ค้นว่าอยู่เล่มใด แล้วกด [ctrl]+f หรือใช้คำสั่งของเครื่องหาตำแหน่งในเล่มอีกทีนะครับ



จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อความสะดวก และสวยงาม
(เฉพาะหน้าจอใหญ่ เช่น คอมพิวเตอร์)
กรุณาคลิก จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อให้กรอบ
ค้นข้อความ ปรากฎที่ด้านซ้ายของหน้า

พระไตรปิฎกภาษาไทย
ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม (ปกสีฟ้า)
ทั้งออนไลน์และออฟไลน์
ที่มาของข้อมูล : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มจร.
MCUTRAI Version 1.0

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗-๓ อภิธรรมปิฎกที่ ๐๔ กถาวัตถุ

พระอภิธรรมปิฎก
กถาวัตถุ
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๙. ยถากัมมูปคตญาณกถา (๒๙)
สก. โสตะมีอย่างเดียวเท่านั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โสตะมีอย่างเดียวเท่านั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โสตะ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มี ๒ อย่างคือ มังสโสตะและทิพยโสตะ”
มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากโสตะ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มี ๒ อย่าง คือ มังสโสตะและ
ทิพยโสตะ” ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “โสตะมีอย่างเดียวเท่านั้น”
ทิพพโสตกถา จบ

๙. ยถากัมมูปคตญาณกถา (๒๙)
ว่าด้วยยถากัมมูปคตญาณ
[๓๗๗] สก. ยถากัมมูปคตญาณ๑ เป็นทิพยจักษุใช่ไหม
ปร.๒ ใช่
สก. บุคคลมนสิการถึงสัตว์ที่เป็นไปตามกรรมและเห็นรูปได้ด้วยทิพยจักษุใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลมนสิการถึงสัตว์ที่เป็นไปตามกรรมและเห็นรูปได้ด้วยทิพยจักษุใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ยถากัมมูปคตญาณ หมายถึงปรีชาหยั่งรู้ถึงสัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๗๗/๑๙๘)
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ และนิกายสมิติยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๗๓/๑๙๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๗๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๙. ยถากัมมูปคตญาณกถา (๒๙)
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง จิต ๒ ดวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ยถากัมมูปคตญาณเป็นทิพยจักษุใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลมนสิการว่า “ท่านผู้เจริญทั้งหลาย สัตว์เหล่านี้หนอ มนสิการว่า
‘ประกอบกายทุจริต’ มนสิการว่า ‘ประกอบวจีทุจริต’ มนสิการว่า ‘ประกอบ
มโนทุจริต’ มนสิการว่า ‘เป็นผู้กล่าวร้ายพระอริยะ’ มนสิการว่า ‘มีความเห็นผิด’
มนสิการว่า ‘ชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นผิด’ และมนสิการว่า ‘หลังจาก
ตายแล้ว สัตว์เหล่านั้นก็ไปบังเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก”
บุคคลมนสิการว่า “ท่านผู้เจริญทั้งหลาย สัตว์เหล่านี้ มนสิการว่า
‘ประกอบกายสุจริต’ มนสิการว่า ‘ประกอบวจีสุจริต’ มนสิการว่า ‘ประกอบ
มโนสุจริต’ มนสิการว่า ‘ไม่กล่าวร้ายพระอริยะ’ มนสิการว่า ‘มีความเห็นชอบ’
มนสิการว่า ‘ชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นชอบ’ และมนสิการว่า ‘หลังจาก
ตายแล้ว สัตว์เหล่านั้นก็ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์” เห็นรูปด้วยทิพยจักษุใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลมนสิการว่า “หลังจากตายแล้วสัตว์เหล่านั้นก็ไปบังเกิดในสุคติ
โลกสวรรค์” เห็นรูปได้ด้วยทิพยจักษุใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง จิต ๒ ดวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๗๘] สก. ยถากัมมูปคตญาณเป็นทิพยจักษุใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๘๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๙. ยถากัมมูปคตญาณกถา (๒๙)
สก. บางคนไม่มีทิพยจักษุ ไม่ได้ ไม่บรรลุ ไม่ได้ทำให้แจ้งทิพยจักษุ แต่รู้ว่า
“สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมมีอยู่” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากบางคนไม่มีทิพยจักษุ ไม่ได้ ไม่บรรลุ ไม่ทำให้แจ้งทิพยจักษุ แต่รู้
ว่า “สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมมีอยู่” ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ยถากัมมูปคตญาณ
เป็นทิพยจักษุ”
สก. ยถากัมมูปคตญาณเป็นทิพยจักษุใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านพระสารีบุตรรู้ยถากัมมูปคตญาณใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากท่านพระสารีบุตรรู้ยถากัมมูปคตญาณ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“ยถากัมมูปคตญาณเป็นทิพยจักษุ”
สก. ยถากัมมูปคตญาณเป็นทิพยจักษุใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านพระสารีบุตรรู้ยถากัมมูปคตญาณใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านพระสารีบุตรมีทิพยจักษุใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ท่านพระสารีบุตรมีทิพยจักษุใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่ว่า “ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวไว้ดังนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๘๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๑๐. สังวรกถา (๓๐)
เราไม่ได้ตั้งความปรารถนาไว้เพื่อปุพเพนิวาสญาณ๑
ทิพพจักขุญาณ๒ เจโตปริยญาณ๓ อิทธิวิธญาณ๔
ทิพพโสตญาณ๕ และจุตูปปาตญาณ”๖
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ยถากัมมูปคตญาณเป็นทิพยจักษุ”
ยถากัมมูปคตญาณกถา จบ

๑๐. สังวรกถา (๓๐)
ว่าด้วยความสำรวม
[๓๗๙] สก. ความสำรวม๗มีอยู่ในหมู่เทวดา๘ ใช่ไหม
ปร.๙ ใช่
สก. ความไม่สำรวมมีอยู่ในหมู่เทวดาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความไม่สำรวมไม่มีในหมู่เทวดาใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปุพเพนิวาสญาณ หมายถึงปรีชาหยั่งรู้ถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนทั้งของตนและของผู้อื่นได้ (ขุ.เถร.อ.
๒/๙๙๖/๔๔๓)
๒-๖ ทิพพจักขุญาณ หมายถึงญาณให้มีตาทิพย์
เจโตปริยญาณ หมายถึงปรีชากำหนดรู้ใจผู้อื่นได้
อิทธิวิธญาณ หมายถึงญาณที่ทำให้แสดงฤทธิ์ได้ต่างๆ
ทิพพโสตญาณ หมายถึงญาณพิเศษที่ทำให้มีหูทิพย์
จุตูปปาตญาณ หมายถึงปรีชาหยั่งรู้จุติและปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลาย (ดูเทียบ ขุ.เถร. (แปล)
๒๖/๙๙๖/๓๙๖,ขุ.เถร.อ. ๒/๙๙๖/๕๐๓)
๗ ความสำรวม หมายถึงเจตนาระวังมิให้ล่วงละเมิดศีล ๕ มีปาณาติบาตเป็นต้น แต่ฝ่ายปรวาทีเข้าใจผิดว่า
การไม่ล่วงละเมิด ศีล ๕ เป็นสังวร (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๗๙/๑๙๙)
๘ หมู่เทวดา ในที่นี้หมายถึงเทวดาชั้นดาวดึงส์ขึ้นไป (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๗๙/๑๙๙, มูลฏีกา ๓/๘๔, อนุฏีกา
๓/๑๒๙-๑๓๐)
๙ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ และนิกายสมิติยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๗๓/๑๙๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๘๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๑๐. สังวรกถา (๓๐)
สก. ความสำรวมไม่มีในหมู่เทวดาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความสำรวมจากความไม่สำรวมเป็นศีล ความสำรวมมีอยู่ในหมู่เทวดา
มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ความสำรวมจากความไม่สำรวมใดเป็นศีล ความไม่สำรวมนั้นมีอยู่ใน
หมู่เทวดาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้
หากความสำรวมจากความไม่สำรวมเป็นศีล และความสำรวมมีอยู่ในหมู่เทวดา
ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “ความสำรวมจากความไม่สำรวมใดเป็นศีล ความ
ไม่สำรวมนั้นมีอยู่ในหมู่เทวดา” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้า
ยอมรับว่า ความสำรวมจากความไม่สำรวมเป็นศีล ความสำรวมมีอยู่ในหมู่เทวดา
แต่ไม่ยอมรับว่า ความสำรวมจากความไม่สำรวมใดเป็นศีล ความไม่สำรวมนั้นมี
อยู่ในหมู่เทวดา” คำนั้นของท่านจึงผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “ความสำรวมจากความไม่สำรวมใดเป็นศีล
ความไม่สำรวมนั้นมีอยู่ในหมู่เทวดา” ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ความสำรวมจาก
ความไม่สำรวมเป็นศีล ความสำรวมมีอยู่ในหมู่เทวดา” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดใน
ตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ความสำรวมจากความไม่สำรวมเป็นศีล ความ
สำรวมมีอยู่ในหมู่เทวดา แต่ไม่ยอมรับว่า ความสำรวมจากความไม่สำรวมใดเป็นศีล
ความไม่สำรวมนั้นมีอยู่ในหมู่เทวดา” คำนั้นของท่านจึงผิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๘๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๑๐. สังวรกถา (๓๐)
สก. ความสำรวมมีอยู่ในหมู่มนุษย์ ความไม่สำรวมก็มีอยู่ในหมู่มนุษย์นั้น
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความสำรวมมีอยู่ในหมู่เทวดา ความไม่สำรวมก็มีอยู่ในหมู่เทวดานั้น
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความสำรวมมีอยู่ในหมู่เทวดา แต่ความไม่สำรวมไม่มีในหมู่เทวดานั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความสำรวมมีอยู่ในหมู่มนุษย์ แต่ความไม่สำรวมไม่มีในหมู่มนุษย์นั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๘๐] สก. การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์มีอยู่ในหมู่เทวดาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การฆ่าสัตว์มีอยู่ในหมู่เทวดาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. การงดเว้นจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความ
ประมาทมีอยู่ในหมู่เทวดาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาทมีอยู่
ในหมู่เทวดาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๘๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๑๐. สังวรกถา (๓๐)
สก. การฆ่าสัตว์ไม่มีในหมู่เทวดาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ไม่มีในหมู่เทวดาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. การเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาทไม่มี
ในหมู่เทวดาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การงดเว้นจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความ
ประมาทไม่มีในหมู่เทวดาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์มีอยู่ในหมู่มนุษย์ การฆ่าสัตว์ก็มีอยู่ในหมู่
มนุษย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์มีอยู่ในหมู่เทวดา การฆ่าสัตว์ก็มีอยู่ในหมู่
เทวดานั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. การงดเว้นจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความ
ประมาทมีอยู่ในหมู่มนุษย์(และ)การเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุ
แห่งความประมาทก็มีอยู่ในหมู่มนุษย์นั้นใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๘๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๑๐. สังวรกถา (๓๐)
สก. การงดเว้นจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความ
ประมาทมีอยู่ในหมู่เทวดา(และ)การเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุ
แห่งความประมาทก็มีอยู่ในหมู่เทวดานั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์มีอยู่ในหมู่เทวดา แต่การฆ่าสัตว์ไม่มีในหมู่
เทวดานั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์มีอยู่ในหมู่มนุษย์ แต่การฆ่าสัตว์ไม่มีในหมู่
มนุษย์นั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. การงดเว้นจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความ
ประมาทมีอยู่ในหมู่เทวดา(แต่)การเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่ง
ความประมาทไม่มีในหมู่เทวดานั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การงดเว้นจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความ
ประมาทมีอยู่ในหมู่มนุษย์(แต่)การเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่ง
ความประมาทไม่มีในหมู่มนุษย์นั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ความสำรวมไม่มีในหมู่เทวดาใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๘๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๑๑. อสัญญกถา (๓๑)
ปร. เทวดาทั้งปวงเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ ประพฤติ
ผิดในกาม พูดเท็จ เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท
ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น ความสำรวมจึงมีอยู่ในหมู่เทวดา
สังวรกถา จบ

๑๑. อสัญญกถา (๓๑)
ว่าด้วยอสัญญสัตว์
[๓๘๑] สก. สัญญามีอยู่ในหมู่อสัญญสัตว์ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. ภพแห่งอสัญญสัตว์ เป็นภพที่มีสัญญา เป็นคติที่มีสัญญา เป็น
สัตตาวาสที่มีสัญญา เป็นสงสารที่มีสัญญา เป็นกำเนิดที่มีสัญญา เป็นการได้
อัตภาพที่มีสัญญาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ภพแห่งอสัญญสัตว์ เป็นภพที่ไม่มีสัญญา เป็นคติที่ไม่มีสัญญา เป็น
สัตตาวาสที่ไม่มีสัญญา เป็นสงสารที่ไม่มีสัญญา เป็นกำเนิดที่ไม่มีสัญญา เป็นการ
ได้อัตภาพที่ไม่มีสัญญามิใช่หรือ
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๘๑/๒๐๐)
๒ เพราะมีความเห็นว่า อสัญญสัตว์มีสัญญาได้เฉพาะในขณะจุติและปฏิสนธิ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๘๑/๒๐๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๘๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๑๑. อสัญญกถา (๓๑)
สก. หากภพแห่งอสัญญสัตว์ เป็นภพที่ไม่มีสัญญา เป็นคติที่ไม่มีสัญญา
เป็นสัตตาวาสที่ไม่มีสัญญา เป็นสงสารที่ไม่มีสัญญา เป็นกำเนิดที่ไม่มีสัญญา
เป็นการได้อัตภาพที่ไม่มีสัญญา ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “สัญญามีอยู่ในหมู่
อสัญญสัตว์”
สก. สัญญามีอยู่ในหมู่อสัญญสัตว์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ภพแห่งอสัญญสัตว์ เป็นภพที่มีขันธ์ ๕ เป็นคติ ... เป็นสัตตาวาส ...
เป็นสงสาร ... เป็นกำเนิด ... เป็นการได้อัตภาพที่มีขันธ์ ๕๑ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ภพแห่งอสัญญสัตว์ เป็นภพที่มีขันธ์ ๕ เป็นคติ ... เป็นสัตตาวาส ...
เป็นสงสาร ... เป็นกำเนิด ... เป็นการได้อัตภาพที่มีขันธ์ ๑๒ มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากภพแห่งอสัญญสัตว์ เป็นภพที่มีขันธ์ ๑ เป็นคติ ... เป็นสัตตาวาส
... เป็นสงสาร ... เป็นกำเนิด ... เป็นการได้อัตภาพที่มีขันธ์ ๑ ท่านก็ไม่ควร
ยอมรับว่า “สัญญามีอยู่ในหมู่อสัญญสัตว์”
สก. สัญญามีอยู่ในหมู่อสัญญสัตว์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อสัญญสัตว์ทำกิจที่ควรทำด้วยสัญญาได้ด้วยสัญญานั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ อัตภาพที่มีขันธ์ ๕ หมายถึงกามภพ รูปภพ (เว้นอสัญญสัตว์) (ขุ.ป.อ. ๑/๕/๙๗)
๒ อัตภาพที่มีขันธ์ ๑ หมายถึงอสัญญสัตว์ (ขุ.ป.อ. ๑/๕/๙๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๘๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๑๑. อสัญญกถา (๓๑)
[๓๘๒] สก. สัญญามีอยู่ในหมู่มนุษย์ และโลกของมนุษย์นั้นก็เป็นภพที่มีสัญญา
เป็นคติที่มีสัญญา เป็นสัตตาวาสที่มีสัญญา เป็นสงสารที่มีสัญญา เป็นกำเนิดที่มี
สัญญา เป็นการได้อัตภาพที่มีสัญญาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัญญามีอยู่ในหมู่อสัญญสัตว์ และภพแห่งอสัญญสัตว์นั้นก็เป็นภพที่มี
สัญญา เป็นคติที่มีสัญญา เป็นสัตตาวาสที่มีสัญญา เป็นสงสารที่มีสัญญา เป็น
กำเนิดที่มีสัญญา เป็นการได้อัตภาพที่มีสัญญาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัญญามีอยู่ในหมู่มนุษย์ และโลกของมนุษย์นั้นก็เป็นภพที่มีขันธ์ ๕
เป็นคติ ... เป็นสัตตาวาส ... เป็นสงสาร ... เป็นกำเนิด ... เป็นการได้
อัตภาพที่มีขันธ์ ๕ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัญญามีอยู่ในหมู่อสัญญสัตว์ และภพแห่งอสัญญสัตว์นั้นเป็นภพที่มี
ขันธ์ ๕ เป็นคติ ... เป็นสัตตาวาส ... เป็นสงสาร ... เป็นกำเนิด ... เป็นการ
ได้อัตภาพที่มีขันธ์ ๕ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัญญามีอยู่ในหมู่มนุษย์ มนุษย์ทำกิจที่ควรทำด้วยสัญญาได้ ด้วย
สัญญานั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัญญามีอยู่ในหมู่อสัญญสัตว์ อสัญญสัตว์ทำกิจที่ควรทำด้วยสัญญาได้
ด้วยสัญญานั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๘๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๑๑. อสัญญกถา (๓๑)
สก. สัญญามีอยู่ในหมู่อสัญญสัตว์ และภพแห่งอสัญญสัตว์นั้นก็เป็นภพที่ไม่
มีสัญญา เป็นคติที่ไม่มีสัญญา เป็นสัตตาวาสที่ไม่มีสัญญา เป็นสงสารที่ไม่มีสัญญา
เป็นกำเนิดที่ไม่มีสัญญา เป็นการได้อัตภาพที่ไม่มีสัญญาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัญญามีอยู่ในหมู่มนุษย์ และโลกของมนุษย์นั้นก็เป็นภพที่ไม่มีสัญญา ฯลฯ
เป็นการได้อัตภาพที่ไม่มีสัญญาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัญญามีอยู่ในหมู่อสัญญสัตว์ และภพแห่งอสัญญสัตว์นั้นก็เป็นภพที่มี
ขันธ์ ๑ เป็นคติ ... เป็นสัตตาวาส ... เป็นสงสาร ... เป็นกำเนิด ... เป็นการได้
อัตภาพที่มีขันธ์ ๑ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัญญามีอยู่ในหมู่มนุษย์ และโลกของมนุษย์นั้นก็เป็นภพที่มีขันธ์ ๑ ฯลฯ
เป็นการได้อัตภาพที่มีขันธ์ ๑ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัญญามีอยู่ในหมู่อสัญญสัตว์ แต่อสัญญสัตว์ไม่ทำกิจที่ควรทำด้วย
สัญญาได้ ด้วยสัญญานั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัญญามีอยู่ในหมู่มนุษย์ แต่มนุษย์ไม่ทำกิจที่ควรทำด้วยสัญญาได้
ด้วยสัญญานั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๙๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๑๑. อสัญญกถา (๓๑)
[๓๘๓] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “สัญญามีอยู่ในหมู่อสัญญสัตว์” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย มีเทพชื่ออสัญญ-
สัตว์ จุติ(เคลื่อน)จากชั้นนั้น เพราะเกิดสัญญาขึ้น”๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น สัญญาจึงมีอยู่ในหมู่อสัญญสัตว์
สก. สัญญามีอยู่ในหมู่อสัญญสัตว์ใช่ไหม
ปร. บางคราวมี บางคราวไม่มี
สก. อสัญญสัตว์บางคราวเป็นสัญญสัตว์ บางคราวเป็นอสัญญสัตว์ ภพแห่ง
อสัญญสัตว์บางคราวเป็นภพที่มีสัญญา บางคราวเป็นภพที่ไม่มีสัญญา บางคราว
เป็นภพที่มีขันธ์ ๕ บางคราวเป็นภพที่มีขันธ์ ๑ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บางคราวสัญญามีในหมู่อสัญญสัตว์ บางคราวไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. คราวไหนมี คราวไหนไม่มี
ปร. ในจุติกาล๒ ในปฏิสนธิกาลมี๓ แต่ในฐิติกาล(ปวัตติกาล)ไม่มี๔

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ที.ปา. (แปล) ๑๑/๔๖/๓๓
๒ จุติกาล หมายถึงเวลาหลังจากตายแล้วจิตเคลื่อนไปสู่อีกภพหนึ่ง
๓ ปฏิสนธิกาล หมายถึงเวลาเกิด
๔ ฐิติกาล หมายถึงเวลาที่จิตดำรงอยู่ระหว่างปฏิสนธิกาลกับจุติกาล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๙๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๑๒. เนวสัญญานาสัญญายตนกถา (๓๒)
สก. อสัญญสัตว์ ในจุติกาล ในปฏิสนธิกาล เป็นสัญญสัตว์ ในฐิติกาล
เป็นอสัญญสัตว์ ในจุติกาล ในปฏิสนธิกาล เป็นภพที่มีสัญญา ในฐิติกาล เป็นภพ
ที่ไม่มีสัญญา ในจุติกาล ในปฏิสนธิกาล เป็นภพที่มีขันธ์ ๕ ในฐิติกาล เป็นภพ
ที่มีขันธ์ ๑ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
อสัญญกถา จบ

๑๒. เนวสัญญานาสัญญายตนกถา (๓๒)
ว่าด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนะ
[๓๘๔] สก. ในเนวสัญญานาสัญญายตนภพ ท่านไม่ยอมรับว่า “สัญญามีอยู่”
ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่
สก. เนวสัญญานาสัญญายตนภพ เป็นภพที่ไม่มีสัญญา เป็นคติที่ไม่มีสัญญา
เป็นสัตตาวาสที่ไม่มีสัญญา เป็นสงสารที่ไม่มีสัญญา เป็นกำเนิดที่ไม่มีสัญญา
เป็นการได้อัตภาพที่ไม่มีสัญญาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เนวสัญญานาสัญญายตนภพ เป็นภพที่ไม่มีสัญญา เป็นคติที่ไม่มีสัญญา
เป็นสัตตาวาสที่ไม่มีสัญญา เป็นสงสารที่ไม่มีสัญญา เป็นกำเนิดที่ไม่มีสัญญา
เป็นการได้อัตภาพที่ไม่มีสัญญามิใช่หรือ
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๘๑/๒๐๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๙๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๑๒. เนวสัญญานาสัญญายตนกถา (๓๒)
สก. หากเป็นภพที่มีสัญญา เป็นคติที่มีสัญญา ฯลฯ เป็นการได้อัตภาพที่
มีสัญญา ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ในเนวสัญญานาสัญญายตนภพ ข้าพเจ้าไม่
ยอมรับว่า “สัญญามีอยู่”
สก. ในเนวสัญญานาสัญญายตนภพ ท่านไม่ยอมรับว่า “สัญญามีอยู่” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เนวสัญญานาสัญญายตนภพเป็นภพที่มีขันธ์ ๑ เป็นคติ ฯลฯ เป็นการ
ได้อัตภาพที่มีขันธ์ ๑ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ภพนั้นเป็นภพ ... เป็นคติ ฯลฯ เป็นการได้อัตภาพที่มีขันธ์ ๔ มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากเป็นภพ ... เป็นคติ ฯลฯ เป็นการได้อัตภาพที่มีขันธ์ ๔ ท่านก็
ไม่ควรยอมรับว่า “ในเนวสัญญานาสัญญายตนภพ ข้าพเจ้าไม่ยอมรับว่า สัญญา
มีอยู่”
[๓๘๕] สก. ในหมู่อสัญญสัตว์ ท่านไม่ยอมรับว่า “สัญญามีอยู่” และภพแห่ง
อสัญญสัตว์นั้น เป็นภพที่ไม่มีสัญญา เป็นคติที่ไม่มีสัญญา เป็นสัตตาวาสที่ไม่มี
สัญญา เป็นสงสารที่ไม่มีสัญญา เป็นกำเนิดที่ไม่มีสัญญา เป็นการได้อัตภาพที่ไม่
มีสัญญาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในเนวสัญญานาสัญญายตนภพ ท่านไม่ยอมรับว่า “สัญญามีอยู่”
และเนวสัญญานาสัญญายตนภพนั้นเป็นภพที่ไม่มีสัญญา เป็นคติที่ไม่มีสัญญา
เป็นสัตตาวาสที่ไม่มีสัญญา เป็นสงสารที่ไม่มีสัญญา เป็นกำเนิดที่ไม่มีสัญญา
เป็นการได้อัตภาพที่ไม่มีสัญญาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๙๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๑๒. เนวสัญญานาสัญญายตนกถา (๓๒)
สก. ในหมู่อสัญญสัตว์ ท่านไม่ยอมรับว่า “สัญญามีอยู่” และภพแห่ง
อสัญญสัตว์นั้นก็เป็นภพที่มีขันธ์ ๑ เป็นคติ ... ฯลฯ เป็นการได้อัตภาพที่มีขันธ์ ๑
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในเนวสัญญานาสัญญายตนภพ ท่านไม่ยอมรับว่า “สัญญามีอยู่” และ
ในเนวสัญญานาสัญญายตนภพก็เป็นภพที่มีขันธ์ ๑ เป็นคติ ... เป็นสัตตาวาส ...
เป็นสงสาร ... เป็นกำเนิด ... เป็นการได้อัตภาพที่มีขันธ์ ๑ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในเนวสัญญานาสัญญายตนภพ ท่านไม่ยอมรับว่า “สัญญามีอยู่”
และภพแห่งอสัญญสัตว์นั้นก็เป็นภพที่มีสัญญา เป็นคติที่มีสัญญา ฯลฯ เป็นการ
ได้อัตภาพที่มีสัญญาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในหมู่อสัญญสัตว์ ท่านไม่ยอมรับว่า “สัญญามีอยู่” และภพแห่ง
อสัญญสัตว์นั้นก็เป็นภพที่มีสัญญา เป็นคติที่มีสัญญา ฯลฯ เป็นการได้อัตภาพที่
มีสัญญาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในเนวสัญญานาสัญญายตนภพ ท่านไม่ยอมรับว่า “สัญญามีอยู่”
และในเนวสัญญานาสัญญายตนภพนั้นก็เป็นภพ ... เป็นคติ ฯลฯ เป็นการได้
อัตภาพที่มีขันธ์ ๔ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในหมู่อสัญญสัตว์ ท่านไม่ยอมรับว่า “สัญญามีอยู่” และภพแห่ง
อสัญญสัตว์นั้นก็เป็นภพ ฯลฯ เป็นการได้อัตภาพที่มีขันธ์ ๔ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๙๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๑๒. เนวสัญญานาสัญญายตนกถา (๓๒)
สก. ในเนวสัญญานาสัญญายตนภพ ท่านไม่ยอมรับว่า “สัญญามีอยู่” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เนวสัญญานาสัญญายตนภพ เป็นภพที่มีขันธ์ ๔ มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากเนวสัญญานาสัญญายตนภพ เป็นภพที่มีขันธ์ ๔ ท่านก็ไม่ควร
ยอมรับว่า “ในเนวสัญญานาสัญญายตนภพ ข้าพเจ้าไม่ยอมรับว่าสัญญามีอยู่”
[๓๘๖] สก. เนวสัญญานาสัญญายตนภพเป็นภพที่มีขันธ์ ๔ ท่านไม่ยอมรับว่า
“ในเนวสัญญานาสัญญายตนภพ สัญญามีอยู่” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อากาสานัญจายตนภพเป็นภพที่มีขันธ์ ๔ ท่านไม่ยอมรับว่า “ใน
อากาสานัญจายนตนภพ สัญญามีอยู่” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เนวสัญญานาสัญญายตนภพเป็นภพที่มีขันธ์ ๔ ท่านไม่ยอมรับว่า
“ในเนวสัญญานาสัญญายตนภพ สัญญามีอยู่” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิญญาณัญจายตนภพ ฯลฯ อากิญจัญญายตนภพ เป็นภพที่มีขันธ์ ๔
แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “ในอากิญจัญญายตนภพ สัญญามีอยู่” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อากาสานัญจายตนภพเป็นภพที่มีขันธ์ ๔ ในภพนั้นสัญญามีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๙๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๑๒. เนวสัญญานาสัญญายตนกถา (๓๒)
สก. เนวสัญญานาสัญญายตนภพเป็นภพที่มีขันธ์ ๔ ในภพนั้นสัญญามีอยู่
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิญญาณัญจายตนภพ ฯลฯ อากิญจัญญายตนภพเป็นภพที่มีขันธ์ ๔
ในภพนั้นสัญญามีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เนวสัญญานาสัญญายตนภพเป็นภพที่มีขันธ์ ๔ ในภพนั้นสัญญามีอยู่
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในเนวสัญญานาสัญญายตนภพ ท่านไม่ยอมรับว่า “มีสัญญาก็ใช่ ไม่
มีสัญญาก็ใช่” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เนวสัญญานาสัญญายตนภพเป็นภพที่มีขันธ์ ๔ มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากเนวสัญญานาสัญญายตนภพเป็นภพที่มีขันธ์ ๔ ท่านไม่ควรยอม
รับว่า “ในเนวสัญญานาสัญญายตนภพ ข้าพเจ้าไม่ยอมรับว่ามีสัญญาก็มิใช่ ไม่มี
สัญญาก็มิใช่”
สก. เนวสัญญานาสัญญายตนภพเป็นภพที่มีขันธ์ ๔ ท่านไม่ยอมรับว่า “ใน
เนวสัญญานาสัญญายตนภพ สัญญามีและไม่มี” ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๙๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๑๒. เนวสัญญานาสัญญายตนกถา (๓๒)
สก. อากาสานัญจายตนภพ ฯลฯ วิญญาณัญจายตนภพ ฯลฯ
อากิญจัญญายตนภพเป็นภพที่มีขันธ์ ๔ ท่านไม่ยอมรับว่า “ในอากิญจัญญายตน-
ภพ มีสัญญาก็ใช่ ไม่มีสัญญาก็ใช่” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อากาสานัญจายตนภพเป็นภพที่มีขันธ์ ๔ ในภพนั้นสัญญามีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เนวสัญญานาสัญญายตนภพเป็นภพที่มีขันธ์ ๔ ในภพนั้นสัญญามีอยู่
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิญญาณัญจายตนภพ ฯลฯ อากิญจัญญายตนภพเป็นภพที่มีขันธ์ ๔
ในภพนั้นสัญญามีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เนวสัญญานาสัญญายตนภพเป็นภพที่มีขันธ์ ๔ ในภพนั้นสัญญามีอยู่
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ในเนวสัญญานาสัญญายตนภพ ท่านไม่ยอมรับว่า “มีสัญญาก็ใช่ ไม่มี
สัญญาก็ใช่” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. เนวสัญญานาสัญญายตนภพมีอยู่มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากเนวสัญญานาสัญญายตนภพมีอยู่ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“ในเนวสัญญานาสัญญายตนภพ ข้าพเจ้าไม่ยอมรับว่า มีสัญญาก็ใช่ ไม่มีสัญญา
ก็ใช่”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๙๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] รวมกถาที่มีในวรรค
สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “เนวสัญญานาสัญญายตนภพมีอยู่” จึงไม่ยอมรับว่า
“มีสัญญาก็ใช่ ไม่มีสัญญาก็ใช่” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “อทุกขมสุขเวทนามีอยู่” จึงไม่ยอมรับว่า
มีเวทนาก็ใช่ ไม่มีเวทนาก็ใช่” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เนวสัญญานาสัญญายตนกถา จบ
ตติยวรรค จบ

รวมกถาที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. พลกถา ๒. อริยันติกถา
๓. วิมุตติกถา ๔. วิมุจจมานกถา
๕. อัฏฐมกกถา ๖. อัฏฐมกัสสอินทริยกถา
๗. ทิพพจักขุกถา ๘. ทิพพโสตกถา
๙. ยถากัมมูปคตญาณกถา ๑๐. สังวรกถา
๑๑. อสัญญกถา ๑๒. เนวสัญญานาสัญญายตนกถา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๙๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๑. คิหิสสอรหาติกถา (๓๓)
๔. จตุตถวรรค
๑. คิหิสสอรหาติกถา (๓๓)
ว่าด้วยคฤหัสถ์เป็นพระอรหันต์
[๓๘๗] สก. คฤหัสถ์เป็นพระอรหันต์ได้ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. คิหิสังโยชน์๓ ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. คิหิสังโยชน์ของพระอรหันต์ไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากคิหิสังโยชน์ของพระอรหันต์ไม่มี ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “คฤหัสถ์
เป็นพระอรหันต์ได้”
สก. คฤหัสถ์เป็นพระอรหันต์ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. คิหิสังโยชน์ พระอรหันต์ละได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาล
ที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากคิหิสังโยชน์ พระอรหันต์ละได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาล
ที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ท่านก็
ไม่ควรยอมรับว่า “คฤหัสถ์เป็นพระอรหันต์ได้”

