ค้นว่าอยู่เล่มใด แล้วกด [ctrl]+f หรือใช้คำสั่งของเครื่องหาตำแหน่งในเล่มอีกทีนะครับ



จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อความสะดวก และสวยงาม
(เฉพาะหน้าจอใหญ่ เช่น คอมพิวเตอร์)
กรุณาคลิก จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อให้กรอบ
ค้นข้อความ ปรากฎที่ด้านซ้ายของหน้า

พระไตรปิฎกภาษาไทย
ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม (ปกสีฟ้า)
ทั้งออนไลน์และออฟไลน์
ที่มาของข้อมูล : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มจร.
MCUTRAI Version 1.0

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔-๒ สุตตันตปิฎกที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก เอกาทสกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก
อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต
_______________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๒. ยมกวรรค ๙. ปฐมกถาวัตถุสูตร
ได้แต่ความเสื่อมอย่างเดียวในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่มีความเจริญเลย เปรียบเหมือน
เมื่อกลางคืนหรือกลางวันของดวงจันทร์ในกาฬปักษ์ผ่านไป ดวงจันทร์นั้นย่อมเสื่อม
จากความงาม ย่อมเสื่อมจากรัศมี ย่อมเสื่อมจากแสงสว่าง ย่อมเสื่อมจากด้านยาว
และด้านกว้าง
ผู้ใดผู้หนึ่งมีศรัทธาในกุศลธรรมทั้งหลาย มีหิริ ... มีโอตตัปปะ ... มีวิริยะ ...
มีปัญญา ... มีการเงี่ยโสตฟังธรรม ... มีการทรงจำธรรม ... มีการพิจารณาเนื้อความ
แห่งธรรม ... มีการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ... มีความไม่ประมาทในกุศลธรรม
ทั้งหลาย เมื่อกลางคืนหรือกลางวันของผู้นั้นผ่านไป เขาพึงหวังได้แต่ความ เจริญ
อย่างเดียวในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่มีความเสื่อมเลย
ผู้ใดผู้หนึ่งมีศรัทธาในกุศลธรรมทั้งหลาย ฯลฯ มีความไม่ประมาทในกุศลธรรม
ทั้งหลาย เมื่อกลางคืนหรือกลางวันของผู้นั้นผ่านไป เขาพึงหวังได้แต่ความเจริญ
อย่างเดียวในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่มีความเสื่อมเลย เปรียบเหมือนเมื่อกลางคืนหรือ
กลางวันของดวงจันทร์ในชุณหปักษ์ผ่านไป ดวงจันทร์นั้นย่อมเจริญด้วยความงาม
ย่อมเจริญด้วยรัศมี ย่อมเจริญด้วยแสงสว่าง ย่อมเจริญด้วยด้านยาวและด้านกว้าง
ทุติยนฬกปานสูตรที่ ๘ จบ

๙. ปฐมกถาวัตถุสูตร
ว่าด้วยกถาวัตถุ สูตรที่ ๑
[๖๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้นแล ภิกษุจำนวนมากกลับจากบิณฑบาตใน
เวลาหลังภัตตาหาร นั่งประชุมกันที่หอฉัน สนทนาติรัจฉานกถา๑ต่าง ๆ คือ (๑) ราช-
กถา เรื่องพระราชา (๒) โจรกถา เรื่องโจร (๓) มหามัตตกถา เรื่องมหาอำมาตย์
(๔) เสนากถา เรื่องกองทัพ (๕) ภยกถา เรื่องภัย (๖) ยุทธกถา เรื่องการรบ

เชิงอรรถ :
๑ ติรัจฉานกถา คือถ้อยคำอันขวางทางไปสู่สวรรค์หรือนิพพาน หมายถึงเรื่องราวที่ภิกษุไม่ควรนำมาเป็นข้อ
ถกเถียงสนทนากัน เพราะทำให้เกิดฟุ้งซ่าน และหลงเพลินเสียเวลา (ที.สี.อ. ๑๗/๘๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๒. ยมกวรรค ๙. ปฐมกถาวัตถุสูตร
(๗) อันนกถา เรื่องข้าว (๘) ปานกถา เรื่องน้ำ (๙) วัตถกถา เรื่องผ้า (๑๐) สยนกถา
เรื่องที่นอน (๑๑) มาลากถา เรื่องดอกไม้ (๑๒) คันธกถา เรื่องของหอม (๑๓) ญาติกถา
เรื่องญาติ (๑๔) ยานกถา เรื่องยาน (๑๕) คามกถา เรื่องบ้าน (๑๖) นิคมกถา เรื่องนิคม
(๑๗) นครกถา เรื่องนคร (๑๘) ชนปทกถา เรื่องชนบท (๑๙) อิตถีกถา เรื่องสตรี
(๒๐) ปุริสกถา เรื่องบุรุษ (๒๑) สูรกถา เรื่องคนกล้า (๒๒) วิสิขากถา เรื่องตรอก
(๒๓) กุมภัฏฐานกถา เรื่องท่าน้ำ (๒๔) ปุพพเปตกถา เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว (๒๕)
นานัตตกถา เรื่องเบ็ดเตล็ด (๒๖) โลกักขายิกะ เรื่องโลก (๒๗) สมุททักขายิกะ เรื่อง
ทะเล (๒๘) อิติภวาภวกถา เรื่องความเจริญและความเสื่อม
ครั้นในเวลาเย็น พระผู้มีพระภาค เสด็จออกจากที่หลีกเร้น๑ เข้าไปยังหอฉัน
ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้ ได้ตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย
บัดนี้ เธอทั้งหลายนั่งประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ และเรื่องอะไรที่เธอ
ทั้งหลายสนทนากันค้างไว้”
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ข้า
พระองค์ทั้งหลายกลับจากบิณฑบาตในเวลาหลังภัตตาหาร นั่งประชุมกันที่หอฉัน
สนทนาติรัจฉานกถาต่าง ๆ คือ (๑) ราชกถา เรื่องพระราชา (๒) โจรกถา เรื่อง
โจร ฯลฯ (๒๘) อิติภวาภวกถา เรื่องความเจริญและความเสื่อม พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ไม่สมควรเลยที่เธอทั้งหลายผู้เป็นกุล
บุตรมีศรัทธาออกบวชเป็นบรรพชิตสนทนาติรัจฉานกถาต่าง ๆ คือ (๑) ราชกถา
เรื่องพระราชา (๒) โจรกถา เรื่องโจร (๓) มหามัตตกถา เรื่องมหาอำมาตย์ (๔)
เสนากถา เรื่องกองทัพ (๕) ภยกถา เรื่องภัย (๖) ยุทธกถา เรื่องการรบ (๗) อันนกถา
เรื่องข้าว (๘) ปานกถา เรื่องน้ำ (๙) วัตถกถา เรื่องผ้า (๑๐) สยนกถา เรื่องที่นอน
(๑๑) มาลากถา เรื่องดอกไม้ (๑๒) คันธกถา เรื่องของหอม (๑๓) ญาติกถา เรื่องญาติ
(๑๔) ยานกถา เรื่องยาน (๑๕) คามกถา เรื่องบ้าน (๑๖) นิคมกถา เรื่องนิคม

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๕๐ (ภัณฑนสูตร) หน้า ๑๐๖ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๒. ยมกวรรค ๙. ปฐมกถาวัตถุสูตร
(๑๗) นครกถา เรื่องนคร (๑๘) ชนปทกถา เรื่องชนบท (๑๙) อิตถีกถา เรื่องสตรี
(๒๐) ปุริสกถา เรื่องบุรุษ (๒๑) สูรกถา เรื่องคนกล้า (๒๒) วิสิขากถา เรื่องตรอก
(๒๓) กุมภัฏฐานกถา เรื่องท่าน้ำ (๒๔) ปุพพเปตกถา เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว
(๒๕) นานัตตกถา เรื่องเบ็ดเตล็ด (๒๖) โลกักขายิกะ เรื่องโลก (๒๗) สมุททักขายิกะ
เรื่องทะเล (๒๘) อิติภวาภวกถา เรื่องความเจริญและความเสื่อม
ภิกษุทั้งหลาย กถาวัตถุ ๑๐ ประการนี้
กถาวัตถุ ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อัปปิจฉกถา (เรื่องความมักน้อย)
๒. สันตุฏฐิกถา (เรื่องความสันโดษ)
๓. ปวิเวกกถา (เรื่องความสงัด)
๔. อสังสัคคกถา (เรื่องความไม่คลุกคลี)
๕. วีริยารัมภกถา (เรื่องการปรารภความเพียร)
๖. สีลกถา (เรื่องศีล)
๗. สมาธิกถา (เรื่องสมาธิ)
๘. ปัญญากถา (เรื่องปัญญา)
๙. วิมุตติกถา (เรื่องวิมุตติ)
๑๐. วิมุตติญาณทัสสนกถา (เรื่องความรู้ ความเห็นในวิมุตติ)
ภิกษุทั้งหลาย กถาวัตถุ ๑๐ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย หากเธอทั้งหลายจะพึงยกกถาวัตถุ ๑๐ ประการนี้อย่างใดอย่าง
หนึ่งขึ้นมากล่าว เธอทั้งหลายก็จะสามารถครอบงำเดชานุภาพของดวงจันทร์และ
ดวงอาทิตย์ที่มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากอย่างนี้ด้วยเดชานุภาพของตนได้ ไม่จำเป็น
ต้องพูดถึงอัญเดียรถีย์ปริพาชกทั้งหลายเลย
ปฐมกถาวัตถุสูตรที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๕๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๒. ยมกวรรค ๑๐. ทุติยกถาวัตถุสูตร
๑๐. ทุติยกถาวัตถุสูตร
ว่าด้วยกถาวัตถุ สูตรที่ ๒
[๗๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้นแล ภิกษุจำนวนมากกลับจากบิณฑบาตใน
เวลาหลังภัตตาหาร นั่งประชุมกันที่หอฉัน สนทนาติรัจฉานกถาต่าง ๆ คือ
(๑) ราชกถา เรื่องพระราชา (๒) โจรกถา เรื่องโจร (๓) มหามัตตกถา เรื่องมหา-
อำมาตย์ ฯลฯ (๒๘) อิติภวาภวกถา เรื่องความเจริญและความเสื่อม
ครั้นในเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้น เข้าไปยังหอฉัน
ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่เขาปูลาดไว้ ได้ตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย
บัดนี้ เธอทั้งหลายนั่งประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ และเรื่องอะไรที่เธอ
ทั้งหลายสนทนากันค้างไว้”
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส
ข้าพระองค์ทั้งหลายกลับจากบิณฑบาตในเวลาหลังภัตตาหาร นั่งประชุมกันที่หอฉัน
สนทนาติรัจฉานกถาต่าง ๆ คือ (๑) ราชกถา เรื่องพระราชา (๒) โจรกถา เรื่องโจร ฯลฯ
(๒๘) อิติภวาภวกถา เรื่องความเจริญและความเสื่อม พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ไม่สมควรเลยที่เธอทั้งหลายผู้เป็นกุล
บุตรมีศรัทธาออกบวชเป็นบรรพชิตสนทนาติรัจฉานกถาต่าง ๆ คือ (๑) ราชกถา
เรื่องพระราชา ฯลฯ (๒๘) อิติภวาภวกถา เรื่องความเจริญและความเสื่อม
ภิกษุทั้งหลาย ฐานะที่ควรสรรเสริญ ๑๐ ประการนี้
ฐานะที่ควรสรรเสริญ ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. ตนเองเป็นผู้มักน้อย และแสดงคุณของความเป็นผู้มักน้อยแก่ภิกษุทั้งหลาย
ข้อที่ว่า ‘ภิกษุเป็นผู้มักน้อย และแสดงคุณของความเป็นผู้มักน้อยแก่
ภิกษุทั้งหลาย’ นี้เป็นฐานะที่ควรสรรเสริญ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๕๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๒. ยมกวรรค ๑๐. ทุติยกถาวัตถุสูตร
๒. ตนเองเป็นผู้สันโดษ และแสดงคุณของความสันโดษแก่ภิกษุทั้งหลายข้อ
ที่ว่า ‘ภิกษุเป็นผู้สันโดษ และแสดงคุณของความสันโดษแก่ภิกษุทั้งหลาย’
นี้เป็นฐานะที่ควรสรรเสริญ
๓. ตนเองเป็นผู้สงัด และแสดงคุณของความสงัดแก่ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่
ว่า‘ภิกษุเป็นผู้สงัดและแสดงคุณของความสงัดแก่ภิกษุทั้งหลาย’ นี้เป็น
ฐานะที่ควรสรรเสริญ
๔. ตนเองเป็นผู้ไม่คลุกคลี และแสดงคุณของความเป็นผู้ไม่คลุกคลีแก่ภิกษุ
ทั้งหลาย ข้อที่ว่า ‘ภิกษุเป็นผู้ไม่คลุกคลี และแสดงคุณของความไม่
คลุกคลีแก่ภิกษุทั้งหลาย’ นี้เป็นฐานะที่ควรสรรเสริญ
๕. ตนเองเป็นผู้ปรารภความเพียร และแสดงคุณของการปรารภความเพียร
แก่ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ว่า ‘ภิกษุเป็นผู้ปรารภความเพียร และแสดงคุณ
ของการปรารภความเพียรแก่ภิกษุทั้งหลาย’ นี้เป็นฐานะที่ควรสรรเสริญ
๖. ตนเองเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล และแสดงคุณของความเป็นผู้สมบูรณ์ด้วย
ศีลแก่ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ว่า ‘ภิกษุเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล และแสดงคุณ
ของความเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีลแก่ภิกษุทั้งหลาย’ นี้เป็นฐานะที่ควรสรรเสริญ
๗. ตนเองเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยสมาธิ และแสดงคุณของความเป็นผู้สมบูรณ์
ด้วยสมาธิแก่ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ว่า ‘ภิกษุเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยสมาธิ และ
แสดงคุณของความเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยสมาธิแก่ภิกษุทั้งหลาย’ นี้เป็น
ฐานะที่ควรสรรเสริญ
๘. ตนเองเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยปัญญา และแสดงคุณของความเป็นผู้สมบูรณ์
ด้วยปัญญาแก่ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ว่า ‘ภิกษุเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยปัญญา
และแสดงคุณของความเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยปัญญาแก่ภิกษุทั้งหลาย’ นี้
เป็นฐานะที่ควรสรรเสริญ
๙. ตนเองเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวิมุตติ และแสดงคุณของความเป็นผู้สมบูรณ์
ด้วยวิมุตติแก่ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ว่า ‘ภิกษุเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวิมุตติ และ
แสดงคุณของความเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวิมุตติแก่ภิกษุทั้งหลาย’ นี้เป็น
ฐานะที่ควรสรรเสริญ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๕๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๒. ยมกวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
๑๐. ตนเองเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ และแสดงคุณของความ
เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวิมุตติญาณทัสสนะแก่ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ว่า ‘ภิกษุ
เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ และแสดงคุณของความเป็นผู้
สมบูรณ์ด้วยวิมุตติญาณทัสสนะแก่ภิกษุทั้งหลาย’ นี้เป็นฐานะที่ควร
สรรเสริญ
ภิกษุทั้งหลาย ฐานะที่ควรสรรเสริญ ๑๐ ประการนี้แล
ทุติยกถาวัตถุสูตรที่ ๑๐ จบ
ยมกวรรคที่ ๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อวิชชาสูตร ๒. ตัณหาสูตร
๓. นิฏฐังคตสูตร ๔. อเวจจัปปสันนสูตร
๕. ปฐมสุขสูตร ๖. ทุติยสุขสูตร
๗. ปฐมนฬกปานสูตร ๘. ทุติยนฬกปานสูตร
๙. ปฐมกถาวัตถุสูตร ๑๐. ทุติยกถาวัตถุสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๕๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. อากังขวรรค ๑. อากังขสูตร
๓. อากังขวรรค
หมวดว่าด้วยความหวัง
๑. อากังขสูตร
ว่าด้วยความหวัง
[๗๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียก
ภิกษุทั้งหลาย มาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล สมบูรณ์ด้วยปาติโมกข์
สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วยอาจาระและโคจร๑ มีปกติเห็นภัย
ในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลายเถิด
๑. หากภิกษุหวังว่า ‘เราพึงเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่
ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย’ พึงเป็นผู้ทำศีลทั้งหลายให้บริบูรณ์
หมั่นประกอบความสงบแห่งจิตภายใน ไม่ห่างจากฌาน ประกอบด้วย
วิปัสสนา เพิ่มพูนเรือนว่าง๒เถิด
๒. หากภิกษุหวังว่า ‘เราพึงเป็นผู้ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ
คิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร’ พึงเป็นผู้ทำศีลทั้งหลายให้บริบูรณ์ หมั่น
ประกอบความสงบแห่งจิตภายใน ไม่ห่างจากฌาน ประกอบด้วย
วิปัสสนา เพิ่มพูนเรือนว่างเถิด
๓. หากภิกษุหวังว่า ‘เราบริโภคจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลาน-
ปัจจัยเภสัชชบริขารของชนเหล่าใด ขอสักการะของชนเหล่านั้น พึงมี

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑,๒ ข้อ ๑๗ (ปฐมนาถสูตร) หน้า ๓๑ ในเล่มนี้
๒ เพิ่มพูนเรือนว่าง ในที่นี้หมายถึง การเรียนกัมมัฏฐาน คือสมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐาน แล้ว
เข้าไปยังเรือนว่าง นั่งอยู่ตลอดวันตลอดคืน เจริญอธิจิตตสิกขาด้วยสมถกัมมัฏฐาน เจริญอธิปัญญาสิกขา
ด้วยวิปัสสนากัมมัฏฐาน (องฺ.ทสก.อ. ๓/๗๑/๓๕๗, ม.มู.อ. ๑/๖๕/๑๖๙-๑๗๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. อากังขวรรค ๑. อากังขสูตร
ผลมาก มีอานิสงส์มาก’ พึงเป็นผู้ทำศีลทั้งหลายให้บริบูรณ์ ... เพิ่มพูน
เรือนว่างเถิด
๔. หากภิกษุหวังว่า ‘ญาติสาโลหิต๑เหล่าใด ผู้ล่วงลับไปแล้ว มีจิต
เลื่อมใส ระลึกถึงเรา ขอการระลึกถึงเราของญาติสาโลหิตเหล่านั้น พึงมี
ผลมาก มีอานิสงส์มาก’ พึงเป็นผู้ทำศีลทั้งหลายให้บริบูรณ์ ... เพิ่มพูน
เรือนว่างเถิด
๕. หากภิกษุหวังว่า ‘เราพึงเป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขารตามแต่จะได้’ พึงเป็นผู้ทำศีลทั้งหลายให้
บริบูรณ์ ... เพิ่มพูนเรือนว่างเถิด
๖. หากภิกษุหวังว่า ‘เราพึงเป็นผู้อดทนต่อความหนาว ร้อน หิว กระหาย
เหลือบ ยุง ลม แดด และสัมผัสแห่งสัตว์เลื้อยคลาน ถ้อยคำหยาบคาย
ร้ายกาจ พึงเป็นผู้อดกลั้นเวทนาทั้งหลายอันมีในร่างกายที่เกิดขึ้นแล้ว
เป็นทุกข์ กล้าแข็ง เผ็ดร้อน ไม่ยินดี ไม่น่าพอใจ พรากชีวิต’ พึงเป็นผู้ทำ
ศีลทั้งหลายให้บริบูรณ์ ... เพิ่มพูนเรือนว่างเถิด
๗. หากภิกษุหวังว่า ‘เราพึงเป็นผู้ข่มความยินดีและความยินร้าย ความยินดี
และความยินร้ายไม่พึงครอบงำเรา ขอเราพึงข่มความยินดีและความยิน
ร้ายที่เกิดขึ้นอยู่’ พึงเป็นผู้ทำศีลทั้งหลายให้บริบูรณ์ ... เพิ่มพูน
เรือนว่างเถิด
๘. หากภิกษุหวังว่า ‘เราพึงเป็นผู้ระงับความกลัว ความหวาดเสียวได้
ความกลัวความหวาดเสียวไม่พึงครอบงำเรา ขอเราพึงระงับความ
กลัว ความหวาดเสียวที่เกิดขึ้นอยู่’ พึงเป็นผู้ทำศีลทั้งหลายให้บริบูรณ์ ...
เพิ่มพูนเรือนว่างเถิด

เชิงอรรถ :
๑ ญาติ หมายถึง บิดามารดาของสามีและเครือญาติฝ่ายบิดามารดาของสามี หรือบิดามารดาของภรรยา
และเครือญาติฝ่ายบิดามารดาของภรรยา สาโลหิต หมายถึงผู้ร่วมสายเลือดเดียวกัน ได้แก่ ปู่หรือตา เป็นต้น
(องฺ.ทสก.อ. ๓/๗๑/๓๕๘, องฺ.ทสก.ฏีกา ๓/๗๑-๗๔/๔๒๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. อากังขวรรค ๒. กัณฏกสูตร
๙. หากภิกษุหวังว่า ‘เราพึงเป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่งซึ่งเป็นเครื่องอยู่
เป็นสุขในปัจจุบันตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก’
พึงเป็นผู้ทำศีลทั้งหลายให้บริบูรณ์ ... เพิ่มพูนเรือนว่างเถิด
๑๐. หากภิกษุหวังว่า ‘เราพึงทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ
เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน’ พึงเป็นผู้
ทำศีลทั้งหลายให้บริบูรณ์ หมั่นประกอบความสงบแห่งจิตภายใน ไม่
ห่างจากฌาน ประกอบด้วยวิปัสสนา เพิ่มพูนเรือนว่างเถิด
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยคำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘เธอทั้งหลายจงเป็นผู้สมบูรณ์
ด้วยศีลสมบูรณ์ด้วยปาติโมกข์ สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วย
อาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท
ทั้งหลายเถิด’ เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
อากังขสูตรที่ ๑ จบ

๒. กัณฏกสูตร
ว่าด้วยปฏิปักขธรรม
[๗๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน
เขตกรุงเวสาลี พร้อมด้วยพระสาวกผู้เป็นเถระที่มีชื่อเสียงหลายรูป คือ ท่าน
พระปาละ ท่านพระอุปปาละ ท่านพระกักกฏะ ท่านพระกฬิมภะ ท่านพระนิกฏะ
ท่านพระกฏิสสหะ และพระสาวกผู้เป็นเถระมีชื่อเสียงเหล่าอื่น
สมัยนั้นแล เจ้าลิจฉวีผู้มีกิตติศัพท์เลื่องลือจำนวนมากได้พากันจัดขบวน
พยุหยาตราทางสถลมารค เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังป่ามหาวัน ครั้งนั้นแล
ท่านพระเถระเหล่านั้นได้มีความคิดอย่างนี้ว่า “เจ้าลิจฉวีผู้มีกิตติศัพท์เลื่องลือ
จำนวนมากได้พากันจัดขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคยังป่ามหาวัน ก็พระผู้มีพระภาคตรัสว่าฌานมีเสียงเป็นปฏิปักษ์ ทางที่ดี
เราทั้งหลายควรจะเข้าไปยังโคสิงคสาลวนทายวัน เป็นผู้เงียบเสียง ไม่พลุกพล่าน
อยู่ผาสุก” ทีนั้น พระเถระเหล่านั้นจึงเข้าไปยังโคสิงคสาลวนทายวัน เป็นผู้เงียบ เสียง
ไม่พลุกพล่าน อยู่ผาสุก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. อากังขวรรค ๒. กัณฏกสูตร
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย
ปาลภิกษุไปไหน อุปปาลภิกษุไปไหน กักกฏภิกษุ กฬิมภภิกษุ นิกฏภิกษุ
ปฏิสสหภิกษุไปไหน สาวกผู้เป็นเถระเหล่านั้นไปไหนหนอ”
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ท่าน
พระเถระเหล่านั้นคิดว่า ‘เจ้าลิจฉวีผู้มีกิตติศัพท์เลื่องลือจำนวนมากได้พากันจัด
ขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังป่ามหาวัน ก็
พระผู้มีพระภาคตรัสว่าฌานมีเสียงเป็นปฏิปักษ์ ทางที่ดีเราทั้งหลายควรจะเข้าไปยัง
โคสิงคสาลวนทายวัน เป็นผู้เงียบเสียง ไม่พลุกพล่าน อยู่ผาสุก’ ทีนั้น พระเถระ
เหล่านั้น จึงเข้าไปยังโคสิงคสาลวนทายวัน เป็นผู้เงียบเสียง ไม่พลุกพล่าน อยู่ผาสุก”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ดีละ ดีละ มหาสาวกเหล่านั้น เมื่อ
ตอบให้ชัดเจนพึงตอบดังนั้น เพราะเรากล่าวว่าฌานมีเสียงเป็นปฏิปักษ์
ปฏิปักขธรรม ๑๐ ประการนี้ ปฏิปักขธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความเป็นผู้ยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่ เป็นปฏิปักษ์ต่อผู้ยินดีในความสงัด
๒. การเจริญสุภนิมิต เป็นปฏิปักษ์ต่อผู้เจริญอสุภนิมิต
๓. การดูมหรสพที่เป็นข้าศึก เป็นปฏิปักษ์ต่อผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์
ทั้งหลาย
๔. ความใกล้ชิดมาตุคาม เป็นปฏิปักษ์ต่อพรหมจรรย์
๕. เสียง เป็นปฏิปักษ์ต่อปฐมฌาน
๖. วิตกวิจาร เป็นปฏิปักษ์ต่อทุติยฌาน
๗. ปีติ เป็นปฏิปักษ์ต่อตติยฌาน
๘. ลมอัสสาสะปัสสาสะ เป็นปฏิปักษ์ต่อจตุตถฌาน
๙. สัญญาและเวทนา เป็นปฏิปักษ์ต่อสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ
๑๐. ราคะ โทสะ และโมหะ เป็นปฏิปักขธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๕๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. อากังขวรรค ๓. อิฏฐธัมมสูตร
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้ไม่มีปฏิปักษ์อยู่เถิด (เธอทั้งหลายจงเป็นผู้
หมดปฏิปักขธรรมอยู่เถิด) เธอทั้งหลาย จงเป็นผู้ไม่มีปฏิปักขธรรม หมดปฏิปักข-
ธรรมอยู่เถิด พระอรหันต์ทั้งหลายไม่มีปฏิปักขธรรม (พระอรหันต์ทั้งหลายหมด
ปฏิปักขธรรม) ภิกษุทั้งหลาย พระอรหันต์ทั้งหลาย เป็นผู้ไม่มีปฏิปักขธรรมและ
หมดปฏิปักขธรรม
กัณฏกสูตรที่ ๒ จบ

๓. อิฏฐธัมมสูตร
ว่าด้วยธรรมที่น่าปรารถนา
[๗๓] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้ เป็นธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่
น่าพอใจ หาได้ยากในโลก
ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. โภคสมบัติ เป็นธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก
๒. ผิวพรรณ เป็นธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก
๓. ความไม่มีโรค เป็นธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก
๔. ศีล เป็นธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก
๕. พรหมจรรย์ เป็นธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก
๖. มิตร เป็นธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก
๗. ความเป็นพหูสูต เป็นธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยาก
ในโลก
๘. ปัญญา เป็นธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก
๙. ธรรม๑ เป็นธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก
๑๐. สวรรค์ เป็นธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก

เชิงอรรถ :
๑ ธรรม ในที่นี้หมายถึงโลกุตตรธรรม ๙ (องฺ.ทสก.อ. ๓/๗๓-๗๔/๓๕๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. อากังขวรรค ๓. อิฏฐธัมมสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้แล เป็นธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่
น่าพอใจ หาได้ยากในโลก
ธรรม ๑๐ ประการนี้แล ซึ่งเป็นธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้
ยากในโลก มีธรรมที่เป็นอันตราย ๑๐ ประการ คือ
๑. ความเกียจคร้าน ไม่ขยันหมั่นเพียร เป็นอันตรายต่อโภคสมบัติ
๒. การไม่ประดับตกแต่ง เป็นอันตรายต่อผิวพรรณ
๓. การทำสิ่งที่ไม่เป็นสัปปายะ เป็นอันตรายต่อความไม่มีโรค
๔. ความเป็นผู้มีปาปมิตร(มิตรชั่ว) เป็นอันตรายต่อศีล
๕. ความไม่สำรวมอินทรีย์ เป็นอันตรายต่อพรหมจรรย์
๖. การแกล้งกล่าวให้คลาดเคลื่อนจากความจริง เป็นอันตรายต่อมิตร
๗. การไม่ทำการสาธยาย เป็นอันตรายต่อความเป็นพหูสูต
๘. การไม่ฟังด้วยดี การไม่สอบถาม เป็นอันตรายต่อปัญญา
๙. การไม่ประกอบความเพียร การไม่พิจารณา เป็นอันตรายต่อธรรม
๑๐. การปฏิบัติผิด เป็นอันตรายต่อสวรรค์
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้แล เป็นอันตรายต่อธรรม ๑๐ ประการ
ซึ่งเป็นธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก
ธรรม ๑๐ ประการนี้แล ซึ่งเป็นธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้
ยากในโลก มีธรรมที่เป็นอาหาร ๑๐ ประการ คือ
๑. ความขยันหมั่นเพียร ไม่เกียจคร้าน เป็นอาหารของโภคสมบัติ
๒. การประดับตกแต่ง เป็นอาหารของผิวพรรณ
๓. การทำสิ่งที่เป็นสัปปายะ เป็นอาหารของความไม่มีโรค
๔. ความเป็นผู้มีกัลยาณมิตร(มิตรดี) เป็นอาหารของศีล
๕. ความสำรวมอินทรีย์ เป็นอาหารของพรหมจรรย์
๖. การไม่แกล้งกล่าวให้คลาดเคลื่อนจากความจริง เป็นอาหารของมิตร
๗. การทำการสาธยาย เป็นอาหารของความเป็นพหูสูต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๖๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. อากังขวรรค ๔. วัฑฒิสูตร
๘. การฟังด้วยดี การสอบถาม เป็นอาหารของปัญญา
๙. การประกอบความเพียร การพิจารณา เป็นอาหารของธรรม
๑๐. การปฏิบัติชอบ เป็นอาหารของสวรรค์
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้แล เป็นอาหารของธรรม ๑๐ ประการ
ซึ่งเป็นธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก
อิฏฐธัมมสูตรที่ ๓ จบ

๔. วัฑฒิสูตร
ว่าด้วยความเจริญ
[๗๔] ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกเมื่อเจริญด้วยความเจริญ ๑๐ ประการ ชื่อว่า
เจริญด้วยความเจริญอันประเสริฐ ชื่อว่ามีปกติรับเอาสิ่งที่เป็นสาระ และมีปกติรับ
เอาสิ่งที่ประเสริฐแห่งกาย
ความเจริญ ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
อริยสาวก
๑. เจริญด้วยนาและสวน
๒. เจริญด้วยทรัพย์และข้าวเปลือก
๓. เจริญด้วยบุตรและภรรยา
๔. เจริญด้วยทาส กรรมกร และคนใช้
๕. เจริญด้วยสัตว์สี่เท้า
๖. เจริญด้วยศรัทธา
๗. เจริญด้วยศีล
๘. เจริญด้วยสุตะ
๙. เจริญด้วยจาคะ
๑๐. เจริญด้วยปัญญา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. อากังขวรรค ๕. มิคสาลาสูตร
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกเมื่อเจริญด้วยธรรมเป็นเครื่องเจริญ ๑๐ ประการนี้แล
จึงชื่อว่าเจริญด้วยความเจริญอันประเสริฐ ชื่อว่าเป็นผู้มีปกติรับเอาสิ่งที่เป็นสาระ
และมีปกติรับเอาสิ่งที่ประเสริฐแห่งกาย
บุคคลใดในโลกนี้เจริญด้วยทรัพย์
ข้าวเปลือก บุตร ภรรยา และสัตว์สี่เท้า
บุคคลนั้นเป็นผู้มีโภคสมบัติ มียศ
ญาติมิตร และพระราชาก็ทรงยกย่อง
บุคคลใดในโลกนี้เจริญด้วยศรัทธา
ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา
บุคคลนั้น เป็นผู้คงที่ เป็นสัตบุรุษ
มีปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา
ชื่อว่าเจริญทั้ง ๒ ประการในปัจจุบัน
วัฑฒิสูตรที่ ๔ จบ

๕. มิคสาลาสูตร๑
ว่าด้วยอุบาสิกาชื่อว่ามิคสาลา
[๗๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้นในเวลาเช้า ท่านพระอานนท์ครอง
อันตรวาสกถือบาตรและจีวร๒แล้วเข้าไปยังที่อยู่ของมิคสาลาอุบาสิกา นั่งบนอาสนะที่
ปูลาดไว้ ลำดับนั้นแล มิคสาลาอุบาสิกาได้เข้าไปหาท่านพระอานนท์ ไหว้แล้วนั่ง ณ
ที่สมควร ได้เรียนถามท่านดังนี้ว่า

เชิงอรรถ :
๑ ดู องฺ.ฉกฺก. ๒๒/๔๔/๓๓๔
๒ คำว่า “ครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร” นี้ มิใช่ว่าก่อนหน้านี้ พระอานนท์มิได้นุ่งสบง มิใช่ว่าพระ
อานนท์ถือบาตรและจีวรไปโดยเปลือยกายส่วนบน แต่คำว่า “ครองอันตรวาสก” หมายถึงท่านผลัดเปลี่ยนสบง
หรือขยับสบงที่นุ่งอยู่ให้กระชับ คำว่า “ถือบาตรและจีวร” หมายถึงถือบาตรด้วยมือ ถือจีวรด้วยกาย คือ
ห่มจีวรแล้วอุ้มบาตรนั่นเอง เทียบ (วิ.อ. ๑/๑๖/๑๘๐, ที.ม.อ. ๑๕๓/๑๔๓, ม.มู.อ. ๑/๖๓/๑๖๓, ขุ.อุ.อ. ๖/๖๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. อากังขวรรค ๕. มิคสาลาสูตร
“ท่านอานนท์ ธรรมนี้ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า ‘คน ๒ คน คือ คนหนึ่ง
ประพฤติพรหมจรรย์ อีกคนหนึ่งไม่ประพฤติพรหมจรรย์ เป็นผู้มีคติเสมอเหมือนกัน
ในสัมปรายภพ’ จะพึงรู้ได้อย่างไร ท่านผู้เจริญ บิดาของดิฉันชื่อว่าปุราณะ เป็นผู้
ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกล งดเว้นจากเมถุน๑ซึ่งเป็นธรรมของชาวบ้าน
ท่านถึงแก่กรรมแล้ว พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ว่าเป็นสกทาคามีบุคคลเกิดใน
หมู่เทพชั้นดุสิต
เพื่อนรักของบิดาดิฉัน ชื่อว่าอิสิทัตตะ ถึงไม่ประพฤติพรหมจรรย์ แต่ถือ
สทารสันโดษ(ยินดีด้วยภรรยาของตน) แม้เขาถึงแก่กรรมแล้ว พระผู้มีพระภาคก็ทรง
พยากรณ์ว่าเป็นสกทาคามีบุคคลเกิดในหมู่เทพชั้นดุสิต
ท่านอานนท์ ธรรมนี้ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า ‘คน ๒ คน คือคนหนึ่ง
ประพฤติพรหมจรรย์ อีกคนหนึ่งไม่ประพฤติพรหมจรรย์ เป็นผู้มีคติเสมอเหมือนกัน
ในสัมปรายภพ’ จะพึงรู้ได้อย่างไร”
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “น้องหญิง ข้อนี้พระผู้มีพระภาคได้ทรงพยากรณ์ไว้
แล้วอย่างนี้เหมือนกัน”
ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์รับบิณฑบาต ณ ที่อยู่ของมิคสาลาอุบาสิกาแล้ว
ลุกจากอาสนะหลีกไป ครั้นในเวลาหลังภัตตาหาร ท่านพระอานนท์กลับจากบิณฑบาต
แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส เวลาเช้า ข้าพระองค์ครอง
อันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังที่อยู่ของมิคสาลาอุบาสิกา นั่งบนอาสนะที่ปูลาด
ไว้ ลำดับนั้นแล นางได้เข้าไปหาข้าพระองค์ ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามข้า
พระองค์ว่า
ท่านอานนท์ ธรรมนี้ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า ‘คน ๒ คน คือคนหนึ่ง
ประพฤติพรหมจรรย์ อีกคนหนึ่งไม่ประพฤติพรหมจรรย์ เป็นผู้มีคติเสมอเหมือนกัน
ในสัมปรายภพ’ จะพึงรู้ได้อย่างไร ท่านผู้เจริญ บิดาของดิฉันชื่อปุราณะ เป็นผู้

เชิงอรรถ :
๑ เมถุน หมายถึงอสัทธรรมซึ่งเป็นประเวณีของชาวบ้าน มารยาทของคนชั้นต่ำ กิริยาชั่วหยาบ มีน้ำเป็นที่สุด
เป็นกิจที่ต้องทำในที่ลับ ต้องทำกันสองต่อสอง ดูวินัยปิฎกแปล เล่มที่ ๑ ข้อ ๕๕ หน้า ๔๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. อากังขวรรค ๕. มิคสาลาสูตร
ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกล งดเว้นจากเมถุนซึ่งเป็นธรรมของชาวบ้าน
ท่านถึงแก่กรรมแล้ว พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ว่าเป็นสกทาคามีบุคคลเกิดใน
หมู่เทพชั้นดุสิต
เพื่อนรักของบิดาดิฉัน ชื่อว่าอิสิทัตตะ ถึงไม่ประพฤติพรหมจรรย์ แต่ถือ
สทารสันโดษ แม้เขาถึงแก่กรรมแล้ว พระผู้มีพระภาคก็ทรงพยากรณ์ว่าเป็น
สกทาคามีบุคคลเกิดในหมู่เทพชั้นดุสิต
ท่านอานนท์ ธรรมนี้ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า ‘คน ๒ คน คือคนหนึ่ง
ประพฤติพรหมจรรย์ อีกคนหนึ่งไม่ประพฤติพรหมจรรย์ เป็นผู้มีคติเสมอเหมือนกัน
ในสัมปรายภพ’ จะพึงรู้ได้อย่างไร
เมื่อมิคสาลาอุบาสิกากล่าวอย่างนี้แล้ว ข้าพระองค์จึงตอบว่า ‘น้องหญิง ข้อนี้
พระผู้มีพระภาคได้ทรงพยากรณ์ไว้อย่างนี้เหมือนกัน”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อานนท์ ในเรื่องญาณเป็นเครื่องกำหนดรู้อินทรีย์แก่
กล้าและอินทรีย์อ่อนของบุคคล ใครกันเล่าคือมิคสาลาอุบาสิกาผู้เขลา ไม่ฉลาด ไม่
หลักแหลม มีปัญญาทึบ และใครกันเล่าคือพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้มีวิสัยที่ไม่มีอะไร
ขัดขวางได้๑
อานนท์ บุคคล ๑๐ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๑๐ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ทุศีล และไม่รู้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติซึ่ง
เป็นที่ดับความเป็นผู้ทุศีลได้สิ้นเชิงตามความเป็นจริง บุคคลนั้นไม่ทำกิจ
ด้วยการฟัง ไม่ทำกิจด้วยความเป็นพหูสูต ไม่แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ๒
และไม่ได้วิมุตติ๓ ตามเวลาอันควร หลังจากตายแล้ว เขาย่อมไปทางเสื่อม
ไม่ไปทางเจริญ ย่อมถึงความเสื่อมอย่างเดียว ไม่ถึงความเจริญ
๒. ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ทุศีล แต่รู้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
ซึ่งเป็นที่ดับความเป็นผู้ทุศีลได้สิ้นเชิงตามความเป็นจริง บุคคลนั้นทำกิจ

เชิงอรรถ :
๑ ข้อความพระดำรัสนี้ พระพุทธเจ้ามีพระประสงค์จะแสดงให้เห็นว่าการที่จะเปรียบเทียบตัดสินหรือวัด
คุณสมบัติของบุคคลด้านการกำหนดรู้อินทรีย์แก่กล้าหรืออ่อนนั้น ไม่ใช่วิสัยของมิคสาลาอุบาสิกา หรือบุคคล
ผู้ปราศจากญาณโดยทั่วไป แต่เป็นวิสัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้มีญาณวิสัยที่ไม่มีอะไรขัดขวางได้เท่านั้น
(เทียบ องฺ.ฉกฺก. ๒๒/๔๔/๓๓๔, องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๔๔/๑๒๕)
๒ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๑๗ (ปฐมนาถสูตร) หน้า ๓๒ ในเล่มนี้
๓ ไม่ได้มุตติ หมายถึงไม่ได้อรหัตตผล (องฺ. ทสก.อ. ๓/๑/๓๑๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. อากังขวรรค ๕. มิคสาลาสูตร
ด้วยการฟัง ทำกิจด้วยความเป็นพหูสูต แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ และได้วิมุต
ติตามเวลาอันควร หลังจากตายแล้ว เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม
ย่อมถึงความเจริญอย่างเดียว ไม่ถึงความเสื่อม
บุคคลผู้ถือประมาณ๑ย่อมถือประมาณข้อนั้นว่า ‘ธรรมแม้ของบุคคลนี้ก็คือ
ธรรมของอีกคนหนึ่งนั่นแล บรรดาบุคคล ๒ คนนั้น เพราะเหตุไร คนหนึ่งจึงเลว
คนหนึ่งจึงดี’ แท้จริง การถือประมาณของผู้ถือประมาณเหล่านั้น เป็นไปเพื่อมิใช่
ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน
บรรดาบุคคล ๒ คนนั้น บุคคลใดเป็นผู้ทุศีล แต่รู้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
ซึ่งเป็นที่ดับความทุศีลได้สิ้นเชิงตามความเป็นจริง บุคคลนั้นทำกิจด้วยการฟัง ทำกิจ
ด้วยความเป็นพหูสูต แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ และได้วิมุตติตามเวลาอันควร บุคคลนี้ดี
กว่าและประณีตกว่าบุคคลที่กล่าวข้างต้นโน้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุคคลนี้หยั่ง
ลงสู่อริยภูมิ ใครเล่าจะพึงรู้เหตุนั้นได้นอกจากตถาคต เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลาย
อย่าได้เป็นผู้ชอบถือประมาณในบุคคล และอย่าถือประมาณในบุคคล เพราะบุคคลผู้
ถือประมาณในบุคคลย่อมทำลายคุณวิเศษของตน ส่วนเราหรือผู้เหมือนเราพึงถือ
ประมาณในบุคคลได้
๓. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีศีล แต่ไม่รู้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติซึ่ง
เป็นที่ดับศีลได้สิ้นเชิงตามความเป็นจริง บุคคลนั้นไม่ทำกิจด้วยการฟัง
ไม่ทำกิจด้วยความเป็นพหูสูต ไม่แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ และไม่ได้วิมุตติ
ตามเวลาอันควร หลังจากตายแล้ว เขาย่อมไปทางเสื่อม ไม่ไปทางเจริญ
ย่อมถึงความเสื่อมอย่างเดียว ไม่ถึงความเจริญ
๔. ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีศีล และรู้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
ซึ่งเป็นที่ดับศีลได้สิ้นเชิงตามความเป็นจริง บุคคลนั้นทำกิจด้วยการฟัง
ทำกิจด้วยความเป็นพหูสูต แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ และได้วิมุตติตามเวลา
อันควร หลังจากตายแล้ว เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม ย่อมถึง
ความเจริญอย่างเดียว ไม่ถึงความเสื่อม

