ค้นว่าอยู่เล่มใด แล้วกด [ctrl]+f หรือใช้คำสั่งของเครื่องหาตำแหน่งในเล่มอีกทีนะครับ



จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อความสะดวก และสวยงาม
(เฉพาะหน้าจอใหญ่ เช่น คอมพิวเตอร์)
กรุณาคลิก จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อให้กรอบ
ค้นข้อความ ปรากฎที่ด้านซ้ายของหน้า

พระไตรปิฎกภาษาไทย
ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม (ปกสีฟ้า)
ทั้งออนไลน์และออฟไลน์
ที่มาของข้อมูล : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มจร.
MCUTRAI Version 1.0

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑-๒ สุตตันตปิฎกที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

พระสุตตันตปิฎก
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๔๒. ปริโยคาหนญาณนิทเทส
๔๑. ขันติญาณนิทเทส
แสดงขันติญาณ
[๙๒] ปัญญาที่รู้ชัด ชื่อว่าขันติญาณ เป็นอย่างไร
คือ รูปที่รู้ชัดโดยความไม่เที่ยง รูปที่รู้ชัดโดยความเป็นทุกข์ รูปที่รู้ชัดโดยความ
เป็นอนัตตา รูปใด ๆ ที่พระโยคาวจรรู้ชัดแล้ว รูปนั้น ๆ พระโยคาวจรย่อมพอใจ
เพราะฉะนั้น ปัญญาที่รู้ชัด จึงชื่อว่าขันติญาณ
เวทนาที่รู้ชัดโดยความไม่เที่ยง ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ
จักขุที่รู้ชัดโดยความไม่เที่ยง ฯลฯ ชราและมรณะที่รู้ชัดโดยความไม่เที่ยง
ชราและมรณะที่รู้ชัดโดยความเป็นทุกข์ ชราและมรณะที่รู้ชัดโดยความเป็นอนัตตา
ชราและมรณะใด ๆ ที่พระโยคาวจรรู้ชัดแล้ว ชราและมรณะนั้น ๆ พระโยคาวจร
ย่อมพอใจ เพราะฉะนั้น ปัญญาที่รู้ชัด จึงชื่อว่าขันติญาณ
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาที่รู้ชัด ชื่อว่าขันติญาณ
ขันติญาณนิทเทสที่ ๔๑ จบ

๔๒. ปริโยคาหนญาณนิทเทส
แสดงปริโยคาหนญาณ
[๙๓] ปัญญาที่ถูกต้องธรรม ชื่อว่าปริโยคาหนญาณ เป็นอย่างไร
คือ ปัญญาย่อมถูกต้องรูปโดยความไม่เที่ยง ถูกต้องรูปโดยความเป็นทุกข์
ถูกต้องรูปโดยความเป็นอนัตตา ถูกต้องรูปใด ๆ ก็หยั่งลงสู่รูปนั้น ๆ เพราะฉะนั้น
ปัญญาที่ถูกต้องธรรม จึงชื่อว่าปริโยคาหนญาณ
ปัญญาย่อมถูกต้องเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ
ปัญญาย่อมถูกต้องจักขุ ฯลฯ ปัญญาย่อมถูกต้องชราและมรณะโดยความ
ไม่เที่ยง ถูกต้องชราและมรณะโดยความเป็นทุกข์ ถูกต้องชราและมรณะโดยความ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๕๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๔๓. ปเทสวิหารญาณนิทเทส
เป็นอนัตตา ถูกต้องชราและมรณะใด ๆ ก็หยั่งลงสู่ชราและมรณะนั้น ๆ เพราะฉะนั้น
ปัญญาที่ถูกต้องธรรม จึงชื่อว่าปริโยคาหนญาณ
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาที่ถูกต้องธรรม ชื่อว่าปริโยคาหนญาณ
ปริโยคาหนญาณนิทเทสที่ ๔๒ จบ

๔๓. ปเทสวิหารญาณนิทเทส
แสดงปเทสวิหารญาณ

[๙๔] ปัญญาในการรวมปัจจัย ชื่อว่าปเทสวิหารญาณ เป็นอย่างไร คือ
เพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะความสงบไปแห่งมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะความสงบไปแห่งสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะมิจฉาสังกัปปะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะความสงบไปแห่งมิจฉาสังกัปปะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะสัมมาสังกัปปะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะความสงบไปแห่งสัมมาสังกัปปะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี

ฯลฯ

เพราะมิจฉาวิมุตติเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะความสงบไปแห่งมิจฉาวิมุตติเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะสัมมาวิมุตติเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะความสงบไปแห่งสัมมาวิมุตติเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะฉันทะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะความสงบไปแห่งฉันทะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะวิตกเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๕๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๔๔-๔๙. ฉวิวัฏฏญาณนิทเทส
เพราะความสงบไปแห่งวิตกเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะสัญญาเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะความสงบไปแห่งสัญญาเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะฉันทะ วิตก และสัญญาเป็นธรรมไม่สงบไปเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะฉันทะเป็นธรรมสงบไป แต่วิตกและสัญญาเป็นธรรมไม่สงบไปเป็นปัจจัย
เวทนาจึงมี
เพราะฉันทะและวิตกเป็นธรรมสงบไป แต่สัญญาเป็นธรรมไม่สงบไปเป็นปัจจัย
เวทนาจึงมี
เพราะฉันทะ วิตก และสัญญาเป็นธรรมสงบไปเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
อาสวะ๑เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุมีอยู่ แต่เพราะยังไม่ได้บรรลุฐานะนั้น
เป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการรวมปัจจัย ชื่อว่าปเทสวิหารญาณ
ปเทสวิหารญาณนิทเทสที่ ๔๓ จบ

๔๔-๔๙. ฉวิวัฏฏญาณนิทเทส
แสดงญาณในการหลีกออก ๖ อย่าง
[๙๕] ปัญญาที่มีกุศลธรรมเป็นใหญ่ ชื่อว่าสัญญาวิวัฏฏญาณ เป็นอย่างไร
คือ ปัญญาที่มีเนกขัมมะเป็นใหญ่ ย่อมหลีกออกจากกามฉันทะด้วยสัญญา
(ความหมายรู้) เพราะฉะนั้น ปัญญาที่มีกุศลธรรมเป็นใหญ่ จึงชื่อว่าสัญญาวิวัฏฏญาณ
ปัญญาที่มีอพยาบาทเป็นใหญ่ ย่อมหลีกออกจากพยาบาทด้วยสัญญา เพราะฉะนั้น
ปัญญาที่มีกุศลธรรมเป็นใหญ่ จึงชื่อว่าสัญญาวิวัฏฏญาณ ปัญญาที่มีอาโลกสัญญา
เป็นใหญ่ ย่อมหลีกออกจากถีนมิทธะด้วยสัญญา เพราะฉะนั้น ปัญญาที่มีกุศลธรรม

เชิงอรรถ :
๑ อาสวะ ในที่นี้หมายถึงวิริยะ (ความเพียร) (ขุ.ป.อ. ๑/๙๔/๓๔๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๕๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๔๔-๔๙. ฉวิวัฏฏญาณนิทเทส
เป็นใหญ่ จึงชื่อว่าสัญญาวิวัฏฏญาณ ปัญญาที่มีอวิกเขปะเป็นใหญ่ ย่อมหลีกออก
จากอุทธัจจะด้วยสัญญา เพราะฉะนั้น ปัญญาที่มีกุศลธรรมเป็นใหญ่ จึงชื่อว่า
สัญญาวิวัฏฏญาณ ปัญญาที่มีธัมมววัตถานเป็นใหญ่ ย่อมหลีกออกจากวิจิกิจฉา
ด้วยสัญญา เพราะฉะนั้น ปัญญาที่มีกุศลธรรมเป็นใหญ่ จึงชื่อว่าสัญญาวิวัฏฏญาณ
ปัญญาที่มีญาณเป็นใหญ่ ย่อมหลีกออกจากอวิชชาด้วยสัญญา เพราะฉะนั้น ปัญญา
ที่มีกุศลธรรมเป็นใหญ่ จึงชื่อว่าสัญญาวิวัฏฏญาณ ปัญญาที่มีปามุชชะเป็นใหญ่
ย่อมหลีกออกจากอรติด้วยสัญญา เพราะฉะนั้น ปัญญาที่มีกุศลธรรมเป็นใหญ่
จึงชื่อว่าสัญญาวิวัฏฏญาณ ปัญญาที่มีปฐมฌานเป็นใหญ่ ย่อมหลีกออกจากนิวรณ์
ด้วยสัญญา ฯลฯ ปัญญาที่มีอรหัตตมรรคเป็นใหญ่ ย่อมหลีกออกจากกิเลสทั้งปวง
ด้วยสัญญา เพราะฉะนั้น ปัญญาที่มีกุศลธรรมเป็นใหญ่ จึงชื่อว่าสัญญาวิวัฏฏญาณ
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาที่มีกุศลธรรมเป็นใหญ่ ชื่อว่าสัญญา-
วิวัฏฏญาณ
[๙๖] ปัญญาในสภาวะต่าง ๆ ชื่อว่าเจโตวิวัฏฏญาณ เป็นอย่างไร
คือ กามฉันทะเป็นสภาวะต่าง ๆ เนกขัมมะเป็นสภาวะเดียว เมื่อพระโยคาวจร
คิดถึงเนกขัมมะที่เป็นสภาวะเดียว จิตย่อมหลีกออกจากกามฉันทะ เพราะฉะนั้น
ปัญญาในสภาวะต่าง ๆ จึงชื่อว่าเจโตวิวัฏฏญาณ
พยาบาทเป็นสภาวะต่าง ๆ อพยาบาทเป็นสภาวะเดียว เมื่อพระโยคาวจร
คิดถึงอพยาบาทที่เป็นสภาวะเดียว จิตย่อมหลีกออกจากพยาบาท เพราะฉะนั้น
ปัญญาในสภาวะต่าง ๆ จึงชื่อว่าเจโตวิวัฏฏญาณ
ถีนมิทธะเป็นสภาวะต่าง ๆ อาโลกสัญญาเป็นสภาวะเดียว เมื่อพระโยคาวจร
คิดถึงอาโลกสัญญาที่เป็นสภาวะเดียว จิตย่อมหลีกออกจากถีนมิทธะ เพราะฉะนั้น
ปัญญาในสภาวะต่าง ๆ จึงชื่อว่าเจโตวิวัฏฏญาณ ฯลฯ
กิเลสทั้งปวงเป็นสภาวะต่าง ๆ อรหัตตมรรคเป็นสภาวะเดียว เมื่อพระโยคาวจร
คิดถึงอรหัตตมรรคที่เป็นสภาวะเดียว จิตย่อมหลีกออกจากกิเลสทั้งปวง เพราะฉะนั้น
ปัญญาในสภาวะต่าง ๆ จึงชื่อว่าเจโตวิวัฏฏญาณ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๔๔-๔๙. ฉวิวัฏฏญาณนิทเทส
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในสภาวะต่าง ๆ ชื่อว่าเจโตวิวัฏฏญาณ
[๙๗] ปัญญาในการอธิษฐาน ชื่อว่าจิตตวิวัฏฏญาณ เป็นอย่างไร
คือ พระโยคาวจรเมื่อละกามฉันทะ ย่อมอธิษฐานจิตด้วยอำนาจแห่งเนกขัมมะ
เพราะฉะนั้น ปัญญาในการอธิษฐาน จึงชื่อว่าจิตตวิวัฏฏญาณ เมื่อละพยาบาท
ย่อมอธิษฐานจิตด้วยอำนาจแห่งอพยาบาท เพราะฉะนั้น ปัญญาในการอธิษฐาน
จึงชื่อว่าจิตตวิวัฏฏญาณ เมื่อละถีนมิทธะ ย่อมอธิษฐานจิตด้วยอำนาจแห่งอาโลก-
สัญญา เพราะฉะนั้น ปัญญาในการอธิษฐาน จึงชื่อว่าจิตตวิวัฏฏญาณ เมื่อละกิเลส
ทั้งปวง ย่อมอธิษฐานจิตด้วยอำนาจแห่งอรหัตตมรรค เพราะฉะนั้น ปัญญาในการ
อธิษฐาน จึงชื่อว่าจิตตวิวัฏฏญาณ
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการอธิษฐาน ชื่อว่าจิตตวิวัฏฏญาณ
[๙๘] ปัญญาในธรรมที่ว่าง ชื่อว่าญาณวิวัฏฏญาณ เป็นอย่างไร
คือ เมื่อพระโยคาวจรรู้ชัดและเห็นแจ้งตามความเป็นจริงว่า “จักขุว่างจาก
อัตตา จากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา จากความเที่ยง จากความยั่งยืน จากความคงที่
หรือจากความไม่แปรผันเป็นธรรมดา” ญาณย่อมหลีกออกจากความยึดถือในกาม
เพราะฉะนั้น ปัญญาในธรรมที่ว่าง จึงชื่อว่าญาณวิวัฏฏญาณ
เมื่อพระโยคาวจรรู้ชัดและเห็นแจ้งตามความเป็นจริงว่า “โสตะว่าง ฯลฯ
ฆานะว่าง ฯลฯ ชิวหาว่าง ฯลฯ กายว่าง ฯลฯ มโนว่างจากอัตตา จากสิ่งที่เนื่อง
ด้วยอัตตา จากความเที่ยง จากความยั่งยืน จากความคงที่ หรือจากความไม่แปรผัน
เป็นธรรมดา” ญาณย่อมหลีกออกจากความยึดถือในกาม เพราะฉะนั้น ปัญญาใน
ธรรมที่ว่าง จึงชื่อว่าญาณวิวัฏฏญาณ
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในธรรมที่ว่าง ชื่อว่าญาณวิวัฏฏญาณ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๔๔-๔๙. ฉวิวัฏฏญาณนิทเทส
[๙๙] ปัญญาในความสละ ชื่อว่าวิโมกขวิวัฏฏญาณ เป็นอย่างไร
คือ พระโยคาวจรสละกามฉันทะด้วยเนกขัมมะ เพราะฉะนั้น ปัญญาในความ
สละ จึงชื่อว่าวิโมกขวิวัฏฏญาณ สละพยาบาทด้วยอพยาบาท เพราะฉะนั้น ปัญญา
ในความสละ จึงชื่อว่าวิโมกขวิวัฏฏญาณ สละถีนมิทธะด้วยอาโลกสัญญา เพราะ
ฉะนั้น ปัญญาในความสละ จึงชื่อว่าวิโมกขวิวัฏฏญาณ สละอุทธัจจะด้วยอวิกเขปะ
เพราะฉะนั้น ปัญญาในความสละ จึงชื่อว่าวิโมกขวิวัฏฏญาณ สละวิจิกิจฉา
ด้วยธัมมววัตถาน เพราะฉะนั้น ปัญญาในความสละ จึงชื่อว่าวิโมกขวิวัฏฏญาณ
สละกิเลสทั้งปวงด้วยอรหัตตมรรค เพราะฉะนั้น ปัญญาในความสละ จึงชื่อว่า
วิโมกขวิวัฏฏญาณ
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความสละ ชื่อว่าวิโมกขวิวัฏฏญาณ
[๑๐๐] ปัญญาในสภาวะแท้ ชื่อว่าสัจจวิวัฏฏญาณ เป็นอย่างไร
คือ พระโยคาวจรเมื่อกำหนดรู้สภาวะที่บีบคั้น สภาวะที่ปัจจัยปรุงแต่ง
สภาวะที่ทำให้เดือดร้อน สภาวะที่แปรผันแห่งทุกข์ ย่อมหลีกไป เพราะฉะนั้น
ปัญญาในสภาวะแท้ จึงชื่อว่าสัจจวิวัฏฏญาณ
เมื่อละสภาวะที่ประมวลมา สภาวะที่เป็นเหตุ สภาวะที่เกี่ยวข้อง สภาวะที่
พัวพันแห่งสมุทัย ย่อมหลีกไป เพราะฉะนั้น ปัญญาในสภาวะแท้ จึงชื่อว่า
สัจจวิวัฏฏญาณ
เมื่อทำให้แจ้งสภาวะที่เป็นเครื่องสลัดออก สภาวะที่เป็นวิเวก สภาวะที่เป็น
อสังขตะ สภาวะที่เป็นอมตะแห่งนิโรธ ย่อมหลีกไป เพราะฉะนั้น ปัญญาในสภาวะแท้
จึงชื่อว่าสัจจวิวัฏฏญาณ
เมื่อเจริญสภาวะที่นำออก สภาวะที่เป็นเหตุ สภาวะที่เห็น สภาวะที่เป็นใหญ่
แห่งมรรค ย่อมหลีกไป เพราะฉะนั้น ปัญญาในสภาวะแท้ จึงชื่อว่าสัจจวิวัฏฏญาณ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๔๔-๔๙. ฉวิวัฏฏญาณนิทเทส
สัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ จิตตวิวัฏ ญาณวิวัฏ วิโมกขวิวัฏ สัจจวิวัฏ
พระโยคาวจรเมื่อหมายรู้ย่อมหลีกไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าสัญญาวิวัฏ เมื่อคิด
ย่อมหลีกไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าเจโตวิวัฏ เมื่อรู้แจ้งย่อมหลีกไป เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่าจิตตวิวัฏ เมื่อกระทำญาณย่อมหลีกไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าญาณวิวัฏ
เมื่อสละย่อมหลีกไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าวิโมกขวิวัฏ ย่อมหลีกไปในสภาวะแท้
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าสัจจวิวัฏ
ในขณะแห่งมรรคใดมีสัญญาวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีเจโตวิวัฏ ในขณะ
แห่งมรรคใดมีเจโตวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีสัญญาวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคใด
มีสัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีจิตตวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคใด
มีจิตตวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีสัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคใด
มีสัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ จิตตวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีญาณวิวัฏ ในขณะ
แห่งมรรคใดมีญาณวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีสัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ จิตตวิวัฏ
ในขณะแห่งมรรคใดมีสัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ จิตตวิวัฏ ญาณวิวัฏ ในขณะแห่ง
มรรคนั้นย่อมมีวิโมกขวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคใดมีวิโมกขวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคนั้น
ย่อมมีสัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ จิตตวิวัฏ ญาณวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคใดมีสัญญา-
วิวัฏ เจโตวิวัฏ จิตตวิวัฏ ญาณวิวัฏ วิโมกขวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมี
สัจจวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคใดมีสัจจวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีสัญญาวิวัฏ
เจโตวิวัฏ จิตตวิวัฏ ญาณวิวัฏ วิโมกขวิวัฏ
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในสภาวะแท้ ชื่อว่าสัจจวิวัฏฏญาณ

ฉวิวัฏฏญาณนิทเทสที่ ๔๔-๔๙ จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๕๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๕๐. อิทธิวิธญาณนิทเทส
๕๐. อิทธิวิธญาณนิทเทส
แสดงอิทธิวิธญาณ
[๑๐๑] ปัญญาในสภาวะที่สำเร็จด้วยการกำหนดกาย (ของตน) และจิต
(มีฌานเป็นบาท) เข้าด้วยกัน ด้วยอำนาจการตั้งไว้ซึ่งสุขสัญญาและลหุสัญญา
ชื่อว่าอิทธิวิธญาณ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
(สมาธิที่เกิดจากฉันทะและความเพียรสร้างสรรค์) เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วย
วิริยสมาธิปธานสังขาร(สมาธิที่เกิดจากวิริยะและความเพียรสร้างสรรค์)เจริญอิทธิบาท
ที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร (สมาธิที่เกิดจากจิตตะและความเพียรสร้างสรรค์)
เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร (สมาธิที่เกิดจากวิมังสาและ
ความเพียรสร้างสรรค์) ภิกษุนั้นย่อมอบรมข่มจิตทำให้เป็นจิตอ่อน ควรแก่การงาน
ในอิทธิบาท ๔ ประการนี้ ครั้นแล้วย่อมตั้งกายไว้ในจิตบ้าง ตั้งจิตไว้ในกายบ้าง น้อมจิต
ไปด้วยอำนาจกายบ้าง น้อมกายไปด้วยอำนาจจิตบ้าง อธิษฐานจิตด้วยอำนาจกาย
บ้าง อธิษฐานกายด้วยอำนาจจิตบ้าง ครั้นน้อมจิตไปด้วยอำนาจกาย น้อมกายไป
ด้วยอำนาจจิต อธิษฐานจิตด้วยอำนาจกาย อธิษฐานกายด้วยอำนาจจิตแล้ว ย่อมให้
สุขสัญญาและลหุสัญญาหยั่งลงในกายอยู่ เธอมีจิตอบรมแล้วอย่างนั้น บริสุทธิ์
ผ่องแผ้ว ย่อมน้อมนำจิตไปเพื่ออิทธิวิธญาณ เธอย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง
[๑๐๒] คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้
แสดงให้ปรากฏก็ได้ หรือให้หายไปก็ได้ ทะลุฝา กำแพง ภูเขา ไปได้ไม่ติดขัด
เหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นหรือดำลงในแผ่นดินเหมือนไปในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำโดย
ที่น้ำไม่แยกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ นั่งขัดสมาธิเหาะไปในอากาศเหมือนนกบินไป
ก็ได้ ใช้ฝ่ามือลูบคลำดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มากมีอานุภาพมากก็ได้ ใช้
อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในสภาวะที่สำเร็จด้วยการกำหนดกาย (ของตน)
และจิต (มีฌานเป็นบาท) เข้าด้วยกันด้วยอำนาจการตั้งไว้ซึ่งสุขสัญญาและลหุสัญญา
ชื่อว่าอิทธิวิธญาณ

อิทธิวิธญาณนิทเทสที่ ๕๐ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๕๑. โสตธาตุวิสุทธิญาณนิทเทส
๕๑. โสตธาตุวิสุทธิญาณนิทเทส
แสดงโสตธาตุวิสุทธิญาณ
[๑๐๓] ปัญญาในการหยั่งลงสู่สัททนิมิตที่มีสภาวะต่าง ๆ และสภาวะเดียว
ด้วยอำนาจการแผ่วิตกไป ชื่อว่าโสตธาตุวิสุทธิญาณ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
ฯลฯ เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร ฯลฯ เจริญอิทธิบาท
ที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร ฯลฯ เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสา-
สมาธิปธานสังขาร ภิกษุนั้นย่อมอบรมข่มจิต ทำให้เป็นจิตอ่อน ควรแก่การงาน
ในอิทธิบาท ๔ ประการนี้แล้ว ย่อมใส่ใจสัททนิมิตแห่งเสียงทั้งหลายในที่ไกลบ้าง
ย่อมใส่ใจสัททนิมิตแห่งเสียงทั้งหลายในที่ใกล้บ้าง ย่อมใส่ใจสัททนิมิตแห่งเสียง
ทั้งหลายหยาบบ้าง ย่อมใส่ใจสัททนิมิตแห่งเสียงทั้งหลายละเอียดบ้าง ย่อมใส่ใจ
สัททนิมิตแห่งเสียงทั้งหลายละเอียดอย่างยิ่ง ย่อมใส่ใจสัททนิมิตแห่งเสียงทั้งหลาย
ทั้งทางทิศบูรพา ย่อมใส่ใจสัททนิมิตแห่งเสียงทั้งหลายทั้งทางทิศปัจฉิม ย่อมใส่ใจ
สัททนิมิตแห่งเสียงทั้งหลายทั้งทางทิศอุดร ย่อมใส่ใจสัททนิมิตแห่งเสียงทั้งหลายทั้ง
ทางทิศทักษิณ ย่อมใส่ใจสัททนิมิตแห่งเสียงทั้งหลายทั้งทางทิศอาคเนย์ ย่อมใส่ใจ
สัททนิมิตแห่งเสียงทั้งหลายทั้งทางทิศพายัพ ย่อมใส่ใจสัททนิมิตแห่งเสียงทั้งหลาย
ทั้งทางทิศอีสาน ย่อมใส่ใจสัททนิมิตแห่งเสียงทั้งหลายทั้งทางทิศหรดี ย่อมใส่ใจ
สัททนิมิตแห่งเสียงทั้งหลายทั้งทางทิศเบื้องต่ำ ย่อมใส่ใจสัททนิมิตแห่งเสียงทั้งหลาย
ทั้งทางทิศเบื้องบน เธอมีจิตอบรมแล้วอย่างนั้น บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ย่อมน้อมนำ
จิตไปเพื่อโสตธาตุวิสุทธิญาณ ได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือเสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ทั้งที่
อยู่ไกลและใกล้ ด้วยหูทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการหยั่งลงสู่สัททนิมิตที่มีสภาวะต่าง ๆ
และสภาวะเดียว ด้วยอำนาจการแผ่วิตกไป ชื่อว่าโสตธาตุวิสุทธิญาณ

โสตธาตุวิสุทธิญาณนิทเทสที่ ๕๑ จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๖๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๕๒. เจโตปริยญาณนิทเทส
๕๒. เจโตปริยญาณนิทเทส
แสดงเจโตปริยญาณ
[๑๐๔] ปัญญาในการหยั่งลงสู่วิญญาณจริยาที่มีสภาวะต่าง ๆ และสภาวะ
เดียว ด้วยอำนาจความผ่องใสแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย เพราะการแผ่ไปแห่งจิต ๓
ประเภท ชื่อว่าเจโตปริยญาณ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
ฯลฯ เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร ฯลฯ เจริญอิทธิบาทที่
ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร ฯลฯ เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสา-
สมาธิปธานสังขาร ภิกษุนั้นย่อมอบรมข่มจิต ทำให้เป็นจิตอ่อน ควรแก่การงาน
ในอิทธิบาท ๔ ประการนี้ ครั้นแล้วย่อมรู้ว่า “รูปนี้เกิดขึ้นด้วยโสมนัสสินทรีย์
รูปนี้เกิดขึ้นด้วยโทมนัสสินทรีย์ รูปนี้เกิดขึ้นด้วยอุเปกขินทรีย์” เธอมีจิตอบรมแล้ว
อย่างนั้น บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ย่อมน้อมนำจิตไปเพื่อเจโตปริยญาณ เธอย่อมกำหนดรู้
ใจของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นด้วยใจของตน คือจิตมีราคะก็รู้ว่า “จิตมีราคะ” หรือจิต
ปราศจากราคะก็รู้ว่า “จิตปราศจากราคะ” จิตมีโทสะก็รู้ว่า “จิตมีโทสะ” หรือจิต
ปราศจากโทสะก็รู้ว่า “จิตปราศจากโทสะ” จิตมีโมหะก็รู้ว่า “จิตมีโมหะ” หรือจิต
ปราศจากโมหะก็รู้ว่า “จิตปราศจากโมหะ” จิตหดหู่ก็รู้ว่า “จิตหดหู่” หรือจิตฟุ้งซ่าน
ก็รู้ว่า “จิตฟุ้งซ่าน” จิตเป็นมหัคคตะก็รู้ว่า “จิตเป็นมหัคคตะ” หรือจิตไม่เป็น
มหัคคตะก็รู้ว่า “จิตไม่เป็นมหัคคตะ” จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่า “จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า”
หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่า “จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า” จิตเป็นสมาธิก็รู้ว่า “จิตเป็น
สมาธิ” หรือจิตไม่เป็นสมาธิก็รู้ว่า “จิตไม่เป็นสมาธิ” จิตหลุดพ้นก็รู้ว่า “จิตหลุดพ้น”
หรือจิตไม่หลุดพ้นก็รู้ว่า “จิตไม่หลุดพ้น” จิตน้อมไปก็รู้ว่า “จิตน้อมไป” หรือจิตไม่
น้อมไปก็รู้ว่า “จิตไม่น้อมไป”
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการหยั่งลงสู่วิญญาณจริยาที่มีสภาวะ
ต่าง ๆ และสภาวะเดียว ด้วยอำนาจความผ่องใสแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย เพราะการ
แผ่ไปแห่งจิต ๓ ประเภท ชื่อว่าเจโตปริยญาณ
เจโตปริยญาณนิทเทสที่ ๕๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๕๓. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณนิทเทส
๕๓. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณนิทเทส
แสดงปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
[๑๐๕] ปัญญาในการกำหนดธรรมทั้งหลายที่เป็นไปตามปัจจัยด้วยอำนาจ
การแผ่ไปแห่งกรรมที่มีสภาวะต่าง ๆ และสภาวะเดียว ชื่อว่าปุพเพนิวาสา-
นุสสติญาณ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
ฯลฯ เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร ฯลฯ เจริญอิทธิบาท
ที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร ฯลฯ เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสา-
สมาธิปธานสังขาร ภิกษุนั้นย่อมอบรมข่มจิต ทำให้เป็นจิตอ่อน ควรแก่การงาน
ในอิทธิบาท ๔ ประการนี้ ครั้นแล้วย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า “เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะ
สิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น คือ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขาร
เป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี เพราะนามรูป
เป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็น
ปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย
อุปาทานจึงมี เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงมี
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้”
เธอมีจิตอบรมแล้วอย่างนี้ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ย่อมน้อมนำจิตไป เพื่อ
ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ เธอย่อมระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง
๒ ชาติบ้าง ๓ ชาติบ้าง ๔ ชาติบ้าง ๕ ชาติบ้าง ๑๐ ชาติบ้าง ๒๐ ชาติบ้าง
๓๐ ชาติบ้าง ๔๐ ชาติบ้าง ๕๐ ชาติบ้าง ๑๐๐ ชาติบ้าง ๑,๐๐๐ ชาติบ้าง
๑๐๐,๐๐๐ ชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอันมาก
บ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า “ในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนั้น
มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุข ทุกข์และมีอายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้นจึง
มาเกิดในภพนี้ เธอระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติ
อย่างนี้”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๕๔. ทิพพจักขุญาณนิทเทส
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการกำหนดธรรมทั้งหลายที่เป็นไปตาม
ปัจจัย ด้วยอำนาจการแผ่ไปแห่งกรรมที่มีสภาวะต่าง ๆ และสภาวะเดียว ชื่อว่า
ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
ปุพเพนิวาสานุสสติญาณนิทเทสที่ ๕๓ จบ

๕๔. ทิพพจักขุญาณนิทเทส
แสดงทิพพจักขุญาณ
[๑๐๖] ปัญญาในการเห็นรูปนิมิตที่มีสภาวะต่าง ๆ และสภาวะเดียว ด้วย
อำนาจแสงสว่าง ชื่อว่าทิพพจักขุญาณ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
ฯลฯ เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร ฯลฯ เจริญอิทธิบาทที่
ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร ฯลฯ เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสา-
สมาธิปธานสังขาร ภิกษุนั้นย่อมอบรมข่มจิต ทำให้เป็นจิตอ่อน ควรแก่การงาน
ในอิทธิบาท ๔ ประการนี้ ครั้นแล้วย่อมใส่ใจถึงอาโลกสัญญา ตั้งสัญญาว่าเป็น
กลางวัน มีใจเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ เจริญจิตให้มีแสงสว่างว่า กลางวันฉันใด
กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น เธอมีจิตอบรมแล้วอย่างนั้น
บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ย่อมน้อมนำจิตไปเพื่อจุตูปปาตญาณ เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ
กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์
อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า “หมู่สัตว์ที่ประกอบ
กายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นผิด และชักชวน
ผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นผิด พวกเขาหลังจากตายแล้วจะไปบังเกิดในอบาย
ทุคติ วินิบาต นรก แต่หมู่สัตว์ที่ประกอบกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต
ไม่กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นชอบและชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๕๕. อาสวักขยญาณนิทเทส
เห็นชอบ พวกเขาหลังจากตายแล้วจะไปบังเกิดในสุคติ โลกสวรรค์” เธอเห็นหมู่สัตว์
ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตา
ทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมอย่างนี้แล
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการเห็นรูปนิมิตที่มีสภาวะต่าง ๆ และ
สภาวะเดียว ด้วยอำนาจแสงสว่าง ชื่อว่าทิพพจักขุญาณ
ทิพพจักขุญาณนิทเทสที่ ๕๔ จบ

๕๕. อาสวักขยญาณนิทเทส
แสดงอาสวักขยญาณ
[๑๐๗] ปัญญาที่มีความชำนาญในอินทรีย์ ๓ ประการ โดยอาการ ๖๔
ชื่อว่าอาสวักขยญาณ เป็นอย่างไร
คือ อินทรีย์ ๓ ประการ อะไรบ้าง ได้แก่
๑. อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ (อินทรีย์ของท่านผู้ปฏิบัติด้วยมุ่งว่าเรา
จักรู้สัจธรรมที่ยังไม่รู้)
๒. อัญญินทรีย์ (อินทรีย์คือปัญญาอันรู้ทั่วถึง)
๓. อัญญาตาวินทรีย์ (อินทรีย์ของท่านผู้รู้ทั่วถึงแล้ว)
อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ย่อมถึงฐานะเท่าไร อัญญินทรีย์ย่อมถึงฐานะเท่าไร
อัญญาตาวินทรีย์ย่อมถึงฐานะเท่าไร
อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ ย่อมถึงฐานะ ๑ คือ โสดาปัตติมรรค
อัญญินทรีย์ ย่อมถึงฐานะ ๖ คือ โสดาปัตติผล สกทาคามิมรรค สกทาคามิผล
อนาคามิมรรค อนาคามิผล อรหัตตมรรค
อัญญาตาวินทรีย์ ย่อมถึงฐานะ ๑ คือ อรหัตตผล
ในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์มีสัทธินทรีย์ซึ่งมี
ความน้อมไปเป็นบริวาร มีวิริยินทรีย์ซึ่งมีการประคองไว้เป็นบริวาร มีสตินทรีย์ซึ่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๕๕. อาสวักขยญาณนิทเทส
มีความตั้งมั่นเป็นบริวาร มีสมาธินทรีย์ซึ่งมีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นบริวาร มีปัญญินทรีย์
ซึ่งมีความเห็นเป็นบริวาร มีมนินทรีย์ซึ่งมีความรู้แจ้งเป็นบริวาร มีโสมนัสสินทรีย์
ซึ่งมีความยินดีเป็นบริวาร มีชีวิตินทรีย์ซึ่งมีความเป็นใหญ่ในความสืบต่อที่กำลัง
เป็นไปเป็นบริวาร
ธรรมทั้งหลายที่เกิดในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค ยกเว้นรูปซึ่งมีจิตเป็นสมุฏฐาน
ทั้งหมดเป็นกุศล ทั้งหมดไม่มีอาสวะ ทั้งหมดเป็นธรรมเครื่องนำออก ทั้งหมดเป็น
เครื่องให้ถึงความไม่สั่งสม ทั้งหมดเป็นโลกุตตระ ทั้งหมดมีนิพพานเป็นอารมณ์
ในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์มีอินทรีย์ ๘ ประการ
นี้ซึ่งมีสหชาตธรรมเป็นบริวาร มีธรรมที่อาศัยกันและกันเป็นบริวาร มีธรรมที่
อาศัยกันเป็นบริวาร มีธรรมที่ประกอบกันเป็นบริวาร ไปร่วมกัน เกิดร่วมกัน เกี่ยวข้องกัน
ประกอบด้วยกัน ธรรมเหล่านั้นเป็นอาการและเป็นบริวารของอนัญญาตัญญัสสามี-
ตินทรีย์นั้น
ในขณะแห่งโสดาปัตติผล อัญญินทรีย์มีสัทธินทรีย์ซึ่งมีความน้อมไปเป็นบริวาร
มีวิริยินทรีย์ซึ่งมีการประคองไว้เป็นบริวาร มีสตินทรีย์ซึ่งมีความตั้งมั่นเป็นบริวาร
มีสมาธินทรีย์ซึ่งมีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นบริวาร มีปัญญินทรีย์ซึ่งมีความเห็นเป็นบริวาร
มีมนินทรีย์ซึ่งมีความรู้แจ้งเป็นบริวาร มีโสมนัสสินทรีย์ซึ่งมีความยินดีเป็นบริวาร
มีชีวิตินทรีย์ซึ่งมีความเป็นใหญ่ในความสืบต่อที่กำลังเป็นไปเป็นบริวาร
ธรรมทั้งหลายที่เกิดในขณะแห่งโสดาปัตติผล ยกเว้นรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน
ทั้งหมดเป็นอัพยากฤต ทั้งหมดไม่มีอาสวะ ทั้งหมดเป็นโลกุตตระ ทั้งหมดมีนิพพาน
เป็นอารมณ์
ในขณะแห่งโสดาปัตติผล อัญญินทรีย์มีอินทรีย์ ๘ ประการนี้ซึ่งมี
สหชาตธรรมเป็นบริวาร มีธรรมที่อาศัยกันและกันเป็นบริวาร มีธรรมที่อาศัยกัน
เป็นบริวาร มีธรรมที่ประกอบกันเป็นบริวาร ไปร่วมกัน เกิดร่วมกัน เกี่ยวข้องกัน
ประกอบด้วยกัน ธรรมเหล่านั้นเป็นอาการ และเป็นบริวารของอัญญินทรีย์นั้น
ในขณะแห่งสกทาคามิมรรค ฯลฯ
ในขณะแห่งสกทาคามิผล ฯลฯ
ในขณะแห่งอนาคามิมรรค ฯลฯ
ในขณะแห่งอนาคามิผล ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๕๕. อาสวักขยญาณนิทเทส
ในขณะแห่งอรหัตตมรรค อัญญินทรีย์มีสัทธินทรีย์ซึ่งมีความน้อมไปเป็นบริวาร
มีวิริยินทรีย์ซึ่งมีการประคองไว้เป็นบริวาร มีสตินทรีย์ซึ่งมีความตั้งมั่นเป็นบริวาร
มีสมาธินทรีย์ซึ่งมีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นบริวาร มีปัญญินทรีย์ซึ่งมีความเห็นเป็นบริวาร
มีมนินทรีย์ซึ่งมีความรู้แจ้งเป็นบริวาร มีโสมนัสสินทรีย์ซึ่งมีความยินดีเป็นบริวาร มี
ชีวิตินทรีย์ซึ่งมีความเป็นใหญ่ในความสืบต่อที่กำลังเป็นไปเป็นบริวาร
ธรรมทั้งหลายที่เกิดในขณะแห่งอรหัตตมรรค ยกเว้นรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน
ทั้งหมดเป็นกุศล ทั้งหมดไม่มีอาสวะ ทั้งหมดเป็นธรรมเครื่องนำออก ทั้งหมดเป็น
เครื่องให้ถึงความไม่สั่งสม ทั้งหมดเป็นโลกุตตระ ทั้งหมดมีนิพพานเป็นอารมณ์
ในขณะแห่งอรหัตตมรรค อัญญินทรีย์มีอินทรีย์ ๘ ประการนี้ ซึ่งมีสหชาต
ธรรมเป็นบริวาร มีธรรมที่อาศัยกันและกันเป็นบริวาร มีธรรมที่อาศัยกันเป็นบริวาร
มีธรรมที่ประกอบกันเป็นบริวาร ไปร่วมกัน เกิดร่วมกัน เกี่ยวข้องกัน ประกอบ
ด้วยกัน ธรรมเหล่านั้นเป็นอาการ และเป็นบริวารของอัญญินทรีย์นั้น
ในขณะแห่งอรหัตตผล อัญญาตาวินทรีย์มีสัทธินทรีย์ซึ่งมีความน้อมไปเป็นบริวาร
มีวิริยินทรีย์ซึ่งมีการประคองไว้เป็นบริวาร มีสตินทรีย์ซึ่งมีความตั้งมั่นเป็นบริวาร
มีสมาธินทรีย์ซึ่งมีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นบริวาร มีปัญญินทรีย์ซึ่งมีความเห็นเป็นบริวาร
มีมนินทรีย์ซึ่งมีความรู้แจ้งเป็นบริวาร มีโสมนัสสินทรีย์ซึ่งมีความยินดีเป็นบริวาร
มีชีวิตินทรีย์ซึ่งมีความเป็นใหญ่ในความสืบต่อที่กำลังเป็นไปเป็นบริวาร
ธรรมทั้งหลายที่เกิดในขณะแห่งอรหัตตผล ยกเว้นรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน
ทั้งหมดเป็นอัพยากฤต ทั้งหมดไม่มีอาสวะ ทั้งหมดเป็นโลกุตตระ ทั้งหมดมีนิพพาน
เป็นอารมณ์
ในขณะแห่งอรหัตตผล อัญญาตาวินทรีย์มีอินทรีย์ ๘ ประการนี้ซึ่งมีสหชาต-
ธรรมเป็นบริวาร มีธรรมที่อาศัยกันและกันเป็นบริวาร มีธรรมที่อาศัยกันเป็นบริวาร
มีธรรมที่ประกอบกันเป็นบริวาร ไปร่วมกัน เกิดร่วมกัน เกี่ยวข้องกัน ประกอบ
ด้วยกัน ธรรมเหล่านั้นเป็นอาการและเป็นบริวารของอัญญาตาวินทรีย์นั้น อินทรีย์ ๘
รวม ๘ หมวดนี้ จึงเป็นอาการ ๖๔ ด้วยประการฉะนี้
คำว่า อาสวะ อธิบายว่า อาสวะเหล่านั้น อะไรบ้าง
คือ กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๕๖-๖๓. สัจจญาณจตุกกทวยนิทเทส
อาสวะเหล่านั้นย่อมสิ้นไป ณ ที่ไหน
คือ ทิฏฐาสวะทั้งสิ้นย่อมสิ้นไปด้วยโสดาปัตติมรรค กามาสวะซึ่งเป็นเหตุให้
สัตว์ไปสู่อบาย ภวาสวะซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบาย อวิชชาสวะซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์
ไปสู่อบาย ย่อมสิ้นไปด้วยโสดาปัตติมรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่ง
โสดาปัตติมรรคนี้
กามาสวะส่วนหยาบย่อมสิ้นไปด้วยสกทาคามิมรรค ภวาสวะซึ่งตั้งอยู่ร่วมกับ
กามาสวะนั้น อวิชชาสวะซึ่งตั้งอยู่ร่วมกับกามาสวะนั้นย่อมสิ้นไปด้วยสกทาคามิมรรค
อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งสกทาคามิมรรคนี้
กามาสวะทั้งสิ้นย่อมสิ้นไปด้วยอนาคามิมรรค ภวาสวะซึ่งตั้งอยู่ร่วมกับ
กามาสวะนั้น อวิชชาสวะซึ่งตั้งอยู่ร่วมกับกามาสวะนั้น ย่อมสิ้นไปด้วยอนาคามิมรรค
อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งอนาคามิมรรคนี้
ภวาสวะทั้งสิ้น อวิชชาสวะทั้งสิ้นย่อมสิ้นไปด้วยอรหัตตมรรค อาสวะเหล่านี้
ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งอรหัตตมรรคนี้
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาที่มีความชำนาญในอินทรีย์ ๓ ประการ
โดยอาการ ๖๔ ชื่อว่าอาสวักขยญาณ
อาสวักขยญาณนิทเทสที่ ๕๕ จบ

๕๖-๖๓. สัจจญาณจตุกกทวยนิทเทส
แสดงญาณในสัจจะ ๔ สองหมวด
[๑๐๘] ปัญญาในสภาวะที่ควรกำหนดรู้ ชื่อว่าทุกขญาณ ปัญญาใน
สภาวะที่ควรละ ชื่อว่าสมุทยญาณ ปัญญาในสภาวะที่ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่า
นิโรธญาณ ปัญญาในสภาวะที่ควรเจริญ ชื่อว่ามัคคญาณ เป็นอย่างไร
คือ สภาวะที่บีบคั้น สภาวะที่ปัจจัยปรุงแต่ง สภาวะที่ทำให้เดือดร้อน
สภาวะที่แปรผัน สภาวะที่ควรกำหนดรู้แห่งทุกข์
สภาวะที่ประมวลมา สภาวะที่เป็นเหตุ สภาวะที่เกี่ยวข้อง สภาวะที่พัวพัน
สภาวะที่ควรละแห่งสมุทัย


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๕๖-๖๓. สัจจญาณจตุกกทวยนิทเทส
สภาวะที่เป็นเครื่องสลัดออก สภาวะที่เป็นวิเวก สภาวะที่เป็นอสังขตะ สภาวะ
ที่เป็นอมตะ สภาวะที่ควรทำให้แจ้งแห่งนิโรธ
สภาวะที่นำออก สภาวะที่เป็นเหตุ สภาวะที่เห็น สภาวะที่เป็นใหญ่ สภาวะที่
ควรเจริญแห่งมรรค
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในสภาวะที่ควรกำหนดรู้ ชื่อว่า
ทุกขญาณ ปัญญาในสภาวะที่ควรละ ชื่อว่าสมุทยญาณ ปัญญาในสภาวะที่ควรทำ
ให้แจ้ง ชื่อว่านิโรธญาณ ปัญญาในสภาวะที่ควรเจริญ ชื่อว่ามัคคญาณ
[๑๐๙] ทุกขญาณ ทุกขสมุทยญาณ ทุกขนิโรธญาณ ทุกขนิโรธคามินี-
ปฏิปทาญาณ เป็นอย่างไร
คือ ญาณของท่านผู้มีความเพียบพร้อมด้วยมรรคนี้ ชื่อว่าทุกขญาณ ทุกข-
สมุทยญาณ ทุกขนิโรธญาณ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาญาณ
ในญาณเหล่านั้น ทุกขญาณ เป็นอย่างไร
คือ ความรู้ทั่ว ความรู้ชัด การเลือกเฟ้น การค้นคว้า ความสอดส่องธรรม
การกำหนดดี การเข้าไปกำหนด การเข้าไปกำหนดเฉพาะ ความเป็นบัณฑิต ความ
เป็นผู้ฉลาด ความเป็นผู้ละเอียด ความแจ่มแจ้ง ความคิด การพิจารณา ปัญญา
กว้างขวางดุจแผ่นดิน ปัญญาที่ทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องแนะนำ ความเห็นแจ้ง
ความรู้พร้อม ปัญญาดังประตัก ปัญญาเป็นใหญ่ ปัญญาเป็นกำลัง ปัญญาเป็น
ศัสตรา ปัญญาดังปราสาท ปัญญาเป็นแสงสว่าง ปัญญาเป็นรัศมี ปัญญาอัน
รุ่งเรือง ปัญญาดังรัตนะ ความไม่หลง การเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ซึ่งปรารภทุกข์
เกิดขึ้น นี้ท่านกล่าวว่า ทุกขญาณ
ความรู้ทั่ว ความรู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง การเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ
ซึ่งปรารภทุกขสมุทัยเกิดขึ้น นี้ท่านกล่าวว่า ทุกขสมุทยญาณ
ความรู้ทั่ว ความรู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง การเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ
ซึ่งปรารภทุกขนิโรธเกิดขึ้น นี้ท่านกล่าวว่า ทุกขนิโรธญาณ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๖๔-๖๗. สุทธิกปฏิสัมภิทาญาณนิทเทส
ความรู้ทั่ว ความรู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง การเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ
ซึ่งปรารภทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาเกิดขึ้น นี้ท่านกล่าวว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา-
ญาณ
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ทุกขญาณ ทุกขสมุทยญาณ ทุกขนิโรธญาณ
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาญาณ
สัจจญาณจตุกกทวยญาณนิทเทสที่ ๕๖-๖๓ จบ

