ค้นว่าอยู่เล่มใด แล้วกด [ctrl]+f หรือใช้คำสั่งของเครื่องหาตำแหน่งในเล่มอีกทีนะครับ



จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อความสะดวก และสวยงาม
(เฉพาะหน้าจอใหญ่ เช่น คอมพิวเตอร์)
กรุณาคลิก จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อให้กรอบ
ค้นข้อความ ปรากฎที่ด้านซ้ายของหน้า

พระไตรปิฎกภาษาไทย
ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม (ปกสีฟ้า)
ทั้งออนไลน์และออฟไลน์
ที่มาของข้อมูล : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มจร.
MCUTRAI Version 1.0

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑-๑ สุตตันตปิฎกที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] มาติกา

พระสุตตันตปิฎก
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

๑. มหาวรรค
หมวดว่าด้วยหลักธรรมสำคัญ
มาติกา

[๑] ปัญญาในการทรงจำธรรมที่ได้สดับมา ชื่อว่าสุตมยญาณ (ญาณในการ
ทรงจำธรรมที่ได้สดับมา)
[๒] ปัญญาในการสดับธรรมแล้วสำรวมไว้ ชื่อว่าสีลมยญาณ (ญาณในการ
สำรวมศีล)
[๓] ปัญญาในการสำรวมจิตตั้งมั่น ชื่อว่าสมาธิภาวนามยญาณ (ญาณในการ
สำรวมจิตเจริญสมาธิ)
[๔] ปัญญาในการกำหนดปัจจัย ชื่อว่าธัมมัฏฐิติญาณ (ญาณในการกำหนด
ที่ตั้งแห่งธรรม)
[๕] ปัญญาในการย่อธรรมทั้งหลายทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันแล้ว
กำหนดไว้ ชื่อว่าสัมมสนญาณ (ญาณที่กำหนดนามธรรมและรูปธรรม)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] มาติกา
[๖] ปัญญาในการพิจารณาเห็นความแปรผันแห่งธรรมทั้งหลายที่เป็นปัจจุบัน
ชื่อว่าอุทยัพพยานุปัสสนาญาณ (ญาณที่พิจารณาเห็นความเกิดและ
ความดับ)
[๗] ปัญญาในการพิจารณาอารมณ์แล้วพิจารณาเห็นความดับ ชื่อว่าวิปัสสนา-
ญาณ (ญาณที่พิจารณาเห็นความดับ)
[๘] ปัญญาในการ (เห็นสังขาร) ปรากฏโดยความเป็นภัย ชื่อว่าอาทีนวญาณ
(ญาณที่คำนึงเห็นโทษ)
[๙] ปัญญาที่ปรารถนาจะพ้นไป พิจารณาและดำรงมั่นอยู่ ชื่อว่าสังขารุเปกขา-
ญาณ (ญาณที่เป็นกลางต่อสังขาร)
[๑๐] ปัญญาในการออกและหลีกไปจากนิมิตภายนอก ชื่อว่าโคตรภูญาณ
(ญาณครอบโคตร)
[๑๑] ปัญญาในการออกและหลีกไปทั้งจากกิเลสขันธ์และจากนิมิตภายนอก
ชื่อว่ามัคคญาณ (ญาณในอริยมรรค)
[๑๒] ปัญญาที่หยุดความพยายาม ชื่อว่าผลญาณ (ญาณในอริยผล)
[๑๓] ปัญญาในการพิจารณาเห็นอุปกิเลสที่อริยมรรคตัดขาดแล้ว ชื่อว่าวิมุตติ-
ญาณ (ญาณในวิมุตติ)
[๑๔] ปัญญาในการเห็นธรรมที่มาร่วมกันในขณะนั้น ชื่อว่าปัจจเวกขณญาณ
(ญาณในการพิจารณาทบทวน)
[๑๕] ปัญญาในการกำหนดธรรมต่าง ๆ ที่เป็นภายใน ชื่อว่าวัตถุนานัตตญาณ
(ญาณในวัตถุต่าง ๆ)
[๑๖] ปัญญาในการกำหนดธรรมต่าง ๆ ที่เป็นภายนอก ชื่อว่าโคจรนานัตตญาณ
(ญาณในอารมณ์ต่าง ๆ)
[๑๗] ปัญญาในการกำหนดจริยา ชื่อว่าจริยานานัตตญาณ (ญาณในจริยาต่างๆ)
[๑๘] ปัญญาในการกำหนดธรรม ๔ ประการ ชื่อว่าภูมินานัตตญาณ (ญาณใน
ภูมิต่าง ๆ)
[๑๙] ปัญญาในการกำหนดธรรม ๙ ประการ ชื่อว่าธัมมนานัตตญาณ (ญาณ
ในธรรมต่าง ๆ)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] มาติกา
[๒๐] ปัญญาเครื่องรู้ยิ่ง ชื่อว่าญาตัฏฐญาณ (ญาณที่มีสภาวะรู้)
[๒๑] ปัญญาเครื่องกำหนดรู้ ชื่อว่าตีรณัฏฐญาณ (ญาณที่มีสภาวะพิจารณา)
[๒๒] ปัญญาเครื่องละ ชื่อว่าปริจจาคัฏฐญาณ (ญาณที่มีสภาวะสละ)
[๒๓] ปัญญาเครื่องเจริญ ชื่อว่าเอกรสัฏฐญาณ (ญาณที่มีสภาวะเป็นรสเดียว)
[๒๔] ปัญญาเครื่องทำให้แจ้ง ชื่อว่าผัสสนัฏฐญาณ (ญาณที่มีสภาวะถูกต้อง)
[๒๕] ปัญญาในอรรถต่าง ๆ ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทาญาณ (ญาณแตกฉานใน
อรรถ)
[๒๖] ปัญญาในธรรมต่าง ๆ ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทาญาณ (ญาณแตกฉานในธรรม)
[๒๗] ปัญญาในนิรุตติต่าง ๆ ชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ (ญาณแตกฉานใน
นิรุตติ)
[๒๘] ปัญญาในปฏิภาณต่าง ๆ ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ (ญาณแตกฉาน
ในปฏิภาณ)
[๒๙] ปัญญาในวิหารธรรมต่าง ๆ ชื่อว่าวิหารัฏฐญาณ (ญาณในสภาวะแห่ง
วิหารธรรม)
[๓๐] ปัญญาในสมาบัติต่าง ๆ ชื่อว่าสมาปัตตัฏฐญาณ (ญาณในสภาวะแห่ง
สมาบัติ)
[๓๑] ปัญญาในวิหารสมาบัติต่าง ๆ ชื่อว่าวิหารสมาปัตตัฏฐญาณ (ญาณใน
สภาวะแห่งวิหารสมาบัติ)
[๓๒] ปัญญาในการตัดขาดอาสวะ เพราะความบริสุทธิ์แห่งจิตที่ไม่ฟุ้งซ่าน
ชื่อว่าอานันตริกสมาธิญาณ (ญาณในสมาธิตามลำดับ)
[๓๓] ทัสสนาธิปไตย วิหาราธิคมที่สงบ และปณีตาธิมุตตตาปัญญา ชื่อว่า
อรณวิหารญาณ (ญาณในอรณวิหาร)
[๓๔] ปัญญาที่มีความชำนาญ ในการระงับสังขาร ๓ ด้วยญาณจริยา ๑๖
และด้วยสมาธิจริยา ๙ เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยพละ ๒ อย่าง ชื่อว่า
นิโรธสมาปัตติญาณ (ญาณในนิโรธสมาบัติ)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] มาติกา
[๓๕] ปัญญาในการทำความเป็นไปแห่งกิเลสให้สิ้นไปของผู้มีสัมปชัญญะ ชื่อ
ว่าปรินิพพานญาณ (ญาณในปรินิพพาน)
[๓๖] ปัญญาในความไม่ปรากฏแห่งธรรมทั้งปวง เพราะตัดขาดโดยชอบและ
ดับไป ชื่อว่าสมสีสัฏฐญาณ (ญาณในอรรถแห่งธรรมที่สงบและเป็นประธาน)
[๓๗] ปัญญาในสภาวะแต่ละอย่าง สภาวะต่าง ๆ สภาวะเดียวและเดช ชื่อว่า
สัลเลขัฏฐญาณ (ญาณในอรรถแห่งธรรมเป็นเครื่องขัดเกลา)
[๓๘] ปัญญาในการประคองจิตที่ไม่หดหู่และจิตที่ส่งไป ชื่อว่าวิริยารัมภญาณ
(ญาณในการปรารภความเพียร)
[๓๙] ปัญญาในการประกาศธรรมต่าง ๆ ชื่อว่าอัตถสันทัสสนญาณ (ญาณใน
การเห็นชัดซึ่งอรรถแห่งธรรม)
[๔๐] ปัญญาในการรวมธรรมทั้งปวงเข้าเป็นหมวดเดียวกัน ในการรู้แจ้งสภาวะ
ต่าง ๆ และสภาวะเดียว ชื่อว่าทัสสนวิสุทธิญาณ (ญาณในความหมดจด
แห่งทัสสนะ)
[๔๑] ปัญญาที่รู้ชัด ชื่อว่าขันติญาณ (ญาณในธรรมที่พอใจ)
[๔๒] ปัญญาที่ถูกต้องธรรม ชื่อว่าปริโยคาหนญาณ (ญาณในการหยั่งลงสู่ธรรม)
[๔๓] ปัญญาในการรวมปัจจัย ชื่อว่าปเทสวิหารญาณ (ญาณในวิหารธรรมส่วน
หนึ่ง)
[๔๔] ปัญญาที่มีกุศลธรรมเป็นใหญ่ ชื่อว่าสัญญาวิวัฏฏญาณ (ญาณในการ
หลีกออกจากอกุศลด้วยสัญญา)
[๔๕] ปัญญาในธรรมเป็นเหตุหลีกออกจากสภาวะต่าง ๆ ชื่อว่าเจโตวิวัฏฏญาณ
(ญาณในการหลีกออกจากอกุศลด้วยการคิดถึงกุศล)
[๔๖] ปัญญาในการอธิษฐาน ชื่อว่าจิตตวิวัฏฏญาณ (ญาณในการหลีกออก
จากอกุศลด้วยกุศลที่อธิษฐาน)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] มาติกา
[๔๗] ปัญญาในธรรมที่ว่าง ชื่อว่าญาณวิวัฏฏญาณ (ญาณในการหลีกออกจาก
อกุศลด้วยความรู้)
[๔๘] ปัญญาในความสละ ชื่อว่าวิโมกขวิวัฏฏญาณ (ญาณในการหลีกออกจาก
อกุศลด้วยการสละ)
[๔๙] ปัญญาในสภาวะแท้ ชื่อว่าสัจจวิวัฏฏญาณ (ญาณในการหลีกออกจาก
ภาวะที่ไม่แท้ด้วยภาวะที่แท้)
[๕๐] ปัญญาในสภาวะที่สำเร็จ ด้วยการกำหนดกายและจิตเข้าด้วยกัน ด้วย
อำนาจการตั้งไว้ซึ่งสุขสัญญาและลหุสัญญา ชื่อว่าอิทธิวิธญาณ (ญาณที่
ทำให้แสดงฤทธิ์ต่าง ๆ ได้)
[๕๑] ปัญญาในการหยั่งลงสู่สัททนิมิตที่มีสภาวะต่าง ๆ และสภาวะเดียว
ด้วยอำนาจการแผ่วิตกไป ชื่อว่าโสตธาตุวิสุทธิญาณ (ญาณในความ
หมดจดแห่งโสตธาตุ)
[๕๒] ปัญญาในการหยั่งลงสู่วิญญาณจริยาที่มีสภาวะต่าง ๆ และสภาวะเดียว
ด้วยอำนาจความผ่องใสแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย เพราะการแผ่ไปแห่งจิต ๓
ประเภท ชื่อว่าเจโตปริยญาณ (ญาณที่ทำให้กำหนดใจผู้อื่นได้)
[๕๓] ปัญญาในการหยั่งลงสู่ธรรมทั้งหลายที่เป็นไปตามปัจจัย ด้วยอำนาจการ
แผ่ไปแห่งกรรมที่มีสภาวะต่าง ๆ และสภาวะเดียว ชื่อว่าปุพเพนิวาสานุสสติ-
ญาณ (ญาณที่ทำให้ระลึกชาติได้)
[๕๔] ปัญญาในการเห็นรูปนิมิตที่มีสภาวะต่าง ๆ และสภาวะเดียวด้วยอำนาจ
แสงสว่าง ชื่อว่าทิพพจักขุญาณ (ญาณที่ทำให้มีตาทิพย์)
[๕๕] ปัญญาที่มีความชำนาญในอินทรีย์ ๓ ประการ โดยอาการ ๖๔ ชื่อว่า
อาสวักขยญาณ (ญาณที่ทำให้สิ้นอาสวะ)
[๕๖] ปัญญาในสภาวะที่ควรกำหนดรู้ ชื่อว่าทุกขญาณ (ญาณในทุกข์)
[๕๗] ปัญญาในสภาวะที่ควรละ ชื่อว่าสมุทยญาณ (ญาณในสมุทัย)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] มาติกา
[๕๘] ปัญญาในสภาวะที่ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่านิโรธญาณ (ญาณในนิโรธ)
[๕๙] ปัญญาในสภาวะที่ควรเจริญ ชื่อว่ามัคคญาณ (ญาณในมรรค)
[๖๐] ทุกขญาณ (ญาณในทุกข์)
[๖๑] ทุกขสมุทยญาณ (ญาณในเหตุเกิดทุกข์)
[๖๒] ทุกขนิโรธญาณ (ญาณในความดับทุกข์)
[๖๓] ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาญาณ (ญาณในข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความดับทุกข์)
[๖๔] อัตถปฏิสัมภิทาญาณ (ญาณแตกฉานในอรรถ)
[๖๕] ธัมมปฏิสัมภิทาญาณ (ญาณแตกฉานในธรรม)
[๖๖] นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ (ญาณแตกฉานในนิรุตติ)
[๖๗] ปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ (ญาณแตกฉานในปฏิภาณ)
[๖๘] อินทริยปโรปริยัตตญาณ (ญาณในความยิ่งและความหย่อนแห่งอินทรีย์
ของสัตว์ทั้งหลาย)
[๖๙] อาสยานุสยญาณ (ญาณในอาสยะและอนุสัยของสัตว์ทั้งหลาย)
[๗๐] ยมกปฏิหาริยญาณ (ญาณในยมกปาฏิหาริย์)
[๗๑] มหากรุณาสมาปัตติญาณ (ญาณในมหากรุณาสมาบัติ)
[๗๒] สัพพัญญุตญาณ (ญาณความรู้ในธรรมทั้งปวง)
[๗๓] อนาวรณญาณ (ญาณที่ไม่มีเครื่องกั้น)
ญาณเหล่านี้รวมเป็น ๗๓ ประการ ในญาณทั้ง ๗๓ ประการนี้ ญาณ ๖๗
ประการ (เบื้องต้น) เป็นญาณที่ทั่วไปแก่สาวก ญาณ ๖ ประการ (เบื้องปลาย)
เป็นญาณที่ไม่ทั่วไปแก่สาวก (เฉพาะพระตถาคตเท่านั้น)

มาติกา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
๑. ญาณกถา
ว่าด้วยญาณ
๑. สุตมยญาณนิทเทส
แสดงสุตมยญาณ
[๑] ปัญญาในการทรงจำธรรมที่ได้สดับมา ชื่อว่าสุตมยญาณ เป็นอย่างไร
คือ
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง” ปัญญารู้ชัดธรรมที่
ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (๑)
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้ควรกำหนดรู้” ปัญญารู้ชัด
ธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (๒)
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้ควรละ” ปัญญารู้ชัด
ธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (๓)
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้ควรเจริญ” ปัญญารู้ชัด
ธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (๔)
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้ควรทำให้แจ้ง” ปัญญารู้ชัด
ธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (๕)
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วนแห่งความเสื่อม”
ปัญญารู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (๖)
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้เป็นส่วนแห่งความตั้งอยู่” ปัญญา
รู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (๗)
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้เป็นส่วนแห่งคุณวิเศษ” ปัญญา
รู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (๘)
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้เป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส”
ปัญญารู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (๙)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง” ปัญญารู้ชัดธรรมที่
ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (๑๐)
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์” ปัญญารู้ชัดธรรมที่
ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (๑๑)
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา” ปัญญารู้ชัดธรรมที่
ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (๑๒)
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “นี้ทุกขอริยสัจ” ปัญญารู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น
ชื่อว่าสุตมยญาณ (๑๓)
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “นี้ทุกขสมุทยอริยสัจ” ปัญญารู้ชัดธรรมที่
ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (๑๔)
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ” ปัญญารู้ชัดธรรมที่ได้
สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (๑๕)
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ” ปัญญารู้
ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (๑๖)
[๒] การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง” ปัญญา
รู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ เป็นอย่างไร คือ
ธรรม ๑ อย่างที่ควรรู้ยิ่ง คือ สัตว์ทั้งปวงดำรงอยู่ได้เพราะอาหาร
ธรรม ๒ อย่างที่ควรรู้ยิ่ง คือ ธาตุ ๒
ธรรม ๓ อย่างที่ควรรู้ยิ่ง คือ ธาตุ ๓
ธรรม ๔ อย่างที่ควรรู้ยิ่ง คือ อริยสัจ ๔
ธรรม ๕ อย่างที่ควรรู้ยิ่ง คือ วิมุตตายตนะ ๕
ธรรม ๖ อย่างที่ควรรู้ยิ่ง คือ อนุตตริยะ ๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
ธรรม ๗ อย่างที่ควรรู้ยิ่ง คือ นิททสวัตถุ ๗๑
ธรรม ๘ อย่างที่ควรรู้ยิ่ง คือ อภิภายตนะ ๘
ธรรม ๙ อย่างที่ควรรู้ยิ่ง คือ อนุปุพพวิหาร ๙
ธรรม ๑๐ อย่างที่ควรรู้ยิ่ง คือ นิชชรวัตถุ ๑๐๒
[๓] ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรรู้ยิ่ง สิ่งทั้งปวงที่ควรรู้ยิ่ง คืออะไร
คือ จักขุ (ตา) ควรรู้ยิ่ง รูปควรรู้ยิ่ง จักขุวิญญาณควรรู้ยิ่ง จักขุสัมผัสควรรู้ยิ่ง
สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัส
เป็นปัจจัยควรรู้ยิ่ง
โสตะ (หู) ควรรู้ยิ่ง สัททะ (เสียง) ฯลฯ
ฆานะ (จมูก) ควรรู้ยิ่ง คันธะ (กลิ่น) ฯลฯ
ชิวหา (ลิ้น) ควรรู้ยิ่ง รส ฯลฯ
กาย ควรรู้ยิ่ง โผฏฐัพพะ (สัมผัสทางกาย) ฯลฯ
มโน (ใจ) ควรรู้ยิ่ง ธรรมารมณ์ควรรู้ยิ่ง มโนวิญญาณควรรู้ยิ่ง มโนสัมผัส
ควรรู้ยิ่ง สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัส
เป็นปัจจัยควรรู้ยิ่ง
รูปควรรู้ยิ่ง เวทนาควรรู้ยิ่ง สัญญาควรรู้ยิ่ง สังขารควรรู้ยิ่ง วิญญาณควรรู้ยิ่ง
จักขุควรรู้ยิ่ง โสตะ ... ฆานะ ... ชิวหา ... กาย ... มโน... รูป ... สัททะ ...
คันธะ ... รส ... โผฏฐัพพะ ... ธรรมารมณ์ควรรู้ยิ่ง

เชิงอรรถ :
๑ นิททสวัตถุ ๗ ได้แก่ (๑) การสมาทานสิกขาบท (๒) ความเอาใจใส่สังเกตธรรม (๓) การกำจัดความริษยา
(๔) ความหลีกเร้น (๕) การปรารภความเพียร (๖) ความมีสติและมีปัญญารักษาตน (๗) การรู้แจ้งทิฏฐิ
(ขุ.ป.อ. ๑/๒/๘๐)
๒ นิชชรวัตถุ ๑๐ หมายถึงอริยมรรคมีองค์ ๘ มีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น รวมกับสัมมาญาณ และสัมมาวิมุตติ
อีก ๒ จึงเป็น ๑๐ (ขุ.ป.อ. ๑/๒/๘๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
จักขุวิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์ทางตา) ควรรู้ยิ่ง โสตวิญญาณ (ความรู้แจ้ง
อารมณ์ทางหู) ... ฆานวิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์ทางจมูก) ... ชิวหาวิญญาณ
(ความรู้แจ้งอารมณ์ทางลิ้น) ... กายวิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์ทางกาย) ...
มโนวิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์ทางใจ) ควรรู้ยิ่ง
จักขุสัมผัส (ความกระทบทางตา) ควรรู้ยิ่ง โสตสัมผัส (ความกระทบทางจมูก)
... ฆานสัมผัส (ความกระทบทางกลิ่น) ... ชิวหาสัมผัส (ความกระทบทางลิ้น) ...
กายสัมผัส (ความกระทบทางกาย) ... มโนสัมผัส (ความกระทบทางใจ) ควรรู้ยิ่ง
จักขุสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางตา) ควรรู้ยิ่ง โสตสัมผัสสชา-
เวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางหู) ... ฆานสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจาก
สัมผัสทางจมูก) ... ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางลิ้น) ... กาย-
สัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางกาย) ... มโนสัมผัสสชาเวทนา (เวทนา
เกิดจากสัมผัสทางใจ) ควรรู้ยิ่ง
รูปสัญญา (ความหมายรู้รูป) ควรรู้ยิ่ง สัททสัญญา (ความหมายรู้เสียง) ...
คันธสัญญา (ความหมายรู้กลิ่น) ... รสสัญญา (ความหมายรู้รส) ... โผฏฐัพพสัญญา
(ความหมายรู้สัมผัสทางกาย) ... ธัมมสัญญา (ความหมายรู้ธรรมารมณ์) ควรรู้ยิ่ง
รูปสัญเจตนา (ความจำนงรูป) ควรรู้ยิ่ง สัททสัญเจตนา (ความจำนงเสียง) ...
คันธสัญเจตนา (ความจำนงกลิ่น) ... รสสัญเจตนา (ความจำนงรส) ... โผฏฐัพพ-
สัญเจตนา (ความจำนงโผฏฐัพพะ) ... ธัมมสัญเจตนา (ความจำนงธรรมารมณ์)
ควรรู้ยิ่ง
รูปตัณหา (อยากได้รูป) ควรรู้ยิ่ง สัททตัณหา (อยากได้เสียง) ... คันธตัณหา
(อยากได้กลิ่น) ... รสตัณหา (อยากได้รส) ... โผฏฐัพพตัณหา (อยากได้โผฏฐัพพะ) ...
ธัมมตัณหา (อยากได้ธรรมารมณ์) ควรรู้ยิ่ง
รูปวิตก (ความตรึกเกี่ยวกับรูป) ควรรู้ยิ่ง สัททวิตก (ความตรึกเกี่ยวกับเสียง) ...
คันธวิตก (ความตรึกเกี่ยวกับกลิ่น) ... รสวิตก (ความตรึกเกี่ยวกับรส) ... โผฏฐัพพ-
วิตก (ความตรึกเกี่ยวกับโผฏฐัพพะ) ... ธัมมวิตก (ความตรึกเกี่ยวกับธรรมารมณ์)
ควรรู้ยิ่ง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
รูปวิจาร (ความตรองเกี่ยวกับรูป) ควรรู้ยิ่ง สัททวิจาร (ความตรองเกี่ยวกับ
เสียง) ... คันธวิจาร (ความตรองเกี่ยวกับกลิ่น) ... รสวิจาร (ความตรองเกี่ยวกับรส) ...
โผฏฐัพพวิจาร (ความตรองเกี่ยวกับโผฏฐัพพะ) ... ธัมมวิจาร (ความตรองเกี่ยว
กับธรรมารมณ์) ควรรู้ยิ่ง
[๔] ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) ควรรู้ยิ่ง อาโปธาตุ (ธาตุน้ำ) ... เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) ...
วาโยธาตุ (ธาตุลม) ... อากาสธาตุ (ธาตุคือที่ว่าง) ... วิญญาณธาตุ (ธาตุคือวิญญาณ)
ควรรู้ยิ่ง
ปฐวีกสิณ (กสิณคือดิน) ควรรู้ยิ่ง อาโปกสิณ (กสิณคือน้ำ) ... เตโชกสิณ
(กสิณคือไฟ) ... วาโยกสิณ (กสิณคือลม) ... นีลกสิณ (กสิณคือสีเขียว) ... ปีตกสิณ
(กสิณคือสีเหลือง) ... โลหิตกสิณ (กสิณคือสีแดง) ... โอทาตกสิณ (กสิณคือสีขาว) ...
อากาสกสิณ (กสิณคือช่องว่าง) ... วิญญาณกสิณ (กสิณคือวิญญาณ) ควรรู้ยิ่ง
ผมควรรู้ยิ่ง ขน ... เล็บ ... ฟัน ... หนัง ... เนื้อ ... เอ็น ... กระดูก ... เยื่อในกระดูก
... ไต๑... หัวใจ ... ตับ ... พังผืด ... ม้าม๒... ปอด ... ไส้ใหญ่ ...ไส้น้อย ... อาหารใหม่
อาหารเก่า ... ดี ... เสลด ... หนอง ... เลือด ... เหงื่อ ... มันข้น ... น้ำตา ... เปลวมัน
... น้ำลาย ... น้ำมูก ... ไขข้อ ... มูตร๓... มันสมองควรรู้ยิ่ง

เชิงอรรถ :
๑ ไต แปลจากคำบาลีว่า วกฺก (โบราณแปลว่า ม้าม) ได้แก่ก้อนเนื้อ ๒ ก้อนมีขั้วเดียวกัน มีสีแดงอ่อน
เหมือนเมล็ดทองหลาง รูปร่างคล้ายลูกสะบ้าของเด็ก ๆ หรือคล้ายผลมะม่วง ๒ ผล ที่ติดอยู่ที่ขั้วเดียวกัน
มีเอ็นใหญ่รึงรัดจากลำคอลงไปถึงหัวใจแล้วแยกออกมาห้อยอยู่ทั้ง ๒ ข้าง (ขุ.ขุ.อ. ๓/๔๓), พจนานุกรม
ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ หน้า ๓๖๒ ให้บทนิยามของคำว่า “ไต” ว่า “อวัยวะคู่หนึ่งของคน
และสัตว์อยู่ในช่องท้องใกล้กระดูกสันหลัง ทำหน้าที่ขับของเสียออกมากับน้ำปัสสาวะ”, Buddhadatta,
A.P. A Concise Pali-English Dictionary, 1985,(P. 224) ; และ Phys David, T.W. Pali-English
Dictionary, 1921-1925, (P. 591) ให้ความหมายของคำว่า วกฺก ตรงกัน หมายถึง ไต (Kidney)
๒ ม้าม แปลจากคำบาลีว่า ปิหก (โบราณแปลว่า ไต) มีสีเขียวเหมือนดอกคนทิสอแห้ง รูปร่างคล้ายลิ้นลูก
โคถึกดำ ยาวประมาณ ๗ นิ้ว อยู่ด้านบนติดกับหัวใจข้างซ้ายชิดพื้นท้องด้านบน (ขุ.ขุ.อ. ๓/๔๕);
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ หน้า ๖๔๗ ให้บทนิยามของคำว่า “ม้าม” ไว้ว่า
“อวัยวะภายในร่างกายริมกระเพาะอาหารข้างซ้าย มีหน้าที่ทำลายเม็ดเลือดแดง สร้างเม็ดน้ำเหลืองและ
สร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย” Buddhadatta, A.P. A Concise Pali-English Dictionary, 1985, (P.186);
และ Rhys David, T.W. Pali-English Dictionary, 1921-1925, (P.461) ให้ความหมายของคำว่า ปิหก
ตรงกัน หมายถึง ม้าม (spleen)
๓ มูตร หมายถึงน้ำปัสสาวะที่มีอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ (ขุ.ขุ.อ. ๓/๕๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
จักขายตนะ (อายตนะคือตา) ควรรู้ยิ่ง รูปายตนะ (อายตนะคือรูป) ...
โสตายตนะ (อายตนะคือหู) ... สัททายตนะ (อายตนะคือเสียง) ... ฆานายตนะ
(อายตนะคือจมูก) ... คันธายตนะ (อายตนะคือกลิ่น) ... ชิวหายตนะ (อายตนะคือลิ้น)
... รสายตนะ (อายตนะคือรส) ... กายายตนะ (อายตนะคือกาย) ... โผฏฐัพพายตนะ
(อายตนะคือโผฏฐัพพะ) ... มนายตนะ (อายตนะคือใจ) ... ธัมมายตนะ (อายตนะคือ
ธรรมารมณ์) ควรรู้ยิ่ง
จักขุธาตุ (ธาตุคือจักขุปสาท) ควรรู้ยิ่ง รูปธาตุ (ธาตุคือรูปารมณ์) ... จักขุ-
วิญญาณธาตุ (ธาตุคือจักขุวิญญาณ) ... โสตธาตุ (ธาตุคือโสตปสาท) ... สัททธาตุ
(ธาตุคือสัททารมณ์) ... โสตวิญญาณธาตุ (ธาตุคือโสตวิญญาณ) ... ฆานธาตุ (ธาตุ
คือฆานปสาท) ... คันธธาตุ (ธาตุคือคันธารมณ์) ... ฆานวิญญาณธาตุ (ธาตุคือฆาน-
วิญญาณ) ... ชิวหาธาตุ (ธาตุคือชิวหาปสาท) ... รสธาตุ (ธาตุคือรสารมณ์) ...
ชิวหาวิญญาณธาตุ (ธาตุคือชิวหาวิญญาณ) ... กายธาตุ (ธาตุคือกายปสาท) ...
โผฏฐัพพธาตุ (ธาตุคือโผฏฐัพพารมณ์) ... กายวิญญาณธาตุ (ธาตุคือกายวิญญาณ)
... มโนธาตุ (ธาตุคือมโน) ... ธัมมธาตุ (ธาตุคือธรรมารมณ์) ... มโนวิญญาณธาตุ
(ธาตุคือมโนวิญญาณ) ควรรู้ยิ่ง
จักขุนทรีย์ (อินทรีย์คือจักขุปสาท) ควรรู้ยิ่ง โสตินทรีย์ (อินทรีย์คือโสตปสาท)
... ฆานินทรีย์ (อินทรีย์คือฆานปสาท) ... ชิวหินทรีย์ (อินทรีย์คือชิวหาปสาท) ...
กายินทรีย์ (อินทรีย์คือกายปสาท) ... มนินทรีย์ (อินทรีย์คือใจ) ... ชีวิตินทรีย์
(อินทรีย์คือชีวิต) ... อิตถินทรีย์ (อินทรีย์คืออิตถีภาวะ) ... ปุริสินทรีย์ (อินทรีย์คือ
ปุริสภาวะ) ... สุขินทรีย์ (อินทรีย์คือสุขเวทนา) ... ทุกขินทรีย์ (อินทรีย์คือทุกขเวทนา)
... โสมนัสสินทรีย์ (อินทรีย์คือโสมนัสสเวทนา) ... โทมนัสสินทรีย์ (อินทรีย์คือ
โทมนัสสเวทนา) ... อุเปกขินทรีย์ (อินทรีย์คืออุเบกขาเวทนา) ... สัทธินทรีย์
(อินทรีย์คือศรัทธา) ... วิริยินทรีย์ (อินทรีย์คือวิริยะ) ... สตินทรีย์ (อินทรีย์คือสติ)
... สมาธินทรีย์ (อินทรีย์คือสมาธิ) ... ปัญญินทรีย์ (อินทรีย์คือปัญญา) ...
อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ (อินทรีย์แห่งท่านผู้ปฏิบัติด้วยมุ่งว่าเราจักรู้สัจธรรมที่
ยังมิได้รู้) ... อัญญินทรีย์ (อินทรีย์คือปัญญาอันรู้ทั่วถึง) ... อัญญาตาวินทรีย์
(อินทรีย์แห่งท่านผู้รู้ทั่วถึงแล้ว) ควรรู้ยิ่ง
[๕] กามธาตุ (ธาตุคือกาม) ควรรู้ยิ่ง รูปธาตุ (ธาตุคือรูป) ... อรูปธาตุ (ธาตุ
คืออรูป) ... กามภพ (ภพที่เป็นกามาวจร) ... รูปภพ (ภพที่เป็นรูปาวจร) ... อรูปภพ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
(ภพที่เป็นอรูปาวจร) ... สัญญาภพ (ภพที่มีสัญญา) ... อสัญญาภพ (ภพที่ไม่มีสัญญา)
... เนวสัญญานาสัญญาภพ (ภพที่มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่) ... เอกโวการภพ
(ภพที่มีโวการเดียว๑) ... จตุโวการภพ (ภพที่มี ๔ โวการ๒) ... ปัญจโวการภพ
(ภพที่มี ๕ โวการ๓) ควรรู้ยิ่ง
[๖] ปฐมฌาน ควรรู้ยิ่ง ทุติยฌาน ... ตติยฌาน ... จตุตถฌาน ... เมตตาเจโต-
วิมุตติ (ความหลุดพ้นแห่งจิตด้วยอำนาจเมตตา) ... กรุณาเจโตวิมุตติ (ความหลุด
พ้นแห่งจิตด้วยอำนาจกรุณา) ... มุทิตาเจโตวิมุตติ (ความหลุดพ้นแห่งจิตด้วย
อำนาจพลอยยินดี) ... อุเบกขาเจโตวิมุตติ (ความหลุดพ้นแห่งจิตด้วยอำนาจการวาง
ตนเป็นกลาง) ... อากาสานัญจายตนสมาบัติ (สมาบัติกำหนดอากาศคือช่องว่าง
หาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์) ... วิญญาณัญจายตนสมาบัติ (สมาบัติกำหนดวิญญาณ
หาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์) ... อากิญจัญญายตนสมาบัติ (สมาบัติกำหนดภาวะที่ไม่มี
อะไร ๆ เป็นอารมณ์) ... เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ (สมาบัติเข้าถึงภาวะมี
สัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่) ควรรู้ยิ่ง
อวิชชา (ความไม่รู้แจ้ง) ควรรู้ยิ่ง สังขาร (สภาพที่ปรุงแต่ง) ... วิญญาณ
(ความรู้แจ้งอารมณ์) ... นามรูป (รูปและนาม) ... สฬายตนะ (อายตนะ ๖) ... ผัสสะ
(ความกระทบ) ... เวทนา (ความเสวยอารมณ์) ... ตัณหา (ความทะยานอยาก) ...
อุปาทาน (ความยึดถือ) ... ภพ (ภาวะชีวิต) ... ชาติ (ความเกิด) ... ชราและมรณะ
(ความแก่และความตาย) ควรรู้ยิ่ง
[๗] ทุกข์ควรรู้ยิ่ง ทุกขสมุทัย (เหตุให้เกิดทุกข์) ควรรู้ยิ่ง ทุกขนิโรธ (ความ
ดับทุกข์) ควรรู้ยิ่ง ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความดับทุกข์) ควรรู้ยิ่ง
รูปควรรู้ยิ่ง รูปสมุทัย (เหตุให้เกิดรูป) ควรรู้ยิ่ง รูปนิโรธ (ความดับรูป) ควรรู้ยิ่ง
รูปนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความดับรูป) ควรรู้ยิ่ง

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า โวการเดียว หมายถึงขันธ์เดียวคือรูปขันธ์ (ขุ.ป.อ.๑/๕/๙๗)
๒ คำว่า ๔ โวการ หมายถึงอรูปขันธ์ ๔ (ขุ.ป.อ.๑/๕/๙๗)
๓ คำว่า ๕ โวการ หมายถึงขันธ์ ๕ (ขุ.ป.อ.๑/๕/๙๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
เวทนา ฯลฯ
สัญญา ฯลฯ
สังขาร ฯลฯ
วิญญาณ ฯลฯ
จักขุ ฯลฯ
ชราและมรณะควรรู้ยิ่ง ชรามรณสมุทัย (เหตุให้เกิดชราและมรณะ) ควรรู้ยิ่ง
ชรามรณนิโรธ (ความดับแห่งชราและมรณะ) ควรรู้ยิ่ง ชรามรณนิโรธคามินีปฏิปทา
(ข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ) ควรรู้ยิ่ง
สภาวะที่ควรกำหนดรู้แห่งทุกข์ควรรู้ยิ่ง สภาวะที่ควรละแห่งทุกขสมุทัยควรรู้ยิ่ง
สภาวะที่ควรทำให้แจ้งแห่งทุกขนิโรธควรรู้ยิ่ง สภาวะที่ควรเจริญแห่งทุกขนิโรธ-
คามินีปฏิปทาควรรู้ยิ่ง
สภาวะที่ควรกำหนดรู้แห่งรูปควรรู้ยิ่ง สภาวะที่ควรละแห่งรูปสมุทัยควรรู้ยิ่ง
สภาวะที่ควรทำให้แจ้งแห่งรูปนิโรธควรรู้ยิ่ง สภาวะที่ควรเจริญแห่งรูปนิโรธคามินีปฏิปทา
ควรรู้ยิ่ง
สภาวะที่ควรกำหนดรู้แห่งเวทนา ฯลฯ
สภาวะที่ควรกำหนดรู้แห่งสัญญา ฯลฯ
สภาวะที่ควรกำหนดรู้แห่งสังขาร ฯลฯ
สภาวะที่ควรกำหนดรู้แห่งวิญญาณ ฯลฯ
สภาวะที่ควรกำหนดรู้แห่งจักขุ ฯลฯ
สภาวะที่ควรกำหนดรู้แห่งชราและมรณะควรรู้ยิ่ง สภาวะที่ควรละแห่งชรา-
มรณสมุทัยควรรู้ยิ่ง สภาวะที่ควรทำให้แจ้งแห่งชรามรณนิโรธควรรู้ยิ่ง สภาวะที่ควร
เจริญแห่งชรามรณนิโรธคามินีปฏิปทาควรรู้ยิ่ง
สภาวะที่รู้แจ้งด้วยการกำหนดรู้แห่งทุกข์ควรรู้ยิ่ง สภาวะที่รู้แจ้งด้วยการละ
แห่งทุกขสมุทัยควรรู้ยิ่ง สภาวะที่รู้แจ้งด้วยการทำให้แจ้งแห่งทุกขนิโรธควรรู้ยิ่ง
สภาวะที่รู้แจ้งด้วยการเจริญแห่งทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาควรรู้ยิ่ง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
สภาวะที่รู้แจ้งด้วยการกำหนดรู้แห่งรูปควรรู้ยิ่ง สภาวะที่รู้แจ้งด้วยการละแห่ง
รูปสมุทัยควรรู้ยิ่ง สภาวะที่รู้แจ้งด้วยการทำให้แจ้งแห่งรูปนิโรธควรรู้ยิ่ง สภาวะที่
รู้แจ้งด้วยการเจริญแห่งรูปนิโรธคามินีปฏิปทาควรรู้ยิ่ง
สภาวะที่รู้แจ้งด้วยการกำหนดรู้แห่งเวทนา ฯลฯ
สภาวะที่รู้แจ้งด้วยการกำหนดรู้แห่งสัญญา ฯลฯ
สภาวะที่รู้แจ้งด้วยการกำหนดรู้แห่งสังขาร ฯลฯ
สภาวะที่รู้แจ้งด้วยการกำหนดรู้แห่งวิญญาณ ฯลฯ
สภาวะที่รู้แจ้งด้วยการกำหนดรู้แห่งจักขุ ฯลฯ
สภาวะที่รู้แจ้งด้วยการกำหนดรู้แห่งชราและมรณะควรรู้ยิ่ง สภาวะที่รู้แจ้งด้วย
การละแห่งชรามรณสมุทัยควรรู้ยิ่ง สภาวะที่รู้แจ้งด้วยการทำให้แจ้งแห่งชรามรณนิโรธ
ควรรู้ยิ่ง สภาวะที่รู้แจ้งด้วยการเจริญแห่งชรามรณนิโรธคามินีปฏิปทาควรรู้ยิ่ง
[๘] ทุกข์ควรรู้ยิ่ง ทุกขสมุทัยควรรู้ยิ่ง ทุกขนิโรธควรรู้ยิ่ง ความดับเหตุเกิด
แห่งทุกข์ควรรู้ยิ่ง ความดับฉันทราคะในทุกข์ควรรู้ยิ่ง คุณ๑แห่งทุกข์ควรรู้ยิ่ง
โทษ๒แห่งทุกข์ควรรู้ยิ่ง เครื่องสลัดออกจากทุกข์ควรรู้ยิ่ง
รูปควรรู้ยิ่ง รูปสมุทัย ... รูปนิโรธ ... ความดับเหตุให้เกิดรูป ... ความดับ
ฉันทราคะในรูป ... คุณแห่งรูป ... โทษแห่งรูป ... เครื่องสลัดออกจากรูปควรรู้ยิ่ง
เวทนา ฯลฯ
สัญญา ฯลฯ
สังขาร ฯลฯ
วิญญาณ ฯลฯ
จักขุ ฯลฯ
ชราและมรณะควรรู้ยิ่ง ชรามรณสมุทัย ... ชรามรณนิโรธ ... ความดับเหตุให้
เกิดชราและมรณะ ... ความดับฉันทราคะในชราและมรณะ ... คุณแห่งชราและมรณะ
... โทษแห่งชราและมรณะ ... เครื่องสลัดออกจากชราและมรณะควรรู้ยิ่ง

เชิงอรรถ :
๑ คุณ (อัสสาทะ) หมายถึงสภาวะที่อร่อย หรือสภาวะที่สุขกายและสุขใจ ซึ่งเกี่ยวข้องกับกามคุณ (องฺ.จตุกฺก.
อ. ๒/๑๐/๒๘๘, องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๑๐/๒๘๘)
๒ โทษ (อาทีนวะ) หมายถึงสภาวะที่ไม่อร่อย หรือสภาวะที่ทุกข์กายและทุกข์ใจ ซึ่งมีธรรมเป็นเหตุ (องฺ.จตุกฺก.
อ. ๒/๑๐/๒๘๘, องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๑๐/๒๘๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
ทุกข์ควรรู้ยิ่ง ทุกขสมุทัย ... ทุกขนิโรธ ... ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ... คุณแห่ง
ทุกข์ ... โทษแห่งทุกข์ ... เครื่องสลัดออกจากทุกข์ควรรู้ยิ่ง
รูปควรรู้ยิ่ง รูปสมุทัย ... รูปนิโรธ ... รูปนิโรธคามินีปฏิปทา ... คุณแห่งรูป ...
โทษแห่งรูป ... เครื่องสลัดออกจากรูปควรรู้ยิ่ง
เวทนา ฯลฯ
สัญญา ฯลฯ
สังขาร ฯลฯ
วิญญาณ ฯลฯ
จักขุ ฯลฯ
ชราและมรณะควรรู้ยิ่ง ชรามรณสมุทัย ... ชรามรณนิโรธ ... ชรามรณ-
นิโรธคามินีปฏิปทา ... คุณแห่งชราและมรณะ ... โทษแห่งชราและมรณะ ... เครื่อง
สลัดออกจากชราและมรณะควรรู้ยิ่ง
[๙] อนิจจานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง) ควรรู้ยิ่ง ทุกขานุ-
ปัสสนา (การพิจารณาเห็นทุกข์) ... อนัตตานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นอนัตตา) ...
นิพพิทานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความเบื่อหน่าย) ... วิราคานุปัสสนา (การ
พิจารณาเห็นความคลายกำหนัด) ... นิโรธานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความดับ) ...
ปฏินิสสัคคานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความสละคืน) ควรรู้ยิ่ง
อนิจจานุปัสสนาในรูปควรรู้ยิ่ง ทุกขานุปัสสนาในรูป ... อนัตตานุปัสสนา
ในรูป ... นิพพิทานุปัสสนาในรูป ... วิราคานุปัสสนาในรูป ... นิโรธานุปัสสนาในรูป ...
ปฏินิสสัคคานุปัสสนาในรูปควรรู้ยิ่ง
อนิจจานุปัสสนาในเวทนา ฯลฯ
อนิจจานุปัสสนาในสัญญา ฯลฯ
อนิจจานุปัสสนาในสังขาร ฯลฯ
อนิจจานุปัสสนาในวิญญาณ ฯลฯ
อนิจจานุปัสสนาในจักขุ ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
อนิจจานุปัสสนาในชราและมรณะควรรู้ยิ่ง ทุกขานุปัสสนาในชราและมรณะ ...
อนัตตานุปัสสนาในชราและมรณะ ... นิพพิทานุปัสสนาในชราและมรณะ ...
วิราคานุปัสสนาในชราและมรณะ ... นิโรธานุปัสสนาในชราและมรณะ ...
ปฏินิสสัคคานุปัสสนาในชราและมรณะควรรู้ยิ่ง
[๑๐] ความเกิดขึ้นควรรู้ยิ่ง ความเป็นไป ... นิมิต (เครื่องหมาย) ... กรรม
เป็นเครื่องประมวลมา ... ปฏิสนธิ ... คติ (ภพที่ไปเกิด) ... ความบังเกิด ... ความ
อุบัติ ... ความเกิด ... ความแก่ ... ความเจ็บไข้ ... ความตาย ... ความเศร้าโศก ...
ความรำพัน ... ความคับแค้นใจควรรู้ยิ่ง
ความไม่เกิดขึ้นควรรู้ยิ่ง ความไม่เป็นไป ... อนิมิต (ความไม่มีเครื่องหมาย) ...
ความไม่มีกรรมเป็นเครื่องประมวลมา ... ความไม่มีปฏิสนธิ ... อคติ (ความไม่มีภพ
ที่ไปเกิด) ... ความไม่บังเกิด ... ความไม่อุบัติ ... ความไม่เกิด ... ความไม่แก่ ...
ความไม่เจ็บไข้ ... ความไม่ตาย ... ความไม่เศร้าโศก ... ความไม่รำพัน ... ความไม่คับ
แค้นใจควรรู้ยิ่ง
ความเกิดขึ้นควรรู้ยิ่ง ความไม่เกิดขึ้น ... ความเป็นไป ... ความไม่เป็นไป ...
นิมิต ... อนิมิต ... กรรมเป็นเครื่องประมวลมา ... ความไม่มีกรรมเป็นเครื่องประมวลมา
... ปฏิสนธิ ... ความไม่มีปฏิสนธิ ... คติ ... อคติ ... ความบังเกิด ... ความไม่บังเกิด ...
ความอุบัติ ... ความไม่อุบัติ ... ความเกิด ... ความไม่เกิด ... ความแก่ ... ความไม่แก่
... ความเจ็บไข้ ... ความไม่เจ็บไข้ ... ความตาย ... ความไม่ตาย ... ความเศร้าโศก ...
ความไม่เศร้าโศก ... ความรำพัน ... ความไม่รำพัน ... ความคับแค้นใจ ... ความไม่
คับแค้นใจควรรู้ยิ่ง
ควรรู้ยิ่งว่า “ความเกิดขึ้นเป็นทุกข์” ... “ความเป็นไปเป็นทุกข์” ... “นิมิต
เป็นทุกข์” ...“กรรมเป็นเครื่องประมวลมาเป็นทุกข์” ... “ปฏิสนธิเป็นทุกข์” ...
“คติเป็นทุกข์” ... “ความบังเกิดเป็นทุกข์” ... “ความอุบัติเป็นทุกข์” ... “ความเกิด
เป็นทุกข์” ... “ความแก่เป็นทุกข์” ... “ความเจ็บไข้เป็นทุกข์” ... “ความตายเป็น
ทุกข์” ... “ความเศร้าโศกเป็นทุกข์” ... “ความรำพันเป็นทุกข์” ควรรู้ยิ่งว่า
“ความคับแค้นใจเป็นทุกข์”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
ควรรู้ยิ่งว่า “ความไม่เกิดขึ้นเป็นสุข” ... “ความไม่เป็นไปเป็นสุข” ... “อนิมิต
เป็นสุข” ... “ความไม่มีกรรมเป็นเครื่องประมวลมาเป็นสุข” ... “ความไม่มีปฏิสนธิ
เป็นสุข” ... “อคติเป็นสุข” ... “ความไม่บังเกิดเป็นสุข” ... “ความไม่อุบัติเป็นสุข” ...
“ความไม่เกิดเป็นสุข” ... “ความไม่แก่เป็นสุข” ... “ความไม่เจ็บไข้เป็นสุข” ...
“ความไม่ตายเป็นสุข” ... “ความไม่เศร้าโศกเป็นสุข” ... “ความไม่รำพันเป็นสุข”
ควรรู้ยิ่งว่า “ความไม่คับแค้นใจเป็นสุข”
ควรรู้ยิ่งว่า “ความเกิดขึ้นเป็นทุกข์ ความไม่เกิดขึ้นเป็นสุข” ... “ความเป็น
ไปเป็นทุกข์ ความไม่เป็นไปเป็นสุข” ... “นิมิตเป็นทุกข์ อนิมิตเป็นสุข” ... “กรรม
เป็นเครื่องประมวลมาเป็นทุกข์ ความไม่มีกรรมเป็นเครื่องประมวลมาเป็นสุข” ...
“ปฏิสนธิเป็นทุกข์ ความไม่มีปฏิสนธิเป็นสุข” ... “คติเป็นทุกข์ อคติเป็นสุข” ...
“ความบังเกิดเป็นทุกข์ ความไม่บังเกิดเป็นสุข” ... “ความอุบัติเป็นทุกข์ ความไม่
อุบัติเป็นสุข” ... “ความเกิดเป็นทุกข์ ความไม่เกิดเป็นสุข” ... “ความแก่เป็น
ทุกข์ ความไม่แก่เป็นสุข” ... “ความเจ็บไข้เป็นทุกข์ ความไม่เจ็บไข้เป็นสุข” ...
“ความตายเป็นทุกข์ ความไม่ตายเป็นสุข” ... “ความเศร้าโศกเป็นทุกข์ ความไม่
เศร้าโศกเป็นสุข” ... “ความรำพันเป็นทุกข์ ความไม่รำพันเป็นสุข” ควรรู้ยิ่งว่า
“ความคับแค้นใจเป็นทุกข์ ความไม่คับแค้นใจเป็นสุข”
ควรรู้ยิ่งว่า “ความเกิดขึ้นเป็นภัย” ... “ความเป็นไปเป็นภัย” ... “นิมิตเป็นภัย”
... “กรรมเป็นเครื่องประมวลมาเป็นภัย” ... “ปฏิสนธิเป็นภัย” ... “คติเป็นภัย” ...
“ความบังเกิดเป็นภัย” ... “ความอุบัติเป็นภัย” ... “ความเกิดเป็นภัย” ... “ความแก่
เป็นภัย” ... “ความเจ็บไข้เป็นภัย” ... “ความตายเป็นภัย” ... “ความเศร้าโศก
เป็นภัย” ... “ความรำพันเป็นภัย” ควรรู้ยิ่งว่า “ความคับแค้นใจเป็นภัย”
ควรรู้ยิ่งว่า “ความไม่เกิดขึ้นปลอดภัย” ... “ความไม่เป็นไปปลอดภัย” ...
“อนิมิตปลอดภัย” ... “ความไม่มีกรรมเป็นเครื่องประมวลมาปลอดภัย” ... “ความ
ไม่มีปฏิสนธิปลอดภัย” ... “อคติปลอดภัย” ... “ความไม่บังเกิดปลอดภัย” ...
“ความไม่อุบัติปลอดภัย” ... “ความไม่เกิดปลอดภัย” ... “ความไม่แก่ปลอดภัย” ...
“ความไม่เจ็บไข้ปลอดภัย” ... “ความไม่ตายปลอดภัย” ... “ความไม่เศร้าโศก
ปลอดภัย” ... “ความไม่รำพันปลอดภัย” ควรรู้ยิ่งว่า “ความไม่คับแค้นใจปลอดภัย”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
ควรรู้ยิ่งว่า “ความเกิดขึ้นเป็นภัย ความไม่เกิดขึ้นปลอดภัย” ... “ความเป็นไป
เป็นภัย ความไม่เป็นไปปลอดภัย” ... “นิมิตเป็นภัย อนิมิตปลอดภัย” ... “กรรม
เป็นเครื่องประมวลมาเป็นภัย ความไม่มีกรรมเป็นเครื่องประมวลมาปลอดภัย” ...
“ปฏิสนธิเป็นภัย ความไม่มีปฏิสนธิปลอดภัย” ... “คติเป็นภัย อคติปลอดภัย” ...
“ความบังเกิดเป็นภัย ความไม่บังเกิดปลอดภัย” ... “ความอุบัติเป็นภัย ความไม่
อุบัติปลอดภัย” ... “ความเกิดเป็นภัย ความไม่เกิดปลอดภัย” ... “ความแก่เป็นภัย
ความไม่แก่ปลอดภัย” ... “ความเจ็บไข้เป็นภัย ความไม่เจ็บไข้ปลอดภัย” ... “ความ
ตายเป็นภัย ความไม่ตายปลอดภัย” ... “ความเศร้าโศกเป็นภัย ความไม่เศร้าโศก
ปลอดภัย” ... “ความรำพันเป็นภัย ความไม่รำพันปลอดภัย” ควรรู้ยิ่งว่า “ความ
คับแค้นใจเป็นภัย ความไม่คับแค้นใจปลอดภัย”
ควรรู้ยิ่งว่า “ความเกิดขึ้นเป็นอามิส๑” ... “ความเป็นไปเป็นอามิส” ... “นิมิต
เป็นอามิส” ... “กรรมเป็นเครื่องประมวลมาเป็นอามิส” ... “ปฏิสนธิเป็นอามิส” ...
“คติเป็นอามิส” ... “ความบังเกิดเป็นอามิส” ... “ความอุบัติเป็นอามิส” ... “ความ
เกิดเป็นอามิส” ... “ความแก่เป็นอามิส” ... “ความเจ็บไข้เป็นอามิส” ... “ความ
ตายเป็นอามิส” ... “ความเศร้าโศกเป็นอามิส” ... “ความรำพันเป็นอามิส” ควรรู้
ยิ่งว่า “ความคับแค้นใจเป็นอามิส”
ควรรู้ยิ่งว่า “ความไม่เกิดขึ้นไม่เป็นอามิส” ... “ความไม่เป็นไปไม่เป็นอามิส”...
“อนิมิตไม่เป็นอามิส” ... “ความไม่มีกรรมเป็นเครื่องประมวลมาไม่เป็นอามิส” ...
“ความไม่มีปฏิสนธิไม่เป็นอามิส” ... “อคติไม่เป็นอามิส” ... “ความไม่บังเกิดไม่เป็น
อามิส” ... “ความไม่อุบัติไม่เป็นอามิส” ... “ความไม่เกิดไม่เป็นอามิส” ... “ความ
ไม่แก่ไม่เป็นอามิส” ... “ความไม่เจ็บไข้ไม่เป็นอามิส” ... “ความไม่ตายไม่เป็น
อามิส” ... “ความไม่เศร้าโศกไม่เป็นอามิส” ... “ความไม่รำพันไม่เป็นอามิส” ควรรู้
ยิ่งว่า “ความไม่คับแค้นใจไม่เป็นอามิส”
ควรรู้ยิ่งว่า “ความเกิดขึ้นเป็นอามิส ความไม่เกิดขึ้นไม่เป็นอามิส” ... “ความ
เป็นไปเป็นอามิส ความไม่เป็นไปไม่เป็นอามิส” ... “นิมิตเป็นอามิส อนิมิตไม่เป็น

