ค้นว่าอยู่เล่มใด แล้วกด [ctrl]+f หรือใช้คำสั่งของเครื่องหาตำแหน่งในเล่มอีกทีนะครับ



จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อความสะดวก และสวยงาม
(เฉพาะหน้าจอใหญ่ เช่น คอมพิวเตอร์)
กรุณาคลิก จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อให้กรอบ
ค้นข้อความ ปรากฎที่ด้านซ้ายของหน้า

พระไตรปิฎกภาษาไทย
ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม (ปกสีฟ้า)
ทั้งออนไลน์และออฟไลน์
ที่มาของข้อมูล : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มจร.
MCUTRAI Version 1.0

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖-๑ สุตตันตปิฎกที่ ๑๘ ขุททกนิกาย
วิมาน เปตวัตถุ เถรคาถา เถรีคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๑. ปีฐวรรค ๑. ปฐมปีฐวิมาน

พระสุตตันตปิฎก
ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

๑. อิตถีวิมาน
๑. ปีฐวรรค
หมวดว่าด้วยตั่ง
๑. ปฐมปีฐวิมาน๑
ว่าด้วยวิมานตั่ง เรื่องที่ ๑

(พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า)
[๑] เทพธิดาผู้ประดับองค์ ทรงมาลัย ทรงภูษาสวยงาม
วิมานตั่งทองคำของเธอช่างโอ่อ่า
ล่องลอยไปในที่ต่าง ๆ ได้รวดเร็วสมใจปรารถนา
เธอเปล่งรัศมีสว่างไสว ดังสายฟ้าแลบออกจากกลีบเมฆ
[๒] เพราะบุญอะไรผิวพรรณเธอจึงงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่เธอในวิมานนี้
และโภคะ๒ทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดแก่เธอ

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า วิมาน หมายถึง ที่เล่น ที่อยู่ของเหล่าเทวดาซึ่งถือว่าเป็นสถานที่อันประเสริฐ และคำว่า
วิมานวัตถุ หมายถึง เรื่องวิมาน หรือที่ตั้งวิมานนั้น ๆ (ขุ.วิ.อ. ๒)
๒ โภคะ คือ เบญจกามคุณที่เป็นทิพยสมบัติ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นเครื่อง
อุปโภคบริโภค (ขุ.วิ. อ. ๒/๑๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๑. ปีฐวรรค ๒. ทุติยปีฐวิมาน
[๓] เทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามว่า
เมื่อเธอเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้
เพราะบุญอะไรเธอจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๔] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมตามที่พระเถระถามว่า
[๕] เมื่อดิฉันเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์
ได้ถวายตั่ง๑ แด่บรรดาภิกษุผู้เพิ่งมาถึง
ได้กราบไหว้ ประคองอัญชลี
และถวายทานตามกำลังทรัพย์
[๖] เพราะบุญนั้นผิวพรรณดิฉันจึงงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่ดิฉันในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่ดิฉัน
[๗] ข้าแต่ภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ดิฉันขอกราบเรียนว่า
เพราะบุญที่ได้ทำไว้สมัยเมื่อเกิดเป็นมนุษย์
ดิฉันจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
ปฐมปีฐวิมานที่ ๑ จบ

๒. ทุติยปีฐวิมาน
ว่าด้วยวิมานตั่ง เรื่องที่ ๒
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า)
[๘] เทพธิดาผู้ประดับองค์ ทรงมาลัย ทรงภูษาสวยงาม
วิมานตั่งแก้วไพฑูรย์ของเธอช่างโอ่อ่า

เชิงอรรถ :
๑ อาสนก ได้แก่ ปีฐ คือตั่ง ในที่อื่นก็เช่นกัน (ขุ.วิ.อ. ๕/๒๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๑. ปีฐวรรค ๒. ทุติยปีฐวิมาน
ล่องลอยไปในที่ต่าง ๆ ได้รวดเร็วสมใจปรารถนา
เธอเปล่งรัศมีสว่างไสวดังสายฟ้าแลบออกจากกลีบเมฆ
[๙] เพราะบุญอะไรผิวพรรณเธอจึงงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่เธอในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่เธอ
[๑๐] เทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามว่า
เมื่อเธอเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้
เพราะบุญอะไรเธอจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๑๑] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมตามที่พระเถระถามว่า
[๑๒] เมื่อดิฉันเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์
ได้ถวายตั่งแด่บรรดาภิกษุผู้เพิ่งมาถึง ได้กราบไหว้
ประคองอัญชลีและถวายทานตามกำลังทรัพย์
[๑๓] เพราะบุญนั้นผิวพรรณดิฉันจึงงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่ดิฉันในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่ดิฉัน
[๑๔] ข้าแต่ภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ดิฉันขอกราบเรียนว่า
เพราะบุญที่ได้ทำไว้สมัยเมื่อเกิดเป็นมนุษย์
ดิฉันจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
ทุติยปีฐวิมานที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๑. ปีฐวรรค ๓. ตติยปีฐวิมาน
๓. ตติยปีฐวิมาน
ว่าด้วยวิมานตั่ง เรื่องที่ ๓
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า)
[๑๕] เทพธิดาผู้ประดับองค์ ทรงมาลัย ทรงภูษาสวยงาม
วิมานตั่งทองคำของเธอช่างโอ่อ่า
ล่องลอยไปในที่ต่าง ๆ ได้รวดเร็วสมใจปรารถนา
เธอเปล่งรัศมีสว่างไสว ดังสายฟ้าแลบออกจากกลีบเมฆ
[๑๖] เพราะบุญอะไรผิวพรรณเธอจึงงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่เธอในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่เธอ
[๑๗] เทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามว่า
เมื่อเธอเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้
เพราะบุญอะไรเธอจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๑๘] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมตามที่พระเถระถามว่า
[๑๙] ดิฉันมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้
เพราะผลกรรมน้อยนิดของดิฉัน
ชาติก่อน ดิฉันเกิดเป็นมนุษย์
อยู่ในหมู่มนุษย์ในมนุษยโลก
[๒๐] ได้เห็นภิกษุผู้ปราศจากกิเลสประดุจธุลี๑
มีใจผ่องใสไม่มัวหมอง๒
เลื่อมใสแล้ว ได้ถวายตั่งแด่ท่าน
ด้วยมือทั้งสองของตน

เชิงอรรถ :
๑ กิเลสมีราคะเป็นต้น (ขุ.วิ.อ. ๒๐/๒๙)
๒ ภิกษุผู้ทำลายกิเลสได้แล้วมีใจผ่องใสไม่มัวหมองด้วยกิเลสและไม่มีความดำริที่เศร้าหมอง (ขุ.วิ.อ. ๒๐/๒๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๑. ปีฐวรรค ๔. จตุตถปีฐวิมาน
[๒๑] เพราะบุญนั้นผิวพรรณดิฉันจึงงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่ดิฉันในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่ดิฉัน
[๒๒] ข้าแต่ภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ดิฉันขอกราบเรียนว่า
เพราะบุญที่ได้ทำไว้สมัยเมื่อเกิดเป็นมนุษย์
ดิฉันจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
ตติยปีฐวิมานที่ ๓ จบ

๔. จตุตถปีฐวิมาน
ว่าด้วยวิมานตั่ง เรื่องที่ ๔
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า)
[๒๓] เทพธิดาผู้ประดับองค์ ทรงมาลัย ทรงภูษาสวยงาม
วิมานตั่งแก้วไพฑูรย์ของเธอช่างโอ่อ่า
ล่องลอยไปในที่ต่าง ๆ ได้รวดเร็วสมใจปรารถนา
เธอเปล่งรัศมีสว่างไสว ดังสายฟ้าแลบออกจากกลีบเมฆ
[๒๔] เพราะบุญอะไรผิวพรรณเธอจึงงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่เธอในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่เธอ
[๒๕] เทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามว่า
เมื่อเธอเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้
เพราะบุญอะไรเธอจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๒๖] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมตามที่พระเถระถามว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๑. ปีฐวรรค ๕. กุญชรวิมาน
[๒๗] ดิฉันมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้
เพราะผลกรรมน้อยนิดของดิฉัน
ชาติก่อน ดิฉันเกิดเป็นมนุษย์
อยู่ในหมู่มนุษย์ในมนุษยโลก
[๒๘] ได้เห็นภิกษุผู้ปราศจากกิเลสประดุจธุลี
มีใจผ่องใสไม่มัวหมอง เลื่อมใสแล้ว
ได้ถวายตั่งแด่ท่านด้วยมือทั้งสองของตน
[๒๙] เพราะบุญนั้นผิวพรรณดิฉันจึงงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่ดิฉันในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่ดิฉัน
[๓๐] ข้าแต่ภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ดิฉันขอกราบเรียนว่า
เพราะบุญที่ได้ทำไว้สมัยเมื่อเกิดเป็นมนุษย์
ดิฉันจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
จตุตถปีฐวิมานที่ ๔ จบ

๕. กุญชรวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่มีช้างเป็นพาหนะ
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า)
[๓๑] เทพธิดาผู้มีดวงตางดงามคล้ายกลีบปทุม
ช้างพาหนะอันประเสริฐของเธอ
ประดับประดาด้วยแก้วนานาประการ
น่าพอใจ มีพลัง แคล่วคล่องว่องไว
ท่องเที่ยวไปในอากาศได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๑. ปีฐวรรค ๕. กุญชรวิมาน
[๓๒] กระพองมีสีคล้ายสีดอกปทุม
ประดับด้วยพวงดอกปทุมและพวงดอกอุบลทิพย์
งามรุ่งเรือง ตามตัวโปรยปรายด้วยเกสรปทุม
ประดับด้วยพวงปทุมทองอย่างสง่างาม
[๓๓] พญาช้างเยื้องย่างไปได้อย่างราบเรียบ
ไม่สั่นสะเทือนตลอดทาง
ที่เรียงรายด้วยดอกปทุมทองขนาดใหญ่
มีกลีบปทุมประดับประดาอยู่
[๓๔] เมื่อพญาช้างเยื้องย่างไป
กระดิ่งทองคำก็ดังประสานเสียงน่ารื่นรมย์
กังวานไพเราะจับใจ
ฟังคล้ายกับเสียงดนตรีเครื่องห้า๑
[๓๕] เธอทรงภูษาสะอาดสะอ้าน ประดับองค์อยู่บนคอช้าง
มีผิวพรรณงามล้ำหมู่นางอัปสรจำนวนมาก
[๓๖] นี้เป็นผลของทาน ศีล หรือการกราบไหว้ของเธอ
อาตมาถามเธอแล้ว โปรดบอกผลกรรมนั้นเถิด
[๓๗] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมตามที่พระเถระถามว่า
[๓๘] ดิฉันได้เห็นพระเถระผู้สมบูรณ์ด้วยคุณ๒
ผู้ได้ฌาน ยินดีในฌาน สงบ
ได้ถวายอาสนะที่ปูด้วยผ้า โปรยปรายดอกไม้ไว้

เชิงอรรถ :
๑ ดนตรีเครื่องห้า คือ อาตตะ(โทน) วิตตะ(ตะโพน) อาตตวิตตะ(บัณเฑาะว์) ฆนะ(กังสดาล) สุสิระ(ปี่ สังข์)
(ขุ.วิ.อ. ๓๔/๓๗)
๒ คุณ หมายถึง สาวกบารมีญาณ (ขุ.วิ.อ. ๓๘/๓๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๑. ปีฐวรรค ๖. ปฐมนาวาวิมาน
[๓๙] ยังมีดอกปทุมเหลืออยู่อีกครึ่งหนึ่ง
ดิฉันเลื่อมใสแล้วจึงโปรยกลีบปทุม
รอบ ๆ อาสนะด้วยมือของตน
[๔๐] ผลแห่งกุศลกรรมของดิฉันนั้นเป็นเช่นนี้
ดิฉันจึงเป็นที่สักการะ เคารพ นอบน้อม ของมวลเทพ
[๔๑] บุคคลผู้เลื่อมใส ถวายอาสนะ
แด่ผู้มีปกติประพฤติพรหมจรรย์
หลุดพ้นโดยชอบ สงบแล้ว
พึงบันเทิงใจเช่นเดียวกับดิฉัน
[๔๒] เพราะเหตุนั้นแล ท่านผู้มุ่งประโยชน์ตน
หวังผลมาก ควรถวายอาสนะ
แด่ท่านผู้ครองร่างชาติสุดท้าย๑
กุญชรวิมานที่ ๕ จบ

๖. ปฐมนาวาวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่มีเรือเป็นพาหนะ เรื่องที่ ๑
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า)
[๔๓] เทพนารี เธอขึ้นอยู่บนเรือประทุนทอง
ล่องลอยเข้าสู่สระโบกขรณี เด็ดดอกปทุมอยู่
[๔๔] เพราะบุญอะไรผิวพรรณเธอจึงงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่เธอในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่เธอ

เชิงอรรถ :
๑ พระอรหันต์ (ขุ.วิ.อ. ๔๒/๔๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๑. ปีฐวรรค ๖. ปฐมนาวาวิมาน
[๔๕] เทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามว่า
เมื่อเธอเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้
เพราะบุญอะไรเธอจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๔๖] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมตามที่พระเถระถามว่า
[๔๗] ชาติก่อน ดิฉันเกิดเป็นมนุษย์
อยู่ในหมู่มนุษย์ในมนุษยโลก
ได้เห็นภิกษุหลายรูปผู้เหน็ดเหนื่อยกระหายน้ำ
จึงขมีขมันถวายน้ำให้ท่านดื่ม
[๔๘] ผู้ใดแลขมีขมันถวายน้ำให้ภิกษุหลายรูป
ผู้เหน็ดเหนื่อยกระหายน้ำได้ดื่ม
แม่น้ำหลายสายมีกระแสน้ำใสเย็น
มากไปด้วยสวนไม้ดอก มีบัวขาวอยู่มากมาย ย่อมเกิดแก่ผู้นั้น
[๔๙] วิมานนั้นมีแม่น้ำหลายสายไหลล้อมรอบอยู่ประจำ
สายน้ำมีทรายมูล มีกระแสน้ำใสเย็น
มีหมู่ไม้มะม่วง ไม้สาละ ไม้หมากหอม ไม้หว้า
ไม้ราชพฤกษ์และหมู่ไม้แคฝอย ผลิดอกออกผลสะพรั่ง
[๕๐] วิมานอันเลอเลิศมีภูมิภาคเช่นนั้น
เป็นส่วนประกอบงดงามเหลือเกิน
นี้เป็นผลของกรรมนั้นนั่นเอง
ผู้ทำบุญไว้แล้วย่อมได้วิมานเช่นนี้
[๕๑] เพราะบุญนั้นผิวพรรณดิฉันจึงงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่ดิฉันในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่ดิฉัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๑. ปีฐวรรค ๗. ทุติยนาวาวิมาน
[๕๒] ข้าแต่ภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ดิฉันขอกราบเรียนว่า
เพราะบุญที่ได้ทำไว้สมัยเมื่อเกิดเป็นมนุษย์
ดิฉันจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
ปฐมนาวาวิมานที่ ๖ จบ

๗. ทุติยนาวาวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่มีเรือเป็นพาหนะ เรื่องที่ ๒
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า)
[๕๓] เทพนารี เธอขึ้นอยู่บนเรือประทุนทอง
ล่องลอยเข้าสู่สระโบกขรณี เด็ดดอกปทุมอยู่
[๕๔] เพราะบุญอะไรผิวพรรณเธอจึงงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่เธอในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่เธอ
[๕๕] เทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามว่า
เมื่อเธอเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้
เพราะบุญอะไรเธอจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๕๖] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมตามที่พระเถระถามว่า
[๕๗] ชาติก่อน ดิฉันเกิดเป็นมนุษย์
อยู่ในหมู่มนุษย์ในมนุษยโลก
ได้เห็นภิกษุผู้เหน็ดเหนื่อยกระหายน้ำ
จึงขมีขมันถวายน้ำให้ท่านดื่ม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๑. ปีฐวรรค ๘. ตติยนาวาวิมาน
[๕๘] ผู้ใดแลขมีขมันถวายน้ำ
ให้ภิกษุผู้เหน็ดเหนื่อยกระหายน้ำได้ดื่ม
แม่น้ำหลายสายมีกระแสน้ำใสเย็น มากไปด้วยสวนไม้ดอก
มีบัวขาวอยู่มากมายย่อมเกิดแก่ผู้นั้น
[๕๙] วิมานนั้น มีน้ำหลายสายไหลล้อมรอบอยู่ประจำ
สายน้ำมีทรายมูล มีกระแสน้ำใสเย็น
มีหมู่ไม้มะม่วง ไม้สาละ ไม้หมากหอม ไม้หว้า
ไม้ราชพฤกษ์และหมู่ไม้แคฝอย ผลิดอกออกผลสะพรั่ง
[๖๐] วิมานอันเลอเลิศมีภูมิภาคเช่นนั้น
เป็นส่วนประกอบงดงามเหลือเกิน
นี้เป็นผลของกรรมนั้นนั่นเอง
ผู้ทำบุญไว้แล้วย่อมได้วิมานเช่นนี้
[๖๑] เพราะบุญนั้นผิวพรรณดิฉันจึงงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่ดิฉันในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่ดิฉัน
[๖๒] ข้าแต่ภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ดิฉันขอกราบเรียนว่า
เพราะบุญที่ได้ทำไว้สมัยเมื่อเกิดเป็นมนุษย์
ดิฉันจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
ทุติยนาวาวิมานที่ ๗ จบ

๘. ตติยนาวาวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่มีเรือเป็นพาหนะ เรื่องที่ ๓
(พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า)
[๖๓] เทพนารี เธอขึ้นอยู่บนเรือประทุนทอง
ล่องลอยเข้าสู่สระโบกขรณี เด็ดดอกปทุมอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๑. ปีฐวรรค ๘. ตติยนาวาวิมาน
[๖๔] วิมานเรือนยอดของเธอ
จัดแบ่งไว้แต่ละส่วนอย่างเหมาะสม
ส่องสว่างรุ่งเรืองรอบทั้ง ๔ ทิศ
[๖๕] เพราะบุญอะไรผิวพรรณเธอจึงงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่เธอในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่เธอ
[๖๖] เทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก ตถาคตขอถามว่า
เมื่อเธอเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้
เพราะบุญอะไรเธอจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๖๗] เทพธิดานั้นดีใจที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถาม
จึงทูลตอบปัญหาผลกรรม
ตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า
[๖๘] ชาติก่อนหม่อมฉันเกิดเป็นมนุษย์
อยู่ในหมู่มนุษย์ในมนุษยโลก
ได้เห็นภิกษุหลายรูปผู้เหน็ดเหนื่อยกระหายน้ำ
จึงขมีขมันถวายน้ำให้ท่านดื่ม
[๖๙] ผู้ใดแล ขมีขมันถวายน้ำให้ภิกษุหลายรูป
ผู้เหน็ดเหนื่อยกระหายน้ำได้ดื่ม
แม่น้ำหลายสายมีกระแสน้ำใสเย็น มากไปด้วยสวนไม้ดอก
มีบัวขาวอยู่มากมายย่อมเกิดแก่ผู้นั้น
[๗๐] วิมานนั้นมีแม่น้ำหลายสายไหลล้อมรอบอยู่ประจำ
สายน้ำมีทรายมูล มีกระแสน้ำใสเย็น
มีหมู่ไม้มะม่วง ไม้สาละ ไม้หมากหอม ไม้หว้า
ไม้ราชพฤกษ์และหมู่ไม้แคฝอย ผลิดอกออกผลสะพรั่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๑. ปีฐวรรค ๙. ปทีปวิมาน
[๗๑] วิมานอันเลอเลิศ มีภูมิภาคเช่นนั้น
เป็นส่วนประกอบงดงามเหลือเกิน
นี้เป็นผลของกรรมนั้นนั่นเอง
ผู้ทำบุญไว้แล้วย่อมได้วิมานเช่นนี้
[๗๒] วิมานที่อยู่ของหม่อมฉันมีเรือนยอด
จัดแบ่งไว้แต่ละส่วนอย่างเหมาะสม
ส่องสว่างรุ่งเรืองรอบทั้ง ๔ ทิศ
[๗๓] เพราะบุญนั้นผิวพรรณหม่อมฉันจึงงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่หม่อมฉันในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่หม่อมฉัน
[๗๔] ข้าแต่พระพุทธองค์ผู้ทรงอานุภาพมาก หม่อมฉันขอกราบทูลว่า
เพราะบุญที่ได้ทำไว้สมัยเมื่อเกิดเป็นมนุษย์
หม่อมฉันจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
นี้เป็นผลของกรรมที่พระพุทธองค์ทรงเสวยน้ำ
ที่หม่อมฉันขมีขมันถวายนั้น
ตติยนาวาวิมานที่ ๘ จบ

๙. ปทีปวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายประทีป
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า)
[๗๕] เทพธิดา เธอมีผิวพรรณงามยิ่งนัก
เปล่งรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศสถิตอยู่ ดุจดาวประกายพรึก๑

เชิงอรรถ :
๑ ดาวที่มีรัศมีมากกว่าดาวดวงอื่น (ขุ.วิ.อ. ๗๕/๕๕) ปัจจุบันเรียกว่า ดาวรุ่ง คือ ดาวพระศุกร์ที่เห็นในเวลา
เช้ามืด ถ้าเห็นในเวลาหัวค่ำ เรียกดาวประจำเมือง (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕
หน้า ๕๐๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๑. ปีฐวรรค ๙. ปทีปวิมาน
[๗๖] เพราะบุญอะไรผิวพรรณเธอจึงงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่เธอในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่เธอ
[๗๗] เทพธิดา เพราะบุญอะไรเธอจึงมีรัศมีผ่องใส
ไพโรจน์ล้ำเหล่าเทพทั้งมวล
เพราะบุญอะไรเธอจึงมีอวัยวะทุกส่วนส่องสว่างไปทั่วทุกทิศ
[๗๘] เทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามว่า
เมื่อเธอเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้
เพราะบุญอะไรเธอจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๗๙] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมตามที่พระเถระถามว่า
[๘๐] ชาติก่อนดิฉันเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์ในมนุษยโลก
ถึงยามข้างแรมเดือนมืด ได้จุดประทีปถวาย
ในเวลาที่ต้องตามประทีป
[๘๑] ผู้ใดตามประทีปเป็นทานในเวลาที่ต้องตามประทีป
ในยามข้างแรมเดือนมืด
วิมานมีแสงโชติช่วง มากไปด้วยสวนไม้ดอก
มีบัวขาวอยู่มากมายย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้นั้น
[๘๒] เพราะบุญนั้นผิวพรรณดิฉันจึงงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่ดิฉันในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่ดิฉัน
[๘๓] เพราะบุญนั้นดิฉันจึงมีรัศมีผ่องใสไพโรจน์ล้ำกว่าเทพทั้งมวล
เพราะบุญนั้นดิฉันจึงมีอวัยวะทุกส่วนสัดส่องสว่างไปทั่วทุกทิศ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๑. ปีฐวรรค ๑๐. ติลทักขิณวิมาน
[๘๔] ข้าแต่ภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ดิฉันขอกราบเรียนว่า
เพราะบุญที่ได้ทำไว้สมัยเมื่อเกิดเป็นมนุษย์
ดิฉันจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
ปทีปวิมานที่ ๙ จบ

๑๐. ติลทักขิณวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายเมล็ดงา
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า)
[๘๕] เทพธิดา เธอมีผิวพรรณงามยิ่งนัก
เปล่งรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอยู่ ดุจดาวประกายพรึก
[๘๖] เพราะบุญอะไรผิวพรรณเธอจึงงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่เธอในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่เธอ
[๘๗] เทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามว่า
เมื่อเธอเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้
เพราะบุญอะไรเธอจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๘๘] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมตามที่พระเถระถามว่า
[๘๙] ชาติก่อนดิฉันเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์ในมนุษยโลก
[๙๐] ได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากกิเลสประดุจธุลี
มีพระทัยผ่องใสไม่มัวหมอง
ถึงไม่ได้ตั้งใจแต่ก็เลื่อมใสแล้ว
ได้เบียดแทรกเข้าไปถวายเมล็ดงาเป็นทานแด่พระพุทธเจ้า
ผู้เป็นพระทักขิไณยบุคคลด้วยมือทั้งสองของตน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๑. ปีฐวรรค ๑๑. ปฐมปติพพตาวิมาน
[๙๑] เพราะบุญนั้นผิวพรรณดิฉันจึงงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่ดิฉันในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่ดิฉัน
[๙๒] ข้าแต่ภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ดิฉันขอกราบเรียนว่า
เพราะบุญที่ได้ทำไว้สมัยเมื่อเกิดเป็นมนุษย์
ดิฉันจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
ติลทักขิณวิมานที่ ๑๐ จบ

๑๑. ปฐมปติพพตาวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ซื่อสัตย์ต่อสามี เรื่องที่ ๑
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า)
[๙๓] เหล่านกกระเรียน นกยูง หงส์
นกดุเหว่าดำและนกดุเหว่าขาว ล้วนเป็นทิพย์
ชุมนุมกันส่งเสียงไพเราะอยู่รอบวิมานนี้
ซึ่งดารดาษด้วยบุบผชาติ น่ารื่นรมย์ ช่างงามเหลือเกิน
ทั้งเทพบุตรและเทพธิดาเวียนกันมาชมไม่ขาดสาย
[๙๔] เทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก
เธอแสดงฤทธิ์ได้หลากหลาย อยู่ในวิมานนั้น
อนึ่ง เทพอัปสรเหล่านี้ก็ฟ้อนรำขับร้อง
ให้ความบันเทิงอยู่รอบ ๆ เธอ
[๙๕] เทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก
เมื่อเธอเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้
จึงได้สำเร็จเป็นเทพธิดาผู้มีฤทธิ์
เพราะบุญอะไรเธอจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๑. ปีฐวรรค ๑๒. ทุติยปติพพตาวิมาน
[๙๖] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมตามที่พระเถระถามว่า
[๙๗] เมื่อดิฉันเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์
เป็นผู้ซื่อสัตย์ ไม่นอกใจสามี
คอยถนอมน้ำใจ เหมือนมารดาถนอมบุตร
ถึงแม้จะโกรธก็ไม่กล่าวคำหยาบคาย
[๙๘] ดำรงมั่นอยู่ในความสัตย์ ละเว้นการพูดเท็จ
ยินดีในการให้ทาน ชอบอุทิศตนช่วยเหลือผู้อื่น
มีจิตเลื่อมใส ได้ถวายข้าวและน้ำ
เป็นทานอย่างเหลือเฟือโดยเคารพ
[๙๙] เพราะบุญนั้นผิวพรรณดิฉันจึงงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่ดิฉันในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่ดิฉัน
[๑๐๐] ข้าแต่ภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ดิฉันขอกราบเรียนว่า
เพราะบุญที่ได้ทำไว้สมัยเมื่อเกิดเป็นมนุษย์
ดิฉันจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
ปฐมปติพพตาวิมานที่ ๑๑ จบ

๑๒. ทุติยปติพพตาวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ซื่อสัตย์ต่อสามี เรื่องที่ ๒
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า)
[๑๐๑] เทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก
เธอสถิตอยู่ในวิมานน่ารื่นรมย์
เสาทำด้วยแก้วไพฑูรย์อันน่ารื่นรมย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๑. ปีฐวรรค ๑๒. ทุติยปติพพตาวิมาน
เปล่งแสงเรืองรอง งามผุดผ่อง
เธอแสดงฤทธิ์ได้หลากหลาย
เทพอัปสรเหล่านี้ก็ฟ้อนรำ ขับร้อง
และให้ความบันเทิงอยู่รอบ ๆ เธอ
[๑๐๒] เทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก
เมื่อเธอเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้
จึงได้สำเร็จเป็นเทพธิดาผู้มีฤทธิ์ เพราะบุญอะไรจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๑๐๓] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมตามที่พระเถระถามว่า
[๑๐๔] เมื่อดิฉันเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์
เป็นอุบาสิกาของพระพุทธเจ้าผู้ทรงมีพระจักษุ
ดิฉันงดเว้นจากฆ่าสัตว์ เว้นจากการลักทรัพย์ในโลก
[๑๐๕] พอใจเฉพาะสามีของตน ไม่กล่าวเท็จ ไม่ดื่มน้ำเมา๑
มีจิตเลื่อมใสได้ถวายข้าวและน้ำ
เป็นทานอย่างเหลือเฟือโดยเคารพ
[๑๐๖] เพราะบุญนั้นผิวพรรณดิฉันจึงงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่ดิฉันในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่ดิฉัน
[๑๐๗] ข้าแต่ภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ดิฉันขอกราบเรียนว่า
เพราะบุญที่ได้ทำไว้สมัยเมื่อเกิดเป็นมนุษย์
ดิฉันจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
ทุติยปติพพตาวิมานที่ ๑๒ จบ

เชิงอรรถ :
๑ แปลตามลำดับศีล ๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๑. ปีฐวรรค ๑๓. ปฐมสุณิสาวิมาน
๑๓. ปฐมสุณิสาวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงสะใภ้ เรื่องที่ ๑
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า)
[๑๐๘] เทพธิดา เธอมีผิวพรรณงามยิ่งนัก
เปล่งรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอยู่ ดุจดาวประกายพรึก
[๑๐๙] เพราะบุญอะไรผิวพรรณเธอจึงงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่เธอในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่เธอ
[๑๑๐] เทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามว่า
เมื่อเธอเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้
เพราะบุญอะไรเธอจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๑๑๑] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมตามที่พระเถระถามว่า
[๑๑๒] เมื่อดิฉันเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์
เป็นสะใภ้(อยู่)ในเรือนพ่อผัว
[๑๑๓] ได้เห็นภิกษุผู้ปราศจากกิเลสประดุจธุลี
มีใจผ่องใส ไม่มัวหมอง เลื่อมใสแล้ว
ได้ถวายขนมแด่ท่านด้วยมือทั้งสองของตน
ครั้นแบ่งขนมครึ่งหนึ่งถวายแล้ว
ดิฉันจึงมาบันเทิงใจอยู่ในสวนนันทวัน๑
[๑๑๔] เพราะบุญนั้นผิวพรรณดิฉันจึงงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่ดิฉันในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่ดิฉัน

เชิงอรรถ :
๑ สวนดอกไม้ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๑. ปีฐวรรค ๑๔. ทุติยสุณิสาวิมาน
[๑๑๕] ข้าแต่ภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ดิฉันขอกราบเรียนว่า
เพราะบุญที่ได้ทำไว้สมัยเมื่อเกิดเป็นมนุษย์
ดิฉันจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
ปฐมสุณิสาวิมานที่ ๑๓ จบ

๑๔. ทุติยสุณิสาวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงสะใภ้ เรื่องที่ ๒
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า)
[๑๑๖] เทพธิดา เธอมีผิวพรรณงามยิ่งนัก
เปล่งรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศสถิตอยู่ ดุจดาวประกายพรึก
[๑๑๗] เพราะบุญอะไรผิวพรรณเธอจึงงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่เธอในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่เธอ
[๑๑๘] เทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามว่า
เมื่อเธอเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้
เพราะบุญอะไรเธอจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๑๑๙] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมตามที่พระเถระถามว่า
[๑๒๐] เมื่อดิฉันเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์
เป็นสะใภ้(อยู่)ในเรือนพ่อผัว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๑. ปีฐวรรค ๑๕. อุตตราวิมาน
[๑๒๑] ได้เห็นภิกษุผู้ปราศจากกิเลสประดุจธุลี
มีใจผ่องใส ไม่มัวหมอง
เลื่อมใสแล้ว ได้ถวายขนมกุมมาส๑ ก้อนหนึ่ง
แด่ท่านด้วยมือทั้งสองของตน ครั้นถวายแล้ว
ดิฉันจึงมาบันเทิงใจอยู่ในสวนนันทวัน
[๑๒๒] เพราะบุญนั้นผิวพรรณดิฉันจึงงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่ดิฉันในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่ดิฉัน
[๑๒๓] ข้าแต่ภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ดิฉันขอกราบเรียนว่า
เพราะบุญที่ได้ทำไว้สมัยเมื่อเกิดเป็นมนุษย์
ดิฉันจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
ทุติยสุณิสาวิมานที่ ๑๔ จบ

๑๕. อุตตราวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่นางอุตตรา
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า)
[๑๒๔] เทพธิดา เธอมีผิวพรรณงามยิ่งนัก
เปล่งรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอยู่ ดุจดาวประกายพรึก
[๑๒๕] เพราะบุญอะไรผิวพรรณเธอจึงงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่เธอในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่เธอ

เชิงอรรถ :
๑ ขนมสดที่ทำจากถั่วผสมข้าวเหนียว (ขุ.วิ.อ. ๑๒๑/๖๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๑. ปีฐวรรค ๑๕. อุตตราวิมาน
[๑๒๖] เทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามว่า
เมื่อเธอเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้
เพราะบุญอะไรเธอจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๑๒๗] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมตามที่พระเถระถามว่า
[๑๒๘] เมื่อดิฉันยังครองเรือนอยู่
มิได้มีความริษยา ความตระหนี่ ความตีเสมอ
ดิฉันมีนิสัยไม่มักโกรธ ประพฤติตามคำสั่งสามี
และไม่ประมาทในการรักษาศีลอุโบสถเป็นนิตย์
[๑๒๙] ดิฉันเข้าจำอุโบสถศีลซึ่งประกอบด้วยองค์ ๘
ทุกวัน ๑๔ ค่ำ๑ ๑๕ ค่ำและ ๘ ค่ำแห่งปักษ์
และตลอดปาฏิหาริยปักษ์๒
[๑๓๐] ดิฉันสำรวมระวังในศีลตลอดเวลา
และแจกจ่ายทานด้วยความเคารพ จึงได้ครอบครองวิมานนี้
[๑๓๑] ดิฉันงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ จากการลักขโมย
จากการประพฤตินอกใจสามี สำรวมระวังจากการพูดเท็จ
และเว้นไกลการดื่มน้ำเมา
[๑๓๒] ดิฉันยินดีในศีล ๕ ฉลาดในอริยสัจ
เป็นอุบาสิกาของพระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่าโคดม
ผู้มีพระจักษุ มีพระยศ

เชิงอรรถ :
๑ คือ วันแรม ๑๔ ค่ำในเดือนขาด
๒ คือ วันรับ วันขึ้น ๗ ค่ำ ๑๔ ค่ำ วันแรม ๗ ค่ำ ๑๓ ค่ำ ๑๔ ค่ำ วันส่ง คือ วันขึ้น-แรม ๙ ค่ำ
๑ ค่ำ เช่นเดียวกันทั้งหมด (ขุ.วิ.อ. ๑๒๙/๗๘) อีกนัยหนึ่ง ปาฏิหาริยปักษ์ หมายถึง อุโบสถที่รักษา
ประจำตลอด ๓ เดือน ภายในพรรษา ถ้าไม่อาจรักษา ๓ เดือนได้ ก็ให้รักษา ๑ เดือน ในระหว่าง
วันปวารณาทั้งสอง (ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒) หรือถ้าไม่อาจรักษาได้ ๑
เดือน ก็รักษาตลอดครึ่งเดือน คือ ตั้งแต่วันปวารณาต้น (ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึง แรม ๑๔ ค่ำ
เดือน ๑๑) (องฺ.ติก.อ. ๒/๓๘/๑๓๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๑. ปีฐวรรค ๑๖. สิริมาวิมาน
[๑๓๓] เพราะศีลของตน ดิฉันนั้นจึงมีเกียรติยศบริวารยศ
เสวยผลบุญของตนอยู่เป็นสุข ไร้โรค
[๑๓๔] เพราะบุญนั้นผิวพรรณดิฉันจึงงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่ดิฉันในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่ดิฉัน
[๑๓๕] ข้าแต่ภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ดิฉันขอกราบเรียนว่า
เพราะบุญที่ได้ทำไว้สมัยเมื่อเกิดเป็นมนุษย์
ดิฉันจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
(เทพธิดาได้กราบเรียนต่อไปว่า)
[๑๓๖] พระคุณเจ้าผู้เจริญ ขอท่านพึงถวายอภิวาทพระยุคลบาทของ
พระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า (แล้วกราบทูล)ตามคำของดิฉันว่า “อุตตราอุบาสิกาถวาย
อภิวาทพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า พระพุทธเจ้าข้า ข้าแต่พระ
องค์ผู้เจริญ ข้อที่พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ดิฉันว่าจะได้บรรลุสามัญผลขั้นใดขั้น
หนึ่งนั้นไม่น่าอัศจรรย์เท่ากับที่ทรงพยากรณ์ดิฉันว่า จะได้บรรลุสกทาคามิผลเลย”
อุตตราวิมานที่ ๑๕ จบ

๑๖. สิริมาวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่นางสิริมา
(พระวังคีสะประสงค์จะให้นางสิริมา๑เทพธิดาประกาศบุญกรรมที่นางได้ทำไว้ใน
ครั้งก่อนจึงถามนางด้วยคาถาเหล่านี้ว่า)

เชิงอรรถ :
๑ นางสิริมา เดิมเป็นหญิงโสเภณี ได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าได้บรรลุโสดาบันจึงเลิกอาชีพโสเภณี ได้ตั้ง
สลากภัตร ๘ ที่ ถวายสงฆ์ทุกวัน ต่อมานางป่วยหนักเสียชีวิตแต่ยังสาว ได้ไปเกิดเป็นเทพธิดาอยู่ในวิมาน
นี้ (ขุ.วิ.อ. ๑๓๗/๘๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๑. ปีฐวรรค ๑๖. สิริมาวิมาน
[๑๓๗] ม้าสำหรับเทียมรถของเธอ ตกแต่งด้วยเครื่องประดับชั้นดีเยี่ยม
มีพลัง แคล่วคล่องว่องไว เหาะทะยานลงไป
รถเทียมม้า ๕๐๐ คัน ที่บุญกุศลเนรมิตเพื่อเธอ
และม้าเหล่านั้นเหมือนถูกนายสารถีกระตุ้นเตือน
ย่อมแล่นตามเธอไป
[๑๓๘] เธอประดับองค์ สถิตบนรถอันเลอเลิศ
เปล่งรัศมีสว่างรุ่งเรืองอยู่ประดุจดวงไฟอันโชติช่วง
เทพธิดาผู้มีรูปงาม น่าชม มองแล้วไม่เบื่อ อาตมาขอถามว่า
“เธอมาจากเทพหมู่ไหนหนอจึงเข้ามาเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ซึ่งหาใครเลิศยิ่งกว่าไม่ได้แล้ว
(สิริมาเทพธิดานั้นตอบพระเถระว่า)
[๑๓๙] ถัดลงมาจากหมู่ปรนิมมิตวสวัตดีเทพ๑ผู้ถึงความเป็นเลิศ
ด้วยกามคุณ ที่บัณฑิตกล่าวชมว่ายอดเยี่ยมนั้น
มีนิมมานรดีเทพซึ่งเนรมิตสมบัติได้เองแล้วชื่นชมอยู่
ดิฉันเป็นนางอัปสรจากหมู่นิมมานรดีเทพนั้น ซึ่งมีรูปร่างน่าพึงใจ
ประสงค์จะนมัสการพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ซึ่งหาใครเลิศยิ่งกว่ามิได้ จึงมาสู่มนุษยโลกนี้
(พระเถระถามว่า)
[๑๔๐] ชาติก่อนแต่จะมาเป็นเทพธิดานี้
เธอได้ประพฤติสุจริตกรรมอะไรไว้
เพราะบุญอะไรเธอจึงมีบริวารยศอยู่มากมาย เปี่ยมไปด้วยความสุข
อนึ่ง เธอมีฤทธิ์ที่หาฤทธิ์ใดเทียมเท่ามิได้
เหาะไปในอากาศได้ ทั้งมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วสิบทิศ

เชิงอรรถ :
๑ เป็นชื่อของหมู่เทพในสวรรค์ชั้นที่ ๖ (สวรรค์มี ๖ ชั้น คือ จาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี
ปรนิมมิตวสวัตดี) เมื่อต้องการอะไรจะให้เทพชั้นที่ ๕ นิรมิตให้ (ขุ.วิ.อ. ๑๓๙/๘๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๑. ปีฐวรรค ๑๖. สิริมาวิมาน
[๑๔๑] เทพธิดา อนึ่ง เธอมีมวลเทพห้อมล้อม สักการะ
เธอจุติมาจากคติ๑ไหนจึงมาถึงสุคติภพนี้
หรือว่าเธอได้ทำตามคำสอนของพระศาสดาพระองค์ไหน
หากเธอเป็นสาวิกาของพระพุทธเจ้าจริง ขอจงบอกอาตมาเถิด
(สิริมาเทพธิดาตอบว่า)
[๑๔๒] ดิฉันเป็นพระสนมของพระราชาผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ๒
มีพระสิริ อยู่ในพระนครซึ่งสถาปนาไว้เป็นอย่างดีท่ามกลางขุนเขา
มีความชำนาญอย่างยิ่งในการฟ้อนรำ ขับร้อง
ชาวเมืองราชคฤห์ได้พากันเรียกขานดิฉันว่า สิริมา
[๑๔๓] พระพุทธเจ้าทรงองอาจกว่าหมู่ผู้เป็นฤษี ทรงแนะนำเวไนยสัตว์
ได้ทรงแสดงทุกขสัจและสมุทัยสัจว่าเป็นสภาวะที่ไม่เที่ยง
ทรงแสดงทุกขนิโรธสัจซึ่งปราศจากปัจจัยปรุงแต่งว่าเป็นสภาวะคงที่
และทรงแสดงมรรคสัจนี้ซึ่งเป็นทางไม่อ้อมค้อม
เป็นทางตรง และเป็นทางปลอดโปร่งแก่ดิฉัน
[๑๔๔] ดิฉันครั้นฟังธรรมอันเป็นทางไม่ตาย ปราศจากปัจจัยปรุงแต่ง
เป็นคำสอนของพระตถาคตเจ้าผู้หาใครเลิศยิ่งกว่ามิได้
สำรวมในศีลทั้งหลายอย่างเคร่งครัดเป็นอันดี
มั่นอยู่ในธรรมที่พระพุทธเจ้าผู้เลิศกว่านรชนทรงแสดงไว้แล้ว
[๑๔๕] ครั้นรู้ทางที่ปราศจากกิเลสประดุจธุลีซึ่งปราศจากปัจจัยปรุงแต่ง
อันพระตถาคตเจ้าผู้หาใครเลิศยิ่งกว่ามิได้ทรงแสดงไว้แล้ว
ได้สัมผัสสมถสมาธิ๓ ในอัตภาพนั้นเอง
การได้สัมผัสสมถสมาธินั้นแหละ
เป็นภาวะแน่นอนอย่างยิ่งสำหรับดิฉัน