๖๔-๖๗. สุทธิกปฏิสัมภิทาญาณนิทเทส
แสดงญาณในปฏิสัมภิทาล้วน
[๑๑๐] อัตถปฏิสัมภิทาญาณ ธัมมปฏิสัมภิทาญาณ นิรุตติปฏิสัมภิทา-
ญาณ ปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ เป็นอย่างไร
คือ ญาณในอรรถ ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทาญาณ ญาณในธรรม ชื่อว่าธัมม-
ปฏิสัมภิทาญาณ ญาณในนิรุตติ ชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ญาณในปฏิภาณ
ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ
ปัญญาในอรรถต่าง ๆ ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในธรรมต่าง ๆ
ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในนิรุตติต่าง ๆ ชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ
ปัญญาในปฏิภาณต่าง ๆ ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ
ปัญญาในการกำหนดอรรถ ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในการกำหนด
ธรรม ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในการกำหนดนิรุตติ ชื่อว่านิรุตติ-
ปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในการกำหนดปฏิภาณ ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ
ปัญญาในการพิจารณาอรรถ ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในการ
พิจารณาธรรม ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในการพิจารณานิรุตติ ชื่อว่า
นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในการพิจารณาปฏิภาณ ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา-
ญาณ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๖๔-๖๗. สุทธิกปฏิสัมภิทาญาณนิทเทส
ปัญญาในการเข้าไปพิจารณาอรรถ ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในการ
เข้าไปพิจารณาธรรม ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในการเข้าไปพิจารณา
นิรุตติ ชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในการเข้าไปพิจารณาปฏิภาณ ชื่อว่า
ปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ
ปัญญาในประเภทแห่งอรรถ ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในประเภท
แห่งธรรม ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในประเภทแห่งนิรุตติ ชื่อว่านิรุตติ-
ปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในประเภทแห่งปฏิภาณ ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ
ปัญญาในความปรากฏแห่งอรรถ ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาใน
ความปรากฏแห่งธรรม ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความปรากฏแห่ง
นิรุตติ ชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความปรากฏแห่งปฏิภาณ ชื่อว่า
ปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ
ปัญญาในความกระจ่างแห่งอรรถ ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาใน
ความกระจ่างแห่งธรรม ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความกระจ่างแห่ง
นิรุตติ ชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความกระจ่างแห่งปฏิภาณ ชื่อว่า
ปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ
ปัญญาในความรุ่งเรืองแห่งอรรถ ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความ
รุ่งเรืองแห่งธรรม ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความรุ่งเรืองแห่งนิรุตติ
ชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความรุ่งเรืองแห่งปฏิภาณ ชื่อว่าปฏิภาณ-
ปฏิสัมภิทาญาณ
ปัญญาในการประกาศอรรถ ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในการ
ประกาศธรรม ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในการประกาศนิรุตติ ชื่อว่า
นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในการประกาศปฏิภาณ ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา-
ญาณ
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อัตถปฏิสัมภิทาญาณ ธัมมปฏิสัมภิทาญาณ
นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ
สุทธิกปฏิสัมภิทาญาณนิทเทสที่ ๖๔-๖๗ จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๖๘. อินทริยปโรปริยัตตญาณนิทเทส
๖๘. อินทริยปโรปริยัตตญาณนิทเทส
แสดงอินทริยปโรปริยัตตญาณ
[๑๑๑] ญาณในความยิ่งและความหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย ของ
พระตถาคต เป็นอย่างไร
คือ ในญาณนี้ พระตถาคตทรงเห็นหมู่สัตว์ ผู้มีกิเลสดุจธุลีน้อยในปัญญาจักษุ
มีกิเลสดุจธุลีมากในปัญญาจักษุ มีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี มี
อาการทราม พึงสอนให้รู้แจ้งได้ง่าย พึงสอนให้รู้แจ้งได้ยาก บางพวกมักเห็นปรโลก
และโทษโดยความเป็นภัย บางพวกมักไม่เห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย
คำว่า ผู้มีกิเลสดุจธุลีน้อยในปัญญาจักษุ มีกิเลสดุจธุลีมากในปัญญาจักษุ
อธิบายว่า บุคคลผู้มีศรัทธา ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีน้อยในปัญญาจักษุ บุคคลผู้ไม่มี
ศรัทธา ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีมากในปัญญาจักษุ บุคคลผู้มีความเพียร ชื่อว่ามีกิเลส
ดุจธุลีน้อยในปัญญาจักษุ บุคคลผู้มีความเกียจคร้าน ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีมากใน
ปัญญาจักษุ บุคคลผู้มีสติตั้งมั่น ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีน้อยในปัญญาจักษุ บุคคลผู้มี
สติหลงลืม ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีมากในปัญญาจักษุ บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่น ชื่อว่ามีกิเลส
ดุจธุลีน้อยในปัญญาจักษุ บุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีมากในปัญญา
จักษุ บุคคลผู้มีปัญญาดี ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีน้อยในปัญญาจักษุ บุคคลผู้มีปัญญา
ทราม ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีมากในปัญญาจักษุ
คำว่า มีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน อธิบายว่า บุคคลผู้มีศรัทธาเป็น
ผู้มีอินทรีย์แก่กล้า บุคคลผู้ไม่มีศรัทธาเป็นผู้มีอินทรีย์อ่อน บุคคลผู้มีความเพียร
เป็นผู้มีอินทรีย์แก่กล้า บุคคลผู้เกียจคร้านเป็นผู้มีอินทรีย์อ่อน บุคคลผู้มีสติตั้งมั่น
เป็นผู้มีอินทรีย์แก่กล้า บุคคลผู้มีสติหลงลืมเป็นผู้มีอินทรีย์อ่อน บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่น
เป็นผู้มีอินทรีย์แก่กล้า บุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่นเป็นผู้มีอินทรีย์อ่อน บุคคลผู้มีปัญญาดี
เป็นผู้มีอินทรีย์แก่กล้า บุคคลผู้มีปัญญาทรามเป็นผู้มีอินทรีย์อ่อน
คำว่า มีอาการดี มีอาการทราม อธิบายว่า บุคคลผู้มีศรัทธาเป็นผู้มีอาการดี
บุคคลผู้ไม่มีศรัทธาเป็นผู้มีอาการทราม บุคคลผู้มีความเพียรเป็นผู้มีอาการดี บุคคล
ผู้เกียจคร้านเป็นผู้มีอาการทราม บุคคลผู้มีสติตั้งมั่นเป็นผู้มีอาการดี บุคคลผู้มีสติ
หลงลืมเป็นผู้มีอาการทราม บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่นเป็นผู้มีอาการดี บุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น
เป็นผู้มีอาการทราม บุคคลผู้มีปัญญาดีเป็นผู้มีอาการดี บุคคลผู้มีปัญญาทรามเป็น
ผู้มีอาการทราม


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๖๘. อินทริยปโรปริยัตตญาณนิทเทส
คำว่า พึงสอนให้รู้แจ้งได้ง่าย พึงสอนให้รู้แจ้งได้ยาก อธิบายว่า บุคคลผู้มี
ศรัทธาเป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ง่าย บุคคลผู้ไม่มีศรัทธาเป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ยาก
บุคคลผู้มีความเพียรเป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ง่าย บุคคลผู้เกียจคร้านเป็นผู้พึงสอน
ให้รู้แจ้งได้ยาก บุคคลผู้มีสติตั้งมั่นเป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ง่าย บุคคลผู้มีสติหลงลืม
เป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ยาก บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่นเป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ง่าย บุคคล
ผู้มีจิตไม่ตั้งมั่นเป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ยาก บุคคลผู้มีปัญญาดีเป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้ง
ได้ง่าย บุคคลผู้มีปัญญาทรามเป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ยาก
คำว่า บางพวกมักเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย บางพวกมักไม่เห็น
ปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย อธิบายว่า บุคคลผู้มีศรัทธาเป็นผู้มักเห็นปรโลก
และโทษโดยความเป็นภัย บุคคลผู้ไม่มีศรัทธาเป็นผู้มักไม่เห็นปรโลกและโทษโดย
ความเป็นภัย บุคคลผู้มีความเพียรเป็นผู้มักเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย
บุคคลผู้เกียจคร้านเป็นผู้มักไม่เห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย บุคคลผู้มีสติ
ตั้งมั่นเป็นผู้มักเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย บุคคลผู้มีสติหลงลืมเป็นผู้มัก
ไม่เห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่นเป็นผู้มักเห็นปรโลกและ
โทษโดยความเป็นภัย บุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่นเป็นผู้มักไม่เห็นปรโลกและโทษโดยความ
เป็นภัย บุคคลผู้มีปัญญาดีเป็นผู้มักเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย บุคคลผู้มี
ปัญญาทรามเป็นผู้มักไม่เห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย
[๑๑๒] คำว่า โลก อธิบายว่า ขันธโลก (โลกคือขันธ์) ธาตุโลก (โลกคือธาตุ)
อายตนโลก(โลกคืออายตนะ) วิปัตติภวโลก วิปัตติสัมภวโลก สัมปัตติภวโลก
สัมปัตติสัมภวโลก๑
โลก ๑ คือ สัตว์โลกทั้งปวงดำรงอยู่ได้เพราะอาหาร
โลก ๒ คือ นาม ๑ รูป ๑
โลก ๓ คือ เวทนา ๓
โลก ๔ คือ อาหาร ๔
โลก ๕ คือ อุปาทานขันธ์ ๕

เชิงอรรถ :
๑ วิปัตติภวโลก หมายถึงโลกคือภพวิบัติได้แก่อบายโลก วิปัตติสัมภวโลก หมายถึงโลกคือสมภพวิบัติได้แก่
กรรมที่ให้เกิดในอบายโลก สัมปัตติภวโลก หมายถึงโลกคือภพสมบัติได้แก่สุคติโลก สัมปัตติสัมภวโลก
หมายถึงโลกคือสมภพสมบัติได้แก่กรรมที่ให้เกิดในสุคติโลก (ขุ.ป.อ. ๒/๑๑๒/๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๖๙. อาสยานุสยญาณนิทเทส
โลก ๖ คือ อายตนะภายใน ๖
โลก ๗ คือ วิญญาณัฏฐิติ ๗
โลก ๘ คือ โลกธรรม ๘
โลก ๙ คือ สัตตาวาส ๙
โลก ๑๐ คือ อายตนะ ๑๐
โลก ๑๒ คือ อายตนะ ๑๒
โลก ๑๘ คือ ธาตุ ๑๘๑
คำว่า โทษ อธิบายว่า กิเลสทั้งปวงเป็นโทษ ทุจริตทั้งปวงเป็นโทษ อภิสังขาร
ทั้งปวงเป็นโทษ กรรมอันเป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่ภพทั้งปวงเป็นโทษ สัญญาในโลกนี้
และในโทษนี้ว่าเป็นภัยอันแรงกล้า ปรากฏแล้วด้วยประการฉะนี้ เหมือนสัญญาใน
ศัตรูผู้เงื้อดาบเข้ามาจะฆ่า ปรากฏแล้ว ฉะนั้น พระตถาคตทรงรู้ ทรงเห็น ทรงทราบ
ทรงรู้แจ้งซึ่งอินทรีย์ ๕ ประการนี้ ด้วยอาการ ๕๐ อย่างนี้
นี้เป็นญาณในความยิ่งและความหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลายของพระ
ตถาคต
อินทริยปโรปริยัตตญาณนิทเทสที่ ๖๘ จบ

๖๙. อาสยานุสยญาณนิทเทส
แสดงอาสยานุสยญาณ
[๑๑๓] ญาณในอาสยะและอนุสัยของสัตว์ทั้งหลาย ของพระตถาคต เป็น
อย่างไร
คือ ในญาณนี้ พระตถาคตทรงทราบอาสยะของสัตว์ทั้งหลาย ทรงทราบอนุสัย
ของสัตว์ทั้งหลาย ทรงทราบจริตของสัตว์ทั้งหลาย ทรงทราบอธิมุตติ๒ของสัตว์
ทั้งหลาย ทรงทราบชัดภัพพสัตว์(สัตว์ที่ควรบรรลุธรรมในภพนี้)และอภัพพสัตว์
(สัตว์ที่ไม่ควรบรรลุธรรมในภพนี้)

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๑๐๔/๓๕๕-๓๕๖
๒ อาสยะ หมายถึงทิฏฐิและยถาภูตญาณอันเป็นที่อาศัยอยู่ของเหล่าสัตว์ อนุสัย หมายถึงกิเลสที่นอนเนื่อง
ซึ่งยังละไม่ได้ จริต หมายถึงกุศลและอกุศลที่กายกรรมเป็นต้นปรุงแต่ง อธิมุตติ หมายถึงอัธยาศัยของ
เหล่าสัตว์ (อภิ.วิ.อ. ๘๑๔/๔๙๓-๔๙๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๗๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๖๙. อาสยานุสยญาณนิทเทส
อาสยะของสัตว์ทั้งหลาย เป็นอย่างไร
คือ ความเห็นว่า โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด ชีวะกับ
สรีระเป็นอย่างเดียวกัน ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน หลังจากตายแล้วตถาคต๑
เกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มีไม่
เกิดอีกก็มี หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มิใช่ไม่เกิดอีกก็มิใช่ สัตว์ทั้งหลายผู้
อาศัยภวทิฏฐิหรือวิภวทิฏฐิดังกล่าวมานี้
สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่เข้าไปอาศัยที่สุดทั้ง ๒ นี้ ได้อนุโลมขันติ๒ ในสภาวธรรม
ทั้งหลายที่เป็นปัจจัยของกันและกันและอาศัยกันและกันเกิดขึ้น หรือยถาภูตญาณ๓
พระตถาคตย่อมทรงทราบบุคคลผู้เสพกามว่า “บุคคลนี้เป็นผู้หนักในกาม มีกาม
เป็นที่อาศัย น้อมไปในกาม” ทรงทราบบุคคลผู้ปฏิบัติเนกขัมมะว่า “บุคคลนี้เป็น
ผู้หนักในเนกขัมมะ มีเนกขัมมะเป็นที่อาศัย น้อมไปในเนกขัมมะ” ทรงทราบบุคคล
ผู้ปฏิบัติซึ่งพยาบาทว่า “บุคคลนี้เป็นผู้หนักในพยาบาท มีพยาบาทเป็นที่อาศัย
น้อมไปในพยาบาท” ทรงทราบบุคคลผู้ปฏิบัติซึ่งอพยาบาทว่า “บุคคลนี้เป็นผู้
หนักในอพยาบาท มีอพยาบาทเป็นที่อาศัย น้อมไปในอพยาบาท” ทรงทราบ
บุคคลผู้ปฏิบัติซึ่งถีนมิทธะว่า “บุคคลนี้เป็นผู้หนักในถีนมิทธะ มีถีนมิทธะเป็นที่
อาศัย น้อมไปในถีนมิทธะ” ทรงทราบบุคคลผู้ปฏิบัติซึ่งอาโลกสัญญาว่า “บุคคลนี้
เป็นผู้หนักในอาโลกสัญญา มีอาโลกสัญญาเป็นที่อาศัย น้อมไปในอาโลกสัญญา”
นี้เป็นฉันทะที่มานอนเนื่องของสัตว์ทั้งหลาย
[๑๑๔] อนุสัยของสัตว์ทั้งหลาย เป็นอย่างไร
คือ อนุสัย ๗ ได้แก่

เชิงอรรถ :
๑ ตถาคต ในที่นี้เป็นคำที่ลัทธิอื่นใช้มาก่อนพุทธกาล หมายถึงอัตตา (อาตมัน) ไม่ได้หมายถึงพระพุทธเจ้า
อรรถกถาอธิบายว่า หมายถึงสัตว์ (ที.สี.อ. ๖๕/๑๐๘)
๒ อนุโลมขันติ หมายถึงวิปัสสนาญาณ (อภิ.วิ.อ. ๘๑๕/๔๙๔)
๓ ยถาภูตญาณ หมายถึงมัคคญาณ (อภิ.วิ.อ. ๘๑๕/๔๙๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๖๙. อาสยานุสยญาณนิทเทส

๑. กามราคานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดานคือกามราคะ)
๒. ปฏิฆานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดานคือปฏิฆะ)
๓. มานานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดานคือมานะ)
๔. ทิฏฐานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดานคือทิฏฐิ)
๕. วิจิกิจฉานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดานคือวิจิกิจฉา)
๖. ภวราคานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดานคือภวราคะ)
๗. อวิชชานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดานคืออวิชชา)

กามราคานุสัยของสัตว์ทั้งหลายย่อมนอนเนื่องในปิยรูป (อารมณ์อันเป็นที่รัก)
สาตรูป (อารมณ์อันเป็นที่ยินดี) ในโลก ปฏิฆานุสัยของสัตว์ทั้งหลายย่อมนอนเนื่อง
ในอัปปิยรูป (อารมณ์อันไม่เป็นที่รัก) อสาตรูป (อารมณ์อันไม่เป็นที่ยินดี) ในโลก
อวิชชาตกไปในสภาวธรรม ๒ นี้ ด้วยอาการอย่างนี้ มานะ ทิฏฐิ และวิจิกิจฉาพึงเห็น
ว่า ตั้งอยู่ในฐานะแห่งเดียวกันกับอวิชชานั้น นี้ชื่อว่าอนุสัยของสัตว์ทั้งหลาย
จริตของสัตว์ทั้งหลาย เป็นอย่างไร
คือ ปุญญาภิสังขาร (สภาพที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายดี) อปุญญาภิสังขาร (สภาพ
ที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายชั่ว) อาเนญชาภิสังขาร (สภาพที่ปรุงแต่งภพอันมั่นคงไม่หวั่นไหว)
ที่เป็นกามาวจรภูมิ หรือที่เป็นรูปาวจรภูมิ และอรูปาวจรภูมิ นี้ชื่อว่าจริตของสัตว์
ทั้งหลาย
[๑๑๕] อธิมุตติของสัตว์ทั้งหลาย เป็นอย่างไร
คือ สัตว์ทั้งหลายมีอธิมุตติทรามก็มี มีอธิมุตติประณีตก็มี สัตว์ทั้งหลาย
ที่มีอธิมุตติทราม ย่อมคบหาสมาคม เข้าไปนั่งใกล้สัตว์ผู้มีอธิมุตติทรามเหมือนกัน
สัตว์ทั้งหลายผู้มีอธิมุตติประณีต ย่อมคบหาสมาคม เข้าไปนั่งใกล้สัตว์ผู้มีอธิมุตติ
ประณีตเหมือนกัน แม้ในอดีตกาล สัตว์ทั้งหลายผู้มีอธิมุตติทราม ก็คบหาสมาคม
เข้าไปนั่งใกล้สัตว์ผู้มีอธิมุตติทรามเหมือนกัน สัตว์ทั้งหลายผู้มีอธิมุตติประณีต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๗๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๗๐. ยมกปาฏิหีรญาณนิทเทส
ก็คบหาสมาคม เข้าไปนั่งใกล้สัตว์ผู้มีอธิมุตติประณีตเหมือนกัน แม้ในอนาคตกาล
สัตว์ทั้งหลายผู้มีอธิมุตติทราม ก็จักคบหาสมาคมเข้าไปนั่งใกล้สัตว์ผู้มีอธิมุตติทราม
เหมือนกัน สัตว์ทั้งหลายผู้มีอธิมุตติประณีต ก็จักคบหาสมาคมเข้าไปนั่งใกล้สัตว์ผู้มี
อธิมุตติประณีตเหมือนกัน นี้ชื่อว่าอธิมุตติของสัตว์ทั้งหลาย
อภัพพสัตว์ เป็นอย่างไร
คือ สัตว์ทั้งหลายผู้ประกอบด้วยธรรมเป็นเครื่องกั้น คือ กรรม กิเลส วิบาก
เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ไม่มีฉันทะ มีปัญญาทราม ไม่อาจเข้าสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรม
ทั้งหลาย เหล่านี้ชื่อว่าอภัพพสัตว์
ภัพพสัตว์ เป็นอย่างไร
คือ สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่ประกอบด้วยธรรมเป็นเครื่องกั้น คือ กรรม กิเลส วิบาก
เป็นผู้มีศรัทธา มีฉันทะ มีปัญญาดี อาจเข้าสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรมทั้งหลาย
เหล่านี้ชื่อว่าภัพพสัตว์
นี้เป็นญาณในอาสยะและอนุสัยของสัตว์ทั้งหลาย ของพระตถาคต
อาสยานุสยญาณนิทเทสที่ ๖๙ จบ

๗๐. ยมกปาฏิหีรญาณนิทเทส
แสดงญาณในยมกปาฏิหาริย์
[๑๑๖] ญาณในยมกปาฏิหาริย์ของพระตถาคต เป็นอย่างไร
คือ ในญาณนี้ พระตถาคตทรงทำยมกปาฏิหาริย์ที่ไม่ทั่วไปแก่สาวก ได้แก่

ท่อไฟพุ่งออกจากพระวรกายเบื้องบน สายน้ำพุ่งออกจากพระวรกายเบื้องล่าง
ท่อไฟพุ่งออกจากพระวรกายเบื้องล่าง สายน้ำพุ่งออกจากพระวรกายเบื้องบน
ท่อไฟพุ่งออกจากพระวรกายเบื้องหน้า สายน้ำพุ่งออกจากพระวรกายเบื้องหลัง
ท่อไฟพุ่งออกจากพระวรกายเบื้องหลัง สายน้ำพุ่งออกจากพระวรกายเบื้องหน้า
ท่อไฟพุ่งออกจากพระเนตรเบื้องขวา สายน้ำพุ่งออกจากพระเนตรเบื้องซ้าย


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๗๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๗๐. ยมกปาฏิหีรญาณนิทเทส

ท่อไฟพุ่งออกจากพระเนตรเบื้องซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากพระเนตรเบื้องขวา
ท่อไฟพุ่งออกจากช่องพระกรรณเบื้องขวา สายน้ำพุ่งออกจากช่องพระกรรณเบื้องซ้าย
ท่อไฟพุ่งออกจากช่องพระกรรณเบื้องซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากช่องพระกรรณเบื้องขวา
ท่อไฟพุ่งออกจากช่องพระนาสิกเบื้องขวา สายน้ำพุ่งออกจากช่องพระนาสิกเบื้องซ้าย
ท่อไฟพุ่งออกจากช่องพระนาสิกเบื้องซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากช่องพระนาสิกเบื้องขวา
ท่อไฟพุ่งออกจากจะงอยพระอังสาเบื้องขวา สายน้ำพุ่งออกจากจะงอยพระอังสาเบื้องซ้าย
ท่อไฟพุ่งออกจากจะงอยพระอังสาเบื้องซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากจะงอยพระอังสาเบื้องขวา
ท่อไฟพุ่งออกจากพระหัตถ์เบื้องขวา สายน้ำพุ่งออกจากพระหัตถ์เบื้องซ้าย
ท่อไฟพุ่งออกจากพระหัตถ์เบื้องซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากพระหัตถ์เบื้องขวา
ท่อไฟพุ่งออกจากพระปรัศว์เบื้องขวา สายน้ำพุ่งออกจากพระปรัศว์เบื้องซ้าย
ท่อไฟพุ่งออกจากพระปรัศว์เบื้องซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากพระปรัศว์เบื้องขวา
ท่อไฟพุ่งออกจากพระบาทเบื้องขวา สายน้ำพุ่งออกจากพระบาทเบื้องซ้าย
ท่อไฟพุ่งออกจากพระบาทเบื้องซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากพระบาทเบื้องขวา
ท่อไฟพุ่งออกจากพระองคุลี สายน้ำพุ่งออกจากระหว่างพระองคุลี
ท่อไฟพุ่งออกจากระหว่างพระองคุลี สายน้ำพุ่งออกจากพระองคุลี
ท่อไฟพุ่งออกจากพระโลมาแต่ละเส้น สายน้ำพุ่งออกจากพระโลมาแต่ละเส้น
ท่อไฟพุ่งออกจากพระโลมาแต่ละขุม สายน้ำพุ่งออกจากพระโลมาแต่ละขุม

ฉัพพัณณรังสี คือ สีเขียว สีเหลือง สีแดง สีขาว สีแสด สีประภัสสร (แผ่ซ่าน
ออกจากพระวรกาย)
พระผู้มีพระภาคเสด็จจงกรม พระพุทธนิมิตประทับยืน ประทับนั่ง หรือทรง
สำเร็จไสยา
พระผู้มีพระภาคประทับยืน พระพุทธนิมิตเสด็จจงกรม ประทับนั่ง หรือทรง
สำเร็จไสยา
พระผู้มีพระภาคประทับนั่ง พระพุทธนิมิตเสด็จจงกรม ประทับยืน หรือทรง
สำเร็จไสยา
พระผู้มีพระภาคทรงสำเร็จไสยา พระพุทธนิมิตเสด็จจงกรม ประทับยืน หรือ
ประทับนั่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๗๑. มหากรุณาญาณนิทเทส
พระผู้มีพระภาคเสด็จจงกรม ประทับนั่ง หรือทรงสำเร็จไสยา พระพุทธนิมิต
ประทับยืน
พระผู้มีพระภาคเสด็จจงกรม ประทับยืน หรือทรงสำเร็จไสยา พระพุทธนิมิต
ประทับนั่ง
พระผู้มีพระภาคประทับยืน ประทับนั่ง หรือเสด็จจงกรม พระพุทธนิมิต
ทรงสำเร็จไสยา
นี้เป็นญาณในยมกปาฏิหาริย์ของพระตถาคต
ยมกปาฏิหีรญาณนิทเทสที่ ๗๐ จบ

๗๑. มหากรุณาญาณนิทเทส
แสดงญาณในมหากรุณาสมาบัติ
[๑๑๗] ญาณในมหากรุณาสมาบัติของพระตถาคต เป็นอย่างไร
คือ พระผู้มีพระภาคทั้งหลายตรัสรู้แล้ว ทรงพิจารณาเห็นด้วยอาการเป็น
อันมาก จึงทรงแผ่พระมหากรุณาไปในหมู่สัตว์ คือ พระผู้มีพระภาคทั้งหลาย
ตรัสรู้แล้ว ทรงพิจารณาเห็นว่า “โลกสันนิวาสอันไฟลุกโชนแล้ว” จึงทรงแผ่
พระมหากรุณาไปในหมู่สัตว์ พระผู้มีพระภาคทั้งหลายตรัสรู้แล้ว ทรงพิจารณา
เห็นว่า “โลกสันนิวาสยกพลแล้ว” ฯลฯ “โลกสันนิวาสเคลื่อนพลแล้ว” ฯลฯ
“โลกสันนิวาสเดินทางผิดแล้ว” ฯลฯ “โลกถูกชรานำไปแล้ว ไม่ยั่งยืน” ฯลฯ
“โลกไม่มีที่ต้านทาน ไม่เป็นใหญ่” ฯลฯ “โลกไม่มีอะไรเป็นของตน จำต้องละทิ้งสิ่ง
ทั้งปวงไป” ฯลฯ “โลกพร่อง ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสแห่งตัณหา” ฯลฯ “โลกสันนิวาส
ไม่มีที่ต้านทาน” ฯลฯ “โลกสันนิวาสไม่มีที่เร้น” ฯลฯ “โลกสันนิวาสไม่มีที่พึ่ง” ฯลฯ
“โลกสันนิวาสไม่เป็นที่พึ่งของใคร” ฯลฯ
“โลกฟุ้งซ่าน ไม่สงบ” ฯลฯ “โลกสันนิวาสถูกลูกศรเป็นอันมากเสียบแทงแล้ว
ใครอื่นนอกจากเราผู้จะช่วยถอนลูกศรทั้งหลายของโลกสันนิวาสนั้นได้เป็นไม่มี”
ฯลฯ “โลกสันนิวาสมีความมืดคืออวิชชาปิดกั้นไว้ ถูกขังไว้ในกรงกิเลส ใครอื่น
นอกจากเราผู้จะแสดงธรรมให้แสงสว่างแก่โลกสันนิวาสนั้นได้เป็นไม่มี” ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๗๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๗๑. มหากรุณาญาณนิทเทส
“โลกสันนิวาสตกอยู่ในอำนาจของอวิชชา มืดมน อันอวิชชาหุ้มห่อไว้ ยุ่งดุจเส้นด้าย
พันกันเป็นกลุ่มก้อน นุงนังดุจหญ้าปล้อง หญ้ามุงกระต่าย ไม่ล่วงพ้นสงสารคือ
อบาย ทุคติ และวินิบาต” ฯลฯ “โลกสันนิวาสถูกยาพิษที่มีโทษคืออวิชชาฉาบทา
หนาแน่นแล้ว มีกิเลสเป็นโทษ” ฯลฯ “โลกสันนิวาสรกชัฏด้วยราคะ โทสะ และโมหะ
ใครอื่นนอกจากเราผู้จะช่วยสางรกชัฏแก่โลกสันนิวาสนั้นได้เป็นไม่มี” ฯลฯ
“โลกสันนิวาสถูกกองตัณหาสุมไว้” ฯลฯ “โลกสันนิวาสถูกข่ายตัณหาครอบไว้”
ฯลฯ “โลกสันนิวาสถูกกระแสตัณหาพัดไป” ฯลฯ “โลกสันนิวาสถูกตัณหาเครื่อง
ข้องคล้องไว้” ฯลฯ “โลกสันนิวาสซ่านไปเพราะตัณหานุสัย” ฯลฯ “โลกสันนิวาส
เดือดร้อนด้วยความเดือดร้อนเพราะตัณหา” ฯลฯ “โลกสันนิวาสเร่าร้อนด้วยความ
เร่าร้อนเพราะตัณหา” ฯลฯ
“โลกสันนิวาสถูกกองทิฏฐิสุมไว้” ฯลฯ “โลกสันนิวาสถูกข่ายคือทิฏฐิครอบไว้”
ฯลฯ “โลกสันนิวาสถูกกระแสทิฏฐิพัดไป” ฯลฯ “โลกสันนิวาสถูกทิฏฐิเป็นเครื่อง
ข้องคล้องไว้” ฯลฯ “โลกสันนิวาสซ่านไปเพราะทิฏฐานุสัย” ฯลฯ “โลกสันนิวาส
เดือดร้อนด้วยความเดือดร้อนเพราะทิฏฐิ” ฯลฯ “โลกสันนิวาสเร่าร้อนด้วยความ
เร่าร้อนเพราะทิฏฐิ” ฯลฯ
“โลกสันนิวาสถูกชาติติดตาม” ฯลฯ “โลกสันนิวาสถูกชราตามติด” ฯลฯ
“โลกสันนิวาสถูกพยาธิครอบงำ” ฯลฯ “โลกสันนิวาสถูกมรณะห้ำหั่น” ฯลฯ
“โลกสันนิวาสตกอยู่ในกองทุกข์” ฯลฯ
“โลกสันนิวาสถูกตัณหาดักไว้” ฯลฯ “โลกสันนิวาสถูกกำแพงคือชราล้อมไว้” ฯลฯ
“โลกสันนิวาสถูกบ่วงมัจจุคล้องไว้” ฯลฯ “โลกสันนิวาสถูกผูกไว้ด้วยเครื่องผูกเป็น
อันมาก ได้แก่ เครื่องผูกคือราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ กิเลส ทุจริต
ใครอื่นนอกจากเราผู้จะช่วยแก้เครื่องผูกให้แก่โลกสันนิวาสนั้นได้เป็นไม่มี” ฯลฯ
“โลกสันนิวาสไปในทางที่แคบมาก ใครอื่นนอกจากเราผู้จะช่วยชี้ทางสว่างให้แก่
โลกสันนิวาสนั้นได้เป็นไม่มี” ฯลฯ “โลกสันนิวาสถูกความกังวลเป็นอันมากพัวพันไว้
ใครอื่นนอกจากเราผู้จะช่วยตัดความกังวลให้แก่โลกสันนิวาสนั้นได้เป็นไม่มี” ฯลฯ
“โลกสันนิวาสตกลงไปในเหวใหญ่ ใครอื่นนอกจากเราผู้จะช่วยฉุดโลกสันนิวาสนั้นให้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๘๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๗๑. มหากรุณาญาณนิทเทส
พ้นจากเหวได้เป็นไม่มี” ฯลฯ “โลกสันนิวาสเดินทางกันดารมาก ใครอื่นนอกจาก
เราผู้จะช่วยให้โลกสันนิวาสนั้นข้ามพ้นทางกันดารได้เป็นไม่มี” ฯลฯ “โลกสันนิวาส
เดินไปในสังสารวัฏใหญ่ ใครอื่นนอกจากเราผู้จะช่วยให้โลกสันนิวาสนั้นพ้นจาก
สังสารวัฏได้เป็นไม่มี” ฯลฯ “โลกสันนิวาสกลิ้งเกลือกอยู่ในหล่มใหญ่ ใครอื่นนอก
จากเราผู้จะช่วยฉุดโลกสันนิวาสนั้นให้พ้นจากหล่มได้เป็นไม่มี” ฯลฯ “โลกสันนิวาส
ติดอยู่ในเปือกตมอันกว้างใหญ่ ใครอื่นนอกจากเราผู้จะช่วยฉุดโลกสันนิวาสนั้นให้
พ้นจากเปือกตมได้เป็นไม่มี” ฯลฯ
“โลกสันนิวาสถูกไฟคือราคะ โทสะ โมหะ ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ
ทุกข์ โทมนัส อุปายาสกระทบแล้ว ใครอื่นนอกจากเราผู้จะช่วยดับไฟเหล่านั้นให้แก่
โลกสันนิวาสได้เป็นไม่มี” ฯลฯ “โลกสันนิวาสทุรนทุราย เดือดร้อนเป็นนิตย์ ไม่มี
อะไรต้านทาน ต้องรับอาชญา ต้องทำตามอาชญา” ฯลฯ “โลกสันนิวาสถูกผูกด้วย
เครื่องผูกในวัฏฏะ ปรากฏอยู่ในตะแลงแกง ใครอื่นนอกจากเราผู้จะช่วยแก้เครื่องผูก
ให้แก่โลกสันนิวาสนั้นให้หลุดพ้นได้เป็นไม่มี” ฯลฯ “โลกสันนิวาสไม่มีที่พึ่ง ควรได้
รับความกรุณาอย่างยิ่ง ใครอื่นนอกจากเราผู้จะช่วยต้านทานให้แก่โลกสันนิวาสนั้นได้
เป็นไม่มี” ฯลฯ “โลกสันนิวาสถูกทุกข์เสียบแทงบีบคั้นมานาน” ฯลฯ “โลกสันนิวาส
ติดใจกระหายเป็นนิตย์” ฯลฯ
“โลกสันนิวาสเป็นโลกบอด ไม่มีจักษุ” ฯลฯ “โลกสันนิวาสมีจักษุเสื่อมไป
ไม่มีผู้นำ” ฯลฯ “โลกสันนิวาสแล่นไปสู่ทางผิด หลงทางแล้ว ใครอื่นนอกจากเรา
ผู้จะช่วยนำพาโลกสันนิวาสนั้นมาสู่ทางอริยะนั้นได้เป็นไม่มี” ฯลฯ “โลกสันนิวาส
แล่นไปสู่ห้วงโมหะ ใครอื่นนอกจากเราผู้จะช่วยฉุดโลกสันนิวาสนั้นให้พ้นจากห้วง
โมหะนั้นได้เป็นไม่มี” ฯลฯ
[๑๑๘] “โลกสันนิวาสถูกทิฏฐิ ๒ อย่างกลุ้มรุม” ฯลฯ “โลกสันนิวาส
ปฏิบัติผิดด้วยทุจริต ๓” ฯลฯ “โลกสันนิวาสเต็มไปด้วยกิเลสเครื่องประกอบ
๔ อย่าง ถูกกิเลสเครื่องประกอบ ๔ อย่างประกอบไว้” ฯลฯ “โลกสันนิวาสถูกกิเลส
เครื่องร้อยรัด ๔ อย่างร้อยไว้” ฯลฯ “โลกสันนิวาสถือมั่นด้วยอุปาทาน ๔” ฯลฯ
“โลกสันนิวาสขึ้นสู่คติ ๕” ฯลฯ “โลกสันนิวาสกำหนัดอยู่ด้วยกามคุณ ๕” ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๗๑. มหากรุณาญาณนิทเทส
“โลกสันนิวาสถูกนิวรณ์ ๕ ทับไว้” ฯลฯ “โลกสันนิวาสวิวาทกันอยู่ด้วยมูลเหตุ
แห่งการวิวาท ๖ อย่าง” ฯลฯ “โลกสันนิวาสกำหนัดอยู่ด้วยกองตัณหา ๖” ฯลฯ
“โลกสันนิวาสถูกทิฏฐิ ๖ อย่างกลุ้มรุมแล้ว” ฯลฯ “โลกสันนิวาสซ่านไปเพราะ
อนุสัย ๗” ฯลฯ “โลกสันนิวาสถูกสังโยชน์ ๗ คล้องไว้” ฯลฯ “โลกสันนิวาส
ฟูขึ้นเพราะมานะ ๗” ฯลฯ
“โลกสันนิวาสเวียนอยู่เพราะโลกธรรม ๘” ฯลฯ “โลกสันนิวาสดิ่งลงเพราะ
มิจฉัตตะ ๘” ฯลฯ “โลกสันนิวาสประทุษร้ายกันเพราะบุรุษโทษ ๘” ฯลฯ “โลก-
สันนิวาสมุ่งร้ายกันเพราะอาฆาตวัตถุ ๙” ฯลฯ “โลกสันนิวาสพองขึ้นเพราะมานะ ๙”
ฯลฯ “โลกสันนิวาสกำหนัดอยู่เพราะธรรมอันมีตัณหาเป็นมูล ๙” ฯลฯ “โลก-
สันนิวาสย่อมเศร้าหมองเพราะกิเลสวัตถุ ๑๐” ฯลฯ “โลกสันนิวาสมุ่งร้ายกันเพราะ
อาฆาตวัตถุ ๑๐” ฯลฯ “โลกสันนิวาสประกอบด้วยอกุศลกรรมบถ ๑๐” ฯลฯ
“โลกสันนิวาสถูกสังโยชน์ ๑๐ คล้องไว้” ฯลฯ “โลกสันนิวาสดิ่งลงเพราะมิจฉัตตะ
๑๐” ฯลฯ “โลกสันนิวาสเพียบพร้อมด้วยมิจฉาทิฏฐิ ๑๐” ฯลฯ “โลกสันนิวาส
เพียบพร้อมด้วยสักกายทิฏฐิอันมีวัตถุ ๑๐” ฯลฯ “โลกสันนิวาสเนิ่นช้าเพราะ
ตัณหา ๑๐๘ ทำให้เนิ่นช้า” ฯลฯ พระผู้มีพระภาคทั้งหลายตรัสรู้แล้ว ทรงพิจารณา
เห็นว่า “โลกสันนิวาสถูกทิฏฐิ ๖๒ กลุ้มรุม” จึงทรงแผ่พระมหากรุณาไปในหมู่สัตว์
พระผู้มีพระภาคทั้งหลายตรัสรู้แล้ว ทรงพิจารณาเห็นว่า “ส่วนเราเป็นผู้ข้าม
ได้แล้ว แต่สัตว์โลกยังข้ามไม่ได้ เราเป็นผู้พ้นแล้ว แต่สัตว์โลกยังไม่พ้น เราเป็นผู้
ฝึกแล้ว แต่สัตว์โลกยังไม่ได้ฝึก เราเป็นผู้สงบแล้ว แต่สัตว์โลกยังไม่สงบ เราเป็นผู้
เบาใจแล้ว แต่สัตว์โลกยังไม่เบาใจ เราเป็นผู้ดับรอบแล้ว แต่สัตว์โลกยังไม่ดับรอบ
เราเป็นผู้ข้ามได้แล้วจะให้สัตว์โลกข้ามได้ด้วย เราเป็นผู้พ้นแล้วจะให้สัตว์โลกพ้นได้ด้วย
เราฝึกได้แล้ว จะฝึกสัตว์โลกได้ด้วย เราเป็นผู้สงบแล้วจะให้สัตว์โลกสงบได้ด้วย เรา
เป็นผู้เบาใจแล้วจะให้สัตว์โลกเบาใจได้ด้วย เราเป็นผู้ดับสนิทแล้วจะให้สัตว์โลกดับ
สนิทได้ด้วย” จึงทรงแผ่พระมหากรุณาไปในหมู่สัตว์
นี้เป็นญาณในมหากรุณาสมาบัติของพระตถาคต

มหากรุณาญาณนิทเทสที่ ๗๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๗๒-๗๓. สัพพัญญุตญาณนิทเทส
๗๒-๗๓. สัพพัญญุตญาณนิทเทส
แสดงสัพพัญญุตญาณ
[๑๑๙] สัพพัญญุตญาณของพระตถาคต เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้สังขตธรรมและอสังขตธรรมทั้งปวงไม่มี
อะไรเหลือ ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น
[๑๒๐] ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้ธรรมส่วนอนาคตทั้งปวง ชื่อว่า
อนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้ธรรม
ส่วนอดีตทั้งปวง ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น ชื่อว่า
สัพพัญญุตญาณ เพราะรู้ธรรมส่วนปัจจุบันทั้งปวง ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มี
เครื่องกั้นในญาณนั้น
ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้จักขุและรูปทั้งหมดอย่างนี้ ชื่อว่าอนาวรณญาณ
เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้โสตะและสัททะ ฯลฯ
เพราะรู้ฆานะและคันธะ ฯลฯ เพราะรู้ชิวหาและรส ฯลฯ เพราะรู้กายและโผฏฐัพพะ
ฯลฯ ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้มโนและธรรมารมณ์ทั้งหมดอย่างนี้ ชื่อว่า
อนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น
ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้สภาวะที่ไม่เที่ยง สภาวะที่เป็นทุกข์ สภาวะที่เป็น
อนัตตาตลอดทั้งหมด ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น ชื่อว่า
สัพพัญญุตญาณ เพราะรู้สภาวะที่ไม่เที่ยง สภาวะที่เป็นทุกข์ สภาวะที่เป็นอนัตตา
แห่งรูปตลอดทั้งหมด ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น ชื่อว่า
สัพพัญญุตญาณ เพราะรู้สภาวะที่ไม่เที่ยง สภาวะที่เป็นทุกข์ สภาวะที่เป็นอนัตตา
แห่งเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ จักขุ ฯลฯ ชื่อว่า
สัพพัญญุตญาณ เพราะรู้สภาวะที่ไม่เที่ยง สภาวะที่เป็นทุกข์ สภาวะที่เป็นอนัตตา
แห่งชราและมรณะตลอดทั้งหมด ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นใน
ญาณนั้น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๗๒-๗๓. สัพพัญญุตญาณนิทเทส
ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้สภาวะที่รู้ยิ่งแห่งอภิญญาตลอดทั้งหมด ชื่อว่า
อนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้
สภาวะที่กำหนดรู้แห่งปริญญาตลอดทั้งหมด ฯลฯ เพราะรู้สภาวะที่ละแห่งปหานะ
ตลอดทั้งหมด ฯลฯ เพราะรู้สภาวะที่เจริญแห่งภาวนาตลอดทั้งหมด ฯลฯ ชื่อว่า
สัพพัญญุตญาณ เพราะรู้สภาวะที่ทำให้แจ้งแห่งสัจฉิกิริยาตลอดทั้งหมด ชื่อว่า
อนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น
ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้สภาวะที่เป็นกองแห่งขันธ์ตลอดทั้งหมด ชื่อว่า
อนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้สภาวะ
ที่ทรงไว้แห่งธาตุตลอดทั้งหมด ฯลฯ เพราะรู้สภาวะที่เป็นบ่อเกิดแห่งอายตนะตลอด
ทั้งหมด ฯลฯ เพราะรู้สภาวะที่ปัจจัยปรุงแต่งแห่งสังขตธรรมตลอดทั้งหมด ฯลฯ
ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้สภาวะที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่งแห่งอสังขตธรรมตลอด
ทั้งหมด ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น
ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้กุศลธรรมตลอดทั้งหมด ชื่อว่าอนาวรณญาณ
เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น ฯลฯ ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้อกุศลธรรม ฯลฯ
เพราะรู้อัพยากตธรรม ฯลฯ เพราะรู้กามาวจรธรรม ฯลฯ เพราะรู้รูปาวจรธรรม ฯลฯ
เพราะรู้อรูปาวจรธรรม ฯลฯ ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้อปริยาปันนธรรมตลอด
ทั้งหมด ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น
ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้สภาวะที่ทนได้ยากแห่งทุกข์ตลอดทั้งหมด
ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ
เพราะรู้สภาวะที่เป็นเหตุเกิดแห่งสมุทัย ฯลฯ เพราะรู้สภาวะที่เป็นความดับแห่ง
นิโรธ ฯลฯ ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้สภาวะที่เป็นทางแห่งมรรคตลอดทั้งหมด
ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น
ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้สภาวะแห่งปัญญาที่แตกฉานดีในอรรถแห่ง
อัตถปฏิสัมภิทาตลอดทั้งหมด ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น
ฯลฯ ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้สภาวะแห่งปัญญาที่แตกฉานดีในธรรมแห่ง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๗๒-๗๓. สัพพัญญุตญาณนิทเทส
ธัมมปฏิสัมภิทาตลอดทั้งหมด ฯลฯ เพราะรู้สภาวะแห่งปัญญาที่แตกฉานดีใน
นิรุตติแห่งนิรุตติปฏิสัมภิทาตลอดทั้งหมด ฯลฯ ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้
สภาวะแห่งปัญญาที่แตกฉานดีในปฏิภาณแห่งปฏิภาณปฏิสัมภิทาตลอดทั้งหมด
ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น
ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้ญาณในความยิ่งและความหย่อนแห่งอินทรีย์
ตลอดทั้งหมด ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น ชื่อว่า
สัพพัญญุตญาณ เพราะรู้ญาณในอาสยะและอนุสัยของสัตว์ทั้งหลาย ฯลฯ เพราะรู้
ญาณในยมกปาฏิหาริย์ ฯลฯ ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้ญาณในมหากรุณา-
สมาบัติตลอดทั้งหมด ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น
ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้รูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ
ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา ที่ตรองตามด้วยใจ แห่งโลกพร้อมทั้งเทวโลก
มารโลก พรหมโลก แห่งหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์
ตลอดทั้งหมด ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น
[๑๒๑] สิ่งไร ๆ ในไตรโลกธาตุนี้
พระปัญญาจักขุของพระตถาคตนั้นไม่ทรงเห็น ไม่มีเลย
อนึ่ง ธรรมชาติอะไร ๆ ที่ควรรู้
พระพุทธญาณไม่รู้แจ้งก็ไม่มี
ธรรมชาติที่ควรแนะนำใดมีอยู่
พระตถาคตได้ทรงทราบธรรมชาติที่ควรแนะนำนั้นทั้งหมด
เพราะเหตุนั้น พระตถาคตจึงชื่อว่ามีพระสมันตจักขุ
คำว่า สมันตจักขุ อธิบายว่า ชื่อว่าสมันตจักขุ เพราะมีความหมายว่าอย่างไร
คือ พระพุทธญาณ ๑๔ ประการ ได้แก่
๑. ญาณในทุกข์ ชื่อว่าพุทธญาณ
๒. ญาณในสมุทัย ชื่อว่าพุทธญาณ
๓. ญาณในทุกขนิโรธ ชื่อว่าพุทธญาณ
๔. ญาณในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ชื่อว่าพุทธญาณ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๘๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๗๒-๗๓. สัพพัญญุตญาณนิทเทส
๕. ญาณในอัตถปฏิสัมภิทา ชื่อว่าพุทธญาณ
๖. ญาณในธัมมปฏิสัมภิทา ชื่อว่าพุทธญาณ
๗. ญาณในนิรุตติปฏิสัมภิทา ชื่อว่าพุทธญาณ
๘. ญาณในปฏิภาณปฏิสัมภิทา ชื่อว่าพุทธญาณ
๙. ญาณในความยิ่งและความหย่อนแห่งอินทรีย์ ชื่อว่าพุทธญาณ
๑๐. ญาณในอาสยะและอนุสัยของสัตว์ทั้งหลาย ชื่อว่าพุทธญาณ
๑๑. ญาณในยมกปาฏิหาริย์ ชื่อว่าพุทธญาณ
๑๒. ญาณในมหากรุณาสมาบัติ ชื่อว่าพุทธญาณ
๑๓. สัพพัญญุตญาณ ชื่อว่าพุทธญาณ
๑๔. อนาวรณญาณ ชื่อว่าพุทธญาณ
พุทธญาณ ๑๔ ประการนี้แล บรรดาพุทธญาณ ๑๔ ประการนี้ ญาณ ๘
ประการเบื้องต้นเป็นญาณที่ทั่วไปแก่สาวก ส่วนญาณอีก ๖ ประการเบื้องปลาย
เป็นญาณที่ไม่ทั่วไปแก่สาวก
ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะสภาวะที่ทนได้ยากแห่งทุกข์ พระตถาคต
ทรงทราบแล้วตลอดทั้งหมด ที่มิได้ทรงทราบไม่มี ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มี
เครื่องกั้นในญาณนั้น ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะสภาวะที่ทนได้ยากแห่งทุกข์
พระตถาคตทรงทราบแล้ว ทรงเห็นแล้ว ทรงรู้แจ้งแล้ว ทรงทำให้แจ้งแล้ว ทรงถูก
ต้องแล้ว ตลอดทั้งหมดด้วยพระปัญญา ที่มิได้ทรงถูกต้องด้วยพระปัญญาไม่มี
ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น
ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะสภาวะที่เป็นเหตุเกิดแห่งสมุทัย ฯลฯ เพราะ
สภาวะที่เป็นความดับแห่งนิโรธ ฯลฯ เพราะสภาวะที่เป็นทางแห่งมรรค ฯลฯ เพราะ
สภาวะแห่งปัญญาที่แตกฉานดีในอรรถแห่งอัตถปฏิสัมภิทา ฯลฯ เพราะสภาวะแห่ง
ปัญญาที่แตกฉานดีในธรรมแห่งธัมมปฏิสัมภิทา ฯลฯ เพราะสภาวะแห่งปัญญาที่
แตกฉานดีในนิรุตติแห่งนิรุตติปฏิสัมภิทา ฯลฯ ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะสภาวะ
แห่งปัญญาที่แตกฉานดีในปฏิภาณแห่งปฏิภาณปฏิสัมภิทา พระตถาคตทรงทราบ
แล้ว ทรงเห็นแล้ว ทรงรู้แจ้งแล้ว ทรงทำให้แจ้งแล้ว ทรงถูกต้องแล้ว ตลอดทั้งหมด
ด้วยพระปัญญา ที่มิได้ทรงถูกต้องด้วยพระปัญญาไม่มี ชื่อว่าอนาวรณญาณ
เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๘๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๗๒-๗๓. สัพพัญญุตญาณนิทเทส
ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะญาณในความยิ่งและความหย่อนแห่งอินทรีย์
พระตถาคตทรงทราบแล้ว ทรงเห็นแล้ว ทรงรู้แจ้งแล้ว ทรงทำให้แจ้งแล้ว ทรงถูก
ต้องแล้ว ตลอดทั้งหมดด้วยพระปัญญา ที่มิได้ทรงถูกต้องด้วยพระปัญญาไม่มี ชื่อว่า
อนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะญาณ
ในอาสยะและอนุสัยของสัตว์ทั้งหลาย ฯลฯ เพราะญาณในยมกปาฏิหาริย์ ฯลฯ
ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะญาณในมหากรุณาสมาบัติ พระตถาคตทรงทราบแล้ว
ทรงเห็นแล้ว ทรงรู้แจ้งแล้ว ทรงทำให้แจ้งแล้ว ทรงถูกต้องแล้ว ตลอดทั้งหมดด้วย
พระปัญญา ที่มิได้ทรงถูกต้องด้วยพระปัญญาไม่มี ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่
มีเครื่องกั้นในญาณนั้น
ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ
ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา ที่ตรองตามด้วยใจแห่งโลกพร้อมทั้งเทวโลก
มารโลก พรหมโลก แห่งหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์
พระตถาคตทรงทราบแล้ว ทรงเห็นแล้ว ทรงรู้แจ้งแล้ว ทรงทำให้แจ้งแล้ว ทรงถูก
ต้องแล้ว ตลอดทั้งหมดด้วยพระปัญญา ที่มิได้ทรงถูกต้องด้วยพระปัญญาไม่มี
ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น
สิ่งไร ๆ ในไตรโลกธาตุนี้
พระปัญญาจักขุของพระตถาคตนั้นไม่ทรงเห็น ไม่มีเลย
อนึ่ง ธรรมชาติอะไร ๆ ที่ควรรู้
พระพุทธญาณไม่รู้แจ้งก็ไม่มี
ธรรมชาติที่ควรแนะนำใดมีอยู่
พระตถาคตได้ทรงทราบธรรมชาติที่ควรแนะนำนั้นทั้งหมด
เพราะเหตุนั้น พระตถาคตจึงชื่อว่ามีพระสมันตจักขุ๑

