ค้นว่าอยู่เล่มใด แล้วกด [ctrl]+f หรือใช้คำสั่งของเครื่องหาตำแหน่งในเล่มอีกทีนะครับ



จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อความสะดวก และสวยงาม
(เฉพาะหน้าจอใหญ่ เช่น คอมพิวเตอร์)
กรุณาคลิก จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อให้กรอบ
ค้นข้อความ ปรากฎที่ด้านซ้ายของหน้า

พระไตรปิฎกภาษาไทย
ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม (ปกสีฟ้า)
ทั้งออนไลน์และออฟไลน์
ที่มาของข้อมูล : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มจร.
MCUTRAI Version 1.0

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗-๒ อภิธรรมปิฎกที่ ๐๔ กถาวัตถุ

พระอภิธรรมปิฎก
กถาวัตถุ
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
สก. อนาคตกับปัจจุบันเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อนาคตกับปัจจุบันเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวะที่มีอยู่เป็น(อนาคต) แล้วจึงเป็น(ปัจจุบัน) เป็น(ปัจจุบัน) แล้วจึง
เป็น(อนาคต) ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวะที่มีอยู่เป็น(อนาคต) แล้วจึงเป็น(ปัจจุบัน) เป็น(ปัจจุบัน) แล้ว
จึงเป็น(อนาคต) ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวะที่มีอยู่ไม่เป็น(อนาคต) แล้วจึงไม่เป็น(ปัจจุบัน) ไม่เป็น(ปัจจุบัน)
แล้วจึงไม่เป็น(อนาคต) ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เป็นปัจจุบันแล้วจึงเป็นอดีตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ปัจจุบันกับอดีตเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ปัจจุบันกับอดีตเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวะที่มีอยู่เป็น(ปัจจุบัน) แล้วจึงเป็น(อดีต) เป็น(อดีต) แล้วจึง
เป็น(ปัจจุบัน) ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๙๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
สก. สภาวะที่มีอยู่เป็น(ปัจจุบัน) แล้วจึงเป็น(อดีต) เป็น(อดีต) แล้วจึง
เป็น(ปัจจุบัน) ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวะที่มีอยู่ไม่เป็น(ปัจจุบัน) แล้วจึงไม่เป็น(อดีต) ไม่เป็น(อดีต)
แล้วจึงไม่เป็น(ปัจจุบัน) ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เป็นอนาคตแล้วจึงเป็นปัจจุบัน เป็นปัจจุบันแล้วจึงเป็นอดีตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อนาคต ปัจจุบัน และอดีตเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อนาคต ปัจจุบัน และอดีตเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวะที่มีอยู่เป็นอนาคตแล้วจึงเป็น(ปัจจุบันและอดีต) เป็น(ปัจจุบัน
และอดีต) แล้วจึงเป็น(อนาคต) ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวะที่มีอยู่เป็นอนาคตแล้วจึงเป็น(ปัจจุบันและอดีต) เป็น(ปัจจุบัน
และอดีต) แล้วจึงเป็น(อนาคต) ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวะที่มีอยู่ไม่เป็นอนาคตแล้วจึงไม่เป็น(ปัจจุบันและอดีต) ไม่เป็น
(ปัจจุบันและอดีต) แล้วจึงไม่เป็นอนาคตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๙๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
อตีตจักขุรูปาทิกถา
ว่าด้วยจักษุและรูปที่เป็นอดีต เป็นต้น
[๒๘๙] สก. จักขุประสาท รูปารมณ์ จักขุวิญญาณ แสงสว่าง มนสิการ
ที่เป็นอดีตมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลเห็นรูปที่เป็นอดีตได้ด้วยจักขุประสาทที่เป็นอดีตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โสตประสาท สัททารมณ์ โสตวิญญาณ อากาสธาตุ มนสิการ
ที่เป็นอดีตมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลได้ยินเสียงที่เป็นอดีตได้ด้วยโสตประสาทที่เป็นอดีตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ฆานประสาท คันธารมณ์ ฆานวิญญาณ วาโยธาตุ มนสิการ
ที่เป็นอดีตมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลดมกลิ่นที่เป็นอดีตได้ด้วยฆานประสาทที่เป็นอดีตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ชิวหาประสาท รสารมณ์ ชิวหาวิญญาณ อาโปธาตุ มนสิการ
ที่เป็นอดีตมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลลิ้มรสที่เป็นอดีตได้ด้วยชิวหาประสาทที่เป็นอดีตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๙๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
สก. กายประสาท โผฏฐัพพารมณ์ กายวิญญาณ ปฐวีธาตุ มนสิการ
ที่เป็นอดีตมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลถูกต้องโผฏฐัพพะที่เป็นอดีตได้ด้วยกายประสาทที่เป็นอดีตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มโนทวาร ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ หทัยวัตถุ มนสิการที่เป็นอดีต
มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลรู้ธรรมารมณ์ที่เป็นอดีตได้ด้วยมโนทวารที่เป็นอดีตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จักขุประสาท รูปารมณ์ จักขุวิญญาณ แสงสว่าง มนสิการที่เป็นอนาคต
มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลเห็นรูปที่เป็นอนาคตได้ด้วยจักขุประสาทที่เป็นอนาคตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โสตประสาท ฯลฯ ฆานประสาท ฯลฯ ชิวหาประสาท ฯลฯ กาย-
ประสาท ฯลฯ มโนทวาร ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ หทัยวัตถุ มนสิการที่เป็น
อนาคตมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลรู้ธรรมารมณ์ที่เป็นอนาคตได้ด้วยมโนทวารที่เป็นอนาคตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๙๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
สก. จักขุประสาท รูปารมณ์ จักขุวิญญาณ แสงสว่าง มนสิการที่เป็น
ปัจจุบันมีอยู่ บุคคลเห็นรูปที่เป็นปัจจุบันได้ด้วยจักขุประสาทที่เป็นปัจจุบันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักขุประสาท รูปารมณ์ จักขุวิญญาณ แสงสว่าง มนสิการที่เป็นอดีต
มีอยู่ บุคคลเห็นรูปที่เป็นอดีตได้ด้วยจักขุประสาทที่เป็นอดีตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โสตประสาท ฯลฯ ฆานประสาท ฯลฯ ชิวหาประสาท ฯลฯ
กายประสาท ฯลฯ มโนทวาร ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ หทัยวัตถุ มนสิการที่
เป็นปัจจุบันมีอยู่ บุคคลรู้ธรรมารมณ์ที่เป็นปัจจุบันได้ ด้วยมโนทวารที่เป็นปัจจุบัน
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มโนทวาร ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ หทัยวัตถุ มนสิการที่เป็นอดีตมีอยู่
บุคคลรู้ธรรมารมณ์ที่เป็นอดีตได้ด้วยมโนทวารที่เป็นอดีตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จักขุประสาท รูปารมณ์ จักขุวิญญาณ แสงสว่าง มนสิการที่เป็น
ปัจจุบันมีอยู่ บุคคลเห็นรูปที่เป็นปัจจุบันได้ด้วยจักขุประสาทที่เป็นปัจจุบันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักขุประสาท รูปารมณ์ จักขุวิญญาณ แสงสว่าง มนสิการที่เป็นอนาคต
มีอยู่ บุคคลเห็นรูปที่เป็นอนาคตได้ด้วยจักขุประสาทที่เป็นอนาคตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โสตประสาท ฯลฯ ฆานประสาท ฯลฯ ชิวหาประสาท ฯลฯ
กายประสาท ฯลฯ มโนทวาร ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ หทัยวัตถุ มนสิการที่
เป็นปัจจุบันมีอยู่ บุคคลรู้ธรรมารมณ์ที่เป็นปัจจุบันได้ ด้วยมโนทวารที่เป็นปัจจุบัน
ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๙๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
สก. มโนทวาร ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ หทัยวัตถุ มนสิการที่เป็นอนาคต
มีอยู่ บุคคลรู้ธรรมารมณ์ที่เป็นอนาคตได้ด้วยมโนทวารที่เป็นอนาคตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จักขุประสาท รูปารมณ์ จักขุวิญญาณ แสงสว่าง มนสิการที่เป็นอดีต
มีอยู่ แต่บุคคลไม่เห็นรูปที่เป็นอดีตด้วยจักขุประสาทที่เป็นอดีตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักขุประสาท รูปารมณ์ จักขุวิญญาณ แสงสว่าง และมนสิการที่เป็น
ปัจจุบันมีอยู่ แต่บุคคลไม่เห็นรูปที่เป็นปัจจุบันด้วยจักขุประสาทที่เป็นปัจจุบันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โสตประสาท ฯลฯ ฆานประสาท ฯลฯ ชิวหาประสาท ฯลฯ กาย-
ประสาท ฯลฯ มโนทวาร ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ หทัยวัตถุ มนสิการที่เป็น
อดีตมีอยู่ แต่บุคคลไม่รู้ธรรมารมณ์ที่เป็นอดีตด้วยมโนทวารที่เป็นอดีตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มโนทวาร ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ หทัยวัตถุ มนสิการที่เป็นปัจจุบัน
มีอยู่ แต่บุคคลไม่รู้ธรรมารมณ์ที่เป็นปัจจุบันด้วยมโนทวารที่เป็นปัจจุบันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จักขุประสาท รูปารมณ์ จักขุวิญญาณ แสงสว่าง มนสิการที่เป็นอนาคต
มีอยู่ แต่บุคคลไม่เห็นรูปที่เป็นอนาคตด้วยจักขุประสาทที่เป็นอนาคตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักขุประสาท รูปารมณ์ จักขุวิญญาณ แสงสว่าง มนสิการที่เป็นปัจจุบัน
มีอยู่ แต่บุคคลไม่เห็นรูปที่เป็นปัจจุบันด้วยจักขุประสาทที่เป็นปัจจุบันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๙๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
สก. โสตประสาท ฯลฯ ฆานประสาท ฯลฯ ชิวหาประสาท ฯลฯ กาย-
ประสาท ฯลฯ มโนทวาร ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ หทัยวัตถุ มนสิการที่
เป็นอนาคตมีอยู่ แต่บุคคลไม่รู้ธรรมารมณ์ที่เป็นอนาคตด้วยมโนทวารที่เป็นอนาคต
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มโนทวาร ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ หทัยวัตถุ มนสิการที่เป็น
ปัจจุบันมีอยู่ แต่บุคคลไม่รู้ธรรมารมณ์ที่เป็นปัจจุบันด้วยมโนทวารที่เป็นปัจจุบัน
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

อตีตญาณาทิกถา
ว่าด้วยญาณที่เป็นอดีต เป็นต้น
[๒๙๐] สก. ญาณที่เป็นอดีตมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลทำกิจที่ควรทำด้วยญาณได้ด้วยญาณนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลทำกิจที่ควรทำด้วยญาณได้ด้วยญาณนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลกำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำให้แจ้งนิโรธ เจริญมรรคได้ด้วยญาณ
นั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ญาณที่เป็นอนาคตมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๙๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
สก. บุคคลทำกิจที่ควรทำด้วยญาณได้ด้วยญาณนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลทำกิจที่ควรทำด้วยญาณได้ด้วยญาณนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลกำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำให้แจ้งนิโรธ เจริญมรรคได้ด้วยญาณ
นั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ญาณที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ บุคคลทำกิจที่ควรทำด้วยญาณได้ด้วยญาณนั้น
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ญาณที่เป็นอดีตมีอยู่ บุคคลทำกิจที่ควรทำด้วยญาณได้ด้วยญาณนั้น
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ญาณที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ บุคคลกำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำให้แจ้งนิโรธ
เจริญมรรคได้ด้วยญาณนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ญาณที่เป็นอดีตมีอยู่ บุคคลกำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำให้แจ้งนิโรธ
เจริญมรรคได้ด้วยญาณนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ญาณที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ บุคคลทำกิจที่ควรทำด้วยญาณได้ด้วยญาณ
นั้นใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๙๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
สก. ญาณที่เป็นอนาคตมีอยู่ บุคคลทำกิจที่ควรทำด้วยญาณได้ด้วยญาณนั้น
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ญาณที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ บุคคลกำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำให้แจ้งนิโรธ
เจริญมรรคได้ด้วยญาณนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ญาณที่เป็นอนาคตมีอยู่ บุคคลกำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำให้แจ้งนิโรธ
เจริญมรรคได้ด้วยญาณนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ญาณที่เป็นอดีตมีอยู่ แต่บุคคลไม่ทำกิจที่ควรทำด้วยญาณได้ด้วยญาณ
นั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ญาณที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ แต่บุคคลไม่ทำกิจที่ควรทำด้วยญาณได้ด้วย
ญาณนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ญาณที่เป็นอดีตมีอยู่ แต่บุคคลไม่กำหนดรู้ทุกข์ ไม่ละสมุทัย ไม่ทำให้
แจ้งนิโรธ ไม่เจริญมรรคได้ด้วยญาณนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ญาณที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ แต่บุคคลไม่กำหนดรู้ทุกข์ ไม่ละสมุทัย ไม่ทำ
ให้แจ้งนิโรธ ไม่เจริญมรรคได้ด้วยญาณนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ญาณที่เป็นอนาคตมีอยู่ แต่บุคคลไม่ทำกิจที่ควรทำด้วยญาณได้ด้วย
ญาณนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๙๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
สก. ญาณที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ แต่บุคคลไม่ทำกิจที่ควรทำด้วยญาณได้ด้วย
ญาณนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ญาณที่เป็นอนาคตมีอยู่ แต่บุคคลไม่กำหนดรู้ทุกข์ ไม่ละสมุทัย ไม่ทำให้
แจ้งนิโรธ ไม่เจริญมรรคได้ด้วยญาณนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ญาณที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ แต่บุคคลไม่กำหนดรู้ทุกข์ ไม่ละสมุทัย ไม่ทำให้
แจ้งนิโรธ ไม่เจริญมรรคได้ด้วยญาณนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

อรหันตาทิกถา
ว่าด้วยพระอรหันต์ เป็นต้น
[๒๙๑] สก. ราคะที่เป็นอดีตของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ชื่อว่ามีราคะด้วยราคะนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โทสะที่เป็นอดีตของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ชื่อว่ามีโทสะด้วยโทสะนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โมหะที่เป็นอดีตของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๙๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
สก. พระอรหันต์ชื่อว่ามีโมหะด้วยโมหะนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มานะที่เป็นอดีตของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ชื่อว่ามีมานะด้วยมานะนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ทิฏฐิที่เป็นอดีตของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ชื่อว่ามีทิฏฐิด้วยทิฏฐินั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิจิกิจฉาที่เป็นอดีตของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ชื่อว่ามีวิจิกิจฉาด้วยวิจิกิจฉานั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ถีนะที่เป็นอดีตของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ชื่อว่ามีถีนะด้วยถีนะนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อุทธัจจะที่เป็นอดีตของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ชื่อว่ามีอุทธัจจะด้วยอุทธัจจะนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๐๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
สก. อหิริกะที่เป็นอดีตของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ชื่อว่ามีอหิริกะด้วยอหิริกะนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อโนตตัปปะที่เป็นอดีตของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ชื่อว่ามีอโนตตัปปะด้วยอโนตตัปปะนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สักกายทิฏฐิที่เป็นอดีตของพระอนาคามีมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอนาคามีชื่อว่ามีทิฏฐิด้วยทิฏฐินั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิจิกิจฉาที่เป็นอดีต ฯลฯ สีลัพพตปรามาสที่เป็นอดีต ฯลฯ กามราคะ
อย่างละเอียดที่เป็นอดีต ฯลฯ พยาบาทอย่างละเอียดที่เป็นอดีตของพระอนาคามี
มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอนาคามีชื่อว่ามีจิตพยาบาทด้วยพยาบาทนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สักกายทิฏฐิที่เป็นอดีตของพระสกทาคามีมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสกทาคามีชื่อว่ามีทิฏฐิด้วยทิฏฐินั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๐๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
สก. วิจิกิจฉาที่เป็นอดีต ... สีลัพพตปรามาสที่เป็นอดีต ... กามราคะอย่าง
หยาบที่เป็นอดีต ... พยาบาทอย่างหยาบที่เป็นอดีตของพระสกทาคามีมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสกทาคามีชื่อว่ามีจิตพยาบาทด้วยพยาบาทนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สักกายทิฏฐิที่เป็นอดีตของพระโสดาบันมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโสดาบันชื่อว่ามีทิฏฐิด้วยทิฏฐินั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิจิกิจฉาที่เป็นอดีต ... สีลัพพตปรามาสที่เป็นอดีต ... ราคะที่เป็นเหตุให้
สัตว์ไปสู่อบายที่เป็นอดีต ... โทสะที่เป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบายที่เป็นอดีต ... โมหะที่
เป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบายที่เป็นอดีตของพระโสดาบันมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโสดาบันชื่อว่ามีโมหะด้วยโมหะนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๙๒] สก. ราคะที่เป็นอดีตของปุถุชนมีอยู่ ปุถุชนชื่อว่ามีราคะด้วยราคะ
นั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ราคะที่เป็นอดีตของพระอรหันต์มีอยู่ พระอรหันต์ชื่อว่ามีราคะด้วยราคะ
นั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๐๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
สก. โทสะที่เป็นอดีต ฯลฯ อโนตตัปปะที่เป็นอดีตของปุถุชนมีอยู่ ปุถุชนชื่อว่า
มีอโนตตัปปะด้วยอโนตตัปปะนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อโนตตัปปะที่เป็นอดีตของพระอรหันต์มีอยู่ พระอรหันต์ชื่อว่ามีอโนตตัปปะ
ด้วยอโนตตัปปะนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สักกายทิฏฐิที่เป็นอดีตของปุถุชนมีอยู่ ปุถุชนชื่อว่ามีทิฏฐิด้วยทิฏฐินั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สักกายทิฏฐิที่เป็นอดีตของพระอนาคามีมีอยู่ พระอนาคามีชื่อว่ามีทิฏฐิ
ด้วยทิฏฐินั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิจิกิจฉาที่เป็นอดีต ฯลฯ พยาบาทอย่างละเอียดที่เป็นอดีตของปุถุชน
มีอยู่ ปุถุชนชื่อว่ามีจิตพยาบาทด้วยพยาบาทนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พยาบาทอย่างละเอียดที่เป็นอดีตของพระอนาคามีมีอยู่ พระอนาคามี
ชื่อว่ามีจิตพยาบาทด้วยพยาบาทนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สักกายทิฏฐิที่เป็นอดีตของปุถุชนมีอยู่ ปุถุชนชื่อว่ามีทิฏฐิด้วยทิฏฐินั้น
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สักกายทิฏฐิที่เป็นอดีตของพระสกทาคามีมีอยู่ พระสกทาคามีชื่อว่ามีทิฏฐิ
ด้วยทิฏฐินั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๐๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
สก. วิจิกิจฉาที่เป็นอดีต ฯลฯ พยาบาทอย่างหยาบที่เป็นอดีตของปุถุชนมีอยู่
ปุถุชนชื่อว่ามีจิตพยาบาทด้วยพยาบาทนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พยาบาทอย่างหยาบที่เป็นอดีตของพระสกทาคามีมีอยู่ พระสกทาคามี
ชื่อว่ามีจิตพยาบาทด้วยพยาบาทนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สักกายทิฏฐิที่เป็นอดีตของปุถุชนมีอยู่ ปุถุชนชื่อว่ามีทิฏฐิด้วยทิฏฐินั้น
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สักกายทิฏฐิที่เป็นอดีตของพระโสดาบันมีอยู่ พระโสดาบันชื่อว่ามีทิฏฐิ
ด้วยทิฏฐินั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิจิกิจฉาที่เป็นอดีต ฯลฯ โมหะที่เป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบายที่เป็นอดีตของ
ปุถุชนมีอยู่ ปุถุชนชื่อว่ามีโมหะด้วยโมหะนั้นใช่ไหม ปร. ใช่
สก. โมหะที่เป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบายที่เป็นอดีตของพระโสดาบันมีอยู่ พระ
โสดาบันชื่อว่ามีโมหะด้วยโมหะนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ราคะที่เป็นอดีตของพระอรหันต์มีอยู่ แต่พระอรหันต์ไม่ชื่อว่ามีราคะ
ด้วยราคะนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ราคะที่เป็นอดีตของปุถุชนมีอยู่ แต่ปุถุชนไม่ชื่อว่ามีราคะด้วยราคะนั้น
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๐๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
สก. โทสะที่เป็นอดีต ฯลฯ อโนตตัปปะที่เป็นอดีตของพระอรหันต์มีอยู่ แต่
พระอรหันต์ไม่ชื่อว่ามีอโนตตัปปะด้วยอโนตตัปปะนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อโนตตัปปะที่เป็นอดีตของปุถุชนมีอยู่ แต่ปุถุชนไม่ชื่อว่ามีอโนตตัปปะ
ด้วยอโนตตัปปะนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สักกายทิฏฐิที่เป็นอดีตของพระอนาคามีมีอยู่ แต่พระอนาคามีไม่ชื่อว่ามี
ทิฏฐิด้วยทิฏฐินั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สักกายทิฏฐิที่เป็นอดีตของปุถุชนมีอยู่ แต่ปุถุชนไม่ชื่อว่ามีทิฏฐิด้วยทิฏฐิ
นั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิจิกิจฉาที่เป็นอดีต ฯลฯ พยาบาทอย่างละเอียดที่เป็นอดีตของ
พระอนาคามีมีอยู่ แต่พระอนาคามีไม่ชื่อว่ามีจิตพยาบาทด้วยพยาบาทนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พยาบาทอย่างละเอียดที่เป็นอดีตของปุถุชนมีอยู่ แต่ปุถุชนไม่ชื่อว่ามี
จิตพยาบาทด้วยพยาบาทนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สักกายทิฏฐิที่เป็นอดีตของพระสกทาคามีมีอยู่ แต่พระสกทาคามีไม่
ชื่อว่ามีทิฏฐิด้วยทิฏฐินั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สักกายทิฏฐิที่เป็นอดีตของปุถุชนมีอยู่ แต่ปุถุชนไม่ชื่อว่ามีทิฏฐิด้วย
ทิฏฐินั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๐๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
สก. วิจิกิจฉาที่เป็นอดีต ฯลฯ พยาบาทอย่างหยาบที่เป็นอดีตของ
พระสกทาคามีมีอยู่ แต่พระสกทาคามีไม่ชื่อว่ามีจิตพยาบาทด้วยพยาบาทนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พยาบาทอย่างหยาบที่เป็นอดีตของปุถุชนมีอยู่ แต่ปุถุชนไม่ชื่อว่ามี
จิตพยาบาทด้วยพยาบาทนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สักกายทิฏฐิที่เป็นอดีตของพระโสดาบันมีอยู่ แต่พระโสดาบันไม่ชื่อว่า
มีทิฏฐิด้วยทิฏฐินั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สักกายทิฏฐิที่เป็นอดีตของปุถุชนมีอยู่ แต่ปุถุชนไม่ชื่อว่ามีทิฏฐิด้วย
ทิฏฐินั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิจิกิจฉาที่เป็นอดีต ฯลฯ โมหะที่เป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบายที่เป็นอดีตของ
พระโสดาบันมีอยู่ แต่พระโสดาบันไม่ชื่อว่ามีโมหะด้วยโมหะนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โมหะที่เป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบายที่เป็นอดีตของปุถุชนมีอยู่ แต่ปุถุชน
ไม่ชื่อว่ามีโมหะด้วยโมหะนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๐๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
อตีตหัตถาทิกถา
ว่าด้วยมือที่เป็นอดีต เป็นต้น
[๒๙๓] สก. มือที่เป็นอดีตมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อมือที่เป็นอดีตมีอยู่ การจับและการวางย่อมปรากฏใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เท้าที่เป็นอดีตมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อเท้าที่เป็นอดีตมีอยู่ การก้าวไปและถอยกลับย่อมปรากฏใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ข้อพับที่เป็นอดีตมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อข้อพับที่เป็นอดีตมีอยู่ การคู้เข้าและเหยียดออกย่อมปรากฏใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ท้องที่เป็นอดีตมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อท้องที่เป็นอดีตมีอยู่ ความหิวและกระหายย่อมปรากฏใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กายที่เป็นอดีตมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กายที่เป็นอดีตได้รับการยกย่องและการลงโทษ ได้รับการตัดและการทำลาย
เป็นของทั่วไปแก่ฝูงกา แร้ง เหยี่ยวใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๐๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
สก. ยาพิษ ศัสตรา ไฟ พึงกล้ำกรายเข้าไปในกายที่เป็นอดีตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กายที่เป็นอดีตยังถูกจองจำด้วยเครื่องจองจำคือขื่อคา เครื่องจองจำ
คือเชือก เครื่องจองจำคือโซ่ตรวน เครื่องจองจำคือบ้าน เครื่องจองจำคือนิคม
เครื่องจองจำคือนคร เครื่องจองจำคือชนบท ด้วยการจองจำมีการผูกที่คอเป็นที่ ๕๑
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. น้ำที่เป็นอดีตมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลทำกิจที่ต้องทำด้วยน้ำได้ด้วยน้ำนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ไฟที่เป็นอดีตมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลทำกิจที่ควรทำด้วยไฟได้ด้วยไฟนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ลมที่เป็นอดีตมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลทำกิจที่ควรทำด้วยลมได้ด้วยลมนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ การจองจำมีการผูกคอเป็นที่ ๕ คือ มือ ๒ เท้า ๒ คอ ๑ เรียกเครื่องจองจำนี้ว่า จำห้าประการ
ได้แก่ (๑) ตรวนใส่เท้า (๒) เท้าติดขื่อไม้ (๓) โซ่ล่ามคอ (๔) คาไม้ใส่คอทับโซ่ (๕) มือ ๒ ข้าง สอด
เข้าไปในคาและไปติดกับขื่อไม้ (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๐๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
อตีตักขันธาทิสโมธานกถา
ว่าด้วยการประมวลขันธ์ที่เป็นอดีต เป็นต้น
[๒๙๔] สก. รูปขันธ์ที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต ที่เป็นปัจจุบัน มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปขันธ์มี ๓ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ขันธ์ ๕ ที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต ที่เป็นปัจจุบัน มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ขันธ์มี ๑๕ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จักขายตนะที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต ที่เป็นปัจจุบัน มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักขายตนะมี ๓ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อายตนะ ๑๒ ที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต ที่เป็นปัจจุบัน มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อายตนะมี ๓๖ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จักขุธาตุที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต ที่เป็นปัจจุบัน มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักขุธาตุมี ๓ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๐๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
สก. ธาตุ ๑๘ ที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต ที่เป็นปัจจุบัน มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ธาตุมี ๕๔ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จักขุนทรีย์ที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต ที่เป็นปัจจุบัน มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักขุนทรีย์มี ๓ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อินทรีย์ ๒๒ ที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต ที่เป็นปัจจุบัน มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อินทรีย์มี ๖๖ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระเจ้าจักรพรรดิที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต ที่เป็นปัจจุบัน มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระเจ้าจักรพรรดิทั้ง ๓ พระองค์ทรงพบกันได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต ที่เป็นปัจจุบัน มีอยู่
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้ง ๓ พระองค์ทรงพบกันได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๑๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
ปทโสธนกถา
ว่าด้วยการซักฟอกบท
[๒๙๕] สก. อดีตมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวะที่มีอยู่เป็นอดีตใช่ไหม
ปร. สภาวะที่มีอยู่ เป็นอดีตก็มี ไม่เป็นอดีตก็มี
สก. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้
หากอดีตมีอยู่ สภาวะที่มีอยู่เป็นอดีตก็มี ไม่เป็นอดีตก็มี ดังนั้น อดีตจึงไม่
เป็นอดีต สภาวะที่ไม่ใช่อดีตจึงเป็นอดีต ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า
“ข้าพเจ้ายอมรับว่า อดีตมีอยู่ สภาวะที่มีอยู่เป็นอดีตก็มี ไม่เป็นอดีตก็มี ดังนั้น
อดีตจึงไม่เป็นอดีต สภาวะที่ไม่ใช่อดีตจึงเป็นอดีต” คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “อดีตมีอยู่ สภาวะที่ไม่ใช่อดีต เป็นอดีต”
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “อดีตมีอยู่ สภาวะที่มีอยู่เป็นอดีตก็มี ไม่เป็นอดีตก็มี”
ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า อดีตมีอยู่ สภาวะที่มี
อยู่เป็นอดีตก็มี ไม่เป็นอดีตก็มี ดังนั้น อดีตจึงไม่เป็นอดีต สภาวะที่ไม่เป็นอดีตจึง
เป็นอดีต” คำนั้นของท่านผิด
สก. อนาคตมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวะที่มีอยู่เป็นอนาคตใช่ไหม
ปร. สภาวะที่มีอยู่เป็นอนาคตก็มี ไม่เป็นอนาคตก็มี
สก. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้
หากอนาคตมีอยู่ สภาวะที่มีอยู่เป็นอนาคตก็มี ไม่เป็นอนาคตก็มี ดังนั้น
อนาคตจึงไม่เป็นอนาคต สภาวะที่ไม่เป็นอนาคตจึงเป็นอนาคต ท่านกล่าวคำขัด
แย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า อนาคตมีอยู่ สภาวะที่มีอยู่เป็นอนาคตก็มี
ไม่เป็นอนาคตก็มี ดังนั้น อนาคตจึงไม่เป็นอนาคต สภาวะที่ไม่เป็นอนาคตจึงเป็น
อนาคต” คำนั้นของท่านผิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๑๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “อนาคตไม่เป็นอนาคต สภาวะที่ไม่เป็นอนาคต
เป็นอนาคต” ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “อนาคตมีอยู่ สภาวะที่มีอยู่ เป็นอนาคตก็มี
ไม่เป็นอนาคตก็มี” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า
อนาคตมีอยู่ สภาวะที่มีอยู่เป็นอนาคตก็มี ไม่เป็นอนาคตก็มี ดังนั้น อนาคตจึงไม่
เป็นอนาคต สภาวะที่ไม่เป็นอนาคตจึงเป็นอนาคต” คำนั้นของท่านผิด
ปร. ปัจจุบันมีอยู่ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. สภาวะที่มีอยู่เป็นปัจจุบันใช่ไหม
สก. สภาวะที่มีอยู่เป็นปัจจุบันก็มี ไม่เป็นปัจจุบันก็มี
ปร. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้
หากปัจจุบันมีอยู่ สภาวะที่มีอยู่เป็นปัจจุบันก็มี ไม่เป็นปัจจุบันก็มี ดังนั้น
ปัจจุบันจึงไม่เป็นปัจจุบัน สภาวะที่ไม่เป็นปัจจุบันจึงเป็นปัจจุบัน ท่านกล่าวคำ
ขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ปัจจุบันมีอยู่ สภาวะที่มีอยู่เป็น
ปัจจุบันก็มี ไม่เป็นปัจจุบันก็มี ดังนั้น ปัจจุบันจึงไม่เป็นปัจจุบัน สภาวะที่ไม่เป็น
ปัจจุบันจึงเป็นปัจจุบัน” คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “ปัจจุบันไม่เป็นปัจจุบัน สภาวะที่ไม่เป็น
ปัจจุบันเป็นปัจจุบัน” ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ปัจจุบันมีอยู่ สภาวะที่มีอยู่เป็น
ปัจจุบันก็มี ไม่เป็นปัจจุบันก็มี” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้า
ยอมรับว่า ปัจจุบันมีอยู่ สภาวะที่มีอยู่เป็นปัจจุบันก็มี ไม่เป็นปัจจุบันก็มี ดังนั้น
ปัจจุบันจึงไม่เป็นปัจจุบัน สภาวะที่ไม่เป็นปัจจุบันจึงเป็นปัจจุบัน” คำนั้นของท่านผิด
ปร. นิพพานมีอยู่ใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๑๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
ปร. สภาวะที่มีอยู่เป็นนิพพานใช่ไหม
สก. สภาวะที่มีอยู่เป็นนิพพานก็มี ไม่เป็นนิพพานก็มี
ปร. ท่านจงรับนิคคหะดังต่อไปนี้
หากนิพพานมีอยู่ สภาวะที่มีอยู่เป็นนิพพานก็มี ไม่เป็นนิพพานก็มี ดังนั้น
นิพพานจึงไม่ใช่นิพพาน สภาวะที่ไม่ใช่นิพพานจึงเป็นนิพพาน ท่านกล่าวคำขัด
แย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า นิพพานมีอยู่ สภาวะที่มีอยู่เป็นนิพพานก็มี
ไม่เป็นนิพพานก็มี ดังนั้น นิพพานจึงไม่ใช่นิพพาน สภาวะที่ไม่ใช่นิพพานจึงเป็น
นิพพาน” คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “นิพพานไม่ใช่นิพพาน สภาวะที่ไม่ใช่นิพพาน
เป็นนิพพาน” ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “นิพพานมีอยู่ สภาวะที่มีอยู่เป็นนิพพานก็มี
ไม่เป็นนิพพานก็มี” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า
นิพพานมีอยู่ สภาวะที่มีอยู่เป็นนิพพานก็มี ไม่เป็นนิพพานก็มี ดังนั้น นิพพานจึง
ไม่ใช่นิพพาน สภาวะที่ไม่ใช่นิพพานจึงเป็นนิพพาน” คำนั้นของท่านผิด