เชิงอรรถ :
๑ คติ (ภพที่สัตว์ไปเกิด) ๕ คือ นรก กำเนิดดิรัจฉาน เปรต มนุษย์ และสวรรค์
๒ พระเจ้าพิมพิสาร ผู้ครองกรุงราชคฤห์ (ขุ.วิ.อ. ๑๔๒/๙๐)
๓ สมถสมาธิ คือ โลกุตตรสมาธิที่ตัดกิเลสได้เด็ดขาด (ขุ.วิ.อ. ๑๔๕/๙๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๑. ปีฐวรรค ๑๖. สิริมาวิมาน
[๑๔๖] ดิฉันได้อมตธรรมอันประเสริฐ ที่ทำให้ต่างจากปุถุชน
มีความเชื่อมั่น๑ บรรลุคุณวิเศษเพราะรู้แจ้ง๒แล้ว
หมดความลังเลสงสัย ได้รับการบูชาจากคนจำนวนมาก
ความยินดีไม่น้อย
[๑๔๗] ตามที่กราบเรียนมานี้ ดิฉันจึงเป็นเทพธิดาผู้เห็นอมตธรรม
เป็นสาวิกาของพระตถาคตเจ้าผู้หาใครเลิศยิ่งกว่ามิได้
ได้เห็นธรรม ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล เป็นโสดาบันบุคคล
ทุคติเป็นอันไม่มีแก่ดิฉันอีกแล้ว
[๑๔๘] ดิฉันนั้นมาหมายจะถวายอภิวาท
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้หาใครเลิศยิ่งกว่ามิได้
หมายจะนมัสการบรรดาภิกษุผู้น่าเลื่อมใส ซึ่งยินดีในกุศลธรรม๓
และหมายจะเข้าไปนั่งใกล้สมาคมของสมณะที่ปลอดภัย
ดิฉันมีความเคารพพระธรรมราชา
คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงสิริ
[๑๔๙] ครั้นได้เห็นพระจอมมุนีแล้ว
ดิฉันก็มีใจเบิกบาน เอิบอิ่ม
จึงขอถวายอภิวาทพระองค์ผู้เป็นพระตถาคตเลิศกว่านรชน
ฝึกคนที่ควรฝึก ทรงตัดตัณหาได้ ทรงยินดีในกุศลธรรม
ทรงแนะนำเวไนยสัตว์ให้ข้ามพ้นจากทุกข์ได้
ทรงช่วยเหลือสัตว์โลกด้วยความเกื้อกูลอย่างยิ่ง
สิริมาวิมานที่ ๑๖ จบ

เชิงอรรถ :
๑ เชื่อมั่นในพระรัตนตรัย (ขุ.วิ.อ. ๑๔๖/๙๒)
๒ รู้แจ้งอริยสัจ (ขุ.วิ.อ. ๑๔๖/๙๒)
๓ นิพพาน (ขุ.วิ.อ. ๑๔๘/๙๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๑. ปีฐวรรค ๑๗. เปสการิยวิมาน
๑๗. เปสการิยวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่ธิดาช่างหูก
(ท้าวสักกะตรัสถามเทพธิดาว่า)
[๑๕๐] วิมานนี้น่ารื่นรมย์ เสาทำด้วยแก้วไพฑูรย์
เปล่งแสงเรืองรองอยู่เป็นนิตย์
จัดไว้เป็นสัดส่วนอย่างดี มีต้นไม้ทองขึ้นรอบด้าน
เป็นสถานที่เกิดมีเพราะผลกรรมของเรา
[๑๕๑] เทพอัปสรซึ่งมีอยู่ก่อนตั้งแสนเหล่านี้
เกิดในวิมานนั้นด้วยกรรมของตน
เธอก็เกิดเองด้วยกรรมของตน มีบริวารยศ
เปล่งรัศมีข่มเหล่าเทพอัปสรผู้เกิดก่อนอยู่
[๑๕๒] เธอผู้ทรงบริวารยศ เปล่งรัศมีรุ่งเรืองข่มหมู่เทพอัปสรนี้อยู่
ประหนึ่งพระจันทร์ ผู้เป็นราชาแห่งดาวนักษัตร
ส่องแสงสกาวข่มหมู่ดาวอยู่ฉะนั้นเทียว
[๑๕๓] แม่เทพธิดาผู้น่าชม มองแล้วไม่เบื่อ
เธอมาจากไหนหนอจึงอุบัติยังภพของเรานี้
เราทั้งมวลมองดูเธอไม่รู้จักอิ่ม เหมือนทวยเทพชั้นไตรทศ๑
รวมทั้งพระอินทร์มองดูพระพรหมไม่รู้จักอิ่ม
(เทพธิดาผู้อันท้าวสักกเทวราชตรัสถามอย่างนั้นแล้ว เมื่อจะประกาศเนื้อความ
นั้นจึงกล่าวตอบเป็น ๒ คาถาว่า)
[๑๕๔] ข้าแต่ท้าวสักกะ ข้อที่พระองค์รับสั่งถามหม่อมฉันว่า
เธอจุติจากภพไหนจึงได้มาเกิดที่ภพของเรานี้
หม่อมฉันขอเฉลยว่า เมื่อชาติก่อนหม่อมฉันเกิดเป็นธิดาของช่างหูก
อยู่ในกรุงพาราณสีซึ่งเป็นราชธานีแคว้นกาสี

เชิงอรรถ :
๑ ดาวดึงส์ (ขุ.วิ.อ. ๑๕๓/๙๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] รวมเรื่องวิมานที่มีในวรรค
[๑๕๕] หม่อมฉันมีใจเลื่อมใสในพระพุทธ พระธรรมและพระสงฆ์
เชื่อมั่นไม่หวั่นไหว หมดความสงสัย ได้รักษาสิกขาบท (ศีล) มิให้ขาด
บรรลุอริยผลมีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า๑ ไม่มี
ทุกข์ (เมื่อจะทรงชื่นชมบุญสมบัติและทิพยสมบัติของเทพธิดานั้น
ท้าวสักกเทวราชจึงตรัสคาถาครึ่ง ความว่า)
[๑๕๖] แม่เทพธิดาผู้มีใจเลื่อมใสในพระพุทธ พระธรรมและพระสงฆ์
เชื่อมั่นไม่หวั่นไหว หมดความสงสัย รักษาสิกขาบทมิให้ขาด
บรรลุอริยผล มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า
ไม่มีทุกข์ เราขอแสดงความชื่นชมต่อบุญสมบัติและทิพยสมบัติของ
เธอนั้น และขอแสดงความยินดีต่อการมาดีของเธอ
เธอก็รุ่งเรืองด้วยธรรมและบริวารยศ
เปสการิยวิมานที่ ๑๗ จบ

รวมเรื่องวิมานที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมปีฐวิมาน ๒. ทุติยปีฐวิมาน
๓. ตติยปีฐวิมาน ๔. จตุตถปีฐวิมาน
๕. กุญชรวิมาน ๖. ปฐมนาวาวิมาน
๗. ทุติยนาวาวิมาน ๘. ตติยนาวาวิมาน
๙. ปทีปวิมาน ๑๐. ติลทักขิณวิมาน
๑๑. ปฐมปติพพตาวิมาน ๑๒. ทุติยปติพพตาวิมาน
๑๓. ปฐมสุณิสาวิมาน ๑๔. ทุติยสุณิสาวิมาน
๑๕. อุตตราวิมาน ๑๖. สิริมาวิมาน
๑๗. เปสการิยวิมาน

ท่านเรียกว่า “วรรค” ด้วยการรวมเรื่องวิมานนั้น
ปีฐวรรคที่ ๑ จบ

เชิงอรรถ :
๑ สัมโพธิ ในที่นี้หมายถึง มรรค ๓ เบื้องสูง (สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค และอรหัตตมรรค) (ที.สี.อ.
๑/๓๗๗/๒๘๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๒. จิตตลตาวรรค ๑. ทาสีวิมาน
๒. จิตตลตาวรรค
หมวดว่าด้วยสวนจิตลดาของเหล่าเทวดา
๑. ทาสีวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงคนใช้
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า)
[๑๕๗] เธอมีหมู่เทพนารีห้อมล้อม ดุจท้าวสักกเทวราช
เที่ยวชมไปโดยรอบในสวนจิตรลดาอันน่ารื่นรมย์
เปล่งรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอยู่ ดุจดาวประกายพรึก
[๑๕๘] เพราะบุญอะไรผิวพรรณเธอจึงงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่เธอในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่เธอ
[๑๕๙] เทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามว่า
เมื่อเธอเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้
เพราะบุญอะไรเธอจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๑๖๐] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๑๖๑] เมื่อดิฉันเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์
เป็นคนใช้ ทำงานรับใช้ผู้อื่นอยู่ในสกุลหนึ่ง
[๑๖๒] เป็นอุบาสิกาของพระโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้ทรงมีพระจักษุ ทรงพระยศ
ดิฉันได้มีความพากเพียรออกจากกิเลส
ในศาสนาของพระศาสดาผู้ทรงพระคุณคงที่
เพราะมีมนสิการมั่นอยู่ในใจว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๒. จิตตลตาวรรค ๑. ทาสีวิมาน
[๑๖๓] แม้ถึงร่างกายนี้จะแตกสลายไปก็ตามที
การที่เราจะหยุดความเพียรในการเจริญกรรมฐานนี้
จะไม่มีเป็นอันขาด
[๑๖๔] ขอเชิญท่านดูผลแห่งความเพียรออกจากกิเลส
ซึ่งดิฉันผู้มีความรู้น้อย ได้บรรลุอริยมรรค
อันมีสิกขาบท ๕ เป็นอุปนิสัย เป็นทางสวัสดี เป็นเหตุถึงความเกษม
ไม่มีขวากหนามคือกิเลส เป็นสภาวะที่(ตัณหาและทิฏฐิ) ยึดเหนี่ยว
ไม่ได้ เป็นทางตรงที่สัตบุรุษทั้งหลายประกาศแล้วนี้เถิด
[๑๖๕] ท้าวสักกเทวราชผู้ทรงอำนาจเชิญดิฉันมา
เหล่าดุริยเทพหกหมื่นองค์ ช่วยกันปลุกเร้าดิฉัน ให้เกิดปีติโสมนัส
[๑๖๖] ได้แก่ เทพบุตรมีนามว่าอาลัมพะ คัคคระ ภีมะ สาธุวาที ปสังสิยะ
โปกขระและสุผัสสะ เหล่าเทพธิดาน้อย ๆ มีนามว่า วีณา โมกขา
[๑๖๗] นันทา สุนันทา โสณทินนา สุจิมหิตา
อลัมพุสา มิสสเกสีและบุณฑริกา
[๑๖๘] อนึ่ง เทพกัญญาอีกพวกหนึ่ง คือ เอณีปัสสา สุผัสสา สุภัททา
และมุทุวาทินี ผู้ประเสริฐกว่านางอัปสรทั้งหลาย
ผู้มีหน้าที่ปลุกเร้าให้เกิดปีติโสมนัส
[๑๖๙] เทวดาเหล่านั้น พอได้เวลาก็เข้ามาหาดิฉัน
เสนอสนองด้วยวาจาน่ายินดีว่า
เอาเถอะ พวกเราจักฟ้อนรำ ขับร้อง บำเรอเธอให้รื่นรมย์
[๑๗๐] สถานที่ที่ดิฉันได้รับในบัดนี้ มิใช่สถานที่สำหรับคนที่ไม่ได้ทำบุญไว้
แต่เป็นสถานที่สำหรับคนที่ได้ทำบุญไว้แล้วเท่านั้น
ไม่มีความโศก น่าเพลิดเพลิน เจริญใจ
เป็นอุทยานกว้างใหญ่ของเหล่าเทพชั้นไตรทศ
[๑๗๑] สำหรับผู้ที่ไม่ได้ทำบุญไว้ย่อมไม่มีความสุขทั้งโลกนี้และโลกหน้า
ส่วนผู้ที่ได้ทำบุญไว้แล้วย่อมมีความสุขทั้งโลกนี้และโลกหน้าแน่นอน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๒. จิตตลตาวรรค ๒. ลขุมาวิมาน
[๑๗๒] ผู้ปรารถนาจะสถิตอยู่ร่วมกับเทพชั้นดาวดึงส์เหล่านั้น
ควรทำกุศลไว้ให้มาก
เพราะว่าเหล่าชนผู้ได้ทำบุญไว้แล้วย่อมพรั่งพร้อมด้วยโภคสมบัติ
บันเทิงอยู่ในสวรรค์
ทาสีวิมานที่ ๑ จบ

๒. ลขุมาวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่นางลขุมาอุบาสิกา
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า)
[๑๗๓] เทพธิดา เธอมีผิวพรรณงามยิ่งนัก
เปล่งรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอยู่ ดุจดาวประกายพรึก
[๑๗๔] เพราะบุญอะไรผิวพรรณเธอจึงงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่เธอในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่เธอ
[๑๗๕] เทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามว่า
เมื่อเธอเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้
เพราะบุญอะไรเธอจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๑๗๖] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๑๗๗] (เมื่อดิฉันเกิดเป็นมนุษย์ เป็นชาวเมืองพาราณสี
บ้านของดิฉันตั้งอยู่ใกล้ทางออก)
ออกจากประตูเกวัฏฏทวาร๑ไป ก็เป็นหมู่บ้านของดิฉัน
พระสาวกทั้งหลายผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
เที่ยวบิณฑบาตอยู่ในหมู่บ้านนั้น

เชิงอรรถ :
๑ เกวัฏฏทวาร เป็นชื่อประตูเมืองพาราณสีประตูหนึ่ง (ขุ.วิ.อ. ๑๗๗/๑๐๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๒. จิตตลตาวรรค ๒. ลขุมาวิมาน
[๑๗๘] ดิฉันมีใจเลื่อมใสในพระสาวกทั้งหลายผู้ปฏิบัติตรง
จึงได้ถวายข้าวสุก ขนมสด ผักดอง
พร้อมทั้งเครื่องดื่มที่ปรุงด้วยส่วนผสมต่าง ๆ มีข้าวและเกลือเป็นต้น
[๑๗๙] ดิฉันเข้าจำอุโบสถศีล ซึ่งประกอบด้วยองค์ ๘
ทุกวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำและ ๘ ค่ำแห่งปักษ์
และตลอดวันปาฏิหาริยปักษ์
[๑๘๐] ดิฉันผู้สำรวมระวังในศีลตลอดเวลา
และแจกจ่ายทานด้วยความเคารพ จึงได้ครอบครองวิมานนี้
[๑๘๑] ดิฉันงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ เว้นไกลจากการลักขโมย
การประพฤตินอกใจสามี สำรวมระวังจากการพูดเท็จ
และการดื่มน้ำเมา
[๑๘๒] ดิฉันยินดีในศีล ๕ ฉลาดในอริยสัจ
เป็นอุบาสิกาของพระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่าโคดม
ผู้มีพระจักษุ มีพระยศ
[๑๘๓-๑๘๔] เพราะบุญนั้นผิวพรรณดิฉันจึงงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
พระคุณเจ้าผู้เจริญ ขอท่านพึงถวายอภิวาทพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาค
ด้วยเศียรเกล้า (แล้วกราบทูล)ตามคำของดิฉันว่า “ลขุมาอุบาสิกาถวายอภิวาทแทบ
พระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า พระพุทธเจ้าข้า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ
การที่พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ดิฉันว่าจะได้บรรลุสามัญผลขั้นใดขั้นหนึ่งนั้น
ไม่น่าอัศจรรย์เท่ากับที่ทรงพยากรณ์ดิฉันว่าจะได้บรรลุสกทาคามิผลเลย”
ลขุมาวิมานที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๒. จิตตลตาวรรค ๓. อาจามทายิกาวิมาน
๓. อาจามทายิกาวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงกำพร้า ผู้ถวายข้าวตัง
แด่พระมหากัสสปเถระ
(ท้าวสักกเทวราช เมื่อจะตรัสถามพระมหากัสสปเถระถึงสถานที่เกิดของหญิง
นั้น จึงได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า)
[๑๘๕] เมื่อพระคุณเจ้ากำลังเที่ยวบิณฑบาต หยุดยืนนิ่งอยู่
หญิงกำพร้าขัดสนคนหนึ่ง ซึ่งอาศัยชายคาเรือนของผู้อื่นอยู่
[๑๘๖] นางเลื่อมใส ได้ถวายข้าวตังแด่พระคุณเจ้าด้วยมือทั้งสองของตน
นางละร่างมนุษย์แล้ว ได้ไปสวรรค์ชั้นไหนหนอ
(พระมหากัสสปเถระถวายพระพรว่า)
[๑๘๗] เมื่ออาตมภาพกำลังเที่ยวบิณฑบาต หยุดยืนนิ่งอยู่
หญิงกำพร้าขัดสนคนหนึ่ง ซึ่งอาศัยชายคาเรือนของผู้อื่นอยู่
[๑๘๘] นางเลื่อมใส ได้ถวายข้าวตังแก่อาตมภาพด้วยมือทั้งสองของตน
นางละร่างมนุษย์ จุติพ้นจากมนุษยโลกนี้แล้ว
[๑๘๙] นางเป็นเทพธิดาชื่ออาจามทายิกา มีความสุขบันเทิงอยู่ในสวรรค์
ซึ่งเป็นที่อยู่ของทวยเทพผู้มีฤทธิ์มากชื่อนิมมานรดี
(ท้าวสักกเทวราชตรัสสรรเสริญทานนั้นว่า)
[๑๙๐] น่าอัศจรรย์จริงหนอ
ทานที่หญิงกำพร้าตั้งไว้ดีแล้วในพระคุณเจ้ามหากัสสปะ
ทักษิณาสำเร็จผลแล้วด้วยไทยธรรมที่ได้มาจากผู้อื่น
[๑๙๑] ความเป็นเอกอัครมเหสีของพระเจ้าจักรพรรดิ
ซึ่งนารีผู้งามทั่วสรรพางค์กาย
สามีมองมิรู้เบื่อ ได้ครอบครองแล้วนั้น
ยังมีค่าไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ ของการถวายข้าวตังนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๒. จิตตลตาวรรค ๔. จัณฑาลีวิมาน
[๑๙๒] ทองคำร้อยแท่ง ม้าร้อยตัว ราชรถเทียมม้าอัสดรร้อยคัน
หญิงสาวประดับต่างหูแก้วมณีแสนนาง
ก็ยังมีค่าไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ ของการถวายข้าวตังนั้น
[๑๙๓] ช้างมาตังคะเกิดในป่าหิมพานต์ ประมาณ ๑๐๐ เชือก
มีงางอนงาม ทรงพลังมาก มีสายคล้องคอทอง
ตกแต่งด้วยเครื่องลาดและเครื่องประดับที่วิจิตรบรรจงด้วยทอง
ก็ยังมีค่าไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ ของการถวายข้าวตังนั้น
[๑๙๔] การที่พระเจ้าจักรพรรดิได้ครอบครองมหาทวีปทั้งสี่ในโลกนี้นั้น
ก็ยังมีค่าไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ ของการถวายข้าวตังนั้น
อาจามทายิกาวิมานที่ ๓ จบ

๔. จัณฑาลีวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงจัณฑาลผู้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า
(พระมหาโมคคัลลานเถระกล่าว ๒ คาถาว่า)
[๑๙๕] จัณฑาลี เธอจงถวายอภิวาทพระยุคลบาท
ของพระโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้มีพระยศ
พระองค์ผู้สูงสุดกว่าฤๅษีทั้งหลาย
ได้ประทับยืนอยู่เพื่ออนุเคราะห์เธอผู้เดียวเท่านั้น
[๑๙๖] เธอจงทำใจให้เลื่อมใสยิ่งในพระพุทธองค์ซึ่งเป็นพระอรหันต์ผู้คงที่
แล้วจงประคองอัญชลีถวายอภิวาทโดยเร็ว ชีวิตเธอเหลือน้อยแล้ว
(เพื่อจะแสดงประวัติของนางจัณฑาลีนั้นโดยตลอด พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลาย
จึงกล่าว ๒ คาถาว่า)
[๑๙๗] หญิงจัณฑาลผู้นี้ครองเรือนร่างเป็นวันสุดท้าย
ซึ่งพระมหาโมคคัลลานเถระผู้อบรมตนแล้ว ตักเตือนแล้ว
ได้ถวายอภิวาทพระยุคลบาทของพระโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๒. จิตตลตาวรรค ๔. จัณฑาลีวิมาน
[๑๙๘] แม่โคได้ขวิดนางตาย ขณะยืนประคองอัญชลี
นมัสการพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ส่องแสงสว่างในโลกมืด
(นางไปเกิดเป็นเทพธิดาอยู่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ วันนั้น นางได้มาหาพระ
มหาโมคคัลลานเถระ นมัสการแล้วกราบเรียนว่า)
[๑๙๙] ข้าแต่ท่านผู้แกล้วกล้า ดิฉันบรรลุเทวฤทธิ์แล้ว
ขอเข้านมัสการใกล้ ๆ ท่านผู้มีอานุภาพมาก ผู้สิ้นอาสวะ
ปราศจากกิเลสประดุจธุลี ไม่หวั่นไหว
นั่งเร้นอยู่ในป่าแต่เพียงผู้เดียว
(พระมหาโมคคัลลานเถระจึงถามนางว่า)
[๒๐๐] เทพธิดาผู้เลอโฉม เธอเป็นใคร มีผิวพรรณงามดั่งทอง
มีรัศมีเรืองรอง มียศมาก งามตระการมิใช่น้อย
มีหมู่เทพอัปสรแวดล้อมลงจากวิมานมาไหว้อาตมา
(เทพธิดานั้นถูกพระมหาเถระถามแล้วอย่างนี้จึงกล่าว ๔ คาถาว่า)
[๒๐๑] ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดิฉันคือหญิงจัณฑาล
ซึ่งท่านผู้แกล้วกล้าให้ไปถวายอภิวาทพระยุคลบาท
ของพระโคดมอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้มีพระยศ
[๒๐๒] ครั้นถวายอภิวาทพระยุคลบาทแล้ว
ดิฉันได้จุติจากกำเนิดคนจัณฑาล
มาบังเกิดในวิมานซึ่งเจริญพร้อมมูลในสวนนันทวัน
[๒๐๓] นางเทพอัปสรหลายพันนาง พากันห้อมล้อมดิฉันอยู่
ดิฉันเป็นผู้ประเสริฐเลิศกว่าเทพอัปสรเหล่านั้น
โดยรัศมี บริวารยศและอายุ
[๒๐๔] ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ดิฉันมีสติสัมปชัญญะ
สร้างคุณงามความดีไว้มาก
มาในโลก(นี้)เพื่อนมัสการพระคุณเจ้าผู้เป็นมุนี มีความกรุณา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๒. จิตตลตาวรรค ๕. ภัททิตถิกาวิมาน
(พระสังคีติกาจารย์กล่าวว่า)
[๒๐๕] เทพธิดาจัณฑาลีผู้กตัญญูกตเวที ครั้นกราบเรียนอย่างนี้แล้ว
จึงกราบลงแทบเท้าพระมหาโมคคัลลานะผู้อรหันต์แล้วหายไป ณ
ที่นั้นเอง
จัณฑาลีวิมานที่ ๔ จบ

๕. ภัททิตถิกาวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่นางภัททิตถิกาอุบาสิกา
(พระผู้มีพระภาคตรัสถามถึงบุพกรรมที่นางภัททาเทพธิดานั้นได้ทำไว้ว่า)
[๒๐๖-๒๐๗] เทพธิดาผู้ทรงปัญญา เธอประดับมาลัยดอกมณฑารพ
ซึ่งมีสีต่าง ๆ ไว้ที่ศีรษะ คือ สีเขียว เหลือง ดำ หงสบาทและแดง
รายล้อมด้วยกลีบเกสร ในเทพหมู่อื่นไม่มีต้นไม้ชนิดนี้
[๒๐๘] เทพธิดาผู้มีบริวารยศ
เพราะบุญอะไรเธอจึงได้เกิดในหมู่เทพชั้นไตรทศ
ตถาคตถามเธอแล้ว จงบอกเถิดว่า นี้เป็นผลของกรรมอันใดเล่า
(เทพธิดาถูกพระผู้มีพระภาคตรัสถามอย่างนี้แล้ว จึงทูลตอบด้วยคาถาเหล่านี้
ความว่า)
[๒๐๙] คนทั้งหลายรู้จักหม่อมฉันในนามว่า ภัททิตถิกา
หม่อมฉันเป็นอุบาสิกาอยู่ในกิมพิลนคร
เป็นผู้มีศรัทธาและสมบูรณ์ด้วยศีล ยินดีแจกจ่ายทานทุกเมื่อ
[๒๑๐] หม่อมฉันมีใจเลื่อมใสในพระอริยเจ้าผู้ปฏิบัติตรง
จึงได้ถวายเครื่องนุ่งห่ม อาหาร เสนาสนะและเครื่องตามประทีป
[๒๑๑] หม่อมฉันเข้าจำอุโบสถศีลซึ่งประกอบด้วยองค์ ๘
ทุกวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำและ ๘ ค่ำแห่งปักษ์
และตลอดปาฏิหาริยปักษ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๒. จิตตลตาวรรค ๕. ภัททิตถิกาวิมาน
[๒๑๒] หม่อมฉันสำรวมระวังในศีลตลอดเวลา
และแจกจ่ายทานด้วยความเคารพจึงได้ครอบครองวิมานนี้
[๒๑๓] หม่อมฉันงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ เว้นไกลจากการลักขโมย
การประพฤตินอกใจสามี สำรวมระวังจากการพูดเท็จ
และการดื่มน้ำเมา
[๒๑๔] หม่อมฉันยินดีในศีล ๕ ฉลาดในอริยสัจ
มีปกติอยู่ด้วยความไม่ประมาท
เป็นอุบาสิกาของพระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่า
โคดม ผู้ทรงมีพระจักษุ
หม่อมฉันได้บำเพ็ญสุจริตธรรมและได้บำเพ็ญกุศลธรรมไว้แล้ว
จุติจากมนุษยโลกนั้นแล้ว ได้เกิดเป็นเทพธิดามีรัศมีในตัวเอง
เที่ยวชมสวนนันทวันอยู่
[๒๑๕] อนึ่ง หม่อมฉันได้ถวายอาหารแก่ภิกษุ
ผู้อนุเคราะห์เกื้อกูลอย่างเหลือล้น
ผู้เป็นคู่ดาบสมหามุนี๑
ได้บำเพ็ญสุจริตธรรมและได้บำเพ็ญกุศลธรรมไว้แล้ว
จุติจากมนุษยโลกนั้น เกิดเป็นเทพธิดา
มีรัศมีในตัวเอง เที่ยวชมสวนนันทวันอยู่
[๒๑๖] หม่อมฉันเข้าจำอุโบสถศีล ประกอบด้วยองค์ ๘
มีคุณกำหนดมิได้ นำความสุขมาให้เนืองนิตย์
ได้บำเพ็ญสุจริตธรรมและได้บำเพ็ญกุศลธรรมแล้ว
จุติจากมนุษยโลกนั้นแล้ว ได้เกิดเป็นเทพธิดา
มีรัศมีในตัวเอง เที่ยวชมสวนนันทวันอยู่
ภัททิตถิกาวิมานที่ ๕ จบ

เชิงอรรถ :
๑ พระอัครสาวกทั้งคู่ คือ พระสารีบุตร และพระมหาโมคคัลลานะ (ขุ.วิ.อ. ๒๑๕/๑๒๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๒. จิตตลตาวรรค ๖. โสณทินนาวิมาน
๖. โสณทินนาวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่นางโสณทินนาอุบาสิกา
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพธิดานั้นด้วยคาถาเหล่านี้ว่า)
[๒๑๗] เทพธิดา เธอมีผิวพรรณงามยิ่งนัก
เปล่งรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอยู่ ดุจดาวประกายพรึก
[๒๑๘] เพราะบุญอะไรผิวพรรณเธอจึงงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่เธอในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่เธอ
[๒๑๙] เทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามว่า
เมื่อเธอเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้
เพราะบุญอะไร เธอจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๒๒๐] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๒๒๑] ชาวเมืองนาลันทา๑รู้จักดิฉันในนามว่า โสณทินนา
ดิฉันเป็นอุบาสิกาอยู่ในเมืองนาลันทา
เป็นผู้มีศรัทธา สมบูรณ์ด้วยศีล ยินดีแจกจ่ายทานทุกเมื่อ
[๒๒๒] ดิฉันมีใจเลื่อมใสในพระอริยเจ้าผู้ปฏิบัติตรง
จึงได้ถวายเครื่องนุ่งห่ม อาหาร เสนาสนะและเครื่องตามประทีป
[๒๒๓] ดิฉันเข้าจำอุโบสถศีล ซึ่งประกอบด้วยองค์ ๘
ทุกวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำและ ๘ ค่ำแห่งปักษ์
และตลอดปาฏิหาริยปักษ์
[๒๒๔] ดิฉันสำรวมระวังในศีลตลอดเวลา
และแจกจ่ายทานด้วยความเคารพจึงได้ครอบครองวิมานนี้

เชิงอรรถ :
๑ เมืองนาลันทา เป็นเมืองเล็ก ๆ ขึ้นกับกรุงราชคฤห์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๒. จิตตลตาวรรค ๗. อุโปสถาวิมาน
[๒๒๕] ดิฉันงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ เว้นไกลจากการลักขโมย
การประพฤตินอกใจสามี สำรวมระวังจากการพูดเท็จ
และการดื่มน้ำเมา
[๒๒๖] ดิฉันยินดีในศีล ๕ ฉลาดในอริยสัจ
เป็นอุบาสิกาของพระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่า โคดม
ผู้มีพระจักษุ มีพระยศ
[๒๒๗-๒๒๘] เพราะบุญนั้นผิวพรรณดิฉันจึงงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
โสณทินนาวิมานที่ ๖ จบ

๗. อุโปสถาวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่นางอุโบสถาอุบาสิกา
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามถึงบุพกรรมของเทพธิดานั้นว่า)
[๒๒๙] เทพธิดา เธอมีผิวพรรณงามยิ่งนัก
เปล่งรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอยู่ ดุจดาวประกายพรึก
[๒๓๐-๒๓๑] เพราะบุญอะไรผิวพรรณเธอจึงงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๒๓๒] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๒๓๓] ชาวเมืองสาเกตรู้จักดิฉันในนามว่า อุโปสถา
ดิฉันเป็นอุบาสิกาอยู่ในเมืองสาเกต
เป็นผู้มีศรัทธา สมบูรณ์ด้วยศีล และยินดีแจกจ่ายทานทุกเมื่อ
[๒๓๔] ดิฉันมีใจเลื่อมใสในพระอริยเจ้าผู้ปฏิบัติตรง
จึงได้ถวายเครื่องนุ่งห่ม อาหาร เสนาสนะและเครื่องตามประทีป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๒. จิตตลตาวรรค ๘. สุนิททาวิมาน
[๒๓๕] ดิฉันเข้าจำอุโบสถศีล ซึ่งประกอบด้วยองค์ ๘
ทุกวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำและ ๘ ค่ำแห่งปักษ์
และตลอดปาฏิหาริยปักษ์
[๒๓๖] ดิฉันสำรวมระวังในศีลตลอดเวลา
และแจกจ่ายทานด้วยความเคารพจึงได้ครอบครองวิมานนี้
[๒๓๗] ดิฉันงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ เว้นไกลจากการลักขโมย
การประพฤตินอกใจสามี สำรวมระวังจากการพูดเท็จ
และการดื่มน้ำเมา
[๒๓๘] ดิฉันยินดีในศีล ๕ ฉลาดในอริยสัจ
เป็นอุบาสิกาของพระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่า โคดม
ผู้มีพระจักษุ มีพระยศ
[๒๓๙-๒๔๐] เพราะบุญนั้นผิวพรรณดิฉันจึงงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
(เมื่อจะแสดงโทษของตน เทพธิดานั้นจึงได้กล่าว ๒ คาถาอีกว่า)
[๒๔๑] เพราะดิฉันได้ฟังเรื่องทิพยสมบัติในสวนนันทวันเนือง ๆ
จึงเกิดความพอใจขึ้น
เพราะเหตุที่ดิฉันตั้งจิตปรารถนาในภพดาวดึงส์นั้น
จึงได้เกิดในสวนนันทวัน
[๒๔๒] ดิฉันไม่ได้ปฏิบัติตามพระดำรัส
ของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า
เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ (แต่)
ตั้งจิตไว้ในภพที่เลว ภายหลังจึงเดือดร้อน
(เพื่อจะปลอบใจเทพธิดานั้น พระมหาโมคคัลลานเถระจึงได้กล่าวคาถานี้ว่า)
[๒๔๓] อุโปสถาเทพธิดา เธอจะอยู่ในวิมานนี้นานเท่าไร
อาตมาถามแล้ว ถ้าเธอทราบอายุขัย จงบอกอาตมาด้วยเถิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๒. จิตตลตาวรรค ๘. สุนิททาวิมาน
(เทพธิดานั้นตอบว่า)
[๒๔๔] ข้าแต่ท่านจอมปราชญ์ ดิฉันจักดำรงอยู่
ในวิมานนี้นานประมาณหกหมื่นปีทิพย์
จุติจากเทวโลกนี้แล้ว จักไปเกิดร่วมกับมวลมนุษย์
(พระมหาโมคคัลลานเถระปลุกเร้าเทพธิดานั้นให้อาจหาญด้วยคาถานี้ว่า)
[๒๔๕] อุโปสถาเทพธิดา เธออย่าสะทกสะท้าน
เพราะว่าเธอเป็นผู้ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ไว้แล้วว่า
จักบรรลุคุณวิเศษเป็นพระโสดาบัน ทุคติเป็นอันเธอละได้แล้ว
อุโปสถาวิมานที่ ๗ จบ

๘. สุนิททาวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่นางสุนิททาอุบาสิกา
(พระมหาโมคคัลลานเถระเมื่อจะถามถึงบุพกรรมของเทพธิดานั้นจึงกล่าวคาถา
นี้ว่า)
[๒๔๖] เทพธิดา เธอมีผิวพรรณงามยิ่งนัก
เปล่งรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอยู่ ดุจดาวประกายพรึก
[๒๔๗-๒๔๘] เพราะบุญอะไรผิวพรรณเธอจึงงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๒๔๙] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๒๕๐] ชาวเมืองราชคฤห์รู้จักดิฉันในนามว่า สุนิททา
ดิฉันเป็นอุบาสิกาอยู่ในกรุงราชคฤห์
เป็นผู้มีศรัทธา สมบูรณ์ด้วยศีล และยินดีแจกจ่ายทานทุกเมื่อ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๒. จิตตลตาวรรค ๙. สุทินนาวิมาน
[๒๕๑] ดิฉันมีใจเลื่อมใสในพระอริยเจ้าผู้ปฏิบัติตรง
จึงได้ถวายเครื่องนุ่งห่ม อาหาร เสนาสนะ และเครื่องตามประทีป
[๒๕๒] ดิฉันเข้าจำอุโบสถศีล ซึ่งประกอบด้วยองค์ ๘
ทุกวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำและ ๘ ค่ำแห่งปักษ์
และตลอดปาฏิหาริยปักษ์
[๒๕๓] ดิฉันสำรวมระวังในศีลตลอดเวลา
และแจกจ่ายทานด้วยความเคารพจึงได้ครอบครองวิมานนี้
[๒๕๔] ดิฉันงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ เว้นไกลจากการลักขโมย
การประพฤตินอกใจสามี สำรวมระวังจากการพูดเท็จ
และการดื่มน้ำเมา
[๒๕๕] ดิฉันยินดีในศีล ๕ ฉลาดในอริยสัจ
เป็นอุบาสิกาของพระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่า โคดม
ผู้มีพระจักษุ มีพระยศ
[๒๕๖-๒๕๗] เพราะบุญนั้นผิวพรรณดิฉันจึงงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
สุนิททาวิมานที่ ๘ จบ

๙. สุทินนาวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่นางสุทินนาอุบาสิกา
(พระมหาโมคคัลลานเถระเมื่อจะถามถึงบุพกรรมของเทพธิดานั้นจึงกล่าวคาถา
นี้ว่า)
[๒๕๘] เทพธิดา เธอมีผิวพรรณงามยิ่งนัก
เปล่งรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศสถิตอยู่ ดุจดาวประกายพรึก
[๒๕๙-๒๖๐] เพราะบุญอะไรผิวพรรณเธอจึงงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๒. จิตตลตาวรรค ๙. สุทินนาวิมาน
[๒๖๑] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๒๖๒] ชาวกรุงราชคฤห์รู้จักดิฉันในนามว่า สุทินนา
ดิฉันเป็นอุบาสิกาอยู่ในกรุงราชคฤห์
เป็นผู้มีศรัทธา สมบูรณ์ด้วยศีล
และยินดีแจกจ่ายทานทุกเมื่อ
[๒๖๓] ดิฉันมีใจเลื่อมใสในพระอริยเจ้าผู้ปฏิบัติตรง
จึงได้ถวายเครื่องนุ่งห่ม อาหาร เสนาสนะ และเครื่องตามประทีป
[๒๖๔] ดิฉันเข้าจำอุโบสถศีลซึ่งประกอบด้วยองค์ ๘
ทุกวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำและ ๘ ค่ำแห่งปักษ์
และตลอดปาฏิหาริยปักษ์
[๒๖๕] ดิฉันสำรวมระวังในศีลตลอดเวลา
และแจกจ่ายทานด้วยความเคารพ
จึงได้ครอบครองวิมานนี้
[๒๖๖] ดิฉันงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ เว้นไกลจากการลักขโมย
การประพฤตินอกใจสามี สำรวมระวังจากการพูดเท็จ
และการดื่มน้ำเมา
[๒๖๗] ดิฉันยินดีในศีล ๕ ฉลาดในอริยสัจ
เป็นอุบาสิกาของพระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่า โคดม
ผู้มีพระจักษุ มีพระยศ
[๒๖๘-๒๖๙] เพราะบุญนั้นผิวพรรณดิฉันจึงงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
สุทินนาวิมานที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๒. จิตตลตาวรรค ๑๑. ทุติยภิกขาทายิกาวิมาน
๑๐. ปฐมภิกขาทายิกาวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายภิกษา เรื่องที่ ๑
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพธิดานั้นด้วยคาถาเหล่านี้ว่า)
[๒๗๐] เทพธิดา เธอมีผิวพรรณงามยิ่งนัก
เปล่งรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอยู่ ดุจดาวประกายพรึก
[๒๗๑-๒๗๒] เพราะบุญอะไรผิวพรรณเธอจึงงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๒๗๓] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๒๗๔] ชาติก่อนดิฉันเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์ในมนุษยโลก
[๒๗๕] ได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากกิเลสประดุจธุลี
มีพระทัยผ่องใส ไม่มัวหมอง มีความเลื่อมใส
ได้ถวายภิกษาแด่พระองค์ด้วยมือทั้งสองของตน
[๒๗๖-๒๗๗] เพราะบุญนั้นผิวพรรณดิฉันจึงงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
ปฐมภิกขาทายิกาวิมานที่ ๑๐ จบ

๑๑. ทุติยภิกขาทายิกาวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายภิกษา เรื่องที่ ๒
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพธิดานั้นด้วยคาถาเหล่านี้ว่า)
[๒๗๘] เทพธิดา เธอมีผิวพรรณงามยิ่งนัก
เปล่งรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอยู่ ดุจดาวประกายพรึก
[๒๗๙-๒๘๐] เพราะบุญอะไรผิวพรรณเธอจึงงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๒๘๑] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาของผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๒. จิตตลตาวรรค ๑๑. ทุติยภิกขาทายิกาวิมาน
[๒๘๒] ชาติก่อน ดิฉันเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์ในมนุษยโลก
[๒๘๓] ได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากกิเลสประดุจธุลี
มีพระทัยผ่องใส ไม่มัวหมอง มีความเลื่อมใส
ได้ถวายภิกษาแด่พระองค์ด้วยมือทั้งสองของตน
[๒๘๔-๒๘๕] เพราะบุญนั้นผิวพรรณดิฉันจึงงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
ทุติยภิกขาทายิกาวิมานที่ ๑๑ จบ