สัพพัญญุตญาณนิทเทสที่ ๗๒-๗๓ จบ
ญาณกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑๕๖/๔๓๑, ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๘๕/๓๐๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๘๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา
๒. ทิฏฐิกถา
ว่าด้วยทิฏฐิ
[๑๒๒] อะไรชื่อว่าทิฏฐิ ฐาน๑แห่งทิฏฐิ มีเท่าไร ปริยุฏฐานแห่งทิฏฐิมีเท่าไร
ทิฏฐิมีเท่าไร ความยึดมั่นทิฏฐิมีเท่าไร ความถอนฐานแห่งทิฏฐิเป็นอย่างไร
ถาม: ทิฏฐิคืออะไร
ตอบ: ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่น
ถาม: ฐานแห่งทิฏฐิมีเท่าไร
ตอบ: ฐานแห่งทิฏฐิมี ๘ ประการ
ถาม: ปริยุฏฐานแห่งทิฏฐิมีเท่าไร
ตอบ: ปริยุฏฐานแห่งทิฏฐิมี ๑๘ ประการ
ถาม: ทิฏฐิมีเท่าไร
ตอบ: ทิฏฐิมี ๑๖ ประการ
ถาม: ความยึดมั่นทิฏฐิมีเท่าไร
ตอบ: ความยึดมั่นทิฏฐิมี ๓๐๐ ประการ(โดยประมาณ)
ถาม: เครื่องถอนฐานแห่งทิฏฐิเป็นอย่างไร
ตอบ: โสดาปัตติมรรคเป็นเครื่องถอนฐานแห่งทิฏฐิ
[๑๒๓] ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่น เป็นอย่างไร
คือ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นรูปว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตา
ของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ ทิฏฐิคือ
ความยึดมั่นถือมั่นวิญญาณว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นจักขุว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตา
ของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นโสตะ ฯลฯ ฆานะ ฯลฯ ชิวหา ฯลฯ กาย ฯลฯ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นมโนว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”

เชิงอรรถ :
๑ ฐาน ในที่นี้หมายถึงเหตุ (ขุ.ป.อ. ๑/๑๑๒/๔๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๘๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นรูปว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตา
ของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นสัททะ ฯลฯ คันธะ ฯลฯ รส ฯลฯ
โผฏฐัพพะ ฯลฯ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นธรรมารมณ์ว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น
นั่นเป็นอัตตาของเรา”
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นจักขุวิญญาณว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็น
อัตตาของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นโสตวิญญาณ ฯลฯ ฆานวิญญาณ ฯลฯ
ชิวหาวิญญาณ ฯลฯ กายวิญญาณ ฯลฯ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นมโนวิญญาณว่า
“นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นจักขุสัมผัสว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็น
อัตตาของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นโสตสัมผัส ฯลฯ ฆานสัมผัส ฯลฯ
ชิวหาสัมผัส ฯลฯ กายสัมผัส ฯลฯ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นมโนสัมผัสว่า
“นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นจักขุสัมผัสสชาเวทนาว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น
นั่นเป็นอัตตาของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นโสตสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ
ฆานสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ กายสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นมโนสัมผัสสชาเวทนาว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็น
อัตตาของเรา”
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นรูปสัญญาว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตา
ของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นสัททสัญญา ฯลฯ คันธสัญญา ฯลฯ รสสัญญา
ฯลฯ โผฏฐัพพสัญญา ฯลฯ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นธัมมสัญญาว่า “นั่นของเรา
เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นรูปสัญเจตนาว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็น
อัตตาของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นสัททสัญเจตนา ฯลฯ คันธสัญเจตนา ฯลฯ
รสสัญเจตนา ฯลฯ โผฏฐัพพสัญเจตนา ฯลฯ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นธัมม-
สัญเจตนาว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๘๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นรูปตัณหาว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตา
ของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นสัททตัณหา ฯลฯ คันธตัณหา ฯลฯ รสตัณหา
ฯลฯ โผฏฐัพพตัณหา ฯลฯ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นธัมมตัณหาว่า “นั่นของเรา
เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นรูปวิตกว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตา
ของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นสัททวิตก ฯลฯ คันธวิตก ฯลฯ รสวิตก ฯลฯ
โผฏฐัพพวิตก ฯลฯ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นธัมมวิตกว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น
นั่นเป็นอัตตาของเรา”
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นรูปวิจารว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตา
ของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นสัททวิจาร ฯลฯ คันธวิจาร ฯลฯ รสวิจาร ฯลฯ
โผฏฐัพพวิจาร ฯลฯ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นธัมมวิจารว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น
นั่นเป็นอัตตาของเรา”
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นปฐวีธาตุว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตา
ของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นอาโปธาตุ ฯลฯ เตโชธาตุ ฯลฯ วาโยธาตุ ฯลฯ
อากาสธาตุ ฯลฯ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นวิญญาณธาตุว่า “นั่นของเรา
เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นปฐวีกสิณว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตา
ของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นอาโปกสิณ ฯลฯ เตโชกสิณ ฯลฯ วาโยกสิณ ฯลฯ
นีลกสิณ ฯลฯ ปีตกสิณ ฯลฯ โลหิตกสิณ ฯลฯ โอทาตกสิณ ฯลฯ ทิฏฐิคือ
ความยึดมั่นถือมั่นอากาสกสิณว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นผมว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นขน ฯลฯ เล็บ ฯลฯ ฟัน ฯลฯ หนัง ฯลฯ เนื้อ ฯลฯ
เอ็น ฯลฯ กระดูก ฯลฯ เยื่อในกระดูก ฯลฯ ไต๑ ฯลฯ หัวใจ ฯลฯ ตับ ฯลฯ
พังผืด ฯลฯ ม้าม๒ ฯลฯ ปอด ฯลฯ ไส้ใหญ่ ฯลฯ ไส้น้อย ฯลฯ อาหารใหม่ ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑-๒ ดูเชิงอรรถในข้อ ๔ หน้า ๑๑ ในสุตมยญาณนิทเทสในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๙๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา
อาหารเก่า ฯลฯ ดี ฯลฯ เสลด ฯลฯ หนอง ฯลฯ เลือด ฯลฯ เหงื่อ ฯลฯ มันข้น ฯลฯ
น้ำตา ฯลฯ มันเหลว ฯลฯ น้ำลาย ฯลฯ น้ำมูก ฯลฯ ไขข้อ ฯลฯ มูตร ฯลฯ ทิฏฐิคือ
ความยึดมั่นถือมั่นมันสมองว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นจักขายตนะว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็น
อัตตาของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นรูปายตนะ ฯลฯ โสตายตนะ ฯลฯ
สัททายตนะ ฯลฯ ฆานายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ ฯลฯ ชิวหายตนะ ฯลฯ
รสายตนะ ฯลฯ กายายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ มนายตนะ ฯลฯ ทิฏฐิคือ
ความยึดมั่นถือมั่นธัมมายตนะว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นจักขุธาตุว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตา
ของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นรูปธาตุ ฯลฯ จักขุวิญญาณธาตุ ฯลฯ โสตธาตุ
ฯลฯ สัททธาตุ ฯลฯ โสตวิญญาณธาตุ ฯลฯ ฆานธาตุ ฯลฯ คันธธาตุ ฯลฯ
ฆานวิญญาณธาตุ ฯลฯ ชิวหาธาตุ ฯลฯ รสธาตุ ฯลฯ ชิวหาวิญญาณธาตุ ฯลฯ
กายธาตุ ฯลฯ โผฏฐัพพธาตุ ฯลฯ กายวิญญาณธาตุ ฯลฯ มโนธาตุ ฯลฯ
ธัมมธาตุ ฯลฯ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นมโนวิญญาณธาตุว่า “นั่นของเรา เรา
เป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นจักขุนทรีย์ว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตา
ของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นโสตินทรีย์ ฯลฯ ฆานินทรีย์ ฯลฯ ชิวหินทรีย์ ฯลฯ
กายินทรีย์ ฯลฯ มนินทรีย์ ฯลฯ ชีวิตินทรีย์ ฯลฯ อิตถินทรีย์ ฯลฯ ปุริสินทรีย์ ฯลฯ
สุขินทรีย์ ฯลฯ ทุกขินทรีย์ ฯลฯ โสมนัสสินทรีย์ ฯลฯ โทมนัสสินทรีย์ ฯลฯ
อุเปกขินทรีย์ ฯลฯ สัทธินทรีย์ ฯลฯ วิริยินทรีย์ ฯลฯ สตินทรีย์ ฯลฯ สมาธินทรีย์
ฯลฯ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นปัญญินทรีย์ว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็น
อัตตาของเรา”
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นกามธาตุว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตา
ของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นรูปธาตุ ฯลฯ อรูปธาตุ ฯลฯ กามภพ ฯลฯ
รูปภพ ฯลฯ อรูปภพ ฯลฯ สัญญาภพ ฯลฯ อสัญญาภพ ฯลฯ เนวสัญญา-
นาสัญญาภพ ฯลฯ เอกโวการภพ ฯลฯ จตุโวการภพ ฯลฯ ปัญจโวการภพ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๙๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา
ปฐมฌาน ฯลฯ ทุติยฌาน ฯลฯ ตติยฌาน ฯลฯ จตุตถฌาน ฯลฯ เมตตา-
เจโตวิมุตติ ฯลฯ กรุณาเจโตวิมุตติ ฯลฯ มุทิตาเจโตวิมุตติ ฯลฯ อุเบกขา-
เจโตวิมุตติ ฯลฯ อากาสานัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ วิญญาณัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ
อากิญจัญญายตนสมาบัติ ฯลฯ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นเนวสัญญานาสัญญายตน-
สมาบัติว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นอวิชชาว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตา
ของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นสังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ นามรูป ฯลฯ
สฬายตนะ ฯลฯ ผัสสะ ฯลฯ เวทนา ฯลฯ ตัณหา ฯลฯ อุปาทาน ฯลฯ ภพ ฯลฯ
ชาติ ฯลฯ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นชราและมรณะว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็น
อัตตาของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นมีดังว่ามานี้
[๑๒๔] ฐานแห่งทิฏฐิ ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ขันธ์ทั้งหลายเป็นฐานแห่งทิฏฐิ
๒. อวิชชาเป็นฐานแห่งทิฏฐิ
๓. ผัสสะเป็นฐานแห่งทิฏฐิ
๔. สัญญาเป็นฐานแห่งทิฏฐิ
๕. วิตกเป็นฐานแห่งทิฏฐิ
๖. อโยนิโสมนสิการเป็นฐานแห่งทิฏฐิ
๗. ปาปมิตรเป็นฐานแห่งทิฏฐิ
๘. ปรโตโฆสะ๑เป็นฐานแห่งทิฏฐิ
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเหตุเป็นปัจจัย ชื่อว่าเป็นฐานแห่งทิฏฐิ เพราะมีความ
หมายว่าเป็นที่อาศัยตั้งขึ้น แม้ขันธ์ทั้งหลายก็เป็นฐานแห่งทิฏฐิอย่างนี้
อวิชชาที่เป็นเหตุเป็นปัจจัย ชื่อว่าเป็นฐานแห่งทิฏฐิ เพราะมีความหมายว่า
เป็นที่อาศัยตั้งขึ้น แม้อวิชชาก็เป็นฐานแห่งทิฏฐิอย่างนี้

เชิงอรรถ :
๑ ปรโตโฆสะ หมายถึงการฟังอสัทธรรมจากผู้อื่น (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๒๗/๖๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา
ผัสสะที่เป็นเหตุเป็นปัจจัย ชื่อว่าเป็นฐานแห่งทิฏฐิ เพราะมีความหมายว่าเป็นที่
อาศัยตั้งขึ้น แม้ผัสสะก็เป็นฐานแห่งทิฏฐิอย่างนี้
สัญญาที่เป็นเหตุเป็นปัจจัย ชื่อว่าเป็นฐานแห่งทิฏฐิ เพราะมีความหมายว่า
เป็นที่อาศัยตั้งขึ้น แม้สัญญาก็เป็นฐานแห่งทิฏฐิอย่างนี้
วิตกที่เป็นเหตุเป็นปัจจัย ชื่อว่าเป็นฐานแห่งทิฏฐิ เพราะมีความหมายว่าเป็นที่
อาศัยตั้งขึ้น แม้วิตกก็เป็นฐานแห่งทิฏฐิอย่างนี้
อโยนิโสมนสิการที่เป็นเหตุเป็นปัจจัย ชื่อว่าเป็นฐานแห่งทิฏฐิ เพราะมีความ
หมายว่าเป็นที่อาศัยตั้งขึ้น แม้อโยนิโสมนสิการก็เป็นฐานแห่งทิฏฐิอย่างนี้
ปาปมิตรที่เป็นเหตุเป็นปัจจัย ชื่อว่าเป็นฐานแห่งทิฏฐิ เพราะมีความหมายว่า
เป็นที่อาศัยตั้งขึ้น แม้ปาปมิตรก็เป็นฐานแห่งทิฏฐิอย่างนี้
ปรโตโฆสะที่เป็นเหตุเป็นปัจจัย ชื่อว่าเป็นฐานแห่งทิฏฐิ เพราะมีความหมายว่า
เป็นที่อาศัยตั้งขึ้น แม้ปรโตโฆสะก็เป็นฐานแห่งทิฏฐิอย่างนี้
เหล่านี้ คือฐานแห่งทิฏฐิ ๘ ประการ
[๑๒๕] ปริยุฏฐานแห่งทิฏฐิ ๑๘ ประการ อะไรบ้าง ทิฏฐิคือ

๑. การตกอยู่ในทิฏฐิ ๒. ความรกชัฏคือทิฏฐิ
๓. ความกันดารคือทิฏฐิ ๔. เสี้ยนหนามคือทิฏฐิ
๕. ความดิ้นรนคือทิฏฐิ ๖. สังโยชน์คือทิฏฐิ
๗. ลูกศรคือทิฏฐิ ๘. สมภพคือทิฏฐิ๑
๙. เครื่องกังวลคือทิฏฐิ ๑๐. เครื่องผูกคือทิฏฐิ
๑๑. เหวคือทิฏฐิ ๑๒. อนุสัยคือทิฏฐิ
๑๓. เหตุให้เดือดร้อนคือทิฏฐิ ๑๔. เหตุให้เร่าร้อนคือทิฏฐิ
๑๕. เครื่องร้อยรัดคือทิฏฐิ ๑๖. ความยึดถือคือทิฏฐิ
๑๗. ความยึดมั่นคือทิฏฐิ ๑๘. ความถือมั่นคือทิฏฐิ

เหล่านี้ คือปริยุฏฐานแห่งทิฏฐิ ๑๘ ประการ

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า สมภพคือทิฏฐิ คำบาลีคือ ทิฏฺฐิสมฺภโว ในอรรถกถา (ขุ.ป. ๒/๑๒๕/๕๒) ใช้ ทิฏฺฐิสมฺพาโธ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา
[๑๒๖] ทิฏฐิ ๑๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อัสสาททิฏฐิ (ความเห็นที่เนื่องด้วยคุณ)
๒. อัตตานุทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นอัตตา)
๓. มิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิด)
๔. สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นอัตตาของตน)
๕. สัสสตทิฏฐิ (ความเห็นว่าอัตตาและโลกเที่ยง) อันมีสักกายะเป็นวัตถุ๑
๖. อุจเฉททิฏฐิ (ความเห็นว่าขาดสูญ) อันมีสักกายะเป็นวัตถุ
๗. อันตัคคาหิกทิฏฐิ (ความเห็นอันถือเอาที่สุด)
๘. ปุพพันตานุทิฏฐิ (ความเห็นขันธ์ส่วนอดีต)
๙. อปรันตานุทิฏฐิ (ความเห็นขันธ์ส่วนอนาคต)
๑๐. สัญโญชนิกาทิฏฐิ (ความเห็นเป็นเครื่องผูกสัตว์)
๑๑. มานวินิพันธาทิฏฐิ (ความเห็นอันกางกั้นด้วยมานะ) ว่า “เป็นเรา”
๑๒. มานวินิพันธาทิฏฐิ (ความเห็นอันกางกั้นด้วยมานะ) ว่า “ของเรา”
๑๓. อัตตวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิ (ความเห็นอันสัมปยุตด้วยอัตตวาทะ)
๑๔. โลกวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิ (ความเห็นอันสัมปยุตด้วยโลกวาทะ)
๑๕. ภวทิฏฐิ (ความเห็นว่าอัตตาและโลกมีอยู่)
๑๖. วิภวทิฏฐิ (ความเห็นว่าอัตตาและโลกไม่มีอยู่)
[๑๒๗] ความยึดมั่นทิฏฐิ ๓๐๐ ประการ(โดยประมาณ)
คือ อัสสาททิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร
อัตตานุทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร
มิจฉาทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร
สักกายทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร
สัสสตทิฏฐิ อันมีสักกายะเป็นวัตถุ มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร
อุจเฉททิฏฐิ อันมีสักกายะเป็นวัตถุ มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร

เชิงอรรถ :
๑ มีสักกายะเป็นวัตถุ หมายถึงมีขันธ์ ๕ เป็นที่อาศัย (ขุ.ป.อ. ๒/๑๒๖/๕๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๙๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา
อันตัคคาหิกทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร
ปุพพันตานุทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร
อปรันตานุทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร
สัญโญชนิกาทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร
มานวินิพันธาทิฏฐิว่า “เป็นเรา” มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร
มานวินิพันธาทิฏฐิว่า “ของเรา” มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร
อัตตวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร
โลกวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร
ภวทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร
วิภวทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร
คือ อัสสาททิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๓๕ อย่าง
อัตตานุทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๒๐ อย่าง
มิจฉาทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๐ อย่าง
สักกายทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๒๐ อย่าง
สัสสตทิฏฐิอันมีสักกายะเป็นวัตถุ มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๕ อย่าง
อุจเฉททิฏฐิอันมีสักกายะเป็นวัตถุ มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕ อย่าง
อันตัคคาหิกทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕๐ อย่าง
ปุพพันตานุทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๘ อย่าง
อปรันตานุทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๔๔ อย่าง
สัญโญชนิกาทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๘ อย่าง
มานวินิพันธาทิฏฐิว่า “เป็นเรา” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๘ อย่าง
มานวินิพันธาทิฏฐิว่า “ของเรา” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๘ อย่าง
อัตตวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๒๐ อย่าง
โลกวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๘ อย่าง
ภวทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๙ อย่าง
วิภวทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๙ อย่าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๙๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๑. อัสสาททิฏฐินิทเทส
๑. อัสสาททิฏฐินิทเทส
แสดงอัสสาททิฏฐิ
[๑๒๘] อัสสาททิฏฐิ มีความเห็นผิดด้วยอาการ ๓๕ อย่าง เป็นอย่างไร
คือ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “สุข โสมนัสที่อาศัยรูปเกิดขึ้น นี้เป็น
อัสสาทะ (คุณ) แห่งรูป” ทิฏฐิไม่ใช่อัสสาทะ อัสสาทะก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็น
อย่างหนึ่ง อัสสาทะก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและอัสสาทะนี้ ท่านกล่าวว่า อัสสาททิฏฐิ
อัสสาททิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นทิฏฐิวิบัติ บุคคลผู้ประกอบด้วยทิฏฐิวิบัตินั้น
เป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติ บุคคลผู้มีทิฏฐิวิบัติ ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรนั่งใกล้ ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะบุคคลนั้นมีทิฏฐิชั่ว ทิฏฐิใด ราคะใด ราคะนั้นไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐินั้น
ก็ไม่ใช่ราคะ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง ราคะก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและราคะนี้ เรียกว่า
ทิฏฐิราคะ บุคคลผู้ประกอบด้วยทิฏฐินั้นและราคะนั้น เป็นผู้ยินดีในทิฏฐิราคะ
ทานที่ให้แก่บุคคลผู้ยินดีทิฏฐิราคะ เป็นทานมีผลไม่มาก มีอานิสงส์ไม่มาก ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะบุคคลนั้นมีทิฏฐิชั่ว อัสสาททิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ
บุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิมีคติเป็น ๒ คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน อนึ่ง
กายกรรมที่ถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ วจีกรรม ฯลฯ และมโนกรรม
ที่ถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ เจตนา ความปรารถนา ความตั้งใจ
และสังขารทั้งหลายของบุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ ธรรมทั้งหมดนั้นย่อมเป็นไปเพื่อผลที่
ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ ไม่เกื้อกูล เป็นทุกข์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะบุคคลนั้นมีทิฏฐิชั่ว
เปรียบเหมือนเมล็ดสะเดา เมล็ดบวบขม หรือเมล็ดน้ำเต้าขมที่บุคคลเพาะไว้
ในดินชุ่มชื้น รสดินและรสน้ำที่มันดูดซับเอาไว้ทั้งหมด ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็น
ของขม เผ็ดร้อน ไม่น่ายินดี ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะสะเดาเป็นต้นนั้นมีเมล็ดเลว
ฉันใด กายกรรมที่ถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ วจีกรรม ฯลฯ และ
มโนกรรมที่ถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ เจตนา ความปรารถนา
ความตั้งใจ และสังขารทั้งหลายของบุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ ธรรมทั้งหมดนั้นย่อม


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๙๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๑. อัสสาททิฏฐินิทเทส
เป็นไปเพื่อผลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ ไม่เกื้อกูล เป็นทุกข์ ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะบุคคลนั้นมีทิฏฐิชั่ว ฉันนั้น อัสสาททิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ
การตกอยู่ในทิฏฐิ ความรกชัฏคือทิฏฐิ ฯลฯ ความถือมั่นคือทิฏฐิ ความ
เกี่ยวข้องแห่งจิตที่ทิฏฐิกลุ้มรุม (เป็นมิจฉาทิฏฐิซึ่งจัดเป็นอัสสาททิฏฐิ) ด้วยอาการ
๑๘ ประการนี้
[๑๒๙] สังโยชน์และทิฏฐิมีอยู่ สังโยชน์แต่ไม่เป็นทิฏฐิก็มีอยู่
สังโยชน์และทิฏฐิ อะไรบ้าง คือ
๑. สักกายทิฏฐิ
๒. สีลัพพตปรามาส
เหล่านี้เป็นสังโยชน์และทิฏฐิ
สังโยชน์แต่ไม่เป็นทิฏฐิ อะไรบ้าง คือ

๑. กามราคสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคือกามราคะ)
๒. ปฏิฆสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคือปฏิฆะ)
๓. มานสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคือมานะ)
๔. วิจิกิจฉาสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคือวิจิกิจฉา)
๕. ภวราคสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคือภวราคะ)
๖. อิสสาสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคืออิสสา)
๗. มัจฉริยสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคือมัจฉริยะ)
๘. อนุสัยสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคืออนุสัย)
๙. อวิชชาสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคืออวิชชา)

เหล่านี้เป็นสังโยชน์แต่ไม่เป็นทิฏฐิ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “สุข โสมนัสที่อาศัยเวทนาเกิดขึ้น นี้เป็น
อัสสาทะแห่งเวทนา” ฯลฯ อาศัยสัญญา ฯลฯ อาศัยสังขาร ฯลฯ อาศัยวิญญาณ ฯลฯ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “สุข โสมนัสที่อาศัยจักขุ ฯลฯ อาศัยโสตะ ฯลฯ
อาศัยฆานะ ฯลฯ อาศัยชิวหา ฯลฯ อาศัยกาย ฯลฯ อาศัยมโน ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๑. อัสสาททิฏฐินิทเทส
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “สุข โสมนัสที่อาศัยรูป ฯลฯ อาศัยสัททะ ฯลฯ
อาศัยคันธะ ฯลฯ อาศัยรส ฯลฯ อาศัยโผฏฐัพพะ ฯลฯ อาศัยธรรมารมณ์ ฯลฯ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “สุข โสมนัสที่อาศัยจักขุวิญญาณ ฯลฯ อาศัย
โสตวิญญาณ ฯลฯ อาศัยฆานวิญญาณ ฯลฯ อาศัยชิวหาวิญญาณ ฯลฯ อาศัย
กายวิญญาณ ฯลฯ อาศัยมโนวิญญาณ ฯลฯ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “สุข โสมนัสที่อาศัยจักขุสัมผัส ฯลฯ อาศัย
โสตสัมผัส ฯลฯ อาศัยฆานสัมผัส ฯลฯ อาศัยชิวหาสัมผัส ฯลฯ อาศัย
กายสัมผัส ฯลฯ อาศัยมโนสัมผัส ฯลฯ อาศัยจักขุสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ อาศัย
โสตสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ อาศัยฆานสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ อาศัยชิวหา-
สัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ อาศัยกายสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “สุข โสมนัสที่อาศัยมโนสัมผัสสชาเวทนา
เกิดขึ้น นี้เป็นอัสสาทะแห่งมโนสัมผัสสชาเวทนา” ทิฏฐิไม่ใช่อัสสาทะ อัสสาทะก็
ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง อัสสาทะก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและอัสสาทะนี้ ท่าน
กล่าวว่า อัสสาททิฏฐิ
อัสสาททิฏฐิ เป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นทิฏฐิวิบัติ บุคคลผู้ประกอบด้วยทิฏฐิวิบัตินั้น
เป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติ บุคคลผู้มีทิฏฐิวิบัติไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรนั่งใกล้ ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะบุคคลนั้นมีทิฏฐิชั่ว ทิฏฐิใด ราคะใด ราคะนั้นไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐินั้น
ก็ไม่ใช่ราคะ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง ราคะก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและราคะนี้เรียกว่า
ทิฏฐิราคะ บุคคลผู้ประกอบด้วยทิฏฐินั้นและราคะนั้น เป็นผู้ยินดีในทิฏฐิราคะ
ทานที่ให้แก่บุคคลผู้ยินดีทิฏฐิราคะ เป็นทานมีผลไม่มาก มีอานิสงส์ไม่มาก ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะบุคคลนั้นมีทิฏฐิชั่ว อัสสาททิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ
บุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ มีคติเป็น ๒ คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน
อนึ่ง กายกรรมที่ถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ วจีกรรม ฯลฯ และ
มโนกรรมที่ถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ เจตนา ความปรารถนา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๙๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๑. อัสสาททิฏฐินิทเทส
ความตั้งใจ และสังขารทั้งหลายของบุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ ธรรมทั้งหมดนั้นย่อมเป็น
ไปเพื่อผลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ ไม่เกื้อกูล เป็นทุกข์ ข้อนั้นเพราะ
เหตุไร เพราะบุคคลนั้นมีทิฏฐิชั่ว
เปรียบเหมือนเมล็ดสะเดา เมล็ดบวบขม หรือเมล็ดน้ำเต้าขมที่บุคคลเพาะไว้
ในดินชุ่มชื้น รสดินและรสน้ำที่มันดูดซับเอาไว้ทั้งหมด ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็น
ของขม เผ็ดร้อน ไม่น่ายินดี ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะสะเดาเป็นต้นนั้นมีเมล็ดเลว
ฉันใด กายกรรมที่ถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ วจีกรรม ฯลฯ และ
มโนกรรมที่ถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ เจตนา ความปรารถนา ความ
ตั้งใจ และสังขารทั้งหลายของบุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ ธรรมทั้งหมดนั้นย่อมเป็นไป
เพื่อผลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ ไม่เกื้อกูล เป็นทุกข์ ข้อนั้นเพราะ
เหตุไร เพราะบุคคลนั้นมีทิฏฐิชั่ว ฉันนั้น อัสสาททิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ
การตกอยู่ในทิฏฐิ ความรกชัฏคือทิฏฐิ ฯลฯ ความถือมั่นคือทิฏฐิ ความ
เกี่ยวข้องแห่งจิตที่ทิฏฐิกลุ้มรุม (เป็นมิจฉาทิฏฐิซึ่งจัดเป็นอัสสาททิฏฐิ) ด้วยอาการ
๑๘ ประการนี้
สังโยชน์และทิฏฐิมีอยู่ สังโยชน์แต่ไม่เป็นทิฏฐิก็มีอยู่
สังโยชน์และทิฏฐิ อะไรบ้าง คือ
๑. สักกายทิฏฐิ
๒. สีลัพพตปรามาส
เหล่านี้ เป็นสังโยชน์และทิฏฐิ
สังโยชน์แต่ไม่เป็นทิฏฐิ อะไรบ้าง คือ
๑. กามราคสังโยชน์
๒. ปฏิฆสังโยชน์
๓. มานสังโยชน์
๔. วิจิกิจฉาสังโยชน์
๕. ภวราคสังโยชน์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๙๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๒. อัตตานุทิฏฐินิทเทส
๖. อิสสาสังโยชน์
๗. มัจฉริยสังโยชน์
๘. อนุสัยสังโยชน์
๙. อวิชชาสังโยชน์
เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ อัสสาททิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ
๓๕ อย่างนี้
อัสสาททิฏฐินิทเทสที่ ๑ จบ

๒. อัตตานุทิฏฐินิทเทส
แสดงอัตตานุทิฏฐิ
[๑๓๐] อัตตานุทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๒๐ อย่าง เป็นอย่างไร
คือ ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระ
อริยะ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรม
ของสัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็น
อัตตาบ้าง พิจารณาเห็นอัตตามีรูปบ้าง พิจารณาเห็นรูปในอัตตาบ้าง พิจารณาเห็น
อัตตาในรูปบ้าง พิจารณาเห็นเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ พิจารณาเห็น
วิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง พิจารณาเห็นอัตตามีวิญญาณบ้าง พิจารณาเห็น
วิญญาณในอัตตาบ้าง พิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณบ้าง
[๑๓๑] ปุถุชนพิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นปฐวีกสิณโดยความเป็นอัตตา คือ
พิจารณาเห็นปฐวีกสิณและอัตตาไม่เป็นสองว่า “ปฐวีกสิณอันใด เราก็อันนั้น เรา
อันใด ปฐวีกสิณก็อันนั้น” เมื่อประทีปน้ำมันกำลังลุกโพลงอยู่ บุคคลเห็นเปลวไฟและ
แสงสว่างไม่เป็นสองว่า “เปลวไฟอันใด แสงสว่างก็อันนั้น แสงสว่างอันใด เปลวไฟก็
อันนั้น” ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาเห็นปฐวีกสิณโดย
ความเป็นอัตตา คือ พิจารณาเห็นปฐวีกสิณและอัตตาไม่เป็นสองว่า “ปฐวีกสิณอันใด
เราก็อันนั้น เราอันใด ปฐวีกสิณก็อันนั้น” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่น ทิฏฐิไม่ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๐๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๒. อัตตานุทิฏฐินิทเทส
วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้
เป็นอัตตานุทิฏฐิมีรูปเป็นวัตถุ เป็นอาการที่ ๑ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็น
ทิฏฐิวิบัติ ฯลฯ บุคคลผู้ประกอบด้วยอัตตานุทิฏฐิย่อมมีคติเป็น ๒ ฯลฯ เหล่านี้
เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ
บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นอาโปกสิณ ... เตโชกสิณ ... วาโยกสิณ ...
นีลกสิณ ... ปีตกสิณ ... โลหิตกสิณ ... พิจารณาเห็นโอทาตกสิณโดยความเป็นอัตตา
คือ พิจารณาเห็นโอทาตกสิณและอัตตาไม่เป็นสองว่า “โอทาตกสิณอันใด เราก็
อันนั้น เราอันใด โอทาตกสิณก็อันนั้น” เมื่อประทีปน้ำมันกำลังลุกโพลงอยู่ บุคคล
เห็นเปลวไฟและแสงสว่างไม่เป็นสองว่า “เปลวไฟอันใด แสงสว่างก็อันนั้น
แสงสว่างอันใด เปลวไฟก็อันนั้น” ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ฯลฯ พิจารณาเห็นโอทาตกสิณและอัตตาไม่เป็นสอง ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่น
ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิ
และวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีรูปเป็นวัตถุ เป็นอาการที่ ๑ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ
เป็นทิฏฐิวิบัติ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ปุถุชนพิจารณาเห็นรูปโดย
ความเป็นอัตตาอย่างนี้ (๑)
ปุถุชนพิจารณาเห็นอัตตามีรูป เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นเวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... พิจารณาเห็น
วิญญาณโดยความเป็นอัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา แต่ว่า
อัตตาของเรานี้มีรูปเพราะรูปนี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นอัตตามีรูป ต้นไม้มีเงา บุรุษพึง
พูดถึงต้นไม้นั้นอย่างนี้ว่า “นี้ต้นไม้ นี้เงา ต้นไม้เป็นอย่างหนึ่ง เงาก็เป็นอย่างหนึ่ง
แต่ต้นไม้นี้มีเงาเพราะเงานี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นต้นไม้มีเงาฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็
ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาเห็นเวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... พิจารณาเห็นวิญญาณ
โดยความเป็นอัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา แต่ว่าอัตตา
ของเรานี้มีรูปเพราะรูปนี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นอัตตามีรูป ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่น
ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและ
วัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีรูปเป็นวัตถุ เป็นอาการที่ ๒ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ
เป็นทิฏฐิวิบัติ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ปุถุชนพิจารณาเห็นอัตตา
มีรูปอย่างนี้ (๒)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๒. อัตตานุทิฏฐินิทเทส
ปุถุชนพิจารณาเห็นรูปในอัตตา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นเวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... พิจารณา
เห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา
ก็ในอัตตานี้มีรูปเช่นนี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นรูปในอัตตา ดอกไม้มีกลิ่นหอม บุรุษ
พึงพูดถึงดอกไม้นั้นอย่างนี้ว่า “นี้ดอกไม้ นี้กลิ่นหอม ดอกไม้เป็นอย่างหนึ่ง กลิ่น
หอมก็เป็นอย่างหนึ่ง แต่กลิ่นหอมนี้มีอยู่ในดอกไม้นี้ ชื่อว่าพิจารณาเห็นกลิ่นหอม
ในดอกไม้นั้น ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาเห็นเวทนา ...
สัญญา ... สังขาร ... พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา เขามีความเห็น
อย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา ก็ในอัตตานี้มีรูปเช่นนี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นรูปใน
อัตตา ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่น ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ฯลฯ นี้เป็นอัตตา-
นุทิฏฐิมีรูปเป็นวัตถุ เป็นอาการที่ ๓ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นทิฏฐิวิบัติ ฯลฯ
เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ปุถุชนพิจารณาเห็นรูปในอัตตาอย่างนี้ (๓)
ปุถุชนพิจารณาเห็นอัตตาในรูป เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นเวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... พิจารณา
เห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา
แต่ว่าอัตตาของเรานี้มีอยู่ในรูปนี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นอัตตาในรูป แก้วมณีที่ใส่ไว้
ในขวด บุรุษพึงพูดถึงแก้วมณีนั้นอย่างนี้ว่า “นี้แก้วมณี นี้ขวด แก้วมณีเป็นอย่างหนึ่ง
ขวดก็เป็นอย่างหนึ่ง แต่แก้วมณีนี้มีอยู่ในขวดนี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นแก้วมณีในขวด
ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาเห็นเวทนา ... สัญญา ...
สังขาร ... พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า
“นี้เป็นอัตตาของเรา แต่ว่าอัตตาของเรานี้มีอยู่ในรูปนี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นอัตตา
ในรูป ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่น ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง
วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีรูปเป็นวัตถุ เป็นอาการที่ ๔
อัตตานุทิฏฐิ เป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นทิฏฐิวิบัติ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ
ปุถุชนพิจารณาเห็นอัตตาในรูปอย่างนี้ (๔)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๒. อัตตานุทิฏฐินิทเทส
[๑๓๒] ปุถุชนพิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นจักขุสัมผัสสชาเวทนา ... โสตสัมผัสสชา-
เวทนา ... ฆานสัมผัสสชาเวทนา ... ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา ... กายสัมผัสสชา-
เวทนา ... พิจารณาเห็นมโนสัมผัสสชาเวทนาโดยความเป็นอัตตา คือ พิจารณาเห็น
มโนสัมผัสสชาเวทนาและอัตตาไม่เป็นสองว่า “มโนสัมผัสสชาเวทนาอันใด เราก็
อันนั้น เราอันใด มโนสัมผัสสชาเวทนาก็อันนั้น” เมื่อประทีปน้ำมันกำลังลุกโพลงอยู่
บุคคลพิจารณาเห็นเปลวไฟและแสงสว่างไม่เป็นสองว่า “เปลวไฟอันใด แสงสว่าง
ก็อันนั้น แสงสว่างอันใด เปลวไฟก็อันนั้น” ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน พิจารณาเห็นมโนสัมผัสสชาเวทนาโดยความเป็นอัตตา คือ พิจารณา
เห็นมโนสัมผัสสชาเวทนาและอัตตาไม่เป็นสองว่า “มโนสัมผัสสชาเวทนาอันใด เราก็
อันนั้น เราอันใด มโนสัมผัสสชาเวทนาก็อันนั้น” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่น ทิฏฐิ
ไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุ
นี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีเวทนาเป็นวัตถุ เป็นอาการที่ ๑ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็น
ทิฏฐิวิบัติ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ปุถุชนพิจารณาเห็นเวทนาโดย
ความเป็นอัตตาอย่างนี้ (๑-๕)
ปุถุชนพิจารณาเห็นอัตตามีเวทนา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นสัญญา ... สังขาร ... วิญญาณ ... พิจารณา
เห็นรูปโดยความเป็นอัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา แต่ว่า
อัตตาของเรานี้มีเวทนาเพราะเวทนานี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นอัตตามีเวทนา ต้นไม้มีเงา
บุคคลพึงพูดถึงต้นไม้นั้นอย่างนี้ว่า “นี้ต้นไม้ นี้เงา ต้นไม้เป็นอย่างหนึ่ง เงาก็เป็น
อย่างหนึ่ง แต่ต้นไม้นี้มีเงาเพราะเงานี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นต้นไม้มีเงา ฉันใด บุคคล
บางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาเห็นสัญญา ... สังขาร ... วิญญาณ ...
พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา
แต่ว่าอัตตาของเรานี้มีเวทนาเพราะเวทนานี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นอัตตามีเวทนา
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่น ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็
เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีเวทนาเป็นวัตถุ เป็นอาการที่ ๒
อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นทิฏฐิวิบัติ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ
ปุถุชนพิจารณาเห็นอัตตามีเวทนาอย่างนี้ (๒-๖)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๐๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๒. อัตตานุทิฏฐินิทเทส
ปุถุชนพิจารณาเห็นเวทนาในอัตตา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นสัญญา ... สังขาร ... วิญญาณ ...
พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา
ก็ในอัตตานี้มีเวทนานี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นเวทนาในอัตตา ดอกไม้มีกลิ่นหอม
บุคคลพึงพูดถึงดอกไม้นั้นอย่างนี้ว่า “นี้ดอกไม้ นี้กลิ่นหอม ดอกไม้เป็นอย่างหนึ่ง
กลิ่นหอมก็เป็นอย่างหนึ่ง แต่กลิ่นหอมนี้มีอยู่ในดอกไม้นี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นกลิ่น
หอมในดอกไม้ ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาเห็นสัญญา
... สังขาร ... วิญญาณ ... พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา เขามีความเห็น
อย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา ก็ในอัตตานี้มีเวทนานี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นเวทนาใน
อัตตา ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่น ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ฯลฯ นี้เป็น
อัตตานุทิฏฐิมีเวทนาเป็นวัตถุ เป็นอาการที่ ๓ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็น
ทิฏฐิวิบัติ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ปุถุชนพิจารณาเห็นเวทนา
ในอัตตาอย่างนี้ (๓-๗)
ปุถุชนพิจารณาเห็นอัตตาในเวทนา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นสัญญา ... สังขาร ... วิญญาณ ... พิจารณา
เห็นรูปโดยความเป็นอัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา แต่ว่า
อัตตาของเรานี้มีอยู่ในเวทนานี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นอัตตาในเวทนา ฯลฯ ชื่อว่า
พิจารณาเห็นแก้วมณีในขวด ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณา
เห็นสัญญา ... สังขาร ... วิญญาณ ... พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา
เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา แต่ว่าอัตตาของเรานี้มีอยู่ในเวทนานี้”
ชื่อว่าพิจารณาเห็นอัตตาในเวทนา ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่น ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็
ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิ
มีเวทนาเป็นวัตถุ เป็นอาการที่ ๔ อัตตานุทิฏฐิ เป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นทิฏฐิวิบัติ
ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ปุถุชนพิจารณาเห็นอัตตาในเวทนาอย่างนี้
(๔-๘)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๒. อัตตานุทิฏฐินิทเทส
[๑๓๓] ปุถุชนพิจารณาเห็นสัญญาโดยความเป็นอัตตา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นจักขุสัมผัสสชาสัญญา ... โสต-
สัมผัสสชาสัญญา ... ฆานสัมผัสสชาสัญญา ... ชิวหาสัมผัสสชาสัญญา ... กาย-
สัมผัสสชาสัญญา ... พิจารณาเห็นมโนสัมผัสสชาสัญญาโดยความเป็นอัตตา คือ
พิจารณาเห็นมโนสัมผัสสชาสัญญาและอัตตาไม่เป็นสองว่า “มโนสัมผัสสชาสัญญา
อันใด เราก็อันนั้น เราอันใด มโนสัมผัสสชาสัญญาก็อันนั้น” เมื่อประทีปน้ำมันกำลัง
ลุกโพลงอยู่ บุคคลเห็นเปลวไฟและแสงสว่างไม่เป็นสองว่า “เปลวไฟอันใด แสงสว่าง
ก็อันนั้น แสงสว่างอันใด เปลวไฟก็อันนั้น” ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน พิจารณาเห็นมโนสัมผัสสชาสัญญาโดยความเป็นอัตตา คือ พิจารณา
เห็นมโนสัมผัสสชาสัญญา และอัตตาไม่เป็นสองว่า “มโนสัมผัสสชาสัญญาอันใด
เราก็อันนั้น เราอันใด มโนสัมผัสสชาสัญญาก็อันนั้น” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่น
ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและ
วัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีสัญญาเป็นวัตถุ เป็นอาการที่ ๑ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ
ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ปุถุชนพิจารณาเห็นสัญญาโดยความเป็น
อัตตาอย่างนี้ (๑-๙)
ปุถุชนพิจารณาเห็นอัตตามีสัญญา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นสังขาร ... วิญญาณ ... รูป ...
พิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา
แต่ว่าอัตตาของเรานี้มีสัญญาเพราะสัญญานี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นอัตตามีสัญญา
ต้นไม้มีเงา บุรุษพึงพูดถึงต้นไม้นั้นอย่างนี้ว่า “นี้ต้นไม้ นี้เงา ต้นไม้เป็นอย่างหนึ่ง
เงาก็เป็นอย่างหนึ่ง แต่ต้นไม้นี้มีเงาเพราะเงานี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นต้นไม้มีเงา ฉันใด
บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาเห็นสังขาร ... วิญญาณ ... รูป ...
พิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตา
ของเราแต่ว่าอัตตาของเรานี้มีสัญญาเพราะสัญญานี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นอัตตา
มีสัญญา ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่น ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็น
อย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีสัญญาเป็นวัตถุ
เป็นอาการที่ ๒ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ
ปุถุชนพิจารณาเห็นอัตตามีสัญญาอย่างนี้ (๒-๑๐)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๐๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๒. อัตตานุทิฏฐินิทเทส
ปุถุชนพิจารณาเห็นสัญญาในอัตตา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ พิจารณาเห็นสังขาร ... วิญญาณ ... รูป ...
พิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา
ก็ในอัตตานี้มีสัญญานี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นสัญญาในอัตตา ดอกไม้มีกลิ่นหอม
บุคคลพึงพูดถึงดอกไม้นั้นอย่างนี้ว่า “นี้ดอกไม้ นี้กลิ่นหอม ดอกไม้เป็นอย่างหนึ่ง
กลิ่นหอมก็เป็นอย่างหนึ่ง แต่กลิ่นหอมนี้มีอยู่ในดอกไม้นี้” ชื่อว่าพิจารณา
เห็นกลิ่นหอมในดอกไม้ ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณา
เห็นสังขาร ... วิญญาณ ... รูป ... พิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา เขามี
ความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา ก็ในอัตตานี้มีสัญญานี้” ชื่อว่าพิจารณา
เห็นสัญญาในอัตตา ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่น ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ
ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีสัญญา
เป็นวัตถุ เป็นอาการที่ ๓ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์
แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ปุถุชนพิจารณาเห็นสัญญาในอัตตาอย่างนี้ (๓-๑๑)
ปุถุชนพิจารณาเห็นอัตตาในสัญญา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นสังขาร ... วิญญาณ ... รูป ... พิจารณา
เห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา
แต่ว่าอัตตาของเรานี้มีอยู่ในสัญญานี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นอัตตาในสัญญา แก้วมณี
ที่ใส่ไว้ในขวด บุคคลพึงพูดถึงแก้วมณีนั้นอย่างนี้ว่า “นี้แก้วมณี นี้ขวด แก้วมณีเป็น
อย่างหนึ่ง ขวดก็เป็นอย่างหนึ่ง แต่แก้วมณีนี้มีอยู่ในขวดนี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็น
แก้วมณีในขวด ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาเห็น
สังขาร ... วิญญาณ ... รูป ... พิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา เขามีความ
เห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา แต่ว่าอัตตาของเรานี้มีอยู่ในสัญญานี้” ชื่อว่า
พิจารณาเห็นอัตตาในสัญญา ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่น ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่
ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิ
มีสัญญาเป็นวัตถุ เป็นอาการที่ ๔ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็น
สังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ปุถุชนพิจารณาเห็นอัตตาในสัญญาอย่างนี้ (๔-๑๒)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๐๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๒. อัตตานุทิฏฐินิทเทส
[๑๓๔] ปุถุชนพิจารณาเห็นสังขารโดยความเป็นอัตตา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นจักขุสัมผัสสชาเจตนา ฯลฯ โสต-
สัมผัสสชาเจตนา ฯลฯ ฆานสัมผัสสชาเจตนา ฯลฯ ชิวหาสัมผัสสชาเจตนา ฯลฯ
กายสัมผัสสชาเจตนา ฯลฯ พิจารณาเห็นมโนสัมผัสสชาเจตนาโดยความเป็นอัตตา
คือ พิจารณาเห็นมโนสัมผัสสชาเจตนาและอัตตาไม่เป็นสองว่า “มโนสัมผัสสชา-
เจตนาอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด มโนสัมผัสสชาเจตนาก็อันนั้น” เมื่อประทีป
น้ำมันกำลังลุกโพลงอยู่ บุคคลพิจารณาเห็นเปลวไฟและแสงสว่างไม่เป็นสองว่า
“เปลวไฟอันใด แสงสว่างก็อันนั้น แสงสว่างอันใด เปลวไฟก็อันนั้น” ฉันใด บุคคล
บางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาเห็นมโนสัมผัสสชาเจตนาโดยความ
เป็นอัตตา คือ พิจารณาเห็นมโนสัมผัสสชาเจตนาและอัตตาไม่เป็นสองว่า “มโน-
สัมผัสสชาเจตนาอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด มโนสัมผัสสชาเจตนาก็อันนั้น” ทิฏฐิ
คือความยึดมั่นถือมั่น ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็น
อย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีสังขารเป็นวัตถุ เป็นอาการที่ ๑ อัตตา-
นุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ปุถุชนพิจารณา
เห็นสังขารโดยความเป็นอัตตาอย่างนี้ (๑-๑๓)
ปุถุชนพิจารณาเห็นอัตตามีสังขาร เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นวิญญาณ รูป เวทนา สัญญาโดยความ
เป็นอัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา แต่ว่าอัตตาของเรานี้มี
สังขารเพราะสังขารเหล่านี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นอัตตามีสังขาร ต้นไม้มีเงา บุรุษพึง
พูดถึงต้นไม้นั้นอย่างนี้ว่า “นี้ต้นไม้ นี้เงา ต้นไม้เป็นอย่างหนึ่ง เงาก็เป็นอย่างหนึ่ง
แต่ต้นไม้นี้มีเงาเพราะเงานี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นต้นไม้มีเงา ฉันใด บุคคลบางคน
ในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาเห็นวิญญาณ รูป เวทนา สัญญาโดยความเป็น
อัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา แต่ว่าอัตตาของเรานี้มีสังขาร
เพราะสังขารเหล่านี้” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่น ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ
ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีสังขาร
เป็นวัตถุ เป็นอาการที่ ๒ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์
แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ปุถุชนพิจารณาเห็นอัตตามีสังขารอย่างนี้ (๑-๑๔)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๐๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๒. อัตตานุทิฏฐินิทเทส
ปุถุชนพิจารณาเห็นสังขารในอัตตา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นวิญญาณ รูป เวทนา สัญญาโดยความ
เป็นอัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา ก็ในอัตตานี้มีสังขาร
เหล่านี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นสังขารในอัตตา ดอกไม้มีกลิ่นหอม บุรุษพึงพูดถึง
ดอกไม้นั้นอย่างนี้ว่า “นี้ดอกไม้ นี้กลิ่นหอม ดอกไม้เป็นอย่างหนึ่ง กลิ่นหอมก็เป็น
อย่างหนึ่ง แต่กลิ่นหอมนี้มีอยู่ในดอกไม้นี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นกลิ่นหอมในดอกไม้
ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาเห็นวิญญาณ รูป เวทนา
สัญญา โดยความเป็นอัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา ก็ใน
อัตตานี้มีสังขารเหล่านี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นสังขารในอัตตา ทิฏฐิคือความยึดมั่น
ถือมั่น ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง
ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีสังขารเป็นวัตถุ เป็นอาการที่ ๓ อัตตานุทิฏฐิเป็น
มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ปุถุชนพิจารณาเห็นสังขารใน
อัตตาอย่างนี้ (๓-๑๕)
ปุถุชนพิจารณาเห็นอัตตาในสังขาร เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นวิญญาณ รูป เวทนา สัญญาโดยความ
เป็นอัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา แต่ว่าอัตตาของเรานี้มีอยู่ใน
สังขารนี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นอัตตาในสังขาร แก้วมณีที่ใส่ไว้ในขวด บุรุษพึงพูดถึง
แก้วมณีนั้นอย่างนี้ว่า “นี้แก้วมณี นี้ขวด แก้วมณีเป็นอย่างหนึ่ง ขวดก็เป็นอย่างหนึ่ง
แต่แก้วมณีนี้มีอยู่ในขวดนี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นแก้วมณีในขวด ฉันใด บุคคลบางคน
ในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาเห็นวิญญาณ รูป เวทนา สัญญาโดยความ
เป็นอัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา แต่ว่าอัตตาของเรานี้มีอยู่
ในสังขารเหล่านี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นอัตตาในสังขาร ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่น
ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและ
วัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีสังขารเป็นวัตถุ เป็นอาการที่ ๔ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉา-
ทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ปุถุชนพิจารณาเห็นอัตตาในสังขาร
อย่างนี้ (๔-๑๖)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๐๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๒. อัตตานุทิฏฐินิทเทส
[๑๓๕] ปุถุชนพิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นจักขุวิญญาณ ... โสตวิญญาณ ... ฆาน-
วิญญาณ ... ชิวหาวิญญาณ ... กายวิญญาณ ... พิจารณาเห็นมโนวิญญาณโดย
ความเป็นอัตตา คือ พิจารณาเห็นมโนวิญญาณและอัตตาไม่เป็นสองว่า “มโน-
วิญญาณอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด มโนวิญญาณก็อันนั้น” เมื่อประทีปน้ำมันกำลัง
ลุกโพลงอยู่ บุคคลพิจารณาเห็นเปลวไฟและแสงสว่างไม่เป็นสองว่า “เปลวไฟอันใด
แสงสว่างก็อันนั้น แสงสว่างอันใด เปลวไฟก็อันนั้น” ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็
ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาเห็นมโนวิญญาณโดยความเป็นอัตตา คือ พิจารณาเห็น
มโนวิญญาณและอัตตาไม่เป็นสองว่า “มโนวิญญาณอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด
มโนวิญญาณก็อันนั้น” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่น ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ
ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีวิญญาณ
เป็นวัตถุ เป็นอาการที่ ๑ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์
แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ปุถุชนพิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตาอย่างนี้ (๑-๑๗)
ปุถุชนพิจารณาเห็นอัตตามีวิญญาณ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขารโดยความเป็น
อัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา แต่ว่าอัตตาของเรานี้มีวิญญาณ
เพราะวิญญาณนี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นอัตตามีวิญญาณ ต้นไม้มีเงา บุรุษพึงพูดถึง
ต้นไม้นันอย่างนี้ว่า “นี้ต้นไม้ นี้เงา ต้นไม้นี้เป็นอย่างหนึ่ง เงาก็เป็นอย่างหนึ่ง แต่ต้น
ไม้นี้มีเงาเพราะเงานี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นต้นไม้มีเงา ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน พิจารณาเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขารโดยความเป็นอัตตา เขามีความ
เห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา แต่ว่าอัตตาของเรานี้มีวิญญาณเพราะวิญญาณนี้”
ชื่อว่าพิจารณาเห็นอัตตามีวิญญาณ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่น ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ
วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตา-
นุทิฏฐิมีวิญญาณเป็นวัตถุ เป็นอาการที่ ๒ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้
เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ปุถุชนพิจารณาเห็นอัตตามีวิญญาณอย่างนี้ (๒-๑๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๐๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๒. อัตตานุทิฏฐินิทเทส
ปุถุชนพิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขารโดยความเป็น
อัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา ก็ในอัตตานี้มีวิญญาณเช่นนี้”
ชื่อว่าพิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตา ดอกไม้มีกลิ่นหอม บุรุษพึงพูดถึงดอกไม้นั้นว่า
“นี้ดอกไม้ นี้กลิ่นหอม ดอกไม้เป็นอย่างหนึ่ง กลิ่นหอมก็เป็นอย่างหนึ่ง แต่ว่ากลิ่น
หอมนี้ มีอยู่ในดอกไม้นี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นกลิ่นหอมในดอกไม้ ฉันใด บุคคลบาง
คนในโลกนี้ก็ฉันนั้นหมือนกัน พิจารณาเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขารโดยความเป็น
อัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา ก็ในอัตตานี้มีวิญญาณนี้”
ชื่อว่าพิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตา ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่น ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุ
ก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิ
มีวิญญาณเป็นวัตถุ เป็นอาการที่ ๓ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็น
สังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ปุถุชนพิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตาอย่างนี้ (๓-๑๙)
ปุถุชนพิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขารโดยความ
เป็นอัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา แต่ว่าอัตตาของเรานี้มีอยู่
ในวิญญาณนี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณ แก้วมณีที่ใส่ไว้ในขวด บุรุษพึง
พูดถึงแก้วมณีนั้นอย่างนี้ว่า “นี้แก้วมณี นี้ขวด แก้วมณีเป็นอย่างหนึ่ง ขวดก็เป็น
อย่างหนึ่ง แต่ว่าแก้วมณีนี้มีอยู่ในในขวดนี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นแก้วมณีในขวด ฉันใด
บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร
โดยความเป็นอัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา แต่ว่าอัตตา
ของเรานี้ มีอยู่ในวิญญาณนี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณ ทิฏฐิคือความ
ยึดมั่นถือมั่น ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง
ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีวิญญาณเป็นวัตถุ เป็นอาการที่ ๔ ฯลฯ อัตตา-
นุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ปุถุชนพิจารณาเห็น
อัตตาในวิญญาณอย่างนี้
อัตตานุทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๒๐ อย่างนี้ (๔-๒๐)