สุตตสาธนะ
ว่าด้วยการอ้างพระสูตร
[๒๙๖] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “อดีตมีอยู่ อนาคตมีอยู่” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปอย่างใดอย่าง
หนึ่ง คือ รูปที่เป็นอดีต รูปที่เป็นอนาคต รูปที่เป็นปัจจุบัน รูปที่เป็นภายในตน
รูปที่เป็นภายนอกตน รูปหยาบ รูปละเอียด รูปชั้นต่ำ รูปชั้นประณีต รูปไกล
หรือรูปใกล้ ประมวลเข้าเป็นกองเดียวกัน นี้เรียกว่า รูปขันธ์ เวทนา ฯลฯ สัญญา
ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง คือวิญญาณที่เป็นอดีต วิญญาณ
ที่เป็นอนาคต วิญญาณที่เป็นปัจจุบัน วิญญาณที่เป็นภายในตน วิญญาณที่เป็น
ภายนอกตน วิญญาณหยาบ วิญญาณละเอียด วิญญาณชั้นต่ำ วิญญาณชั้นประณีต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๑๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
วิญญาณไกล หรือวิญญาณใกล้ ประมวลเข้าเป็นกองเดียวกัน นี้เรียกว่า
วิญญาณขันธ์” ๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น อดีตจึงมีอยู่ อนาคตก็มีอยู่
สก. อดีตมีอยู่ อนาคตก็มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย หลักการ ๓
ประการนี้ คือ (๑) หลักภาษา (๒) หลักการตั้งชื่อ (๓) หลักการบัญญัติ ในอดีต
ไม่ถูกลบล้างแล้ว ไม่เคยถูกลบล้าง ในปัจจุบันไม่ถูกลบล้าง ในอนาคตก็จักไม่ถูก
ลบล้าง ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้คัดค้าน หลักการ ๓ ประการ เป็นอย่างไร คือ (๑)
รูปใดล่วงไป ดับไป แปรผันไปแล้ว เรียกรูปนั้นว่า “ได้มีแล้ว” ตั้งชื่อรูปนั้นว่า
“ได้มีแล้ว” บัญญัติรูปนั้นว่า “ได้มีแล้ว” (แต่) ไม่เรียกรูปนั้นว่า “มีอยู่” ไม่เรียก
รูปนั้นว่า “จักมี” เวทนาใด ฯลฯ สัญญาใด ฯลฯ สังขารใด ฯลฯ วิญญาณใดล่วงไป
ดับไป แปรผันไปแล้ว เรียกวิญญาณนั้นว่า “ได้มีแล้ว” ตั้งชื่อวิญญาณนั้นว่า
“ได้มีแล้ว” บัญญัติวิญญาณนั้นว่า “ได้มีแล้ว” (แต่) ไม่เรียกวิญญาณนั้นว่า “มีอยู่”
ไม่เรียกวิญญาณนั้นว่า “จักมี” (๒) รูปใดยังไม่เกิด ยังไม่ปรากฏ เรียกรูปนั้นว่า
“จักมี” ตั้งชื่อรูปนั้นว่า “จักมี” บัญญัติรูปนั้นว่า “จักมี” (แต่) ไม่เรียกรูปนั้นว่า
“มีอยู่” ไม่เรียกรูปนั้นว่า “ได้มีแล้ว” เวทนาใด ฯลฯ สัญญาใด ฯลฯ สังขารใด
ฯลฯ วิญญาณใดยังไม่เกิด ยังไม่ปรากฏ เรียกวิญญาณนั้นว่า “จักมี” ตั้งชื่อวิญญาณ
นั้นว่า “จักมี” บัญญัติวิญญาณนั้นว่า “จักมี” (แต่) ไม่เรียกวิญญาณนั้นว่า “มีอยู่”
ไม่เรียกวิญญาณนั้นว่า “ได้มีแล้ว” (๓) รูปใดเกิดอยู่ ปรากฏอยู่ เรียกรูปนั้นว่า
“มีอยู่” ตั้งชื่อรูปนั้นว่า “มีอยู่” บัญญัติรูปนั้นว่า “มีอยู่” (แต่) ไม่เรียกรูปนั้นว่า
“ได้มีแล้ว” ไม่เรียกรูปนั้นว่า “จักมี” เวทนาใด ฯลฯ สัญญาใด ฯลฯ สังขารใด

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๒-๓๑/๑-๑๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๑๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
ฯลฯ วิญญาณใดเกิดแล้ว ปรากฏอยู่ เรียกวิญญาณนั้นว่า “มีอยู่” ตั้งชื่อวิญญาณนั้นว่า
“มีอยู่” บัญญัติวิญญาณนั้นว่า “มีอยู่” (แต่) ไม่เรียกวิญญาณนั้นว่า “ได้มีแล้ว”
ไม่เรียกวิญญาณนั้นว่า “จักมี” ภิกษุทั้งหลาย หลักการ ๓ ประการ คือ
(๑) หลักภาษา (๒) หลักการตั้งชื่อ (๓) หลักการบัญญัติ ในอดีตไม่ถูกลบล้างแล้ว
ไม่เคยถูกลบล้าง ในปัจจุบันไม่ถูกลบล้าง ในอนาคตก็จักไม่ถูกลบล้าง ไม่ถูก
สมณพราหมณ์ผู้รู้คัดค้าน
ภิกษุทั้งหลาย แม้ชนชาวอุกกลชนบทกับชนชาววัสสภัญญชนบททั้ง ๒ พวก
เป็นผู้ถืออเหตุกวาทะ๑ เป็นผู้ถืออกิริยวาทะ๒ เป็นผู้ถือนัตถิกวาทะ๓ ได้สำคัญหลักการ
๓ ประการ คือ (๑) หลักภาษา (๒) หลักการตั้งชื่อ (๓) หลักการบัญญัติ ว่าไม่
ควรติเตียน ไม่ควรคัดค้าน ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะกลัวถูกนินทา ใส่โทษและ
ถูกคัดค้าน” ๔ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “อดีตมีอยู่ อนาคตมีอยู่”
สก. อดีตมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรนี้ว่า “ท่านพระผัคคุณะได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ‘ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ บุคคลเมื่อจะบัญญัติพระพุทธเจ้าทั้งหลายในอดีต ผู้ตัดธรรมเป็น
เครื่องเนิ่นช้า ผู้ตัดทางได้แล้ว ผู้ครอบงำวัฏฏะได้แล้ว ผู้ล่วงพ้นทุกข์ทั้งปวงได้แล้ว
ปรินิพพานแล้ว พึงบัญญัติด้วยจักขุใด จักขุนั้นมีอยู่หรือ ฯลฯ ชิวหานั้นมีอยู่หรือ

เชิงอรรถ :
๑ อเหตุกวาทะ หมายถึงลัทธิที่ถือว่าเหตุปัจจัยที่ทำให้สัตว์บริสุทธิ์หรือเศร้าหมองไม่มี (สํ.ข.อ. ๒/๖๒/๓๐๗)
๒ อกิริยวาทะ หมายถึงลัทธิที่ถือว่าการกระทำทุกอย่างไม่มีผล ทำดีก็ไม่ได้ดี ทำชั่วก็ไม่ได้ชั่ว เป็นความ
เห็นที่ปฏิเสธกฎแห่งกรรม (ที.สี.อ. ๑/๑๖๖/๑๔๕, สํ.ข.อ. ๒/๖๒/๓๐๗)
๓ นัตถิกวาทะ หมายถึงลัทธิที่ถือว่าไม่มีเหตุปัจจัยที่ทำให้สัตว์บริสุทธิ์หรือเศร้าหมอง (ที.สี.อ. ๑/๑๖๘/๑๔๖,
สํ.ข.อ. ๒/๖๒/๓๐๗)
๔ ดูเทียบ สํ.ข. (แปล) ๑๗/๖๒/๑๐๐-๑๐๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๑๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
ฯลฯ บุคคลเมื่อจะบัญญัติพระพุทธเจ้าทั้งหลายในอดีต ผู้ตัดธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้า
ผู้ตัดทางได้แล้ว ผู้ครอบงำวัฏฏะได้แล้ว ผู้ล่วงพ้นทุกข์ทั้งปวงได้แล้ว ปรินิพพานแล้ว
พึงบัญญัติด้วยมโนใด มโนนั้นมีอยู่หรือ’
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ‘ผัคคุณะ บุคคลเมื่อจะบัญญัติพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ในอดีต ผู้ตัดธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้า ผู้ตัดทางได้แล้ว ผู้ครอบงำวัฏฏะได้แล้ว ผู้
ล่วงพ้นทุกข์ทั้งปวงได้แล้ว ปรินิพพานแล้ว พึงบัญญัติด้วยจักขุใด จักขุนั้นไม่มีเลย
ฯลฯ ชิวหานั้นไม่มีเลย ฯลฯ บุคคลเมื่อจะบัญญัติพระพุทธเจ้าทั้งหลายในอดีต
ผู้ตัดธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้า ผู้ตัดทางได้แล้ว ผู้ครอบงำวัฏฏะได้แล้ว ผู้ล่วงพ้นทุกข์
ทั้งปวงได้แล้ว ปรินิพพานแล้ว พึงบัญญัติด้วยมโนใด มโนนั้นไม่มีเลย”๑ มีอยู่จริง
มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “อดีตมีอยู่”
สก. อดีตมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่ว่า “ท่านพระนันทกะได้กล่าวดังนี้ว่า ‘เมื่อก่อนเรามีโลภะ
เรื่องนั้นเป็นสิ่งไม่ดี บัดนี้โลภะนั้นไม่มี เรื่องนั้นเป็นสิ่งที่ดี เมื่อก่อนเรามีโทสะ ฯลฯ
เมื่อก่อนเรามีโมหะ เรื่องนั้นเป็นสิ่งไม่ดี บัดนี้โมหะนั้นไม่มี เรื่องนั้นเป็นสิ่งที่ดี”๒
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “อดีตมีอยู่”

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๘๓/๗๖
๒ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๖๗/๒๖๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๑๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “อนาคตมีอยู่” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าราคะ(ความ
กำหนัด) นันทิ(ความเพลิดเพลิน) ตัณหา(ความทะยานอยาก) มีอยู่ในกวฬิงการาหาร
ไซร้ วิญญาณจะตั้งอยู่งอกงามในกวฬิงการาหารนั้น ที่ใดวิญญาณตั้งอยู่งอกงาม
ที่นั้นย่อมมีนามรูปหยั่งลง ที่ใดมีนามรูปหยั่งลง ที่นั้นย่อมมีความเจริญแห่งสังขาร
ทั้งหลาย ที่ใดมีความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ที่นั้นย่อมมีการเกิดในภพใหม่ต่อไป
ที่ใดมีการเกิดในภพใหม่ต่อไป ที่นั้นย่อมมีชาติ ชรา และมรณะต่อไป ที่ใดมีชาติ
ชรา และมรณะต่อไป เรากล่าวว่า ‘ที่นั้นมีความโศก มีความกระวนกระวาย และ
มีความคับแค้น’ ถ้าราคะ นันทิ ตัณหามีอยู่ในผัสสาหาร ฯลฯ ถ้าราคะ นันทิ
ตัณหามีอยู่ในมโนสัญเจตนาหาร ฯลฯ ถ้าราคะ นันทิ ตัณหามีอยู่ในวิญญาณาหาร
ฯลฯ เรากล่าวว่า ‘ที่นั้นมีความโศก มีความกระวนกระวาย และมีความคับแค้น” ๑
มีอยู่จริงใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “อนาคตมีอยู่”
สก. อนาคตมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าราคะ นันทิ
ตัณหาไม่มีในกวฬิงการาหาร วิญญาณจะไม่ตั้งอยู่งอกงามในกวฬิงการาหารนั้น ที่ใด
วิญญาณไม่ตั้งอยู่งอกงาม ที่นั้นย่อมไม่มีนามรูปหยั่งลง ที่ใดไม่มีนามรูปหยั่งลง
ที่นั้นย่อมไม่มีความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ที่ใดไม่มีความเจริญแห่งสังขาร

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ สํ.นิ. (แปล) ๑๖/๖๔/๑๒๓-๑๒๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๑๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๖. อตีตักขันธาทิกถา
ทั้งหลาย ที่นั้นย่อมไม่มีการเกิดในภพใหม่ต่อไป ที่ใดไม่มีการเกิดในภพใหม่ต่อไป
ที่นั้นย่อมไม่มีชาติ ชรา และมรณะต่อไป ที่ใดไม่มีชาติ ชรา และมรณะต่อไป
เรากล่าวว่า ‘ที่นั้นไม่มีความโศก ไม่มีความกระวนกระวาย และไม่มีความคับแค้น’
ถ้าราคะ นันทิ ตัณหาไม่มีในผัสสาหาร ฯลฯ ถ้าราคะ นันทิ ตัณหาไม่มี
ในมโนสัญเจตนาหาร ฯลฯ ถ้าราคะ นันทิ ตัณหาไม่มีในวิญญาณาหาร ฯลฯ
เรากล่าวว่า ที่นั้นไม่มีความโศก ไม่มีความกระวนกระวาย และไม่มีความคับแค้น”๑
มีอยู่จริงใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “อนาคตมีอยู่”
สัพพมัตถีติกถา จบ

๖. อตีตักขันธาทิกถา
ว่าด้วยอดีตขันธ์ เป็นต้น
๑. นสุตตสาธนะ
ว่าด้วยการไม่อ้างพระสูตร
[๒๙๗] ปร. อดีตเป็นขันธ์ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. อดีตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ สํ.นิ. (แปล) ๑๖/๖๔/๑๒๓-๑๒๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๑๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๖. อตีตักขันธาทิกถา
ปร. อดีตเป็นอายตนะใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. อดีตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. อดีตเป็นธาตุใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. อดีตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. อดีตเป็นขันธ์ เป็นธาตุ เป็นอายตนะใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. อดีตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. อนาคตเป็นขันธ์ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. อนาคตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. อนาคตเป็นอายตนะใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. อนาคตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. อนาคตเป็นธาตุใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๑๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๖. อตีตักขันธาทิกถา
ปร. อนาคตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. อนาคตเป็นขันธ์ เป็นธาตุ เป็นอายตนะใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. อนาคตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ปัจจุบันเป็นขันธ์ ปัจจุบันมีอยู่ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. อดีตเป็นขันธ์ อดีตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ปัจจุบันเป็นอายตนะ ปัจจุบันมีอยู่ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. อดีตเป็นอายตนะ อดีตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ปัจจุบันเป็นธาตุ ปัจจุบันมีอยู่ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. อดีตเป็นธาตุ อดีตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ปัจจุบันเป็นขันธ์ เป็นธาตุ เป็นอายตนะ ปัจจุบันมีอยู่ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. อดีตเป็นขันธ์ เป็นธาตุ เป็นอายตนะ อดีตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๒๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๖. อตีตักขันธาทิกถา
ปร. ปัจจุบันเป็นขันธ์ ปัจจุบันมีอยู่ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. อนาคตเป็นขันธ์ อนาคตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ปัจจุบันเป็นอายตนะ ปัจจุบันมีอยู่ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. อนาคตเป็นอายตนะ อนาคตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ปัจจุบันเป็นธาตุ ปัจจุบันมีอยู่ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. อนาคตเป็นธาตุ อนาคตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ปัจจุบันเป็นขันธ์ เป็นธาตุ เป็นอายตนะ ปัจจุบันมีอยู่ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. อนาคตเป็นขันธ์ เป็นธาตุ เป็นอายตนะ อนาคตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. อดีตเป็นขันธ์ อดีตไม่มีใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ปัจจุบันเป็นขันธ์ ปัจจุบันไม่มีใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. อดีตเป็นอายตนะ อดีตไม่มีใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๒๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๖. อตีตักขันธาทิกถา
ปร. ปัจจุบันเป็นอายตนะ ปัจจุบันไม่มีใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. อดีตเป็นธาตุ อดีตไม่มีใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ปัจจุบันเป็นธาตุ ปัจจุบันไม่มีใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. อดีตเป็นขันธ์ เป็นธาตุ เป็นอายตนะ อดีตไม่มีใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ปัจจุบันเป็นขันธ์ เป็นธาตุ เป็นอายตนะ ปัจจุบันไม่มีใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. อนาคตเป็นขันธ์ อนาคตไม่มีใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ปัจจุบันเป็นขันธ์ ปัจจุบันไม่มีใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. อนาคตเป็นอายตนะ ฯลฯ อนาคตเป็นธาตุ ฯลฯ อนาคตเป็นขันธ์
เป็นธาตุ เป็นอายตนะ อนาคตไม่มีใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ปัจจุบันเป็นขันธ์ เป็นธาตุ เป็นอายตนะ ปัจจุบันไม่มีใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. รูปที่เป็นอดีตเป็นขันธ์ใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๒๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๖. อตีตักขันธาทิกถา
ปร. รูปที่เป็นอดีตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. รูปที่เป็นอดีตเป็นอายตนะใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. รูปที่เป็นอดีตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. รูปที่เป็นอดีตเป็นธาตุใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. รูปที่เป็นอดีตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. รูปที่เป็นอดีตเป็นขันธ์ เป็นธาตุ เป็นอายตนะใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. รูปที่เป็นอดีตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. รูปที่เป็นอนาคตเป็นขันธ์ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. รูปที่เป็นอนาคตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. รูปที่เป็นอนาคตเป็นอายตนะ ฯลฯ รูปที่เป็นอนาคตเป็นธาตุ ฯลฯ
รูปที่เป็นอนาคตเป็นขันธ์ เป็นธาตุ เป็นอายตนะใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๒๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๖. อตีตักขันธาทิกถา
ปร. รูปที่เป็นอนาคตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. รูปที่เป็นปัจจุบันเป็นขันธ์ รูปที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. รูปที่เป็นอดีตเป็นขันธ์ รูปที่เป็นอดีตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. รูปที่เป็นปัจจุบันเป็นอายตนะ ฯลฯ รูปที่เป็นปัจจุบันเป็นธาตุ ฯลฯ
รูปที่เป็นปัจจุบันเป็นขันธ์ เป็นธาตุ เป็นอายตนะ รูปที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. รูปที่เป็นอดีตเป็นขันธ์ เป็นธาตุ เป็นอายตนะ รูปที่เป็นอดีตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. รูปที่เป็นปัจจุบันเป็นขันธ์ รูปที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. รูปที่เป็นอนาคตเป็นขันธ์ รูปที่เป็นอนาคตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. รูปที่เป็นปัจจุบันเป็นอายตนะ ฯลฯ รูปที่เป็นปัจจุบันเป็นธาตุ ฯลฯ
รูปที่เป็นปัจจุบันเป็นขันธ์ เป็นธาตุ เป็นอายตนะ รูปที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. รูปที่เป็นอนาคตเป็นขันธ์ เป็นธาตุ เป็นอายตนะ รูปที่เป็นอนาคตมี
อยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. รูปที่เป็นอดีตเป็นขันธ์ รูปที่เป็นอดีตไม่มีใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๒๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๖. อตีตักขันธาทิกถา
ปร. รูปที่เป็นปัจจุบันเป็นขันธ์ รูปที่เป็นปัจจุบันไม่มีใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. รูปที่เป็นอดีตเป็นอายตนะ ฯลฯ รูปที่เป็นอดีตเป็นธาตุ ฯลฯ รูปที่เป็น
อดีตเป็นขันธ์ เป็นธาตุ เป็นอายตนะ รูปที่เป็นอดีตไม่มีใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. รูปที่เป็นปัจจุบันเป็นขันธ์ เป็นธาตุ เป็นอายตนะ รูปที่เป็นปัจจุบันไม่มี
ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. รูปที่เป็นอนาคตเป็นขันธ์ รูปที่เป็นอนาคตไม่มีใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. รูปที่เป็นปัจจุบันเป็นขันธ์ รูปที่เป็นปัจจุบันไม่มีใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. รูปที่เป็นอนาคตเป็นอายตนะ ฯลฯ รูปที่เป็นอนาคตเป็นธาตุ ฯลฯ
รูปที่เป็นอนาคตเป็นขันธ์ เป็นธาตุ เป็นอายตนะ รูปที่เป็นอนาคตไม่มีใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. รูปที่เป็นปัจจุบันเป็นขันธ์ เป็นธาตุ เป็นอายตนะ รูปที่เป็นปัจจุบันไม่มี
ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. เวทนาที่เป็นอดีต ฯลฯ สัญญาที่เป็นอดีต ฯลฯ สังขารที่เป็นอดีต ฯลฯ
วิญญาณที่เป็นอดีตเป็นขันธ์ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. วิญญาณที่เป็นอดีตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๒๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๖. อตีตักขันธาทิกถา
ปร. วิญญาณที่เป็นอดีตเป็นอายตนะ ฯลฯ วิญญาณที่เป็นอดีตเป็นธาตุ ฯลฯ
วิญญาณที่เป็นอดีตเป็นขันธ์ เป็นธาตุ เป็นอายตนะใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. วิญญาณที่เป็นอดีตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. วิญญาณที่เป็นอนาคตเป็นขันธ์ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. วิญญาณที่เป็นอนาคตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. วิญญาณที่เป็นอนาคตเป็นอายตนะ ฯลฯ วิญญาณที่เป็นอนาคตเป็นธาตุ
ฯลฯ วิญญาณที่เป็นอนาคตเป็นขันธ์ เป็นธาตุ เป็นอายตนะใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. วิญญาณที่เป็นอนาคตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. วิญญาณที่เป็นปัจจุบันเป็นขันธ์ วิญญาณที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. วิญญาณที่เป็นอดีตเป็นขันธ์ วิญญาณที่เป็นอดีตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. วิญญาณที่เป็นปัจจุบันเป็นอายตนะ ฯลฯ วิญญาณที่เป็นปัจจุบันเป็น
ธาตุ ฯลฯ วิญญาณที่เป็นปัจจุบันเป็นขันธ์ เป็นธาตุ เป็นอายตนะ วิญญาณที่เป็น
ปัจจุบันมีอยู่ใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๒๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๖. อตีตักขันธาทิกถา
ปร. วิญญาณที่เป็นอดีตเป็นขันธ์ เป็นธาตุ เป็นอายตนะ วิญญาณที่เป็น
อดีตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. วิญญาณที่เป็นปัจจุบันเป็นขันธ์ วิญญาณที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. วิญญาณที่เป็นอนาคตเป็นขันธ์ วิญญาณที่เป็นอนาคตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. วิญญาณที่เป็นปัจจุบันเป็นอายตนะ ฯลฯ วิญญาณที่เป็นปัจจุบันเป็น
ธาตุ ฯลฯ วิญญาณที่เป็นปัจจุบันเป็นขันธ์ เป็นธาตุ เป็นอายตนะ วิญญาณที่เป็น
ปัจจุบันมีอยู่ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. วิญญาณที่เป็นอนาคตเป็นขันธ์ เป็นธาตุ เป็นอายตนะ วิญญาณที่เป็น
อนาคตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. วิญญาณที่เป็นอดีตเป็นขันธ์ วิญญาณที่เป็นอดีตไม่มีใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. วิญญาณที่เป็นปัจจุบันเป็นขันธ์ วิญญาณที่เป็นปัจจุบันไม่มีใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. วิญญาณที่เป็นอดีตเป็นอายตนะ ฯลฯ วิญญาณที่เป็นอดีตเป็นธาตุ ฯลฯ
วิญญาณที่เป็นอดีตเป็นขันธ์ เป็นธาตุ เป็นอายตนะ วิญญาณที่เป็นอดีตไม่มีใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. วิญญาณที่เป็นปัจจุบันเป็นขันธ์ เป็นธาตุ เป็นอายตนะ วิญญาณที่เป็น
ปัจจุบันไม่มีใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๒๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๖. อตีตักขันธาทิกถา
ปร. วิญญาณที่เป็นอนาคตเป็นขันธ์ วิญญาณที่เป็นอนาคตไม่มีใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. วิญญาณที่เป็นปัจจุบันเป็นขันธ์ วิญญาณที่เป็นปัจจุบันไม่มีใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. วิญญาณที่เป็นอนาคตเป็นอายตนะ ฯลฯ วิญญาณที่เป็นอนาคตเป็นธาตุ
ฯลฯ วิญญาณที่เป็นอนาคตเป็นขันธ์ เป็นธาตุ เป็นอายตนะ วิญญาณที่เป็น
อนาคตไม่มีใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. วิญญาณที่เป็นปัจจุบันเป็นขันธ์ เป็นธาตุ เป็นอายตนะ วิญญาณที่เป็น
ปัจจุบันไม่มีใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

๒. สุตตสาธนะ
ว่าด้วยการอ้างพระสูตร
[๒๙๘] สก. ท่านไม่ยอมรับว่า “ขันธ์ ธาตุ อายตนะ ทั้งที่เป็นอดีตและ
อนาคตเหล่านี้ไม่มี” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย หลักการ ๓
ประการนี้ คือ (๑) หลักภาษา (๒) หลักการตั้งชื่อ (๓) หลักการบัญญัติ ฯลฯ
ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้คัดค้าน๑ ฯลฯ” มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ขันธ์ ธาตุ อายตนะ ทั้งที่เป็นอดีตและ
อนาคตเหล่านี้ไม่มี”

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ สํ.ข. (แปล) ๑๗/๖๒/๑๐๐-๑๐๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๒๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๗. เอกัจจมัตถีติกถา
ปร. ขันธ์ ธาตุ อายตนะ ทั้งที่เป็นอดีตและอนาคตเหล่านี้ไม่มีใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปทั้งหมด ทั้งที่
เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ฯลฯ นี้เรียกว่า รูปขันธ์ เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ
สังขาร ฯลฯ วิญญาณทั้งหมด ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน นี้เรียกว่า
วิญญาณขันธ์” มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ขันธ์ ธาตุ อายตนะ ทั้งที่เป็นอดีต
และอนาคตเหล่านี้ไม่มีอยู่”
อตีตักขันธาทิกถา จบ

๗. เอกัจจมัตถีติกถา
ว่าด้วยบางอย่างมีอยู่
๑. อตีตาทิเอกัจจกถา
ว่าด้วยสภาวธรรมบางอย่างที่เป็นอดีต เป็นต้น
[๒๙๙] สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตมีอยู่ใช่ไหม
ปร.๑สภาวธรรมที่เป็นอดีตบางอย่างมีอยู่ บางอย่างไม่มี๒
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตบางอย่างดับไปแล้ว บางอย่างยังไม่ดับไป บาง
อย่างหายไปแล้ว บางอย่างยังไม่หายไป บางอย่างสูญไปแล้ว บางอย่างยังไม่สูญไป
บางอย่างดับสูญไปแล้ว บางอย่างยังไม่ดับสูญไปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายกัสสปิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๙๙/๑๗๘)
๒ เพราะมีความเห็นว่า วิบากที่ยังไม่ให้ผล มีอยู่ ส่วนวิบากที่ให้ผลแล้ว ไม่มี (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๙๙/๑๗๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๒๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๗. เอกัจจมัตถีติกถา
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตบางอย่างมีอยู่ บางอย่างไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ยังไม่ให้ผล บางเหล่ามีอยู่ บางเหล่าไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตบางอย่างมีอยู่ บางอย่างไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ให้ผลแล้ว บางเหล่ามีอยู่ บางเหล่าไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตบางอย่างมีอยู่ บางอย่างไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ไม่มีวิบาก บางเหล่ามีอยู่ บางเหล่าไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตบางอย่างมีอยู่ บางอย่างไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมอะไรมีอยู่ สภาวธรรมอะไรไม่มีอยู่
ปร. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ยังไม่ให้ผลเหล่านั้นมีอยู่ สภาวธรรมที่เป็นอดีต
ที่ให้ผลแล้วเหล่านั้นไม่มีอยู่
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ยังไม่ให้ผลเหล่านั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ให้ผลแล้วเหล่านั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ยังไม่ให้ผลเหล่านั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๓๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๗. เอกัจจมัตถีติกถา
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ไม่มีผลเหล่านั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ให้ผลแล้วเหล่านั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ยังไม่ให้ผลเหล่านั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ให้ผลแล้วเหล่านั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ไม่มีผลเหล่านั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ยังไม่ให้ผลเหล่านั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ยังไม่ให้ผลดับไปแล้วมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากสภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ยังไม่ให้ผลดับไปแล้ว ท่านก็ไม่ควรยอมรับ
ว่า “สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ยังไม่ให้ผลดับไปแล้วเหล่านั้นมีอยู่”
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ยังไม่ให้ผลดับไปแล้วเหล่านั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ให้ผลดับไปแล้วเหล่านั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ยังไม่ให้ผลดับไปแล้วเหล่านั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๓๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๗. เอกัจจมัตถีติกถา
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ไม่มีผลดับไปแล้วเหล่านั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ให้ผลดับไปแล้วเหล่านั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ยังไม่ให้ผลดับไปแล้วเหล่านั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ให้ผลดับไปแล้วเหล่านั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ไม่มีผลดับไปแล้วเหล่านั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ยังไม่ให้ผลดับไปแล้วเหล่านั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ให้ผลดับไปแล้วเหล่านั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีต ส่วนหนึ่งให้ผลแล้ว อีกส่วนหนึ่งยังไม่ให้ผล
ดับไปแล้วเหล่านั้น บางเหล่ามีอยู่ บางเหล่าไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ยังไม่ให้ผลเหล่านั้นมีอยู่” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ยังไม่ให้ผลก็จักให้ผลมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากสภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ยังไม่ให้ผลก็จักให้ผล ดังนั้น ท่านจึงควร
ยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ยังไม่ให้ผลเหล่านั้นมีอยู่”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๓๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๗. เอกัจจมัตถีติกถา
สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ยังไม่ให้ผลจักให้ผล” จึง
ยอมรับว่า “สภาวธรรมเหล่านั้นมีอยู่” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ยังไม่ให้ผลจักให้ผล” จึง
ยอมรับว่า “สภาวธรรมเหล่านั้นเป็นปัจจุบัน” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ยังไม่ให้ผลจักให้ผล” จึง
ยอมรับว่า “สภาวธรรมเหล่านั้นเป็นปัจจุบัน” ใช่ไหม
ปร. ใช่๑
สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันจักดับ” จึงยอมรับว่า
“สภาวธรรมเหล่านั้นไม่มี” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

๒. อนาคตาทิเอกัจจกถา
ว่าด้วยสภาวธรรมบางอย่างที่เป็นอนาคต เป็นต้น
[๓๐๐] สก. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตมีอยู่ใช่ไหม
ปร.๒ บางอย่างมีอยู่ บางอย่างไม่มี๓
สก. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตบางอย่างเกิด บางอย่างไม่เกิด บางอย่างเกิด
อย่างดี บางอย่างไม่เกิดอย่างดี บางอย่างบังเกิด บางอย่างไม่บังเกิด บางอย่าง
ปรากฏ บางอย่างไม่ปรากฏใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ เพราะมีความเห็นว่า กรรมที่สั่งสมไว้ซึ่งยังไม่ให้ผลเป็นสิ่งที่มีปรากฏจึงตอบรับ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๙๙/๑๗๙)
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายกัสสปิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๐๐/๑๗๕)
๓ เพราะมีความเห็นว่า วิปากธรรมบางอย่างจะเกิดขึ้นในอนาคตอย่างแน่นอน (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๐๐/๑๗๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๓๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๗. เอกัจจมัตถีติกถา
สก. สภาวธรรมที่เป็นอนาคต บางอย่างมีอยู่ บางอย่างไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักเกิดขึ้น บางเหล่ามีอยู่ บางเหล่าไม่มี
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่เป็นอนาคต บางอย่างมีอยู่ บางอย่างไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักไม่เกิดขึ้น บางเหล่ามีอยู่ บางเหล่าไม่มี
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่เป็นอนาคต บางอย่างมีอยู่ บางอย่างไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมอะไรมีอยู่ สภาวธรรมอะไรไม่มี
ปร. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักเกิดขึ้นเหล่านั้นมีอยู่ สภาวธรรมที่เป็น
อนาคตที่จักไม่เกิดขึ้นเหล่านั้นไม่มี
สก. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักเกิดขึ้นเหล่านั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักไม่เกิดขึ้นเหล่านั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักไม่เกิดขึ้นเหล่านั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักเกิดขึ้นเหล่านั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๓๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๗. เอกัจจมัตถีติกถา
สก. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักเกิดขึ้นเหล่านั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักเกิดขึ้นยังไม่เกิดใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากสภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักเกิดขึ้น ยังไม่เกิด ท่านก็ไม่ควรยอม
รับว่า “สภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักเกิดขึ้นเหล่านั้นมีอยู่”
สก. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักเกิดขึ้นแต่ยังไม่เกิดเหล่านั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักไม่เกิดขึ้น และยังไม่เกิดเหล่านั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักไม่เกิดขึ้น และยังไม่เกิดเหล่านั้นไม่มี
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักเกิดขึ้น แต่ยังไม่เกิดเหล่านั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักเกิดขึ้นเหล่านั้นมีอยู่”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักเกิดขึ้น จักเกิดขึ้นมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากสภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักเกิดขึ้น จักเกิดขึ้น ดังนั้น ท่านจึง
ควรยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักเกิดขึ้นเหล่านั้นมีอยู่”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๓๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๘. สติปัฏฐานกถา
สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “สภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักเกิดขึ้น จักเกิดขึ้น”
จึงยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักเกิดขึ้นแน่นอนมีอยู่” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “สภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักเกิดขึ้น จักเกิดขึ้น”
จึงยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักเกิดขึ้นแน่นอนเป็นปัจจุบัน” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “สภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักเกิดขึ้น จักเกิดขึ้น”
จึงยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักเกิดขึ้นแน่นอนเป็นปัจจุบัน” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันจักดับ” จึงยอมรับว่า
“สภาวธรรมที่ปัจจุบันเหล่านั้นไม่มี” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
เอกัจจมัตถีติกถา จบ