รวมเรื่องวิมานที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ทาสีวิมาน ๒. ลขุมาวิมาน
๓. อาจามทายิกาวิมาน ๔. จัณฑาลีวิมาน
๕. ภัททิตถิกาวิมาน ๖. โสณทินนาวิมาน
๗. อุโปสถาวิมาน ๘. สุนิททาวิมาน
๙. สุทินนาวิมาน ๑๐. ปฐมภิกขาทายิกาวิมาน
๑๑. ทุติยภิกขาทายิกาวิมาน

จิตตลตาวรรคที่ ๒ จบ
ปฐมภาณวาร จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๓. ปาริจฉัตตวรรค ๑. อุฬารวิมาน
๓. ปาริจฉัตตกวรรค
หมวดว่าด้วยดอกปาริชาต
๑. อุฬารวิมาน
ว่าด้วยวิมานอันโอฬาร
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพธิดานั้นด้วยคาถาเหล่านี้ว่า)
[๒๘๖] เธอมีบริวารยศอันยิ่งใหญ่ ผิวพรรณเรืองรอง
ส่องสว่างไปทั่วทุกทิศ เหล่าเทพนารีและเหล่าเทพบุตร
แต่งองค์ทรงเครื่องพากันฟ้อนรำขับร้องอยู่
[๒๘๗] ให้ความบันเทิงใจ แวดล้อมหวังบำเรอเธออยู่
เทพธิดาผู้มีโฉมชวนพิศ วิมานเหล่านี้ของเธอล้วนเป็นวิมานทองคำ
[๒๘๘] ทั้งเธอก็เป็นใหญ่กว่าเทพเหล่านั้น ปรารถนาทุกสิ่งก็สำเร็จสิ้น
เธอเกิดมาดี มีอานุภาพยิ่งใหญ่ ร่าเริงบันเทิงใจอยู่ในหมู่เทพ
เทพธิดา อาตมาถามแล้ว ขอเธอจงบอกเถิดว่า
นี้เป็นผลของกรรมอันใดเล่า
(เทพธิดาตอบว่า)
[๒๘๙] ชาติก่อนดิฉันเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์ในมนุษยโลก
เป็นลูกสะใภ้อยู่ในตระกูลทุศีล
เมื่อคนในตระกูลมีพ่อผัวแม่ผัวเป็นผู้ไม่มีศรัทธา เป็นคนตระหนี่
[๒๙๐] ดิฉันกลับเป็นผู้มีศรัทธา สมบูรณ์ด้วยศีล
ยินดีแจกจ่ายทานโดยเคารพทุกเมื่อ
ได้ถวายขนมเบื้องแด่พระคุณเจ้าซึ่งกำลังเที่ยวบิณฑบาตอยู่
[๒๙๑] ครั้งนั้น ดิฉันบอกแม่ผัวว่า สมณะมาถึงที่นี้แล้ว
ดิฉันเลื่อมใส ได้ถวายขนมเบื้องแด่ท่านด้วยมือทั้งสองของตน
[๒๙๒] แม่ผัวด่าดิฉันว่า เธอเป็นหญิงหัวดื้อ
ทำไมเธอไม่คิดจะปรึกษาฉันเสียก่อนว่า จะถวายสมณะเล่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๓. ปาริจฉัตตวรรค ๒. อุจฉุทายิกาวิมาน
[๒๙๓] เพราะเหตุนี้แหละ แม่ผัวจึงเกรี้ยวกราด
แล้วเอาสากตีดิฉันถูกจงอยบ่า
ได้ทำร้ายดิฉัน ดิฉันจึงไม่อาจมีชีวิตอยู่ได้นาน
[๒๙๔] เพราะชีวิตสลายลง ดิฉันพ้นจากทุกข์นั้นมา
ได้จุติจากอัตภาพนั้นมาจึงเกิดร่วมกับหมู่เทพชั้นไตรทศ
[๒๙๕] เพราะบุญนั้นผิวพรรณดิฉันจึงงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีร่างกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
อุฬารวิมานที่ ๑ จบ

๒. อุจฉุทายิกาวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายท่อนอ้อย
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพธิดานั้นด้วยคาถาเหล่านี้ว่า)
[๒๙๖] เธอมีสิริรัศมีกาย มีบริวารยศและมีเดช
เปล่งรัศมีส่องทั่วแผ่นดินพร้อมทั้งเทวโลกให้สว่างไสว
รุ่งเรืองดังพระจันทร์และพระอาทิตย์
และดังท้าวมหาพรหมเปล่งรัศมีงามล้ำกว่า
ทวยเทพชาวไตรทศพร้อมทั้งพระอินทร์
[๒๙๗] อาตมาขอถามเธอ เทพธิดาผู้เลอโฉม ประดับมาลัยดอกอุบล
มีมาลัยแก้วประดับเทริด มีผิวพรรณเปล่งปลั่งดั่งทองคำ
ประดับประดาอาภรณ์อย่างสวยงาม ทรงพัสตราภรณ์ชั้นเลิศ
เธอเป็นใครมาไหว้อาตมา
[๒๙๘] ชาติก่อนเธอเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำกรรมอะไรมาก่อน
เธอสั่งสมทานไว้ดีหรือว่ารักษาศีลไว้ดี จึงเกิดในสวรรค์ มีบริวารยศ
เพราะกรรมอะไร เทพธิดา อาตมาถามแล้ว
ขอเธอจงบอกเถิดว่า นี้เป็นผลของกรรมอันใดเล่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๓. ปาริจฉัตตวรรค ๒. อุจฉุทายิกาวิมาน
(เทพธิดาตอบว่า)
[๒๙๙] พระคุณเจ้าผู้เจริญ เมื่อไม่นานมานี้ พระเถระรูปหนึ่ง
เข้ามาบิณฑบาตยังเรือนของดิฉันในหมู่บ้านนี้แหละ
จากนั้นดิฉันมีจิตเลื่อมใส เกิดปีติสุดประมาณ
จึงได้ถวายท่อนอ้อยแด่ท่าน
[๓๐๐] แต่ต่อมาภายหลัง แม่ผัวซักถามดิฉันว่า
แม่ตัวดี แกเอาอ้อยไปทิ้งไว้ที่ไหนล่ะ
ดิฉันจึงตอบว่า ไม่ได้ทิ้งและก็ไม่ได้กิน
แต่ดิฉันได้ถวายแด่ภิกษุผู้สงบระงับไปแล้ว
[๓๐๑] ทันใดนั้น แม่ผัวได้ด่าดิฉันว่า
นี่แกหรือฉันเป็นใหญ่กันแน่
ว่าแล้วก็คว้าตั่งฟาดดิฉัน
ดิฉันตายจากมนุษยโลกนั้นแล้วก็มาเกิดเป็นเทพธิดา
[๓๐๒] ดิฉันทำกุศลกรรมนั้นไว้เท่านี้
ตนเองจึงได้มาเสวยผลกรรมที่นำความสุขมาให้
ได้รับการบำเรอบันเทิงใจอยู่
ด้วยกามคุณ ๕ ร่วมกับหมู่เทพ
[๓๐๓] ดิฉันทำกุศลกรรมนั้นไว้เท่านี้
ตนเองจึงได้มาเสวยผลกรรมที่นำความสุขมาให้
มีท้าวสักกะจอมเทพคุ้มครอง มีทวยเทพชั้นไตรทศรักษา
เพียบพร้อมอยู่ด้วยกามคุณ ๕
[๓๐๔] ผลบุญดังกล่าวมานี้มิใช่เล็กน้อย
บุญที่ดิฉันได้ถวายอ้อยให้ผลมาก
ดิฉันจึงได้รับการบำเรอ บันเทิงใจอยู่
ด้วยกามคุณ ๕ ร่วมกับหมู่เทพ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๓. ปาริจฉัตตวรรค ๓. ปัลลังกวิมาน
[๓๐๕] ผลบุญดังกล่าวมานี้มิใช่เล็กน้อย
บุญที่ดิฉันได้ถวายอ้อยมีอานุภาพมาก
ดิฉันจึงมีท้าวสักกะจอมเทพคุ้มครอง
มีทวยเทพชั้นไตรทศรักษา ดังท้าวสหัสนัยน์ในนันทวัน
[๓๐๖] พระคุณเจ้าผู้เจริญ ดิฉันเข้าไปหาพระคุณเจ้า
ผู้อนุเคราะห์ซึ่งมีปัญญา แล้วกราบไหว้และถามถึงความไม่มีโรค
จากนั้นก็มีจิตเลื่อมใส เกิดปีติสุดประมาณ
จึงได้ถวายท่อนอ้อยแด่พระคุณเจ้า
อุจฉุทายิกาวิมานที่ ๒ จบ

๓. ปัลลังกวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่มีบัลลังก์สวยงามเกิดแก่หญิงผู้ประพฤติธรรม
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพธิดานั้นด้วยคาถาว่า)
[๓๐๗] เทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก เธอแสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้หลายรูปแบบ
อยู่บนบัลลังก์วิมานอันเลอเลิศ น่านอน โอ่โถง
วิจิตรด้วยแก้วมณีและทองคำ เรี่ยรายด้วยดอกไม้
[๓๐๘] อนึ่ง รอบข้างเธอมีเทพอัปสรเหล่านี้ฟ้อนรำขับร้องให้บันเทิงใจ
อยู่เสมอ
เทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก เมื่อเธอเกิดเป็นมนุษย์
ได้ทำบุญอะไรไว้ จึงได้สำเร็จเป็นเทพธิดาผู้มีฤทธิ์
เพราะบุญอะไร เธอจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
(เทพธิดาตอบว่า)
[๓๐๙] เมื่อดิฉันเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์
เป็นลูกสะใภ้ในตระกูลที่มั่งคั่งตระกูลหนึ่ง
มีนิสัยไม่มักโกรธ ปฏิบัติตามคำสั่งของสามีเสมอ
ไม่ประมาทในการรักษาอุโบสถศีล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๓. ปาริจฉัตตวรรค ๓. ปัลลังกวิมาน
[๓๑๐] เมื่อดิฉันเป็นมนุษย์ยังสาวอยู่ ไม่ประพฤติใฝ่ต่ำ
มีใจดี ทำตัวให้สามีโปรดปราน
ชาติก่อนดิฉันมีความประพฤติเป็นที่น่าพอใจ
ทั้งวันและคืน เป็นคนมีศีล
[๓๑๑] ได้บำเพ็ญสิกขาบททั้งหลายอย่างครบถ้วน
คืองดเว้นจากการฆ่าสัตว์
ไม่ลักทรัพย์ มีการงานทางกายบริสุทธิ์
ประพฤติพรหมจรรย์ได้บริสุทธิ์
สะอาด ไม่กล่าวเท็จ และไม่ดื่มน้ำเมา
[๓๑๒] มีใจเลื่อมใส ประพฤติตามธรรม ปลาบปลื้มใจ
เข้าจำอุโบสถศีลซึ่งประกอบด้วยองค์ ๘
ทุกวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำและ ๘ ค่ำแห่งปักษ์
และตลอดปาฏิหาริยปักษ์
[๓๑๓] ครั้นสมาทานกุศลธรรมอันประเสริฐ
ที่ประกอบด้วยองค์ ๘ อันสูงสุด
มีสุขเป็นอานิสงส์เช่นนี้แล้ว ดิฉันเป็นคนดี
ปฏิบัติตามคำสั่งของสามีเสมอ
เป็นสาวิกาของพระสุคตมาก่อน
[๓๑๔] ครั้นทำกุศลกรรมเช่นนี้ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่
ตายแล้วมาสู่สวรรค์ มีส่วนได้เสวยทิพยสมบัติอันวิเศษ
จึงได้สำเร็จเป็นเทพธิดาผู้มีฤทธิ์ในอภิสัมปรายภพ
[๓๑๕] ดิฉันมีหมู่เทพอัปสรห้อมล้อม มีรัศมีในตัวเอง
บันเทิงใจอยู่ในวิมานปราสาทที่ยอดเยี่ยมน่ารื่นรมย์ใจ
หมู่เทพและเทพธิดาพากันมาชื่นชมดิฉัน
ผู้มีอายุยืนซึ่งมายังเทพวิมานนี้
ปัลลังกวิมานที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๓. ปาริจฉัตตวรรค ๔. ลตาวิมาน
๔. ลตาวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่เทพธิดาชื่อลดา
[๓๑๖] ลดาเทพธิดา สัชชาเทพธิดา ปวราเทพธิดา
อัจฉิมุดีเทพธิดาและสุดาเทพธิดา
ผู้มีความรุ่งเรือง เป็นธิดาของท้าวเวสสวัณมหาราช
ต่างเป็นนางบาทปริจาริกาของท้าวสักกเทวราช
ผู้ทรงคุณอันประเสริฐ ทรงสิริ งดงามอยู่ด้วยคุณธรรม
[๓๑๗] เทพธิดา ๕ นางตามที่กล่าวมานี้ได้พากันไปสรงสนานยังแม่น้ำ
มีกระแสน้ำเย็น ดารดาษด้วยดอกอุบลเป็นที่ปลอดภัย
ซึ่งอยู่ในป่าหิมพานต์นี้ ครั้นสรงสนาน ณ ที่นั้นแล้ว
เทพธิดาเหล่านั้นพากันร่าเริง ฟ้อนรำ ขับร้อง
สุดาเทพธิดาได้พูดกับลดาเทพธิดาว่า
[๓๑๘] ข้าแต่พี่ผู้ทัดทรงพวงอุบล มีมาลัยแก้วประดับเทริด
มีผิวพรรณเปล่งปลั่งดั่งทองคำ มีนัยน์ตาสีน้ำตาล
มีผิวพรรณงดงาม ประดุจท้องฟ้า ไร้เมฆหมอก มีอายุยืน
ดิฉันขอถามพี่ เพราะบุญอะไรทำให้พี่ได้บริวารยศและเกียรติยศ
[๓๑๙] เพราะทำบุญอะไรไว้ พี่จึงเป็นที่โปรดปรานของสามี
มีโฉมงามเลิศกว่าใคร ทั้งฉลาดเป็นเลิศ
ในการฟ้อนรำ ขับร้อง และบรรเลงดนตรี
พี่เทพบุตรและเทพธิดาถามอยู่เสมอ ๆ
ขอโปรดได้บอกพวกเราด้วยเถิด
(ลดาเทพธิดาตอบว่า)
[๓๒๐] เมื่อพี่เกิดเป็นมนุษย์อยู่ในมนุษยโลก
เป็นสะใภ้ในตระกูลมั่งคั่งตระกูลหนึ่ง
มีนิสัยไม่มักโกรธ ปฏิบัติตามคำสั่งของสามีเสมอ
ไม่ประมาทในการรักษาอุโบสถศีล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๓. ปาริจฉัตตวรรค ๔. ลตาวิมาน
[๓๒๑] เมื่อพี่เป็นมนุษย์ยังสาวอยู่ ไม่ประพฤติใฝ่ต่ำ
มีใจดี ทำตัวให้สามีโปรดปราน
ทำตัวให้พ่อแม่สามี พี่น้องสามี
พร้อมทั้งข้าทาสชายหญิงให้ชื่นชอบ
เพราะบุญที่ทำในคราวเป็นหญิงสะใภ้นั้น
ทำให้พี่ได้บริวารยศและเกียรติยศ
[๓๒๒] เพราะกุศลกรรมนั้น พี่จึงได้ดีกว่าเทพธิดาเหล่าอื่น
โดยฐานะ ๔ คือ อายุ วรรณะ สุขะ และพละ
ได้เสวยความร่าเริงยินดีเป็นอย่างมาก
(เมื่อสุดาเทพธิดาได้ฟังคำตอบดังนี้แล้วจึงได้ถามพี่สาวทั้งสามว่า)
[๓๒๓] พี่ทั้งสาม ได้ยินเรื่องที่พี่ลดานี้พูดหรือไม่
ดิฉันได้ทูลถามถึงเรื่องที่พวกเราชอบสงสัยกันมาก
พี่ลดาก็กล่าวแก้ได้อย่างไม่ผิดพลาด
ว่ากันว่า ขึ้นชื่อว่าสามีย่อมเป็นที่พึ่งอันประเสริฐ
และเป็นเทพสูงสุดของพวกผู้หญิงเรา
[๓๒๔] ขอให้เราทุกคนจงประพฤติธรรมในสามี
เหมือนอย่างสตรีที่ดีประพฤติยำเกรงสามี
ครั้นเราทุกคนประพฤติธรรมในสามี
ก็จักได้สมบัติตามที่พี่ลดาพูด
[๓๒๕] พญาราชสีห์ที่สัญจรไปตามราวไพรใกล้เชิงเขา
อาศัยภูเขาหลวงอยู่แล้วก็เที่ยวตะครุบฆ่าสัตว์สี่เท้า
จำพวกเนื้อที่ด้อยกำลัง กัดกินเป็นอาหารฉันใด
[๓๒๖] สตรีผู้มีศรัทธา เป็นอริยสาวิกาในศาสนานี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ยังอาศัยสามีให้การเลี้ยงดู ก็ควรประพฤติเกื้อกูลยำเกรงสามี
นางประพฤติธรรมโดยระงับความโกรธ กำจัดความตระหนี่เสียได้
จึงร่าเริงบันเทิงใจอยู่บนสวรรค์
ลดาวิมานที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๓. ปาริจฉัตตวรรค ๕. คุตติลวิมาน
๕. คุตติลวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่คุตติลาจารย์เคยไปเยี่ยม
๑. วัตถุตตมทายิกาวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดแก่หญิงผู้ถวายผ้าเนื้อดีเยี่ยม
(พระโพธิสัตว์นามว่าคุตติละได้กราบทูลท้าวสักกเทวราชว่า)
[๓๒๗] ข้าแต่ท้าวโกสีย์ ข้าพระองค์ได้สอนวิชาดีดพิณ ๗ สาย
ซึ่งมีเสียงไพเราะมาก น่ารื่นรมย์ใจ
ให้แก่มุสิละผู้เป็นศิษย์
เขาตั้งใจจะดีดพิณประชันกับข้าพระองค์กลางเวที
ขอพระองค์จงทรงเป็นที่พึ่งของข้าพระองค์ด้วยเถิด
(ท้าวสักกเทวราชตรัสปลอบด้วยคาถาว่า)
[๓๒๘] ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าจะเป็นที่พึ่งของท่านอาจารย์
เพราะข้าพเจ้าเป็นผู้บูชาอาจารย์
ศิษย์จักชนะอาจารย์ไม่ได้
อาจารย์จักชนะศิษย์แน่นอน
(ครั้นกาลต่อมา ท้าวสักกเทวราชรับสั่งให้มาตลีเทพสารถีนำเวชยันต์ราชรถ
ลงมารับคุตติลาจารย์ไปยังเทวโลกเพื่อให้ดีดพิณถวาย คุตติลาจารย์จึงกราบทูล
ท้าวเธอ ในท่ามกลางเทพบริษัท เพื่อขอไต่ถามถึงบุพกรรมของเทพธิดาทั้งหลาย ณ
ที่นั้น เป็นรางวัลแห่งการดีดพิณเสียก่อน เมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงไต่ถามถึง
บุพกรรมของเทพธิดาเหล่านั้น คำถามของคุตติลาจารย์เป็นเช่นเดียวกับของพระ
มหาโมคคัลลานเถระ)๑ คำตอบของเหล่าเทพธิดาเป็นเช่นเดียวกันทั้งสองครั้ง
[๓๒๙] เทพธิดา เธอมีผิวพรรณงามยิ่งนัก
เปล่งรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอยู่ ดุจดาวประกายพรึก

เชิงอรรถ :
๑ (ขุ.วิ.อ. ๓๒๘/๑๕๘-๑๖๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๓. ปาริจฉัตตวรรค ๕. คุตติลวิมาน
[๓๓๐] เพราะบุญอะไรผิวพรรณเธอจึงงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่เธอในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่เธอ
[๓๓๑] เทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามว่า
เมื่อเธอเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้
เพราะบุญอะไรเธอจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๓๓๒] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๓๓๓] นารีผู้ถวายผ้าเนื้อดีเยี่ยม
เป็นผู้ประเสริฐในหมู่นระและนารีทั้งหลาย
นางตั้งใจถวายสิ่งที่น่ารัก
จึงได้ทิพยสถานที่น่าเจริญใจเห็นปานนี้
[๓๓๔] ขอนิมนต์พระคุณเจ้าดูวิมานของดิฉันนั้นเถิด
ดิฉันเป็นนางอัปสรผู้มีรูปร่างและผิวพรรณน่ารักใคร่
ทั้งยังเลอเลิศกว่านางอัปสรนับพันอีกด้วย
ขอนิมนต์พระคุณเจ้าดูผลของบุญทั้งหลายเถิด
[๓๓๕] เพราะบุญนั้นผิวพรรณดิฉันจึงงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่ดิฉันในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่ดิฉัน
[๓๓๖] ข้าแต่ภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ดิฉันขอกราบเรียนว่า
เพราะบุญที่ได้ทำไว้เมื่อเกิดเป็นมนุษย์
ดิฉันจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
(วิมาน ๔ เรื่องที่จะกล่าวต่อไปนี้มีความพิสดารเหมือนวัตถุตตมทายิกาวิมาน)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๓. ปาริจฉัตตวรรค ๒. ปุปผุตตมทายิกาวิมาน (๑)
๒. ปุปผุตตมทายิกาวิมาน (๑)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดแก่หญิงผู้ถวายดอกไม้ที่ดีเยี่ยม
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า)
[๓๓๗] เทพธิดา เธอมีผิวพรรณงามยิ่งนัก
เปล่งรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอยู่ ดุจดาวประกายพรึก
[๓๓๘] เพราะบุญอะไรผิวพรรณเธอจึงงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่เธอในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่เธอ
[๓๓๙] เทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามว่า
เมื่อเธอเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้
เพราะบุญอะไรเธอจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๓๔๐] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๓๔๑] นารีผู้ถวายดอกไม้ชั้นดีเยี่ยม
เป็นผู้ประเสริฐในหมู่นระและนารีทั้งหลาย
นางตั้งใจถวายสิ่งที่น่ารัก
จึงได้ทิพยสถานที่น่าเจริญใจเห็นปานนี้
[๓๔๒] ขอนิมนต์พระคุณเจ้าดูวิมานของดิฉันนั้น
ดิฉันเป็นนางอัปสรผู้มีรูปร่างและผิวพรรณน่ารักใคร่
ทั้งยังเลอเลิศกว่านางอัปสรนับพันอีกด้วย
ขอนิมนต์พระคุณเจ้าดูผลของบุญทั้งหลายเถิด
[๓๔๓] เพราะบุญนั้นผิวพรรณดิฉันจึงงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่ดิฉันในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่ดิฉัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๓. ปาริจฉัตตวรรค ๓. คันธุตตมทายิกาวิมาน (๒)
[๓๔๔] ข้าแต่ภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ดิฉันขอกราบเรียนว่า
เพราะบุญที่ได้ทำไว้เมื่อเกิดเป็นมนุษย์
ดิฉันจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
๓. คันธุตตมทายิกาวิมาน (๒)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายของหอมชั้นเยี่ยม
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า)
[๓๔๕] เทพธิดา เธอมีผิวพรรณงามยิ่งนัก
เปล่งรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอยู่ ดุจดาวประกายพรึก
[๓๔๖] เพราะบุญอะไรผิวพรรณเธอจึงงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่เธอในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่เธอ
[๓๔๗] เทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามว่า
เมื่อเธอเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้
เพราะบุญอะไรเธอจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๓๔๘] เทพธิดานั้นดีใจที่พระโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๓๔๙] นารีผู้ถวายของหอมชั้นเลิศ
เป็นผู้ประเสริฐในหมู่นระและนารีทั้งหลาย
นางตั้งใจถวายสิ่งที่น่ารัก
จึงได้ทิพยสถานที่น่าเจริญใจเห็นปานนี้
[๓๕๐] ขอนิมนต์พระคุณเจ้าดูวิมานของดิฉันนั้น
ดิฉันเป็นนางอัปสรผู้มีรูปร่างและผิวพรรณน่ารักใคร่
ทั้งยังเลอเลิศกว่านางอัปสรนับพันอีกด้วย
ขอนิมนต์พระคุณเจ้าดูผลของบุญทั้งหลายเถิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๓. ปาริจฉัตตวรรค ๔. ผลุตตมทายิกาวิมาน (๓)
[๓๕๑] เพราะบุญนั้นผิวพรรณดิฉันจึงงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่ดิฉันในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่ดิฉัน
[๓๕๒] ข้าแต่ภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ดิฉันขอกราบเรียนว่า
เพราะบุญที่ได้ทำไว้เมื่อเกิดเป็นมนุษย์
ดิฉันจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
๔. ผลุตตมทายิกาวิมาน (๓)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายผลไม้อย่างดีเยี่ยม
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า)
[๓๕๓] เทพธิดา เธอมีผิวพรรณงามยิ่งนัก
เปล่งรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอยู่ ดุจดาวประกายพรึก
[๓๕๔-๓๕๕] เพราะบุญอะไรผิวพรรณเธอจึงงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๓๕๖] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๓๕๗] นารีผู้ได้ถวายผลไม้อย่างดีเยี่ยม
เป็นผู้ประเสริฐในหมู่นระและนารีทั้งหลาย
นางตั้งใจถวายสิ่งที่น่ารัก
จึงได้ทิพยสถานที่น่าเจริญใจเช่นนี้
[๓๕๘] ขอนิมนต์พระคุณเจ้าดูวิมานของดิฉันนั้น
ดิฉันเป็นนางอัปสรผู้มีรูปร่างและผิวพรรณน่ารักใคร่
ทั้งยังเลอเลิศกว่านางอัปสรนับพันอีกด้วย
ขอนิมนต์พระคุณเจ้าดูผลของบุญทั้งหลายเถิด
[๓๕๙-๓๖๐] เพราะบุญนั้นดิฉันจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๓. ปาริจฉัตตวรรค ๖. คันธปัญจังคุลิกทายิกาวิมาน
๕. รสุตตมทายิกาวิมาน (๔)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายอาหารที่มีรสเลิศ
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า)
[๓๖๑] เทพธิดา เธอมีผิวพรรณงามยิ่งนัก
เปล่งรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอยู่ ดุจดาวประกายพรึก
[๓๖๒-๓๖๓] เพราะบุญอะไรผิวพรรณเธอจึงงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๓๖๔] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๓๖๕] นารีผู้ถวายอาหารเลิศรส
เป็นผู้ประเสริฐในหมู่นระและนารีทั้งหลาย
นางตั้งใจถวายสิ่งที่น่ารัก
จึงได้ทิพยสถานที่น่าเจริญใจเช่นนี้
[๓๖๖] ขอนิมนต์พระคุณเจ้าดูวิมานของดิฉันนั้น
ดิฉันเป็นนางอัปสรผู้มีรูปร่างและผิวพรรณน่ารักใคร่
ทั้งยังเลอเลิศกว่านางอัปสรนับพันอีกด้วย
ขอนิมนต์พระคุณเจ้าดูผลของบุญทั้งหลายเถิด
[๓๖๗-๓๖๘] เพราะบุญนั้นผิวพรรณดิฉันจึงงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
๖. คันธปัญจังคุลิกทายิกาวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้เคยใช้แป้งเจิมสถูป
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า)
[๓๖๙] เทพธิดา เธอมีผิวพรรณงามยิ่งนัก
เปล่งรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอยู่ ดุจดาวประกายพรึก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๓. ปาริจฉัตตวรรค ๗. เอกูโปสถวิมาน (๑)
[๓๗๐-๓๗๑] เพราะบุญอะไรผิวพรรณเธอจึงงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๓๗๒] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๓๗๓] ดิฉันใช้นิ้วทั้งห้าจุ่มกระแจะเจิมที่พระสถูป(ทอง)
ของพระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่ากัสสปะ
ดิฉันนั้นตั้งใจถวายสิ่งที่น่ารัก
จึงได้ทิพยสถานที่น่าเจริญใจเช่นนี้
[๓๗๔] ขอนิมนต์พระคุณเจ้าดูวิมานของดิฉันนั้น
ดิฉันเป็นนางอัปสรผู้มีรูปร่างและผิวพรรณน่ารักใคร่
ทั้งยังเลอเลิศกว่านางอัปสรนับพันอีกด้วย
ขอนิมนต์พระคุณเจ้าดูผลของบุญทั้งหลายเถิด
[๓๗๕-๓๗๖] เพราะบุญนั้นผิวพรรณดิฉันจึงงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
(วิมาน ๔ เรื่องที่จะกล่าวต่อไปนี้ มีความพิสดารเหมือนคันธปัญจังคุลิก
ทายิกาวิมาน)
๗. เอกูโปสถวิมาน (๑)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้รักษาอุโบสถ ๑ วัน
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า)
[๓๗๗-๓๗๙] เทพธิดา เธอมีผิวพรรณงามยิ่งนัก
เปล่งรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอยู่ ดุจดาวประกายพรึก ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๓๘๐] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๓. ปาริจฉัตตวรรค ๘. อุทกทายิกาวิมาน (๒)
[๓๘๑] ดิฉันได้เห็นภิกษุและภิกษุณีทั้งหลายกำลังเดินทาง
ได้ฟังธรรมเทศนาของท่านเหล่านั้นแล้ว
ได้เข้าจำอุโบสถศีลหนึ่งวัน
[๓๘๒] ขอนิมนต์พระคุณเจ้าดูวิมานของดิฉันนั้น
ดิฉันเป็นนางอัปสรผู้มีรูปร่างและผิวพรรณน่ารักใคร่
ทั้งยังเลอเลิศกว่านางอัปสรนับพันอีกด้วย
ขอนิมนต์พระคุณเจ้าดูผลของบุญทั้งหลายเถิด
[๓๘๓-๓๘๔] เพราะบุญนั้นผิวพรรณดิฉันจึงงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
๘. อุทกทายิกาวิมาน (๒)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายน้ำบ้วนปากและน้ำดื่ม
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า)
[๓๘๕] เทพธิดา เธอมีผิวพรรณงามยิ่งนัก
เปล่งรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอยู่ ดุจดาวประกายพรึก
[๓๘๖-๓๘๗] เพราะบุญอะไรผิวพรรณเธอจึงงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๓๘๘] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๓๘๙] ดิฉันยืนอยู่ในน้ำ มีจิตเลื่อมใส
ได้ถวายน้ำแด่ภิกษุรูปหนึ่ง
ดิฉันนั้นตั้งใจถวายสิ่งที่น่ารัก
จึงได้ทิพยสถานที่น่าเจริญใจเช่นนี้
[๓๙๐] ขอนิมนต์พระคุณเจ้าดูวิมานของดิฉันนั้น
ดิฉันเป็นนางอัปสรผู้มีรูปร่างและผิวพรรณน่ารักใคร่
ทั้งยังเลอเลิศกว่านางอัปสรนับพันอีกด้วย
ขอนิมนต์พระคุณเจ้าดูผลของบุญทั้งหลายเถิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๓. ปาริจฉัตตวรรค ๑๐. อปรกัมมการินีวิมาน (๔)
[๓๙๑-๓๙๒] เพราะบุญนั้นผิวพรรณดิฉันจึงงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
๙. อุปัฏฐานวิมาน (๓)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ตั้งใจปฏิบัติมารดาบิดาของสามี
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า)
[๓๙๓] เทพธิดา เธอมีผิวพรรณงามยิ่งนัก
เปล่งรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอยู่ ดุจดาวประกายพรึก
[๓๙๔-๓๙๕] เพราะบุญอะไรผิวพรรณเธอจึงงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๓๙๖] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๓๙๗] ดิฉันมีนิสัยไม่ริษยา ตั้งใจปฏิบัติแม่ผัวและพ่อผัว
ซึ่งทั้งดุร้าย โกรธง่ายและหยาบคาย
จึงเป็นผู้ไม่ประมาทตามปกตินิสัยของตน
[๓๙๘] ขอนิมนต์พระคุณเจ้าดูวิมานของดิฉันนั้น
ดิฉันเป็นนางอัปสรผู้มีรูปร่างและผิวพรรณน่ารักใคร่
ทั้งยังเลอเลิศกว่านางอัปสรนับพันอีกด้วย
ขอนิมนต์พระคุณเจ้าดูผลของบุญทั้งหลายเถิด
[๓๙๙-๔๐๐] เพราะบุญนั้นผิวพรรณดิฉันจึงงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
๑๐. อปรกัมมการินีวิมาน (๔)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ขวนขวายช่วยเหลือผู้อื่น
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า)
[๔๐๑] เทพธิดา เธอมีผิวพรรณงามยิ่งนัก
เปล่งรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอยู่ ดุจดาวประกายพรึก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๖๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๓. ปาริจฉัตตวรรค ๑๑. ขีโรทนทายิกาวิมาน
[๔๐๒-๔๐๓] เพราะบุญอะไรผิวพรรณเธอจึงงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๔๐๔] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๔๐๕] ดิฉันเป็นคนใช้ รับภาระช่วยทำงานให้คนอื่นเสมอ
ไม่เกียจคร้านต่อการงานที่เป็นประโยชน์
มีปกตินิสัยไม่มักโกรธ ไม่ดูหมิ่นผู้อื่น
ชอบแบ่งปันสิ่งของส่วนตัวแก่ผู้อื่น
[๔๐๖] ขอนิมนต์พระคุณเจ้าดูวิมานของดิฉันนั้น
ดิฉันเป็นนางอัปสรผู้มีรูปร่างและผิวพรรณน่ารักใคร่
ทั้งยังเลอเลิศกว่านางอัปสรนับพันอีกด้วย
ขอนิมนต์พระคุณเจ้าดูผลของบุญทั้งหลายเถิด
[๔๐๗-๔๐๘] เพราะบุญนั้นผิวพรรณดิฉันจึงงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
๑๑. ขีโรทนทายิกาวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายข้าวผสมนมสด
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า)
[๔๐๙] เทพธิดา เธอมีผิวพรรณงามยิ่งนัก
เปล่งรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอยู่ ดุจดาวประกายพรึก
[๔๑๐-๔๑๑] เพราะบุญอะไรผิวพรรณเธอจึงงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๔๑๒] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๓. ปาริจฉัตตวรรค ๑๓. อุจฉุขัณฑิกทายิกาวิมาน (๒)
[๔๑๓] ดิฉันได้ถวายข้าวสุกผสมนมสด
แด่ภิกษุผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาต
ครั้นทำกรรมอย่างนี้แล้ว
จึงเกิดในสุคติ ร่าเริงบันเทิงใจอยู่
[๔๑๔] ขอนิมนต์พระคุณเจ้าดูวิมานของดิฉันนั้น
ดิฉันเป็นนางอัปสรผู้มีรูปร่างและผิวพรรณน่ารักใคร่
ทั้งยังเลอเลิศกว่านางอัปสรนับพันอีกด้วย
ขอนิมนต์พระคุณเจ้าดูผลของบุญทั้งหลายเถิด
[๔๑๕-๔๑๖] เพราะบุญนั้นผิวพรรณดิฉันจึงงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
(วิมาน ๒๕ เรื่อง ที่จะกล่าวต่อไปนี้ มีความพิสดารเหมือนขีโรทนทายิกา
วิมาน)
๑๒. ผาณิตทายิกาวิมาน (๑)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายน้ำอ้อยงบ
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า)
[๔๑๗-๔๑๙] เทพธิดา เธอมีผิวพรรณงามยิ่งนัก ฯลฯ
เปล่งรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๔๒๐] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๔๒๑-๔๒๘] ดิฉันได้ถวายน้ำอ้อยงบแด่ภิกษุผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาต ฯลฯ
๑๓. อุจฉุขัณฑิกทายิกาวิมาน (๒)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายท่อนอ้อย
[๔๒๙-๔๓๖] ดิฉันได้ถวายท่อนอ้อยแด่ภิกษุผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาต ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๓. ปาริจฉัตตวรรค ๒๐. สากมุฏฐิทายิกาวิมาน (๙)
๑๔. ติมพรุสกทายิกาวิมาน (๓)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายผลมะพลับสุก
[๔๓๗-๔๔๔] ดิฉันได้ถวายผลมะพลับสุกแด่ภิกษุผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาต ฯลฯ
๑๕. กักการิกทายิกาวิมาน (๔)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายผลแตงกวา
[๔๔๕-๔๕๒] ดิฉันได้ถวายผลแตงกวาแด่ภิกษุผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาต ฯลฯ
๑๖. เอฬาลุกทายิกาวิมาน (๕)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายฟักทอง
[๔๕๓-๔๖๐] ดิฉันได้ถวายผลฟักทองแด่ภิกษุผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาต ฯลฯ
๑๗. วัลลิผลทายิกาวิมาน (๖)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายแตงโม
[๔๖๑-๔๖๘] ดิฉันได้ถวายผลแตงโมแด่ภิกษุผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาต ฯลฯ
๑๘. ผารุสกทายิกาวิมาน (๗)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายผลลิ้นจี่
[๔๖๙-๔๗๖] ดิฉันได้ถวายผลลิ้นจี่แด่ภิกษุผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาต ฯลฯ
๑๙. หัตถัปปตาปกทายิกาวิมาน (๘)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายเตาผิง
[๔๗๗-๔๘๔] ดิฉันได้ถวายเตาผิงแด่ภิกษุผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาต ฯลฯ
๒๐. สากมุฏฐิทายิกาวิมาน (๙)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายผักดอง
[๔๘๕-๔๙๒] ดิฉันได้ถวายผักดองกำมือหนึ่งแด่ภิกษุผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาต ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๓. ปาริจฉัตตวรรค ๒๗. อังสพัทธกทายิกาวิมาน (๑๖)
๒๑. ปุปผกมุฏฐิทายิกาวิมาน (๑๐)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายดอกไม้
[๔๙๓-๕๐๐] ดิฉันได้ถวายดอกไม้กำหนึ่งแด่ภิกษุผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาต ฯลฯ
๒๒. มูลกทายิกาวิมาน (๑๑)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายหัวมัน
[๕๐๑-๕๐๘] ดิฉันได้ถวายหัวมันแด่ภิกษุผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาต ฯลฯ
๒๓. นิมพมุฏฐิทายิกาวิมาน (๑๒)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายผักสะเดา
[๕๐๙-๕๑๖] ดิฉันได้ถวายสะเดากำหนึ่งแด่ภิกษุผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาต ฯลฯ
๒๔. อัมพกัญชิกทายิกาวิมาน (๑๓)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายน้ำผักดอง
[๕๑๗-๕๒๔] ดิฉันได้ถวายน้ำผักดองแด่ภิกษุผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาต ฯลฯ
๒๕. โทณินิมมัชชนิทายิกาวิมาน (๑๔)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายแป้งคลุกงาทอด
[๕๒๕-๕๓๒] ดิฉันได้ถวายแป้งคลุกงาทอดแด่ภิกษุผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาต ฯลฯ
๒๖. กายพันธนทายิกาวิมาน (๑๕)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายประคดเอว
[๕๓๓-๕๔๐] ดิฉันได้ถวายประคดเอวแด่ภิกษุผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาต ฯลฯ
๒๗. อังสพัทธกทายิกาวิมาน (๑๖)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายผ้าอังสะ
[๕๔๑-๕๔๘] ดิฉันได้ถวายผ้าอังสะแด่ภิกษุผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาต ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๓. ปาริจฉัตตวรรค ๓๔. ปูวทายิกาวิมาน (๒๓)
๒๘. อาโยคปัฏฏทายิกาวิมาน (๑๗)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายสายโยคบาตร
[๕๔๙-๕๕๖] ดิฉันได้ถวายแผ่นผ้าสายโยคแด่ภิกษุผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาต ฯลฯ
๒๙. วิธูปนทายิกาวิมาน (๑๘)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายพัดสี่เหลี่ยม
[๕๕๗-๕๖๔] ดิฉันได้ถวายพัดสี่เหลี่ยมแด่ภิกษุผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาต ฯลฯ
๓๐. ตาลปัณณทายิกาวิมาน (๑๙)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายพัดใบตาล
[๕๖๕-๕๗๒] ดิฉันได้ถวายพัดใบตาลแด่ภิกษุผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาต ฯลฯ
๓๑. โมรหัตถทายิกาวิมาน (๒๐)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายพัดปัดยุง
[๕๗๓-๕๘๐] ดิฉันได้ถวายพัดปัดยุงที่ทำด้วยขนนกยูงแด่ภิกษุผู้กำลังเที่ยว
บิณฑบาต ฯลฯ
๓๒. ฉัตตทายิกาวิมาน (๒๑)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายร่ม
[๕๘๑-๕๘๘] ดิฉันได้ถวายร่มแด่ภิกษุผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาต ฯลฯ
๓๓. อุปาหนทายิกาวิมาน (๒๒)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายรองเท้า
[๕๘๙-๕๙๖] ดิฉันได้ถวายรองเท้าแด่ภิกษุผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาต ฯลฯ
๓๔. ปูวทายิกาวิมาน (๒๓)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายขนม
[๕๙๗-๖๐๔] ดิฉันได้ถวายขนมแด่ภิกษุผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาต ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๓. ปาริจฉัตตวรรค ๓๖. สักขลิกาทายิกาวิมาน (๒๕)
๓๕. โมทกทายิกาวิมาน (๒๔)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายขนมต้ม
[๖๐๕-๖๑๒] ดิฉันได้ถวายขนมต้มแด่ภิกษุผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาต ฯลฯ
๓๖. สักขลิกาทายิกาวิมาน (๒๕)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายน้ำตาลกรวด
[๖๑๓] ดิฉันได้ถวายน้ำตาลกรวดแด่ภิกษุผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาต ฯลฯ
[๖๑๔] ขอนิมนต์พระคุณเจ้าดูวิมานของดิฉันนั้น
ดิฉันเป็นนางอัปสรผู้มีรูปร่างและผิวพรรณน่ารักใคร่
ทั้งยังเลอเลิศกว่านางอัปสรนับพันอีกด้วย
ขอนิมนต์พระคุณเจ้าดูผลของบุญทั้งหลายเถิด
[๖๑๕-๖๑๖] เพราะบุญนั้นผิวพรรณดิฉันจึงงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีสว่างไสวทั่วทุกทิศอย่างนี้
(เมื่อเทพธิดาเหล่านั้นตอบปัญหาผลกรรมที่ได้ทำมาเป็นอันดีอย่างนี้แล้ว
คุตติลาจารย์ก็ร่าเริงบันเทิงใจ เมื่อจะแสดงความชื่นชมยินดีของตนจึงกล่าวว่า)
[๖๑๗] ดีจริงหนอที่ข้าพเจ้าได้มาในที่นี้ วันนี้ฤกษ์งามยามดี
เพราะข้าพเจ้าได้มาเห็นเทพอัปสร
ซึ่งมีรูปร่างและผิวพรรณที่น่ารักใคร่
[๖๑๘] ข้าพเจ้าได้ฟังเรื่องกุศลธรรมของพวกเธอ
จักทำบุญกุศลให้มากด้วยการให้ทาน
การประพฤติธรรมสม่ำเสมอ
การสำรวมและการฝึกอินทรีย์
ข้าพเจ้านั้นจักไปสถานที่
ที่คนทั้งหลายไปแล้วไม่เศร้าโศก
คุตติลวิมานที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๓. ปาริจฉัตตวรรค ๖. ทัททัลลวิมาน
๖. ทัททัลลวิมาน
ว่าด้วยวิมานอันรุ่งเรืองที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายสังฆทาน
(ภัทราเทพธิดาผู้พี่สาวถามสุภัทราเทพธิดาซึ่งเป็นน้องสาวว่า)
[๖๑๙] เธอรุ่งเรืองด้วยรัศมี มีเกียรติยศบริวารยศ
มีรัศมีรุ่งโรจน์เหนือเทพชั้นชาวดาวดึงส์ทั้งปวง
[๖๒๐] ฉันไม่เคยเห็นเธอ นี้เป็นการเห็นครั้งแรก
เธอมาจากเทวโลกชั้นไหนจึงมาเรียกชื่อของฉันได้ถูก
(สุภัทราเทพธิดาตอบว่า)
[๖๒๑] พี่ภัทรา ดิฉันชื่อสุภัทรา
เมื่อชาติก่อนครั้งเป็นมนุษย์ได้เป็นน้องสาวของพี่
และยังเป็นภรรยาร่วมสามีเดียวกันกับพี่
[๖๒๒] ดิฉันละร่างจุติจากมนุษยโลกนั้นแล้ว
มาเกิดร่วมกับเหล่าเทพชั้นนิมมานรดี
(ภัทราเทพธิดาถามต่อไปอีกว่า)
[๖๒๓] น้องสุภัทรา ขอเธอได้บอกถึงการเกิดของตน
ในหมู่เทพชั้นนิมมานรดี
ซึ่งเป็นที่ที่สัตว์ผู้กระทำความดีไว้มากแล้วมาเกิด
[๖๒๔] เธอถูกสอนมาอย่างไรด้วยเรื่องอะไร หรือว่าใครสั่งสอน
เธอมีบริวารยศได้ด้วยทานและวัตรอันดีงามเช่นไร
[๖๒๕] เธอได้รับเกียรติยศเช่นนี้ ได้รับสุขไพบูลย์วิเศษเช่นนี้
น้องเทพธิดา พี่ถามแล้ว ขอเธอจงบอก
นี้เป็นผลของกรรมอันใด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๓. ปาริจฉัตตวรรค ๖. ทัททัลลวิมาน
(สุภัทราเทพธิดาตอบว่า)
[๖๒๖] ชาติก่อนดิฉันเลื่อมใส ได้ถวายอาหารบิณฑบาต ๘ ที่
เป็นสังฆทานแด่พระสงฆ์
ผู้เป็นทักขิไณยบุคคลด้วยมือทั้งสองของตน
[๖๒๗-๖๒๘] เพราะบุญนั้นผิวพรรณดิฉันจึงงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
(ภัทราเทพธิดาได้ถามต่อไปอีกว่า)
[๖๒๙] พี่เลื่อมใสได้ถวายข้าวน้ำด้วยมือของตน
เลี้ยงดูภิกษุผู้สำรวมอินทรีย์
ประพฤติพรหมจรรย์สม่ำเสมอ
ซึ่งมีจำนวนมากกว่าของเธอให้อิ่มหนำ
[๖๓๐] พี่ถวายทานมากกว่าเธอ แต่กลับอุบัติในหมู่เทพชั้นต่ำกว่า
ส่วนน้องถวายทานน้อยกว่า แต่ทำไมจึงได้รับสุขไพบูลย์วิเศษเล่า
เทพธิดา พี่ถามแล้ว ขอเธอจงบอก นี้เป็นผลของกรรมอันใดเล่า
(สุภัทราเทพธิดาตอบว่า)
[๖๓๑] ชาติก่อนดิฉันได้พบภิกษุรูปหนึ่ง น่าเจริญใจ
จึงได้นิมนต์ภิกษุรูปนั้น คือพระเรวตะ เป็นรูปที่ ๘ ให้ฉันภัตตาหาร
[๖๓๒] พระเรวตเถระนั้นมุ่งจะอนุเคราะห์ให้เกิดประโยชน์แก่ดิฉัน
จึงบอกดิฉันให้ถวายสงฆ์ ดิฉันได้ทำตามคำแนะนำของท่าน
[๖๓๓] ทักษิณาของดิฉันนั้นถวายเป็นสังฆทาน มีผลประมาณมิได้
ส่วนทานของพี่ที่ถวายเป็นรายบุคคลนั้นมีผลไม่มาก
(ภัทราเทพธิดาเมื่อจะรับรองความข้อนั้นจึงกล่าวว่า)
[๖๓๔] พี่เพิ่งรู้เดี๋ยวนี้เอง ทานที่ถวายเป็นสังฆทานนี้มีผลมาก
พี่นั้น(หาก)ไปเกิดเป็นมนุษย์อีก จักรู้ความประสงค์ของผู้ขอ
ปราศจากความตระหนี่ ไม่ประมาท ถวายสังฆทานบ่อย ๆ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๓. ปาริจฉัตตวรรค ๖. ทัททัลลวิมาน
(เมื่อสนทนากันแล้ว สุภัทราเทพธิดาก็กลับไปสู่ทิพยวิมานของตนบนสวรรค์
ชั้นนิมมานรดี ท้าวสักกเทวราชได้สดับการสนทนานั้น เมื่อสุภัทราเทพธิดากลับไป
แล้วจึงตรัสถามภัทราเทพธิดาว่า)
[๖๓๕] ภัทรา เทพธิดาผู้มาสนทนาอยู่กับเธอนั้นเป็นใคร
ช่างมีรัศมีรุ่งโรจน์เหนือเหล่าเทพชั้นชาวดาวดึงส์ทั้งหมด
(ภัทราเทพธิดาเมื่อจะบรรยายข้อที่สังฆทานที่น้องสาวถวายว่ามีผลมากจึงทูลว่า)
[๖๓๖] ขอเดชะพระองค์ผู้เป็นจอมเทพ เทพธิดานั้น
เมื่อชาติก่อน ครั้งเป็นมนุษย์อยู่ในภพมนุษย์
ได้เป็นน้องสาวของหม่อมฉัน
และยังเป็นภรรยาร่วมสามีเดียวกันด้วย
เธอทำบุญถวายสังฆทานแล้วจึงรุ่งเรือง
(ท้าวสักกเทวราช เมื่อจะทรงสรรเสริญสังฆทานว่ามีผลมากจึงตรัสว่า)
[๖๓๗] ภัทรา น้องสาวของเธอรุ่งเรืองกว่าเธอ
เพราะเหตุที่นางได้ถวายสังฆทาน
ซึ่งมีผลประมาณมิได้ไว้ในชาติก่อน
(ภัทราเทพธิดาได้ตอบท้าวสักกะว่า)
[๖๓๘] อันที่จริง ดิฉันได้ทูลถามพระพุทธเจ้า
ครั้งประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ
ถึงผลแห่งการแจกจ่ายทานว่า
ทานที่ให้ในเนื้อนาบุญใดจึงมีผลมาก
[๖๓๙] มนุษย์ทั้งหลายผู้หวังบุญให้ทานอยู่
ทำบุญปรารภเหตุแห่งการเวียนว่ายตายเกิด
ให้ทานในเนื้อนาบุญใด จึงมีผลมาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๓. ปาริจฉัตตวรรค ๖. ทัททัลลวิมาน
[๖๔๐] พระพุทธเจ้าผู้ทรงทราบว่า
สัตว์ทั้งหลายมีผลกรรมเป็นของของตน
ได้ทรงอธิบายให้ดิฉันฟังอย่างชัดเจน
ถึงผลแห่งการแจกจ่ายทานในเนื้อนาบุญ
ที่บุคคลให้แล้วจะได้รับผลมากนั้นว่า
[๖๔๑] พระอริยบุคคลผู้บรรลุอริยมรรค ๔ และผู้ดำรงอยู่ในอริยผล ๔
นี้คือพระสงฆ์ เป็นผู้ปฏิบัติตรง
ดำรงมั่นอยู่ในศีล สมาธิ และปัญญา
[๖๔๒] มนุษย์ทั้งหลายผู้หวังบุญให้ทานอยู่
ทำบุญปรารภเหตุแห่งการเวียนว่ายตายเกิด
จึงถวายทานแก่สงฆ์ซึ่งมีผลมาก
[๖๔๓] ด้วยว่า พระสงฆ์นี้มีคุณยิ่งใหญ่ ไพบูลย์
หาประมาณมิได้ ดุจทะเลเปี่ยมด้วยน้ำ
พระอริยบุคคลเหล่านี้แลเป็นผู้ประเสริฐสุด
เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าผู้มีความเพียร
เป็นผู้ให้แสงสว่างคือปัญญาแก่ชาวโลก ย่อมยกธรรมกถาขึ้นแสดง
[๖๔๔] ทานที่บุคคลถวายเจาะจงสงฆ์นั้น ชื่อว่าเป็นทานที่ถวายดีแล้ว
บูชาสักการะอย่างดีแล้ว ทักษิณาที่ถวายสงฆ์นั้นมีผลมาก
ทั้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายผู้ทรงรู้แจ้งโลกก็ทรงสรรเสริญแล้ว
[๖๔๕] เหล่าชนมาหวนระลึกถึงบุญเช่นนี้ได้เกิดปีติโสมนัส
กำจัดมลทินคือความตระหนี่พร้อมทั้งมูลเหตุได้
ท่องเที่ยวไปในโลก ไม่ถูกบัณฑิตติเตียน
จึงเข้าถึงแดนสวรรค์ได้
ทัททัลลวิมานที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๓. ปาริจฉัตตวรรค ๗.เปสวตีวิมาน
๗.เปสวตีวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงชื่อเปสวดี
(เมื่อพระวังคีสเถระจะไต่ถามถึงบุพกรรมที่เทพธิดานั้นทำแล้วจึงกล่าวสรรเสริญ
วิมานของเธอเสียก่อนเป็นปฐมด้วยคาถา ๗ คาถาว่า)
[๖๔๖] (เทพธิดา) อาตมาได้เห็นวิมานสวยงาม(ของเธอ)นี้
ซึ่งมุงบังด้วยแก้วผลึก ข่ายเงินและข่ายทองคำ
มีพื้นวิจิตรตระการตาหลากสี เป็นที่น่ารื่นรมย์ยินดี
เป็นที่อยู่อาศัยอันเนรมิตไว้ดีแล้ว ประกอบด้วยซุ้มประตู
ที่ลานวิมานเกลื่อนกราดไปด้วยทรายทอง
[๖๔๗] วิมานของเธอนี้ส่องแสงสว่าง
เหมือนพระอาทิตย์บนท้องฟ้ามีรัศมีตั้งพัน
กำจัดความมืดในฤดูสารทกาล และสว่างไสวไปทั่วสิบทิศ
เหมือนเปลวเพลิงซึ่งกำลังลุกโชนอยู่บนยอดภูเขาในเวลากลางคืน
[๖๔๘] วิมานนี้ประหนึ่งบาดนัยน์ตาอยู่ คล้ายกับสายฟ้าแลบ
ลอยอยู่ในอากาศ น่ารื่นรมย์ใจ
วิมานเธอนี้ก้องกังวาลไปด้วยเสียงดนตรี
คือพิณเครื่องใหญ่ กลอง ฉิ่งและกังสดาล
มั่งคั่งรุ่งเรือง ดุจเมืองพระอินทร์
[๖๔๙] วิมานของเธอนี้อบอวลไปด้วยกลิ่นหอมระรื่น
แห่งไม้ชั้นเลิศนานาพันธุ์
ได้แก่ ดอกปทุม ดอกโกมุท ดอกอุบล
ดอกจงกลนี ดอกคัดเค้า ดอกชบา
ดอกอังกาบ ดอกรัง ดอกอโศก
แย้มกลีบบานสะพรั่งส่งกลิ่นหอมระรื่น
[๖๕๐] เทพธิดาผู้เรืองยศ สระโบกขรณีน่ารื่นรมย์
เรียงรายไปด้วยต้นหูกวาง ขนุนสำปะลอและต้นไม้มีกลิ่นหอม
มีทั้งไม้เลื้อยชูดอกออกช่อบานสะพรั่ง ห้อยย้อย
เกาะก่ายลงมาคล้ายกับข่ายแก้วมณี ปรากฏมีอยู่ใกล้วิมานเธอ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๓. ปาริจฉัตตวรรค ๗. เปสวตีวิมาน
[๖๕๑] บุปผชาติที่เกิดในน้ำและบนบกก็มี และพฤกษชาติเหล่าอื่น
ทั้งที่เป็นของมนุษย์ และเป็นทิพย์มิใช่เป็นของมนุษย์ก็มี
ทั้งหมดล้วนเกิดมีอยู่ใกล้วิมานของเธอ
[๖๕๒] นี้เป็นผลแห่งการสำรวมและการฝึก๑อย่างไร
เพราะผลกรรมอะไรเธอจึงมาเกิดในวิมานนี้
เทพธิดา ผู้มีขนตาหนางอนงาม ขอเธอจงเล่าถึงกรรม
เป็นเหตุให้เธอได้วิมานนี้ตามที่อาตมาถามตามสมควร
(ลำดับนั้น เทพธิดาตอบว่า)
[๖๕๓] วิมานที่ดิฉันได้แล้วนี้ มีฝูงนกกระเรียน
นกยูงและนกเขาไฟเที่ยวบินร่อนร้องไปมา
ทั้งนกนางนวลและพญาหงส์ทองซึ่งเป็นนกทิพย์เที่ยวบินว่อนไปมาอยู่
และอึงคะนึงไปด้วยฝูงนกเป็ดน้ำ นกกาน้ำ
นกดุเหว่าและฝูงนกประเภทอื่น ๆ
[๖๕๔] มีไม้ดอกและไม้เลื้อยแผ่กิ่งก้านสาขานานาชนิด
มีต้นแคฝอย ต้นหว้า ต้นอโศก
ดิฉันจะเล่าเหตุผลที่ดิฉันได้วิมานนี้ถวายพระคุณเจ้า
พระคุณเจ้าโปรดฟังเถิดเจ้าค่ะ
[๖๕๕] ข้าแต่พระคุณเจ้า ในชาติก่อน ดิฉันได้เกิดเป็นหญิงสะใภ้
ในหมู่บ้านชื่อนาฬกคาม อยู่ทางทิศตะวันออก
ของแคว้นมคธ อันรุ่งเรือง
ชาวบ้านในหมู่บ้านนั้นรู้จักดิฉันในนามว่า เปสวดี
[๖๕๖] ดิฉันนั้นมีใจเบิกบาน ได้สั่งสมกุศลกรรมไว้ในชาติปางก่อนนั้น
คือได้เกลี่ยดอกคำโรยลงบูชาพระอุปติสสเถระ๒
ที่ทวยเทพและมนุษย์พากันบูชา
ผู้มากไปด้วยกุศลธรรม มีคุณธรรมสุดประมาณซึ่งดับกิเลสแล้ว

