ค้นว่าอยู่เล่มใด แล้วกด [ctrl]+f หรือใช้คำสั่งของเครื่องหาตำแหน่งในเล่มอีกทีนะครับ



จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อความสะดวก และสวยงาม
(เฉพาะหน้าจอใหญ่ เช่น คอมพิวเตอร์)
กรุณาคลิก จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อให้กรอบ
ค้นข้อความ ปรากฎที่ด้านซ้ายของหน้า

พระไตรปิฎกภาษาไทย
ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม (ปกสีฟ้า)
ทั้งออนไลน์และออฟไลน์
ที่มาของข้อมูล : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มจร.
MCUTRAI Version 1.0

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓-๔ สุตตันตปิฎกที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก อัฏฐก นวกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก
อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต ราคเปยยาล
... เพื่อความเสื่อมไปแห่งราคะ
... เพื่อความคลายไปแห่งราคะ
... เพื่อความดับไปแห่งราคะ
... เพื่อความสละราคะ
... เพื่อความสละคืนราคะ...
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญธรรม ๘ ประการนี้ เพื่อความสละคืนราคะ ฯลฯ
(๔-๓๐)
[๑๔๗-๖๒๖] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญธรรม ๘ ประการ เพื่อรู้ยิ่งโทสะ
(ความคิดประทุษร้าย)
... เพื่อกำหนดรู้โทสะ
... เพื่อความสิ้นโทสะ
... เพื่อละโทสะ
... เพื่อความสิ้นไปแห่งโทสะ
... เพื่อความเสื่อมไปแห่งโทสะ
... เพื่อความคลายไปแห่งโทสะ
... เพื่อความดับไปแห่งโทสะ
... เพื่อความสละโทสะ
... เพื่อความสละคืนโทสะ ... โมหะ(ความหลง) ... โกธะ(ความโกรธ) ...
อุปนาหะ(ความผูกโกรธ) ... มักขะ(ความลบหลู่คุณท่าน) ... ปลาสะ(ความตีเสมอ) ...
อิสสา (ความริษยา) ... มัจฉริยะ(ความตระหนี่) ... มายา(มารยา) ... สาเถยยะ
(ความโอ้อวด) ... ถัมภะ(ความหัวดื้อ) ... สารัมภะ(ความแข่งดี) ... มานะ(ความถือตัว)
... อติมานะ (ความดูหมิ่นเขา) ... มทะ(ความมัวเมา) ... ปมาทะ (ความประมาท) ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญธรรม ๘ ประการนี้ เพื่อความสละคืนปมาทะ
(๓๑-๕๑๐)
ราคเปยยาล จบ
อัฏฐกนิบาต จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๒๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.สัมโพธิวรรค ๑.สัมโพธิสูตร
พระสุตตันตปิฎก
อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต
_____________

ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
๑. ปฐมปัณณาสก์
๑. สัมโพธิวรรค
หมวดว่าด้วยสัมโพธิ๑
๑. สัมโพธิสูตร
ว่าด้วยสัมโพธิ
[๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมา
ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึง
ได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกถามอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย
อะไรเป็นเหตุแห่งการเจริญธรรมที่เป็นฝ่ายแห่งสัมโพธิ’ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย
ถูกถามอย่างนี้แล้ว จะตอบพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างไร”

เชิงอรรถ :
๑ สัมโพธิ ในที่นี้หมายถึงมรรค ๔ คือโสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค และอรหัตตมรรค
(องฺ.ติก.อ. ๒/๘๗/๒๔๒, ที.สี.อ. ๑/๓๗๓/๒๘๑, องฺ.ติก.ฏีกา ๒/๘๗/๒๓๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.สัมโพธิวรรค ๑.สัมโพธิสูตร
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ๑ ภิกษุทั้งหลายฟังต่อจากพระผู้มีพระภาค
แล้วจักทรงจำไว้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า“ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจ
ให้ดี เราจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้
ตรัสดังนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกถามอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย
อะไรเป็นเหตุแห่งการเจริญธรรมที่เป็นฝ่ายแห่งสัมโพธิ’ เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้
ควรตอบพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้ว่า
๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี๒ นี้เป็นเหตุ
ประการที่ ๑ แห่งการเจริญธรรมที่เป็นฝ่ายแห่งสัมโพธิ
๒. ภิกษุเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วย
อาจาระและโคจรอยู่ มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทาน
ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย นี้เป็นเหตุประการที่ ๒ แห่งการ
เจริญธรรมที่เป็นฝ่ายแห่งสัมโพธิ
๓. ภิกษุเป็นผู้ได้กถาเป็นเครื่องขัดเกลาอย่างยิ่ง ที่เป็นสัปปายะแห่งความ
เป็นไปของจิต๓ คือ อัปปิจฉกถา(เรื่องความมักน้อย) สันตุฏฐิกถา
(เรื่องความสันโดษ) ปวิเวกกถา(เรื่องความสงัด) อสังสัคคกถา(เรื่อง
ความไม่คลุกคลี) วิริยารัมภกถา(เรื่องการปรารภความเพียร)

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มในอัฏฐกนิบาต ข้อ ๘๓ (มูลกสูตร) หน้า ๔๐๗-๔๐๘ ในเล่มนี้
๒ มิตรดี หมายถึงมิตรที่มีคุณธรรมคือศีลเป็นต้น
สหาย หมายถึงเพื่อนร่วมงานที่ดี
เพื่อนดี หมายถึงเพื่อนที่รักใคร่ สนิทสนมรู้ใจกัน ซื่อสัตย์ต่อกัน (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๗/๓๒๒)
๓ เป็นสัปปายะแห่งความเป็นไปของจิต หมายถึงเป็นที่สบายและเป็นอุปการะแก่การชักนำจิตเข้าสู่สมถะ
และวิปัสสนา (องฺ.นวก.อ. ๓/๑/๒๘๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.สัมโพธิวรรค ๑.สัมโพธิสูตร
สีลกถา(เรื่องศีล) สมาธิกถา(เรื่องสมาธิ) ปัญญากถา(เรื่องปัญญา)
วิมุตติกถา(เรื่องวิมุตติ) วิมุตติญาณทัสสนกถา(เรื่องความรู้ความเห็น
ในวิมุตติ) ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
นี้เป็นเหตุประการที่ ๓ แห่งการเจริญธรรมที่เป็นฝ่ายแห่งสัมโพธิ
๔. ภิกษุเป็นผู้ปรารภความเพียร๑ เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรม
เกิด มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม
ทั้งหลาย นี้เป็นเหตุประการที่ ๔ แห่งการเจริญธรรมที่เป็นฝ่าย
แห่งสัมโพธิ
๕. ภิกษุเป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา
เห็นทั้งความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลสให้ถึงความ
สิ้นทุกข์โดยชอบ นี้เป็นเหตุประการที่ ๕ แห่งการเจริญธรรมที่เป็น
ฝ่ายแห่งสัมโพธิ
ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี พึงหวังได้ข้อนี้ คือ จักเป็นผู้มีศีล สำรวม
ด้วยการสังวรในปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วยอาจาระและโคจรอยู่ มีปกติเห็นภัยในโทษ
แม้เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี พึงหวังได้ข้อนี้ คือ จักเป็นผู้ได้กถา
เป็นเครื่องขัดเกลาอย่างยิ่ง ที่เป็นสัปปายะแห่งความเป็นไปของจิต คือ อัปปิจฉกถา
สันตุฏฐิกถา ปวิเวกกถา อสังสัคคกถา วิริยารัมภกถา สีลกถา สมาธิกถา
ปัญญากถา วิมุตติกถา วิมุตติญาณทัสสนกถา ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก
ได้โดยไม่ลำบาก
ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี พึงหวังได้ข้อนี้ คือ จักเป็นผู้ปรารภ
ความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรมเกิด มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่น
มั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย

เชิงอรรถ :
๑ ปรารภความเพียร หมายถึงประกอบความเพียรในสัมมัปปธาน (สารตฺถ.ฏีกา ๓/๘๔/๒๙๒) อีกนัยหนึ่ง
หมายถึงระดมความเพียรเต็มที่ (สารตฺถ.ฏีกา ๓/๒๔๓/๓๕๑) และดู องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๑/๑๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.สัมโพธิวรรค ๑.สัมโพธิสูตร
ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี พึงหวังได้ข้อนี้ คือ จักเป็นผู้มีปัญญา คือ
ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ
ชำแรกกิเลสให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นดำรงอยู่ในธรรม ๕ ประการนี้แล้ว พึงเจริญธรรม
๔ ประการให้ยิ่งขึ้นไป คือ
๑. พึงเจริญอสุภะเพื่อละราคะ๑
๒. พึงเจริญเมตตาเพื่อละพยาบาท๒
๓. พึงเจริญอานาปานสติเพื่อตัดวิตก๓
๔. พึงเจริญอนิจจสัญญาเพื่อถอนอัสมิมานะ๔
ภิกษุทั้งหลาย อนัตตสัญญาย่อมปรากฏแก่ภิกษุผู้ได้อนิจจสัญญา ภิกษุผู้ได้
อนัตตสัญญา ย่อมบรรลุนิพพานที่ถอนอัสมิมานะได้ในปัจจุบัน
สัมโพธิสูตรที่ ๑ จบ

เชิงอรรถ :
๑ เจริญอสุภะเพื่อละราคะ หมายถึงเจริญอสุภกัมมัฏฐานเพื่อข่มกามราคะที่เกิดขึ้นเพราะความประมาท
ขาดสติสังวรไม่รู้เท่าทันเป็นเบื้องต้น จากนั้นจึงเริ่มบำเพ็ญวิปัสสนาต่อไป เปรียบเทียบได้กับกระบวนการ
ของการเกี่ยวข้าว คือ ขณะที่ชาวนาเกี่ยวข้าวอยู่นั้นมีฝูงโคทำลายรั้วเข้ามาในนาได้ ชาวนาจำต้องวางเคียว
ไว้ก่อน แล้วถือไม้เรียวไปไล่ฝูงโคออกไปแล้วกลับมาซ่อมรั้วให้ดี จากนั้นจึงถือเคียวเกี่ยวข้าวต่อ ผู้บำเพ็ญ
เพียรเหมือนชาวนา ปัญญาเหมือนเคียว เวลาบำเพ็ญเหมือนเวลาเกี่ยวข้าว อสุภกัมมัฏฐานเหมือนไม้เรียว
สติสังวรเหมือนรั้ว ราคะเหมือนฝูงโค (องฺ.นวก.อ. ๓/๑/๒๘๕)
๒ เจริญเมตตาเพื่อละพยาบาท หมายถึงเจริญเมตตากัมมัฏฐานเพื่อละความโกรธที่เกิดขึ้น (องฺ.นวก.อ.
๓/๑/๒๘๖)
๓ ดู ม.ม. ๑๓/๑๔๑/๙๕-๙๖, ม.อุ. ๑๔/๑๔๗/๑๓๐-๑๓๑, สํ.ม. ๑๙/๙๗๗/๒๖๙, องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๖/
๑๓๑-๑๓๒)
๔ อัสมิมานะ หมายถึงมานะ (ความถือตัวเป็นอย่างนั้นอย่างนี้) ๙ ประการ คือ (๑) เป็นผู้เลิศกว่าเขา
ถือตัวว่าเลิศกว่าเขา (๒) เป็นผู้เลิศกว่าเขา ถือตัวว่าเสมอเขา (๓) เป็นผู้เลิศกว่าเขา ถือตัวว่าด้อยกว่าเขา
(๔) เป็นผู้เสมอเขา ถือตัวว่าเลิศกว่าเขา (๕) เป็นผู้เสมอเขา ถือตัวว่าเสมอเขา (๖) เป็นผู้เสมอเขา ถือตัว
ว่าด้อยกว่าเขา (๗) เป็นผู้ด้อยกว่าเขา ถือตัวว่าเลิศกว่าเขา (๘) เป็นผู้ด้อยกว่าเขา ถือตัวว่าเสมอเขา
(๙) เป็นผู้ด้อยกว่าเขา ถือตัวว่าด้อยกว่าเขา (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๓๘/๓๓๙, องฺ.นวก.อ. ๓/๑/๒๘๖) และดู
อภิ.สงฺ. (แปล) ๓๔/๑๒๓๙/๓๑๔, อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๘๓๒/๕๓๖,๘๖๖-๘๗๗/๕๕๔-๕๕๘,๙๖๒/๖๑๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.สัมโพธิวรรค ๒.นิสสยสูตร
๒. นิสสยสูตร
ว่าด้วยนิสสัย
[๒] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลที่เรียกกันว่า ‘ผู้ถึงพร้อมด้วยนิสสัย๑ ผู้ถึงพร้อม
ด้วยนิสสัย’ ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยนิสสัย ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
๑. ถ้าภิกษุอาศัยศรัทธาแล้ว ละอกุศล เจริญกุศลได้ อกุศลนั้นย่อม
เป็นอันเธอละได้แน่แท้
๒. ถ้าภิกษุอาศัยหิริ ฯลฯ
๓. ถ้าภิกษุอาศัยโอตตัปปะ ฯลฯ
๔. ถ้าภิกษุอาศัยวิริยะ ฯลฯ
๕. ถ้าภิกษุอาศัยปัญญาแล้ว ละอกุศล เจริญกุศลได้ อกุศลนั้นย่อม
เป็นอันเธอละได้แน่แท้ อกุศลที่ภิกษุละได้แล้วเพราะเห็นด้วยปัญญา
อันเป็นอริยะ๒ เป็นอันภิกษุนั้นละได้แล้ว ละได้ดีแล้ว
ภิกษุนั้นดำรงอยู่ในธรรม ๕ ประการแล้ว พึงอาศัยธรรม ๔ ประการอยู่
ธรรม ๔ ประการ๓ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาแล้วเสพ
๒. พิจารณาแล้วอดกลั้น