เชิงอรรถ :
๑ ถือประมาณ ในที่นี้หมายถึงเปรียบเทียบตัดสินคุณสมบัติหรือคุณธรรมด้านเดียวกันระหว่างบุคคลหนึ่งกับ
อีกบุคคลหนึ่ง ว่า ใครมีคุณน้อย ใครมีคุณมาก หรือใครมีคุณมากกว่า ใครมีคุณมากที่สุด (เทียบ องฺ.ทสก.อ.
๓/๗๕/๓๖๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. อากังขวรรค ๕. มิคสาลาสูตร
บุคคลผู้ถือประมาณย่อมถือประมาณข้อนั้นว่า ฯลฯ ส่วนเราหรือผู้เหมือนเรา
พึงถือประมาณในบุคคลได้
๕. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีราคะจัด และไม่รู้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญา
วิมุตติซึ่งเป็นที่ดับราคะได้สิ้นเชิงตามความเป็นจริง บุคคลนั้นไม่ทำกิจ
ด้วยการฟัง ไม่ทำกิจด้วยความเป็นพหูสูต ไม่แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ และ
ไม่ได้วิมุตติตามเวลาอันควร หลังจากตายแล้ว เขาย่อมไปทางเสื่อม ไม่
ไปทางเจริญ ย่อมถึงความเสื่อมอย่างเดียว ไม่ถึงความเจริญ
๖. ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีราคะจัด แต่รู้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญา-
วิมุตติซึ่งเป็นที่ดับราคะได้สิ้นเชิงตามความเป็นจริง บุคคลนั้นทำกิจด้วย
การฟัง ทำกิจด้วยความเป็นพหูสูต แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ และได้วิมุตติ
ตามเวลาอันควร หลังจากตายแล้ว เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม
ย่อมถึงความเจริญอย่างเดียว ไม่ถึงความเสื่อม
บุคคลผู้ถือประมาณย่อมถือประมาณข้อนั้นว่า ฯลฯ ส่วนเราหรือผู้เหมือนเรา
พึงถือประมาณในบุคคลได้
๗. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มักโกรธ และไม่รู้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
ซึ่งเป็นที่ดับความโกรธได้สิ้นเชิงตามความเป็นจริง บุคคลนั้นไม่ทำกิจ
ด้วยการฟัง ไม่ทำกิจด้วยความเป็นพหูสูต ไม่แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ และ
ไม่ได้วิมุตติตามเวลาอันควร หลังจากตายแล้ว เขาย่อมไปทางเสื่อม ไม่
ไปทางเจริญ ย่อมถึงความเสื่อมอย่างเดียว ไม่ถึงความเจริญ
๘. ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มักโกรธ แต่รู้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญา
วิมุตติซึ่งเป็นที่ดับความโกรธได้สิ้นเชิงตามความเป็นจริง บุคคลนั้นทำกิจ
ด้วยการฟัง ทำกิจด้วยความเป็นพหูสูต แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ และได้
วิมุตติตามเวลาอันควร หลังจากตายแล้ว เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไป
ทางเสื่อม ย่อมถึงความเจริญอย่างเดียว ไม่ถึงความเสื่อม
บุคคลผู้ถือประมาณย่อมถือประมาณข้อนั้นว่า ฯลฯ ส่วนเราหรือผู้เหมือนเรา
พึงถือประมาณในบุคคลได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. อากังขวรรค ๕. มิคสาลาสูตร
๙. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฟุ้งซ่าน และไม่รู้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
ซึ่งเป็นที่ดับความฟุ้งซ่านได้สิ้นเชิงตามความเป็นจริง บุคคลนั้นไม่ทำกิจ
ด้วยการฟัง ไม่ทำกิจด้วยความเป็นพหูสูต ไม่แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ และ
ไม่ได้วิมุตติตามเวลาอันควร หลังจากตายแล้ว เขาย่อมไปทางเสื่อม ไม่
ไปทางเจริญ ย่อมถึงความเสื่อมอย่างเดียว ไม่ถึงความเจริญ
๑๐. ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฟุ้งซ่าน แต่รู้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
ซึ่งเป็นที่ดับความฟุ่งซ่านได้สิ้นเชิงตามความเป็นจริง บุคคลนั้นทำกิจ
ด้วยการฟัง ทำกิจด้วยความเป็นพหูสูต แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ และได้
วิมุตติตามเวลาอันควร หลังจากตายแล้ว เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไป
ทางเสื่อม ย่อมถึงความเจริญอย่างเดียว ไม่ถึงความเสื่อม
อานนท์ บุคคลผู้ถือประมาณย่อมถือประมาณข้อนั้นว่า ‘ธรรมแม้ของบุคคลนี้ก็
คือธรรมของอีกคนหนึ่งนั่นแล บรรดาบุคคล ๒ คนนั้น เพราะเหตุไร คนหนึ่งจึงเลว
คนหนึ่งจึงดี’ แท้จริง การถือประมาณของผู้ถือประมาณเหล่านั้น เป็นไปเพื่อมิใช่
ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน
บรรดาบุคคล ๒ คนนั้น บุคคลใดเป็นผู้ฟุ้งซ่าน แต่รู้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญา-
วิมุตติซึ่งเป็นที่ดับความฟุ้งซ่านได้สิ้นเชิงตามความเป็นจริง บุคคลนั้นทำกิจด้วยการ
ฟัง ทำกิจด้วยความเป็นพหูสูต แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ และได้วิมุตติตามเวลาอันควร
บุคคลนี้ดีกว่าและประณีตกว่าบุคคลที่กล่าวข้างต้นโน้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ
บุคคลนี้หยั่งลงสู่อริยภูมิ ใครเล่าจะพึงรู้เหตุนั้นได้ นอกจากตถาคต เพราะเหตุนั้นแล
เธอทั้งหลายอย่าได้เป็นผู้ชอบถือประมาณในบุคคล และอย่าถือประมาณในบุคคล
เพราะบุคคลผู้ถือประมาณในบุคคลย่อมทำลายคุณวิเศษของตน ส่วนเราหรือผู้
เหมือนเราพึงถือประมาณในบุคคลได้
ในเรื่องญาณเป็นเครื่องกำหนดรู้อินทรีย์แก่กล้าและอินทรีย์อ่อนของบุคคล
ใครกันเล่าคือมิคสาลาอุบาสิกาผู้เขลา ไม่ฉลาด ไม่หลักแหลม มีปัญญาทึบ และ
ใครกันเล่าคือพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้มีวิสัยที่ไม่มีอะไรขัดขวางได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. อากังขวรรค ๖. ตโยธัมมสูตร
อานนท์ บุคคล ๑๐ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก
บุรุษชื่อว่าปุราณะเป็นผู้ประกอบด้วยศีลเช่นใด บุรุษชื่อว่าอิสิทัตตะก็เป็นผู้
ประกอบด้วยศีลเช่นนั้น บุรุษชื่อว่าปุราณะจะได้รู้แม้คติของบุรุษชื่อว่าอิสิทัตตะในโลก
นี้ก็หามิได้ บุรุษชื่อว่าอิสิทัตตะเป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาเช่นใด บุรุษชื่อว่าปุราณะก็
เป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาเช่นนั้น บุรุษชื่อว่าอิสิทัตตะจะได้รู้แม้คติของบุรุษชื่อว่า
ปุราณะในโลกนี้ก็หามิได้
อานนท์ บุคคลทั้ง ๒ นี้แล เป็นผู้ต่ำกว่ากันด้วยองค์คุณคนละอย่าง อย่างนี้แล
มิคสาลาสูตรที่ ๕ จบ

๖. ตโยธัมมสูตร
ว่าด้วยธรรม ๓ ประการ
[๗๖] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้ ไม่พึงมีปรากฏอยู่ในโลก ตถาคต
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่พึงอุบัติขึ้นในโลก ธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้ก็ไม่พึง
รุ่งเรืองในโลก
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ชาติ (ความเกิด) ๒. ชรา (ความแก่)
๓. มรณะ (ความตาย)
ธรรม ๓ ประการนี้แล ไม่พึงมีปรากฏอยู่ในโลก ตถาคตอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้าก็ไม่พึงอุบัติขึ้นในโลก ธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้ก็ไม่พึงรุ่งเรืองในโลก
เพราะธรรม ๓ ประการนี้ยังมีปรากฏอยู่ในโลก ฉะนั้น ตถาคตอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้าจึงอุบัติขึ้นในโลก ธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้จึงรุ่งเรืองในโลก
๑. บุคคลยังละธรรม ๓ ประการนี้ไม่ได้ ก็ไม่อาจละชาติ ชรา และมรณะได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. อากังขวรรค ๖. ตโยธัมมสูตร
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
(๑) ราคะ (ความกำหนัด)
(๒) โทสะ (ความคิดประทุษร้าย)
(๓) โมหะ (ความหลง)
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลยังละธรรม ๓ ประการนี้แลไม่ได้ ก็ไม่อาจละชาติ ชรา
และมรณะได้
๒. บุคคลยังละธรรม ๓ ประการนี้ไม่ได้ ก็ไม่อาจละราคะ โทสะและโมหะได้
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
(๑) สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นตัวของตน)
(๒) วิจิกิจฉา(ความลังเลสงสัย)
(๓) สีลัพพตปรามาส(ความถือมั่นศีลพรต)
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลยังละธรรม ๓ ประการนี้แลไม่ได้ ก็ไม่อาจละราคะ โทสะ
และโมหะได้
๓. บุคคลยังละธรรม ๓ ประการนี้ไม่ได้ ก็ไม่อาจละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และ
สีลัพพตปรามาสได้
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
(๑) การมนสิการโดยไม่แยบคาย
(๒) การเดินทางผิด
(๓) ความหดหู่แห่งจิต
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลยังละธรรม ๓ ประการนี้แลไม่ได้ ก็ไม่อาจละสักกายทิฏฐิ
วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาสได้
๔. บุคคลยังละธรรม ๓ ประการนี้ไม่ได้ ก็ไม่อาจละการมนสิการโดยไม่แยบคาย
การเดินทางผิด และความหดหู่แห่งจิตได้
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
(๑) ความหลงลืมสติ
(๒) ความไม่มีสัมปชัญญะ
(๓) ความฟุ้งซ่านแห่งจิต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. อากังขวรรค ๖. ตโยธัมมสูตร
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลยังละธรรม ๓ ประการนี้แลไม่ได้ ก็ไม่อาจละการมนสิการ
โดยไม่แยบคาย การเดินทางผิด และความหดหู่แห่งจิตได้
๕. บุคคลยังละธรรม ๓ ประการนี้ไม่ได้ ก็ไม่อาจละความหลงลืมสติ ความไม่
มีสัมปชัญญะ และความฟุ้งซ่านแห่งจิตได้
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
(๑) ความเป็นผู้ไม่ต้องการจะเห็นพระอริยะ
(๒) ความเป็นผู้ไม่ต้องการจะฟังธรรมของพระอริยะ
(๓) ความเป็นผู้มีจิตคิดแข่งดี
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลยังละธรรม ๓ ประการนี้แลไม่ได้ ก็ไม่อาจละความหลง
ลืมสติ ความไม่มีสัมปชัญญะ และความฟุ้งซ่านแห่งจิตได้
๖. บุคคลยังละธรรม ๓ ประการนี้ไม่ได้ ก็ไม่อาจละความเป็นผู้ไม่ต้องการจะ
เห็นพระอริยะ ความเป็นผู้ไม่ต้องการจะฟังธรรมของพระอริยะ และความเป็นผู้มีจิต
คิดแข่งดีได้
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
(๑) ความฟุ้งซ่าน (๒) ความไม่สำรวม
(๓) ความเป็นผู้ทุศีล
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลยังละธรรม ๓ ประการนี้แลไม่ได้ ก็ไม่อาจละความเป็นผู้
ไม่ต้องการจะเห็นพระอริยะ ความเป็นผู้ไม่ต้องการจะฟังธรรมของพระอริยะ และ
ความเป็นผู้มีจิตคิดแข่งดีได้
๗. บุคคลยังละธรรม ๓ ประการนี้ไม่ได้ ก็ไม่อาจละความฟุ้งซ่าน ความไม่
สำรวม และความเป็นผู้ทุศีลได้
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
(๑) ความไม่มีศรัทธา (๒) ความเป็นผู้ไม่มีใจเอื้อเฟื้อ
(๓) ความเกียจคร้าน
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลยังละธรรม ๓ ประการนี้แลไม่ได้ ก็ไม่อาจละความฟุ้งซ่าน
ความไม่สำรวม และความเป็นผู้ทุศีลได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. อากังขวรรค ๖. ตโยธัมมสูตร
๘. บุคคลยังละธรรม ๓ ประการนี้ไม่ได้ ก็ไม่อาจละความไม่มีศรัทธา ความเป็น
ผู้ไม่มีใจเอื้อเฟื้อ และความเกียจคร้านได้
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
(๑) ความไม่เอื้อเฟื้อ (๒) ความเป็นผู้ว่ายาก
(๓) ความเป็นผู้มีปาปมิตร
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลยังละธรรม ๓ ประการนี้แลไม่ได้ ก็ไม่อาจละความไม่มี
ศรัทธา ความเป็นผู้ไม่มีใจเอื้อเฟื้อ และความเกียจคร้านได้
๙. บุคคลยังละธรรม ๓ ประการนี้ไม่ได้ ก็ไม่อาจละความไม่เอื้อเฟื้อ ความ
เป็นผู้ว่ายาก และความเป็นผู้มีปาปมิตรได้
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
(๑) ความไม่มีหิริ (๒) ความไม่มีโอตตัปปะ
(๓) ความประมาท
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลยังละธรรม ๓ ประการนี้แลไม่ได้ ก็ไม่อาจละความไม่เอื้อเฟื้อ
ความเป็นผู้ว่ายาก และความเป็นผู้มีปาปมิตรได้
๑๐. บุคคลนี้เป็นผู้ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ เป็นผู้ประมาท บุคคลนั้น เมื่อ
ประมาท จึงไม่อาจละความไม่เอื้อเฟื้อ ความเป็นผู้ว่ายาก และความเป็นผู้มี
ปาปมิตรได้ เมื่อมีปาปมิตร จึงไม่อาจละความไม่มีศรัทธา ความเป็นผู้ไม่มีใจเอื้อเฟื้อ
และความเกียจคร้านได้ เมื่อเกียจคร้าน จึงไม่อาจละความฟุ้งซ่าน ความไม่สำรวม
และความเป็นผู้ทุศีลได้ เมื่อทุศีล จึงไม่อาจละความเป็นผู้ไม่ต้องการจะเห็นพระอริยะ
ความเป็นผู้ไม่ต้องการจะฟังธรรมของพระอริยะ และความเป็นผู้มีจิตคิดแข่งดีได้ เมื่อ
มีจิตคิดแข่งดี จึงไม่อาจละความหลงลืมสติ ความไม่มีสัมปชัญญะ และความฟุ้งซ่าน
แห่งจิตได้ เมื่อมีจิตฟุ้งซ่าน จึงไม่อาจละการมนสิการโดยไม่แยบคาย การเดินทางผิด
และความหดหู่แห่งจิตได้ เมื่อมีจิตหดหู่ จึงไม่อาจละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และ
สีลัพพตปรามาสได้ เมื่อมีวิจิกิจฉา จึงไม่อาจละราคะ โทสะ และโมหะได้ ครั้นละ
ราคะ โทสะ และโมหะยังไม่ได้ จึงไม่อาจละชาติ ชรา และมรณะได้
๑. บุคคลละธรรม ๓ ประการนี้ได้แล้ว จึงอาจละชาติ ชรา และมรณะได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. อากังขวรรค ๖. ตโยธัมมสูตร
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
(๑) ราคะ (๒) โทสะ
(๓) โมหะ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม ๓ ประการนี้แลได้แล้ว จึงอาจละชาติ ชรา และ
มรณะได้
๒. บุคคลละธรรม ๓ ประการนี้ได้แล้ว จึงอาจละราคะ โทสะ และโมหะได้
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
(๑) สักกายทิฏฐิ (๒) วิจิกิจฉา
(๓) สีลัพพตปรามาส
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม ๓ ประการนี้แลได้แล้ว จึงอาจละราคะ โทสะ
และโมหะได้
๓. บุคคลละธรรม ๓ ประการนี้ได้แล้ว จึงอาจละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และ
สีลัพพตปรามาสได้
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
(๑) การมนสิการโดยไม่แยบคาย (๒) การเดินทางผิด
(๓) ความหดหู่แห่งจิต
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม ๓ ประการนี้แลได้แล้ว จึงอาจละสักกายทิฏฐิ
วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาสได้
๔. บุคคลละธรรม ๓ ประการนี้ได้แล้ว จึงอาจละการมนสิการโดยไม่แยบคาย
การเดินทางผิด และความหดหู่แห่งจิตได้
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
(๑) ความหลงลืมสติ (๒) ความไม่มีสัมปชัญญะ
(๓) ความฟุ้งซ่านแห่งจิต
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม ๓ ประการนี้แลได้แล้ว จึงอาจละการมนสิการ
โดยไม่แยบคาย การเดินทางผิด และความหดหู่แห่งจิตได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. อากังขวรรค ๖. ตโยธัมมสูตร
๕. บุคคลละธรรม ๓ ประการนี้ได้แล้ว จึงอาจละความหลงลืมสติ ความไม่มี
สัมปชัญญะ และความฟุ้งซ่านแห่งจิตได้
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
(๑) ความเป็นผู้ไม่ต้องการจะเห็นพระอริยะ
(๒) ความเป็นผู้ไม่ต้องการจะฟังธรรมของพระอริยะ
(๓) ความเป็นผู้มีจิตคิดแข่งดี
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม ๓ ประการนี้แลได้แล้ว จึงอาจละความหลง
ลืมสติ ความไม่มีสัมปชัญญะ และความฟุ้งซ่านแห่งจิตได้
๖. บุคคลละธรรม ๓ ประการนี้ได้แล้ว จึงอาจละความเป็นผู้ไม่ต้องการจะเห็น
พระอริยะ ความเป็นผู้ไม่ต้องการจะฟังธรรมของพระอริยะ และความเป็นผู้มีจิตคิด
แข่งดีได้
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
(๑) ความฟุ้งซ่าน (๒) ความไม่สำรวม
(๓) ความเป็นผู้ทุศีล
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม ๓ ประการนี้แลได้แล้ว จึงอาจละความเป็นผู้ไม่
ต้องการจะเห็นพระอริยะ ความเป็นผู้ไม่ต้องการจะฟังธรรมของพระอริยะ และความ
เป็นผู้มีจิตคิดแข่งดีได้
๗. บุคคลละธรรม ๓ ประการนี้ได้แล้ว จึงอาจละความฟุ้งซ่าน ความไม่สำรวม
และความเป็นผู้ทุศีลได้
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
(๑) ความไม่มีศรัทธา (๒) ความเป็นผู้ไม่มีใจเอื้อเฟื้อ
(๓) ความเกียจคร้าน
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม ๓ ประการนี้แลได้แล้ว จึงอาจละความฟุ้งซ่าน
ความไม่สำรวม และความเป็นผู้ทุศีลได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๗๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. อากังขวรรค ๖. ตโยธัมมสูตร
๘. บุคคลละธรรม ๓ ประการนี้ได้แล้ว จึงอาจละความไม่มีศรัทธา ความเป็นผู้
มีใจไม่เอื้อเฟื้อ และความเกียจคร้านได้
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
(๑) ความไม่เอื้อเฟื้อ (๒) ความเป็นผู้ว่ายาก
(๓) ความเป็นผู้มีปาปมิตร
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม ๓ ประการนี้แลได้แล้ว จึงอาจละความเป็นผู้ไม่
มีศรัทธา ความเป็นผู้ไม่มีใจเอื้อเฟื้อ และความเกียจคร้านได้
๙. บุคคลละธรรม ๓ ประการนี้ได้แล้ว จึงอาจละความเป็นผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ความ
เป็นผู้ว่ายาก และความเป็นผู้มีปาปมิตรได้
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
(๑) ความเป็นผู้ไม่มีหิริ (๒) ความเป็นผู้ไม่มีโอตตัปปะ
(๓) ความประมาท
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม ๓ ประการนี้แลได้แล้ว จึงอาจละความเป็นผู้ไม่
เอื้อเฟื้อ ความเป็นผู้ว่ายาก และความเป็นผู้มีปาปมิตรได้ (๙)
๑๐. บุคคลนี้เป็นผู้มีหิริ เป็นผู้มีโอตตัปปะ เป็นผู้ไม่ประมาท บุคคลนั้นเมื่อไม่
ประมาท จึงอาจละความเป็นผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ความเป็นผู้ว่ายาก และความเป็นผู้มีปาปมิตรได้
เมื่อมีกัลยาณมิตร จึงอาจละความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ความเป็นผู้ไม่มีใจเอื้อเฟื้อ
และความเกียจคร้านได้ เมื่อปรารภความเพียร จึงอาจละความฟุ้งซ่าน ความไม่
สำรวม และความเป็นผู้ทุศีลได้ เมื่อมีศีล จึงอาจละความเป็นผู้ไม่ต้องการจะเห็น
พระอริยะ ความเป็นผู้ไม่ต้องการจะฟังธรรมของพระอริยะ และความเป็นผู้มีจิตคิด
แข่งดีได้ เมื่อมีจิตไม่คิดแข่งดี จึงอาจละความหลงลืมสติ ความไม่มีสัมปชัญญะ
ความฟุ้งซ่านแห่งจิตได้ เมื่อมีจิตไม่ฟุ้งซ่าน จึงอาจละการมนสิการโดยไม่แยบคาย
การเดินทางผิด และความหดหู่แห่งจิตได้ เมื่อมีจิตไม่หดหู่ จึงอาจละสักกายทิฏฐิ
วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาสได้ เมื่อไม่มีวิจิกิจฉา จึงอาจละราคะ โทสะ และ
โมหะได้ ครั้นละราคะ โทสะ และโมหะ ได้แล้ว จึงอาจละชาติ ชรา และมรณะได้
ตโยธัมมสูตรที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. อากังขวรรค ๘. นิคัณฐสูตร
๗. กากสูตร
ว่าด้วยอสัทธรรมของกา
[๗๗] ภิกษุทั้งหลาย กาประกอบด้วยอสัทธรรม ๑๐ ประการ
อสัทธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. มักกำจัด ๒. คะนอง
๓. ทะเยอทะยาน ๔. กินจุ
๕. หยาบช้า ๖. ไม่มีกรุณา
๗. อ่อนแอ ๘. มักร้อง
๙. หลงลืมสติ ๑๐. สั่งสม

กาประกอบด้วยอสัทธรรม ๑๐ ประการนี้แล ฉันใด
ภิกษุชั่วประกอบด้วยอสัทธรรม ๑๐ ประการ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
อสัทธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. มักกำจัด๑ ๒. คะนอง
๓. ทะเยอทะยาน ๔. กินจุ
๕. หยาบช้า ๖. ไม่มีกรุณา
๗. อ่อนแอ ๘. มักร้อง
๙. หลงลืมสติ ๑๐. สั่งสม

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษชั่วประกอบด้วยอสัทธรรม ๑๐ ประการนี้แล
กากสูตรที่ ๗ จบ

๘. นิคัณฐสูตร
ว่าด้วยอสัทธรรมของพวกนิครนถ์
[๗๘] ภิกษุทั้งหลาย พวกนิครนถ์ประกอบด้วยอสัทธรรม ๑๐ ประการ
อสัทธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ

เชิงอรรถ :
๑ มักกำจัด ในที่นี้หมายถึงกำจัดคุณความดีของผู้อื่น ชอบใส่ร้ายป้ายสีผู้อื่น (องฺ.ทสก.อ. ๓/๗๗/๓๖๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๗๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. อากังขวรรค ๙. อาฆาตวัตถุสูตร
๑. ไม่มีศรัทธา ๒. ทุศีล
๓. ไม่มีหิริ ๔. ไม่มีโอตตัปปะ
๕. ไม่ภักดีต่อสัตบุรุษ ๖. ยกตนข่มท่าน
๗. สละคืนความยึดมั่นถือมั่นด้วยทิฏฐิของตนได้ยาก
๘. เป็นคนลวงโลก ๙. ปรารถนาชั่ว
๑๐. เป็นมิจฉาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย พวกนิครนถ์ประกอบด้วยอสัทธรรม ๑๐ ประการนี้แล
นิคัณฐสูตรที่ ๘ จบ

๙. อาฆาตวัตถุสูตร
ว่าด้วยอาฆาตวัตถุ
[๗๙] ภิกษุทั้งหลาย อาฆาตวัตถุ(เหตุผูกอาฆาต) ๑๐ ประการนี้
อาฆาตวัตถุ ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
บุคคลย่อมผูกอาฆาตว่า
๑. ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์๑แก่เรา
๒. ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชนแก่เรา
๓. ผู้นี้จักทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชนแก่เรา
๔. ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชนแก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา
๕. ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชนแก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา
๖. ผู้นี้จักทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชนแก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา
๗. ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา
๘. ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา

เชิงอรรถ :
๑ สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ในที่นี้หมายถึงความพินาศ เสียหาย ไม่เจริญ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๘๘-๘๙/๑๕๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๗๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. อากังขวรรค ๑๐. อาฆาตปฏิวินยสูตร
๙. ผู้นี้จักทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา
๑๐. โกรธในเหตุอันไม่ควร๑
ภิกษุทั้งหลาย อาฆาตวัตถุ ๑๐ ประการนี้แล
อาฆาตวัตถุสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. อาฆาตปฏิวินยสูตร
ว่าด้วยอุบายกำจัดอาฆาต
[๘๐] ภิกษุทั้งหลาย อุบายเป็นเครื่องกำจัดอาฆาต ๑๐ ประการนี้
อุบายเป็นเครื่องกำจัดอาฆาต ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
บุคคลย่อมกำจัดอาฆาตว่า
๑. ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา การทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์
แก่เรานั้น จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน
๒. ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา การทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์
แก่เรานั้น จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน
๓. ผู้นี้จักทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา การทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่
เรานั้น จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน
๔. ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา การทำ
สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรานั้น จะหาได้ในผู้นี้
แต่ที่ไหน
๕. ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา การ
ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรานั้น จะหาได้ใน
ผู้นี้แต่ที่ไหน

เชิงอรรถ :
๑ ดู อภิ.วิ. ๓๕/๙๖๗/๔๗๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. อากังขวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
๖. ผู้นี้จักทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา การทำ
สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรานั้น จะหาได้ในผู้นี้
แต่ที่ไหน
๗. ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา
การทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรานั้น
จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน
๘. ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา
การทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรานั้น
จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน
๙. ผู้นี้จักทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา
การทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรานั้น
จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน
๑๐. ไม่โกรธในเหตุอันไม่ควร
ภิกษุทั้งหลาย อุบายเป็นเครื่องกำจัดอาฆาต ๑๐ ประการนี้แล
อาฆาตปฏิวินยสูตรที่ ๑๐ จบ
อากังขวรรคที่ ๓ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อากังขสูตร ๒. กัณฏกสูตร
๓. อิฏฐธัมมสูตร ๔. วัฑฒิสูตร
๕. มิคสาลาสูตร ๖. ตโยธัมมสูตร
๗. กากสูตร ๘. นิคัณฐสูตร
๙. อาฆาตวัตถุสูตร ๑๐. อาฆาตปฏิวินยสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๗๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๔. เถรวรรค ๑. วาหุนสูตร
๔. เถรวรรค
หมวดว่าด้วยพระเถระ
๑. วาหุนสูตร
ว่าด้วยพระวาหุนะ
[๘๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ฝั่งสระคัคคราโบกขรณี เขตกรุง
จัมปา ครั้งนั้นแล ท่านพระวาหุนะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร จึงได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระตถาคตทรงสลัด ปราศจาก หลุดพ้นจากธรรม
เท่าไรหนอ จึงมีพระหทัยปราศจากแดน ๑ อยู่ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า วาหุนะ ตถาคตสลัด ปราศจาก หลุดพ้นจากธรรม
๑๐ ประการ จึงมีใจปราศจากแดนอยู่
ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ตถาคตสลัด ปราศจาก หลุดพ้นจากรูป จึงมีใจปราศจากแดนอยู่
๒. ตถาคตสลัด ปราศจาก หลุดพ้นจากเวทนา จึงมีใจปราศจากแดนอยู่
๓. ตถาคตสลัด ปราศจาก หลุดพ้นจากสัญญา จึงมีใจปราศจากแดนอยู่
๔. ตถาคตสลัด ปราศจาก หลุดพ้นจากสังขาร จึงมีใจปราศจากแดนอยู่
๕. ตถาคตสลัด ปราศจาก หลุดพ้นจากวิญญาณ จึงมีใจปราศจากแดนอยู่
๖. ตถาคตสลัด ปราศจาก หลุดพ้นจากชาติ จึงมีใจปราศจากแดนอยู่
๗. ตถาคตสลัด ปราศจาก หลุดพ้นจากชรา จึงมีใจปราศจากแดนอยู่
๘. ตถาคตสลัด ปราศจาก หลุดพ้นจากมรณะ จึงมีใจปราศจากแดนอยู่
๙. ตถาคตสลัด ปราศจาก หลุดพ้นจากทุกข์ จึงมีใจปราศจากแดนอยู่
๑๐. ตถาคตสลัด ปราศจาก หลุดพ้นจากกิเลส จึงมีใจปราศจากแดนอยู่

เชิงอรรถ :
๑ แดน ในที่นี้หมายถึงกิเลส (องฺ.ทสก.อ. ๓/๘๑-๘๓/๓๖๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๘๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๔. เถรวรรค ๒. อานันทสูตร
วาหุนะ ตถาคตสลัด ปราศจาก หลุดพ้นจากธรรม ๑๐ ประการนี้ จึงมีใจปราศ
จากแดนอยู่ เปรียบเหมือนดอกอุบล ดอกปทุม ดอกปุณฑริกที่เกิดในน้ำ
เจริญในน้ำ ขึ้นพ้นจากน้ำ ไม่ติดอยู่กับน้ำ ฉะนั้น
วาหุนสูตรที่ ๑ จบ

๒. อานันทสูตร
ว่าด้วยพระอานนท์
[๘๒] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า
อานนท์
๑. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่มีศรัทธา จักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ใน
ธรรมวินัยนี้
๒. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ทุศีล จักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ใน
ธรรมวินัยนี้
๓. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้มีสุตะน้อย จักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ใน
ธรรมวินัยนี้
๔. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ว่ายาก จักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ใน
ธรรมวินัยนี้
๕. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้มีปาปมิตร(มิตรชั่ว) จักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์
ในธรรมวินัยนี้
๖. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้เกียจคร้าน จักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ใน
ธรรมวินัยนี้
๗. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้หลงลืมสติ จักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ใน
ธรรมวินัยนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๔. เถรวรรค ๓. ปุณณิยสูตร
๘. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่สันโดษ จักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ใน
ธรรมวินัยนี้
๙. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ปรารถนาชั่ว จักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์
ในธรรมวินัยนี้
๑๐. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ(เห็นผิด) จักถึงความเจริญงอก
งามไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้
อานนท์ เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล จักถึง
ความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้
อานนท์
๑. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้มีศรัทธา จักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรม
วินัยนี้
๒. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้มีศีล จักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรม
วินัยนี้
๓. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้เป็นพหูสูต ทรงสุตะ จักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์
ในธรรมวินัยนี้
๔. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้ว่าง่าย จักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรม
วินัยนี้
๕. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตร(มิตรดี) จักถึงความเจริญงอกงาม
ไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้
๖. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้ปรารภความเพียร จักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ใน
ธรรมวินัยนี้
๗. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้มีสติตั้งมั่น จักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรม
วินัยนี้
๘. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้สันโดษ จักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรม
วินัยนี้
๙. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้มักน้อย จักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรม
วินัยนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๔. เถรวรรค ๓. ปุณณิยสูตร
๑๐. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้เป็นสัมมาทิฏฐิ(เห็นชอบ) จักถึงความเจริญงอกงาม
ไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้
อานนท์ เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้ จักถึงความเจริญ
งอกงามไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้
อานันทสูตรที่ ๒ จบ

๓. ปุณณิยสูตร
ว่าด้วยพระปุณณิยะ
[๘๓] ครั้งนั้น ท่านพระปุณณิยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้พระธรรมเทศนาของ
พระตถาคตแจ่มแจ้งในบางคราว แต่ในบางคราว กลับไม่แจ่มแจ้ง
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ปุณณิยะ ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา แต่ไม่เข้าไปหา
ธรรมเทศนาของตถาคตจึงไม่แจ่มแจ้ง แต่เมื่อใด ภิกษุมีศรัทธาและเข้าไปหา เมื่อนั้น
ธรรมเทศนาของตถาคตจึงแจ่มแจ้ง
ปุณณิยะ ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธาและเข้าไปหา แต่ไม่เข้าไปนั่งใกล้ ... เข้าไปนั่งใกล้
แต่ไม่สอบถาม ... สอบถาม แต่ไม่เงี่ยโสตฟังธรรม เงี่ยโสตฟังธรรม แต่ไม่ทรงจำ
ธรรมไว้ ... ฟังแล้วทรงจำธรรมไว้ แต่ไม่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ ...
พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ แต่ไม่รู้อรรถ ไม่รู้ธรรม ไม่ปฏิบัติ
ธรรมสมควรแก่ธรรม รู้อรรถ รู้ธรรม ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมแล้ว แต่ไม่มี
วาจางาม ไม่เจรจาถ้อยคำไพเราะประกอบด้วยวาจาชาวเมืองที่สละสลวยไม่
หยาบคาย ให้รู้ความหมายได้ มีวาจางาม เจรจาถ้อยคำไพเราะประกอบด้วยวาจา
ชาวเมืองที่สละสลวยไม่หยาบคาย ให้รู้ความหมายได้ แต่ไม่ชี้แจงให้เพื่อนพรหมจารี
เห็นชัด ไม่ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ ไม่เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ไม่ปลอบ
ชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง ธรรมเทศนาของตถาคตจึงไม่แจ่มแจ้ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๔. เถรวรรค ๔. พยากรณสูตร
ปุณณิยะ แต่เมื่อใด ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา ๑ เข้าไปหา ๑ เข้าไปนั่งใกล้ ๑
สอบถาม ๑ เงี่ยโสตฟังธรรม ๑ ฟังแล้วทรงจำธรรมไว้ ๑ พิจารณาเนื้อความ
แห่งธรรมที่ทรงจำไว้ ๑ เป็นผู้รู้อรรถรู้ธรรม ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑ มีวาจา
งาม เจราจาถ้อยคำไพเราะประกอบด้วยวาจาชาวเมืองที่สละสลวยไม่หยาบคาย ให้รู้
ความหมายได้ ๑ ชี้แจงให้เพื่อนพรหมจารีเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ
เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง ๑ เมื่อนั้น ธรรมเทศนา
ของตถาคตจึงแจ่มแจ้ง
ปุณณิยะ ธรรมเทศนาของตถาคตประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล จึง
แจ่มแจ้งโดยแท้
ปุณณิยสูตรที่ ๓ จบ

๔. พยากรณสูตร
ว่าด้วยการพยากรณ์อรหัตตผล
[๘๔] ณ ที่นั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า
ภิกษุผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะจึงได้กล่าว
เรื่องนี้ว่า
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมพยากรณ์อรหัตตผลว่า ‘เรารู้ชัดว่า
ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำ๑เสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความ
เป็นอย่างนี้อีกต่อไป๒’ พระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตผู้ได้ฌาน ฉลาด
ในสมาบัติ ฉลาดในจิตของผู้อื่น ฉลาดในการกำหนดรู้จิตของผู้อื่น ย่อมซักถาม
สอบถาม ไล่เลียงภิกษุนั้น ภิกษุนั้นผู้ถูกพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตผู้ได้