เชิงอรรถ :
๑ การสำรวมกายเป็นต้น และการฝึกฝนอินทรีย์เป็นต้น (ขุ.วิ.อ. ๖๕๒/๑๘๒)
๒ พระธรรมเสนาบดี (พระสารีบุตร) (ขุ.วิ.อ. ๖๕๖/๑๘๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๓. ปาริจฉัตตวรรค ๘. มัลลิกาวิมาน
[๖๕๗] ครั้นบูชาพระเถระผู้มีคุณอันโอฬาร ครองเรือนร่างเป็นชาติสุดท้าย
ผู้บรรลุอนุปาทิเสสนิพพานแล้ว
ดิฉันจึงละร่างมนุษย์มาเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
ครอบครองวิมานในเทวโลกนี้
เปสวตีวิมานที่ ๗ จบ

๘. มัลลิกาวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงชื่อมัลลิกา
(พระนารทเถระถามมัลลิกาเทพธิดาว่า)
[๖๕๘] เทพธิดา ผู้มีพัสตราภรณ์และธงล้วนแต่สีเหลือง
ประดับประดาด้วยเครื่องประดับสีเหลืองเจิดจ้า
เธอถึงจะไม่ประดับด้วยผ้าห่มสีเหลืองอร่ามงามเช่นนี้ก็ยังงาม
[๖๕๙] เทพธิดา ผู้สวมเกยูรทอง ประดับอุบะทอง
คลุมเรือนร่างด้วยข่ายทอง
เธอผู้สวมศีรษะด้วยพวงมาลัยแก้วนานาชนิดเป็นใครกัน
[๖๖๐] มาลัยแก้วเหล่านั้นล้วนสำเร็จด้วยทองคำธรรมชาติ
ด้วยแก้วทับทิม แก้วมุกดา แก้วไพฑูรย์
บางพวงก็ล้วนแล้วด้วยแก้วลาย
บ้างก็สำเร็จด้วยแก้วมณีกับแก้วลายแดงคล้ายสีเลือด
บ้างก็สำเร็จด้วยแก้วแดงอันสดใสคล้ายสีตานกพิราบ
[๖๖๑] บรรดามาลัยเหล่านั้น บางพวงส่งเสียงไพเราะเหมือนเสียงนกยูง
บางพวงส่งเสียงไพเราะเหมือนเสียงพญาหงส์ทอง
บางพวงส่งเสียงไพเราะเหมือนเสียงนกการเวก
เสียงมาลัยเหล่านั้นไพเราะชวนฟัง คล้ายเสียงดนตรีเครื่องห้า
ที่คนธรรพ์ผู้ฉลาดพากันบรรเลงก็ปานกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๗๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๓. ปาริจฉัตตวรรค ๙. วิสาลักขิวิมาน
[๖๖๒] อนึ่ง รถของเธอก็งดงามมาก มีส่วนประกอบวิจิตรบรรจงไป
ด้วยรัตนชาติต่าง ๆ ซึ่งบุญกรรมจัดสรรมาให้เบ็ดเสร็จงดงามด้วย
เครื่องประกอบหลากหลาย
[๖๖๓] ยามเธออยู่บนรถสีสุกปลั่งดั่งทองคำนั้น
ภูมิประเทศนี้ก็สว่างไสวไปทั่วถึงกัน
เทพธิดา อาตมาถามแล้ว ขอเธอจงบอกเถิดว่า
นี้เป็นผลของกรรมอันใดเล่า
(มัลลิกาเทพธิดาตอบว่า)
[๖๖๔] เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่าโคดม
ผู้ทรงมีพระกรุณาหาประมาณมิได้ เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว
ดิฉันมีจิตเลื่อมใส ได้ใช้ข่ายทองวิจิตรบรรจงไปด้วยแก้วมณี
ทองคำ และแก้วมุกดา ซึ่งดาดด้วยข่ายทองคำ ห่มคลุมพุทธสรีระ
[๖๖๕] ครั้นดิฉันทำกุศลกรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญแล้วนั้น
จึงสร่างโศก หมดโรคภัย มีความสุข รื่นเริงบันเทิงใจอยู่เป็นนิตย์
มัลลิกาวิมานที่ ๘ จบ

๙. วิสาลักขิวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่นางสุนันทาอุบาสิกาผู้มีตาโต
(สมเด็จอมรินทราธิราชตรัสถามสุนันทาเทพธิดาว่า)
[๖๖๖] เทพธิดาผู้มีดวงตาโต๑ เธอมีหมู่นางอัปสรแวดล้อม มีชื่อว่าอะไร
มาเที่ยวเดินชมอยู่รอบ ๆ สวนจิตรลดาอันน่ารื่นรมย์
[๖๖๗] ในเวลาที่เหล่าเทวดาชั้นดาวดึงส์ล้วนทรงม้า ทรงรถ
ประดับเครื่องทรงวิจิตรงดงาม พากันมา ณ ที่นี้
เข้าไปชมสวนจิตรลดานี้

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า วิสาลกฺขิ เทพธิดาผู้มีดวงตาโตนี้ อรรถกถาแก้เป็นอาลปนภัตติ (ขุ.วิ.อ. ๖๖๖/๑๙๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๓. ปาริจฉัตตวรรค ๙.วิสาลักขิวิมาน
[๖๖๘] แต่เมื่อเธอมาถึงที่นี่เที่ยวชมสวนอยู่
กายเธองามกระทั่งความงามของสวนไม่ปรากฏ
เพราะเหตุอะไรรูปกายเธอจึงงามเช่นนี้
เทพธิดา เราถามแล้ว ขอเธอจงบอกเถิดว่า
นี้เป็นผลของกรรมอันใดเล่า
(สุนันทาเทพธิดาผู้เป็นอัครชายาทูลตอบว่า)
[๖๖๙] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมเทพ ผู้ทรงบำเพ็ญทานมาแต่ปางก่อน
ขอพระองค์โปรดสดับกรรมอันเป็นเหตุให้ดิฉันมีรูปงาม
บังเกิดในเทวโลก มีฤทธิ์และอานุภาพ
[๖๗๐] หม่อมฉันเป็นอุบาสิกามีนามว่าสุนันทา
อยู่ในกรุงราชคฤห์ อันน่ารื่นรมย์
เป็นผู้มีศรัทธา สมบูรณ์ด้วยศีล ยินดีแจกจ่ายทานเป็นนิตย์
[๖๗๑] หม่อมฉันมีจิตเลื่อมใสในเหล่าภิกษุผู้ปฏิบัติตรง
จึงได้ถวายผ้านุ่งผ้าห่ม ภัตตาหาร เสนาสนะ
และเครื่องตามประทีป
[๖๗๒] ทั้งได้เข้าจำอุโบสถศีลซึ่งประกอบด้วยองค์ ๘
ทุกวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำแห่งปักษ์
และตลอดปาฏิหาริยปักษ์
[๖๗๓] สำรวมระวังในศีลตลอดเวลา
และแจกจ่ายทานด้วยความเคารพ
จึงได้ครอบครองวิมานนี้
[๖๗๔] หม่อมฉันงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ การลักขโมย
การประพฤตินอกใจสามี
สำรวมระวังจากการพูดเท็จ และจากการดื่มน้ำเมา
[๖๗๕] หม่อมฉันยินดีในศีล ๕ ฉลาดในอริยสัจ
เป็นอุบาสิกาของพระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่า โคดม
ผู้มีพระจักษุ มีพระยศ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๗๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๓. ปาริจฉัตตวรรค ๑๐. ปาริจฉัตตกวิมาน
[๖๗๖] หม่อมฉันใช้ดอกไม้ทั้งหมดที่หญิงรับใช้นำมาจากตระกูลญาติเนือง
นิตย์นั้นเองบูชาที่พระสถูปของพระผู้มีพระภาค
[๖๗๗] อนึ่ง ในวันอุโบสถ หม่อมฉันมีจิตเลื่อมใส
ได้ถือมาลัยของหอมและเครื่องลูบไล้
ไปบูชาที่พระสถูปของพระผู้มีพระภาคนั้นด้วยมือทั้งสองของตน
[๖๗๘] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมเทพ
เพราะกรรมที่หม่อมฉันใช้มาลัยบูชาพระสถูป๑
หม่อมฉันจึงมีรูปงาม บังเกิดในเทวโลก มีฤทธิ์และอานุภาพเช่นนี้
[๖๗๙] อนึ่ง การที่หม่อมฉันรักษาศีลเป็นปกติ
จะอำนวยผลเพียงเท่านั้นก็หามิได้
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมเทพ หม่อมฉันมีความหวังว่า
อย่างไรเสีย เราพึงได้เป็นพระสกทาคามี
วิสาลักขิวิมานที่ ๙ จบ

๑๐. ปาริจฉัตตกวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ใช้มาลัยดอกอโศก
บูชาพระพุทธเจ้า
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพธิดาองค์หนึ่งว่า)
[๖๘๐] เทพธิดา เธอนำดอกไม้สวรรค์ชื่อปาริจฉัตตกะ
หอมหวน น่ารื่นรมย์
มาร้อยเป็นมาลัยทิพย์ ขับร้องรื่นเริงบันเทิงอยู่
[๖๘๑] เมื่อเธอนั้นกำลังฟ้อนรำอยู่ เสียงทิพย์น่าฟัง น่ารื่นรมย์ใจ
ย่อมเปล่งออกจากอวัยวะน้อยใหญ่ทุกส่วนสัดของเธอ

เชิงอรรถ :
๑ ของพระผู้มีพระภาค (ขุ.วิ.อ. ๖๗๘/๑๙๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๗๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] รวมเรื่องวิมานที่มีในวรรค
[๖๘๒] ทั้งกลิ่นทิพย์หอมระรื่นชื่นใจ
ก็ฟุ้งออกจากอวัยวะน้อยใหญ่ทุกส่วนสัดของเธอ
[๖๘๓] เมื่อเธอสั่นไหวกายไปมา เสียงเครื่องประดับที่ช้องผม
ก็เปล่งเสียงดังไพเราะ น่าฟัง ดุจดังเสียงดนตรีเครื่องห้า
[๖๘๔] อนึ่ง ต่างหูเพชรต้องลมสั่นไหว ก็ส่งเสียงดังไพเราะ
น่าฟัง เช่นกับเสียงดนตรีเครื่องห้า
[๖๘๕] แม้มาลัยบนศีรษะของเธอ มีกลิ่นหอมระรื่นชื่นใจ
ก็ส่งกลิ่นหอมฟุ้งไปทั่วทุกทิศ ดุจต้นอุโลก๑
[๖๘๖] เธอสูดดมกลิ่นหอมระรื่นนั้น ทั้งได้เห็นรูปอันมิใช่ของมนุษย์
เทพธิดา อาตมาถามเธอแล้ว ขอเธอจงบอกเถิดว่า
นี้เป็นผลของกรรมอันใดเล่า
(เทพธิดานั้นตอบว่า)
[๖๘๗] ดิฉันได้น้อมนำมาลัยดอกอโศกซึ่งมีเกสรงามเลื่อมประภัสสร
มีสีสด มีกลิ่นหอมฟุ้ง ไปน้อมบูชาพระพุทธเจ้า
[๖๘๘] ดิฉันนั้นครั้นทำกุศลกรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญแล้ว
จึงสร่างโศก หมดโรคภัย มีความสุข รื่นเริงบันเทิงใจอยู่เป็นนิตย์
ปาริจฉัตตกวิมานที่ ๑๐ จบ

รวมเรื่องวิมานที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อุฬารวิมาน ๒. อุจฉุทายิกาวิมาน
๓. ปัลลังกวิมาน ๔. ลตาวิมาน
๕. คุตติลวิมาน ๖. ทัททัลลวิมาน
๗. เปสวตีวิมาน ๘. มัลลิกาวิมาน
๙. วิสาลักขิวิมาน ๑๐. ปาริจฉัตตกวิมาน

ปาริจฉัตตกวรรคที่ ๓ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ไม้ชนิดหนึ่ง เนื้อไม้สีขาว (ใช้ทำยาได้) เวลามีดอกส่งกลิ่นหอมไปทั่วทุกทิศ (ขุ.วิ.อ. ๖๘๕/๑๙๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๔. มัญชิฏฐกวรรค ๑. มัญชิฏฐกวิมาน
๔. มัญชิฏฐกวรรค
หมวดว่าด้วยวิมานแก้วผลึกสีแดง
๑. มัญชิฏฐกวิมาน
ว่าด้วยวิมานแก้วผลึกสีแดงที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายดอกสาละ
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพธิดาองค์หนึ่งว่า)
[๖๘๙] เทพธิดา เธอรื่นรมย์อยู่ด้วยดนตรีเครื่องห้า
ที่เทพบุตรและเทพธิดาประโคมอยู่อย่างไพเราะ
ในวิมานแก้วผลึกแดงซึ่งมีพื้นดารดาษด้วยทรายทอง
[๖๙๐] เมื่อเธอลงจากวิมานแก้วซึ่งบุญกรรมเนรมิตไว้แล้วนั้น
เข้าไปสู่ป่าไม้สาละซึ่งผลิดอกบานสะพรั่งทุกฤดูกาล
[๖๙๑] ยืนที่โคนต้นสาละใด ๆ ก็ตาม
ต้นสาละนั้น ๆ ซึ่งเป็นต้นไม้อุดมสมบูรณ์ ก็น้อมกิ่งโปรยดอกลงมา
[๖๙๒] ป่าไม้สาละเป็นที่อาศัยของเหล่าสกุณชาติ
ต้องลมรำเพยพัดไหวไปมา
มีกลิ่นหอมฟุ้งไปทั่วทุกทิศ ดุจต้นอุโลก
[๖๙๓] เธอสูดดมกลิ่นที่หอมหวนนั้น ทั้งได้เห็นรูปอันมิใช่ของมนุษย์
เทพธิดา อาตมาถามแล้ว ขอเธอจงบอกเถิดว่า
นี้เป็นผลของกรรมอันใดเล่า
(เทพธิดาตอบว่า)
[๖๙๔] เมื่อดิฉันเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์
เป็นหญิงรับใช้อยู่ในตระกูลเจ้านาย
ได้เห็นพระพุทธเจ้าประทับนั่งอยู่
จึงได้โปรยดอกสาละลง (รอบพระอาสน์)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๗๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๔. มัญชิฏฐกวรรค ๒.ปภัสสรวิมาน
[๖๙๕] และมีจิตเลื่อมใส ได้น้อมพวงมาลัยดอกสาละ
ซึ่งประดิษฐ์ไว้อย่างดี
เข้าไปถวายพระพุทธเจ้าด้วยมือทั้งสองของตน
[๖๙๖] ครั้นดิฉันทำกุศลกรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญแล้วนั้น
จึงสร่างโศก หมดโรคภัย
มีความสุข รื่นเริง บันเทิงใจอยู่เป็นนิตย์
มัญชิฏฐกวิมานที่ ๑ จบ

๒.ปภัสสรวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่เทพธิดาผู้งามผุดผ่อง
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพธิดาองค์หนึ่งว่า)
[๖๙๗] เทพธิดาผู้มีรัศมีงามผุดผ่อง
ทรงพัสตราภรณ์สีแดงสดใส มีฤทธิ์มาก
มีร่างกายสวยงามดุจลูบไล้ด้วยจุรณแก่นจันทน์
เธอเป็นใครมาไหว้อาตมาอยู่
[๖๙๘] อนึ่ง เธอนั่งบนบัลลังก์ที่มีค่ามาก
งามวิจิตรด้วยรัตนะหลากหลาย
ย่อมรุ่งโรจน์ดังท้าวสักกเทวราชในนันทวโนทยาน
[๖๙๙] เทพธิดาผู้เจริญ ชาติก่อนเธอได้ประพฤติสุจริตอะไร
ได้เสวยผลกรรมอะไรในเทวโลก อาตมาถามแล้ว
ขอเธอจงบอกเถิดว่า นี้เป็นผลของกรรมอันใดเล่า
(เทพธิดาตอบว่า)
[๗๐๐] พระคุณเจ้าผู้เจริญ ดิฉันได้ถวายพวงมาลัย
และน้ำอ้อยงบแด่พระคุณเจ้าซึ่งกำลังเที่ยวบิณฑบาต
ดิฉันจึงได้เสวยผลของกรรมนั้นในเทวโลก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๘๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๔. มัญชิฏฐกวรรค ๓. นาควิมาน
[๗๐๑] พระคุณเจ้าผู้เจริญ แต่ดิฉันยังมีความเดือดร้อน
ผิดหวังและเป็นทุกข์
เพราะดิฉันนั้นไม่ได้ฟังธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้เป็นพระธรรมราชาทรงแสดงไว้ดีแล้ว
[๗๐๒] พระคุณเจ้าผู้เจริญ เพราะเหตุนั้น
ดิฉันจึงกราบเรียนพระคุณเจ้าซึ่งเป็นผู้ควรอนุเคราะห์ดิฉัน
ขอพระคุณเจ้าจงให้ดิฉันตั้งมั่นอยู่ในธรรมทั้งหลายด้วยเถิด
[๗๐๓] (ด้วยว่า) เหล่าเทพที่มีความเชื่อในพระพุทธรัตนะ
พระธรรมรัตนะ และพระสังฆรัตนะ
สดับธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้เป็นพระธรรมราชาทรงแสดงไว้ดีแล้ว
ย่อมรุ่งเรืองยิ่งกว่าดิฉันด้วยอายุ บริวาร ยศและสิริ
[๗๐๔] เทพเหล่าอื่นเล่าก็มีคุณสมบัติยวดยิ่งกว่าดิฉันด้วยอานุภาพ
ด้วยรัศมีกาย และมีฤทธิ์มากยิ่งกว่าดิฉันทั้งนั้น
ปภัสสรวิมานที่ ๒ จบ

๓. นาควิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายผ้าคู่หนึ่งแด่พระพุทธเจ้า
(พระวังคีสเถระถามเทพธิดาองค์หนึ่งว่า)
[๗๐๕] เธอประดับองค์ทรงเครื่องแล้ว
ขึ้นคชสารตัวประเสริฐ มีร่างกายใหญ่
ประดับแก้วและทอง มีข่ายทองคลุมตระพอง
ผูกสายรัดประคนทองไว้เรียบร้อย นั่งหลังคชสารเหาะมาที่นี้
[๗๐๖] ที่งาทั้งสองของพญาคชสารล้วนมีสระโบกขรณีเนรมิต
มีน้ำใสสะอาด ดารดาษด้วยปทุมชาติมีดอกบานสะพรั่ง
ในดอกปทุมทุกดอก ๆ มีหมู่ดุริยเทพบรรเลงเพลง
และมีเหล่าเทพอัปสรนี้ฟ้อนรำชวนให้เกิดความรื่นเริงบันเทิงใจ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๔. มัญชิฏฐกวรรค ๔. อโลมวิมาน
[๗๐๗] เทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก เธอได้บรรลุเทวฤทธิ์
เมื่อเธอเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้
เพราะบุญอะไร เธอจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
(เทพธิดาตอบว่า)
[๗๐๘] ดิฉันได้เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าที่กรุงพาราณสี
ได้ถวายผ้าคู่หนึ่งแด่พระองค์
ถวายอภิวาทพระยุคลบาทแล้วนั่งอยู่บนพื้นดิน
มีจิตยินดีได้ทำอัญชลีแด่พระองค์แล้ว
[๗๐๙] อนึ่ง พระพุทธเจ้าทรงมีพระฉวีวรรณดุจทองคำธรรมชาติ
ได้ทรงแสดงทุกขสัจและสมุทัยสัจว่าเป็นสภาวะไม่เที่ยง
และทรงแสดงทุกขนิโรธสัจและมัคคสัจ
ว่าเป็นสภาวะอันปัจจัยอะไร ๆ ปรุงแต่งไม่ได้แล้วแก่ดิฉัน
เพราะฉะนั้น ดิฉันจึงได้รู้แจ้งชัดอริยสัจ ๔
[๗๑๐] ดิฉันถึงแก่กรรมตั้งแต่อายุยังน้อย
เคลื่อนจากอัตภาพนั้นแล้ว
บังเกิดในหมู่เทพชั้นดาวดึงส์ มีบริวารยศ
เป็นปชาบดีองค์หนึ่งของท้าวสักกะ
มีนามว่ายสุตตรา ปรากฏไปทั่วทุกทิศ
นาควิมานที่ ๓ จบ

๔.อโลมวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่นางอโลมาผู้ถวายขนมกุมาสแห้ง
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพธิดาองค์หนึ่งว่า)
[๗๑๑] เทพธิดา เธอมีผิวพรรณงามยิ่งนัก
เปล่งรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ ดุจดาวประกายพรึก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๔. มัญชิฏฐกวรรค ๕. กัญชิกทายิกาวิมาน
[๗๑๒-๗๑๓] เพราะบุญอะไรผิวพรรณเธอจึงงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศเช่นนี้
[๗๑๔] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๗๑๕] ดิฉันเมื่ออยู่ในกรุงพาราณสี มีจิตเลื่อมใส
ได้ถวายขนมกุมมาสแห้งแด่พระพุทธเจ้า
ผู้ทรงเป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ด้วยมือทั้งสองของตน
[๗๑๖] ขอพระคุณเจ้าจงดูผลก้อนขนมกุมมาสแห้งทั้งหารสเค็มมิได้
ครั้นเห็นว่าถวายขนมกุมมาสแห้งหารสเค็มมิได้แล้ว
ได้รับความสุข ใครเล่าจักไม่กระทำบุญ
[๗๑๗-๗๑๘] เพราะบุญนั้นผิวพรรณดิฉันจึงงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
อโลมวิมานที่ ๔ จบ

๕. กัญชิกทายิกาวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายน้ำข้าวปรุงผสมผลพุทราอบ
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพธิดาองค์หนึ่งว่า)
[๗๑๙] เทพธิดา เธอมีผิวพรรณงามยิ่งนัก
เปล่งรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอยู่ ดุจดาวประกายพรึก
[๗๒๐-๗๒๑] เพราะบุญอะไรเธอจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๗๒๒] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๔. มัญชิฏฐกวรรค ๖. วิหารวิมาน
[๗๒๓] ดิฉันเมื่ออยู่ในเมืองอันธกวินทะ
ได้ถวายน้ำข้าวปรุงด้วยผลพุทราอบด้วยน้ำมัน
แด่พระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์
[๗๒๔] มีจิตเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคผู้ปฏิบัติตรง
ได้ถวายน้ำข้าวผสมด้วยดีปลี กระเทียม และรากผักชี
[๗๒๕] การที่นารีผู้มีเรือนร่างงามทุกส่วนสัด สามีมองไม่เบื่อ
ได้ครองความเป็นอัครมเหสีของพระเจ้าจักรพรรดินั้น
ยังไม่เทียบเท่าเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งการถวายน้ำข้าวครั้งเดียว
[๗๒๖] ทองคำ ๑๐๐ แท่ง ม้า ๑๐๐ ตัว
ราชรถเทียมด้วยม้าอัสดร ๑๐๐ คัน
หญิงสาวประดับต่างหูแก้วมณี ๑๐๐,๐๐๐ นาง
ก็ยังมีค่าไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งทานคือการถวายน้ำข้าวครั้งเดียว
[๗๒๗] ช้างมาตังคะ ๑๐๐ เชือก เกิดในป่าหิมพานต์
มีงางอนงาม ทรงพลังมาก มีสายคล้องคอทองคำ
ตกแต่งด้วยเครื่องลาดและเครื่องประดับที่วิจิตรบรรจงด้วยทองคำ
ก็ยังมีค่าไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ ของการถวายน้ำข้าวครั้งเดียว
[๗๒๘] การที่พระเจ้าจักรพรรดิได้ครอบครองทวีปทั้ง ๔ ในโลกนี้นั้น
ก็ยังมีค่าไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งการถวายน้ำข้าวครั้งเดียวนั้น
กัญชิกทายิกาวิมานที่ ๕ จบ