๘. สติปัฏฐานกถา
ว่าด้วยสติปัฏฐาน
[๓๐๑] สก. สภาวธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐานใช่ไหม
ปร.๑ใช่๒
สก. สภาวธรรมทั้งปวงเป็นสติ เป็นสตินทรีย์ เป็นสติพละ เป็นสัมมาสติ
เป็นสติสัมโพชฌงค์ เป็นทางเดียว เป็นเหตุให้ถึงความสิ้นกิเลส ให้ถึงความตรัสรู้
ให้ถึงนิพพาน ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ ไม่เป็น
อารมณ์ของคันถะ ไม่เป็นอารมณ์ของโอฆะ ไม่เป็นอารมณ์ของโยคะ ไม่เป็นอารมณ์

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๐๑/๑๗๙)
๒ เพราะมุ่งถึงธรรมที่เป็นอารมณ์ของสติปัฏฐาน (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๐๑/๑๗๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๓๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๘. สติปัฏฐานกถา
ของนิวรณ์ ไม่เป็นอารมณ์ของปรามาส ไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน ไม่เป็น
อารมณ์ของกิเลส สภาวธรรมทั้งปวงเป็นพุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ
สีลานุสสติ จาคานุสสติ เทวตานุสสติ อานาปานสติ มรณานุสสติ กายคตาสติ
อุปสมานุสสติใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๑ ฯลฯ
สก. สภาวธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐานใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักขายตนะเป็นสติปัฏฐานใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จักขายตนะเป็นสติปัฏฐานใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักขายตนะเป็นสติ เป็นสตินทรีย์ เป็นสติพละ เป็นสัมมาสติ เป็น
สติสัมโพชฌงค์ เป็นทางเดียว เป็นเหตุให้ถึงความสิ้นกิเลส ให้ถึงความตรัสรู้ ให้
ถึงนิพพาน ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ ฯลฯ ไม่เป็น
อารมณ์ของสังกิเลส จักขายตนะ เป็นพุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ
สีลานุสสติ จาคานุสสติ เทวตานุสสติ อานาปานสติ มรณานุสสติ กายคตาสติ
อุปสมานุสสติใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โสตายตนะ ฯลฯ ฆานายตนะ ฯลฯ ชิวหายตนะ ฯลฯ กายายตนะ
ฯลฯ รูปายตนะ ฯลฯ สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ ฯลฯ รสายตนะ ฯลฯ
โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ ราคะ ฯลฯ โทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ มานะ ฯลฯ ทิฏฐิ
ฯลฯ วิจิกิจฉา ฯลฯ ถีนะ ฯลฯ อุทธัจจะ ฯลฯ อหิริกะ ฯลฯ อโนตตัปปะ
เป็นสติปัฏฐานใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ เพราะมีความเห็นว่าสภาวธรรมบางอย่างไม่เป็นสติ จึงตอบปฏิเสธ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๐๑/๑๘๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๓๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๘. สติปัฏฐานกถา
สก. อโนตตัปปะเป็นสติปัฏฐานใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อโนตตัปปะเป็นสติ เป็นสตินทรีย์ เป็นสติพละ เป็นสัมมาสติ ฯลฯ
เป็นกายคตาสติ เป็นอุปสมานุสสติใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สติเป็นสติปัฏฐาน และสติที่เป็นสติปัฏฐานนั้นเป็นสติใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักขายตนะเป็นสติปัฏฐาน และจักขายตนะที่เป็นสติปัฏฐานนั้นเป็นสติ
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สติเป็นสติปัฏฐาน และสติที่เป็นสติปัฏฐานนั้นเป็นสติใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โสตายตนะ ฯลฯ กายายตนะ ฯลฯ รูปายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ
ฯลฯ ราคะ ฯลฯ โทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ มานะ ฯลฯ อโนตตัปปะเป็นสติปัฏฐาน
และอโนตตัปปะที่เป็นสติปัฏฐานนั้นเป็นสติใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จักขายตนะเป็นสติปัฏฐาน แต่จักขายตนะที่เป็นสติปัฏฐานนั้นไม่เป็นสติ
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สติเป็นสติปัฏฐาน แต่สติที่เป็นสติปัฏฐานนั้นไม่เป็นสติใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โสตายตนะ ฯลฯ กายายตนะ ฯลฯ รูปายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ
ฯลฯ ราคะ ฯลฯ โทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ อโนตตัปปะเป็นสติปัฏฐาน แต่
อโนตตัปปะที่เป็นสติปัฏฐานนั้นไม่เป็นสติใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๓๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๘. สติปัฏฐานกถา
สก. สติเป็นสติปัฏฐาน แต่สติที่เป็นสติปัฏฐานนั้นไม่เป็นสติใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๐๒] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “สภาวธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐาน” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. สติปรารภสภาวธรรมทั้งปวงจึงตั้งมั่นได้มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากสติปรารภสภาวธรรมทั้งปวงจึงตั้งมั่นได้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอม
รับว่า “สภาวธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐาน”
สก. สติปรารภสภาวธรรมทั้งปวงจึงตั้งมั่นได้ ดังนั้น สภาวธรรมทั้งปวงจึง
เป็นสติปัฏฐานใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ผัสสะปรารภสภาวธรรมทั้งปวงจึงตั้งมั่นได้ ดังนั้น สภาวธรรมทั้งปวง
จึงเป็นผัสสปัฏฐานใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สติปรารภสภาวธรรมทั้งปวงจึงตั้งมั่นได้ ดังนั้น สภาวธรรมทั้งปวงจึง
เป็นสติปัฏฐานใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เวทนาปรารภสภาวธรรมทั้งปวงจึงตั้งมั่นได้ ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา
ฯลฯ จิตปรารภสภาวธรรมทั้งปวงจึงตั้งมั่นได้ เพราะเหตุนั้น สภาวธรรมทั้งปวง
จึงเป็นจิตตปัฏฐานใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐานใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัตว์ทั้งปวงมีสติตั้งมั่น ประกอบด้วยสติ มั่นคงด้วยสติ สติปรากฏแก่
สัตว์ทั้งปวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๓๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๘. สติปัฏฐานกถา
[๓๐๓] สก. สภาวธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐานใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าใดไม่
เจริญกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่บรรลุอมตธรรม ชนเหล่าใดเจริญกายคตาสติ
ชนเหล่านั้นชื่อว่าบรรลุอมตธรรม” ๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. สัตว์ทั้งปวงเจริญ ได้เฉพาะ ซ่องเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งกายคตาสติ
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐานใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทาง๒นี้เป็นทางเดียว๓
เพื่อความบริสุทธ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงโสกะและปริเทวะ เพื่อดับทุกข์และโทมนัส
เพื่อบรรลุญายธรรม๔ เพื่อทำให้แจ้งนิพพาน ทางนี้คือสติปัฏฐาน ๔”๕ มีอยู่จริง
มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมทั้งปวงเป็นทางสายเดียวใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.เอกก. (แปล) ๒๐/๖๐๐/๕๔
๒ ทาง หมายถึงทางดำเนินไปสู่นิพพานหรือทางที่ผู้ต้องการนิพพานควรดำเนินไป (ที.ม.อ. ๒/๓๗๑/๓๖๑)
๓ ทางเดียว มีความหมาย ๔ นัย คือ (๑) ทางที่บุคคลผู้ละการเกี่ยวข้องกับหมู่คณะไปประพฤติธรรมอยู่
แต่ผู้เดียว (๒) ทางสายเดียวที่พระพุทธเจ้าทรงทำให้เกิดขึ้น เป็นทางของบุคคลผู้เดียวคือพระผู้มีพระภาค
(๓) ข้อปฏิบัติในศาสนาเดียวคือพระพุทธศาสนา (๔) ทางดำเนินไปสู่จุดหมายเดียวคือนิพพาน (ที.ม.อ.
๒/๓๗๓/๓๕๙, ม.มู.อ. ๑/๑๐๖/๒๔๔)
๔ ญายธรรม หมายถึงอริยมรรค (ที.ม.อ. ๒/๒๑๔/๑๙๗, ม.มู.อ. ๑/๑๐๖/๒๕๑)
๕ ดูเทียบ ที.ม. (แปล) ๑๐/๓๗๓/๓๐๑, ม.มู. (แปล) ๑๒/๑๐๖/๑๐๑, สํ.ม. (แปล) ๑๙/๓๖๗/๒๑๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๔๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๘. สติปัฏฐานกถา
สก. สภาวธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐานใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เพราะพระเจ้า
จักรพรรดิปรากฏ แก้ว ๗ ประการจึงปรากฏ แก้ว ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
(๑) จักรแก้ว (๒) ช้างแก้ว (๓) ม้าแก้ว (๔) มณีแก้ว (๕) นางแก้ว (๖) คหบดีแก้ว
(๗) ปริณายกแก้ว เพราะพระเจ้าจักรพรรดิปรากฏ แก้ว ๗ ประการนี้จึงปรากฏ
ภิกษุทั้งหลาย เพราะตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าปรากฏ แก้วคือโพชฌงค์
๗ ประการจึงปรากฏ แก้ว ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ (๑) แก้วคือสติสัมโพชฌงค์
(๒) แก้วคือธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ (๓) แก้วคือวิริยสัมโพชฌงค์ (๔) แก้วคือปีติ-
สัมโพชฌงค์ (๕) แก้วคือปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ (๖) แก้วคือสมาธิสัมโพชฌงค์
(๗) แก้วคืออุเบกขาสัมโพชฌงค์ เพราะตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าปรากฏ
แก้วคือโพชฌงค์ ๗ ประการนี้จึงปรากฏ” ๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. เพราะตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าปรากฏ สภาวธรรมทั้งปวงที่
เป็นแก้วคือสติสัมโพชฌงค์จึงปรากฏใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐานใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมทั้งปวงเป็นสัมมัปปธาน ฯลฯ เป็นอิทธิบาท ฯลฯ เป็น
อินทรีย์ ฯลฯ เป็นพละ ฯลฯ เป็นโพชฌงค์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

สติปัฏฐานกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ สํ.ม. (แปล) ๑๙/๒๒๓/๑๕๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๔๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๙. เหวัตถีติกถา
๙. เหวัตถีติกถา
ว่าด้วยสภาวธรรมที่มีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้
[๓๐๔] สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตมีอยู่ใช่ไหม
ปร.๑ สภาวธรรมที่เป็นอดีตมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ แต่ไม่มีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้๒
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตอย่างเดียวกันนั่นแหละทั้งมีอยู่และไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตอย่างเดียวกันนั่นแหละทั้งมีอยู่และไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวะที่มีอยู่ก็คือสภาวะที่ไม่มีอยู่ สภาวะที่ไม่มีอยู่ก็คือสภาวะที่มีอยู่
ความมีอยู่ก็คือความไม่มีอยู่ ความไม่มีอยู่ก็คือความมีอยู่ บัญญัติว่า “มีอยู่” กับ
“ไม่มีอยู่” หรือบัญญัติว่า “ไม่มีอยู่” กับ “มีอยู่” นี้นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน
เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตมีอยู่ใช่ไหม
ปร. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่โดยสภาวะ
อย่างนี้
สก. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตอย่างเดียวกันนั่นแหละทั้งมีอยู่และไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตอย่างเดียวกันนั่นแหละทั้งมีอยู่และไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๐๔/๑๘๐)
๒ เพราะมีความเห็นว่า สภาวธรรมที่เป็นอดีตจะเปลี่ยนไปเป็นสภาวธรรมที่เป็นอนาคตและปัจจุบันไม่ได้กล่าว
คือสภาวธรรมที่เป็นอดีตก็มีอยู่โดยความเป็นอดีตอันเป็นสภาวะของตนเอง(สกภาว) ไม่เปลี่ยนเป็นอนาคต
และปัจจุบัน อันเป็นสภาวะอื่น(ปรภาว) (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๐๔/๑๘๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๔๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๙. เหวัตถีติกถา
สก. สภาวะที่มีอยู่ก็คือสภาวะที่ไม่มีอยู่ สภาวะที่ไม่มีอยู่ก็คือสภาวะที่มีอยู่
ความมีอยู่ก็คือความไม่มีอยู่ ความไม่มีอยู่ก็คือความมีอยู่ บัญญัติว่า “มีอยู่” กับ
“ไม่มีอยู่” หรือบัญญัติว่า “ไม่มีอยู่” กับ “มีอยู่” นี้นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน
เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ใช่ไหม
ปร. สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้
สก. สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันอย่างเดียวกันนั่นแหละทั้งมีอยู่และไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันอย่างเดียวกันนั่นแหละทั้งมีอยู่และไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวะที่มีอยู่ก็คือสภาวะที่ไม่มีอยู่ ฯลฯ นี้นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน
เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๐๕] สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ แต่ไม่มีอยู่โดยสภาวะ
อย่างนี้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีอยู่โดยสภาวะอย่างไร ไม่มีอยู่โดยสภาวะอย่างไร
ปร. สภาวธรรมที่เป็นอดีตมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ว่า “เป็นอดีต” ไม่มีอยู่
โดยสภาวะอย่างนี้ว่า “เป็นอนาคต” ไม่มีอยู่โดยภาวะอย่างนี้ว่า “เป็นปัจจุบัน”
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตอย่างเดียวกันนั่นแหละทั้งมีอยู่และไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตอย่างเดียวกันนั่นแหละทั้งมีอยู่ และไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๔๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๙. เหวัตถีติกถา
สก. สภาวะที่มีอยู่ก็คือสภาวะที่ไม่มีอยู่ สภาวะที่ไม่มีอยู่ก็คือสภาวะที่มีอยู่
ความมีอยู่ก็คือความไม่มีอยู่ ความไม่มีอยู่ก็คือความมีอยู่ บัญญัติว่า “มีอยู่” กับ
“ไม่มีอยู่” หรือบัญญัติว่า “ไม่มีอยู่” กับ “มีอยู่” นี้นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน
เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ แต่ไม่มีอยู่โดยสภาวะ
อย่างนี้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตมีอยู่โดยสภาวะอย่างไร ไม่มีอยู่โดยสภาวะอย่างไร
ปร. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ว่า “เป็นอนาคต” ไม่มี
อยู่โดยสภาวะอย่างนี้ว่า “เป็นอดีต” ไม่มีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ว่า “เป็นปัจจุบัน”
สก. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตอย่างเดียวกันนั่นแหละทั้งมีอยู่และไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตอย่างเดียวกันนั่นแหละทั้งมีอยู่และไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวะที่มีอยู่ก็คือสภาวะที่ไม่มีอยู่ สภาวะที่ไม่มีอยู่ก็คือสภาวะที่มีอยู่ ฯลฯ
นี้นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ แต่ไม่มีอยู่โดยสภาวะ
อย่างนี้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีอยู่โดยสภาวะอย่างไร ไม่มีอยู่โดยสภาวะอย่างไร
ปร. สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ว่า “เป็นปัจจุบัน” ไม่มี
อยู่โดยสภาวะอย่างนี้ว่า “เป็นอดีต” ไม่มีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ว่า “เป็นอนาคต”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๔๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๙. เหวัตถีติกถา
สก. สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันอย่างเดียวกันนั่นแหละทั้งมีอยู่และไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันอย่างเดียวกันนั่นแหละทั้งมีอยู่และไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวะที่มีอยู่ก็คือสภาวะที่ไม่มีอยู่ ฯลฯ นี้นั้นมีความหมายอย่าง
เดียวกัน เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นอดีตมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ ไม่มี
อยู่โดยสภาวะอย่างนี้ สภาวธรรมที่เป็นอนาคตมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้
ไม่มีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่โดย
สภาวะอย่างนี้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. สภาวธรรมที่เป็นอดีตมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ว่า “เป็นอนาคต” มีอยู่
โดยสภาวะอย่างนี้ว่า “เป็นปัจจุบัน” สภาวธรรมที่เป็นอนาคตมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ว่า
“เป็นอดีต” มีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ว่า “เป็นปัจจุบัน” สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันมีอยู่
โดยสภาวะอย่างนี้ว่า “เป็นอดีต” มีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ว่า “เป็นอนาคต” ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น สภาวธรรมที่เป็นอดีตก็มีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่โดย
สภาวะอย่างนี้ สภาวธรรมที่เป็นอนาคตมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่โดยสภาวะ
อย่างนี้ สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้
[๓๐๖] สก. รูปมีอยู่ใช่ไหม
ปร. มีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้
สก. รูปอย่างเดียวกันนั่นแหละทั้งมีอยู่และไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๔๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๙. เหวัตถีติกถา
สก. รูปอย่างเดียวกันนั่นแหละทั้งมีอยู่และไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวะที่มีอยู่ก็คือสภาวะที่ไม่มีอยู่ สภาวะที่ไม่มีอยู่ก็คือสภาวะที่มีอยู่
ความมีอยู่ก็คือความไม่มีอยู่ ความไม่มีอยู่ก็คือความมีอยู่ บัญญัติว่า “มีอยู่” กับ
“ไม่มีอยู่” หรือบัญญัติว่า “ไม่มีอยู่” กับ “มีอยู่” นี้นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน
เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณมีอยู่ใช่ไหม
ปร. มีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้
สก. วิญญาณอย่างเดียวกันนั่นแหละทั้งมีอยู่และไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิญญาณอย่างเดียวกันนั่นแหละทั้งมีอยู่และไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวะที่มีอยู่ก็คือสภาวะที่ไม่มีอยู่ ฯลฯ เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน มี
สภาพเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปมีอยู่โดยสภาวะอย่างไร ไม่มีอยู่โดยสภาวะอย่างไร
ปร. รูปมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ว่า “เป็นรูป” รูปไม่มีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ว่า
“เป็นเวทนา ฯลฯ เป็นสัญญา ฯลฯ เป็นสังขาร ฯลฯ เป็นวิญญาณ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๔๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๙. เหวัตถีติกถา
สก. รูปอย่างเดียวกันนั่นแหละทั้งมีอยู่และไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปอย่างเดียวกันนั่นแหละทั้งมีอยู่และไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวะที่มีอยู่ก็คือสภาวะที่ไม่มีอยู่ ฯลฯ เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน มี
สภาพเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้
ไม่มีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิญญาณมีอยู่โดยสภาวะอย่างไร ไม่มีอยู่โดยสภาวะอย่างไร
ปร. วิญญาณมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ว่าเป็น “วิญญาณ” วิญญาณไม่มีอยู่
โดยสภาวะอย่างนี้ว่า “เป็นรูป ฯลฯ เป็นเวทนา ฯลฯ เป็นสัญญา ฯลฯ เป็นสังขาร”
สก. วิญญาณอย่างเดียวกันนั่นแหละทั้งมีอยู่และไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิญญาณอย่างเดียวกันนั่นแหละทั้งมีอยู่และไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวะที่มีอยู่ก็คือสภาวะที่ไม่มีอยู่ ฯลฯ เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน มี
สภาพเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “รูปมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้
เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่
โดยสภาวะอย่างนี้” ใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๔๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] รวมกถาที่มีในวรรค
ปร. รูปมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ว่า “เป็นเวทนา ฯลฯ เป็นสัญญา ฯลฯ
เป็นสังขาร ฯลฯ เป็นวิญญาณ” เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ
วิญญาณ มีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ว่า “เป็นรูป” วิญญาณมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ว่า
“เป็นเวทนา” วิญญาณมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ว่า “เป็นสัญญา” วิญญาณมีอยู่
โดยสภาวะอย่างนี้ว่า “เป็นสังขาร” ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น รูปจึงมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้
เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ ไม่มี
อยู่โดยสภาวะอย่างนี้
เหวัตถีติกถา จบ
มหาวรรคที่ ๑ จบ

รวมกถาที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปุคคลกถา ๒. ปริหานิกถา
๓. พรหมจริยกถา (ก) ๓. โอธิโสกถา (ข)
๔. ชหติกถา ๕. สัพพมัตถีติกถา
๖. อตีตักขันธาทิกถา ๗. เอกัจจมัตถีติกถา
๘. สติปัฏฐานกถา ๙. เหวัตถีติกถา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๔๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๑. ปรูปหารกถา (๑๐)
๒. ทุติยวรรค
๑. ปรูปหารกถา (๑๐)
ว่าด้วยเรื่องที่บุคคลอื่นนำเข้าไปให้
[๓๐๗] สก. น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. ราคะ กามราคะ กามราคปริยุฏฐาน กามราคสังโยชน์ กาโมฆะ
กามโยคะ กามฉันทนิวรณ์ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ราคะ กามราคะ กามราคปริยุฏฐาน กามราคสังโยชน์ กาโมฆะ
กามโยคะ กามฉันทนิวรณ์ของพระอรหันต์ไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากราคะ กามราคะ กามราคปริยุฏฐาน กามราคสังโยชน์ กาโมฆะ
กามโยคะ กามฉันทนิวรณ์ของพระอรหันต์ไม่มี ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “น้ำอสุจิ
และการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์มีอยู่”
สก. น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของปุถุชนมีอยู่ และราคะ กามราคะ
กามราคปริยุฏฐาน กามราคสังโยชน์ กาโมฆะ กามโยคะ กามฉันทนิวรณ์ของ
ปุถุชนนั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์มีอยู่ และราคะ กามราคะ
กามราคปริยุฏฐาน ฯลฯ กามฉันทนิวรณ์ของพระอรหันต์นั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๐๗/๑๘๑)
๒ เพราะมีความเห็นว่า ถ้าถูกมารดลใจ แม้พระอรหันต์ก็หลั่งน้ำอสุจิได้ จึงตอบรับ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๐๗/๑๘๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๔๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๑. ปรูปหารกถา (๑๐)
สก. น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์มีอยู่ และราคะ กามราคะ
กามราคปริยุฏฐาน ฯลฯ กามฉันทนิวรณ์ของพระอรหันต์นั้นก็มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของปุถุชนมีอยู่ และราคะ กามราคะ
กามราคปริยุฏฐาน ฯลฯ กามฉันทนิวรณ์ของปุถุชนนั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะเหตุไร
ปร. เพราะว่า พวกเทวดาผู้นับเนื่องในหมู่มารนำน้ำอสุจิและการปล่อยน้ำ
อสุจิเข้าไปให้แก่พระอรหันต์
สก. พวกเทวดาผู้นับเนื่องในหมู่มารนำน้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิเข้าไป
ให้แก่พระอรหันต์ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่๑
สก. น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพวกเทวดาผู้นับเนื่องในหมู่มารมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พวกเทวดาผู้นับเนื่องในหมู่มารไม่มีน้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากพวกเทวดาผู้นับเนื่องในหมู่มารไม่มีน้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิ
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พวกเทวดาผู้นับเนื่องในหมู่มารนำน้ำอสุจิและการปล่อย
น้ำอสุจิเข้าไปให้แก่พระอรหันต์ได้”

เชิงอรรถ :
๑ เพราะปรวาทีมีความเห็นว่า คนผู้ไม่ใช่พระอรหันต์แต่ปฏิญาณตนว่าเป็นพระอรหันต์เป็นต้นหลั่งน้ำอสุจิได้
จึงตอบรับ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๐๗/๑๘๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๕๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๑. ปรูปหารกถา (๑๐)
สก. พวกเทวดาผู้นับเนื่องในหมู่มารนำน้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิเข้าไป
ให้แก่พระอรหันต์ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พวกเทวดาผู้นับเนื่องในหมู่มารนำน้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิเข้าไป
ให้แก่ตน ให้แก่คนเหล่าอื่น แก่บุคคลนั้นได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พวกเทวดาผู้นับเนื่องในหมู่มารนำน้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิเข้าไป
ให้แก่ตน ให้แก่คนเหล่าอื่น ให้แก่บุคคลนั้นไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากพวกเทวดาผู้นับเนื่องในหมู่มารนำน้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิ
เข้าไปให้แก่ตน ให้แก่คนเหล่าอื่น ให้แก่บุคคลนั้นไม่ได้ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“พวกเทวดา ผู้นับเนื่องในหมู่มาร นำน้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิเข้าไปให้แก่พระ
อรหันต์ได้”
สก. พวกเทวดาผู้นับเนื่องในหมู่มารนำน้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิเข้าไป
ให้แก่พระอรหันต์ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. นำเข้าไปทางขุมขนใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๐๘] สก. พวกเทวดาผู้นับเนื่องในหมู่มารนำน้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิ
เข้าไปให้แก่พระอรหันต์ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๕๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๑. ปรูปหารกถา (๑๐)
สก. เพราะเหตุไร
ปร. เพราะจะให้ท่านสงสัย
สก. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความสงสัยในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในสิกขา ใน
ส่วนเบื้องต้น ในส่วนเบื้องปลาย ในส่วนเบื้องต้นและเบื้องปลาย ความสงสัยใน
ปฏิจจสมุปบาทที่ว่า “เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี” ของพระอรหันต์
มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความสงสัยในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในสิกขา ใน
ส่วนเบื้องต้น ในส่วนเบื้องปลาย ในส่วนเบื้องต้นและส่วนเบื้องปลาย ในปฏิจจ-
สมุปบาทที่ว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี ของพระอรหันต์ ไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากความสงสัยในพระศาสดา ฯลฯ ความสงสัยในปฏิจจสมุปบาทที่ว่า
เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี ของพระอรหันต์ไม่มี ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่”
สก. ความสงสัยของปุถุชนมีอยู่ และความสงสัยในพระศาสดา ฯลฯ
ความสงสัยในปฏิจจสมุปบาทที่ว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี ของปุถุชน
นั้นก็มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๕๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๑. ปรูปหารกถา (๑๐)
สก. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ และความสงสัยในพระศาสดา ฯลฯ
ความสงสัยในปฏิจจสมุปบาทที่ว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี ของพระ
อรหันต์นั้นก็มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ แต่ความสงสัยในพระศาสดา ฯลฯ
ความสงสัยในปฏิจจสมุปบาทที่ว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี ของพระ
อรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความสงสัยของปุถุชนมีอยู่ แต่ความสงสัยในพระศาสดา ฯลฯ ความ
สงสัยในปฏิจจสมุปบาทที่ว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี ของปุถุชนนั้น
ไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์เป็นผลของอะไร
ปร. เป็นผลของการฉัน การดื่ม การเคี้ยว และการลิ้ม
สก. น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์เป็นผลของการฉัน การดื่ม
การเคี้ยว และการลิ้มใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งยังกิน ดื่ม เคี้ยว ลิ้มอยู่ น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำ
อสุจิของชนเหล่านั้นทั้งหมดมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๕๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๑. ปรูปหารกถา (๑๐)
สก. ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งยังกิน ดื่ม เคี้ยว ลิ้มอยู่ น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำ
อสุจิของชนเหล่านั้นทั้งหมดมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พวกทารกยังกิน ดื่ม เคี้ยว ลิ้มอยู่ น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของ
พวกทารกมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พวกบัณเฑาะก์ยังกิน ดื่ม เคี้ยว ลิ้มอยู่ น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำ
อสุจิของพวกบัณเฑาะก์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พวกเทวดายังกิน ดื่ม เคี้ยว ลิ้มอยู่ น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของ
พวกเทวดามีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๐๙] สก. น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์ เป็นผลของการฉัน
การดื่ม การเคี้ยว และการลิ้มใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ถุงน้ำอสุจินั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อุจจาระปัสสาวะของพระอรหันต์ เป็นผลของการฉัน การดื่ม และการ
เคี้ยว ลำไส้ใหญ่และกระเพาะปัสสาวะซึ่งเป็นที่ตั้งของอุจจาระปัสสาวะนั้นมีอยู่ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์ เป็นผลของการฉัน การ
ดื่ม การเคี้ยว และการลิ้ม ถุงน้ำอสุจินั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๕๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๑. ปรูปหารกถา (๑๐)
สก. น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์ เป็นผลของการฉัน การดื่ม
การเคี้ยว และการลิ้ม (แต่)ถุงน้ำอสุจินั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อุจจาระและปัสสาวะของพระอรหันต์เป็นผลของการฉัน การดื่ม การเคี้ยว
และการลิ้ม (แต่)ลำไส้ใหญ่และกระเพาะปัสสาวะของอุจจาระปัสสาวะนั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๑๐] สก. น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์จะพึงเสพเมถุนธรรม จะพึงให้เมถุนธรรมเกิด จะพึงอยู่ครอบ
ครองที่นอนซึ่งยัดเยียดด้วยบุตร จะพึงใช้สอยผ้ากาสิกพัสตร์และจุรณจันทน์ จะพึง
ทัดทรงดอกไม้ ของหอม และเครื่องลูบไล้ จะพึงยินดีทองและเงินใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของปุถุชนมีอยู่ และปุถุชนจะพึงเสพ
เมถุนธรรม จะพึงให้เมถุนธรรมเกิด ฯลฯ จะพึงยินดีทองและเงินใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์มีอยู่ พระอรหันต์จะพึงเสพ
เมถุนธรรม จะพึงให้เมถุนธรรมเกิด ฯลฯ จะพึงยินดีทองและเงินใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์มีอยู่ และพระอรหันต์จะ
ไม่พึงเสพเมถุนธรรม จะไม่พึงให้เมถุนธรรมเกิด ฯลฯ จะไม่พึงยินดีทองและเงิน
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของปุถุชนมีอยู่ และปุถุชนจะไม่พึงเสพ
เมถุนธรรม จะไม่พึงให้เมถุนธรรมเกิด จะไม่พึงอยู่ครอบครองที่นอนซึ่งยัดเยียดด้วย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๕๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๑. ปรูปหารกถา (๑๐)
บุตร จะไม่พึงใช้สอยผ้ากาสิกพัสตร์และจุรณจันทน์ จะไม่พึงทัดทรงดอกไม้ของหอม
และเครื่องลูบไล้ จะไม่พึงยินดีทองและเงินใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ราคะพระอรหันต์ละได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดราก
ถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากราคะพระอรหันต์ละได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัด
รากถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ท่านก็ไม่ควร
ยอมรับว่า “น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์มีอยู่”
สก. น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โทสะพระอรหันต์ละได้แล้ว ฯลฯ โมหะพระอรหันต์ละได้แล้ว ฯลฯ
มานะพระอรหันต์ละได้แล้ว ฯลฯ ทิฏฐิพระอรหันต์ละได้แล้ว ฯลฯ วิจิกิจฉา
พระอรหันต์ละได้แล้ว ฯลฯ ถีนะพระอรหันต์ละได้แล้ว ฯลฯ อุทธัจจะพระอรหันต์
ละได้แล้ว ฯลฯ อหิริกะพระอรหันต์ละได้แล้ว ฯลฯ อโนตตัปปะพระอรหันต์ละได้
แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่
ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากอโนตตัปปะพระอรหันต์ละได้แล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่
ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ท่านก็ไม่
ควรยอมรับว่า “น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์มีอยู่”
[๓๑๑] สก. น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๕๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๑. ปรูปหารกถา (๑๐)
สก. พระอรหันต์เจริญมรรคเพื่อละราคะแล้วมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์เจริญมรรคเพื่อละราคะแล้ว ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์มีอยู่”
สก. น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์เจริญสติปัฏฐาน ฯลฯ สัมมัปปธาน ฯลฯ อิทธิบาท ฯลฯ
อินทรีย์ ฯลฯ พละ ฯลฯ โพชฌงค์ เพื่อละราคะมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์เจริญโพชฌงค์เพื่อละราคะ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์มีอยู่”
สก. น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์เจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์ เพื่อละโทสะ ฯลฯ เพื่อ
ละโมหะ ฯลฯ เพื่อละอโนตตัปปะมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์เจริญโพชฌงค์เพื่อละอโนตตัปปะ ท่านก็ไม่ควรยอมรับ
ว่า “น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์มีอยู่”
สก. น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์เป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว
ปลงภาระแล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้ว หมดสิ้นกิเลสเป็นเครื่องผูกสัตว์ไว้ในภพแล้ว
หลุดพ้นเพราะรู้ชอบแล้ว ถอดลิ่มสลัก กลบคู ถอนเสาระเนียดได้แล้ว ไม่มี
บานประตู เป็นพระอริยะ ปลดธงคือมานะ วางภาระคือขันธ์ หมดเครื่องผูกพัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๕๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๑. ปรูปหารกถา (๑๐)
ชนะอย่างวิเศษแล้ว กำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำให้แจ้งนิโรธ เจริญมรรคแล้ว รู้ยิ่ง
ธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ละธรรมที่ควรละ เจริญธรรมที่ควร
เจริญ ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้วมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์เป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ทำกิจที่ควรทำ
เสร็จแล้ว ฯลฯ ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “น้ำอสุจิ
และการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์มีอยู่”
[๓๑๒] สก. น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตน๑
มีอยู่ น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่น๒ ไม่มี
สก. น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตน
มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตน
ไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ผู้ฉลาดในธรรมของตน ในที่นี้หมายถึงพระอรหันต์ผู้เป็นปัญญาวิมุต เพราะบำเพ็ญวิปัสสนาล้วน ๆ มิได้
สัมผัสวิโมกข์ ๘ แต่สิ้นอาสวะเพราะเห็นด้วยปัญญา (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๑๒/๑๘๒)
๒ ผู้ฉลาดในธรรมอื่น ในที่นี้หมายถึงพระอรหันต์ผู้เป็นอุภโตภาควิมุต เพราะบำเพ็ญสมถกัมมัฏฐานได้
สัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยนามกาย ได้เจโตวิมุตติขั้นอรูปสมาบัติและสิ้นอาสวะเพราะเห็นด้วยปัญญา (อภิ.ปญฺจ.อ.
๓๑๒/๑๘๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๕๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๑. ปรูปหารกถา (๑๐)
สก. ราคะพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนละได้แล้ว (แต่)น้ำอสุจิและการ
ปล่อย น้ำอสุจิของพระอรหันต์นั้นยังมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ราคะพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นละได้แล้ว (แต่)น้ำอสุจิและการปล่อย
น้ำอสุจิของพระอรหันต์นั้นยังมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ อโนตตัปปะ พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตน
ละได้แล้ว (แต่)น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์นั้นยังมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อโนตตัปปะพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นละได้แล้ว (แต่)น้ำอสุจิและการ
ปล่อย น้ำอสุจิของพระอรหันต์นั้นยังมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนเจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์ เพื่อ
ละราคะ ฯลฯ เพื่อละโทสะ ฯลฯ เพื่อละโมหะ ฯลฯ เพื่อละอโนตตัปปะ (แต่)น้ำ
อสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์นั้นยังมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่น เจริญโพชฌงค์เพื่อละอโนตตัปปะ (แต่)น้ำ
อสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์นั้นยังมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนเป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะแล้ว
ฯลฯ ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของ
พระอรหันต์นั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๕๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๑. ปรูปหารกถา (๑๐)
สก. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นเป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะแล้ว
ฯลฯ ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว (แต่)น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของ
พระอรหันต์นั้นยังมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ราคะพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นละได้แล้ว น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำ
อสุจิของพระอรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ราคะพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนละได้แล้ว น้ำอสุจิและการ
ปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นละโทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ อโนตตัปปะ
ได้แล้ว น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อโนตตัปปะพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนละได้แล้ว น้ำอสุจิและ
การปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นเจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์ ฯลฯ
เพื่อละราคะ ฯลฯ เพื่อละโทสะ ฯลฯ เพื่อละโมหะ ฯลฯ เพื่อละอโนตตัปปะ
น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนเจริญโพชฌงค์เพื่อละอโนตตัปปะ
น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๖๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๑. ปรูปหารกถา (๑๐)
สก. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นเป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะแล้ว
ฯลฯ ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระ
อรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนเป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะแล้ว
ฯลฯ ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระ
อรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๑๓] สก. น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เป็นปุถุชน
ถึงพร้อมด้วยศีล มีสติสัมปชัญญะ จำวัด น้ำอสุจิของภิกษุเหล่านั้นย่อมไม่ไหล
ออกมา น้ำอสุจิแม้ของพวกฤาษีนอกศาสนา ผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม
ย่อมไม่ไหลออกมา ภิกษุทั้งหลาย ย่อมไม่มีทางเป็นไปได้ ไม่ใช่โอกาสที่น้ำอสุจิ
ของพระอรหันต์จะพึงไหลออกมา” ๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิ
ของพระอรหันต์มีอยู่”
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “การที่บุคคลอื่นนำ(ปัจจัย)เข้าไปให้แก่พระอรหันต์
มีอยู่” ใช่ไหม
สก. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ วิ.ม. (แปล) ๕/๓๕๓/๒๒๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๖๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๒. อัญญาณกถา (๑๑)
ปร. บุคคลเหล่าอื่นจะพึงนำจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัช
บริขารเข้าไปให้แก่พระอรหันต์ได้มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากบุคคลเหล่าอื่นจะพึงนำจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย
เภสัชบริขารเข้าไปให้แก่พระอรหันต์ได้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “การที่บุคคลอื่น
นำปัจจัยเข้าไปให้แก่พระอรหันต์ก็มีได้”
สก. บุคคลเหล่าอื่นจะพึงนำจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัช
บริขารเข้าไปให้แก่พระอรหันต์ได้ เพราะเหตุนั้น การที่บุคคลอื่นนำ(ปัจจัย)เข้าไป
ให้แก่พระอรหันต์จึงมีได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลเหล่าอื่นจะพึงนำโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรือ
อรหัตตผลเข้าไปให้แก่พระอรหันต์ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปรูปหารกถา จบ

