ค้นว่าอยู่เล่มใด แล้วกด [ctrl]+f หรือใช้คำสั่งของเครื่องหาตำแหน่งในเล่มอีกทีนะครับ



จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อความสะดวก และสวยงาม
(เฉพาะหน้าจอใหญ่ เช่น คอมพิวเตอร์)
กรุณาคลิก จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อให้กรอบ
ค้นข้อความ ปรากฎที่ด้านซ้ายของหน้า

พระไตรปิฎกภาษาไทย
ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม (ปกสีฟ้า)
ทั้งออนไลน์และออฟไลน์
ที่มาของข้อมูล : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มจร.
MCUTRAI Version 1.0

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔-๓ สุตตันตปิฎกที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก เอกาทสกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก
อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต
_______________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๑. ปุคคลวรรค ๒-๑๒. ภชิตัพพาทิสูตร
[๑๖๔] บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมครอบงำมานะไม่ได้ ...
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมครอบงำมานะได้ ...
[๑๖๕] บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมไม่เจริญด้วยปัญญา ...
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมเจริญด้วยปัญญา ...
[๑๖๖] บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมประสพ๑สิ่งไม่ใช่บุญเป็น
อันมาก
ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. มิจฉาทิฏฐิ ๒. มิจฉาสังกัปปะ
๓. มิจฉาวาจา ๔. มิจฉากัมมันตะ
๕. มิจฉาอาชีวะ ๖. มิจฉาวายามะ
๗. มิจฉาสติ ๘. มิจฉาสมาธิ
๙. มิจฉาญาณะ ๑๐. มิจฉาวิมุตติ

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล ย่อมประสพสิ่งไม่
ใช่บุญเป็นอันมาก
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมประสพบุญเป็นอันมาก
ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. สัมมาทิฏฐิ ๒. สัมมาสังกัปปะ
๓. สัมมาวาจา ๔. สัมมากัมมันตะ
๕. สัมมาอาชีวะ ๖. สัมมาวายามะ
๗. สัมมาสติ ๘. สัมมาสมาธิ
๙. สัมมาญาณะ ๑๐. สัมมาวิมุตติ

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล ย่อมประสพบุญ
เป็นอันมาก
ภชิตัพพาทิสูตรที่ ๒-๑๒ จบ
ปุคคลวรรคที่ ๑ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ประสพ (ปสวติ) หมายถึงได้รับผลตอบ (ปฏิลภติ) (องฺ.ติก.อ. ๒/๔๖/๑๕๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๐๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. ชาณุสโสณิวรรค ๑. พราหมณปัจโจโรหณิสูตร
๒. ชาณุสโสณิวรรค
หมวดว่าด้วยพราหมณ์ชื่อว่าชาณุสโสณิ
๑. พราหมณปัจโจโรหณิสูตร
ว่าด้วยพิธีลอยบาปของพราหมณ์
[๑๖๗] สมัยนั้น พราหมณ์ชื่อว่าชาณุสโสณิสรงน้ำดำหัวในวันอุโบสถ นุ่งห่ม
ผ้าไหมคู่ใหม่ ยืนถือกำหญ้าคาสดอยู่ ณ ที่สมควร ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค
พระผู้มีพระภาคทอดพระเนตรเห็นแล้วได้ตรัสถามชาณุสโสณิพราหมณ์ดังนี้ว่า
“พราหมณ์ เพราะเหตุไรหนอ ท่านจึงสรงน้ำดำหัวในวันอุโบสถ นุ่งห่มผ้าไหม
คู่ใหม่ ยืนถือกำหญ้าคาสดอยู่ ณ ที่สมควร วันนี้เป็นวันอะไรของตระกูลพราหมณ์”
ชาณุสโสณิพราหมณ์กราบทูลว่า “ท่านพระโคดม วันนี้เป็นวันลอยบาปของ
ตระกูลพราหมณ์”
“พราหมณ์ พิธีลอยบาปของพราหมณ์ทั้งหลาย เป็นอย่างไร”
“ท่านพระโคดม ในวันอุโบสถ พราหมณ์ทั้งหลายในโลกนี้ พากันสรงน้ำดำหัว
นุ่งห่มผ้าไหมคู่ใหม่ ทาแผ่นดินด้วยโคมัยสด ลาดด้วยหญ้าคาที่เขียวสดแล้วนอนใน
ระหว่างกองทรายและเรือนไฟ ในราตรีนั้น พราหมณ์เหล่านั้นลุกขึ้นแล้วประคอง
อัญชลีนอบน้อมไฟ ๓ ครั้งด้วยกล่าวว่า ‘ข้าพเจ้าทั้งหลายขอลอยบาปต่อท่านผู้เจริญ
ข้าพเจ้าทั้งหลายขอลอยบาปต่อท่านผู้เจริญ’ และบำเรอไฟให้อิ่มหนำด้วยเนยใส น้ำ
มัน และเนยข้นจำนวนมาก พอล่วงราตรีนั้นไปจึงเลี้ยงพราหมณ์ทั้งหลายให้อิ่มหนำ
ด้วยของเคี้ยวของบริโภคอันประณีต ท่านพระโคดม พิธีลอยบาปของพราหมณ์
ทั้งหลาย เป็นอย่างนี้แล”
“พราหมณ์ พิธีลอยบาปของพราหมณ์ทั้งหลายเป็นอย่างหนึ่ง พิธีลอยบาปใน
อริยวินัยเป็นอีกอย่างหนึ่ง”
“ท่านพระโคดม พิธีลอยบาปในอริยวินัยเป็นอย่างไร ขอประทานวโรกาส ขอ
ท่านพระโคดมโปรดแสดงธรรมที่เป็นพิธีลอยบาปในอริยวินัยแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. ชาณุสโสณิวรรค ๑. พราหมณปัจโจโรหณิสูตร
“พราหมณ์ ถ้าเช่นนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
ชาณุสโสณิพราหมณ์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัส
เรื่องนี้ว่า
พราหมณ์ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ปาณาติบาต(การฆ่าสัตว์)มีผลชั่วทั้งในภพนี้และ
ภพหน้า ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว จึงละปาณาติบาต ลอยปาณาติบาต
๒. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า อทินนาทาน(การลักทรัพย์)มีผลชั่วทั้งในภพนี้และ
ภพหน้า ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว จึงละอทินนาทาน ลอยอทินนาทาน
๓. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า กาเมสุมิจฉาจาร(การประพฤติผิดในกาม)มีผลชั่ว
ทั้งในภพนี้และภพหน้า ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว จึงละกาเมสุมิจฉาจาร
ลอยกาเมสุมิจฉาจาร
๔. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า มุสาวาท(พูดเท็จ)มีผลชั่วทั้งในภพนี้และภพหน้า
ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว จึงละมุสาวาท ลอยมุสาวาท
๕. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ปิสุณาวาจา(คำส่อเสียด)มีผลชั่วทั้งในภพนี้และ
ภพหน้า ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว จึงละปิสุณาวาจา ลอยปิสุณาวาจา
๖. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ผรุสวาจา(คำหยาบ)มีผลชั่วทั้งในภพนี้และภพหน้า
ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว จึงละผรุสวาจา ลอยผรุสวาจา
๗. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า สัมผัปปลาปะ(คำเพ้อเจ้อ)มีผลชั่วทั้งในภพนี้
และภพหน้า ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว จึงละสัมผัปปลาปะ ลอย
สัมผัปปลาปะ
๘. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า อภิชฌา(ความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา)มีผลชั่วทั้งใน
ภพนี้และภพหน้า ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว จึงละอภิชฌา ลอยอภิชฌา
๙. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า พยาบาท(ความคิดร้าย)มีผลชั่วทั้งในภพนี้และ
ภพหน้า ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว จึงละพยาบาท ลอยพยาบาท
๑๐. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า มิจฉาทิฏฐิ(เห็นผิด) มีผลชั่วทั้งในภพนี้และภพหน้า
ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว จึงละมิจฉาทิฏฐิ ลอยมิจฉาทิฏฐิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. ชาณุสโสณิวรรค ๒. อริยปัจโจโรหณิสูตร
พราหมณ์ พิธีลอยบาปในอริยวินัย เป็นอย่างนี้แล
ชาณุสโสณิพราหมณ์กราบทูลว่า “ท่านพระโคดม พิธีลอยบาปของพราหมณ์
ทั้งหลายเป็นอย่างหนึ่ง พิธีลอยบาปในอริยวินัยก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง พิธีลอยบาปของ
พราหมณ์ทั้งหลายย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งพิธีลอยบาปในอริยวินัยนี้ ท่านพระ
โคดม ภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้า
พระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
พราหมณปัจโจโรหณิสูตรที่ ๑ จบ

๒. อริยปัจโจโรหณิสูตร
ว่าด้วยพิธีลอยบาปของพระอริยะ
[๑๖๘] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงพิธีลอยบาปอันเป็นของพระอริยะแก่เธอทั้ง
หลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
พิธีลอยบาปอันเป็นของพระอริยะ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ปาณาติบาตมีผลชั่วทั้งในภพนี้และภพหน้า ครั้น
พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว จึงละปาณาติบาต ลอยปาณาติบาต
๒. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า อทินนาทานมีผลชั่วทั้งในภพนี้และภพหน้า ครั้น
พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว จึงละอทินนาทาน ลอยอทินนาทาน
๓. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า กาเมสุมิจฉาจารมีผลชั่วทั้งในภพนี้และภพหน้า
ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว จึงละกาเมสุมิจฉาจาร ลอยกาเมสุมิจฉาจาร
๔. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า มุสาวาทมีผลชั่วทั้งในภพนี้และภพหน้า ครั้น
พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว จึงละมุสาวาท ลอยมุสาวาท
๕. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ปิสุณาวาจามีผลชั่วทั้งในภพนี้และภพหน้า ครั้น
พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว จึงละปิสุณาวาจา ลอยปิสุณาวาจา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๐๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. ชาณุสโสณิวรรค ๓. สคารวสูตร
๖. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ผรุสวาจามีผลชั่วทั้งในภพนี้และภพหน้า ครั้น
พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว จึงละผรุสวาจา ลอยผรุสวาจา
๗. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า สัมผัปปลาปะมีผลชั่วทั้งในภพนี้และภพหน้า ครั้น
พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว จึงละสัมผัปปลาปะ ลอยสัมผัปปลาปะ
๘. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า อภิชฌามีผลชั่วทั้งในภพนี้และภพหน้า ครั้น
พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว จึงละอภิชฌา ลอยอภิชฌา
๙. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า พยาบาทมีผลชั่วทั้งในภพนี้และภพหน้า ครั้น
พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว จึงละพยาบาท ลอยพยาบาท
๑๐. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า มิจฉาทิฏฐิมีผลชั่วทั้งในภพนี้และภพหน้า ครั้น
พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว จึงละมิจฉาทิฏฐิ ลอยมิจฉาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า พิธีลอยบาปอันเป็นของพระอริยะ
อริยปัจโจโรหณิสูตรที่ ๒ จบ

๓. สคารวสูตร
ว่าด้วยพราหมณ์ชื่อว่าสคารวะ
[๑๖๙] ครั้งนั้นแล พราหมณ์ชื่อว่าสคารวะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง
ที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่
สมควร๑ ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ท่านพระโคดม อะไรหนอเป็นฝั่งนี้ อะไรเป็นฝั่งโน้น๒”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า พราหมณ์
๑. ปาณาติบาตเป็นฝั่งนี้ เจตนางดเว้นจากปาณาติบาตเป็นฝั่งโน้น
๒. อทินนาทานเป็นฝั่งนี้ เจตนางดเว้นจากอทินนาทานเป็นฝั่งโน้น

เชิงอรรถ :
๑ ที่สมควร (เอกมนฺตํ) ในที่นี้หมายถึงที่อันเหมาะสมเว้นโทษ ๖ ประการ คือ (๑) ไกลเกินไป (๒) ใกล้เกินไป
(๓) อยู่เหนือลม (๔) สูงเกินไป (๕) อยู่ตรงหน้าเกินไป (๖) อยู่ข้างหลังเกินไป (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๖/๑๕)
๒ ดูเชิงอรรถที่ ๑,๒ ข้อ ๑๑๗ (สคารวสูตร) หน้า ๒๖๙ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. ชาณุสโสณิวรรค ๓. สคารวสูตร
๓. กาเมสุมิจฉาจารเป็นฝั่งนี้ เจตนางดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจารเป็นฝั่งโน้น
๔. มุสาวาทเป็นฝั่งนี้ เจตนางดเว้นจากมุสาวาทเป็นฝั่งโน้น
๕. ปิสุณาวาจาเป็นฝั่งนี้ เจตนางดเว้นจากปิสุณาวาจาเป็นฝั่งโน้น
๖. ผรุสวาจาเป็นฝั่งนี้ เจตนางดเว้นจากผรุสวาจาเป็นฝั่งโน้น
๗. สัมผัปปลาปะเป็นฝั่งนี้ เจตนางดเว้นจากสัมผัปปลาปะเป็นฝั่งโน้น
๘. อภิชฌาเป็นฝั่งนี้ อนภิชฌา(ความไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา) เป็นฝั่งโน้น
๙. พยาบาทเป็นฝั่งนี้ อพยาบาท(ความไม่คิดร้าย) เป็นฝั่งโน้น
๑๐. มิจฉาทิฏฐิเป็นฝั่งนี้ สัมมาทิฏฐิ(เห็นชอบ) เป็นฝั่งโน้น
พราหมณ์ นี้แลเป็นฝั่งนี้ นี้แลเป็นฝั่งโน้น
ในหมู่มนุษย์ เหล่าชนผู้ไปถึงฝั่งโน้นมีจำนวนน้อย
ส่วนหมู่สัตว์นอกนี้เลาะไปตามฝั่งนี้ทั้งนั้น
ส่วนชนเหล่าใดประพฤติตามธรรม
ในธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้โดยชอบ
ชนเหล่านั้นจักข้ามพ้นวัฏฏะ
อันเป็นบ่วงมารที่ข้ามได้แสนยาก จักถึงฝั่งโน้น
บัณฑิตละธรรมดำ แล้วพึงเจริญธรรมขาว
ออกจากวัฏฏะมาสู่วิวัฏฏะ
ละกามทั้งหลายแล้ว เป็นผู้หมดความกังวล
พึงปรารถนาความยินดียิ่งในวิเวกที่ยินดีได้ยากยิ่ง
บัณฑิตพึงชำระตนให้ผ่องแผ้ว
จากเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตทั้งหลาย
บัณฑิตเหล่าใดอบรมจิตโดยชอบ
ในองค์ธรรมเป็นเครื่องตรัสรู้ทั้งหลาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๐๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. ชาณุสโสณิวรรค ๔. โอริมสูตร
ไม่ถือมั่น ยินดีในนิพพานเป็นที่สละความถือมั่น
บัณฑิตเหล่านั้นสิ้นอาสวะแล้ว
มีความรุ่งเรือง ดับสนิทแล้วในโลก๑
สคารวสูตรที่ ๓ จบ

๔. โอริมสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นฝั่งนี้และธรรมที่เป็นฝั่งโน้น
[๑๗๐] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงฝั่งนี้และฝั่งโน้นแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้ง
หลายจงฟัง ฯลฯ
ฝั่งนี้และฝั่งโน้น อะไรบ้าง คือ
๑. ปาณาติบาตเป็นฝั่งนี้ เจตนางดเว้นจากปาณาติบาตเป็นฝั่งโน้น
๒. อทินนาทานเป็นฝั่งนี้ เจตนางดเว้นจากอทินนาทานเป็นฝั่งโน้น
๓. กาเมสุมิจฉาจารเป็นฝั่งนี้ เจตนางดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจารเป็นฝั่งโน้น
๔. มุสาวาทเป็นฝั่งนี้ เจตนางดเว้นจากมุสาวาทเป็นฝั่งโน้น
๕. ปิสุณาวาจาเป็นฝั่งนี้ เจตนางดเว้นจากปิสุณาวาจาเป็นฝั่งโน้น
๖. ผรุสวาจาเป็นฝั่งนี้ เจตนางดเว้นจากผรุสวาจาเป็นฝั่งโน้น
๗. สัมผัปปลาปะเป็นฝั่งนี้ เจตนางดเว้นจากสัมผัปปลาปะเป็นฝั่งโน้น
๘. อภิชฌาเป็นฝั่งนี้ อนภิชฌาเป็นฝั่งโน้น
๙. พยาบาทเป็นฝั่งนี้ อพยาบาทเป็นฝั่งโน้น
๑๐. มิจฉาทิฏฐิเป็นฝั่งนี้ สัมมาทิฏฐิเป็นฝั่งโน้น
ภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นฝั่งนี้ นี้แลเป็นฝั่งโน้น

เชิงอรรถ :
๑ คาถาข้อ ๑๖๙ และข้อ ๑๗๐ นี้ เทียบดูในข้อ ๑๑๗ พร้อมทั้งเชิงอรรถ หน้า ๒๖๙-๒๗๐ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๐๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. ชาณุสโสณิวรรค ๕. ปฐมอธัมมสูตร
ในหมู่มนุษย์ เหล่าชนผู้ไปถึงฝั่งโน้นมีจำนวนน้อย
ส่วนหมู่สัตว์นอกนี้เลาะไปตามฝั่งนี้ทั้งนั้น
ส่วนชนเหล่าใดประพฤติตามธรรม
ในธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้โดยชอบ
ชนเหล่านั้นจักข้ามพ้นวัฏฏะ
อันเป็นบ่วงมารที่ข้ามได้แสนยาก จักถึงฝั่งโน้น
บัณฑิตละธรรมดำแล้วพึงเจริญธรรมขาว
ออกจากวัฏฏะมาสู่วิวัฏฏะ
ละกามทั้งหลายแล้วเป็นผู้หมดความกังวล
พึงปรารถนาความยินดียิ่งในวิเวกที่ยินดีได้ยากยิ่ง
บัณฑิตพึงชำระตนให้ผ่องแผ้ว
จากเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตทั้งหลาย
บัณฑิตเหล่าใดอบรมจิตโดยชอบ
ในองค์ธรรมเป็นเครื่องตรัสรู้ทั้งหลาย
ไม่ถือมั่น ยินดีในนิพพานเป็นที่สละความถือมั่น
บัณฑิตเหล่านั้นสิ้นอาสวะแล้ว
มีความรุ่งเรือง ดับสนิทแล้วในโลก
โอริมสูตรที่ ๔ จบ

๕. ปฐมอธัมมสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สูตรที่ ๑
[๑๗๑] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็นธรรมและไม่เป็นประโยชน์
ควรทราบทั้งสิ่งที่เป็นธรรมและเป็นประโยชน์ ครั้นทราบแล้ว ควรปฏิบัติตามสิ่งที่
เป็นธรรมและเป็นประโยชน์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๐๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. ชาณุสโสณิวรรค ๖. ทุติยอธัมมสูตร
สิ่งที่ไม่เป็นธรรมและไม่เป็นประโยชน์ อะไรบ้าง คือ

๑. ปาณาติบาต ๒. อทินนาทาน
๓. กาเมสุมิจฉาจาร ๔. มุสาวาท
๕. ปิสุณาวาจา ๖. ผรุสวาจา
๗. สัมผัปปลาปะ ๘. อภิชฌา
๙. พยาบาท ๑๐. มิจฉาทิฏฐิ

ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า สิ่งที่ไม่เป็นธรรมและไม่เป็นประโยชน์
สิ่งที่เป็นธรรมและเป็นประโยชน์ อะไรบ้าง คือ

คือ ๑. เจตนางดเว้นจากปาณาติบาต ๒. เจตนางดเว้นจากอทินนาทาน
๓. เจตนางดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร ๔. เจตนางดเว้นจากมุสาวาท
๕. เจตนางดเว้นจากปิสุณาวาจา ๖. เจตนางดเว้นจากผรุสวาจา
๗. เจตนางดเว้นจากสัมผัปปลาปะ ๘. อนภิชฌา
๙. อพยาบาท ๑๐. สัมมาทิฏฐิ

ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า สิ่งที่เป็นธรรมและเป็นประโยชน์
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยคำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘บุคคลควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็น
ธรรมและไม่เป็นประโยชน์ ควรทราบทั้งสิ่งที่เป็นธรรมและเป็นประโยชน์ ครั้นทราบ
แล้ว ควรปฏิบัติตามสิ่งที่เป็นธรรม และเป็นประโยชน์’ เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
ปฐมอธัมมสูตร ที่ ๕ จบ

๖. ทุติยอธัมมสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สูตรที่ ๒
[๑๗๒] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรม
ควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นประโยชน์ ครั้นทราบแล้ว ควรปฏิบัติ
ตามสิ่งที่เป็นธรรมและเป็นประโยชน์ พระผู้มีพระภาคผู้สุคตครั้นตรัสพระพุทธพจน์นี้
แล้วเสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์เข้าไปยังพระวิหาร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๐๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. ชาณุสโสณิวรรค ๖. ทุติยอธัมมสูตร
ลำดับนั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคทรงหลีกไปไม่นาน ภิกษุเหล่านั้นจึงได้ปรึกษากันว่า
“ผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลายทรงแสดงอุทเทส๑โดยย่อว่า
‘ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรม ควรทราบ
ทั้งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นประโยชน์ ครั้นทราบแล้ว ควรปฏิบัติตามสิ่งที่
เป็นธรรมและเป็นประโยชน์’ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดาร เสด็จลุกขึ้นจาก
พุทธอาสน์เข้าไปยังพระวิหาร ใครหนอจะพึงจำแนกเนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มี
พระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อไม่ทรงจำแนกไว้โดยพิสดารนี้ให้พิสดารได้”
ลำดับนั้น ภิกษุเหล่านั้นมีความเห็นร่วมกันว่า “ท่านมหากัจจานะนี้แล พระ
ศาสดาทรงสรรเสริญแล้ว และเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายก็ยกย่อง ท่านสามารถ
จะจำแนกเนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อไม่ทรงจำแนกไว้
โดยพิสดารนี้ให้พิสดารได้ ทางที่ดี พวกเราควรจะเข้าไปหาท่านมหากัจจานะถึงที่อยู่
แล้วเรียนถามเนื้อความนี้กับท่าน และจักทรงจำเนื้อความนั้นไว้ตามที่ท่านตอบแก่
พวกเรา”
ครั้นแล้ว ภิกษุเหล่านั้นจึงเข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะถึงที่อยู่ ได้สนทนา
ปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้เรียนว่า
“ท่านมหากัจจานะ พระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลายทรงแสดงอุทเทสนี้โดยย่อ
ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรม ควรทราบ
ทั้งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นประโยชน์ ครั้นทราบแล้ว ควรปฏิบัติตามสิ่ง
ที่เป็นธรรมและเป็นประโยชน์’ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดาร เสด็จลุกขึ้นจาก
พุทธอาสน์เข้าไปยังพระวิหาร
ผู้มีอายุ เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงหลีกไปไม่นาน พวกกระผมได้ปรึกษากันว่า
ผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลายทรงแสดงอุทเทสโดยย่อว่า ‘ภิกษุ
ทั้งหลาย บุคคลควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรม ควรทราบทั้งสิ่งที่
ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นประโยชน์ ครั้นทราบแล้ว ควรปฏิบัติตามสิ่งที่เป็นธรรม

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๑๑๕ หน้า ๒๖๑ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๐๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. ชาณุสโสณิวรรค ๖. ทุติยอธัมมสูตร
และเป็นประโยชน์’ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดาร เสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์
เข้าไปยังพระวิหาร ใครหนอจะพึงจำแนกเนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาค
ทรงแสดงไว้โดยย่อไม่ทรงจำแนกไว้โดยพิสดารนี้ให้พิสดารได้
ผู้มีอายุ พวกกระผมได้มีความเห็นร่วมกันว่า ‘ท่านมหากัจจานะนี้แล พระ
ศาสดาทรงสรรเสริญแล้ว และเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายก็ยกย่อง ท่านสามารถ
จะจำแนกเนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อไม่ทรงจำแนกไว้
โดยพิสดารนี้ให้พิสดารได้ ทางที่ดี พวกเราควรจะเข้าไปหาท่านมหากัจจานะถึงที่อยู่
แล้วเรียนถามเนื้อความนี้กับท่าน และจักทรงจำเนื้อความนั้นไว้ตามที่ท่านตอบแก่
พวกเรา’ ขอท่านมหากัจจานะจงจำแนกเถิด”
ท่านพระมหากัจจานะกล่าวว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อพระศาสดาประทับอยู่
เฉพาะหน้าผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายละเลยพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเสีย
สำคัญเนื้อความนี้ว่าควรถามข้าพเจ้า เปรียบเหมือนบุรุษผู้ต้องการแก่นไม้ แสวงหา
แก่นไม้ เที่ยวแสวงหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นมีอยู่ ก็มองข้ามรากและลำต้น
ไปเสีย สำคัญกิ่งและใบว่าเป็นแก่นไม้ที่ตนพึงแสวงหา พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
เป็นผู้มีพระจักษุ๑ มีพระญาณ มีพระธรรม เป็นผู้ประเสริฐ ตรัสบอกได้ ทรงให้เป็นไปได้
ทรงแสดงประโยชน์ ประทานอมตธรรม เป็นเจ้าของธรรม เป็นพระตถาคต ทรงรู้
ธรรมที่ควรรู้ ทรงเห็นธรรมที่ควรเห็น ก็เวลานั้นแล เป็นเวลาสมควรที่ท่านทั้งหลาย
พึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้วทูลถามเนื้อความนี้ พึงทรงจำเนื้อความนั้นไว้ตามที่
พระผู้มีพระภาคทรงตอบแก่ท่านทั้งหลาย”
ภิกษุเหล่านั้นเรียนว่า “ท่านมหากัจจานะ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นผู้มี
พระจักษุ มีพระญาณ มีพระธรรม เป็นผู้ประเสริฐ ตรัสบอกได้ ทรงให้เป็นไปได้ ทรง
แสดงประโยชน์ ประทานอมตธรรม เป็นเจ้าของธรรม เป็นพระตถาคต ทรงรู้ธรรมที่
ควรรู้ ทรงเห็นธรรมที่ควรเห็น ก็เวลานั้นแล เป็นเวลาสมควรที่กระผมทั้งหลายพึง
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้วทูลถามเนื้อความนี้ และทรงจำเนื้อความนั้นไว้ตามที่
พระผู้มีพระภาคทรงตอบแก่พวกกระผมอย่างแน่นอน ท่านมหากัจจานะเอง พระ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑-๕ หน้า ๒๖๒ และเชิงอรรถที่ ๑-๓ หน้า ๒๖๓ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. ชาณุสโสณิวรรค ๖. ทุติยอธัมมสูตร
ศาสดาทรงสรรเสริญ และเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายก็ยกย่อง ย่อมสามารถจะ
จำแนกเนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อไม่ทรงจำแนกไว้
โดยพิสดารนี้ให้พิสดารได้ ถ้าท่านมหากัจจานะไม่มีความหนักใจแล้ว ขอจงจำแนกเถิด”
พระมหากัจจานะกล่าวว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น ขอท่านทั้งหลายจงฟัง
จงใส่ใจให้ดี ข้าพเจ้าจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว ท่านพระมหากัจจานะจึงได้
กล่าวเรื่องนี้ว่า
“ผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลายทรงแสดงอุทเทสโดยย่อว่า
‘ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรม ควรทราบ
ทั้งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นประโยชน์ ครั้นทราบแล้ว ควรปฏิบัติตามสิ่งที่
เป็นธรรมและเป็นประโยชน์’ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดาร เสด็จลุกขึ้นจาก
พุทธอาสน์เข้าไปยังพระวิหาร
สิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรม สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็น
ประโยชน์ อะไรบ้าง คือ
๑. ปาณาติบาตเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม เจตนางดเว้นจากปาณาติบาตเป็นสิ่ง
ที่เป็นธรรม บาปอกุศลธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะปาณาติบาตเป็น
ปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมเป็นอันมากที่ถึงความ
เจริญเต็มที่เพราะเจตนางดเว้นจากปาณาติบาตเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่
เป็นประโยชน์
๒. อทินนาทานเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม เจตนางดเว้นจากอทินนาทานเป็นสิ่งที่
เป็นธรรม บาปอกุศลธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะอทินนาทานเป็นปัจจัย
นี้เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมเป็นอันมากที่ถึงความเจริญ
เต็มที่เพราะเจตนางดเว้นจากอทินนาทานเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์
๓. กาเมสุมิจฉาจารเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม เจตนางดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร
เป็นสิ่งที่เป็นธรรม บาปอกุศลธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะกาเมสุ
มิจฉาจารเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมเป็นอัน
มากที่ถึงความเจริญเต็มที่เพราะเจตนางดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจารเป็นปัจจัย
นี้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๑๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. ชาณุสโสณิวรรค ๖. ทุติยอธัมมสูตร
๔. มุสาวาทเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม เจตนางดเว้นจากมุสาวาทเป็นสิ่งที่เป็นธรรม
บาปอกุศลธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะมุสาวาทเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่ง
ที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมเป็นอันมากที่ถึงความเจริญเต็มที่
เพราะเจตนางดเว้นจากมุสาวาทเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์
๕. ปิสุณาวาจาเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม เจตนางดเว้นจากปิสุณาวาจาเป็นสิ่งที่
เป็นธรรม บาปอกุศลธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะปิสุณาวาจาเป็นปัจจัย
นี้เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมเป็นอันมากที่ถึงความเจริญ
เต็มที่เพราะเจตนางดเว้นจากปิสุณาวาจาเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่เป็น
ประโยชน์
๖. ผรุสวาจาเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม เจตนางดเว้นจากผรุสวาจาเป็นสิ่งที่เป็นธรรม
บาปอกุศลธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะผรุสวาจาเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่ง
ที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมเป็นอันมากที่ถึงความเจริญเต็มที่
เพราะเจตนางดเว้นจากผรุสวาจาเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์
๗. สัมผัปปลาปะเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม เจตนางดเว้นจากสัมผัปปลาปะเป็น
สิ่งที่เป็นธรรม บาปอกุศลธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะสัมผัปปลาปะ
เป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมเป็นอันมากที่ถึง
ความเจริญเต็มที่เพราะเจตนางดเว้นจากสัมผัปปลาปะเป็นปัจจัย นี้เป็น
สิ่งที่เป็นประโยชน์
๘. อภิชฌาเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม อนภิชฌาเป็นสิ่งที่เป็นธรรม บาปอกุศล-
ธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะอภิชฌาเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่ไม่เป็น
ประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมเป็นอันมากที่ถึงความเจริญเต็มที่เพราะอนภิชฌา
เป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์
๙. พยาบาทเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม อพยาบาทเป็นสิ่งที่เป็นธรรม บาปอกุศล-
ธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะพยาบาทเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่ไม่เป็น
ประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมเป็นอันมากที่ถึงความเจริญเต็มที่เพราะอพยาบาท
เป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. ชาณุสโสณิวรรค ๖. ทุติยอธัมมสูตร
๑๐. มิจฉาทิฏฐิเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาทิฏฐิเป็นสิ่งที่เป็นธรรม บาปอกุศล
ธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่ไม่เป็น
ประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมเป็นอันมากที่ถึงความเจริญเต็มที่เพราะสัมมา
ทิฏฐิเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์
พระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลายทรงแสดงอุทเทสไว้โดยย่อว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย
บุคคลควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรม ควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็น
ประโยชน์และสิ่งที่เป็นประโยชน์ ครั้นทราบแล้ว ควรปฏิบัติตามสิ่งที่เป็นธรรมและ
เป็นประโยชน์’ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดาร เสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์
เข้าไปยังพระวิหาร ผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าย่อมรู้เนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มี
พระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อไม่ทรงจำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดารอย่างนี้ ก็ท่าน
ทั้งหลาย เมื่อหวังอยู่ พึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้วทูลถามเนื้อความนี้เถิด
ขอท่านทั้งหลายพึงทรงจำเนื้อความนั้นไว้ตามที่พระผู้มีพระภาคทรงตอบแก่ท่าน
ทั้งหลายเถิด”
ภิกษุเหล่านั้นกล่าวรับคำท่านพระมหากัจจานะแล้ว ชื่นชมอนุโมทนาภาษิต
ของท่านพระมหากัจจานะแล้วลุกขึ้นจากอาสนะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุทเทสไว้โดยย่อว่า ‘ภิกษุ
ทั้งหลาย บุคคลควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรม ควรทราบทั้งสิ่งที่
ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นประโยชน์ ครั้นทราบแล้ว ควรปฏิบัติตามสิ่งที่เป็นธรรม
และเป็นประโยชน์’ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดาร เสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์
เข้าไปยังพระวิหาร
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงหลีกไปไม่นาน ข้าพระองค์
ทั้งหลายได้ปรึกษากันว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุทเทสไว้โดย
ย่อว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรม ควร
ทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นประโยชน์ ครั้นทราบแล้ว ควรปฏิบัติตาม
สิ่งที่เป็นธรรมแเละเป็นประโยชน์’ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดาร เสด็จลุกขึ้น
จากพุทธอาสน์เข้าไปยังพระวิหาร ใครหนอจะพึงจำแนกเนื้อความแห่งอุทเทสที่พระ
ผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อไม่ทรงจำแนกไว้โดยพิสดารนี้ให้พิสดารได้’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. ชาณุสโสณิวรรค ๗. ตติยอธัมมสูตร
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายได้มีความเห็นร่วมกันว่า ‘ท่านมหา
กัจจานะนี้แล พระศาสดาทรงสรรเสริญแล้ว และเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายก็ยกย่อง
ท่านสามารถจะจำแนกเนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อไม่
ทรงจำแนกไว้โดยพิสดารนี้ให้พิสดารได้ ทางที่ดี พวกเราควรจะเข้าไปหาท่านมหา
กัจจานะถึงที่อยู่แล้วเรียนถามเนื้อความนี้กับท่าน และจักทรงจำเนื้อความนั้นไว้ตาม
ที่ท่านตอบแก่พวกเรา’
ครั้นแล้วข้าพระองค์ทั้งหลายจึงเข้าไปหาท่านมหากัจจานะถึงที่อยู่แล้วเรียน
ถามเนื้อความนี้ ท่านมหากัจจานะได้จำแนกเนื้อความอย่างชัดเจนแก่ข้าพระองค์
ทั้งหลายด้วยอาการเหล่านี้ ด้วยบทเหล่านี้ ด้วยพยัญชนะเหล่านี้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ดีละ ดีละ มหากัจจานะเป็นบัณฑิต มี
ปัญญามาก แม้หากเธอทั้งหลายพึงเข้ามาหาเราแล้วถามเนื้อความนี้ ถึงเราเอง
ก็พึงตอบเนื้อความนี้อย่างที่มหากัจจานะตอบแล้วนั่นเอง นี้แลเป็นเนื้อความแห่ง
อุทเทสนั้น และเธอทั้งหลายพึงทรงจำเนื้อความนั้นไว้อย่างนั้นเถิด”
ทุติยอธัมมสูตรที่ ๖ จบ

๗. ตติยอธัมมสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สูตรที่ ๓
[๑๗๓] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรม
ควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นประโยชน์ ครั้นทราบแล้ว ควรปฏิบัติ
ตามสิ่งที่เป็นธรรมและเป็นประโยชน์
สิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรม สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็น
ประโยชน์ อะไรบ้าง คือ
๑. ปาณาติบาตเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม เจตนางดเว้นจากปาณาติบาตเป็นสิ่ง
ที่เป็นธรรม บาปอกุศลธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะปาณาติบาตเป็น
ปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมเป็นอันมากที่ถึงความ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๑๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. ชาณุสโสณิวรรค ๗. ตติยอธัมมสูตร
เจริญเต็มที่เพราะเจตนางดเว้นจากปาณาติบาตเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่เป็น
ประโยชน์
๒. อทินนาทานเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม เจตนางดเว้นจากอทินนาทานเป็นสิ่งที่
เป็นธรรม บาปอกุศลธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะอทินนาทานเป็นปัจจัย
นี้เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมเป็นอันมากที่ถึงความเจริญ
เต็มที่เพราะเจตนางดเว้นจากอทินนาทานเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์
๓. กาเมสุมิจฉาจารเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม เจตนางดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร
เป็นสิ่งที่เป็นธรรม ฯลฯ๑
๔. มุสาวาทเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม เจตนางดเว้นจากมุสาวาทเป็นสิ่งที่เป็น
ธรรม ฯลฯ
๕. ปิสุณาวาจาเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม เจตนางดเว้นจากปิสุณาวาจาเป็นสิ่งที่
เป็นธรรม ฯลฯ
๖. ผรุสวาจาเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม เจตนางดเว้นจากผรุสวาจาเป็นสิ่งที่เป็น
ธรรม ฯลฯ
๗. สัมผัปปลาปะเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม เจตนางดเว้นจากสัมผัปปลาปะเป็น
สิ่งที่เป็นธรรม ฯลฯ
๘. อภิชฌาเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม อนภิชฌาเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ฯลฯ
๙. พยาบาทเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม อพยาบาทเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ฯลฯ
๑๐. มิจฉาทิฏฐิเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาทิฏฐิเป็นสิ่งที่เป็นธรรม บาป
อกุศลธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่
ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมเป็นอันมากที่ถึงความเจริญเต็มที่เพราะ
สัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยคำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘บุคคลควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็น
ธรรมและสิ่งที่เป็นธรรม ควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นประโยชน์
ครั้นทราบแล้ว ควรปฏิบัติตามสิ่งที่เป็นธรรมและเป็นประโยชน์’ เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
ตติยอธัมมสูตรที่ ๗ จบ

