็น
กุศลให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูปทำขันธ์ ๓ ให้เป็นปัจจัย
เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูปทำขันธ์ ๒ ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๓)
[๒๔๔] สภาวธรรมที่เป็นอกุศลทำสภาวธรรมที่เป็นอกุศลให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น
เพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ ทำขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ขันธ์ ๑
ทำขันธ์ ๓ ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ขันธ์ ๒ ทำขันธ์ ๒ ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตทำสภาวธรรมที่เป็นอกุศลให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะ
เหตุปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปทำขันธ์ที่เป็นอกุศลให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๒)
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤตทำสภาวธรรมที่เป็นอกุศลให้เป็น
ปัจจัยเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปทำขันธ์ ๑ ที่เป็น
อกุศลให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูปทำขันธ์ ๓ ให้เป็นปัจจัย
เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูปทำขันธ์ ๒ ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๓)

เชิงอรรถ :
๑อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๔๓/๔๙๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๓๑ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๓. ปัจจยวาร
[๒๔๕] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตทำสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตให้เป็นปัจจัย
เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปทำขันธ์ ๑ ที่เป็น
อัพยากตวิบากและที่เป็นอัพยากตกิริยาให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ และจิตต-
สมุฏฐานรูปทำขันธ์ ๓ ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป
ทำขันธ์ ๒ ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๓ และกฏัตตารูปทำขันธ์ ๑
ที่เป็นอัพยากตวิบากให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ และกฏัตตารูปทำขันธ์ ๓ ให้เป็น
ปัจจัยเกิดขึ้น ขันธ์ ๒ และกฏัตตารูปทำขันธ์ ๒ ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น หทัยวัตถุ
ทำขันธ์ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ขันธ์ทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น มหาภูตรูป ๓
ทำมหาภูตรูป ๑ ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น มหาภูตรูป ๑ ทำมหาภูตรูป ๓ ให้เป็นปัจจัย
เกิดขึ้น มหาภูตรูป ๒ ทำมหาภูตรูป ๒ ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น จิตตสมุฏฐานรูป
และกฏัตตารูปที่เป็นอุปาทายรูปทำมหาภูตรูปให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ขันธ์ที่เป็น
อัพยากตวิบากและที่เป็นอัพยากตกิริยาทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นกุศลทำสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะ
เหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นกุศลทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๒)
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลทำสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น
เพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นอกุศลทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๓)
สภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤตทำสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตให้
เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นกุศลทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัย
เกิดขึ้น จิตตสมุฏฐานรูปทำมหาภูตรูปให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๔)
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤตทำสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต
ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นอกุศลทำหทัยวัตถุให้เป็น
ปัจจัยเกิดขึ้น จิตตสมุฏฐานรูปทำมหาภูตรูปให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๕)
[๒๔๖] สภาวธรรมที่เป็นกุศลทำสภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤต
ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ ทำขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลและ
หทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ ทำขันธ์ ๓ และหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น
ขันธ์ ๒ ทำขันธ์ ๒ และหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๓๒ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๓. ปัจจยวาร
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตทำสภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤตให้
เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปทำขันธ์ที่เป็นกุศลและ
มหาภูตรูปให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๒)
สภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤตทำสภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็น
อัพยากฤตให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ ทำขันธ์ ๑ ที่เป็น
กุศลและหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ ทำขันธ์ ๓ และหทัยวัตถุให้เป็น
ปัจจัยเกิดขึ้น ขันธ์ ๒ ทำขันธ์ ๒ และหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น จิตตสมุฏฐานรูป
ทำขันธ์ที่เป็นกุศลและมหาภูตรูปให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๓)
[๒๔๗] สภาวธรรมที่เป็นอกุศลทำสภาวธรรมที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤต
ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ ทำขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลและ
หทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ ทำขันธ์ ๓ และหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น
ขันธ์ ๒ ทำขันธ์ ๒ และหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตทำสภาวธรรมที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤต
ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปทำขันธ์ที่เป็นอกุศลและ
มหาภูตรูปให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๒)
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤตทำสภาวธรรมที่เป็นอกุศลและที่
เป็นอัพยากฤตให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ ทำขันธ์ ๑ ที่
เป็นอกุศลและหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ ทำขันธ์ ๓ และหทัยวัตถุให้
เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ขันธ์ ๒ ทำขันธ์ ๒ และหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น จิตต-
สมุฏฐานรูปทำขันธ์ที่เป็นอกุศลและมหาภูตรูปให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๓)

อารัมมณปัจจัย
[๒๔๘] สภาวธรรมที่เป็นกุศลทำสภาวธรรมที่เป็นกุศลให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะ
อารัมมณปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ ทำขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ขันธ์ ๑
ทำขันธ์ ๓ ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ขันธ์ ๒ ทำขันธ์ ๒ ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๓๓ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๓. ปัจจยวาร
[๒๔๙] สภาวธรรมที่เป็นอกุศลทำสภาวธรรมที่เป็นอกุศลให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น
เพราะอารัมมณปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ ทำขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น
ขันธ์ ๑ ทำขันธ์ ๓ ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ขันธ์ ๒ ทำขันธ์ ๒ ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๑)
[๒๕๐] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตทำสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตให้เป็น
ปัจจัยเกิดขึ้นเพราะอารัมมณปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ ทำขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบาก
และที่เป็นอัพยากตกิริยาให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ ทำขันธ์ ๓ ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น
ขันธ์ ๒ ทำขันธ์ ๒ ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๓ ทำขันธ์ ๑ ที่เป็น
อัพยากตวิบากให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ ทำขันธ์ ๓ ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ขันธ์ ๒
ทำขันธ์ ๒ ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ขันธ์ทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น จักขุวิญญาณ
ทำจักขายตนะให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น โสตวิญญาณทำโสตายตนะให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น
ฆานวิญญาณทำฆานายตนะให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ชิวหาวิญญาณทำชิวหายตนะให้
เป็นปัจจัยเกิดขึ้น กายวิญญาณทำกายายตนะให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ขันธ์ที่เป็น
อัพยากตวิบากและที่เป็นอัพยากตกิริยาทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นกุศลทำสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะ
อารัมมณปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นกุศลทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๒)
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลทำสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น
เพราะอารัมมณปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นอกุศลทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๓)
[๒๕๑] สภาวธรรมที่เป็นกุศลทำสภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤต
ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะอารัมมณปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ ทำขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลและ
หทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ ๒ ทำขันธ์ ๒ และหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัย
เกิดขึ้น (๑)
[๒๕๒] สภาวธรรมที่เป็นอกุศลทำสภาวธรรมที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤต
ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะอารัมมณปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ ทำขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศล
และหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ ๒ ทำขันธ์ ๒ และหทัยวัตถุให้เป็น
ปัจจัยเกิดขึ้น (๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๓๔ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๓. ปัจจยวาร
อธิปติปัจจัย
[๒๕๓] สภาวธรรมที่เป็นกุศลทำสภาวธรรมที่เป็นกุศลให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะ
อธิปติปัจจัย ได้แก่ ... ทำขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศล ... มี ๓ วาระ
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลทำสภาวธรรมที่เป็นอกุศลให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะ
อธิปติปัจจัย ได้แก่ ... ทำขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศล ... มี ๓ วาระ
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตทำสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตให้เป็นปัจจัยเกิด
ขึ้นเพราะอธิปติปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปทำขันธ์ ๑ ที่เป็น
อัพยากตวิบากและที่เป็นอัพยากตกิริยาให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ มหาภูตรูป ๓
ทำมหาภูตรูป ๑ ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ จิตตสมุฏฐานรูปที่เป็นอุปาทายรูป
ทำมหาภูตรูปให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ขันธ์ที่เป็นอัพยากตวิบากและที่เป็นอัพยากต-
กิริยาทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น
สภาวธรรมที่เป็นกุศลทำสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะ
อธิปติปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นกุศลทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น
(พึงขยายให้พิสดารเหมือนเหตุปัจจัย)

อนันตรปัจจัยและสมนันตรปัจจัย
[๒๕๔] สภาวธรรมที่เป็นกุศลทำสภาวธรรมที่เป็นกุศลให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะ
อนันตรปัจจัย เพราะสมนันตรปัจจัย
(พึงขยายให้พิสดารเหมือนอารัมมณปัจจัย)

สหชาตปัจจัย
[๒๕๕] สภาวธรรมที่เป็นกุศลทำสภาวธรรมที่เป็นกุศลให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะ
สหชาตปัจจัย ได้แก่ ... ทำขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศล ... มี ๓ วาระ
... ทำสภาวธรรมที่เป็นอกุศล ... มี ๓ วาระ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๓๕ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๓. ปัจจยวาร
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตทำสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น
เพราะสหชาตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปทำขันธ์ ๑ ที่เป็น
อัพยากตวิบากและที่เป็นอัพยากตกิริยาให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ
ฯลฯ ทำมหาภูตรูป ๑ ฯลฯ ... ที่เป็นภายนอก ... ที่มีอาหารเป็นสมุฏฐาน ... ที่มี
อุตุเป็นสมุฏฐาน ... สำหรับเหล่าอสัญญสัตตพรหม ... ทำมหาภูตรูป ๑ ฯลฯ
กฏัตตารูปที่เป็นอุปาทายรูปทำมหาภูตรูปให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น จักขุวิญญาณทำ
จักขายตนะให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ กายวิญญาณทำกายายตนะให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น
ขันธ์ที่เป็นอัพยากตวิบากและที่เป็นอัพยากตกิริยาทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น
สภาวธรรมที่เป็นกุศลทำสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะ
สหชาตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นกุศลทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น
(พึงขยายให้พิสดารเหมือนเหตุปัจจัย)