อัตตานุทิฏฐินิทเทสที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๓. มิจฉาทิฏฐินิทเทส
๓. มิจฉาทิฏฐินิทเทส
แสดงมิจฉาทิฏฐิ
[๑๓๖] มิจฉาทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๐ อย่าง เป็นอย่างไร
คือ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นแห่งมิจฉาทิฏฐิที่กล่าวถึงวัตถุอย่างนี้ว่า “ทาน
ที่ให้แล้วไม่มีผล” ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็น
อย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิมีวัตถุผิด เป็นอาการที่ ๑ มิจฉาทิฏฐิเป็น
ทิฏฐิวิบัติ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นแห่งมิจฉาทิฏฐิที่กล่าวถึงวัตถุอย่างนี้ว่า “ยัญที่บูชา
แล้วไม่มีผล” ฯลฯ “การเซ่นสรวง ไม่มีผล” ฯลฯ “ผลวิบากแห่งกรรมที่บุคคลทำดี
ทำชั่วไม่มี” ฯลฯ “โลกนี้ไม่มี” ฯลฯ “โลกหน้าไม่มี” ฯลฯ “มารดาไม่มี” ฯลฯ
“บิดาไม่มี” ฯลฯ “โอปปาติกสัตว์๑ไม่มี” ฯลฯ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นแห่งมิจฉาทิฏฐิที่กล่าวถึงวัตถุอย่างนี้ว่า “สมณะและ
พราหมณ์ผู้พร้อมเพรียงกันปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ รู้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยตนเอง
แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ตามไม่มีในโลก” ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็น
อย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิมีความเห็นผิดเป็นวัตถุ
เป็นอาการที่ ๑๐ มิจฉาทิฏฐิเป็นทิฏฐิวิบัติ ฯลฯ บุคคลผู้เพียบพร้อมด้วยมิจฉาทิฏฐิ
ย่อมมีคติเป็น ๒ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ
มิจฉาทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๐ อย่างนี้

มิจฉาทิฏฐินิทเทสที่ ๓ จบ

เชิงอรรถ :
๑ โอปปาติกสัตว์ ในที่นี้หมายถึงสัตว์ที่เกิดและเติบโตเต็มที่ทันที และเมื่อจุติ (ตาย) ก็หายวับไปไม่ทิ้งซาก
ศพไว้ เช่นเทวดาและสัตว์นรก เป็นต้น (ที.สี.อ. ๑๗๑/๑๔๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๑๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๔. สักกายทิฏฐินิทเทส
๔. สักกายทิฏฐินิทเทส
แสดงสักกายทิฏฐิ
[๑๓๗] สักกายทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๒๐ อย่าง เป็นอย่างไร
คือ ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระ
อริยะ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรม
ของสัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็น
อัตตาบ้าง พิจารณาเห็นอัตตามีรูปบ้าง พิจารณาเห็นรูปในอัตตาบ้าง พิจารณาเห็น
อัตตาในรูปบ้าง พิจารณาเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณโดยความเป็นอัตตา
บ้าง พิจารณาเห็นอัตตามีวิญญาณบ้าง พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง พิจารณา
เห็นอัตตาในวิญญาณบ้าง
ปุถุชนพิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นปฐวีกสิณ ฯลฯ พิจารณาเห็นโอทาต-
กสิณ โดยความเป็นอัตตา คือ พิจารณาเห็นโอทาตกสิณและอัตตาไม่เป็นสองว่า
“โอทาตกสิณอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด โอทาตกสิณก็อันนั้น” เมื่อประทีป
น้ำมันกำลังลุกโพลงอยู่ ฯลฯ ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
พิจารณาเห็นโอทาตกสิณ โดยความเป็นอัตตา ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่น ฯลฯ
นี้เป็นสักกายทิฏฐิมีรูปเป็นวัตถุ เป็นอาการที่ ๑ สักกายทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ
เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ปุถุชนพิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา
อย่างนี้ ฯลฯ
สักกายทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๒๐ อย่างนี้

สักกายทิฏฐินิทเทสที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๕. สัสสตทิฏฐินิทเทส
๕. สัสสตทิฏฐินิทเทส
แสดงสัสสตทิฏฐิ
[๑๓๘] สัสสตทิฏฐิที่มีสักกายะเป็นวัตถุ มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๕
อย่าง เป็นอย่างไร
คือ ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของ
พระอริยะ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาด
ในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ พิจารณาเห็นอัตตามี
รูปบ้าง พิจารณาเห็นรูปในอัตตาบ้าง พิจารณาเห็นอัตตาในรูปบ้าง พิจารณาเห็น
อัตตามีเวทนาบ้าง พิจารณาเห็นอัตตามีสัญญาบ้าง พิจารณาเห็นอัตตามีสังขารบ้าง
พิจารณาเห็นอัตตามีวิญญาณบ้าง พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง พิจารณาเห็น
อัตตาในวิญญาณบ้าง
ปุถุชนพิจารณาเห็นอัตตามีรูป เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณโดย
ความเป็นอัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา แต่ว่าอัตตาของ
เรานี้มีรูปเพราะรูปนี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นอัตตามีรูป ต้นไม้มีเงา บุรุษพึงพูดถึงต้นไม้
นั้นอย่างนี้ว่า “นี้ต้นไม้ นี้เงา ต้นไม้เป็นอย่างหนึ่ง เงาก็เป็นอย่างหนึ่ง แต่ต้นไม้นี้
มีเงาเพราะเงานี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นต้นไม้มีเงาฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน พิจารณาเห็นเวทนา ฯลฯ โดยความเป็นอัตตา นี้เป็นสัสสตทิฏฐิที่มี
สักกายะเป็นวัตถุ เป็นอาการที่ ๑ สัสสตทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์
แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ปุถุชนพิจารณาเห็นอัตตามีรูปอย่างนี้ ฯลฯ
สัสสตทิฏฐิที่มีสักกายะเป็นวัตถุ มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๕ อย่างนี้

สัสสตทิฏฐินิทเทสที่ ๕ จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๗. อันตัคคาหิกทิฏฐินิทเทส
๖. อุจเฉททิฏฐินิทเทส
แสดงอุจเฉททิฏฐิ
[๑๓๙] อุจเฉททิฏฐิที่มีสักกายะเป็นวัตถุ มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕ อย่าง
เป็นอย่างไร
คือ ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ
ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรม
ของสัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็น
อัตตา พิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นสัญญาโดยความเป็น
อัตตา พิจารณาเห็นสังขารโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็น
อัตตา
ปุถุชนพิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นปฐวีกสิณ ฯลฯ พิจารณาเห็นโอทาต-
กสิณ โดยความเป็นอัตตา คือ พิจารณาเห็นโอทาตกสิณและอัตตาไม่เป็นสองว่า
“โอทาตกสิณอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด โอทาตกสิณก็อันนั้น” เมื่อประทีปน้ำมัน
กำลังลุกโพลงอยู่ ฯลฯ ฉันใด นี้เป็นอุจเฉททิฏฐิที่มีสักกายะเป็นวัตถุ เป็นอาการที่ ๑
อุจเฉททิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ปุถุชนพิจารณา
เห็นรูปโดยความเป็นอัตตาอย่างนี้ ฯลฯ
อุจเฉททิฏฐิที่มีสักกายะเป็นวัตถุ มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕ อย่างนี้
อุจเฉททิฏฐินิทเทสที่ ๖ จบ

๗. อันตัคคาหิกทิฏฐินิทเทส
แสดงอันตัคคาหิกทิฏฐิ
[๑๔๐] อันตัคคาหิกทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕๐ อย่าง เป็นอย่างไร
คือ อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “โลกเที่ยง” มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร
อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “โลกไม่เที่ยง” ฯลฯ “โลกมีที่สุด” ฯลฯ “โลกไม่มีที่สุด” ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๑๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๗. อันตัคคาหิกทิฏฐินิทเทส
“ชีวะ๑กับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน” ฯลฯ “ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน” ฯลฯ
“หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก” ฯลฯ “หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก” ฯลฯ
“หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มี ไม่เกิดอีกก็มี” ฯลฯ อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า
“หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มิใช่ ไม่เกิดอีกก็มิใช่” มีความยึดมั่นด้วยอาการ
เท่าไร
คือ อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “โลกเที่ยง” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕ อย่าง ฯลฯ
อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มิใช่ ไม่เกิดอีกก็มิใช่”
มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕ อย่าง
อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “โลกเที่ยง” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕ อย่าง
เป็นอย่างไร
คือ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “รูปเป็นโลกและเป็นของเที่ยง” ทิฏฐินั้นถือ
เอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอันตัคคาหิกทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่
ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอันตัคคาหิกทิฏฐิ
ว่า “โลกเที่ยง” เป็นอาการที่ ๑ อันตัคคาหิกทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้
เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “เวทนาเป็นโลกและเป็นของเที่ยง” ฯลฯ “สัญญา
เป็นโลกและเป็นของเที่ยง” ฯลฯ “สังขารเป็นโลกและเป็นของเที่ยง” ฯลฯ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “วิญญาณ เป็นโลกและเป็นของเที่ยง” ทิฏฐินั้น
ถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอันตัคคาหิกทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็
ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอันตัค-
คาหิกทิฏฐิว่า “โลกเที่ยง” เป็นอาการที่ ๕ อันตัคคาหิกทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ
เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “โลกเที่ยง” มีความยึดมั่น
ด้วยอาการ ๕ อย่างนี้ (๕)
อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “โลกไม่เที่ยง” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕ อย่าง เป็น
อย่างไร

เชิงอรรถ :
๑ ชีวะ ในที่นี้หมายถึงวิญญาณอมตะ หรือ อาตมัน (soul) (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑/๑/๑๒๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๗. อันตัคคาหิกทิฏฐินิทเทส
คือ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “รูปเป็นโลกและเป็นของไม่เที่ยง” ทิฏฐินั้น
ถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอันตัคคาหิกทิฏฐิ ฯลฯ นี้เป็นอันตัคคาหิก-
ทิฏฐิว่า “โลกไม่เที่ยง” เป็นอาการที่ ๑ อันตัคคาหิกทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็น
ทิฏฐิวิบัติ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “เวทนาเป็นโลกและเป็นของไม่เที่ยง” ฯลฯ
“สัญญาเป็นโลกและเป็นของไม่เที่ยง” ฯลฯ “สังขารเป็นโลกและเป็นของไม่เที่ยง” ฯลฯ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “วิญญาณเป็นโลกและเป็นของไม่เที่ยง” ทิฏฐิ
นั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอันตัคคาหิกทิฏฐิ อันตัคคาหิกทิฏฐิ
เป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า
“โลกไม่เที่ยง” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕ อย่างนี้ (๕-๑๐)
อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “โลกมีที่สุด” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕ อย่าง เป็น
อย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ทำสีเขียวให้เป็นอารมณ์แผ่ไปสู่โอกาสนิดหน่อย เขามี
ความเห็นอย่างนี้ว่า “โลกนี้มีที่สุดกลม” จึงมีความหมายรู้ว่าโลกมีที่สุด ทิฏฐิคือ
ความยึดมั่นถือมั่นว่า “กสิณที่แผ่ไปเป็นวัตถุและเป็นโลก จิตที่เป็นเหตุให้กสิณแผ่ไป
เป็นอัตตาและเป็นโลก” ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
อันตัคคาหิกทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็น
อย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “โลกมีที่สุด” เป็นอาการที่ ๑
อันตัคคาหิกทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ
บุคคลบางคนในโลกนี้ทำสีเหลืองให้เป็นอารมณ์แผ่ไป ฯลฯ ทำสีแดงให้เป็น
อารมณ์แผ่ไป ฯลฯ ทำสีขาวให้เป็นอารมณ์แผ่ไป ฯลฯ
บุคคลบางคนในโลกนี้ทำแสงสว่างให้เป็นอารมณ์แผ่ไปสู่โอกาสนิดหน่อย
เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “โลกนี้มีที่สุดกลม” จึงมีความหมายรู้ว่าโลกมีที่สุด ทิฏฐิ
คือความยึดมั่นถือมั่นว่า “กสิณที่แผ่ไปเป็นวัตถุและเป็นโลก จิตที่เป็นเหตุให้กสิณ
แผ่ไปเป็นอัตตาและเป็นโลก” ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
อันตัคคาหิกทิฏฐิ ฯลฯ อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “โลกมีที่สุด” มีความยึดมั่นด้วย
อาการ ๕ อย่างนี้ (๕-๑๕)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๑๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๗. อันตัคคาหิกทิฏฐินิทเทส
อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “โลกไม่มีที่สุด” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕ อย่าง
เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ทำสีเขียวแผ่ไปสู่โอกาสกว้าง เขามีความเห็นอย่าง
นี้ว่า “โลกนี้ไม่มีที่สุด หาที่สุดมิได้” จึงมีความหมายรู้ว่าโลกไม่มีที่สุด ทิฏฐิคือความ
ยึดมั่นถือมั่นว่า “กสิณที่แผ่ไปเป็นวัตถุและเป็นโลก จิตที่เป็นเหตุให้กสิณแผ่ไปเป็น
อัตตาและเป็นโลก” ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอันตัคคาหิก-
ทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิ
และวัตถุนี้เป็นอันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “โลกไม่มีที่สุด” เป็นอาการที่ ๑ อันตัคคาหิก-
ทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ
บุคคลบางคนในโลกนี้ทำสีเหลือง ฯลฯ สีแดง ฯลฯ สีขาว ฯลฯ บุคคล
บางคนในโลกนี้ทำแสงสว่างแผ่ไปสู่โอกาสอันกว้าง เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “โลก
นี้ไม่มีที่สุด หาที่สุดมิได้” จึงมีความหมายรู้ว่าโลกไม่มีที่สุด ทิฏฐิคือความยึดมั่น
ถือมั่นว่า “กสิณที่แผ่ไปเป็นวัตถุและเป็นโลก จิตที่เป็นเหตุให้กสิณแผ่ไปเป็นอัตตา
และเป็นโลก” ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอันตัคคาหิกทิฏฐิ ฯลฯ
อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “โลกไม่มีที่สุด” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕ อย่างนี้ (๕-๒๐)
อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน” มีความยึดมั่นด้วย
อาการ ๕ อย่าง เป็นอย่างไร
คือ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “รูปเป็นชีวะและเป็นสรีระ ชีวะอันใด สรีระ
ก็อันนั้น สรีระอันใด ชีวะก็อันนั้น” ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
อันตัคคาหิกทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็น
อย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน”
เป็นอาการที่ ๑ อันตัคคาหิกทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่
เป็นทิฏฐิ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “เวทนาเป็นชีวะและเป็นสรีระ ...” ฯลฯ “สัญญา
เป็นชีวะและเป็นสรีระ ...” ฯลฯ “สังขารเป็นชีวะและเป็นสรีระ ...” ฯลฯ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “วิญญาณเป็นชีวะและเป็นสรีระ ชีวะอันใด
สรีระก็อันนั้น สรีระอันใด ชีวะก็อันนั้น” ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่าอันตัคคาหิกทิฏฐิ ฯลฯ อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน”
มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕ อย่างนี้ (๕-๒๕)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๗. อันตัคคาหิกทิฏฐินิทเทส
อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน” มีความยึดมั่นด้วย
อาการ ๕ อย่าง เป็นอย่างไร
คือ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “รูปเป็นสรีระ ไม่ใช่ชีวะ รูปนั้นเป็นสรีระ
ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน” ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
อันตัคคาหิกทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็น
อย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน”
เป็นอาการที่ ๑ อันตัคคาหิกทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “เวทนาเป็นสรีระ ไม่ใช่ชีวะ ...” ฯลฯ “สัญญา
เป็นสรีระ ไม่ใช่ชีวะ ...” ฯลฯ “สังขารเป็นสรีระ ไม่ใช่ชีวะ ...” ฯลฯ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “วิญญาณเป็นสรีระ ไม่ใช่ชีวะ วิญญาณนั้นเป็น
สรีระ ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน” ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่าอันตัคคาหิกทิฏฐิ ฯลฯ อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่าง
กัน” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕ อย่างนี้ (๕-๓๐)
อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มี” มีความยึดมั่น
ด้วยอาการ ๕ อย่าง เป็นอย่างไร
คือ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “รูปต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แน่นอน
หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกบ้าง ดำรงอยู่บ้าง ถือกำเนิดบ้าง บังเกิดบ้าง”
ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอันตัคคาหิกทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ
วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็น
อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มี” เป็นอาการที่ ๑
อันตัคคาหิกทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “เวทนาต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แน่นอน ...”
ฯลฯ “สัญญาต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แน่นอน ...” ฯลฯ “สังขารต้องตายเป็น
ธรรมดาในโลกนี้แน่นอน ...” ฯลฯ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “วิญญาณต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แน่นอน
หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกบ้าง ดำรงอยู่บ้าง ถือกำเนิดบ้าง บังเกิดบ้าง” ทิฏฐิ
นั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอันตัคคาหิกทิฏฐิ ฯลฯ อันตัค-
คาหิกทิฏฐิว่า “หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มี” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕
อย่างนี้ (๕-๓๕)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๗. อันตัคคาหิกทิฏฐินิทเทส
อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีกก็มี” มีความยึดมั่น
ด้วยอาการ ๕ อย่าง เป็นอย่างไร
คือ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “รูปต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แน่นอน
หลังจากตายแล้วตถาคตย่อมขาดสูญ พินาศไป ไม่เกิดอีก” ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุด
เช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอันตัคคาหิกทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ
ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอันตัคคาหิกทิฏฐิว่า
“หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีกก็มี” เป็นอาการที่ ๑ อันตัคคาหิกทิฏฐิเป็น
มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “เวทนาต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แน่นอน ...”
ฯลฯ “สัญญาต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แน่นอน ...” ฯลฯ “สังขารต้องตายเป็น
ธรรมดาในโลกนี้แน่นอน ...” ฯลฯ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “วิญญาณต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แน่นอน
หลังจากตายแล้วตถาคตย่อมขาดสูญ พินาศไป ไม่เกิดอีก” ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุด
เช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอันตัคคาหิกทิฏฐิ ฯลฯ อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “หลังจาก
ตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕ อย่างนี้ (๕-๔๐)
อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มี ไม่เกิดอีกก็มี”
มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕ อย่าง เป็นอย่างไร
คือ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “รูปต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แน่นอน
หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มี ไม่เกิดอีกก็มี” ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอันตัคคาหิกทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็น
อย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “หลังจาก
ตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มี ไม่เกิดอีกก็มี” เป็นอาการที่ ๑ อันตัคคาหิกทิฏฐิเป็น
มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “เวทนาต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แน่นอน ...”
ฯลฯ “สัญญาต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แน่นอน ...” ฯลฯ “สังขารต้องตายเป็น
ธรรมดาในโลกนี้แน่นอน ...” ฯลฯ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “วิญญาณต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แน่นอน
หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มี ไม่เกิดอีกก็มี” ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอันตัคคาหิกทิฏฐิ ฯลฯ อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “หลังจากตาย
แล้วตถาคตเกิดอีกก็มี ไม่เกิดอีกก็มี” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕ อย่างนี้ (๕-๔๕)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๑๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๘. ปุพพันตานุทิฏฐินิทเทส
อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มิใช่ ไม่เกิดอีกก็
มิใช่” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕ อย่าง เป็นอย่างไร
คือ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “รูปต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แน่นอน
หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มิใช่ ไม่เกิดอีกก็มิใช่” ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอันตัคคาหิกทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็น
อย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “หลังจาก
ตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มิใช่ ไม่เกิดอีกก็มิใช่” เป็นอาการที่ ๑ อันตัคคาหิกทิฏฐิ
เป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “เวทนาต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แน่นอน ...”
ฯลฯ “สัญญาต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แน่นอน ...” ฯลฯ “สังขารต้องตายเป็น
ธรรมดาในโลกนี้แน่นอน ...” ฯลฯ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “วิญญาณต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แน่นอน
หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มิใช่ ไม่เกิดอีกก็มิใช่” ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอันตัคคาหิกทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็น
อย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “หลังจาก
ตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มิใช่ ไม่เกิดอีกก็มิใช่” เป็นอาการที่ ๕ อันตัคคาหิกทิฏฐิ
เป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า
“หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มิใช่ ไม่เกิดอีกก็มิใช่” มีความยึดมั่นด้วยอาการ
๕ อย่างนี้
อันตัคคาหิกทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕๐ อย่างนี้ (๕๐)
อันตัคคาหิกทิฏฐินิทเทสที่ ๗ จบ

๘. ปุพพันตานุทิฏฐินิทเทส
แสดงปุพพันตานุทิฏฐิ
[๑๔๑] ปุพพันตานุทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๘ อย่าง อะไรบ้าง
คือ สัสสตวาทะ (ลัทธิที่ถือว่าอัตตาและโลกเที่ยง) มี ๔ ลัทธิ
เอกัจจสัสสติกวาทะ (ลัทธิที่ถือว่าบางอย่างเที่ยง) มี ๔ ลัทธิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๒๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๙. อปรันตานุทิฏฐินิทเทส

อันตานันติกวาทะ (ลัทธิที่ถือว่าโลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด) มี ๔ ลัทธิ
อมราวิกเขปิกวาทะ (ลัทธิที่พูดหลบเลี่ยงไม่แน่นอนตายตัว) มี ๔ ลัทธิ
อธิจจสมุปปันนิกวาทะ (ลัทธิที่ถือว่าอัตตาและโลกเกิดขึ้นเองไม่มีเหตุ-
ปัจจัย) มี ๒ ลัทธิ

ปุพพันตานุทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๘ อย่างนี้
ปุพพันตานุทิฏฐินิทเทสที่ ๘ จบ

๙. อปรันตานุทิฏฐินิทเทส
แสดงอปรันตานุทิฏฐิ
[๑๔๒] อปรันตานุทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๔๔ อย่าง อะไรบ้าง

คือ สัญญีวาทะ (ลัทธิที่ถือว่าหลังจากตายแล้วอัตตามีสัญญา)
มี ๑๖ ลัทธิ
อสัญญีวาทะ (ลัทธิที่ถือว่าหลังจากตายแล้วอัตตาไม่มีสัญญา)
มี ๘ ลัทธิ
เนวสัญญีนาสัญญีวาทะ (ลัทธิที่ถือว่าหลังจากตายแล้วอัตตามีสัญญาก็
มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่) มี ๘ ลัทธิ
อุจเฉทวาทะ (ลัทธิที่ถือว่าหลังจากตายแล้วอัตตาขาดสูญ)
มี ๗ ลัทธิ
ทิฏฐธัมมนิพพานวาทะ (ลัทธิที่ถือว่ามีสภาวะบางอย่างเป็นนิพพานใน
ปัจจุบัน) มี ๕ ลัทธิ

อปรันตานุทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๔๔ อย่างนี้
อปรันตานุทิฏฐินิทเทสที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๒๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๑๐-๑๒. สัญโญชนิกาทิทิฏฐินิทเทส
๑๐-๑๒. สัญโญชนิกาทิทิฏฐินิทเทส
แสดงสัญโญชนิกาทิทิฏฐิ
[๑๔๓] สัญโญชนิกาทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๘ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. การตกอยู่ในทิฏฐิ ๒. ความรกชัฏคือทิฏฐิ
ฯลฯ๑
๑๗. ความยึดมั่นคือทิฏฐิ ๑๘. ความถือมั่นคือทิฏฐิ
สัญโญชนิกาทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๘ อย่างนี้
[๑๔๔] มานวินิพันธาทิฏฐิว่า “เป็นเรา” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๘ อย่าง
เป็นอย่างไร
คือ ความยึดมั่นถือมั่นว่า “จักขุเป็นเรา” ชื่อว่ามานวินิพันธาทิฏฐิว่า “เป็นเรา”
ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและ
วัตถุนี้เป็นมานวินิพันธาทิฏฐิว่า “เป็นเรา” เป็นอาการที่ ๑ มานวินิพันธาทิฏฐิเป็น
มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ
ความยึดมั่นถือมั่นว่า “โสตะเป็นเรา” ชื่อว่ามานวินิพันธาทิฏฐิว่า “เป็นเรา”
ฯลฯ ความยึดมั่นถือมั่นว่า “ฆานะเป็นเรา” ฯลฯ “ชิวหาเป็นเรา” ฯลฯ “กาย
เป็นเรา” ฯลฯ “มโนเป็นเรา” ฯลฯ “รูปเป็นเรา” ฯลฯ “ธรรมารมณ์เป็นเรา” ฯลฯ
“จักขุวิญญาณเป็นเรา” ฯลฯ
ความยึดมั่นถือมั่นว่า “มโนวิญญาณเป็นเรา” ชื่อว่ามานวินิพันธาทิฏฐิว่า
“เป็นเรา” ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง
ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นมานวินิพันธาทิฏฐิว่า “เป็นเรา” เป็นอาการที่ ๑๘ มานวินิพันธา-
ทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ มานวินิพันธาทิฏฐิว่า
“เป็นเรา” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๘ อย่างนี้
[๑๔๕] มานวินิพันธาทิฏฐิว่า “ของเรา” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๘
อย่าง เป็นอย่างไร

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มข้อ ๑๒๕ หน้า ๑๙๓ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๑๓. อัตตวาทปฏิสังยุตตทิฏฐินิทเทส
คือ ความยึดมั่นถือมั่นว่า “จักขุของเรา” ชื่อว่ามานวินิพันธาทิฏฐิว่า “ของเรา”
ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและ
วัตถุนี้เป็นมานวินิพันธาทิฏฐิว่า “ของเรา” เป็นอาการที่ ๑ มานวินิพันธาทิฏฐิเป็น
มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ
ความยึดมั่นถือมั่นว่า “โสตะของเรา” ชื่อว่ามานวินิพันธาทิฏฐิว่า “ของเรา”
ฯลฯ ความยึดมั่นถือมั่นว่า “ฆานะของเรา” ฯลฯ “ชิวหาของเรา” ฯลฯ “มโน
ของเรา” ฯลฯ “ธรรมารมณ์ของเรา” ฯลฯ “จักขุวิญญาณของเรา” ฯลฯ
ความยึดมั่นถือมั่นว่า “มโนวิญญาณของเรา” ชื่อว่ามานวินิพันธาทิฏฐิว่า
“ของเรา” ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ฯลฯ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็น
อย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นมานวินิพันธาทิฏฐิว่า “ของเรา” เป็นอาการที่ ๑๘
มานวินิพันธาทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ มาน-
วินิพันธาทิฏฐิว่า “ของเรา” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๘ อย่างนี้
สัญโญชนิกาทิทิฏฐินิทเทสที่ ๑๐-๑๒ จบ

๑๓. อัตตวาทปฏิสังยุตตทิฏฐินิทเทส
แสดงอัตตวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิ
[๑๔๖] อัตตวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๒๐ อย่าง
เป็นอย่างไร
คือ ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระ
อริยะ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรม
ของสัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็น
อัตตาบ้าง พิจารณาเห็นอัตตามีรูปบ้าง พิจารณาเห็นรูปในอัตตาบ้าง พิจารณาเห็น
อัตตาในรูปบ้าง ฯลฯ พิจารณาเห็นเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ พิจารณา
เห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง พิจารณาเห็นอัตตามีวิญญาณบ้าง พิจารณา
เห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง พิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณบ้าง
ปุถุชนพิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นปฐวีกสิณ ฯลฯ พิจารณาเห็นโอทาต-
กสิณโดยความเป็นอัตตา คือ พิจารณาเห็นโอทาตกสิณและอัตตาไม่เป็นสองว่า


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๑๔. โลกวาทปฏิสังยุตตทิฏฐินิทเทส
“โอทาตกสิณอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด โอทาตกสิณก็อันนั้น เมื่อประทีปน้ำมัน
กำลังลุกโพลงอยู่ บุคคลพิจารณาเห็นเปลวไฟและแสงสว่างไม่เป็นสอง ฯลฯ ฉันใด
บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาเห็นโอทาตกสิณโดยความเป็น
อัตตา ฯลฯ นี้เป็นอัตตวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิมีรูปเป็นวัตถุ เป็นอาการที่ ๑ อัตตวาท-
ปฏิสังยุตตทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ อัตตวาท-
ปฏิสังยุตตทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๒๐ อย่างนี้
อัตตวาทปฏิสังยุตตทิฏฐินิทเทสที่ ๑๓ จบ

๑๔. โลกวาทปฏิสังยุตตทิฏฐินิทเทส
แสดงโลกวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิ
[๑๔๗] โลกวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๘ อย่าง เป็น
อย่างไร
คือ ความยึดมั่นถือมั่นว่า “อัตตาและโลกเที่ยง” ชื่อว่าโลกวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิ
ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุ
นี้เป็นโลกวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิ เป็นอาการที่ ๑ โลกวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ
ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ
ความยึดมั่นถือมั่นว่า “อัตตาและโลกไม่เที่ยง” ชื่อว่าโลกวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิ
ฯลฯ ความยึดมั่นถือมั่นว่า “อัตตาและโลกเที่ยงก็มี ไม่เที่ยงก็มี” ฯลฯ “อัตตาและ
โลกเที่ยงก็ไม่ใช่ ไม่เที่ยงก็ไม่ใช่” ฯลฯ “อัตตาและโลกมีที่สุดก็มี” ฯลฯ “อัตตาและ
โลกไม่มีที่สุดก็มี” ฯลฯ “อัตตาและโลกมีที่สุดก็มีไม่มีที่สุดก็มี” ฯลฯ
ความยึดมั่นถือมั่นว่า “อัตตาและโลกมีที่สุดก็ไม่ใช่ ไม่มีที่สุดก็ไม่ใช่” ชื่อว่า
โลกวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุ
ก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นโลกวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิ เป็นอาการที่ ๘
โลกวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ
โลกวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๘ อย่างนี้
โลกวาทปฏิสังยุตตทิฏฐินิทเทสที่ ๑๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๒๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๑๕-๑๖. ภววิภวทิฏฐินิทเทส
๑๕-๑๖. ภววิภวทิฏฐินิทเทส
แสดงภววิภวทิฏฐิ
[๑๔๘] ความยึดมั่นด้วยการติดอยู่ เป็นภวทิฏฐิ๑ ความยึดมั่นด้วยการแล่น
เลยไป เป็นวิภวทิฏฐิ๒
อัสสาททิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๓๕ อย่าง เป็นภวทิฏฐิเท่าไร เป็น
วิภวทิฏฐิเท่าไร
อัตตานุทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๒๐ อย่าง เป็นภวทิฏฐิเท่าไร เป็น
วิภวทิฏฐิเท่าไร ฯลฯ
โลกวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๘ อย่าง เป็นภวทิฏฐิเท่าไร
เป็นวิภวทิฏฐิเท่าไร
คือ อัสสาททิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๓๕ อย่าง เป็นภวทิฏฐิก็มี
เป็นวิภวทิฏฐิก็มี
อัตตานุทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๒๐ อย่าง เป็นภวทิฏฐิ ๑๕ เป็น
วิภวทิฏฐิ ๕
มิจฉาทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๐ อย่าง เป็นวิภวทิฏฐิทั้งหมด
สักกายทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๒๐ อย่าง เป็นภวทิฏฐิ ๑๕ เป็น
วิภวทิฏฐิ ๕
สัสสตทิฏฐิที่มีสักกายะเป็นวัตถุมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๕ อย่าง เป็น
ภวทิฏฐิทั้งหมด
อุจเฉททิฏฐิที่มีสักกายะเป็นวัตถุมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕ อย่าง เป็น
วิภวทิฏฐิทั้งหมด
อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “โลกเที่ยง” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕ อย่าง เป็น
ภวทิฏฐิทั้งหมด

เชิงอรรถ :
๑ ภวทิฏฐิ หมายถึงสัสสตทิฏฐิ (ขุ.ป.อ. ๒/๑๔๘/๗๐)
๒ วิภวทิฏฐิ หมายถึงอุจเฉททิฏฐิ (ขุ.ป.อ. ๒/๑๔๘/๗๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๑๕-๑๖. ภววิภวทิฏฐินิทเทส
อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “โลกไม่เที่ยง” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕ อย่าง เป็น
วิภวทิฏฐิทั้งหมด
อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “โลกมีที่สุด” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕ อย่าง เป็น
ภวทิฏฐิก็มี เป็นวิภวทิฏฐิก็มี
อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “โลกไม่มีที่สุด” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕ อย่าง เป็น
ภวทิฏฐิก็มี เป็นวิภวทิฏฐิก็มี
อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน” มีความยึดมั่นด้วย
อาการ ๕ อย่าง เป็นวิภวทิฏฐิทั้งหมด
อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน” มีความยึดมั่น
ด้วยอาการ ๕ อย่าง เป็นภวทิฏฐิทั้งหมด
อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก” มีความยึดมั่น
ด้วยอาการ ๕ อย่าง เป็นภวทิฏฐิทั้งหมด
อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก” มีความยึดมั่น
ด้วยอาการ ๕ อย่าง เป็นวิภวทิฏฐิทั้งหมด
อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มี ไม่เกิดอีกก็มี”
มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕ อย่าง เป็นภวทิฏฐิก็มี เป็นวิภวทิฏฐิก็มี
อปรันตานุทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๔๔ อย่าง เป็นภวทิฏฐิก็มี เป็น
วิภวทิฏฐิก็มี
สัญโญชนิกาทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๘ อย่าง เป็นภวทิฏฐิก็มี เป็น
วิภวทิฏฐิก็มี
มานวินิพันธาทิฏฐิว่า “เป็นเรา” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๘ อย่าง เป็น
วิภวทิฏฐิทั้งหมด
มานวินิพันธาทิฏฐิว่า “ของเรา” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๘ อย่าง เป็น
ภวทิฏฐิทั้งหมด