เชิงอรรถ :
๑ “ฯลฯ” ที่ปรากฏในสูตรนี้ ดูความเต็มในข้อ ๑๗๒ (ทุติยอธัมมสูตร)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. ชาณุสโสณิวรรค ๘. กัมมนิทานสูตร
๘. กัมมนิทานสูตร
ว่าด้วยต้นเหตุแห่งกรรม
[๑๗๔] ภิกษุทั้งหลาย ปาณาติบาต เรากล่าวว่า มี ๓ อย่างคือ
๑. ปาณาติบาตมีโลภะเป็นเหตุ
๒. ปาณาติบาตมีโทสะเป็นเหตุ
๓. ปาณาติบาตมีโมหะเป็นเหตุ
อทินนาทาน เรากล่าวว่า มี ๓ อย่าง คือ
๑. อทินนาทานมีโลภะเป็นเหตุ
๒. อทินนาทานมีโทสะเป็นเหตุ
๓. อทินนาทานมีโมหะเป็นเหตุ
กาเมสุมิจฉาจาร เรากล่าวว่า มี ๓ อย่าง คือ
๑. กาเมสุมิจฉาจารมีโลภะเป็นเหตุ
๒. กาเมสุมิจฉาจารมีโทสะเป็นเหตุ
๓. กาเมสุมิจฉาจารมีโมหะเป็นเหตุ
มุสาวาท เรากล่าวว่า มี ๓ อย่าง คือ
๑. มุสาวาทมีโลภะเป็นเหตุ
๒. มุสาวาทมีโทสะเป็นเหตุ
๓. มุสาวาทมีโมหะเป็นเหตุ
ปิสุณาวาจา เรากล่าวว่า มี ๓ อย่าง คือ
๑. ปิสุณาวาจามีโลภะเป็นเหตุ
๒. ปิสุณาวาจามีโทสะเป็นเหตุ
๓. ปิสุณาวาจามีโมหะเป็นเหตุ
ผรุสวาจา เรากล่าวว่า มี ๓ อย่าง คือ
๑. ผรุสวาจามีโลภะเป็นเหตุ
๒. ผรุสวาจามีโทสะเป็นเหตุ
๓. ผรุสวาจามีโมหะเป็นเหตุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๑๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. ชาณุสโสณิวรรค ๘. กัมมนิทานสูตร
สัมผัปปลาปะ เรากล่าวว่า มี ๓ อย่าง คือ
๑. สัมผัปปลาปะมีโลภะเป็นเหตุ
๒. สัมผัปปลาปะมีโทสะเป็นเหตุ
๓. สัมผัปปลาปะมีโมหะเป็นเหตุ
อภิชฌา เรากล่าวว่า มี ๓ อย่าง คือ
๑. อภิชฌามีโลภะเป็นเหตุ
๒. อภิชฌามีโทสะเป็นเหตุ
๓. อภิชฌามีโมหะเป็นเหตุ
พยาบาท เรากล่าวว่า มี ๓ อย่าง คือ
๑. พยาบาทมีโลภะเป็นเหตุ
๒. พยาบาทมีโทสะเป็นเหตุ
๓. พยาบาทมีโมหะเป็นเหตุ
มิจฉาทิฏฐิ เรากล่าวว่า มี ๓ อย่าง คือ
๑. มิจฉาทิฏฐิมีโลภะเป็นเหตุ
๒. มิจฉาทิฏฐิมีโทสะเป็นเหตุ
๓. มิจฉาทิฏฐิมีโมหะเป็นเหตุ
ภิกษุทั้งหลาย โลภะเป็นเหตุเกิดแห่งกรรม โทสะเป็นเหตุเกิดแห่งกรรม โมหะ
เป็นเหตุเกิดแห่งกรรม เพราะโลภะสิ้นไป เหตุเกิดแห่งกรรมจึงสิ้นไป เพราะโทสะสิ้นไป
เหตุเกิดแห่งกรรมจึงสิ้นไป เพราะโมหะสิ้นไป เหตุเกิดแห่งกรรมจึงสิ้นไป
กัมมนิทานสูตรที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. ชาณุสโสณิวรรค ๙. ปริกกมนสูตร
๙. ปริกกมนสูตร
ว่าด้วยธรรมเป็นทางหลีกเลี่ยง๑
[๑๗๕] ภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้เป็นทางหลีกเลี่ยง มิใช่ธรรมไม่เป็นทางหลีก
เลี่ยง
ธรรมนี้เป็นทางหลีกเลี่ยง มิใช่ธรรมไม่เป็นทางหลีกเลี่ยง อะไรบ้าง คือ
๑. เจตนางดเว้นจากปาณาติบาตเป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้ฆ่าสัตว์
๒. เจตนางดเว้นจากอทินนาทานเป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้ลักทรัพย์
๓. เจตนางดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจารเป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้
ประพฤติผิดในกาม
๔. เจตนางดเว้นจากมุสาวาทเป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้พูดเท็จ
๕. เจตนางดเว้นจากปิสุณาวาจาเป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้พูดส่อเสียด
๖. เจตนางดเว้นจากผรุสวาจาเป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้พูดคำหยาบ
๗. เจตนางดเว้นจากสัมผัปปลาปะเป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้พูดเพ้อเจ้อ
๘. อนภิชฌาเป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้เพ่งเล็งอยากได้ของเขา
๙. อพยาบาทเป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้มีจิตพยาบาท
๑๐. สัมมาทิฏฐิเป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้เห็นผิด
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้เป็นทางหลีกเลี่ยง มิใช่ธรรมไม่เป็นทางหลีกเลี่ยง เป็น
อย่างนี้แล
ปริกกมนสูตรที่ ๙ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ทางหลีกเลี่ยง ในที่นี้หมายถึงทางเว้นจากความชั่ว (ดูเทียบ สัลเลขสูตร ม.มู. ๑๒/๘๕/๕๘, องฺ.ทสก.อ.
๓/๑๗๕/๓๗๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. ชาณุสโสณิวรรค ๑๐. จุนทสูตร
๑๐. จุนทสูตร
ว่าด้วยนายจุนทกัมมารบุตร
[๑๗๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ สวนมะม่วงของนายจุนทกัมมารบุตร๑
เขตกรุงปาวา ครั้งนั้น นายจุนทกัมมารบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสถามว่า
“จุนทะ เธอชอบใจความสะอาดของใคร”
นายจุนทกัมมารบุตรกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกพราหมณ์ชาว
ปัจฉาภูมิ ผู้ถือน้ำเต้า สวมพวงมาลัยสาหร่าย บำเรอไฟ ลงน้ำเป็นวัตร บัญญัติ
ความสะอาดไว้ ข้าพระองค์ชอบใจความสะอาดของพราหมณ์เหล่านั้น”
“จุนทะ พวกพราหมณ์ชาวปัจฉาภูมิ ผู้ถือน้ำเต้า สวมพวงมาลัยสาหร่าย บำเรอไฟ
ลงน้ำเป็นวัตร บัญญัติความสะอาดไว้อย่างไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส พวกพราหมณ์ชาวปัจฉาภูมิ ผู้ถือ
น้ำเต้า สวมพวงมาลัยสาหร่าย บำเรอไฟ ลงน้ำเป็นวัตร ย่อมชักชวนสาวกทั้งหลาย
อย่างนี้ว่า ‘มาเถิดบุรุษผู้เจริญ ท่านควรลุกขึ้นจากที่นอนแต่เช้า จับต้องแผ่นดิน ถ้า
ไม่จับต้องแผ่นดิน ต้องจับต้องโคมัยสด ถ้าไม่จับต้องโคมัยสด ต้องจับต้องหญ้าเขียวสด
ถ้าไม่จับต้องหญ้าเขียวสด ต้องบำเรอไฟ ถ้าไม่บำเรอไฟต้องประคองอัญชลีนอบน้อม
ดวงอาทิตย์ ถ้าไม่ประคองอัญชลีนอบน้อมดวงอาทิตย์ ต้องลงน้ำวันละ ๓ ครั้ง’ ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ พวกพราหมณ์ชาวปัจฉาภูมิ ผู้ถือน้ำเต้า สวมพวงมาลัยสาหร่าย
บำเรอไฟ ลงน้ำเป็นวัตร บัญญัติความสะอาดไว้อย่างนี้ ข้าพระองค์ชอบใจความ
สะอาดของพราหมณ์เหล่านั้น”
“จุนทะ พวกพราหมณ์ชาวปัจฉาภูมิ ผู้ถือน้ำเต้า สวมพวงมาลัยสาหร่าย บำเรอ
ไฟ ลงน้ำเป็นวัตร บัญญัติความสะอาดไว้เป็นอย่างหนึ่ง ส่วนความสะอาดใน
อริยวินัยเป็นอีกอย่างหนึ่ง”

เชิงอรรถ :
๑ กัมมารบุตร หมายถึงบุตรของช่างทอง (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๗๖/๓๗๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๑๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. ชาณุสโสณิวรรค ๑๐. จุนทสูตร
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความสะอาดในอริยวินัยเป็นอย่างไร ขอประทานวโรกาส
ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมที่เป็นความสะอาดในอริยวินัยแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด
พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “จุนทะ ถ้าเช่นนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
นายจุนทกัมมารบุตรทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัส
เรื่องนี้ว่า
จุนทะ ความไม่สะอาดทางกาย ๓ อย่าง ความไม่สะอาดทางวาจา ๔ อย่าง
ความไม่สะอาดทางใจ ๓ อย่าง
ความไม่สะอาดทางกาย ๓ อย่าง เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้
๑. เป็นผู้ฆ่าสัตว์ หยาบช้า มีมือเปื้อนเลือด ปักใจอยู่ในการฆ่าและการทุบตี
ไม่มีความเอ็นดูในสัตว์ทั้งปวง
๒. เป็นผู้ลักทรัพย์ คือ เป็นผู้ถือเอาทรัพย์อันเป็นอุปกรณ์เครื่องปลื้มใจของ
ผู้อื่นซึ่งอยู่ในบ้านหรืออยู่ในป่าที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วยจิตเป็นเหตุขโมย
๓. เป็นผู้ประพฤติผิดในกาม คือ เป็นผู้ประพฤติล่วงในสตรีที่อยู่ในปกครอง
ของมารดา ที่อยู่ในปกครองของบิดา ที่อยู่ในปกครองของพี่ชายน้องชาย
ที่อยู่ในปกครองของพี่สาวน้องสาว ที่อยู่ในปกครองของญาติ ที่ประพฤติ
ธรรม มีสามี มีกฎหมายคุ้มครอง โดยที่สุด แม้แต่สตรีที่บุรุษสวมด้วย
พวงมาลัยหมายไว้
จุนทะ ความไม่สะอาดทางกาย ๓ อย่าง เป็นอย่างนี้แล
ความไม่สะอาดทางวาจา ๔ อย่าง เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้
๑. เป็นผู้พูดเท็จ คือ อยู่ในสภา อยู่ในบริษัท อยู่ท่ามกลางหมู่ญาติ อยู่
ท่ามกลางหมู่ทหาร หรืออยู่ท่ามกลางราชสำนัก ถูกเขาอ้างเป็นพยาน
ซักถามว่า ‘ท่านรู้สิ่งใด จงกล่าวสิ่งนั้น’ บุคคลนั้นไม่รู้ก็กล่าวว่า ‘รู้’ หรือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๒๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. ชาณุสโสณิวรรค ๑๐. จุนทสูตร
รู้ก็กล่าวว่า ‘ไม่รู้’ ไม่เห็นก็กล่าวว่า ‘เห็น’ หรือเห็นก็กล่าวว่า ‘ไม่เห็น’
กล่าวเท็จทั้งที่รู้เพราะตนเป็นเหตุบ้าง เพราะบุคคลอื่นเป็นเหตุบ้าง
เพราะเหตุคือเห็นแก่อามิสเล็กน้อยบ้าง
๒. เป็นผู้พูดส่อเสียด คือ ฟังความฝ่ายนี้แล้วไปบอกฝ่ายโน้นเพื่อทำลายฝ่ายนี้
หรือฟังความฝ่ายโน้นแล้วมาบอกฝ่ายนี้เพื่อทำลายฝ่ายโน้น ยุยงคนที่
สามัคคีกัน ส่งเสริมคนที่แตกแยกกัน ชื่นชมยินดีเพลิดเพลินต่อผู้ที่แตก
แยกกัน พูดแต่ถ้อยคำที่ก่อความแตกแยกกัน
๓. เป็นผู้พูดคำหยาบ คือ กล่าวแต่คำที่หยาบคาย กล้าแข็ง เผ็ดร้อน
หยาบคายร้ายกาจแก่ผู้อื่น กระทบกระทั่งผู้อื่น ใกล้ต่อความโกรธ ไม่
เป็นไปเพื่อสมาธิ
๔. เป็นผู้พูดเพ้อเจ้อ คือ พูดไม่ถูกเวลา พูดคำไม่จริง พูดไม่อิงประโยชน์
พูดไม่อิงธรรม พูดไม่อิงวินัย พูดคำที่ไม่มีหลักฐาน ไม่มีที่อ้างอิง ไม่มีที่
กำหนด ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
จุนทะ ความไม่สะอาดทางวาจา ๔ อย่าง เป็นอย่างนี้แล
ความไม่สะอาดทางใจ ๓ อย่าง เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้
๑. เป็นผู้เพ่งเล็งอยากได้ของเขา คือ เพ่งเล็งอยากได้ทรัพย์อันเป็นอุปกรณ์
เครื่องปลื้มใจของผู้อื่นว่า ‘ทำอย่างไร ทรัพย์อันเป็นอุปกรณ์เครื่องปลื้ม
ใจของผู้อื่นจะพึงเป็นของเรา’
๒. เป็นผู้มีจิตพยาบาท คือ มีจิตคิดร้ายว่า ‘ขอสัตว์เหล่านี้จงถูกฆ่า จงถูก
ทำลาย จงขาดสูญ จงพินาศไป หรืออย่าได้มี’
๓. เป็นมิจฉาทิฏฐิ มีความเห็นวิปริตว่า ‘ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชา
แล้วไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและชั่วก็ไม่มี
โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มีคุณ บิดาไม่มีคุณ โอปปาติกสัตว์ไม่มี
สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ ทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วย
ปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งก็ไม่มีในโลก’
จุนทะ ความไม่สะอาดทางใจ ๓ อย่าง เป็นอย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๒๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. ชาณุสโสณิวรรค ๑๐. จุนทสูตร
อกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการนี้แลที่บุคคลประกอบแล้ว เมื่อลุกขึ้นจากที่นอน
แต่เช้าตรู่ แม้จะจับต้องแผ่นดินก็ตาม ไม่จับต้องแผ่นดินก็ตาม ก็เป็นผู้สะอาดไม่
ได้เลย แม้จะจับต้องโคมัยสดก็ตาม ไม่จับต้องโคมัยสดก็ตาม ก็เป็นผู้สะอาดไม่ได้
แม้จะจับต้องหญ้าเขียวสดก็ตาม ไม่จับต้องหญ้าเขียวสดก็ตาม ก็เป็นผู้สะอาดไม่ได้
แม้จะบำเรอไฟก็ตาม ไม่บำเรอไฟก็ตาม ก็เป็นผู้สะอาดไม่ได้ แม้จะประคองอัญชลี
นอบน้อมดวงอาทิตย์ก็ตาม ไม่ประคองอัญชลีนอบน้อมดวงอาทิตย์ก็ตาม ก็เป็นผู้
สะอาดไม่ได้ แม้จะลงน้ำวันละ ๓ ครั้งก็ตาม ไม่ลงน้ำวันละ ๓ ครั้งก็ตาม ก็เป็น
ผู้สะอาดไม่ได้อยู่นั่นเอง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะอกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการนี้เป็น
ธรรมไม่สะอาด และเป็นเหตุก่อให้เกิดความไม่สะอาด
จุนทะ เพราะเหตุที่ประกอบด้วยอกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการนี้ จึงปรากฏมี
ทั้งนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ภูมิแห่งเปรต หรือทุคติอย่างใดอย่างหนึ่งแม้อื่น
จุนทะ ความสะอาดทางกาย ๓ อย่าง ความสะอาดทางวาจา ๔ อย่าง ความ
สะอาดทางใจ ๓ อย่าง
ความสะอาดทางกาย ๓ อย่าง เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้
๑. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑาวุธ และศัสตราวุธ มีความ
ละอาย มีความเอ็นดู มุ่งหวังประโยชน์เกื้อกูลต่อสรรพสัตว์อยู่
๒. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการลักทรัพย์ คือ ไม่ถือเอาทรัพย์อันเป็นอุปกรณ์
เครื่องปลื้มใจของผู้อื่นซึ่งอยู่ในบ้านหรืออยู่ในป่าที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วย
จิตเป็นเหตุขโมย
๓. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม คือ ไม่เป็นผู้ประพฤติล่วง
ในสตรีที่อยู่ในปกครองของมารดา ที่อยู่ในปกครองของบิดา ที่อยู่ใน
ปกครองของพี่ชายน้องชาย ที่อยู่ในปกครองของพี่สาวน้องสาว ที่อยู่ใน
ปกครองของญาติ ที่ประพฤติธรรม มีสามี มีกฎหมายคุ้มครอง โดย
ที่สุดแม้สตรีที่บุรุษสวมด้วยพวงมาลัยหมายไว้
ความสะอาดทางกาย ๓ อย่าง เป็นอย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. ชาณุสโสณิวรรค ๑๐. จุนทสูตร
ความสะอาดทางวาจา ๔ อย่าง เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้
๑. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดเท็จ คือ อยู่ในสภา อยู่ในบริษัท อยู่ท่ามกลาง
หมู่ญาติ อยู่ท่ามกลางหมู่ทหาร หรืออยู่ท่ามกลางราชสำนัก ถูกเขาอ้าง
เป็นพยานซักถามว่า ‘ท่านรู้สิ่งใดจงกล่าวสิ่งนั้น’ บุคคลนั้นไม่รู้ก็กล่าวว่า
‘ไม่รู้’ หรือรู้ก็กล่าวว่า ‘รู้’ ไม่เห็นก็กล่าวว่า ‘ไม่เห็น’ หรือเห็นก็กล่าวว่า
‘เห็น’ ไม่กล่าวเท็จทั้งที่รู้เพราะตนเป็นเหตุบ้าง เพราะบุคคลอื่นเป็นเหตุบ้าง
เพราะเหตุคือเห็นแก่อามิสเล็กน้อยบ้าง
๒. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดส่อเสียด คือ ฟังความฝ่ายนี้แล้วไม่ไปบอก
ฝ่ายโน้นเพื่อทำลายฝ่ายนี้ หรือฟังความฝ่ายโน้นแล้วไม่มาบอกฝ่ายนี้
เพื่อทำลายฝ่ายโน้น สมานคนที่แตกแยกกัน ส่งเสริมคนที่ปรองดองกัน
ชื่นชมยินดีเพลิดเพลินต่อผู้ที่สามัคคีกัน พูดแต่ถ้อยคำที่สร้างสรรค์
ความสามัคคี
๓. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดคำหยาบ คือ กล่าวแต่คำที่ไม่มีโทษ ไพเราะ
น่ารัก จับใจ เป็นคำของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่พอใจ
๔. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ คือ พูดถูกเวลา พูดคำจริง พูดอิง
ประโยชน์ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดคำที่มีหลักฐาน มีที่อ้างอิง มีที่
กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์
ความสะอาดทางวาจา ๔ อย่าง เป็นอย่างนี้แล
ความสะอาดทางใจ ๓ อย่าง เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้
๑. เป็นผู้ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา คือ ไม่เพ่งเล็งอยากได้ทรัพย์อันเป็น
อุปกรณ์เครื่องปลื้มใจของผู้อื่นว่า ‘ทำอย่างไร ทรัพย์อันเป็นอุปกรณ์
เครื่องปลื้มใจของผู้อื่นจะพึงเป็นของเรา’
๒. เป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท คือ ไม่มีจิตคิดร้ายว่า ‘ขอสัตว์เหล่านี้จงเป็นผู้ไม่
มีเวร ไม่มีจิตพยาบาท ไม่มีทุกข์ มีสุข รักษาตนเถิด’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. ชาณุสโสณิวรรค ๑๐. จุนทสูตร
๓. เป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นไม่วิปริตว่า ‘ทานที่ให้แล้วมีผล ยัญที่บูชา
แล้วมีผล การเซ่นสรวงมีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและชั่วมี โลกนี้มี
โลกหน้ามี มารดามีคุณ บิดามีคุณ โอปปาติกสัตว์มี สมณพราหมณ์ผู้
ประพฤติดีปฏิบัติชอบ ทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งมีอยู่ในโลก’
จุนทะ ความสะอาดทางใจ ๓ อย่าง เป็นอย่างนี้แล
กุศลกรรมบถ ๑๐ ประการนี้ที่บุคคลประกอบแล้ว เมื่อลุกขึ้นจากที่นอนแต่
เช้าตรู่ แม้จะจับต้องแผ่นดินก็ตาม ไม่จับต้องแผ่นดินก็ตาม ก็เป็นผู้สะอาดอยู่นั่นเอง
แม้จะจับต้องโคมัยสดก็ตาม ไม่จับต้องโคมัยสดก็ตาม ก็เป็นผู้สะอาดอยู่นั่นเอง
แม้จะจับต้องหญ้าเขียวสดก็ตาม ไม่จับต้องหญ้าเขียวสดก็ตาม ก็เป็นผู้สะอาดอยู่
นั่นเอง แม้จะบำเรอไฟก็ตาม ไม่บำเรอไฟก็ตาม ก็เป็นผู้สะอาดอยู่นั่นเอง แม้จะ
ประคองอัญชลีนอบน้อมดวงอาทิตย์ก็ตาม ไม่ประคองอัญชลีนอบน้อมดวงอาทิตย์
ก็ตาม ก็เป็นผู้สะอาดอยู่นั่นเอง แม้จะลงน้ำวันละ ๓ ครั้งก็ตาม ไม่ลงน้ำวันละ ๓
ครั้งก็ตาม ก็เป็นผู้สะอาดอยู่นั่นเอง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะกุศลกรรมบถ ๑๐
ประการนี้เป็นธรรมสะอาด และเป็นเหตุก่อให้เกิดความสะอาด
จุนทะ เพราะเหตุที่ประกอบด้วยกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการนี้ จึงปรากฏมีทั้ง
เทวดาและมนุษย์ หรือสุคติอย่างใดอย่างหนึ่งแม้อื่น’
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนั้นแล้ว นายจุนทกัมมารบุตรได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ
ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
จุนทสูตรที่ ๑๐ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๒๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. ชาณุสโสณิวรรค ๑๑. ชาณุสโสณิสูตร
๑๑. ชาณุสโสณิสูตร
ว่าด้วยชาณุสโสณิพราหมณ์ทูลถามเรื่องทาน
[๑๗๗] ครั้งนั้น พราหมณ์ชื่อว่าชาณุสโสณิเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่
สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
“ท่านพระโคดม พวกข้าพเจ้าชื่อว่าเป็นพราหมณ์ ย่อมให้ทาน เชื่อว่าทานนี้
ต้องสำเร็จแก่ญาติสาโลหิต๑ผู้ล่วงลับไปแล้ว ขอญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วจง
บริโภคทานนี้ ท่านพระโคดม ทานนั้นย่อมสำเร็จแก่ญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วบ้าง
หรือ ญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วเหล่านั้นจะได้บริโภคทานนั้นบ้างหรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พราหมณ์ ทานนั้นย่อมสำเร็จในฐานะเท่านั้น ไม่
สำเร็จในอัฏฐานะ”๒

เรื่องฐานะและอัฏฐานะ
ชาณุสโสณิพราหมณ์ทูลถามว่า “ท่านพระโคดม ฐานะเป็นอย่างไร อัฏฐานะ
เป็นอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฆ่าสัตว์
ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ เพ่ง
เล็งอยากได้ของเขา มีจิตพยาบาท เป็นมิจฉาทิฏฐิ หลังจากตายแล้ว เขาย่อมไปเกิด
ในนรก เลี้ยงอัตภาพในนรกนั้น ดำรงอยู่ในนรกนั้นด้วยอาหารของสัตว์นรก๓
พราหมณ์ ภูมิที่ทานไม่สำเร็จแก่สัตว์ผู้ดำรงอยู่ นี้แลเป็นอัฏฐานะ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๗๑ (อากังขสูตร) หน้า ๑๕๗ ในเล่มนี้
๒ ฐานะ ในที่นี้หมายถึงโอกาสที่เป็นไปได้หรือที่เหมาะสม อัฏฐานะ หมายถึงโอกาสที่เป็นไปไม่ได้ หรือที่ไม่
เหมาะสม (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๗๗/๓๗๗)
๓ อาหารของสัตว์นรก คือ กรรมที่สัตว์เสวยในนรกนั้น (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๗๗/๓๗๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. ชาณุสโสณิวรรค ๑๑. ชาณุสโสณิสูตร
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ เป็นมิจฉาทิฏฐิ หลังจากตายแล้ว
เขาย่อมไปเกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน เลี้ยงอัตภาพในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานนั้น ดำรงอยู่
ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานนั้นด้วยอาหารของเหล่าสัตว์ผู้เกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน๑
พราหมณ์ ภูมิที่ทานไม่สำเร็จแก่สัตว์ผู้ดำรงอยู่ นี้แลเป็นอัฏฐานะ
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติ
ผิดในกาม การพูดเท็จ การพูดส่อเสียด การพูดคำหยาบ และการพูดเพ้อเจ้อ ไม่
เพ่งเล็งอยากได้ของเขา มีจิตไม่พยาบาท เป็นสัมมาทิฏฐิ หลังจากตายแล้ว เขาย่อม
เข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกมนุษย์ เลี้ยงอัตภาพในมนุษยโลกนั้น ดำรงอยู่ใน
มนุษยโลกนั้นด้วยอาหารของพวกมนุษย์๒
พราหมณ์ ภูมิที่ทานไม่สำเร็จแก่สัตว์ผู้ดำรงอยู่ นี้แลเป็นอัฏฐานะ
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ เป็นสัมมาทิฏฐิ
หลังจากตายแล้ว เขาย่อมเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทวดา เลี้ยงอัตภาพในเทวโลกนั้น
ดำรงอยู่ในเทวโลกนั้นด้วยอาหารของหมู่เทวดา๓
พราหมณ์ ภูมิที่ทานไม่สำเร็จแก่สัตว์ผู้ดำรงอยู่ นี้แลเป็นอัฏฐานะ
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ เป็นมิจฉาทิฏฐิ หลังจากตายแล้ว
เขาย่อมไปเกิดในภูมิแห่งเปรต เลี้ยงอัตภาพอยู่ในภูมิแห่งเปรตนั้น ดำรงอยู่ในภูมิ
แห่งเปรตนั้นด้วยอาหารของเหล่าสัตว์ผู้เกิดในภูมิแห่งเปรต หรือเลี้ยงอัตภาพอยู่ใน
ภูมิแห่งเปรตนั้น ดำรงอยู่ในภูมิแห่งเปรตนั้นด้วยปัตติทานมัยกุศล๔จากมนุษยโลกนี้
ที่มิตร อำมาตย์ หรือญาติสาโลหิตของตนอุทิศให้
พราหมณ์ ภูมิที่ทานสำเร็จแก่สัตว์ผู้ดำรงอยู่ นี้แลเป็นฐานะ”
“ท่านพระโคดม ก็ถ้าญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วนั้นจะไม่เข้าถึงฐานะนั้น
ใครเล่าจะบริโภคทานนั้น”

เชิงอรรถ :
๑ อาหารของสัตว์ดิรัจฉาน คือ หญ้า ใบไม้เป็นต้น
๒ อาหารของมนุษย์ คือ ข้าวสุก เป็นต้น
๓ อาหารของหมู่เทวดา คือ สุทธาโภชนะ (ของกินอันเป็นทิพย์, อาหารทิพย์) เป็นต้น
๔ อาหารของเปรต(จำพวกหนึ่ง) คือ น้ำลาย น้ำมูก เป็นต้น หรือเปรตอีกจำพวกหนึ่งเรียกว่าปรทัตตูปชีวีเปรต
ที่ต้องอาศัยผู้อื่นให้ เรียกว่า ปัตติทานมัยกุศล หมายถึงบุญกุศลที่สำเร็จด้วยการให้ส่วนบุญ เป็นวิธีทำบุญ
ด้วยการเฉลี่ยส่วนแห่งความดีให้แก่ผู้อื่น (ข้อ ๖ ในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐) (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๗๗/๓๗๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. ชาณุสโสณิวรรค ๑๑. ชาณุสโสณิสูตร
“พราหมณ์ ญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วเหล่าอื่นของตน ผู้เข้าถึงฐานะนั้นมีอยู่
ญาติสาโลหิตเหล่านั้นย่อมบริโภคทานนั้น”
“ท่านพระโคดม ก็ถ้าญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วนั้น และญาติสาโลหิตผู้ล่วง
ลับไปแล้วแม้เหล่าอื่นของตนไม่เข้าถึงฐานะนั้น ใครเล่าจะบริโภคทานนั้น”
“พราหมณ์ เป็นไปไม่ได้เลยที่จะว่างจากญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วโดยกาล
ช้านาน ถึงอย่างไร ทายกก็เป็นผู้ไม่ไร้ผล”
“ท่านพระโคดม ย่อมตรัสข้อกำหนดแม้ในอัฏฐานะหรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พราหมณ์ เรากล่าวข้อกำหนดแม้ในอัฏฐานะ คือ
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด
พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ เพ่งเล็งอยากได้ของเขา มีจิตพยาบาท เป็นมิจฉาทิฏฐิ
บุคคลนั้นให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และ
เครื่องประทีปแก่สมณะหรือพราหมณ์ หลังจากตายแล้ว เขาย่อมไปเกิดในกำเนิดแห่ง
ช้างทั้งหลาย ได้อาหาร น้ำ ดอกไม้ และเครื่องประดับต่าง ๆ ในกำเนิดแห่งช้างนั้น
เพราะกรรมที่บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม
พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ เพ่งเล็งอยากได้ของเขา มีจิตพยาบาท
เป็นมิจฉาทิฏฐิ หลังจากตายแล้ว เขาย่อมไปเกิดในกำเนิดแห่งช้างทั้งหลาย และ
เพราะกรรมที่บุคคลนั้นให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน
ที่พัก และเครื่องประทีปแก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาจึงได้อาหาร น้ำ ดอกไม้ และ
เครื่องประดับต่าง ๆ ในกำเนิดแห่งช้างนั้น
พราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม
พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ เพ่งเล็งอยากได้ของเขา มีจิตพยาบาท
เป็นมิจฉาทิฏฐิ บุคคลนั้นให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน
ที่พัก และเครื่องประทีปแก่สมณะหรือพราหมณ์ หลังจากตายแล้ว เขาย่อมไปเกิดใน
กำเนิดแห่งม้า ... หลังจากตายแล้ว เขาย่อมไปเกิดในกำเนิดแห่งโค ... หลังจากตายแล้ว
เขาย่อมไปเกิดในกำเนิดแห่งสุนัข ... ได้อาหาร น้ำ ดอกไม้ และเครื่องประดับต่าง ๆ
ในกำเนิดแห่งสุนัขนั้น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. ชาณุสโสณิวรรค ๑๑. ชาณุสโสณิสูตร
เพราะกรรมที่บุคคลในโลกนี้เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม
พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ เพ่งเล็งอยากได้ของเขา มีจิตพยาบาท
เป็นมิจฉาทิฏฐิ หลังจากตายแล้ว เขาย่อมไปเกิดในกำเนิดแห่งสุนัข และเพราะกรรม
ที่บุคคลนั้นเป็นผู้ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก
และเครื่องประทีปแก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาจึงได้อาหาร น้ำ ดอกไม้ และเครื่อง
ประดับต่าง ๆ ในกำเนิดแห่งสุนัขนั้น
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์
เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูด
ส่อเสียด เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่เพ่งเล็งอยาก
ได้ของเขา มีจิตไม่พยาบาท เป็นสัมมาทิฏฐิ บุคคลนั้นให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้
ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีปแก่สมณะหรือพราหมณ์
หลังจากตายแล้ว เขาย่อมเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับหมู่มนุษย์ และได้กามคุณ ๕
ที่เป็นของมนุษย์
เพราะกรรมที่บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจาก
การลักทรัพย์ เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาด
จากการพูดส่อเสียด เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่
เพ่งเล็งอยากได้ของเขา มีจิตไม่พยาบาท เป็นสัมมาทิฏฐิ หลังจากตายแล้ว เขาย่อม
เข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับหมู่มนุษย์ และเพราะกรรมที่บุคคลนั้นให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน
ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีปแก่สมณะหรือพราหมณ์
เขาจึงเป็นผู้ได้กามคุณ ๕ ที่เป็นของมนุษย์
อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ เป็นสัมมาทิฏฐิ
บุคคลนั้นให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และ
เครื่องประทีปแก่สมณะหรือพราหมณ์ หลังจากตายแล้ว เขาย่อมเข้าถึงความเป็นผู้
อยู่ร่วมกับเทวดา และได้กามคุณ ๕ อันเป็นทิพย์ในเทวโลกนั้น
เพราะกรรมที่บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ เป็น
สัมมาทิฏฐิ หลังจากตายแล้ว เขาย่อมเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทวดา และเพราะ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. ชาณุสโสณิวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
กรรมที่บุคคลนั้นให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน
ที่พัก และเครื่องประทีปแก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาจึงได้กามคุณ ๕ อันเป็นทิพย์ใน
เทวโลกนั้น พราหมณ์ ถึงอย่างไร ทายกก็เป็นผู้ไม่ไร้ผล”
“ท่านพระโคดม น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ข้อที่ทายกเป็นผู้ไม่ไร้ผลนี้
ควรที่จะให้ทาน ควรที่จะศรัทธาโดยแท้”
“พราหมณ์ ข้อนี้เป็นอย่างนี้ ข้อนี้เป็นอย่างนี้ ถึงอย่างไร ทายกก็เป็นผู้ไม่ไร้ผล”
“ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอท่านพระโคดม
จงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
ชาณุสโสณิสูตรที่ ๑๑ จบ
ชาณุสโสณิวรรคที่ ๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. พราหมณปัจโจโรหณิสูตร ๒. อริยปัจโจโรหณิสูตร
๓. สคารวสูตร ๔. โอริมสูตร
๕. ปฐมอธัมมสูตร ๖. ทุติยอธัมมสูตร
๗. ตติยอธัมมสูตร ๘. กัมมนิทานสูตร
๙. ปริกกมนสูตร ๑๐. จุนทสูตร
๑๑. ชาณุสโสณิสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๓. สาธุวรรค ๑. สาธุสูตร
๓. สาธุวรรค
ว่าด้วยธรรมที่ดี และธรรมที่ไม่ดี
๑. สาธุสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ดี และธรรมที่ไม่ดี
[๑๗๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ดีและธรรม
ที่ไม่ดีแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูล
รับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ธรรมที่ไม่ดี อะไรบ้าง คือ
๑. ปาณาติบาต (การฆ่าสัตว์)
๒. อทินนาทาน (การลักทรัพย์)
๓. กาเมสุมิจฉาจาร (การประพฤติผิดในกาม)
๔. มุสาวาท (การพูดเท็จ)
๕. ปิสุณาวาจา (การพูดส่อเสียด)
๖. ผรุสวาจา (การพูดคำหยาบ)
๗. สัมผัปปลาปะ (การพูดเพ้อเจ้อ)
๘. อภิชฌา (ความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา)
๙. พยาบาท (ความคิดร้าย)
๑๐. มิจฉาทิฏฐิ (เห็นผิด)
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ไม่ดี
ธรรมที่ดี อะไรบ้าง คือ
๑. เจตนางดเว้นจากปาณาติบาต
๒. เจตนางดเว้นจากอทินนาทาน
๓. เจตนางดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๓. สาธุวรรค ๒. อริยธัมมสูตร
๔. เจตนางดเว้นจากมุสาวาท
๕. เจตนางดเว้นจากปิสุณาวาจา
๖. เจตนางดเว้นจากผรุสวาจา
๗. เจตนางดเว้นจากสัมผัปปลาปะ
๘. อนภิชฌา (ความไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา)
๙. อพยาบาท (ความไม่คิดร้าย)
๑๐. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ)
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ดี
สาธุสูตรที่ ๑ จบ

๒. อริยธัมมสูตร
ว่าด้วยอริยธรรม และอนริยธรรม
[๑๗๙] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอริยธรรมและอนริยธรรมแก่เธอทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
อนริยธรรม อะไรบ้าง คือ
๑. ปาณาติบาต ฯลฯ ๑๐. มิจฉาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า อนริยธรรม
อริยธรรม อะไรบ้าง คือ
๑. เจตนางดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ ๑๐. สัมมาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า อริยธรรม
อริยธัมมสูตรที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๓. สาธุวรรค ๔. อัตถสูตร
๓. กุสลสูตร
ว่าด้วยกุศลธรรม และอกุศลธรรม
[๑๘๐] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงกุศลธรรมและอกุศลธรรมแก่เธอทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
อกุศลธรรม อะไรบ้าง คือ
๑. ปาณาติบาต ฯลฯ ๑๐. มิจฉาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า อกุศลธรรม
กุศลธรรม อะไรบ้าง คือ
๑. เจตนางดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ ๑๐. สัมมาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า กุศลธรรม
กุสลสูตรที่ ๓ จบ

๔. อัตถสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นประโยชน์ และที่ไม่เป็นประโยชน์
[๑๘๑] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่เป็นประโยชน์และธรรมที่ไม่เป็น
ประโยชน์แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้น
ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ธรรมที่ไม่เป็นประโยชน์ อะไรบ้าง คือ
๑. ปาณาติบาต ฯลฯ ๑๐. มิจฉาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ไม่เป็นประโยชน์
ธรรมที่เป็นประโยชน์ อะไรบ้าง คือ
๑. เจตนางดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ ๑๐. สัมมาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่เป็นประโยชน์
อัตถสูตรที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๓๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๓. สาธุวรรค ๖. สาสวสูตร
๕. ธัมมสูตร
ว่าด้วยธรรม และอธรรม
[๑๘๒] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมและอธรรมแก่เธอทั้งหลาย เธอ
ทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
อธรรม อะไรบ้าง คือ
๑. ปาณาติบาต ฯลฯ ๑๐. มิจฉาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า อธรรม
ธรรม อะไรบ้าง คือ
๑. เจตนางดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ ๑๐. สัมมาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรม
ธัมมสูตรที่ ๕ จบ

๖. สาสวสูตร
ว่าด้วยธรรมที่มีอาสวะ และที่ไม่มีอาสวะ
[๑๘๓] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่มีอาสวะและธรรมที่ไม่มีอาสวะแก่
เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนอง
พระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ธรรมที่มีอาสวะ อะไรบ้าง คือ
๑. ปาณาติบาต ฯลฯ ๑๐. มิจฉาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่มีอาสวะ
ธรรมที่ไม่มีอาสวะ อะไรบ้าง คือ
๑. เจตนางดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ ๑๐. สัมมาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ไม่มีอาสวะ
สาสวสูตรที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๓. สาธุวรรค ๘. ตปนียสูตร
๗. วัชชสูตร
ว่าด้วยธรรมที่มีโทษ และที่ไม่มีโทษ
[๑๘๔] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่มีโทษและธรรมที่ไม่มีโทษแก่เธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนอง
พระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ธรรมที่มีโทษ อะไรบ้าง คือ
๑. ปาณาติบาต ฯลฯ ๑๐. มิจฉาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่มีโทษ
ธรรมที่ไม่มีโทษ อะไรบ้าง คือ
๑. เจตนางดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ ๑๐. สัมมาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ไม่มีโทษ
วัชชสูตรที่ ๗ จบ