เชิงอรรถ :
๑ เป็นอามิส ในที่นี้หมายถึงสภาวะที่ไม่พ้นไปจากการเกี่ยวข้องอยู่ในวัฏฏะและโลก (ขุ.ป.อ.๑/๑๐/๑๐๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
อามิส” ... “กรรมเป็นเครื่องประมวลมาเป็นอามิส ความไม่มีกรรมเป็นเครื่อง
ประมวลมาไม่เป็นอามิส” ... “ปฏิสนธิเป็นอามิส ความไม่มีปฏิสนธิไม่เป็นอามิส” ...
“คติเป็นอามิส อคติไม่เป็นอามิส” ... “ความบังเกิดเป็นอามิส ความไม่บังเกิดไม่
เป็นอามิส” ... “ความอุบัติเป็นอามิส ความไม่อุบัติไม่เป็นอามิส” ... “ความเกิด
เป็นอามิส ความไม่เกิดไม่เป็นอามิส” ... “ความแก่เป็นอามิส ความไม่แก่ไม่เป็น
อามิส” ... “ความเจ็บไข้เป็นอามิส ความไม่เจ็บไข้ไม่เป็นอามิส” ... “ความตายเป็น
อามิส ความไม่ตายไม่เป็นอามิส” ... “ความเศร้าโศกเป็นอามิส ความไม่เศร้าโศก
ไม่เป็นอามิส” ... “ความรำพันเป็นอามิส ความไม่รำพันไม่เป็นอามิส” ควรรู้ยิ่งว่า
“ความคับแค้นใจเป็นอามิส ความไม่คับแค้นใจไม่เป็นอามิส”
ควรรู้ยิ่งว่า “ความเกิดขึ้นเป็นสังขาร” ... “ความเป็นไปเป็นสังขาร” ... “นิมิต
เป็นสังขาร” ... “กรรมเป็นเครื่องประมวลมาเป็นสังขาร” ... “ปฏิสนธิเป็นสังขาร” ...
“คติเป็นสังขาร” ... “ความบังเกิดเป็นสังขาร” ... “ความอุบัติเป็นสังขาร” ...
“ความเกิดเป็นสังขาร” ... “ความแก่เป็นสังขาร” ... “ความเจ็บไข้เป็นสังขาร” ...
“ความตายเป็นสังขาร” ... “ความเศร้าโศกเป็นสังขาร” ... “ความรำพันเป็นสังขาร”
ควรรู้ยิ่งว่า “ความคับแค้นใจเป็นสังขาร”
ควรรู้ยิ่งว่า “ความไม่เกิดขึ้นเป็นนิพพาน” ... “ความไม่เป็นไปเป็นนิพพาน” ...
“อนิมิตเป็นนิพพาน” ... “ความไม่มีกรรมเป็นเครื่องประมวลมาเป็นนิพพาน” ...
“ความไม่มีปฏิสนธิเป็นนิพพาน” ... “อคติเป็นนิพพาน” ... “ความไม่บังเกิดเป็น
นิพพาน” ... “ความไม่อุบัติเป็นนิพพาน” ... “ความไม่เกิดเป็นนิพพาน” ... “ความ
ไม่แก่เป็นนิพพาน” ... “ความไม่เจ็บไข้เป็นนิพพาน” ... “ความไม่ตายเป็นนิพพาน” ...
“ความไม่เศร้าโศกเป็นนิพพาน” ... “ความไม่รำพันเป็นนิพพาน” ควรรู้ยิ่งว่า
“ความไม่คับแค้นใจเป็นนิพพาน”
ควรรู้ยิ่งว่า “ความเกิดขึ้นเป็นสังขาร ความไม่เกิดขึ้นเป็นนิพพาน” ... “ความ
เป็นไปเป็นสังขาร ความไม่เป็นไปเป็นนิพพาน” ... “นิมิตเป็นสังขาร อนิมิตเป็น
นิพพาน” ... “กรรมเป็นเครื่องประมวลมาเป็นสังขาร ความไม่มีกรรมเป็นเครื่อง
ประมวลมาเป็นนิพพาน” ... “ปฏิสนธิเป็นสังขาร ความไม่มีปฏิสนธิเป็นนิพพาน” ...
“คติเป็นสังขาร อคติเป็นนิพพาน” ... “ความบังเกิดเป็นสังขาร ความไม่บังเกิดเป็น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
นิพพาน” ... “ความอุบัติเป็นสังขาร ความไม่อุบัติเป็นนิพพาน” ... “ความเกิดเป็น
สังขาร ความไม่เกิดเป็นนิพพาน” ... “ความแก่เป็นสังขาร ความไม่แก่เป็นนิพพาน”
... “ความเจ็บไข้เป็นสังขาร ความไม่เจ็บไข้เป็นนิพพาน” ... “ความตายเป็นสังขาร
ความไม่ตายเป็นนิพพาน” ... “ความเศร้าโศกเป็นสังขาร ความไม่เศร้าโศกเป็น
นิพพาน” ... “ความรำพันเป็นสังขาร ความไม่รำพันเป็นนิพพาน” ควรรู้ยิ่งว่า
“ความคับแค้นใจเป็นสังขาร ความไม่คับแค้นใจเป็นนิพพาน”
ปฐมภาณวาร จบ

[๑๑] สภาวะที่ควรกำหนดควรรู้ยิ่ง สภาวะที่เป็นบริวาร ... สภาวะที่เต็มรอบ
... สภาวะที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่าน ... สภาวะที่ประคองไว้ ...
สภาวะที่ไม่กระจัดกระจายไป ... สภาวะที่ไม่ขุ่นมัว ... สภาวะที่ไม่หวั่นไหว ...
สภาวะที่ตั้งอยู่ด้วยอำนาจความปรากฏแห่งจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่เป็น
อารมณ์ ... สภาวะที่เป็นโคจร ... สภาวะที่ละ ... สภาวะที่สละ ... สภาวะที่ออก ...
สภาวะที่หลีกไป ... สภาวะที่ละเอียด ... สภาวะที่ประณีต ... สภาวะที่หลุดพ้น ...
สภาวะที่ไม่มีอาสวะ ... สภาวะเครื่องข้าม ... สภาวะที่ไม่มีนิมิต ... สภาวะอันไม่มีที่ตั้ง
... สภาวะที่ว่าง ... สภาวะที่มีรสเป็นอย่างเดียวกัน ... สภาวะที่ไม่ล่วงเลยกัน ...
สภาวะที่เป็นคู่กัน ... สภาวะที่นำออก ... สภาวะที่เป็นเหตุ ... สภาวะที่เห็น ...
สภาวะที่เป็นใหญ่ควรรู้ยิ่ง
[๑๒] สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งสมถะควรรู้ยิ่ง สภาวะที่พิจารณาเห็นแห่ง
วิปัสสนา ... สภาวะที่มีรสเป็นอย่างเดียวกันแห่งสมถะและวิปัสสนา ... สภาวะที่ไม่
ล่วงเลยกันแห่งธรรมที่เป็นคู่กัน ... สภาวะที่สมาทานแห่งสิกขา ... สภาวะที่เป็น
โคจรแห่งอารมณ์ ... สภาวะที่ประคองจิตซึ่งย่อท้อ ... สภาวะที่ข่มจิตที่ฟุ้งซ่าน ...
สภาวะที่คุมจิตอันบริสุทธิ์จากความย่อท้อและความฟุ้งซ่านทั้ง ๒ ประการ ...
สภาวะที่บรรลุคุณวิเศษ ... สภาวะที่รู้แจ้งอริยมรรคอันยอดเยี่ยม ... สภาวะที่ตรัสรู้
สัจจะ ... สภาวะที่ให้จิตตั้งอยู่เฉพาะในนิโรธควรรู้ยิ่ง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
สภาวะที่น้อมใจเชื่อแห่งสัทธินทรีย์ควรรู้ยิ่ง สภาวะที่ประคองไว้แห่งวิริยินทรีย์ ...
สภาวะที่ตั้งมั่นแห่งสตินทรีย์ ... สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งสมาธินทรีย์ ... สภาวะที่เห็น
แห่งปัญญินทรีย์ควรรู้ยิ่ง
สภาวะที่ไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธาแห่งสัทธาพละควรรู้ยิ่ง สภาวะที่
ไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้านแห่งวิริยพละ ... สภาวะที่ไม่หวั่นไหวเพราะความ
ประมาทแห่งสติพละ ... สภาวะที่ไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะแห่งสมาธิพละ ...
สภาวะที่ไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชาแห่งปัญญาพละควรรู้ยิ่ง
สภาวะที่ตั้งมั่นแห่งสติสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความระลึก
ได้) ควรรู้ยิ่ง สภาวะที่เลือกเฟ้นแห่งธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการ
ตรัสรู้คือความเลือกเฟ้นธรรม) ... สภาวะที่ประคองไว้แห่งวิริยสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็น
องค์แห่งการตรัสรู้คือความเพียร) ... สภาวะที่แผ่ไปแห่งปีติสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็น
องค์แห่งการตรัสรู้คือความอิ่มใจ) ... สภาวะที่สงบแห่งปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็น
องค์แห่งการตรัสรู้คือความสงบกายสงบใจ) ... สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งสมาธิสัมโพชฌงค์
(ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความตั้งจิตมั่น) ... สภาวะที่พิจารณาแห่งอุเบกขา-
สัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความมีใจเป็นกลาง) ควรรู้ยิ่ง
สภาวะที่เห็นแห่งสัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) ควรรู้ยิ่ง สภาวะที่ตรึกตรองแห่งสัมมา-
สังกัปปะ (ดำริชอบ) ... สภาวะที่กำหนดแห่งสัมมาวาจา (เจรจาชอบ) ... สภาวะที่
เป็นสมุฏฐานแห่งสัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ) ... สภาวะที่ผ่องแผ้วแห่งสัมมาอาชีวะ
(เลี้ยงชีพชอบ) ... สภาวะที่ประคองไว้แห่งสัมมาวายามะ (พยายามชอบ) ... สภาวะ
ที่ตั้งมั่นแห่งสัมมาสติ (ระลึกชอบ) ... สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งสัมมาสมาธิ (ตั้งจิต
มั่นชอบ) ควรรู้ยิ่ง
[๑๓] สภาวะที่เป็นใหญ่แห่งอินทรีย์ควรรู้ยิ่ง สภาวะที่ไม่หวั่นไหวแห่งพละ ...
สภาวะที่นำออกแห่งโพชฌงค์ ... สภาวะที่เป็นเหตุแห่งมรรค ... สภาวะที่ตั้งมั่นแห่ง
สติปัฏฐาน ... สภาวะที่เริ่มตั้งแห่งสัมมัปปธาน ... สภาวะที่สำเร็จแห่งอิทธิบาท ...
สภาวะที่เป็นของแท้แห่งสัจจะ ... สภาวะที่ระงับแห่งมรรค ... สภาวะที่ทำให้แจ้ง
แห่งผลควรรู้ยิ่ง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
สภาวะที่ตรึกตรองแห่งวิตกควรรู้ยิ่ง สภาวะที่ตรวจตราแห่งวิจาร ... สภาวะที่
แผ่ไปแห่งปีติ ... สภาวะที่ไหลมาแห่งสุข ... สภาวะที่เป็นเอกัคคตารมณ์ (มีอารมณ์
เดียว) แห่งจิต ... สภาวะที่นึก ... สภาวะที่รู้แจ้ง ... สภาวะที่รู้ชัด ... สภาวะที่จำได้ ...
สภาวะที่มีรสเป็นอย่างเดียวกันควรรู้ยิ่ง
สภาวะที่รู้แห่งอภิญญาควรรู้ยิ่ง สภาวะที่พิจารณาแห่งปริญญา ... สภาวะที่
สละแห่งปหานะ ... สภาวะที่มีรสเป็นอย่างเดียวกันแห่งภาวนา ... สภาวะที่ถูกต้อง
แห่งสัจฉิกิริยา ... สภาวะที่เป็นกองแห่งขันธ์ทั้งหลาย ... สภาวะที่ทรงไว้แห่งธาตุ
ทั้งหลาย ... สภาวะที่ต่อแห่งอายตนะทั้งหลาย ... สภาวะที่ปัจจัยปรุงแต่งแห่ง
สังขตธรรม ... สภาวะที่ปัจจัยมิได้ปรุงแต่งแห่งอสังขตธรรมควรรู้ยิ่ง
[๑๔] สภาวะแห่งจิตควรรู้ยิ่ง สภาวะที่ไม่มีระหว่างคั่นแห่งจิต ... สภาวะที่
ออกแห่งจิต ... สภาวะที่หลีกไปแห่งจิต ... สภาวะที่เป็นเหตุแห่งจิต ... สภาวะที่เป็น
ปัจจัยแห่งจิต ... สภาวะที่ตั้งมั่นแห่งจิต ... สภาวะที่เป็นภูมิแห่งจิต ... สภาวะที่เป็น
อารมณ์แห่งจิต ... สภาวะที่เป็นโคจรแห่งจิต ... สภาวะที่เที่ยวไปแห่งจิต ... สภาวะ
ที่ไปแห่งจิต ... สภาวะที่นำไปแห่งจิต ... สภาวะที่นำออกแห่งจิต ... สภาวะที่สลัด
ออกแห่งจิตควรรู้ยิ่ง
[๑๕] สภาวะที่นึกในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ (มีอารมณ์เดียว) ควรรู้ยิ่ง
สภาวะที่รู้แจ้งในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่รู้ชัดในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ...
สภาวะที่จำได้ในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่เป็นธรรมเอกผุดขึ้นในจิตที่เป็น
เอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่เนื่องในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่แล่นไปในจิต
ที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่ผ่องใสในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่ตั้ง
มั่นในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่หลุดพ้นในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ...
สภาวะที่เห็นว่า “นี้ละเอียด” ในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่ทำให้
เป็นดุจญาณในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่ทำให้เป็นที่ตั้งในจิตที่เป็น
เอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่ตั้งขึ้นเนือง ๆ ในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่
อบรมในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่ปรารภเสมอดีในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์
... สภาวะที่กำหนดในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่เป็นบริวารในจิตที่เป็น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
เอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่เต็มรอบในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่ประชุม
ในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่อธิษฐานในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะ
ที่ปฏิบัติในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่เจริญในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะ
ที่ทำให้มากในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่รวมดีในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ...
สภาวะที่หลุดพ้นด้วยดีในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่ตรัสรู้๑ ในจิตที่เป็น
เอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่ตรัสรู้ตาม๒ในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่ตรัสรู้
เฉพาะ๓ในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่ตรัสรู้พร้อม๔ในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์
... สภาวะที่ให้ตรัสรู้ในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่ให้ตรัสรู้ตามในจิตที่เป็น
เอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่ให้ตรัสรู้เฉพาะในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่ให้
ตรัสรู้พร้อมในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่เป็นไปในฝ่ายตรัสรู้ในจิตที่เป็น
เอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่เป็นไปในฝ่ายตรัสรู้ตามในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ...
สภาวะที่เป็นไปในฝ่ายตรัสรู้เฉพาะในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่เป็นไป
ในฝ่ายตรัสรู้พร้อมในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่สว่างในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์
... สภาวะที่สว่างขึ้นในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่สว่างเนือง ๆ ในจิตที่
เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่สว่างเฉพาะในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่
สว่างพร้อมในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ควรรู้ยิ่ง
[๑๖] สภาวะที่อริยมรรคให้สว่างควรรู้ยิ่ง สภาวะที่อริยมรรคให้รุ่งเรือง ...
สภาวะที่อริยมรรคทำให้กิเลสเร่าร้อน ... สภาวะที่อริยมรรคไม่มีมลทิน ... สภาวะที่
อริยมรรคปราศจากมลทิน ... สภาวะที่อริยมรรคหมดมลทิน ... สภาวะที่อริยมรรค
สงบ ... สภาวะที่อริยมรรคให้กิเลสระงับ ... สภาวะแห่งวิเวก ... สภาวะที่ดำเนินไป
ในวิเวก ... สภาวะแห่งความคลายกำหนัด ... สภาวะที่ดำเนินไปในความคลาย
กำหนัด ... สภาวะแห่งความดับ ... สภาวะที่ดำเนินไปในความดับ ... สภาวะแห่ง
การสละ ... สภาวะที่ดำเนินไปในการสละ ... สภาวะแห่งความพ้น ... สภาวะที่
ดำเนินไปในความพ้นควรรู้ยิ่ง

เชิงอรรถ :
๑ สภาวะที่ตรัสรู้ ในที่นี้หมายถึงตรัสรู้โสดาปัตติมรรค (ขุ.ป.อ. ๑/๑๕/๑๑๐)
๒ สภาวะที่ตรัสรู้ตาม ในที่นี้หมายถึงตรัสรู้สกทาคามิมรรค (ขุ.ป.อ. ๑/๑๕/๑๑๐)
๓ สภาวะที่ตรัสรู้เฉพาะ ในที่นี้หมายถึงตรัสรู้อนาคามิมรรค (ขุ.ป.อ. ๑/๑๕/๑๑๐)
๔ สภาวะที่ตรัสรู้พร้อม ในที่นี้หมายถึงตรัสรู้อรหัตตมรรค (ขุ.ป.อ. ๑/๑๕/๑๑๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
สภาวะแห่งฉันทะควรรู้ยิ่ง สภาวะที่เป็นมูลแห่งฉันทะ ... สภาวะที่เป็นบาท
แห่งฉันทะ ... สภาวะที่เป็นประธานแห่งฉันทะ ... สภาวะที่สำเร็จแห่งฉันทะ ...
สภาวะที่น้อมไปแห่งฉันทะ ... สภาวะที่ประคองไว้แห่งฉันทะ ... สภาวะที่ตั้งมั่นแห่ง
ฉันทะ ... สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งฉันทะ ... สภาวะที่เห็นแห่งฉันทะควรรู้ยิ่ง
สภาวะแห่งวิริยะควรรู้ยิ่ง สภาวะที่เป็นมูลแห่งวิริยะ ... สภาวะที่เป็นบาท
แห่งวิริยะ ... สภาวะที่เป็นประธานแห่งวิริยะ ... สภาวะที่สำเร็จแห่งวิริยะ ... สภาวะ
ที่น้อมไปแห่งวิริยะ ... สภาวะที่ประคองไว้แห่งวิริยะ ... สภาวะที่ตั้งมั่นแห่งวิริยะ ...
สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งวิริยะ ... สภาวะที่เห็นแห่งวิริยะควรรู้ยิ่ง
สภาวะแห่งจิตตะควรรู้ยิ่ง สภาวะที่เป็นมูลแห่งจิตตะ ... สภาวะที่เป็นบาทแห่ง
จิตตะ ... สภาวะที่เป็นประธานแห่งจิตตะ ... สภาวะที่สำเร็จแห่งจิตตะ ... สภาวะที่
น้อมไปแห่งจิตตะ ... สภาวะที่ประคองไว้แห่งจิตตะ ... สภาวะที่ตั้งมั่นแห่งจิตตะ ...
สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิตตะ ... สภาวะที่เห็นแห่งจิตตะควรรู้ยิ่ง
สภาวะแห่งวิมังสาควรรู้ยิ่ง สภาวะที่เป็นมูลแห่งวิมังสา ... สภาวะที่เป็นบาท
แห่งวิมังสา ... สภาวะที่เป็นประธานแห่งวิมังสา ... สภาวะที่สำเร็จแห่งวิมังสา ...
สภาวะที่น้อมไปแห่งวิมังสา ... สภาวะที่ประคองไว้แห่งวิมังสา ... สภาวะที่ตั้งมั่น
แห่งวิมังสา ... สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งวิมังสา ... สภาวะที่เห็นแห่งวิมังสาควรรู้ยิ่ง
[๑๗] สภาวะแห่งทุกข์ควรรู้ยิ่ง สภาวะที่บีบคั้นแห่งทุกข์ ... สภาวะที่ปัจจัย
ปรุงแต่งแห่งทุกข์ ... สภาวะที่ทำให้เดือดร้อนแห่งทุกข์ ... สภาวะที่แปรผันแห่ง
ทุกข์ ... สภาวะแห่งสมุทัย ... สภาวะที่ประมวลมาแห่งสมุทัย ... สภาวะที่เป็นเหตุ
แห่งสมุทัย ... สภาวะที่เกี่ยวข้องแห่งสมุทัย ... สภาวะที่พัวพันแห่งสมุทัย ... สภาวะ
แห่งนิโรธ ... สภาวะที่เป็นเครื่องสลัดออกแห่งนิโรธ ... สภาวะที่เป็นวิเวกแห่งนิโรธ...
สภาวะที่เป็นอสังขตะแห่งนิโรธ ... สภาวะที่เป็นอมตะแห่งนิโรธ ... สภาวะแห่ง
มรรค ... สภาวะที่นำออกแห่งมรรค ... สภาวะที่เป็นเหตุแห่งมรรค ... สภาวะที่เห็น
แห่งมรรค ... สภาวะที่เป็นใหญ่แห่งมรรคควรรู้ยิ่ง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
สภาวะที่เป็นของแท้ควรรู้ยิ่ง สภาวะที่เป็นอนัตตา ... สภาวะที่เป็นจริง ...
สภาวะที่รู้แจ้ง ... สภาวะที่รู้ยิ่ง ... สภาวะที่กำหนดรู้ ... สภาวะที่เป็นธรรม ...
สภาวะที่เป็นธาตุ ... สภาวะที่รู้ ... สภาวะที่ทำให้แจ้ง ... สภาวะที่ถูกต้อง ... สภาวะ
ที่ตรัสรู้ควรรู้ยิ่ง
[๑๘] เนกขัมมะ (การออกจากกาม) ควรรู้ยิ่ง อพยาบาท (ความไม่พยาบาท)
... อาโลกสัญญา (ความหมายรู้ในนิมิตแห่งแสงสว่าง) ... อวิกเขปะ (ความไม่ฟุ้งซ่าน)
... ธัมมววัตถาน (ความกำหนดธรรม) ... ญาณ (ความรู้) ... ปามุชชะ (ความปราโมทย์)
ควรรู้ยิ่ง
ปฐมฌานควรรู้ยิ่ง ทุติยฌาน ... ตติยฌาน ... จตุตถฌาน ... อากาสานัญ-
จายตนสมาบัติ ... วิญญาณัญจายตนสมาบัติ ... อากิญจัญญายตนสมาบัติ ...
เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติควรรู้ยิ่ง
อนิจจานุปัสสนาควรรู้ยิ่ง ทุกขานุปัสสนา ... อนัตตานุปัสสนา ... นิพพิทานุ-
ปัสสนา ... วิราคานุปัสสนา ... นิโรธานุปัสสนา ... ปฏินิสสัคคานุปัสสนา ... ขยานุ-
ปัสสนา (การพิจารณาเห็นความสิ้นไป) ... วยานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความ
เสื่อมไป) ... วิปริณามานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความแปรผัน) ... อนิมิตตานุ-
ปัสสนา (การพิจารณาเห็นความไม่มีนิมิต) ... อัปปณิหิตานุปัสสนา (การพิจารณา
เห็นความไม่มีที่ตั้ง) ... สุญญตานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความว่าง) ...
อธิปัญญาธัมมวิปัสสนา (การพิจารณาเห็นธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง) ... ยถาภูต-
ญาณทัสสนะ (การรู้เห็นตามความเป็นจริง) ... อาทีนวานุปัสสนา (การพิจารณา
เห็นโทษ) ... ปฏิสังขานุปัสสนา (การตามพิจารณา) ... วิวัฏฏนานุปัสสนา (การ
พิจารณาเห็นอุบายที่จะหลีกไป) ควรรู้ยิ่ง
[๑๙] โสดาปัตติมรรคควรรู้ยิ่ง โสดาปัตติผลสมาบัติ ... สกทาคามิมรรค ...
สกทาคามิผลสมาบัติ ... อนาคามิมรรค ... อนาคามิผลสมาบัติ ... อรหัตตมรรค ...
อรหัตตผลสมาบัติควรรู้ยิ่ง
ชื่อว่าสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อควรรู้ยิ่ง ชื่อว่าวิริยินทรีย์ เพราะมี
สภาวะประคองไว้ ... ชื่อว่าสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น ... ชื่อว่าสมาธินทรีย์
เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ... ชื่อว่าปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็นควรรู้ยิ่ง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
ชื่อว่าสัทธาพละ เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธาควรรู้ยิ่ง
ชื่อว่าวิริยพละ เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน ... ชื่อว่าสติพละ
เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะความประมาท ... ชื่อว่าสมาธิพละ เพราะมีสภาวะ
ไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะ ... ชื่อว่าปัญญาพละ เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะ
อวิชชาควรรู้ยิ่ง
ชื่อว่าสติสัมโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่นควรรู้ยิ่ง ชื่อว่าธัมมวิจย-
สัมโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเลือกเฟ้นธรรม ... ชื่อว่าวิริยสัมโพชฌงค์ เพราะมี
สภาวะประคองไว้ ... ชื่อว่าปีติสัมโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะแผ่ไป ... ชื่อว่าปัสสัทธิ-
สัมโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะสงบ ... ชื่อว่าสมาธิสัมโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะไม่
ฟุ้งซ่าน ... ชื่อว่าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะพิจารณาควรรู้ยิ่ง
ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็นควรรู้ยิ่ง ชื่อว่าสัมมาสังกัปปะ เพราะมี
สภาวะตรึกตรอง ... ชื่อว่าสัมมาวาจา เพราะมีสภาวะกำหนด ... ชื่อว่าสัมมากัมมันตะ
เพราะมีสภาวะเป็นสมุฏฐาน ... ชื่อว่าสัมมาอาชีวะ เพราะมีสภาวะผ่องแผ้ว ... ชื่อว่า
สัมมาวายามะ เพราะมีสภาวะประคองไว้ ... ชื่อว่าสัมมาสติ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น ...
ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่านควรรู้ยิ่ง
ชื่อว่าอินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ควรรู้ยิ่ง ชื่อว่าพละ เพราะมีสภาวะไม่
หวั่นไหว ... ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะนำออก ... ชื่อว่ามรรค เพราะมีสภาวะ
เป็นเหตุ ... ชื่อว่าสติปัฏฐาน เพราะมีสภาวะตั้งมั่น ... ชื่อว่าสัมมัปปธาน เพราะมี
สภาวะดำรงไว้ ... ชื่อว่าอิทธิบาท เพราะมีสภาวะสำเร็จ ... ชื่อว่าสัจจะ เพราะมี
สภาวะเป็นของแท้ ... ชื่อว่าสมถะ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ... ชื่อว่าวิปัสสนา
เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็น ... ชื่อว่าสมถะและวิปัสสนา เพราะมีสภาวะมีรสเป็น
อย่างเดียวกัน ... ชื่อว่าธรรมที่เป็นคู่กัน เพราะมีสภาวะไม่ล่วงเลยกันควรรู้ยิ่ง
ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีสภาวะสำรวมควรรู้ยิ่ง ชื่อว่าจิตตวิสุทธิ เพราะ
มีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ... ชื่อว่าทิฏฐิวิสุทธิ เพราะมีสภาวะเห็น ... ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะ
มีสภาวะหลุดพ้น ... ชื่อว่าวิชชา เพราะมีสภาวะรู้แจ้ง ... ชื่อว่าวิมุตติ เพราะมี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
สภาวะสละ ... ชื่อว่าญาณในความสิ้นไป เพราะมีสภาวะตัดขาด ... ชื่อว่าอนุปปาท-
ญาณ๑ เพราะมีสภาวะสงบระงับควรรู้ยิ่ง
[๒๐] ชื่อว่าฉันทะ เพราะมีสภาวะเป็นมูลควรรู้ยิ่ง ชื่อว่ามนสิการ เพราะมี
สภาวะเป็นสมุฏฐาน ... ชื่อว่าผัสสะ เพราะมีสภาวะประมวลมา ... ชื่อว่าเวทนา
เพราะมีสภาวะประชุม ... ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีสภาวะเป็นประธาน ... ชื่อว่าสติ
เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ... ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะเป็นธรรมที่ยิ่งกว่าธรรมนั้น ...
ชื่อว่าวิมุตติ เพราะมีสภาวะเป็นแก่นสาร ... ชื่อว่าธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน
เพราะมีสภาวะเป็นที่สุดควรรู้ยิ่ง
ธรรมใด ๆ ที่รู้ยิ่งแล้ว ธรรมนั้น ๆ ก็เป็นอันรู้แล้ว ชื่อว่าญาณ เพราะมี
สภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง” ปัญญารู้ชัดธรรมที่ได้สดับ
มานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (ญาณในการทรงจำธรรมที่ได้สดับมา) (๑)
ทุติยภาณวาร จบ

[๒๑] การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้ควรกำหนดรู้” ปัญญา
รู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ เป็นอย่างไร คือ
ธรรม ๑ อย่างที่ควรกำหนดรู้ คือ ผัสสะซึ่งมีอาสวะเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน
ธรรม ๒ อย่างที่ควรกำหนดรู้ คือ นาม ๑ รูป ๑
ธรรม ๓ อย่างที่ควรกำหนดรู้ คือ เวทนา ๓
ธรรม ๔ อย่างที่ควรกำหนดรู้ คือ อาหาร ๔
ธรรม ๕ อย่างที่ควรกำหนดรู้ คือ อุปาทานขันธ์ ๕
ธรรม ๖ อย่างที่ควรกำหนดรู้ คือ อายตนะภายใน ๖

เชิงอรรถ :
๑ อนุปปาทญาณ หมายถึงญาณในอริยผล (ขุ.ป.อ. ๑/๑๙/๑๑๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
ธรรม ๗ อย่างที่ควรกำหนดรู้ คือ วิญญาณฐิติ ๗๑
ธรรม ๘ อย่างที่ควรกำหนดรู้ คือ โลกธรรม ๘
ธรรม ๙ อย่างที่ควรกำหนดรู้ คือ สัตตาวาส ๙๒
ธรรม ๑๐ อย่างที่ควรกำหนดรู้ คือ อายตนะ ๑๐
ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรกำหนดรู้ สิ่งทั้งปวงที่ควรกำหนดรู้ คืออะไร
คือ จักขุควรกำหนดรู้ รูปควรกำหนดรู้ จักขุวิญญาณควรกำหนดรู้
จักขุสัมผัสควรกำหนดรู้ สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้น
เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยควรกำหนดรู้
โสตะควรกำหนดรู้ สัททะ ฯลฯ
ฆานะควรกำหนดรู้ คันธะ ฯลฯ
ชิวหาควรกำหนดรู้ รส ฯลฯ
กายควรกำหนดรู้ โผฏฐัพพะ ฯลฯ
มโนควรกำหนดรู้ ธรรมารมณ์ ... มโนวิญญาณ ... มโนสัมผัส ... สุขเวทนา
ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยควรกำหนดรู้
รูปควรกำหนดรู้ เวทนาควรกำหนดรู้ สัญญาควรกำหนดรู้ สังขารควร
กำหนดรู้ วิญญาณควรกำหนดรู้
จักขุควรกำหนดรู้ ฯลฯ ชราและมรณะ ฯลฯ ธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือ
นิพพานเพราะมีสภาวะเป็นที่สุดควรกำหนดรู้ บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้

เชิงอรรถ :
๑ วิญญาณฐิติ ๗ ได้แก่ (๑) สัตว์บางพวกมีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน เช่น พวกมนุษย์ เทพบางเหล่า
วินิปาติกะ(เปรต)บางเหล่า (๒) สัตว์บางพวกมีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น เหล่าเทพจำพวก
พรหมผู้เกิดในภูมิปฐมฌาน (๓) สัตว์บางพวกมีกายอย่างเดียวกัน แต่มีสัญญาต่างกัน เช่น พวกเทพ
อาภัสสระ (๔) สัตว์บางพวกมีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น พวกเทพสุภกิณหะ
(๕) สัตว์บางพวก ผู้เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนะ (๖) สัตว์บางพวกผู้เข้าถึงชั้นวิญญาณัญจายตนะ
(๗) สัตว์บางพวก ผู้เข้าถึงชั้นอากิญจัญญายตนะ (ขุ.ป.อ. ๑/๒๑/๑๒๐)
๒ สัตตาวาส ๙ ได้แก่ ข้อ (๑-๔) ตรงกับวิญญาณฐิติ ๔ ข้อต้น, (๕) สัตว์บางพวก ไม่มีสัญญา ไม่เสวย
เวทนา เช่น เหล่าเทพอสัญญีสัตว์, ข้อ (๖-๘) ตรงกับวิญญาณฐิติ ข้อที่ ๕-๗, (๙) สัตว์บางพวก ผู้เข้าถึง
ชั้นเนวสัญญานาสัญญายตนะ (ขุ.ป.อ. ๑/๒๑/๑๒๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
ธรรมใด ๆ ได้ธรรมนั้น ๆ แล้ว ธรรมเหล่านั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และ
พิจารณาแล้วอย่างนี้
[๒๒] บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้เนกขัมมะ ได้เนกขัมมะแล้ว ธรรมนั้น
เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลพยายามเพื่อ
ต้องการได้อพยาบาท ได้อพยาบาทแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้
และพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้อาโลกสัญญา ได้อาโลก-
สัญญาแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคล
พยายามเพื่อต้องการได้อวิกเขปะ ได้อวิกเขปะแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้น
กำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้ธัมมววัตถาน
ได้ธัมมววัตถานแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้ว
อย่างนี้ บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้ญาณ ได้ญาณแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรม
อันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้ปามุชชะ
ได้ปามุชชะแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้
บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้ปฐมฌาน ได้ปฐมฌานแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรม
อันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้ทุติย-
ฌาน ฯลฯ ตติยฌาน ฯลฯ บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้จตุตถฌาน ได้จตุตถ-
ฌานแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้
บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้อากาสานัญจายตนสมาบัติ ได้อากาสานัญจายตน-
สมาบัติแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้
บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้วิญญาณัญจายตนสมาบัติ ได้วิญญาณัญจายตน-
สมาบัติแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้
บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้อากิญจัญญายตนสมาบัติ ได้อากิญจัญญายตน-
สมาบัติแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้
บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ได้เนวสัญญา-
นาสัญญายตนสมาบัติแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณา
แล้วอย่างนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้อนิจจานุปัสสนา ได้อนิจจานุปัสสนาแล้ว ธรรม
นั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลพยายามเพื่อ
ต้องการได้ทุกขานุปัสสนา ได้ทุกขานุปัสสนาแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้น
กำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้อนัตตานุปัสสนา
ได้อนัตตานุปัสสนาแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้ว
อย่างนี้
บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้นิพพิทานุปัสสนา ได้นิพพิทานุปัสสนาแล้ว
ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลพยายาม
เพื่อต้องการได้วิราคานุปัสสนา ได้วิราคานุปัสสนาแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคล
นั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้นิโรธานุปัสสนา
ได้นิโรธานุปัสสนาแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้
บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้ปฏินิสสัคคานุปัสสนา ได้ปฏินิสสัคคานุปัสสนาแล้ว
ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลพยายามเพื่อ
ต้องการได้ขยานุปัสสนา ได้ขยานุปัสสนาแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้น
กำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้วยานุปัสสนา ได้
วยานุปัสสนาแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้
บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้วิปริณามานุปัสสนา ได้วิปริณามานุปัสสนาแล้ว ธรรมนั้น
เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้
บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้อนิมิตตานุปัสสนา ได้อนิมิตตานุปัสสนาแล้ว
ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลพยายาม
เพื่อต้องการได้อัปปณิหิตานุปัสสนา ได้อัปปณิหิตานุปัสสนาแล้ว ธรรมนั้นเป็น
ธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้
สุญญตานุปัสสนา ได้สุญญตานุปัสสนาแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนด
รู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้อธิปัญญาธัมมวิปัสสนา
ได้อธิปัญญาธัมมวิปัสสนาแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
แล้วอย่างนี้ บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้ยถาภูตญาณทัสสนะ ได้ยถาภูตญาณ-
ทัสสนะแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้
บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้อาทีนวานุปัสสนา ได้อาทีนวานุปัสสนาแล้ว ธรรมนั้น
เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้
ปฏิสังขานุปัสสนา ได้ปฏิสังขานุปัสสนาแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้น
กำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้วิวัฏฏนานุปัสสนา
ได้วิวัฏฏนานุปัสสนาแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้ว
อย่างนี้
บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้โสดาปัตติมรรค ได้โสดาปัตติมรรคแล้ว ธรรม
นั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลพยายามเพื่อ
ต้องการได้สกทาคามิมรรค ได้สกทาคามิมรรคแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้น
กำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้อนาคามิมรรค
ได้อนาคามิมรรคแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้ว
อย่างนี้ บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้อรหัตตมรรค ได้อรหัตตมรรคแล้ว ธรรมนั้น
เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลพยายามเพื่อต้องการ
ได้ธรรมใด ๆ ได้ธรรมนั้น ๆ แล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณา
แล้วอย่างนี้
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้ควร
กำหนดรู้” ปัญญารู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (๒)
[๒๓] การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้ควรละ” ปัญญารู้ชัด
ธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ เป็นอย่างไร คือ
ธรรม ๑ อย่างที่ควรละ คือ อัสมิมานะ๑
ธรรม ๒ อย่างที่ควรละ คือ อวิชชา ๑ ภวตัณหา ๑
ธรรม ๓ อย่างที่ควรละ คือ ตัณหา ๓
ธรรม ๔ อย่างที่ควรละ คือ โอฆะ ๔

เชิงอรรถ :
๑ อัสมิมานะ หมายถึงความถือตัวว่ามีอยู่ในอุปาทานขันธ์ ๕ มีรูปเป็นต้น (ขุ.ป.อ. ๑/๒๓/๑๒๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
ธรรม ๕ อย่างที่ควรละ คือ นิวรณ์ ๕
ธรรม ๖ อย่างที่ควรละ คือ ตัณหา ๖
ธรรม ๗ อย่างที่ควรละ คือ อนุสัย ๗
ธรรม ๘ อย่างที่ควรละ คือ มิจฉัตตะ ๘๑
ธรรม ๙ อย่างที่ควรละ คือ ธรรมที่มีตัณหาเป็นมูล ๙๒
ธรรม ๑๐ อย่างที่ควรละ คือ มิจฉัตตะ ๑๐๓
[๒๔] ปหานะ ๒ คือ
๑. สมุจเฉทปหานะ (การละด้วยการตัดขาด)
๒. ปฏิปัสสัทธิปหานะ (การละด้วยสงบระงับ)
สมุจเฉทปหานะซึ่งเป็นโลกุตตรมรรคและปฏิปัสสัทธิปหานะซึ่งเป็นโลกุตตรผล
ในขณะแห่งผล ย่อมมีแก่บุคคลผู้เจริญมรรคที่ให้ถึงความสิ้นไป
ปหานะ ๓ คือ
๑. เนกขัมมปหานะ เป็นเครื่องสลัดออกจากกาม
๒. อรูปฌาน เป็นเครื่องสลัดออกจากรูปฌาน
๓. นิโรธ เป็นเครื่องสลัดออกจากสังขตธรรมที่เกิดขึ้นแล้วอย่างใดอย่างหนึ่ง
ซึ่งอาศัยกันและกันเกิดขึ้น
บุคคลผู้ได้เนกขัมมะย่อมละและสละกามได้ บุคคลผู้ได้อรูปฌานย่อมละและ
สละรูปได้ บุคคลผู้ได้นิโรธย่อมละและสละสังขารได้

เชิงอรรถ :
๑ มิจฉัตตะ ๘ ได้แก่ (๑) มิจฉาทิฏฐิ (๒) มิจฉาสังกัปปะ (๓) มิจฉาวาจา (๔) มิจฉากัมมันตะ
(๕) มิจฉาอาชีวะ (๖) มิจฉาวายามะ (๗) มิจฉาสติ (๘) มิจฉาสมาธิ (ขุ.ป.อ. ๑/๒๓/๑๒๙)
๒ ธรรมที่มีตัณหาเป็นมูล ๙ ได้แก่ (๑) ปริเยสนา (๒) ลาภะ (๓) วินิจฉยะ (๔) ฉันทราคะ
(๕) อัชโฌสานะ (๖) ปริคคหะ (๗) มัจฉริยะ (๘) อารักขกะ (๙) อารักขาธิกรณะ (ขุ.ป.อ. ๑/๒๓/๑๓๐)
๓ มิจฉัตตะ ๑๐ ได้แก่ มิจฉัตตะ ๘ เพิ่มมิจฉาญาณและมิจฉาวิมุตติอีก ๒ จึงเป็น ๑๐ (ขุ.ป.อ. ๑/๒๓/๑๓๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
ปหานะ ๔ คือ
๑. เมื่อรู้แจ้งทุกขสัจด้วยการกำหนดรู้ ชื่อว่าย่อมละ (กิเลสที่ควรละ) ได้
๒. เมื่อรู้แจ้งสมุทยสัจด้วยการละ ชื่อว่าย่อมละ (กิเลสที่ควรละ) ได้
๓. เมื่อรู้แจ้งนิโรธสัจด้วยการทำให้แจ้ง ชื่อว่าย่อมละ (กิเลสที่ควรละ) ได้
๔. เมื่อรู้แจ้งมัคคสัจด้วยการเจริญ ชื่อว่าย่อมละ (กิเลสที่ควรละ) ได้
ปหานะ ๕ คือ
๑. วิกขัมภนปหานะ (การละด้วยการข่มไว้)
๒. ตทังคปหานะ (การละด้วยองค์นั้น ๆ)
๓. สมุจเฉทปหานะ (การละด้วยการตัดขาด)
๔. ปฏิปัสสัทธิปหานะ (การละด้วยสงบระงับ)
๕. นิสสรณปหานะ (การละด้วยสลัดออกได้)
การละนิวรณ์ด้วยการข่มไว้ย่อมมีแก่บุคคลผู้เจริญปฐมฌาน การละทิฏฐิ-
สังโยชน์ด้วยองค์นั้น ๆ ย่อมมีแก่บุคคลผู้เจริญสมาธิซึ่งเป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส
สมุจเฉทปหานะซึ่งเป็นโลกุตตรมรรค และปฏิปัสสัทธิปหานะซึ่งเป็นโลกุตตรผล
ในขณะแห่งผล ย่อมมีแก่บุคคลผู้เจริญมรรคที่ให้ถึงความสิ้นไป และนิสสรณปหานะ
เป็นนิโรธ คือพระนิพพาน
ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรละ สิ่งทั้งปวงที่ควรละ คืออะไร
คือ จักขุควรละ รูปควรละ จักขุวิญญาณควรละ จักขุสัมผัสควรละ สุขเวทนา
ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยควรละ
โสตะควรละ สัททะ ฯลฯ
ฆานะควรละ คันธะ ฯลฯ
ชิวหาควรละ รส ฯลฯ
กายควรละ โผฏฐัพพะ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
มโนควรละ ธรรมารมณ์ควรละ มโนวิญญาณควรละ มโนสัมผัสควรละ
สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือแม้อทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย
ควรละ
พระโยคาวจรเมื่อเห็นรูป ชื่อว่าย่อมละ(กิเลสที่ควรละ)ได้ เมื่อเห็นเวทนา ฯลฯ
เมื่อเห็นสัญญา ฯลฯ เมื่อเห็นสังขาร ฯลฯ เมื่อเห็นวิญญาณ(โดยความเป็น
ของไม่เที่ยงเป็นต้น) ชื่อว่าย่อมละ(กิเลสที่ควรละ)ได้ เมื่อเห็นจักขุ ฯลฯ เมื่อเห็น
ชราและมรณะ ฯลฯ เมื่อเห็นธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน เพราะมีสภาวะ
เป็นที่สุด ชื่อว่าย่อมละ(กิเลสที่ควรละ)ได้ ธรรมใด ๆ ที่ละได้แล้ว ธรรรมนั้น ๆ เป็น
อันละได้แล้ว
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้
ควรละ” ปัญญารู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (๓)
ตติยภาณวาร จบ

[๒๕] การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้ควรเจริญ” ปัญญารู้
ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ เป็นอย่างไร คือ
ธรรม ๑ อย่างที่ควรเจริญ คือ กายคตาสติที่ประกอบด้วยความสำราญ
ธรรม ๒ อย่างที่ควรเจริญ คือ สมถะ ๑ วิปัสสนา ๑
ธรรม ๓ อย่างที่ควรเจริญ คือ สมาธิ ๓
ธรรม ๔ อย่างที่ควรเจริญ คือ สติปัฏฐาน ๔
ธรรม ๕ อย่างที่ควรเจริญ คือ สัมมาสมาธิอันมีองค์ ๕๑
ธรรม ๖ อย่างที่ควรเจริญ คือ อนุสสติฏฐาน (อนุสสติที่เป็นเหตุ) ๖

เชิงอรรถ :
๑ สัมมาสมาธิอันมีองค์ ๕ ได้แก่ ความแผ่ซ่านแห่งปีติ, ความแผ่ซ่านแห่งสุข, ความแผ่ซ่านแห่งจิต, ความ
แผ่ซ่านแห่งแสงสว่าง, นิมิตคือการพิจารณา (ขุ.ป.อ. ๑/๒๕/๑๓๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
ธรรม ๗ อย่างที่ควรเจริญ คือ โพชฌงค์ ๗
ธรรม ๘ อย่างที่ควรเจริญ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘
ธรรม ๙ อย่างที่ควรเจริญ คือ ปาริสุทธิปธานิยังคะ ๙๑
ธรรม ๑๐ อย่างที่ควรเจริญ คือ กสิณ ๑๐
[๒๖] ภาวนา ๒ อย่าง คือ
๑. โลกิยภาวนา
๒. โลกุตตรภาวนา
ภาวนา ๓ อย่าง คือ
๑. การเจริญธรรมที่เป็นรูปาวจรกุศล
๒. การเจริญธรรมที่เป็นอรูปาวจรกุศล
๓. การเจริญธรรมที่เป็นโลกุตตรกุศล
การเจริญธรรมที่เป็นรูปาวจรกุศลอย่างหยาบก็มี ปานกลางก็มี ประณีตก็มี
การเจริญธรรมที่เป็นอรูปาวจรกุศลอย่างหยาบก็มี ปานกลางก็มี ประณีตก็มี
การเจริญธรรมที่เป็นโลกุตตรกุศลประณีตอย่างเดียว
[๒๗] ภาวนา ๔ อย่าง คือ
๑. เมื่อรู้แจ้งทุกขสัจด้วยการกำหนดรู้ ชื่อว่าเจริญ
๒. เมื่อรู้แจ้งสมุทยสัจด้วยการละ ชื่อว่าเจริญ
๓. เมื่อรู้แจ้งนิโรธสัจด้วยการทำให้แจ้ง ชื่อว่าเจริญ
๔. เมื่อรู้แจ้งมัคคสัจด้วยการเจริญ ชื่อว่าเจริญ
เหล่านี้ ชื่อว่าภาวนา ๔

