ค้นว่าอยู่เล่มใด แล้วกด [ctrl]+f หรือใช้คำสั่งของเครื่องหาตำแหน่งในเล่มอีกทีนะครับ



จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อความสะดวก และสวยงาม
(เฉพาะหน้าจอใหญ่ เช่น คอมพิวเตอร์)
กรุณาคลิก จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อให้กรอบ
ค้นข้อความ ปรากฎที่ด้านซ้ายของหน้า

พระไตรปิฎกภาษาไทย
ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม (ปกสีฟ้า)
ทั้งออนไลน์และออฟไลน์
ที่มาของข้อมูล : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มจร.
MCUTRAI Version 1.0

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓-๓ สุตตันตปิฎกที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก อัฏฐก นวกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก
อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.คหปติวรรค ๑๐.อนุรุทธมหาวิตักกสูตร
เราว่า ‘เป็นผู้มีใจตั้งมั่น’ เป็นผู้มีปัญญา ไม่ปรารถนาว่า คนทั้งหลายพึงรู้จักเราว่า
‘เป็นผู้มีปัญญา’ เป็นผู้ยินดีในนิปปปัญจธรรม ไม่ปรารถนาว่า คนทั้งหลายพึงรู้จัก
เราว่า ‘เป็นผู้ยินดีในนิปปปัญจธรรม’
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มักน้อย ไม่ใช่ธรรมของบุคคล
ผู้มักมาก’
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้สันโดษ ไม่ใช่ธรรมของ
บุคคลผู้ไม่สันโดษ‘ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้สันโดษด้วย
จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขารตามแต่จะได้
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้สันโดษ ไม่ใช่ธรรมของบุคคล
ผู้ไม่สันโดษ’
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้สงัด ไม่ใช่ธรรมของบุคคล
ผู้ยินดีในการคลุกคลี‘ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่อย่างสงัด มีภิกษุ
ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชามหาอำมาตย์ของพระราชา เดียรถีย์ และสาวก
ของเดียรถีย์ทั้งหลายเข้าไปหา ในที่นั้น ภิกษุมีจิตน้อมไป โน้มไป โอนไป ตั้งอยู่ใน
วิเวก๑ ยินดียิ่งในเนกขัมมะ๒ ก็จำต้องกล่าวถ้อยคำอันเกี่ยวกับการส่งการรับโดยแท้
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้สงัด ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้
ยินดีในการคลุกคล’
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้ปรารภความเพียร ไม่ใช่
ธรรมของบุคคลผู้เกียจคร้าน‘ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ปรารภความ
เพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรมเกิด มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่น
มั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย



เชิงอรรถ :
๑ , ๒ ดูเชิงอรรถที่ ๒,๓ อัฏฐกนิบาต ข้อ ๒๘ หน้า ๒๗๓ ในเล่มนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.คหปติวรรค ๑๐.อนุรุทธมหาวิตักกสูตร
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้ปรารภความเพียร ไม่ใช่ธรรม
ของบุคคลผู้เกียจคร้าน’
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น ไม่ใช่ธรรม
ของบุคคลผู้หลงลืมสติ‘ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีสติ คือ
ประกอบด้วยสติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตนเป็นอย่างยิ่ง ระลึกถึงสิ่งที่ทำ คำที่พูด
แม้นานได้
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น ไม่ใช่ของบุคคลผู้
หลงลืมสติ’
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีใจตั้งมั่น ไม่ใช่ธรรมของ
บุคคลผู้มีใจไม่ตั้งมั่น‘ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกาม ฯลฯ๑
บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีใจตั้งมั่น ไม่ใช่ธรรมของ
บุคคลผู้มีใจไม่ตั้งมั่น’
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีปัญญา ไม่ใช่ธรรมของ
บุคคลผู้มีปัญญาทราม‘ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีปัญญา คือ
ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ
ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ


เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มในข้อ ๑๑ (เวรัญชสูตร) หน้า ๒๒๒-๒๒๓ ในเล่มนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.คหปติวรรค ๑๐.อนุรุทธมหาวิตักกสูตร
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีปัญญา ไม่ใช่ของบุคคลผู้มี
ปัญญาทราม’
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้ยินดีในนิปปปัญจธรรม
ผู้พอใจในนิปปปัญจธรรม ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้ยินดีในปปัญจธรรม ผู้พอใจ
ในปปัญจธรรม‘ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า จิตของภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมแล่นไป
เลื่อมใส ตั้งมั่นในปปัญจนิโรธ๑ ย่อมหลุดพ้น
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้ยินดีในนิปปปัญจธรรม
ผู้พอใจในนิปปปัญจธรรม ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้ยินดีในปปัญจธรรม ผู้พอใจใน
ปปัญจธรรม”
ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทธะได้อยู่จำพรรษาที่ปาจีนวังสทายวัน แคว้นเจตีนั้นแล
ต่อไปอีก ท่านจากไปอยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนัก
ก็ได้ทำให้แจ้งประโยชน์ยอดเยี่ยม๒อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรออก
จากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
ท่านพระอนุรุทธะได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย
ท่านพระอนุรุทธะผู้ได้บรรลุพระอรหัตแล้ว จึงได้กล่าวคาถาเหล่านี้ในเวลานั้นว่า

เชิงอรรถ :
๑ ปปัญจนิโรธ หมายถึงบทคือนิพพาน (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๓๐/๒๕๒)
๒ ประโยชน์ยอดเยี่ยม ในที่นี้หมายถึงอรหัตตผล หรืออริยผล อันเป็นที่สุดแห่งมรรคพรหมจรรย์ (องฺ.ทุก.อ.
๒/๕/๗, ม.ม.อ. ๒/๘๒/๘๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๘๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.คหปติวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
พระศาสดาผู้ยอดเยี่ยมในโลก
ทรงทราบความดำริของเราแล้ว
จึงเสด็จมาหาเราด้วยมโนมยกายฤทธิ์๑
พระพุทธเจ้าผู้ทรงยินดีในนิปปปัญจธรรม
ทรงแสดงมหาปุริสวิตกยิ่งกว่าความดำริของเรา๒
ทรงแสดงนิปปปัญจธรรมแล้ว
เราได้รู้ทั่วถึงธรรมของพระองค์แล้ว
ยินดีในพระศาสนาอยู่
เราได้บรรลุวิชชา ๓ โดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเราได้ทำตามแล้ว
อนุรุทธมหาวิตักกสูตรที่ ๑๐ จบ
คหปติวรรคที่ ๓ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมอุคคสูตร ๒. ทุติยอุคคสูตร
๓. ปฐมหัตถกสูตร ๔. ทุติยหัตถกสูตร
๕. มหานามสูตร ๖. ชีวกสูตร
๗. ปฐมพลสูตร ๘. ทุติยพลสูตร
๙. อักขณสูตร ๑๐. อนุรุทธมหาวิตักกสูตร


เชิงอรรถ :
๑ มโนมยกายฤทธิ์ หมายถึงฤทธิ์ที่ทำให้กายเกิดขึ้นได้ด้วยอำนาจใจ กล่าวคือกายที่ใช้อำนาจจิตเนรมิตให้
เกิดขึ้นได้ และไปได้ (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๓๑/๒๕๓)
๒ ข้อความนี้หมายถึงท่านพระอนุรุทธะสามารถตรึกมหาปุริสวิตกได้เพียง ๗ ประการ แต่พระพุทธเจ้าทรง
แสดงได้ถึง ๘ ประการ (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๓๐/๒๕๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๘๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.ทานวรรค ๑.ปฐมทานสูตร
๔. ทานวรรค
หมวดว่าด้วยทาน
๑. ปฐมทานสูตร๑
ว่าด้วยทาน สูตรที่ ๑
[๓๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ทาน ๘ ประการนี้
ทาน ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. บุคคลบางคนให้ทานเพราะประสบเข้า๒
๒. บุคคลบางคนให้ทานเพราะความกลัว๓
๓. บุคคลบางคนให้ทานเพราะคิดว่า ‘เขาได้ให้แก่เราแล้ว’
๔. บุคคลบางคนให้ทานเพราะคิดว่า ‘เขาจักให้แก่เรา’
๕. บุคคลบางคนให้ทานเพราะคิดว่า ‘การให้ทานเป็นการดี’
๖. บุคคลบางคนให้ทานเพราะคิดว่า ‘เราหุงหากินเองได้ ชนเหล่านี้หุง
หากินเองไม่ได้ การที่เราหุงหากินเองได้จะไม่ให้ทานแก่ชนเหล่านี้ผู้
หุงหากินเองไม่ได้ ไม่ควร’
๗. บุคคลบางคนให้ทานด้วยคิดว่า ‘เมื่อเราให้ทานนี้ กิตติศัพท์อันงาม
ย่อมขจรไป’
๘. บุคคลบางคนให้ทานเพื่อเป็นเครื่องประดับจิตและปรุงแต่งจิต๔
ภิกษุทั้งหลาย ทาน ๘ ประการนี้แล
ปฐมทานสูตรที่ ๑ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดู ที.ปา.๑๑/๓๓๖/๒๒๗
๒ ให้ทานเพราะประสบเข้า หมายถึงเมื่อพบว่ามาหาก็ให้ทานได้ หรือให้รอสักครู่ก็ให้ทานได้ ไม่ให้ลำบากใจ
(องฺ.อฏฺฐก.อ.๓/๓๑/๒๕๓)
๓ ให้ทานเพราะกลัว ในที่นี้หมายถึงให้ทานเพราะกลัวถูกตำหนิติเตียน หรือกลัวอบายภูมิ (องฺ.อฏฺฐก.อ.
๓/๓๑/๒๕๓)
๔ ให้ทานเพื่อเป็นเครื่องประดับจิตและปรุงแต่งจิต ในที่นี้หมายถึงให้ทานเพื่อประดับจิตในการเจริญ
สมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐาน เพราะว่าทานย่อมทำจิตให้อ่อนโยน เหมาะแก่การเจริญกัมมัฏฐาน
ทั้งสอง (องฺ.อฏฺฐก.อ.๓/๓๑/๒๕๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๘๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.ทานวรรค ๓.ทานวัตถุสูตร
๒. ทุติยทานสูตร
ว่าด้วยทาน สูตรที่ ๒
[๓๒] ธรรมเหล่านี้ คือ ศรัทธา หิริ ทานที่เป็นกุศล
อันสัตบุรุษดำเนินตามแล้ว
สัตบุรุษทั้งหลายกล่าวว่าธรรม ๓ ประการนี้แล
เป็นทางไปสู่เทวโลก
เพราะด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล บุคคลจึงไปสู่เทวโลกได้๑
ทุติยทานสูตรที่ ๒ จบ

๓. ทานวัตถุสูตร
ว่าด้วยทานวัตถุ
[๓๓] ภิกษุทั้งหลาย ทานวัตถุ๒ ๘ ประการนี้
ทานวัตถุ ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. บุคคลบางคนให้ทานเพราะความชอบ
๒. บุคคลบางคนให้ทานเพราะความชัง
๓. บุคคลบางคนให้ทานเพราะความหลง
๔. บุคคลบางคนให้ทานเพราะความกลัว
๕. บุคคลบางคนให้ทานเพราะคิดว่า ‘พ่อและปู่เคยให้ทาน เคยทำทาน
เราไม่ควรให้วงศ์ตระกูลเก่าแก่เสื่อมหายไป’
๖. บุคคลบางคนให้ทานเพราะคิดว่า ‘เราให้ทานนี้แล้ว หลังจากตายแล้ว
จักไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์’

เชิงอรรถ :
๑ ดู. อภิ.ก.๓๗/๔๘๐/๒๘๙
๒ ทานวัตถุ หมายถึงเหตุแห่งการให้ทาน (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๓๓/๒๕๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๘๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.ทานวรรค ๔.เขตตสูตร
๗. บุคคลบางคนให้ทานเพราะคิดว่า ‘เมื่อเราให้ทานนี้ จิตย่อมผ่องใส
เกิดความชื่นชมโสมนัส’
๘. บุคคลบางคนให้ทานเพื่อเป็นเครื่องประดับจิตและปรุงแต่งจิต
ภิกษุทั้งหลาย ทานวัตถุ ๘ ประการนี้แล
ทานวัตถุสูตรที่ ๓ จบ

๔. เขตตสูตร
ว่าด้วยนาดีและนาไม่ดี
[๓๔] ภิกษุทั้งหลาย พืชที่หว่านลงในนาที่ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ
ย่อมไม่มีผลมาก ไม่มีความชื่นใจมาก ไม่มีความเจริญมาก
นาที่ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ เป็นอย่างไร
คือ นาในโลกนี้

๑. เป็นที่ลุ่มและดอน ๒. เป็นที่มีหินและกรวด
๓. เป็นที่ดินเค็ม ๔. เป็นที่ไถลงลึกไม่ได้
๕. เป็นที่ไม่มีทางน้ำเข้า ๖. เป็นที่ไม่มีทางน้ำออก
๗. เป็นที่ไม่มีเหมือง ๘. เป็นที่ไม่มีคันนา

ภิกษุทั้งหลาย พืชที่หว่านลงในนาที่ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ อย่างนี้
ย่อมไม่มีผลมาก ไม่มีความชื่นใจมาก ไม่มีความเจริญมาก
ภิกษุทั้งหลาย ในทำนองเดียวกัน ทานที่บุคคลให้ในสมณพราหมณ์ผู้ประกอบ
ด้วยองค์ ๘ ประการ ย่อมไม่มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก ไม่มีความรุ่งเรืองมาก
ไม่มีความแพร่หลายมาก
สมณพราหมณ์ผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ เป็นอย่างไร
คือ สมณพราหมณ์ในโลกนี้
๑. เป็นผู้มีมิจฉาทิฏฐิ (เห็นผิด)
๒. เป็นผู้มีมิจฉาสังกัปปะ (ดำริผิด)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๘๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.ทานวรรค ๔.เขตตสูตร
๓. เป็นผู้มีมิจฉาวาจา(เจรจาผิด)
๔. เป็นผู้มีมิจฉากัมมันตะ(กระทำผิด)
๕. เป็นผู้มีมิจฉาอาชีวะ(เลี้ยงชีพผิด)
๖. เป็นผู้มีมิจฉาวายามะ(พยายามผิด)
๗. เป็นผู้มีมิจฉาสติ(ระลึกผิด)
๘. เป็นผู้มีมิจฉาสมาธิ(ตั้งจิตมั่นผิด)
ภิกษุทั้งหลาย ทานที่ให้ในสมณพราหมณ์ผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ
อย่างนี้ ย่อมไม่มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก ไม่มีความรุ่งเรืองมาก ไม่มีความแพร่
หลายมาก
ภิกษุทั้งหลาย พืชที่หว่านลงในนาที่ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ย่อมมี
ผลมาก มีความชื่นใจมาก มีความเจริญมาก
นาที่ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ เป็นอย่างไร
คือ นาในโลกนี้

๑. เป็นที่ไม่ลุ่มและดอน ๒. เป็นที่ไม่มีหินและกรวด
๓. เป็นที่ไม่มีดินเค็ม ๔. เป็นที่ไถลงลึกได้
๕. เป็นที่มีทางน้ำเข้า ๖. เป็นที่มีทางน้ำออก
๗. เป็นที่มีเหมือง ๘. เป็นที่มีคันนา

ภิกษุทั้งหลาย พืชที่หว่านลงในนาที่ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการอย่างนี้
ย่อมมีผลมาก มีความชื่นใจมาก มีความเจริญมาก
ภิกษุทั้งหลาย ในทำนองเดียวกัน ทานที่ให้ในสมณพราหมณ์ผู้ประกอบ
ด้วยองค์ ๘ ประการ ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก มีความ
แพร่หลายมาก
สมณพราหมณ์ผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ เป็นอย่างไร
คือ สมณพราหมณ์ในโลกนี้
๑. เป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ(เห็นชอบ) ๒. เป็นผู้มีสัมมาสังกัปปะ(ดำริชอบ)
๓. เป็นผู้มีสัมมาวาจา(เจรจาชอบ) ๔. เป็นผู้มีสัมมากัมมันตะ(กระทำชอบ)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๙๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.ทานวรรค ๔.เขตตสูตร
๕. เป็นผู้มีสัมมาอาชีวะ(เลี้ยงชีพชอบ) ๖. เป็นผู้มีสัมมาวายามะ(พยายามชอบ)
๗. เป็นผู้มีสัมมาสติ(ระลึกชอบ) ๘. เป็นผู้มีสัมมาสมาธิ(ตั้งจิตมั่นชอบ)
ภิกษุทั้งหลาย ทานที่ให้ในสมณพราหมณ์ผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ
อย่างนี้ ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก มีความแพร่หลายมาก
พืชที่สมบูรณ์ถูกหว่านลงในนาที่สมบูรณ์
เมื่อฝนตกต้องตามฤดูกาล ธัญชาติจะงอกงามได้
เพราะไม่มีศัตรูพืช๑ มีความเจริญงอกงาม
มีความไพบูลย์ มีผลสมบูรณ์เต็มที่ ฉันใด
โภชนะที่สมบูรณ์๒ที่บุคคลให้
ในสมณพราหมณ์ผู้มีศีลสมบูรณ์ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ย่อมนำมาซึ่งกุศลอันสมบูรณ์
เพราะกรรมที่เขาทำไว้นั้นสมบูรณ์แล้ว
เพราะฉะนั้น บุคคลผู้หวังกุศลอันสมบูรณ์
จงเป็นผู้สมบูรณ์ในกุศลนี้
พึงคบท่านผู้มีปัญญาสมบูรณ์
บุญสัมปทาทั้งหลายย่อมสำเร็จได้อย่างนี้ คือ
ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ๓
ได้ความสมบูรณ์แห่งจิตแล้ว ทำกรรมให้บริบูรณ์
ได้ประโยชน์ที่สมบูรณ์
รู้โลกตามความเป็นจริงแล้ว
บรรลุทิฏฐิสัมปทา(ความถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ)

เชิงอรรถ :
๑ ไม่มีศัตรูพืช ในที่นี้หมายถึงแมลงและหนอนเป็นต้น (องฺ.อฏฺฐก.อ.๓/๓๔/๒๕๕)
๒ โภชนะที่สมบูรณ์ ในที่นี้หมายถึงโภชนะ ๕ อย่าง คือ ข้าวสุก ขนมสด ขนมแห้ง ปลา เนื้อ (องฺ.อฏฺฐก.อ.
๓/๓๔/๒๕๕)
๓ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ในที่นี้หมายถึงประกอบด้วยวิชชา ๓ และจรณะ ๑๕ (องฺ.อฏฺฐก.อ.๓/๓๔/
๒๕๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๙๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.ทานวรรค ๕.ทานูปปัตติสูตร
อาศัยมัคคสัมปทา๑แล้ว มีใจบริบูรณ์
ย่อมบรรลุอรหัตตผลได้
กำจัดมลทินทั้งปวงแล้ว จะบรรลุนิพพานสัมปทาได้
การหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงนั้น จัดเป็นสัพพสัมปทา
เขตตสูตรที่ ๔ จบ

๕. ทานูปปัตติสูตร
ว่าด้วยผลที่เกิดจากการให้ทาน๒
[๓๕] ภิกษุทั้งหลาย ผลที่เกิดจากการให้ทาน ๘ ประการนี้
ผลที่เกิดจากการให้ทาน ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. บุคคลบางคนในโลกนี้ให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้
ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีปแก่สมณะ
หรือพราหมณ์ เขาให้สิ่งใด ก็หวังสิ่งนั้นตอบแทน เขาเห็นพวก
ขัตติยมหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคหบดีมหาศาล๓ ผู้เอิบอิ่ม
พรั่งพร้อมบำเรอตนอยู่ด้วยกามคุณ ๕ จึงมีความปรารถนาอย่างนี้
ว่า ‘โอหนอ หลังจากตายแล้ว เราพึงเกิดร่วมกับพวกขัตติยมหาศาล
พราหมณ์มหาศาล หรือคหบดีมหาศาล’ เขาตั้งจิตนั้น อธิษฐาน
จิตนั้น เจริญจิตนั้นอยู่ จิตของเขาโน้มไปในทางต่ำ เจริญให้ยิ่งขึ้นไป
ไม่ได้ ย่อมเป็นไปเพื่อเกิดในที่นั้น๔ หลังจากตายแล้ว เขาจึงเกิดร่วม
กับพวกขัตติยมหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคหบดีมหาศาล
ข้อนี้แล เรากล่าวไว้สำหรับผู้มีศีล ไม่ใช่สำหรับผู้ทุศีล ภิกษุทั้งหลาย
มโนปณิธานของท่านผู้มีศีลย่อมสำเร็จได้เพราะเป็นผู้บริสุทธิ์

เชิงอรรถ :
๑ มัคคสัมปทา หมายถึงโสดาปัตติมรรค (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๓๔/๒๕๕)
๒ ดู ที.ปา.๑๑/๓๓๗/๒๒๗-๒๒๙
๓ ดูเชิงอรรถที่ ๑ สัตตกนิบาต ข้อ ๖๖ หน้า ๑๓๕ ในเล่มนี้
๔ เกิดในที่นั้น หมายถึงเกิดในสถานที่ที่ตนปรารถนาไว้ในขณะทำบุญ (องฺ.อฏฺฐก.อ.๓/๓๕/๒๕๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.ทานวรรค ๕.ทานูปปัตติสูตร
๒. บุคคลบางคนในโลกนี้ให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้
ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีป เขาให้สิ่งใด
ก็หวังสิ่งนั้นตอบแทน เขาได้สดับมาว่า ‘พวกเทวดาชั้นจาตุมหาราช
มีอายุยืน มีผิวพรรณงาม มีความสุขมาก’ จึงมีความปรารถนา
อย่างนี้ว่า ‘โอหนอ หลังจากตายแล้ว เราพึงเกิดร่วมกับพวก
เทวดาชั้นจาตุมหาราช’ เขาตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิต
นั้นอยู่ จิตของเขาโน้มไปในทางต่ำ เจริญให้ยิ่งขึ้นไปไม่ได้ ย่อมเป็น
ไปเพื่อเกิดในที่นั้น หลังจากตายแล้ว เขาจึงเกิดร่วมกับพวกเทวดา
ชั้นจาตุมหาราช ข้อนี้แล เรากล่าวไว้สำหรับผู้มีศีล ไม่ใช่สำหรับ
ผู้ทุศีล ภิกษุทั้งหลาย มโนปณิธานของท่านผู้มีศีลย่อมสำเร็จได้
เพราะเป็นผู้บริสุทธิ์
๓. บุคคลบางคนในโลกนี้ให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้
ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีป แก่สมณะ
หรือพราหมณ์ เขาให้สิ่งใด ก็หวังสิ่งนั้นตอบแทน เขาได้สดับมาว่า
พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ ฯลฯ
๔. บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ พวกเทวดาชั้นยามา ฯลฯ
๕. บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ พวกเทวดาชั้นดุสิต ฯลฯ
๖. บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ พวกเทวดาชั้นนิมมานรดี ฯลฯ
๗. บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯพวกเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี มีอายุยืน
มีผิวพรรณงาม มีความสุขมาก จึงปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘โอหนอ
หลังจากตายแล้ว เราพึงเกิดร่วมกับพวกเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี’
เขาตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้นอยู่ จิตของเขาโน้มไปใน
ทางต่ำ เจริญให้ยิ่งขึ้นไปไม่ได้ ย่อมเป็นไปเพื่อเกิดในที่นั้น หลังจาก
ตายแล้ว เขาจึงเกิดร่วมกับพวกเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ข้อนี้แล
เรากล่าวไว้สำหรับผู้มีศีล ไม่ใช่สำหรับผู้ทุศีล ภิกษุทั้งหลาย มโนปณิธาน
ของท่านผู้มีศีลย่อมสำเร็จได้ เพราะเป็นผู้บริสุทธิ์
๘. บุคคลบางคนในโลกนี้ให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม
เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์
เขาให้สิ่งใด ก็หวังสิ่งนั้นตอบแทน เขาได้สดับมาว่า ‘พวกเทวดา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.ทานวรรค ๖.ปุญญกิริยาวัตถุสูตร
ชั้นพรหมกายิกา มีอายุยืน มีผิวพรรณงาม มีความสุขมาก’ จึงมี
ความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘โอหนอ หลังจากตายแล้ว เราพึงเกิด
ร่วมกับพวกเทวดาชั้นพรหมกายิกา’ เขาตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น
เจริญจิตนั้นอยู่ จิตของเขาโน้มไปในทางต่ำ เจริญให้ยิ่งขึ้นไปไม่ได้
ย่อมเป็นไปเพื่อเกิดในที่นั้น หลังจากตายแล้ว เขาจึงเกิดร่วมกับ
พวกเทวดาชั้นพรหมกายิกา ข้อนี้แล เรากล่าวไว้สำหรับผู้มีศีล
ไม่ใช่สำหรับผู้ทุศีล สำหรับผู้ปราศจากราคะ๑ ไม่ใช่สำหรับผู้มีราคะ
ภิกษุทั้งหลาย มโนปณิธานของท่านผู้มีศีล ย่อมสำเร็จได้ เพราะเป็น
ผู้ปราศจากราคะ
ภิกษุทั้งหลาย ผลที่เกิดจากการให้ทาน ๘ ประการนี้แล
ทานูปปัตติสูตรที่ ๕ จบ

๖. ปุญญกิริยาวัตถุสูตร
ว่าด้วยบุญกิริยาวัตถุ๒
[๓๖] ภิกษุทั้งหลาย บุญกิริยาวัตถุ ๓ ประการนี้
บุญกิริยาวัตถุ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. บุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทาน
๒. บุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีล
๓. บุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยภาวนา
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานนิดหน่อย
ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลนิดหน่อย และไม่จัดแจงบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วย
ภาวนาเลย หลังจากตายแล้ว เขาย่อมเข้าถึงความเป็นผู้โชคร้ายในมนุษย์

เชิงอรรถ :
๑ ปราศจากราคะ ในที่นี้หมายถึงปราศจากราคะโดยการถอนขึ้นได้ด้วยมรรค หรือปราศจากราคะโดยการ
ข่มไว้ได้ด้วยสมาบัติ (องฺ.อฏฺฐก.อ.๓/๓๕/๒๕๖)
๒ บุญกิริยาวัตถุ มาจาก บุญกิริยา + วัตถุ แยกอธิบายความหมายได้ดังนี้ (๑) บุญกิริยา หมายถึงการ
ตั้งใจบำเพ็ญบุญ (๒) วัตถุ หมายถึงที่ตั้งหรือเหตุให้เกิดอานิสงส์ต่าง ๆ ดังนั้น บุญกิริยาวัตถุ จึงหมายถึง
การบำเพ็ญบุญอันเป็นเหตุให้เกิดอานิสงส์ (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๓๖/๒๕๖-๒๕๗, องฺ.อฏฺฐก.ฏีกา ๓/๓๖/๒๙๒-
๒๙๓) และดู ที.ปา. ๑๑/๓๐๕/๑๙๓-๑๙๖, ขุ.อิติ. ๒๕/๖๐-๖๑/๑๗๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๙๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.ทานวรรค ๖.ปุญญกิริยาวัตถุสูตร
บุคคลบางคนในโลกนี้ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานพอประมาณ
ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลพอประมาณ แต่ไม่จัดแจงบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วย
ภาวนาเลย หลังจากตายแล้ว เขาย่อมเข้าถึงความเป็นผู้โชคดีในมนุษย์
บุคคลบางคนในโลกนี้ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานมีประมาณยิ่ง ทำบุญ-
กิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลมีประมาณยิ่ง แต่ไม่จัดแจงบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วย
ภาวนาเลย หลังจากตายแล้ว เขาย่อมเกิดร่วมกับเทวดาชั้นจาตุมหาราช ภิกษุ
ทั้งหลาย ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ในชั้นนั้นทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานให้ยิ่งขึ้น
ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลให้ยิ่งขึ้น ย่อมครอบงำเทวดาชั้นจาตุมหาราชได้โดย
ฐานะ ๑๐ ประการ คือ อายุที่เป็นทิพย์ วรรณะที่เป็นทิพย์ สุขที่เป็นทิพย์ ยศที่
เป็นทิพย์ อธิปไตยที่เป็นทิพย์ รูปที่เป็นทิพย์ เสียงที่เป็นทิพย์ กลิ่นที่เป็นทิพย์
รสที่เป็นทิพย์ โผฏฐัพพะที่เป็นทิพย์
บุคคลบางคนในโลกนี้ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานมีประมาณยิ่ง ทำบุญ-
กิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลมีประมาณยิ่ง แต่ไม่จัดแจงบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วย
ภาวนาเลย หลังจากตายแล้ว เขาย่อมเกิดร่วมกับเทวดาชั้นดาวดึงส์ ภิกษุทั้งหลาย
ท้าวสักกะจอมเทพในชั้นดาวดึงส์นั้นทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานให้ยิ่งขึ้น
ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลให้ยิ่งขึ้น ย่อมครอบงำเทวดาชั้นดาวดึงส์ได้โดย
ฐานะ ๑๐ ประการ คือ อายุที่เป็นทิพย์ ฯลฯ โผฏฐัพพะที่เป็นทิพย์
บุคคลบางคนในโลกนี้ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานมีประมาณยิ่ง ทำบุญ-
กิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลมีประมาณยิ่ง แต่ไม่จัดแจงบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วย
ภาวนาเลย หลังจากตายแล้ว เขาย่อมเกิดร่วมกับเทวดาชั้นยามา ภิกษุทั้งหลาย
ท้าวสุยามเทพบุตรในชั้นยามานั้นทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานให้ยิ่งขึ้น ทำบุญ-
กิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลให้ยิ่งขึ้น ย่อมครอบงำเทวดาชั้นยามาได้โดยฐานะ ๑๐ ประการ
คือ อายุที่เป็นทิพย์ ฯลฯ โผฏฐัพพะที่เป็นทิพย์
บุคคลบางคนในโลกนี้ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานมีประมาณยิ่ง
ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลมีประมาณยิ่ง แต่ไม่จัดแจงบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วย
ภาวนาเลย หลังจากตายแล้ว เขาย่อมเกิดร่วมกับเทวดาชั้นดุสิต ภิกษุทั้งหลาย
ท้าวสันดุสิตในชั้นดุสิตนั้นทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานให้ยิ่งขึ้น ทำบุญกิริยาวัตถุ
ที่สำเร็จด้วยศีลให้ยิ่งขึ้น ย่อมครอบงำเทวดาชั้นดุสิตได้โดยฐานะ ๑๐ ประการ คือ
อายุที่เป็นทิพย์ ฯลฯ โผฏฐัพพะที่เป็นทิพย์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๙๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.ทานวรรค ๗.สัปปุริสทานสูตร
บุคคลบางคนในโลกนี้ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานมีประมาณยิ่ง ทำบุญ-
กิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลมีประมาณยิ่ง แต่ไม่จัดแจงบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วย
ภาวนาเลย หลังจากตายแล้ว เขาย่อมเกิดร่วมกับเทวดาชั้นนิมมานรดี ภิกษุทั้งหลาย
ท้าวสุนิมมิตเทพบุตรในชั้นนิมมานรดีนั้นทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานให้ยิ่งขึ้น
ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลให้ยิ่งขึ้น ย่อมครอบงำเทวดาชั้นนิมมานรดีได้โดยฐานะ
๑๐ ประการ คือ อายุที่เป็นทิพย์ ฯลฯ โผฏฐัพพะที่เป็นทิพย์
บุคคลบางคนในโลกนี้ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานมีประมาณยิ่ง ทำบุญ-
กิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลมีประมาณยิ่ง แต่ไม่จัดแจงบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วย
ภาวนาเลย หลังจากตายแล้ว เขาย่อมเกิดร่วมกับเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี
ภิกษุทั้งหลาย ท้าววสวัตดีเทพบุตรในชั้นปรนิมมิตวสวัตดีนั้น ทำบุญกิริยาวัตถุที่
สำเร็จด้วยทานให้ยิ่งขึ้น ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลให้ยิ่งขึ้น ย่อมครอบงำ
เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดีได้ โดยฐานะ ๑๐ ประการ คือ อายุที่เป็นทิพย์ วรรณะ
ที่เป็นทิพย์ สุขที่เป็นทิพย์ ยศที่เป็นทิพย์ อธิปไตยที่เป็นทิพย์ รูปที่เป็นทิพย์
เสียงที่เป็นทิพย์ กลิ่นที่เป็นทิพย์ รสที่เป็นทิพย์ โผฏฐัพพะที่เป็นทิพย์
ภิกษุทั้งหลาย บุญกิริยาวัตถุ ๓ ประการนี้แล
ปุญญกิริยาวัตถุสูตรที่ ๖ จบ

๗. สัปปุริสทานสูตร
ว่าด้วยสัปปุริสทาน
[๓๗] ภิกษุทั้งหลาย สัปปุริสทาน ๘ ประการนี้
สัปปุริสทาน ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัตบุรุษย่อมให้ของที่สะอาด ๒. สัตบุรุษย่อมให้ของที่ประณีต
๓. สัตบุรุษย่อมให้ตามกาล ๔. สัตบุรุษย่อมให้ของที่สมควร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๙๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.ทานวรรค ๘.สัปปุริสสูตร
๕. สัตบุรุษย่อมเลือกให้๑ ๖. สัตบุรุษย่อมให้เป็นนิตย์
๗. สัตบุรุษกำลังให้ก็ทำจิตให้ผ่องใส ๘. สัตบุรุษครั้นให้แล้วก็ดีใจ
ภิกษุทั้งหลาย สัปปุริสทาน ๘ ประการนี้แล
สัตบุรุษย่อมให้ทาน คือ
ให้น้ำและโภชนะที่สะอาด ให้ของที่ประณีต
ให้ตามกาล ให้ของที่สมควร ให้เป็นนิตย์
ในท่านผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ผู้เป็นเขตดี
บริจาคอามิสมากมายก็ไม่เดือดร้อน
ท่านผู้เห็นแจ้งย่อมสรรเสริญทานที่สัตบุรุษให้แล้วอย่างนี้
บัณฑิตผู้มีปัญญา มีศรัทธา มีใจเสียสละ บูชาอย่างนี้
ย่อมเข้าถึงโลกที่ไม่มีความเบียดเบียน เป็นสุข
สัปปุริสทานสูตรที่ ๗ จบ

๘. สัปปุริสสูตร
ว่าด้วยคุณประโยชน์ของสัตบุรุษ
[๓๘] ภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษเมื่อเกิดในตระกูล ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อ
เกื้อกูล เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก คือ
๑. ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่มารดาบิดา
๒. ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่บุตรภรรยา
๓. ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่ทาส กรรมกร และคนใช้

เชิงอรรถ :
๑ เลือกให้ในที่นี้หมายถึงเลือกสิ่งที่ไม่ดีออก แล้วถวายแต่สิ่งที่ดีด้วยการแสวงหาปฏิคาหก คือ พระทักขิไณย-
บุคคลและการตั้งความปรารถนาว่า ‘ถวายแก่ท่านรูปนี้จักมีผลมาก ถวายแก่ท่านรูปนี้จักไม่มีผลมาก’
(องฺ.อฏฺฐก.อ.๓/๓๗/๒๕๖-๒๕๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.ทานวรรค ๘.สัปปุริสสูตร
๔. ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่มิตรและอำมาตย์๑
๕. ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่ญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว
๖. ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่พระราชา
๗. ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เหล่าเทวดา
๘. ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่สมณพราหมณ์
ภิกษุทั้งหลาย ก้อนเมฆใหญ่เมื่อตกลงมาให้ข้าวกล้าทั้งปวงเจริญงอกงาม ย่อม
ตกเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษเมื่อเกิดในตระกูล ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเกิดเพื่อ
ประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก คือ
๑. ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่มารดาบิดา
๒. ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่บุตรภรรยา
๓. ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่ทาส กรรมกร และคนใช้
๔. ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่มิตรและอำมาตย์
๕. ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่ญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว
๖. ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่พระราชา
๗. ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เหล่าเทวดา
๘. ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่สมณพราหมณ์
สัตบุรุษผู้มีปัญญาอยู่ครองเรือน
เป็นผู้ไม่เกียจคร้านทั้งกลางคืนและกลางวัน
ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มาก
เมื่อระลึกถึงอุปการคุณที่มารดาบิดาทำไว้ก่อน
ย่อมบูชามารดาบิดาโดยชอบธรรม๒
สัตบุรุษผู้มีศรัทธาตั้งมั่นแล้ว
และมีศีลเป็นที่รัก รู้ธรรมแล้ว

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ สัตตกนิบาต ข้อ ๖๔ หน้า ๑๒๗ ในเล่มนี้
๒ โดยชอบธรรม ในที่นี้หมายถึงโดยการบูชาด้วยปัจจัยที่มีเหตุ (องฺ.อฏฺฐก.อ.๓/๓๘/๒๕๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๙๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.ทานวรรค ๙.อภิสันทสูตร
ย่อมบูชาบรรพชิตผู้ไม่ครองเรือน
ผู้ไม่มีบาป ผู้ประพฤติพรหมจรรย์
สัตบุรุษผู้เกื้อกูลแก่พระราชา เกื้อกูลแก่เทวดา
เกื้อกูลแก่ญาติและสหายทั้งหลาย
ตั้งมั่นดีแล้วในสัทธรรม เป็นผู้เกื้อกูลแก่คนทั้งปวง
สัตบุรุษนั้นกำจัดมลทินคือความตระหนี่ได้แล้ว
ย่อมถึงโลกอันเกษม
สัปปุริสสูตรที่ ๘ จบ

๙. อภิสันทสูตร
ว่าด้วยห้วงบุญกุศล
[๓๙] ภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญกุศล๑ ๘ ประการนี้ นำสุขมาให้ เป็นไปเพื่อ
ให้ได้อารมณ์ดี๒ มีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขที่น่า
ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ห้วงบุญกุศล ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ นี้เป็นห้วง
บุญกุศลประการที่ ๑ นำสุขมาให้ เป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดี มีสุข
เป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขที่น่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ
๒. อริยสาวกเป็นผู้ถึงพระธรรมเป็นสรณะ นี้เป็นห้วงบุญกุศลประการ
ที่ ๒ ฯลฯ
๓. อริยสาวกเป็นผู้ถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ นี้เป็นห้วงบุญกุศลประการ
ที่ ๓ นำสุขมาให้ เป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดี มีสุขเป็นผล ให้เกิด
ในสวรรค์ เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ

เชิงอรรถ :
๑ ห้วงบุญกุศล ในที่นี้หมายถึงผลแห่งบุญกุศล ซึ่งหลั่งไหลนำความสุขมาสู่ผู้บำเพ็ญอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย
(องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๕๑/๓๔๘, องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๕๑/๓๘๒)
๒ อารมณ์ดี ในที่นี้หมายถึงอารมณ์ คือ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
(องฺ.จตุกฺก. อ. ๒/๕๑/๓๔๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๙๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.ทานวรรค ๙.อภิสันทสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ทาน ๕ ประการ๑นี้ เป็นมหาทาน ที่รู้กันว่าล้ำเลิศ รู้กันมานาน
รู้กันว่าเป็นอริยวงศ์ เป็นของเก่า ในอดีตไม่ถูกลบล้างแล้ว ไม่เคยถูกลบล้าง ในปัจจุบัน
ไม่ถูกลบล้าง ในอนาคตก็จักไม่ถูกลบล้าง ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้คัดค้าน
ทาน ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ อริยสาวก
ผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์แล้ว ชื่อว่าให้ความไม่มีภัย ให้ความ
ไม่มีเวร ให้ความไม่เบียดเบียนแก่สัตว์ทั้งหลาย ไม่มีประมาณ
ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งความไม่มีภัย ความไม่มีเวร ความไม่เบียดเบียน
อันไม่มีประมาณ นี้เป็นทานประการที่ ๑ เป็นมหาทานที่รู้กันว่า
ล้ำเลิศ รู้กันมานาน รู้กันว่าเป็นอริยวงศ์ เป็นของเก่า ในอดีตไม่
ถูกลบล้างแล้ว ไม่เคยถูกลบล้าง ในปัจจุบันไม่ถูกลบล้าง ในอนาคต
ก็จักไม่ถูกลบล้าง ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้คัดค้าน นี้เป็นห้วงบุญ
กุศลประการที่ ๔ นำสุขมาให้ เป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดี มีสุขเป็นผล
ให้เกิดในสวรรค์ เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขที่น่าปรารถนา น่าใคร่
น่าพอใจ
๒. อริยสาวกเป็นผู้ละเว้นขาดจากการลักทรัพย์ ฯลฯ
๓. อริยสาวกเป็นผู้ละเว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม ฯลฯ
๔. อริยสาวกเป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดเท็จ ฯลฯ
๕. อริยสาวกเป็นผู้ละเว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัย
อันเป็นเหตุแห่งความประมาท อริยสาวกผู้เว้นขาดจากการเสพของ
มึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาทแล้ว ชื่อว่าให้
ความไม่มีภัย ให้ความไม่มีเวร ให้ความไม่เบียดเบียนแก่สัตว์
ทั้งหลาย ไม่มีประมาณ ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งความไม่มีภัย ความ
ไม่มีเวร ความไม่เบียดเบียนอันไม่มีประมาณ นี้เป็นทานประการ
ที่ ๕ เป็นมหาทานที่รู้กันว่าล้ำเลิศ รู้กันมานาน รู้กันว่าเป็นอริยวงศ์
เป็นของเก่า ในอดีตไม่ถูกลบล้างแล้ว ไม่เคยถูกลบล้าง ในปัจจุบัน
ไม่ถูกลบล้าง ในอนาคตก็จักไม่ถูกลบล้าง ไม่ถูกสมณพราหมณ์

เชิงอรรถ :
๑ ดู องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๒๘/๔๓, อภิ.ก.๓๗/๔๘๐/๒๘๙-๒๙๐ ประกอบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๐๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.ทานวรรค ๑๐.ทุจจริตวิปากสูตร
ผู้รู้คัดค้าน นี้แลเป็นห้วงบุญกุศลประการที่ ๘ นำสุขมาให้ เป็นไป
เพื่อให้ได้อารมณ์ดี มีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ เป็นไปเพื่อเกื้อกูล
เพื่อสุขที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญกุศล ๘ ประการนี้แล นำสุขมาให้ เป็นไปเพื่อให้ได้
อารมณ์ดี มีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขที่น่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ
อภิสันทสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ทุจจริตวิปากสูตร
ว่าด้วยวิบากแห่งทุจริต๑
[๔๐] ภิกษุทั้งหลาย ปาณาติบาต (การฆ่าสัตว์) ที่บุคคลเสพ เจริญ ทำให้
มากแล้ว ย่อมอำนวยผลให้ไปเกิดในนรก อำนวยผลให้ไปเกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน
อำนวยผลให้ไปเกิดในเปรตวิสัย วิบากแห่งปาณาติบาตอย่างเบาที่สุด ย่อมอำนวยผล
ให้เป็นผู้มีอายุน้อยแก่ผู้เกิดเป็นมนุษย์
อทินนาทาน (การลักทรัพย์) ที่บุคคลเสพ เจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมอำนวย
ผลให้ไปเกิดในนรก อำนวยผลให้ไปเกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน อำนวยผลให้ไปเกิด
ในเปรตวิสัย วิบากแห่งอทินนาทานอย่างเบาที่สุด ย่อมอำนวยผลให้เป็นผู้เสื่อม
โภคทรัพย์แก่ผู้เกิดเป็นมนุษย์
กาเมสุมิจฉาจาร (การประพฤติผิดในกาม) ที่บุคคลเสพ เจริญ ทำให้มากแล้ว
ย่อมอำนวยผลให้ไปเกิดในนรก อำนวยผลให้ไปเกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน อำนวยผล
ให้ไปเกิดในเปรตวิสัย วิบากแห่งกาเมสุมิจฉาจารอย่างเบาที่สุด ย่อมอำนวยผลให้
เป็นผู้มีศัตรูและเป็นผู้มีเวรแก่ผู้เกิดเป็นมนุษย์
มุสาวาท (การพูดเท็จ) ที่บุคคลเสพ เจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมอำนวยผลให้
ไปเกิดในนรก อำนวยผลให้ไปเกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน อำนวยผลให้ไปเกิดใน
เปรตวิสัย วิบากแห่งมุสาวาทอย่างเบาที่สุด ย่อมอำนวยผลให้ถูกกล่าวตู่ด้วยคำไม่จริง
แก่ผู้เกิดเป็นมนุษย์

เชิงอรรถ :
๑ ดู อภิ.ก.๓๗/๙๐๓/๕๑๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.ทานวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ปิสุณาวาจา (การพูดส่อเสียด) ที่บุคคลเสพ เจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อม
อำนวยผลให้ไปเกิดในนรก อำนวยผลให้ไปเกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน อำนวยผล
ให้ไปเกิดในเปรตวิสัย วิบากแห่งปิสุณาวาจาอย่างเบาที่สุด ย่อมอำนวยผลให้แตก
จากมิตรแก่ผู้เกิดเป็นมนุษย์
ผรุสวาจา (การพูดหยาบคาย) ที่บุคคลเสพ เจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมอำนวย
ผลให้ไปเกิดในนรก อำนวยผลให้ไปเกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน อำนวยผลให้ไปเกิด
ในเปรตวิสัย วิบากแห่งผรุสวาจาอย่างเบาที่สุด ย่อมอำนวยผลให้ได้ฟังเรื่องที่ไม่น่า
พอใจแก่ผู้เกิดเป็นมนุษย์
สัมผัปปลาปะ (การพูดเพ้อเจ้อ) ที่บุคคลเสพ เจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมอำนวย
ผลให้ไปเกิดในนรก อำนวยผลให้ไปเกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน อำนวยผลให้ไปเกิด
ในเปรตวิสัย วิบากแห่งสัมผัปปลาปะอย่างเบาที่สุด ย่อมอำนวยผลให้มีวาจาที่ไม่น่า
เชื่อถือแก่ผู้เกิดเป็นมนุษย์
ภิกษุทั้งหลาย การดื่มสุราและเมรัยที่บุคคลเสพ เจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อม
อำนวยผลให้ไปเกิดในนรก อำนวยผลให้ไปเกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน อำนวยผลให้
ไปเกิดในเปรตวิสัย วิบากแห่งการดื่มสุราและเมรัยอย่างเบาที่สุด ย่อมอำนวยผลให้
เป็นผู้วิกลจริตแก่ผู้เกิดเป็นมนุษย์
ทุจจริตวิปากสูตรที่ ๑๐ จบ
ทานวรรคที่ ๔ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมทานสูตร ๒. ทุติยทานสูตร
๓. ทานวัตถุสูตร ๔. เขตตสูตร
๕. ทานูปปัตติสูตร ๖. ปุญญกิริยาวัตถุสูตร
๗. สัปปุริสทานสูตร ๘. สัปปุริสสูตร
๙. อภิสันทสูตร ๑๐. ทุจจริตวิปากสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.อุโปสถวรรค ๑.สังขิตตุโปสถสูตร
๕. อุโปสถวรรค
หมวดว่าด้วยอุโบสถ
๑. สังขิตตุโปสถสูตร
ว่าด้วยอุโบสถโดยย่อ
[๔๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมา
ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึง
ได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ที่บุคคลอยู่จำแล้ว ย่อมมี
ผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก แผ่ไพศาลมาก
อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ที่บุคคลอยู่จำแล้ว ย่อมมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก แผ่ไพศาลมาก เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เห็นประจักษ์ดังนี้ว่า
๑. พระอรหันต์ทั้งหลายละเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ คือ วางทัณฑาวุธ
และศัสตราวุธ มีความละอาย มีความเอ็นดู มุ่งประโยชน์เกื้อกูลต่อ
สรรพสัตว์อยู่ตลอดชีวิต แม้เราก็ละเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ คือ วาง
ทัณฑาวุธและศัสตราวุธ มีความละอาย มีความเอ็นดู มุ่งประโยชน์
เกื้อกูลต่อสรรพสัตว์อยู่ตลอดวันหนึ่งและคืนหนึ่งนี้ในวันนี้ เพราะ
องค์แม้นี้ เราชื่อว่าทำตามพระอรหันต์ทั้งหลายและอยู่จำอุโบสถ
อุโบสถเป็นอันประกอบด้วยองค์ที่ ๑ นี้
๒. พระอรหันต์ทั้งหลายละเว้นขาดจากการลักทรัพย์ คือ รับเอาแต่ของ
ที่เขาให้ มุ่งหวังแต่ของที่เขาให้ ไม่เป็นขโมย เป็นคนสะอาดอยู่
ตลอดชีวิต แม้เราก็ละเว้นขาดจากการลักทรัพย์ รับเอาแต่ของ
ที่เขาให้ มุ่งหวังแต่ของที่เขาให้ ไม่เป็นขโมย เป็นคนสะอาดอยู่ตลอด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๐๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.อุโปสถวรรค ๑.สังขิตตุโปสถสูตร
วันหนึ่งและคืนหนึ่งนี้ในวันนี้ เพราะองค์แม้นี้ เราชื่อว่าทำตาม
พระอรหันต์ทั้งหลายและอยู่จำอุโบสถ อุโบสถเป็นอันประกอบด้วย
องค์ที่ ๒ นี้
๓. พระอรหันต์ทั้งหลายละพฤติกรรมอันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์ คือ
ประพฤติพรหมจรรย์ เว้นห่างไกลจากเมถุนธรรมอันเป็นกิจของชาว
บ้านอยู่ตลอดชีวิต แม้เราก็ละพฤติกรรมอันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์
คือ ประพฤติพรหมจรรย์ เว้นห่างไกลจากเมถุนธรรมอันเป็นกิจของ
ชาวบ้านอยู่ตลอดวันหนึ่งและคืนหนึ่งนี้ในวันนี้ เพราะองค์แม้นี้
เราชื่อว่าทำตามพระอรหันต์ทั้งหลายและอยู่จำอุโบสถ อุโบสถเป็น
อันประกอบด้วยองค์ที่ ๓ นี้
๔. พระอรหันต์ทั้งหลายละเว้นขาดจากการพูดเท็จ คือ พูดแต่คำสัตย์
ดำรงความสัตย์ มีถ้อยคำเป็นหลัก เชื่อถือได้ ไม่หลอกลวงชาว
โลกอยู่ตลอดชีวิต แม้เราก็ละเว้นขาดจากการพูดเท็จ คือ พูดแต่
คำสัตย์ ดำรงความสัตย์ มีถ้อยคำเป็นหลัก เชื่อถือได้ ไม่หลอกลวง
ชาวโลกอยู่ตลอดวันหนึ่งและคืนหนึ่งนี้ในวันนี้ เพราะองค์แม้นี้ เรา
ชื่อว่าทำตามพระอรหันต์ทั้งหลายและอยู่จำอุโบสถ อุโบสถเป็นอัน
ประกอบด้วยองค์ที่ ๔ นี้
๕. พระอรหันต์ทั้งหลายละเว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและ
เมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาทอยู่ตลอดชีวิต แม้เราก็ละเว้น
ขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัย อันเป็นเหตุแห่งความ
ประมาทอยู่ตลอดวันและคืนหนึ่งนี้ในวันนี้ เพราะองค์แม้นี้ เราชื่อว่า
ทำตามพระอรหันต์ทั้งหลายและอยู่จำอุโบสถ อุโบสถเป็นอันประกอบ
ด้วยองค์ที่ ๕ นี้
๖. พระอรหันต์ทั้งหลาย ฉันมื้อเดียว ไม่ฉันตอนกลางคืน เว้นขาดจาก
การฉันในเวลาวิกาลอยู่ตลอดชีวิต แม้เราก็บริโภคมื้อเดียว ไม่บริโภค

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.อุโปสถวรรค ๑.สังขิตตุโปสถสูตร
ตอนกลางคืน เว้นขาดจากการบริโภคในเวลาวิกาลอยู่ตลอดวันหนึ่ง
และคืนหนึ่งนี้ในวันนี้ เพราะองค์แม้นี้ เราชื่อว่าทำตามพระอรหันต์
ทั้งหลายและอยู่จำอุโบสถ อุโบสถเป็นอันประกอบด้วยองค์ที่ ๖ นี้
๗. พระอรหันต์ทั้งหลายละเว้นขาดจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคม
ดนตรี ดูการละเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศล การทัดทรง ประดับ ตกแต่ง
ร่างกายด้วยพวงดอกไม้ ของหอม และเครื่องประทินผิวอันเป็นลักษณะ
แห่งการแต่งตัวอยู่ตลอดชีวิต แม้เราก็ละเว้นขาดจากการฟ้อนรำ
ขับร้อง ประโคมดนตรี ดูการละเล่นที่เป็นข้าศึกแก่กุศล การทัดทรง
ประดับ ตกแต่งร่างกายด้วยพวงดอกไม้ ของหอม และเครื่องประทินผิว
อันเป็นลักษณะแห่งการแต่งตัวอยู่ตลอดวันหนึ่งและคืนหนึ่งนี้ในวันนี้
เพราะองค์แม้นี้ เราชื่อว่าทำตามพระอรหันต์ทั้งหลายและอยู่จำอุโบสถ
อุโบสถเป็นอันประกอบด้วยองค์ที่ ๗ นี้
๘. พระอรหันต์ทั้งหลายละเว้นขาดจากที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ นอนบน
ที่นอนต่ำ คือ บนเตียงหรือบนที่นอนที่ปูลาดด้วยหญ้าอยู่ตลอดชีวิต
แม้เราก็ละเว้นขาดจากที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ นอนบนที่นอนต่ำ
คือ บนเตียงหรือบนที่นอน ที่ปูลาดด้วยหญ้าอยู่ตลอดวันหนึ่งและ
คืนหนึ่งนี้ในวันนี้ เพราะองค์แม้นี้ เราชื่อว่าทำตามพระอรหันต์
ทั้งหลายและอยู่จำอุโบสถ อุโบสถเป็นอันประกอบด้วยองค์ที่ ๘ นี้
ภิกษุทั้งหลาย อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ที่บุคคลอยู่จำแล้ว ย่อมมี
ผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก แผ่ไพศาลมาก เป็นอย่างนี้แล”

สังขิตตุโปสถสูตรที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๐๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.อุโปสถวรรค ๒.วิตถตุโปสถสูตร
๒. วิตถตุโปสถสูตร
ว่าด้วยอุโบสถโดยพิสดาร
[๔๒] ภิกษุทั้งหลาย อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ที่บุคคลอยู่จำแล้ว
ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก แผ่ไพศาลมาก
อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ที่บุคคลอยู่จำแล้ว ย่อมมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก แผ่ไพศาลมาก เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เห็นประจักษ์ดังนี้ว่า๑
๑. พระอรหันต์ทั้งหลายละเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ คือ วางทัณฑาวุธ
และศัสตราวุธ มีความละอาย มีความเอ็นดู มุ่งประโยชน์เกื้อกูลต่อ
สรรพสัตว์อยู่ตลอดชีวิต แม้เราก็ละเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ คือ วาง
ทัณฑาวุธและศัสตราวุธ มีความละอาย มีความเอ็นดู มุ่งประโยชน์
เกื้อกูลต่อสรรพสัตว์อยู่ตลอดวันหนึ่งและคืนหนึ่งนี้ในวันนี้ เพราะ
องค์แม้นี้ เราชื่อว่าทำตามพระอรหันต์ทั้งหลายและอยู่จำอุโบสถ
อุโบสถเป็นอันประกอบด้วยองค์ที่ ๑ นี้
ฯลฯ๒
๘. พระอรหันต์ทั้งหลายละเว้นขาดจากที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ นอน
บนที่นอนต่ำ คือ บนเตียงหรือบนที่นอนที่ปูลาดด้วยหญ้าอยู่ตลอด
ชีวิต แม้เราก็ละเว้นขาดจากที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ นอนบนที่นอนต่ำ
คือ บนเตียงหรือบนที่นอนที่ปูลาดด้วยหญ้าอยู่ตลอดวันหนึ่งและ
คืนหนึ่งนี้ในวันนี้ เพราะองค์แม้นี้ เราชื่อว่าทำตามพระอรหันต์ทั้งหลาย
และอยู่จำอุโบสถ อุโบสถเป็นอันประกอบด้วยองค์ที่ ๘ นี้
ภิกษุทั้งหลาย อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ที่บุคคลอยู่จำแล้ว ย่อม
มีผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก แผ่ไพศาลมาก เป็นอย่างนี้แล

เชิงอรรถ :
๑ ดู องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๗๑/๒๘๖-๒๙๐
๒ องค์อุโบสถ ๘ ประการที่ถูกย่อ (ฯลฯ) ไว้ในข้อ ๔๒,๔๓,๔๕ ดูความเต็มในอัฏฐกนิบาต ข้อ ๔๑ (สังขิตตุ-
โปสถสูตร) หน้า ๓๐๓-๓๐๕ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๐๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.อุโปสถวรรค ๒.วิตถตุโปสถสูตร
อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ที่บุคคลอยู่จำแล้ว ย่อมมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก แผ่ไพศาลมาก เพียงไร
คือ เปรียบเหมือนพระราชาพระองค์ใดพึงครองราชย์ เป็นอิสราธิบดี (เป็น
ผู้ยิ่งใหญ่เหนือผู้อื่น)แห่งชนบทใหญ่ ๑๖ แคว้นที่สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการนี้
คือ อังคะ มคธะ กาสี โกสละ วัชชี มัลละ เจตี วังสะ กุรุ ปัญจาละ มัจฉะ สุรเสนะ
อัสสกะ อวันตี คันธาระ กัมโพชะ การครองราชย์ของพระราชาพระองค์นั้น ยังมีค่า
ไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะราช
สมบัติของมนุษย์เมื่อนำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์ ถือว่าเป็นของเล็กน้อย
๕๐ ปีของมนุษย์เท่ากับวันและคืนหนึ่งของเทวดาชั้นจาตุมหาราช ๓๐ ราตรี
โดยราตรีนั้น เป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น เป็น ๑ ปี ๕๐๐ ปีทิพย์โดยปีนั้น
เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นจาตุมหาราช ก็เรื่องนี้เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ คือ สตรีหรือ
บุรุษบางคนในโลกนี้รักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ หลังจากตายแล้วพึงไปเกิด
ร่วมกับเทวดาชั้นจาตุมหาราช ข้อนี้เรากล่าวหมายถึงเรื่องนี้แลว่า ราชสมบัติของ
มนุษย์เมื่อนำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์ ถือว่าเป็นของเล็กน้อย
๑๐๐ ปีของมนุษย์เท่ากับวันและคืนหนึ่งของเทวดาชั้นดาวดึงส์ ๓๐ ราตรีโดย
ราตรีนั้น เป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือน โดยเดือนนั้น เป็น ๑ ปี ๑,๐๐๐ ปีทิพย์โดย
ปีนั้น เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นดาวดึงส์ ก็เรื่องนี้เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ คือ สตรี
หรือบุรุษบางคนในโลกนี้รักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ หลังจากตายแล้วพึงไป
เกิดร่วมกับเทวดาชั้นดาวดึงส์ ข้อนี้เรากล่าวหมายถึงเรื่องนี้แลว่า ราชสมบัติของ
มนุษย์เมื่อนำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์ ถือว่าเป็นของเล็กน้อย
๒๐๐ ปีของมนุษย์เท่ากับวันและคืนหนึ่งของเทวดาชั้นยามา ๓๐ ราตรีโดย
ราตรีนั้น เป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น เป็น ๑ ปี ๒,๐๐๐ ปีทิพย์โดย
ปีนั้น เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นยามา ก็เรื่องนี้เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ คือ สตรีหรือ
บุรุษบางคนในโลกนี้รักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ หลังจากตายแล้วพึงไปเกิด
ร่วมกับเทวดาชั้นยามา ข้อนี้เรากล่าวหมายถึงเรื่องนี้แลว่า ราชสมบัติของมนุษย์
เมื่อนำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์ ถือว่าเป็นของเล็กน้อย
๔๐๐ ปีของมนุษย์เท่ากับวันและคืนหนึ่งของเทวดาชั้นดุสิต ๓๐ ราตรีโดย
ราตรีนั้น เป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น เป็น ๑ ปี ๔,๐๐๐ ปีทิพย์โดย
ปีนั้น เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นดุสิต ก็เรื่องนี้เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ คือ สตรีหรือ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๐๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.อุโปสถวรรค ๓.วิสาขาสูตร
บุรุษบางคนในโลกนี้รักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ หลังจากตายแล้วพึงไปเกิด
ร่วมกับเทวดาชั้นดุสิต ข้อนี้เรากล่าวหมายถึงเรื่องนี้แลว่า ราชสมบัติของมนุษย์เมื่อ
นำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์ ถือว่าเป็นของเล็กน้อย
๘๐๐ ปีของมนุษย์เท่ากับวันและคืนหนึ่งของเทวดาชั้นนิมมานรดี ๓๐ ราตรี
โดยราตรีนั้นเป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น เป็น ๑ ปี ๘,๐๐๐ ปีทิพย์โดยปีนั้น
เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นนิมมานรดี ก็เรื่องนี้เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ คือ สตรีหรือ
บุรุษบางคนในโลกนี้รักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ หลังจากตายแล้วพึงไปเกิด
ร่วมกับเทวดาชั้นนิมมานรดี ข้อนี้เรากล่าวหมายถึงเรื่องนี้แลว่า ราชสมบัติของ
มนุษย์เมื่อนำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์ ถือว่าเป็นของเล็กน้อย
๑,๖๐๐ ปีของมนุษย์เท่ากับวันและคืนหนึ่งของเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ๓๐
ราตรีโดยราตรีนั้น เป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น เป็น ๑ ปี ๑๖,๐๐๐ ปีทิพย์
โดยปีนั้น เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ก็เรื่องนี้เป็นสิ่งที่เป็นไปได้
คือ สตรีหรือบุรุษบางคนในโลกนี้รักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ หลังจากตาย
แล้วพึงไปเกิดร่วมกับเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ข้อนี้เรากล่าวหมายถึงเรื่องนี้แลว่า
ราชสมบัติของมนุษย์เมื่อนำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์ ถือว่าเป็นของเล็กน้อย
บุคคลไม่พึงฆ่าสัตว์ ไม่พึงลักทรัพย์
ไม่พึงพูดเท็จ ไม่พึงดื่มน้ำเมา
พึงงดเว้นจากเมถุนที่เป็นความประพฤติไม่ประเสริฐ
ไม่พึงบริโภคอาหารในเวลาวิกาล ในเวลากลางคืน
ไม่พึงทัดทรงดอกไม้ ไม่พึงลูบไล้ของหอม
และพึงนอนบนเตียง บนพื้น หรือบนที่ที่ปูลาดไว้
บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า
อุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล
ที่พระพุทธเจ้าผู้ถึงที่สุดทุกข์ทรงประกาศไว้
ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ทั้งสอง
งดงามส่องสว่าง โคจรไปทั่วสถานที่ประมาณเท่าใด
ก็ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์นั้น
กำจัดความมืดไปในอากาศ
ทำให้ทิศสว่างไสว ส่องแสงอยู่ในอากาศ
ทั่วสถานที่ประมาณเท่าใด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๐๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.อุโปสถวรรค ๓.วิสาขาสูตร
ทรัพย์ คือ แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์
ทองสิงคีและทองคำตลอดถึงทองชื่อว่าหฏกะ
เท่าที่มีอยู่ในสถานที่ประมาณเท่านั้น
และแสงดวงจันทร์ หมู่ดาวทั้งหมด
ยังไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖๑ แห่งอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘
เพราะฉะนั้นแล สตรีหรือบุรุษผู้มีศีล
รักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘
ทำบุญที่มีสุขเป็นกำไร ไม่ถูกนินทา ย่อมเข้าถึงสวรรค์
วิตถตุโปสถสูตรที่ ๒ จบ

๓. วิสาขาสูตร
ว่าด้วยทรงแสดงอุโบสถแก่นางวิสาขา
[๔๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ปราสาทของนางวิสาขามิคารมาตา
ในบุพพาราม เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น นางวิสาขามิคารมาตาเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า
“วิสาขา อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ที่บุคคลอยู่จำแล้ว ย่อมมี
ผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก แผ่ไพศาลมาก
อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ที่บุคคลอยู่จำแล้ว ย่อมมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก แผ่ไพศาลมาก เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เห็นประจักษ์ดังนี้ว่า
๑. พระอรหันต์ทั้งหลายละเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ คือ วางทัณฑาวุธ
และศัสตราวุธ มีความละอาย มีความเอ็นดู มุ่งประโยชน์เกื้อกูลต่อ
สรรพสัตว์อยู่ตลอดชีวิต แม้เราก็ละเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ คือ วาง

เชิงอรรถ :
๑ เสี้ยวที่ ๑๖ ในที่นี้หมายถึงอานิสงส์แห่งอุโบสถที่แบ่งเป็น ๑๖ ส่วน แล้วเอาส่วน ๑ ใน ๑๖ ส่วนนั้นมา
แบ่งเป็นอีก ๑๖ ส่วน แล้วเอาส่วนหนึ่งจาก ๑๖ ส่วนที่แบ่งครั้งที่ ๒ นั้นมาแบ่งเป็น ๑๖ ส่วนอีกครั้งหนึ่ง
เป็นครั้งที่ ๓ ส่วน ๑ ใน ๑๖ ส่วนที่แบ่งครั้งที่ ๓ นี้แหละจัดเป็นเสี้ยวที่ ๑๖ (ตามนัย สํ.อ. ๑/๒๔๒/๒๙๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๐๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.อุโปสถวรรค ๓.วิสาขาสูตร
ทัณฑาวุธและศัสตราวุธ มีความละอาย มีความเอ็นดู มุ่งประโยชน์
เกื้อกูลต่อสรรพสัตว์อยู่ตลอดวันหนึ่งและคืนหนึ่งนี้ในวันนี้ เพราะ
องค์แม้นี้ เราชื่อว่าทำตามพระอรหันต์ทั้งหลายและอยู่จำอุโบสถ
อุโบสถเป็นอันประกอบด้วยองค์ที่ ๑ นี้
ฯลฯ
๘. พระอรหันต์ทั้งหลายละเว้นขาดจากที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ นอน
บนที่นอนต่ำ คือ บนเตียงหรือบนที่นอนที่ปูลาดด้วยหญ้าอยู่ตลอด
ชีวิต แม้เราก็ละเว้นขาดจากที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ นอนบนที่
นอนต่ำ คือ บนเตียงหรือบนที่นอนที่ปูลาดด้วยหญ้าอยู่ตลอดวันหนึ่ง
และคืนหนึ่งนี้ในวันนี้ เพราะองค์แม้นี้ เราชื่อว่าทำตามพระอรหันต์
ทั้งหลายและอยู่จำอุโบสถ อุโบสถเป็นอันประกอบด้วยองค์ที่ ๘ นี้
วิสาขา อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ที่บุคคลเข้าจำแล้ว ย่อมมี
ผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก แผ่ไพศาลมาก เป็นอย่างนี้แล
อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ที่บุคคลอยู่จำแล้ว ย่อมมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก แผ่ไพศาลมาก เพียงไร
คือ เปรียบเหมือนพระราชาพระองค์ใดพึงครองราชย์ เป็นอิสราธิบดี (เป็นผู้
ยิ่งใหญ่เหนือผู้อื่น)แห่งชนบทใหญ่ ๑๖ แคว้นที่สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการนี้ คือ
อังคะ มคธะ กาสี โกสละ วัชชี มัลละ เจตี วังสะ กุรุ ปัญจาละ มัจฉะ สุรเสนะ อัสสกะ
อวันตี คันธาระ กัมโพชะ การครองราชย์ของพระราชาพระองค์นั้น ยังมีค่าไม่ถึงเสี้ยวที่
๑๖ แห่งอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะราชสมบัติของ
มนุษย์เมื่อนำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์ ถือว่าเป็นของเล็กน้อย
๕๐ ปีของมนุษย์เท่ากับวันและคืนหนึ่งของเทวดาชั้นจาตุมหาราช ๓๐ ราตรี
โดยราตรีนั้น เป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น เป็น ๑ ปี ๕๐๐ ปีทิพย์โดยปีนั้น
เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นจาตุมหาราช ก็เรื่องนี้เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ คือ สตรี
หรือบุรุษบางคนในโลกนี้รักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ หลังจากตายแล้วพึงไป
เกิดร่วมกับเทวดาชั้นจาตุมหาราช ข้อนี้เรากล่าวหมายถึงเรื่องนี้แลว่า ราชสมบัติของ
มนุษย์เมื่อนำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์ ถือว่าเป็นของเล็กน้อย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.อุโปสถวรรค ๓.วิสาขาสูตร
๑๐๐ ปีของมนุษย์เท่ากับวันและคืนหนึ่งของเทวดาชั้นดาวดึงส์ ๓๐ ราตรีโดย
ราตรีนั้น เป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น เป็น ๑ ปี ๑,๐๐๐ ปีทิพย์โดยปีนั้น
เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นดาวดึงส์ ก็เรื่องนี้เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ คือ สตรีหรือ
บุรุษบางคนในโลกนี้ รักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ หลังจากตายแล้วพึงไปเกิด
ร่วมกับเทวดาชั้นดาวดึงส์ ข้อนี้เรากล่าวหมายถึงเรื่องนี้แลว่า ราชสมบัติของมนุษย์
เมื่อนำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์ ถือว่าเป็นของเล็กน้อย
๒๐๐ ปีของมนุษย์ ฯลฯ๑
๔๐๐ ปีของมนุษย์ ฯลฯ
๘๐๐ ปีของมนุษย์ ฯลฯ
๑,๖๐๐ ปีของมนุษย์เท่ากับวันและคืนหนึ่งของเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ๓๐
ราตรีโดยราตรีนั้น เป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น เป็น ๑ ปี ๑๖,๐๐๐ ปีทิพย์
โดยปีนั้น เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ก็เรื่องนี้เป็นสิ่งที่เป็นไปได้
คือ สตรีหรือบุรุษบางคนในโลกนี้รักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ หลังจากตาย
แล้วพึงไปเกิดร่วมกับเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ข้อนี้เรากล่าวหมายถึงเรื่องนี้แลว่า
ราชสมบัติของมนุษย์เมื่อนำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์ ถือว่าเป็นของเล็กน้อย”
บุคคลไม่พึงฆ่าสัตว์ ไม่พึงลักทรัพย์
ไม่พึงพูดเท็จ ไม่พึงดื่มน้ำเมา
พึงงดเว้นจากเมถุนที่เป็นความประพฤติไม่ประเสริฐ
ไม่พึงบริโภคอาหารในเวลาวิกาล ในเวลากลางคืน
ไม่พึงทัดทรงดอกไม้ ไม่พึงลูบไล้ของหอม
และพึงนอนบนเตียง บนพื้น หรือบนที่ที่ปูลาดไว้
บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า
อุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล
ที่พระพุทธเจ้าผู้ถึงที่สุดทุกข์ทรงประกาศไว้
ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ทั้งสอง
งดงามส่องสว่าง โคจรไปทั่วสถานที่ประมาณเท่าใด

เชิงอรรถ :
๑ การคำนวณปีที่ถูกย่อ (ฯลฯ) ไว้ ในข้อ ๔๓,๔๕ ดูความเต็มในข้อ ๔๒ หน้า ๓๐๗-๓๐๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๑๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.อุโปสถวรรค ๔.วาเสฏฐสูตร
ก็ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์นั้น
กำจัดความมืดไปในอากาศ
ทำให้ทิศสว่างไสว ส่องแสงอยู่ในอากาศ
ทั่วสถานที่ประมาณเท่าใด
ทรัพย์ คือ แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์
ทองสิงคีและทองคำตลอดถึงทองชื่อว่าหฏกะ
เท่าที่มีอยู่ในสถานที่ประมาณเท่านั้น
และแสงดวงจันทร์ หมู่ดาวทั้งหมด
ยังไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘
เพราะฉะนั้นแล สตรีหรือบุรุษผู้มีศีล
รักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘
ทำบุญที่มีสุขเป็นกำไร ไม่ถูกนินทา ย่อมเข้าถึงสวรรค์
วิสาขาสูตรที่ ๓ จบ

๔. วาเสฏฐสูตร
ว่าด้วยอุบาสกชื่อว่าวาเสฏฐะ
[๔๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน
เขตกรุงเวสาลี ครั้งนั้น อุบาสกชื่อว่าวาเสฏฐะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า
“วาเสฏฐะ อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ที่บุคคลอยู่จำแล้ว ย่อมมี
ผลมาก ฯลฯ ไม่ถูกนินทา ย่อมเข้าถึงสวรรค์”๑

เชิงอรรถ :
๑ ข้อความที่ละ (ฯลฯ) ไว้จนถึงคำว่า ไม่ถูกนินทา ย่อมเข้าถึงสวรรค์ มีข้อความเต็มในพระสูตรที่ ๓
(วิสาขาสูตร) ในวรรคเดียวกันนี้ ตั้งแต่ย่อหน้าที่ ๒ จนถึงจบคาถา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.อุโปสถวรรค ๔.วาเสฏฐสูตร
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว วาเสฏฐอุบาสกได้กราบทูลพระผู้มีพระ
ภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ญาติและสาโลหิตผู้เป็นที่รักของข้าพระองค์ พึงอยู่จำ
อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ การอยู่จำอุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนั้น
พึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขตลอดกาลนานแก่ญาติและสาโลหิตผู้เป็นที่รักของข้าพระองค์
แม้หากกษัตริย์ทั้งปวงพึงอยู่จำอุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ การอยู่
จำอุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนั้น พึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขตลอดกาล
นานแก่กษัตริย์ทั้งปวง
แม้หากพราหมณ์ทั้งปวง ฯลฯ
แม้หากแพศย์ทั้งปวง ฯลฯ
แม้หากศูทรทั้งปวงพึงอยู่จำอุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ การอยู่จำ
อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนั้น พึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขตลอดกาล
นานแก่ศูทรทั้งปวง”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “วาเสฏฐะ ข้อนี้เป็นอย่างนั้น วาเสฏฐะ ข้อนี้เป็น
อย่างนั้น แม้หากกษัตริย์ทั้งปวงพึงอยู่จำอุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ การอยู่
จำอุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนั้น พึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขตลอดกาล
นานแก่กษัตริย์ทั้งปวง
แม้หากพราหมณ์ทั้งปวง ฯลฯ
แม้หากแพศย์ทั้งปวง ฯลฯ
แม้หากศูทรทั้งปวงพึงอยู่จำอุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ การอยู่จำ
อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนั้น พึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขตลอดกาลนาน
แก่ศูทรทั้งปวง
แม้หากชาวโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณ-
พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ พึงอยู่จำอุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ การอยู่จำ
อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนั้น พึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขตลอดกาล
นานแก่ชาวโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์
เทวดาและมนุษย์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.อุโปสถวรรค ๕.โพชฌาสูตร
แม้หากต้นสาละใหญ่ ๆ เหล่านั้น พึงอยู่จำอุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ
การอยู่จำอุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนั้น พึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขตลอด
กาลนานแก่ต้นสาละใหญ่ ๆ เหล่านั้น จะป่วยกล่าวไปใยถึงผู้เกิดเป็นมนุษย์เล่า”
วาเสฏฐสูตรที่ ๔ จบ