๒. อัญญาณกถา (๑๑)
ว่าด้วยความไม่รู้
[๓๑๔] สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกาย ปุพพเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๑๔/๑๘๓)
๒ เพราะมีความเห็นว่า พระอรหันต์ที่ยังไม่รู้ชื่อและโคตรของบุคคลและสถานที่ เป็นต้น ชื่อว่ายังมีอวิชชาอยู่
(อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๑๔/๑๘๒-๑๘๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๖๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๒. อัญญาณกถา (๑๑)
สก. อวิชชา อวิชโชฆะ อวิชชาโยคะ อวิชชานุสัย อวิชชาปริยุฏฐาน อวิชชา-
สังโยชน์ อวิชชานิวรณ์ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. อวิชชา อวิชโชฆะ อวิชชาโยคะ อวิชชานุสัย อวิชชาปริยุฏฐาน อวิชชา-
สังโยชน์ อวิชชานิวรณ์ของพระอรหันต์ไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากอวิชชา อวิชโชฆะ อวิชชาโยคะ อวิชชานุสัย อวิชชาปริยุฏฐาน
อวิชชาสังโยชน์ อวิชชานิวรณ์ของพระอรหันต์ไม่มี ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ความ
ไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่”
สก. ความไม่รู้ของปุถุชนมีอยู่ และอวิชชา อวิชโชฆะ อวิชชาโยคะ อวิชชานุสัย
อวิชชาปริยุฏฐาน อวิชชาสังโยชน์ อวิชชานิวรณ์ของปุถุชนนั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ และอวิชชา อวิชโชฆะ อวิชชาโยคะ
อวิชชานุสัย อวิชชาปริยุฏฐาน อวิชชาสังโยชน์ อวิชชานิวรณ์ของพระอรหันต์นั้นก็
มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ แต่อวิชชา อวิชโชฆะ อวิชชาโยคะ
อวิชชานุสัย อวิชชาปริยุฏฐาน อวิชชาสังโยชน์ อวิชชานิวรณ์ของพระอรหันต์
ไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความไม่รู้ของปุถุชนมีอยู่ แต่อวิชชา อวิชโชฆะ อวิชชาโยคะ อวิชชานุสัย
อวิชชาสังโยชน์ อวิชชานิวรณ์ของปุถุชนไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๖๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๒. อัญญาณกถา (๑๑)
สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ถูกความไม่รู้ครอบงำ จะพึงฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ พูดเท็จ พูด
ส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ ตัดช่องย่องเบา ปล้นสะดม ปล้นเรือนหลังเดียว
ดักปล้นในทางเปลี่ยว ผิดภรรยาของผู้อื่น ปล้นชาวบ้าน ปล้นชาวนิคมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. ความไม่รู้ของปุถุชนมีอยู่ ปุถุชนถูกความไม่รู้ครอบงำจะพึงฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์
พูดเท็จ ฯลฯ ปล้นชาวบ้าน ปล้นชาวนิคมใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ พระอรหันต์ถูกความไม่รู้ครอบงำแล้ว
จะพึงฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ฯลฯ ปล้นชาวบ้าน ปล้นชาวนิคมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ และพระอรหันต์ถูกความไม่รู้ครอบงำแล้ว
ไม่พึงฆ่าสัตว์ ไม่พึงลักทรัพย์ ฯลฯ ไม่ปล้นชาวบ้าน ไม่ปล้นชาวนิคมใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความไม่รู้ของปุถุชนมีอยู่ ปุถุชนถูกความไม่รู้ครอบงำแล้ว ไม่พึงฆ่าสัตว์
ไม่พึงลักทรัพย์ ฯลฯ ไม่ปล้นชาวบ้าน ไม่ปล้นชาวนิคมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความไม่รู้ในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในสิกขา ในส่วน
เบื้องต้น ในส่วนเบื้องปลาย ในส่วนเบื้องต้นและส่วนเบื้องปลาย ในปฏิจจสมุปบาท
ที่ว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๖๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๒. อัญญาณกถา (๑๑)
สก. ความไม่รู้ในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในสิกขา ในส่วน
เบื้องต้น ในส่วนเบื้องปลาย ในส่วนเบื้องต้นและส่วนเบื้องปลาย ความไม่รู้ใน
ปฏิจจสมุปบาทที่ว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี ของพระอรหันต์ไม่มี
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากความไม่รู้ในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ฯลฯ ความไม่รู้
ในปฏิจจสมุปบาทที่ว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี ของพระอรหันต์ไม่มี
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่”
สก. ความไม่รู้ของปุถุชนมีอยู่ ความไม่รู้ในพระศาสดา ในพระธรรม ใน
พระสงฆ์ ฯลฯ ความไม่รู้ในปฏิจจสมุปบาทที่ว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้
จึงมี ของปุถุชนนั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ ความไม่รู้ในพระศาสดา ในพระธรรม
ในพระสงฆ์ ฯลฯ ความไม่รู้ปฏิจจสมุปบาทที่ว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี
ของพระอรหันต์นั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ ความไม่รู้ในพระศาสดา ในพระธรรม
ในพระสงฆ์ ฯลฯ ความไม่รู้ในปฏิจจสมุปบาทที่ว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัยธรรมนี้
จึงมี ของพระอรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความไม่รู้ของปุถุชนมีอยู่ ความไม่รู้ในพระศาสดา ในพระธรรม ใน
พระสงฆ์ ฯลฯ ความไม่รู้ในปฏิจจสมุปบาทที่ว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี
ของปุถุชนนั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
[๓๑๕] สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๖๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๒. อัญญาณกถา (๑๑)
สก. ราคะพระอรหันต์ละได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดราก
ถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากราคะพระอรหันต์ละได้แล้วตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัด
รากถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ท่านก็ไม่ควร
ยอมรับว่า “ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่”
สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ อโนตตัปปะ พระอรหันต์ละได้แล้ว ตัดราก
ถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี
เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากอโนตตัปปะพระอรหันต์ละได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่
ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ท่านก็ไม่ควร
ยอมรับว่า “ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่”
สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์เจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์ เพื่อละราคะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์เจริญโพชฌงค์เพื่อละราคะ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่”
สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๖๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๒. อัญญาณกถา (๑๑)
สก. พระอรหันต์เจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์ เพื่อละโทสะ ฯลฯ เพื่อ
ละโมหะ ฯลฯ เพื่อละอโนตตัปปะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์เจริญโพชฌงค์เพื่อละอโนตตัปปะ ท่านก็ไม่ควรยอมรับ
ว่า “ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่”
สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์เป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ ทำให้แจ้งธรรม
ที่ควรทำให้แจ้งแล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์เป็นผู้ปราศจากราคะ ฯลฯ ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำ
ให้แจ้งแล้ว ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่”
[๓๑๖] สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ความไม่รู้ของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนมีอยู่ ความไม่รู้ของพระ
อรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นไม่มี
สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๖๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๒. อัญญาณกถา (๑๑)
สก. ราคะพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนละได้แล้ว (แต่)ความไม่รู้ของ
พระอรหันต์นั้นยังมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ราคะพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นละได้แล้ว (แต่)ความไม่รู้ของพระ
อรหันต์นั้นยังมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ อโนตตัปปะ พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรม
ของตนละได้แล้ว (แต่)ความไม่รู้ของพระอรหันต์นั้นยังมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อโนตตัปปะพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นละได้แล้ว (แต่)ความไม่รู้ของ
พระอรหันต์นั้นยังมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนเจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์เพื่อละ
ราคะ ความไม่รู้ของพระอรหันต์นั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นเจริญโพชฌงค์เพื่อละราคะ ความไม่รู้ของ
พระอรหันต์นั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนเจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์เพื่อ
ละโทสะ ฯลฯ เพื่อละโมหะ ฯลฯ เพื่อละอโนตตัปปะ ความไม่รู้ของพระอรหันต์นั้น
มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๖๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๒. อัญญาณกถา (๑๑)
สก. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นเจริญโพชฌงค์เพื่อละอโนตตัปปะ ความ
ไม่รู้ของพระอรหันต์นั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนเป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ
ฯลฯ ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว (แต่)ความไม่รู้ของพระอรหันต์นั้นยังมีอยู่
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นเป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ
ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว (แต่)ความไม่รู้ของพระอรหันต์นั้นยังมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ราคะพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นละได้แล้ว ความไม่รู้ของพระ
อรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ราคะพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนละได้แล้ว ความไม่รู้ของพระ
อรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ อโนตตัปปะ พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นละ
ได้แล้ว ความไม่รู้ของพระอรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อโนตตัปปะพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนละได้แล้ว ความไม่รู้ของ
พระอรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๖๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๒. อัญญาณกถา (๑๑)
สก. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นเจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์ เพื่อละ
ราคะ ฯลฯ เพื่อละโทสะ ฯลฯ เพื่อละโมหะ ฯลฯ เพื่อละอโนตตัปปะ ความ
ไม่รู้ของพระอรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนเจริญโพชฌงค์เพื่อละอโนตตัปปะ
ความไม่รู้ของพระอรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นเป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ
ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว ความไม่รู้ของพระอรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนเป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ
ฯลฯ ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว ความไม่รู้ของพระอรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๑๗] สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความ
สิ้นไปแห่งอาสวะของบุคคลผู้รู้อยู่ เห็นอยู่ มิได้กล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะของ
บุคคลผู้ไม่รู้ ไม่เห็น เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างไร ความสิ้นไปแห่งอาสวะจึงมี คือ
เมื่อบุคคลรู้ เห็นอยู่ว่า รูปเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นดังนี้ ความดับแห่ง
รูปเป็นดังนี้ เวทนาเป็นดังนี้ ฯลฯ สัญญาเป็นดังนี้ ฯลฯ สังขารเป็นดังนี้ ฯลฯ
วิญญาณเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณเป็นดังนี้ ความดับแห่งวิญญาณเป็นดังนี้
เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างนี้ ความสิ้นไปแห่งอาสวะจึงมี” ๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ สํ.ข. (แปล) ๑๗/๑๐๑/๑๙๒-๑๙๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๗๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๒. อัญญาณกถา (๑๑)
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่”
สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความ
สิ้นไปแห่งอาสวะของบุคคลผู้รู้อยู่ เห็นอยู่ มิได้กล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะของ
บุคคลผู้ไม่รู้ ไม่เห็น เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างไร ความสิ้นไปแห่งอาสวะจึงมี คือ
เมื่อบุคคลรู้เห็นอยู่ว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างนี้ ความสิ้นไปแห่งอาสวะจึงมี” ๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่”
สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง
ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละสิ่งทั้งปวง เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ แต่
บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัด ละสิ่งทั้งปวง เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์”๒
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่”
สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ สํ.ม. (แปล) ๑๙/๑๐๙๕/๖๐๘
๒ ดูเทียบ สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๒๖/๒๔-๒๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๗๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๒. อัญญาณกถา (๑๑)
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“พระโสดาบันละธรรม ๓ ประการ คือ
สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส
ได้อย่างสิ้นเชิงแล้ว
พร้อมกับการบรรลุโสดาปัตติมรรค
พระโสดาบันก็พ้นจากอบายทั้ง ๔
และจะไม่ทำอภิฐาน ๖”๑]

มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่”
สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ในสมัยที่
ธรรมจักษุที่ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน เกิดขึ้นแก่อริยสาวกว่า ‘สิ่งใดสิ่งหนึ่งมี
ความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับเป็นธรรมดา’ พร้อมกับการเกิด
ขึ้นแห่งโสดาปัตติมรรค อริยสาวกย่อมละสังโยชน์ได้ ๓ ประการ คือ สักกายทิฏฐิ
วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส”๒ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่”
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่” ใช่ไหม
สก. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ขุ.สุ. (แปล) ๒๕/๒๓๓-๒๓๔/๕๕๕
๒ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๙๕/๒๔๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๗๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๓. กังขากถา (๑๒)
ปร. พระอรหันต์ไม่รู้ชื่อและโคตรของสตรีและบุรุษ ไม่รู้ทางและมิใช่ทาง ไม่
รู้ชื่อของหญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าได้มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากพระอรหันต์ไม่รู้ชื่อและโคตรของสตรีและบุรุษ ไม่รู้ทางและมิใช่ทาง
ไม่รู้ชื่อของหญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าได้ ดังนั้น ท่านควรยอมรับว่า “ความไม่รู้
ของพระอรหันต์มีอยู่”
สก. พระอรหันต์ไม่รู้ชื่อและโคตรของสตรีและบุรุษ ไม่รู้ทางและมิใช่ทาง ไม่รู้
ชื่อของหญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าได้ เพราะเหตุนั้น ความไม่รู้ของพระอรหันต์
จึงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ไม่รู้โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผล
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
อัญญาณกถา จบ

๓. กังขากถา (๑๒)
ว่าด้วยความสงสัย
[๓๑๘] สก. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. วิจิกิจฉา วิจิกิจฉาปริยุฏฐาน วิจิกิจฉาสังโยชน์ วิจิกิจฉานิวรณ์
ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๑๘/๑๘๓)
๒ เพราะมีความเห็นว่า พระอรหันต์ยังมีความสงสัยในชื่อต่าง ๆ จึงชื่อว่ายังมีความสงสัยอยู่ (อภิ.ปญฺจ.อ.
๓๑๘/๑๘๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๗๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๓. กังขากถา (๑๒)
สก. วิจิกิจฉา วิจิกิจฉาปริยุฏฐาน วิจิกิจฉาสังโยชน์ วิจิกิจฉานิวรณ์
ของพระอรหันต์ไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากวิจิกิจฉา วิจิกิจฉาปริยุฏฐาน วิจิกิจฉาสังโยชน์ วิจิกิจฉานิวรณ์ของ
พระอรหันต์ไม่มี ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่”
สก. ความสงสัยของปุถุชนมีอยู่ วิจิกิจฉา วิจิกิจฉาปริยุฏฐาน วิจิกิจฉา-
สังโยชน์ วิจิกิจฉานิวรณ์ของปุถุชนนั้นก็มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ วิจิกิจฉา วิจิกิจฉาปริยุฏฐาน วิจิกิจฉา-
สังโยชน์ วิจิกิจฉานิวรณ์ของพระอรหันต์นั้นก็มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ วิจิกิจฉา วิจิกิจฉาปริยุฏฐาน วิจิกิจฉา-
สังโยชน์ วิจิกิจฉานิวรณ์ของพระอรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความสงสัยของปุถุชนมีอยู่ วิจิกิจฉา วิจิกิจฉาปริยุฏฐาน วิจิกิจฉา-
สังโยชน์ วิจิกิจฉานิวรณ์ของปุถุชนนั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความสงสัยในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในสิกขา ใน
ส่วนเบื้องต้น ในส่วนเบื้องปลาย ในส่วนเบื้องต้นและส่วนเบื้องปลาย ความสงสัย
ในปฏิจจสมุปบาทที่ว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี ของพระอรหันต์มีอยู่
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๗๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๓. กังขากถา (๑๒)
สก. ความสงสัยในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ฯลฯ ความ
สงสัยในปฏิจจสมุปบาทที่ว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี ของพระอรหันต์
ไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากความสงสัยในพระศาสดา ในพระธรรม ฯลฯ ความสงสัยใน
ปฏิจจสมุปบาทที่ว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี ของพระอรหันต์ไม่มี
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่”
สก. ความสงสัยของปุถุชนมีอยู่ ความสงสัยในพระศาสดา ในพระธรรม
ฯลฯ ความสงสัยในปฏิจจสมุปบาทที่ว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี
ของปุถุชนมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ ความสงสัยในพระศาสดา ในพระธรรม
ฯลฯ ความสงสัยในปฏิจจสมุปบาทที่ว่า “เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี”
ของพระอรหันต์นั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ ความสงสัยในพระศาสดา ในพระธรรม
ฯลฯ ความสงสัยในปฏิจจสมุปบาทที่ว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี
ของพระอรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความสงสัยของปุถุชนมีอยู่ ความสงสัยในพระศาสดา ในพระ ธรรม ฯลฯ
ความสงสัยในปฏิจจสมุปบาทที่ว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี ของปุถุชน
นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๑๙] สก. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๗๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๓. กังขากถา (๑๒)
สก. ราคะพระอรหันต์ละได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดราก
ถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากราคะพระอรหันต์ละได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัด
รากถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ท่านก็ไม่ควร
ยอมรับว่า “ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่”
สก. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ อโนตตัปปะ พระอรหันต์ละได้แล้ว ฯลฯ เจริญ
มรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์เพื่อละราคะ ฯลฯ เพื่อละโทสะ ฯลฯ เพื่อละอโนตตัปปะ
พระอรหันต์เป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำ
ให้แจ้งแล้วมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์เป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ ทำให้แจ้งธรรม
ที่ควรทำให้แจ้งแล้ว ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่”
[๓๒๐] สก. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ความสงสัยของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนมีอยู่ ความสงสัย
ของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นไม่มี
สก. ความสงสัยของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความสงสัยของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความสงสัยของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๗๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๓. กังขากถา (๑๒)
สก. ความสงสัยของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ราคะพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนละได้แล้ว (แต่)ความสงสัยของ
พระอรหันต์นั้นยังมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ราคะพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นละได้แล้ว (แต่)ความสงสัยของพระ
อรหันต์นั้นยังมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ อโนตตัปปะ พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตน
ละได้แล้ว เจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์เพื่อละราคะ ฯลฯ เพื่อละโทสะ ฯลฯ
เพื่อละโมหะ ฯลฯ เพื่อละอโนตตัปปะ ฯลฯ พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตน เป็น
ผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว แต่ความ
สงสัยของพระอรหันต์นั้นยังมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นเป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ
ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว (แต่)ความสงสัยของพระอรหันต์นั้นยังมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ราคะพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นละได้แล้ว ความสงสัยของพระ
อรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ราคะพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนละได้แล้ว ความสงสัยของพระ
อรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ อโนตตัปปะ พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่น
ละได้แล้ว ฯลฯ เจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์เพื่อละราคะ ฯลฯ เพื่อละโทสะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๗๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๓. กังขากถา (๑๒)
ฯลฯ เพื่อละโมหะ ฯลฯ เพื่อละอโนตตัปปะ ฯลฯ พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่น
เป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ ฯลฯ ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว ความสงสัย
ของพระอรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนเป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ ฯลฯ ทำ
ให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว ความสงสัยของพระอรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๒๑] สก. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความ
สิ้นไปแห่งอาสวะของบุคคลผู้รู้อยู่ เห็นอยู่ มิได้กล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะของ
บุคคลผู้ไม่รู้ ไม่เห็น เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างไร ความสิ้นไปแห่งอาสวะจึงมี คือ
เมื่อบุคคลรู้ เห็นอยู่ว่า รูปเป็นดังนี้ ฯลฯ ความดับแห่งวิญญาณเป็นดังนี้ เมื่อ
บุคคลรู้เห็นอย่างนี้ ความสิ้นไปแห่งอาสวะจึงมี”๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่”
สก. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความ
สิ้นไปแห่งอาสวะของบุคคลผู้รู้อยู่ เห็นอยู่ มิได้กล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะของ
บุคคลผู้ไม่รู้ ไม่เห็น เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างไร ความสิ้นไปแห่งอาสวะจึงมี คือ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ สํ.ข. (แปล) ๑๗/๑๐๑/๑๙๒-๑๙๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๗๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๓. กังขากถา (๑๒)
เมื่อบุคคลรู้เห็นอยู่ว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เมื่อบุคคลรู้เห็นอย่างนี้
ความสิ้นไปแห่งอาสวะจึงมี” มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่”
สก. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง
ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละสิ่งทั้งปวง เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ แต่
บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัด ละสิ่งทั้งปวง เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์”
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่”
สก. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “พระโสดาบันละธรรม ๓ ประการ
คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาสได้อย่างสิ้นเชิงแล้ว พร้อมกับการ
บรรลุโสดาปัตติมรรค พระโสดาบันก็พ้นจากอบายทั้ง ๔ และจะไม่ทำอภิฐาน ๖”๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ขุ.สุ. (แปล) ๒๕/๒๓๓-๒๓๔/๕๕๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๗๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๓. กังขากถา (๑๒)
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่”
สก. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ในสมัยที่ธรรมจักษุ
ที่ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน เกิดขึ้นแก่อริยสาวกว่า ‘สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความ
เกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับเป็นธรรมดา’ พร้อมกับการเกิดขึ้น
แห่งโสดาปัตติมรรค อริยสาวกย่อมละสังโยชน์ได้ ๓ ประการ คือ สักกายทิฏฐิ
วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส”๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่”
สก. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์
ผู้มีความเพียร เพ่งอยู่
เมื่อนั้น ความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไป
เพราะมารู้ธรรมพร้อมทั้งเหตุ
เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์
ผู้มีความเพียร เพ่งอยู่
เมื่อนั้น ความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไป
เพราะได้รู้ความสิ้นไปแห่งปัจจัยทั้งหลาย

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๙๕/๓๒๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๘๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๓. กังขากถา (๑๒)
เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์
ผู้มีความเพียร เพ่งอยู่
เมื่อนั้น พราหมณ์นั้นย่อมกำจัดมารและเสนาเสียได้
ดุจพระอาทิตย์อุทัยขึ้นสาดส่องท้องฟ้าให้สว่างไสว ฉะนั้น๑
ความสงสัยเหล่าใดเหล่าหนึ่งที่มีในอัตภาพนี้หรือในอัตภาพอื่น
ที่มีในความรู้ของตนหรือในความรู้ของผู้อื่น
บุคคลผู้เพ่งพินิจ มีความเพียร ประพฤติพรหมจรรย์อยู่
ย่อมละความสงสัยเหล่านั้นทั้งหมดได้๒
ทานที่ให้แล้วแก่บุคคลผู้ข้ามความสงสัย
ผู้หมดความสงสัย
ผู้ปราศจากความสงสัยทั้งที่คนทั้งหลายยังมีความสงสัยอยู่
ย่อมมีผลมาก
การประกาศธรรมในธรรมวินัยนี้เป็นเช่นนี้
ไม่มีพระสาวกรูปไหนจะสงสัยอะไร
ในการประกาศธรรมนั้นเลย
พวกข้าพระองค์ขอนอบน้อมพระชินพุทธเจ้า
ผู้ทรงเป็นจอมคน ทรงข้ามโอฆะได้
ทรงตัดความสงสัยได้แล้ว”๓
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ วิ.ม. (แปล) ๔/๑-๓/๓-๖, ขุ.อุ. (แปล) ๒๕/๑-๓/๑๗๒-๑๗๖
๒ ดูเทียบ ขุ.อุ. (แปล) ๒๕/๔๗/๒๗๕
๓ ดูเทียบ ที.ม. (แปล) ๑๐/๓๕๔/๒๘๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๘๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๓. กังขากถา (๑๒)
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่”
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระอรหันต์พึงสงสัยในชื่อและโคตรของสตรีและบุรุษ ในทางและมิใช่ทาง
ในชื่อของหญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าได้มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากพระอรหันต์จะพึงสงสัยในชื่อและโคตรของสตรีและบุรุษ ในทางและ
มิใช่ทาง ในชื่อของหญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่า ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่”
สก. พระอรหันต์จะพึงสงสัยในชื่อและโคตรของสตรีและบุรุษ ในทางและมิใช่
ทาง ในชื่อของหญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่า ดังนั้น ความสงสัยของพระอรหันต์
จึงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์จะพึงสงสัยในโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล
อรหัตตผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

กังขากถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๘๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๔. ปรวิตารณกถา (๑๓)
๔. ปรวิตารณกถา (๑๓)
ว่าด้วยการรับคำแนะนำจากผู้อื่น
[๓๒๒] สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์มีใช่ไหม
ปร.๑ใช่๒
สก. พระอรหันต์ถูกผู้อื่นนำไป ถูกผู้อื่นชักจูงไป อาศัยผู้อื่น เกาะผู้อื่น โง่เขลา
ไม่ฉลาด ย่อมไม่รู้ ไม่เห็นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์ไม่ถูกผู้อื่นนำไป ไม่ถูกผู้อื่นจูงไป ไม่อาศัยผู้อื่น ไม่เกาะผู้อื่น
ไม่โง่เขลา ฉลาด ย่อมรู้ ย่อมเห็นมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์ไม่ถูกผู้อื่นนำไป ไม่ถูกผู้อื่นจูงไป ไม่อาศัยผู้อื่น ไม่เกาะ
ผู้อื่น ไม่โง่เขลา ฉลาด ย่อมรู้ ย่อมเห็น ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “การรับคำ
แนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์มีอยู่”
สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของปุถุชนมีอยู่ และเขาถูกผู้อื่นนำไป ถูกผู้อื่น
ชักจูงไปอาศัยผู้อื่น เกาะผู้อื่นอยู่ โง่เขลา ไม่ฉลาด ย่อมไม่รู้ ไม่เห็นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์มีอยู่ และท่านถูกผู้อื่นนำไป
ถูกผู้อื่นชักจูงไป อาศัยผู้อื่น เกาะผู้อื่น โง่เขลา ไม่ฉลาด ย่อมไม่รู้ ไม่เห็นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกาย ปุพพเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๒๒/๑๘๓)
๒ เพราะมีความเห็นว่า พระอรหันต์ต้องอาศัยผู้อื่นบอก จึงสามารถรู้ชื่อและโคตรของบุคคล และสถานที่
เป็นต้นได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๒๒/๑๘๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๘๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๔. ปรวิตารณกถา (๑๓)
สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์มีอยู่ และท่านไม่ถูกผู้อื่นนำไป
ไม่ถูกผู้อื่นชักจูงไป ไม่อาศัยผู้อื่น ไม่เกาะผู้อื่น ไม่โง่เขลา ฉลาด ย่อมรู้ ย่อมเห็น
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของปุถุชนมี และเขาไม่ถูกผู้อื่นนำไป ไม่ถูก
ผู้อื่นชักจูงไป ไม่อาศัยผู้อื่น ไม่เกาะผู้อื่น ไม่โง่เขลา ฉลาด ย่อมรู้ ย่อมเห็นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นใน(เรื่อง)พระศาสดา ใน(เรื่อง)พระธรรม
ใน(เรื่อง)พระสงฆ์ ในสิกขา ในส่วนเบื้องต้น ในส่วนเบื้องปลาย ทั้งในส่วนเบื้องต้น
และส่วนเบื้องปลาย ในปฏิจจสมุปบาทที่ว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี
ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นในพระศาสดา ในพระธรรม ฯลฯ ในปฏิจจ-
สมุปบาทที่ว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี ของพระอรหันต์ไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากการรับคำแนะนำจากผู้อื่นในพระศาสดา ในพระธรรม ฯลฯ ใน
ปฏิจจสมุปบาทที่ว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี ของพระอรหันต์ไม่มี
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์มี”
สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของปุถุชนมี การรับคำแนะนำจากผู้อื่นใน
พระศาสดา ในพระธรรม ฯลฯ ในปฏิจจสมุปบาทที่ว่า “เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย
ธรรมนี้จึงมี” ของปุถุชนนั้นมีใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๘๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๔. ปรวิตารณกถา (๑๓)
สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์มี การรับคำแนะนำจากผู้อื่น
ในพระศาสดา ในพระธรรม ฯลฯ ในปฏิจจสมุปบาทที่ว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย
ธรรมนี้จึงมี ของพระอรหันต์นั้นมีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์มีอยู่ และการรับคำแนะนำจาก
ผู้อื่นในพระศาสดา ในพระธรรม ฯลฯ ในปฏิจจสมุปบาทที่ว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย
ธรรมนี้จึงมี ของพระอรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของปุถุชนมีอยู่ และการรับคำแนะนำจากผู้อื่น
ในพระศาสดา ในพระธรรม ฯลฯ ในปฏิจจสมุปบาทที่ว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย
ธรรมนี้จึงมี ของปุถุชนนั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๒๓] สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ราคะพระอรหันต์ละได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดราก
ถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากราคะพระอรหันต์ละได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัด
รากถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ท่านก็ไม่ควร
ยอมรับว่า “การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์มี”
สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ อโนตตัปปะ พระอรหันต์ละได้แล้ว ตัดรากถอน
โคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๘๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๔. ปรวิตารณกถา (๑๓)
ต่อไปไม่ได้ ฯลฯ เจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์เพื่อละราคะ ฯลฯ เพื่อละโทสะ
ฯลฯ เพื่อละอโนตตัปปะมิใช่หรือ
สก. พระอรหันต์เป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ทำให้แจ้งธรรมที่ควร
ทำให้แจ้งแล้วมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์เป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ ทำให้แจ้ง
ธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของ
พระอรหันต์มี”
[๓๒๔] สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์มีใช่ไหม
ปร. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนมี แต่
การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นไม่มี
สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนมีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นมีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ราคะพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนละได้แล้ว (แต่)การรับคำ
แนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์นั้นยังมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นละราคะได้แล้ว (แต่)การรับคำแนะนำจาก
ผู้อื่นของพระอรหันต์นั้นยังมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๘๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๔. ปรวิตารณกถา (๑๓)
สก. โทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ อโนตตัปปะ พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตน
ละได้แล้ว ฯลฯ เจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์ เพื่อละราคะ ฯลฯ เพื่อละโทสะ
ฯลฯ เพื่อละอโนตตัปปะ ฯลฯ เป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ ทำให้แจ้ง
ธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว (แต่)การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์นั้นยังมีอยู่
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นเป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ
ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว (แต่)การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์
นั้นยังมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ราคะพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นละได้แล้ว การรับคำแนะนำจากผู้อื่น
ของพระอรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ราคะพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนละได้แล้ว การรับคำแนะนำจาก
ผู้อื่นของพระอรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ อโนตตัปปะ พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรม
อื่นละได้แล้ว ฯลฯ เจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์เพื่อละราคะ ฯลฯ เพื่อละโทสะ
ฯลฯ เพื่อละอโนตตัปปะ ฯลฯ เป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ ทำให้แจ้ง
ธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนเป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ
ฯลฯ ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์
นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๘๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๔. ปรวิตารณกถา (๑๓)
[๓๒๕] สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความ
สิ้นไปแห่งอาสวะของบุคคลผู้รู้อยู่ เห็นอยู่ มิได้กล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะของ
บุคคลผู้ไม่รู้ ไม่เห็น เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างไร ความสิ้นไปแห่งอาสวะจึงมี คือ
เมื่อบุคคลรู้ เห็นอยู่ว่า รูปเป็นดังนี้ ฯลฯ ความดับแห่งวิญญาณเป็นดังนี้ เมื่อ
บุคคลรู้เห็นอย่างนี้ ความสิ้นไปแห่งอาสวะจึงมี”๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระ
อรหันต์มี”
สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความ
สิ้นไปแห่งอาสวะของบุคคลผู้รู้อยู่ เห็นอยู่ มิได้กล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะของ
บุคคลผู้ไม่รู้ ไม่เห็น เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างไร ความสิ้นไปแห่งอาสวะจึงมี คือ
เมื่อบุคคลรู้เห็นอยู่ว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เมื่อบุคคลรู้เห็นอย่างนี้
ความสิ้นไปแห่งอาสวะจึงมี” มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระ
อรหันต์มี”
สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง
ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละสิ่งทั้งปวง เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ แต่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ สํ.ข. (แปล) ๑๗/๑๐๑/๑๙๒-๑๙๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๘๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๔. ปรวิตารณกถา (๑๓)
บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัด ละสิ่งทั้งปวง เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์”
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระ
อรหันต์มี”
สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “พระโสดาบันละธรรม ๓ ประการ
คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาสได้อย่างสิ้นเชิงแล้ว พร้อมกับ
การบรรลุโสดาปัตติมรรค พระโสดาบันก็พ้นจากอบายทั้ง ๔ และจะไม่ทำอภิฐาน ๖”๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระ
อรหันต์มี”
สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ในสมัยที่ธรรมจักษุ
ที่ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน เกิดขึ้นแก่อริยสาวกว่า ‘สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิด
ขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับเป็นธรรมดา’ พร้อมกับการเกิดขึ้นแห่ง
โสดาปัตติมรรค อริยสาวกย่อมละสังโยชน์ได้ ๓ ประการ คือ สักกายทิฏฐิ
วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส”๒ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระ
อรหันต์มี”