อัญญมัญญปัจจัย
[๒๕๖] สภาวธรรมที่เป็นกุศลทำสภาวธรรมที่เป็นกุศลให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น
เพราะอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลทำสภาวธรรมที่เป็นอกุศลให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะ
อัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตทำสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตให้เป็นปัจจัยเกิด
ขึ้นเพราะอัญญมัญญปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ ทำขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบากและ
ที่เป็นอัพยากตกิริยาให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ ๒ ทำขันธ์ ๒ ให้เป็นปัจจัย
เกิดขึ้น ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๓ และหทัยวัตถุทำขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบากให้เป็น
ปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ ๒ และหทัยวัตถุทำขันธ์ ๒ ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น หทัยวัตถุ
ทำขันธ์ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ขันธ์ทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น มหาภูตรูป ๓ ทำ
มหาภูตรูป ๑ ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ มหาภูตรูป ๒ ทำมหาภูตรูป ๒ ให้เป็น
ปัจจัยเกิดขึ้น ... ที่เป็นภายนอก ... ที่มีอาหารเป็นสมุฏฐาน ... ที่มีอุตุเป็นสมุฏฐาน
... สำหรับเหล่าอสัญญสัตตพรหม มหาภูตรูป ๓ ทำมหาภูตรูป ๑ ให้เป็นปัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๓๖ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๓. ปัจจยวาร
เกิดขึ้น ฯลฯ มหาภูตรูป ๒ ทำมหาภูตรูป ๒ ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น จักขุวิญญาณทำ
จักขายตนะให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ กายวิญญาณทำกายายตนะให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น
ขันธ์ที่เป็นอัพยากตวิบากและที่เป็นอัพยากตกิริยาทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น
สภาวธรรมที่เป็นกุศลทำสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะ
อัญญมัญญปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นกุศลทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น
(พึงขยายให้พิสดารเหมือนอารัมมณปัจจัย)

นิสสยปัจจัย
[๒๕๗] สภาวธรรมที่เป็นกุศลทำสภาวธรรมที่เป็นกุศลให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะ
นิสสยปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ ทำขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น
(พึงขยายให้พิสดารเหมือนสหชาตปัจจัย)

อุปนิสสยปัจจัย
[๒๕๘] สภาวธรรมที่เป็นกุศลทำสภาวธรรมที่เป็นกุศลให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น
เพราะอุปนิสสยปัจจัย ได้แก่ ... ทำขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศล ... (ปัจจัยนี้เหมือนกับ
อารัมมณปัจจัย)

ปุเรชาตปัจจัย
[๒๕๙] สภาวธรรมที่เป็นกุศลทำสภาวธรรมที่เป็นกุศลให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะ
ปุเรชาตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ ทำขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ
ขันธ์ ๒ ทำขันธ์ ๒ ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ขันธ์ทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น
เพราะปุเรชาตปัจจัย (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลทำสภาวธรรมที่เป็นอกุศลให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะ
ปุเรชาตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ ทำขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ
ขันธ์ ๒ ทำขันธ์ ๒ ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ขันธ์ทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะ
ปุเรชาตปัจจัย (๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๓๗ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๓. ปัจจยวาร
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตทำสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น
เพราะปุเรชาตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ ทำขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบากและที่เป็น
อัพยากตกิริยาให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ ๒ ทำขันธ์ ๒ ให้เป็นปัจจัยเกิด
ขึ้น ขันธ์ทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะปุเรชาตปัจจัย จักขุวิญญาณ
ทำจักขายตนะให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ กายวิญญาณทำกายายตนะให้เป็นปัจจัย
เกิดขึ้น ขันธ์ที่เป็นอัพยากตวิบากและที่เป็นอัพยากตกิริยาทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัย
เกิดขึ้น ขันธ์ทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะปุเรชาตปัจจัย (๑)
สภาวธรรมที่เป็นกุศลทำสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะ
ปุเรชาตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นกุศลทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ขันธ์ทำ
หทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะปุเรชาตปัจจัย (๒)
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลทำสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะ
ปุเรชาตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นอกุศลทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ขันธ์ทำ
หทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะปุเรชาตปัจจัย (๓)
สภาวธรรมที่เป็นกุศลทำสภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤตให้เป็นปัจจัย
เกิดขึ้นเพราะปุเรชาตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ ทำขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลและหทัยวัตถุ
ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ ๒ ทำขันธ์ ๒ และหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น
ขันธ์ทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะปุเรชาตปัจจัย (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลทำสภาวธรรมที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤตให้เป็น
ปัจจัยเกิดขึ้นเพราะปุเรชาตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ ทำขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลและ
หทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ ๒ ทำขันธ์ ๒ และหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัย
เกิดขึ้น ขันธ์ทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะปุเรชาตปัจจัย (๑)

อาเสวนปัจจัย
[๒๖๐] สภาวธรรมที่เป็นกุศลทำสภาวธรรมที่เป็นกุศลให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะ
อาเสวนปัจจัย ได้แก่ ... ทำขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศล ฯลฯ (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลทำสภาวธรรมที่เป็นอกุศลให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะ
อาเสวนปัจจัย ได้แก่ ... ทำขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศล ฯลฯ (๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๓๘ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๓. ปัจจยวาร
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตทำสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น
เพราะอาเสวนปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ ทำขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตกิริยาให้เป็นปัจจัย
เกิดขึ้น ขันธ์ ๑ ทำขันธ์ ๓ ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ขันธ์ ๒ ทำขันธ์ ๒ ให้เป็นปัจจัย
เกิดขึ้น ขันธ์ที่เป็นอัพยากตกิริยาทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นกุศลทำสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะ
อาเสวนปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นกุศลทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๒)
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลทำสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะ
อาเสวนปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นอกุศลทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๓)
... ทำสภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤต ฯลฯ (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลทำสภาวธรรมที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤตให้เป็น
ปัจจัยเกิดขึ้นเพราะอาเสวนปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ ทำขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลและ
หทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ

กัมมปัจจัย
[๒๖๑] สภาวธรรมที่เป็นกุศลทำสภาวธรรมที่เป็นกุศลให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะ
กัมมปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ ทำขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศล ... มี ๓ วาระ
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลทำสภาวธรรมที่เป็นอกุศลให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะ
กัมมปัจจัย มี ๓ วาระ
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตทำสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น
เพราะกัมมปัจจัย ได้แก่ ... ทำขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบากและที่เป็นอัพยากตกิริยา
ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ ทำมหาภูตรูป ๑ ฯลฯ สำหรับเหล่าอสัญญสัตตพรหม
... ทำมหาภูตรูป ๑ ฯลฯ กฏัตตารูปที่เป็นอุปาทายรูปทำมหาภูตรูปให้เป็นปัจจัย
เกิดขึ้น จักขุวิญญาณทำจักขายตนะให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ กายวิญญาณทำ
กายายตนะให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ขันธ์ที่เป็นอัพยากตวิบากและที่เป็นอัพยากตกิริยา
ทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๓๙ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๓. ปัจจยวาร
สภาวธรรมที่เป็นกุศลทำสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะ
กัมมปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นกุศลทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๒)
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลทำสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น
เพราะกัมมปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นอกุศลทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ (๕)
สภาวธรรมที่เป็นกุศลทำสภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤตให้เป็น
ปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต ฯลฯ
สภาวธรรมที่เป็นกุศล และที่เป็นอัพยากฤต ... ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะ
กัมมปัจจัย ฯลฯ
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลทำสภาวธรรมที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤตให้เป็น
ปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต ฯลฯ
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤต ... ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะ
กัมมปัจจัย ได้แก่ ... ทำขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลและหทัยวัตถุ ฯลฯ จิตตสมุฏฐานรูป
ทำขันธ์ที่เป็นอกุศลและมหาภูตรูปให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๑)

วิปากปัจจัย
[๒๖๒] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตทำสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตให้เป็นปัจจัย
เกิดขึ้นเพราะวิปากปัจจัย ได้แก่ ... ทำขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบาก ฯลฯ ใน
ปฏิสนธิขณะ ฯลฯ ทำมหาภูตรูป ๑ ฯลฯ จักขุวิญญาณทำจักขายตนะให้เป็น
ปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ กายวิญญาณทำกายายตนะให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ขันธ์ที่เป็น
อัพยากตวิบากทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น

อาหารปัจจัย
[๒๖๓] สภาวธรรมที่เป็นกุศลทำสภาวธรรมที่เป็นกุศลให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะ
อาหารปัจจัย ได้แก่ ... ทำขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศล ... มี ๓ วาระ
... ทำสภาวธรรมที่เป็นอกุศล ... มี ๓ วาระ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๔๐ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๓. ปัจจยวาร
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตทำสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น
เพราะอาหารปัจจัย ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ ทำมหาภูตรูป ๑ ที่มีอาหารเป็น
สมุฏฐาน ฯลฯ จักขุวิญญาณทำจักขายตนะให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ กายวิญญาณ
ทำกายายตนะให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ขันธ์ที่เป็นอัพยากตวิบากและที่เป็นอัพยากต-
กิริยาทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (บริบูรณ์แล้ว)

อินทรียปัจจัย
[๒๖๔] สภาวธรรมที่เป็นกุศลทำสภาวธรรมที่เป็นกุศลให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะ
อินทรียปัจจัย ฯลฯ สำหรับเหล่าอสัญญสัตตพรหม ... ทำมหาภูตรูป ๑ ฯลฯ
จักขุวิญญาณทำจักขายตนะให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ กายวิญญาณทำกายายตนะ
ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ขันธ์ที่เป็นอัพยากตวิบากและที่เป็นอัพยากตกิริยาทำหทัยวัตถุ
ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น
(พึงขยายอินทรียปัจจัยให้พิสดารเหมือนกับกัมมปัจจัย)

ฌานปัจจัยและมัคคปัจจัย
[๒๖๕] สภาวธรรมที่เป็นกุศลทำสภาวธรรมที่เป็นกุศลให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะ
ฌานปัจจัย ฯลฯ เพราะมัคคปัจจัย
(พึงขยายฌานปัจจัยและมัคคปัจจัยให้พิสดารเหมือนกับเหตุปัจจัย)

สัมปยุตตปัจจัย
[๒๖๖] สภาวธรรมที่เป็นกุศลทำสภาวธรรมที่เป็นกุศลให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะ
สัมปยุตตปัจจัย (ปัจจัยนี้เหมือนกับอารัมมณปัจจัย)