เชิงอรรถ :
๑ นิสสัย ในที่นี้หมายถึงที่พึ่ง (องฺ.นวก.อ. ๓/๒/๒๘๖)
๒ ปัญญาอันเป็นอริยะ หมายถึงปัญญาในอริยมรรคพร้อมทั้งวิปัสสนา (องฺ.นวก.อ. ๓/๒/๒๘๖)
๓ พิจารณาแล้วเสพ หมายถึงพิจารณาแล้วเสพปัจจัย ๔ มีจีวรเป็นต้น
พิจารณาแล้วอดกลั้น หมายถึงพิจารณาแล้วอดกลั้นต่อความหนาวเป็นต้น
พิจารณาแล้วเว้น หมายถึงพิจารณาแล้วเว้นช้างดุร้าย หรือคนพาลเป็นต้น
พิจารณาแล้วบรรเทา หมายถึงพิจารณาแล้วบรรเทาอกุศลวิตก มีกามวิตก เป็นต้น ดู ที.ปา. ๑๑/๓๐๘/
๒๐๐, องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๒๐/๔๐, ที.ปา.อ. ๓๐๘/๒๐๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.สัมโพธิวรรค ๓.เมฆิยสูตร
๓. พิจารณาแล้วเว้น
๔. พิจารณาแล้วบรรเทา
ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยนิสสัย เป็นอย่างนี้แล”
นิสสยสูตรที่ ๒ จบ

๓. เมฆิยสูตร
ว่าด้วยพระเมฆิยะ๑
[๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ จาลิกาบรรพต๒ เขตเมือง
จาลิกา สมัยนั้น ท่านพระเมฆิยะเป็นอุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาค๓ ครั้งนั้นแล
ท่านพระเมฆิยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วยืน ณ
ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์
ปรารถนาจะเข้าไปยังชันตุคามเพื่อบิณฑบาต” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เมฆิยะ เธอจง
กำหนดเวลาที่ควร ณ บัดนี้เถิด”
ครั้นเวลาเช้า ท่านพระเมฆิยะครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไปยัง
ชันตุคามเพื่อบิณฑบาต กลับจากบิณฑบาต หลังจากฉันอาหารเสร็จแล้ว เดินไป
ตามฝั่งแม่น้ำกิมิกาฬา ขณะที่เที่ยวเดินพักผ่อน อยู่ที่ฝั่งแม่น้ำกิมิกาฬานั้น ได้เห็น
ป่ามะม่วงที่งดงาม น่ารื่นรมย์ จึงมีความคิดดังนี้ว่า “ป่ามะม่วงนี้ช่างงดงาม
น่ารื่นรมย์จริง เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียรของกุลบุตรผู้ต้องการบำเพ็ญเพียร ถ้าพระ
ผู้มีพระภาคทรงอนุญาตเรา เราจะกลับมาบำเพ็ญเพียร ในป่ามะม่วงนี้”

เชิงอรรถ :
๑ ดู ขุ.อุ. ๒๕/๓๑/๑๓๙
๒ ที่ชื่อว่า จาลิกา เพราะเป็นภูเขาที่ปรากฏแก่ผู้แลดูในวันอุโบสถข้างแรม(กาฬปักษ์) ว่าเหมือนกับกำลังเคลื่อนไหว
ทั้งนี้เนื่องจากภูเขานี้มีสีขาวล้วนทั้งลูกซึ่งตัดกับความมืดในเวลากลางคืน (องฺ.นวก.อ. ๓/๓/๒๘๖-๒๘๗)
๓ พระเมฆิยเถระ เป็นพระอุปัฏฐากอีกรูปหนึ่งของพระผู้มีพระภาค เนื่องจากในต้นพุทธกาล (๒๐ พรรษาแรก)
พระผู้มีภาคไม่มีพระอุปัฏฐากประจำ บางคราวได้พระนาคสมาละ บางคราวได้พระนาคิตะ บางคราวได้
พระอุปวาหนะ บางคราวได้พระสุนักขัตตะ บางคราวได้พระสาคตะ บางคราวได้สามเณรจุนทะ (ขุ.อุ.อ.
๓๑/๒๓๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.สัมโพธิวรรค ๓.เมฆิยสูตร
ต่อมา ท่านพระเมฆิยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ขอประทานวโรกาส เมื่อเช้านี้ ข้าพระองค์ครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร
เข้าไปยังชันตุคามเพื่อบิณฑบาต กลับจากบิณฑบาต ภายหลังฉันอาหารเสร็จแล้ว
เดินไปตามฝั่งแม่น้ำกิมิกาฬา ขณะที่เที่ยวเดินพักผ่อนอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำกิมิกาฬา ได้เห็น
ป่ามะม่วงที่งดงาม น่ารื่นรมย์ จึงมีความคิดดังนี้ว่า ‘ป่ามะม่วงนี้ช่างงดงาม น่า
รื่นรมย์จริง เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียรสำหรับกุลบุตรผู้ต้องการบำเพ็ญเพียรโดยแท้
ถ้าพระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตเรา เราจะกลับมาบำเพ็ญเพียรในป่ามะม่วงนี้’
ถ้าพระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตข้าพระองค์ ข้าพระองค์จะกลับไปบำเพ็ญเพียรในป่า
มะม่วงนั้น”
เมื่อท่านพระเมฆิยะกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสกับท่านดัง
นี้ว่า “เมฆิยะ เราอยู่คนเดียว เธอจงรอจนกว่าภิกษุรูปอื่นจะมา”๑
แม้ครั้งที่ ๒ ท่านพระเมฆิยะก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคไม่ทรงมีกิจที่จะต้องทำให้ยิ่งขึ้นไปอีก๒ ทั้งไม่มีการ
สั่งสมกิจที่ทำแล้ว๓ ส่วนข้าพระองค์ยังมีกิจที่จะต้องทำให้ยิ่งขึ้นไปอีก ทั้งยังต้องสั่งสม
กิจที่ทำแล้ว ถ้าพระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตข้าพระองค์ ข้าพระองค์จะกลับไป
บำเพ็ญเพียรในป่ามะม่วงนั้น”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เมฆิยะ เราอยู่คนเดียว เธอจงรอจนกว่าภิกษุรูปอื่น
จะมา”

เชิงอรรถ :
๑ นัยว่าพระดำรัสนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสด้วยพระประสงค์ที่จะประวิงเวลารอให้จิตของท่านพระเมฆิยะอ่อน
โยนเหมาะแก่การบำเพ็ญเพียร (องฺ.นวก.อ. ๓/๓/๒๘๗)
๒ ไม่มีกิจที่จะต้องทำให้ยิ่งขึ้นไปอีก ในที่นี้หมายถึงไม่มีกิจ ๔ อย่างในอริยสัจ ๔ ประการ กิจ ๔ อย่างนั้น
คือ ปริญญากิจ (หน้าที่กำหนดรู้ทุกข์) ปหานกิจ (หน้าที่ละเหตุเกิดทุกข์) สัจฉิกิริยากิจ (หน้าที่ทำให้แจ้ง
ความดับทุกข์) และภาวนากิจ (หน้าที่อบรมมรรคมีองค์ ๘ ให้เจริญ) (องฺ.นวก.อ. ๓/๓/๒๘๗, องฺ.ฉกฺก.ฏีกา
๓/๔๙/๑๔๑, ที.สี.อ. ๑/๒๔๘/๒๐๓)
๓ ไม่มีการสั่งสมกิจที่ทำแล้ว ในที่นี้หมายถึงไม่ต้องเพิ่มพูนกุศลธรรมและอกุศลธรรมที่เคยทำมาก่อน
อีกนัยหนึ่ง หมายถึงไม่ต้องเจริญมรรคที่เจริญได้แล้ว และไม่ต้องละกิเลสที่ละได้แล้วอีก (องฺ.นวก.อ. ๓/๓/
๒๘๗, ขุ.เถร.อ. ๖๔๔/๒๖๒) และดู องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๕๕/๕๓๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.สัมโพธิวรรค ๓.เมฆิยสูตร
แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระเมฆิยะก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคไม่ทรงมีกิจที่จะต้องทำให้ยิ่งขึ้นไปอีก ทั้งไม่มีการ
สั่งสมกิจที่ทำแล้ว ส่วนข้าพระองค์ยังมีกิจที่จะต้องทำให้ยิ่งขึ้นไปอีก ทั้งยังต้องสั่ง
สมกิจที่ทำแล้ว ถ้าพระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตข้าพระองค์ ข้าพระองค์จะกลับไป
บำเพ็ญเพียรในป่ามะม่วงนั้น”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เมฆิยะ เมื่อเธอพูดว่า ‘จะไปบำเพ็ญเพียร’ เราจะพึง
ว่าอะไร เธอจงกำหนดเวลาที่สมควร ณ บัดนี้เถิด” ลำดับนั้น ท่านพระเมฆิยะ
ลุกจากที่นั่ง ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้วเข้าไปยังป่ามะม่วงนั้น
อาศัยป่ามะม่วงนั้น นั่งพักกลางวันอยู่ ณ โคนไม้มะม่วงต้นหนึ่ง เมื่อท่านพักอยู่
ในป่ามะม่วงนั้น บาปอกุศลวิตก ๓ ประการ คือ กามวิตก(ความตรึกในทางกาม)
พยาปาทวิตก(ความตรึกในทางพยาบาท) วิหิงสาวิตก(ความตรึกในทางเบียดเบียน)
เกิดขึ้นโดยมาก
ครั้งนั้นแล ท่านพระเมฆิยะได้มีความคิดดังนี้ว่า “น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคย
ปรากฏ เราออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธาแท้ ๆ แต่กระนั้นก็ยังถูกบาป
อกุศลวิตก ๓ ประการ คือ กามวิตก พยาปาทวิตก วิหิงสาวิตกรุมเร้าจิตได้”
ต่อมา ท่านพระเมฆิยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส เมื่อข้าพระองค์อยู่ในป่ามะม่วงนั้น
บาปอกุศลวิตก ๓ ประการ คือ กามวิตก พยาปาทวิตก วิหิงสาวิตกเกิดขึ้น
โดยมาก ข้าพระองค์จึงมีความคิดดังนี้ว่า ‘น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ เราออก
จากเรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธาแท้ ๆ แต่กระนั้นก็ยังถูกบาปอกุศลวิตก
๓ ประการ คือ กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตกรุมเร้าจิตได้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เมฆิยะ ธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความ
แก่กล้าแห่งเจโตวิมุตติที่ยังไม่แก่กล้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๓๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.สัมโพธิวรรค ๓.เมฆิยสูตร
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี นี้เป็นธรรม
ประการที่ ๑ ที่เป็นไปเพื่อความแก่กล้าแห่งเจโตวิมุตติที่ยังไม่แก่กล้า
๒. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์
เพียบพร้อมด้วยอาจาระและโคจรอยู่ มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย นี้เป็นธรรมประการที่ ๒
ที่เป็นไปเพื่อความแก่กล้าแห่งเจโตวิมุตติที่ยังไม่แก่กล้า
๓. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ได้กถาเป็นเครื่องขัดเกลาอย่างยิ่ง ที่เป็น
สัปปายะแห่งความเป็นไปของจิต คือ อัปปิจฉกถา สันตุฏฐิกถา
ปวิเวกกถา อสังสัคคกถา วิริยารัมภกถา สีลกถา สมาธิกถา
ปัญญากถา วิมุตติกถา วิมุตติญาณทัสสนกถา ตามความปรารถนา
ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก นี้เป็นธรรมประการที่ ๓ ที่เป็นไป
เพื่อความแก่กล้าแห่งเจโตวิมุตติที่ยังไม่แก่กล้า
๔. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เพื่อ
ให้กุศลธรรมเกิด เป็นผู้มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง
ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย นี้เป็นธรรมประการที่ ๔ ที่เป็นไป
เพื่อความแก่กล้าแห่งเจโตวิมุตติที่ยังไม่แก่กล้า
๕. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาเป็น
เครื่องพิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ ชำแรก
กิเลสให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ นี้เป็นธรรมประการที่ ๕ ที่เป็นไป
เพื่อความแก่กล้าแห่งเจโตวิมุตติที่ยังไม่แก่กล้า
ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี พึงหวังได้ข้อนี้ คือ จักเป็นผู้มีศีล ฯลฯ
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี พึงหวังได้ข้อนี้ คือ จักเป็นผู้ได้กถา
เป็นเครื่องขัดเกลาอย่างยิ่ง ที่เป็นสัปปายะแห่งความเป็นไปของจิต คือ อัปปิจฉกถา
ฯลฯ วิมุตติญาณทัสสนกถา ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.สัมโพธิวรรค ๔.นันทกสูตร
ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี พึงหวังได้ข้อนี้ คือ จักเป็นผู้ปรารภ
ความเพียร ฯลฯ ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย
ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี พึงหวังได้ข้อนี้ คือ จักเป็นผู้มีปัญญา ฯลฯ
ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ
เมฆิยะ ภิกษุนั้นดำรงอยู่ในธรรม ๕ ประการนี้แล้ว พึงเจริญธรรม ๔ ประการ
ให้ยิ่งขึ้นไป คือ
๑. พึงเจริญอสุภะเพื่อละราคะ
๒. พึงเจริญเมตตาเพื่อละพยาบาท
๓. พึงเจริญอานาปานสติเพื่อตัดวิตก
๔. พึงเจริญอนิจจสัญญาเพื่อถอนอัสมิมานะ
เมฆิยะ อนัตตสัญญาย่อมปรากฏแก่ภิกษุผู้ได้อนิจจสัญญา ภิกษุผู้ได้อนัตตสัญญา
ย่อมบรรลุนิพพานที่ถอนอัสมิมานะได้ในปัจจุบัน”
เมฆิยสูตรที่ ๓ จบ