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ขุ.สุ. (แปล) ๒๕/๒๓๓-๒๓๔/๕๕๕
๒ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๙๕/๓๒๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๘๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๔. ปรวิตารณกถา (๑๓)
สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“โธตกะ เราไม่อาจปลดเปลื้องใคร ๆ
ผู้มีความสงสัยในโลกได้ แต่เธอเมื่อรู้ทั่วถึงธรรมอันประเสริฐ
ก็จะพึงข้ามโอฆะได้เองด้วยประการฉะนี้”๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระ
อรหันต์มี”
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์มี” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ผู้อื่นจะพึงแนะนำนามและโคตรของสตรีและบุรุษ ทางและมิใช่ทาง ชื่อ
ของหญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าแก่พระอรหันต์ได้ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. หากผู้อื่นจะพึงแนะนำชื่อและโคตรของสตรีและบุรุษ ทางและมิใช่ทาง
ชื่อของหญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าแก่พระอรหันต์ได้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์มี”
สก. ผู้อื่นจะพึงแนะนำชื่อและโคตรของสตรีและบุรุษ ทางและมิใช่ทาง ชื่อของ
หญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าแก่พระอรหันต์ได้ ดังนั้น การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของ
พระอรหันต์จึงมีใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ขุ.สุ. (แปล) ๒๕/๑๐๗๑/๗๕๕, ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๘๙/๑๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๙๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๕. วจีเภทกถา (๑๔)
สก. ผู้อื่นจะพึงแนะนำโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผล
แก่พระอรหันต์ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปรวิตารณกถา จบ

๕. วจีเภทกถา (๑๔)
ว่าด้วยการเปล่งวาจา
[๓๒๖] สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ในโอกาสทั้งปวง๓ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๔ ฯลฯ
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ในกาลทั้งปวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๕ ฯลฯ
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๒๖/๑๘๓)
๒ เพราะมีความเห็นว่า ในขณะที่บุคคลบรรลุโสดาปัตติผล จะมีการเปล่งเสียงว่า ทุกข์ (อภิ.ปญฺจ.อ.
๓๒๖/๑๘๓)
๓ โอกาสทั้งปวง ในที่นี้หมายถึงภพ ๓ คือ กามภพ รูปภพ และอรูปภพ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๒๖/๑๘๓)
๔ เพราะหมายเอารูปภพอย่างเดียว จึงตอบปฏิเสธ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๒๖/๑๘๓)
๕เพราะหมายเอากาลที่เข้าสมาบัติอื่นนอกจากการเข้าปฐมฌานในขณะโสดาปัตติมรรค จึงตอบปฏิเสธ
(อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๒๖/๑๘๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๙๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๕. วจีเภทกถา (๑๔)
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานทั้งปวงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๑ ฯลฯ
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การเปล่งวาจามีอยู่ในสมาบัติทั้งปวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การเคลื่อนไหวกายของผู้เข้าฌานมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. การเคลื่อนไหวกายของผู้เข้าฌานไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ การเปล่งวาจาก็มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กายของผู้เข้าฌานมีอยู่ การเคลื่อนไหวกายก็มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กายของผู้เข้าฌานมีอยู่ การเคลื่อนไหวกายไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ (แต่)การเปล่งวาจาไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ เพราะหมายเอาผู้เข้าโลกิยสมาบัติเท่านั้น จึงตอบปฏิเสธ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๒๖/๑๘๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๙๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๕. วจีเภทกถา (๑๔)
[๓๒๗] สก. เมื่อรู้ว่าทุกข์ ย่อมเปล่งวาจาว่าทุกข์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อรู้ว่าสมุทัย ย่อมเปล่งวาจาว่าสมุทัยใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อรู้ว่าทุกข์ ย่อมเปล่งวาจาว่าทุกข์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อรู้ว่านิโรธ ย่อมเปล่งวาจาว่านิโรธใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อรู้ว่าทุกข์ ย่อมเปล่งวาจาว่าทุกข์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อรู้ว่ามรรค ย่อมเปล่งวาจาว่ามรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อรู้ว่าสมุทัย แต่ไม่เปล่งวาจาว่าสมุทัยใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อรู้ว่าทุกข์ แต่ไม่เปล่งวาจาว่าทุกข์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อรู้ว่านิโรธ แต่ไม่เปล่งวาจาว่านิโรธใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อรู้ว่าทุกข์ แต่ไม่เปล่งวาจาว่าทุกข์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อรู้ว่ามรรค แต่ไม่เปล่งวาจาว่ามรรคใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อรู้ว่าทุกข์ แต่ไม่เปล่งวาจาว่าทุกข์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๙๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๕. วจีเภทกถา (๑๔)
[๓๒๘] สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌาน มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ญาณ๑มีอะไรเป็นโคจร
ปร. ญาณมีสัจจะเป็นโคจร
สก. โสตะ๒ มีสัจจะเป็นโคจรใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โสตะมีอะไรเป็นโคจร
ปร. โสตะมีเสียงเป็นโคจร
สก. ญาณมีเสียงเป็นโคจรใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ ญาณมีสัจจะเป็นโคจร โสตะมีเสียง
เป็นโคจรใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากญาณมีสัจจะเป็นโคจร โสตะมีเสียงเป็นโคจร ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่”
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ ญาณมีสัจจะเป็นโคจร โสตะมีเสียง
เป็นโคจรใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ญาณ ในที่นี้หมายถึงสัจจญาณ ๔ ซึ่งเป็นโลกุตตระ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๒๘/๑๘๔)
๒ โสตะ ในที่นี้หมายถึงโสตวิญญาณ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑๒๘/๑๘๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๙๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๕. วจีเภทกถา (๑๔)
สก. การประชุมแห่งผัสสะ ๒ เวทนา ๒ สัญญา ๒ เจตนา ๒ จิต ๒
มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๒๙] สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าสมาบัติที่มีอาโปกสิณ ฯลฯ มีเตโชกสิณ ฯลฯ
มีวาโยกสิณ ฯลฯ มีนีลกสิณ ฯลฯ มีปีตกสิณ ฯลฯ มีโลหิตกสิณ ฯลฯ
มีโอทาตกสิณ ฯลฯ มีอากาสานัญจายตนะ ฯลฯ มีวิญญาณัญจายตนะ ฯลฯ
มีอากิญจัญญายตนะ ฯลฯ มีเนวสัญญานาสัญญายตนะเป็นอารมณ์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากการเปล่งวาจาของผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ไม่มี ท่าน
ก็ไม่ควรยอมรับว่า “การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่”
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าสมาบัติที่มีอาโปกสิณ ฯลฯ มีเตโชกสิณ ฯลฯ
มีวาโยกสิณ ฯลฯ มีนีลกสิณ ฯลฯ มีปีตกสิณ ฯลฯ มีโลหิตกสิณ ฯลฯ
มีโอทาตกสิณ ฯลฯ มีอากาสานัญจายตนะ ฯลฯ มีวิญญาณัญจายตนะ ฯลฯ
มีอากิญจัญญายตนะ ฯลฯ มีเนวสัญญานาสัญญายตนะเป็นอารมณ์ไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๙๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๕. วจีเภทกถา (๑๔)
สก. หากการเปล่งวาจาของผู้เข้าสมาบัติที่มีเนวสัญญานาสัญญายตนะเป็น
อารมณ์ไม่มี ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่”
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกิยสมาบัติมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกิยปฐมฌานมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกิยทุติยฌาน ฯลฯ ตติยฌาน ฯลฯ จตุตถ-
ฌานมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกิยสมาบัติไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากการเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกิยสมาบัติไม่มี ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่”
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกิยปฐมฌานไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากการเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกิยปฐมฌานไม่มี ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๙๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๕. วจีเภทกถา (๑๔)
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกิยทุติยฌาน ฯลฯ ตติยฌาน ฯลฯ จตุตถ-
ฌานไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากการเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกิยจตุตถฌานไม่มี ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่”
[๓๓๐] สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกุตตรปฐมฌานมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกิยปฐมฌานมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกุตตรปฐมฌานมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกิยทุติยฌาน ฯลฯ ตติยฌาน ฯลฯ จตุตถฌาน
มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกิยปฐมฌานไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกุตตรปฐมฌานไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกิยทุติยฌาน ฯลฯ ตติยฌาน ฯลฯ จตุตถฌาน
ไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกุตตรปฐมฌานไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๙๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๕. วจีเภทกถา (๑๔)
[๓๓๑] สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกุตตรปฐมฌานมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกุตตรทุติยฌานมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกุตตรปฐมฌานมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกุตตรตติยฌาน ฯลฯ จตุตถฌานมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกุตตรทุติยฌานไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกุตตรปฐมฌานไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกุตตรทุติยฌาน ฯลฯ ตติยฌาน ฯลฯ จตุตถ-
ฌานไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกุตตรปฐมฌานไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๓๒] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระผู้มีพระภาคตรัสว่าวิตกและวิจารเป็นวจีสังขาร (เครื่องปรุงแต่ง
วาจา) วิตกและวิจารของผู้เข้าปฐมฌานมีอยู่ใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๙๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๕. วจีเภทกถา (๑๔)
ปร. หากพระผู้มีพระภาคตรัสว่าวิตกและวิจารเป็นวจีสังขาร วิตกและวิจาร
ของผู้เข้าปฐมฌานมีอยู่ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “การเปล่งวาจาของผู้เข้า
ฌานมีอยู่”
สก. พระผู้มีพระภาคตรัสว่าวิตกและวิจารเป็นวจีสังขาร วิตกและวิจารของผู้
เข้าปฐมฌานมีอยู่ เพราะเหตุนั้น การเปล่งวาจาของผู้นั้นจึงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิตกและวิจารของผู้เข้าปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์มีอยู่ การ
เปล่งวาจาของผู้นั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระผู้มีพระภาคตรัสว่าวิตกและวิจารเป็นวจีสังขาร วิตกและวิจารของผู้
เข้าปฐมฌานมีอยู่ เพราะเหตุนั้น การเปล่งวาจาของผู้นั้นจึงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิตกและวิจารของผู้เข้าปฐมฌานที่มีอาโปกสิณ ฯลฯ มีเตโชกสิณ ฯลฯ
มีวาโยกสิณ ฯลฯ มีนีลกสิณ ฯลฯ มีปีตกสิณ ฯลฯ มีโลหิตกสิณ ฯลฯ
มีโอทาตกสิณเป็นอารมณ์มีอยู่ การเปล่งวาจาของผู้นั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระผู้มีพระภาคตรัสว่าวาจามีวิตกเป็นสมุฏฐาน วิตกและวิจารของผู้
เข้าปฐมฌานมีอยู่ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. หากพระผู้มีพระภาคตรัสว่าวาจามีวิตกเป็นสมุฏฐาน วิตกและวิจาร
ของผู้เข้าปฐมฌานมีอยู่ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “การเปล่งวาจาของผู้เข้า
ฌานมีอยู่”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๙๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๕. วจีเภทกถา (๑๔)
สก. พระผู้มีพระภาคตรัสว่าวาจามีวิตกเป็นสมุฏฐาน วิตกและวิจารของผู้
เข้าปฐมฌานมีอยู่ เพราะเหตุนั้น การเปล่งวาจาของผู้นั้นจึงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระผู้มีพระภาคตรัสว่าวาจามีสัญญาเป็นสมุฏฐาน สัญญาของผู้เข้า
ทุติยฌานมีอยู่ วิตกและวิจารของผู้นั้นจึงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระผู้พระภาคตรัสว่าวาจามีวิตกเป็นสมุฏฐาน วิตกและวิจารของผู้เข้า
ปฐมฌานมีอยู่ เพราะเหตุนั้น การเปล่งวาจาของผู้นั้นจึงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระผู้มีพระภาคตรัสว่าวาจามีสัญญาเป็นสมุฏฐาน สัญญาของผู้เข้า
ตติยฌาน ฯลฯ จตุตถฌาน ฯลฯ อากาสานัญจายตนะ ฯลฯ วิญญาณัญจายตนะ
ฯลฯ อากิญจัญญายตนะ มีอยู่ วิตกและวิจารของผู้นั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๓๓] สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่ว่า “การเปล่งวาจาของผู้เข้าปฐมฌานดับไป”๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระสูตรที่ว่า “การเปล่งวาจาของผู้เข้าปฐมฌานดับไป” มีอยู่จริง
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่”
สก. พระสูตรที่ว่า “การเปล่งวาจาของผู้เข้าปฐมฌานดับไป” มีอยู่จริง เพราะ
เหตุนั้น การเปล่งวาจาของผู้นั้นจึงมีอยู่ ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๒๖๓/๒๘๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๐๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๕. วจีเภทกถา (๑๔)
สก. พระสูตรที่ว่า “วิตกและวิจารของผู้เข้าทุติยฌานดับไป” มีอยู่จริง เพราะ
เหตุนั้น วิตกและวิจารของผู้นั้นจึงมีอยู่ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระสูตรที่ว่า “การเปล่งวาจาของผู้เข้าปฐมฌานดับไป” มีอยู่จริง เพราะ
เหตุนั้น การเปล่งวาจาของผู้นั้นจึงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่ว่า “ปีติของผู้เข้าตติยฌานดับไป ลมอัสสาสะปัสสาสะของผู้เข้า
จตุตถฌานดับไป รูปสัญญาของผู้เข้าอากาสานัญจายตนะดับไป อากาสานัญจา-
ยตนสัญญาของผู้เข้าวิญญาณัญจายตนะดับไป วิญญาณัญจายตนสัญญาของผู้เข้า
อากิญจัญญายตนะดับไป อากิญจัญญายตนสัญญาของผู้เข้าเนวสัญญานา-
สัญญายตนะดับไป สัญญาและเวทนาของผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธดับไป” ๑ มีอยู่จริง
เพราะเหตุนั้น สัญญาและเวทนาของผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธนั้นจึงมีอยู่ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. เสียงพระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นปฏิปักษ์ต่อปฐมฌาน๒ มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากพระผู้มีพระภาคตรัสว่าเสียงเป็นปฏิปักษ์ต่อปฐมฌาน เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงควรยอมรับว่า “การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่”
สก. พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเสียงเป็นปฏิปักษ์ต่อปฐมฌาน เพราะเหตุนั้น
การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานจึงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๒๖๓/๒๘๙
๒ ดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๗๒/๑๕๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๐๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๕. วจีเภทกถา (๑๔)
สก. พระผู้มีพระภาคตรัสว่าวิตกและวิจารเป็นปฏิปักษ์ต่อทุติยฌาน ฯลฯ
ตรัสว่าปีติเป็นปฏิปักษ์ต่อตติยฌาน ตรัสว่าลมอัสสาสะปัสสาสะเป็นปฏิปักษ์ต่อ
จตุตถฌาน ตรัสว่ารูปสัญญาเป็นปฏิปักษ์ต่อผู้เข้าอากาสานัญจายตนะ ตรัสว่า
อากาสานัญจายตนสัญญาเป็นปฏิปักษ์ต่อผู้เข้าวิญญาณัญจายตนะ ตรัสว่า
วิญญาณัญจายตนสัญญาเป็นปฏิปักษ์ต่อผู้เข้าอากิญจัญญายตนะ ตรัสว่า
อากิญจัญญายตนสัญญาเป็นปฏิปักษ์ต่อผู้เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนะ ตรัสว่า
สัญญาและเวทนาเป็นปฏิปักษ์ต่อผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ สัญญาและเวทนาของผู้
เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธนั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “อานนท์ สาวกชื่อว่าอภิภูของ
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี สถิตอยู่ในพรหมโลก ได้
ประกาศให้หมื่นจักรวาลทราบด้วยเสียงว่า
“ท่านทั้งหลายจงปรารภความเพียร
จงทำความเพียรอย่าหยุดยั้ง
จงประกอบความเพียรในพระพุทธศาสนา
จงกำจัดกองทัพแห่งมัจจุ
เหมือนช้างกำจัดเรือนต้นอ้อ ฉะนั้น
ผู้ที่ไม่ประมาทอยู่ในพระธรรมวินัยนี้
ละการเวียนว่ายตายเกิดแล้ว จักกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้”๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานจึงมีอยู่
วจีเภทกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ สํ.ส. (แปล) ๑๕/๑๘๕/๒๕๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๐๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๖. ทุกขาหารกถา (๑๕)
๖. ทุกขาหารกถา (๑๕)
ว่าด้วยทุกขาหารญาณ๑
[๓๓๔] สก. การกล่าวว่า “ทุกข์” เป็นองค์ของมรรค นับเนื่องในมรรคใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. ทุกคนที่กล่าวว่า “ทุกข์” ชื่อว่าเจริญมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๔ ฯลฯ
สก. ทุกคนที่กล่าวว่า “ทุกข์” ชื่อว่าเจริญมรรคใช่ไหม
ปร. ใช่๕
สก. พาลปุถุชนที่กล่าวว่า “ทุกข์” ชื่อว่าเจริญมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ผู้ฆ่ามารดา ฯลฯ ฆ่าบิดา ฯลฯ ฆ่าพระอรหันต์ ฯลฯ ทำร้ายพระ
พุทธเจ้าจนถึงพระโลหิตห้อ ฯลฯ ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน กล่าวว่า “ทุกข์” ชื่อว่า
เจริญมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ทุกขาหารกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ ทุกขาหารญาณ หมายถึงญาณที่เกิดขึ้นขณะที่กล่าวว่าทุกข์ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๓๔/๑๘๔)
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกาย ปุพพเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๓๔/๑๘๔)
๓ เพราะมีความเห็นว่า บุคคลผู้กล่าวว่า ทุกข์ ทุกข์ คือผู้เจริญมรรคจนรู้แจ้งทุกข์ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๓๔/๑๘๔)
๔ เพราะหมายเอาผู้ไม่รู้แจ้งทุกข์ จึงตอบปฏิเสธ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๓๔/๑๘๔)
๕ เพราะหมายเอาผู้รู้แจ้งทุกข์ จึงตอบรับ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๓๔/๑๘๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๐๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๗. จิตตัฏฐิติกถา (๑๖)
๗. จิตตัฏฐิติกถา (๑๖)
ว่าด้วยความตั้งอยู่แห่งจิต
[๓๓๕] สก. จิตดวงเดียวตั้งอยู่ได้ตลอดทั้งวันใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. กึ่งวันเป็นขณะเกิดขึ้น (ของจิต) อีกกึ่งวันเป็นขณะดับ (ของจิต) ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จิตดวงเดียวตั้งอยู่ได้ตลอด ๒ วันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วันหนึ่งเป็นขณะเกิดขึ้น (ของจิต) อีกวันหนึ่งเป็นขณะดับ (ของจิต) ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จิตดวงเดียวตั้งอยู่ได้ตลอด ๔ วัน ฯลฯ ๘ วัน ฯลฯ ๑๐ วัน ฯลฯ
๒๐ วัน ฯลฯ ๑ เดือน ฯลฯ ๒ เดือน ฯลฯ ๔ เดือน ฯลฯ ๘ เดือน ฯลฯ
๑๐ เดือน ฯลฯ ๑ ปี ฯลฯ ๒ ปี ฯลฯ ๔ ปี ฯลฯ ๘ ปี ฯลฯ ๑๐ ปี ฯลฯ
๓๐ ปี ฯลฯ ๔๐ ปี ฯลฯ ๕๐ ปี ฯลฯ ๑๐๐ ปี ฯลฯ ๒๐๐ ปี ฯลฯ ๔๐๐
ปี ฯลฯ ๕๐๐ ปี ฯลฯ ๑,๐๐๐ ปี ฯลฯ ๒,๐๐๐ ปี ฯลฯ ๔,๐๐๐ ปี ฯลฯ
๘,๐๐๐ ปี ฯลฯ ๑๖,๐๐๐ ปี ฯลฯ ๑ กัป ฯลฯ ๒ กัป ฯลฯ ๔ กัป ฯลฯ
๘ กัป ฯลฯ ๑๖ กัป ฯลฯ ๓๒ กัป ฯลฯ ๖๔ กัป ฯลฯ ๕๐๐ กัป ฯลฯ
๑,๐๐๐ กัป ฯลฯ ๒,๐๐๐ กัป ฯลฯ ๔,๐๐๐ กัป ฯลฯ ๘,๐๐๐ กัป ฯลฯ ๑๖,๐๐๐
กัป ฯลฯ ๒๐,๐๐๐ กัป ฯลฯ ๔๐,๐๐๐ กัป ฯลฯ ๖๐,๐๐๐ กัป ฯลฯ ๘๔,๐๐๐
กัปใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๓๕/๑๘๕)
๒ เพราะมีความเห็นว่า จิตไม่มีวันเสื่อมสลาย ทั้งนี้เพราะเห็นว่า จิตที่อยู่ในสมาบัติกับภวังคจิตเป็นไปสืบต่อ
กันโดยตลอด (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๓๕/๑๘๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๐๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๗. จิตตัฏฐิติกถา (๑๖)
สก. ๔๒,๐๐๐ กัป เป็นขณะเกิดขึ้น (ของจิต) อีก ๔๒,๐๐๐ กัปเป็นขณะดับ
(ของจิต) ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จิตดวงเดียวตั้งอยู่ได้ตลอดทั้งวันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นแล้วดับไปมากครั้งในวันหนึ่งมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมเหล่านั้นเปลี่ยนแปลงได้เร็วกว่าจิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมเหล่านั้นเปลี่ยนแปลงได้เร็วกว่าจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นสภาว-
ธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เปลี่ยนแปลงได้เร็วเหมือนจิตนี้ จิตนี้เปลี่ยนแปลงได้เร็ว
จนเปรียบเทียบกับอะไรไม่ได้ง่าย ๆ”๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “สภาวธรรมเหล่านั้นเปลี่ยนแปลงได้
เร็วกว่าจิต”
สก. สภาวธรรมเหล่านั้นเปลี่ยนแปลงได้เร็วกว่าจิตใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.เอกก. (แปล) ๒๐/๔๘/๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๐๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๗. จิตตัฏฐิติกถา (๑๖)
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเรียกสิ่งนี้ว่า
จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง จิตเป็นต้นนั้น ดวงหนึ่งเกิดขึ้น อีกดวงหนึ่งดับไป
ตลอดทั้งคืนและวัน เปรียบเหมือนลิงเมื่อเที่ยวไปในป่าเล็กและป่าใหญ่ จับกิ่งไม้
ปล่อยกิ่งนั้นแล้วย่อมจับกิ่งอื่น ปล่อยกิ่งนั้นแล้วย่อมจับกิ่งอื่นต่อไปฉะนั้น”๑ มีอยู่
จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “สภาวธรรมเหล่านั้นเปลี่ยนแปลงได้
เร็วกว่าจิต”
[๓๓๖] สก. จิตดวงเดียวตั้งอยู่ได้ตลอดทั้งวันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักขุวิญญาณตั้งอยู่ได้ตลอดทั้งวันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โสตวิญญาณ ฯลฯ ฆานวิญญาณ ฯลฯ ชิวหาวิญญาณ ฯลฯ กาย-
วิญญาณ ... จิตที่เป็นอกุศล ... จิตที่สหรคตด้วยราคะ ... ที่สหรคตด้วยโทสะ ...
ที่สหรคตด้วยโมหะ ... ที่สหรคตด้วยมานะ ... ที่สหรคตด้วยทิฏฐิ ... ที่สหรคตด้วย
วิจิกิจฉา ... ที่สหรคตด้วยถีนะ ... ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ ... ที่สหรคตด้วยอหิริกะ ...
ที่สหรคตด้วยอโนตตัปปะ ตั้งอยู่ได้ตลอดทั้งวันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จิตดวงเดียวตั้งอยู่ได้ตลอดทั้งวันใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ สํ.นิ. (แปล) ๑๖/๖๑/๑๑๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๐๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๗. จิตตัฏฐิติกถา (๑๖)
สก. บุคคลเห็นรูปทางตาด้วยจิตดวงใด ฟังเสียงทางหูด้วยจิตดวงนั้น ฯลฯ
ดมกลิ่นทางจมูก ฯลฯ ลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ฯลฯ รู้
แจ้งธรรมารมณ์ทางใจ ฯลฯ รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจด้วยจิตดวงใด ย่อมเห็นรูป
ทางตาด้วยจิตดวงนั้น ฯลฯ ฟังเสียงทางหู ฯลฯ ดมกลิ่นทางจมูก ฯลฯ ลิ้มรส
ทางลิ้น ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกายด้วยจิตดวงเดียวกันนั้นนั่นเองใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จิตดวงเดียวตั้งอยู่ได้ตลอดทั้งวันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลก้าวไปด้วยจิตดวงใด ย่อมถอยกลับด้วยจิตดวงนั้น ถอยกลับด้วย
จิตดวงใด ย่อมก้าวไปด้วยจิตดวงนั้น แลดูด้วยจิตดวงใด ย่อมเหลียวดูด้วยจิตดวงนั้น
เหลียวดูด้วยจิตดวงใด ย่อมแลดูด้วยจิตดวงนั้น คู้เข้าด้วยจิตดวงใด ย่อมเหยียดออก
ด้วยจิตดวงนั้น เหยียดออกด้วยจิตดวงใด ย่อมคู้เข้าด้วยจิตดวงนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๓๗] สก. เหล่าเทพผู้เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนภพ มีจิตดวงเดียว ตั้งอยู่
ได้จนตลอดอายุใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เหล่ามนุษย์มีจิตดวงเดียวตั้งอยู่ได้จนตลอดอายุใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เหล่าเทพผู้เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนภพมีจิตดวงเดียว ตั้งอยู่ได้จน
ตลอดอายุใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๐๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๗. จิตตัฏฐิติกถา (๑๖)
สก. เหล่าเทพชั้นจาตุมหาราช ฯลฯ ชั้นดาวดึงส์ ... ชั้นยามา ... ชั้นดุสิต
... ชั้นนิมมานรดี ... ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ... ชั้นพรหมปาริสัชชา ... ชั้นพรหม
ปุโรหิตา ... ชั้นมหาพรหมา ... ชั้นปริตตาภา ... ชั้นอัปปมาณาภา ... ชั้นอาภัสสรา
... ชั้นปริตตสุภา ... ชั้นอัปปมาณสุภา ... ชั้นสุภกิณหา ... ชั้นเวหัปผลา ...
ชั้นอวิหา ... ชั้นอตัปปา ... ชั้นสุทัสสา ... ชั้นสุทัสสี ฯลฯ ชั้นอกนิฏฐา มี
จิตดวงเดียวตั้งอยู่ได้จนตลอดอายุใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เหล่าเทพผู้เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนภพมีประมาณอายุ ๒๐,๐๐๐ กัป
ก็มีจิตดวงเดียวตั้งอยู่ได้ตลอด ๒๐,๐๐๐ กัปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เหล่ามนุษย์มีประมาณอายุ ๑๐๐ ปี ก็มีจิตดวงเดียวตั้งอยู่ได้ตลอด ๑๐๐
ปีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เหล่าเทพผู้เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนภพ มีประมาณอายุ ๒๐,๐๐๐
กัป ก็มีจิตดวงเดียวตั้งอยู่ได้ตลอด ๒๐,๐๐๐ กัปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เหล่าเทพชั้นจาตุมหาราชมีประมาณอายุ ๕๐๐ ปี ก็มีจิตดวงเดียวตั้ง
อยู่ได้ตลอด ๕๐๐ ปี ฯลฯ เหล่าเทพชั้นดาวดึงส์ ... ตั้งอยู่ได้ตลอด ๑,๐๐๐ ปี
ฯลฯ เหล่าเทพชั้นยามา ... ตั้งอยู่ได้ตลอด ๒,๐๐๐ ปี ฯลฯ เหล่าเทพชั้นดุสิต ...
ตั้งอยู่ได้ตลอด ๔,๐๐๐ ปี ฯลฯ เหล่าเทพชั้นนิมมานรดี ... ตั้งอยู่ได้ตลอด ๘,๐๐๐
ปี ฯลฯ เหล่าเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ... ตั้งอยู่ได้ตลอด ๑๖,๐๐๐ ปี ฯลฯ เหล่า
เทพชั้นพรหมปาริสัชชา ... ตั้งอยู่ได้ตลอด ๑ ใน ๓ ของกัป ฯลฯ เหล่าเทพชั้น
พรหมปุโรหิตา ... ตั้งอยู่ได้ตลอดกึ่งกัป ฯลฯ เหล่าเทพชั้นมหาพรหมา ... ตั้งอยู่
ได้ตลอด ๑ กัป ฯลฯ เหล่าเทพชั้นปริตตาภา ... ตั้งอยู่ได้ตลอด ๒ กัป ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๐๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๗. จิตตัฏฐิติกถา (๑๖)
เหล่าเทพชั้นอัปปมาณาภา ... ตั้งอยู่ได้ตลอด ๔ กัป ฯลฯ เหล่าเทพชั้นอาภัสสรา
... ตั้งอยู่ได้ตลอด ๘ กัป ฯลฯ เหล่าเทพชั้นปริตตสุภา ... ตั้งอยู่ได้ตลอด ๑๖
กัป ฯลฯ เหล่าเทพชั้นอัปปมาณสุภา ... ตั้งอยู่ได้ตลอด ๓๒ กัป ฯลฯ เหล่า
เทพชั้นสุภกิณหา ... ตั้งอยู่ได้ตลอด ๖๔ กัป ฯลฯ เหล่าเทพชั้นเวหัปผลา ...
ตั้งอยู่ได้ตลอด ๕๐๐ กัป ฯลฯ เหล่าเทพชั้นอวิหา ... ตั้งอยู่ได้ตลอด ๑,๐๐๐ กัป
ฯลฯ เหล่าเทพชั้นอตัปปา ... ตั้งอยู่ได้ตลอด ๒,๐๐๐ กัป ฯลฯ เหล่าเทพชั้นสุทัสสา
... ตั้งอยู่ได้ตลอด ๔,๐๐๐ กัป ฯลฯ เหล่าเทพชั้นสุทัสสี ... ตั้งอยู่ได้ตลอด ๘,๐๐๐
กัป ฯลฯ เหล่าเทพชั้นอกนิฏฐามีประมาณอายุ ๑๖,๐๐๐ กัป ก็มีจิตดวงเดียว
ตั้งอยู่ได้ตลอด ๑๖,๐๐๐ กัปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. เหล่าเทพผู้เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนภพ มีจิตเกิดดับเป็นระยะ ๆ
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. เหล่าเทพผู้เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนภพจุติปฏิสนธิเป็นระยะ ๆ
ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เหล่าเทพผู้เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนภพ มีจิตดวงเดียวตั้งอยู่ได้จน
ตลอดอายุใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เหล่าเทพผู้เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนภพ ปฏิสนธิด้วยจิตดวงใด ย่อม
จุติด้วยจิตดวงนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

จิตตัฏฐิติกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๐๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๘. กุกกุฬกถา (๑๗)
๘. กุกกุฬกถา (๑๗)
ว่าด้วยเถ้ารึง
[๓๓๘] สก. สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้ารึงโดยไม่จำกัดใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. สุขเวทนา สุขทางกาย สุขทางใจ ทิพยสุข สุขของมนุษย์ สุขในลาภ
สุขในสักการะ สุขในการไป สุขในการนอน สุขในความมีอำนาจ สุขในความเป็นใหญ่
สุขของคฤหัสถ์ สุขของสมณะ สุขมีอาสวะ สุขไม่มีอาสวะ สุขมีอุปธิ สุขไม่มีอุปธิ
สุขเจืออามิส สุขไม่เจืออามิส สุขมีปีติ สุขไม่มีปีติ สุขในฌาน สุขอันเกิดจากวิมุตติ
สุขในกาม สุขในเนกขัมมะ สุขอันเกิดจากวิเวก สุขอันเกิดจากความสงบ สุขอันเกิด
จากความตรัสรู้ มีอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากสุขเวทนา ฯลฯ สุขอันเกิดจากความตรัสรู้มีอยู่ ท่านก็ไม่ควร
ยอมรับว่า “สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้ารึงโดยไม่จำกัด”
สก. สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้ารึงโดยไม่จำกัดใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สังขารทั้งปวงเป็นทุกขเวทนา ทุกข์ทางกาย ทุกข์ทางใจ โสกะ ปริเทวะ
ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้ารึงโดยไม่จำกัด” ใช่ไหม
สก. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายโคกุลิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๓๘/๑๘๖)
๒ เพราะมีความเห็นว่า สังขารทั้งปวงเร่าร้อนดุจถ่านเพลิง (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๓๘/๑๘๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๑๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๘. กุกกุฬกถา (๑๗)
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นของ
ร้อน ก็อะไรเล่าชื่อว่าสิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุเป็นของร้อน รูป
เป็นของร้อน จักขุวิญญาณเป็นของร้อน จักขุสัมผัสเป็นของร้อน แม้ความเสวย
อารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์ หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็น
ปัจจัยก็เป็นของร้อน ร้อนเพราะอะไร เรากล่าวว่าร้อนเพราะไฟคือราคะ เพราะไฟ
คือโทสะ เพราะไฟคือโมหะ ร้อนเพราะชาติ เพราะชรา เพราะมรณะ เพราะโสกะ
เพราะปริเทวะ เพราะทุกข์ เพราะโทมนัส เพราะอุปายาส
โสตะ (หู) เป็นของร้อน เสียงเป็นของร้อน ฯลฯ ฆานะ (จมูก) เป็นของร้อน
กลิ่นเป็นของร้อน ฯลฯ ชิวหา(ลิ้น)เป็นของร้อน รสเป็นของร้อน ฯลฯ กายเป็นของ
ร้อน โผฏฐัพพะเป็นของร้อน ฯลฯ มโน(ใจ)เป็นของร้อน ธรรมารมณ์เป็นของร้อน
มโนวิญญาณเป็นของร้อน มโนสัมผัสเป็นของร้อน แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข
หรือทุกข์ หรือที่มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นของร้อน
ร้อนเพราะอะไร เรากล่าวว่าร้อนเพราะไฟคือราคะ เพราะไฟคือโทสะ เพราะไฟคือ
โมหะ ร้อนเพราะชาติ เพราะชรา เพราะมรณะ เพราะโสกะ เพราะปริเทวะ เพราะทุกข์
เพราะโทมนัส เพราะอุปายาส”๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้ารึงโดยไม่จำกัด”
สก. สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้ารึงโดยไม่จำกัดใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย กามคุณมี ๕
ประการนี้ กามคุณ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ (๑) รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด (๒) เสียงที่พึงรู้แจ้ง
ทางหู ฯลฯ (๓) กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ฯลฯ (๔) รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ วิ.ม. (แปล) ๔/๕๔/๖๓-๖๔, สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๒๘/๒๗-๒๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๑๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๘. กุกกุฬกถา (๑๗)
(๕) โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกายที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชัก
ให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด ภิกษุทั้งหลาย กามคุณมี ๕ ประการนี้”๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้ารึงโดยไม่
จำกัด”
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้ารึงโดยไม่จำกัด” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เป็นลาภของเธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายได้ดีแล้วที่เธอทั้งหลายได้ขณะเพื่อประพฤติพรหมจรรย์ เรา
เห็นนรก๒ ชื่อว่าผัสสายตนิกะ ๖ ขุมแล้ว ในนรก ๖ ขุมนั้น สัตว์ย่อมเห็นรูป
อย่างใดอย่างหนึ่งทางตาได้ แต่เห็นได้เฉพาะรูปที่ไม่น่าปรารถนา ไม่เห็นรูปที่น่า
ปรารถนา เห็นได้เฉพาะรูปที่ไม่น่าใคร่ ไม่เห็นรูปที่น่าใคร่ เห็นได้เฉพาะรูปที่ไม่น่า
พอใจ ไม่เห็นรูปที่น่าพอใจ
ฟังเสียงอย่างใดอย่างหนึ่งทางหูได้ ฯลฯ
ดมกลิ่นอย่างใดอย่างหนึ่งทางจมูกได้ ฯลฯ
ลิ้มรสอย่างใดอย่างหนึ่งทางลิ้นได้ ฯลฯ
ถูกต้องโผฏฐัพพะอย่างใดอย่างหนึ่งทางกายได้ ฯลฯ
รู้แจ้งธรรมารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งทางใจได้ แต่รู้แจ้งได้เฉพาะธรรมารมณ์ที่
ไม่น่าปรารถนา ไม่รู้แจ้งธรรมารมณ์ที่น่าปรารถนา รู้แจ้งได้เฉพาะธรรมารมณ์ที่ไม่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ม.มู. (แปล) ๑๒/๑๖๖/๑๖๗, สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๒๗๙/๓๐๙
๒ นรก หมายถึงอเวจีมหานรก (สํ.สฬา.อ. ๓/๑๓๕/๕๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๑๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๘. กุกกุฬกถา (๑๗)
น่าใคร่ ไม่รู้แจ้งธรรมารมณ์ที่น่าใคร่ รู้แจ้งได้เฉพาะธรรมารมณ์ที่ไม่น่าพอใจ ไม่รู้
แจ้งธรรมารมณ์ที่น่าพอใจ”๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้ารึงโดยไม่จำกัด”
สก. สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้ารึงโดยไม่จำกัดใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เป็นลาภของเธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายได้ดีแล้วที่เธอทั้งหลายได้ขณะเพื่อประพฤติพรหมจรรย์ เรา
ได้เห็นสวรรค์๒ ชื่อว่าผัสสายตนิกะ ๖ ชั้นแล้ว ในสวรรค์ ๖ ชั้นนั้น บุคคลย่อมเห็น
รูปอย่างใดอย่างหนึ่งทางตาได้ แต่เห็นได้เฉพาะรูปที่น่าปรารถนา ไม่เห็นรูปที่ไม่
น่าปรารถนา เห็นได้เฉพาะรูปที่น่าใคร่ ไม่เห็นรูปที่ไม่น่าใคร่ เห็นได้เฉพาะรูปที่
น่าพอใจ ไม่เห็นรูปที่ไม่น่าพอใจ
ฟังเสียงอย่างใดอย่างหนึ่งทางหูได้ ฯลฯ
ดมกลิ่นอย่างใดอย่างหนึ่งทางจมูกได้ ฯลฯ
ลิ้มรสอย่างใดอย่างหนึ่งทางลิ้นได้ ฯลฯ
ถูกต้องโผฏฐัพพะอย่างใดอย่างหนึ่งทางกายได้ ฯลฯ
รู้แจ้งธรรมารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งทางใจได้ แต่รู้แจ้งได้เฉพาะธรรมารมณ์ที่
น่าปรารถนา ไม่รู้แจ้งธรรมารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา รู้แจ้งได้เฉพาะธรรมารมณ์ที่
น่าใคร่ ไม่รู้แจ้งธรรมารมณ์ที่ไม่น่าใคร่ รู้แจ้งได้เฉพาะธรรมารมณ์ที่น่าพอใจ ไม่รู้
แจ้งธรรมารมณ์ที่ไม่น่าพอใจ”๓ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๑๓๕/๑๖๙-๑๗๐
๒ สวรรค์ หมายถึงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ (สํ.สฬา.อ. ๓/๑๓๕/๕๒)
๓ ดูเทียบ สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๑๓๕/๑๗๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๑๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๘. กุกกุฬกถา (๑๗)
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้ารึงโดยไม่
จำกัด
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้ารึงโดยไม่จำกัด” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นพระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นทุกข์ สังขารทั้งปวงไม่
่เที่ยงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากสิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นพระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นทุกข์ สังขารทั้ง
ปวงไม่เที่ยง ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้ารึงโดยไม่
จำกัด”
สก. สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้ารึงโดยไม่จำกัดใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทานมีผลไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่เป็นที่พึงพอใจ มีผลเร่าร้อน
มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบากใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ศีล ฯลฯ อุโบสถ ฯลฯ ภาวนา ฯลฯ พรหมจรรย์ มีผลไม่น่าปรารถนา
ไม่น่าใคร่ ไม่เป็นที่พึงพอใจ มีผลเร่าร้อน มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบากใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ทานมีผลน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ มีผลเยือกเย็น มีสุขเป็นกำไร
มีสุขเป็นวิบากมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากทานมีผลน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ มีผลเยือกเย็น มีสุขเป็นกำไร
มีสุขเป็นวิบาก ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้ารึงโดยไม่จำกัด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๑๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๘. กุกกุฬกถา (๑๗)
สก. ศีล ฯลฯ อุโบสถ ฯลฯ ภาวนา ฯลฯ พรหมจรรย์ มีผลน่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ มีผลเยือกเย็น มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบากมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพรหมจรรย์มีผลน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ มีผลเยือกเย็น มี
สุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “สังขารทั้งปวงเป็น
ดุจเถ้ารึงโดยไม่จำกัด”
สก. สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้ารึงโดยไม่จำกัดใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“วิเวก๑เป็นความสุขของผู้สันโดษ๒
ผู้มีธรรมปรากฏแล้ว ผู้เห็นอยู่
ความไม่เบียดเบียนคือความสำรวมในสัตว์ทั้งหลาย เป็นสุขในโลก
ความเป็นผู้ปราศจากราคะคือความล่วงกามทั้งหลายได้ เป็นสุขในโลก
ความกำจัดอัสมิมานะได้ เป็นสุขอย่างยิ่ง๓
สุขยิ่งกว่าสุขนั้นเราได้ถึงแล้ว นั้นเป็นสุขอย่างยิ่ง
วิชชา ๓ เราได้บรรลุโดยลำดับแล้ว
นั่นแลเป็นสุขอย่างยิ่ง”
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้ารึงโดยไม่จำกัด”

กุกกุฬกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ วิเวก หมายถึงนิพพานที่สงัดจากอุปธิกิเลส (ขุ.อุ.อ. ๑๑/๑๐๔)
๒ ผู้สันโดษ หมายถึงผู้สันโดษในมัคคญาณ ๔ (โสดาปัตติมัคคญาณ สกทาคามิมัคคญาณ อนาคามิมัคค-
ญาณ อรหัตตมัคคญาณ) (ขุ.อุ.อ. ๑๑/๑๐๕)
๓ ดูเทียบ วิ.ม. (แปล) ๔/๕/๘-๙, ขุ.อุ. (แปล) ๒๕/๑๑/๑๙๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๑๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๙. อนุปุพพาภิสมยกถา (๑๘)
๙. อนุปุพพาภิสมยกถา (๑๘)
ว่าด้วยการบรรลุธรรมโดยลำดับ
[๓๓๙] สก. มีการบรรลุธรรมโดยลำดับใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. บุคคลเจริญโสดาปัตติมรรคได้โดยลำดับใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๓ ฯลฯ
สก. บุคคลเจริญโสดาปัตติมรรคได้โดยลำดับใช่ไหม
ปร. ใช่๔
สก. บุคคลทำให้แจ้งโสดาปัตติผลได้โดยลำดับใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๕ ฯลฯ
สก. มีการบรรลุธรรมโดยลำดับใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลเจริญสกทาคามิมรรคได้โดยลำดับใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลเจริญสกทาคามิมรรคได้โดยลำดับใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ นิกายสัพพัตถิกวาท นิกายสมิติยะ และนิกายภัทรยานิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ.
๓๓๙/๑๘๖)
๒ เพราะมีความเห็นว่า การบรรลุอรหัตตผลเกิดจากการละกิเลสได้โดยลำดับด้วยญาณ ๑๖ ประการ โดย
แบ่งเป็นมรรคละ ๔ ประการ เช่น ผู้บรรลุโสดาปัตติผลย่อมละกิเลสบางอย่างด้วยการเห็นทุกข์(ทุกขญาณ)
ละกิเลสบางอย่างด้วยการเห็นสมุทัย(สมุทยญาณ) ละกิเลสบางอย่างด้วยการเห็นนิโรธ(นิโรธญาณ) และ
ละกิเลสก็บางอย่างด้วยการเห็นมรรค(มัคคญาณ) การบรรลุสกทาคามิผล อนาคามิผล และอรหัตตผล
ก็มีนัยเดียวกันนี้ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๓๙/๑๘๖)
๓ เพราะมีความเห็นว่า ถ้าตอบรับ เกรงจะมีผู้เข้าใจผิดว่า มรรคเดียวทำให้บรรลุผลหลายอย่าง (อภิ.ปญฺจ.อ.
๓๓๙/๑๘๖)
๔ เพราะมีความเห็นว่า โสดาปัตติมรรคประกอบด้วยญาณ ๔ ประการ คือ ทุกขญาณ สมุทยญาณ นิโรธญาณ
และมัคคญาณ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๓๙/๑๘๖)
๕ เพราะมีความเห็นว่า เขาปรารถนาโสดาปัตติผลอย่างเดียวเท่านั้น (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๓๙/๑๘๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๑๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๙. อนุปุพพาภิสมยกถา (๑๘)
สก. บุคคลทำให้แจ้งสกทาคามิผลได้โดยลำดับใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มีการบรรลุธรรมโดยลำดับใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลเจริญอนาคามิมรรคได้โดยลำดับใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลเจริญอนาคามิมรรคได้โดยลำดับใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลทำให้แจ้งอนาคามิผลได้โดยลำดับใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มีการบรรลุธรรมโดยลำดับใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลเจริญอรหัตตมรรคได้โดยลำดับใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลเจริญอรหัตตมรรคได้โดยลำดับใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลทำให้แจ้งอรหัตตผลได้โดยลำดับใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๔๐] สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล ละอะไรได้ด้วยการ
เห็นทุกข์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๑๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๙. อนุปุพพาภิสมยกถา (๑๘)
ปร. ละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส และกิเลสที่มีอยู่ในจิตดวง
เดียวกันกับกิเลสทั้ง ๓ นั้นได้ ๑ ใน ๔ ส่วน๑
สก. เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน เป็นพระโสดาบัน เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน
๔ ส่วน ไม่เป็นพระโสดาบัน เมื่อละกิเสสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน ท่านถึง ได้ บรรลุ
ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ สัมผัสโสดาปัตติผลด้วยกาย๒ อยู่ เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน
ไม่สัมผัสโสดาปัตติผลด้วยกายอยู่ เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน เป็นพระ
โสดาบันผู้สัตตักขัตตุปรมะ โกลังโกละ เอกพีชี ประกอบด้วยความเลื่อมใสที่
ไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ฯลฯ ในพระธรรม ฯลฯ ในพระสงฆ์ ฯลฯ
ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน ไม่ประกอบ
ด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล ละอะไรได้ด้วยการเห็นสมุทัย
ฯลฯ ด้วยการเห็นนิโรธ ฯลฯ ด้วยการเห็นมรรค
ปร. ละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส และกิเลสที่มีอยู่ในจิตดวง
เดียวกันกับกิเลสทั้ง ๓ นั้นได้ ๑ ใน ๔ ส่วน
สก. เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน เป็นพระโสดาบัน เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน
๔ ส่วน ไม่เป็นพระโสดาบัน เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน ท่านถึง ได้ บรรลุ
ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ สัมผัสโสดาปัตติผลด้วยกายอยู่ เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน
ไม่สัมผัสโสดาปัตติผลด้วยกายอยู่ เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน เป็นพระ

เชิงอรรถ :
๑ ๑ ใน ๔ ส่วน หมายถึงกิเลส ๑ ส่วน ใน ๔ ส่วน ที่ละได้ด้วยญาณ หนึ่ง ในจำนวน ๔ ญาณของแต่ละมรรค
(อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๓๙/๑๘๖)
๒ ดูเชิงอรรถที่ ๓ ข้อ ๒๗๔ หน้า ๑๕๙ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๑๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๙. อนุปุพพาภิสมยกถา (๑๘)
โสดาบันผู้สัตตักขัตตุปรมะ โกลังโกละ เอกพีชี ประกอบด้วยความเลื่อมใสที่ไม่
หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ฯลฯ ในพระธรรม ฯลฯ ในพระสงฆ์ ฯลฯ ประกอบ
ด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน ไม่ประกอบด้วยศีลที่
พระอริยะชอบใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๔๑] สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล ละอะไรได้ด้วยการเห็นทุกข์
ปร. ละกามราคะ พยาบาทอย่างหยาบ และกิเลสที่มีอยู่ในจิตดวงเดียวกัน
กับกิเลสทั้ง ๒ นั้นได้ ๑ ใน ๔ ส่วน
สก. เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน เป็นพระสกทาคามี เมื่อละกิเลสได้ ๑
ใน ๔ ส่วน ไม่เป็นพระสกทาคามี เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน ท่านถึง ได้ บรรลุ
ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ สัมผัสสกทาคามิผลด้วยกายอยู่ เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน
๔ ส่วน ไม่สัมผัสสกทาคามิผลด้วยกายอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล ละอะไรได้ด้วยการเห็นสมุทัย
ฯลฯ ด้วยการเห็นนิโรธ ฯลฯ ด้วยการเห็นมรรค
ปร. ละกามราคะอย่างหยาบ พยาบาทอย่างหยาบ และกิเลสที่มีอยู่ในจิตดวง
เดียวกันกับกิเลสทั้ง ๒ นั้นได้ ๑ ใน ๔ ส่วน
สก. เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน เป็นพระสกทาคามี เมื่อละกิเลสได้ ๑
ใน ๔ ส่วน ไม่เป็นพระสกทาคามี เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน ท่านถึง ได้ บรรลุ
ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ สัมผัสสกทาคามิผลด้วยกายอยู่ เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน
ไม่สัมผัสสกทาคามิผลด้วยกายอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๑๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๙. อนุปุพพาภิสมยกถา (๑๘)
[๓๔๒] สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผลละอะไรได้ด้วยการเห็นทุกข์
ปร. ละกามราคะอย่างละเอียด พยาบาทอย่างละเอียด และกิเลสที่มีอยู่ใน
จิตดวงเดียวกันกับกิเลสทั้ง ๒ นั้นได้ ๑ ใน ๔ ส่วน
สก. เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน เป็นพระอนาคามี เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน
๔ ส่วน ไม่เป็นพระอนาคามี เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน ท่านถึง ได้ บรรลุ
ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ สัมผัสอนาคามิผลด้วยกายอยู่ เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน
ไม่สัมผัสอนาคามิผลด้วยกายอยู่ เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน เป็นพระอนาคามี
ผู้อันตราปรินิพพายี ฯลฯ ผู้อุปหัจจปรินิพพายี ฯลฯ ผู้อสังขารปรินิพพายี ฯลฯ
ผู้สสังขารปรินิพพายี ฯลฯ ผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน
ไม่เป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผลละอะไรได้ด้วยการเห็นสมุทัย ฯลฯ
ด้วยการเห็นนิโรธ ฯลฯ ด้วยการเห็นมรรค
ปร. ละกามราคะอย่างละเอียด พยาบาทอย่างละเอียด และกิเลสที่มีอยู่ใน
จิตดวงเดียวกันกับกิเลสทั้ง ๒ นั้นได้ ๑ ใน ๔ ส่วน
สก. เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน เป็นพระอนาคามี เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน
๔ ส่วน ไม่เป็นพระอนาคามี เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน ท่านถึง ได้ บรรลุ
ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ สัมผัสอนาคามิผลด้วยกายอยู่ เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน
๔ ส่วน ไม่สัมผัสอนาคามิผลด้วยกายอยู่ เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน เป็น
พระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี ฯลฯ ผู้อุปหัจจปรินิพพายี ฯลฯ ผู้อสังขาร-
ปรินิพพายี ฯลฯ ผู้สสังขารปรินิพพายี ฯลฯ ผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี เมื่อละ
กิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน ไม่เป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๒๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๙. อนุปุพพาภิสมยกถา (๑๘)
[๓๔๓] สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลละอะไรได้ด้วยการเห็นทุกข์
ปร. ละรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา และกิเลสที่มีอยู่ใน
จิตดวงเดียวกันกับกิเลสทั้ง ๕ นั้นได้ ๑ ใน ๔ ส่วน
สก. เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน เป็นพระอรหันต์ เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน
๔ ส่วน ไม่เป็นพระอรหันต์ เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน ท่านถึง ได้ บรรลุ
ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ สัมผัสอรหัตตผลด้วยกายอยู่ เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน
ไม่สัมผัสอรหัตตผลด้วยกายอยู่ เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน เป็นผู้ปราศจากราคะ
ฯลฯ โทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระแล้ว บรรลุ
ประโยชน์ตนแล้ว หมดสิ้นกิเลสเป็นเครื่องผูกสัตว์ไว้ในภพแล้ว หลุดพ้นเพราะรู้ชอบ
ถอดลิ่มสลัก กลบคู ถอนเสาระเนียดได้แล้ว ไม่มีบานประตู เป็นพระอริยะ ปลดธง
คือมานะ วางภาระคือขันธ์ หมดเครื่องผูกพ้น ชนะอย่างวิเศษแล้ว ท่านกำหนดรู้ทุกข์
ละสมุทัย ทำให้แจ้งนิโรธ เจริญมรรคแล้ว รู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่
ควรกำหนดรู้ ละธรรมที่ควรละ เจริญธรรมที่ควรเจริญ ฯลฯ ทำให้แจ้งธรรมที่ควร
ทำให้แจ้ง เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน ไม่ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลละอะไรได้ด้วยการเห็นสมุทัย ฯลฯ
ด้วยการเห็นนิโรธ ฯลฯ ด้วยการเห็นมรรค
ปร. ละรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา และกิเลสที่มีอยู่ใน
จิตดวงเดียวกันกับกิเลสทั้ง ๕ นั้นได้ ๑ ใน ๔ ส่วน
สก. เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน เป็นพระอรหันต์ เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน
๔ ส่วน ไม่เป็นพระอรหันต์ เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน ท่านถึง ได้ บรรลุ
ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ สัมผัสอรหัตตผลด้วยกายอยู่ เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน
ไม่สัมผัสอรหัตตผลด้วยกายอยู่ เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน เป็นผู้ปราศจากราคะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๒๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๙. อนุปุพพาภิสมยกถา (๑๘)
ฯลฯ โทสะ ฯลฯ โมหะ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระแล้ว บรรลุประโยชน์
ตนแล้ว หมดสิ้นกิเลสเครื่องผูกสัตว์ไว้ในภพแล้ว หลุดพ้นเพราะรู้ชอบ ถอดลิ่มสลัก
กลบคู ถอนเสาระเนียดได้แล้ว ไม่มีบานประตู เป็นพระอริยะ ปลดธงคือมานะ
วางภาระคือขันธ์ หมดเครื่องผูกพัน ชนะอย่างวิเศษแล้ว ท่านกำหนดรู้ทุกข์ ละ
สมุทัย ทำให้แจ้งนิโรธ เจริญมรรคแล้ว รู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควร
กำหนดรู้ ละธรรมที่ควรละ เจริญธรรมที่ควรเจริญ ฯลฯ ทำให้แจ้งธรรมที่ควร
ทำให้แจ้ง เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน ไม่ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๔๔] สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล เมื่อเห็นทุกข์ ท่านจึง
ยอมรับว่า “เป็นผู้ปฏิบัติ” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ครั้นเห็นทุกข์แล้ว ท่านจึงยอมรับว่า “เป็นผู้ตั้งอยู่ในผล” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อเห็นสมุทัย ฯลฯ เมื่อเห็นนิโรธ ท่านจึงยอมรับว่า “เป็นผู้ปฏิบัติ”
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ครั้นเห็นนิโรธแล้ว ท่านจึงยอมรับว่า “เป็นผู้ตั้งอยู่ในผล” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล เมื่อเห็นมรรค ท่านจึงยอมรับ
ว่า “เป็นผู้ปฏิบัติ” ครั้นเห็นมรรคแล้ว ท่านจึงยอมรับว่า “เป็นผู้ตั้งอยู่ในผล” ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๒๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๙. อนุปุพพาภิสมยกถา (๑๘)
สก. เมื่อเห็นทุกข์ ท่านจึงยอมรับว่า “เป็นผู้ปฏิบัติ” ครั้นเห็นทุกข์แล้ว
ท่านจึงยอมรับว่า “เป็นผู้ตั้งอยู่ในผล” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อเห็นมรรค ท่านจึงยอมรับว่า “เป็นผู้ปฏิบัติ” ครั้นเห็นมรรคแล้ว
ท่านจึงยอมรับว่า “เป็นผู้ตั้งอยู่ในผล” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อเห็นสมุทัย ฯลฯ เมื่อเห็นนิโรธ ท่านจึงยอมรับว่า “เป็นผู้ปฏิบัติ”
ครั้นเห็นนิโรธแล้ว ท่านจึงยอมรับว่า “เป็นผู้ตั้งอยู่ในผล” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล เมื่อเห็นทุกข์ ท่านจึงยอม
รับว่า “เป็นผู้ปฏิบัติ” ครั้นเห็นทุกข์แล้ว ท่านไม่ยอมรับว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า
เป็นผู้ตั้งอยู่ในผล” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อเห็นมรรค ท่านจึงยอมรับว่า “เป็นผู้ปฏิบัติ” ครั้นเห็นมรรคแล้ว
ท่านไม่ยอมรับว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า เป็นผู้ตั้งอยู่ในผล” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อเห็นสมุทัย ฯลฯ เมื่อเห็นนิโรธ ท่านจึงยอมรับว่า “เป็นผู้ปฏิบัติ”
ครั้นเห็นนิโรธสัจแล้ว ท่านไม่ยอมรับว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า เป็นผู้ตั้งอยู่ในผล” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อเห็นมรรค ท่านจึงยอมรับว่า “เป็นผู้ปฏิบัติ” ครั้นเห็นมรรคแล้ว
ท่านไม่ยอมรับว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า เป็นผู้ตั้งอยู่ในผล” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๒๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๙. อนุปุพพาภิสมยกถา (๑๘)
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล เมื่อเห็นทุกข์ ท่านจึงยอม
รับว่า “เป็นผู้ปฏิบัติ” ครั้นเห็นทุกข์แล้ว ท่านไม่ยอมรับว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า
เป็นผู้ตั้งอยู่ในผล” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การเห็นทุกข์ ไม่มีประโยชน์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อเห็นสมุทัย ฯลฯ เมื่อเห็นนิโรธ ท่านจึงยอมรับว่า “เป็นผู้ปฏิบัติ”
ครั้นเห็นนิโรธแล้ว ท่านไม่ยอมรับว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า เป็นผู้ตั้งอยู่ในผล” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การเห็นนิโรธ ไม่มีประโยชน์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๔๕] ปร. ครั้นเห็นทุกข์แล้วก็เป็นอันเห็นสัจจะ ๔ ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ทุกขสัจเป็นสัจจะ ๔ ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ครั้นเห็นรูปขันธ์โดยความเป็นสภาวะไม่เที่ยงแล้ว ก็เป็นอันเห็นขันธ์ ๕
โดยความเป็นสภาวะไม่เที่ยงใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปขันธ์เป็นขันธ์ ๕ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ครั้นเห็นจักขายตนะโดยความเป็นสภาวะไม่เที่ยงแล้ว ก็เป็นอันเห็นอายตนะ
๑๒ โดยความเป็นสภาวะไม่เที่ยงใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๒๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๙. อนุปุพพาภิสมยกถา (๑๘)
สก. จักขายตนะเป็นอายตนะ ๑๒ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ครั้นเห็นจักขุธาตุโดยความเป็นสภาวะไม่เที่ยงแล้ว ก็เป็นอันเห็นธาตุ ๑๘
โดยความเป็นสภาวะไม่เที่ยงใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักขุธาตุเป็นธาตุ ๑๘ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ครั้นเห็นจักขุนทรีย์โดยความเป็นสภาวะไม่เที่ยงแล้ว ก็เป็นอันเห็น
อินทรีย์ ๒๒ โดยความเป็นสภาวะไม่เที่ยงใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักขุนทรีย์เป็นอินทรีย์ ๒๒ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลย่อมทำให้แจ้งโสดาปัตติผลด้วยญาณ ๔๑ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โสดาปัตติผลมี ๔ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลย่อมทำให้แจ้งโสดาปัตติผลด้วยญาณ ๘๒ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โสดาปัตติผลมี ๘ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงญาณในอริยสัจ ๔ มีทุกขญาณ เป็นต้น (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๔๕/๑๘๗)
๒ หมายถึงญาณในอริยสัจ ๔ และญาณในปฏิสัมภิทา ๔ ที่มีได้ทั่วไปแก่พระสาวก (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๔๕/๑๘๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๒๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๙. อนุปุพพาภิสมยกถา (๑๘)
สก. บุคคลย่อมทำให้แจ้งโสดาปัตติผลด้วยญาณ ๑๒๑ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โสดาปัตติผลมี ๑๒ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลย่อมทำให้แจ้งโสดาปัตติผลด้วยญาณ ๔๔๒ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โสดาปัตติผลมี ๔๔ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลทำให้แจ้งโสดาปัตติผลด้วยญาณ ๗๗๓ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โสดาปัตติผลมี ๗๗ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๔๖] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “มีการบรรลุธรรมโดยลำดับ” ใช่ไหม
สก. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงญาณในปฏิจจสมุปบาทซึ่งมีองค์ ๑๒ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๔๕/๑๘๗)
๒ หมายถึงญาณที่ท่านกล่าวไว้ในนิทานวรรคอย่างนี้ว่า ญาณในชราและมรณะ ญาณในชรา มรณะ และ
สมุทัย (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๔๕/๑๘๗)
๓ หมายถึงญาณที่ท่านกล่าวไว้ในนิทานวรรคอย่างนี้ว่า ชราและมรณะเป็นของไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
อาศัยกันและกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๔๕/๑๘๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๒๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๙. อนุปุพพาภิสมยกถา (๑๘)
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ธรรมวินัยมีการ
ศึกษาไปโดยลำดับ๑ มีการบำเพ็ญไปโดยลำดับ๒ มีการปฏิบัติไปโดยลำดับ๓ ไม่ใช่
มีการบรรลุอรหัตตผลโดยทันที เหมือนมหาสมุทรต่ำลงไปโดยลำดับ ลาดลงไป
โดยลำดับ ลึกลงไปโดยลำดับ ไม่ลึกชันดิ่งไปทันที”๔ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น จึงมีการบรรลุธรรมโดยลำดับ
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “มีการบรรลุธรรมโดยลำดับ” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“ผู้มีปัญญาพึงกำจัดมลทินของตนทีละน้อย ๆ
ทุกขณะ โดยลำดับ เหมือนช่างทองกำจัดสนิมทอง”๕
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น จึงมีการบรรลุธรรมโดยลำดับ
สก. ท่านยอมรับว่า “มีการบรรลุธรรมโดยลำดับ” ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ การศึกษาไปโดยลำดับ หมายถึงการศึกษาสิกขา ๓ คือ ศีล สมาธิ และปัญญา (องฺ.อฏฺฐก.อ.
๓/๑๙/๒๔๔)
๒ การบำเพ็ญไปโดยลำดับ หมายถึงการบำเพ็ญธุดงค์ ๑๓ (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๑๙/๒๔๔)
๓ การปฏิบัติไปโดยลำดับ หมายถึงอนุปัสสนา ๙ มหาวิปัสสนา ๑๘ อารัมมณวิภัตติ ๓๘ และ
โพธิปักขิยธรรม ๓๗ (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๑๙/๒๔๔)
๔ ดูเทียบ องฺ.อฏฺฐก. (แปล) ๒๓/๑๙-๒๐/๒๔๘-๒๕๕
๕ ดูเทียบ ขุ.ธ. (แปล) ๒๕/๒๓๙/๑๐๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๒๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๙. อนุปุพพาภิสมยกถา (๑๘)
สก. พระสูตรที่ว่า “ท่านพระควัมปติเถระกล่าวกับภิกษุทั้งหลายดังนี้ว่า ‘ผู้มี
อายุทั้งหลาย ผมได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า ภิกษุทั้งหลาย
ผู้ใดเห็นทุกข์ ผู้นั้นชื่อว่าเห็นทุกขสมุทัยบ้าง เห็นทุกขนิโรธบ้าง เห็นทุกขนิโรธ-
คามินีปฏิปทาบ้าง ผู้ใดเห็นทุกขสมุทัย ผู้นั้นชื่อว่าเห็นทุกข์บ้าง เห็นทุกขนิโรธบ้าง
เห็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาบ้าง ผู้ใดเห็นทุกขนิโรธ ผู้นั้นชื่อว่าเห็นทุกข์บ้าง เห็น
ทุกขสมุทัยบ้าง เห็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาบ้าง ผู้ใดเห็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
ผู้นั้นชื่อว่าเห็นทุกข์บ้าง เห็นทุกขสมุทัยบ้าง เห็นทุกขนิโรธบ้าง”๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “มีการบรรลุธรรมโดยลำดับ”
สก. มีการบรรลุธรรมโดยลำดับใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “พร้อมกับการได้บรรลุโสดาปัตติมรรค
ฯลฯ และเป็นผู้ไม่ควรเพื่อทำอภิฐาน ๖” มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “มีการบรรลุธรรมโดยลำดับ”
สก. มีการบรรลุธรรมโดยลำดับใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ในสมัยที่ธรรม-
จักษุที่ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน เกิดขึ้นแก่อริยสาวกว่า ‘สิ่งใดสิ่งหนึ่งมี
ความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับเป็นธรรมดา’ พร้อมกับการเกิด