วิปปยุตตปัจจัย
[๒๖๗] สภาวธรรมที่เป็นกุศลทำสภาวธรรมที่เป็นกุศลให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะ
วิปปยุตตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ ทำขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ
ขันธ์ ๒ ทำขันธ์ ๒ ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ขันธ์ทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะ
วิปปยุตตปัจจัย (๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๔๑ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๓. ปัจจยวาร
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตทำสภาวธรรมที่เป็นกุศลให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะ
วิปปยุตตปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปทำขันธ์ที่เป็นกุศลให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น
หทัยวัตถุทำขันธ์ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะวิปปยุตตปัจจัย (๒)
สภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤตทำสภาวธรรมที่เป็นกุศลให้เป็นปัจจัย
เกิดขึ้นเพราะวิปปยุตตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปทำขันธ์ ๑ ที่เป็น
กุศลให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูปทำขันธ์ ๒ ให้เป็นปัจจัย
เกิดขึ้น ขันธ์ทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะวิปปยุตตปัจจัย จิตตสมุฏฐานรูป
ทำขันธ์ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะวิปปยุตตปัจจัย (๓)
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลทำสภาวธรรมที่เป็นอกุศลให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะ
วิปปยุตตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ ทำขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ
ขันธ์ ๒ ทำขันธ์ ๒ ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ขันธ์ทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะ
วิปปยุตตปัจจัย (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตทำสภาวธรรมที่เป็นอกุศลให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะ
วิปปยุตตปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปทำขันธ์ที่เป็นอกุศลให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น
หทัยวัตถุทำขันธ์ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะวิปปยุตตปัจจัย (๒)
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤตทำสภาวธรรมที่เป็นอกุศลให้เป็น
ปัจจัยเกิดขึ้นเพราะวิปปยุตตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปทำขันธ์ ๑
ที่เป็นอกุศลให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูปทำขันธ์ ๒
ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ขันธ์ทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะวิปปยุตตปัจจัย
จิตตสมุฏฐานรูปทำขันธ์ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะวิปปยุตตปัจจัย (๓)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตทำสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น
เพราะวิปปยุตตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปทำขันธ์ ๑ ที่เป็น
อัพยากตวิบากและที่เป็นอัพยากตกิริยาให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ ๒ และ
จิตตสมุฏฐานรูปทำขันธ์ ๒ ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ขันธ์ทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิด
ขึ้นเพราะวิปปยุตตปัจจัย จิตตสมุฏฐานรูปทำขันธ์ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะวิปปยุตต-
ปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๓ และกฏัตตารูปทำขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบากให้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๔๒ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๓. ปัจจยวาร
เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ ๒ และกฏัตตารูปทำขันธ์ ๒ ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น
ขันธ์ทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะวิปปยุตตปัจจัย กฏัตตารูปทำขันธ์ให้เป็น
ปัจจัยเกิดขึ้นเพราะวิปปยุตตปัจจัย หทัยวัตถุทำขันธ์ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ขันธ์
ทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ขันธ์ทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะ
วิปปยุตตปัจจัย หทัยวัตถุทำขันธ์ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะวิปปยุตตปัจจัย ... ทำ
มหาภูตรูป ๑ ฯลฯ จิตตสมุฏฐานรูปและกฏัตตารูปที่เป็นอุปาทายรูปทำมหาภูตรูป
ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น จิตตสมุฏฐานรูปทำขันธ์ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะวิปปยุตต-
ปัจจัย จักขุวิญญาณทำจักขายตนะให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ กายวิญญาณทำ
กายายตนะให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ขันธ์ที่เป็นอัพยากตวิบากและที่เป็นอัพยากตกิริยา
ทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ขันธ์ทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะ
วิปปยุตตปัจจัย (๑)
สภาวธรรมที่เป็นกุศลทำสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะ
วิปปยุตตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นกุศลทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ขันธ์ทำ
หทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะวิปปยุตตปัจจัย (๒)
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลทำสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะ
วิปปยุตตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นอกุศลทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ขันธ์ทำ
หทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะวิปปยุตตปัจจัย (๓)
สภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤตทำสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตให้เป็น
ปัจจัยเกิดขึ้นเพราะวิปปยุตตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นกุศลทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัย
เกิดขึ้น จิตตสมุฏฐานรูปทำมหาภูตรูปให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ขันธ์ทำหทัยวัตถุให้
เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะวิปปยุตตปัจจัย จิตตสมุฏฐานรูปทำขันธ์ให้เป็นปัจจัย
เกิดขึ้นเพราะวิปปยุตตปัจจัย (๔)
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤตทำสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต
ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะวิปปยุตตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นอกุศลทำหทัยวัตถุ
ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น จิตตสมุฏฐานรูปทำมหาภูตรูปให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ขันธ์ทำ
หทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะวิปปยุตตปัจจัย จิตตสมุฏฐานรูปทำขันธ์ให้เป็น
ปัจจัยเกิดขึ้นเพราะวิปปยุตตปัจจัย (๕)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๔๓ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๓. ปัจจยวาร
สภาวธรรมที่เป็นกุศลทำสภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤตให้เป็นปัจจัย
เกิดขึ้นเพราะวิปปยุตตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ ทำขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลและหทัยวัตถุให้
เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ ทำขันธ์ ๓ และหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ขันธ์ ๒
ทำขันธ์ ๒ และหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ขันธ์ทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น
เพราะวิปปยุตตปัจจัย (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตทำสภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤตให้
เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะวิปปยุตตปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปทำขันธ์ที่เป็นกุศล
และมหาภูตรูปให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น จิตตสมุฏฐานรูปทำขันธ์ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น
เพราะวิปปยุตตปัจจัย (๒)
สภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤตทำสภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็น
อัพยากฤตให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะวิปปยุตตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ ทำขันธ์ ๑ ที่
เป็นกุศลและหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ ทำขันธ์ ๓ และหทัยวัตถุให้
เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ขันธ์ ๒ ทำขันธ์ ๒ และหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น จิตต-
สมุฏฐานรูปทำขันธ์ที่เป็นกุศลและมหาภูตรูปให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ขันธ์ทำหทัยวัตถุ
ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะวิปปยุตตปัจจัย จิตตสมุฏฐานรูปทำขันธ์ให้เป็นปัจจัย
เกิดขึ้นเพราะวิปปยุตตปัจจัย (๓)
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลทำสภาวธรรมที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤตให้เป็น
ปัจจัยเกิดขึ้นเพราะวิปปยุตตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ ทำขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลและ
ทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ ๒ ทำขันธ์ ๒ และหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัย
เกิดขึ้น ขันธ์ทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะวิปปยุตตปัจจัย (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตทำสภาวธรรมที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤต
ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะวิปปยุตตปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปทำขันธ์ที่เป็นอกุศล
และมหาภูตรูปให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น จิตตสมุฏฐานรูปทำขันธ์ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น
เพราะวิปปยุตตปัจจัย (๒)
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤตทำสภาวธรรมที่เป็นอกุศลและที่
เป็นอัพยากฤตให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะวิปปยุตตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ ทำขันธ์ ๑ ที่


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๔๔ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๓. ปัจจยวาร
เป็นอกุศลและหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ ๒ ... จิตตสมุฏฐานรูป
ทำขันธ์ที่เป็นอกุศลและมหาภูตรูปให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ขันธ์ทำหทัยวัตถุให้เป็น
ปัจจัยเกิดขึ้นเพราะวิปปยุตตปัจจัย จิตตสมุฏฐานรูปทำขันธ์ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น
เพราะวิปปยุตตปัจจัย (๓)

อัตถิปัจจัยเป็นต้น
[๒๖๘] สภาวธรรมที่เป็นกุศลทำสภาวธรรมที่เป็นกุศลให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะ
อัตถิปัจจัย ฯลฯ (อัตถิปัจจัยพึงแจกเหมือนสหชาตปัจจัย นัตถิปัจจัยและวิคตปัจจัย
พึงแจกเหมือนอารัมมณปัจจัย อวิคตปัจจัยพึงแจกเหมือนสหชาตปัจจัย)

๑. ปัจจยานุโลม ๒. สังขยาวาร

[๒๖๙] เหตุปัจจัย มี ๑๗ วาระ
อารัมมณปัจจัย มี ๗ วาระ
อธิปติปัจจัย มี ๑๗ วาระ
อนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ
สมนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ
สหชาตปัจจัย มี ๑๗ วาระ
อัญญมัญญปัจจัย มี ๗ วาระ
นิสสยปัจจัย มี ๑๗ วาระ
อุปนิสสยปัจจัย มี ๗ วาระ
ปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ
อาเสวนปัจจัย มี ๗ วาระ
กัมมปัจจัย มี ๑๗ วาระ
วิปากปัจจัย มี ๑ วาระ
อาหารปัจจัย มี ๑๗ วาระ
อินทรียปัจจัย มี ๑๗ วาระ
ฌานปัจจัย มี ๑๗ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๔๕ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๓. ปัจจยวาร

มัคคปัจจัย มี ๑๗ วาระ
สัมปยุตตปัจจัย มี ๗ วาระ
วิปปยุตตปัจจัย มี ๑๗ วาระ
อัตถิปัจจัย มี ๑๗ วาระ
นัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ
วิคตปัจจัย มี ๗ วาระ
อวิคตปัจจัย มี ๑๗ วาระ

เหตุทุกนัย

[๒๗๐] อารัมมณปัจจัย กับเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ
อธิปติปัจจัย " มี ๑๗ วาระ
อนันตรปัจจัย " มี ๗ วาระ
สมนันตรปัจจัย " มี ๗ วาระ
สหชาตปัจจัย " มี ๑๗ วาระ ฯลฯ
อวิคตปัจจัย " มี ๑๗ วาระ

ติกนัย
อธิปติปัจจัย กับเหตุปัจจัย และอารัมมณปัจจัย มี ๗ วาระ (ทุกปัจจัยมี
ปัจจัยละ ๗ วาระ)

วิปากปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
อวิคตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๗ วาระ ฯลฯ

ทวาทสกนัย (สาเสวนะ)

กัมมปัจจัย กับเหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย อธิปติปัจจัย อนันตรปัจจัย

สมนันตรปัจจัย สหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย
ปุเรชาตปัจจัย และอาเสวนปัจจัย มี ๗ วาระ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๔๖ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๓. ปัจจยวาร

อาหารปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๗ วาระ ฯลฯ
อวิคตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๗ วาระ ฯลฯ

พาวีสกนัย
อวิคตปัจจัย กับเหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย ฯลฯ ปุเรชาตปัจจัย อาเสวนปัจจัย
กัมมปัจจัย อาหารปัจจัย ฯลฯ วิคตปัจจัย มี ๗ วาระ