๔. นันทกสูตร
ว่าด้วยพระนันทกะแสดงธรรม
[๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ท่านพระนันทกะชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลาย
เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจ
ให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาในหอฉัน
ครั้นเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้น เข้าไปยังหอฉัน
ได้ประทับยืนรอที่ซุ้มประตูด้านนอกจนจบกถา ทรงทราบว่าจบกถาแล้ว ทรงกระแอม
แล้วเคาะที่บานประตู ภิกษุเหล่านั้นเปิดประตูถวายพระผู้มีพระภาคแล้ว
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปยังหอฉัน ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้
ตรัสกับท่านพระนันทกะดังนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.สัมโพธิวรรค ๔.นันทกสูตร
“นันทกะ ธรรมบรรยาย๑ที่เธอแสดงแก่ภิกษุทั้งหลายนี้ยาวจริงนะ แม้เราคอย
ฟังอยู่ที่ซุ้มประตูด้านนอกจนจบกถา ก็ยังรู้สึกเมื่อยหลัง”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระนันทกะรู้สึกกระดากใจ ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่ทราบเลยว่า ‘พระผู้มี
พระภาคประทับยืนรอที่ซุ้มประตูด้านนอก ถ้าข้าพระองค์รู้ ก็จะแสดงไม่ได้ถึงเพียงนี้”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่าท่านพระนันทกะกำลังกระดากใจ จึง
ตรัสกับท่านดังนี้ว่า “ดีละ ดีละ นันทกะ การที่เธอทั้งหลายผู้เป็นกุลบุตรออกจาก
เรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา นั่งประชุมกันทำกิจ ๒ อย่าง คือ ธรรมีกถา
หรือความเป็นผู้นิ่งอย่างพระอริยะ นันทกะ ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา แต่ไม่มีศีล เธอชื่อ
ว่าเป็นผู้ไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้นอย่างนี้ เธอพึงบำเพ็ญองค์นั้นให้บริบูรณ์ด้วยคิดว่า
‘ทางที่ดี เราควรเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล’ เมื่อใด ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธาและมีศีล
เมื่อนั้น เธอจึงชื่อว่าเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยองค์นั้นอย่างนี้
ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธาและมีศีล แต่ไม่ได้เจโตสมาธิภายใน เธอชื่อว่าเป็นผู้ไม่
บริบูรณ์ด้วยองค์นั้นอย่างนี้ เธอพึงบำเพ็ญองค์นั้นให้บริบูรณ์ด้วยคิดว่า ‘ทางที่ดี
เราควรเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล และได้เจโตสมาธิภายใน’ เมื่อใด ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา
มีศีล และได้เจโตสมาธิภายใน เมื่อนั้น เธอจึงชื่อว่าเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยองค์นั้นอย่างนี้
ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล และได้เจโตสมาธิภายใน แต่ไม่ได้ความเห็นแจ้งธรรม
ด้วยปัญญาอันยิ่ง เธอชื่อว่าเป็นผู้ไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น อย่างนี้ นันทกะ สัตว์สี่เท้า
แต่เท้าข้างหนึ่งของมันบกพร่องพิการ มันชื่อว่าเป็นผู้ไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น อย่างนี้
แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้มีศรัทธา มีศีล และได้เจโตสมาธิภายใน
แต่ไม่ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง เธอชื่อว่าเป็นผู้ไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น
อย่างนี้ เธอพึงบำเพ็ญองค์นั้นให้บริบูรณ์ด้วยคิดว่า ‘ทางที่ดี เราควรเป็นผู้มีศรัทธา
มีศีล ได้เจโตสมาธิภายใน และได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง’ เมื่อใด
ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล ได้เจโตสมาธิภายใน และได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วย
ปัญญาอันยิ่ง เมื่อนั้น เธอจึงชื่อว่าเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยองค์นั้นอย่างนี้”



เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ สัตตกนิบาตข้อ ๕๑ หน้า ๘๕ ในเล่มนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.สัมโพธิวรรค ๔.นันทกสูตร
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงเสด็จลุกจากอาสนะ
เข้าไปยังพระวิหาร
ครั้งนั้นแล เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จหลีกไปแล้วไม่นาน ท่านพระนันทกะ
จึงเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย บัดนี้ พระผู้มีพระภาคทรง
ประกาศพรหมจรรย์๑ที่บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วนด้วยบท ๔ ประการแล้ว เสด็จลุก
จากอาสนะเข้าไปยังพระวิหาร พระองค์ตรัสว่า
‘นันทกะ ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา แต่ไม่มีศีล เธอชื่อว่าเป็นผู้ไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น
อย่างนี้ เธอพึงบำเพ็ญองค์นั้นให้บริบูรณ์ด้วยคิดว่า ‘ทางที่ดี เราควรเป็นผู้มีศรัทธา
มีศีล’ เมื่อใด ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธาและมีศีล เมื่อนั้น เธอจึงชื่อว่าเป็นผู้บริบูรณ์ด้วย
องค์นั้นอย่างนี้
ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธาและมีศีล แต่ไม่ได้เจโตสมาธิภายใน ฯลฯ ได้เจโตสมาธิ
ภายใน แต่ไม่ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง เธอชื่อว่าเป็นผู้ไม่บริบูรณ์ด้วย
องค์นั้นอย่างนี้ นันทกะ สัตว์สี่เท้าแต่เท้าข้างหนึ่งของมันบกพร่องพิการ มันชื่อว่า
เป็นผู้ไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น อย่างนี้ แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้มี
ศรัทธา มีศีล และได้เจโตสมาธิภายใน แต่ไม่ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญา
อันยิ่ง เธอชื่อว่าเป็นผู้ไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น อย่างนี้ เธอพึงบำเพ็ญองค์นั้นให้
บริบูรณ์ด้วยคิดว่า ‘ทางที่ดี เราควรเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล ได้เจโตสมาธิภายใน
และได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง’ เมื่อใด ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล
ได้เจโตสมาธิภายใน และได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง เมื่อนั้น เธอจึง
ชื่อว่าเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยองค์นั้นอย่างนี้’
ผู้มีอายุทั้งหลาย อานิสงส์ในการฟังธรรมตามกาลและการสนทนาธรรม
ตามกาล ๕ ประการนี้


เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๒ สัตตกนิบาตข้อ ๖ หน้า ๑๑ ในเล่มนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.สัมโพธิวรรค ๔.นันทกสูตร
อานิสงส์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้แสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงาม
ในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อม
ทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วนแก่ภิกษุทั้งหลาย
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความ
งามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์
พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วนแก่ภิกษุ
ทั้งหลายโดยวิธีใด ๆ ภิกษุนั้นย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่
เคารพ และเป็นที่ยกย่องของพระศาสดาโดยวิธีนั้น ๆ นี้เป็นอานิสงส์
ประการที่ ๑ ในการฟังธรรมตามกาลและการสนทนาธรรมตามกาล
๒. ภิกษุในธรรมวินัยนี้แสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงาม
ในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้ง
อรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วนแก่ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น ฯลฯ ประกาศพรหมจรรย์ ฯลฯ
แก่ภิกษุทั้งหลายโดยวิธีใด ๆ ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้รู้อรรถและรู้ธรรม
ในธรรมนั้นโดยวิธีนั้น ๆ นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๒ ในการฟัง
ธรรมตามกาลและการสนทนาธรรมตามกาล
๓. ภิกษุในธรรมวินัยนี้แสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงาม
ในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้ง
อรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วนแก่ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น ฯลฯ ประกาศพรหมจรรย์
ฯลฯ แก่ภิกษุทั้งหลายโดยวิธีใด ๆ ภิกษุนั้นย่อมเห็นแจ้งบทที่ลึกซึ้ง
ในธรรมนั้นด้วยปัญญา๑ นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๓ ในการฟังธรรม
ตามกาลและการสนทนาธรรมตามกาล

เชิงอรรถ :
๑ ปัญญา ในที่นี้หมายถึงมัคคปัญญาพร้อมทั้งวิปัสสนา ปัญญาเกี่ยวกับการพิจารณาและการรู้แจ้ง หรือ
ปัญญาที่เกี่ยวกับการเรียนและการสอบถาม (องฺ.นวก.อ. ๓/๔/๒๘๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๓๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.สัมโพธิวรรค ๕.พลสูตร
๔. ภิกษุในธรรมวินัยนี้แสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงาม
ในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้ง
อรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วนแก่ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น ฯลฯ ประกาศพรหมจรรย์
ฯลฯ แก่ภิกษุทั้งหลายโดยวิธีใด ๆ เพื่อนพรหมจารีทั้งหลายย่อม
ยกย่องเธออย่างยิ่งว่า ‘ท่านผู้นี้ได้บรรลุแล้ว หรือกำลังบรรลุแน่แท้’
นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๔ ในการฟังธรรมตามกาลและการสนทนา
ธรรมตามกาล
๕. ภิกษุในธรรมวินัยนี้แสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงาม
ในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อม
ทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วนแก่ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง
และมีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและ
พยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วนแก่ภิกษุทั้งหลายโดยวิธีใด ๆ
บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุเหล่าใดเป็นเสขะ มีใจยังไม่บรรลุ๑
ปรารถนาธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมอยู่ ภิกษุ
เหล่านั้นฟังธรรมนั้นแล้ว ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง
เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง
โดยวิธีนั้น ๆ ส่วนภิกษุเหล่าใดเป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว๒ บรรลุ
ประโยชน์ตน๓โดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว๔ หลุดพ้นแล้ว

เชิงอรรถ :
๑ ไม่บรรลุ ในที่นี้หมายถึงไม่บรรลุอรหัตตผล (องฺ.นวก.อ. ๓/๔/๒๘๙)
๒ ปลงภาระได้แล้ว ในที่นี้หมายถึงละขันธภาระ กิเลสภาระ และอภิสังขารภาระได้ (องฺ.ติก.อ. ๒/๓๘/๑๓๙)
๓ บรรลุประโยชน์ตน ในที่นี้หมายถึงบรรลุอรหัตตผล (องฺ.ติก.อ. ๒/๓๘/๑๓๙)
๔ สิ้นภวสังโยชน์แล้ว ในที่นี้หมายถึงสิ้นกิเลสที่เป็นเครื่องผูกสัตว์ คร่าสัตว์มาไว้ในภพทั้งหลาย (องฺ.ติก.อ.
๒/๓๘/๑๓๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๓๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.สัมโพธิวรรค ๕.พลสูตร
เพราะรู้โดยชอบ ภิกษุเหล่านั้นฟังธรรมนั้นแล้ว ประกอบธรรมเป็น
เครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน๑อยู่เนือง ๆ นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๕
ในการฟังธรรมตามกาลและการสนทนาธรรมตามกาล
ผู้มีอายุทั้งหลาย อานิสงส์ในการฟังธรรมตามกาลและการสนทนาธรรมตาม
กาล ๕ ประการนี้แล”
นันทกสูตรที่ ๔ จบ

๕. พลสูตร
ว่าด้วยพละ
[๕] ภิกษุทั้งหลาย พละ ๔ ประการนี้
พละ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ปัญญาพละ (กำลังคือปัญญา)
๒. วิริยพละ (กำลังคือความเพียร)
๓. อนวัชชพละ (กำลังคือกรรมที่ไม่มีโทษ)
๔. สังคหพละ (กำลังคือการสงเคราะห์)
ปัญญาพละ เป็นอย่างไร
คือ ธรรมเหล่าใดเป็นกุศล นับว่าเป็นกุศล ธรรมเหล่าใดเป็นอกุศล นับว่าเป็น
อกุศล ธรรมเหล่าใดเป็นธรรมมีโทษ นับว่าเป็นธรรมมีโทษ ธรรมเหล่าใดเป็นธรรม
ไม่มีโทษ นับว่าเป็นธรรมไม่มีโทษ ธรรมเหล่าใดเป็นธรรมดำ นับว่าเป็นธรรมดำ
ธรรมเหล่าใดเป็นธรรมขาว นับว่าเป็นธรรมขาว ธรรมเหล่าใดเป็นธรรมที่ควรเสพ
นับว่าเป็นธรรมที่ควรเสพ ธรรมเหล่าใดเป็นธรรมที่ไม่ควรเสพ นับว่าเป็นธรรมที่
ไม่ควรเสพ ธรรมเหล่าใดเป็นธรรมที่ไม่สามารถทำความเป็นอริยะ นับว่าเป็นธรรม
ที่ไม่สามารถทำความเป็นอริยะ ธรรมเหล่าใดเป็นธรรมสามารถทำความเป็นอริยะ
นับว่าเป็นธรรมสามารถทำความเป็นอริยะ ธรรมเหล่านั้นแลเป็นธรรมที่บุคคลเห็น
ได้ด้วยดี พิจารณาแล้วด้วยปัญญา นี้เรียกว่า ปัญญาพละ

เชิงอรรถ :
๑ ธรรมที่เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน หมายถึงธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันทั้งที่เป็นโลกิยะ และ
เป็นโลกุตตระ (องฺ.นวก.อ. ๓/๔/๒๘๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๓๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.สัมโพธิวรรค ๕.พลสูตร
วิริยพละ เป็นอย่างไร
คือ ธรรมเหล่าใดเป็นอกุศล นับว่าเป็นอกุศล ธรรมเหล่าใดเป็นธรรมมีโทษ
นับว่าเป็นธรรมมีโทษ ธรรมเหล่าใดเป็นธรรมดำ นับว่าเป็นธรรมดำ ธรรมเหล่าใด
เป็นธรรมที่ไม่ควรเสพ นับว่าเป็นธรรมที่ไม่ควรเสพ ธรรมเหล่าใดเป็นธรรมที่ไม่
สามารถทำความเป็นอริยะ นับว่าเป็นธรรมที่ไม่สามารถทำความเป็นอริยะ บุคคล
สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อละธรรมเหล่านั้น
ธรรมเหล่าใดเป็นกุศล นับว่าเป็นกุศล ธรรมเหล่าใดเป็นธรรมไม่มีโทษ นับว่าเป็น
ธรรมไม่มีโทษ ธรรมเหล่าใดเป็นธรรมขาว นับว่าเป็นธรรมขาว ธรรมเหล่าใดเป็น
ธรรมที่ควรเสพ นับว่าเป็นธรรมที่ควรเสพ ธรรมเหล่าใดเป็นธรรมที่สามารถทำ
ความเป็นอริยะ นับว่าเป็นธรรมที่สามารถทำความเป็นอริยะ บุคคลสร้างฉันทะ
พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อได้ธรรมเหล่านั้น นี้เรียกว่า
วิริยพละ
อนวัชชพละ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ประกอบด้วยกายกรรมที่ไม่มีโทษ ประกอบ
ด้วยวจีกรรมที่ไม่มีโทษ ประกอบด้วยมโนกรรมที่ไม่มีโทษ นี้เรียกว่า อนวัชชพละ
สังคหพละ เป็นอย่างไร
คือ สังคหวัตถุ(ธรรมเครื่องยึดเหนี่ยว) ๔ ประการนี้๑ ได้แก่ (๑) ทาน (การให้)
(๒) เปยยวัชชะ (วาจาเป็นที่รัก) (๓) อัตถจริยา (การประพฤติประโยชน์) (๔) สมานัตตตา
(การวางตนสม่ำเสมอ) ภิกษุทั้งหลาย การให้ธรรมเลิศกว่าการให้ทั้งหลาย การแสดง
ธรรมบ่อย ๆ แก่บุคคลผู้ต้องการจะฟัง เงี่ยโสตลงสดับเลิศกว่าวาจาเป็นที่รัก
ทั้งหลาย การชักชวนคนที่ไม่มีศรัทธาให้ตั้งมั่น ดำรงมั่นในสัทธาสัมปทา ชักชวน
คนที่ไม่มีศีลให้ตั้งมั่น ดำรงมั่นในสีลสัมปทา ชักชวนคนที่มีความตระหนี่ให้ตั้งมั่น
ดำรงมั่นในจาคสัมปทา ชักชวนคนที่มีปัญญาทรามให้ตั้งมั่น ดำรงมั่นในปัญญา-
สัมปทา เลิศกว่าการประพฤติประโยชน์ทั้งหลาย การที่พระโสดาบันมีตนเสมอกับ