๕. โพชฌาสูตร
ว่าด้วยอุบาสิกาชื่อว่าโพชฌา
[๔๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี ครั้งนั้นแล โพชฌาอุบาสิกาเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง
ที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า
“โพชฌา อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ที่บุคคลอยู่จำแล้ว ย่อมมี
ผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก แผ่ไพศาลมาก
อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ที่บุคคลอยู่จำแล้ว ย่อมมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก แผ่ไพศาลมาก เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เห็นประจักษ์ดังนี้ว่า
๑. พระอรหันต์ทั้งหลายละเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ คือ วางทัณฑาวุธ
และศัสตราวุธ มีความละอาย มีความเอ็นดู มุ่งประโยชน์เกื้อกูล
ต่อสรรพสัตว์อยู่ตลอดชีวิต แม้เราก็ละเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ คือ
วางทัณฑาวุธและศัสตราวุธ มีความละอาย มีความเอ็นดู
มุ่งประโยชน์เกื้อกูลต่อสรรพสัตว์อยู่ตลอดวันหนึ่งและคืนหนึ่งนี้
ในวันนี้ เพราะองค์แม้นี้ เราชื่อว่าทำตามพระอรหันต์ทั้งหลายและ
อยู่จำอุโบสถ อุโบสถเป็นอันประกอบด้วยองค์ที่ ๑ นี้
ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๑๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.อุโปสถวรรค ๕.โพชฌาสูตร
๘. พระอรหันต์ทั้งหลายละเว้นขาดจากที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ นอน
บนที่นอนต่ำ คือ บนเตียงหรือบนที่นอนที่ปูลาดด้วยหญ้าอยู่ตลอด
ชีวิต แม้เราก็ละเว้นขาดจากที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ นอนบนที่นอนต่ำ
คือ บนเตียงหรือบนที่นอนที่ปูลาดด้วยหญ้าอยู่ตลอดวันหนึ่งและ
คืนหนึ่งนี้ในวันนี้ เพราะองค์แม้นี้ เราชื่อว่าทำตามพระอรหันต์
ทั้งหลายและอยู่จำอุโบสถ อุโบสถเป็นอันประกอบด้วยองค์ที่ ๘ นี้
โพชฌา อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ที่บุคคลอยู่จำแล้ว ย่อมมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก แผ่ไพศาลมาก เป็นอย่างนี้
อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ที่บุคคลอยู่จำแล้ว ย่อมมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก แผ่ไพศาลมาก เพียงไร
คือ เปรียบเหมือนพระราชาพระองค์ใดพึงครองราชย์ เป็นอิสราธิบดี (เป็นผู้ยิ่ง
ใหญ่เหนือผู้อื่น)แห่งชนบทใหญ่ ๑๖ แคว้นที่สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการเหล่านี้ คือ
อังคะ มคธะ กาสี โกสละ วัชชี มัลละ เจตี วังสะ กุรุ ปัญจาละ มัจฉะ สุรเสนะ
อัสสกะ อวันตี คันธาระ กัมโพชะ การครองราชย์ของพระราชาพระองค์นั้น ยังมี
ค่าไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ
ราชสมบัติของมนุษย์เมื่อนำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์ ถือว่าเป็นของเล็กน้อย
๕๐ ปีของมนุษย์เท่ากับวันและคืนหนึ่งของเทวดาชั้นจาตุมหาราช ๓๐ ราตรี
ีโดยราตรีนั้น เป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น เป็น ๑ ปี ๕๐๐ ปีทิพย์โดยปีนั้น
เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นจาตุมหาราช ก็เรื่องนี้เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ คือ สตรี
หรือบุรุษบางคนในโลกนี้รักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ หลังจากตายแล้วพึงไป
เกิดร่วมกับเทวดาชั้นจาตุมหาราช ข้อนี้เรากล่าวหมายถึงเรื่องนี้แลว่า ราชสมบัติ
ของมนุษย์เมื่อนำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์ ถือว่าเป็นของเล็กน้อย
๑๐๐ ปีของมนุษย์ ฯลฯ
๒๐๐ ปีของมนุษย์ ฯลฯ
๔๐๐ ปีของมนุษย์ ฯลฯ
๘๐๐ ปีของมนุษย์ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.อุโปสถวรรค ๕.โพชฌาสูตร
๑,๖๐๐ ปีของมนุษย์เท่ากับวันและคืนหนึ่งของเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ๓๐
ราตรีโดยราตรีนั้น เป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น เป็น ๑ ปี ๑๖,๐๐๐ ปีทิพย์
โดยปีนั้น เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ก็เรื่องนี้เป็นสิ่งที่เป็นไปได้
คือ สตรีหรือบุรุษบางคนในโลกนี้รักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ หลังจากตาย
แล้วพึงไปเกิดร่วมกับเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ข้อนี้เรากล่าวหมายถึงเรื่องนี้แลว่า
ราชสมบัติของมนุษย์เมื่อนำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์ ถือว่าเป็นของเล็กน้อย”
บุคคลไม่พึงฆ่าสัตว์ ไม่พึงลักทรัพย์
ไม่พึงพูดเท็จ ไม่พึงดื่มน้ำเมา
พึงงดเว้นจากเมถุนที่เป็นความประพฤติไม่ประเสริฐ
ไม่พึงบริโภคอาหารในเวลาวิกาลในเวลากลางคืน
ไม่พึงทัดทรงดอกไม้ ไม่พึงลูบไล้ของหอม
และพึงนอนบนเตียง บนพื้น หรือบนที่ที่ปูลาดไว้
บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า
อุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล
ที่พระพุทธเจ้าผู้ถึงที่สุดทุกข์ทรงประกาศไว้
ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ทั้งสอง
งดงามส่องสว่าง โคจรไปทั่วสถานที่ประมาณเท่าใด
ก็ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์นั้น
กำจัดความมืดไปในอากาศ
ทำให้ทิศสว่างไสว ส่องแสงอยู่ในอากาศ
ทั่วสถานที่ประมาณเท่าใด
ทรัพย์ คือ แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์
ทองสิงคีและทองคำตลอดถึงทองชื่อว่าหฏกะ
เท่าที่มีอยู่ในสถานที่ประมาณเท่านั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๑๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.อุโปสถวรรค ๖.อนุรุทธสูตร
และแสงดวงจันทร์ หมู่ดาวทั้งหมด
ยังไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘
เพราะฉะนั้นแล สตรีหรือบุรุษผู้มีศีล
รักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘
ทำบุญที่มีสุขเป็นกำไร ไม่ถูกนินทา ย่อมเข้าถึงสวรรค์
โพชฌาสูตรที่ ๕ จบ

๖. อนุรุทธสูตร
ว่าด้วยพระอนุรุทธะ
[๔๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี
สมัยนั้น ท่านพระอนุรุทธะพักผ่อนกลางวัน หลีกเร้นอยู่ ครั้งนั้น เทวดาเหล่า
มนาปกายิกา๑จำนวนมาก ได้เข้าไปหาท่านพระอนุรุทธะถึงที่อยู่ ไหว้แล้วยืนอยู่
ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับท่านพระอนุรุทธะดังนี้ว่า
“ท่านพระอนุรุทธะผู้เจริญ พวกข้าพเจ้าเป็นเทวดาเหล่ามนาปกายิกา ครองความ
เป็นใหญ่และแผ่อำนาจไปในฐานะ ๓ ประการ คือ
๑. พวกข้าพเจ้าหวังวรรณะเช่นใด ก็ได้วรรณะเช่นนั้นโดยพลัน
๒. พวกข้าพเจ้าหวังเสียงเช่นใด ก็ได้เสียงเช่นนั้นโดยพลัน
๓. พวกข้าพเจ้าหวังสุขเช่นใด ก็ได้สุขเช่นนั้นโดยพลัน
ท่านพระอนุรุทธะผู้เจริญ พวกข้าพเจ้าเป็นเทวดาเหล่ามนาปกายิกา ครองความ
เป็นใหญ่และแผ่อำนาจไปในฐานะ ๓ ประการนี้แล”

เชิงอรรถ :
๑ เทวดาเหล่ามนาปกายิกา หมายถึงเทวดาชั้นนิมมานรดี เทวดาเหล่านี้เรียกว่า เทพนิมมานรดี และเทพ
มนาปา เพราะเนรมิตรูปตามที่ตนปรารถนาได้ และชื่นชมรูปที่เนรมิตนั้น (องฺ.ปญฺจก.อ.๓/๓๓/๒๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.อุโปสถวรรค ๖.อนุรุทธสูตร
ครั้งนั้นแล ท่านพระอนุรุทธะได้มีความดำริว่า “ไฉนหนอ เทวดาเหล่านี้
ทั้งหมดพึงมีร่างเขียว มีผิวพรรณเขียว มีผ้าเขียว มีเครื่องประดับเขียว”
ลำดับนั้น เทวดาเหล่านั้นได้ทราบความดำริของท่านพระอนุรุทธะแล้ว ทั้งหมด
จึงแปลงร่างเขียว มีผิวพรรณเขียว มีผ้าเขียว มีเครื่องประดับเขียว
ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทธะได้มีความดำริว่า “ไฉนหนอ เทวดาเหล่านี้ทั้งหมด
พึงมีร่างเหลือง ฯลฯ มีร่างแดง ฯลฯ มีร่างขาว มีผิวพรรณขาว มีผ้าขาว มีเครื่อง
ประดับขาว”
ลำดับนั้น เทวดาเหล่านั้นได้ทราบความดำริของท่านพระอนุรุทธะแล้ว ทั้งหมด
จึงแปลงร่างขาว มีผิวพรรณขาว มีผ้าขาว มีเครื่องประดับขาว
บรรดาเทวดาเหล่านั้น เทวดาบางองค์ขับร้อง บางองค์ฟ้อนรำ บางองค์ปรบมือ
เครื่องประดับของเทวดาเหล่านั้นมีเสียงไพเราะ จับใจ เร้าใจ ชวนให้เคลิบเคลิ้ม
และหลงใหล๑ เปรียบเหมือนดนตรีมีองค์ ๕๒ ที่นักดนตรีผู้เชี่ยวชาญปรับดีแล้ว
ประโคมดีแล้ว บรรเลงดีแล้ว มีเสียงไพเราะ จับใจ เร้าใจ ชวนให้เคลิบเคลิ้ม
และหลงใหล
ลำดับนั้น ท่านพระอนุรุทธะได้ทอดอินทรีย์ลง๓
เทวดาเหล่านั้นทราบว่า “พระคุณเจ้าอนุรุทธะไม่ยินดีเลย” จึงหายไป ณ ที่นั้นเอง
ครั้นเวลาเย็นท่านพระอนุรุทธะได้ออกจากที่หลีกเร้น๔ เข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า

เชิงอรรถ :
๑ หลงใหล ในที่นี้หมายถึงทำให้เกิดความมัวเมาเพราะมานะและความมัวเมาเพราะความเป็นชาย (องฺ.อฏฺฐก.อ.
๓/๔๖/๒๖๐)
๒ ดนตรีมีองค์ ๕ คือ (๑) อาตตะ กลองขึงหนังหน้าเดียว (๒) วิตตะ ตะโพน (๓) อาตตวิตตะ บัณเฑาะว์
(๔) สุสิระ ปี่หรือขลุ่ย (๕) ฆนะ ดาลที่เคาะด้วยศิลาและแผ่นเหล็ก (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๔๖/๒๕๙, อภิธา.
คาถา ๑๓๙-๑๔๐)
๓ ทอดอินทรีย์ลง ในที่นี้หมายถึงทอดสายตาลง ไม่ลืมตาดู (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๔๖/๒๖๐)
๔ ดูเชิงอรรถที่ ๑ สัตตกนิบาต ข้อ ๗๐ หน้า ๑๕๐ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.อุโปสถวรรค ๖.อนุรุทธสูตร
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ข้าพระองค์พักผ่อนกลางวัน
หลีกเร้นอยู่ ครั้งนั้น เทวดาเหล่ามนาปกายิกาจำนวนมากได้เข้ามาหาข้าพระองค์
ถึงที่อยู่ ไหว้แล้ว ยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับข้าพระองค์ดังนี้ว่า
‘ท่านพระอนุรุทธะผู้เจริญ พวกข้าพเจ้าเป็นเทวดาเหล่ามนาปกายิกา ครองความ
เป็นใหญ่และแผ่อำนาจไปในฐานะ ๓ ประการ คือ
๑. พวกข้าพเจ้าหวังวรรณะเช่นใด ก็ได้วรรณะเช่นนั้นโดยพลัน
๒. พวกข้าพเจ้าหวังเสียงเช่นใด ก็ได้เสียงเช่นนั้นโดยพลัน
๓. พวกข้าพเจ้าหวังสุขเช่นใด ก็ได้สุขเช่นนั้นโดยพลัน
ท่านพระอนุรุทธะผู้เจริญ พวกข้าพเจ้าเป็นเทวดาเหล่ามนาปกายิกา ครองความ
เป็นใหญ่และแผ่อำนาจไปในฐานะ ๓ ประการนี้แล’
ข้าพระองค์นั้นได้มีความดำริว่า ‘ไฉนหนอ เทวดาเหล่านี้ทั้งหมดพึงมีร่างเขียว
มีผิวพรรณเขียว มีผ้าเขียว มีเครื่องประดับเขียว’ ลำดับนั้น เทวดาเหล่านั้นได้ทราบ
ความดำริของข้าพระองค์แล้ว ทั้งหมดจึงแปลงร่างเขียว มีผิวพรรณเขียว มีผ้าเขียว
มีเครื่องประดับเขียว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์นั้นได้มีความดำริว่า
‘ไฉนหนอ เทวดาเหล่านี้ ทั้งหมดพึงมีร่างเหลือง ฯลฯ มีร่างแดง ฯลฯ มีร่างขาว
มีผิวพรรณขาว มีผ้าขาว มีเครื่องประดับขาว’ ลำดับนั้น เทวดาเหล่านั้นได้ทราบ
ความดำริของข้าพระองค์แล้ว ทั้งหมดจึงแปลงร่างขาว มีผิวพรรณขาว มีผ้าขาว
และมีเครื่องประดับขาว
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บรรดาเทวดาเหล่านั้น เทวดาบางองค์ขับร้อง บางองค์
ฟ้อนรำ บางองค์ปรบมือ เครื่องประดับของเทวดาเหล่านั้นมีเสียงไพเราะ จับใจ
เร้าใจ ชวนให้เคลิบเคลิ้ม และหลงใหล เปรียบเหมือนดนตรีมีองค์ ๕ ที่นักดนตรี
ผู้เชี่ยวชาญปรับดี ประโคมดีแล้ว บรรเลงดีแล้ว มีเสียงไพเราะ จับใจ เร้าใจ ชวนให้
เคลิบเคลิ้ม และหลงใหล ข้าพระองค์ได้ทอดอินทรีย์ลง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๑๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.อุโปสถวรรค ๖.อนุรุทธสูตร
เทวดาเหล่านั้นทราบว่า ‘พระคุณเจ้าอนุรุทธะไม่ยินดีเลย’ จึงหายไป ณ
ที่นั้นเอง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มาตุคามประกอบด้วยธรรมเท่าไรหนอ หลังจาก
ตายแล้ว ย่อมไปเกิดร่วมกับเทวดาเหล่ามนาปกายิกา”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อนุรุทธะ มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้
หลังจากตายแล้ว ย่อมไปเกิดร่วมกับเทวดาเหล่ามนาปกายิกา
ธรรม ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. มารดาบิดาผู้ปรารถนาประโยชน์ หวังเกื้อกูลอนุเคราะห์ด้วยความ
เอ็นดู ยกเธอให้สามีใด เธอต้องตื่นก่อนนอนทีหลังสามีนั้น คอยรับใช้
ปฏิบัติให้เป็นที่พอใจเขา พูดคำไพเราะต่อเขา
๒. ชนเหล่าใดเป็นที่เคารพของสามี คือ มารดา บิดา หรือสมณ-
พราหมณ์ เธอสักการะเคารพ นับถือ บูชาชนเหล่านั้น และต้อนรับ
ท่านเหล่านั้นผู้มาถึงแล้วด้วยน้ำและเสนาสนะ
๓. การงานเหล่าใดเป็นการงานในบ้านสามี คือ การทอผ้าขนสัตว์
หรือผ้าฝ้าย เธอเป็นคนขยันไม่เกียจคร้านในการงานเหล่านั้น ประกอบ
ด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาอันเป็นอุบายในการงานเหล่านั้น
สามารถทำ สามารถจัดได้
๔. รู้จักการงานที่คนในบ้านสามี คือ ทาส คนใช้ หรือกรรมกร ว่าทำ
แล้วหรือยังไม่ได้ทำ รู้อาการของคนเหล่านั้นที่เป็นไข้ว่าดีขึ้นหรือ
ทรุดลง และแบ่งปันของกิน ของใช้ให้ตามส่วนที่ควร
๕. เธอรักษาคุ้มครองสิ่งที่สามีหามาได้ เป็นทรัพย์ ข้าว เงิน หรือทอง
ก็ตาม ไม่เป็นนักเลงการพนัน ไม่เป็นขโมย ไม่เป็นนักเลงสุรา
ไม่ล้างผลาญทรัพย์สมบัติ
๖. เธอเป็นอุบาสิกา ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ถึงพระธรรมเป็นสรณะ
ถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๒๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.อุโปสถวรรค ๖.อนุรุทธสูตร
๗. เธอเป็นผู้มีศีล คือ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์
เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้น
ขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความ
ประมาท
๘. เธอเป็นผู้มีจาคะ คือ มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน มีจาคะ
อันสละแล้ว มีฝ่ามือชุ่ม๑ ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีใน
การแจกทานอยู่ครองเรือน
อนุรุทธะ มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้แล หลังจากตายแล้ว
ย่อมไปเกิดร่วมกับเทวดาเหล่ามนาปกายิกา”
สตรีผู้เป็นบัณฑิต ย่อมไม่ดูหมิ่นสามี
ผู้มีความเพียร ขวนขวายเป็นนิตย์
เลี้ยงตนเองทุกเมื่อ ผู้ให้สิ่งที่ต้องการได้ทุกอย่าง
ไม่ทำให้สามีขุ่นเคืองด้วยการแสดงความหึงหวง
ยกย่องทุกคนที่สามีเคารพ เป็นคนขยัน ไม่เกียจคร้าน
สงเคราะห์คนข้างเคียงของสามี
ปฏิบัติถูกใจสามี รักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้
สตรีผู้ยังประพฤติตามใจสามีอยู่อย่างนี้
จะเข้าถึงความเป็นเทวดาเหล่ามนาปกายิกา๒
อนุรุทธสูตรที่ ๖ จบ

เชิงอรรถ :
๑ มีฝ่ามือชุ่ม อรรถกถาอธิบายว่า ถ้าคนไม่มีศรัทธา แม้จะล้างมือถึง ๗ ครั้ง ก็ชื่อว่ายังมีมือไม่ได้ล้าง มีมือ
สกปรก แต่คนมีศรัทธา แม้มีมือสกปรก ก็ชื่อว่าได้ล้างมือสะอาดแล้ว (องฺ.ติก.อ. ๒/๔๒/๑๔๘)
๒ องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๓๓/๕๒-๕๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๒๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.อุโปสถวรรค ๗.ทุติยวิสาขาสูตร
๗. ทุติยวิสาขาสูตร
ว่าด้วยนางวิสาขา สูตรที่ ๒
[๔๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ปราสาทของนางวิสาขา-
มิคารมาตา ในบุพพาราม เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น นางวิสาขามิคารมาตา ฯลฯ
นั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า
“วิสาขา มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้ หลังจากตายแล้ว ย่อมไป
เกิดร่วมกับเทวดาเหล่ามนาปกายิกา
ธรรม ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. มารดาบิดาผู้ปรารถนาประโยชน์ หวังเกื้อกูลอนุเคราะห์ด้วย
ความเอ็นดู ยกเธอให้สามีใด เธอต้องตื่นก่อนนอนทีหลังสามีนั้น
คอยรับใช้ ปฏิบัติให้เป็นที่พอใจเขา พูดคำไพเราะต่อเขา
ฯลฯ๑
๘. เธอเป็นผู้มีจาคะ คือ มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน
มีจาคะอันสละแล้ว มีฝ่ามือชุ่ม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ
ยินดีในการแจกทานอยู่ครองเรือน
วิสาขา มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้แล หลังจากตายแล้ว ย่อม
ไปเกิดร่วมกับเทวดาเหล่ามนาปกายิกา”
สตรีผู้เป็นบัณฑิต ย่อมไม่ดูหมิ่นสามี
ผู้มีความเพียร ขวนขวายเป็นนิตย์
เลี้ยงตนเองทุกเมื่อ ผู้ให้สิ่งที่ต้องการได้ทุกอย่าง
ไม่ทำให้สามีขุ่นเคืองด้วยการแสดงความหึงหวง
ยกย่องทุกคนที่สามีเคารพ เป็นคนขยัน ไม่เกียจคร้าน

เชิงอรรถ :
๑ องค์ธรรมที่ถูกย่อ (ฯลฯ) ไว้ในข้อ ๔๗,๔๘ ดูความเต็มในอัฏฐกนิบาตข้อ ๔๖ (อนุรุทธสูตร) หน้า ๓๒๐-๓๒๑
ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.อุโปสถวรรค ๘.นกุลมาตาสูตร
สงเคราะห์คนข้างเคียงของสามี
ปฏิบัติถูกใจสามี รักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้
สตรีผู้ยังประพฤติตามใจสามีอยู่อย่างนี้
จะเข้าถึงความเป็นเทวดาเหล่ามนาปกายิกา
ทุติยวิสาขาสูตรที่ ๗ จบ

๘. นกุลมาตาสูตร
ว่าด้วยนกุลมาตาคหปตานี
[๔๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ เภสกฬามิคทายวัน เขตกรุง
สุงสุมารคิระ แคว้นภัคคะ ครั้งนั้น นกุลมาตาคหปตานีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับแล้ว ฯลฯ นั่งแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า
“นกุลมาตา มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้ หลังจากตายแล้ว ย่อม
ไปเกิดร่วมกับเทวดาเหล่ามนาปกายิกา
ธรรม ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. มารดาบิดาผู้ปรารถนาประโยชน์ หวังเกื้อกูลอนุเคราะห์ด้วย
ความเอ็นดู ยกเธอให้สามีใด เธอต้องตื่นก่อนนอนทีหลังสามีนั้น
คอยรับใช้ ปฏิบัติให้เป็นที่พอใจเขา พูดคำไพเราะต่อเขา
ฯลฯ
๘. เธอเป็นผู้มีจาคะ คือ มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน
มีจาคะอันสละแล้ว มีฝ่ามือชุ่ม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ
ยินดีในการแจกทานอยู่ครองเรือน
นกุลมาตา มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้แล หลังจากตายแล้ว
ย่อมไปเกิดร่วมกับเทวดาเหล่ามนาปกายิกา”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.อุโปสถวรรค ๙.ปฐมอิธโลกิกสูตร
สตรีผู้เป็นบัณฑิต ย่อมไม่ดูหมิ่นสามี
ผู้มีความเพียร ขวนขวายเป็นนิตย์
เลี้ยงตนเองทุกเมื่อ ผู้ให้สิ่งที่ต้องการได้ทุกอย่าง
ไม่ทำให้สามีขุ่นเคืองด้วยการแสดงความหึงหวง
ยกย่องทุกคนที่สามีเคารพ เป็นคนขยัน ไม่เกียจคร้าน
สงเคราะห์คนข้างเคียงของสามี
ปฏิบัติถูกใจสามี รักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้
สตรีผู้ยังประพฤติตามใจสามีอยู่อย่างนี้
จะเข้าถึงความเป็นเทวดาเหล่ามนาปกายิกา
นกุลมาตาสูตรที่ ๘ จบ

๙. ปฐมอิธโลกิกสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อชัยชนะในโลกนี้ สูตรที่ ๑
[๔๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ปราสาทของนางวิสาขา-
มิคารมาตา ในบุพพาราม เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น นางวิสาขามิคารมาตาเข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ แล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึง
ได้ตรัสดังนี้ว่า
“วิสาขา มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อชัย
ชนะในโลกนี้ ปรารภโลกนี้๑
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
มาตุคามในโลกนี้
๑. จัดการงานดี ๒. สงเคราะห์คนข้างเคียง
๓. ปฏิบัติถูกใจสามี ๔. รักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงมีความขยันหมั่นเพียร มุ่งทำการงานในโลกนี้ให้สำเร็จโดยเรียบร้อย (องฺ.อฏฺฐก.อ.๓/๔๙-๕๐/๒๖๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๒๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.อุโปสถวรรค ๙.ปฐมอิธโลกิกสูตร
มาตุคามผู้จัดการงานดี เป็นอย่างไร
คือ มาตุคามในโลกนี้เป็นคนขยัน ไม่เกียจคร้านในการงานภายในบ้านสามี
คือ การทอผ้าขนสัตว์ หรือผ้าฝ้าย ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาอันเป็น
อุบาย ในการงานเหล่านั้น สามารถทำ สามารถจัดได้
มาตุคามผู้จัดการงานดี เป็นอย่างนี้แล
มาตุคามผู้สงเคราะห์คนข้างเคียง เป็นอย่างไร
คือ มาตุคามในโลกนี้รู้จักการงานที่คนในบ้านสามี คือ ทาส คนใช้ หรือ
กรรมกรว่าทำแล้วหรือยังไม่ได้ทำ รู้อาการของคนเหล่านั้นที่เป็ไข้ว่าดีขึ้นหรือทรุดลง
และแบ่งปันของกิน ของใช้ให้ตามส่วนที่ควร
มาตุคามผู้สงเคราะห์คนข้างเคียง เป็นอย่างนี้แล
มาตุคามปฏิบัติถูกใจสามี เป็นอย่างไร
คือ มาตุคามในโลกนี้ไม่ล่วงละเมิดสิ่งที่ไม่เป็นที่พอใจของสามี แม้เพราะเหตุ
แห่งชีวิต
มาตุคามปฏิบัติถูกใจสามี เป็นอย่างนี้แล
มาตุคามรักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้ เป็นอย่างไร
คือ มาตุคามในโลกนี้รักษาคุ้มครองสิ่งที่สามีหามาได้ เป็นทรัพย์ ข้าว เงิน
หรือทองก็ตาม ไม่เป็นนักเลงการพนัน ไม่เป็นขโมย ไม่เป็นนักเลงสุรา ไม่ผลาญ
ทรัพย์สมบัติ
มาตุคามรักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้ เป็นอย่างนี้แล
วิสาขา มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อ
ชัยชนะในโลกนี้ ปรารภโลกนี้
วิสาขา มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อชัยชนะ
ในโลกหน้า ปรารภโลกหน้า


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.อุโปสถวรรค ๙.ปฐมอิธโลกิกสูตร
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
มาตุคามในโลกนี้
๑. ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ๒. ถึงพร้อมด้วยศีล
๓. ถึงพร้อมด้วยจาคะ ๔. ถึงพร้อมด้วยปัญญา
มาตุคามผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา เป็นอย่างไร
คือ มาตุคามในโลกนี้เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อปัญญาตรัสรู้ของตถาคตว่า ‘แม้เพราะ
เหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ
เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้
อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็น
พระผู้มีพระภาค’
มาตุคามผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา เป็นอย่างนี้แล
มาตุคามผู้ถึงพร้อมด้วยศีล เป็นอย่างไร
คือ มาตุคามในโลกนี้เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ เว้นขาดจากการเสพ
ของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท
มาตุคามผู้ถึงพร้อมด้วยศีล เป็นอย่างนี้แล
มาตุคามผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะ เป็นอย่างไร
คือ มาตุคามในโลกนี้มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน มีจาคะอันสละแล้ว
มีฝ่ามือชุ่ม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการแจกทาน อยู่ครองเรือน
มาตุคามผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะ เป็นอย่างนี้แล
มาตุคามผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา เป็นอย่างไร
คือ มาตุคามในโลกนี้เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่อง
พิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลสให้ถึงความสิ้นทุกข์
โดยชอบ
มาตุคามผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา เป็นอย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.อุโปสถวรรค ๑๐.ทุติยอิธโลกิกสูตร
วิสาขา มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อ
ชัยชนะในโลกหน้า ปรารภโลกหน้า”
ภรรยาเป็นผู้จัดการงานดี
สงเคราะห์คนข้างเคียง ปฏิบัติถูกใจสามี
รักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้
เป็นผู้มีศรัทธา ถึงพร้อมด้วยศีล
รู้ความประสงค์ของผู้ขอ๑ ปราศจากความตระหนี่
ชำระทางแห่งประโยชน์ที่มีอยู่ในชาติหน้าอยู่เป็นนิตย์
ธรรม ๘ ประการดังกล่าวมานี้ มีอยู่แก่สตรีใด
สตรีนั้น นักปราชญ์ทั้งหลายเรียกว่า
‘ผู้มีศีล ตั้งอยู่ในธรรม กล่าวคำสัตย์’
อุบาสิกาเช่นนั้นผู้ถึงพร้อมด้วยอาการ ๑๖ อย่าง
ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ เป็นผู้มีศีล
ย่อมเกิดในเทวโลกชื่อว่ามนาปกายิกะ
ปฐมอิธโลกิกสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ทุติยอิธโลกิกสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อชัยชนะในโลกนี้ สูตรที่ ๒
[๕๐] ภิกษุทั้งหลาย มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ชื่อว่าเป็นผู้
ปฏิบัติเพื่อชัยชนะในโลกนี้ ปรารภโลกนี้

เชิงอรรถ :
๑ รู้ความประสงค์ของผู้ขอ ในที่นี้หมายถึงรู้อาการของผู้ขอ เช่น เห็นภิกษุเที่ยวบิณฑบาตยืนที่ประตูเรือน
ของตน แม้ท่านจะนิ่งไม่ออกปากขอก็รู้ความหมายได้ว่า ‘ท่านกำลังขอซึ่งเป็นการขออย่างพระอริยะ’ เมื่อรู้
แล้วก็จัดแจงไทยธรรมถวายท่านด้วยคิดว่า ‘พวกเราหุงต้มเองได้ แต่ท่านหุงต้มเองไม่ได้แล้วท่านจะหาภัตร
ได้ที่ไหน’ (องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๓๖-๓๗/๒๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.อุโปสถวรรค ๑๐.ทุติยอิธโลกิกสูตร
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
มาตุคามในโลกนี้
๑. จัดการงานดี ๒. สงเคราะห์คนข้างเคียง
๓. ปฏิบัติถูกใจสามี ๔. รักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้
มาตุคามผู้จัดการงานดี เป็นอย่างไร
คือ มาตุคามในโลกนี้เป็นคนขยัน ไม่เกียจคร้านในการงานภายในบ้านสามี
ฯลฯ มาตุคามผู้จัดการงานดี เป็นอย่างนี้แล
มาตุคามผู้สงเคราะห์คนข้างเคียง เป็นอย่างไร
คือ มาตุคามในโลกนี้รู้จักการงานที่คนในบ้านสามี ฯลฯ มาตุคามผู้สงเคราะห์
คนข้างเคียง เป็นอย่างนี้แล
มาตุคามปฏิบัติถูกใจสามี เป็นอย่างไร
คือ มาตุคามในโลกนี้ไม่ล่วงละเมิดสิ่งที่ไม่เป็นที่พอใจของสามี แม้เพราะเหตุ
แห่งชีวิต มาตุคามปฏิบัติถูกใจสามี เป็นอย่างนี้แล
มาตุคามรักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้ เป็นอย่างไร
คือ มาตุคามในโลกนี้รักษาคุ้มครองสิ่งที่สามีหามาได้ ฯลฯ มาตุคามรักษา
ทรัพย์ที่สามีหามาได้ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ชื่อว่าเป็นผู้
ปฏิบัติเพื่อชัยชนะในโลกนี้ ปรารภโลกนี้
ภิกษุทั้งหลาย มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติ
เพื่อชัยชนะในโลกหน้า ปรารภโลกหน้า
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
มาตุคามในโลกนี้
๑. ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ๒. ถึงพร้อมด้วยศีล
๓. ถึงพร้อมด้วยจาคะ ๔. ถึงพร้อมด้วยปัญญา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.อุโปสถวรรค ๑๐.ทุติยอิธโลกิกสูตร
มาตุคามผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา เป็นอย่างไร
คือ มาตุคามในโลกนี้เป็นผู้มีศรัทธา ฯลฯ มาตุคามผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา
เป็นอย่างนี้แล
มาตุคามผู้ถึงพร้อมด้วยศีล เป็นอย่างไร
คือ มาตุคามในโลกนี้เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ เว้นขาดจากการเสพ
ของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท มาตุคามผู้ถึงพร้อมด้วยศีล
เป็นอย่างนี้แล
มาตุคามผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะ เป็นอย่างไร
คือ มาตุคามในโลกนี้มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน ฯลฯ มาตุคาม
ผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะ เป็นอย่างนี้แล
มาตุคามผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา เป็นอย่างไร
คือ มาตุคามในโลกนี้เป็นผู้มีปัญญา ฯลฯ มาตุคามผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา
เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ชื่อว่าเป็นผู้
ปฏิบัติเพื่อชัยชนะในโลกหน้า ปรารภโลกหน้า
ภรรยาเป็นผู้จัดการงานดี
สงเคราะห์คนข้างเคียง ปฏิบัติถูกใจสามี
รักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้
เป็นผู้มีศรัทธา ถึงพร้อมด้วยศีล
รู้ความประสงค์ของผู้ขอ ปราศจากความตระหนี่
ชำระทางแห่งประโยชน์ที่มีอยู่ในชาติหน้าอยู่เป็นนิตย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.อุโปสถวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ธรรม ๘ ประการดังกล่าวมานี้ มีอยู่แก่สตรีใด
สตรีนั้น นักปราชญ์ทั้งหลายเรียกว่า
‘ผู้มีศีล ตั้งอยู่ในธรรม กล่าวคำสัตย์’
อุบาสิกาเช่นนั้นผู้ถึงพร้อมด้วยอาการ ๑๖ อย่าง
ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ เป็นผู้มีศีล
ย่อมเกิดในเทวโลกชื่อว่ามนาปกายิกะ
ทุติยอิธโลกิกสูตรที่ ๑๐ จบ
อุโปสถวรรคที่ ๕ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สังขิตตุโปสถสูตร ๒. วิตถตุโปสถสูตร
๓. วิสาขาสูตร ๔. วาเสฏฐสูตร
๕. โพชฌาสูตร ๖. อนุรุทธสูตร
๗. ทุติยวิสาขาสูตร ๘. นกุลมาตาสูตร
๙. ปฐมอิธโลกิกสูตร ๑๐. ทุติยอิธโลกิกสูตร

ปฐมปัณณาสก์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๑.โคตมีวรรค ๑.โคตมีสูตร
๒. ทุติยปัณณาสก์
๑. โคตมีวรรค
หมวดว่าด้วยพระนางปชาบดีโคตมี
๑. โคตมีสูตร๑
ว่าด้วยพระนางปชาบดีโคตมีทูลขออุปสมบท
[๕๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขตกรุงกบิลพัสดุ์
แคว้นสักกะ ครั้งนั้นแล พระนางมหาปชาบดีโคตมีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง
ที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ขอประทานวโรกาส มาตุคามพึงได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในพระ-
ธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศไว้ด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสห้ามว่า “อย่าเลย โคตมี เธออย่าชอบใจการที่มาตุคาม
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้เลย”
แม้ครั้งที่ ๒ พระนางมหาปชาบดีโคตมีก็กราบทูลว่า “ขอประทานวโรกาส
มาตุคามพึงได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในพระธรรมวินัย ที่พระตถาคตทรง
ประกาศไว้ด้วยเถิด พระพุทธเจ้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสห้ามว่า “อย่าเลย โคตมี เธออย่าชอบใจการที่มาตุคาม
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้เลย”
แม้ครั้งที่ ๓ พระนางมหาปชาบดีโคตมีก็กราบทูลว่า “ขอประทานวโรกาส
มาตุคามพึงได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในพระธรรมวินัย ที่พระตถาคตทรง
ประกาศไว้ด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสห้ามว่า “อย่าเลย โคตมี เธออย่าชอบใจการที่มาตุคาม
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้เลย”

เชิงอรรถ :
๑ วิ.จู. (แปล) ๗/๔๐๒/๓๑๒-๓๑๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๑.โคตมีวรรค ๑.โคตมีสูตร
ลำดับนั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมีทรงดำริว่า “พระผู้มีพระภาคไม่ทรงอนุญาต
ให้มาตุคามได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรง
ประกาศไว้” ทรงเป็นทุกข์ เสียพระทัย น้ำพระเนตรนองพระพักตร์ กันแสงอยู่
ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทรงทำประทักษิณแล้วเสด็จจากไป
ครั้นพระผู้มีพระภาคประทัยอยู่ ณ เขตกรุงกบิลพัสดุ์ตามพระประสงค์แล้ว
เสด็จจาริกไปทางกรุงเวสาลี เสด็จจาริกไปโดยลำดับจนถึงกรุงเวสาลี ณ ที่นั้นแล
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขตกรุงเวสาลี
คราวนั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมีทรงปลงพระเกศา ทรงนุ่งผ้ากาสายะ
เสด็จไปทางกรุงเวสาลีพร้อมด้วยนางศากิยานีจำนวนมาก เสด็จเข้าไปยังกูฏาคารศาลา
ป่ามหาวัน เขตกรุงเวสาลีโดยลำดับ เวลานั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมีมีพระบาท
ระบม พระวรกายเปรอะเปื้อนฝุ่นธุลี เป็นทุกข์ เสียพระทัย น้ำพระเนตรนอง
พระพักตร์ ประทับยืนกันแสงอยู่ที่ภายนอกซุ้มประตู
ท่านพระอานนท์ได้เห็นพระนางมหาปชาบดีโคตมีมีพระบาทระบม พระวรกาย
เปรอะเปื้อนฝุ่นธุลี เป็นทุกข์ เสียพระทัย น้ำพระเนตรนองพระพักตร์ ประทับยืน
กันแสงอยู่ที่ภายนอกซุ้มประตู จึงถามพระนางมหาปชาบดีโคตมีว่า “พระนางโคตมี
เพราะเหตุไร พระองค์จึงมีพระบาทระบม พระวรกายเปรอะเปื้อนฝุ่นธุลี เป็นทุกข์
เสียพระทัย น้ำพระเนตรนองพระพักตร์ ประทับยืนกันแสงอยู่ที่ภายนอกซุ้มประตู”
พระนางมหาปชาบดีโคตมีตรัสตอบว่า “ท่านอานนท์ผู้เจริญ ที่เป็นเช่นนั้น
เพราะพระผู้มีพระภาคไม่ทรงอนุญาตให้มาตุคามได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตใน
พระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศไว้”
ท่านพระอานนท์กล่าวว่า “พระนางโคตมี ถ้าเช่นนั้น ขอพระองค์จงรออยู่สักครู่
จนกว่าอาตมาจะทูลขอพระผู้มีพระภาคให้มาตุคามได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตใน
พระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศไว้”
ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระนางมหาปชาบดีโคตมีนี้ มีพระบาทระบม พระวรกาย
เปรอะเปื้อนฝุ่นธุลี เป็นทุกข์ เสียพระทัย น้ำพระเนตรนองพระพักตร์ ประทับยืน
กันแสงอยู่ที่ภายนอกซุ้มประตู เพราะพระผู้มีพระภาคไม่ทรงอนุญาตให้มาตุคามได้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๓๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๑.โคตมีวรรค ๑.โคตมีสูตร
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศไว้ ขอ
ประทานวโรกาส ขอมาตุคามพึงได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในพระธรรมวินัย
ที่พระตถาคตทรงประกาศไว้ด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสห้ามว่า “อย่าเลย อานนท์ เธออย่าชอบใจการที่มาตุคาม
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้เลย”
แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระอานนท์ก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ขอประทาน
วโรกาส ขอมาตุคามพึงได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในพระธรรมวินัยที่พระตถาคต
ทรงประกาศไว้ด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสห้ามว่า “อย่าเลย อานนท์ เธออย่าชอบใจการที่มาตุคาม
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้เลย”
ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์ได้มีความดำริว่า “พระผู้มีพระภาคไม่ทรงอนุญาต
ให้มาตุคามออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศไว้
ทางที่ดีเราควรทูลขอพระผู้มีพระภาคให้มาตุคามออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตได้
ในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศไว้ด้วยอุบายบางอย่าง”
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ มาตุคามออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรง
ประกาศไว้ จะสามารถทำให้แจ้งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรือ
อรหัตตผลได้หรือไม่”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ มาตุคามออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิตในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้ สามารถทำให้แจ้งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล
อนาคามิผล หรืออรหัตตผลได้”
ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้ามาตุคามออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิตในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศไว้ สามารถทำให้แจ้ง
โสดาปัตติผล ฯลฯ หรืออรหัตตผลได้ พระนางมหาปชาบดีโคตมีเป็นพระมาตุจฉา
ของพระผู้มีพระภาค ทรงมีอุปการะมาก เคยประคับประคองดูแลถวายเกษียรธาร
เมื่อพระชนนีสวรรคต ขอประทานวโรกาส ขอมาตุคามพึงได้ออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิตในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศไว้ด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๑.โคตมีวรรค ๑.โคตมีสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ ถ้ามหาปชาบดีโคตมีรับครุธรรม๑
๘ ประการได้ การรับครุธรรมนั้นแลเป็นการอุปสมบท๒ของเธอ คือ
๑. ภิกษุณีถึงจะบวชได้ ๑๐๐ พรรษา ก็ต้องทำการกราบไหว้ การต้อนรับ
การทำอัญชลีกรรม การทำสามีจิกรรม๓ แก่ภิกษุผู้บวชแม้ในวันนั้น
ธรรมข้อนี้ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงล่วงละเมิด
จนตลอดชีวิต
๒. ภิกษุณีไม่พึงอยู่จำพรรษาในอาวาสที่ไม่มีภิกษุ ธรรมข้อนี้ภิกษุณีพึง
สักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจนตลอดชีวิต
๓. ภิกษุณีพึงหวังธรรม ๒ อย่าง คือ ถามอุโบสถ และไปรับโอวาทจาก
ภิกษุสงฆ์ทุกกึ่งเดือน ธรรมข้อนี้ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ
บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจนตลอดชีวิต
๔. ภิกษุณีจำพรรษาแล้วพึงปวารณาในสงฆ์ ๒ ฝ่าย โดยสถาน ๓ คือ
ได้เห็น ได้ฟัง หรือได้นึกสงสัย ธรรมข้อนี้ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ
นับถือ บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจนตลอดชีวิต
๕. ภิกษุณีต้องครุธรรมแล้วพึงประพฤติปักขมานัตในสงฆ์ ๒ ฝ่าย ธรรม
ข้อนี้ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจน
ตลอดชีวิต
๖. ภิกษุณีพึงแสวงหาการอุปสมบทในสงฆ์ ๒ ฝ่ายให้แก่นางสิกขมานา
ที่ศึกษาธรรม ๖ ข้อ ตลอด ๒ ปีแล้ว ธรรมข้อนี้ภิกษุณีพึงสักการะ
เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจนตลอดชีวิต
๗. ภิกษุณีไม่พึงด่า ไม่พึงบริภาษภิกษุ ไม่ว่ากรณีใด ๆ ธรรมข้อนี้ภิกษุณี
พึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจนตลอดชีวิต

เชิงอรรถ :
๑ ดู วิ.มหา. (แปล) ๒/๑๔๙/๓๒๒-๓๒๓, วิ.จู. (แปล) ๗/๔๐๓/๓๑๕-๓๑๙
๒ อุปสมบท ในที่นี้หมายถึงทั้งการบรรพชาและอุปสมบท (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๕๑/๒๖๓)
๓ การกราบไหว้ หมายถึงการไม่มีมานะ(ความถือตัว) ก้มกราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ การต้อนรับ หมาย
ถึงลุกจากที่นั่งแล้วลุกขึ้นยืนรับ การทำอัญชลีกรรม หมายถึงประนมมือทั้ง ๑๐ นิ้วไหว้ การทำสามีจิกรรม
หมายถึงทำสามีจิกรรมอันสมควรมีการปูลาดอาสนะ และการพัดให้เป็นต้น (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๕๑/๒๖๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๑.โคตมีวรรค ๑.โคตมีสูตร
๘. ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ห้ามภิกษุณีสั่งสอนภิกษุ แต่ไม่ห้ามภิกษุสั่งสอน
ภิกษุณี ธรรมข้อนี้ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงล่วง
ละเมิดจนตลอดชีวิต
อานนท์ ถ้ามหาปชาบดีโคตมีรับครุธรรม ๘ ประการนี้ได้ การรับครุธรรมนั้นแล
เป็นการอุปสมบทของเธอ”
ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์เรียนครุธรรม ๘ ประการนี้ในสำนักของพระ
ผู้มีพระภาคแล้ว เข้าไปหาพระนางมหาปชาบดีโคตมีถึงที่ประทับ แล้วกล่าวกับ
พระนางมหาปชาบดีโคตมีดังนี้ว่า
“พระนางโคตมี ถ้าพระองค์รับครุธรรม ๘ ประการได้ การรับครุธรรมนั้นแล
จักเป็นการอุปสมบทของพระองค์ คือ
๑. ภิกษุณีถึงจะบวชได้ ๑๐๐ พรรษา ก็ต้องทำการกราบไหว้ การต้อนรับ
การทำอัญชลีกรรม การทำสามีจิกรรมแก่ภิกษุผู้บวชแม้ในวันนั้น
ธรรมข้อนี้ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงล่วงละเมิด
จนตลอดชีวิต
ฯลฯ
๘. ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ห้ามภิกษุณีสั่งสอนภิกษุ แต่ไม่ห้ามภิกษุสั่งสอน
ภิกษุณี ธรรมข้อนี้ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึง
ล่วงละเมิดจนตลอดชีวิต
พระนางโคตมี ถ้าพระองค์รับครุธรรม ๘ ประการได้ การรับครุธรรมนั้นแล
จักเป็นการอุปสมบทของพระองค์”
พระนางมหาปชาบดีโคตมีตรัสตอบว่า “ท่านอานนท์ผู้เจริญ ดิฉันก็จะรับ
ครุธรรม ๘ ประการนี้ ไม่ล่วงละเมิดจนตลอดชีวิต เปรียบเหมือนหญิงสาวหรือ
ชายหนุ่มผู้ชอบแต่งกายเมื่อสรงน้ำดำเกล้าแล้ว ได้พวงดอกอุบล พวงดอกมะลิ
หรือพวงดอกลำดวนแล้ว ก็ใช้มือทั้งสองประคองรับไว้เหนือศีรษะ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๑.โคตมีวรรค ๑.โคตมีสูตร
ต่อมา ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“พระนางมหาปชาบดีโคตมีทรงรับครุธรรม ๘ ประการแล้ว จะไม่ล่วงละเมิด
จนตลอดชีวิต พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ ถ้ามาตุคามจะไม่ออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิตในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้ พรหมจรรย์ก็จะดำรงอยู่ได้นาน สัทธรรม
จะดำรงอยู่ได้ ๑,๐๐๐ ปี แต่เพราะมาตุคามออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในธรรม-
วินัยที่ตถาคตประกาศไว้ บัดนี้ พรหมจรรย์จะดำรงอยู่ได้ไม่นาน ทั้งสัทธรรมจะ
ดำรงอยู่ได้เพียง ๕๐๐ ปี''๑
ธรรมวินัยที่มีมาตุคามออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตจะดำรงอยู่ได้ไม่นาน
เปรียบเหมือนตระกูลหนึ่งที่มีสตรีมาก มีบุรุษน้อย จะถูกโจรปล้นทรัพย์ทำร้ายได้ง่าย
ธรรมวินัยที่มีมาตุคามออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตจะดำรงอยู่ได้ไม่นาน
เปรียบเหมือนหนอนขยอก๒ที่ลงในนาข้าวสาลีซึ่งอุดมสมบูรณ์ ก็ทำให้นาข้าวนั้น
คงอยู่ได้ไม่นาน

เชิงอรรถ :
๑ ข้อความพระดำรัสนี้มีความหมายว่า ถ้าให้สตรีบวชโดยไม่ได้บัญญัติครุธรรมไว้ก่อน เวลาผ่านไป ๕๐๐ ปี
ก็จะไม่มีพระอรหันต์บรรลุปฏิสัมภิทา แต่เมื่อบัญญัติครุธรรมไว้ก่อนที่สตรีจะบวช ในระยะเวลา ๑,๐๐๐ ปี
ก็ยังมีพระอรหันต์ผู้บรรลุปฏิสัมภิทาอยู่ ผ่านไปอีก ๑,๐๐๐ ปี ก็ยังมีพระอรหันต์สุกขวิปัสสกอยู่ ผ่านไป
อีก ๑,๐๐๐ ปี ก็ยังมีพระอนาคามีอยู่ ผ่านไปอีก ๑,๐๐๐ ปี ก็ยังมีพระสกทาคามีอยู่ ผ่านไปอีก ๑,๐๐๐ ปี
ก็ยังมีพระโสดาบันอยู่ สรุปว่า ปฏิเวธสัทธรรมจะดำรงอยู่ได้ ๕,๐๐๐ ปี แม้ปริยัตติสัทธรรมก็จะดำรงอยู่ได้
๕,๐๐๐ ปี เพราะปริยัติกับปฏิเวธต่างเกื้อกูลกัน (วิ.อ. ๓/๔๐๓/๔๐๐-๔๐๗, องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๕๑/๒๖๕)
๒ หนอนขยอก ในที่นี้หมายถึงแมลงเจาะกลางลำต้นข้าวแล้วทำให้รวงข้าวที่ออกมาไม่มีน้ำนม (องฺ.อฏฺฐก.อ.
๓/๕๑/๒๖๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๑.โคตมีวรรค ๒.โอวาทสูตร
ธรรมวินัยที่มีมาตุคามออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต จะดำรงอยู่ได้ไม่นาน
เปรียบเหมือนเพลี้ยที่ลงในไร่อ้อยซึ่งอุดมสมบูรณ์ ก็ทำให้ไร่อ้อยนั้นคงอยู่ได้ไม่นาน
อานนท์ เราบัญญัติครุธรรม ๘ ประการไว้ เพื่อไม่ให้ภิกษุณีล่วงละเมิดจน
ตลอดชีวิต เปรียบเหมือนคนกั้นทำนบที่สระใหญ่ไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำไหลออก
ฉะนั้น”
โคตมีสูตรที่ ๑ จบ

๒. โอวาทสูตร
ว่าด้วยคุณสมบัติของภิกษุผู้จะสอนภิกษุณี
[๕๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน
เขตกรุงเวสาลี ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุประกอบด้วยธรรมเท่าไรหนอ สงฆ์จึงควรสมมติ
ให้เป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๘ ประการ
สงฆ์จึงควรสมมติให้เป็นผู้สอนภิกษุณี
ธรรม ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มีศีล ฯลฯ๑ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
๒. เป็นพหูสูต ฯลฯ๒ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มในอัฏฐกนิบาต ข้อ ๒ (ปัญญาสูตร) หน้า ๑๙๗ ในเล่มนี้
๒ ดูความเต็มตามข้อที่อ้างในเชิงอรรถที่ ๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๓๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๑.โคตมีวรรค ๓.สังขิตตสูตร
๓. เป็นผู้ทรงจำปาติโมกข์ทั้งสองได้ดี จำแนกได้ดี ให้เป็นไปได้ดีโดย
พิสดาร วินิจฉัยได้ดีโดยสูตร โดยอนุพยัญชนะ๑
๔. เป็นผู้มีวาจางาม เจรจาถ้อยคำไพเราะ ประกอบด้วยวาจาชาวเมือง
ที่สละสลวย ไม่มีโทษ ให้รู้ความหมายได้
๕. เป็นผู้สามารถที่จะชี้แจงให้ภิกษุณีสงฆ์เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอา
ไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง
ด้วยธรรมีกถา
๖. เป็นที่รักเป็นที่ชอบใจของภิกษุณีโดยมาก
๗. เป็นผู้ไม่เคยประพฤติล่วงครุธรรม๒ ในสตรีผู้นุ่งห่มผ้ากาสายะบวชอุทิศ
พระผู้มีพระภาคพระองค์นี้
๘. มีพรรษา ๒๐ หรือเกิน ๒๐
อานนท์ ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้แล สงฆ์จึงควรสมมติให้เป็นผู้
สั่งสอนภิกษุณี”
โอวาทสูตรที่ ๒ จบ

๓. สังขิตตสูตร
ว่าด้วยลักษณะธรรมวินัยโดยย่อ๓
[๕๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน
เขตกรุงเวสาลี ครั้งนั้นแล พระนางมหาปชาบดีโคตมีได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ในสัตตกนิบาต ข้อ ๗๖ (ทุติยวินยสูตร) หน้า ๑๗๓ ในเล่มนี้
๒ เป็นผู้ไม่เคยประพฤติล่วงครุธรรม หมายถึงในสมัยที่เป็นคฤหัสถ์ ไม่เคยจับต้องกายภิกษุณี ไม่เคย
ประพฤติผิดประเวณีกับนางสิกขมานาหรือสามเณรี (วิ.อ. ๒/๑๔๕-๑๔๗/๓๑๙, องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๕๒/๒๖๕)
๓ วิ.จู. (แปล) ๗/๔๐๖/๓๒๒-๓๒๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๓๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๑.โคตมีวรรค ๓.สังขิตตสูตร
“ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมโดยย่อที่เมื่อหม่อมฉัน
ฟังแล้ว จะพึงเป็นผู้จากไปอยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจ
อยู่เถิด พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โคตมี เธอรู้ธรรมเหล่าใดว่า
๑. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อคลายความกำหนัด
๒. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความประกอบไว้ ไม่เป็นไปเพื่อความพราก
๓. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อการสะสม ไม่เป็นไปเพื่อการไม่สะสม
๔. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความมักมาก ไม่เป็นไปเพื่อความมักน้อย
๕. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความไม่สันโดษ ไม่เป็นไปเพื่อความสันโดษ
๖. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความคลุกคลีหมู่คณะ ไม่เป็นไปเพื่อความสงัด
๗. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน ไม่เป็นไปเพื่อปรารภ
ความเพียร
๘. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงยาก ไม่เป็นไปเพื่อความ
เป็นคนเลี้ยงง่าย
โคตมี เธอพึงทรงจำธรรมเหล่านี้ไว้โดยส่วนเดียวว่า ‘นั่นไม่ใช่ธรรม นั่นไม่ใช่
วินัย นั่นไม่ใช่สัตถุศาสน์’
โคตมี เธอรู้ธรรมเหล่าใดว่า
๑. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อคลายความกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อความกำหนัด
๒. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความพราก ไม่เป็นไปเพื่อความประกอบไว้
๓. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อการไม่สะสม ไม่เป็นไปเพื่อการสะสม
๔. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความมักน้อย ไม่เป็นไปเพื่อความมักมาก
๕. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความสันโดษ ไม่เป็นไปเพื่อความไม่สันโดษ
๖. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความสงัด ไม่เป็นไปเพื่อความคลุกคลีหมู่คณะ
๗. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร ไม่เป็นไปเพื่อความ
เกียจคร้าน
๘. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงง่าย ไม่เป็นไปเพื่อความ
เป็นคนเลี้ยงยาก
โคตมี เธอพึงทรงจำธรรมเหล่านี้ไว้โดยส่วนเดียวว่า ‘นั่นเป็นธรรม นั่นเป็นวินัย
นั่นเป็นสัตถุศาสน์”
สังขิตตสูตรที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๓๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๑.โคตมีวรรค ๔.ทีฆชาณุสูตร
๔. ทีฆชาณุสูตร
ว่าด้วยโกฬิยบุตรชื่อว่าทีฆชาณุ
[๕๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของชาวโกฬิยะชื่อว่า
กักกรปัตตะ เขตกรุงโกฬิยะ ครั้งนั้น โกฬิยบุตรชื่อว่าทีฆชาณุได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์เป็นคฤหัสถ์ เป็นกามโภคี อยู่ครองเรือน
นอนเบียดบุตร ใช้จันทน์ของชาวกาสี ทัดทรงดอกไม้ ของหอม และเครื่องลูบไล้
ยินดีทองและเงิน๑ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมที่จะพึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูลในภพนี้
เพื่อสุขในภพนี้และเพื่อเกื้อกูลในภพหน้าเพื่อสุขในภพหน้าแก่ข้าพระองค์ทั้งหลายเถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พยัคฆปัชชะ๒ ธรรม ๔ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อ
เกื้อกูลในภพนี้ เพื่อสุขในภพนี้แก่กุลบุตร
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อุฏฐานสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยความหมั่น)
๒. อารักขสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยการรักษา)
๓. กัลยาณมิตตตา (ความเป็นผู้มีมิตรดี)
๔. สมชีวิตา (ความเป็นอยู่เหมาะสม)
อุฏฐานสัมปทา เป็นอย่างไร
คือ กุลบุตรในโลกนี้เลี้ยงชีพด้วยการงานใด จะเป็นกสิกรรม พาณิชยกรรม
โครักขกรรม เป็นช่างศร รับราชการ หรือศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่งก็ตาม เป็นผู้ขยัน
ไม่เกียจคร้านในการงานที่จะต้องช่วยกันทำนั้น ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา----------------------------------------

--
๑ ดู ขุ.อุ. ๒๕/๕๒/๑๘๖
๒ พยัคฆปัชชะ เป็นชื่อเรียกชาวโกฬิยะ เพราะบรรพบุรุษของชาวโกฬิกะนี้สร้างบ้านเรือนอยู่ในพยัคฆปัชช-
นคร (นครทางเสือผ่าน) (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๙๔/๔๑๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๑.โคตมีวรรค ๔.ทีฆชาณุสูตร
อันเป็นอุบายในการงานที่จะต้องช่วยกันทำนั้น สามารถทำได้ สามารถจัดได้ นี้เรียกว่า
อุฏฐานสัมปทา
อารักขสัมปทา เป็นอย่างไร
คือ กุลบุตรในโลกนี้มีโภคทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร เก็บรวบรวม
ด้วยน้ำพักน้ำแรง อาบเหงื่อต่างน้ำ ประกอบด้วยธรรม๑ ได้มาโดยธรรม๒ เขารักษา
คุ้มครองโภคทรัพย์นั้นด้วยคิดว่า ‘ทำอย่างไร โภคทรัพย์เหล่านี้ของเรา จึงจะไม่ถูก
พระราชาริบ โจรไม่ลัก ไฟไม่ไหม้ น้ำไม่พัดไป ทายาทผู้ไม่เป็นที่รักไม่ลักไป’ นี้เรียกว่า
อารักขสัมปทา
กัลยาณมิตตตา เป็นอย่างไร
คือ กุลบุตรในโลกนี้วางตัวเหมาะสม เจรจา สนทนากับคนในหมู่บ้านหรือใน
นิคมที่ตนอาศัยอยู่ จะเป็นคหบดี บุตรคหบดี คนหนุ่มผู้เคร่งศีล หรือคนแก่ผู้เคร่ง
ศีลก็ตาม ผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ถึงพร้อมด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยจาคะ และถึงพร้อม
ด้วยปัญญา คอยศึกษาสัทธาสัมปทาของท่านผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธาตามสมควร
คอยศึกษาสีลสัมปทาของท่านผู้ถึงพร้อมด้วยศีลตามสมควร คอยศึกษาจาคสัมปทา
ของท่านผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะตามสมควร และคอยศึกษาปัญญาสัมปทาของท่านผู้
ถึงพร้อมด้วยปัญญาตามสมควร นี้เรียกว่า กัลยาณมิตตตา
สมชีวิตา เป็นอย่างไร
คือ กุลบุตรในโลกนี้รู้ทางเจริญแห่งโภคทรัพย์และทางเสื่อมแห่งโภคทรัพย์แล้ว
เลี้ยงชีพแต่พอเหมาะ ไม่ให้ฟุ่มเฟือยนัก ไม่ให้ฝืดเคืองนักด้วยคิดว่า ‘ด้วยการ
ใช้จ่ายอย่างนี้ รายรับของเราจักเกินรายจ่าย และรายจ่ายของเราจักไม่เกินรายรับ’
เปรียบเหมือนคนชั่งของ หรือลูกมือของคนชั่งของ ยกตราชั่งขึ้นดูก็รู้ได้ว่า ‘ต้อง
ลดลงเท่านี้ หรือเพิ่มขึ้นเท่านี้’ ฉันใด กุลบุตรก็ฉันนั้นเหมือนกัน รู้ทางเจริญแห่ง

เชิงอรรถ :
๑ ประกอบด้วยธรรม ในที่นี้หมายถึงมีกุศลธรรม ๑๐ ประการ (องฺ.ติก.ฏีกา. ๒/๑๔/๑๐๓)
๒ ได้มาโดยธรรม ในที่นี้หมายถึงโภคทรัพย์ที่บุคคลดำรงอยู่ในกุศลกรรมบถ ๑๐ แล้วได้มา (องฺ.จตุกฺก.อ.
๒/๖๑/๓๕๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๔๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๑.โคตมีวรรค ๔.ทีฆชาณุสูตร
โภคทรัพย์และทางเสื่อมแห่งโภคทรัพย์แล้วเลี้ยงชีพแต่พอเหมาะ ไม่ให้ฟุ่มเฟือยนัก
ไม่ให้ฝืดเคืองนักด้วยคิดว่า ‘ด้วยการใช้จ่ายอย่างนี้ รายรับของเราจักเกินรายจ่าย
และรายจ่ายของเราจักไม่เกินรายรับ’ ถ้ากุลบุตรนี้มีรายรับน้อย แต่เลี้ยงชีพอย่าง
ฟุ่มเฟือย ก็จะมีผู้กล่าวหาเขาได้ว่า ‘กุลบุตรผู้นี้ใช้จ่ายโภคทรัพย์เหมือนคนกินผล
มะเดื่อ‘๑ ถ้ากุลบุตรนี้มีรายรับมาก แต่เลี้ยงชีพอย่างฝืดเคือง ก็จะมีผู้กล่าวหา
เขาได้ว่า ‘กุลบุตรผู้นี้จักตายอย่างไม่สมฐานะ’ แต่เพราะกุลบุตรนี้รู้ทางเจริญแห่ง
โภคทรัพย์และทางเสื่อมแห่งโภคทรัพย์แล้วเลี้ยงชีพแต่พอเหมาะ ไม่ให้ฟุ่มเฟือยนัก
ไม่ให้ฝืดเคืองนักด้วยคิดว่า ‘ด้วยการใช้จ่ายอย่างนี้ รายรับของเราจักเกินรายจ่าย
และรายจ่ายของเราจักไม่เกินรายรับ’ นี้เรียกว่า สมชีวิตา
พยัคฆปัชชะ โภคทรัพย์ที่เกิดขึ้นโดยชอบอย่างนี้ มีทางเสื่อม ๔ ประการ คือ
๑. เป็นนักเลงหญิง ๒. เป็นนักเลงสุรา
๓. เป็นนักเลงการพนัน ๔. เป็นผู้มีมิตรชั่ว มีสหายชั่ว มีเพื่อนชั่ว
เปรียบเหมือนสระน้ำใหญ่มีทางไหลเข้า ๔ ทาง มีทางไหลออก ๔ ทาง บุรุษ
พึงปิดทางไหลเข้า เปิดทางไหลออกของสระน้ำนั้น และฝนก็มิได้ตกต้องตามฤดูกาล
เมื่อเป็นเช่นนี้ สระน้ำใหญ่นั้นก็เหือดแห้งไป ไม่เพิ่มปริมาณขึ้นเลย ฉันใด โภคทรัพย์
ที่เกิดขึ้นโดยชอบอย่างนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีทางเสื่อม ๔ ประการ คือ
๑. เป็นนักเลงหญิง ๒. เป็นนักเลงสุรา
๓. เป็นนักเลงการพนัน ๔. เป็นผู้มีมิตรชั่ว มีสหายชั่ว มีเพื่อนชั่ว
พยัคฆปัชชะ โภคทรัพย์ที่เกิดขึ้นโดยชอบอย่างนี้ มีทางเจริญ ๔ ประการ คือ
๑. ไม่เป็นนักเลงหญิง ๒. ไม่เป็นนักเลงสุรา
๓. ไม่เป็นนักเลงการพนัน ๔. เป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี
เปรียบเหมือนสระน้ำใหญ่มีทางไหลเข้า ๔ ทาง มีทางไหลออก ๔ ทาง บุรุษ
พึงเปิดทางไหลเข้า ปิดทางไหลออกของสระน้ำนั้น และฝนก็ตกต้องตามฤดูกาล เมื่อ

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงคนที่ต้องการกินผลมะเดื่อ เขย่าต้นมะเดื่อให้ผลสุก ๆ ร่วงลงมาจำนวนมาก แต่แล้วเขาก็กลับหยิบ
มากินเพียงบางผลเท่านั้น (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๕๔/๒๖๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๔๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๑.โคตมีวรรค ๔.ทีฆชาณุสูตร
เป็นเช่นนี้ สระน้ำใหญ่นั้นก็เพิ่มปริมาณขึ้น ไม่เหือดแห้งไปเลย ฉันใด โภคทรัพย์ที่
เกิดขึ้นโดยชอบอย่างนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีทางเจริญ ๔ ประการ คือ
๑. ไม่เป็นนักเลงหญิง ๒. ไม่เป็นนักเลงสุรา
๓. ไม่เป็นนักเลงการพนัน ๔. เป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี
พยัคฆปัชชะ ธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อเกื้อกูลในภพนี้ เพื่อสุขใน
ภพนี้แก่กุลบุตร
พยัคฆปัชชะ ธรรม ๔ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อเกื้อกูลในภพหน้า เพื่อสุขใน
ภพหน้าแก่กุลบุตร
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธาสัมปทา ๒. สีลสัมปทา
๓. จาคสัมปทา ๔. ปัญญาสัมปทา
สัทธาสัมปทา เป็นอย่างไร
คือ กุลบุตรในโลกนี้เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อปัญญาเครื่องตรัสรู้ของตถาคตว่า
‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ๑ เป็นศาสดาของเทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ นี้เรียกว่า สัทธาสัมปทา
สีลสัมปทา เป็นอย่างไร
คือ กุลบุตรในโลกนี้เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ๒ เว้นขาดจากการเสพ
ของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท นี้เรียกว่า สีลสัมปทา
จาคสัมปทา เป็นอย่างไร
คือ กุลบุตรในโลกนี้มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน มีจาคะอันสละแล้ว
มีฝ่ามือชุ่ม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการแจกทานอยู่ครองเรือน
นี้เรียกว่า จาคสัมปทา

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มในอัฏฐกนิบาต ข้อ ๔๙ (ปฐมอิธโลกิกสูตร) หน้า ๓๒๖ ในเล่มนี้
๒ ดูความเต็มและความพิสดารในอัฏฐกนิบาต ข้อ ๔๑ (สังขิตตุโปสถสูตร) หน้า ๓๐๓-๓๐๔ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๔๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๑.โคตมีวรรค ๕.อุชชยสูตร
ปัญญาสัมปทา เป็นอย่างไร
คือ กุลบุตรในโลกนี้เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา
เห็นทั้งความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลสให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ
นี้เรียกว่า ปัญญาสัมปทา
พยัคฆปัชชะ ธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อเกื้อกูลในภพหน้า เพื่อสุข
ในภพหน้าแก่กุลบุตร
คนขยันหมั่นเพียรในการงาน
ไม่ประมาท รู้วิธีการเลี้ยงชีพแต่พอเหมาะ
รักษาทรัพย์ที่หามาได้ เป็นผู้มีศรัทธา ถึงพร้อมด้วยศีล
รู้ความประสงค์ของผู้ขอ ปราศจากความตระหนี่
ชำระทางแห่งประโยชน์ที่มีในภพหน้าอยู่เป็นนิตย์
ที่พระพุทธเจ้าผู้มีพระนามว่าสัจจะตรัสธรรม ๘ ประการดังกล่าวมานี้
เพื่อผู้ครองเรือน ผู้มีศรัทธา
อันเป็นเหตุนำสุขมาให้ในโลกทั้ง ๒ คือ
ประโยชน์เกื้อกูลในภพนี้ และสุขในภพหน้า
จาคะ บุญ๑นี้ย่อมเจริญยิ่งขึ้น แก่คฤหัสถ์ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้”
ทีฆชาณุสูตรที่ ๔ จบ

๕. อุชชยสูตร
ว่าด้วยอุชชยพราหมณ์
[๕๕] ครั้งหนึ่ง อุชชยพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนา
ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค พอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า

เชิงอรรถ :
๑ บุญ ในที่นี้หมายถึงศรัทธา ศีล และปัญญา (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๕๔/๒๖๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๔๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๑.โคตมีวรรค ๕.อุชชยสูตร
“ข้าแต่ท่านพระโคดม พวกข้าพระองค์คิดจะไปอยู่ต่างถิ่น ขอท่านพระโคดม
โปรดแสดงธรรมที่จะอำนวยผลเพื่อเกื้อกูลในภพนี้ เพื่อสุขในภพนี้ เพื่อเกื้อกูลใน
ภพหน้า เพื่อสุขในภพหน้าแก่พวกข้าพระองค์เถิด พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ ธรรม ๔ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อเกื้อกูล
ในภพนี้ เพื่อสุขในภพนี้แก่กุลบุตร
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อุฏฐานสัมปทา ๒. อารักขสัมปทา
๓. กัลยาณมิตตตา ๔. สมชีวิตา
อุฏฐานสัมปทา เป็นอย่างไร
คือ กุลบุตรในโลกนี้เลี้ยงชีพด้วยการงานใด จะเป็นกสิกรรม พาณิชยกรรม
โครักขกรรม เป็นช่างศร รับราชการ หรือศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่งก็ตาม เป็นผู้ขยัน
ไม่เกียจคร้านในการงานที่จะต้องช่วยกันทำนั้น ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา
อันเป็นอุบายในการงานที่จะต้องช่วยกันทำนั้น สามารถทำได้ สามารถจัดได้ นี้เรียกว่า
อุฏฐานสัมปทา
อารักขสัมปทา เป็นอย่างไร
คือ กุลบุตรในโลกนี้มีโภคทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร เก็บรวบรวม
ด้วยน้ำพักน้ำแรง อาบเหงื่อต่างน้ำ ประกอบด้วยธรรม ได้มาโดยธรรม เขารักษา
คุ้มครองโภคทรัพย์นั้นด้วยคิดว่า ‘ทำอย่างไร โภคทรัพย์เหล่านี้ของเรา จึงจะไม่ถูก
พระราชาริบ โจรไม่ลัก ไฟไม่ไหม้ น้ำไม่พัดไป ทายาทผู้ไม่เป็นที่รักไม่ลักไป’ นี้เรียกว่า
อารักขสัมปทา
กัลยาณมิตตตา เป็นอย่างไร
คือ กุลบุตรในโลกนี้วางตัวเหมาะสม เจรจา สนทนากับคนในบ้านหรือในนิคม
ที่ตนอาศัยอยู่ จะเป็นคหบดี บุตรคหบดี คนหนุ่มผู้เคร่งศีล หรือคนแก่ผู้เคร่งศีล
ก็ตาม ผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ถึงพร้อมด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยจาคะ และถึงพร้อม
ด้วยปัญญา คอยศึกษาสัทธาสัมปทาของท่านผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธาตามสมควร
คอยศึกษาสีลสัมปทาของท่านผู้ถึงพร้อมด้วยศีลตามสมควร คอยศึกษาจาคสัมปทา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๑.โคตมีวรรค ๕.อุชชยสูตร
ของท่านผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะตามสมควร และคอยศึกษาปัญญาสัมปทาของท่านผู้ถึง
พร้อมด้วยปัญญาตามสมควร นี้เรียกว่า กัลยาณมิตตตา
สมชีวิตา เป็นอย่างไร
คือ กุลบุตรในโลกนี้รู้ทางเจริญแห่งโภคทรัพย์และทางเสื่อมแห่งโภคทรัพย์แล้ว
เลี้ยงชีวิตแต่พอเหมาะ ไม่ให้ฟุ่มเฟือยนัก ไม่ให้ฝืดเคืองนักด้วยคิดว่า ‘ด้วยการใช้
จ่ายอย่างนี้ รายรับของเราจักเกินรายจ่าย และรายจ่ายของเราจักไม่เกินรายรับ’
เปรียบเหมือนคนชั่งของ หรือลูกมือของคนชั่งของ ยกตราชั่งขึ้นดูก็รู้ได้ว่า ‘ต้อง
ลดลงเท่านี้ หรือเพิ่มขึ้นเท่านี้’ ฉันใด กุลบุตร ก็ฉันนั้นเหมือนกัน รู้ทางเจริญแห่ง
โภคทรัพย์และทางเสื่อมแห่งโภคทรัพย์แล้วเลี้ยงชีวิตแต่พอเหมาะ ไม่ให้ฟุ่มเฟือยนัก
ไม่ให้ฝืดเคืองนักด้วยคิดว่า ‘ด้วยการใช้จ่ายอย่างนี้ รายรับของเราจักเกินรายจ่าย
และรายจ่ายของเราจักไม่เกินรายรับ’ ถ้ากุลบุตรนี้มีรายรับน้อย แต่เลี้ยงชีวิตอย่าง
ฟุ่มเฟือย ก็จะมีผู้กล่าวหาเขาได้ว่า ‘กุลบุตรผู้นี้ใช้จ่ายโภคทรัพย์เหมือนคนกินผล
มะเดื่อ’ ถ้ากุลบุตรนี้มีรายรับมาก แต่เลี้ยงชีวิตอย่างฝืดเคือง ก็จะมีผู้กล่าวหาเขา
ได้ว่า ‘กุลบุตรนี้จักตายอย่างไม่สมฐานะ’ แต่เพราะกุลบุตรนี้รู้ทางเจริญแห่งโภคทรัพย์
และทางเสื่อมแห่งโภคทรัพย์แล้วเลี้ยงชีวิตแต่พอเหมาะ ไม่ให้ฟุ่มเฟือยนัก ไม่ให้
ฝืดเคืองนัก ด้วยคิดว่า ‘ด้วยการใช้จ่ายอย่างนี้ รายรับของเราจักเกินรายจ่าย
และรายจ่ายของเราจักไม่เกินรายรับ’ นี้เรียกว่า สมชีวิตา
พราหมณ์ โภคทรัพย์ที่เกิดขึ้นโดยชอบอย่างนี้ มีทางเสื่อม ๔ ประการ คือ
๑. เป็นนักเลงหญิง ๒. เป็นนักเลงสุรา
๓. เป็นนักเลงการพนัน ๔. เป็นผู้มีมิตรชั่ว มีสหายชั่ว มีเพื่อนชั่ว
เปรียบเหมือนสระน้ำใหญ่มีทางไหลเข้า ๔ ทาง มีทางไหลออก ๔ ทาง บุรุษ
พึงปิดทางไหลเข้า เปิดทางไหลออกของสระน้ำนั้น และฝนก็มิได้ตกต้องตามฤดูกาล
เมื่อเป็นเช่นนี้ สระน้ำใหญ่นั้นก็เหือดแห้งไป ไม่เพิ่มปริมาณขึ้นเลย ฉันใด โภคทรัพย์
ที่เกิดขึ้นโดยชอบอย่างนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีทางเสื่อม ๔ ประการ คือ
๑. เป็นนักเลงหญิง ๒. เป็นนักเลงสุรา
๓. เป็นนักเลงการพนัน ๔. เป็นผู้มีมิตรชั่ว มีสหายชั่ว มีเพื่อนชั่ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๑.โคตมีวรรค ๕.อุชชยสูตร
พราหมณ์ โภคทรัพย์ที่เกิดขึ้นโดยชอบอย่างนี้ มีทางเจริญ ๔ ประการ คือ
๑. ไม่เป็นนักเลงหญิง ๒. ไม่เป็นนักเลงสุรา
๓. ไม่เป็นนักเลงการพนัน ๔. เป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี
เปรียบเหมือนสระน้ำใหญ่มีทางไหลเข้า ๔ ทาง มีทางไหลออก ๔ ทาง บุรุษ
พึงเปิดทางไหลเข้า ปิดทางไหลออกของสระน้ำนั้น และฝนก็ตกต้องตามฤดูกาล
เมื่อเป็นเช่นนี้ สระน้ำใหญ่นั้นก็เพิ่มปริมาณขึ้น ไม่เหือดแห้งไปเลย ฉันใด โภคทรัพย์
ที่เกิดขึ้นโดยชอบอย่างนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีทางเจริญ ๔ ประการ คือ
๑. ไม่เป็นนักเลงหญิง ๒. ไม่เป็นนักเลงสุรา
๓. ไม่เป็นนักเลงการพนัน ๔. เป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี
พราหมณ์ ธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อเกื้อกูลในภพนี้ เพื่อสุขใน
ภพนี้แก่กุลบุตร
พราหมณ์ ธรรม ๔ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อเกื้อกูลในภพหน้า
เพื่อสุขในภพหน้าแก่กุลบุตร
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธาสัมปทา ๒. สีลสัมปทา
๓. จาคสัมปทา ๔. ปัญญาสัมปทา
สัทธาสัมปทา เป็นอย่างไร
คือ กุลบุตรในโลกนี้เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อปัญญาเครื่องตรัสรู้ของตถาคตว่า
‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ๑ เป็นศาสดาของเทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ นี้เรียกว่า สัทธาสัมปทา
สีลสัมปทา เป็นอย่างไร
คือ กุลบุตรในโลกนี้เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ๒ เว้นขาดจากการเสพ
ของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท นี้เรียกว่า สีลสัมปทา

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มในอัฏฐกนิบาต ข้อ ๔๙ (ปฐมอิธโลกิกสูตร) หน้า ๓๒๖ ในเล่มนี้
๒ ดูความเต็มในอัฏฐกนิบาต ข้อ ๔๖ (อนุรุทธสูตร) หน้า ๓๒๑ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๔๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๑.โคตมีวรรค ๕.อุชชยสูตร
จาคสัมปทา เป็นอย่างไร
คือ กุลบุตรในโลกนี้มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน มีจาคะอันสละแล้ว
มีฝ่ามือชุ่ม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการแจกทานอยู่ครองเรือน
นี้เรียกว่า จาคสัมปทา
ปัญญาสัมปทา เป็นอย่างไร
คือ กุลบุตรในโลกนี้เป็นผู้มีปัญญา ฯลฯ๑ ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ นี้เรียกว่า
ปัญญาสัมปทา
พราหมณ์ ธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อเกื้อกูลในภพหน้า เพื่อสุขใน
ภพหน้าแก่กุลบุตร
คนขยันหมั่นเพียรในการงาน
ไม่ประมาท รู้วิธีการเลี้ยงชีวิตแต่พอเหมาะ
รักษาทรัพย์ที่หามาได้ เป็นผู้มีศรัทธา ถึงพร้อมด้วยศีล
รู้ความประสงค์ของผู้ขอ ปราศจากความตระหนี่
ชำระทางแห่งประโยชน์ที่มีในภพหน้าอยู่เป็นนิตย์
ที่พระพุทธเจ้าผู้มีพระนามว่าสัจจะตรัสธรรม ๘ ประการดังกล่าวมานี้
เพื่อผู้ครองเรือน ผู้มีศรัทธา
อันเป็นเหตุนำสุขมาให้ในโลกทั้ง ๒ คือ
ประโยชน์เกื้อกูลในภพนี้ และสุขในภพหน้า
จาคะ บุญ ย่อมเจริญยิ่งขึ้นแก่คฤหัสถ์ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้”
อุชชยสูตรที่ ๕ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มในข้อ ๕๔ (ทีฆชาณุสูตร) หน้า ๓๔๔ ในวรรคเดียวกันนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๔๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๑.โคตมีวรรค ๖.ภยสูตร
๖. ภยสูตร
ว่าด้วยภัยเป็นชื่อของกาม๑
[๕๖] ภิกษุทั้งหลาย
๑. คำว่า ‘ภัย’ เป็นชื่อของกาม
๒. คำว่า ‘ทุกข์’ เป็นชื่อของกาม
๓. คำว่า ‘โรค’ เป็นชื่อของกาม
๔. คำว่า ‘ฝี’ เป็นชื่อของกาม
๕. คำว่า ‘ลูกศร’ เป็นชื่อของกาม
๖. คำว่า ‘เครื่องข้อง’ เป็นชื่อของกาม
๗. คำว่า ‘เปือกตม’ เป็นชื่อของกาม
๘. คำว่า ‘การอยู่ในครรภ์’ เป็นชื่อของกาม
คำว่า ‘ภัย’ นี้เป็นชื่อของกาม เพราะเหตุไร
เพราะสัตว์โลกผู้ยินดีด้วยกามราคะ ถูกฉันทราคะ๒เกี่ยวพันไว้ ย่อมไม่พ้นจาก
ภัยทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพหน้า ฉะนั้น คำว่า ‘ภัย’ นี้ จึงเป็นชื่อของกาม