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๑๕-๑๖. ภววิภวทิฏฐินิทเทส
อัตตวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๒๐ อย่าง เป็นภว-
ทิฏฐิ ๑๕ เป็นวิภวทิฏฐิ ๕
โลกวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๘ อย่าง เป็นภวทิฏฐิก็มี
เป็นวิภวทิฏฐิก็มี
ทิฏฐิทั้งหมด เป็นอัตตานุทิฏฐิ เป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นสักกายทิฏฐิ เป็น
อันตัคคาหิกทิฏฐิ เป็นสัญโญชนิกาทิฏฐิ เป็นอัตตวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิ
ชนเหล่าใดกล่าวโดยการคาดคะเน
ยึดถือทิฏฐิทั้ง ๒ คือ ภวทิฏฐิและวิภวทิฏฐิ
ญาณในนิโรธย่อมไม่มีแก่ชนเหล่านั้น
สัตว์โลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก
มีสัญญาวิปริตว่าเป็นทุกข์ในนิโรธที่เป็นสุขใด
ในนิโรธนั้นไม่มีญาณ เพราะมีสัญญาวิปริต
ว่าเป็นทุกข์ ดังนี้
[๑๔๙] ภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์ผู้ถูกทิฏฐิ ๒ อย่างนี้กลุ้มรุมแล้ว
พวกหนึ่งติดอยู่ พวกหนึ่งแล่นเลยไป ส่วนผู้มีจักษุย่อมเห็น
เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่งติดอยู่ เป็นอย่างไร
คือ เทวดาและมนุษย์ผู้ชอบภพ ยินดีในภพ บันเทิงอยู่ในภพ จิตของเทวดาและ
มนุษย์เหล่านั้นย่อมแล่นเลยไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในธรรมที่เราแสดง
เพื่อความดับภพ ภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่งติดอยู่อย่างนี้
เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่งแล่นเลยไป เป็นอย่างไร
คือ เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่ง อึดอัด ระอา รังเกียจภพ ยินดีปรารถนาวิภพว่า
“ชาวเราเอ๋ย ได้ยินว่า เมื่อใด อัตตาหลังจากตายแล้วย่อมขาดสูญ พินาศไป เมื่อนั้น
อัตตาหลังจากตายแล้วย่อมไม่เกิดอีก” เพราะฉะนั้น ความไม่เกิดอีกนี้ละเอียด
ประณีตตามที่มี ภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่งแล่นเลยไปอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๑๕-๑๖. ภววิภวทิฏฐินิทเทส
ส่วนผู้มีจักษุย่อมเห็น เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเห็นภูตะ๑โดยความเป็นภูตะ ครั้นแล้วย่อมปฏิบัติ
เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับภูตะ ภิกษุทั้งหลาย ผู้มีจักษุย่อมเห็น
อย่างนี้
ถ้าภิกษุใดเห็นภูตะโดยความเป็นภูตะ
และก้าวล่วงภูตะได้แล้ว
ย่อมน้อมไปในธรรมตามความเป็นจริง
เพราะความหมดสิ้นแห่งภวตัณหา
ภิกษุนั้นกำหนดรู้ภูตะได้แล้ว
ปราศจากตัณหาในภพน้อยภพใหญ่
ย่อมไม่มาสู่ภพใหม่ เพราะไม่มีภูตะ ดังนี้
[๑๕๐] บุคคล ๓ จำพวกมีทิฏฐิวิบัติ บุคคล ๓ จำพวกมีทิฏฐิสมบัติ
บุคคลผู้มีทิฏฐิวิบัติ ๓ จำพวก ไหนบ้าง คือ
๑. เดียรถีย์
๒. สาวกของเดียรถีย์
๓. บุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ
บุคคล ๓ จำพวกนี้มีทิฏฐิวิบัติ
บุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติ ๓ จำพวก ไหนบ้าง คือ
๑. พระตถาคต
๒. สาวกของพระตถาคต
๓. บุคคลผู้เป็นสัมมาทิฏฐิ
บุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติ ๓ จำพวกนี้

เชิงอรรถ :
๑ ภูตะ ในที่นี้หมายถึงทุกข์ (ขุ.ป.อ. ๒/๑๔๙/๗๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๑๕-๑๖. ภววิภวทิฏฐินิทเทส
นรชนใดเป็นคนมักโกรธ
ผูกโกรธ มีความลบหลู่อันชั่วร้าย
มีทิฏฐิวิบัติ เจ้าเล่ห์
พึงรู้จักนรชนนั้นว่า เป็นคนเลว
นรชนใดไม่เป็นคนมักโกรธ
ไม่ผูกโกรธ ไม่ลบหลู่คุณท่าน
ถึงความเป็นผู้บริสุทธิ์ มีทิฏฐิสมบัติ มีปัญญา
พึงรู้จักนรชนนั้นว่า เป็นผู้ประเสริฐ ดังนี้
ทิฏฐิวิบัติ ๓ ประการ ทิฏฐิสมบัติ ๓ ประการ
ทิฏฐิวิบัติ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทิฏฐิวิบัติว่า “นั่นของเรา”
๒. ทิฏฐิวิบัติว่า “เราเป็นนั่น”
๓. ทิฏฐิวิบัติว่า “นั่นเป็นอัตตาของเรา”
ทิฏฐิวิบัติ ๓ ประการนี้
ทิฏฐิสมบัติ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทิฏฐิสมบัติว่า “นั่นไม่ใช่ของเรา”
๒. ทิฏฐิสมบัติว่า “เราไม่เป็นนั่น”
๓. ทิฏฐิสมบัติว่า “นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา”
ทิฏฐิสมบัติ ๓ ประการนี้
การถือว่า “นั่นของเรา” เป็นทิฏฐิอะไร เป็นทิฏฐิเท่าไร ทิฏฐิเหล่านั้นตามถือ
ส่วนสุดอันไหน
การถือว่า “เราเป็นนั่น” เป็นทิฏฐิอะไร เป็นทิฏฐิเท่าไร ทิฏฐิเหล่านั้นตามถือ
ส่วนสุดอันไหน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๑๕-๑๖. ภววิภวทิฏฐินิทเทส
การถือว่า “นั่นเป็นอัตตาของเรา” เป็นทิฏฐิอะไร เป็นทิฏฐิเท่าไร ทิฏฐิเหล่านั้น
ตามถือส่วนสุดอันไหน
การถือว่า “นั่นของเรา” เป็นปุพพันตานุทิฏฐิ เป็นทิฏฐิ ๑๘ ทิฏฐิเหล่านั้นตามถือ
ขันธ์ส่วนอดีต
การถือว่า “เราเป็นนั่น” เป็นอปรันตานุทิฏฐิ เป็นทิฏฐิ ๔๔ ทิฏฐิเหล่านั้น
ตามถือขันธ์ส่วนอนาคต
การถือว่า “นั่นเป็นอัตตาของเรา” เป็นอัตตานุทิฏฐิมีวัตถุ ๒๐ เป็นสักกาย-
ทิฏฐิมีวัตถุ ๒๐ ทิฏฐิ ๖๒ มีสักกายทิฏฐิเป็นประธาน ทิฏฐิเหล่านั้นตามถือขันธ์
ส่วนอดีตและส่วนอนาคต
[๑๕๑] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเป็นผู้มีความเชื่อในเรา
บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิเหล่านั้น
๕ จำพวกสำเร็จในโลกนี้ ๕ จำพวกละโลกนี้แล้วจึงสำเร็จ
บุคคล ๕ จำพวกไหนสำเร็จในโลกนี้ คือ

๑. สัตตักขัตตุปรมโสดาบัน๑ ๒. โกลังโกลโสดาบัน๒
๓. เอกพีชีโสดาบัน๓ ๔. พระสกทาคามี๔
๕. พระอรหันต์ในปัจจุบัน

บุคคล ๕ จำพวกนี้สำเร็จในโลกนี้

เชิงอรรถ :
๑ สัตตักขัตตุปรมโสดาบัน หมายถึงพระโสดาบันผู้ละสังโยชน์เบื้องต่ำ ๓ ประการได้แล้ว เป็นผู้ไม่ตกไปใน
อบาย ๔ มีความแน่นอนที่จะตรัสรู้มรรค ๓ เบื้องสูง (องฺ.ติก.อ. ๒/๘๓/๒๔๒) เมื่อจะเกิดในภพใหม่เป็นเทวดา
หรือมนุษย์ก็เกิดได้ไม่เกิน ๗ ครั้ง (อภิ.ปุ.(แปล) ๓๖/๓๑/๑๒๒, อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๑/๕๓)
๒ โกลังโกลโสดาบัน หมายถึงพระโสดาบันผู้เมื่อจะเกิดในภพใหม่เป็นเทวดาหรือมนุษย์ก็เกิดได้ ๒ หรือ
๓ ภพ และถ้าเกิดเป็นมนุษย์ก็ไม่เกิดในตระกูลต่ำ คือเกิดในตระกูลที่มีโภคสมบัติมากเท่านั้น (อภิ.ปุ.(แปล)
๓๖/๓๑/๑๒๒-๓, อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๑/๕)
๓ เอกพีชีโสดาบัน หมายถึงผู้มีพืชคืออัตภาพเดียว คือเกิดครั้งเดียวก็จะบรรลุพระอรหันต์ (องฺ.ติก.อ.
๒/๘๘/๒๔๒, องฺ.ติก.ฏีกา ๒/๘๘/๒๓๗)
๔ พระสกทาคามี หมายถึงผู้กลับมาสู่กามภพอีกครั้งเดียวด้วยสามารถปฏิสนธิ (ขุ.ป.อ. ๒/๑๕๑/๗๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๑๕-๑๖. ภววิภวทิฏฐินิทเทส
บุคคล ๕ จำพวกไหนละโลกนี้แล้วจึงสำเร็จ คือ
๑. อันตราปรินิพพายีอนาคามีบุคคล๑
๒. อุปหัจจปรินิพพายีอนาคามีบุคคล๒
๓. อสังขารปรินิพพายีอนาคามีบุคคล๓
๔. สสังขารปรินิพพายีอนาคามีบุคคล๔
๕. อุทธังโสโตอกนิฏฐคามีอนาคามีบุคคล๕
บุคคล ๕ จำพวกนี้ละโลกนี้แล้วจึงสำเร็จ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเป็นผู้มีความเชื่อในเรา บุคคลเหล่านั้น
ทั้งหมดเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิเหล่านั้น ๕ จำพวกนี้
สำเร็จในโลกนี้ ๕ จำพวกนี้ละโลกนี้แล้วจึงสำเร็จ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง เป็นผู้มีความเลื่อมใสไม่คลอนแคลน
ในเรา บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นพระโสดาบัน พระโสดาบันเหล่านั้น ๕ จำพวก
สำเร็จในโลกนี้ ๕ จำพวกละโลกนี้แล้วจึงสำเร็จ

เชิงอรรถ :
๑ อันตราปรินิพพายีอนาคามีบุคคล หมายถึงพระอนาคามีผู้ปรินิพพานในระหว่าง คือเกิดในสุทธาวาส
ภพใดภพหนึ่งแล้ว อายุยังไม่ถึงกึ่งก็ปรินิพพาน มี ๓ จำพวก คือ พวกที่ ๑ เกิดในชั้นสุทธาวาสอวิหาซึ่ง
มีอายุ ๑,๐๐๐ กัป แต่ก็บรรลุพระอรหัตตผลในวันที่เกิด ถ้าไม่บรรลุในวันที่เกิดก็บรรลุภายใน ๑๐๐ กัป
พวกที่ ๒ เมื่อไม่สามารถบรรลุพระอรหัตตผลในวันที่เกิดก็บรรลุไม่เกินภายใน ๒๐๐ กัป พวกที่ ๓ บรรลุ
พระอรหัตตผลไม่เกินภายใน ๔๐๐ กัป (องฺ.ติก.อ. ๒/๘๘/๒๔๓)
๒ อุปหัจจปรินิพพายีอนาคามีบุคคล หมายถึงพระอนาคามีผู้เกิดในสุทธาวาสภพใดภพหนึ่งแล้วจวนถึง
ปรินิพพาน คืออายุพ้นกึ่งแล้วจวนถึงสิ้นอายุจึงปรินิพพาน (องฺ.ติก.อ. ๒/๘๘/๒๔๓)
๓ อสังขารปรินิพพายีอนาคามีบุคคล หมายถึงพระอนาคามีผู้ปรินิพพานโดยไม่ต้องใช้ความเพียรมาก
(องฺ.ติก.อ. ๒/๘๘/๒๔๓)
๔ สสังขารปรินิพพายีอนาคามีบุคคล หมายถึงพระอนาคามีผู้เกิดในสุทธาวาสภพใดภพหนึ่งแล้ว
ปรินิพพานโดยต้องใช้ความเพียรมาก (องฺ.ติก.อ. ๒/๘๘/๒๔๓)
๕ อุทธังโสโตอกนิฏฐอนาคามีบุคคล หมายถึงพระอนาคามีผู้มีกระแสในเบื้องบนไปสู่อกนิฏฐภพ คือเกิดใน
สุทธาวาสภพใดภพหนึ่งแล้วก็จะเกิดเลื่อนต่อไปจนถึงอกนิฏฐภพแล้วจึงปรินิพพานในภพนั้น (องฺ.ติก.อ.
๒/๘๘/๒๔๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๑๕-๑๖. ภววิภวทิฏฐินิทเทส
บุคคล ๕ จำพวกไหนสำเร็จในโลกนี้ คือ
๑. สัตตักขัตตุปรมโสดาบัน
๒. โกลังโกลโสดาบัน
๓. เอกพีชีโสดาบัน
๔. พระสกทาคามี
๕. พระอรหันต์ในปัจจุบัน
บุคคล ๕ จำพวกนี้สำเร็จในโลกนี้
บุคคล ๕ จำพวกไหนละโลกนี้แล้วจึงสำเร็จ คือ
๑. อันตราปรินิพพายีอนาคามีบุคคล
๒. อุปหัจจปรินิพพายีอนาคามีบุคคล
๓. อสังขารปรินิพพายีอนาคามีบุคคล
๔. สสังขารปรินิพพายีอนาคามีบุคคล
๕. อุทธังโสโตอกนิฏฐคามีอนาคามีบุคคล
บุคคล ๕ จำพวกนี้ละโลกนี้แล้วจึงสำเร็จ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเป็นผู้มีความเลื่อมใสไม่คลอนแคลน
ในเรา บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นพระโสดาบัน พระโสดาบันเหล่านั้น ๕ จำพวกนี้
สำเร็จในโลกนี้ ๕ จำพวกนี้ละโลกนี้แล้วจึงสำเร็จ

ภววิภวทิฏฐินิทเทสที่ ๑๕-๑๖ จบ
ทิฏฐิกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๓๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๑. คณนวาระ
๓. อานาปานัสสติกถา
ว่าด้วยสติกำหนดลมหายใจเข้าลมหายใจออก
๑. คณนวาระ
วาระว่าด้วยการนับ
[๑๕๒] เมื่อพระโยคาวจรเจริญสมาธิที่ประกอบด้วยอานาปานสติอันมีวัตถุ
๑๖ ญาณเกินกว่า ๒๐๐ ย่อมเกิดขึ้น (คือ) ญาณในธรรมที่เป็นอันตราย ๘ ญาณ
ในธรรมที่เป็นอุปการะ ๘ ญาณในอุปกิเลส ๑๘ ญาณในโวทาน ๑๓ ญาณในการทำ
สติ ๓๒ ญาณด้วยอำนาจสมาธิ ๒๔ ญาณด้วยอำนาจวิปัสสนา ๗๒ นิพพิทาญาณ ๘
นิพพิทานุโลมญาณ ๘ นิพพิทาปฏิปัสสัทธิญาณ ๘ ญาณในวิมุตติสุข ๒๑
ญาณในธรรมที่เป็นอันตราย ๘ และญาณในธรรมที่เป็นอุปการะ ๘ เป็น
อย่างไร คือ

กามฉันทะ เป็นอันตรายต่อสมาธิ เนกขัมมะ เป็นอุปการะแก่สมาธิ
พยาบาท เป็นอันตรายต่อสมาธิ อพยาบาท เป็นอุปการะแก่สมาธิ
ถีนมิทธะ เป็นอันตรายต่อสมาธิ อาโลกสัญญา เป็นอุปการะแก่สมาธิ
อุทธัจจะ เป็นอันตรายต่อสมาธิ อวิกเขปะ เป็นอุปการะแก่สมาธิ
วิจิกิจฉา เป็นอันตรายต่อสมาธิ ธัมมววัตถาน เป็นอุปการะแก่สมาธิ
อวิชชา เป็นอันตรายต่อสมาธิ ญาณ เป็นอุปการะแก่สมาธิ
อรติ เป็นอันตรายต่อสมาธิ ปามุชชะ เป็นอุปการะแก่สมาธิ

อกุศลธรรมทั้งปวงเป็นอันตรายต่อสมาธิ กุศลธรรมทั้งปวงเป็นอุปการะแก่สมาธิ
ญาณในธรรมที่เป็นอันตราย ๘ และญาณในธรรมที่เป็นอุปการะ ๘ เหล่านี้
คณนวาระที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๒. โสฬสญาณนิทเทส
๒. โสฬสญาณนิทเทส
แสดงญาณ ๑๖
[๑๕๓] จิตที่ฟุ้งซ่านและจิตที่สงบ ย่อมดำรงอยู่ในธรรมที่มีสภาวะเดียว
และย่อมหมดจดจากนิวรณ์ด้วยอาการ ๑๖ อย่างนี้
ธรรมที่มีสภาวะเดียวเหล่านั้น อะไรบ้าง คือ
๑. เนกขัมมะ(การหลีกออกจากกาม) เป็นสภาวะเดียว
๒. อพยาบาท(ความไม่คิดร้าย) เป็นสภาวะเดียว
๓. อาโลกสัญญา(ความหมายรู้แสงสว่าง) เป็นสภาวะเดียว
๔. อวิกเขปะ(ความไม่ฟุ้งซ่าน) เป็นสภาวะเดียว
๕. ธัมมววัตถาน(การกำหนดธรรม) เป็นสภาวะเดียว
๖. ญาณ(ความรู้) เป็นสภาวะเดียว
๗. ปามุชชะ(ความปราโมทย์) เป็นสภาวะเดียว
๘. กุศลธรรมทั้งปวง เป็นสภาวะเดียว
บทว่า นิวรณ์ อธิบายว่า นิวรณ์เหล่านั้น อะไรบ้าง คือ
๑. กามฉันทะ (ความพอใจในกาม) เป็นนิวรณ์
๒. พยาบาท (ความคิดร้าย) เป็นนิวรณ์
๓. ถีนมิทธะ (ความหดหู่และเซื่องซึม) เป็นนิวรณ์
๔. อุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ) เป็นนิวรณ์
๕. วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) เป็นนิวรณ์
๖. อวิชชา (ความไม่รู้แจ้ง) เป็นนิวรณ์
๗. อรติ (ความไม่ยินดี) เป็นนิวรณ์
๘. อกุศลธรรมทั้งปวง เป็นนิวรณ์
บทว่า นิวรณ์ อธิบายว่า ชื่อว่านิวรณ์ เพราะมีความหมายว่าอย่างไร
คือ ชื่อว่านิวรณ์ เพราะมีความหมายว่าเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก
ธรรมเครื่องนำออกเหล่านั้น เป็นอย่างไร
คือ เนกขัมมะ เป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยะและพระอริยะย่อมออก
ด้วยเนกขัมมะนั้น กามฉันทะ เป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออกและบุคคลย่อมไม่รู้จัก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๒. โสฬสญาณนิทเทส
เนกขัมมะที่เป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยะ เพราะเป็นผู้ถูกกามฉันทะนั้นกั้นไว้
เพราะเหตุนั้น กามฉันทะจึงชื่อว่าเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก
อพยาบาท เป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยะและพระอริยะย่อมออกด้วย
อพยาบาทนั้น พยาบาท เป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออกและบุคคลย่อมไม่รู้จัก
อพยาบาทที่เป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยะ เพราะเป็นผู้ถูกพยาบาทนั้นกั้นไว้
เพราะเหตุนั้น พยาบาทจึงชื่อว่าเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก
อาโลกสัญญา เป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยะและพระอริยะย่อมออก
ด้วยอาโลกสัญญานั้น ถีนมิทธะ เป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออกและบุคคลย่อม
ไม่รู้จักอาโลกสัญญาที่เป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยะ เพราะเป็นผู้ถูกถีนมิทธะ
นั้นกั้นไว้ เพราะเหตุนั้น ถีนมิทธะจึงชื่อว่าเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก
อวิกเขปะ เป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยะและพระอริยะย่อมออกด้วย
อวิกเขปะนั้น อุทธัจจะ เป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออกและบุคคลย่อมไม่รู้จัก
อวิกเขปะที่เป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยะ เพราะเป็นผู้ถูกอุทธัจจะนั้นกั้นไว้
เพราะเหตุนั้น อุทธัจจะจึงชื่อว่าเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก
ธัมมววัตถาน เป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยะและพระอริยะย่อมออก
ด้วยธัมมววัตถานนั้น วิจิกิจฉา เป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออกและบุคคลย่อม
ไม่รู้จักธัมมววัตถานที่เป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยะ เพราะเป็นผู้ถูกวิจิกิจฉา
นั้นกั้นไว้ เพราะเหตุนั้น วิจิกิจฉาจึงชื่อว่าเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก
ญาณ เป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยะและพระอริยะย่อมออกด้วย
ญาณนั้น อวิชชาเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออกและบุคคลย่อมไม่รู้จักญาณที่เป็น
ธรรมเครื่องนำออกของพระอริยะ เพราะเป็นผู้ถูกอวิชชานั้นกั้นไว้ เพราะเหตุนั้น
อวิชชาจึงชื่อว่าเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก
ปามุชชะ เป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยะและพระอริยะย่อมออกด้วย
ปามุชชะนั้น อรติ เป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออกและบุคคลย่อมไม่รู้จักปามุชชะ
ที่เป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยะ เพราะเป็นผู้ถูกอรตินั้นกั้นไว้ เพราะเหตุนั้น
อรติจึงชื่อว่าเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๓. อุปกิเลสญาณนิทเทส
กุศลธรรมแม้ทั้งปวง เป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยะและพระอริยะย่อม
ออกด้วยกุศลธรรมเหล่านั้น อกุศลธรรมแม้ทั้งปวง เป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก
และบุคคลย่อมไม่รู้จักกุศลธรรมที่เป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยะ เพราะเป็นผู้
ถูกอกุศลธรรมเหล่านั้นกั้นไว้ เพราะเหตุนั้น อกุศลธรรมแม้ทั้งปวงจึงชื่อว่าเป็น
เครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก
เมื่อพระโยคาวจรผู้มีจิตหมดจดจากนิวรณ์เหล่านี้ เจริญสมาธิที่ประกอบด้วย
อานาปานสติอันมีวัตถุ ๑๖ ความที่จิตตั้งมั่นเป็นไปเพียงชั่วขณะย่อมมีได้
โสฬสญาณนิทเทสที่ ๒ จบ

๓. อุปกิเลสญาณนิทเทส
แสดงญาณในอุปกิเลส
ปฐมฉักกะ
หมวดหก ที่ ๑
[๑๕๔] อุปกิเลส ๑๘ เหล่าไหนย่อมเกิดขึ้น
คือ เมื่อพระโยคาวจรใช้สติไปตามลมหายใจเข้าที่ฐานเบื้องต้น ท่ามกลาง และ
ที่สุด๑ จิตที่ถึงความฟุ้งซ่านในภายใน ย่อมเป็นอันตรายต่อสมาธิ
เมื่อพระโยคาวจรใช้สติไปตามลมหายใจออกที่ฐานเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด
จิตที่ถึงความฟุ้งซ่านในภายนอก ย่อมเป็นอันตรายต่อสมาธิ
ความเป็นไปแห่งตัณหาคือความติดใจหวังลมหายใจเข้า ย่อมเป็นอันตรายต่อ
สมาธิ
ความเป็นไปแห่งตัณหาคือความติดใจหวังลมหายใจออก ย่อมเป็นอันตรายต่อ
สมาธิ

เชิงอรรถ :
๑ ฐานเบื้องต้น หมายถึงปลายจมูกหรือริมฝีปาก ฐานท่ามกลาง หมายถึงหทัย ฐานที่สุด หมายถึงสะดือ
(ขุ.ป.อ. ๒/๑๕๔/๘๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๓. อุปกิเลสญาณนิทเทส
ความหลงในการได้ลมหายใจออกของพระโยคาวจรผู้ถูกลมหายใจเข้าครอบงำ
ย่อมเป็นอันตรายต่อสมาธิ
ความหลงในการได้ลมหายใจเข้าของพระโยคาวจรผู้ถูกลมหายใจออกครอบงำ
ย่อมเป็นอันตรายต่อสมาธิ
สติไปตามลมหายใจเข้า ๑
สติไปตามลมหายใจออก ๑
ความหวัง (ลมหายใจเข้า) ที่ฟุ้งซ่านภายใน ๑
ความหวัง (ลมหายใจออก) ที่ฟุ้งซ่านภายนอก ๑
(ความหลงในการได้ลมหายใจออก
ของพระโยคาวจรผู้ถูกลมหายใจเข้าครอบงำ ๑
ความหลงในการได้ลมหายใจเข้า
ของพระโยคาวจรผู้ถูกลมหายใจออกครอบงำ ๑)
อุปกิเลส ๖ ประการนี้เป็นอันตราย
ต่อสมาธิที่ประกอบด้วยอานาปานสติ
และเป็นเหตุให้จิตของพระโยคาวจร
ผู้หวั่นไหวไม่หลุดพ้น
พระโยคาวจรทั้งหลายยังไม่เข้าใจวิโมกข์
จึงสมควรเชื่อบุคคลอื่น ฉะนี้แล

ทุติยฉักกะ
หมวดหก ที่ ๒
[๑๕๕] เมื่อพระโยคาวจรคำนึงถึงนิมิต จิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจเข้า นี้เป็น
อันตรายต่อสมาธิ
เมื่อพระโยคาวจรคำนึงถึงลมหายใจเข้า จิตกวัดแกว่งอยู่ที่นิมิต นี้เป็นอันตราย
ต่อสมาธิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๓๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๓. อุปกิเลสญาณนิทเทส
เมื่อพระโยคาวจรคำนึงถึงนิมิต จิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจออก นี้เป็นอันตราย
ต่อสมาธิ
เมื่อพระโยคาวจรคำนึงถึงลมหายใจออก จิตกวัดแกว่งอยู่ที่นิมิต นี้เป็นอันตราย
ต่อสมาธิ
เมื่อพระโยคาวจรคำนึงถึงลมหายใจเข้า จิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจออก นี้เป็น
อันตรายต่อสมาธิ
เมื่อพระโยคาวจรคำนึงถึงลมหายใจออก จิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจเข้า นี้เป็น
อันตรายต่อสมาธิ
เมื่อคำนึงถึงนิมิต จิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจเข้า
เมื่อคำนึงถึงลมหายใจเข้า จิตกวัดแกว่งอยู่ที่นิมิต
เมื่อคำนึงถึงนิมิต จิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจออก
เมื่อคำนึงถึงลมหายใจออก จิตกวัดแกว่งอยู่ที่นิมิต
เมื่อคำนึงถึงลมหายใจเข้า จิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจออก
เมื่อคำนึงถึงลมหายใจออก จิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจเข้า
อุปกิเลส ๖ ประการนี้ เป็นอันตราย
ต่อสมาธิที่ประกอบด้วยอานาปานสติ
และเป็นเหตุให้จิตของพระโยคาวจร
ผู้หวั่นไหวไม่หลุดพ้น
พระโยคาวจรทั้งหลายยังไม่เข้าใจวิโมกข์
จึงสมควรเชื่อบุคคลอื่น ฉะนี้แล

ตติยฉักกะ
หมวดหก ที่ ๓
[๑๕๖] จิตที่แล่นไปในอตีตารมณ์ ตกไปข้างฝ่ายฟุ้งซ่าน ย่อมเป็นอันตราย
ต่อสมาธิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๓๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๓. อุปกิเลสญาณนิทเทส
จิตที่หวังอนาคตารมณ์ถึงความกวัดแกว่ง ย่อมเป็นอันตรายต่อสมาธิ
จิตที่หดหู่ตกไปข้างฝ่ายเกียจคร้าน ย่อมเป็นอันตรายต่อสมาธิ
จิตที่มีความเพียรกล้า ตกไปข้างฝ่ายอุทธัจจะ ย่อมเป็นอันตรายต่อสมาธิ
จิตที่น้อมรับตกไปข้างฝ่ายกำหนัด ย่อมเป็นอันตรายต่อสมาธิ
จิตที่ผละออกตกไปข้างฝ่ายพยาบาท ย่อมเป็นอันตรายต่อสมาธิ
จิตที่แล่นไปตามอตีตารมณ์
จิตที่หวังอนาคตารมณ์
จิตที่หดหู่ จิตที่มีความเพียรกล้า
จิตที่น้อมรับ จิตที่ผละออก ย่อมไม่ตั้งมั่น
อุปกิเลส ๖ ประการนี้ เป็นอันตราย
ต่อสมาธิที่ประกอบด้วยอานาปานสติ
เป็นเหตุให้บุคคลผู้มีความดำริเศร้าหมอง
ไม่รู้ชัดซึ่งอธิจิต ฉะนี้แล
[๑๕๗] เมื่อพระโยคาวจรใช้สติไปตามลมหายใจเข้าที่ฐานเบื้องต้น ท่ามกลาง
และที่สุด
กายและจิตย่อมกระสับกระส่าย หวั่นไหว และดิ้นรน เพราะจิตถึงความฟุ้งซ่าน
ในภายใน
เมื่อพระโยคาวจรใช้สติไปตามลมหายใจออกที่ฐานเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด
กายและจิตย่อมกระสับกระส่าย หวั่นไหว และดิ้นรน เพราะจิตถึงความฟุ้ง
ซ่านในภายนอก
กายและจิตย่อมกระสับกระส่าย หวั่นไหว และดิ้นรน เพราะความเป็นไปแห่ง
ตัณหาคือความติดใจหวังลมหายใจเข้า
กายและจิตย่อมกระสับกระส่าย หวั่นไหว และดิ้นรน เพราะความเป็นไปแห่ง
ตัณหาคือความติดใจหวังลมหายใจออก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๓๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๓. อุปกิเลสญาณนิทเทส
กายและจิตย่อมกระสับกระส่าย หวั่นไหว และดิ้นรน เพราะพระโยคาวจร
ผู้ถูกลมหายใจเข้าครอบงำ เป็นผู้หลงในการได้ลมหายใจออก
กายและจิตย่อมกระสับกระส่าย หวั่นไหว และดิ้นรน เพราะพระโยคาวจร
ผู้ถูกลมหายใจออกครอบงำ เป็นผู้หลงในการได้ลมหายใจเข้า
กายและจิตย่อมกระสับกระส่าย หวั่นไหว และดิ้นรน เพราะพระโยคาวจร
ผู้คำนึงถึงนิมิต มีจิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจเข้า
กายและจิตย่อมกระสับกระส่าย หวั่นไหว และดิ้นรน เพราะพระโยคาวจร
ผู้คำนึงถึงลมหายใจเข้า มีจิตกวัดแกว่งอยู่ที่นิมิต
กายและจิตย่อมกระสับกระส่าย หวั่นไหว และดิ้นรน เพราะพระโยคาวจร
ผู้คำนึงถึงนิมิต มีจิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจออก
กายและจิตย่อมกระสับกระส่าย หวั่นไหว และดิ้นรน เพราะพระโยคาวจร
ผู้คำนึงถึงลมหายใจออก มีจิตกวัดแกว่งอยู่ที่นิมิต
กายและจิตย่อมกระสับกระส่าย หวั่นไหว และดิ้นรน เพราะพระโยคาวจร
ผู้คำนึงถึงลมหายใจเข้า มีจิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจออก
กายและจิตย่อมกระสับกระส่าย หวั่นไหว และดิ้นรน เพราะพระโยคาวจร
ผู้คำนึงถึงลมหายใจออก มีจิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจเข้า
กายและจิตย่อมกระสับกระส่าย หวั่นไหว และดิ้นรน เพราะจิตแล่นไปตาม
อตีตารมณ์ ตกไปข้างฝ่ายฟุ้งซ่าน
กายและจิตย่อมกระสับกระส่าย หวั่นไหว และดิ้นรน เพราะจิตหวังอนาคตารมณ์
ถึงความกวัดแกว่ง
กายและจิตย่อมกระสับกระส่าย หวั่นไหว และดิ้นรน เพราะจิตหดหู่ตกไป
ข้างฝ่ายเกียจคร้าน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๔. โวทานญาณนิทเทส
กายและจิตย่อมกระสับกระส่าย หวั่นไหว และดิ้นรน เพราะจิตมีความเพียรกล้า
ตกไปข้างฝ่ายอุทธัจจะ
กายและจิตย่อมกระสับกระส่าย หวั่นไหว และดิ้นรน เพราะจิตน้อมรับ ตกไป
ข้างฝ่ายกำหนัด
กายและจิตย่อมกระสับกระส่าย หวั่นไหว และดิ้นรน เพราะจิตผละออก
ตกไปข้างฝ่ายพยาบาท
ผู้ใดไม่บำเพ็ญ ไม่เจริญอานาปานสติ
กายและจิตของผู้นั้นย่อมหวั่นไหว
กายและจิตของผู้นั้นย่อมดิ้นรน
ส่วนผู้ใดบำเพ็ญ เจริญอานาปานสติดีแล้ว
กายและจิตของผู้นั้นย่อมไม่หวั่นไหว
กายและจิตของผู้นั้นย่อมไม่ดิ้นรน ฉะนี้แล
อนึ่ง เมื่อพระโยคาวจรผู้มีจิตหมดจดจากนิวรณ์เหล่านั้น เจริญสมาธิที่ประกอบ
ด้วยอานาปานสติอันมีวัตถุ ๑๖ ความที่จิตตั้งมั่นเป็นไปเพียงชั่วขณะย่อมมีได้
อุปกิเลส ๑๘ ประการนี้ย่อมเกิดขึ้น
อุปกิเลสญาณนิทเทสที่ ๓ จบ

๔. โวทานญาณนิทเทส
แสดงญาณในโวทาน
[๑๕๘] ญาณในโวทาน ๑๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. จิตที่แล่นไปตามอตีตารมณ์ ตกไปข้างฝ่ายฟุ้งซ่าน พระโยคาวจร
ละจิตนั้นแล้วตั้งจิตไว้มั่นในฐานหนึ่ง
๒. จิตย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่านแม้ด้วยอาการอย่างนี้
๓. จิตที่หวังอนาคตารมณ์ถึงความกวัดแกว่ง พระโยคาวจรเว้นจิตนั้น
แล้วน้อมจิตไปในฐานะนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๔๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๔. โวทานญาณนิทเทส
๔. จิตย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่านแม้ด้วยอาการอย่างนี้
๕. จิตที่หดหู่ ตกไปข้างฝ่ายเกียจคร้าน พระโยคาวจรยกจิตนั้นไว้แล้ว
ละความเกียจคร้าน
๖. จิตย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่านแม้ด้วยอาการอย่างนี้
๗. จิตที่มีความเพียรกล้า ตกไปข้างฝ่ายอุทธัจจะ พระโยคาวจรข่มจิตนั้น
แล้วละอุทธัจจะ
๘. จิตย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่านแม้ด้วยอาการอย่างนี้
๙. จิตน้อมรับ ตกไปข้างฝ่ายกำหนัด พระโยคาวจรรู้ทันจิตนั้นแล้ว
ละความกำหนัด
๑๐. จิตย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่านแม้ด้วยอาการอย่างนี้
๑๑. จิตผละออก ตกไปข้างฝ่ายพยาบาท พระโยคาวจรรู้ทันจิตนั้นแล้วละ
พยาบาท
๑๒. จิตย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่านแม้ด้วยอาการอย่างนี้
๑๓. จิตบริสุทธิ์ผุดผ่องถึงสภาวะเดียว ด้วยฐานะ ๖ ประการ๑นี้
ธรรมที่มีสภาวะเดียวเหล่านั้น เป็นอย่างไร
คือ ความปรากฏแห่งการบริจาคทาน เป็นสภาวะเดียว ความปรากฏแห่ง
สมถนิมิต เป็นสภาวะเดียว ความปรากฏแห่งลักษณะความเสื่อม เป็นสภาวะเดียว
ความปรากฏแห่งความดับ เป็นสภาวะเดียว ความปรากฏแห่งการบริจาคทานของ
บุคคลผู้น้อมใจไปในจาคะทั้งหลาย เป็นสภาวะเดียว ความปรากฏแห่งสมถนิมิตของ
บุคคลผู้ประกอบในอธิจิตทั้งหลาย เป็นสภาวะเดียว ความปรากฏแห่งลักษณะความ
เสื่อมของบุคคลผู้เจริญวิปัสสนาทั้งหลาย เป็นสภาวะเดียว ความปรากฏแห่งความ
ดับของพระอริยบุคคลทั้งหลาย เป็นสภาวะเดียว

เชิงอรรถ :
๑ ฐานะ ๖ ประการ หมายถึงข้อที่ ๑ กับข้อที่ ๒ จัดเป็นฐานะที่หนึ่ง, ข้อที่ ๓ กับข้อที่ ๔ จัดเป็นฐานะที่สอง,
ข้อที่ ๕ กับข้อที่ ๖ จัดเป็นฐานะที่สาม, ข้อที่ ๗ กับข้อที่ ๘ จัดเป็นฐานะที่สี่, ข้อที่ ๙ กับข้อที่ ๑๐ จัดเป็น
ฐานะที่ห้า, ข้อที่ ๑๑ กับข้อที่ ๑๒ จัดเป็นฐานะที่หก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๔๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๔. โวทานญาณนิทเทส
จิตที่ถึงสภาวะเดียวด้วยฐานะ ๔ นี้ ย่อมเป็นจิตที่มีปฏิปทาหมดจด
ผ่องใส เจริญงอกงามด้วยอุเบกขา และถึงความร่าเริงด้วยญาณ
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งปฐมฌาน อะไรเป็นท่ามกลางแห่งปฐมฌาน อะไร
เป็นที่สุดแห่งปฐมฌาน
คือ ความหมดจดแห่งปฏิปทาเป็นเบื้องต้นแห่งปฐมฌาน ความเพิ่มพูน
อุเบกขาเป็นท่ามกลางแห่งปฐมฌาน ความร่าเริงเป็นที่สุดแห่งปฐมฌาน
ความหมดจดแห่งปฏิปทาที่เป็นเบื้องต้นแห่งปฐมฌาน มีลักษณะเท่าไร
คือ มีลักษณะ ๓ ประการ ได้แก่
๑. จิตหมดจดจากอันตรายแห่งฌานนั้น
๒. จิตดำเนินไปสู่สมถนิมิตอันเป็นท่ามกลาง เพราะเป็นจิตหมดจด
๓. จิตแล่นไปในสมถนิมิตนั้น เพราะเป็นจิตดำเนินไปแล้ว
จิตหมดจดจากอันตราย ๑ จิตดำเนินไปสู่สมถนิมิตอันเป็นท่ามกลาง เพราะ
เป็นจิตหมดจด ๑ จิตแล่นไปในสมถนิมิตนั้น เพราะเป็นจิตดำเนินไปแล้ว ๑ ความ
หมดจดแห่งปฏิปทาที่เป็นเบื้องต้นแห่งปฐมฌานมีลักษณะ ๓ ประการนี้ เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า ปฐมฌานเป็นฌานมีความงามในเบื้องต้นและถึงพร้อมด้วยลักษณะ
ความเพิ่มพูนอุเบกขาที่เป็นท่ามกลางแห่งปฐมฌาน มีลักษณะเท่าไร
คือ มีลักษณะ ๓ ประการ ได้แก่
๑. เพ่งเฉยจิตที่หมดจด
๒. เพ่งเฉยจิตที่ดำเนินไปในสมถะ
๓. เพ่งเฉยความปรากฏในสภาวะเดียว
ความเพิ่มพูนอุเบกขาที่เป็นท่ามกลางแห่งปฐมฌานเพ่งเฉยจิตที่หมดจด ๑
เพ่งเฉยจิตที่ดำเนินไปในสมถะ ๑ เพ่งเฉยความปรากฏในสภาวะเดียว ๑ ความเพิ่ม
พูนอุเบกขาที่เป็นท่ามกลางแห่งปฐมฌาน มีลักษณะ ๓ ประการนี้ เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า ปฐมฌานเป็นฌานมีความงามในท่ามกลางและถึงพร้อมด้วยลักษณะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๔๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๔. โวทานญาณนิทเทส
ความร่าเริงที่เป็นที่สุดแห่งปฐมฌาน มีลักษณะเท่าไร
คือ มีลักษณะ ๔ ประการ ได้แก่
๑. ความร่าเริงเพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในปฐมฌานนั้น
ไม่ล่วงเลยกัน
๒. ความร่าเริงเพราะมีความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่าง
เดียวกัน
๓. ความร่าเริงเพราะมีความหมายว่านำความเพียรที่สมควรแก่ธรรมนั้น
เข้าไป
๔. ความร่าเริงเพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
ความร่าเริงที่เป็นที่สุดแห่งปฐมฌาน มีลักษณะ ๔ ประการนี้ เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า ปฐมฌานมีความงามในที่สุดและถึงพร้อมด้วยลักษณะ
จิตที่ถึงความเป็นไป ๓ ประการ มีความงาม ๓ ประการ ถึงพร้อมด้วย
ลักษณะ ๑๐ ประการอย่างนี้ ย่อมเป็นจิตที่ถึงพร้อมด้วยวิตก วิจาร ปีติ สุข
การอธิษฐานจิต สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และถึงพร้อมด้วยปัญญา
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งทุติยฌาน อะไรเป็นท่ามกลางแห่งทุติยฌาน อะไรเป็น
ที่สุดแห่งทุติยฌาน
คือ ความหมดจดแห่งปฏิปทาเป็นเบื้องต้นแห่งทุติยฌาน ความเพิ่มพูนอุเบกขา
เป็นท่ามกลางแห่งทุติยฌาน ความร่าเริงเป็นที่สุดแห่งทุติยฌาน ฯลฯ
จิตที่ถึงความเป็นไป ๓ ประการ มีความงาม ๓ ประการ ถึงพร้อมด้วย
ลักษณะ ๑๐ ประการอย่างนี้ ย่อมเป็นจิตที่ถึงพร้อมด้วยปีติ สุข การอธิษฐานจิต สัทธา
วิริยะ สติ สมาธิ และถึงพร้อมด้วยปัญญา
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งตติยฌาน อะไรเป็นท่ามกลางแห่งตติยฌาน อะไรเป็น
ที่สุดแห่งตติยฌาน ฯลฯ
จิตที่ถึงความเป็นไป ๓ ประการ มีความงาม ๓ ประการ ถึงพร้อมด้วย
ลักษณะ ๑๐ ประการอย่างนี้ ย่อมเป็นจิตที่ถึงพร้อมด้วยสุข การอธิษฐานจิต
สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และถึงพร้อมด้วยปัญญา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๔๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๔. โวทานญาณนิทเทส
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งจตุตถฌาน อะไรเป็นท่ามกลางแห่งจตุตถฌาน อะไรเป็น
ที่สุดแห่งจตุตถฌาน ฯลฯ
จิตที่ถึงความเป็นไป ๓ ประการ มีความงาม ๓ ประการ ถึงพร้อมด้วย
ลักษณะ ๑๐ ประการอย่างนี้ ย่อมเป็นจิตที่ถึงพร้อมด้วยอุเบกขา การอธิษฐานจิต
สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และถึงพร้อมด้วยปัญญา
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งอากาสานัญจายตนสมาบัติ อะไรเป็นท่ามกลางแห่ง
อากาสานัญจายตนสมาบัติ อะไรเป็นที่สุดแห่งอากาสานัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งอากิญจัญญายตนสมาบัติ ฯลฯ
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ อะไรเป็นท่ามกลาง
แห่งเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ อะไรเป็นที่สุดแห่งเนวสัญญานาสัญญายตน-
สมาบัติ ฯลฯ
จิตที่ถึงความเป็นไป ๓ ประการ มีความงาม ๓ ประการ ถึงพร้อมด้วย
ลักษณะ ๑๐ ประการอย่างนี้ ย่อมเป็นจิตที่ถึงพร้อมด้วยอุเบกขา การอธิษฐานจิต
ฯลฯ และถึงพร้อมด้วยปัญญา
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งอนิจจานุปัสสนา อะไรเป็นท่ามกลางแห่งอนิจจานุปัสสนา
อะไรเป็นที่สุดแห่งอนิจจานุปัสสนา ฯลฯ
จิตที่ถึงความเป็นไป ๓ ประการ มีความงาม ๓ ประการ ถึงพร้อมด้วย
ลักษณะ ๑๐ ประการอย่างนี้ ย่อมเป็นจิตที่ถึงพร้อมด้วยวิตก วิจาร ปีติ สุข การ
อธิษฐานจิต สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และถึงพร้อมด้วยปัญญา
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งทุกขานุปัสสนา ฯลฯ
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งอนัตตานุปัสสนา ฯลฯ
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งนิพพิทานุปัสสนา ฯลฯ
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งวิราคานุปัสสนา ฯลฯ
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งนิโรธานุปัสสนา ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๔. โวทานญาณนิทเทส
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งขยานุปัสสนา ฯลฯ
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งวยานุปัสสนา ฯลฯ
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งวิปริณามานุปัสสนา ฯลฯ
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งอนิมิตตานุปัสสนา ฯลฯ
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งอัปปณิหิตานุปัสสนา ฯลฯ
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งสุญญตานุปัสสนา ฯลฯ
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งอธิปัญญาธัมมวิปัสสนา ฯลฯ
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งยถาภูตญาณทัสสนะ ฯลฯ
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งอาทีนวานุปัสสนา ฯลฯ
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งปฏิสังขานุปัสสนา ฯลฯ
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งวิวัฏฏนานุปัสสนา ฯลฯ
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งโสดาปัตติมรรค ฯลฯ
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งสกทาคามิมรรค ฯลฯ
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งอนาคามิมรรค ฯลฯ
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งอรหัตตมรรค อะไรเป็นเป็นท่ามกลางแห่งอรหัตตมรรค
อะไรเป็นที่สุดแห่งอรหัตตมรรค
ความหมดจดแห่งปฏิปทาที่เป็นเบื้องต้นแห่งอรหัตตมรรค ความเพิ่มพูน
อุเบกขาที่เป็นท่ามกลางแห่งอรหัตตมรรค ความร่าเริงที่เป็นที่สุดแห่งอรหัตต-
มรรค ความหมดจดแห่งปฏิปทาที่เป็นเบื้องต้นแห่งอรหัตตมรรค มีลักษณะเท่าไร
คือ มีลักษณะ ๓ ประการ ได้แก่
๑. จิตหมดจดจากอันตรายแห่งฌานนั้น
๒. จิตดำเนินไปสู่สมถนิมิตอันเป็นท่ามกลาง เพราะเป็นจิตหมดจด
๓. จิตแล่นไปในสมถนิมิตนั้น เพราะเป็นจิตดำเนินไปแล้ว
จิตหมดจดจากอันตราย ๑ จิตดำเนินไปสู่สมถนิมิตอันเป็นท่ามกลาง เพราะ
เป็นจิตหมดจด ๑ จิตแล่นไปในสมถนิมิตนั้น เพราะเป็นจิตดำเนินไปแล้ว ๑ ความ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๔. โวทานญาณนิทเทส
หมดจดแห่งปฏิปทาที่เป็นเบื้องต้นแห่งอรหัตตมรรค มีลักษณะ ๓ ประการนี้ เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อรหัตตมรรคเป็นธรรมมีความงามในเบื้องต้น และถึงพร้อม
ด้วยลักษณะ
ความเพิ่มพูนอุเบกขาที่เป็นท่ามกลางแห่งอรหัตตมรรค มีลักษณะเท่าไร
คือ มีลักษณะ ๓ ประการ ได้แก่
๑. เพ่งเฉยจิตที่หมดจด
๒. เพ่งเฉยจิตที่ดำเนินไปในสมถะ
๓. เพ่งเฉยความปรากฏในสภาวะเดียว
ความเพิ่มพูนอุเบกขาที่เป็นท่ามกลางแห่งอรหัตตมรรคเพ่งเฉยจิตที่หมดจด ๑
เพ่งเฉยจิตที่ดำเนินไปในสมถะ ๑ เพ่งเฉยความปรากฏในสภาวะเดียว ๑ เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า อรหัตตมรรคเป็นธรรมมีความงามในท่ามกลางและถึงพร้อมด้วยลักษณะ
ความร่าเริงที่เป็นที่สุดแห่งอรหัตตมรรค มีลักษณะเท่าไร
คือ มีลักษณะ ๔ ประการ ได้แก่
๑. ความร่าเริงเพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในอรหัตตมรรค
นั้นไม่ล่วงเลยกัน
๒. ความร่าเริงเพราะมีความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่าง
เดียวกัน
๓. ความร่าเริงเพราะมีความหมายว่านำความเพียรที่สมควรแก่ธรรมนั้น
เข้าไป
๔. ความร่าเริงเพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
ความร่าเริงที่เป็นที่สุดแห่งอรหัตตมรรค มีลักษณะ ๔ ประการนี้ เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า อรหัตตมรรคเป็นธรรมมีความงามในที่สุดและถึงพร้อมด้วยลักษณะ
จิตที่ถึงความเป็นไป ๓ ประการ มีความงาม ๓ ประการ ถึงพร้อมด้วย
ลักษณะ ๑๐ ประการอย่างนี้ ย่อมเป็นจิตที่ถึงพร้อมด้วยวิตก วิจาร ปีติ สุข
การอธิษฐานจิต สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และถึงพร้อมด้วยปัญญา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๔๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๔. โวทานญาณนิทเทส
[๑๕๙] นิมิต ลมหายใจเข้าหายใจออก
ไม่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียว
เพราะไม่รู้ธรรม ๓ ประการ จึงไม่ได้ภาวนา
นิมิต ลมหายใจเข้าหายใจออก
ไม่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียว
เพราะรู้ธรรม ๓ ประการ จึงได้ภาวนา ฉะนี้แล
ธรรม ๓ ประการนี้ ไม่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียว เป็นธรรมไม่ปรากฏ
จิตไม่ถึงความฟุ้งซ่าน ประธานปรากฏ ให้ประโยคสำเร็จและบรรลุผลวิเศษ เป็น
อย่างไร
คือ เปรียบเหมือนต้นไม้ที่เขาวางไว้บนพื้นดินที่ราบเรียบ บุรุษใช้เลื่อยตัดต้นไม้นั้น
ตั้งสติไว้ที่ฟันเลื่อยที่ถูกต้นไม้ ไม่ได้ใส่ใจถึงฟันเลื่อยที่มาหรือที่ไป ฟันเลื่อยที่มาหรือ
ที่ไปจะไม่ปรากฏก็หามิได้ ประธานปรากฏ ให้ประโยคสำเร็จและบรรลุผลวิเศษ นิมิต
ที่ผูกจิตไว้ เหมือนต้นไม้ที่เขาวางไว้บนพื้นดินที่ราบเรียบ ลมหายใจเข้าหายใจออก
เหมือนฟันเลื่อย ภิกษุนั่งตั้งสติไว้มั่นที่ปลายจมูกหรือที่ริมฝีปาก ไม่ได้ใส่ใจถึงลม
หายใจเข้าหายใจออกที่เข้ามาหรือออกไป ลมหายใจเข้าหายใจออก ที่เข้ามาหรือ
ออกไปจะไม่ปรากฏก็หามิได้ ประธานปรากฏ ให้ประโยคสำเร็จและบรรลุผลวิเศษ
เหมือนบุรุษนั่งตั้งสติไว้ที่ฟันเลื่อยที่ถูกต้นไม้ ไม่ได้ใส่ใจถึงฟันเลื่อยที่มาหรือที่ไป
ฟันเลื่อยที่มาหรือที่ไปจะไม่ปรากฏก็หามิได้ ประธานปรากฏ ให้ประโยคสำเร็จและ
บรรลุผลวิเศษ ฉะนั้น
ประธาน เป็นอย่างไร
คือ กายและจิตของภิกษุผู้มีความเพียร ย่อมควรแก่การงาน นี้เป็นประธาน
ประโยค เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุผู้มีความเพียร ย่อมละอุปกิเลส๑ได้ วิตกย่อมสงบไป นี้เป็นประโยค