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๘๗/๒๐๑)
๒ เพราะมีความเห็นว่า คฤหัสถ์ก็สามารถเป็นพระอรหันต์ได้ ที่เห็นอย่างนี้เพราะกำหนดความเป็นคฤหัสถ์
ด้วยเพศคฤหัสถ์ ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่กำหนดความเป็นคฤหัสถ์ด้วยคิหิสังโยชน์ มิได้ถือเอา
เพศคฤหัสถ์เป็นสำคัญ ด้วยเหตุนี้ คฤหัสถ์ผู้สามารถบรรลุอรหัตตผลได้ ต้องละคิหิสังโยชน์ได้แล้ว (อภิ.ปญฺจ.อ.
๓๘๗/๒๐๑)
๓ คิหิสังโยชน์ หมายถึงเครื่องผูกพันของคฤหัสถ์ ซึ่งมีทรัพย์สมบัติ บุตร ข้าทาส บริวาร และกามคุณ
๕ ประการ อันเป็นเหตุให้ครองชีวิตแบบคฤหัสถ์เรื่อยไป (ม.ม.อ. ๒/๑๘๖/๑๔๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๙๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๑. คิหิสสอรหาติกถา (๓๓)
สก. คฤหัสถ์เป็นพระอรหันต์ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. คฤหัสถ์บางคนละคิหิสังโยชน์ยังไม่ได้ แต่ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบันมี
อยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่มี
สก. หากคฤหัสถ์บางคนละคิหิสังโยชน์ยังไม่ได้ แต่ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ใน
ปัจจุบันไม่มี ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “คฤหัสถ์เป็นพระอรหันต์ได้”
สก. คฤหัสถ์เป็นพระอรหันต์ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่ว่า “วัจฉโคตรปริพาชกได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ‘ข้าแต่
ท่านพระโคดม คฤหัสถ์บางคนผู้ยังละคิหิสังโยชน์ไม่ได้ หลังจากตายแล้ว ทำที่สุด
แห่งทุกข์ได้ มีอยู่หรือ’ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ‘วัจฉะ คฤหัสถ์ผู้ยังละคิหิ-
สังโยชน์ยังไม่ได้ หลังจากตายแล้ว ย่อมทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ไม่มีเลย” ๑ มีอยู่จริง มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “คฤหัสถ์เป็นพระอรหันต์ได้”
สก. คฤหัสถ์เป็นพระอรหันต์ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์พึงเสพเมถุนธรรม พึงให้เมถุนธรรมเกิดขึ้น พึงอยู่ครอบ
ครองที่นอนซึ่งยัดเยียดด้วยบุตร พึงใช้ผ้ากาสิกพัสตร์และจุรณจันทน์ พึงทัดทรง
ดอกไม้ ของหอมและเครื่องลูบไล้ พึงยินดีทองและเงิน พึงรับแพะ แกะ ไก่ สุกร
ช้าง วัว ม้า ลา นกกระทา นกคุ่ม หางนกยูง พึงทรงเครื่องประดับมวยผมที่มี
รัดเกล้าสีเหลือง ทรงผ้าขาวมีชายยาว เป็นผู้ครองเรือนจนตลอดชีวิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ม.ม. (แปล) ๑๓/๑๘๖/๒๑๗-๒๑๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๐๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๒. อุปปัตติกถา (๓๔)
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “คฤหัสถ์เป็นพระอรหันต์ได้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ยสกุลบุตร อุตติยคหบดี เสตุมาณพ บรรลุอรหัตตผลขณะมีเพศคฤหัสถ์
มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากยสกุลบุตร อุตติยคหบดี เสตุมาณพ บรรลุอรหัตตผลขณะมีเพศ
คฤหัสถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “คฤหัสถ์เป็นพระอรหันต์ได้”
คิหิสสอรหาติกถา จบ

๒. อุปปัตติกถา (๓๔)
ว่าด้วยการปฏิสนธิ
[๓๘๘] สก. บุคคลเป็นพระอรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิได้ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. เป็นพระโสดาบันพร้อมกับการปฏิสนธิได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๓ ฯลฯ
สก. เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เป็นพระสกทาคามีพร้อมกับการปฏิสนธิได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๘๗/๒๐๑)
๒ เพราะมุ่งหมายเอาผู้ไปเกิดในชั้นสุทธาวาส (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๘๘/๒๐๑)
๓ เพราะมีความเห็นว่า จิตขณะปฏิสนธิของผู้จะบรรลุโสดาบันยังเป็นโลกิยจิตอยู่ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๘๘/๒๐๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๐๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๒. อุปปัตติกถา (๓๔)
สก. เป็นพระอนาคามีพร้อมกับการปฏิสนธิได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เป็นพระโสดาบันพร้อมกับการปฏิสนธิไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากเป็นพระโสดาบันพร้อมกับการปฏิสนธิไม่ได้ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิได้”
สก. เป็นพระสกทาคามีพร้อมกับการปฏิสนธิไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากเป็นพระสกทาคามีพร้อมกับการปฏิสนธิไม่ได้ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิได้”
สก. เป็นพระอนาคามีพร้อมกับการปฏิสนธิไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากเป็นพระอนาคามีพร้อมกับการปฏิสนธิไม่ได้ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิได้”
[๓๘๙] สก. เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสารีบุตรเถระเป็นพระอรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระมหาโมคคัลลานเถระ ฯลฯ พระมหากัสสปเถระ ฯลฯ พระมหา-
กัจจายนเถระ ฯลฯ พระมหาโกฏฐิกเถระ ฯลฯ พระมหาปันถกเถระ เป็นพระ
อรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๐๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๒. อุปปัตติกถา (๓๔)
สก. พระสารีบุตรเถระไม่ได้เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากพระสารีบุตรเถระไม่ได้เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิ ท่าน
ก็ไม่ควรยอมรับว่า “เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิได้”
สก. พระมหาโมคคัลลานเถระ ฯลฯ พระมหากัสสปเถระ ฯลฯ พระมหา-
กัจจายนเถระ ฯลฯ พระมหาโกฏฐิกเถระ ฯลฯ พระมหาปันถกเถระ ไม่ได้เป็น
พระอรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากพระมหาปันถกเถระไม่ได้เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิ
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิได้”
[๓๙๐] สก. เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลทำให้แจ้งอรหัตตผลได้ด้วยปฏิสนธิจิตที่เป็นโลกิยะ ยังมีอาสวะ ฯลฯ
เป็นอารมณ์ของสังกิเลสใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ปฏิสนธิจิตเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ ให้ถึงความสิ้นกิเลส ให้ถึง
ความตรัสรู้ ให้ถึงนิพพาน ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ฯลฯ ไม่เป็นอารมณ์ของ
สังกิเลสใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ปฏิสนธิจิตไม่เป็นเหตุนำสัตว์ออกจากวัฏฏทุกข์ ไม่ให้ถึงความสิ้นกิเลส
ไม่ให้ถึงความตรัสรู้ ไม่ให้ถึงนิพพาน เป็นอารมณ์ของอาสวะ ฯลฯ เป็นอารมณ์
ของสังกิเลสมิใช่หรือ
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๐๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๒. อุปปัตติกถา (๓๔)
สก. หากปฏิสนธิจิตไม่เป็นเหตุนำสัตว์ออกจากวัฏฏทุกข์ ไม่ให้ถึงความสิ้นกิเลส
ไม่ให้ถึงความตรัสรู้ ไม่ให้ถึงนิพพาน เป็นอารมณ์ของอาสวะ ฯลฯ เป็นอารมณ์ของ
สังกิเลส ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิได้”
สก. เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลละราคะ โทสะ โมหะ อโนตตัปปะได้ด้วยปฏิสนธิจิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ปฏิสนธิจิตเป็นมรรค ฯลฯ เป็นสติปัฏฐาน ... เป็นสัมมัปปธาน ...
เป็นอิทธิบาท ... เป็นอินทรีย์ ... เป็นพละ ฯลฯ เป็นโพชฌงค์ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลกำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำให้แจ้งนิโรธ เจริญมรรคด้วย
ปฏิสนธิจิตได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จุติจิตเป็นมรรคจิต ปฏิสนธิจิตเป็นผลจิตได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

อุปปัตติกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๐๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๓. อนาสวกถา (๓๕)
๓. อนาสวกถา (๓๕)
ว่าด้วยสภาวธรรมที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
[๓๙๑] สก. สภาวธรรมทั้งปวงของพระอรหันต์ ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. สภาวธรรมทั้งปวงของพระอรหันต์เป็นมรรค ... ผล ... นิพพาน ...
โสดาปัตติมรรค ... โสดาปัตติผล ... สกทาคามิมรรค ... สกทาคามิผล ...
อนาคามิมรรค ... อนาคามิผล ... อรหัตตมรรค ... อรหัตตผล ... สติปัฏฐาน ...
สัมมัปปธาน ... อิทธิบาท ... อินทรีย์ ... พละ ... โพชฌงค์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมทั้งปวงของพระอรหันต์ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักษุของพระอรหันต์ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จักษุของพระอรหันต์ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักษุของพระอรหันต์เป็นมรรค ... ผล ... นิพพาน ... โสดาปัตติมรรค
... โสดาปัตติผล ฯลฯ โพชฌงค์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โสตะ ฯลฯ ฆานะ ฯลฯ ชิวหา ฯลฯ กาย ของพระอรหันต์ไม่เป็น
อารมณ์ของอาสวะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๙๑/๒๐๒)
๒ เพราะมีความเห็นว่า ทุกสิ่งที่เนื่องกับพระอรหันต์ล้วนปราศจากอาสวกิเลส (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๙๑/๒๐๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๐๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๓. อนาสวกถา (๓๕)
สก. กายของพระอรหันต์ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กายของพระอรหันต์เป็นมรรค ... ผล ... นิพพาน ... โสดาปัตติมรรค
... โสดาปัตติผล ฯลฯ โพชฌงค์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กายของพระอรหันต์ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กายของพระอรหันต์ยังถูกยกย่องและถูกข่ม ถูกตัดและทำลาย เป็น
ของทั่วไปแก่ฝูงกา แร้ง และเหยี่ยวใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะยังถูกยกย่องและถูกข่ม ยังถูก
ตัดและทำลาย เป็นของทั่วแก่ฝูงกา แร้ง และเหยี่ยวใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ยาพิษ ศัสตรา ไฟ พึงกล้ำกรายเข้าไปในกายของพระอรหันต์ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ยาพิษ ศัสตรา ไฟ พึงกล้ำกรายเข้าไปในสภาวธรรมที่ไม่เป็นอารมณ์
ของอาสวะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กายของพระอรหันต์ยังถูกจองจำด้วยเครื่องจองจำคือขื่อคา เครื่องจอง
จำคือเชือก เครื่องจองจำคือโซ่ตรวน เครื่องจองจำคือบ้าน เครื่องจองจำคือนิคม
เครื่องจองจำคือนคร เครื่องจองจำคือชนบท ด้วยการจองจำมีการผูกที่คอเป็นที่ ๕
ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๐๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๓. อนาสวกถา (๓๕)
สก. สภาวธรรมที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ยังถูกจองจำด้วยเครื่องจองจำคือ
ขื่อคา เครื่องจองจำคือเชือก เครื่องจองจำคือโซ่ตรวน เครื่องจองจำคือบ้าน
เครื่องจองจำคือนิคม เครื่องจองจำคือนคร เครื่องจองจำคือชนบท ด้วยการจอง
จำมีการผูกที่คอเป็นที่ ๕ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๙๒] สก. หากพระอรหันต์ให้จีวรแก่ปุถุชน จีวรนั้นไม่เป็นอารมณ์ของ
อาสวะแล้วเป็นอารมณ์ของอาสวะได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จีวรนั้นไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะแล้วเป็นอารมณ์ของอาสวะได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จีวรที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะกับจีวรที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นอัน
เดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จีวรที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะกับจีวรที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นอัน
เดียวกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มรรคไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะแล้วเป็นอารมณ์ของอาสวะได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ผล ... สติปัฏฐาน ... สัมมัปปธาน ... อิทธิบาท ... อินทรีย์ ... พละ
... โพชฌงค์ ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ แต่เป็นอารมณ์ของอาสวะได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. หากพระอรหันต์ให้บิณฑบาต ... เสนาสนะ ... คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร
แก่ปุถุชน คิลานปัจจัยเภสัชบริขารนั้นไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะแล้วเป็นอารมณ์ของ
อาสวะได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๐๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๓. อนาสวกถา (๓๕)
สก. คิลานปัจจัยเภสัชบริขารนั้นไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะแล้วเป็นอารมณ์
ของอาสวะได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สิ่งที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะกับจีวรที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นอัน
เดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สิ่งที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะกับจีวรที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นอัน
เดียวกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มรรคไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะแล้วเป็นอารมณ์ของอาสวะได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ผล ... สติปัฏฐาน ... สัมมัปปธาน ... อิทธิบาท ... อินทรีย์ ... พละ
... โพชฌงค์ ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะแล้วเป็นอารมณ์ของอาสวะได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. หากปุถุชนถวายจีวรแก่พระอรหันต์ จีวรนั้นเป็นอารมณ์ของอาสวะแล้ว
ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จีวรนั้นเป็นอารมณ์ของอาสวะแล้วไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สิ่งที่เป็นอารมณ์ของอาสวะกับจีวรที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นอัน
เดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สิ่งที่เป็นอารมณ์ของอาสวะกับจีวรที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นอัน
เดียวกันใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๐๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๓. อนาสวกถา (๓๕)
สก. ราคะเป็นอารมณ์ของอาสวะแล้วไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ อโนตตัปปะ เป็นอารมณ์ของอาสวะแล้ว
ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. หากปุถุชนถวายบิณฑบาต ... เสนาสนะ ... คิลานปัจจัยเภสัชบริขารแก่
พระอรหันต์ คิลานปัจจัยเภสัชบริขารนั้นเป็นอารมณ์ของอาสวะแล้วไม่เป็นอารมณ์
ของอาสวะได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. คิลานปัจจัยเภสัชบริขารนั้นเป็นอารมณ์ของอาสวะแล้วไม่เป็นอารมณ์ของ
อาสวะได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สิ่งที่เป็นอารมณ์ของอาสวะกับจีวรที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นอัน
เดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สิ่งที่เป็นอารมณ์ของอาสวะกับจีวรที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นอัน
เดียวกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ราคะเป็นอารมณ์ของอาสวะแล้วไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ อโนตตัปปะเป็นอารมณ์ของอาสวะแล้ว
ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๐๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๔. สมันนาคตกถา (๓๖)
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “สภาวธรรมทั้งปวงของพระอรหันต์ไม่เป็นอารมณ์
ของอาสวะ” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระอรหันต์เป็นผู้ไม่มีอาสวะมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากพระอรหันต์เป็นผู้ไม่มีอาสวะ ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า
“สภาวธรรมทั้งปวงของพระอรหันต์ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ”
อนาสวกถา จบ

๔. สมันนาคตกถา (๓๖)
ว่าด้วยผู้บริบูรณ์
[๓๙๓] สก. พระอรหันต์บริบูรณ์๑ด้วยผล ๔ ใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. พระอรหันต์บริบูรณ์ด้วยผัสสะ ๔ ฯลฯ เวทนา ๔ ฯลฯ สัญญา ๔
ฯลฯ เจตนา ๔ ฯลฯ จิต ๔ ฯลฯ ศรัทธา ๔ ฯลฯ วิริยะ ๔ ฯลฯ สติ ๔
ฯลฯ สมาธิ ๔ ฯลฯ ปัญญา ๔ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ บริบูรณ์ โดยทั่วไปหมายถึงความบริบูรณ์ ๒ อย่างคือ (๑) ความบริบูรณ์ที่เกิดแก่จิตในขณะหนึ่ง ๆ
(สมงฺคีภาวสมนฺนาคม) เช่น ในขณะที่มัคคจิตหรือผลจิตเกิดขึ้น ก็ชื่อว่าบริบูรณ์ด้วยมัคคจิตหรือผลจิต
(๒) ความบริบูรณ์ที่เกิดจากการได้รับภูมิธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดารูปฌานหรืออรูปฌาน (ปฏิลาภ-
สมนฺนาคม) ความบริบูรณ์นี้จะดำรงอยู่ตราบเท่าที่ภูมิธรรมนั้น ๆ ยังไม่เสื่อม (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๙๓/๒๐๓)
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๘๗/๒๐๑)
๓ เพราะมีความเห็นว่า นอกจากความบริบูรณ์ ๒ อย่างดังกล่าวแล้ว ยังมีความบริบูรณ์อีกอย่างหนึ่ง เรียกว่า
ปัตติธรรม หมายถึงคุณวิเศษใด ๆ ที่บรรลุแล้ว คุณวิเศษนั้น ๆ จะคงมีอยู่ตลอดไป แม้จะบรรลุคุณธรรม
ที่สูงขึ้นไปแล้วก็ตาม ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่ไม่ยอมรับปัตติธรรมเช่นนั้น (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๙๓/๒๐๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๑๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๔. สมันนาคตกถา (๓๖)
สก. พระอนาคามีบริบูรณ์ด้วยผล ๓ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอนาคามีบริบูรณ์ด้วยผัสสะ ๓ ฯลฯ ปัญญา ๓ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระสกทาคามีบริบูรณ์ด้วยผล ๒ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสกทาคามีบริบูรณ์ด้วยผัสสะ ๒ ฯลฯ ปัญญา ๒ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์เป็นพระโสดาบันผู้สัตตักขัตตุปรมะ โกลังโกละ เอกพีชีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์บริบูรณ์ด้วยสกทาคามิผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์เป็นพระสกทาคามีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์บริบูรณ์ด้วยอนาคามิผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี อุปหัจจปรินิพพายี อสังขารปรินิพพายี
สสังขารปรินิพพายี อุทธังโสโตอกนิฏฐคามีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอนาคามีบริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผลใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๑๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๔. สมันนาคตกถา (๓๖)
สก. พระอนาคามีเป็นพระโสดาบันผู้สัตตักขัตตุปรมะ โกลังโกละ เอกพีชีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอนาคามีบริบูรณ์ด้วยสกทาคามิผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอนาคามีเป็นพระสกทาคามีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระสกทาคามีบริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสกทาคามีเป็นพระโสดาบันผู้สัตตักขัตตุปรมะ โกลังโกละ เอกพีชี
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๙๔] สก. ผู้บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผล ท่านยอมรับว่า “เป็นพระโสดาบัน”
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์กับพระโสดาบันเป็นองค์เดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ผู้บริบูรณ์ด้วยสกทาคามิผล ท่านยอมรับว่า “เป็นพระสกทาคามี”
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์บริบูรณ์ด้วยสกทาคามิผลใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๑๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๔. สมันนาคตกถา (๓๖)
สก. พระอรหันต์กับพระสกทาคามีเป็นองค์เดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ผู้บริบูรณ์ด้วยอนาคามิผล ท่านยอมรับว่า “เป็นพระอนาคามี” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์บริบูรณ์ด้วยอนาคามิผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์กับพระอนาคามีเป็นองค์เดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ผู้บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผล ท่านยอมรับว่า “เป็นพระโสดาบัน” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอนาคามีบริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอนาคามีกับพระโสดาบันเป็นองค์เดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ผู้บริบูรณ์ด้วยสกทาคามิผล ท่านยอมรับว่า “เป็นพระสกทาคามี”
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอนาคามีบริบูรณ์ด้วยสกทาคามิผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอนาคามีกับพระสกทาคามีเป็นองค์เดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๑๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๔. สมันนาคตกถา (๓๖)
สก. ผู้บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผล ท่านยอมรับว่า “เป็นพระโสดาบัน” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสกทาคามีบริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสกทาคามีกับพระโสดาบันเป็นองค์เดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๙๕] สก. พระอรหันต์บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ล่วงเลยโสดาปัตติผลไปแล้วมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์ล่วงเลยโสดาปัตติผลไปแล้ว ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“พระอรหันต์บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผล”
สก. พระอรหันต์ล่วงเลยโสดาปัตติผลไปแล้ว ชื่อว่าบริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผล
นั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ล่วงเลยโสดาปัตติมรรคไปแล้ว ล่วงเลยสักกายทิฏฐิ
วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ราคะ โทสะ โมหะ ที่เป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบายได้แล้ว
ชื่อว่าบริบูรณ์ด้วยสภาวธรรมมีสักกายทิฏฐิเป็นต้นนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์บริบูรณ์ด้วยสกทาคามิผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ล่วงเลยสกทาคามิผลไปแล้วมิใช่หรือ
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๑๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๔. สมันนาคตกถา (๓๖)
สก. หากพระอรหันต์ล่วงเลยสกทาคามิผลไปแล้ว ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“พระอรหันต์บริบูรณ์ด้วยสกทาคามิผล”
สก. พระอรหันต์ล่วงเลยสกทาคามิผลไปแล้ว ชื่อว่าบริบูรณ์ด้วยสกทาคามิผล
นั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ล่วงเลยสกทาคามิมรรคไปแล้ว ล่วงเลยกามราคะอย่างหยาบ
พยาบาทอย่างหยาบได้แล้ว ชื่อว่าบริบูรณ์ด้วยกามราคะและพยาบาทนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์บริบูรณ์ด้วยอนาคามิผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ล่วงเลยอนาคามิผลไปแล้วมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์ล่วงเลยอนาคามิผลไปแล้ว ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“พระอรหันต์บริบูรณ์ด้วยอนาคามิผล”
สก. พระอรหันต์ล่วงเลยอนาคามิผลไปแล้ว ชื่อว่าบริบูรณ์ด้วยอนาคามิผล
นั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ล่วงเลยอนาคามิมรรคไปแล้ว ล่วงเลยกามราคะอย่างละเอียด
พยาบาทอย่างละเอียดได้แล้ว ชื่อว่าบริบูรณ์ด้วยกามราคะและพยาบาทนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอนาคามีบริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอนาคามีล่วงเลยโสดาปัตติผลไปแล้วมิใช่หรือ
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๑๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๔. สมันนาคตกถา (๓๖)
สก. หากพระอนาคามีล่วงเลยโสดาปัตติผลไปแล้ว ท่านก็ไม่ควรยอมรับ
ว่า “พระอนาคามีบริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผล”
สก. พระอนาคามีล่วงเลยโสดาปัตติผลไปแล้ว ชื่อว่าบริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผล
นั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอนาคามีล่วงเลยโสดาปัตติมรรคไปแล้ว ล่วงเลยสักกายทิฏฐิ ฯลฯ
ล่วงเลยโมหะที่เป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบายได้แล้ว ชื่อว่าบริบูรณ์ด้วยสภาวธรรมมี
สักกายทิฏฐิเป็นต้นนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอนาคามีบริบูรณ์ด้วยสกทาคามิผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอนาคามีล่วงเลยสกทาคามิผลไปแล้วมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระอนาคามีล่วงเลยสกทาคามิผลไปแล้ว ท่านก็ไม่ควรยอมรับ
ว่า “พระอนาคามีบริบูรณ์ด้วยสกทาคามิผล”
สก. พระอนาคามีล่วงเลยสกทาคามิผลไปแล้ว ชื่อว่าบริบูรณ์ด้วยสกทาคามิผล
นั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอนาคามีล่วงเลยสกทาคามิมรรคไปแล้ว ล่วงเลยกามราคะอย่างหยาบ
พยาบาทอย่างหยาบได้แล้ว ชื่อว่าบริบูรณ์ด้วยกามราคะและพยาบาทนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระสกทาคามีบริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผลใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๑๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๔. สมันนาคตกถา (๓๖)
สก. พระสกทาคามีล่วงเลยโสดาปัตติผลไปแล้วมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระสกทาคามีล่วงเลยโสดาปัตติผลไปแล้ว ท่านก็ไม่ควรยอมรับ
ว่า “พระสกทาคามีบริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผล”
สก. พระสกทาคามีล่วงเลยโสดาปัตติผลไปแล้ว ชื่อว่าบริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผล
นั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสกทาคามีล่วงเลยโสดาปัตติมรรคไปแล้ว ล่วงเลยสักกายทิฏฐิ
ฯลฯ ล่วงเลยโมหะที่เป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบายได้แล้ว ชื่อว่าบริบูรณ์ด้วยสภาวธรรมมี
สักกายทิฏฐิเป็นต้นนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๙๖] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระอรหันต์บริบูรณ์ด้วยผล ๔” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระอรหันต์ได้ผล ๔ แล้วยังไม่เสื่อมจากผล ๔ นั้นมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากพระอรหันต์ได้ผล ๔ แล้วยังไม่เสื่อมจากผล ๔ นั้น ดังนั้น
ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระอรหันต์บริบูรณ์ด้วยผล ๔”
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระอนาคามีบริบูรณ์ด้วยผล ๓” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระอนาคามีได้ผล ๓ แล้วยังไม่เสื่อมจากผล ๓ นั้นมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากพระอนาคามีได้ผล ๓ แล้วยังไม่เสื่อมจากผล ๓ นั้น ดังนั้น
ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระอนาคามีบริบูรณ์ด้วยผล ๓”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๑๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๔. สมันนาคตกถา (๓๖)
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระสกทาคามีบริบูรณ์ด้วยผล ๒” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสกทาคามีได้ผล ๒ แล้วยังไม่เสื่อมจากผล ๒ นั้นมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากพระสกทาคามีได้ผล ๒ แล้วยังไม่เสื่อมจากผล ๒ นั้น ดังนั้น
ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระสกทาคามีบริบูรณ์ด้วยผล ๒”
สก. พระอรหันต์ได้ผล ๔ แล้วยังไม่เสื่อมจากผล ๔ นั้น ดังนั้น
จึงชื่อว่าบริบูรณ์ด้วยผล ๔ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ได้มรรค ๔ แล้วยังไม่เสื่อมจากมรรค ๔ นั้น ดังนั้น
จึงชื่อว่าบริบูรณ์ด้วยมรรค ๔ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอนาคามีได้ผล ๓ แล้วยังไม่เสื่อมจากผล ๓ นั้น ดังนั้น จึงชื่อ
ว่าบริบูรณ์ด้วยผล ๓ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอนาคามีได้มรรค ๓ แล้วยังไม่เสื่อมจากมรรค ๓ นั้น ดังนั้น
จึงชื่อว่าบริบูรณ์ด้วยมรรค ๓ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระสกทาคามีได้ผล ๒ แล้วยังไม่เสื่อมจากผล ๒ นั้น ดังนั้น จึง
ชื่อว่าบริบูรณ์ด้วยผล ๒ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสกทาคามีได้มรรค ๒ แล้วยังไม่เสื่อมจากมรรค ๒ นั้น ดังนั้น
จึงชื่อว่าบริบูรณ์ด้วยมรรค ๒ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

สมันนาคตกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๑๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๕. อุเปกขาสมันนาคตกถา (๓๗)
๕. อุเปกขาสมันนาคตกถา (๓๗)
ว่าด้วยผู้บริบูรณ์ด้วยอุเบกขา
[๓๙๗] สก. พระอรหันต์บริบูรณ์ด้วยอุเบกขา ๖ ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่ ๒
สก. พระอรหันต์บริบูรณ์ด้วยผัสสะ ๖ ฯลฯ เวทนา ๖ ฯลฯ สัญญา ๖
ปัญญา ๖ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์บริบูรณ์ด้วยอุเบกขา ๖ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์เห็นรูปทางตา ฟังเสียงทางหู ดมกลิ่นทางจมูก ลิ้มรส
ทางลิ้น ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย รู้ธรรมารมณ์ทางใจ ฯลฯ เมื่อรู้ธรรมารมณ์ทางใจ
จึงเห็นรูปทางตา ฟังเสียงทางหู ดมกลิ่นทางจมูก ลิ้มรสทางลิ้น ถูกต้องโผฏฐัพพะ
ทางกายใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์บริบูรณ์ด้วยอุเบกขา ๖ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์บริบูรณ์ มั่นคงด้วยอุเบกขา ๖ เนือง ๆ สม่ำเสมอ ไม่
ระคนกัน อุเบกขา ๖ ปรากฏใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระอรหันต์บริบูรณ์ด้วยอุเบกขา ๖” ใช่ไหม
สก. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๘๗/๒๐๑)
๒ เพราะมีความเห็นว่า พระอรหันต์ไม่สามารถให้อุเบกขา ๖ ประการเกิดขึ้นพร้อมกัน (อภิ.ปญฺจ.อ.
๓๙๗/๒๐๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๑๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๖. โพธิยาพุทโธติกถา (๓๘)
ปร. พระอรหันต์มีอุเบกขา ๖ มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากพระอรหันต์มีอุเบกขา ๖ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระ
อรหันต์ บริบูรณ์ด้วยอุเบกขา ๖”
อุเปกขาสมันนาคตกถา จบ

๖. โพธิยาพุทโธติกถา (๓๘)
ว่าด้วยชื่อว่าพุทธะเพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้
[๓๙๘] สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. เมื่อปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ดับไป หายไป ระงับไปแล้ว ไม่จัดว่าเป็น
พุทธะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอดีตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอดีตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลทำกิจที่ควรทำด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ได้ด้วยปัญญาเป็น
เครื่องตรัสรู้ที่เป็นอดีตนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๙๘/๒๐๔)
๒ เพราะมีความเห็นว่า จะเรียกว่าพุทธะได้ก็เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ และ มีปรากฏตลอดไปเช่นเดียวกับ
สี เช่น จะเรียกว่าคนขาว ก็เพราะมีผิวขาว จะเรียกว่าคนดำ ก็เพราะมีผิวดำ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๙๘/๒๐๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๒๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๖. โพธิยาพุทโธติกถา (๓๘)
สก. บุคคลทำกิจที่ควรทำด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ได้ด้วยปัญญาเป็น
เครื่องตรัสรู้ที่เป็นอดีตนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำให้แจ้งนิโรธ เจริญมรรคด้วยปัญญาเป็น
เครื่องตรัสรู้ที่เป็นอดีตนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอนาคตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอนาคตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทำกิจที่ควรทำด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ได้ด้วยปัญญาเป็นเครื่อง
ตรัสรู้ที่เป็นอนาคตนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ทำกิจที่ควรทำด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ได้ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้
ที่เป็นอนาคตนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กำหนดรู้ทุกข์ ฯลฯ เจริญมรรคด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอนาคต
นั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นปัจจุบัน ทำกิจที่ควรทำ
ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ได้ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นปัจจุบันนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๒๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๖. โพธิยาพุทโธติกถา (๓๘)
สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอดีต ทำกิจที่ควรทำ
ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ได้ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอดีตนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นปัจจุบัน กำหนดรู้ทุกข์
ละสมุทัย ทำให้แจ้งนิโรธ เจริญมรรคด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นปัจจุบันนั้น
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอดีต กำหนดรู้ทุกข์
ฯลฯ เจริญมรรคด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอดีตนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นปัจจุบัน ทำกิจที่ควรทำ
ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ได้ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นปัจจุบันนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอนาคต ทำกิจที่ควร
ทำด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ได้ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอนาคตนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นปัจจุบัน กำหนดรู้ทุกข์
ฯลฯ เจริญมรรคด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นปัจจุบันนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอนาคต กำหนดรู้ทุกข์
ฯลฯ เจริญมรรคด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอนาคตนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๒๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๖. โพธิยาพุทโธติกถา (๓๘)
สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอดีต แต่ไม่ทำกิจที่ควร
ทำด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ได้ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอดีตนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นปัจจุบัน แต่ไม่ทำกิจ
ที่ควรทำด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ได้ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นปัจจุบันนั้น
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอดีต แต่ไม่กำหนดรู้ทุกข์
ฯลฯ เจริญมรรคด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอดีตนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นปัจจุบัน แต่ไม่กำหนด
รู้ทุกข์ ฯลฯ เจริญมรรคด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นปัจจุบันนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอนาคต แต่ไม่ทำกิจที่
ควรทำด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ได้ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอนาคตนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นปัจจุบัน แต่ไม่ทำกิจที่
ควรทำด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ได้ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นปัจจุบันนั้น
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอนาคต แต่ไม่กำหนด
รู้ทุกข์ ฯลฯ เจริญมรรคด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอนาคตนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นปัจจุบัน แต่ไม่กำหนด
รู้ทุกข์ ฯลฯ เจริญมรรคด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นปัจจุบันนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๒๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๖. โพธิยาพุทโธติกถา (๓๘)
[๓๙๙] สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอดีต อนาคต
และปัจจุบันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ ๓ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ ๓ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระพุทธะ บริบูรณ์ มั่นคง ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ ๓ อย่าง
เนือง ๆ สม่ำเสมอ ไม่ระคนกัน ปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ ๓ อย่างปรากฏใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ชื่อว่าพุทธะ เพราะได้ปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากชื่อว่าพุทธะ เพราะได้ปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ ดังนั้น ท่านจึงควร
ยอมรับว่า “ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้”
สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะได้ปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชื่อว่าโพธิ เพราะได้ปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

โพธิยาพุทโธติกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๒๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๗. ลักขณกถา (๓๙)
๗. ลักขณกถา (๓๙)
ว่าด้วยลักษณะ
[๔๐๐] สก. ผู้บริบูรณ์ด้วยพระลักษณะเป็นพระโพธิสัตว์ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. ผู้บริบูรณ์ด้วยพระลักษณะบางส่วน เป็นพระโพธิสัตว์บางส่วนใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ผู้บริบูรณ์ด้วยพระลักษณะเป็นพระโพธิสัตว์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ผู้บริบูรณ์ด้วยพระลักษณะ ๓ ส่วน เป็นพระโพธิสัตว์ ๓ ส่วนใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ผู้บริบูรณ์ด้วยพระลักษณะเป็นพระโพธิสัตว์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ผู้บริบูรณ์ด้วยพระลักษณะครึ่งหนึ่ง เป็นพระโพธิสัตว์ครึ่งหนึ่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ผู้บริบูรณ์ด้วยพระลักษณะเป็นพระโพธิสัตว์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระเจ้าจักรพรรดิเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยพระลักษณะ พระเจ้าจักรพรรดิก็
เป็นพระโพธิสัตว์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๐๐/๒๐๖)
๒ เพราะมีความเห็นว่า ผู้เป็นพระโพธิสัตว์จะต้องบริบูรณ์ด้วยลักษณะมหาบุรุษ ๓๒ ประการ ทุกภพทุกชาติ
(อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๐๐/๒๐๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๒๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๗. ลักขณกถา (๓๙)
สก. พระเจ้าจักรพรรดิเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยพระลักษณะ พระเจ้าจักรพรรดิก็
เป็นพระโพธิสัตว์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุรพประโยค บุรพจริยา การบอกกล่าวธรรม การแสดงธรรมของ
พระโพธิสัตว์เป็นเช่นไร บุรพประโยค บุรพจริยา การบอกกล่าวธรรม การแสดงธรรม
ของพระเจ้าจักรพรรดิก็เป็นเช่นนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๐๑] สก. เมื่อพระโพธิสัตว์ประสูติ หมู่เทวดารับก่อน หมู่มนุษย์รับภายหลัง
ฉันใด เมื่อพระเจ้าจักรพรรดิประสูติ หมู่เทวดารับก่อน หมู่มนุษย์รับภายหลัง
ฉันนั้นเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อพระโพธิสัตว์ประสูติ เทพบุตร ๔ องค์ รับพระโพธิสัตว์นั้นแล้ววาง
ไว้ตรงพระพักตร์ของพระมารดา แล้วทูลว่า “ข้าแต่พระเทวี ขอพระองค์จงพอ
พระทัยเถิด พระโอรสผู้มีศักดิ์ใหญ่ของพระองค์ประสูติแล้ว” ฉันใด เมื่อพระเจ้า
จักรพรรดิ ประสูติ เทพบุตร ๔ องค์ รับพระเจ้าจักรพรรดินั้นแล้ววางไว้ตรงพระ
พักตร์ของพระมารดา แล้วทูลว่า “ข้าแต่พระเทวี ขอพระองค์จงพอพระทัยเถิด
พระโอรสผู้มีศักดิ์ใหญ่ของพระองค์ประสูติแล้ว” ฉันนั้นเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อพระโพธิสัตว์ประสูติ ธารน้ำทั้ง ๒ คือ ธารน้ำเย็นและธารน้ำร้อน
ไหลลงจากอากาศ ชนทั้งหลายสรงพระโพธิสัตว์และพระมารดา ฉันใด เมื่อพระเจ้า
จักรพรรดิประสูติ ธารน้ำทั้ง ๒ คือ ธารน้ำเย็นและธารน้ำร้อนไหลลงจากอากาศ
ชนทั้งหลายสรงพระเจ้าจักรพรรดิและพระมารดา ฉันนั้นเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๒๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๗. ลักขณกถา (๓๙)
สก. พระโพธิสัตว์พอประสูติแล้วเดี๋ยวนั้น ประทับยืนด้วยพระบาททั้งสอง
อันราบเรียบ บ่ายพระพักตร์สู่ทิศเหนือ ดำเนินไปได้ ๗ ก้าว มีฉัตรขาวกั้นตามไป
ทรงแลดูทิศทั้งปวง และเปล่งอาสภิวาจาว่า “เราเป็นผู้เลิศในโลก เราเป็นใหญ่ในโลก
เราเป็นผู้ประเสริฐในโลก นี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก” ฉันใด พระเจ้า
จักรพรรดิพอประสูติแล้วเดี๋ยวนั้น ประทับยืนด้วยพระบาททั้งสองอันราบเรียบ
บ่ายพระพักตร์สู่ทิศเหนือ ดำเนินไปได้ ๗ ก้าว มีฉัตรขาวกั้นตามไป ทรงแลดูทิศ
ทั้งปวง และเปล่งอาสภิวาจาว่า “เราเป็นผู้เลิศในโลก เราเป็นใหญ่ในโลก เราเป็น
ผู้ประเสริฐในโลก นี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก” ฉันนั้นเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อพระโพธิสัตว์ประสูติย่อมปรากฏแสงสว่างรัศมีอันเจิดจ้า แผ่นดินไหว
อย่างสะท้านสะเทือน ฉันใด เมื่อพระเจ้าจักรพรรดิประสูติก็ย่อมปรากฏแสงสว่าง
รัศมีอันเจิดจ้า แผ่นดินไหวอย่างสะท้านสะเทือน ฉันนั้นเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระกายตามปกติของพระโพธิสัตว์ ฉายพระรัศมีออกไปวาหนึ่งโดยรอบ
ฉันใด พระกายตามปกติของพระเจ้าจักรพรรดิก็ฉายพระรัศมีออกไปวาหนึ่งโดยรอบ
ฉันนั้นเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระโพธิสัตว์ทรงมหาสุบิน ฉันใด พระเจ้าจักรพรรดิก็ทรงมหาสุบิน
ฉันนั้นเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๐๒] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ผู้บริบูรณ์ด้วยพระลักษณะเป็นพระโพธิสัตว์”
ใช่ไหม
สก. ใช่๑

เชิงอรรถ :
๑ เพราะมีความเห็นว่า ผู้สมบูรณ์ด้วยพระลักษณะ ๓๒ ประการ เช่น พระเจ้าจักพรรดิ มิได้เป็นพระโพธิสัตว์ก็มี
(อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๐๒/๒๐๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๒๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๘. นิยาโมกกันติกถา (๔๐)
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย มหาบุรุษสมบูรณ์
ด้วยลักษณะ ๓๒ ประการ มีคติเพียง ๒ อย่างเท่านั้น ไม่เป็นอย่างอื่น คือ
๑. ถ้าอยู่ครองเรือนจะได้เป็นพระเจ้าจักพรรดิผู้ทรงธรรม ครองราชย์
โดยธรรม ทรงเป็นใหญ่ในแผ่นดินมีมหาสมุทรทั้ง ๔ เป็นขอบเขต
ทรงได้รับชัยชนะ มีพระราชอาณาจักรมั่นคง สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗
ประการ คือ (๑) จักรแก้ว (๒) ช้างแก้ว (๓) ม้าแก้ว (๔) มณีแก้ว
(๕) นางแก้ว (๖) คหบดีแก้ว (๗) ปริณายกแก้ว มีพระราชโอรส
มากกว่า ๑,๐๐๐ องค์ ซึ่งล้วนแต่กล้าหาญ มีรูปทรงสมเป็นวีรกษัตริย์
สามารถย่ำยีราชศัตรูได้ พระองค์ทรงชนะโดยธรรม ไม่ต้องใช้อาชญา
ไม่ต้องใช้ศัสตรา ครอบครองแผ่นดินนี้มีสาครเป็นขอบเขต
๒. ถ้าออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตจะได้เป็นพระอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้า ผู้ไม่มีกิเลสในโลก”๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น ผู้บริบูรณ์ด้วยพระลักษณะจึงเป็นพระโพธิสัตว์ได้
ลักขณกถา จบ

๘. นิยาโมกกันติกถา (๔๐)
ว่าด้วยการหยั่งลงสู่นิยาม
[๔๐๓] สก. พระโพธิสัตว์หยั่งลงสู่นิยาม๒ ประพฤติพรหมจรรย์๒ แล้วใน
ศาสนาของพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะใช่ไหม
ปร.๓ ใช่๔

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ที.ปา. (แปล) ๑๑/๑๙๙-๒๐๐/๑๕๙-๑๖๐
๒ คำว่า นิยามก็ดี พรหมจรรย์ก็ดี เป็นชื่อของอริยมรรค ดังนั้น คำว่า หยั่งลงสู่นิยาม หมายถึง
บรรลุอริยมรรค (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๐๓/๒๐๖)
๓ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๐๓/๒๐๖)
๔ เพราะมีความเห็นว่า พระโพธิสัตว์โชติปาละเคยได้อริยมรรคมาแล้วในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระนามว่า
กัสสปะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๐๓/๒๐๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๒๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๘. นิยาโมกกันติกถา (๔๐)
สก. พระโพธิสัตว์เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๑ ฯลฯ
สก. พระโพธิสัตว์เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะใช่ไหม
ปร. ใช่๒
สก. เป็นสาวกแล้วจึงเป็นพระพุทธเจ้าใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เป็นสาวกแล้วจึงเป็นพระพุทธเจ้าใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เป็นผู้ตรัสรู้ด้วยการรับฟังใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เป็นผู้ตรัสรู้ด้วยการรับฟังใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระผู้มีพระภาคทรงเป็นพระสยัมภูมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระผู้มีพระภาคทรงเป็นพระสยัมภู ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระ
ผู้มีพระภาคเป็นผู้ตรัสรู้ด้วยการรับฟัง”
สก. พระโพธิสัตว์หยั่งลงสู่นิยาม ประพฤติพรหมจรรย์แล้วในศาสนาของพระ
ผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระผู้มีพระภาคตรัสรู้สามัญญผลเพียง ๓ เท่านั้น ณ ควงไม้โพธิ์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ เพราะคำว่า “พระโพธิสัตว์” ในคำถามนี้ ปรวาทีมุ่งถึงพระโพธิสัตว์ในภพสุดท้าย จึงตอบปฏิเสธ (อภิ.ปญฺจ.อ.
๔๐๓/๒๐๖)
๒ เพราะคำว่า “พระโพธิสัตว์” ในคำถามนี้ ปรวาทีมุ่งถึงพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งเสวยพระชาติเป็นพระโพธิสัตว์
โชติปาละ จึงตอบรับ (อภิ.ปญฺจ.อ.๔๐๓/๒๐๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๒๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๘. นิยาโมกกันติกถา (๔๐)
สก. พระผู้มีพระภาคตรัสรู้สามัญญผล ๔ ณ ควงไม้โพธิ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากพระผู้มีพระภาคตรัสรู้สามัญญผล ๔ ณ ควงไม้โพธิ์ ท่านก็ไม่
ควรยอมรับว่า “พระโพธิสัตว์หยั่งลงสู่นิยาม ประพฤติพรหมจรรย์แล้วในศาสนา
ของพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ”
[๔๐๔] สก. พระโพธิสัตว์หยั่งลงสู่นิยาม ประพฤติพรหมจรรย์แล้วในศาสนา
ของพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโพธิสัตว์ได้ทำทุกกรกิริยา(การทำความเพียรที่คนทั่วไปทำได้ยาก)
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทัสสนะ(โสดาปัตติมรรค)จึงทำทุกกรกิริยาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระโพธิสัตว์ได้บำเพ็ญตบะอย่างอื่นและนับถือศาสดาอื่น๑] ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทัสสนะจะพึงนับถือศาสดาอื่นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ท่านพระอานนท์หยั่งลงสู่นิยาม ประพฤติพรหมจรรย์แล้วในศาสนาของ
พระผู้มีพระภาค (ดังนั้น) ท่านพระอานนท์จึงเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ศาสดาอื่น ในที่นี้หมายถึงอาฬารดาบส กาลามโคตร และอุททกดาบส รามบุตร (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๐๔/๒๐๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๓๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๘. นิยาโมกกันติกถา (๔๐)
สก. พระโพธิสัตว์หยั่งลงสู่นิยาม ประพฤติพรหมจรรย์แล้วในศาสนาของ
พระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ (ดังนั้น) พระโพธิสัตว์จึงเป็นสาวกของพระผู้มี
พระภาคพระนามว่ากัสสปะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ท่านจิตตคหบดี ท่านหัตถกะชาวเมืองอาฬวี หยั่งลงสู่นิยาม ประพฤติ
พรหมจรรย์แล้วในศาสนาของพระผู้มีพระภาค (ดังนั้น) จิตตคหบดี ท่านหัตถกะ
ชาวเมืองอาฬวี จึงเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโพธิสัตว์หยั่งลงสู่นิยาม ประพฤติพรหมจรรย์แล้วในศาสนาของ
พระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ (ดังนั้น) พระโพธิสัตว์จึงเป็นสาวกของพระผู้มี
พระภาคพระนามว่ากัสสปะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระโพธิสัตว์หยั่งลงสู่นิยาม ประพฤติพรหมจรรย์แล้วในศาสนาของ
พระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ แต่ไม่ได้เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคพระนาม
ว่ากัสสปะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านพระอานนท์หยั่งลงสู่นิยาม ประพฤติพรหมจรรย์แล้วในศาสนาของ
พระผู้มีพระภาค แต่ไม่ได้เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระโพธิสัตว์หยั่งลงสู่นิยาม ประพฤติพรหมจรรย์แล้วในศาสนาของ
พระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ แต่ไม่ได้เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคพระนาม
ว่ากัสสปะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านจิตตคหบดี ท่านหัตถกะชาวเมืองอาฬวี หยั่งลงสู่นิยาม ประพฤติ
พรหมจรรย์แล้วในศาสนาของพระผู้มีพระภาค แต่ไม่ได้เป็นสาวกของพระผู้มี
พระภาคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๓๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๘. นิยาโมกกันติกถา (๔๐)
สก. พระโพธิสัตว์หยั่งลงสู่นิยาม ประพฤติพรหมจรรย์แล้วในศาสนาของ
พระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ แต่ไม่ได้เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคพระนาม
ว่ากัสสปะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เป็นสาวกล่วงไปชาติหนึ่งแล้วกลับไม่เป็นสาวกใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๐๕] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระโพธิสัตว์หยั่งลงสู่นิยาม ประพฤติ
พรหมจรรย์แล้วในศาสนาของพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “อานนท์ เราได้ประพฤติพรหมจรรย์
แล้วในพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ เพื่อความตรัสรู้ในอนาคต” มีอยู่จริง
มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระโพธิสัตว์หยั่งลงสู่นิยาม ประพฤติ
พรหมจรรย์แล้วในศาสนาของพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ”
สก. พระโพธิสัตว์หยั่งลงสู่นิยาม ประพฤติพรหมจรรย์แล้วในศาสนาของ
พระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “(พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า)
‘เราเป็นผู้ครอบงำธรรมทั้งปวง๑ รู้ธรรมทั้งปวง๒
มิได้แปดเปื้อนในธรรมทั้งปวง๑ ละธรรมทั้งปวง๑ ได้สิ้นเชิง
หลุดพ้นเพราะสิ้นตัณหา ตรัสรู้ยิ่งเอง
แล้วจะพึงอ้างใครเล่า

เชิงอรรถ :
๑ ธรรมทั้งปวง ในที่นี้หมายถึงธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๓ (วิ.อ. ๓/๑๑/๑๖)
๒ ธรรมทั้งปวง ในที่นี้หมายถึงธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๔ (วิ.อ. ๓/๑๑/๑๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๓๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๘. นิยาโมกกันติกถา (๔๐)
เราไม่มีอาจารย์๑ เราไม่มีผู้เสมอเหมือน
เราไม่มีผู้ทัดเทียมในโลกกับทั้งเทวโลก
เพราะเราเป็นอรหันต์ เป็นศาสดาผู้ยอดเยี่ยม
เป็นผู้ตรัสรู้ชอบเองเพียงผู้เดียว เป็นผู้เยือกเย็น
ดับกิเลสได้แล้วในโลก
เราจะไปเมืองหลวงแห่งชาวกาสี ประกาศธรรมจักร
ตีกลองอมตธรรมไปในโลกอันมีความมืดมน’
อุปกาชีวกกราบทูลว่า ‘อาวุโส ท่านสมควรเป็นพระอนันตชินะตามที่ท่านประกาศ’
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
‘ชนเหล่าใดได้ถึงความสิ้นอาสวะแล้ว
ชนเหล่านั้นย่อมเป็นพระชินะเช่นเรา
อุปกะ เราชนะความชั่วได้แล้ว
เพราะฉะนั้น เราจึงชื่อว่าพระชินะ”๒
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “พระโพธิสัตว์หยั่งลงสู่นิยาม ประพฤติ
พรหมจรรย์แล้วในศาสนาของพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ”
สก. พระโพธิสัตว์หยั่งลงสู่นิยาม ประพฤติพรหมจรรย์แล้วในศาสนาของพระผู้มี
พระภาคพระนามว่ากัสสปะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว
ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วใน
ธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่า ‘นี้ทุกขอริยสัจ’

เชิงอรรถ :
๑ อาจารย์ ในที่นี้หมายถึงอาจารย์ในระดับโลกุตตรธรรม (วิ.อ. ๓/๑๑/๑๖)
๒ ดูเทียบ วิ.ม. (แปล) ๔/๑๑/๑๗, ม.มู. (แปล) ๑๒/๒๘๕/๓๑๑, ม.ม. (แปล) ๑๓/๓๔๑/๔๑๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๓๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๘. นิยาโมกกันติกถา (๔๐)
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แส่งสว่างเกิดขึ้นแล้วในธรรมทั้งหลาย
ที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่า ‘ทุกขอริยสัจนี้ ควรกำหนดรู้’
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วในธรรมทั้งหลาย
ที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่า ‘ทุกขอริยสัจนี้ เราได้กำหนดรู้แล้ว’
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วในธรรมทั้งหลาย
ที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่า ‘นี้ทุกขสมุทยอริยสัจ’
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วในธรรมทั้งหลาย
ที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่า ‘ทุกขสมุทยอริยสัจนี้ ควรละ’
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วในธรรมทั้งหลาย
ที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่า ‘ทุกขสมุทยอริยสัจ เราละได้แล้ว’
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วในธรรมทั้งหลาย
ที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่า ‘นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ’
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วในธรรมทั้งหลาย
ที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่า ‘ทุกขนิโรธอริยสัจนี้ ควรทำให้แจ้ง’
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วในธรรมทั้งหลาย
ที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่า ‘ทุกขนิโรธอริยสัจ เราได้ทำให้แจ้งแล้ว’
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วในธรรมทั้งหลาย
ที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่า ‘นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ’
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วในธรรมทั้งหลาย
ที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่า ‘ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้ ควรให้เจริญ’
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว
วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่า
‘ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้ เราได้ทำให้เจริญแล้ว”๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ วิ.ม. (แปล) ๔/๑๕/๒๒-๒๓, สํ.ม. (แปล) ๑๙/๑๐๘๑/๕๖๖-๕๖๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๓๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๙. อปราปิสมันนาคตกถา (๔๑)
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “พระโพธิสัตว์หยั่งลงสู่นิยาม
ประพฤติพรหมจรรย์แล้วในศาสนาของพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ”
นิยาโมกกันติกถา จบ

๙. อปราปิสมันนาคตกถา (๔๑)
ว่าด้วยผู้บริบูรณ์๑อีกเรื่องหนึ่ง
[๔๐๖] สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยผล ๓
ใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยผัสสะ ๔ ฯลฯ
เวทนา ๔ ฯลฯ สัญญา ๔ ฯลฯ เจตนา ๔ ฯลฯ จิต ๔ ฯลฯ ศรัทธา ๔ ฯลฯ
วิริยะ ๔ ฯลฯ สติ ๔ ฯลฯ สมาธิ ๔ ฯลฯ ปัญญา ๔ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผลเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยผล ๒ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผลเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยผัสสะ ๓ ฯลฯ
เวทนา ๓ ฯลฯ ปัญญา ๓ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผลเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติ-
ผลใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๓๙๓ หน้า ๔๑๐ ในเล่มนี้
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๐๖/๒๐๗)
๓ เพราะมีความเห็นว่า อรหัตตมัคคัฏฐบุคคล (บุคคลผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตมรรค) ยังมีโอกาสที่จะทำให้ผลเบื้องต่ำ ๓
คือโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล เกิดขึ้นได้อีก (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๐๖/๒๐๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๓๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๙. อปราปิสมันนาคตกถา (๔๑)
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผลเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยผัสสะ ๒ ฯลฯ
เวทนา ๒ ฯลฯ ปัญญา ๒ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผล
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลเป็นพระโสดาบันผู้สัตตักขัตตุปรมะ
โกลังโกละ เอกพีชีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยสกทาคามิผล
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลเป็นพระสกทาคามีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยอนาคามิผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล เป็นพระอนาคามีผู้อันตรา-
ปรินิพพายี อุปหัจจปรินิพพายี อสังขารปรินิพพายี สสังขารปรินิพพายี อุทธัง-
โสโตอกนิฏฐคามีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผลเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผล
ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๓๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๙. อปราปิสมันนาคตกถา (๔๑)
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผลเป็นพระโสดาบันผู้สัตตักขัตตุปรมะ
โกลังโกละ เอกพีชีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผลเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยสกทาคามิผล
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผลเป็นพระสกทาคามีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผลเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผล
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผลเป็นพระโสดาบันผู้สัตตักขัตตุ-
ปรมะ โกลังโกละ เอกพีชีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๐๗] สก. บุคคลผู้บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผล ท่านยอมรับว่า “เป็นพระ
โสดาบัน” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผล
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลกับพระโสดาบันเป็นคนคน
เดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้บริบูรณ์ด้วยสกทาคามิผล ท่านยอมรับว่า “เป็นพระสกทาคามี”
ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๓๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๙. อปราปิสมันนาคตกถา (๔๑)
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยสกทาคามิผล
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลกับพระสกทาคามีเป็นคนคน
เดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ผู้บริบูรณ์ด้วยอนาคามิผล ท่านยอมรับว่า “เป็นพระอนาคามี” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยอนาคามิผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลกับพระอนาคามีเป็นคนคนเดียวกัน
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ผู้บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผล ท่านยอมรับว่า “เป็นพระโสดาบัน” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผล
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผลกับพระโสดาบันเป็นคนคน
เดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ผู้บริบูรณ์ด้วยสกทาคามิผล ท่านยอมรับว่า “เป็นพระสกทาคามี”
ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๓๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๙. อปราปิสมันนาคตกถา (๔๑)
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยสกทาคามิผล
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผลกับพระสกทาคามีเป็นคนคน
เดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ผู้บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผล ท่านยอมรับว่า “เป็นพระโสดาบัน” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติ-
ผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผลกับพระโสดาบันเป็นคนคน
เดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๐๘] สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยโสดา-
ปัตติผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล ล่วงเลยโสดาปัตติผลไปแล้วมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล ล่วงเลยโสดาปัตติผลไปแล้ว
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล เป็นผู้บริบูรณ์
ด้วยโสดาปัตติผล”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๓๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๙. อปราปิสมันนาคตกถา (๔๑)
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล ล่วงเลยโสดาปัตติผลไปแล้ว
ยังเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผลนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล ล่วงเลยโสดาปัตติมรรคไปแล้ว
ล่วงเลยสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ราคะ โทสะ โมหะ ที่เป็นเหตุ
ให้สัตว์ไปสู่อบายได้แล้ว เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยสภาวธรรมมีสักกายทิฏฐิเป็นต้นนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยสกทาคามิผล
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล ล่วงเลยสกทาคามิผลไปแล้ว
มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล ล่วงเลยสกทาคามิผลไปแล้ว
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลเป็นผู้บริบูรณ์ด้วย
สกทาคามิผล”
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล ล่วงเลยสกทาคามิผลไปแล้ว
เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยสกทาคามิผลนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล ล่วงเลยสกทาคามิมรรคไปแล้ว
ล่วงเลยกามราคะอย่างหยาบ พยาบาทอย่างหยาบได้แล้ว เป็นผู้บริบูรณ์ด้วย
กามราคะและพยาบาทนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๔๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๙. อปราปิสมันนาคตกถา (๔๑)
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยอนาคามิผล
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล ล่วงเลยอนาคามิผลไปแล้วมิใช่
หรือ
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล ล่วงเลยอนาคามิผลไปแล้ว
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลเป็นผู้บริบูรณ์ด้วย
อนาคามิผล”
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล ล่วงเลยอนาคามิผลไปแล้ว
เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยอนาคามิผลนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล ล่วงเลยอนาคามิมรรคไปแล้ว
ล่วงเลยกามราคะอย่างละเอียด พยาบาทอย่างละเอียดได้แล้ว เป็นผู้บริบูรณ์ด้วย
กามราคะและพยาบาทนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๐๙] สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล เป็นผู้บริบูรณ์ด้วย
โสดาปัตติผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ล่วงเลยโสดาปัตติผลไปแล้ว
มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ล่วงเลยโสดาปัตติผลไปแล้ว
ท่านไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล เป็นผู้บริบูรณ์
ด้วยโสดาปัตติผล”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๔๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๙. อปราปิสมันนาคตกถา (๔๑)
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ล่วงเลยโสดาปัตติผลไปแล้ว
เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผลนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ล่วงเลยโสดาปัตติมรรคไปแล้ว
ล่วงเลยสักกายทิฏฐิ ฯลฯ ล่วงเลยโมหะที่เป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบายได้แล้ว เป็นผู้
บริบูรณ์ด้วยสภาวธรรมมีสักกายทิฏฐิเป็นต้นนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยสกทาคามิ-
ผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ล่วงเลยสกทาคามิผลไปแล้ว
มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ล่วงเลยสกทาคามิผลไปแล้ว
ท่านไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล เป็นผู้บริบูรณ์
ด้วยสกทาคามิผล”
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ล่วงเลยสกทาคามิผลไปแล้ว
เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยสกทาคามิผลนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ล่วงเลยสกทาคามิมรรคไปแล้ว
ล่วงเลยกามราคะอย่างหยาบ พยาบาทอย่างหยาบได้แล้ว เป็นผู้บริบูรณ์ด้วย
กามราคะและพยาบาทนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๔๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๙. อปราปิสมันนาคตกถา (๔๑)
[๔๑๐] สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล เป็นผู้บริบูรณ์ด้วย
โสดาปัตติผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล ล่วงเลยโสดาปัตติผลไปแล้ว
มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล ล่วงเลยโสดาปัตติผลไป
แล้ว ท่านไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล เป็นผู้
บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผล”
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล ล่วงเลยโสดาปัตติผลไปแล้ว
เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผลนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล ล่วงเลยโสดาปัตติมรรคไปแล้ว
ล่วงเลยสักกายทิฏฐิ ฯลฯ ล่วงเลยโมหะที่เป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบายได้แล้ว เป็นผู้
บริบูรณ์ด้วยสภาวธรรมมีสักกายทิฏฐิเป็นต้นนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๑๑] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล
เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยผล ๓” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลได้ผล ๓ แล้ว ไม่เสื่อมจากผล ๓
นั้นมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลได้ผล ๓ แล้ว และไม่เสื่อม
จากผล ๓ นั้น ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล
เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยผล ๓”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๔๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๙. อปราปิสมันนาคตกถา (๔๑)
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล เป็นผู้บริบูรณ์
ด้วยผล ๒” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผลได้ผล ๒ แล้ว และไม่เสื่อม
จากผล ๒ นั้นมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผลได้ผล ๒ แล้ว และไม่เสื่อม
จากผล ๒ นั้น ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล
เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยผล ๒”
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล เป็นผู้
บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผล” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผลได้โสดาปัตติผลแล้ว และไม่เสื่อม
จากโสดาปัตติผลนั้นมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผลได้โสดาปัตติผลแล้ว และ
ไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผลนั้น ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อ
ทำให้แจ้งสกทาคามิผล เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผล”
[๔๑๒] สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลได้ผล ๓ แล้ว และไม่เสื่อม
จากผล ๓ นั้น ดังนั้น บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล จึงเป็นผู้บริบูรณ์
ด้วยผล ๓ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลได้มรรค ๔ แล้ว และไม่เสื่อมจาก
มรรค ๔ นั้น ดังนั้น บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล จึงเป็นผู้บริบูรณ์
ด้วยมรรค ๔ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๔๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๑๐. สัพพสัญโญชนัปปหานกถา (๔๒)
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผลได้ผล ๒ แล้ว และไม่เสื่อม
จากผล ๒ นั้น ดังนั้น บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล จึงเป็นผู้บริบูรณ์
ด้วยผล ๒ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผลได้มรรค ๓ แล้ว และไม่เสื่อม
จากมรรค ๓ นั้น ดังนั้น บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล จึงเป็นผู้
บริบูรณ์ด้วยมรรค ๓ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผลได้โสดาปัตติผลแล้ว และไม่เสื่อม
จากโสดาปัตติผลนั้น ดังนั้น บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล จึงเป็นผู้
บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผลได้มรรค ๒ แล้ว และไม่เสื่อม
จากมรรค ๒ นั้น ดังนั้น บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล จึงเป็นผู้
บริบูรณ์ด้วยมรรค ๒ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
อปราปิสมันนาคตกถา จบ

๑๐. สัพพสัญโญชนัปปหานกถา (๔๒)
ว่าด้วยการละสังโยชน์ทั้งปวง
[๔๑๓] สก. การละสังโยชน์ทั้งปวง เป็นอรหัตตผลใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๑๓/๒๐๗-๒๐๘)
๒ เพราะมีความเห็นว่า การละสังโยชน์ได้ทั้ง ๑๐ เป็นอรหัตตผล (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๑๓/๒๐๗-๒๐๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๔๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๑๐. สัพพสัญโญชนัปปหานกถา (๔๒)
สก. ละสังโยชน์ทั้งปวงได้ด้วยอรหัตตมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๑ ฯลฯ
สก. ละสังโยชน์ทั้งปวงได้ด้วยอรหัตตมรรคใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาสได้ด้วยอรหัตตมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาสได้ด้วยอรหัตตมรรคใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การละสังโยชน์ ๓ อย่างได้พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นโสดาปัตติผล
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากการละสังโยชน์ ๓ อย่างได้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นโสดาปัตติผล
ท่านไม่ยอมรับว่า “ละสังโยชน์ทั้งปวงได้ด้วยอรหัตตมรรค”
[๔๑๔] สก. ละสังโยชน์ทั้งปวงได้ด้วยอรหัตตมรรคใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ละกามราคะอย่างหยาบ พยาบาทอย่างหยาบได้ด้วยอรหัตตมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๑๕] สก. ละกามราคะอย่างหยาบ พยาบาทอย่างหยาบได้ด้วยอรหัตต-
มรรคใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความเบาบางแห่งกามราคะและพยาบาท พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็น
สกทาคามิผลใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ เพราะมีความเห็นว่า ละได้ด้วยมรรค ๓ เบื้องต่ำ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๑๓/๒๐๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๔๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๑๐. สัพพสัญโญชนัปปหานกถา (๔๒)
สก. หากความเบาบางแห่งกามราคะและพยาบาท พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
เป็นสกทาคามิผล ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ละสังโยชน์ทั้งปวงได้ด้วยอรหัตตมรรค”
สก. ละสังโยชน์ทั้งปวงได้ด้วยอรหัตตมรรคใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ละกามราคะอย่างละเอียด พยาบาทอย่างละเอียดได้ด้วยอรหัตตมรรค
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๑๖] สก. ละกามราคะอย่างละเอียด พยาบาทอย่างละเอียดได้ด้วย
อรหัตตมรรคใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การละกามราคะและพยาบาทได้เด็ดขาด พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็น
อนาคามิผลมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากการละกามราคะและพยาบาทได้เด็ดขาด พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
เป็นอนาคามิผล ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ละสังโยชน์ทั้งปวงได้ด้วยอรหัตตมรรค”
สก. ละสังโยชน์ทั้งปวงได้ด้วยอรหัตตมรรคใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การละรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ และอวิชชาได้เด็ดขาด
พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นอรหัตตผลมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากการละรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ และอวิชชาได้เด็ดขาด
พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นอรหัตตผล ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ละสังโยชน์ทั้งปวง
ได้ด้วยอรหัตตมรรค”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๔๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] รวมกถาที่มีในวรรค
[๔๑๗] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ การละสังโยชน์ทั้งปวง เป็นอรหัตตผล” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. สังโยชน์ทั้งปวง พระอรหันต์ละได้แล้วมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากสังโยชน์ทั้งปวงพระอรหันต์ละได้แล้ว ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“การละสังโยชน์ทั้งปวง เป็นอรหัตตผล”
สัพพสัญโญชนัปปหานกถา จบ
จตุตถวรรค จบ