เชิงอรรถ :
๑ กิจที่ควรทำ ในที่นี้หมายถึงกิจในอริยสัจ ๔ คือ การกำหนดรู้ทุกข์ การละเหตุเกิดทุกข์ การทำให้แจ้งซึ่ง
ความดับทุกข์และการอบรมมรรคมีองค์ ๘ ให้เจริญ (ที.สี.อ. ๒๔๓/๒๐๓)
๒ ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป หมายถึงไม่มีหน้าที่ในการบำเพ็ญมรรคญาณเพื่อความสิ้น
กิเลสอีกต่อไป เพราะพุทธศาสนาถือว่าการบรรลุอรหัตตผลเป็นจุดหมายสูงสุด (ที.สี.อ. ๒๔๓/๒๐๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๔. เถรวรรค ๔. พยากรณสูตร
ฌาน ฉลาดในสมาบัติ ฉลาดในจิตของผู้อื่น ฉลาดในการกำหนดรู้จิตของผู้อื่น
ซักถาม สอบถาม ไล่เลียงอยู่ ย่อมถึงความเป็นคนเปล่า ความไม่มีคุณ ความ
ไม่เจริญ ความพินาศ ทั้งความไม่เจริญและความพินาศ
พระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตผู้ได้ฌาน ฉลาดในสมาบัติ ฉลาดใน
จิตของผู้อื่น ฉลาดในการกำหนดรู้จิตของผู้อื่น กำหนดรู้ใจด้วยใจแล้ว ใส่ใจถึงภิกษุ
นั้นอย่างนี้ว่า ‘เพราะเหตุไรหนอ ท่านผู้นี้จึงพยากรณ์อรหัตตผลว่า เรารู้ชัดว่า ชาติ
สิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็น
อย่างนี้อีกต่อไป’
พระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตผู้ได้ฌาน ฉลาดในสมาบัติ ฉลาดในจิต
ของผู้อื่น ฉลาดในการกำหนดรู้จิตของผู้อื่น กำหนดรู้ใจด้วยใจแล้ว ย่อมรู้ชัดซึ่ง
ภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า
๑. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้มักโกรธ มีใจถูกความโกรธกลุ้มรุมอยู่โดยมาก’ ก็การถูก
ความโกรธกลุ้มรุมนี้แล เป็นความเสื่อมในพระธรรมวินัยที่พระตถาคต
ทรงประกาศแล้ว
๒. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้มักผูกโกรธ มีใจถูกความผูกโกรธกลุ้มรุมอยู่โดยมาก’ ก็
การถูกความผูกโกรธกลุ้มรุมนี้แล เป็นความเสื่อมในพระธรรมวินัยที่
พระตถาคตทรงประกาศแล้ว
๓. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้มักลบหลู่ มีใจถูกความลบหลู่กลุ้มรุมอยู่โดยมาก’ ก็
การถูกความลบหลู่กลุ้มรุมนี้แล เป็นความเสื่อมในพระธรรมวินัยที่พระ
ตถาคตทรงประกาศแล้ว
๔. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้มักตีเสมอ มีใจถูกความตีเสมอกลุ้มรุมอยู่โดยมาก’ ก็
การถูกความตีเสมอกลุ้มรุมนี้แล เป็นความเสื่อมในพระธรรมวินัยที่พระ
ตถาคตทรงประกาศแล้ว
๕. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้มีความริษยา มีใจถูกความริษยากลุ้มรุมอยู่โดยมาก’ ก็
การถูกความริษยากลุ้มรุมนี้แล เป็นความเสื่อมในพระธรรมวินัยที่พระ
ตถาคตทรงประกาศแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๘๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๔. เถรวรรค ๔. พยากรณสูตร
๖. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้มักตระหนี่ มีใจถูกความตระหนี่กลุ้มรุมอยู่โดยมาก’ ก็การ
ถูกความตระหนี่กลุ้มรุมนี้แล เป็นความเสื่อมในพระธรรมวินัยที่พระ
ตถาคตทรงประกาศแล้ว
๗. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้มักโอ้อวด มีใจถูกความโอ้อวดกลุ้มรุมอยู่โดยมาก’ ก็การ
ถูกความโอ้อวดกลุ้มรุมนี้แล เป็นความเสื่อมในพระธรรมวินัยที่พระ
ตถาคตทรงประกาศแล้ว
๘. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้มีมายา มีใจถูกมายากลุ้มรุมอยู่โดยมาก’ ก็การถูกมายา
กลุ้มรุมนี้แล เป็นความเสื่อมในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว
๙. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้มีความปรารถนาชั่ว มีใจถูกความปรารถนาชั่วกลุ้มรุมอยู่
โดยมาก‘ก็การถูกความปรารถนาชั่วกลุ้มรุมนี้แล เป็นความเสื่อมใน
พระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว
๑๐. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้หลงลืมสติ ถึงความหยุดชงักเสียในระหว่างที่จะบรรลุคุณ
วิเศษชั้นสูง เพราะได้บรรลุคุณวิเศษชั้นต่ำ’ ก็การถึงความหยุดชงักเสีย
ในระหว่างนี้แล เป็นความเสื่อมในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรง
ประกาศแล้ว
ผู้มีอายุทั้งหลาย เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุนั้นแล ละธรรม ๑๐ ประการนี้ไม่ได้แล้ว
จักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในพระธรรมวินัยนี้
แต่เป็นไปได้ที่ภิกษุนั้นแล ละธรรม ๑๐ ประการนี้ได้แล้ว จักถึงความเจริญงอก
งามไพบูลย์ในพระธรรมวินัยนี้
พยากรณสูตรที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๘๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๔. เถรวรรค ๕. กัตถีสูตร
๕. กัตถีสูตร
ว่าด้วยการกล่าวโอ้อวดว่าได้บรรลุคุณวิเศษ
[๘๕] สมัยหนึ่ง ท่านพระมหาจุนทะอยู่ที่สหชาติวัน แคว้นเจตี ณ ที่นั้นแล
ท่านพระมหาจุนทะได้เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ภิกษุผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุ
เหล่านั้นรับคำแล้ว ท่านพระมหาจุนทะจึงได้กล่าวเรื่องนี้ว่า
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้ชอบกล่าวโอ้อวดในการได้
บรรลุคุณวิเศษว่า ‘เราเข้าปฐมฌานก็ได้ ออกก็ได้ เข้าทุติยฌานก็ได้ ออกก็ได้
เข้าตติยฌานก็ได้ ออกก็ได้ เข้าจตุตถฌานก็ได้ ออกก็ได้ เข้าอากาสานัญจายตนฌานก็ได้
ออกก็ได้ เข้าวิญญาณัญจายตนฌานก็ได้ ออกก็ได้ เข้าอากิญจัญญายตนฌานก็ได้
ออกก็ได้ เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌานก็ได้ ออกก็ได้ เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธก็ได้
ออกก็ได้’
พระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตผู้ได้ฌาน ฉลาดในสมาบัติ ฉลาดในจิต
ของผู้อื่น ฉลาดในการกำหนดรู้จิตของผู้อื่น ย่อมซักถาม สอบถาม ไล่เลียงภิกษุนั้น
ภิกษุนั้นถูกพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตผู้ได้ฌาน ฉลาดในสมาบัติ ฉลาด
ในจิตของผู้อื่น ฉลาดในการกำหนดรู้จิตของผู้อื่น ซักถาม สอบถาม ไล่เลียงอยู่ ย่อม
ถึงความเป็นคนเปล่า ความไม่มีคุณ ความไม่เจริญ ความพินาศ ทั้งความไม่เจริญ
และความพินาศ
พระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตผู้ได้ฌาน ฉลาดในสมาบัติ ฉลาดในจิต
ของผู้อื่น ฉลาดในการกำหนดรู้จิตของผู้อื่น กำหนดรู้ใจด้วยใจแล้ว ใส่ใจถึงภิกษุนั้น
อย่างนี้ว่า
‘เพราะเหตุไรหนอ ท่านผู้นี้จึงเป็นผู้ชอบกล่าวโอ้อวดในการบรรลุคุณวิเศษว่า
‘เราเข้าปฐมฌานก็ได้ ออกก็ได้ ฯลฯ เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธก็ได้ ออกก็ได้’
พระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตผู้ได้ฌาน ฉลาดในสมาบัติ ฉลาดในจิต
ของผู้อื่น ฉลาดในการกำหนดรู้จิตของผู้อื่น กำหนดรู้ใจด้วยใจแล้ว ย่อมรู้ชัดซึ่งภิกษุ
นั้นอย่างนี้ว่า
๑. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้ทำศีลให้ขาด ให้ทะลุ ให้ด่าง ให้พร้อย ไม่ชอบทำต่อเนื่อง
ไม่ประพฤติต่อเนื่องในศีลทั้งหลาย ท่านผู้นี้เป็นผู้ทุศีลตลอดกาลนาน’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๘๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๔. เถรวรรค ๕. กัตถีสูตร
ก็ความเป็นผู้ทุศีลนี้แล เป็นความเสื่อมในพระธรรมวินัยที่พระตถาคต
ทรงประกาศแล้ว
๒. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้ไม่มีศรัทธา มีความประพฤติไม่สมควร’ ก็ความเป็นผู้ไม่มี
ศรัทธานี้แล เป็นความเสื่อมในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศ
แล้ว
๓. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้มีสุตะน้อย มีความประพฤติไม่สมควร’ ก็ความเป็นผู้มี
สุตะน้อยนี้แล เป็นความเสื่อมในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรง
ประกาศแล้ว
๔. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้ว่ายาก มีความประพฤติไม่สมควร’ ก็ความเป็นผู้ว่ายาก
นี้แล เป็นความเสื่อมในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว
๕. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้มีปาปมิตร’ ก็ความเป็นผู้มีปาปมิตรนี้แล เป็นความเสื่อม
ในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว
๖. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้เกียจคร้าน’ ก็ความเป็นผู้เกียจคร้านนี้แล เป็นความเสื่อม
ในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว
๗. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้หลงลืมสติ’ ก็ความเป็นผู้หลงลืมสตินี้แล เป็นความเสื่อม
ในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว
๘. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้หลอกลวงโลก’ ก็ความเป็นผู้หลอกลวงโลกนี้แล เป็น
ความเสื่อมในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว
๙. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้เลี้ยงยาก’ ก็ความเป็นผู้เลี้ยงยากนี้แล เป็นความเสื่อมใน
พระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว
๑๐. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้มีปัญญาทราม’ ก็ความเป็นผู้มีปัญญาทรามนี้แล เป็น
ความเสื่อมในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว
ผู้มีอายุทั้งหลาย เปรียบเหมือนสหายพึงกล่าวกับสหายอย่างนี้ว่า ‘สหาย
เมื่อใด ท่านมีกิจจำเป็นที่ต้องใช้ทรัพย์ ท่านควรบอกให้เราทราบ เราจะให้ทรัพย์แก่
ท่าน’ สหายอีกฝ่ายหนึ่งนั้น เมื่อมีกิจบางอย่างที่จำเป็นต้องใช้ทรัพย์เกิดขึ้น จึงบอก
กับสหายอย่างนี้ว่า ‘สหาย เราต้องการใช้ทรัพย์ ขอท่านจงให้ทรัพย์แก่เรา’ สหาย
นั้นก็ตอบอย่างนี้ว่า ‘สหาย ถ้าเช่นนั้น ท่านจงขุดลงไป ณ ที่ตรงนี้‘สหายอีกฝ่ายหนึ่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๘๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๔. เถรวรรค ๕. กัตถีสูตร
นั้นเมื่อขุดลงไป ณ ที่ตรงนั้น ก็ไม่พบทรัพย์ เขาจึงกล่าวขึ้นอย่างนี้ว่า ‘สหาย ท่านได้
พูดเหลาะแหละไร้สาระกับเราว่า’ ‘ท่านจงขุดลงไป ณ ที่ตรงนี้’ สหายนั้นจึงกล่าว
อย่างนี้ว่า ‘สหาย เราหาได้พูดเหลาะแหละไร้สาระกับท่านไม่ ถ้าเช่นนั้น ท่านจงขุด
ลงไป ณ ที่ตรงนี้เถิด’ สหายอีกฝ่ายหนึ่งนั้นเมื่อขุดลงไป ณ ที่ตรงนั้น ก็ยังไม่
พบทรัพย์ จึงกล่าวขึ้นอย่างนี้ว่า ‘สหาย ท่านได้พูดเหลาะแหละไร้สาระกับเราว่า
‘ท่านจงขุดลงไป ณ ที่ตรงนี้’ เขาจึงกล่าวขึ้นอย่างนี้ว่า ‘สหาย เราหาได้พูดเหลาะแหละ
ไร้สาระกับท่านไม่ ถ้าเช่นนั้น ท่านจงขุดลงไป ณ ที่ตรงนี้’ สหายอีกฝ่ายหนึ่งนั้นเมื่อ
ขุดลงไป ณ ที่ตรงนั้น ก็ไม่พบทรัพย์อีก จึงพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ‘สหาย ท่านได้พูดเหลาะ
แหละไร้สาระกับเราว่า ‘ท่านจงขุดลงไป ณ ที่ตรงนี้’ สหายนั้นก็พูดตอบอย่างนี้ว่า
‘สหาย เราหาได้พูดเหลาะแหละไร้สาระกับท่านไม่ แต่เราเองนี้แล ถึงความ เป็นผู้มี
สติฟั่นเฟือน ที่มิได้กำหนดรู้ด้วยใจ’ แม้ฉันใด
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้ชอบกล่าวโอ้อวดในการบรรลุ
คุณวิเศษว่า ‘เราเข้าปฐมฌานก็ได้ ออกก็ได้ เข้าทุติยฌานก็ได้ ออกก็ได้ เข้าตติยฌานก็ได้
ออกก็ได้ เข้าจตุตถฌานก็ได้ ออกก็ได้ เข้าอากาสานัญจายตนฌานก็ได้ ออกก็ได้
เข้าวิญญาณัญจายตนฌานก็ได้ ออกก็ได้ เข้าอากิญจัญญายตนฌานก็ได้ ออกก็ได้
เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌานก็ได้ ออกก็ได้ เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธก็ได้ ออกก็ได้’
พระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตผู้ได้ฌาน ฉลาดในสมาบัติ ฉลาดในจิต
ของผู้อื่น ฉลาดในการกำหนดรู้จิตของผู้อื่น ย่อมซักถาม สอบถาม ไล่เลียงภิกษุนั้น
ภิกษุนั้นถูกพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตผู้ได้ฌาน ฉลาดในสมาบัติ ฉลาด
ในจิตของผู้อื่น ฉลาดในการกำหนดรู้จิตของผู้อื่นซักถาม สอบถาม ไล่เลียงอยู่ ย่อม
ถึงความเป็นคนเปล่า ความไม่มีคุณ ความไม่เจริญ ความพินาศ ทั้งความไม่เจริญ
และความพินาศ
พระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตผู้ได้ฌาน ฉลาดในสมาบัติ ฉลาดในจิต
ของผู้อื่น ฉลาดในการกำหนดรู้จิตของผู้อื่น กำหนดใจด้วยใจแล้ว ใส่ใจถึงภิกษุนั้น
อย่างนี้ว่า ‘เพราะเหตุไรหนอ ท่านผู้นี้จึงเป็นผู้ชอบกล่าวโอ้อวดในการบรรลุคุณ
วิเศษว่า ‘เราเข้าปฐมฌานก็ได้ ออกก็ได้ ฯลฯ เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธก็ได้ ออกก็ได้’
พระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตผู้ได้ฌาน ฉลาดในสมาบัติ ฉลาดในจิต
ของผู้อื่น ฉลาดในการกำหนดรู้จิตของผู้อื่น กำหนดใจด้วยใจแล้ว ย่อมรู้ชัดซึ่งภิกษุ
นั้นอย่างนี้ว่า


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๘๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๔. เถรวรรค ๕. กัตถีสูตร
๑. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้ทำศีลให้ขาด ให้ทะลุ ให้ด่าง ให้พร้อย ไม่ชอบทำต่อเนื่อง
ไม่ประพฤติต่อเนื่องในศีลทั้งหลาย ท่านผู้นี้เป็นผู้ทุศีลตลอดกาลนาน’
ก็ความเป็นผู้ทุศีลนี้แล เป็นความเสื่อมในพระธรรมวินัยที่พระตถาคต
ทรงประกาศแล้ว
๒. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้ไม่มีศรัทธา’ ก็ความเป็นผู้ไม่มีศรัทธานี้แล เป็นความ
เสื่อมในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว
๓. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้มีสุตะน้อย มีความประพฤติไม่สมควร’ ก็ความเป็นผู้มีสุตะ
น้อยนี้แล เป็นความเสื่อมในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว
๔. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้ว่ายาก’ ก็ความเป็นผู้ว่ายากนี้แล เป็นความเสื่อมใน
พระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว
๕. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้มีปาปมิตร’ ก็ความเป็นผู้มีปาปมิตรนี้แล เป็นความเสื่อม
ในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว
๖. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้เกียจคร้าน’ ก็ความเป็นผู้เกียจคร้านนี้แล เป็นความเสื่อม
ในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว
๗. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้หลงลืมสติ’ ก็ความเป็นผู้หลงลืมสตินี้แล เป็นความเสื่อม
ในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว
๘. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้หลอกลวงโลก’ ก็ความเป็นผู้หลอกลวงโลกนี้แล เป็น
ความเสื่อมในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว
๙. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้เลี้ยงยาก’ ก็ความเป็นผู้เลี้ยงยากนี้แล เป็นความเสื่อม
ในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว
๑๐. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้มีปัญญาทราม’ ก็ความเป็นผู้มีปัญญาทรามนี้แล เป็น
ความเสื่อมในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว
ผู้มีอายุทั้งหลาย เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุนั้นแล ละธรรม ๑๐ ประการนี้ไม่ได้แล้ว
จักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในพระธรรมวินัยนี้
แต่เป็นไปได้ที่ภิกษุนั้นแล ละธรรม ๑๐ ประการนี้ได้แล้ว จักถึงความเจริญงอกงาม
ไพบูลย์ในพระธรรมวินัยนี้
กัตถีสูตรที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๙๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๔. เถรวรรค ๖. อธิมานสูตร
๖. อธิมานสูตร
ว่าด้วยความสำคัญผิด
[๘๖] สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัสสปะอยู่ที่พระเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน
เขตกรุงราชคฤห์ ณ ที่นั้นแล ท่านพระมหากัสสปะได้เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า
ภิกษุผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว ท่านพระมหากัสสปะจึงได้กล่าวเรื่อง
นี้ว่า
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมพยากรณ์อรหัตตผลว่า ‘เรา
รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ พระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตผู้ได้ฌาน
ฉลาดในสมาบัติ ฉลาดในจิตของผู้อื่น ฉลาดในการกำหนดรู้จิตของผู้อื่นซักถาม
สอบถาม ไล่เลียงภิกษุนั้น ภิกษุนั้นถูกพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตผู้
ได้ฌาน ฉลาดในสมาบัติ ฉลาดในจิตของผู้อื่น ฉลาดในการกำหนดรู้จิตของผู้อื่น
ซักถาม สอบถาม ไล่เลียงอยู่ ย่อมถึงความเป็นคนเปล่า ความไม่มีคุณ ความ
ไม่เจริญ ความพินาศ ทั้งความไม่เจริญและความพินาศ
พระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต ผู้ได้ฌาน ฉลาดในสมาบัติ ฉลาดในจิต
ของผู้อื่น ฉลาดในการกำหนดรู้จิตของผู้อื่น กำหนดรู้ใจด้วยใจแล้ว ใส่ใจถึงภิกษุนั้น
อย่างนี้ว่า ‘เพราะเหตุไรหนอ ท่านผู้นี้จึงพยากรณ์อรหัตตผลว่า เรารู้ชัดว่า ชาติ
สิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็น
อย่างนี้อีกต่อไป’
พระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต ผู้ได้ฌาน ฉลาดในสมาบัติ ฉลาดในจิต
ของผู้อื่น ฉลาดในการกำหนดรู้จิตของผู้อื่น กำหนดรู้ใจด้วยใจแล้ว ย่อมรู้ชัดซึ่งภิกษุ
นั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้นี้มีความสำคัญผิด สำคัญผิดโดยสัตย์จริง มีความสำคัญในสิ่ง
ที่ยังไม่ได้ถึงว่าได้ถึง มีความสำคัญในสิ่งที่ยังไม่ได้ทำว่าได้ทำ มีความสำคัญในสิ่งที่ยัง
ไม่ได้บรรลุว่าได้บรรลุ ย่อมพยากรณ์อรหัตตผลด้วยความสำคัญผิดว่า เรารู้ชัดว่า
ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความ
เป็นอย่างนี้อีกต่อไป’


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๙๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๔. เถรวรรค ๖. อธิมานสูตร
พระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต ผู้ได้ฌาน ฉลาดในสมาบัติ ฉลาดในจิต
ของผู้อื่น ฉลาดในการกำหนดรู้จิตของผู้อื่น กำหนดรู้ใจด้วยใจแล้ว ใส่ใจถึงภิกษุนั้น
อย่างนี้ว่า ‘เพราะเหตุไรหนอ ท่านผู้นี้จึงมีความสำคัญผิด สำคัญผิดโดยสัตย์จริง
เพราะอาศัยสิ่งที่ยังไม่ได้บรรลุ มีความสำคัญในสิ่งที่ยังไม่ได้ถึงว่าได้ถึง มีความ
สำคัญในสิ่งยังไม่ได้ทำว่าได้ทำ มีความสำคัญในสิ่งที่ยังไม่ได้บรรลุว่าได้บรรลุ ย่อม
พยากรณ์อรหัตตผลด้วยความสำคัญผิดว่า เรารู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์
แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
พระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต ผู้ได้ฌาน ฉลาดในสมาบัติ ฉลาดในจิต
ของผู้อื่น ฉลาดในการกำหนดรู้จิตของผู้อื่น กำหนดรู้ใจด้วยใจแล้ว ใส่ใจถึงภิกษุนั้น
อย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้นี้เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ฟังมากซึ่งธรรมทั้งหลาย
ที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง มีความงามในที่สุด ประกาศ
พรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน ทรงจำได้ คล่อง
ปาก ขึ้นใจ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ เพราะฉะนั้น ท่านผู้นี้จึงมีความสำคัญผิด สำคัญ
ผิดโดยสัตย์จริง มีความสำคัญในสิ่งที่ยังไม่ได้ถึงว่าได้ถึง มีความสำคัญในสิ่งที่ยังไม่
ได้ทำว่าได้ทำ มีความสำคัญในสิ่งที่ยังไม่ได้บรรลุว่าได้บรรลุ ย่อมพยากรณ์อรหัตตผล
ด้วยความสำคัญผิดว่า เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควร
ทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
พระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต ผู้ได้ฌาน ฉลาดในสมาบัติ ฉลาดในจิต
ของผู้อื่น ฉลาดในการกำหนดรู้จิตของผู้อื่น กำหนดรู้ใจด้วยใจแล้ว ย่อมรู้ชัดซึ่งภิกษุ
นั้นอย่างนี้ว่า
๑. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้มีอภิชฌา(ความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา) มีใจถูกอภิชฌา
กลุ้มรุมอยู่โดยมาก’ ก็การถูกอภิชฌากลุ้มรุมนี้แล เป็นความเสื่อมใน
พระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว
๒. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้มีพยาบาท(ความคิดร้าย) มีใจถูกพยาบาทกลุ้มรุมอยู่โดย
มาก’ ก็การถูกพยาบาทกลุ้มรุมนี้แล เป็นความเสื่อมในพระธรรมวินัยที่
พระตถาคตทรงประกาศแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๔. เถรวรรค ๖. อธิมานสูตร
๓. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้มีถีนมิทธะ(ความหดหู่และเซื่องซึม) มีใจถูกถีนมิทธะกลุ้ม
รุมอยู่โดยมาก’ ก็การถูกถีนมิทธะกลุ้มรุมนี้แล เป็นความเสื่อมในพระ
ธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว
๔. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้มีอุทธัจจะ(ความฟุ้งซ่าน) มีใจถูกอุทธัจจะกลุ้มรุมอยู่โดย
มาก’ ก็การถูกอุทธัจจะกลุ้มรุมนี้แล เป็นความเสื่อมในพระธรรมวินัยที่
พระตถาคตทรงประกาศแล้ว
๕. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้มีวิจิกิจฉา(ความลังเลสงสัย) มีใจถูกวิจิกิจฉากลุ้มรุมอยู่
โดยมาก’ ก็การถูกวิจิกิจฉากลุ้มรุมนี้แล เป็นความเสื่อมในพระธรรม
วินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว
๖. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้ชอบการงาน๑ ยินดีในการงาน หมั่นประกอบความเป็นผู้
ชอบการงาน’ ก็ความเป็นผู้ชอบการงานนี้แล เป็นความเสื่อมในพระ
ธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว
๗. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้ชอบการพูดคุย ยินดีในการพูดคุย หมั่นประกอบความ
เป็นผู้ชอบการพูดคุย’ ก็ความเป็นผู้ชอบการพูดคุยนี้แล เป็นความเสื่อม
ในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว
๘. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้ชอบการนอนหลับ ยินดีในการนอนหลับ หมั่นประกอบ
ความเป็นผู้ชอบการนอนหลับ’ ก็ความเป็นผู้ชอบการนอนหลับนี้แล
เป็นความเสื่อมในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว
๙. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่ ยินดีการคลุกคลีด้วยหมู่ หมั่น
ประกอบความเป็นผู้ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่’ ก็ความเป็นผู้ชอบการ
คลุกคลีด้วยหมู่นี้แล เป็นความเสื่อมในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรง
ประกาศแล้ว
๑๐. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้หลงลืมสติ ถึงความหยุดชงักเสียในระหว่างที่จะบรรลุคุณ
วิเศษชั้นสูง เพราะได้บรรลุคุณวิเศษชั้นต่ำ’ ก็การถึงความหยุดชงักเสีย

เชิงอรรถ :
๑ การงาน ในที่นี้หมายถึงงานนวกรรม คือ การก่อสร้างต่าง ๆ เช่น การก่อสร้างวิหารเป็นต้น ความเป็นผู้ยินดี
แต่การก่อสร้างที่ถือว่าเป็นความเสื่อมในพระธรรมวินัยนี้ เพราะทำให้ละเลยต่อการบำเพ็ญคันถธุระ และ
วิปัสสนาธุระ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๔/๑๐๕, องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๑๔-๑๕/๑๑๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๔. เถรวรรค ๗. นัปปิยสูตร
ในระหว่างนี้แล เป็นความเสื่อมในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรง
ประกาศแล้ว
ผู้มีอายุทั้งหลาย เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุนั้นแล ละธรรม ๑๐ ประการนี้ไม่ได้แล้ว
จักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในพระธรรมวินัยนี้
แต่เป็นไปได้ที่ภิกษุนั้นแล ละธรรม ๑๐ ประการนี้ได้แล้ว จักถึงความเจริญงอก
งามไพบูลย์ในพระธรรมวินัยนี้
อธิมานสูตรที่ ๖ จบ

๗. นัปปิยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ไม่เป็นไปเพื่อความรัก
[๘๗] ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงปรารภกาฬกภิกษุ รับสั่งเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มี
พระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ภิกษุทั้งหลาย
๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ชอบก่ออธิกรณ์๑ไม่สรรเสริญการระงับอธิกรณ์
แม้การที่ภิกษุเป็นผู้ชอบก่ออธิกรณ์ ไม่สรรเสริญการระงับอธิกรณ์ นี้
เป็นธรรมที่ไม่เป็นไปเพื่อความเป็นที่รัก เพื่อความเป็นที่เคารพ เพื่อ
ความยกย่อง เพื่อความเป็นสมณะ๒ เพื่อความเป็นอันเดียวกัน

เชิงอรรถ :
๑ อธิกรณ์ ในที่นี้หมายถึงเรื่องที่สงฆ์ต้องดำเนินการ ๔ อย่าง คือ (๑) วิวาทาธิกรณ์ การเถียงกันเรื่องวินัย
(๒) อนุวาทาธิกรณ์ การโจทหรือกล่าวหากันด้วยอาบัติ (๓) อาปัตตาธิกรณ์ การต้องอาบัติ การปรับ
อาบัติและการแก้ไขตัวให้พ้นจากอาบัติ (๔) กิจจาธิกรณ์ กิจสงฆ์ต่าง ๆ เช่น ให้อุปสมบท หรือให้ผ้ากฐิน
เป็นต้น (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๕/๑๒)
๒ ความเป็นสมณะ ในที่นี้หมายถึงการบำเพ็ญสมณธรรม (องฺ.ทสก.อ. ๓/๘๗/๓๖๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๙๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๔. เถรวรรค ๗. นัปปิยสูตร
๒. ภิกษุไม่เป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษา ไม่สรรเสริญการสมาทานการศึกษา แม้
การที่ภิกษุไม่เป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษา ไม่สรรเสริญการสมาทานการศึกษา
นี้เป็นธรรมที่ไม่เป็นไปเพื่อความเป็นที่รัก เพื่อความเป็นที่เคารพ เพื่อ
ความยกย่อง เพื่อความเป็นสมณะ เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
๓. ภิกษุเป็นผู้ปรารถนาชั่ว ไม่สรรเสริญการกำจัดความปรารถนาชั่ว แม้
การที่ภิกษุเป็นผู้ปรารถนาชั่ว ไม่สรรเสริญการกำจัดความปรารถนาชั่ว
นี้เป็นธรรมที่ไม่เป็นไปเพื่อความเป็นที่รัก เพื่อความเป็นที่เคารพ เพื่อ
ความยกย่อง เพื่อความเป็นสมณะ เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
๔. ภิกษุเป็นผู้มักโกรธ ไม่สรรเสริญการกำจัดความโกรธ แม้การที่ภิกษุเป็น
ผู้มักโกรธ ไม่สรรเสริญการกำจัดความโกรธ นี้เป็นธรรมที่ไม่เป็นไปเพื่อ
ความเป็นที่รัก เพื่อความเป็นที่เคารพ เพื่อความยกย่อง เพื่อความเป็นสมณะ
เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
๕. ภิกษุเป็นผู้มักลบหลู่ ไม่สรรเสริญการกำจัดความลบหลู่ แม้การที่ภิกษุ
เป็นผู้มักลบหลู่ ไม่สรรเสริญการกำจัดความลบหลู่ นี้เป็นธรรมที่ไม่เป็น
ไปเพื่อความเป็นที่รัก เพื่อความเป็นที่เคารพ เพื่อความยกย่อง เพื่อ
ความเป็นสมณะ เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
๖. ภิกษุเป็นผู้มักโอ้อวด ไม่สรรเสริญการกำจัดความโอ้อวด แม้การที่ภิกษุ
เป็นผู้มักโอ้อวด ไม่สรรเสริญการกำจัดความโอ้อวด นี้เป็นธรรมที่ไม่เป็น
ไปเพื่อความเป็นที่รัก เพื่อความเป็นที่เคารพ เพื่อความยกย่อง เพื่อ
ความเป็นสมณะ เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
๗. ภิกษุเป็นผู้มีมายา ไม่สรรเสริญการกำจัดมายา แม้การที่ภิกษุเป็นผู้มี
มายา ไม่สรรเสริญการกำจัดมายา นี้เป็นธรรมที่ไม่เป็นไปเพื่อความเป็น
ที่รัก เพื่อความเป็นที่เคารพ เพื่อความยกย่อง เพื่อความเป็นสมณะ
เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
๘. ภิกษุเป็นผู้ไม่พิจารณาธรรม ไม่สรรเสริญการพิจารณาธรรม แม้การที่
ภิกษุเป็นผู้ไม่พิจารณาธรรม ไม่สรรเสริญการพิจารณาธรรม นี้เป็นธรรม
ที่ไม่เป็นไปเพื่อความเป็นที่รัก เพื่อความเป็นที่เคารพ เพื่อความยกย่อง
เพื่อความเป็นสมณะ เพื่อความเป็นอันเดียวกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๙๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๔. เถรวรรค ๗. นัปปิยสูตร
๙. ภิกษุเป็นผู้ไม่หลีกเร้น๑ ไม่สรรเสริญการหลีกเร้น แม้การที่ภิกษุเป็นผู้ไม่
หลีกเร้น ไม่สรรเสริญการหลีกเร้น นี้เป็นธรรมที่ไม่เป็นไปเพื่อความเป็น
ที่รัก เพื่อความเป็นที่เคารพ เพื่อความยกย่อง เพื่อความเป็นสมณะ
เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
๑๐. ภิกษุไม่เป็นผู้ปฏิสันถารเพื่อนพรหมจารี ไม่สรรเสริญผู้ปฏิสันถาร แม้
การที่ภิกษุไม่เป็นผู้ปฏิสันถารเพื่อนพรหมจารี ไม่สรรเสริญผู้ปฏิสันถาร
นี้เป็นธรรมที่ไม่เป็นไปเพื่อความเป็นที่รัก เพื่อความเป็นที่เคารพ เพื่อ
ความยกย่อง เพื่อความเป็นสมณะ เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
ความปรารถนาพึงเกิดขึ้นแก่ภิกษุเช่นนี้อย่างนี้ว่า ‘ทำอย่างไร เพื่อนพรหมจารี
ทั้งหลายจะสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา’ ก็จริง ถึงอย่างนั้น เพื่อนพรหมจารีทั้ง
หลายก็ไม่สักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเพื่อน
พรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายพิจารณาเห็นบาปอกุศลธรรมที่ภิกษุนั้นยังละไม่ได้
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนความปรารถนาพึงเกิดขึ้นแก่ม้าโง่อย่างนี้ว่า
‘ทำอย่างไร มนุษย์ทั้งหลายจะตั้งเราไว้ในตำแหน่งม้าอาชาไนย ให้กินอาหารสำหรับ
ม้าอาชาไนย และปฏิบัติต่อเราเหมือนอย่างม้าอาชาไนย’ ก็จริง ถึงอย่างนั้น มนุษย์
ทั้งหลายก็ไม่ตั้งม้านั้นไว้ในตำแหน่งม้าอาชาไนย ไม่ให้กินอาหารสำหรับม้าอาชาไนย
และไม่ปฏิบัติอย่างที่ปฏิบัติต่อม้าอาชาไนย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะมนุษย์ผู้รู้
ทั้งหลายพิจารณา เห็นความโอ้อวด ความโกง ความไม่ซื่อตรง ความคดที่ม้านั้นยังละ
ไม่ได้ ฉันใด ความปรารถนาพึงเกิดขึ้นแก่ภิกษุเช่นนี้อย่างนี้ว่า ‘ทำอย่างไร เพื่อน
พรหมจารีทั้งหลายจะสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา’ ก็จริง ถึงอย่างนั้น เพื่อน
พรหมจารีทั้งหลายก็ไม่สักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุนั้น ข้อนั้นเพระเหตุไร
เพราะเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายพิจารณาเห็นบาปอกุศลธรรมที่ภิกษุนั้นยังละไม่ได้
ฉันนั้น

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๕๐ (ภัณฑนสูตร) หน้า ๑๐๖ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๙๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๔. เถรวรรค ๗. นัปปิยสูตร
ว่าด้วยการไม่ก่ออธิกรณ์
๑. ส่วนภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่เป็นผู้ชอบก่ออธิกรณ์ สรรเสริญการระงับ
อธิกรณ์ แม้การที่ภิกษุไม่เป็นผู้ชอบก่ออธิกรณ์ สรรเสริญการระงับ
อธิกรณ์ นี้เป็นธรรมที่เป็นไปเพื่อความเป็นที่รัก เพื่อความเป็นที่เคารพ
เพื่อความยกย่อง เพื่อความเป็นสมณะ เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
๒. ภิกษุเป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษา สรรเสริญการสมาทานการศึกษา แม้การที่
ภิกษุเป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษา สรรเสริญการสมาทานการศึกษา นี้เป็น
ธรรมที่เป็นไปเพื่อความเป็นที่รัก เพื่อความเป็นที่เคารพ เพื่อความยกย่อง
เพื่อความเป็นสมณะ เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
๓. ภิกษุเป็นผู้มักน้อย สรรเสริญการกำจัดความปรารถนา แม้การที่ภิกษุ
เป็นผู้มักน้อย สรรเสริญการกำจัดความปรารถนา นี้เป็นธรรมที่เป็นไป ฯลฯ
เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
๔. ภิกษุเป็นผู้ไม่มักโกรธ สรรเสริญการกำจัดความโกรธ แม้การที่ภิกษุเป็น
ผู้ไม่มักโกรธ สรรเสริญการกำจัดความโกรธ นี้เป็นธรรมที่เป็นไป ฯลฯ
เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
๕. ภิกษุเป็นผู้ไม่ลบหลู่ สรรเสริญการกำจัดความลบหลู่ แม้การที่ภิกษุเป็น
ผู้ไม่ลบหลู่ สรรเสริญการกำจัดความลบหลู่ นี้เป็นธรรมที่เป็นไป ฯลฯ
เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
๖. ภิกษุเป็นผู้ไม่โอ้อวด สรรเสริญการกำจัดความโอ้อวด แม้การที่ภิกษุเป็น
ผู้ไม่โอ้อวด สรรเสริญการกำจัดความโอ้อวด นี้เป็นธรรมที่เป็นไป ฯลฯ
เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
๗. ภิกษุเป็นผู้ไม่มีมายา สรรเสริญการกำจัดมายา แม้การที่ภิกษุเป็นผู้ไม่มี
มายา สรรเสริญการกำจัดมายา นี้เป็นธรรมที่เป็นไป ฯลฯ เพื่อความ
เป็นอันเดียวกัน
๘. ภิกษุเป็นผู้พิจารณาธรรม สรรเสริญการพิจารณาธรรม แม้การที่ภิกษุ
เป็นผู้พิจารณาธรรม สรรเสริญการพิจารณาธรรม นี้เป็นธรรมที่เป็นไป
ฯลฯ เพื่อความเป็นอันเดียวกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๔. เถรวรรค ๗. นัปปิยสูตร
๙. ภิกษุเป็นผู้หลีกเร้น สรรเสริญการหลีกเร้น แม้การที่ภิกษุเป็นผู้หลีกเร้น
สรรเสริญการหลีกเร้น นี้เป็นธรรมที่เป็นไป ฯลฯ เพื่อความเป็นอัน
เดียวกัน
๑๐. ภิกษุเป็นผู้ปฏิสันถารเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย สรรเสริญผู้ปฏิสันถาร
แม้การที่ภิกษุเป็นผู้ปฏิสันถาร สรรเสริญผู้ปฏิสันถารนี้ เป็นธรรมที่เป็น
ไปเพื่อความเป็นที่รัก เพื่อความเป็นที่เคารพ เพื่อความยกย่อง เพื่อ
ความเป็นสมณะ เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
ความปรารถนาจะไม่เกิดขึ้นแก่ภิกษุเช่นนี้อย่างนี้ว่า ‘ทำอย่างไร เพื่อน
พรหมจารีทั้งหลายจะสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา’ ก็จริง ถึงอย่างนั้น เพื่อน
พรหมจารีทั้งหลายก็ยังสักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายพิจารณาเห็นบาปอกุศลธรรมที่ภิกษุนั้นละได้แล้ว
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนความปรารถนาไม่เกิดขึ้นแก่ม้าอาชาไนยตัวเจริญ
อย่างนี้ว่า ‘ทำอย่างไร มนุษย์ทั้งหลาย จะตั้งเราไว้ในตำแหน่งม้าอาชาไนย ให้เรากิน
อาหารสำหรับม้าอาชาไนย และปฏิบัติต่อเราอย่างที่ปฏิบัติต่อม้าอาชาไนย’ ก็จริง
ถึงอย่างนั้น มนุษย์ทั้งหลายก็ตั้งม้านั้นไว้ในตำแหน่งม้าอาชาไนย ให้กินอาหาร
สำหรับม้าอาชาไนย และปฏิบัติอย่างที่ปฏิบัติต่อม้าอาชาไนย ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะมนุษย์ผู้รู้ทั้งหลายพิจารณาเห็นความโอ้อวด ความโกง ความไม่ซื่อตรง
ความคดที่ม้านั้นละได้แล้ว ฉันใด ความปรารถนาไม่เกิดขึ้นแก่ภิกษุเช่นนี้อย่างนี้ว่า
‘ทำอย่างไร เพื่อนพรหมจารีทั้งหลายจะสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา’ ก็จริง
ถึงอย่างนั้น เพื่อนพรหมจารีทั้งหลายก็ยังสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายพิจารณาเห็นบาปอกุศลธรรมที่ภิกษุ
นั้นละได้แล้ว ฉันนั้น
นัปปิยสูตรที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๙๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๔. เถรวรรค ๘. อักโกสกสูตร
๘. อักโกสกสูตร
ว่าด้วยโทษของการด่า
[๘๘] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดด่าบริภาษเพื่อนพรหมจารี กล่าวโทษพระอริยะ
เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุนั้นจะไม่ถึงความพินาศอย่าง ๑ ใน ๑๐ อย่าง
ความพินาศ ๑๐ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่บรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ
๒. เสื่อมจากธรรมที่บรรลุแล้ว
๓. สัทธรรม๑ย่อมไม่ผ่องแผ้ว
๔. มีความสำคัญว่าได้บรรลุสัทธรรม
๕. ไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์
๖. ต้องอาบัติเศร้าหมองกองใดกองหนึ่ง
๗. เป็นโรคเรื้อรัง
๘. ถึงความวิกลจริตมีจิตฟุ้งซ่าน
๙. หลงลืมสติมรณภาพ
๑๐. หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดด่าบริภาษเพื่อนพรหมจารี กล่าวโทษพระอริยะ เป็นไป
ไม่ได้เลยที่ภิกษุนั้นจะไม่ถึงความพินาศอย่าง ๑ ใน ๑๐ อย่าง
อักโกสกสูตรที่ ๘ จบ

เชิงอรรถ :
๑ สัทธรรม ในที่นี้หมายถึงไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ และปัญญา (องฺ.ทสก.อ. ๓/๘๘/๓๖๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๙๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๔. เถรวรรค ๙. โกกาลิกสูตร
๙. โกกาลิกสูตร
ว่าด้วยภิกษุชื่อว่าโกกาลิกะ
[๘๙] ครั้งนั้นแล โกกาลิกภิกษุเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเป็นผู้มีความ
ปรารถนาชั่ว ลุอำนาจความปรารถนาชั่ว”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โกกาลิกะ เธออย่ากล่าวอย่างนั้น เธออย่ากล่าว
อย่างนั้น เธอจงทำจิตให้เลื่อมใสในสารีบุตรและโมคคัลลานะเถิด เพราะสารีบุตร
และโมคคัลลานะ เป็นผู้มีศีลเป็นที่รัก”
แม้ครั้งที่ ๒ โกกาลิกภิกษุก็กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ แม้พระผู้มีพระภาคทรงเป็นที่ตั้งแห่งศรัทธาของข้าพระองค์ ทรงมีพระ-
พุทธพจน์ที่ข้าพระองค์เชื่อถือได้ก็จริง ถึงอย่างนั้น พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ
ก็ยังเป็นผู้ปรารถนาชั่ว ลุอำนาจความปรารถนาชั่ว พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โกกาลิกะ เธออย่ากล่าวอย่างนั้น เธออย่ากล่าว
อย่างนั้น เธอจงทำจิตให้เลื่อมใสในสารีบุตรและโมคคัลลานะเถิด เพราะสารีบุตรและ
โมคคัลลานะเป็นผู้มีศีลเป็นที่รัก”
แม้ครั้งที่ ๓ โกกาลิกภิกษุก็กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
แม้พระผู้มีพระภาคทรงเป็นที่ตั้งแห่งศรัทธาของข้าพระองค์ ทรงมีพระพุทธพจน์ที่ข้า
พระองค์เชื่อถือได้ก็จริง ถึงอย่างนั้น พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะก็ยังเป็นผู้มี
ความปรารถนาชั่ว ลุอำนาจความปรารถนาชั่ว พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โกกาลิกะ เธออย่ากล่าวอย่างนั้น เธออย่ากล่าวอย่าง
นั้น เธอจงทำจิตให้เลื่อมใสในสารีบุตรและโมคคัลลานะเถิด เพราะสารีบุตรและ
โมคคัลลานะเป็นผู้มีศีลเป็นที่รัก”
ครั้งนั้น โกกาลิกภิกษุลุกขึ้นจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทำ
ประทักษิณแล้วหลีกไป เมื่อโกกาลิกภิกษุหลีกไปไม่นาน ร่างกายก็มีตุ่มขนาดเท่า
เมล็ดพันธุ์ผักกาดเกิดขึ้นทั่วร่าง ตุ่มเหล่านั้นโตเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาด แล้วก็โตเท่า


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๐๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๔. เถรวรรค ๙. โกกาลิกสูตร
เมล็ดถั่วเขียว โตเท่าเมล็ดถั่วดำ โตเท่าเมล็ดพุทรา โตเท่าเมล็ดกระเบา โตเท่าผล
มะขามป้อม โตเท่าผลมะตูมอ่อน โตเท่าผลมะตูมแก่ แล้วก็แตกเยิ้ม หนองและเลือด
หลั่งไหลออกมา ได้ทราบว่าโกกาลิกภิกษุนั้นนอนบนใบตอง เหมือนปลากินยาพิษ
ครั้งนั้นแล ตุทิปัจเจกพรหม๑เข้าไปหาโกกาลิกภิกษุถึงที่อยู่ ยืนอยู่กลาง
อากาศกล่าวกับโกกาลิกภิกษุว่า “ท่านโกกาลิกะ ท่านจงทำจิตให้เลื่อมใสในท่าน
พระสารีบุตรและท่านพระโมคคัลลานะเถิด เพราะท่านพระสารีบุตรและท่านพระ
โมคคัลลานะเป็นผู้มีศีลเป็นที่รัก”
โกกาลิกภิกษุถามว่า “ผู้มีอายุ ท่านเป็นใคร”
ตุทิปัจเจกพรหมตอบว่า “เราเป็นตุทิปัจเจกพรหม”
โกกาลิกภิกษุถามว่า “ผู้มีอายุ ท่านได้รับพยากรณ์จากพระผู้มีพระภาคว่า
เป็นอนาคามีแล้วมิใช่หรือ เมื่อเป็นเช่นนั้น ไฉนท่านจึงมาที่นี้อีก ท่านจงเห็นว่าความ
ผิดนี้ของท่านมีอยู่เถิด”
ลำดับนั้น ตุทิปัจเจกพรหม จึงได้กล่าวกับโกกาลิกภิกษุด้วยคาถาว่า
ผรุสวาจา(คำหยาบ)เป็นเหมือนผึ่ง
เครื่องตัดตนของคนพาลผู้กล่าวคำชั่ว
ย่อมเกิดที่ปากของคนพาล
ผู้ใดสรรเสริญคนที่ควรติเตียน
หรือติเตียนคนที่ควรสรรเสริญ
ผู้นั้นชื่อว่าสั่งสมความผิดไว้ด้วยปาก
ย่อมไม่ประสบความสุข เพราะความผิดนั้น
การปราชัยด้วยทรัพย์
ในการเล่นการพนันจนหมดตัวนี้
เป็นความผิดเพียงเล็กน้อย

เชิงอรรถ :
๑ ตุทิปัจเจกพรหม คือ พระตุทิเถระผู้เป็นอุปัชฌาย์ของพระโกกาลิกะ ซึ่งบรรลุอนาคามิผลแล้วไปบังเกิดใน
พรหมโลก (องฺ.ทสก.อ. ๓/๘๙/๓๖๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๔. เถรวรรค ๙. โกกาลิกสูตร
แต่การที่บุคคลมีใจประทุษร้าย
ในบุคคลผู้ดำเนินไปดีแล้วนี้เท่านั้น
เป็นความผิดมากกว่า
บุคคลผู้ตั้งวาจาและใจอันชั่วติเตียนพระอริยะ
ย่อมเข้าถึงนรกสิ้น ๑๓๖,๐๐๐ นิรัพพุทกัป๑
กับอีก ๕ อัพพุทกัป
ครั้งนั้น โกกาลิกภิกษุได้มรณภาพด้วยอาพาธนั้นเองแล้วไปเกิดในปทุมนรก
เพราะมีจิตผูกอาฆาตในพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ
ครั้นปฐมยามผ่านไปแล้ว ท้าวสหัมบดีพรหมมีวรรณะงามยิ่ง ทำพระเชตวัน
วิหารทั้งสิ้นให้สว่างไสว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วยืน
อยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
โกกาลิกภิกษุมรณภาพแล้วไปเกิดในปทุมนรก เพราะมีจิตผูกอาฆาตในท่านพระ
สารีบุตรและท่านพระโมคคัลลานะ พระพุทธเจ้าข้า”
ครั้นท้าวสหัมบดีพรหมกราบทูลดังนี้แล้ว ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทำ
ประทักษิณแล้วหายไป ณ ที่นั้นเอง
ครั้นราตรีนั้นผ่านไป พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย คืนนี้เมื่อปฐมยามผ่านไปแล้ว ท้าวสหัมบดีพรหมมีวรรณะงามยิ่ง ทำ
พระเชตวันทั้งสิ้นให้สว่างไสว เข้ามาหาเราถึงที่อยู่ ไหว้แล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้
กล่าวกับเราดังนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โกกาลิกภิกษุมรณภาพแล้วไปเกิดใน
ปทุมนรก เพราะมีจิตผูกอาฆาตในท่านพระสารีบุตรและท่านพระโมคคัลลานะ”
ภิกษุทั้งหลาย ครั้นท้าวสหัมบดีพรหมกล่าวดังนี้แล้ว ไหว้เรา ทำประทักษิณแล้ว
หายไป ณ ที่นั้นเอง
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ประมาณอายุในปทุมนรกนานเท่าไรหนอ”