๘. ตปนียสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุ และไม่เป็นเหตุให้เดือดร้อน
[๑๘๕] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่เป็นเหตุให้เดือดร้อนและธรรมที่ไม่
เป็นเหตุให้เดือดร้อนแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ธรรมที่เป็นเหตุให้เดือดร้อน อะไรบ้าง คือ
๑. ปาณาติบาต ฯลฯ ๑๐. มิจฉาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่เป็นเหตุให้เดือดร้อน
ธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เดือดร้อน อะไรบ้าง คือ
๑. เจตนางดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ ๑๐. สัมมาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เดือดร้อน
ตปนียสูตรที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๓. สาธุวรรค ๑๐. ทุกขุทรยสูตร
๙. อาจยคามิสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงจุติ ปฏิสนธิ และนิพพาน
[๑๘๖] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงจุติและปฏิสนธิ และ
ธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพานแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจัก
กล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงจุติและปฏิสนธิ อะไรบ้าง คือ
๑. ปาณาติบาต ฯลฯ ๑๐. มิจฉาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงจุติและปฏิสนธิ
ธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพาน อะไรบ้าง คือ
๑. เจตนางดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ ๑๐. สัมมาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพาน
อาจยคามิสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ทุกขุทรยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่มีทุกข์ และที่มีสุขเป็นกำไร
[๑๘๗] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่มีทุกข์เป็นกำไรและธรรมที่มีสุขเป็น
กำไรแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูล
รับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ธรรมที่มีทุกข์เป็นกำไร อะไรบ้าง คือ
๑. ปาณาติบาต ฯลฯ ๑๐. มิจฉาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่มีทุกข์เป็นกำไร
ธรรมที่สุขเป็นกำไร อะไรบ้าง คือ
๑. เจตนางดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ ๑๐. สัมมาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่มีสุขเป็นกำไร
ทุกขุทรยสูตรที่ ๑๐ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๓. สาธุวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
๑๑. วิปากสูตร
ว่าด้วยธรรมที่มีทุกข์ และที่มีสุขเป็นวิบาก
[๑๘๘] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่มีทุกข์เป็นวิบากและธรรมที่มีสุข
เป็นวิบากแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่า
นั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ธรรมที่มีทุกข์เป็นวิบาก อะไรบ้าง คือ
๑. ปาณาติบาต ฯลฯ ๑๐. มิจฉาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่มีทุกข์เป็นวิบาก
ธรรมที่สุขเป็นวิบาก อะไรบ้าง คือ
๑. เจตนางดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ ๑๐. สัมมาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่มีสุขเป็นวิบาก
วิปากสูตรที่ ๑๑ จบ
สาธุวรรคที่ ๓ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สาธุสูตร ๒. อริยธัมมสูตร
๓. กุสลสูตร ๔. อัตถสูตร
๕. ธัมมสูตร ๖. สาสวสูตร
๗. วัชชสูตร ๘. ตปนียสูตร
๙. อาจยคามิสูตร ๑๐. ทุกขุทรยสูตร
๑๑. วิปากสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๔. อริยมัคควรรค ๒. กัณหมัคคสูตร
๔. อริยมัคควรรค
หมวดว่าด้วยธรรมที่เป็นอริยมรรค
๑. อริยมัคคสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นอริยมรรค และที่ไม่ใช่อริยมรรค
[๑๘๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่เป็น
อริยมรรคและธรรมที่ไม่ใช่อริยมรรคแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ๑
ธรรมที่ไม่ใช่อริยมรรค อะไรบ้าง คือ
๑. ปาณาติบาต ฯลฯ ๑๐. มิจฉาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ไม่ใช่อริยมรรค
ธรรมที่เป็นอริยมรรค อะไรบ้าง คือ
๑. เจตนางดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ ๑๐. สัมมาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่เป็นอริยมรรค
อริยมัคคสูตรที่ ๑ จบ

๒. กัณหมัคคสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นฝ่ายดำ และที่เป็นฝ่ายขาว
[๑๙๐] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่เป็นฝ่ายดำและธรรมที่เป็นฝ่ายขาว
แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ
ธรรมที่เป็นฝ่ายดำ อะไรบ้าง คือ
๑. ปาณาติบาต ฯลฯ ๑๐. มิจฉาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่เป็นฝ่ายดำ

เชิงอรรถ :
๑ ข้อ ๑๘๙-๑๙๘ ดูความเต็มในข้อ ๑๘๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๓๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๔. อริยมัคควรรค ๔. สัปปุริสธัมมสูตร
ธรรมที่เป็นฝ่ายขาว อะไรบ้าง คือ
๑. เจตนางดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ ๑๐. สัมมาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่เป็นฝ่ายขาว
กัณหมัคคสูตรที่ ๒ จบ

๓. สัทธัมมสูตร
ว่าด้วยสัทธรรม และอสัทธรรม
[๑๙๑] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสัทธรรมและอสัทธรรมแก่เธอทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ
อสัทธรรม อะไรบ้าง คือ
๑. ปาณาติบาต ฯลฯ ๑๐. มิจฉาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า อสัทธรรม
สัทธรรม อะไรบ้าง คือ
๑. เจตนางดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ ๑๐. สัมมาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า สัทธรรม
สัทธัมมสูตรที่ ๓ จบ

๔. สัปปุริสธัมมสูตร
ว่าด้วยธรรมของสัตบุรุษ และธรรมของอสัตบุรุษ
[๑๙๒] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมของสัตบุรุษและธรรมของอสัตบุรุษ
แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ
ธรรมของอสัตบุรุษ อะไรบ้าง คือ
๑. ปาณาติบาต ฯลฯ ๑๐. มิจฉาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมของอสัตบุรุษ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๓๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๔. อริยมัคควรรค ๖. อาเสวิตัพพธัมมสูตร
ธรรมของสัตบุรุษ อะไรบ้าง คือ
๑. เจตนางดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ ๑๐. สัมมาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมของสัตบุรุษ
สัปปุริสธัมมสูตรที่ ๔ จบ

๕. อุปปาเทตัพพธัมมสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ควรให้เกิดขึ้น และที่ไม่ควรให้เกิดขึ้น
[๑๙๓] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ควรให้เกิดขึ้นและธรรมที่ไม่ควรให้
เกิดขึ้นแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ
ธรรมที่ไม่ควรให้เกิดขึ้น อะไรบ้าง คือ
๑. ปาณาติบาต ฯลฯ ๑๐. มิจฉาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ไม่ควรให้เกิดขึ้น
ธรรมที่ควรให้เกิดขึ้น อะไรบ้าง คือ
๑. เจตนางดเว้นขาดจากปาณาติบาต ฯลฯ ๑๐. สัมมาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ควรให้เกิดขึ้น
อุปปาเทตัพพธัมมสูตร ที่ ๕ จบ

๖. อาเสวิตัพพธัมมสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพ๑
[๑๙๔] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ควรเสพและธรรมที่ไม่ควรเสพแก่
เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ
ธรรมที่ไม่ควรเสพ อะไรบ้าง คือ
๑. ปาณาติบาต ฯลฯ ๑๐. มิจฉาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ไม่ควรเสพ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๑๕๐ (อาเสวิตัพพสูตร) หน้า ๒๙๔ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๓๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๔. อริยมัคควรรค ๘. พหุลีกาตัพพสูตร
ธรรมที่ควรเสพ อะไรบ้าง คือ
๑. เจตนางดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ ๑๐. สัมมาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ควรเสพ
อาเสวิตัพพธัมมสูตรที่ ๖ จบ

๗. ภาเวตัพพธัมมสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ควรเจริญ และที่ไม่ควรเจริญ
[๑๙๕] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ควรเจริญและธรรมที่ไม่ควรเจริญ
แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ
ธรรมที่ไม่ควรเจริญ อะไรบ้าง คือ
๑. ปาณาติบาต ฯลฯ ๑๐. มิจฉาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ไม่ควรเจริญ
ธรรมที่ควรเจริญ อะไรบ้าง คือ
๑. เจตนางดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ ๑๐. สัมมาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ควรเจริญ
ภาเวตัพพธัมมสูตรที่ ๗ จบ

๘. พหุลีกาตัพพสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ควรทำให้มาก และที่ไม่ควรทำให้มาก
[๑๙๖] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ควรทำให้มากและธรรมที่ไม่ควร
ทำให้มากแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ
ธรรมที่ไม่ควรทำให้มาก อะไรบ้าง คือ
๑. ปาณาติบาต ฯลฯ ๑๐. มิจฉาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ไม่ควรทำให้มาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๔. อริยมัคควรรค ๑๐. สัจฉิกาตัพพสูตร
ธรรมที่ควรทำให้มาก อะไรบ้าง คือ
๑. เจตนางดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ ๑๐. สัมมาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ควรทำให้มาก
พหุลีกาตัพพสูตรที่ ๘ จบ

๙. อนุสสริตัพพสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ควรระลึก และที่ไม่ควรระลึก
[๑๙๗] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ควรระลึกและธรรมที่ไม่ควรระลึก
แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ
ธรรมที่ไม่ควรระลึก อะไรบ้าง คือ
๑. ปาณาติบาต ฯลฯ ๑๐. มิจฉาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ไม่ควรระลึก
ธรรมที่ควรระลึก อะไรบ้าง คือ
๑. เจตนางดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ ๑๐. สัมมาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ควรระลึก
อนุสสริตัพพสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. สัจฉิกาตัพพสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ควรทำให้แจ้ง และที่ไม่ควรทำให้แจ้ง
[๑๙๘] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ควรทำให้แจ้งและธรรมที่ไม่ควร
ทำให้แจ้งแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ
ธรรมที่ไม่ควรทำให้แจ้ง อะไรบ้าง คือ
๑. ปาณาติบาต ฯลฯ ๑๐. มิจฉาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ไม่ควรทำให้แจ้ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๔๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๔. อริยมัคควรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ธรรมที่ควรทำให้แจ้ง อะไรบ้าง คือ
๑. เจตนางดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ ๑๐. สัมมาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ควรทำให้แจ้ง
สัจฉิกาตัพพสูตรที่ ๑๐ จบ
อริยมัคควรรคที่ ๔ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อริยมัคคสูตร ๒. กัณหมัคคสูตร
๓. สัทธัมมสูตร ๔. สัปปุริสธัมมสูตร
๕. อุปปาเทตัพพธัมมสูตร ๖. อาเสวิตัพพธัมมสูตร
๗. ภาเวตัพพธัมมสูตร ๘. พหุลีกาตัพพสูตร
๙. อนุสสริตัพพสูตร ๑๐. สัจฉิกาตัพพสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๔๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๕. อปรปุคควรรค ๑. นเสวิตัพพาทิสูตร
๕. อปรปุคคลวรรค
หมวดว่าด้วยบุคคล อีกหมวดหนึ่ง
๑. นเสวิตัพพาทิสูตร
ว่าด้วยบุคคลที่ไม่ควรเสพ๑เป็นต้น
[๑๙๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม
๑๐ ประการ เป็นผู้ไม่ควรเสพ
ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ บุคคล

๑. เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ๒. เป็นผู้ลักทรัพย์
๓. เป็นผู้ประพฤติผิดในกาม ๔. เป็นผู้พูดเท็จ
๕. เป็นผู้พูดส่อเสียด ๖. เป็นผู้พูดคำหยาบ
๗. เป็นผู้พูดเพ้อเจ้อ ๘. เป็นผู้เพ่งเล็งอยากได้ของเขา
๙. เป็นผู้มีจิตพยาบาท ๑๐. เป็นมิจฉาทิฏฐิ

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล เป็นผู้ไม่ควรเสพ
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ควรเสพ
ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ บุคคล
๑. เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์
๒. เป็นผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์
๓. เป็นผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม
๔. เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ
๕. เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด
๖. เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๑๕๕ (เสวิตัพพสูตร) หน้า ๒๙๘ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๔๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๕. อปรปุคควรรค ๑. นเสวิตัพพาทิสูตร
๗. เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ
๘. เป็นผู้ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา
๙. เป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท
๑๐. เป็นสัมมาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้ เป็นผู้ควรเสพ (๑)
(ในที่นี้ ควรนับสูตรที่ ๒๐๐ เป็นต้นไปตามที่ ฯลฯ ไว้)
[๒๐๐] บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ไม่ควรคบ ... ภิกษุทั้งหลาย
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ควรคบ ...
[๒๐๑] บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ไม่ควรนั่งใกล้ ... ภิกษุ
ทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ควรเข้าไปนั่งใกล้ ...
[๒๐๒] บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ไม่ควรบูชา ... ภิกษุ
ทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ควรบูชา ...
[๒๐๓] บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ไม่ควรสรรเสริญ ... ภิกษุ
ทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ควรสรรเสริญ ...
[๒๐๔] บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ไม่ควรเคารพ ... ภิกษุ
ทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ควรเคารพ ...
[๒๐๕] บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ไม่ควรยำเกรง ... ภิกษุ
ทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ควรยำเกรง ...
[๒๐๖] บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ไม่ควรให้ยินดี ... ภิกษุ
ทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ควรให้ยินดี ...
[๒๐๗] บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมไม่บริสุทธิ์ ... ภิกษุทั้งหลาย
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมบริสุทธิ์ ...
[๒๐๘] บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมครอบงำมานะไม่ได้ ... ภิกษุ
ทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมครอบงำมานะได้ ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๔๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๕. อปรปุคควรรค ๑. นเสวิตัพพาทิสูตร
[๒๐๙] บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมไม่เจริญด้วยปัญญา ...
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมเจริญด้วยปัญญา ...
(๒-๑๑)
[๒๑๐] บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมประสพสิ่งที่ไม่ใช่บุญเป็น
อันมาก ... ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมประสพบุญ
เป็นอันมาก
ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ บุคคล
๑. เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์
๒. เป็นผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์
๓. เป็นผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม
๔. เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ
๕. เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด
๖. เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ
๗. เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ
๘. เป็นผู้ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา
๙. เป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท
๑๐. เป็นสัมมาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล ย่อมประสพบุญ
เป็นอันมาก (๑๒)
นเสวิตัพพาทิสูตร จบ
อปรปุคคลวรรคที่ ๕ จบ
จตุตถปัณณาสก์ จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๑. กรชกายวรรค ๑. ปฐมนิรยสัคคสูตร
๕. ปัญจมปัณณาสก์
๑. กรชกายวรรค
หมวดว่าด้วยกรชกาย๑
๑. ปฐมนิรยสัคคสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดในนรกและสวรรค์ สูตรที่ ๑
[๒๑๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐
ประการ ย่อมดำรงอยู่ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
บุคคลบางคนในโลกนี้
๑. เป็นผู้ฆ่าสัตว์ หยาบช้า มีมือเปื้อนเลือด ปักใจอยู่ในการฆ่าและการทุบตี
ไม่มีความเอ็นดูในสัตว์ทั้งปวง
๒. เป็นผู้ลักทรัพย์ คือ เป็นผู้ถือเอาทรัพย์อันเป็นอุปกรณ์เครื่องปลื้มใจของ
ผู้อื่น ซึ่งอยู่ในบ้าน หรืออยู่ในป่าที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วยจิตเป็นเหตุขโมย
๓. เป็นผู้ประพฤติผิดในกาม คือ เป็นผู้ประพฤติล่วงในสตรีที่อยู่ในปกครอง
ของมารดา ที่อยู่ในปกครองของบิดา ที่อยู่ในปกครองของบิดามารดา
ที่อยู่ในปกครองของพี่ชายน้องชาย ที่อยู่ในปกครองของพี่สาวน้องสาว
ที่อยู่ในปกครองของญาติ ที่อยู่ในปกครองของโคตร ที่ประพฤติธรรม มี
สามี มีกฎหมายคุ้มครอง โดยที่สุด แม้สตรีที่บุรุษสวมด้วยพวงมาลัย
หมายไว้
๔. เป็นผู้พูดเท็จ คือ อยู่ในสภา อยู่ในบริษัท อยู่ท่ามกลางหมู่ญาติ อยู่
ท่ามกลางหมู่ทหาร หรืออยู่ท่ามกลางราชสำนัก ถูกเขาอ้างเป็นพยาน
ซักถามว่า ‘ท่านรู้สิ่งใดจงกล่าวสิ่งนั้น’ บุคคลนั้นไม่รู้ก็กล่าวว่า ‘รู้’ หรือ

เชิงอรรถ :
๑ กรชกาย หมายถึงร่างกายที่เกิดจากธุลีคือราคะ (เทียบ ขุ.ม. ๒๙/๒๐๙/๔๓๑, ขุ.จู. ๓๐/๗๔/๑๖๒, ที.สี.ฏีกา
(อภินว) ๔๕/๕๑๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๑. กรชกายวรรค ๑. ปฐมนิรยสัคคสูตร
รู้ก็กล่าวว่า ‘ไม่รู้’ ไม่เห็นก็กล่าวว่า ‘เห็น’ หรือเห็นก็กล่าวว่า ‘ไม่เห็น’
กล่าวเท็จทั้งที่รู้เพราะตนเป็นเหตุบ้าง เพราะบุคคลอื่นเป็นเหตุบ้าง เพราะ
เหตุคือเห็นแก่อามิสเล็กน้อยบ้าง
๕. เป็นผู้พูดส่อเสียด คือ ฟังความฝ่ายนี้แล้วไปบอกฝ่ายโน้นเพื่อทำลาย
ฝ่ายนี้ หรือฟังความฝ่ายโน้นแล้วมาบอกฝ่ายนี้เพื่อทำลายฝ่ายโน้น ยุยง
คนที่สามัคคีกัน ส่งเสริมคนที่แตกแยกกัน ชื่นชมยินดีเพลิดเพลินต่อผู้ที่
แตกแยกกัน พูดแต่ถ้อยคำที่ก่อความแตกแยกกัน
๖. เป็นผู้พูดคำหยาบ คือ กล่าวแต่คำที่หยาบคาย กล้าแข็ง เผ็ดร้อน
หยาบคายร้ายกาจแก่ผู้อื่น กระทบกระทั่งผู้อื่น ใกล้ต่อความโกรธ ไม่
เป็นไปเพื่อสมาธิ
๗. เป็นผู้พูดเพ้อเจ้อ คือ พูดไม่ถูกเวลา พูดคำไม่จริง พูดไม่อิงประโยชน์
พูดไม่อิงธรรม พูดไม่อิงวินัย พูดคำที่ไม่มีหลักฐาน ไม่มีที่อ้างอิง ไม่มีที่
กำหนด ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
๘. เป็นผู้เพ่งเล็งอยากได้ของเขา คือ เพ่งเล็งอยากได้ทรัพย์อันเป็นอุปกรณ์
เครื่องปลื้มใจของผู้อื่นว่า ‘ทำอย่างไร ทรัพย์อันเป็นอุปกรณ์เครื่องปลื้ม
ใจของผู้อื่นจะพึงเป็นของเรา’
๙. เป็นผู้มีจิตพยาบาท คือ มีจิตคิดร้ายว่า ‘ขอสัตว์เหล่านี้จงถูกฆ่า จงถูก
ทำลาย จงขาดสูญ จงพินาศไป หรืออย่าได้มี’
๑๐. เป็นมิจฉาทิฏฐิ มีความเห็นวิปริตว่า ‘ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชา
แล้วไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและชั่วก็ไม่มี
โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มีคุณ บิดาไม่มีคุณ โอปปาติกสัตว์
ไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้า
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งก็ไม่มีในโลก’
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ในนรก
เหมือนถูกนำไปฝังไว้
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์ เหมือนได้รับ
อัญเชิญไปประดิษฐานไว้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๔๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๑. กรชกายวรรค ๑. ปฐมนิรยสัคคสูตร
ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ บุคคล
๑. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑาวุธ และศัสตราวุธ มีความ
ละอาย มีความเอ็นดู มุ่งหวังประโยชน์เกื้อกูลต่อสรรพสัตว์อยู่
๒. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการลักทรัพย์ คือ ไม่ถือเอาทรัพย์อันเป็นอุปกรณ์
เครื่องปลื้มใจของผู้อื่นซึ่งอยู่ในบ้านหรืออยู่ในป่าที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วย
จิตเป็นเหตุขโมย
๓. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม คือ ไม่เป็นผู้ประพฤติล่วง
ในสตรีที่อยู่ในปกครองของมารดา ที่อยู่ในปกครองของบิดา ที่อยู่ใน
ปกครองของบิดามารดา ที่อยู่ในปกครองของพี่ชายน้องชาย ที่อยู่ใน
ปกครองของพี่สาวน้องสาว ที่อยู่ในปกครองของญาติ ที่อยู่ในปกครอง
ของโคตร ที่ประพฤติธรรม มีสามี มีกฎหมายคุ้มครอง โดยที่สุดแม้แต่
สตรีที่บุรุษสวมด้วยพวงมาลัยหมายไว้
๔. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดเท็จ คือ อยู่ในสภา อยู่ในบริษัท อยู่ท่ามกลาง
หมู่ญาติ อยู่ท่ามกลางหมู่ทหาร หรืออยู่ท่ามกลางราชสำนัก ถูกเขาอ้าง
เป็นพยานซักถามว่า ‘ท่านรู้สิ่งใดจงกล่าวสิ่งนั้น’ บุคคลนั้นไม่รู้ก็กล่าวว่า
‘ไม่รู้’ หรือรู้ก็กล่าวว่า ‘รู้’ ไม่เห็นก็กล่าวว่า ‘ไม่เห็น’ หรือเห็นก็กล่าวว่า
‘เห็น’ ไม่กล่าวเท็จทั้งที่รู้เพราะตนเป็นเหตุบ้าง เพราะบุคคลอื่นเป็น
เหตุบ้าง เพราะเหตุคือเห็นแก่อามิสเล็กน้อยบ้าง
๕. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดส่อเสียด คือ ฟังความฝ่ายนี้แล้วไม่ไปบอก
ฝ่ายโน้นเพื่อทำลายฝ่ายนี้ หรือฟังความฝ่ายโน้นแล้วไม่มาบอกฝ่ายนี้
เพื่อทำลายฝ่ายโน้น สมานคนที่แตกแยกกัน ส่งเสริมคนที่ปรองดองกัน
ชื่นชมยินดีเพลิดเพลินต่อผู้ที่สามัคคีกัน พูดแต่ถ้อยคำที่สร้างสรรค์
ความสามัคคี
๖. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดคำหยาบ คือ กล่าวแต่คำที่ไม่มีโทษ ไพเราะ
น่ารัก จับใจ เป็นคำของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่พอใจ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๔๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๑. กรชกายวรรค ๒. ทุติยนิรยสัคคสูตร
๗. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ คือ พูดถูกเวลา พูดคำจริง พูดอิง
ประโยชน์ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดคำที่มีหลักฐาน มีที่อ้างอิง มีที่
กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์
๘. เป็นผู้ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา คือ ไม่เพ่งเล็งอยากได้ทรัพย์อันเป็น
อุปกรณ์เครื่องปลื้มใจของผู้อื่นว่า ‘ทำอย่างไร ทรัพย์อันเป็นอุปกรณ์
เครื่องปลื้มใจของผู้อื่นจะพึงเป็นของเรา’
๙. เป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท คือ ไม่มีจิตคิดร้ายว่า ‘ขอสัตว์เหล่านี้จงเป็นผู้ไม่
มีเวร ไม่มีจิตพยาบาท ไม่มีทุกข์ มีสุข รักษาตนเถิด’
๑๐. เป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นไม่วิปริตว่า ‘ทานที่ให้แล้วมีผล ยัญที่บูชา
แล้วมีผล การเซ่นสรวงมีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและชั่วมี โลกนี้มี
โลกหน้ามี มารดามีคุณ บิดามีคุณ โอปปาติกสัตว์มี สมณพราหมณ์ผู้
ประพฤติดีปฏิบัติชอบ ทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งมีอยู่ในโลก’
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ใน
สวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ปฐมนิรยสัคคสูตรที่ ๑ จบ

๒. ทุติยนิรยสัคคสูตร
ว่าด้วยธรรมเป็นเหตุให้เกิดในนรกและสวรรค์ สูตรที่ ๒
[๒๑๒] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมดำรงอยู่
ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
บุคคลบางคนในโลกนี้
๑. เป็นผู้ฆ่าสัตว์ หยาบช้า มีมือเปื้อนเลือด ปักใจอยู่ในการฆ่าและการทุบตี
ไม่มีความเอ็นดูในสัตว์ทั้งปวง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๔๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๑. กรชกายวรรค ๒. ทุติยนิรยสัคคสูตร
๒. เป็นผู้ลักทรัพย์ ...
๓. เป็นผู้ประพฤติผิดในกาม ...
๔. เป็นผู้พูดเท็จ ...
๕. เป็นผู้พูดส่อเสียด ...
๖. เป็นผู้พูดคำหยาบ ...
๗. เป็นผู้พูดเพ้อเจ้อ ...
๘. เป็นผู้เพ่งเล็งอยากได้ของเขา ...
๙. เป็นผู้มีจิตพยาบาท ...
๑๐. เป็นมิจฉาทิฏฐิ มีความเห็นวิปริตว่า ‘ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ฯลฯ ทำให้
แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งก็ไม่มี
ในโลก’
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ในนรก เหมือนถูก
นำไปฝังไว้
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์ เหมือนได้รับ
อัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
บุคคลบางคนในโลกนี้
๑. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑาวุธ และศัสตราวุธ มีความ
ละอาย มีความเอ็นดู มุ่งหวังประโยชน์เกื้อกูลต่อสรรพสัตว์อยู่
๒. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการลักทรัพย์ ...
๓. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม ...
๔. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดเท็จ ...
๕. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดส่อเสียด ...
๖. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดคำหยาบ ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๑. กรชกายวรรค ๓. มาตุคามสูตร
๗. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ...
๘. เป็นผู้ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา ...
๙. เป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท ...
๑๐. เป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นไม่วิปริตว่า ‘ทานที่ให้แล้วมีผล ฯลฯ ทำให้
แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งมีอยู่
ในโลก’
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ใน
สวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ทุติยนิรยสัคคสูตรที่ ๒ จบ

๓. มาตุคามสูตร
ว่าด้วยธรรมเป็นเหตุให้มาตุคามเกิดในนรกและสวรรค์
[๒๑๓] ภิกษุทั้งหลาย มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมดำรง
อยู่ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ๑๐. เป็นมิจฉาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ใน
นรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้
มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์ เหมือนได้รับ
อัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ๑๐. เป็นสัมมาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ใน
สวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
มาตุคามสูตรที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๑. กรชกายวรรค ๕. วิวารทสูตร
๔. อุปาสิกาสูตร
ว่าด้วยธรรมเป็นเหตุให้อุบาสิกาเกิดในนรกและสวรรค์
[๒๑๔] ภิกษุทั้งหลาย อุบาสิกาประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมดำรง
อยู่ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ๑๐. เป็นมิจฉาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย อุบาสิกาประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ใน
นรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ภิกษุทั้งหลาย อุบาสิกาประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์
เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ๑๐. เป็นสัมมาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย อุบาสิกาประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ใน
สวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
อุปาสิกาสูตรที่ ๔ จบ

๕. วิสารทสูตร
ว่าด้วยธรรมเป็นเหตุให้อุบาสิกาเป็นผู้ไม่แกล้วกล้าและผู้แกล้วกล้า
[๒๑๕] ภิกษุทั้งหลาย อุบาสิกาประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ไม่
แกล้วกล้าอยู่ครองเรือน
ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ๑๐. เป็นมิจฉาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย อุบาสิกาประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล เป็นผู้ไม่แกล้วกล้า
อยู่ครองเรือน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๕๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๑. กรชกายวรรค ๖. สังสัปปติปริยายสูตร
อุบาสิกาประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้แกล้วกล้าอยู่ครองเรือน
ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ๑๐. เป็นสัมมาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย อุบาสิกาประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล เป็นผู้แกล้วกล้า
อยู่ครองเรือน
วิสารทสูตรที่ ๕ จบ

๖. สังสัปปติปริยายสูตร
ว่าด้วยเหตุแห่งความกระเสือกกระสน
[๒๑๖] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมบรรยาย๑ที่แสดงเหตุแห่งความ
กระเสือกกระสนแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุ
เหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ธรรมบรรยายที่แสดงเหตุแห่งความกระเสือกกระสน เป็นอย่างไร
คือ สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มีกรรมเป็นของตน เป็นผู้รับผลของกรรม มีกรรมเป็น
กำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย ทำกรรมใดไว้ จะเป็นกรรมดี
หรือกรรมชั่วก็ตาม ย่อมเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น
๑. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฆ่าสัตว์ หยาบช้า มีมือเปื้อนเลือด ปักใจอยู่
ในการฆ่าและการทุบตี ไม่มีความเอ็นดูในสัตว์ทั้งปวง บุคคลนั้นย่อม
กระเสือกกระสนด้วยกาย วาจา และใจ กายกรรม วจีกรรม และมโน-
กรรมของเขาคดเคี้ยว คติของเขาก็คดเคี้ยว การอุบัติของเขาก็คดเคี้ยว
สำหรับผู้มีคติคดเคี้ยว มีอุบัติคดเคี้ยว เรากล่าวว่ามีคติอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง
คือ นรกมีทุกข์โดยส่วนเดียว หรือกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานที่มีปกติกระเสือกกระสน
กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานที่มีปกติกระเสือกกระสน เป็นอย่างไร

เชิงอรรถ :
๑ ธรรมบรรยาย หมายถึงพระธรรมเทศนา (องฺ.ทสก.อ. ๓/๒๑๖/๓๗๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๕๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๑. กรชกายวรรค ๖. สังสัปปติปริยายสูตร
คือ งู แมงป่อง ตะขาบ พังพอน แมว หนู นกเค้าแมว หรือสัตว์ผู้เข้าถึง
กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานเหล่าใดเหล่าหนึ่งแม้อื่น ๆ เห็นมนุษย์แล้ว ย่อมกระเสือกกระสน
การอุบัติของสัตว์ทั้งหลายย่อมมีได้เพราะกรรมที่มีแล้วอย่างนี้ คือ สัตว์นั้นย่อมอุบัติ
ด้วยกรรมที่ตนทำไว้ ผัสสะอันเป็นวิบากทั้งหลายย่อมถูกต้องสัตว์นี้ผู้อุบัติแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้รับผลของกรรมอย่างนี้
๒. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ลักทรัพย์ ...
๓. เป็นผู้ประพฤติผิดในกาม ...
๔. เป็นผู้พูดเท็จ ...
๕. เป็นผู้พูดส่อเสียด ...
๖. เป็นผู้พูดคำหยาบ ...
๗. เป็นผู้พูดเพ้อเจ้อ ...
๘. เป็นผู้เพ่งเล็งอยากได้ของเขา ...
๙. เป็นผู้มีจิตพยาบาท ...
๑๐. เป็นมิจฉาทิฏฐิ มีความเห็นวิปริตว่า ‘ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชา
แล้วไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและชั่วก็ไม่มี
โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มีคุณ บิดาไม่มีคุณ โอปปาติกสัตว์
ไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้า
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งก็ไม่มีในโลก’ บุคคลนั้น ย่อม
กระเสือกกระสนด้วยกาย วาจา และใจ กายกรรม วจีกรรม และมโน-
กรรมของเขาคดเคี้ยว คติของเขาก็คดเคี้ยว การอุบัติของเขาก็คดเคี้ยว
สำหรับบุคคลผู้มีคติคดเคี้ยว มีอุบัติคดเคี้ยว เรากล่าวว่ามีคติอย่าง ๑ ใน ๒
อย่าง คือ นรกมีทุกข์โดยส่วนเดียว หรือกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานที่มีปกติกระเสือก
กระสน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๕๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๑. กรชกายวรรค ๖. สังสัปปติปริยายสูตร
กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานที่มีปกติกระเสือกกระสน เป็นอย่างไร
คือ งู แมงป่อง ตะขาบ พังพอน แมว หนู นกเค้าแมว หรือสัตว์ผู้เข้าถึง
กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานเหล่าใดเหล่าหนึ่งแม้อื่น ๆ เห็นมนุษย์แล้ว ย่อมกระเสือกกระสน
การอุบัติของสัตว์ทั้งหลายย่อมมีได้เพราะกรรมที่มีแล้วอย่างนี้ คือ สัตว์นั้นย่อมอุบัติ
ด้วยกรรมที่ตนทำไว้ ผัสสะอันเป็นวิบากทั้งหลายย่อมถูกต้องสัตว์นี้ผู้อุบัติแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้รับผลของกรรมอย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มีกรรมเป็นของตน เป็นผู้รับผลของกรรม มี
กรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย ทำกรรมใดไว้ จะเป็น
กรรมดีหรือกรรมชั่วก็ตาม ย่อมเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น
๑. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ละเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑาวุธและ
ศัสตราวุธ มีความละอาย มีความเอ็นดู มุ่งหวังประโยชน์เกื้อกูลต่อ
สรรพสัตว์อยู่ บุคคลนั้นย่อมไม่กระเสือกกระสนด้วยกาย วาจา และใจ
กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมของเขาตรง คติของเขาก็ตรง การ
อุบัติของเขาก็ตรง
สำหรับบุคคลผู้มีคติตรง มีอุบัติตรง เรากล่าวว่ามีคติอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง
คือ เป็นคนมีสุขโดยส่วนเดียว หรือเป็นคนมีตระกูลสูง เช่น ตระกูลกษัตริย์มหาศาล
ตระกูลพราหมณ์มหาศาล หรือตระกูลคหบดีมหาศาลที่มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะ
มาก มีเงินทองมาก มีทรัพย์อันเป็นอุปกรณ์เครื่องปลื้มใจมาก มีทรัพย์และ
ข้าวเปลือกมาก การอุบัติของสัตว์ทั้งหลายย่อมมีได้เพราะกรรมที่มีแล้วอย่างนี้ คือ
สัตว์นั้นย่อมอุบัติด้วยกรรมที่ตนทำไว้ ผัสสะอันเป็นวิบากย่อมถูกต้องสัตว์นี้ผู้อุบัติแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้รับผลของกรรมอย่างนี้
๒. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ละเว้นขาดจากการลักทรัพย์ ...
๓. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม ...
๔. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดเท็จ ...
๕. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดส่อเสียด ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๕๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๑. กรชกายวรรค ๖. สังสัปปติปริยายาสูตร
๖. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดคำหยาบ ...
๗. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ...
๘. เป็นผู้ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา ...
๙. เป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท ...
๑๐. เป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นไม่วิปริตว่า ‘ทานที่ให้แล้วมีผล ยัญที่บูชา
แล้วมีผล การเซ่นสรวงมีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและชั่วมี โลกนี้มี
โลกหน้ามี มารดามีคุณ บิดามีคุณ โอปปาติกสัตว์มี สมณพราหมณ์ผู้
ประพฤติดีปฏิบัติชอบทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งมีอยู่ในโลก’ บุคคลนั้นย่อมไม่กระเสือกกระสน
ด้วยกาย วาจา และใจ กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมของเขาตรง
คติของเขาก็ตรง การอุบัติของเขาก็ตรง
สำหรับบุคคลผู้มีคติตรง มีอุบัติตรง เรากล่าวว่ามีคติอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง
คือ เป็นคนมีสุขโดยส่วนเดียว หรือเป็นคนมีตระกูลสูง เช่น ตระกูลกษัตริย์มหาศาล
ตระกูลพราหมณ์มหาศาล หรือตระกูลคหบดีมหาศาลที่มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะ
มาก มีเงินทองมาก มีทรัพย์อันเป็นอุปกรณ์เครื่องปลื้มใจมาก มีทรัพย์และข้าวเปลือก
มาก การอุบัติของสัตว์ทั้งหลายย่อมมีได้เพราะกรรมที่มีแล้วอย่างนี้ คือ สัตว์นั้น
ย่อมอุบัติด้วยกรรมที่ตนทำไว้ ผัสสะอันเป็นวิบากย่อมถูกต้องสัตว์นี้ผู้อุบัติแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้รับผลของกรรมอย่างนี้
สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มีกรรมเป็นของตน เป็นผู้รับผลของกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด
มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย ทำกรรมใดไว้ จะเป็นกรรมดีหรือกรรมชั่ว
ก็ตาม ย่อมเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น
ภิกษุทั้งหลาย นี้แล เป็นธรรมบรรยายที่แสดงเหตุแห่งความกระเสือกกระสน
สังสัปปติปริยายสูตรที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปํญจมปัณณาสก์] ๑. กรชกายวรรค ๗. ปฐมสัญเจตนิกสูตร
๗. ปฐมสัญเจตนิกสูตร
ว่าด้วยกรรมที่สัตว์เจตนาสั่งสม สูตรที่ ๑
[๒๑๗] ภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่รู้วิบากกรรม จะไม่กล่าวถึงความสิ้นสุดแห่ง
กรรมที่สัตว์เจตนาทำขึ้น สั่งสมขึ้น ก็วิบากนั้นเองที่สัตว์พึงเสวยในปัจจุบันก็มี ใน
อัตภาพถัดไปก็มี หรือในอัตภาพต่อ ๆ ไปก็มี ภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่รู้วิบากกรรม
จะไม่กล่าวถึงการทำที่สุดแห่งทุกข์ของกรรมที่สัตว์เจตนาทำขึ้น สั่งสมขึ้น ในข้อ
นั้นแล วิบัติคือโทษแห่งกายกรรมที่มีเจตนาเป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก
๓ ประการ วิบัติคือโทษแห่งวจีกรรมที่มีเจตนาเป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์
เป็นวิบาก ๔ ประการ วิบัติคือโทษแห่งมโนกรรมที่มีเจตนาเป็นอกุศล มีทุกข์เป็น
กำไร มีทุกข์เป็นวิบาก ๓ ประการ
วิบัติคือโทษแห่งกายกรรมที่มีเจตนาเป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์
เป็นวิบาก ๓ ประการ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้
๑. เป็นผู้ฆ่าสัตว์ หยาบช้า มีมือเปื้อนเลือด ปักใจอยู่ในการฆ่าและการทุบตี
ไม่มีความเอ็นดูในสัตว์ทั้งปวง
๒. เป็นผู้ลักทรัพย์ คือ เป็นผู้ถือเอาทรัพย์อันเป็นอุปกรณ์เครื่องปลื้มใจของ
ผู้อื่นซึ่งอยู่ในบ้าน หรืออยู่ในป่าที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วยจิตเป็นเหตุขโมย
๓. เป็นผู้ประพฤติผิดในกาม คือ เป็นผู้ประพฤติล่วงในสตรีที่อยู่ในปกครอง
ของมารดา ที่อยู่ในปกครองของบิดา ที่อยู่ในปกครองของพี่ชายน้องชาย
ที่อยู่ในปกครองของพี่สาวน้องสาว ที่อยู่ในปกครองของญาติ ที่ประพฤติ
ธรรม มีสามี มีกฎหมายคุ้มครอง โดยที่สุด แม้สตรีที่บุรุษสวมด้วยพวง
มาลัยหมายไว้
วิบัติคือโทษแห่งกายกรรมที่มีเจตนาเป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็น
วิบาก ๓ ประการ เป็นอย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปํญจมปัณณาสก์] ๑. กรชกายวรรค ๗. ปฐมสัญเจตนิกสูตร
วิบัติคือโทษแห่งวจีกรรมที่มีเจตนาเป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็น
วิบาก ๔ ประการ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้
๑. เป็นผู้พูดเท็จ คือ อยู่ในสภา อยู่ในบริษัท อยู่ท่ามกลางหมู่ญาติ อยู่
ท่ามกลางหมู่ทหาร หรืออยู่ท่ามกลางราชสำนัก ถูกเขาอ้างเป็นพยาน
ซักถามว่า ‘ท่านรู้สิ่งใดจงกล่าวสิ่งนั้น’ บุคคลนั้นไม่รู้ก็กล่าวว่า ‘รู้’ หรือรู้
ก็กล่าวว่า ‘ไม่รู้’ ไม่เห็นก็กล่าวว่า ‘เห็น’ หรือเห็นก็กล่าวว่า ‘ไม่เห็น’
กล่าวเท็จทั้งที่รู้เพราะตนเป็นเหตุบ้าง เพราะบุคคลอื่นเป็นเหตุบ้าง เพราะ
เหตุคือเห็นแก่อามิสเล็กน้อยบ้าง
๒. เป็นผู้พูดส่อเสียด คือ ฟังความฝ่ายนี้แล้วไปบอกฝ่ายโน้นเพื่อทำลายฝ่ายนี้
หรือฟังความฝ่ายโน้นแล้วมาบอกฝ่ายนี้เพื่อทำลายฝ่ายโน้น ยุยงคนที่
สามัคคีกัน ส่งเสริมคนที่แตกแยกกัน ชื่นชมยินดีเพลิดเพลินต่อผู้ที่แตก
แยกกัน พูดแต่ถ้อยคำที่ก่อความแตกแยกกัน
๓. เป็นผู้พูดคำหยาบ คือ กล่าวแต่คำที่หยาบคาย กล้าแข็ง เผ็ดร้อน
หยาบคายร้ายกาจแก่ผู้อื่น กระทบกระทั่งผู้อื่น ใกล้ต่อความโกรธ ไม่
เป็นไปเพื่อสมาธิ
๔. เป็นผู้พูดเพ้อเจ้อ คือ พูดไม่ถูกเวลา พูดคำไม่จริง พูดไม่อิงประโยชน์
พูดไม่อิงธรรม พูดไม่อิงวินัย พูดคำที่ไม่มีหลักฐาน ไม่มีที่อ้างอิง ไม่มีที่
กำหนด ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
วิบัติคือโทษแห่งวจีกรรมที่มีเจตนาเป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก
๔ ประการ เป็นอย่างนี้แล
วิบัติคือโทษแห่งมโนกรรมที่มีเจตนาเป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์
เป็นวิบาก ๓ ประการ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้
๑. เป็นผู้เพ่งเล็งอยากได้ของเขา คือ เพ่งเล็งอยากได้ทรัพย์อันเป็นอุปกรณ์
เครื่องปลื้มใจของผู้อื่นว่า ‘ทำอย่างไร ทรัพย์อันเป็นอุปกรณ์เครื่องปลื้ม
ใจของผู้อื่นจะพึงเป็นของเรา’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๑. กรชกายวรรค ๗. ปฐมสัญเจตนิกสูตร
๒. เป็นผู้มีจิตพยาบาท คือ มีจิตคิดร้ายว่า ‘ขอสัตว์เหล่านี้จงถูกฆ่า จงถูก
ทำลาย จงขาดสูญ จงพินาศไป หรืออย่าได้มี’
๓. เป็นมิจฉาทิฏฐิ มีความเห็นวิปริตว่า ‘ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชา
แล้วไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและชั่วก็ไม่มี
โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มีคุณ บิดาไม่มีคุณ โอปปาติกสัตว์
ไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ ทำให้แจ้งโลกนี้และ
โลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งก็ไม่มีในโลก’
วิบัติคือโทษแห่งมโนกรรมที่มีเจตนาเป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็น
วิบาก ๓ ประการ เป็นอย่างนี้แล
เพราะวิบัติคือโทษแห่งกายกรรมที่มีเจตนาเป็นอกุศล ๓ ประการ เพราะวิบัติ
คือโทษแห่งวจีกรรมที่มีเจตนาเป็นอกุศล ๔ ประการ หรือเพราะวิบัติคือโทษแห่ง
มโนกรรมที่มีเจตนาเป็นอกุศล ๓ ประการ สัตว์ทั้งหลายหลังจากตายแล้วจึงไปเกิด
ในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ภิกษุทั้งหลาย เพราะวิบัติคือโทษแห่งกายกรรมที่มีเจตนาเป็นอกุศล ๓ ประการ
เพราะวิบัติคือโทษแห่งวจีกรรมที่มีเจตนาเป็นอกุศล ๔ ประการ หรือเพราะวิบัติคือ
โทษแห่งมโนกรรมที่มีเจตนาเป็นอกุศล ๓ ประการ สัตว์ทั้งหลายหลังจากตายแล้ว
จึงไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เปรียบเหมือนแก้วมณีหกเหลี่ยมถูกโยนขึ้นสูง
ก็กลับลงมาตั้งอยู่ด้วยดีตามปกติ ฉะนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่รู้วิบากกรรม จะไม่กล่าวถึงความสิ้นสุดแห่งกรรมที่
สัตว์เจตนาทำขึ้น สั่งสมขึ้น ก็วิบากนั้นเองที่สัตว์พึงเสวยในปัจจุบันก็มี ในอัตภาพ
ถัดไปก็มี หรือในอัตภาพต่อ ๆ ไปก็มี ภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่รู้วิบากกรรม จะไม่
กล่าวถึงการทำที่สุดแห่งทุกข์ของกรรมที่สัตว์เจตนาทำขึ้น สั่งสมขึ้น ในข้อนั้นแล
สมบัติแห่งกายกรรมที่มีเจตนาเป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก ๓ ประการ
สมบัติแห่งวจีกรรมที่มีเจตนาเป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก ๔ ประการ
สมบัติแห่งมโนกรรมที่มีเจตนาเป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก ๓ ประการ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๕๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๑. กรชกายวรรค ๗. ปฐมสัญเจตนิกสูตร
สมบัติแห่งกายกรรมที่มีเจตนาเป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก ๓
ประการ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้
๑. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑาวุธและศัสตราวุธ มีความ
ละอาย มีความเอ็นดู มุ่งหวังประโยชน์เกื้อกูลต่อสรรพสัตว์อยู่
๒. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการลักทรัพย์ คือ ไม่ถือเอาทรัพย์อันเป็นอุปกรณ์
เครื่องปลื้มใจของผู้อื่น ซึ่งอยู่ในบ้านหรืออยู่ในป่าที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วย
จิตเป็นเหตุขโมย
๓. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม คือ ไม่เป็นผู้ประพฤติล่วง
ในสตรีทั้งหลายที่อยู่ในปกครองของมารดา ที่อยู่ในปกครองของบิดา ที่
อยู่ในปกครองของพี่ชายน้องชาย ที่อยู่ในปกครองของพี่สาวน้องสาว ที่
อยู่ในปกครองของญาติ ที่ประพฤติธรรม มีสามี มีกฎหมายคุ้มครอง
โดยที่สุดแม้แต่สตรีที่บุรุษสวมด้วยพวงมาลัยหมายไว้
สมบัติแห่งกายกรรมที่มีเจตนาเป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก ๓
ประการ เป็นอย่างนี้แล
สมบัติแห่งวจีกรรมที่มีเจตนาเป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก ๔
ประการ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลก
๑. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดเท็จ คืออยู่ในสภา อยู่ในบริษัท อยู่
ท่ามกลางหมู่ญาติ อยู่ท่ามกลางหมู่ทหาร หรืออยู่ท่ามกลางราชสำนัก
ถูกเขาอ้างเป็นพยานซักถามว่า ‘ท่านรู้สิ่งใดจงกล่าวสิ่งนั้น’ บุคคลนั้นไม่
รู้ก็กล่าวว่า ‘ไม่รู้’ หรือรู้ก็กล่าวว่า ‘รู้’ ไม่เห็นกล่าวว่า ‘ไม่เห็น’ หรือเห็น
ก็กล่าวว่า ‘เห็น’ ไม่กล่าวเท็จทั้งที่รู้เพราะตนเป็นเหตุบ้าง เพราะบุคคล
อื่นเป็นเหตุบ้าง เพราะเหตุคือเห็นแก่อามิสเล็กน้อยบ้าง
๒. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดส่อเสียด คือ ฟังความฝ่ายนี้แล้วไม่ไปบอก
ฝ่ายโน้นเพื่อทำลายฝ่ายนี้ หรือฟังความฝ่ายโน้นแล้วไม่มาบอกฝ่ายนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๑. กรชกายวรรค ๗. ปฐมสัญเจตนิกสูตร
เพื่อทำลายฝ่ายโน้น สมานคนที่แตกแยกกัน ส่งเสริมคนที่ปรองดองกัน
ชื่นชมยินดีเพลิดเพลินต่อผู้ที่สามัคคีกัน พูดแต่ถ้อยคำที่สร้างสรรค์
ความสามัคคี
๓. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดคำหยาบ คือกล่าวแต่คำที่ไม่มีโทษ ไพเราะ
น่ารัก จับใจ เป็นคำของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่พอใจ
๔. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ คือ พูดถูกเวลา พูดคำจริง พูด
อิงประโยชน์ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดคำที่มีหลักฐาน มีที่อ้างอิง มีที่
กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์
สมบัติแห่งวจีกรรมที่มีเจตนาเป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก ๔ ประการ
เป็นอย่างนี้แล
สมบัติแห่งมโนกรรมที่มีเจตนาเป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก ๓
ประการ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้
๑. เป็นผู้ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา คือ ไม่เพ่งเล็งอยากได้ทรัพย์อันเป็น
อุปกรณ์เครื่องปลื้มใจของผู้อื่นว่า ‘ทำอย่างไร ทรัพย์อันเป็นอุปกรณ์
เครื่องปลื้มใจของผู้อื่นจะพึงเป็นของเรา’
๒. เป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท คือ ไม่มีจิตคิดร้ายว่า ‘ขอสัตว์เหล่านี้จงเป็นผู้ไม่
มีเวร ไม่มีจิตพยาบาท ไม่มีทุกข์ มีสุข รักษาตนเถิด’
๓. เป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นไม่วิปริตว่า ‘ทานที่ให้แล้วมีผล ยัญที่บูชาแล้ว
มีผล การเซ่นสรวงมีผล ฯลฯ สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ
ทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง
มีอยู่ในโลก’
สมบัติแห่งมโนกรรมที่มีเจตนาเป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก ๓ ประการ
เป็นอย่างนี้แล
เพราะสมบัติแห่งกายกรรมที่มีเจตนาเป็นกุศล ๓ ประการ เพราะสมบัติแห่ง
วจีกรรมที่มีเจตนาเป็นกุศล ๔ ประการ หรือเพราะสมบัติแห่งมโนกรรมที่มีเจตนา
เป็นกุศล ๓ ประการ สัตว์ทั้งหลาย หลังจากตายแล้วจึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๖๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๑. กรชกายวรรค ๘. ทุติยสัญเจตนิกสูตร
ภิกษุทั้งหลาย เพราะสมบัติแห่งกายกรรมที่มีเจตนาเป็นกุศล ๓ ประการ
เพราะสมบัติแห่งวจีกรรมที่มีเจตนาเป็นกุศล ๔ ประการ หรือเพราะสมบัติแห่ง
มโนกรรมที่มีเจตนาเป็นกุศล ๓ ประการ สัตว์ทั้งหลายหลังจากตายแล้วจึงไปเกิดใน
สุคติโลกสวรรค์ เปรียบเหมือนแก้วมณี ๔ เหลี่ยมที่บุคคลโยนขึ้นข้างบน ตกลงมา
ทางเหลี่ยมใด ๆ ก็ตั้งอยู่ได้ตามเหลี่ยมที่ตกลงนั้น ๆ
ปฐมสัญเจตนิกสูตรที่ ๗ จบ