เชิงอรรถ :
๑ ดู ที.ปา. ๑๑/๓๑๓/๒๐๖, องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๓๒/๕๑, ๒๕๖/๓๗๓


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.สัมโพธิวรรค ๕.พลสูตร
พระโสดาบัน พระสกทาคามีมีตนเสมอกับพระสกทาคามี พระอนาคามีมีตนเสมอ
กับพระอนาคามี พระอรหันต์มีตนเสมอกับพระอรหันต์ เลิศกว่าความมีตนเสมอ
ทั้งหลาย นี้เรียกว่า สังคหพละ
ภิกษุทั้งหลาย พละ ๔ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกประกอบด้วยพละ ๔ ประการนี้ ย่อมข้ามพ้นภัย
๕ ประการได้
ภัย ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อาชีวิกภัย (ภัยเนื่องด้วยการเลี้ยงชีพ)
๒. อสิโลกภัย (ภัยคือความเสื่อมเสียชื่อเสียง)
๓. ปริสสารัชชภัย (ภัยคือความครั่นคร้ามในบริษัท)
๔. มรณภัย (ภัยคือความตาย)
๕. ทุคคติภัย (ภัยคือทุคติ)
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เราไม่กลัวอาชีวิกภัย เราจัก
กลัวอาชีวิกภัยไปทำไม เรามีพละ ๔ ประการ คือ (๑) ปัญญาพละ (๒) วิริยพละ
(๓) อนวัชชพละ (๔) สังคหพละ คนมีปัญญาทรามพึงกลัวอาชีวิกภัย คนเกียจคร้าน
พึงกลัวอาชีวิกภัย คนมีการงานทางกายที่มีโทษ มีการงานทางวาจาที่มีโทษ และมี
การงานทางใจที่มีโทษพึงกลัวอาชีวิกภัย คนผู้ไม่สงเคราะห์ใคร ๆ พึงกลัวอาชีวิกภัย
เราไม่กลัวอสิโลกภัย ฯลฯ
เราไม่กลัวปริสสารัชชภัย ฯลฯ
เราไม่กลัวมรณภัย ฯลฯ
เราไม่กลัวทุคคติภัย เราจักกลัวทุคคติภัยไปทำไม เรามีพละ ๔ ประการ คือ
(๑) ปัญญาพละ (๒) วิริยพละ (๓) อนวัชชพละ (๔) สังคหพละ คนมีปัญญาทราม
พึงกลัวทุคคติภัย คนเกียจคร้านพึงกลัวทุคคติภัย คนมีการงานทางกายที่มีโทษ
มีการงานทางวาจาที่มีโทษ และมีการงานทางใจที่มีโทษพึงกลัวทุคคติภัย คนผู้ไม่
สงเคราะห์ใคร ๆ พึงกลัวทุคคติภัย’
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกประกอบด้วยพละ ๔ ประการนี้แล ย่อมข้ามพ้นภัย
๕ ประการนี้ได้
พลสูตรที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๔๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.สัมโพธิวรรค ๖.เสวนาสูตร
๖. เสวนาสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ควรเสพและไม่ควรเสพ๑
[๖] ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ฯลฯ
ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวดังนี้ว่า
“ผู้มีอายุทั้งหลาย แม้บุคคลก็พึงทราบว่ามี ๒ ประเภท คือ บุคคลที่ควรคบ
และบุคคลที่ไม่ควรคบ แม้จีวรก็พึงทราบว่ามี ๒ อย่าง คือ จีวรที่ควรใช้สอย และจีวร
ที่ไม่ควรใช้สอย แม้บิณฑบาตก็พึงทราบว่ามี ๒ อย่าง คือ บิณฑบาตที่ควรฉัน และ
บิณฑบาตที่ไม่ควรฉัน แม้เสนาสนะก็พึงทราบว่ามี ๒ อย่าง คือเสนาสนะที่ควรอยู่
อาศัย และเสนาสนะที่ไม่ควรอยู่อาศัย แม้บ้านและนิคมก็พึงทราบว่ามี ๒ อย่าง คือ
บ้านและนิคมที่ควรอยู่อาศัย และบ้านและนิคมที่ไม่ควรอยู่อาศัย แม้ชนบทและ
ประเทศก็พึงทราบว่ามี ๒ อย่าง คือ ชนบทและประเทศที่ควรอยู่อาศัย และชนบท
และประเทศที่ไม่ควรอยู่อาศัย
เรากล่าวไว้เช่นนี้แล๒ว่า ‘แม้บุคคลก็พึงทราบว่ามี ๒ ประเภท คือ บุคคล
ที่ควรคบ และบุคคลที่ไม่ควรคบ’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า บรรดาบุคคล ๒ ประเภทนั้น บุคคลใดภิกษุรู้ว่า ‘เมื่อเรา
คบบุคคลนี้แล อกุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น กุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมไป บริขาร
สำหรับชีวิตเหล่าใด คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร
ที่เราผู้เป็นบรรพชิตควรเตรียมไว้ให้พร้อม บริขารสำหรับชีวิตเหล่านั้นย่อมเกิดขึ้น
ได้โดยยาก และประโยชน์คือความเป็นสมณะที่เราออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
ต้องการ ก็ยังไม่ถึงความเจริญเต็มที่’ ภิกษุแม้รู้บุคคลนั้นในเวลากลางคืนหรือกลางวัน
ก็ตาม ก็ไม่ต้องบอกลา จากไปได้ ไม่ควรติดตามบุคคลนั้นไป
บุคคลใดภิกษุรู้ว่า ‘เมื่อเราคบบุคคลนี้แล อกุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น
กุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมไป บริขารสำหรับชีวิตเหล่าใด คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ----------------------------------------

--
๑ ดู องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๕๔/๑๑๖-๑๑๙
๒ ดู องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๖๓/๕๗๑-๕๗๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๔๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.สัมโพธิวรรค ๖.เสวนาสูตร
และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร ที่เราผู้เป็นบรรพชิตควรเตรียมไว้ให้พร้อม บริขาร
สำหรับชีวิตเหล่านั้นย่อมเกิดขึ้นได้โดยยาก และประโยชน์คือความเป็นสมณะที่เรา
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตต้องการ ก็ยังไม่ถึงความเจริญเต็มที่’ ภิกษุแม้รู้
บุคคลนั้น ก็ไม่ต้องบอกลา จากไปได้ ไม่ควรติดตามบุคคลนั้นไป
บุคคลใดภิกษุรู้ว่า ‘เมื่อเราคบบุคคลนี้แล อกุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมไป
กุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น บริขารสำหรับชีวิตเหล่าใด คือ จีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร ที่เราผู้เป็นบรรพชิตควรเตรียมไว้ให้พร้อม
บริขารสำหรับชีวิตเหล่านั้นย่อมเกิดขึ้นได้โดยยาก และประโยชน์คือความเป็นสมณะ
ที่เราออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตต้องการ ก็ยังไม่ถึงความเจริญเต็มที่’ ภิกษุรู้
บุคคลนั้นแล้วควรติดตามบุคคลนั้นไป ไม่ควรจากไป
บุคคลใดภิกษุรู้ว่า ‘เมื่อเราคบบุคคลนี้แล อกุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมไป
กุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น และบริขารสำหรับชีวิตเหล่าใด คือ จีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร ที่เราผู้เป็นบรรพชิตควรเตรียมไว้ให้พร้อม
บริขารสำหรับชีวิตเหล่านั้นย่อมเกิดขึ้นได้โดยยาก และประโยชน์คือความเป็นสมณะ
ที่เราออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตต้องการ ก็ยังไม่ถึงความเจริญเต็มที่’ ภิกษุควร
ติดตามบุคคลนั้นไปจนตลอดชีวิต ไม่พึงจากไป แม้จะถูกขับไล่ก็ตาม
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘แม้บุคคลก็พึงทราบว่ามี ๒ ประเภท คือ บุคคลที่
ควรคบ และบุคคลที่ไม่ควรคบ’
เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘แม้จีวรก็พึงทราบว่ามี ๒ อย่าง คือ จีวรที่ควร
ใช้สอย และจีวรที่ไม่ควรใช้สอย’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า บรรดาจีวร ๒ อย่างนั้น จีวรใดภิกษุรู้ว่า ‘เมื่อเราใช้สอย
จีวรนี้แล อกุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น กุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมไป’ จีวรนี้ไม่ควร
ใช้สอย จีวรใดภิกษุรู้ว่า ‘เมื่อเราใช้สอยจีวรนี้แล อกุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมไป
กุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น’ จีวรนี้ควรใช้สอย
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘แม้จีวรก็พึงทราบว่ามี ๒ อย่าง คือ จีวรที่ใช้ควรสอย
และจีวรที่ไม่ควรใช้สอย’


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๔๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.สัมโพธิวรรค ๖.เสวนาสูตร
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘แม้บิณฑบาตก็พึงทราบว่ามี ๒ อย่าง คือ บิณฑบาต
ที่ควรฉัน และบิณฑบาตที่ไม่ควรฉัน’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า บรรดาบิณฑบาต ๒ อย่างนั้น บิณฑบาตใดภิกษุรู้ว่า
‘เมื่อเราฉันบิณฑบาตนี้แล อกุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น กุศลธรรมทั้งหลาย
เสื่อมไป บิณฑบาตนี้ไม่ควรฉัน บิณฑบาตใดภิกษุรู้ว่า ‘เมื่อเราฉันบิณฑบาตนี้แล
อกุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมไป กุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น’ บิณฑบาตนี้ควรฉัน
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘แม้บิณฑบาตก็พึงทราบว่ามี ๒ อย่าง คือ บิณฑบาต
ที่ควรฉัน และบิณฑบาตที่ไม่ควรฉัน’
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘แม้เสนาสนะก็พึงทราบว่ามี ๒ อย่าง คือ เสนาสนะ
ที่ควรอยู่อาศัย และเสนาสนะที่ไม่ควรอยู่อาศัย’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าว
ไว้เช่นนั้น
เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า บรรดาเสนาสนะ ๒ อย่างนั้น เสนาสนะใดภิกษุรู้ว่า
‘เมื่อเราอยู่อาศัยเสนาสนะนี้แล อกุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น กุศลธรรมทั้งหลาย
เสื่อมไป’ เสนาสนะนี้ไม่ควรอยู่อาศัย เสนาสนะใดภิกษุรู้ว่า ‘เมื่อเราอยู่อาศัย
เสนาสนะนี้แล อกุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมไป กุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น’
เสนาสนะนี้ควรใช้สอย
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘แม้เสนาสนะก็พึงทราบว่ามี ๒ อย่าง คือ เสนาสนะ
ที่ควรอยู่อาศัย และเสนาสนะที่ไม่ควรอยู่อาศัย’
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘แม้บ้านและนิคมก็พึงทราบว่ามี ๒ อย่าง คือ บ้าน
และนิคมที่ควรอยู่อาศัย และบ้านและนิคมที่ไม่ควรอยู่อาศัย’ เพราะอาศัยเหตุอะไร
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า บรรดาบ้านและนิคม ๒ อย่างนั้น บ้านและนิคมใด
ภิกษุรู้ว่า ‘เมื่อเราอยู่อาศัยบ้านและนิคมนี้แล อกุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น
กุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมไป’ บ้านและนิคมนี้ไม่ควรอยู่อาศัย บ้านและนิคมใดภิกษุ
รู้ว่า ‘เมื่อเราอยู่อาศัยบ้านและนิคมนี้แล อกุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมไป กุศลธรรม
ทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น’ บ้านและนิคมนี้ควรอยู่อาศัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๔๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.สัมโพธิวรรค ๗.สุตวาสูตร
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘แม้บ้านและนิคมก็พึงทราบว่ามี ๒ อย่าง คือ บ้าน
และนิคมที่ควรอยู่อาศัย และบ้านและนิคมที่ไม่ควรอยู่อาศัย’
เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘แม้ชนบทและประเทศก็พึงทราบว่ามี ๒ อย่าง
คือ ชนบทและประเทศที่ควรอยู่อาศัย และชนบทและประเทศที่ไม่ควรอยู่อาศัย’
เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
เพราะอาศัยเหตุนั้นว่า บรรดาชนบทและประเทศ ๒ อย่างนั้น ชนบทและ
ประเทศใดภิกษุรู้ว่า ‘เมื่อเราอยู่อาศัยชนบทและประเทศนี้ อกุศลธรรมทั้งหลาย
เจริญยิ่งขึ้น กุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมไป’ ชนบทและประเทศนี้ไม่ควรอยู่อาศัย
ชนบทและประเทศใดภิกษุรู้ว่า ‘เมื่อเราอยู่อาศัยชนบทและประเทศนี้แล อกุศลธรรม
ทั้งหลายเสื่อมไป กุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น’ ชนบทและประเทศนี้ควรอยู่อาศัย
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘แม้ชนบทและประเทศก็พึงทราบว่ามี ๒ อย่าง คือ
ชนบทและประเทศที่ควรอยู่อาศัย และชนบทและประเทศที่ไม่ควรอยู่อาศัย’
เสวนาสูตรที่ ๖ จบ