รวมกถาที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. คิหิสสอรหาติกถา ๒. อุปปัตติกถา
๓. อนาสวกถา ๔. สมันนาคตกถา
๕. อุเปกขาสมันนาคตกถา ๖. โพธิยาพุทโธติกถา
๗. ลักขณกถา ๘. นิยาโมกกันติกถา
๙. อปราปิสมันนาคตกถา ๑๐. สัพพสัญโญชนัปปหานกถา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๔๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๕. ปัญจมวรรค] ๑. วิมุตติกถา (๔๓)
๕. ปัญจมวรรค
๑. วิมุตติกถา (๔๓)
ว่าด้วยความหลุดพ้น
[๔๑๘] สก. วิมุตติญาณ๑ ชื่อว่าหลุดพ้นแล้วใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. วิมุตติญาณทั้งหมดนั้น ชื่อว่าหลุดพ้นแล้วใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิมุตติญาณ ชื่อว่าหลุดพ้นแล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ปัจจเวกขณญาณ ชื่อว่าหลุดพ้นแล้วใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิมุตติญาณ ชื่อว่าหลุดพ้นแล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิมุตติญาณของโคตรภูบุคคล ชื่อว่าหลุดพ้นแล้วใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิมุตติญาณของบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล ชื่อว่าหลุดพ้น
แล้วใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ วิมุตติญาณ หมายถึงญาณ ๔ คือ (๑) วิปัสสนาญาณ (๒) มรรคญาณ (๓) ผลญาณ (๔) ปัจจเวกขณญาณ
(อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๑๘/๒๐๘)
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๑๘/๒๐๘)
๓ เพราะมีความเห็นรวม ๆ ว่า วิมุตติญาณทั้ง ๔ อย่าง หลุดพ้นแล้ว ซึ่งต่างกับความเห็นของฝ่ายสกวาที
ที่เห็นว่า ผลญาณเท่านั้นหลุดพ้นแล้ว (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๑๘/๒๐๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๔๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๕. ปัญจมวรรค] ๑. วิมุตติกถา (๔๓)
สก. ญาณของพระโสดาบัน เป็นญาณของผู้ถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้ง
โสดาปัตติผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิมุตติญาณของบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล ชื่อว่าหลุด
พ้นแล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ญาณของพระสกทาคามี เป็นญาณของผู้ถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้ง
สกทาคามิผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิมุตติญาณของบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ชื่อว่าหลุดพ้น
แล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ญาณของพระอนาคามี เป็นญาณของผู้ถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้ง
อนาคามิผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิมุตติญาณของบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล ชื่อว่าหลุดพ้น
แล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ญาณของพระอรหันต์ เป็นญาณของผู้ถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้งอรหัตตผล
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๑๙] สก. วิมุตติญาณของบุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยโสดาปัตติผล ชื่อว่าหลุด
พ้นแล้วใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๕๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๕. ปัญจมวรรค] ๑. วิมุตติกถา (๔๓)
สก. วิมุตติญาณของบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล ชื่อว่าหลุดพ้น
แล้วใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิมุตติญาณของบุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยสกทาคามิผล ชื่อว่าหลุดพ้นแล้ว
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิมุตติญาณของบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล ชื่อว่าหลุดพ้น
แล้วใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิมุตติญาณของบุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยอนาคามิผล ชื่อว่าหลุดพ้นแล้ว
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิมุตติญาณของบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ชื่อว่าหลุดพ้น
แล้วใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิมุตติญาณของบุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยอรหัตตผล ชื่อว่าหลุดพ้นแล้ว
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิมุตติญาณของบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล ชื่อว่าหลุดพ้น
แล้วใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๒๐] สก. วิมุตติญาณของบุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยโสดาปัตติผล ชื่อว่าหลุดพ้นแล้ว
และวิมุตติญาณนั้นเป็นญาณของผู้ได้บรรลุผลใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๕๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๕. ปัญจมวรรค] ๑. วิมุตติกถา (๔๓)
สก. วิมุตติญาณของบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล ชื่อว่าหลุดพ้น
แล้ว และวิมุตติญาณนั้นเป็นญาณของผู้ได้บรรลุผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิมุตติญาณของบุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยสกทาคามิผล ชื่อว่าหลุดพ้นแล้ว
และวิมุตติญาณนั้นเป็นญาณของผู้ได้บรรลุผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิมุตติญาณของบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล ชื่อว่าหลุดพ้น
แล้ว และวิมุตติญาณนั้นเป็นญาณของผู้ได้บรรลุผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิมุตติญาณของบุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยอนาคามิผล ชื่อว่าหลุดพ้นแล้ว
และวิมุตติญาณนั้นเป็นญาณของผู้ได้บรรลุผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิมุตติญาณของบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ชื่อว่าหลุดพ้น
แล้ว และวิมุตติญาณนั้นเป็นญาณของผู้ได้บรรลุผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิมุตติญาณของบุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยอรหัตตผล ชื่อว่าหลุดพ้นแล้ว
และวิมุตติญาณนั้นเป็นญาณของผู้ได้บรรลุผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิมุตติญาณของบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล ชื่อว่าหลุดพ้น
แล้ว และวิมุตติญาณนั้นเป็นญาณของผู้ได้บรรลุผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

วิมุตติกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๕๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๕. ปัญจมวรรค] ๒. อเสกขญาณกถา (๔๔)
๒. อเสกขญาณกถา (๔๔)
ว่าด้วยญาณของพระอเสขะ
[๔๒๑] สก. พระเสขะมีญาณของพระอเสขะได้ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. พระเสขะย่อมรู้เห็นธรรมของพระอเสขะ เข้าถึงธรรมของพระอเสขะที่ตน
เห็น รู้ ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องด้วยกายอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระเสขะไม่รู้ ไม่เห็นธรรมของพระอเสขะ ไม่เข้าถึงธรรมของพระอเสขะ
ที่ตนไม่เห็น ไม่รู้ ไม่ทำให้แจ้งแล้ว ไม่ถูกต้องด้วยกายอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระเสขะไม่รู้ ไม่เห็นธรรมของพระอเสขะ ไม่เข้าถึงธรรมของ
พระอเสขะที่ตนไม่เห็น ไม่รู้ ไม่ทำให้แจ้งแล้ว ไม่ถูกต้องด้วยกายอยู่ ท่านก็ไม่
ควรยอมรับว่า “พระเสขะมีญาณของพระอเสขะได้”
สก. พระอเสขะมีญาณของพระอเสขะได้ พระอเสขะย่อมรู้ ย่อมเห็นธรรมของ
พระอเสขะ ย่อมเข้าถึงธรรมของพระอเสขะที่ตนเห็น รู้ ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้อง
ด้วยกายอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระเสขะมีญาณของพระอเสขะได้ พระเสขะย่อมรู้ ย่อมเห็นธรรมของ
พระอเสขะ ย่อมเข้าถึงธรรมของพระอเสขะที่ตนเห็น รู้ ทำให้แจ้ง ถูกต้องด้วยกายอยู่
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๒๑/๒๐๙)
๒ เพราะมีความเห็นว่า พระเสขะมีญาณของพระอเสขะได้ เช่น ท่านพระอานนท์ ซึ่งเป็นเพียงพระเสขะ แต่รู้
เรื่องของอเสขะได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๒๑/๒๐๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๕๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๕. ปัญจมวรรค] ๒. อเสกขญาณกถา (๔๔)
[๔๒๒] สก. พระเสขะมีญาณของพระอเสขะ พระเสขะไม่รู้ ไม่เห็นธรรมของ
พระอเสขะ ไม่เข้าถึงธรรมของพระอเสขะที่ตนไม่เห็น ไม่รู้ ไม่ทำให้แจ้งแล้ว ไม่
ถูกต้องด้วยกายอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอเสขะมีญาณของพระอเสขะ พระอเสขะไม่รู้ ไม่เห็นธรรมของ
พระอเสขะ ไม่เข้าถึงธรรมของพระอเสขะที่ตนไม่เห็น ไม่รู้ ไม่ทำให้แจ้งแล้ว
ไม่ถูกต้องด้วยกายอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระเสขะมีญาณของพระอเสขะได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โคตรภูบุคคลมีญาณในโสดาปัตติมรรคได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล มีญาณในโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล ฯลฯ เพื่อทำให้แจ้งอนาคามิ-
ผล ฯลฯ เพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล มีญาณในอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๒๓] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระเสขะมีญาณของพระอเสขะได้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ท่านพระอานนท์ยังเป็นพระเสขะรู้ว่า พระผู้มีพระภาคทรงมีพระคุณอันยิ่ง
พระสารีบุตรเถระ พระมหาโมคคัลลานเถระ ต่างก็มีคุณอันยิ่งมิใช่หรือ
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๕๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๕. ปัญจมวรรค] ๓. วิปรีตกถา (๔๕)
ปร. หากท่านพระอานนท์ยังเป็นพระเสขะรู้ว่า พระผู้มีพระภาคทรงมีพระ
คุณอันยิ่ง พระสารีบุตรเถระ พระมหาโมคคัลลานเถระ ต่างก็มีคุณอันยิ่ง ดังนั้น
ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระเสขะก็มีญาณของพระอเสขะได้”
อเสกขญาณกถา จบ

๓. วิปรีตกถา (๔๕)
ว่าด้วยญาณวิปริต
[๔๒๔] สก. ญาณของผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ วิปริตได้ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. ความวิปลาสในสภาวธรรมที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความวิปลาสในสภาวธรรมที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข ฯลฯ ที่เป็นอนัตตา ว่าเป็นอัตตา
ฯลฯ ที่ไม่งามว่างามได้มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ญาณของผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ วิปริตได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ญาณเป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๒๔/๒๐๙)
๒ เพราะมีความเห็นว่า ผู้ที่เจริญปฐวีกสิณโดยเพ่งนิมิตของปฐวีจนเกิดญาณขึ้น ญาณนั้นชื่อว่าวิปริต เพราะรู้
เพียงนิมิตของปฐวี ไม่ใช่ตัวปฐวีโดยตรง ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า ญาณนั้นไม่ชื่อว่าวิปริตญาณ
ที่ชื่อว่าวิปริต เพราะเห็นผิดจากความเป็นจริง เช่น เห็นสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๒๔/๒๐๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๕๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๕. ปัญจมวรรค] ๓. วิปรีตกถา (๔๕)
สก. เป็นกุศลมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากญาณเป็นกุศล ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ญาณของผู้เข้า
สมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ วิปริตได้”
สก. ความวิปลาสในสภาวธรรมที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง และความวิปลาสนั้น
เป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ญาณของผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ วิปริตได้ และญาณนั้น
เป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความวิปลาสในสภาวธรรมที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข ฯลฯ ที่เป็นอนัตตาว่า
เป็นอัตตา ฯลฯ ที่ไม่งามว่างาม และความวิปลาสนั้นเป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ญาณของผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ วิปริตได้ และญาณนั้น
เป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๒๕] สก. ญาณของผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ วิปริตได้ และญาณ
นั้นเป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความวิปลาสในสภาวธรรมที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง และความวิปลาสนั้นเป็น
อกุศลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๕๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๕. ปัญจมวรรค] ๓. วิปรีตกถา (๔๕)
สก. ญาณของผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ วิปริตได้ และญาณนั้น
เป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความวิปลาสในสภาวธรรมที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข ฯลฯ ที่เป็นอนัตตาว่า
เป็นอัตตา ฯลฯ ที่ไม่งามว่างาม และความวิปลาสนั้นเป็นกุศลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๒๖] สก. ญาณของผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ วิปริตได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ท่านก็ไม่ควรยอม
รับ ว่า “ญาณของผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ วิปริตได้”
สก. ญาณของผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ วิปริตได้ พระอรหันต์พึง
เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความวิปลาสของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความวิปลาสของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัญญาวิปลาส จิตตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาสของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัญญาวิปลาส จิตตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาสของพระอรหันต์ไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๕๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๕. ปัญจมวรรค] ๓. วิปรีตกถา (๔๕)
สก. หากสัญญาวิปลาส จิตตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาสของพระอรหันต์ไม่มี ท่าน
ก็ไม่ควรยอมรับว่า “ความวิปลาสของพระอรหันต์มีอยู่”
[๔๒๗] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ญาณของผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์
วิปริต” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ปฐวีกสิณย่อมปรากฏแก่ผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นดิน
ล้วน ๆ ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น ญาณของผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์จึงวิปริต
สก. ญาณของผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ วิปริตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ดินมีอยู่ และบางคนที่เข้าปฐวีกสิณจากดินก็มีอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากดินมีอยู่ และบางคนที่เข้าปฐวีกสิณจากดินก็มีอยู่ ท่านก็ไม่ควร
ยอมรับว่า “ญาณของผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ วิปริตได้”
สก. ดินมีอยู่ และญาณของผู้เข้าปฐวีกสิณจากดิน วิปริตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. นิพพานมีอยู่ แต่ญาณของผู้เข้าสมาบัติที่มีนิพพานเป็นอารมณ์จากนิพพาน
ก็วิปริตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ญาณของผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณ
เป็นอารมณ์ วิปริตได้”
วิปรีตกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๕๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๕. ปัญจมวรรค] ๔. นิยามกถา (๔๖)
๔. นิยามกถา (๔๖)
ว่าด้วยนิยาม
[๔๒๘] สก. บุคคลผู้ไม่แน่นอน๑ มีญาณเพื่อไปสู่นิยาม๒ ได้ใช่ไหม
ปร.๓ ใช่๔
สก. บุคคลผู้แน่นอน๕ มีญาณเพื่อไปสู่อนิยาม๖ ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้แน่นอนไม่มีญาณเพื่อไปสู่อนิยามได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ไม่แน่นอนไม่มีญาณเพื่อไปสู่นิยามได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ไม่แน่นอนมีญาณเพื่อไปสู่นิยามได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้แน่นอนมีญาณเพื่อไปสู่นิยามได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้แน่นอนไม่มีญาณเพื่อไปสู่นิยามได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ไม่แน่นอนไม่มีญาณเพื่อไปสู่นิยามได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ บุคคลผู้ไม่แน่นอน ในที่นี้หมายถึงปุถุชนผู้มีคติไม่แน่นอน อาจไปเกิดในภูมิใดภูมิหนึ่งในภูมิ ๓ คือ
กามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๖๓-๖๖๔/๒๖๙)
๒ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๔๐๓ หน้า ๔๒๘ ในเล่มนี้
๓ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๒๘/๒๑๐)
๔ เพราะมีความเห็นว่า แม้ปุถุชนก็มีญาณเพื่อไปสู่นิยามได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๒๘/๒๑๐)
๕ บุคคลผู้แน่นอน ในที่นี้หมายถึงพระอริยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๒๘/๒๑๐)
๖ อนิยาม ในที่นี้หมายถึงมิจฉัตตนิยาม คืออนันตริยกรรม (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๖๓-๖๖๔/๒๖๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๕๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๕. ปัญจมวรรค] ๔. นิยามกถา (๔๖)
สก. บุคคลผู้ไม่แน่นอนมีญาณเพื่อไปสู่นิยามได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ไม่แน่นอนมีญาณเพื่อไปสู่อนิยามได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ไม่แน่นอนไม่มีญาณเพื่อไปสู่อนิยามได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ไม่แน่นอนไม่มีญาณเพื่อไปสู่นิยามได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๒๙] สก. บุคคลผู้ไม่แน่นอนมีญาณเพื่อไปสู่นิยามได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ไม่แน่นอนมีนิยามเพื่อไปสู่นิยามได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ไม่แน่นอนมีญาณเพื่อไปสู่นิยามได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ไม่แน่นอนมีสติปัฏฐาน ฯลฯ มีสัมมัปปธาน ฯลฯ มีอิทธิบาท
ฯลฯ มีอินทรีย์ ฯลฯ มีพละ ฯลฯ มีโพชฌงค์ เพื่อไปสู่นิยามได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ไม่แน่นอนไม่มีนิยามเพื่อไปสู่นิยามได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลผู้ไม่แน่นอนไม่มีนิยามเพื่อไปสู่นิยาม ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“บุคคลผู้ไม่แน่นอนมีญาณเพื่อไปสู่นิยามได้”
สก. บุคคลผู้ไม่แน่นอนไม่มีสติปัฏฐาน ฯลฯ ไม่มีโพชฌงค์ เพื่อไปสู่นิยาม
ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๖๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๕. ปัญจมวรรค] ๔. นิยามกถา (๔๖)
สก. หากบุคคลผู้ไม่แน่นอนไม่มีโพชฌงค์เพื่อไปสู่นิยาม ท่านก็ไม่ควรยอมรับ
ว่า “บุคคลผู้ไม่แน่นอนมีญาณเพื่อไปสู่นิยามได้”
[๔๓๐] สก. บุคคลผู้ไม่แน่นอนมีญาณเพื่อไปสู่นิยามได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โคตรภูบุคคลมีญาณในโสดาปัตติมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผลมีญาณในโสดาปัตติผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล ฯลฯ อนาคามิผล ฯลฯ
อรหัตตผล มีญาณในอรหัตตผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๓๑] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลผู้ไม่แน่นอนมีญาณเพื่อไปสู่นิยามได้”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระผู้มีพระภาคทรงทราบได้ว่า “บุคคลนี้จักก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม๑
ควรเพื่อบรรลุธรรมได้” มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากพระผู้มีพระภาคทรงทราบได้ว่า “บุคคลนี้จักก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม
ควรเพื่อบรรลุธรรมได้” ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “บุคคลผู้ไม่แน่นอนมีญาณ
เพื่อไปสู่นิยามได้”

นิยามกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ สัมมัตตนิยาม ในที่นี้หมายถึงอริยมรรค (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๖๓-๖๖๔/๒๖๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๖๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๕. ปัญจมวรรค] ๕. ปฏิสัมภิทากถา (๔๗)
๕. ปฏิสัมภิทากถา (๔๗)
ว่าด้วยปฏิสัมภิทา
[๔๓๒] สก. ญาณทั้งปวงเป็นปฏิสัมภิทาใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. สมมติญาณเป็นปฏิสัมภิทาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สมมติญาณเป็นปฏิสัมภิทาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชนเหล่าใดรู้สมมติ ชนเหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้ถึงปฏิสัมภิทาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ญาณทั้งปวงเป็นปฏิสัมภิทาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เจโตปริยญาณ(ญาณที่กำหนดรู้ใจผู้อื่น) เป็นปฏิสัมภิทาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เจโตปริยญาณเป็นปฏิสัมภิทาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชนเหล่าใดรู้จิตของผู้อื่น ชนเหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้ถึงปฏิสัมภิทาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๓๒/๒๑๒)
๒ เพราะมีความเห็นว่า ญาณทั้งหมดของพระอริยะเป็นโลกุตตระ จึงจัดเป็นปฏิสัมภิทาญาณได้ทั้งหมด ซึ่ง
ต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า ญาณของพระอริยะบางอย่างไม่จัดเป็นปฏิสัมภิทาญาณ (อภิ.ปญฺจ.อ.
๔๓๒/๒๑๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๖๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๕. ปัญจมวรรค] ๕. ปฏิสัมภิทากถา (๔๗)
สก. ญาณทั้งปวงเป็นปฏิสัมภิทาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ปัญญาทั้งปวงเป็นปฏิสัมภิทาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ปัญญาทั้งปวงเป็นปฏิสัมภิทาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์มีปัญญา ปัญญานั้นเป็นปฏิสัมภิทา
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ผู้เข้าสมาบัติที่มีอาโปกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีเตโชกสิณเป็นอารมณ์
ฯลฯ มีวาโยกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีนีลกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีปีตกสิณเป็น
อารมณ์ ฯลฯ มีโลหิตกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีโอทาตกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ
มีอากาสานัญจายตนะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีวิญญาณัญจายตนะเป็นอารมณ์ ฯลฯ
มีอากิญจัญญายตนะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีเนวสัญญานาสัญญายตนะเป็นอารมณ์
ฯลฯ ถวายทาน ฯลฯ จีวร ฯลฯ บิณฑบาต ฯลฯ เสนาสนะ ฯลฯ ถวาย
คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร มีปัญญา ปัญญานั้นเป็นปฏิสัมภิทาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๓๓] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ญาณทั้งปวงเป็นปฏิสัมภิทา” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. โลกุตตรปัญญามีอยู่ โลกุตตรปัญญานั้นไม่เป็นปฏิสัมภิทาใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น ญาณทั้งปวงจึงเป็นปฏิสัมภิทา

ปฏิสัมภิทากถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๖๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๕. ปัญจมวรรค] ๖. สมมติญาณกถา (๔๘)
๖. สมมติญาณกถา (๔๘)
ว่าด้วยสมมติญาณ๑
[๔๓๔] ปร.๒ ท่านไม่ยอมรับว่า “สมมติญาณมีสัจจะเท่านั้นเป็นอารมณ์ ไม่
มีธรรมอื่นเป็นอารมณ์” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์มีญาณอยู่ และปฐวีกสิณเป็น
สมมติสัจจะใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. หากผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์มีญาณอยู่ และปฐวีกสิณเป็น
สมมติสัจจะ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “สมมติญาณมีสัจจะเท่านั้นเป็นอารมณ์
ไม่มีธรรมอื่นเป็นอารมณ์”
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “สมมติญาณมีสัจจะเท่านั้นเป็นอารมณ์ ไม่มีธรรม
อื่นเป็นอารมณ์” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ผู้เข้าสมาบัติที่มีอาโปกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีเตโชกสิณเป็นอารมณ์
ฯลฯ ผู้ถวายคิลานปัจจัยเภสัชบริขารมีญาณอยู่ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารเป็น
สมมติสัจจะ มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากผู้ถวายคิลานปัจจัยเภสัชบริขารมีญาณอยู่ และคิลานปัจจยเภสัช-
บริขารเป็นสมมติสัจจะ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “สมมติญาณมีสัจจะเท่านั้น
เป็นอารมณ์ ไม่มีธรรมอื่นเป็นอารมณ์”

เชิงอรรถ :
๑ สมมติญาณ หมายถึงญาณที่รู้สมมติบัญญัติ เช่น รู้บุคคล รู้ความจริงโดยสมมติ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๓๔/๔๖๔)
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ ซึ่งมีความเห็นว่า สมมติญาณก็สามารถรู้สัจจะได้ คำว่า สัจจะ ในที่นี้
เป็นความหมายรวม ๆ ไม่แยกว่าเป็นสมมติสัจจะหรือปรมัตถสัจจะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๓๔/๒๑๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๖๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๕. ปัญจมวรรค] ๗. จิตตารัมมณกถา (๔๙)
[๔๓๕] สก. สมมติญาณมีสัจจะเท่านั้นเป็นอารมณ์ ไม่มีธรรมอื่นเป็นอารมณ์
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลกำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำให้แจ้งนิโรธ เจริญมรรคได้ด้วย
ญาณนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สมมติญาณกถา จบ

๗. จิตตารัมมณกถา (๔๙)
ว่าด้วยญาณมีจิตเป็นอารมณ์
[๔๓๖] สก. เจโตปริยญาณมีจิตเท่านั้นเป็นอารมณ์ ไม่มีธรรมอื่นเป็น
อารมณ์ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. บางคนรู้ชัดจิตที่มีราคะว่า จิตมีราคะ มีอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากบางคนรู้ชัดจิตที่มีราคะว่า จิตมีราคะ มีอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“เจโตปริยญาณมีจิตเท่านั้นเป็นอารมณ์ ไม่มีธรรมอื่นเป็นอารมณ์”
สก. บางคนรู้ชัดจิตที่ปราศจากราคะว่า จิตปราศจากราคะ ฯลฯ จิตมีโทสะ ฯลฯ
จิตปราศจากโทสะ ฯลฯ จิตมีโมหะ ฯลฯ จิตปราศจากโมหะ ฯลฯ จิตหดหู่ ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๓๖/๒๑๓)
๒ เพราะซึ่งมีความเห็นว่า เจโตปริยญาณรู้ได้เฉพาะจิต แต่ไม่รู้เจตสิก (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๓๖/๒๑๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๖๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๕. ปัญจมวรรค] ๗. จิตตารัมมณกถา (๔๙)
จิตฟุ้งซ่าน ฯลฯ จิตเป็นมหัคคตะ ฯลฯ จิตไม่เป็นมหัคคตะ ฯลฯ จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า
ฯลฯ จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ฯลฯ จิตเป็นสมาธิ ฯลฯ จิตไม่เป็นสมาธิ ฯลฯ จิตหลุดพ้น
ฯลฯ จิตไม่หลุดพ้นว่า “จิตไม่หลุดพ้น” มีอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากบางคนรู้ชัดจิตที่ไม่หลุดพ้นว่า “จิตไม่หลุดพ้น” มีอยู่ ท่าน
ก็ไม่ควรยอมรับว่า “เจโตปริยญาณมีจิตเท่านั้นเป็นอารมณ์ ไม่มีธรรมอื่นเป็นอารมณ์”
[๔๓๗] สก. ญาณที่มีผัสสะเป็นอารมณ์ ควรเรียกว่า “เจโตปริยญาณ” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากญาณที่มีผัสสะเป็นอารมณ์ ควรเรียกว่า “เจโตปริยญาณ” ท่านก็
ไม่ควรยอมรับว่า “เจโตปริยญาณมีจิตเท่านั้นเป็นอารมณ์ ไม่มีธรรมอื่นเป็นอารมณ์”
สก. ญาณที่มีเวทนาเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีสัญญาเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีเจตนา
เป็นอารมณ์ ฯลฯ มีจิตเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีสัทธาเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีวิริยะเป็น
อารมณ์ ฯลฯ มีสติเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีสมาธิเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีปัญญา
เป็นอารมณ์ ฯลฯ มีราคะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีโทสะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีโมหะ
เป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอโนตตัปปะเป็นอารมณ์ ควรเรียกว่า “เจโตปริยญาณ” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากญาณมีอโนตตัปปะเป็นอารมณ์ ควรเรียกว่า “เจโตปริยญาณ” ท่าน
ก็ไม่ควรยอมรับว่า “เจโตปริยญาณมีจิตเท่านั้นเป็นอารมณ์ ไม่มีธรรมอื่นเป็นอารมณ์”
สก. ญาณที่มีผัสสะเป็นอารมณ์ ไม่ควรเรียกว่า “เจโตปริยญาณ” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ญาณนั้นเป็นผัสสปริยญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ญาณมีเวทนาเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีสัญญาเป็นอารมณ์ ฯลฯ มี
อโนตตัปปะเป็นอารมณ์ ไม่ควรเรียกว่า “เจโตปริยญาณ” ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๖๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๕. ปัญจมวรรค] ๘. อนาคตญาณกถา (๕๐)
สก. ญาณนั้นเป็นอโนตตัปปปริยญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๓๘] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “เจโตปริยญาณมีจิตเท่านั้นเป็นอารมณ์ ไม่มี
ธรรมอื่นเป็นอารมณ์” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. เป็นเจโตปริยญาณมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากเป็นเจโตปริยญาณ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “เจโตปริย-
ญาณมีจิตเท่านั้นเป็นอารมณ์ ไม่มีธรรมอื่นเป็นอารมณ์”
จิตตารัมมณกถา จบ

๘. อนาคตญาณกถา (๕๐)
ว่าด้วยอนาคตญาณ๑
[๔๓๙] สก. อนาคตญาณมีอยู่ใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. อนาคตญาณนั้นรู้อนาคตได้โดยมูล โดยเหตุ โดยแหล่งกำเนิด โดยต้น
กำเนิด โดยบ่อเกิด โดยสมุฏฐาน โดยเหตุเครื่องหล่อเลี้ยง โดยอารมณ์ โดยปัจจัย
โดยสมุทัยใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ อนาคตญาณ หมายถึงญาณที่หยั่งรู้อนาคต (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๓๙/๒๑๓)
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๓๙/๒๑๓)
๓ เพราะมีความเห็นว่า อนาคตญาณสามารถรู้อนาคตทั้งใกล้ตัว(อนนฺตร) และไกลตัว(อนฺตร)ได้ทั้งหมด ซึ่ง
ต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า อนาคตญาณสามารถรู้อนาคตได้เฉพาะไกลตัวเท่านั้น คำว่า ใกล้ตัว
หมายถึงไม่มีช่องว่างระหว่างขณะจิตหนึ่งกับอีกขณะจิตหนึ่ง เช่น โคตรภูจิตกับมัคคจิต ส่วนคำว่า ไกลตัว
หมายถึงช่วงขณะจิตที่มีภวังคจิตหรือวิถีจิตอื่นคั่น (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๓๙/๒๑๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๖๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๕. ปัญจมวรรค] ๘. อนาคตญาณกถา (๕๐)
สก. อนาคตญาณมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อนาคตญาณนั้นรู้ความเป็นเหตุปัจจัย ความเป็นอารัมมณปัจจัย
ความเป็นอธิปติปัจจัย ความเป็นอนันตรปัจจัย ความเป็นสมนันตรปัจจัย ที่เป็น
อนาคตได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อนาคตญาณมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โคตรภูบุคคลมีญาณในโสดาปัตติมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล มีญาณในโสดาปัตติผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล ฯลฯ อนาคามิผล ฯลฯ
อรหัตตผล มีญาณในอรหัตตผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๔๐] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “อนาคตญาณมีอยู่” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “อานนท์ อันตราย ๓ อย่าง คือ
(๑) อันตรายจากไฟ (๒) อันตรายจากน้ำ (๓) อันตรายจากการแตกความสามัคคี
จักมีแก่กรุงปาฏลีบุตร” ๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น อนาคตญาณจึงมีอยู่

อนาคตญาณกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ที.ม. (แปล) ๑๐/๑๕๒/๙๖, ขุ.อุ. (แปล) ๒๕/๗๖/๓๓๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๖๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๕. ปัญจมวรรค] ๙. ปัจจุปปันนญาณกถา (๕๑)
๙. ปัจจุปปันนญาณกถา (๕๑)
ว่าด้วยปัจจุปปันนญาณ
[๔๔๑] สก. ปัจจุปปันนญาณ๑มีอยู่ใช่ไหม
ปร.๒ ใช่
สก. บุคคลรู้ญาณนั้นได้ด้วยปัจจุปันนญาณนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลรู้ญาณนั้นได้ด้วยปัจจุปปันนญาณนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลรู้ญาณนั้นว่าเป็นญาณ ได้ด้วยปัจจุปปันนญาณนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รู้ญาณนั้นว่าเป็นญาณ ได้ด้วยปัจจุปปันนญาณนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ญาณนั้นเป็นอารมณ์ของปัจจุปปันนญาณนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ญาณนั้นเป็นอารมณ์ของปัจจุปปันนญาณนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปัจจุปปันนญาณ หมายถึงญาณที่หยั่งรู้อารมณ์ปัจจุบันซึ่งแบ่งออกเป็น ๓ ช่วง คือ (๑) ขณะปัจจุบัน (ช่วง
ที่จิตดวงหนึ่ง ๆ เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป) (๒) สันตติปัจจุบัน (ช่วงที่สืบต่อมาจากช่วงที่ ๑ ประมาณ ๒ หรือ ๓
วิถีจิต) (๓) อัทธานปัจจุบัน (ช่วงเวลาที่ยาวกว่า ๒ ช่วงแรกออกไป) ซึ่งฝ่ายปรวาทีเห็นว่า ปัจจุปปันนญาณ
สามารถรู้ปัจจุบันได้ทั้ง ๓ ช่วง ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า ปัจจุปปันนญาณสามารถรู้ได้เฉพาะ
ช่วงที่ ๒ กับ ช่วงที่ ๓ เท่านั้น (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๔๑/๒๑๔)
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๔๑/๒๑๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๖๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๕. ปัญจมวรรค] ๙. ปัจจุปปันนญาณกถา (๕๑)
สก. ถูกต้องผัสสะนั้นด้วยผัสสะนั้น เสวยเวทนานั้นด้วยเวทนานั้น จำ
สัญญานั้นด้วยสัญญานั้น จงใจเจตนานั้นด้วยเจตนานั้น คิดจิตนั้นด้วยจิตนั้น
ตรึกวิตกนั้นด้วยวิตกนั้น ตรองวิจารนั้นด้วยวิจารนั้น เอิบอิ่มปีตินั้นด้วยปีตินั้น
ระลึกสตินั้นด้วยสตินั้น รู้ชัดปัญญานั้นด้วยปัญญานั้น ตัดดาบนั้นด้วยดาบนั้น
ถากขวานนั้นด้วยขวานนั้น ถากผึ่งนั้นด้วยผึ่งนั้น ถากมีดนั้นด้วยมีดนั้น เย็บเข็ม
นั้นด้วยเข็มนั้น ลูบคลำปลายนิ้วมือนั้นด้วยปลายนิ้วมือนั้น ลูบคลำปลายจมูกนั้น
ด้วยปลายจมูกนั้น ลูบคลำกระหม่อมนั้นด้วยกระหม่อมนั้น ล้างคูถนั้นด้วยคูถนั้น
ล้างมูตรนั้นด้วยมูตรนั้น ล้างน้ำลายนั้นด้วยน้ำลายนั้น ล้างน้ำหนองนั้นด้วย
น้ำหนองนั้น ล้างเลือดนั้นด้วยเลือดนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๔๒] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ปัจจุปปันนญาณมีอยู่” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. เมื่อพระโยคาวจรเห็นสังขารทั้งปวงโดยความเป็นสภาวะไม่เที่ยงแล้วก็
เป็นอันเห็นญาณนั้น โดยความเป็นสภาวะไม่เที่ยงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากเมื่อพระโยคาวจรเห็นสังขารทั้งปวงโดยความเป็นสภาวะไม่เที่ยงแล้ว
ก็เป็นอันเห็นญาณนั้นโดยความเป็นสภาวะไม่เที่ยง ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“ปัจจุปปันนญาณมีอยู่”

ปัจจุปปันนญาณกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๗๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๕. ปัญจมวรรค] ๑๐. ผลญาณกถา (๕๒)
๑๐. ผลญาณกถา (๕๒)
ว่าด้วยผลญาณ
[๔๔๓] สก. พระสาวกมีผลญาณ๑ใช่ไหม
ปร.๒ ใช่
สก. พระสาวกกำหนดผลอันเป็นคุณสมบัติของตนได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระสาวกมีผลญาณใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การรู้ความยิ่งและหย่อนแห่งผล การรู้ความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์
การรู้ความยิ่งและหย่อนแห่งบุคคล ของพระสาวกมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระสาวกมีผลญาณใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การบัญญัติขันธ์ อายตนะ ธาตุ สัจจะ อินทรีย์ บุคคล ของพระสาวก
มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระสาวกมีผลญาณใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสาวกเป็นพระชินเจ้า เป็นพระศาสดา เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เป็นพระสัพพัญญู เป็นพระสัพพทัสสาวี เป็นพระธัมมัสสามี เป็นพระธัมมปฏิสรณะ
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระสาวกมีผลญาณใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ผลญาณ หมายถึงญาณหยั่งรู้ผลแห่งกรรมของสัตว์ทั้งหลาย ปรวาทีเห็นว่า พระสาวกก็สามารถมี
ผลญาณเหมือนกับพระพุทธเจ้า ส่วนสกวาทีเห็นว่าไม่เหมือนกัน
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๔๓/๒๑๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๗๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๕. ปัญจมวรรค] รวมกถาที่มีในวรรค
สก. พระสาวกเป็นผู้ยังมรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ให้กำเนิดแก่มรรคที่ยังไม่
มีผู้ให้กำเนิด เป็นผู้บอกมรรคที่ยังไม่มีผู้บอก เป็นผู้รู้มรรค เข้าใจมรรค ฉลาดใน
มรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๔๔] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระสาวกมีผลญาณ” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสาวกเป็นผู้ไม่มีญาณใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น พระสาวกจึงมีผลญาณ ฯลฯ
ผลญาณกถา จบ
ปัญจมวรรค จบ