เชิงอรรถ :
๑ ดู องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๒๓/๔๕๓, ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๑๓๗/๔๔๕-๔๔๖
๒ ฉันทราคะ หมายถึงความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจกล่าวคือตัณหา (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๑๓/๒๖๐) ทั้งกาม-
ราคะ และฉันทราคะ เป็นชื่อเรียกกิเลสกามในจำนวน ๑๘ ชื่อ คือ (๑) ฉันทะ (ความพอใจ) (๒) ราคะ
(ความกำหนัด) (๓) ฉันทราคะ (ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ) (๔) สังกัปปะ (ความดำริ)
(๕) ราคะ (ความกำหนัด) (๖) สังกัปปราคะ (ความกำหนัดด้วยอำนาจความดำริ) (๗) กามฉันทะ (ความ
พอใจด้วยอำนาจความใคร่) (๘) กามราคะ (ความกำหนัดด้วยอำนาจความใคร่) (๙) กามนันทะ (ความ
เพลิดเพลินด้วยอำนาจความใคร่) (๑๐) กามตัณหา (ความทะยานอยากด้วยอำนาจความใคร่) (๑๑) กาม-
เสนหะ (ความเยื่อใยด้วยอำนาจความใคร่) (๑๒) กามปริฬาหะ (ความเร่าร้อนด้วยอำนาจความใคร่)
(๑๓) กามมุจฉา (ความสยบด้วยอำนาจความใคร่) (๑๔) กามัชโฌสานะ (ความติดใจด้วยอำนาจความใคร่)
(๑๕) กาโมฆะ (ห้วงน้ำคือความใคร่) (๑๖) กามโยคะ (กิเลสเครื่องประกอบด้วยอำนาจความใคร่)
(๑๗) กามุปาทานะ (กิเลสเครื่องยึดมั่นคือความใคร่) (๑๘) กามัจฉันทนีวรณะ (กิเลสเครื่องกั้นจิตคือ
ความพอใจด้วยอำนาจความใคร่) ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑/๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๔๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๑.โคตมีวรรค ๗.ปฐมอาหุเนยยสูตร
คำว่า ‘ทุกข์’ ฯลฯ คำว่า ‘โรค’ ฯลฯ คำว่า ‘ฝี’ ฯลฯ คำว่า ‘ลูกศร’ ฯลฯ
คำว่า ‘เครื่องข้อง’ ฯลฯ คำว่า ‘เปือกตม’ ฯลฯ
คำว่า ‘การอยู่ในครรภ์’ เป็นชื่อของกาม เพราะเหตุไร
เพราะสัตว์โลกผู้ยินดีด้วยกามราคะ ถูกฉันทราคะเกี่ยวพันไว้ ย่อมไม่พ้นจาก
การอยู่ในครรภ์ทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพหน้า ฉะนั้น คำว่า ‘การอยู่ในครรภ์’ นี้
จึงเป็นชื่อของกาม
ปุถุชนตกต่ำด้วยราคะอันน่ายินดี๑
ย่อมเข้าถึงความเป็นสัตว์เกิดในครรภ์อีกเพราะกามเหล่าใด
กามเหล่านี้ เรียกว่า ภัย ทุกข์ โรค ฝี
ลูกศร เครื่องข้อง เปือกตม และการอยู่ในครรภ์
แต่เมื่อใด ภิกษุมีความเพียรเผากิเลส ไม่ละสัมปชัญญะ
ภิกษุผู้เช่นนั้นก็ข้ามกามเป็นดุจทางลื่น๒ ที่ข้ามได้ยาก
มองเห็นหมู่สัตว์ผู้เข้าถึงชาติและชรา ดิ้นรนอยู่
ภยสูตรที่ ๖ จบ

๗. ปฐมอาหุเนยยสูตร
ว่าด้วยอาหุไนยบุคคล สูตรที่ ๑
[๕๗] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๘ ประการ เป็นผู้ควรแก่ของ
ที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็น
นาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก

เชิงอรรถ :
๑ ราคะอันน่ายินดี หมายถึงกามสุข (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๕๖/๒๖๗)
๒ ทางลื่น หมายถึงทางแห่งวัฏฏะ คือ การเวียนว่ายตายเกิด (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๕๖/๒๖๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๑.โคตมีวรรค ๗.ปฐมอาหุเนยยสูตร
ธรรม ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มีศีล ฯลฯ๑ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
๒. เป็นพหูสูต ฯลฯ๒ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ
๓. เป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี
๔. เป็นสัมมาทิฏฐิ ประกอบด้วยความเห็นชอบ
๕. เป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง ซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
๖. ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ฯลฯ๓
พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้
๗. เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ฯลฯ๔ ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์
เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ฯลฯ
๘. ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ ฯลฯ๕ เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้แล ฯลฯ เป็นนาบุญอัน
ยอดเยี่ยมของโลก

ปฐมอาหุเนยยสูตรที่ ๗ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มในสัตตกนิบาต ข้อ ๗๕ (ปฐมวินยธรสูตร) หน้า ๑๗๑-๑๗๒ ในเล่มนี้
๒ ดูความเต็มในสัตตกนิบาต ข้อ ๖ (วิตถตธนสูตร) หน้า ๑๐-๑๑ ในเล่มนี้
๓ ดูความเต็มในอัฏฐกนิบาต ข้อ ๑๑ (เวรัญชสูตร) หน้า ๒๒๓ ในเล่มนี้
๔ ดูความเต็มในข้อตามที่อ้างในเชิงอรรถที่ ๓
๕ ดูความเต็มในสัตตกนิบาต ข้อ ๗๕ (ปฐมวินยธรสูตร) หน้า ๑๗๒ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๑.โคตมีวรรค ๘.ทุติยอาหุเนยยสูตร
๘. ทุติยอาหุเนยยสูตร
ว่าด้วยอาหุไนยบุคคล สูตรที่ ๒
[๕๘] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๘ ประการ เป็นผู้ควรแก่ของ
ที่เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ธรรม ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มีศีล ฯลฯ๑ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
๒. เป็นพหูสูต ฯลฯ๒ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ
๓. เป็นผู้ปรารภความเพียร มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง
ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย
๔. เป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร อาศัยเสนาสนะที่สงัด
๕. เป็นผู้อดทนต่อความยินร้ายและความยินดีได้ ครอบงำความยินร้าย
ที่เกิดขึ้นได้อยู่
๖. เป็นผู้อดทนต่อภัยที่น่ากลัวได้ ครอบงำย่ำยีภัยที่น่ากลัวซึ่งเกิดขึ้นได้อยู่
๗. เป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง ซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
๘. ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ ฯลฯ๓ เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้แล ฯลฯ เป็นนาบุญอัน
ยอดเยี่ยมของโลก

ทุติยอาหุเนยยสูตรที่ ๘ จบ

เชิงอรรถ :
๑-๓ ข้อความที่ย่อ(ฯลฯ)ไว้ในสูตรนี้ ดูความเต็มในข้อตามที่อ้างในเชิงอรรถหน้า ๓๕๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๕๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๑.โคตมีวรรค ๑๐.ทุติยปุคคลสูตร
๙. ปฐมปุคคลสูตร๑
ว่าด้วยบุคคลผู้เป็นนาบุญของโลก สูตรที่ ๑
[๕๙] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๘ จำพวกนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย
ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยม
ของโลก
บุคคล ๘ จำพวกไหนบ้าง คือ

๑. พระโสดาบัน ๒. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล
๓. พระสกทาคามี ๔. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล
๕. พระอนาคามี ๖. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล
๗. พระอรหันต์ ๘. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่ออรหัตตผล

ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๘ จำพวกนี้แล เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ฯลฯ
เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
บุคคลผู้ปฏิบัติ ๔ จำพวก
และบุคคลผู้ตั้งอยู่ในผล ๔ จำพวกนี้
เป็นสงฆ์ผู้ปฏิบัติตรง ประกอบด้วยปัญญาและศีล
บุญย่อมมีผลยิ่ง๒แก่มนุษย์ผู้มุ่งบุญบูชากระทำอยู่
ทานที่บุคคลให้ในสงฆ์นี้ย่อมมีผลมาก
ปฐมปุคคลสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ทุติยปุคคลสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้เป็นนาบุญของโลก สูตรที่ ๒
[๖๐] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๘ จำพวกนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย
ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.ปุ. (แปล) ๓๖/๗/๑๓๘, ๒๐๗/๒๒๙
๒ มีผลยิ่ง ในที่นี้หมายถึงมีผลอันยิ่งใหญ่ หรือประมาณมิได้ (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๕๙-๖๐/๒๖๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๕๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๑.โคตมีวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
บุคคล ๘ จำพวกไหนบ้าง คือ

๑. พระโสดาบัน ๒. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล
๓. พระสกทาคามี ๔. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล
๕. พระอนาคามี ๖. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล
๗. พระอรหันต์ ๘. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่ออรหัตตผล

ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๘ จำพวกนี้แล เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ฯลฯ
เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
บุคคล ๘ จำพวก คือบุคคลผู้ปฏิบัติ ๔ จำพวก
และบุคคลผู้ตั้งอยู่ในผล ๔ จำพวก
เป็นสงฆ์ผู้สูงส่งกว่าสัตว์ทั้งหลาย
บุญย่อมมีผลยิ่งแก่มนุษย์ผู้มุ่งบุญบูชากระทำอยู่
ทานที่บุคคลให้ในสงฆ์นี้ย่อมมีผลมาก
ทุติยปุคคลสูตรที่ ๑๐ จบ
โคตมีวรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. โคตมีสูตร ๒. โอวาทสูตร
๓. สังขิตตสูตร ๔. ทีฆชาณุสูตร
๕. อุชชยสูตร ๖. ภยสูตร
๗. ปฐมอาหุเนยยสูตร ๘. ทุติยอาหุเนยยสูตร
๙. ปฐมปุคคลสูตร ๑๐. ทุติยปุคคลสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๕๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๒.ภูมิจาลวรรค ๑.อิจฉาสูตร
๒. ภูมิจาลวรรค
หมวดว่าด้วยเหตุที่ทำให้แผ่นดินไหวครั้งใหญ่
๑. อิจฉาสูตร
ว่าด้วยความอยากได้ลาภ
[๖๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๘ จำพวกนี้ มีปรากฏ
อยู่ในโลก
บุคคล ๘ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่อย่างสงัด๑ แต่ไม่ประพฤติให้ต่อเนื่อง๒
ความอยากได้ลาภ๓ย่อมเกิดขึ้น เธอหมั่น พากเพียร พยายาม
เพื่อให้ได้ลาภ เมื่อเธอหมั่น พากเพียร พยายามเพื่อให้ได้ลาภ
แต่ลาภก็ไม่เกิดขึ้น เพราะไม่ได้ลาภนั้น เธอจึงเศร้าโศก ลำบากใจ
ร่ำไร ทุบอก คร่ำครวญ ถึงความเลอะเลือน ภิกษุนี้เราเรียกว่าผู้
อยากได้ลาภอยู่ หมั่น พากเพียร พยายามเพื่อให้ได้ลาภ เธอชื่อว่า
เป็นผู้ไม่ได้ลาภ เศร้าโศก ร่ำไร และเคลื่อนจากสัทธรรม๔
๒. เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่อย่างสงัด แต่ไม่ประพฤติให้ต่อเนื่อง
ความอยากได้ลาภย่อมเกิดขึ้น เธอหมั่น พากเพียร พยายามเพื่อ
ให้ได้ลาภ เมื่อเธอหมั่น พากเพียร พยายามเพื่อให้ได้ลาภ ลาภ
ก็เกิดขึ้น เพราะได้ลาภนั้น เธอจึงมัวเมา ประมาท เลินเล่อ ภิกษุนี้
เราเรียกว่าผู้อยากได้ลาภอยู่ หมั่น พากเพียร พยายามเพื่อให้
ได้ลาภ เธอชื่อว่าเป็นผู้ได้ลาภ มัวเมา ประมาท และเคลื่อนจาก
สัทธรรม

เชิงอรรถ :
๑ สงัด ในที่นี้หมายถึงความสงัดทางกาย (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๖๑/๒๖๘)
๒ ไม่ประพฤติให้ต่อเนื่อง หมายถึงไม่เจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานให้ต่อเนื่องกันไป (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๖๑/๒๖๘)
๓ ลาภ ในที่นี้หมายถึงปัจจัย ๔ (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๖๑/๒๖๘)
๔ สัทธรรม ในที่นี้หมายถึงวิปัสสนา (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๖๑/๒๖๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๕๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๒.ภูมิจาลวรรค ๑.อิจฉาสูตร
๓. เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่อย่างสงัด แต่ไม่ประพฤติให้ต่อเนื่อง
ความอยากได้ลาภย่อมเกิดขึ้น แต่เธอไม่หมั่น ไม่พากเพียร ไม่พยายาม
เพื่อให้ได้ลาภ เมื่อเธอไม่หมั่น ไม่พากเพียร ไม่พยายามเพื่อให้ได้ลาภ
ลาภก็ไม่เกิดขึ้น เพราะไม่ได้ลาภนั้น เธอจึงเศร้าโศก ลำบากใจ
ร่ำไร ทุบอก คร่ำครวญ ถึงความเลอะเลือน ภิกษุนี้เราเรียกว่า
ผู้อยากได้ลาภอยู่ แต่ไม่หมั่น ไม่พากเพียร ไม่พยายามเพื่อให้ได้ลาภ
เธอชื่อว่าเป็นผู้ไม่ได้ลาภ เศร้าโศก ร่ำไร และเคลื่อนจากสัทธรรม
๔. เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่อย่างสงัด แต่ไม่ประพฤติให้ต่อเนื่อง
ความอยากได้ลาภย่อมเกิดขึ้น แต่เธอไม่หมั่น ไม่พากเพียร ไม่
พยายาม เพื่อให้ได้ลาภ เมื่อเธอไม่หมั่น ไม่พากเพียร ไม่พยายาม
เพื่อให้ได้ลาภ แต่ลาภก็เกิดขึ้น เพราะได้ลาภนั้น เธอจึงมัวเมา
ประมาท เลินเล่อ ภิกษุนี้เราเรียกว่าผู้อยากได้ลาภอยู่ แต่ไม่หมั่น
ไม่พากเพียร ไม่พยายาม เพื่อให้ได้ลาภ เธอชื่อว่าเป็นผู้ได้ลาภ
มัวเมา ประมาท และเคลื่อนจากสัทธรรม
๕. เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่อย่างสงัด แต่ไม่ประพฤติให้ต่อเนื่อง
ความอยากได้ลาภย่อมเกิดขึ้น เธอหมั่น พากเพียร พยายาม
เพื่อให้ได้ลาภ เมื่อเธอหมั่น พากเพียร พยายามเพื่อให้ได้ลาภ
แต่ลาภก็ไม่เกิดขึ้น เพราะไม่ได้ลาภนั้น เธอก็ไม่เศร้าโศก ไม่ลำบากใจ
ไม่ร่ำไร ไม่ทุบอกคร่ำครวญ ไม่ถึงความเลอะเลือน ภิกษุนี้เราเรียก
ว่าผู้อยากได้ลาภอยู่ หมั่น พากเพียร พยายามเพื่อให้ได้ลาภ
เธอชื่อ ว่าเป็นผู้ไม่ได้ลาภ ไม่เศร้าโศก ไม่ร่ำไร และไม่เคลื่อนจาก
สัทธรรม
๖. เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่อย่างสงัด แต่ไม่ประพฤติให้ต่อเนื่อง
ความอยากได้ลาภย่อมเกิดขึ้น เธอหมั่น พากเพียร พยายามเพื่อ
ให้ได้ลาภ เมื่อเธอหมั่น พากเพียร พยายามเพื่อให้ได้ลาภ ลาภก็
เกิดขึ้น เพราะได้ลาภนั้น เธอก็ไม่มัวเมา ไม่ประมาท ไม่เลินเล่อ
ภิกษุนี้เราเรียกว่าผู้อยากได้ลาภอยู่ หมั่น พากเพียร พยายามเพื่อ
ให้ได้ลาภ เธอชื่อว่าเป็นผู้ได้ลาภ ไม่มัวเมา ไม่ประมาท และไม่
เคลื่อนจากสัทธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๒.ภูมิจาลวรรค ๒.อลังสูตร
๗. เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่อย่างสงัด แต่ไม่ประพฤติให้ต่อเนื่อง
ความอยากได้ลาภย่อมเกิดขึ้น แต่เธอไม่หมั่น ไม่พากเพียร ไม่พยายาม
เพื่อให้ได้ลาภ เมื่อเธอไม่หมั่น ไม่พากเพียร ไม่พยายามเพื่อให้
ได้ลาภ ลาภก็ไม่เกิดขึ้น เพราะไม่ได้ลาภนั้น เธอก็ไม่เศร้าโศก
ไม่ลำบากใจ ไม่ร่ำไร ไม่ทุบอกคร่ำครวญ ไม่ถึงความเลอะเลือน
ภิกษุนี้เราเรียกว่าผู้อยากได้ลาภอยู่ แต่ไม่หมั่น ไม่พากเพียร
ไม่พยายามเพื่อให้ได้ลาภ เธอชื่อว่าเป็นผู้ไม่ได้ลาภ ไม่เศร้าโศก
ไม่ร่ำไร และไม่เคลื่อนจากสัทธรรม
๘. เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่อย่างสงัด แต่ไม่ประพฤติให้ต่อเนื่อง
ความอยากได้ลาภย่อมเกิดขึ้น แต่เธอไม่หมั่น ไม่พากเพียร ไม่
พยายามเพื่อให้ได้ลาภ เมื่อเธอไม่หมั่น ไม่พากเพียร ไม่พยายาม
เพื่อให้ได้ลาภ แต่ลาภก็เกิดขึ้น เพราะได้ลาภนั้น เธอไม่มัวเมา
ไม่ประมาท ไม่เลินเล่อ ภิกษุนี้เราเรียกว่าผู้อยากได้ลาภอยู่ แต่ไม่
หมั่น ไม่พากเพียร ไม่พยายามเพื่อให้ได้ลาภ เธอชื่อว่าเป็นผู้
ได้ลาภ ไม่มัวเมา ไม่ประมาท และไม่เคลื่อนจากสัทธรรม
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๘ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก”
อิจฉาสูตรที่ ๑ จบ

๒. อลังสูตร
ว่าด้วยผู้สามารถทำประโยชน์ตนและผู้อื่น
[๖๒] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ เป็นผู้มีความ
สามารถสำหรับตนเองและมีความสามารถสำหรับผู้อื่น๑

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงสามารถปฏิบัติให้เกื้อกูลสำหรับตนเองและผู้อื่น (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๖๒/๒๖๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๒.ภูมิจาลวรรค ๒.อลังสูตร
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. ใคร่ครวญได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย๑
๒. ทรงจำธรรมที่ฟังแล้วไว้ได้
๓. พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ได้
๔. รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
๕. มีวาจางาม เจรจาถ้อยคำไพเราะ ประกอบด้วยวาจาชาวเมืองที่
สละสลวยไม่หยาบคายให้รู้ความหมายได้
๖ ชี้แจงให้เพื่อนพรหมจารีเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ
เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล เป็นผู้มีความสามารถ
สำหรับตนเอง และมีความสามารถสำหรับผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เป็นผู้มีความสามารถ
สำหรับตนเอง และมีความสามารถสำหรับผู้อื่น
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. ใคร่ครวญไม่ได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย แต่ทรงจำธรรมที่ฟังแล้วไว้ได้
๒. พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ได้
๓. รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
๔. มีวาจางาม ฯลฯ ให้รู้ความหมายได้
๕. ชี้แจงให้เพื่อนพรหมจารีเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ
เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง

เชิงอรรถ :
๑ ใคร่ครวญได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย หมายถึงเมื่อกล่าวถึงขันธ์ ธาตุ อายตนะ เป็นต้น ก็สามารถเข้าใจ
ได้ฉับพลัน ในสูตรนี้ มุ่งกล่าวถึงสมถะและวิปัสสนา (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๖๒/๒๖๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๒.ภูมิจาลวรรค ๒.อลังสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นผู้มีความสามารถ
สำหรับตนเอง และมีความสามารถสำหรับผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เป็นผู้มีความสามารถ
สำหรับตนเอง แต่ไม่มีความสามารถสำหรับผู้อื่น
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. ใคร่ครวญได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย
๒. ทรงจำธรรมที่ฟังแล้วไว้ได้
๓. พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ได้ รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติ
ธรรมสมควรแก่ธรรม
๔. ไม่มีวาจางาม ไม่เจรจาถ้อยคำไพเราะ ไม่ประกอบด้วยวาจา
ชาวเมืองที่สละสลวยไม่หยาบคายให้รู้ความหมายได้ ทั้งไม่ชี้แจงให้
เพื่อนพรหมจารีเห็นชัด ไม่ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ ไม่เร้าใจ
ให้อาจหาญแกล้วกล้า ไม่ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เป็นผู้มีความสามารถ
สำหรับตนเอง แต่ไม่มีความสามารถสำหรับผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เป็นผู้มีความสามารถ
สำหรับผู้อื่น แต่ไม่มีความสามารถสำหรับตนเอง
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. ใคร่ครวญได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย
๒. ทรงจำธรรมที่ฟังแล้วไว้ได้ แต่ไม่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรง
จำไว้ ทั้งไม่รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
๓. มีวาจางาม เจรจาถ้อยคำไพเราะ ฯลฯ ให้รู้ความหมายได้
๔. ชี้แจงให้เพื่อนพรหมจารีเห็นชัด ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๕๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๒.ภูมิจาลวรรค ๒.อลังสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เป็นผู้มีความสามารถ
สำหรับผู้อื่น แต่ไม่มีความสามารถสำหรับตนเอง
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ เป็นผู้มีความสามารถ
สำหรับตนเอง แต่ไม่มีความสามารถสำหรับผู้อื่น
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. ใคร่ครวญไม่ได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย แต่ทรงจำธรรมที่ฟังแล้วไว้ได้
๒. พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ได้
๓. รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม แต่ไม่มีวาจางาม
ไม่เจรจาถ้อยคำไพเราะ ไม่ประกอบด้วยวาจาชาวเมืองที่สละสลวย
ไม่หยาบคายให้รู้ความหมายได้ ทั้งไม่ชี้แจงให้เพื่อนพรหมจารี
เห็นชัด ไม่ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ ไม่เร้าใจให้อาจหาญ
แกล้วกล้า ไม่ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล เป็นผู้มีความสามารถ
สำหรับตนเอง แต่ไม่มีความสามารถสำหรับผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ เป็นผู้มีความสามารถ
สำหรับผู้อื่น แต่ไม่มีความสามารถสำหรับตนเอง
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. ใคร่ครวญไม่ได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย แต่ทรงจำธรรมที่ฟังแล้วไว้ได้
๒. ไม่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ได้ ทั้งไม่รู้อรรถรู้ธรรม
แล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม แต่มีวาจางาม ฯลฯ ให้รู้ความ
หมายได้
๓. ชี้แจงให้เพื่อนพรหมจารีเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจ
ให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๒.ภูมิจาลวรรค ๒.อลังสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล เป็นผู้มีความสามารถ
สำหรับผู้อื่น แต่ไม่มีความสามารถสำหรับตนเอง
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ เป็นผู้มีความสามารถ
สำหรับตนเอง แต่ไม่มีความสามารถสำหรับผู้อื่น
ธรรม ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. ใคร่ครวญไม่ได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย ทั้งไม่ทรงจำธรรมที่ฟัง
แล้วไว้ได้ แต่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ได้
๒. รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมแล้ว แต่ไม่มีวาจางาม
ฯลฯ ให้รู้ความหมายได้ ทั้งไม่ชี้แจงให้เพื่อนพรหมจารีเห็นชัด ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๒ ประการนี้แล เป็นผู้มีความสามารถ
สำหรับตนเอง แต่ไม่มีความสามารถสำหรับผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ เป็นผู้มีความสามารถ
สำหรับผู้อื่น แต่ไม่มีความสามารถสำหรับตนเอง
ธรรม ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. ใคร่ครวญไม่ได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย ทั้งไม่ทรงจำธรรมที่ฟังแล้ว
ไว้ได้ ไม่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ได้ ไม่รู้อรรถรู้ธรรม
แล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม แต่มีวาจางาม เจรจาถ้อยคำไพเราะ
ประกอบด้วยวาจาชาวเมืองที่สละสลวยไม่หยาบคายให้รู้ความหมายได้
๒. ชี้แจงให้เพื่อนพรหมจารีเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ
เร้าใจให้อาจหาญ แกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๒ ประการนี้แล เป็นผู้มีความสามารถ
สำหรับผู้อื่น แต่ไม่มีความสามารถสำหรับตนเอง
อลังสูตรที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๖๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๒.ภูมิจาลวรรค ๓.สังขิตตสูตร
๓. สังขิตตสูตร
ว่าด้วยภิกษุทูลขอให้ทรงแสดงธรรมโดยย่อ
[๖๓] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส
ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์ โดยที่เมื่อข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว
จะพึงจากไปอยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โมฆบุรุษบางพวกในโลกนี้ ย่อมเชื้อเชิญเราอย่างที่
เขาทำกันมา และเมื่อเราแสดงธรรมแล้ว ก็คอยติดตามเราเรื่อยไป”
ภิกษุรูปหนึ่งกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรด
แสดงธรรมโดยย่อ ขอพระสุคตโปรดแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์ ทำอย่างไร
ข้าพระองค์จึงจะรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิตของพระผู้มีพระภาค ทำอย่างไรข้าพระองค์
จึงจะเป็นทายาทแห่งภาษิตของพระผู้มีพระภาค”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ เพราะฉะนั้นแล เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า
‘จิตของเราจักตั้งมั่น ดำรงมั่นด้วยดีในภายใน และบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วจัก
ครอบงำจิตไม่ได้อยู่’ เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้แล
เมื่อใดแล จิตของเธอตั้งมั่น ดำรงมั่นด้วยดีในภายใน และบาปอกุศลธรรม
ที่เกิดขึ้นแล้วจักครอบงำจิตไม่ได้อยู่ เมื่อนั้น เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เมตตา-
เจโตวิมุตติจักเป็นธรรมอันเราเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้
เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว’ เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้แล
เมื่อใดแล สมาธินี้เป็นธรรมอันเธอเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างนี้ เมื่อนั้น
เธอพึงเจริญสมาธินี้ที่มีวิตกมีวิจารบ้าง เจริญสมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารบ้าง เจริญ
สมาธิที่ไม่มีวิตกไม่มีวิจารบ้าง เจริญสมาธิที่มีปีติบ้าง เจริญสมาธิที่ไม่มีปีติบ้าง
เจริญสมาธิที่มีความยินดีบ้าง เจริญสมาธิที่มีอุเบกขาบ้าง
เมื่อใดแล สมาธินี้เป็นธรรมอันเธอเจริญแล้ว เจริญดีแล้วอย่างนี้ เมื่อนั้น
เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘กรุณาเจโตวิมุตติ ฯลฯ เมื่อนั้น เธอพึงสำเหนียก


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๒.ภูมิจาลวรรค ๓.สังขิตตสูตร
อย่างนี้ว่า ‘มุทิตาเจโตวิมุตติ ฯลฯ เมื่อนั้น เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘อุเบกขา-
เจโตวิมุตติ จักเป็นธรรมอันเราเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว
ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว’ เธอพึงสำเหนียก
อย่างนี้แล
เมื่อใดแล สมาธินี้เป็นธรรมอันเธอเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างนี้ เมื่อนั้น
เธอพึงเจริญสมาธินี้ที่มีวิตกมีวิจารบ้าง เจริญสมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารบ้าง เจริญ
สมาธิที่ไม่มีวิตกไม่มีวิจารบ้าง เจริญสมาธิที่มีปีติบ้าง เจริญสมาธิที่ไม่มีปีติบ้าง
เจริญสมาธิที่มีความยินดีบ้าง เจริญสมาธิที่มีอุเบกขาบ้าง
เมื่อใดแล สมาธินี้เป็นธรรมอันเธอเจริญแล้ว เจริญดีแล้วอย่างนี้ เมื่อนั้น
เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เราจักพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร
มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้’ เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้แล
เมื่อใดแล สมาธินี้เป็นธรรมอันเธอเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างนี้ เมื่อนั้น
เธอพึงเจริญสมาธินี้ที่มีวิตกมีวิจารบ้าง เจริญสมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารบ้าง เจริญ
สมาธิที่ไม่มีวิตกไม่มีวิจารบ้าง เจริญสมาธิที่มีปีติบ้าง เจริญสมาธิที่ไม่มีปีติบ้าง
เจริญสมาธิที่มีความยินดีบ้าง เจริญสมาธิที่มีอุเบกขาบ้าง
เมื่อใดแล สมาธินี้เป็นธรรมอันเธอเจริญแล้ว เจริญดีแล้วอย่างนี้ เมื่อนั้น
เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เราจักพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ฯลฯ เมื่อนั้นเธอ
พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เราจักพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯลฯ เมื่อนั้นเธอพึงสำเหนียก
อย่างนี้ว่า ‘เราจักพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้’ เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้แล
เมื่อใดแล สมาธินี้เป็นธรรมอันเธอเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างนี้ เมื่อนั้น
เธอพึงเจริญสมาธินี้ที่มีวิตกมีวิจารบ้าง เจริญสมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารบ้าง เจริญ
สมาธิที่ไม่มีวิตกไม่มีวิจารบ้าง เจริญสมาธิที่มีปีติบ้าง เจริญสมาธิที่ไม่มีปีติบ้าง
เจริญสมาธิที่มีความยินดีบ้าง เจริญสมาธิที่มีอุเบกขาบ้าง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๒.ภูมิจาลวรรค ๔.คยาสีสสูตร
เมื่อใดแล สมาธินี้เป็นธรรมอันเธอเจริญแล้ว เจริญดีแล้วอย่างนี้ เมื่อนั้น
เธอจะเดินไปที่ใด ๆ ก็เดินไปได้อย่างผาสุกในที่นั้น ๆ จะยืนอยู่ในที่ใด ๆ ก็ยืนอยู่
ได้อย่างผาสุกในที่นั้น ๆ จะนั่งอยู่ในที่ใด ๆ ก็นั่งอยู่ได้อย่างผาสุกในที่นั้น ๆ จะนอน
อยู่ในที่ใด ๆ ก็นอนอยู่อย่างผาสุกในที่นั้น ๆ๑”
ภิกษุนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสสอนด้วยพระโอวาทนี้แล้ว จึงลุกจากอาสนะ
ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้วจากไป เธอจากไปอยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท
มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนัก ก็ได้ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยม
อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ที่เหล่ากุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ
ต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
ภิกษุนั้นได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย
สังขิตตสูตรที่ ๓ จบ

๔. คยาสีสสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่คยาสีสะ
[๖๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ตำบลคยาสีสะ เขตเมืองคยา
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ
๑. ก่อนจะตรัสรู้ เราเป็นโพธิสัตว์ยังไม่ได้ตรัสรู้ เรารู้โอภาส๒ แต่ไม่
เห็นรูปทั้งหลาย
๒. เรานั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘ถ้าเรารู้โอภาสและเห็นรูปทั้งหลาย
ด้วยอาการอย่างนี้ ญาณทัสสนะ๓ นี้ของเราก็จะบริสุทธิ์ยิ่งขึ้น’

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงผู้บรรลุอรหัตตผลย่อมอยู่อย่างผาสุกทุกอิริยาบถ (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๖๓/๒๗๐)
๒ โอภาส ในที่นี้หมายถึงทิพพจักขุญาณ (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๖๔/๒๗๐)
๓ ญาณทัสสนะ ในที่นี้หมายถึงทัสสนะคือญาณที่เป็นทิพพจักษุ ในสูตรนี้กล่าวถึงญาณ ๘ คือ (๑) ทิพพจักขุ-
ญาณ (๒) อิทธวิธญาณ (๓) เจโตปริยญาณ (๔) ยถากัมมูปคญาณ (๕) อนาคตังสญาณ (๖) ปัจจุปปันนังส-
ญาณ (๗) อตีตังสญาณ (๘) ปุพเพนิวาสญาณ (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๖๔/๒๗๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๒.ภูมิจาลวรรค ๔.คยาสีสสูตร
สมัยต่อมา เรานั้นเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกาย
และใจอยู่ รู้โอภาสและเห็นรูปทั้งหลาย แต่เราไม่ได้ยืนเจรจาปราศรัย
กับเทวดาเหล่านั้น
๓. เรานั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘ถ้าเรารู้โอภาส เห็นรูปทั้งหลาย
และยืนเจรจาปราศรัยกับเทวดาเหล่านั้น ด้วยอาการอย่างนี้ ญาณ-
ทัสสนะนี้ของเราก็จะบริสุทธิ์ยิ่งขึ้น’
สมัยต่อมา เรานั้นเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกาย
และใจอยู่ รู้โอภาส เห็นรูปทั้งหลาย และยืนเจรจาปราศรัยกับ
เทวดาเหล่านั้น แต่ไม่รู้จักเทวดาเหล่านั้นว่า ‘เทวดานี้มาจากเทพ
นิกายโน้น ๆ’
๔-๗. เรานั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘ถ้าเรารู้โอภาส เห็นรูปทั้งหลาย ยืนเจรจา
ปราศรัยกับเทวดาเหล่านั้น และรู้จักเทวดาเหล่านั้นว่า ‘เทวดาเหล่านี้
มาจากเทพนิกายโน้น ๆ’ ด้วยอาการอย่างนี้ ญาณทัสสนะนี้ของเรา
ก็จะบริสุทธิ์ยิ่งขึ้น’
สมัยต่อมา เรานั้นเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกาย
และใจอยู่ รู้โอภาส เห็นรูปทั้งหลาย ยืนเจรจาปราศรัยกับเทวดา
เหล่านั้น และรู้จักเทวดาเหล่านั้นว่า ‘เทวดาเหล่านี้มาจากเทพ
นิกายโน้น ๆ’ แต่ไม่รู้จักเทวดาเหล่านั้นว่า ‘ด้วยวิบากแห่งกรรมนี้
เทวดาเหล่านี้จุติจากภพนี้แล้ว จึงมาเกิดในภพนั้น’ ฯลฯ รู้จัก
เทวดาเหล่านั้นว่า ‘ด้วยวิบากแห่งกรรมนี้ เทวดาเหล่านี้จุติจาก
ภพนี้แล้ว จึงมาเกิดในภพนั้น’ แต่ไม่รู้จักเทวดาเหล่านั้นว่า ‘ด้วย
วิบากแห่งกรรมนี้ เทวดาเหล่านี้มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุขและทุกข์
อย่างนี้’ ฯลฯ รู้จักเทวดาเหล่านั้นว่า ‘ด้วยวิบากแห่งกรรมนี้
เทวดาเหล่านี้มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุขและทุกข์อย่างนี้’ แต่ไม่รู้จัก
เทวดาเหล่านั้นว่า ‘เทวดาเหล่านี้มีอายุยืนอย่างนี้ ดำรงอยู่ได้นาน
อย่างนี้’ ฯลฯ รู้จักเทวดาเหล่านั้นว่า ‘เทวดาเหล่านี้มีอายุยืนอย่างนี้
ดำรงอยู่ได้นานอย่างนี้’ แต่ไม่รู้จักเทวดาเหล่านั้นว่า ‘เราเคยอยู่ร่วม
หรือไม่เคยอยู่ร่วมกับเทวดาเหล่านี้’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๒.ภูมิจาลวรรค ๔.คยาสีสสูตร
๘. เรานั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘ถ้าเรารู้โอภาส เห็นรูปทั้งหลาย ยืนเจรจา
ปราศรัยกับเทวดาเหล่านั้น และรู้จักเทวดาเหล่านั้นว่า ‘เทวดาเหล่านี้
มาจากเทพนิกายโน้น ๆ’ รู้จักเทวดาเหล่านั้นว่า ‘ด้วยวิบากแห่ง
กรรมนี้ เทวดาเหล่านี้จุติจากภพนี้แล้ว จึงมาเกิดในภพนั้น’ รู้จัก
เทวดาเหล่านั้นว่า ‘เทวดาเหล่านี้มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุขและทุกข์
อย่างนี้’ รู้จักเทวดาเหล่านั้นว่า ‘เทวดาเหล่านี้มีอายุยืนอย่างนี้
ดำรงอยู่ได้นานอย่างนี้’ และรู้จักเทวดาเหล่านั้นว่า ‘เราเคยอยู่ร่วม
หรือไม่เคยอยู่ร่วมกับเทวดาเหล่านี้’ ญาณทัสสนะนี้ของเราก็จะ
บริสุทธิ์ยิ่งขึ้น’
สมัยต่อมา เรานั้นเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกาย
และใจอยู่ รู้โอภาส เห็นรูปทั้งหลาย ยืนเจรจาปราศรัยกับเทวดา
เหล่านั้น และรู้จักเทวดาเหล่านั้นว่า ‘เทวดาเหล่านี้ มาจากเทพ
นิกายโน้น ๆ’ รู้จักเทวดาเหล่านั้นว่า ‘ด้วยวิบากแห่งกรรมนี้
เทวดาเหล่านี้จุติจากภพนี้แล้ว จึงมาเกิดในภพนั้น’ รู้จักเทวดา
เหล่านั้นว่า ‘เทวดาเหล่านี้มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุขและทุกข์อย่างนี้’
รู้จักเทวดาเหล่านั้นว่า ‘เทวดาเหล่านี้มีอายุยืนอย่างนี้ ดำรงอยู่ได้
นานอย่างนี้’ และรู้จักเทวดาเหล่านั้นว่า ‘เราเคยอยู่ร่วมหรือไม่เคย
อยู่ร่วมกับเทวดาเหล่านี้’
อธิเทวญาณทัสสนะ(ความรู้ความเห็นเกี่ยวกับเทวดาผู้ยิ่ง)ของเรา ๘ ขั้นอย่างนี้
ยังไม่หมดจดดีตราบใด เราก็ยังไม่ยืนยันว่า เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณอันยอด
เยี่ยมในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์
เทวดา และมนุษย์ตราบนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด อธิเทวญาณทัสสนะของเรา ๘ ขั้นอย่างนี้หมดจดดีแล้ว
เมื่อนั้น เราจึงยืนยันได้ว่า เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมในโลกพร้อมทั้ง
เทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์
ญาณทัสสนะเกิดขึ้นแก่เราว่า ‘เจโตวิมุตติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย
บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก’
คยาสีสสูตรที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๒.ภูมิจาลวรรค ๕.อภิภายตนสูตร
๕. อภิภายตนสูตร
ว่าด้วยอภิภายตนะ
[๖๕] ภิกษุทั้งหลาย อภิภายตนะ๑ ๘ ประการนี้
อภิภายตนะ ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. บุคคลหนึ่งมีรูปสัญญาภายใน๒ เห็นรูปภายนอกขนาดเล็ก มีสีสันดี
หรือไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’
นี้เป็นอภิภายตนะที่ ๑
๒. บุคคลหนึ่งมีรูปสัญญาภายใน เห็นรูปภายนอกขนาดใหญ่ มีสีสันดี
หรือไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’
นี้เป็นอภิภายตนะที่ ๒
๓. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน๓ เห็นรูปภายนอกขนาดเล็ก มีสีสันดี
หรือไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’
นี้เป็นอภิภายตนะที่ ๓
๔. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปภายนอกขนาดใหญ่ มีสีสันดี
หรือไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’
นี้เป็นอภิภายตนะที่ ๔
๕. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปภายนอกที่เขียว มีสีเขียว
เปรียบด้วยของเขียว มีสีเขียวเข้ม ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญา
อย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะที่ ๕