เชิงอรรถ :
๑ นิรัพพุทกัป เป็นจำนวนกัปที่ใช้สังขยา(การกำหนดนับ)จำนวนสูง (ตามนัย องฺ.ทสก.อ. ๓/๘๙/๓๖๖)
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายว่า เท่ากับ ๑ มี ๐ ตามหลัง ๖๓ ตัว บ้างว่า ๑๐๐ ล้าน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๔. เถรวรรค ๙. โกกาลิกสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ ประมาณอายุในปทุมนรกนานนัก
ประมาณอายุในปทุมนรกนั้นยากที่จะนับได้ว่า ‘ประมาณเท่านี้ปี ประมาณ ๑๐๐ ปี
เท่านี้ ประมาณ ๑,๐๐๐ ปีเท่านี้ ประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ ปีเท่านี้”
ภิกษุทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์พอจะยกอุปมาได้หรือไม่
พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ได้ ภิกษุ” แล้วตรัสว่า “ภิกษุ หนึ่งเกวียนเมล็ดงา
ของชาวโกศลมีอัตรา ๒๐ ขารี๑ ล่วงไปแล้ว ๑๐๐,๐๐๐ ปี บุรุษจึงนำเมล็ดงาออก
จากเกวียนนั้นหนึ่งเมล็ด เมล็ดงาหนึ่งเกวียนของชาวโกศลซึ่งมีอัตรา ๒๐ ขารี
นั้นจะพึงหมดไปโดยทำนองนี้เร็วกว่า แต่ว่า ๑ อัพพุทนรก๒หาหมดไปไม่ ๒๐
อัพพุทนรก เป็น ๑ นิรัพพุทนรก ๒๐ นิรัพพุทนรก เป็น ๑ อพัพพนรก ๒๐
อพัพพนรก เป็น ๑ อุหหนรก ๒๐ อุหหนรก เป็น ๑ อัฏฏนรก ๒๐ อัฏฏนรก
เป็น ๑ กุมุทนรก ๒๐ กุมุทนรก เป็น ๑ โสคันธิกนรก ๒๐ โสคันธิกนรก เป็น ๑
อุปปลนรก ๒๐ อุปปลนรก เป็น ๑ ปุณฑริกนรก ๒๐ ปุณฑริกนรก เป็น ๑
ปทุมนรก ภิกษุ โกกาลิกภิกษุไปเกิดในปทุมนรก เพราะมีจิตผูกอาฆาตในสารีบุตร
และโมคคัลลานะ”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาครั้นตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า

เชิงอรรถ :
๑ ๔ กุฑุวะ หรือ ปสตะ (ฟายมือ) เป็น ๑ ปัตถะ (กอบ)
๔ ปัตถะ เป็น ๑ อาฬหกะ
๔ อาฬหกะ เป็น ๑ โทณะ
๔ โทณะ เป็น ๑ มาณิกา
๔ มาณิกา เป็น ๑ ขารี
๒๐ ขารี เป็น ๑ วาหะ
๒๐ วาหะ เป็น ๑ ธารณะ
๑๐ ธารณะ เป็น ๑ ปละ
๑๐๐ ปละ เป็น ๑๒ ตุลา
๒๐ ตุลา เป็น ๑ ภาระ
(อภิธา.ฏี. คาถา ๔๘๐-๔๘๔)
๒ อัพพุทนรก นิรัพพุทนรก อพัพพนรก อุหหนรก อัฏฏนรก กุมุทนรก โสคันธิกนรก อุปปลนรก ปุณฑริกนรก
ปทุมนรก ทั้งหมดนี้ อยู่ในอเวจีมหานรก เป็นนรกเล็กอยู่ในนรกใหญ่ ไม่มีภูมิเป็นของตนเอง แต่เป็นที่ซึ่ง
สัตว์จะต้องรับกรรม เช่น อัพพุทนรก เป็นสถานที่ทรมานสัตว์โดยการนับชิ้นเนื้อเป็นเครื่องบอกระยะเวลา
ในการทรมานสัตว์ (องฺ.ทสก.อ. ๓/๘๙/๓๖๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๐๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๔. เถรวรรค ๑๐. ขีณาสวพลสูตร
ผรุสวาจาเป็นเหมือนผึ่ง
เครื่องตัดตนของคนพาลผู้กล่าวคำชั่ว
ย่อมเกิดที่ปากของคนพาล
ผู้ใดสรรเสริญคนที่ควรติเตียน
หรือติเตียนคนที่ควรสรรเสริญ
ผู้นั้นชื่อว่าสั่งสมความผิดไว้ด้วยปาก
ย่อมไม่ประสบความสุข เพราะความผิดนั้น
การปราชัยด้วยทรัพย์
ในการเล่นการพนันจนหมดตัวนี้
เป็นความผิดเพียงเล็กน้อย
แต่การที่บุคคลมีใจประทุษร้าย
ในบุคคลผู้ดำเนินไปดีแล้วนี้เท่านั้น
เป็นความผิดมากกว่า
บุคคลผู้ตั้งวาจาและใจอันชั่วติเตียนพระอริยะ
ย่อมเข้าถึงนรกสิ้น ๑๓๖,๐๐๐ นิรัพพุทกัป
กับอีก ๕ อัพพุทกัป
โกกาลิกสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ขีณาสวพลสูตร๑
ว่าด้วยกำลังของพระขีณาสพ
[๙๐] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า
“สารีบุตร ภิกษุขีณาสพมีกำลังเท่าไร จึงปฏิญญาความสิ้นอาสวะทั้งหลายว่า
‘อาสวะของเราสิ้นแล้ว”

เชิงอรรถ :
๑ ดู องฺ.อฏฐก. ๒๓/๒๘/๑๘๓-๑๘๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๔. เถรวรรค ๑๐. ขีณาสวพลสูตร
ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุขีณาสพมีกำลัง ๑๐
ประการ จึงปฏิญญาความสิ้นอาสวะทั้งหลายว่า ‘อาสวะของเราสิ้นแล้ว’
กำลัง ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สังขารทั้งปวงเป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพในพระธรรมวินัยนี้เห็นว่าเป็น
สภาวะไม่เที่ยงด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง แม้ข้อที่สังขาร
ทั้งปวงเป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเห็นว่าเป็นสภาวะไม่เที่ยงด้วยปัญญาอัน
ชอบตามความเป็นจริง นี้ก็เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพที่ภิกษุขีณาสพ
อาศัยปฏิญญาความสิ้นอาสวะทั้งหลายว่า ‘อาสวะของเราสิ้นแล้ว’
๒. กามทั้งหลายเป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเห็นว่าเปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง
ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง แม้ข้อที่กามทั้งหลายเป็นธรรมที่
ภิกษุขีณาสพเห็นว่าเปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิงด้วยปัญญาอันชอบตาม
ความเป็นจริง นี้ก็เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพที่ภิกษุขีณาสพอาศัย
ปฏิญญาความสิ้นอาสวะทั้งหลายว่า ‘อาสวะของเราสิ้นแล้ว’
๓. จิตของภิกษุขีณาสพเป็นธรรมชาติน้อมไป โน้มไป โอนไป ตั้งอยู่ในวิเวก
ยินดียิ่งในเนกขัมมะ ปราศจากเงื่อนธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะโดย
ประการทั้งปวง แม้ข้อที่จิตของภิกษุขีณาสพเป็นธรรมชาติน้อมไป โน้มไป
โอนไป ตั้งอยู่ในวิเวก ยินดียิ่งในเนกขัมมะ ปราศจากเงื่อนธรรมอันเป็นที่
ตั้งแห่งอาสวะโดยประการทั้งปวง นี้ก็เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพ ที่
ภิกษุขีณาสพอาศัยปฏิญญาความสิ้นอาสวะทั้งหลายว่า ‘อาสวะของเรา
สิ้นแล้ว’
๔. สติปัฏฐาน ๔ เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว แม้ข้อที่
สติปัฏฐาน ๔ เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว นี้ก็เป็นกำลัง
ของภิกษุขีณาสพ ที่ภิกษุขีณาสพอาศัยปฏิญญาความสิ้นอาสวะทั้งหลาย
ว่า ‘อาสวะของเราสิ้นแล้ว’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๐๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๔. เถรวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
๕. สัมมัปปธาน ๔ เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว ...
๖. อิทธิบาท ๔ เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว ...
๗. อินทรีย์ ๕ เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว ...
๘. พละ ๕ เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว ...
๙. โพชฌงค์ ๗ เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว ...
๑๐. มรรคมีองค์ ๘ เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว [แม้ข้อที่
มรรคมีองค์ ๘ เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว นี้ก็เป็นกำลัง
ของภิกษุขีณาสพ ที่ภิกษุขีณาสพอาศัยปฏิญญาความสิ้นอาสวะทั้งหลาย
ว่า ‘อาสวะของเราสิ้นแล้ว‘]
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุขีณาสพมีกำลัง ๑๐ ประการนี้แล จึงปฏิญญา
ความสิ้นอาสวะทั้งหลายว่า ‘อาสวะของเราสิ้นแล้ว’
ขีณาสวพลสูตรที่ ๑๐ จบ
เถรวรรคที่ ๔ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. วาหุนสูตร ๒. อานันทสูตร
๓. ปุณณิยสูตร ๔. พยากรณสูตร
๕. กัตถีสูตร ๖. อธิมานสูตร
๗. นัปปิยสูตร ๘. อักโกสกสูตร
๙. โกกาลิกสูตร ๑๐. ขีณาสวพลสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๐๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๕. อุปาสกวรรค ๑. กามโภคีสูตร
๕. อุปาสกวรรค
หมวดว่าด้วยอุบาสก
๑. กามโภคีสูตร
ว่าด้วยกามโภคีบุคคล๑
[๙๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกคหบดี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล อนาถบิณฑิกคหบดี ได้เข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึง
ได้ตรัสกับอนาถบิณฑิกคหบดีดังนี้ว่า
คหบดี กามโภคีบุคคล ๑๐ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
กามโภคีบุคคล ๑๐ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. กามโภคีบุคคลบางคนในโลกนี้แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม ด้วย
การงานที่ผิด ครั้นแสวงหาได้แล้ว ไม่บำรุงตนให้เป็นสุข และไม่แจกจ่าย
ไม่ทำบุญ
๒. กามโภคีบุคคลบางคนในโลกนี้แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม ด้วย
การงานที่ผิด ครั้นแสวงหาได้แล้ว บำรุงตนให้เป็นสุข แต่ไม่แจกจ่าย ไม่
ทำบุญ
๓. กามโภคีบุคคลบางคนในโลกนี้แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม ด้วย
การงานที่ผิด ครั้นแสวงหาได้แล้ว บำรุงตนให้เป็นสุข และแจกจ่าย
ทำบุญ
๔. กามโภคีบุคคลบางคนในโลกนี้แสวงหาโภคทรัพย์ทั้งโดยชอบธรรม และ
ไม่ชอบธรรม ด้วยการงานที่ผิดบ้าง ไม่ผิดบ้าง ครั้นแสวงหาได้แล้ว
ไม่บำรุงตนให้เป็นสุข และไม่แจกจ่าย ไม่ทำบุญ

เชิงอรรถ :
๑ กามโภคีบุคคล หมายถึงผู้บริโภคกาม, ผู้ครองเรือน, คฤหัสถ์ (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๕/๒๙๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๐๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๕. อุปาสกวรรค ๑. กามโภคีสูตร
๕. กามโภคีบุคคลบางคนในโลกนี้แสวงหาโภคทรัพย์ทั้งโดยชอบธรรมและ
ไม่ชอบธรรม ด้วยการงานที่ผิดบ้าง ไม่ผิดบ้าง ครั้นแสวงหาได้แล้ว
บำรุงตนให้เป็นสุข แต่ไม่แจกจ่าย ไม่ทำบุญ
๖. กามโภคีบุคคลบางคนในโลกนี้แสวงหาโภคทรัพย์ทั้งโดยชอบธรรมและ
ไม่ชอบธรรม ด้วยการงานที่ผิดบ้าง ไม่ผิดบ้าง ครั้นแสวงหาได้แล้ว
บำรุงตนให้เป็นสุข และแจกจ่าย ทำบุญ
๗. กามโภคีบุคคลบางคนในโลกนี้แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม ด้วย
การงานที่ไม่ผิด ครั้นแสวงหาได้แล้ว ไม่บำรุงตนให้เป็นสุข และไม่
แจกจ่าย ไม่ทำบุญ
๘. กามโภคีบุคคลบางคนในโลกนี้แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม ด้วย
การงานที่ไม่ผิด ครั้นแสวงหาได้แล้ว บำรุงตนให้เป็นสุข แต่ไม่แจกจ่าย
ไม่ทำบุญ
๙. กามโภคีบุคคลบางคนในโลกนี้แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม ด้วย
การงานที่ไม่ผิด ครั้นแสวงหาได้แล้ว บำรุงตนให้เป็นสุข และแจกจ่าย
ทำบุญ แต่เป็นผู้มัวเมา หมกมุ่น จดจ่อ ไม่เห็นโทษ ไม่มีปัญญาเป็น
เครื่องสลัดออก ใช้สอยโภคทรัพย์เหล่านั้น
๑๐. กามโภคีบุคคลบางคนในโลกนี้แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม ด้วยการ
งานที่ไม่ผิด ครั้นแสวงหาได้แล้ว บำรุงตนให้เป็นสุข และแจกจ่าย
ทำบุญ ทั้งเป็นผู้ไม่มัวเมา ไม่หมกมุ่น ไม่จดจ่อ เห็นโทษ มีปัญญา
เป็นเครื่องสลัดออก ใช้สอยโภคทรัพย์เหล่านั้น
บรรดากามโภคีบุคคล ๑๐ จำพวกนั้น กามโภคีบุคคลที่แสวงหาโภคทรัพย์
โดยไม่ชอบธรรม ด้วยการงานที่ผิด ครั้นแสวงหาได้แล้ว ไม่บำรุงตนให้เป็นสุข
ไม่แจกจ่าย ไม่ทำบุญนี้ ควรติเตียนโดย ๓ สถาน คือ ควรติเตียนโดยสถานที่ ๑
นี้ว่า ‘แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม ด้วยการงานที่ผิด’ ควรติเตียนโดย
สถานที่ ๒ นี้ว่า ‘ไม่บำรุงตนให้เป็นสุข’ ควรติเตียนโดยสถานที่ ๓ นี้ว่า ‘ไม่แจกจ่าย
ไม่ทำบุญ’ คหบดี กามโภคีบุคคลนี้ ควรติเตียนโดย ๓ สถานนี้ (๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๐๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๕. อุปาสกวรรค ๑. กามโภคีสูตร
กามโภคีบุคคลที่แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม ด้วยการงานที่ผิด ครั้น
แสวงหาได้แล้ว บำรุงตนให้เป็นสุข แต่ไม่แจกจ่าย ไม่ทำบุญนี้ ควรติเตียนโดย
๒ สถาน ควรสรรเสริญโดยสถานเดียว คือ ควรติเตียนโดยสถานที่ ๑ นี้ว่า
‘แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม ด้วยการงานที่ผิด’ ควรสรรเสริญโดยสถาน
เดียวนี้ว่า ‘บำรุงตนให้เป็นสุข’ ควรติเตียนโดยสถานที่ ๒ นี้ว่า ‘ไม่แจกจ่าย
ไม่ทำบุญ’ คหบดี กามโภคีบุคคลนี้ ควรติเตียนโดย ๒ สถานนี้ แต่ควรสรรเสริญ
โดยสถานเดียวนี้ (๒)
กามโภคีบุคคลที่แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม ด้วยการงานที่ผิด ครั้น
แสวงหาได้แล้ว บำรุงตนให้เป็นสุข และแจกจ่าย ทำบุญนี้ ควรติเตียนโดย
สถานเดียว ควรสรรเสริญโดย ๒ สถาน คือ ควรติเตียนโดยสถานเดียวนี้ว่า
‘แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม ด้วยการงานที่ผิด’ ควรสรรเสริญโดยสถาน
ที่ ๑ นี้ว่า ‘บำรุงตนให้เป็นสุข’ ควรสรรเสริญโดยสถานที่ ๒ นี้ว่า ‘แจกจ่าย
ทำบุญ’ คหบดี กามโภคีบุคคลนี้ ควรติเตียนโดยสถานเดียวนี้ ควรสรรเสริญโดย
๒ สถานนี้ (๓)
กามโภคีบุคคลที่แสวงหาโภคทรัพย์ทั้งโดยชอบธรรมและไม่ชอบธรรม ด้วย
การงานที่ผิดบ้าง ไม่ผิดบ้าง ครั้นแสวงหาได้แล้ว ไม่บำรุงตนให้เป็นสุข และไม่
แจกจ่าย ไม่ทำบุญนี้ ควรสรรเสริญโดยสถานเดียว ควรติเตียนโดย ๓ สถาน คือ
ควรสรรเสริญโดยสถานเดียวนี้ว่า ‘แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม ด้วยการงานที่
ไม่ผิด’ ควรติเตียนโดยสถานที่ ๑ นี้ว่า ‘แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม ด้วย
การงานที่ผิด’ ควรติเตียนโดยสถานที่ ๒ นี้ว่า ‘ไม่บำรุงตนให้เป็นสุข’ ควร
ติเตียนโดยสถานที่ ๓ นี้ว่า ‘ไม่แจกจ่าย ไม่ทำบุญ’ คหบดี กามโภคีบุคคลนี้ ควร
สรรเสริญโดยสถานเดียวนี้ ควรติเตียนโดย ๓ สถานนี้ (๔)
กามโภคีบุคคลที่แสวงหาโภคทรัพย์ทั้งโดยชอบธรรมและไม่ชอบธรรม ด้วย
การงานที่ผิดบ้าง ไม่ผิดบ้าง ครั้นแสวงหาได้แล้ว บำรุงตนให้เป็นสุข แต่ไม่
แจกจ่าย ไม่ทำบุญนี้ ควรสรรเสริญโดย ๒ สถาน ควรติเตียนโดย ๒ สถาน
คือ ควรสรรเสริญโดยสถานที่ ๑ นี้ว่า ‘แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม ด้วยการ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๐๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๕. อุปาสกวรรค ๑. กามโภคีสูตร
งานที่ผิด’ ควรติเตียนโดยสถานที่ ๑ นี้ว่า ‘แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม
ด้วยการงานที่ผิด’ ควรสรรเสริญโดยสถานที่ ๒ นี้ว่า ‘บำรุงตนให้เป็นสุข’ ควร
ติเตียนโดยสถานที่ ๒ นี้ว่า ‘ไม่แจกจ่าย ไม่ทำบุญ’ คหบดี กามโภคีบุคคลนี้ควร
สรรเสริญโดย ๒ สถานนี้ ควรติเตียนโดย ๒ สถานนี้ (๕)
กามโภคีบุคคลที่แสวงหาโภคทรัพย์ทั้งโดยชอบธรรมและไม่ชอบธรรม ด้วย
การงานที่ผิดบ้าง ไม่ผิดบ้าง ครั้นแสวงหาได้แล้ว บำรุงตนให้เป็นสุข และแจกจ่าย
ทำบุญนี้ ควรสรรเสริญโดย ๓ สถาน ควรติเตียนโดยสถานเดียว คือ ควรสรรเสริญ
โดยสถานที่ ๑ นี้ว่า ‘แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม ด้วยการงานที่ไม่ผิด’ ควร
ติเตียนโดยสถานเดียวนี้ว่า ‘แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม ด้วยการงานที่ผิด’
ควรสรรเสริญโดยสถานที่ ๒ นี้ว่า ‘บำรุงตนให้เป็นสุข’ ควรสรรเสริญโดยสถานที่ ๓
นี้ว่า ‘แจกจ่าย ทำบุญ’ คหบดี กามโภคีบุคคลผู้บริโภคกามคุณนี้ ควรสรรเสริญ
โดย ๓ สถานนี้ ควรติเตียนโดยสถานเดียวนี้ (๖)
กามโภคีบุคคลที่แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม ด้วยการงานที่ไม่ผิด ครั้น
แสวงหาได้แล้ว ไม่บำรุงตนให้เป็นสุข และไม่แจกจ่าย ไม่ทำบุญนี้ ควรสรรเสริญ
โดยสถานเดียว ควรติเตียนโดย ๒ สถาน คือ ควรสรรเสริญโดยสถานเดียวนี้ว่า
‘แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม ด้วยการงานที่ไม่ผิด’ ควรติเตียนโดยสถาน
ที่ ๑ นี้ว่า ‘ไม่บำรุงตนให้เป็นสุข’ ควรติเตียนโดยสถานที่ ๒ นี้ว่า ‘ไม่แจกจ่าย
ไม่ทำบุญ’ คหบดี กามโภคีบุคคลนี้ ควรสรรเสริญโดยสถานเดียวนี้ ควรติเตียน
โดย ๒ สถานนี้ (๗)
กามโภคีบุคคลที่แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม ด้วยการงานที่ไม่ผิด ครั้น
แสวงหาได้แล้ว บำรุงตนให้เป็นสุข แต่ไม่แจกจ่าย ไม่ทำบุญนี้ ควรสรรเสริญ
โดย ๒ สถาน ควรติเตียนโดยสถานเดียว คือ ควรสรรเสริญโดยสถานที่ ๑ นี้ว่า
‘แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม ด้วยการงานที่ไม่ผิด’ ควรสรรเสริญโดยสถาน
ที่ ๒ นี้ว่า ‘บำรุงตนให้เป็นสุข’ ควรติเตียนโดยสถานเดียวนี้ว่า ‘ไม่แจกจ่าย
ไม่ทำบุญ’ คหบดี กามโภคีบุคคลนี้ ควรสรรเสริญโดย ๒ สถานนี้ ควรติเตียน
โดยสถานเดียวนี้ (๘)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๕. อุปาสกวรรค ๑. กามโภคีสูตร
กามโภคีบุคคลที่แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม ด้วยการงานที่ไม่ผิด ครั้น
แสวงหาได้แล้ว บำรุงตนให้เป็นสุข และแจกจ่าย ทำบุญ ทั้งเป็นผู้มัวเมา
หมกมุ่น จดจ่อ ไม่เห็นโทษ ไม่มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก ใช้สอยโภคทรัพย์เหล่า
นั้นนี้ ควรสรรเสริญโดย ๓ สถาน ควรติเตียนโดยสถานเดียว คือ ควรสรรเสริญโดย
สถานที่ ๑ นี้ว่า ‘แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม ด้วยการงานที่ไม่ผิด’ ควร
สรรเสริญโดยสถานที่ ๒ นี้ว่า ‘บำรุงตนให้เป็นสุข’ ควรสรรเสริญโดยสถาน
ที่ ๓ นี้ว่า ‘แจกจ่าย ทำบุญ’ ควรติเตียนโดยสถานเดียวนี้ว่า ‘เป็นผู้มัวเมา
หมกมุ่น จดจ่อ ไม่เห็นโทษ ไม่มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก ใช้สอยโภคทรัพย์
เหล่านั้น’ คหบดี กามโภคีบุคคลนี้ ควรสรรเสริญโดย ๓ สถานนี้ ควรติเตียนโดย
สถานเดียวนี้ (๙)
กามโภคีบุคคลที่แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม ด้วยการงานที่ไม่ผิด ครั้น
แสวงหาได้แล้ว บำรุงตนให้เป็นสุข และแจกจ่าย ทำบุญ ทั้งเป็นผู้ไม่มัวเมา
ไม่หมกมุ่น ไม่จดจ่อ เห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครี่องสลัดออก ใช้สอยโภคทรัพย์
เหล่านั้นนี้ ควรสรรเสริญโดย ๔ สถาน คือ ควรสรรเสริญโดยสถานที่ ๑ นี้ว่า
‘แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม ด้วยการงานที่ไม่ผิด’ ควรสรรเสริญโดย
สถานที่ ๒ นี้ว่า ‘บำรุงตนให้เป็นสุข’ ควรสรรเสริญโดยสถานที่ ๓ นี้ว่า
‘แจกจ่าย ทำบุญ’ ควรสรรเสริญโดยสถานที่ ๔ นี้ว่า ‘ไม่มัวเมา ไม่หมกมุ่น
ไม่จดจ่อ เห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก ใช้สอยโภคทรัพย์เหล่านั้น’ คหบดี
กามโภคีบุคคลนี้ ควรสรรเสริญโดย ๔ สถานนี้ (๑๐)
คหบดี กามโภคีบุคคล ๑๐ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก
บรรดากามโภคีบุคคล ๑๐ จำพวกนี้ กามโภคีบุคคลที่แสวงหาโภคทรัพย์โดย
ชอบธรรม ด้วยการงานที่ไม่ผิด ครั้นแสวงหาได้แล้ว บำรุงตนให้เป็นสุข และ
แจกจ่าย ทำบุญ ทั้งเป็นผู้ไม่มัวเมา ไม่หมกมุ่น ไม่จดจ่อ เห็นโทษ มีปัญญาเป็น
เครื่องสลัดออก ใช้สอยโภคทรัพย์เหล่านั้นนี้ เป็นผู้เลิศ ประเสริฐ เป็นหัวหน้า
สูงส่ง ล้ำเลิศ เปรียบเหมือนนมสดที่เกิดจากแม่โค นมส้มเกิดจากนมสด เนยข้นเกิด
จากนมส้ม เนยใสเกิดจากเนยข้น หัวเนยใสเกิดจากเนยใส ชาวโลกเรียกว่า เลิศกว่า
นมส้มเป็นต้น เหล่านั้น ฉันใด บรรดากามโภคีบุคคล ๑๐ จำพวกนี้ กามโภคีบุคคลที่


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๑๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๕. อุปาสกวรรค ๒. ภยสูตร
แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม ด้วยการงานที่ไม่ผิด ครั้นแสวงหาได้แล้ว บำรุง
ตนให้เป็นสุข และแจกจ่าย ทำบุญ ทั้งเป็นผู้ไม่มัวเมา ไม่หมกมุ่น ไม่จดจ่อ
เห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก ใช้สอยโภคทรัพย์เหล่านั้นนี้ เป็นผู้เลิศ
ประเสริฐ เป็นหัวหน้า สูงส่ง ล้ำเลิศ ฉันนั้นเหมือนกัน
กามโภคีสูตรที่ ๑ จบ

๒. ภยสูตร
ว่าด้วยภัยเวร
[๙๒] ครั้งนั้นแล อนาถบิณฑิกคหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสกับอนาถบิณฑิกคหบดี
ดังนี้ว่า
คหบดี เมื่อใด อริยสาวกระงับภัยเวร ๕ ประการได้แล้ว ประกอบด้วยองค์
เครื่องบรรลุโสดา๑ ๔ ประการ และเห็นแจ้งแทงตลอดอริยญายธรรม๒ด้วยปัญญาแล้ว
เมื่อนั้น อริยสาวกนั้น เมื่อหวังอยู่พึงพยากรณ์ตนเองว่า ‘เรามีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิด
สัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีภูมิแห่งเปรตสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ และวินิบาต๓สิ้นแล้ว เป็น
โสดาบัน๔ ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิ๕ ในวันข้างหน้า’
อริยสาวกระงับภัยเวร ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้ฆ่าสัตว์ เพราะการฆ่าสัตว์เป็นปัจจัย จึงประสพภัยเวรที่เป็นไป
ในปัจจุบันบ้าง ในสัมปรายภพบ้าง เสวยทุกขโทมนัสทางใจบ้าง บุคคลผู้

เชิงอรรถ :
๑ องค์เครื่องบรรลุโสดา ในที่นี้หมายถึงคุณสมบัติของพระโสดาบัน (สํ.ม.อ. ๓/๔๗๘/๓๐๗)
๒ อริยญายธรรม หมายถึงมรรคพร้อมทั้งวิปัสสนา (องฺ.ทสก.อ. ๓/๙๑-๙๒/๓๖๗)
๓ อบาย ทุคติ วินิบาต ทั้ง ๓ คำนี้เป็นไวพจน์ของนรก (องฺ.เอกก.อ. ๑/๔๓/๕๐)
๔ โสดาบัน หมายถึงผู้ประกอบด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘ เพราะคำว่า โสตะ เป็นชื่อของอริยมรรคมีองค์ ๘
(อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๑/๕๓๐)
๕ สัมโพธิ ในที่นี้หมายถึงมรรค ๓ เบื้องสูง (สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค และอรหัตตมรรค) (องฺ.ติก.อ.
๒/๘๗/๒๔๒, องฺ.ติก.ฏีกา. ๒/๘๗/๒๓๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๕. อุปาสกวรรค ๒. ภยสูตร
เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ย่อมไม่ประสพภัยเวรที่เป็นไปในปัจจุบัน ที่เป็น
ไปในสัมปรายภพ ทั้งไม่ต้องเสวยทุกขโทมนัสทางใจ บุคคลผู้เว้นขาด
จากการฆ่าสัตว์แล้ว ย่อมระงับภัยเวรนั้นได้ อย่างนี้
๒. บุคคลผู้ลักทรัพย์ ...
๓. บุคคลผู้ประพฤติผิดในกาม ...
๔. บุคคลผู้พูดเท็จ ...
๕. บุคคลผู้เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัย๑อันเป็นเหตุแห่งความประมาท
เพราะการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท
เป็นปัจจัย จึงประสพภัยเวรที่เป็นไปในปัจจุบันบ้าง ในสัมปรายภพบ้าง
ต้องเสวยทุกขโทมนัสทางใจบ้าง บุคคลผู้เว้นขาดจากการเสพของมึนเมา
คือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาทแล้ว ย่อมไม่ประสพภัย
เวรที่เป็นไปในปัจจุบัน ที่เป็นไปในสัมปรายภพ ทั้งไม่ต้องเสวยทุกข-
โทมนัสทางใจ บุคคลผู้เว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัย
อันเป็นเหตุแห่งความประมาทแล้ว ย่อมระงับภัยเวรนั้นได้ อย่างนี้
อริยสาวกระงับภัยเวร ๕ ประการ เป็นอย่างนี้แล
อริยสาวกประกอบด้วยองค์เครื่องบรรลุโสดา ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า “แม้เพราะ
เหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์
เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็น
สารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค”

เชิงอรรถ :
๑ สุราและเมรัย หมายถึง สุรา ๕ อย่าง คือ (๑) สุราแป้ง (๒) สุราขนม (๓) สุราข้าวสุก (๔) สุราใส่เชื้อ
(๕) สุราผสมเครื่องปรุง และเมรัย ๕ อย่าง คือ (๑) เครื่องดองดอกไม้ (๒) เครื่องดองผลไม้ (๓) เครื่อง
ดองน้ำอ้อย (๔) เครื่องดองน้ำผึ้ง (๕) เครื่องดองผสมเครื่องปรุง (ขุ.ขุ.อ. หน้า ๑๗-๑๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๕. อุปาสกวรรค ๒. ภยสูตร
๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า “พระธรรม
เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง
ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชน
พึงรู้เฉพาะตน”
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า “พระสงฆ์สาวก
ของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติถูกทาง ปฏิบัติ
สมควร ได้แก่ อริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล พระสงฆ์สาวกของพระผู้มี
พระภาคนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควร
แก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก”
๔. ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะใคร่ ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท
ท่านผู้รู้สรรเสริญ ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ เป็นไปเพื่อสมาธิ
อริยสาวกประกอบด้วยองค์เครื่องบรรลุโสดา ๔ ประการ เป็นอย่างนี้แล
อริยสาวกนั้นเห็นแจ้งแทงตลอดอริยญายธรรมด้วยปัญญา เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้พิจาณาเห็นอย่างนี้ว่า “เพราะเหตุนี้ เมื่อสิ่งนี้มี
สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับไป
สิ่งนี้จึงดับไป๑ คือ

เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี


เชิงอรรถ :
๑ สํ.ม. ๑๙/๑๐๒๔/๓๓๗, ขุ.อุ. ๒๕/๑/๙๓, ขุ.ม. ๒๙/๑๘๖/๓๗๐, ขุ.จู. ๓๐/๘๘/๑๙๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๑๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๕. อุปาสกวรรค ๒. ภยสูตร

เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
อุปายาสจึงมี

กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีความเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้

เพราะอวิชชาดับไปไม่เหลือ สังขารจึงดับ
เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ
เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ
เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ
เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ
เพราะภพดับ ชาติจึงดับ
เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
อุปายาสจึงดับ

กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีความดับด้วยอาการอย่างนี้”
อริยสาวกนั้นเห็นแจ้งแทงตลอดอริยญายธรรมด้วยปัญญา เป็นอย่างนี้แล
เมื่อใด อริยสาวกระงับภัยเวร ๕ ประการนี้ ประกอบด้วยองค์เครื่องบรรลุโสดา
๔ ประการนี้ และเห็นแจ้งแทงตลอดอริยญายธรรมนี้แลด้วยปัญญาแล้ว เมื่อนั้น
อริยสาวกนั้น เมื่อหวังอยู่พึงพยากรณ์ตนเองว่า ‘เรามีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์
ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีภูมิแห่งเปรตสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ และวินิบาตสิ้นแล้ว เป็น
โสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’
ภยสูตรที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๕. อุปาสกวรรค ๓. กิงทิฏฐิกสูตร
๓. กิงทิฏฐิกสูตร
ว่าด้วยคำถามเกี่ยวกับทิฏฐิ๑
[๙๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านอนาถบิณฑิกคหบดี ได้ออกจาก
กรุงสาวัตถีแต่ยังวัน เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาค ขณะนั้นแล อนาถบิณฑิกคหบดีได้มี
ความคิดว่า “ยังไม่ใช่เวลาที่จะเฝ้าพระผู้มีพระภาค เพราะพระองค์ยังทรงหลีกเร้น๒
อยู่ ยังไม่ใช่เวลาที่จะเยี่ยมเยือนภิกษุทั้งหลายผู้อบรมจิต เพราะภิกษุเหล่านั้น
ยังหลีกเร้นอยู่ ทางที่ดี เราควรจะเข้าไปยังอารามของอัญเดียรถีย์ปริพาชก”
ครั้งนั้นแล อนาถบิณฑิกคหบดีเข้าไปยังอารามของพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก
สมัยนั้นแล พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก กำลังร่วมประชุมกัน ส่งเสียงเอ็ดอึง นั่ง
สนทนากันถึงติรัจฉานกถามีประการต่าง ๆ ได้เห็นท่านอนาถบิณฑิกคหบดีผู้กำลัง เดิน
มาจากที่ไกล จึงชวนกันให้หยุดว่า “จงเงียบเสียงเถิด ท่านทั้งหลายอย่าได้ส่งเสียง
เลย อนาถบิณฑิกคหบดีคนนี้เป็นสาวกของพระสมณโคดมกำลังเดินมายังอาราม
อนาถบิณฑิกคหบดีนี้เป็นสาวกคนหนึ่งบรรดาคฤหัสถ์ผู้นุ่งห่มผ้าขาวของพระสมณ-
โคดม ซึ่งอาศัยอยู่ในกรุงสาวัตถี พวกเขาชอบเสียงเบา ถูกฝึกให้มีเสียงเบา กล่าว
ชมผู้พูดเสียงเบา ทำอย่างไร เขาทราบว่าบริษัท๓ เงียบเสียง ก็จะสำคัญว่าควรเข้าหา”
ครั้นแล้ว อัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นจึงพากันนิ่งเงียบ ลำดับนั้น อนาถบิณฑิก-
คหบดีเข้าไปหาอัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่
บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร อัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นจึง
ถามว่า “คหบดี ขอท่านจงบอกเถิด พระสมณโคดมมีทิฏฐิอย่างไร”

เชิงอรรถ :
๑ ทิฏฐิ ในที่นี้หมายถึงลัทธิ คือ คติความเชื่อถือหรือความคิดเห็น (องฺ.ติก.อ. ๒/๖๖/๒๐๒)
๒ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๕๐ (ภัณฑนสูตร) หน้า ๑๐๖ ในเล่มนี้
๓ บริษัท คือ หมู่, คณะ, ที่ประชุม, ประชุมชน เช่น พุทธบริษัท ๔ แต่ในที่นี้หมายถึงหมู่คณะของพวก
อัญเดียรถีย์ปริพาชก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๑๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๕. อุปาสกวรรค ๓. กิงทิฏฐิกสูตร
อนาถบิณฑิกคหบดีตอบว่า “ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าไม่ทราบทิฏฐิทั้งหมดของ
พระผู้มีพระภาคเลย”
“เอาเถิดท่านคหบดี ตามที่ท่านว่า ท่านไม่ทราบทิฏฐิทั้งหมดของพระสมณ-
โคดม ขอท่านจงบอกเถิด พวกภิกษุมีทิฏฐิอย่างไร”
“ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าไม่ทราบทิฏฐิทั้งหมดของภิกษุทั้งหลายเลย”
“เอาเถิดท่านคหบดี ตามที่ท่านว่า ท่านไม่ทราบทิฏฐิทั้งหมดของพระสมณ-
โคดม ทั้งไม่ทราบทิฏฐิทั้งหมดของพวกภิกษุอย่างนี้ ท่านจงบอกเถิด ท่านมีทิฏฐิ
อย่างไร”
“ท่านผู้เจริญ ไม่ยากที่ข้าพเจ้าจะบอกทิฏฐิของข้าพเจ้าว่ามีทิฏฐิอย่างใด เชิญ
ท่านทั้งหลายบอกทิฏฐิของตนก่อนเถิด ไม่ยากที่ข้าพเจ้าจักบอกทิฏฐิของข้าพเจ้าว่า
มีทิฏฐิอย่างใดในภายหลัง”
เมื่ออนาถบิณฑิกคหบดีกล่าวอย่างนี้แล้ว ปริพาชกคนหนึ่งได้กล่าวกับอนาถ-
บิณฑิกคหบดีว่า “คหบดี เรามีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง”
ปริพาชกคนหนึ่งกล่าวกับอนาถบิณฑิกคหบดีว่า “คหบดี เรามีทิฏฐิอย่างนี้ว่า
‘โลกไม่เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง”
แม้ปริพาชกอีกคนหนึ่งก็กล่าวกับอนาถบิณฑิกคหบดีว่า “โลกมีที่สุด....” อีก
คนหนึ่งกล่าวว่า “โลกไม่มีที่สุด...” อีกคนหนึ่งกล่าวว่า “ชีวะ๑กับสรีระเป็นอย่าง
เดียวกัน...” อีกคนหนึ่งกล่าวว่า “ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน....” อีกคนหนึ่งกล่าวว่า
“หลังจากตายแล้วตถาคต๒เกิดอีก...” อีกคนหนึ่งกล่าวว่า “หลังจากตายแล้ว
ตถาคตไม่เกิดอีก...” อีกคนหนึ่งกล่าวว่า “หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มี ไม่
เกิดอีกก็มี...” อีกคนหนึ่งกล่าวว่า “คหบดี เรามีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘หลังจากตายแล้ว
ตถาคตเกิดอีกก็ไม่ใช่ ไม่เกิดอีกก็ไม่ใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง”