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ สํ.ม. (แปล) ๑๙/๑๑๐๐/๖๑๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๒๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๑๐. โวหารกถา (๑๙)
ขึ้นแห่งโสดาปัตติมรรค อริยสาวกย่อมละสังโยชน์ได้ ๓ ประการ คือ สักกายทิฏฐิ
วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส”๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “มีการบรรลุธรรมโดยลำดับ”
อนุปุพพาภิสมยกถา จบ

๑๐. โวหารกถา (๑๙)
ว่าด้วยพระโวหาร
[๓๔๗] สก. พระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเป็นโลกุตตระใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. พระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า กระทบโสตะที่เป็นโลกุตตระ
ไม่กระทบโสตะที่เป็นโลกิยะ รับรู้ได้ด้วยวิญญาณที่เป็นโลกุตตระ รับรู้ไม่ได้ด้วย
วิญญาณที่เป็นโลกิยะ พระอริยสาวกรับรู้ได้ แต่ปุถุชนรับรู้ไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า กระทบโสตะที่เป็นโลกิยะมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า กระทบโสตะที่เป็นโลกิยะ
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเป็นโลกุตตระ”

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๙๕/๓๒๘
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๔๗/๑๙๗)
๓ เพราะมีความเห็นว่า พระโวหารที่พระพุทธองค์ทรงใช้แสดงธรรมล้วนเป็นโลกุตตระ (อภิ.ปญฺจ.อ.
๓๔๗/๑๙๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๒๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๑๐. โวหารกถา (๑๙)
สก. พระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้ารับรู้ได้ด้วยโลกิยวิญญาณมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้ารับรู้ได้ด้วยโลกิยวิญญาณ
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเป็นโลกุตตระ”
สก. พระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ปุถุชนก็รับรู้ได้มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ปุถุชนก็รับรู้ได้ ท่านก็
ไม่ควรยอมรับว่า “พระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเป็นโลกุตตระ”
[๓๔๘] สก. พระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเป็นโลกุตตระใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เป็นมรรค ผล นิพพาน โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล สกทาคามิมรรค
สกทาคามิผล อนาคามิมรรค อนาคามิผล อรหัตตมรรค อรหัตตผล สติปัฏฐาน
สัมมัปปธาน อิทธิบาท อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเป็นโลกุตตระใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. คนบางพวกที่จะฟังพระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้ามีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โลกุตตรธรรมรับรู้ได้ด้วยโสตะ กระทบที่โสตะ มาสู่คลองแห่งโสตะ
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โลกุตตรธรรมรับรู้ไม่ได้ด้วยโสตะ ไม่กระทบที่โสตะ ไม่มาสู่คลองแห่ง
โสตะมิใช่หรือ
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๓๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๑๐. โวหารกถา (๑๙)
สก. หากโลกุตตรธรรมรู้ไม่ได้ด้วยโสตะ ไม่กระทบที่โสตะ ไม่มาสู่คลองแห่ง
โสตะ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเป็น
โลกุตตระ”
[๓๔๙] สก. พระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเป็นโลกุตตระใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. คนบางพวกที่จะพึงยินดีในพระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้ามีอยู่
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โลกุตตรธรรมเป็นที่ตั้งแห่งราคะ เป็นที่ตั้งแห่งความยินดี เป็นที่ตั้งแห่ง
ความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความเมา เป็นที่ตั้งแห่งความผูกมัด เป็นที่ตั้งแห่งความ
ลุ่มหลงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โลกุตตรธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งราคะ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความยินดี ไม่เป็น
ที่ตั้งแห่งความใคร่ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเมา ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความผูกมัด ไม่เป็น
ที่ตั้งแห่งความลุ่มหลงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากโลกุตตรธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งราคะ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความยินดี ไม่
เป็นที่ตั้งแห่งความใคร่ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเมา ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความผูกมัด ไม่เป็น
ที่ตั้งแห่งความลุ่มหลง ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระโวหารของพระผู้มีพระภาค
พุทธเจ้าเป็นโลกุตตระ”
สก. พระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเป็นโลกุตตระใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๓๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๑๐. โวหารกถา (๑๙)
สก. คนบางพวกที่จะพึงขัดเคืองในพระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้ามีอยู่
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โลกุตตรธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโทสะ เป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง เป็นที่ตั้ง
แห่งความกระทบกระเทือนใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โลกุตตรธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งโทสะ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง ไม่เป็น
ที่ตั้งแห่งความกระทบกระเทือนใจมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากโลกุตตรธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งโทสะ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง
ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความกระทบกระเทือนใจ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระโวหารของ
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเป็นโลกุตตระ”
สก. พระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเป็นโลกุตตระใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. คนบางพวกที่จะพึงหลงในพระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้ามีอยู่
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โลกุตตรธรรมที่เป็นที่ตั้งของโมหะ ทำความไม่รู้ ทำให้เป็นผู้ไม่มีจักษุ
เป็นที่ปิดกั้นแห่งปัญญา เป็นฝ่ายแห่งความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพานมิใช่หรือ
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โลกุตตรธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งโมหะ ไม่ทำความไม่รู้ ไม่ทำให้เป็นผู้ไม่มี
จักษุ เป็นที่เจริญแห่งปัญญา ไม่เป็นฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน
มิใช่หรือ
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๓๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๑๐. โวหารกถา (๑๙)
สก. หากโลกุตตรธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งโมหะ ไม่ทำความไม่รู้ ไม่ทำให้เป็นผู้
ไม่มีจักษุ เป็นที่เจริญแห่งปัญญา ไม่เป็นฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเป็นโลกุตตระ”
[๓๕๐] สก. พระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเป็นโลกุตตระใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งฟังพระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าอยู่ ชน
เหล่านั้นทั้งหมดเจริญมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งฟังพระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าอยู่ ชน
เหล่านั้นทั้งหมดเจริญมรรคใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พาลปุถุชนฟังพระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าอยู่ ชื่อว่าเจริญ
มรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ผู้ฆ่ามารดา ฯลฯ ฆ่าบิดา ฯลฯ ฆ่าพระอรหันต์ ฯลฯ ทำร้าย
พระพุทธเจ้าจนถึงพระโลหิตห้อ ฯลฯ ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน ฟังพระโวหารของ
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าอยู่ ชื่อว่าเจริญมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๕๑] ปร. กองข้าวเปลือกก็ดี กองทองก็ดี ใช้ไม้เท้าทองชี้บอกได้ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. อย่างนั้นเหมือนกัน สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะก็ดี ที่เป็นโลกุตตระก็ดี
พระผู้มีพระภาคตรัสด้วยพระโวหารที่เป็นโลกุตตระ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๓๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๑๐. โวหารกถา (๑๙)
สก. กองข้าวเปลือกก็ดี กองทองก็ดี ใช้ไม้เท้าต้นละหุ่งชี้บอกได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อย่างนั้นเหมือนกัน สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะก็ดี ที่เป็นโลกุตตระก็ดี
พระผู้มีพระภาคตรัสด้วยพระโวหารที่เป็นโลกิยะ
[๓๕๒] สก. พระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า เมื่อตรัสโลกิยธรรมก็
เป็นโลกิยะ เมื่อตรัสโลกุตตรธรรมก็เป็นโลกุตตระใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อตรัสโลกิยธรรม พระโวหารนั้นกระทบโสตะที่เป็นโลกิยะ เมื่อตรัส
โลกุตตรธรรม กระทบโสตะที่เป็นโลกุตตระ เมื่อตรัสโลกิยธรรม ชนทั้งหลายรับรู้ได้
ด้วยวิญญาณที่เป็นโลกิยะ เมื่อตรัสโลกุตตรธรรม รับรู้ได้ด้วยวิญญาณที่เป็น
โลกุตตระ เมื่อตรัสโลกิยธรรม ปุถุชนรับรู้ได้ เมื่อตรัสโลกุตตรธรรม พระสาวก
รับรู้ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า เมื่อตรัส
โลกิยธรรมก็เป็นโลกิยะ เมื่อตรัสโลกุตตรธรรมก็เป็นโลกุตตระ” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระผู้มีพระภาคตรัสทั้งโลกิยธรรมและโลกุตตรธรรมมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากพระผู้มีพระภาคตรัสทั้งโลกิยธรรมและโลกุตตรธรรม ดังนั้น ท่าน
จึงควรยอมรับว่า “พระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า เมื่อตรัสโลกิยธรรมก็
เป็นโลกิยะ เมื่อตรัสโลกุตตรธรรมก็เป็นโลกุตตระ”
สก. พระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า เมื่อตรัสโลกิยธรรมก็เป็น
โลกิยะ เมื่อตรัสโลกุตตรธรรมก็เป็นโลกุตตระใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๓๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๑๑. นิโรธกถา (๒๐)
สก. เมื่อตรัสมรรคก็เป็นมรรค เมื่อตรัสสภาวธรรมที่มิใช่มรรคก็เป็นสภาวธรรม
ที่มิใช่มรรค เมื่อตรัสผลก็เป็นผล เมื่อตรัสสภาวธรรมที่มิใช่ผลก็เป็นสภาวธรรมที่
มิใช่ผล เมื่อตรัสนิพพานก็เป็นนิพพาน เมื่อตรัสสภาวธรรมที่มิใช่นิพพานก็เป็น
สภาวธรรมที่มิใช่นิพพาน เมื่อตรัสสังขตธรรมก็เป็นสังขตธรรม เมื่อตรัสอสังขตธรรม
ก็เป็นอสังขตธรรม เมื่อตรัสรูปก็เป็นรูป เมื่อตรัสสภาวธรรมที่มิใช่รูปก็เป็นสภาว-
ธรรมที่มิใช่รูป เมื่อตรัสเวทนาก็เป็นเวทนา เมื่อตรัสสภาวธรรมที่มิใช่เวทนาก็เป็น
สภาวธรรมที่มิใช่เวทนา เมื่อตรัสสัญญาก็เป็นสัญญา เมื่อตรัสสภาวธรรมที่มิใช่
สัญญาก็เป็นสภาวธรรมที่มิใช่สัญญา เมื่อตรัสสังขารก็เป็นสังขาร เมื่อตรัสสภาว-
ธรรมที่มิใช่สังขารก็เป็นสภาวธรรมที่มิใช่สังขาร เมื่อตรัสวิญญาณก็เป็นวิญญาณ
เมื่อตรัสสภาวธรรมที่มิใช่วิญญาณก็เป็นสภาวธรรมที่มิใช่วิญญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
โวหารกถา จบ

๑๑. นิโรธกถา (๒๐)
ว่าด้วยนิโรธ
[๓๕๓] สก. นิโรธมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร.๑ใช่๒
สก. ทุกขนิโรธมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๓ ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหิสาสกะและนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๕๓/๑๘๘)
๒ เพราะมีความเห็นว่า นิโรธสัจมี ๒ คือ ปฏิสังขานิโรธ(ดับโดยพิจารณา) และอัปปฏิสังขานิโรธ(ดับโดย
ไม่ต้องพิจารณา) (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๕๓/๑๘๘)
๓ เพราะมีความเห็นว่า การดับทุกข์มีอย่างเดียวเท่านั้น (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๕๓/๑๘๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๓๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๑๑. นิโรธกถา (๒๐)
สก. ทุกขนิโรธมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่๑
สก. นิโรธสัจมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. นิโรธสัจมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทุกขสัจมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. นิโรธสัจมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สมุทยสัจมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. นิโรธสัจมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มัคคสัจมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. นิโรธสัจมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ที่ต้านทานมี ๒ อย่าง ฯลฯ ที่เร้นมี ๒ อย่าง ฯลฯ ที่ระลึกมี ๒ อย่าง
ฯลฯ จุดมุ่งหมายมี ๒ อย่าง ฯลฯ ที่มั่นมี ๒ อย่าง ฯลฯ อมตะมี ๒ อย่าง
ฯลฯ นิพพานมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ เพราะมีความเห็นว่า ทุกข์ดับได้ด้วยอาการ ๒ อย่าง (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๕๓/๑๘๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๓๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๑๑. นิโรธกถา (๒๐)
สก. นิพพานมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. นิพพานทั้ง ๒ อย่าง ยังมีความสูงต่ำ ความเลวและความประณีต
ความยิ่งและหย่อน เขตแดน ความแตกต่าง ร่องรอย ช่องว่างอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. นิโรธมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลนำสังขารที่ดับโดยไม่ต้องพิจารณามาพิจารณาให้ดับได้มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลนำสังขารที่ดับโดยไม่ต้องพิจารณามาพิจารณาให้ดับได้ ท่าน
ก็ไม่ควรยอมรับว่า “นิโรธมี ๒ อย่าง”
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “นิโรธมี ๒ อย่าง” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. สังขารที่ดับโดยไม่ต้องพิจารณาก็ดี ที่ดับโดยพิจารณาก็ดี ต่างก็ดับ
สนิทแล้วมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากสังขารที่ดับโดยไม่ต้องพิจารณาก็ดี ที่ดับโดยพิจารณาก็ดี ต่างก็
ดับสนิท ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “นิโรธมี ๒ อย่าง”
สก. นิโรธมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สังขารแม้ที่ดับโดยพิจารณา ชื่อว่าดับ เพราะอาศัยอริยมรรคใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๓๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] รวมกถาที่มีในวรรค
สก. สังขารที่ดับโดยไม่ต้องพิจารณา ชื่อว่าดับ เพราะอาศัยอริยมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. นิโรธมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สังขารที่ดับโดยพิจารณา ไม่เกิดขึ้นอีกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สังขารที่ดับโดยไม่ต้องพิจารณา ก็ไม่เกิดขึ้นอีกใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “นิโรธมี ๒ อย่าง”
นิโรธกถา จบ
ทุติยวรรค จบ

รวมกถาที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปรูปหารกถา ๒. อัญญาณกถา
๓. กังขากถา ๔. ปรวิตารณกถา
๕. วจีเภทกถา ๖. ทุกขาหารกถา
๗. จิตตัฏฐิติกถา ๘. กุกกุฬกถา
๙. อนุปุพพาภิสมยกถา ๑๐. โวหารกถา
๑๑. นิโรธกถา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๓๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๑. พลกถา (๒๑)
๓. ตติยวรรค
๑. พลกถา (๒๑)
ว่าด้วยกำลัง
[๓๕๔] สก. กำลังของพระตถาคต มีได้ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. กำลังของพระตถาคตก็คือกำลังของพระสาวก กำลังของพระสาวกก็คือ
กำลังของพระตถาคตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กำลังของพระตถาคต มีได้ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กำลังของพระตถาคตกับกำลังของพระสาวกเป็นอันเดียวกัน กำลังของ
พระสาวกกับกำลังของพระตถาคตก็เป็นอันเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กำลังของพระตถาคต มีได้ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กำลังของพระสาวกก็เช่นเดียวกับกำลังของพระตถาคต กำลังของพระ
ตถาคตก็เช่นเดียวกับกำลังของพระสาวกใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กำลังของพระตถาคต มีได้ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๕๔/๑๘๙)
๒ เพราะมีความเห็นว่า ทสพลญาณ ๑๐ ก็มีได้ในสันดานของเหล่าพระสาวก (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๕๔/๑๘๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๓๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๑. พลกถา (๒๑)
สก. บุรพประโยค บุรพจริยา การกล่าวธรรม การแสดงธรรมของพระสาวก
ก็เช่นเดียวกับบุรพประโยค บุรพจริยา การกล่าวธรรม การแสดงธรรมของพระ
ตถาคตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กำลังของพระตถาคต มีได้ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระตถาคตทรงเป็นพระชินเจ้า เป็นพระศาสดา เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เป็นพระสัพพัญญู เป็นพระสัพพทัสสาวี เป็นพระธัมมัสสามี เป็นพระธัมม-
ปฏิสรณะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสาวกก็เป็นพระชินเจ้า เป็นพระศาสดา เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เป็นพระสัพพัญญู เป็นพระสัพพทัสสาวี เป็นพระธัมมัสสามี เป็นพระธัมม-
ปฏิสรณะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กำลังของพระตถาคต มีได้ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระตถาคตเป็นผู้ยังมรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น เป็นผู้ให้กำเนิดแก่มรรค
ที่ยังไม่มีใครให้กำเนิด เป็นผู้บอกมรรคที่ยังไม่มีใครบอก เป็นผู้รู้มรรค เป็นผู้เข้าใจ
มรรค เป็นผู้ฉลาดในมรรคใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสาวกก็เป็นผู้ยังมรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น เป็นผู้ให้กำเนิดแก่มรรค
ที่ยังไม่มีใครให้กำเนิด เป็นผู้บอกมรรคที่ยังไม่มีใครบอก เป็นผู้รู้มรรค เป็นผู้เข้าใจ
มรรค เป็นผู้ฉลาดในมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงซึ่งความยิ่งและ
หย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ (อินทริยปโรปริยัตตญาณ) มีได้ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๔๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๑. พลกถา (๒๑)
สก. พระสาวกเป็นผู้รู้ธรรมทั้งปวง เป็นผู้เห็นธรรมทั้งปวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๕๕] ปร. พระสาวกรู้ฐานะและอฐานะใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. หากพระสาวกรู้ฐานะและอฐานะได้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงถึงฐานะและอฐานะ(ฐานาฐาน-
ญาณ) มีได้ทั่วไปแก่พระสาวก”
ปร. พระสาวกรู้วิบากแห่งกรรมสมาทานทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และ
ปัจจุบันโดยฐานะ โดยเหตุ ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. หากพระสาวกรู้วิบากแห่งกรรมสมาทานทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และ
ปัจจุบันโดยฐานะ โดยเหตุ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “กำลังของพระตถาคต
คือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงถึงวิบากแห่งกรรมสมาทาน(กรรมวิปากญาณ)
ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันโดยฐานะ โดยเหตุ มีได้ทั่วไปแก่พระสาวก”
ปร. พระสาวกรู้ปฏิปทาที่จะให้สัตว์ถึงคติและมิใช่คติทั้งปวงได้ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. หากพระสาวกรู้ปฏิปทาที่จะให้สัตว์ถึงคติและมิใช่คติทั้งปวงได้ ดังนั้น
ท่านจึงควรยอมรับว่า “กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงถึง
ปฏิปทาที่จะให้สัตว์ถึงคติและมิใช่คติทั้งปวง(สัพพัตถคามินีปฏิปทาญาณ) มีได้ทั่วไป
แก่พระสาวก”
ปร. พระสาวกรู้โลกซึ่งมีธาตุหลายอย่างต่าง ๆ กันได้ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. หากพระสาวกรู้โลกซึ่งมีธาตุหลายอย่างต่าง ๆ กันได้ ดังนั้น ท่านจึง
ควรยอมรับว่า “กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริง ซึ่งมีธาตุ
หลายอย่างต่าง ๆ กัน (นานาธาตุญาณ) มีได้ทั่วไปแก่พระสาวก”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๔๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๑. พลกถา (๒๑)
ปร. พระสาวกรู้ว่า “สัตว์ทั้งหลายมีอัธยาศัยต่าง ๆ กันได้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. หากพระสาวกรู้ว่า “สัตว์ทั้งหลายมีอัธยาศัยต่าง ๆ กันได้” ดังนั้น
ท่านจึงควรยอมรับว่า “กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงถึงความ
ที่สัตว์ทั้งหลายมีอัธยาศัยต่าง ๆ กัน (นานาธิมุตติกญาณ) มีได้ทั่วไปแก่พระสาวก”
ปร. พระสาวกรู้ความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว การออกจากฌาน วิโมกข์
สมาธิ และสมาบัติได้ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. หากพระสาวกรู้ความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว การออกจากฌาน วิโมกข์
สมาธิ และสมาบัติได้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “กำลังของพระตถาคตคือ
ปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงถึงความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว การออกจากฌาน
วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติ (ฌานาทิสังกิเลสาทิญาณ) มีได้ทั่วไปแก่พระสาวก”
ปร. พระสาวกรู้การระลึกถึงขันธ์ที่อาศัยอยู่ในชาติก่อนได้ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. หากพระสาวกรู้การระลึกถึงขันธ์ที่อาศัยอยู่ในชาติก่อนได้ ดังนั้น ท่านจึง
ควรยอมรับว่า “กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงถึงการระลึก
ถึงขันธ์ที่อาศัยอยู่ในชาติก่อน (ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ) มีได้ทั่วไปแก่พระสาวก”
ปร. พระสาวกรู้จุติและปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลายได้ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. หากพระสาวกรู้จุติและปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลายได้ ดังนั้น ท่านจึงควร
ยอมรับว่า “กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงถึงจุติและปฏิสนธิ
ของสัตว์ทั้งหลาย (จุตูปปาตญาณ) มีได้ทั่วไปแก่พระสาวก”
ปร. อาสวะของพระตถาคตสิ้นไปแล้วและของพระสาวกก็สิ้นไปแล้วมิใช่หรือ
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๔๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๑. พลกถา (๒๑)
ปร. เหตุอะไร ๆ ที่ทำให้ต่างกันระหว่างความสิ้นไปแห่งอาสวะของพระตถาคต
กับความสิ้นไปแห่งอาสวะของพระสาวก หรือระหว่างความหลุดพ้นของพระตถาคต
กับความหลุดพ้นของพระสาวกมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่มี
ปร. หากไม่มีเหตุอะไร ๆ ที่ทำให้ต่างกันระหว่างความสิ้นไปแห่งอาสวะของ
พระตถาคตกับความสิ้นไปแห่งอาสวะของพระสาวก หรือระหว่างความหลุดพ้นของ
พระตถาคตกับความหลุดพ้นของพระสาวก ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “กำลัง
ของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในความสิ้นไปแห่งอาสวะ (อาสวัก-
ขยญาณ) มีได้ทั่วไปแก่พระสาวก”
[๓๕๖] ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในความสิ้น
ไปแห่งอาสวะ มีได้ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในฐานะและอฐานะ
มีได้ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในความสิ้นไปแห่ง
อาสวะ มีได้ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในจุติและปฏิสนธิ
ิของสัตว์ทั้งหลาย มีได้ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในฐานะและอฐานะ
มีได้ไม่ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๔๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๑. พลกถา (๒๑)
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในความสิ้นไปแห่ง
อาสวะ มีได้ไม่ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในจุติและปฏิสนธิ
ของสัตว์ทั้งหลาย มีได้ไม่ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในความสิ้นไปแห่ง
อาสวะ มีได้ไม่ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงถึงความยิ่งและหย่อน
แห่งอินทรีย์ มีได้ไม่ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในฐานะและอฐานะ
มีได้ไม่ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงถึงความยิ่งและหย่อน
แห่งอินทรีย์ มีได้ไม่ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในความสิ้นไปแห่ง
อาสวะ มีได้ไม่ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในฐานะและอฐานะ
มีได้ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๔๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๒. อริยันติกถา (๒๒)
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงถึงความยิ่งและหย่อน
แห่งอินทรีย์ มีได้ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในความสิ้นไปแห่ง
อาสวะ มีได้ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงถึงความยิ่งและหย่อน
แห่งอินทรีย์ มีได้ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
พลกถา จบ

๒. อริยันติกถา (๒๒)
ว่าด้วยความเป็นอริยะ
[๓๕๗] สก. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในฐานะและ
อฐานะเป็นอริยะใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. กำลังของพระตถาคต เป็นมรรค ผล นิพพาน โสดาปัตติมรรค
โสดาปัตติผล สกทาคามิมรรค สกทาคามิผล อนาคามิมรรค อนาคามิผล
อรหัตตมรรค อรหัตตผล สติปัฏฐาน สัมมัปปธาน อิทธิบาท อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๕๗/๑๙๑)
๒ เพราะมีความเห็นว่า ทสพลญาณเป็นโลกุตตระ ไม่ใช่โลกิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๕๗/๑๙๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๔๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๒. อริยันติกถา (๒๒)
สก. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในฐานะและอฐานะ
เป็นอริยะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กำลังของพระตถาคตมีสุญญตะ๑ เป็นอารมณ์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กำลังของพระตถาคตมีสุญญตะเป็นอารมณ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระตถาคตทรงใฝ่พระทัยถึงฐานะ อฐานะ และสุญญตะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระตถาคตทรงใฝ่พระทัยถึงฐานะ อฐานะ และสุญญตะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง จิต ๒ ดวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในฐานะและ
อฐานะเป็นอริยะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กำลังของพระตถาคตมีอนิมิตตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอัปปณิหิตะเป็น
อารมณ์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กำลังของพระตถาคตมีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ สุญญตะ ในที่นี้หมายถึงสุญญตะ ๒ อย่าง คือ (๑) สัตตสุญญตะ ว่างจากสัตว์ หมายถึงเบญจขันธ์
(๒) สังขารสุญญตะ ว่างจากสังขารทั้งปวง หมายถึงนิพพาน (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๕๗/๑๙๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๔๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๒. อริยันติกถา (๒๒)
สก. พระตถาคตทรงใฝ่พระทัยถึงฐานะ อฐานะ และอัปปณิหิตะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระตถาคตทรงใฝ่พระทัยถึงฐานะ อฐานะ และอัปปณิหิตะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง จิต ๒ ดวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๕๘] สก. สติปัฏฐานเป็นอริยะ มีสุญญตะเป็นอารมณ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในฐานะและอฐานะ
เป็นอริยะ มีสุญญตะเป็นอารมณ์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สติปัฏฐานเป็นอริยะ มีอนิมิตตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอัปปณิหิตะเป็น
อารมณ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในฐานะและอฐานะ
เป็นอริยะ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัมมัปปธาน อิทธิบาท อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ เป็นอริยะ มี
สุญญตะเป็นอารมณ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในฐานะและอฐานะ
เป็นอริยะ มีสุญญตะเป็นอารมณ์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๔๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๒. อริยันติกถา (๒๒)
สก. โพชฌงค์เป็นอริยะ มีอนิมิตตะเป็นอารมณ์ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในฐานะและอฐานะ
เป็นอริยะ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๕๙] สก. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในฐานะและ
อฐานะเป็นอริยะ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “มีสุญญตะเป็นอารมณ์” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สติปัฏฐานเป็นอริยะ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “มีสุญญตะเป็นอารมณ์”
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในฐานะและอฐานะ
เป็นอริยะ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “มีอนิมิตตะเป็นอารมณ์ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์”
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สติปัฏฐานเป็นอริยะ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์”
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในฐานะและอฐานะ
เป็นอริยะ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “มีสุญญตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอนิมิตตะเป็นอารมณ์
ฯลฯ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์” ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๔๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๒. อริยันติกถา (๒๒)
สก. สัมมัปปธาน โพชฌงค์เป็นอริยะ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “มีอัปปณิหิตะ
เป็นอารมณ์” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๖๐] สก. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในจุติและ
ปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลายเป็นอริยะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กำลังของพระตถาคตเป็นมรรค ผล นิพพาน โสดาปัตติมรรค
โสดาปัตติผล ฯลฯ โพชฌงค์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในจุติและปฏิสนธิของ
สัตว์ทั้งหลายเป็นอริยะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กำลังของพระตถาคตมีสุญญตะเป็นอารมณ์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กำลังของพระตถาคตมีสุญญตะเป็นอารมณ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระตถาคตทรงใฝ่พระทัยถึงจุติ ปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลาย และสุญญตะ
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระตถาคตทรงใฝ่พระทัยถึงจุติ ปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลาย และสุญญตะ
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง จิต ๒ ดวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๔๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๒. อริยันติกถา (๒๒)
สก. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในจุติและปฏิสนธิ
ของสัตว์ทั้งหลายเป็นอริยะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กำลังของพระตถาคตมีอนิมิตตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอัปปณิหิตะเป็น
อารมณ์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กำลังของพระตถาคตมีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระตถาคตทรงใฝ่พระทัยถึงจุติ ปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลาย และอัปปณิหิตะ
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระตถาคตทรงใฝ่พระทัยถึงจุติ ปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลาย และ
อัปปณิหิตะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง จิต ๒ ดวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๖๑] สก. สติปัฏฐานเป็นอริยะ มีสุญญตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอนิมิตตะ
เป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในจุติและปฏิสนธิของ
สัตว์ทั้งหลายเป็นอริยะ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัมมัปปธาน ฯลฯ โพชฌงค์เป็นอริยะ มีสุญญตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ
มีอนิมิตตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๕๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๒. อริยันติกถา (๒๒)
สก. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในจุติและปฏิสนธิ
ของสัตว์ทั้งหลายเป็นอริยะ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในจุติและปฏิสนธิ
ของสัตว์ทั้งหลายเป็นอริยะ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “มีสุญญตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ
มีอนิมิตตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สติปัฏฐานเป็นอริยะ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์”
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๖๒] สก. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในจุติและ
ปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลายเป็นอริยะ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “มีสุญญตะเป็นอารมณ์
ฯลฯ มีอนิมิตตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัมมัปปธาน ฯลฯ โพชฌงค์เป็นอริยะ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “มี
อัปปณิหิตะเป็นอารมณ์” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในความสิ้นไปแห่ง
อาสวะเป็นอริยะใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในฐานะและอฐานะ
เป็นอริยะใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในความสิ้นไปแห่ง
อาสวะเป็นอริยะใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๕๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๒. อริยันติกถา (๒๒)
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในจุติและปฏิสนธิ
ของสัตว์ทั้งหลายเป็นอริยะใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในฐานะและอฐานะ
แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “เป็นอริยะ” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในความสิ้นไปแห่ง
อาสวะ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “เป็นอริยะ” ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในจุติและปฏิสนธิ
ของสัตว์ทั้งหลาย แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “เป็นอริยะ” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในความสิ้นไปแห่ง
อาสวะ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “เป็นอริยะ” ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในความสิ้นไปแห่ง
อาสวะเป็นอริยะ มีสุญญตะเป็นอารมณ์ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในฐานะและอฐานะ
เป็นอริยะ มีสุญญตะเป็นอารมณ์ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในความสิ้นไปแห่ง
อาสวะเป็นอริยะ มีอนิมิตตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มี อัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๕๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๒. อริยันติกถา (๒๒)
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในฐานะและอฐานะ
เป็นอริยะ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในความสิ้นไปแห่ง
อาสวะเป็นอริยะ มีสุญญตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอนิมิตตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มี
อัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ใช่ไหม
สก. ใช่ ฯลฯ
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในจุติและปฏิสนธิ
ของสัตว์ทั้งหลายเป็นอริยะ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในฐานะและอฐานะ
เป็นอริยะ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “มีสุญญตะเป็นอารมณ์” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในความสิ้นไปแห่ง
อาสวะเป็นอริยะ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “มีสุญญตะเป็นอารมณ์” ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในฐานะและอฐานะ
เป็นอริยะ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “มีอนิมิตตะเป็นอารมณ์ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในความสิ้นไปแห่ง
อาสวะเป็นอริยะ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์” ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๕๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๓. วิมุตติกถา (๒๓)
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในจุติและปฏิสนธิของ
สัตว์ทั้งหลายเป็นอริยะ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “มีสุญญตะเป็นอารมณ์ มีอนิมิตตะ
เป็นอารมณ์ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในความสิ้นไปแห่ง
อาสวะเป็นอริยะ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์” ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
อริยันติกถา จบ