เชิงอรรถ :
๑ อุปกิเลส หมายถึงนิวรณ์ (ขุ.ป.อ. ๒/๑๕๙/๙๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๔๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๔. โวทานญาณนิทเทส
ผลวิเศษ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุผู้มีความเพียรย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมถึงความพินาศไป นี้เป็น
ผลวิเศษ
ธรรม ๓ ประการนี้ ย่อมไม่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียวอย่างนี้ และ
ธรรม ๓ ประการนี้จะไม่ปรากฏก็หามิได้ จิตไม่ถึงความฟุ้งซ่าน ประธานปรากฏ
ให้ประโยคสำเร็จและบรรลุผลวิเศษ
[๑๖๐] บุคคลใด ภาวนาอานาปานสติดีแล้ว บริบูรณ์แล้ว
อบรมแล้วตามลำดับ ตามสภาวะที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้
บุคคลนั้นย่อมทำโลกนี้ให้สว่างไสว
เหมือนดวงจันทร์พ้นจากหมอก ฉะนั้น
คำว่า อานะ อธิบายว่า ลมหายใจเข้า ไม่ใช่ลมหายใจออก
คำว่า อปานะ อธิบายว่า ลมหายใจออก ไม่ใช่ลมหายใจเข้า สติเข้าไปตั้ง
อยู่ที่ลมหายใจเข้าหายใจออก ผู้ใดหายใจเข้า สติย่อมปรากฏแก่ผู้นั้น ผู้ใดหายใจออก
สติย่อมปรากฏแก่ผู้นั้น
คำว่า บริบูรณ์แล้ว อธิบายว่า ชื่อว่าบริบูรณ์แล้ว เพราะมีความหมายว่าถือเอา
รอบ ชื่อว่าบริบูรณ์แล้ว เพราะมีความหมายว่ารวมไว้ ชื่อว่าบริบูรณ์แล้ว เพราะมี
ความหมายว่าเต็มรอบแล้ว
คำว่า ภาวนา...ดีแล้ว อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ
๑. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดใน
ภาวนานั้นไม่ล่วงเลยกัน
๒. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็น
อย่างเดียวกัน
๓. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่านำความเพียรที่สมควรแก่
ธรรมนั้นเข้าไป
๔. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๔๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๔. โวทานญาณนิทเทส
ความหมายแห่งภาวนา ๔ ประการนี้ เป็นอันภิกษุนั้นทำให้เป็นดุจยาน ทำให้
เป็นที่ตั้ง น้อมไป อบรมแล้ว ปรารภเสมอดีแล้ว
คำว่า ทำให้เป็นดุจยาน อธิบายว่า ภิกษุนั้นหวังในธรรมใด ๆ ย่อมเป็นผู้ถึง
ความชำนาญ มีกำลัง๑ ถึงความแกล้วกล้าในธรรมนั้น ๆ ธรรมเหล่านั้นเป็นธรรมที่
เนื่องด้วยความคำนึงถึง เนื่องด้วยความหวัง เนื่องด้วยมนสิการ เนื่องด้วยจิตตุปบาท
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ทำให้เป็นดุจยาน
คำว่า ทำให้เป็นที่ตั้ง อธิบายว่า จิตตั้งมั่นดีในวัตถุใด ๆ สติก็ปรากฏดีใน
วัตถุนั้น ๆ หรือสติปรากฏดีในวัตถุใด ๆ จิตก็ตั้งมั่นดีในวัตถุนั้น ๆ เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า ทำให้เป็นที่ตั้ง
คำว่า น้อมไป อธิบายว่า จิตน้อมไปด้วยอาการใด ๆ สติก็หมุนไปตาม (คุมอยู่)
ด้วยอาการนั้น ๆ ก็หรือว่า สติหมุนไปด้วยอาการใด ๆ จิตก็น้อมไปด้วยอาการนั้น ๆ
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า น้อมไป
คำว่า อบรมแล้ว อธิบายว่า ชื่อว่าอบรมแล้ว เพราะมีความหมายว่า
ถือเอารอบ ชื่อว่าอบรมแล้ว เพราะมีความหมายว่ารวมไว้ ชื่อว่าอบรมแล้ว เพราะมี
ความหมายว่าเต็มรอบ ภิกษุกำหนดถือเอาด้วยสติ ย่อมชนะบาปอกุศลธรรมได้
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อบรมแล้ว
คำว่า ปรารภเสมอดีแล้ว อธิบายว่า ภาวนา ๔ อย่าง ภิกษุปรารภเสมอ
ดีแล้ว คือ
๑. ปรารภเสมอดีแล้ว เพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดใน
ภาวนานั้นไม่ล่วงเลยกัน
๒. ปรารภเสมอดีแล้ว เพราะมีความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรส
เป็นอย่างเดียวกัน
๓. ปรารภเสมอดีแล้ว เพราะมีความหมายว่านำความเพียรที่สมควร
แก่ธรรมนั้นเข้าไป

เชิงอรรถ :
๑ มีกำลัง ในที่นี้หมายถึงมีกำลังคือสมถะและวิปัสสนา (ขุ.ป.อ. ๒/๑๖๐/๙๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๔. โวทานญาณนิทเทส
๔. ปรารภเสมอดีแล้ว เพราะเพิกถอนกิเลสทั้งหลายซึ่งเป็นข้าศึกแก่
ธรรมนั้น
[๑๖๑] คำว่า เสมอดี อธิบายว่า ความเสมอก็มี ความเสมอดีก็มี
ความเสมอ เป็นอย่างไร
คือ กุศลธรรมทั้งหลายอันไม่มีโทษ เกิดในธรรมนั้น เป็นฝ่ายแห่งความตรัสรู้
นี้ชื่อว่าความเสมอ
ความเสมอดี เป็นอย่างไร
คือ ความดับอารมณ์แห่งธรรมเหล่านั้นเป็นนิพพาน นี้ชื่อว่าความเสมอดี
ก็ความเสมอและความเสมอดี ดังนี้ ภิกษุนั้นรู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้
แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ความเพียรภิกษุนั้นปรารภแล้ว ไม่ย่อหย่อน
สติตั้งมั่น ไม่หลงลืม กายสงบไม่กระสับกระส่าย จิตตั้งมั่นเป็นเอกัคคตารมณ์
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปรารภเสมอดีแล้ว
คำว่า อบรมแล้วตามลำดับ อธิบายว่า ภิกษุนั้นอบรมอานาปานสติข้อต้น ๆ
ด้วยอำนาจลมหายใจเข้ายาว ก็ชื่อว่าอบรมอานาปานสติข้อหลัง ๆ ตามลำดับ อบรม
อานาปานสติข้อต้น ๆ ด้วยอำนาจลมหายใจออกยาว ก็ชื่อว่าอบรมอานาปานสติ
ข้อหลัง ๆ ตามลำดับ อบรมอานาปานสติข้อต้น ๆ ด้วยอำนาจลมหายใจเข้าสั้น
ก็ชื่อว่าอบรมอานาปานสติข้อหลัง ๆ ตามลำดับ ฯลฯ อบรมอานาปานสติข้อต้น ๆ
ด้วยอำนาจลมหายใจเข้าสั้น ก็ชื่อว่าอบรมอานาปานสติข้อหลัง ๆ ตามลำดับ อบรม
อานาปานสติข้อต้น ๆ ด้วยอำนาจลมหายใจออกสั้น ก็ชื่อว่าอบรมอานาปานสติ
ข้อหลัง ๆ ตามลำดับ ฯลฯ อบรมอานาปานสติข้อต้น ๆ ด้วยอำนาจความ
เป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืนหายใจเข้า ก็ชื่อว่าอบรมอานาปานสติข้อหลัง ๆ
ตามลำดับ อบรมอานาปานสติข้อต้น ๆ ด้วยอำนาจความเป็นผู้พิจารณาเห็นความ
สละคืนหายใจออก ก็ชื่อว่าอบรมอานาปานสติข้อหลัง ๆ ตามลำดับ อานาปานสติ
อันมีวัตถุ ๑๖ แม้ทั้งปวงอาศัยกัน ภิกษุนั้นอบรมแล้วและอบรมแล้วตามลำดับ
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อบรมแล้วตามลำดับ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๔. โวทานญาณนิทเทส
คำว่า ตามสภาวะ อธิบายว่า ตามสภาวะมีความหมาย ๑๐ อย่าง คือ
๑. ตามสภาวะที่มีความหมายว่าฝึกตน
๒. ตามสภาวะที่มีความหมายว่าสงบตน
๓. ตามสภาวะที่มีความหมายว่ายังตนให้ปรินิพพาน
๔. ตามสภาวะที่มีความหมายว่ารู้ยิ่ง
๕. ตามสภาวะที่มีความหมายว่ากำหนดรู้
๖. ตามสภาวะที่มีความหมายว่าละ
๗. ตามสภาวะที่มีความหมายว่าเจริญ
๘. ตามสภาวะที่มีความหมายว่าทำให้แจ้ง
๙. ตามสภาวะที่มีความหมายว่าตรัสรู้สัจจะ
๑๐. ตามสภาวะที่มีความหมายว่ายังตนให้ตั้งอยู่ในนิโรธ
คำว่า พระพุทธเจ้า อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคผู้ทรงเป็นพระสยัมภู ไม่มี
ครูอาจารย์ ได้ตรัสรู้สัจจะในธรรมที่ไม่เคยสดับมาก่อนด้วยพระองค์เอง ทรงบรรลุ
ความเป็นพระสัพพัญญูในสัจจะนั้นและถึงความเป็นผู้ทรงชำนาญในพลญาณทั้งหลาย
[๑๖๒] คำว่า พระพุทธเจ้า อธิบายว่า ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะมีความ
หมายว่าอย่างไร คือ
ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะตรัสรู้สัจจะทั้งหลายแล้ว
ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะทรงทำหมู่สัตว์ให้ตรัสรู้
ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะทรงเป็นพระสัพพัญญู
ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะทรงเป็นผู้เห็นธรรมทั้งปวง
ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะไม่มีคนอื่นแนะนำ
ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะทรงเป็นผู้เบิกบาน
ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะทรงเป็นพระขีณาสพ
ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะทรงเป็นผู้ปราศจากอุปกิเลส
ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะปราศจากราคะโดยสิ้นเชิง
ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะปราศจากโทสะโดยสิ้นเชิง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๕๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๔. โวทานญาณนิทเทส
ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะปราศจากโมหะโดยสิ้นเชิง
ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะปราศจากกิเลสโดยสิ้นเชิง
ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะเสด็จถึงทางสายเอก
ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณลำพังพระองค์เดียว
ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะทรงเป็นผู้ขจัดความไม่รู้ได้แล้ว เพราะทรงเป็นผู้ได้
เฉพาะซึ่งความรู้
คำว่า พระพุทธเจ้า นี้ มิใช่พระชนนีทรงตั้ง มิใช่พระชนกทรงตั้ง มิใช่พระภาดา
ทรงตั้ง มิใช่พระภคินีทรงตั้ง มิใช่มิตรอำมาตย์ตั้ง มิใช่พระญาติสาโลหิตทรงตั้ง มิใช่
สมณพราหมณ์ตั้ง มิใช่เทวดาตั้ง
คำว่า พระพุทธเจ้า นี้ เป็นวิโมกขันติกนาม๑ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ๒ของพระ
ผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย เกิดขึ้นพร้อมกับการทรงได้เฉพาะซึ่งพระสัพพัญญุตญาณ
ที่โคนต้นโพธิ์ รวมความว่า พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น๓
คำว่า ทรงแสดงไว้ อธิบายว่า ตามสภาวะที่มีความหมายว่าฝึกตน ชื่อว่า
พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ตามสภาวะ ตามสภาวะที่มีความหมายว่าสงบตน ชื่อว่า
พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ตามสภาวะ ตามสภาวะที่มีความหมายว่ายังตนให้ปรินิพพาน
ชื่อว่าพระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ตามสภาวะ ฯลฯ ตามสภาวะที่มีความหมายว่ายังตน
ให้ตั้งอยู่ในนิโรธ ชื่อว่าพระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ตามสภาวะ
คำว่า บุคคลนั้น อธิบายว่า ผู้ที่เป็นคฤหัสถ์ หรือผู้ที่เป็นบรรพชิต
คำว่า โลก อธิบายว่า ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก วิปัตติภวโลก วิปัตติ-
สัมภวโลก สัมปัตติภวโลก สัมปัตติวิภวโลก
โลก ๑ คือ สัตว์โลกทั้งปวงดำรงอยู่ได้เพราะอาหาร ฯลฯ
โลก ๑๘ คือ ธาตุ ๑๘

เชิงอรรถ :
๑ วิโมกขันติกนาม หมายถึงพระนามที่เกิดในที่สุดแห่งอรหัตตผล (ขุ.ป.อ. ๒/๑๖๒/๑๐๐)
๒ สัจฉิกาบัญญัติ หมายถึงการทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล อีกนัยหนึ่งคือบัญญัติที่เกิดด้วยการทำให้แจ้งซึ่งธรรม
ทั้งปวง (ขุ.ป.อ. ๒/๑๖๒/๑๐๐)
๓ ขุ.ม.(แปล) ๒๙/๑๙๒/๕๕๑-๕๕๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๕๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส
คำว่า ให้สว่างไสว อธิบายว่า บุคคลนั้นทำโลกนี้ให้สว่างไสว แจ่มแจ้ง เพราะ
เป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะตามสภาวะที่มีความหมายว่าฝึกตน ทำโลกนี้ให้สว่างไสว แจ่มแจ้ง
เพราะเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะตามสภาวะที่มีความหมายว่าสงบตน ทำโลกนี้ให้สว่างไสว
แจ่มแจ้ง เพราะเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะตามสภาวะที่มีความหมายว่ายังตนให้ปรินิพพาน
ฯลฯ ทำโลกนี้ให้สว่างไสว แจ่มแจ้ง เพราะเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะตามสภาวะที่มีความ
หมายว่ายังตนให้ตั้งอยู่ในนิโรธ
คำว่า เหมือนดวงจันทร์พ้นจากหมอก อธิบายว่า กิเลสเหมือนหมอก
อริยญาณเหมือนดวงจันทร์ ภิกษุเหมือนจันทิมเทพบุตร ภิกษุพ้นจากกิเลสทั้งปวง
แล้ว ทำโลกนี้ให้สว่างไสว เปล่งปลั่ง และรุ่งเรือง เหมือนดวงจันทร์พ้นจากหมอก
พ้นจากควันและธุลี พ้นจากฝ่ามือราหู ทำโอกาสโลกให้สว่างไสว เปล่งปลั่ง และ
รุ่งเรืองฉะนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เหมือนดวงจันทร์พ้นจากหมอก
ญาณในโวทาน ๑๓ ประการนี้
โวทานญาณนิทเทสที่ ๔ จบ
ภาณวารจบ

๕. สโตการิญาณนิทเทส
แสดงญาณในการทำสติ
[๑๖๓] ญาณในการทำสติ ๓๒ ประการ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในที่นี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์๑
ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า ภิกษุนั้นมีสติหายใจเข้ามีสติหายใจออก คือ
๑. เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว
๒. เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว
๓. เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้าสั้น
๔. เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าหายใจออกสั้น

เชิงอรรถ :
๑ นั่งคู้บัลลังก์ หมายถึงนั่งพับขาเข้าหากันทั้ง ๒ ข้าง ซึ่งเรียกว่า นั่งขัดสมาธิ (วิ.อ. ๑/๑๖๕/๔๔๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๕๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส
๕. สำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจเข้า”
๖. สำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจออก”
๗. สำเหนียกว่า “เราระงับกายสังขารหายใจเข้า”
๘. สำเหนียกว่า “เราระงับกายสังขารหายใจออก”
๙. สำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้ปีติหายใจเข้า”
๑๐. สำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้ปีติหายใจออก”
๑๑. สำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้สุขหายใจเข้า”
๑๒. สำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้สุขหายใจออก”
๑๓. สำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้จิตตสังขารหายใจเข้า”
๑๔. สำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้จิตตสังขารหายใจออก”
๑๕. สำเหนียกว่า “เราระงับจิตตสังขารหายใจเข้า”
๑๖. สำเหนียกว่า “เราระงับจิตตสังขารหายใจออก”
๑๗. สำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้จิตหายใจเข้า”
๑๘. สำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้จิตหายใจออก”
๑๙. สำเหนียกว่า “เราทำจิตให้บันเทิงหายใจเข้า”
๒๐. สำเหนียกว่า “เราทำจิตให้บันเทิงหายใจออก”
๒๑. สำเหนียกว่า “เราตั้งจิตไว้หายใจเข้า”
๒๒. สำเหนียกว่า “เราตั้งจิตไว้หายใจออก”
๒๓. สำเหนียกว่า “เราเปลื้องจิตหายใจเข้า”
๒๔. สำเหนียกว่า “เราเปลื้องจิตหายใจออก”
๒๕. สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงหายใจเข้า”
๒๖. สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงหายใจออก”
๒๗. สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความคลายออกได้หายใจเข้า”
๒๘. สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความคลายออกได้หายใจออก”
๒๙. สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความดับไปหายใจเข้า”
๓๐. สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความดับไปหายใจออก”
๓๑. สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความสละคืนหายใจเข้า”
๓๒. สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความสละคืนหายใจออก”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๕๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส
[๑๖๔] คำว่า ในที่นี้ อธิบายว่า ในความเห็นนี้ คือ ในความถูกใจนี้ ความ
พอใจนี้ ความยึดถือนี้ ธรรมนี้ วินัยนี้ ธรรมวินัยนี้ ปาพจน์นี้ พรหมจรรย์นี้
สัตถุศาสน์นี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ในที่นี้
คำว่า ภิกษุ อธิบายว่า ภิกษุผู้เป็นกัลยาณปุถุชน พระเสขะ หรือเป็น
พระอรหันต์ ผู้มีธรรมไม่กำเริบ
คำว่า ป่า อธิบายว่า สถานที่ทุกแห่งนอกจากเสาเขื่อนออกไป สถานที่นั้น
ทั้งหมด ชื่อว่าป่า
คำว่า โคนไม้ อธิบายว่า อาสนะของภิกษุซึ่งจัดไว้ที่โคนไม้ คือ เตียง ตั่ง ฟูก
เสื่ออ่อน ท่อนหนัง เครื่องลาดทำด้วยหญ้า เครื่องลาดทำด้วยใบไม้ หรือเครื่องลาด
ทำด้วยฟาง ภิกษุยืน เดิน นั่ง หรือนอนที่อาสนะนั้น
คำว่า ว่าง อธิบายว่า เป็นสถานที่ไม่พลุกพล่านด้วยใคร ๆ จะเป็นคฤหัสถ์
หรือบรรพชิต
คำว่า เรือน อธิบายว่า วิหาร โรงที่มุงไว้ครึ่งหนึ่ง ปราสาท เรือนโล้น ถ้ำ
คำว่า นั่งคู้บัลลังก์ อธิบายว่า ภิกษุนั้นเป็นผู้นั่งคู้บัลลังก์
คำว่า ตั้งกายตรง อธิบายว่า กายเป็นกายที่ภิกษุนั้นตั้งไว้ตรง
คำว่า เฉพาะ ในคำว่า ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า มีการกำหนดถือเอาเป็นอรรถ
คำว่า หน้า มีการนำออกเป็นอรรถ คำว่า สติ มีการเข้าไปตั้งไว้เป็นอรรถ
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า
[๑๖๕] คำว่า มีสติ หายใจเข้า อธิบายว่า ภิกษุทำสติโดยอาการ ๓๒ อย่าง
คือ ภิกษุรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจเข้ายาว
สติย่อมตั้งมั่น ชื่อว่าเป็นผู้ทำสติด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เมื่อรู้ความที่จิตเป็น
เอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจออกยาว สติย่อมตั้งมั่น ชื่อว่าเป็น
ผู้ทำสติด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เมื่อรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่าน
ด้วยอำนาจลมหายใจเข้าสั้น สติย่อมตั้งมั่น ชื่อว่าเป็นผู้ทำสติด้วยสตินั้น ด้วย
ญาณนั้น เมื่อรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจ
ออกสั้น สติย่อมตั้งมั่น ชื่อว่าเป็นผู้ทำสติด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น ฯลฯ เมื่อรู้ความ
ที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจความเป็นผู้พิจารณาเห็นความ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส
สละคืนหายใจเข้า สติย่อมตั้งมั่น ฯลฯ เมื่อรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่าน
ด้วยอำนาจความเป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืนหายใจออก สติย่อมตั้งมั่น ชื่อว่า
เป็นผู้ทำสติด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น

ปฐมจตุกกนิทเทส
แสดงหมวด ๔ แห่งญาณที่ ๑
[๑๖๖] ภิกษุเมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออก
ยาวก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุหายใจเข้ายาวในกาลที่นับว่ายาว หายใจออกยาวในกาลที่นับว่ายาว
หายใจเข้าหายใจออกยาวในกาลที่นับว่ายาว ฉันทะเกิดขึ้นแก่เธอผู้ทั้งหายใจเข้า
หายใจออกยาวในกาลที่นับว่ายาว
หายใจเข้ายาวที่ละเอียดกว่านั้นด้วยอำนาจฉันทะในกาลที่นับว่ายาว หายใจ
ออกยาวละเอียดกว่านั้นด้วยอำนาจฉันทะในกาลที่นับว่ายาว เธอทั้งหายใจเข้า
หายใจออกยาวที่ละเอียดกว่านั้นด้วยอำนาจฉันทะในกาลที่นับว่ายาว ความปราโมทย์
เกิดขึ้นแก่เธอผู้ทั้งหายใจเข้าหายใจออกยาวที่ละเอียดกว่านั้น ด้วยอำนาจฉันทะ
ในกาลที่นับว่ายาว
หายใจเข้ายาวละเอียดกว่านั้นด้วยอำนาจความปราโมทย์ ในกาลที่นับว่ายาว
หายใจออกยาวละเอียดกว่านั้นด้วยอำนาจความปราโมทย์ในกาลที่นับว่ายาว หาย
ใจเข้าหายใจออกยาวละเอียดกว่านั้นด้วยอำนาจความปราโมทย์ในกาลที่นับว่ายาว
จิตของเธอผู้ทั้งหายใจเข้าหายใจออกยาวที่ละเอียดกว่านั้น ด้วยอำนาจความ
ปราโมทย์ในกาลที่นับว่ายาว ย่อมหลีกออกจากการหายใจเข้าหายใจออกยาว
อุเบกขาย่อมตั้งอยู่
กายคือลมหายใจเข้าหายใจออกยาวด้วยอาการ ๙ อย่างนี้ ย่อมปรากฏ
ความปรากฏเป็นสติ กายย่อมปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวระลึกด้วย
ภิกษุพิจารณาเห็นกายนั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
สติปัฏฐานภาวนาคือการพิจารณาเห็นกายในกาย


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส
[๑๖๗] คำว่า พิจารณาเห็น อธิบายว่า ภิกษุพิจารณาเห็นกายนั้นอย่างไร
คือ พิจารณาเห็นโดยความไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดยความเที่ยง พิจารณา
เห็นโดยความเป็นทุกข์ ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นสุข พิจารณาเห็นโดยความ
เป็นอนัตตา ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อม
คลายกำหนัด ไม่กำหนัด ย่อมทำราคะให้ดับ ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่ยึดถือ
เมื่อพิจารณาเห็นโดยความไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดย
ความเป็นทุกข์ ย่อมละสุขสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ย่อมละ
อัตตสัญญาได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละนันทิ(ความยินดี)ได้ เมื่อคลายกำหนัด
ย่อมละราคะได้ เมื่อทำราคะให้ดับ ย่อมละสมุทัยได้ เมื่อสละคืน ย่อมละอาทานะ
(ความยึดถือ)ได้ ภิกษุนั้นพิจารณาเห็นกายนั้นอย่างนี้
คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ
๑. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนา
นั้นไม่ล่วงเลยกัน
๒. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่าง
เดียวกัน
๓. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่านำความเพียรที่สมควรแก่
ธรรมเข้าไป
๔. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจเข้า
หายใจออกยาว เวทนาจึงปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความ
ดับไป สัญญาจึงปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไป วิตกจึง
ปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไป
เวทนาย่อมปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไปอย่างไร
ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาย่อมปรากฏ อย่างไร
คือ ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาย่อมปรากฏโดยความเกิดขึ้นแห่งปัจจัยว่า “เพราะ
อวิชชาเกิด เวทนาจึงเกิด” ... “เพราะตัณหาเกิด เวทนาจึงเกิด” ... “เพราะกรรมเกิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส
เวทนาจึงเกิด” ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาย่อมปรากฏโดยความเกิดขึ้นแห่งปัจจัยว่า
“เพราะผัสสะเกิด เวทนาจึงเกิด” แม้เมื่อเห็นลักษณะแห่งความเกิดขึ้น ความเกิดขึ้น
แห่งเวทนาก็ย่อมปรากฏ ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาย่อมปรากฏอย่างนี้
ความเข้าไปตั้งอยู่แห่งเวทนาย่อมปรากฏ อย่างไร
คือ เมื่อภิกษุมนสิการโดยความไม่เที่ยง ความเข้าไปตั้งอยู่โดยความสิ้นไป
ย่อมปรากฏ เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ความเข้าไปตั้งอยู่โดยความเป็นภัย
ย่อมปรากฏ เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ความเข้าไปตั้งอยู่โดยสุญญตะ
(ความว่าง) ย่อมปรากฏ ความเข้าไปตั้งอยู่แห่งเวทนาย่อมปรากฏอย่างนี้
ความดับไปแห่งเวทนาย่อมปรากฏ อย่างไร
คือ ความดับไปแห่งเวทนา ย่อมปรากฏโดยความดับไปแห่งปัจจัยว่า “เพราะ
อวิชชาดับ เวทนาจึงดับ” ... “เพราะตัณหาดับ เวทนาจึงดับ” ... “เพราะกรรมดับ
เวทนาจึงดับ” ความดับไปแห่งเวทนา ย่อมปรากฏโดยความดับไปแห่งปัจจัยว่า
“เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ” แม้เมื่อเห็นลักษณะแห่งความแปรผัน ความดับ
ไปแห่งเวทนาก็ย่อมปรากฏ ความดับไปแห่งเวทนาย่อมปรากฏอย่างนี้ เวทนาย่อม
ปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไปอย่างนี้
สัญญาย่อมปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไปอย่างไร
ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาย่อมปรากฏ อย่างไร
คือ ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาย่อมปรากฏโดยความเกิดขึ้นแห่งปัจจัยว่า “เพราะ
อวิชชาเกิด สัญญาจึงเกิด” ... “เพราะตัณหาเกิด สัญญาจึงเกิด” ... “เพราะกรรมเกิด
สัญญาจึงเกิด” ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาย่อมปรากฏโดยความเกิดขึ้นแห่งปัจจัยว่า
“เพราะผัสสะเกิด สัญญาจึงเกิด” ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาย่อมปรากฏอย่างนี้
ความเข้าไปตั้งอยู่แห่งสัญญาย่อมปรากฏ อย่างไร
คือ เมื่อภิกษุมนสิการโดยความไม่เที่ยง ความเข้าไปตั้งอยู่โดยความสิ้นไปย่อม
ปรากฏ เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ความเข้าไปตั้งอยู่โดยความเป็นภัยย่อม
ปรากฏ เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ความเข้าไปตั้งอยู่โดยสุญญตะย่อม
ปรากฏ ความเข้าไปตั้งอยู่แห่งสัญญาย่อมปรากฏอย่างนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๕๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส
ความดับไปแห่งสัญญาย่อมปรากฏ อย่างไร
คือ ความดับไปแห่งสัญญาย่อมปรากฏโดยความดับไปแห่งปัจจัยว่า “เพราะ
อวิชชาดับ สัญญาจึงดับ” ... “เพราะตัณหาดับ สัญญาจึงดับ” ... “เพราะกรรมดับ
สัญญาจึงดับ” ความดับไปแห่งสัญญาย่อมปรากฏโดยความดับไปแห่งปัจจัยว่า
“เพราะผัสสะดับ สัญญาจึงดับ” แม้เมื่อเห็นลักษณะแห่งความแปรผัน ความดับ
ไปแห่งสัญญาย่อมปรากฏ ความดับไปแห่งสัญญาย่อมปรากฏอย่างนี้ สัญญาย่อม
ปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไปอย่างนี้
วิตกย่อมปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไปอย่างไร
ความเกิดขึ้นแห่งวิตกย่อมปรากฏ อย่างไร
คือ ความเกิดขึ้นแห่งวิตกย่อมปรากฏโดยความเกิดขึ้นแห่งปัจจัยว่า “เพราะ
อวิชชาเกิด วิตกจึงเกิด” ... “เพราะตัณหาเกิด วิตกจึงเกิด” ... “เพราะกรรมเกิด
วิตกจึงเกิด” ความเกิดขึ้นแห่งวิตกย่อมปรากฏโดยความเกิดขึ้นแห่งปัจจัยว่า “เพราะ
สัญญาเกิด วิตกจึงเกิด” แม้เมื่อเห็นลักษณะแห่งความเกิดขึ้น ความเกิดขึ้นแห่ง
วิตกก็ย่อมปรากฏ ความเกิดขึ้นแห่งวิตกย่อมปรากฏอย่างนี้
ความเข้าไปตั้งอยู่แห่งวิตกย่อมปรากฏ อย่างไร
คือ เมื่อมนสิการโดยความไม่เที่ยง ความเข้าไปตั้งอยู่โดยความสิ้นไปย่อม
ปรากฏ เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ความเข้าไปตั้งอยู่โดยความเป็นภัยย่อม
ปรากฏ เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ความเข้าไปตั้งอยู่โดยสุญญตะย่อม
ปรากฏ ความเข้าไปตั้งอยู่แห่งวิตกย่อมปรากฏอย่างนี้
ความดับไปแห่งวิตกย่อมปรากฏ อย่างไร
คือ ความดับไปแห่งวิตกย่อมปรากฏโดยความเกิดขึ้นแห่งปัจจัยว่า “เพราะ
อวิชชาดับ วิตกจึงดับ” ... “เพราะตัณหาดับ วิตกจึงดับ” ... “เพราะกรรมดับ
วิตกจึงดับ” ความดับไปแห่งวิตกย่อมปรากฏโดยความเกิดขึ้นแห่งปัจจัยว่า “เพราะ
สัญญาดับ วิตกจึงดับ” แม้เมื่อเห็นลักษณะความแปรผัน ความดับไปแห่งวิตกก็
ย่อมปรากฏ ความดับไปแห่งวิตกย่อมปรากฏอย่างนี้ วิตกย่อมปรากฏเกิดขึ้น
ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไปอย่างนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส
[๑๖๘] ภิกษุเมื่อรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลม
หายใจเข้าหายใจออกยาว ย่อมให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง รู้ชัดโคจรและรู้แจ้งธรรม
อันมีความสงบเป็นประโยชน์ ให้พละทั้งหลายประชุมลง ... ให้โพชฌงค์ทั้งหลาย
ประชุมลง ... ให้มรรคประชุมลง ... ให้ธรรมทั้งหลายประชุมลง รู้ชัดโคจร และรู้แจ้ง
ธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์
คำว่า ให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง อธิบายว่า ภิกษุให้อินทรีย์ทั้งหลาย
ประชุมลงอย่างไร
คือ ภิกษุให้สัทธินทรีย์ประชุมลง เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ ให้วิริยินทรีย์ประชุมลง
เพราะมีสภาวะประคองไว้ ให้สตินทรีย์ประชุมลง เพราะมีสภาวะเข้าไปตั้งไว้ ให้
สมาธินทรีย์ประชุมลง เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ให้ปัญญินทรีย์ประชุมลง เพราะมี
สภาวะเห็น บุคคลนี้๑ให้อินทรีย์เหล่านี้ประชุมลงในอารมณ์นี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึง
กล่าวว่า “ให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง”
คำว่า รู้ชัดโคจร อธิบายว่า รู้ชัดสิ่งที่เป็นอารมณ์ของบุคคลนั้นว่าเป็นโคจร
แห่งธรรมนั้น รู้ชัดสิ่งที่เป็นโคจรของบุคคลนั้นว่าเป็นอารมณ์แห่งธรรมนั้น
คำว่า รู้ชัด อธิบายว่า บุคคลผู้รู้ชัด คือผู้มีปัญญา
คำว่า สงบ อธิบายว่า อารมณ์ปรากฏเป็นความสงบ จิตไม่ฟุ้งซ่านเป็นความ
สงบ จิตตั้งมั่นเป็นความสงบ จิตผ่องแผ้วเป็นความสงบ
คำว่า ประโยชน์ อธิบายว่า สภาวะที่ไม่มีโทษเป็นประโยชน์ สภาวะที่ไม่มี
กิเลสเป็นประโยชน์ สภาวะที่มีความผ่องแผ้วเป็นประโยชน์ สภาวะที่ประเสริฐเป็น
ประโยชน์
คำว่า รู้แจ้ง อธิบายว่า รู้แจ้งสภาวะที่อารมณ์ปรากฏ รู้แจ้งสภาวะที่จิตไม่
ฟุ้งซ่าน รู้แจ้งสภาวะที่จิตตั้งมั่น รู้แจ้งสภาวะที่จิตผ่องแผ้ว เพราะเหตุนั้น ท่านจึง
กล่าวว่า “และรู้แจ้งธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์”
คำว่า ให้พละทั้งหลายประชุมลง อธิบายว่า ภิกษุให้พละทั้งหลายประชุมลง
อย่างไร

เชิงอรรถ :
๑ บุคคลนี้ หมายถึงพระโยคาวจรผู้ประกอบอานาปานสติภาวนา (ขุ.ป.อ. ๒/๑๖๘/๑๒๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๖๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส
คือ ภิกษุให้สัทธาพละประชุมลง เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มี
ศรัทธา ให้วิริยพละประชุมลง เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน
ให้สติพละประชุมลง เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะความประมาท ให้สมาธิพละ
ประชุมลง เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะ ให้ปัญญาพละประชุมลง
เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา บุคคลนี้ให้พละเหล่านี้ประชุมลงในอารมณ์นี้
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “ให้พละทั้งหลายประชุมลง”
คำว่า รู้ชัดโคจร อธิบายว่า ฯลฯ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “และรู้แจ้ง
ธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์”
คำว่า ให้โพชฌงค์ทั้งหลายประชุมลง อธิบายว่า ภิกษุให้โพชฌงค์ทั้งหลาย
ประชุมลงอย่างไร
คือ ภิกษุให้สติสัมโพชฌงค์ประชุมลง เพราะมีสภาวะเข้าไปตั้งไว้ ให้ธัมม-
วิจยสัมโพชฌงค์ประชุมลง เพราะมีสภาวะเลือกเฟ้น ให้วิริยสัมโพชฌงค์ประชุมลง
เพราะมีสภาวะประคองไว้ ให้ปีติสัมโพชฌงค์ประชุมลง เพราะมีสภาวะแผ่ซ่านไป
ให้ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ประชุมลง เพราะมีสภาวะสงบ ให้สมาธิสัมโพชฌงค์ประชุมลง
เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ให้อุเบกขาสัมโพชฌงค์ประชุมลง เพราะมีสภาวะพิจารณา
บุคคลนี้ให้โพชฌงค์เหล่านี้ประชุมลงในอารมณ์นี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
“ให้โพชฌงค์ทั้งหลายประชุมลง”
คำว่า รู้ชัดโคจร อธิบายว่า ฯลฯ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “และรู้แจ้ง
ธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์”
คำว่า ให้มรรคประชุมลง อธิบายว่า ภิกษุให้มรรคประชุมลงอย่างไร
คือ ภิกษุให้สัมมาทิฏฐิประชุมลง เพราะมีสภาวะเห็น ให้สัมมาสังกัปปะประชุม
ลง เพราะมีสภาวะตรึกตรอง ให้สัมมาวาจาประชุมลง เพราะมีสภาวะกำหนด ให้
สัมมากัมมันตะประชุมลง เพราะมีสภาวะเกิดขึ้น ให้สัมมาอาชีวะประชุมลง เพราะมี
สภาวะผ่องแผ้ว ให้สัมมาวายามะประชุมลง เพราะมีสภาวะประคองไว้ ให้สัมมาสติ
ประชุมลง เพราะมีสภาวะเข้าไปตั้งไว้ ให้สัมมาสมาธิประชุมลง เพราะมีสภาวะไม่
ฟุ้งซ่าน บุคคลนี้ให้มรรคนี้ประชุมลงในอารมณ์นี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
“ให้มรรคประชุมลง”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส
คำว่า รู้ชัดโคจร อธิบายว่า ฯลฯ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “และรู้แจ้ง
ธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์”
คำว่า ให้ธรรมทั้งหลายประชุมลง อธิบายว่า ภิกษุให้ธรรมทั้งหลาย
ประชุมลงอย่างไร
คือ ภิกษุให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ให้พละ
ทั้งหลายประชุมลง เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหว ให้โพชฌงค์ทั้งหลายประชุมลง
เพราะมีสภาวะเป็นธรรมเครื่องนำออก ให้มรรคประชุมลง เพราะมีสภาวะเป็นเหตุ
ให้สติปัฏฐานประชุมลง เพราะมีสภาวะเข้าไปตั้งไว้ ให้สัมมัปปธานประชุมลง
เพราะมีสภาวะเริ่มตั้งความเพียร ให้อิทธิบาทประชุมลง เพราะมีสภาวะให้สำเร็จ
ให้สัจจะประชุมลง เพราะมีสภาวะเป็นของแท้ ให้สมถะประชุมลง เพราะมีสภาวะ
ไม่ฟุ้งซ่าน ให้วิปัสสนาประชุมลง เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็น ให้สมถะและ
วิปัสสนาประชุมลง เพราะมีสภาวะเป็นธรรมมีรสเป็นอย่างเดียวกัน ให้ธรรมเป็นคู่กัน
ประชุมลง เพราะมีสภาวะไม่ล่วงเลยกัน ให้สีลวิสุทธิประชุมลง เพราะมีสภาวะสำรวม
ให้จิตตวิสุทธิประชุมลง เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ให้ทิฏฐิวิสุทธิประชุมลง เพราะ
มีสภาวะเห็น ให้วิโมกข์ประชุมลง เพราะมีสภาวะหลุดพ้น ให้วิชชาประชุมลง
เพราะมีสภาวะแทงตลอด ให้วิมุตติประชุมลง เพราะมีสภาวะสละ ให้ญาณใน
ความสิ้นไปประชุมลง เพราะมีสภาวะตัดขาด ให้อนุปปาทญาณประชุมลง เพราะมี
สภาวะระงับ ให้ฉันทะประชุมลง เพราะมีสภาวะเป็นมูล ให้มนสิการประชุมลง
เพราะมีสภาวะเป็นสมุฏฐาน ให้ผัสสะประชุมลง เพราะมีสภาวะเป็นที่ประชุม
ให้เวทนาประชุมลง เพราะมีสภาวะเป็นที่รวม ให้สมาธิประชุมลง เพราะมีสภาวะ
เป็นประธาน ให้สติประชุมลงเพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ให้สติสัมปชัญญะประชุมลง
เพราะมีสภาวะเป็นธรรมที่ยิ่งกว่านั้น ให้วิมุตติประชุมลง เพราะมีสภาวะเป็นแก่นสาร
ให้ธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพานประชุมลง เพราะมีสภาวะเป็นที่สุด บุคคลนี้
ให้ธรรมเหล่านี้ประชุมลงในอารมณ์นี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “ให้ธรรม
ทั้งหลายประชุมลง”
คำว่า รู้ชัดโคจร อธิบายว่า รู้ชัดสิ่งที่เป็นอารมณ์ของบุคคลนั้นว่าเป็นโคจร
ของบุคคลนั้น รู้ชัดสิ่งที่เป็นโคจรของบุคคลนั้นว่าเป็นอารมณ์ของบุคคลนั้น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส
คำว่า รู้ชัด อธิบายว่า บุคคลผู้รู้ชัด คือผู้มีปัญญา
คำว่า สงบ อธิบายว่า อารมณ์ปรากฏเป็นความสงบ จิตไม่ฟุ้งซ่านเป็น
ความสงบ จิตตั้งมั่นเป็นความสงบ จิตผ่องแผ้วเป็นความสงบ
คำว่า ประโยชน์ อธิบายว่า สภาวะที่ไม่มีโทษเป็นประโยชน์ สภาวะที่ไม่มี
กิเลสเป็นประโยชน์ สภาวะที่มีความผ่องแผ้วเป็นประโยชน์ สภาวะที่ประเสริฐเป็น
ประโยชน์
คำว่า รู้แจ้ง อธิบายว่า รู้แจ้งสภาวะที่อารมณ์ปรากฏ รู้แจ้งสภาวะที่จิตไม่
ฟุ้งซ่าน รู้แจ้งสภาวะที่จิตตั้งมั่น รู้แจ้งสภาวะที่จิตผ่องแผ้ว เพราะเหตุนั้น ท่านจึง
กล่าวว่า “และรู้แจ้งธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์” (๑)
[๑๖๙] ภิกษุเมื่อหายใจเข้าสั้นก็รู้ชัดว่าหายใจเข้าสั้น เมื่อหายใจออก
สั้นก็รู้ชัดว่าหายใจออกสั้น อย่างไร
คือ ภิกษุหายใจเข้าสั้นในกาลที่นับได้นิดหน่อย หายใจออกสั้นในกาลที่นับได้
นิดหน่อย เธอทั้งหายใจเข้าหายใจออกสั้นในกาลที่นับได้นิดหน่อย ฉันทะเกิดขึ้นแก่
เธอผู้ทั้งหายใจเข้าหายใจออกสั้นในกาลที่นับได้นิดหน่อย
หายใจเข้าสั้นละเอียดกว่านั้นด้วยอำนาจฉันทะในกาลที่นับได้นิดหน่อย หายใจ
ออกสั้นละเอียดกว่านั้นด้วยอำนาจฉันทะในกาลที่นับได้นิดหน่อย เธอทั้งหายใจเข้า
หายใจออกสั้นละเอียดกว่านั้นด้วยอำนาจฉันทะในกาลที่นับได้นิดหน่อย ความ
ปราโมทย์ย่อมเกิดแก่เธอผู้ทั้งหายใจเข้าหายใจออกสั้นละเอียดกว่านั้นด้วยอำนาจฉันทะ
ในกาลที่นับได้นิดหน่อย
หายใจเข้าสั้นละเอียดกว่านั้นด้วยอำนาจความปราโมทย์ในกาลที่นับได้
นิดหน่อย หายใจออกสั้นละเอียดกว่านั้นด้วยอำนาจความปราโมทย์ในกาลที่นับได้
นิดหน่อย เธอทั้งหายใจเข้าหายใจออกสั้นละเอียดกว่านั้นด้วยอำนาจความ
ปราโมทย์ในกาลที่นับได้นิดหน่อย จิตของเธอผู้ทั้งหายใจเข้าหายใจออกสั้นละเอียด
กว่านั้นด้วยอำนาจความปราโมทย์ในกาลที่นับได้นิดหน่อย ย่อมหลีกออกจากการ
หายใจเข้า หายใจออกสั้น อุเบกขาย่อมตั้งอยู่