๖. วิหารวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้อนุโมทนาการถวายวิหาร
(พระอนุรุทธเถระถามเทพธิดาองค์หนึ่งว่า)
[๗๒๙] เทพธิดา เธอมีผิวพรรณงามยิ่งนัก
เปล่งรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอยู่ ดุจดาวประกายพรึก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๔. มัญชิฏฐกวรรค ๖. วิหารวิมาน
[๗๓๐] เมื่อเธอนั้นกำลังฟ้อนรำอยู่ เสียงทิพย์น่าฟัง น่ารื่นรมย์ใจ
ย่อมเปล่งออกจากอวัยวะน้อยใหญ่ทุกส่วนสัดของเธอ
[๗๓๑] ทั้งกลิ่นทิพย์หอมระรื่นชื่นใจ
ก็ฟุ้งออกจากอวัยวะน้อยใหญ่ทุกส่วนสัดของเธอ
[๗๓๒] เมื่อเธอสั่นไหวกายไปมา
เสียงเครื่องประดับที่ช้องผม(ของเธอ)ทุกส่วน
ก็เปล่งเสียงดังไพเราะ น่าฟัง ดังเสียงดนตรีเครื่องห้า
[๗๓๓] อนึ่ง ต่างหูเพชรต้องลมสั่นไหว ก็ส่งเสียงดังไพเราะ
น่าฟัง ดังเสียงดนตรีเครื่องห้า
[๗๓๔] แม้มาลัยบนศีรษะของเธอ มีกลิ่นหอมชื่นใจ
ก็ส่งกลิ่นหอมฟุ้งไปทั่วทุกทิศ ดุจต้นอุโลก
[๗๓๕] เธอสูดดมกลิ่นหอมนั้น ทั้งได้เห็นรูปอันมิใช่ของมนุษย์
เทพธิดา อาตมาถามแล้ว ขอเธอจงบอกเถิดว่า
นี้เป็นผลของกรรมอันใดเล่า
(เทพธิดานั้นตอบว่า)
[๗๓๖] พระคุณเจ้าผู้เจริญ นางวิสาขามหาอุบาสิกา
สหายของดิฉันอยู่ในกรุงสาวัตถี
ได้จัดสร้างมหาวิหารถวายสงฆ์ ดิฉันได้เห็นอาคาร
และการบริจาคทรัพย์จำนวนมากอุทิศสงฆ์
เป็นที่พอใจของดิฉันเช่นนั้น จึงเลื่อมใสแล้วอนุโมทนาในบุญนั้น
[๗๓๗] วิมานน่าอัศจรรย์ น่าทัศนา ซึ่งดิฉันได้มา
เพราะการอนุโมทนาอย่างเดียวเท่านั้น
วิมานนั้นล่องลอยไปได้โดยรอบ
ในรัศมี ๑๖ โยชน์ด้วยบุญฤทธิ์ของดิฉัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๘๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๔. มัญชิฏฐกวรรค ๖. วิหารวิมาน
[๗๓๘] วิมานเรือนยอดของดิฉัน จัดแบ่งไว้แต่ละส่วนอย่างเหมาะสม
ส่องสว่างรุ่งเรือง ตลอดรัศมี ๑๐๐ โยชน์โดยรอบ
[๗๓๙] อนึ่ง ที่วิมานของดิฉันนี้ มีสระโบกขรณี
ซึ่งหมู่มัจฉาทิพย์อาศัยอยู่ประจำ
มีน้ำใสสะอาด มีพื้นดารดาษด้วยทรายทอง
[๗๔๐] ดื่นดาดด้วยบัวหลวงหลากชนิด มีบัวขาวรายล้อมไว้รอบ
ยามลมรำเพยพัดก็โชยกลิ่นหอมระรื่นจรุงใจ
[๗๔๑] มีรุกขชาตินานาชนิด คือต้นหว้า ต้นขนุน ต้นตาล ต้นมะพร้าว
และป่าไม้เกิดเองตามธรรมชาติ ภายในนิเวศน์ มิได้มีใครปลูกไว้
[๗๔๒] วิมานนี้กึกก้องไปด้วยดนตรีชนิดต่าง ๆ
เหล่าเทพอัปสรก็ส่งเสียงเจื้อยแจ้ว
แม้นรชนที่ฝันเห็นดิฉันแล้วต้องปลื้มใจ
[๗๔๓] วิมานน่าอัศจรรย์ น่าทัศนา มีรัศมีสว่างไสวไปทุกทิศ เช่นนี้
บังเกิดเพราะกุศลกรรมของดิฉัน
(ฉะนั้น)จึงควรแท้ที่สาธุชนจะทำบุญไว้
(พระอนุรุทธเถระประสงค์จะให้นางบอกสถานที่ที่นางวิสาขาเกิดจึงได้กล่าวคาถา
นี้ว่า)
[๗๔๔] เธอได้วิมานน่าอัศจรรย์ น่าทัศนา
เพราะการอนุโมทนาอย่างเดียวเท่านั้น
ขอเธอจงบอกคติของนางวิสาขา
ผู้ที่ได้ถวายทานนั้นเถิดว่า นางเกิด ณ ที่ไหน
(เทพธิดานั้นตอบว่า)
[๗๔๕] พระคุณเจ้าผู้เจริญ นางวิสาขามหาอุบาสิกาสหายของดิฉันนั้น
ได้สร้างมหาวิหารถวายสงฆ์ รู้แจ้งธรรม ได้ถวายทาน
เกิดแล้วในหมู่ทวยเทพชั้นนิมมานรดี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๘๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๔. มัญชิฏฐกวรรค ๖. วิหารวิมาน
[๗๔๖] เป็นปชาบดีของท้าวสุนิมิตเทวราชนั้น
วิบากแห่งกรรมของนางเป็นเรื่องที่ใคร ๆ ไม่พึงคิด
ดิฉันได้ชี้แจงถึงคำถามที่พระคุณเจ้าถาม
ถึงที่ที่นางเกิดแด่พระคุณเจ้าแล้วตามความเป็นจริง
[๗๔๗] ถ้าอย่างนั้น ขอนิมนต์พระคุณเจ้าโปรดชักชวนแม้คนอื่น ๆ ว่า
ท่านทั้งหลายจงเต็มใจถวายทานแด่สงฆ์เถิด
และจงมีใจเลื่อมใสฟังธรรม
การได้เกิดเป็นมุษย์ที่ได้แสนยาก พวกท่านก็ได้แล้ว
[๗๔๘] พระพุทธเจ้ามีพระสุรเสียงไพเราะดังเสียงพรหม
มีพระฉวีวรรณผุดผ่องดังทอง ผู้ทรงเป็นใหญ่ยิ่งด้วยมรรค๑
ได้ทรงแสดงทานใดว่าเป็นทาง(ไปสู่สุคติ)
ขอท่านทั้งหลายจงเต็มใจถวายทานนั้นแด่สงฆ์
ซึ่งเป็นบุญเขตที่ทักษิณาทานมีผลมากเถิด
[๗๔๙] ทักขิไณยบุคคล ๔ คู่ ๘ ท่านเหล่านี้ที่ท่านผู้รู้สรรเสริญแล้ว
เป็นสาวกของพระสุคต ทานที่ถวายในบุคคลเหล่านี้มีผลมาก
[๗๕๐] พระอริยบุคคลผู้บรรลุอริยมรรค ๔
และผู้ดำรงอยู่ในอริยผล ๔ นี้
จัดเป็นพระสงฆ์ เป็นผู้ปฏิบัติตรง
ดำรงมั่นอยู่ในศีล สมาธิ และปัญญา
[๗๕๑] มนุษย์ทั้งหลายผู้หวังบุญให้ทานอยู่
ทำบุญปรารภเหตุแห่งการเวียนว่ายตายเกิด
จึงถวายทานแก่สงฆ์ซึ่งมีผลมาก
[๗๕๒] ด้วยว่า พระสงฆ์นี้มีคุณยิ่งใหญ่ ไพบูลย์
หาประมาณมิได้ ดุจทะเลเปี่ยมด้วยน้ำ
พระอริยบุคคลเหล่านี้แลเป็นผู้ประเสริฐสุด
เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าผู้มีความเพียร
เป็นผู้ให้แสงสว่างคือปัญญาแก่ชาวโลก ย่อมยกธรรมขึ้นแสดง

เชิงอรรถ :
๑ อริยมรรค (ขุ.วิ.อ. ๗๔๘/๒๒๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๘๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๔. มัญชิฏฐกวรรค ๗. จตุริตถีวิมาน
[๗๕๓] ทานที่บุคคลถวายเจาะจงสงฆ์นั้นชื่อว่าเป็นทานที่ถวายดีแล้ว
บูชาสักการะด้วยดีแล้ว ทักษิณาที่ถวายในสงฆ์นั้นมีผลมาก
ทั้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายผู้ทรงรู้แจ้งโลกก็ทรงสรรเสริญแล้ว
[๗๕๔] เหล่าชนมาหวนระลึกถึงบุญเช่นนี้ได้เกิดปีติโสมนัส
กำจัดมลทินคือความตระหนี่พร้อมทั้งมูลเหตุได้
ท่องเที่ยวไปในโลก ไม่ถูกบัณฑิตติเตียน จึงเข้าถึงแดนสวรรค์ได้
วิหารวิมานที่ ๖ จบ
ภาณวารที่ ๒ จบ

๗. จตุริตถีวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิง ๔ นาง
ผู้ถวายดอกไม้ต่างชนิดกัน
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพธิดาองค์หนึ่งว่า)
[๗๕๕-๗๕๗] เทพธิดา เพราะบุญอะไรเธอจึงมีผิวพรรณงามยิ่งนัก ฯลฯ
และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๗๕๘] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๗๕๙] ชาติก่อน ดิฉันได้ถวายดอกราชพฤกษ์๑กำมือหนึ่ง
แด่ภิกษุผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาตในปัณณกตนครซึ่งตั้งอยู่บนเนิน
เป็นเมืองที่รุ่งเรือง น่ารื่นรมย์ ของแคว้นเอสิกา
[๗๖๐-๗๖๑] เพราะบุญนั้นดิฉันจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทิศอย่างนี้

เชิงอรรถ :
๑ บางแห่งแปลว่าดอกผักตบ (ขุ.วิ.อ. ๗๕๙/๒๒๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๘๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๔. มัญชิฏฐกวรรค ๗. จตุริตถีวิมาน
(เทพธิดาองค์ที่ ๒)
[๗๖๒-๗๖๔] เทพธิดา เพราะบุญอะไรเธอจึงมีผิวพรรณงามยิ่งนัก ฯลฯ
และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๗๖๕] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๗๖๖] ชาติก่อน ดิฉันได้ถวายดอกบัวเขียวกำมือหนึ่ง
แด่ภิกษุผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาตอยู่ในปัณณกตนครซึ่งตั้งอยู่บนเนิน
เป็นเมืองที่รุ่งเรือง น่ารื่นรมย์ ของแคว้นเอสิกา
[๗๖๗-๗๖๘] เพราะบุญนั้นดิฉันจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
(เทพธิดาองค์ที่ ๓)
[๗๖๙-๗๗๑] เทพธิดา เธอมีผิวพรรณงามยิ่งนัก ฯลฯ
และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๗๗๒] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาของผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๗๗๓] ชาติก่อนดิฉันได้ถวายดอกบัวหลวงซึ่งมีรากขาว กลีบเขียว
เกิดในสระน้ำกำมือหนึ่ง
แด่ภิกษุผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาตอยู่ในปัณณกตนคร
ซึ่งตั้งอยู่บนเนิน เป็นเมืองที่รุ่งเรือง น่ารื่นรมย์ ของแคว้นเอสิกา
[๗๗๔-๗๗๕] เพราะบุญนั้นดิฉันจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
(เทพธิดาองค์ที่ ๔)
[๗๗๖-๗๗๘] เทพธิดา เธอมีผิวพรรณงามยิ่งนัก ฯลฯ
และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๘๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๔. มัญชิฏฐกวรรค ๘. อัมพวิมาน
[๗๗๙] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๗๘๐] ชาติก่อนดิฉันชื่อว่าสุมนา ได้ถวายดอกมะลิตูม มีสีคล้ายงาช้าง
แด่ภิกษุผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาตอยู่ในปัณณกตนครซึ่งตั้งอยู่บนเนิน
เป็นเมืองที่รุ่งเรือง น่ารื่นรมย์ ของแคว้นเอสิกา
[๗๘๑-๗๘๒] เพราะบุญนั้นดิฉันจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
จตุริตถีวิมานที่ ๗ จบ

๘. อัมพวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายวัดสวนมะม่วง
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพธิดาองค์หนึ่งว่า)
[๗๘๓] สวนมะม่วงทิพย์ของเธอ น่ารื่นรมย์ ในสวนนี้มีปราสาทกว้างใหญ่
กึกก้องไปด้วยเสียงดนตรีต่าง ๆ เหล่าเทพอัปสรก็ส่งเสียงเจื้อยแจ้ว
[๗๘๔] ปราสาทของเธอนี้มีประทีปทองดวงใหญ่สว่างไสวอยู่เป็นนิตย์
แวดล้อมโดยรอบด้วยต้นมะม่วงที่มีผลเป็นผ้า
[๗๘๕-๗๘๖] เพราะบุญอะไรเธอจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๗๘๗] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๗๘๘] ชาติก่อนดิฉันเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์ในมนุษยโลก
ดิฉันได้สร้างวิหารแวดล้อมด้วยต้นมะม่วงถวายสงฆ์
[๗๘๙] เมื่อให้สร้างวิหารสำเร็จเรียบร้อยแล้ว จะทำการฉลอง
จึงใช้ผ้าประดับต้นมะม่วงทั้งหลายแล้ว แต่งให้เป็นผลมะม่วง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๙๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๔. มัญชิฏฐกวรรค ๙. ปีตวิมาน
[๗๙๐] ดิฉันเลื่อมใสตามประทีปไว้ที่ต้นมะม่วงเหล่านั้น
นิมนต์หมู่สาวกของพระผู้มีพระภาคซึ่งเป็นหมู่ที่สูงสุดให้ฉันแล้ว
ได้มอบถวายวิหารนั้นแด่สงฆ์ด้วยมือทั้งสองของตน
[๗๙๑] เพราะบุญนั้นดิฉันจึงมีสวนมะม่วงที่น่ารื่นรมย์
ในสวนนี้มีปราสาทกว้างใหญ่
กึกก้องไปด้วยเสียงดนตรีต่าง ๆ เหล่าเทพอัปสรก็ส่งเสียงเจื้อยแจ้ว
[๗๙๒] ปราสาทของดิฉันนี้มีประทีปทองดวงใหญ่สว่างไสวอยู่เป็นนิตย์
แวดล้อมโดยรอบด้วยต้นมะม่วงที่มีผลเป็นผ้า
[๗๙๓-๗๙๔] เพราะบุญนั้นดิฉันจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
อัมพวิมานที่ ๘ จบ

๙. ปีตวิมาน
ว่าด้วยวิมานสีเหลืองที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายดอกบวบขม
(ท้าวสักกเทวราชตรัสถามเทพธิดาองค์หนึ่งว่า)
[๗๙๕] เทพธิดา ผู้มีผ้านุ่งห่มและธงล้วนแต่สีเหลือง
ประดับประดาด้วยเครื่องประดับสีเหลือง
มีกายลูบไล้ด้วยจันทน์เหลือง ทัดทรงดอกอุบลเหลือง
[๗๙๖] มีปราสาทสีเหลือง มีที่นอนที่นั่งสีเหลือง มีภาชนะสีเหลือง
มีฉัตรสีเหลือง มีรถสีเหลือง มีม้าสีเหลือง มีพัดสีเหลือง
[๗๙๗] เทพธิดาผู้เจริญ ชาติก่อน เธอได้ทำกรรมอะไรไว้ในมนุษยโลก
เธอจงตอบตามที่ฉันถามเถิดว่า นี้เป็นผลของกรรมอันใดเล่า
(เทพธิดานั้นทูลตอบว่า)
[๗๙๘] พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้น้อมนำดอกบวบขมจำนวน ๔ ดอก
ซึ่งมีรสขม ไม่มีใครปรารถนา ไปบูชาพระสถูป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๙๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๔. มัญชิฏฐกวรรค ๙.ปีตวิมาน
[๗๙๙] หม่อมฉันมีจิตเลื่อมใส มุ่งถึงพระบรมสารีริกธาตุของพระศาสดา
มีใจจดจ่อพระบรมสารีริกธาตุของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ไม่ทันพิจารณาดูทางที่แม่โคนั้นมา
[๘๐๐] ทันใดนั้น แม่โคได้ขวิดหม่อมฉัน
ยังไม่ทันไปถึงพระสถูปสมความตั้งใจ
ถ้าหม่อมฉันพึงสั่งสมบุญนั้นไว้ได้ยิ่งขึ้น
ทิพยสมบัติก็จะพึงมียิ่งกว่านี้แน่
[๘๐๑] ข้าแต่ท้าวมฆวานเทพกุญชร จอมเทพ เพราะกุศลกรรมนั้น
หม่อมฉันจึงละกายมนุษย์มาอยู่ร่วมกับพระองค์
[๘๐๒] ท้าวมฆวานเทพกุญชร จอมเทพชั้นดาวดึงส์
ทรงสดับเนื้อความนี้แล้ว เมื่อจะให้เทวดาชั้นดาวดึงส์เลื่อมใส
จึงได้ตรัสกับมาตลีเทพสารถีว่า
[๘๐๓] มาตลี ท่านจงดูผลกรรมอันวิจิตรน่าอัศจรรย์นี้
ของควรทำบุญที่เทพธิดานี้ทำแล้วถึงจะน้อย ผลบุญกลับมีมาก
[๘๐๔] เมื่อมีจิตเลื่อมใสพระตถาคตสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระปัจเจกพุทธเจ้า หรือสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว
ทักษิณาหาชื่อว่ามีผลน้อยไม่
[๘๐๕] มาเถิด มาตลี แม้ชาวเราทั้งหลายก็ควรรีบเร่งบูชา
พระบรมสารีริกธาตุของพระตถาคตให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป
เพราะการสั่งสมบุญนำความสุขมาให้
[๘๐๖] เมื่อพระตถาคตยังทรงพระชนม์อยู่ก็ตาม
เสด็จปรินิพพานแล้วก็ตาม
เมื่อจิตสม่ำเสมอ ผลก็ย่อมมีสม่ำเสมอ
เพราะเหตุที่ตั้งจิตไว้ชอบ สัตว์ทั้งหลายย่อมไปสุคติ
[๘๐๗] พระตถาคตทั้งหลายทรงอุบัติมาเพื่อประโยชน์แก่ชนหมู่มากหนอ
ทายกทายิกาทั้งหลายถวายสักการบูชาแล้วได้ไปสวรรค์
ปีตวิมานที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๔. มัญชิฏฐกวรรค ๑๐. อุจฉุวิมาน
๑๐. อุจฉุวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายท่อนอ้อย
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพธิดาองค์หนึ่งว่า)
[๘๐๘] เธอมีสิริ มีรัศมีกาย มีบริวารยศและมีเดช
เปล่งรัศมีส่องทั่วแผ่นดินพร้อมทั้งเทวโลกให้สว่างไสว
รุ่งเรืองดังพระจันทร์และพระอาทิตย์ และดังท้าวมหาพรหม
เปล่งรัศมีงามล้ำกว่าทวยเทพชาวไตรทศ พร้อมทั้งพระอินทร์
[๘๐๙] อาตมาขอถามเธอ เทพธิดาผู้เลอโฉม ประดับมาลัยดอกอุบล
มีมาลัยแก้วประดับเทริด มีผิวพรรณเปล่งปลั่งดั่งทองคำ
ประดับประดาอาภรณ์อย่างสวยงาม ทรงพัสตราภรณ์ชั้นเลิศ
เธอเป็นใครมาไหว้อาตมา
[๘๑๐] ชาติก่อนเธอเกิดเป็นมนุษย์ ได้ทำกรรมอะไรมาก่อน
ได้สั่งสมทานไว้ดี หรือว่ารักษาศีลไว้ดี
เกิดในสวรรค์ มีบริวารยศ เพราะกรรมอะไร
เทพธิดา อาตมาถามแล้ว ขอเธอจงบอกเถิดว่า
นี้เป็นผลของกรรมอันใดเล่า
(เทพธิดานั้นตอบว่า)
[๘๑๑] พระคุณเจ้าผู้เจริญ เมื่อไม่นานมานี้ พระเถระรูปหนึ่ง
เข้ามาบิณฑบาตยังเรือนของดิฉันในหมู่บ้านนี้แหละ
จากนั้นดิฉันมีจิตเลื่อมใส เกิดปีติสุดประมาณ
จึงได้ถวายท่อนอ้อยแด่ท่าน
[๘๑๒] แต่ต่อมาภายหลัง แม่ผัวซักถามดิฉันว่า
แม่ตัวดี แกเอาอ้อยไปทิ้งไว้ที่ไหนล่ะ
ดิฉันจึงตอบว่า ไม่ได้ทิ้งและก็ไม่ได้กิน
แต่ดิฉันได้ถวายแด่ภิกษุผู้สงบระงับไปแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๔. มัญชิฏฐกวรรค ๑๐.อุจฉุวิมาน
[๘๑๓] ทันใดนั้น แม่ผัวนั้นได้ด่าดิฉันว่า
นี่แกหรือฉันเป็นใหญ่กันแน่
ว่าแล้วก็คว้าก้อนดินทุ่มดิฉัน
ดิฉันตายจากมนุษยโลกนั้นแล้วก็มาเกิดเป็นเทพธิดา
[๘๑๔] ดิฉันทำกุศลกรรมนั้นไว้เท่านี้
ตนเองจึงได้มาเสวยผลกรรมที่นำความสุขมาให้
ได้รับการบำเรอบันเทิงใจอยู่
ด้วยกามคุณ ๕ ร่วมกับหมู่เทพ
[๘๑๕] ดิฉันทำกุศลกรรมนั้นไว้เท่านี้
ตนเองจึงได้มาเสวยผลกรรมที่นำความสุขมาให้
มีท้าวสักกะจอมเทพคุ้มครอง มีทวยเทพชั้นไตรทศรักษา
เพียบพร้อมอยู่ด้วยกามคุณ ๕
[๘๑๖] ผลบุญดังกล่าวมานี้มิใช่เล็กน้อย
บุญที่ดิฉันได้ถวายอ้อยให้ผลมาก
ดิฉันจึงได้รับการบำเรอบันเทิงใจอยู่
ด้วยกามคุณ ๕ ร่วมกับหมู่เทพ
[๘๑๗] ผลบุญดังกล่าวมานี้มิใช่เล็กน้อย
บุญที่ดิฉันได้ถวายอ้อยมีอานุภาพมาก
ดิฉันจึงมีท้าวสักกะจอมเทพคุ้มครอง
มีทวยเทพชั้นไตรทศรักษา
ดังท้าวสหัสสนัยน์ในนันทวัน
[๘๑๘] พระคุณเจ้าผู้เจริญ ดิฉันเข้าไปหาพระคุณเจ้า
ผู้อนุเคราะห์ซึ่งมีปัญญาแล้ว
กราบไหว้และถามถึงความไม่มีโรค จากนั้นก็มีจิตเลื่อมใส
เกิดปีติสุดประมาณ ได้ถวายท่อนอ้อยแด่พระคุณเจ้า
อุจฉุวิมานที่ ๑๐ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๙๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๔. มัญชิฏฐกวรรค ๑๒. รัชชุมาลาวิมาน
๑๑. วันทนวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้กราบไหว้สมณะ
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพธิดาองค์หนึ่งว่า)
[๘๑๙] เทพธิดา เธอมีผิวพรรณงามยิ่งนัก
เปล่งรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอยู่ ดุจดาวประกายพรึก
[๘๒๐-๘๒๑] เพราะบุญอะไรเธอจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๘๒๒] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๘๒๓] เมื่อดิฉันเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์
พบสมณะทั้งหลายผู้มีศีลจึงไหว้เท้า
ทำใจให้เลื่อมใส
อนึ่ง ดิฉันปลื้มใจ ได้ประคองอัญชลี
[๘๒๔-๘๒๕] เพราะบุญนั้นดิฉันจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
วันทนวิมานที่ ๑๑ จบ

๑๒. รัชชุมาลาวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้สักการะเคารพพระพุทธเจ้า
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพธิดาองค์หนึ่งว่า)
[๘๒๖] เทพธิดา เธอมีผิวพรรณงดงามยิ่งนัก
ขณะที่ดนตรีบรรเลงอยู่อย่างไพเราะ
เธอกรีดกรายมือและเท้าฟ้อนรำได้อย่างกลมกลืน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๙๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๔. มัญชิฏฐกวรรค ๑๒. รัชชุมาลาวิมาน
[๘๒๗] เมื่อเธอนั้นกำลังฟ้อนรำอยู่ เสียงทิพย์น่าฟัง น่ารื่นรมย์ใจ
ย่อมเปล่งออกจากอวัยวะน้อยใหญ่ทุกส่วนสัดของเธอ
[๘๒๘] ทั้งกลิ่นทิพย์ หอมระรื่นชื่นใจ
ก็ฟุ้งออกจากอวัยวะน้อยใหญ่ทุกส่วนสัดของเธอ
[๘๒๙] เมื่อเธอเยื้องไหวกายไปมา เสียงเครื่องประดับที่ช้องผม
ก็เปล่งเสียงดังไพเราะ น่าฟัง ดังเสียงดนตรีเครื่องห้า
[๘๓๐] อนึ่ง ต่างหูเพชรต้องลมสั่นไหว ก็ส่งเสียงดังไพเราะ
น่าฟัง ดังเสียงดนตรีเครื่องห้า
[๘๓๑] แม้มาลัยบนศีรษะของเธอมีกลิ่นหอมระรื่นชื่นใจ
ก็ส่งกลิ่นหอมฟุ้งไปทั่วทุกทิศ ดุจต้นอุโลก
[๘๓๒] เธอสูดดมกลิ่นหอมระรื่นนั้น ทั้งได้เห็นรูปที่มิใช่ของมนุษย์
เทพธิดา อาตมาถามแล้ว ขอเธอจงบอกเถิดว่า
นี้เป็นผลของกรรมอันใดเล่า
(เทพธิดานั้นตอบว่า)
[๘๓๓] ชาติก่อน ดิฉันเกิดเป็นทาสีของพราหมณ์ในหมู่บ้านคยา
มีบุญน้อย ด้อยวาสนา คนทั้งหลายรู้จักดิฉันในนามว่า รัชชุมาลา
[๘๓๔] ดิฉันเสียใจอย่างหนัก เพราะถูกด่าว่า ถูกเฆี่ยนตีต่าง ๆ
และถูกคุกคามจึงถือหม้อน้ำออกไป ทำเป็นเสมือนจะไปตักน้ำ
[๘๓๕] ครั้นแล้วได้วางหม้อน้ำไว้ข้างทาง เข้าไปยังป่าชัฏโดยตัดสินใจว่า
จักตายในป่านี้แหละ เราอยู่ไปจะมีประโยชน์อะไรเล่า
[๘๓๖] จึงทำบ่วงให้แน่น แขวนเข้ากับต้นไม้
ทีนั้นก็เหลียวดูไปรอบทิศด้วยคิดเกรงว่า มีใครอยู่ในป่าไหมหนอ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๙๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๔. มัญชิฏฐกวรรค ๑๒. รัชชุมาลาวิมาน
[๘๓๗] ณ ที่นั้น ดิฉันได้เหลือบเห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้เป็นจอมปราชญ์
ทรงเกื้อกูลสัตว์โลกทั้งมวล ผู้ไม่มีโรคภัย
ประทับนั่งเข้าฌานอยู่ที่โคนต้นไม้
[๘๓๘] ดิฉันนั้นเกิดความสังเวช ขนลุกชูชันอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน คิดว่า
ใครหนอมาอาศัยอยู่ในป่านี้ เป็นมนุษย์หรือเทวดากันแน่
[๘๓๙] เพราะได้เห็นพระพุทธองค์ผู้น่าเลื่อมใส ควรแก่การยินดี
เสด็จออกจากป่า แล้วมาสู่ความไม่มีป่า(คือกิเลส)
ใจของดิฉันก็เลื่อมใสด้วยคิดเห็นว่า
ท่านผู้นี้คงจะมิใช่คนธรรมดาสามัญเป็นแน่
[๘๔๐] ท่านผู้นี้คุ้มครองอินทรีย์ได้แล้ว ยินดีในฌาน มีใจไม่วอกแวก
จะต้องเป็นพระพุทธเจ้าผู้ทรงเกื้อกูลสัตว์โลกทั้งมวลเป็นแน่
[๘๔๑] ท่านผู้นี้เป็นที่น่าเกรงขาม
ผู้ซึ่งบุคคลที่ปราศจากความเพียรและความมาดหมาย
ทำให้ทรงชื่นชมได้ยาก ดังราชสีห์ซึ่งเป็นสัตว์อยู่ถ้ำ น่าเกรงขาม
ยากที่ใครจะทำให้ชื่นชมและยากที่จะได้พบเห็น เหมือนดอกมะเดื่อ
[๘๔๒] พระตถาคตเจ้าพระองค์นั้น ได้ตรัสเรียกดิฉันด้วยพระวาจาที่นุ่มนวลว่า
รัชชุมาลาและรับสั่งกับดิฉันว่า เธอจงถึงตถาคตเป็นที่พึ่งเถิด
[๘๔๓] ดิฉันฟังพระดำรัสอันปราศจากโทษ ประกอบด้วยประโยชน์
หมดจด ละเอียดอ่อน นุ่มนวลไพเราะ
เป็นเครื่องบรรเทาความโศกเศร้าทั้งปวงเสียได้นั้น จึงเกิดจิตเลื่อมใส
[๘๔๔] พระตถาคตผู้ทรงเกื้อกูลสัตว์โลกทุกหมู่เหล่า ทรงทราบว่า
ดิฉันมีจิตเลื่อมใส มีใจบริสุทธิ์ ควรแก่การรับฟัง
แล้วจึงได้ทรงพร่ำสอน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๔. มัญชิฏฐกวรรค ๑๒. รัชชุมาลาวิมาน
[๘๔๕] พระองค์ได้ตรัสสอนดิฉันว่า “นี้คือทุกข์ นี้คือเหตุเกิดทุกข์
นี้คือความดับทุกข์ และนี้คือทางสายตรงให้บรรลุอมตธรรม”๑
[๘๔๖] ดิฉันดำรงอยู่ในพระโอวาทของพระตถาคต ผู้ทรงอนุเคราะห์
เกื้อกูล ทรงฉลาดว่า
“บุคคลได้บรรลุทางคือนิพพานซึ่งเป็นธรรมอันไม่ตาย
สงบระงับ ไม่มีการจุติ”
[๘๔๗] ดิฉันนั้นมีความภักดีมั่น ไม่หวั่นไหว
เพราะมีความเห็นชอบเป็นปกติ
ด้วยศรัทธาที่หยั่งรากลงแล้ว จึงได้เป็นธิดาที่แท้จริงของพระพุทธองค์
[๘๔๘] ดิฉันนั้นไม่มีภัย จึงเที่ยวรื่นเริงบันเทิงใจอยู่
ทัดทรงมาลัยทิพย์ ดื่มน้ำหวานที่ทำให้สดชื่น
[๘๔๙] เหล่าดุริยเทพ ๖๐,๐๐๐ องค์ ช่วยกันปลุกเร้าดิฉันให้เกิดปีติโสมนัส
ได้แก่ เทพบุตรมีนามว่า อาฬัมพะ คัคคระ ภีมะ สาธุวาที ปสังสยะ
[๘๕๐] โปกขระและสุผัสสะ เหล่าเทพธิดาน้อย ๆ มีนามว่า
วีณา โมกขา นันทา สุนันทา โสณทินนา สุจิมหิตา
[๘๕๑] อลัมพุสา มิสสเกสีและบุณฑริกา อนึ่ง เทพกัญญาอีกพวกหนึ่ง
คือเอณีปัสสา สุผัสสา สุภัททาและมุทุวาทินี
[๘๕๒] ผู้ประเสริฐกว่านางอัปสรทั้งหลาย
ผู้มีหน้าที่ปลุกเร้าให้เกิดปีติโสมนัส
เทวดาเหล่านั้น พอได้เวลาก็เข้ามาหาดิฉัน เสนอด้วยวาจาน่ายินดีว่า
[๘๕๓] เอาเถอะ พวกเราจักฟ้อนรำ ขับร้อง บำเรอเธอให้รื่นรมย์
สถานที่ที่ดิฉันได้รับในบัดนี้ มิใช่สถานที่สำหรับคนที่ไม่ได้ทำบุญไว้
แต่เป็นสถานที่สำหรับคนที่ได้ทำบุญไว้แล้วเท่านั้น

เชิงอรรถ :
๑ เว้นทางสุดโต่ง ๒ อย่างแล้วดำเนินตามมรรคอริยสัจจที่เป็นเหตุให้บรรลุอมตธรรม เพราะดำเนินไปตามทาง
ให้บรรลุนิพพาน (ขุ.วิ.อ. ๘๔๕/๒๔๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๙๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] รวมเรื่องวิมานที่มีในวรรค
[๘๕๔] ไม่มีความโศก น่าเพลิดเพลินเจริญใจ
เป็นอุทยานกว้างใหญ่ของเหล่าเทพชั้นดาวดึงส์
สำหรับผู้ที่ไม่ได้ทำบุญไว้ย่อมไม่มีความสุขทั้งโลกนี้และโลกหน้า
[๘๕๕] ส่วนผู้ที่ได้ทำบุญไว้แล้วย่อมมีความสุขทั้งโลกนี้
และโลกหน้าแน่นอน
ผู้ปรารถนาจะสถิตอยู่ร่วมกับเทพชั้นดาวดึงส์เหล่านั้น
ควรทำกุศลไว้ให้มาก เพราะว่าเหล่าชนผู้ที่ได้ทำบุญไว้แล้ว
ย่อมพรั่งพร้อมด้วยโภคสมบัติ บันเทิงอยู่ในสวรรค์
[๘๕๖] พระตถาคตทั้งหลาย
ทรงอุบัติขึ้นเพื่อประโยชน์แก่ชนเป็นอันมากหนอ
ทรงเป็นพระทักขิไณยบุคคล
เป็นบ่อเกิดแห่งเนื้อนาบุญของมนุษย์ทั้งหลาย
เป็นผู้ที่ทายกทายิกาทั้งหลายทำสักการบูชาแล้ว
จึงบันเทิงอยู่ในสวรรค์
รัชชุมาลาวิมานที่ ๑๒ จบ

รวมเรื่องวิมานที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. มัญชิฏฐกวิมาน ๒. ปภัสสรวิมาน
๓. นาควิมาน ๔. อโลมวิมาน
๕. กัญชิกทายิกาวิมาน ๖. วิหารวิมาน
๗. จตุริตถีวิมาน ๘. อัมพวิมาน
๙. ปีตวิมาน ๑๐. อุจฉุวิมาน
๑๑. วันทนวิมาน ๑๒. รัชชุมาลาวิมาน