เชิงอรรถ :
๑ ปาริสุทธิปธานิยังคะ ๙ ได้แก่ (๑) สีลวิสุทธิ (๒) จิตตวิสุทธิ (๓) ทิฏฐิวิสุทธิ (๔) กังขาวิตรณวิสุทธิ
(๕) มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ (๖) ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ (๗) ญาณทัสสนวิสุทธิ (๘) ปัญญาวิสุทธิ
(๙) วิมุตติวิสุทธิ (ขุ.ป.อ. ๑/๒๕/๑๓๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
ภาวนาแม้อีก ๔ อย่าง คือ
๑. เอสนาภาวนา
๒. ปฏิลาภภาวนา
๓. เอกรสาภาวนา
๔. อาเสวนาภาวนา
เอสนาภาวนา เป็นอย่างไร
คือ เมื่อพระโยคาวจรทั้งปวงเข้าสมาธิอยู่ ธรรมทั้งหลายที่เกิดในส่วนเบื้องต้น
นั้นมีรสเป็นอย่างเดียวกัน เพราะฉะนั้น ภาวนานี้จึงชื่อว่าเอสนาภาวนา
ปฏิลาภภาวนา เป็นอย่างไร
คือ เมื่อพระโยคาวจรทั้งปวงเข้าสมาธิแล้ว ธรรมทั้งหลายที่เกิดในอัปปนานั้น
ไม่ล่วงเลยกันและกัน เพราะฉะนั้น ภาวนานี้จึงชื่อว่าปฏิลาภภาวนา
เอกรสาภาวนา เป็นอย่างไร
คือ เมื่อพระโยคาวจรเจริญสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ อินทรีย์อีก ๔
อย่างก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งสัทธินทรีย์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ภาวนา เพราะมีความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้ อินทรีย์อีก
๔ อย่างก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งวิริยินทรีย์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ภาวนา เพราะมีความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น อินทรีย์อีก ๔ อย่างก็มี
รสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งสตินทรีย์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมี
ความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน อินทรีย์อีก ๔
อย่างก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งสมาธินทรีย์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา
เพราะมีความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
เมื่อพระโยคาวจรเจริญปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น อินทรีย์อีก ๔ อย่าง
ก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งปัญญินทรีย์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา
เพราะมีความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญสัทธาพละ เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มี
ศรัทธา พละอีก ๔ อย่างก็มีรสเป็นอย่างเดียวกัน ด้วยอำนาจแห่งสัทธาพละ เพราะ
ฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าพละทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญวิริยพละ เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน
พละอีก ๔ อย่างก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งวิริยพละ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าพละทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญสติพละ เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะความประมาท
พละอีก ๔ อย่างก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งสติพละ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าพละทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญสมาธิพละ เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะ
พละอีก ๔ อย่างก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งสมาธิพละ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าพละทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญปัญญาพละ เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา
พละอีก ๔ อย่างก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งปัญญาพละ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าพละทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญสติสัมโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น โพชฌงค์อีก ๖
อย่างก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งสติสัมโพชฌงค์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ภาวนา เพราะมีความหมายว่าโพชฌงค์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเลือกเฟ้น โพชฌงค์
อีก ๖ อย่างก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เพราะ
ฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าโพชฌงค์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่าง
เดียวกัน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
เมื่อพระโยคาวจรเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะประคองไว้ โพชฌงค์
อีก ๖ อย่างก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งวิริยสัมโพชฌงค์ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าโพชฌงค์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญปีติสัมโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะแผ่ซ่าน โพชฌงค์
อีก ๖ อย่างก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งปีติสัมโพชฌงค์ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าโพชฌงค์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะสงบ โพชฌงค์อีก
๖ อย่างก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าโพชฌงค์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน โพชฌงค์
อีก ๖ อย่างก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งสมาธิสัมโพชฌงค์ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าโพชฌงค์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะพิจารณา โพชฌงค์
อีก ๖ อย่างก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์ เพราะ
ฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าโพชฌงค์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่าง
เดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น องค์มรรคอีก ๗ อย่าง
ก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งสัมมาทิฏฐิ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา
เพราะมีความหมายว่าองค์มรรคทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญสัมมาสังกัปปะ เพราะมีสภาวะตรึกตรอง องค์มรรค
อีก ๗ อย่างก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งสัมมาสังกัปปะ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าองค์มรรคทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญสัมมาวาจา เพราะมีสภาวะกำหนด องค์มรรคอีก ๗
อย่างก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งสัมมาวาจา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ภาวนา เพราะมีความหมายว่าองค์มรรคทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
เมื่อพระโยคาวจรเจริญสัมมากัมมันตะ เพราะมีสภาวะเป็นสมุฏฐาน องค์มรรค
อีก ๗ อย่างก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งสัมมากัมมันตะ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าองค์มรรคทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญสัมมาอาชีวะ เพราะมีสภาวะผ่องแผ้ว องค์มรรคอีก ๗
อย่างก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งสัมมาอาชีวะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ภาวนา เพราะมีความหมายว่าองค์มรรคทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญสัมมาวายามะ เพราะมีสภาวะประคองไว้ องค์มรรค
อีก ๗ อย่างก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งสัมมาวายามะ เพราะฉะนั้น จึง
ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าองค์มรรคทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญสัมมาสติ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น องค์มรรคอีก ๗ อย่าง
ก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งสัมมาสติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา
เพราะมีความหมายว่าองค์มรรคทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญสัมมาสมาธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน องค์มรรคอีก ๗
อย่างก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งสัมมาสมาธิ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา
เพราะมีความหมายว่าองค์มรรคทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน ภาวนานี้จึงชื่อว่า
เอกรสาภาวนา
อาเสวนาภาวนา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าสมาธิในเวลาเช้าก็ได้ กลางวันก็ได้ เย็นก็ได้ ก่อน
อาหารก็ได้ หลังอาหารก็ได้ ปฐมยามก็ได้ มัชฌิมยามก็ได้ ปัจฉิมยามก็ได้ ตลอดคืน
ก็ได้ ตลอดวันก็ได้ ตลอดคืนและวันก็ได้ ตลอดข้างขึ้นและข้างแรมก็ได้ ตลอดฤดูฝน
ก็ได้ ฤดูหนาวก็ได้ ฤดูร้อนก็ได้ ตลอดปฐมวัยก็ได้ มัชฌิมวัยก็ได้ ปัจฉิมวัยก็ได้
ภาวนานี้จึงชื่อว่าอาเสวนาภาวนา
ภาวนา ๔ อย่างเหล่านี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
[๒๘] อีกประการหนึ่ง ภาวนา ๔ อย่าง คือ
๑. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้น
ไม่ล่วงเลยกัน
๒. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่าง
เดียวกัน
๓. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่านำความเพียรที่สมควรแก่ธรรม
นั้นเข้าไป
๔. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่
ล่วงเลยกัน เป็นอย่างไร
คือ เมื่อพระโยคาวจรละกามฉันทะ (ความพอใจในกาม) ธรรมทั้งหลายที่เกิด
ด้วยอำนาจแห่งเนกขัมมะ ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา
เพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเลยกัน
เมื่อละพยาบาท (ความคิดร้าย) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งอพยาบาท
ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ...
เมื่อละถีนมิทธะ (ความหดหู่) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งอาโลกสัญญา
ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ...
เมื่อละอุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งอวิกเขปะ
ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ...
เมื่อละวิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่ง
ธัมมววัตถาน ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ...
เมื่อละอวิชชา (ความไม่รู้แจ้ง) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งญาณ ย่อม
ไม่ล่วงเลยกันและกัน ...
เมื่อละอรติ (ความไม่ยินดี) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งปามุชชะ ย่อม
ไม่ล่วงเลยกันและกัน ...
เมื่อละนิวรณ์ทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งปฐมฌาน ย่อมไม่
ล่วงเลยกันและกัน ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
เมื่อละวิตกและวิจาร ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งทุติยฌาน ย่อมไม่
ล่วงเลยกันและกัน ...
เมื่อละปีติ ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งตติยฌาน ย่อมไม่ล่วงเลยกัน
และกัน ...
เมื่อละสุขและทุกข์ ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งจตุตถฌาน ย่อมไม่
ล่วงเลยกันและกัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าธรรม
ทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเลยกัน
เมื่อพระโยคาวจรละรูปสัญญา (ความหมายรู้รูป) ปฏิฆสัญญา (ความหมาย
รู้ความกระทบกระทั่งในใจ) นานัตตสัญญา (ความหมายรู้ภาวะต่างกัน) ธรรมทั้งหลาย
ที่เกิดด้วยอำนาจแห่งอากาสานัญจายตนสมาบัติ ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน เพราะ
ฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่
ล่วงเลยกัน
เมื่อละอากาสานัญจายตนสัญญา (ความหมายรู้อากาสานัญจายตนะ) ธรรม
ทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนา
นั้นไม่ล่วงเลยกัน
เมื่อละวิญญาณัญจายตนสัญญา (ความหมายรู้วิญญาณัญจายตนะ) ธรรม
ทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งอากิญจัญญายตนสมาบัติ ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ...
เมื่อละอากิญจัญญายตนสัญญา (ความหมายรู้อากิญจัญญายตนะ) ธรรม
ทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ย่อมไม่ล่วงเลยกัน
และกัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิด
ในภาวนานั้นไม่ล่วงเลยกัน
เมื่อพระโยคาวจรละนิจจสัญญา (ความหมายรู้ว่าเที่ยง) ธรรมทั้งหลายที่เกิด
ด้วยอำนาจแห่งอนิจจานุปัสสนา ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ภาวนา เพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเลยกัน
เมื่อละสุขสัญญา (ความหมายรู้ว่าเป็นสุข) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่ง
ทุกขานุปัสสนา ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ...


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
เมื่อละอัตตสัญญา (ความหมายรู้ว่าอัตตา) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจ
แห่งอนัตตานุปัสสนา ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ...
เมื่อละนันทิ (ความยินดี) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งนิพพิทานุปัสสนา
ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ...
เมื่อละราคะ (ความกำหนัด) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งวิราคานุปัสสนา
ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ...
เมื่อละสมุทัย (เหตุเกิด) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งนิโรธานุปัสสนา
ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ...
เมื่อละอาทานะ (ความยึดถือ) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งปฏินิสสัคคา-
นุปัสสนา ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ...
เมื่อละฆนสัญญา (ความหมายรู้ว่าเป็นก้อน) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจ
แห่งขยานุปัสสนา ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ...
เมื่อละอายุหนะ (กรรมเป็นเครื่องประมวลมา) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจ
แห่งวยานุปัสสนา ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ...
เมื่อละธุวสัญญา (ความหมายรู้ว่ามั่นคง) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่ง
วิปริณามานุปัสสนา ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ...
เมื่อละนิมิต (เครื่องหมาย) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งอนิมิตตานุ-
ปัสสนา ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ...
เมื่อละปณิธิ (ความตั้งมั่น) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งอัปปณิหิตานุ-
ปัสสนา ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ...
เมื่อละอภินิเวส (ความยึดมั่น) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งสุญญตานุ-
ปัสสนา ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ...
เมื่อละสาราทานาภินิเวส (ความยึดมั่นว่าเป็นแก่นสาร) ธรรมทั้งหลายที่เกิด
ด้วยอำนาจแห่งอธิปัญญาธัมมวิปัสสนา ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ...
เมื่อละสัมโมหาภินิเวส (ความยึดมั่นเพราะความหลง) ธรรมทั้งหลายที่เกิด
ด้วยอำนาจแห่งยถาภูตญาณทัสสนะ ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ...


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
เมื่อละอาลยาภินิเวส (ความยึดมั่นด้วยความอาลัย) ธรรมทั้งหลายที่เกิด
ด้วยอำนาจแห่งอาทีนวานุปัสสนา ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ...
เมื่อละอัปปฏิสังขา (การไม่พิจารณา) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่ง
ปฏิสังขานุปัสสนา ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ...
เมื่อละสัญโญคาภินิเวส (ความยึดมั่นเพราะกิเลสเครื่องประกอบ) ธรรมทั้งหลาย
ที่เกิดด้วยอำนาจแห่งวิวัฏฏนานุปัสสนา ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วง
เลยกัน
เมื่อละกิเลสที่ตั้งอยู่ร่วมกันกับทิฏฐิ ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งโสดา-
ปัตติมรรค ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความ
หมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเลยกัน
เมื่อละกิเลสอย่างหยาบ ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งสกทาคามิมรรค
ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ...
เมื่อละกิเลสอย่างละเอียด ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งอนาคามิมรรค
ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ...
เมื่อละกิเลสทั้งปวง ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งอรหัตตมรรค ย่อมไม่
ล่วงเลยกันและกัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลาย
ที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเลยกัน
ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เป็นอย่างไร
คือ พระโยคาวจรเมื่อละกามฉันทะ อินทรีย์ ๕ มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วย
อำนาจแห่งเนกขัมมะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอินทรีย์
ทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน เมื่อละพยาบาท อินทรีย์ ๕ มีรสเป็นอย่างเดียวกัน
ด้วยอำนาจแห่งอพยาบาท ฯลฯ เมื่อละกิเลสทั้งปวง อินทรีย์ ๕ มีรสเป็นอย่าง
เดียวกันด้วยอำนาจแห่งอรหัตตมรรค เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความ
หมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
อย่างนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่านำความเพียรที่สมควรแก่ธรรมนั้น
เข้าไป เป็นอย่างไร
คือ พระโยคาวจรเมื่อละกามฉันทะ ย่อมนำความเพียรด้วยอำนาจแห่ง
เนกขัมมะเข้าไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่านำความเพียร
ที่สมควรแก่ธรรมนั้นเข้าไป เมื่อละพยาบาทย่อมนำความเพียรด้วยอำนาจแห่ง
อพยาบาทเข้าไป ฯลฯ เมื่อละกิเลสทั้งปวง ย่อมนำความเพียรด้วยอำนาจแห่ง
อรหัตตมรรคเข้าไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่านำความ
เพียรที่สมควรแก่ธรรมนั้นเข้าไป
ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่านำความเพียรที่สมควรแก่ธรรมนั้นเข้าไป
อย่างนี้
ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ เป็นอย่างไร
คือ พระโยคาวจรเมื่อละกามฉันทะ ย่อมปฏิบัติเนือง ๆ ซึ่งเนกขัมมะ เพราะ
ฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ เมื่อละพยาบาท ย่อม
ปฏิบัติเนือง ๆ ซึ่งอพยาบาท เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่า
ปฏิบัติเนือง ๆ ฯลฯ เมื่อละกิเลสทั้งปวง ย่อมปฏิบัติเนือง ๆ ซึ่งอรหัตตมรรค
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนืองๆ
ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ อย่างนี้
ภาวนา ๔ ประการนี้ พระโยคาวจรเมื่อเห็นรูป ชื่อว่าเจริญอยู่ เมื่อเห็นเวทนา
ฯลฯ เมื่อเห็นสัญญา ฯลฯ เมื่อเห็นสังขาร ฯลฯ เมื่อเห็นวิญญาณ ฯลฯ เมื่อเห็น
จักขุ ฯลฯ เมื่อเห็นชราและมรณะ ฯลฯ เมื่อเห็นธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน
เพราะมีสภาวะเป็นที่สุด ชื่อว่าเจริญอยู่ ธรรมใด ๆ ที่ได้เจริญแล้ว ธรรมนั้น ๆ มีรส
เป็นอย่างเดียวกัน
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้
ควรเจริญ” ปัญญารู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (๔)
จตุตถภาณวาร จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
[๒๙] การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้ควรทำให้แจ้ง”
ปัญญารู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ เป็นอย่างไร คือ
ธรรม ๑ อย่างที่ควรทำให้แจ้ง คือ เจโตวิมุตติที่ไม่กำเริบ
ธรรม ๒ อย่างที่ควรทำให้แจ้ง คือ วิชชา ๑ วิมุตติ ๑
ธรรม ๓ อย่างที่ควรทำให้แจ้ง คือ วิชชา ๓
ธรรม ๔ อย่างที่ควรทำให้แจ้ง คือ สามัญญผล ๔
ธรรม ๕ อย่างที่ควรทำให้แจ้ง คือ ธรรมขันธ์ ๕๑
ธรรม ๖ อย่างที่ควรทำให้แจ้ง คือ อภิญญา ๖
ธรรม ๗ อย่างที่ควรทำให้แจ้ง คือ ขีณาสวพละ ๗
ธรรม ๘ อย่างที่ควรทำให้แจ้ง คือ วิโมกข์ ๘
ธรรม ๙ อย่างที่ควรทำให้แจ้ง คือ อนุปุพพนิโรธ ๙๒
ธรรม ๑๐ อย่างที่ควรทำให้แจ้ง คือ อเสขธรรม ๑๐๓
ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรทำให้แจ้ง สิ่งทั้งปวงที่ควรทำให้แจ้ง คืออะไร
คือ จักขุควรทำให้แจ้ง รูปควรทำให้แจ้ง จักขุวิญญาณควรทำให้แจ้ง จักขุ-
สัมผัสควรทำให้แจ้ง สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะ
จักขุสัมผัสเป็นปัจจัยควรทำให้แจ้ง
โสตะควรทำให้แจ้ง สัททะ ฯลฯ
ฆานะควรทำให้แจ้ง คันธะ ฯลฯ
ชิวหาควรทำให้แจ้ง รส ฯลฯ
กายควรทำให้แจ้ง โผฏฐัพพะ ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ธรรมขันธ์ ๕ ได้แก่ (๑) สีลขันธ์ (๒) สมาธิขันธ์ (๓) ปัญญาขันธ์ (๔) วิมุตติขันธ์ (๕) วิมุตติญาณ-
ทัสสนขันธ์ (ขุ.ป.อ. ๑/๒๙/๑๔๗)
๒ อนุปุพพนิโรธ ๙ ได้แก่ (๑) กามสัญญา (๒) วิตกวิจาร (๓) ปีติ (๔) ลมอัสสาสะ ปัสสาสะ (๕) รูปสัญญา
(๖) อากาสานัญจายตนสัญญา (๗) วิญญานัญจายตนสัญญา (๘) อากิญจัญญายตนสัญญา (๙) สัญญาและ
เวทนา (ขุ.ป.อ. ๑/๒๙/๑๔๙)
๓ อเสขธรรม ๑๐ ได้แก่ (๑) สัมมาทิฏฐิ (๒) สัมมาสังกัปปะ (๓) สัมมาวาจา (๔) สัมมากัมมันตะ
(๕) สัมมาอาชีวะ (๖) สัมมาวายามะ (๗) สัมมาสติ (๘) สัมมาสมาธิ (๙) สัมมาญาณ (๑๐) สัมมาวิมุตติ
(ขุ.ป.อ. ๑/๒๙/๑๕๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
มโนควรทำให้แจ้ง ธรรมารมณ์ควรทำให้แจ้ง มโนวิญญาณควรทำให้แจ้ง
มโนสัมผัสควรทำให้แจ้ง สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้น
เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยควรทำให้แจ้ง
พระโยคาวจรเมื่อเห็นรูป ชื่อว่าย่อมทำให้แจ้ง (ด้วยการทำให้เป็นอารมณ์)
เมื่อเห็นเวทนา ฯลฯ เมื่อเห็นสัญญา ฯลฯ เมื่อเห็นสังขาร ฯลฯ เมื่อเห็นวิญญาณ ฯลฯ
เมื่อเห็นจักขุ ฯลฯ เมื่อเห็นชราและมรณะ ฯลฯ เมื่อเห็นธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือ
นิพพาน เพราะมีสภาวะเป็นที่สุด ชื่อว่าย่อมทำให้แจ้ง (ด้วยการทำให้เป็นอารมณ์)
ธรรมใด ๆ ที่ทำให้แจ้งแล้ว ธรรมนั้น ๆ เป็นธรรมที่ถูกต้องแล้ว
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้ควร
ทำให้แจ้ง” ปัญญารู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (๕)
[๓๐] การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้เป็นส่วนแห่งความเสื่อม
ธรรมเหล่านี้เป็นส่วนแห่งความตั้งอยู่ ธรรมเหล่านี้เป็นส่วนแห่งคุณวิเศษ ธรรม
เหล่านี้เป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส” ปัญญารู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่า
สุตมยญาณ เป็นอย่างไร
คือ พระโยคาวจรผู้ได้ปฐมฌาน มีสัญญา (ความหมายรู้) และมนสิการ (การ
ทำไว้ในใจ) ที่ประกอบด้วยกามเกิดขึ้น ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งความเสื่อม มีสติ๑ที่เป็น
ธรรมสมควรแก่ปฐมฌานนั้นตั้งอยู่ ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งความตั้งอยู่ มีสัญญาและ
มนสิการที่ไม่ประกอบด้วยวิตกเกิดขึ้น ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งคุณวิเศษ มีสัญญาและ
มนสิการที่ประกอบด้วยนิพพิทา(ความเบื่อหน่าย)(และ)วิราคะ(ความคลายกำหนัด)
เกิดขึ้น ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส
พระโยคาวจรผู้ได้ทุติยฌาน มีสัญญาและมนสิการที่ประกอบด้วยวิตกเกิดขึ้น
ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งความเสื่อม มีสติที่เป็นธรรมสมควรแก่ทุติยฌานนั้นตั้งอยู่ ธรรม

เชิงอรรถ :
๑ สติ ในที่นี้หมายถึงนิกันติ (ความติดใจ) (ขุ.ป.อ.๑/๓๐/๑๕๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
นี้เป็นส่วนแห่งความตั้งอยู่ มีสัญญาและมนสิการที่ประกอบด้วยอุเบกขาและสุขเกิดขึ้น
ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งคุณวิเศษ มีสัญญาและมนสิการที่ประกอบด้วยนิพพิทา(และ)
วิราคะเกิดขึ้น ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส
พระโยคาวจรผู้ได้ตติยฌาน มีสัญญาและมนสิการที่ประกอบด้วยปีติและสุข
เกิดขึ้น ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งความเสื่อม มีสติที่เป็นธรรมสมควรแก่ตติยฌานนั้น
ตั้งอยู่ ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งความตั้งอยู่ มีสัญญาและมนสิการที่ประกอบ
ด้วยอทุกขมสุขเกิดขึ้น ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งคุณวิเศษ มีสัญญาและมนสิการที่
ประกอบด้วยนิพพิทา (และ) วิราคะเกิดขึ้น ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส
พระโยคาวจรผู้ได้จตุตถฌาน มีสัญญาและมนสิการที่ประกอบด้วยอุเบกขา
เกิดขึ้น ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งความเสื่อม มีสติที่เป็นธรรมสมควรแก่จตุตถฌานนั้น
ตั้งอยู่ ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งความตั้งอยู่ มีสัญญาและมนสิการที่ประกอบด้วย
อากาสานัญจายตนฌานเกิดขึ้น ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งคุณวิเศษ มีสัญญาและมนสิการ
ที่ประกอบด้วยนิพพิทา (และ) วิราคะเกิดขึ้น ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส
พระโยคาวจรผู้ได้อากาสานัญจายตนฌาน มีสัญญาและมนสิการที่ประกอบ
ด้วยรูปเกิดขึ้น ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งความเสื่อม มีสติที่เป็นธรรมสมควรแก่
อากาสานัญจายตนฌานนั้นตั้งอยู่ ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งความตั้งอยู่ มีสัญญาและ
มนสิการที่ประกอบด้วยวิญญาณัญจายตนฌานเกิดขึ้น ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งคุณวิเศษ
มีสัญญาและมนสิการที่ประกอบด้วยนิพพิทา(และ)วิราคะเกิดขึ้น ธรรมนี้เป็นส่วน
แห่งการชำแรกกิเลส
พระโยคาวจรผู้ได้วิญญาณัญจายตนฌาน มีสัญญาและมนสิการที่ประกอบ
ด้วยอากาสานัญจายตนฌานเกิดขึ้น ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งความเสื่อม มีสติที่เป็น
ธรรมสมควรแก่วิญญาณัญจายตนฌานนั้นตั้งอยู่ ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งความตั้งอยู่
มีสัญญาและมนสิการที่ประกอบด้วยอากิญจัญญายตนฌานเกิดขึ้น ธรรมนี้เป็นส่วน
แห่งคุณวิเศษ มีสัญญาและมนสิการที่ประกอบด้วยนิพพิทา(และ)วิราคะเกิดขึ้น
ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส
พระโยคาวจรผู้ได้อากิญจัญญายตนฌาน มีสัญญาและมนสิการที่ประกอบ
ด้วยวิญญาณัญจายตนฌานเกิดขึ้น ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งความเสื่อม มีสติที่เป็นธรรม
สมควรแก่อากิญจัญญายตนฌานนั้นตั้งอยู่ ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งความตั้งอยู่ มีสัญญา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
และมนสิการที่ประกอบด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนฌานเกิดขึ้น ธรรมนี้เป็นส่วน
แห่งคุณวิเศษ มีสัญญาและมนสิการที่ประกอบด้วยนิพพิทา(และ)วิราคะเกิดขึ้น
ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้เป็นส่วนแห่ง
ความเสื่อม ธรรมเหล่านี้เป็นส่วนแห่งความตั้งอยู่ ธรรมเหล่านี้เป็นส่วนแห่งคุณวิเศษ
ธรรมเหล่านี้เป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส” ปัญญารู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่า
สุตมยญาณ (๔-๙)
[๓๑] การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขาร
ทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา” ปัญญารู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่า
สุตมยญาณ เป็นอย่างไร
คือ การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “รูปไม่เที่ยง เพราะมีสภาวะสิ้นไป เป็นทุกข์
เพราะมีสภาวะเป็นภัย เป็นอนัตตา เพราะมีสภาวะไม่มีแก่นสาร” ปัญญา
รู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ
วิญญาณ ฯลฯ จักขุ ฯลฯ” การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ชราและมรณะไม่เที่ยง
เพราะมีสภาวะสิ้นไป เป็นทุกข์ เพราะมีสภาวะเป็นภัย เป็นอนัตตา เพราะมีสภาวะ
ไม่มีแก่นสาร” ปัญญารู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง
สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา” ปัญญารู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น
ชื่อว่าสุตมยญาณ (๓-๑๒)
[๓๒] การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “นี้ทุกขอริยสัจ นี้ทุกขสมุทยอริยสัจ
นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ” ปัญญารู้ชัดธรรมที่ได้
สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ เป็นอย่างไร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
[๓๓] บรรดาอริยสัจ ๔ นั้น ทุกขอริยสัจ เป็นอย่างไร
คือ ชาติเป็นทุกข์ ชราเป็นทุกข์ มรณะเป็นทุกข์ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
อุปายาสเป็นทุกข์ การประสบกับอารมณ์๑อันไม่เป็นที่รักเป็นทุกข์ ความพลัดพราก
จากอารมณ์อันเป็นที่รักเป็นทุกข์ การไม่ได้สิ่งที่ต้องการเป็นทุกข์ โดยย่อ อุปาทาน-
ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์
บรรดาทุกขอริยสัจนั้น ชาติ เป็นอย่างไร
คือ ความเกิด ความเกิดพร้อม ความหยั่งลง ความบังเกิด ความบังเกิด
เฉพาะ ความปรากฏแห่งขันธ์ ความได้อายตนะ ในหมู่สัตว์นั้น ๆ ของเหล่าสัตว์นั้น ๆ
นี้เรียกว่า ชาติ
บรรดาทุกขอริยสัจนั้น ชรา เป็นอย่างไร
คือ ความแก่ ความคร่ำคร่า ความมีฟันหลุด ความมีผมหงอก ความมีหนัง
เหี่ยวย่น ความเสื่อมอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้น ๆ ของเหล่า
สัตว์นั้น ๆ นี้เรียกว่า ชรา
บรรดาทุกขอริยสัจนั้น มรณะ เป็นอย่างไร
คือ ความจุติ ความเคลื่อนไป ความทำลายไป ความหายไป ความตายกล่าว
คือมฤตยู การทำกาละ ความแตกแห่งขันธ์ ความทอดทิ้งร่างกาย ความขาดสูญแห่ง
ชีวิตินทรีย์ ของเหล่าสัตว์นั้น ๆ จากหมู่สัตว์นั้น ๆ นี้เรียกว่า มรณะ
บรรดาทุกขอริยสัจนั้น โสกะ เป็นอย่างไร
คือ ความเศร้าโศก กิริยาที่เศร้าโศก ภาวะที่เศร้าโศก ความแห้งผากภายใน
ความแห้งกรอบภายใน ความเกรียมใจ ความโทมนัส ลูกศรคือความเศร้าโศก ของผู้
ที่ถูกความเสื่อมญาติ ความเสื่อมโภคทรัพย์ ความเสื่อมเกี่ยวกับโรค ความเสื่อมศีล
หรือความเสื่อมทิฏฐิ๒กระทบ ของผู้ที่ประกอบด้วยความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่ง
(หรือ) ผู้ที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบ นี้เรียกว่า โสกะ

เชิงอรรถ :
๑ อารมณ์ ในที่นี้หมายถึงสัตว์และสังขาร (ขุ.ป.อ.๑/๓๒/๑๖๐)
๒ ทิฏฐิ ในที่นี้หมายถึงสัมมาทิฏฐิ (ขุ.ป.อ. ๑/๓๓/๑๖๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
บรรดาทุกขอริยสัจนั้น ปริเทวะ เป็นอย่างไร
คือ ความร้องไห้ ความคร่ำครวญ กิริยาที่ร้องไห้ กิริยาที่คร่ำครวญ ภาวะที่
ร้องไห้ ภาวะที่คร่ำครวญ ความบ่นถึง ความพร่ำเพ้อ ความร่ำไห้ ความพิไรรำพัน
กิริยาที่พิไรรำพัน ภาวะที่พิไรรำพัน ของผู้ที่ถูกความเสื่อมญาติ ความเสื่อมโภคทรัพย์
ความเสื่อมเกี่ยวกับโรค ความเสื่อมศีล หรือความเสื่อมทิฏฐิกระทบ ของผู้ที่
ประกอบด้วยความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่ง (หรือ) ผู้ที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่าง
หนึ่งกระทบ นี้เรียกว่า ปริเทวะ
บรรดาทุกขอริยสัจนั้น ทุกข์ เป็นอย่างไร
คือ ความไม่สำราญทางกาย ความทุกข์ทางกาย ความเสวยอารมณ์
ที่ไม่สำราญ เป็นทุกข์ อันเกิดจากกายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญ เป็นทุกข์ อันเกิด
จากกายสัมผัส นี้เรียกว่า ทุกข์
บรรดาทุกขอริยสัจนั้น โทมนัส เป็นอย่างไร
คือ ความไม่สำราญ ความไม่สำราญใจ ความทุกข์ทางใจ ความเสวยอารมณ์
ที่ไม่สำราญ เป็นทุกข์ อันเกิดจากเจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญ เป็น
ทุกข์ อันเกิดจากเจโตสัมผัส นี้เรียกว่า ความทุกข์ใจ
บรรดาทุกขอริยสัจนั้น อุปายาส เป็นอย่างไร
คือ ความแค้น ความคับแค้น ภาวะที่แค้น ภาวะที่เคือง ภาวะที่คับแค้น
ภาวะที่แค้นเคือง ของผู้ที่ถูกความเสื่อมญาติ ความเสื่อมโภคทรัพย์ ความเสื่อม
เกี่ยวกับโรค ความเสื่อมศีล หรือความเสื่อมทิฏฐิกระทบ ของผู้ที่ประกอบด้วยความ
เสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่ง (หรือ) ผู้ที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบ นี้เรียกว่า
อุปายาส
บรรดาทุกขอริยสัจนั้น การประสบกับอารมณ์อันไม่เป็นที่รักเป็นทุกข์ เป็นอย่างไร
คือ การไปร่วม การมาร่วม การประชุมร่วม การอยู่ร่วมกับอารมณ์อันไม่
เป็นที่ปรารถนา ไม่เป็นที่รักใคร่ ไม่เป็นที่ชอบใจของเขาในโลกนี้ เช่น รูป เสียง กลิ่น
รส โผฏฐัพพะ หรือจากบุคคลผู้ปรารถนาแต่สิ่งที่มิใช่ประโยชน์ ปรารถนาแต่สิ่ง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
ที่ไม่เกื้อกูล ปรารถนาแต่สิ่งที่ไม่ผาสุก ไม่ปรารถนาความหลุดพ้นจากโยคะของเขา
นี้เรียกว่า การประสบกับอารมณ์อันไม่เป็นที่รักเป็นทุกข์
บรรดาทุกขอริยสัจนั้น การพลัดพรากจากอารมณ์อันเป็นที่รักเป็นทุกข์ เป็น
อย่างไร
คือ การไม่ไปร่วม การไม่มาร่วม การไม่ประชุมร่วม การไม่อยู่ร่วมกับอารมณ์
อันเป็นที่ปรารถนาเป็นที่รักใคร่ชอบใจของเขาในโลกนี้ เช่น รูป เสียง กลิ่น รส
โผฏฐัพพะ หรือจากบุคคลผู้ที่มุ่งประโยชน์ มุ่งความเกื้อกูล มุ่งความผาสุก มุ่งความ
เกษมจากโยคะของเขา เช่น มารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย พี่สาว น้องสาว มิตร๑
อำมาตย์๒ ญาติ หรือสาโลหิต๓ นี้เรียกว่า การพลัดพรากจากอารมณ์อันเป็นที่รัก
เป็นทุกข์
บรรดาทุกขอริยสัจนั้น การไม่ได้อารมณ์ที่ปรารถนาเป็นทุกข์ เป็นอย่างไร
คือ เหล่าสัตว์ผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา เกิดความปรารถนาขึ้นอย่างนี้ว่า
“ไฉนหนอ ขอเราอย่าได้มีความเกิดเป็นธรรมดา หรือขอความเกิดอย่าได้มาถึงเรา
เลยนะ” ข้อนี้ไม่พึงสำเร็จได้ตามความปรารถนา นี้เรียกว่า การไม่ได้อารมณ์ที่
ปรารถนาเป็นทุกข์
เหล่าสัตว์ผู้มีความแก่เป็นธรรมดา ฯลฯ เหล่าสัตว์ผู้มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา
ฯลฯ เหล่าสัตว์ผู้มีความตายเป็นธรรมดา ฯลฯ เหล่าสัตว์ผู้มีความเศร้าโศก ความ
รำพัน ความทุกข์ ความโทมนัส และความคับแค้นเป็นธรรมดา ต่างก็เกิด
ความปรารถนาขึ้นอย่างนี้ว่า “ไฉนหนอ ขอเราอย่าได้เป็นผู้มีความเศร้าโศก ความ
รำพัน ความทุกข์ ความโทมนัส และความคับแค้นเป็นธรรมดาเลย ขอความ

เชิงอรรถ :
๑ มิตร หมายถึงคนรู้จักกันเพราะการใช้ของในเรือนร่วมกัน เช่น ให้ของแก่กันและกันหรือรับของจากกัน
(สํ.สฬา.อ. ๓/๑๐๑๒/๓๖๗,สํ.ฏีกา ๒/๑๐๑๒/๖๒๙)
๒ อำมาตย์ ในที่นี้หมายถึงผู้ทำกิจร่วมกัน เช่น ปรึกษาหารือกัน ไปด้วยกัน นั่งด้วยกัน เป็นต้น (สํ.สฬา.อ.
๓/๑๐๑๖/๓๖๗, สํ.ฏีกา ๒/๑๐๑๒/๖๒๙)
๓ สาโลหิต หมายถึงผู้ร่วมสายเลือดเดียวกัน ได้แก่ พี่ชาย น้องชาย พี่สาว น้องสาว เป็นต้น (องฺ.ติก.อ.
๒/๗๖/๒๒๗) หรือญาติฝ่ายมารดา (องฺ.ติก.ฏีกา ๒/๗๖/๒๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
เศร้าโศก ความรำพัน ความทุกข์ ความโทมนัส และความคับแค้น อย่าได้มาถึง
เราเลยนะ” ข้อนี้ไม่พึงสำเร็จได้ตามความปรารถนา นี้เรียกว่า การไม่ได้อารมณ์ที่
ปรารถนาเป็นทุกข์
บรรดาทุกขอริยสัจนั้นโดยย่อ อุปาทานขันธ์๑ ๕ เป็นทุกข์ เป็นอย่างไร คือ
๑. รูปูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือรูป)
๒. เวทนูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือเวทนา)
๓. สัญญูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสัญญา)
๔. สังขารูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ)
๕. วิญญาณูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ)
เหล่านี้เรียกว่า โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์
นี้เรียกว่า ทุกขอริยสัจ
[๓๔] บรรดาอริยสัจ ๔ นั้น ทุกขสมุทยอริยสัจ เป็นอย่างไร
คือ ตัณหาอันทำให้เกิดอีกประกอบด้วยความเพลิดเพลินและความกำหนัด
มีปกติให้เพลิดเพลินในอารมณ์นั้น ๆ คือ กามตัณหา (ความทะยานอยากในกาม)
ภวตัณหา (ความทะยานอยากในภพ) วิภวตัณหา (ความทะยานอยากในวิภพ)
ก็ตัณหานี้ เมื่อเกิด เกิดที่ไหน เมื่อตั้งอยู่ ตั้งอยู่ที่ไหน
คือ ปิยรูปสาตรูปเป็นสภาวะที่มีอยู่ในโลก ตัณหานี้เมื่อเกิด ก็เกิดที่ปิยรูป-
สาตรูปนี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่ปิยรูปสาตรูปนี้
ก็อะไรเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก
คือ จักขุเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิด ก็เกิดที่จักขุนี้ เมื่อตั้งอยู่
ก็ตั้งอยู่ที่จักขุนี้ โสตะเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ ฆานะเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก
ฯลฯ ชิวหาเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ กายเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ อุปาทานขันธ์ ในที่นี้หมายถึงกองที่เป็นอารมณ์ของความยึดมั่น (วิสุทธิ. ๒/๕๐๕/๑๒๒, สํ.ข.อ. ๒/๑๖,
๖๓/๓๐๘, อภิ.สงฺ.อ. ๔๔๒/๔๔๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
มโนเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิด ก็เกิดที่มโนนี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่
มโนนี้
รูปเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิด ก็เกิดที่รูปนี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่
ที่รูปนี้ สัททะเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ ธรรมารมณ์เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ
จักขุวิญญาณเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ มโนวิญญาณเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ
จักขุสัมผัสเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ มโนสัมผัสเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ
จักขุสัมผัสสชาเวทนาเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ มโนสัมผัสสชาเวทนาเป็น
ปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ รูปสัญญาเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ ธัมมสัญญาเป็น
ปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ รูปสัญเจตนาเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ ธัมม-
สัญเจตนาเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ รูปตัณหาเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ
ธัมมตัณหาเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ รูปวิตกเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ
ธัมมวิตกเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ รูปวิจารเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ
ธัมมวิจารเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิด ก็เกิดที่ธัมมวิจารนี้ เมื่อตั้งอยู่
ก็ตั้งอยู่ที่ธัมมวิจารนี้
นี้เรียกว่า ทุกขสมุทยอริยสัจ
[๓๕] บรรดาอริยสัจ ๔ นั้น ทุกขนิโรธอริยสัจ เป็นอย่างไร
คือ ความดับตัณหานั้นนั่นแลโดยไม่เหลือด้วยวิราคะ ความสละ ความสละคืน
ความพ้น ความไม่อาลัยในตัณหา
ก็ตัณหานี้ เมื่อละ ละที่ไหน เมื่อดับ ดับที่ไหน
คือ ปิยรูปสาตรูปใดมีอยู่ในโลก ตัณหานี้เมื่อละ ก็ละที่ปิยรูปสาตรูปนี้ เมื่อดับ
ก็ดับที่ปิยรูปสาตรูปนี้
ก็อะไรเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก
คือ จักขุเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อละ ก็ละที่จักขุนั้น เมื่อดับ ก็ดับ
ที่จักขุนั้น โสตะเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ ธัมมวิจารเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก
ตัณหานี้ เมื่อละ ก็ละที่ธัมมวิจารนี้ เมื่อดับ ก็ดับที่ธัมมวิจารนี้
นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
[๓๖] บรรดาอริยสัจ ๔ นั้น ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ได้แก่

๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) ๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ)
๓. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ) ๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ)
๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) ๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ)
๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ) ๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ)

บรรดาอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาทิฏฐิ เป็นอย่างไร
คือ ความรู้ในทุกข์ (ความทุกข์) ความรู้ในทุกขสมุทัย (เหตุเกิดแห่งทุกข์)
ความรู้ในทุกขนิโรธ (ความดับทุกข์) ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติให้
ถึงความดับทุกข์) นี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ
บรรดาอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาสังกัปปะ เป็นอย่างไร
คือ ความดำริในเนกขัมมะ (การออกจากกาม) ความดำริในอพยาบาท (ความ
ไม่พยาบาท) ความดำริในอวิหิงสา (การไม่เบียดเบียน) นี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ
บรรดาอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาวาจา เป็นอย่างไร
คือ เจตนาเป็นเหตุเว้นจากมุสาวาท (พูดเท็จ) เจตนาเป็นเหตุเว้นจากปิสุณาวาจา
(พูดส่อเสียด) เจตนาเป็นเหตุเว้นจากผรุสวาจา (พูดคำหยาบ) เจตนาเป็นเหตุเว้นจาก
สัมผัปปลาปะ (พูดเพ้อเจ้อ) นี้เรียกว่า สัมมาวาจา
บรรดาอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมากัมมันตะ เป็นอย่างไร
คือ เจตนาเป็นเหตุเว้นจากปาณาติบาต (การฆ่าสัตว์) เจตนาเป็นเหตุเว้นจาก
อทินนาทาน (การลักทรัพย)์ เจตนาเป็นเหตุเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร (การประพฤติ
ผิดในกาม) นี้เรียกว่า สัมมากัมมันตะ
บรรดาอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาอาชีวะ เป็นอย่างไร
คือ ข้อที่พระอริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ละมิจฉาอาชีวะ สำเร็จการเลี้ยงชีพด้วย
สัมมาอาชีวะ นี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
บรรดาอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาวายามะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต
มุ่งมั่นเพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อละบาปอกุศล-
ธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ เพื่อทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ฯลฯ สร้างฉันทะ
พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย
ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว นี้เรียกว่า สัมมาวายามะ
บรรดาอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาสติ เป็นอย่างไร
คือ ข้อที่ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พิจารณา
เห็นกายในกายอยู่ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ พิจารณาเห็นเวทนาใน
เวทนาอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯลฯ เป็นผู้มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ นี้เรียกว่า
สัมมาสติ
บรรดาอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาสมาธิ เป็นอย่างไร
คือ ข้อที่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุ
ปฐมฌานที่มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจารระงับ
ไปแล้ว บรรลุทุติยฌานที่เป็นความผ่องใสภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มี
วิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ เพราะปีติจางคลายไป มีจิตเป็น
อุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะอยู่และเสวยสุขด้วยกาย (นามกาย) บรรลุตติยฌานที่
พระอริยะทั้งหลายกล่าวสรรเสริญว่า “ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข” เพราะละสุข
และทุกข์ได้และเพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์
ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ
นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “นี้ทุกขอริยสัจ
นี้ทุกขสมุทยอริยสัจ นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ”
ปัญญารู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ
ปัญญาในการทรงจำธรรมที่ได้สดับมาอย่างนี้ ชื่อว่าสุตมยญาณ (๑๔-๑๖)
สุตมยญาณนิทเทสที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๒. สีลมยญาณนิทเทส
๒. สีลมยญาณนิทเทส
แสดงสีลมยญาณ
[๓๗] ปัญญาในการสดับธรรมแล้วสำรวมไว้ ชื่อว่าสีลมยญาณ เป็นอย่างไร
คือ ศีล ๕ อย่าง ได้แก่
๑. ปริยันตปาริสุทธิศีล (ศีลคือความบริสุทธิ์อันมีที่สุด)
๒. อปริยันตปาริสุทธิศีล (ศีลคือความบริสุทธิ์อันไม่มีที่สุด)
๓. ปริปุณณปาริสุทธิศีล (ศีลคือความบริสุทธิ์บริบูรณ์)
๔. อปรามัฏฐปาริสุทธิศีล (ศีลคือความบริสุทธิ์ที่ไม่ยึดมั่นด้วยอำนาจทิฏฐิ)
๕. ปฏิปัสสัทธิปาริสุทธิศีล (ศีลคือความบริสุทธิ์เพราะการสงบระงับ)
ในศีล ๕ อย่างนั้น ปริยันตปาริสุทธิศีล เป็นอย่างไร
คือ ศีลของอนุปสัมบันผู้มีสิกขาบทอันมีที่สุด นี้ชื่อว่าปริยันตปาริสุทธิศีล
อปริยันตปาริสุทธิศีล เป็นอย่างไร
คือ ศีลของอุปสัมบันผู้มีสิกขาบทอันไม่มีที่สุด นี้ชื่อว่าอปริยันตปาริสุทธิศีล
ปริปุณณปาริสุทธิศีล เป็นอย่างไร
คือ ศีลของกัลยาณปุถุชนผู้ประกอบกุศลธรรม บำเพ็ญธรรมซึ่งเป็นที่สุดของ
พระเสขะให้บริบูรณ์ ไม่อาลัยในกายและชีวิต สละชีวิตแล้ว นี้ชื่อว่าปริปุณณ-
ปาริสุทธิศีล
อปรามัฏฐปาริสุทธิศีล เป็นอย่างไร
คือ ศีลของพระเสขะ ๗ จำพวก นี้ชื่อว่าอปรามัฏฐปาริสุทธิศีล
ปฏิปัสสัทธิปาริสุทธิศีล เป็นอย่างไร
คือ ศีลของสาวกพระตถาคตผู้เป็นพระขีณาสพ ของพระปัจเจกพุทธเจ้า และ
ของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า นี้ชื่อว่าปฏิปัสสัทธิปาริสุทธิศีล
[๓๘] ศีลมีที่สุดก็มี ศีลไม่มีที่สุดก็มี ในศีล ๒ อย่างนั้น ศีลมีที่สุดนั้น
เป็นอย่างไร
คือ ศีลมีลาภเป็นที่สุดก็มี ศีลมียศเป็นที่สุดก็มี ศีลมีญาติเป็นที่สุดก็มี ศีลมี
อวัยวะเป็นที่สุดก็มี ศีลมีชีวิตเป็นที่สุดก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๒. สีลมยญาณนิทเทส
ศีลมีลาภเป็นที่สุดนั้น เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ล่วงละเมิดสิกขาบทตามที่ได้สมาทานไว้ เพราะลาภ
เป็นเหตุ เพราะลาภเป็นปัจจัย เพราะลาภเป็นตัวการณ์ ศีลนี้ชื่อว่ามีลาภเป็นที่สุด
ศีลมียศเป็นที่สุดนั้น เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ล่วงละเมิดสิกขาบทตามที่ได้สมาทานไว้ เพราะยศ
เป็นเหตุ เพราะยศเป็นปัจจัย เพราะยศเป็นตัวการณ์ ศีลนี้ชื่อว่ามียศเป็นที่สุด
ศีลมีญาติเป็นที่สุดนั้น เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ล่วงละเมิดสิกขาบทตามที่ได้สมาทานไว้ เพราะ
ญาติเป็นเหตุ เพราะญาติเป็นปัจจัย เพราะญาติเป็นตัวการณ์ ศีลนี้ชื่อว่ามีญาติเป็น
ที่สุด
ศีลมีอวัยวะเป็นที่สุดนั้น เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ล่วงละเมิดสิกขาบทตามที่ได้สมาทานไว้ เพราะ
อวัยวะเป็นเหตุ เพราะอวัยวะเป็นปัจจัย เพราะอวัยวะเป็นตัวการณ์ ศีลนี้ชื่อว่ามี
อวัยวะเป็นที่สุด
ศีลมีชีวิตเป็นที่สุดนั้น เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ล่วงละเมิดสิกขาบทตามที่ได้สมาทานไว้ เพราะชีวิต
เป็นเหตุ เพราะชีวิตเป็นปัจจัย เพราะชีวิตเป็นตัวการณ์ ศีลนี้ชื่อว่ามีชีวิตเป็นที่สุด
ศีลดังกล่าวนี้เป็นศีลขาด ทะลุ ด่าง พร้อย ไม่เป็นไท ท่านผู้รู้ไม่สรรเสริญ
ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ ไม่เป็นไปเพื่อสมาธิ เป็นที่ตั้งแห่งความเดือดร้อน
ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความปราโมทย์ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งปีติ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งปัสสัทธิ ไม่เป็น
ที่ตั้งแห่งความสุข ไม่เป็นที่ตั้งแห่งสมาธิ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งยถาภูตญาณทัสสนะ
ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อระงับ
เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ศีลนี้ชื่อว่ามีที่สุด
ศีลไม่มีที่สุดนั้น เป็นอย่างไร
คือ ศีลไม่มีลาภเป็นที่สุดก็มี ศีลไม่มียศเป็นที่สุดก็มี ศีลไม่มีญาติเป็นที่สุดก็มี
ศีลไม่มีอวัยวะเป็นที่สุดก็มี ศีลไม่มีชีวิตเป็นที่สุดก็มี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๒. สีลมยญาณนิทเทส
ศีลไม่มีลาภเป็นที่สุดนั้น เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ แม้ความคิดที่จะล่วงละเมิดสิกขาบทตามที่ได้
สมาทานไว้ เพราะลาภเป็นเหตุ เพราะลาภเป็นปัจจัย เพราะลาภเป็นตัวการณ์ ก็ไม่
เกิดขึ้น ไฉนเขาจักล่วงละเมิดสิกขาบทเล่า ศีลนี้ชื่อว่าไม่มีลาภเป็นที่สุด
ศีลไม่มียศเป็นที่สุดนั้น เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ แม้ความคิดที่จะล่วงละเมิดสิกขาบทตามที่ได้
สมาทานไว้ เพราะยศเป็นเหตุ เพราะยศเป็นปัจจัย เพราะยศเป็นตัวการณ์ ก็ไม่เกิดขึ้น
ไฉนเขาจักล่วงละเมิดสิกขาบทเล่า ศีลนี้ชื่อว่าไม่มียศเป็นที่สุด
ศีลไม่มีญาติเป็นที่สุดนั้น เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ แม้ความคิดที่จะล่วงละเมิดสิกขาบทตามที่ได้
สมาทานไว้ เพราะญาติเป็นเหตุ เพราะญาติเป็นปัจจัย เพราะญาติเป็นตัวการณ์ ก็ไม่
เกิดขึ้น ไฉนเขาจักล่วงละเมิดสิกขาบทเล่า ศีลนี้ชื่อว่าไม่มีญาติเป็นที่สุด
ศีลไม่มีอวัยวะเป็นที่สุดนั้น เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ แม้ความคิดที่จะล่วงละเมิดสิกขาบทตามที่ได้
สมาทานไว้ เพราะอวัยวะเป็นเหตุ เพราะอวัยวะเป็นปัจจัย เพราะอวัยวะเป็นตัวการณ์
ก็ไม่เกิดขึ้น ไฉนเขาจักล่วงละเมิดสิกขาบทเล่า ศีลนี้ชื่อว่าไม่มีอวัยวะเป็นที่สุด
ศีลไม่มีชีวิตเป็นที่สุดนั้น เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ แม้ความคิดที่จะล่วงละเมิดสิกขาบทตามที่ได้
สมาทานไว้ เพราะชีวิตเป็นเหตุ เพราะชีวิตเป็นปัจจัย เพราะชีวิตเป็นตัวการณ์ ก็ไม่
เกิดขึ้น ไฉนเขาจักล่วงละเมิดสิกขาบทเล่า ศีลนี้ชื่อว่าไม่มีชีวิตเป็นที่สุด
ศีลดังกล่าวนี้เป็นศีลไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท ท่านผู้รู้
สรรเสริญ ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ เป็นไปเพื่อสมาธิ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความ
เดือดร้อน เป็นที่ตั้งแห่งความปราโมทย์ เป็นที่ตั้งแห่งปีติ เป็นที่ตั้งแห่งปัสสัทธิ
เป็นที่ตั้งแห่งความสุข เป็นที่ตั้งแห่งสมาธิ เป็นที่ตั้งแห่งยถาภูตญาณทัสสนะ ย่อม
เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อระงับ เพื่อ
รู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ศีลนี้ชื่อว่าไม่มีที่สุด