เตรสกนัย (สวิปากะ)
อาหารปัจจัย กับเหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย ฯลฯ ปุเรชาตปัจจัย กัมมปัจจัย
และวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ฯลฯ
อวิคตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ

พาวีสกนัย (สวิปากะ)
อวิคตปัจจัย กับเหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย ฯลฯ ปุเรชาตปัจจัย กัมมปัจจัย
วิปากปัจจัย อาหารปัจจัย ฯลฯ วิคตปัจจัย มี ๑ วาระ
เหตุมูลกนัย จบ

อารัมมณทุกนัย

[๒๗๑] เหตุปัจจัย กับอารัมมณปัจจัย มี ๗ วาระ
อธิปติปัจจัย กับอารัมมณปัจจัย มี ๗ วาระ ฯลฯ

(พึงขยายอารัมมณมูลกนัยให้พิสดารเหมือนเหตุมูลกนัย)

อธิปติทุกนัย

[๒๗๒] เหตุปัจจัย กับอธิปติปัจจัย มี ๑๗ วาระ ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๔๗ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๓. ปัจจยวาร
อนันตระและสมนันตรทุกนัย

[๒๗๓] เหตุปัจจัย กับอนันตรปัจจัย...
เหตุปัจจัย กับสมนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ ฯลฯ

ทุกนัยมีสหชาตปัจจัยเป็นต้น

[๒๗๔] เหตุปัจจัย กับสหชาตปัจจัย ฯลฯ
เหตุปัจจัย กับอัญญมัญญปัจจัย ...
เหตุปัจจัย กับนิสสยปัจจัย ...
เหตุปัจจัย กับอุปนิสสยปัจจัย ...
เหตุปัจจัย กับปุเรชาตปัจจัย ฯลฯ
เหตุปัจจัย กับอาเสวนปัจจัย มี ๗ วาระ
อารัมมณปัจจัย " มี ๗ วาระ
อธิปติปัจจัย " มี ๗ วาระ
อนันตรปัจจัย " มี ๗ วาระ
สมนันตรปัจจัย " มี ๗ วาระ
สหชาตปัจจัย " มี ๗ วาระ
อัญญมัญญปัจจัย " มี ๗ วาระ
นิสสยปัจจัย " มี ๗ วาระ
อุปนิสสยปัจจัย " มี ๗ วาระ
ปุเรชาตปัจจัย " มี ๗ วาระ
กัมมปัจจัย " มี ๗ วาระ
อาหารปัจจัย " มี ๗ วาระ
อินทรียปัจจัย " มี ๗ วาระ
ฌานปัจจัย " มี ๗ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๔๘ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๓. ปัจจยวาร

มัคคปัจจัย กับอาเสวนปัจจัย มี ๗ วาระ
สัมปยุตตปัจจัย " มี ๗ วาระ
วิปปยุตตปัจจัย " มี ๗ วาระ
อัตถิปัจจัย " มี ๗ วาระ
นัตถิปัจจัย " มี ๗ วาระ
วิคตปัจจัย " มี ๗ วาระ
อวิคตปัจจัย " มี ๗ วาระ ฯลฯ

กัมมะและวิปากทุกนัย

[๒๗๕] เหตุปัจจัย กับกัมมปัจจัย ฯลฯ
เหตุปัจจัย กับวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ
อารัมมณปัจจัย " มี ๑ วาระ
อธิปติปัจจัย " มี ๑ วาระ
อนันตรปัจจัย " มี ๑ วาระ
สมนันตรปัจจัย " มี ๑ วาระ
สหชาตปัจจัย " มี ๑ วาระ
อัญญมัญญปัจจัย " มี ๑ วาระ
นิสสยปัจจัย " มี ๑ วาระ
อุปนิสสยปัจจัย " มี ๑ วาระ
ปุเรชาตปัจจัย " มี ๑ วาระ
กัมมปัจจัย " มี ๑ วาระ
อาหารปัจจัย " มี ๑ วาระ
อินทรียปัจจัย " มี ๑ วาระ
ฌานปัจจัย " มี ๑ วาระ
มัคคปัจจัย " มี ๑ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๔๙ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๓. ปัจจยวาร

สัมปยุตตปัจจัย กับวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ
วิปปยุตตปัจจัย " มี ๑ วาระ
อัตถิปัจจัย " มี ๑ วาระ
นัตถิปัจจัย " มี ๑ วาระ
วิคตปัจจัย " มี ๑ วาระ
อวิคตปัจจัย " มี ๑ วาระ ฯลฯ

ทุกนัยมีอาหารปัจจัยเป็นต้น

[๒๗๖] เหตุปัจจัย กับอาหารปัจจัย ฯลฯ
เหตุปัจจัย กับอินทรียปัจจัย ...
เหตุปัจจัย กับฌานปัจจัย ...
เหตุปัจจัย กับมัคคปัจจัย ...
เหตุปัจจัย กับสัมปยุตตปัจจัย ...
เหตุปัจจัย กับวิปปยุตตปัจจัย ...
เหตุปัจจัย กับอัตถิปัจจัย ...
เหตุปัจจัย กับนัตถิปัจจัย ...
เหตุปัจจัย กับวิคตปัจจัย ฯลฯ
เหตุปัจจัย กับอวิคตปัจจัย มี ๑๗ วาระ
อารัมมณปัจจัย " มี ๗ วาระ ฯลฯ
วิคตปัจจัย " มี ๗ วาระ

อนุโลมในปัจจยวาร จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๕๐ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๓. ปัจจยวาร
๒. ปัจจยปัจจนียะ ๑. วิภังควาร
นเหตุปัจจัย
[๒๗๗] สภาวธรรมที่เป็นอกุศลทำสภาวธรรมที่เป็นอกุศลให้เป็นปัจจัยเกิด
ขึ้นเพราะนเหตุปัจจัย ได้แก่ โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ
ทำขันธ์ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วยอุทธัจจะให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตทำสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตให้เป็นปัจจัยเกิด
ขึ้นเพราะนเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปทำขันธ์ ๑ ที่เป็นอเหตุกะ
ซึ่งเป็นอัพยากตวิบากและอัพยากตกิริยาให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ ๒ และ
จิตตสมุฏฐานรูปทำขันธ์ ๒ ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ในปฏิสนธิขณะที่เป็นอเหตุกะ
ขันธ์ ๓ และกฏัตตารูปทำขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบากให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ
ขันธ์ ๒ และกฏัตตารูปทำขันธ์ ๒ ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น หทัยวัตถุทำขันธ์ให้เป็น
ปัจจัยเกิดขึ้น ขันธ์ทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น มหาภูตรูป ๓ ทำมหาภูตรูป ๑
ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ จิตตสมุฏฐานรูปและกฏัตตารูปที่เป็นอุปาทายรูปทำ
มหาภูตรูปให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ... ที่เป็นภายนอก ... ที่มีอาหารเป็นสมุฏฐาน ... ที่
มีอุตุเป็นสมุฏฐาน ... สำหรับเหล่าอสัญญสัตตพรหม มหาภูตรูป ๓ ทำมหาภูต-
รูป ๑ ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ กฏัตตารูปที่เป็นอุปาทายรูปทำมหาภูตรูปให้เป็น
ปัจจัยเกิดขึ้น จักขุวิญญาณทำจักขายตนะให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ กายวิญญาณ
ทำกายายตนะให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ขันธ์ที่เป็นอเหตุกะซึ่งเป็นอัพยากตวิบากและ
อัพยากตกิริยาทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลทำสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะ
นเหตุปัจจัย ได้แก่ โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วยอุทธัจจะทำ
หทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๒)
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลทำสภาวธรรมที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤตให้เป็น
ปัจจัยเกิดขึ้นเพราะนเหตุปัจจัย ได้แก่ โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วย
อุทธัจจะทำขันธ์ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วยอุทธัจจะและหทัยวัตถุให้เป็น
ปัจจัยเกิดขึ้น (๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๕๑ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๓. ปัจจยวาร
นอารัมมณปัจจัย
[๒๗๘] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตทำสภาวธรรมที่เป็นกุศลให้เป็นปัจจัยเกิด
ขึ้นเพราะนอารัมมณปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปทำขันธ์ที่เป็นกุศลให้เป็นปัจจัย
เกิดขึ้น
(พึงขยายให้พิสดารเหมือนนอารัมมณปัจจัยในปฏิจจวาร)

นอธิปติปัจจัย
[๒๗๙] สภาวธรรมที่เป็นกุศลทำสภาวธรรมที่เป็นกุศลให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น
เพราะนอธิปติปัจจัย ได้แก่ ... ทำขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศล ... มี ๓ วาระ
... ทำสภาวธรรมที่เป็นอกุศล ... มี ๓ วาระ
... ทำสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (พึงเพิ่ม
อัพยากตบทให้บริบูรณ์) ... ที่เป็นภายนอก ... ที่มีอาหารเป็นสมุฏฐาน ... ที่มี
อุตุเป็นสมุฏฐาน ... สำหรับเหล่าอสัญญสัตตพรหม ... ทำมหาภูตรูป ๑ ฯลฯ
จักขุวิญญาณทำจักขายตนะให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ กายวิญญาณทำกายายตนะ
ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ขันธ์ที่เป็นอัพยากตวิบากและที่เป็นอัพยากตกิริยาทำหทัยวัตถุ
ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น
สภาวธรรมที่เป็นกุศลทำสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะ
นอธิปติปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นกุศลทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ
(พึงนับเหมือนสหชาตปัจจัยในอนุโลม)

นอนันตรปัจจัยเป็นต้น
[๒๘๐] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตทำสภาวธรรมที่เป็นกุศลให้เป็นปัจจัย
เกิดขึ้นเพราะนอนันตรปัจจัย เพราะนสมนันตรปัจจัย เพราะนอัญญมัญญปัจจัย
เพราะ นอุปนิสสยปัจจัย เพราะนปุเรชาตปัจจัย
(พึงขยายให้พิสดารเหมือนในปฏิจจวาร)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๕๒ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๓. ปัจจยวาร
นปัจฉาชาตปัจจัยเป็นต้น
[๒๘๑] สภาวธรรมที่เป็นกุศลทำสภาวธรรมที่เป็นกุศลให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะ
นปัจฉาชาตปัจจัย เพราะนอาเสวนปัจจัย ฯลฯ ทำจักขายตนะ ฯลฯ
(นปัจฉาชาตปัจจัยและนอาเสวนปัจจัยบริบูรณ์แล้ว มี ๑๗ วาระ)
(พึงขยายให้พิสดารเหมือนสหชาตปัจจัยในอนุโลม)