๗. สุตวาสูตร
ว่าด้วยปริพาชกชื่อสุตวา
[๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุงราชคฤห์
ครั้งนั้น ปริพาชกชื่อสุตวาเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ สนทนาปราศรัยกับ
พระผู้มีพระภาค พอเป็นที่บันเทิงใจพอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้เจริญ สมัยหนึ่ง ข้าพระองค์อยู่ในกรุงราชคฤห์
อันมีชื่อว่าคิริพพชะนี้แล ณ ที่นั้นแล ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์
พระผู้มีพระภาคว่า ‘สุตวา ภิกษุใดเป็นอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.สัมโพธิวรรค ๗.สุตวาสูตร
สิ้นภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุนั้นไม่อาจล่วงละเมิดฐานะ
๕ ประการ๑ได้ คือ
๑. ไม่อาจจงใจปลงชีวิตสัตว์
๒. ไม่อาจถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขามิได้ให้อันเป็นส่วนแห่งความเป็นขโมย
๓. ไม่อาจเสพเมถุนธรรม
๔. ไม่อาจพูดเท็จทั้งที่รู้
๕. ไม่อาจสะสมบริโภคกามเหมือนที่เคยเป็นคฤหัสถ์มาก่อน
คำนี้ข้าพระองค์ได้สดับรับมาจากพระผู้มีพระภาค ใส่ใจทรงจำไว้ได้ถูกต้องดีแล้ว
ไช่ไหม พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สุตวา จริง คำนี้ท่านได้สดับรับมาใส่ใจทรงจำไว้ได้
ถูกต้องดีแล้ว สุตวา คราวก่อนและคราวนี้ เราก็ยังกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ภิกษุใดเป็น
อรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว
บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ
ภิกษุนั้นไม่อาจล่วงละเมิดฐานะ ๙ ประการ คือ
๑. ไม่อาจจงใจปลงชีวิตสัตว์
๒. ไม่อาจถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขามิได้ให้อันเป็นส่วนแห่งความเป็นขโมย
๓. ไม่อาจเสพเมถุนธรรม
๔. ไม่อาจพูดเท็จทั้งที่รู้
๕. ไม่อาจสะสมบริโภคกามเหมือนที่เคยเป็นคฤหัสถ์มาก่อน
๖. ไม่อาจลำเอียงเพราะชอบ
๗. ไม่อาจลำเอียงเพราะชัง
๘. ไม่อาจลำเอียงเพราะหลง
๙. ไม่อาจลำเอียงเพราะกลัว’

เชิงอรรถ :
๑ ดู ที.ปา. ๑๑/๓๑๖/๒๐๙, ม.ม. ๑๓/๒๓๔/๒๑๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.สัมโพธิวรรค ๘.สัชฌาสูตร
สุตวา คราวก่อนและคราวนี้ เราก็ยังกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ภิกษุใดเป็นอรหันต-
ขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุ
ประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุ
นั้นไม่อาจล่วงละเมิดฐานะ ๙ ประการนี้แล”
สุตวาสูตรที่ ๗ จบ

๘. สัชฌสูตร
ว่าด้วยปริพาชกชื่อสัชฌะ
[๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุงราชคฤห์
ครั้งนั้น ปริพาชกชื่อสัชฌะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ สนทนาปราศรัย
กับพระผู้มีพระภาค พอเป็นที่บันเทิงใจพอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้เจริญ สมัยหนึ่ง ข้าพระองค์อยู่ในกรุงราชคฤห์
อันมีชื่อว่าคิริพพชะนี้แล ณ ที่นั้นแล ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์
พระผู้มีพระภาคว่า ‘สัชฌะ ภิกษุใดเป็นอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว
สิ้นภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุนั้นไม่อาจล่วงละเมิดฐานะ
๕ ประการ คือ
๑. ไม่อาจจงใจปลงชีวิตสัตว์
๒. ไม่อาจถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขามิได้ให้อันเป็นส่วนแห่งความเป็นขโมย
๓. ไม่อาจเสพเมถุนธรรม
๔. ไม่อาจพูดเท็จทั้งที่รู้
๕. ไม่อาจสะสมบริโภคกามเหมือนที่เคยเป็นคฤหัสถ์มาก่อน
คำนี้ข้าพระองค์ได้สดับรับมาจากพระผู้มีพระภาคใส่ใจทรงจำไว้ได้ถูกต้องดีแล้ว
ใช่ไหม พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สัชฌะ จริง คำนี้ท่านได้สดับรับมาใส่ใจทรงจำไว้ได้
ถูกต้องดีแล้ว สัชฌะ คราวก่อนและคราวนี้ เราก็ยังกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ภิกษุใดเป็นอรหันต-

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๔๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.สัมโพธิวรรค ๙.ปุคคลสูตร
ขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุ
ประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุนั้น
ไม่อาจล่วงละเมิดฐานะ ๙ ประการ คือ
๑. ไม่อาจจงใจปลงชีวิตสัตว์
ฯลฯ
๕. ไม่อาจสะสมบริโภคกามเหมือนที่เคยเป็นคฤหัสถ์มาก่อน
๖. ไม่อาจบอกคืนพระพุทธเจ้า๑
๗. ไม่อาจบอกคืนพระธรรม
๘. ไม่อาจบอกคืนพระสงฆ์
๙. ไม่อาจบอกคืนสิกขา’
สัชฌะ คราวก่อนและคราวนี้ เราก็ยังกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ภิกษุใดเป็นอรหันต-
ขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุ
ประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุ
นั้นไม่อาจล่วงละเมิดฐานะ ๙ ประการนี้แล”
สัชฌสูตรที่ ๘ จบ

๙. ปุคคลสูตร
ว่าด้วยบุคคล ๙ จำพวก
[๙] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๙ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๙ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. พระอรหันต์
๒. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่ออรหัตตผล
๓. พระอนาคามี

เชิงอรรถ :
๑ บอกคืนพระพุทธเจ้า ในที่นี้หมายถึงปฏิเสธว่ามิใช่พระพุทธเจ้า ในข้อต่อมา คือ บอกคืนพระธรรม บอกคืน
พระสงฆ์ และบอกคืนสิกขาก็มีนัยเดียวกันนี้ (องฺ.นวก.อ. ๓/๗/๒๙๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๔๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.สัมโพธิวรรค ๑๐.อาหุเนยยสูตร
๔. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล
๕. พระสกทาคามี
๖. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล
๗. พระโสดาบัน
๘. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล
๙. ปุถุชน
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๙ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก
ปุคคลสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. อาหุเนยยสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย
[๑๐] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๙ จำพวกนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย
ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยม
ของโลก
บุคคล ๙ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. พระอรหันต์
๒. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่ออรหัตตผล
๓. พระอนาคามี
๔. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล
๕. พระสกทาคามี
๖. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล
๗. พระโสดาบัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๔๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.สัมโพธิวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
๘. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล
๙. โคตรภูบุคคล๑
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๙ จำพวกนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ฯลฯ
เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
อาหุเนยยสูตรที่ ๑๐ จบ
สัมโพธิวรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สัมโพธิสูตร ๒. นิสสยสูตร
๓. เมฆิยสูตร ๔. นันทกสูตร
๕. พลสูตร ๖. เสวนาสูตร
๗. สุตวาสูตร ๘. สัชฌสูตร
๙. ปุคคลสูตร ๑๐. อาหุเนยยสูตร


เชิงอรรถ :
๑ โคตรภูบุคคล หมายถึงท่านผู้เจริญวิปัสสนามีกำลังสูงสุด จิตอยู่ในหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างปุถุชนกับโสดา-
ปัตติมรรค (องฺ.นวก.อ. ๓/๘-๑๐/๒๙๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.สีหนาทวรรค ๑.สีหนาทสูตร
๒. สีหนาทวรรค
หมวดว่าด้วยการบันลือสีหนาท
๑. สีหนาทสูตร
ว่าด้วยการบันลือสีหนาท
[๑๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระ
ผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จำพรรษาอยู่ในกรุงสาวัตถีแล้ว ปรารถนา
จะจาริกไปในชนบท”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สารีบุตร เธอจงกำหนดเวลาที่สมควร ณ บัดนี้เถิด”
ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรลุกจากที่นั่ง ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค
ทำประทักษิณแล้วจากไป
ครั้งนั้นแล เมื่อท่านพระสารีบุตรจากไปแล้วไม่นาน ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระสารีบุตรกระทบข้าพระองค์
แล้ว ไม่ขอโทษ ก็จาริกไป”
ต่อมา พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุรูปหนึ่งมาตรัสว่า “ภิกษุ เธอจงมา
จงไปเรียกสารีบุตรตามคำของเราว่า ‘ท่านสารีบุตร พระศาสดาเรียกท่าน” ภิกษุนั้น
ทูลสนองรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคแล้วเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้กล่าว
กับท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า “ท่านสารีบุตร พระศาสดารับสั่งเรียกท่าน” ท่านพระ
สารีบุตรรับคำแล้ว
สมัยนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะและท่านพระอานนท์ถือลูกกุญแจเที่ยว
ประกาศไปในวิหารว่า “ออกไปเถิด ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ออกไปเถิด ท่านผู้มีอายุ
ทั้งหลาย บัดนี้ ท่านพระสารีบุตรจักบันลือสีหนาทต่อพระพักตร์พระผู้มีพระภาค”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.สีหนาทวรรค ๑.สีหนาทสูตร
ครั้นท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึงตรัสกับท่านพระสารีบุตรว่า “สารีบุตร
เพื่อนพรหมจารีรูปหนึ่งในธรรมวินัยนี้กล่าวหาเธอว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระ
สารีบุตรกระทบข้าพระองค์แล้ว ไม่ขอโทษ ก็จาริกไป”
ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุใดไม่ตั้งมั่นกาย-
คตาสติ(สติไปในกาย)ไว้ในกาย ภิกษุนั้นกระทบเพื่อนพรหมจารีรูปใดรูปหนึ่งใน
ธรรมวินัยนี้แล้ว ไม่ขอโทษ ก็พึงจาริกไป
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
๑. ชนทั้งหลายย่อมทิ้งของสะอาดบ้าง ทิ้งของไม่สะอาดบ้าง ทิ้งคูถบ้าง
ทิ้งมูตรบ้าง ทิ้งน้ำลายบ้าง ทิ้งหนองบ้าง ทิ้งเลือดบ้าง ลงบน
แผ่นดิน แต่แผ่นดินก็ไม่อึดอัด ระอา หรือรังเกียจสิ่งนั้น
แม้ฉันใด ข้าพระองค์ก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีใจเสมอด้วยแผ่นดิน
ไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ๑ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความ
เบียดเบียนอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุใดไม่ตั้งมั่นกายคตาสติ
ไว้ในกาย ภิกษุนั้นกระทบเพื่อนพรหมจารีรูปใดรูปหนึ่งในพระธรรม-
วินัยนี้แล้ว ไม่ขอโทษ พึงจาริกไป
๒. ชนทั้งหลายย่อมล้างของสะอาดบ้าง ล้างของไม่สะอาดบ้าง ล้างคูถ
บ้าง ล้างมูตรบ้าง ล้างน้ำลายบ้าง ล้างหนองบ้าง ล้างเลือดบ้าง
ในน้ำ แต่น้ำก็ไม่อึดอัด ระอา หรือรังเกียจสิ่งนั้น แม้ฉันใด
ข้าพระองค์ก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีใจเสมอด้วยน้ำ ไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ
ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ภิกษุใดไม่ตั้งมั่นกายคตาสติไว้ในกาย ภิกษุนั้นกระทบเพื่อนพรหมจารี
รูปใดรูปหนึ่งในพระธรรมวินัยนี้แล้ว ไม่ขอโทษ พึงจาริกไป
๓. ไฟย่อมไหม้ของสะอาดบ้าง ไหม้ของไม่สะอาดบ้าง ไหม้คูถบ้าง
ไหม้มูตรบ้าง ไหม้น้ำลายบ้าง ไหม้หนองบ้าง ไหม้เลือดบ้าง แต่ไฟก็