เชิงอรรถ :
๑ ชีวะ ในที่นี้หมายถึงวิญญาณอมตะหรืออาตมัน (ตามนัย อภิ.ปญฺจ.อ. ๑/๑/๑๒๙)
๒ ตถาคต ในที่นี้เป็นคำที่ลัทธิอื่นใช้มาก่อนพุทธกาล หมายถึงอัตตา (อาตมัน) ไม่ได้หมายถึงพระพุทธเจ้า
อรรถกถาอธิบายว่า หมายถึงสัตว์ (เทียบ ที.สี.อ. ๖๕/๑๐๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๕. อุปาสกวรรค ๓. กิงทิฏฐิกสูตร
เมื่อปริพาชกกล่าวอย่างนี้แล้ว อนาถบิณฑิกคหบดีจึงได้กล่าวว่า “ข้าแต่พระ
คุณเจ้าผู้เจริญ ท่านผู้ใดกล่าวยืนยันอย่างนี้ว่า ‘คหบดี เรามีทิฏฐิอย่างนี้ว่า โลกเที่ยง
นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ทิฏฐิของท่านผู้นี้เกิดขึ้นเพราะการมนสิการโดยไม่
แยบคายของตนเป็นเหตุ หรือเพราะคำพูดของผู้อื่นเป็นเหตุ ก็ทิฏฐินี้แล เกิดขึ้น
ถูกปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อขึ้น อิงอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้น ถูกปัจจัย
ปรุงแต่งขึ้น ก่อขึ้น อิงอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์
สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเท่านั้นที่ท่านผู้นี้ติดแล้ว เข้าถึงแล้ว
แม้ท่านผู้ใดกล่าวอย่างนี้ว่า ‘คหบดี เรามีทิฏฐิอย่างนี้ว่า โลกไม่เที่ยง นี้เท่านั้น
จริง อย่างอื่นไม่จริง’ ทิฏฐิของท่านผู้นี้เกิดขึ้นเพราะการมนสิการโดยไม่แยบคายของ
ตนเป็นเหตุ หรือเพราะคำพูดของผู้อื่นเป็นเหตุ ก็ทิฏฐินี้แล เกิดขึ้น ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
ขึ้น ก่อขึ้น อิงอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น ถูกปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อขึ้น
อิงอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์
สิ่งนั้นเท่านั้นที่ท่านผู้นี้ติดแล้ว เข้าถึงแล้ว
แม้ท่านผู้ใดกล่าวอย่างนี้ว่า ‘คหบดี เรามีทิฏฐิอย่างนี้ว่า โลกมีที่สุด โลกไม่มี
ที่สุด ... ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน ... ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน ... หลังจาก
ตายแล้วตถาคตเกิดอีก ... หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก ... หลังจากตายแล้ว
ตถาคตเกิดอีกก็มี ไม่เกิดอีกก็มี ... หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็ไม่ใช่ ไม่เกิดอีก
ก็ไม่ใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ทิฏฐิของท่านผู้นี้เกิดขึ้นเพราะการมนสิการ
โดยไม่แยบคายเป็นเหตุ หรือเพราะคำพูดของผู้อื่นเป็นเหตุ ก็ทิฏฐินี้แล เกิดขึ้น
ถูกปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อขึ้น อิงอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น ถูกปัจจัย
ปรุงแต่งขึ้น ก่อขึ้น อิงอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์
สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเท่านั้นที่ท่านผู้นี้ติดแล้ว เข้าถึงแล้ว”
เมื่ออนาถบิณฑิกคหบดีกล่าวอย่างนี้แล้วปริพาชกเหล่านั้นจึงได้กล่าวว่า “คหบดี
เราทั้งหมดบอกทิฏฐิของตนแล้ว ขอท่านจงบอกเถิด ท่านมีทิฏฐิอย่างไร”
“ท่านผู้เจริญ สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น ถูกปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อขึ้น อิงอาศัยปัจจัย
เกิดขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นข้าพเจ้า
มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๕. อุปาสกวรรค ๓. กิงทิฏฐิกสูตร
“คหบดี สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น ถูกปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อขึ้น อิงอาศัยปัจจัย
เกิดขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเท่านั้น ที่
ท่านเองติดแล้ว เข้าถึงแล้ว”
“ท่านผู้เจริญ สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น ถูกปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อขึ้น อิงอาศัย
ปัจจัยเกิดขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้น
ข้าพเจ้าได้เห็นดีแล้วด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา
เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ และรู้ชัดอุบายเป็นเครื่องสลัดออกซึ่งสิ่งนั้น
อย่างยอดเยี่ยม ตามความเป็นจริง”
เมื่ออนาถบิณฑิกคหบดีกล่าวอย่างนี้แล้ว ปริพาชกเหล่านั้นพากันนั่งนิ่ง
เก้อเขิน คอตก ก้มหน้า ซบเซา โต้ตอบไม่ได้ อนาถบิณฑิกคหบดีทราบว่าปริพาชก
เหล่านั้นพากันนั่งนิ่ง เก้อเขิน คอตก ก้มหน้า ซบเซา โต้ตอบไม่ได้ จึงลุกจากที่นั่ง
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบ
ทูลเรื่องที่สนทนาปราศรัยกับอัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นแด่พระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบทุกประการ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ อย่างนั้นแหละ คหบดี ท่านสามารถข่ม
โมฆบุรุษเหล่านั้นได้อย่างแนบเนียนตามกาลอันควร โดยชอบธรรม”
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้ทรงชี้แจงให้อนาถบิณฑิกคหบดีเห็นชัด ชวนใจ
ให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง
ด้วยธรรมีกถาแล้ว อนาถบิณฑิกคหบดีก็ลุกจากที่นั่ง ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค
ทำประทักษิณแล้วหลีกไป
เมื่ออนาถบิณฑิกคหบดีหลีกไปไม่นาน พระผู้มีพระภาคจึงรับสั่งเรียกภิกษุทั้ง
หลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดบวชได้ ๑๐๐ พรรษา ในธรรมวินัยนี้ แม้
ภิกษุนั้นก็พึงข่มพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกได้อย่างแนบเนียน โดยชอบธรรมอย่างนี้
เหมือนอนาถบิณฑิกคหบดีข่มได้แล้ว”
กิงทิฏฐิกสูตรที่ ๓ จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๑๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๕. อุปาสกวรรค ๔. วัชชิยมาหิตสูตร
๔. วัชชิยมาหิตสูตร
ว่าด้วยวัชชิยมาหิตคหบดี
[๙๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ริมฝั่งสระคัคคราโบกขรณี
เขตกรุงจำปา ครั้งนั้น วัชชิยมาหิตคหบดีออกจากกรุงจำปาแต่ยังวัน เพื่อเฝ้า
พระผู้มีพระภาค ได้มีความคิดว่า “ยังไม่ใช่เวลาที่จะเฝ้าพระผู้มีพระภาค เพราะ
พระองค์ยังทรงหลีกเร้นอยู่ ยังไม่ใช่เวลาที่จะเยี่ยมเยือนภิกษุทั้งหลายผู้อบรมจิต
เพราะภิกษุเหล่านั้นยังหลีกเร้นอยู่ ทางที่ดี เราควรจะเข้าไปยังอารามของอัญเดียรถีย์
ปริพาชก”
ครั้งนั้นแล วัชชิยมาหิตคหบดีเข้าไปยังอารามของพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก
สมัยนั้นแล พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกกำลังร่วมประชุมกัน ส่งเสียงเอ็ดอึง นั่งสนทนา
กันถึงติรัจฉานกถา๑มีประการต่าง ๆ ได้เห็นวัชชิยมาหิตคหบดีผู้กำลังเดินมาจากที่ไกล
จึงชวนกันให้หยุดว่า “จงเงียบเสียงเถิด ท่านทั้งหลายอย่าได้ส่งเสียงเลย วัชชิย-
มาหิตคหบดีคนนี้เป็นสาวกของพระสมณโคดมกำลังเดินมายังอาราม วัชชิยมาหิต-
คหบดีนี้ เป็นสาวกคนหนึ่งบรรดาคฤหัสถ์ผู้นุ่งห่มผ้าขาวของพระสมณโคดม ซึ่ง
อาศัยอยู่ในกรุงจำปา พวกเขาชอบเสียงเบา ถูกฝึกให้มีเสียงเบา กล่าวชมผู้พูดเสียง
เบา ทำอย่างไร เขาทราบว่าบริษัท๒ เงียบเสียง ก็จะสำคัญว่าควรเข้าหา”
ครั้นแล้ว อัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นจึงพากันนิ่งเงียบ ลำดับนั้น วัชชิยมาหิต-
คหบดีเข้าไปหาอัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศัยพอเป็นที่
บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร อัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น
จึงถามว่า
“คหบดี นัยว่า พระสมณโคดมทรงติเตียนตบะทั้งหมด กล่าวโทษผู้มีตบะ
เลี้ยงชีพเศร้าหมอง๓โดยส่วนเดียว จริงหรือ”

เชิงอรรถ :
๑ ติรัจฉานกถา ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๖๙ (ปฐมกถาวัตถุสูตร) หน้า ๑๕๐ ในเล่มนี้
๒ ดูเชิงอรรถที่ ๓ ข้อ ๙๓ (กิงทิฏฐิกสูตร) หน้า ๒๑๖ ในเล่มนี้
๓ เลี้ยงชีพเศร้าหมอง ในที่นี้หมายถึงประกอบทุกกรกิริยา ดำรงชีวิตอย่างฝืดเคือง ทรมานตนให้ลำบาก
(องฺ.ทสก.อ. ๓/๙๔/๓๖๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๒๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๕. อุปาสกวรรค ๔. วัชชิยมาหิตสูตร
วัชชิยมาหิตคหบดีตอบว่า “ท่านผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคจะได้ทรงติเตียนตบะ
ทั้งหมดก็หามิได้ จะได้กล่าวโทษผู้มีตบะทุกคนผู้เลี้ยงชีพเศร้าหมองโดยส่วนเดียวก็
หามิได้ พระผู้มีพระภาคทรงติเตียนตบะที่ควรติเตียน สรรเสริญตบะที่ควรสรรเสริญ
เมื่อทรงติเตียนสิ่งที่ควรติเตียน สรรเสริญสิ่งที่ควรสรรเสริญ จึงชื่อว่าวิภัชชวาที(มีปกติ
ตรัสจำแนก) ในเรื่องนี้พระผู้มีพระภาคมิใช่เอกังสวาที(มีปกติตรัสโดยส่วนเดียว)”
เมื่อวัชชิยมาหิตคหบดีกล่าวอย่างนี้แล้ว ปริพาชกคนหนึ่งจึงได้กล่าวกับวัชชิย-
มาหิตคหบดีดังนี้ว่า “ประเดี๋ยวก่อน คหบดี พระสมณโคดมผู้ที่ท่านสรรเสริญ เป็นผู้
แนะนำในทางฉิบหาย๑ เป็นผู้ไม่มีบัญญัติ๒”
“ท่านผู้เจริญ แม้ในเรื่องนี้ ข้าพเจ้ากล่าวกับท่านทั้งหลายโดยชอบธรรม พระผู้
มีพระภาคทรงบัญญัติว่า ‘นี้กุศล นี้อกุศล’ พระผู้มีพระภาคเมื่อทรงบัญญัติกุศลและ
อกุศลอย่างนี้ จึงชื่อว่าทรงมีบัญญัติ มิใช่ผู้ทรงแนะนำในทางฉิบหาย ไม่ใช่ผู้ไม่มี
บัญญัติ”
เมื่อวัชชิยมาหิตคหบดีกล่าวอย่างนี้แล้ว ปริพาชกทั้งหลายพากันนั่งนิ่ง เก้อเขิน
คอตก ก้มหน้า ซบเซา โต้ตอบไม่ได้ วัชชิยมาหิตคหบดีทราบว่าปริพาชกเหล่านั้น
นั่งนิ่ง เก้อเขิน คอตก ก้มหน้า ซบเซา โต้ตอบไม่ได้ จึงลุกจากที่นั่ง เข้าไปเฝ้าพระ
ผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลเรื่องที่สนทนา
ปราศัยกับอัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นแด่พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบทุกประการ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ อย่างนั้นแหละ คหบดี ท่านสามารถข่ม
โมฆบุรุษเหล่านั้นได้อย่างแนบเนียนตามกาลอันควร โดยชอบธรรม เราไม่กล่าวตบะ
ทั้งหมดว่า ‘ควรบำเพ็ญ หรือไม่ควรบำเพ็ญ’ เราไม่กล่าวการสมาทานทั้งหมดว่า
‘ควรสมาทาน หรือไม่ควรสมาทาน’ เราไม่กล่าวความมุ่งมั่น๓ทั้งหมดว่า ‘ควรมุ่งมั่น

เชิงอรรถ :
๑ เป็นผู้แนะนำในทางฉิบหาย ในที่นี้หมายถึงให้สัตว์ถึงความพินาศ (องฺ.ทสก.อ. ๓/๙๔/๓๖๗)
๒ เป็นผู้ไม่มีบัญญัติ หมายถึงไม่สามารถบัญญัติอะไร หรือบัญญัตินิพพานที่ไม่สามารถจะเห็นประจักษ์ได้
(องฺ.ทสก.อ. ๓/๙๔/๓๖๗)
๓ มุ่งมั่น หมายถึงทำความเพียรเป็นหลักใหญ่ (องฺ.เอกก.อ. ๔/๓๙๔/๔๔๐) ได้แก่สัมมัปปธาน ๔ (องฺ.
จตุกฺก. ๒๑/๖๙/๘๔-๘๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๒๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๕. อุปาสกวรรค ๔. วัชชิยมาหิตสูตร
หรือไม่ควรมุ่งมั่น’ เราไม่กล่าวการสละคืนทั้งหมดว่า ‘ควรสละคืน หรือไม่ควร
สละคืน’ เราไม่กล่าวความหลุดพ้นทั้งหมดว่า ‘‘ควรหลุดพ้น หรือไม่ควรหลุดพ้น’
ตบะใด เมื่อบุคคลบำเพ็ญอยู่ อกุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น กุศลธรรม
ทั้งหลาย เสื่อมไป ตบะเช่นนั้น เรากล่าวว่า ‘ไม่ควรบำเพ็ญ’ ส่วนตบะใด เมื่อบุคคล
บำเพ็ญอยู่ อกุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมไป กุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น ตบะเช่นนั้น
เรากล่าวว่า ‘ควรบำเพ็ญ’
การสมาทานใด เมื่อบุคคลสมาทานอยู่ อกุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น กุศล
ธรรมทั้งหลายเสื่อมไป การสมาทานเช่นนั้น เรากล่าวว่า ‘ไม่ควรสมาทาน’ ส่วน
การสมาทานใด เมื่อบุคคลสมาทานอยู่ อกุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมไป กุศลธรรม
ทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น การสมาทานเช่นนั้น เรากล่าวว่า ‘ควรสมาทาน’
ความมุ่งมั่นใด เมื่อบุคคลมุ่งมั่นอยู่ อกุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น กุศล
ธรรมทั้งหลายเสื่อมไป ความมุ่งมั่นเช่นนั้น เรากล่าวว่า ‘ไม่ควรมุ่งมั่น’ ส่วนความมุ่ง
มั่นใด เมื่อบุคคลมุ่งมั่นอยู่ อกุศลธรรมเสื่อมไป กุศลธรรมเจริญยิ่งขึ้น ความมุ่งมั่น
เช่นนั้น เรากล่าวว่า ‘ควรมุ่งมั่น’
การสละคืนใด เมื่อบุคคลสละคืนอยู่ อกุศลธรรมเจริญยิ่งขึ้น กุศลธรรมเสื่อมไป
การสละคืนเช่นนั้น เรากล่าวว่า ‘ไม่ควรสละคืน’ ส่วนการสละคืนใด เมื่อบุคคลสละ
คืนอยู่ อกุศลธรรมเสื่อมไป กุศลธรรมเจริญยิ่งขึ้น การสละคืนเช่นนั้น เรากล่าวว่า
‘ควรสละคืน’
ความหลุดพ้นใด เมื่อบุคคลหลุดพ้นอยู่ อกุศลธรรมเจริญยิ่งขึ้น กุศลธรรม
เสื่อมไป ความหลุดพ้นเช่นนั้น เรากล่าวว่า ‘ไม่ควรหลุดพ้น’ ส่วนความหลุดพ้นใด
เมื่อบุคคลหลุดพ้นอยู่ อกุศลธรรมเสื่อมไป กุศลธรรมเจริญยิ่งขึ้น ความหลุดพ้นเช่น
นั้น เรากล่าวว่า ‘ควรหลุดพ้น’
ลำดับนั้นแล วัชชิยมาหิตคหบดีผู้อันพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นชัด
ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่น
ร่าเริงด้วยธรรมมีกถาแล้วจึงลุกจากที่นั่ง ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณ
แล้วหลีกไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๕. อุปาสกวรรค ๕. อุตติยสูตร
เมื่อวัชชิยมาหิตคหบดีหลีกไปไม่นาน พระผู้มีพระภาคจึงรับสั่งเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีธุลีคือกิเลสใน
นัยน์ตาน้อยตลอดกาลนาน แม้ภิกษุนั้นก็พึงข่มอัญเดียรถีย์ปริพาชกทั้งหลายได้
อย่างแนบเนียน โดยชอบธรรมอย่างนี้เหมือนวัชชิยมาหิตคหบดีข่มได้แล้ว”
วัชชิยมาหิตสูตรที่ ๔ จบ

๕. อุตติยสูตร
ว่าด้วยอุตติยปริพาชกทูลถามพระผู้มีพระภาค
[๙๕] ครั้งนั้นแล อุตติยปริพาชกเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้
สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจพอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วจึงนั่ง ณ ที่สมควร ได้
ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า “ท่านพระโคดม โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง
หรือหนอ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อุตติยะ ข้อว่า ‘โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่าง
อื่นไม่จริง’ นี้เราไม่ตอบ”
“ท่านพระโคดม โลกไม่เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริงหรือ”
“อุตติยะ แม้ข้อว่า ‘โลกไม่เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ นี้เราก็ไม่ตอบ”
“ท่านพระโคดม โลกมีที่สุด ... โลกไม่มีที่สุด ... ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน...
ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน ... หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก ... หลังจากตาย
แล้วตถาคตไม่เกิดอีก ... หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มี ไม่เกิดอีกก็มี ... หลังจาก
ตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็ไม่ใช่ ไม่เกิดอีกก็ไม่ใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริงหรือ๑”
“อุตติยะ แม้ข้อว่า ‘โลกมีที่สุด ... โลกไม่มีที่สุด ... ชีวะกับสรีระเป็นอย่าง
เดียวกัน ... ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน ... หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก ...
หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก ... หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มี ไม่เกิดอีก

เชิงอรรถ :
๑ เทียบดูเนื้อความนี้พร้อมทั้งเชิงอรรถในข้อ ๙๓ (กิงทิฏฐิกสูตร) หน้า ๒๑๗ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๕. อุปาสกวรรค ๕. อุตติยสูตร
ก็มี ... หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็ไม่ใช่ ไม่เกิดอีกก็ไม่ใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น
ไม่จริง’ นี้เราก็ไม่ตอบ”
“ท่านถูกข้าพเจ้าถามว่า ‘ท่านพระโคดม โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่
จริงหรือหนอ’ ก็กล่าวว่า ‘อุตติยะ ข้อว่า ‘โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
นี้เราไม่ตอบ’
เมื่อถูกถามว่า ‘ท่านพระโคดม โลกไม่เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่
จริงหรือ’ ก็กล่าวว่า ‘อุตติยะ แม้ข้อว่า ‘โลกไม่เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
นี้เราก็ไม่ตอบ’
เมื่อถูกถามว่า ‘ท่านพระโคดม โลกมีที่สุด ... โลกไม่มีที่สุด ... ชีวะกับสรีระ
เป็นอย่างเดียวกัน ... ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน ... หลังจากตายแล้วตถาคต
เกิดอีก ... หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก ... หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มี
ไม่เกิดอีกก็มี ... หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็ไม่ใช่ ไม่เกิดอีกก็ไม่ใช่ นี้เท่านั้นจริง
อย่างอื่นไม่จริงหรือ’ ก็กล่าวว่า ‘อุตติยะ แม้ข้อว่า ‘โลกมีที่สุด ... โลกไม่มีที่สุด ...
ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน ... ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน ... หลังจากตาย
แล้วตถาคตเกิดอีก ... หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก ... หลังจากตายแล้ว
ตถาคตเกิดอีกก็มี ไม่เกิดอีกก็มี ... หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็ไม่ใช่ ไม่เกิดอีก
ก็ไม่ใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ นี้เราก็ไม่ตอบ’ ท่านพระโคดมจะตอบใน
ทางไหน”
“อุตติยะ เราแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความหมดจด
แห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงโสกะ และปริเทวะ เพื่อดับทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุ
ญายธรรม เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง”
“ข้อที่ท่านพระโคดมได้ทรงแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อ
ความหมดจดแห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงโสกะและปริเทวะ เพื่อดับทุกข์และ
โทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำนิพพานให้แจ้งนั้น ก็จักเป็นเหตุให้สัตว์โลก
ทั้งหมดหรือกึ่งหนึ่ง หรือสามส่วนออกไปจากทุกข์ได้หรือ”
เมื่ออุตติยปริพาชกทูลถามอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ทรงนิ่งเสีย


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๒๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๕. อุปาสกวรรค ๕. อุตติยสูตร
ลำดับนั้นแล ท่านพระอานนท์มีความคิดอย่างนี้ว่า “อุตติยปริพาชกอย่าได้มี
มิจฉาทิฏฐิอย่างนี้เลยว่า ‘พระสมณโคดมถูกเราถามปัญหาเฉพาะหน้าทั้งหมด ย่อม
เลี่ยง ไม่ทรงวิสัชนา หรือไม่สามารถวิสัชนาแน่นอน’ เพราะมิจฉาทิฏฐินั้น จะพึง
เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ตลอดกาลนานแก่เธอ”
ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์จึงกล่าวกับอุตติยปริพาชกว่า “อุตติยะผู้มีอายุ
ถ้าเช่นนั้น เราจักอุปมาแก่ท่าน บุคคลผู้รู้บางพวกในโลกนี้ ย่อมรู้อรรถแห่งภาษิตได้
ด้วยอุปมา เปรียบเหมือนนครของพระราชาที่ตั้งอยู่ชายแดน นครนั้นมีป้อมมั่นคง
มีกำแพงและประตูมั่นคง มีประตูเดียว นายประตูในนครนั้น เป็นบัณฑิต ฉลาด
มีปัญญา ห้ามคนที่ไม่รู้จัก ให้คนที่รู้จักเข้าไปได้ เขาเดินเลียบไปตามทางเลียบ
กำแพงโดยรอบนครนั้น ไม่เห็นที่ต่อกำแพงหรือช่องกำแพงโดยที่สุดแม้เพียงช่องที่แมว
ออกได้ และเขาก็ไม่มีความรู้อย่างนี้ว่า ‘สัตว์มีจำนวนเท่านี้เข้ามายังนครนี้ หรือออก
ไปจากนครนี้’ โดยที่แท้ เขามีความรู้ในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘สัตว์ใหญ่ ๆ บางเหล่า
ที่เข้ามายังนครนี้ หรือออกไปจากนครนี้ทั้งหมด เข้ามาหรือออกไปทางประตูนี้’ แม้ฉันใด
พระตถาคตก็ฉันนั้นเหมือนกันแล มิได้ทรงมีความขวนขวายอย่างนี้ว่า ‘สัตว์โลก
ทั้งหมด หรือกึ่งหนึ่ง หรือสามส่วนจักออกจากทุกข์ได้’ โดยที่แท้ พระตถาคตทรงมี
พระญาณในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘สัตว์เหล่าใดเหล่าหนึ่งที่ออกไปแล้ว กำลังออกไป
หรือจักออกไปจากโลก สัตว์เหล่านั้นทั้งหมดละนิวรณ์ ๕ ประการที่เป็นเครื่องเศร้า
หมองแห่งใจ เป็นเครื่องทอนกำลังปัญญา เป็นผู้มีจิตตั้งมั่นดีในสติปัฏฐาน ๔ เจริญ
โพชฌงค์ ๗ ตามความเป็นจริงแล้วจึงออกไป กำลังออกไป หรือจักออกไปจากโลก
อย่างนี้’ ท่านอุตติยะ ก็เพราะท่านได้ทูลถามปัญหานั้นกับพระผู้มีพระภาคด้วยเหตุ
อย่างอื่น ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคจึงไม่ทรงตอบปัญหานั้นแก่ท่าน”
อุตติยสูตรที่ ๕ จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๕. อุปาสกวรรค ๖. โกกนุทสูตร
๖. โกกนุทสูตร
ว่าด้วยโกกนุทปริพาชกถามพระอานนท์
[๙๖] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ ตโปทาราม เขตกรุงราชคฤห์
ได้ลุกขึ้นในเวลาใกล้รุ่ง เข้าไปยังแม่น้ำตโปทาเพื่อเอาน้ำลูบตัว เสร็จแล้วกลับขึ้นมา
ครองผ้าผืนเดียว ยืนผึ่งตัวอยู่ แม้โกกนุทปริพาชกก็ลุกขึ้นในเวลาใกล้รุ่ง ได้ไปยัง
แม่น้ำตโปทาเพื่อเอาน้ำลูบตัว เห็นท่านพระอานนท์เดินมาแต่ที่ไกลจึงถามว่า “ท่าน
เป็นใคร อยู่ที่นี้”
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “ผู้มีอายุ เราเป็นภิกษุ”
“เป็นภิกษุพวกไหน”
“พวกสมณศากยบุตร”
“หากท่านจะให้โอกาสแก้ปัญหา ข้าพเจ้าจะขอถามข้อข้องใจบางอย่างกับท่าน”
“เชิญถามเถิด เราฟังแล้วจักแก้”
“ท่านมีทิฏฐิ๑อย่างนี้หรือว่า ‘โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง”
“ผู้มีอายุ เรามิได้มีทิฏฐิอย่างนั้นเลย ว่า ‘โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง”
“ท่านมีทิฏฐิอย่างนี้หรือว่า ‘โลกไม่เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง”
“เรามิได้มีทิฏฐิอย่างนั้นเลยว่า ‘โลกไม่เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง”
“ท่านมีทิฏฐิอย่างนี้หรือว่า ‘โลกมีที่สุด ... โลกไม่มีที่สุด ... ชีวะกับสรีระเป็น
อย่างเดียวกัน ... ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน ... หลังจากตายแล้วตถาคตเกิด
อีก... หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก ... หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มี ไม่
เกิดอีก ก็มี ... หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็ไม่ใช่ ไม่เกิดอีกก็ไม่ใช่ นี้เท่านั้นจริง
อย่างอื่นไม่จริง”
“ผู้มีอายุ เรามิได้มีทิฏฐิอย่างนั้นเลยว่า ‘โลกมีที่สุด ... โลกไม่มีที่สุด ... ชีวะกับ
สรีระเป็นอย่างเดียวกัน ... ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน ... หลังจากตายแล้ว

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๙๓ (กิงทิฏฐิกสูตร) หน้า ๒๑๖ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๕. อุปาสกวรรค ๖. โกกนุทสูตร
ตถาคตเกิดอีก ... หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก ... หลังจากตายแล้วตถาคต
เกิดอีกก็มี ไม่เกิดอีกก็มี ... หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็ไม่ใช่ ไม่เกิดอีกก็ไม่ใช่
นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง”
“ถ้าเช่นนั้น ท่านก็ไม่รู้ ไม่เห็นละซิ”
“ผู้มีอายุ เราไม่รู้ ไม่เห็น ก็หามิได้ เรารู้อยู่ เห็นอยู่”
“ท่านเมื่อถูกข้าพเจ้าถามว่า ‘ท่านมีทิฏฐิอย่างนี้หรือว่า ‘โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง
อย่างอื่นไม่จริง’ ก็กล่าวว่า ‘ผู้มีอายุ เรามิได้มีทิฏฐิอย่างนั้นเลยว่า ‘โลกเที่ยง นี้
เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง”
เมื่อถูกถามว่า ‘ท่านมีทิฏฐิอย่างนี้หรือว่า ‘โลกไม่เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น
ไม่จริง’ ก็กล่าวว่า ‘ผู้มีอายุ เรามิได้มีทิฏฐิอย่างนั้นเลยว่า ‘โลกไม่เที่ยง นี้เท่านั้นจริง
อย่างอื่นไม่จริง’
เมื่อถูกถามว่า ‘ท่านมีทิฏฐิอย่างนี้หรือว่า ‘โลกมีที่สุด ... โลกไม่มีที่สุด ... ชีวะ
กับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน ... ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน ... หลังจากตายแล้ว
ตถาคตเกิดอีก ... หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก ... หลังจากตายแล้วตถาคต
เกิดอีกก็มี ไม่เกิดอีกก็มี ... หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็ไม่ใช่ ไม่เกิดอีกก็ไม่ใช่
นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ก็กล่าวว่า ‘ผู้มีอายุ เรามิได้มีทิฏฐิอย่างนั้นเลย
‘โลกมีที่สุด ... โลกไม่มีที่สุด ... ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน ... ชีวะกับสรีระเป็นคน
ละอย่างกัน ... หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก ... หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก
... หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มี ไม่เกิดอีกก็มี ... หลังจากตายแล้วตถาคตเกิด
อีกก็ไม่ใช่ ไม่เกิดอีกก็ไม่ใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
เมื่อถูกถามว่า ‘ถ้าอย่างนั้น ท่านก็ไม่รู้ไม่เห็นละซิ’ ก็กล่าวว่า ‘ผู้มีอายุ เราไม่รู้
ไม่เห็น ก็หามิได้ เรารู้อยู่ เห็นอยู่’ ผู้มีอายุ ก็เนื้อความแห่งภาษิตนี้ จะพึงเข้าใจได้
อย่างไร”
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “ผู้มีอายุ ข้อว่า ‘โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น
ไม่จริง’ นี้เป็นทิฏฐิอย่างหนึ่ง ข้อว่า ‘โลกไม่เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ นี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๕. อุปาสกวรรค ๖. โกกนุทสูตร
เป็นทิฏฐิอย่างหนึ่ง ข้อว่า ‘โลกมีที่สุด ... โลกไม่มีที่สุด ... ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน
... ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน ... หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก ... หลังจาก
ตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก ... หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มี ไม่เกิดอีกก็มี ...
หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็ไม่ใช่ ไม่เกิดอีกก็ไม่ใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
นี้เป็นทิฏฐิอย่างหนึ่ง ผู้มีอายุ ทิฏฐิ๑ มูลเหตุแห่งทิฏฐิ๒ ทิฏฐิที่ยึดมั่น๓ ทิฏฐิที่กลุ้มรุม๔
ความเพิกถอนทิฏฐิ๕ มีประมาณเท่าใด เรารู้ เราเห็นทิฏฐิเป็นต้นนั้นประมาณเท่านั้น
เรารู้ทิฏฐิเป็นต้นนั้นจึงกล่าวว่า ‘รู้อยู่’ เราเห็นทิฏฐิเป็นต้นนั้นจึงกล่าวว่า ‘เห็นอยู่’
เราจะกล่าวว่า ‘ไม่รู้ ไม่เห็น’ ได้อย่างไร ผู้มีอายุ เรารู้อยู่ เห็นอยู่”
“ท่านชื่ออะไร และเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายเรียกท่านว่าอย่างไร”
“ผู้มีอายุ เราชื่อ ‘อานนท์’ และเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายก็เรียกเราว่า ‘อานนท์’
“ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าสนทนาอยู่กับอาจารย์ใหญ่ แต่ไม่รู้เลยว่าเป็น ‘ท่าน
อานนท์’ ถ้าข้าพเจ้าจะพึงรู้ว่า ‘ท่านผู้นี้คือท่านอานนท์’ ข้าพเจ้าก็จะไม่กล่าวตอบโต้
ถึงเพียงนี้ ขอท่านอานนท์จงยกโทษให้ข้าพเจ้าเถิด”
โกกนุทสูตรที่ ๖ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ทิฏฐิ ในที่นี้หมายถึงทิฏฐิ ๖๒ ประการ (องฺ.ทสก.อ. ๓/๙๖/๓๖๙)
๒ มูลเหตุแห่งทิฏฐิ ในที่นี้หมายถึงมูลเหตุทิฏฐิ ๘ ประการ คือ ขันธ์ อวิชชา ผัสสะ สัญญา วิตก อโยนิโส
มนสิการ ปาปมิตร และปรโตโฆสะ(การฟังอสัทธรรมจากผู้อื่น) (องฺ.ทสก.อ. ๓/๙๖/๓๖๙)
๓ ทิฏฐิที่ยึดมั่น นี้เป็นชื่อของทิฏฐิที่ครอบงำสัตว์ (องฺ.ทสก.อ. ๓/๙๖/๓๖๙)
๔ ทิฏฐิที่กลุ้มรุม ในที่นี้หมายถึงทิฏฐิ ๑๘ ประการ คือ (๑) ทิฏฐิ(ความเห็นที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง)
(๒) การตกอยู่ในทิฏฐิ (๓) ความรกชัฏคือทิฏฐิ (๔) ความกันดารคือทิฏฐิ (๕) เสี้ยนหนามคือทิฏฐิ
(๖) ความดิ้นรนคือทิฏฐิ (๗) เครื่องผูกคือทิฏฐิ (๘) ลูกศรคือทิฏฐิ (๙) ความคับแค้นคือทิฏฐิ (๑๐)
ความกังวลคือทิฏฐิ (๑๑) เครื่องจองจำคือทิฏฐิ (๑๒) เหวคือทิฏฐิ (๑๓) อนุสัยคือทิฏฐิ (๑๔) ความ
เดือดร้อนคือทิฏฐิ (๑๕) ความเร่าร้อนคือทิฏฐิ (๑๖) เครื่องร้อยรัดคือทิฏฐิ (๑๗) อุปาทานคือทิฏฐิ, ความ
ยึดมั่นคือทิฏฐิ (๑๘) ความยึดมั่นถือมั่นคือทิฏฐิ (องฺ.ทสก.อ. ๓/๙๖/๓๖๙, ขุ.ป.อ. ๑๒๗-๑๒๘/๕๓) และ
ดู ขุ.ป. ๒๙/๑๒/๔๐
๕ ความเพิกถอนทิฏฐิ ในที่นี้หมายถึงโสดาปัตติมรรค ที่ชื่อว่า ทิฏฐิสมุคฆาตะ เพราะถอนทิฏฐิได้ทั้งหมด
(องฺ.ทสก.อ. ๓/๙๖/๓๖๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๕. อุปาสกวรรค ๗. อาหุเนยยสูตร
๗. อาหุเนยยสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย
[๙๗] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ควรแก่
ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี
เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วยอาจาระ
และโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขา-
บททั้งหลาย
๒. เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ฟังมากซึ่งธรรมทั้งหลายที่มี
ความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง มีความงามในที่สุด
ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบ
ถ้วน ทรงจำไว้ได้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ
๓. เป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี
๔. เป็นสัมมาทิฏฐิ ประกอบด้วยความเห็นชอบ
๕. แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้ หลายคน
แสดงเป็นคนเดียวก็ได้ แสดงให้ปรากฏหรือให้หายไปก็ได้ ทะลุฝา กำแพง
และภูเขา ไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นหรือดำลงในแผ่น
ดินเหมือนไปในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำโดยที่น้ำไม่แยกเหมือนเดินบนแผ่นดิน
ก็ได้ นั่งขัดสมาธิเหาะไปในอากาศเหมือนนกบินไปก็ได้ ใช้ฝ่ามือลูบคลำ
ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์อันมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากก็ได้ ใช้อำนาจ
ทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้
๖. ได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้
ด้วยหูทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๕. อุปาสกวรรค ๗. อาหุเนยยสูตร
๗. กำหนดรู้จิตของสัตว์และบุคคลอื่นได้ด้วยจิตของตน คือ จิตมีราคะก็รู้ว่า
มีราคะ หรือปราศจากราคะก็รู้ว่าปราศจากราคะ จิตมีโทสะ ... หรือ
ปราศจากโทสะ ... จิตมีโมหะ ... หรือปราศจากโมหะ ... จิตหดหู่ ... หรือ
ฟุ้งซ่าน ... จิตเป็นมหัคคตะ๑ ... หรือไม่เป็นมหัคคตะ ... จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า
... หรือไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ... จิตเป็นสมาธิ ... หรือไม่เป็นสมาธิ ... จิต
หลุดพ้น ... หรือไม่หลุดพ้นก็รู้ว่าไม่หลุดพ้น
๘. ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ๓ ชาติบ้าง
๔ ชาติบ้าง ๕ ชาติบ้าง ๑๐ ชาติบ้าง ๒๐ ชาติบ้าง ๓๐ ชาติบ้าง ๔๐
ชาติบ้าง ๕๐ ชาติบ้าง ๑๐๐ ชาติบ้าง ๑,๐๐๐ ชาติบ้าง ๑๐๐,๐๐๐
ชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอัน
มากบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า ‘ในภพโน้น
เรามีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุ
อย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้นก็ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็มีชื่อ
อย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์และมีอายุอย่างนั้น ๆ
จุติจากภพนั้นแล้วจึงมาเกิดในภพนี้’ ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อม
ทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้
๙. เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม เกิด
ดีและเกิดไม่ดีด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดหมู่สัตว์ผู้เป็นไป
ตามกรรมว่า ‘หมู่สัตว์ที่ประกอบกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต
กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นผิดและชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตาม
ความเห็นผิด พวกเขาหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต
นรก แต่หมู่สัตว์ที่ประกอบกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต ไม่กล่าว
ร้ายพระอริยะ มีความเห็นชอบและชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความ
เห็นชอบ พวกเขาหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์’ เห็นหมู่

เชิงอรรถ :
๑ มหัคคตะ แปลว่า ถึงความเป็นใหญ่ หมายถึงรูปาวจรกุศลจิต และอรูปาวจรกุศลจิต (ขุ.ป.อ. ๑/๑๐๔/๓๖๖)
และดูอภิธรรมปิฎก แปล เล่ม ๓๔ ข้อ ๑๖๐-๒๖๘ หน้า ๕๗-๘๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๕. อุปาสกวรรค ๘. เถรสูตร
สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิดทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและ
เกิดไม่ดีด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตาม
กรรมอย่างนี้แล
๑๐. ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไป
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล จึงเป็นผู้ควรแก่ของ
ที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนา
บุญอันยอดเยี่ยมของโลก
อาหุเนยยสูตรที่ ๗ จบ

๘. เถรสูตร
ว่าด้วยคุณธรรมของพระเถระ
[๙๘] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเถระประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ จะอยู่ใน
ทิศใด ๆ ย่อมอยู่สำราญโดยแท้
ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุเถระ
๑. เป็นรัตตัญญู๑ บวชมานาน
๒. เป็นผู้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
๓. เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ฟังมากซึ่งธรรมทั้งหลายที่มี
ความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง มีความงามในที่สุด
ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์
ครบถ้วน ทรงจำไว้ได้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ
๔. ทรงจำปาติโมกข์ทั้งสองได้๒ดี จำแนกได้ดี ให้เป็นไปได้ดีโดยพิสดาร
วินิจฉัยได้ดีโดยสูตร โดยอนุพยัญชนะ

เชิงอรรถ :
๑ รัตตัญญู ในที่นี้หมายถึงรู้ราตรีนาน คือ บวช รู้แจ้งธรรม และเป็นพระขีณาสพ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๑๘๘/๑๒๒)
๒ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๓๓ (อุพพหิกาสูตร) หน้า ๘๔ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๕. อุปาสกวรรค ๙. อุปาลิสูตร
๕. เป็นผู้ฉลาดในการระงับอธิกรณ์ที่เกิดขึ้น
๖. เป็นผู้ใคร่ธรรม เป็นผู้ฟังและแสดงธรรมเป็นที่พอใจ มีปราโมทย์อย่างยิ่ง
ในอภิธรรม และอภิวินัย
๗. เป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชช-
บริขารตามแต่จะได้
๘. เป็นผู้น่าเลื่อมใสในการก้าวไปและถอยกลับ เป็นผู้สำรวมดีในการนั่งใน
ละแวกบ้าน
๙. เป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่งซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันตาม
ความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
๑๐. ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไป
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเถระประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล จะอยู่ในทิศใด ๆ
ย่อมอยู่สำราญโดยแท้
เถรสูตรที่ ๘ จบ

๙. อุปาลิสูตร
ว่าด้วยพระอุบาลีขออนุญาตอยู่ป่า
[๙๙] ครั้งนั้น ท่านพระอุบาลีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ปรารถนาจะอาศัยเสนาสนะอันเงียบสงัด
คือป่าโปร่งและป่าทึบอยู่๑”

เชิงอรรถ :
๑ ป่าโปร่ง หมายถึงป่าอยู่นอกเสาหลักเขตเมืองออกไปอย่างน้อยชั่ว ๕๐๐ ธนู
ป่าทึบ หมายถึงที่ไม่มีคนอยู่อาศัยเลยเขตหมู่บ้านไป (องฺ.ทุก.อ. ๒/๓๑/๓๐, องฺ.ทสก.อ. ๓/๙๙/๓๗๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๓๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๕. อุปาสกวรรค ๙. อุปาลิสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี เสนาสนะอันเงียบสงัดคือป่าโปร่งและป่าทึบ
อยู่ลำบาก ทำวิเวก๑ได้ยาก ในการอยู่โดดเดี่ยวก็อภิรมย์ได้ยาก ป่าทั้งหลายเห็นจะ
ชักนำจิตของภิกษุผู้ยังไม่ได้สมาธิ๒ให้หวาดหวั่น อุบาลี ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เรา
ยังไม่ได้สมาธิ จักอาศัยเสนาสนะอันเงียบสงัดคือป่าโปร่งและป่าทึบอยู่’ ผู้นั้นพึงหวัง
ข้อนี้ได้ว่า ‘จักจมลง๓หรือจักฟุ้งซ่าน๔’
เปรียบเหมือนมีห้วงน้ำใหญ่ ถ้ามีช้างใหญ่สูง ๗ ศอก หรือ ๗ ศอกครึ่งมาถึงเข้า
ช้างนั้นพึงคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรจะลงสู่ห้วงน้ำนี้แล้วล้างหูเล่นบ้าง ล้างหลัง
เล่นบ้าง อาบ ดื่ม ขึ้นมาแล้วหลีกไปตามปรารถนา’ ช้างนั้นลงสู่ห้วงน้ำนั้นแล้ว
พึงล้างหูเล่นบ้าง ล้างหลังเล่นบ้าง อาบ ดื่ม ขึ้นมาแล้วหลีกไปตามปรารถนา
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะช้างนั้นมีร่างกายใหญ่ จึงต้องลงน้ำลึก
ครั้นกระต่ายหรือเสือปลามาถึงห้วงน้ำนั้นเข้า กระต่ายหรือเสือปลานั้นพึงคิด
อย่างนี้ว่า ‘เราเป็นอะไรและช้างใหญ่เป็นอะไร ทางที่ดี เราควรจะลงสู่ห้วงน้ำนี้แล้ว
ล้างหูเล่นบ้าง ล้างหลังเล่นบ้าง อาบ ดื่ม ขึ้นมาแล้วหลีกไปตามปรารถนา’ กระต่าย
หรือเสือปลานั้นลงสู่ห้วงน้ำนั้นโดยฉับพลัน ไม่ทันได้พิจารณา จำต้องหวังข้อนี้ได้ว่า
‘จักจมลงหรือจักลอยขึ้น’ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะกระต่ายหรือเสือปลานั้น มีร่าง
กายเล็ก ลงในห้วงน้ำลึกไม่ได้ ฉันใด
ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เราเมื่อยังไม่ได้สมาธิ จักอาศัยเสนาสนะอันเงียบสงัด
คือป่าโปร่งและป่าทึบอยู่ ผู้นั้นจำต้องหวังข้อนี้ได้ว่า ‘จักจมลงหรือจักฟุ้งซ่าน’ ฉันนั้น
เหมือนกัน
เปรียบเหมือนเด็กอ่อนยังนอนหงาย เล่นมูตรและคูถของตน เธอเข้าใจเรื่องนั้น
อย่างไร การเล่นนี้เป็นการเล่นของเด็กอ่อนโดยทั่วไปหรือ”
พระอุบาลีกราบทูลว่า “อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”

เชิงอรรถ :
๑ วิเวก ในที่นี้หมายถึงกายวิเวก(สงัดกาย) (องฺ.ทสก.อ. ๓/๙๙/๓๗๐)
๒ สมาธิ ในที่นี้หมายถึงอุปจารสมาธิ หรืออัปปนาสมาธิ (องฺ.ทสก.อ. ๓/๙๙/๓๗๐)
๓ จมลง หมายถึงจมลงเพราะกามวิตก (องฺ.ทสก.อ. ๓/๙๙/๓๗๐)
๔ ฟุ้งซ่าน หมายถึงฟุ้งซ่านเพราะพยาบาทวิตกและวิหิงสาวิตก (องฺ.ทสก.อ. ๓/๙๙/๓๗๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๕. อุปาสกวรรค ๙. อุปาลิสูตร
“อุบาลี สมัยต่อมา เด็กคนนั้นเองเจริญเติบโตขึ้น มีอินทรีย์แก่กล้าขึ้น เล่น
เครื่องเล่นสำหรับเด็ก คือเล่นไถน้อย ๆ เล่นตีไม้หึ่ง เล่นกังหันไม้ เล่นกังหันใบไม้
เล่นตวงทราย เล่นรถน้อย ๆ เล่นธนูน้อย ๆ เธอเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร การเล่นนี้
ยิ่งกว่า ประณีตกว่าการเล่นที่มีมาก่อนหรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“อุบาลี สมัยต่อมา เด็กคนนั้นเองเจริญเติบโตขึ้นอีก มีอินทรีย์แก่กล้าเต็มที่
อิ่มเอิบพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ บำเรอตนอยู่ด้วยรูปที่พึงรู้แจ้งทางตา อันน่า
ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ ชวนใจให้กำหนัด ด้วยเสียงที่พึงรู้
แจ้งทางหู ... ด้วยกลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ... ด้วยรสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ... ด้วย
โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่
ชวนใจให้กำหนัด เธอเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร การเล่นนี้ยิ่งกว่า ประณีตกว่าการเล่นที่
มีมาก่อนหรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“อุบาลี ตถาคตอุบัติขึ้นมาในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยตนเองโดยชอบ
เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอด
เยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า๑ เป็นพระผู้มี
พระภาค๒ ตถาคตรู้แจ้งโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์
พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ด้วยตนเองแล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม
แสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น๓ มีความงามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด
ประกาศ พรหมจรรย์๔พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์๕ครบถ้วน”