รวมกถาที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. วิมุตติกถา ๒. อเสกขญาณกถา
๓. วิปรีตกถา ๔. นิยามกถา
๕. ปฏิสัมภิทากถา ๖. สมมติญาณกถา
๗. จิตตารัมมณกถา ๘. อนาคตญาณกถา
๙. ปัจจุปปันนญาณกถา ๑๐. ผลญาณกถา

มหาปัณณาสก์ จบ

รวมวรรคที่มีในมหาปัณณาสก์นี้ คือ
วรรคที่ ๑ เริ่มด้วยปุคคลกถา
วรรคที่ ๒ เริ่มด้วยปรูปหารกถา
วรรคที่ ๓ เริ่มด้วยพลกถา
วรรคที่ ๔ เริ่มด้วยคิหิสสอรหาติกถา
วรรคที่ ๕ เริ่มด้วยวิมุตติกถา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๗๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค] ๑. นิยามกถา (๕๓)
๖. ฉัฏฐวรรค
๑. นิยามกถา (๕๓)
ว่าด้วยนิยาม
[๔๔๕] สก. นิยาม๑เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง(เป็นอสังขตะ)ใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. นิยามเป็นนิพพาน เป็นที่ต้านทาน เป็นที่เร้น เป็นที่พึ่ง เป็นที่หมาย
เป็นที่มั่น เป็นอมตะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. นิยามเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง นิพพานก็เป็นสภาวธรรมที่
ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ที่ต้านทานมี ๒ อย่าง ที่เร้นมี ๒ อย่าง ที่พึ่งมี ๒ อย่าง ที่หมาย
มี ๒ อย่าง ที่มั่นมี ๒ อย่าง อมตะมี ๒ อย่าง นิพพานมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. นิพพานมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ นิยาม ในที่นี้หมายถึงอริยมรรค (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๔๕-๔๔๗/๒๑๖)
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๔๕-๔๔๗/๒๑๖)
๓ เพราะมีความเห็นว่า นิยามเป็นของเที่ยง ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า นิยามเป็นสภาวธรรม
ที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๔๕-๔๔๗/๒๑๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๗๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค] ๑. นิยามกถา (๕๓)
สก. นิพพานทั้ง ๒ อย่าง ยังมีความสูงต่ำ ความเลวและความประณีต
ความยิ่งและหย่อน เขตแดน ความแตกต่าง ร่องรอย ช่องว่างอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. นิยามเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีบุคคลบางพวกก้าวลงสู่นิยาม ได้นิยาม ให้นิยามอุบัติขึ้น ให้อุบัติ
ขึ้นด้วยดี ให้ตั้งขึ้น ให้ตั้งขึ้นด้วยดี ให้บังเกิด ให้บังเกิดโดยยิ่ง ให้เกิด ให้เกิด
ด้วยดีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลบางพวกก้าวลงสู่สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ได้สภาวธรรม
ที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ให้สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งอุบัติขึ้น ให้อุบัติขึ้นด้วยดี
ให้ตั้งขึ้น ให้ตั้งขึ้นด้วยดี ให้บังเกิด ให้บังเกิดโดยยิ่งให้เกิด ให้เกิดด้วยดีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๔๖] สก. นิยามเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มรรคเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มรรคเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. นิยามเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โสดาปัตตินิยามเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โสดาปัตติมรรคเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๗๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค] ๑. นิยามกถา (๕๓)
สก. โสดาปัตติมรรคเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โสดาปัตตินิยามเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สกทาคามินิยาม ฯลฯ อนาคามินิยาม ฯลฯ อรหัตตนิยามเป็น
สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อรหัตตมรรคเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อรหัตตมรรคเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อรหัตตนิยามเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โสดาปัตตินิยามเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ฯลฯ อรหัตต-
นิยามเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง นิพพานก็เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัย
ปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๕ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๕ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ที่ต้านทานมี ๕ อย่าง ฯลฯ ช่องว่างแห่งนิพพานมี ๕ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. นิยามเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มิจฉัตตนิยามเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๗๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค] ๒. ปฏิจจสมุปปาทกถา (๕๔)
สก. มิจฉัตตนิยามเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัมมัตตนิยามเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๔๗] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “นิยามเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. เมื่อนิยามเกิดขึ้นแล้วดับไป บุคคลก็ยังเป็นผู้ไม่แน่นอนอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น นิยามจึงเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
ปร. เมื่อมิจฉัตตนิยามเกิดขึ้นแล้วดับไป บุคคลก็ยังเป็นผู้ไม่แน่นอนอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น มิจฉัตตนิยามจึงเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
นิยามกถา จบ

๒. ปฏิจจสมุปปาทกถา (๕๔)
ว่าด้วยปฏิจจสมุปบาท
[๔๔๘] สก. ปฏิจจสมุปบาทเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง(เป็นอสังขตะ)
ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. ปฏิจจสมุปบาทเป็นที่ดับ เป็นที่ต้านทาน เป็นที่เร้น เป็นที่พึ่ง เป็น
ที่หมาย เป็นที่มั่น เป็นอมตะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะและนิกายมหิสาสกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๔๘/๒๑๗)
๒ เพราะมีความเห็นว่า ปฏิจจสมุปบาทเป็นสภาวธรรมที่เที่ยงแท้ ถาวร มีอยู่อย่างนั้นตลอดไป ไม่ว่าพระผู้
มีพระภาคจะเสด็จอุบัติขึ้นหรือไม่ก็ตาม (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๔๘/๒๑๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๗๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค] ๒. ปฏิจจสมุปปาทกถา (๕๔)
สก. ปฏิจจสมุปบาทเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง นิพพานก็เป็น
สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ที่ต้านทานมี ๒ อย่าง ที่เร้นมี ๒ อย่าง ที่พึ่งมี ๒ อย่าง ที่หมาย
มี ๒ อย่าง ที่มั่นมี ๒ อย่าง อมตะมี ๒ อย่าง นิพพานมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. นิพพานมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. นิพพานทั้ง ๒ อย่าง ยังมีความสูงต่ำ ความเลวและความประณีต
ความยิ่งและหย่อน เขตแดน ความแตกต่าง ร่องรอย ช่องว่างอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๔๙] สก. ปฏิจจสมุปบาทเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อวิชชาเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อวิชชาเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ปฏิจจสมุปบาทเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ปฏิจจสมุปบาทเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๗๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค] ๒. ปฏิจจสมุปปาทกถา (๕๔)
สก. สังขารที่เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัยเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สังขารที่เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัยเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ปฏิจจสมุปบาทเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ปฏิจจสมุปบาทเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิญญาณที่เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัยเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิญญาณที่เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัยเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ปฏิจจสมุปบาทเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ปฏิจจสมุปบาทเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. นามรูปที่เกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัยเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. นามรูปที่เกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัยเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ปฏิจจสมุปบาทเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ปฏิจจสมุปบาทเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๗๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค] ๒. ปฏิจจสมุปปาทกถา (๕๔)
สก. ชรามรณะที่เกิดเพราะชาติเป็นปัจจัยเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ชรามรณะที่เกิดเพราะชาติเป็นปัจจัยเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ปฏิจจสมุปบาทเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๕๐] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ปฏิจจสมุปบาทเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัย
ปรุงแต่ง” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “(พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) ภิกษุ
ทั้งหลาย ชรามรณะที่เกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย พระตถาคตทั้งหลายจะอุบัติหรือไม่
อุบัติก็ตาม ธาตุนั้นได้ตั้งอยู่แล้วโดยแท้ เป็นเหตุความดำรงอยู่แห่งธรรม เป็นเหตุ
กำหนดความแน่นอนแห่งธรรม คือความที่ธรรมนี้เป็นปัจจัย พระตถาคตตรัสรู้ยิ่ง
ได้บรรลุธาตุนั้น ครั้นตรัสรู้แล้ว จึงตรัสบอก ทรงแสดง บัญญัติ ก่อตั้ง เปิดเผย
จำแนก ทำให้ง่ายขึ้น” ตรัสว่า “เธอทั้งหลายจงดู ชรามรณะที่เกิดเพราะชาติเป็น
ปัจจัย ชาติที่เกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ฯลฯ สังขารที่เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
พระตถาคตทั้งหลายจะอุบัติหรือไม่อุบัติก็ตาม ธาตุนั้นได้ตั้งอยู่แล้วโดยแท้ ฯลฯ”
และตรัสว่า “เธอทั้งหลายจงดู สังขารที่เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัยดังนี้แล ภิกษุ
ทั้งหลาย ความจริงแท้ ความไม่ผิด ความไม่เป็นอย่างอื่น คือความที่ธรรมนี้เป็น
ปัจจัย มีอยู่ในสภาวธรรมนั้น ด้วยประการฉะนี้ อันนี้เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท”๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น ปฏิจจสมุปบาทจึงเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
[๔๕๑] สก. ความดำรงอยู่แห่งธรรม ความกำหนดความแน่นอนแห่งธรรม
ในปฏิจจสมุปบาทข้อว่า “เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี” นั้น เป็นสภาวธรรม
ที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง นิพพานก็เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ สํ.นิ. (แปล) ๑๖/๒๐/๓๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๗๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค] ๒. ปฏิจจสมุปปาทกถา (๕๔)
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๑ ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่๒
สก. ที่ต้านทานมี ๒ อย่าง ฯลฯ ช่องว่างแห่งนิพพานมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความดำรงอยู่แห่งธรรม ความกำหนดความแน่นอนแห่งธรรม ในปฏิจจ-
สมุปบาทข้อว่า “เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี” นั้น เป็นสภาวธรรมที่ไม่
ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ความดำรงอยู่แห่งธรรม ความกำหนดความแน่นอนแห่งธรรม
ในปฏิจจสมุปบาทข้อว่า “เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี” นั้น เป็นสภาว
ธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง นิพพานก็เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๓ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๓ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ที่ต้านทานมี ๓ อย่าง ฯลฯ ช่องว่างแห่งนิพพานมี ๓ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความดำรงอยู่แห่งธรรม ความกำหนดความแน่นอนแห่งธรรม ในปฏิจจ-
สมุปบาทข้อว่า “เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี” นั้น เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูก
ปัจจัยปรุงแต่ง ความดำรงอยู่แห่งธรรม ความกำหนดความแน่นอนแห่งธรรม ใน
ปฏิจจสมุปบาทข้อว่า “เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี” นั้น เป็นสภาวธรรม
ที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ฯลฯ ความดำรงอยู่แห่งธรรม ความกำหนดความแน่นอน

เชิงอรรถ :
๑ เพราะเห็นว่า ไม่มีในพระสูตร (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๕๑/๒๑๘)
๒ เพราะเห็นคล้อยตามลัทธิที่ยึดถือ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๕๑/๒๑๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๘๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค] ๓. สัจจกถา (๕๕)
แห่งธรรม ในปฏิจจสมุปบาทข้อว่า “เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี” นั้น
เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง นิพพานก็เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๑๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๑๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ที่ต้านทานมี ๑๒ อย่าง ที่เร้นมี ๑๒ อย่าง ฯลฯ ช่องว่างแห่งนิพพาน
มี ๑๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปฏิจจสมุปปาทกถา จบ

๓. สัจจกถา (๕๕)
ว่าด้วยสัจจะ
[๔๕๒] สก. สัจจะ ๔ เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง(เป็นอสังขตะ)ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. ที่ต้านทานมี ๔ อย่าง ที่เร้นมี ๔ อย่าง ที่พึ่งมี ๔ อย่าง ที่หมาย
มี ๔ อย่าง ที่มั่นมี ๔ อย่าง อมตะมี ๔ อย่าง นิพพานมี ๔ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๕๒/๒๑๘)
๒ เพราะมีความเห็นว่า อริยสัจ ๔ เป็นสภาวธรรมที่เที่ยงแท้ ถาวร ไม่เป็นอย่างอื่น โดยถือตามพระพุทธพจน์
ที่ว่า “สัจจะ ๔ เป็นสิ่งที่เที่ยงแท้ไม่เป็นอย่างอื่น อย่างไม่รอบคอบ ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า
สัจจะ ๔ เป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๕๒/๒๑๘, สํ.ม. (แปล) ๑๙/๑๐๙๐/๖๐๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๘๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค] ๓. สัจจกถา (๕๕)
สก. นิพพานมี ๔ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. นิพพานทั้ง ๔ อย่าง ยังมีความสูงต่ำ ความเลวและความประณีต
ความยิ่งและหย่อน เขตแดน ความแตกต่าง ร่องรอย ช่องว่างอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ทุกขสัจเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทุกข์เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ทุกขสัจเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทุกข์ทางกาย ทุกข์ทางใจ ความโศก ความคร่ำครวญ ความลำบากกาย
ความลำบากใจ ความคับแค้นใจเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สมุทยสัจเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สมุทัยเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สมุทยสัจเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหาเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มัคคสัจเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๘๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค] ๓. สัจจกถา (๕๕)
สก. มรรคเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มัคคสัจเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ทุกข์เป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทุกขสัจเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ทุกข์ทางกาย ทุกข์ทางใจ ความโศก ความคร่ำครวญ ความลำบากกาย
ความลำบากใจ ความคับแค้นใจเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทุกขสัจเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สมุทัยเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สมุทยสัจเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหาเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สมุทยสัจเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มรรคเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๘๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค] ๓. สัจจกถา (๕๕)
สก. มัคคสัจเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มัคคสัจเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๕๓] สก. นิโรธสัจเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง นิโรธก็เป็นสภาวธรรม
ที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทุกขสัจเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ทุกข์ก็เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูก
ปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. นิโรธสัจเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง นิโรธก็เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูก
ปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สมุทยสัจเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง สมุทัยก็เป็นสภาวธรรมที่
ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. นิโรธสัจเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง นิโรธก็เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูก
ปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มัคคสัจเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง มรรคก็เป็นสภาวธรรมที่
ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ทุกขสัจเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง แต่ทุกข์เป็นสภาวธรรมที่
ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๘๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค] ๓. สัจจกถา (๕๕)
สก. นิโรธสัจเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง แต่นิโรธเป็นสภาวธรรม
ที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สมุทยสัจเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง แต่สมุทัยเป็นสภาวธรรม
ที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. นิโรธสัจเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง แต่นิโรธเป็นสภาวธรรม
ที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มัคคสัจเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง แต่มรรคเป็นสภาวธรรม
ที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. นิโรธสัจเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง แต่นิโรธเป็นสภาวธรรม
ที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๕๔] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “สัจจะ ๔ เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุง
แต่ง” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย สัจจะ ๔ อย่างนี้
เป็นของแท้ ไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น สัจจะ ๔ อย่างอะไรบ้าง คือ (๑) คำว่า นี้ทุกข์
เป็นของแท้ ไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น (๒) คำว่า นี้สมุทัย ... (๓) คำว่า นี้ทุกขนิโรธ ...
(๔) คำว่า นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นของแท้ ไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น ภิกษุทั้งหลาย
สัจจะ ๔ อย่างนี้ เป็นของแท้ ไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น”๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น สัจจะ ๔ จึงเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง

สัจจกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ สํ.ม. (แปล) ๑๙/๑๐๙๐/๖๐๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๘๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค] ๔. อารุปปกถา (๕๖)
๔. อารุปปกถา (๕๖)
ว่าด้วยอรูปฌาน
[๔๕๕] สก. อากาสานัญจายตนฌานเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
(เป็นอสังขตะ)ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. อากาสานัญจายตนฌาน เป็นนิพพาน เป็นที่ต้านทาน เป็นที่เร้น เป็น
ที่พึ่ง เป็นที่หมาย เป็นที่มั่น เป็นอมตะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อากาสานัญจายตนฌานเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง นิพพาน
ก็เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ที่ต้านทานมี ๒ อย่าง ฯลฯ ช่องว่างแห่งนิพพานมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อากาสานัญจายตนฌานเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อากาสานัญจายตนฌาน เป็นภพ เป็นคติ เป็นสัตตาวาส เป็นสงสาร
เป็นกำเนิด เป็นวิญญาณฐิติ เป็นการได้อัตภาพใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๕๒-๔๕๔/๒๑๘)
๒ เพราะมีความเห็นว่า อรูปฌานเป็นอสังขตธรรม โดยยึดถือตามพระพุทธพจน์ที่ว่า “อรูปฌาน ๔ เป็น
สภาวะที่เที่ยงแท้ไม่หวั่นไหว” ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า อรูปฌาน ๔ เป็นสภาวธรรมที่ถูก
ปัจจัยปรุงแต่ง (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๕๕-๔๕๖/๒๑๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๘๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค] ๔. อารุปปกถา (๕๖)
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุ่งแต่ง เป็นภพ เป็นคติ เป็นสัตตาวาส เป็น
สงสาร เป็นกำเนิด เป็นวิญญาณฐิติ เป็นการได้อัตภาพใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กรรมที่เป็นเหตุเข้าถึงอากาสานัญจายตนฌานมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กรรมที่เป็นเหตุเข้าถึงสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุ่งแต่งมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัตว์ผู้เข้าถึงอากาสานัญจายตนฌานมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัตว์ผู้เข้าถึงสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุ่งแต่งมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในอากาสานัญจายตนฌาน มีสัตว์เกิด แก่ ตาย จุติ ปฏิสนธิใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุ่งแต่ง มีสัตว์เกิด แก่ ตาย จุติ ปฏิสนธิ
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในอากาสานัญจายตนฌาน มีเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุ่งแต่ง มีเวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อากาสานัญจายตนฌานเป็นภพที่มีขันธ์ ๔ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุ่งแต่งเป็นภพที่มีขันธ์ ๔ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๘๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค] ๕. นิโรธสมาปัตติกถา (๕๗)
[๔๕๖] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “อรูปฌาน ๔ เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัย
ปรุงแต่ง” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. อรูปฌาน ๔ พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นธรรมไม่หวั่นไหว มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากอรูปฌาน ๔ พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นธรรมไม่หวั่นไหว ดังนั้น
ท่านจึงควรยอมรับว่า “อรูปฌาน ๔ เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง”
อารุปปกถา จบ

๕. นิโรธสมาปัตติกถา (๕๗)
ว่าด้วยนิโรธสมาบัติ
[๔๕๗] สก. นิโรธสมาบัติเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง(เป็นอสังขตะ)ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. นิโรธสมาบัติเป็นนิพพาน เป็นที่ต้านทาน เป็นที่เร้น เป็นที่พึ่ง เป็น
ที่หมาย เป็นที่มั่น เป็นอมตะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. นิโรธสมาบัติเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง นิพพานก็เป็นสภาวธรรม
ที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะและนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๕๗/๒๑๙)
๒ เพราะมีความเห็นว่า เนื่องจากนิโรธสมาบัติเป็นสภาวะที่ดับแล้ว จึงเป็นอสังขตะ ซึ่งต่างกับความเห็นของ
สกวาทีที่เห็นว่า นิโรธสมาบัติเป็นทั้งสังขตะ และอสังขตะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๕๗/๒๑๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๘๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค] ๕. นิโรธสมาปัตติกถา (๕๗)
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ที่ต้านทานมี ๒ อย่าง ฯลฯ ช่องว่างแห่งนิพพานมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. นิโรธสมาบัติเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลบางพวกเข้านิโรธสมาบัติ ได้นิโรธสมาบัติ ให้นิโรธสมาบัติ
อุบัติขึ้น ให้อุบัติขึ้นด้วยดี ให้ตั้งขึ้น ให้ตั้งขึ้นด้วยดี ให้บังเกิด ให้บังเกิดโดยยิ่ง
ให้เกิด ให้เกิดด้วยดี มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลบางพวกเข้าสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ได้สภาวธรรมที่ไม่
ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ให้สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งอุบัติขึ้น ให้อุบัติขึ้นด้วยดี ให้
ตั้งขึ้น ให้ตั้งขึ้นด้วยดี ให้บังเกิด ให้บังเกิดโดยยิ่ง ให้เกิด ให้เกิดด้วยดี มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๕๘] สก. ความผ่องแผ้ว ความออกจากนิโรธสมาบัติ ปรากฏได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความผ่องแผ้ว ความออกจากสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ปรากฏ
ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วจีสังขารของผู้เข้านิโรธสมาบัติอยู่ดับไปก่อน ต่อจากนั้น กายสังขารจึงดับ
ต่อจากนั้น จิตสังขารจึงดับใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วจีสังขารของผู้เข้าสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งอยู่ดับไปก่อน ต่อจากนั้น
กายสังขารจึงดับ ต่อจากนั้น จิตตสังขารจึงดับใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๘๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค] ๕. นิโรธสมาปัตติกถา (๕๗)
สก. จิตตสังขารของผู้ออกจากนิโรธสมาบัติเกิดขึ้นก่อน ต่อจากนั้น กาย-
สังขารจึงเกิด ต่อจากนั้น วจีสังขารจึงเกิดใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จิตตสังขารของผู้ออกจากสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งเกิดขึ้นก่อน
ต่อจากนั้น กายสังขารจึงเกิด ต่อจากนั้น วจีสังขารจึงเกิดใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ผัสสะทั้ง ๓ คือ (๑) สุญญตผัสสะ (๒) อนิมิตตผัสสะ (๓) อัปปณิหิต-
ผัสสะ ย่อมถูกต้องผู้ออกจากนิโรธแล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ผัสสะทั้ง ๓ คือ (๑) สุญญตผัสสะ (๒) อนิมิตตผัสสะ (๓) อัปปณิหิต-
ผัสสะ ย่อมถูกต้องผู้ออกจากสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งแล้วใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จิตของผู้ออกจากนิโรธสมาบัติแล้วย่อมน้อมไปสู่วิเวก โน้มไปสู่วิเวก
โอนไปสู่วิเวกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จิตของผู้ออกจากสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งแล้วย่อมน้อมไปสู่วิเวก
โน้มไปสู่วิเวก โอนไปสู่ วิเวกใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๕๙] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “นิโรธสมาบัติเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัย
ปรุงแต่ง” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. นิโรธสมาบัติเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น นิโรธสมาบัติจึงเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง

นิโรธสมาปัตติกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๙๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค] ๖. อากาสกถา (๕๘)
๖. อากาสกถา (๕๘)
ว่าด้วยอากาศ
[๔๖๐] สก. อากาศ๑เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง(เป็นอสังขตะ)ใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. อากาศเป็นนิพพาน เป็นที่ต้านทาน เป็นที่เร้น เป็นที่พึ่ง เป็นที่หมาย
เป็นที่มั่น เป็นอมตะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อากาศเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง นิพพานก็เป็นสภาวธรรม
ที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ที่ต้านทานมี ๒ อย่าง ฯลฯ ช่องว่างแห่งนิพพานมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อากาศเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ อากาศ มี ๓ ชนิด คือ (๑) ปริจเฉทากาศ (ช่องว่างระหว่างรูปกลาปหนึ่ง ๆ) (๒) กสิณุคฆาฏิมากาศ
(ความว่างของจิต หลังจากถอนจากกสิณหนึ่ง ๆ) (๓) อัชฌัตตากาศ (อากาศที่ทั่วไป) (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๖๐-
๔๖๒/๒๒๐)
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะและนิกายมหิสาสกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๖๐-๔๖๒/๒๒๐)
๓ เพราะมีความเห็นว่า อากาศทั้ง ๓ ชนิดนี้เป็นอสังขตะ ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า อากาศ
ชนิดแรกเป็นสังขตะ อีก ๒ ชนิดเป็นเพียงบัญญัติ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๖๐-๔๖๒/๒๒๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๙๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค] ๖. อากาสกถา (๕๘)
สก. มีบุคคลบางพวกทำสิ่งที่มิใช่อากาศให้เป็นอากาศได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีบุคคลบางพวกทำสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งให้เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูก
ปัจจัยปรุงแต่งได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มีบุคคลบางพวกทำอากาศไม่ให้เป็นอากาศได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีบุคคลบางพวกทำสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งให้เป็นสภาวธรรม
ที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในอากาศ นกทั้งหลายบินไปได้ ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์โคจรไปได้
ดวงดาวทั้งหลายโคจรไปได้ ผู้มีฤทธิ์ทั้งหลายแสดงฤทธิ์ได้ ชนทั้งหลายแกว่งแขนได้
โบกมือได้ ขว้างก้อนดินไปได้ ขว้างลูกขลุบไปได้ แผลงฤทธิ์ได้ แผลงศรไปได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง นกทั้งหลายบินไปได้ ดวงจันทร์
และดวงอาทิตย์โคจรไปได้ ดวงดาวทั้งหลายโคจรไปได้ ผู้มีฤทธิ์ทั้งหลายแสดง
ฤทธิ์ได้ ชนทั้งหลายแกว่งแขนได้ โบกมือได้ ขว้างก้อนดินไปได้ ขว้างลูกขลุบไปได้
แผลงฤทธิ์ได้ แผลงศรไปได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๖๑] สก. ชนทั้งหลายล้อมอากาศทำให้เป็นเรือน ทำให้เป็นฉางได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชนทั้งหลายล้อมสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งทำให้เป็นเรือน ทำให้
เป็นฉางได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อขุดบ่อน้ำ ที่ที่มิใช่อากาศก็กลายเป็นอากาศได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๙๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค] ๗. อากาโสสนิทัสสโนติกถา (๕๙)
สก. สภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งก็กลายเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อถมบ่อน้ำเปล่า บรรจุฉางเปล่า หม้อเปล่าให้เต็มอยู่ อากาศหายไป
ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งหายไปได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๖๒] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “อากาศเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. อากาศเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น อากาศจึงเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
อากาสกถา จบ

๗. อากาโสสนิทัสสโนติกถา (๕๙)
ว่าด้วยอากาศเป็นสภาวธรรมที่เห็นได้
[๔๖๓] สก. อากาศเป็นสภาวธรรมที่เห็นได้ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. อากาศเป็นรูป เป็นรูปายตนะ เป็นรูปธาตุ เป็นสีเขียว สีเหลือง สีแดง
สีขาว เป็นวิสัยแห่งจักขุวิญญาณ กระทบที่จักษุ มาสู่คลองจักษุได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๖๓-๔๖๔/๒๒๐)
๒ เพราะมีความเห็นว่า อากาศชนิดที่ ๓ (อัชฌัตตากาศ) เป็นสภาวธรรมที่เห็นได้ด้วยตาเปล่า ซึ่งต่างกับ
ความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า อัชฌัตตากาศจริง ๆ ก็เห็นไม่ได้ ที่เห็นได้ก็เพราะมีสิ่งอื่น เช่น ช่องหน้าต่าง
เป็นตัวกำหนด (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๖๓-๔๖๔/๒๒๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๙๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค] ๗. อากาโสสนิทัสสโนติกถา (๕๙)
สก. อากาศเป็นสภาวธรรมที่เห็นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะอาศัยจักษุและอากาศ จึงเกิดจักขุวิญญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เพราะอาศัยจักษุและอากาศ จึงเกิดจักขุวิญญาณใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่ว่า “เพราะอาศัยจักษุและอากาศ จึงเกิดจักขุวิญญาณ” มีอยู่
จริงหรือ
ปร. ไม่มี
สก. พระสูตรที่ว่า “เพราะอาศัยจักษุและรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณ”๑ มีอยู่จริง
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากพระสูตรว่า “เพราะอาศัยจักษุและรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณ”
มีอยู่จริง ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “เพราะอาศัยจักษุและอากาศ จึงเกิดจักขุวิญญาณ”
[๔๖๔] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “อากาศเป็นสภาวธรรมที่เห็นได้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ท่านเห็นช่องของต้นไม้ ๒ ต้น ช่องเสา ๒ ต้น ช่องลูกดาล ช่องหน้าต่าง
มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากท่านเห็นช่องของต้นไม้ ๒ ต้น ช่องเสา ๒ ต้น ช่องลูกดาล
ช่องหน้าต่างได้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “อากาศเป็นสภาวธรรมที่เห็นได้”

โอกาโสสนิทัสสโนติกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ม.มู. (แปล) ๑๒/๔๐๐/๔๓๑, ม.อุ. (แปล) ๑๔/๔๒๑/๔๗๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๙๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค] ๘. ปฐวีธาตุสนิทัสสนาติอาทิกถา (๖๐)
๘. ปฐวีธาตุสนิทัสสนาติอาทิกถา (๖๐)
ว่าด้วยปฐวีธาตุเป็นสภาวธรรมที่เห็นได้ เป็นต้น
[๔๖๕] สก. ปฐวีธาตุเป็นสภาวธรรมที่เห็นได้ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. ปฐวีธาตุเป็นรูป เป็นรูปายตนะ เป็นรูปธาตุ เป็นสีเขียว สีเหลือง สีแดง
สีขาว เป็นวิสัยแห่งจักขุวิญญาณ กระทบที่จักษุ มาสู่คลองจักษุได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ปฐวีธาตุเป็นสภาวธรรมที่เห็นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะอาศัยจักษุและปฐวีธาตุ จึงเกิดจักขุวิญญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เพราะอาศัยจักษุและปฐวีธาตุ จึงเกิดจักขุวิญญาณใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่ว่า “เพราะอาศัยจักษุและปฐวีธาตุ จึงเกิดจักขุวิญญาณ” มี
อยู่จริงหรือ
ปร. ไม่มี

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๖๕/๒๒๐)
๒ เพราะมีความเห็นว่า มหาภูตรูป ๔ เป็นสภาวธรรมที่เห็นได้ด้วยตาเปล่า ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาที
ที่เห็นว่า ธาตุที่ไม่มีสี เห็นไม่ได้ ต้องมีสีเท่านั้นจึงจะเห็นได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๖๕/๒๒๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๙๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค] ๘. ปฐวีธาตุสนิทัสสนาติอาทิกถา (๖๐)
สก. พระสูตรที่ว่า “เพราะอาศัยจักษุและรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณ” มีอยู่ จริงใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากพระสูตรที่ว่า “เพราะอาศัยจักษุและรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณ” มีอยู่
จริง ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “เพราะอาศัยจักษุและปฐวีธาตุ จึงเกิดจักขุวิญญาณ”
[๔๖๖] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ปฐวีธาตุเป็นสภาวธรรมที่เห็นได้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ท่านเห็นแผ่นดิน แผ่นหิน ภูเขามิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากท่านเห็นแผ่นดิน แผ่นหิน ภูเขา ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“ปฐวีธาตุเป็นสภาวธรรมที่เห็นได้”
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “อาโปธาตุเป็นสภาวธรรมที่เห็นได้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ท่านเห็นน้ำมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากท่านเห็นน้ำได้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “อาโปธาตุเป็น
สภาวธรรมที่เห็นได้”
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “เตโชธาตุเป็นสภาวธรรมที่เห็นได้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ท่านเห็นไฟที่ลุกโพลงอยู่มิใช่หรือ
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๙๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค] ๙. จักขุนทริยังสนิทัสสนันติอาทิกถา (๖๑)
ปร. หากท่านเห็นไฟที่ลุกโพลงอยู่ได้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า เตโชธาตุ
เป็นสภาวธรรมที่เห็นได้”
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “วาโยธาตุเป็นสภาวธรรมที่เห็นได้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ท่านเห็นต้นไม้ที่ถูกลมพัดให้โยกโคลงอยู่มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากท่านเห็นต้นไม้ที่ถูกลมพัดให้โยกโคลงอยู่ได้ ดังนั้น ท่านจึงควร
ยอมรับว่า “วาโยธาตุเป็นสภาวธรรมที่เห็นได้”
ปฐวีธาตุสนิทัสสนาติอาทิกถา จบ

๙. จักขุนทริยังสนิทัสสนันติอาทิกถา (๖๑)
ว่าด้วยจักขุนทรีย์เป็นสภาวธรรมที่เห็นได้ เป็นต้น
[๔๖๗] สก. จักขุนทรีย์เป็นสภาวธรรมที่เห็นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักขุนทรีย์เป็นรูป เป็นรูปายตนะ เป็นรูปธาตุ ฯลฯ มาสู่คลองจักษุ
ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จักขุนทรีย์เป็นสภาวธรรมที่เห็นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะอาศัยจักษุและจักขุนทรีย์ จึงเกิดจักขุวิญญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๙๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค] ๙. จักขุนทริยังสนิทัสสนันติอาทิกถา (๖๑)
สก. เพราะอาศัยจักษุและจักขุนทรีย์ จึงเกิดจักขุวิญญาณใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่ว่า “เพราะอาศัยจักษุและจักขุนทรีย์ จึงเกิดจักขุวิญญาณ”
มีอยู่จริงหรือ
ปร. ไม่มี
สก. พระสูตรที่ว่า “เพราะอาศัยจักษุและรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณ” มีอยู่จริง
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากพระสูตรที่ว่า “เพราะอาศัยจักษุและรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณ”
มีอยู่จริง ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “เพราะอาศัยจักษุและจักขุนทรีย์ จึงเกิดจักขุ-
วิญญาณ”
[๔๖๘] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “อินทรีย์ ๕ เป็นสภาวธรรมที่เห็นได้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ท่านเห็นจักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กายมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากท่านเห็นจักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“อินทรีย์ ๕ เป็นสภาวธรรมที่เห็นได้”