เชิงอรรถ :
๑ มหัคคตะ แปลว่าถึงความเป็นใหญ่ กล่าวคือเป็นรูปาวจรกุศลและอรูปาวจรกุศล เพราะสามารถข่มกิเลสได้
หรือดำเนินไปด้วยฉันทะ วิริยะ จิตตะและปัญญาที่กว้างขวาง (ขุ.ป.อ. ๑/๑๐๔/๓๖๖, อภิ.สงฺ.อ. ๑๒/๙๒)
และดู อภิ.สงฺ. (แปล) ๓๔/๑๖๐-๒๖๘/๕๗-๘๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๕๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.สีหนาทวรรค ๑.สีหนาทสูตร
ไม่อึดอัด ระอา หรือรังเกียจสิ่งนั้น แม้ฉันใด ข้าพระองค์ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน มีใจเสมอด้วยไฟ ไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต
ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุใด
ไม่ตั้งมั่นกายคตาสติไว้ในกาย ภิกษุนั้นกระทบเพื่อนพรหมจารีรูปใด
รูปหนึ่งในพระธรรมวินัยนี้แล้ว ไม่ขอโทษ พึงจาริกไป
๔. ลมย่อมพัดของสะอาดบ้าง พัดของไม่สะอาดบ้าง พัดคูถบ้าง พัด
มูตรบ้าง พัดน้ำลายบ้าง พัดหนองบ้าง พัดเลือดบ้าง แต่ลมก็ไม่
อึดอัด ระอา หรือรังเกียจสิ่งนั้น แม้ฉันใด ข้าพระองค์ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน มีใจเสมอด้วยลม ไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต
ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุใดไม่
ตั้งมั่นกายคตาสติไว้ในกาย ภิกษุนั้นกระทบเพื่อนพรหมจารีรูปใด
รูปหนึ่งในพระธรรมวินัยนี้แล้ว ไม่ขอโทษ พึงจาริกไป
๕. ผ้าเช็ดธุลีย่อมเช็ดของสะอาดบ้าง เช็ดของไม่สะอาดบ้าง เช็ดคูถบ้าง
เช็ดมูตรบ้าง เช็ดน้ำลายบ้าง เช็ดหนองบ้าง เช็ดเลือดบ้าง แต่
ผ้าเช็ดธุลีก็ไม่อึดอัด ระอา หรือรังเกียจสิ่งนั้น แม้ฉันใด ข้าพระองค์
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีใจเสมอด้วยผ้าเช็ดธุลี ไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ
ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ภิกษุใดไม่ตั้งมั่นกายคตาสติไว้ในกาย ภิกษุนั้นกระทบเพื่อนพรหมจารี
รูปใดรูปหนึ่งในพระธรรมวินัยนี้แล้ว ไม่ขอโทษ พึงจาริกไป
๖. เด็กจัณฑาลผู้ชายหรือเด็กจัณฑาลผู้หญิง หิ้วตะกร้า นุ่งผ้าชายขาด
เมื่อเข้าไปสู่บ้านหรือนิคม ย่อมตั้งจิตนอบน้อมเท่านั้นเข้าไป แม้
ฉันใด ข้าพระองค์ก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีใจเสมอด้วยเด็กจัณฑาล
ผู้ชายหรือเด็กจัณฑาลผู้หญิง ไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต
ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุใดไม่
ตั้งมั่นกายคตาสติไว้ในกาย ภิกษุนั้นกระทบเพื่อนพรหมจารีรูปใด
รูปหนึ่งในพระธรรมวินัยนี้แล้ว ไม่ขอโทษ พึงจาริกไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๕๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.สีหนาทวรรค ๑.สีหนาทสูตร
๗. โคผู้เขาหัก สงบเสงี่ยม ได้รับการฝึกมาดี ได้รับการแนะนำมาดี
ให้สำเหนียกดี เดินไปตามถนนหนทาง ตามทางแยกน้อยใหญ่ ไม่ดีด
หรือขวิดใคร ๆ แม้ฉันใด ข้าพระองค์ก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีใจเสมอ
ด้วยโคผู้เขาหัก ไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร
ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุใดไม่ตั้งมั่น
กายคตาสติไว้ในกาย ภิกษุนั้นกระทบเพื่อนพรหมจารีรูปใดรูปหนึ่ง
ในพระธรรมวินัยนี้แล้ว ไม่ขอโทษ พึงจาริกไป
๘. สตรีหรือบุรุษที่ยังหนุ่มสาว มีปกติชอบแต่งตัว สรงน้ำดำหัวแล้ว
พึงอึดอัด ระอา หรือรังเกียจซากงู ซากสุนัข หรือซากมนุษย์ที่
คล้องคอไว้ แม้ฉันใด ข้าพระองค์ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมอึดอัด
ระอา รังเกียจกายอันเปื่อยเน่านี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุใด
ไม่ตั้งมั่นกายคตาสติไว้ในกาย ภิกษุนั้นกระทบเพื่อนพรหมจารีรูปใด
รูปหนึ่งในพระธรรมวินัยนี้แล้ว ไม่ขอโทษ พึงจาริกไป
๙. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุรุษประคองถาดมันข้นที่มีช่องน้อยใหญ่
น้ำไหลออกได้ข้างบน ไหลออกได้ข้างล่าง แม้ฉันใด ข้าพระองค์ก็
ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมบริหารกายนี้ที่มีช่องน้อยช่องใหญ่๑ ไหลเข้า
ไหลออกอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุใดไม่ตั้งมั่นกายคตาสติไว้
ในกาย ภิกษุนั้นกระทบเพื่อนพรหมจารีรูปใดรูปหนึ่งในพระธรรมวินัย
นี้แล้ว ไม่ขอโทษ พึงจาริกไป
ลำดับนั้น ภิกษุรูปนั้นลุกจากอาสนะ ห่มจีวรเฉวียงบ่า หมอบลงแทบพระบาท
ของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้าแล้ว กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ โทษได้มาถึงข้าพระองค์ผู้เป็นคนพาล เป็นคนหลง เป็นคนไม่ฉลาด
ที่ได้กล่าวตู่ท่านพระสารีบุตรด้วยคำที่ไม่มีอยู่ เปล่าประโยชน์ เป็นเรื่องเท็จ ไม่เป็นจริง
ขอพระผู้มีพระภาคโปรดอดโทษแก่ข้าพระองค์เพื่อความสำรวมต่อไปเถิด”

เชิงอรรถ :
๑ ช่องน้อยช่องใหญ่ ในที่นี้หมายถึงปากแผลทั้ง ๙ (ทวาร ๙ คือ ช่องตาทั้งสอง ช่องหูทั้งสอง ช่องจมูก
ทั้งสอง ช่องปาก ทวารหนัก ทวารเบา) (องฺ.นวก.อ. ๓/๑๑/๒๙๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๕๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.สีหนาทวรรค ๒.สอุปาทิเสสสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โทษได้มาถึงเธอผู้เป็นคนพาล เป็นคนหลง เป็นคน
ไม่ฉลาด ที่เธอได้กล่าวตู่สารีบุตรด้วยคำที่ไม่มีอยู่ เปล่าประโยชน์ เป็นเรื่องเท็จ
ไม่เป็นจริง แต่เพราะเธอเห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้วทำคืนตามธรรม เราย่อม
อดโทษนั้นแก่เธอ ข้อที่ภิกษุเห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้วทำคืนตามธรรม ถึงความ
สำรวมต่อไป นี้เป็นความเจริญในอริยวินัย”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสกับท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า “สารีบุตร เธอจง
อดโทษให้แก่โมฆบุรุษผู้นี้เถิด ก่อนที่ศีรษะของเขาจะแตกเป็น ๗ เสี่ยง เพราะโทษ
นั้นนั่นเอง”
ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จะอดโทษ
แก่ท่านรูปนั้น ถ้าท่านรูปนั้นได้กล่าวกับข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ‘ขอท่านผู้มีอายุนั้น
จงอดโทษแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด”
สีหนาทสูตรที่ ๑ จบ

๒. สอุปาทิเสสสูตร
ว่าด้วยสอุปาทิเสสบุคคล
[๑๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้นเวลาเช้า ท่านพระสารีบุตร ครองอันตรวาสก
ถือบาตรและจีวร เข้าไปยังกรุงสาวัตถี เพื่อบิณฑบาต ต่อมา ท่านพระสารีบุตร
ได้มีความคิดดังนี้ว่า “การเที่ยวไปบิณฑบาตในกรุงสาวัตถียังเช้านัก ทางที่ดี เราควร
เข้าไปยังอารามของพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก” ครั้นแล้ว ท่านพระสารีบุตรจึงเข้าไป
ยังอารามของพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก ได้สนทนาปราศรัยกับอัญเดียรถีย์ปริพาชก
เหล่านั้น พอเป็นที่บันเทิงใจพอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
สมัยนั้นเอง อัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น กำลังนั่งประชุมสนทนากันดังนี้ว่า
“ผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นสอุปาทิเสส๑(ยังมีอุปาทิเหลือ) เมื่อตายไป
ล้วนไม่พ้นจากนรก ไม่พ้นจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ไม่พ้นจากเปรตวิสัย ไม่พ้นจาก
อบาย ทุคติ และวินิบาต


เชิงอรรถ :
๑สอุปาทิเสส ในที่นี้หมายถึงมีอุปาทานเหลืออยู่ (องฺ.นวก.อ. ๓/๑๒/๒๙๓)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๕๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.สีหนาทวรรค ๒.สอุปาทิเสสสูตร
ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรไม่ยินดีไม่คัดค้านภาษิตของอัญเดียรถีย์ปริพาชก
เหล่านั้น ลุกจากอาสนะจากไปด้วยคิดว่า “เราจักรู้ชัดเนื้อความแห่งภาษิตนี้ในสำนัก
ของพระผู้มีพระภาค”
ครั้นท่านพระสารีบุตรเที่ยวไปบิณฑบาตในกรุงสาวัตถี กลับจากบิณฑบาต
หลังจากฉันอาหารเสร็จแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส เมื่อเช้านี้ ข้าพระองค์ครอง
อันตรวาสก ถือบาตรและจีวร เข้าไปยังกรุงสาวัตถีเพื่อบิณฑบาต ได้มีความคิด
ดังนี้ว่า ‘การเที่ยวไปบิณฑบาตในกรุงสาวัตถี ยังเช้านัก ทางที่ดี เราควรเข้าไปยัง
อารามของพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก’ ครั้นแล้ว ข้าพระองค์จึงเข้าไปยังอารามของ
พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก ได้สนทนาปราศรัยกับอัญเดียรถีย์เหล่านั้น พอเป็นที่
บันเทิงใจพอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
สมัยนั้น อัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น กำลังนั่งประชุมกันสนทนากันดังนี้ว่า
‘ผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นสอุปาทิเสส เมื่อตายไป ล้วนไม่พ้น
จากนรก ไม่พ้นจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ไม่พ้นจากเปรตวิสัย ไม่พ้นจากอบาย
ทุคติ และวินิบาต’ ข้าพระองค์ไม่ยินดีไม่คัดค้านภาษิตของอัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น
ลุกจากอาสนะจากมาด้วยคิดว่า ‘เราจักรู้ชัดเนื้อความแห่งภาษิตนี้ในสำนักของพระ
ผู้มีพระภาค”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สารีบุตร อัญเดียรถีย์ปริพาชกผู้เขลาไม่เฉียบแหลม
เป็นพวกไหน และพวกไหนจักรู้จักบุคคลผู้เป็นสอุปาทิเสสว่าเป็นสอุปาทิเสส หรือ
จักรู้จักบุคคลผู้เป็นอนุปาทิเสส๑ว่าเป็นอนุปาทิเสส
สารีบุตร บุคคล ๙ จำพวกนี้ เป็นสอุปาทิเสส เมื่อตายไป ก็พ้นจากนรกได้
พ้นจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานได้ พ้นจากเปรตวิสัยได้ พ้นจากอบาย ทุคติ และวินิบาตได้


เชิงอรรถ :
๑อนุปาทิเสส หมายถึงไม่มีอุปาทานเหลืออยู่ ได้แก่ ปราศจากความถือมั่น(นิคคหณะ) (องฺ.นวก.อ. ๓/๑๒/
๒๙๓)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.สีหนาทวรรค ๒.สอุปาทิเสสสูตร
บุคคล ๙ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีปกติทำศีลให้บริบูรณ์ มีปกติทำสมาธิ
ให้บริบูรณ์ มีปกติทำปัญญาพอประมาณ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ
๕ ประการสิ้นไป เขาจึงเป็นอันตราปรินิพพายี นี้เป็นบุคคลจำพวก
ที่ ๑ ผู้เป็นสอุปาทิเสส เมื่อตายไป ก็พ้นจากนรกได้ พ้นจากกำเนิด
สัตว์ดิรัจฉานได้ พ้นจากเปรตวิสัยได้ พ้นจากอบาย ทุคติ และ
วินิบาตได้
๒. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีปกติทำศีลให้บริบูรณ์ มีปกติทำสมาธิ
ให้บริบูรณ์ มีปกติทำปัญญาพอประมาณ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ
๕ ประการสิ้นไป เขาจึงเป็นอุปหัจจปรินิพพายี ฯลฯ
๓. บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ จึงเป็นอสังขารปรินิพพายี ฯลฯ
๔. บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ จึงเป็นสสังขารปรินิพพายี ฯลฯ
๕. บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ จึงเป็นอุทธังโสตอกนิฏฐคามี ฯลฯ
๖. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีปกติทำศีลให้บริบูรณ์ มีปกติทำสมาธิ
พอประมาณ มีปกติทำปัญญาพอประมาณ เพราะสังโยชน์ ๓
ประการสิ้นไป และเพราะราคะ โทสะ และโมหะเบาบาง เขาจึงเป็น
สกทาคามี มาสู่โลกนี้อีกครั้งเดียว ก็จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ นี้เป็น
บุคคลจำพวกที่ ๖ ผู้เป็นสอุปาทิเสส เมื่อตายไป ก็พ้นจากนรกได้
ฯลฯ พ้นจากอบาย ทุคติ และวินิบาตได้
๗. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีปกติทำศีลให้บริบูรณ์ มีปกติทำสมาธิ
พอประมาณ มีปกติทำปัญญาพอประมาณ เพราะสังโยชน์ ๓
ประการสิ้นไป เขาจึงเป็นเอกพีชี เกิดเป็นมนุษย์อีกเพียงครั้งเดียว
ก็จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ นี้เป็นบุคคลจำพวกที่ ๗ ผู้เป็นสอุปาทิเสส
เมื่อตายไป ก็พ้นจากนรกได้ ฯลฯ พ้นจากอบาย ทุคติ และ
วินิบาตได้
๘. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีปกติทำศีลให้บริบูรณ์ มีปกติทำสมาธิ
พอประมาณ มีปกติทำปัญญาพอประมาณ เพราะสังโยชน์ ๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.สีหนาทวรรค ๒.สอุปาทิเสสสูตร
ประการสิ้นไป เขาจึงเป็นโกลังโกละ ท่องเที่ยวไปสู่ตระกูล ๒ หรือ
๓ ตระกูล ก็จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ นี้เป็นบุคคลจำพวกที่ ๘ ผู้เป็น
สอุปาทิเสส เมื่อตายไป ก็พ้นจากนรกได้ ฯลฯ พ้นจากอบาย ทุคติ
และวินิบาตได้
๙. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีปกติทำศีลให้บริบูรณ์ มีปกติทำสมาธิ
พอประมาณ มีปกติทำปัญญาพอประมาณ เพราะสังโยชน์ ๓
ประการสิ้นไป เขาจึงเป็นสัตตักขัตตุปรมะ ท่องเที่ยวไปในเทวดา
และมนุษย์อย่างมาก ๗ ครั้ง ก็จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ นี้เป็นบุคคล
จำพวกที่ ๙ ผู้เป็นสอุปาทิเสส เมื่อตายไป ก็พ้นจากนรกได้ พ้นจาก
กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานได้ พ้นจากอบาย ทุคติ และวินิบาตได้
สารีบุตร พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกผู้เขลา ไม่เฉียบแหลม เป็นพวกไหน และ
พวกไหนจักรู้จักบุคคลผู้เป็นสอุปาทิเสสว่าเป็นสอุปาทิเสส หรือจักรู้จักบุคคลผู้เป็น
อนุปาทิเสสว่าเป็นอนุปาทิเสส สารีบุตร บุคคล ๙ จำพวกนี้แล เป็นสอุปาทิเสส
เมื่อตายไป ก็พ้นจากนรกได้ พ้นจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานได้ พ้นจากเปรตวิสัยได้
พ้นจากอบาย ทุคติ และวินิบาตได้
สารีบุตร ธรรมบรรยายนี้ยังไม่แจ่มแจ้งแก่ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา
ก่อน ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะประสงค์ว่า ชนทั้งหลายฟังธรรมบรรยายนี้แล้ว
อย่านำมาซึ่งความประมาท อีกอย่างหนึ่ง เรากล่าวธรรมบรรยายนี้โดยมุ่งถึงปัญหา”