นกัมมปัจจัย
[๒๘๒] สภาวธรรมที่เป็นกุศลทำสภาวธรรมที่เป็นกุศลให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะ
นกัมมปัจจัย ได้แก่ เจตนาที่เป็นกุศลทำขันธ์ที่เป็นกุศลให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลทำสภาวธรรมที่เป็นอกุศลให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะ
นกัมมปัจจัยได้แก่ เจตนาที่เป็นอกุศลทำขันธ์ที่เป็นอกุศลให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตทำสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น
เพราะนกัมมปัจจัย ได้แก่ เจตนาที่เป็นอัพยากตกิริยาทำขันธ์ที่เป็นอัพยากตกิริยาให้
เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ... ที่เป็นภายนอก ... ที่มีอาหารเป็นสมุฏฐาน ... ทำมหาภูตรูป ๑
ที่มีอุตุเป็นสมุฏฐาน ฯลฯ อุปาทายรูป ... เจตนาที่เป็นอัพยากตกิริยาทำหทัยวัตถุ
ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นกุศลทำสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะ
นกัมมปัจจัย ได้แก่ เจตนาที่เป็นอกุศลทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลทำสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะ
นกัมมปัจจัย ได้แก่ เจตนาที่เป็นอกุศลทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๒)
สภาวธรรมที่เป็นกุศลทำสภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤตให้เป็นปัจจัย
เกิดขึ้นเพราะนกัมมปัจจัย ได้แก่ เจตนาที่เป็นกุศลทำขันธ์ที่เป็นกุศลและทำหทัยวัตถุ
ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๓)
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลทำสภาวธรรมที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤตให้เป็น
ปัจจัยเกิดขึ้นเพราะนกัมมปัจจัย ได้แก่ เจตนาที่เป็นอกุศลทำขันธ์ที่เป็นอกุศลและ
ทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๕๓ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๓. ปัจจยวาร
นวิปากปัจจัย
[๒๘๓] สภาวธรรมที่เป็นกุศลทำสภาวธรรมที่เป็นกุศลให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะ
นวิปากปัจจัย ... ทำขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศล ... มี ๓ วาระ
... ทำสภาวธรรมที่เป็นอกุศล ... มี ๓ วาระ
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตทำสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น
เพราะนวิปากปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปทำขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากต-
กิริยาให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูปทำขันธ์ ๒ ให้เป็น
ปัจจัยเกิดขึ้น มหาภูตรูป ๓ ทำมหาภูตรูป ๑ ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ จิตต-
สมุฏฐานรูปที่เป็นอุปาทายรูปทำมหาภูตรูปให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ... ที่เป็นภายนอก
... ที่มีอาหารเป็นสมุฏฐาน ... ที่มีอุตุเป็นสมุฏฐาน ... สำหรับเหล่าอสัญญสัตตพรหม
มหาภูตรูป ๓ ทำมหาภูตรูป ๑ ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ กฏัตตารูปที่เป็น
อุปาทายรูปทำมหาภูตรูปให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ขันธ์ที่เป็นอัพยากตกิริยาทำหทัยวัตถุ
ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น
สภาวธรรมที่เป็นกุศลทำสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะ
นวิปากปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นกุศลทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (เว้นวิปากปัจจัย
ทุกปัจจัยพึงขยายให้พิสดาร)

นอาหารปัจจัยเป็นต้น
[๒๘๔] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตทำสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตให้เป็น
ปัจจัยเกิดขึ้นเพราะนอาหารปัจจัย เพราะนอินทรียปัจจัย เพราะนฌานปัจจัย ฯลฯ
จักขุวิญญาณทำจักขายตนะให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ กายวิญญาณทำกายายตนะ
ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (นี้เป็นความต่างกันในนฌานปัจจัย)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตทำสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น
เพราะนมัคคปัจจัย ได้แก่ จักขุวิญญาณทำจักขายตนะให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ
กายวิญญาณทำกายายตนะให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ขันธ์ที่เป็นอเหตุกะซึ่งเป็นอัพยากต-
วิบากและอัพยากตกิริยาทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (นี้เป็นความต่างกันใน
นมัคคปัจจัย)
(ที่เหลือพึงขยายให้พิสดารเหมือนปัจจนียะในปฏิจจวาร)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๕๔ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๓. ปัจจยวาร
นสัมปยุตตปัจจัยเป็นต้น
[๒๘๕] ... เพราะนสัมปยุตตปัจจัย เพราะนวิปปยุตตปัจจัย เพราะโนนัตถิ-
ปัจจัย
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตทำสภาวธรรมที่เป็นกุศลให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะ
โนวิคตปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปทำขันธ์ที่เป็นกุศลให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น
(พึงขยายให้พิสดารเหมือนในปฏิจจวาร)

๒. ปัจจยปัจจนียะ ๒. สังขยาวาร

[๒๘๖] นเหตุปัจจัย มี ๔ วาระ
นอารัมมณปัจจัย มี ๕ วาระ
นอธิปติปัจจัย มี ๑๗ วาระ
นอนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ
นสมนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ
นอัญญมัญญปัจจัย มี ๕ วาระ
นอุปนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑๗ วาระ
นอาเสวนปัจจัย มี ๑๗ วาระ
นกัมมปัจจัย มี ๗ วาระ
นวิปากปัจจัย มี ๑๗ วาระ
นอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ
นอินทรียปัจจัย มี ๑ วาระ
นฌานปัจจัย มี ๑ วาระ
นมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๕๕ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๓. ปัจจยวาร

นสัมปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ
โนนัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ
โนวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ

นเหตุทุกนัย

[๒๘๗] นอารัมมณปัจจัย กับนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ
นอธิปติปัจจัย " มี ๔ วาระ
นอนันตรปัจจัย " มี ๑ วาระ
นสมนันตรปัจจัย " มี ๑ วาระ
นอัญญมัญญปัจจัย " มี ๑ วาระ
นอุปนิสสยปัจจัย " มี ๑ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย " มี ๒ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย " มี ๔ วาระ
นอาเสวนปัจจัย " มี ๔ วาระ
นกัมมปัจจัย " มี ๑ วาระ
นวิปากปัจจัย " มี ๔ วาระ
นอาหารปัจจัย " มี ๑ วาระ
นอินทรียปัจจัย " มี ๑ วาระ
นฌานปัจจัย " มี ๑ วาระ
นมัคคปัจจัย " มี ๑ วาระ
นสัมปยุตตปัจจัย " มี ๑ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย " มี ๒ วาระ
โนนัตถิปัจจัย " มี ๑ วาระ
โนวิคตปัจจัย " มี ๑ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๕๖ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๓. ปัจจยวาร
ติกนัย

นอธิปติปัจจัย กับนเหตุปัจจัยและนอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ
นอนันตรปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นสมนันตรปัจจัย " " มี ๑ วาระ (ทุกปัจจัยมีปัจจัยละ ๑ วาระ)
โนนัตถิปัจจัย " " มี ๑ วาระ
โนวิคตปัจจัย " " มี ๑ วาระ ฯลฯ

นอารัมมณทุกนัย

[๒๘๘] นเหตุปัจจัย กับนอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ
นอธิปติปัจจัย " มี ๕ วาระ
นอนันตรปัจจัย " มี ๕ วาระ
นสมนันตรปัจจัย " มี ๕ วาระ
นอัญญมัญญปัจจัย " มี ๕ วาระ
นอุปนิสสยปัจจัย " มี ๕ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย " มี ๕ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย " มี ๕ วาระ
นอาเสวนปัจจัย " มี ๕ วาระ
นกัมมปัจจัย " มี ๑ วาระ
นวิปากปัจจัย " มี ๕ วาระ
นอาหารปัจจัย " มี ๑ วาระ
นอินทรียปัจจัย " มี ๑ วาระ
นฌานปัจจัย " มี ๑ วาระ
นมัคคปัจจัย " มี ๑ วาระ
นสัมปยุตตปัจจัย " มี ๕ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย " มี ๑ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๕๗ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๓. ปัจจยวาร

โนนัตถิปัจจัย กับนอารัมมณปัจจัย มี ๕ วาระ
โนวิคตปัจจัย " มี ๕ วาระ

ติกนัย

นอธิปติปัจจัย กับนอารัมมณปัจจัย และนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ ฯลฯ
โนวิคตปัจจัย " " มี ๑ วาระ ฯลฯ

นอธิปติทุกนัย

[๒๘๙] นเหตุปัจจัย กับนอธิปติปัจจัย มี ๔ วาระ
นอารัมมณปัจจัย " มี ๕ วาระ
นอนันตรปัจจัย " มี ๕ วาระ
นสมนันตรปัจจัย " มี ๕ วาระ
นอัญญมัญญปัจจัย " มี ๕ วาระ
นอุปนิสสยปัจจัย " มี ๕ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย " มี ๗ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย " มี ๑๗ วาระ
นอาเสวนปัจจัย " มี ๑๗ วาระ
นกัมมปัจจัย " มี ๗ วาระ
นวิปากปัจจัย " มี ๑๗ วาระ
นอาหารปัจจัย " มี ๑ วาระ
นอินทรียปัจจัย " มี ๑ วาระ
นฌานปัจจัย " มี ๑ วาระ
นมัคคปัจจัย " มี ๑ วาระ
นสัมปยุตตปัจจัย " มี ๕ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย " มี ๓ วาระ
โนนัตถิปัจจัย " มี ๕ วาระ
โนวิคตปัจจัย " มี ๕ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๕๘ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๓. ปัจจยวาร
ติกนัย

นอารัมมณปัจจัย กับนอธิปติปัจจัย และนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ
นอนันตรปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นสมนันตรปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นอัญญมัญญปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นอุปนิสสยปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย " " มี ๒ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย " " มี ๔ วาระ
นอาเสวนปัจจัย " " มี ๔ วาระ
นกัมมปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นวิปากปัจจัย " " มี ๔ วาระ
นอาหารปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นอินทรียปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นฌานปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นมัคคปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นสัมปยุตตปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย " " มี ๒ วาระ
โนนัตถิปัจจัย " " มี ๑ วาระ
โนวิคตปัจจัย " " มี ๑ วาระ