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส
กายคือลมหายใจเข้าหายใจออกสั้นด้วยอาการ ๙ อย่างนี้ ย่อมปรากฏ
ความปรากฏเป็นสติ การพิจารณาเห็นเป็นญาณ กายย่อมปรากฏ ไม่ใช่สติ สติ
ปรากฏด้วย เป็นตัวระลึกด้วย ภิกษุพิจารณาเห็นกายนั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “สติปัฏฐานภาวนาคือการพิจารณาเห็นกายในกาย”
คำว่า พิจารณาเห็น อธิบายว่า ภิกษุพิจารณาเห็นกายนั้นอย่างไร ฯลฯ
พิจารณาเห็นกายนั้นอย่างนี้
คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา เพราะ
มีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจเข้า
หายใจออกสั้น เวทนาจึงปรากฏเกิดขึ้น ฯลฯ ภิกษุเมื่อรู้ความที่จิตเป็น
เอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจเข้าหายใจออกสั้น ย่อมให้อินทรีย์
ทั้งหลายประชุมลง ฯลฯ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “และรู้แจ้งธรรมอันมี
ความสงบเป็นประโยชน์” (๒)
[๑๗๐] ภิกษุสำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจเข้า”
สำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจออก” อย่างไร
คำว่า กาย อธิบายว่า กายมี ๒ อย่าง คือ
๑. นามกาย
๒. รูปกาย
นามกาย เป็นอย่างไร
คือ เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ นาม นามกายและสิ่งที่เรียกว่า
จิตตสังขาร นี้ชื่อว่านามกาย
รูปกาย เป็นอย่างไร
คือ มหาภูตรูป ๔ รูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ ลมหายใจเข้าหายใจออก นิมิต
และสิ่งที่เนื่องกันซึ่งเรียกว่า กายสังขาร นี้ชื่อว่ารูปกาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส
กายเหล่านั้นย่อมปรากฏ อย่างไร
คือ เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจ
เข้ายาว สติย่อมตั้งมั่น กายเหล่านั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เมื่อรู้
ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจออกยาว สติย่อม
ตั้งมั่น กายเหล่านั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เมื่อรู้ความที่จิตเป็น
เอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจเข้าสั้น สติย่อมตั้งมั่น กายเหล่านั้น
ย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เมื่อรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่าน
ด้วยอำนาจลมหายใจออกสั้น สติย่อมตั้งมั่น กายเหล่านั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น
ด้วยญาณนั้น
เมื่อคำนึงถึง กายเหล่านั้นย่อมปรากฏ เมื่อรู้ กายเหล่านั้นย่อมปรากฏ เมื่อ
เห็น กายเหล่านั้นย่อมปรากฏ เมื่อพิจารณา กายเหล่านั้นย่อมปรากฏ เมื่ออธิษฐาน
จิต กายเหล่านั้นย่อมปรากฏ เมื่อน้อมใจเชื่อด้วยศรัทธา กายเหล่านั้นย่อมปรากฏ
เมื่อประคองความเพียร กายเหล่านั้นย่อมปรากฏ เมื่อตั้งสติไว้มั่น กายเหล่านั้น
ย่อมปรากฏ เมื่อตั้งจิตไว้มั่น กายเหล่านั้นย่อมปรากฏ เมื่อรู้ชัดด้วยปัญญา กาย
เหล่านั้นย่อมปรากฏ เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กายเหล่านั้นย่อมปรากฏ เมื่อกำหนดรู้
ธรรมที่ควรกำหนดรู้ กายเหล่านั้นย่อมปรากฏ เมื่อละธรรมที่ควรละ กายเหล่านั้น
ย่อมปรากฏ เมื่อเจริญธรรมที่ควรเจริญ กายเหล่านั้นย่อมปรากฏ เมื่อทำให้แจ้ง
ธรรมที่ควรทำให้แจ้ง กายเหล่านั้นย่อมปรากฏ กายเหล่านั้นย่อมปรากฏอย่างนี้
กายคือความเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวงหายใจเข้าหายใจออกย่อมปรากฏ ความ
ปรากฏเป็นสติ การพิจารณาเห็นเป็นญาณ กายย่อมปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏ
ด้วย เป็นตัวระลึกด้วย ภิกษุพิจารณาเห็นกายนั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “สติปัฏฐานภาวนาคือการพิจารณาเห็นกายในกาย”
คำว่า พิจารณาเห็น อธิบายว่า ภิกษุพิจารณาเห็นกายนั้นอย่างไร ฯลฯ
พิจารณาเห็นกายนั้นอย่างนี้
คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา
เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส
ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าเป็นผู้รู้ชัดกองลมทั้งปวงระวังลมหายใจ
เข้าหายใจออก ชื่อว่าจิตตวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าทิฏฐิ-
วิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าเห็น
บรรดาความสำรวม ความไม่ฟุ้งซ่านและความเห็นนั้น ความสำรวม ชื่อว่า
อธิสีลสิกขา ความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าอธิจิตตสิกขา ความเห็น ชื่อว่าอธิปัญญาสิกขา
ภิกษุเมื่อคำนึงถึงสิกขา ๓ นี้ ชื่อว่าศึกษา เมื่อรู้ ชื่อว่าศึกษา เมื่อเห็น ชื่อว่า
ศึกษา เมื่อพิจารณา ชื่อว่าศึกษา เมื่ออธิษฐานจิต ชื่อว่าศึกษา เมื่อน้อมใจเชื่อด้วย
ศรัทธา ชื่อว่าศึกษา เมื่อประคองความเพียร ชื่อว่าศึกษา เมื่อตั้งสติไว้มั่น ชื่อว่า
ศึกษา เมื่อตั้งจิตไว้มั่น ชื่อว่าศึกษา เมื่อรู้ชัดด้วยปัญญา ชื่อว่าศึกษา เมื่อรู้ยิ่งธรรม
ที่ควรรู้ยิ่ง ชื่อว่าศึกษา เมื่อกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ชื่อว่าศึกษา เมื่อละธรรม
ที่ควรละ ชื่อว่าศึกษา เมื่อเจริญธรรมที่ควรเจริญ ชื่อว่าศึกษา เมื่อทำให้แจ้งธรรม
ที่ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่าศึกษา
เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจความเป็น
ผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจเข้าหายใจออก เวทนาย่อมปรากฏเกิดขึ้น ฯลฯ ภิกษุ
เมื่อรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจความเป็นผู้กำหนดรู้กอง
ลมทั้งปวงหายใจเข้าหายใจออก ย่อมให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง ฯลฯ เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า “และรู้แจ้งธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์” (๓)
[๑๗๑] ภิกษุสำเหนียกว่า “เราระงับกายสังขารหายใจเข้า” สำเหนียกว่า
“เราระงับกายสังขารหายใจออก” อย่างไร
กายสังขาร เป็นอย่างไร
คือ ลมหายใจเข้ายาว เป็นไปในกาย ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยกาย เป็นกาย-
สังขาร ภิกษุเมื่อระงับ ดับ ทำกายสังขารเหล่านั้นให้สงบ ชื่อว่าสำเหนียกอยู่ ลม
หายใจออกยาว เป็นไปในกาย ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยกาย เป็นกายสังขาร ภิกษุ
เมื่อระงับ ดับ ทำกายสังขารเหล่านั้นให้สงบ ชื่อว่าสำเหนียกอยู่ ลมหายใจเข้าสั้น
ฯลฯ ลมหายใจออกสั้น ฯลฯ ลมที่ภิกษุกำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจเข้า ฯลฯ
ลมที่ภิกษุกำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจออก เป็นไปในกาย ธรรมเหล่านี้เนื่อง
ด้วยกาย เป็นกายสังขาร ภิกษุเมื่อระงับ ดับ ทำกายสังขารเหล่านั้นให้สงบ ชื่อว่า
สำเหนียกอยู่


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส
ความอ่อนไป ความน้อมไป ความเอนไป ความโอนไป ความหวั่นไหว ความ
ดิ้นรน ความโยก ความโคลงแห่งกาย มีอยู่ เพราะกายสังขารเห็นปานใด ภิกษุ
สำเหนียกว่า “เราระงับกายสังขารเห็นปานนั้นหายใจเข้า” สำเหนียกว่า “เราระงับ
กายสังขารเห็นปานนั้นหายใจออก” ความไม่อ่อนไป ความไม่น้อมไป ความไม่เอนไป
ความไม่โอนไป ความไม่หวั่นไหว ความไม่ดิ้นรน ความไม่โยก ความไม่โคลงแห่ง
กายมีอยู่ เพราะกายสังขารเห็นปานใด ภิกษุสำเหนียกว่า “เราระงับกายสังขาร
ที่ละเอียดสุขุมเห็นปานนั้นหายใจเข้า” สำเหนียกว่า “เราระงับกายสังขารที่ละเอียด
สุขุมเห็นปานนั้นหายใจออก” ภิกษุสำเหนียกว่า “เราระงับกายสังขารหายใจเข้า”
สำเหนียกว่า “เราระงับกายสังขารหายใจออก” ตามนัยที่ว่ามานี้
เมื่อเป็นอย่างนี้ ความได้ลมก็ไม่ปรากฏ ลมหายใจเข้าหายใจออกก็ไม่ปรากฏ
อานาปานสติก็ไม่ปรากฏ สมาธิที่ประกอบด้วยอานาปานสติก็ไม่ปรากฏ และ
ภิกษุผู้ฉลาดจะเข้าสมาบัติหรือออกจากสมาบัตินั้นก็ไม่ได้ ภิกษุสำเหนียกว่า “เรา
ระงับกายสังขารหายใจเข้า” สำเหนียกว่า “เราระงับกายสังขารหายใจออก”
เมื่อเป็นอย่างนี้ ความได้ลมก็ปรากฏ ลมหายใจเข้าหายใจออกก็ปรากฏ
อานาปานสติก็ปรากฏ สมาธิที่ประกอบด้วยอานาปานสติก็ปรากฏ และภิกษุ
ผู้ฉลาดจะเข้าสมาบัติหรือออกจากสมาบัตินั้นก็ได้ ข้อนั้นเหมือนอะไร
เหมือนเมื่อบุคคลเคาะกังสดาล เสียงดังย่อมเป็นไปก่อน เพราะกำหนด ใส่ใจ
จดจำนิมิตแห่งเสียงดังได้ดีแล้ว เมื่อเสียงดังค่อยลง ต่อมาภายหลัง เสียงค่อยย่อม
เป็นไป เพราะกำหนด ใส่ใจ จดจำนิมิตแห่งเสียงดังได้ดีแล้ว เมื่อเสียงค่อยเบา
ลงอีก ต่อมาภายหลัง จิตจึงเป็นไปได้ แม้เพราะนิมิตแห่งเสียงค่อยเป็นอารมณ์
ลมหายใจเข้าหายใจออกที่หยาบ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเป็นไปก่อน เพราะกำหนด
ใส่ใจ จดจำนิมิตแห่งลมหายใจเข้าหายใจออกอย่างหยาบได้ดีแล้ว เมื่อลมหายใจ
เข้าหายใจออกอย่างหยาบเบาลง ต่อมาภายหลัง ลมหายใจเข้าหายใจออกอย่าง
ละเอียดจึงเป็นไป เพราะกำหนด ใส่ใจ จดจำนิมิตแห่งลมหายใจเข้าหายใจออก
อย่างละเอียดได้ดีแล้ว เมื่อลมหายใจเข้าหายใจออกอย่างละเอียดเบาลงอีก ต่อมา
ภายหลัง จิตย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่าน แม้เพราะนิมิตแห่งลมหายใจเข้าหายใจออก
อย่างละเอียดเป็นอารมณ์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส
เมื่อเป็นอย่างนี้ ความได้ลมก็ปรากฏ ลมหายใจเข้าหายใจออกก็ปรากฏ
อานาปานสติก็ปรากฏ สมาธิที่ประกอบด้วยอานาปานสติก็ปรากฏ และภิกษุ
ผู้ฉลาดจะเข้าหรือออกจากสมาบัตินั้นก็ได้ กายคือความที่บุคคลระงับกายสังขาร
หายใจเข้าหายใจออก กายย่อมปรากฏ ความปรากฏเป็นสติ การพิจารณาเห็น
เป็นญาณ กายย่อมปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวระลึกด้วย ภิกษุ
พิจารณาเห็นกายนั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
“สติปัฏฐานภาวนาคือการพิจารณาเห็นกายในกาย”
คำว่า พิจารณาเห็น อธิบายว่า ภิกษุพิจารณาเห็นกายนั้นอย่างไร ฯลฯ
พิจารณาเห็นกายนั้นอย่างนี้
คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา เพราะ
มีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าเป็นผู้ระงับกายสังขารระวังลมหายใจเข้า
หายใจออก ชื่อว่าจิตตวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าทิฏฐิวิสุทธิ
เพราะมีความหมายว่าเห็น
บรรดาความสำรวม ความไม่ฟุ้งซ่านและความเห็นนั้น ความสำรวม ชื่อว่า
อธิสีลสิกขา ความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าอธิจิตตสิกขา ความเห็น ชื่อว่าอธิปัญญาสิกขา
ภิกษุเมื่อคำนึงถึงสิกขา ๓ นี้ ชื่อว่าศึกษา ฯลฯ เมื่อทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำ
ให้แจ้ง ชื่อว่าศึกษา เมื่อรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจความ
เป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจเข้าหายใจออก เวทนาย่อมปรากฏเกิดขึ้น ฯลฯ ภิกษุ
เมื่อรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจความเป็นผู้ระงับกาย-
สังขารหายใจเข้าหายใจออก ย่อมให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง ฯลฯ เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า “และรู้แจ้งธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์” (๔)
อนุปัสสนาญาณ ๘ อุปัฏฐานุสสติ ๘ และสุตตันติกวัตถุ ๔ ในการพิจารณา
เห็นกายในกาย
ภาณวารจบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส
ทุติยจตุกกนิทเทส
แสดงหมวด ๔ แห่งญาณที่ ๒
[๑๗๒] ภิกษุสำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้ปีติหายใจเข้า” สำเหนียกว่า
“เรากำหนดรู้ปีติหายใจออก” อย่างไร
ปีติ เป็นอย่างไร
คือ เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจ
เข้ายาว ปีติและปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้น ฯลฯ เมื่อรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์
ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจออกยาว ปีติและปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้น ฯลฯ ด้วย
อำนาจลมหายใจเข้าสั้น ฯลฯ ด้วยอำนาจลมหายใจออกสั้น ฯลฯ ด้วยอำนาจความ
เป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจเข้า ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้กำหนดรู้กอง
ลมทั้งปวงหายใจออก ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจเข้า ฯลฯ
เมื่อรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจความเป็นผู้ระงับกายสังขาร
หายใจออก ปีติและปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้น ปีติและปราโมทย์คือความเบิกบานใจ
ความบันเทิง ความหรรษา ความรื่นเริงจิต ความปลื้มจิต ความดีใจ ความพอใจ
นี้ชื่อว่าปีติ
ปีตินั้นย่อมปรากฏ อย่างไร
คือ เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจ
เข้าหายใจออกยาว สติย่อมตั้งมั่น ปีตินั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น
เมื่อรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจออกยาว สติ
ย่อมตั้งมั่น ปีตินั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น ฯลฯ ด้วยอำนาจ
ลมหายใจเข้าสั้น ฯลฯ ด้วยอำนาจลมหายใจออกสั้น ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็น
ผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจเข้า ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้กำหนดรู้กองลม
ทั้งปวงหายใจออก ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจเข้า ฯลฯ
เมื่อรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจความเป็นผู้ระงับกาย
สังขารหายใจออก สติย่อมตั้งมั่น ปีตินั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เมื่อ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส
คำนึงถึง ปีตินั้นย่อมปรากฏ เมื่อรู้ ฯลฯ เมื่อเห็น ฯลฯ เมื่อพิจารณา ฯลฯ เมื่อ
อธิษฐานจิต ฯลฯ เมื่อน้อมใจเชื่อด้วยสัทธา ฯลฯ เมื่อประคองความเพียร ฯลฯ
เมื่อตั้งสติไว้มั่น ฯลฯ เมื่อตั้งจิตไว้มั่น ฯลฯ เมื่อรู้ชัดด้วยปัญญา ฯลฯ เมื่อรู้ยิ่งธรรม
ที่ควรรู้ยิ่ง ฯลฯ เมื่อกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ฯลฯ เมื่อละธรรมที่ควรละ ฯลฯ
เมื่อเจริญธรรมที่ควรเจริญ ฯลฯ เมื่อทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ปีตินั้นย่อมปรากฏ
ปีตินั้นย่อมปรากฏอย่างนี้ เวทนาด้วยอำนาจความเป็นผู้รู้ชัดปีติหายใจเข้าหายใจออก
ย่อมปรากฏ ความปรากฏเป็นสติ การพิจารณาเห็นเป็นญาณ เวทนาย่อมปรากฏ
ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวระลึกด้วย ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนานั้นด้วยสตินั้น
ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “สติปัฏฐานภาวนาคือการพิจารณา
เห็นเวทนาในเวทนา”
คำว่า พิจารณาเห็น อธิบายว่า ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนานั้นอย่างไร คือ
พิจารณาเห็นโดยความไม่เที่ยง ฯลฯ พิจารณาเห็นเวทนานั้นอย่างนี้
คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา เพราะ
มีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าเป็นผู้กำหนดรู้ปีติระวังลมหายใจเข้าหาย
ใจออก ฯลฯ เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจ
ความเป็นผู้กำหนดรู้ปีติหายใจเข้าหายใจออก ฯลฯ ย่อมให้อินทรีย์ทั้งหลาย
ประชุมลง ฯลฯ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “และรู้แจ้งธรรมอันมีความสงบเป็น
ประโยชน์” (๑)
[๑๗๓] ภิกษุสำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้สุขหายใจเข้า” สำเหนียกว่า
“เรากำหนดรู้สุขหายใจออก” อย่างไร
คำว่า สุข อธิบายว่า สุขมี ๒ อย่าง คือ
๑. กายิกสุข
๒. เจตสิกสุข

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส
กายิกสุข เป็นอย่างไร
คือ ความสำราญทางกาย ความสุขทางกาย ความเสวยสุขที่เป็นความสำราญ
ซึ่งเกิดจากกายสัมผัส สุขเวทนาที่เป็นความสำราญซึ่งเกิดจากกายสัมผัส นี้เป็น
กายิกสุข
เจตสิกสุข เป็นอย่างไร
คือ ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยสุขที่เป็นความสำราญ
ซึ่งเกิดจากเจโตสัมผัส สุขเวทนาที่เป็นความสำราญซึ่งเกิดจากเจโตสัมผัส นี้เป็น
เจตสิกสุข
สุขเหล่านั้นย่อมปรากฏ อย่างไร
คือ เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจ
เข้ายาว สติย่อมตั้งมั่น สุขเหล่านั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เมื่อรู้ความ
ที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจออกยาว สติย่อมตั้งมั่น
สุขเหล่านั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น ฯลฯ เมื่อทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง
สุขเหล่านั้นย่อมปรากฏ สุขเหล่านั้นย่อมปรากฏอย่างนี้ เวทนาด้วยอำนาจ
ความเป็นผู้รู้แจ้งสุขหายใจเข้าหายใจออกย่อมปรากฏ ความปรากฏเป็นสติ การ
พิจารณาเห็นเป็นญาณ เวทนาย่อมปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวระลึก
ด้วย ภิกษุพิจารณาเวทนานั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึง
กล่าวว่า “สติปัฏฐานภาวนาคือการพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย”
คำว่า พิจารณาเห็น อธิบายว่า ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาอย่างไร คือ
พิจารณาเห็นโดยความไม่เที่ยง ฯลฯ พิจารณาเห็นเวทนานั้นอย่างนี้
คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา เพราะ
มีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าเป็นผู้กำหนดรู้สุขระวังลมหายใจเข้า
หายใจออก ฯลฯ เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส
ความเป็นผู้กำหนดรู้สุขหายใจเข้าหายใจออก ฯลฯ ย่อมให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง
ฯลฯ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “และรู้แจ้งธรรมอันมีความสงบเป็น
ประโยชน์” (๒)
[๑๗๔] ภิกษุสำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้จิตตสังขารหายใจเข้า” สำเหนียกว่า
“เรากำหนดรู้จิตตสังขารหายใจออก” อย่างไร
จิตตสังขาร เป็นอย่างไร
คือ สัญญาและเวทนาด้วยอำนาจลมหายใจเข้ายาว เป็นเจตสิก ธรรมเหล่านี้
เนื่องด้วยจิต เป็นจิตตสังขาร สัญญาและเวทนาด้วยอำนาจลมหายใจเข้าหายใจ
ออกยาว เป็นเจตสิก ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยจิต เป็นจิตตสังขาร ฯลฯ สัญญาและ
เวทนาด้วยอำนาจความเป็นผู้กำหนดรู้สุขหายใจเข้า ฯลฯ สัญญาและเวทนา
ด้วยอำนาจความเป็นผู้รู้แจ้งสุขหายใจออก เป็นเจตสิก ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยจิต
นี้ชื่อว่า จิตตสังขาร
จิตตสังขารเหล่านั้นย่อมปรากฏ อย่างไร
คือ เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจ
เข้ายาว สติย่อมตั้งมั่น จิตตสังขารเหล่านั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น
เมื่อรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจออกยาว
สติย่อมตั้งมั่น จิตตสังขารเหล่านั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น ฯลฯ เมื่อ
ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง จิตตสังขารเหล่านั้นย่อมปรากฏ จิตตสังขารเหล่านั้น
ย่อมปรากฏอย่างนี้ เวทนาด้วยอำนาจความเป็นผู้กำหนดรู้จิตตสังขารหายใจเข้าหายใจ
ออก ย่อมปรากฏ ความปรากฏเป็นสติ การพิจารณาเห็นเป็นญาณ เวทนาย่อม
ปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวระลึกด้วย ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนานั้น
ด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “สติปัฏฐานภาวนาคือการ
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย”
คำว่า พิจารณาเห็น อธิบายว่า ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนานั้นอย่างไร คือ
พิจารณาเห็นโดยความไม่เที่ยง ฯลฯ พิจารณาเห็นเวทนานั้นอย่างนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส
คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา
เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าเป็นผู้กำหนดรู้จิตตสังขารระวังลมหาย
ใจเข้าหายใจออก ฯลฯ เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วย
อำนาจความเป็นผู้กำหนดรู้จิตตสังขารหายใจเข้าหายใจออก ฯลฯ ย่อมให้อินทรีย์
ทั้งหลายประชุมลง ฯลฯ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “และรู้แจ้งธรรมอันมีความ
สงบเป็นประโยชน์” (๓)
[๑๗๕] ภิกษุสำเหนียกว่า “เราระงับจิตตสังขารหายใจเข้า” สำเหนียกว่า
“เราระงับจิตตสังขารหายใจออก” อย่างไร
จิตตสังขาร เป็นอย่างไร
คือ สัญญาและเวทนาด้วยอำนาจลมหายใจเข้ายาว เป็นเจตสิก ธรรมเหล่านี้
เนื่องด้วยจิต เป็นจิตตสังขาร ภิกษุเมื่อระงับ ดับ ทำจิตตสังขารเหล่านั้นให้สงบ ชื่อว่า
สำเหนียกอยู่ สัญญาและเวทนาด้วยอำนาจลมหายใจออกยาว เป็นเจตสิก ธรรม
เหล่านี้เนื่องด้วยจิต เป็นจิตตสังขาร ภิกษุเมื่อระงับ ดับ ทำจิตตสังขารเหล่านั้น
ให้สงบ ชื่อว่าสำเหนียกอยู่ สัญญาและเวทนาด้วยอำนาจความเป็นผู้กำหนดรู้
จิตตสังขารหายใจ ฯลฯ สัญญาและเวทนาด้วยอำนาจความเป็นผู้กำหนดรู้จิตต-
สังขารหายใจออก เป็นเจตสิก ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยจิต เป็นจิตตสังขาร ภิกษุ
เมื่อระงับ ดับ ทำจิตตสังขารเหล่านั้นให้สงบ ชื่อว่าสำเหนียกอยู่ เวทนาด้วย
อำนาจความเป็นผู้ระงับจิตตสังขารหายใจเข้าหายใจออก ย่อมปรากฏ ความ
ปรากฏเป็นสติ การพิจารณาเห็นเป็นญาณ เวทนาย่อมปรากฏ ไม่ใช่สติ สติ
ปรากฏด้วย เป็นตัวระลึกด้วย ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนานั้น ด้วยสตินั้น ด้วย
ญาณนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “สติปัฏฐานภาวนาคือการพิจารณาเห็น
เวทนาในเวทนาทั้งหลาย”
คำว่า พิจารณาเห็น อธิบายว่า ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนานั้นอย่างไร ฯลฯ
พิจารณาเห็นเวทนานั้นอย่างนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๗๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส
คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา เพราะ
มีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าเป็นผู้ระงับจิตตสังขารระวังลมหายใจเข้า
หายใจออก ฯลฯ เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจ
ความเป็นผู้ระงับจิตตสังขารหายใจเข้าหายใจออก ฯลฯ ย่อมให้อินทรีย์ทั้งหลาย
ประชุมลง ฯลฯ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “และรู้แจ้งธรรมอันมีความสงบ
เป็นประโยชน์” (๔)
อนุปัสสนาญาณ ๘ อุปัฏฐานานุสสติ ๘ สุตตันติกวัตถุ ๔ ในการพิจารณา
เห็นเวทนา
ภาณวาร จบ

ตติยจตุกกนิทเทส
แสดงหมวด ๔ แห่งญาณที่ ๓
[๑๗๖] ภิกษุสำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้จิตหายใจเข้า” สำเหนียกว่า
“เรากำหนดรู้จิตหายใจออก” อย่างไร
จิตนั้น เป็นอย่างไร
คือ วิญญาณด้วยอำนาจลมหายใจเข้ายาวเป็นจิต จิต คือ มโน มานัส หทัย
ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุอัน
ควรแก่จิตนั้นใด นี้ชื่อว่าจิต วิญญาณด้วยอำนาจลมหายใจออกยาว ฯลฯ ด้วยอำนาจ
ความเป็นผู้ระงับจิตตสังขารหายใจเข้า ฯลฯ วิญญาณด้วยอำนาจความเป็นผู้ระงับ
จิตตสังขารหายใจออกเป็นจิต จิต คือ มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ
มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุอันควรแก่จิตนั้นใด นี้ชื่อว่าจิต
จิตนั้นย่อมปรากฏ อย่างไร
คือ เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลม
หายใจเข้ายาว สติย่อมตั้งมั่น จิตนั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เมื่อ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส
รู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจออกยาว สติย่อม
ตั้งมั่น จิตนั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น ฯลฯ เมื่อทำให้แจ้งธรรมที่ควร
ทำให้แจ้ง จิตนั้นย่อมปรากฏ จิตนั้นย่อมปรากฏอย่างนี้ วิญญาณด้วยอำนาจความ
เป็นผู้กำหนดรู้จิตหายใจเข้าหายใจออก ย่อมปรากฏ ความปรากฏเป็นสติ การ
พิจารณาเห็นเป็นญาณ จิตย่อมปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวระลึกด้วย
ภิกษุพิจารณาเห็นจิตนั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึง
กล่าวว่า “สติปัฏฐานภาวนาคือการพิจารณาเห็นจิตในจิต”
คำว่า พิจารณาเห็น อธิบายว่า ภิกษุพิจารณาเห็นจิตนั้นอย่างไร ฯลฯ
พิจารณาเห็นจิตนั้นอย่างนี้
คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา เพราะ
มีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าเป็นผู้กำหนดรู้จิตระวังลมหายใจเข้า
หายใจออก ฯลฯ เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจ
ความเป็นผู้กำหนดรู้จิตหายใจเข้าหายใจออก ฯลฯ ย่อมให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง
ฯลฯ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “และรู้แจ้งธรรมอันมีความสงบเป็น
ประโยชน์” (๑)
[๑๗๗] ภิกษุสำเหนียกว่า “เราทำจิตให้บันเทิงหายใจเข้า” สำเหนียกว่า
“เราทำจิตให้บันเทิงหายใจออก” อย่างไร
ความเบิกบานแห่งจิต เป็นอย่างไร
คือ เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลม
หายใจเข้ายาว ความเบิกบานแห่งจิตย่อมเกิดขึ้น ความรื่นเริง ความบันเทิง ความ
หรรษา ความร่าเริงจิต ความปลื้มจิต ความปีติยินดี ความดีใจใด นี้เป็นความ
เบิกบานแห่งจิต ฯลฯ เมื่อรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจ
ลมหายใจออกยาว ความเบิกบานแห่งจิตย่อมเกิดขึ้น ความรื่นเริง ความบันเทิง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๗๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส
ความหรรษา ความร่าเริงจิต ความปลื้มจิต ความปีติยินดี ความดีใจใด ฯลฯ เมื่อรู้
ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจความเป็นผู้กำหนดรู้จิตหายใจเข้า
ฯลฯ เมื่อรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจความเป็นผู้กำหนดรู้
จิตหายใจออก ความเบิกบานแห่งจิตย่อมเกิดขึ้น ความรื่นเริง ความบันเทิง ความ
หรรษา ความร่าเริงจิต ความปลื้มจิต ความปีติยินดี ความดีใจใด นี้เป็นความ
เบิกบานแห่งจิต วิญญาณด้วยอำนาจความเป็นผู้ให้จิตเบิกบานหายใจเข้าหายใจ
ออก ย่อมปรากฏ ความปรากฏเป็นสติ การพิจารณาเห็นเป็นญาณ จิตย่อมปรากฏ
ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวระลึกด้วย ภิกษุพิจารณาเห็นจิตนั้นด้วยสตินั้น
ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “สติปัฏฐานภาวนาคือการพิจารณา
เห็นจิตในจิต”
คำว่า พิจารณาเห็น อธิบายว่า ภิกษุพิจารณาเห็นจิตนั้นอย่างไร ฯลฯ
พิจารณาเห็นจิตนั้นอย่างนี้
คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา
เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าเป็นผู้ทำจิตให้บันเทิงระวังลมหายใจเข้า
หายใจออก ฯลฯ เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วย
อำนาจความเป็นผู้ทำจิตให้บันเทิงหายใจเข้าหายใจออก ฯลฯ ย่อมให้อินทรีย์ทั้งหลาย
ประชุมลง ฯลฯ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “และรู้แจ้งธรรมอันมีความสงบ
เป็นประโยชน์” (๒)
[๑๗๘] ภิกษุสำเหนียกว่า “เราตั้งจิตไว้หายใจเข้า” สำเหนียกว่า
“เราตั้งจิตไว้หายใจออก” อย่างไร
สมาธินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจเข้ายาว เป็น
สมาธิ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจออกยาว เป็น
สมาธิ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจตั้งจิตมั่นหายใจเข้า เป็น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๗๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส
สมาธิ ความตั้งอยู่ ความตั้งอยู่ดี ความตั้งอยู่เฉพาะ ความไม่กวัดแกว่ง ความไม่
ฟุ้งซ่านแห่งจิต ความมีจิตไม่กวัดแกว่ง ความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ
สัมมาสมาธิใด นี้เป็นสมาธินทรีย์ วิญญาณด้วยอำนาจตั้งจิตมั่นหายใจเข้าเป็นจิต
ความปรากฏเป็นสติ การพิจารณาเห็นเป็นญาณ จิตย่อมปรากฏ ไม่ใช่สติ สติ
ปรากฏด้วย เป็นตัวระลึกด้วย ภิกษุพิจารณาเห็นจิตนั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “สติปัฏฐานภาวนาคือการพิจารณาเห็นจิตในจิต”
คำว่า พิจารณาเห็น อธิบายว่า ภิกษุพิจารณาเห็นจิตนั้นอย่างไร ฯลฯ
พิจารณาเห็นจิตนั้นอย่างนี้
คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา เพราะ
มีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าเป็นผู้ตั้งจิตไว้ระวังลมหายใจเข้า
หายใจออก ฯลฯ เมื่อบุคคลรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจ
ความเป็นผู้ตั้งมั่นหายใจเข้า ฯลฯ ย่อมให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง ฯลฯ เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “และรู้แจ้งธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์” (๓)
[๑๗๙] ภิกษุสำเหนียกว่า “เราเปลื้องจิตหายใจเข้า” สำเหนียกว่า
“เราเปลื้องจิตหายใจออก” อย่างไร
คือ ภิกษุสำเหนียกว่า “เราเปลื้องจิตจากราคะหายใจเข้า” สำเหนียกว่า
“เราเปลื้องจิตจากราคะหายใจออก” สำเหนียกว่า “เราเปลื้องจิตจากโทสะหายใจเข้า”
สำเหนียกว่า “เราเปลื้องจิตจากโทสะหายใจออก” สำเหนียกว่า “เราเปลื้องจิตจาก
โมหะหายใจเข้า” สำเหนียกว่า “เราเปลื้องจิตจากโมหะหายใจออก” สำเหนียก
ว่า “เราเปลื้องจิตจากมานะ ฯลฯ “เราเปลื้องจิตจากทิฏฐิ” ฯลฯ “เราเปลื้องจิตจาก
วิจิกิจฉา” ฯลฯ “เราเปลื้องจิตจากถีนมิทธะ” ฯลฯ “เราเปลื้องจิตจากอุทธัจจะ” ฯลฯ
“เราเปลื้องจิตจากอหิริกะ (ความไม่ละอาย)” ฯลฯ สำเหนียกว่า “เราเปลื้องจิตจาก
อโนตตัปปะ (ความไม่เกรงกลัวบาป) หายใจเข้า” สำเหนียกว่า “เราเปลื้องจิตจาก
อโนตตัปปะหายใจออก” วิญญาณด้วยอำนาจการเปลื้องจิตหายใจเข้าหายใจออก
ย่อมปรากฏ ความปรากฏเป็นสติ ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส
คำว่า พิจารณาเห็น อธิบายว่า ภิกษุพิจารณาเห็นจิตนั้นอย่างไร ฯลฯ
พิจารณาเห็นจิตนั้นอย่างนี้
คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา
เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าเป็นผู้เปลื้องจิตระวังลมหายใจเข้า
หายใจออก ฯลฯ เมื่อรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจความ
เป็นผู้เปลื้องจิตหายใจเข้า ฯลฯ ย่อมให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง ฯลฯ เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “และรู้แจ้งธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์” (๔)
อนุปัสสนาญาณ ๘ อุปัฏฐานานุสสติ ๘ สุตตันติกวัตถุ ๔ ในการพิจารณา
เห็นจิตในจิต
ภาณวาร จบ

จตุตถจตุกกนิทเทส
แสดงหมวด ๔ แห่งญาณที่ ๔
[๑๘๐] ภิกษุสำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงหายใจเข้า”
สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงหายใจออก” อย่างไร
คือ คำว่า ไม่เที่ยง อธิบายว่า อะไรไม่เที่ยง คือเบญจขันธ์ไม่เที่ยง ไม่เที่ยง
เพราะมีสภาวะเป็นอย่างไร คือไม่เที่ยงเพราะมีสภาวะเกิดขึ้นและเสื่อมไป
พระโยคาวจรเมื่อเห็นความเกิดขึ้นแห่งเบญจขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะเท่าไร
เมื่อเห็นความเสื่อมไป (แห่งเบญจขันธ์) ย่อมเห็นลักษณะเท่าไร เมื่อเห็นความ
เกิดขึ้นและความเสื่อมไป (แห่งเบญจขันธ์) ย่อมเห็นลักษณะเท่าไร
พระโยคาวจรเมื่อเห็นความเกิดขึ้นแห่งเบญจขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะ ๒๕ ฯลฯ๑
เมื่อเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่งเบญจขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะ ๕๐ นี้

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มในข้อ ๕๐ หน้า ๗๗ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๗๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส
ภิกษุสำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงในรูปหายใจเข้า” สำเหนียกว่า
“เราพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงในรูปหายใจออก” สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นว่า
ไม่เที่ยงในเวทนา ฯลฯ ในสัญญา ฯลฯ ในสังขาร ฯลฯ ในวิญญาณ ฯลฯ
ในจักขุ ฯลฯ สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงในชราและมรณะ
หายใจเข้า” สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงในชราและมรณะหายใจออก”
ธรรมทั้งหลายด้วยอำนาจความเป็นผู้พิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงหายใจเข้าหายใจออก
ย่อมปรากฏ ความปรากฏเป็นสติ การพิจารณาเห็นเป็นญาณ ธรรมย่อมปรากฏ
ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวระลึกด้วย ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้น
ด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “สติปัฏฐานภาวนา
คือการพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย”
คำว่า พิจารณาเห็น อธิบายว่า ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้นอย่างไร
ฯลฯ พิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้นอย่างนี้
คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา เพราะ
มีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าเป็นผู้พิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง ระวัง
ลมหายใจเข้าหายใจออก ฯลฯ เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่าน
ด้วยอำนาจความเป็นผู้พิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงหายใจเข้าหายใจออก ฯลฯ ย่อมให้
อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง ฯลฯ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “และรู้แจ้งธรรมอัน
มีความสงบเป็นประโยชน์” (๑)
ภิกษุสำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความคลายออกได้หายใจเข้า”
สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความคลายออกได้หายใจออก” อย่างไร
คือ ภิกษุเห็นโทษในรูปแล้วเกิดฉันทะในความคลายออกได้ในรูป น้อมใจเชื่อด้วย
สัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดี สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความคลายออกได้
ในรูปหายใจเข้า” สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความคลายออกได้ในรูปหายใจออก
ภิกษุเห็นโทษในเวทนา ฯลฯ ในสัญญา ฯลฯ ในสังขาร ฯลฯ ในวิญญาณ ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๘๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส
ในจักขุ ฯลฯ เห็นโทษในชราและมรณะแล้วเกิดฉันทะในความคลายออกได้ในชรา
และมรณะน้อมใจเชื่อด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดี” สำเหนียกว่า “เราพิจารณา
เห็นความคลายออกได้ในชราและมรณะหายใจเข้า” สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความ
คลายออกได้ในชราและมรณะหายใจออก” ธรรมทั้งหลายด้วยอำนาจความเป็นผู้
พิจารณาเห็นความคลายออกได้หายใจเข้าหายใจออก ย่อมปรากฏ ความปรากฏ
เป็นสติ การพิจารณาเห็นเป็นญาณ ธรรมย่อมปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย
เป็นตัวระลึกด้วย ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “สติปัฏฐานภาวนาคือการพิจารณาเห็นธรรมในธรรม
ทั้งหลาย”
คำว่า พิจารณาเห็น อธิบายว่า ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้นอย่างไร
ฯลฯ พิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้นอย่างนี้
คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา
เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าเป็นผู้พิจารณาเห็นความคลายออกได้
ระวังลมหายใจเข้าหายใจออก ฯลฯ เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่
ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจความเป็นผู้พิจารณาเห็นความคลายออกได้หายใจเข้าหายใจ
ออก ฯลฯ ย่อมให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง ฯลฯ เพราะเหตุนั้น ท่านจึง
กล่าวว่า “และรู้แจ้งธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์” (๒)
ภิกษุสำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความดับหายใจเข้า” สำเหนียกว่า
“เราพิจารณาเห็นความดับหายใจออก” อย่างไร
คือ ภิกษุเห็นโทษในรูปแล้วเกิดฉันทะในความดับแห่งรูป น้อมใจเชื่อด้วยศรัทธา
และมีจิตตั้งมั่นด้วยดี สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความดับในรูปหายใจเข้า”
สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความดับในรูปหายใจออก” ภิกษุเห็นโทษในเวทนา
ฯลฯ ในสัญญา ฯลฯ ในสังขาร ฯลฯ ในวิญญาณ ฯลฯ ในจักขุ ฯลฯ เห็นโทษ
ในชราและมรณะแล้วเกิดฉันทะในความดับแห่งชราและมรณะ น้อมใจเชื่อด้วยศรัทธา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส
และมีจิตตั้งมั่นด้วยดี สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความดับในชราและมรณะ
หายใจเข้า” สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความดับในชราและมรณะหายใจออก”
[๑๘๑] โทษในอวิชชามี เพราะอาการเท่าไร อวิชชาดับ เพราะอาการเท่าไร
คือ โทษในอวิชชามี เพราะอาการ ๕ อย่าง อวิชชาดับ เพราะอาการ ๘ อย่าง
โทษในอวิชชามี เพราะอาการ ๕ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. โทษในอวิชชามี เพราะมีสภาวะไม่เที่ยง
๒. โทษในอวิชชามี เพราะมีสภาวะเป็นทุกข์
๓. โทษในอวิชชามี เพราะมีสภาวะเป็นอนัตตา
๔. โทษในอวิชชามี เพราะมีสภาวะเป็นเหตุให้เดือดร้อน
๕. โทษในอวิชชามี เพราะมีสภาวะแปรผัน
โทษในอวิชชามี เพราะอาการ ๕ อย่างนี้
อวิชชาดับ เพราะอาการ ๘ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. อวิชชาดับ เพราะต้นเหตุดับ
๒. อวิชชาดับ เพราะสมุทัยดับ
๓. อวิชชาดับ เพราะชาติดับ
๔. อวิชชาดับ เพราะอาหารดับ
๕. อวิชชาดับ เพราะเหตุดับ
๖. อวิชชาดับ เพราะปัจจัยดับ
๗. อวิชชาดับ เพราะญาณเกิดขึ้น
๘. อวิชชาดับ เพราะนิโรธปรากฏ
อวิชชาดับ เพราะอาการ ๘ อย่างนี้
ภิกษุเห็นโทษในอวิชชา เพราะอาการ ๕ อย่างนี้แล้ว เกิดฉันทะในความดับ
อวิชชา เพราะอาการ ๘ อย่างนี้ น้อมใจเชื่อด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดี
สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความดับแห่งอวิชชาหายใจเข้า” สำเหนียกว่า “เรา
พิจารณาเห็นความดับแห่งอวิชชาหายใจออก”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส

โทษในสังขารมี เพราะอาการเท่าไร สังขารดับ เพราะอาการเท่าไร ฯลฯ
โทษในวิญญาณมี เพราะอาการเท่าไร วิญญาณดับ เพราะอาการเท่าไร ฯลฯ
โทษในนามรูปมี เพราะอาการเท่าไร นามรูปดับ เพราะอาการเท่าไร ฯลฯ
โทษในสฬายตนะมี เพราะอาการเท่าไร สฬายตนะดับ เพราะอาการเท่าไร ฯลฯ
โทษในผัสสะมี เพราะอาการเท่าไร ผัสสะดับ เพราะอาการเท่าไร ฯลฯ
โทษในเวทนามี เพราะอาการเท่าไร เวทนาดับ เพราะอาการเท่าไร ฯลฯ
โทษในตัณหามี เพราะอาการเท่าไร ตัณหาดับ เพราะอาการเท่าไร ฯลฯ
โทษในอุปาทานมี เพราะอาการเท่าไร อุปาทานดับ เพราะอาการเท่าไร ฯลฯ
โทษในภพมี เพราะอาการเท่าไร ภพดับ เพราะอาการเท่าไร ฯลฯ
โทษในชาติมี เพราะอาการเท่าไร ชาติดับ เพราะอาการเท่าไร ฯลฯ

โทษในชราและมรณะมี เพราะอาการเท่าไร ชราและมรณะดับ เพราะอาการเท่าไร
คือ โทษในชราและมรณะมี เพราะอาการ ๕ อย่าง ชราและมรณะดับ เพราะอาการ
๘ อย่าง
โทษในชราและมรณะมี เพราะอาการ ๕ อย่าง อะไรบ้าง คือ

๑. โทษในชราและมรณะมี เพราะมีสภาวะไม่เที่ยง
๒. ฯลฯ เพราะมีสภาวะเป็นทุกข์
๓. ฯลฯ เพราะมีสภาวะเป็นอนัตตา
๔. ฯลฯ เพราะมีสภาวะเป็นเหตุให้เดือดร้อน
๕. โทษในชราและมรณะมี เพราะมีสภาวะแปรผัน

โทษในชราและมรณะมี เพราะอาการ ๕ อย่างนี้
ชราและมรณะดับ เพราะอาการ ๘ อย่าง อะไรบ้าง คือ

๑. ชราและมรณะดับ เพราะต้นเหตุดับ
๒. ฯลฯ เพราะสมุทัยดับ
๓. ฯลฯ เพราะชาติดับ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส

๔. ชราและมรณะดับ เพราะภพดับ
๕. ฯลฯ เพราะเหตุดับ
๖. ฯลฯ เพราะปัจจัยดับ
๗. ฯลฯ เพราะญาณเกิดขึ้น
๘. ชราและมรณะดับ เพราะนิโรธปรากฏ