สอุปาทิเสสสูตรที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.สีหนาทวรรค ๓.โกฏฐิตสูตร
๓. โกฏฐิตสูตร
ว่าด้วยพระมหาโกฏฐิตะ
[๑๓] ครั้งนั้นแล ท่านพระมหาโกฏฐิตะเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่
สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ถาม
ท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า
“ท่านสารีบุตร บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อประโยชน์
นี้ว่า ‘กรรมใดให้ผลในปัจจุบัน๑ ขอกรรมนั้นจงให้ผลในอนาคตแก่เราเถิด’ ได้ไหม”
ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า “ผู้มีอายุ ข้อนี้ไม่ได้เลย”
“ท่านสารีบุตร บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อประโยชน์
นี้ว่า ‘กรรมใดให้ผลในอนาคต ขอกรรมนั้นจงให้ผลในปัจจุบันแก่เราเถิด’ ได้ไหม”
“ผู้มีอายุ ข้อนี้ไม่ได้เลย”
“ท่านสารีบุตร บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อประโยชน์
นี้ว่า ‘กรรมใดให้ผลเป็นสุข ขอกรรมนั้นจงให้ผลเป็นทุกข์แก่เราเถิด’ ได้ไหม”
“ผู้มีอายุ ข้อนี้ไม่ได้เลย”
“ท่านสารีบุตร บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อประโยชน์
นี้ว่า ‘กรรมใดให้ผลเป็นทุกข์ ขอกรรมนั้นจงให้ผลเป็นสุขแก่เราเถิด’ ได้ไหม”
“ผู้มีอายุ ข้อนี้ไม่ได้เลย”
“ท่านสารีบุตร บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อประโยชน์
นี้ว่า ‘กรรมใดให้ผลสำเร็จแล้ว ขอกรรมนั้นจงไม่ให้ผลสำเร็จแก่เราเถิด’ ได้ไหม”
“ผู้มีอายุ ข้อนี้ไม่ได้เลย”
“ท่านสารีบุตร บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อประโยชน์
นี้ว่า ‘กรรมใดยังไม่ให้ผลสำเร็จ ขอกรรมนั้นจงให้ผลสำเร็จแก่เราเถิด’ ได้ไหม”

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๖๓/๕๗๗, องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๒๑๗/๓๕๗, อภิ.ก. ๓๗/๖๓๕/๓๘๕,๘๙๐-
๘๙๑/๕๐๖-๕๐๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๕๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.สีหนาทวรรค ๓.โกฏฐิตสูตร
“ผู้มีอายุ ข้อนี้ไม่ได้เลย”
“ท่านสารีบุตร บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อประโยชน์
นี้ว่า ‘กรรมใดให้ผลมาก ขอกรรมนั้นจงให้ผลน้อยแก่เราเถิด’ ได้ไหม”
“ผู้มีอายุ ข้อนี้ไม่ได้เลย”
“ท่านสารีบุตร บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อประโยชน์
นี้ว่า ‘กรรมใดให้ผลน้อย ขอกรรมนั้นจงให้ผลมากแก่เราเถิด’ ได้ไหม”
“ผู้มีอายุ ข้อนี้ไม่ได้เลย”
“ท่านสารีบุตร บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อประโยชน์
นี้ว่า ‘กรรมใดให้ผล ขอกรรมนั้นจงไม่ให้ผลแก่เราเถิด’ ได้ไหม”
“ผู้มีอายุ ข้อนี้ไม่ได้เลย”
“ท่านสารีบุตร บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อประโยชน์
นี้ว่า ‘กรรมใดไม่ให้ผล ขอกรรมนั้นจงให้ผลแก่เราเถิด’ ได้ไหม”
“ผู้มีอายุ ข้อนี้ไม่ได้เลย”
“ท่านสารีบุตร เมื่อผมถามท่านว่า ‘ท่านสารีบุตร บุคคลอยู่ประพฤติพรหม-
จรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่อประโยชน์นี้ว่า กรรมใดให้ผลในปัจจุบัน ขอกรรม
นั้นจงให้ผลในอนาคตแก่เราเถิด ได้ไหม’ ท่านก็ตอบว่า ‘ผู้มีอายุ ข้อนี้ไม่ได้เลย’
เมื่อผมถามท่านว่า ‘ท่านสารีบุตร บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มี
พระภาคเพื่อประโยชน์นี้ว่า กรรมใดให้ผลในอนาคต ขอกรรมนั้นจงให้ผลใน
ปัจจุบันแก่เราเถิด ได้ไหม’ ท่านก็ตอบว่า ‘ผู้มีอายุ ข้อนี้ไม่ได้เลย’
เมื่อผมถามท่านว่า ‘ท่านสารีบุตร บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มี
พระภาคเพื่อประโยชน์นี้ว่า กรรมใดให้ผลเป็นสุข ขอกรรมนั้นจงให้ผลเป็นทุกข์แก่
เราเถิด ได้ไหม’ ท่านก็ตอบว่า ‘ผู้มีอายุ ข้อนี้ไม่ได้เลย’
เมื่อผมถามท่านว่า ‘ท่านสารีบุตร บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มี
พระภาคเพื่อประโยชน์นี้ว่า กรรมใดให้ผลเป็นทุกข์ ขอกรรมนั้นจงให้ผลเป็นสุขแก่
เราเถิด ได้ไหม’ ท่านก็ตอบว่า ‘ผู้มีอายุ ข้อนี้ไม่ได้เลย’
เมื่อผมถามท่านว่า ‘ท่านสารีบุตร บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มี
พระภาคเพื่อประโยชน์นี้ว่า กรรมใดให้ผลสำเร็จแล้ว ขอกรรมนั้นจงไม่ให้ผลสำเร็จ
แก่เราเถิด ได้ไหม’ ท่านก็ตอบว่า ‘ผู้มีอายุ ข้อนี้ไม่ได้เลย’


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.สีหนาทวรรค ๓.โกฏฐิตสูตร
เมื่อผมถามท่านว่า ‘ท่านสารีบุตร บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มี
พระภาคเพื่อประโยชน์นี้ว่า กรรมใดยังไม่ให้ผลสำเร็จ ขอกรรมนั้นจงให้ผลสำเร็จแก่
เราเถิด ได้ไหม’ ท่านก็ตอบว่า ‘ผู้มีอายุ ข้อนี้ไม่ได้เลย’
เมื่อผมถามท่านว่า ‘ท่านสารีบุตร บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มี
พระภาคเพื่อประโยชน์นี้ว่า กรรมใดให้ผลมาก ขอกรรมนั้นจงให้ผลน้อยแก่เราเถิด
ได้ไหม’ ท่านก็ตอบว่า ‘ผู้มีอายุ ข้อนี้ไม่ได้เลย’
เมื่อผมถามท่านว่า ‘ท่านสารีบุตร บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มี
พระภาคเพื่อประโยชน์นี้ว่า กรรมใดให้ผลน้อย ขอกรรมนั้นจงให้ผลมากแก่เราเถิด
ได้ไหม’ ท่านก็ตอบว่า ‘ผู้มีอายุ ข้อนี้ไม่ได้เลย’
เมื่อผมถามท่านว่า ‘ท่านสารีบุตร บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มี
พระภาคเพื่อประโยชน์นี้ว่า กรรมใดให้ผล ขอกรรมนั้นจงไม่ให้ผลแก่เราเถิด ได้ไหม’
ท่านก็ตอบว่า ‘ผู้มีอายุ ข้อนี้ไม่ได้เลย’
เมื่อผมถามท่านว่า ‘ท่านสารีบุตร บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มี
พระภาคเพื่อประโยชน์นี้ว่า กรรมใดไม่ให้ผล ขอกรรมนั้นจงให้ผลแก่เราเถิด ได้ไหม’
ท่านก็ตอบว่า ‘ผู้มีอายุ ข้อนี้ไม่ได้เลย’ เมื่อเป็นเช่นนั้น บุคคลจะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์
ในพระผู้มีพระภาคเพื่อประโยชน์อะไร”
ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า “ผู้มีอายุ บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้
มีพระภาคเพื่อเห็นสิ่งที่ยังไม่เห็น เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยัง
ไม่ทำให้แจ้ง เพื่อตรัสรู้สิ่งที่ยังไม่ตรัสรู้
คือ บุคคลอยู่ประพฤติพรมหจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อรู้สิ่งที่ยังไม่รู้ เพื่อเห็น
สิ่งที่ยังไม่เห็น เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้ง เพื่อตรัสรู้
สิ่งที่ยังไม่ตรัสรู้ว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิทา’
ผู้มีอายุ บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคก็เพื่อรู้สิ่งที่ยังไม่รู้
เพื่อเห็นสิ่งที่ยังไม่เห็น เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้ง
เพื่อตรัสรู้สิ่งที่ยังไม่ตรัสรู้นี้แล”
โกฏฐิตสูตรที่ ๓ จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๖๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.สีหนาทวรรค ๔.สมิทธิสูตร
๔. สมิทธิสูตร
ว่าด้วยเรื่องวิตก
[๑๔] ครั้งนั้นแล ท่านพระสมิทธิเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ไหว้แล้ว
นั่ง ณ ที่สมควร ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวกับท่านพระสมิทธิดังนี้ว่า
“ท่านสมิทธิ สังกัปปวิตก(วิตกอันเป็นความดำริ) ของบุรุษมีอะไรเป็นอารมณ์
เกิดขึ้น”
“มีนามรูปเป็นอารมณ์ ขอรับ”
“ท่านสมิทธิ สังกัปปวิตกเหล่านั้นต่างกันที่ไหน”
“ที่ธาตุ ขอรับ”
“ท่านสมิทธิ สังกัปปวิตกเหล่านั้นมีอะไรเป็นเหตุเกิด”
“มีผัสสะเป็นเหตุเกิด ขอรับ”
“ท่านสมิทธิ สังกัปปวิตกเหล่านั้นมีอะไรเป็นที่ประชุม”
“มีเวทนาเป็นที่ประชุม ขอรับ”
“ท่านสมิทธิ สังกัปปวิตกเหล่านั้นมีอะไรเป็นประมุข”
“มีสมาธิเป็นประมุข ขอรับ”
“ท่านสมิทธิ สังกัปปวิตกเหล่านั้นมีอะไรเป็นใหญ่”
“มีสติเป็นใหญ่ ขอรับ”
“ท่านสมิทธิ สังกัปปวิตกเหล่านั้นมีอะไรเป็นยิ่ง”
“มีปัญญาเป็นยิ่ง ขอรับ”
“ท่านสมิทธิ สังกัปปวิตกเหล่านั้นมีอะไรเป็นแก่น”
“มีวิมุตติเป็นแก่น ขอรับ”
“ท่านสมิทธิ สังกัปปวิตกเหล่านั้นมีอะไรเป็นที่หยั่งลง”
“มีนิพพานเป็นที่หยั่งลง ขอรับ”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.สีหนาทวรรค ๔.สมิทธิสูตร
ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า “ท่านสมิทธิ เมื่อเราถามท่านว่า ‘ท่านสมิทธิ
สังกัปปวิตกเหล่านั้นมีอะไรเป็นอารมณ์เกิดขึ้น’ ท่านก็ตอบว่า ‘มีนามรูปเป็นอารมณ์
ขอรับ’
เมื่อเราถามท่านว่า ‘ท่านสมิทธิ สังกัปปวิตกเหล่านั้นต่างกันที่ไหน’ ท่านก็
ตอบว่า ‘ที่ธาตุ ขอรับ’
เมื่อเราถามท่านว่า ‘ท่านสมิทธิ สังกัปปวิตกเหล่านั้นมีอะไรเป็นเหตุเกิด’ ท่านก็
ตอบว่า ‘มีผัสสะเป็นเหตุเกิด ขอรับ’
เมื่อเราถามท่านว่า ‘ท่านสมิทธิ สังกัปปวิตกเหล่านั้นมีอะไรเป็นที่ประชุม’
ท่านก็ตอบว่า ‘มีเวทนาเป็นที่ประชุม ขอรับ’
เมื่อเราถามท่านว่า ‘ท่านสมิทธิ สังกัปปวิตกเหล่านั้นมีอะไรเป็นประมุข’ ท่านก็
ตอบว่า ‘มีสมาธิเป็นประมุข ขอรับ’
เมื่อเราถามท่านว่า ‘ท่านสมิทธิ สังกัปปวิตกเหล่านั้นมีอะไรเป็นใหญ่’ ท่านก็
ตอบว่า ‘มีสติเป็นใหญ่ ขอรับ’
เมื่อเราถามท่านว่า ‘ท่านสมิทธิ สังกัปปวิตกเหล่านั้นมีอะไรเป็นยิ่ง’ ท่านก็
ตอบว่า ‘มีปัญญาเป็นยิ่ง ขอรับ’
เมื่อเราถามท่านว่า ‘ท่านสมิทธิ สังกัปปวิตกเหล่านั้นมีอะไรเป็นแก่น’
ท่านก็ตอบว่า ‘มีวิมุตติเป็นแก่น ขอรับ’
เมื่อเราถามท่านว่า ‘ท่านสมิทธิ สังกัปปวิตกเหล่านั้นมีอะไรเป็นที่หยั่งลง’
ท่านก็ตอบว่า ‘มีนิพพานเป็นที่หยั่งลง ขอรับ’
ดีละ ดีละ ท่านสมิทธิ ดีจริง ท่านสมิทธิ ท่านถูกเราถามปัญหาแล้วก็แก้ได้
แต่ท่านอย่าทะนงตนด้วยการแก้ปัญหานั้น”
สมิทธิสูตรที่ ๔ จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.สีหนาทวรรค ๖.สัญญาสูตร
๕. คัณฑสูตร
ว่าด้วยฝีมีปากแผล ๙ แห่ง
[๑๕] ภิกษุทั้งหลาย ฝีที่เกิดมาได้หลายปี มีปากแผลที่ไม่แตก ๙ แผล
เป็นแดนไหลออกแห่งทุกสิ่ง ไหลออกแต่สิ่งที่ไม่สะอาด ไหลออกแต่สิ่งที่มีกลิ่นเหม็น
ไหลออกแต่สิ่งที่น่ารังเกียจ เป็นแดนไหลเข้าแห่งทุกสิ่ง ไหลเข้าแต่สิ่งที่ไม่สะอาด
ไหลเข้าแต่สิ่งที่มีกลิ่นเหม็น ไหลเข้าแต่สิ่งที่น่ารังเกียจ แม้ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย คำว่า ‘ฝี’ นี้เป็นชื่อของกายที่สำเร็จมาจากมหาภูตรูป ๔ นี้
ที่มีมารดาบิดาเป็นแดนเกิด เติบโตมาด้วยข้าวสุกและขนม มีความไม่เที่ยง มีการ
ไล้ทาบีบนวดแตกสลายและกระจัดกระจายไปเป็นธรรมดา กายนั้นมีปากแผลที่
ไม่แตก ๙ แผล เป็นแดนไหลออกแห่งทุกสิ่ง ไหลออกแต่สิ่งที่ไม่สะอาด ไหลออก
แต่สิ่งที่มีกลิ่นเหม็น ไหลออกแต่สิ่งที่น่ารังเกียจ เป็นแดนไหลเข้าแห่งทุกสิ่ง ไหลเข้า
แต่สิ่งที่ไม่สะอาด ไหลเข้าแต่สิ่งที่มีกลิ่นเหม็น ไหลเข้าแต่สิ่งที่น่ารังเกียจ ฉันนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายควรเบื่อหน่ายในกายนี้
คัณฑสูตรที่ ๕ จบ