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๑๑ (เสนาสนสูตร) หน้า ๑๗ ในเล่มนี้
๒ ดูเชิงอรรถที่ ๓ ข้อ ๑๑ (เสนาสนสูตร) หน้า ๑๗ ในเล่มนี้
๓ มีความงามในเบื้องต้น หมายถึงศีล มีความงามในท่ามกลาง หมายถึงอริยมรรค มีความงามในที่สุด
หมายถึงพระนิพพาน (ที.สี.อ. ๑๙๐/๑๕๙)
๔ พรหมจรรย์ หมายถึงความประพฤติประเสริฐ มีนัย ๑๐ ประการ คือ ทาน (การให้) ไวยาวัจจะ (การ
ขวนขวายช่วยเหลือ) ปัญจสีละ (ศีลห้า) อัปปมัญญา (การประพฤติพรหมวิหารอย่างไม่มีขอบเขต) เมถุน-
วิรัติ (การงดเว้นจากการเสพเมถุน) สทารสันโดษ (ความยินดีเฉพาะคู่ครองของตน) วิริยะ (ความเพียร
อุโปสถังคะ (องค์อุโบสถ) อริยมรรค (ทางอันประเสริฐ) และศาสนา (พระพุทธศาสนา) ในที่นี้หมายถึงศาสนา
(ที.สี.อ. ๑๙๐/๑๖๐-๑๖๒)
๕ บริสุทธิ์ หมายถึงไม่มีสิ่งเป็นโทษที่จะต้องนำออก บริบูรณ์ หมายถึงเต็มที่แล้ว โดยไม่ต้องนำไปเพิ่มอีก
(ตามนัย วิ.อ. ๑/๑/๑๒๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๕. อุปาสกวรรค ๙. อุปาลิสูตร
คหบดี หรือบุตรคหบดีผู้เกิดภายหลังในตระกูลใดตระกูลหนึ่ง ฟังธรรมนั้นแล้ว
ได้ศรัทธาในตถาคต ได้ศรัทธาแล้วพิจารณาเห็นว่า ‘ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมา
แห่งธุลี บรรพชาปลอดโปร่ง การที่บุคคลผู้อยู่ครองเรือน จะประพฤติพรหมจรรย์ให้
บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วนดุจสังข์ที่ขัดแล้วนี้ มิใช่ทำได้ง่าย ทางที่ดี เราควรจะ
ปลงผม และหนวด ครองผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต’
สมัยต่อมา เขาได้ละกองโภคทรัพย์น้อยใหญ่ เครือญาติน้อยใหญ่แล้ว ปลงผม
และหนวด ครองผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
เมื่อบวชแล้ว เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสิกขาและสาชีพ๑เสมอด้วยภิกษุทั้งหลาย
ละเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑาวุธ และศัสตราวุธ มีความละอาย มีความ
เอ็นดู มุ่งหวังประโยชน์เกื้อกูลต่อสรรพสัตว์อยู่
เป็นผู้ละเว้นขาดจากการลักทรัพย์ คือ รับเอาแต่ของที่เขาให้ มุ่งหวังแต่ของที่
เขาให้ ไม่เป็นขโมย เป็นคนสะอาดอยู่
เป็นผู้ละพฤติกรรมอันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์ ประพฤติพรหมจรรย์ เว้นห่าง
ไกลจากเมถุนธรรมอันเป็นกิจของชาวบ้าน
เป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดเท็จ คือ พูดแต่คำสัตย์ ดำรงคำสัตย์ มีถ้อยคำ
เป็นหลัก เชื่อถือได้ ไม่หลอกลวงชาวโลก
เป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดส่อเสียด คือ ฟังความจากฝ่ายนี้แล้วไม่ไปบอก
ฝ่ายโน้นเพื่อทำลายฝ่ายนี้ หรือฟังความฝ่ายโน้นแล้วไม่มาบอกฝ่ายนี้เพื่อทำลาย
ฝ่ายโน้น สมานคนที่แตกกัน ส่งเสริมคนที่ปรองดองกัน ชื่นชมยินดีเพลิดเพลินต่อผู้
ที่สามัคคีกัน พูดแต่ถ้อยคำที่สร้างสรรค์ความสามัคคี
เป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดคำหยาบ คือ กล่าวแต่คำที่ไม่มีโทษ ไพเราะ น่ารัก
จับใจ เป็นคำของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่พอใจ
เป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ คือ พูดถูกเวลา พูดคำจริง พูดอิงประโยชน์
พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดคำที่มีหลักฐาน มีที่อ้างอิง มีที่กำหนด ประกอบด้วย
ประโยชน์เหมาะแก่เวลา

เชิงอรรถ :
๑ สิกขา หมายถึงไตรสิกขา คือ อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา สาชีพ หมายถึงสิกขาบท
ที่พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ ดูวินัยปิฎกแปล เล่มที่ ๑ หน้า ๓๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๕. อุปาสกวรรค ๙. อุปาลิสูตร
ภิกษุนั้นเป็นผู้เว้นขาดจากการพรากพีชคามและภูตคาม ฉันมื้อเดียว ไม่ฉัน
ตอนกลางคืน เว้นขาดจากการฉันในเวลาวิกาล๑ เว้นขาดจากการฟ้อนรำ ขับร้อง
ประโคมดนตรี และดูการละเล่นที่เป็นข้าศึกแก่กุศล เว้นขาดจากการทัดทรง ประดับ
ตกแต่งร่างกายด้วยพวงดอกไม้ ของหอม และเครื่องประทินผิวอันเป็นลักษณะแห่ง
การแต่งตัว เว้นขาดจากที่นอนสูงใหญ่ เว้นขาดจากการรับทองและเงิน เว้นขาด
จากการรับธัญญาหารดิบ๒ เว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ เว้นขาดจากการรับสตรีและ
กุมารี เว้นขาดจากการรับทาสหญิงและทาสชาย เว้นขาดจากการรับแพะและแกะ
เว้นขาดจากการรับไก่และสุกร เว้นขาดจากการรับช้าง โค ม้า และลา เว้นขาดจาก
การรับเรือกสวนไร่นาและที่ดิน เว้นขาดจากการรับทำหน้าที่เป็นตัวแทนและผู้สื่อสาร
เว้นขาดจากการซื้อขาย เว้นขาดจากการโกงด้วยตาชั่ง ด้วยของปลอม และด้วย
เครื่องตวงวัด เว้นขาดจากการรับสินบน การล่อลวง และการตลบแตลง เว้นขาด
จากการตัด(อวัยวะ) การฆ่า การจองจำ การตีชิง การปล้น และการขู่กรรโชก
ภิกษุนั้นเป็นผู้สันโดษด้วยจีวรพอคุ้มร่างกาย และบิณฑบาตพออิ่มท้อง จะไป
ณ ที่ใด ๆ ก็ไปได้ทันทีเหมือนนกบินไป ณ ที่ใด ๆ ก็มีแต่ปีกเป็นภาระ ภิกษุนั้นผู้
ประกอบด้วยอริยสีลขันธ์อย่างนี้ ชื่อว่าเสวยสุขอันไม่มีโทษภายใน
ภิกษุนั้นเห็นรูปทางตาแล้วไม่รวบถือ๓ ไม่แยกถือ๔ ปฏิบัติเพื่อสำรวมในจักขุนทรีย์
ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้ว ก็จะเป็นเหตุให้บาปอกุศลธรรมคืออภิชฌา(ความเพ่งเล็งอยาก

เชิงอรรถ :
๑ เวลาวิกาล หมายถึงเวลาที่ห้ามไว้เฉพาะแต่ละเรื่อง ในที่นี้หมายถึงผิดเวลาที่กำหนดไว้ คือตั้งแต่หลังเที่ยง
วันจนถึงเวลาอรุณขึ้น (ที.สี.อ. ๑๐/๗๕)
๒ ธัญญาหารดิบ หมายถึงธัญชาติที่มีเมล็ดมีเปลือกสมบูรณ์พร้อมที่จะงอกได้ (ที.สี.อ. ๑๐/๗๕) ในคัมภีร์
อภิธานัปปทีปิกา ว่ามี ๗ อย่าง คือ (๑) ข้าวไม่มีแกลบ (๒) ข้าวเปลือก (๓) หญ้ากับแก้ (๔) ข้าวละมาน
(๕) ลูกเดือย (๖) ข้าวแดง (๗) ข้าวฟ่าง
๓ รวบถือ หมายถึงมองภาพด้านเดียว คือมองภาพรวมโดยเห็นเป็นหญิงหรือชาย เห็นว่ารูปสวย เสียงไพเราะ
กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสที่อ่อนนุ่ม เป็นอารมณ์ที่น่าปรารถนา ด้วยอำนาจฉันทราคะ (อภิ.สงฺ.อ. ๑๓๕๒/
๔๕๖-๗)
๔ แยกถือ หมายถึงมองภาพ ๒ ด้าน คือมองแยกแยะเป็นส่วน ๆ ไปด้วยอำนาจกิเลส เช่น เห็นมือเท้าว่า
สวยหรือไม่สวย เห็นอาการยิ้มแย้ม หัวเราะ การพูด การเหลียวซ้าย แลขวา ว่าน่ารักหรือไม่น่ารัก ถ้า
เห็นว่าสวยน่ารักก็เกิดอิฏฐารมณ์(อารมณ์ที่น่าปรารถนา) ถ้าเห็นว่าไม่สวย ไม่น่ารัก ก็เกิดอนิฏฐารมณ์
(อารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา) (อภิ.สงฺ.อ. ๑๓๕๒/๔๕๖-๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๕. อุปาสกวรรค ๙. อุปาลิสูตร
ได้ของเขา)และโทมนัส(ความทุกข์ใจ)ครอบงำได้ จึงรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวม
ในจักขุนทรีย์ ฟังเสียงทางหู ... ดมกลิ่นทางจมูก ... ลิ้มรสทางลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะ
ทางกาย ... รู้ธรรมารมณ์ทางใจแล้วไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ปฏิบัติเพื่อสำรวมใน
มนินทรีย์ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้ว ก็จะเป็นเหตุให้ถูกบาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและ
โทมนัสครอบงำได้ จึงรักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ภิกษุนั้นผู้ประกอบ
ด้วยอริยอินทรียสังวรอย่างนี้ จึงชื่อว่าเสวยสุขอันไม่ระคนด้วยกิเลสภายใน
ภิกษุนั้นเป็นผู้ทำความรู้สึกตัวในการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู การ
เหลียวดู การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ บาตรและจีวร การฉัน การดื่ม
การเคี้ยว การลิ้ม การถ่ายอุจจาระปัสสาวะ การเดิน การยืน การนั่ง การนอน
การตื่น การพูด การนิ่ง
ภิกษุนั้นประกอบด้วยอริยสีลขันธ์ อริยอินทรียสังวร และอริยสติสัมปชัญญะ
อย่างนี้แล้ว พักอยู่ ณ เสนาสนะอันเงียบสงัด คือป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ
ป่าช้า ป่าทึบ ที่แจ้ง ลอมฟาง ภิกษุนั้นไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี
ก็นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า
ภิกษุนั้นละอภิชฌาในโลก๑แล้วมีใจปราศจากอภิชฌาอยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์
จากอภิชฌา ละความมุ่งร้ายคือพยาบาท มีจิตไม่พยาบาท มุ่งประโยชน์เกื้อกูล
สรรพสัตว์อยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความมุ่งร้ายคือพยาบาท ละถีนมิทธะ(ความ
หดหู่และเซื่องซึม) ปราศจากถีนมิทธะ กำหนดแสงสว่าง มีสติสัมปชัญญะอยู่ ชำระ
จิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะ ละอุทธัจจกุกกุจจะ(ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ) เป็นผู้ไม่
ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบอยู่ภายใน ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจะกุกกุจจะ ละวิจิกิจฉา
(ความลังเลสงสัย) ข้ามวิจิกิจฉาได้แล้ว ไม่มีวิจิกิจฉาในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่
ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉา

เชิงอรรถ :
๑ โลก ในที่นี้หมายถึงสภาพที่ต้องแตกสลาย กล่าวคืออุปาทานขันธ์ ๕ ได้แก่ ความยึดติดว่า รูป เวทนา สัญญา
สังขาร และวิญญาณ มีตัวตนและเป็นของตนอันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ (ที.สี.อ. ๒๑๗/๑๙๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๓๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๕. อุปาสกวรรค ๙. อุปาลิสูตร
ภิกษุนั้นครั้นละนิวรณ์ ๕ ประการนี้ที่เป็นเครื่องเศร้าหมองใจ เป็นเครื่องทอน
กำลังปัญญาแล้ว สงัดจากกาม และอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มี
วิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ อุบาลี เธอเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร การอยู่นี้
ยิ่งกว่าและประณีตกว่าการอยู่ทั้งหลายที่มีมาก่อนหรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“อุบาลี สาวกทั้งหลายของเราเมื่อพิจารณาเห็นธรรมแม้นี้แลในตน จึงอาศัย
เสนาสนะอันเงียบสงัด คือป่าโปร่งและป่าทึบอยู่ แต่สาวกของเราเหล่านั้นยังไม่บรรลุ
ประโยชน์ของตนก่อน
อีกประการหนึ่ง เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุบรรลุทุติยฌาน ... อยู่
อุบาลี เธอเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร การอยู่นี้ยิ่งกว่า และประณีตกว่าการอยู่ทั้งหลายที่
มีมาก่อนหรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“อุบาลี สาวกทั้งหลายของเราเมื่อพิจารณาเห็นธรรมแม้นี้ในตน จึงอาศัย
เสนาสนะอันเงียบสงัด คือป่าโปร่งและป่าทึบอยู่ แต่สาวกของเราเหล่านั้นยังไม่บรรลุ
ประโยชน์ของตนก่อน
อีกประการหนึ่ง เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวย
สุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌาน ... อยู่ อุบาลี เธอเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร การอยู่นี้
ยิ่งกว่า และประณีตกว่าการอยู่ทั้งหลายที่มีมาก่อนหรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“อุบาลี สาวกทั้งหลายของเราเมื่อพิจารณาเห็นธรรมแม้นี้ในตน จึงอาศัย
เสนาสนะอันเงียบสงัด คือป่าโปร่งและป่าทึบอยู่ แต่สาวกของเราเหล่านั้นยังไม่บรรลุ
ประโยชน์ของตนก่อน
อีกประการหนึ่ง เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน
ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ... อยู่ อุบาลี เธอเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร การอยู่นี้ยิ่งกว่าและ
ประณีตกว่าการอยู่ทั้งหลายที่มีมาก่อนหรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๓๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๕. อุปาสกวรรค ๙. อุปาลิสูตร
“อุบาลี สาวกทั้งหลายของเราเมื่อพิจารณาเห็นธรรมแม้นี้ในตน จึงอาศัย
เสนาสนะอันเงียบสงัด คือป่าโปร่งและป่าทึบอยู่ แต่สาวกของเราเหล่านั้นยังไม่บรรลุ
ประโยชน์ของตนก่อน
อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุอากาสาสนัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘อากาศ
หาที่สุดมิได้’ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญาโดย
ประการทั้งปวง อุบาลี เธอเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร การอยู่นี้ยิ่งกว่าและประณีตกว่า
การอยู่ทั้งหลายที่มีมาก่อนหรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“อุบาลี สาวกทั้งหลายของเราเมื่อพิจารณาเห็นธรรมแม้นี้ในตน จึงอาศัย
เสนาสนะอันเงียบสงัด คือป่าโปร่งและป่าทึบอยู่ แต่สาวกของเราเหล่านั้นยังไม่บรรลุ
ประโยชน์ของตนก่อน
อีกประการหนึ่ง ภิกษุล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวงบรรลุ
วิญญาณัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ อยู่ ... ภิกษุล่วง
วิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวงบรรลุอากิญจัญญายตนฌานโดยกำหนด
ว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ ... ภิกษุล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
เนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘ธรรมชาตินี้สงบ ธรรมชาตินี้ประณีต’
อยู่ อุบาลี เธอเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร การอยู่นี้ยิ่งกว่าและประณีตกว่าการอยู่
ทั้งหลายที่มีมาก่อนหรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“อุบาลี อีกประการหนึ่ง สาวกทั้งหลายของเราเมื่อพิจารณาเห็นธรรมแม้นี้
ในตน จึงอาศัยเสนาสนะอันเงียบสงัดคือป่าโปร่งและป่าทึบอยู่ แต่สาวกของเราเหล่า
นั้นยังไม่บรรลุประโยชน์ของตนก่อน
อีกประการหนึ่ง ภิกษุล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง
บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ และอาสวะทั้งหลายของภิกษุนั้นเป็นอันสิ้นไปแล้ว
เพราะเห็นด้วยปัญญา อุบาลี เธอเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร การอยู่นี้ยิ่งกว่าและประณีต
กว่าการอยู่ทั้งหลายที่มีมาก่อนหรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๓๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๕. อุปาสกวรรค ๑๐. อภัพพสูตร
“อุบาลี สาวกทั้งหลายของเราเมื่อพิจารณาเห็นธรรมแม้นี้ในตน จึงอาศัย
เสนาสนะอันเงียบสงัดคือป่าโปร่งและป่าทึบอยู่ แต่สาวกของเราเหล่านั้นยังไม่บรรลุ
ประโยชน์ของตนก่อน อุบาลี เธอจงอยู่ในสงฆ์เถิด เมื่อเธออยู่ในสงฆ์ ความสำราญ
จักมี๑’
อุปาลิสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. อภัพพสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้ไม่อาจทำให้แจ้งอรหัตตผล
[๑๐๐] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลยังละธรรม ๑๐ ประการนี้ไม่ได้ ก็ไม่อาจทำให้แจ้ง
อรหัตตผลได้
ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ราคะ (ความกำหนัด) ๒. โทสะ (ความคิดประทุษร้าย)
๓. โมหะ (ความหลง) ๔. โกธะ (ความโกรธ)
๕. อุปนาหะ (ความผูกโกรธ) ๖. มักขะ (ความลบหลู่คุณท่าน)
๗. ปฬาสะ (ความตีเสมอ) ๘. อิสสา (ความริษยา)
๙. มัจฉริยะ (ความตระหนี่) ๑๐. มานะ (ความถือตัว)

บุคคลยังละธรรม ๑๐ ประการนี้แลไม่ได้ ก็ไม่อาจทำให้แจ้งอรหัตตผลได้
บุคคลละธรรม ๑๐ ประการนี้ได้แล้ว จึงอาจทำให้แจ้งอรหัตตผลได้
ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ

เชิงอรรถ :
๑ อรรถกถาอธิบายว่า การที่พระผู้มีพระภาคทรงเตือนให้พระอุบาลีอยู่ในท่ามกลางสงฆ์ ไม่ทรงอนุญาตให้
ท่านอยู่ป่า เพราะทรงเห็นว่าการอยู่ป่าจะทำให้ท่านบำเพ็ญวิปัสสนาธุระคือการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน
ได้เพียงด้านเดียว ไม่สามารถบำเพ็ญคันถธุระคือการเรียนพระคัมภีร์ให้สำเร็จได้ แต่การอยู่ในท่ามกลาง
สงฆ์ จะทำให้ท่านบำเพ็ญธุระได้ทั้ง ๒ ด้าน และบรรลุพระอรหัตตผลได้ด้วย ทั้งจักเป็นหัวหน้าในการ
สังคายนาพระวินัยปิฎก (องฺ.ทสก.อ. ๓/๙๙/๓๗๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๕. อุปาสกวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๑. ราคะ ๒. โทสะ
๓. โมหะ ๔. โกธะ
๕. อุปนาหะ ๖. มักขะ
๗. ปฬาสะ ๘. อิสสา
๙. มัจฉริยะ ๑๐. มานะ

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม ๑๐ ประการนี้แลได้แล้ว จึงอาจทำให้แจ้ง
อรหัตตผลได้
อภัพพสูตรที่ ๑๐ จบ
อุปาสกวรรคที่ ๕ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. กามโภคีสูตร ๒. ภยสูตร
๓. กิงทิฏฐิกสูตร ๔. วัชชิยมาหิตสูตร
๕. อุตติยสูตร ๖. โกกนุทสูตร
๗. อาหุเนยยสูตร ๘. เถรสูตร
๙. อุปาลิสูตร ๑๐. อภัพพสูตร

ทุติยปัณณาสก์ จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๔๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๑. สมณสัญญาวรรค ๑. สมณสัญญาสูตร
๓. ตติยปัณณาสก์
๑. สมณสัญญาวรรค
หมวดว่าด้วยสมณสัญญา๑
๑. สมณสัญญาสูตร
ว่าด้วยสมณสัญญา
[๑๐๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย สมณสัญญา ๓ ประการนี้
ที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้วย่อมให้ธรรม ๗ ประการบริบูรณ์
สมณสัญญา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
สมณสัญญาว่า
๑. เรามีเพศต่างจากคฤหัสถ์
๒. ชีวิตของเราเนื่องด้วยผู้อื่น
๓. มารยาทอย่างอื่นที่เราควรทำมีอยู่
สมณสัญญา ๓ ประการนี้แล ที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมให้ธรรม ๗
ประการบริบูรณ์
ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มีปกติทำต่อเนื่อง ประพฤติต่อเนื่องเป็นนิตย์ในศีลทั้งหลาย
๒. เป็นผู้ไม่มีอภิชฌา (ความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา)
๓. เป็นผู้ไม่มีพยาบาท (ความคิดร้าย)
๔. เป็นผู้ไม่มีมานะ (ความถือตัว)
๕. เป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษา

เชิงอรรถ :
๑ สมณสัญญา คือความกำหนดหมายรู้ที่เกิดขึ้นแก่สมณะ (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๐๑/๓๗๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๔๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๑. สมณสัญญาวรรค ๒. โพชฌังคสูตร
๖. เป็นผู้มีการพิจารณาปัจจัยทั้งหลายอันเป็นบริขารแห่งชีวิตว่า ‘ปัจจัย
เหล่านี้มีประโยชน์เช่นนี้’ แล้วจึงบริโภค
๗. เป็นผู้ปรารภความเพียร
ภิกษุทั้งหลาย สมณสัญญา ๓ ประการนี้แล ที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้ว ย่อม
ให้ธรรม ๗ ประการนี้บริบูรณ์
สมณสัญญาสูตรที่ ๑ จบ

๒. โพชฌังคสูตร๑
ว่าด้วยโพชฌงค์
[๑๐๒] ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์(ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้) ๗ ประการนี้
ที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมให้วิชชา ๓ ประการบริบูรณ์
โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความระลึกได้)
๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือการเฟ้นธรรม)
๓. วิริยสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความเพียร)
๔. ปีติสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความอิ่มใจ)
๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์(ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความสงบกายสงบใจ)
๖. สมาธิสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความตั้งจิตมั่น)
๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความมีใจเป็นกลาง
เพราะเห็นตามเป็นจริง)
ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้แล ที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมให้
วิชชา ๓ ประการบริบูรณ์
วิชชา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เชิงอรรถ :
๑ ดู ที.ปา. ๑๑/๓๓๐/๒๒๑, ๓๕๗/๒๕๘, องฺ.สตฺตก. ๒๓/๒๖/๒๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๔๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๑. สมณสัญญาวรรค ๓. มิจฉัตตสูตร
๑. ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ๓ ชาติบ้าง ฯลฯ
เขาระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้
๒. เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม
เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดหมู่สัตว์ผู้
เป็นไปตามกรรมว่า ฯลฯ อย่างนี้แล๑
๓. ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไป
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้แล ที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมให้
วิชชา ๓ ประการนี้บริบูรณ์
โพชฌังคสูตรที่ ๒ จบ

๓. มิจฉัตตสูตร
ว่าด้วยมิจฉัตตธรรม
[๑๐๓] ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยมิจฉัตตธรรม(ธรรมที่ผิด) จึงมีการพลาด
จากสวรรค์และมรรคผล ไม่มีการบรรลุสวรรค์และมรรคผล
เพราะอาศัยมิจฉัตตธรรมอย่างไร จึงมีการพลาดจากสวรรค์และมรรคผล ไม่มี
การบรรลุสวรรค์และมรรคผล
คือ ผู้มีมิจฉาทิฏฐิ(เห็นผิด) ย่อมมีมิจฉาสังกัปปะ(ดำริผิด)
ผู้มีมิจฉาสังกัปปะ ย่อมมีมิจฉาวาจา(เจรจาผิด)
ผู้มีมิจฉาวาจา ย่อมมีมิจฉากัมมันตะ(กระทำผิด)
ผู้มีมิจฉากัมมันตะ ย่อมมีมิจฉาอาชีวะ(เลี้ยงชีพผิด)
ผู้มีมิจฉาอาชีวะ ย่อมมีมิจฉาวายามะ(พยายามผิด)
ผู้มีมิจฉาวายามะ ย่อมมีมิจฉาสติ(ระลึกผิด)

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มในข้อ ๙๗ (อาหุเนยยสูตร) หน้า ๒๒๙ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๔๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๑. สมณสัญญาวรรค ๓. มิจฉัตตสูตร
ผู้มีมิจฉาสติ ย่อมมีมิจฉาสมาธิ(ตั้งจิตมั่นผิด)
ผู้มีมิจฉาสมาธิ ย่อมมีมิจฉาญาณะ(รู้ผิด)
ผู้มีมิจฉาญาณะ ย่อมมีมิจฉาวิมุตติ(หลุดพ้นผิด)
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยมิจฉัตตธรรมอย่างนี้แล จึงมีการพลาดจากสวรรค์
และมรรคผล ไม่มีการบรรลุสวรรค์และมรรคผล
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยสัมมัตตธรรม(ธรรมที่ถูก) จึงมีการบรรลุสวรรค์
และมรรคผล ไม่มีการพลาดจากสวรรค์และมรรคผล
เพราะอาศัยสัมมัตตธรรมอย่างไร จึงมีการบรรลุสวรรค์และมรรคผล ไม่มีการ
พลาดจากสวรรค์และมรรคผล
คือ ผู้มีสัมมาทิฏฐิ(เห็นชอบ) ย่อมมีสัมมาสังกัปปะ(ดำริชอบ)
ผู้มีสัมมาสังกัปปะ ย่อมมีสัมมาวาจา(เจรจาชอบ)
ผู้มีสัมมาวาจา ย่อมมีสัมมากัมมันตะ(กระทำชอบ)
ผู้มีสัมมากัมมันตะ ย่อมมีสัมมาอาชีวะ(เลี้ยงชีพชอบ)
ผู้มีสัมมาอาชีวะ ย่อมมีสัมมาวายามะ(พยายามชอบ)
ผู้มีสัมมาวายามะ ย่อมมีสัมมาสติ(ระลึกชอบ)
ผู้มีสัมมาสติ ย่อมมีสัมมาสมาธิ(ตั้งจิตมั่นชอบ)
ผู้มีสัมมาสมาธิ ย่อมมีสัมมาญาณะ(รู้ชอบ)
ผู้มีสัมมาญาณะ ย่อมมีสัมมาวิมุตติ(หลุดพ้นชอบ)
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยสัมมัตตธรรมอย่างนี้แล จึงมีการบรรลุสวรรค์และ
มรรคผล ไม่มีการพลาดจากสวรรค์และมรรคผล
มิจฉัตตสูตรที่ ๓ จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๑. สมณสัญญาวรรค ๔. พีชสูตร
๔. พีชสูตร
ว่าด้วยบุคคลเปรียบเหมือนเมล็ดพืช
[๑๐๔] ภิกษุทั้งหลาย กายกรรมที่ถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่
ทิฏฐิ(ความเห็น) วจีกรรมที่ถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ มโนกรรมที่ถือ
ปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ เจตนา ความปรารถนา ความตั้งใจ และ
สังขารทั้งหลายของบุคคลผู้มีมิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวาจา มิจฉากัมมันตะ
มิจฉาอาชีวะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสติ มิจฉาสมาธิ มิจฉาญาณะ และมิจฉาวิมุตติ
ธรรมทั้งหมดนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อผลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ
ไม่เกื้อกูล เป็นทุกข์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะทิฏฐิเลวทราม
กายกรรมที่ถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ ... ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะทิฏฐิเลวทราม เปรียบเหมือนเมล็ดสะเดา เมล็ดบวบขม หรือเมล็ดน้ำเต้าขมที่
บุคคลเพาะไว้ในดินชุ่มชื้น รสดินและรสน้ำที่มันดูดซับเอาไว้ทั้งหมดย่อมเป็นไปเพื่อ
ความเป็นของขม เผ็ดร้อน ไม่น่ายินดี ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเมล็ดสะเดาเป็นต้น
นั้นเลว
กายกรรมที่ถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ วจีกรรมที่ถือปฏิบัติให้
บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ มโนกรรมที่ถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ
เจตนา ความปรารถนา ความตั้งใจ และสังขารทั้งหลายของบุคคลผู้มีสัมมาทิฏฐิ
สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ
สัมมาสมาธิ สัมมาญาณะ และสัมมาวิมุตติ ธรรมทั้งหมดนั้นย่อมเป็นไปเพื่อผลที่
น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เกื้อกูล เป็นสุข ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะทิฏฐิดี
กายกรรมที่ถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ ... ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะทิฏฐิดี เปรียบเหมือนพันธุ์อ้อย พันธุ์ข้าวสาลี หรือเมล็ดจันทน์ที่บุคคลเพาะไว้
ในดินชุ่มชื้น รสดินและรสน้ำที่มันดูดซับเอาไว้ทั้งหมดย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นของ
หวาน น่าอร่อย น่าชื่นใจ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะพันธุ์อ้อยเป็นต้นนั้นดี
พีชสูตรที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๑. สมณสัญญาวรรค ๕. วิชชาสูตร
๕. วิชชาสูตร
ว่าด้วยวิชชา
[๑๐๕] ภิกษุทั้งหลาย อวิชชา(ความไม่รู้แจ้ง)เป็นประธานแห่งการเข้าถึง
อกุศลธรรม อหิริ(ความไม่อายบาป) อโนตตัปปะ(ความไม่กลัวบาป) ก็มีตามมาด้วย
๑. ผู้มีอวิชชาไม่เห็นแจ้ง ย่อมมีมิจฉาทิฏฐิ
๒. ผู้มีมิจฉาทิฏฐิ ย่อมมีมิจฉาสังกัปปะ
๓. ผู้มีมิจฉาสังกัปปะ ย่อมมีมิจฉาวาจา
๔. ผู้มีมิจฉาวาจา ย่อมมีมิจฉากัมมันตะ
๕. ผู้มีมิจฉากัมมันตะ ย่อมมีมิจฉาอาชีวะ
๖. ผู้มีมิจฉาอาชีวะ ย่อมมีมิจฉาวายามะ
๗. ผู้มีมิจฉาวายามะ ย่อมมีมิจฉาสติ
๘. ผู้มีมิจฉาสติ ย่อมมีมิจฉาสมาธิ
๙. ผู้มีมิจฉาสมาธิ ย่อมมีมิจฉาญาณะ
๑๐. ผู้มีมิจฉาญาณะ ย่อมมีมิจฉาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย วิชชา(ความรู้แจ้ง)เป็นประธานแห่งการเข้าถึงกุศลธรรมทั้งหลาย
หิริ(ความอายบาป)และโอตตัปปะ(ความกลัวบาป) ก็มีตามมาด้วย
๑. ผู้มีวิชชาเห็นแจ้ง ย่อมมีสัมมาทิฏฐิ
๒. ผู้มีสัมมาทิฏฐิ ย่อมมีสัมมาสังกัปปะ
๓. ผู้มีสัมมาสังกัปปะ ย่อมมีสัมมาวาจา
๔. ผู้มีสัมมาวาจา ย่อมมีสัมมากัมมันตะ
๕. ผู้มีสัมมากัมมันตะ ย่อมมีสัมมาอาชีวะ
๖. ผู้มีสัมมาอาชีวะ ย่อมมีสัมมาวายามะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๔๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๑. สมณสัญญาวรรค ๖. นิชชรสูตร
๗. ผู้มีสัมมาวายามะ ย่อมมีสัมมาสติ
๘. ผู้มีสัมมาสติ ย่อมมีสัมมาสมาธิ
๙. ผู้มีสัมมาสมาธิ ย่อมมีสัมมาญาณะ
๑๐. ผู้มีสัมมาญาณะ ย่อมมีสัมมาวิมุตติ
วิชชาสูตรที่ ๕ จบ

๖. นิชชรสูตร
ว่าด้วยเหตุแห่งความเสื่อม
[๑๐๖] ภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งความเสื่อม ๑๐ ประการนี้
เหตุแห่งความเสื่อม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เมื่อมีสัมมาทิฏฐิ มิจฉาทิฏฐิย่อมเสื่อมไป บาปอกุศลธรรมเป็นอันมากที่
เกิดขึ้นเพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัยย่อมเสื่อมไป และกุศลธรรมเป็นอันมาก
ย่อมถึงความเจริญเต็มที่เพราะสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย
๒. เมื่อมีสัมมาสังกัปปะ มิจฉาสังกัปปะย่อมเสื่อมไป บาปอกุศลธรรมเป็น
อันมากที่เกิดขึ้นเพราะมิจฉาสังกัปปะเป็นปัจจัยย่อมเสื่อมไป และกุศล-
ธรรมเป็นอันมากย่อมถึงความเจริญเต็มที่เพราะสัมมาสังกัปปะเป็นปัจจัย
๓. เมื่อมีสัมมาวาจา มิจฉาวาจาย่อมเสื่อมไป บาปอกุศลธรรมเป็นอันมาก
ที่เกิดขึ้นเพราะมิจฉาวาจาเป็นปัจจัยย่อมเสื่อมไป และกุศลธรรมเป็นอัน
มากย่อมถึงความเจริญเต็มที่เพราะสัมมาวาจาเป็นปัจจัย
๔. เมื่อมีสัมมากัมมันตะ มิจฉากัมมันตะย่อมเสื่อมไป บาปอกุศลธรรมเป็น
อันมากที่เกิดขึ้นเพราะมิจฉากัมมันตะเป็นปัจจัยย่อมเสื่อมไป และกุศล-
ธรรมเป็นอันมากย่อมถึงความเจริญเต็มที่เพราะสัมมากัมมันตะเป็น
ปัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๔๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๑. สมณสัญญาวรรค ๖. นิชชรสูตร
๕. เมื่อมีสัมมาอาชีวะเป็นปัจจัย มิจฉาอาชีวะย่อมเสื่อมไป บาปอกุศลธรรม
เป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะมิจฉาอาชีวะเป็นปัจจัยย่อมเสื่อมไป และ
กุศลธรรมเป็นอันมากย่อมถึงความเจริญเต็มที่เพราะสัมมาอาชีวะเป็น
ปัจจัย
๖. เมื่อมีสัมมาวายามะ มิจฉาวายามะย่อมเสื่อมไป บาปอกุศลธรรมเป็นอัน
มากที่เกิดขึ้นเพราะมิจฉาวายามะเป็นปัจจัยย่อมเสื่อมไป และกุศลธรรม
เป็นอันมากย่อมถึงความเจริญเต็มที่เพราะสัมมาวายามะเป็นปัจจัย
๗. เมื่อมีสัมมาสติ มิจฉาสติย่อมเสื่อมไป บาปอกุศลธรรมเป็นอันมาก ที่
เกิดขึ้นเพราะมิจฉาสติเป็นปัจจัยย่อมเสื่อมไป และกุศลธรรมเป็นอันมาก
ย่อมถึงความเจริญเต็มที่เพราะสัมมาสติเป็นปัจจัย
๘. เมื่อมีสัมมาสมาธิ มิจฉาสมาธิย่อมเสื่อมไป บาปอกุศลธรรมเป็นอันมาก
ที่เกิดขึ้นเพราะมิจฉาสมาธิเป็นปัจจัยย่อมเสื่อมไป และกุศลธรรมเป็นอัน
มากย่อมถึงความเจริญเต็มที่เพราะสัมมาสมาธิเป็นปัจจัย
๙. เมื่อมีสัมมาญาณะ มิจฉาญาณะย่อมเสื่อมไป บาปอกุศลธรรมเป็นอัน
มากที่เกิดขึ้นเพราะมิจฉาญาณะเป็นปัจจัยย่อมเสื่อมไป และกุศลธรรม
เป็นอันมากย่อมถึงความเจริญเต็มที่เพราะสัมมาญาณะเป็นปัจจัย
๑๐. เมื่อมีสัมมาวิมุตติ มิจฉาวิมุตติย่อมเสื่อมไป บาปอกุศลธรรมเป็นอันมาก
ที่เกิดขึ้นเพราะมิจฉาวิมุตติเป็นปัจจัยย่อมเสื่อมไป และกุศลธรรมเป็นอัน
มากย่อมถึงความเจริญเต็มที่เพราะสัมมาวิมุตติเป็นปัจจัย
ภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งความเสื่อม ๑๐ ประการนี้แล
นิชชรสูตรที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๔๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๑. สมณสัญญาวรรค ๗. โธวนสูตร
๗. โธวนสูตร
ว่าด้วยธรรมเนียมการล้างกระดูกผู้ตาย
[๑๐๗] ภิกษุทั้งหลาย ในทักขิณาชนบท มีธรรมเนียมการล้างกระดูกของ
ญาติผู้ตาย ในธรรมเนียมการล้างกระดูกนั้น มีข้าวบ้าง น้ำบ้าง ของเคี้ยวบ้าง ของ
บริโภคบ้าง เครื่องลิ้มบ้าง เครื่องดื่มบ้าง การฟ้อนรำบ้าง เพลงขับบ้าง การประโคม
บ้าง ธรรมเนียมการล้างนี้มีอยู่ เรามิได้กล่าวว่าไม่มี แต่การล้างนั้นแลเป็นของเลว
เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่เป็นของพระอริยะ ไม่มีประโยชน์ ไม่เป็นไปเพื่อ
ความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้
เพื่อนิพพาน
เราจักแสดงการล้างอันเป็นของพระอริยะที่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายอย่างที่สุด
เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ซึ่งสัตว์
ทั้งหลายผู้มีชาติ(ความเกิด)เป็นธรรมดาอาศัยแล้วย่อมพ้นจากชาติ ผู้มีชรา(ความ
แก่)เป็นธรรมดาย่อมพ้นจากชรา ผู้มีมรณะ(ความตาย)เป็นธรรมดาย่อมพ้นจากมรณะ
ผู้มีโสกะ(ความโศก) ปริเทวะ(ความร่ำไร) ทุกข์(ความทุกข์กาย) โทมนัส(ความทุกข์ใจ)
และอุปายาส(ความคับแค้นใจ)เป็นธรรมดา ย่อมพ้นจากโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
และอุปายาส เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนอง
พระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
การล้างอันเป็นของพระอริยะที่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายอย่างที่สุด เพื่อคลาย
กำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพานซึ่งสัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีชาติเป็นธรรมดาอาศัยแล้วย่อมพ้นจากชาติ ผู้มีชราเป็นธรรมดาย่อมพ้นจากชรา
ผู้มีมรณะเป็นธรรมดาย่อมพ้นจากมรณะ ผู้มีโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และ
อุปายาสเป็นธรรมดา ย่อมพ้นจากโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เป็น
อย่างไร คือ
๑. ผู้มีสัมมาทิฏฐิ ย่อมล้างมิจฉาทิฏฐิได้ ล้างบาปอกุศลธรรมเป็นอันมากที่
เกิดขึ้นเพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัยได้ และกุศลธรรมเป็นอันมากย่อมถึง
ความเจริญเต็มที่เพราะสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๑. สมณสัญญาวรรค ๘. ติกิจฉกสูตร
๒. ผู้มีสัมมาสังกัปปะ ย่อมล้างมิจฉาสังกัปปะได้ ...
๓. ผู้มีสัมมาวาจา ย่อมล้างมิจฉาวาจาได้ ...
๔. ผู้มีสัมมากัมมันตะ ย่อมล้างมิจฉากัมมันตะได้ ...
๕. ผู้มีสัมมาอาชีวะ ย่อมล้างมิจฉาอาชีวะได้ ...
๖. ผู้มีสัมมาวายามะ ย่อมล้างมิจฉาวายามะได้ ...
๗. ผู้มีสัมมาสติ ย่อมล้างมิจฉาสติได้ ...
๘. ผู้มีสัมมาสมาธิ ย่อมล้างมิจฉาสมาธิได้ ...
๙. ผู้มีสัมมาญาณะ ย่อมล้างมิจฉาญาณะได้ ...
๑๐. ผู้มีสัมมาวิมุตติ ย่อมล้างมิจฉาวิมุตติได้ ล้างบาปอกุศลธรรมเป็นอัน
มากที่เกิดขึ้นเพราะมิจฉาวิมุตติเป็นปัจจัยได้ และกุศลธรรมเป็นอันมาก
ย่อมถึงความเจริญเต็มที่เพราะสัมมาวิมุตติเป็นปัจจัย
ภิกษุทั้งหลาย การล้างอันเป็นของพระอริยะนี้แล ที่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย
อย่างที่สุด เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
ซึ่งสัตว์ทั้งหลายผู้มีชาติเป็นธรรมดาอาศัยแล้วย่อมพ้นจากชาติ ผู้มีชราเป็นธรรมดา
ย่อมพ้นจากชรา ผู้มีมรณะเป็นธรรมดาย่อมพ้นจากมรณะ ผู้มีโสกะ ปริเทวะ ทุกข์
โทมนัส และอุปายาสเป็นธรรมดาย่อมพ้นจากโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และ
อุปายาส
โธวนสูตรที่ ๗ จบ