มัญชิฏฐกวรรคที่ ๔ จบ
อิตถีวิมาน จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๙๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๕. มหารถวรรค ๑. มัณฑูกเทวปุตตวิมาน
๒. ปุริสวิมาน
๕. มหารถวรรค
หมวดว่าด้วยรถใหญ่
๑. มัณฑูกเทวปุตตวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่มัณฑูกเทพบุตร
(พระผู้มีพระภาคตรัสถามมัณฑูกเทพบุตรว่า)
[๘๕๗] ใครกันมีผิวพรรณงดงามยิ่งนัก รุ่งเรืองด้วยฤทธิ์และบริวารยศ
เปล่งรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ กราบเท้าทั้งสองของเราอยู่
(มัณฑูกเทพบุตรกราบทูลว่า)
[๘๕๘] ชาติก่อนข้าพระองค์ได้เกิดเป็นกบเที่ยวหากินอยู่ในน้ำ
ขณะที่ข้าพระองค์กำลังฟังธรรมของพระองค์อยู่
คนเลี้ยงโคได้ฆ่าข้าพระองค์
[๘๕๙] ขอพระองค์ทรงเล็งเห็นความสำเร็จแห่งจิตที่เลื่อมใสเพียงครู่เดียว
และโปรดทอดพระเนตรบริวารยศ อานุภาพ
ผิวพรรณและความรุ่งเรืองของข้าพระองค์เถิด
[๘๖๐] ข้าแต่พระโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า
เหล่าชนผู้ได้ฟังธรรมของพระองค์ตลอดกาลยาวนาน
ย่อมบรรลุฐานะที่ไม่หวั่นไหว
ซึ่งเป็นฐานะที่เหล่าสัตว์ไปแล้วไม่เศร้าโศก
มัณฑูกเทวปุตตวิมานที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๐๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๕. มหารถวรรค ๒. เรวตีวิมาน
๒. เรวตีวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่นันทิยะอุบาสกผู้เป็นสามีของนางเรวดี
(พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
[๘๖๑] ญาติมิตรและสหายผู้มีใจดี ย่อมยินดีต้อนรับ
บุคคลผู้ร้างแรมไปนาน
แล้วกลับมาจากที่ไกลโดยสวัสดีว่า “มาแล้ว” ฉันใด
[๘๖๒] บุญทั้งหลายก็เช่นเดียวกัน ย่อมต้อนรับ
เฉพาะบุคคลผู้ทำบุญไว้แล้ว
ซึ่งจากโลกนี้ไปสู่โลกหน้า เหมือนญาติต้อนรับญาติที่รักผู้กลับมา
(ยักษ์บริวารของท้าวเวสวัณปรารถนาจะจับนางเรวดีโยนลงไปในอุสสทนรกจึง
กล่าวว่า)
[๘๖๓] จงลุกขึ้น นางเรวดีผู้แสนจะชั่วช้า มีปกติไม่ให้ทาน
ประตู(นรก)เปิดแล้ว พวกเราจะนำเจ้าไปโยนลงนรก
อันเป็นสถานที่ทอดถอนใจของเหล่าสัตว์นรก
ผู้มีความทุกข์ทรมานทนทุกข์อยู่
(พระธรรมสังคีติกาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า)
[๘๖๔] ยักษ์ใหญ่ตาแดงสองตนดังทูตพญายมนั้น ครั้นกล่าวดังนี้แล้ว
ก็จับแขนนางเรวดีคนละข้าง พาไปใกล้หมู่เทวดา
(นางเรวดีถามยักษ์สองตนว่า)
[๘๖๕] นั่นวิมานของใคร มีรัศมีดังแสงอาทิตย์ น่าพอใจ
เรืองรอง งดงาม น่าอยู่อาศัย ปกคลุมด้วยตาข่ายทอง
เนืองแน่นไปด้วยเทพบุตรและเทพธิดา รุ่งโรจน์ดังแสงอาทิตย์
[๘๖๖] หมู่เทพนารีลูบไล้กายด้วยแก่นจันทน์หอม
ช่วยทำวิมานทั้งภายในและภายนอกให้งดงาม
วิมานนั้นมีรัศมีปรากฏเสมอด้วยแสงอาทิตย์
คนที่ขึ้นสวรรค์บันเทิงอยู่ในวิมานเป็นใครกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๕. มหารถวรรค ๒. เรวตีวิมาน
(ยักษ์สองตนจึงบอกแก่นางเรวดีว่า)
[๘๖๗] ที่กรุงพาราณสี มีอุบาสกชื่อนันทิยะ
เป็นคนไม่ตระหนี่ เป็นทานบดี รู้ความประสงค์ของผู้ขอ
วิมานที่เนืองแน่นไปด้วยเทพบุตรและเทพธิดา
รุ่งโรจน์ดังแสงอาทิตย์ นั้นเป็นของนันทิยอุบาสก
[๘๖๘] หมู่เทพนารีลูบไล้กายด้วยแก่นจันทน์หอม
ช่วยทำวิมานทั้งภายในและภายนอกให้งดงาม
วิมานนั้นมีรัศมีปรากฏเสมอด้วยแสงอาทิตย์
คนที่ขึ้นสวรรค์ บันเทิงอยู่ในวิมาน คือนันทิยอุบาสก
(นางเรวดีกล่าวว่า)
[๘๖๙] ฉันเป็นภรรยาของนันทิยอุบาสก
เป็นใหญ่ในเรือน เป็นใหญ่ในทรัพย์สินทั้งหมดของสามี
บัดนี้ ฉันจะรื่นรมย์ในวิมานของสามี ไม่ปรารถนาจะเห็นนรก
(ยักษ์สองตนนั้นไม่ยอมเชื่อจึงพาตัวนางลงไปใกล้อุสสทนรกแล้วกล่าวว่า)
[๘๗๐] นางผู้แสนจะชั่วช้า นี่แหละนรกสำหรับเจ้า
บุญเจ้าไม่ได้ทำไว้ในมนุษยโลก
เพราะคนตระหนี่ มักโกรธ มีบาปธรรม
ย่อมไม่ได้อยู่ร่วมกับผู้เกิดในสวรรค์
(นางเรวดีเห็นนายนิรยบาลสองตนพากันมาฉุดคร่าตน เพื่อจะโยนลงไป
ในคูถนรก ชื่อว่า สังสวกะ จึงถามถึงนรกนั้นว่า)
[๘๗๑] ทำไมหนอจึงปรากฏแต่อุจจาระ ปัสสาวะ สิ่งสกปรก
เหตุไฉน อุจจาระนี้จึงมีกลิ่นเหม็นร้ายกาจ คละคลุ้งไปเล่า
(นายนิรยบาลตอบว่า)
[๘๗๒] นางเรวดี นรกที่เจ้าจะหมกไหม้อยู่หลายพันปีนี้
มีชื่อว่า สังสวกนรก ลึกร้อยชั่วคน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๕. มหารถวรรค ๒. เรวตีวิมาน
(นางเรวดีจึงถามว่า)
[๘๗๓] ฉันทำกรรมชั่วทางกายวาจาใจอะไรหรือหนอ
จึงตกสังสวกนรกที่ลึกร้อยชั่วคน
(นายนิรยบาลตอบว่า)
[๘๗๔] เจ้าลวงสมณพราหมณ์และวณิพกพวกอื่น
ด้วยการกล่าวเท็จนั่นแหละบาปที่เจ้าทำไว้
[๘๗๕] เพราะบาปนั้นเจ้าจึงตกสังสวกนรกที่ลึก ๑๐๐ ชั่วคน
นางเรวดี เจ้าจะต้องหมกไหม้อยู่ในนรกนั้นหลายพันปี
[๘๗๖] นายนิรยบาลทั้งหลาย จะตัดมือ เท้า หู แม้กระทั่งจมูก
อนึ่ง แม้ฝูงนกกาก็จะพากันมารุมจิกกินเจ้าที่ดิ้นทุรนทุรายอยู่
(นางเรวดีกล่าวว่า)
[๘๗๗] โปรดเถิดพ่อคุณ ขอท่านทั้งหลายช่วยนำดิฉันกลับไปเถิด
ดิฉันจักสร้างกุศลกรรม ที่คนทำแล้วได้รับความสุข
และไม่เดือดร้อนในภายหลังนั้นให้มาก
ด้วยการให้ทาน ประพฤติธรรมสม่ำเสมอ
การสำรวม และการฝึกอินทรีย์
(นายนิรยบาลกล่าวว่า)
[๘๗๘] เมื่อก่อน เจ้าประมาทมัวเมา บัดนี้จะมาร่ำไห้ทำไมเล่า
เจ้าจักต้องเสวยผลกรรมทั้งหลายที่เจ้าทำไว้เอง
(นางเรวดีกล่าวว่า)
[๘๗๙] ใครจากเทวโลกไปยังมนุษยโลก เมื่อถูกถาม
พึงกล่าวถ้อยคำของดิฉันอย่างนี้ว่า
ขอท่านทั้งหลายจงถวายทาน
คือผ้านุ่ง ผ้าห่ม ที่นอน ที่นั่ง ข้าวและน้ำ
ในสมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้ปล่อยวางอาชญา
เพราะว่าคนตระหนี่ มักโกรธ มีบาปธรรม
ย่อมไม่ได้เกิดร่วมกับผู้ไปสวรรค์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๐๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๕. มหารถวรรค ๒. เรวตีวิมาน
[๘๘๐] ถ้าดิฉันนั้นจากที่นี้ไป ได้เกิดเป็นมนุษย์แล้ว
จักรู้ความประสงค์ของผู้ขอ สมบูรณ์ด้วยศีล
จักสร้างกุศลให้มากด้วยการให้ทาน
ประพฤติธรรมสม่ำเสมอ การสำรวม
และการฝึกอินทรีย์
[๘๘๑] ดิฉันจักปลูกสวนไม้ดอกไม้ผล
จักตัดทางเข้าไปในสถานที่ที่เดินลำบาก
ขุดบ่อน้ำและตั้งน้ำดื่มไว้ด้วยใจที่ผ่องแผ้ว
[๘๘๒] จักเข้าจำอุโบสถศีลซึ่งประกอบด้วยองค์ ๘
ทุกวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำและ ๘ ค่ำแห่งปักษ์
และตลอดวันปาฏิหาริยปักษ์
[๘๘๓] ดิฉันจักสำรวมระวังในศีลตลอดเวลา
และจักไม่ละเลยในการให้ทาน
เพราะผลกรรมนี้ ดิฉันได้เห็นเองแล้ว
(พระสังคีติกาจารย์กล่าวไว้ว่า)
[๘๘๔] นายนิรยบาลทั้งหลายช่วยกันโยนนางเรวดี
ที่กำลังพร่ำเพ้อดิ้นรนไปมาอยู่อย่างนี้
ให้เท้าชี้หัวดิ่งลงไปในนรกอันน่ากลัว
(นางเรวดีได้กล่าวคาถาสุดท้ายอีกว่า)
[๘๘๕] ชาติก่อน ฉันเป็นคนตระหนี่
ด่าว่าสมณพราหมณ์
และลวงสามีด้วยเรื่องไม่จริง
จึงหมกไหม้ในนรกที่น่ากลัว
เรวตีวิมานที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๕. มหารถวรรค ๓. ฉัตตมาณวกวิมาน
๓. ฉัตตมาณวกวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่ฉัตตมาณพผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ
(พระผู้มีพระภาคเมื่อจะทรงแสดงวิธีถึงสรณคมน์แก่ฉัตตมาณพจึงตรัสว่า)
[๘๘๖] บรรดาผู้กล่าวสอนในหมู่มนุษย์
ผู้ใดเป็นผู้ประเสริฐสุด เป็นพระศากยมุนี
จำแนกพระธรรม สำเร็จกิจที่จะต้องทำแล้ว
ถึงฝั่งพระนิพพาน พรั่งพร้อมด้วยพละและวีริยะ
เธอจงถึงผู้นั้นผู้เป็นพระสุคตเพื่อเป็นที่พึ่งที่ระลึกเถิด
[๘๘๗] เธอจงถึงพระธรรมอันเป็นเหตุสำรอกราคะ
มีสภาวะไม่หวั่นไหว ไร้ความเศร้าโศก
เป็นสภาวธรรมที่ปราศจากปัจจัยปรุงแต่ง
ปราศจากสิ่งแปดเปื้อน น่าปรารถนา ละเอียดอ่อน
ซึ่งพระตถาคตทรงจำแนกไว้แจ่มแจ้งแล้วนี้เพื่อเป็นที่พึ่งที่ระลึกเถิด
[๘๘๘] บัณฑิตทั้งหลายกล่าวถึงทานที่ถวายในท่านเหล่าใดว่ามีผลมาก
ท่านเหล่านั้น คือพระอริยบุคคลผู้บริสุทธิ์ ๔ คู่ ๘ ท่าน
ผู้เห็นประจักษ์ในธรรม
เธอจงถึงพระอริยสงฆ์นี้เพื่อเป็นที่พึ่งที่ระลึกเถิด
(พระผู้มีพระภาคตรัสถามเทพบุตรนั้นว่า)
[๘๘๙] ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดาวฤกษ์ผุสสะในท้องฟ้า
ยังสว่างไสวไม่เทียบเท่าวิมานของเธอซึ่งสว่างไสวมาก
หาสิ่งเปรียบเทียบมิได้นี้
เธอเป็นใครหนอ จากเทวโลกชั้นดาวดึงส์มายังแผ่นดิน
[๘๙๐] วิมานของเธอนั้นมีรัศมีตัดแสงอาทิตย์แผ่ไปเกิน ๒๐ โยชน์
และทำกลางคืนให้เป็นเสมือนกลางวัน
วิมานของเธองามบริสุทธิ์ผุดผ่อง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๐๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๕. มหารถวรรค ๓. ฉัตตมาณวกวิมาน
[๘๙๑] มีดอกปทุมมาก มีดอกบุณฑริกงดงาม
เกลื่อนกลาดด้วยดอกไม้นานาชนิด
งามไม่น้อย คลุมไว้ด้วยตาข่ายทองอันบริสุทธิ์ ปราศจากธุลี
ส่องสว่างอยู่ในอากาศเหมือนดวงอาทิตย์
[๘๙๒] วิมานของเธอเนืองแน่นด้วยเหล่าเทพอัปสร
ผู้ทรงผ้ากำพลสีแดงและสีเหลือง
หอมตลบด้วยกลิ่นกฤษณา ดอกประยงค์และแก่นจันทน์
มีผิวพรรณเปล่งปลั่งดั่งทองคำ ประหนึ่งท้องฟ้าเต็มไปด้วยดวงดาว
[๘๙๓] เทพบุตรและเทพธิดาจำนวนมากในวิมานนี้
มีรูปร่างลักษณะต่าง ๆ กัน
มีจิตใจเบิกบาน ทรงทิพยอาภรณ์ ประดับด้วยดอกไม้ทิพย์
คลุมด้วยกรองทอง ห่มด้วยอาภรณ์ทอง
โชยกลิ่นหอมฟุ้งไปตามลม
[๘๙๔] นี้เป็นผลแห่งกรรมอันใดเล่า เพราะผลกรรมอะไรเล่า
เธอจึงมาเกิดในวิมานนี้ อนึ่ง ตถาคตถามแล้ว
ขอเธอจงบอกถึงวิธีที่เธอได้วิมานนี้ตามสมควรแก่เหตุนั้นเถิด
(เทพบุตรกราบทูลว่า)
[๘๙๕] พระศาสดาเสด็จมาพบฉัตตมาณพในทางนี้
เมื่อจะทรงอนุเคราะห์ จึงได้ทรงพร่ำสอน
มาณพนั้นฟังธรรมของพระองค์ผู้เป็นรัตนะอย่างประเสริฐแล้ว
ได้กราบทูลว่า ข้าพระองค์จักทำตามพระดำรัสที่ทรงพร่ำสอน
[๘๙๖] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ครั้งแรกข้าพระองค์ได้กราบทูลว่า
ข้าพระองค์ยังไม่ได้ถึงพระชินะผู้ประเสริฐ
พระธรรมและพระสงฆ์ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
แต่ภายหลังได้ทำตามพระดำรัสของพระองค์ตามที่ทรงพร่ำสอนนั่นแล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๐๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๕. มหารถวรรค ๓. ฉัตตมาณวกวิมาน
[๘๙๗] อนึ่ง พระองค์ได้ตรัสสอนว่า
เธออย่าได้ประพฤติตนเป็นคนฆ่าสัตว์
โดยวิธีต่าง ๆ อันเป็นกรรมไม่สะอาด
เพราะท่านผู้มีปัญญาทั้งหลายไม่สรรเสริญ
ความไม่สำรวมในสัตว์ทั้งหลายเลย
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทีแรกข้าพระองค์ได้กราบทูลปฏิเสธ
แต่ภายหลังได้ทำตามพระดำรัสของพระองค์ตามที่ตรัสสอนนั่นแล
[๘๙๘] อนึ่ง พระองค์ได้ตรัสสอนว่า
เธออย่าสำคัญสิ่งของ
แม้ที่คนอื่นดูแลรักษาไว้ที่เขามิได้ให้ว่าเป็นของควรถือเอา๑
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทีแรกข้าพระองค์ได้กราบทูลปฏิเสธ
แต่ภายหลังได้ทำตามพระดำรัสของพระองค์ตามที่ตรัสสอนนั่นแล
[๘๙๙] อนึ่ง พระองค์ได้ตรัสสอนว่า
เธออย่าได้ล่วงละเมิดหญิงที่คนอื่นรักษา๒
และภรรยาของชายอื่น๓ นั่นเป็นสิ่งไม่ประเสริฐ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทีแรกข้าพระองค์ได้กราบทูลปฏิเสธ
แต่ภายหลังได้ทำตามพระดำรัสของพระองค์ตามที่ตรัสสอนนั่นแล
[๙๐๐] อนึ่ง พระองค์ได้ตรัสสอนว่า
เธออย่าได้พูดให้คลาดเคลื่อนจากความจริง
เพราะท่านผู้มีปัญญาทั้งหลาย ไม่สรรเสริญการกล่าวเท็จ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทีแรกข้าพระองค์ได้กราบทูลปฏิเสธ
แต่ภายหลังได้ทำตามพระดำรัสของพระองค์ตามที่ตรัสสอนนั่นแล

เชิงอรรถ :
๑ โดยอาการลักขโมย
๒ หญิงที่บิดามารดาเป็นต้นยังไม่ยินยอมยกให้
๓ เป็นชู้กับภรรรยาชายอื่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๐๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๕. มหารถวรรค ๓. ฉัตตมาณวกวิมาน
[๙๐๑] อนึ่ง พระองค์ได้ตรัสสอนว่า
เธอจงงดเว้นของมึนเมาทุกชนิด
อันเป็นเหตุทำให้ความจำของคนเสื่อม
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทีแรกข้าพระองค์ได้กราบทูลปฏิเสธ
แต่ภายหลังได้ทำตามพระดำรัสของพระองค์ตามที่ตรัสสอนนั่นแล
[๙๐๒] ข้าพระองค์นั้นได้รักษาสิกขาบท ๕๑ ในพระศาสนานี้
ปฏิบัติธรรมของพระตถาคต ได้ไปยังทางสองแพร่งกลางชุมโจร
พวกโจรเหล่านั้นได้ฆ่าข้าพระองค์ ณ ที่นั้น เพราะโภคะเป็นเหตุ
[๙๐๓] ข้าพระองค์ระลึกถึงกุศลกรรมมีประมาณเท่านี้นี่เอง
กุศลกรรมอื่นนอกจากนั้นของข้าพระองค์ไม่มี
เพราะสุจริตกรรมนั้น ข้าพระองค์จึงเกิดในหมู่เทวดาชั้นดาวดึงส์
พรั่งพร้อมด้วยกามคุณตามปรารถนา
[๙๐๔] ขอพระองค์โปรดทอดพระเนตร
ผลของการสำรวมเพียงชั่วครู่ชั่วยาม
ด้วยการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
คนเป็นอันมากผู้มีกรรมต่ำต้อย๒ พากันมองดู
นึกกระหยิ่ม(ชื่นชม) ข้าพระองค์
เหมือนบุคคลพากันมองดูผู้รุ่งเรืองด้วยบริวารยศ
[๙๐๕] ขอพระองค์โปรดทอดพระเนตรเถิด ข้าพระองค์ถึงสุคติ
และได้รับความสุข เพราะพระธรรมเพียงเล็กน้อย
ส่วนเหล่าชนที่ได้ฟังธรรมของพระองค์เนือง ๆ
เห็นทีจะสัมผัสอมตธรรมซึ่งมีความเกษม

เชิงอรรถ :
๑ ศีล ๕ (ขุ.วิ.อ. ๙๐๒/๒๗๗)
๒ มีโภคะด้อยกว่าสมบัติของข้าพระองค์ (ขุ. วิ. อ. ๙๐๔/๒๗๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๐๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๕. มหารถวรรค ๓. ฉัตตมาณวกวิมาน
[๙๐๖] บุญกุศลที่ข้าพระองค์ดำรงอยู่ในพระธรรมคำสอนของพระตถาคต
ทำแล้วแม้น้อยกลับมีผลยิ่งใหญ่ไพบูลย์
ขอพระองค์โปรดทอดพระเนตรดูเถิด
เพราะได้ทำบุญไว้ ฉัตตเทพบุตรจึงเปล่งรัศมี
สว่างไสวไปทั่วแผ่นดิน เหมือนดวงอาทิตย์
[๙๐๗] ชนจำพวกหนึ่งประชุมปรึกษากันว่า
กุศลนี้เป็นอย่างไร
พวกเราจะบำเพ็ญกุศลนั้นอย่างไร
พวกเรานั้นได้เกิดเป็นมนุษย์แล้ว
พึงปฏิบัติธรรม อยู่รักษาศีลกันอีกเถิด
[๙๐๘] พระศาสดาทรงมีอุปการะมาก
และทรงอนุเคราะห์ข้าพระองค์อย่างนี้
ในเมื่อข้าพระองค์ยังมีชีวิตอยู่
ได้เสด็จไปแต่ยังวันอยู่เลย
ข้าพระองค์นั้นได้เข้าไปเฝ้าพระองค์ผู้ทรงมีพระนามเป็นสัจธรรม
ขอพระองค์โปรดอนุเคราะห์เถิด
ข้าพระองค์ขอฟังธรรมซ้ำอีก
[๙๐๙] ชนเหล่าใดในพระศาสนานี้ละกามราคานุสัย
และภวราคานุสัย๑ได้เพราะละโมหะได้ขาด
ชนเหล่านั้นแลย่อมไม่เข้าถึงการนอนในครรภ์อีกต่อไป
เพราะว่าเป็นผู้ถึงความดับอย่างสิ้นเชิงเย็นสนิทแล้ว๒
ฉัตตมาณวกวิมานที่ ๓ จบ

เชิงอรรถ :
๑ กามราคานุสัย กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในส้นดาน คือ ความกำหนัดในกาม ภวราคานุสัย กิเลสที่นอน
เนื่องอยู่ในสันดาน คือ ความกำหนัดในภพ อยากมี อยากเป็น อยากคงอยู่
๒ ปรินิพพาน (ขุ.วิ.อ. ๙๐๙/๒๗๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๐๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๕. มหารถวรรค ๔. กักกฎกรสทายกวิมาน
๔. กักกฏกรสทายกวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่คนเฝ้านาผู้ถวายแกงปู
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพบุตรองค์หนึ่งว่า)
[๙๑๐] วิมานมีเสาทำด้วยแก้วมณีนี้สูงมาก วัดโดยรอบได้ ๑๒ โยชน์
เป็นปราสาท ๗๐๐ ยอด ดูโอฬาร มีเสาประดิษฐ์ด้วยแก้วไพฑูรย์
มีพื้นปูลาดด้วยแผ่นทองคำสวยงาม
[๙๑๑] ท่านสถิต ดื่ม กินอยู่ในวิมานนั้น
มีทวยเทพพากันบรรเลงพิณทิพย์ดังไพเราะ
ในวิมานของท่านนี้ มีเบญจกามคุณอันเป็นทิพรส
และเหล่าเทพนารีประดับด้วยอาภรณ์ทองคำฟ้อนรำอยู่
[๙๑๒] เพราะบุญอะไรท่านจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่ท่านในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่ท่าน
[๙๑๓] เทวดาผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามว่า
เมื่อท่านเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้
เพราะบุญอะไรท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๙๑๔] เทพบุตรนั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๙๑๕] ปูทองคำมี ๑๐ ขา อยู่ที่ประตู
คอยเตือนสติให้ระลึกได้๑ย่อมงามรุ่งเรือง
[๙๑๖] เพราะบุญนั้นข้าพเจ้าจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่ข้าพเจ้าในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้า

เชิงอรรถ :
๑ ว่าเราได้สมบัตินี้ เพราะถวายแกงปู (ขุ.วิ.อ. ๙๑๕/๒๘๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๕. มหารถวรรค ๕. ทวารปาลวิมาน
[๙๑๗] ข้าแต่ภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ข้าพเจ้าขอกราบเรียนว่า
เพราะบุญที่ได้ทำไว้สมัยเมื่อเกิดเป็นมนุษย์
ข้าพเจ้าจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
กักกฏกรสทายกวิมานที่ ๔ จบ
(อีก ๕ วิมานต่อไปนี้ พึงให้พิสดารเหมือนกักกฏกรสทายกวิมาน)

๕. ทวารปาลวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่คนเฝ้าประตูผู้ชักชวนคนทำบุญ
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพบุตรองค์หนึ่งว่า)
[๙๑๘] วิมานมีเสาทำด้วยแก้วมณีนี้สูงมาก วัดโดยรอบได้ ๑๒ โยชน์
เป็นปราสาท ๗๐๐ ยอด ดูโอฬาร มีเสาประดิษฐ์ด้วยแก้วไพฑูรย์
มีพื้นปูลาดด้วยแผ่นทองคำสวยงาม
[๙๑๙] ท่านสถิต ดื่ม กิน อยู่ในวิมานนั้น
มีทวยเทพพากันบรรเลงพิณทิพย์ดังไพเราะ
ในวิมานของท่านนี้มีเบญจกามคุณอันเป็นทิพรส
และเหล่าเทพนารีประดับด้วยอาภรณ์ทองคำฟ้อนรำอยู่
[๙๒๐] เพราะบุญอะไรท่านจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่ท่านในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่ท่าน
[๙๒๑] เทวดาผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามว่า
เมื่อท่านเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้
เพราะบุญอะไรท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๙๒๒] เทพบุตรนั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๑๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๕. มหารถวรรค ๖. ปฐมกรณียวิมาน
[๙๒๓] ข้าพเจ้ามีอายุ ๑,๐๐๐ ปีทิพย์
บุคคลผู้ทำบุญด้วยเหตุเพียงกล่าวเชื้อเชิญและทำใจให้เลื่อมใส
จักดำรงอยู่พรั่งพร้อมด้วยกามคุณทั้งหลายอันเป็นทิพย์
[๙๒๔] เพราะบุญนั้นข้าพเจ้าจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่ข้าพเจ้าในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้า
[๙๒๕] ข้าแต่ภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ข้าพเจ้าขอกราบเรียนว่า
เพราะบุญที่ได้ทำไว้สมัยเมื่อเกิดเป็นมนุษย์
ข้าพเจ้าจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
ทวารปาลวิมานที่ ๕ จบ

๖.ปฐมกรณียวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่อุบาสกผู้รู้กิจที่ควรทำ เรื่องที่ ๑
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพบุตรองค์หนึ่งว่า)
[๙๒๖] วิมานมีเสาทำด้วยแก้วมณีนี้สูงมาก วัดโดยรอบได้ ๑๒ โยชน์
เป็นปราสาท ๗๐๐ ยอด ดูโอฬาร มีเสาประดิษฐ์ด้วยแก้วไพฑูรย์
มีพื้นปูลาดด้วยแผ่นทองคำสวยงาม
[๙๒๗] ท่านสถิต ดื่ม กิน อยู่ในวิมานนั้น
มีทวยเทพพากันบรรเลงพิณทิพย์ดังไพเราะ
ในวิมานของท่านนี้มีเบญจกามคุณอันเป็นทิพรส
และเหล่าเทพนารีประดับด้วยอาภรณ์ทองคำฟ้อนรำอยู่
[๙๒๘] เพราะบุญอะไรท่านจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่ท่านในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่ท่าน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๕. มหารถวรรค ๗. ทุติยกรณียวิมาน
[๙๒๙] เทวดาผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามว่า
เมื่อท่านเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้
เพราะบุญอะไรท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๙๓๐] เทพบุตรนั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๙๓๑] บัณฑิตผู้รู้แจ้งพึงบำเพ็ญบุญต่าง ๆ
ในพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายผู้เสด็จไปโดยชอบแล้ว
ซึ่งเป็นบุญเขตที่ใคร ๆ ถวายทานแล้วมีผลมาก
[๙๓๒] ข้าพเจ้าทำจิตให้เลื่อมใสในพระพุทธองค์ว่า
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จจากป่ามายังหมู่บ้าน
เพื่อประโยชน์แก่เราหนอ ดังนี้แล้ว
จึงได้มาอุบัติในหมู่เทพชั้นดาวดึงส์
[๙๓๓] เพราะบุญนั้นข้าพเจ้าจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่ข้าพเจ้าในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้า
[๙๓๔] ข้าแต่ภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ข้าพเจ้าขอกราบเรียนว่า
เพราะบุญที่ได้ทำไว้สมัยเมื่อเกิดเป็นมนุษย์
ข้าพเจ้าจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
ปฐมกรณียวิมานที่ ๖ จบ

๗. ทุติยกรณียวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่อุบาสกผู้รู้กิจที่ควรทำ เรื่องที่ ๒
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพบุตรองค์หนึ่งว่า)
[๙๓๕] วิมานมีเสาทำด้วยแก้วมณีนี้สูงมาก วัดโดยรอบได้ ๑๒ โยชน์
เป็นปราสาท ๗๐๐ ยอด ดูโอฬาร มีเสาประดิษฐ์ด้วยแก้วไพฑูรย์
มีพื้นปูลาดด้วยแผ่นทองคำสวยงาม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๕. มหารถวรรค ๗.ทุติยกรณียวิมาน
[๙๓๖] ท่านสถิต ดื่ม กิน อยู่ในวิมานนั้น
มีทวยเทพพากันบรรเลงพิณทิพย์ดังไพเราะ
ในวิมานของท่านนี้มีเบญจกามคุณอันเป็นทิพรส
และเหล่าเทพนารีประดับด้วยอาภรณ์ทองคำฟ้อนรำอยู่
[๙๓๗] เพราะบุญอะไรท่านจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่ท่านในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่ท่าน
[๙๓๘] เทวดาผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามว่า
เมื่อท่านเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้
เพราะบุญอะไรท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๙๓๙] เทพบุตรนั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๙๔๐] บัณฑิตผู้รู้แจ้งพึงบำเพ็ญบุญต่าง ๆ
ในภิกษุทั้งหลายผู้ปฏิบัติชอบ
ซึ่งเป็นบุญเขตที่ใคร ๆ ถวายทานแล้วมีผลมาก
[๙๔๑] ข้าพเจ้าทำจิตให้เลื่อมใสในภิกษุนั้นว่า
ภิกษุออกจากป่าเข้ามายังหมู่บ้านเพื่อประโยชน์แก่เราหนอ
ดังนี้แล้วจึงได้มาอุบัติในหมู่เทพชั้นดาวดึงส์
[๙๔๒] เพราะบุญนั้นข้าพเจ้าจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่ข้าพเจ้าในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้า
[๙๔๓] ข้าแต่ภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ข้าพเจ้าขอกราบเรียนว่า
เพราะบุญที่ได้ทำไว้สมัยเมื่อเกิดเป็นมนุษย์
ข้าพเจ้าจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
ทุติยกรณียวิมานที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๑๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๕. มหารถวรรค ๘. ปฐมสูจิวิมาน
๘. ปฐมสูจิวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่บุรุษผู้ถวายเข็ม เรื่องที่ ๑
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพบุตรองค์หนึ่งว่า)
[๙๔๔] วิมานมีเสาทำด้วยแก้วมณีนี้สูงมาก วัดโดยรอบได้ ๑๒ โยชน์
เป็นปราสาท ๗๐๐ ยอด ดูโอฬาร มีเสาประดิษฐ์ด้วยแก้วไพฑูรย์
มีพื้นปูลาดด้วยแผ่นทองคำสวยงาม
[๙๔๕] ท่านสถิต ดื่ม กิน อยู่ในวิมานนั้น
มีทวยเทพพากันบรรเลงพิณทิพย์ดังไพเราะ
ในวิมานของท่านนี้มีเบญจกามคุณอันเป็นทิพรส
และเหล่าเทพนารีประดับด้วยอาภรณ์ทองคำฟ้อนรำอยู่
[๙๔๖] เพราะบุญอะไรท่านจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่ท่านในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่ท่าน
[๙๔๗] เทวดาผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามว่า
เมื่อท่านเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้
เพราะบุญอะไรท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๙๔๘] เทพบุตรนั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๙๔๙] ทานที่ข้าพเจ้าถวายมา(ก่อน)นั้นไม่มีผล
ทานที่จะถวายควรเป็นของดี
เข็มที่ข้าพเจ้าถวายไปแล้วนั้นแหละเป็นของดี
[๙๕๐] เพราะบุญนั้นข้าพเจ้าจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่ข้าพเจ้าในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๕. มหารถวรรค ๙. ทุติยสูจิวิมาน
[๙๕๑] ข้าแต่ภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ข้าพเจ้าขอกราบเรียนว่า
เพราะบุญที่ได้ทำไว้สมัยเมื่อเกิดเป็นมนุษย์
ข้าพเจ้าจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
ปฐมสูจิวิมานที่ ๘ จบ

๙. ทุติยสูจิวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่บุรุษผู้ถวายเข็ม เรื่องที่ ๒
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพบุตรองค์หนึ่งว่า)
[๙๕๒] วิมานมีเสาทำด้วยแก้วมณีนี้สูงมาก วัดโดยรอบได้ ๑๒ โยชน์
เป็นปราสาท ๗๐๐ ยอด ดูโอฬาร มีเสาประดิษฐ์ด้วยแก้วไพฑูรย์
มีพื้นปูลาดด้วยแผ่นทองคำสวยงาม
[๙๕๓] ท่านสถิต ดื่ม กิน อยู่ในวิมานนั้น
มีทวยเทพพากันบรรเลงพิณทิพย์ดังไพเราะ
ในวิมานของท่านนี้มีเบญจกามคุณอันเป็นทิพรส
และเหล่าเทพนารีผู้ประดับด้วยอาภรณ์ทองคำฟ้อนรำอยู่
[๙๕๔] เพราะบุญอะไรท่านจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่ท่านในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่ท่าน
[๙๕๕] เทวดาผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามว่า
เมื่อท่านเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้
เพราะบุญอะไรท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๙๕๖] เทพบุตรนั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๑๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๕. มหารถวรรค ๑๐. ปฐมนาควิมาน
[๙๕๗] ชาติก่อนข้าพเจ้าเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์ในมนุษยโลก
[๙๕๘] ได้เห็นภิกษุผู้ปราศจากกิเลสประดุจธุลี มีใจผ่องใส ไม่มัวหมอง
เลื่อมใสแล้ว ได้ถวายเข็มแด่ท่านด้วยมือทั้งสองของตน
[๙๕๙] เพราะบุญนั้นข้าพเจ้าจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่ข้าพเจ้าในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้า
[๙๖๐] ข้าแต่ภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ข้าพเจ้าขอกราบเรียนว่า
เพราะบุญที่ได้ทำไว้สมัยเมื่อเกิดเป็นมนุษย์
ข้าพเจ้าจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
ทุติยสูจิวิมานที่ ๙ จบ

๑๐. ปฐมนาควิมาน
ว่าด้วยวิมานที่มีช้างทิพย์เป็นพาหนะ เรื่องที่ ๑
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพบุตรองค์หนึ่งว่า)
[๙๖๑] ท่านขี่ช้างเผือกผ่อง ไม่มีตำหนิ มีงางอนงาม ทรงพลัง
ไปได้เร็วมาก เป็นคชสารประเสริฐ ควรแก่การขับขี่
ผูกสายรัดประคนทองคำไว้เรียบร้อย เหาะมาที่นี้
[๙๖๒] ที่งาทั้งสองของพญาคชสารล้วนมีสระโบกขรณีเนรมิต
มีน้ำใสสะอาด ดารดาษด้วยปทุมชาติมีดอกบานสะพรั่ง
ในดอกปทุมทุก ๆ ดอกมีหมู่ดุริยเทพบรรเลงเพลง
และมีเหล่าเทพอัปสรนี้ฟ้อนรำชวนให้เกิดความรื่นเริงบันเทิงใจ
[๙๖๓] ท่านได้บรรลุเทวฤทธิ์ มีอานุภาพมาก
เมื่อท่านเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้
เพราะบุญอะไรท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๕. มหารถวรรค ๑๑. ทุติยนาควิมาน
[๙๖๔] เทพบุตรนั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๙๖๕] ข้าพเจ้าเลื่อมใสแล้ว ได้นำดอกไม้แปดกำมือเท่านั้น
ไปบูชาที่พระสถูปของพระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่ากัสสปะ
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่(คือนิพพาน)ด้วยมือทั้งสองของตน
[๙๖๖] เพราะบุญนั้นข้าพเจ้าจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่ข้าพเจ้าในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจบังเกิดแก่ข้าพเจ้า
[๙๖๗] ข้าแต่ภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ข้าพเจ้าขอกราบเรียนว่า
เพราะบุญที่ได้ทำไว้สมัยเมื่อเกิดเป็นมนุษย์
ข้าพเจ้าจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
ปฐมนาควิมานที่ ๑๐ จบ

๑๑. ทุติยนาควิมาน
ว่าด้วยวิมานที่มีช้างทิพย์เป็นพาหนะ เรื่องที่ ๒
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพบุตรองค์หนึ่งว่า)
[๙๖๘] ท่านทรงช้างใหญ่เผือกปลอด เป็นคชสารประเสริฐ
แวดล้อมด้วยหมู่เทพอัปสร เที่ยววนเวียนอยู่ตามป่า
เปล่งรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอยู่ ดุจดาวประกายพรึก
[๙๖๙] เพราะบุญอะไรท่านจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่ท่านในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่ท่าน
[๙๗๐] เทวดาผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามว่า
เมื่อท่านเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้
เพราะบุญอะไรท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๕. มหารถวรรค ๑๒. ตติยนาควิมาน
[๙๗๑] เทพบุตรนั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๙๗๒] เมื่อข้าพเจ้าเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์
เป็นอุบาสกของพระพุทธเจ้าผู้ทรงมีพระจักษุ
ได้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ งดเว้นจากลักทรัพย์ในโลก
[๙๗๓] ยินดีเฉพาะภรรยาของตน ไม่กล่าวเท็จ และไม่ดื่มน้ำเมา
มีจิตเลื่อมใส ได้ถวายข้าวและน้ำเป็นทานอย่างไพบูลย์โดยเคารพ
[๙๗๔] เพราะบุญนั้นข้าพเจ้าจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่ข้าพเจ้าในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้า
[๙๗๕] ข้าแต่ภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ข้าพเจ้าขอกราบเรียนว่า
เพราะบุญที่ทำได้ไว้เมื่อเกิดเป็นมนุษย์
ข้าพเจ้าจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
ทุติยนาควิมานที่ ๑๑ จบ

๑๒. ตติยนาควิมาน
ว่าด้วยวิมานที่มีช้างทิพย์เป็นพาหนะ เรื่องที่ ๓
(บุรุษผู้เป็นบัณฑิตถามเทพบุตรตนหนึ่งว่า)
[๙๗๖] ใครหนอ มีช้างเผือกปลอดเป็นยานทิพย์
มีเสียงดนตรีประโคมกึกก้อง
มีบริวารเป็นอันมากบูชาอยู่ในอากาศ
[๙๗๗] ท่านเป็นเทวดาหรือคนธรรพ์ หรือเป็นท้าวสักกปุรินททะ
พวกเราไม่รู้จัก จึงขอถามท่าน
พวกเราจะรู้จักท่านได้อย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๑๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๕. มหารถวรรค ๑๓. จูฬรถวิมาน
(เทพบุตรกล่าวว่า)
[๙๗๘] ข้าพเจ้าไม่ใช่เทวดา ไม่ใช่คนธรรพ์
ทั้งไม่ใช่ท้าวสักกปุรินททะ
แต่ข้าพเจ้าเป็นเทพบุตรตนหนึ่งในบรรดาเหล่าเทพชาวสุธัมมา
(บุรุษผู้เป็นบัณฑิตถามว่า)
[๙๗๙] แน่ะเทพชาวสุธัมมา ข้าพเจ้าขอกราบเรียนถามว่า
คนทำกรรมอะไรไว้สมัยเป็นมนุษย์
จึงจะเกิดเป็นเทพชาวสุธัมมาได้
(เทพบุตรกล่าวว่า)
[๙๘๐] ผู้ใดพึงถวายอาคารมุงบังด้วยใบอ้อย
อาคารมุงบังด้วยหญ้า และอาคารมุงบังด้วยผ้า
ผู้นั้นครั้นถวายอาคารอย่างใดอย่างหนึ่งในอาคารสามอย่างแล้ว
จึงจะเกิดเป็นเทพชาวสุธัมมาได้
ตติยนาควิมานที่ ๑๒ จบ

๑๓. จูฬรถวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่มีรถทิพย์คันเล็กเป็นพาหนะเกิดขึ้นแก่สุชาตกุมาร
(พระมหากัจจายนเถระทูลถามสุชาตกุมารว่า)
[๙๘๑] นายขมังธนู ท่านยืนลดธนูไม้แก่นอันยอดเยี่ยมอยู่
ท่านเป็นกษัตริย์หรือราชกุมาร หรือเป็นพรานป่า
(สุชาตกุมารตรัสตอบว่า)
[๙๘๒] พระคุณเจ้าผู้เจริญ ข้าพเจ้าเป็นราชโอรสของพระเจ้าอัสสกะ
เที่ยวไปในป่า ภิกษุ ข้าพเจ้าขอบอกนามแก่ท่าน
ชนทั้งหลายรู้จักข้าพเจ้าว่า สุชาตะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๒๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๕. มหารถวรรค ๑๓. จูฬรถวิมาน
[๙๘๓] ข้าพเจ้าเที่ยวลัดเลาะไปยังป่าใหญ่ เสาะหาหมู่เนื้อ
ไม่ทันได้เห็นเนื้อนั้นเลย แต่มาพบท่านเข้า จึงได้หยุดยืนอยู่
(พระมหากัจจายนเถระทูลว่า)
[๙๘๔] พระองค์ผู้มีบุญมาก พระองค์เสด็จมาดีแล้ว ทั้งมิได้เสด็จมาร้าย
ขอเชิญพระองค์ทรงตักน้ำจากภาชนะนี้ล้างพระบาทของพระองค์เถิด
[๙๘๕] นี้น้ำเย็นน่าดื่มนำมาจากซอกเขา
พระราชโอรส ขอเชิญพระองค์เสวยน้ำจากภาชนะนั้นแล้ว
โปรดเสด็จเข้าไปประทับนั่งบนพื้นที่ปูลาดไว้แล้ว
(สุชาตกุมารตรัสว่า)
[๙๘๖] พระมหามุนี วาจาของท่านงามจริงหนอ
น่าฟัง ไม่มีโทษ มีแต่ประโยชน์ ไพเราะ
ท่านมีปัญญากล่าวแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์
[๙๘๗] ท่านยินดีอะไรจึงอยู่แต่ในป่า
พระฤๅษีผู้องอาจ ข้าพเจ้าถามแล้ว ท่านโปรดบอกด้วยเถิด
ข้าพเจ้าพิจารณาถ้อยคำของท่านแล้วจะประพฤติอย่างสม่ำเสมอ
ตามครรลองแห่งธรรมอันนำมาซึ่งประโยชน์
(พระมหากัจจายนเถระทูลว่า)
[๙๘๘] พระราชกุมาร อาตมภาพชอบการไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งปวง
การงดเว้นจากการลักขโมย การประพฤติผิดประเวณี
และการดื่มน้ำเมา
[๙๘๙] ความงดเว้น ความประพฤติชอบ
ความเป็นพหูสูต ความกตัญญู
ธรรมเหล่านี้เป็นธรรมอันกุลบุตรพึงหวังในปัจจุบัน
อันวิญญูชนพึงสรรเสริญแท้
[๙๙๐] พระราชโอรส พระองค์ทรงทราบเถิดว่า พระองค์ใกล้สวรรคต
เหลืออีกไม่ถึง ๕ เดือน โปรดรีบเปลื้องตนเสียเถิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๒๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๕. มหารถวรรค ๑๓. จูฬรถวิมาน
(พระราชกุมารตรัสถามว่า)
[๙๙๑] ข้าพเจ้านั้นพึงไปชนบทไหน ทำการงานอะไร
และทำหน้าที่ของบุรุษอย่างไร หรือใช้วิชาอะไร จึงจะไม่แก่ไม่ตาย
(พระมหากัจจายนเถระทูลว่า)
[๙๙๒] พระราชโอรส ไม่มีสถานที่ที่สัตว์ไปแล้วไม่พึงแก่ไม่พึงตาย
ทั้งการงาน วิชา และหน้าที่ของบุรุษ
ที่สัตว์ทำแล้วจะไม่พึงแก่ไม่พึงตาย ก็ไม่มี
[๙๙๓] แม้ชนทั้งหลายที่มีทรัพย์มาก มีโภคสมบัติมาก
ถึงจะเป็นกษัตริย์ผู้ครองแว่นแคว้น
มีทรัพย์และธัญญาหารมากมาย
จะไม่แก่ไม่ตาย ก็ไม่มีเลย
[๙๙๔] ถึงท่านผู้เป็นบุตรของชาวอันธกเวณฑุ ผู้ได้ศึกษาแล้ว
มีความสามารถแกล้วกล้าประหารข้าศึกได้
แม้ท่านเหล่านั้นซึ่งเสมอด้วยสิ่งที่ยั่งยืน
ก็ต้องถึงความสิ้นอายุสลายไป
[๙๙๕] แม้เหล่าชนที่เป็นกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์
ศูทร จัณฑาล ปุกกุสะ และชนประเภทอื่น
โดยชาติกำเนิดซึ่งจะไม่แก่ไม่ตายไม่มี
[๙๙๖] แม้เหล่าชนผู้ร่ายมนตร์พรหมจินดามีองค์ ๖๑
และเหล่าชนที่ใช้วิชาอื่น ๆ จะไม่แก่ไม่ตาย ก็ไม่มี
[๙๙๗] อนึ่ง แม้ฤๅษีทั้งหลายผู้สงบ สำรวมตน บำเพ็ญตบะ
ก็ยังต้องละทิ้งร่างกายไปตามกาลอันสมควร