เชิงอรรถ :
๑ อภิภายตนะ หมายถึงเหตุครอบงำ เหตุที่มีอิทธิพล ได้แก่ ญาณหรือฌานที่เป็นเหตุครอบงำปัจจนีกธรรม
คือนิวรณ์ ๕ และอารมณ์ทั้งหลาย คำนี้มาจาก อภิภู + อายตนะ ที่ชื่อว่า อภิภู เพราะครอบงำอารมณ์
และชื่อว่า อายตนะ เพราะเป็นที่เกิดความสุขอันวิเศษแก่พระโยคีทั้งหลาย และเพราะเป็นมนายตนะและ
ธัมมายตนะ (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๖๕/๒๗๐, องฺ.อฏฺฐก. ฏีกา ๓/๖๑-๖๕/๓๐๒, ที.ม.อ. ๒/๑๗๓/๑๖๔) และดู
ที.ม. ๑๐/๑๗๓/๙๘, ที.ปา. ๑๑/๓๓๘/๒๒๙-๒๓๐, ม.ม. ๑๓/๒๔๙/๒๒๔, องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๒๙/๗๑
๒ มีรูปสัญญาภายใน หมายถึงจำได้หมายรู้รูปภายในโดยการบริกรรมรูปภายใน ยังไม่ถึงอัปปนา (องฺ.อฏฺฐก.
อ. ๓/๖๕/๒๗๐)
๓ มีอรูปสัญญาภายใน หมายถึงปราศจากบริกรรมอรูปภายใน เพราะไม่ให้รูปสัญญาเกิดขึ้น (องฺ.อฏฺฐก.อ.
๓/๖๕/๒๗๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๒.ภูมิจาลวรรค ๖.วิโมกขสูตร
๖. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปภายนอกที่เหลือง มีสีเหลือง
เปรียบด้วยของเหลือง มีสีเหลืองเข้ม ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญา
อย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะที่ ๖
๗. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปภายนอกที่แดง มีสีแดง
เปรียบด้วยของแดง มีสีแดงเข้ม ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญา
อย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะที่ ๗
๘. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปภายนอกที่ขาว มีสีขาว
เปรียบด้วยของขาว มีสีขาวเข้ม ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญา
อย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะที่ ๘
ภิกษุทั้งหลาย อภิภายตนะ ๘ ประการนี้แล
อภิภายตนสูตรที่ ๕ จบ

๖. วิโมกขสูตร
ว่าด้วยวิโมกข์
[๖๖] ภิกษุทั้งหลาย วิโมกข์๑ ๘ ประการนี้
วิโมกข์ ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้มีรูป๒ เห็นรูปทั้งหลาย นี้เป็นวิโมกข์ที่ ๑
๒. บุคคลผู้มีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอก นี้เป็นวิโมกข์
ที่ ๒

เชิงอรรถ :
๑ วิโมกข์(ความหลุดพ้น) หมายถึงภาวะที่จิตหลุดพ้นจากสิ่งรบกวนและน้อมดิ่งไปในอารมณ์นั้นๆ (องฺ.อฏฺฐก.
อ. ๓/๖๖/๒๗๒) ดู ที.ม. ๑๐/๑๒๙/๖๓, ๑๗๔/๑๐๐, ที.ปา ๑๑/๓๓๙/๒๓๑, ๓๕๘/๒๗๑-๒๗๒, ม.ม. ๑๓/
๒๔๘/๒๒๓-๒๒๔, อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๘๒๘/๕๓๐-๕๓๑
๒ มีรูป ในที่นี้หมายถึงได้รูปฌานที่เกิดจากอาการทำบริกรรมในรูปภายในตน เช่น ทำบริกรรมผม เหงื่อ เนื้อ
เลือด กระดูก ฟัน เล็บ โดยวิธีการบริกรรมเป็นสีต่าง ๆ มีสีเขียว เหลือง แดง เป็นต้น (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๖๕/
๒๗๐,๖๖/๒๗๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๒.ภูมิจาลวรรค ๗.อนริยโวหารสูตร
๓. บุคคลเป็นผู้น้อมใจไปว่า ‘งาม’ เท่านั้น นี้เป็นวิโมกข์ที่ ๓
๔. บุคคลบรรลุอากาสานัญจายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘อากาศหา
ที่สุดมิได้’ อยู่ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนด
นานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ที่ ๔
๕. บุคคลล่วงอากาสานัญจายตนฌาน โดยประการทั้งปวง บรรลุ
วิญญาณัญจายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ อยู่
นี้เป็นวิโมกข์ที่ ๕
๖. บุคคลล่วงวิญญาณัญจายตนฌาน โดยประการทั้งปวง บรรลุ
อากิญจัญญายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ นี้เป็น
วิโมกข์ที่ ๖
๗. บุคคลล่วงอากิญจัญญายตนฌาน โดยประการทั้งปวง บรรลุ
เนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ นี้เป็นวิโมกข์ที่ ๗
๘. บุคคลล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน โดยประการทั้งปวง บรรลุ
สัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ นี้เป็นวิโมกข์ที่ ๘
ภิกษุทั้งหลาย วิโมกข์ ๘ ประการนี้แล
วิโมกขสูตรที่ ๖ จบ

๗. อนริยโวหารสูตร๑
ว่าด้วยอนริยโวหาร
[๖๗] ภิกษุทั้งหลาย อนริยโวหาร๒ ๘ ประการนี้
อนริยโวหาร ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. การกล่าวสิ่งที่ไม่ได้เห็นว่าได้เห็น
๒. การกล่าวสิ่งที่ไม่ได้ฟังว่าได้ฟัง

เชิงอรรถ :
๑ ที.ปา. ๑๑/๓๑๓/๒๐๖, องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๒๕๐/๓๖๘, ๒๕๒/๓๖๙, อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๓๙/๕๙๐
๒ อนริยโวหาร ในที่นี้หมายถึงถ้อยคำของเหล่าชนผู้ไม่ใช่พระอริยะ (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๕๐/๔๔๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๒.ภูมิจาลวรรค ๘.อริยโวหารสูตร
๓. การกล่าวสิ่งที่ไม่ได้ทราบว่าได้ทราบ
๔. การกล่าวสิ่งที่ไม่ได้รู้ว่าได้รู้
๕. การกล่าวสิ่งที่ได้เห็นว่าไม่ได้เห็น
๖. การกล่าวสิ่งที่ได้ฟังว่าไม่ได้ฟัง
๗. การกล่าวสิ่งที่ได้ทราบว่าไม่ได้ทราบ
๘. การกล่าวสิ่งที่ได้รู้ว่าไม่ได้รู้
ภิกษุทั้งหลาย อนริยโวหาร ๘ ประการนี้แล
อนริยโวหารสูตรที่ ๗ จบ

๘. อริยโวหารสูตร๑
ว่าด้วยอริยโวหาร
[๖๘] ภิกษุทั้งหลาย อริยโวหาร ๘ ประการนี้
อริยโวหาร ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. การกล่าวสิ่งที่ไม่ได้เห็นว่าไม่ได้เห็น
๒. การกล่าวสิ่งที่ไม่ได้ฟังว่าไม่ได้ฟัง
๓. การกล่าวสิ่งที่ไม่ได้ทราบว่าไม่ได้ทราบ
๔. การกล่าวสิ่งที่ไม่ได้รู้ว่าไม่ได้รู้
๕. การกล่าวสิ่งที่ได้เห็นว่าได้เห็น
๖. การกล่าวสิ่งที่ได้ฟังว่าได้ฟัง
๗. การกล่าวสิ่งที่ได้ทราบว่าได้ทราบ
๘. การกล่าวสิ่งที่ได้รู้ว่าได้รู้
ภิกษุทั้งหลาย อริยโวหาร ๘ ประการนี้แล
อริยโวหารสูตรที่ ๘ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ที.ปา. ๑๑/๓๑๓/๒๐๖, องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๒๕๑/๓๖๘,๒๕๓/๓๗๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๒.ภูมิจาลวรรค ๙.ปริสาสูตร
๙. ปริสาสูตร
ว่าด้วยบริษัท๑
[๖๙] ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๘ จำพวกนี้
บริษัท ๘ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. ขัตติยบริษัท (ชุมนุมกษัตริย์)
๒. พราหมณบริษัท (ชุมนุมพราหมณ์)
๓. คหบดีบริษัท (ชุมนุมคหบดี)
๔. สมณบริษัท (ชุมนุมสมณะ)
๕. จาตุมหาราชบริษัท (ชุมนุมเทพชั้นจาตุมหาราช)
๖. ดาวดึงสบริษัท (ชุมนุมเทพชั้นดาวดึงส์)
๗. มารบริษัท (ชุมนุมมาร)
๘. พรหมบริษัท (ชุมนุมพรหม)
ภิกษุทั้งหลาย เราจำได้ว่า ‘เคยเข้าไปหาขัตติยบริษัทหลายร้อยครั้ง ทั้งเคย
นั่งพูดคุยและสนทนาในขัตติยบริษัทนั้น กษัตริย์เหล่านั้นมีวรรณะเช่นใด เราก็มี
วรรณะเช่นนั้น กษัตริย์เหล่านั้นมีเสียงเช่นใด เราก็มีเสียงเช่นนั้น เราชี้แจงให้กษัตริย์
เหล่านั้นเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า
ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา และเมื่อเรากำลังพูดอยู่ ก็ไม่มีใครรู้ว่า
‘ผู้กำลังพูดอยู่นี้เป็นใคร เป็นเทวดาหรือมนุษย์’ ครั้นชี้แจงให้กษัตริย์เหล่านั้นเห็นชัด
ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่น
ร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้วก็หายไป และเมื่อเราหายไปแล้ว ก็ไม่มีใครรู้ว่า ‘ผู้ที่หายไป
แล้วนี้เป็นใคร เป็นเทวดาหรือมนุษย์’
ภิกษุทั้งหลาย เราจำได้ว่า ‘เคยเข้าไปหาพราหมณบริษัท ฯลฯ คหบดีบริษัท
ฯลฯ สมณบริษัท ฯลฯ จาตุมหาราชบริษัท ฯลฯ ดาวดึงสบริษัท ฯลฯ มารบริษัท ฯลฯ’-------------------------------------

-----
๑ ดู ที.ม. ๑๐/๑๗๒/๙๗-๙๘, ม.มู. ๑๒/๑๕๑/๑๑๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๒.ภูมิจาลวรรค ๑๐.ภูมิจาลสูตร
ภิกษุทั้งหลาย เราจำได้ว่า ‘เคยเข้าไปหาพรหมบริษัทหลายร้อยครั้ง ทั้งเคย
นั่งพูดคุยและสนทนาในพรหมบริษัทนั้น พรหมเหล่านั้นมีวรรณะเช่นใด เราก็มีวรรณะ
เช่นนั้น พรหมเหล่านั้นมีเสียงเช่นใด เราก็มีเสียงเช่นนั้น เราชี้แจงให้พรหมเหล่านั้น
เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจ
ให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา และเมื่อเรากำลังพูดอยู่ ก็ไม่มีใครรู้ว่า ‘ผู้กำลังพูด
อยู่นี้เป็นใคร เป็นเทวดาหรือมนุษย์’ ครั้นชี้แจงให้พรหมเหล่านั้นเห็นชัด ชวนใจให้
อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง
ด้วยธรรมีกถาแล้วก็หายไป และเมื่อเราหายไปแล้ว ก็ไม่มีใครรู้ว่า ‘ผู้ที่หายไปแล้ว
นี้เป็นใคร เป็นเทวดาหรือมนุษย์’
ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๘ จำพวกนี้แล
ปริสาสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ภูมิจาลสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ทำให้แผ่นดินไหวครั้งใหญ่๑
[๗๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน
เขตกรุงเวสาลี ครั้นในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ทรงถือบาตร
และจีวรเสด็จเข้าไปยังกรุงเวสาลีเพื่อบิณฑบาต เสด็จกลับจากบิณฑบาต หลังจาก
เสวยพระกระยาหารเสร็จแล้ว รับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “อานนท์ เธอจง
ถือนิสีทนะ๒ เราจะเข้าไปพักกลางวันที่ปาวาลเจดีย์” ท่านพระอานนท์ทูลรับสนอง
พระดำรัสแล้ว ถือนิสีทนะตามเสด็จพระผู้มีพระภาคไปข้างพระปฤษฎางค์
ครั้นพระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปยังปาวาลเจดีย์ ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาด
ไว้แล้วได้ตรัสกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “อานนท์ กรุงเวสาลีน่ารื่นรมย์ อุเทนเจดีย์
น่ารื่นรมย์ โคตมกเจดีย์น่ารื่นรมย์ พหุปุตตกเจดีย์น่ารื่นรมย์ สัตตัมพเจดีย์น่า
รื่นรมย์ สารันททเจดีย์น่ารื่นรมย์ ปาวาลเจดีย์น่ารื่นรมย์

เชิงอรรถ :
๑ ดู ที.ม. ๑๐/๑๖๖-๑๖๙/๙๑-๙๖, สํ.ม. ๑๙/๘๒๒/๒๒๖-๒๒๙, ขุ.อุ. ๒๕/๕๑/๑๗๙-๑๘๔
๒ นิสีทนะ ในที่นี้หมายถึงแผ่นหนังสัตว์ (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๗๐/๒๗๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๒.ภูมิจาลวรรค ๑๐.ภูมิจาลสูตร
อิทธิบาท ๔ ผู้ใดผู้หนึ่งเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่
ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ผู้นั้นเมื่อมุ่งหวัง พึงดำรงอยู่ได้
๑ กัป หรือเกินกว่า ๑ กัป
อิทธิบาท ๔ ตถาคตเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่
ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ตถาคตเมื่อมุ่งหวัง พึงดำรงอยู่ได้
๑ กัป หรือเกินกว่า ๑ กัป”
เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงทำนิมิตที่ชัดแจ้ง ทรงทำโอกาสที่ชัดเจนแม้อย่างนี้
ท่านพระอานนท์ก็ไม่อาจจะรู้ทัน จึงไม่กราบทูลวิงวอนพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดดำรงพระชนมชีพอยู่ตลอดกัป ขอพระสุคต
โปรดดำรงพระชนมชีพอยู่ตลอดกัปเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อ
อนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย”
เพราะท่านถูกมารดลใจ
แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ พระผู้มีพระภาคก็ได้ตรัสกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “อานนท์
กรุงเวสาลีน่ารื่นรมย์ อุเทนเจดีย์น่ารื่นรมย์ โคตมกเจดีย์น่ารื่นรมย์ พหุปุตตกเจดีย์
น่ารื่นรมย์ สัตตัมพเจดีย์น่ารื่นรมย์ สารันททเจดีย์น่ารื่นรมย์ ปาวาลเจดีย์น่ารื่นรมย์
อิทธิบาท ๔ ผู้ใดผู้หนึ่งเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้เป็น
ที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ผู้นั้นเมื่อมุ่งหวัง พึงดำรงอยู่ได้
๑ กัป หรือเกินกว่า ๑ กัป
อิทธิบาท ๔ ตถาคตเจริญ ฯลฯ ตถาคตเมื่อมุ่งหวัง พึงดำรงอยู่ได้ ๑ กัป
หรือเกินกว่า ๑ กัป”
เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงทำนิมิตที่ชัดแจ้ง ทรงทำโอกาสที่ชัดเจนแม้อย่างนี้
ท่านพระอานนท์ก็ไม่อาจจะรู้ทัน จึงไม่กราบทูลวิงวอนพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดดำรงพระชนมชีพอยู่ตลอดกัป ขอพระสุคต


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๒.ภูมิจาลวรรค ๑๐.ภูมิจาลสูตร
โปรดดำรงพระชนมชีพอยู่ตลอดกัปเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก
เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย” เพราะท่านถูกมารดลใจ
หลังจากนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “อานนท์
ไปเถิด เธอจงกำหนดเวลาที่สมควร ณ บัดนี้เถิด”
ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้วลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระ
ผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้วนั่งที่โคนไม้ต้นหนึ่งซึ่งไม่ไกลจากพระผู้มีพระภาค
ครั้นเมื่อท่านพระอานนท์จากไปไม่นาน มารผู้มีบาปได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดปรินิพพานเถิด
ขอพระสุคตโปรดปรินิพพานเถิด เวลานี้ เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาค
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระวาจานี้ไว้ว่า ‘มารผู้มีบาป เราจะยังไม่ปรินิพพาน
ตราบเท่าที่เหล่าภิกษุผู้สาวกของเรายังไม่เฉียบแหลม ไม่ได้รับการแนะนำ ไม่แกล้วกล้า
ไม่บรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะ ไม่เป็นพหูสูต ไม่ทรงธรรม ไม่ปฏิบัติธรรม
สมควรแก่ธรรม ไม่ปฏิบัติชอบยิ่ง ไม่ประพฤติตามธรรม เรียนกับอาจารย์ของตนแล้ว
แต่ก็ยังบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายไม่ได้ ยังแสดงธรรม
มีปาฏิหาริย์ปราบปรัปปวาทที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยชอบธรรมไม่ได้’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เวลานี้ เหล่าภิกษุผู้เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้
เฉียบแหลม ได้รับการแนะนำ แกล้วกล้า บรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะ
เป็นพหูสูต ทรงธรรม ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบยิ่ง ประพฤติ
ตามธรรม เรียนกับอาจารย์ของตนแล้วบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย
จำแนกทำให้ง่ายได้ แสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ปราบปรัปปวาทที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อย
โดยชอบธรรมได้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้ขอพระผู้มีพระภาคโปรดปรินิพพานเถิด ขอพระ
สุคตโปรดปรินิพพานเถิด เวลานี้ เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาค พระผู้มี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๗๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๒.ภูมิจาลวรรค ๑๐.ภูมิจาลสูตร
พระภาคได้ตรัสพระวาจานี้ไว้ว่า ‘มารผู้มีบาป เราจะยังไม่ปรินิพพาน ตราบเท่าที่
เหล่าภิกษุณีผู้สาวิกาของเรา ฯลฯ ตราบเท่าที่เหล่าอุบาสกผู้สาวกของเรา ฯลฯ
ตราบเท่าที่เหล่าอุบาสิกาผู้สาวิกาของเรายังไม่เฉียบแหลม ไม่ได้รับการแนะนำ
ไม่แกล้วกล้า ไม่บรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะ ไม่เป็นพหูสูต ไม่ทรงธรรม
ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ไม่ปฏิบัติชอบยิ่ง ไม่ประพฤติตามธรรม เรียนกับ
อาจารย์ของตนแล้วแต่ก็ยังบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย
ไม่ได้ ยังแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ปราบปรัปปวาทที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยชอบธรรมไม่ได้’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เวลานี้ เหล่าอุบาสิกาผู้สาวิกาของพระผู้มีพระภาค
เป็นผู้เฉียบแหลม ได้รับการแนะนำ แกล้วกล้า บรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจาก
โยคะ เป็นพหูสูต ทรงธรรม ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบยิ่ง ประพฤติ
ตามธรรม เรียนกับอาจารย์ของตนแล้วบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย
จำแนก ทำให้ง่ายได้ แสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ปราบปรัปปวาทที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดย
ชอบธรรมได้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดปรินิพพานเถิด ขอพระ
สุคตโปรดปรินิพพานเถิด เวลานี้ เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาค พระผู้มี
พระภาคได้ตรัสพระวาจานี้ไว้ว่า ‘มารผู้มีบาป เราจะยังไม่ปรินิพพานตราบเท่าที่
พรหมจรรย์๑นี้ของเรายังไม่เจริญแพร่หลาย กว้างขวาง รู้กันโดยมาก เป็นปึกแผ่น
กระทั่งเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายประกาศได้ดีแล้ว’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เวลานี้ พรหมจรรย์ของพระผู้มีพระภาคเจริญแพร่หลาย
กว้างขวาง รู้กันโดยมาก เป็นปึกแผ่น กระทั่งเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายประกาศ
ได้ดีแล้ว
บัดนี้ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดปรินิพพานเถิด ขอพระสุคตโปรดปรินิพพานเถิด
เวลานี้ เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาคแล้ว”

เชิงอรรถ :
๑ พรหมจรรย์ ในที่นี้หมายถึงศาสนพรหมจรรย์ คือ คำสั่งสอนในพระพุทธศาสนาทั้งสิ้นที่รวมลงในไตรสิกขา
(องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๗๐/๒๗๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๒.ภูมิจาลวรรค ๑๐.ภูมิจาลสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “มารผู้มีบาป ท่านจงขวนขวายน้อย๑เถิด
ไม่นานนัก ตถาคตจะปรินิพพาน จากนี้ไปอีก ๓ เดือน ตถาคตจะปรินิพพาน”
เวลานั้น พระผู้มีพระภาคทรงมีสติสัมปชัญญะ ทรงปลงพระชนมายุสังขารแล้ว
ณ ปาวาลเจดีย์ เมื่อพระองค์ทรงปลงพระชนมายุสังขาร๒แล้ว ได้เกิดแผ่นดินไหว
ครั้งใหญ่ น่าสะพรึงกลัว ขนพองสยองเกล้า ทั้งกลองทิพย์ก็ดังกึกก้อง ครั้นพระผู้มี
พระภาคทรงทราบความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งพระอุทานในเวลานั้นดังนี้ว่า
“มุนีละกรรมทั้งที่ชั่งได้และชั่งไม่ได้
อันเป็นเหตุก่อกำเนิดเป็นเครื่องปรุงแต่งภพได้แล้ว
ยินดีในภายใน มีใจมั่นคง
ทำลายกิเลสที่เกิดในตนได้
เหมือนนักรบทำลายเกราะได้ ฉะนั้น”
ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์ได้มีความคิดดังนี้ว่า “แผ่นดินไหวครั้งนี้ รุนแรงจริง
แผ่นดินไหวครั้งนี้รุนแรงจริงๆ น่าสะพรึงกลัว ขนพองสยองเกล้า ทั้งกลองทิพย์ก็
ดังกึกก้อง อะไรหนอแลเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้แผ่นดินไหวอย่างรุนแรง”
ต่อมา ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
แผ่นดินไหวครั้งนี้รุนแรงจริง แผ่นดินไหวครั้งนี้รุนแรงจริงๆ น่าสะพรึงกลัว ขนพอง
สยองเกล้า ทั้งกลองทิพย์ก็ดังกึกก้อง อะไรหนอแลเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้แผ่นดินไหว
อย่างรุนแรง”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ เหตุปัจจัย ๘ ประการนี้ทำให้แผ่นดิน
ไหวอย่างรุนแรง

เชิงอรรถ :
๑ ขวนขวายน้อย ในที่นี้หมายถึงไม่ต้องกังวลห่วงใย (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๗๐/๒๗๗)
๒ ปลงอายุสังขาร หมายถึงสลัดปัจจัยเครื่องปรุงแต่งอายุ ตกลงพระทัยอย่างมีสติมั่นคง และกำหนดรู้ด้วย
พระปัญญาว่าจะปรินิพพาน (ที.ม.อ. ๒/๑๗๗/๑๖๗, องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๗๐/๒๗๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๗๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๒.ภูมิจาลวรรค ๑๐.ภูมิจาลสูตร
เหตุปัจจัย ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. มหาปฐพีนี้ตั้งอยู่บนน้ำ น้ำตั้งอยู่บนลม ลมตั้งอยู่บนอากาศ เวลา
ที่ลมพายุพัดแรงย่อมทำให้น้ำกระเพื่อม น้ำที่กระเพื่อมย่อมทำให้
แผ่นดินไหวตาม นี้เป็นเหตุปัจจัยประการที่ ๑ ที่ทำให้แผ่นดินไหว
อย่างรุนแรง
๒. สมณะหรือพราหมณ์ผู้มีฤทธิ์ เชี่ยวชาญทางจิต หรือเหล่าเทวดาผู้มี
ฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากได้เจริญปฐวีสัญญานิดหน่อย แต่เจริญ
อาโปสัญญาจนหาประมาณมิได้ จึงทำให้แผ่นดินนี้ไหวสั่นสะเทือน
เลื่อนลั่น นี้เป็นเหตุปัจจัยประการที่ ๒ ที่ทำให้แผ่นดินไหวอย่าง
รุนแรง
๓. คราวที่พระโพธิสัตว์มีสติสัมปชัญญะจุติจากภพดุสิต เสด็จสู่พระครรภ์
ของพระมารดา แผ่นดินนี้ก็ไหวสั่นสะเทือนเลื่อนลั่น นี้เป็นเหตุปัจจัย
ประการที่ ๓ ที่ทำให้แผ่นดินไหวอย่างรุนแรง
๔. คราวที่พระโพธิสัตว์มีสติสัมปชัญญะ ประสูติจากพระครรภ์ของ
พระมารดา แผ่นดินนี้ก็ไหวสั่นสะเทือนเลื่อนลั่น นี้เป็นเหตุปัจจัย
ประการที่ ๔ ที่ทำให้แผ่นดินไหวอย่างรุนแรง
๕. คราวที่ตถาคตตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ แผ่นดินนี้ก็ไหวสั่น
สะเทือนเลื่อนลั่น นี้เป็นเหตุปัจจัยประการที่ ๕ ที่ทำให้แผ่นดินไหว
อย่างรุนแรง
๖. คราวที่ตถาคตประกาศธรรมจักรอันยอดเยี่ยมให้เป็นไป แผ่นดินนี้
ก็ไหวสั่นสะเทือนเลื่อนลั่น นี้เป็นเหตุปัจจัยประการที่ ๖ ที่ทำให้
แผ่นดินไหวอย่างรุนแรง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๗๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๒.ภูมิจาลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
๗. คราวที่ตถาคตมีสติสัมปชัญญะปลงอายุสังขาร แผ่นดินนี้ก็ไหวสั่น
สะเทือนเลื่อนลั่น นี้เป็นเหตุปัจจัยประการที่ ๗ ที่ทำให้แผ่นดินไหว
อย่างรุนแรง
๘. คราวที่ตถาคตปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ แผ่นดินนี้ก็
ไหวสั่นสะเทือนเลื่อนลั่น นี้เป็นเหตุปัจจัยประการที่ ๘ ที่ทำให้แผ่น
ดินไหวอย่างรุนแรง
อานนท์ เหตุปัจจัย ๘ ประการนี้แล ที่ทำให้แผ่นดินไหวอย่างรุนแรง”
ภูมิจาลสูตรที่ ๑๐ จบ
ภูมิจาลวรรคที่ ๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อิจฉาสูตร ๒. อลังสูตร
๓. สังขิตตสูตร ๔. คยาสีสสูตร
๕. อภิภายตนสูตร ๖. วิโมกขสูตร
๗. อนริยโวหารสูตร ๘. อริยโวหารสูตร
๙. ปริสาสูตร ๑๐. ภูมิจาลสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๓.ยมกวรรค ๑.ปฐมสัทธาสูตร
๓. ยมกวรรค
หมวดว่าด้วยธรรมคู่กัน
๑. ปฐมสัทธาสูตร๑
ว่าด้วยศรัทธา สูตรที่ ๑
[๗๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา แต่ไม่มีศีล
เธอชื่อว่าเป็นผู้ไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้นอย่างนี้ เธอพึงบำเพ็ญองค์นั้นให้บริบูรณ์ด้วย
คิดว่า ‘ทางที่ดี เราควรเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล’ เมื่อใด ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล
เมื่อนั้น เธอจึงชื่อว่าเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยองค์นั้นอย่างนี้
ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธาและมีศีล แต่ไม่เป็นพหูสูต เธอชื่อว่าเป็นผู้ไม่บริบูรณ์ด้วย
องค์นั้นอย่างนี้ เธอพึงบำเพ็ญองค์นั้นให้บริบูรณ์ด้วยคิดว่า ‘ทางที่ดี เราควรเป็นผู้มี
ศรัทธา มีศีล และเป็นพหูสูต’ เมื่อใด ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล และเป็นพหูสูต
เมื่อนั้น เธอจึงชื่อว่าเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยองค์นั้นอย่างนี้
ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล และเป็นพหูสูต แต่ไม่เป็นธรรมกถึก๒ ฯลฯ เป็น
ธรรมกถึก แต่ไม่เข้าไปสู่บริษัท ฯลฯ เข้าไปสู่บริษัท แต่ไม่แกล้วกล้าแสดงธรรมแก่
บริษัท ฯลฯ แกล้วกล้าแสดงธรรมแก่บริษัท แต่ไม่ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง๓
ซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันตามความปรารถนา ได้โดยยาก ได้โดยลำบาก
ฯลฯ ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่งซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันตามความปรารถนา
ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก แต่ไม่ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มี

เชิงอรรถ :
๑ ดู องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๘-๑๐/๑๒-๑๖
๒ ธรรมกถึก หมายถึงผู้แสดงธรรม หรือนักเทศน์ซึ่งจะต้องมีองค์ธรรม ๕ ประการ คือ (๑) แสดงธรรมไปตาม
ลำดับ (๒) แสดงอ้างเหตุ (๓) แสดงธรรมอาศัยความเอ็นดู (๔) ไม่เพ่งอามิสแสดงธรรม (๕) แสดงธรรม
ไม่กระทบตนและผู้อื่น (องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๑๕๙/๒๖๓)
๓ มีในจิตยิ่ง (อภิเจตสิก) ในที่นี้หมายถึงอุปจารสมาธิ (ม.มู.อ. ๑/๖๖/๑๗๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๗๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๓.ยมกวรรค ๑.ปฐมสัทธาสูตร
อาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน เธอชื่อว่าเป็น
ผู้ไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้นอย่างนี้ เธอพึงบำเพ็ญองค์นั้นให้บริบูรณ์ด้วยคิดว่า ‘ทางที่ดี
เราควรเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล เป็นพหูสูต เป็นธรรมกถึก เข้าไปสู่บริษัท แกล้วกล้า
แสดงธรรมแก่บริษัท เป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่งซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขใน
ปัจจุบันตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก และทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ
ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ใน
ปัจจุบัน’
เมื่อใด ภิกษุ
๑. มีศรัทธา ๒. มีศีล
๓. เป็นพหูสูต ๔. เป็นธรรมกถึก
๕. เข้าไปสู่บริษัท ๖. แกล้วกล้าแสดงธรรมแก่บริษัท
๗. ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่งซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันตามความ
ปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
๘. ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้น
ไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
เมื่อนั้น เธอจึงชื่อว่าเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยองค์นั้นอย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้แล ชื่อว่าเป็นผู้ก่อให้เกิด
ความเลื่อมใสได้รอบด้าน๑ และเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง๒”
ปฐมสัทธาสูตรที่ ๑ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ก่อให้เกิดความเลื่อมใสได้รอบด้าน หมายถึงมีกายกรรม และวจีกรรมที่น่าเลื่อมใส (องฺ.ทสก.อ. ๓/๘/๓๑๙)
๒ บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง ในที่นี้หมายถึงบริบูรณ์ด้วยอาการของสมณะ ด้วยธรรมของสมณะ (องฺ.อฏฺฐก.อ.
๓/๗๑-๗๒/๒๘๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๘๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๓.ยมกวรรค ๒.ทุติยสัทธาสูตร
๒. ทุติยสัทธาสูตร
ว่าด้วยศรัทธา สูตรที่ ๒
[๗๒] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา แต่ไม่มีศีล เธอชื่อว่าเป็นผู้ไม่
บริบูรณ์ด้วยองค์นั้นอย่างนี้ เธอพึงบำเพ็ญองค์นั้นให้บริบูรณ์ด้วยคิดว่า ‘ทางที่ดี
เราควรเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล’ เมื่อใด ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล เมื่อนั้น เธอจึงชื่อ
ว่าเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยองค์นั้นอย่างนี้
ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธาและมีศีล แต่ไม่เป็นพหูสูต ฯลฯ เป็นพหูสูต แต่ไม่เป็น
ธรรมกถึก ฯลฯ เป็นธรรมกถึก แต่ไม่เข้าไปสู่บริษัท ฯลฯ เข้าไปสู่บริษัท แต่ไม่
แกล้วกล้าแสดงธรรมแก่บริษัท ฯลฯ แกล้วกล้าแสดงธรรมแก่บริษัท แต่ไม่ได้
สัมผัสสันตวิโมกข์๑ ไม่มีรูปเพราะล่วงรูปทั้งหลายได้ด้วยกายอยู่๒ ฯลฯ ได้สัมผัส
สันตวิโมกข์ซึ่งไม่มีรูปเพราะล่วงรูปทั้งหลายได้ด้วยกายอยู่ แต่ไม่ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ
ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ใน
ปัจจุบัน เธอจึงชื่อว่าเป็นผู้ไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้นอย่างนี้ เธอพึงบำเพ็ญองค์นั้น
ให้บริบูรณ์ด้วยคิดว่า ‘ทางที่ดี เราควรเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล เป็นพหูสูต เป็น
ธรรมกถึก เข้าไปสู่บริษัท แกล้วกล้า แสดงธรรมแก่บริษัท ได้สัมผัสสันตวิโมกข์ซึ่ง
ไม่มีรูป เพราะล่วงรูปทั้งหลายได้ด้วยกายอยู่ และทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน’
เมื่อใด ภิกษุ
๑. มีศรัทธา ๒. มีศีล
๓. เป็นพหูสูต ๔. เป็นธรรมกถึก

เชิงอรรถ :
๑ สันตวิโมกข์ หมายถึงอรูปฌานที่พ้นได้อย่างสิ้นเชิง เพราะพ้นจากธรรมที่เป็นข้าศึก กล่าวคือนิวรณ์ ๕ และ
เพราะไม่เกี่ยวข้องในอารมณ์เป็นต้น (องฺ.ทสก.อ. ๓/๙/๓๒๐)
๒ กาย ในที่นี้หมายถึงนามกาย คือกองแห่งนามธรรม ได้แก่ เจตสิกทั้งหลาย (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๖/๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๓.ยมกวรรค ๓.ปฐมมรณัสสติสูตร
๕. เข้าไปสู่บริษัท ๖. แกล้วกล้าแสดงธรรมแก่บริษัท
๗. ได้สัมผัสสันตวิโมกข์ซึ่งไม่มีรูป เพราะล่วงรูปทั้งหลายได้ด้วยกายอยู่
๘. ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไป
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
เมื่อนั้น เธอจึงชื่อว่าเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยองค์นั้นอย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้แล ชื่อว่าเป็นผู้ก่อให้เกิด
ความเลื่อมใสได้รอบด้าน และเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง
ทุติยสัทธาสูตรที่ ๒ จบ

๓. ปฐมมรณัสสติสูตร
ว่าด้วยการเจริญมรณัสสติ๑สูตรที่ ๑
[๗๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ คิญชกาวสถาราม๒ ใน
นาทิกคาม ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย มรณัสสติที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์
มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เธอทั้งหลายเจริญมรณัสสติอยู่หรือไม่”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสถามอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้าพระองค์ก็ยังเจริญมรณัสสติอยู่”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอเจริญมรณัสสติอย่างไร”
ภิกษุกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในเรื่องนี้ ข้าพระองค์มีความคิด
อย่างนี้ว่า ‘โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ได้คืนหนึ่งและวันหนึ่ง เราพึงมนสิการถึงคำสอน
ของพระผู้มีพระภาค เราพึงทำกิจให้มากหนอ’ ข้าพระองค์เจริญมรณัสสติอย่างนี้แล”

เชิงอรรถ :
๑ ดู องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๑๙/๔๔๔
๒ คิญชกาวสถาราม หมายถึงปราสาทที่สร้างด้วยอิฐ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๙/๑๐๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๓.ยมกวรรค ๓.ปฐมมรณัสสติสูตร
ภิกษุอีกรูปหนึ่งกราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้
ข้าพระองค์ก็ยังเจริญมรณัสสติอยู่”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอเจริญมรณัสสติอย่างไร”
ภิกษุกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในเรื่องนี้ ข้าพระองค์มีความคิด
อย่างนี้ว่า ‘โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ได้วันหนึ่ง เราพึงมนสิการถึงคำสอนของพระผู้มี
พระภาค เราพึงทำกิจให้มากหนอ’ ข้าพระองค์เจริญมรณัสสติอย่างนี้แล”
ภิกษุอีกรูปหนึ่งกราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้าพระองค์
ก็ยังเจริญมรณัสสติอยู่”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอเจริญมรณัสสติอย่างไร”
ภิกษุกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในเรื่องนี้ ข้าพระองค์มีความคิด
อย่างนี้ว่า ‘โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ได้กึ่งวัน เราพึงมนสิการถึงคำสอนของพระผู้มี
พระภาค เราพึงทำกิจให้มากหนอ’ ข้าพระองค์เจริญมรณัสสติอย่างนี้แล”
ภิกษุอีกรูปหนึ่งกราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้
ข้าพระองค์ก็ยังเจริญมรณัสสติอยู่”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอเจริญมรณัสสติอย่างไร”
ภิกษุกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในเรื่องนี้ ข้าพระองค์มีความคิด
อย่างนี้ว่า ‘โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ได้เพียงชั่วขณะฉันบิณฑบาตมื้อหนึ่ง เราพึง
มนสิการถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาค เราพึงทำกิจให้มากหนอ’ ข้าพระองค์เจริญ
มรณัสสติอย่างนี้แล”
ภิกษุอีกรูปหนึ่งกราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้
ข้าพระองค์ก็ยังเจริญมรณัสสติอยู่”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอเจริญมรณัสสติอย่างไร”
ภิกษุกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในเรื่องนี้ ข้าพระองค์มีความคิด
อย่างนี้ว่า ‘โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ได้เพียงชั่วขณะฉันบิณฑบาตครึ่งหนึ่ง เราพึง
มนสิการถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาค เราพึงทำกิจให้มากหนอ’ ข้าพระองค์เจริญ
มรณัสสติอย่างนี้แล”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๓.ยมกวรรค ๓.ปฐมมรณัสสติสูตร
ภิกษุอีกรูปหนึ่งกราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้
ข้าพระองค์ก็ยังเจริญมรณัสสติอยู่”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอเจริญมรณัสสติอย่างไร”
ภิกษุกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในเรื่องนี้ ข้าพระองค์มีความคิด
อย่างนี้ว่า ‘โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ได้เพียงชั่วขณะเคี้ยวกินคำข้าว ๔-๕ คำ เราพึง
มนสิการถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาค เราพึงทำกิจให้มากหนอ’ ข้าพระองค์เจริญ
มรณัสสติอย่างนี้แล”
ภิกษุอีกรูปหนึ่งกราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้
ข้าพระองค์ก็ยังเจริญมรณัสสติอยู่”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอเจริญมรณัสสติอย่างไร”
ภิกษุกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในเรื่องนี้ ข้าพระองค์มีความคิด
อย่างนี้ว่า ‘โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ได้เพียงชั่วขณะเคี้ยวกินคำข้าว ๑ คำ เราพึง
มนสิการถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาค เราพึงทำกิจให้มากหนอ’ ข้าพระองค์เจริญ
มรณัสสติอย่างนี้แล”
ภิกษุอีกรูปหนึ่งกราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้
ข้าพระองค์ก็ยังเจริญมรณัสสติอยู่”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอเจริญมรณัสสติอย่างไร”
ภิกษุกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในเรื่องนี้ ข้าพระองค์มีความคิด
อย่างนี้ว่า ‘โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ได้เพียงชั่วขณะหายใจเข้าหายใจออก หรือหายใจ
ออกหายใจเข้า เราพึงมนสิการถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาค เราพึงทำกิจให้มากหนอ’
ข้าพระองค์เจริญมรณัสสติอย่างนี้แล”
เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุรูปที่เจริญมรณัสสติอย่างนี้ว่า ‘โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ได้คืนหนึ่งและ
วันหนึ่ง เราพึงมนสิการถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาค เราพึงทำกิจให้มากหนอ’
ภิกษุรูปที่เจริญมรณัสสติอย่างนี้ว่า ‘โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ได้วันหนึ่ง เราพึง
มนสิการถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาค เราพึงทำกิจให้มากหนอ’