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๒. สีลมยญาณนิทเทส
[๓๙] อะไรชื่อว่าศีล ศีลมีเท่าไร ศีลมีอะไรเป็นสมุฏฐาน ศีลเป็นที่รวมแห่ง
ธรรมอะไร
อะไร ชื่อว่าศีล
เจตนาชื่อว่าศีล เจตสิกชื่อว่าศีล ความสำรวมชื่อว่าศีล ความไม่ล่วงละเมิด
ชื่อว่าศีล
ศีลมีเท่าไร
ศีลมี ๓ คือ (๑) กุศลศีล (๒) อกุศลศีล (๓) อัพยากตศีล
ศีลมีอะไรเป็นสมุฏฐาน
กุศลศีลมีกุศลจิตเป็นสมุฏฐาน อกุศลศีลมีอกุศลจิตเป็นสมุฏฐาน อัพยากตศีล
มีอัพยากตจิตเป็นสมุฏฐาน
ศีลเป็นที่รวมแห่งธรรมอะไร
ศีลเป็นที่รวมแห่งความสำรวม เป็นที่รวมแห่งความไม่ล่วงละเมิด เป็นที่รวม
แห่งเจตนาที่เกิดในขณะสำรวมและไม่ล่วงละเมิดนั้น
[๔๐] ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าสำรวม๑ปาณาติบาต ชื่อว่าศีล เพราะ
มีความหมายว่าไม่ล่วงละเมิดปาณาติบาต ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าสำรวม
อทินนาทาน ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าไม่ล่วงละเมิดอทินนาทาน ชื่อว่าศีล
เพราะมีความหมายว่าสำรวมกาเมสุมิจฉาจาร ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าไม่
ล่วงละเมิดกาเมสุมิจฉาจาร ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าสำรวมมุสาวาท ชื่อว่า
ศีล เพราะมีความหมายว่าไม่ล่วงละเมิดมุสาวาท ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่า
สำรวมปิสุณาวาจา ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าไม่ล่วงละเมิดปิสุณาวาจา ชื่อว่า
ศีล เพราะมีความหมายว่าสำรวมผรุสวาจา ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าไม่ล่วง
ละเมิดผรุสวาจา ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าสำรวมสัมผัปปลาปะ ชื่อว่าศีล
เพราะมีความหมายว่าไม่ล่วงละเมิดสัมผัปปลาปะ ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่า
สำรวมอภิชฌา ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าไม่ล่วงละเมิดอภิชฌา ชื่อว่าศีล
เพราะมีความหมายว่าสำรวมพยาบาท ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าไม่ล่วง

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า สำรวม ในที่นี้หมายถึงปิดกั้น ห้าม ระมัดระวัง (ขุ.ป.อ. ๑/๔๐/๒๓๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๒. สีลมยญาณนิทเทส
ละเมิดพยาบาท ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าสำรวมมิจฉาทิฏฐิ ชื่อว่าศีล
เพราะมีความหมายว่าไม่ล่วงละเมิดมิจฉาทิฏฐิ
[๔๑] ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าสำรวมกามฉันทะด้วยเนกขัมมะ ชื่อว่า
ศีล เพราะมีความหมายว่าไม่ล่วงละเมิดกามฉันทะด้วยเนกขัมมะ ... พยาบาทด้วย
อพยาบาท ... ถีนมิทธะด้วยอาโลกสัญญา ... อุทธัจจะด้วยอวิกเขปะ ... วิจิกิจฉา
ด้วยธัมมววัตถาน ... อวิชชาด้วยญาณ ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าสำรวมอรติ
ด้วยปามุชชะ ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าไม่ล่วงละเมิดอรติด้วยปามุชชะ
ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าสำรวมนิวรณ์ด้วยปฐมฌาน ชื่อว่าศีล เพราะ
มีความหมายว่าไม่ล่วงละเมิดนิวรณ์ด้วยปฐมฌาน ... วิตกวิจารด้วยทุติยฌาน ...
ปีติด้วยตติยฌาน ... สุขและทุกข์ด้วยจตุตถฌาน ... รูปสัญญา ปฏิฆสัญญา
นานัตตสัญญาด้วยอากาสานัญจายตนสมาบัติ ... อากาสานัญจายตนสมาบัติด้วย
วิญญาณัญจายตนสัญญา ... วิญญาณัญจายตนสัญญาด้วยอากิญจัญญายตนสมาบัติ
ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าสำรวมอากิญจัญญายตนสัญญาด้วยเนวสัญญานา-
สัญญายตนสมาบัติ ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าไม่ล่วงละเมิดอากิญจัญญายตน-
สัญญาด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ
ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าสำรวมนิจจสัญญาด้วยอนิจจานุปัสสนา ชื่อว่า
ศีล เพราะมีความหมายว่าไม่ล่วงละเมิดนิจจสัญญาด้วยอนิจจานุปัสสนา ...
สุขสัญญาด้วยทุกขานุปัสสนา ... อัตตสัญญาด้วยอนัตตานุปัสสนา ... นันทิด้วย
นิพพิทานุปัสสนา ... ราคะด้วยวิราคานุปัสสนา ... สมุทัยด้วยนิโรธานุปัสสนา ...
อาทานะด้วยปฏินิสสัคคานุปัสสนา ... ฆนสัญญาด้วยขยานุปัสสนา ... อายุหนะด้วย
วยานุปัสสนา ... ธุวสัญญาด้วยวิปริณามานุปัสสนา ... นิมิตด้วยอนิมิตตานุปัสสนา ...
ปณิธิด้วยอัปปณิหิตานุปัสสนา ... อภินิเวสด้วยสุญญตานุปัสสนา ... สาราทานา-
ภินิเวสด้วยอธิปัญญาธัมมวิปัสสนา ... สัมโมหาภินิเวสด้วยยถาภูตญาณทัสสนะ ...
อาลยาภินิเวสด้วยอาทีนวานุปัสสนา ... อัปปฏิสังขาด้วยปฏิสังขานุปัสสนา ชื่อว่าศีล
เพราะมีความหมายว่าสำรวมสัญโญคาภินิเวสด้วยวิวัฏฏนานุปัสสนา ชื่อว่าศีล
เพราะมีความหมายว่าไม่ล่วงละเมิดสัญโญคาภินิเวสด้วยวิวัฏฏนานุปัสสนา
ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าสำรวมกิเลสที่ตั้งอยู่รวมกันกับทิฏฐิด้วยโสดา-
ปัตติมรรค ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าไม่ล่วงละเมิดกิเลสที่ตั้งอยู่รวมกันกับ
ทิฏฐิด้วยโสดาปัตติมรรค ... กิเลสอย่างหยาบด้วยสกทาคามิมรรค ... กิเลสอย่าง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๖๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๒. สีลมยญาณนิทเทส
ละเอียดด้วยอนาคามิมรรค ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าสำรวมกิเลสทั้งปวง
ด้วยอรหัตตมรรค ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าไม่ล่วงละเมิดกิเลสทั้งปวง
ด้วยอรหัตตมรรค
ศีล ๕ ประเภท คือ
๑. การละปาณาติบาต ชื่อว่าศีล
๒. การเว้นปาณาติบาต ชื่อว่าศีล
๓. เจตนาที่เป็นข้าศึกต่อปาณาติบาต ชื่อว่าศีล
๔. ความสำรวมปาณาติบาต ชื่อว่าศีล
๕. ความไม่ล่วงละเมิดปาณาติบาต ชื่อว่าศีล
ศีลดังกล่าวนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เดือดร้อนใจ เพื่อปราโมทย์ เพื่อปีติ
เพื่อปัสสัทธิ เพื่อโสมนัส เพื่อการปฏิบัติโดยเอื้อเฟื้อ เพื่อความเจริญ เพื่อทำให้มาก
เพื่อเป็นเครื่องประดับ เพื่อเป็นเครื่องป้องกัน เพื่อเป็นเครื่องแวดล้อม เพื่อความ
สมบูรณ์ ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ
เพื่อระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
ความบริสุทธิ์ด้วยความสำรวมแห่งศีลดังกล่าวนี้ ชื่อว่าอธิสีล จิตที่ตั้งอยู่ใน
ความบริสุทธิ์ด้วยความสำรวม ย่อมไม่ฟุ้งซ่าน ความบริสุทธิ์แห่งจิตที่ไม่ฟุ้งซ่าน
ชื่อว่าอธิจิต พระโยคาวจรเห็นความบริสุทธิ์ด้วยความสำรวมโดยชอบ เห็นความ
บริสุทธิ์แห่งจิตที่ไม่ฟุ้งซ่านโดยชอบ ความบริสุทธิ์แห่งความเห็น (ทั้งสองประการนี้)
ชื่อว่าอธิปัญญา
บรรดาความสำรวม ความไม่ฟุ้งซ่าน และความเห็นนั้น ความสำรวม ชื่อว่า
อธิสีลสิกขา ความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าอธิจิตตสิกขา ความเห็น ชื่อว่าอธิปัญญาสิกขา
พระโยคาวจรเมื่อนึกถึงสิกขา ๓ นี้ ชื่อว่าศึกษา เมื่อรู้ ชื่อว่าศึกษา เมื่อเห็น
ชื่อว่าศึกษา เมื่อพิจารณา ชื่อว่าศึกษา เมื่ออธิษฐานจิต ชื่อว่าศึกษา เมื่อน้อมใจเชื่อ
ด้วยศรัทธา ชื่อว่าศึกษา เมื่อประคองความเพียรไว้ ชื่อว่าศึกษา เมื่อตั้งสติไว้มั่น
ชื่อว่าศึกษา เมื่อตั้งจิตไว้มั่น ชื่อว่าศึกษา เมื่อรู้ชัดด้วยปัญญา ชื่อว่าศึกษา เมื่อรู้
ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง ชื่อว่าศึกษา เมื่อกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ชื่อว่าศึกษา
เมื่อละธรรมที่ควรละ ชื่อว่าศึกษา เมื่อทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่าศึกษา
เมื่อเจริญธรรมที่ควรให้เจริญ ชื่อว่าศึกษา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๒. สีลมยญาณนิทเทส
ศีล ๕ ประเภท คือ
การละอทินนาทาน ชื่อว่าศีล ฯลฯ๑ การละกาเมสุมิจฉาจาร ฯลฯ การละ
มุสาวาท ฯลฯ การละปิสุณาวาจา ฯลฯ การละผรุสวาจา ฯลฯ การละสัมผัปปลาปะ
ฯลฯ การละอภิชฌา ฯลฯ การละพยาบาท ฯลฯ การละมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ
การละกามฉันทะด้วยเนกขัมมะ ฯลฯ การละพยาบาทด้วยอพยาบาท ฯลฯ
การละถีนมิทธะด้วยอาโลกสัญญา ฯลฯ การละอุทธัจจะด้วยอวิกเขปะ ฯลฯ การละ
วิจิกิจฉาด้วยธัมมววัตถาน ฯลฯ การละอวิชชาด้วยญาณ ฯลฯ การละอรติด้วย
ปามุชชะ ฯลฯ
การละนิวรณ์ด้วยปฐมฌาน ฯลฯ การละวิตกวิจารด้วยทุติยฌาน ฯลฯ การละ
ปีติด้วยตติยฌาน ฯลฯ การละสุขและทุกข์ด้วยจตุตถฌาน ฯลฯ การละรูปสัญญา
ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญาด้วยอากาสานัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ การละ
อากาสานัญจายตนสัญญาด้วยวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ การละวิญญาณัญ-
จายตนสัญญาด้วยอากิญจัญญายตนสัญญาสมาบัติ ฯลฯ การละอากิญจัญญายตน-
สัญญาด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ฯลฯ
การละสุขสัญญาด้วยทุกขานุปัสสนา ฯลฯ การละอัตตสัญญาด้วยอนัตตา-
นุปัสสนา ฯลฯ การละนันทิด้วยนิพพิทานุปัสสนา ฯลฯ การละราคะด้วยวิราคา-
นุปัสสนา ฯลฯ การละสมุทัยด้วยนิโรธานุปัสสนา ฯลฯ การละอาทานะด้วย
ปฏินิสสัคคานุปัสสนา ฯลฯ การละฆนสัญญาด้วยขยานุปัสสนา ฯลฯ การละ
อายุหนะด้วยวยานุปัสสนา ฯลฯ การละธุวสัญญาด้วยวิปริณามานุปัสสนา ฯลฯ
การละนิมิตด้วยอนิมิตตานุปัสสนา ฯลฯ การละปณิธิด้วยอัปปณิหิตานุปัสสนา
ฯลฯ การละอภินิเวสด้วยสุญญตานุปัสสนา ฯลฯ การละสาราทานาภินิเวสด้วย
อธิปัญญาธัมมวิปัสสนา ฯลฯ การละสัมโมหาภินิเวสด้วยยถาภูตญาณทัสสนะ
ฯลฯ การละอาลยาภินิเวสด้วยอาทีนวานุปัสสนา ฯลฯ การละอัปปฏิสังขาด้วย
ปฏิสังขานุปัสสนา ฯลฯ การละสัญโญคาภินิเวสด้วยวิวัฏฏนานุปัสสนา ฯลฯ
การละกิเลสที่ตั้งอยู่รวมกันกับทิฏฐิด้วยโสดาปัตติมรรค ฯลฯ การละกิเลสที่
หยาบด้วยสกทาคามิมรรค ฯลฯ การละกิเลสที่ละเอียดด้วยอนาคามิมรรค ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเนื้อความเต็มในศีล ๕ ประเภทในรอบแรกและรอบสุดท้าย ต่างกันเพียงองค์ธรรมเท่านั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๒. สีลมยญาณนิทเทส
(ศีล ๕ ประเภท คือ)
๑. การละกิเลสทั้งปวงด้วยอรหัตตมรรค ชื่อว่าศีล
๒. การเว้นกิเลสทั้งปวงด้วยอรหัตตมรรค ชื่อว่าศีล
๓. เจตนาที่เป็นข้าศึกต่อกิเลสทั้งปวงด้วยอรหัตตมรรค ชื่อว่าศีล
๔. ความสำรวมกิเลสทั้งปวงด้วยอรหัตตมรรค ชื่อว่าศีล
๕. ความไม่ล่วงละเมิดกิเลสทั้งปวงด้วยอรหัตตมรรค ชื่อว่าศีล
ศีลดังกล่าวนี้ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เดือดร้อน เพื่อปราโมทย์ เพื่อปีติ เพื่อ
ปัสสัทธิ เพื่อโสมนัส เพื่อการปฏิบัติโดยเอื้อเฟื้อ เพื่อความเจริญ เพื่อทำให้มาก
เพื่อเป็นเครื่องประดับ เพื่อเป็นเครื่องป้องกัน เพื่อเป็นเครื่องแวดล้อม เพื่อความ
สมบูรณ์ ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ
เพื่อระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
[๔๒] ความบริสุทธิ์ด้วยความสำรวมแห่งศีลดังกล่าวนี้ ชื่อว่าอธิสีล จิตที่ตั้ง
อยู่ในความบริสุทธิ์ด้วยความสำรวม ย่อมไม่ฟุ้งซ่าน ความบริสุทธิ์แห่งจิตที่ไม่
ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าอธิจิต พระโยคาวจรเห็นความบริสุทธิ์ด้วยความสำรวมโดยชอบ
เห็นความบริสุทธิ์แห่งจิตที่ไม่ฟุ้งซ่านโดยชอบ ความบริสุทธิ์แห่งความเห็น (ทั้งสอง
ประการนี้) ชื่อว่าอธิปัญญา
บรรดาความสำรวม ความไม่ฟุ้งซ่าน และความเห็นนั้น ความสำรวม ชื่อว่า
อธิสีลสิกขา ความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าอธิจิตตสิกขา ความเห็น ชื่อว่าอธิปัญญาสิกขา
พระโยคาวจรเมื่อนึกถึงสิกขา ๓ นี้ ชื่อว่าศึกษา เมื่อรู้ ชื่อว่าศึกษา เมื่อเห็น
ชื่อว่าศึกษา เมื่อพิจารณา ชื่อว่าศึกษา เมื่ออธิษฐานจิต ชื่อว่าศึกษา เมื่อน้อมใจเชื่อ
ด้วยศรัทธา ชื่อว่าศึกษา เมื่อประคองความเพียร ชื่อว่าศึกษา เมื่อตั้งสติไว้มั่น
ชื่อว่าศึกษา เมื่อตั้งจิตไว้มั่น ชื่อว่าศึกษา เมื่อรู้ชัดด้วยปัญญา ชื่อว่าศึกษา เมื่อรู้ยิ่ง
ธรรมที่ควรรู้ยิ่ง ชื่อว่าศึกษา เมื่อกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ชื่อว่าศึกษา เมื่อละ
ธรรมที่ควรละ ชื่อว่าศึกษา เมื่อทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่าศึกษา เมื่อ
เจริญธรรมที่ควรให้เจริญ ชื่อว่าศึกษา
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการสดับธรรมแล้วสำรวมไว้ ชื่อว่าสีลมยญาณ
(ญาณในการสำรวมศีล)

สีลมยญาณนิทเทสที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๓. สมาธิภาวนามยญาณนิทเทส
๓. สมาธิภาวนามยญาณนิทเทส
แสดงสมาธิภาวนามยญาณ
[๔๓] ปัญญาในการสำรวมตั้งจิตมั่น ชื่อว่าสมาธิภาวนามยญาณ เป็นอย่างไร
คือ
สมาธิ ๑ อย่าง ได้แก่
เอกัคคตาจิต
สมาธิ ๒ อย่าง ได้แก่
๑. โลกิยสมาธิ
๒. โลกุตตรสมาธิ
สมาธิ ๓ อย่าง ได้แก่
๑. สมาธิที่มีวิตกวิจาร
๒. สมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร
๓. สมาธิที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจาร
สมาธิ ๔ อย่าง ได้แก่
๑. สมาธิที่เป็นส่วนแห่งความเสื่อม
๒. สมาธิที่เป็นส่วนแห่งความตั้งอยู่
๓. สมาธิที่เป็นส่วนแห่งคุณวิเศษ
๔. สมาธิที่เป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส
สมาธิ ๕ อย่าง ได้แก่
๑. สมาธิที่มีปีติแผ่ไป
๒. สมาธิที่มีสุขแผ่ไป
๓. สมาธิที่มีจิตแผ่ไป
๔. สมาธิที่มีแสงสว่างแผ่ไป
๕. สมาธิที่มีการพิจารณาเป็นนิมิต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๓. สมาธิภาวนามยญาณนิทเทส
สมาธิ ๖ อย่าง ได้แก่
๑. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ (มีอารมณ์เดียว) ไม่ฟุ้งซ่านด้วย
อำนาจแห่งพุทธานุสสติ
๒. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งธัมมา-
นุสสติ
๓. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งสังฆา-
นุสสติ
๔. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งสีลานุสสติ
๕. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งจาคา-
นุสสติ
๖. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งเทวตา-
นุสสติ
สมาธิ ๗ อย่าง ได้แก่
๑. ความฉลาดในสมาธิ
๒. ความฉลาดในการเข้าสมาธิ
๓. ความฉลาดในการดำรงสมาธิ
๔. ความฉลาดในการออกจากสมาธิ
๕. ความฉลาดในการใช้สมาธิ
๖ ความฉลาดในอารมณ์แห่งสมาธิ
๗. ความฉลาดในการนำสมาธิให้สูง ๆ ขึ้นไป
สมาธิ ๘ อย่าง ได้แก่
๑. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งปฐวีกสิณ
๒. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งอาโปกสิณ
๓. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งเตโชกสิณ
๔. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งวาโยกสิณ
๕. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งนีลกสิณ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๓. สมาธิภาวนามยญาณนิทเทส
๖. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งปีตกสิณ
๗. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งโลหิตกสิณ
๘. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งโอทาต-
กสิณ
สมาธิ ๙ อย่าง ได้แก่
๑. รูปาวจรสมาธิอย่างต่ำ
๒. รูปาวจรสมาธิอย่างปานกลาง
๓. รูปาวจรสมาธิอย่างประณีต
๔. อรูปาวจรสมาธิอย่างต่ำ
๕. อรูปาวจรสมาธิอย่างปานกลาง
๖. อรูปาวจรสมาธิอย่างประณีต
๗. สุญญตสมาธิ (สมาธิพิจารณาเห็นความว่าง)
๘. อนิมิตตสมาธิ (สมาธิพิจารณาเห็นธรรมไม่มีนิมิต)
๙. อัปปณิหิตสมาธิ (สมาธิพิจารณาเห็นธรรมไม่มีความตั้งปรารถนา)
สมาธิ ๑๐ อย่าง ได้แก่
๑. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งอุทธุมาตก-
สัญญา (ความหมายรู้ซากศพที่พองขึ้น)
๒. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งวินีลกสัญญา
(ความหมายรู้ซากศพที่มีสีเขียว)
๓. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งวิปุพพกสัญญา
(ความหมายรู้ซากศพที่มีน้ำเหลืองไหลเยิ้ม)
๔. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งวิจฉิททก-
สัญญา (ความหมายรู้ซากศพที่ขาดจากกัน)
๕. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งวิกขายิตก-
สัญญา (ความหมายรู้ซากศพที่ถูกสัตว์กัด)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๓. สมาธิภาวนามยญาณนิทเทส
๖. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งวิกขิตตสัญญา
(ความหมายรู้ซากศพที่กระจัดกระจาย)
๗. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งหตวิกขิตตก-
สัญญา (ความหมายรู้ซากศพที่ถูกสับเป็นท่อน)
๘. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งโลหิตกสัญญา
(ความหมายรู้ซากศพที่มีโลหิต)
๙. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งปุฬุวกสัญญา
(ความหมายรู้ซากศพที่มีหนอน)
๑๐. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งอัฏฐิกสัญญา
(ความหมายรู้ซากศพที่มีแต่กระดูก)
สมาธิเหล่านี้รวมเป็น ๕๕ อย่าง
[๔๔] อีกอย่างหนึ่ง สมาธิมีความหมาย ๒๕ อย่าง คือ
๑. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าสัทธินทรีย์เป็นต้นกำหนดถือเอา
๒. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าอินทรีย์เป็นบริวารแห่งกันและกัน
๓. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าสัทธินทรีย์เป็นต้นบริบูรณ์
๔. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่ามีอารมณ์เดียว
๕. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าไม่ฟุ้งซ่าน
๖. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าไม่ซ่านไป
๗. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าไม่ขุ่นมัว
๘. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าไม่หวั่นไหว
๙. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าหลุดพ้นจากกิเลส
สรุปว่า ชื่อว่าสมาธิ เพราะจิตตั้งมั่นด้วยอำนาจปรากฏชัดในเอกัคคตารมณ์
๑๐. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าแสวงหาความสงบ
๑๑. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าไม่แสวงหาธรรมที่เป็นข้าศึกแก่
ความสงบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๓. สมาธิภาวนามยญาณนิทเทส
๑๒. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าแสวงหาความสงบแล้ว
๑๓. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าไม่แสวงหาธรรมที่เป็นข้าศึกแก่
ความสงบแล้ว
๑๔. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่ายึดมั่นความสงบ
๑๕. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าไม่ยึดมั่นธรรมที่เป็นข้าศึกแก่
ความสงบแล้ว
๑๖. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่ายึดมั่นความสงบแล้ว
๑๗. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าไม่ยึดมั่นธรรมที่เป็นข้าศึกแก่
ความสงบแล้ว
๑๘. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติความสงบ
๑๙. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าไม่ปฏิบัติความไม่สงบ
๒๐. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติความสงบแล้ว
๒๑. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าไม่ปฏิบัติความไม่สงบแล้ว
๒๒. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าเพ่งความสงบ
๒๓. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าเผาธรรมที่เป็นข้าศึกแก่
ความสงบ
๒๔. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าเพ่งความสงบแล้ว
๒๕. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าเผาธรรมที่เป็นข้าศึกแก่ความ
สงบแล้ว
สรุปว่า ชื่อว่าสมาธิ เพราะสงบเกื้อกูลและเป็นสุข เหล่านี้เป็นความหมายแห่ง
สมาธิ ๒๕ ประการ
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่าปัญญาในการสำรวมตั้งจิตมั่น ชื่อว่าสมาธิภาวนามยญาณ
สมาธิภาวนามยญาณนิทเทสที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๔. ธัมมัฏฐิติญาณนิทเทส
๔. ธัมมัฏฐิติญาณนิทเทส
แสดงธัมมัฏฐิติญาณ
[๔๕] ปัญญาในการกำหนดปัจจัย ชื่อว่าธัมมัฏฐิติญาณ เป็นอย่างไร
คือ ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า “อวิชชาเป็นที่ตั้ง๑แห่งความเกิดขึ้น เป็นที่
ตั้งแห่งความเป็นไป เป็นที่ตั้งแห่งนิมิต เป็นที่ตั้งแห่งกรรมเป็นเครื่องประมวลมา
เป็นที่ตั้งแห่งความประกอบไว้ เป็นที่ตั้งแห่งความพัวพัน เป็นที่ตั้งแห่งสมุทัย เป็นที่
ตั้งแห่งเหตุ และเป็นที่ตั้งแห่งปัจจัยของสังขารทั้งหลาย ด้วยอาการ ๙ อย่างนี้
อวิชชาจึงเป็นปัจจัย สังขารเกิดขึ้นเพราะปัจจัย แม้ธรรมทั้งสองอย่างนี้ต่างก็เกิดขึ้น
เพราะปัจจัย” ชื่อว่าธัมมัฏฐิติญาณ
ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า “ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดี บรรดา
อวิชชาและสังขาร อวิชชาเป็นที่ตั้งแห่งความเกิดขึ้น เป็นที่ตั้งแห่งความเป็นไป เป็นที่
ตั้งแห่งนิมิต เป็นที่ตั้งแห่งกรรมเป็นเครื่องประมวลมา เป็นที่ตั้งแห่งความประกอบไว้
เป็นที่ตั้งแห่งความพัวพัน เป็นที่ตั้งแห่งสมุทัย เป็นที่ตั้งแห่งเหตุ และเป็นที่ตั้งแห่ง
ปัจจัยของสังขารทั้งหลาย ด้วยอาการ ๙ อย่างนี้ อวิชชาจึงเป็นปัจจัย สังขาร
เกิดขึ้นเพราะปัจจัย แม้ธรรมทั้งสองอย่างนี้ต่างก็เกิดขึ้นเพราะปัจจัย” ชื่อว่า
ธัมมัฏฐิติญาณ
ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า “สังขารเป็นที่ตั้งแห่งความเกิดขึ้น ฯลฯ และ
เป็นที่ตั้งแห่งปัจจัยของวิญญาณ ฯลฯ วิญญาณเป็นที่ตั้งแห่งความเกิดขึ้น ฯลฯ และ
เป็นที่ตั้งแห่งปัจจัยของนามรูป ฯลฯ นามรูปเป็นที่ตั้งแห่งความเกิดขึ้น ฯลฯ และ
เป็นที่ตั้งแห่งปัจจัยของสฬายตนะ ฯลฯ สฬายตนะเป็นที่ตั้งแห่งความเกิดขึ้น ฯลฯ
และเป็นที่ตั้งแห่งปัจจัยของผัสสะ ฯลฯ ผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งความเกิดขึ้น ฯลฯ และ
เป็นที่ตั้งแห่งปัจจัยของเวทนา ฯลฯ เวทนาเป็นที่ตั้งแห่งความเกิดขึ้น ฯลฯ และเป็น
ที่ตั้งแห่งปัจจัยของตัณหา ฯลฯ ตัณหาเป็นที่ตั้งแห่งความเกิดขึ้น ฯลฯ และเป็นที่ตั้ง
แห่งปัจจัยของอุปาทาน ฯลฯ อุปาทานเป็นที่ตั้งแห่งความเกิดขึ้น ฯลฯ และเป็นที่ตั้ง

เชิงอรรถ :
๑ เป็นที่ตั้ง ในที่นี้หมายถึงเป็นเหตุ (ขุ.ป.อ. ๑/๔๕/๒๕๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๔. ธัมมัฏฐิติญาณนิทเทส
แห่งปัจจัยของภพ ฯลฯ ภพเป็นที่ตั้งแห่งความเกิดขึ้น ฯลฯ และเป็นที่ตั้งแห่งปัจจัย
ของชาติ ฯลฯ ชาติเป็นที่ตั้งแห่งความเกิดขึ้น ฯลฯ และเป็นที่ตั้งแห่งปัจจัยของชรา
และมรณะ ด้วยอาการ ๙ อย่างนี้ ชาติจึงเป็นปัจจัย ชราและมรณะเกิดขึ้นเพราะ
ปัจจัย แม้ธรรมทั้งสองอย่างนี้ต่างก็เกิดขึ้นเพราะปัจจัย” ชื่อว่าธัมมัฏฐิติญาณ
ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า “ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดี ชาติเป็นที่
ตั้งแห่งความเกิดขึ้น เป็นที่ตั้งแห่งความเป็นไป เป็นที่ตั้งแห่งนิมิต เป็นที่ตั้งแห่งกรรม
เป็นเครื่องประมวลมา เป็นที่ตั้งแห่งความประกอบไว้ เป็นที่ตั้งแห่งความพัวพัน
เป็นที่ตั้งแห่งสมุทัย เป็นที่ตั้งแห่งเหตุ และเป็นที่ตั้งแห่งปัจจัยของชราและมรณะ
ด้วยอาการ ๙ อย่างนี้ ชาติจึงเป็นปัจจัย ชราและมรณะเกิดขึ้นเพราะปัจจัย แม้ธรรม
ทั้งสองอย่างนี้ต่างก็เกิดขึ้นเพราะปัจจัย” ชื่อว่าธัมมัฏฐิติญาณ
[๔๖] ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า “อวิชชาเป็นเหตุ สังขารเกิดขึ้นเพราะเหตุ
แม้ธรรมทั้งสองอย่างนี้ต่างก็เกิดขึ้นเพราะเหตุ” ชื่อว่าธัมมัฏฐิติญาณ
ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า “ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดี อวิชชา
เป็นเหตุ สังขารอาศัยเหตุเกิดขึ้น แม้ธรรมทั้งสองอย่างนี้ต่างก็เกิดขึ้นเพราะเหตุ”
ชื่อว่าธัมมัฏฐิติญาณ
ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า “สังขารเป็นเหตุ วิญญาณเกิดขึ้นเพราะเหตุ ฯลฯ
วิญญาณเป็นเหตุ นามรูปเกิดขึ้นเพราะเหตุ ฯลฯ นามรูปเป็นเหตุ สฬายตนะเกิดขึ้น
เพราะเหตุ ฯลฯ สฬายตนะเป็นเหตุ ผัสสะเกิดขึ้นเพราะเหตุ ฯลฯ ผัสสะเป็นเหตุ
เวทนาเกิดขึ้นเพราะเหตุ ฯลฯ เวทนาเป็นเหตุ ตัณหาเกิดขึ้นเพราะเหตุ ฯลฯ ตัณหา
เป็นเหตุ อุปาทานเกิดขึ้นเพราะเหตุ อุปาทานเป็นเหตุ ภพเกิดขึ้นเพราะเหตุ ฯลฯ
ภพเป็นเหตุ ชาติเกิดขึ้นเพราะเหตุ ฯลฯ ชาติเป็นเหตุ ชราและมรณะเกิดขึ้นเพราะเหตุ
แม้ธรรมทั้งสองอย่างนี้ต่างก็เกิดขึ้นเพราะเหตุ” ชื่อว่าธัมมัฏฐิติญาณ
ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า “ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดี ชาติเป็น
เหตุ ชราและมรณะเกิดขึ้นเพราะเหตุ แม้ธรรมทั้งสองอย่างนี้ต่างก็เกิดขึ้นเพราะเหตุ”
ชื่อว่าธัมมัฏฐิติญาณ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๔. ธัมมัฏฐิติญาณนิทเทส
ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า “อวิชชาอาศัยปัจจัยเป็นไป สังขารอาศัยอวิชชา
เกิดขึ้น แม้ธรรมทั้งสองอย่างนี้ต่างก็อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น” ชื่อว่าธัมมัฏฐิติญาณ
ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า “ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดี อวิชชา
อาศัยปัจจัยเป็นไป สังขารอาศัยอวิชชาเกิดขึ้น แม้ธรรมทั้งสองอย่างนี้ต่างก็อาศัย
ปัจจัยเกิดขึ้น” ชื่อว่าธัมมัฏฐิติญาณ
ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า “สังขารอาศัยปัจจัยเป็นไป วิญญาณอาศัย
สังขารเกิดขึ้น ฯลฯ วิญญาณอาศัยปัจจัยเป็นไป นามรูปอาศัยวิญญาณเกิดขึ้น ฯลฯ
นามรูปอาศัยปัจจัยเป็นไป สฬายตนะอาศัยนามรูปเกิดขึ้น ฯลฯ สฬายตนะอาศัย
ปัจจัยเป็นไป ผัสสะอาศัยสฬายตนะเกิดขึ้น ฯลฯ ผัสสะอาศัยปัจจัยเป็นไป เวทนา
อาศัยผัสสะเกิดขึ้น ฯลฯ เวทนาอาศัยปัจจัยเป็นไป ตัณหาอาศัยเวทนาเกิดขึ้น ฯลฯ
ตัณหาอาศัยปัจจัยเป็นไป อุปาทานอาศัยตัณหาเกิดขึ้น ฯลฯ อุปาทานอาศัยปัจจัย
เป็นไป ภพอาศัยอุปาทานเกิดขึ้น ฯลฯ ภพอาศัยปัจจัยเป็นไป ชาติอาศัยภพเกิดขึ้น
ฯลฯ ชาติอาศัยปัจจัยเป็นไป ชราและมรณะอาศัยชาติเกิดขึ้น แม้ธรรมทั้งสองอย่าง
นี้ต่างก็อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น” ชื่อว่าธัมมัฏฐิติญาณ
ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า “ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดี ชาติอาศัย
ปัจจัยเป็นไป ชราและมรณะอาศัยชาติเกิดขึ้น แม้ธรรมทั้งสองอย่างนี้ต่างก็อาศัย
ปัจจัยเกิดขึ้น” ชื่อว่าธัมมัฏฐิติญาณ
ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า “อวิชชาเป็นปัจจัย สังขารเกิดขึ้นเพราะปัจจัย
แม้ธรรมทั้งสองอย่างนี้ต่างก็เกิดขึ้นเพราะปัจจัย” ชื่อว่าธัมมัฏฐิติญาณ
ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า “ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดี อวิชชาเป็น
ปัจจัย สังขารเกิดขึ้นเพราะปัจจัย แม้ธรรมทั้งสองอย่างนี้ต่างก็เกิดขึ้นเพราะปัจจัย”
ชื่อว่าธัมมัฏฐิติญาณ
ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า “สังขารเป็นปัจจัย วิญญาณเกิดขึ้นเพราะ
ปัจจัย ฯลฯ วิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปเกิดขึ้นเพราะปัจจัย ฯลฯ นามรูปเป็นปัจจัย
สฬายตนะเกิดขึ้นเพราะปัจจัย ฯลฯ สฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดขึ้นเพราะ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๔. ธัมมัฏฐิติญาณนิทเทส
ปัจจัย ฯลฯ ผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาเกิดขึ้นเพราะปัจจัย ฯลฯ เวทนาเป็นปัจจัย
ตัณหาเกิดขึ้นเพราะปัจจัย ฯลฯ ตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานเกิดขึ้นเพราะปัจจัย ฯลฯ
อุปาทานเป็นปัจจัย ภพเกิดขึ้นเพราะปัจจัย ฯลฯ ภพเป็นปัจจัย ชาติเกิดขึ้นเพราะ
ปัจจัย ฯลฯ ชาติเป็นปัจจัย ชราและมรณะเกิดขึ้นเพราะปัจจัย แม้ธรรมทั้งสองอย่าง
นี้ต่างก็เกิดขึ้นเพราะปัจจัย” ชื่อว่าธัมมัฏฐิติญาณ
ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า “ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดี ชาติเป็น
ปัจจัย ชราและมรณะเกิดขึ้นเพราะปัจจัย แม้ธรรมทั้งสองอย่างนี้ต่างก็เกิดขึ้นเพราะ
ปัจจัย” ชื่อว่าธัมมัฏฐิติญาณ
[๔๗] ในกัมมภพก่อน ความหลงเป็นอวิชชา กรรมเป็นเครื่องประมวล
มาเป็นสังขาร ความติดใจเป็นตัณหา ความยึดมั่นเป็นอุปาทาน เจตนาเป็นภพ
ธรรม ๕ ประการนี้ในกัมมภพก่อน ย่อมเป็นไปเพราะปัจจัยแห่งปฏิสนธิในภพ
ปัจจุบันนี้
ในภพปัจจุบันนี้ ปฏิสนธิเป็นวิญญาณ ความก้าวลงเป็นนามรูป ปสาทะ๑เป็น
อายตนะ ส่วนที่ถูกต้องเป็นผัสสะ การเสวยอารมณ์เป็นเวทนา ธรรม ๕ ประการนี้
ในภพปัจจุบัน ย่อมเป็นไปเพราะปัจจัยแห่งกรรมที่ทำไว้ในภพก่อน
เพราะอายตนะทั้งหลายในภพนี้สุกรอบ ความหลงเป็นอวิชชา กรรมเป็น
เครื่องประมวลมาเป็นสังขาร ความติดใจเป็นตัณหา ความยึดมั่นเป็นอุปาทาน
เจตนาเป็นภพ ธรรม ๕ ประการนี้ในกัมมภพนี้ ย่อมเป็นไปเพราะปัจจัยแห่ง
ปฏิสนธิในอนาคตกาล
ปฏิสนธิในอนาคตกาลเป็นวิญญาณ ความก้าวลงเป็นนามรูป ปสาทะ
เป็นอายตนะ ส่วนที่ถูกต้องเป็นผัสสะ การเสวยอารมณ์เป็นเวทนา ธรรม ๕ ประการ
นี้ในภพปัจจุบัน ในอนาคตกาล ย่อมเป็นไปเพราะปัจจัยแห่งกรรมที่ทำไว้
ในภพนี้

เชิงอรรถ :
๑ ปสาทะ ในที่นี้หมายถึงความผ่องใส (ขุ.ป.อ. ๑/๔๗/๒๖๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๕. สัมมสนญาณนิทเทส
พระโยคาวจรย่อมรู้ ย่อมเห็น ย่อมทราบชัด ย่อมรู้แจ้งสังเขป ๔๑ กาล ๓๒
ปฏิจจสมุปบาทอันมีสนธิ ๓๓ ด้วยอาการ ๒๐๔ นี้ ด้วยประการดังนี้
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการกำหนดปัจจัย ชื่อว่าธัมมัฏฐิติญาณ
ธัมมัฏฐิติญาณนิทเทสที่ ๔ จบ

๕. สัมมสนญาณนิทเทส
แสดงสัมมสนญาณ
[๔๘] ปัญญาในการย่อธรรมทั้งหลาย ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน
แล้วกำหนดไว้ ชื่อว่าสัมมสนญาณ เป็นอย่างไร
คือ พระโยคาวจรกำหนดรูปทุกอย่างทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็น
ภายในก็ตาม เป็นภายนอกก็ตาม หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม เลวก็ตาม ประณีต
ก็ตาม มีในที่ไกลก็ตาม มีในที่ใกล้ก็ตาม โดยความไม่เที่ยง การกำหนดนี้ ชื่อว่า

เชิงอรรถ :
๑ สังเขป ๔ หมายถึงธรรม ๔ กลุ่ม ได้แก่ (๑) อดีตเหตุ คือ อวิชชาและสังขาร เรียกว่า เหตุสังเขป (๒) ปัจจุบัน-
ผล คือ วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ และเวทนา เรียกว่า ผลสังเขป (๓) ปัจจุบันเหตุ คือ ตัณหา
อุปาทานและภพ เรียกว่า เหตุสังเขป (๔) อนาคตผล คือชาติ ชรา มรณะและโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
อุปายาส เรียกว่า ผลสังเขป (ขุ.ป.อ. ๑/๔๗/๒๖๑)
๒ กาล ๓ หมายถึงธรรมที่เป็นไปในกาล ๓ กาล ได้แก่ (๑) อดีตกาล คือ อวิชชาและสังขาร (๒) ปัจจุบันกาล
คือ วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน และภพ (๓) อนาคตกาล คือ ชาติ ชรา
มรณะ และโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส (ขุ.ป.อ. ๑/๔๗/๒๖๑)
๓ สนธิ ๓ หมายถึงขั้วต่อระหว่างสังเขป ๔ มี ๓ ขั้วต่อ ได้แก่ (๑) ขั้วต่อระหว่างอดีตเหตุกับปัจจุบันผล เรียกว่า
เหตุผลสนธิ (๒) ขั้วต่อระหว่างปัจจุบันผลกับปัจจุบันเหตุ เรียกว่าผลเหตุสนธิ (๓) ขั้วต่อระหว่างปัจจุบัน-
เหตุกับอนาคตผล เรียกว่า เหตุผลสนธิ (ขุ.ป.อ. ๑/๔๗/๒๖๑)
๔ อาการ ๒๐ หมายถึงองค์ประกอบแต่ละอย่างดุจกำของล้อที่ต้องกระจายให้เต็มตามช่องแห่งสังเขป ๔
อาการ ๒๐ ประการนี้ จำแนกตามส่วนที่เป็นเหตุและส่วนที่เป็นผลได้ดังนี้ คือ อดีตเหตุ ๕ ได้แก่ อวิชชา
สังขาร ตัณหา อุปาทาน และภพ ปัจจุบันผล ๕ ได้แก่ วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ และเวทนา
ปัจจุบันเหตุ ๕ ได้แก่ อวิชชา สังขาร ตัณหา อุปาทานและภพ อนาคตผล ๕ ได้แก่ วิญญาณ นามรูป
สฬายตนะ ผัสสะ และเวทนา (ขุ.ป.อ. ๑/๔๗/๒๖๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๗๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๕. สัมมสนญาณนิทเทส
สัมมสนญาณอย่างหนึ่ง กำหนดโดยความเป็นทุกข์ การกำหนดนี้ ชื่อว่าสัมมสน-
ญาณอย่างหนึ่ง กำหนดโดยความเป็นอนัตตา การกำหนดนี้ ชื่อว่าสัมมสนญาณ
อย่างหนึ่ง
พระโยคาวจรกำหนดเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ
พระโยคาวจรกำหนดวิญญาณทุกอย่างทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็น
ภายในก็ตาม เป็นภายนอกก็ตาม หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม เลวก็ตาม ประณีตก็ตาม
มีในที่ไกลก็ตาม มีในที่ใกล้ก็ตาม โดยความไม่เที่ยง การกำหนดนี้ ชื่อว่าสัมมสน-
ญาณอย่างหนึ่ง กำหนดโดยความเป็นทุกข์ การกำหนดนี้ ชื่อว่าสัมมสนญาณอย่าง
หนึ่ง กำหนดโดยความเป็นอนัตตา การกำหนดนี้ ชื่อว่าสัมมสนญาณอย่างหนึ่ง
พระโยคาวจรกำหนดจักขุทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน โดยความไม่เที่ยง
การกำหนดนี้ ชื่อว่าสัมมสนญาณอย่างหนึ่ง ฯลฯ๑
พระโยคาวจรกำหนดชราและมรณะทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน โดย
ความไม่เที่ยง การกำหนดนี้ ชื่อว่าสัมมสนญาณอย่างหนึ่ง กำหนดโดย
ความเป็นทุกข์ การกำหนดนี้ ชื่อว่าสัมมสนญาณอย่างหนึ่ง กำหนดโดยความเป็น
อนัตตา การกำหนดนี้ ชื่อว่าสัมมสนญาณอย่างหนึ่ง
ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดว่า “รูปทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน
ชื่อว่าไม่เที่ยง เพราะมีสภาวะสิ้นไป ชื่อว่าเป็นทุกข์ เพราะมีสภาวะเป็นภัย ชื่อว่า
เป็นอนัตตา เพราะมีสภาวะไม่มีแก่นสาร” ชื่อว่าสัมมสนญาณ
ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดว่า “เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ
วิญญาณ ฯลฯ
ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดว่า “จักขุ ฯลฯ ชราและมรณะทั้งที่เป็นอดีต
อนาคต และปัจจุบัน ชื่อว่าไม่เที่ยง เพราะมีสภาวะสิ้นไป ชื่อว่าเป็นทุกข์ เพราะมี
สภาวะเป็นภัย ชื่อว่าเป็นอนัตตา เพราะมีสภาวะไม่มีแก่นสาร” ชื่อว่าสัมมสนญาณ
ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดรูปทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันว่า “ไม่เที่ยง
อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา เสื่อมไปเป็นธรรมดา
คลายไปเป็นธรรมดา ดับไปเป็นธรรมดา” ชื่อว่าสัมมสนญาณ