จักขุนทริยังสนิทัสสนันติอาทิกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๙๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค] ๑๐. กายกัมมังสนิททัสสนันติกถา (๖๒)
๑๐. กายกัมมังสนิทัสสนันติกถา (๖๒)
ว่าด้วยกายกรรมเป็นสภาวธรรมที่เห็นได้
[๔๖๙] สก. กายกรรมเป็นสภาวธรรมที่เห็นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กายกรรม เป็นรูป เป็นรูปายตนะ เป็นรูปธาตุ เป็นสีเขียว สีเหลือง
สีแดง สีขาว เป็นวิสัยแห่งจักขุวิญญาณ กระทบที่จักษุ มาสู่คลองจักษุได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กายกรรมเป็นสภาวธรรมที่เห็นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะอาศัยจักษุและกายกรรม จึงเกิดจักขุวิญญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เพราะอาศัยจักษุและกายกรรม จึงเกิดจักขุวิญญาณใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่ว่า “เพราะอาศัยจักษุและกายกรรม จึงเกิดจักขุวิญญาณ”
มีอยู่จริงหรือ
ปร. ไม่มี
สก. พระสูตรที่ว่า “เพราะอาศัยจักษุและรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณ” มีอยู่
จริงใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากพระสูตรที่ว่า “เพราะอาศัยจักษุและรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณ” มีอยู่
จริง ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “เพราะอาศัยจักษุและกายกรรม จึงเกิดจักขุวิญญาณ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๙๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค] รวมกถาที่มีในวรรค
[๔๗๐] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “กายกรรมเป็นสภาวธรรมที่เห็นได้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ท่านเห็นผู้ก้าวไป ถอยกลับ แลดู มองดู คู้เข้า เหยียดออกมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากท่านเห็นผู้ก้าวไป ถอยกลับ แลดู มองดู คู้เข้า เหยียดออก ดังนั้น
ท่านก็ควรยอมรับว่า “กายกรรมเป็นสภาวธรรมที่เห็นได้”
กายกัมมังสนิทัสสนันติกถา จบ
เรื่องสุดท้ายพึงทราบว่า เริ่มต้นแต่ปฐวีสนิทัสสนะจนถึงกายกัมมสนิทัสสนะ
ฉัฏฐวรรค จบ

รวมกถาที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. นิยามกถา ๒. ปฏิจจสมุปปาทกถา
๓. สัจจกถา ๔. อารุปปกถา
๕. นิโรธสมาปัตติกถา ๖. อากาสกถา
๗. อากาโสสนิทัสสโนติกถา ๘. ปฐวีธาตุสนิทัสสนาติอาทิกถา
๙. จักขุนทริยังสนิทัสสนันติอาทิกถา ๑๐. กายกัมมังสนิทัสสนันติกถา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๐๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๑. สังคหิตกถา (๖๓)
๗. สัตตมวรรค
๑. สังคหิตกถา (๖๓)
ว่าด้วยสภาวธรรมที่สงเคราะห์เข้าได้
[๔๗๑] สก. สภาวธรรมบางเหล่าที่สงเคราะห์เข้าได้๑กับสภาวธรรมบางเหล่า
ไม่มีใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. สภาวธรรมบางเหล่าที่สงเคราะห์เข้าได้ จัดเข้าหัวข้อได้ นับเนื่องกับ
สภาวธรรมบางเหล่ามีอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากสภาวธรรมบางเหล่าที่สงเคราะห์เข้าได้ จัดเข้าหัวข้อได้ นับเนื่อง
กับสภาวธรรมบางเหล่ามีอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “สภาวธรรมบางเหล่าที่
สงเคราะห์เข้าได้กับสภาวธรรมบางเหล่าไม่มี”
สก. จักขายตนะสงเคราะห์เข้าในขันธ์ไหน
ปร. สงเคราะห์เข้าในรูปขันธ์
สก. หากจักขายตนะสงเคราะห์เข้าในรูปขันธ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“จักขายตนะสงเคราะห์เข้าได้กับรูปขันธ์”

เชิงอรรถ :
๑ สงเคราะห์เข้าได้ โดยทั่วไปเห็นว่า มีสภาวธรรมบางเหล่าที่สงเคราะห์เข้าได้และมีบางเหล่าที่สงเคราะห์เข้า
ไม่ได้ ดูรายละเอียดในธาตุกถา (แปล) ๓๖/๑/๑
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายราชคิริกะและนิกายสิทธัตถิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๗๑/๒๒๑)
๓ เพราะมีความเห็นว่า คำว่า สงเคราะห์ หมายถึงการรวมสภาวธรรมอย่างหนึ่งเข้ากับสภาวธรรมอีกอย่าง
หนึ่งให้เป็นอย่างเดียวกันตามรูปศัพท์จึงถือว่าทำไม่ได้ เพราะสภาวธรรมแต่ละอย่างมีลักษณะเป็นของ
ตนเองที่ไม่อาจจะเหมือนหรือเข้ากันได้กับสภาวธรรมอื่น เช่นเดียวกับการจับวัว ๒ ตัวมาร้อยเข้าด้วยกัน
ก็ไม่ชื่อว่าเป็นการสงเคราะห์เข้าด้วยกัน (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๗๑/๒๒๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๐๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๑. สังคหิตกถา (๖๓)
สก. โสตายตนะ ฯลฯ ฆานายตนะ ฯลฯ ชิวหายตนะ ฯลฯ กายายตนะ
สงเคราะห์เข้าในขันธ์ไหน
ปร. สงเคราะห์เข้าในรูปขันธ์
สก. หากกายายตนะสงเคราะห์เข้าในรูปขันธ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“กายายตนะสงเคราะห์เข้ากับรูปขันธ์”
สก. รูปายตนะ ฯลฯ สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ ฯลฯ รสายตนะ ฯลฯ
โผฏฐัพพายตนะสงเคราะห์เข้าในขันธ์ไหน
ปร. สงเคราะห์เข้าในรูปขันธ์
สก. หากโผฏฐัพพายตนะสงเคราะห์เข้าในรูปขันธ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอม
รับว่า “โผฏฐัพพายตนะสงเคราะห์เข้าได้กับรูปขันธ์”
สก. สุขเวทนาสงเคราะห์เข้าในขันธ์ไหน
ปร. สงเคราะห์เข้าในเวทนาขันธ์
สก. หากสุขเวทนาสงเคราะห์เข้าในเวทนาขันธ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“สุขเวทนาสงเคราะห์เข้าได้กับเวทนาขันธ์”
สก. ทุกขเวทนา ฯลฯ อทุกขมสุขเวทนาสงเคราะห์เข้าในขันธ์ไหน
ปร. สงเคราะห์เข้าในเวทนาขันธ์
สก. หากอทุกขมสุขเวทนาสงเคราะห์เข้าในเวทนาขันธ์ ดังนั้น ท่านจึง
ควรยอมรับว่า “อทุกขมสุขเวทนาสงเคราะห์เข้าได้กับเวทนาขันธ์”
สก. สัญญาที่เกิดจากจักขุสัมผัส สงเคราะห์เข้าในขันธ์ไหน
ปร. สงเคราะห์เข้าในสัญญาขันธ์
สก. หากสัญญาที่เกิดจากจักขุสัมผัสสงเคราะห์เข้าในสัญญาขันธ์ ดังนั้น
ท่านจึงควรยอมรับว่า “สัญญาที่เกิดจากจักขุสัมผัสสงเคราะห์เข้าได้กับสัญญาขันธ์”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๐๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๑. สังคหิตกถา (๖๓)
สก. สัญญาที่เกิดจากโสตสัมผัส ฯลฯ สัญญาที่เกิดจากมโนสัมผัสสงเคราะห์
เข้าในขันธ์ไหน
ปร. สงเคราะห์เข้าในสัญญาขันธ์
สก. หากสัญญาที่เกิดจากมโนสัมผัสสงเคราะห์เข้าในสัญญาขันธ์ ดังนั้น
ท่านจึงควรยอมรับว่า “สัญญาที่เกิดจากมโนสัมผัสสงเคราะห์เข้าได้กับสัญญาขันธ์”
สก. เจตนาที่เกิดจากจักขุสัมผัส ฯลฯ เจตนาที่เกิดจากมโนสัมผัสสงเคราะห์
เข้าในขันธ์ไหน
ปร. สงเคราะห์เข้าในสังขารขันธ์
สก. หากเจตนาที่เกิดจากมโนสัมผัสสงเคราะห์เข้าในสังขารขันธ์ ดังนั้น
ท่านจึงควรยอมรับว่า “เจตนาที่เกิดจากมโนสัมผัสสงเคราะห์เข้าได้กับสังขารขันธ์”
สก. จักขุวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ สงเคราะห์เข้าในขันธ์ไหน
ปร. สงเคราะห์เข้าในวิญญาณขันธ์
สก. หากมโนวิญญาณสงเคราะห์เข้าในวิญญาณขันธ์ ดังนั้น ท่านจึงควร
ยอมรับว่า “มโนวิญญาณสงเคราะห์เข้าได้กับวิญญาณขันธ์”
[๔๗๒] ปร. สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับสภาวธรรมเหล่านั้นเหมือน
อย่างคู่โคพลิพัทเขาร้อยไว้ด้วยสายทามหรือเชือก เหมือนบิณฑบาตเขาแขวนไว้
ด้วยสาแหรก หรือเหมือนสุนัขเขาผูกไว้ด้วยเชือกผูกสุนัข
สก. หากคู่โคพลิพัทเขาร้อยไว้ด้วยสายทามหรือเชือก บิณฑบาตแขวนไว้
ด้วยสาแหรก หรือสุนัขเขาผูกไว้ด้วยเชือกผูกสุนัข ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“สภาวธรรมบางเหล่าสงเคราะห์เข้าได้กับสภาวธรรมบางเหล่ามีอยู่”

สังคหิตกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๐๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๒. สัมปยุตตกถา (๖๔)
๒. สัมปยุตตกถา (๖๔)
ว่าด้วยสัมปยุตตธรรม
[๔๗๓] สก. สภาวธรรมบางเหล่าที่สัมปยุตด้วยสภาวธรรมบางเหล่าไม่มี
ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. สภาวธรรมบางเหล่าที่สหรคต เกิดร่วม ระคน เกิดพร้อมกัน ดับพร้อม
กัน มีวัตถุอย่างเดียวกัน มีอารมณ์อย่างเดียวกันกับสภาวธรรมบางเหล่ามีอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากสภาวธรรมบางเหล่าที่สหรคต เกิดร่วม ระคน เกิดพร้อมกัน ดับ
พร้อมกัน มีวัตถุอย่างเดียวกัน มีอารมณ์อย่างเดียวกันกับสภาวธรรมบางเหล่ามีอยู่
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “สภาวธรรมบางเหล่าที่สัมปยุตด้วยสภาวธรรมบางเหล่า
ไม่มี”
สก. เวทนาขันธ์เกิดร่วมกับสัญญาขันธ์ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากเวทนาขันธ์เกิดร่วมกับสัญญาขันธ์ได้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“เวทนาขันธ์สัมปยุตด้วยสัญญาขันธ์”
สก. เวทนาขันธ์เกิดร่วมกับสังขารขันธ์(และ)วิญญาณขันธ์ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากเวทนาขันธ์เกิดร่วมกับวิญญาณขันธ์ได้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“เวทนาขันธ์สัมปยุตด้วยวิญญาณขันธ์”

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายราชคิริกะและนิกายสิทธัตถิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๗๓/๒๒๒)
๒ เพราะมีความเห็นว่า เวทนาสัมปยุตด้วยนามธรรมไม่ได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๗๓/๒๒๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๐๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๓. เจตสิกกถา (๖๕)
สก. สัญญาขันธ์ ฯลฯ สังขารขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ เกิดร่วมกับ
เวทนาขันธ์ ฯลฯ สัญญาขันธ์ ฯลฯ สังขารขันธ์ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากวิญญาณขันธ์เกิดร่วมกับสังขารขันธ์ได้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“วิญญาณขันธ์สัมปยุตด้วยสังขารขันธ์”
[๔๗๔] ปร. สภาวธรรมเหล่านั้นแทรกซึมอยู่กับสภาวธรรมเหล่านั้น เหมือน
น้ำมันซึมซับอยู่ในเมล็ดงา น้ำอ้อยซึมซับอยู่ในต้นอ้อยใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สัมปยุตตกถา จบ

๓. เจตสิกกถา (๖๕)
ว่าด้วยเจตสิก
[๔๗๕] สก. สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกไม่มีใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. สภาวธรรมบางเหล่าที่สหรคต เกิดร่วม ระคน สัมปยุต เกิดพร้อมกัน
ดับพร้อมกัน มีวัตถุอย่างเดียวกัน มีอารมณ์อย่างเดียวกันกับจิตมีอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากสภาวธรรมบางเหล่าที่สหรคต เกิดร่วม ระคน สัมปยุต เกิด
พร้อมกัน ดับพร้อมกัน มีวัตถุอย่างเดียวกัน มีอารมณ์อย่างเดียวกันกับจิตมีอยู่
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกไม่มี”

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายราชคิริกะและนิกายสิทธัตถิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๗๕-๔๗๗/๒๒๓)
๒ เพราะมีความเห็นว่า ไม่สามารถจะแยกสภาวธรรมที่เรียกว่า เจตสิกออกจากจิตได้ จึงถือว่าไม่มีเจตสิก
อยู่จริง (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๗๕-๔๗๗/๒๒๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๐๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๓. เจตสิกกถา (๖๕)
สก. ผัสสะเกิดร่วมกับจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากผัสสะเกิดร่วมกับจิต ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “ผัสสะเป็นเจตสิก”
สก. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ สัทธา ฯลฯ วิริยะ ฯลฯ
สติ ฯลฯ สมาธิ ฯลฯ ปัญญา ฯลฯ ราคะ ฯลฯ โทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ อโนตตัปปะ
เกิดร่วมกับจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากอโนตตัปปะเกิดร่วมกับจิต ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“อโนตตัปปะเป็นเจตสิก”
[๔๗๖] ปร. เพราะท่านเข้าใจว่า “สภาวธรรมเกิดร่วมกับจิต” จึงยอมรับว่า
“สภาวธรรมเป็นเจตสิก” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. เพราะท่านเข้าใจว่า “สภาวธรรมเกิดร่วมกับผัสสะ” จึงยอมรับว่า
“สภาวธรรมเป็นผัสสิกะ” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. เพราะท่านเข้าใจว่า “สภาวธรรมเกิดร่วมกับจิต” จึงยอมรับว่า
“สภาวธรรมเป็นเจตสิก” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. เพราะท่านเข้าใจว่า “สภาวธรรมเกิดร่วมกับเวทนา ฯลฯ เกิดร่วมกับ
สัญญา ฯลฯ เกิดร่วมกับเจตนา ฯลฯ เกิดร่วมกับสัทธา ฯลฯ เกิดร่วมกับวิริยะ
ฯลฯ เกิดร่วมกับสติ ฯลฯ เกิดร่วมกับสมาธิ ฯลฯ เกิดร่วมกับปัญญา ฯลฯ
เกิดร่วมกับราคะ ฯลฯ เกิดร่วมกับโทสะ ฯลฯ เกิดร่วมกับโมหะ ฯลฯ เกิดร่วม
กับอโนตตัปปะ” จึงยอมรับว่า “สภาวธรรมเป็นอโนตตัปปาสิกะ” ใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๐๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๓. เจตสิกกถา (๖๕)
[๔๗๗] สก. สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“จิตนี้และสภาวธรรมที่เป็นเจตสิก
ย่อมปรากฏแก่ผู้รู้แจ้งชัดแล้วโดยความเป็นอนัตตา
ครั้นรู้ชัดสภาวธรรมทั้ง ๒ นั้น ทั้งที่หยาบและประณีต
จึงเป็นผู้มีความเห็นโดยชอบ ทราบชัดว่า มีความแตกดับเป็นธรรมดา”
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกจึงมีอยู่
สก. สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “เกวัฏฏะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อม
ทายจิต ทายเจตสิก ทายวิตกวิจาร ของสัตว์อื่น ๆ ของบุคคลอื่น ๆ ว่า ใจของ
ท่านเป็นอย่างนี้ ใจของท่านเป็นไปโดยอาการอย่างนี้ ความคิดของท่านเป็นดังนี้”๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกจึงมีอยู่

เจตสิกกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ที.ปา. (แปล) ๑๑/๑๔๘/๑๐๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๐๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๔. ทานกถา (๖๖)
๔. ทานกถา (๖๖)
ว่าด้วยทาน๑
[๔๗๘] สก. สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกเป็นทานได้ใช่ไหม
ปร.๒ ใช่
สก. จะให้สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกแก่คนอื่น ๆ ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จะให้สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกแก่คนอื่น ๆ ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จะให้ผัสสะแก่คนอื่น ๆ ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จะให้เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ สัทธา ฯลฯ วิริยะ ฯลฯ
สติ ฯลฯ สมาธิ ฯลฯ ปัญญา แก่คนอื่น ๆ ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๗๙] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกเป็นทานได้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ทานมีผลไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ มีผลเร่าร้อน มีทุกข์
เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบากใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ทาน โดยทั่วไปมี ๓ อย่าง คือ (๑) จาคเจตนา (เจตนาเป็นเหตุบริจาค) (๒) วิรัติ (การงดเว้น) (๓) ไทยธรรม
(การให้สิ่งของ) ทาน ๓ ประการนี้ย่นลงเป็น ๒ คือ (๑) เจตสิกธรรม (จาคเจตนาและวิรัติ) (๒) ไทยธรรม
ซึ่งฝ่ายปรวาทีมีความเห็นว่า เจตสิกธรรมเท่านั้น เรียกว่าทาน ส่วนไทยธรรมไม่เรียกว่า ทาน (อภิ.ปญฺจ.อ.
๔๗๘/๒๒๓)
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายราชคิริกะและนิกายสิทธัตถิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๗๘/๒๒๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๐๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๔. ทานกถา (๖๖)
ปร. ทานมีผลน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ มีผลเยือกเย็น มีสุขเป็นกำไร
มีสุขเป็นวิบากมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากทานมีผลน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ มีผลเยือกเย็น มีสุขเป็น
กำไร มีสุขเป็นวิบาก ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกเป็น
ทานได้”
สก. ทาน พระผู้มีพระภาคตรัสว่ามีผลน่าปรารถนา จีวรเป็นทาน ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จีวรมีผลน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ มีผลเยือกเย็น มีสุขเป็นกำไร
มีสุขเป็นวิบากใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ทาน พระผู้มีพระภาคตรัสว่ามีผลน่าปรารถนา บิณฑบาต เสนาสนะ
คิลานปัจจัยเภสัชบริขารเป็นทาน ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. คิลานปัจจัยเภสัชบริขารมีผลน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ มีผล
เยือกเย็น มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบากใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๘๐] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกเป็นทานได้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“ธรรมเหล่านี้ คือ ศรัทธา หิริ
และทานที่เป็นกุศล อันสัตบุรุษดำเนินตามแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๐๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๔. ทานกถา (๖๖)
สัตบุรุษทั้งหลายกล่าวว่าธรรม ๓ ประการนี้
เป็นทางไปสู่เทวโลก
เพราะธรรม ๓ ประการนี้แล บุคคลจึงไปสู่เทวโลกได้” ๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกจึงเป็นทานได้
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกเป็นทานได้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทาน ๕ ประการนี้
เป็นมหาทานที่รู้กันว่าล้ำเลิศ รู้กันมานาน รู้กันว่าเป็นอริยวงศ์ เป็นของเก่า ใน
อดีตไม่ถูกลบล้างแล้ว ไม่เคยถูกลบล้าง ในปัจจุบันไม่ถูกลบล้าง ในอนาคตก็จัก
ไม่ถูกลบล้าง ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้คัดค้าน ทาน ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ อริยสาวก
ผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์แล้ว ชื่อว่าให้ความไม่มีภัย ให้ความไม่มี
เวร ให้ความไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย ไม่มีประมาณ ย่อมเป็น
ผู้มีส่วนแห่งความไม่มีภัย ความไม่มีเวร ความไม่เบียดเบียนอัน
ไม่มีประมาณ นี้เป็นทานประการที่ ๑ เป็นมหาทาน ที่รู้กันว่าล้ำเลิศ
รู้กันมานาน รู้กันว่าเป็นอริยวงศ์ เป็นของเก่า ในอดีตไม่ถูกลบ
ล้างแล้ว ไม่เคยถูกลบล้าง ในปัจจุบันไม่ถูกลบล้าง ในอนาคตก็
จักไม่ถูกลบล้าง ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้คัดค้าน
๒. อริยสาวกเป็นผู้ละเว้นขาดจากการลักทรัพย์ ฯลฯ
๓. อริยสาวกเป็นผู้ละเว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม ฯลฯ
๔. อริยสาวกเป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดเท็จ ฯลฯ
๕. อริยสาวกเป็นผู้ละเว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัย
อันเป็นเหตุแห่งความประมาท อริยสาวกผู้เว้นขาดจากการเสพ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.อฏฺฐก. (แปล) ๒๓/๓๒/๒๘๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๑๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๔. ทานกถา (๖๖)
ของมึนเมาคือสุราและเมรัย อันเป็นเหตุแห่งความประมาท ชื่อว่า
ให้ความไม่มีภัย ให้ความไม่มีเวร ให้ความไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้ง
หลายไม่มีประมาณ นี้เป็นทาน ประการที่ ๕ เป็นมหาทาน ที่รู้
กันว่าล้ำเลิศ รู้กันมานาน รู้กันว่า เป็นอริยวงศ์ เป็นของเก่า ใน
อดีตไม่ถูกลบล้างแล้ว ไม่เคยถูกลบล้าง ในปัจจุบันไม่ถูกลบล้าง
ในอนาคตก็จักไม่ถูกลบล้าง ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้คัดค้าน
ภิกษุทั้งหลาย ทาน ๕ ประการนี้ จัดเป็นมหาทาน ที่รู้กันว่าล้ำเลิศ รู้กัน
มานาน รู้กันว่าเป็นอริยวงศ์ เป็นของเก่า ในอดีตไม่ถูกลบล้างแล้ว ไม่เคยถูกลบล้าง
ในปัจจุบันไม่ถูกลบล้าง ในอนาคตก็จักไม่ถูกลบล้าง ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้คัดค้าน”๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกจึงเป็นทาน
[๔๘๑] สก. ท่านไม่ยอมรับว่า “ไทยธรรมเป็นทานได้” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมให้ข้าว
น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก เครื่องประทีป” มีอยู่จริง
มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ไทยธรรมจึงเป็นทานได้
[๔๘๒] ปร. ไทยธรรมเป็นทานได้ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ไทยธรรมมีผลน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ มีผลเยือกเย็น มีสุข
เป็นกำไร มีสุขเป็นวิบากใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ทาน พระผู้มีพระภาคตรัสว่ามีผลน่าปรารถนา จีวรเป็นทาน ใช่ไหม
สก. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.อฏฺฐก. (แปล) ๒๓/๓๙/๓๐๐-๓๐๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๑๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๕. ปริโภคมยปุญญกถา (๖๗)
ปร. จีวรมีผลที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ มีผลเยือกเย็น มีสุขเป็นกำไร
มีสุขเป็นวิบากใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ทาน พระผู้มีพระภาคตรัสว่ามีผลน่าปรารถนา บิณฑบาต เสนาสนะ
คิลานปัจจัยเภสัชบริขารเป็นทานใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. คิลานปัจจัยเภสัชบริขารมีผลน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ มีผล
เยือกเย็น มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบากใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ไทยธรรมเป็นทานได้”
ทานกถา จบ

๕. ปริโภคมยปุญญกถา (๖๗)
ว่าด้วยบุญสำเร็จด้วยการบริโภค
[๔๘๓] สก. บุญที่สำเร็จด้วยการบริโภค๑ เจริญได้ใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา
ที่สำเร็จด้วยการบริโภค เจริญได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุญที่สำเร็จด้วยการบริโภค เจริญได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ บุญที่สำเร็จด้วยการบริโภค ในที่นี้หมายถึงบุญที่เกิดจากวัตถุทานที่ผู้รับ (ปฏิคาหก) นำไปใช้สอย (อภิ.ปญฺจ.อ.
๔๘๓/๒๒๔-๒๒๕)
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายราชคิริกะและนิกายสิทธัตถิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๘๓/๒๒๕)
๓ เพราะมีความเห็นว่า วัตถุทานที่ผู้รับนำไปใช้สอยเท่านั้นจึงเกิดบุญ ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า
บุญเกิดจากจาคเจตนาใน ๓ กาล คือ (๑) ปุริมเจตนา (เจตนาก่อนให้) (๒) มุญจนเจตนา (เจตนากำลังให้)
(๓) อปราปรเจตนา (เจตนาหลังจากให้แล้ว) โดยไม่คำนึงถึงว่าจะใช้สอยวัตถุทานนั้นหรือไม่ (อภิ.ปญฺจ.อ.
๔๘๓/๒๒๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๑๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๕. ปริโภคมยปุญญกถา (๖๗)
สก. เจริญได้เหมือนเถาวัลย์ เหมือนเถาย่านทราย เหมือนต้นไม้ เหมือนหญ้า
เหมือนกองหญ้าปล้องใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๘๔] สก. บุญที่สำเร็จด้วยการบริโภค เจริญได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทายกถวายทานแล้วไม่ใฝ่ใจ ทานนั้นเป็นบุญใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทานของผู้ไม่นึกถึง ผู้ไม่ขวนขวาย ผู้ไม่สนใจ ผู้ไม่ใฝ่ใจ ผู้ไม่จงใจ ผู้
ไม่ต้องการ ผู้ไม่ปรารถนา เป็นบุญใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ทานของผู้นึกถึง ผู้ขวนขวาย ผู้สนใจ ผู้ใฝ่ใจ ผู้จงใจ ผู้ต้องการ ผู้
ปรารถนา เป็นบุญมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากทานของผู้นึกถึง ผู้ขวนขวาย ผู้สนใจ ผู้ใฝ่ใจ ผู้จงใจ
ผู้ต้องการ ผู้ปรารถนา เป็นบุญ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุญที่สำเร็จด้วยการ
บริโภคเจริญได้”
[๔๘๕] สก. บุญที่สำเร็จด้วยการบริโภค เจริญได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทายกถวายทานแล้ว ตรึกถึงกามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก
ทานนั้นเป็นบุญใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๑๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๕. ปริโภคมยปุญญกถา (๖๗)
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง ฯลฯ จิต ๒ ดวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง ฯลฯ จิต ๒ ดวงใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ที่มีโทษและไม่มีโทษ ที่เลวและ
ประณีต ที่เป็นฝ่ายดำ เป็นฝ่ายขาวและเป็นฝ่ายมีส่วนเปรียบ มาประชุมกันได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมทั้งที่เป็นกุศลและอกุศล ที่มีโทษและไม่มีโทษ ที่เลวและ
ประณีต ที่เป็นฝ่ายดำ เป็นฝ่ายขาวและเป็นฝ่ายมีส่วนเปรียบ มาประชุมกันได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่อยู่ห่างไกล
กันเหลือเกิน ๔ อย่างนี้
สิ่งที่อยู่ห่างไกลกันเหลือเกิน ๔ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ท้องฟ้ากับแผ่นดิน นี้เป็นสิ่งที่อยู่ห่างไกลกันเหลือเกินอย่างที่ ๑
๒. ฝั่งนี้กับฝั่งโน้นของทะเล นี้เป็นสิ่งที่อยู่ห่างไกลกันเหลือเกินอย่าง
ที่ ๒
๓. จุดที่ดวงอาทิตย์ขึ้นกับจุดที่ดวงอาทิตย์ตก นี้เป็นสิ่งที่อยู่ห่างไกล
กันเหลือเกินอย่างที่ ๓
๔. ธรรมของสัตบุรุษ(คนดี)กับธรรมของอสัตบุรุษ(คนชั่ว) นี้เป็นสิ่งที่
อยู่ห่างไกลกันเหลือเกินอย่างที่ ๔
ภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่อยู่ห่างไกลกันเหลือเกิน ๔ อย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๑๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๕. ปริโภคมยปุญญกถา (๖๗)
นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่า
ฟ้ากับดินอยู่ไกลกัน
ฝั่ง (ทั้ง ๒) ของทะเลอยู่ไกลกัน
จุดที่ดวงอาทิตย์ขึ้นและตกก็อยู่ไกลกัน
บัณฑิตกล่าวว่า ธรรมของสัตบุรุษ
กับธรรมของอสัตบุรุษอยู่ไกลกันยิ่งกว่านั้น
สมาคมของสัตบุรุษยั่งยืนนาน
ดำรงอยู่ตราบนานเท่านาน
ส่วนสมาคมของอสัตบุรุษย่อมจืดจางเร็ว
เพราะฉะนั้น ธรรมของสัตบุรุษ
จึงห่างไกลกันกับธรรมของอสัตบุรุษ” ๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ที่
มีโทษและไม่มีโทษ ที่เลวและประณีต ที่เป็นฝ่ายดำ เป็นฝ่ายขาวและเป็นฝ่ายมี
ส่วนเปรียบ มาประชุมกันได้”
[๔๘๖] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุญที่สำเร็จด้วยการบริโภค เจริญได้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“ชนเหล่าใดปลูกสวนอันรื่นรมย์ ปลูกป่า สร้างสะพาน
ขุดสระน้ำ บ่อน้ำ และให้ที่พักอาศัย
บุญย่อมเจริญแก่ชนเหล่านั้น

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๔๗/๗๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๑๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๕. ปริโภคมยปุญญกถา (๖๗)
ทั้งกลางวันและกลางคืน
ชนเหล่านั้นดำรงอยู่ในธรรม
สมบูรณ์ด้วยศีลแล้วย่อมเป็นผู้ไปสู่สวรรค์๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น บุญที่สำเร็จด้วยการบริโภคจึงเจริญได้
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุญที่สำเร็จด้วยการบริโภค เจริญได้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญกุศล๒ ๔
ประการนี้ นำสุขมาให้ เป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดี มีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์
เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ห้วงบุญกุศล ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุใช้สอยจีวรของทายกใด บรรลุเจโตสมาธิที่ประมาณไม่ได้อยู่
ห้วงบุญกุศลของทายกนั้นประมาณไม่ได้ นำสุขมาให้ เป็นไปเพื่อให้
ได้อารมณ์ดี มีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อ
สุขที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
๒. ภิกษุฉันบิณฑบาตของทายกใด ฯลฯ
๓. ภิกษุใช้สอยเสนาสนะของทายกใด ฯลฯ
๔. ภิกษุบริโภคคิลานปัจจัยเภสัชบริขารของทายกใด บรรลุเจโตสมาธิ
ที่ประมาณไม่ได้อยู่ ห้วงบุญกุศลของทายกนั้นหาประมาณไม่ได้
นำสุขมาให้ เป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดี มีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์
เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ สํ.ส. (แปล) ๑๕/๔๗/๕๖
๒ ห้วงบุญกุศล ในที่นี้หมายถึงผลวิบากที่เกิดขึ้นแห่งบุญกุศลซึ่งหลั่งไหลนำสุขมาให้ผู้บำเพ็ญไม่ขาดสาย
(องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๕๑/๓๔๘, องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๕๑/๓๘๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๑๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๕. ปริโภคมยปุญญกถา (๖๗)
ภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญกุศล ๔ ประการนี้แล นำสุขมาให้ เป็นไปเพื่อให้ได้
อารมณ์ดี มีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขที่น่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ”๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น บุญที่สำเร็จด้วยการบริโภค จึงเจริญได้
[๔๘๗] สก. บุญที่สำเร็จด้วยการบริโภค เจริญได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทายกถวายทาน ปฏิคาหกรับทานแล้วไม่บริโภค ทิ้งเสีย สละเสีย
ทานนั้นเป็นบุญใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากทายกถวายทาน ปฏิคาหกรับทานแล้วไม่บริโภค ทิ้งเสีย สละเสีย
ทานนั้นเป็นบุญ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุญที่สำเร็จด้วยการบริโภค เจริญได้”
สก. บุญที่สำเร็จด้วยการบริโภค เจริญได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทายกถวายทาน เมื่อปฏิคาหกรับทานแล้ว พระราชาทรงริบไปเสีย
โจรลักไป ไฟไหม้ น้ำพัดไป หรือทายาทผู้ไม่เป็นที่รักกันนำไปเสีย ทานนั้นเป็น
บุญใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากทายกถวายทาน เมื่อปฏิคาหกรับทานแล้ว พระราชาทรงริบไปเสีย
โจรลักไป ไฟไหม้ น้ำพัดไป หรือทายาทผู้ไม่เป็นที่รักกันนำไปเสีย ทานนั้นเป็นบุญ
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุญที่สำเร็จด้วยการบริโภค เจริญได้”

ปริโภคมยปุญญกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๕๑-๕๒/๘๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๑๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๖. อิโตทินนกถา (๖๘)
๖. อิโตทินนกถา (๖๘)
ว่าด้วยทานที่บุคคลอุทิศให้จากโลกนี้
[๔๘๘] สก. เปรตทั้งหลายดำรงชีพในเปตโลกนั้น ด้วยทานที่บุคคลอุทิศให้
จากโลกนี้ได้ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. ในเปตโลกนั้น เปรตทั้งหลายใช้สอยจีวรที่บุคคลอุทิศให้จากโลกนี้ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในเปตโลกนั้น เปรตทั้งหลายบริโภคบิณฑบาต เสนาสนะ คิลาน-
ปัจจัยเภสัชบริขาร ของขบเคี้ยว ของกิน ของดื่ม ที่บุคคลอุทิศให้จากโลกนี้ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เปรตทั้งหลายดำรงชีพในเปตโลกนั้น ด้วยทานที่บุคคลอุทิศให้จากโลกนี้
ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลหนึ่งกระทำให้อีกบุคคลหนึ่ง สุขและทุกข์มีผู้อื่นเป็นตัวการ บุคคล
หนึ่งกระทำ อีกบุคคลหนึ่งเสวยใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๘๙] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “เปรตทั้งหลายดำรงชีพในเปตโลกนั้น ด้วย
ทานที่บุคคลอุทิศให้จากโลกนี้ได้” ใช่ไหม
สก. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายราชคิริกะและนิกายสิทธัตถิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๘๘/๒๒๖)
๒ เพราะมีความเห็นว่า เปรตทั้งหลายสามารถรับสิ่งของที่บุคคลให้จากโลกนี้ได้โดยตรง (อภิ.ปญฺจ.อ.
๔๘๘/๒๒๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๑๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๖. อิโตทินนกถา (๖๘)
ปร. เปรตทั้งหลายอนุโมทนาทานที่เขาอุทิศให้เพื่อประโยชน์แก่ตน ทำจิตให้
เลื่อมใส ให้เกิดปีติ ได้โสมนัสมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากเปรตทั้งหลายอนุโมทนาทานที่เขาอุทิศให้เพื่อประโยชน์แก่ตน ทำจิต
ให้เลื่อมใส ให้เกิดปีติ ได้โสมนัส ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “เปรตทั้งหลาย
ดำรงชีพในเปตโลกนั้น ด้วยทานที่บุคคลอุทิศให้จากโลกนี้ได้”
[๔๙๐] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “เปรตทั้งหลายดำรงชีพในเปตโลกนั้นด้วยทาน
ที่บุคคลอุทิศให้จากโลกนี้ได้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“ฝนที่ตกลงบนที่ดอน ย่อมไหลไปสู่ที่ลุ่ม ฉันใด
ทานที่ทายกอุทิศให้จากมนุษยโลกนี้
ย่อมสำเร็จผลแน่นอนแก่พวกเปรต ฉันนั้นเหมือนกัน
ห้วงน้ำที่เต็มย่อมยังสมุทรสาครให้เต็มเปี่ยม ฉันใด
ทานที่ทายกอุทิศให้จากมนุษยโลกนี้
ย่อมสำเร็จผลแน่นอนแก่พวกเปรต ฉันนั้นเหมือนกัน
ในเปตวิสัย๑ นั้น ไม่มีกสิกรรม โครักขกรรม
พาณิชกรรมเช่นนั้น(และ)การแลกเปลี่ยนซื้อขายด้วยเงิน
ผู้ที่ตายไปเกิดเป็นเปรตในเปตวิสัยนั้น
ดำรงชีพด้วยผลทานที่พวกญาติอุทิศให้จากมนุษยโลกนี้” ๒
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น เปรตทั้งหลายจึงดำรงชีพในเปตโลกนั้น ด้วยทานที่บุคคลอุทิศ
ให้จากโลกนี้ได้

เชิงอรรถ :
๑ เปตวิสัย หมายถึงภูมิหรือกำเนิดแห่งเปรต (ขุ.ขุ.อ. ๗/๑๘๘)
๒ ดูเทียบ ขุ.ขุ. (แปล) ๒๕/๗-๘/๑๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๑๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๖. อิโตทินนกถา (๖๘)
[๔๙๑] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “เปรตทั้งหลายดำรงชีพในเปตโลกนั้น ด้วย
ทานที่บุคคลอุทิศให้จากโลกนี้ได้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย มารดาบิดาเมื่อ
เห็นฐานะ ๕ ประการนี้ จึงปรารถนาบุตรผู้เกิดในตระกูล
ฐานะ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. บุตรที่เราเลี้ยงมาแล้วจักเลี้ยงเรา
๒. บุตรจักช่วยทำกิจของเรา
๓. วงศ์ตระกูลจักดำรงอยู่ได้นาน
๔. บุตรจักปฏิบัติตนให้สมควรรับทรัพย์มรดกไว้
๕. เมื่อเราทั้งสองตายไป บุตรจักทำบุญอุทิศให้
ภิกษุทั้งหลาย มารดาบิดาเมื่อเห็นฐานะ ๕ ประการนี้แล จึงปรารถนาบุตร
ผู้เกิดในตระกูล
มารดาบิดาผู้ฉลาด
เมื่อเห็นฐานะ ๕ ประการจึงปรารถนาบุตร
ด้วยหวังว่า บุตรที่เราเลี้ยงแล้วจักเลี้ยงเรา
จักช่วยทำกิจของเรา
วงศ์ตระกูลจักดำรงอยู่ได้นาน
จักปฏิบัติตนให้สมควรแก่การรับทรัพย์มรดก
และเมื่อเราทั้งสองตายแล้วจักทำบุญอุทิศให้
มารดาบิดาผู้ฉลาด
เมื่อเห็นฐานะเหล่านี้ จึงปรารถนาบุตร
เพราะฉะนั้น บุตรผู้เป็นสัตบุรุษ ผู้สงบ
เป็นกตัญญูกตเวทีบุคคล
เมื่อระลึกถึงคุณท่านที่ทำไว้ต่อเราก่อน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๒๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๗. ปฐวีกัมมวิปาโกติกถา (๖๙)
จึงเลี้ยงมารดาบิดา ช่วยทำกิจของท่าน
เชื่อฟังโอวาท ตอบสนองพระคุณท่าน
ดำรงวงศ์ตระกูลสมกับที่ท่านเป็นบุพการี
บุตรผู้มีศรัทธา สมบูรณ์ด้วยศีล
ย่อมเป็นที่สรรเสริญ” ๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น เปรตทั้งหลายชื่อว่าย่อมดำรงชีพในเปตโลกนั้น ด้วยทานที่
บุคคลอุทิศให้จากโลกนี้ได้
อิโตทินนกถา จบ

๗. ปฐวีกัมมวิปาโกติกถา (๖๙)
ว่าด้วยแผ่นดินเป็นกรรมวิบาก
[๔๙๒] สก. แผ่นดินเป็นกรรมวิบากใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. แผ่นดินมีสุขเวทนา มีทุกขเวทนา มีอทุกขมสุขเวทนา สัมปยุตด้วย
สุขเวทนา สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา สัมปยุตด้วยผัสสะ
สัมปยุตด้วยเวทนา สัมปยุตด้วยสัญญา สัมปยุตด้วยเจตนา สัมปยุตด้วยจิต รับรู้
อารมณ์ได้ มีความนึกถึง มีความผูกใจ มีความสนใจ มีความใฝ่ใจ มีความจงใจ
มีความปรารถนา มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๓๙/๖๐-๖๑
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๙๒/๒๒๗)
๓ เพราะมีความเห็นว่า แผ่นดิน มหาสมุทร เป็นต้น เป็นผลแห่งกรรม (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๙๒/๒๒๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๒๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๗. ปฐวีกัมมวิปาโกติกถา (๖๙)
สก. แผ่นดินไม่มีสุขเวทนา ไม่มีทุกขเวทนา ไม่มีอทุกขมสุขเวทนา ไม่สัมปยุต
ด้วยสุขเวทนา ไม่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา ไม่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา
ไม่สัมปยุตด้วยผัสสะ ไม่สัมปยุตด้วยเวทนา ไม่สัมปยุตด้วยสัญญา ไม่สัมปยุต
ด้วยเจตนา ไม่สัมปยุตด้วยจิต รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ไม่มีความผูกใจ
ไม่มีความสนใจ ไม่มีความใฝ่ใจ ไม่มีความปรารถนา ไม่มีความตั้งใจ มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากแผ่นดินไม่มีสุขเวทนา ไม่มีทุกขเวทนา ฯลฯ รับรู้อารมณ์ไม่ได้
ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า แผ่นดินเป็นกรรม
วิบาก”
สก. ผัสสะเป็นกรรมวิบาก ผัสสะมีสุขเวทนา มีทุกขเวทนา มีอทุกขมสุข-
เวทนา สัมปยุตด้วยสุขเวทนา สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา ฯลฯ สัมปยุตด้วยอทุกขม-
สุขเวทนา สัมปยุตด้วยผัสสะ สัมปยุตด้วยเวทนา สัมปยุตด้วยสัญญา สัมปยุตด้วย
เจตนา สัมปยุตด้วยจิต รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. แผ่นดินเป็นกรรมวิบาก แผ่นดินมีสุขเวทนา มีทุกขเวทนา มีอทุกขม-
สุขเวทนา สัมปยุตด้วยสุขเวทนา สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา สัมปยุตด้วยอทุกขมสุข-
เวทนา สัมปยุตด้วยผัสสะ สัมปยุตด้วยเวทนา สัมปยุตด้วยสัญญา สัมปยุตด้วย
เจตนา สัมปยุตด้วยจิต รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง มีความผูกใจ มีความสนใจ
มีความใฝ่ใจ มีความจงใจ มีความปรารถนา มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. แผ่นดินเป็นกรรมวิบาก (ทั้ง ๆ ที่)แผ่นดินไม่มีสุขเวทนา ไม่มีทุกขเวทนา
ฯลฯ รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๒๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๗. ปฐวีกัมมวิปาโกติกถา (๖๙)
สก. ผัสสะเป็นกรรมวิบาก (ทั้ง ๆ ที่)ผัสสะไม่มีสุขเวทนา ไม่มีทุกขเวทนา
ฯลฯ รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. แผ่นดิน เป็นกรรมวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. แผ่นดิน เข้าถึงการยกย่องและการลงโทษ เข้าถึงการตัดและการทำลาย
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กรรมวิบาก เข้าถึงการยกย่องและการลงโทษ เข้าถึงการตัดและการ
ทำลาย ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. แผ่นดิน บุคคลจะซื้อ จะขาย จะจำนอง จะรวบรวม จะสั่งสมได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กรรมวิบาก บุคคลจะซื้อ จะขาย จะจำนอง จะรวบรวม จะสั่งสมได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๙๓] สก. แผ่นดินเป็นสมบัติทั่วไปแก่คนเหล่าอื่นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กรรมวิบาก เป็นสมบัติทั่วไปแก่คนเหล่าอื่นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กรรมวิบาก เป็นสมบัติทั่วไปแก่คนเหล่าอื่นใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๒๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๗. ปฐวีกัมมวิปาโกติกถา (๖๙)
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“ขุมทรัพย์คือบุญไม่ทั่วไปแก่คนอื่น โจรลักไปไม่ได้
สัตว์ผู้จะต้องตายเป็นธรรมดาพึงทำบุญ
ผู้นั้นแลพึงประพฤติสุจริต” ๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “กรรมวิบากเป็นสมบัติทั่วไปแก่คนอื่น”
สก. แผ่นดินเป็นกรรมวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. แผ่นดินเกิดขึ้นก่อน สัตว์ทั้งหลายจึงเกิดขึ้นในภายหลังใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิบากเกิดขึ้นก่อน สัตว์ทั้งหลายจึงทำกรรมเพื่อวิบากในภายหลังใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. แผ่นดินเป็นกรรมวิบากของสรรพสัตว์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สรรพสัตว์อาศัยแผ่นดินใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สรรพสัตว์อาศัยแผ่นดินใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัตว์บางพวกอาศัยแผ่นดินแล้วปรินิพพานมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ขุ.ขุ. (แปล) ๒๕/๙/๑๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๒๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๗. ปฐวีกัมมวิปาโกติกถา (๖๙)
สก. สัตว์บางพวกใช้กรรมวิบากยังไม่หมดสิ้นแล้วปรินิพพานมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. แผ่นดินเป็นกรรมวิบากของพระเจ้าจักรพรรดิใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัตว์เหล่าอื่นก็อาศัยแผ่นดินใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัตว์เหล่าอื่นอาศัยกรรมวิบากของพระเจ้าจักรพรรดิใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัตว์เหล่าอื่นอาศัยกรรมวิบากของพระเจ้าจักรพรรดิใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัตว์เหล่าอื่นอาศัยผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต สัทธา วิริยะ
สติ สมาธิ ปัญญา ของพระเจ้าจักรพรรดิใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๙๔] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “แผ่นดินเป็นกรรมวิบาก” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. กรรมที่เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีอำนาจ กรรมที่เป็นไปเพื่อความเป็น
ใหญ่ในแผ่นดินมีอยู่มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากกรรมที่เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีอำนาจ กรรมที่เป็นไปเพื่อความ
เป็นใหญ่มีอยู่ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “แผ่นดินเป็นกรรมวิบาก”

ปฐวีกัมมวิปาโกติกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๒๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๘. ชรามรณังวิปาโกติกถา (๗๐)
๘. ชรามรณังวิปาโกติกถา (๗๐)
ว่าด้วยชรามรณะเป็นวิบาก
[๔๙๕] สก. ชรามรณะเป็นวิบากใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. ชรามรณะมีสุขเวทนา มีทุกขเวทนา มีอทุกขมสุขเวทนา สัมปยุตด้วย
สุขเวทนา สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา สัมปยุตด้วยผัสสะ
สัมปยุตด้วยเวทนา สัมปยุตด้วยสัญญา สัมปยุตด้วยเจตนา สัมปยุตด้วยจิต รับรู้
อารมณ์ได้ มีความนึกถึง มีความผูกใจ มีความสนใจ มีความใฝ่ใจ มีความจงใจ
มีความปรารถนา มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ชรามรณะไม่มีสุขเวทนา ไม่มีทุกขเวทนา ฯลฯ รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มี
ความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากชรามรณะไม่มีสุขเวทนา ไม่มีทุกขเวทนา ฯลฯ รับรู้อารมณ์ไม่ได้
ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ชรามรณะเป็น
วิบาก”
สก. ผัสสะเป็นวิบาก ผัสสะมีสุขเวทนา มีทุกขเวทนา ฯลฯ รับรู้อารมณ์ได้
มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชรามรณะเป็นวิบาก ชรามรณะมีสุขเวทนา มีทุกขเวทนา ฯลฯ รับรู้
อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๙๕-๔๙๗/๒๒๘-๒๒๙)
๒ เพราะมีความเห็นว่า ชรามรณะเป็นผลแห่งกรรม ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า ชรามรณะ
มิได้เกิดจากกรรม แต่เป็นธัมมนิยาม คือเป็นไปเองตามสภาวะ มิใช่เกิดจากการกระทำของผู้ใด (อภิ.ปญฺจ.อ.
๔๙๕-๔๙๗/๒๒๘-๒๒๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๒๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๘. ชรามรณังวิปาโกติกถา (๗๐)
สก. ชรามรณะเป็นวิบาก ชรามรณะไม่มีสุขเวทนา ไม่มีทุกขเวทนา ฯลฯ
รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ผัสสะเป็นวิบาก ผัสสะไม่มีสุขเวทนา ไม่มีทุกขเวทนา ฯลฯ รับรู้
อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๙๖] สก. ชรามรณะแห่งสภาวธรรมที่เป็นอกุศล ก็เป็นวิบากแห่งสภาว-
ธรรมที่เป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชรามรณะแห่งสภาวธรรมที่เป็นกุศล ก็เป็นวิบากแห่งสภาวธรรมที่เป็น
กุศลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ชรามรณะแห่งสภาวธรรมที่เป็นกุศลมีอยู่ ท่านไม่ยอมรับว่า “เป็น
วิบากแห่งสภาวธรรมที่เป็นกุศล” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชรามรณะแห่งสภาวธรรมที่เป็นอกุศลมีอยู่ ท่านไม่ยอมรับว่า “เป็น
วิบากแห่งสภาวธรรมที่เป็นอกุศล” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ชรามรณะแห่งสภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นวิบากแห่งสภาวธรรมที่เป็น
อกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชรามรณะแห่งสภาวธรรมที่เป็นอกุศล เป็นวิบากแห่งสภาวธรรมที่เป็น
กุศลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๒๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๘. ชรามรณังวิปาโกติกถา (๗๐)
สก. ชรามรณะแห่งสภาวธรรมที่เป็นอกุศลมีอยู่ ท่านไม่ยอมรับว่า “เป็น
วิบากแห่งสภาวธรรมที่เป็นกุศล” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชรามรณะแห่งสภาวธรรมที่เป็นกุศลมีอยู่ ท่านไม่ยอมรับว่า “เป็น
วิบากแห่งสภาวธรรมที่เป็นอกุศล” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ชรามรณะแห่งสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล เป็นวิบากแห่งสภาว-
ธรรมที่เป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชรามรณะแห่งสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล เป็นวิบากแห่งสภาว-
ธรรมที่เป็นกุศลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ชรามรณะแห่งสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศลมีอยู่ ท่านไม่ยอมรับว่า
“เป็นวิบากแห่งสภาวธรรมที่เป็นกุศล” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชรามรณะแห่งสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศลมีอยู่ ท่านไม่ยอมรับว่า
“เป็นวิบากแห่งสภาวธรรมที่เป็นอกุศล” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๙๗] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ชรามรณะเป็นวิบาก” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. กรรมที่เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีผิวพรรณหม่นหมอง กรรมที่เป็นไปเพื่อ
ความเป็นผู้มีอายุสั้นมีอยู่ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. หากกรรมที่เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีผิวพรรณหม่นหมอง กรรมที่เป็นไป
เพื่อความเป็นผู้มีอายุสั้นมีอยู่ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “ชรามรณะเป็นวิบาก”

ชรามรณังวิปาโกติกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๒๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๙. อริยธัมมวิปากกถา (๗๑)
๙. อริยธัมมวิปากกถา (๗๑)
ว่าด้วยวิบากแห่งอริยธรรม
[๔๙๘] สก. วิบากแห่งอริยธรรมไม่มีใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. ความเป็นสมณะ๓มีผลมาก ความเป็นพราหมณ์๔มีผลมาก มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากความเป็นสมณะมีผลมาก ความเป็นพราหมณ์มีผลมาก ท่านก็ไม่
ควรยอมรับว่า “วิบากแห่งอริยธรรมไม่มี”
สก. วิบากแห่งอริยธรรมไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โสดาปัตติผลมีอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากโสดาปัตติผลมีอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “วิบากแห่งอริยธรรม
ไม่มี”
สก. สกทาคามิผล ฯลฯ อนาคามิผล ฯลฯ อรหัตตผลมีอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากอรหัตตผลมีอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “วิบากแห่งอริยธรรมไม่มี”
สก. โสดาปัตติผลไม่เป็นวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๙๘/๒๒๙-๒๓๐)
๒ เพราะมีความเห็นว่า ผลของอริยมรรคเป็นเพียงการละกิเลสเท่านั้น หาใช่จิตและเจตสิกไม่ (อภิ.ปญฺจ.อ.
๔๙๘/๒๒๙-๒๓๐)
๓-๔ ความเป็นสมณะ ความเป็นพราหมณ์ ในที่นี้หมายถึงอริยมรรค (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๙๘/๒๒๙-๒๓๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๒๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๙. อริยธัมมวิปากกถา (๗๑)
สก. ผลแห่งทานไม่เป็นวิบากใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โสดาปัตติผลไม่เป็นวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ผลแห่งศีล ฯลฯ ผลแห่งภาวนา ไม่เป็นวิบากใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สกทาคามิผล ฯลฯ อนาคามิผล ฯลฯ อรหัตตผล ไม่เป็นวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ผลแห่งทานไม่เป็นวิบากใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อรหัตตผลไม่เป็นวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ผลแห่งศีล ฯลฯ ผลแห่งภาวนา ไม่เป็นวิบากใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ผลแห่งทานเป็นวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โสดาปัตติผลเป็นวิบากใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ผลแห่งทานเป็นวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สกทาคามิผล ฯลฯ อนาคามิผล ฯลฯ อรหัตตผล เป็นวิบากใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ผลแห่งศีล ฯลฯ ผลแห่งภาวนา เป็นวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๓๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๙. อริยธัมมวิปากกถา (๗๑)
สก. โสดาปัตติผลเป็นวิบากใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ผลแห่งภาวนาเป็นวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สกทาคามิผล ฯลฯ อนาคามิผล ฯลฯ อรหัตตผล เป็นวิบากใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๙๙] สก. กามาวจรกุศลมีวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โลกุตตรกุศลมีวิบากใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปาวจรกุศล ฯลฯ อรูปาวจรกุศล มีวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โลกุตตรกุศลมีวิบากใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โลกุตตรกุศลไม่มีวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กามาวจรกุศลไม่มีวิบากใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โลกุตตรกุศลไม่มีวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปาวจรกุศล ฯลฯ อรูปาวจรกุศล ไม่มีวิบากใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๐๐] ปร. กามาวจรกุศลมีวิบาก เป็นสภาวธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงจุติและ
ปฏิสนธิใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. โลกุตตรกุศลมีวิบาก เป็นสภาวธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงจุติและปฏิสนธิ
ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๓๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๑๐. วิปาโกวิปากธัมมธัมโมติกถา (๗๒)
ปร. รูปาวจรกุศล ฯลฯ อรูปาวจรกุศล มีวิบาก เป็นสภาวธรรมที่เป็น
เหตุให้ถึงจุติและปฏิสนธิใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. โลกุตตรกุศลมีวิบาก เป็นสภาวธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงจุติและปฏิสนธิ
ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. โลกุตตรกุศลมีวิบาก เป็นสภาวธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพานใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. กามาวจรกุศลมีวิบาก เป็นสภาวธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพานใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. โลกุตตรกุศลมีวิบาก เป็นสภาวธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพานใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. รูปาวจรกุศล ฯลฯ อรูปาวจรกุศล มีวิบาก เป็นสภาวธรรมที่เป็นเหตุ
ให้ถึงนิพพานใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
อริยธัมมวิปากกถา จบ

๑๐. วิปาโกวิปากธัมมธัมโมติกถา (๗๒)
ว่าด้วยวิบากเป็นสภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก
[๕๐๑] สก. วิบากเป็นสภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๐๑/๒๓๐-๒๓๑)
๒ เพราะมีความเห็นว่า วิบากสามารถเป็นกรรมได้ โดยอ้างหลักการแห่งอัญญมัญญปัจจัยในปัฏฐาน ซึ่ง
ต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า วิบากเป็นเพียงปัจจัยเกื้อหนุนแก่กันและกันเท่านั้น (อภิ.ปญฺจ.อ.
๕๐๑/๒๓๐-๒๓๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๓๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๑๐. วิปาโกวิปากธัมมธัมโมติกถา (๗๒)
สก. วิบากแห่งวิบากนั้น เป็นสภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิบากแห่งวิบากนั้น เป็นสภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การทำที่สุดแห่งทุกข์ไม่มี การตัดขาดจากวัฏฏะไม่มี อนุปาทาปรินิพพาน
ก็ไม่มีแก่วิบากแห่งวิบากที่เป็นสภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากทั้ง ๒ ชั้นดังกล่าว
มานั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิบากเป็นสภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บัญญัติว่าวิบากกับสภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก หรือบัญญัติว่า
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากกับวิบาก นี้นั้น มีความหมายอย่างเดียวกัน เสมอกัน
มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิบากเป็นสภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิบากและสภาวธรรมที่เป็นเหตุแห่งวิบาก สภาวธรรมที่เป็นเหตุแห่งวิบาก
และวิบากสหรคต เกิดร่วม ระคน สัมปยุต เกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน มีวัตถุอย่าง
เดียวกัน มีอารมณ์อย่างเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิบากเป็นสภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อกุศลกับวิบากแห่งอกุศลเป็นอันเดียวกัน กุศลกับวิบากแห่งกุศลเป็น
อันเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๓๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] รวมกถาที่มีในวรรค
สก. วิบากเป็นสภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลถูกไหม้อยู่ในนรกด้วยจิตดวงที่เป็นเหตุฆ่าสัตว์เท่านั้น บันเทิงอยู่
ในสวรรค์ก็ด้วยจิตดวงที่เป็นเหตุให้ทานเท่านั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๐๒] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “วิบากเป็นสภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. วิบากคืออรูปขันธ์ ๔ เป็นอัญญมัญญปัจจัยมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากวิบากคืออรูปขันธ์ ๔ เป็นอัญญมัญญปัจจัย ดังนั้น ท่านจึงควร
ยอมรับว่า “วิบากเป็นสภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก”
วิปาโกวิปากธัมมธัมโมติกถา จบ
สัตตมวรรค จบ

รวมกถาที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สังคหิตกถา ๒. สัมปยุตตกถา
๓. เจตสิกกถา ๔. ทานกถา
๕. ปริโภคมยปุญญกถา ๖. อิโตทินนกถา
๗. ปฐวีกัมมวิปาโกติกถา ๘. ชรามรณังวิปาโกติกถา
๙. อริยธัมมวิปากกถา ๑๐. วิปาโกวิปากธัมมธัมโมติกถา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๓๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๑. ฉคติกถา (๗๓)
๘. อัฏฐมวรรค
๑. ฉคติกถา (๗๓)
ว่าด้วยคติ ๖
[๕๐๓] สก. คติมี ๖ ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. คติ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ๕ อย่าง คือ นรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน
ภูมิแห่งเปรต มนุษย์ เทวดามิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากคติพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ๕ อย่าง คือ นรก กำเนิดดิรัจฉาน
ภูมิแห่งเปรต มนุษย์ เทวดา ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “คติมี ๖”
สก. คติมี ๖ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อสูรจำพวกกาลกัญชิกา มีรูปร่างเหมือนกัน มีการเสพกามเหมือนกัน
มีอาหารเหมือนกัน มีอายุเหมือนกันกับเปรตทั้งหลาย และแต่งงานกับเปรตทั้งหลาย
ได้มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากอสูรจำพวกกาลกัญชิกา มีรูปร่างเหมือนกัน มีการเสพกามเหมือนกัน
มีอาหารเหมือนกัน มีอายุเหมือนกันกับเปรตทั้งหลาย และแต่งงานกับเปรต
ทั้งหลายได้ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “คติมี ๖”

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะและนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๐๓/๒๓๒)
๒ เพราะมีความเห็นว่า คติมี ๖ คือ (๑) เทวคติ (๒) มนุสสคติ (๓) เปตคติ (๔) อสุรกายคติ (แยก
มาจากนิรยคติ) (๕) ติรัจฉานคติ (๖) นิรยคติ ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า คติมีเพียง ๕
โดยไม่แยกอสุรกายออกเป็นคติหนึ่งต่างหาก แต่จัดพวกอสุรกายฝ่ายชั่วเข้าในเปตคติ และจัดพวกอสุรกาย
ฝ่ายดีเข้าในเทวคติ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๐๓/๒๓๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๓๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๑. ฉคติกถา (๗๓)
สก. คติมี ๖ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พวกอสูรที่เป็นบริวารของท้าวเวปจิตติ มีรูปร่างเหมือนกัน มีการ
เสพกามเหมือนกัน มีอาหารเหมือนกัน มีอายุเหมือนกันกับเทวดาทั้งหลาย และ
แต่งงานกับเทวดาทั้งหลายได้มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพวกอสูรที่เป็นบริวารท้าวเวปจิตติ มีรูปร่างเหมือนกัน มีการเสพ
กามเหมือนกัน มีอาหารเหมือนกัน มีอายุเหมือนกันกับเทวดาทั้งหลาย และแต่ง
งานกับเทวดาทั้งหลายได้ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “คติมี ๖”
สก. คติมี ๖ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พวกอสูรที่เป็นบริวารของท้าวเวปจิตติเป็นเทวดามาก่อนมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพวกอสูรที่เป็นบริวารของท้าวเวปจิตติเป็นเทวดามาก่อน ท่านก็ไม่
ควรยอมรับว่า “คติมี ๖”
[๕๐๔] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “คติมี ๖” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. อสุรกายมีมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากอสุรกายมี ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “คติมี ๖”

ฉคติกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๓๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๒. อันตราภวกถา (๗๔)
๒. อันตราภวกถา (๗๔)
ว่าด้วยอันตรภพ
[๕๐๕] สก. อันตรภพ๑(ภพที่อยู่ในระหว่างตายกับเกิด)มีอยู่ใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. เป็นกามภพใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อันตรภพมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เป็นรูปภพใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อันตรภพมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เป็นอรูปภพใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อันตรภพมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อันตรภพมีอยู่ในระหว่างกามภพกับรูปภพใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อันตรภพมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๙๑ หน้า ๕๑ ในเล่มนี้
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะและนิกายสมิติยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๐๕/๒๓๓)
๓ เพราะมีความเห็นว่า สัตว์หลังจากตายไป วิญญาณจะล่องลอยไปหาที่เกิดใหม่(ช่วงนี้เองที่เรียกว่า อันตรภพ)
ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า สัตว์หลังจากตายไป วิญญาณก็ปฏิสนธิทันที (อภิ.ปญฺจ.อ.
๕๐๕/๒๓๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๓๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๒. อันตราภวกถา (๗๔)
สก. อันตรภพมีอยู่ในระหว่างรูปภพกับอรูปภพใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อันตรภพไม่มีในระหว่างกามภพกับรูปภพใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากอันตรภพไม่มีในระหว่างกามภพกับรูปภพ ท่านก็ไม่ควรยอมรับ ว่า
“อันตรภพมีอยู่”
สก. อันตรภพไม่มีในระหว่างรูปภพกับอรูปภพใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากอันตรภพไม่มีในระหว่างรูปภพกับอรูปภพ ท่านก็ไม่ควรยอมรับ ว่า
“อันตรภพมีอยู่”
[๕๐๖] สก. อันตรภพมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อันตรภพนั้นจัดเป็นกำเนิดที่ ๕ เป็นคติที่ ๖ เป็นวิญญาณฐิติที่ ๘
เป็นสัตตาวาสที่ ๑๐ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อันตรภพมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อันตรภพจัดเป็นภพ เป็นคติ เป็นสัตตาวาส เป็นสงสาร เป็นกำเนิด
เป็นวิญญาณฐิติ เป็นการได้อัตภาพใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กรรมที่ให้เข้าถึงอันตรภพมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๓๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๒. อันตราภวกถา (๗๔)
สก. สัตว์ผู้เข้าถึงอันตรภพมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อันตรภพมีสัตว์เกิด แก่ ตาย จุติ ปฏิสนธิใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อันตรภพมีรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อันตรภพเป็นภพที่มีขันธ์ ๕ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๐๗] สก. กามภพมีอยู่ กามภพเป็นภพ เป็นคติ เป็นสัตตาวาส เป็นสงสาร
เป็นกำเนิด เป็นวิญญาณฐิติ เป็นการได้อัตภาพใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อันตรภพมีอยู่ อันตรภพเป็นภพ เป็นคติ เป็นสัตตาวาส เป็นสงสาร
เป็นกำเนิด เป็นวิญญาณฐิติ เป็นการได้อัตภาพใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กรรมที่ให้เข้าถึงกามภพมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กรรมที่ให้เข้าถึงอันตรภพมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัตว์ผู้เข้าถึงกามภพมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัตว์ผู้เข้าถึงอันตรภพมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในกามภพ มีสัตว์เกิด แก่ ตาย จุติ ปฏิสนธิใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๓๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๒. อันตราภวกถา (๗๔)
สก. อันตรภพมีสัตว์เกิด แก่ ตาย จุติ ปฏิสนธิใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในกามภพ มีรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อันตรภพมีรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กามภพเป็นภพที่มีขันธ์ ๕ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อันตรภพเป็นภพที่มีขันธ์ ๕ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปภพมีอยู่ รูปภพเป็นภพ เป็นคติ เป็นสัตตาวาส เป็นสงสาร เป็น
กำเนิด เป็นวิญญาณฐิติ เป็นการได้อัตภาพใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อันตรภพมีอยู่ อันตรภพเป็นภพ เป็นคติ เป็นสัตตาวาส เป็นสงสาร
เป็นกำเนิด เป็นวิญญาณฐิติ เป็นการได้อัตภาพใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กรรมที่ให้เข้าถึงรูปภพมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กรรมที่ให้เข้าถึงอันตรภพมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัตว์ผู้เข้าถึงรูปภพมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัตว์ผู้เข้าถึงอันตรภพมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๔๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๒. อันตราภวกถา (๗๔)
สก. ในรูปภพ มีสัตว์เกิด แก่ ตาย จุติ ปฏิสนธิใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อันตรภพมีสัตว์เกิด แก่ ตาย จุติ ปฏิสนธิใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในรูปภพ มีรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในอันตรภพ มีรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปภพเป็นภพที่มีขันธ์ ๕ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อันตรภพเป็นภพที่มีขันธ์ ๕ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อรูปภพมีอยู่ อรูปภพเป็นภพ เป็นคติ เป็นสัตตาวาส เป็นสงสาร
เป็นกำเนิด เป็นวิญญาณฐิติ เป็นการได้อัตภาพใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อันตรภพมีอยู่ อันตรภพเป็นภพ เป็นคติ เป็นสัตตาวาส เป็นสงสาร
เป็นกำเนิด เป็นวิญญาณฐิติ เป็นการได้อัตภาพใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กรรมที่ให้เข้าถึงอรูปภพมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กรรมที่ให้เข้าถึงอันตรภพมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัตว์ผู้เข้าถึงอรูปภพมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๔๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๒. อันตราภวกถา (๗๔)
สก. สัตว์ผู้เข้าถึงอันตรภพมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในอรูปภพ มีสัตว์เกิด แก่ ตาย จุติ ปฏิสนธิใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในอันตรภพ มีสัตว์เกิด แก่ ตาย จุติ ปฏิสนธิใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในอรูปภพ มีเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในอันตรภพ มีเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อรูปภพเป็นภพที่มีขันธ์ ๔ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อันตรภพเป็นภพที่มีขันธ์ ๔ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๐๘] สก. อันตรภพมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัตว์ทั้งปวงนั่นแหละมีอันตรภพใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัตว์ทั้งปวงนั่นแหละไม่มีอันตรภพใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากสัตว์ทั้งปวงนั่นแหละไม่มีอันตรภพ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “อันตรภพ
มีอยู่”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๔๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๒. อันตราภวกถา (๗๔)
สก. อันตรภพมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ทำอนันตริยกรรมมีอันตรภพใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ทำอนันตริยกรรมไม่มีอันตรภพใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลผู้ทำอนันตริยกรรมไม่มีอันตรภพ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“อันตรภพมีอยู่”
สก. บุคคลผู้ไม่ทำอนันตริยกรรมมีอันตรภพใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ทำอนันตริยกรรมมีอันตรภพใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ทำอนันตริยกรรมไม่มีอันตรภพใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ไม่ทำอนันตริยกรรมไม่มีอันตรภพใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้เข้าถึงนรก ฯลฯ ผู้เข้าถึงอสัญญสัตว์ ฯลฯ ผู้เข้าถึงอรูปภพ
มีอันตรภพใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้เข้าถึงอรูปภพไม่มีอันตรภพใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลผู้เข้าถึงอรูปภพไม่มีอันตรภพ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“อันตรภพมีอยู่”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๔๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๒. อันตราภวกถา (๗๔)
สก. บุคคลผู้ไม่เข้าถึงอรูปภพมีอันตรภพใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้เข้าถึงอรูปภพมีอันตรภพใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้เข้าถึงอรูปภพไม่มีอันตรภพใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ไม่เข้าถึงอรูปภพไม่มีอันตรภพใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๐๙] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “อันตรภพมีอยู่” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. อันตราปรินิพพายีบุคคลมีอยู่มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากอันตราปรินิพพายีบุคคลมีอยู่ ท่านจึงควรยอมรับว่า “อันตรภพมี
อยู่”
สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “อันตราปรินิพพายีบุคคลมีอยู่” จึงยอมรับว่า
“อันตรภพมีอยู่” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “อุปหัจจปรินิพพายีบุคคลมีอยู่” จึงยอมรับว่า
“อุปหัจจภพมีอยู่” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “อันตราปรินิพพายีบุคคลมีอยู่” จึงยอมรับว่า
“อันตรภพมีอยู่” ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๔๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๓. กามคุณกถา (๗๕)
สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “อสังขารปรินิพพายีบุคคลมีอยู่ ฯลฯ สสังขาร-
ปรินิพพายีบุคคลมีอยู่” จึงยอมรับว่า “สสังขารภพมีอยู่” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
อันตราภวกถา จบ