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๓.ยมกวรรค ๓.ปฐมมรณัสสติสูตร
ภิกษุรูปที่เจริญมรณัสสติอย่างนี้ว่า ‘โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ได้กึ่งวัน เราพึง
มนสิการถึงคำของพระผู้มีพระภาค เราพึงทำกิจให้มากหนอ’
ภิกษุรูปที่เจริญมรณัสสติอย่างนี้ว่า ‘โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ได้เพียงชั่วขณะฉัน
บิณฑบาตมื้อหนึ่ง เราพึงมนสิการถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาค เราพึงทำกิจ
ให้มากหนอ’
ภิกษุรูปที่เจริญมรณัสสติอย่างนี้ว่า ‘โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ได้เพียงชั่วขณะฉัน
บิณฑบาตครึ่งหนึ่ง เราพึงมนสิการถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาค เราพึงทำกิจ
ให้มากหนอ’
ภิกษุรูปที่เจริญมรณัสสติอย่างนี้ว่า ‘โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ได้เพียงชั่วขณะเคี้ยว
กินคำข้าว ๔-๕ คำ เราพึงมนสิการถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาค เราพึงทำกิจ
ให้มากหนอ’
ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่าภิกษุทั้ง ๖ รูปนี้ ยังเป็นผู้ประมาทอยู่ เจริญมรณัสสติ
อย่างเพลาเพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนภิกษุรูปที่เจริญมรณัสสติอย่างนี้ว่า ‘โอหนอ เราพึงเป็นอยู่
ได้เพียงชั่วขณะเคี้ยวกินคำข้าว ๑ คำ เราพึงมนสิการถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาค
เราพึงทำกิจให้มากหนอ’
และภิกษุรูปที่เจริญมรณัสสติอย่างนี้ว่า ‘โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ได้เพียงชั่วขณะ
หายใจเข้าหายใจออก หรือหายใจออกหายใจเข้า เราพึงมนสิการถึงคำสอนของ
พระผู้มีพระภาค เราพึงทำกิจให้มากหนอ’
ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่าภิกษุทั้ง ๒ รูปนี้เป็นผู้ไม่ประมาทอยู่ เจริญมรณัสสติ
อย่างแรงกล้าเพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลาย
เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลายจักเป็นผู้ไม่
ประมาทอยู่ จักเจริญมรณัสสติอย่างแรงกล้าเพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลาย’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล”
ปฐมมรณัสสติสูตรที่ ๓ จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๘๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๓.ยมกวรรค ๔. ทุติยมรณัสสติสูตร
๔. ทุติยมรณัสสติสูตร
ว่าด้วยการเจริญมรณัสสติ๑สูตรที่ ๒
[๗๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ คิญชกาวสถาราม ใน
นาทิกคาม ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย มรณัสสติที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
หยั่งลงสู่อมตะ๒ มีอมตะเป็นที่สุด
มรณัสสติที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อกลางวันผ่านไป กลางคืนย่างเข้ามา พิจารณา
ดังนี้ว่า ‘ปัจจัยแห่งความตายของเรามีมากแท้ คือ งูพึงกัดเราก็ได้ แมงป่องพึงต่อย
เราก็ได้ หรือตะขาบพึงกัดเราก็ได้ เพราะเหตุนั้น เราพึงตาย เราพึงมีอันตราย๓นั้น
เราพึงพลาดหกล้มก็ได้ ภัตตาหารที่เราฉันแล้วไม่พึงย่อยก็ได้ ดีของเราพึงกำเริบก็ได้
เสมหะของเราพึงกำเริบก็ได้ ลมมีพิษดังศัสตราของเราพึงกำเริบก็ได้ พวกมนุษย์
พึงทำร้ายเราก็ได้ หรือพวกอมนุษย์พึงทำร้ายเราก็ได้ เพราะเหตุนั้น เราพึงตาย
เราพึงมีอันตรายนั้น’ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘บาปอกุศลธรรม
ที่เรายังละไม่ได้ ซึ่งจะพึงเป็นอันตรายแก่เราผู้จะตายในเวลากลางคืนมีอยู่หรือไม่’
ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘บาปอกุศลธรรมที่เรายังละไม่ได้ ซึ่งจะพึง
เป็นอันตรายแก่เราผู้จะตายในเวลากลางคืนยังมีอยู่’ ภิกษุนั้นควรทำความพอใจ
ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย สติและสัมชัญญะ
ให้มีประมาณยิ่งเพื่อละบาปอกุศลธรรมเหล่านั้น

เชิงอรรถ :
๑ ดู องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๒๐/๔๔๗
๒ อมตะ ในที่นี้หมายถึงนิพพาน (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๔๘-๔๙/๑๘๔)
๓ อันตราย มี ๓ อย่าง คือ (๑) อันตรายต่อชีวิต (๒) อันตรายต่อสมณธรรม (๓) อันตรายต่อสวรรค์และ
อันตรายต่อมรรคสำหรับผู้ที่ตายอย่างปุถุชน (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๐/๑๐๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๘๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๓.ยมกวรรค ๔. ทุติยมรณัสสติสูตร
บุคคลผู้มีผ้าที่ถูกไฟไหม้ หรือมีศีรษะที่ถูกไฟไหม้ ควรทำความพอใจ ความ
พยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ
ให้มีประมาณยิ่งเพื่อดับไฟที่ไหม้ผ้าหรือไฟที่ไหม้ศีรษะนั้น แม้ฉันใด ภิกษุนั้นก็ฉันนั้น
เหมือนกัน ควรทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น
ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะให้มีประมาณยิ่งเพื่อละบาปอกุศลธรรมเหล่านั้น
ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘บาปกุศลธรรมที่เรายังละไม่ได้ ซึ่งจะพึงเป็น
อันตรายแก่เราผู้จะตายในเวลากลางคืนไม่มี’ ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้มีปีติและปราโมทย์
นั้นแล ตามสำเหนียกในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันและกลางคืนอยู่เถิด
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อกลางคืนผ่านไป กลางวันย่างเข้ามา พิจารณาเห็น
ดังนี้ว่า ‘ปัจจัยแห่งความตายของเรามีมากแท้ คือ งูพึงกัดเราก็ได้ แมงป่องพึง
ต่อยเราก็ได้ หรือตะขาบพึงกัดเราก็ได้ เพราะเหตุนั้น เราพึงตาย เราพึงมีอันตรายนั้น
เราพึงพลาดหกล้มก็ได้ ภัตตาหารที่เราฉันแล้วไม่พึงย่อยก็ได้ ดีของเราพึงกำเริบก็ได้
เสมหะของเราพึงกำเริบก็ได้ ลมมีพิษดังศัสตราของเราพึงกำเริบก็ได้ พวกมนุษย์พึง
ทำร้ายเราก็ได้ หรือพวกอมนุษย์พึงทำร้ายเราก็ได้ เพราะเหตุนั้น เราพึงตาย เราพึง
มีอันตรายนั้น’ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘บาปอกุศลธรรมที่
เรายังละไม่ได้ ซึ่งจะพึงเป็นอันตรายแก่เราผู้จะตายในเวลากลางวันยังมีอยู่หรือไม่’
ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘บาปอกุศลธรรมที่เรายังละไม่ได้ ซึ่งจะพึง
เป็นอันตรายแก่เราผู้จะตายในเวลากลางวันยังมีอยู่’ ภิกษุนั้นควรทำความพอใจ
ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย สติและ
สัมปชัญญะให้มีประมาณยิ่งเพื่อละบาปอกุศลธรรมเหล่านั้น
บุคคลผู้มีผ้าที่ถูกไฟไหม้ หรือมีศีรษะที่ถูกไฟไหม้ ควรทำความพอใจ ความ
พยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ
ให้มีประมาณยิ่งเพื่อดับไฟที่ไหม้ผ้าหรือไฟที่ไหม้ศีรษะนั้น แม้ฉันใด ภิกษุนั้นก็ฉันนั้น
เหมือนกัน ควรทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น
ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะให้มีประมาณยิ่งเพื่อละบาปอกุศลธรรมเหล่านั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๘๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๓.ยมกวรรค ๕.ปฐมสัมปทาสูตร
ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘บาปอกุศลธรรมที่เรายังละไม่ได้ ซึ่งจะพึงเป็น
อันตรายแก่เราผู้จะตายในเวลากลางวันไม่มี’ ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้มีปีติและปราโมทย์นั้นแล
ตามสำเหนียกในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันและกลางคืนอยู่เถิด
ภิกษุทั้งหลาย มรณัสสติที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ย่อมมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เป็นอย่างนี้แล
ทุติยมรณัสสติสูตรที่ ๔ จบ

๕. ปฐมสัมปทาสูตร
ว่าด้วยสัมปทา สูตรที่ ๑
[๗๕] ภิกษุทั้งหลาย สัมปทา (ความถึงพร้อม) ๘ ประการนี้
สัมปทา ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อุฏฐานสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยความหมั่น)
๒. อารักขสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยการรักษา)
๓. กัลยาณมิตตตา (ความเป็นผู้มีมิตรดี)
๔. สมชีวิตา (ความเป็นอยู่เหมาะสม)
๕. สัทธาสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศรัทธา)
๖. สีลสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศีล)
๗. จาคสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยจาคะ)
๘. ปัญญาสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยปัญญา)
ภิกษุทั้งหลาย สัมปทา ๘ ประการนี้แล
คนขยันหมั่นเพียรในการทำงาน
ไม่ประมาท รู้วิธีการเลี้ยงชีพแต่พอเหมาะ
รักษาทรัพย์ที่หามาได้ เป็นผู้มีศรัทธา ถึงพร้อมด้วยศีล
รู้ความประสงค์ของผู้ขอ ปราศจากความตระหนี่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๘๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๓.ยมกวรรค ๖.ทุติยสัมปทาสูตร
ชำระทางแห่งประโยชน์ที่มีในภพหน้าอยู่เป็นนิตย์
ที่พระพุทธเจ้าผู้มีพระนามว่าสัจจะตรัสธรรม ๘ ประการดังกล่าวมานี้
เพื่อผู้ครองเรือน ผู้มีศรัทธา
อันเป็นเหตุนำสุขมาให้ในโลกทั้ง ๒ คือ
ประโยชน์เกื้อกูลในภพนี้ และสุขในภพหน้า
จาคะ บุญนี้ย่อมเจริญยิ่งขึ้นแก่คฤหัสถ์ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้
ปฐมสัมปทาสูตรที่ ๕ จบ

๖. ทุติยสัมปทาสูตร
ว่าด้วยสัมปทา๑ สูตรที่ ๒
[๗๖] ภิกษุทั้งหลาย สัมปทา ๘ ประการนี้
สัมปทา ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. อุฏฐานสัมปทา ๒. อารักขสัมปทา
๓. กัลยาณมิตตตา ๔. สมชีวิตา
๕. สัทธาสัมปทา ๖. สีลสัมปทา
๗. จาคสัมปทา ๘. ปัญญาสัมปทา

อุฏฐานสัมปทา เป็นอย่างไร
คือ กุลบุตรในโลกนี้เลี้ยงชีพด้วยการงานใด จะเป็นกสิกรรม พาณิชยกรรม
โครักขกรรม เป็นช่างศร รับราชการ หรือศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่งก็ตาม เป็นผู้ขยัน
ไม่เกียจคร้านในการงานที่จะต้องช่วยกันทำนั้น ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา
อันเป็นอุบายในการงานที่จะต้องช่วยกันทำนั้น สามารถทำได้ สามารถจัดได้ นี้เรียกว่า
อุฏฐานสัมปทา

เชิงอรรถ :
๑ ดูอัฏฐกนิบาต ข้อ ๕๔ (ทีฆชาณุสูตร) หน้า ๓๔๐-๓๔๔ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๘๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๓.ยมกวรรค ๓.ทุติยสัมปทาสูตร
อารักขสัมปทา เป็นอย่างไร
คือ กุลบุตรในโลกนี้มีโภคทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร เก็บรวบ
รวมด้วยน้ำพักน้ำแรง อาบเหงื่อต่างน้ำ ประกอบด้วยธรรม ได้มาโดยธรรม
เขารักษาคุ้มครองโภคทรัพย์นั้นด้วยคิดว่า ‘ทำอย่างไร โภคทรัพย์เหล่านี้ของเราจึง
จะไม่ถูกพระราชาริบ โจรไม่ลัก ไฟไม่ไหม้ น้ำไม่พัดไป ทายาทผู้ไม่เป็นที่รักไม่ลักไป’
นี้เรียกว่า อารักขสัมปทา
กัลยาณมิตตตา เป็นอย่างไร
คือ กุลบุตรในโลกนี้วางตัวเหมาะสม เจรจา สนทนากับคนในหมู่บ้านหรือ
ในนิคมที่ตนอาศัยอยู่ จะเป็นคหบดี บุตรคหบดี คนหนุ่มผู้เคร่งศีล หรือคนแก่ผู้
เคร่งศีลก็ตาม ผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ถึงพร้อมด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยจาคะ
และถึงพร้อมด้วยปัญญา คอยศึกษาสัทธาสัมปทาของท่านผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธาตาม
สมควร คอยศึกษาสีลสัมปทาของท่านผู้ถึงพร้อมด้วยศีลตามสมควร คอยศึกษา
จาคสัมปทาของท่านผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะตามสมควร และคอยศึกษาปัญญาสัมปทา
ของท่านผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาตามสมควร นี้เรียกว่า กัลยาณมิตตตา
สมชีวิตา เป็นอย่างไร
คือ กุลบุตรในโลกนี้รู้ทางเจริญแห่งโภคทรัพย์และทางเสื่อมแห่งโภคทรัพย์แล้ว
เลี้ยงชีวิตแต่พอเหมาะ ไม่ให้ฟุ่มเฟือยนัก ไม่ให้ฝืดเคืองนักด้วยคิดว่า ‘ด้วยการใช้
จ่ายอย่างนี้ รายรับของเราจักเกินรายจ่าย และรายจ่ายของเราจักไม่เกินรายรับ’
เปรียบเหมือนคนชั่งของ หรือลูกมือของคนชั่งของ ยกตาชั่งขึ้นดูก็รู้ได้ว่า ‘ต้องลดลง
เท่านี้ หรือเพิ่มขึ้นเท่านี้’ ฉันใด กุลบุตร ก็ฉันนั้นเหมือนกัน รู้ทางเจริญแห่ง
โภคทรัพย์และทางเสื่อมแห่งโภคทรัพย์แล้วเลี้ยงชีพแต่พอเหมาะ ไม่ให้ฟุ่มเฟือยนัก
ไม่ให้ฝืดเคืองนักด้วยคิดว่า ‘ด้วยการใช้จ่ายอย่างนี้ รายรับของเราจักเกินรายจ่าย
และรายจ่ายของเราจักไม่เกินรายรับ’ ถ้ากุลบุตรนี้มีรายรับน้อย แต่เลี้ยงชีพอย่าง
ฟุ่มเฟือย ก็จะมีผู้กล่าวหาเขาได้ว่า ‘กุลบุตรผู้นี้ใช้จ่ายโภคทรัพย์เหมือนคนกินผล


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๙๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๓.ยมกวรรค ๓.ทุติยสัมปทาสูตร
มะเดื่อ‘๑ ถ้ากุลบุตรนี้มีรายรับมาก แต่เลี้ยงชีวิตอย่างฝืดเคือง ก็จะมีผู้กล่าวหาเขา
ได้ว่า ‘กุลบุตรผู้นี้จักตายอย่างไม่สมฐานะ’ แต่เพราะกุลบุตรนี้รู้ทางเจริญแห่ง
โภคทรัพย์และทางเสื่อมแห่งโภคทรัพย์แล้วเลี้ยงชีวิตแต่พอเหมาะ ไม่ให้ฟุ่มเฟือยนัก
ไม่ให้ฝืดเคืองนักด้วยคิดว่า ‘ด้วยการใช้จ่ายอย่างนี้ รายรับของเราจักเกินรายจ่าย
และรายจ่ายของเราจักไม่เกินรายรับ’ นี้เรียกว่า สมชีวิตา
สัทธาสัมปทา เป็นอย่างไร
คือ กุลบุตรในโลกนี้เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อปัญญาเครื่องตรัสรู้ของตถาคตว่า
‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ๒ เป็นศาสดาของเทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ นี้เรียกว่า สัทธาสัมปทา
สีลสัมปทา เป็นอย่างไร
คือ กุลบุตรในโลกนี้เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ๓ เว้นขาดจากการเสพ
ของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท นี้เรียกว่า สีลสัมปทา
จาคสัมปทา เป็นอย่างไร
คือ กุลบุตรในโลกนี้มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน ฯลฯ๔ ควรแก่
การขอ ยินดีในการแจกทาน นี้เรียกว่า จาคสัมปทา
ปัญญาสัมปทา เป็นอย่างไร
คือ กุลบุตรในโลกนี้เป็นผู้มีปัญญา คือ ฯลฯ๕ ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ
นี้เรียกว่า ปัญญาสัมปทา
ภิกษุทั้งหลาย สัมปทา ๘ ประการนี้แล
คนขยันหมั่นเพียรในการทำงาน
ไม่ประมาท รู้วิธีการเลี้ยงชีวิตแต่พอเหมาะ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ อัฏฐกนิบาต ข้อ ๕๔ หน้า ๓๔๒ ในเล่มนี้
๒-๕ ดูข้อความเต็มในอัฏฐกนิบาต ข้อ ๕๔ หน้า ๓๔๓-๓๔๔ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๙๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๓.ยมกวรรค ๗.อิจฉาสูตร
รักษาทรัพย์ที่หามาได้ เป็นผู้มีศรัทธา ถึงพร้อมด้วยศีล
รู้ความประสงค์ของผู้ขอ ปราศจากความตระหนี่
ชำระทางแห่งประโยชน์ที่มีในภพหน้าอยู่เป็นนิตย์
ที่พระพุทธเจ้าผู้มีพระนามว่าสัจจะตรัสธรรม ๘ ประการดังกล่าวมานี้
เพื่อผู้ครองเรือน ผู้มีศรัทธา
อันเป็นเหตุนำสุขมาให้ในโลกทั้ง ๒ คือ
ประโยชน์เกื้อกูลในภพนี้ และสุขในภพหน้า
จาคะ บุญนี้ย่อมเจริญยิ่งขึ้นแก่คฤหัสถ์ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้
ทุติยสัมปทาสูตรที่ ๖ จบ

๗. อิจฉาสูตร
ว่าด้วยความอยากได้ลาภ๑
[๗๗] ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า “ผู้มีอายุ
ทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว ท่านพระสารีบุตรจึงได้กล่าวดังนี้ว่า
“บุคคล ๘ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๘ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. เมื่อภิกษุในพระธรรมวินัยนี้อยู่อย่างสงัด แต่ไม่ประพฤติให้ต่อเนื่อง
ความอยากได้ลาภย่อมเกิดขึ้น เธอหมั่น พากเพียร พยายามเพื่อ
ให้ได้ลาภ เมื่อเธอหมั่น พากเพียร พยายามเพื่อให้ได้ลาภ แต่ลาภ
ก็ไม่เกิดขึ้น เพราะไม่ได้ลาภนั้น เธอจึงเศร้าโศก ลำบากใจ ร่ำไร
ทุบอก คร่ำครวญ ถึงความเลอะเลือน ภิกษุนี้เราเรียกว่าผู้อยาก
ได้ลาภอยู่ หมั่น พากเพียร พยายามเพื่อให้ได้ลาภ เธอชื่อว่าเป็น
ผู้ไม่ได้ลาภ เศร้าโศก ร่ำไร และเคลื่อนจากพระสัทธรรม

เชิงอรรถ :
๑ ดูอัฏฐกนิบาตข้อ ๖๑ (อิจฉาสูตร) หน้า ๓๕๕-๓๕๗ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๓.ยมกวรรค ๗.อิจฉาสูตร
๒. เมื่อภิกษุในพระธรรมวินัยนี้อยู่อย่างสงัด แต่ไม่ประพฤติให้ต่อเนื่อง
ความอยากได้ลาภย่อมเกิดขึ้น เธอหมั่น พากเพียร พยายาม
เพื่อให้ได้ลาภ เมื่อเธอหมั่น พากเพียร พยายามเพื่อให้ได้ลาภ
ลาภก็เกิดขึ้น เพราะได้ลาภนั้น เธอจึงมัวเมา ประมาท เลินเล่อ
ภิกษุนี้เราเรียกว่าผู้อยากได้ลาภอยู่ หมั่น พากเพียร พยายาม
เพื่อให้ได้ลาภ เธอชื่อว่าเป็นผู้ได้ลาภ มัวเมา ประมาท และเคลื่อน
จากพระสัทธรรม
๓. เมื่อภิกษุในพระธรรมวินัยนี้อยู่อย่างสงัด แต่ไม่ประพฤติให้ต่อเนื่อง
ความอยากได้ลาภย่อมเกิดขึ้น เธอไม่หมั่น ไม่พากเพียร
ไม่พยายามเพื่อให้ได้ลาภ เมื่อเธอไม่หมั่น ไม่พากเพียร
ไม่พยายามเพื่อให้ได้ลาภ ลาภก็ไม่เกิดขึ้น เพราะไม่ได้ลาภนั้น
เธอจึงเศร้าโศก ลำบากใจ ร่ำไร ทุบอกคร่ำครวญ ถึงความ
เลอะเลือน ภิกษุนี้เราเรียกว่าผู้อยากได้ลาภอยู่ แต่ไม่หมั่น
ไม่พากเพียร ไม่พยายามเพื่อให้ได้ลาภ เธอชื่อว่าเป็นผู้ไม่ได้ลาภ
เศร้าโศก ร่ำไร และเคลื่อนจากพระสัทธรรม
๔. เมื่อภิกษุในพระธรรมวินัยนี้อยู่อย่างสงัด แต่ไม่ประพฤติให้ต่อเนื่อง
ความอยากได้ลาภย่อมเกิดขึ้น แต่เธอไม่หมั่น ไม่พากเพียร
ไม่พยายามเพื่อให้ได้ลาภ เมื่อเธอไม่หมั่น ไม่พากเพียร ไม่พยายาม
เพื่อให้ได้ลาภ แต่ลาภก็เกิดขึ้น เพราะได้ลาภนั้น เธอจึงมัวเมา
ประมาท เลินเล่อ ภิกษุนี้เราเรียกว่าผู้อยากได้ลาภ แต่ไม่หมั่น
ไม่พากเพียร ไม่พยายามเพื่อให้ได้ลาภ เธอชื่อว่าเป็นผู้ได้ลาภ
มัวเมา ประมาท และเคลื่อนจากพระสัทธรรม
๕. เมื่อภิกษุในพระธรรมวินัยนี้อยู่อย่างสงัด แต่ไม่ประพฤติให้ต่อเนื่อง
ความอยากได้ลาภย่อมเกิดขึ้น เธอหมั่น พากเพียร พยายามเพื่อ
ให้ได้ลาภ เมื่อเธอหมั่น พากเพียร พยายามเพื่อให้ได้ลาภ แต่ลาภ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๓.ยมกวรรค ๗.อิจฉาสูตร
ก็ไม่เกิดขึ้น เพราะไม่ได้ลาภนั้น เธอก็ไม่เศร้าโศก ไม่ลำบากใจ
ไม่ร่ำไร ไม่ทุบอกคร่ำครวญ ไม่ถึงความเลอะเลือน ภิกษุนี้เรา
เรียกว่าผู้อยากได้ลาภอยู่ หมั่น พากเพียร พยายามเพื่อให้ได้ลาภ
เธอชื่อว่าเป็นผู้ไม่ได้ลาภ ไม่เศร้าโศก ไม่ร่ำไร และไม่เคลื่อนจาก
พระสัทธรรม
๖. เมื่อภิกษุในพระธรรมวินัยนี้อยู่อย่างสงัด แต่ไม่ประพฤติให้ต่อเนื่อง
ความอยากได้ลาภย่อมเกิดขึ้น เธอหมั่น พากเพียร พยายามเพื่อ
ให้ได้ลาภ เมื่อเธอหมั่น พากเพียร พยายามเพื่อให้ได้ลาภ ลาภก็
เกิดขึ้น เพราะได้ลาภนั้น เธอก็ไม่มัวเมา ไม่ประมาท ไม่เลินเล่อ
ภิกษุนี้เราเรียกว่าผู้อยากได้ลาภอยู่ หมั่น พากเพียร พยายามเพื่อ
ให้ได้ลาภ เธอชื่อว่าเป็นผู้ได้ลาภ ไม่มัวเมา ไม่ประมาท และไม่
เคลื่อนจากพระสัทธรรม
๗. เมื่อภิกษุในพระธรรมวินัยนี้อยู่อย่างสงัด แต่ไม่ประพฤติให้ต่อเนื่อง
ความอยากได้ลาภย่อมเกิดขึ้น แต่เธอไม่หมั่น ไม่พากเพียร ไม่พยายาม
เพื่อให้ได้ลาภ เมื่อเธอไม่หมั่น ไม่พากเพียร ไม่พยายามเพื่อให้
ได้ลาภ ลาภก็ไม่เกิดขึ้น เพราะไม่ได้ลาภนั้น เธอก็ไม่เศร้าโศก
ไม่ลำบากใจ ไม่ร่ำไร ไม่ทุบอกคร่ำครวญ ไม่ถึงความเลอะเลือน
ภิกษุนี้เราเรียกว่าผู้อยากได้ลาภอยู่ แต่ไม่หมั่น ไม่พากเพียร
ไม่พยายามเพื่อให้ได้ลาภ เธอชื่อว่าเป็นผู้ไม่ได้ลาภ ไม่เศร้าโศก
ไม่ร่ำไร และไม่เคลื่อนจากพระสัทธรรม
๘. เมื่อภิกษุในพระธรรมวินัยนี้อยู่อย่างสงัด แต่ไม่ประพฤติให้ต่อเนื่อง
ความอยากได้ลาภย่อมเกิดขึ้น แต่เธอไม่หมั่น ไม่พากเพียร
ไม่พยายามเพื่อให้ได้ลาภ เมื่อเธอไม่หมั่น ไม่พากเพียร ไม่พยายาม
เพื่อให้ได้ลาภ แต่ลาภก็เกิดขึ้น เพราะได้ลาภนั้น เธอก็ไม่มัวเมา
ไม่ประมาท ไม่เลินเล่อ ภิกษุนี้เราเรียกว่าผู้อยากได้ลาภอยู่ แต่ไม่
หมั่น ไม่พากเพียร ไม่พยายามเพื่อให้ได้ลาภ เธอชื่อว่าเป็นผู้ได้ลาภ
ไม่มัวเมา ไม่ประมาท และไม่เคลื่อนจากพระสัทธรรม
ผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคล ๘ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก”
อิจฉาสูตรที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๙๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๓.ยมกวรรค ๘.อลังสูตร
๘. อลังสูตร
ว่าด้วยผู้สามารถทำประโยชน์ตนและผู้อื่น๑
[๗๘] ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ฯลฯ
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ เป็นผู้มีความสามารถสำหรับ
ตนเอง และมีความสามารถสำหรับผู้อื่น
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. ใคร่ครวญได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย
๒. ทรงจำธรรมที่ฟังแล้วไว้ได้
๓. พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ได้
๔. รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
๕. มีวาจางาม เจรจาถ้อยคำไพเราะ ประกอบด้วยวาจาชาวเมืองที่
สละสลวยไม่หยาบคายให้รู้ความหมายได้
๖. ชี้แจงให้เพื่อนพรหมจารีเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ
เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล เป็นผู้มีความสามารถ
สำหรับตนเอง และมีความสามารถสำหรับผู้อื่น
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เป็นผู้มีความสามารถ
สำหรับตนเอง และมีความสามารถสำหรับผู้อื่น
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. ใคร่ครวญไม่ได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย แต่ทรงจำธรรมที่ฟังแล้วไว้ได้
๒. พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ได้

เชิงอรรถ :
๑ ดูอัฏฐกนิบาตข้อ ๖๒ (อลังสูตร) หน้า ๓๕๗-๓๖๑ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๙๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๓.ยมกวรรค ๘.อลังสูตร
๓. รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
๔. มีวาจางาม ฯลฯ ให้รู้ความหมายได้
๕. ชี้แจงให้เพื่อนพรหมจารีเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจ
ให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นผู้มีความสามารถ
สำหรับตนเอง และมีความสามารถสำหรับผู้อื่น
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เป็นผู้มีความสามารถ
สำหรับตนเอง แต่ไม่มีความสามารถสำหรับผู้อื่น
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. ใคร่ครวญได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย
๒. ทรงจำธรรมที่ฟังแล้วไว้ได้
๓. พิจารณาเนื้อความธรรมที่ทรงจำไว้ได้ รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรม
สมควรแก่ธรรม
๔. ไม่มีวาจางาม ไม่เจรจาถ้อยคำไพเราะ ไม่ประกอบด้วยวาจา
ชาวเมืองที่สละสลวยไม่หยาบคายให้รู้ความหมายได้ ทั้งไม่ชี้แจงให้
เพื่อนพรหมจารีเห็นชัด ไม่ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ ไม่เร้าใจ
ให้อาจหาญแกล้วกล้า ไม่ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เป็นผู้มีความสามารถ
สำหรับตนเอง แต่ไม่มีความสามารถสำหรับผู้อื่น
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เป็นผู้มีความสามารถ
สำหรับผู้อื่น แต่ไม่มีความสามารถสำหรับตนเอง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๙๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๓.ยมกวรรค ๘.อลังสูตร
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. ใคร่ครวญได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย
๒. ทรงจำธรรมที่ฟังแล้วไว้ได้ แต่ไม่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรง
จำไว้ ทั้งไม่รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
๓. มีวาจางาม เจรจาถ้อยคำไพเราะ ฯลฯ ให้รู้ความหมายได้
๔. ชี้แจงให้เพื่อนพรหมจารีเห็นชัด ฯลฯ
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เป็นผู้มีความ
สามารถสำหรับผู้อื่น แต่ไม่มีความสามารถสำหรับตนเอง
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ เป็นผู้มีความสามารถ
สำหรับตนเอง แต่ไม่มีความสามารถสำหรับผู้อื่น
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. ใคร่ครวญไม่ได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย แต่ทรงจำธรรมที่ฟังแล้วไว้ได้
๒. พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ได้
๓. รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม แต่ไม่มีวาจางาม
ไม่เจรจาถ้อยคำไพเราะ ไม่ประกอบด้วยวาจาชาวเมืองที่สละสลวย
ไม่หยาบคาย ให้รู้ความหมายได้ ทั้งไม่ชี้แจงให้เพื่อนพรหมจารี
เห็นชัด ไม่ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ ไม่เร้าใจให้อาจหาญ
แกล้วกล้า ไม่ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล เป็นผู้มีความ
สามารถสำหรับตนเอง แต่ไม่มีความสามารถสำหรับผู้อื่น
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ เป็นผู้มีความสามารถ
สำหรับผู้อื่น แต่ไม่มีความสามารถสำหรับตนเอง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๓.ยมกวรรค ๘.อลังสูตร
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. ใคร่ครวญไม่ได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย แต่ทรงจำธรรมที่ฟังแล้วไว้ได้
๒. ไม่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ได้ ทั้งไม่รู้อรรถรู้ธรรมแล้ว
ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม มีวาจางาม ฯลฯ ให้รู้ความหมายได้
๓. ชี้แจงให้เพื่อนพรหมจารีเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ
เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล เป็นผู้มีความสามารถ
สำหรับผู้อื่น แต่ไม่มีความสามารถสำหรับตนเอง
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ เป็นผู้มีความสามารถ
สำหรับตนเอง แต่ไม่มีความสามารถสำหรับผู้อื่น
ธรรม ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. ใคร่ครวญไม่ได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย ทั้งไม่ทรงจำธรรมที่ฟังแล้ว
ไว้ได้ แต่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ได้
๒. รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม แต่ไม่มีวาจางาม ฯลฯ
ให้รู้ความหมายได้ไม่ ทั้งไม่ชี้แจงให้เพื่อนพรหมจารีเห็นชัด ฯลฯ
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๒ ประการนี้แล เป็นผู้มีความสามารถ
สำหรับตนเอง แต่ไม่มีความสามารถสำหรับผู้อื่น
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ เป็นผู้มีความสามารถ
สำหรับผู้อื่น แต่ไม่มีความสามารถสำหรับตนเอง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๙๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๓.ยมกวรรค ๙.ปริหานสูตร
ธรรม ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. ใคร่ครวญไม่ได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย ทั้งไม่ทรงจำธรรมที่ฟังแล้ว
ไว้ได้ ไม่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ได้ ไม่รู้อรรถรู้
ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม แต่มีวาจางาม เจรจาถ้อยคำ
ไพเราะ ประกอบด้วยวาจาชาวเมืองที่สละสลวยไม่หยาบคายให้รู้
ความหมายได้
๒. ชี้แจงให้เพื่อนพรหมจารีเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ
เร้าใจให้อาจหาญ แกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๒ ประการนี้แล เป็นผู้มีความ
สามารถสำหรับผู้อื่น แต่ไม่มีความสามารถสำหรับตนเอง
อลังสูตรที่ ๘ จบ

๙. ปริหานสูตร
ว่าด้วยธรรมเป็นเหตุให้พระเสขะเสื่อม๑
[๗๙] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๘ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุ
ผู้เป็นเสขะ
ธรรม ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความเป็นผู้ชอบการงาน
๒. ความเป็นผู้ชอบการพูดคุย
๓. ความเป็นผู้ชอบการนอนหลับ
๔. ความเป็นผู้ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่
๕. ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย

เชิงอรรถ :
๑ ดูสัตตกนิบาตข้อ ๒๘ (ปฐมปริหานิสูตร) หน้า ๔๓-๔๔ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๙๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๓.ยมกวรรค ๑๐.กุสีตารัมภวัตถุสูตร
๖. ความเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค
๗. ความเป็นผู้ชอบธรรมเป็นเครื่องข้อง
๘. ความเป็นผู้ชอบปปัญจธรรม๑
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๘ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้เป็นเสขะ
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๘ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุผู้
เป็นเสขะ
ธรรม ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความเป็นผู้ไม่ชอบการงาน
๒. ความเป็นผู้ไม่ชอบการพูดคุย
๓. ความเป็นผู้ไม่ชอบการนอนหลับ
๔. ความเป็นผู้ไม่ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่
๕. ความเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย
๖. ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภค
๗. ความเป็นผู้ไม่ชอบธรรมเป็นเครื่องข้อง
๘. ความเป็นผู้ไม่ชอบปปัญจธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๘ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ
ผู้เป็นเสขะ
ปริหานสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. กุสีตารัมภวัตถุสูตร
ว่าด้วยเหตุแห่งความเกียจคร้านและเหตุปรารภความเพียร
[๘๐] ภิกษุทั้งหลาย กุสีตวัตถุ (เหตุแห่งความเกียจคร้าน) ๘ ประการนี้
กุสีตวัตถุ ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้มีงานที่ต้องทำ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราจัก
ต้องทำงาน เมื่อเราทำงานอยู่ กายจักเมื่อยล้า อย่ากระนั้นเลย