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มองค์ธรรม ในข้อ ๓-๖ หน้า ๙-๑๓ แห่งสุตมยญาณนิทเทส ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๕. สัมมสนญาณนิทเทส
ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ
ฯลฯ
ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดจักขุ ฯลฯ ชราและมรณะ ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต
และปัจจุบันว่า “ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา
เสื่อมไปเป็นธรรมดา คลายไปเป็นธรรมดา ดับไปเป็นธรรมดา” ชื่อว่าสัมมสนญาณ
ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดว่า “เพราะชาติเป็นปัจจัย ชราและมรณะจึงมี
เมื่อชาติไม่มี ชราและมรณะก็ไม่มี” ชื่อว่าสัมมสนญาณ
ปัญญาในการย่อแล้วกำหนด ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดีว่า “เพราะ
ชาติเป็นปัจจัย ชราและมรณะจึงมี เมื่อชาติไม่มี ชราและมรณะก็ไม่มี” ชื่อว่า
สัมมสนญาณ
ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดว่า “เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เมื่อภพไม่มี
ชาติก็ไม่มี ฯลฯ เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี เมื่ออุปาทานไม่มี ภพก็ไม่มี
ฯลฯ เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี เมื่อตัณหาไม่มี อุปาทานก็ไม่มี ฯลฯ
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี เมื่อเวทนาไม่มี ตัณหาก็ไม่มี ฯลฯ เพราะผัสสะ
เป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เมื่อผัสสะไม่มี เวทนาก็ไม่มี ฯลฯ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย
ผัสสะจึงมี เมื่อสฬายตนะไม่มี ผัสสะก็ไม่มี ฯลฯ เพราะนามรูปเป็นปัจจัย
สฬายตนะจึงมี เมื่อนามรูปไม่มี สฬายตนะก็ไม่มี ฯลฯ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย
นามรูปจึงมี เมื่อวิญญาณไม่มี นามรูปก็ไม่มี ฯลฯ เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณ
จึงมี เมื่อสังขารไม่มี วิญญาณก็ไม่มี ฯลฯ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
เมื่ออวิชชาไม่มี สังขารก็ไม่มี” ชื่อว่าสัมมสนญาณ
ปัญญาในการย่อแล้วกำหนด ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดีว่า “เพราะ
อวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เมื่ออวิชชาไม่มี สังขารก็ไม่มี” ชื่อว่าสัมมสนญาณ
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการย่อธรรมทั้งหลายทั้งที่เป็นอดีต อนาคต
และปัจจุบันแล้วกำหนดไว้ ชื่อว่าสัมมสนญาณ
สัมมสนญาณนิทเทสที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๗๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๖. อุทยัพพยญาณนิทเทส
๖. อุทยัพพยญาณนิทเทส
แสดงอุทยัพพยญาณ
[๔๙] ปัญญาในการพิจารณาเห็นความแปรผันแห่งธรรมทั้งหลายที่เป็น
ปัจจุบัน ชื่อว่าอุทยัพพยานุปัสสนาญาณ เป็นอย่างไร
คือ รูปที่เกิดแล้วเป็นปัจจุบัน ลักษณะความบังเกิดแห่งรูปนั้น ชื่อว่าความเกิด
ขึ้น ลักษณะความแปรผันไป (แห่งรูปนั้น) ชื่อว่าความเสื่อม ปัญญาที่พิจารณาเห็นดังนี้
ชื่อว่าอนุปัสสนาญาณ
เวทนาที่เกิดแล้ว ฯลฯ สัญญาที่เกิดแล้ว ฯลฯ สังขารที่เกิดแล้ว ฯลฯ วิญญาณ
ที่เกิดแล้ว ฯลฯ
จักขุที่เกิดแล้ว ฯลฯ ภพที่เกิดแล้ว เป็นปัจจุบัน ลักษณะความบังเกิดแห่ง
ภพนั้น ชื่อว่าความเกิดขึ้น ลักษณะความแปรผันไป (แห่งภพนั้น) ชื่อว่าความเสื่อม
ปัญญาที่พิจารณาเห็นดังนี้ ชื่อว่าอนุปัสสนาญาณ
[๕๐] พระโยคาวจรเมื่อเห็นความเกิดขึ้นแห่งเบญจขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะเท่าไร
เมื่อเห็นความเสื่อม (แห่งเบญจขันธ์) ย่อมเห็นลักษณะเท่าไร เมื่อเห็นความเกิดขึ้น
และความเสื่อม (แห่งเบญจขันธ์) ย่อมเห็นลักษณะเท่าไร
พระโยคาวจรเมื่อเห็นความเกิดขึ้นแห่งเบญจขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะ ๒๕
ประการ เมื่อเห็นความเสื่อม (แห่งเบญจขันธ์) ย่อมเห็นลักษณะ ๒๕ ประการ เมื่อ
เห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อม (แห่งเบญจขันธ์) ย่อมเห็นลักษณะ ๕๐ ประการ
พระโยคาวจรเมื่อเห็นความเกิดขึ้นแห่งรูปขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะเท่าไร เมื่อ
เห็นความเสื่อม (แห่งรูปขันธ์) ย่อมเห็นลักษณะเท่าไร เมื่อเห็นความเกิดขึ้นและ
ความเสื่อม (แห่งรูปขันธ์) ย่อมเห็นลักษณะเท่าไร
พระโยคาวจรเมื่อเห็นความเกิดขึ้นแห่งเวทนาขันธ์ ฯลฯ แห่งสัญญาขันธ์ ฯลฯ
แห่งสังขารขันธ์ ฯลฯ แห่งวิญญาณขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะเท่าไร เมื่อเห็นความเสื่อม
(แห่งเวทนาขันธ์ ฯลฯ แห่งสัญญาขันธ์ ฯลฯ แห่งสังขารขันธ์ ฯลฯ แห่งวิญญาณขันธ์)
ย่อมเห็นลักษณะเท่าไร เมื่อเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อม (แห่งวิญญาณขันธ์)
ย่อมเห็นลักษณะเท่าไร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๗๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๖. อุทยัพพยญาณนิทเทส
พระโยคาวจรเมื่อเห็นความเกิดขึ้นแห่งรูปขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะ ๕ ประการ
เมื่อเห็นความเสื่อม (แห่งรูปขันธ์) ย่อมเห็นลักษณะ ๕ ประการ เมื่อเห็นความ
เกิดขึ้นและความเสื่อม (แห่งรูปขันธ์) ย่อมเห็นลักษณะ ๑๐ ประการ เมื่อเห็น
ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาขันธ์ ฯลฯ แห่งสัญญาขันธ์ ฯลฯ แห่งสังขารขันธ์ ฯลฯ แห่ง
วิญญาณขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะ ๕ ประการ เมื่อเห็นความเสื่อม (แห่งวิญญาณขันธ์)
ย่อมเห็นลักษณะ ๕ ประการ เมื่อเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อม (แห่งวิญญาณขันธ์)
ย่อมเห็นลักษณะ ๑๐ ประการ
พระโยคาวจรเมื่อเห็นความเกิดขึ้นแห่งรูปขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะ ๕ ประการ
อะไรบ้าง คือ
๑. พระโยคาวจรย่อมเห็นความเกิดขึ้นแห่งรูปขันธ์ โดยความเกิดขึ้น
แห่งปัจจัยว่า “เพราะอวิชชาเกิด รูปจึงเกิด”
๒. พระโยคาวจรย่อมเห็นความเกิดขึ้นแห่งรูปขันธ์ โดยความเกิดขึ้น
แห่งปัจจัยว่า “เพราะตัณหาเกิด รูปจึงเกิด”
๓. พระโยคาวจรย่อมเห็นความเกิดขึ้นแห่งรูปขันธ์ โดยความเกิดขึ้น
แห่งปัจจัยว่า “เพราะกรรมเกิด รูปจึงเกิด”
๔. พระโยคาวจรย่อมเห็นความเกิดขึ้นแห่งรูปขันธ์ โดยความเกิดขึ้น
แห่งปัจจัยว่า “เพราะอาหารเกิด รูปจึงเกิด”
๕. พระโยคาวจรแม้เมื่อเห็นลักษณะแห่งความบังเกิด ก็ย่อมเห็น
ความเกิดขึ้นแห่งรูปขันธ์
พระโยคาวจรเมื่อเห็นความเกิดขึ้นแห่งรูปขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะ ๕ ประการนี้
พระโยคาวจรเมื่อเห็นความเสื่อม(แห่งรูปขันธ์) ย่อมเห็นลักษณะ ๕
ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. พระโยคาวจรย่อมเห็นความเสื่อมแห่งรูปขันธ์ โดยความดับแห่ง
ปัจจัยว่า “เพราะอวิชชาดับ รูปจึงดับ”
๒. พระโยคาวจรย่อมเห็นความเสื่อมแห่งรูปขันธ์ โดยความดับแห่ง
ปัจจัยว่า “เพราะตัณหาดับ รูปจึงดับ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๖. อุทยัพพยญาณนิทเทส
๓. พระโยคาวจรย่อมเห็นความเสื่อมแห่งรูปขันธ์ โดยความดับแห่ง
ปัจจัยว่า “เพราะกรรมดับ รูปจึงดับ”
๔. พระโยคาวจรย่อมเห็นความเสื่อมแห่งรูปขันธ์ โดยความดับแห่ง
ปัจจัยว่า “เพราะอาหารดับ รูปจึงดับ”
๕. พระโยคาวจรแม้เมื่อเห็นลักษณะแห่งความแปรผัน ก็ย่อมเห็น
ความเสื่อมแห่งรูปขันธ์
พระโยคาวจรเมื่อเห็นความเสื่อมแห่งรูปขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะ ๕ ประการนี้
เมื่อเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อม (แห่งรูปขันธ์) ย่อมเห็นลักษณะ ๑๐ ประการนี้
พระโยคาวจรเมื่อเห็นความเกิดขึ้นแห่งเวทนาขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะ
๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. พระโยคาวจรย่อมเห็นความเกิดขึ้นแห่งเวทนาขันธ์ โดยความเกิดขึ้น
แห่งปัจจัยว่า “เพราะอวิชชาเกิด เวทนาจึงเกิด”
๒. พระโยคาวจรย่อมเห็นความเกิดขึ้นแห่งเวทนาขันธ์ โดยความเกิดขึ้น
แห่งปัจจัยว่า “เพราะตัณหาเกิด เวทนาจึงเกิด”
๓. พระโยคาวจรย่อมเห็นความเกิดขึ้นแห่งเวทนาขันธ์ โดยความเกิดขึ้น
แห่งปัจจัยว่า “เพราะกรรมเกิด เวทนาจึงเกิด”
๔. พระโยคาวจรย่อมเห็นความเกิดขึ้นแห่งเวทนาขันธ์ โดยความเกิดขึ้น
แห่งปัจจัยว่า “เพราะผัสสะเกิด เวทนาจึงเกิด”
๕. พระโยคาวจรแม้เมื่อเห็นลักษณะแห่งความบังเกิด ก็ย่อมเห็นความ
เกิดขึ้นแห่งเวทนาขันธ์
พระโยคาวจรเมื่อเห็นความเกิดขึ้นแห่งเวทนาขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะ ๕ ประการนี้
พระโยคาวจรเมื่อเห็นความเสื่อม (แห่งเวทนาขันธ์) ย่อมเห็นลักษณะ
๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. พระโยคาวจรย่อมเห็นความเสื่อมแห่งเวทนาขันธ์ โดยความดับแห่ง
ปัจจัยว่า “เพราะอวิชชาดับ เวทนาจึงดับ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๗๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๖. อุทยัพพยญาณนิทเทส
๒. พระโยคาวจรย่อมเห็นความเสื่อมแห่งเวทนาขันธ์ โดยความดับ
แห่งปัจจัยว่า “เพราะตัณหาดับ เวทนาจึงดับ”
๓. พระโยคาวจรย่อมเห็นความเสื่อมแห่งเวทนาขันธ์ โดยความดับแห่ง
ปัจจัยว่า “เพราะกรรมดับ เวทนาจึงดับ”
๔. พระโยคาวจรย่อมเห็นความเสื่อมแห่งเวทนาขันธ์ โดยความดับแห่ง
ปัจจัยว่า “เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ”
๕. พระโยคาวจรแม้เมื่อเห็นลักษณะแห่งความแปรผัน ก็ย่อมเห็น
ความเสื่อมแห่งเวทนาขันธ์
พระโยคาวจรเมื่อเห็นความเสื่อมแห่งเวทนาขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะ ๕ ประการนี้
เมื่อเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อม (แห่งเวทนาขันธ์) ย่อมเห็นลักษณะ ๑๐ ประการนี้
พระโยคาวจรเมื่อเห็นความเกิดขึ้นแห่งสัญญาขันธ์ ฯลฯ แห่งสังขารขันธ์ ฯลฯ
พระโยคาวจรเมื่อเห็นความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะ ๕
ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. พระโยคาวจรย่อมเห็นความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณขันธ์ โดยความเกิด
ขึ้นแห่งปัจจัยว่า “เพราะอวิชชาเกิด วิญญาณจึงเกิด”
๒. พระโยคาวจรย่อมเห็นความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณขันธ์ โดยความเกิด
ขึ้นแห่งปัจจัยว่า “เพราะตัณหาเกิด วิญญาณจึงเกิด”
๓. พระโยคาวจรย่อมเห็นความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณขันธ์ โดยความเกิด
ขึ้นแห่งปัจจัยว่า “เพราะกรรมเกิด วิญญาณจึงเกิด”
๔. พระโยคาวจรย่อมเห็นความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณขันธ์ โดยความเกิด
ขึ้นแห่งปัจจัย ว่า “เพราะนามรูปเกิด วิญญาณจึงเกิด”
๕. พระโยคาวจรแม้เมื่อเห็นลักษณะแห่งความบังเกิด ก็ย่อมเห็นความ
เกิดขึ้นแห่งวิญญาณขันธ์
พระโยคาวจรเมื่อเห็นความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะ ๕ ประการนี้
พระโยคาวจรเมื่อเห็นความเสื่อม (แห่งสัญญาขันธ์ ฯลฯ แห่งสังขารขันธ์ ฯลฯ)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๘๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๖. อุทยัพพยญาณนิทเทส
พระโยคาวจรเมื่อเห็นความเสื่อม (แห่งวิญญาณขันธ์) ย่อมเห็นลักษณะ
๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. พระโยคาวจรย่อมเห็นความเสื่อมแห่งวิญญาณขันธ์ โดยความดับ
แห่งปัจจัยว่า “เพราะอวิชชาดับ วิญญาณจึงดับ”
๒. พระโยคาวจรย่อมเห็นความเสื่อมแห่งวิญญาณขันธ์ โดยความดับ
แห่งปัจจัยว่า “เพราะตัณหาดับ วิญญาณจึงดับ”
๓. พระโยคาวจรย่อมเห็นความเสื่อมแห่งวิญญาณขันธ์ โดยความดับ
แห่งปัจจัยว่า “เพราะกรรมดับ วิญญาณจึงดับ”
๔. พระโยคาวจรย่อมเห็นความเสื่อมแห่งวิญญาณขันธ์ โดยความดับ
แห่งปัจจัยว่า “เพราะนามรูปดับ วิญญาณจึงดับ”
๕. พระโยคาวจรแม้เมื่อเห็นลักษณะแห่งความแปรผัน ก็ย่อมเห็นความ
เสื่อมแห่งวิญญาณขันธ์
พระโยคาวจรเมื่อเห็นความเสื่อมแห่งวิญญาณขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะ ๕ ประการนี้
เมื่อเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อม (แห่งวิญญาณขันธ์) ย่อมเห็นลักษณะ ๑๐ ประการนี้
พระโยคาวจรเมื่อเห็นความเกิดขึ้นแห่งเบญจขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะ ๒๕ ประการนี้
เมื่อเห็นความเสื่อม (แห่งเบญจขันธ์) ย่อมเห็นลักษณะ ๒๕ ประการนี้ เมื่อเห็น
ความเกิดขึ้นและความเสื่อม (แห่งเบญจขันธ์) ย่อมเห็นลักษณะ ๕๐ ประการนี้
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการพิจารณาเห็นความแปรผันแห่งธรรมทั้งหลาย
ที่เป็นปัจจุบัน ชื่อว่าอุทยัพพยานุปัสสนาญาณ
รูปขันธ์มีอาหารเป็นเหตุเกิด ขันธ์ที่เหลือคือเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขาร-
ขันธ์มีผัสสะเป็นเหตุเกิด วิญญาณขันธ์มีนามรูปเป็นเหตุเกิด

อุทยัพพยญาณนิทเทสที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๗. ภังคานุปัสสนาญาณนิทเทส
๗. ภังคานุปัสสนาญาณนิทเทส
แสดงภังคานุปัสสนาญาณ
[๕๑] ปัญญาในการพิจารณาอารมณ์แล้วพิจารณาเห็นความดับ ชื่อว่า
วิปัสสนาญาณ เป็นอย่างไร
คือ จิตมีรูปเป็นอารมณ์เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป พระโยคาวจรพิจารณาอารมณ์
นั้นแล้ว พิจารณาเห็นความดับไปแห่งจิตนั้น
พิจารณาเห็นอย่างไร ชื่อว่าพิจารณาเห็น
คือ พิจารณาเห็นโดยความไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดยความเที่ยง พิจารณา
เห็นโดยความเป็นทุกข์ ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นสุข พิจารณาเห็นโดยความ
เป็นอนัตตา ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อมคลาย
กำหนัด ไม่กำหนัด ย่อมทำราคะให้ดับ ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่ยึดถือ
[๕๒] เมื่อพิจารณาเห็นโดยความไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ เมื่อพิจารณา
เห็นโดยความเป็นทุกข์ ย่อมละสุขสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา
ย่อมละอัตตสัญญาได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละนันทิ (ความยินดี) ได้ เมื่อคลายกำหนัด
ย่อมละราคะได้ เมื่อทำราคะให้ดับ ย่อมละสมุทัยได้ เมื่อสละคืน ย่อมละอาทานะ
(ความยึดถือ) ได้
จิตมีเวทนาเป็นอารมณ์ ฯลฯ จิตมีสัญญาเป็นอารมณ์ ฯลฯ จิตมีสังขารเป็นอารมณ์
ฯลฯ จิตมีวิญญาณเป็นอารมณ์ ฯลฯ
จิตมีจักขุเป็นอารมณ์ ฯลฯ จิตมีชราและมรณะเป็นอารมณ์เกิดขึ้นแล้วย่อม
ดับไป พระโยคาวจรพิจารณาอารมณ์นั้นแล้ว พิจารณาเห็นความดับไปแห่งจิตนั้น
พิจารณาเห็นอย่างไร ชื่อว่าพิจารณาเห็น
คือ พิจารณาเห็นโดยความไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดยความเที่ยง พิจารณา
เห็นโดยความเป็นทุกข์ ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นสุข พิจารณาเห็นโดยความ
เป็นอนัตตา ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อมคลาย
กำหนัด ไม่กำหนัด ย่อมทำราคะให้ดับ ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่ยึดถือ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๗. ภังคานุปัสสนาญาณนิทเทส
เมื่อพิจารณาเห็นโดยความไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็น
โดยความเป็นทุกข์ ย่อมละสุขสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา
ย่อมละอัตตสัญญาได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละนันทิได้ เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละ
ราคะได้ เมื่อทำราคะให้ดับ ย่อมละสมุทัยได้ เมื่อสละคืน ย่อมละอาทานะได้
การก้าวลงสู่อารมณ์ การหลีกไปด้วยปัญญา
การคำนึงถึงที่มีกำลัง ชื่อว่าปฏิสังขาวิปัสสนา๑
การกำหนดธรรม ๒ ประการ๒
ว่ามีสภาวะอย่างเดียวกันกับอารมณ์ปัจจุบัน
ความน้อมจิตไปในความดับ ชื่อว่าวยลักขณวิปัสสนา๓
การที่พระโยคาวจรพิจารณาอารมณ์แล้ว
พิจารณาเห็นความดับแห่งจิต
และความปรากฏโดยสุญญตะ
ชื่อว่าอธิปัญญาวิปัสสนา๔
พระโยคาวจรผู้ฉลาดในอนุปัสสนา ๓
และวิปัสสนา ๔ ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะทิฏฐิต่าง ๆ
เพราะเป็นผู้ฉลาดในความปรากฏ ๓ ประการ๕
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการพิจารณาอารมณ์แล้วพิจารณาเห็นความดับไป
ชื่อว่าวิปัสสนาญาณ
ภังคานุปัสสนาญาณนิทเทสที่ ๗ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ปฏิสังขาวิปัสสนา ได้แก่ การพิจารณาอารมณ์แล้วเห็นความดับ (ขุ.ป.อ. ๑/๕๒/๒๗๙)
๒ ธรรม ๒ ประการ ได้แก่ สังขารที่เป็นอดีตและที่เป็นอนาคต (ขุ.ป.อ. ๑/๕๒/๒๗๙)
๓ วยลักขณวิปัสสนา ได้แก่ ความเห็นแจ้งซึ่งมีความเสื่อมไปเป็นลักษณะ (ขุ.ป.อ. ๑/๕๒/๒๗๙)
๔ อธิปัญญาวิปัสสนา ได้แก่ ความเห็นแจ้งด้วยอธิปัญญา ( ขุ.ป.อ. ๑/๕๒/๒๗๙)
๕ ความปรากฏ ๓ ประการ ได้แก่ ความสิ้นไป, ความเสื่อมไป, ความว่างเปล่า (ขุ.ป.อ. ๑/๕๒/๒๘๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๘. อาทีนวญาณนิทเทส
๘. อาทีนวญาณนิทเทส
แสดงอาทีนวญาณ
[๕๓] ปัญญาในการ (เห็นสังขาร) ปรากฏโดยความเป็นภัย ชื่อว่า
อาทีนวญาณ เป็นอย่างไร
คือ ปัญญาในการ (เห็นสังขาร) ปรากฏโดยความเป็นภัยว่า “ความเกิดขึ้นเป็น
ภัย” ชื่อว่าอาทีนวญาณ ... “ความเป็นไปเป็นภัย” ... “นิมิต๑เป็นภัย” “กรรม
เป็นเครื่องประมวลมาเป็นภัย” ... “ปฏิสนธิเป็นภัย” ... “คติเป็นภัย” ... “ความ
บังเกิดเป็นภัย” ... “ความอุบัติเป็นภัย” ... “ความเกิดเป็นภัย” ... “ความแก่เป็นภัย”
... “ความเจ็บไข้เป็นภัย” ... “ความตายเป็นภัย” ... “ความเศร้าโศกเป็นภัย” ...
“ความรำพันเป็นภัย”... ปัญญาในการ (เห็นสังขาร) ปรากฏโดยความเป็นภัยว่า
“ความคับแค้นใจเป็นภัย” ชื่อว่าอาทีนวญาณ
ญาณในสันติบท๒ว่า “ความไม่เกิดขึ้นปลอดภัย” ... “ความไม่เป็นไปปลอดภัย”
ฯลฯ ญาณในสันติบทว่า “ความไม่คับแค้นใจปลอดภัย”
ญาณในสันติบทว่า “ความเกิดขึ้นเป็นภัย” ... “ความไม่เกิดขึ้นปลอดภัย” ...
“ความเป็นไปเป็นภัย” ... “ความไม่เป็นไปปลอดภัย” ฯลฯ “ความคับแค้นใจเป็นภัย”
ญาณในสันติบทว่า “ความไม่คับแค้นใจปลอดภัย”
ปัญญาในการ (เห็นสังขาร) ปรากฏโดยความเป็นภัยว่า “ความเกิดขึ้นเป็นทุกข์”
ชื่อว่าอาทีนวญาณ ฯลฯ ปัญญาในการ(เห็นสังขาร)ปรากฏโดยความเป็นภัยว่า
“ความคับแค้นใจเป็นทุกข์” ชื่อว่าอาทีนวญาณ
ญาณในสันติบทว่า “ความไม่เกิดขึ้นเป็นสุข” ... “ความไม่เป็นไปเป็นสุข” ฯลฯ
ญาณในสันติบทว่า “ความไม่คับแค้นใจเป็นสุข”

เชิงอรรถ :
๑ นิมิต ในที่นี้หมายถึงสังขารนิมิต (ขุ.ป.อ. ๑/๕๓/๒๘๑)
๒ สันติบท หมายถึงส่วนแห่งความสงบ อีกนัยหนึ่งคือพระนิพพาน (ขุ.ป.อ. ๑/๕๓/๒๘๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๘. อาทีนวญาณนิทเทส
ญาณในสันติบทว่า “ความเกิดขึ้นเป็นทุกข์” ... “ความไม่เกิดขึ้นเป็นสุข”
... “ความเป็นไปเป็นทุกข์” ... “ความไม่เป็นไปเป็นสุข” ฯลฯ “ความคับแค้นใจเป็นทุกข์”
ญาณในสันติบทว่า “ความไม่คับแค้นใจเป็นสุข”
ปัญญาในการ(เห็นสังขาร)ปรากฏโดยความเป็นภัยว่า “ความเกิดขึ้นเป็นอามิส”
ชื่อว่าอาทีนวญาณ ... “ความเป็นไปเป็นอามิส” ฯลฯ ปัญญาในการ(เห็นสังขาร)
ปรากฏโดยความเป็นภัยว่า “ความคับแค้นใจเป็นอามิส” ชื่อว่าอาทีนวญาณ
ญาณในสันติบทว่า “ความไม่เกิดขึ้นไม่เป็นอามิส” ... “ความไม่เป็นไปไม่เป็น
อามิส” ฯลฯ ญาณในสันติบทว่า “ความไม่คับแค้นใจไม่เป็นอามิส”
ญาณในสันติบทว่า “ความเกิดขึ้นเป็นอามิส” ... “ความไม่เกิดขึ้นไม่เป็น
อามิส” ... “ความเป็นไปเป็นอามิส” ... “ความไม่เป็นไปไม่เป็นอามิส” ฯลฯ
“ความคับแค้นใจเป็นอามิส” ญาณในสันติบทว่า “ความไม่คับแค้นใจไม่เป็นอามิส”
ปัญญาในการ (เห็นสังขาร) ปรากฏโดยความเป็นภัยว่า “ความเกิดขึ้นเป็นสังขาร”
ชื่อว่าอาทีนวญาณ ฯลฯ ปัญญาในการ(เห็นสังขาร)ปรากฏโดยความเป็นภัยว่า
“ความคับแค้นใจเป็นสังขาร” ชื่อว่าอาทีนวญาณ
ญาณในสันติบทว่า “ความไม่เกิดขึ้นเป็นนิพพาน” ... “ความไม่เป็นไปเป็น
นิพพาน” ฯลฯ ญาณในสันติบทว่า “ความไม่คับแค้นใจเป็นนิพพาน”
ญาณในสันติบทว่า “ความเกิดขึ้นเป็นสังขาร” ... “ความไม่เกิดขึ้นเป็น
นิพพาน” ... “ความเป็นไปเป็นสังขาร” ... “ความไม่เป็นไปเป็นนิพพาน” ฯลฯ
“ความคับแค้นใจเป็นสังขาร” ญาณในสันติบทว่า “ความไม่คับแค้นใจเป็น
นิพพาน”
การที่พระโยคาวจรเห็นความเกิดขึ้น
ความเป็นไป นิมิต กรรมเป็นเครื่องประมวลมา
และปฏิสนธิว่าเป็นทุกข์
นี้เป็นอาทีนวญาณ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๘๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๙. สังขารุเปกขาญาณนิทเทส
การที่พระโยคาวจรเห็นความไม่เกิดขึ้น
ความไม่เป็นไป อนิมิต
ความไม่มีกรรมเป็นเครื่องประมวลมา
และความไม่มีปฏิสนธิว่าเป็นสุข
นี้เป็นญาณในสันติบท
อาทีนวญาณนี้ย่อมเกิดขึ้นในฐานะ ๕
ญาณในสันติบทย่อมเกิดขึ้นในฐานะ ๕
พระโยคาวจรรู้ชัดญาณ ๑๐ ประการ
ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะทิฏฐิต่าง ๆ
เพราะเป็นผู้ฉลาดในญาณทั้งสอง
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการ (เห็นสังขาร) ปรากฏโดยความเป็นภัย ชื่อว่า
อาทีนวญาณ
อาทีนวญาณนิทเทสที่ ๘ จบ

๙. สังขารุเปกขาญาณนิทเทส
แสดงสังขารุเปกขาญาณ
[๕๔] ปัญญาที่ปรารถนาจะพ้นไป พิจารณาและดำรงมั่นอยู่ ชื่อว่า
สังขารุเปกขาญาณ เป็นอย่างไร
คือ ปัญญาที่ปรารถนาจะพ้นไปจากความเกิดขึ้น พิจารณาและดำรงมั่นอยู่
ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ ปัญญาที่ปรารถนาจะพ้นไปจากความเป็นไป พิจารณาและ
ดำรงมั่นอยู่ ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ ปัญญาที่ปรารถนาจะพ้นไปจากนิมิต ... จาก
กรรมเป็นเครื่องประมวลมา ... จากปฏิสนธิ ... จากคติ ... จากความบังเกิด ... จาก
ความอุบัติ ... จากความเกิด ... จากความแก่ ... จากความเจ็บไข้ ... จากความตาย ...
จากความเศร้าโศก ... จากความรำพัน ... ปัญญาที่ปรารถนาจะพ้นไปจากความ
คับแค้นใจ พิจารณาและดำรงมั่นอยู่ ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๘๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๙. สังขารุเปกขาญาณนิทเทส
ปัญญาที่ปรารถนาจะพ้นไปพิจารณาและดำรงมั่นอยู่ว่า “ความเกิดขึ้นเป็น
ทุกข์” ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ ... “ความเป็นไปเป็นทุกข์” ... “นิมิตเป็นทุกข์” ฯลฯ
ปัญญาที่ปรารถนาจะพ้นไปพิจารณาและดำรงมั่นอยู่ว่า “ความคับแค้นใจเป็นทุกข์”
ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
ปัญญาที่ปรารถนาจะพ้นไปพิจารณาและดำรงมั่นอยู่ว่า “ความเกิดขึ้นเป็นภัย”
ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ ... “ความเป็นไปเป็นภัย” ฯลฯ ปัญญาที่ปรารถนาจะพ้น
ไปพิจารณาและดำรงมั่นอยู่ว่า “ความคับแค้นใจเป็นภัย” ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
ปัญญาที่ปรารถนาจะพ้นไปพิจารณาและดำรงมั่นอยู่ว่า “ความเกิดขึ้นเป็น
อามิส” ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ ... “ความเป็นไปเป็นอามิส” ฯลฯ ปัญญาที่
ปรารถนาจะพ้นไปพิจารณาและดำรงมั่นอยู่ว่า “ความคับแค้นใจเป็นอามิส” ชื่อว่า
สังขารุเปกขาญาณ
ปัญญาที่ปรารถนาจะพ้นไปพิจารณาและดำรงมั่นอยู่ว่า “ความเกิดขึ้นเป็น
สังขาร” ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ ... “ความเป็นไปเป็นสังขาร” ฯลฯ ปัญญาที่
ปรารถนาจะพ้นไปพิจารณาและดำรงมั่นอยู่ว่า “ความคับแค้นใจเป็นสังขาร” ชื่อว่า
สังขารุเปกขาญาณ
ความเกิดขึ้นเป็นสังขาร ญาณเพ่งเฉยสังขารเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
สังขารุเปกขาญาณ
แม้ธรรม ๒ ประการนี้ คือ สังขารและอุเบกขาก็เป็นสังขาร ญาณเพ่งเฉย
สังขารเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
ความเป็นไปเป็นสังขาร ญาณเพ่งเฉยสังขารเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
สังขารุเปกขาญาณ ฯลฯ นิมิตเป็นสังขาร ... กรรมเป็นเครื่องประมวลมาเป็นสังขาร
.. ปฏิสนธิเป็นสังขาร ... คติเป็นสังขาร ... ความบังเกิดเป็นสังขาร ... ความอุบัติ
เป็นสังขาร ... ความเกิดเป็นสังขาร ... ความแก่เป็นสังขาร ... ความเจ็บไข้เป็นสังขาร ...
ความตายเป็นสังขาร ... ความเศร้าโศกเป็นสังขาร ... ความรำพันเป็นสังขาร ...
ความคับแค้นใจเป็นสังขาร ญาณเพ่งเฉยสังขารเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
สังขารุเปกขาญาณ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๘๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๙. สังขารุเปกขาญาณนิทเทส
แม้ธรรม ๒ ประการ คือ สังขารและอุเบกขาก็เป็นสังขาร ญาณเพ่งเฉยสังขาร
เหล่านั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
[๕๕] การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขามีด้วยอาการเท่าไร
คือ การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขามีด้วยอาการ ๘ อย่าง
การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชนมีด้วยอาการเท่าไร การน้อมจิตไป
ในสังขารุเปกขาของพระเสขะมีด้วยอาการเท่าไร การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของ
ท่านผู้ปราศจากราคะมีด้วยอาการเท่าไร
คือ การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชนมีด้วยอาการ ๒ อย่าง การน้อม
จิตไปในสังขารุเปกขาของพระเสขะมีด้วยอาการ ๓ อย่าง การน้อมจิตไปในสังขารุ-
เปกขาของท่านผู้ปราศจากราคะมีด้วยอาการ ๓ อย่าง
การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชนมีด้วยอาการ ๒ อย่าง
อะไรบ้าง คือ
๑. ปุถุชนย่อมยินดีสังขารุเปกขา
๒. ปุถุชนย่อมเห็นแจ้งสังขารุเปกขา
การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชนมีด้วยอาการ ๒ อย่างนี้
การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของพระเสขะมีด้วยอาการ ๓ อย่าง
อะไรบ้าง คือ
๑. พระเสขะย่อมยินดีสังขารุเปกขา
๒. พระเสขะย่อมเห็นแจ้งสังขารุเปกขา
๓. พระเสขะพิจารณาแล้วย่อมเข้าผลสมาบัติ
การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของพระเสขะมีด้วยอาการ ๓ อย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๘๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๙. สังขารุเปกขาญาณนิทเทส
การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของท่านผู้ปราศจากราคะมีด้วยอาการ
๓ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ท่านผู้ปราศจากราคะย่อมเห็นแจ้งสังขารุเปกขา
๒. ท่านผู้ปราศจากราคะพิจารณาแล้วย่อมเข้าผลสมาบัติ
๓. ท่านผู้ปราศจากราคะเพ่งเฉยในสังขารุเปกขานั้นแล้วย่อมอยู่ด้วย
สุญญตวิหารสมาบัติ อนิมิตตวิหารสมาบัติ หรืออัปปณิหิตวิหารสมาบัติ
การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของท่านผู้ปราศจากราคะมีด้วยอาการ ๓
อย่างนี้
[๕๖] การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน และของพระเสขะ
เหมือนกันอย่างไร
คือ ปุถุชนผู้ยินดีสังขารุเปกขา จิตย่อมเศร้าหมอง (ความเศร้าหมองนั้น)เป็น
เครื่องกีดขวางต่อภาวนา เป็นอันตรายต่อปฏิเวธ เป็นปัจจัยแห่งปฏิสนธิสืบต่อไป
แม้พระเสขะผู้ยินดีสังขารุเปกขา จิตก็ย่อมเศร้าหมอง (ความเศร้าหมองนั้น)เป็น
เครื่องกีดขวางต่อภาวนา เป็นอันตรายต่อปฏิเวธในมรรคชั้นสูง เป็นปัจจัยแห่ง
ปฏิสนธิสืบต่อไป การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชนและของพระเสขะ เหมือน
กันโดยสภาวะแห่งความยินดีอย่างนี้
การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะ และของท่านผู้
ปราศจากราคะ เหมือนกันอย่างไร
คือ ปุถุชนย่อมเห็นแจ้งสังขารุเปกขาทั้งโดยความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็น
อนัตตา แม้พระเสขะก็เห็นแจ้งสังขารุเปกขาทั้งโดยความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็น
อนัตตา แม้ท่านผู้ปราศจากราคะก็เห็นแจ้งสังขารุเปกขาทั้งโดยความไม่เที่ยง เป็นทุกข์
และเป็นอนัตตา การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะ และของ
ท่านผู้ปราศจากราคะ เหมือนกันโดยสภาวะแห่งการพิจารณาเห็นอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๘๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๙. สังขารุเปกขาญาณนิทเทส
การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะ และของท่านผู้
ปราศจากราคะ ต่างกันอย่างไร
คือ สังขารุเปกขาของปุถุชนเป็นกุศล แม้ของพระเสขะก็เป็นกุศล แต่ของท่าน
ผู้ปราศจากราคะเป็นอัพยากฤต การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระ
เสขะ และของท่านผู้ปราศจากราคะ ต่างกันโดยสภาวะเป็นกุศล เป็นอัพยากฤต
อย่างนี้
การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะ และของท่านผู้
ปราศจากราคะ ต่างกันอย่างไร
คือ สังขารุเปกขาของปุถุชน บางคราวปรากฏชัด๑ บางคราวไม่ปรากฏชัด
แม้สังขารุเปกขาของพระเสขะ บางคราวก็ปรากฏชัด บางคราวไม่ปรากฏชัด
สังขารุเปกขาของท่านผู้ปราศจากราคะ ย่อมปรากฏชัดโดยส่วนเดียว การน้อมจิตไป
ในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะ และของท่านผู้ปราศจากราคะ ต่างกันโดย
สภาวะที่ปรากฏกับสภาวะที่ไม่ปรากฏอย่างนี้
การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะ และของท่านผู้
ปราศจากราคะ ต่างกันอย่างไร
คือ ปุถุชนย่อมเห็นแจ้งเพราะเป็นผู้ยังไม่เสร็จกิจจากสังขารุเปกขา แม้พระเสขะ
ย่อมเห็นแจ้งเพราะยังไม่เสร็จกิจจากสังขารุเปกขา ส่วนท่านผู้ปราศจากราคะย่อม
เห็นแจ้งเพราะเป็นผู้เสร็จกิจจากสังขารุเปกขา การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน
ของพระเสขะ และของท่านผู้ปราศจากราคะ ต่างกันโดยสภาวะที่เสร็จกิจแล้วกับ
สภาวะที่ยังไม่เสร็จกิจอย่างนี้

เชิงอรรถ :
๑ บางคราวปรากฏชัด หมายถึงปรากฏชัดในเวลาเจริญวิปัสสนา (ขุ.ป.อ. ๑/๕๖/๒๙๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๙๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๙. สังขารุเปกขาญาณนิทเทส
การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะ และของท่านผู้
ปราศจากราคะ ต่างกันอย่างไร
คือ ปุถุชนย่อมเห็นแจ้งสังขารุเปกขาเพื่อละสังโยชน์ ๓๑ เพื่อต้องการได้
โสดาปัตติมรรค พระเสขะย่อมเห็นแจ้งสังขารุเปกขาเพื่อต้องการได้มรรคชั้นสูงขึ้นไป
เพราะเป็นผู้ละสังโยชน์ ๓ ได้แล้ว ท่านผู้ปราศจากราคะย่อมเห็นแจ้งสังขารุเปกขา
เพื่อต้องการอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เพราะเป็นผู้ละกิเลสทั้งปวงได้แล้ว การน้อมจิตไป
ในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะ และของท่านผู้ปราศจากราคะต่างกันโดย
สภาวะที่ละกิเลสได้กับสภาวะที่ยังละกิเลสไม่ได้อย่างนี้
การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของพระเสขะ และของท่านผู้ปราศจากราคะ
ต่างกันอย่างไร
คือ พระเสขะยินดีสังขารุเปกขาบ้าง เห็นแจ้งสังขารุเปกขาบ้าง พิจารณาแล้ว
เข้าผลสมาบัติบ้าง ท่านผู้ปราศจากราคะเห็นแจ้งสังขารุเปกขาบ้าง พิจารณาแล้วเข้า
ผลสมาบัติบ้าง เพ่งเฉยสังขารุเปกขานั้นแล้วอยู่ด้วยสุญญตวิหารสมาบัติ อนิมิตต-
วิหารสมาบัติหรืออัปปณิหิตวิหารสมาบัติ การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของพระ
เสขะและของท่านผู้ปราศจากราคะ ต่างกันโดยสภาวะแห่งวิหารสมาบัติอย่างนี้
[๕๗] สังขารุเปกขาเท่าไรเกิดขึ้นด้วยอำนาจสมถะ สังขารุเปกขาเท่าไร
เกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนา
คือ สังขารุเปกขา ๘ อย่างเกิดขึ้นด้วยอำนาจสมถะ สังขารุเปกขา ๑๐ อย่าง
เกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนา
สังขารุเปกขา ๘ อย่าง อะไรบ้าง เกิดขึ้นด้วยอำนาจสมถะ คือ
๑. ปัญญาที่พิจารณานิวรณ์แล้วดำรงมั่นอยู่ เพื่อต้องการได้ปฐมฌาน
ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ

เชิงอรรถ :
๑ สังโยชน์ ๓ ได้แก่ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส (ขุ.ป.อ. ๑/๕๖/๒๙๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๙๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๙. สังขารุเปกขาญาณนิทเทส
๒. ปัญญาที่พิจารณาวิตกวิจารแล้วดำรงมั่นอยู่ เพื่อต้องการได้ทุติยฌาน
ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
๓. ปัญญาที่พิจารณาปีติแล้วดำรงมั่นอยู่ เพื่อต้องการได้ตติยฌาน
ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
๔. ปัญญาที่พิจารณาสุขและทุกข์แล้วดำรงมั่นอยู่ เพื่อต้องการได้
จตุตถฌาน ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
๕. ปัญญาที่พิจารณารูปสัญญา ปฏิฆสัญญานานัตตสัญญาแล้วดำรงมั่น
อยู่ เพื่อต้องการได้อากาสานัญจายตนสมาบัติ ชื่อว่าสังขารุเปกขา-
ญาณ
๖. ปัญญาที่พิจารณาอากาสานัญจายตนสัญญาแล้วดำรงมั่นอยู่ เพื่อ
ต้องการได้วิญญาณัญจายตนสมาบัติ ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
๗. ปัญญาที่พิจารณาวิญญาณัญจายตนสัญญาแล้วดำรงมั่นอยู่ เพื่อ
ต้องการได้อากิญจัญญายตนสมาบัติ ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
๘. ปัญญาที่พิจารณาอากิญจัญญายตนสัญญาแล้วดำรงมั่นอยู่ เพื่อ
ต้องการได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
สังขารุเปกขา ๘ อย่างนี้เกิดขึ้นด้วยอำนาจสมถะ
สังขารุเปกขา ๑๐ อย่าง อะไรบ้าง เกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนา คือ
๑. ปัญญาที่พิจารณาความเกิดขึ้น ความเป็นไป นิมิต กรรมเป็นเครื่อง
ประมวลมา ปฏิสนธิ คติ ความบังเกิด ความอุบัติ ความเกิด
ความแก่ ความเจ็บไข้ ความตาย ความเศร้าโศก ความรำพัน
ความคับแค้นใจแล้วดำรงมั่นอยู่ เพื่อต้องการได้โสดาปัตติมรรค
ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
๒. ปัญญาที่พิจารณาความเกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อต้องการได้โสดาปัตติผล-
สมาบัติ ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๙. สังขารุเปกขาญาณนิทเทส
๓. ปัญญาที่พิจารณาความเกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อต้องการได้สกทาคามิมรรค
ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
๔. ปัญญาที่พิจารณาความเกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อต้องการได้สกทาคามิผล-
สมาบัติ ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
๕. ปัญญาที่พิจารณาความเกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อต้องการได้อนาคามิมรรค
ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
๖. ปัญญาที่พิจารณาความเกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อต้องการได้อนาคามิผล-
สมาบัติ ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
๗. ปัญญาที่พิจารณาความเกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อต้องการได้อรหัตตมรรค
ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
๘. ปัญญาที่พิจารณาความเกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อต้องการได้อรหัตตผล-
สมาบัติ ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
๙. ปัญญาที่พิจารณาความเกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อต้องการได้สุญญตวิหาร-
สมาบัติ ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
๑๐. ปัญญาที่พิจารณาความเกิดขึ้น ความเป็นไป นิมิต กรรมเป็นเครื่อง
ประมวลมา ปฏิสนธิ คติ ความบังเกิด ความอุบัติ ความเกิด
ความแก่ ความเจ็บไข้ ความตาย ความเศร้าโศก ความรำพัน
ความคับแค้นใจแล้วดำรงมั่นอยู่ เพื่อต้องการได้อนิมิตตวิหารสมาบัติ
ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
สังขารุเปกขาญาณ ๑๐ อย่างนี้เกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนา
[๕๘] สังขารุเปกขาฝ่ายกุศลมีเท่าไร ฝ่ายอกุศลมีเท่าไร ฝ่ายอัพยากฤต
มีเท่าไร
สังขารุเปกขาฝ่ายกุศลมี ๑๕ ฝ่ายอัพยากฤตมี ๓ ฝ่ายอกุศลไม่มี
ปัญญาที่พิจารณาแล้วดำรงมั่นอยู่
๘ ประการเป็นอารมณ์ของสมาธิจิต
๒ ประการเป็นอารมณ์ของปุถุชน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑๐. โคตรภูญาณนิทเทส
๓ ประการเป็นอารมณ์ของพระเสขะ
และ ๓ ประการเป็นเหตุให้จิต
ของท่านผู้ปราศจากราคะหลีกไป
๘ ประการเป็นปัจจัยแก่สมาธิ
๑๐ ประการเป็นอารมณ์แห่งญาณ
สังขารุเปกขา ๑๘ ประการ
เป็นปัจจัยแห่งวิโมกข์ ๓
ปัญญา ๑๘ ประการนี้
อันพระโยคาวจรใดอบรมแล้ว
พระโยคาวจรนั้นเป็นผู้ฉลาดในสังขารุเปกขา
ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะทิฏฐิต่าง ๆ
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาที่ปรารถนาจะพ้นไป พิจารณาและดำรงมั่นอยู่
ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
สังขารุเปกขาญาณนิทเทสที่ ๙ จบ

๑๐. โคตรภูญาณนิทเทส
แสดงโคตรภูญาณ
[๕๙] ปัญญาในการออกและหลีกไปจากนิมิตภายนอก ชื่อว่าโคตรภูญาณ
เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำความเกิดขึ้น ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำ
ความเป็นไป ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำนิมิต ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำกรรม
เป็นเครื่องประมวลมา ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำปฏิสนธิ ชื่อว่าโคตรภู เพราะ
ครอบงำคติ ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำความบังเกิด ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำ
ความอุบัติ ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำความเกิด ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำความ
แก่ ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำความเจ็บไข้ ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำความตาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๙๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑๐. โคตรภูญาณนิทเทส
ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำความเศร้าโศก ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำความ
รำพัน ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำความคับแค้นใจ ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำ
สังขารนิมิตภายนอก
ชื่อว่าโคตรภู เพราะแล่นไปสู่ความไม่เกิดขึ้น ฯลฯ ชื่อว่าโคตรภู เพราะแล่นไป
สู่ความดับคือนิพพาน
ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำความเกิดขึ้นแล้วแล่นไปสู่ความไม่เกิดขึ้น ชื่อว่า
โคตรภู เพราะครอบงำความเป็นไปแล้วแล่นไปสู่ความไม่เป็นไป ชื่อว่าโคตรภู เพราะ
ครอบงำนิมิตแล้วแล่นไปสู่อนิมิต ฯลฯ ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำสังขารนิมิต
ภายนอกแล้วแล่นไปสู่ความดับคือนิพพาน
ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจากความเกิดขึ้น ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจากความ
เป็นไป ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจากนิมิต ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจากกรรมเป็น
เครื่องประมวลมา ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจากปฏิสนธิ ชื่อว่าโคตรภู เพราะออก
จากคติ ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจากความบังเกิด ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจาก
ความอุบัติ ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจากความเกิด ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจาก
ความแก่ ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจากความเจ็บไข้ ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจาก
ความตาย ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจากความเศร้าโศก ชื่อว่าโคตรภู เพราะออก
จากความรำพัน ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจากความคับแค้นใจ ชื่อว่าโคตรภู เพราะ
ออกจากสังขารนิมิตภายนอก
ชื่อว่าโคตรภู เพราะแล่นไปสู่ความไม่เกิดขึ้น ชื่อว่าโคตรภู เพราะแล่นไปสู่
ความไม่เป็นไป ฯลฯ ชื่อว่าโคตรภู เพราะแล่นไปสู่ความดับคือนิพพาน
ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจากความเกิดขึ้นแล้วแล่นไปสู่ความไม่เกิดขึ้น ชื่อว่า
โคตรภู เพราะออกจากความเป็นไปแล้วแล่นไปสู่ความไม่เป็นไป ชื่อว่าโคตรภู เพราะ
ออกจากนิมิตแล้วแล่นไปสู่อนิมิต ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจากกรรมเป็นเครื่อง
ประมวลมาแล้วแล่นไปสู่ความไม่มีกรรมเป็นเครื่องประมวลมา ชื่อว่าโคตรภู เพราะ
ออกจากปฏิสนธิแล้วแล่นไปสู่ความไม่มีปฏิสนธิ ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจากคติแล้ว

 


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๙๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑๐. โคตรภูญาณนิทเทส
แล่นไปสู่อคติ ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจากความบังเกิดแล้วแล่นไปสู่ความไม่
บังเกิด ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจากความอุบัติแล้วแล่นไปสู่ความไม่อุบัติ ชื่อว่า
โคตรภู เพราะออกจากความเกิดแล้วแล่นไปสู่ความไม่เกิด ชื่อว่าโคตรภู เพราะออก
จากความแก่แล้วแล่นไปสู่ความไม่แก่ ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจากความเจ็บไข้แล้ว
แล่นไปสู่ความไม่เจ็บไข้ ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจากความตายแล้วแล่นไปสู่ความ
ไม่ตาย ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจากความเศร้าโศกแล้วแล่นไปสู่ความไม่เศร้าโศก
ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจากความรำพันแล้วแล่นไปสู่ความไม่รำพัน ชื่อว่าโคตรภู
เพราะออกจากความคับแค้นใจแล้วแล่นไปสู่ความไม่คับแค้นใจ ชื่อว่าโคตรภู เพราะ
ออกจากสังขารนิมิตภายนอกแล้วแล่นไปสู่ความดับคือนิพพาน
ชื่อว่าโคตรภู เพราะหลีกออกจากความเกิดขึ้น ชื่อว่าโคตรภู เพราะหลีกออก
จากความเป็นไป ฯลฯ ชื่อว่าโคตรภู เพราะหลีกออกจากสังขารนิมิตภายนอก
ชื่อว่าโคตรภู เพราะแล่นไปสู่ความไม่เกิดขึ้น ชื่อว่าโคตรภู เพราะแล่นไปสู่
ความไม่เป็นไป ฯลฯ ชื่อว่าโคตรภู เพราะแล่นไปสู่ความดับคือนิพพาน
ชื่อว่าโคตรภู เพราะหลีกออกจากความเกิดขึ้นแล้วแล่นไปสู่ความไม่เกิดขึ้น
ชื่อว่าโคตรภู เพราะหลีกออกจากความเป็นไปแล้วแล่นไปสู่ความไม่เป็นไป ฯลฯ
ชื่อว่าโคตรภู เพราะหลีกออกจากสังขารนิมิตภายนอกแล้วแล่นไปสู่ความดับ
คือนิพพาน
[๖๐] โคตรภูธรรมเท่าไรเกิดขึ้นด้วยอำนาจสมถะ โคตรภูธรรมเท่าไร
เกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนา
คือ โคตรภูธรรม ๘ ประการเกิดขึ้นด้วยอำนาจสมถะ โคตรภูธรรม ๑๐
ประการเกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนา
โคตรภูธรรม ๘ ประการ อะไรบ้าง เกิดขึ้นด้วยอำนาจสมถะ คือ
๑. ญาณที่ครอบงำนิวรณ์ เพื่อได้ปฐมฌาน ชื่อว่าโคตรภู
๒. ญาณที่ครอบงำวิตกวิจาร เพื่อได้ทุติยฌาน ชื่อว่าโคตรภู
๓. ญาณที่ครอบงำปีติ เพื่อได้ตติยฌาน ชื่อว่าโคตรภู

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๙๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑๐. โคตรภูญาณนิทเทส
๔. ญาณที่ครอบงำสุขและทุกข์ เพื่อได้จตุตถฌาน ชื่อว่าโคตรภู
๕. ญาณที่ครอบงำรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา เพื่อได้
อากาสานัญจายตนสมาบัติ ชื่อว่าโคตรภู
๖. ญาณที่ครอบงำอากาสานัญจายตนสัญญา เพื่อได้วิญญาณัญจายตน-
สมาบัติ ชื่อว่าโคตรภู
๗. ญาณที่ครอบงำวิญญาณัญจายตนสัญญา เพื่อได้อากิญจัญญายตน-
สมาบัติ ชื่อว่าโคตรภู
๘. ญาณที่ครอบงำอากิญจัญญายตนสัญญา เพื่อได้เนวสัญญา-
นาสัญญายตนสมาบัติ ชื่อว่าโคตรภู
โคตรภูธรรม ๘ ประการนี้เกิดขึ้นด้วยอำนาจสมถะ
โคตรภูธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง เกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนา คือ
๑. ญาณที่ครอบงำความเกิดขึ้น ความเป็นไป นิมิต กรรมเป็นเครื่อง
ประมวลมา ปฏิสนธิ คติ ความบังเกิด ความอุบัติ
ความเกิด ความแก่ ความเจ็บไข้ ความตาย ความเศร้าโศก
ความรำพัน ความคับแค้นใจ สังขารนิมิตภายนอก เพื่อได้
โสดาปัตติมรรค ชื่อว่าโคตรภู
๒. ญาณที่ครอบงำความเกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อได้โสดาปัตติผลสมาบัติ
ชื่อว่าโคตรภู
๓. ญาณที่ครอบงำความเกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อได้สกทาคามิมรรค ชื่อว่าโคตรภู
๔. ญาณที่ครอบงำความเกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อได้สกทาคามิผลสมาบัติ
ชื่อว่าโคตรภู
๕. ญาณที่ครอบงำความเกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อได้อนาคามิมรรค ชื่อว่าโคตรภู
๖. ญาณที่ครอบงำความเกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อได้อนาคามิผลสมาบัติ
ชื่อว่าโคตรภู
๗. ญาณที่ครอบงำความเกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อได้อรหัตตมรรค ชื่อว่าโคตรภู
๘. ญาณที่ครอบงำความเกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อได้อรหัตตผลสมาบัติ ชื่อ
ว่าโคตรภู
๙. ญาณที่ครอบงำความเกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อได้สุญญตวิหารสมาบัติ
ชื่อว่าโคตรภู