๓. กามคุณกถา (๗๕)
ว่าด้วยกามคุณ
[๕๑๐] สก. กามคุณ ๕ เท่านั้นเป็นกามธาตุใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. ความพอใจที่เกี่ยวกับกามคุณ ๕ นั้นมีอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากความพอใจที่เกี่ยวกับกามคุณ ๕ นั้นมีอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“กามคุณ ๕ เท่านั้นเป็นกามธาตุ”
สก. ความกำหนัด ความพอใจ ความพอใจและความกำหนัดที่เกี่ยวกับ
กามคุณ ๕ นั้น ... ความดำริ ความกำหนัด ความดำริและความกำหนัดที่เกี่ยวกับ
กามคุณ ๕ นั้น ... ปีติ โสมนัส ปีติและโสมนัส ที่เกี่ยวกับกามคุณ ๕ นั้นมีอยู่
มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากปีติและโสมนัสที่เกี่ยวกับกามคุณ ๕ นั้นมีอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับ
ว่า “กามคุณ ๕ เท่านั้นเป็นกามธาตุ”

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๑๐/๒๓๕)
๒ เพราะมีความเห็นว่า วัตถุกามเท่านั้นจัดเป็นกามธาตุ กิเลสกามไม่จัดเป็นกามธาตุ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๑๐/
๒๓๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๔๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๓. กามคุณกถา (๗๕)
สก. กามคุณ ๕ เท่านั้นเป็นกามธาตุใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักษุของมนุษย์ไม่เป็นกามธาตุใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โสตะ ฯลฯ ฆานะ ฯลฯ ชิวหา ฯลฯ กาย ฯลฯ มโนของมนุษย์
ไม่เป็นกามธาตุใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มโนของมนุษย์ไม่เป็นกามธาตุใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“กามคุณ ๕ อันมีใจเป็นที่ ๖ ซึ่งมีอยู่ในโลก
เราประกาศไว้ชัดเจนแล้ว
สัตว์โลกคลายความพอใจในกามคุณ ๕ นี้ได้
ย่อมพ้นจากทุกข์ได้ ด้วยวิธีดังกล่าวนี้” ๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “มโนของมนุษย์ไม่เป็นกามธาตุ”
[๕๑๑] สก. กามคุณ ๕ เท่านั้นเป็นกามธาตุใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กามคุณเป็นภพ เป็นคติ เป็นสัตตาวาส เป็นสงสาร เป็นกำเนิด
เป็นวิญญาณฐิติ เป็นการได้อัตภาพใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ขุ.สุ. (แปล) ๒๕/๑๗๓/๕๓๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๔๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๓. กามคุณกถา (๗๕)
สก. กรรมที่ให้เข้าถึงกามคุณมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัตว์ผู้เข้าถึงกามคุณมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในกามคุณ มีสัตว์เกิด แก่ ตาย จุติ ปฏิสนธิใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในกามคุณ มีรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กามคุณเป็นภพที่มีขันธ์ ๕ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในกามคุณ มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย
คู่พระอัครสาวกอุบัติขึ้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กามธาตุเป็นภพ เป็นคติ เป็นสัตตาวาส เป็นสงสาร เป็นกำเนิด
เป็นวิญญาณฐิติ เป็นการได้อัตภาพใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กามคุณเป็นภพ เป็นคติ เป็นสัตตาวาส เป็นสงสาร เป็นกำเนิด
เป็นวิญญาณฐิติ เป็นการได้อัตภาพใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กรรมที่ให้เข้าถึงกามธาตุมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กรรมที่ให้เข้าถึงกามคุณมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๔๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๓. กามคุณกถา (๗๕)
สก. สัตว์ผู้เข้าถึงกามธาตุมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัตว์ผู้เข้าถึงกามคุณมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในกามธาตุ มีสัตว์เกิด แก่ ตาย จุติ ปฏิสนธิใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในกามคุณ มีสัตว์เกิด แก่ ตาย จุติ ปฏิสนธิใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในกามธาตุ มีรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในกามคุณ มีรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กามธาตุเป็นภพที่มีขันธ์ ๕ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กามคุณเป็นภพที่มีขันธ์ ๕ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในกามธาตุ มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย
คู่พระอัครสาวกอุบัติขึ้นใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๔๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๓. กามคุณกถา (๗๕)
สก. ในกามคุณ มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย
คู่พระอัครสาวกอุบัติขึ้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๑๒] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “กามคุณ ๕ เท่านั้นเป็นกามธาตุ” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๑ ๕ ประการนี้
กามคุณ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ (๑) รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่
น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด (๒) เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ฯลฯ (๓)
กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ฯลฯ (๔) รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ (๕) โผฏฐัพพะที่
พึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจ
ให้กำหนัด ภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการนี้”๒ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น กามคุณ ๕ เท่านั้นจึงเป็นกามธาตุ

กามคุณกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ กามคุณ แยกอธิบายว่า ที่ชื่อว่ากาม เพราะมีความหมายว่าเป็นสิ่งที่บุคคลพึงใคร่ ที่ชื่อว่าคุณ เพราะมี
ความหมายว่าผูกพันไว้ ร้อยรัดไว้ เหมือนคำว่า อนฺตํ อนฺตคุณํ (ไส้ใหญ่ ไส้เล็ก ที.ม. (แปล) ๑๐/๓๗๗/
๒๕๑, ม.มู. (แปล) ๑๒/๑๑๐/๗๙, ขุ.ขุ. (แปล) ๒๕/๓/๒, และเหมือนคำว่า กยิรา มาลาคุเณ พหู
(ช่างดอกไม้พึงร้อยพวงมาลัยไว้เป็นจำนวนมาก (ขุ.ธ. (แปล) ๒๕/๕๓/๒๖, องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๖๓/๑๔๘)
๒ ดูเทียบ สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๒๖๗/๒๙๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๔๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๔. กามกถา (๗๖)
๔. กามกถา (๗๖)
ว่าด้วยกาม
[๕๑๓] สก. อายตนะ ๕ เท่านั้นเป็นกามใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. ความพอใจที่เกี่ยวกับอายตนะ ๕ นั้นมีอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากความพอใจเกี่ยวกับอายตนะ ๕ นั้นมีอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับ
ว่า “อายตนะ ๕ เท่านั้นเป็นกาม”
สก. ความกำหนัด ความพอใจ ความกำหนัดและความพอใจที่เกี่ยวกับอายตนะ
๕ นั้น ... ความดำริ ความกำหนัด ความดำริและความกำหนัดที่เกี่ยวกับอายตนะ
๕ นั้น ... ปีติ โสมนัส ปีติและโสมนัสที่เกี่ยวกับอายตนะ ๕ นั้น มีอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากปีติและโสมนัสที่เกี่ยวกับอายตนะ ๕ นั้นมีอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอม
รับว่า “อายตนะ ๕ เท่านั้นเป็นกาม”
[๕๑๔] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “อายตนะ ๕ เท่านั้นเป็นกาม” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการนี้
๕ ประการ อะไรบ้าง คือ (๑) รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ฯลฯ (๕) โผฏฐัพพะที่พึงรู้
แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
ภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการนี้”๓ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๑๓/๒๓๖)
๒ เพราะมีความเห็นว่า อายตนะ ๕ มีรูปายตนะ เป็นต้น ยกเว้นธัมมายตนะ ชื่อว่ากาม กิเลสกามไม่ชื่อว่า
กาม (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๑๓/๒๓๖)
๓ ดูเทียบ สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๒๖๗/๒๙๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๕๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๔. กามกถา (๗๖)
ปร. ดังนั้น อายตนะ ๕ เท่านั้นจึงเป็นกาม
สก. อายตนะ ๕ เท่านั้นเป็นกามใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการนี้
กามคุณ ๕ ประการอะไรบ้าง คือ (๑) รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ฯลฯ (๕) โผฏฐัพพะ
ที่พึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจ
ให้กำหนัด ภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการนี้ ภิกษุทั้งหลาย แต่สิ่งเหล่านี้
ไม่เรียกว่ากาม สิ่งเหล่านี้เรียกว่ากามคุณ ในอริยวินัย
(พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัส
คาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า)
สังกัปปราคะของบุรุษ ชื่อว่ากาม๑
อารมณ์ที่วิจิตรทั้งหลายในโลกไม่ชื่อว่ากาม
สังกัปปราคะของบุรุษ ชื่อว่ากาม
อารมณ์ที่วิจิตรทั้งหลายในโลก
ตั้งอยู่ตามสภาพของตนเท่านั้น
แต่ธีรชนทั้งหลาย ย่อมกำจัดความพอใจ
ในอารมณ์ที่วิจิตรเหล่านั้น” ๒
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “อายตนะ ๕ เท่านั้นเป็นกาม”

กามกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ กาม หมายถึงความกำหนัดด้วยอำนาจความดำริในวัตถุมีรูปร่างที่งดงาม เป็นต้น (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๖๓/
๑๔๘, องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๖๓/๗๐) และเป็นชื่อเรียกกิเลสกามอีกชื่อหนึ่งในจำนวนชื่อเรียกกาม ๑๘ ชื่อ (ดูเทียบ
ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑/๒, ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๘/๖๖-๖๗)
๒ ดูเทียบ องฺ. ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๖๓/๕๗๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๕๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๕. รูปธาตุกถา (๗๗)
๕. รูปธาตุกถา (๗๗)
ว่าด้วยรูปธาตุ
[๕๑๕] สก. สภาวธรรมที่เป็นรูปเป็นรูปธาตุใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. รูปเป็นภพ เป็นคติ เป็นสัตตาวาส เป็นสงสาร เป็นกำเนิด เป็น
วิญญาณฐิติ เป็นการได้อัตภาพใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กรรมที่ให้เข้าถึงรูปมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัตว์ผู้เข้าถึงรูปมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในรูป มีสัตว์เกิด แก่ ตาย จุติ ปฏิสนธิใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในรูป มีรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปเป็นภพที่มีขันธ์ ๕ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปธาตุเป็นภพ เป็นคติ ฯลฯ เป็นการได้อัตภาพใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปเป็นภพ เป็นคติ ฯลฯ เป็นการได้อัตภาพใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๑๕/๒๓๖)
๒ เพราะมีความเห็นว่า รูป ๒๘ เท่านั้น ชื่อว่ารูปธาตุ ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า รูป ๒๘ เป็น
กามธาตุ ไม่ใช่รูปธาตุ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๑๕-๕๑๖/๒๓๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๕๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๕. รูปธาตุกถา (๗๗)
สก. กรรมที่ให้เข้าถึงรูปธาตุมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กรรมที่ให้เข้าถึงรูปมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัตว์ผู้เข้าถึงรูปธาตุมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัตว์ผู้เข้าถึงรูปมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในรูปธาตุ มีสัตว์เกิด แก่ ตาย จุติ ปฏิสนธิใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในรูป มีสัตว์เกิด แก่ ตาย จุติ ปฏิสนธิใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในรูปธาตุ มีรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในรูป มีรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปธาตุเป็นภพที่มีขันธ์ ๕ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปเป็นภพที่มีขันธ์ ๕ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๕๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๖. อรูปธาตุกถา (๗๘)
[๕๑๖] สก. สภาวธรรมที่เป็นรูป เป็นรูปธาตุ ในกามธาตุ มีรูปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กามธาตุกับรูปธาตุเป็นอันเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กามธาตุกับรูปธาตุเป็นอันเดียวกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ประกอบด้วยกามภพ๑ ชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยภพ ๒ คือ
กามภพและรูปภพใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
รูปธาตุกถา จบ

๖. อรูปธาตุกถา (๗๘)
ว่าด้วยอรูปธาตุ
[๕๑๗] สก. สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปเป็นอรูปธาตุใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. เวทนาเป็นภพ เป็นคติ เป็นสัตตาวาส เป็นสงสาร เป็นกำเนิด เป็น
วิญญาณฐิติ เป็นการได้อัตภาพใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กรรมที่ให้เข้าถึงเวทนามีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ประกอบด้วยกามภพ หมายถึงผู้เข้าถึงกามภพ
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๑๗-๕๑๘/๒๓๖)
๓ เพราะมีความเห็นว่า นามธรรมทั้งหมด ชื่อว่าอรูปธาตุ ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า นามขันธ์
บางส่วนเท่านั้นเป็นอรูปธาตุ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๑๗-๕๑๘/๒๓๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๕๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๖. อรูปธาตุกถา (๗๘)
สก. สัตว์ผู้เข้าถึงเวทนามีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในเวทนา มีสัตว์เกิด แก่ ตาย จุติ ปฏิสนธิใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในเวทนา มีเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เวทนาเป็นภพที่มีขันธ์ ๔ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อรูปธาตุเป็นภพ เป็นคติ ฯลฯ เป็นการได้อัตภาพใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เวทนาเป็นภพ เป็นคติ ฯลฯ เป็นการได้อัตภาพใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กรรมที่ให้เข้าถึงอรูปธาตุมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กรรมที่ให้เข้าถึงเวทนามีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัตว์ผู้เข้าถึงอรูปธาตุมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัตว์ผู้เข้าถึงเวทนามีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๕๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๖. อรูปธาตุกถา (๗๘)
สก. ในอรูปธาตุ มีสัตว์เกิด แก่ ตาย จุติ ปฏิสนธิใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในเวทนา มีสัตว์เกิด แก่ ตาย จุติ ปฏิสนธิใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในอรูปธาตุ มีเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในเวทนา มีเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อรูปธาตุเป็นภพที่มีขันธ์ ๔ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เวทนาเป็นภพที่มีขันธ์ ๔ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๑๘] สก. สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปเป็นอรูปธาตุ ในกามธาตุมีเวทนา สัญญา
สังขาร วิญญาณใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กามธาตุกับอรูปธาตุเป็นอันเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กามธาตุกับอรูปธาตุเป็นอันเดียวกันใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๕๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๖. อรูปธาตุกถา (๗๘)
สก. บุคคลผู้ประกอบด้วยกามภพ ชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยภพ ๒ คือ
กามภพและอรูปภพใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่เป็นรูปเป็นรูปธาตุ สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปเป็นอรูปธาตุ ใน
กามธาตุ มีรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กามธาตุ รูปธาตุ และอรูปธาตุเป็นอันเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กามธาตุ รูปธาตุ และอรูปธาตุเป็นอันเดียวกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ประกอบด้วยกามภพ ชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยภพ ๓ คือ
กามภพ รูปภพ และอรูปภพใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

อรูปธาตุกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๕๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๗. รูปธาตุยาอายตนกถา (๗๙)
๗. รูปธาตุยาอายตนกถา (๗๙)
ว่าด้วยอายตนะในรูปธาตุ
[๕๑๙] สก. อัตภาพประกอบด้วยอายตนะ ๖ มีอยู่ในรูปธาตุใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. ในรูปธาตุนั้น มีฆานายตนะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในรูปธาตุนั้น มีคันธายตนะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในรูปธาตุนั้น มีชิวหายตนะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในรูปธาตุนั้น มีรสายตนะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในรูปธาตุนั้น มีกายายตนะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในรูปธาตุนั้น มีโผฏฐัพพายตนะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในรูปธาตุนั้น ไม่มีคันธายตนะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในรูปธาตุนั้น ไม่มีฆานายตนะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะและนิกายสมิติยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๑๙/๒๓๗)
๒ เพราะมีความเห็นว่า รูปพรหมมีอายตนะครบทั้ง ๖ มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาที
ที่เห็นว่า รูปพรหมมีอายตนะเพียง ๓ เท่านั้น คือ (๑) จักขายตนะ (๒) โสตายตนะ (๓) มนายตนะ
(อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๑๙/๒๓๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๕๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๗. รูปธาตุยาอายตนกถา (๗๙)
สก. ในรูปธาตุนั้น ไม่มีรสายตนะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในรูปธาตุนั้น ไม่มีชิวหายตนะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในรูปธาตุนั้น ไม่มีโผฏฐัพพายตนะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในรูปธาตุนั้น ไม่มีกายายตนะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๒๐] สก. ในรูปธาตุนั้น มีจักขายตนะและรูปายตนะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในรูปธาตุนั้น มีฆานายตนะและคันธายตนะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในรูปธาตุนั้น มีจักขายตนะและรูปายตนะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในรูปธาตุนั้น มีชิวหายตนะและรสายตนะ ฯลฯ มีกายายตนะและ
โผฏฐัพพายตนะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในรูปธาตุนั้น มีโสตายตนะและสัททายตนะ ฯลฯ มีมนายตนะและ
ธัมมายตนะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในรูปธาตุนั้น มีฆานายตนะและคันธายตนะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในรูปธาตุนั้น มีมนายตนะและธัมมายตนะใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๕๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๗. รูปธาตุยาอายตนกถา (๗๙)
สก. ในรูปธาตุนั้น มีชิวหายตนะและรสายตนะ ฯลฯ มีกายายตนะและ
โผฏฐัพพายตนะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในรูปธาตุนั้น มีฆานายตนะ แต่ไม่มีคันธายตนะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในรูปธาตุนั้น มีจักขายตนะ แต่ไม่มีรูปายตนะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในรูปธาตุนั้น มีฆานายตนะ แต่ไม่มีคันธายตนะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในรูปธาตุนั้น มีโสตายตนะ แต่ไม่มีสัททายตนะ ฯลฯ มีมนายตนะ
แต่ไม่มีธัมมายตนะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในรูปธาตุนั้น มีชิวหายตนะ แต่ไม่มีรสายตนะ ฯลฯ มีกายายตนะ
แต่ไม่มีโผฏฐัพพายตนะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในรูปธาตุนั้น มีจักขายตนะ แต่ไม่มีรูปายตนะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในรูปธาตุนั้น มีกายายตนะ แต่ไม่มีโผฏฐัพพายตนะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในรูปธาตุนั้น มีโสตายตนะ แต่ไม่มีสัททายตนะ ฯลฯ มีมนายตนะ
แต่ไม่มีธัมมายตนะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๒๑] สก. ในรูปธาตุนั้น มีจักขายตนะและรูปายตนะ บุคคลเห็นรูปนั้นทาง
ตาใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๖๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๗. รูปธาตุยาอายตนกถา (๗๙)
สก. ในรูปธาตุนั้น มีฆานายตนะและคันธายตนะ บุคคลดมกลิ่นนั้นทางจมูก
นั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในรูปธาตุนั้น มีจักขายตนะและรูปายตนะ บุคคลเห็นรูปนั้นทางตาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในรูปธาตุนั้น มีชิวหายตนะและรสายตนะ บุคคลลิ้มรสนั้นทางลิ้น ฯลฯ
มีกายายตนะและโผฏฐัพพายตนะ บุคคลถูกต้องโผฏฐัพพะนั้นทางกายใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในรูปธาตุนั้น มีโสตายตนะและสัททายตนะ ฯลฯ มีมนายตนะและ
ธัมมายตนะ บุคคลรู้ธรรมารมณ์นั้นทางใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในรูปธาตุนั้น มีฆานายตนะและคันธายตนะ บุคคลดมกลิ่นนั้นทางจมูก
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในรูปธาตุนั้น มีมนายตนะและธัมมายตนะ บุคคลรู้ธรรมารมณ์นั้นทางใจ
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในรูปธาตุนั้น มีชิวหายตนะและรสายตนะ ฯลฯ มีกายายตนะและ
โผฏฐัพพายตนะ บุคคลถูกต้องโผฏฐัพพะนั้นทางกายใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในรูปธาตุนั้น มีฆานายตนะและคันธายตนะ แต่บุคคลไม่ได้ดมกลิ่นนั้น
ทางจมูกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในรูปธาตุนั้น มีจักขายตนะและรูปายตนะ แต่บุคคลไม่เห็นรูปนั้นทางตา
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๖๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๗. รูปธาตุยาอายตนกถา (๗๙)
สก. ในรูปธาตุนั้น มีฆานายตนะและคันธายตนะ แต่บุคคลไม่ได้ดมกลิ่นนั้น
ทางจมูกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในรูปธาตุนั้น มีโสตายตนะและสัททายตนะ ฯลฯ มีมนายตนะและ
ธัมมายตนะ แต่บุคคลไม่รู้ธรรมารมณ์นั้นทางใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในรูปธาตุนั้น มีชิวหายตนะและรสายตนะ ฯลฯ มีกายายตนะและ
โผฏฐัพพายตนะ แต่บุคคลไม่ถูกต้องโผฏฐัพพะนั้นทางกายใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในรูปธาตุนั้น มีจักขายตนะและรูปายตนะ แต่บุคคลไม่เห็นรูปนั้นทางตา
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในรูปธาตุนั้น มีกายายตนะและโผฏฐัพพายตนะ แต่บุคคลไม่ถูกต้อง
โผฏฐัพพะนั้นทางกายใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในรูปธาตุนั้น มีโสตายตนะและสัททายตนะ ฯลฯ มีมนายตนะและ
ธัมมายตนะ แต่บุคคลไม่รู้ธรรมารมณ์นั้นทางใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๒๒] สก. ในรูปธาตุนั้น มีฆานายตนะและคันธายตนะ บุคคลดมกลิ่นนั้น
ทางจมูกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในรูปธาตุนั้น มีกลิ่นที่เกิดจากราก เกิดจากแก่น เกิดจากเปลือก
เกิดจากใบ เกิดจากดอก เกิดจากผล มีกลิ่นคาว กลิ่นฉุน กลิ่นหอม กลิ่นเหม็น
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๖๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๗. รูปธาตุยาอายตนกถา (๗๙)
สก. ในรูปธาตุนั้น มีชิวหายตนะและรสายตนะ บุคคลลิ้มรสนั้นทางลิ้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในรูปธาตุนั้น มีรสที่เกิดจากราก เกิดจากลำต้น เกิดจากเปลือก เกิด
จากใบ เกิดจากดอก เกิดจากผล มีรสเปรี้ยว รสหวาน รสขม รสเผ็ด รสเค็ม
รสพร่า รสหวานอมเปรี้ยว รสฝาด รสกลมกล่อม รสไม่กลมกล่อมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในรูปธาตุนั้น มีกายายตนะและโผฏฐัพพายตนะ บุคคลถูกต้องโผฏฐัพพะ
นั้นได้ด้วยกายนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในรูปธาตุนั้น มีสัมผัสที่แข็ง อ่อน ละเอียด หยาบ สบาย ไม่สบาย
หนัก เบาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๒๓] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “อัตภาพที่ประกอบด้วยอายตนะ ๖ มีอยู่ใน
รูปธาตุนั้น” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ในรูปธาตุนั้น มีฆานนิมิต ชิวหานิมิต และกายนิมิตมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากในรูปธาตุนั้น มีฆานนิมิต ชิวหานิมิต และกายนิมิต ดังนั้น ท่าน
จึงควรยอมรับว่า “อัตภาพที่ประกอบด้วยอายตนะ ๖ มีอยู่ในรูปธาตุ”

รูปธาตุยาอายตนกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๖๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๘. อรูเปรูปกถา (๘๐)
๘. อรูเปรูปกถา (๘๐)
ว่าด้วยรูปในอรูป
[๕๒๔] สก. ในอรูปภพ รูปมีอยู่ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. อรูปภพนั้นเป็นรูปภพที่มีรูป เป็นคติที่มีรูป เป็นสัตตาวาสที่มีรูป
เป็นสงสารที่มีรูป เป็นกำเนิดที่มีรูป เป็นการได้อัตภาพที่มีรูปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อรูปภพนั้นเป็นภพที่ไม่มีรูป เป็นคติที่ไม่มีรูป เป็นสัตตาวาสที่ไม่มีรูป
เป็นสงสารที่ไม่มีรูป เป็นกำเนิดที่ไม่มีรูป เป็นการได้อัตภาพที่ไม่มีรูปมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากอรูปภพนั้นเป็นภพที่ไม่มีรูป ฯลฯ เป็นการได้อัตภาพที่ไม่มีรูป ท่านก็
ไม่ควรยอมรับว่า “ในอรูปภพ รูปมีอยู่”
สก. ในอรูปภพ รูปมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อรูปภพนั้นเป็นภพที่มีขันธ์ ๕ เป็นคติ ... เป็นสัตตาวาส ... เป็นสงสาร
เป็นกำเนิด ... เป็นวิญญาณฐิติ ... เป็นการได้อัตภาพที่มีขันธ์ ๕ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อรูปภพนั้นเป็นภพที่มีขันธ์ ๔ ฯลฯ เป็นการได้อัตภาพที่มีขันธ์ ๔
มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากอรูปภพนั้นเป็นภพที่มีขันธ์ ๔ เป็นคติ ฯลฯ เป็นการได้อัตภาพ
ที่มีขันธ์ ๔ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ในอรูปภพ รูปมีอยู่”

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๒๘/๒๓๘)
๒ เพราะมีความเห็นว่า ในอรูปภพก็มีรูป แต่เป็นรูปที่ละเอียด ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า ไม่มี
รูป (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๒๔/๒๓๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๖๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๘. อรูเปรูปกถา (๘๐)
[๕๒๕] สก. ในรูปธาตุ รูปมีอยู่ และรูปธาตุนั้นเป็นภพที่มีรูป เป็นคติที่มีรูป
เป็นสัตตาวาสที่มีรูป เป็นสงสารที่มีรูป เป็นกำเนิดที่มีรูป เป็นการได้อัตภาพ
ที่มีรูปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในอรูปภพ รูปมีอยู่ และอรูปภพนั้นเป็นภพที่มีรูป เป็นคติ ฯลฯ
เป็นการได้อัตภาพที่มีรูปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในรูปธาตุ รูปมีอยู่ และรูปธาตุนั้นเป็นภพที่มีขันธ์ ๕ เป็นคติ ฯลฯ
เป็นการได้อัตภาพที่มีขันธ์ ๕ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในอรูปภพ รูปมีอยู่ และอรูปภพนั้นเป็นภพที่มีขันธ์ ๕ เป็นคติ ฯลฯ
เป็นการได้อัตภาพที่มีขันธ์ ๕ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในอรูปภพ รูปมีอยู่ และภพนั้นเป็นภพที่ไม่มีอรูป เป็นคติที่ไม่มีรูป
เป็นสัตตวาสที่ไม่มีรูป เป็นสงสารที่ไม่มีรูป เป็นกำเนิดที่ไม่มีรูป เป็นการได้
อัตภาพที่ไม่มีรูปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในอรูปธาตุ รูปมีอยู่ และอรูปธาตุนั้นเป็นภพที่ไม่มีรูป เป็นคติที่
ไม่มีรูป ฯลฯ เป็นการได้อัตภาพที่ไม่มีรูปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในอรูปภพ รูปมีอยู่ และอรูปภพนั้นเป็นภพที่มีขันธ์ ๔ เป็นคติ ฯลฯ
เป็นการได้อัตภาพที่มีขันธ์ ๔ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในอรูปธาตุ รูปมีอยู่ และอรูปธาตุนั้นเป็นภพที่มีขันธ์ ๔ เป็น
คติ ฯลฯ เป็นการได้อัตภาพที่มีขันธ์ ๔ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๖๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๙. รูปังกัมมันติกถา (๘๑)
[๕๒๖] สก. ในอรูปภพ รูปมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การสลัดออกจากรูป พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เป็นอรูปมิใช่หรือ”
ปร. ใช่
สก. หากการสลัดออกจากรูป พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เป็นอรูป” ท่านก็
ไม่ควรยอมรับว่า “ในอรูปภพ รูปยังมีอยู่”
สก. การสลัดออกจากรูป พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เป็นอรูป” โดย
มีพระประสงค์ว่า “ในอรูปภพ รูปยังมีอยู่” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การสลัดออกจากกาม พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เป็นเนกขัมมะ”
โดยมีพระประสงค์ว่า “กามยังมีอยู่ในเนกขัมมะ อาสวะยังมีอยู่ในอนาสาวะ โลกิยธรรม
ยังมีอยู่ ในโลกุตตรธรรม” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
อรูเปรูปกถา จบ

๙. รูปังกัมมันติกถา (๘๑)
ว่าด้วยรูปเป็นกรรม
[๕๒๗] สก. รูปที่เป็นกายกรรม๑ที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นกุศลใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. รูปที่เป็นกายกรรม เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง มี
ความผูกใจ มีความสนใจ มีความใฝ่ใจ มีความจงใจ มีความปรารถนา มีความ
ตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ รูปที่เป็นกายกรรม ในที่นี้หมายถึงกายวิญญัติรูป (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๒๗-๕๓๗/๒๓๘)
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหิสาสกะและนิกายสมิติยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๒๗/๒๓๘)
๓ เพราะมีความเห็นว่า รูปที่เป็นกายกรรม (กายวิญญัติ) และรูปที่เป็นวจีกรรม (วจีวิญญัติรูป) ที่เกิดจาก
กุศลจิต เป็นกุศลกรรม ส่วนรูปที่เกิดจากอกุศลจิต จัดเป็นอกุศลกรรม ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่
เห็นว่า เจตนาเท่านั้นจัดเป็นกรรม รูปไม่จัดเป็นกรรม (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๒๗/๒๓๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๖๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๙. รูปังกัมมันติกถา (๘๑)
สก. รูปที่เป็นกายกรรมเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง
ไม่มีความผูกใจ ไม่มีความสนใจ ไม่มีความใฝ่ใจ ไม่มีความจงใจ ไม่มีความปรารถนา
ไม่มีความตั้งใจมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากรูปที่เป็นกายกรรมเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง
ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “รูปที่เป็นกายกรรมที่เกิดขึ้นด้วย
จิตที่เป็นกุศลเป็นกุศล”
สก. ผัสสะที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง
ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปที่เป็นกายกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ได้
มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เวทนา ฯลฯ สัญญา ... เจตนา ... สัทธา ... วิริยะ ... สติ ... สมาธิ
ฯลฯ ปัญญา ที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง
ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปที่เป็นกายกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ได้
มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปที่เป็นกายกรรมเกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้
ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๖๗ }


>>>>> หน้าต่อไป >>>>>





eXTReMe Tracker