จตุกกนัย
นอนันตรปัจจัย กับนอธิปติปัจจัย นเหตุปัจจัย และนอารัมมณปัจจัย มี ๑
วาระ (ทุกปัจจัยมีปัจจัยละ ๑ วาระ) ฯลฯ

นอนันตรปัจจัยเป็นต้น
[๒๙๐] ...กับนอนันตรปัจจัย นสมนันตรปัจจัย นอัญญมัญญปัจจัย และ
นอุปนิสสยปัจจัย (ปัจจัยนี้เหมือนกับนอารัมมณปัจจัย)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๕๙ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๓. ปัจจยวาร
นปุเรชาตทุกนัย

[๒๙๑] นเหตุปัจจัย กับนปุเรชาตปัจจัย มี ๒ วาระ
นอารัมมณปัจจัย " มี ๕ วาระ
นอธิปติปัจจัย " มี ๗ วาระ
นอนันตรปัจจัย " มี ๕ วาระ
นสมนันตรปัจจัย " มี ๕ วาระ
นอัญญมัญญปัจจัย " มี ๕ วาระ
นอุปนิสสยปัจจัย " มี ๕ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย " มี ๗ วาระ
นอาเสวนปัจจัย " มี ๗ วาระ
นกัมมปัจจัย " มี ๓ วาระ
นวิปากปัจจัย " มี ๗ วาระ
นอาหารปัจจัย " มี ๑ วาระ
นอินทรียปัจจัย " มี ๑ วาระ
นฌานปัจจัย " มี ๑ วาระ
นมัคคปัจจัย " มี ๑ วาระ
นสัมปยุตตปัจจัย " มี ๕ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย " มี ๓ วาระ
โนนัตถิปัจจัย " มี ๕ วาระ
โนวิคตปัจจัย " มี ๕ วาระ

ติกนัย

นอารัมมณปัจจัย กับนปุเรชาตปัจจัยและนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ
นอธิปติปัจจัย " " มี ๒ วาระ
นอนันตรปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นสมนันตรปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นอัญญมัญญปัจจัย " " มี ๑ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๖๐ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๓. ปัจจยวาร

นอุปนิสสยปัจจัย กับนปุเรชาตปัจจัยและนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย " " มี ๒ วาระ
นอาเสวนปัจจัย " " มี ๒ วาระ
นกัมมปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นวิปากปัจจัย " " มี ๒ วาระ
นอาหารปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นอินทรียปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นฌานปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นมัคคปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นสัมปยุตตปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย " " มี ๒ วาระ
โนนัตถิปัจจัย " " มี ๑ วาระ
โนวิคตปัจจัย " " มี ๑ วาระ

จตุกกนัย
นอธิปติปัจจัย กับนปุเรชาตปัจจัย นเหตุปัจจัย และนอารัมมณปัจจัย มี ๑
วาระ (ทุกปัจจัยมีปัจจัยละ ๑ วาระ)
โนวิคตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ ฯลฯ

นปัจฉาชาตะและนอาเสวนทุกนัย

[๒๙๒] นเหตุปัจจัย กับนปัจฉาชาตปัจจัย ฯลฯ นอาเสวนปัจจัย มี ๔ วาระ


นอารัมมณปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๕ วาระ
นอธิปติปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑๗ วาระ
นอนันตรปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๕ วาระ
นสมนันตรปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๕ วาระ
นอัญญมัญญปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๕ วาระ
นอุปนิสสยปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๕ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๖๑ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๓. ปัจจยวาร

นปุเรชาตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๗ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑๗ วาระ
นกัมมปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๗ วาระ
นวิปากปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑๗ วาระ
นอาหารปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
นอินทรียปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
นฌานปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
นมัคคปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
นสัมปยุตตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๕ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ
โนนัตถิปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๕ วาระ
โนวิคตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๕ วาระ

ติกนัย

นอารัมมณปัจจัย กับนอาเสวนปัจจัยและนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ
นอธิปติปัจจัย " " มี ๔ วาระ
นอนันตรปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นสมนันตรปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นอัญญมัญญปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นอุปนิสสยปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย " " มี ๒ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย " " มี ๔ วาระ
นกัมมปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นวิปากปัจจัย " " มี ๔ วาระ
นอาหารปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นอินทรียปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นฌานปัจจัย " " มี ๑ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๖๒ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๓. ปัจจยวาร

นมัคคปัจจัย กับนอาเสวนปัจจัยและนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ
นสัมปยุตตปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย " " มี ๒ วาระ
โนนัตถิปัจจัย " " มี ๑ วาระ
โนวิคตปัจจัย " " มี ๑ วาระ

จตุกกนัย
นอธิปติปัจจัย กับนอาเสวนปัจจัย นเหตุปัจจัย และนอารัมมณปัจจัย มี ๑
วาระ (ทุกปัจจัยมีปัจจัยละ ๑ วาระ)
โนวิคตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ ฯลฯ

นกัมมทุกนัย

[๒๙๓] นเหตุปัจจัย กับนกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ
นอารัมมณปัจจัย " มี ๑ วาระ
นอธิปติปัจจัย " มี ๗ วาระ
นอนันตรปัจจัย " มี ๑ วาระ
นสมนันตรปัจจัย " มี ๑ วาระ
นอัญญมัญญปัจจัย " มี ๑ วาระ
นอุปนิสสยปัจจัย " มี ๑ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย " มี ๓ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย " มี ๗ วาระ
นอาเสวนปัจจัย " มี ๗ วาระ
นวิปากปัจจัย " มี ๗ วาระ
นอาหารปัจจัย " มี ๑ วาระ
นอินทรียปัจจัย " มี ๑ วาระ
นฌานปัจจัย " มี ๑ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๖๓ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๓. ปัจจยวาร

นมัคคปัจจัย กับนกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ
นสัมปยุตตปัจจัย " มี ๑ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย " มี ๓ วาระ
โนนัตถิปัจจัย " มี ๑ วาระ
โนวิคตปัจจัย " มี ๑ วาระ

ติกนัย
นอารัมมณปัจจัย กับนกัมมปัจจัย และนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ (ทุกปัจจัยมี
ปัจจัยละ ๑ วาระ)
โนวิคตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ ฯลฯ

นวิปากทุกนัย

[๒๙๔] นเหตุปัจจัย กับนวิปากปัจจัย มี ๔ วาระ
นอารัมมณปัจจัย " มี ๕ วาระ
นอธิปติปัจจัย " มี ๑๗ วาระ
นอนันตรปัจจัย " มี ๕ วาระ
นสมนันตรปัจจัย " มี ๕ วาระ
นอัญญมัญญปัจจัย " มี ๕ วาระ
นอุปนิสสยปัจจัย " มี ๕ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย " มี ๗ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย " มี ๑๗ วาระ
นอาเสวนปัจจัย " มี ๑๗ วาระ
นกัมมปัจจัย " มี ๗ วาระ
นอาหารปัจจัย " มี ๑ วาระ
นอินทรียปัจจัย " มี ๑ วาระ
นฌานปัจจัย " มี ๑ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๖๔ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๓. ปัจจยวาร

นมัคคปัจจัย กับนวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ
นสัมปยุตตปัจจัย " มี ๕ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย " มี ๓ วาระ
โนนัตถิปัจจัย " มี ๕ วาระ
โนวิคตปัจจัย " มี ๕ วาระ

ติกนัย

นอารัมมณปัจจัย กับนวิปากปัจจัยและนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ
นอธิปติปัจจัย " " มี ๔ วาระ
นอนันตรปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นสมนันตรปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นอัญญมัญญปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นอุปนิสสยปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย " " มี ๒ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย " " มี ๔ วาระ
นอาเสวนปัจจัย " " มี ๔ วาระ
นกัมมปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นอาหารปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นอินทรียปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นฌานปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นมัคคปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นสัมปยุตตปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย " " มี ๒ วาระ
โนนัตถิปัจจัย " " มี ๑ วาระ
โนวิคตปัจจัย " " มี ๑ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๖๕ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๓. ปัจจยวาร
จตุกกนัย
นอธิปติปัจจัย กับนวิปากปัจจัย นเหตุปัจจัย และนอารัมมณปัจจัย มี ๑
วาระ (ทุกปัจจัยมีปัจจัยละ ๑ วาระ)
โนวิคตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ ฯลฯ

ทุกนัยมีนอาหารปัจจัยเป็นต้น
[๒๙๕] นเหตุปัจจัย กับนอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ (ทุกปัจจัยมีปัจจัยละ ๑
วาระ)
โนวิคตปัจจัย กับนอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ
นเหตุปัจจัย กับนอินทรียปัจจัย มี ๑ วาระ (ทุกปัจจัยมีปัจจัยละ ๑ วาระ)
นเหตุปัจจัย กับนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ (ทุกปัจจัยมีปัจจัยละ ๑ วาระ)
นเหตุปัจจัย กับนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ (ทุกปัจจัยมีปัจจัยละ ๑ วาระ)
... กับนสัมปยุตตปัจจัย ... (ปัจจัยนี้เหมือนกับนอารัมมณปัจจัย)

นวิปปยุตตทุกนัย

[๒๙๖] นเหตุปัจจัย กับนวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ วาระ
นอารัมมณปัจจัย " มี ๑ วาระ
นอธิปติปัจจัย " มี ๓ วาระ
นอนันตรปัจจัย " มี ๑ วาระ
นสมนันตรปัจจัย " มี ๑ วาระ
นอัญญมัญญปัจจัย " มี ๑ วาระ
นอุปนิสสยปัจจัย " มี ๑ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย " มี ๓ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย " มี ๓ วาระ
นอาเสวนปัจจัย " มี ๓ วาระ
นกัมมปัจจัย " มี ๓ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๖๖ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๓. ปัจจยวาร

นวิปากปัจจัย กับนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ
นอาหารปัจจัย " มี ๑ วาระ
นอินทรียปัจจัย " มี ๑ วาระ
นฌานปัจจัย " มี ๑ วาระ
นมัคคปัจจัย " มี ๑ วาระ
นสัมปยุตตปัจจัย " มี ๑ วาระ
โนนัตถิปัจจัย " มี ๑ วาระ
โนวิคตปัจจัย " มี ๑ วาระ