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑๐. โคตรภูญาณนิทเทส
๑๐. ญาณที่ครอบงำความเกิดขึ้น ความเป็นไป นิมิต กรรมเป็นเครื่อง
ประมวลมา ปฏิสนธิ คติ ความบังเกิด ความอุบัติ ความเกิด ความแก่
ความเจ็บไข้ ความตาย ความเศร้าโศก ความรำพัน ความคับแค้นใจ
สังขารนิมิตภายนอก เพื่อได้อนิมิตตวิหารสมาบัติ ชื่อว่าโคตรภู
โคตรภูธรรม ๑๐ ประการนี้เกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนา
โคตรภูธรรม ฝ่ายกุศลมีเท่าไร ฝ่ายอกุศลมีเท่าไร ฝ่ายอัพยากฤตมีเท่าไร
คือ โคตรภูธรรม ฝ่ายกุศลมี ๑๕ ฝ่ายอัพยากฤตมี ๓ ฝ่ายอกุศลไม่มี
โคตรภูธรรม ๘ ประการ คือ
(๑) มีอามิส๑ (๒) ไม่มีอามิส
(๓) มีที่ตั้ง ๒(๔) ไม่มีที่ตั้ง
(๕) เป็นสุญญตะ ๓(๖) เป็นวิสุญญตะ
(๗) เป็นวุฏฐิตะ๔ (๘) เป็นอวุฏฐิตะ
๘ ประการเป็นปัจจัยแห่งสมาธิ
๑๐ ประการเป็นโคจรแห่งญาณ
๑๘ ประการเป็นปัจจัยแห่งวิโมกข์ ๓
อาการ ๑๘ ประการนี้
อันพระโยคาวจรใดอบรมแล้วด้วยปัญญา
พระโยคาวจรนั้นเป็นผู้ฉลาดในญาณ
ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะทิฏฐิต่าง ๆ
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการออกและหลีกไปจากนิมิตภายนอก
ชื่อว่าโคตรภูญาณ
โคตรภูญาณนิทเทสที่ ๑๐ จบ

เชิงอรรถ :
๑ อามิส ในที่นี้หมายถึงวัฏฏามิส โลกามิส และกิเลสามิส (ขุ.ป.อ. ๑/๖๐/๒๙๕)
๒ ที่ตั้ง ในที่นี้หมายถึงนิกันติ (ขุ.ป.อ. ๑/๖๐/๒๙๕)
๓ สุญญตะ ในที่นี้หมายถึงโคตรภูธรรมที่ประกอบด้วยนิกันติ (ขุ.ป.อ. ๑/๖๐/๒๙๕)
๔ วุฏฐิตะ ในที่นี้หมายถึงวิปัสสนาโคตรภูญาณ (ขุ.ป.อ. ๑/๖๐/๒๙๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๙๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑๑. มัคคญาณนิทเทส
๑๑. มัคคญาณนิทเทส
แสดงมัคคญาณ
[๖๑] ปัญญาในการออกและหลีกไปทั้งจากกิเลสขันธ์และจากนิมิต
ภายนอก ชื่อว่ามัคคญาณ เป็นอย่างไร
คือ ในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค ญาณที่ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น
ย่อมออกจากมิจฉาทิฏฐิ ออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาทิฏฐินั้น จากขันธ์
ทั้งหลาย และออกจากสรรพนิมิตภายนอก เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
ปัญญาในการออกและหลีกไปทั้งจากกิเลสขันธ์และจากนิมิตภายนอก ชื่อว่ามัคคญาณ
ญาณที่ชื่อว่าสัมมาสังกัปปะ เพราะมีสภาวะตรึกตรอง ย่อมออกจากมิจฉา-
สังกัปปะ ออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสังกัปปะนั้น จากขันธ์ทั้งหลาย และ
ออกจากสรรพนิมิตภายนอก เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการออกและ
หลีกไปทั้งจากกิเลสขันธ์และจากนิมิตภายนอก ชื่อว่ามัคคญาณ
ญาณที่ชื่อว่าสัมมาวาจา เพราะมีสภาวะกำหนดไว้ ย่อมออกจากมิจฉาวาจา
ออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาวาจานั้น จากขันธ์ทั้งหลาย และออกจาก
สรรพนิมิตภายนอก เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการออกและหลีกไป
ทั้งจากกิเลสขันธ์และจากนิมิตภายนอก ชื่อว่ามัคคญาณ
ญาณที่ชื่อว่าสัมมากัมมันตะ เพราะมีสภาวะเป็นสมุฏฐาน ย่อมออกจาก
มิจฉากัมมันตะ ออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉากัมมันตะนั้น จากขันธ์
ทั้งหลาย และออกจากสรรพนิมิตภายนอก เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญา
ในการออกและหลีกไปทั้งจากกิเลสขันธ์และจากนิมิตภายนอก ชื่อว่ามัคคญาณ
ญาณที่ชื่อว่าสัมมาอาชีวะ เพราะมีสภาวะผ่องแผ้ว ย่อมออกจากมิจฉาอาชีวะ
ออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาอาชีวะนั้น จากขันธ์ทั้งหลาย และออกจาก
สรรพนิมิตภายนอก เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการออกและหลีกไป
ทั้งจากกิเลสขันธ์และจากนิมิตภายนอก ชื่อว่ามัคคญาณ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๙๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑๑. มัคคญาณนิทเทส
ญาณที่ชื่อว่าสัมมาวายามะ เพราะมีสภาวะประคองไว้ ย่อมออกจากมิจฉา-
วายามะ ออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาวายามะนั้น จากขันธ์ทั้งหลาย และ
ออกจากสรรพนิมิตภายนอก เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการออก
และหลีกไปทั้งจากกิเลสขันธ์และจากนิมิตภายนอก ชื่อว่ามัคคญาณ
ญาณที่ชื่อว่าสัมมาสติ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น ย่อมออกจากมิจฉาสติ ออกจาก
เหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสตินั้น จากขันธ์ทั้งหลาย และออกจากสรรพนิมิตภาย
นอก เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการออกและหลีกไปทั้งจากกิเลสขันธ์
และจากนิมิตภายนอก ชื่อว่ามัคคญาณ
ญาณที่ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมออกจากมิจฉาสมาธิ
ออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ทั้งหลาย และออกจาก
สรรพนิมิตภายนอก เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการออกและหลีกไป
ทั้งจากกิเลสขันธ์และจากนิมิตภายนอก ชื่อว่ามัคคญาณ
ในขณะแห่งสกทาคามิมรรค ญาณที่ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น ฯลฯ
ญาณที่ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมออกจากกามราคสังโยชน์
(กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคือกามราคะ) จากปฏิฆสังโยชน์ (กิเลสเครื่อง
ประกอบสัตว์ไว้ในภพคือปฏิฆะ) จากกามราคานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน
คือกามราคะ) จากปฏิฆานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดานคือปฏิฆะ) ส่วนหยาบ ๆ
ออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ทั้งหลาย และออกจาก
สรรพนิมิตภายนอก เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการออกและหลีก
ไปทั้งจากกิเลสขันธ์ และจากนิมิตภายนอก ชื่อว่ามัคคญาณ
ในขณะแห่งอนาคามิมรรค ญาณที่ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น ฯลฯ
ญาณที่ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมออกจากกามราคสังโยชน์
จากปฏิฆสังโยชน์ จากกามราคานุสัย จากปฏิฆานุสัย ส่วนละเอียด ๆ ออกจาก
เหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ทั้งหลาย และออกจากสรรพนิมิต
ภายนอก เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการออกและหลีกไปทั้งจาก
กิเลสขันธ์และจากนิมิตภายนอก ชื่อว่ามัคคญาณ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๐๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑๑. มัคคญาณนิทเทส
ในขณะแห่งอรหัตตมรรค ญาณที่ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น ฯลฯ
ญาณที่ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมออกจากรูปราคะ (ความ
กำหนัดในรูป) จากอรูปราคะ (ความกำหนัดในอรูป) จากมานะ (ความถือตัว) จาก
อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน) จากอวิชชา (ความไม่รู้) จากมานานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่อง
อยู่ในสันดานคือมานะ) จากภวราคานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดานคือภวราคะ)
จากอวิชชานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดานคืออวิชชา) ออกจากเหล่ากิเลสที่
เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ทั้งหลาย และออกจากสรรพนิมิตภายนอก
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่าปัญญาในการออกและหลีกไปทั้งจากกิเลสขันธ์และ
จากนิมิตภายนอก ชื่อว่ามัคคญาณ
[๖๒] บุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยอริยมรรค
ย่อมเผากิเลสที่ยังไม่เกิด
ด้วยโลกุตตรฌานที่เกิดขึ้นแล้ว
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวโลกุตตระว่าเป็นฌาน
บุคคลนั้นย่อมไม่หวั่นไหวเพราะทิฏฐิต่าง ๆ
เพราะเป็นผู้ฉลาดในฌานและวิโมกข์
พระโยคาวจรตั้งจิตมั่นแล้วย่อมเห็นแจ้งฉันใด
เมื่อเห็นแจ้งก็พึงตั้งจิตมั่นฉันนั้น
ทั้งสมถะและวิปัสสนาได้เกิดขึ้นในขณะนั้น
มีส่วนเสมอกันดำเนินไปคู่กัน
ความเห็นว่าสังขารทั้งหลายเป็นทุกข์ นิโรธ๑เป็นสุข
ปัญญาที่ออกจากธรรมทั้งสองย่อมถูกต้องอมตบท๒

เชิงอรรถ :
๑ นิโรธ ในที่นี้หมายถึงนิพพาน (ขุ.ป.อ. ๑/๖๓/๓๐๐)
๒ อมตบท ในที่นี้หมายถึงนิพพาน (ขุ.ป.อ. ๑/๖๓/๓๐๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑๒. ผลญาณนิทเทส
พระโยคาวจรผู้ฉลาดในความต่างกัน
และความเป็นอันเดียวกันแห่งวิโมกข์เหล่านั้น
ย่อมรู้วิโมกขจริยา ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะทิฏฐิต่าง ๆ
เพราะเป็นผู้ฉลาดในญาณทั้งสอง
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการออกและหลีกไปทั้งจากกิเลสขันธ์
และจากนิมิตภายนอก ชื่อว่ามัคคญาณ
มัคคญาณนิทเทสที่ ๑๑ จบ

๑๒. ผลญาณนิทเทส
แสดงผลญาณ
[๖๓] ปัญญาที่หยุดความพยายาม ชื่อว่าผลญาณ เป็นอย่างไร
คือ ในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค ญาณที่ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น
ย่อมออกจากมิจฉาทิฏฐิ ออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาทิฏฐินั้น จากขันธ์
ทั้งหลาย และออกจากสรรพนิมิตภายนอก สัมมาทิฏฐิย่อมเกิดขึ้นเพราะหยุดความ
พยายามนั้น การหยุดความพยายามนั้นเป็นผลของมรรค
ญาณที่ชื่อว่าสัมมาสังกัปปะ เพราะมีสภาวะตรึกตรอง ย่อมออกจากมิจฉา-
สังกัปปะ ออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสังกัปปะนั้น จากขันธ์ทั้งหลาย และ
ออกจากสรรพนิมิตภายนอก สัมมาสังกัปปะย่อมเกิดขึ้นเพราะหยุดความพยายามนั้น
การหยุดความพยายามนั้นเป็นผลของมรรค
ญาณที่ชื่อว่าสัมมาวาจา เพราะมีสภาวะกำหนดไว้ ย่อมออกจากมิจฉาวาจา
ออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาวาจานั้น จากขันธ์ทั้งหลาย และออกจาก
สรรพนิมิตภายนอก สัมมาวาจาย่อมเกิดขึ้นเพราะหยุดความพยายามนั้น การหยุด
ความพยายามนั้นเป็นผลของมรรค

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑๒. ผลญาณนิทเทส
ญาณที่ชื่อว่าสัมมากัมมันตะ เพราะมีสภาวะเป็นสมุฏฐาน ย่อมออกจากมิจฉา-
กัมมันตะ ออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉากัมมันตะนั้น จากขันธ์ทั้งหลาย
และออกจากสรรพนิมิตภายนอก สัมมากัมมันตะย่อมเกิดขึ้นเพราะหยุดความ
พยายามนั้น การหยุดความพยายามนั้นเป็นผลของมรรค
ญาณที่ชื่อว่าสัมมาอาชีวะ เพราะมีสภาวะผ่องแผ้ว ย่อมออกจากมิจฉาอาชีวะ
ออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาอาชีวะนั้น จากขันธ์ทั้งหลาย และออกจาก
สรรพนิมิตภายนอก สัมมาอาชีวะย่อมเกิดขึ้นเพราะหยุดความพยายามนั้น การหยุด
ความพยายามนั้นเป็นผลของมรรค
ญาณที่ชื่อว่าสัมมาวายามะ เพราะมีสภาวะประคองไว้ ย่อมออกจากมิจฉา-
วายามะ ออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาวายามะนั้น จากขันธ์ทั้งหลาย และ
ออกจากสรรพนิมิตภายนอก สัมมาวายามะย่อมเกิดขึ้นเพราะหยุดความพยายามนั้น
การหยุดความพยายามนั้นเป็นผลของมรรค
ญาณที่ชื่อว่าสัมมาสติ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น ย่อมออกจากมิจฉาสติ ออกจาก
เหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสตินั้น จากขันธ์ทั้งหลาย และออกจากสรรพนิมิต
ภายนอก สัมมาสติย่อมเกิดขึ้นเพราะหยุดความพยายามนั้น การหยุดความพยายาม
นั้นเป็นผลของมรรค
ญาณที่ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมออกจากมิจฉาสมาธิ
ออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ทั้งหลาย และออกจาก
สรรพนิมิตภายนอก สัมมาสมาธิย่อมเกิดขึ้นเพราะหยุดความพยายามนั้น การหยุด
ความพยายามนั้นเป็นผลของมรรค
ในขณะแห่งสกทาคามิมรรค ญาณที่ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น ฯลฯ
ญาณที่ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมออกจากกามราคสังโยชน์
จากปฏิฆสังโยชน์ จากกามราคานุสัย จากปฏิฆานุสัยส่วนหยาบ ๆ ออกจากเหล่า
กิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ทั้งหลาย และออกจากสรรพนิมิตภายนอก
สัมมาสมาธิย่อมเกิดขึ้นเพราะหยุดความพยายามนั้น การหยุดความพยายามนั้น
เป็นผลของมรรค


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๐๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑๓. วิมุตติญาณนิทเทส
ในขณะแห่งอนาคามิมรรค ญาณที่ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น ฯลฯ
ญาณที่ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมออกจากกามราคสังโยชน์
จากปฏิฆสังโยชน์ จากกามราคานุสัย จากปฏิฆานุสัย ส่วนละเอียด ๆ ออกจาก
เหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ทั้งหลาย และออกจากสรรพนิมิต
ภายนอก สัมมาสมาธิย่อมเกิดขึ้นเพราะหยุดความพยายามนั้น การหยุดความ
พยายามนั้นเป็นผลของมรรค
ในขณะแห่งอรหัตตมรรค ญาณที่ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น ฯลฯ
ญาณที่ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมออกจากรูปราคะ จาก
อรูปราคะ จากมานะ จากอุทธัจจะ จากถีนมิทธะ จากอวิชชา จากภวราคานุสัย จาก
มานานุสัย จากอวิชชานุสัย ออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จาก
ขันธ์ทั้งหลายและออกจากสรรพนิมิตภายนอก สัมมาสมาธิย่อมเกิดขึ้นเพราะหยุด
ความพยายามนั้น การหยุดความพยายามนั้นเป็นผลของมรรค
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาที่หยุดความพยายาม ชื่อว่าผลญาณ
ผลญาณนิทเทสที่ ๑๒ จบ

๑๓. วิมุตติญาณนิทเทส
แสดงวิมุตติญาณ
[๖๔] ปัญญาในการพิจารณาเห็นอุปกิเลสที่อริยมรรคตัดขาดแล้ว ชื่อว่า
วิมุตติญาณ เป็นอย่างไร
คือ อุปกิเลสแห่งจิตของตน คือ สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นอัตตาของตน)
วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) สีลัพพตปรามาส (การยึดมั่นศีลพรต) ทิฏฐานุสัย
(กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดานคือทิฏฐิ) วิจิกิจฉานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ใน
สันดานคือวิจิกิจฉา) เป็นกิเลสที่โสดาปัตติมรรคตัดได้โดยเด็ดขาดแล้ว จิตจึงชื่อว่า


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑๓. วิมุตติญาณนิทเทส
หลุดพ้นแล้ว หลุดพ้นดีแล้วจากอุปกิเลส ๕ ประการนี้ พร้อมด้วยกิเลสที่กลุ้มรุมจิต
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้วิมุตตินั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการพิจารณาเห็นอุปกิเลสที่อริยมรรคตัดขาดแล้ว
ชื่อว่าวิมุตติญาณ
อุปกิเลสแห่งจิตของตน คือ กามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ ส่วนหยาบ ๆ
กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนหยาบ ๆ เป็นกิเลสที่สกทาคามิมรรคตัดได้โดย
เด็ดขาดแล้ว จิตจึงชื่อว่าหลุดพ้นแล้ว หลุดพ้นดีแล้วจากอุปกิเลส ๔ ประการนี้
พร้อมด้วยกิเลสที่กลุ้มรุมจิต ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้วิมุตตินั้น ชื่อว่าปัญญา
เพราะมีสภาวะรู้ชัด เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการพิจารณาเห็น
อุปกิเลสที่อริยมรรคตัดขาดแล้ว ชื่อว่าวิมุตติญาณ
อุปกิเลสแห่งจิตของตน คือ กามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ ส่วนละเอียด ๆ
กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนละเอียด ๆ เป็นกิเลสที่อนาคามิมรรคตัดได้โดย
เด็ดขาดแล้ว จิตจึงชื่อว่าหลุดพ้นแล้ว หลุดพ้นดีแล้วจากอุปกิเลส ๔ ประการนี้
พร้อมด้วยกิเลสที่กลุ้มรุมจิต ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้วิมุตตินั้น ชื่อว่าปัญญา
เพราะมีสภาวะรู้ชัด เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการพิจารณาเห็น
อุปกิเลสที่อริยมรรคตัดขาดแล้ว ชื่อว่าวิมุตติญาณ
อุปกิเลสแห่งจิตของตน คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา
มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย เป็นกิเลสที่อรหัตตมรรคตัดได้โดยเด็ดขาดแล้ว
จิตจึงชื่อว่าหลุดพ้นแล้ว หลุดพ้นดีแล้วจากอุปกิเลส ๘ ประการนี้ พร้อมด้วยกิเลส
ที่กลุ้มรุมจิต ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้วิมุตตินั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะ
รู้ชัด เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการพิจารณาเห็นอุปกิเลสที่อริยมรรค
ตัดขาดแล้ว ชื่อว่าวิมุตติญาณ
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการพิจารณาเห็นอุปกิเลสที่อริยมรรคตัดขาดแล้ว
ชื่อว่าวิมุตติญาณ

วิมุตติญาณนิทเทสที่ ๑๓ จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๐๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑๔. ปัจจเวกขณญาณนิทเทส
๑๔. ปัจจเวกขณญาณนิทเทส
แสดงปัจจเวกขณญาณ
[๖๕] ปัญญาในการเห็นธรรมที่มาร่วมกันในขณะนั้น ชื่อว่าปัจจเวกขณ-
ญาณ เป็นอย่างไร
คือ ในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค ญาณที่ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น
มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าสัมมาสังกัปปะ เพราะมีสภาวะตรึกตรอง มาร่วม
กันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าสัมมาวาจา เพราะมีสภาวะกำหนดไว้ มาร่วมกันใน
ขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าสัมมากัมมันตะ เพราะมีสภาวะเป็นสมุฏฐาน มาร่วมกันใน
ณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าสัมมาอาชีวะ เพราะมีสภาวะผ่องแผ้ว มาร่วมกันในขณะนั้น
ญาณที่ชื่อว่าสัมมาวายามะ เพราะมีสภาวะประคองไว้ มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่
ชื่อว่าสัมมาสติ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าสัมมาสมาธิ
เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน มาร่วมกันในขณะนั้น
ญาณที่ชื่อว่าสติสัมโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่
ชื่อว่าธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเลือกเฟ้น มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่
ชื่อว่าวิริยสัมโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะประคองไว้ มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่า
ปีติสัมโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะแผ่ซ่านไป มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่า
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะสงบระงับ มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่า
สมาธิสัมโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่า
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะพิจารณา มาร่วมกันในขณะนั้น
ญาณที่ชื่อว่าสัทธาพละ เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธา
มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าวิริยพละ เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะความ
เกียจคร้าน มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าสติพละ เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหว
เพราะความประมาท มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าสมาธิพละ เพราะมีสภาวะ
ไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะ มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าปัญญาพละ เพราะมี
สภาวะไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา มาร่วมกันในขณะนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๐๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑๔. ปัจจเวกขณญาณนิทเทส
ญาณที่ชื่อว่าสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ มาร่วมกันในขณะนั้น
ญาณที่ชื่อว่าวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้ มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่า
สตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าสมาธินทรีย์
เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าปัญญินทรีย์ เพราะมี
สภาวะเห็น มาร่วมกันในขณะนั้น
ญาณที่ชื่อว่าอินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่
ชื่อว่าพละ เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหว มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าสัมโพชฌงค์
เพราะมีสภาวะนำออก มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่ามรรค เพราะมีสภาวะเป็น
เหตุ มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าสติปัฏฐาน เพราะมีสภาวะตั้งมั่น มาร่วมกัน
ในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าสัมมัปปธาน เพราะมีสภาวะตั้งไว้ มาร่วมกันในขณะนั้น
ญาณที่ชื่อว่าอิทธิบาท เพราะมีสภาวะสำเร็จ มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่า
สัจจะ เพราะมีสภาวะเป็นของแท้ มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าสมถะ เพราะมี
สภาวะไม่ฟุ้งซ่าน มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะ
พิจารณาเห็น มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าสมถะและวิปัสสนา เพราะมีสภาวะ
มีรสเป็นอย่างเดียวกัน มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าธรรมเป็นคู่กัน เพราะมี
สภาวะไม่ล่วงเลยกัน มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีสภาวะ
สำรวม มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าจิตตวิสุทธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน
มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าทิฏฐิวิสุทธิ เพราะมีสภาวะเห็น มาร่วมกัน
ในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะมีสภาวะหลุดพ้น มาร่วมกันในขณะนั้น
ญาณที่ชื่อว่าวิชชา เพราะมีสภาวะรู้ชัด มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าวิมุตติ
เพราะมีสภาวะสละ มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าญาณในความสิ้นไป เพราะมี
สภาวะตัดขาด มาร่วมกันในขณะนั้น
ญาณที่ชื่อว่าฉันทะ เพราะมีสภาวะเป็นมูล มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่า
มนสิการ เพราะมีสภาวะเป็นสมุฏฐาน มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าผัสสะ
เพราะมีสภาวะเป็นที่รวม มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าเวทนา เพราะมีสภาวะ
เป็นที่ประชุม มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีสภาวะเป็นประธาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๐๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑๔. ปัจจเวกขณญาณนิทเทส
มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าสติ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ มาร่วมกันในขณะนั้น
ญาณที่ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะยิ่งกว่าธรรมนั้น ๆ มาร่วมกันในขณะนั้น
ญาณที่ชื่อว่าวิมุตติ เพราะมีสภาวะเป็นแก่นสาร มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่า
ธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน เพราะมีสภาวะเป็นที่สุด มาร่วมกันในขณะนั้น
พระโยคาวจรออก (จากสมาบัติ) แล้วพิจารณาว่า ธรรมเหล่านี้มาร่วมกันในขณะนั้น
ในขณะแห่งโสดาปัตติผล ญาณที่ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น มาร่วม
กันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าสัมมาสังกัปปะ เพราะมีสภาวะตรึกตรอง มาร่วมกัน
ในขณะนั้น ฯลฯ ญาณที่ชื่อว่าอนุปปาทญาณ (ญาณในความไม่เกิดขึ้น) เพราะมี
สภาวะระงับ มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าฉันทะ เพราะมีสภาวะเป็นมูล
มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่ามนสิการ เพราะมีสภาวะเป็นสมุฏฐาน มาร่วมกัน
ในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าผัสสะ เพราะมีสภาวะเป็นที่รวม มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณ
ที่ชื่อว่าเวทนา เพราะมีสภาวะเป็นที่ประชุม มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าสมาธิ
เพราะมีสภาวะเป็นประธาน มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าสติ เพราะมีสภาวะ
เป็นใหญ่ มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะยิ่งกว่าธรรมนั้น ๆ
มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าวิมุตติ เพราะมีสภาวะเป็นแก่นสาร มาร่วมกัน
ในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน เพราะมีสภาวะเป็นที่สุด
มาร่วมกันในขณะนั้น พระโยคาวจรออก (จากสมาบัติ) แล้วพิจารณาว่า ธรรมเหล่านี้
มาร่วมกันในขณะนั้น
ในขณะแห่งสกทาคามิมรรค ญาณที่ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น
มาร่วมกันในขณะนั้น ฯลฯ
ในขณะแห่งสกทาคามิผล ญาณที่ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น
มาร่วมกันในขณะนั้น ฯลฯ
ในขณะแห่งอนาคามิมรรค ญาณที่ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น
มาร่วมกันในขณะนั้น ฯลฯ
ในขณะแห่งอนาคามิผล ญาณที่ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น มาร่วมกัน
ในขณะนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๐๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑๕. วัตถุนานัตตญาณนิทเทส
ในขณะแห่งอรหัตตมรรค ญาณที่ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น
มาร่วมกันในขณะนั้น ฯลฯ ญาณที่ชื่อว่าญาณในความสิ้นไป เพราะมีสภาวะตัดขาด
มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าฉันทะ เพราะมีสภาวะเป็นมูล มาร่วมกันใน
ขณะนั้น ฯลฯ ญาณที่ชื่อว่าธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน เพราะมีสภาวะเป็น
ที่สุด มาร่วมกันในขณะนั้น พระโยคาวจรออก (จากสมาบัติ) แล้วพิจารณาว่า ธรรม
เหล่านี้มาร่วมกันในขณะนั้น
ในขณะแห่งอรหัตตผล ญาณที่ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น มาร่วมกัน
ในขณะนั้น ฯลฯ ญาณที่ชื่อว่าอนุปปาทญาณ เพราะมีสภาวะระงับ มาร่วมกันใน
ขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าฉันทะ เพราะมีสภาวะเป็นมูล มาร่วมกันในขณะนั้น ฯลฯ
ญาณที่ชื่อว่าธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน เพราะมีสภาวะเป็นที่สุด มาร่วมกันใน
ขณะนั้น พระโยคาวจรออก (จากสมาบัติ) แล้วพิจารณาว่า ธรรมเหล่านี้มาร่วมกัน
ในขณะนั้น
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการพิจารณาธรรมที่เข้ามาประชุมกันใน
ขณะนั้น ชื่อว่าปัจจเวกขณญาณ
ปัจจเวกขณญาณนิทเทสที่ ๑๔ จบ

๑๕. วัตถุนานัตตญาณนิทเทส
แสดงญาณในวัตถุต่าง ๆ๑
[๖๖] ปัญญาในการกำหนดธรรมต่าง ๆ ที่เป็นภายใน ชื่อว่าวัตถุนานัตต-
ญาณ (ญาณในวัตถุต่าง ๆ) เป็นอย่างไร พระโยคาวจรกำหนดธรรมทั้งหลายที่
เป็นภายใน อย่างไร
คือ พระโยคาวจรกำหนดจักขุที่เป็นภายใน กำหนดโสตะที่เป็นภายใน กำหนด
ฆานะที่เป็นภายใน กำหนดชิวหาที่เป็นภายใน กำหนดกายที่เป็นภายใน กำหนด
มโนที่เป็นภายใน

เชิงอรรถ :
๑ วัตถุต่าง ๆ ในที่นี้หมายถึงที่ตั้งที่เกิดแห่งอารมณ์ ได้แก่ อายตนะภายใน ๖ เป็นที่ตั้งที่เกิดแห่งอารมณ์
(ขุ.ป.อ. ๑/๖๗/๗๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๐๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑๕. วัตถุนานัตตญาณนิทเทส
พระโยคาวจรกำหนดจักขุที่เป็นภายใน อย่างไร
คือ กำหนดว่า “จักขุเกิดเพราะอวิชชา” กำหนดว่า “จักขุเกิดเพราะตัณหา”
กำหนดว่า “จักขุเกิดเพราะกรรม” กำหนดว่า “จักขุเกิดเพราะอาหาร” กำหนดว่า
“จักขุเกิดเพราะอาศัยมหาภูตรูป ๔” กำหนดว่า “จักขุเกิดแล้ว” กำหนดว่า “จักขุ
มาร่วมกันแล้ว” กำหนดว่า “จักขุไม่มีแล้วเกิดมี มีแล้วจักไม่มี”
กำหนดจักขุโดยความเป็นของมีที่สุด คือกำหนดว่า “จักขุไม่ยั่งยืน ไม่เที่ยง
มีความแปรผันไปเป็นธรรมดา” กำหนดว่า “จักขุไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัย
ปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา เสื่อมไปเป็นธรรมดา คลายไปเป็นธรรมดา
ดับไปเป็นธรรมดา”
กำหนดจักขุโดยความไม่เที่ยง ไม่กำหนดโดยความเที่ยง กำหนดโดยความเป็น
ทุกข์ ไม่กำหนดโดยความเป็นสุข กำหนดโดยความเป็นอนัตตา ไม่กำหนดโดยความ
เป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อมคลายกำหนัด ไม่กำหนัด ย่อมทำราคะให้ดับ
ไม่ให้เกิดขึ้น ย่อมสละคืน ไม่ยึดถือ
เมื่อกำหนดโดยความไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญา (ความหมายรู้ว่าเที่ยง)ได้
เมื่อกำหนดโดยความเป็นทุกข์ ย่อมละสุขสัญญา(ความหมายรู้ว่าเป็นสุข)ได้ เมื่อ
กำหนดโดยความเป็นอนัตตา ย่อมละอัตตสัญญา(ความหมายรู้ว่าอัตตา)ได้ เมื่อเบื่อ
หน่าย ย่อมละนันทิ (ความยินดี) ได้ เมื่อคลายกำหนัดย่อมละราคะได้ เมื่อทำราคะ
(ความกำหนัด) ให้ดับ ย่อมละสมุทัย (เหตุเกิด) ได้ เมื่อสละคืน ย่อมละอาทานะ
(ความยึดถือ) ได้ พระโยคาวจรกำหนดจักขุที่เป็นภายในอย่างนี้
พระโยคาวจรกำหนดโสตะที่เป็นภายใน อย่างไร
คือ กำหนดว่า “โสตะเกิดเพราะอวิชชา” ฯลฯ พระโยคาวจรกำหนดโสตะที่
เป็นภายในอย่างนี้
พระโยคาวจรกำหนดฆานะที่เป็นภายใน อย่างไร
คือ กำหนดว่า “ฆานะเกิดเพราะอวิชชา” ฯลฯ พระโยคาวจรกำหนดฆานะที่
เป็นภายในอย่างนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑๕. วัตถุนานัตตญาณนิทเทส
พระโยคาวจรกำหนดชิวหาที่เป็นภายใน อย่างไร
คือ กำหนดว่า “ชิวหาเกิดเพราะอวิชชา” ฯลฯ พระโยคาวจรกำหนดชิวหาที่
เป็นภายในอย่างนี้
พระโยคาวจรกำหนดกายที่เป็นภายใน อย่างไร
คือ กำหนดว่า “กายเกิดเพราะอวิชชา” ฯลฯ พระโยคาวจรกำหนดกายที่เป็น
ภายในอย่างนี้
พระโยคาวจรกำหนดมโนที่เป็นภายใน อย่างไร
คือ กำหนดว่า “มโนเกิดเพราะอวิชชา” กำหนดว่า “มโนเกิดเพราะตัณหา”
กำหนดว่า “มโนเกิดเพราะกรรม” กำหนดว่า “มโนเกิดเพราะอาหาร (อาศัยหทัย
วัตถุ)” กำหนดว่า “มโนเกิดแล้ว” กำหนดว่า “มโนมาร่วมกันแล้ว” กำหนดว่า
“มโนไม่มีแล้วเกิดมี มีแล้วจักไม่มี”
กำหนดมโนโดยความเป็นของมีที่สุด คือกำหนดว่า “มโนไม่ยั่งยืน ไม่เที่ยง
มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา” กำหนดว่า “มโนไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัย
ปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา เสื่อมไปเป็นธรรมดา คลายไปเป็นธรรมดา
ดับไปเป็นธรรมดา”
กำหนดมโนโดยความไม่เที่ยง ไม่กำหนดโดยความเที่ยง กำหนดโดยความเป็น
ทุกข์ ไม่กำหนดโดยความเป็นสุข กำหนดโดยความเป็นอนัตตา ไม่กำหนดโดยความ
เป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อมคลายกำหนัด ไม่กำหนัด ย่อมทำราคะให้ดับ
ไม่ให้เกิดขึ้น ย่อมสละคืน ไม่ยึดถือ
เมื่อกำหนดโดยความไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ เมื่อกำหนดโดยความเป็น
ทุกข์ ย่อมละสุขสัญญาได้ เมื่อ กำหนดโดยความเป็นอนัตตา ย่อมละอัตตสัญญาได้
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละนันทิได้ เมื่อคลายกำหนัดย่อมละราคะได้ เมื่อทำราคะให้ดับ
ย่อมละสมุทัยได้ เมื่อสละคืน ย่อมละอาทานะได้ พระโยคาวจรกำหนดมโนที่เป็น
ภายในอย่างนี้ กำหนดธรรมที่เป็นภายในอย่างนี้
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการกำหนดธรรมที่เป็นภายใน ชื่อว่า
วัตถุนานัตตญาณ
วัตถุนานัตตญาณนิทเทสที่ ๑๕ จบ

 


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๑๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑๖. โคจรนานัตตญาณนิทเทส
๑๖. โคจรนานัตตญาณนิทเทส
แสดงโคจรนานัตตญาณ
[๖๗] ปัญญาในการกำหนดธรรมต่าง ๆ ที่เป็นภายนอก ชื่อว่าโคจร-
นานัตตญาณ เป็นอย่างไร พระโยคาวจรกำหนดธรรมทั้งหลายที่เป็นภายนอก
อย่างไร
คือ พระโยคาวจรกำหนดรูปที่เป็นภายนอก กำหนดสัททะ (เสียง) ที่เป็นภาย
นอก กำหนดคันธะ (กลิ่น) ที่เป็นภายนอก กำหนดรสที่เป็นภายนอก กำหนด
โผฏฐัพพะที่เป็นภายนอก กำหนดธรรมารมณ์ที่เป็นภายนอก
พระโยคาวจรกำหนดรูปที่เป็นภายนอก อย่างไร
คือ กำหนดว่า “รูปเกิดเพราะอวิชชา” กำหนดว่า “รูปเกิดเพราะตัณหา” กำหนด
ว่า “รูปเกิดเพราะกรรม” กำหนดว่า “รูปเกิดเพราะอาหาร” กำหนดว่า “รูปอาศัย
มหาภูตรูป ๔” กำหนดว่า “รูปเกิดแล้ว” กำหนดว่า “รูปมาร่วมกันแล้ว” กำหนดว่า
“รูปไม่มีแล้วเกิดมี มีแล้วจักไม่มี”
กำหนดรูปโดยความเป็นของมีที่สุด คือกำหนดว่า “รูปไม่ยั่งยืน ไม่เที่ยง
มีความแปรผันไปเป็นธรรมดา” กำหนดว่า “รูปไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัย
ปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา เสื่อมไปเป็นธรรมดา คลายไปเป็นธรรมดา
ดับไปเป็นธรรมดา”
กำหนดรูปโดยความไม่เที่ยง ไม่กำหนดโดยความเที่ยง กำหนดโดยความ
เป็นทุกข์ ไม่กำหนดโดยความเป็นสุข กำหนดโดยความเป็นอนัตตา ไม่กำหนดโดย
ความเป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่ายไม่ยินดี ย่อมคลายกำหนัด ไม่กำหนัด ย่อมทำราคะ
ให้ดับ ไม่ให้เกิดขึ้น ย่อมสละคืน ไม่ยึดถือ
เมื่อกำหนดโดยความไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ เมื่อกำหนดโดยความ
เป็นทุกข์ ย่อมละสุขสัญญาได้ เมื่อกำหนดโดยความเป็นอนัตตา ย่อมละอัตต-
สัญญาได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละนันทิได้ เมื่อคลายกำหนัดย่อมละราคะได้ เมื่อทำ
ราคะให้ดับย่อมละสมุทัยได้ เมื่อสละคืน ย่อมละอาทานะได้ พระโยคาวจรกำหนด
รูปที่เป็นภายนอกอย่างนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑๖. โคจรนานัตตญาณนิทเทส
พระโยคาวจรกำหนดสัททะ (เสียง) ที่เป็นภายนอก อย่างไร
คือ กำหนดว่า “สัททะเกิดเพราะอวิชชา” ฯลฯ พระโยคาวจรกำหนดสัททะที่
เป็นภายนอกอย่างนี้
พระโยคาวจรกำหนดคันธะ (กลิ่น) ที่เป็นภายนอก อย่างไร
คือ กำหนดว่า “คันธะเกิดเพราะอวิชชา” ฯลฯ พระโยคาวจรกำหนดคันธะที่
เป็นภายนอกอย่างนี้
พระโยคาวจรกำหนดรสที่เป็นภายนอก อย่างไร
คือ กำหนดว่า “รสเกิดเพราะอวิชชา” ฯลฯ พระโยคาวจรกำหนดรสที่เป็น
ภายนอกอย่างนี้
พระโยคาวจรกำหนดโผฏฐัพพะที่เป็นภายนอก อย่างไร
คือ กำหนดว่า “โผฏฐัพพะเกิดเพราะอวิชชา” ฯลฯ พระโยคาวจรกำหนด
โผฏฐัพพะที่เป็นภายนอกอย่างนี้
พระโยคาวจรกำหนดธรรมารมณ์ที่เป็นภายนอก อย่างไร
คือ กำหนดว่า “ธรรมารมณ์เกิดเพราะอวิชชา” กำหนดว่า “ธรรมารมณ์เกิด
เพราะตัณหา” กำหนดว่า “ธรรมารมณ์เกิดเพราะกรรม” กำหนดว่า “ธรรมารมณ์
เกิดเพราะอาหาร (อาศัยหทัยวัตถุ)” กำหนดว่า “ธรรมารมณ์เกิดแล้ว” กำหนดว่า
“ธรรมารมณ์มาร่วมกันแล้ว” กำหนดว่า “ธรรมารมณ์ไม่มีแล้วเกิดมี มีแล้วจักไม่มี”
กำหนดธรรมารมณ์โดยความเป็นของมีที่สุด คือกำหนดว่า “ธรรมารมณ์ไม่
ยั่งยืน ไม่เที่ยง มีความแปรผันไปเป็นธรรมดา” กำหนดว่า “ธรรมารมณ์ไม่เที่ยง
ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา เสื่อมไปเป็น
ธรรมดา คลายไปเป็นธรรมดา ดับไปเป็นธรรมดา”
กำหนดธรรมารมณ์โดยความไม่เที่ยง ไม่กำหนดโดยความเที่ยง กำหนดโดย
ความเป็นทุกข์ ไม่กำหนดโดยความเป็นสุข กำหนดโดยความเป็นอนัตตา ไม่กำหนด
โดยความเป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อมคลายกำหนัด ไม่กำหนัด ย่อมทำ
ราคะให้ดับ ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่ยึดถือ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑๗. จริยานานัตตญาณนิทเทส
เมื่อกำหนดโดยความไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ เมื่อกำหนดโดยความเป็น
ทุกข์ ย่อมละสุขสัญญาได้ เมื่อกำหนดโดยความเป็นอนัตตา ย่อมละอัตตสัญญาได้
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละนันทิได้ เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละราคะได้ เมื่อทำราคะให้ดับ
ย่อมละสมุทัยได้ เมื่อสละคืน ย่อมละอาทานะได้ พระโยคาวจรกำหนดธรรมารมณ์
ที่เป็นภายนอกอย่างนี้
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการกำหนดธรรมต่าง ๆ ที่เป็นภายนอก
ชื่อว่าโคจรนานัตตญาณ
โคจรนานัตตญาณนิทเทสที่ ๑๖ จบ

๑๗. จริยานานัตตญาณนิทเทส
แสดงจริยานานัตตญาณ
[๖๘] ปัญญาในการกำหนดจริยา ชื่อว่าจริยานานัตตญาณ เป็นอย่างไร
คือ คำว่า จริยา อธิบายว่า จริยา ๓ อย่าง ได้แก่
๑. วิญญาณจริยา
๒. อัญญาณจริยา
๓. ญาณจริยา
วิญญาณจริยา เป็นอย่างไร
คือ ความคิดเพื่อดูรูปทั้งหลายอันเป็นเพียงกิริยาอัพยากฤต ชื่อว่าวิญญาณ-
จริยา จักขุวิญญาณที่เป็นแต่เพียงเห็นรูป ชื่อว่าวิญญาณจริยา มโนธาตุอันเป็นวิบาก
ที่ขึ้นสู่อารมณ์ ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะได้เห็นรูปแล้ว มโนวิญญาณธาตุอัน
เป็นวิบาก ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะขึ้นสู่รูปแล้ว
ความคิดเพื่อฟังเสียงอันเป็นเพียงกิริยาอัพยากฤต ชื่อว่าวิญญาณจริยา
โสตวิญญาณที่เป็นแต่เพียงฟังเสียง ชื่อว่าวิญญาณจริยา มโนธาตุอันเป็นวิบากที่ขึ้น
สู่อารมณ์ ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะได้ฟังเสียงแล้ว มโนวิญญาณธาตุอันเป็น
วิบาก ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะขึ้นสู่เสียงแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๑๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑๗. จริยานานัตตญาณนิทเทส
ความคิดเพื่อดมกลิ่นอันเป็นเพียงกิริยาอัพยากฤต ชื่อว่าวิญญาณจริยา
ฆานวิญญาณที่เป็นแต่เพียงดมกลิ่น ชื่อว่าวิญญาณจริยา มโนธาตุอันเป็นวิบากที่ขึ้น
สู่อารมณ์ ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะได้ดมกลิ่นแล้ว มโนวิญญาณธาตุอันเป็นวิบาก
ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะขึ้นสู่กลิ่นแล้ว
ความคิดเพื่อลิ้มรสอันเป็นเพียงกิริยาอัพยากฤต ชื่อว่าวิญญาณจริยา
ชิวหาวิญญาณที่เป็นแต่เพียงลิ้มรส ชื่อว่าวิญญาณจริยา มโนธาตุอันเป็นวิบากที่ขึ้น
สู่อารมณ์ ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะได้ลิ้มรสแล้ว มโนวิญญาณธาตุอันเป็นวิบาก
ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะขึ้นสู่รสแล้ว
ความคิดเพื่อสัมผัสโผฏฐัพพะอันเป็นเพียงกิริยาอัพยากฤต ชื่อว่าวิญญาณ-
จริยา กายวิญญาณที่เป็นแต่เพียงสัมผัสโผฏฐัพพะ ชื่อว่าวิญญาณจริยา มโนธาตุ
อันเป็นวิบากที่ขึ้นสู่อารมณ์ ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะได้สัมผัสโผฏฐัพพะแล้ว
มโนวิญญาณธาตุอันเป็นวิบาก ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะขึ้นสู่โผฏฐัพพะแล้ว
ความคิดเพื่อรู้แจ้งธรรมารมณ์อันเป็นเพียงกิริยาอัพยากฤต ชื่อว่าวิญญาณจริยา
มโนวิญญาณธาตุที่เป็นแต่เพียงรู้แจ้งธรรมารมณ์ ชื่อว่าวิญญาณจริยา มโนธาตุ
อันเป็นวิบากที่ขึ้นสู่อารมณ์ ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะรู้แจ้งธรรมารมณ์แล้ว
มโนวิญญาณธาตุอันเป็นวิบาก ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะขึ้นสู่ธรรมารมณ์แล้ว
[๖๙] คำว่า วิญญาณจริยา อธิบายว่า ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะมีความ
หมายว่าอย่างไร
คือ ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะประพฤติไม่มีราคะ ชื่อว่าวิญญาณจริยา
เพราะประพฤติไม่มีโทสะ ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะประพฤติไม่มีโมหะ ชื่อว่า
วิญญาณจริยา เพราะประพฤติไม่มีมานะ ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะประพฤติไม่มี
ทิฏฐิ ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะประพฤติไม่มีอุทธัจจะ ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะ
ประพฤติไม่มีวิจิกิจฉา ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะประพฤติไม่มีอนุสัย ชื่อว่า