๘. ติกิจฉกสูตร
ว่าด้วยแพทย์ให้ยาระบาย
[๑๐๘] ภิกษุทั้งหลาย แพทย์ทั้งหลายย่อมให้ยาระบาย เพื่อบำบัดอาพาธอัน
มีดีเป็นสมุฏฐานบ้าง มีเสลดเป็นสมุฏฐานบ้าง มีลมเป็นสมุฏฐานบ้าง ยาระบายนี้มีอยู่
เรามิได้กล่าวว่าไม่มี แต่ยาระบายนี้แล ใช้ได้ผลบ้าง ไม่ได้ผลบ้าง
เราจักแสดงยาระบายอันเป็นของพระอริยะที่ใช้ได้ผลแน่นอน มิใช่ไร้ผล ซึ่ง
สัตว์ทั้งหลายผู้มีชาติเป็นธรรมดาอาศัยแล้วย่อมพ้นจากชาติ ผู้มีชราเป็นธรรมดา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๑. สมณสัญญาวรรค ๘. ติกิจฉกสูตร
ย่อมพ้นจากชรา ผู้มีมรณะเป็นธรรมดาย่อมพ้นจากมรณะ ผู้มีโสกะ ปริเทวะ ทุกข์
โทมนัส และอุปายาสเป็นธรรมดาย่อมพ้นจากโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และ
อุปายาสได้ เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนอง
พระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ยาระบายอันเป็นของพระอริยะที่ใช้ได้ผลแน่นอน มิใช่ไร้ผล ซึ่งสัตว์ทั้งหลายผู้
มีชาติเป็นธรรมดาอาศัยแล้วย่อมพ้นจากชาติ ผู้มีชราเป็นธรรมดา ย่อมพ้นจากชรา
ผู้มีมรณะเป็นธรรมดาย่อมพ้นจากมรณะ ผู้มีโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และ
อุปายาสเป็นธรรมดาย่อมพ้นจากโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสได้ เป็น
อย่างไร คือ
๑. ผู้มีสัมมาทิฏฐิ ย่อมระบายมิจฉาทิฏฐิได้ ระบายบาปอกุศลธรรมเป็นอัน
มากที่เกิดขึ้นเพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัยได้ และกุศลธรรมเป็นอันมาก
ย่อมถึงความเจริญเต็มที่เพราะสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย
๒. ผู้มีสัมมาสังกัปปะ ย่อมระบายมิจฉาสังกัปปะได้ ...
๓. ผู้มีสัมมาวาจา ย่อมระบายมิจฉาวาจาได้ ...
๔. ผู้มีสัมมากัมมันตะ ย่อมระบายมิจฉากัมมันตะได้ ...
๕. ผู้มีสัมมาอาชีวะ ย่อมระบายมิจฉาอาชีวะได้ ...
๖. ผู้มีสัมมาวายามะ ย่อมระบายมิจฉาวายามะได้ ...
๗. ผู้มีสัมมาสติ ย่อมระบายมิจฉาสติได้ ...
๘. ผู้มีสัมมาสมาธิ ย่อมระบายมิจฉาสมาธิได้ ...
๙. ผู้มีสัมมาญาณะ ย่อมระบายมิจฉาญาณะได้ ...
๑๐. ผู้มีสัมมาวิมุตติ ย่อมระบายมิจฉาวิมุตติได้ ระบายบาปอกุศลธรรมเป็น
อันมากที่เกิดขึ้นเพราะมิจฉาวิมุตติเป็นปัจจัยได้ และกุศลธรรมเป็นอัน
มากย่อมถึงความเจริญเต็มที่เพราะสัมมาวิมุตติเป็นปัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๕๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๑. สมณสัญญาวรรค ๙. วมนสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ยาระบายอันเป็นของพระอริยะนี้แลที่ใช้ได้ผลแน่นอน มิใช่ไร้ผล
ซึ่งสัตว์ทั้งหลายผู้มีชาติเป็นธรรมดาอาศัยแล้วย่อมพ้นจากชาติ ผู้มีชราเป็นธรรมดา
ย่อมพ้นจากชรา ผู้มีมรณะเป็นธรรมดาย่อมพ้นจากมรณะ ผู้มีโสกะ ปริเทวะ ทุกข์
โทมนัส และอุปายาสเป็นธรรมดาย่อมพ้นจากโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและ
อุปายาสได้
ติกิจฉกสูตรที่ ๘ จบ

๙. วมนสูตร
ว่าด้วยแพทย์ให้ยาสำรอก
[๑๐๙] ภิกษุทั้งหลาย แพทย์ทั้งหลายย่อมให้ยาสำรอก เพื่อบำบัดอาพาธอัน
มีดีเป็นสมุฏฐานบ้าง มีเสลดเป็นสมุฏฐานบ้าง มีลมเป็นสมุฏฐานบ้าง ยาสำรอกนี้มีอยู่
เรามิได้กล่าวว่าไม่มี แต่ยาสำรอกนี้แล ใช้ได้ผลบ้าง ไม่ได้ผลบ้าง
เราจักแสดงยาสำรอกอันเป็นของพระอริยะที่ใช้ได้ผลแน่นอน มิใช่ไร้ผล ซึ่ง
สัตว์ทั้งหลายผู้มีชาติเป็นธรรมดาอาศัยแล้วย่อมพ้นจากชาติ ผู้มีชราเป็นธรรมดา
ย่อมพ้นจากชรา ผู้มีมรณะเป็นธรรมดาย่อมพ้นจากมรณะ ผู้มีโสกะ ปริเทวะ ทุกข์
โทมนัส และอุปายาสเป็นธรรมดาย่อมพ้นจากโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และ
อุปายาสได้ เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ๑
ยาสำรอกอันเป็นของพระอริยะที่ใช้ได้ผลแน่นอน มิใช่ไร้ผล ซึ่งสัตว์ทั้งหลายผู้
มีชาติเป็นธรรมดาอาศัยแล้วย่อมพ้นจากชาติ ฯลฯ ผู้มีโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
และอุปายาสเป็นธรรมดาย่อมพ้นจากโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสได้
เป็นอย่างไร คือ

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มในข้อ ๑๐๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๕๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๑. สมณสัญญาวรรค ๙. วมนสูตร
๑. ผู้มีสัมมาทิฏฐิ ย่อมสำรอกมิจฉาทิฏฐิได้ สำรอกบาปอกุศลธรรมเป็น
อันมากที่เกิดขึ้นเพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัยได้ และกุศลธรรมเป็นอันมาก
ย่อมถึงความเจริญเต็มที่เพราะสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย
๒. ผู้มีสัมมาสังกัปปะ ย่อมสำรอกมิจฉาสังกัปปะได้ ...
๓. ผู้มีสัมมาวาจา ย่อมสำรอกมิจฉาวาจาได้ ...
๔. ผู้มีสัมมากัมมันตะ ย่อมสำรอกมิจฉากัมมันตะได้ ...
๕. ผู้มีสัมมาอาชีวะ ย่อมสำรอกมิจฉาอาชีวะได้ ...
๖. ผู้มีสัมมาวายามะ ย่อมสำรอกมิจฉาวายามะได้ ...
๗. ผู้มีสัมมาสติ ย่อมสำรอกมิจฉาสติได้ ...
๘. ผู้มีสัมมาสมาธิ ย่อมสำรอกมิจฉาสมาธิได้ ...
๙. ผู้มีสัมมาญาณะ ย่อมสำรอกมิจฉาญาณะได้ ฯลฯ
๑๐. ผู้มีสัมมาวิมุตติ ย่อมสำรอกมิจฉาวิมุตติได้ สำรอกบาปอกุศลธรรมเป็น
อันมากที่เกิดขึ้นเพราะมิจฉาวิมุตติเป็นปัจจัยได้ และกุศลธรรมเป็นอัน
มากย่อมถึงความเจริญเต็มที่เพราะสัมมาวิมุตติเป็นปัจจัย
ภิกษุทั้งหลาย ยาสำรอกอันเป็นของพระอริยะนี้แล ที่ใช้ได้ผลแน่นอน มิใช่ไร้ผล
ซึ่งสัตว์ทั้งหลายผู้มีชาติเป็นธรรมดาอาศัยแล้วย่อมพ้นจากชาติ ผู้มีชราเป็นธรรมดา
ย่อมพ้นจากชรา ผู้มีมรณะเป็นธรรมดาย่อมพ้นจากมรณะ ผู้มีโสกะ ปริเทวะ ทุกข์
โทมนัส และอุปายาสเป็นธรรมดาย่อมพ้นจากโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และ
อุปายาสได้
วมนสูตรที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๕๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๑. สมณสัญญาวรรค ๑๐. นิทธมนิยสูตร
๑๐. นิทธมนิยสูตร
ว่าด้วยธรรมอันบุคคลพึงกำจัด
[๑๑๐] ภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันบุคคลพึงกำจัด ๑๐ ประการนี้
ธรรมอันบุคคลพึงกำจัด ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ผู้มีสัมมาทิฏฐิ ย่อมกำจัดมิจฉาทิฏฐิได้ กำจัดบาปอกุศลธรรมเป็น
อันมากที่เกิดขึ้นเพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัยได้ และกุศลธรรมเป็นอันมาก
ย่อมถึงความเจริญเต็มที่เพราะสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย
๒. ผู้มีสัมมาสังกัปปะ ย่อมกำจัดมิจฉาสังกัปปะได้ ...
๓. ผู้มีสัมมาวาจา ย่อมกำจัดมิจฉาวาจาได้ ...
๔. ผู้มีสัมมากัมมันตะ ย่อมกำจัดมิจฉากัมมันตะได้ ...
๕. ผู้มีสัมมาอาชีวะ ย่อมกำจัดมิจฉาอาชีวะได้ ...
๖. ผู้มีสัมมาวายามะ ย่อมกำจัดมิจฉาวายามะได้ ...
๗. ผู้มีสัมมาสติ ย่อมกำจัดมิจฉาสติได้ ...
๘. ผู้มีสัมมาสมาธิ ย่อมกำจัดมิจฉาสมาธิได้ ...
๙. ผู้มีสัมมาญาณะ ย่อมกำจัดมิจฉาญาณะได้ ...
๑๐. ผู้มีสัมมาวิมุตติ ย่อมกำจัดมิจฉาวิมุตติได้ กำจัดบาปอกุศลธรรมเป็น
อันมากที่เกิดขึ้นเพราะมิจฉาวิมุตติเป็นปัจจัยเสียได้ และกุศลธรรม เป็น
อันมากย่อมถึงความเจริญเต็มที่เพราะสัมมาวิมุตติเป็นปัจจัย
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันบุคคลพึงกำจัด ๑๐ ประการนี้แล
นิทธมนิยสูตรที่ ๑๐ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๕๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๑. สมณสัญญาวรรค ๑๑. ปฐมอเสขสูตร
๑๑. ปฐมอเสขสูตร
ว่าด้วยพระอเสขะ สูตรที่ ๑
[๑๑๑] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า ‘อเสขะ อเสขะ’ นี้ ภิกษุเป็นพระอเสขะด้วย
เหตุเพียงเท่าไรหนอ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิที่เป็นอเสขะ
๒. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาสังกัปปะที่เป็นอเสขะ
๓. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาวาจาที่เป็นอเสขะ
๔. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมากัมมันตะที่เป็นอเสขะ
๕. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาอาชีวะที่เป็นอเสขะ
๖. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาวายามะที่เป็นอเสขะ
๗. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาสติที่เป็นอเสขะ
๘. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาสมาธิที่เป็นอเสขะ
๙. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาญาณะ๑ที่เป็นอเสขะ
๑๐. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาวิมุตติที่เป็นอเสขะ
ภิกษุ ภิกษุเป็นพระอเสขะ อย่างนี้แล”
ปฐมอเสขสูตรที่ ๑๑ จบ

เชิงอรรถ :
๑ สัมมาญาณะ ในสูตรนี้หมายถึงสัมมาทิฏฐินั่นเอง ท่านตรัสไว้เพื่อให้องค์ธรรมครบบริบูรณ์ และธรรม
ทั้งหมดนี้ เป็นธรรมชั้นอรหัตตผล (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๑๑/๓๗๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๑. สมณสัญญาวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
๑๒. ทุติยอเสขสูตร
ว่าด้วยพระอเสขะ สูตรที่ ๒
[๑๑๒] ภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นอเสขะ๑ ๑๐ ประการนี้
ธรรมที่เป็นอเสขะ ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. สัมมาทิฏฐิที่เป็นอเสขะ ๒. สัมมาสังกัปปะที่เป็นอเสขะ
๓. สัมมาวาจาที่เป็นอเสขะ ๔. สัมมากัมมันตะที่เป็นอเสขะ
๕. สัมมาอาชีวะที่เป็นอเสขะ ๖. สัมมาวายามะที่เป็นอเสขะ
๗. สัมมาสติที่เป็นอเสขะ ๘. สัมมาสมาธิที่เป็นอเสขะ
๙. สัมมาญาณะที่เป็นอเสขะ ๑๐. สัมมาวิมุตติที่เป็นอเสขะ

ภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นของพระอเสขะ ๑๐ ประการนี้แล
ทุติยอเสขสูตรที่ ๑๒ จบ
สมณสัญญาวรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สมณสัญญาสูตร ๒. โพชฌังคสูตร
๓. มิจฉัตตสูตร ๔. พีชสูตร
๕. วิชชาสูตร ๖. นิชชรสูตร
๗. โธวนสูตร ๘. ติกิจฉกสูตร
๙. วมนสูตร ๑๐. นิทธมนิยสูตร
๑๑. ปฐมอเสขสูตร ๑๒. ทุติยอเสขสูตร


เชิงอรรถ :
๑ อเสขะ หมายถึงธรรมระดับโลกุตตระของพระอเสขะ คือพระอรหันตขีณาสพ ในสูตรนี้ พระผู้มีพระภาค
ตรัสธรรมนี้สำหรับพระขีณาสพเท่านั้น (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๒/๓๒๐,๓/๑๑๒/๓๗๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๒. ปัจโจโรหณิวรรค ๑. ปฐมอธัมมสูตร
๒. ปัจโจโรหณิวรรค
หมวดว่าด้วยพิธีลอยบาป
๑. ปฐมอธัมมสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สูตรที่ ๑
[๑๑๓] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็น
ธรรมและไม่เป็นประโยชน์ ควรทราบทั้งสิ่งที่เป็นธรรมและเป็นประโยชน์ ครั้นทราบ
แล้ว ควรปฏิบัติตามสิ่งที่เป็นธรรมและเป็นประโยชน์
สิ่งที่ไม่เป็นธรรมและไม่เป็นประโยชน์ อะไรบ้าง คือ

๑. มิจฉาทิฏฐิ (เห็นผิด) ๒. มิจฉาสังกัปปะ (ดำริผิด)
๓. มิจฉาวาจา (เจรจาผิด) ๔. มิจฉากัมมันตะ (กระทำผิด)
๕. มิจฉาอาชีวะ (เลี้ยงชีพผิด) ๖. มิจฉาวายามะ (พยายามผิด)
๗. มิจฉาสติ (ระลึกผิด) ๘. มิจฉาสมาธิ(ตั้งจิตมั่นผิด)
๙. มิจฉาญาณะ (รู้ผิด) ๑๐. มิจฉาวิมุตติ (หลุดพ้นผิด)

ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า สิ่งที่ไม่เป็นธรรมและไม่เป็นประโยชน์
สิ่งที่เป็นธรรมและเป็นประโยชน์ อะไรบ้าง คือ

๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) ๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ)
๓. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ) ๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ)
๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) ๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ)
๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ) ๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ)
๙. สัมมาญาณะ (รู้ชอบ) ๑๐. สัมมาวิมุตติ (หลุดพ้นชอบ)

ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า สิ่งที่เป็นธรรมและเป็นประโยชน์
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยคำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘บุคคลควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็น
ธรรมและไม่เป็นประโยชน์ ควรทราบทั้งสิ่งที่เป็นธรรมและเป็นประโยชน์ ครั้น
ทราบแล้ว ควรปฏิบัติตามสิ่งที่เป็นธรรมและเป็นประโยชน์ เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
ปฐมอเสขสูตรที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๒. ปัจโจโรหณิวรรค ๒. ทุติยอธัมมสูตร
๒. ทุติยอธัมมสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สูตรที่ ๒
[๑๑๔] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรม
ควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นประโยชน์ ครั้นทราบแล้ว ควรปฏิบัติ
ตามสิ่งที่เป็นธรรมและเป็นประโยชน์
สิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรม สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็น
ประโยชน์ อะไรบ้าง คือ
๑. มิจฉาทิฏฐิเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาทิฏฐิเป็นสิ่งที่เป็นธรรม บาป
อกุศลธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่
ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมเป็นอันมากที่ถึงความเจริญเต็มที่เพราะ
สัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์
๒. มิจฉาสังกัปปะเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาสังกัปปะเป็นสิ่งที่เป็นธรรม
บาปอกุศลธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะมิจฉาสังกัปปะเป็นปัจจัย นี้
เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมเป็นอันมากที่ถึงความเจริญ
เต็มที่เพราะสัมมาสังกัปปะเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์
๓. มิจฉาวาจาเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาวาจาเป็นสิ่งที่เป็นธรรม บาป
อกุศลธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะมิจฉาวาจาเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่
ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมเป็นอันมากที่ถึงความเจริญเต็มที่
เพราะสัมมาวาจาเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์
๔. มิจฉากัมมันตะเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมากัมมันตะเป็นสิ่งที่เป็นธรรม
บาปอกุศลธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะมิจฉากัมมันตะเป็นปัจจัย นี้
เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมเป็นอันมากที่ถึงความเจริญ
เต็มที่เพราะสัมมากัมมันตะเป็นปัจจัยนี้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์
๕. มิจฉาอาชีวะเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาอาชีวะเป็นสิ่งที่เป็นธรรม บาป
อกุศลธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะมิจฉาอาชีวะเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่ง
ที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมเป็นอันมากที่ถึงความเจริญเต็มที่
เพราะสัมมาอาชีวะเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๕๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๒. ปัจโจโรหณิวรรค ๒. ทุติยอธัมมสูตร
๖. มิจฉาวายามะเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาวายามะเป็นสิ่งที่เป็นธรรม
บาปอกุศลธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะมิจฉาวายามะเป็นปัจจัย นี้
เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมเป็นอันมากที่ถึงความเจริญ
เต็มที่เพราะสัมมาวายามะเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์
๗. มิจฉาสติเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาสติเป็นสิ่งที่เป็นธรรม บาปอกุศล-
ธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะมิจฉาสติเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่ไม่เป็น
ประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมเป็นอันมากที่ถึงความเจริญเต็มที่เพราะสัมมา-
สติเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์
๘. มิจฉาสมาธิเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาสมาธิเป็นสิ่งที่เป็นธรรม บาป
อกุศลธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะมิจฉาสมาธิเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่
ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมเป็นอันมากที่ถึงความเจริญเต็มที่เพราะ
สัมมาสมาธิเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์
๙. มิจฉาญาณะเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาญาณะเป็นสิ่งที่เป็นธรรม บาป
อกุศลธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะมิจฉาญาณะเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่ง
ที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมเป็นอันมากที่ถึงความเจริญเต็มที่
เพราะสัมมาญาณะเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์
๑๐. มิจฉาวิมุตติเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาวิมุตติเป็นสิ่งที่เป็นธรรม บาป
อกุศลธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะมิจฉาวิมุตติเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่
ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมเป็นอันมากที่ถึงความเจริญเต็มที่เพราะ
สัมมาวิมุตติเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยคำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘บุคคลควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็น
ธรรมและสิ่งที่เป็นธรรม ควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นประโยชน์
ครั้นทราบแล้ว ควรปฏิบัติตามสิ่งที่เป็นธรรมและเป็นประโยชน์’ เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
ทุติยอธัมมสูตรที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๒. ปัจโจโรหณิวรรค ๓. ตติยอธัมมสูตร
๓. ตติยอธัมมสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สูตรที่ ๓
[๑๑๕] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรม
ควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นประโยชน์ ครั้นทราบแล้ว ควรปฏิบัติ
ตามสิ่งที่เป็นธรรมและเป็นประโยชน์ พระผู้มีพระภาคผู้สุคตครั้นตรัสพระพุทธพจน์นี้
แล้วจึงเสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์เข้าไปยังพระวิหาร
ลำดับนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงหลีกไปไม่นาน ภิกษุเหล่านั้นจึงได้ปรึกษา
กันว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลายทรงแสดงอุทเทส๑นี้โดยย่อว่า
‘ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรม ควรทราบ
ทั้งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นประโยชน์ ครั้นทราบแล้วควรปฏิบัติตามสิ่งที่เป็น
ธรรมและเป็นประโยชน์’ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดาร เสด็จลุกขึ้นจาก
พุทธอาสน์เข้าไปยังพระวิหาร ใครหนอ จะพึงจำแนกเนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มี
พระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อไม่ทรงจำแนกไว้โดยพิสดารนี้ให้พิสดารได้”
ลำดับนั้น ภิกษุเหล่านั้นมีความเห็นร่วมกันว่า “ท่านอานนท์นี้แล พระศาสดา
ทรงสรรเสริญแล้ว และเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายก็ยกย่อง ท่านสามารถจะจำแนก
เนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อไม่ทรงจำแนกไว้โดย
พิสดารนี้ให้พิสดารได้ ทางที่ดี พวกเราควรจะเข้าไปหาท่านอานนท์ถึงที่อยู่แล้วเรียน
ถามเนื้อความนี้กับท่าน และจักทรงจำเนื้อความนั้นไว้ตามที่ท่านตอบแก่พวกเรา”
ครั้นแล้ว ภิกษุเหล่านั้นจึงเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัย
พอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควรได้เรียนว่า
“ท่านอานนท์ พระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลายทรงแสดงอุทเทสนี้โดยย่อว่า
‘ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรม ควรทราบทั้ง
สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นประโยชน์ ครั้นทราบแล้ว ควรปฏิบัติตามสิ่งที่เป็น
ธรรมและเป็นประโยชน์’ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดาร เสด็จลุกขึ้นจาก
พุทธอาสน์เข้าไปยังพระวิหาร

เชิงอรรถ :
๑ อุทเทส ในที่นี้หมายถึง บทมาติกา-หัวข้อธรรม (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๑๕/๓๗๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๖๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๒. ปัจโจโรหณิวรรค ๓. ตติยอธัมมสูตร
ผู้มีอายุ เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงหลีกไปไม่นาน พวกกระผมได้ปรึกษากันว่า
ผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลายทรงแสดงอุทเทสนี้โดยย่อว่า
‘ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรม ควรทราบทั้ง
สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นประโยชน์ ครั้นทราบแล้ว ควรปฏิบัติตามสิ่งที่เป็น
ธรรมและเป็นประโยชน์’ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดาร เสด็จลุกขึ้นจาก
พุทธอาสน์เข้าไปยังพระวิหาร ใครหนอจะพึงจำแนกเนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มี
พระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อไม่ทรงจำแนกไว้โดยพิสดารนี้ให้พิสดารได้
ผู้มีอายุ พวกกระผมได้มีความเห็นร่วมกันว่า ‘ท่านอานนท์นี้แล พระศาสดา
ทรงสรรเสริญแล้ว และเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายก็ยกย่อง ท่านสามารถจะจำแนก
เนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อไม่ทรงจำแนกไว้โดย
พิสดารนี้ให้พิสดารได้ ทางที่ดี พวกเราควรจะเข้าไปหาท่านอานนท์ถึงที่อยู่แล้ว
เรียนถามเนื้อความนี้กับท่าน และจักทรงจำเนื้อความนั้นไว้ตามที่ท่านตอบแก่
พวกเรา’ ขอท่านอานนท์จงจำแนกเถิด”
ท่านพระอานนท์กล่าวว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อพระศาสดาประทับอยู่เฉพาะ
หน้าผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายละเลยพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเสีย สำคัญ
เนื้อความนี้ว่าควรถามข้าพเจ้า เปรียบเหมือนบุรุษผู้ต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้
เที่ยวแสวงหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นมีอยู่ ก็มองข้ามรากและลำต้นไปเสีย
สำคัญกิ่งและใบว่าเป็นแก่นไม้ที่ตนพึงแสวงหา พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นผู้มี
พระจักษุ๑ มีพระญาณ มีพระธรรม๒ เป็นผู้ประเสริฐ๓ ตรัสบอกได้๔ ทรงให้เป็นไปได้๕

เชิงอรรถ :
๑ มีพระจักษุ หมายถึงมีพระปัญญาจักษุโดยทรงเป็นผู้นำของชาวโลกในการเห็นธรรมด้วยพระสยัมภูญาณ
๒ มีพระธรรม หมายถึงทรงแสดงธรรมให้ปริยัติธรรมเป็นไปได้ หรือทรงให้โพธิปักขิยธรรม (ธรรมอันเป็น
ฝ่ายแห่งการตรัสรู้) ๓๗ ประการ ได้แก่ (๑) สติปัฏฐาน ๔ (๒) สัมมัปปธาน ๔ (๓) อิทธิบาท ๔ (๔) อินทรีย์
๕ (๕) พละ ๕ (๖) โพชฌงค์ ๗ (๗) มรรคมีองค์ ๘ (องฺ.ทสก.ฏีกา ๓/๑๓๓-๑๑๖/๔๓๘)
๓ เป็นผู้ประเสริฐ หมายถึงทรงบรรลุพระสยัมภูญาณแล้วแสดงอริยมรรคแก่ชาวโลก (องฺ.ทสก.ฏีกา ๓/๑๓๓-
๑๑๖/๔๓๙)
๔ ตรัสบอกได้ ในที่นี้หมายถึงตรัสบอกอริยสัจ ๔ ได้ (องฺ.ทสก.ฏีกา ๓/๑๑๓-๑๑๖/๔๓๙)
๕ ทรงให้เป็นไปได้ หมายถึงตรัสบอกให้รู้แจ้งอริยสัจ ๔ (องฺ.ทสก.ฏีกา ๓/๑๑๓-๑๑๖/๔๓๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๒. ปัจโจโรหณิวรรค ๓. ตติยอธัมมสูตร
ทรงแสดงประโยชน์๑ ประทานอมตธรรม๒ เป็นเจ้าของธรรม๓ เป็นพระตถาคต ทรงรู้
ธรรมที่ควรรู้ ทรงเห็นธรรมที่ควรเห็น ก็เวลานี้แล เป็นเวลาสมควรที่ท่าน
ทั้งหลายพึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้วทูลถามเนื้อความนี้ พึงทรงจำเนื้อความ
นั้นไว้ตามที่พระผู้มีพระภาคทรงตอบแก่ท่านทั้งหลาย”
ภิกษุเหล่านั้นเรียนว่า “ท่านอานนท์ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงเป็นผู้มี
พระจักษุ มีพระญาณ มีพระธรรม เป็นผู้ประเสริฐ ตรัสบอกได้ ทรงให้เป็นไปได้ ทรง
แสดงประโยชน์ ประทานอมตธรรม เป็นเจ้าของธรรม เป็นพระตถาคต ทรงรู้ธรรมที่
ควรรู้ ทรงเห็นธรรมที่ควรเห็น ก็เวลานี้แล เป็นเวลาสมควรที่กระผมทั้งหลายพึง
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้วทูลถามเนื้อความนี้ และทรงจำเนื้อความนั้นไว้ตามที่
พระผู้มีพระภาคทรงตอบแก่พวกกระผมอย่างแน่นอน ท่านอานนท์เอง พระศาสดา
ทรงสรรเสริญ และเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายก็ยกย่อง ย่อมสามารถจะจำแนก
เนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อไม่ทรงจำแนกไว้โดย
พิสดารนี้ให้พิสดารได้ ถ้าท่านอานนท์ไม่มีความหนักใจแล้ว ขอจงจำแนกเถิด”
พระอานนท์กล่าวว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น ขอท่านทั้งหลายจงฟัง จง
ใส่ใจให้ดี ข้าพเจ้าจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว ท่านพระอานนท์จึงได้กล่าว
เรื่องนี้ว่า
“ผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลายทรงแสดงอุทเทสโดยย่อว่า
‘ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรม ควรทราบทั้ง
สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นประโยชน์ ครั้นทราบแล้ว ควรปฏิบัติตามสิ่งที่เป็น
ธรรมและเป็นประโยชน์’ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดาร เสด็จลุกขึ้นจาก
พุทธอาสน์เข้าไปยังพระวิหาร

เชิงอรรถ :
๑ ทรงแสดงประโยชน์ หมายถึงทรงให้สรรพสัตว์พ้นจากความทุกข์ ความบีบคั้นโดยให้บรรลุพระนิพพาน
อันเป็นประโยชน์ยอดเยี่ยม (องฺ.ทสก.ฏีกา ๓/๑๑๓-๑๑๖/๔๓๙)
๒ ประทานอมตธรรม หมายถึงทรงแสดงข้อปฏิบัติเพื่อบรรลุ เพื่อรู้แจ้งอมตธรรมแก่สรรพสัตว์ (องฺ.ทสก.ฏีกา
๓/๑๑๓-๑๑๖/๔๓๙)
๓ เป็นเจ้าของธรรม หมายถึงเป็นเจ้าของโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ (องฺ.ทสก.ฏีกา ๓/๑๑๓-๑๑๖/๔๓๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๒. ปัจโจโรหณิวรรค ๓. ตติยอธัมมสูตร
สิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรม สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็น
ประโยชน์ อะไรบ้าง คือ
๑. มิจฉาทิฏฐิเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาทิฏฐิเป็นสิ่งที่เป็นธรรม บาป
อกุศลธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่
ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมเป็นอันมากที่ถึงความเจริญเต็มที่เพราะ
สัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์
๒. มิจฉาสังกัปปะเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาสังกัปปะเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ...
๓. มิจฉาวาจาเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาวาจาเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ...
๔. มิจฉากัมมันตะเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมากัมมันตะเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ...
๕. มิจฉาอาชีวะเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาอาชีวะเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ...
๖. มิจฉาวายามะเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาวายามะเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ...
๗. มิจฉาสติเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาสติเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ...
๘. มิจฉาสมาธิเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาสมาธิเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ...
๙. มิจฉาญาณะเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาญาณะเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ...๑
๑๐. มิจฉาวิมุตติเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาวิมุตติเป็นสิ่งที่เป็นธรรม บาป
อกุศลธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะมิจฉาวิมุตติเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่
ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมเป็นอันมากที่ถึงความเจริญเต็มที่เพราะ
สัมมาวิมุตติเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์
พระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลายทรงแสดงอุทเทสโดยย่อว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย
บุคคลควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรม ควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็น
ประโยชน์และสิ่งที่เป็นประโยชน์ ครั้นทราบแล้ว ควรปฏิบัติตามสิ่งที่เป็นธรรมและ
เป็นประโยชน์’ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดาร เสด็จลุกขึ้นจากอาสนะเข้าไป
ยังพระวิหาร ผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าย่อมรู้เนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาค
ทรงแสดงไว้โดยย่อไม่ทรงจำแนกไว้โดยพิสดารนี้ได้โดยพิสดารอย่างนี้ ก็ท่านทั้งหลาย

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มในข้อ ๑๑๔ (ทุติยอธัมมสูตร)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๒. ปัจโจโรหณิวรรค ๓. ตติยอธัมมสูตร
เมื่อหวังอยู่ พึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้วทูลถามเนื้อความนี้เถิด ขอท่าน
ทั้งหลายพึงทรงจำเนื้อความนั้นไว้ตามที่พระผู้มีพระภาคทรงตอบแก่ท่านทั้งหลายเถิด”
ภิกษุเหล่านั้นกล่าวรับคำท่านพระอานนท์แล้ว ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของท่าน
พระอานนท์แล้ว ลุกขึ้นจากอาสนะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุทเทสไว้โดยย่อว่า ‘ภิกษุ
ทั้งหลาย บุคคลควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรม ควรทราบทั้งสิ่งที่
ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นประโยชน์ ครั้นทราบแล้ว ควรปฏิบัติตามสิ่งที่เป็นธรรม
และเป็นประโยชน์’ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดาร เสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์
เข้าไปยังพระวิหาร
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงหลีกไปไม่นาน ข้าพระองค์
ทั้งหลายได้ปรึกษากันว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุทเทสไว้โดยย่อ
ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรม ควรทราบ
ทั้งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นประโยชน์ ครั้นทราบแล้ว ควรปฏิบัติตามสิ่งที่
เป็นธรรมและเป็นประโยชน์’ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดาร เสด็จลุกขึ้นจาก
พุทธอาสน์เข้าไปยังพระวิหาร ใครหนอจะพึงจำแนกเนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มี
พระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อไม่ทรงจำแนกไว้โดยพิสดารนี้ให้พิสดารได้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เหล่านั้นได้มีความเห็นร่วมกันว่า ‘ท่าน
อานนท์นี้แล พระศาสดาทรงสรรเสริญแล้ว และเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายก็ยกย่อง
ท่านสามารถจะจำแนกเนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อไม่
ทรงจำแนกไว้โดยพิสดารนี้ให้พิสดารได้ ทางที่ดี พวกเราควรจะเข้าไปหาท่าน
อานนท์ถึงที่อยู่แล้วเรียนถามเนื้อความนี้กับท่าน และจักทรงจำเนื้อความนั้นไว้ตาม
ที่ท่านตอบแก่พวกเรา’ ครั้นแล้ว ข้าพระองค์ทั้งหลายจึงเข้าไปหาท่านอานนท์ถึง
ที่อยู่แล้วเรียนถามเนื้อความนี้ ท่านอานนท์ได้จำแนกเนื้อความอย่างชัดเจนแก่ข้า
พระองค์ทั้งหลายด้วยอาการเหล่านี้ ด้วยบทเหล่านี้ ด้วยพยัญชนะเหล่านี้”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๒. ปัจโจโรหณิวรรค ๔. อชิตสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ดีละ ดีละ อานนท์เป็นบัณฑิต มี
ปัญญามาก แม้หากเธอทั้งหลายพึงเข้ามาหาเราแล้วถามเนื้อความนี้ ถึงเราเองก็พึง
ตอบเนื้อความนี้อย่างที่อานนท์ได้ตอบแล้วนั่นเอง นี้แลเป็นเนื้อความแห่งอุทเทสนั้น
และเธอทั้งหลายพึงทรงจำเนื้อความนั้นไว้อย่างนั้นเถิด”
ตติยอธัมมสูตรที่ ๓ จบ

๔. อชิตสูตร
ว่าด้วยปริพาชกชื่อว่าอชิตะ
[๑๑๖] ครั้งนั้น อชิตปริพาชกเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ได้สนทนาปราศรัยพอ
เป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า
“ท่านพระโคดม เพื่อนพรหมจารีของข้าพเจ้าทั้งหลาย ชื่อว่าเป็นบัณฑิต
เพราะมีจิตตุปบาท ๕๐๐ ดวง ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้อัญเดียรถีย์ทั้งหลายผู้ถูกข่มขี่แล้ว
รู้ตัวว่าถูกข่มขี่”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสถามว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายยังทรงจำเหตุแห่งความเป็นบัณฑิตได้หรือไม่”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เวลานี้เป็นเวลาสมควร
ข้าแต่พระสุคต เวลานี้เป็นเวลาสมควรที่พระผู้มีพระภาคจะทรงแสดง ภิกษุทั้งหลาย
ได้ฟังพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้วจักทรงจำไว้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจ
ให้ดี เราจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้
ตรัสเรื่องนี้ว่า


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๒. ปัจโจโรหณิวรรค ๔. อชิตสูตร
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมข่มขี่บีบคั้นวาทะ๑ที่ไม่เป็นธรรมด้วย
วาทะที่ไม่เป็นธรรม และย่อมชักนำบริษัทผู้ไม่ประกอบด้วยธรรมให้ยินดีด้วยวาทะที่
ไม่เป็นธรรมนั้น เพราะวาทะที่ไม่เป็นธรรมนั้น บริษัทผู้ไม่ประกอบด้วยธรรมนั้น
จึงสรรเสริญขึ้นพร้อมกันว่า ‘ท่านผู้เจริญ ท่านผู้นี้เป็นบัณฑิตหนอ ท่านผู้นี้เป็น
บัณฑิตหนอ’
บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมข่มขี่บีบคั้นวาทะที่เป็นธรรมด้วยวาทะที่ไม่เป็นธรรม
และย่อมชักนำบริษัทผู้ไม่ประกอบด้วยธรรมให้ยินดีด้วยวาทะที่ไม่เป็นธรรมนั้น เพราะ
วาทะที่ไม่เป็นธรรมนั้น บริษัทผู้ไม่ประกอบด้วยธรรมนั้นจึงสรรเสริญขึ้นพร้อมกันว่า
‘ท่านผู้เจริญ ท่านผู้นี้เป็นบัณฑิตหนอ ท่านผู้นี้เป็นบัณฑิตหนอ’
บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมข่มขี่บีบคั้นวาทะทั้งที่เป็นธรรมและไม่เป็นธรรม
ด้วยวาทะที่ไม่เป็นธรรม และย่อมชักนำบริษัทผู้ไม่ประกอบด้วยธรรมให้ยินดีด้วย
วาทะที่ไม่เป็นธรรมนั้น เพราะวาทะที่ไม่เป็นธรรมนั้น บริษัทผู้ไม่ประกอบด้วยธรรม
นั้นจึงสรรเสริญขึ้นพร้อมกันว่า ‘ท่านผู้เจริญ ท่านผู้นี้เป็นบัณฑิตหนอ ท่านผู้นี้เป็น
บัณฑิตหนอ’
บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมข่มขี่บีบคั้นวาทะที่ไม่เป็นธรรม ด้วยวาทะที่เป็นธรรม
และย่อมชักนำบริษัทผู้ไม่ประกอบด้วยธรรมให้ยินดีด้วยวาทะที่เป็นธรรมนั้น เพราะ
วาทะที่เป็นธรรมนั้น บริษัทผู้ไม่ประกอบด้วยธรรมนั้นจึงสรรเสริญขึ้นพร้อมกันว่า
‘ท่านผู้เจริญ ท่านผู้นี้เป็นบัณฑิตหนอ ท่านผู้นี้เป็นบัณฑิตหนอ’
บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมข่มขี่บีบคั้นวาทะที่เป็นธรรมด้วยวาทะที่เป็นธรรม
และย่อมชักนำบริษัทผู้ประกอบด้วยธรรมให้ยินดีด้วยวาทะที่เป็นธรรมนั้น เพราะ
วาทะที่เป็นธรรมนั้น บริษัทผู้ประกอบด้วยธรรมนั้นจึงสรรเสริญขึ้นพร้อมกันว่า
‘ท่านผู้เจริญ ท่านผู้นี้เป็นบัณฑิตหนอ ท่านผู้นี้เป็นบัณฑิตหนอ’

เชิงอรรถ :
๑ วาทะ ในที่นี้หมายถึงลัทธิ(ความเชื่อถือ)หรือแนวคิดความเห็น (องฺ.ติก.อ. ๒/๖๖/๒๐๒) เช่น อุจเฉทวาทะ
คือลัทธิที่ถือว่าตายแล้วไม่เกิดอีก เป็นแนวคิดเชิงวัตถุนิยม ลัทธินี้ทำให้มนุษย์หมกมุ่นในกามสุข (ที.สี.อ.
๘๔/๑๑๐) หรือ อมราวิกเขปวาทะ คือลัทธิที่มีความเห็นหลบเลี่ยงไม่แน่นอนว่าใช่หรือไม่ใช่ เป็นความเห็น
ที่ลื่นไหลจับได้ยากเหมือนปลาไหล (ที.สี.อ. ๖๑/๑๐๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๒. ปัจโจโรหณิวรรค ๔. อชิตสูตร
บุคคลควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรม ควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่
เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นประโยชน์ ครั้นทราบแล้ว ควรปฏิบัติตามสิ่งที่เป็นธรรม
และเป็นประโยชน์
สิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรม สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็น
ประโยชน์ อะไรบ้าง คือ
๑. มิจฉาทิฏฐิเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาทิฏฐิเป็นสิ่งที่เป็นธรรม บาป
อกุศลธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่
ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมเป็นอันมากที่ถึงความเจริญเต็มที่เพราะ
สัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์
๒. มิจฉาสังกัปปะเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาสังกัปปะเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ...
๓. มิจฉาวาจาเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาวาจาเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ...
๔. มิจฉากัมมันตะเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมากัมมันตะเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ...
๕. มิจฉาอาชีวะเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาอาชีวะเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ...
๖. มิจฉาวายามะเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาอาชีวะเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ...
๗. มิจฉาสติเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาสติเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ...
๘. สัมมาสมาธิเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาสมาธิเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ...
๙. มิจฉาญาณะเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาญาณะเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ...
๑๐. มิจฉาวิมุตติเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาวิมุตติเป็นสิ่งที่เป็นธรรม บาป
อกุศลธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะมิจฉาวิมุตติเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่
ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมเป็นอันมากที่ถึงความเจริญเต็มที่เพราะ
สัมมาวิมุตติเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยคำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘บุคคลควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็น
ธรรมและสิ่งที่เป็นธรรม ควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นประโยชน์
ครั้นทราบแล้ว ควรปฏิบัติตามสิ่งที่เป็นธรรมและเป็นประโยชน์’ เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
อชิตสูตรที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๒. ปัจโจโรหณิวรรค ๕. สคารวสูตร
๕. สคารวสูตร
ว่าด้วยพราหมณ์ชื่อว่าสคารวะ
[๑๑๗] ครั้งนั้นแล พราหมณ์ชื่อว่าสคารวะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่
สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ท่านพระโคดม อะไรหนอเป็นฝั่งนี้๑ อะไรเป็นฝั่งโน้น๒”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า พราหมณ์

๑. มิจฉาทิฏฐิเป็นฝั่งนี้ สัมมาทิฏฐิเป็นฝั่งโน้น
๒. มิจฉาสังกัปปะเป็นฝั่งนี้ สัมมาสังกัปปะเป็นฝั่งโน้น
๓. มิจฉาวาจาเป็นฝั่งนี้ สัมมาวาจาเป็นฝั่งโน้น
๔. มิจฉากัมมันตะเป็นฝั่งนี้ สัมมากัมมันตะเป็นฝั่งโน้น
๕. มิจฉาอาชีวะเป็นฝั่งนี้ สัมมาอาชีวะเป็นฝั่งโน้น
๖. มิจฉาวายามะเป็นฝั่งนี้ สัมมาวายามะเป็นฝั่งโน้น
๗. มิจฉาสติเป็นฝั่งนี้ สัมมาสติเป็นฝั่งโน้น
๘. มิจฉาสมาธิเป็นฝั่งนี้ สัมมาสมาธิเป็นฝั่งโน้น
๙. มิจฉาญาณะเป็นฝั่งนี้ สัมมาญาณะเป็นฝั่งโน้น
๑๐. มิจฉาวิมุตติเป็นฝั่งนี้ สัมมาวิมุตติเป็นฝั่งโน้น