ติกนัย

นอารัมมณปัจจัย กับนวิปปยุตตปัจจัยและนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ
นอธิปติปัจจัย " " มี ๒ วาระ
นอนันตรปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นสมนันตรปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นอัญญมัญญปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นอุปนิสสยปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย " " มี ๒ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย " " มี ๒ วาระ
นอาเสวนปัจจัย " " มี ๒ วาระ
นกัมมปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นวิปากปัจจัย " " มี ๒ วาระ
นอาหารปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นอินทรียปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นฌานปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นมัคคปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นสัมปยุตตปัจจัย " " มี ๑ วาระ
โนนัตถิปัจจัย " " มี ๑ วาระ
โนวิคตปัจจัย " " มี ๑ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๖๗ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๓. ปัจจยวาร
จตุกกนัย
นอธิปติปัจจัย กับนวิปปยุตตปัจจัย นเหตุปัจจัย และนอารัมมณปัจจัย มี
๑ วาระ (ทุกปัจจัยมีปัจจัยละ ๑ วาระ)
... กับโนนัตถิปัจจัย ... กับโนวิคตปัจจัย (ปัจจัยนี้เหมือนกับนอารัมมณปัจจัย)
ปัจจนียะในปัจจยวาร จบ

๓. ปัจจยานุโลมปัจจนียะ
เหตุทุกนัย

[๒๙๗] นอารัมมณปัจจัย กับเหตุปัจจัย มี ๕ วาระ
นอธิปติปัจจัย " มี ๑๗ วาระ
นอนันตรปัจจัย " มี ๕ วาระ
นสมนันตรปัจจัย " มี ๕ วาระ
นอัญญมัญญปัจจัย " มี ๕ วาระ
นอุปนิสสยปัจจัย " มี ๕ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย " มี ๗ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย " มี ๑๗ วาระ
นอาเสวนปัจจัย " มี ๑๗ วาระ
นกัมมปัจจัย " มี ๗ วาระ
นวิปากปัจจัย " มี ๑๗ วาระ
นสัมปยุตตปัจจัย " มี ๕ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย " มี ๓ วาระ
โนนัตถิปัจจัย " มี ๕ วาระ
โนวิคตปัจจัย " มี ๕ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๖๘ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๓. ปัจจยวาร
ติกนัย

นอธิปติปัจจัย กับเหตุปัจจัยและอารัมมณปัจจัย มี ๗ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย " " มี ๓ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย " " มี ๗ วาระ
นอาเสวนปัจจัย " " มี ๗ วาระ
นกัมมปัจจัย " " มี ๗ วาระ
นวิปากปัจจัย " " มี ๗ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย " " มี ๓ วาระ ฯลฯ

เอกาทสกนัย
นปัจฉาชาตปัจจัย กับเหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย อธิปติปัจจัย อนันตรปัจจัย
สมนันตรปัจจัย สหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย
และปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ

นอาเสวนปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๗ วาระ
นกัมมปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๗ วาระ
นวิปากปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๗ วาระ

ทวาทสกนัย (สาเสวนะ)
นปัจฉาชาตปัจจัย กับเหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย ฯลฯ ปุเรชาตปัจจัย และ
อาเสวนปัจจัย มี ๗ วาระ

นกัมมปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๗ วาระ
นวิปากปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๗ วาระ ฯลฯ

เตวีสกนัย
นปัจฉาชาตปัจจัย กับเหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย ฯลฯ ปุเรชาตปัจจัย
อาเสวนปัจจัย กัมมปัจจัย อาหารปัจจัย อินทรียปัจจัย ฌานปัจจัย มัคคปัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๖๙ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๓. ปัจจยวาร
สัมปยุตตปัจจัย วิปปยุตตปัจจัย อัตถิปัจจัย นัตถิปัจจัย วิคตปัจจัย และอวิคต-
ปัจจัย มี ๗ วาระ

นวิปากปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๗ วาระ

เตรสกนัย (สวิปากะ)
นปัจฉาชาตปัจจัย กับเหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย ฯลฯ ปุเรชาตปัจจัย กัมมปัจจัย
และวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ

นอาเสวนปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ

เตวีสกนัย (สวิปากะ)
นปัจฉาชาตปัจจัย กับเหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย ฯลฯ ปุเรชาตปัจจัย
กัมมปัจจัย วิปากปัจจัย อาหารปัจจัย ฯลฯ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ

นอาเสวนปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ

อารัมมณทุกนัย

[๒๙๘] นเหตุปัจจัย กับอารัมมณปัจจัย มี ๔ วาระ
นอธิปติปัจจัย " มี ๗ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย " มี ๓ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย " มี ๗ วาระ
นอาเสวนปัจจัย " มี ๗ วาระ
นกัมมปัจจัย " มี ๗ วาระ
นวิปากปัจจัย " มี ๗ วาระ
นฌานปัจจัย " มี ๑ วาระ
นมัคคปัจจัย " มี ๑ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย " มี ๓ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๗๐ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๓. ปัจจยวาร
ติกนัย

นอธิปติปัจจัย กับอารัมมณปัจจัยและเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย " " มี ๓ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย " " มี ๗ วาระ
นอาเสวนปัจจัย " " มี ๗ วาระ
นกัมมปัจจัย " " มี ๗ วาระ
นวิปากปัจจัย " " มี ๗ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย " " มี ๓ วาระ

(พึงนับเหมือนเหตุมูลกนัย)

อธิปติทุกนัย

[๒๙๙] นอารัมมณปัจจัย กับอธิปติปัจจัย มี ๕ วาระ
นอนันตรปัจจัย " มี ๕ วาระ
นสมนันตรปัจจัย " มี ๕ วาระ
นอัญญมัญญปัจจัย " มี ๕ วาระ
นอุปนิสสยปัจจัย " มี ๕ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย " มี ๗ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย " มี ๑๗ วาระ
นอาเสวนปัจจัย " มี ๑๗ วาระ
นกัมมปัจจัย " มี ๗ วาระ
นวิปากปัจจัย " มี ๑๗ วาระ
นสัมปยุตตปัจจัย " มี ๕ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย " มี ๓ วาระ
โนนัตถิปัจจัย " มี ๕ วาระ
โนวิคตปัจจัย " มี ๕ วาระ

... กับอธิปติปัจจัยและเหตุปัจจัย (ย่อ)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๗๑ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๓. ปัจจยวาร
...กับอนันตรปัจจัยและสมนันตรปัจจัย ... (พึงขยายให้พิสดารเหมือน
อารัมมณมูลกนัย)

สหชาตทุกนัย

[๓๐๐] นเหตุปัจจัย กับสหชาตปัจจัย มี ๔ วาระ
นอารัมมณปัจจัย " มี ๕ วาระ
นอธิปติปัจจัย " มี ๑๗ วาระ
นอนันตรปัจจัย " มี ๕ วาระ
นสมนันตรปัจจัย " มี ๕ วาระ
นอัญญมัญญปัจจัย " มี ๕ วาระ
นอุปนิสสยปัจจัย " มี ๕ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย " มี ๗ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย " มี ๑๗ วาระ
นอาเสวนปัจจัย " มี ๑๗ วาระ
นกัมมปัจจัย " มี ๗ วาระ
นวิปากปัจจัย " มี ๑๗ วาระ
นอาหารปัจจัย " มี ๑ วาระ
นอินทรียปัจจัย " มี ๑ วาระ
นฌานปัจจัย " มี ๑ วาระ
นมัคคปัจจัย " มี ๑ วาระ
นสัมปยุตตปัจจัย " มี ๕ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย " มี ๓ วาระ
โนนัตถิปัจจัย " มี ๕ วาระ
โนวิคตปัจจัย " มี ๕ วาระ

ติกนัย

นอารัมมณปัจจัย กับสหชาตปัจจัยและเหตุปัจจัย มี ๕ วาระ (ย่อ)
นวิปากปัจจัย " " มี ๑๗ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๗๒ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๓. ปัจจยวาร

นสัมปยุตตปัจจัย กับสหชาตปัจจัยและเหตุปัจจัย มี ๕ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย " " มี ๓ วาระ
โนนัตถิปัจจัย " " มี ๕ วาระ
โนวิคตปัจจัย " " มี ๕ วาระ

... กับสหชาตปัจจัย เหตุปัจจัย และอารัมมณปัจจัย (ย่อ)

อัญญมัญญทุกนัย

[๓๐๑] นเหตุปัจจัย กับอัญญมัญญปัจจัย มี ๔ วาระ
นอารัมมณปัจจัย " มี ๑ วาระ
นอธิปติปัจจัย " มี ๗ วาระ
นอนันตรปัจจัย " มี ๑ วาระ
นสมนันตรปัจจัย " มี ๑ วาระ
นอุปนิสสยปัจจัย " มี ๑ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย " มี ๓ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย " มี ๗ วาระ
นอาเสวนปัจจัย " มี ๗ วาระ
นกัมมปัจจัย " มี ๗ วาระ
นวิปากปัจจัย " มี ๗ วาระ
นอาหารปัจจัย " มี ๑ วาระ
นอินทรียปัจจัย " มี ๑ วาระ
นฌานปัจจัย " มี ๑ วาระ
นมัคคปัจจัย " มี ๑ วาระ
นสัมปยุตตปัจจัย " มี ๑ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย " มี ๓ วาระ
โนนัตถิปัจจัย " มี ๑ วาระ
โนวิคตปัจจัย " มี ๑ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๗๓ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๓. ปัจจยวาร
ติกนัย

นอารัมมณปัจจัย กับอัญญมัญญปัจจัยและเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ
นอธิปติปัจจัย " " มี ๗ วาระ
นอนันตรปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นสมนันตรปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นอุปนิสสยปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย " " มี ๓ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย " " มี ๗ วาระ
นอาเสวนปัจจัย " " มี ๗ วาระ
นกัมมปัจจัย " " มี ๗ วาระ
นวิปากปัจจัย " " มี ๗ วาระ
นสัมปยุตตปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย " " มี ๓ วาระ
โนนัตถิปัจจัย " " มี ๑ วาระ
โนวิคตปัจจัย " " มี ๑ วาระ

จตุกกนัย
นอธิปติปัจจัย กับอัญญมัญญปัจจัย เหตุปัจจัย และอารัมมณปัจจัย มี ๗
วาระ (ย่อ)

นิสสยทุกนัย
[๓๐๒] นเหตุปัจจัย กับนิสสยปัจจัย มี ๔ วาระ (นิสสยปัจจัยเหมือน
สหชาตปัจจัย)