เชิงอรรถ :
๑ มนตร์พรหมจินดามีองค์ ๖ คือ ๑. กัปปะ (ว่าด้วยวิธีเกี่ยวกับการบูชายัญ) ๒. พยากรณ์ (แสดงการแยกปกติ)
๓. นิรุตติ (แสดงรูปศัพท์ เติมปัจจัย) ๔. สิกขา (แสดงฐานกรณ์ และปตยนะของอักษร) ๕. ฉันโทวิจิติ
(แสดงลักษณะของฉันท์) ๖. โชติสัตถะ (แสดงลักษณะของดวงดาวที่บ่งถึงความเจริญหรือความเสื่อมของ
มนุษย์) (ขุ.วิ.อ. ๙๙๖/๓๐๙) เทียบ เวทางคศาสตร์ของพราหมณ์ มี ๖ อย่าง คือ ๑. ศึกษาวิธีออกเสียง
คำในพระเวทให้ถูกต้อง ๒. ไวยากรณ์ ๓. ฉันท์ ๔. เชยติส คือดาราศาสตร์ ๕. นิรุกติ คือกำเนิดของคำ
และ ๖. กัลปะ คือวิธีจัดทำพิธี (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๒๕ หน้า ๗๗๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๕. มหารถวรรค ๑๓. จูฬรถวิมาน
[๙๙๘] แม้พระอรหันต์ทั้งหลายผู้อบรมตนแล้ว ทำกิจเสร็จแล้ว
ไม่มีอาสวะ สิ้นบุญและบาป ก็ยังต้องทอดทิ้งร่างกายนี้ไป
(พระราชกุมารตรัสว่า)
[๙๙๙] พระมหามุนี คาถาทั้งหลายของท่านเป็นสุภาษิต มีประโยชน์
ข้าพเจ้าโล่งใจ เพราะเนื้อความที่เป็นสุภาษิต
และขอท่านโปรดเป็นที่พึ่งที่ระลึกของข้าพเจ้าด้วย
(พระมหากัจจายนเถระทูลว่า)
[๑๐๐๐] ขอพระองค์จงอย่าทรงถึงอาตมภาพว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึกเลย
ขอจงทรงถึงพระพุทธเจ้าผู้เป็นศากยบุตร ผู้มีความเพียรยิ่งใหญ่
ผู้ซึ่งอาตมภาพถือเป็นที่พึ่งที่ระลึกแล้ว
พระองค์นั้นแหละว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึกเถิด
(พระราชกุมารตรัสถามว่า)
[๑๐๐๑] ท่านผู้นิรทุกข์ พระศาสดาของท่านพระองค์นั้น
ประทับอยู่ ณ ชนบทไหน
ถึงข้าพเจ้าก็จักไปเฝ้าพระชินเจ้าผู้หาบุคคลใดเสมอเหมือนมิได้
(พระเถระถวายพระพรว่า)
[๑๐๐๒] พระศาสดาผู้เป็นบุรุษอาชาไนย ทรงสมภพในราชวงศ์
ของพระเจ้าโอกกากราช ในชนบทด้านทิศตะวันออก
พระองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานเสียแล้ว
(พระราชกุมารตรัสว่า)
[๑๐๐๓] ท่านผู้นิรทุกข์ ถ้าพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าของท่าน
ยังทรงพระชนม์อยู่ ถึงไกลหลายพันโยชน์
ข้าพเจ้าก็จะพึงไปเฝ้าใกล้ ๆ ให้จงได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๕. มหารถวรรค ๑๓. จูฬรถวิมาน
[๑๐๐๔] ท่านผู้นิรทุกข์ แต่เพราะพระบรมศาสดาของท่าน
เสด็จดับขันธปรินิพพานเสียแล้ว
ฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงขอถึงพระองค์ผู้มีความเพียรยิ่งใหญ่
ซึ่งเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้วว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
[๑๐๐๕] ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า กับทั้งพระธรรมที่ยอดเยี่ยม
และพระสงฆ์ซึ่งเป็นที่พึ่งที่ระลึกของเทวดา
และมนุษย์ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
[๑๐๐๖] ข้าพเจ้าของดเว้นจากการฆ่าสัตว์โดยพลัน
ของดเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ในโลก
ยินดีเฉพาะภรรยาของตน ไม่กล่าวเท็จ และไม่ดื่มน้ำเมา
(พระเถระถามเทพบุตรนั้นว่า)
[๑๐๐๗] รถใหญ่ของท่านนี้แผ่รัศมีไปโดยรอบกว้าง ๑๐๐ โยชน์
ดังดวงอาทิตย์มีรัศมีมากโคจรไปในท้องฟ้า ส่องแสงไปทั่วทุกทิศ
[๑๐๐๘] รถใหญ่ของท่านนี้บุด้วยแผ่นทองคำโดยรอบ
งอนรถนั้นวิจิตรด้วยแก้วมุกดาและแก้วมณี
แผ่นทองคำและแผ่นเงินมีลวดลายสวยงาม
ประดิษฐ์ด้วยแก้วไพฑูรย์ บรรจงสร้างไว้อย่างดี ทำให้แลดูงาม
[๑๐๐๙] และปลายงอนรถนี้สร้างด้วยแก้วไพฑูรย์
แอกรถนี้วิจิตรด้วยแก้วทับทิม
แม้ม้าเหล่านี้ก็ประดับด้วยทองและเงิน
วิ่งได้เร็วทันใจ แลดูสง่างาม
[๑๐๑๐] ท่านยืนสง่าอยู่บนรถทองคำเทียมด้วยม้า๑,๐๐๐ ตัวเป็นพาหนะ
เปรียบดังท้าวสักกะจอมเทพ ท่านผู้มียศ
อาตมภาพขอถามท่านผู้ชาญฉลาดว่า
ยศอย่างโอฬารนี้ท่านได้มาอย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๒๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๕. มหารถวรรค ๑๔. มหารถวิมาน
(เทพบุตรตอบว่า)
[๑๐๑๑] พระคุณเจ้าผู้เจริญ ชาติก่อนข้าพเจ้าเป็นราชโอรสนามว่าสุชาตะ
และพระคุณเจ้าได้อนุเคราะห์ให้ข้าพเจ้าได้ตั้งอยู่ในความสำรวม
[๑๐๑๒] อนึ่ง พระคุณเจ้ารู้ว่าข้าพเจ้าจะสิ้นอายุ
ได้มอบพระบรมสารีริกธาตุของพระศาสดาด้วยกล่าวว่า
สุชาตราชโอรส พระองค์จงทรงบูชาพระบรมสารีริกธาตุนี้
การบูชานั้นจักเป็นประโยชน์แก่พระองค์เอง
[๑๐๑๓] ข้าพเจ้าได้ขวนขวายบูชาพระบรมสารีริกธาตุนั้น
ด้วยของหอมและดอกไม้ทั้งหลาย
ครั้นละร่างมนุษย์แล้วได้เกิดในสวนนันทวัน
[๑๐๑๔] มีเหล่านางอัปสรฟ้อนรำขับร้องห้อมล้อมรื่นรมย์อยู่
ในสวนนันทวันอย่างงามเลิศ น่ารื่นรมย์
ขวักไขว่ไปด้วยฝูงนกนานาชนิด
จูฬรถวิมานที่ ๑๓ จบ

๑๔. มหารถวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่รถทิพย์คันใหญ่เป็นพาหนะเกิดขึ้นแก่คนเลี้ยงโค
(พระมหาโมคคัลานเถระถามเทพบุตรตนหนึ่งว่า)
[๑๐๑๕] ท่านขึ้นรถเทียมด้วยม้า ๑,๐๐๐ ตัวเป็นพาหนะ
งามวิจิตรอเนกประการ รุ่งเรืองเหมือนกับท้าววาสวปุรินททะ๑
ผู้เป็นจอมเทพซึ่งกำลังเสด็จไปใกล้พื้นที่อุทยานโดยลำดับ
[๑๐๑๖] แคร่รถทั้งสองข้างของท่านก็ล้วนแล้วด้วยทองคำ
ประกอบไม้เท้าแขนสองข้าง

เชิงอรรถ :
๑ เป็นชื่อของท้าวสักกะ ผู้เคยให้ที่พักอาศัยในกาลก่อน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๕. มหารถวรรค ๑๔. มหารถวิมาน
ไม้คานทั้งสองสนิทดี มีลูกกรงจัดไว้ได้ระเบียบเรียบร้อย
เหมือนช่างศิลป์บรรจงจัดไว้เสร็จแล้ว
รถของท่านนี้รุ่งเรืองดังดวงจันทร์ในวันเพ็ญ
[๑๐๑๗] รถคันนี้คลุมด้วยข่ายทองคำ วิจิตรด้วยรัตนะต่าง ๆ มากมาย
มีเสียงกึกก้องไพเราะน่าเพลิดเพลิน ทั้งมีรัศมีรุ่งโรจน์
รุ่งเรืองด้วยหมู่เทวดาถือแส้จามร
[๑๐๑๘] ดุมรถเหล่านี้ประดับตรงกลางระหว่างล้อรถ ประดุจเนรมิตด้วยใจ
ทั้งวิจิตรด้วยลวดลายเป็นร้อย สว่างไสวดังสายฟ้าแลบ
[๑๐๑๙] รถคันนี้พราวไปด้วยลวดลายวิจิตรอเนกประการ
และกงล้อใหญ่มีรัศมีตั้งพัน
มีเสียงดังไพเราะน่าฟัง คล้ายดนตรีเครื่องห้าที่ขับประโคมแล้ว
[๑๐๒๐] งอนรถร้อยไว้ด้วยแก้วมณี มีสัณฐานกลมดังดวงจันทร์
วิจิตร บริสุทธิ์ งดงาม ผุดผ่องทุกเมื่อ
ประกอบด้วยลายทองเนียนสนิท งามล้ำดุจลายแก้วไพฑูรย์
[๑๐๒๑] ม้าเหล่านี้ผูกร้อยไว้ด้วยแก้วมณี มีสัณฐานกลมดังดวงจันทร์
สูงใหญ่ ว่องไว เปรียบเหมือนม้าใหญ่ที่เจริญเติบโต
มีฤทธิ์มาก ทรงพลัง รวดเร็วมาก
รู้ใจของท่าน วิ่งไปได้เร็วดังใจนึก
[๑๐๒๒] ด้วยว่า ม้าทั้งหมดนี้อดทน เหยาะย่างไปด้วยเท้าทั้ง ๔
รู้ใจของท่าน วิ่งไปได้เร็วดังใจนึก มีกิริยาท่าทางนุ่มนวล
ไม่ลำพอง วิ่งเรียบ ทำให้ผู้ขับขี่เบิกบานใจ เป็นยอดม้าทั้งหลาย
[๑๐๒๓] บางคราวก็แกว่งขนหางไปมา
บางคราวก็วิ่งเหยาะย่างเท้าไป บางคราวก็เหาะไป
ทำเครื่องประดับที่เขาตกแต่งไว้เรียบร้อยให้กวัดแกว่ง
เสียงเครื่องประดับเหล่านั้นดังไพเราะน่าฟัง
คล้ายดนตรีเครื่องห้าที่ขับประโคมแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๕. มหารถวรรค ๑๔. มหารถวิมาน
[๑๐๒๔] เสียงรถ เสียงเครื่องประดับทั้งหลาย เสียงกีบเท้าม้า
เสียงม้าเสียดสีกัน และเสียงเทพผู้บันเทิงดังไพเราะ
คล้ายดนตรีของคนธรรพ์ในสวนจิตรลดา
[๑๐๒๕] เหล่าเทพอัปสรอยู่บนรถ
มีดวงตาอ่อนโยนคล้ายดวงตาลูกเนื้อทราย
มีขนตาดก มีใบหน้ายิ้มแย้ม พูดจาอ่อนหวาน
มีร่างกายคลุมด้วยข่ายแก้วไพฑูรย์ มีผิวเนียน
ซึ่งคนธรรพ์และเทวดาผู้สูงศักดิ์บูชาทุกเมื่อเป็นประจำ
[๑๐๒๖] เทพอัปสรเหล่านั้นมีรูปโฉมเย้ายวนน่ายินดี
ทรงพัสตราภรณ์สีแดงและสีเหลือง
มีดวงตากลมโต มีนัยน์ตางามน่ารักยิ่งนัก
เป็นผู้ดีมีสกุล มีเรือนร่างสวยงาม
ยิ้มแย้มแจ่มใส ยืนประนมมือเด่นอยู่บนรถ
[๑๐๒๗] เธอเหล่านั้นสวมใส่ทองต้นแขน ทรงพัสตราภรณ์งดงาม
มีเอวกลมกลึง ขาเรียวงาม ถันเต่งตึง นิ้วมือเรียวกลม
พักตร์ผุดผ่อง น่าชม ยืนประนมมือเด่นอยู่บนรถ
[๑๐๒๘] เทพอัปสรบางพวกมีช้องผมงาม ล้วนเป็นสาวแรกรุ่น
มีมวยผมแซมสลับด้วยแก้วทับทิมและพวงดอกไม้จัดแต่งไว้เรียบร้อย
มีประกายพรายพราว
เทพอัปสรเหล่านั้นมีกิริยาแช่มช้อย
มีใจชื่นชมต่อท่าน ยืนประนมมือเด่นอยู่บนรถ
[๑๐๒๙] บางพวกมีมาลัยแก้วประดับเทริด
และทับทรวงด้วยดอกปทุมและอุบล
ทรงเครื่องประดับ อบด้วยแก่นจันทน์
เทพอัปสรเหล่านั้นมีกิริยาแช่มช้อย
มีใจชื่นชมต่อท่าน ยืนประนมมือเด่นอยู่บนรถ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๕. มหารถวรรค ๑๔. มหารถวิมาน
[๑๐๓๐] เทพอัปสรเหล่านั้นประดับพวงมาลัย
และทับทรวงด้วยดอกปทุมและดอกอุบล
ทรงเครื่องประดับ อบด้วยแก่นจันทน์
ถึงพวกนางก็มีกิริยาแช่มช้อย
มีใจชื่นชมต่อท่าน ยืนประนมมือเด่นอยู่บนรถ
[๑๐๓๑] บางพวกสว่างไสวไปทั่วทั้งสิบทิศด้วยเครื่องประดับคอ มือ เท้า
และศีรษะ เหมือนพระอาทิตย์ในสารทกาลกำลังอุทัย
[๑๐๓๒] ดอกไม้และเครื่องประดับที่แขนทั้งสองต้องลมก็ไหวพริ้ว
เปล่งเสียงกังวานไพเราะจับใจ อันวิญญูชนทุกคนควรฟัง
[๑๐๓๓] ท่านผู้เป็นจอมเทพ เสียงรถ ช้าง ม้า และดนตรีทั้งหลาย
ซึ่งอยู่สองข้างพื้นอุทยานทำให้ท่านบันเทิงใจ
ดุจพิณทั้งหลายมีรางและคันถือที่ประกอบไว้เรียบร้อยแล้ว
[๑๐๓๔] เมื่อพิณมีเสียงไพเราะจับใจจำนวนมากเหล่านี้
ที่เทพอัปสรทั้งหลายบรรเลงอย่างซาบซึ้งตรึงใจยิ่งอยู่
เหล่านางอัปสรเทพกัญญา ผู้ล้วนชำนาญศิลป์
ต่างพากันร่ายรำอยู่บนดอกปทุมทั้งหลาย
[๑๐๓๕] ในเวลาที่มีการขับร้อง การประโคม และการฟ้อนเหล่านี้
ประสานกลมกลืนเป็นอันเดียวกัน
เทพอัปสรพวกหนึ่งฟ้อนรำอยู่บนรถของท่านนี้
อีกพวกหนึ่งทางด้านนี้เปล่งรัศมีสว่างไสวทั้งสองด้าน
[๑๐๓๖] ท่านนั้นผู้อันหมู่เทพดุริยางค์ปลุกเร้าให้เกิดปีติโสมนัส
อันทวยเทพทั้งหลายบูชาอยู่
บันเทิงใจอยู่ ดังพระอินทร์ผู้ทรงวชิราวุธ
ในเมื่อพิณมีเสียงไพเราะจับใจจำนวนมากเหล่านี้
ที่เทพอัปสรทั้งหลายบรรเลงอย่างซาบซึ้งตรึงใจยิ่งอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๕. มหารถวรรค ๑๔. มหารถวิมาน
[๑๐๓๗] เมื่อชาติก่อน ท่านเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำกรรมอะไรไว้
ท่านได้รักษาอุโบสถหรือว่า
ได้ชอบใจการประพฤติธรรมและการสมาทานวัตรอะไร
[๑๐๓๘] การที่ท่านมีอิทธานุภาพไพบูลย์รุ่งโรจน์ยิ่งกว่าหมู่เทพนี้
มิใช่ผลกรรมเล็กน้อยที่ท่านทำไว้แล้ว
หรืออุโบสถที่ท่านประพฤติแล้วในชาติก่อน
[๑๐๓๙] นี้เป็นผลของทาน หรือศีล หรือการกราบไหว้ของท่าน
อาตมาถามท่านแล้ว โปรดบอกผลกรรมนั้นแก่อาตมาเถิด
[๑๐๔๐] เทพบุตรนั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๑๐๔๑] ข้าพเจ้าได้เห็นพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงชนะอินทรีย์แล้ว
มีความเพียรไม่ย่อหย่อน ผู้สูงสุดแห่งนระทั้งหลาย เป็นอัครบุคคล
เปิดประตูอมตนิพพาน เป็นเทพยิ่งกว่าเทพ ซึ่งมีบุญลักษณะนับร้อย
[๑๐๔๒] ครั้นได้เห็นพระองค์ผู้ข้ามโอฆะได้แล้วเช่นกับกุญชร
มีพระวรกายงดงามเช่นกับทองสิงคี๑และทองชมพูนุท๒
พลันข้าพเจ้าก็มีใจหมดจดเพราะได้เห็นพระองค์
ผู้มีธรรมที่พระองค์ตรัสไว้ดีแล้วเป็นธงนั่นเอง
[๑๐๔๓] ข้าพเจ้านั้นมีใจไม่ติดข้องในอะไร ได้มอบถวายข้าวน้ำ
จีวร และของที่สะอาด ประณีต มีรสชาติ
เฉพาะพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ในที่อยู่ของตนซึ่งดารดาษด้วยดอกไม้
[๑๐๔๔] ได้อังคาสพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นซึ่งทรงเป็นผู้สูงสุด
กว่าเหล่ามนุษย์ ให้อิ่มหนำด้วยข้าว น้ำ จีวร ของเคี้ยว
ของฉัน และของลิ้ม จึงรื่นรมย์อยู่ในสวรรค์อันเป็นเทวบุรี

เชิงอรรถ :
๑ ทองเนื้อสุก (ขุ.วิ.อ. ๑๐๔๒/๓๒๙)
๒ ทองวิเศษ (ขุ.วิ.อ. ๑๐๔๒/๓๒๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] รวมเรื่องวิมานที่มีในวรรค
[๑๐๔๕] โดยอุบายนี้ ข้าพเจ้าได้ถวายทานที่มีลิ่มสลักออกแล้วนี้๑
อันมีความบริสุทธิ์ ๓ ประการ ละร่างมนุษย์แล้ว
รื่นรมย์อยู่ในเทวบุรี เสมอเหมือนกับพระอินทร์
[๑๐๔๖] ท่านพระมุนี บุคคลผู้มุ่งหวังอายุ วรรณะ สุขะ พละ
และรูปที่ประณีต มีใจไม่ติดข้องในอะไร ๆ
พึงถวายข้าวและน้ำซึ่งปรุงดีแล้วให้มากแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
[๑๐๔๗] ไม่ว่าในโลกนี้หรือโลกหน้า
ผู้ที่ประเสริฐกว่า หรือเสมอด้วยพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่มี
บรรดาผู้ควรบูชาทั้งหลาย
พระพุทธเจ้าถึงความเป็นผู้ควรบูชาอย่างยิ่ง
ของเหล่าชนผู้ต้องการบุญหวังผลอันไพบูลย์
มหารถวิมานที่ ๑๔ จบ
มหารถวรรคที่ ๕ จบ

รวมเรื่องวิมานที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. มัณฑูกเทวปุตตวิมาน ๒. เรวตีวิมาน
๓. ฉัตตมาณวกวิมาน ๔. กักกฏกรสทายกวิมาน
๕. ทวารปาลวิมาน ๖. ปฐมกรณียวิมาน
๗. ทุติยกรณียวิมาน ๘. ปฐมสูจิวิมาน
๙. ทุติยสูจิวิมาน ๑๐. ปฐมนาควิมาน
๑๑. ทุติยนาควิมาน ๑๒. ตติยนาควิมาน
๑๓. จูฬรถวิมาน ๑๔. มหารถวิมาน

ภาณวารที่ ๓ จบ

เชิงอรรถ :
๑ บริจาคสมบัติของตนทั้งหมด (ขุ.วิ.อ. ๑๐๔๓/๓๓๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๖. ปายาสิกวรรค ๑. ปฐมอคาริยวิมาน
๖. ปายาสิกวรรค
หมวดว่าด้วยเทพบุตรผู้เคยเป็นคนรับใช้เจ้าปายาสิ
๑. ปฐมอคาริยวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่สองสามีภรรยา
ผู้เป็นดังอู่ข้าวอู่น้ำของพระสงฆ์ เรื่องที่ ๑
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพบุตรตนหนึ่งว่า)
[๑๐๔๘] สวนจิตรลดาเป็นสวนประเสริฐชั้นดีเยี่ยม
ของทวยเทพชั้นไตรทศ ส่องแสงสว่างไสวฉันใด
วิมานของท่านนี้ก็มีอุปมาฉันนั้น
ส่องแสงสว่างไสวอยู่ในอากาศ
[๑๐๔๙] ท่านได้บรรลุเทวฤทธิ์ มีอานุภาพมาก
เมื่อท่านเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้
เพราะบุญอะไรท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๑๐๕๐] เทพบุตรนั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๑๐๕๑] ข้าพเจ้าและภรรยาเมื่อยังครองเรือนอยู่ในมนุษยโลก
ได้เป็นดังอู่ข้าวอู่น้ำ มีจิตเลื่อมใส
ได้ถวายข้าวและน้ำเป็นทานอย่างไพบูลย์โดยเคารพ
[๑๐๕๒-๑๐๕๓] เพราะบุญนั้นข้าพเจ้าจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
ปฐมอคาริยวิมานที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๖. ปายาสิกวรรค ๓. ผลทายกวิมาน
๒. ทุติยอคาริยวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่สองสามีภรรยา
ผู้เป็นดังอู่ข้าวอู่น้ำของพระสงฆ์ เรื่องที่ ๒
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพบุตรตนหนึ่งว่า)
[๑๐๕๔] สวนจิตรลดาเป็นสวนประเสริฐชั้นดีเยี่ยม
ของทวยเทพชั้นไตรทศ ส่องแสงสว่างไสวฉันใด
วิมานของท่านนี้ก็มีอุปมาฉันนั้น
ส่องแสงสว่างไสวอยู่ในอากาศ
[๑๐๕๕] ท่านได้บรรลุเทวฤทธิ์ มีอานุภาพมาก
เมื่อท่านเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้
เพราะบุญอะไรท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๑๐๕๖] เทพบุตรนั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๑๐๕๗] ข้าพเจ้าและภรรยาเมื่อยังครองเรือนอยู่ในมนุษยโลก
ได้เป็นดังอู่ข้าวอู่น้ำ มีจิตเลื่อมใส
ได้ถวายข้าวและน้ำเป็นทานอย่างไพบูลย์โดยเคารพ
[๑๐๕๘-๑๐๕๙] เพราะบุญนั้นข้าพเจ้าจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
ทุติยอคาริยวิมานที่ ๒ จบ

๓. ผลทายกวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่บุรุษผู้ถวายมะม่วง ๔ ผล
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพบุตรตนหนึ่งว่า)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๓๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๖. ปายาสิกวรรค ๓. ผลทายกวิมาน
[๑๐๖๐] วิมานมีเสาทำด้วยแก้วมณีนี้สูงมาก วัดโดยรอบได้ ๑๒ โยชน์
เป็นปราสาท ๗๐๐ ยอด ดูโอฬาร มีเสาประดิษฐ์ด้วยแก้วไพฑูรย์
มีพื้นปูลาดด้วยแผ่นทองคำสวยงาม
[๑๐๖๑] ท่านสถิต ดื่ม กินอยู่ในวิมานนั้น
มีทวยเทพพากันบรรเลงพิณทิพย์ดังไพเราะ
และเทพกัญญา ๖๔,๐๐๐ นางมีรูปงาม
ท่องเที่ยวไปมาอย่างสำราญในภพดาวดึงส์ มีสมบัติมากมาย
เป็นผู้ชำนาญการฟ้อนรำขับร้อง พากันมาให้ความบันเทิงใจ
[๑๐๖๒] ท่านได้บรรลุเทวฤทธิ์ มีอานุภาพมาก
เมื่อท่านเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้
เพราะบุญอะไรท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๑๐๖๓] เทพบุตรนั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๑๐๖๔] ผู้มีใจเลื่อมใสเมื่อจะถวายทานในหมู่ภิกษุผู้ปฏิบัติตรง
ได้ถวายผลไม้เป็นประจำ จึงได้รับผลบุญอันไพบูลย์
ผู้นั้นแหละไปสู่สวรรค์ชั้นไตรทศ และเสวยผลบุญอย่างไพบูลย์
[๑๐๖๕] ท่านมหามุนี ข้าพเจ้าก็อย่างนั้นเหมือนกันได้ถวายมะม่วง ๔ ผล
[๑๐๖๖] เพราะเหตุนั้น มนุษย์ผู้ต้องการความสุข
ปรารถนาความสุขอันเป็นทิพย์
หรือปรารถนาความเป็นผู้มีส่วนดีงามในหมู่มนุษย์เป็นนิตย์
ควรถวายผลไม้แท้
[๑๐๖๗-๑๐๖๘] เพราะบุญนั้นข้าพเจ้าจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
ผลทายกวิมานที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๖. ปายาสิกวรรค ๕. ทุติยอุปัสสยทายกวิมาน
๔. ปฐมอุปัสสยทายกวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่สองสามีภรรยาผู้บำรุงพระอรหันต์ เรื่องที่ ๑
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพบุตรตนหนึ่งว่า)
[๑๐๖๙] ดวงจันทร์ปราศจากเมฆหมอกส่องแสงสว่างอยู่ในนภากาศฉันใด
วิมานของท่านนี้ก็มีอุปมาฉันนั้น ส่องแสงสว่างไสวอยู่ในอากาศ
[๑๐๗๐] ท่านได้บรรลุเทวฤทธิ์ มีอานุภาพมาก
เมื่อท่านเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้
เพราะบุญอะไรท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๑๐๗๑] เทพบุตรนั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๑๐๗๒] ข้าพเจ้าและภรรรยาเมื่อยังครองเรือนอยู่ในมนุษยโลก
ได้ถวายที่อยู่แด่พระอรหันต์ มีจิตเลื่อมใส
ได้ถวายข้าวและน้ำเป็นทานอย่างไพบูลย์โดยเคารพ
[๑๐๗๓-๑๐๗๔] เพราะบุญนั้น ข้าพเจ้าจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
ปฐมอุปัสสยทายกวิมานที่ ๔ จบ

๕. ทุติยอุปัสสยทายกวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่สองสามีภรรยาผู้บำรุงพระอรหันต์ เรื่องที่ ๒
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพบุตรตนหนึ่งว่า)
[๑๐๗๕-๑๐๗๘] ดวงอาทิตย์ปราศจากเมฆหมอกส่องแสงสว่างอยู่ในนภากาศฉันใด
วิมานของท่านนี้ก็มีอุปมาฉันนั้น ส่องแสงสว่างไสวอยู่ในอากาศ
ฯลฯ
(อธิบายนอกนี้พึงให้พิสดารเหมือนวิมานข้างต้น)
[๑๐๗๙-๑๐๘๐] และรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
ทุติยอุปัสสยทายกวิมานที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๖. ปายาสิกวรรค ๗. ยวปาลกวิมาน
๖. ภิกขาทายกวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่บุรุษผู้ถวายอาหารแด่ภิกษุ
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพบุตรตนหนึ่งว่า)
[๑๐๘๑] วิมานมีเสาทำด้วยแก้วมณีนี้สูงมาก วัดโดยรอบได้ ๑๒ โยชน์
เป็นปราสาท ๗๐๐ ยอด ดูโอฬาร มีเสาประดิษฐ์ด้วยแก้วไพฑูรย์
มีพื้นปูลาดด้วยแผ่นทองคำสวยงาม
[๑๐๘๒] ท่านได้บรรลุเทวฤทธิ์ มีอานุภาพมาก ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๑๐๘๓] เทพบุตรนั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาของผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๑๐๘๔] เมื่อข้าพเจ้าเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์
ได้เห็นภิกษุผู้กระหายน้ำเหน็ดเหนื่อยมาในกาลนั้น
ข้าพเจ้าได้ปรุงอาหารอย่างหนึ่งถวายพร้อมทั้งข้าวสุก
[๑๐๘๕-๑๐๘๖] เพราะบุญนั้นข้าพเจ้าจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
ภิกขาทายกวิมานที่ ๖ จบ

๗. ยวปาลกวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่คนเฝ้านาข้าวเหนียวผู้ถวายขนมสดแด่ภิกษุ
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพบุตรตนหนึ่งว่า)
[๑๐๘๗-๑๐๘๘] วิมานมีเสาทำด้วยแก้วมณีนี้สูงมาก วัดโดยรอบได้ ๑๒ โยชน์
ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๑๐๘๙] เทพบุตรนั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๖. ปายาสิกวรรค ๘. ปฐมกุณฑลีวิมาน
[๑๐๙๐] เมื่อข้าพเจ้าเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์
เป็นคนเฝ้านาข้าวเหนียว
ได้เห็นภิกษุผู้ปราศจากกิเลสประดุจดังธุลี มีใจผ่องใสไม่มัวหมอง
[๑๐๙๑] เลื่อมใสแล้ว จึงได้แบ่งขนมสดถวายท่านด้วยมือทั้งสองของตน
ครั้นแล้วจึงบันเทิงอยู่ในสวนนันทวัน
[๑๐๙๒-๑๐๙๓] เพราะบุญนั้นข้าพเจ้าจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
ยวปาลกวิมานที่ ๗ จบ

๘. ปฐมกุณฑลีวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่บุรุษผู้บำรุงพระสงฆ์ เรื่องที่ ๑
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพบุตรตนหนึ่งว่า)
[๑๐๙๔] ท่านประดับตกแต่งร่างกาย ทัดทรงดอกไม้
ทรงพัสตราภรณ์สวยงาม ใส่ต่างหูงาม
ตัดผมโกนหนวดเรียบร้อย สวมเครื่องประดับข้อมือ
มีบริวารยศ รุ่งเรืองอยู่ในทิพย์วิมานดังดวงจันทร์
[๑๐๙๕] อนึ่ง ทวยเทพพากันมาบรรเลงพิณทิพย์ดังไพเราะ
และเทพกัญญา ๖๔,๐๐๐ นางมีรูปงาม
ท่องเที่ยวไปมาอย่างสำราญในภพดาวดึงส์ มีสมบัติมากมาย
เป็นผู้ชำนาญการฟ้อนรำขับร้อง พากันมาให้ความบันเทิงอยู่
[๑๐๙๖] ท่านได้บรรลุเทวฤทธิ์ มีอานุภาพมาก
เมื่อท่านเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้
เพราะบุญอะไรท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๑๐๙๗] เทพบุตรนั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๖. ปายาสิกวรรค ๙. ทุติยกุณฑลีวิมาน
[๑๐๙๘] เมื่อข้าพเจ้าเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์
ได้เห็นสมณะทั้งหลายผู้มีศีล ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
มีบริวารยศ เป็นพหูสูต บรรลุธรรมที่สิ้นตัณหา
มีจิตเลื่อมใสได้ถวายข้าวและน้ำเป็นทานอย่างไพบูลย์โดยเคารพ
[๑๐๙๙-๑๑๐๐] เพราะบุญนั้นข้าพเจ้าจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
ปฐมกุณฑลีวิมานที่ ๘ จบ

๙. ทุติยกุณฑลีวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่บุรุษผู้บำรุงพระสงฆ์ เรื่องที่ ๒
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพบุตรตนหนึ่งว่า)
[๑๑๐๑] ท่านประดับตกแต่งร่างกาย ทัดทรงดอกไม้
ทรงพัสตราภรณ์สวยงาม
ใส่ต่างหูงดงาม ตัดผมโกนหนวดเรียบร้อย สวมเครื่องประดับข้อมือ
มีบริวารยศ รุ่งเรืองอยู่ในทิพวิมานดังดวงจันทร์
[๑๑๐๒] อนึ่ง ทวยเทพพากันมาบรรเลงพิณทิพย์ดังไพเราะ
และเทพกัญญา ๖๔,๐๐๐ นางมีรูปงาม
ท่องเที่ยวไปมาอย่างสำราญในภพดาวดึงส์ มีสมบัติมากมาย
เป็นผู้ชำนาญการฟ้อนรำขับร้อง พากันมาให้ความบันเทิงอยู่
[๑๑๐๓] ท่านได้บรรลุเทวฤทธิ์ มีอานุภาพมาก
เมื่อท่านเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้
เพราะบุญอะไรท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๑๑๐๔] เทพบุตรนั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๓๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๖. ปายาสิกวรรค ๑๐. ปายาสิวิมาน
[๑๑๐๕] เมื่อข้าพเจ้าเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์
ได้เห็นสมณะทั้งหลายผู้ดีงาม ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
มีบริวารยศ เป็นพหูสูต มีศีล มีอินทรีย์ผ่องใส
จึงมีจิตเลื่อมใส ได้ถวายข้าวและน้ำ
เป็นทานอย่างไพบูลย์โดยเคารพ
[๑๑๐๖-๑๑๐๗] เพราะบุญนั้นข้าพเจ้าจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
ทุติยกุณฑลีวิมานที่ ๙ จบ

๑๐. ปายาสิวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่บุรุษผู้เป็นคนรับใช้เจ้าปายาสิ
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพบุตรตนหนึ่งว่า)
[๑๑๐๘] วิมานของท่านนี้เปรียบเสมือนสุธัมมสภาของท้าวสักกเทวราช
อันเป็นสภาที่หมู่เทพนั่งประชุมกันอย่างพร้อมเพรียง
ส่องแสงสว่างไสวอยู่ในอากาศ
[๑๑๐๙] ท่านได้บรรลุเทวฤทธิ์ มีอานุภาพมาก
เมื่อท่านเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้
เพราะบุญอะไรท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๑๑๑๐] เทพบุตรนั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๑๑๑๑] เมื่อข้าพเจ้าเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์
เป็นชายหนุ่มรับใช้ของเจ้าปายาสิ ได้ทรัพย์มาแล้วก็ทำการแจกจ่าย
อนึ่ง ท่านผู้มีศีลทั้งหลายเป็นที่รักของข้าพเจ้า ข้าพเจ้ามีจิตเลื่อมใส
ได้ถวายข้าวและน้ำเป็นทานอย่างไพบูลย์โดยเคารพ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๓๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๗. สุนิกขิตตวรรค ๑. จิตตลตาวิมาน
[๑๑๑๒-๑๑๑๓] เพราะบุญนั้นข้าพเจ้าจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
ปายาสิวิมานที่ ๑๐ จบ
ปายาสิกวรรคที่ ๖ จบ

รวมเรื่องวิมานที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ปฐมอคาริยวิมาน ๒. ทุติยอคาริยวิมาน
๓. ผลทายกวิมาน ๔. ปฐมอุปัสสยทายกวิมาน
๕. ทุติยอุปัสสยทายกวิมาน ๖. ภิกขาทายกวิมาน
๗. ยวปาลกวิมาน ๘. ปฐมกุณฑลีวิมาน
๙. ทุติยกุณฑลีวิมาน ๑๐. ปายาสิวิมาน
จะกล่าวปุริสวิมานวรรคที่ ๒ ดังนี้

๗. สุนิกขิตตวรรค
หมวดว่าด้วยเทพบุตรผู้จัดดอกไม้ให้เป็นระเบียบ
๑. จิตตลตาวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่รุ่งเรืองเหมือนสวนจิตรดา
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพบุตรตนหนึ่งว่า)
[๑๑๑๔] สวนจิตรลดาเป็นสวนประเสริฐชั้นดีเยี่ยม
ของทวยเทพชั้นดาวดึงส์ ส่องแสงสว่างไสวฉันใด
วิมานของท่านนี้ก็มีอุปมาฉันนั้น ส่องแสงสว่างไสวอยู่ในอากาศ
[๑๑๑๕] ท่านได้บรรลุเทวฤทธิ์ มีอานุภาพมาก
เมื่อท่านเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้
เพราะบุญอะไรท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๓๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๗. สุนิกขิตตวรรค ๒. นันทนวิมาน
[๑๑๑๖] เทพบุตรนั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาของผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๑๑๑๗] เมื่อข้าพเจ้าเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์
เป็นคนยากจน ไม่มีที่พึ่ง ยากไร้ เป็นกรรมกร
เลี้ยงดูมารดาบิดาผู้แก่เฒ่า
อนึ่ง ท่านผู้มีศีลทั้งหลายเป็นที่รักของข้าพเจ้า ข้าพเจ้ามีจิตเลื่อมใส
ได้ถวายข้าวและน้ำเป็นทานอย่างไพบูลย์โดยเคารพ
[๑๑๑๘-๑๑๑๙] เพราะบุญนั้นข้าพเจ้าจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
จิตตลตาวิมานที่ ๑ จบ

๒. นันทนวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่รุ่งเรืองเหมือนสวนนันทวัน
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพบุตรตนหนึ่งว่า)
[๑๑๒๐] สวนนันทวันเป็นสวนประเสริฐชั้นดีเยี่ยม
ของทวยเทพชั้นดาวดึงส์ ส่องแสงสว่างไสวฉันใด
วิมานของท่านนี้ก็มีอุปมาฉันนั้น ส่องแสงสว่างไสวอยู่ในอากาศ
[๑๑๒๑] ท่านได้บรรลุเทวฤทธิ์ มีอานุภาพมาก
เมื่อท่านเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้
เพราะบุญอะไรท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๑๑๒๒] เทพบุตรนั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๑๑๒๓] เมื่อข้าพเจ้าเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์
เป็นคนยากจน ไม่มีที่พึ่ง ยากไร้ เป็นกรรมกร
เลี้ยงดูมารดาบิดาผู้แก่เฒ่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๗. สุนิกขิตตวรรค ๓. มณิถูณวิมาน
อนึ่ง ท่านผู้มีศีลทั้งหลายเป็นที่รักของข้าพเจ้า ข้าพเจ้ามีจิตเลื่อมใส
ได้ถวายข้าวและน้ำเป็นทานอย่างไพบูลย์โดยเคารพ
[๑๑๒๔-๑๑๒๕] เพราะบุญนั้นข้าพเจ้าจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
นันทนวิมานที่ ๒ จบ

๓. มณิถูณวิมาน
ว่าด้วยวิมานแก้วมณีที่เกิดขึ้นแก่บุรุษผู้ปลูกต้นไม้ให้ร่มรื่น
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพบุตรตนหนึ่งว่า)
[๑๑๒๖] วิมานมีเสาทำด้วยแก้วมณีนี้สูงมาก วัดโดยรอบได้ ๑๒ โยชน์
เป็นปราสาท ๗๐๐ ยอด ดูโอฬาร มีเสาประดิษฐ์ด้วยแก้วไพฑูรย์
มีพื้นปูลาดด้วยแผ่นทองคำสวยงาม
[๑๑๒๗] ท่านสถิต ดื่ม กินอยู่ในวิมานนั้น
มีทวยเทพพากันมาบรรเลงพิณทิพย์ดังไพเราะ
ในวิมานของท่านนี้มีเบญจกามคุณอันเป็นทิพรส
และเหล่าเทพนารีผู้ประดับด้วยอาภรณ์ทองคำฟ้อนรำอยู่
[๑๑๒๘-๑๑๒๙] เพราะบุญอะไรท่านจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๑๑๓๐] เทพบุตรนั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๑๑๓๑] เมื่อข้าพเจ้าเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์
ได้สร้างที่จงกรมไว้ใกล้หนทางในป่า และปลูกต้นไม้ให้ร่มรื่น
อนึ่ง ท่านผู้มีศีลทั้งหลายเป็นที่รักของข้าพเจ้า ข้าพเจ้ามีจิตเลื่อมใส
ได้ถวายข้าวและน้ำเป็นทานอย่างไพบูลย์โดยเคารพ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๔๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๗. สุนิกขิตตวรรค ๔. สุวัณณวิมาน
[๑๑๓๒-๑๑๓๓] เพราะบุญนั้นข้าพเจ้าจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
มณิถูณวิมานที่ ๓ จบ

๔. สุวัณณวิมาน
ว่าด้วยวิมานทองคำที่เกิดขึ้นแก่บุรุษ
ผู้สร้างวิหารถวายพระพุทธเจ้า
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพบุตรตนหนึ่งว่า)
[๑๑๓๔] วิมานที่ภูเขาทองคำของท่าน มีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกส่วน
ปกคลุมด้วยข่ายทองคำ ผูกขึงข่ายกระดึงไว้
[๑๑๓๕] เสาวิมานทุกต้นแปดเหลี่ยม สร้างไว้อย่างสวยงาม
ล้วนประดิษฐ์ด้วยแก้วไพฑูรย์ แต่ละเหลี่ยมประดับรัตนะ ๗ ประการ
[๑๑๓๖] มีพื้นน่ารื่นรมย์ใจ วิจิตรด้วยแก้วไพฑูรย์ ทองคำ
แก้วผลึก เงิน แก้วลาย แก้วมุกดา และทับทิม
[๑๑๓๗] ที่วิมานนั้นไม่มีธุลีฟุ้งขึ้น
มีหมู่จันทันสีเหลืองสร้างไว้รองรับช่อฟ้า
[๑๑๓๘] บันได ๔ บันไดสร้างไว้ ๔ ทิศ
วิมานนั้นมีห้องสำเร็จด้วยรัตนะต่าง ๆ รุ่งโรจน์ดังพระอาทิตย์
[๑๑๓๙] ที่วิมานนั้น มีไพทีอยู่ทั้ง ๔ ทิศ จัดสร้างได้สัดส่วน
ส่องแสงสว่างโชติช่วงโดยรอบทั้ง ๔ ทิศ
[๑๑๔๐] ในวิมานอันประเสริฐนั้น ท่านเป็นเทพบุตรมีรัศมีรุ่งเรืองมาก
มีผิวพรรณรุ่งโรจน์อย่างยิ่ง ดังพระอาทิตย์กำลังอุทัย
[๑๑๔๑] นี้เป็นผลของทาน หรือศีล หรือการกราบไหว้ของท่าน
อาตมาถามท่านแล้ว โปรดบอกผลกรรมนั้นแก่อาตมาเถิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๔๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๗. สุนิกขิตตวรรค ๕. อัมพวิมาน
[๑๑๔๒] เทพบุตรนั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๑๑๔๓] ข้าพเจ้าเลื่อมใสแล้วให้สร้างวิหารใกล้เมืองอันธกวินทะ
ถวายพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้ทรงเป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ด้วยมือของตน
[๑๑๔๔] ข้าพเจ้ามีจิตผ่องใส ได้ถวายของหอม ดอกไม้ ปัจจัย เครื่องลูบไล้
และวิหารแด่พระศาสดาที่เมืองอันธกวินทะนั้น
เพราะบุญกรรมอันเป็นเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้ผลบุญนี้
จึงมีสิทธิในสวนนันทวัน
[๑๑๔๕] ข้าพเจ้ามีหมู่เทพอัปสรฟ้อนรำขับร้องห้อมล้อม
รื่นรมย์อยู่ในสวนนันทวันอันน่ารื่นรมย์
มีหมู่นกนานาชนิดมากมาย
สุวัณณวิมานที่ ๔ จบ