ชราและมรณะดับ เพราะอาการ ๘ อย่างนี้
ภิกษุเห็นโทษในชราและมรณะ เพราะอาการ ๕ อย่างนี้แล้ว เกิดฉันทะ
ในความดับแห่งชราและมรณะ เพราะอาการ ๘ อย่างนี้ น้อมใจเชื่อด้วยศรัทธา และมี
จิตตั้งมั่นด้วยดี สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความดับในชราและมรณะหายใจเข้า”
สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความดับในชราและมรณะหายใจออก” ธรรมทั้งหลาย
ด้วยอำนาจความเป็นผู้พิจารณาเห็นความดับหายใจเข้าหายใจออก ย่อมปรากฏ
ความปรากฏเป็นสติ การพิจารณาเห็นเป็นญาณ ธรรมย่อมปรากฏ ไม่ใช่สติ สติ
ปรากฏด้วย เป็นตัวระลึกด้วย ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้นด้วยสตินั้น ด้วย
ญาณนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “สติปัฏฐานภาวนาคือการพิจารณาเห็น
ธรรมในธรรมทั้งหลาย”
คำว่า พิจารณาเห็น อธิบายว่า ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้นอย่างไร ฯลฯ
พิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้นอย่างนี้
คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา เพราะ
มีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าเป็นผู้พิจารณาเห็นความดับระวังลมหายใจ
เข้าหายใจออก ฯลฯ เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่าน
ด้วยอำนาจความเป็นผู้พิจารณาเห็นความดับหายใจเข้าหายใจออก ฯลฯ ย่อมให้
อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง ฯลฯ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “และรู้แจ้งธรรม
อันมีความสงบเป็นประโยชน์” (๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส
[๑๘๒] ภิกษุสำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความสละคืนหายใจเข้า”
สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความสละคืนหายใจออก” อย่างไร
คำว่า ความสละคืน อธิบายว่า ความสละคืนมี ๒ อย่าง คือ
๑. ความสละคืนด้วยการบริจาค
๒. ความสละคืนด้วยความแล่นไป
จิตสละรูป เพราะฉะนั้น จึงเป็นความสละคืนด้วยการบริจาค จิตแล่นไปใน
นิพพานซึ่งเป็นความดับแห่งรูป เพราะฉะนั้น จึงเป็นความสละคืนด้วยความแล่นไป
ภิกษุสำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความสละคืนในรูปหายใจเข้า” สำเหนียกว่า
“เราพิจารณาเห็นความสละคืนในรูปหายใจออก” จิตสละเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ
สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ จักขุ ฯลฯ จิตสละชราและมรณะ เพราะฉะนั้น จึงเป็น
ความสละคืนด้วยการบริจาค จิตแล่นไปในนิพพานซึ่งเป็นความดับแห่งชราและมรณะ
เพราะฉะนั้น จึงเป็นความสละคืนด้วยความแล่นไป ภิกษุสำเหนียกว่า “เรา
พิจารณาเห็นความสละคืนในชราและมรณะหายใจเข้า” สำเหนียกว่า “เราพิจารณา
เห็นความสละคืนในชราและมรณะหายใจออก” ธรรมทั้งหลายด้วยอำนาจความ
เป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืนหายใจเข้าหายใจออก ย่อมปรากฏ ความปรากฏ
เป็นสติ การพิจารณาเห็นเป็นญาณ ธรรมย่อมปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย
เป็นตัวระลึกด้วย ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “สติปัฏฐานภาวนาคือการพิจารณาเห็นธรรมใน
ธรรมทั้งหลาย”
คำว่า พิจารณาเห็น อธิบายว่า ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้นอย่างไร
คือ พิจารณาเห็นโดยความไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดยความเที่ยง ฯลฯ
สละคืน ไม่ยึดถือ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ ฯลฯ
เมื่อสละคืน ย่อมละอาทานะได้ พิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้นอย่างนี้
คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา
เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๘๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส
ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าเป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืนระวัง
ลมหายใจเข้าหายใจออก ชื่อว่าจิตตวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่า
ทิฏฐิวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าเห็น
บรรดาความสำรวม ความไม่ฟุ้งซ่านและความเห็นนั้น ความสำรวม ชื่อว่า
อธิสีลสิกขา ความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าอธิจิตตสิกขา ความเห็น ชื่อว่าอธิปัญญาสิกขา
ภิกษุเมื่อคำนึงถึงสิกขา ๓ นี้ ชื่อว่าศึกษา เมื่อรู้ ชื่อว่าศึกษา ฯลฯ เมื่อทำให้
แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่าศึกษา เมื่อรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่าน
ด้วยอำนาจความเป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืน หายใจเข้าหายใจออก เวทนา
ย่อมปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไป ฯลฯ เมื่อรู้ความที่จิต
เป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจความเป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืน
หายใจเข้าหายใจออก ฯลฯ ย่อมให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง รู้ชัดโคจรและรู้แจ้ง
ธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์ ให้พละทั้งหลายประชุมลง ... ให้โพชฌงค์
ทั้งหลายประชุมลง ... ให้มรรคประชุมลง ... ให้ธรรมทั้งหลายประชุมลง รู้ชัดโคจร
และรู้แจ้งธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์
คำว่า ให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง อธิบายว่า ภิกษุให้อินทรีย์ทั้งหลาย
ประชุมลงอย่างไร
คือ ภิกษุให้สัทธินทรีย์ประชุมลง เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ ฯลฯ เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า “และรู้แจ้งธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์” (๔)
อนุปัสสนาญาณ ๘ อุปัฏฐานานุสสติ ๘ สุตตันติกวัตถุ ๔ ในการพิจารณา
เห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย ญาณในการทำสติ ๓๒ ประการเหล่านี้

สโตการิญาณนิทเทสที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๘๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๖. ญาณราสิฉักกนิทเทส
๖. ญาณราสิฉักกนิทเทส
แสดงหมวด ๖ แห่งกองญาณ
[๑๘๓] ญาณด้วยอำนาจแห่งสมาธิ ๒๔ ประการ เป็นอย่างไร
คือ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งลมหายใจเข้ายาว
เป็นสมาธิ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งลมหายใจ
ออกยาว เป็นสมาธิ ฯลฯ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่ง
ความเป็นผู้เปลื้องจิตหายใจเข้าหายใจออก เป็นสมาธิ ฯลฯ ญาณด้วยอำนาจแห่ง
สมาธิ ๒๔ นี้ (๑)
ญาณด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนา ๗๒ ประการ เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นลมหายใจเข้ายาว โดยความ
ไม่เที่ยง
ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นลมหายใจเข้ายาว โดยความ
เป็นทุกข์
ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นลมหายใจเข้ายาว โดยความเป็นอนัตตา
ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นลมหายใจออกยาว โดยความไม่เที่ยง
ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นลมหายใจออกยาว โดยความเป็นทุกข์
ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นลมหายใจออกยาว โดยความเป็นอนัตตา
ฯลฯ
ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นความเป็นผู้เปลื้องจิตหายใจเข้า
โดยความไม่เที่ยง
ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นความเป็นผู้เปลื้องจิตหายใจออก
โดยความไม่เที่ยง
ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นความเป็นผู้เปลื้องจิตหายใจออก
โดยความเป็นทุกข์
ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นความเป็นผู้เปลื้องจิตหายใจออก
โดยความเป็นอนัตตา
ญาณด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนา ๗๒ นี้ (๒)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๘๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๖. ญาณราสิฉักกนิทเทส
นิพพิทาญาณ ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ชื่อว่านิพพิทาญาณ เพราะพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงหายใจเข้ารู้เห็น
ตามความเป็นจริง
๒. ชื่อว่านิพพิทาญาณ เพราะพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงหายใจออก
รู้เห็นตามความเป็นจริง
๓. ชื่อว่านิพพิทาญาณ เพราะพิจารณาเห็นความคลายออกได้หายใจเข้า
รู้เห็นตามความเป็นจริง
๔. ชื่อว่านิพพิทาญาณ เพราะพิจารณาเห็นความคลายออกได้หายใจออก
รู้เห็นตามความเป็นจริง
๕. ชื่อว่านิพพิทาญาณ เพราะพิจารณาเห็นความดับไปหายใจเข้ารู้เห็น
ตามความเป็นจริง
๖. ชื่อว่านิพพิทาญาณ เพราะพิจารณาเห็นความดับไปหายใจออกรู้เห็น
ตามความเป็นจริง
๗. ชื่อว่านิพพิทาญาณ เพราะพิจารณาเห็นความสละคืนหายใจเข้ารู้เห็น
ตามความเป็นจริง
๘. ชื่อว่านิพพิทาญาณ เพราะพิจารณาเห็นความสละคืนหายใจออก
รู้เห็นตามความเป็นจริง
นิพพิทาญาณ ๘ ประการนี้ (๓)
นิพพิทานุโลมญาณ ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ปัญญาในการเห็นสังขารปรากฏโดยความเป็นภัยของบุคคลผู้
พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงหายใจเข้า ชื่อว่านิพพิทานุโลมญาณ
๒. ปัญญาในการเห็นสังขารปรากฏโดยความเป็นภัยของบุคคลผู้
พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงหายใจออก ชื่อว่านิพพิทานุโลมญาณ
ฯลฯ
๗. ปัญญาในการเห็นสังขารปรากฏโดยความเป็นภัยของบุคคลผู้
พิจารณาเห็นความสละคืนหายใจเข้า ชื่อว่านิพพิทานุโลมญาณ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๘๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๖. ญาณราสิฉักกนิทเทส
๘. ปัญญาในการเห็นสังขารปรากฏโดยความเป็นภัยของบุคคลผู้
พิจารณาเห็นความสละคืนหายใจออก ชื่อว่านิพพิทานุโลมญาณ
นิพพิทานุโลมญาณ ๘ ประการนี้ (๔)
นิพพิทาปฏิปัสสัทธิญาณ ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ปัญญาที่พิจารณาแล้วดำรงมั่นอยู่ของบุคคลผู้พิจารณาเห็นความไม่
เที่ยงหายใจเข้า ชื่อว่านิพพิทาปฏิปัสสัทธิญาณ
๒. ปัญญาที่พิจารณาแล้วดำรงมั่นอยู่ของบุคคลผู้พิจารณาเห็นความไม่
เที่ยงหายใจออก ชื่อว่านิพพิทาปฏิปัสสัทธิญาณ
ฯลฯ
นิพพิทาปฏิปัสสัทธิญาณ ๘ ประการนี้ (๕)
ญาณในวิมุตติ ๒๑ ประการ เป็นอย่างไร
คือ ด้วยโสดาปัตติมรรค ญาณในวิมุตติสุขเกิดขึ้น เพราะละ ตัดขาดสักกาย-
ทิฏฐิ ญาณในวิมุตติสุขเกิดขึ้น เพราะละ ตัดขาดวิจิกิจฉา ญาณในวิมุตติสุขเกิดขึ้น
เพราะละ ตัดขาดสีลัพพตปรามาส ญาณในวิมุตติสุขเกิดขึ้น เพราะละ ตัดขาด
ทิฏฐานุสัย ญาณในวิมุตติสุขเกิดขึ้น เพราะละ ตัดขาดวิจิกิจฉานุสัย
ด้วยสกทาคามิมรรค ญาณในวิมุตติสุขเกิดขึ้น เพราะละ ตัดขาดกามราค-
สังโยชน์อย่างหยาบ ญาณในวิมุตติสุขเกิดขึ้น เพราะละ ตัดขาดปฏิฆสังโยชน์
อย่างหยาบ ญาณในวิมุตติสุขเกิดขึ้น เพราะละ ตัดขาดกามราคานุสัยอย่างหยาบ
ญาณในวิมุตติสุขเกิดขึ้น เพราะละ ตัดขาดปฏิฆานุสัยอย่างหยาบ
ด้วยอนาคามิมรรค ญาณในวิมุตติสุขเกิดขึ้น เพราะละ ตัดขาดกามราค-
สังโยชน์อย่างละเอียด ... ปฏิฆสังโยชน์อย่างละเอียด ... กามราคานุสัยอย่างละเอียด
... ปฏิฆานุสัยอย่างละเอียด
ด้วยอรหัตตมรรค ญาณในวิมุตติสุขเกิดขึ้น เพราะละ ตัดขาดรูปราคะ ...
อรูปราคะ ... มานะ ... อุทธัจจะ ... อวิชชา ... มานานุสัย ... ภวราคานุสัย... อวิชชานุสัย
ญาณในวิมุตติสุข ๒๑ ประการนี้แล เมื่อบุคคลเจริญสมาธิที่ประกอบด้วย
อานาปานสติอันมีวัตถุ ๑๖ ญาณเกินกว่า ๒๐๐ นี้ย่อมเกิดขึ้น (๖)

อานาปานัสสติกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๘๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๑. ปฐมสุตตันตนิทเทส
๔. อินทริยกถา
ว่าด้วยอินทรีย์
๑. ปฐมสุตตันตนิทเทส
แสดงสูตรที่ ๑
[๑๘๔] ข้าพเจ้า (พระอานนท์) ได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมา
ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาค
จึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. สัทธินทรีย์ (อินทรีย์คือศรัทธา)
๒. วิริยินทรีย์ (อินทรีย์คือวิริยะ)
๓. สตินทรีย์ (อินทรีย์คือสติ)
๔. สมาธินทรีย์ (อินทรีย์คือสมาธิ)
๕. ปัญญินทรีย์ (อินทรีย์คือปัญญา)

ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล
[๑๘๕] อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ย่อมหมดจดด้วยอาการเท่าไร
คือ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ย่อมหมดจดด้วยอาการ ๑๕ อย่าง ได้แก่
เมื่อบุคคลเว้นบุคคลผู้ไม่มีศรัทธา สมาคม คบหา นั่งใกล้บุคคลผู้มีศรัทธา (และ)
พิจารณาพระสูตรที่เป็นเหตุนำมาซึ่งความเลื่อมใส สัทธินทรีย์ย่อมหมดจดด้วยอาการ
๓ อย่างนี้
เมื่อบุคคลเว้นบุคคลผู้เกียจคร้าน สมาคม คบหา นั่งใกล้บุคคลผู้มีความเพียร
(และ) พิจารณาสัมมัปปธาน วิริยินทรีย์ย่อมหมดจดด้วยอาการ ๓ อย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๙๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๑. ปฐมสุตตันตนิทเทส
เมื่อบุคคลเว้นบุคคลผู้มีสติหลงลืม สมาคม คบหา นั่งใกล้บุคคลผู้มีสติตั้งมั่น
(และ) พิจารณาสติปัฏฐาน สตินทรีย์ย่อมหมดจดด้วยอาการ ๓ อย่างนี้
เมื่อบุคคลเว้นบุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น สมาคม คบหา นั่งใกล้บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่น
(และ) พิจารณาฌานวิโมกข์ สมาธินทรีย์ย่อมหมดจดด้วยอาการ ๓ อย่างนี้
เมื่อบุคคลเว้นบุคคลผู้มีปัญญาทราม สมาคม คบหา นั่งใกล้บุคคลผู้มีปัญญาดี
(และ) พิจารณาญาณจริยาอันลึกซึ้ง ปัญญินทรีย์ย่อมหมดจดด้วยอาการ ๓ อย่างนี้
เมื่อบุคคลเว้นบุคคล ๕ จำพวก สมาคม คบหา นั่งใกล้บุคคล ๕ จำพวก (และ)
พิจารณาจำนวนพระสูตร ๕ ประการดังกล่าวมานี้ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ย่อมหมดจด
ด้วยอาการ ๑๕ อย่างนี้
อินทรีย์ ๕ อันบุคคลย่อมเจริญ ด้วยอาการเท่าไร การเจริญอินทรีย์ ๕มีได้
ด้วยอาการเท่าไร
คือ อินทรีย์ ๕ อันบุคคลย่อมเจริญด้วยอาการ ๑๐ อย่าง การเจริญอินทรีย์ ๕
มีได้ด้วยอาการ ๑๐ อย่าง บุคคลเมื่อละความไม่มีศรัทธา ชื่อว่าเจริญสัทธินทรีย์
เมื่อเจริญสัทธินทรีย์ ชื่อว่าละความไม่มีศรัทธา เมื่อละความเกียจคร้าน ชื่อว่าเจริญ
วิริยินทรีย์ เมื่อเจริญวิริยินทรีย์ ชื่อว่าละความเกียจคร้าน เมื่อละความประมาท
ชื่อว่าเจริญสตินทรีย์ เมื่อเจริญสตินทรีย์ ชื่อว่าละความประมาท เมื่อละอุทธัจจะ
ชื่อว่าเจริญสมาธินทรีย์ เมื่อเจริญสมาธินทรีย์ ชื่อว่าละอุทธัจจะ เมื่อละอวิชชา ชื่อว่า
เจริญปัญญินทรีย์ เมื่อเจริญปัญญินทรีย์ ชื่อว่าละอวิชชา อินทรีย์ ๕ อันบุคคล
ย่อมเจริญด้วยอาการ ๑๐ อย่างนี้ การเจริญอินทรีย์ ๕ มีได้ด้วยอาการ ๑๐ อย่างนี้
อินทรีย์ ๕ เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้ว ด้วยอาการเท่าไร
คือ อินทรีย์ ๕ เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้วด้วยอาการ ๑๐ อย่าง ได้แก่
๑. สัทธินทรีย์เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้ว เพราะละ ละ
ความไม่มีศรัทธาดีแล้ว
๒. ความไม่มีศรัทธาเป็นอันบุคคลละแล้ว ละดีแล้ว เพราะเจริญ เจริญ
สัทธินทรีย์ดีแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๙๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๑. ปฐมสุตตันตนิทเทส
๓. วิริยินทรีย์เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้ว เพราะละ ละความ
เกียจคร้านดีแล้ว
๔. ความเกียจคร้านเป็นอันบุคคลละแล้ว ละดีแล้ว เพราะเจริญ เจริญ
วิริยินทรีย์ดีแล้ว
๕. สตินทรีย์เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้ว เพราะละ ละความ
ประมาทดีแล้ว
๖. ความประมาทเป็นอันบุคคลละแล้ว ละดีแล้ว เพราะเจริญ เจริญ
สตินทรีย์ดีแล้ว
๗. สมาธินทรีย์เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้ว เพราะละ ละ
อุทธัจจะดีแล้ว
๘. อุทธัจจะเป็นอันบุคคลละแล้ว ละดีแล้ว เพราะเจริญ เจริญ
สมาธินทรีย์ดีแล้ว
๙. ปัญญินทรีย์เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้ว เพราะละ ละ
อวิชชาดีแล้ว
๑๐. อวิชชาเป็นอันบุคคลละแล้ว ละดีแล้ว เพราะเจริญ เจริญ
ปัญญินทรีย์ดีแล้ว
อินทรีย์ ๕ เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้วด้วยอาการ ๑๐ อย่างนี้
[๑๘๖] อินทรีย์ ๕ อันบุคคลย่อมเจริญด้วยอาการเท่าไร อินทรีย์ ๕ เป็น
อันบุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้ว ระงับแล้ว และระงับดีแล้ว ด้วยอาการเท่าไร
คือ อินทรีย์ ๕ อันบุคคลย่อมเจริญด้วยอาการ ๔ อย่าง อินทรีย์ ๕ เป็นอัน
บุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้ว ระงับแล้ว และระงับดีแล้ว ด้วยอาการ ๔ อย่าง
อินทรีย์ ๕ อันบุคคลย่อมเจริญในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค
อินทรีย์ ๕ เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้ว ระงับแล้ว และระงับดีแล้ว
ในขณะแห่งโสดาปัตติผล อินทรีย์ ๕ อันบุคคลย่อมเจริญ ในขณะแห่งสกทาคามิมรรค
อินทรีย์ ๕ เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้ว ระงับแล้ว และระงับดีแล้ว
ในขณะแห่งสกทาคามิผล อินทรีย์ ๕ อันบุคคลย่อมเจริญในขณะแห่งอนาคามิมรรค

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๑. ปฐมสุตตันตนิทเทส
อินทรีย์ ๕ เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้ว ระงับแล้ว และระงับดีแล้ว
ในขณะแห่งอนาคามิผล อินทรีย์ ๕ อันบุคคลย่อมเจริญในขณะแห่งอรหัตตมรรค
อินทรีย์ ๕ เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้ว ระงับแล้ว ระงับดีแล้วในขณะ
แห่งอรหัตตผล
มัคควิสุทธิ ๔ ผลวิสุทธิ ๔ สมุจเฉทวิสุทธิ ๔ ปฏิปัสสัทธิวิสุทธิ ๔ ด้วย
ประการดังนี้ อินทรีย์ ๕ อันบุคคลย่อมเจริญด้วยอาการ ๔ อย่างนี้ อินทรีย์ ๕
เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้ว ระงับแล้ว และระงับดีแล้ว ด้วยอาการ ๔ อย่างนี้
บุคคลกี่จำพวก ชื่อว่ากำลังเจริญอินทรีย์ บุคคลกี่จำพวก ชื่อว่าเจริญ
อินทรีย์แล้ว
คือ บุคคล ๘ จำพวกชื่อว่ากำลังเจริญอินทรีย์ บุคคล ๓ จำพวกชื่อว่า
เจริญอินทรีย์แล้ว
บุคคล ๘ จำพวกไหน ชื่อว่ากำลังเจริญอินทรีย์
คือ พระเสขบุคคล ๗ กัลยาณปุถุชน ๑ บุคคล ๘ จำพวกนี้ชื่อว่ากำลัง
เจริญอินทรีย์
บุคคล ๓ จำพวกไหน ชื่อว่าเจริญอินทรีย์แล้ว คือ
๑. พระขีณาสพสาวกของพระตถาคต ชื่อว่าเจริญอินทรีย์แล้ว เพราะ
รู้ด้วยอำนาจความเป็นผู้เจริญอินทรีย์แล้ว
๒. พระปัจเจกพุทธเจ้า ชื่อว่าเจริญอินทรีย์แล้ว เพราะมีสภาวะตรัสรู้เอง
๓. พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ชื่อว่าเจริญอินทรีย์แล้ว
เพราะมีสภาวะมีพระคุณหาประมาณมิได้
บุคคล ๓ จำพวกนี้ ชื่อว่าเจริญอินทรีย์แล้ว
เพราะฉะนั้น บุคคล ๘ จำพวกนี้ ชื่อว่ากำลังเจริญอินทรีย์ บุคคล ๓ จำพวกนี้
ชื่อว่าเจริญอินทรีย์แล้ว

สุตตันตนิทเทสที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๒. ทุติยสุตตันตนิทเทส
๒. ทุติยสุตตันตนิทเทส
แสดงสูตรที่ ๒
[๑๘๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. สัทธินทรีย์ (อินทรีย์คือศรัทธา)
๒. วิริยินทรีย์ (อินทรีย์คือวิริยะ)
๓. สตินทรีย์ (อินทรีย์คือสติ)
๔. สมาธินทรีย์ (อินทรีย์คือสมาธิ)
๕. ปัญญินทรีย์ (อินทรีย์คือปัญญา)

ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ไม่รู้ชัดซึ่งเหตุเกิด
ความดับ คุณ โทษ แห่งอินทรีย์ ๕ นี้และเครื่องสลัดออกจากอินทรีย์ ๕ นี้ตามความ
เป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น หาได้รับยกย่องว่า เป็นสมณะในหมู่สมณะ
หรือได้รับยกย่องว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ไม่ และท่านเหล่านั้นหาได้ทำให้
แจ้งสามัญญผล๑และพรหมัญญผล๒ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วเข้าถึงอยู่ในปัจจุบันไม่
ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ชัดซึ่งเหตุเกิด
ความดับ คุณ โทษ แห่งอินทรีย์ ๕ นี้ และเครื่องสลัดออกจากอินทรีย์ ๕ นี้ตาม
ความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมได้รับยกย่องว่า เป็นสมณะในหมู่
สมณะ ได้รับยกย่องว่า เป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ และท่านเหล่านั้นย่อมทำ
ให้แจ้งสามัญญผลและพรหมัญญผล ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน

เชิงอรรถ :
๑ สามัญญผล หมายถึงประโยชน์ของความเป็นสมณะ อีกอย่างหนึ่งหมายถึงผลเบื้องต่ำ ๓ ประการ (ขุ.ป.อ.
๒/๑๘๗/๑๕๕)
๒ พรหมัญญผล หมายถึงประโยชน์ของความเป็นพราหมณ์ อีกอย่างหนึ่งหมายถึงอรหัตตผล (ขุ.ป.อ.
๒/๑๘๗/๑๕๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๙๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๒. ทุติยสุตตันตนิทเทส
[๑๘๘] อินทรีย์ ๕ มีเหตุเกิด ด้วยอาการเท่าไร บุคคลรู้ชัดเหตุเกิดแห่ง
อินทรีย์ ๕ ด้วยอาการเท่าไร
อินทรีย์ ๕ มีความดับ ด้วยอาการเท่าไร บุคคลรู้ชัดความดับแห่งอินทรีย์ ๕
ด้วยอาการเท่าไร
อินทรีย์ ๕ มีคุณ ด้วยอาการเท่าไร บุคคลรู้ชัดคุณแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วย
อาการเท่าไร
อินทรีย์ ๕ มีโทษ ด้วยอาการเท่าไร บุคคลรู้ชัดโทษแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วย
อาการเท่าไร
อินทรีย์ ๕ มีเครื่องสลัดออก ด้วยอาการเท่าไร บุคคลรู้ชัดเครื่องสลัด
ออกจากอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการเท่าไร
คือ อินทรีย์ ๕ มีเหตุเกิดด้วยอาการ ๔๐ อย่าง บุคคลรู้ชัดเหตุเกิดแห่ง
อินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๔๐ อย่าง
อินทรีย์ ๕ มีความดับด้วยอาการ ๔๐ อย่าง บุคคลรู้ชัดความดับแห่ง
อินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๔๐ อย่าง
อินทรีย์ ๕ มีคุณด้วยอาการ ๒๕ อย่าง บุคคลรู้ชัดคุณแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วย
อาการ ๒๕ อย่าง
อินทรีย์ ๕ มีโทษด้วยอาการ ๒๕ อย่าง บุคคลรู้ชัดโทษแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วย
อาการ ๒๕ อย่าง
อินทรีย์ ๕ มีเครื่องสลัดออกด้วยอาการ ๑๘๐ อย่าง บุคคลรู้ชัดเครื่องสลัดออก
จากอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๑๘๐ อย่าง
อินทรีย์ ๕ มีเหตุเกิดด้วยอาการ ๔๐ อะไรบ้าง บุคคลรู้ชัดเหตุเกิดแห่ง
อินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๔๐ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. เหตุเกิดแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความน้อมใจเชื่อ เป็นเหตุ
เกิดแห่งสัทธินทรีย์
๒. เหตุเกิดแห่งฉันทะด้วยอำนาจความน้อมใจเชื่อ เป็นเหตุเกิดแห่ง
สัทธินทรีย์
๓. เหตุเกิดแห่งมนสิการด้วยอำนาจความน้อมใจเชื่อ เป็นเหตุเกิดแห่งสัทธินทรีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๙๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๒. ทุติยสุตตันตนิทเทส
๔. ความปรากฏเป็นสภาวะเดียว๑ด้วยอำนาจสัทธินทรีย์ เป็นเหตุเกิด
แห่งสัทธินทรีย์
๕. เหตุเกิดแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่การประคองไว้ เป็นเหตุ
เกิดแห่งวิริยินทรีย์
๖. เหตุเกิดแห่งฉันทะด้วยอำนาจการประคองไว้ เป็นเหตุเกิดแห่งวิริยินทรีย์
๗. เหตุเกิดแห่งมนสิการด้วยอำนาจการประคองไว้ เป็นเหตุเกิดแห่ง
วิริยินทรีย์
๘. ความปรากฏเป็นสภาวะเดียวด้วยอำนาจวิริยินทรีย์ เป็นเหตุเกิด
แห่งวิริยินทรีย์
๙. เหตุเกิดแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความตั้งมั่น เป็นเหตุเกิด
แห่งสตินทรีย์
๑๐. เหตุเกิดแห่งฉันทะด้วยอำนาจความตั้งมั่น เป็นเหตุเกิดแห่งสตินทรีย์
๑๑. เหตุเกิดแห่งมนสิการด้วยอำนาจความตั้งมั่น เป็นเหตุเกิดแห่งสตินทรีย์
๑๒. ความปรากฏเป็นสภาวะเดียวด้วยอำนาจสตินทรีย์ เป็นเหตุเกิดแห่ง
สตินทรีย์
๑๓. เหตุเกิดแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นเหตุ
เกิดแห่งสมาธินทรีย์
๑๔. เหตุเกิดแห่งฉันทะด้วยอำนาจความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นเหตุเกิดแห่ง
สมาธินทรีย์
๑๕. เหตุเกิดแห่งมนสิการด้วยอำนาจความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นเหตุเกิดแห่ง
สมาธินทรีย์
๑๖. ความปรากฏเป็นสภาวะเดียวด้วยอำนาจสมาธินทรีย์ เป็นเหตุเกิด
แห่งสมาธินทรีย์
๑๗. เหตุเกิดแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความเห็น เป็นเหตุเกิด
แห่งปัญญินทรีย์
๑๘. เหตุเกิดแห่งฉันทะด้วยอำนาจความเห็น เป็นเหตุเกิดแห่งปัญญินทรีย์

เชิงอรรถ :
๑ สภาวะเดียว หมายถึงอารมณ์เดียว (ขุ.ป.อ. ๒/๑๘๘/๑๕๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๙๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๒. ทุติยสุตตันตนิทเทส
๑๙. เหตุเกิดแห่งมนสิการด้วยอำนาจความเห็น เป็นเหตุเกิดแห่ง
ปัญญินทรีย์
๒๐. ความปรากฏเป็นสภาวะเดียวด้วยอำนาจปัญญินทรีย์ เป็นเหตุเกิด
แห่งปัญญินทรีย์
๒๑. เหตุเกิดแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความน้อมใจเชื่อ เป็น
เหตุเกิดแห่งสัทธินทรีย์
๒๒. เหตุเกิดแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่การประคองไว้ เป็น
เหตุเกิดแห่งวิริยินทรีย์
๒๓. เหตุเกิดแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความตั้งมั่น เป็นเหตุเกิด
แห่งสตินทรีย์
๒๔. เหตุเกิดแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นเหตุ
เกิดแห่งสมาธินทรีย์
๒๕. เหตุเกิดแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความเห็น เป็นเหตุเกิด
แห่งปัญญินทรีย์
๒๖. เหตุเกิดแห่งฉันทะด้วยอำนาจความน้อมใจเชื่อ เป็นเหตุเกิดแห่งสัทธินทรีย์
๒๗. เหตุเกิดแห่งฉันทะด้วยอำนาจการประคองไว้ เป็นเหตุเกิดแห่งวิริยินทรีย์
๒๘. เหตุเกิดแห่งฉันทะด้วยอำนาจความตั้งมั่น เป็นเหตุเกิดแห่งสตินทรีย์
๒๙. เหตุเกิดแห่งฉันทะด้วยอำนาจความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นเหตุเกิดแห่งสมาธินทรีย์
๓๐. เหตุเกิดแห่งฉันทะด้วยอำนาจความเห็น เป็นเหตุเกิดแห่งปัญญินทรีย์
๓๑. เหตุเกิดแห่งมนสิการด้วยอำนาจความน้อมใจเชื่อ เป็นเหตุเกิดแห่งสัทธินทรีย์
๓๒. เหตุเกิดแห่งมนสิการด้วยอำนาจการประคองไว้ เป็นเหตุเกิดแห่งวิริยินทรีย์
๓๓. เหตุเกิดแห่งมนสิการด้วยอำนาจความตั้งมั่น เป็นเหตุเกิดแห่งสตินทรีย์
๓๔. เหตุเกิดแห่งมนสิการด้วยอำนาจความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นเหตุเกิดแห่งสมาธินทรีย์
๓๕. เหตุเกิดแห่งมนสิการด้วยอำนาจความเห็น เป็นเหตุเกิดแห่งปัญญินทรีย์
๓๖. ความปรากฏเป็นสภาวะเดียวด้วยอำนาจสัทธินทรีย์ เป็นเหตุเกิดแห่งสัทธินทรีย์
๓๗. ความปรากฏเป็นสภาวะเดียวด้วยอำนาจวิริยินทรีย์ เป็นเหตุเกิดแห่งวิริยินทรีย์
๓๘. ความปรากฏเป็นสภาวะเดียวด้วยอำนาจสตินทรีย์ เป็นเหตุเกิดแห่ง
สตินทรีย์
๓๙. ความปรากฏเป็นสภาวะเดียวด้วยอำนาจสมาธินทรีย์ เป็นเหตุเกิด
แห่งสมาธินทรีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๒. ทุติยสุตตันตนิทเทส
๔๐. ความปรากฏเป็นสภาวะเดียวด้วยอำนาจปัญญินทรีย์ เป็นเหตุเกิด
แห่งปัญญินทรีย์
อินทรีย์ ๕ มีเหตุเกิดด้วยอาการ ๔๐ อย่างนี้ บุคคลรู้ชัดเหตุเกิดแห่ง
อินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๔๐ อย่างนี้
อินทรีย์ ๕ มีความดับ ด้วยอาการ ๔๐ อย่าง อะไรบ้าง บุคคลรู้ชัดความดับ
แห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๔๐ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ความดับแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความน้อมใจเชื่อ เป็น
ความดับแห่งสัทธินทรีย์
๒. ความดับแห่งฉันทะด้วยอำนาจความน้อมใจเชื่อ เป็นความดับแห่ง
สัทธินทรีย์
๓. ความดับแห่งมนสิการด้วยอำนาจความน้อมใจเชื่อ เป็นความดับแห่ง
สัทธินทรีย์
๔. ความไม่ปรากฏเป็นสภาวะเดียวด้วยอำนาจสัทธินทรีย์ เป็นความดับ
แห่งสัทธินทรีย์
๕. ความดับแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่การประคองไว้ เป็น
ความดับแห่งวิริยินทรีย์
๖. ความดับแห่งฉันทะด้วยอำนาจการประคองไว้ เป็นความดับแห่ง
วิริยินทรีย์
๗. ความดับแห่งมนสิการด้วยอำนาจการประคองไว้ เป็นความดับแห่ง
วิริยินทรีย์
๘. ความไม่ปรากฏเป็นสภาวะเดียวด้วยอำนาจวิริยินทรีย์ เป็นความ
ดับแห่งวิริยินทรีย์
๙. ความดับแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความตั้งมั่น เป็นความ
ดับแห่งสตินทรีย์
๑๐. ความดับแห่งฉันทะด้วยอำนาจความตั้งมั่น เป็นความดับแห่งสตินทรีย์
๑๑. ความดับแห่งมนสิการด้วยอำนาจความตั้งมั่น เป็นความดับแห่ง
สตินทรีย์
๑๒. ความไม่ปรากฏเป็นสภาวะเดียวด้วยอำนาจสตินทรีย์ เป็นความดับ
แห่งสตินทรีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๙๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๒. ทุติยสุตตันตนิทเทส
๑๓. ความดับแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความไม่ฟุ้งซ่าน เป็น
ความดับแห่งสมาธินทรีย์
๑๔. ความดับแห่งฉันทะด้วยอำนาจความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นความดับแห่ง
สมาธินทรีย์
๑๕. ความดับแห่งมนสิการด้วยอำนาจความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นความดับแห่ง
สมาธินทรีย์
๑๖. ความไม่ปรากฏเป็นสภาวะเดียวด้วยอำนาจสมาธินทรีย์ เป็นความดับ
แห่งสมาธินทรีย์
๑๗. ความดับแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความเห็น เป็นความดับ
แห่งปัญญินทรีย์
๑๘. ความดับแห่งฉันทะด้วยอำนาจความเห็น เป็นความดับแห่งปัญญินทรีย์
๑๙. ความดับแห่งมนสิการด้วยอำนาจความเห็น เป็นความดับแห่งปัญญินทรีย์
๒๐. ความไม่ปรากฏเป็นสภาวะเดียวด้วยอำนาจปัญญินทรีย์ เป็นความ
ดับแห่งปัญญินทรีย์
๒๑. ความดับแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความน้อมใจเชื่อ เป็น
ความดับแห่งสัทธินทรีย์
๒๒. ความดับแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่การประคองไว้ เป็นความ
ดับแห่งวิริยินทรีย์
๒๓. ความดับแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความตั้งมั่น เป็นความ
ดับแห่งสตินทรีย์
๒๔. ความดับแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความไม่ฟุ้งซ่าน เป็น
ความดับแห่งสมาธินทรีย์
๒๕. ความดับแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความเห็น เป็นความ
ดับแห่งปัญญินทรีย์
๒๖. ความดับแห่งฉันทะด้วยอำนาจความน้อมใจเชื่อ เป็นความดับแห่ง
สัทธินทรีย์
๒๗. ความดับแห่งฉันทะด้วยอำนาจการประคองไว้ เป็นความดับแห่ง
วิริยินทรีย์
๒๘. ความดับแห่งฉันทะด้วยอำนาจความตั้งมั่น เป็นความดับแห่ง
สตินทรีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๙๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๒. ทุติยสุตตันตนิทเทส
๒๙. ความดับแห่งฉันทะด้วยอำนาจความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นความดับแห่ง
สมาธินทรีย์
๓๐. ความดับแห่งฉันทะด้วยอำนาจความเห็น เป็นความดับแห่ง
ปัญญินทรีย์
๓๑. ความดับแห่งมนสิการด้วยอำนาจความน้อมใจเชื่อ เป็นความดับแห่ง
สัทธินทรีย์
๓๒. ความดับแห่งมนสิการด้วยอำนาจการประคองไว้ เป็นความดับ
แห่งวิริยินทรีย์
๓๓. ความดับแห่งมนสิการด้วยอำนาจความตั้งมั่น เป็นความดับแห่ง
สตินทรีย์
๓๔. ความดับแห่งมนสิการด้วยอำนาจความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นความดับแห่ง
สมาธินทรีย์
๓๕. ความดับแห่งมนสิการด้วยอำนาจความเห็น เป็นความดับแห่ง
ปัญญินทรีย์
๓๖. ความไม่ปรากฏเป็นสภาวะเดียวด้วยอำนาจสัทธินทรีย์ เป็นความ
ดับแห่งสัทธินทรีย์
๓๗. ความไม่ปรากฏเป็นสภาวะเดียวด้วยอำนาจวิริยินทรีย์ เป็นความดับ
แห่งวิริยินทรีย์
๓๘. ความไม่ปรากฏเป็นสภาวะเดียวด้วยอำนาจสตินทรีย์ เป็นความดับ
แห่งสตินทรีย์
๓๙. ความไม่ปรากฏเป็นสภาวะเดียวด้วยอำนาจสมาธินทรีย์ เป็นความ
ดับแห่งสมาธินทรีย์
๔๐. ความไม่ปรากฏเป็นสภาวะเดียวด้วยอำนาจปัญญินทรีย์ เป็นความ
ดับแห่งปัญญินทรีย์
อินทรีย์ ๕ มีความดับด้วยอาการ ๔๐ อย่างนี้ บุคคลรู้ชัดความดับแห่ง
อินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๔๐ อย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๐๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๒. ทุติยสุตตันตนิทเทส
ก. อัสสาทนิทเทส
แสดงคุณ (แห่งอินทรีย์ ๕)
[๑๘๙] อินทรีย์ ๕ มีคุณ ด้วยอาการ ๒๕ อย่าง อะไรบ้าง บุคคลรู้ชัดคุณ
แห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๕ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ความไม่ปรากฏแห่งความไม่มีศรัทธา เป็นคุณแห่งสัทธินทรีย์
๒. ความไม่ปรากฏแห่งความเร่าร้อน เพราะความไม่มีศรัทธา เป็นคุณ
แห่งสัทธินทรีย์
๓. ความแกล้วกล้าแห่งความประพฤติด้วยความน้อมใจเชื่อ เป็นคุณแห่ง
สัทธินทรีย์
๔. ความสงบ๑และการบรรลุสุขวิหารธรรม๒ เป็นคุณแห่งสัทธินทรีย์
๕. สุขโสมนัสที่อาศัยสัทธินทรีย์เกิดขึ้น เป็นคุณแห่งสัทธินทรีย์
๖. ความไม่ปรากฏแห่งความเกียจคร้าน เป็นคุณแห่งวิริยินทรีย์
๗. ความไม่ปรากฏแห่งความเร่าร้อน เพราะความไม่เกียจคร้าน เป็น
คุณแห่งวิริยินทรีย์
๘. ความแกล้วกล้าแห่งความประพฤติด้วยการประคองไว้ เป็นคุณแห่ง
วิริยินทรีย์
๙. ความสงบและการบรรลุสุขวิหารธรรม เป็นคุณแห่งวิริยินทรีย์
๑๐. สุขโสมนัสที่อาศัยวิริยินทรีย์เกิดขึ้น เป็นคุณแห่งวิริยินทรีย์
๑๑. ความไม่ปรากฏแห่งความประมาท เป็นคุณแห่งสตินทรีย์
๑๒. ความไม่ปรากฏแห่งความเร่าร้อนเพราะเหตุแห่งความประมาท เป็น
คุณแห่งสตินทรีย์
๑๓. ความแกล้วกล้าแห่งความประพฤติด้วยความตั้งมั่น เป็นคุณแห่ง
สตินทรีย์
๑๔. ความสงบและการบรรลุสุขวิหารธรรม เป็นคุณแห่งสตินทรีย์

เชิงอรรถ :
๑ ความสงบ หมายถึงสมถะ (ขุ.ป.อ. ๒/๑๘๙/๑๕๗)
๒ สุขวิหารธรรม หมายถึงวิปัสสนา (ขุ.ป.อ. ๒/๑๘๙/๑๕๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๒. ทุติยสุตตันตนิทเทส
๑๕. สุขโสมนัสที่อาศัยสตินทรีย์เกิดขึ้น เป็นคุณแห่งสตินทรีย์
๑๖. ความไม่ปรากฏแห่งอุทธัจจะ เป็นคุณแห่งสมาธินทรีย์
๑๗. ความไม่ปรากฏแห่งความเร่าร้อนเพราะอุทธัจจะ เป็นคุณแห่งสมาธินทรีย์
๑๘. ความแกล้วกล้าแห่งความประพฤติด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นคุณแห่ง
สมาธินทรีย์
๑๙. ความสงบและการบรรลุสุขวิหารธรรม เป็นคุณแห่งสมาธินทรีย์
๒๐. สุขโสมนัสที่อาศัยสมาธินทรีย์เกิดขึ้น เป็นคุณแห่งสมาธินทรีย์
๒๑. ความไม่ปรากฏแห่งอวิชชา เป็นคุณแห่งปัญญินทรีย์
๒๒. ความไม่ปรากฏแห่งความเร่าร้อนเพราะอวิชชา เป็นคุณแห่งปัญญินทรีย์
๒๓. ความแกล้วกล้าแห่งความประพฤติด้วยความเห็น เป็นคุณแห่งปัญญินทรีย์
๒๔. ความสงบและการบรรลุสุขวิหารธรรม เป็นคุณแห่งปัญญินทรีย์
๒๕. สุขโสมนัสที่อาศัยปัญญินทรีย์เกิดขึ้น เป็นคุณแห่งปัญญินทรีย์
อินทรีย์ ๕ มีคุณด้วยอาการ ๒๕ อย่างนี้ บุคคลรู้ชัดคุณแห่งอินทรีย์ ๕
ด้วยอาการ ๒๕ อย่างนี้

ข. อาทีนวนิทเทส
แสดงโทษ (แห่งอินทรีย์ ๕)
[๑๙๐] อินทรีย์ ๕ มีโทษ เพราะอาการ ๒๕ อย่าง เป็นอย่างไร บุคคล
รู้ชัดโทษแห่งอินทรีย์ ๕ เพราะอาการ ๒๕ อย่าง เป็นอย่างไร คือ
๑. ความปรากฏแห่งความไม่มีศรัทธา เป็นโทษแห่งสัทธินทรีย์
๒. ความปรากฏแห่งความเร่าร้อนเพราะความไม่มีศรัทธา เป็นโทษ
แห่งสัทธินทรีย์
๓. สัทธินทรีย์มีโทษ เพราะมีสภาวะไม่เที่ยง
๔. สัทธินทรีย์มีโทษ เพราะมีสภาวะเป็นทุกข์
๕. สัทธินทรีย์มีโทษ เพราะมีสภาวะเป็นอนัตตา
๖. ความปรากฏแห่งความเกียจคร้าน เป็นโทษแห่งวิริยินทรีย์
๗. ความปรากฏแห่งความเร่าร้อนเพราะความเกียจคร้าน เป็นโทษ
แห่งวิริยินทรีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๒. ทุติยสุตตันตนิทเทส
๘. วิริยินทรีย์มีโทษ เพราะมีสภาวะไม่เที่ยง
๙. วิริยินทรีย์มีโทษ เพราะมีสภาวะเป็นทุกข์
๑๐. วิริยินทรีย์มีโทษ เพราะมีสภาวะเป็นอนัตตา
๑๑. ความปรากฏแห่งความประมาท เป็นโทษแห่งสตินทรีย์
๑๒. ความปรากฏแห่งความเร่าร้อนเพราะความประมาท เป็นโทษแห่ง
สตินทรีย์
๑๓. สตินทรีย์มีโทษ เพราะมีสภาวะไม่เที่ยง
๑๔. สตินทรีย์มีโทษ เพราะมีสภาวะเป็นทุกข์
๑๕. สตินทรีย์มีโทษ เพราะมีสภาวะเป็นอนัตตา
๑๖. ความปรากฏแห่งอุทธัจจะ เป็นโทษแห่งสมาธินทรีย์
๑๗. ความปรากฏแห่งความเร่าร้อนเพราะอุทธัจจะ เป็นโทษแห่ง
สมาธินทรีย์
๑๘. สมาธินทรีย์มีโทษ เพราะมีสภาวะไม่เที่ยง
๑๙. สมาธินทรีย์มีโทษ เพราะมีสภาวะเป็นทุกข์
๒๐. สมาธินทรีย์มีโทษ เพราะมีสภาวะเป็นอนัตตา
๒๑. ความปรากฏแห่งอวิชชา เป็นโทษแห่งปัญญินทรีย์
๒๒. ความปรากฏแห่งความเร่าร้อนเพราะอวิชชา เป็นโทษแห่งปัญญินทรีย์
๒๓. ปัญญินทรีย์มีโทษ เพราะมีสภาวะไม่เที่ยง
๒๔. ปัญญินทรีย์มีโทษ เพราะมีสภาวะเป็นทุกข์
๒๕. ปัญญินทรีย์มีโทษ เพราะมีสภาวะเป็นอนัตตา
อินทรีย์ ๕ มีโทษ เพราะอาการ ๒๕ อย่างนี้ บุคคลรู้ชัดโทษแห่งอินทรีย์ ๕
เพราะอาการ ๒๕ อย่างนี้

ค. นิสสรณนิทเทส
แสดงเครื่องสลัดออก (จากอินทรีย์ ๕)
[๑๙๑] อินทรีย์ ๕ มีเครื่องสลัดออกด้วยอาการ ๑๘๐ อย่าง เป็นอย่างไร
บุคคลรู้ชัดเครื่องสลัดออกจากอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๑๘๐ อย่าง เป็นอย่างไร คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๐๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๒. ทุติยสุตตันตนิทเทส
เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ สัทธินทรีย์จึง
๑. สลัดออกจากความไม่มีศรัทธา
๒. สลัดออกจากความเร่าร้อนเพราะความไม่มีศรัทธา
๓. สลัดออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามความไม่มีศรัทธาและจากขันธ์
๔. สลัดออกจากสรรพนิมิตภายนอก
๕. สลัดออกจากสัทธินทรีย์ที่มีอยู่ก่อนแต่การได้สัทธินทรีย์ที่ประณีตกว่านั้น
เพราะมีสภาวะประคองไว้ วิริยินทรีย์จึง
๑. สลัดออกจากความเกียจคร้าน
๒. สลัดออกจากความเร่าร้อนเพราะความเกียจคร้าน
๓. สลัดออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามความเกียจคร้านและจากขันธ์
๔. สลัดออกจากสรรพนิมิตภายนอก
๕. สลัดออกจากวิริยินทรีย์ซึ่งมีอยู่ก่อนแต่การได้วิริยินทรีย์ที่ประณีตกว่านั้น
เพราะมีสภาวะตั้งมั่น สตินทรีย์จึง
๑. สลัดออกจากความประมาท
๒. สลัดออกจากความเร่าร้อนเพราะความประมาท
๓. สลัดออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามความประมาทและจากขันธ์
๔. สลัดออกจากสรรพนิมิตภายนอก
๕. สลัดออกจากสตินทรีย์ซึ่งมีอยู่ก่อนแต่การได้สตินทรีย์ที่ประณีตกว่านั้น
เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน สมาธินทรีย์จึง
๑. สลัดออกจากอุทธัจจะ
๒. สลัดออกจากความเร่าร้อนเพราะอุทธัจจะ
๓. สลัดออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามอุทธัจจะนั้นและจากขันธ์
๔. สลัดออกจากสรรพนิมิตภายนอก
๕. สลัดออกจากสมาธินทรีย์ซึ่งมีอยู่ก่อนแต่การได้สมาธินทรีย์ที่ประณีตกว่านั้น
เพราะมีสภาวะเห็น ปัญญินทรีย์จึง
๑. สลัดออกจากอวิชชา
๒. สลัดออกจากความเร่าร้อนเพราะอวิชชา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๐๔ }


>>>>> หน้าต่อไป >>>>>





eXTReMe Tracker