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑๗. จริยานานัตตญาณนิทเทส
วิญญาณจริยา เพราะประพฤติไม่ประกอบด้วยราคะ ชื่อว่าวิญญาณจริยา
เพราะประพฤติไม่ประกอบด้วยโทสะ ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะประพฤติไม่
ประกอบด้วยโมหะ ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะประพฤติไม่ประกอบด้วยมานะ ชื่อว่า
วิญญาณจริยา เพราะประพฤติไม่ประกอบด้วยทิฏฐิ ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะ
ประพฤติไม่ประกอบด้วยอุทธัจจะ ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะประพฤติไม่ประกอบ
ด้วยวิจิกิจฉา ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะประพฤติไม่ประกอบด้วยอนุสัย ชื่อว่า
วิญญาณจริยา เพราะประพฤติประกอบด้วยกุศลกรรม ชื่อว่าวิญญาณจริยา
เพราะประพฤติไม่ประกอบด้วยอกุศลกรรม ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะประพฤติ
ไม่ประกอบด้วยกรรมมีโทษ ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะประพฤติประกอบด้วย
กรรมไม่มีโทษ ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะประพฤติไม่ประกอบด้วยกรรมดำ ชื่อว่า
วิญญาณจริยา เพราะประพฤติประกอบด้วยกรรมขาว ชื่อว่าวิญญาณจริยา
เพราะประพฤติประกอบด้วยกรรมที่มีสุขเป็นกำไร ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะ
ประพฤติไม่ประกอบด้วยกรรมที่มีทุกข์เป็นกำไร ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะ
ประพฤติประกอบด้วยกรรมที่มีสุขเป็นวิบาก ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะประพฤติ
ไม่ประกอบด้วยกรรมที่มีทุกข์เป็นวิบาก ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะประพฤติใน
อารมณ์ที่รู้แจ้งแล้ว วิญญาณมีจริยาเช่นนี้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าวิญญาณจริยา
จิตนี้บริสุทธิ์โดยปกติ เพราะไม่มีกิเลส เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าวิญญาณจริยา นี้ชื่อว่า
วิญญาณจริยา
อัญญาณจริยา เป็นอย่างไร
คือ ความคิดเพื่อความแล่นไปแห่งราคะในรูปที่น่าพอใจ อันเป็นเพียงกิริยา-
อัพยากฤต ชื่อว่าวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งราคะ ชื่อว่าอัญญาณจริยา
ความคิดเพื่อความแล่นไปแห่งโทสะในรูปที่น่าพอใจ อันเป็นเพียงกิริยาอัพยากฤต
ชื่อว่าวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งโทสะ ชื่อว่าอัญญาณจริยา
ความคิดเพื่อความแล่นไปแห่งโมหะในวัตถุที่มิได้เพ่งเล็งด้วยราคะและโทสะ
ทั้งสองนั้น อันเป็นเพียงกิริยาอัพยากฤต ชื่อว่าวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งโมหะ
ชื่อว่าอัญญาณจริยา
ความคิดเพื่อความแล่นไปแห่งมานะที่ผูกพัน อันเป็นเพียงกิริยาอัพยากฤต
ชื่อว่าวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งมานะ ชื่อว่าอัญญาณจริยา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๑๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑๗. จริยานานัตตญาณนิทเทส
ความคิดเพื่อความแล่นไปแห่งทิฏฐิที่ยึดถือ อันเป็นเพียงกิริยาอัพยากฤต
ชื่อว่าวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งทิฏฐิ ชื่อว่าอัญญาณจริยา
ความคิดเพื่อความแล่นไปแห่งอุทธัจจะที่ถึงความฟุ้งซ่าน อันเป็นเพียงกิริยา-
อัพยากฤต ชื่อว่าวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งอุทธัจจะ ชื่อว่าอัญญาณจริยา
ความคิดเพื่อความแล่นไปแห่งวิจิกิจฉาที่ไม่ถึงความตกลง อันเป็นเพียงกิริยา-
อัพยากฤต ชื่อว่าวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งวิจิกิจฉา ชื่อว่าอัญญาณจริยา
ความคิดเพื่อความแล่นไปแห่งอนุสัยที่ถึงความเป็นธรรมมีกำลัง อันเป็นเพียง
กิริยาอัพยากฤต ชื่อว่าวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งอนุสัย ชื่อว่าอัญญาณจริยา
ความคิดเพื่อความแล่นไปแห่งราคะในเสียงที่น่าพอใจ อันเป็นเพียงกิริยา-
อัพยากฤต ชื่อว่าวิญญาณจริยา ฯลฯ ความคิดเพื่อความแล่นไปแห่งราคะในกลิ่นที่
น่าพอใจ ฯลฯ ในรสที่น่าพอใจ ฯลฯ ในโผฏฐัพพะที่น่าพอใจ ฯลฯ ความคิด
เพื่อแล่นไปแห่งราคะในธรรมารมณ์ที่น่าพอใจ อันเป็นเพียงกิริยาอัพยากฤต ชื่อว่า
วิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งราคะ ชื่อว่าอัญญาณจริยา
ความคิดเพื่อความแล่นไปแห่งโทสะในธรรมารมณ์ที่ไม่น่าพอใจ อันเป็นเพียง
กิริยาอัพยากฤต ชื่อว่าวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งโทสะ ชื่อว่าอัญญาณจริยา
ความคิดเพื่อความแล่นไปแห่งโมหะในวัตถุที่มิได้เพ่งเล็งด้วยราคะและโทสะทั้งสอง
นั้น อันเป็นเพียงกิริยาอัพยากฤต ชื่อว่าวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งโมหะ
ชื่อว่าอัญญาณจริยา ฯลฯ ความคิดเพื่อความแล่นไปแห่งทิฏฐิที่ยึดถือ อันเป็นเพียง
กิริยาอัพยากฤต ชื่อว่าวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งทิฏฐิ ชื่อว่าอัญญาณจริยา
ความคิดเพื่อความแล่นไปแห่งอุทธัจจะที่ถึงความฟุ้งซ่าน อันเป็นเพียงกิริยา-
อัพยากฤต ชื่อว่าวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งอุทธัจจะ ชื่อว่าอัญญาณจริยา
ความคิดเพื่อความแล่นไปแห่งวิจิกิจฉาที่ไม่ถึงความตกลง อันเป็นเพียงกิริยา-
อัพยากฤต ชื่อว่าวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งวิจิกิจฉา ชื่อว่าอัญญาณจริยา
ความคิดเพื่อความแล่นไปแห่งอนุสัยที่ถึงความเป็นธรรมมีกำลัง อันเป็นเพียง
กิริยาอัพยากฤต ชื่อว่าวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งอนุสัย ชื่อว่าอัญญาณจริยา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑๗. จริยานานัตตญาณนิทเทส
[๗๐] คำว่า อัญญาณจริยา อธิบายว่า ชื่อว่าอัญญาณจริยา เพราะมีความ
หมายว่าอย่างไร
คือ ชื่อว่าอัญญาณจริยา เพราะประพฤติมีราคะ ชื่อว่าอัญญาณจริยา เพราะ
ประพฤติมีโทสะ ชื่อว่าอัญญาณจริยา เพราะประพฤติมีโมหะ ชื่อว่าอัญญาณจริยา
เพราะประพฤติมีมานะ ชื่อว่าอัญญาณจริยา เพราะประพฤติมีทิฏฐิ ชื่อว่า
อัญญาณจริยา เพราะประพฤติมีอุทธัจจะ ชื่อว่าอัญญาณจริยา เพราะประพฤติ
มีวิจิกิจฉา ชื่อว่าอัญญาณจริยา เพราะประพฤติมีอนุสัย ชื่อว่าอัญญาณจริยา
เพราะประพฤติประกอบด้วยราคะ ชื่อว่าอัญญาณจริยา เพราะประพฤติประกอบ
ด้วยโทสะ ชื่อว่าอัญญาณจริยา เพราะประพฤติประกอบด้วยโมหะ ชื่อว่าอัญญาณ-
จริยา เพราะประพฤติประกอบด้วยมานะ ชื่อว่าอัญญาณจริยา เพราะประพฤติ
ประกอบด้วยทิฏฐิ ชื่อว่าอัญญาณจริยา เพราะประพฤติประกอบด้วยอุทธัจจะ
ชื่อว่าอัญญาณจริยา เพราะประพฤติประกอบด้วยวิจิกิจฉา ชื่อว่าอัญญาณจริยา
เพราะประพฤติประกอบด้วยอนุสัย ชื่อว่าอัญญาณจริยา เพราะประพฤติไม่
ประกอบด้วยกุศลกรรม ชื่อว่าอัญญาณจริยา เพราะประพฤติประกอบด้วย
อกุศลกรรม ชื่อว่าอัญญาณจริยา เพราะประพฤติประกอบด้วยกรรมมีโทษ ชื่อว่า
อัญญาณจริยา เพราะประพฤติไม่ประกอบด้วยกรรมไม่มีโทษ ชื่อว่าอัญญาณจริยา
เพราะประพฤติประกอบด้วยกรรมดำ ชื่อว่าอัญญาณจริยา เพราะประพฤติไม่
ประกอบด้วยกรรมขาว ชื่อว่าอัญญาณจริยา เพราะประพฤติไม่ประกอบด้วยกรรม
ที่มีสุขเป็นกำไร ชื่อว่าอัญญาณจริยา เพราะประพฤติประกอบด้วยกรรมที่มีทุกข์
เป็นกำไร ชื่อว่าอัญญาณจริยา เพราะประพฤติไม่ประกอบด้วยกรรมที่มีสุข
เป็นวิบาก ชื่อว่าอัญญาณจริยา เพราะประพฤติประกอบด้วยกรรมที่มีทุกข์
เป็นวิบาก ชื่อว่าอัญญาณจริยา เพราะประพฤติในอารมณ์ที่ไม่รู้ ความไม่รู้มีจริยา
เห็นปานนี้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอัญญาณจริยา นี้ชื่อว่าอัญญาณจริยา
[๗๑] ญาณจริยา เป็นอย่างไร
คือ ความคิดเพื่ออนิจจานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง) อันเป็น
เพียงกิริยาอัพยากฤต ชื่อว่าวิญญาณจริยา อนิจจานุปัสสนา ชื่อว่าญาณจริยา
ความคิดเพื่อทุกขานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความทุกข์) อันเป็นเพียง
กิริยาอัพยากฤต ชื่อว่าวิญญาณจริยา ทุกขานุปัสสนา ชื่อว่าญาณจริยา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑๗. จริยานานัตตญาณนิทเทส
ความคิดเพื่ออนัตตานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นอนัตตา) อันเป็นเพียงกิริยา
อัพยากฤต ชื่อว่าวิญญาณจริยา อนัตตานุปัสสนา ชื่อว่าญาณจริยา
ความคิดเพื่อนิพพิทานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความเบื่อหน่าย) อันเป็น
เพียงกิริยาอัพยากฤต ฯลฯ
ความคิดเพื่อวิราคานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความคลายกำหนัด) อันเป็น
เพียงกิริยาอัพยากฤต ฯลฯ
ความคิดเพื่อนิโรธานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความดับ) อันเป็นเพียง
กิริยาอัพยากฤต ฯลฯ
ความคิดเพื่อปฏินิสสัคคานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความสละคืน) อันเป็น
เพียงกิริยาอัพยากฤต ฯลฯ
ความคิดเพื่อขยานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความสิ้นไป) อันเป็นเพียง
กิริยาอัพยากฤต ฯลฯ
ความคิดเพื่อวยานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความเสื่อมไป) อันเป็นเพียง
กิริยาอัพยากฤต ฯลฯ
ความคิดเพื่อวิปริณามานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความแปรผัน) อันเป็น
เพียงกิริยาอัพยากฤต ฯลฯ
ความคิดเพื่ออนิมิตตานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความไม่มีนิมิต) อันเป็น
เพียงกิริยาอัพยากฤต ฯลฯ
ความคิดเพื่ออัปปณิหิตานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความไม่มีที่ตั้ง) อันเป็น
เพียงกิริยาอัพยากฤต ฯลฯ
ความคิดเพื่อสุญญตานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความว่าง) อันเป็นเพียง
กิริยาอัพยากฤต ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๑๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑๗. จริยานานัตตญาณนิทเทส
ความคิดเพื่ออธิปัญญาธัมมานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นธรรมด้วยปัญญา
อันยิ่ง) อันเป็นเพียงกิริยาอัพยากฤต ฯลฯ
ความคิดเพื่อยถาภูตญาณทัสสนะ (การรู้เห็นตามความเป็นจริง) อันเป็นเพียง
กิริยาอัพยากฤต ฯลฯ
ความคิดเพื่ออาทีนวานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นโทษ) อันเป็นเพียง
กิริยาอัพยากฤต ฯลฯ
ความคิดเพื่อปฏิสังขานุปัสสนา (การตามพิจารณา) อันเป็นเพียงกิริยาอัพยากฤต
ชื่อว่าวิญญาณจริยา ปฏิสังขานุปัสสนา ชื่อว่าญาณจริยา
วิวัฏฏนานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความคลายออก) ชื่อว่าญาณจริยา
โสดาปัตติมรรค ชื่อว่าญาณจริยา โสดาปัตติผลสมาบัติ ชื่อว่าญาณจริยา
สกทาคามิมรรค ชื่อว่าญาณจริยา สกทาคามิผลสมาบัติ ชื่อว่าญาณจริยา
อนาคามิมรรค ชื่อว่าญาณจริยา อนาคามิผลสมาบัติ ชื่อว่าญาณจริยา
อรหัตตมรรค ชื่อว่าญาณจริยา อรหัตตผลสมาบัติ ชื่อว่าญาณจริยา
คำว่า ญาณจริยา อธิบายว่า ชื่อว่าญาณจริยา เพราะมีความหมายว่าอย่างไร
คือ ชื่อว่าญาณจริยา เพราะประพฤติไม่มีราคะ ชื่อว่าญาณจริยา เพราะ
ประพฤติไม่มีโทสะ ฯลฯ ชื่อว่าญาณจริยา เพราะประพฤติไม่มีอนุสัย ชื่อว่า
ญาณจริยา เพราะประพฤติไม่ประกอบด้วยราคะ ชื่อว่าญาณจริยา เพราะประพฤติ
ไม่ประกอบด้วยโทสะ ชื่อว่าญาณจริยา เพราะประพฤติไม่ประกอบด้วยโมหะ ชื่อว่า
ญาณจริยา เพราะประพฤติไม่ประกอบด้วยมานะ ฯลฯ ไม่ประกอบด้วยทิฏฐิ ฯลฯ
ไม่ประกอบด้วยอุทธัจจะ ฯลฯ ไม่ประกอบด้วยวิจิกิจฉา ฯลฯ ไม่ประกอบด้วยอนุสัย
ฯลฯ ประกอบด้วยกุศลกรรม ฯลฯ ไม่ประกอบด้วยอกุศลกรรม ฯลฯ ไม่ประกอบ
ด้วยกรรมที่มีโทษ ฯลฯ ประกอบด้วยกรรมที่ไม่มีโทษ ฯลฯ ไม่ประกอบด้วยกรรมดำ
ฯลฯ ประกอบด้วยกรรมขาว ฯลฯ ประกอบด้วยกรรมที่มีสุขเป็นกำไร ฯลฯ ไม่
ประกอบด้วยกรรมที่มีทุกข์เป็นกำไร ฯลฯ ชื่อว่าญาณจริยา เพราะประพฤติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๒๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑๘. ภูมินานัตตญาณนิทเทส
ประกอบด้วยกรรมที่มีสุขเป็นวิบาก ฯลฯ ชื่อว่าญาณจริยา เพราะประพฤติไม่
ประกอบด้วยกรรมที่มีทุกข์เป็นวิบาก ชื่อว่าญาณจริยา เพราะประพฤติในญาณ
ญาณมีจริยาเช่นนี้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าญาณจริยา
นี้ชื่อว่าญาณจริยา วิญญาณจริยา อัญญาณจริยา ญาณจริยา
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการกำหนดจริยา ชื่อว่าจริยานานัตตญาณ
จริยานานัตตญาณนิทเทสที่ ๑๗ จบ

๑๘. ภูมินานัตตญาณนิทเทส
แสดงภูมินานัตตญาณ
[๗๒] ปัญญาในการกำหนดธรรม ๔ ประการ ชื่อว่าภูมินานัตตญาณ
เป็นอย่างไร
คือ ภูมิ ๔ ประการ ได้แก่
๑. กามาวจรภูมิ (ชั้นที่ท่องเที่ยวอยู่ในกาม)
๒. รูปาวจรภูมิ (ชั้นที่ท่องเที่ยวอยู่ในรูป)
๓. อรูปาวจรภูมิ (ชั้นที่ท่องเที่ยวอยู่ในอรูป)
๔. อปริยาปันนภูมิ (ชั้นที่ไม่นับเนื่องในภูมิ ๓ หมายถึงโลกุตตรภูมิ)
กามาวจรภูมิ เป็นอย่างไร
คือ ขันธ์ ธาตุ อายตนะ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณที่ท่องเที่ยว
อยู่ในภูมินี้ นับเนื่องในภูมินี้ ในระหว่างนี้ คือเบื้องล่างกำหนดเอาอเวจีนรกเป็นที่สุด
เบื้องบนกำหนดเอาเหล่าเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดีเป็นที่สุด นี้ชื่อว่ากามาวจรภูมิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๒๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑๘. ภูมินานัตตญาณนิทเทส
รูปาวจรภูมิ เป็นอย่างไร
คือ ธรรมคือจิตและเจตสิกของบุคคลผู้เข้าสมาบัติ ผู้เกิดในรูปภูมิ หรือพระ
อรหันต์ผู้อยู่เป็นสุขในปัจจุบัน๑ ที่ท่องเที่ยวอยู่ในภูมินี้ นับเนื่องในภูมินี้ ในระหว่างนี้
คือเบื้องล่างกำหนดเอาพรหมโลกเป็นที่สุด (ชั้นพรหมปาริสัชชา) เบื้องบนกำหนด
เอาพรหมชั้นอกนิฏฐภพเป็นที่สุด นี้ชื่อว่ารูปาวจรภูมิ
อรูปาวจรภูมิ เป็นอย่างไร
คือ ธรรมคือจิตและเจตสิกของบุคคลผู้เข้าสมาบัติ ผู้เกิดในอรูปภูมิ หรือพระ
อรหันต์ผู้อยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ที่ท่องเที่ยวอยู่ในภูมินี้ นับเนื่องในภูมินี้ ในระหว่างนี้
คือเบื้องล่างกำหนดเอาพรหมผู้เข้าถึงอากาสานัญจายตนภพเป็นที่สุด เบื้องบนกำหนด
เอาเหล่าพรหมผู้เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนภพเป็นที่สุด นี้ชื่อว่าอรูปาวจรภูมิ
อปริยาปันนภูมิ เป็นอย่างไร
คือ มรรค ผล ธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุ่งแต่ง (นิพพาน) เป็นอปริยาปันนะ นี้ชื่อว่า
อปริยาปันนภูมิ
เหล่านี้ชื่อว่าภูมิ ๔
ภูมิ ๔ อีกนัยหนึ่ง คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔
ฌาน ๔ อัปปมัญญา ๔ อรูปาวจรสมาบัติ ๔ ปฏิสัมภิทา ๔ ปฏิปทา ๔
อารมณ์ ๔ อริยวงศ์ ๔๒ สังคหวัตถุ ๔ จักร ๔ ธรรมบท ๔๓
เหล่านี้ชื่อว่าภูมิ ๔
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการกำหนดธรรม ๔ ประการ ชื่อว่า
ภูมินานัตตญาณ

ภูมินานัตตญาณนิทเทสที่ ๑๘ จบ

เชิงอรรถ :
๑ สุขในปัจจุบัน ในที่นี้หมายถึงความสุขขณะที่ดำรงอยู่ในภาวะที่รู้แจ้งนั้น (ขุ.ป.อ. ๑/๗๓/๓๑๓)
๒ อริยวงศ์ ๔ ได้แก่ (๑) ความสันโดษในจีวร (๒) ความสันโดษในบิณฑบาต (๓) ความสันโดษในเสนาสนะ
(๔) ความยินดีในการเจริญภาวนา (ขุ.ป.อ. ๑/๗๒/๓๑๕)
๓ ธรรมบท ๔ ในที่นี้ ได้แก่ (๑) อนภิชฌา (๒) อพยาบาท (๓) สัมมาสติ (๔) สัมมาสมาธิ (ขุ.ป.อ. ๑/๗๒/๓๑๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑๙. ธัมมนานัตตญาณนิทเทส
๑๙. ธัมมนานัตตญาณนิทเทส
แสดงธัมมนานัตตญาณ
[๗๓] ปัญญาในการกำหนดธรรม ๙ ชื่อว่าธัมมนานัตตญาณ เป็นอย่างไร
พระโยคาวจรกำหนดธรรมทั้งหลาย อย่างไร
คือ พระโยคาวจรกำหนดกามาวจรธรรมเป็นฝ่ายกุศล เป็นฝ่ายอกุศล เป็น
ฝ่ายอัพยากฤต กำหนดรูปาวจรธรรมเป็นฝ่ายกุศล เป็นฝ่ายอัพยากฤต กำหนด
อรูปาวจรธรรมเป็นฝ่ายกุศล เป็นฝ่ายอัพยากฤต กำหนดอปริยาปันนธรรมเป็น
ฝ่ายกุศล เป็นฝ่ายอัพยากฤต
พระโยคาวจรกำหนดกามาวจรธรรมเป็นฝ่ายกุศล เป็นฝ่ายอกุศล เป็นฝ่าย
อัพยากฤต อย่างไร
คือ พระโยคาวจรกำหนดกุศลกรรมบถ ๑๐๑ เป็นฝ่ายกุศล กำหนดอกุศล-
กรรมบถ ๑๐๒ เป็นฝ่ายอกุศล กำหนดรูป วิบาก และกิริยาเป็นฝ่ายอัพยากฤต
พระโยคาวจรกำหนดกามาวจรธรรมเป็นฝ่ายกุศล เป็นฝ่ายอกุศล เป็นฝ่าย
อัพยากฤตอย่างนี้
พระโยคาวจรกําหนดรูปาวจรธรรมเป็นฝ่ายกุศล เป็นฝ่ายอัพยากฤต อย่างไร
คือ พระโยคาวจรกำหนดฌาน ๔ ของบุคคลผู้ยังอยู่ในโลกนี้ เป็นฝ่ายกุศล
กำหนดฌาน ๔ ของบุคคลผู้เกิดในพรหมโลกเป็นฝ่ายอัพยากฤต พระโยคาวจร
กำหนดรูปาวจรธรรม เป็นฝ่ายกุศล เป็นฝ่ายอัพยากฤตอย่างนี้
พระโยคาวจรกำหนดอรูปาวจรธรรมเป็นฝ่ายกุศล เป็นฝ่ายอัพยากฤต อย่างไร
คือ พระโยคาวจรกำหนดอรูปาวจรสมาบัติ ๔ ของบุคคลผู้ยังอยู่ในโลกนี้
เป็นฝ่ายกุศล กำหนดอรูปาวจรสมาบัติ ๔ ของบุคคลผู้เกิดในพรหมโลกนั้น เป็น

เชิงอรรถ :
๑ กุศลกรรมบถ ๑๐ ได้แก่ กายสุจริต ๓ วจีสุจริต ๔ และมโนสุจริต ๓ (ขุ.ป.อ. ๑/๗๓/๓๑๗)
๒ อกุศลกรรมบถ ๑๐ ได้แก่ กายทุจริต ๓ วจีทุจริต ๔ และมโนทุจริต ๓ (ขุ.ป.อ. ๑/๗๓/๓๑๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑๙. ธัมมนานัตตญาณนิทเทส
ฝ่ายอัพยากฤต พระโยคาวจรกำหนดอรูปาวจรธรรมเป็นฝ่ายกุศล เป็นฝ่าย
อัพยากฤตอย่างนี้
พระโยคาวจรกำหนดอปริยาปันนธรรมเป็นฝ่ายกุศล เป็นฝ่ายอัพยากฤต
อย่างไร
คือ พระโยคาวจรกำหนดอริยมรรค ๔ เป็นฝ่ายกุศล กำหนดอปริยาปันน-
ธรรมเป็นฝ่ายกุศล กำหนดสามัญญผลและนิพพานเป็นฝ่ายอัพยากฤตอย่างนี้
พระโยคาวจรกำหนดธรรมทั้งหลายอย่างนี้
ธรรม ๙ ประการ มีปราโมทย์เป็นมูล เมื่อพระโยคาวจรมนสิการโดย
ความไม่เที่ยง ปราโมทย์ย่อมเกิด เมื่อมีปราโมทย์ ปีติย่อมเกิด เมื่อใจมีปีติ กายย่อม
สงบ ผู้มีกายสงบย่อมเสวยสุข เมื่อมีความสุข จิตย่อมเป็นสมาธิ เมื่อจิตเป็นสมาธิ
ย่อมรู้ ย่อมเห็นตามความเป็นจริง เมื่อรู้ เมื่อเห็นตามความเป็นจริง ย่อมเบื่อหน่าย
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตจึงหลุดพ้น เมื่อมนสิการ
โดยความเป็นทุกข์ ปราโมทย์ย่อมเกิด ฯลฯ เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา
ปราโมทย์ย่อมเกิด ฯลฯ
เมื่อพระโยคาวจรมนสิการรูปโดยความไม่เที่ยง ปราโมทย์ย่อมเกิด ฯลฯ เมื่อ
มนสิการรูปโดยความเป็นทุกข์ ฯลฯ เมื่อมนสิการรูปโดยความเป็นอนัตตา ฯลฯ
เมื่อพระโยคาวจรมนสิการเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ
ฯลฯ จักขุ ฯลฯ เมื่อมนสิการชราและมรณะโดยความไม่เที่ยง ปราโมทย์ย่อมเกิด
ฯลฯ เมื่อมนสิการชราและมรณะโดยความเป็นทุกข์ ปราโมทย์ย่อมเกิด ฯลฯ
เมื่อมนสิการชราและมรณะโดยความเป็นอนัตตา ปราโมทย์ย่อมเกิด เมื่อมีปราโมทย์
ปีติย่อมเกิด เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบ ย่อมเสวยสุข เมื่อมีความสุข
จิตย่อมเป็นสมาธิ เมื่อจิตเป็นสมาธิ ย่อมรู้ ย่อมเห็นตามความเป็นจริง เมื่อรู้ เมื่อ
เห็นตามความเป็นจริง ย่อมเบื่อหน่าย เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะ
คลายกำหนัด จิตจึงหลุดพ้น
นี้คือธรรม ๙ ประการ มีปราโมทย์เป็นมูล


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๒๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑๙. ธัมมนานัตตญาณนิทเทส
[๗๔] ธรรม ๙ ประการ มีโยนิโสมนสิการเป็นมูล เมื่อพระโยคาวจรมนสิการ
โดยอุบายแยบคายโดยความไม่เที่ยง ปราโมทย์ย่อมเกิด เมื่อมีปราโมทย์ ปีติย่อมเกิด
เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบ ย่อมเสวยสุข เมื่อมีความสุข จิตย่อมเป็น
สมาธิ ผู้มีจิตเป็นสมาธิ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์” รู้ชัดตามความเป็น
จริงว่า “นี้ทุกขสมุทัย” รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกขนิโรธ” รู้ชัดตามความเป็น
จริงว่า “นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา” เมื่อพระโยคาวจรมนสิการโดยอุบายแยบคาย
โดยความเป็นทุกข์ ปราโมทย์ย่อมเกิด เมื่อมีปราโมทย์ ปีติย่อมเกิด เมื่อใจมีปีติ
กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบ ย่อมเสวยสุข เมื่อมีความสุข จิตย่อมเป็นสมาธิ ผู้มีจิต
เป็นสมาธิ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์” รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า
“นี้ทุกขสมุทัย” รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกขนิโรธ” รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า
“นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา” เมื่อมนสิการโดยอุบายแยบคายโดยความเป็นอนัตตา
ปราโมทย์ย่อมเกิด ฯลฯ
เมื่อพระโยคาวจรมนสิการรูปโดยอุบายแยบคายโดยความไม่เที่ยง ปราโมทย์
ย่อมเกิด ฯลฯ เมื่อมนสิการรูปโดยอุบายแยบคายโดยความเป็นทุกข์ ปราโมทย์
ย่อมเกิด ฯลฯ เมื่อมนสิการรูปโดยอุบายแยบคายโดยความเป็นอนัตตา ปราโมทย์
ย่อมเกิด ฯลฯ
เมื่อพระโยคาวจรมนสิการเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ
ฯลฯ จักขุ ฯลฯ เมื่อมนสิการชราและมรณะโดยอุบายแยบคายโดยความไม่เที่ยง
ปราโมทย์ย่อมเกิด ฯลฯ เมื่อมนสิการชราและมรณะโดยอุบายแยบคายโดยความ
เป็นทุกข์ ปราโมทย์ย่อมเกิด ฯลฯ เมื่อมนสิการชราและมรณะโดยอุบายแยบคาย
โดยความเป็นอนัตตา ปราโมทย์ย่อมเกิด เมื่อมีปราโมทย์ ปีติย่อมเกิด เมื่อใจมีปีติ
กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบ ย่อมเสวยสุข เมื่อมีความสุข จิตย่อมเป็นสมาธิ ผู้มี
จิตเป็นสมาธิ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์” รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า
“นี้ทุกขสมุทัย” รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกขนิโรธ” รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า
“นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”
นี้คือธรรม ๙ ประการ มีโยนิโสมนสิการเป็นมูล
ความต่าง ๙ ประการ คือ ผัสสะต่าง ๆ อาศัยธาตุต่าง ๆ เกิดขึ้น เวทนา
ต่าง ๆ อาศัยผัสสะต่าง ๆ เกิดขึ้น สัญญาต่าง ๆ อาศัยเวทนาต่าง ๆ เกิดขึ้น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๒๐-๒๔. ญาณปัญจกนิทเทส
ความดำริต่าง ๆ อาศัยสัญญาต่าง ๆ เกิดขึ้น ฉันทะต่าง ๆ อาศัยความดำริต่าง ๆ
เกิดขึ้น ความเร่าร้อนต่าง ๆ อาศัยฉันทะต่าง ๆ เกิดขึ้น การแสวงหาต่าง ๆ อาศัย
ความเร่าร้อนต่าง ๆ เกิดขึ้น ลาภต่าง ๆ อาศัยการแสวงหาต่าง ๆ เกิดขึ้น
นี้คือความต่าง ๙ ประการ
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการกำหนดธรรม ๙ ประการ ชื่อว่า
ธัมมนานัตตญาณ
ธัมมนานัตตญาณนิทเทสที่ ๑๙ จบ

๒๐-๒๔. ญาณปัญจกนิทเทส
แสดงญาณ ๕ หมวด
[๗๕] ปัญญาเครื่องรู้ยิ่ง ชื่อว่าญาตัฏฐญาณ (ญาณที่มีสภาวะรู้) ปัญญา
เครื่องกำหนดรู้ ชื่อว่าตีรณัฏฐญาณ (ญาณที่มีสภาวะพิจารณา) ปัญญาเครื่อง
ละ ชื่อว่าปริจจาคัฏฐญาณ (ญาณที่มีสภาวะสละ) ปัญญาเครื่องเจริญ ชื่อว่า
เอกรสัฏฐญาณ (ญาณที่มีสภาวะเป็นรสเดียว) ปัญญาเครื่องทำให้แจ้ง ชื่อว่า
ผัสสนัฏฐญาณ (ญาณที่มีสภาวะถูกต้อง) เป็นอย่างไร
คือ ธรรมใด ๆ ที่พระโยคาวจรรู้ยิ่งแล้ว ธรรมนั้น ๆ ก็เป็นอันรู้แล้ว ธรรมใด ๆ
ที่พระโยคาวจรกำหนดรู้แล้ว ธรรมนั้น ๆ ก็เป็นอันพิจารณาแล้ว ธรรมใด ๆ ที่พระ
โยคาวจรละได้แล้ว ธรรมนั้น ๆ เป็นอันละได้แล้ว ธรรมใด ๆ ที่พระโยคาวจรเจริญแล้ว
ธรรมนั้น ๆ ก็เป็นธรรมมีรสเป็นอันเดียว ธรรมใด ๆ ที่พระโยคาวจรทำให้แจ้งแล้ว
ธรรมนั้น ๆ ก็เป็นอันถูกต้องแล้ว
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาเครื่องรู้ยิ่ง ชื่อว่าญาตัฏฐญาณ ปัญญา
เครื่องกำหนดรู้ ชื่อว่าตีรณัฏฐญาณ ปัญญาเครื่องละ ชื่อว่าปริจจาคัฏฐญาณ
ปัญญาเครื่องเจริญ ชื่อว่าเอกรสัฏฐญาณ ปัญญาเครื่องทำให้แจ้ง ชื่อว่าผัสส-
นัฏฐญาณ

ญาณปัญจกนิทเทสที่ ๒๐-๒๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๒๕-๒๘. ปฏิสัมภิทาญาณนิทเทส
๒๕-๒๘. ปฏิสัมภิทาญาณนิทเทส
แสดงปฏิสัมภิทาญาณ
[๗๖] ปัญญาในอรรถต่าง ๆ ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในธรรม
ต่าง ๆ ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในนิรุตติต่าง ๆ ชื่อว่านิรุตติปฏิสัม-
ภิทาญาณ ปัญญาในปฏิภาณต่าง ๆ ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ เป็นอย่างไร
คือ สัทธินทรีย์ชื่อว่าธรรม วิริยินทรีย์ชื่อว่าธรรม สตินทรีย์ชื่อว่าธรรม
สมาธินทรีย์ชื่อว่าธรรม ปัญญินทรีย์ชื่อว่าธรรม สัทธินทรีย์เป็นธรรมอย่างหนึ่ง
วิริยินทรีย์เป็นธรรมอย่างหนึ่ง สตินทรีย์เป็นธรรมอย่างหนึ่ง สมาธินทรีย์เป็นธรรม
อย่างหนึ่ง ปัญญินทรีย์เป็นธรรมอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้ธรรมต่าง ๆ เหล่านี้
ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะธรรมต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในธรรมต่าง ๆ ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทาญาณ (๑)
สภาวะที่น้อมไปชื่อว่าอรรถ สภาวะที่ประคองไว้ชื่อว่าอรรถ สภาวะที่เข้าไป
ตั้งไว้ชื่อว่าอรรถ สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่านชื่อว่าอรรถ สภาวะที่เห็นชื่อว่าอรรถ สภาวะที่
น้อมไปเป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาวะที่ประคองไว้เป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาวะที่เข้าไป
ตั้งไว้เป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่านเป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาวะที่เห็น
เป็นอรรถอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้อรรถต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะ
อรรถต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญา
ในอรรถต่าง ๆ ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทาญาณ (๒)
การระบุพยัญชนะและนิรุตติเพื่อแสดงธรรม ๕ ประการ การระบุพยัญชนะ
และนิรุตติเพื่อแสดงอรรถ ๕ ประการ ธรรมนิรุตติเป็นอย่างหนึ่ง อรรถนิรุตติเป็น
อย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้นิรุตติต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะนิรุตติ
ต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญา
ในนิรุตติต่าง ๆ ชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ (๓)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๒๕-๒๘. ปฏิสัมภิทาญาณนิทเทส
ญาณในธรรม ๕ ประการ ญาณในอรรถ ๕ ประการ ญาณในนิรุตติ ๑๐ ประการ
ญาณในธรรมเป็นอย่างหนึ่ง ญาณในอรรถเป็นอย่างหนึ่ง ญาณในนิรุตติเป็น
อย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้ญาณต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะญาณ
ต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาใน
ปฏิภาณต่าง ๆ ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ (๔)
[๗๗] สัทธาพละชื่อว่าธรรม วิริยพละชื่อว่าธรรม สติพละชื่อว่าธรรม
สมาธิพละชื่อว่าธรรม ปัญญาพละชื่อว่าธรรม สัทธาพละเป็นธรรมอย่างหนึ่ง
วิริยพละเป็นธรรมอย่างหนึ่ง สติพละเป็นธรรมอย่างหนึ่ง สมาธิพละเป็นธรรม
อย่างหนึ่ง ปัญญาพละเป็นธรรมอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้ธรรมต่าง ๆ เหล่านี้
ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะธรรมต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแหละ เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในธรรมต่าง ๆ ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทาญาณ
สภาวะที่ไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธาชื่อว่าอรรถ สภาวะที่ไม่หวั่นไหว
เพราะความเกียจคร้านชื่อว่าอรรถ สภาวะที่ไม่หวั่นไหวเพราะความประมาทชื่อว่า
อรรถ สภาวะที่ไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะชื่อว่าอรรถ สภาวะที่ไม่หวั่นไหวเพราะ
อวิชชาชื่อว่าอรรถ สภาวะที่ไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธาเป็นอรรถอย่างหนึ่ง
สภาวะที่ไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้านเป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาวะที่ไม่หวั่นไหว
เพราะความประมาทเป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาวะที่ไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะเป็น
อรรถอย่างหนึ่ง สภาวะที่ไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชาเป็นอรรถอย่างหนึ่ง พระโยคาวจร
รู้อรรถต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะอรรถต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณ
นั้นนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในอรรถต่าง ๆ ชื่อว่าอัตถ-
ปฏิสัมภิทาญาณ
การระบุพยัญชนะและนิรุตติเพื่อแสดงธรรม ๕ ประการ การระบุพยัญชนะ
และนิรุตติเพื่อแสดงอรรถ ๕ ประการ ธรรมนิรุตติเป็นอย่างหนึ่ง อรรถนิรุตติเป็น
อย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้นิรุตติต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะนิรุตติ
ต่าง ๆ เหล่านั้นด้วยญาณนั้นนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาใน
นิรุตติต่าง ๆ ชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๒๕-๒๘. ปฏิสัมภิทาญาณนิทเทส
ญาณในธรรม ๕ ประการ ญาณในอรรถ ๕ ประการ ญาณในนิรุตติ ๑๐
ประการ ญาณในธรรมเป็นอย่างหนึ่ง ญาณในอรรถเป็นอย่างหนึ่ง ญาณในนิรุตติ
เป็นอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้ญาณต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะ
ญาณต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญา
ในปฏิภาณต่าง ๆ ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ
สติสัมโพชฌงค์ชื่อว่าธรรม ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ชื่อว่าธรรม วิริยสัมโพชฌงค์
ชื่อว่าธรรม ปีติสัมโพชฌงค์ชื่อว่าธรรม ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ชื่อว่าธรรม สมาธิ-
สัมโพชฌงค์ชื่อว่าธรรม อุเบกขาสัมโพชฌงค์ชื่อว่าธรรม สติสัมโพชฌงค์เป็นธรรม
อย่างหนึ่ง ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์เป็นธรรมอย่างหนึ่ง วิริยสัมโพชฌงค์เป็นธรรม
อย่างหนึ่ง ปีติสัมโพชฌงค์เป็นธรรมอย่างหนึ่ง ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์เป็นธรรม
อย่างหนึ่ง สมาธิสัมโพชฌงค์เป็นธรรมอย่างหนึ่ง อุเบกขาสัมโพชฌงค์เป็นธรรม
อย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้ธรรมต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะธรรม
ต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในธรรม
ต่าง ๆ ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทาญาณ
สภาวะที่ตั้งมั่นชื่อว่าอรรถ สภาวะที่เลือกเฟ้นชื่อว่าอรรถ สภาวะที่ประคองไว้
ชื่อว่าอรรถ สภาวะที่แผ่ซ่านชื่อว่าอรรถ สภาวะที่สงบชื่อว่าอรรถ สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่าน
ชื่อว่าอรรถ สภาวะที่พิจารณาชื่อว่าอรรถ สภาวะที่ตั้งมั่นเป็นอรรถอย่างหนึ่ง
สภาวะที่เลือกเฟ้นเป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาวะที่ประคองไว้เป็นอรรถอย่างหนึ่ง
สภาวะที่แผ่ซ่านเป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาวะที่สงบเป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาวะที่ไม่
ฟุ้งซ่านเป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาวะที่พิจารณาเป็นอรรถอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้
อรรถต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะอรรถต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้น
นั่นแหละ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในอรรถต่าง ๆ ชื่อว่า
อัตถปฏิสัมภิทาญาณ
การระบุพยัญชนะและนิรุตติเพื่อแสดงธรรม ๗ ประการ การระบุพยัญชนะ
และนิรุตติเพื่อแสดงอรรถ ๗ ประการ ธรรมนิรุตติเป็นอย่างหนึ่ง อรรถนิรุตติเป็น
อย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้นิรุตติต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะนิรุตติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๒๕-๒๘. ปฏิสัมภิทาญาณนิทเทส
ต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาใน
นิรุตติต่าง ๆ ชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ
ญาณในธรรม ๗ ประการ ญาณในอรรถ ๗ ประการ ญาณในนิรุตติ ๑๔
ประการ ญาณในธรรมเป็นอย่างหนึ่ง ญาณในอรรถเป็นอย่างหนึ่ง ญาณในนิรุตติเป็น
อย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้ญาณต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะ
ญาณต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญา
ในปฏิภาณต่าง ๆ ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ
สัมมาทิฏฐิชื่อว่าธรรม สัมมาสังกัปปะชื่อว่าธรรม สัมมาวาจาชื่อว่าธรรม
สัมมากัมมันตะชื่อว่าธรรม สัมมาอาชีวะชื่อว่าธรรม สัมมาวายามะชื่อว่าธรรม
สัมมาสติชื่อว่าธรรม สัมมาสมาธิชื่อว่าธรรม สัมมาทิฏฐิเป็นธรรมอย่างหนึ่ง
สัมมาสังกัปปะเป็นธรรมอย่างหนึ่ง สัมมากัมมันตะเป็นธรรมอย่างหนึ่ง สัมมา-
อาชีวะเป็นธรรมอย่างหนึ่ง สัมมาวายามะเป็นธรรมอย่างหนึ่ง สัมมาสมาธิเป็นธรรม
อย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้ธรรมต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะธรรม
ต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญา
ในธรรมต่าง ๆ ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทาญาณ
สภาวะที่เห็นชื่อว่าอรรถ สภาวะที่ตรึกตรองชื่อว่าอรรถ สภาวะที่กำหนดไว้
ชื่อว่าอรรถ สภาวะที่เป็นสมุฏฐานชื่อว่าอรรถ สภาวะที่ผ่องแผ้วชื่อว่าอรรถ สภาวะที่
ประคองไว้ชื่อว่าอรรถ สภาวะที่ตั้งมั่นชื่อว่าอรรถ สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่านชื่อว่าอรรถ
สภาวะที่เห็นเป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาวะที่ตรึกตรองเป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาวะที่
กำหนดไว้เป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาวะที่เป็นสมุฏฐานเป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาวะที่
ผ่องแผ้วเป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาวะที่ประคองไว้เป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาวะที่ตั้งมั่น
เป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่านเป็นอรรถอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้อรรถ
ต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะอรรถต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแหละ
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในอรรถต่าง ๆ ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทาญาณ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๒๙-๓๑. ญาณัตตยนิทเทส
การระบุพยัญชนะและนิรุตติเพื่อแสดงธรรม ๘ ประการ การระบุพยัญชนะ
และนิรุตติเพื่อแสดงอรรถ ๘ ประการ ธรรมนิรุตติเป็นอย่างหนึ่ง อรรถนิรุตติเป็น
อย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้นิรุตติต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะนิรุตติ
ต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาใน
นิรุตติต่าง ๆ ชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ
ญาณในธรรม ๘ ประการ ญาณในอรรถ ๘ ประการ ญาณในนิรุตติ ๑๖
ประการ ญาณในธรรมเป็นอย่างหนึ่ง ญาณในอรรถเป็นอย่างหนึ่ง ญาณในนิรุตติ
เป็นอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้ญาณต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะ
ญาณต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญา
ในปฏิภาณต่าง ๆ ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในอรรถต่าง ๆ ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทาญาณ
ปัญญาในธรรมต่าง ๆ ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในนิรุตติต่าง ๆ ชื่อว่า
นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในปฏิภาณต่าง ๆ ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ
ปฏิสัมภิทาญาณนิทเทสที่ ๒๕-๒๘ จบ

๒๙-๓๑. ญาณัตตยนิทเทส
แสดงญาณ ๓ อย่าง
[๗๘] ปัญญาในวิหารธรรมต่าง ๆ ชื่อว่าวิหารัฏฐญาณ (ญาณในสภาวะ
แห่งวิหารธรรม) ปัญญาในสมาบัติต่าง ๆ ชื่อว่าสมาปัตตัฏฐญาณ (ญาณใน
สภาวะแห่งสมาบัติ) ปัญญาในวิหารสมาบัติต่าง ๆ ชื่อว่าวิหารสมาปัตตัฏฐญาณ
(ญาณในสภาวะแห่งวิหารสมาบัติ) เป็นอย่างไร
คือ พระโยคาวจรเมื่อพิจารณานิมิตโดยความเป็นภัย ถูกต้องแล้ว ๆ (ซึ่งสัง
ขารนิมิตด้วยญาณ) ย่อมเห็นความเสื่อม เพราะจิตน้อมไปในนิพพานที่ไม่มีนิมิต
นี้ชื่อว่าอนิมิตตวิหาร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๒๙-๓๑. ญาณัตตยนิทเทส
เมื่อพิจารณาปณิธิ๑ (ความตั้งมั่น) โดยความเป็นภัย ถูกต้องแล้ว ๆ (ซึ่งปณิธิ
ด้วยญาณ) ย่อมเห็นความเสื่อม เพราะจิตน้อมไปในนิพพานที่ไม่มีปณิหิตะ๒ นี้ชื่อว่า
อัปปณิหิตวิหาร
เมื่อพิจารณาอภินิเวส๓ (ความยึดมั่น) โดยความเป็นภัย ถูกต้องแล้ว ๆ (ซึ่ง
อภินิเวสด้วยญาณ) ย่อมเห็นความเสื่อม เพราะจิตน้อมไปในนิพพานที่เป็น
สุญญตะ๔ นี้ชื่อว่าสุญญตวิหาร
พระโยคาวจรเมื่อพิจารณานิมิตโดยความเป็นภัย เพ่งเฉยความเป็นไปแล้ว
นึกถึงนิพพานอันเป็นความดับไม่มีนิมิตแล้ว ย่อมเข้าสมาบัติ เพราะจิตน้อมไปใน
นิพพานที่ไม่มีนิมิต นี้ชื่อว่าอนิมิตตสมาบัติ
เมื่อพิจารณาปณิธิโดยความเป็นภัย เพ่งเฉยความเป็นไปแล้ว นึกถึงนิพพาน
อันเป็นความดับ ไม่มีปณิหิตะแล้ว ย่อมเข้าสมาบัติ เพราะจิตน้อมไปในนิพพานที่ไม่
มีปณิหิตะ นี้ชื่อว่าอัปปณิหิตสมาบัติ
เมื่อพิจารณาอภินิเวสโดยความเป็นภัย เพ่งเฉยความเป็นไปแล้ว นึกถึง
นิพพานอันเป็นความดับเป็นสุญญตะแล้ว ย่อมเข้าสมาบัติ เพราะจิตน้อมไปใน
นิพพานที่เป็นสุญญตะ นี้ชื่อว่าสุญญตสมาบัติ
พระโยคาวจรเมื่อพิจารณานิมิตโดยความเป็นภัย ถูกต้องแล้ว ๆ ย่อมเห็น
ความเสื่อม เพราะจิตน้อมไปในนิพพานที่ไม่มีนิมิต เพ่งเฉยความเป็นไปแล้ว นึกถึง
นิพพานอันเป็นความดับไม่มีนิมิตแล้ว ย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่าอนิมิตตวิหาร-
สมาบัติ

เชิงอรรถ :
๑ ปณิธิ หมายถึงตัณหา (ขุ.ป.อ. ๑/๗๘/๓๒๓)
๒ นิพพานที่ไม่มีปณิหิตะ หมายถึงนิพพานที่เป็นปฏิปักข์ต่อตัณหา (ขุ.ป.อ. ๑/๗๘/๓๒๓)
๓ อภินิเวส หมายถึงความยึดมั่นว่าอัตตา (ขุ.ป.อ. ๑/๗๘/๓๒๓)
๔ นิพพานที่เป็นสุญญตะ หมายถึงนิพพานที่ปราศจากอัตตา (ขุ.ป.อ. ๑/๗๘/๓๒๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๓๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๒๙-๓๑. ญาณัตตยนิทเทส
เมื่อพิจารณาปณิธิโดยความเป็นภัย ถูกต้องแล้ว ๆ ย่อมเห็นความเสื่อม
เพราะจิตน้อมไปในนิพพานที่ไม่มีปณิหิตะ เพ่งเฉยความเป็นไปแล้ว นึกถึงนิพพาน
อันเป็นความดับไม่มีปณิหิตะแล้ว ย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่าอัปปณิหิตวิหารสมาบัติ
เมื่อพิจารณาอภินิเวสโดยความเป็นภัย ถูกต้องแล้ว ๆ ย่อมเห็นความเสื่อม
เพราะจิตน้อมไปในนิพพานที่เป็นสุญญตะ เพ่งเฉยความเป็นไปแล้ว นึกถึงนิพพาน
อันเป็นความดับเป็นสุญญตะแล้ว ย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่าสุญญตวิหารสมาบัติ
[๗๙] พระโยคาวจรเมื่อพิจารณารูปนิมิตโดยความเป็นภัย ถูกต้องแล้ว ๆ
ย่อมเห็นความเสื่อม เพราะจิตน้อมไปในนิพพานที่ไม่มีนิมิต นี้ชื่อว่าอนิมิตตวิหาร
เมื่อพิจารณารูปปณิธิ (ตัณหาอันเป็นที่ตั้งแห่งรูป) โดยความเป็นภัย ถูกต้อง
แล้ว ๆ ย่อมเห็นความเสื่อม เพราะจิตน้อมไปในนิพพานที่ไม่มีปณิหิตะ นี้ชื่อว่า
อัปปณิหิตวิหาร
เมื่อพิจารณารูปาภินิเวส (ความยึดมั่นว่ารูป) โดยความเป็นภัย ถูกต้องแล้ว ๆ
ย่อมเห็นความเสื่อม เพราะจิตน้อมไปในนิพพานที่เป็นสุญญตะ นี้ชื่อว่าสุญญตวิหาร
พระโยคาวจรเมื่อพิจารณารูปนิมิตโดยความเป็นภัย เพ่งเฉยความเป็นไปแล้ว
นึกถึงนิพพานอันเป็นความดับไม่มีนิมิตแล้ว ย่อมเข้าสมาบัติ เพราะจิตน้อมไปใน
นิพพานที่ไม่มีนิมิต นี้ชื่อว่าอนิมิตตสมาบัติ
เมื่อพิจารณารูปปณิธิโดยความเป็นภัย เพ่งเฉยความเป็นไปแล้ว นึกถึงนิพพาน
อันเป็นความดับไม่มีปณิหิตะแล้ว ย่อมเข้าสมาบัติ เพราะจิตน้อมไปในนิพพานที่ไม่มี
ปณิหิตะ นี้ชื่อว่าอัปปณิหิตสมาบัติ
เมื่อพิจารณารูปาภินิเวสโดยความเป็นภัย เพ่งเฉยความเป็นไปแล้ว นึกถึง
นิพพานอันเป็นความดับเป็นสุญญตะแล้ว ย่อมเข้าสมาบัติ เพราะจิตน้อมไปใน
นิพพานที่เป็นสุญญตะ นี้ชื่อว่าสุญญตสมาบัติ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๒๙-๓๑. ญาณัตตยนิทเทส
พระโยคาวจรเมื่อพิจารณารูปนิมิตโดยความเป็นภัย ถูกต้องแล้ว ๆ ย่อมเห็น
ความเสื่อม เพ่งเฉยความเป็นไปแล้ว นึกถึงนิพพานอันเป็นความดับไม่มีนิมิตแล้ว
ย่อมเข้าสมาบัติ เพราะจิตน้อมไปในนิพพานที่ไม่มีนิมิต นี้ชื่อว่าอนิมิตตวิหารสมาบัติ
เมื่อพิจารณารูปปณิธิโดยความเป็นภัย ถูกต้องแล้ว ๆ ย่อมเห็นความเสื่อม
เพราะจิตน้อมไปในนิพพานที่ไม่มีปณิหิตะ เพ่งเฉยความเป็นไปแล้ว นึกถึงนิพพาน
อันเป็นความดับไม่มีปณิหิตะแล้ว ย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่าอัปปณิหิตวิหารสมาบัติ
เมื่อพิจารณารูปาภินิเวสโดยความเป็นภัย ถูกต้องแล้ว ๆ ย่อมเห็นความเสื่อม
เพราะจิตน้อมไปในนิพพานที่เป็นสุญญตะ เพ่งเฉยความเป็นไปแล้ว นึกถึงนิพพาน
อันเป็นความดับเป็นสุญญตะแล้ว ย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่าสุญญตวิหารสมาบัติ
พระโยคาวจรเมื่อพิจารณาเวทนานิมิต ฯลฯ สัญญานิมิต ฯลฯ สังขารนิมิต
ฯลฯ วิญญาณนิมิต ฯลฯ จักขุ ฯลฯ เมื่อพิจารณาชรามรณนิมิตโดยความ
เป็นภัย ถูกต้องแล้ว ๆ ย่อมเห็นความเสื่อม เพราะจิตน้อมไปในนิพพานที่ไม่มีนิมิต
นี้ชื่อว่าอนิมิตตวิหาร
เมื่อพิจารณาชรามรณปณิธิ (ตัณหาอันเป็นที่ตั้งแห่งชราและมรณะ) โดยความ
เป็นภัย ถูกต้องแล้ว ๆ ย่อมเห็นความเสื่อม เพราะจิตน้อมไปในนิพพานที่ไม่มี
ปณิหิตะ นี้ชื่อว่าอัปปณิหิตวิหาร
เมื่อพิจารณาชรามรณาภินิเวส (ความยึดมั่นว่าชราและมรณะ) โดยความเป็นภัย
ถูกต้องแล้ว ๆ ย่อมเห็นความเสื่อม เพราะจิตน้อมไปในนิพพานที่เป็นสุญญตะ นี้ชื่อว่า
สุญญตวิหาร
พระโยคาวจรเมื่อพิจารณาชรามรณนิมิตโดยความเป็นภัย เพ่งเฉยความเป็น
ไปแล้ว นึกถึงนิพพานอันเป็นความดับไม่มีนิมิตแล้ว ย่อมเข้าสมาบัติ เพราะจิต
น้อมไปในนิพพานที่ไม่มีนิมิต นี้ชื่อว่าอนิมิตตวิหารสมาบัติ
เมื่อพิจารณาชรามรณปณิธิโดยความเป็นภัย เพ่งเฉยความเป็นไปแล้ว นึกถึง
นิพพานอันเป็นความดับไม่มีปณิหิตะแล้ว ย่อมเข้าสมาบัติ เพราะจิตน้อมไปใน
นิพพานที่ไม่มีปณิหิตะ นี้ชื่อว่าอัปปณิหิตวิหารสมาบัติ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๒๙-๓๑. ญาณัตตยนิทเทส
เมื่อพิจารณาชรามรณาภินิเวสโดยความเป็นภัย เพ่งเฉยความเป็นไปแล้ว
นึกถึงนิพพานอันเป็นความดับเป็นสุญญตะแล้ว ย่อมเข้าสมาบัติ เพราะจิตน้อมไปใน
นิพพานที่เป็นสุญญตะ นี้ชื่อว่าสุญญตสมาบัติ
พระโยคาวจรเมื่อพิจารณาชรามรณนิมิตโดยความเป็นภัย ถูกต้องแล้ว ๆ
ย่อมเห็นความเสื่อม เพราะจิตน้อมไปในนิพพานที่ไม่มีนิมิต เพ่งเฉยความเป็นไปแล้ว
นึกถึงนิพพานอันเป็นความดับไม่มีนิมิตแล้ว ย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่าอนิมิตตวิหาร-
สมาบัติ
เมื่อพิจารณาชรามรณปณิธิโดยความเป็นภัย ถูกต้องแล้ว ๆ ย่อมเห็นความ
เสื่อม เพราะจิตน้อมไปในนิพพานที่ไม่มีปณิหิตะ เพ่งเฉยความเป็นไปแล้ว นึกถึง
นิพพานอันเป็นความดับ ไม่มีปณิหิตะแล้ว ย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่าอัปปณิหิตวิหาร-
สมาบัติ
เมื่อพิจารณาชรามรณาภินิเวสโดยความเป็นภัย ถูกต้องแล้ว ๆ ย่อมเห็น
ความเสื่อม เพราะจิตน้อมไปในนิพพานที่เป็นสุญญตะ เพ่งเฉยความเป็นไปแล้ว
นึกถึงนิพพานอันเป็นความดับเป็นสุญญตะแล้ว ย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่าสุญญต-
วิหารสมาบัติ
อนิมิตตวิหารเป็นอย่างหนึ่ง อัปปณิหิตวิหารเป็นอย่างหนึ่ง สุญญตวิหารเป็น
อย่างหนึ่ง อนิมิตตสมาบัติเป็นอย่างหนึ่ง อัปปณิหิตสมาบัติเป็นอย่างหนึ่ง สุญญต-
สมาบัติเป็นอย่างหนึ่ง อนิมิตตวิหารสมาบัติเป็นอย่างหนึ่ง อัปปณิหิตวิหารสมาบัติ
เป็นอย่างหนึ่ง สุญญตวิหารสมาบัติเป็นอย่างหนึ่ง
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในวิหารธรรมต่าง ๆ ชื่อว่าวิหารัฏฐญาณ
ปัญญาในสมาบัติต่าง ๆ ชื่อว่าสมาปัตตัฏฐญาณ ปัญญาในวิหารสมาบัติต่าง ๆ
ชื่อว่าวิหารสมาปัตตัฏฐญาณ