พราหมณ์ นี้แลเป็นฝั่งนี้ นี้แลเป็นฝั่งโน้น
ในหมู่มนุษย์ เหล่าชนผู้ไปถึงฝั่งโน้น๓มีจำนวนน้อย
ส่วนหมู่สัตว์นอกนี้เลาะไปตามฝั่งนี้๔ทั้งนั้น

เชิงอรรถ :
๑ ฝั่งนี้ ในที่นี้หมายถึงโลกิยธรรม (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๑๗-๑๑๘/๓๗๕)
๒ ฝั่งโน้น ในที่นี้หมายถึงโลกุตตรธรรม (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๑๗-๑๑๘/๓๗๕)
๓ ฝั่งโน้น ในที่นี้หมายถึงนิพพาน (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๑๗-๑๑๘/๓๗๕)
๔ ฝั่งนี้ ในที่นี้หมายถึงสักกายทิฏฐิ (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๑๗-๑๑๘/๓๗๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๒. ปัจโจโรหณิวรรค ๕. สคารวสูตร
ส่วนชนเหล่าใดประพฤติตามธรรม
ในธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้โดยชอบ๑
ชนเหล่านั้นจักข้ามพ้นวัฏฏะ๒
อันเป็นบ่วงมารที่ข้ามได้แสนยาก จักถึงฝั่งโน้น
บัณฑิตละธรรมดำ แล้วพึงเจริญธรรมขาว๓
ออกจากวัฏฏะมาสู่วิวัฏฏะ๔
ละกามทั้งหลายแล้วเป็นผู้หมดความกังวล
พึงปรารถนาความยินดียิ่งในวิเวก๕ที่ยินดีได้ยากยิ่ง
บัณฑิตพึงชำระตนให้ผ่องแผ้ว
จากเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตทั้งหลาย
บัณฑิตเหล่าใดอบรมจิตโดยชอบ
ในองค์ธรรมเป็นเครื่องตรัสรู้ทั้งหลาย
ไม่ถือมั่น ยินดีในนิพพานเป็นที่สละความถือมั่น
บัณฑิตเหล่านั้นสิ้นอาสวะแล้ว
มีความรุ่งเรือง ดับสนิทแล้วในโลก๖
สคารวสูตรที่ ๕ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้โดยชอบ หมายถึงโลกุตตรธรรม ๙ ประการ คือ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน
๑ (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๑๗-๑๑๘/๓๗๕)
๒ วัฏฏะ ในที่นี้หมายถึงวัฏฏะ ๓ คือ (๑) กิเลสวัฏฏ์ วงจรกิเลสประกอบด้วยอวิชชา ตัณหา อุปาทาน
(๒) กัมมวัฏฏ์ วงจรกรรมประกอบด้วยสังขารและกรรมภพ (๓) วิปากวัฏฏ์ วงจรวิบาก ประกอบด้วย
วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ซึ่งแสดงออกในรูปอุปปัตติภพ ชาติ ชรา มรณะ เป็นต้น
(องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๑๗-๑๑๘/๓๗๕)
๓ ธรรมดำ หมายถึงอกุศลธรรม ได้แก่ กายทุจริต เป็นต้น ธรรมขาว หมายถึงกุศลธรรม ได้แก่ กายสุจริต
เป็นต้น (สํ.ม.อ. ๓/๓๑-๓๔/๑๙๖, ขุ.ธ.อ. ๔/๔๕-๔๗)
๔ วิวัฏฏะ หมายถึงนิพพาน (สํ.ม.อ. ๓/๓๑-๓๔/๑๙๖, องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๑๗-๑๑๘/๓๗๕)
๕ วิเวก หมายถึงกายวิเวก(ความสงัดกาย) จิตตวิเวก(ความสงัดจิต) และอุปธิวิเวก(ความสงัดจากกิเลส)
(องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๑๗-๑๑๘/๓๗๕)
๖ ดู สํ.ม. ๑๙/๓๔/๑๙, ขุ.ธ. ๒๕/๘๕-๘๙/๓๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๒. ปัจโจโรหณิวรรค ๖. โอริมตีรสูตร
๖. โอริมตีรสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นฝั่งนี้และธรรมที่เป็นฝั่งโน้น๑
[๑๑๘] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงฝั่งนี้และฝั่งโน้นแก่เธอทั้งหลาย เธอ
ทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ฝั่งนี้และฝั่งโน้น อะไรบ้าง คือ
๑. มิจฉาทิฏฐิเป็นฝั่งนี้ สัมมาทิฏฐิเป็นฝั่งโน้น ฯลฯ๒
๑๐. มิจฉาวิมุตติเป็นฝั่งนี้ สัมมาวิมุตติเป็นฝั่งโน้น
ภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นฝั่งนี้ นี้แลเป็นฝั่งโน้น
ในหมู่มนุษย์ เหล่าชนผู้ไปถึงฝั่งโน้นมีจำนวนน้อย
ส่วนหมู่สัตว์นอกนี้เลาะไปตามฝั่งนี้ทั้งนั้น
ส่วนชนเหล่าใดประพฤติตามธรรม
ในธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้โดยชอบ
ชนเหล่านั้นจักข้ามพ้นวัฏฏะ
อันเป็นบ่วงมารที่ข้ามได้แสนยาก จักถึงฝั่งโน้น
บัณฑิตละธรรมดำแล้วพึงเจริญธรรมขาว
ออกจากวัฏฏะมาสู่วิวัฏฏะ
ละกามทั้งหลายแล้วเป็นผู้หมดความกังวล
พึงปรารถนาความยินดียิ่งในวิเวกที่ยินดีได้ยากยิ่ง
บัณฑิตพึงชำระตนให้ผ่องแผ้ว
จากเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตทั้งหลาย

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑,๒ (สคารวสูตร) หน้า ๒๖๙ ในเล่มนี้
๒ ดูความเต็มในข้อ ๑๑๗ (สคารวสูตร)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๒. ปัจโจโรหณิวรรค ๗. ปฐมปัจโจโรหณีสูตร
บัณฑิตเหล่าใดอบรมจิตโดยชอบ
ในองค์ธรรมเป็นเครื่องตรัสรู้ทั้งหลาย
ไม่ถือมั่น ยินดีในนิพพานเป็นที่สละความถือมั่น
บัณฑิตเหล่านั้นสิ้นอาสวะแล้ว
มีความรุ่งเรือง ดับสนิทแล้วในโลก
โอริมตีรสูตรที่ ๖ จบ

๗. ปฐมปัจโจโรหณีสูตร
ว่าด้วยพิธีลอยบาป สูตรที่ ๑
[๑๑๙] สมัยนั้น พราหมณ์ชื่อว่าชาณุสโสณิสรงน้ำดำหัวในวันอุโบสถ นุ่งห่ม
ผ้าไหมคู่ใหม่ ยืนถือกำหญ้าคาสดอยู่ ณ ที่สมควร ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค
พระผู้มีพระภาคทอดพระเนตรเห็นแล้วได้ตรัสถามชาณุสโสณิพราหมณ์ดังนี้ว่า
“พราหมณ์ เพราะเหตุไรหนอ ท่านจึงสรงน้ำดำหัวในวันอุโบสถ นุ่งห่มผ้าไหม
คู่ใหม่ ยืนถือกำหญ้าคาสดอยู่ ณ ที่สมควร วันนี้เป็นวันอะไรของตระกูลพราหมณ์”
ชาณุสโสณิพราหมณ์กราบทูลว่า “ท่านพระโคดม วันนี้เป็นวันลอยบาปของ
ตระกูลพราหมณ์”
“พราหมณ์ พิธีลอยบาปของพราหมณ์ทั้งหลาย เป็นอย่างไร”
“ท่านพระโคดม ในวันอุโบสถ พราหมณ์ทั้งหลายในโลกนี้ พากันสรงน้ำดำหัว
นุ่งห่มผ้าไหมคู่ใหม่ ทาแผ่นดินด้วยโคมัยสด ลาดด้วยหญ้าคาที่เขียวสดแล้วนอนใน
ระหว่างกองทรายและเรือนไฟ ในราตรีนั้น พราหมณ์เหล่านั้นลุกขึ้นแล้วประคอง
อัญชลีนอบน้อมไฟ ๓ ครั้งด้วยกล่าวว่า ‘ข้าพเจ้าทั้งหลายขอลอยบาปต่อท่านผู้
เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอลอยบาปต่อท่านผู้เจริญ’ และบำเรอไฟให้อิ่มหนำด้วย
เนยใส น้ำมัน และเนยข้นจำนวนมาก พอล่วงราตรีนั้นไปจึงเลี้ยงพราหมณ์ทั้งหลาย
ให้อิ่มหนำด้วยของเคี้ยวของบริโภคอันประณีต ท่านพระโคดม พิธีลอยบาปของ
พราหมณ์ทั้งหลาย เป็นอย่างนี้แล”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๒. ปัจโจโรหณิวรรค ๗. ปฐมปัจโจโรหณีสูตร
“พราหมณ์ พิธีลอยบาปของพราหมณ์ทั้งหลายเป็นอย่างหนึ่ง พิธีลอยบาปใน
อริยวินัยเป็นอีกอย่างหนึ่ง”
“ท่านพระโคดม พิธีลอยบาปในอริยวินัยเป็นอย่างไร ขอประทานวโรกาส
ขอท่านพระโคดมโปรดแสดงธรรมที่เป็นพิธีลอยบาปในอริยวินัยแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด”
“พราหมณ์ ถ้าเช่นนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
ชาณุสโสณิพราหมณ์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัส
เรื่องนี้ว่า
พราหมณ์ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า มิจฉาทิฏฐิมีผลชั่วทั้งในภพนี้และภพหน้า ครั้น
พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว จึงละมิจฉาทิฏฐิ ลอยมิจฉาทิฏฐิ
๒. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า มิจฉาสังกัปปะมีผลชั่วทั้งในภพนี้และภพหน้า ครั้น
พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว จึงละมิจฉาสังกัปปะ ลอยมิจฉาสังกัปปะ
๓. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า มิจฉาวาจามีผลชั่วทั้งในภพนี้และภพหน้า ครั้น
พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว จึงละมิจฉาวาจา ลอยมิจฉาวาจา
๔. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า มิจฉากัมมันตะมีผลชั่วทั้งในภพนี้และภพหน้า ครั้น
พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว จึงละมิจฉากัมมันตะ ลอยมิจฉากัมมันตะ
๕. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า มิจฉาอาชีวะมีผลชั่วทั้งในภพนี้และภพหน้า ครั้น
พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว จึงละมิจฉาอาชีวะ ลอยมิจฉาอาชีวะ
๖. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า มิจฉาวายามะมีผลชั่วทั้งในภพนี้และภพหน้า ครั้น
พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว จึงละมิจฉาวายามะ ลอยมิจฉาวายามะ
๗. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า มิจฉาสติมีผลชั่วทั้งในภพนี้และภพหน้า ครั้น
พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว จึงละมิจฉาสติ ลอยมิจฉาสติ
๘. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า มิจฉาสมาธิมีผลชั่วทั้งในภพนี้และภพหน้า ครั้น
พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว จึงละมิจฉาสมาธิ ลอยมิจฉาสมาธิ
๙. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า มิจฉาญาณะมีผลชั่วทั้งในภพนี้และภพหน้า ครั้น
พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว จึงละมิจฉาญาณะ ลอยมิจฉาญาณะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๒. ปัจโจโรหณิวรรค ๘. ทุติยปัจโจโรหณีสูตร
๑๐. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า มิจฉาวิมุตติมีผลชั่วทั้งในภพนี้และภพหน้า ครั้น
พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว จึงละมิจฉาวิมุตติ ลอยมิจฉาวิมุตติ
พราหมณ์ พิธีลอยบาปในอริยวินัย เป็นอย่างนี้แล
ชาณุสโสณิพราหมณ์กราบทูลว่า “ท่านพระโคดม พิธีลอยบาปของพราหมณ์
ทั้งหลายเป็นอย่างหนึ่ง พิธีลอยบาปในอริยวินัยก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง พิธีลอยบาป
ของพราหมณ์ทั้งหลายย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งพิธีลอยบาปในอริยวินัยนี้ ท่าน
พระโคดม ภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำ
ข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
ปฐมปัจโจโรหณีสูตรที่ ๗ จบ

๘. ทุติยปัจโจโรหณีสูตร
ว่าด้วยพิธีลอยบาป สูตรที่ ๒
[๑๒๐] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงพิธีลอยบาปอันเป็นของพระอริยะแก่เธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
พิธีลอยบาปอันเป็นของพระอริยะ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า มิจฉาทิฏฐิมีผลชั่วทั้งในภพนี้และภพหน้า ครั้น
พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว จึงละมิจฉาทิฏฐิ ลอยมิจฉาทิฏฐิ
๒. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า มิจฉาสังกัปปะมีผลชั่ว ...
๓. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า มิจฉาวาจามีผลชั่ว ...
๔. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า มิจฉากัมมันตะมีผลชั่ว ...
๕. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า มิจฉาอาชีวะมีผลชั่ว ...
๖. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า มิจฉาวายามะมีผลชั่ว ...
๗. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า มิจฉาสติมีผลชั่ว ...
๘. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า มิจฉาสมาธิมีผลชั่ว ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๗๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๒. ปัจโจโรหณิวรรค ๙. ปุพพังคมสูตร
๙. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า มิจฉาญาณะมีผลชั่ว ...๑
๑๐. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า มิจฉาวิมุตติมีผลชั่วทั้งในภพนี้และภพหน้า ครั้น
พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว จึงละมิจฉาวิมุตติ ลอยมิจฉาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า พิธีลอยบาปอันเป็นของพระอริยะ
ทุติยปัจโจโรหณีสูตรที่ ๘ จบ

๙. ปุพพังคมสูตร
ว่าด้วยสัมมาทิฏฐิเป็นเบื้องต้นแห่งกุศลธรรม
[๑๒๑] ภิกษุทั้งหลาย เมื่อดวงอาทิตย์อุทัยอยู่ ย่อมมีแสงอรุณขึ้นมาก่อน เป็น
บุพนิมิต ฉันใด สัมมาทิฏฐิก็เป็นตัวนำ เป็นบุพนิมิตแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย
ฉันนั้น
ผู้มีสัมมาทิฏฐิ ย่อมมีสัมมาสังกัปปะ
ผู้มีสัมมาสังกัปปะ ย่อมมีสัมมาวาจา
ผู้มีสัมมาวาจา ย่อมมีสัมมากัมมันตะ
ผู้มีสัมมากัมมันตะ ย่อมมีสัมมาอาชีวะ
ผู้มีสัมมาอาชีวะ ย่อมมีสัมมาวายามะ
ผู้มีสัมมาวายามะ ย่อมมีสัมมาสติ
ผู้มีสัมมาสติ ย่อมมีสัมมาสมาธิ
ผู้มีสัมมาสมาธิ ย่อมมีสัมมาญาณะ
ผู้มีสัมมาญาณะ ย่อมมีสัมมาวิมุตติ๒
ปุพพังคมสูตรที่ ๙ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มในข้อ ๑๑๙ (ปฐมปัจโจโรหณีสูตร)
๒ เป็น ๑๐ ประการ โดยนับจำนวนองค์ธรรมตามข้อ ๑๒๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๒. ปัจโจโรหณิวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
๑๐. อาสวักขยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อสิ้นอาสวะ
[๑๒๒] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้ ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลาย
ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. สัมมาทิฏฐิ ๒. สัมมาสังกัปปะ
๓. สัมมาวาจา ๔. สัมมากัมมันตะ
๕. สัมมาอาชีวะ ๖. สัมมาวายามะ
๗. สัมมาสติ ๘. สัมมาสมาธิ
๙. สัมมาญาณะ ๑๐. สัมมาวิมุตติ

ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้แล ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลาย
อาสวักขยสูตรที่ ๑๐ จบ
ปัจโจโรหณิวรรคที่ ๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมอธัมมสูตร ๒. ทุติยอธัมมสูตร
๓. ตติยอธัมมสูตร ๔. อชิตสูตร
๕. สคารวสูตร ๖. โอริมตีรสูตร
๗. ปฐมปัจโจโรหณิสูตร ๘. ทุติยปัจโจโรหณิสูตร
๙. ปุพพังคมสูตร ๑๐. อาสวักขยสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๗๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๓. ปริสุทธวรรค ๑. ปฐมสูตร
๓. ปริสุทธวรรค
หมวดว่าด้วยธรรมที่บริสุทธิ์
๑. ปฐมสูตร
สูตรที่ ๑ ว่าด้วยธรรมที่บริสุทธิ์
[๑๒๓] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้ เป็น
ธรรมที่บริสุทธิ์ผุดผ่อง เว้นวินัยของพระสุคต๑แล้วย่อมไม่มี
ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) ๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ)
๓. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ) ๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ)
๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) ๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ)
๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ) ๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ)
๙. สัมมาญาณะ (รู้ชอบ) ๑๐. สัมมาวิมุตติ (หลุดพ้นชอบ)

ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้แล เป็นธรรมที่บริสุทธิ์ผุดผ่อง เว้นวินัย
ของพระสุคตแล้วย่อมไม่มี
ปฐมสูตรที่ ๑ จบ

เชิงอรรถ :
๑ วินัยของพระสุคต หมายถึงธรรมที่พระสุคตแสดง ซึ่งมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง
และมีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์ บริบูรณ์ ครบถ้วน คำว่า
สุคต เป็นพระนามของพระพุทธเจ้า มีความหมายหลายนัยดังนี้คือ (๑) เสด็จไปงาม คือบริสุทธิ์ ได้แก่
ดำเนินไปด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘ (๒) เสด็จไปยังสถานที่ดี คืออมตนิพพาน (๓) เสด็จไปโดยธรรม คือไม่กลับ
มาหากิเลสที่ทรงละได้แล้ว (๔) ทรงตรัสไว้โดยธรรม คือตรัสพระวาจาที่ควรในฐานะที่ควรเท่านั้น (วิ.อ.
๑/๑/๑๐๘ และดู องฺ.จตุกฺก. ๒๑/๑๖๐/๑๖๗-๑๖๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๗๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๓. ปริสุทธวรรค ๓. ตติยสูตร
๒. ทุติยสูตร
สูตรที่ ๒ ว่าด้วยธรรมที่ให้เกิดธรรม
[๑๒๔] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้ ที่ยังไม่เกิดขึ้นย่อมเกิดขึ้น เว้น
วินัยของพระสุคตแล้วย่อมไม่เกิดขึ้น
ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ๑ ๑๐. สัมมาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้แล ที่ยังไม่เกิดขึ้นย่อมเกิดขึ้น เว้นวินัยของ
พระสุคตแล้วย่อมไม่เกิดขึ้น
ทุติยสูตรที่ ๒ จบ

๓. ตติยสูตร
สูตรที่ ๓ ว่าด้วยธรรมมีผลมาก
[๑๒๕] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้ เป็นธรรมมีผลมาก มีอานิสงส์
มาก เว้นวินัยของพระสุคตแล้วย่อมไม่มี
ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๑๐. สัมมาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้แล เป็นธรรมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
เว้นวินัยของพระสุคตแล้วย่อมไม่มี
ตติยสูตรที่ ๓ จบ

เชิงอรรถ :
๑ “ฯลฯ” ที่ปรากฏในข้อ ๑๒๔ ถึงข้อ ๑๓๑ นี้ ดูความเต็มในข้อ ๑๒๓ (ปฐมสูตร)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๓. ปริสุทธวรรค ๕. ปัญจมสูตร
๔. จตุตถสูตร
สูตรที่ ๔ ว่าด้วยธรรมที่กำจัดราคะ โทสะและโมหะ
[๑๒๖] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้ เป็นธรรมมีการกำจัดราคะ
โทสะ และโมหะเป็นที่สุด เว้นวินัยของพระสุคตแล้วย่อมไม่มี
ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๑๐. สัมมาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้แล เป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และ
โมหะเป็นที่สุด เว้นวินัยของพระสุคตแล้วย่อมไม่มี
จตุตถสูตรที่ ๔ จบ

๕. ปัญจมสูตร
สูตรที่ ๕ ว่าด้วยธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย
[๑๒๗] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย
อย่างที่สุด เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
เว้นวินัยของพระสุคตแล้วย่อมเป็นไปไม่ได้
ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๑๐. สัมมาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายอย่าง
ที่สุด เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
เว้นวินัยของพระสุคตแล้วย่อมเป็นไปไม่ได้
ปัญจมสูตรที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๗๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๓. ปริสุทธวรรค ๗. สัตตมสูตร
๖. ฉัฏฐสูตร
สูตรที่ ๖ ว่าด้วยธรรมที่ให้เกิดธรรม
[๑๒๘] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้ ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ที่
ยังไม่เกิดขึ้นย่อมเกิดขึ้น เว้นวินัยของพระสุคตแล้วย่อมไม่เกิดขึ้น
ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๑๐. สัมมาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้แล ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ที่ยังไม่
เกิดขึ้นย่อมเกิดขึ้น เว้นวินัยของพระสุคตแล้วย่อมไม่เกิดขึ้น
ฉัฏฐสูตรที่ ๖ จบ

๗. สัตตมสูตร
สูตรที่ ๗ ว่าด้วยธรรมมีผลมาก
[๑๒๙] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้ ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว
ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก เว้นวินัยของพระสุคตแล้วย่อมไม่มี
ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๑๐. สัมมาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้แล ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมมีผล
มาก มีอานิสงส์มาก เว้นวินัยของพระสุคตแล้วย่อมไม่มี
สัตตมสูตรที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๘๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๓. ปริสุทธวรรค ๙. นวมสูตร
๘. อัฏฐมสูตร
สูตรที่ ๘ ว่าด้วยธรรมที่กำจัดราคะ โทสะ และโมหะ
[๑๓๐] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้ ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว เป็น
ธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะเป็นที่สุด เว้นวินัยของพระสุคตแล้วย่อมไม่มี
ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๑๐. สัมมาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้แล ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว เป็นธรรม
มีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะเป็นที่สุด เว้นวินัยของพระสุคตแล้วย่อมไม่มี
อัฏฐมสูตรที่ ๘ จบ

๙. นวมสูตร
สูตรที่ ๙ ว่าด้วยธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย
[๑๓๑] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้ ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อม
เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายอย่างที่สุด เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อ
รู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน เว้นวินัยของพระสุคตแล้วย่อมเป็นไปไม่ได้
ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๑๐. สัมมาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้แล ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมเป็น
ไปเพื่อความเบื่อหน่ายอย่างที่สุด เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง
เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน เว้นวินัยของพระสุคตแล้วย่อมเป็นไปไม่ได้
นวมสูตรที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๓. ปริสุทธวรรค ๑๑. เอกาทสมสูตร
๑๐. ทสมสูตร
สูตรที่ ๑๐ ว่าด้วยมิจฉัตตธรรม
[๑๓๒] ภิกษุทั้งหลาย มิจฉัตตธรรม (ธรรมที่ผิด) ๑๐ ประการนี้
มิจฉัตตธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. มิจฉาทิฏฐิ ๒. มิจฉาสังกัปปะ
๓. มิจฉาวาจา ๔. มิจฉากัมมันตะ
๕. มิจฉาอาชีวะ ๖. มิจฉาวายามะ
๗. มิจฉาสติ ๘. มิจฉาสมาธิ
๙. มิจฉาญาณะ ๑๐. มิจฉาวิมุตติ

ภิกษุทั้งหลาย มิจฉัตตธรรม ๑๐ ประการนี้แล
ทสมสูตรที่ ๑๐ จบ

๑๑. เอกาทสมสูตร
สูตรที่ ๑๑ ว่าด้วยสัมมัตตธรรม
[๑๓๓] ภิกษุทั้งหลาย สัมมัตตธรรม (ธรรมที่ถูก) ๑๐ ประการนี้
สัมมัตตธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. สัมมาทิฏฐิ ๒. สัมมาสังกัปปะ
๓. สัมมาวาจา ๔. สัมมากัมมันตะ
๕. สัมมาอาชีวะ ๖. สัมมาวายามะ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๓. ปริสุทธวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๗. สัมมาสติ ๘. สัมมาสมาธิ
๙. สัมมาญาณะ ๑๐. สัมมาวิมุตติ

ภิกษุทั้งหลาย สัมมัตตธรรม ๑๐ ประการนี้แล
เอกาทสมสูตรที่ ๑๑ จบ
ปริสุทธวรรคที่ ๓ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมสูตร ๒. ทุติยสูตร
๓. ตติยสูตร ๔. จตุตถสูตร
๕. ปัญจมสูตร ๖. ฉัฏฐสูตร
๗. สัตตมสูตร ๘. อัฏฐมสูตร
๙. นวมสูตร ๑๐. ทสมสูตร
๑๑. เอกาทสมสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๔. สาธุวรรค ๑. สาธุสูตร
๔. สาธุวรรค
หมวดว่าด้วยธรรมที่ดี และธรรมที่ไม่ดี
๑. สาธุสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ดี และธรรมที่ไม่ดี
[๑๓๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ดีและธรรม
ที่ไม่ดีแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูล
รับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ธรรมที่ไม่ดี อะไรบ้าง คือ

๑. มิจฉาทิฏฐิ (เห็นผิด) ๒. มิจฉาสังกัปปะ (ดำริผิด)
๓. มิจฉาวาจา (เจรจาผิด) ๔. มิจฉากัมมันตะ (กระทำผิด)
๕. มิจฉาอาชีวะ (เลี้ยงชีพผิด) ๖. มิจฉาวายามะ (พยายามผิด)
๗. มิจฉาสติ (ระลึกผิด) ๘. มิจฉาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นผิด)
๙. มิจฉาญาณะ (รู้ผิด) ๑๐. มิจฉาวิมุตติ (หลุดพ้นผิด)

ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ไม่ดี
ธรรมที่ดี อะไรบ้าง คือ

๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) ๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ)
๓. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ) ๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ)
๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) ๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ)
๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ) ๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ)
๙. สัมมาญาณะ (รู้ชอบ) ๑๐. สัมมาวิมุตติ (หลุดพ้นชอบ)

ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ดี
สาธุสูตรที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๔. สาธุวรรค ๓. อกุสลสูตร
๒. อริยธัมมสูตร
ว่าด้วยอริยธรรม และอนริยธรรม
[๑๓๕] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอริยธรรมและอนริยธรรมแก่เธอทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
อนริยธรรม อะไรบ้าง คือ
๑. มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ๑ ๑๐. มิจฉาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า อนริยธรรม
อริยธรรม อะไรบ้าง คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๑๐. สัมมาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า อริยธรรม
อริยธัมมสูตรที่ ๒ จบ

๓. อกุสลสูตร
ว่าด้วยอกุศลธรรม และกุศลธรรม
[๑๓๖] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอกุศลธรรมและกุศลธรรมแก่เธอทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
อกุศลธรรม อะไรบ้าง คือ
๑. มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ ๑๐. มิจฉาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า อกุศลธรรม

เชิงอรรถ :
๑ “ฯลฯ” ที่ปรากฏในข้อ ๑๓๕ ถึงข้อ ๑๕๔ นี้ ดูความเต็มในข้อ ๑๓๔ (สาธุสูตร)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๘๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๔. สาธุวรรค ๕. ธัมมสูตร
กุศลธรรม อะไรบ้าง คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๑๐. สัมมาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า กุศลธรรม
อกุสลสูตรที่ ๓ จบ

๔. อัตถสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นประโยชน์ และที่ไม่เป็นประโยชน์
[๑๓๗] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่เป็นประโยชน์และธรรมที่ไม่เป็น
ประโยชน์แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้น
ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ธรรมที่ไม่เป็นประโยชน์ อะไรบ้าง คือ
๑. มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ ๑๐. มิจฉาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ไม่เป็นประโยชน์
ธรรมที่เป็นประโยชน์ อะไรบ้าง คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๑๐. สัมมาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่เป็นประโยชน์
อัตถสูตรที่ ๔ จบ

๕. ธัมมสูตร
ว่าด้วยธรรม และอธรรม
[๑๓๘] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมและอธรรมแก่เธอทั้งหลาย เธอ
ทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๘๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๔. สาธุวรรค ๗. สาวัชชสูตร
อธรรม อะไรบ้าง คือ
๑. มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ ๑๐. มิจฉาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า อธรรม
ธรรม อะไรบ้าง คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๑๐. สัมมาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรม
ธัมมสูตรที่ ๕ จบ

๖. สาสวสูตร
ว่าด้วยธรรมที่มีอาสวะ และที่ไม่มีอาสวะ
[๑๓๙] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่มีอาสวะและธรรมที่ไม่มีอาสวะแก่
เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนอง
พระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ธรรมที่มีอาสวะ อะไรบ้าง คือ
๑. มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ ๑๐. มิจฉาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่มีอาสวะ
ธรรมที่ไม่มีอาสวะ อะไรบ้าง คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๑๐. สัมมาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ไม่มีอาสวะ
สาสวสูตรที่ ๖ จบ

๗. สาวัชชสูตร
ว่าด้วยธรรมที่มีโทษ และที่ไม่มีโทษ
[๑๔๐] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่มีโทษและธรรมที่ไม่มีโทษแก่เธอทั้ง
หลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระ
ดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๘๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๔. สาธุวรรค ๙. อาจยคามิสูตร
ธรรมที่มีโทษ อะไรบ้าง คือ
๑. มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ ๑๐. มิจฉาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่มีโทษ
ธรรมที่ไม่มีโทษ อะไรบ้าง คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๑๐. สัมมาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ไม่มีโทษ
สาวัชชสูตรที่ ๗ จบ

๘. ตปนียสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุ และไม่เป็นเหตุให้เดือดร้อน
[๑๔๑] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่เป็นเหตุให้เดือดร้อนและธรรมที่ไม่
เป็นเหตุให้เดือดร้อนแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ธรรมที่เป็นเหตุให้เดือดร้อน อะไรบ้าง คือ
๑. มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ ๑๐. มิจฉาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่เป็นเหตุให้เดือดร้อน
ธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เดือดร้อน อะไรบ้าง คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๑๐. สัมมาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เดือดร้อน
ตปนียสูตรที่ ๘ จบ

๙. อาจยคามิสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงจุติ ปฏิสนธิ และนิพพาน
[๑๔๒] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงจุติและปฏิสนธิ และ
ธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพานแก่เธอทั้หลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจัก
กล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๘๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๔. สาธุวรรค ๑๑. ทุกขวิปากสูตร
ธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงจุติและปฏิสนธิ อะไรบ้าง คือ
๑. มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ ๑๐. มิจฉาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงจุติและปฏิสนธิ
ธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพาน อะไรบ้าง คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๑๐. สัมมาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพาน
อาจยคามิสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ทุกขุทรยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่มีทุกข์ และที่มีสุขเป็นกำไร
[๑๔๓] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่มีทุกข์เป็นกำไร และธรรมที่มีสุข
เป็นกำไรแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้น
ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ธรรมที่มีทุกข์เป็นกำไร อะไรบ้าง คือ
๑. มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ ๑๐. มิจฉาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่มีทุกข์เป็นกำไร
ธรรมที่มีสุขเป็นกำไร อะไรบ้าง คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๑๐. สัมมาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่มีสุขเป็นกำไร
ทุกขุทรยสูตรที่ ๑๐ จบ

๑๑. ทุกขวิปากสูตร
ว่าด้วยธรรมที่มีทุกข์ และที่มีสุขเป็นวิบาก
[๑๔๔] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่มีทุกข์เป็นวิบาก และธรรมที่มีสุข
เป็นวิบากแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่า
นั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๘๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๔. สาธุวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ธรรมที่มีทุกข์เป็นวิบาก อะไรบ้าง คือ
๑. มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ ๑๐. มิจฉาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่มีทุกข์เป็นวิบาก
ธรรมที่มีสุขเป็นวิบาก อะไรบ้าง คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๑๐. สัมมาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่มีสุขเป็นวิบาก
ทุกขวิปากสูตรที่ ๑๑ จบ
สาธุวรรคที่ ๔ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สาธุสูตร ๒. อริยธัมมสูตร
๓. อกุสลสูตร ๔. อัตถสูตร
๕. ธัมมสูตร ๖. สาสวสูตร
๗. สาวัชชสูตร ๘. ตปนียสูตร
๙. อาจยคามิสูตร ๑๐. ทุกขุทรยสูตร
๑๑. ทุกขวิปากสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๙๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๕. อริยมัคควรรค ๒. กัณหมัคคสูตร
๕. อริยมัคควรรค
หมวดว่าด้วยธรรมที่เป็นอริยมรรค
๑. อริยมัคคสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นอริยมรรค และที่ไม่ใช่อริยมรรค
[๑๔๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่เป็น
อริยมรรคและธรรมที่ไม่ใช่อริยมรรคแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี
เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่อง
นี้ว่า
ธรรมที่ไม่ใช่อริยมรรค อะไรบ้าง คือ
๑. มิจฉาทิฏฐิ (เห็นผิด)ฯลฯ ๑๐. มิจฉาวิมุตติ (หลุดพ้นผิด)
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ไม่ใช่อริยมรรค
ธรรมที่เป็นอริยมรรค อะไรบ้าง คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ)ฯลฯ ๑๐. สัมมาวิมุตติ (หลุดพ้นชอบ)
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่เป็นอริยมรรค
อริยมัคคสูตรที่ ๑ จบ

๒. กัณหมัคคสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นฝ่ายดำ และที่เป็นฝ่ายขาว
[๑๔๖] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่เป็นฝ่ายดำและธรรมที่เป็นฝ่ายขาว
แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับ
สนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ธรรมที่เป็นฝ่ายดำ อะไรบ้าง คือ
๑. มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ ๑๐. มิจฉาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่เป็นฝ่ายดำ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๙๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๕. อริยมัคควรรค ๔. สัปปุริสธัมมสูตร
ธรรมที่เป็นฝ่ายขาว อะไรบ้าง คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๑๐. สัมมาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่เป็นฝ่ายขาว
กัณหมัคคสูตรที่ ๒ จบ

๓. สัทธัมมสูตร
ว่าด้วยสัทธรรม และอสัทธรรม
[๑๔๗] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสัทธรรมและอสัทธรรมแก่เธอทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
อสัทธรรม อะไรบ้าง คือ
๑. มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ ๑๐. มิจฉาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า อสัทธรรม
สัทธรรม อะไรบ้าง คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๑๐. สัมมาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า สัทธรรม
สัทธัมมสูตรที่ ๓ จบ

๔. สัปปุริสธัมมสูตร
ว่าด้วยธรรมของสัตบุรุษ และธรรมของอสัตบุรุษ
[๑๔๘] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมของสัตบุรุษและธรรมของอสัตบุรุษ
แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับ
สนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๕. อริยมัคควรรค ๕. อุปปาเทตัพพสูตร
ธรรมของอสัตบุรุษ อะไรบ้าง คือ
๑. มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ ๑๐. มิจฉาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมของอสัตบุรุษ
ธรรมของสัตบุรุษ อะไรบ้าง คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๑๐. สัมมาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมของสัตบุรุษ
สัปปุริสธัมมสูตรที่ ๔ จบ

๕. อุปปาเทตัพพสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ควรให้เกิดขึ้น และที่ไม่ควรให้เกิดขึ้น
[๑๔๙] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ควรให้เกิดขึ้นและธรรมที่ไม่ควรให้
เกิดขึ้นแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้น
ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ธรรมที่ไม่ควรให้เกิดขึ้น อะไรบ้าง คือ
๑. มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ ๑๐. มิจฉาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ไม่ควรให้เกิดขึ้น
ธรรมที่ควรให้เกิดขึ้น อะไรบ้าง คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๑๐. สัมมาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ควรให้เกิดขึ้น
อุปปาเทตัพพสูตรที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๕. อริยมัคควรรค ๗. ภาเวตัพพสูตร
๖. อาเสวิตัพพสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ควรเสพ๑และที่ไม่ควรเสพ
[๑๕๐] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ควรเสพและธรรมที่ไม่ควรเสพแก่
เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนอง
พระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ธรรมที่ไม่ควรเสพ อะไรบ้าง คือ
๑. มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ ๑๐. มิจฉาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ไม่ควรเสพ
ธรรมที่ควรเสพ อะไรบ้าง คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๑๐. สัมมาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ควรเสพ
อาเสวิตัพพสูตรที่ ๖ จบ

๗. ภาเวตัพพสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ควรเจริญ และที่ไม่ควรเจริญ
[๑๕๑] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ควรเจริญและธรรมที่ไม่ควรเจริญ
แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับ
สนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ธรรมที่ไม่ควรเจริญ อะไรบ้าง คือ

เชิงอรรถ :
๑ เสพ ในที่นี้หมายถึงการนึกหน่วง รู้ เห็น พิจารณา อธิษฐานจิต น้อมใจเชื่อ ประคองความเพียร ตั้งสติไว้
ตั้งจิตไว้ กำหนดรู้ด้วยปัญญา รู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ละธรรมที่ควรละ เจริญ
ธรรมที่ควรเจริญ ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง (องฺ.เอกก.อ. ๑/๕๓/๖๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๙๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๕. อริยมัคควรรค ๘. พหุลีกาตัพพสูตร
๑. มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ ๑๐. มิจฉาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ไม่ควรเจริญ
ธรรมที่ควรเจริญ อะไรบ้าง คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๑๐. สัมมาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ควรเจริญ
ภาเวตัพพสูตรที่ ๗ จบ

๘. พหุลีกาตัพพสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ควรทำให้มาก และที่ไม่ควรทำให้มาก
[๑๕๒] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ควรทำให้มากและธรรมที่ไม่ควร
ทำให้มากแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้น
ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ธรรมที่ไม่ควรทำให้มาก อะไรบ้าง คือ
๑. มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ ๑๐. มิจฉาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ไม่ควรทำให้มาก
ธรรมที่ควรทำให้มาก อะไรบ้าง คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๑๐. สัมมาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ควรทำให้มาก
พหุลีกาตัพพสูตรที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๙๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๕. อริยมัคควรรค ๑๐. สัจฉิกาตัพพสูตร
๙. อนุสสริตัพพสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ควรระลึก และที่ไม่ควรระลึก
[๑๕๓] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ควรระลึกและธรรมที่ไม่ควรระลึก
แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับ
สนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ธรรมที่ไม่ควรระลึก อะไรบ้าง คือ
๑. มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ ๑๐. มิจฉาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ไม่ควรระลึก
ธรรมที่ควรระลึก อะไรบ้าง คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๑๐. สัมมาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ควรระลึก
อนุสสริตัพพสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. สัจฉิกาตัพพสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ควรทำให้แจ้ง และที่ไม่ควรทำให้แจ้ง
[๑๕๔] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ควรทำให้แจ้งและธรรมที่ไม่ควร
ทำให้แจ้งแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่า
นั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ธรรมที่ไม่ควรทำให้แจ้ง อะไรบ้าง คือ
๑. มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ ๑๐. มิจฉาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ไม่ควรทำให้แจ้ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๙๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๕. อริยมัคควรรค ๑๐. สัจฉิกาตัพพสูตร
ธรรมที่ควรทำให้แจ้ง อะไรบ้าง คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๑๐. สัมมาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ควรทำให้แจ้ง
สัจฉิกาตัพพสูตรที่ ๑๐ จบ
อริยมัคควรรคที่ ๕ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อริยมัคคสูตร ๒. กัณหมัคคสูตร
๓. สัทธัมมสูตร ๔. สัปปุริสธัมมสูตร
๕. อุปปาเทตัพพสูตร ๖. อาเสวิตัพพสูตร
๗. ภาเวตัพพสูตร ๘. พหุลีกาตัพพสูตร
๙. อนุสสริตัพพสูตร ๑๐. สัจฉิกาตัพพสูตร

ตติยปัณณาสก์ จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๑. ปุคคลวรรค ๑. เสวิตัพพสูตร
๔. จตุตถปัณณาสก์
๑.ปุคคลวรรค
หมวดว่าด้วยบุคคล
๑. เสวิตัพพสูตร
ว่าด้วยบุคคลที่ควรเสพ๑
[๑๕๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐
ประการ เป็นผู้ไม่ควรเสพ
ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. มิจฉาทิฏฐิ (เห็นผิด) ๒. มิจฉาสังกัปปะ (ดำริผิด)
๓. มิจฉาวาจา (เจรจาผิด) ๔. มิจฉากัมมันตะ (กระทำผิด)
๕. มิจฉาอาชีวะ (เลี้ยงชีพผิด) ๖. มิจฉาวายามะ (พยายามผิด)
๗. มิจฉาสติ (ระลึกผิด) ๘. มิจฉาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นผิด)
๙. มิจฉาญาณะ (รู้ผิด) ๑๐. มิจฉาวิมุตติ (หลุดพ้นผิด)

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐. ประการนี้แล เป็นผู้ไม่ควรเสพ
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ควรเสพ
ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) ๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ)
๓. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ) ๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ)
๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) ๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ)


เชิงอรรถ :
๑ เสพ ในที่นี้หมายถึงเข้าไปหา (องฺ.ติก.อ. ๒/๒๖/๑๐๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๙๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๑. ปุคคลวรรค ๒-๑๒. ภชิตัพพาทิสูตร

๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ) ๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ)
๙. สัมมาญาณะ (รู้ชอบ) ๑๐. สัมมาวิมุตติ (หลุดพ้นชอบ)

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล เป็นผู้ควรเสพ
เสวิตัพพสูตรที่ ๑ จบ

๒-๑๒. ภชิตัพพาทิสูตร
ว่าด้วยบุคคลที่ควรคบ๑เป็นต้น
[๑๕๖] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ไม่ควรคบ ...
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ควรคบ ...
[๑๕๗] บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้๒ ...
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ควรเข้าไปนั่งใกล้ ...
[๑๕๘] บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ไม่ควรบูชา ... บุคคล
ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ควรบูชา ...
[๑๕๙] บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ไม่ควรสรรเสริญ ...
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ควรสรรเสริญ ...
[๑๖๐] บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ไม่ควรเคารพ ... บุคคล
ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ควรเคารพ ...
[๑๖๑] บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ไม่ควรยำเกรง ... บุคคล
ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ควรยำเกรง ...
[๑๖๒] บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ไม่ควรให้ยินดี ... บุคคล
ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ควรให้ยินดี ...
[๑๖๓] บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมไม่บริสุทธิ์ ... บุคคล
ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมบริสุทธิ์ ...

เชิงอรรถ :
๑ คบ ในที่นี้หมายถึงให้ความสนิทสนม (องฺ.ติก.อ. ๒/๒๖/๑๐๔)
๒ เข้าไปนั่งใกล้ หมายถึงเข้าไปนั่งใกล้แล้วสักการะ เคารพอยู่เสมอ ๆ (องฺ.ติก.อ. ๒/๒๖/๑๐๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๙๙ }


>>>>> หน้าต่อไป >>>>>





eXTReMe Tracker