๘. ทุติยสัญเจตนิกสูตร
ว่าด้วยกรรมที่สัตว์เจตนาสั่งสม สูตรที่ ๒
[๒๑๘] ภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่รู้วิบากกรรม จะไม่กล่าวถึงความสิ้นสุดแห่ง
กรรมที่สัตว์เจตนาทำขึ้น สั่งสมขึ้น ก็วิบากนั้นที่สัตว์พึงเสวยในปัจจุบันก็มี ใน
อัตภาพถัดไปก็มี หรือในอัตภาพต่อ ๆ ไปก็มี ภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่รู้วิบากกรรม
จะไม่กล่าวถึงการทำที่สุดแห่งทุกข์ของกรรมที่สัตว์เจตนาทำขึ้น สั่งสมขึ้น ในข้อนั้นแล
วิบัติคือโทษแห่งกายกรรมที่มีเจตนาเป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก ๓
ประการ วิบัติคือโทษแห่งวจีกรรมที่มีเจตนาเป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็น
วิบาก ๔ ประการ วิบัติคือโทษแห่งมโนกรรมที่มีเจตนาเป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร
มีทุกข์เป็นวิบาก ๓ ประการ
วิบัติคือโทษแห่งกายกรรมที่มีเจตนาเป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก
๓ ประการ เป็นอย่างไร ฯลฯ๑ วิบัติคือโทษแห่งกายกรรม ที่มีเจตนาเป็นอกุศล มี
ทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก ๓ ประการ เป็นอย่างนี้แล
วิบัติคือโทษแห่งวจีกรรมที่มีเจตนาเป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็น
วิบาก ๔ ประการ เป็นอย่างไร ฯลฯ วิบัติคือโทษแห่งวจีกรรมที่มีเจตนาเป็นอกุศล
มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก ๔ ประการ เป็นอย่างนี้แล

เชิงอรรถ :
๑ “ฯลฯ” ที่ปรากฏในสูตรนี้ ดูความเต็มในข้อ ๒๑๗ (ปฐมสัญเจตนิกสูตร)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๑. กรชกายวรรค ๘. ทุติยสัญเจตนิกสูตร
วิบัติคือโทษแห่งมโนกรรมที่มีเจตนาเป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็น
วิบาก ๓ ประการ เป็นอย่างไร ฯลฯ วิบัติคือโทษแห่งมโนกรรมที่มีเจตนาเป็นอกุศล
มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก ๔ ประการ เป็นอย่างนี้แล
เพราะวิบัติคือโทษแห่งกายกรรมที่มีเจตนาเป็นอกุศล ๓ ประการ เพราะวิบัติ
คือโทษแห่งวจีกรรมที่มีเจตนาเป็นอกุศล ๔ ประการ หรือเพราะวิบัติคือโทษแห่ง
มโนกรรมที่มีเจตนาเป็นอกุศล ๓ ประการ สัตว์ทั้งหลายหลังจากตายแล้วจึงไปเกิดใน
อบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่รู้วิบากกรรม จะไม่กล่าวถึงความสิ้นสุดแห่งกรรมที่
สัตว์เจตนาทำขึ้น สั่งสมขึ้น ก็วิบากนั้นเองที่สัตว์พึงเสวยในปัจจุบันก็มี ในอัตภาพ
ถัดไปก็มี หรือในอัตภาพต่อ ๆ ไปก็มี ภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่รู้วิบากกรรม จะไม่
กล่าวถึงการทำที่สุดแห่งทุกข์ของกรรมที่สัตว์เจตนาทำขึ้น สั่งสมขึ้น ในข้อนั้นแล
สมบัติแห่งกายกรรมที่มีเจตนาเป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก ๓ ประการ
สมบัติแห่งวจีกรรมที่มีเจตนาเป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก ๔ ประการ
สมบัติแห่งมโนกรรมที่มีเจตนาเป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก ๓ ประการ
สมบัติแห่งกายกรรมที่มีเจตนาเป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก ๓
ประการ เป็นอย่างไร ฯลฯ สมบัติแห่งกายกรรมที่มีเจตนาเป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร
มีสุขเป็นวิบาก ๓ ประการ เป็นอย่างนี้แล
สมบัติแห่งวจีกรรมที่มีเจตนาเป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก ๔
ประการ เป็นอย่างไร ฯลฯ สมบัติแห่งวจีกรรมที่มีเจตนาเป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร
มีสุขเป็นวิบาก ๔ ประการ เป็นอย่างนี้แล
สมบัติแห่งมโนกรรมที่มีเจตนาเป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก ๓
ประการ เป็นอย่างไร ฯลฯ สมบัติแห่งมโนกรรมที่มีเจตนาเป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร
มีสุขเป็นวิบาก ๓ ประการ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย เพราะสมบัติแห่งกายกรรมที่มีเจตนาเป็นกุศล ๓ ประการ
เพราะสมบัติแห่งวจีกรรมที่มีเจตนาเป็นกุศล ๔ ประการ หรือเพราะสมบัติแห่ง
มโนกรรมที่มีเจตนาเป็นกุศล ๓ ประการ สัตว์ทั้งหลายหลังจากตายแล้วจึงไปเกิดใน
สุคติโลกสวรรค์
ทุติยสัญเจตนิกสูตรที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปํญจมปัณณาสก์] ๑. กรชกายวรรค ๙. กรชกายสูตร
๙. กรชกายสูตร
ว่าด้วยบาปกรรมที่กรชกายเคยทำ
[๒๑๙] ภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่รู้วิบากกรรม จะไม่กล่าวถึงความสิ้นสุดแห่ง
กรรมที่สัตว์เจตนาทำขึ้น สั่งสมขึ้น ก็วิบากนั้นเองที่สัตว์พึงเสวยในปัจจุบันก็มี ใน
อัตภาพถัดไปก็มี หรือในอัตภาพต่อ ๆ ไปก็มี เรายังไม่รู้วิบากกรรม จะไม่กล่าวถึง
การทำที่สุดแห่งทุกข์ของกรรมที่สัตว์เจตนาทำขึ้น สั่งสมขึ้น อริยสาวกนั้นนั่นแล
ปราศจากอภิชฌา ปราศจากพยาบาท ไม่ลุ่มหลง มีสัมปชัญญะ มีสติมั่นคง มี
เมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ทิศเบื้องบน๑ ทิศเบื้องล่าง๒
ทิศเฉียง๓ แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่าในที่ทุกสถาน ด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์
เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ อริยสาวกนั้นย่อม
รู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘เมื่อก่อน จิตของเรานี้เป็นปริตตจิต๔ยังไม่ได้อบรม แต่บัดนี้ เป็น
อัปปมาณจิต๕ ได้อบรมดีแล้ว กามาวจรกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งนั้น ย่อมไม่เหลืออยู่
ไม่ตั้งอยู่ในจิตของเรา’ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ หาก
เด็กนี้พึงเจริญเมตตาเจโตวิมุตติตั้งแต่เวลายังเป็นเด็กอยู่ เขาจะพึงทำบาปกรรมได้
หรือ”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ทุกข์พึงถูกต้องบุคคลผู้ไม่ทำบาปกรรมเลยหรือ”
“เป็นไปไม่ได้เลยที่ทุกข์จักถูกต้องบุคคลผู้ไม่ทำบาปกรรม พระพุทธเจ้าข้า”

เชิงอรรถ :
๑ เบื้องบน หมายถึงเทวโลก (วิสุทฺธิ.มหาฏีกา. ๑/๒๕๔/๔๓๕)
๒ เบื้องล่าง หมายถึงนรกและนาคภพ (วิสุทฺธิ.มหาฏีกา. ๑/๒๕๔/๔๓๕)
๓ ทิศเฉียง หมายถึงทิศย่อยของทิศใหญ่หรือทิศรอบ ๆ (วิสุทฺธิ.มหาฏีกา. ๑/๒๕๔/๔๓๕)
๔ ปริตตจิต ในที่นี้หมายถึงจิตที่มีพลังน้อย เป็นจิตที่ยังไม่ได้รับการฝึกฝนจนชำนาญ
๕ อัปปมาณจิต ในที่นี้หมายถึงจิตที่มีพลังมากโดยมีเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา แผ่ไปในสัตว์ทั้งหลาย
ไม่จำกัด และเป็นจิตที่ถูกฝึกจนชำนาญ (องฺ.ทสก.อ. ๓/๒๑๙/๓๘๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๑. กรชกายวรรค ๙. กรชกายสูตร
“ภิกษุทั้งหลาย เมตตาเจโตวิมุตตินี้ สตรีหรือบุรุษควรเจริญแท้ สตรีหรือบุรุษ
จะพาเอากายนี้ไปไม่ได้ สัตว์ผู้จะต้องตายนี้เป็นผู้มีจิตเป็นเหตุ สัตว์นั้นย่อมรู้ชัดอย่าง
นี้ว่า ‘บาปกรรมอะไร ๆ ของเรานี้ที่กรชกายนี้เคยทำมาแล้ว บาปกรรมนั้นทั้งหมด
เราพึงเสวยในอัตภาพนี้ จักไม่ติดตามไป’ ภิกษุทั้งหลาย เมตตาเจโตวิมุตติที่ภิกษุผู้มี
ปัญญาในธรรมวินัยนี้ยังไม่แทงตลอดวิมุตติอันยิ่ง อบรมแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อ
ความเป็นอนาคามี อริยสาวกมีกรุณาจิต ... มุทิตาจิต ... อุเบกขาจิต แผ่ไปตลอดทิศที่
๑ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลก
ทั่วทุกหมู่เหล่าในที่ทุกสถานด้วยอุเบกขาจิตอันไพบูลย์เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต
ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ อริยสาวกนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘เมื่อก่อน จิต
ของเรานี้เป็นปริตตจิต ยังไม่ได้อบรม แต่บัดนี้ จิตของเรานี้เป็นอัปปมาณจิตได้อบรม
ดีแล้ว กามาวจรกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งนั้นย่อมไม่เหลืออยู่ ไม่ตั้งอยู่ในจิตของเรา’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ หากเด็กนี้จะพึงเจริญอุเบกขา
เจโตวิมุตติตั้งแต่เวลายังเป็นเด็ก เขาพึงทำบาปกรรมได้หรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ทุกข์พึงถูกต้องบุคคลผู้ไม่ทำบาปกรรมเลยหรือ”
“เป็นไปไม่ได้เลยที่ทุกข์จักถูกต้องบุคคลผู้ไม่ทำบาปกรรม พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย อุเบกขาเจโตวิมุตตินี้ สตรีหรือบุรุษควรเจริญแท้ สตรีหรือ
บุรุษจะพาเอากายนี้ไปไม่ได้ สัตว์ผู้จะต้องตายนี้เป็นผู้มีจิตเป็นเหตุ สัตว์นั้นย่อมรู้ชัด
อย่างนี้ว่า ‘บาปกรรมอะไร ๆ ของเรานี้ ที่กรชกายนี้เคยทำมาแล้ว บาปกรรมนั้น
ทั้งหมดเราพึงเสวยในอัตภาพนี้ จักไม่ติดตามไป’ ภิกษุทั้งหลาย อุเบกขาเจโตวิมุตติ
ที่ภิกษุผู้มีปัญญาในธรรมวินัยนี้ยังไม่แทงตลอดวิมุตติอันยิ่ง อบรมแล้วอย่างนี้ ย่อม
เป็นไปเพื่อความเป็นอนาคามี”
กรชกายสูตรที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๑. กรชกายวรรค ๑๐. อธัมมจริยาสูตร
๑๐. อธัมมจริยาสูตร
ว่าด้วยความประพฤติอธรรม
[๒๒๐] ครั้งนั้น พราหมณ์คนหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้
สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ท่านพระโคดม อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ หลัง
จากตายแล้วไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พราหมณ์ เพราะความประพฤติอธรรมและ
ความประพฤติไม่สม่ำเสมอเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้ หลังจากตายแล้วจึงไป
เกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก”
“ท่านพระโคดม อะไรเล่าเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ หลังจาก
ตายแล้วไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์”
“พราหมณ์ เพราะความประพฤติธรรมและความประพฤติสม่ำเสมอเป็นเหตุ
สัตว์บางพวกในโลกนี้ หลังจากตายแล้ว จึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์”
“ข้าพเจ้ายังไม่รู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งพระดำรัสที่ท่านพระโคดมตรัสไว้โดยย่อ
นี้โดยพิสดาร ขอประทานวโรกาส ขอท่านพระโคดมโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพเจ้า
อย่างที่ข้าพเจ้าจะพึงรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งพระดำรัสที่ท่านพระโคดมตรัสไว้โดยย่อ
นี้โดยพิสดารเถิด”
“พราหมณ์ ถ้าเช่นนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
พราหมณ์นั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“พราหมณ์ ความประพฤติอธรรมและความประพฤติไม่สม่ำเสมอทางกาย ๓
ประการ ความประพฤติอธรรมและความประพฤติไม่สม่ำเสมอทางวาจา ๔ ประการ
ความประพฤติอธรรมและความประพฤติไม่สม่ำเสมอทางใจ ๓ ประการ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปํญจมปัณณาสก์] ๑. กรชกายวรรค ๑๐. อธัมมจริยาสูตร
ความประพฤติอธรรม และความประพฤติไม่สม่ำเสมอทางกาย ๓ ประการ
เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ๑ ความประพฤติอธรรมและความ
ประพฤติไม่สม่ำเสมอทางกาย ๓ ประการ เป็นอย่างนี้แล
ความประพฤติอธรรมและความประพฤติไม่สม่ำเสมอทางวาจา ๔ ประการ
เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้พูดเท็จ ฯลฯ ความประพฤติอธรรมและความ
ประพฤติไม่สม่ำเสมอทางวาจา ๔ ประการ เป็นอย่างนี้แล
ความประพฤติอธรรมและความประพฤติไม่สม่ำเสมอทางใจ ๓ ประการ
เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้เพ่งเล็งอยากได้ของเขา ฯลฯ ความประพฤติ
อธรรมและความประพฤติไม่สม่ำเสมอทางใจ ๓ ประการ เป็นอย่างนี้แล
เพราะความประพฤติอธรรมและความประพฤติไม่สม่ำเสมอเป็นเหตุอย่างนี้แล
สัตว์บางพวกในโลกนี้ หลังจากตายแล้วจึงไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
พราหมณ์ ความประพฤติธรรม และความประพฤติสม่ำเสมอทางกาย ๓
ประการ ความประพฤติธรรมและความประพฤติสม่ำเสมอทางวาจา ๔ ประการ
ความประพฤติธรรม และความประพฤติสม่ำเสมอทางใจ ๓ ประการ
ความประพฤติธรรมและความประพฤติสม่ำเสมอทางกาย ๓ ประการ
เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ละเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความ
ประพฤติธรรมและความประพฤติสม่ำเสมอทางกาย ๓ ประการ เป็นอย่างนี้แล
ความประพฤติธรรมและความประพฤติสม่ำเสมอทางวาจา ๔ ประการ
เป็นอย่างไร

เชิงอรรถ :
๑ ฯลฯ ที่ปรากฏในสูตรนี้ ดูความเต็มในข้อ ๒๑๗ (ปฐมสัญเจตนิกสูตร) หน้า ๓๕๗ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปํญจมปัณณาสก์] ๑. กรชกายวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดเท็จ ฯลฯ ความ
ประพฤติธรรมและความประพฤติสม่ำเสมอทางวาจา ๔ ประการ เป็นอย่างนี้แล
ความประพฤติธรรมและความประพฤติสม่ำเสมอทางใจ ๓ ประการ
เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา ฯลฯ ความ
ประพฤติธรรมและความประพฤติสม่ำเสมอทางใจ ๓ ประการ เป็นอย่างนี้แล
พราหมณ์ เพราะความประพฤติธรรมและความประพฤติสม่ำเสมอเป็นเหตุ
อย่างนี้แล สัตว์บางพวกในโลกนี้ หลังจากตายแล้วจึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์”
พราหมณ์กราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะ
ยิ่งนัก ฯลฯ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตั้งแต่
วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
อธัมมจริยาสูตรที่ ๑๐ จบ
กรชกายวรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมนิรยสัคคสูตร ๒. ทุติยนิรยสัคคสูตร
๓. มาตุคามสูตร ๔. อุปาสิกาสูตร
๕. วิสารทสูตร ๖. สังสัปปติปริยายสูตร
๗. ปฐมสัญเจตนิกสูตร ๘. ทุติยสัญเจตนิกสูตร
๙. กรชกายสูตร ๑๐. อธัมมจริยาสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปํญจมปัณณาสก์] ๒. สามัญญวรรค
๒. สามัญญวรรค
หมวดว่าด้วยธรรมทั่วไป
ธรรมที่ให้สัตว์เกิดในนรก ๑๐ ประการ
[๒๒๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐
ประการ ย่อมดำรงอยู่ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ๒. เป็นผู้ลักทรัพย์
๓. เป็นผู้ประพฤติผิดในกาม ๔. เป็นผู้พูดเท็จ
๕. เป็นผู้พูดส่อเสียด ๖. เป็นผู้พูดคำหยาบ
๗. เป็นผู้พูดเพ้อเจ้อ ๘. เป็นผู้เพ่งเล็งอยากได้ของเขา
๙. เป็นผู้มีจิตพยาบาท ๑๐. เป็นมิจฉาทิฏฐิ

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ในนรก
เหมือนถูกนำไปฝังไว้

ธรรมที่ให้สัตว์เกิดในสวรรค์ ๑๐ ประการ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์
เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์
๒. เป็นผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์
๓. เป็นผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม
๔. เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ
๕. เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๒. สามัญญวรรค
๖. เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ
๗. เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ
๘. เป็นผู้ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา
๙. เป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท
๑๐. เป็นสัมมาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ใน
สวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ (๑)

ธรรมที่ให้สัตว์เกิดในนรก ๒๐ ประการ
[๒๒๒] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการ ย่อมดำรงอยู่
ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ธรรม ๒๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ตนเองเป็นผู้ฆ่าสัตว์
๒. ชักชวนผู้อื่นให้ฆ่าสัตว์
๓. ตนเองเป็นผู้ลักทรัพย์
๔. ชักชวนผู้อื่นให้ลักทรัพย์
๕. ตนเองเป็นผู้ประพฤติผิดในกาม
๖. ชักชวนผู้อื่นให้ประพฤติผิดในกาม
๗. ตนเองเป็นผู้พูดเท็จ
๘. ชักชวนผู้อื่นให้พูดเท็จ
๙. ตนเองเป็นผู้พูดส่อเสียด
๑๐. ชักชวนผู้อื่นให้พูดส่อเสียด
๑๑. ตนเองเป็นผู้พูดคำหยาบ
๑๒. ชักชวนผู้อื่นให้พูดคำหยาบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๒. สามัญญวรรค
๑๓. ตนเองเป็นผู้พูดเพ้อเจ้อ
๑๔. ชักชวนผู้อื่นให้พูดเพ้อเจ้อ
๑๕. ตนเองเป็นผู้เพ่งเล็งอยากได้ของเขา
๑๖. ชักชวนผู้อื่นให้เพ่งเล็งอยากได้ของเขา
๑๗. ตนเองเป็นผู้มีจิตพยาบาท
๑๘. ชักชวนผู้อื่นให้มีจิตพยาบาท
๑๙. ตนเองเป็นมิจฉาทิฏฐิ
๒๐. ชักชวนผู้อื่นให้เป็นมิจฉาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ใน
นรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้

ธรรมที่ให้สัตว์เกิดในสวรรค์ ๒๐ ประการ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการ ย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์
เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ธรรม ๒๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์
๒. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์
๓. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์
๔. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการลักทรัพย์
๕. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม
๖. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
๗. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ
๘. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการพูดเท็จ
๙. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด
๑๐. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการพูดส่อเสียด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปํญจมปัณณาสก์] ๒. สามัญญวรรค
๑๑. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ
๑๒. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการพูดคำหยาบ
๑๓. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ
๑๔. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
๑๕. ตนเองเป็นผู้ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา
๑๖. ชักชวนผู้อื่นให้ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา
๑๗. ตนเองเป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท
๑๘. ชักชวนผู้อื่นให้มีจิตไม่พยาบาท
๑๙. ตนเองเป็นสัมมาทิฏฐิ
๒๐. ชักชวนผู้อื่นให้เป็นสัมมาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ใน
สวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ (๒)

ธรรมที่ให้สัตว์เกิดในนรก ๓๐ ประการ
[๒๒๓] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓๐ ประการ ย่อมดำรงอยู่
ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ธรรม ๓๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ตนเองเป็นผู้ฆ่าสัตว์
๒. ชักชวนผู้อื่นให้ฆ่าสัตว์
๓. เป็นผู้พอใจการฆ่าสัตว์
๔. ตนเองเป็นผู้ลักทรัพย์
๕. ชักชวนผู้อื่นให้ลักทรัพย์
๖. เป็นผู้พอใจการลักทรัพย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๒. สามัญญวรรค
๗. ตนเองเป็นผู้ประพฤติผิดในกาม
๘. ชักชวนผู้อื่นให้ประพฤติผิดในกาม
๙. เป็นผู้พอใจการประพฤติผิดในกาม
๑๐. ตนเองเป็นผู้พูดเท็จ
๑๑. ชักชวนผู้อื่นให้พูดเท็จ
๑๒. เป็นผู้พอใจการพูดเท็จ
๑๓. ตนเองเป็นผู้พูดส่อเสียด
๑๔. ชักชวนผู้อื่นให้พูดส่อเสียด
๑๕. เป็นผู้พอใจการพูดส่อเสียด
๑๖. ตนเองเป็นผู้พูดคำหยาบ
๑๗. ชักชวนผู้อื่นให้พูดคำหยาบ
๑๘. เป็นผู้พอใจการพูดคำหยาบ
๑๙. ตนเองเป็นผู้พูดเพ้อเจ้อ
๒๐. ชักชวนผู้อื่นให้พูดเพ้อเจ้อ
๒๑. เป็นผู้พอใจการพูดเพ้อเจ้อ
๒๒. ตนเองเป็นผู้เพ่งเล็งอยากได้ของเขา
๒๓. ชักชวนผู้อื่นให้เพ่งเล็งอยากได้ของเขา
๒๔. เป็นผู้พอใจความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา
๒๕. ตนเองเป็นผู้มีจิตพยาบาท
๒๖. ชักชวนผู้อื่นให้มีจิตพยาบาท
๒๗. เป็นผู้พอใจความมีจิตพยาบาท
๒๘. ตนเองเป็นมิจฉาทิฏฐิ
๒๙. ชักชวนผู้อื่นให้เป็นมิจฉาทิฏฐิ
๓๐. เป็นผู้พอใจความเป็นมิจฉาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓๐ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ใน
นรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๒. สามัญญวรรค
ธรรมที่ให้สัตว์เกิดในสวรรค์ ๓๐ ประการ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓๐ ประการ ย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์
เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ธรรม ๓๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์
๒. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์
๓. เป็นผู้พอใจการงดเว้นจากการฆ่าสัตว์
๔. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์
๕. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการลักทรัพย์
๖. เป็นผู้พอใจการงดเว้นจากการลักทรัพย์
๗. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม
๘. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
๙. เป็นผู้พอใจการงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
๑๐. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ
๑๑. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการพูดเท็จ
๑๒. เป็นผู้พอใจการงดเว้นจากการพูดเท็จ
๑๓. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด
๑๔. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการพูดส่อเสียด
๑๕. เป็นผู้พอใจการงดเว้นจากการพูดส่อเสียด
๑๖. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ
๑๗. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการพูดคำหยาบ
๑๘. เป็นผู้พอใจการงดเว้นจากการพูดคำหยาบ
๑๙. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ
๒๐. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
๒๑. เป็นผู้พอใจการงดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
๒๒. ตนเองเป็นผู้ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๗๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๒. สามัญญวรรค
๒๓. ชักชวนผู้อื่นให้ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา
๒๔. เป็นผู้พอใจความไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา
๒๕. ตนเองเป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท
๒๖. ชักชวนผู้อื่นให้มีจิตไม่พยาบาท
๒๗. เป็นผู้พอใจความมีจิตไม่พยาบาท
๒๘. ตนเองเป็นสัมมาทิฏฐิ
๒๙. ชักชวนผู้อื่นให้เป็นสัมมาทิฏฐิ
๓๐. เป็นผู้พอใจความเป็นสัมมาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓๐ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ใน
สวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ (๓)

ธรรมที่ให้สัตว์เกิดในนรก ๔๐ ประการ
[๒๒๔] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการ ย่อมดำรงอยู่ใน
นรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้ ธรรม ๔๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ตนเองเป็นผู้ฆ่าสัตว์
๒. ชักชวนผู้อื่นให้ฆ่าสัตว์
๓. เป็นผู้พอใจการฆ่าสัตว์
๔. สรรเสริญการฆ่าสัตว์
๕. ตนเองเป็นผู้ลักทรัพย์
๖. ชักชวนผู้อื่นให้ลักทรัพย์
๗. เป็นผู้พอใจการลักทรัพย์
๘. สรรเสริญการลักทรัพย์
๙. ตนเองเป็นผู้ประพฤติผิดในกาม
๑๐. ชักชวนผู้อื่นให้ประพฤติผิดในกาม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๒. สามัญญวรรค
๑๑. เป็นผู้พอใจการประพฤติผิดในกาม
๑๒. สรรเสริญการประพฤติผิดในกาม
๑๓. ตนเองเป็นผู้พูดเท็จ
๑๔. ชักชวนผู้อื่นให้พูดเท็จ
๑๕. เป็นผู้พอใจการพูดเท็จ
๑๖. สรรเสริญการพูดเท็จ
๑๗. ตนเองเป็นผู้พูดส่อเสียด
๑๘. ชักชวนผู้อื่นให้พูดส่อเสียด
๑๙. เป็นผู้พอใจการพูดส่อเสียด
๒๐. สรรเสริญการพูดส่อเสียด
๒๑. ตนเองเป็นผู้พูดคำหยาบ
๒๒. ชักชวนผู้อื่นให้พูดคำหยาบ
๒๓. เป็นผู้พอใจการพูดคำหยาบ
๒๔. สรรเสริญการพูดคำหยาบ
๒๕. ตนเองเป็นผู้พูดเพ้อเจ้อ
๒๖. ชักชวนผู้อื่นให้พูดเพ้อเจ้อ
๒๗. เป็นผู้พอใจการพูดเพ้อเจ้อ
๒๘. สรรเสริญการพูดเพ้อเจ้อ
๒๙. ตนเองเป็นผู้เพ่งเล็งอยากได้ของเขา
๓๐. ชักชวนผู้อื่นให้เพ่งเล็งอยากได้ของเขา
๓๑. เป็นผู้พอใจความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา
๓๒. สรรเสริญความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา
๓๓. ตนเองเป็นผู้มีจิตพยาบาท
๓๔. ชักชวนผู้อื่นให้มีจิตพยาบาท

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๗๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๒. สามัญญวรรค
๓๕. เป็นผู้พอใจความมีจิตพยาบาท
๓๖. สรรเสริญความมีจิตพยาบาท
๓๗. ตนเองเป็นมิจฉาทิฏฐิ
๓๘. ชักชวนผู้อื่นให้เป็นมิจฉาทิฏฐิ
๓๙. เป็นผู้พอใจความเป็นมิจฉาทิฏฐิ
๔๐. สรรเสริญความเป็นมิจฉาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ใน
นรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้

ธรรมที่ให้สัตว์เกิดในสวรรค์ ๔๐ ประการ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการ ย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์
เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ธรรม ๔๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์
๒. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์
๓. เป็นผู้พอใจการงดเว้นจากการฆ่าสัตว์
๔. สรรเสริญการงดเว้นจากการฆ่าสัตว์
๕. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์
๖. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการลักทรัพย์
๗. เป็นผู้พอใจการงดเว้นจากการลักทรัพย์
๘. สรรเสริญการงดเว้นจากการลักทรัพย์
๙. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม
๑๐. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
๑๑. เป็นผู้พอใจการงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
๑๒. สรรเสริญการงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
๑๓. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๗๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๒. สามัญญวรรค
๑๔. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการพูดเท็จ
๑๕. เป็นผู้พอใจการงดเว้นจากการพูดเท็จ
๑๖. สรรเสริญการงดเว้นจากการพูดเท็จ
๑๗. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด
๑๘. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการพูดส่อเสียด
๑๙. เป็นผู้พอใจในการงดเว้นจากการพูดส่อเสียด
๒๐. สรรเสริญการงดเว้นจากการพูดส่อเสียด
๒๑. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ
๒๒. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการพูดคำหยาบ
๒๓. เป็นผู้พอใจการงดเว้นจากการพูดคำหยาบ
๒๔. สรรเสริญการงดเว้นจากการพูดคำหยาบ
๒๕. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ
๒๖. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
๒๗. เป็นผู้พอใจการงดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
๒๘. สรรเสริญการงดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
๒๙. ตนเองเป็นผู้ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา
๓๐. ชักชวนผู้อื่นให้ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา
๓๑. เป็นผู้พอใจความไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา
๓๒. สรรเสริญความไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา
๓๓. ตนเองเป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท
๓๔. ชักชวนผู้อื่นให้มีจิตไม่พยาบาท
๓๕. เป็นผู้พอใจความมีจิตไม่พยาบาท
๓๖. สรรเสริญความมีจิตไม่พยาบาท
๓๗. ตนเองเป็นสัมมาทิฏฐิ
๓๘. ชักชวนผู้อื่นให้เป็นสัมมาทิฏฐิ
๓๙. เป็นผู้พอใจความเป็นสัมมาทิฏฐิ
๔๐. สรรเสริญความเป็นสัมมาทิฏฐิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๒. สามัญญวรรค
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ใน
สวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ (๔)