อุปนิสสยทุกนัย
[๓๐๓] นเหตุปัจจัย กับอุปนิสสยปัจจัย มี ๔ วาระ (อุปนิสสยปัจจัยพึง
แจกเหมือนอารัมมณปัจจัย)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๗๔ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๓. ปัจจยวาร
ปุเรชาตทุกนัย

[๓๐๔] นเหตุปัจจัย กับปุเรชาตปัจจัย มี ๔ วาระ
นอธิปติปัจจัย " มี ๗ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย " มี ๗ วาระ
นอาเสวนปัจจัย " มี ๗ วาระ
นกัมมปัจจัย " มี ๗ วาระ
นวิปากปัจจัย " มี ๗ วาระ
นฌานปัจจัย " มี ๑ วาระ
นมัคคปัจจัย " มี ๑ วาระ

... กับปุเรชาตปัจจัยและเหตุปัจจัย ฯลฯ

อาเสวนทุกนัย

[๓๐๕] นเหตุปัจจัย กับอาเสวนปัจจัย มี ๔ วาระ
นอธิปติปัจจัย " มี ๗ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย " มี ๓ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย " มี ๗ วาระ
นกัมมปัจจัย " มี ๗ วาระ
นวิปากปัจจัย " มี ๗ วาระ
นมัคคปัจจัย " มี ๑ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย " มี ๓ วาระ

ติกนัย

นอธิปติปัจจัย กับอาเสวนปัจจัยและเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย " " มี ๓ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย " " มี ๗ วาระ
นกัมมปัจจัย " " มี ๗ วาระ
นวิปากปัจจัย " " มี ๗ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย " " มี ๓ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๗๕ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๓. ปัจจยวาร
จตุกกนัย
[๓๐๖] นอธิปติปัจจัย กับอาเสวนปัจจัย เหตุปัจจัย และอารัมมณปัจจัย มี
๗ วาระ (ย่อ)
นปัจฉาชาตปัจจัย กับอาเสวนปัจจัย เหตุปัจจัย ฯลฯ ปุเรชาตปัจจัย
กัมมปัจจัย อาหารปัจจัย ฯลฯ อวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ
นวิปากปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๗ วาระ

กัมมทุกนัย

[๓๐๗] นเหตุปัจจัย กับกัมมปัจจัย มี ๔ วาระ
นอารัมมณปัจจัย " มี ๕ วาระ
นอธิปติปัจจัย " มี ๑๗ วาระ
นอนันตรปัจจัย " มี ๕ วาระ
นสมนันตรปัจจัย " มี ๕ วาระ
นอัญญมัญญปัจจัย " มี ๕ วาระ
นอุปนิสสยปัจจัย " มี ๕ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย " มี ๗ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย " มี ๑๗ วาระ
นอาเสวนปัจจัย " มี ๑๗ วาระ
นวิปากปัจจัย " มี ๑๗ วาระ
นอาหารปัจจัย " มี ๑ วาระ
นอินทรียปัจจัย " มี ๑ วาระ
นฌานปัจจัย " มี ๑ วาระ
นมัคคปัจจัย " มี ๑ วาระ
นสัมปยุตตปัจจัย " มี ๕ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย " มี ๓ วาระ
โนนัตถิปัจจัย " มี ๕ วาระ
โนวิคตปัจจัย " มี ๕ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๗๖ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๓. ปัจจยวาร
ติกนัย

นอารัมมณปัจจัย กับกัมมปัจจัยและเหตุปัจจัย มี ๕ วาระ ฯลฯ
นวิปากปัจจัย " " มี ๑๗ วาระ
นสัมปยุตตปัจจัย " " มี ๕ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย " " มี ๓ วาระ
โนวิคตปัจจัย " " มี ๕ วาระ (ย่อ)

วิปากทุกนัย

[๓๐๘] นเหตุปัจจัย กับวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ
นอารัมมณปัจจัย " มี ๑ วาระ
นอธิปติปัจจัย " มี ๑ วาระ
นอนันตรปัจจัย " มี ๑ วาระ
นสมนันตรปัจจัย " มี ๑ วาระ
นอุปนิสสยปัจจัย " มี ๑ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย " มี ๑ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย " มี ๑ วาระ
นอาเสวนปัจจัย " มี ๑ วาระ
นฌานปัจจัย " มี ๑ วาระ
นมัคคปัจจัย " มี ๑ วาระ
นสัมปยุตตปัจจัย " มี ๑ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย " มี ๑ วาระ
โนนัตถิปัจจัย " มี ๑ วาระ
โนวิคตปัจจัย " มี ๑ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๗๗ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๓. ปัจจยวาร
ติกนัย

นอารัมมณปัจจัย กับวิปากปัจจัยและเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ
นอธิปติปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นอนันตรปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นสมนันตรปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นอัญญมัญญปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นอุปนิสสยปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นอาเสวนปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นสัมปยุตตปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย " " มี ๑ วาระ
โนนัตถิปัจจัย " " มี ๑ วาระ
โนวิคตปัจจัย " " มี ๑ วาระ ฯลฯ

ทวาทสกนัย
นปัจฉาชาตปัจจัย กับวิปากปัจจัย เหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย ฯลฯ
ปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ
นอาเสวนปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ ฯลฯ

เตวีสกนัย
นปัจฉาชาตปัจจัย กับวิปากปัจจัย เหตุปัจจัย ฯลฯ ปุเรชาตปัจจัย กัมม-
ปัจจัย อาหารปัจจัย ฯลฯ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ
นอาเสวนปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ (ย่อ)

อาหารทุกนัย
[๓๐๙] นเหตุปัจจัย กับอาหารปัจจัย มี ๔ วาระ
นอารัมมณปัจจัย " มี ๕ วาระ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๗๘ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๓. ปัจจยวาร

นอธิปติปัจจัย กับอาหารปัจจัย มี ๑๗ วาระ
นอนันตรปัจจัย " มี ๕ วาระ
นสมนันตรปัจจัย " มี ๕ วาระ
นอัญญมัญญปัจจัย " มี ๕ วาระ
นอุปนิสสยปัจจัย " มี ๕ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย " มี ๗ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย " มี ๑๗ วาระ
นอาเสวนปัจจัย " มี ๑๗ วาระ
นกัมมปัจจัย " มี ๗ วาระ
นวิปากปัจจัย " มี ๑๗ วาระ
นอินทรียปัจจัย " มี ๑ วาระ
นฌานปัจจัย " มี ๑ วาระ
นมัคคปัจจัย " มี ๑ วาระ
นสัมปยุตตปัจจัย " มี ๕ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย " มี ๓ วาระ

ติกนัย

นอารัมมณปัจจัย กับอาหารปัจจัยและเหตุปัจจัย มี ๕ วาระ ฯลฯ
นวิปากปัจจัย " " มี ๑๗ วาระ
นสัมปยุตตปัจจัย " " มี ๕ วาระ
นวปปยุตปัจจัย " " มี ๓ วาระ
โนนัตถิปัจจัย " " มี ๕ วาระ
โนวิคตปัจจัย " " มี ๕ วาระ (ย่อ)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๗๙ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๓. ปัจจยวาร
อินทรียทุกนัย

[๓๑๐] นเหตุปัจจัย กับอินทรียปัจจัย มี ๔ วาระ
นอารัมมณปัจจัย " มี ๕ วาระ ฯลฯ
นวิปากปัจจัย " มี ๑๗ วาระ
นอาหารปัจจัย " มี ๑ วาระ
นฌานปัจจัย " มี ๑ วาระ
นมัคคปัจจัย " มี ๑ วาระ
นสัมปยุตตปัจจัย " มี ๕ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย " มี ๓ วาระ
โนนัตถิปัจจัย " มี ๕ วาระ
โนวิคตปัจจัย " มี ๕ วาระ

... กับอินทรียปัจจัย และเหตุปัจจัย (ย่อ)

ฌานทุกนัย

[๓๑๑] นเหตุปัจจัย บฌานปัจจัย มี ๔ วาระ
นอารัมมณปัจจัย " มี ๕ วาระ ฯลฯ
นวิปากปัจจัย " มี ๑๗ วาระ
นมัคคปัจจัย " มี ๑ วาระ
นสัมปยุตตปัจจัย " มี ๕ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย " มี ๓ วาระ
โนนัตถิปัจจัย " มี ๕ วาระ
โนวิคตปัจจัย " มี ๕ วาระ

... กับฌานปัจจัยและเหตุปัจจัย (ย่อ)

มัคคทุกนัย

[๓๑๒] นเหตุปัจจัย กับมัคคปัจจัย มี ๓ วาระ
นอารัมมณปัจจัย " มี ๕ วาระ ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๘๐ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๓. ปัจจยวาร

นวิปากปัจจัย กับมัคคปัจจัย มี ๑๗ วาระ
นสัมปยุตตปัจจัย " มี ๕ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย " มี ๓ วาระ
โนนัตถิปัจจัย " มี ๕ วาระ
โนวิคตปัจจัย " มี ๕ วาระ

นอารัมมณปัจจัย กับมัคคปัจจัยและเหตุปัจจัย มี ๕ วาระ (ย่อ)
... กับสัมปยุตตปัจจัย (ปัจจัยนี้เหมือนกับอารัมมณปัจจัย)

วิปปยุตตทุกนัย

[๓๑๓] นเหตุปัจจัย กับวิปปยุตตปัจจัย มี ๔ วาระ
นอารัมมณปัจจัย " มี ๕ วาระ
นอธิปติปัจจัย " มี ๑๗ วาระ
นอนันตรปัจจัย " มี ๕ วาระ
นสมนันตรปัจจัย " มี ๕ วาระ
นอัญญมัญญปัจจัย " มี ๕ วาระ
นอุปนิสสยปัจจัย " มี ๕ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย " มี ๕ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย " มี ๑๗ วาระ
นอาเสวนปัจจัย " มี ๑๗ วาระ
นกัมมปัจจัย " มี ๗ วาระ
นวิปากปัจจัย " มี ๑๗ วาระ
นฌานปัจจัย " มี ๑ วาระ
นมัคคปัจจัย " มี ๑ วาระ
นสัมปยุตตปัจจัย " มี ๕ วาระ
โนนัตถิปัจจัย " มี ๕ วาระ
โนวิคตปัจจัย " มี ๕ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๘๑ }


>>>>> หน้าต่อไป >>>>>





eXTReMe Tracker