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๒ อัฏฐกนิบาต ข้อ ๓๐ หน้า ๒๘๐ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๐๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๓.ยมกวรรค ๑๐.กุสีตารัมภวัตถุสูตร
เราจะนอน’ เธอจึงนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยัง
ไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำ
ให้แจ้ง นี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ ๑
๒. ภิกษุทำงานแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราได้ทำงานแล้ว เมื่อ
เราทำงาน กายเมื่อยล้าแล้ว อย่ากระนั้นเลย เราจะนอน’ เธอจึง
นอนเสีย ไม่ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม
ที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นกุสีตวัตถุ
ประการที่ ๒
๓. ภิกษุต้องเดินทาง เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราจักต้องเดินทาง เมื่อ
เราเดินทาง กายจักเมื่อยล้า อย่ากระนั้นเลย เราจะนอน’ เธอจึง
นอนเสีย ไม่ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุ
ธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็น
กุสีตวัตถุประการที่ ๓
๔. ภิกษุเดินทางแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราเดินทางแล้ว เมื่อ
เราเดินทาง กายเมื่อยล้าแล้ว อย่ากระนั้นเลย เราจะนอน’ เธอจึง
นอนเสีย ไม่ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุ
ธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็น
กุสีตวัตถุประการที่ ๔
๕. ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตตามหมู่บ้านหรือนิคม ไม่ได้โภชนะเศร้าหมอง
หรือประณีตบริบูรณ์เพียงพอตามต้องการ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า
‘เราเที่ยวบิณฑบาตตามหมู่บ้านหรือนิคม ก็ไม่ได้โภชนะเศร้าหมอง
หรือประณีตบริบูรณ์เพียงพอตามต้องการ กายของเรานั้นเมื่อยล้าแล้ว
ไม่ควรแก่การงาน อย่ากระนั้นเลย เราจะนอน’ เธอจึงนอนเสีย
ไม่ปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ ๕
๖. ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตตามหมู่บ้านหรือนิคม ได้โภชนะเศร้าหมอง
หรือประณีตบริบูรณ์เพียงพอตามต้องการ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๓.ยมกวรรค ๑๐.กุสีตารัมภวัตถุสูตร
‘เราเที่ยวบิณฑบาตตามหมู่บ้านหรือนิคม ได้โภชนะเศร้าหมองหรือ
ประณีตบริบูรณ์เพียงพอตามต้องการแล้ว กายของเรานั้นหนัก ไม่ควร
แก่การงาน เหมือนถั่วราชมาสชุ่มด้วยน้ำ อย่ากระนั้นเลย เรา
จะนอน’ เธอจึงนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นกุสีตวัตถุ
ประการที่ ๖
๗. ภิกษุเกิดมีอาพาธขึ้นเล็กน้อย เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราเกิดมี
อาพาธขึ้นเล็กน้อยแล้ว มีข้ออ้างที่จะนอนได้ อย่ากระนั้นเลย
เราจะนอน’ เธอจึงนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็น
กุสีตวัตถุประการที่ ๗
๘. ภิกษุหายอาพาธแล้ว แต่หายอาพาธยังไม่นาน เธอมีความคิด
อย่างนี้ว่า ‘เราหายอาพาธแล้ว แต่หายอาพาธยังไม่นาน กาย
ของเรานั้นยังอ่อนแอ ไม่ควรแก่การงาน อย่ากระนั้นเลย เรา
จะนอน’ เธอจึงนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยัง
ไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำ
ให้แจ้ง นี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ ๘
ภิกษุทั้งหลาย กุสีตวัตถุ ๘ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย อารัมภวัตถุ (เหตุปรารภความเพียร) ๘ ประการนี้
อารัมภวัตถุ ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีงานที่ต้องทำ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราจัก
ต้องทำงาน เมื่อเราทำงาน การจะใส่ใจคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
มิใช่ทำได้ง่าย อย่ากระนั้นเลย เราจะรีบปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรม
ที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่
ทำให้แจ้ง’ เธอจึงปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อ
บรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็น
อารัมภวัตถุประการที่ ๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๓.ยมกวรรค ๑๐.กุสีตารัมภวัตถุสูตร
๒. ภิกษุทำงานแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราทำงานแล้ว
เมื่อทำงาน ก็ไม่สามารถที่จะใส่ใจคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าได้
อย่ากระนั้นเลย เราจะรีบปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง
เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง’
เธอจึงปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นอารัมภวัตถุประการที่ ๒
๓. ภิกษุต้องเดินทาง เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราจักต้องเดินทาง
การที่เราเดินทางอยู่จะใส่ใจคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ามิใช่ทำได้ง่าย
อย่ากระนั้นเลย เราจะรีบปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นอารัมภ-
วัตถุประการที่ ๓
๔. ภิกษุเดินทางแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราเดินทางแล้ว
เมื่อเดินทาง ก็ไม่สามารถจะใส่ใจคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าได้
อย่ากระนั้นเลย เราจะรีบปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นอารัมภ-
วัตถุประการที่ ๔
๕. ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตตามหมู่บ้านหรือนิคม ไม่ได้โภชนะเศร้าหมอง
หรือประณีตบริบูรณ์เพียงพอตามต้องการ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า
เราเที่ยวบิณฑบาตตามหมู่บ้านหรือนิคม ก็ไม่ได้โภชนะเศร้าหมอง
หรือประณีตบริบูรณ์เพียงพอตามต้องการ กายของเรานั้นเบา
ควรแก่การงาน อย่ากระนั้นเลย เราจะรีบปรารภความเพียร ฯลฯ
นี้เป็นอารัมภวัตถุประการที่ ๕
๖. ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตตามหมู่บ้านหรือนิคม ได้โภชนะเศร้าหมอง
หรือประณีตบริบูรณ์เพียงพอตามต้องการ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า
เราเที่ยวบิณฑบาตตามหมู่บ้านหรือนิคม ได้โภชนะเศร้าหมองหรือ
ประณีตบริบูรณ์เพียงพอตามต้องการแล้ว กายของเราเบา ควรแก่
การงาน อย่ากระนั้นเลย เราจะรีบปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็น
อารัมภวัตถุประการที่ ๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๐๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๓.ยมกวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
๗. ภิกษุเกิดมีอาพาธขึ้นเล็กน้อย เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราเกิดมี
อาพาธขึ้นเล็กน้อยแล้ว เป็นไปได้ที่อาพาธของเราจะพึงรุนแรงขึ้น
อย่ากระนั้นเลย เราจะรีบปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นอารัมภ-
วัตถุประการที่ ๗
๘. ภิกษุหายอาพาธแล้ว แต่หายอาพาธยังไม่นาน เธอมีความคิด
อย่างนี้ว่า ‘เราหายอาพาธแล้ว แต่หายอาพาธยังไม่นาน เป็นไปได้
ที่อาพาธของเราจะพึงกลับกำเริบขึ้น อย่ากระนั้นเลย เราจะรีบ
ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่
บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง’ เธอจึงปรารภความเพียร
เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้ง
ธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นอารัมภวัตถุประการที่ ๘
ภิกษุทั้งหลาย อารัมภวัตถุ ๘ ประการนี้แล
กุสีตารัมภวัตถุสูตรที่ ๑๐ จบ
ยมกวรรคที่ ๓ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมสัทธาสูตร ๒. ทุติยสัทธาสูตร
๓. ปฐมมรณัสสติสูตร ๔. ทุติยมรณัสสติสูตร
๕. ปฐมสัมปทาสูตร ๖. ทุติยสัมปทาสูตร
๗. อิจฉาสูตร ๘. อลังสูตร
๙. ปริหานสูตร ๑๐. กุสีตารัมภวัตถุสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๔.สติวรรค ๑.สติสัมปชัญญสูตร
๔. สติวรรค
หมวดว่าด้วยสติสัมปชัญญะ
๑. สติสัมปชัญญสูตร
ว่าด้วยผลแห่งสติสัมปชัญญะ
[๘๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อสติสัมปชัญญะไม่มี หิริและ
โอตตัปปะของบุคคลผู้มีสติสัมปชัญญะวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อหิริและ
โอตตัปปะไม่มี อินทรียสังวรของบุคคลผู้มีหิริและโอตตัปปะวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูก
ขจัดแล้ว เมื่ออินทรียสังวรไม่มี ศีลของบุคคลผู้มีอินทรียสังวรวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูก
ขจัดแล้ว เมื่อศีลไม่มี สัมมาสมาธิของบุคคลผู้มีศีลวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว
เมื่อสัมมาสมาธิไม่มี ยถาภูตญาณทัสสนะของบุคคลผู้มีสัมมาสมาธิวิบัติ ชื่อว่า
มีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะไม่มี นิพพิทาและวิราคะของบุคคล
ผู้มียถาภูตญาณทัสสนะวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อนิพพิทาและวิราคะไม่มี
วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้มีนิพพิทาและวิราคะวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ที่มีกิ่งและใบวิบัติแล้ว สะเก็ด เปลือก กระพี้ แม้แก่น
ของต้นไม้นั้น ย่อมไม่ถึงความบริบูรณ์ แม้ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อสติสัมปชัญญะไม่มี หิริและโอตตัปปะของบุคคลผู้มี
สติสัมปชัญญะวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อหิริและโอตตัปปะไม่มี อินทรีย-
สังวรของบุคคลผู้มีหิริและโอตตัปปะวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว ฯลฯ วิมุตติ-
ญาณทัสสนะของบุคคลผู้มีนิพพิทาและวิราคะวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว ฉันนั้น
เหมือนกัน
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อสติสัมปชัญญะมี หิริและโอตตัปปะของบุคคลผู้สมบูรณ์
ด้วยสติสัมปชัญญะ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อหิริและโอตตัปปะมี อินทรียสังวร
ของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยหิริและโอตตัปปะ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่ออินทรียสังวรมี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๐๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๔.สติวรรค ๒.ปุณณิยสูตร
ศีลของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอินทรียสังวร ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อศีลมี สัมมาสมาธิ
ของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อสัมมาสมาธิมี ยถาภูต-
ญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อ
ยถาภูตญาณทัสสนะมี นิพพิทาและวิราคะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยยถาภูตญาณทัสสนะ
ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อนิพพิทาและวิราคะมี วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์
ด้วยนิพพิทาและวิราคะ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ที่มีกิ่งและใบสมบูรณ์ สะเก็ด เปลือก กระพี้ แม้แก่นของ
ต้นไม้นั้น ย่อมถึงความบริบูรณ์ แม้ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อสติสัมปชัญญะมี หิริและโอตตัปปะของบุคคลผู้สมบูรณ์
ด้วยสติสัมปชัญญะ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อหิริและโอตตัปปะมี อินทรียสังวรของ
บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยหิริและโอตตัปปะ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ฯลฯ วิมุตติญาณทัสสนะ
ของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาและวิราคะ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ฉันนั้นเหมือนกัน”
สติสัมปชัญญะสูตรที่ ๑ จบ

๒. ปุณณิยสูตร
ว่าด้วยพระปุณณิยะ๑
[๘๒] ครั้งนั้น ท่านพระปุณณิยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอแลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้พระธรรมเทศนาของ
พระตถาคตแจ่มแจ้งในบางคราว แต่ในบางคราว กลับไม่แจ่มแจ้ง”

เชิงอรรถ :
๑ ดู องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๘๓/๑๘๓-๑๘๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๐๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๔.สติวรรค ๓.มูลกสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ปุณณิยะ ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา แต่ไม่เข้าไปหา
ธรรมเทศนาของตถาคตจึงไม่แจ่มแจ้ง แต่เมื่อใด ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธาและเข้าไปหา
เมื่อนั้น ธรรมเทศนาของตถาคตจึงแจ่มแจ้ง
ปุณณิยะ ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธาและเข้าไปหา แต่ไม่เข้าไปนั่งใกล้ ... เข้าไปนั่งใกล้
แต่ไม่สอบถาม ... สอบถาม แต่ไม่เงี่ยโสตฟังธรรม ... เงี่ยโสตฟังธรรม แต่ฟังธรรม
แล้วไม่ทรงจำธรรมไว้ได้ ... ฟังแล้วทรงจำไว้ได้ แต่ไม่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่
ทรงจำไว้ได้ ... พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ได้ แต่หาใช่รู้อรรถรู้ธรรมแล้ว
ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมไม่ ธรรมเทศนาของตถาคตจึงไม่แจ่มแจ้ง
ปุณณิยะ แต่เมื่อใด ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา เข้าไปหา เข้าไปนั่งใกล้ สอบถาม
เงี่ยโสตฟังธรรม ฟังธรรมแล้วทรงจำธรรมไว้ พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้
เป็นผู้รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เมื่อนั้น ธรรมเทศนาของตถาคต
จึงแจ่มแจ้ง
ปุณณิยะ ธรรมเทศนาของตถาคตประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้แล จึงแจ่ม
แจ้งโดยแท้”
ปุณณิยสูตรที่ ๒ จบ

๓. มูลกสูตร
ว่าด้วยมูลเหตุแห่งธรรมทั้งปวง๑
[๘๓] ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอัญเดียรถีย์ปริพาชกถามอย่างนี้ว่า
๑. ธรรมทั้งปวง๒มีอะไรเป็นมูลเหตุ
๒. ธรรมทั้งปวงมีอะไรเป็นแดนเกิด
๓. ธรรมทั้งปวงมีอะไรเป็นเหตุเกิด
๔. ธรรมทั้งปวงมีอะไรเป็นที่ประชุม

เชิงอรรถ :
๑ องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๕๘/๑๒๕
๒ ธรรมทั้งปวง ในที่นี้หมายถึงขันธ์ ๕ (องฺ.อฏฺฐก. ๓/๘๓/๒๘๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๐๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๔.สติวรรค ๓.มูลกสูตร
๕. ธรรมทั้งปวงมีอะไรเป็นประมุข
๖. ธรรมทั้งปวงมีอะไรเป็นใหญ่
๗. ธรรมทั้งปวงมีอะไรเป็นยิ่ง
๘. ธรรมทั้งปวงมีอะไรเป็นแก่น
เธอทั้งหลายถูกถามแล้วอย่างนี้ จะพึงตอบอัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างไร
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาค
เป็นที่พึ่ง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส เฉพาะพระผู้มีพระภาคเท่านั้น
ที่จะทรงอธิบายเนื้อความแห่งภาษิตนั้นให้แจ่มแจ้งได้ ภิกษุทั้งหลายฟังต่อจาก
พระผู้มีพระภาคแล้วจักทรงจำไว้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจ
ให้ดี เราจักกล่าว”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอัญเดียรถีย์ปริพาชกถามอย่างนี้ว่า
๑. ธรรมทั้งปวงมีอะไรเป็นมูล
๒. ธรรมทั้งปวงมีอะไรเป็นแดนเกิด
๓. ธรรมทั้งปวงมีอะไรเป็นเหตุเกิด
๔. ธรรมทั้งปวงมีอะไรเป็นที่ประชุม
๕. ธรรมทั้งปวงมีอะไรเป็นประมุข
๖. ธรรมทั้งปวงมีอะไรเป็นใหญ่
๗. ธรรมทั้งปวงมีอะไรเป็นยิ่ง
๘. ธรรมทั้งปวงมีอะไรเป็นแก่น
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงตอบอัญเดียรถีย์ปริพาชก
เหล่านั้นอย่างนี้ว่า
๑. ธรรมทั้งปวงมีฉันทะเป็นมูล
๒. ธรรมทั้งปวงมีมนสิการเป็นแดนเกิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๐๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๔.สติวรรค ๔.โจรสูตร
๓. ธรรมทั้งปวงมีผัสสะเป็นเหตุเกิด
๔. ธรรมทั้งปวงมีเวทนาเป็นที่ประชุม
๕. ธรรมทั้งปวงมีสมาธิเป็นประมุข
๖. ธรรมทั้งปวงมีสติเป็นใหญ่
๗. ธรรมทั้งปวงมีปัญญาเป็นยิ่ง
๘. ธรรมทั้งปวงมีวิมุตติเป็นแก่น
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงตอบอัญเดียรถีย์ปริพาชก
เหล่านั้นอย่างนี้แล”
มูลกสูตรที่ ๓ จบ

๔. โจรสูตร
ว่าด้วยเหตุเสื่อมของมหาโจร
[๘๔] ภิกษุทั้งหลาย มหาโจรประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ย่อมเสื่อม
อย่างเร็วพลัน ดำรงอยู่ได้ไม่นาน
องค์ ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ทำร้ายคนที่ไม่โต้ตอบ ๒. ปล้นสิ่งของจนไม่เหลือ
๓. ฆ่าผู้หญิง ๔. ข่มขืนเด็กหญิง
๕. ปล้นนักบวช ๖. ปล้นท้องพระคลัง
๗. ปล้นใกล้ถิ่นเกินไป ๘. ไม่ฉลาดในการเก็บ

ภิกษุทั้งหลาย มหาโจรประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้แล ย่อมเสื่อมอย่าง
เร็วพลัน ดำรงอยู่ได้ไม่นาน
ภิกษุทั้งหลาย มหาโจรประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้แล ย่อมไม่เสื่อมอย่าง
เร็วพลัน ดำรงอยู่ได้นาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๐๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๔.สติวรรค ๕.สมณสูตร
องค์ ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ไม่ทำร้ายคนที่ไม่โต้ตอบ ๒. ไม่ปล้นสิ่งของจนไม่เหลือ
๓. ไม่ฆ่าผู้หญิง ๔. ไม่ข่มขืนเด็กหญิง
๕. ไม่ปล้นนักบวช ๖. ไม่ปล้นท้องพระคลัง
๗. ไม่ปล้นใกล้ถิ่นเกินไป ๘. ฉลาดในการเก็บ

ภิกษุทั้งหลาย มหาโจรประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้แล ย่อมไม่เสื่อมอย่าง
เร็วพลัน ดำรงอยู่ได้นาน
โจรสูตรที่ ๔ จบ

๕. สมณสูตร
ว่าด้วยพระนามของพระพุทธเจ้า
[๘๕] ภิกษุทั้งหลาย
๑. คำว่า สมณะ เป็นพระนามของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
๒. คำว่า พราหมณ์ เป็นพระนามของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
๓. คำว่า เวทคู เป็นพระนามของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
๔. คำว่า ภิสักกะ เป็นพระนามของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
๕. คำว่า นิมมละ เป็นพระนามของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
๖. คำว่า วิมละ เป็นพระนามของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
๗. คำว่า ญาณี เป็นพระนามของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
๘. คำว่า วิมุตตะ เป็นพระนามของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
สิ่งใดที่ผู้เป็นสมณะ ผู้เป็นพราหมณ์
อยู่จบพรหมจรรย์พึงบรรลุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๔.สติวรรค ๖.ยสสูตร
สิ่งใดอันยอดเยี่ยม ที่ผู้จบเวท
ผู้เป็นศัลยแพทย์พึงบรรลุ
สิ่งใดที่ผู้หมดมลทิน
ผู้ปลอดมลทิน ผู้สะอาดพึงบรรลุ
สิ่งใดอันยอดเยี่ยม ที่ผู้ได้ญาณ
ผู้หลุดพ้นพึงบรรลุ
สิ่งนั้น ๆ เราบรรลุแล้ว
เรานั้นเป็นผู้ชนะสงคราม
เป็นผู้หลุดพ้น เปลื้องมหาชนจากเครื่องผูก
เราเป็นผู้ประเสริฐ เป็นผู้ฝึกตนได้อย่างยอดเยี่ยม
เป็นอเสขบุคคล ปรินิพพานแล้ว๑
สมณสูตรที่ ๕ จบ

๖. ยสสูตร
ว่าด้วยยศ๒
[๘๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศล พร้อมด้วย
ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จถึงหมู่บ้านพราหมณ์แคว้นโกศลชื่ออิจฉานังคละ ณ ที่
นั้นแล พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ราวป่าชื่ออิจฉานังคละ ใกล้หมู่บ้านพราหมณ์ชื่อ
อิจฉานังคละ

เชิงอรรถ :
๑ ปรินิพพานแล้ว ในที่นี้หมายถึงดับกิเลสได้แล้ว (องฺ.อฏฺฐก. ๓/๘๕/๒๘๒)
๒ ดู องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๓๐/๔๑-๔๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๑๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๔.สติวรรค ๖.ยสสูตร
พวกพราหมณ์และคหบดีชาวบ้านอิจฉานังคละได้ทราบข่าวว่า “ท่านพระสมณ-
โคดมศากยบุตรทรงออกผนวชจากศากยตระกูล เสด็จถึงบ้านอิจฉานังคละ ประทับอยู่
ที่ราวป่าอิจฉานังคละใกล้หมู่บ้านพราหมณ์ชื่ออิจฉานังคละ ท่านพระสมณโคดม
พระองค์นั้นมีกิตติศัพท์อันงามขจรไปอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาค
พระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ ฯลฯ ก็การได้พบ
พระอรหันต์เช่นนี้เป็นความดีอย่างแท้จริง”
ครั้นคืนผ่านไป พราหมณ์และคหบดีชาวบ้านอิจฉานังคละจึงพากันถือเอาของ
เคี้ยวของฉันเป็นอันมากเข้าไปถึงราวป่าชื่ออิจฉานังคละ ได้ยืนชุมนุมกันส่งเสียงอื้ออึง
ที่ซุ้มประตูด้านนอก
สมัยนั้นแล ท่านพระนาคิตะเป็นอุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาค พระผู้มี
พระภาคได้รับสั่งเรียกท่านพระนาคิตะมาตรัสถามว่า “นาคิตะ คนพวกไหนส่งเสียง
อื้ออึงอยู่นั้นคล้ายพวกชาวประมงแย่งปลากัน”
ท่านพระนาคิตะกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พราหมณ์และคหบดีชาว
บ้านอิจฉานังคละเหล่านั้นพากันถือของเคี้ยวของฉันเป็นอันมากมายืนชุมนุมกันอยู่ที่
ซุ้มประตูด้านนอกเพื่อถวายพระผู้มีพระภาคและภิกษุสงฆ์”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “นาคิตะ เราไม่ติดยศ และยศก็ไม่ติดเรา ผู้ใดแลไม่ได้
ตามความปรารถนา ไม่ได้โดยไม่ยาก ไม่ได้โดยไม่ลำบากซึ่งเนกขัมมสุข๑ ปวิเวกสุข
อุปสมสุข และสัมโพธิสุขที่เราได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบากนี้

เชิงอรรถ :
๑ เนกขัมมสุข หมายถึงสุขเกิดจากบรรพชา(การบวช)
ปวิเวกสุข หมายถึงสุขเกิดจากความสงัดจากอุปธิกิเลสทางกายและใจ
อุปสมสุข หมายถึงสุขในผลสมาบัติที่ให้กิเลสสงบระงับ
สัมโพธิสุข หมายถึงสุขในอริยมรรค (ขุ.จู.อ. ๑๔๐/๑๓๓) และดู ม.อุ. ๑๔/๓๒๘/๓๐๐, ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๑๔๐/
๔๕๑ ประกอบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๔.สติวรรค ๖.ยสสูตร
ผู้นั้นชื่อว่ายินดีสุขที่ไม่สะอาด สุขในการนอนหลับ และสุขที่อิงอาศัยลาภสักการะและ
การสรรเสริญ”
ท่านพระนาคิตะกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้ ขอพระผู้มีพระภาค
ผู้สุคตจงทรงรับ บัดนี้ เป็นเวลาที่พระผู้มีพระภาคจะทรงรับ พระองค์จักเสด็จไป
ทางใด ๆ พราหมณ์ คหบดี ชาวนิคม และชาวชนบทก็จักหลั่งไหลไปทางนั้น ๆ ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ เปรียบเหมือนเมื่อฝนเม็ดใหญ่ตกลงมา น้ำย่อมไหลไปตามที่ลุ่ม
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงมีศีลและปัญญา”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “นาคิตะ เราไม่ติดยศ และยศก็ไม่ติดเรา ผู้ใดแลไม่
ได้ตามความปรารถนา ไม่ได้โดยไม่ยาก ไม่ได้โดยไม่ลำบากซึ่งเนกขัมมสุข ฯลฯ
ที่เราได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบากนี้ ผู้นั้นชื่อว่ายินดีสุขที่
ไม่สะอาด สุขในการนอนหลับ สุขที่อิงอาศัยลาภสักการะและการสรรเสริญ
นาคิตะ แม้แต่เทวดาบางพวกก็ไม่ได้ตามความปรารถนา ไม่ได้โดยไม่ยาก
ไม่ได้โดยไม่ลำบากซึ่งเนกขัมมสุข ฯลฯ ที่เราได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก
ได้โดยไม่ลำบากนี้ นาคิตะ แม้แต่พวกเธอมาประชุมพร้อมหน้ากัน หมั่นประกอบ
การอยู่คลุกคลีอยู่ ก็มีความคิดอย่างนี้ว่า ท่านเหล่านี้ไม่ได้ตามความปรารถนา
ไม่ได้โดยไม่ยาก ไม่ได้โดยไม่ลำบากซึ่งเนกขัมมสุข ฯลฯ ที่เราได้ตามความปรารถนา
ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบากนี้ เพราะท่านเหล่านั้นมาประชุมพร้อมหน้ากัน
หมั่นประกอบการอยู่คลุกคลีอยู่
๑. เราเห็นภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ใช้นิ้วจี้สัพยอกเล่นหัวกันอยู่ เรานั้น
มีความคิดอย่างนี้ว่า ท่านเหล่านี้ไม่พึงได้ตามความปรารถนา ไม่ได้
โดยไม่ยาก ไม่ได้โดยไม่ลำบากซึ่งเนกขัมมสุข ฯลฯ ที่เราได้ตามความ
ปรารถนา ฯลฯ เพราะท่านเหล่านี้ใช้นิ้วจี้สัพยอกเล่นหัวกันอยู่
๒. เราเห็นภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ฉันอาหารตามต้องการจนอิ่มท้อง
แล้ว หมั่นประกอบความสุขในการนอน ความสุขในการเอกเขนก
และความสุขในการหลับอยู่ เรานั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า ท่านเหล่านี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๔.สติวรรค ๖.ยสสูตร
ไม่ได้ตามความปรารถนา ไม่ได้โดยไม่ยาก ไม่ได้โดยไม่ลำบากซึ่ง
เนกขัมมสุข ฯลฯ ที่เราได้ตามความปรารถนา ฯลฯ เพราะท่าน
เหล่านี้ฉันอาหารตามต้องการจนอิ่มท้องแล้ว หมั่นประกอบความสุข
ในการนอน ความสุขในการเอกเขนก และความสุขในการหลับอยู่
๓. เราเห็นภิกษุในธรรมวินัยนี้ผู้อยู่ในเสนาสนะใกล้หมู่บ้าน มีสมาธินั่งอยู่
เรามีความคิดอย่างนี้ว่า ‘บัดนี้ คนวัด หรือสมณุทเทส๑จักบำรุง
ท่านผู้นี้ จักทำให้ท่านเคลื่อนจากสมาธิ’ เพราะเหตุนั้น เราจึงไม่
ยินดี การอยู่ในเสนาสนะใกล้หมู่บ้านของภิกษุนั้น
๔. เราเห็นภิกษุในธรรมวินัยนี้ผู้อยู่ป่าเป็นวัตร นั่งโงกง่วงอยู่ในป่า เรา
มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘บัดนี้ ท่านผู้นี้จักบรรเทาความลำบากคือ
การหลับนี้แล้วมนสิการความกำหนดหมายว่าป่าเป็นเอกัคคตารมณ์’
เพราะเหตุนั้น เราจึงยินดีการอยู่ในป่าของภิกษุนั้น
๕. เราเห็นภิกษุในธรรมวินัยนี้ผู้อยู่ป่าเป็นวัตร ไม่มีสมาธินั่งอยู่ในป่า
เรามีความคิดอย่างนี้ว่า ‘บัดนี้ ท่านผู้นี้จักตั้งจิตที่ไม่เป็นสมาธิให้
เป็นสมาธิ หรือจักตามรักษาจิตที่เป็นสมาธิไว้’ เพราะเหตุนั้น
เราจึงยินดีการอยู่ในป่าของภิกษุนั้น
๖. เราเห็นภิกษุในธรรมวินัยนี้ผู้อยู่ป่าเป็นวัตร มีสมาธินั่งอยู่ในป่า
เรามีความคิดอย่างนี้ว่า ‘บัดนี้ ท่านผู้นี้จักเปลื้องจิตที่ยังไม่หลุดพ้น
ให้หลุดพ้น หรือจักตามรักษาจิตที่หลุดพ้นแล้วไว้ได้’ เพราะเหตุนั้น
เราจึงยินดีการอยู่ในป่าของภิกษุนั้น
๗. เราเห็นภิกษุในธรรมวินัยนี้ผู้อยู่ในเสนาสนะใกล้หมู่บ้าน ได้จีวร
บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร เธอพอใจลาภ
สักการะและการสรรเสริญนั้น ละทิ้งการหลีกเร้น ละทิ้งเสนาสนะ
อันสงัดคือป่าโปร่งและป่าทึบ เข้ามารวมกันอยู่ตามหมู่บ้าน ตำบล

เชิงอรรถ :
๑ สมณุทเทส หมายถึงสามเณร (วิ.มหา. (แปล) ๒/๔๓๐/๕๔๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๑๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๔.สติวรรค ๗.ปัตตนิกุชชนสูตร
และเมืองหลวง’ เพราะเหตุนั้น เราจึงไม่ยินดีการอยู่ในเสนาสนะ
ใกล้หมู่บ้านของภิกษุนั้น
๘. เราเห็นภิกษุในธรรมวินัยนี้ผู้อยู่ป่าเป็นวัตร ได้จีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร เธอสลัดลาภสักการะ
และการสรรเสริญนั้น ไม่ละทิ้งการหลีกเร้น ไม่ละทิ้งเสนาสนะอัน
สงัดคือป่าโปร่งและป่าทึบ’ เพราะเหตุนั้น เราจึงยินดีการอยู่ในป่า
ของภิกษุนั้น
สมัยใด เราเดินทางไกล ไม่เห็นใคร ๆ ข้างหน้า หรือข้างหลัง สมัยนั้น
เราย่อมมีความผาสุก โดยที่สุด แม้แต่การถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ”
ยสสูตรที่ ๖ จบ

๗. ปัตตนิกุชชนสูตร
ว่าด้วยเหตุแห่งการคว่ำบาตรและหงายบาตร
[๘๗] ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงคว่ำบาตร๑ต่ออุบาสกผู้ประกอบ
ด้วยองค์ ๘ ประการ
องค์ ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ขวนขวายเพื่อไม่ใช่ลาภของภิกษุทั้งหลาย
๒. ขวนขวายเพื่อไม่ใช่ประโยชน์ของภิกษุทั้งหลาย
๓. ขวนขวายเพื่อความอยู่ไม่ได้ของภิกษุทั้งหลาย
๔. ด่าบริภาษภิกษุทั้งหลาย
๕. ยุยงภิกษุทั้งหลายให้แตกกัน
๖. กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า

เชิงอรรถ :
๑ คว่ำบาตร ในที่นี้หมายถึงการสวดกรรมวาจาเพื่อไม่รับไทยธรรมของอุบาสกผู้ประพฤติผิดต่อสงฆ์ มิใช่
หมายถึงคว่ำปากบาตรลง (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๘๗/๒๘๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๔.สติวรรค ๘.อัปปสาทปเวทนียสูตร
๗. กล่าวติเตียนพระธรรม
๘. กล่าวติเตียนพระสงฆ์
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงคว่ำบาตรต่ออุบาสกผู้ประกอบด้วยองค์
๘ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงหงายบาตรต่ออุบาสกผู้ประกอบด้วยองค์
๘ ประการ
ธรรม ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่ขวนขวายเพื่อไม่ใช่ลาภของภิกษุทั้งหลาย
๒. ไม่ขวนขวายเพื่อไม่ใช่ประโยชน์ของภิกษุทั้งหลาย
๓. ไม่ขวนขวายเพื่อความอยู่ไม่ได้ของภิกษุทั้งหลาย
๔. ไม่ด่าไม่บริภาษภิกษุทั้งหลาย
๕. ไม่ยุยงภิกษุทั้งหลายให้แตกกัน
๖. กล่าวสรรเสริญพระพุทธเจ้า
๗. กล่าวสรรเสริญพระธรรม
๘. กล่าวสรรเสริญพระสงฆ์
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงหงายบาตรต่ออุบาสกผู้ประกอบด้วยองค์
๘ ประการนี้แล
ปัตตนิกุชชนสูตรที่ ๗ จบ

๘. อัปปสาทปเวทนียสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ควรประกาศว่าไม่ควรเลื่อมใส
[๘๘] ภิกษุทั้งหลาย อุบาสกเมื่อมุ่งหวัง พึงประกาศความไม่เลื่อมใสต่อภิกษุ
ผู้ประกอบด้วยธรรม ๘ ประการ
ธรรม ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ขวนขวายเพื่อไม่ใช่ลาภของคฤหัสถ์ทั้งหลาย
๒. ขวนขวายเพื่อไม่ใช่ประโยชน์ของคฤหัสถ์ทั้งหลาย
๓. ด่าบริภาษคฤหัสถ์ทั้งหลาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๑๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๔.สติวรรค ๘.อัปปสาทปเวทนียสูตร
๔. ยุยงคฤหัสถ์ทั้งหลายให้แตกกัน
๕. กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า
๖. กล่าวติเตียนพระธรรม
๗. กล่าวติเตียนพระสงฆ์
๘. อุบาสกทั้งหลายเห็นภิกษุนั้นในอโคจร
ภิกษุทั้งหลาย อุบาสกเมื่อมุ่งหวัง พึงประกาศความไม่เลื่อมใสต่อภิกษุผู้
ประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย อุบาสกเมื่อมุ่งหวัง พึงประกาศความเลื่อมใสต่อภิกษุผู้ประกอบ
ด้วยธรรม ๘ ประการ
ธรรม ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่ขวนขวายเพื่อไม่ใช่ลาภของคฤหัสถ์ทั้งหลาย
๒. ไม่ขวนขวายเพื่อไม่ใช่ประโยชน์ของคฤหัสถ์ทั้งหลาย
๓. ไม่ด่าไม่บริภาษคฤหัสถ์ทั้งหลาย
๔. ไม่ยุยงคฤหัสถ์ทั้งหลายให้แตกกัน
๕. กล่าวสรรเสริญพระพุทธเจ้า
๖. กล่าวสรรเสริญพระธรรม
๗. กล่าวสรรเสริญพระสงฆ์
๘. อุบาสกทั้งหลายเห็นภิกษุนั้นในโคจร
ภิกษุทั้งหลาย อุบาสกเมื่อมุ่งหวัง พึงประกาศความเลื่อมใสต่อภิกษุผู้ประกอบ
ด้วยธรรม ๘ ประการนี้แล
อัปปสาทปเวทนียสูตรที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๔.สติวรรค ๙.ปฏิสารณียสูตร
๙. ปฏิสารณียสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ควรลงปฏิสารณียกรรม
[๘๙] ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปฏิสารณียกรรม๑ต่อภิกษุผู้ประกอบ
ด้วยธรรม ๘ ประการ
ธรรม ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ขวนขวายเพื่อไม่ใช่ลาภของคฤหัสถ์ทั้งหลาย
๒. ขวนขวายเพื่อไม่ใช่ประโยชน์ของคฤหัสถ์ทั้งหลาย
๓. ด่าบริภาษคฤหัสถ์ทั้งหลาย
๔. ยุยงคฤหัสถ์ทั้งหลายให้แตกกัน
๕. กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า
๖. กล่าวติเตียนพระธรรม
๗. กล่าวติเตียนพระสงฆ์
๘. รับคำที่ชอบธรรมของคฤหัสถ์แต่ไม่ทำตาม
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปฏิสารณียกรรมต่อภิกษุผู้ประกอบ
ด้วยธรรม ๘ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงระงับปฏิสารณียกรรมต่อภิกษุผู้ประกอบ
ด้วยธรรม ๘ ประการ
ธรรม ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่ขวนขวายเพื่อไม่ใช่ลาภของคฤหัสถ์ทั้งหลาย
๒. ไม่ขวนขวายเพื่อไม่ใช่ประโยชน์ของคฤหัสถ์ทั้งหลาย

เชิงอรรถ :
๑ ดู วิ.จู. (แปล) ๖/๓๙/๗๗-๗๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๔.สติวรรค ๑๐.สัมมาวัตตนสูตร
๓. ไม่ด่าไม่บริภาษคฤหัสถ์ทั้งหลาย
๔. ไม่ยุยงคฤหัสถ์ทั้งหลายให้แตกกัน
๕. กล่าวสรรเสริญพระพุทธเจ้า
๖. กล่าวสรรเสริญพระธรรม
๗. กล่าวสรรเสริญพระสงฆ์
๘. รับคำที่ชอบธรรมของคฤหัสถ์แล้วทำตาม
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงระงับปฏิสารณียกรรมต่อภิกษุผู้ประกอบ
ด้วยธรรม ๘ ประการนี้แล
ปฏิสารณียสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. สัมมาวัตตนสูตร
ว่าด้วยการประพฤติชอบ
[๙๐] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงตัสสปาปิยสิกากรรม๑แล้ว พึงประพฤติ
ชอบในธรรม ๘ ประการ คือ
๑. ไม่พึงให้อุปสมบท
๒. ไม่พึงให้นิสสัย
๓. ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก
๔. ไม่พึงรับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
๕. แม้ได้รับสมมติแล้วก็ไม่พึงสั่งสอนภิกษุณี

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๒ สัตตกนิบาต ข้อ ๘๔ หน้า ๑๗๙-๑๘๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๑๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๔.สติวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
๖. ไม่พึงรับสมมติอะไร ๆ จากสงฆ์
๗. ไม่พึงดำรงอยู่ในตำแหน่งหัวหน้าอะไร ๆ
๘. ไม่พึงให้ประพฤติวุฏฐานวิธีเพราะตำแหน่งเดิมนั้น
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงตัสสปาปิยสิกากรรมแล้ว พึงประพฤติชอบใน
ธรรม ๘ ประการนี้แล
สัมมาวัตตนสูตรที่ ๑๐ จบ
สติวรรคที่ ๔ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สติสัมปชัญญสูตร ๒. ปุณณิยสูตร
๓. มูลกสูตร ๔. โจรสูตร
๕. สมณสูตร ๖. ยสสูตร
๗. ปัตตนิกุชชนสูตร ๘. อัปปสาทปเวทนียสูตร
๙. ปฏิสารณียสูตร ๑๐. สัมมาวัตตนสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๒๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๕.สามัญญวรรค
๕. สามัญญวรรค
หมวดว่าด้วยธรรมที่เหมือนกัน๑
[๙๑-๑๑๖] โพชฌาอุบาสิกา สิริมาอุบาสิกา ปทุมาอุบาสิกา สุธัมมา
อุบาสิกา มนุชาอุบาสิกา อุตตราอุบาสิกา มุตตาอุบาสิกา เขมาอุบาสิกา
รุจีอุบาสิกา จุนทีราชกุมารี พิมพีอุบาสิกา สุมนาราชกุมารี มัลลิกาเทวี
ติสสาอุบาสิกา ติสสมาตาอุบาสิกา โสณาอุบาสิกา โสณมาตาอุบาสิกา
กาณาอุบาสิกา กาณมาตาอุบาสิกา อุตตรานันทมาตาอุบาสิกา วิสาขามิคาร-
มาตาอุบาสิกา ขุชชุตตราอุบาสิกา สามาวดีอุบาสิกา สุปวาสาโกฬิยธิดา
สุปปิยาอุบาสิกา นกุลมาตาคหปตานี [๑-๒๖]
สามัญญวรรคที่ ๕ จบ
ทุติยปัณณาสก์ จบ

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงวรรคที่ว่าด้วยองค์อุโบสถ ๘ เหมือนกัน (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๙๑/๒๘๔) ดูความเต็มของแต่ละสูตรเทียบ
ในอัฏฐกนิบาต ข้อ ๔๓ (วิสาขาสูตร) หน้า ๓๐๙-๓๑๒ และข้อ ๔๕ (โพชฌาสูตร) หน้า ๓๑๔-๓๑๗
ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๒๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต ราคเปยยาล
ราคเปยยาล
[๑๑๗] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญธรรม ๘ ประการ เพื่อรู้ยิ่งราคะ
(ความกำหนัด)
ธรรม ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) ๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ)
๓. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ) ๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ)
๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) ๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ)
๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ) ๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ)

[๑๑๘] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญธรรม ๘ ประการ เพื่อรู้ยิ่งราคะ (๑)
ธรรม ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุรูปหนึ่งมีรูปสัญญาภายใน เห็นรูปภายนอก ขนาดเล็ก มีสีสัน
ดีหรือไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้
เราเห็น’
๒. ภิกษุรูปหนึ่งมีรูปสัญญาภายใน เห็นรูปภายนอก ขนาดใหญ่ มีสีสัน
ดีหรือไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้
เราเห็น’
๓. ภิกษุรูปหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปภายนอก ขนาดเล็ก มีสีสัน
ดีหรือไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้
เราเห็น’
๔. ภิกษุรูปหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปภายนอก ขนาดใหญ่
มีสีสันดีหรือไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้
เราเห็น’
๕. ภิกษุรูปหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปภายนอกที่เขียว มีสีเขียว
เปรียบด้วยของเขียว มีสีเขียวเข้ม ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญา
อย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’
๖. ภิกษุรูปหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปภายนอกที่เหลือง มีสี
เหลือง เปรียบด้วยของเหลือง มีสีเหลืองเข้ม ครอบงำรูปเหล่านั้นได้
มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต ราคเปยยาล
๗. ภิกษุรูปหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปภายนอกที่แดง มีสีแดง
เปรียบด้วยของแดง มีสีแดงเข้ม ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญา
อย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’
๘ ภิกษุรูปหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปภายนอกที่ขาว มีสีขาว
เปรียบด้วยของขาว มีสีขาวเข้ม ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญา
อย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญธรรม ๘ ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่งราคะ (๒)
[๑๑๙] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญธรรม ๘ ประการ เพื่อรู้ยิ่งราคะ
ธรรม ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุผู้มีรูป เห็นรูปทั้งหลาย
๒. ภิกษุผู้มีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอก
๓. ภิกษุเป็นผู้น้อมใจไปว่า ‘งาม’ เท่านั้น
๔. ภิกษุบรรลุอากาสานัญจายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘อากาศหา
ที่สุดมิได้’ อยู่ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนด
นานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง
๕. ภิกษุล่วงอากาสานัญจายตนฌาน โดยประการทั้งปวง บรรลุ
วิญญาณัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ อยู่
๖. ภิกษุล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
อากิญจัญญายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่
๗. ภิกษุล่วงอากิญจัญญายตนฌาน โดยประการทั้งปวง บรรลุ
เนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่
๘. ภิกษุล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
สัญญาเวทยิตนิโรธอยู่
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญธรรม ๘ ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่งราคะ (๓)
[๑๒๐-๑๔๖] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญธรรม ๘ ประการ เพื่อกำหนดรู้ราคะ
... เพื่อความสิ้นราคะ
... เพื่อละราคะ
... เพื่อความสิ้นไปแห่งราคะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๒๓ }


>>>>> หน้าต่อไป >>>>>





eXTReMe Tracker