ธรรมที่ให้ถูกกำจัด และที่ไม่ให้ถูกกำจัด
[๒๒๕-๒๒๘] บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมบริหารตนให้ถูก
กำจัด ถูกทำลาย
ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ๑๐. เป็นมิจฉาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล ย่อมบริหารตนให้
ถูกกำจัด ถูกทำลาย
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูก
ทำลาย
ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ๑๐. เป็นสัมมาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล ย่อมบริหารตนไม่
ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการ ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย
ธรรม ๒๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ตนเองเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ๒๐. ชักชวนผู้อื่นให้เป็นมิจฉาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการนี้แล ย่อมบริหารตนให้
ถูกกำจัด ถูกทำลาย
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการ ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้
ถูกทำลาย
ธรรม ๒๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ๒๐. ชักชวนผู้อื่นให้เป็นสัมมา-
ทิฏฐิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๗๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๒. สามัญญวรรค
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการนี้แล ย่อมบริหารตนไม่
ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓๐ ประการ ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย
ธรรม ๓๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ตนเองเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ๓๐. เป็นผู้พอใจความเป็นมิจฉาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓๐ ประการนี้แล ย่อมบริหารตนให้
ถูกกำจัด ถูกทำลาย
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓๐ ประการ ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้
ถูกทำลาย
ธรรม ๓๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ๓๐. เป็นผู้พอใจความเป็น
สัมมาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓๐ ประการนี้แล ย่อมบริหารตนไม่
ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการ ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย
ธรรม ๔๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ตนเองเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ๔๐. สรรเสริญความเป็นมิจฉาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการนี้แล ย่อมบริหารตนให้
ถูกกำจัด ถูกทำลาย
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการ ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูก
ทำลาย
ธรรม ๔๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ๔๐. สรรเสริญความเป็น
สัมมาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการนี้แล ย่อมบริหารตนไม่
ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย (๕-๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๘๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปํญจมปัณณาสก์] ๒. สามัญญวรรค
ธรรมที่ให้เกิดในอบาย และที่ให้เกิดในสวรรค์
[๒๒๙-๒๓๒] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ประกอบด้วยธรรม ๑๐
ประการ หลังจากตายแล้ว เขาจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ๑๐. เป็นมิจฉาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล หลังจากตายแล้ว
เขาจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
บุคคลบางคนในโลกนี้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ หลังจากตายแล้ว เขา
จะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ๑๐. เป็นสัมมาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล หลังจากตายแล้ว
เขาจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
บุคคลบางคนในโลกนี้ประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการ หลังจากตายแล้ว เขา
จะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ธรรม ๒๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ตนเองเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ๒๐. ชักชวนผู้อื่นให้เป็นมิจฉาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการนี้แล หลังจากตายแล้ว
เขาจะไปบังเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
บุคคลบางคนในโลกนี้ประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการ หลังจากตายแล้ว เขา
จะไปบังเกิดในสุคติโลกสวรรค์
ธรรม ๒๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ๒๐. ชักชวนผู้อื่นให้เป็นสัมมา-
ทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการนี้แล หลังจากตายแล้ว
เขาจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปํญจมปัณณาสก์] ๒. สามัญญวรรค
บุคคลบางคนในโลกนี้ประกอบด้วยธรรม ๓๐ ประการ หลังจากตายแล้ว
เขาจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ธรรม ๓๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ตนเองเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ๓๐. เป็นผู้พอใจความเป็นมิจฉาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓๐ ประการนี้แล หลังจากตายแล้ว
เขาจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
บุคคลบางคนในโลกนี้ประกอบด้วยธรรม ๓๐ ประการ หลังจากตายแล้ว
เขาจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
ธรรม ๓๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ๓๐. เป็นผู้พอใจความเป็น
สัมมาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓๐ ประการนี้แล หลังจากตายแล้ว
เขาจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
บุคคลบางคนในโลกนี้ประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการ หลังจากตายแล้ว
เขาจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ธรรม ๔๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ตนเองเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ๔๐. สรรเสริญความเป็นมิจฉาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการนี้แล หลังจากตายแล้ว
เขาจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
บุคคลบางคนในโลกนี้ ประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการ หลังจากตายแล้ว
เขาจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
ธรรม ๔๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ๔๐. สรรเสริญความเป็น
สัมมาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการนี้แล หลังจากตายแล้ว
เขาจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ (๙-๑๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปํญจมปัณณาสก์] ๒. สามัญญวรรค
ธรรมที่ให้ทราบว่าเป็นพาล และที่ให้ทราบว่าเป็นบัณฑิต
[๒๓๓-๒๓๖] บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ พึงทราบว่าเป็นพาล
ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ตนเองเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ๑๐. เป็นมิจฉาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล พึงทราบว่าเป็นพาล
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ พึงทราบว่าเป็นบัณฑิต
ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ๑๐. เป็นสัมมาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล พึงทราบว่าเป็นบัณฑิต
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการ พึงทราบว่าเป็นพาล
ธรรม ๒๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ตนเองเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ๒๐. ชักชวนผู้อื่นให้เป็นมิจฉาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการนี้แล พึงทราบว่า
เป็นพาล
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการ พึงทราบว่าเป็นบัณฑิต
ธรรม ๒๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ๒๐. ชักชวนผู้อื่นให้เป็นสัมมาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการนี้แล พึงทราบว่าเป็น
บัณฑิต
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓๐ ประการ พึงทราบว่าเป็นพาล
ธรรม ๓๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ตนเองเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ๓๐. เป็นผู้พอใจความเป็นมิจฉาทิฏฐิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๒. สามัญญวรรค
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการนี้แล พึงทราบว่า
เป็นพาล
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓๐ ประการ พึงทราบว่าเป็นบัณฑิต
ธรรม ๓๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ๓๐. เป็นผู้พอใจความเป็น
สัมมาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓๐ ประการนี้แล พึงทราบว่าเป็น
บัณฑิต
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการ พึงทราบว่าเป็นพาล
ธรรม ๔๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ตนเองเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ๔๐. สรรเสริญความเป็นมิจฉาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการนี้แล พึงทราบว่า
เป็นพาล
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการ พึงทราบว่าเป็นบัณฑิต
ธรรม ๔๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ๔๐. สรรเสริญความเป็น
สัมมาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการนี้แล พึงทราบว่าเป็น
บัณฑิต (๑๓-๑๖)
สามัญญวรรคที่ ๒ จบ
(พึงทราบการนับสูตรในวรรคที่ ๔ และที่ ๕ นี้ ตามที่ ฯลฯ ไว้)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ราคเปยยาล
ราคเปยยาล
[๒๓๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๑๐
ประการ เพื่อรู้ยิ่งราคะ(ความกำหนัด)
ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อสุภสัญญา (กำหนดหมายความไม่งามแห่งกาย)
๒. มรณสัญญา (กำหนดหมายความตายที่จะต้องมาถึงเป็นธรรมดา)
๓. อาหาเร ปฏิกูลสัญญา (กำหนดหมายความปฏิกูลในอาหาร)
๔. สัพพโลเก อนภิรตสัญญา (กำหนดหมายความไม่น่าเพลิดเพลินในโลก
ทั้งปวง)
๕. อนิจจสัญญา (กำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร)
๖. อนิจเจ ทุกขสัญญา (กำหนดหมายความทุกข์ในความไม่เที่ยงแห่งสังขาร)
๗. ทุกเข อนัตตสัญญา (กำหนดหมายความเป็นอนัตตาในความเป็นทุกข์)
๘. ปหานสัญญา (กำหนดหมายเพื่อละอกุศลวิตกและบาปธรรมทั้งหลาย)
๙. วิราคสัญญา (กำหนดหมายวิราคะว่าเป็นธรรมละเอียดประณีต)
๑๐. นิโรธสัญญา (กำหนดหมายนิโรธว่าเป็นธรรมละเอียดประณีต)
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๑๐ ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่งราคะ (๑)
[๒๓๘] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๑๐ ประการ เพื่อรู้ยิ่งราคะ
ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อนิจจสัญญา
๒. อนัตตสัญญา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๘๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ราคเปยยาล
๓. อาหาเร ปฏิกูลสัญญา
๔. สัพพโลเก อนภิรตสัญญา
๕. อัฏฐิกสัญญา (กำหนดหมายซากศพที่ยังเหลืออยู่แต่ร่างกระดูกหรือ
กระดูกท่อน)
๖. ปุฬุวกสัญญา (กำหนดหมายซากศพที่มีหนอนคลาคล่ำเต็มไปหมด)
๗. วินีลกสัญญา (กำหนดหมายซากศพที่มีสีเขียวคล้ำคละด้วยสีต่าง ๆ)
๘. วิปุพพกสัญญา (กำหนดหมายซากศพที่มีน้ำเหลืองไหลเยิ้มอยู่ตามที่
แตกปริออก)
๙. วิจฉิททกสัญญา (กำหนดหมายซากศพที่ขาดจากกันเป็น ๒ ท่อน)
๑๐. อุทธุมาตกสัญญา (กำหนดหมายซากศพที่เน่าพองขึ้นอืด)
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๑๐ ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่งราคะ (๒)
[๒๓๙] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๑๐ ประการ เพื่อรู้ยิ่งราคะ
ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) ๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ)
๓. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ) ๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ)
๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) ๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ)
๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ) ๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ)
๙. สัมมาญาณะ (รู้ชอบ) ๑๐. สัมมาวิมุตติ (หลุดพ้นชอบ)
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๑๐ ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่งราคะ (๓)
[๒๔๐-๒๖๖] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๑๐ ประการ เพื่อกำหนด
รู้ราคะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๘๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปํญจมปัณณาสก์] ราคเปยยาล
... เพื่อความสิ้นราคะ
... เพื่อละราคะ
... เพื่อความสิ้นไปแห่งราคะ
... เพื่อความเสื่อมไปแห่งราคะ
... เพื่อความคลายไปแห่งราคะ
... เพื่อความดับไปแห่งราคะ
... เพื่อความสละราคะ
... เพื่อความสละคืนราคะ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๑๐ ประการนี้ เพื่อความสละคืนราคะ
(๔-๓๐)
[๒๖๗-๗๔๖] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๑๐ ประการ เพื่อรู้ยิ่ง
โทสะ (ความคิดประทุษร้าย)
... เพื่อกำหนดรู้โทสะ
... เพื่อความสิ้นโทสะ
... เพื่อละโทสะ
... เพื่อความสิ้นไปแห่งโทสะ
... เพื่อความเสื่อมไปแห่งโทสะ
... เพื่อความคลายไปแห่งโทสะ
... เพื่อความดับไปแห่งโทสะ
... เพื่อความสละโทสะ
... เพื่อความสละคืนโทสะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๘๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ราคเปยยาล
... โมหะ(ความหลง) ... โกธะ(ความโกรธ) ... อุปนาหะ(ความผูกโกรธ) ... มักขะ
(ความลบหลู่คุณท่าน) ... ปฬาสะ(ความตีเสมอ) ... อิสสา(ความริษยา) ... มัจฉริยะ
(ความตระหนี่) ... มายา(มารยา) ... สาเฐยยะ(ความโอ้อวด) ... ถัมภะ(ความหัวดื้อ) ...
สารัมภะ(ความแข่งดี) ... มานะ (ความถือตัว) ... อติมานะ(ความดูหมิ่นเขา) ... มทะ
(ความมัวเมา) ... ปมาทะ (ความประมาท)
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๑๐ ประการนี้ เพื่อความสละคืนปมาทะ ...
(๓๑-๕๑๐)
ราคเปยยาล จบ
ปัญจมปัณณาสก์ จบ
ทสกนิบาต จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๘๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๑. นิสสยวรรค ๑. กิมัตถิยสูตร
พระสุตตันตปิฎก
อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต
__________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

๑. นิสสยวรรค
หมวดว่าด้วยนิสสัย
๑. กิมัตถิยสูตร๑
ว่าด้วยคำถามเกี่ยวกับผลแห่งศีล
[๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ศีลที่เป็นกุศลมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ ศีลที่เป็นกุศลมีอวิปปฏิสาร(ความไม่ร้อนใจ)
เป็นผล มีอวิปปฏิสารเป็นอานิสงส์”
“อวิปปฏิสารมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ พระพุทธเจ้าข้า”
“อานนท์ อวิปปฏิสารมีปราโมทย์(ความบันเทิงใจ)เป็นผล มีปราโมทย์เป็น
อานิสงส์”
“ปราโมทย์มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ พระพุทธเจ้าข้า”

เชิงอรรถ :
๑ สูตรที่ ๑-๕ ในวรรคนี้เหมือนกับสูตรที่ ๑-๕ ในวรรคแรกของทสกนิบาต ต่างแต่ในทสกนิบาต นิพพิทา
และวิราคะรวมเป็นข้อธรรมเดียวกันในหมวดธรรม ๑๐ ประการ ส่วนในเอกาทสกนิบาต นิพพิทาและวิราคะ
แยกเป็นข้อธรรมคนละข้อกันในหมวดธรรม ๑๑ ประการ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๘๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๑. นิสสยวรรค ๑. กิมัตถิยสูตร
“อานนท์ ปราโมทย์มีปีติ(ความอิ่มใจ)เป็นผล มีปีติเป็นอานิสงส์”
“ปีติมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ พระพุทธเจ้าข้า”
“อานนท์ ปีติมีปัสสัทธิ(ความสงบกายสงบใจ)เป็นผล มีปัสสัทธิเป็นอานิสงส์”
“ปัสสัทธิมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ พระพุทธเจ้าข้า”
“อานนท์ ปัสสัทธิมีสุขเป็นผล มีสุขเป็นอานิสงส์”
“สุขมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ พระพุทธเจ้าข้า”
“อานนท์ สุขมีสมาธิเป็นผล มีสมาธิเป็นอานิสงส์”
“สมาธิมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ พระพุทธเจ้าข้า”
“อานนท์ สมาธิมียถาภูตญาณทัสสนะ(ความรู้ความเห็นตามความเป็นจริง)
เป็นผล มียถาภูตญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์”
“ยถาภูตญาณทัสสนะมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ พระพุทธเจ้าข้า”
“อานนท์ ยถาภูตญาณทัสสนะมีนิพพิทา(ความเบื่อหน่าย)เป็นผล มีนิพพิทา
เป็นอานิสงส์”
“นิพพิทามีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ พระพุทธเจ้าข้า”
“อานนท์ นิพพิทามีวิราคะ(ความคลายกำหนัด)เป็นผล มีวิราคะเป็นอานิสงส์”
“วิราคะมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ พระพุทธเจ้าข้า”
“อานนท์ วิราคะมีวิมุตติญาณทัสสนะ(ความรู้ความเห็นในวิมุตติ)เป็นผล มี
วิมุตติญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์
อานนท์ ศีลที่เป็นกุศลมีอวิปปฏิสารเป็นผล มีอวิปปฏิสารเป็นอานิสงส์
อวิปปฏิสารมีปราโมทย์เป็นผล มีปราโมทย์เป็นอานิสงส์ ปราโมทย์มีปีติเป็นผล
มีปีติเป็นอานิสงส์ ปีติมีปัสสัทธิเป็นผล มีปัสสัทธิเป็นอานิสงส์ ปัสสัทธิมีสุขเป็นผล
มีสุขเป็นอานิสงส์ สุขมีสมาธิเป็นผล มีสมาธิเป็นอานิสงส์ สมาธิมียถาภูตญาณ-
ทัสสนะเป็นผล มียถาภูตญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์ ยถาภูตญาณทัสสนะมีนิพพิทา
เป็นผล มีนิพพิทาเป็นอานิสงส์ นิพพิทามีวิราคะเป็นผล มีวิราคะเป็นอานิสงส์
วิราคะมีวิมุตติญาณทัสสนะเป็นผล มีวิมุตติญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์ อานนท์ ศีลที่
เป็นกุศล ย่อมทำอรหัตตผลให้บริบูรณ์โดยลำดับ อย่างนี้แล”
กิมัตถิยสูตรที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๙๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๑. นิสสยวรรค ๒. เจตนากรณียสูตร
๒. เจตนากรณียสูตร
ว่าด้วยกรรมที่ไม่ต้องทำด้วยความตั้งใจ
[๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล
ไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขออวิปปฏิสารจงเกิดขึ้นแก่เรา’ การที่อวิปปฏิสารเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้
มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีลนี้ เป็นธรรมดา๑
บุคคลผู้มีอวิปปฏิสารไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขอปราโมทย์จงเกิดขึ้นแก่เรา’ การที่
ปราโมทย์เกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีอวิปปฏิสารนี้ เป็นธรรมดา
บุคคลผู้มีปราโมทย์ไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขอปีติจงเกิดขึ้นแก่เรา’ การที่ปีติเกิดขึ้นแก่
บุคคลผู้มีปราโมทย์นี้ เป็นธรรมดา
บุคคลผู้มีใจประกอบด้วยปีติไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขอกายของเราจงสงบ’ การที่
บุคคลผู้มีใจประกอบด้วยปีติมีกายสงบนี้ เป็นธรรมดา
บุคคลผู้มีกายสงบไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขอเราจงเสวยสุข’ การที่บุคคลผู้มีกายสงบ
เสวยสุขนี้ เป็นธรรมดา
บุคคลผู้มีสุขไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขอจิตของเราจงเป็นสมาธิ’ การที่บุคคลผู้มีสุขมีจิต
เป็นสมาธินี้ เป็นธรรมดา
บุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขอเราจงรู้เห็นตามความเป็นจริง’ การที่
บุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิรู้เห็นตามความเป็นจริงนี้ เป็นธรรมดา
บุคคลผู้รู้เห็นตามความเป็นจริงไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขอเราจงเบื่อหน่าย’ การที่
บุคคลผู้รู้เห็นตามความเป็นจริงเบื่อหน่ายนี้ เป็นธรรมดา
บุคคลผู้เบื่อหน่ายไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขอเราจงคลายกำหนัด’ การที่บุคคลผู้เบื่อ
หน่ายคลายกำหนัดนี้ เป็นธรรมดา
บุคคลผู้คลายกำหนัดไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขอเราจงทำให้แจ้งวิมุตติญาณทัสสนะ’
การที่บุคคลผู้คลายกำหนัดแล้วทำให้แจ้งวิมุตติญาณทัสสนะนี้ เป็นธรรมดา

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๒ (เจตนากรณียสูตร) ทสกนิบาต หน้า ๓ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๙๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๑. นิสสยวรรค ๓. ปฐมอุปนิสาสูตร
วิราคะมีวิมุตติญาณทัสสนะเป็นผล มีวิมุตติญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์ นิพพิทา
มีวิราคะเป็นผล มีวิราคะเป็นอานิสงส์ ยถาภูตญาณทัสสนะมีนิพพิทาเป็นผล มี
นิพพิทาเป็นอานิสงส์ สมาธิมียถาภูตญาณทัสสนะเป็นผล มียถาภูตญาณทัสสนะ
เป็นอานิสงส์ สุขมีสมาธิเป็นผล มีสมาธิเป็นอานิสงส์ ปัสสัทธิมีสุขเป็นผล มีสุขเป็น
อานิสงส์ ปีติมีปัสสัทธิเป็นผล มีปัสสัทธิเป็นอานิสงส์ ปราโมทย์มีปีติเป็นผล มีปีติ
เป็นอานิสงส์ อวิปปฏิสารมีปราโมทย์เป็นผล มีปราโมทย์เป็นอานิสงส์ ศีลที่เป็น
กุศลมีอวิปปฏิสารเป็นผล มีอวิปปฏิสารเป็นอานิสงส์
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายย่อมหลั่งไหลไปสู่ธรรมทั้งหลาย ธรรมทั้งหลาย
ย่อมให้ธรรมทั้งหลายบริบูรณ์เพื่อออกจากฝั่งนี้สู่ฝั่งโน้น๑ อย่างนี้แล
เจตนากรณียสูตรที่ ๒ จบ

๓. ปฐมอุปนิสาสูตร
ว่าด้วยธรรมมีเหตุให้ถูกขจัด สูตรที่ ๑
[๓] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย อวิปปฏิสารของบุคคลผู้ทุศีล
มีศีลวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่ออวิปปฏิสารไม่มี ปราโมทย์ของบุคคลผู้มี
อวิปปฏิสารวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อปราโมทย์ไม่มี ปีติของบุคคลผู้มี
ปราโมทย์วิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อปีติไม่มี ปัสสัทธิของบุคคลผู้มีปีติวิบัติ
ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อปัสสัทธิไม่มี สุขของบุคคลผู้มีปัสสัทธิวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูก
ขจัดแล้ว เมื่อสุขไม่มี สัมมาสมาธิของบุคคลผู้มีสุขวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อ
สัมมาสมาธิไม่มี ยถาภูตญาณทัสสนะของบุคคลผู้มีสัมมาสมาธิวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูก
ขจัดแล้ว เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะไม่มี นิพพิทาของบุคคลผู้มียถาภูตญาณทัสสนะ
วิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อนิพพิทาไม่มี วิราคะของบุคคลผู้มีนิพพิทาวิบัติ
ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อวิราคะไม่มี วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้มีวิราคะวิบัติ
ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๒ (เจตนากรณียสูตร) หน้า ๔ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๑. นิสสยวรรค ๓. ปฐมอุปนิสาสูตร
อวิปปฏิสารของบุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่ออวิปปฏิสาร
ไม่มี ปราโมทย์ของบุคคลผู้มีอวิปปฏิสารวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว ฯลฯ เมื่อวิราคะ
ไม่มี วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้มีวิราคะวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เปรียบ
เหมือนต้นไม้ที่มีกิ่งและใบวิบัติแล้ว สะเก็ด เปลือก กระพี้ แม้แก่นของต้นไม้นั้น
ย่อมไม่ถึงความบริบูรณ์ ฉะนั้น
อวิปปฏิสารของบุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีลชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อ
อวิปปฏิสารมี ปราโมทย์ของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอวิปปฏิสารชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
เมื่อปราโมทย์มี ปีติของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปราโมทย์ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อปีติมี
ปัสสัทธิของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปีติชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อปัสสัทธิมี สุขของบุคคล
ผู้สมบูรณ์ด้วยปัสสัทธิชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อสุขมี สัมมาสมาธิของบุคคลผู้
สมบูรณ์ด้วยสุขชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อสัมมาสมาธิมี ยถาภูตญาณทัสสนะของ
บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะมี
นิพพิทาของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยยถาภูตญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อ
นิพพิทามี วิราคะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อวิราคะมี
วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยวิราคะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ภิกษุทั้งหลาย อวิปปฏิสารของบุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล ชื่อว่ามีเหตุ
สมบูรณ์ เมื่ออวิปปฏิสารมี ปราโมทย์ของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอวิปปฏิสารชื่อว่า
มีเหตุสมบูรณ์ ฯลฯ เมื่อวิราคะมี วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วย
อวิปปฏิสารชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกิ่งและใบสมบูรณ์ สะเก็ด
เปลือก กระพี้ แม้แก่นของต้นไม้นั้นย่อมถึงความบริบูรณ์ ฉะนั้น
ปฐมอุปนิสาสูตรที่ ๓ จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๑. นิสสยวรรค ๔. ทุติยอุปนิสาสูตร
๔. ทุติยอุปนิสาสูตร
ว่าด้วยธรรมมีเหตุให้ถูกขจัด สูตรที่ ๒
[๔] ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ผู้มีอายุ
ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว ท่านพระสารีบุตรจึงได้กล่าวเรื่องนี้ว่า
ผู้มีอายุทั้งหลาย อวิปปฏิสารของบุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัด
แล้ว เมื่ออวิปปฏิสารไม่มี ปราโมทย์ของบุคคลผู้มีอวิปปฏิสารวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูก
ขจัดแล้ว เมื่อปราโมทย์ไม่มี ปีติของบุคคลผู้มีปราโมทย์วิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว
เมื่อปีติไม่มี ปัสสัทธิของบุคคลผู้มีปีติวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อปัสสัทธิไม่มี
สุขของบุคคลผู้มีปัสสัทธิวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อสุขไม่มี สัมมาสมาธิของ
บุคคลผู้มีสุขวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อสัมมาสมาธิไม่มี ยถาภูตญาณทัสสนะ
ของบุคคลผู้มีสัมมาสมาธิวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะไม่มี
นิพพิทาของบุคคลผู้มียถาภูตญาณทัสสนะวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อนิพพิทา
ไม่มี วิราคะของบุคคลผู้มีนิพพิทาวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อวิราคะไม่มี วิมุตติ
ญาณทัสสนะของบุคคลผู้มีวิราคะวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว
อวิปปฏิสารของบุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่ออวิปปฏิสาร
ไม่มี ปราโมทย์ของบุคคลผู้มีอวิปปฏิสารวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว ฯลฯ เมื่อวิราคะ
ไม่มี วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้มีวิราคะวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เปรียบ
เหมือนต้นไม้ที่มีกิ่งและใบวิบัติแล้ว สะเก็ด เปลือก กระพี้ แม้แก่นของต้นไม้นั้น
ย่อมไม่ถึงความบริบูรณ์ ฉะนั้น
อวิปปฏิสารของบุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีลชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อ
อวิปปฏิสารมี ปราโมทย์ของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอวิปปฏิสารชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
เมื่อปราโมทย์มี ปีติของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปราโมทย์ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อปีติมี
ปัสสัทธิของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปีติชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อปัสสัทธิมี สุขของบุคคล
ผู้สมบูรณ์ด้วยปัสสัทธิชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อสุขมีสัมมาสมาธิของบุคคลผู้สมบูรณ์
ด้วยสุขชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อสัมมาสมาธิมี ยถาภูตญาณทัสสนะของบุคคลผู้
สมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะมี นิพพิทาของ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๙๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๑. นิสสยวรรค ๕. ตติยอุปนิสาสูตร
บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยยถาภูตญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อนิพพิทามี
วิราคะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อวิราคะมี วิมุตติ-
ญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยวิราคะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ผู้มีอายุทั้งหลาย อวิปปฏิสารของบุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีลชื่อว่ามีเหตุ
สมบูรณ์ เมื่ออวิปปฏิสารมี ปราโมทย์ของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอวิปปฏิสารชื่อว่ามี
เหตุสมบูรณ์ ฯลฯ เมื่อวิราคะมี วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยวิราคะ
ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกิ่งและใบสมบูรณ์ สะเก็ด เปลือก กระพี้
แม้แก่นของต้นไม้นั้นย่อมถึงความบริบูรณ์ ฉะนั้น
ทุติยอุปนิสาสูตรที่ ๔ จบ

๕. ตติยอุปนิสาสูตร
ว่าด้วยธรรมมีเหตุให้ถูกขจัด สูตรที่ ๓
[๕] ณ ที่นั้นแล ท่านพระอานนท์ เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ฯลฯ ท่าน
พระอานนท์จึงได้กล่าวเรื่องนี้ว่า
ผู้มีอายุทั้งหลาย อวิปปฏิสารของบุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูก
ขจัดแล้ว เมื่ออวิปปฏิสารไม่มี ปราโมทย์ของบุคคลผู้มีอวิปปฏิสารวิบัติชื่อว่ามีเหตุ
ถูกขจัดแล้ว เมื่อปราโมทย์ไม่มี ปีติของบุคคลผู้มีปราโมทย์วิบัติชื่อว่ามีเหตุถูก
ขจัดแล้ว เมื่อปีติไม่มี ปัสสัทธิของบุคคลผู้มีปีติวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อ
ปัสสัทธิไม่มี สุขของบุคคลผู้มีปัสสัทธิวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อสุขไม่มี
สัมมาสมาธิของบุคคลผู้มีสุขวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อสัมมาสมาธิไม่มี
ยถาภูตญาณทัสสนะของบุคคลผู้มีสัมมาสมาธิวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อ
ยถาภูตญาณทัสสนะไม่มี นิพพิทาของบุคคลผู้มียถาภูตญาณทัสสนะวิบัติชื่อว่ามีเหตุ
ถูกขจัดแล้ว เมื่อนิพพิทาไม่มี วิราคะของบุคคลผู้มีนิพพิทาวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูก
ขจัดแล้ว เมื่อวิราคะไม่มี วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้มีวิราคะวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูก
ขจัดแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๙๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๑. นิสสยวรรค ๕. ตติยอุปนิสาสูตร
อวิปปฏิสารของบุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่ออวิปปฏิสาร
ไม่มี ปราโมทย์ของบุคคลผู้มีอวิปปฏิสารวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว ฯลฯ วิมุตติ-
ญาณทัสสนะของบุคคลผู้มีวิราคะวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เปรียบเหมือนต้นไม้ที่
มีกิ่งและใบวิบัติแล้ว สะเก็ด เปลือก กระพี้ แม้แก่นของต้นไม้นั้นย่อมไม่ถึงความ
บริบูรณ์ ฉะนั้น
อวิปปฏิสารของบุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีลชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อ
อวิปปฏิสารมี ปราโมทย์ของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอวิปปฏิสารชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
เมื่อปราโมทย์มี ปีติของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปราโมทย์ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อ
ปีติมี ปัสสัทธิของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปีติชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อปัสสัทธิมี สุขของ
บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปัสสัทธิชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อสุขมี สัมมาสมาธิของบุคคลผู้
สมบูรณ์ด้วยสุขชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อสัมมาสมาธิมี ยถาภูตญาณทัสสนะของ
บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะมี
นิพพิทาของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยยถาภูตญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อ
นิพพิทามี วิราคะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อวิราคะมี
วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยวิราคะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ผู้มีอายุทั้งหลาย อวิปปฏิสารของบุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีลชื่อว่ามีเหตุ
สมบูรณ์ เมื่ออวิปปฏิสารมี ปราโมทย์ของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอวิปปฏิสารชื่อว่ามี
เหตุสมบูรณ์ ฯลฯ เมื่อวิราคะมี วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วย
วิราคะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกิ่งและใบสมบูรณ์ สะเก็ด เปลือก
กระพี้ แม้แก่นของต้นไม้นั้น ย่อมถึงความบริบูรณ์ ฉะนั้น
ตติยอุปนิสาสูตรที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๙๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๑. นิสสยวรรค ๖. พยสนสูตร
๖. พยสนสูตร
ว่าด้วยความพินาศ
[๖] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดก็ตามด่าบริภาษ๑เพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ว่า
ร้ายพระอริยะ เป็นไปได้๒ที่ภิกษุนั้นจะถึงความพินาศอย่าง ๑ ใน ๑๑ อย่าง
ความพินาศ ๑๑ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่บรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ
๒. เสื่อมจากธรรมที่ได้บรรลุแล้ว
๓. สัทธรรมของภิกษุนั้นย่อมไม่ผ่องแผ้ว
๔. เป็นผู้เข้าใจผิดว่าได้บรรลุสัทธรรม
๕. เป็นผู้ไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์
๖. ต้องอาบัติที่เศร้าหมองอย่างใดอย่างหนึ่ง
๗. บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์
๘. เป็นโรคร้ายแรง
๙. ถึงความวิกลจริต หรือจิตฟุ้งซ่าน
๑๐. หลงลืมสติมรณภาพ
๑๑. หลังจากมรณภาพแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดก็ตามด่าบริภาษเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ว่าร้ายพระ
อริยะ เป็นไปได้ที่ภิกษุนั้นจะถึงความพินาศอย่าง ๑ ใน ๑๑ อย่าง
ภิกษุใดก็ตามด่าบริภาษเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ว่าร้ายพระอริยะ เป็นไปไม่
ได้เลยที่ภิกษุนั้นจะไม่ถึงความพินาศอย่าง ๑ ใน ๑๑ อย่าง
ความพินาศ ๑๑ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่บรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ
๒. เสื่อมจากธรรมที่ได้บรรลุแล้ว
๓. สัทธรรมของภิกษุนั้นย่อมไม่ผ่องแผ้ว

เชิงอรรถ :
๑ บริภาษ ในที่นี้หมายถึงกล่าวโทษว่า “ท่านเป็นโจร ท่านเป็นคนพาล ท่านเป็นคนหลง ท่านเป็นขโมย”
(วิ.มหา. ๑/๙๒/๖๒)
๒ เป็นไปได้ ในที่นี้หมายถึงยอมรับฐานะ(เหตุ)ที่ให้เป็นไปได้ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๒๖๘/๔๐๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๑. นิสสยวรรค ๗. ปฐมสัญญาสูตร
๔. เป็นผู้เข้าใจผิดว่าได้บรรลุสัทธรรม
๕. เป็นผู้ไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์
๖. ต้องอาบัติที่เศร้าหมองอย่างใดอย่างหนึ่ง
๗. บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์
๘. เป็นโรคร้ายแรง
๙. ถึงความวิกลจริต หรือจิตฟุ้งซ่าน
๑๐. หลงลืมสติมรณภาพ
๑๑. หลังจากมรณภาพแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดก็ตามด่าบริภาษเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ว่าร้าย
พระอริยะ เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุนั้นจะไม่ถึงความพินาศอย่าง ๑ ใน ๑๑ อย่าง
พยสนสูตรที่ ๖ จบ

๗. ปฐมสัญญาสูตร
ว่าด้วยสัญญา สูตรที่ ๑
[๗] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีได้หรือหนอ การที่ภิกษุได้สมาธิโดยไม่ต้องมี
สัญญา(ความจำได้หมายรู้)ในธาตุดินว่าเป็นธาตุดิน๑ ในธาตุน้ำว่าเป็นธาตุน้ำ ใน
ธาตุไฟว่าเป็นธาตุไฟ ในธาตุลมว่าเป็นธาตุลม ในอากาสานัญจายตนฌานว่าเป็น
อากาสานัญจายตนฌาน ในวิญญาณัญจายตนฌานว่าเป็นวิญญาณัญจายตนฌาน
ในอากิญจัญญายตนฌานว่าเป็นอากิญจัญญายตนฌาน ในเนวสัญญานาสัญญายตน-
ฌานว่าเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ในโลกนี้ว่าเป็นโลกนี้ ในโลกหน้าว่าเป็น
โลกหน้า ไม่ต้องมีสัญญาแม้ในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ๒
ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา ที่ตรองตามด้วยใจ แต่ต้องมีสัญญา”

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑,๒,๓,๔ ข้อ ๖ (สมาธิสูตร) หน้า ๙ ในเล่มนี้
๒ อารมณ์ที่ได้ทราบ ในที่นี้หมายถึงอารมณ์ ๓ คือ คันธารมณ์(กลิ่น) รสารมณ์(รส) โผฏฐัพพารมณ์
(การสัมผัส) (อภิ.สงฺ.อ. ๙๖๖/๓๙๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๙๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๑. นิสสยวรรค ๗. ปฐมสัญญาสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ มีได้ การที่ภิกษุได้สมาธิโดยไม่ต้องมี
สัญญาในธาตุดินว่าเป็นธาตุดิน ในธาตุน้ำว่าเป็นธาตุน้ำ ในธาตุไฟว่าเป็นธาตุไฟ
ในธาตุลมว่าเป็นธาตุลม ในอากาสานัญจายตนฌาน ว่าเป็นอากาสานัญจายตน-
ฌาน ในวิญญาณัญจายตนฌานว่าเป็นวิญญาณัญจายตนฌาน ในอากิญจัญญายตน-
ฌานว่าเป็นอากิญจัญญายตนฌาน ในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานว่าเป็น
เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ในโลกนี้ว่าเป็นโลกนี้ ในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้า ไม่
ต้องมีสัญญาแม้ในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง
ที่ถึง ที่แสวงหา ที่ตรองตามด้วยใจ แต่ต้องมีสัญญา”
ท่านพระอานนท์ทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีได้อย่างไร การที่ภิกษุได้
สมาธิโดยไม่ต้องมีสัญญาในธาตุดินว่าเป็นธาตุดิน ในธาตุน้ำว่าเป็นธาตุน้ำ ใน
ธาตุไฟว่าเป็นธาตุไฟ ในธาตุลมว่าเป็นธาตุลม ในอากาสานัญจายตนฌานว่าเป็น
อากาสานัญจายตนฌาน ในวิญญาณัญจายตนฌานว่าเป็นวิญญาณัญจายตนฌาน ใน
อากิญจัญญายตนฌานว่าเป็นอากิญจัญญายตนฌาน ในเนวสัญญานาสัญญายตน-
ฌานว่าเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ในโลกนี้ว่าเป็นโลกนี้ ในโลกหน้าว่า
เป็นโลกหน้า ไม่ต้องมีสัญญาแม้ในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ
ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา ที่ตรองตามด้วยใจ แต่ต้องมีสัญญา”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีสัญญาอย่าง
นี้ว่า ภาวะที่สงบ ประณีต คือความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิกิเลส
ทั้งปวง ความสิ้นไปแห่งตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน๑ อานนท์
มีได้อย่างนี้แล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยไม่ต้องมีสัญญาในธาตุดินว่าเป็นธาตุดิน ใน
ธาตุน้ำว่าเป็นธาตุน้ำ ในธาตุไฟว่าเป็นธาตุไฟ ในธาตุลมว่าเป็นธาตุลม ใน
อากาสานัญจายตนฌานว่าเป็นอากาสานัญจายตนฌาน ในวิญญาณัญจายตนฌาน
ว่าเป็นวิญญาณัญจายตนฌาน ในอากิญจัญญายตนฌานว่าเป็นอากิญจัญญายตน-
ฌาน ในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานว่าเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ใน
โลกนี้ว่าเป็นโลกนี้ ในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้า ไม่ต้องมีสัญญาแม้ในรูปที่ได้เห็น เสียง


เชิงอรรถ :
๑ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๖ (สมาธิสูตร) หน้า ๑๐ ในเล่มนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๙๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๑. นิสสยวรรค ๗. ปฐมสัญญาสูตร
ที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา ที่ตรองตามด้วยใจ
แต่ต้องมีสัญญา”
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้ว
ลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้วเข้าไปหาท่าน
พระสารีบุตรถึงที่อยู่ สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว
นั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า
“ท่านสารีบุตร มีได้หรือหนอ การที่ภิกษุได้สมาธิโดยไม่ต้องมีสัญญาในธาตุดิน
ว่าเป็นธาตุดิน ฯลฯ ในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่
รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา ที่ตรองตามด้วยใจ แต่ต้องมีสัญญา”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ท่านอานนท์ มีได้ การที่ภิกษุได้สมาธิโดยไม่ต้องมี
สัญญาในธาตุดินว่าเป็นธาตุดิน ฯลฯ ในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ
ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา ที่ตรองตามด้วยใจ แต่ต้องมีสัญญา”
“ท่านสารีบุตร มีได้อย่างไร การที่ภิกษุได้สมาธิโดยไม่ต้องมีสัญญาในธาตุดิน
ว่าเป็นธาตุดิน ฯลฯ ไม่ต้องมีสัญญาแม้ในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่
ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา ที่ตรองตามด้วยใจ แต่ต้องมีสัญญา”
“ท่านอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีสัญญาอย่างนี้ว่า ภาวะที่สงบ
ประณีต คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิกิเลสทั้งปวง ความ
สิ้นไปแห่งตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน ท่านอานนท์ มีได้
อย่างนี้แล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยไม่ต้องมีสัญญาแม้ในธาตุดินว่าเป็นธาตุดิน ฯลฯ
ในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา
ที่ตรองตามด้วยใจ แต่ต้องมีสัญญา”
“ผู้มีอายุ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ การที่อรรถกับอรรถ พยัญชนะกับ
พยัญชนะของพระศาสดาและพระสาวก เปรียบเทียบกันได้ เสมอกัน ไม่ผิดกัน ใน
บทอันเลิศ๑ ท่านผู้มีอายุ เมื่อสักครู่นี้ ผมเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ได้ทูลถามเนื้อ