๓. วิมุตติกถา (๒๓)
ว่าด้วยความหลุดพ้น
[๓๖๓] สก. จิตมีราคะหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร.๑ใช่๒
สก. จิตที่สหรคตด้วยราคะ เกิดพร้อมกับราคะ ระคนด้วยราคะ สัมปยุตด้วย
ราคะ มีพร้อมกับราคะ เป็นไปตามราคะ เป็นอกุศล เป็นโลกิยะ เป็นอารมณ์ของ
อาสวะ เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ เป็นอารมณ์ของคันถะ เป็นอารมณ์ของโอฆะ เป็น
อารมณ์ของโยคะ เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ เป็นอารมณ์ของปรามาส เป็นอารมณ์ของ
อุปาทาน เป็นอารมณ์ของสังกิเลส หลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๓ ฯลฯ
สก. จิตมีผัสสะหลุดพ้นได้ ทั้งผัสสะและจิตหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๖๓/๑๘๙)
๒ เพราะมีความเห็นว่า จิตที่ปราศจากราคะแล้ว ก็ไม่มีประโยชน์อะไรที่จะต้องทำให้หลุดพ้นจากราคะ จิตที่มี
ราคะเท่านั้นจะต้องทำให้หลุดพ้นจากราคะเหมือนผ้าที่แปดเปื้อนเท่านั้นที่จะต้องซักให้สะอาด (อภิ.ปญฺจ.อ.
๓๖๓/๑๘๙)
๓ เพราะมีความเห็นว่า ในขณะแห่งมรรค จิตหลุดพ้นไม่ได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๖๓/๑๙๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๕๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๓. วิมุตติกถา (๒๓)
สก. จิตมีราคะหลุดพ้นได้ ทั้งราคะและจิตหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จิตมีเวทนา ฯลฯ มีสัญญา ฯลฯ มีเจตนา ฯลฯ มีปัญญาหลุดพ้นได้
ทั้งปัญญาและจิตหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จิตมีราคะหลุดพ้นได้ ทั้งราคะและจิตหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จิตมีผัสสะ มีราคะหลุดพ้นได้ ทั้งผัสสะและจิตหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทั้งราคะและจิตหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จิตมีเวทนา มีราคะ ฯลฯ มีสัญญา มีราคะ ฯลฯ มีเจตนา มีราคะ ฯลฯ
มีปัญญา มีราคะหลุดพ้นได้ ทั้งปัญญาและจิตหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทั้งราคะและจิตหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๖๔] สก. จิตมีโทสะหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จิตที่สหรคตด้วยโทสะ เกิดพร้อมกับโทสะ ระคนด้วยโทสะ สัมปยุตด้วย
โทสะ มีพร้อมกับโทสะ เป็นไปตามโทสะ เป็นอกุศล เป็นโลกิยะ เป็นอารมณ์ของ
อาสวะ ฯลฯ เป็นอารมณ์ของสังกิเลสหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จิตมีผัสสะหลุดพ้นได้ ทั้งผัสสะและจิตหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๕๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๓. วิมุตติกถา (๒๓)
สก. จิตมีโทสะหลุดพ้นได้ ทั้งโทสะและจิตหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จิตมีเวทนา ฯลฯ มีสัญญา ฯลฯ มีเจตนา ฯลฯ มีปัญญาหลุดพ้นได้
ทั้งปัญญาและจิตหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จิตมีโทสะหลุดพ้นได้ ทั้งโทสะและจิตหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จิตมีผัสสะ มีโทสะหลุดพ้นได้ ทั้งผัสสะและจิตหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จิตมีโทสะหลุดพ้นได้ ทั้งโทสะและจิตหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จิตมีเวทนา มีโทสะ ฯลฯ มีสัญญา มีโทสะ ฯลฯ มีเจตนา มีโทสะ ฯลฯ
มีปัญญา มีโทสะหลุดพ้นได้ ทั้งปัญญาและจิตหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทั้งโทสะและจิตหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๖๕] สก. จิตมีโมหะหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จิตที่สหรคตด้วยโมหะ เกิดพร้อมกับโมหะ ระคนด้วยโมหะ สัมปยุต
ด้วยโมหะ มีพร้อมกับโมหะ เป็นไปตามโมหะ เป็นอกุศล เป็นโลกิยะ เป็น
อารมณ์ของอาสวะ ฯลฯ เป็นอารมณ์ของสังกิเลสหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๕๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๓. วิมุตติกถา (๒๓)
สก. จิตมีผัสสะหลุดพ้นได้ ทั้งผัสสะและจิตหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จิตมีโมหะหลุดพ้นได้ ทั้งโมหะและจิตหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จิตมีเวทนา ฯลฯ มีสัญญา ฯลฯ มีเจตนา ฯลฯ มีปัญญาหลุดพ้นได้
ทั้งปัญญาและจิตหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จิตมีโมหะหลุดพ้นได้ ทั้งโมหะและจิตหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จิตมีผัสสะ มีโมหะหลุดพ้นได้ ทั้งผัสสะและจิตหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทั้งโมหะและจิตหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จิตมีเวทนา มีโมหะ ฯลฯ มีสัญญา มีโมหะ ฯลฯ มีเจตนา มีโมหะ ฯลฯ
มีปัญญา มีโมหะหลุดพ้นได้ ทั้งปัญญาและจิตหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทั้งโมหะและจิตหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จิตมีราคะ มีโทสะ มีโมหะหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จิตที่ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ หมดกิเลสหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “จิตมีราคะ มีโทสะ มีโมหะหลุด
พ้นได้”

วิมุตติกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๕๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๔. วิมุจจมานกถา (๒๔)
๔. วิมุจจมานกถา (๒๔)
ว่าด้วยจิตกำลังหลุดพ้น
[๓๖๖] สก. จิตที่หลุดพ้นแล้ว ชื่อว่ากำลังหลุดพ้นใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. จิตที่หลุดพ้นแล้วส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งยังไม่หลุดพ้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จิตที่หลุดพ้นแล้วส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งยังไม่หลุดพ้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลเป็นพระโสดาบันส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งไม่เป็นพระโสดาบัน
เป็นผู้ถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ สัมผัสโสดาปัตติผลด้วยกายอยู่ส่วนหนึ่ง
อีกส่วนหนึ่งไม่สัมผัสด้วยกายอยู่ เป็นพระโสดาบันผู้สัตตักขัตตุปรมะ โกลังโกละ
เอกพีชี ประกอบด้วยความเลื่อมใสที่ไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ฯลฯ ในพระธรรม
ฯลฯ ในพระสงฆ์ ฯลฯ ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจส่วนหนึ่ง อีกส่วน
หนึ่งไม่ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จิตที่หลุดพ้นแล้วส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งยังไม่หลุดพ้นใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๖๓/๑๘๙)
๒ เพราะมีความเห็นว่า การหลุดพ้นของจิตมี ๒ ช่วงตามลำดับ ช่วงที่ ๑ หลุดพ้นด้วยวิกขัมภนวิมุตติในฌาน
ช่วงที่ ๒ หลุดพ้นด้วยสมุจเฉทวิมุตติในขณะแห่งมรรค ช่วงที่ ๑ ละกิเลสได้เพียงบางส่วน ส่วนที่เหลือละ
ได้ในช่วงที่ ๒ คำว่า จิตที่หลุดพ้นแล้ว หมายถึงจิตที่หลุดพ้นในช่วงที่ ๑ ส่วนคำว่า กำลังหลุดพ้น หมายถึง
จิตในช่วงที่ ๒ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๖๖/๑๙๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๕๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๔. วิมุจจมานกถา (๒๔)
สก. บุคคลเป็นพระสกทาคามีส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งไม่เป็นพระสกทาคามี
เป็นผู้ถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ สัมผัสสกทาคามิผลด้วยกายอยู่ส่วนหนึ่ง
อีกส่วนหนึ่งไม่สัมผัสด้วยกายอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จิตที่หลุดพ้นแล้วส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งยังไม่หลุดพ้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลเป็นพระอนาคามีส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งไม่เป็นพระอนาคามี เป็น
ผู้ถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ สัมผัสอนาคามิผลด้วยกายอยู่ส่วนหนึ่ง
อีกส่วนหนึ่งไม่สัมผัสด้วยกายอยู่ เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี ... ผู้
อุปหัจจปรินิพพายี ... ผู้อสังขารปรินิพพายี ... ผู้สสังขารปรินิพพายี ... ผู้
อุทธังโสโตอกนิฏฐคามีส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งไม่เป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโต-
อกนิฏฐคามีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จิตหลุดพ้นแล้วส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งยังไม่หลุดพ้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลเป็นพระอรหันต์ส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งไม่เป็นพระอรหันต์ เป็น
ผู้ถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ สัมผัสอรหัตตผลด้วยกายอยู่ส่วนหนึ่ง อีก
ส่วนหนึ่งไม่สัมผัสด้วยกายอยู่ เป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ ทำให้แจ้ง
ธรรมที่ควรทำให้แจ้งส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งไม่ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จิตที่หลุดพ้นแล้ว ชื่อว่ากำลังหลุดพ้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จิตหลุดพ้นแล้วในขณะเกิด ชื่อว่ากำลังหลุดพ้นในขณะดับใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๕๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๔. วิมุจจมานกถา (๒๔)
[๓๖๗] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “จิตที่หลุดพ้นแล้ว ชื่อว่ากำลังหลุดพ้น” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “เมื่อบุคคลนั้นรู้เห็นอยู่อย่างนี้
จิตย่อมหลุดพ้นจากกามาสวะบ้าง จากภวาสวะบ้าง จากอวิชชาสวะบ้าง” ๑ มีอยู่จริง
มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น จิตที่หลุดพ้นแล้วจึงชื่อว่ากำลังหลุดพ้น
สก. จิตที่หลุดพ้นแล้ว ชื่อว่ากำลังหลุดพ้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บุคคลนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ
บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะ
แก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมน้อมจิตไปเพื่อญาณเป็นเครื่องสิ้น
อาสวะ”๒ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “จิตที่หลุดพ้นแล้ว ชื่อว่ากำลังหลุดพ้น”
สก. จิตที่กำลังหลุดพ้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จิตที่กำลังกำหนัด ขัดเคือง หลง เศร้าหมองมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑-๒ ดูเทียบ ม.อุ. (แปล) ๑๔/๒๒๑/๒๔๕, องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๗๑/๒๘๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๖๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๕. อัฏฐมกกถา (๒๕)
สก. จิตที่กำหนัดและไม่กำหนัด ขัดเคืองและไม่ขัดเคือง หลงและไม่หลง
ขาดและไม่ขาด แตกดับและไม่แตกดับ ถูกปัจจัยปรุงแต่งและไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
มีอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากจิตที่กำหนัดและไม่กำหนัด ขัดเคืองและไม่ขัดเคือง หลงและ
ไม่หลง ขาดและไม่ขาด แตกดับและไม่แตกดับ ถูกปัจจัยปรุงแต่งและไม่ถูกปัจจัย
ปรุงแต่งมีอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “จิตที่กำลังหลุดพ้นมีอยู่”
วิมุจจมานกถา จบ

๕. อัฏฐมกกถา (๒๕)
ว่าด้วยบุคคลที่ ๘
[๓๖๘] สก. บุคคลที่ ๘๑ ละทิฏฐิปริยุฏฐานได้แล้วใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. บุคคลที่ ๘ เป็นพระโสดาบัน เป็นผู้ถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่
สัมผัสโสดาปัตติผลด้วยกายอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลที่ ๘ ละวิจิกิจฉาปริยุฏฐานได้แล้วใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ บุคคลที่ ๘ หมายถึงพระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๖๘/๑๙๕)
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะและนิกายสมิติยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๖๘/๑๙๕)
๓ เพราะมีความเห็นว่า ก่อนที่โสดาปัตติมรรคจิตจะเกิด อนุโลมญาณและโคตรภูญาณได้ละทิฏฐิและวิจิกิจฉา
ไปแล้ว ดังนั้น ในขณะโสดาปัตติมรรคจะบอกว่ากำลังละทิฏฐิและวิจิกิจฉาไม่ได้ แต่จะต้องบอกว่าได้ละ
ทิฏฐิและวิจิกิจฉาไปแล้ว (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๖๘/๑๙๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๖๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๕. อัฏฐมกกถา (๒๕)
สก. บุคคลที่ ๘ เป็นพระโสดาบัน เป็นผู้ถึง ฯลฯ สัมผัสโสดาปัตติผลด้วย
กายอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลที่ ๘ ละทิฏฐิปริยุฏฐานได้แล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลที่ ๘ ละทิฏฐานุสัยได้แล้วใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลที่ ๘ ละทิฏฐิปริยุฏฐานได้แล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลที่ ๘ ละวิจิกิจฉานุสัย ฯลฯ สีลัพพตปรามาสได้แล้วใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลที่ ๘ ละวิจิกิจฉาปริยุฏฐานได้แล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลที่ ๘ ละวิจิกิจฉานุสัยได้แล้วใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลที่ ๘ ละวิจิกิจฉาปริยุฏฐานได้แล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลที่ ๘ ละทิฏฐานุสัย ฯลฯ สีลัพพตปรามาสได้แล้วใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลที่ ๘ ยังละทิฏฐานุสัยไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลที่ ๘ ยังละทิฏฐิปริยุฏฐานไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๖๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๕. อัฏฐมกกถา (๒๕)
สก. บุคคลที่ ๘ ยังละทิฏฐานุสัยไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลที่ ๘ ยังละวิจิกิจฉาปริยุฏฐานไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลที่ ๘ ยังละวิจิกิจฉานุสัย ฯลฯ สีลัพพตปรามาสไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลที่ ๘ ยังละทิฏฐิปริยุฏฐานไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลที่ ๘ ยังละสีลัพพตปรามาสไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลที่ ๘ ยังละวิจิกิจฉาปริยุฏฐานไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๖๙] สก. บุคคลที่ ๘ ละทิฏฐิปริยุฏฐานได้แล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลที่ ๘ เจริญมรรคเพื่อละทิฏฐิปริยุฏฐานใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลที่ ๘ ละทิฏฐิปริยุฏฐานได้แล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลที่ ๘ เจริญสติปัฏฐาน ฯลฯ สัมมัปปธาน ฯลฯ โพชฌงค์
เพื่อละทิฏฐิปริยุฏฐานใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลที่ ๘ ละวิจิกิจฉาปริยุฏฐานได้แล้วใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๖๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๕. อัฏฐมกกถา (๒๕)
สก. บุคคลที่ ๘ เจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์ เพื่อละวิจิกิจฉาปริยุฏฐาน
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลที่ ๘ ไม่เจริญมรรคเพื่อละทิฏฐิปริยุฏฐานใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลที่ ๘ ละทิฏฐิปริยุฏฐานได้แล้วด้วยสภาวธรรมที่มิใช่มรรค เป็น
โลกิยะ เป็นอารมณ์ของอาสวะ ฯลฯ เป็นอารมณ์ของสังกิเลสใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลที่ ๘ ไม่เจริญสติปัฏฐาน ฯลฯ ไม่เจริญโพชฌงค์ เพื่อละ
ทิฏฐิปริยุฏฐานใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลที่ ๘ ละทิฏฐิปริยุฏฐานได้แล้วด้วยสภาวธรรมที่มิใช่มรรค เป็น
โลกิยะ เป็นอารมณ์ของอาสวะ ฯลฯ เป็นอารมณ์ของสังกิเลสใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลที่ ๘ ไม่เจริญมรรค ฯลฯ ไม่เจริญสติปัฏฐาน ฯลฯ ไม่เจริญ
โพชฌงค์ เพื่อละวิจิกิจฉาปริยุฏฐานใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลที่ ๘ ละวิจิกิจฉาปริยุฏฐานได้แล้วด้วยสภาวธรรมที่มิใช่มรรค
เป็นโลกิยะ เป็นอารมณ์ของอาสวะ ฯลฯ เป็นอารมณ์ของสังกิเลสใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๗๐] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลที่ ๘ ละทิฏฐิปริยุฏฐานได้แล้ว”
ใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๖๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๕. อัฏฐมกกถา (๒๕)
ปร. ทิฏฐิปริยุฏฐานจักเกิดขึ้นใช่ไหม
สก. จักไม่เกิดขึ้น
ปร. หากจักไม่เกิดขึ้น ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “บุคคลที่ ๘ ละ
ทิฏฐิปริยุฏฐานได้แล้ว”
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลที่ ๘ ละวิจิกิจฉาปริยุฏฐานได้แล้ว” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. วิจิกิจฉาปริยุฏฐานจักเกิดขึ้นใช่ไหม
สก. จักไม่เกิดขึ้น
ปร. หากจักไม่เกิดขึ้น ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “บุคคลที่ ๘ ละ
วิจิกิจฉาปริยุฏฐานได้แล้ว”
สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “ทิฏฐิปริยุฏฐานจักไม่เกิดขึ้นแก่บุคคลที่ ๘” จึงยอม
รับว่า “บุคคลที่ ๘ ละทิฏฐิปริยุฏฐานได้แล้ว” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “ทิฏฐานุสัยจักไม่เกิดขึ้นแก่บุคคลที่ ๘” จึงยอมรับว่า
“บุคคลที่ ๘ ละทิฏฐานุสัยได้แล้ว” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “ทิฏฐิปริยุฏฐานจักไม่เกิดขึ้นแก่บุคคลที่ ๘” จึงยอม
รับว่า “บุคคลที่ ๘ ละทิฏฐิปริยุฏฐานได้แล้ว” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “วิจิกิจฉานุสัย ฯลฯ สีลัพพตปรามาสจักไม่เกิด
ขึ้นแก่บุคคลที่ ๘” จึงยอมรับว่า “บุคคลที่ ๘ ละวิจิกิจฉานุสัย ฯลฯ สีลัพพต-
ปรามาสได้แล้ว” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๖๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๕. อัฏฐมกกถา (๒๕)
สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “วิจิกิจฉาปริยุฏฐานจักไม่เกิดขึ้นแก่บุคคลที่ ๘”
จึงยอมรับว่า “บุคคลที่ ๘ ละวิจิกิจฉาปริยุฏฐานได้แล้ว” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “วิจิกิจฉา ฯลฯ สีลัพพตปรามาส จักไม่เกิดขึ้นแก่
บุคคลที่ ๘” จึงยอมรับว่า “บุคคลที่ ๘ ละวิจิกิจฉานุสัย ฯลฯ สีลัพพตปรามาส
ได้แล้ว” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “ทิฏฐิปริยุฏฐานจักไม่เกิดขึ้นแก่บุคคลที่ ๘” จึงยอม
รับว่า “บุคคลที่ ๘ ละทิฏฐิปริยุฏฐานได้แล้ว” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “ทิฏฐิปริยุฏฐานจักไม่เกิดขึ้นแก่โคตรภูบุคคล”
จึงยอมรับว่า “โคตรภูบุคคลละทิฏฐิปริยุฏฐานได้แล้ว” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “วิจิกิจฉาปริยุฏฐานจักไม่เกิดขึ้นแก่บุคคลที่ ๘”
จึงยอมรับว่า “บุคคลที่ ๘ ละวิจิกิจฉาปริยุฏฐานได้แล้ว” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “วิจิกิจฉาปริยุฏฐานจักไม่เกิดขึ้นแก่โคตรภูบุคคล”
จึงยอมรับว่า “โคตรภูบุคคลละวิจิกิจฉาปริยุฏฐานได้แล้ว” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

อัฏฐมกกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๖๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๖. อัฏฐมกัสสอินทริยกถา (๒๖)
๖. อัฏฐมกัสสอินทริยกถา (๒๖)
ว่าด้วยอินทรีย์ของบุคคลที่ ๘
[๓๗๑] สก. บุคคลที่ ๘ ไม่มีสัทธินทรีย์ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. บุคคลที่ ๘ ไม่มีศรัทธาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลที่ ๘ ไม่มีวิริยินทรีย์ ฯลฯ ไม่มีสตินทรีย์ ฯลฯ ไม่มีสมาธินทรีย์
ฯลฯ ไม่มีปัญญินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลที่ ๘ ไม่มีปัญญาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลที่ ๘ มีศรัทธาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลที่ ๘ มีสัทธินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลที่ ๘ มีวิริยะ ฯลฯ มีสติ ฯลฯ มีสมาธิ ฯลฯ มีปัญญาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลที่ ๘ มีปัญญินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๗๑/๑๙๖)
๒ เพราะมีความเห็นว่า ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญาที่มีอยู่ในโสดาปัตติมัคคัฏฐบุคคล ไม่เรียก
ว่าเป็นอินทรีย์ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๗๑/๑๙๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๖๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๖. อัฏฐมกัสสอินทริยกถา (๒๖)
สก. บุคคลที่ ๘ มีมโน มีมนินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลที่ ๘ มีศรัทธา มีสัทธินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลที่ ๘ มีมโน มีมนินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลที่ ๘ มีปัญญา มีปัญญินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลที่ ๘ มีโสมนัส มีโสมนัสสินทรีย์ ฯลฯ มีชีวิต มีชีวิตินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลที่ ๘ มีศรัทธา มีสัทธินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลที่ ๘ มีชีวิต มีชีวิตินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลที่ ๘ มีวิริยะ ฯลฯ มีปัญญา มีปัญญินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลที่ ๘ มีศรัทธา แต่ไม่มีสัทธินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลที่ ๘ มีมโน แต่ไม่มีมนินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลที่ ๘ มีศรัทธา แต่ไม่มีสัทธินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๖๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๖. อัฏฐมกัสสอินทริยกถา (๒๖)
สก. บุคคลที่ ๘ มีโสมนัส แต่ไม่มีโสมนัสสินทรีย์ ฯลฯ มีชีวิต แต่ไม่มี
ชีวิตินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลที่ ๘ มีปัญญา แต่ไม่มีปัญญินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลที่ ๘ มีมโน แต่ไม่มีมนินทรีย์ ฯลฯ มีโสมนัส แต่ไม่มี
โสมนัสสินทรีย์ ฯลฯ มีชีวิต แต่ไม่มีชีวิตินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลที่ ๘ ไม่มีสัทธินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลที่ ๘ ไม่มีศรัทธาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลที่ ๘ ไม่มีวิริยินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลที่ ๘ เป็นผู้เกียจคร้าน มีความเพียรย่อหย่อนใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลที่ ๘ ไม่มีสตินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลที่ ๘ เป็นผู้หลงลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลที่ ๘ ไม่มีสมาธินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลที่ ๘ เป็นผู้ไม่มีสมาธิ มีจิตหวั่นไหวใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๖๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๖. อัฏฐมกัสสอินทริยกถา (๒๖)
สก. บุคคลที่ ๘ ไม่มีปัญญินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลที่ ๘ เป็นผู้ด้อยปัญญา เป็นผู้หนวกใบ้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลที่ ๘ มีศรัทธา และศรัทธานั้นเป็นเหตุนำออกจากทุกข์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลที่ ๘ มีศรัทธา และศรัทธานั้นเป็นเหตุนำออกจากทุกข์
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลที่ ๘ ไม่มีสัทธินทรีย์”
สก. บุคคลที่ ๘ มีความเพียร และความเพียรนั้นเป็นเหตุนำออกจากทุกข์
ฯลฯ มีสติ และสตินั้นเป็นเหตุนำออกจากทุกข์ ฯลฯ มีสมาธิ และสมาธินั้นเป็น
เหตุนำออกจากทุกข์ ฯลฯ มีปัญญา และปัญญานั้นเป็นเหตุนำออกจากทุกข์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลที่ ๘ มีปัญญา และปัญญานั้นเป็นเหตุนำออกจากทุกข์
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลที่ ๘ ไม่มีปัญญินทรีย์”
[๓๗๒] สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล มีศรัทธา มี
สัทธินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลที่ ๘ มีศรัทธา มีสัทธินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล มีปัญญา มีปัญญินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลที่ ๘ มีปัญญา มีปัญญินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๗๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๖. อัฏฐมกัสสอินทริยกถา (๒๖)
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ฯลฯ เพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล
มีศรัทธา มีสัทธินทรีย์ ฯลฯ มีปัญญา มีปัญญินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลที่ ๘ มีปัญญา มีปัญญินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลที่ ๘ มีศรัทธา แต่ไม่มีสัทธินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล มีศรัทธา แต่ไม่มีสัทธินทรีย์
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลที่ ๘ มีปัญญา แต่ไม่มีปัญญินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล มีปัญญา แต่ไม่มีปัญญินทรีย์
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลที่ ๘ มีศรัทธา แต่ไม่มีสัทธินทรีย์ ฯลฯ มีปัญญา แต่ไม่มี
ปัญญินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ฯลฯ อรหัตตผล มีปัญญา
แต่ไม่มีปัญญินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลที่ ๘ ไม่มีอินทรีย์ ๕ ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๗๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๖. อัฏฐมกัสสอินทริยกถา (๒๖)
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
๕ ประการอะไรบ้าง คือ (๑) สัทธินทรีย์ (๒) วิริยินทรีย์ (๓) สตินทรีย์ (๔)
สมาธินทรีย์ (๕) ปัญญินทรีย์ ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล บุคคล
เป็นพระอรหันต์เพราะมีอินทรีย์ ๕ ประการนี้ครบถ้วนบริบูรณ์ เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อ
ทำให้แจ้งอรหัตตผล เพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระอรหันต์นั้น เป็นพระอนาคามี
เพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลนั้น เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อ
ทำให้แจ้งอนาคามิผล เพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระอนาคามีนั้น เป็นพระสกทาคามี
เพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผลนั้น เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อ
ทำให้แจ้งสกทาคามิผล เพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระสกทาคามีนั้น เป็นพระ
โสดาบัน เพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผลนั้น เป็นผู้
ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล เพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระโสดาบันนั้น ภิกษุ
ทั้งหลาย ผู้ใดไม่มีอินทรีย์ ๕ ประการนี้ โดยประการทั้งปวง ผู้นั้นเราเรียกว่า
เป็นคนภายนอก ตั้งอยู่ในฝ่ายปุถุชน”๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. บุคคลที่ ๘ เป็นคนภายนอก ตั้งอยู่ในฝ่ายปุถุชนใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ดังนั้น บุคคลที่ ๘ จึงมีอินทรีย์ ๕

อัฏฐมกัสสอินทริยกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ สํ.ม. (แปล) ๑๙/๔๘๘/๒๘๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๗๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๗. ทิพพจักขุกถา (๒๗)
๗. ทิพพจักขุกถา (๒๗)
ว่าด้วยทิพยจักษุ
[๓๗๓] สก. มังสจักษุ(ตาเนื้อ)ที่ธรรม๑ อุปถัมภ์แล้วเป็นทิพยจักษุ(ตาทิพย์)
ได้ใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. มังสจักษุคือทิพยจักษุ ทิพยจักษุก็คือมังสจักษุใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มังสจักษุที่ธรรมอุปถัมภ์แล้วเป็นทิพยจักษุได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มังสจักษุมีสภาพอย่างไร ทิพยจักษุก็มีสภาพอย่างนั้น ทิพยจักษุมีสภาพ
อย่างไร มังสจักษุก็มีสภาพอย่างนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มังสจักษุที่ธรรมอุปถัมภ์แล้วเป็นทิพยจักษุได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มังสจักษุกับทิพยจักษุเป็นอันเดียวกัน ทิพยจักษุกับมังสจักษุก็เป็นอัน
เดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ธรรม ในที่นี้หมายถึงจตุตถฌาน (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๗๓/๑๙๖)
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะและนิกายสมิติยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๗๓/๑๙๖)
๓ เพราะมีความเห็นว่า ดวงตาปกติของบุคคลผู้เข้าถึงจตุตถฌาน ท่านเรียกว่า ทิพยจักษุ อันเป็นข้อ ๑ ใน
อภิญญา ๖ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๗๓/๑๙๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๗๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๗. ทิพพจักขุกถา (๒๗)
สก. มังสจักษุที่ธรรมอุปถัมภ์แล้วเป็นทิพยจักษุได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิสัย อานุภาพ โคจรของมังสจักษุมีสภาพอย่างไร วิสัย อานุภาพ โคจร
ของทิพยจักษุก็มีสภาพอย่างนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มังสจักษุที่ธรรมอุปถัมภ์แล้วเป็นทิพยจักษุได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มังสจักษุเป็นสภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือแล้ว
เป็นสภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิไม่ยึดถือได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มังสจักษุเป็นสภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือแล้ว
เป็นสภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิไม่ยึดถือได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มังสจักษุเป็นกามาวจรแล้วเป็นรูปาวจรได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มังสจักษุเป็นกามาวจรแล้วเป็นรูปาวจรได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มังสจักษุเป็นรูปาวจรแล้วเป็นอรูปาวจรได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มังสจักษุเป็นรูปาวจรแล้วเป็นอรูปาวจรได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มังสจักษุเป็นสภาวธรรมที่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์แล้วเป็นสภาวธรรมที่ไม่
นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๗๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๗. ทิพพจักขุกถา (๒๗)
[๓๗๔] สก. มังสจักษุที่ธรรม๑ อุปถัมภ์แล้วเป็นทิพยจักษุได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทิพยจักษุที่ธรรมอุปถัมภ์แล้วเป็นมังสจักษุได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มังสจักษุที่ธรรม๒ อุปถัมภ์แล้วเป็นทิพยจักษุได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทิพยจักษุที่ธรรมอุปถัมภ์แล้วเป็นปัญญาจักษุ(ตาปัญญา)ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มังสจักษุที่ธรรมอุปถัมภ์แล้วเป็นทิพยจักษุได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทิพยจักษุที่ธรรมอุปถัมภ์แล้วเป็นปัญญาจักษุได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มังสจักษุที่ธรรมอุปถัมภ์แล้วเป็นทิพยจักษุได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักษุมี ๒ อย่างเท่านั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จักษุมี ๒ อย่างเท่านั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักษุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มี ๓ อย่าง คือ มังสจักษุ ทิพยจักษุ
และปัญญาจักษุ” มิใช่หรือ
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ธรรม ในที่นี้หมายถึงกามาวจรธรรม (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๗๔/๑๙๗)
๒ ธรรม ในที่นี้หมายถึงโลกุตตรธรรม (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๗๔/๑๙๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๗๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๗. ทิพพจักขุกถา (๒๗)
สก. หากจักษุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มี ๓ อย่าง คือ (๑) มังสจักษุ
(๒) ทิพยจักษุ (๓) ปัญญาจักษุ” ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “จักษุมี ๒ อย่างเท่านั้น”
สก. จักษุมี ๒ อย่างเท่านั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย จักษุนี้มี ๓ อย่าง
๓ อย่างอะไรบ้าง คือ (๑) มังสจักษุ (๒) ทิพยจักษุ (๓) ปัญญาจักษุ
จักษุมี ๓ อย่างนี้แล
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้อุดมบุรุษ
ได้ตรัสจักษุ ๓ อย่าง คือ มังสจักษุ ทิพยจักษุ
และปัญญาจักษุอันยอดเยี่ยม
ความเกิดขึ้นแห่งมังสจักษุเป็นทางแห่งทิพยจักษุ
เมื่อใด ญาณคือปัญญาจักษุอันยอดเยี่ยมเกิดขึ้น
เมื่อนั้น ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้
เพราะได้ปัญญาจักษุ”๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “จักษุมี ๒ อย่างเท่านั้น”

ทิพพจักขุกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ขุ.อิติ. (แปล) ๒๕/๖๑/๔๑๖-๔๑๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๗๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๘. ทิพพโสตกถา (๒๘)
๘. ทิพพโสตกถา (๒๘)
ว่าด้วยทิพยโสตะ
[๓๗๕] สก. มังสโสตะที่ธรรมอุปถัมภ์แล้วเป็นทิพยโสตะได้ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่
สก. มังสโสตะคือทิพยโสตะ ทิพยโสตะก็คือมังสโสตะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มังสโสตะที่ธรรมอุปถัมภ์แล้วเป็นทิพยโสตะได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มังสโสตะมีสภาพอย่างไร ทิพยโสตะก็มีสภาพอย่างนั้น ทิพยโสตะมี
สภาพอย่างไร มังสโสตะก็มีสภาพอย่างนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มังสโสตะที่ธรรมอุปถัมภ์แล้วเป็นทิพยโสตะได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มังสโสตะกับทิพยโสตะเป็นอันเดียวกัน ทิพยโสตะกับมังสโสตะก็เป็นอัน
เดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มังสโสตะที่ธรรมอุปถัมภ์แล้วเป็นทิพยโสตะได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิสัย อานุภาพ โคจรของมังสโสตะมีสภาพอย่างไร วิสัย อานุภาพ
โคจรของทิพยโสตะก็มีสภาพอย่างนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ และนิกายสมิติยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๗๓/๑๙๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๗๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๘. ทิพพโสตกถา (๒๘)
สก. มังสโสตะที่ธรรมอุปถัมภ์แล้วเป็นทิพยโสตะได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มังสโสตะเป็นสภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือแล้ว
เป็นสภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิไม่ยึดถือได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มังสโสตะเป็นสภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือแล้ว
เป็นสภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิไม่ยึดถือได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มังสโสตะเป็นกามาวจรแล้วเป็นรูปาวจรได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มังสโสตะเป็นกามาวจรแล้วเป็นรูปาวจรได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มังสโสตะเป็นรูปาวจรแล้วเป็นอรูปาวจรได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มังสโสตะเป็นรูปาวจรแล้วเป็นอรูปาวจรได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มังสโสตะเป็นสภาวธรรมที่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์แล้วเป็นสภาวธรรมที่ไม่
นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๗๖] สก. มังสโสตะที่ธรรมอุปถัมภ์แล้วเป็นทิพยโสตะได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทิพยโสตะที่ธรรมอุปถัมภ์แล้วเป็นมังสโสตะได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มังสโสตะที่ธรรมอุปถัมภ์แล้วเป็นทิพยโสตะได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๗๘ }


>>>>> หน้าต่อไป >>>>>





eXTReMe Tracker