๕. อัมพวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่บุรุษผู้รับจ้างรดน้ำต้นมะม่วง
ได้ถวายน้ำสรงแด่พระสารีบุตร
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพบุตรตนหนึ่งว่า)
[๑๑๔๖] วิมานมีเสาทำด้วยแก้วมณีนี้สูงมาก วัดโดยรอบได้ ๑๒ โยชน์
เป็นปราสาท ๗๐๐ ยอด ดูโอฬาร มีเสาประดิษฐ์ด้วยแก้วไพฑูรย์
มีพื้นปูลาดด้วยแผ่นทองคำสวยงาม
[๑๑๔๗] ท่านสถิต ดื่ม กินอยู่ในวิมานนั้น
มีทวยเทพพากันมาบรรเลงพิณทิพย์ดังไพเราะ
ในวิมานของท่านนี้มีเบญจกามคุณอันเป็นทิพรส
และเหล่าเทพนารีประดับด้วยอาภรณ์ทองคำฟ้อนรำอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๔๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๗. สุนิกขิตตวรรค ๕. อัมพวิมาน
[๑๑๔๘-๑๑๔๙] เพราะบุญอะไรท่านจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๑๑๕๐] เทพบุตรนั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๑๑๕๑] เมื่อพระอาทิตย์กำลังแผดแสงในเดือนท้ายฤดูร้อน
ข้าพเจ้าเป็นคนรับจ้างรดน้ำสวนมะม่วงของคนเหล่าอื่น
[๑๑๕๒] ขณะนั้น พระสารีบุตรซึ่งเหน็ดเหนื่อยกาย
แต่ใจมิได้เหน็ดเหนื่อย ได้เดินมาทางสวนมะม่วงนั้น
[๑๑๕๓] ข้าพเจ้ากำลังรดน้ำต้นมะม่วงเห็นท่านกำลังเดินมา
จึงได้กล่าวว่า ขอโอกาสเถิดขอรับ กระผมขอนิมนต์ให้ท่านสรงน้ำ
ข้อนั้นจะนำความสุขมาให้กระผม
[๑๑๕๔] พระคุณเจ้าสารีบุตรวางบาตรจีวรไว้ เหลือผ้าสบงผืนเดียว
นั่งที่ร่มเงาโคนต้นไม้ เพื่ออนุเคราะห์ข้าพเจ้านั้น
[๑๑๕๕] ข้าพเจ้ามีจิตเลื่อมใส นำน้ำใสมาถวายให้ท่าน
ซึ่งมีผ้าสบงผืนเดียวสรงที่ร่มเงาโคนต้นไม้
[๑๑๕๖] ต้นมะม่วงเราก็รดน้ำแล้ว สมณะเราก็ให้สรงน้ำแล้ว
และบุญมิใช่น้อยเราก็ขวนขวายแล้ว เพราะเหตุดังนี้
คนผู้นั้นจึงมีปีติซาบซ่านไปทั่วกายของตน
[๑๑๕๗] ชาตินั้น ข้าพเจ้าได้ทำกรรมมีประมาณเท่านี้นั่นเอง
ละร่างมนุษย์แล้ว มาเกิดยังสวนนันทวัน
[๑๑๕๘] ข้าพเจ้ามีหมู่เทพอัปสรฟ้อนรำขับร้องห้อมล้อม
รื่นรมย์อยู่ในสวนนันทวันอันน่ารื่นรมย์
มีหมู่นกนานาชนิดมากมาย
อัพวิมานที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๔๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๗. สุนิกขิตตวรรค ๖. โคปาลวิมาน
๖. โคปาลวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่คนเลี้ยงโคผู้ถวายขนมแด่ภิกษุ
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพบุตรตนหนึ่งว่า)
[๑๑๕๙] ภิกษุรูปหนึ่งเห็นเทวดาแล้ว สอบถามว่า
ท่านสวมเครื่องประดับข้อมือ มีบริวารยศ
รุ่งเรืองอยู่ในวิมานสูงซึ่งตั้งอยู่ชั่วกาลนาน
เหมือนจันทเทพบุตรรุ่งเรืองอยู่ในทิพยวิมาน
[๑๑๖๐] ท่านประดับแล้ว ทัดทรงดอกไม้ ทรงพัสตราภรณ์สวยงาม
ใส่ต่างหูงดงาม ตัดผมโกนหนวดเรียบร้อย
สวมเครื่องประดับข้อมือ มีบริวารยศ
รุ่งเรืองอยู่ในทิพยวิมานดังดวงจันทร์
[๑๑๖๑] อนึ่ง ทวยเทพพากันมาบรรเลงพิณทิพย์ดังไพเราะ
และเทพกัญญา ๖๔,๐๐๐ นางมีรูปงาม
ท่องเที่ยวไปมาอย่างสำราญในภพดาวดึงส์
มีสมบัติมากมาย เป็นผู้ชำนาญการ
พากันมาฟ้อนรำขับร้อง ให้ความบันเทิงใจอยู่
[๑๑๖๒] ท่านได้บรรลุเทวฤทธิ์ มีอานุภาพมาก
เมื่อท่านเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้
เพราะบุญอะไรท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๑๑๖๓] เทพบุตรนั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๑๑๖๔] เมื่อข้าพเจ้าเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์
รับจ้างเลี้ยงโคนมทั้งหลายของคนเหล่าอื่น
ต่อมามีสมณะมาหาข้าพเจ้า
และฝูงโคได้พากันไปเพื่อจะกินถั่วราชมาส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๗. สุนิกขิตตวรรค ๖. โคปาลวิมาน
[๑๑๖๕] อนึ่ง วันนี้ข้าพเจ้าต้องทำกิจสองอย่างควบคู่กันไป
ท่านขอรับ ครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้คิดอย่างนั้นแหละ
แต่นั้นจึงกลับได้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง
จึงวางห่อขนมถวายในมือพร้อมกับกราบเรียนว่า
ผมขอถวาย ขอรับ
[๑๑๖๖] ข้าพเจ้านั้นรีบรุดไปยังไร่ถั่วราชมาส
ก่อนที่ไร่ถั่วราชมาสซึ่งเป็นทรัพย์สินของเจ้าของไร่จะถูกฝูงโคทำลาย
ณ ที่นั้น งูเห่ามีพิษร้ายได้กัดเท้าข้าพเจ้าผู้กำลังรีบด่วน
[๑๑๖๗] ข้าพเจ้านั้นถูกความทุกข์เบียดเบียนบีบคั้น
และภิกษุได้แก้ห่อขนมนั้นออก
แล้วฉันขนมเพื่ออนุเคราะห์ข้าพเจ้า
ข้าพเจ้าตายเคลื่อนจากอัตภาพนั้นแล้วตายไปเกิดเป็นเทวดา
[๑๑๖๘] ข้าพเจ้ากระทำกุศลกรรมนั้นไว้เท่านี้
ตนเองจึงได้เสวยผลกรรมที่นำความสุขมาให้
เพราะพระคุณเจ้าอนุเคราะห์ไว้มากแล้ว
ข้าพเจ้าขอกราบไหว้พระคุณเจ้าด้วยความกตัญญู
[๑๑๖๙] ในมนุษยโลกพร้อมทั้งเทวโลกและมารโลก
ไม่มีมุนีท่านอื่นผู้อนุเคราะห์เช่นกับพระคุณเจ้า
เพราะพระคุณเจ้าอนุเคราะห์ไว้มากแล้ว
ข้าพเจ้าขอกราบไหว้พระคุณเจ้าด้วยความกตัญญู
[๑๑๗๐] อนึ่ง ไม่ว่าในโลกนี้หรือโลกหน้า
ไม่มีมุนีท่านอื่นผู้อนุเคราะห์เช่นกับพระคุณเจ้า
เพราะพระคุณเจ้าอนุเคราะห์ไว้มากแล้ว
ข้าพเจ้าขอกราบไหว้พระคุณเจ้าด้วยความกตัญญู
โคปาลวิมานที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๗. สุนิกขิตตวรรค ๗. กัณฐกวิมาน
๗. กัณฐกวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่ม้ากัณฐกะ
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพบุตรตนหนึ่งว่า)
[๑๑๗๑] ในคืนวันเพ็ญ ดวงจันทร์มีรอยรูปกระต่าย เป็นใหญ่กว่าหมู่ดาว
มีหมู่ดาวนักษัตรแวดล้อม โคจรไปโดยรอบฉันใด
[๑๑๗๒] ทิพยวิมานนี้ก็มีอุปมาฉันนั้น น่าอยู่
มีรัศมีรุ่งโรจน์ในเทพบุรี เหมือนพระอาทิตย์กำลังอุทัย
[๑๑๗๓] มีพื้นน่ารื่นรมย์ วิจิตรด้วยแก้วไพฑูรย์ ทองคำ แก้วผลึก
เงิน แก้วลาย แก้วมุกดา และทับทิม
[๑๑๗๔] ลาดด้วยแก้วไพฑูรย์ ปรางค์ปราสาททั้งหลายของท่าน
งามน่ารื่นรมย์ ปราสาทซึ่งเนรมิตไว้ดีแล้ว
[๑๑๗๕] สระโบกขรณีของท่านน่ารื่นรมย์
มีหมู่มัจฉาทิพย์อาศัยอยู่เนืองแน่น
น้ำใสสะอาด มีพื้นลาดด้วยทรายทองคำ
[๑๑๗๖] ดารดาษด้วยบัวหลวงหลากชนิด บัวขาวรายล้อมอยู่รอบ
ยามลมพัด ก็โชยกลิ่นหอมระรื่นจรุงใจ
[๑๑๗๗] ทั้งสองข้างสระโบกขรณีของท่านนั้น มีพุ่มไม้เนรมิตไว้ดีแล้ว
ซึ่งประกอบด้วยไม้ดอกและไม้ผลทั้งสองอย่าง
[๑๑๗๘] เทพอัปสรทั้งหลายพากันมาบำรุงท่านผู้นั่งบนบัลลังก์เท้าทองคำ
ที่ปูลาดด้วยผ้าขนสัตว์อันอ่อนนุ่ม ดังบำรุงท้าวสักกเทวราช
[๑๑๗๙] พวกนางแต่งองค์ด้วยเครื่องประดับทั้งมวล
ประดับด้วยพวงดอกไม้ต่าง ๆ บำเรอท่านผู้มีฤทธิ์มากให้รื่นรมย์
ท่านรื่นเริงบันเทิงใจ ดังท้าววสวัตดีเทวราช

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๔๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๗. สุนิกขิตตวรรค ๗. กัณฐกวิมาน
[๑๑๘๐] ท่านมีความยินดีในการฟ้อนรำ ขับร้อง และประโคมดนตรี
รื่นรมย์อยู่ด้วยกลอง สังข์ ตะโพน พิณ และบัณเฑาะว์
[๑๑๘๑] ท่านมีรูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะหลายอย่าง
ล้วนเป็นทิพย์ น่ารื่นรมย์ สมความประสงค์
[๑๑๘๒] ในวิมานอันประเสริฐนั้น ท่านเป็นเทพบุตรผู้มีรัศมีรุ่งเรืองมาก
มีผิวพรรณรุ่งโรจน์ยิ่ง ดังพระอาทิตย์กำลังอุทัย
[๑๑๘๓] นี้เป็นผลของทาน หรือศีล หรือการกราบไหว้ของท่าน
อาตมาถามแล้ว ท่านโปรดบอกผลกรรมนั้นแก่อาตมาเถิด
[๑๑๘๔] เทพบุตรนั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๑๑๘๕] ข้าพเจ้าคือพญาม้ากัณฐกะ เป็นสหชาต๑กับพระราชโอรสของ
พระเจ้าสุทโธทนะในกรุงกบิลพัสดุ์ราชธานีที่อุดมของกษัตริย์ศากยวงศ์
[๑๑๘๖] คราวเมื่อพระราชโอรสพระองค์นั้นเสด็จออก
เพื่อพระโพธิญาณในเวลาเที่ยงคืน
พระองค์ทรงใช้ฝ่าพระหัตถ์ที่อ่อนนุ่ม มีพระนขาที่แดงปลั่ง
[๑๑๘๗] กระตุ้นข้าพเจ้า และได้รับสั่งว่า
พาไปซิ สหาย เราบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณอันสูงสุดแล้ว
จักช่วยสัตว์โลกให้ข้ามโอฆสงสาร
[๑๑๘๘] เมื่อข้าพเจ้าฟังพระดำรัสนั้น มีความหรรษาร่าเริงมาก
คราวนั้นข้าพเจ้ามีใจยินดีเบิกบานรับพระดำรัส
[๑๑๘๙] พอรู้ว่าพระศากยบุตรผู้ทรงยศใหญ่ประทับนั่งบนหลังข้าพเจ้าแล้ว
ข้าพเจ้าก็บันเทิงเบิกบานใจได้นำเสด็จพระมหาบุรุษออกไป

เชิงอรรถ :
๑ เกิดวันเดียวกัน (ขุ.วิ.อ. ๑๑๘๕/๓๗๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๔๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๗. สุนิกขิตตวรรค ๗. กัณฐกวิมาน
[๑๑๙๐] ถึงแคว้นของกษัตริย์เหล่าอื่น เมื่อพระอาทิตย์ขึ้น
พระมหาบุรุษนั้นก็ทรงละข้าพเจ้าและฉันนะอำมาตย์ไว้
มิได้ทรงอาลัย แล้วเสด็จหลีกไป
[๑๑๙๑] ข้าพเจ้าได้เลียพระบาททั้งสองซึ่งมีพระนขาแดงของพระองค์
และได้ร้องไห้มองดูพระมหาวีระผู้กำลังเสด็จไป
[๑๑๙๒] เพราะไม่ได้พบเห็นพระศากยบุตรผู้ทรงสิริพระองค์นั้น
ข้าพเจ้าจึงป่วยหนักแล้วตายอย่างฉับพลัน
[๑๑๙๓] ด้วยอานุภาพแห่งบุญที่ประกอบด้วยความเลื่อมใสนั้นแหละ
ข้าพเจ้าจึงมาอยู่ครอบครองวิมานนี้
ซึ่งประกอบด้วยกามคุณทิพย์ทุกอย่าง ในเทพบุรีนี้เอง
[๑๑๙๔] อนึ่ง เพราะมีความยินดีที่ได้ฟังข่าวการบรรลุพระโพธิญาณ
เพราะมีกุศลเป็นมูลเหตุนั้นนั้นแหละ
ข้าพเจ้าก็จักบรรลุความสิ้นอาสวะได้
[๑๑๙๕] ท่านผู้เจริญ ถ้าพระคุณเจ้าจะพึงไป
สำนักพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า
ขอพระคุณเจ้าช่วยกราบทูลพระองค์ถึงการถวายอภิวาท
ด้วยเศียรเกล้าตามคำของข้าพเจ้าด้วยเถิด
[๑๑๙๖] แม้ข้าพเจ้าก็จักไปเฝ้าพระชินเจ้าซึ่งหาบุคคลอื่นเปรียบมิได้
เพราะว่าการได้เห็นพระโลกนาถผู้คงที่หาได้ยาก
(พระสังคีติกาจารย์ได้รจนาคาถาไว้ ๒ คาถา ดังนี้ว่า)
[๑๑๙๗] กัณฐกเทพบุตรนั้นเป็นผู้กตัญญูกตเวที เข้าไปเฝ้าพระศาสดา
ฟังพระดำรัสของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้มีพระจักษุ
แล้วชำระธรรมจักษุให้บริสุทธิ์๑

เชิงอรรถ :
๑ บรรลุโสดาปัตติมรรค (ขุ.วิ.อ. ๑๑๙๗/๓๗๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๔๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๗. สุนิกขิตตวรรค ๘. อเนกวัณณวิมาน
[๑๑๙๘] ครั้นชำระทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาสให้บริสุทธิ์แล้ว
ถวายอภิวาทพระยุคลบาทพระศาสดาแล้วหายไป ณ ที่นั้นนั่นเอง
กัณฐกวิมานที่ ๗ จบ

๘. อเนกวัณณวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่เทพบุตรผู้มีรัศมีหลากสี
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพบุตรตนหนึ่งว่า)
[๑๑๙๙] ท่านมีหมู่เทพอัปสรแวดล้อม ขึ้นวิมานมีรัศมีต่าง ๆ
วิจิตรมากมาย เป็นที่ระงับความกระวนกระวายและความเศร้าโศก
บันเทิงอยู่ ดังท้าวสุนิมมิตเทวราชผู้เป็นใหญ่กว่าเทวดา
[๑๒๐๐] ไม่มีผู้เสมอเหมือนท่าน อนึ่ง ไม่มีใครที่ไหนยิ่งไปกว่าท่าน
ทั้งด้านบริวารยศ ด้านบุญ และด้านฤทธิ์
ทวยเทพทั้งมวลและหมู่เทพชั้นดาวดึงส์พากันมาประชุม
นอบน้อมท่าน ดังเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายนอบน้อมดวงจันทร์
และเทพอัปสรเหล่านี้พากันมาฟ้อนรำขับร้อง
ให้ความบันเทิงใจรอบ ๆ ท่าน
[๑๒๐๑] ท่านได้บรรลุเทวฤทธิ์ มีอานุภาพมาก
เมื่อท่านเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้
เพราะบุญอะไรท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๑๒๐๒] เทพบุตรนั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๑๒๐๓] ท่านผู้เจริญ เมื่อก่อนข้าพเจ้านั้นเป็นพระสาวก
ของพระชินเจ้าทรงพระนามว่าสุเมธ
ยังเป็นปุถุชน มิได้ตรัสรู้ บวชอยู่ ๗ พรรษา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๗. สุนิกขิตตวรรค ๙. มัฏฐกุณฑลีวิมาน
[๑๒๐๔] เมื่อพระชินเจ้าทรงพระนามว่าสุเมธผู้เป็นพระศาสดา
ทรงข้ามโอฆะ๑ได้แล้ว ผู้คงที่ เสด็จปรินิพพานแล้ว
ข้าพเจ้านั้นไหว้รัตนเจดีย์ซึ่งคลุมด้วยข่ายทองคำ
แล้วได้ทำใจให้เลื่อมใสในพระสถูป
[๑๒๐๕] ข้าพเจ้ามิได้ให้ทาน ก็เพราะข้าพเจ้าไม่มีวัตถุสิ่งของที่จะให้
แต่ได้ชักชวนคนอื่น ๆ ในการให้ทานนั้นว่า
ขอเชิญท่านทั้งหลายบูชาพระบรมสารีริกธาตุ
ของพระพุทธเจ้าผู้ควรบูชานั้น
ว่ากันว่า ด้วยการบูชาพระบรมสารีริกธาตุอย่างนี้
ท่านทั้งหลายละจากอัตภาพนี้แล้วจักไปสู่สวรรค์
[๑๒๐๖] ข้าพเจ้าได้ทำกุศลกรรมนั้นไว้เท่านี้
ตนเองจึงเสวยสุขอันเป็นทิพย์
บันเทิงอยู่ในท่ามกลางหมู่เทวดาชั้นดาวดึงส์ ทั้งยังไม่หมดบุญ
อเนกวัณณวิมานที่ ๘ จบ

๙. มัฏฐกุณฑลีวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่มัฏฐกุณฑลีมาณพ
ผู้ทำใจให้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าก่อนสิ้นใจ
(พราหมณ์ถามเทพบุตรตนนั้นว่า)
[๑๒๐๗] เจ้าประดับตกแต่งร่างกาย ใส่ต่างหูเกลี้ยง
ทัดทรงดอกไม้ มีกายลูบไล้ด้วยจุรณแก่นจันทน์แดง
ประคองแขนคร่ำครวญอยู่กลางป่า
เจ้าเป็นทุกข์เรื่องอะไร

เชิงอรรถ :
๑ ห้วงน้ำคือกิเลส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๗. สุนิกขิตตวรรค ๙. มัฏฐกุณฑลีวิมาน
(มัฏฐกุณฑลีเทพบุตรตอบว่า)
[๑๒๐๘] เรือนรถที่ทำด้วยทองคำ งามผุดผ่องเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้า
ข้าพเจ้ายังหาล้อรถทั้งคู่นั้นไม่ได้
เพราะความทุกข์นั้น ข้าพเจ้าจักยอมสละชีวิต
(พราหมณ์กล่าวว่า)
[๑๒๐๙] พ่อมาณพผู้เจริญ ล้อทองคำ ล้อแก้วมณี ล้อทองแดง
หรือล้อเงิน จงบอกข้ามา ข้าจะจัดล้อทั้งคู่ให้เจ้า
[๑๒๑๐] มาณพนั้นกล่าวแก่พราหมณ์นั้นว่า
ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ทั้งสองย่อมปรากฏในท้องฟ้านั้น
รถทองคำของข้าพเจ้าย่อมงามด้วยล้อทั้งคู่นั้น
(พราหมณ์กล่าวว่า)
[๑๒๑๑] พ่อมาณพ เจ้าโง่นัก ที่มาปรารถนาสิ่งที่ไม่ควรปรารถนา
ข้าเข้าใจว่า เจ้าจักตายเสียเปล่า
เพราะเจ้าไม่มีทางที่จะได้ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์เลย
(มาณพกล่าวว่า)
[๑๒๑๒] แม้การโคจรไปมาของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ก็ยังปรากฏอยู่
รัศมีก็ยังปรากฏอยู่ในวิถีทั้งสอง
ส่วนคนที่ตายไปแล้วย่อมไม่ปรากฏ
เราทั้งสองผู้ร้องไห้คร่ำครวญอยู่ในที่นี้
ใครหนอโง่กว่ากัน
(พราหมณ์กล่าวว่า)
[๑๒๑๓] พ่อมาณพ เจ้าพูดจริงแท้ เราทั้งสองผู้ร้องไห้คร่ำครวญอยู่
ข้านี่แหละโง่กว่า ที่มาปรารถนาคนที่ตายไปแล้ว
เหมือนทารกร้องไห้อยากได้ดวงจันทร์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๕๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๗. สุนิกขิตตวรรค ๙. มัฏฐกุณฑลีวิมาน
[๑๒๑๔] เจ้าช่วยระงับข้าผู้เร่าร้อนให้สงบ
ดับความกระวนกระวายทั้งหมดได้
เหมือนคนใช้น้ำราดดับไฟที่ติดเปรียง
[๑๒๑๕] เจ้าบรรเทาความเศร้าโศกถึงบุตรของข้าผู้กำลังเศร้าโศก
ชื่อว่าได้ช่วยถอนลูกศรคือความโศก
ซึ่งเสียบที่หัวใจของข้าขึ้นได้แล้วหนอ
[๑๒๑๖] พ่อมาณพ ข้าซึ่งเจ้าช่วยถอนลูกศรคือความโศกขึ้นให้แล้ว
ก็เย็นสงบแล้ว จะไม่เศร้าโศก ไม่ร้องไห้ เพราะได้ฟังคำของเจ้า
(พราหมณ์เมื่อจะถามต่อไป จึงกล่าวว่า)
[๑๒๑๗] เจ้าเป็นเทวดาหรือคนธรรพ์ หรือเป็นท้าวสักกปุรินททะ
เจ้าเป็นใคร เป็นบุตรของใครหรือ เราจะรู้จักเจ้าได้อย่างไร
(มาณพเปิดเผยตนแก่พราหมณ์นั้นว่า)
[๑๒๑๘] ท่านเองเผาบุตรคนใดที่ป่าช้าแล้ว
คร่ำครวญร้องไห้ถึงบุตรคนใด
บุตรคนนั้นคือข้าพเจ้า ซึ่งทำกุศลกรรมแล้ว
ได้เกิดร่วมกับหมู่เทพชั้นไตรทศ
(พราหมณ์ถามว่า)
[๑๒๑๙] เมื่อเจ้าให้ทานน้อยหรือมาก ในเรือนของตน
หรือรักษาอุโบสถกรรมเช่นนั้น ข้าพเจ้ามิได้เห็น
เพราะกรรมอะไรเจ้าจึงไปเทวโลกได้
(มาณพตอบว่า)
[๑๒๒๐] ข้าพเจ้าป่วยเป็นไข้ ทุกข์ทรมาน
มีกายกระสับกระส่ายอยู่ในที่อยู่ของตน
ได้เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ปราศจากกิเลสดังธุลี
ทรงข้ามพ้นความสงสัย เสด็จไปดีแล้ว มีพระปัญญาไม่ต่ำทราม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๕๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๗. สุนิกขิตตวรรค ๙. มัฏฐกุณฑลีวิมาน
[๑๒๒๑] ข้าพเจ้านั้นมีใจเบิกบาน มีจิตเลื่อมใส
ได้ทำอัญชลีกรรมแด่พระตถาคต
ครั้นทำกุศลกรรมนั้นแล้ว ได้เกิดร่วมกับหมู่เทพชั้นไตรทศ
(พราหมณ์กล่าวว่า)
[๑๒๒๒] น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยมีมาแล้วหนอ
อัญชลีกรรมมีผลเป็นได้ถึงเช่นนี้
แม้ข้าพเจ้าก็มีใจเบิกบาน มีจิตเลื่อมใส
จึงขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งที่ระลึกในวันนี้นี่เอง
(มาณพกล่าวว่า)
[๑๒๒๓] ท่านจงมีจิตเลื่อมใส ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม
และพระสงฆ์เป็นที่พึ่งที่ระลึกในวันนี้นี่แหละ
อนึ่ง ท่านจงสมาทานสิกขาบท ๕ อย่าให้ขาดและด่างพร้อย
[๑๒๒๔] คือ จงรีบงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ จากการลักทรัพย์
ยินดีเฉพาะภรรยาของตน อย่ากล่าวเท็จ อย่าดื่มน้ำเมา
(พราหมณ์กล่าวว่า)
[๑๒๒๕] เทวดาผู้น่าบูชา ท่านเป็นผู้ปรารถนาประโยชน์
หวังความเกื้อกูลแก่ข้าพเจ้า
ข้าพเจ้าจะทำตามคำของท่าน ท่านเป็นอาจารย์ของข้าพเจ้า
[๑๒๒๖] ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า พระธรรมอันยอดเยี่ยม
และพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า
ผู้ทรงเป็นเทพของนรชนเป็นที่พึ่งที่ระลึก
[๑๒๒๗] ข้าพเจ้าจะรีบงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ จากการลักทรัพย์
ยินดีเฉพาะภรรยาของตน ไม่กล่าวเท็จ ไม่ดื่มน้ำเมา
มัฏฐกุณฑลีวิมานที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๕๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๗. สุนิกขิตตวรรค ๑๐. เสริสสกวิมาน
๑๐. เสริสสกวิมาน
ว่าด้วยวิมานไม้ซึกที่เกิดขึ้นแก่เจ้าปายาสิ
(พระควัมปติกล่าวว่า)
[๑๒๒๘] ท่านทั้งหลายจงฟังคำของเทวดาและพวกพ่อค้า
ที่ได้มาพบกันในทะเลทรายในคราวนั้น
และขอเชิญทุกท่านฟังถ้อยคำตามที่เทวดาและพวกพ่อค้าสนทนากัน
[๑๒๒๙] ยังมีพระราชาพระนามว่าปายาสิได้เกิดร่วมกับหมู่ภุมเทวดา
มีบริวารยศ บันเทิงอยู่ในวิมานของตน
เป็นเทวดาแต่ได้มาสนทนากับพวกมนุษย์
(เสริสสกเทพบุตรถามพวกพ่อค้าด้วยคาถาว่า)
[๑๒๓๐] มนุษย์ทั้งหลาย ผู้กลัวทางคดเคี้ยว มีใจหวาดหวั่นอยู่
ในที่น่าระแวงว่ามีภัย ในป่า ในถิ่นของอมนุษย์
ในทางกันดารซึ่งมีน้ำ มีอาหารไม่เพียงพอ
เดินไปได้แสนยาก ท่ามกลางทะเลทราย
[๑๒๓๑] ในทางทะเลทรายนี้ ไม่มีผลไม้ ไม่มีเผือกมัน
ไม่มีเชื้อไฟ ในทางทะเลทรายนี้ จักหาอาหารได้แต่ที่ไหน
นอกจากฝุ่นและทรายที่แดดแผดเผาทั้งร้อนทั้งทารุณ
[๑๒๓๒] ที่นี้เป็นที่ดอน ร้อนดังแผ่นเหล็กเผาไฟ
หาความสบายมิได้ เทียบเท่านรก
สถานที่นี้เป็นที่อยู่ดั้งเดิมของพวกหยาบช้ามีปีศาจเป็นต้น
เป็นภูมิประเทศเหมือนถูกสาปไว้
[๑๒๓๓] อนึ่ง พวกท่านหวังอะไร
เพราะเหตุไรจึงไม่พิจารณาให้ถี่ถ้วน
ตามกันเข้ามายังประเทศถิ่นนี้พร้อมกัน
เพราะความโลภ ความกลัว หรือเพราะหลงทาง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๕๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๗. สุนิกขิตตวรรค ๑๐. เสริสสกวิมาน
(พวกพ่อค้าตอบว่า)
[๑๒๓๔] พวกข้าพเจ้านั้น เป็นพ่อค้าเกวียนอยู่ในแคว้นมคธและแคว้นอังคะ
ต้องการทรัพย์ หวังกำไร จึงบรรทุกสินค้ามามาก
พากันไปยังสินธุและโสวีระประเทศ
[๑๒๓๕] กลางวัน พวกข้าพเจ้าทุกคนทนความกระหายน้ำไม่ได้
ทั้งมุ่งหวังจะอนุเคราะห์สัตว์พาหนะ
จึงรีบเดินทางมาในกลางคืนซึ่งเป็นเวลาวิกาล
[๑๒๓๖] พวกข้าพเจ้านั้นไปผิดทาง จึงหลงทาง
สับสนเหมือนคนตาบอด เดินหลงเข้าไปในป่าที่ไปได้ยากแสนยาก
ท่ามกลางทะเลทราย เกิดงุนงงสงสัยไม่รู้ทิศทาง
[๑๒๓๗] ท่านที่ควรบูชา พวกข้าพเจ้าได้พบวิมานอันประเสริฐ
และตัวท่านซึ่งไม่เคยพบเห็นมาก่อนนี้
จึงหวังจะรอดชีวิตยิ่งกว่าแต่ก่อน
เพราะได้เห็นจึงพากันร่าเริง ดีใจและเบิกบานใจ
(เทพบุตรถามว่า)
[๑๒๓๘] เพราะโภคทรัพย์เป็นเหตุ พวกท่านจึงพากันไปยังทิศต่าง ๆ
คือ ฝั่งสมุทร ทะเลทราย ทางที่ต้องใช้เครือหวาย
ทางที่ต้องตอกทอย ทางที่มีแม่น้ำ และทางภูเขาที่ไปได้ยาก
[๑๒๓๙] พ่อค้าทั้งหลาย พวกท่านได้ไปยังแคว้นของพระราชาอื่น ๆ
พบเห็นผู้คนชาวต่างประเทศ
พวกเราขอฟังสิ่งอัศจรรย์ที่พวกท่านได้ยินหรือได้เห็นมา
(พวกพ่อค้าตอบว่า)
[๑๒๔๐] พ่อกุมาร สมบัติของมนุษย์ที่ผ่านมาทั้งหมด
ซึ่งอัศจรรย์กว่าวิมานของท่านแม้นี้
พวกข้าพเจ้าไม่เคยได้ยินหรือได้เห็นมาก่อน
วิมานของท่านซึ่งมีรัศมีไม่เลว พวกข้าพเจ้าแลดูแล้วไม่อิ่มเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๗. สุนิกขิตตวรรค ๑๐. เสริสสกวิมาน
[๑๒๔๑] ที่วิมานของท่านนี้ มีสระโบกขรณีลอยอยู่ในอากาศ
มีสวนดอกไม้มากมาย มีบัวขาวมาก
มีหมู่ไม้ผลิดอกออกผลเป็นนิตย์ โชยกลิ่นหอมตลบอบอวล
[๑๒๔๒] เสาวิมานเหล่านี้เป็นเสาแก้วไพฑูรย์ สูง ๑๐๐ ศอก
ประดับด้วยแก้วผลึก แก้วประพาฬ แก้วเพทาย
และทับทิม มีรัศมีโชติช่วง
[๑๒๔๓] วิมานของท่านนี้มีเสา ๑,๐๐๐ ต้น ภายในประกอบด้วยแก้ว
ภายนอกล้อมรอบด้วยไพทีทองคำ และมุงบังอย่างดีด้วยแผ่นทองคำ
มีอานุภาพหาที่เปรียบมิได้ งามอยู่บนเสาเหล่านั้น
[๑๒๔๔] วิมานของท่านนี้สว่างไสวด้วยทองชมพูนุทชั้นเยี่ยม
ทุกส่วนของวิมานเกลี้ยงเกลาดี ประกอบด้วยบันไดและพื้นน่าพอใจ
มั่นคง งดงาม มีส่วนประกอบกลมกลืน ชวนพิศอย่างยิ่ง น่าชอบใจ
[๑๒๔๕] ภายในวิมานแก้ว มีข้าวน้ำอุดมสมบูรณ์
ตัวท่านมีหมู่เทพอัปสรห้อมล้อม
กึกก้องด้วยเสียงตะโพน เปิงมางและดุริยางค์
เป็นผู้ที่ทวยเทพนอบน้อมแล้วด้วยการชมเชยและกราบไหว้
[๑๒๔๖] ตัวท่านนั้นมีอานุภาพสุดที่จะคิด ประกอบด้วยคุณทุกอย่าง
อันหมู่เทพนารีปลุกเร้า บันเทิงอยู่ในวิมานปราสาทที่ประเสริฐ
น่ารื่นรมย์ ดังท้าวเวสวัณ บันเทิงอยู่ในนฬินีสถาน๑
[๑๒๔๗] ท่านเป็นเทวดาหรือเป็นยักษ์
เป็นท้าวสักกะจอมเทพหรือเป็นมนุษย์
พวกพ่อค้าเกวียนถามท่าน โปรดบอกเถิด
ท่านเป็นเทวดาชื่ออะไร

เชิงอรรถ :
๑ สถานที่ทรงเล่นกีฬา, สนามกีฬา (ขุ.วิ.อ. ๑๒๔๖/๔๐๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๗. สุนิกขิตตวรรค ๑๐. เสริสสกวิมาน
(เทพบุตรตอบว่า)
[๑๒๔๘] ข้าพเจ้าเป็นเทวดาชื่อเสรีสกะ เป็นผู้รักษาทางกันดาร
คุ้มครองทางทะเลทราย ทำตามคำสั่งของท้าวเวสวัณ
จึงดูแลรักษาประเทศถิ่นนี้อยู่
(พวกพ่อค้าถามว่า)
[๑๒๔๙] วิมานนี้ท่านได้ตามความปรารถนาหรือเกิดโดยความเปลี่ยนแปลง
ท่านทำเองหรือเทวดาทั้งหลายมอบให้
พวกพ่อค้าเกวียนถามท่านว่า วิมานที่น่าชอบใจนี้ท่านได้มาอย่างไร
(เทพบุตรตอบว่า)
[๑๒๕๐] วิมานนี้มิใช่ข้าพเจ้าได้ตามความปรารถนา
มิใช่เกิดโดยการเปลี่ยนแปลง
มิใช่ข้าพเจ้าทำเอง ทั้งมิใช่เทวดาทั้งหลายมอบให้
วิมานที่น่าชอบใจนี้ข้าพเจ้าได้มาด้วยบุญกรรมอันดีงามของตน
(พวกพ่อค้าถามว่า)
[๑๒๕๑] อะไรเป็นวัตรและเป็นพรหมจรรย์ของท่าน
นี้เป็นวิบากแห่งบุญกรรมอะไรที่ท่านสั่งสมไว้ดีแล้ว
พวกพ่อค้าเกวียนถามท่านว่า วิมานนี้ท่านได้มาอย่างไร
(เทพบุตรตอบว่า)
[๑๒๕๒] ข้าพเจ้าได้มีนามว่า ปายาสิ
เมื่อครั้งข้าพเจ้าครองราชสมบัติในแคว้นโกศล
ข้าพเจ้าเป็นนัตถิกทิฏฐิ๑ เป็นคนตระหนี่
มีธรรมเลวทราม และมีปกติกล่าวว่าขาดสูญ๒

เชิงอรรถ :
๑ ลัทธิที่ถือว่า ไม่มีเหตุปัจจัยที่ทำให้สัตว์บริสุทธิ์หรือเศร้าหมอง (ที.สี.อ. ๑๖๘/๑๔๖)
๒ ลัทธิที่ถือว่า ตายแล้วไม่เกิดอีก (ที.สี.อ. ๘๔/๑๑๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๗. สุนิกขิตตวรรค ๑๐. เสริสสกวิมาน
[๑๒๕๓] ได้มีสมณะนามว่า กุมารกัสสปะ เป็นพหูสูต
ผู้เลิศทางกล่าวธรรมได้อย่างวิจิตรไพเราะ
ครั้งนั้นท่านได้กล่าวธรรมกถาโปรดข้าพเจ้า
ได้ช่วยบรรเทาทิฏฐิที่เป็นข้าศึกทางใจ๑ของข้าพเจ้าได้
[๑๒๕๔] ข้าพเจ้าฟังธรรมกถาของท่านนั้นแล้ว ได้ประกาศตนเป็นอุบาสก
งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ จากการลักทรัพย์
ยินดีเฉพาะภรรยาของตน ไม่กล่าวเท็จ ไม่ดื่มน้ำเมา
[๑๒๕๕] ข้อนั้นเป็นวัตร และเป็นพรหมจรรย์ของข้าพเจ้า
นี้เป็นวิบากแห่งบุญกรรมนั้นที่ข้าพเจ้าสั่งสมไว้ดีแล้ว
วิมานนี้ข้าพเจ้าได้มาด้วยบุญกรรมอันดีงามนั้นนั่นเอง
(พวกพ่อค้าถามว่า)
[๑๒๕๖] ทราบมาว่า คนมีปัญญาทั้งหลายพูดแต่คำจริง
คำพูดของบัณฑิตทั้งหลายจึงไม่กลับกลายเป็นอย่างอื่น
คนทำบุญไว้จะไปในที่ใดย่อมมีแต่สิ่งที่น่ารักน่าใคร่
บันเทิงอยู่ในที่นั้น
[๑๒๕๗] ณ ที่ใดมีความโศก ความร่ำไห้
การฆ่า การจองจำ และเหตุเกิดเรื่องเลวร้าย๒
คนทำบาปไว้ก็จะไปในที่นั้น
ไม่พ้นจากคติที่ชั่วไปได้ ไม่ว่ากาลไหน ๆ
[๑๒๕๘] พ่อกุมาร เพราะเหตุอะไรหนอ
เทพบริวารจึงเป็นเสมือนผู้ฟั่นเฟือนไปในชั่วครู่นี้
เหมือนน้ำใสถูกกวนให้ขุ่น
เพราะเหตุอะไรหนอ เทพบริวารนี้และตัวท่านจึงได้มีความโทมนัส

เชิงอรรถ :
๑ มิจฉาทิฏฐิ
๒ ความหายนะ (พินาศ) (ขุ.วิ.อ. ๑๒๕๗/๔๐๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๕๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๗. สุนิกขิตตวรรค ๑๐. เสริสสกวิมาน
(เทพบุตรตอบว่า)
[๑๒๕๙] พ่อทั้งหลาย กลิ่นทิพย์เหล่านี้โชยกลิ่นหอมระรื่นจากป่าไม้ซึก
หอมตลบอบอวลไปทั่ววิมานนี้
กำจัดความมืดได้ทั้งกลางวันและกลางคืน
[๑๒๖๐] ล่วงไป ๑๐๐ ปี ฝักไม้ซึกเหล่านี้แต่ละฝักก็จะแตกออก
เป็นที่รู้กันว่า ๑๐๐ ปีของมนุษย์ล่วงไปแล้ว
ตั้งแต่ข้าพเจ้าเกิดในหมู่เทวดานี้
[๑๒๖๑] พ่อทั้งหลาย ข้าพเจ้ารู้เห็นแล้วว่า
ข้าพเจ้าจักดำรงอยู่ในวิมานนี้เพียง ๕๐๐ ปีทิพย์
แล้วจึงจุติเพราะสิ้นบุญ สิ้นอายุ
ข้าพเจ้าจึงซบเซาเพราะความโศกนั้นนั่นเอง
(พวกพ่อค้ากล่าวว่า)
[๑๒๖๒] ผู้ที่ได้วิมานซึ่งหาที่เปรียบมิได้เป็นเวลานานเช่นนั้น
จะพึงเศร้าโศกไปทำไมเล่า
แต่พวกผู้มีบุญน้อยเข้าอยู่วิมานชั่วเวลาสั้น ๆ
นั้นแหละควรเศร้าโศกแท้
(เทพบุตรกล่าวว่า)
[๑๒๖๓] พ่อทั้งหลาย ข้อที่ท่านทั้งหลายกล่าววาจาที่น่ารักกับข้าพเจ้า
นั่นเป็นการกล่าวตักเตือนอันสมควรแก่ข้าพเจ้า
ส่วนข้าพเจ้าจะตามคุ้มครองท่านทั้งหลาย
เชิญท่านทั้งหลายไปยังที่ที่ท่านทั้งหลายปรารถนาโดยความสวัสดีเถิด
(พวกพ่อค้ากล่าวว่า)
[๑๒๖๔] ข้าพเจ้าทั้งหลายต้องการทรัพย์ หวังกำไร
จึงพากันไปยังสินธุและโสวีระประเทศ
แล้วจักพยายามค้าขายตามที่ตั้งใจไว้ มีการเสียสละอย่างบริบูรณ์
ทำการบูชาเสริสสกเทพบุตรอย่างโอฬาร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๖๐ }


>>>>> หน้าต่อไป >>>>>





eXTReMe Tracker