เชิงอรรถ :
๑ บทอันเลิศ ในที่นี้หมายถึงนิพพาน (องฺ.เอกาทสก.อ. ๓/๗-๘/๓๘๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๐๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๑. นิสสยวรรค ๘. มนสิการสูตร
ความนี้แล้ว แม้พระผู้มีพระภาคก็ทรงตอบเนื้อความนี้แก่ผม ด้วยบทเหล่านี้ ด้วย
พยัญชนะเหล่านี้ เหมือนที่ท่านสารีบุตรตอบ ผู้มีอายุ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ
การที่อรรถกับอรรถ พยัญชนะกับพยัญชนะของพระศาสดาและพระสาวก เปรียบ
เทียบกันได้ เสมอกัน ไม่ผิดกัน ในบทอันเลิศนี้”
ปฐมสัญญาสูตรที่ ๗ จบ

๘. มนสิการสูตร
ว่าด้วยมนสิการ
[๘] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีได้หรือหนอ การที่ภิกษุได้สมาธิโดยไม่ต้องมนสิการ
ตา รูป หู เสียง จมูก กลิ่น ลิ้น รส กาย โผฏฐัพพะ(การสัมผัสทางกาย) ธาตุดิน
ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม อากาสานัญจายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน
อากิญจัญญายตนฌาน เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน โลกนี้ โลกหน้า ไม่ต้อง
มนสิการแม้รูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง
ที่แสวงหา ที่ตรองตามด้วยใจ แต่ต้องมนสิการ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ มีได้ การที่ภิกษุได้สมาธิโดยไม่ต้อง
มนสิการตา รูป หู เสียง จมูก กลิ่น ลิ้น รส กาย โผฏฐัพพะ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ
ธาตุลม อากาสานัญจายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน
เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน โลกนี้ โลกหน้า ไม่ต้องมนสิการแม้รูปที่ได้เห็น เสียง
ที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา ที่ตรองตามด้วยใจ
แต่ต้องมนสิการ”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๑. นิสสยวรรค ๙. สันธสูตร
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีได้อย่างไร การที่ภิกษุได้สมาธิโดยไม่ต้องมนสิการ
ตา ฯลฯ ไม่ต้องมนสิการแม้รูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์
ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา ที่ตรองตามด้วยใจ แต่ต้องมนสิการ”
“อานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมมนสิการอย่างนี้ว่า ภาวะที่สงบ ประณีต คือ
ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิกิเลสทั้งปวง ความสิ้นไปแห่งตัณหา
ความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน อานนท์ มีได้อย่างนี้แล การที่ภิกษุได้สมาธิ
โดยไม่ต้องมนสิการ ตา รูป หู เสียง จมูก กลิ่น ลิ้น รส กาย โผฏฐัพพะ
ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม อากาสานัญจายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน
อากิญจัญญายตนฌาน เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน โลกนี้ โลกหน้า ไม่ต้อง
มนสิการแม้รูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง
ที่แสวงหา ที่ตรองตามด้วยใจ แต่ต้องมนสิการ”
มนสิการสูตรที่ ๘ จบ

๙. สันธสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่ทรงแสดงแก่พระสันธะ
[๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ คิญชกาวสถาราม ในนาทิกคาม
ครั้งนั้นแล ท่านพระสันธะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว
นั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึงตรัสกับท่านดังนี้ว่า
สันธะ เธอจงเพ่ง๑ อย่างการเพ่งของม้าอาชาไนย๒เท่านั้น อย่าเพ่งอย่างการ
เพ่งของม้ากระจอก
การเพ่งของม้ากระจอก เป็นอย่างไร
คือ ธรรมดาม้ากระจอกถูกเขาผูกไว้ใกล้รางข้าวเหนียว ย่อมเพ่งว่า ‘ข้าว
เหนียว ข้าวเหนียว’ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะม้ากระจอกที่ถูกเขาผูกไว้ใกล้ราง

เชิงอรรถ :
๑ เพ่ง ในที่นี้หมายถึงคิด (องฺ.เอกาทสก.อ. ๓/๙/๓๘๒)
๒ ม้าอาชาไนย หมายถึงม้าที่รู้เหตุที่ควรและไม่ควร (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๔๓/๒๗๓) อีกนัยหนึ่ง หมายถึงม้าที่
สามารถรู้สิ่งที่คนฝึกม้าฝึกให้ทำได้เร็ว (ขุ.ธ.อ. ๗/๑๒๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๑. นิสสยวรรค ๙. สันธสูตร
ข้าวเหนียวไม่มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘วันนี้ สารถีผู้ฝึกม้าจะให้เราทำเหตุอะไรหนอ
เราจะทำอะไรตอบแทนเขา’ ม้ากระจอกนั้นถูกเขาผูกไว้ใกล้รางข้าวเหนียวจึงเพ่งว่า
‘ข้าวเหนียว ข้าวเหนียว’ ฉันใด
บุรุษกระจอกบางคนในธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้
ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี มีจิตถูกกามราคะ(ความกำหนัดในกาม)กลุ้มรุม ถูกกามราคะ
ครอบงำอยู่ ไม่รู้วิธีสลัดกามราคะที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง เขาจึงทำกามราคะ
เท่านั้นไว้ภายในแล้วเพ่ง เพ่งทั่วถึง เพ่งเป็นนิตย์๑ เพ่งลงต่ำ มีจิตถูกพยาบาท(ความ
คิดร้าย)กลุ้มรุม ถูกพยาบาทครอบงำอยู่ ... มีจิตถูกถีนมิทธะ(ความหดหู่และเซื่องซึม)
กลุ้มรุม ... มีจิตถูกอุทธัจจกุกกุจจะ(ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ)กลุ้มรุม ... มีจิตถูก
วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย)กลุ้มรุม ถูกวิจิกิจฉาครอบงำอยู่ และไม่รู้วิธีสลัดวิจิกิจฉา
ที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง เขาจึงทำวิจิกิจฉาเท่านั้นไว้ภายในแล้วเพ่ง เพ่งอย่างทั่วถึง
เพ่งเป็นนิตย์ เพ่งลงต่ำ เขาอาศัยธาตุดินเพ่งบ้าง อาศัยธาตุน้ำเพ่งบ้าง อาศัยธาตุไฟ
เพ่งบ้าง อาศัยธาตุลมเพ่งบ้าง อาศัยอากาสานัญจายตนฌานเพ่งบ้าง อาศัย
วิญญาณัญจายตนฌานเพ่งบ้าง อาศัยอากิญจัญญายตนฌานเพ่งบ้าง อาศัย
เนวสัญญานาสัญญายตนฌานเพ่งบ้าง อาศัยโลกนี้เพ่งบ้าง อาศัยโลกหน้าเพ่งบ้าง
อาศัยแม้รูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง
ที่แสวงหา ที่ตรองตามด้วยใจบ้าง
สันธะ การเพ่งของบุรุษผู้กระจอกย่อมเป็นไปได้ อย่างนี้แล
การเพ่งของม้าอาชาไนย เป็นอย่างไร
คือ ธรรมดาว่าม้าอาชาไนยที่ดีที่ถูกเขาผูกไว้ใกล้รางข้าวเหนียวย่อมไม่เพ่งว่า
‘ข้าวเหนียว ข้าวเหนียว’ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะม้าอาชาไนยที่ดีที่ถูกเขาผูกไว้
ใกล้รางข้าวเหนียวมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘วันนี้ สารถีผู้ฝึกม้าจะให้เราทำอะไรหนอ
เราจะทำอะไรตอบแทนเขา’ ม้าอาชาไนยนั้นถูกเขาผูกไว้ใกล้รางข้าวเหนียวไม่เพ่งว่า

เชิงอรรถ :
๑ เพ่งทั่วถึง เพ่งเป็นนิตย์ หมายถึงเพ่งฌานต่าง ๆ อย่างทั่วถึง หรือเพ่งต่อเนื่องไม่ขาดตอน (องฺ.เอกาทสก.
อ. ๓/๙/๓๘๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๐๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๑. นิสสยวรรค ๙. สันธสูตร
‘ข้าวเหนียว ข้าวเหนียว’ เพราะม้าอาชาไนยที่ดีย่อมพิจารณาเห็นการถูกประตักแทง
เหมือนคนเป็นหนี้คิดถึงหนี้ เหมือนคนถูกจองจำมองเห็นการจองจำ เหมือนคน
เสื่อมทรัพย์นึกถึงความเสื่อมทรัพย์ เหมือนคนมีความผิดเล็งเห็นความผิด ฉันใด
บุรุษอาชาไนยผู้เจริญก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่าง
ก็ดี ไม่มีจิตถูกกามราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกกามราคะครอบงำอยู่ รู้วิธีที่จะสลัดกามราคะ
ที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง ไม่มีจิตถูกพยาบาทกลุ้มรุม ... ไม่มีจิตถูกถีนมิทธะ
กลุ้มรุม ... ไม่มีจิตถูกอุทธัจจกุกกุจจะกลุ้มรุม ... ไม่มีจิตถูกวิจิกิจฉากลุ้มรุม ถูก
วิจิกิจฉาครอบงำอยู่ และรู้วิธีที่จะสลัดวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง
บุรุษอาชาไนยนั้นย่อมไม่อาศัยธาตุดินเพ่ง ไม่อาศัยธาตุน้ำเพ่ง ไม่อาศัยธาตุไฟเพ่ง
ไม่อาศัยธาตุลมเพ่ง ไม่อาศัยอากาสานัญจายตนฌานเพ่ง ไม่อาศัยวิญญาณัญจายตน-
ฌานเพ่ง ไม่อาศัยอากิญจัญญายตนฌานเพ่ง ไม่อาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
เพ่ง ไม่อาศัยโลกนี้เพ่ง ไม่อาศัยโลกหน้าเพ่ง ไม่อาศัยแม้รูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง
อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา ที่ตรองตามด้วยใจเพ่ง
แต่ย่อมเพ่ง๑
สันธะ อนึ่ง เทวดาทั้งหลายพร้อมทั้งพระอินทร์ พรหม มนุษย์ย่อมนอบน้อม
บุรุษอาชาไนยผู้เจริญซึ่งมีปกติเพ่งอย่างนี้แต่ที่ไกลทีเดียวว่า
ข้าแต่ท่านบุรุษอาชาไนย
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมท่าน
ข้าแต่ท่านบุรุษผู้สูงสุด
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมท่าน
ข้าพเจ้าทั้งหลายรู้ชัดเหตุนั้น ๆ ได้
เพราะอาศัยการเพ่งของท่าน”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระสันธะได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุรุษอาชาไนยผู้เจริญซึ่งมีปกติเพ่งย่อมเพ่งอย่างไร คือ
บุรุษอาชาไนยนั้น ไม่อาศัยธาตุดินเพ่ง ไม่อาศัยธาตุน้ำเพ่ง ไม่อาศัยธาตุไฟเพ่ง ไม่

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงเพ่งด้วยผลสมาบัติ มีนิพพานเป็นอารมณ์ (องฺ.เอกาทสก.อ. ๓/๙/๓๘๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๑. นิสสยวรรค ๙. สันธสูตร
อาศัยธาตุลมเพ่ง ไม่อาศัยอากาสานัญจายตนฌานเพ่ง ไม่อาศัยวิญญาณัญจายตน-
ฌานเพ่ง ไม่อาศัยอากิญจัญญายตนฌานเพ่ง ไม่อาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
เพ่ง ไม่อาศัยโลกนี้เพ่ง ไม่อาศัยโลกหน้าเพ่ง ไม่อาศัยรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง
อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา ที่ตรองตามด้วยใจเพ่ง แต่
ย่อมเพ่ง
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อนึ่ง เทวดาทั้งหลายพร้อมทั้งพระอินทร์ พรหม มนุษย์
ย่อมนอบน้อมบุรุษอาชาไนยผู้เจริญซึ่งมีปกติเพ่งอย่างนี้แต่ที่ไกลทีเดียวว่า
ข้าแต่ท่านบุรุษอาชาไนย
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมท่าน
ข้าแต่ท่านบุรุษผู้สูงสุด
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมท่าน
ข้าพเจ้าทั้งหลายรู้ชัดเหตุนั้น ๆ ได้
เพราะอาศัยการเพ่งของท่าน”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สันธะ บุรุษอาชาไนยผู้เจริญมีสัญญาในธาตุดินว่า
เป็นธาตุดินแจ่มแจ้งแล้ว มีสัญญาในธาตุน้ำว่าเป็นธาตุน้ำแจ่มแจ้งแล้ว มีสัญญาใน
ธาตุไฟว่าเป็นธาตุไฟแจ่มแจ้งแล้ว มีสัญญาในธาตุลมว่าเป็นธาตุลมแจ่มแจ้งแล้ว มี
สัญญาในอากาสานัญจายตนฌานว่าเป็นอากาสานัญจายตนฌานแจ่มแจ้งแล้ว มี
สัญญาในวิญญาณัญจายตนฌานว่าเป็นวิญญาณัญจายตนฌานแจ่มแจ้งแล้ว มี
สัญญาในอากิญจัญญายตนฌานว่าเป็นอากิญจัญญายตนฌานแจ่มแจ้งแล้ว มี
สัญญาในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานว่าเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
แจ่มแจ้งแล้ว มีสัญญาในโลกนี้ว่าเป็นโลกนี้แจ่มแจ้งแล้ว มีสัญญาในโลกหน้าว่าเป็น
โลกหน้าแจ่มแจ้งแล้ว มีสัญญาในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ
ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา ที่ตรองตามด้วยใจแจ่มแจ้งแล้ว
สันธะ บุรุษอาชาไนยผู้เจริญมีปกติเพ่งอย่างนี้แล ไม่อาศัยธาตุดินเพ่ง ไม่อาศัย
ธาตุน้ำเพ่ง ไม่อาศัยธาตุไฟเพ่ง ไม่อาศัยธาตุลมเพ่ง ไม่อาศัยอากาสานัญจายตนฌาน
เพ่ง ไม่อาศัยวิญญาณัญจายตนฌานเพ่ง ไม่อาศัยอากิญจัญญายตนฌานเพ่ง ไม่
อาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนฌานเพ่ง ไม่อาศัยโลกนี้เพ่ง ไม่อาศัยโลกหน้าเพ่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๐๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๑. นิสสยวรรค ๑๐. โมรนิวาปสูตร
ไม่อาศัยแม้รูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่
แสวงหา ที่ตรองตามด้วยใจเพ่ง แต่ย่อมเพ่ง
สันธะ อนึ่ง เทวดาทั้งหลายพร้อมทั้งพระอินทร์ พรหม มนุษย์ย่อมนอบน้อม
บุรุษอาชาไนยผู้เจริญซึ่งมีปกติเพ่งอย่างนี้แต่ที่ไกลทีเดียวว่า
ข้าแต่ท่านบุรุษอาชาไนย
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมท่าน
ข้าแต่ท่านบุรุษผู้สูงสุด
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมท่าน
ข้าพเจ้าทั้งหลายรู้ชัดเหตุนั้น ๆ ได้
เพราะอาศัยการเพ่งของท่าน”
สันธสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. โมรนิวาปสูตร
ว่าด้วยปริพพาชการามชื่อโมรนิวาปะ
[๑๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปริพพาชการามอันเป็นที่ให้
เหยื่อแก่นกยูง เขตกรุงราชคฤห์ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มี
พระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ เป็นผู้มีความสำเร็จสูงสุด๑
มีความเกษมสูงสุด ประพฤติพรหมจรรย์ถึงที่สุด มีที่สุดอันสูงสุด เป็นผู้ประเสริฐ
กว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ

เชิงอรรถ :
๑ มีความสำเร็จสูงสุด(อัจจันตนิฏฐะ) หมายถึงนิพพาน (องฺ.เอกาทสก.อ. ๓/๑๐/๓๘๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๐๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๑. นิสสยวรรค ๑๐. โมรนิวาปสูตร
๑. สีลขันธ์(กองศีล)ที่เป็นอเสขะ๑
๒. สมาธิขันธ์(กองสมาธิ)ที่เป็นอเสขะ
๓. ปัญญาขันธ์(กองปัญญา)ที่เป็นอเสขะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล เป็นผู้มีความสำเร็จ
สูงสุด มีความเกษมสูงสุด ประพฤติพรหมจรรย์ถึงที่สุด มีที่สุดอันสูงสุด เป็นผู้
ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการแม้อื่นอีก เป็นผู้มีความสำเร็จสูงสุด มี
ความเกษมสูงสุด ประพฤติพรหมจรรย์ถึงที่สุด มีที่สุดอันสูงสุด เป็นผู้ประเสริฐกว่า
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อิทธิปาฏิหาริย์๒ (ปาฏิหาริย์คือฤทธิ์)
๒. อาเทสนาปาฏิหาริย์๓ (ปาฏิหาริย์คือการทายใจ)
๓. อนุสาสนีปาฏิหาริย์๔ (ปาฏิหาริย์คืออนุสาสนี)
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้ เป็นผู้มีความสำเร็จสูงสุด
มีความเกษมสูงสุด ประพฤติพรหมจรรย์ถึงที่สุด มีที่สุดอันสูงสุด เป็นผู้ประเสริฐกว่า
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการแม้อื่นอีก เป็นผู้มีความสำเร็จสูงสุด มีความ
เกษมสูงสุด ประพฤติพรหมจรรย์ถึงที่สุด มีที่สุดอันสูงสุด เป็นผู้ประเสริฐกว่าเทวดา
และมนุษย์ทั้งหลาย

เชิงอรรถ :
๑ อเสขะ ในที่นี้หมายถึงธรรมระดับโลกุตตระของพระอเสขะ (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๒/๓๒๐)
๒ อิทธิปาฏิหาริย์ หมายถึงการแสดงฤทธิ์ต่าง ๆ คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคน
เดียวก็ได้ ปรากฏตัวได้ หายตัวได้ เดินทะลุฝา กำแพง ภูเขาได้ ดำดินได้ เดินบนน้ำได้ นั่งขัดสมาธิในอากาศได้
เป็นต้น ดูอังคุตตรนิกายแปลเล่มที่ ๒๐ ข้อ ๖๑ ติกนิบาต หน้า ๒๓๔
๓ อาเทสนาปาฏิหาริย์ หมายถึงการกล่าวดักใจบุคคลได้ว่า ใจของบุคคลแต่ละคนเป็นอย่างไร มีสุข มีทุกข์
หรือมีวิตกเรื่องอะไร กำลังคิดอะไรอยู่เป็นต้น และคำกล่าวดักใจนั้นก็เป็นอย่างนั้น ไม่ผิดเพี้ยนกลับกลาย
เป็นอย่างอื่นไปได้ ดูอังคุตรนิกายแปล เล่มที่ ๒๐ ข้อ ๖๑ ติกนิบาต หน้า ๒๓๔
๔ อนุสาสนีปาฏิหาริย์ หมายถึงการพร่ำสอนว่า “จงตรึกอย่างนี้ อย่าได้ตรึกอย่างนี้ จงมนสิการอย่างนี้
อย่าได้มนสิการอย่างนี้ จงละธรรมนี้ จงบรรลุธรรมนี้” ดูอังคุตรนิกายแปล เล่มที่ ๒๐ ข้อ ๖๑ ติกนิบาต
หน้า ๒๓๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๐๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๑. นิสสยวรรค ๑๐. โมรนิวาปสูตร
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ๒. สัมมาญาณะ
๓. สัมมาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล เป็นผู้มีความสำเร็จ
สูงสุด มีความเกษมสูงสุด ประพฤติพรหมจรรย์ถึงที่สุด มีที่สุดอันสูงสุด เป็นผู้
ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ เป็นผู้มีความสำเร็จสูงสุด มีความเกษม
สูงสุด ประพฤติพรหมจรรย์ถึงที่สุด มีที่สุดอันสูงสุด เป็นผู้ประเสริฐกว่าเทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลาย
ธรรม ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. วิชชา (ความรู้แจ้ง)
๒. จรณะ (ความประพฤติ)
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๒ ประการนี้แล เป็นผู้มีความสำเร็จ
สูงสุด มีความเกษมสูงสุด ประพฤติพรหมจรรย์ถึงที่สุด มีที่สุดอันสูงสุด เป็นผู้
ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลาย แม้สนังกุมารพรหมก็ได้กล่าวคาถานี้ไว้ว่า
ในหมู่ชนที่ถือตระกูลเป็นใหญ่๑
กษัตริย์จัดว่าประเสริฐที่สุด
ส่วนท่านผู้เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
จัดว่าเป็นผู้ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงหมู่ชนผู้ชอบคิดว่าตนมีตระกูลสูง ตระกูลมั่งคั่ง มีทรัพย์สมบัติมากกว่าผู้อื่น เช่น คิดว่า “เราเป็น
โคตมโคตร เราเป็นกัสสปโคตร” เป็นต้น (องฺ.เอกาทสก.อ. ๓/๑๐/๓๘๓) และดูพระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย
สีลขันธวรรค แปล เล่มที่ ๙ ข้อ ๒๗๗ หน้า ๙๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๐๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๑. นิสสยวรรค รวมพระสูตรที่มัในวรรค
ภิกษุทั้งหลาย ก็คาถานี้สนังกุมารพรหมได้กล่าวร้อยกรองไว้ถูกต้องดีแล้ว ไม่
ใช่ร้อยกรองไว้ผิด ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ใช่ประกอบด้วยสิ่งที่ไม่ใช่ประโยชน์ เรา
ยอมรับ ภิกษุทั้งหลาย ถึงเราเองก็กล่าวไว้อย่างนี้ว่า
ในหมู่ชนที่ถือตระกูลเป็นใหญ่
กษัตริย์จัดว่าประเสริฐที่สุด
ส่วนท่านผู้เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
จัดว่าเป็นผู้ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
โมรนิวาปสูตรที่ ๑๐ จบ
นิสสยวรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. กิมัตถิยสูตร ๒. เจตนากรณียสูตร
๓. ปฐมอุปนิสาสูตร ๔. ทุติยอุปนิสาสูตร
๕. ตติยอุปนิสาสูตร ๖. พยสนสูตร
๗. ปฐมสัญญาสูตร ๘. มนสิการสูตร
๙. สันธสูตร ๑๐. โมรนิวาปสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๐๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๒. อนุสสติวรรค ๑. ปฐมมหานามสูตร
๒. อนุสสติวรรค
หมวดว่าด้วยอนุสสติ
๑. ปฐมมหานามสูตร๑
ว่าด้วยเจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะ สูตรที่ ๑
[๑๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขตกรุงกบิลพัสดุ์
แคว้นสักกะ สมัยนั้น ภิกษุจำนวนมากทำจีวรกรรมเพื่อถวายพระผู้มีพระภาคด้วย
หวังว่า “พระผู้มีพระภาคมีจีวรสำเร็จแล้ว ล่วงไป ๓ เดือนก็จักเสด็จจาริกไป”
เจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะได้ทรงทราบข่าวอย่างนั้นเหมือนกัน ลำดับนั้น
พระองค์เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วประทับนั่ง
ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้ทราบข่าวอย่างนี้ว่า ‘ได้ทราบว่า ภิกษุจำนวน
มากทำจีวรกรรมเพื่อถวายพระผู้มีพระภาคด้วยหวังว่า พระผู้มีพระภาคมีจีวรสำเร็จแล้ว
ล่วงไป ๓ เดือนก็จักเสด็จจาริกไป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันเมื่อจะอยู่ด้วยธรรม
เป็นเครื่องอยู่ต่าง ๆ จะต้องอยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่อะไร พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ มหานามะ การที่พระองค์เสด็จมาหา
ตถาคตแล้วตรัสถามว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันเมื่อจะอยู่ด้วยธรรมเป็น
เครื่องอยู่ต่าง ๆ จะต้องอยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่อะไร” นี้เป็นการสมควรแก่พระ
องค์ผู้เป็นกุลบุตร มหานามะ กุลบุตรผู้มีศรัทธาเป็นผู้ประสบความสำเร็จ ผู้ไม่มี
ศรัทธาไม่ประสบความสำเร็จ๒ ๑ ผู้ปรารภความเพียรเป็นผู้ประสบความสำเร็จ
ผู้เกียจคร้านไม่ประสบความสำเร็จ ๑ ผู้มีสติตั้งมั่นเป็นผู้ประสบความสำเร็จ ผู้หลง
ลืมสติไม่ประสบความสำเร็จ ๑ ผู้มีจิตตั้งมั่นเป็นผู้ประสบความสำเร็จ ผู้มีจิตไม่ตั้ง

เชิงอรรถ :
๑ ดู มหานามสูตรที่ ๑๐ (องฺ.ฉกฺก. ๒๒/๑๐/๒๗๕)
๒ ไม่ประสบความสำเร็จ(อาราธกะ) หมายถึงไม่ให้ถึงพร้อม ไม่ให้บริบูรณ์ (องฺ.เอกาทสก.อ. ๓/๑๑-๑๒/
๓๘๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๒. อนุสสติวรรค ๑. ปฐมมหานามสูตร
มั่นไม่ประสบความสำเร็จ ๑ ผู้มีปัญญาเป็นผู้ประสบความสำเร็จ ผู้มีปัญญาทราม
ไม่ประสบความสำเร็จ ๑
มหานามะ พระองค์พึงตั้งอยู่ในธรรม ๕ ประการนี้ แล้วเจริญธรรม ๖ ประการ
ให้ยิ่งขึ้นไปเถิด
ธรรม ๖ ประการนี้ คือ
๑. พระองค์พึงระลึกถึงตถาคตว่า “แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาค
พระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อม
ด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้
อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า
เป็นพระผู้มีพระภาค” มหานามะ สมัยใด อริยสาวกระลึกถึงตถาคตแล้ว
สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม
ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นย่อมปรารภตถาคต
ดำเนินไปตรงทีเดียว มหานามะ ก็อริยสาวกผู้มีจิตดำเนินไปตรงแล้ว
ย่อมได้ความปลาบปลื้มอิงอรรถ๑ ย่อมได้ความปลาบปลื้มอิงธรรม๒ ย่อม
ได้ปราโมทย์ที่ประกอบด้วยธรรม เมื่อมีปราโมทย์ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจ
มีปีติกายย่อมสงบ เธอมีกายสงบย่อมได้รับสุข เมื่อมีสุขจิตย่อมตั้งมั่น
มหานามะ อริยสาวกนี้ ตถาคตกล่าวว่าเป็นผู้ถึงความสงบอยู่ในหมู่สัตว์
ผู้ถึงความไม่สงบ เป็นผู้ไม่มีพยาบาทอยู่ในหมู่สัตว์ผู้มีพยาบาท เป็นผู้
ถึงพร้อมด้วยกระแสธรรม เจริญพุทธานุสสติอยู่
๒. พระองค์พึงระลึกถึงธรรมว่า “พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัส
ไว้ดีแล้ว ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล๓ ควรเรียก

เชิงอรรถ :
๑ ความปลาบปลื้มอิงอรรถ(อตฺถเวท) ในที่นี้หมายถึงปีติและปราโมทย์ที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยอรรถกถา
(องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๐/๙๖)
๒ ความปลาบปลื้มอิงธรรม (ธมฺมเวท) ในที่นี้หมายถึงปีติและปราโมทย์ที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยพระบาลี
(องฺ.ฉกฺก.อ.๓/๑๐/๙๖)
๓ ไม่ประกอบด้วยกาล หมายถึงให้ผลไม่จำกัดกาล คือไม่ขึ้นกับกาลเวลา ให้ผลแก่ผู้ปฏิบัติทุกเวลา ทุก
โอกาส บรรลุเมื่อใดก็ได้รับผลเมื่อนั้น (องฺ.ติก.อ. ๒/๕๔/๑๕๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๑๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๒. อนุสสติวรรค ๑. ปฐมมหานามสูตร
ให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน๑ อันวิญญูชน๒พึงรู้เฉพาะตน” มหานามะ
สมัยใด อริยสาวกระลึกถึงธรรม สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นย่อมไม่
ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม สมัยนั้น จิต
ของอริยสาวกนั้นย่อมปรารภธรรม ดำเนินไปตรงทีเดียว มหานามะ ก็
อริยสาวกผู้มีจิตดำเนินไปตรงแล้ว ย่อมได้ความปลาบปลื้มอิงอรรถ ย่อม
ได้ความปลาบปลื้มอิงธรรม ย่อมได้ปราโมทย์ที่ประกอบด้วยธรรม เมื่อ
มีปราโมทย์ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจมีปีติกายย่อมสงบ เธอมีกายสงบย่อมได้
รับสุข เมื่อมีสุขจิตย่อมตั้งมั่น มหานามะ อริยสาวกนี้ ตถาคตกล่าวว่า เป็น
ผู้ถึงความสงบอยู่ในหมู่สัตว์ผู้ถึงความไม่สงบ เป็นผู้ไม่มีพยาบาทอยู่ใน
หมู่สัตว์ผู้มีพยาบาท เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยกระแสธรรม เจริญธัมมา-
นุสสติอยู่
๓. พระองค์พึงระลึกถึงสงฆ์ว่า “พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็น
ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติถูกทาง ปฏิบัติสมควร ได้แก่ อริยบุคคล
๔ คู่ คือ ๘ บุคคล พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคนี้ เป็นผู้ควรแก่
ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำ
อัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก” มหานามะ สมัยใด อริยสาวก
ระลึกถึงพระสงฆ์ สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น ย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม
ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น
ย่อมปรารภพระสงฆ์ดำเนินไปตรงทีเดียว มหานามะ ก็อริยสาวกผู้มี
จิตดำเนินไปตรงแล้ว ย่อมได้ความปลาบปลื้มอิงอรรถ ย่อมได้ความ
ปลาบปลื้มอิงธรรม ย่อมได้ปราโมทย์ที่ประกอบด้วยธรรม เมื่อมี
ปราโมทย์ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจมีปีติกายย่อมสงบ เธอมีกายสงบย่อมได้
รับสุข เมื่อมีสุขจิตย่อมตั้งมั่น มหานามะ อริยสาวกนี้ ตถาคตกล่าวว่า

เชิงอรรถ :
๑ ควรน้อมเข้ามาในตน หมายถึงควรน้อมเข้ามาสู่จิตของตน หรือควรน้อมเข้ามาเพื่อการปฏิบัติ (องฺ.ติก.อ.
๒/๕๔/๑๕๘)
๒ วิญญูชน หมายถึงบัณฑิต (องฺ.ติก.อ. ๒/๕๔/๑๕๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๒. อนุสสติวรรค ๑. ปฐมมหานามสูตร
เป็นผู้ถึงความสงบอยู่ในหมู่สัตว์ผู้ถึงความไม่สงบ เป็นผู้ไม่มีพยาบาท
อยู่ในหมู่สัตว์ผู้มีพยาบาท เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยกระแสธรรม เจริญ
สังฆานุสสติอยู่
๔. พระองค์พึงระลึกถึงศีลของพระองค์ที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย
เป็นไท ท่านผู้รู้สรรเสริญ ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ เป็นไปเพื่อสมาธิ
มหานามะ สมัยใด อริยสาวกระลึกถึงศีล สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น
ย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม สมัยนั้น
จิตของอริยสาวกนั้นย่อมปรารภศีลดำเนินไปตรงทีเดียว มหานามะ ก็
อริยสาวกผู้มีจิตดำเนินไปตรงแล้ว ย่อมได้ความปลาบปลื้มอิงอรรถ
ย่อมได้ความปลาบปลื้มอิงธรรม ย่อมได้ปราโมทย์ที่ประกอบด้วยธรรม
เมื่อมีปราโมทย์ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจมีปีติกายย่อมสงบ เธอมีกายสงบ
ย่อมได้รับสุข เมื่อมีสุขจิตย่อมตั้งมั่น มหานามะ อริยสาวกนี้ ตถาคต
กล่าวว่า เป็นผู้ถึงความสงบอยู่ในหมู่สัตว์ผู้ถึงความไม่สงบ เป็นผู้ไม่มี
พยาบาทอยู่ในหมู่สัตว์ผู้มีพยาบาท เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยกระแสธรรม
เจริญสีลานุสสติอยู่
๕. พระองค์พึงระลึกถึงจาคะของพระองค์ว่า “เป็นลาภของเราหนอ เราได้ดี
แล้วหนอ ที่เรามีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน มีจาคะอันสละแล้ว
มีฝ่ามือชุ่ม๑ ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการแจกทาน อยู่
ครองเรือน” มหานามะ สมัยใด อริยสาวกระลึกถึงจาคะ สมัยนั้น จิต
ของอริยสาวกนั้นย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะ
กลุ้มรุม สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นย่อมปรารภจาคะดำเนินไปตรง
ทีเดียว มหานามะ ก็อริยสาวกผู้มีจิตดำเนินไปตรงแล้ว ย่อมได้ความ
ปลาบปลื้มอิงอรรถ ย่อมได้ความปลาบปลื้มอิงธรรม ย่อมได้ปราโมทย์ที่

เชิงอรรถ :
๑ มีฝ่ามือชุ่มอรรถกถาอธิบายว่า คนที่ไม่มีศรัทธา แม้จะล้างมือถึง ๗ ครั้ง ก็ชื่อว่ามีมือยังไม่ล้าง มีมือสกปรก
อยู่นั่นเอง แต่คนที่มีศรัทธา แม้จะมีมือสกปรก ก็ชื่อว่ามีมือที่ได้ล้างสะอาดแล้ว (องฺ.ติก.อ. ๒/๔๒/๑๔๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๒. อนุสสติวรรค ๑. ปฐมมหานามสูตร
ประกอบด้วยธรรม เมื่อมีปราโมทย์ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจมีปีติกายย่อม
สงบ เธอมีกายสงบย่อมได้รับสุข เมื่อมีสุขจิตย่อมตั้งมั่น มหานามะ
อริยสาวกนี้ ตถาคตกล่าวว่า เป็นผู้ถึงความสงบอยู่ในหมู่สัตว์ผู้ถึงความ
ไม่สงบ เป็นผู้ไม่มีพยาบาทอยู่ในหมู่สัตว์ผู้มีพยาบาท เป็นผู้ถึงพร้อม
ด้วยกระแสธรรม เจริญจาคานุสสติอยู่
๖. พระองค์พึงระลึกถึงเทวดาทั้งหลายว่า “มีเทวดาชั้นจาตุมหาราช เทวดา
ชั้นดาวดึงส์ เทวดาชั้นยามา เทวดาชั้นดุสิต เทวดาชั้นนิมมานรดี เทวดา
ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี เทวดาชั้นพรหมกาย เทวดาชั้นสูงขึ้นไปกว่านั้น
เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศรัทธาเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้วไปเกิดใน
เทวโลกนั้น แม้เราเองก็มีศรัทธาเช่นนั้น เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศีล
เช่นใด จุติจากโลกนี้แล้วไปเกิดในเทวโลกนั้น แม้เราเองก็มีศีลเช่นนั้น
เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยสุตะเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้วไปเกิดในเทวโลกนั้น
แม้เราเองก็มีสุตะเช่นนั้น เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยจาคะเช่นใด จุติ
จากโลกนี้แล้วไปเกิดในเทวโลกนั้น แม้เราเองก็มีจาคะเช่นนั้น เทวดา
เหล่านั้นประกอบด้วยปัญญาเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้วไปเกิดในเทวโลกนั้น
แม้เราเองก็มีปัญญาเช่นนั้น” มหานามะ สมัยใด อริยสาวกระลึกถึง
ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญาของตนและของเทวดาเหล่านั้น
สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น ย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะ
กลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นย่อมปรารภ
เทวดาทั้งหลายดำเนินไปตรงทีเดียว มหานามะ ก็อริยสาวกผู้มีจิตดำเนิน
ไปตรงแล้ว ย่อมได้ความปลาบปลื้มอิงอรรถ ย่อมได้ความปลาบปลื้ม
อิงธรรม ย่อมได้ปราโมทย์ที่ประกอบด้วยธรรม เมื่อมีปราโมทย์ย่อม
เกิดปีติ เมื่อใจมีปีติกายย่อมสงบ เธอผู้มีกายสงบย่อมได้รับสุข เมื่อมีสุข
จิตย่อมตั้งมั่น มหานามะ อริยสาวกนี้ ตถาคตกล่าวว่า เป็นผู้ถึงความ
สงบอยู่ในหมู่สัตว์ผู้ถึงความไม่สงบ เป็นผู้ไม่มีพยาบาทอยู่ในหมู่สัตว์ผู้มี
พยาบาท เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยกระแสธรรม เจริญเทวตานุสสติอยู่
ปฐมมหานามสูตรที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๑๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๒. อนุสสติวรรค ๒. ทุติยมหานามสูตร
๒. ทุติยมหานามสูตร
ว่าด้วยเจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะ สูตรที่ ๒
[๑๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขตกรุง
กบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ สมัยนั้น เจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะทรงหายจาก
พระประชวรได้ไม่นาน สมัยนั้นแล ภิกษุจำนวนมากทำจีวรกรรมเพื่อถวายพระผู้มี
พระภาคด้วยหวังว่า “พระผู้มีพระภาคผู้มีจีวรสำเร็จแล้ว ล่วงไป ๓ เดือนก็จักเสด็จ
จาริกไป”
เจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะได้ทรงทราบข่าวอย่างนั้นเหมือนกัน ลำดับนั้น
เจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้ทราบข่าวอย่างนี้ว่า ‘ได้ทราบว่า ภิกษุ
จำนวนมากทำจีวรกรรมเพื่อถวายพระผู้มีพระภาคด้วยหวังว่า พระผู้มีพระภาคมี
จีวรสำเร็จแล้ว ล่วงไป ๓ เดือนก็จักเสด็จจาริกไป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉัน
เมื่อจะอยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่ต่าง ๆ จะต้องอยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่อะไร
พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ มหานามะ การที่พระองค์เสด็จมาหา
ตถาคตแล้วตรัสถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันเมื่อจะอยู่ด้วยธรรมเป็น
เครื่องอยู่ต่าง ๆ จะต้องอยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่อะไร” นี้เป็นการสมควรแก่พระองค์
ผู้เป็นกุลบุตร มหานามะ กุลบุตรผู้มีศรัทธาเป็นผู้ประสบความสำเร็จ ผู้ไม่มีศรัทธา
ไม่ประสบความสำเร็จ ๑ ผู้ปรารภความเพียรเป็นผู้ประสบความสำเร็จ ผู้เกียจคร้าน
ไม่ประสบความสำเร็จ ๑ ผู้มีสติตั้งมั่นเป็นผู้ประสบความสำเร็จ ผู้หลงลืมสติไม่
ประสบความสำเร็จ ๑ ผู้มีจิตตั้งมั่นเป็นผู้ประสบความสำเร็จ ผู้มีจิตไม่ตั้งมั่นไม่
ประสบความสำเร็จ ๑ ผู้มีปัญญาเป็นผู้ประสบความสำเร็จ ผู้มีปัญญาทรามไม่
ประสบความสำเร็จ ๑
มหานามะ พระองค์พึงตั้งอยู่ในธรรม ๕ ประการนี้ แล้วเจริญธรรม ๖ ประการ
ให้ยิ่งขึ้นไปเถิด