ญาณัตตยนิทเทสที่ ๒๙-๓๑ จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๓๒. อานันตริกสมาธิญาณนิทเทส
๓๒. อานันตริกสมาธิญาณนิทเทส
แสดงอานันตริกสมาธิญาณ
[๘๐] ปัญญาในการตัดขาดอาสวะ เพราะความบริสุทธิ์แห่งจิตที่ไม่ฟุ้งซ่าน
ชื่อว่าอานันตริกสมาธิญาณ เป็นอย่างไร
คือ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ (มีอารมณ์เดียว) ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่ง
เนกขัมมะ ชื่อว่าสมาธิ ญาณย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งสมาธินั้น อาสวะทั้งหลาย
ย่อมสิ้นไปด้วยญาณนั้น สมถะมีก่อน ญาณมีภายหลัง ด้วยประการฉะนี้ ความ
สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ย่อมมีได้ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
ปัญญาในการตัดขาดอาสวะเพราะความบริสุทธิ์แห่งจิตที่ไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าอานันตริก-
สมาธิญาณ
คำว่า อาสวะ อธิบายว่า อาสวะเหล่านั้น อะไรบ้าง
คือ กามาสวะ (อาสวะคือกาม) ภวาสวะ (อาสวะคือภพ) ทิฏฐาสวะ (อาสวะ
คือทิฏฐิ) อวิชชาสวะ (อาสวะคืออวิชชา)
อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไป ณ ที่ไหน
คือ ทิฏฐาสวะทั้งสิ้นย่อมสิ้นไปด้วยโสดาปัตติมรรค กามาสวะซึ่งเป็นเหตุให้
สัตว์ไปสู่อบาย ภวาสวะซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบาย อวิชชาสวะซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์
ไปสู่อบาย ย่อมสิ้นไปด้วยโสดาปัตติมรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่ง
โสดาปัตติมรรคนี้
กามาสวะส่วนหยาบย่อมสิ้นไปด้วยสกทาคามิมรรค ภวาสวะซึ่งตั้งอยู่ร่วมกับ
กามาสวะนั้น อวิชชาสวะซึ่งตั้งอยู่ร่วมกับกามาสวะนั้น ย่อมสิ้นไปด้วยสกทาคามิ-
มรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งสกทาคามิมรรคนี้
กามาสวะทั้งสิ้นย่อมสิ้นไปด้วยอนาคามิมรรค ภวาสวะซึ่งตั้งอยู่ร่วมกับกามาสวะ
นั้น อวิชชาสวะซึ่งตั้งอยู่ร่วมกับกามาสวะนั้น ย่อมสิ้นไปด้วยอนาคามิมรรค อาสวะ
เหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งอนาคามิมรรคนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๓๒. อานันตริกสมาธิญาณนิทเทส
ภวาสวะทั้งสิ้น อวิชชาสวะทั้งสิ้น ย่อมสิ้นไปด้วยอรหัตตมรรค อาสวะเหล่านี้
ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งอรหัตตมรรคนี้
ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งอพยาบาท ชื่อว่าสมาธิ
ฯลฯ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งอาโลกสัญญา ฯลฯ
ด้วยอำนาจแห่งอวิกเขปะ ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งธัมมววัตถาน ฯลฯ ด้วยอำนาจ
แห่งญาณ ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งปามุชชะ ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งปฐมฌาน ฯลฯ
ด้วยอำนาจแห่งทุติยฌาน ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งตติยฌาน ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่ง
จตุตถฌาน ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งอากาสานัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ ด้วยอำนาจ
แห่งวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งอากิญจัญญายตนสมาบัติ ฯลฯ
ด้วยอำนาจแห่งเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งปฐวีกสิณ
ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งอาโปกสิณ ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งเตโชกสิณ ฯลฯ ด้วยอำนาจ
แห่งวาโยกสิณ ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งนีลกสิณ ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งปีตกสิณ ฯลฯ
ด้วยอำนาจแห่งโลหิตกสิณ ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งโอทาตกสิณ ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่ง
อากาสกสิณ ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งวิญญาณกสิณ ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งพุทธานุสสติ
ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งธัมมานุสสติ ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งสังฆานุสสติ ฯลฯ ด้วย
อำนาจแห่งสีลานุสสติ ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งจาคานุสสติ ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่ง
เทวตานุสสติ ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งอานาปานัสสติ ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งมรณัสสติ
ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งกายคตาสติ ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งอุปสมานุสสติ ฯลฯ
ด้วยอำนาจแห่งอุทธุมาตกสัญญา ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งวินีลกสัญญา ฯลฯ ด้วยอำนาจ
แห่งวิปุพพกสัญญา ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งวิจฉิททกสัญญา ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่ง
วิกขายิตกสัญญา ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งวิกขิตตกสัญญา ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่ง
หตวิกขิตตกสัญญา ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งโลหิตกสัญญา ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่ง
ปุฬวกสัญญา ฯลฯ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งอัฏฐิก-
สัญญา ชื่อว่าสมาธิ ฯลฯ
[๘๑] ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งลมหายใจเข้ายาว
ชื่อว่าสมาธิ ฯลฯ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งลมหายใจ
ออกยาว ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งลมหายใจเข้าสั้น ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งลมหายใจ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๓๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๓๒. อานันตริกสมาธิญาณนิทเทส
ออกสั้น ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งความเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวงหายใจเข้า ฯลฯ ด้วย
อำนาจแห่งความเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวงหายใจออก ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งการ
ระงับกายสังขารหายใจเข้า ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งการระงับกายสังขารหายใจออก ฯลฯ
ด้วยอำนาจแห่งความรู้แจ้งปีติหายใจเข้า ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งความรู้แจ้งปีติหายใจ
ออก ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งความรู้แจ้งสุขหายใจเข้า ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งความรู้
แจ้งสุขหายใจออก ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งความรู้แจ้งจิตตสังขารหายใจเข้า ฯลฯ
ด้วยอำนาจแห่งความรู้แจ้งจิตตสังขารหายใจออก ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งการระงับ
จิตตสังขารหายใจเข้า ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งการระงับจิตตสังขารหายใจออก ฯลฯ
ด้วยอำนาจแห่งความรู้แจ้งจิตหายใจเข้า ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งความรู้แจ้งจิตหายใจออก
ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งการยังจิตให้บันเทิงหายใจเข้า ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งการยังจิต
ให้บันเทิงหายใจออก ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งการตั้งจิตไว้หายใจเข้า ฯลฯ ด้วยอำนาจ
แห่งการตั้งจิตไว้หายใจออก ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งการเปลื้องจิตหายใจเข้า ฯลฯ
ด้วยอำนาจแห่งการเปลื้องจิตหายใจออก ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งการพิจารณาเห็น
ความไม่เที่ยงหายใจเข้า ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งการพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง
หายใจออก ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งการพิจารณาเห็นความคลายกำหนัดหายใจเข้า
ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งการพิจารณาเห็นความคลายกำหนัดหายใจออก ฯลฯ
ด้วยอำนาจแห่งการพิจารณาเห็นความดับหายใจเข้า ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งการ
พิจารณาเห็นความดับหายใจออก ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งการพิจารณาเห็นความสละ
คืนหายใจเข้า ฯลฯ
ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งการพิจารณาเห็น
ความสละคืนหายใจออก ชื่อว่าสมาธิ ญาณย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งสมาธินั้น
อาสวะทั้งหลายย่อมสิ้นไปด้วยญาณนั้น สมถะมีก่อน ญาณมีภายหลัง ด้วยประการ
ฉะนี้ ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายย่อมมีได้ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึง
กล่าวว่า ปัญญาในการตัดขาดอาสวะเพราะความบริสุทธิ์แห่งจิตที่ไม่ฟุ้งซ่าน
ชื่อว่าอานันตริกสมาธิญาณ
คำว่า อาสวะ อธิบายว่า อาสวะเหล่านั้น อะไรบ้าง
คือ กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๓๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๓๓. อรณวิหารญาณนิทเทส
อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไป ณ ที่ไหน
คือ ทิฏฐาสวะทั้งสิ้นย่อมสิ้นไปด้วยโสดาปัตติมรรค กามาสวะซึ่งเป็นเหตุให้
สัตว์ไปสู่อบาย ภวาสวะซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบาย อวิชชาสวะซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์
ไปสู่อบาย ย่อมสิ้นไปด้วยโสดาปัตติมรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่ง
โสดาปัตติมรรคนี้
กามาสวะส่วนหยาบย่อมสิ้นไปด้วยสกทาคามิมรรค ภวาสวะซึ่งตั้งอยู่ร่วมกับ
กามาสวะนั้น อวิชชาสวะซึ่งตั้งอยู่ร่วมกับกามาสวะนั้น ย่อมสิ้นไปด้วยสกทาคามิ-
มรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งสกทาคามิมรรคนี้
กามาสวะทั้งสิ้นย่อมสิ้นไปด้วยอนาคามิมรรค ภวาสวะซึ่งตั้งอยู่ร่วมกับ
กามาสวะนั้น อวิชชาสวะซึ่งตั้งอยู่ร่วมกับกามาสวะนั้น ย่อมสิ้นไปด้วยอนาคามิ-
มรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งอนาคามิมรรคนี้
ภวาสวะทั้งสิ้น อวิชชาสวะทั้งสิ้นย่อมสิ้นไปด้วยอรหัตตมรรค อาสวะเหล่านี้
ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งอรหัตตมรรคนี้
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการตัดขาดอาสวะเพราะความบริสุทธิ์
แห่งจิตที่ไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าอานันตริกสมาธิญาณ
อานันตริกสมาธิญาณนิทเทสที่ ๓๒ จบ

๓๓. อรณวิหารญาณนิทเทส
แสดงอรณวิหารญาณ
[๘๒] ทัสสนาธิปไตย วิหาราธิคมที่สงบ และปณีตาธิมุตตตาปัญญา ชื่อว่า
อรณวิหารญาณ เป็นอย่างไร
คือ คำว่า ทัสสนาธิปไตย อธิบายว่า อนิจจานุปัสสนาชื่อว่าทัสสนาธิปไตย
ทุกขานุปัสสนาชื่อว่าทัสสนาธิปไตย อนัตตานุปัสสนาชื่อว่าทัสสนาธิปไตย
อนิจจานุปัสสนาในรูปชื่อว่าทัสสนาธิปไตย ทุกขานุปัสสนาในรูปชื่อว่าทัสสนาธิปไตย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๓๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๓๓. อรณวิหารญาณนิทเทส
อนัตตานุปัสสนาในรูปชื่อว่าทัสสนาธิปไตย อนิจจานุปัสสนาในเวทนา ฯลฯ ในสัญญา
ฯลฯ ในสังขาร ฯลฯ ในวิญญาณ ฯลฯ ในจักขุ ฯลฯ อนิจจานุปัสสนาในชราและ
มรณะชื่อว่าทัสสนาธิปไตย ทุกขานุปัสสนาในชราและมรณะชื่อว่าทัสสนาธิปไตย
อนัตตานุปัสสนาในชราและมรณะชื่อว่าทัสสนาธิปไตย
คำว่า วิหาราธิคมที่สงบ อธิบายว่า สุญญตวิหารชื่อว่าวิหาราธิคมที่สงบ
อนิมิตตวิหารชื่อว่าวิหาราธิคมที่สงบ อัปปณิหิตวิหารชื่อว่าวิหาราธิคมที่สงบ
คำว่า ปณีตาธิมุตตตา อธิบายว่า ความที่จิตน้อมไปในธรรมที่ว่าง ชื่อว่า
ปณีตาธิมุตตตา ความที่จิตน้อมไปในธรรมที่ไม่มีนิมิตชื่อว่าปณีตาธิมุตตตา ความที่
จิตน้อมไปในธรรมที่ไม่มีปณิหิตะ(ที่ตั้ง) ชื่อว่าปณีตาธิมุตตตา
คำว่า อรณวิหาร อธิบายว่า ปฐมฌานชื่อว่าอรณวิหาร ทุติยฌานชื่อว่าอรณ-
วิหาร ตติยฌานชื่อว่าอรณวิหาร จตุตถฌานชื่อว่าอรณวิหาร อากาสานัญจายตนสมาบัติ
ฯลฯ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติชื่อว่าอรณวิหาร
คำว่า อรณวิหาร อธิบายว่า ชื่อว่าอรณวิหาร เพราะมีความหมายว่าอย่างไร
คือ ชื่อว่าอรณวิหาร เพราะกำจัดนิวรณ์ได้ด้วยปฐมฌาน ชื่อว่าอรณวิหาร
เพราะกำจัดวิตกวิจารได้ด้วยทุติยฌาน ชื่อว่าอรณวิหาร เพราะกำจัดปีติได้ด้วย
ตติยฌาน ชื่อว่าอรณวิหาร เพราะกำจัดสุขและทุกข์ได้ด้วยจตุตถฌาน ชื่อว่า
อรณวิหาร เพราะกำจัดรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญาได้ด้วยอากาสานัญ-
จายตนสมาบัติ ชื่อว่าอรณวิหาร เพราะกำจัดอากาสานัญจายตนสัญญาได้ด้วย
วิญญาณัญจายตนสมาบัติ ชื่อว่าอรณวิหาร เพราะกำจัดวิญญาณัญจายตนสัญญา
ได้ด้วยอากิญจัญญายตนสมาบัติ ชื่อว่าอรณวิหาร เพราะกำจัดอากิญจัญญายตน-
สัญญาได้ด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ นี้ชื่อว่าอรณวิหาร
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ทัสสนาธิปไตย วิหาราธิคมที่สงบ และปณีตาธิ-
มุตตตาปัญญา ชื่อว่าอรณวิหารญาณ
อรณวิหารญาณนิทเทสที่ ๓๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๓๔. นิโรธสมาปัตติญาณนิทเทส
๓๔. นิโรธสมาปัตติญาณนิทเทส
แสดงนิโรธสมาปัตติญาณ
[๘๓] ปัญญาที่มีความชำนาญในการระงับสังขาร ๓ ด้วยญาณจริยา ๑๖
และด้วยสมาธิจริยา ๙ เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยพละ ๒ อย่าง ชื่อว่านิโรธ-
สมาปัตติญาณ เป็นอย่างไร
คือ คำว่า พละ ๒ อย่าง อธิบายว่า พละ ๒ อย่าง ได้แก่
๑. สมถพละ
๒. วิปัสสนาพละ
สมถพละ เป็นอย่างไร
คือ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งเนกขัมมะ ชื่อว่า
สมถพละ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งอพยาบาท ชื่อว่า
สมถพละ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งอาโลกสัญญา
ชื่อว่าสมถพละ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งอวิกเขปะ
ชื่อว่าสมถพละ ฯลฯ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งการ
พิจารณาเห็นความสละคืนหายใจเข้า ชื่อว่าสมถพละ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์
ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งการพิจารณาเห็นความสละคืนหายใจออก ชื่อว่าสมถพละ
คำว่า สมถพละ อธิบายว่า ชื่อว่าสมถพละ เพราะมีความหมายว่าอย่างไร
คือ ชื่อว่าสมถพละ เพราะไม่หวั่นไหวเพราะนิวรณ์ด้วยปฐมฌาน ชื่อว่า
สมถพละ เพราะไม่หวั่นไหวเพราะวิตกวิจารด้วยทุติยฌาน ชื่อว่าสมถพละ เพราะ
ไม่หวั่นไหวเพราะปีติด้วยตติยฌาน ชื่อว่าสมถพละ เพราะไม่หวั่นไหวเพราะสุขและ
ทุกข์ด้วยจตุตถฌาน ชื่อว่าสมถพละ เพราะไม่หวั่นไหวเพราะรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา
นานัตตสัญญา ด้วยอากาสานัญจายตนสมาบัติ ชื่อว่าสมถพละ เพราะไม่หวั่นไหว
เพราะอากาสานัญจายตนสัญญาด้วยวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ชื่อว่าสมถพละ
เพราะไม่หวั่นไหวเพราะวิญญาณัญจายตนสัญญาด้วยอากิญจัญญายตนสมาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๔๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๓๔. นิโรธสมาปัตติญาณนิทเทส
ชื่อว่าสมถพละ เพราะไม่หวั่นไหวเพราะอากิญจัญญายตนสัญญา ด้วยเนวสัญญา-
นาสัญญายตนสมาบัติ ชื่อว่าสมถพละ เพราะไม่หวั่นไหว ไม่กวัดแกว่ง ไม่เอนเอียง
เพราะอุทธัจจะ เพราะกิเลสที่ประกอบด้วยอุทธัจจะ และเพราะขันธ์ นี้ชื่อว่าสมถพละ
วิปัสสนาพละ เป็นอย่างไร
คือ อนิจจานุปัสสนาชื่อว่าวิปัสสนาพละ ทุกขานุปัสสนาชื่อว่าวิปัสสนา-
พละ อนัตตานุปัสสนาชื่อว่าวิปัสสนาพละ นิพพิทานุปัสสนาชื่อว่าวิปัสสนาพละ
วิราคานุปัสสนาชื่อว่าวิปัสสนาพละ นิโรธานุปัสสนาชื่อว่าวิปัสสนาพละ ปฏินิส-
สัคคานุปัสสนาชื่อว่าวิปัสสนาพละ อนิจจานุปัสสนาในรูปชื่อว่าวิปัสสนาพละ ฯลฯ
ปฏินิสสัคคานุปัสสนาในรูป ฯลฯ ในเวทนา ฯลฯ ในสัญญา ฯลฯ ในสังขาร ฯลฯ
ในวิญญาณ ฯลฯ ในจักขุ ฯลฯ ในชราและมรณะ ฯลฯ ปฏินิสสัคคานุปัสสนาในชรา
และมรณะชื่อว่าวิปัสสนาพละ
คำว่า วิปัสสนาพละ อธิบายว่า ชื่อว่าวิปัสสนาพละ เพราะมีความหมายว่า
อย่างไร
คือ ชื่อว่าวิปัสสนาพละ เพราะไม่หวั่นไหวเพราะนิจจสัญญาด้วยอนิจจานุปัสสนา
ชื่อว่าวิปัสสนาพละ เพราะไม่หวั่นไหวเพราะสุขสัญญาด้วยทุกขานุปัสสนา ชื่อว่า
วิปัสสนาพละ เพราะไม่หวั่นไหวเพราะอัตตสัญญาด้วยอนัตตานุปัสสนา ชื่อว่า
วิปัสสนาพละ เพราะไม่หวั่นไหวเพราะนันทิด้วยนิพพิทานุปัสสนา ชื่อว่าวิปัสสนาพละ
เพราะไม่หวั่นไหวเพราะราคะด้วยวิราคานุปัสสนา ชื่อว่าวิปัสสนาพละ เพราะไม่หวั่น
ไหวเพราะสมุทัยด้วยนิโรธานุปัสสนา ชื่อว่าวิปัสสนาพละ เพราะไม่หวั่นไหวเพราะ
อาทานะด้วยปฏินิสสัคคานุปัสสนา ชื่อว่าวิปัสสนาพละ เพราะไม่หวั่นไหว
ไม่กวัดแกว่ง ไม่เอนเอียงเพราะอวิชชา เพราะกิเลสที่ประกอบด้วยอวิชชาและ
เพราะขันธ์ นี้ชื่อว่าวิปัสสนาพละ
คำว่า ด้วยการระงับสังขาร ๓ อธิบายว่า ด้วยการระงับสังขาร ๓ เป็นอย่างไร
คือ วิตก วิจารที่เป็นวจีสังขารของท่านผู้เข้าทุติยฌานย่อมระงับไป ลมหายใจ
เข้าหายใจออกที่เป็นกายสังขาร ของท่านผู้เข้าจตุตถฌานย่อมระงับไป สัญญา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๔๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๓๔. นิโรธสมาปัตติญาณนิทเทส
และเวทนาที่เป็นจิตตสังขารของท่านผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ย่อมระงับไปด้วยการ
ระงับสังขาร ๓ นี้
[๘๔] คำว่า ด้วยญาณจริยา ๑๖ อธิบายว่า ด้วยญาณจริยา ๑๖ เป็นอย่างไร
คือ อนิจจานุปัสสนาชื่อว่าญาณจริยา ทุกขานุปัสสนาชื่อว่าญาณจริยา
อนัตตานุปัสสนาชื่อว่าญาณจริยา นิพพิทานุปัสสนาชื่อว่าญาณจริยา วิราคา-
นุปัสสนาชื่อว่าญาณจริยา นิโรธานุปัสสนาชื่อว่าญาณจริยา ปฏินิสสัคคา-
นุปัสสนาชื่อว่าญาณจริยา วิวัฏฏนานุปัสสนาชื่อว่าญาณจริยา โสดาปัตติมรรค
ชื่อว่าญาณจริยา โสดาปัตติผลสมาบัติชื่อว่าญาณจริยา สกทาคามิมรรคชื่อว่า
ญาณจริยา สกทาคามิผลสมาบัติชื่อว่าญาณจริยา อนาคามิมรรคชื่อว่าญาณจริยา
อนาคามิผลสมาบัติชื่อว่าญาณจริยา อรหัตตมรรคชื่อว่าญาณจริยา อรหัตตผล-
สมาบัติชื่อว่าญาณจริยา ด้วยญาณจริยา ๑๖ นี้
[๘๕] คำว่า ด้วยสมาธิจริยา ๙ อธิบายว่า ด้วยสมาธิจริยา ๙ เป็นอย่างไร
คือ ปฐมฌานชื่อว่าสมาธิจริยา ทุติยฌานชื่อว่าสมาธิจริยา ตติยฌาน
ชื่อว่าสมาธิจริยา จตุตถฌานชื่อว่าสมาธิจริยา อากาสานัญจายนตสมาบัติ ฯลฯ
วิญญาณัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ อากิญจัญญายตนสมาบัติ ฯลฯ เนวสัญญา-
นาสัญญายตนสมาบัติชื่อว่าสมาธิจริยา วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตาจิต
เพื่อได้ปฐมฌาน ฯลฯ วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตาจิต เพื่อได้เนวสัญญา-
นาสัญญายตนสมาบัติชื่อว่าสมาธิจริยา ด้วยสมาธิจริยา ๙ นี้
คำว่า วสี อธิบายว่า วสี ๕ ประการ ได้แก่
๑. อาวัชชนาวสี (ชำนาญในการคำนึงถึง)
๒. สมาปัชชนวสี (ชำนาญในการเข้า)
๓. อธิฏฐานวสี (ชำนาญในการอธิษฐาน)
๔. วุฏฐานวสี (ชำนาญในการออก)
๕. ปัจจเวกขณาวสี (ชำนาญในการพิจารณา)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๔๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๓๔. นิโรธสมาปัตติญาณนิทเทส
สมาปัตติลาภีบุคคล (บุคคลผู้ได้สมาบัติ) คำนึงถึงปฐมฌาน ที่ไหนก็ได้ เมื่อไร
ก็ได้ นานเท่าไรก็ได้ ตามปรารถนา ไม่มีความเนิ่นช้าในการคำนึงถึง เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าอาวัชชนาวสี
สมาปัตติลาภีบุคคลเข้าปฐมฌานที่ไหนก็ได้ เมื่อไรก็ได้ นานเท่าไรก็ได้
ตามปรารถนา ไม่มีความเนิ่นช้าในการเข้า เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสมาปัชชนวสี
สมาปัตติลาภีบุคคลอธิษฐานปฐมฌานที่ไหนก็ได้ เมื่อไรก็ได้ นานเท่าไร
ก็ได้ ตามปรารถนา ไม่มีความเนิ่นช้าในการอธิษฐาน เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
อธิฏฐานวสี
สมาปัตติลาภีบุคคลออกจากปฐมฌานที่ไหนก็ได้ เมื่อไรก็ได้ นานเท่าไรก็ได้
ตามปรารถนา ไม่มีความเนิ่นช้าในการออก เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าวุฏฐานวสี
สมาปัตติลาภีบุคคลพิจารณาปฐมฌานที่ไหนก็ได้ เมื่อไรก็ได้ นานเท่าไร
ก็ได้ ตามปรารถนา ไม่มีความเนิ่นช้าในการพิจารณา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
ปัจจเวกขณาวสี
สมาปัตติลาภีบุคคลคำนึงถึงทุติยฌาน ฯลฯ คำนึงถึงเนวสัญญา-
นาสัญญายตนสมาบัติที่ไหนก็ได้ เมื่อไรก็ได้ นานเท่าไรก็ได้ ตามปรารถนา ไม่มี
ความเนิ่นช้าในการคำนึงถึง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอาวัชชนาวสี
สมาปัตติลาภีบุคคลเข้า ฯลฯ อธิฏฐาน ฯลฯ ออก ฯลฯ พิจารณา
เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติที่ไหนก็ได้ เมื่อไรก็ได้ นานเท่าไรก็ได้ ตาม
ปรารถนา ไม่มีความเนิ่นช้าในการพิจารณา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าปัจจเวกขณาวสี
วสี ๕ ประการนี้
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาที่มีความชำนาญในการระงับสังขาร ๓ ด้วย
ญาณจริยา ๑๖ และด้วยสมาธิจริยา ๙ เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยพละ ๒ อย่าง
ชื่อว่านิโรธสมาปัตติญาณ
นิโรธสมาปัตติญาณนิทเทสที่ ๓๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๔๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๓๕. ปรินิพพานญาณนิทเทส
๓๕. ปรินิพพานญาณนิทเทส
แสดงปรินิพพานญาณ
[๘๖] ปัญญาในการทำความเป็นไปแห่งกิเลสให้สิ้นไปของผู้มีสัมปชัญญะ
ชื่อว่าปรินิพพานญาณ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลผู้มีสัมปชัญญะในศาสนานี้ ทำความเป็นไปแห่งกามฉันทะให้สิ้นไป
ด้วยเนกขัมมะ ทำความเป็นไปแห่งพยาบาทให้สิ้นไปด้วยอพยาบาท ทำความเป็นไป
แห่งถีนมิทธะให้สิ้นไปด้วยอาโลกสัญญา ทำความเป็นไปแห่งอุทธัจจะให้สิ้นไป
ด้วยอวิกเขปะ ทำความเป็นไปแห่งวิจิกิจฉาให้สิ้นไปด้วยธัมมววัตถาน ฯลฯ แห่ง
อวิชชาให้สิ้นไปด้วยญาณ ฯลฯ แห่งอรติให้สิ้นไปด้วยปามุชชะ ฯลฯ แห่งนิวรณ์ให้
สิ้นไปด้วยปฐมฌาน ฯลฯ ทำความเป็นไปแห่งกิเลสทั้งปวงให้สิ้นไปด้วยอรหัตตมรรค
อีกประการหนึ่ง ความเป็นไปแห่งจักขุนี้ ของบุคคลผู้มีสัมปชัญญะผู้ปรินิพพาน
ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ย่อมสิ้นไป และความเป็นไปแห่งจักขุอื่นย่อมไม่เกิดขึ้น
ความเป็นไปแห่งโสตะ ฯลฯ ความเป็นไปแห่งฆานะ ฯลฯ ความเป็นไปแห่งชิวหา
ฯลฯ ความเป็นไปแห่งกาย ฯลฯ ความเป็นไปแห่งมโนนี้ ของบุคคลผู้มีสัมปชัญญะ
ผู้ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ย่อมสิ้นไป และความเป็นไปแห่งมโนอื่น
ย่อมไม่เกิดขึ้น ปัญญาในการทำความเป็นไปแห่งกิเลสให้สิ้นไปของบุคคลผู้มีสัมปชัญญะ
นี้ชื่อว่าปรินิพพานญาณ
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการทำความเป็นไปแห่งกิเลสให้สิ้นไปของผู้มี
สัมปชัญญะ ชื่อว่าปรินิพพานญาณ

ปรินิพพานญาณนิทเทสที่ ๓๕ จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๓๖. สมสีสัฏฐญาณนิทเทส
๓๖. สมสีสัฏฐญาณนิทเทส
แสดงสมสีสัฏฐญาณ
[๘๗] ปัญญาในความไม่ปรากฏแห่งธรรมทั้งปวง เพราะตัดขาดโดยชอบ
และดับไป ชื่อว่าสมสีสัฏฐญาณ (ญาณในอรรถแห่งธรรมที่สงบและเป็นประธาน)๑
เป็นอย่างไร
คือ คำว่า ธรรมทั้งปวง ได้แก่ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ กุศลธรรม
อกุศลธรรม อัพยากตธรรม กามาวจรธรรม รูปาวจรธรรม อรูปาวจรธรรม
อปริยาปันนธรรม
คำว่า เพราะตัดขาดโดยชอบ อธิบายว่า พระโยคาวจรย่อมตัดกามฉันทะขาด
โดยชอบด้วยเนกขัมมะ ตัดพยาบาทขาดโดยชอบด้วยอพยาบาท ตัดถีนมิทธะขาด
โดยชอบด้วยอาโลกสัญญา ตัดอุทธัจจกุกกุจจะขาดโดยชอบด้วยอวิกเขปะ ตัดวิจิกิจฉา
ขาดโดยชอบด้วยธัมมววัตถาน ตัดอวิชชาขาดโดยชอบด้วยญาณ ตัดอรติขาด
โดยชอบด้วยปามุชชะ ตัดนิวรณ์ขาดโดยชอบด้วยปฐมฌาน ฯลฯ ตัดกิเลสทั้งปวง
ขาดโดยชอบด้วยอรหัตตมรรค
คำว่า ดับไป อธิบายว่า พระโยคาวจรดับกามฉันทะได้ด้วยเนกขัมมะ ดับ
พยาบาทได้ด้วยอพยาบาท ดับถีนมิทธะได้ด้วยอาโลกสัญญา ดับอุทธัจจะได้
ด้วยอวิกเขปะ ดับวิจิกิจฉาได้ด้วยธัมมววัตถาน ดับอวิชชาได้ด้วยญาณ ดับอรติได้
ด้วยปามุชชะ ดับนิวรณ์ได้ด้วยปฐมฌาน ฯลฯ ดับกิเลสทั้งปวงได้ด้วยอรหัตตมรรค
คำว่า ไม่ปรากฏ อธิบายว่า เมื่อพระโยคาวจรได้เนกขัมมะ กามฉันทะย่อมไม่
ปรากฏ เมื่อได้อพยาบาท พยาบาทย่อมไม่ปรากฏ เมื่อได้อาโลกสัญญา ถีนมิทธะ
ย่อมไม่ปรากฏ เมื่อได้อวิกเขปะ อุทธัจจะย่อมไม่ปรากฏ เมื่อได้ธัมมววัตถาน วิจิกิจฉา
ย่อมไม่ปรากฏ เมื่อได้ญาณ อวิชชาย่อมไม่ปรากฏ เมื่อได้ปามุชชะ อรติย่อมไม่
ปรากฏ เมื่อได้ปฐมฌาน นิวรณ์ย่อมไม่ปรากฏ ฯลฯ เมื่อได้อรหัตตมรรค กิเลส
ทั้งปวงย่อมไม่ปรากฏ

เชิงอรรถ :
๑ คำแปลของแต่ละญาณมีปรากฏอยู่ในภาคอุทเทสหรือมาติกาหน้า ๔ โดยทั่วไปจะไม่นำมาไว้ในภาคนิทเทสนี้
นอกจากคำแปลของญาณที่ท่านอธิบายไว้ด้วย จึงจะนำมา เช่น คำแปลของญาณนี้คือคำว่า สงบ และเป็น
ประธาน ท่านอธิบายไว้ด้วย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๓๖. สมสีสัฏฐญาณนิทเทส
คำว่า สงบ อธิบายว่า เนกขัมมะชื่อว่าสงบ เพราะละกามฉันทะได้แล้ว
อพยาบาทชื่อว่าสงบ เพราะละพยาบาทได้แล้ว อาโลกสัญญาชื่อว่าสงบ เพราะละ
ถีนมิทธะได้แล้ว อวิกเขปะชื่อว่าสงบ เพราะละอุทธัจจะได้แล้ว ธัมมววัตถานชื่อว่า
สงบ เพราะละวิจิกิจฉาได้แล้ว ญาณชื่อว่าสงบ เพราะละอวิชชาได้แล้ว ปามุชชะ
ชื่อว่าสงบ เพราะละอรติได้แล้ว ปฐมฌาณชื่อว่าสงบ เพราะละนิวรณ์ได้แล้ว ฯลฯ
อรหัตตมรรคชื่อว่าสงบ เพราะละกิเลสทั้งปวงได้แล้ว
คำว่า เป็นประธาน อธิบายว่า ธรรมเป็นประธาน ๑๓ ประการ ได้แก่
๑. ตัณหามีความกังวลเป็นประธาน
๒. มานะมีความพัวพันเป็นประธาน
๓. ทิฏฐิมีความยึดถือเป็นประธาน
๔. อุทธัจจะมีความฟุ้งซ่านเป็นประธาน
๕. อวิชชามีกิเลสเป็นประธาน
๖. ศรัทธามีความน้อมใจเชื่อเป็นประธาน
๗. วิริยะมีความประคองไว้เป็นประธาน
๘. สติมีความเข้าไปตั้งมั่นเป็นประธาน
๙. สมาธิมีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นประธาน
๑๐. ปัญญามีความเห็นเป็นประธาน
๑๑. ชีวิตินทรีย์มีความเป็นไปเป็นประธาน
๑๒. วิโมกข์มีอารมณ์เป็นประธาน
๑๓. นิโรธมีสังขารเป็นประธาน
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความไม่ปรากฏแห่งธรรมทั้งปวง เพราะตัดขาด
โดยชอบและดับไป ชื่อว่าสมสีสัฏฐญาณ

สมสีสัฏฐญาณนิทเทสที่ ๓๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๔๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๓๗. สัลเลขัฏฐญาณนิทเทส
๓๗. สัลเลขัฏฐญาณนิทเทส
แสดงสัลเลขัฏฐญาณ
[๘๘] ปัญญาในสภาวะแต่ละอย่าง สภาวะต่าง ๆ สภาวะเดียว๑ และเดช
ชื่อว่าสัลเลขัฏฐญาณ (ญาณในอรรถแห่งธรรมเครื่องขัดเกลา) เป็นอย่างไร
คือ คำว่า สภาวะแต่ละอย่าง อธิบายว่า ราคะ (ความกำหนัด) เป็นสภาวะ
อย่างหนึ่ง โทสะ (ความประทุษร้าย) เป็นสภาวะอย่างหนึ่ง โมหะ (ความหลง)
เป็นสภาวะอย่างหนึ่ง โกธะ (ความโกรธ) ฯลฯ อุปนาหะ (ความผูกโรธ) ฯลฯ มักขะ
(ความลบหลู่) ฯลฯ ปฬาสะ (ความตีเสมอ) ฯลฯ อิสสา (ความริษยา) ฯลฯ มัจฉริยะ
(ความตระหนี่) ฯลฯ มายา (มารยา) ฯลฯ สาเฐยยะ (ความโอ้อวด) ฯลฯ ถัมภะ
(ความหัวดื้อ) ฯลฯ สารัมภะ (ความแข่งดี) ฯลฯ มานะ (ความถือตัว) ฯลฯ อติมานะ
(ความดูหมิ่นท่าน) ฯลฯ มทะ (ความมัวเมา) ฯลฯ ปมาทะ (ความประมาท) ฯลฯ
กิเลสทั้งปวง ฯลฯ ทุจจริตทั้งปวง ฯลฯ อภิสังขารทั้งปวง ฯลฯ กรรมอันเป็นเหตุให้
สัตว์ไปสู่ภพทั้งปวง เป็นสภาวะอย่างหนึ่ง
คำว่า สภาวะต่าง ๆ และสภาวะเดียว อธิบายว่า กามฉันทะชื่อว่าสภาวะ
ต่าง ๆ เนกขัมมะชื่อว่าสภาวะเดียว พยาบาทชื่อว่าสภาวะต่าง ๆ อพยาบาทชื่อว่า
สภาวะเดียว ถีนมิทธะชื่อว่าสภาวะต่าง ๆ อาโลกสัญญาชื่อว่าสภาวะเดียว อุทธัจจะ
ชื่อว่าสภาวะต่าง ๆ อวิกเขปะชื่อว่าสภาวะเดียว วิจิกิจฉาชื่อว่าสภาวะต่าง ๆ
ธัมมววัตถานชื่อว่าสภาวะเดียว อวิชชาชื่อว่าสภาวะต่าง ๆ ญาณชื่อว่าสภาวะเดียว
อรติชื่อว่าสภาวะต่าง ๆ ปามุชชะชื่อว่าสภาวะเดียว นิวรณ์ชื่อว่าสภาวะต่าง ๆ
ปฐมฌานชื่อว่าสภาวะเดียว ฯลฯ กิเลสทั้งปวงชื่อว่าสภาวะต่าง ๆ อรหัตตมรรค
ชื่อว่าสภาวะเดียว
คำว่า เดช อธิบายว่า เดชมี ๕ คือ (๑) เดชคือศีลเครื่องดำเนินไป (๒) เดชคือคุณ
(๓) เดชคือปัญญา (๔) เดชคือบุญ (๕) เดชคือธรรม บุคคลผู้มีเดช ย่อมทำเดชคือ

เชิงอรรถ :
๑ สภาวะต่าง ๆ หมายถึงสภาวะที่คงที่ไม่แปรผันไปต่าง ๆ ตรงกันข้ามกับสภาวะเดียวที่คงที่ไม่แปรผันไป
(ขุ.ป.อ. ๑/๘๘/๓๔๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๔๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๓๘. วิริยารัมภญาณนิทเทส
ความเป็นผู้ทุศีลให้สิ้นไปด้วยเดชคือศีลเครื่องดำเนินไป ย่อมทำเดชมิใช่คุณให้สิ้น
ไปด้วยเดชคือคุณ ย่อมทำเดชคือความเป็นผู้มีปัญญาทรามให้สิ้นไปด้วยเดชคือปัญญา
ย่อมทำเดชมิใช่บุญให้สิ้นไปด้วยเดชคือบุญ ย่อมทำเดชคืออธรรมให้สิ้นไปด้วยเดช
คือธรรม
คำว่า ธรรมเครื่องขัดเกลา อธิบายว่า กามฉันทะมิใช่ธรรมเครื่อง
ขัดเกลา เนกขัมมะเป็นธรรมเครื่องขัดเกลา พยาบาทมิใช่ธรรมเครื่องขัดเกลา
อพยาบาทเป็นธรรมเครื่องขัดเกลา ถีนมิทธะมิใช่ธรรมเครื่องขัดเกลา อาโลกสัญญา
เป็นธรรมเครื่องขัดเกลา อุทธัจจะมิใช่ธรรมเครื่องขัดเกลา อวิกเขปะเป็นธรรม
เครื่องขัดเกลา วิจิกิจฉามิใช่ธรรมเครื่องขัดเกลา ธัมมววัตถานเป็นธรรมเครื่อง
ขัดเกลา อวิชชามิใช่ธรรมเครื่องขัดเกลา ญาณเป็นธรรมเครื่องขัดเกลา อรติมิใช่
ธรรมเครื่องขัดเกลา ปามุชชะเป็นธรรมเครื่องขัดเกลา นิวรณ์มิใช่ธรรมเครื่อง
ขัดเกลา ปฐมฌานเป็นธรรมเครื่องขัดเกลา ฯลฯ กิเลสทั้งปวงมิใช่ธรรมเครื่อง
ขัดเกลา อรหัตตมรรคเป็นธรรมเครื่องขัดเกลา
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในสภาวะแต่ละอย่าง สภาวะต่าง ๆ สภาวะ
เดียว และเดช ชื่อว่าสัลเลขัฏฐญาณ
สัลเลขัฏฐญาณนิทเทสที่ ๓๗ จบ

๓๘. วิริยารัมภญาณนิทเทส
แสดงวิริยารัมภญาณ
[๘๙] ปัญญาในการประคองจิตที่ไม่หดหู่และจิตที่ส่งไป ชื่อว่าวิริยารัมภ-
ญาณ เป็นอย่างไร
คือ ปัญญาในการประคองจิตที่ไม่หดหู่และจิตที่ส่งไป เพื่อป้องกันบาปอกุศล-
ธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น ชื่อว่าวิริยารัมภญาณ ปัญญาในการประคองจิตที่ไม่หดหู่
และจิตที่ส่งไป เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ชื่อว่าวิริยารัมภญาณ ปัญญาใน
การประคองจิตที่ไม่หดหู่และจิตที่ส่งไป เพื่อทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ชื่อว่า
วิริยารัมภญาณ ปัญญาในการประคองจิตที่ไม่หดหู่และจิตที่ส่งไป เพื่อความดำรงมั่น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๔๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๓๙. อัตถสันทัสสนญาณนิทเทส
ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ชื่อว่า
วิริยารัมภญาณ
ปัญญาในการประคองจิตที่ไม่หดหู่และจิตที่ส่งไป เพื่อป้องกันกามฉันทะที่ยัง
ไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น ชื่อว่าวิริยารัมภญาณ ปัญญาในการประคองจิตที่ไม่หดหู่และจิต
ที่ส่งไป เพื่อละกามฉันทะที่เกิดขึ้นแล้ว ชื่อว่าวิริยารัมภญาณ ปัญญาในการประคอง
จิตที่ไม่หดหู่และจิตที่ส่งไป เพื่อทำเนกขัมมะที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ชื่อว่าวิริยา-
รัมภญาณ ปัญญาในการประคองจิตที่ไม่หดหู่และจิตที่ส่งไป เพื่อความดำรงมั่น
ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งเนกขัมมะที่เกิดขึ้นแล้ว ชื่อว่า
วิริยารัมภญาณ ฯลฯ ปัญญาในการประคองจิตที่ไม่หดหู่และจิตที่ส่งไป เพื่อทำกิเลส
ทั้งปวงที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น ชื่อว่าวิริยารัมภญาณ ปัญญาในการประคองจิตที่ไม่
หดหู่และจิตที่ส่งไป เพื่อละกิเลสทั้งปวงที่เกิดขึ้นแล้ว ชื่อว่าวิริยารัมภญาณ ฯลฯ
ปัญญาในการประคองจิตที่ไม่หดหู่และจิตที่ส่งไป เพื่อทำอรหัตตมรรคที่ยังไม่เกิดให้
เกิดขึ้น ชื่อว่าวิริยารัมภญาณ ปัญญาในการประคองจิตที่ไม่หดหู่และจิตที่ส่งไป เพื่อ
ความดำรงมั่น ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งอรหัตตมรรค
ที่เกิดขึ้นแล้ว ชื่อว่าวิริยารัมภญาณ
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการประคองจิตที่ไม่หดหู่และจิตที่ส่งไป
ชื่อว่าวิริยารัมภญาณ
วิริยารัมภญาณนิทเทสที่ ๓๘ จบ

๓๙. อัตถสันทัสสนญาณนิทเทส
แสดงอัตถสันทัสสนญาณ
[๙๐] ปัญญาในการประกาศธรรมต่าง ๆ ชื่อว่าอัตถสันทัสสนญาณ
(ญาณในการเห็นชัดซึ่งอรรถ) เป็นอย่างไร
คือ คำว่า ธรรมต่าง ๆ ได้แก่ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ กุศลธรรม
อกุศลธรรม อัพยากตธรรม กามาวจรธรรม รูปาวจรธรรม อรูปาวจรธรรม
อปริยาปันนธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๔๐. ทัสสนวิสุทธิญาณนิทเทส
คำว่า ประกาศ อธิบายว่า ปัญญาย่อมประกาศรูปโดยความไม่เที่ยง ประกาศ
รูปโดยความเป็นทุกข์ ประกาศรูปโดยความเป็นอนัตตา ประกาศเวทนา ฯลฯ
สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ จักขุ ฯลฯ ประกาศชราและมรณะโดย
ความไม่เที่ยง ประกาศชราและมรณะโดยความเป็นทุกข์ ประกาศชราและมรณะโดย
ความเป็นอนัตตา
คำว่า การเห็นชัดซึ่งอรรถ อธิบายว่า พระโยคาวจรเมื่อละกามฉันทะย่อมเห็นชัด
ซึ่งอรรถแห่งเนกขัมมะ เมื่อละพยาบาทย่อมเห็นชัดซึ่งอรรถแห่งอพยาบาท เมื่อละ
ถีนมิทธะย่อมเห็นชัดซึ่งอรรถแห่งอาโลกสัญญา เมื่อละอุทธัจจะย่อมเห็นชัดซึ่งอรรถ
แห่งอวิกเขปะ เมื่อละวิจิกิจฉาย่อมเห็นชัดซึ่งอรรถแห่งธัมมววัตถาน เมื่อละอวิชชา
ย่อมเห็นชัดซึ่งอรรถแห่งญาณ เมื่อละอรติย่อมเห็นชัดซึ่งอรรถแห่งปามุชชะ เมื่อละ
นิวรณ์ย่อมเห็นชัดซึ่งอรรถแห่งปฐมฌาน ฯลฯ เมื่อละกิเลสทั้งปวงย่อมเห็นชัดซึ่ง
อรรถแห่งอรหัตตมรรค
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการประกาศธรรมต่าง ๆ ชื่อว่าอัตถ-
สันทัสสนญาณ
อัตถสันทัสสนญาณนิทเทสที่ ๓๙ จบ

๔๐. ทัสสนวิสุทธิญาณนิทเทส
แสดงทัสสนวิสุทธิญาณ
[๙๑] ปัญญาในการรวมธรรมทั้งปวงเข้าเป็นหมวดเดียวกัน ในการรู้แจ้ง
สภาวะต่าง ๆ และสภาวะเดียว ชื่อว่าทัสสนวิสุทธิญาณ (ญาณในความหมดจด
แห่งทัสสนะ) เป็นอย่างไร
คือ คำว่า ธรรมทั้งปวง ได้แก่ ขันธ์ ๕ ฯลฯ๑ อปริยาปันนธรรม
คำว่า รวมเข้าเป็นหมวดเดียวกัน อธิบายว่า ธรรมทั้งปวงท่านรวมเข้าเป็น
หมวดเดียวกันโดยอาการ ๑๒ คือ โดยสภาวะที่เป็นของแท้ ๑ โดยสภาวะที่เป็น

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มข้อ ๘๗ หน้า ๑๔๖ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๔๐. ทัสสนวิสุทธิญาณนิทเทส
อนัตตา ๑ โดยสภาวะที่เป็นจริง ๑ โดยสภาวะที่รู้แจ้ง ๑ โดยสภาวะที่รู้ยิ่ง ๑ โดย
สภาวะที่กำหนดรู้ ๑ โดยสภาวะที่เป็นธรรม ๑ โดยสภาวะที่เป็นธาตุ ๑ โดย
สภาวะที่รู้ได้ ๑ โดยสภาวะที่ทำให้แจ้ง ๑ โดยสภาวะที่ถูกต้อง ๑ โดยสภาวะที่
ตรัสรู้ ๑ ธรรมทั้งปวงท่านสงเคราะห์เข้าเป็นหมวดเดียวกัน โดยอาการ ๑๒
อย่างนี้
คำว่า สภาวะต่าง ๆ และสภาวะเดียว อธิบายว่า กามฉันทะชื่อว่าสภาวะ
ต่าง ๆ เนกขัมมะชื่อว่าสภาวะเดียว ฯลฯ๑ กิเลสทั้งปวงชื่อว่าสภาวะต่าง ๆ
อรหัตตมรรคชื่อว่าสภาวะเดียว
คำว่า การรู้แจ้ง อธิบายว่า พระโยคาวจรย่อมรู้แจ้งทุกขสัจด้วยการกำหนดรู้
รู้แจ้งสมุทยสัจด้วยการละ รู้แจ้งนิโรธสัจด้วยการทำให้แจ้ง รู้แจ้งมัคคสัจด้วย
การเจริญ
คำว่า ความหมดจดแห่งทัสสนะ อธิบายว่า ในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค
ทัสสนะกำลังหมดจด ในขณะแห่งโสดาปัตติผล ทัสสนะหมดจดแล้ว ในขณะแห่ง
สกทาคามิมรรค ทัสสนะกำลังหมดจด ในขณะแห่งสกทาคามิผล ทัสสนะหมดจดแล้ว
ในขณะแห่งอนาคามิมรรค ทัสสนะกำลังหมดจด ในขณะแห่งอนาคามิผล ทัสสนะ
หมดจดแล้ว ในขณะแห่งอรหัตตมรรค ทัสสนะกำลังหมดจด ในขณะแห่งอรหัตตผล
ทัสสนะหมดจดแล้ว
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการรวมธรรมทั้งปวงเข้าเป็นหมวดเดียวกัน
ในการรู้แจ้งสภาวะต่าง ๆ และสภาวะเดียว ชื่อว่าทัสสนวิสุทธิญาณ

ทัสสนวิสุทธิญาณนิทเทสที่ ๔๐ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มข้อ ๘๘ หน้า ๑๔๘ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๕๒ }


>>>>> หน้าต่อไป >>>>>





eXTReMe Tracker