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๒. อนุสสติวรรค ๒. ทุติยมหานามสูตร
ธรรม ๖ ประการนี้ คือ
๑. พระองค์พึงระลึกถึงตถาคตว่า “แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระ
องค์นั้น ฯลฯ๑ เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระ
พุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค” มหานามะ สมัยใด อริยสาวกระลึกถึง
ตถาคตแล้ว สมัยนั้น จิตของพระอริยสาวกนั้น ย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม
ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น
ย่อมปรารภตถาคตดำเนินไปตรงทีเดียว มหานามะ ก็อริยสาวกผู้มีจิต
ดำเนินไปตรงแล้ว ย่อมได้ความปลาบปลื้มอิงอรรถ๒ ย่อมได้ความ
ปลาบปลื้มอิงธรรม ย่อมได้ปราโมทย์ที่ประกอบด้วยธรรม เมื่อมี
ปราโมทย์ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจมีปีติกายย่อมสงบ เธอผู้มีกายสงบย่อมได้
รับสุข เมื่อมีสุขจิตย่อมตั้งมั่น มหานามะ พุทธานุสสตินี้แล พระองค์
แม้กำลังเสด็จดำเนินก็เจริญได้ กำลังประทับยืนก็เจริญได้ กำลังประทับ
นั่งก็เจริญได้ กำลังบรรทมก็เจริญได้ กำลังประกอบการงานก็เจริญได้
กำลังประทับบนที่บรรทมซึ่งเบียดเสียดด้วยพระโอรสและพระธิดาก็เจริญได้
๒. พระองค์พึงระลึกถึงพระธรรม ...
๓. พระองค์พึงระลึกถึงพระสงฆ์ ...
๔. พระองค์พึงระลึกถึงศีลของพระองค์ ...
๕. พระองค์พึงระลึกถึงจาคะของพระองค์ ...
๖. พระองค์พึงระลึกถึงเทวดาทั้งหลายว่า “มีเทวดาชั้นจาตุมหาราช ...
เทวดาชั้นสูงขึ้นไปกว่านั้น เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศรัทธาเช่นใด จุติ
จากโลกนี้แล้วไปเกิดในเทวโลกนั้น แม้เราเองก็มีศรัทธาเช่นนั้น เทวดา
เหล่านั้นประกอบด้วยศีล ... สุตะ ... จาคะ ... ปัญญาเช่นใด จุติจากโลกนี้

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มในข้อ ๑๑ (ปฐมมหานามสูตร) ในเล่มนี้
๒ ดูเชิงอรรถที่ ๑,๒ ข้อ ๑๑ หน้า ๔๑๐ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๑๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๒. อนุสสติวรรค ๓. นันทิยสูตร
แล้วไปเกิดในเทวโลกนั้น แม้เราเองก็มีปัญญาเช่นนั้น” มหานามะ สมัยใด
อริยสาวกระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะและปัญญาของตนและของ
เทวดาเหล่านั้น สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม
ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น
ย่อมปรารภเทวดาทั้งหลายดำเนินไปตรงทีเดียว มหานามะ ก็อริยสาวก
ผู้มีจิตดำเนินไปตรงแล้ว ย่อมได้ความปลาบปลื้มอิงอรรถ ย่อมได้ความ
ปลาบปลื้มอิงธรรม ย่อมได้ปราโมทย์ที่ประกอบด้วยธรรม เมื่อมี
ปราโมทย์ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจมีปีติกายย่อมสงบ เธอมีกายสงบแล้วย่อม
ได้รับสุข เมื่อมีสุขจิตย่อมตั้งมั่น มหานามะ เทวตานุสสตินี้แล พระองค์
แม้กำลังเสด็จดำเนินก็เจริญได้ กำลังประทับยืนก็เจริญได้ กำลังประทับ
นั่งก็เจริญได้ กำลังบรรทมก็เจริญได้ กำลังประกอบการงานก็เจริญได้
กำลังประทับบนที่บรรทมซึ่งเบียดเสียดด้วยพระโอรสและพระธิดาก็เจริญได้
ทุติยมหานามสูตรที่ ๒ จบ

๓. นันทิยสูตร
ว่าด้วยเจ้าศากยะพระนามว่านันทิยะ
[๑๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขตกรุง
กบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคมีพระประสงค์จะเสด็จไปจำพรรษา
ณ กรุงสาวัตถี เจ้าศากยะพระนามว่านันทิยะได้ทราบข่าวอย่างนี้ว่า ได้ทราบว่า
พระผู้มีพระภาคมีพระประสงค์จะเสด็จไปจำพรรษา ณ กรุงสาวัตถี ครั้งนั้น เจ้า
ศากยะพระนามว่านันทิยะได้ทรงมีพระดำริดังนี้ว่า “ทางที่ดี แม้เราก็ควรจะพักอยู่
ตลอดพรรษาในกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น เราจักประกอบการงานและจักเข้าเฝ้าพระผู้มี
พระภาคตามเวลาอันสมควร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๒. อนุสสติวรรค ๓. นันทิยสูตร
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงเข้าจำพรรษา ณ กรุงสาวัตถี แม้เจ้าศากยะ
พระนามว่านันทิยะก็ได้พักอยู่ตลอดพรรษา ณ กรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระองค์ได้ทรง
ประกอบการงาน และได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคตามกาลอันสมควร สมัยนั้น ภิกษุ
จำนวนมากทำจีวรกรรมเพื่อถวายพระผู้มีพระภาคด้วยหวังว่า “พระผู้มีพระภาคผู้มี
จีวรสำเร็จแล้ว ล่วงไป ๓ เดือนก็จักเสด็จจาริกไป”
เจ้าศากยะพระนามว่านันทิยะได้ทรงทราบข่าวอย่างนี้ว่า ได้ทราบว่า ภิกษุ
จำนวนมากทำจีวรกรรมเพื่อถวายพระผู้มีพระภาคด้วยหวังว่า “พระผู้มีพระภาคผู้มี
จีวรสำเร็จแล้ว ล่วงไป ๓ เดือนก็จักเสด็จจาริกไป” ครั้งนั้น เจ้าศากยะพระนามว่า
นันทิยะได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วประทับ ณ ที่
สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้ทราบ
ข่าวว่า ภิกษุจำนวนมากทำจีวรกรรมเพื่อถวายพระผู้มีพระภาคด้วยหวังว่า ‘พระ
ผู้มีพระภาคผู้มีจีวรสำเร็จแล้ว ล่วงไป ๓ เดือนก็จักเสด็จจาริกไป’ หม่อมฉันเมื่อ
จะอยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่ต่าง ๆ จะต้องอยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่อะไร พระพุทธ-
เจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีละ ดีละ นันทิยะ การที่พระองค์เสด็จมาหาตถาคต
แล้วตรัสถามว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันเมื่อจะอยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่
ต่าง ๆ จะต้องอยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่อะไร’ นี้เป็นการสมควรแก่พระองค์ผู้เป็น
กุลบุตร นันทิยะ กุลบุตรผู้มีศรัทธาเป็นผู้ประสบความสำเร็จ ผู้ไม่มีศรัทธาไม่
ประสบความสำเร็จ ๑ ผู้มีศีลเป็นผู้ประสบความสำเร็จ ผู้ทุศีลไม่ประสบความ
สำเร็จ ๑ ผู้ปรารภความเพียรเป็นผู้ประสบความสำเร็จ ผู้เกียจคร้านไม่ประสบ
ความสำเร็จ ๑ ผู้มีสติตั้งมั่นเป็นผู้ประสบความสำเร็จ ผู้หลงลืมสติไม่ประสบความ
สำเร็จ ๑ ผู้มีจิตตั้งมั่นเป็นผู้ประสบความสำเร็จ ผู้มีจิตไม่ตั้งมั่นไม่ประสบความ
สำเร็จ ๑ ผู้มีปัญญาเป็นผู้ประสบความสำเร็จ ผู้มีปัญญาทรามไม่ประสบความ
สำเร็จ ๑
นันทิยะ พระองค์พึงตั้งอยู่ในธรรม ๖ ประการนี้ แล้วตั้งสติมั่นไว้ภายในตนใน
ธรรม ๕ ประการเถิด


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๒. อนุสสติวรรค ๓. นันทิยสูตร
ธรรม ๕ ประการนี้ คือ
๑. พระองค์พึงระลึกถึงตถาคตว่า “แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระ
องค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อม
ด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้
อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระ
พุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค นันทิยะ พระองค์พึงตั้งสติมั่นไว้ภายในตน
ปรารภตถาคตอย่างนี้เถิด
๒. พระองค์พึงระลึกถึงพระธรรมว่า “พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาค
ตรัสไว้ดีแล้ว ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน”
นันทิยะ พระองค์พึงตั้งสติมั่นไว้ภายในตนปรารภธรรมอย่างนี้เถิด
๓. พระองค์พึงระลึกถึงเหล่ากัลยาณมิตรว่า “เป็นลาภของเราหนอ เราได้ดี
แล้วหนอ ที่เรามีกัลยาณมิตรผู้เอ็นดู มุ่งหวังประโยชน์ กล่าวแนะนำ
พร่ำสอน” นันทิยะ พระองค์พึงตั้งสติมั่นไว้ภายในตนปรารภเหล่า
กัลยาณมิตรอย่างนี้เถิด
๔. พระองค์พึงระลึกถึงจาคะของพระองค์ว่า “เป็นลาภของเราหนอ เราได้ดี
แล้วหนอ ที่เรามีจิตปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน มีจาคะอันสละ
แล้ว มีฝ่ามือชุ่ม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการแจกทาน
อยู่ครองเรือนในหมู่สัตว์ผู้ถูกความตระหนี่อันเป็นมลทินกลุ้มรุม” นันทิยะ
พระองค์พึงตั้งสติมั่นไว้ภายในปรารภจาคะอย่างนี้เถิด
๕. พระองค์พึงระลึกถึงเทวดาทั้งหลายว่า “เทวดาเหล่าใดล่วงความเป็น
สหายแห่งเหล่าเทวดาผู้มีคำข้าวเป็นภักษา๑แล้ว เข้าถึงกายมโนมัย๒
อย่างใดอย่างหนึ่ง เทวดาเหล่านั้นย่อมไม่พิจารณาเห็นกิจที่ควรทำของตน
หรือการสั่งสมกิจที่ตนทำแล้ว” นันทิยะ เทวดาเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ล่วง

เชิงอรรถ :
๑ เหล่าเทวดาผู้มีคำข้าวเป็นภักษา หมายถึงเทวดาชั้นกามาวจร (องฺ.เอกาทสก.อ. ๓/๑๓/๓๘๔)
๒ กายมโนมัยในที่นี้หมายถึงเทพกายหรือพรหมกายของผู้บำเพ็ญฌานสมาบัติแล้วบังเกิดขึ้นในพรหมโลก
ชั้นสุทธาวาสด้วยอำนาจฌาน (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๔๔/๒๖,๑๖๖/๖๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๑๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๒. อนุสสติวรรค ๔. สุภูติสูตร
ความเป็นสหายแห่งเหล่าเทวดาผู้มีคำข้าวเป็นภักษาแล้วจึงเข้าถึง
กายมโนมัยอย่างใดอย่างหนึ่ง เทวดาเหล่านั้นย่อมไม่พิจารณาเห็นกิจที่
ควรทำของตน หรือการสั่งสมกิจที่ตนทำแล้ว เปรียบเหมือนภิกษุผู้เป็น
อสมยวิมุต๑ไม่พิจารณาเห็นกิจที่ควรทำของตนหรือการสั่งสมกิจที่ตน
ทำแล้ว นันทิยะ พระองค์พึงตั้งสติมั่นภายในปรารภเทวดาอย่างนี้เถิด
นันทิยะ อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๑ ประการนี้แล ย่อมละ ไม่ยึดมั่น
บาปอกุศลธรรมทั้งหลาย
อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๑ ประการนี้ ย่อมละ ไม่ยึดมั่นบาปอกุศล-
ธรรมทั้งหลาย เปรียบเหมือนหม้อที่คว่ำ ย่อมไม่กลับมาบรรจุของที่หกแล้ว และ
เปรียบเหมือนไฟที่ลามพ้นไปจากหญ้าแล้ว ย่อมไหม้ของที่ควรไหม้เท่านั้น ย่อมไม่
กลับมาไหม้ของที่ไหม้แล้ว
นันทิยสูตรที่ ๓ จบ

๔. สุภูติสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่ทรงแสดงแก่พระสุภูติ
[๑๔] ครั้งนั้น ท่านพระสุภูติกับภิกษุผู้มีศรัทธาเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านพระสุภูติ
ดังนี้ว่า “สุภูติ ภิกษุนี้๒ชื่อไร”

เชิงอรรถ :
๑ ภิกษุผู้เป็นอสมยวิมุต หมายถึงพระขีณาสพผู้หลุดพ้นด้วยอสมยวิมุตติ (ความหลุดพ้นที่ไม่ขึ้นต่อสมัย
หรือชั่วคราวคือยั่งยืนเรื่อยไป) หมายถึงอริยผลโดยเฉพาะอรหัตตผลเป็นโลกุตตรวิมุตติ บางแห่งใช้คำว่า
อสมยวิโมกข์ ตรงกันข้ามกับสมยวิมุตติ หรือสมยวิโมกข์ ซึ่งหมายถึงสมาบัติ ๘ เป็นโลกิยวิมุตติ (องฺ.
เอกาทสก.อ. ๓/๑๓/๓๘๔) และดู ม.มู. ๑๒/๓๑๑/๒๗๘-๒๘๐
๒ หมายถึงภิกษุผู้เป็นบุตรของอนาถบิณฑิกคหบดี ซึ่งมีศรัทธาออกบวชในสำนักของท่านพระสุภูติเถระผู้เป็นอาว์
ต่อมาพระเถระนำเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค แม้พระองค์จะทรงทราบดีว่า ภิกษุนี้เป็นใคร ชื่ออะไร แต่ก็ทรง
ตรัสถามเพื่อปรารภเหตุที่จะแสดงพระธรรมเทศนา (องฺ.เอกาทสก.อ. ๓/๑๔/๓๘๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๒๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๒. อนุสสติวรรค ๔. สุภูติสูตร
ท่านพระสุภูติกราบทูลว่า “ภิกษุนี้มีศรัทธา เป็นบุตรของอุบาสกผู้มีศรัทธา
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา พระพุทธเจ้าข้า”
“สุภูติ ภิกษุนี้มีศรัทธา เป็นบุตรของอุบาสกผู้มีศรัทธา ออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิตด้วยศรัทธา เห็นลักษณะของผู้มีศรัทธาทั้งหลายหรือ”
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค บัดนี้ เป็นกาลสมควรแสดงลักษณะของผู้มีศรัทธานั้น
ข้าแต่พระสุคต บัดนี้ เป็นกาลสมควรแสดงลักษณะของผู้มีศรัทธานั้น ขอพระผู้มีพระ
ภาคโปรดตรัสลักษณะแห่งศรัทธาของผู้มีศรัทธาเถิด ข้าพระองค์ก็จักทราบ ณ บัดนี้
ว่า ภิกษุนี้จะเห็นลักษณะของผู้มีศรัทธาหรือไม่”
“สุภูติ ถ้าเช่นนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
ท่านพระสุภูติทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
สุภูติ
๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์ เพียบ
พร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทาน
ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย แม้การที่ภิกษุเป็นผู้มีศีล ฯลฯ สมาทาน
ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลายนี้ก็เป็นลักษณะแห่งศรัทธาของผู้มีศรัทธา
๒. ภิกษุเป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ฟังมากซึ่งธรรมทั้งหลาย
ที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง มีความงามในที่สุด
ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ และพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบ
ถ้วน ทรงจำไว้ได้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ แม้การที่ภิกษุ
เป็นพหูสูต ฯลฯ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐินี้ก็เป็นลักษณะแห่งศรัทธาของผู้
มีศรัทธา
๓. ภิกษุเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี แม้การที่ภิกษุเป็นผู้มีมิตรดี มี
สหายดี มีเพื่อนดีนี้ก็เป็นลักษณะแห่งศรัทธาของผู้มีศรัทธา
๔. ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย ประกอบด้วยธรรมเป็นเครื่องทำให้เป็นผู้ว่าง่าย อดทน
รับฟังคำพร่ำสอนโดยเคารพ แม้การที่ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย ประกอบด้วย
ธรรมเป็นเครื่องที่ทำให้เป็นผู้ว่าง่าย อดทน รับฟังคำพร่ำสอนโดยเคารพ
นี้ก็เป็นลักษณะแห่งศรัทธาของผู้มีศรัทธา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๒๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๒. อนุสสติวรรค ๔. สุภูติสูตร
๕. ภิกษุเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้านในการงานที่จะต้องช่วยกันทำทั้งงานสูง
และงานต่ำ๑ของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ประกอบด้วยปัญญาเป็น
เครื่องพิจารณาอันเป็นอุบายในการงานที่จะต้องช่วยกันทำนั้น สามารถ
ทำได้ สามารถจัดได้ แม้การที่ภิกษุเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้านในกิจที่จะ
ต้องช่วยกันทำทั้งงานสูงและงานต่ำของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ฯลฯ
สามารถทำได้ สามารถจัดได้นี้ก็เป็นลักษณะแห่งศรัทธาของผู้มีศรัทธา
๖. ภิกษุเป็นผู้ใคร่ธรรม เป็นผู้ฟังและผู้แสดงธรรมอันเป็นที่พอใจ มี
ปราโมทย์(ความบันเทิงใจ)อย่างยิ่งในอภิธรรม ในอภิวินัย แม้การที่ภิกษุ
เป็นผู้ใคร่ธรรม เป็นผู้ฟังและผู้แสดงธรรมอันเป็นที่พอใจ มีปราโมทย์
อย่างยิ่งในอภิธรรม ในอภิวินัยนี้ก็เป็นลักษณะแห่งศรัทธาของผู้มีศรัทธา
๗. ภิกษุเป็นผู้ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรมเกิด
มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย
แม้การที่ภิกษุเป็นผู้ปรารภความเพียร ฯลฯ นี้ก็เป็นลักษณะแห่งศรัทธา
ของผู้มีศรัทธา
๘. ภิกษุเป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่งซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก แม้การที่ภิกษุเป็นผู้
ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่งซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันตามความ
ปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบากนี้ก็เป็นลักษณะแห่งศรัทธา
ของผู้มีศรัทธา
๙. ภิกษุระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ๓ ชาติบ้าง
๔ ชาติบ้าง ๕ ชาติบ้าง ๑๐ ชาติบ้าง ๒๐ ชาติบ้าง ๓๐ ชาติบ้าง
๔๐ ชาติบ้าง ๕๐ ชาติบ้าง ๑๐๐ ชาติบ้าง ๑,๐๐๐ ชาติบ้าง ๑๐๐,๐๐๐
ชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอันมาก
บ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า ‘ในภพโน้น เรามี
ชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๕ ข้อ ๑๗ (ปฐมนาถสูตร) หน้า ๓๒ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๒. อนุสสติวรรค ๔. สุภูติสูตร
อย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้นก็ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้นเราก็มีชื่อ
อย่างนั้น มีตะกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์และมีอายุอย่างนั้น ๆ
จุติจากภพนั้นแล้วจึงมาเกิดในภพนี้’ เธอระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ
พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้ แม้การที่ภิกษุระลึกชาติ
ก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ฯลฯ พร้อมทั้งลักษณะ
ทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้ นี้ก็เป็นลักษณะแห่งศรัทธาของผู้มีศรัทธา
๑๐. ภิกษุเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ(เคลื่อน) กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งาม
และไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดีด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัด
ถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า ‘หมู่สัตว์ที่ประกอบกายทุจริต วจีทุจริต
และมโนทุจริต กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นผิด และชักชวนผู้อื่นให้
ทำตามความเห็นผิด พวกเขาหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ
วินิบาต นรก แต่หมู่สัตว์ที่ประกอบกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต
ไม่กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นชอบ และชักชวนผู้อื่นให้ทำตามความ
เห็นชอบ พวกเขาหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์’ เธอเห็น
หมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดี
และเกิดไม่ดีด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไป
ตามกรรมอย่างนี้แล แม้การที่ภิกษุเห็นหมู่สัตว์ ฯลฯ ด้วยตาทิพย์อัน
บริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมนี้ก็เป็นลักษณะ
แห่งศรัทธาของผู้มีศรัทธา
๑๑. ภิกษุทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะ
สิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน แม้การที่ภิกษุทำให้แจ้ง
เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไป ฯลฯ เข้าถึง
อยู่ในปัจจุบันนี้ก็เป็นลักษณะแห่งศรัทธาของผู้มีศรัทธา
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระสุภูติได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ลักษณะแห่งศรัทธาของผู้มีศรัทธาที่พระผู้มีพระภาค
ได้ตรัสแล้วนี้ มีอยู่พร้อมแก่ภิกษุนี้ และภิกษุนี้ก็เห็นลักษณะแห่งศรัทธาของผู้มี
ศรัทธาเหล่านี้ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๒. อนุสสติวรรค ๔. สุภูติสูตร
๑. ภิกษุนี้เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในพระปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วย
อาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ใน
สิกขาบททั้งหลาย
๒. ภิกษุนี้เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ฟังมากซึ่งธรรมทั้งหลาย
ที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง มีความงามในที่สุด
ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน
ทรงจำไว้ได้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ
๓. ภิกษุนี้เป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี
๔. ภิกษุนี้เป็นผู้ว่าง่าย ประกอบด้วยธรรมเป็นเครื่องทำให้เป็นผู้ว่าง่าย เป็น
ผู้อดทน รับฟังคำพร่ำสอนโดยเคารพ
๕. ภิกษุนี้เป็นผู้ขยันไม่เกียจคร้านในการงานที่จะต้องช่วยกันทำทั้งงานสูง
และงานต่ำของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่อง
พิจารณาอันเป็นอุบายในการงานที่จะต้องช่วยกันทำนั้น สามารถทำได้
สามารถจัดได้
๖. ภิกษุนี้เป็นผู้ใคร่ธรรม เป็นผู้ฟังและผู้แสดงธรรมอันเป็นที่พอใจ มี
ปราโมทย์อย่างยิ่งในอภิธรรม ในอภิวินัยอยู่
๗. ภิกษุนี้เป็นผู้ปรารภความเพียร ฯลฯ มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่น
มั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย
๘. ภิกษุนี้เป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่งซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
๙. ภิกษุนี้ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ฯลฯ
พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้
๑๐. ภิกษุนี้เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่
งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ ฯลฯ รู้ชัด
ถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๒๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๒. อนุสสติวรรค ๕. เมตตาสูตร
๑๑. ภิกษุนี้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะ
สิ้นไป ฯลฯ เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ลักษณะแห่งศรัทธาของผู้มีศรัทธาที่
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้เหล่านี้ มีอยู่พร้อมแก่ภิกษุนี้และภิกษุนี้ก็เห็น
ลักษณะแห่งศรัทธาของผู้มีศรัทธาเหล่านี้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ๆ สุภูติ ถ้าเช่นนั้น เธอพึงอยู่กับภิกษุชื่อว่ามี
ศรัทธานี้เถิด สุภูติ แต่เมื่อใด เธอหวังจะมาเยี่ยมเยือนตถาคต เมื่อนั้น เธอกับภิกษุ
ชื่อว่ามีศรัทธานี้พึงมาเยี่ยมเยือนตถาคตเถิด”
สุภูติสูตรที่ ๔ จบ

๕. เมตตาสูตร
ว่าด้วยอานิสงส์ของเมตตา
[๑๕] ภิกษุทั้งหลาย เมตตาเจโตวิมุตติที่บุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มาก
แล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว
พึงหวังได้อานิสงส์ ๑๑ ประการ
อานิสงส์ ๑๑ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. หลับเป็นสุข
๒. ตื่นเป็นสุข
๓. ไม่ฝันร้าย
๔. เป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย
๕. เป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลาย
๖. เทวดาทั้งหลายรักษา
๗. ไฟ ยาพิษ หรือศัสตรา กล้ำกรายไม่ได้
๘. จิตตั้งมั่นได้เร็ว
๙. สีหน้าสดใส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๒. อนุสสติวรรค ๖. อัฏฐกนาครสูตร
๑๐. ไม่หลงลืมสติตาย
๑๑. เมื่อยังไม่แทงตลอดคุณวิเศษอันยอดยิ่ง๑ ย่อมเข้าถึงพรหมโลก
ภิกษุทั้งหลาย เมตตาเจโตวิมุตติที่บุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว
ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว
พึงหวังได้อานิสงส์ ๑๑ ประการนี้
เมตตาสูตรที่ ๕ จบ

๖. อัฏฐกนาครสูตร
ว่าด้วยคหบดีชาวอัฏฐกนคร
[๑๖] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ เวฬุวคาม เขตกรุงเวสาลี สมัยนั้นแล
คหบดีชาวอัฏฐกนครชื่อว่าทสมะ๒ ได้เดินทางไปถึงเมืองปาตลีบุตร ด้วยกิจที่ต้องทำ
บางอย่าง
ครั้งนั้นแล ทสมคหบดีชาวอัฏฐกนคร ได้เข้าไปพบภิกษุรูปหนึ่งที่กุกกุฏาราม
จึงถามภิกษุนั้นว่า
“ท่านขอรับ เดี๋ยวนี้ ท่านพระอานนท์อยู่ที่ไหน ข้าพเจ้าต้องการจะพบท่าน”
ภิกษุตอบว่า “คหบดี ท่านพระอานนท์นี้อยู่ที่เวฬุวคาม เขตกรุงเวสาลี”
ครั้งนั้น ทสมคหบดีชาวอัฏฐกนคร ทำกิจที่ควรทำในเมืองปาตลีบุตรเสร็จแล้ว
ได้เข้าไปพบท่านพระอานนท์ที่เวฬุวคาม เขตกรุงเวสาลี อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
ได้ถามท่านพระอานนท์ว่า
“ท่านอานนท์ผู้เจริญ ธรรมอันเป็นเอกซึ่งเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิตที่ยังไม่หลุดพ้น
เป็นที่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้นไป หรือเป็นที่บรรลุธรรมเป็นแดน

เชิงอรรถ :
๑ คุณวิเศษอันยอดยิ่ง ในที่นี้หมายถึงอรหัตตผล (องฺ.เอกาทสก.อ. ๓/๑๕/๓๘๕)
๒ คหบดีที่มีชื่อว่า ทสมะ (ที่ ๑๐) เพราะถูกจัดลำดับให้อยู่ในตำแหน่งที่ ๑๐ โดยกำหนดชาติ โคตร และตระกูล
ที่มั่งคั่งเป็นเกณฑ์ (องฺ.เอกาทสก.อ. ๓/๑๖/๓๘๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๒. อนุสสติวรรค ๖. อัฏฐกนาครสูตร
เกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร
อุทิศกายและใจอยู่ ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ชอบแล้ว มีอยู่หรือไม่หนอ”
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “คหบดี ธรรมอันเป็นเอกซึ่งเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิตที่ยัง
ไม่หลุดพ้น เป็นที่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้นไป หรือเป็นที่บรรลุ
ธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับของภิกษุผู้ไม่ประมาท
มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็น
พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ชอบแล้ว มีอยู่”
ทสมคหบดีถามว่า “ท่านอานนท์ผู้เจริญ ธรรมอันเป็นเอกซึ่งเป็นที่หลุดพ้น
แห่งจิตที่ยังไม่หลุดพ้น เป็นที่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้นไป หรือ
เป็นที่บรรลุธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมโดยลำดับของภิกษุผู้ไม่ประมาท
มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ชอบแล้ว เป็นอย่างไร”
ท่านพระอานนท์ตอบว่า คหบดี
๑. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม และอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุ
ปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ ภิกษุนั้นพิจารณา
เห็นดังนี้ ย่อมรู้ชัดว่า ‘แม้แต่ปฐมฌานนี้แล ก็ถูกปรุงแต่งแล้ว สิ่งใด
สิ่งหนึ่งที่ถูกปรุงแต่งแล้ว สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา’
ภิกษุนั้นตั้งอยู่ในธรรมคือสมถะและวิปัสสนานั้นแล้ว ย่อมบรรลุความ
สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย หากยังไม่บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
ก็จะเป็นโอปปาติกะ๑ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการ๒ สิ้นไป ด้วย

เชิงอรรถ :
๑ โอปปาติกะ คือสัตว์ที่เกิดและเติบโตเต็มที่ทันที และเมื่อจุติ(ตาย)ก็หายวับไปไม่ทิ้งซากศพไว้ เช่นเทวดา
และสัตว์นรกเป็นต้น (ที.สี.อ. ๑/๑๗๑/๑๔๙) แต่ในที่นี้หมายถึงโอปปาติกะที่ละสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการ
ได้ เป็นพระอริยบุคคลชั้นอนาคามีไปเกิดในสุทธาวาส ๕ ชั้นมีชั้นอวิหาเป็นต้น แล้วดำรงภาวะอยู่ในชั้น
นั้น ๆ ปรินิพพานสิ้นกิเลสในสุทธาวาสนั่นเอง ไม่กลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีก (องฺ.เอกาทสก.อ. ๓/๑๖/๓๘๖)
๒ สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส กามฉันทะ หรือกามราคะ และ
พยาบาท หรือปฏิฆะ (องฺ.นวก.๒๓/๖๗/๓๗๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๒. อนุสสติวรรค ๖. อัฏฐกนาครสูตร
ความยินดีเพลิดเพลินในธรรม๑นั้น ๆ จักปรินิพพานในภพนั้น๒ ไม่หวน
กลับมาจากโลกนั้นอีก
คหบดี ธรรมอันเป็นเอกแม้นี้แล ซึ่งเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิตที่ยังไม่หลุดพ้น เป็น
ที่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้นไป หรือเป็นที่บรรลุธรรมเป็นแดน
เกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับ ของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร
อุทิศกายและใจอยู่ ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ชอบแล้ว
๒. เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุบรรลุทุติยฌานที่มีความผ่องใสใน
ภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น๓ ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข
อันเกิดจากสมาธิอยู่ ...
๓. เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วย
นามกาย บรรลุตติยฌาน ...
๔. เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว ภิกษุ
บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ ภิกษุ
นั้นพิจารณาเห็นดังนี้ย่อมรู้ชัดว่า ‘แม้แต่จตุตถฌานนี้แลก็ถูกปรุงแต่งแล้ว
สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ถูกปรุงแต่งแล้ว สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา’
ภิกษุนั้นตั้งอยู่ในธรรมคือสมถะและวิปัสสนานั้นแล้ว ย่อมบรรลุความสิ้น
ไปแห่งอาสวะทั้งหลาย หากยังไม่บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
ก็จะเป็นโอปปาติกะ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป ด้วยความ
ยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้น ๆ จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมา
จากโลกนั้นอีก
คหบดี ธรรมอันเป็นเอกแม้นี้แล ซึ่งเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิตที่ยังไม่หลุดพ้น เป็น
ที่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้นไป หรือเป็นที่บรรลุธรรมเป็นแดน

เชิงอรรถ :
๑ ธรรม ในที่นี้หมายถึงสมถะและวิปัสสนา (องฺ.เอกาทสก.อ. ๓/๑๖/๓๘๖)
๒ ภพนั้น ในที่นี้หมายถึงพรหมชั้นสุทธาวาส (องฺ.เอกาทสก.อ. ๓/๑๖/๓๘๖)
๓ ภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น แปลจากบาลีว่า “เจตโส เอโกทิภาวํ” คำว่า เอโกทิ เป็นชื่อของสมาธิ ทุติย-
ฌานชื่อว่า เอโกทิภาวะ เพราะทำสมาธิที่ชื่อว่าเอโกทินี้ให้เจริญขึ้น พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มีภาวะที่จิต
เป็นหนึ่งผุดขึ้น” เพราะสมาธิชื่อเอโกทินี้มีแก่จิตเท่านั้น ไม่มีแก่สัตว์ ไม่มีแก่ชีวะ (วิ.อ. ๑/๑๑/๑๔๓-๑๔๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๒. อนุสสติวรรค ๖. อัฏฐกนาครสูตร
เกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร
อุทิศกายและใจอยู่ ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ชอบแล้ว
๕. ภิกษุมีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ทิศ
เบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่าในที่ทุก
สถานด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่
มีความเบียดเบียนอยู่ ภิกษุนั้นพิจารณาเห็นดังนี้ย่อมรู้ชัดว่า ‘แม้เมตตา
เจโตวิมุตตินี้แลก็ถูกปรุงแต่งแล้ว ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ถูกปรุงแต่งแล้ว สิ่งนั้น
ไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา’ ภิกษุนั้นตั้งอยู่ในธรรมคือสมถะและ
วิปัสสนานั้นแล้ว ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย หากยังไม่
บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จะเป็นโอปปาติกะ เพราะสังโยชน์
อันเป็นส่วนเบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินใน
ธรรมนั้น ๆ จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก
คหบดี ธรรมอันเป็นเอกแม้นี้แล ซึ่งเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิตที่ยังไม่หลุดพ้น เป็น
ที่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้นไป หรือเป็นที่บรรลุธรรมเป็นแดน
เกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความ
เพียร อุทิศกายและใจอยู่ ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระ
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ชอบแล้ว
๖. ภิกษุมีกรุณาจิต ...
๗. ภิกษุมีมุทิตาจิต ...
๘. ภิกษุมีอุเบกขาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ทิศ
เบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่าในที่
ทุกสถานด้วยอุเบกขาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร
ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ภิกษุนั้นพิจารณาเห็นดังนี้ย่อมรู้ชัดว่า ‘แม้
อุเบกขาเจโตวิมุตตินี้ ก็ถูกปรุงแต่งแล้ว ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ถูกปรุงแต่งแล้ว
สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา’ ภิกษุนั้นตั้งอยู่ในธรรมคือสมถะ
และวิปัสสนานั้นแล้ว ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย หากยัง
ไม่บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จะเป็นโอปปาติกะเพราะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๒. อนุสสติวรรค ๖. อัฏฐกนาครสูตร
สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรม
นั้น ๆ จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก
คหบดี ธรรมอันเป็นเอกแม้นี้แล ซึ่งเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิตที่ยังไม่หลุดพ้น เป็น
ที่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งที่ยังไม่หมดสิ้นไป หรือเป็นที่บรรลุธรรมเป็นแดน
เกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความ
เพียร อุทิศกายและใจอยู่ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระ
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ชอบแล้ว
๙. ภิกษุบรรลุอากาสานัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า “อากาศหาที่สุดมิได้”
อยู่ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญา
โดยประการทั้งปวง ภิกษุนั้นพิจารณาเห็นดังนี้ย่อมรู้ชัดว่า ‘แม้อากาสา-
นัญจายตนฌานนี้แลก็ถูกปรุงแต่งแล้ว สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ถูกปรุงแต่งแล้ว
สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา’ ภิกษุนั้นตั้งอยู่ในธรรมนั้นแล้ว
ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย หากยังไม่บรรลุความสิ้นไป
แห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จะเป็นโอปปาติกะ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕
ประการสิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้น ๆ จักปรินิพพาน
ในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก
คหบดี ธรรมอันเป็นเอกแม้นี้แล ซึ่งเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิตที่ยังไม่หลุดพ้น เป็น
ที่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้นไป หรือเป็นที่บรรลุธรรมเป็นแดน
เกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร
อุทิศกายและใจอยู่ ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ชอบแล้ว
๑๐. ภิกษุล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
วิญญาณัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า “วิญญาณหาที่สุดมิได้” อยู่ ฯลฯ
๑๑. ภิกษุล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวงบรรลุอากิญจัญญาย
ตนฌานโดยกำหนดว่า “ไม่มีอะไร” อยู่ ภิกษุนั้นพิจารณาเห็นดังนี้ย่อมรู้
ชัดว่า ‘แม้อากิญจัญญายตนฌานนี้แลก็ถูกปรุงแต่งแล้ว ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่
ถูกปรุงแต่งแล้ว สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา’ ภิกษุนั้นตั้งอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๒. อนุสสติวรรค ๖. อัฏฐกนาครสูตร
ในธรรมนั้นแล้ว ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย หากยังไม่
บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จะเป็นโอปปาติกะ เพราะสังโยชน์
เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้น ๆ จัก
ปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก
คหบดี ธรรมอันเป็นเอกแม้นี้แล ซึ่งเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิตที่ยังไม่หลุดพ้น เป็น
ที่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้นไป หรือเป็นที่บรรลุธรรมเป็นแดน
เกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร
อุทิศกายและใจอยู่ ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ชอบแล้ว
เมื่อท่านพระอานนท์กล่าวอย่างนี้แล้ว ทสมคหบดีชาวอัฏฐกนครจึงกล่าวว่า
“ท่านอานนท์ผู้เจริญ ข้าพเจ้า เมื่อแสวงหาประตูอมตธรรมประตูเดียว ได้รับ
ประตูอมตธรรม ๑๑ ประตูคราวเดียวกัน เปรียบเหมือนบุรุษแสวงหาแหล่งขุมทรัพย์
ขุมเดียว พึงพบขุมทรัพย์ ๑๑ ขุมคราวเดียวกัน
ข้าพเจ้า จักสามารถทำตนให้ปลอดภัยได้โดยประตูอมตธรรม ๑๑ ประตูนี้
ประตูใดประตูหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษมีเรือน ๑๑ ประตู เมื่อเรือนนั้นถูกไฟไหม้
บุรุษนั้นสามารถทำตนให้ปลอดภัยได้โดยประตูใดประตูหนึ่ง
ท่านผู้เจริญ ธรรมดาอัญเดียรถีย์เหล่านี้ จักแสวงหาทรัพย์บูชาอาจารย์เพื่อ
อาจารย์ ส่วนข้าพเจ้าจักไม่ทำการบูชาท่านอานนท์ได้อย่างไร”
ครั้งนั้นแล ทสมคหบดีชาวอัฏฐกนครนิมนต์ภิกษุสงฆ์ชาวกรุงเวสาลีและกรุง
ปาตลีบุตรให้ประชุมกันแล้ว อังคาส๑ภิกษุสงฆ์นั้นให้อิ่มหนำสำราญด้วยของเคี้ยว
ของฉันอันประณีต ด้วยมือตนเอง นิมนต์ภิกษุให้ครองผ้ารูปละคู่ ให้ท่านพระอานนท์
ครองไตรจีวร และได้สร้างวิหาร ๕๐๐ หลังถวายท่านพระอานนท์
อัฏฐกนาครสูตรที่ ๖ จบ

เชิงอรรถ :
๑ อังคาส เป็นคำภาษาเขมรที่นำมาใช้เป็นคำกริยาในภาษาไทย หมายถึง ถวายอาหารพระ, เลี้ยงพระ
(พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๒๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๒. อนุสสติวรรค ๗. โคปาลสูตร
๗. โคปาลสูตร
ว่าด้วยองค์ประกอบของผู้เลี้ยงโค
[๑๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย นายโคบาลประกอบด้วยองค์
๑๑ ประการ เป็นผู้ไม่สามารถเลี้ยงฝูงโคให้เจริญ ให้เพิ่มขึ้นได้
องค์ ๑๑ ประการ อะไรบ้าง คือ
นายโคบาลในโลกนี้

๑. ไม่รู้รูปโค ๒. ไม่ฉลาดในลักษณะโค
๓. ไม่กำจัดไข่ขาง ๔. ไม่ปกปิดแผล
๕. ไม่สุมไฟ ๖. ไม่รู้ท่าน้ำ
๗. ไม่รู้ว่าโคดื่มน้ำแล้ว ๘. ไม่รู้ทาง
๙. ไม่ฉลาดในที่หากิน ๑๐. รีดนมไม่ให้เหลือ

๑๑. ไม่บูชาโคผู้๑ทั้งหลายที่เป็นพ่อโค เป็นจ่าฝูง ด้วยการบูชาอย่างยิ่ง
ภิกษุทั้งหลาย นายโคบาลประกอบด้วยองค์ ๑๑ ประการนี้แล เป็นผู้ไม่
สามารถจะเลี้ยงฝูงโคให้เจริญ ให้เพิ่มขึ้นได้ ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๑๑ ประการก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้
ไม่สามารถถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมวินัยได้
ธรรม ๑๑ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑. ไม่รู้รูป ๒. ไม่ฉลาดในลักษณะ
๓. ไม่กำจัดไข่ขาง ๔. ไม่ปกปิดแผล
๕. ไม่สุมไฟ ๖. ไม่รู้ท่าน้ำ
๗. ไม่รู้ธรรมที่ดื่มแล้ว ๘. ไม่รู้ทาง


เชิงอรรถ :
๑ ไม่บูชาโคผู้ หมายถึงไม่ให้อาหารอย่างดี ไม่ประดับด้วยของหอม ไม่คล้องพวงมาลัย ไม่สวมปลอกเงิน
ปลอกทองที่เขาของโคจ่าฝูง และในเวลากลางคืน ก็ไม่ติดไฟแล้วให้นอนใต้เพดานผ้า โคจ่าฝูงเมื่อไม่ได้รับ
การเอาใจใส่เช่นนั้น จึงไม่รักษา ไม่ป้องกันอันตรายให้แก่ฝูงโค (องฺ.เอกาทสก.อ. ๓/๑๗/๓๙๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๓๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๒. อนุสสติวรรค ๗. โคปาลสูตร
๙. ไม่ฉลาดในโคจร ๑๐. รีดนมไม่ให้เหลือ
๑๑. ไม่บูชาภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระ เป็นรัตตัญญู เป็นผู้บวชนาน เป็น
สังฆบิดร เป็นสังฆปริณายก ด้วยการบูชาอย่างยิ่ง
ภิกษุไม่รู้รูป เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไม่รู้ชัดรูปอย่างใดอย่างหนึ่งตามความเป็นจริงว่า ‘มหา-
ภูตรูป ๔ และอุปาทายรูป ๔’ ภิกษุเป็นผู้ไม่รู้รูป เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุไม่ฉลาดในลักษณะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘คนพาลมีกรรมเป็น
ลักษณะ บัณฑิตมีกรรมเป็นลักษณะ’ ภิกษุไม่ฉลาดในลักษณะ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุไม่กำจัดไข่ขาง เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รับกามวิตกที่เกิดขึ้น ไม่ละ ไม่บรรเทา ไม่ทำให้สิ้นสุด
ไม่ทำให้ถึงความเกิดขึ้นไม่ได้อีกต่อไป รับพยาบาทวิตกที่เกิดขึ้น ... รับวิหิงสาวิตกที่
เกิดขึ้น ... รับบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเกิดขึ้นอีก ไม่ละ ไม่บรรเทา ไม่ทำให้
สิ้นสุด ไม่ทำให้ถึงความเกิดขึ้นไม่ได้อีกต่อไป ภิกษุไม่กำจัดไข่ขาง เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุไม่ปกปิดแผล เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปทางตาแล้วรวบถือ แยกถือ๑ ไม่ปฏิบัติเพื่อ
สำรวมในจักขุนทรีย์ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้ถูกบาปอกุศลธรรมคืออภิชฌา
และโทมนัสครอบงำได้ ไม่รักษาจักขุนทรีย์ ไม่ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียง
ทางหู ... ดมกลิ่นทางจมูก ... ลิ้มรสทางลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ... รู้แจ้ง
ธรรมารมณ์ทางใจแล้วรวบถือ แยกถือ ไม่ปฏิบัติเพื่อสำรวมในมนินทรีย์ซึ่งเมื่อไม่
สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้ถูกบาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ไม่
รักษามนินทรีย์ ไม่ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ภิกษุไม่ปกปิดแผล เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุไม่สุมไฟ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไม่แสดงธรรมตามที่ฟังมาแล้ว ตามที่เล่าเรียนมาแล้ว
แก่คนอื่น ๆ โดยพิสดาร ภิกษุไม่สุมไฟ เป็นอย่างนี้แล

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑,๒ ข้อ ๙๙ (อุปาลิสูตร) หน้า ๒๓๖ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๒. อนุสสติวรรค ๗. โคปาลสูตร
ภิกษุไม่รู้ท่าน้ำ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าไปหาภิกษุผู้เป็นพหูสูต ผู้เรียนจบคัมภีร์๑ ทรงธรรม
ทรงวินัย ทรงมาติกาตามเวลาสมควร ไม่สอบสวนไต่ถามว่า “พุทธพจน์นี้เป็นอย่างไร
เนื้อความแห่งพุทธพจน์นี้เป็นอย่างไร” ท่านผู้คงแก่เรียนเหล่านั้นไม่เปิดเผยธรรมที่
ยังไม่ได้เปิดเผย ไม่ทำให้ง่ายซึ่งธรรมที่ยังไม่ทำให้ง่าย และไม่บรรเทาความสงสัยใน
ธรรมที่น่าสงสัยหลายอย่างแก่ภิกษุนั้น ภิกษุไม่รู้ท่าน้ำ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุไม่รู้ธรรมที่ดื่มแล้ว เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไม่ได้ความปลาบปลื้มอิงอรรถ ไม่ได้ความปลาบปลื้ม
อิงธรรม ไม่ได้ปราโมทย์ที่ประกอบด้วยธรรมในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้วซึ่งผู้
อื่นแสดงอยู่ ภิกษุไม่รู้ธรรมที่ดื่มแล้ว เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุไม่รู้ทาง เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไม่รู้อริยมรรคมีองค์ ๘ ตามความเป็นจริง ภิกษุไม่
รู้ทาง เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุไม่ฉลาดในโคจร เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไม่รู้สติปัฏฐาน ๔ ตามความเป็นจริง๒ ภิกษุไม่ฉลาด
ในโคจร เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุรีดนมไม่ให้เหลือ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไม่รู้จักประมาณเพื่อจะรับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
คิลานปัจจัยเภสัชชบริขารที่พวกคหบดีผู้มีศรัทธาปวารณานำไปถวายเฉพาะ ภิกษุ
รีดนมไม่ให้เหลือ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุไม่บูชาเหล่าภิกษุผู้เป็นเถระ เป็นรัตตัญญู เป็นผู้บวชนาน เป็น
สังฆบิดร เป็นสังฆปริณายก ด้วยการบูชาอย่างยิ่ง เป็นอย่างไร

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๔ ข้อ ๑๑ (เสนาสนสูตร) ทสกนิบาต หน้า ๑๘ ในเล่มนี้
๒ ไม่รู้สติปัฏฐาน ๔ ตามความเป็นจริง ในที่นี้หมายถึงไม่รู้ว่า ‘สติปัฏฐานอย่างไหนเป็นโลกิยะ อย่างไหน
เป็นโลกุตตระ’ เมื่อไม่รู้ก็จะน้อมญาณของตนเข้าไปในฐานที่ละเอียด แล้วปักใจอยู่ในสติปัฏฐานที่เป็น
โลกิยะเท่านั้น จึงไม่สามารถให้สติปัฏฐานส่วนที่เป็นโลกุตตระเกิดขึ้นได้ (องฺ.เอกาทสก.อ. ๓/๑๗/๓๙๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๒. อนุสสติวรรค ๗. โคปาลสูตร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไม่เข้าไปตั้งเมตตากายกรรม เมตตาวจีกรรม เมตตา
มโนกรรมทั้งต่อหน้าและลับหลังในเหล่าภิกษุผู้เป็นเถระ เป็นรัตตัญญู เป็นผู้บวชนาน
เป็นสังฆบิดร เป็นสังฆปริณายก ภิกษุไม่บูชาเหล่าภิกษุผู้เป็นเถระ เป็นรัตตัญญู เป็น
ผู้บวชนาน เป็นสังฆบิดร เป็นสังฆปริณายก ด้วยการบูชาอย่างยิ่ง เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๑ ประการนี้แล เป็นผู้ไม่สามารถ
ถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมวินัยได้
นายโคบาลประกอบด้วยองค์ ๑๑ ประการ เป็นผู้สามารถจะเลี้ยงฝูงโคให้เจริญ
ให้เพิ่มขึ้นได้
องค์ ๑๑ ประการ อะไรบ้าง คือ
นายโคบาลในโลกนี้

๑. รู้รูปโค ๒. ฉลาดในลักษณะโค
๓. กำจัดไข่ขาง ๔. ปกปิดแผล
๕. สุมไฟ ๖. รู้ท่าน้ำ
๗. รู้ว่าโคดื่มน้ำแล้ว ๘. รู้ทาง
๙. ฉลาดในที่หากิน ๑๐. รีดนมให้เหลือ

๑๑. บูชาโคผู้ทั้งหลายที่เป็นพ่อโค เป็นจ่าฝูง ด้วยการบูชาอย่างยิ่ง
ภิกษุทั้งหลาย นายโคบาลประกอบด้วยองค์ ๑๑ ประการนี้แล จึงเป็นผู้
สามารถจะเลี้ยงฝูงโคให้เจริญ ให้เพิ่มขึ้นได้ ฉันใด
ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๑๑ ประการ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้สามารถถึง
ความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้ได้
ธรรม ๑๑ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑. รู้รูป ๒. ฉลาดในลักษณะ
๓. กำจัดไข่ขาง ๔. ปกปิดแผล
๕. สุมไฟ ๖. รู้ท่าน้ำ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๒. อนุสสติวรรค ๗. โคปาลสูตร
๗. รู้ธรรมที่ดื่มแล้ว ๘. รู้ทาง
๙. ฉลาดในโคจร ๑๐. รีดนมให้เหลือ
๑๑. บูชาภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระ เป็นรัตตัญญู เป็นผู้บวชนาน เป็น
สังฆบิดร เป็นสังฆปริณายก ด้วยการบูชาอย่างยิ่ง
ภิกษุรู้รูป เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ชัดรูปอย่างใดอย่างหนึ่งตามความเป็นจริงว่า ‘มหา-
ภูตรูป ๔ และอุปาทายรูป ๔’ ภิกษุรู้รูปเป็นอย่างนี้แล
ภิกษุฉลาดในลักษณะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘คนพาลมีกรรมเป็นลักษณะ
บัณฑิตมีกรรมเป็นลักษณะ’ ภิกษุฉลาดในลักษณะ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุกำจัดไข่ขาง เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไม่รับกามวิตกที่เกิดขึ้น ละ บรรเทา ทำให้สิ้นสุด
ทำให้ถึงความเกิดขึ้นไม่ได้อีกต่อไป ไม่รับพยาบาทวิตกที่เกิดขึ้น ... ไม่รับวิหิงสาวิตก
ที่เกิดขึ้น ... ไม่รับบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเกิดขึ้นอีก ละ บรรเทา ทำให้สิ้นสุด
ทำให้ถึงความเกิดขึ้นไม่ได้อีกต่อไป ภิกษุกำจัดไข่ขาง เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุปกปิดแผล เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปทางตาแล้วไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ปฏิบัติเพื่อ
สำรวมในจักขุนทรีย์ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้ถูกบาปอกุศลธรรมคือ
อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จึงรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์
ฟังเสียงทางหู ... ดมกลิ่นทางจมูก ... ลิ้มรสทางลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ...
รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้วไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ปฏิบัติเพื่อสำรวมในมนินทรีย์ซึ่ง
เมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้บาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้
จึงรักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ภิกษุปกปิดแผล เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุสุมไฟ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้แสดงธรรมตามที่ฟังมาแล้ว ตามที่เล่าเรียนมาแล้วแก่
คนอื่น ๆ โดยพิสดาร ภิกษุสุมไฟ เป็นอย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๒. อนุสสติวรรค ๗. โคปาลสูตร
ภิกษุรู้ท่าน้ำ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าไปหาภิกษุทั้งหลายผู้เป็นพหูสูต ผู้เรียนจบคัมภีร์
ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกาตามเวลาสมควร สอบสวนไต่ถามว่า “พุทธพจน์นี้
เป็นอย่างไร เนื้อความแห่งพุทธพจน์นี้เป็นอย่างไร” ท่านผู้คงแก่เรียนเหล่านั้นย่อม
เปิดเผยธรรมที่ยังไม่ได้เปิดเผย ทำให้ง่ายซึ่งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้ง่าย และบรรเทา
ความสงสัยในธรรมที่น่าสงสัยหลายอย่างแก่ภิกษุนั้น ภิกษุรู้ท่าน้ำ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุรู้ธรรมที่ดื่มแล้ว เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้ความปลาบปลื้มอิงอรรถ ได้ความปลาบปลื้มอิงธรรม
ได้ปราโมทย์ที่ประกอบด้วยธรรมในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้วซึ่งผู้อื่นแสดงอยู่
ภิกษุรู้ธรรมที่ดื่มแล้ว เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุรู้ทาง เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้อริยมรรคมีองค์ ๘ ตามความเป็นจริง ภิกษุรู้ทาง
เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุฉลาดในโคจร เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้สติปัฏฐาน ๔ ตามความเป็นจริง ภิกษุฉลาดในโคจร
เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุรีดนมให้เหลือ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้จักประมาณเพื่อจะรับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
คิลานปัจจัยเภสัชชบริขารที่พวกคหบดีผู้มีศรัทธาปวารณานำไปถวายเฉพาะ ภิกษุ
รีดนมให้เหลือ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุเป็นผู้บูชาภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระ เป็นรัตตัญญู เป็นผู้บวชนาน เป็น
สังฆบิดร เป็นสังฆปริณายก ด้วยการบูชาอย่างยิ่ง เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าไปตั้งเมตตากายกรรม เมตตาวจีกรรม เมตตามโน-
กรรมทั้งต่อหน้าและลับหลังในเหล่าภิกษุผู้เป็นเถระ เป็นรัตตัญญู เป็นผู้บวชนาน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๓๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๒. อนุสสติวรรค ๘. ปฐมสมาธิสูตร
เป็นสังฆบิดร เป็นสังฆปริณายก ภิกษุบูชาภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระ เป็นรัตตัญญู
เป็นผู้บวชนาน เป็นสังฆบิดร เป็นสังฆปริณายก ด้วยการบูชาอย่างยิ่ง เป็น
อย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๑๑ ประการนี้แล เป็นผู้สามารถถึง
ความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้
โคปาลสูตรที่ ๗ จบ

๘. ปฐมสมาธิสูตร
ว่าด้วยการได้สมาธิของภิกษุ สูตรที่ ๑
[๑๘] ครั้งนั้นแล ภิกษุหลายรูปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีได้หรือหนอ การที่ภิกษุได้สมาธิโดยไม่ต้องมีสัญญา
ในธาตุดินว่าเป็นธาตุดิน ในธาตุน้ำว่าเป็นธาตุน้ำ ในธาตุไฟว่าเป็นธาตุไฟ ในธาตุลม
ว่าเป็นธาตุลม ในอากาสานัญจายตนฌานว่าเป็นอากาสานัญจายตนฌาน ใน
วิญญาณัญจายตนฌานว่าเป็นวิญญาณัญจายตนฌาน ในอากิญจัญญายตนฌานว่า
เป็นอากิญจัญญายตนฌาน ในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานว่าเป็นเนวสัญญานา-
สัญญายตนฌาน ในโลกนี้ว่าเป็นโลกนี้ ในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้า ไม่ต้องมีสัญญา
แม้ในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา
ที่ตรองตามด้วยใจ แต่ต้องมีสัญญา”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุทั้งหลาย มีได้ การที่ภิกษุได้สมาธิโดยไม่
ต้องมีสัญญาในธาตุดินว่าเป็นธาตุดิน ฯลฯ ไม่ต้องมีสัญญา แม้ในรูปที่ได้เห็น เสียง
ที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา ที่ตรองตามด้วยใจ
แต่ต้องมีสัญญา”
ภิกษุทั้งหลายทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีได้อย่างไร การที่ภิกษุได้
สมาธิโดยไม่ต้องมีสัญญาในธาตุดินว่าเป็นธาตุดิน ฯลฯ ไม่ต้องมีสัญญาแม้ในรูป
ที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา
ที่ตรองตามด้วยใจ แต่ต้องมีสัญญา”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๓๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๒. อนุสสติวรรค ๙. ทุติยสมาธิสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มี
สัญญาอย่างนี้ว่า ‘ภาวะที่สงบ ประณีต คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความ
สละคืนอุปธิกิเลสทั้งปวง ความสิ้นไปแห่งตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ
นิพพาน ภิกษุทั้งหลาย มีได้อย่างนี้แล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยไม่ต้องมีสัญญา
ในธาตุดินว่าเป็นธาตุดิน ในธาตุน้ำว่าเป็นธาตุน้ำ ในธาตุไฟว่าเป็นธาตุไฟ ใน
ธาตุลมว่าเป็นธาตุลม ในอากาสานัญจายตนฌานว่าเป็นอากาสานัญจายตนฌาน
ในวิญญาณัญจายตนฌานว่าเป็นวิญญาณัญจายตนฌาน ในอากิญจัญญายตนฌาน
ว่าเป็นอากิญจัญญายตนฌาน ในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานว่าเป็นเนวสัญญานา-
สัญญายตนฌาน ในโลกนี้ว่า เป็นโลกนี้ ในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้า ไม่ต้องมีสัญญา
แม้ในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา
ที่ตรองตามด้วยใจ แต่ต้องมีสัญญา”
ปฐมสมาธิสูตรที่ ๘ จบ

๙. ทุติยสมาธิสูตร
ว่าด้วยการได้สมาธิของภิกษุ สูตรที่ ๒
[๑๙] ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย มีได้หรือหนอ การที่ภิกษุได้สมาธิโดยไม่ต้องมีสัญญา
ในธาตุดินว่าเป็นธาตุดิน ในธาตุน้ำว่าเป็นธาตุน้ำ ในธาตุไฟว่าเป็นธาตุไฟ ในธาตุลม
ว่าเป็นธาตุลม ในอากาสานัญจายตนฌานว่าเป็นอากาสานัญจายตนฌาน ใน
วิญญาณัญจายตนฌานว่าเป็นวิญญาณัญจายตนฌาน ในอากิญจัญญายตนฌานว่า
เป็นอากิญจัญญายตนฌาน ในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานว่าเป็นเนวสัญญานา-
สัญญายตนฌาน ในโลกนี้ว่าเป็นโลกนี้ ในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้า ไม่ต้องมีสัญญา
แม้ในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา
ที่ตรองตามด้วยใจ แต่ต้องมีสัญญา”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลายของข้าพระ
องค์ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก เป็นผู้นำ เป็นที่พึ่ง ขอประทานวโรกาส


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๓๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๒. อนุสสติวรรค ๙. ทุติยสมาธิสูตร
เฉพาะพระผู้มีพระภาคเท่านั้นที่จะทรงอธิบายเนื้อความแห่งภาษิตนี้ให้แจ่มแจ้งได้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุทั้งหลายได้ฟังจากพระผู้มีพระภาคแล้วจักทรงจำไว้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจ
ให้ดี เราจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้
ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย มีได้ การที่ภิกษุได้สมาธิโดยไม่ต้องมีสัญญาในธาตุดินว่าเป็น
ธาตุดิน ฯลฯ ไม่ต้องมีสัญญาแม้ในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ
ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา ที่ตรองตามด้วยใจ แต่ต้องมีสัญญา”
ภิกษุทั้งหลายทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีได้อย่างไร การที่ภิกษุได้
สมาธิโดยไม่ต้องมีสัญญาในธาตุดินว่าเป็นธาตุดิน ฯลฯ ไม่ต้องมีสัญญาแม้ในรูปที่
ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา ที่ตรอง
ตามด้วยใจ แต่ต้องมีสัญญา”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มี
สัญญาอย่างนี้ว่า ภาวะที่สงบ ประณีต คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืน
อุปธิกิเลสทั้งปวง ความสิ้นไปแห่งตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน
ภิกษุทั้งหลาย มีได้อย่างนี้แล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยไม่ต้องมีสัญญาในธาตุดินว่า
เป็นธาตุดิน ในธาตุน้ำว่าเป็นธาตุน้ำ ในธาตุไฟว่าเป็นธาตุไฟ ในธาตุลมว่าเป็นธาตุลม
ในอากาสานัญจายตนฌานว่าเป็นอากาสานัญจายตนฌาน ในวิญญาณัญจายตน-
ฌานว่าเป็นวิญญาณัญจายตนฌาน ในอากิญจัญญายตนฌานว่าเป็นอากิญจัญญายตน-
ฌาน ในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานว่าเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ในโลก
นี้ว่าเป็นโลกนี้ ในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้า ไม่ต้องมีสัญญา แม้ในรูปที่ได้เห็น เสียงที่
ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา ที่ตรองตามด้วยใจ
แต่ต้องมีสัญญา”
ทุติยสมาธิสูตรที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๒. อนุสสติวรรค ๑๐. ตติยสมาธิสูตร
๑๐. ตติยสมาธิสูตร
ว่าด้วยการได้สมาธิของภิกษุ สูตรที่ ๓
[๒๐] ครั้งนั้น ภิกษุหลายรูปเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้สนทนา
ปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้เรียนถาม
ท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า
“ท่านสารีบุตร มีได้หรือหนอ การที่ภิกษุได้สมาธิโดยไม่ต้องมีสัญญาในธาตุ
ดินว่าเป็นธาตุดิน ในธาตุน้ำว่าเป็นธาตุน้ำ ในธาตุไฟว่าเป็นธาตุไฟ ในธาตุลมว่า
เป็นธาตุลม ในอากาสานัญจายตนฌานว่าเป็นอากาสานัญจายตนฌาน ใน
วิญญาณัญจายตนฌานว่าเป็นวิญญาณัญจายตนฌาน ในอากิญจัญญายตนฌานว่า
เป็นอากิญจัญญายตนฌาน ในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานว่าเป็นเนวสัญญานา-
สัญญายตนฌาน ในโลกนี้ว่าเป็นโลกนี้ ในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้า ไม่ต้องมีสัญญา
แม้ในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง
ที่แสวงหา ที่ตรองตามด้วยใจ แต่ต้องมีสัญญา”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย มีได้ การที่ภิกษุได้สมาธิโดย
ไม่ต้องมีสัญญาในธาตุดินว่าเป็นธาตุดิน ฯลฯ ไม่ต้องมีสัญญาแม้ในรูปที่ได้เห็น
เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา ที่ตรองตาม
ด้วยใจ แต่ต้องมีสัญญา”
ภิกษุทั้งหลายเรียนถามว่า “ท่านสารีบุตร มีได้อย่างไร การที่ภิกษุได้สมาธิโดย
ไม่ต้องสัญญาในธาตุดินว่าเป็นธาตุดิน ฯลฯ ไม่ต้องมีสัญญา แม้ในรูปที่ได้เห็น เสียง
ที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา ที่ตรองตามด้วยใจ
แต่ต้องมีสัญญา”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีสัญญา
อย่างนี้ว่า ภาวะที่สงบ ประณีต คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิกิเลส


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๔๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๒. อนุสสติวรรค ๑๑. จตุตถสมาธิสูตร
ทั้งปวง ความสิ้นไปแห่งตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน ผู้มีอายุ
ทั้งหลาย มีได้อย่างนี้แล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยไม่ต้องมีสัญญาในธาตุดินว่าเป็น
ธาตุดิน ในน้ำธาตุว่าเป็นธาตุน้ำ ในธาตุไฟว่าเป็นธาตุไฟ ในธาตุลมว่าเป็นธาตุลม
ในอากาสานัญจายตนฌานว่าเป็นอากาสานัญจายตนฌาน ในวิญญาณัญจายตนฌาน
ว่าเป็นวิญญาณัญจายตนฌาน ในอากิญจัญญายตนฌานว่าเป็นอากิญจัญญายตน-
ฌาน ในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานว่าเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ในโลก
นี้ว่าเป็นโลกนี้ ในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้า ไม่ต้องมีสัญญาแม้ในรูปที่ได้เห็น เสียงที่
ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา ที่ตรองตามด้วยใจ
แต่ต้องมีสัญญา”
ตติยสมาธิสูตรที่ ๑๐ จบ

๑๑. จตุตถสมาธิสูตร
ว่าด้วยการได้สมาธิของภิกษุ สูตรที่ ๔
[๒๑] ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า “ผู้มีอายุ
ทั้งหลาย มีได้หรือหนอ การที่ภิกษุได้สมาธิโดยไม่ต้องมีสัญญาในธาตุดินว่าเป็นธาตุ
ดิน ในธาตุน้ำว่าเป็นธาตุน้ำ ในธาตุไฟว่าเป็นธาตุไฟ ในธาตุลมว่าเป็นธาตุลม ใน
อากาสานัญจายตนฌานว่าเป็นอากาสานัญจายตนฌาน ในวิญญาณัญจายตนฌาน
ว่าเป็นวิญญาณัญจายตนฌาน ในอากิญจัญญายตนฌานว่าเป็นอากิญจัญญายตน-
ฌาน ในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานว่าเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ในโลก
นี้ว่าเป็นโลกนี้ ในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้า ไม่ต้องมีสัญญาแม้ในรูปที่ได้เห็น เสียงที่
ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา ที่ตรองตามด้วยใจ
แต่ต้องมีสัญญา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๔๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๒. อนุสสติวรรค ๑๑. จตุตถสมาธิสูตร
ภิกษุเหล่านั้นกล่าวว่า “ท่านผู้มีอายุ กระผมทั้งหลายมาแต่ที่ไกลเพื่อจะรู้เนื้อ
ความแห่งภาษิตนี้ในสำนักของท่านสารีบุตร เฉพาะท่านสารีบุตรเท่านั้นที่จะอธิบาย
เนื้อความแห่งภาษิตนี้ให้แจ่มแจ้งได้ ภิกษุทั้งหลายได้ฟังจากท่านสารีบุตรแล้วจัก
ทรงจำไว้”
ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น ขอท่านทั้งหลายจงฟัง
จงใส่ใจให้ดี ผมจักกล่าว”
ภิกษุเหล่านั้นกล่าวรับคำแล้ว ท่านพระสารีบุตรจึงได้กล่าวเรื่องนี้ว่า
“ผู้มีอายุทั้งหลาย มีได้ การที่ภิกษุได้สมาธิโดยไม่ต้องมีสัญญาในธาตุดินว่า
เป็นธาตุดิน ฯลฯ ไม่ต้องมีสัญญาแม้ในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ
ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา ที่ตรองตามด้วยใจ แต่ต้องมีสัญญา”
ภิกษุทั้งหลายเรียนถามว่า “ท่านสารีบุตร มีได้อย่างไร การที่ภิกษุได้สมาธิโดย
ไม่ต้องมีสัญญาในธาตุดินว่าเป็นธาตุดิน ฯลฯ ไม่ต้องมีสัญญา แม้ในรูปที่ได้เห็น
เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา ที่ตรองตามด้วยใจ
แต่ต้องมีสัญญา”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีสัญญา
อย่างนี้ว่า ภาวะที่สงบ ประณีต คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืน
อุปธิกิเลสทั้งปวง ความสิ้นไปแห่งตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน
ผู้มีอายุทั้งหลาย มีได้อย่างนี้แล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยไม่ต้องมีสัญญาในธาตุดินว่า
เป็นธาตุดิน ในธาตุน้ำว่าเป็นธาตุน้ำ ในธาตุไฟว่าเป็นธาตุไฟ ในธาตุลมว่าเป็นธาตุลม
ในอากาสานัญจายตนฌานว่าเป็นอากาสานัญจายตนฌาน ในวิญญาณัญจายตนฌาน
ว่าเป็นวิญญาณัญจายตนฌาน ในอากิญจัญญายตนฌานว่าเป็นอากิญจัญญายตนฌาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๔๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๒. อนุสสติวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานว่าเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ในโลกนี้ว่า
เป็นโลกนี้ ในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้า ไม่ต้องมีสัญญาแม้ในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง
อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา ที่ตรองตามด้วยใจ แต่ต้องมี
สัญญา”
จตุตถสมาธิสูตรที่ ๑๑ จบ
อนุสสติวรรคที่ ๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมมหานามสูตร ๒. ทุติยมหานามสูตร
๓. นันทิยสูตร ๔. สุภูติสูตร
๕. เมตตาสูตร ๖. อัฏฐกนาครสูตร
๗. โคปาลสูตร ๘. ปฐมสมาธิสูตร
๙. ทุติยสมาธิสูตร ๑๐. ตติยสมาธิสูตร
๑๑. จตุตถสมาธิสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๔๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๓. สามัญญวรรค
๓. สามัญญวรรค
หมวดว่าด้วยสามัญญลักษณะ
[๒๒-๒๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย นายโคบาลประกอบด้วย
องค์ ๑๑ ประการ เป็นผู้ไม่สามารถเลี้ยงฝูงโคให้เจริญ ให้เพิ่มขึ้นได้
องค์ ๑๑ ประการ อะไรบ้าง คือ
นายโคบาลในโลกนี้

๑. ไม่รู้รูปโค ๒. ไม่ฉลาดในลักษณะโค
๓. ไม่กำจัดไข่ขาง ๔. ไม่ปกปิดแผล
๕. ไม่สุมไฟ ๖. ไม่รู้ท่าน้ำ
๗. ไม่รู้ว่าโคดื่มน้ำแล้ว ๘. ไม่รู้ทาง
๙. ไม่ฉลาดในที่หากิน ๑๐. รีดนมไม่ให้เหลือ

๑๑. ไม่บูชาโคผู้ทั้งหลายที่เป็นพ่อโค เป็นจ่าฝูง ด้วยการบูชาอย่างยิ่ง
ภิกษุทั้งหลาย นายโคบาลประกอบด้วยองค์ ๑๑ ประการนี้แล เป็นผู้ไม่
สามารถเลี้ยงฝูงโคให้เจริญ ให้เพิ่มขึ้นได้ ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๑๑ ประการก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้
ไม่สามารถพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในจักษุ
ธรรม ๑๑ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑. ไม่รู้รูป ๒. ไม่ฉลาดในลักษณะ
๓. ไม่กำจัดไข่ขาง ๔. ไม่ปกปิดแผล
๕. ไม่สุมไฟ ๖. ไม่รู้ท่าน้ำ
๗. ไม่รู้ธรรมที่ดื่มแล้ว ๘. ไม่รู้ทาง
๙. ไม่ฉลาดในโคจร ๑๐. รีดนมไม่ให้เหลือ

๑๑. ไม่บูชาภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระ เป็นรัตตัญญู เป็นผู้บวชนาน เป็น
สังฆบิดร เป็นสังฆปริณายก ด้วยการบูชาอย่างยิ่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๔. ราคเปยยาล
... ไม่สามารถพิจารณาเห็นความเป็นทุกข์ในจักษุ
... ไม่สามารถพิจารณาเห็นความเป็นอนัตตาในจักษุ
... ไม่สามารถพิจารณาเห็นความสิ้นไปในจักษุ
... ไม่สามารถพิจารณาเห็นความเสื่อมไปในจักษุ
... ไม่สามารถพิจารณาเห็นความคลายไปในจักษุ
... ไม่สามารถพิจารณาเห็นความดับไปในจักษุ
... ไม่สามารถพิจารณาเห็นความสละคืนในจักษุ (๑-๘)
[๓๐ - ๖๙] ... ไม่สามารถพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในโสตะ
... ไม่สามารถพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในฆานะ
... ไม่สามารถพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในชิวหา
... ไม่สามารถพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในกาย
... ไม่สามารถพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในใจ ... (๙-๔๘)
[๗๐-๑๑๗] ... ในรูป ... ในเสียง ... ในกลิ่น ... ในรส ... ในโผฏฐัพพะ ...
ในธรรมารมณ์ ... (๔๙-๙๖)
[๑๑๘-๑๖๕] ... ในจักขุวิญญาณ .... ในโสตวิญญาณ ... ในฆานวิญญาณ ...
ในชิวหาวิญญาณ ... ในกายวิญญาณ ... ในมโนวิญญาณ ... (๙๗-๑๔๔)
[๑๖๖-๒๑๓] ... ในจักขุสัมผัส ... ในโสตสัมผัส ... ในฆานสัมผัส ... ในชิวหา-
สัมผัส ... ในกายสัมผัส ... ในมโนสัมผัส ... (๑๔๕-๑๙๒)
[๒๑๔-๒๖๑] ... ในเวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ... ในเวทนาที่เกิดแต่โสต-
สัมผัส ... ในเวทนาที่เกิดแต่ฆานสัมผัส ... ในเวทนาที่เกิดแต่ชิวหาสัมผัส ... ในเวทนา
ที่เกิดแต่กายสัมผัส ... ในเวทนาที่เกิดแต่มโนสัมผัส ... (๑๙๓-๒๔๐)
[๒๖๒-๓๐๙] ... ในรูปสัญญา ... ในสัททสัญญา ... ในคันธสัญญา ... ใน
รสสัญญา ... ในโผฏฐัพพสัญญา ... ในธัมมสัญญา ... (๒๔๑-๒๘๘)
[๓๑๐-๓๕๗] ... ในรูปสัญเจตนา ... ในสัททสัญเจตนา ... ในคันธสัญเจตนา ...
ในรสสัญเจตนา ... ในโผฏฐัพพสัญเจตนา ... ในธัมมสัญเจตนา ... (๒๘๙-๓๓๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๔. ราคเปยยาล
[๓๕๘-๔๐๕] ... ในรูปตัณหา ... ในสัททตัณหา ... ในคันธตัณหา ... ใน
รสตัณหา ... ในโผฏฐัพพตัณหา ... ในธัมมตัณหา ... (๓๓๗-๓๘๔)
[๔๐๖-๔๕๓] ... ในรูปวิตก ... ในสัททวิตก ... ในคันธวิตก ... ในรสวิตก ... ใน
โผฏฐัพพวิตก ... ในธัมมวิตก ... (๓๘๕-๔๓๒)
[๔๕๔-๕๐๑] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๑๑ ประการก็ฉันนั้น
เหมือนกัน เป็นผู้ไม่สามารถพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในรูปวิจาร
... ไม่สามารถพิจารณาเห็นความเป็นทุกข์ในรูปวิจาร
... ไม่สามารถพิจารณาเห็นความเป็นอนัตตาในรูปวิจาร
... ไม่สามารถพิจารณาเห็นความสิ้นไปในรูปวิจาร
... ไม่สามารถพิจารณาเห็นความเสื่อมไปในรูปวิจาร
... ไม่สามารถพิจารณาเห็นความคลายไปในรูปวิจาร
... ไม่สามารถพิจารณาเห็นความดับไปในรูปวิจาร
... ไม่สามารถพิจารณาเห็นความสละคืนในรูปวิจาร
... ในสัททวิจาร ... ในคันธวิจาร ... ในรสวิจาร ... ในโผฏฐัพพวิจาร ... ใน
ธัมมวิจาร ... (๔๓๓-๔๘๐)
สามัญญวรรค จบ

๔. ราคเปยยาล
[๕๐๒] ภิกษุทั้งหลาย นายโคบาลประกอบด้วยองค์ ๑๑ ประการ เป็นผู้
สามารถเลี้ยงฝูงโคให้เจริญ ให้เพิ่มขึ้นได้
องค์ ๑๑ ประการ อะไรบ้าง คือ
นายโคบาลในโลกนี้
๑. รู้รูป ฯลฯ ฉันใด
ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๑๑ ประการก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้สามารถ
พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในจักษุ ฯลฯ พิจารณาเห็นความสละคืนในจักษุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๔๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๔. ราคเปยยาล
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๑๑ ประการ เพื่อรู้ยิ่งราคะ(ความกำหนัด)
ธรรม ๑๑ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ปฐมฌาน ๒. ทุติยฌาน
๓. ตติยฌาน ๔. จตุตถฌาน
๕. เมตตาเจโตวิมุตติ ๖. กรุณาเจโตวิมุตติ
๗. มุทิตาเจโตวิมุตติ ๘. อุเบกขาเจโตวิมุตติ
๙. อากาสานัญจายตนฌาน ๑๐. วิญญาณัญจายตนฌาน
๑๑. อากิญจัญญายตนฌาน

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๑๑ ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่งราคะ (๑)
[๕๐๓-๕๑๑] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๑๑ ประการ เพื่อกำหนด
รู้ราคะ
... เพื่อความสิ้นราคะ
... เพื่อละราคะ
... เพื่อความสิ้นไปแห่งราคะ
... เพื่อความเสื่อมไปแห่งราคะ
... เพื่อความคลายไปแห่งราคะ
... เพื่อความดับไปแห่งราคะ
... เพื่อความสละราคะ
... เพื่อความสละคืนราคะ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๑๑ ประการนี้ เพื่อความสลละคืนราคะ
(๒-๑๐)
[๕๑๒-๖๘๑] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๑๑ ประการ เพื่อรู้ยิ่ง
โทสะ(ความคิดประทุษร้าย)
... เพื่อกำหนดรู้โทสะ
... เพื่อความสิ้นโทสะ
... เพื่อละโทสะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๔๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๔. ราคเปยยาล
... เพื่อความสิ้นไปแห่งโทสะ
... เพื่อความเสื่อมไปแห่งโทสะ
... เพื่อความคลายไปแห่งโทสะ
... เพื่อความดับไปแห่งโทสะ
... เพื่อความสละโทสะ
... เพื่อความสละคืนโทสะ ... โมหะ(ความหลง) ... โกธะ(ความโกรธ) ... อุปนาหะ
(ความผูกโกรธ) ... มักขะ(ความลบหลู่คุณท่าน) ... ปฬาสะ(ความตีเสมอ) ... อิสสา
(ความริษยา) ... มัจฉริยะ(ความตระหนี่) ... มายา(มารยา) ... สาเถยยะ(ความโอ้อวด)
... ถัมภะ(ความหัวดื้อ ) ... สารัมภะ(ความแข่งดี) ... มานะ(ความถือตัว) ... อติมานะ
(ความดูหมิ่น) ... มทะ(ความมัวเมา) ... ปมาทะ(ความประมาท )...
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๑๑ ประการนี้ เพื่อความสละคืนปมาทะ
(๑๑-๑๗๐)
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมภาษิตของ
พระผู้มีพระภาค
ราคเปยยาล จบ
อังคุตตรนิกายประกอบด้วยพระสูตร ๙,๕๕๗ สูตร
เอกาทสกนิบาต จบ
อังคุตตรนิกาย จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๔๙ }


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ สุตตันตปิฎกที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก เอกาทสกนิบาต จบ





eXTReMe Tracker