๖. สัญญาสูตร๑
ว่าด้วยสัญญา
[๑๖] ภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๙ ประการนี้ ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว
ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ๒ มีอมตะเป็นที่สุด
สัญญา ๙ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อสุภสัญญา (กำหนดหมายความไม่งามแห่งกาย)
๒. มรณสัญญา (กำหนดหมายความตายที่จะต้องมาถึงเป็นธรรมดา)

เชิงอรรถ :
๑ ดู องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๕๖/๑๒๓
๒ อมตะ ในที่นี้หมายถึงนิพพาน (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๔๘-๔๙/๑๘๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.สีหนาทวรรค ๗.กุลสูตร
๓. อาหาเร ปฏิกูลสัญญา (กำหนดหมายความปฏิกูลในอาหาร)
๔. สัพพโลเก อนภิรตสัญญา (กำหนดหมายความไม่น่าเพลิดเพลินใน
โลกทั้งปวง)
๕. อนิจจสัญญา (กำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร)
๖. อนิจเจ ทุกขสัญญา (กำหนดหมายความเป็นทุกข์ในความไม่เที่ยง
แห่งสังขาร)
๗. ทุกเข อนัตตสัญญา (กำหนดหมายความเป็นอนัตตาในความเป็นทุกข์)
๘. ปหานสัญญา (กำหนดหมายเพื่อละอกุศลวิตกและบาปธรรมทั้งหลาย)
๙. วิราคสัญญา (กำหนดหมายวิราคะว่าเป็นธรรมละเอียดประณีต)
ภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๙ ประการนี้แล ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมมี
ผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด
สัญญาสูตรที่ ๖ จบ

๗. กุลสูตร๑
ว่าด้วยตระกูล
[๑๗] ภิกษุทั้งหลาย ตระกูลที่ประกอบด้วยองค์ ๙ ประการ ภิกษุยังไม่
เคยเข้าไปหา ก็ไม่ควรเข้าไปหา หรือเข้าไปหาแล้ว ก็ไม่ควรนั่งใกล้
องค์ ๙ ประการ อะไรบ้าง คือ
ตระกูล
๑. ต้อนรับด้วยความไม่เต็มใจ
๒. ไหว้ด้วยความไม่เต็มใจ
๓. ให้อาสนะด้วยความไม่เต็มใจ
๔. ปกปิดของที่มีอยู่

เชิงอรรถ :
๑ ดู สัตตกนิบาต ข้อ ๑๓ (กุลสูตร) หน้า ๑๙-๒๐ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.สีหนาทวรรค ๗.กุลสูตร
๕. มีของมาก แต่ถวายน้อย
๖. มีของประณีต แต่ถวายของเศร้าหมอง
๗. ถวายโดยไม่เคารพ ไม่ถวายโดยเคารพ
๘. ไม่นั่งใกล้เพื่อฟังธรรม
๙. ไม่ยินดีภาษิตของภิกษุนั้น
ภิกษุทั้งหลาย ตระกูลที่ประกอบด้วยองค์ ๙ ประการนี้แล ภิกษุยังไม่เคยเข้า
ไปหา ก็ไม่ควรเข้าไปหา หรือเข้าไปหาแล้ว ก็ไม่ควรนั่งใกล้
ภิกษุทั้งหลาย ตระกูลที่ประกอบด้วยองค์ ๙ ประการ ภิกษุยังไม่เคยเข้าไปหา
ควรเข้าไปหา หรือเข้าไปหาแล้ว ควรนั่งใกล้
องค์ ๙ ประการ อะไรบ้าง คือ
ตระกูล
๑. ต้อนรับด้วยความเต็มใจ
๒. ไหว้ด้วยความเต็มใจ
๓. ให้อาสนะด้วยความเต็มใจ
๔. ไม่ปกปิดของที่มีอยู่
๕. มีของมาก ก็ถวายมาก
๖. มีของประณีต ก็ถวายของประณีต
๗. ถวายโดยความเคารพ ไม่ถวายโดยไม่เคารพ
๘. นั่งใกล้เพื่อฟังธรรม
๙. ยินดีภาษิตของภิกษุนั้น
ภิกษุทั้งหลาย ตระกูลที่ประกอบด้วยองค์ ๙ ประการนี้แล ภิกษุยังไม่เคย
เข้าไปหา ควรเข้าไปหา หรือเข้าไปหาแล้ว ควรนั่งใกล้
กุลสูตรที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.สีหนาทวรรค ๘.นวังคุโปสถสูตร
๘. นวังคุโปสถสูตร
ว่าด้วยการรักษาอุโบสถที่มีองค์ ๙
[๑๘] ภิกษุทั้งหลาย อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๙ ประการ ที่บุคคลอยู่จำแล้ว
ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก แผ่ไพศาลมาก
อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๙ ประการ ที่บุคคลอยู่จำแล้ว ย่อมมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก แผ่ไพศาลมาก เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เห็นประจักษ์ดังนี้ว่า
๑. พระอรหันต์ทั้งหลายละเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ คือ วางทัณฑาวุธ
และศัสตราวุธ มีความละอาย มีความเอ็นดู มุ่งประโยชน์เกื้อกูล
ต่อสรรพสัตว์อยู่ตลอดชีวิต แม้เราก็ละเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ คือ
วางทัณฑาวุธและศัสตราวุธ มีความละอาย มีความเอ็นดู
มุ่งประโยชน์เกื้อกูลต่อสรรพสัตว์อยู่ตลอดวันหนึ่งและคืนหนึ่งนี้ในวันนี้
เพราะองค์แม้นี้ เราชื่อว่าทำตามพระอรหันต์ทั้งหลายและอยู่จำ
อุโบสถ อุโบสถเป็นอันประกอบด้วยองค์ที่ ๑ นี้
ฯลฯ๑
๘. พระอรหันต์ทั้งหลายละเว้นขาดจากที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ นอน
บนที่นอนต่ำ คือ บนเตียงหรือบนที่นอนที่ปูลาดด้วยหญ้าอยู่ตลอด
ชีวิต แม้เราก็ละเว้นขาดจากที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ นอนบนที่
นอนต่ำ คือ บนเตียงหรือบนที่นอนที่ปูลาดด้วยหญ้าอยู่ตลอดวัน
หนึ่งและคืนหนึ่งนี้ในวันนี้ เพราะองค์แม้นี้ เราชื่อว่าทำตามพระ
อรหันต์ทั้งหลายและอยู่จำอุโบสถ อุโบสถเป็นอันประกอบด้วย
องค์ที่ ๘ นี้

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มในสัตตกนิบาต ข้อ ๔๑ (สังขิตตุโปสถสูตร) หน้า ๓๐๓-๓๐๕ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.สีหนาทวรรค ๙.เทวตาสูตร
๙. บุคคลมีเมตตาจิต แผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ...
ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน๑ ทิศเบื้องล่าง๒ ทิศเฉียง๓ แผ่ไปตลอดโลกทั่ว
ทุกหมู่เหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ๔
ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ อุโบสถเป็นอัน
ประกอบด้วยองค์ ๙ นี้
ภิกษุทั้งหลาย อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๙ ที่บุคคลอยู่จำแล้ว ย่อมมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก แผ่ไพศาลมาก เป็นอย่างนี้
นวังคุโปสถสูตรที่ ๘ จบ

๙. เทวตาสูตร
ว่าด้วยผลแห่งการต้อนรับของเทวดา
[๑๙] ภิกษุทั้งหลาย เมื่อคืนนี้ เมื่อราตรีผ่านไป๕ เทวดาจำนวนมาก มี
วรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างไปทั่วพระเชตวัน เข้ามาหาเราถึงที่อยู่ ไหว้เรา
แล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับเราดังนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บรรพชิต
ทั้งหลายเข้ามายังเรือนของข้าพระองค์ทั้งหลายผู้เคยเป็นมนุษย์ ข้าพระองค์เหล่านั้น
ได้ลุกรับ แต่ไม่กราบไหว้ ข้าพระองค์เหล่านั้นทำหน้าที่ยังไม่บริบูรณ์ มีความร้อนใจ
เดือดร้อนใจในภายหลัง จึงเกิดในหมู่เทพชั้นต่ำ’
เทวดาจำนวนมากอีกพวกหนึ่งเข้ามาหาเราแล้วกล่าวดังนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ บรรพชิตทั้งหลายเข้ามายังเรือนของข้าพระองค์ทั้งหลายผู้เคยเป็นมนุษย์
ข้าพระองค์เหล่านั้นได้ลุกรับ กราบไหว้ แต่ไม่ให้อาสนะแก่บรรพชิตเหล่านั้น ข้าพระองค์---------------------------------------

---
๑ ทิศเบื้องบน หมายถึงเทวโลก (วิสุทธิ.มหาฏีกา ๑/๒๕๔/๔๓๕)
๒ ทิศเบื้องล่าง หมายถึงนรกและนาค (วิสุทธิ.มหาฏีกา ๑/๒๕๔/๔๓๕)
๓ ทิศเฉียง หมายถึงทิศย่อยของทิศใหญ่ หรือทิศรอง (วิสุทธิ.มหาฏีกา ๑/๒๕๔/๔๓๕)
๔ ดูเชิงอรรถที่ ๑ นวกนิบาต ข้อ ๑๑ หน้า ๔๕๒ ในเล่มนี้
๕ ดูเชิงอรรถที่ ๑ สัตตกนิบาต ข้อ ๓๒ หน้า ๔๙ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.สีหนาทวรรค ๙.เทวตาสูตร
เหล่านั้นทำหน้าที่ยังไม่บริบูรณ์ มีความร้อนใจ เดือดร้อนใจในภายหลัง จึงเกิดใน
หมู่เทพชั้นต่ำ’
เทวดาจำนวนมากอีกพวกหนึ่งเข้ามาหาเราแล้วกล่าวดังนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ บรรพชิตทั้งหลายเข้ามายังเรือนของข้าพระองค์ทั้งหลายผู้เคยเป็นมนุษย์
ข้าพระองค์เหล่านั้นได้ลุกรับ กราบไหว้ และให้อาสนะ แต่ไม่ได้แบ่งปันของให้ตาม
ความสามารถ ตามกำลัง ฯลฯ แบ่งปันของให้ตามความสามารถ ตามกำลัง แต่ไม่
นั่งใกล้เพื่อฟังธรรม ฯลฯ นั่งใกล้เพื่อฟังธรรม แต่ไม่เงี่ยโสตฟังธรรม ฯลฯ เงี่ยโสต
ฟังธรรม แต่ฟังแล้วก็ไม่ทรงจำธรรมไว้ได้ ฯลฯ ฟังแล้วทรงจำธรรมไว้ได้ แต่ไม่
พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ ฯลฯ พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำ
ไว้ได้ แต่หารู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรมไม่ ข้าพระองค์เหล่านั้น
ทำหน้าที่ยังไม่บริบูรณ์ มีความร้อนใจ เดือดร้อนใจในภายหลัง จึงเกิดในหมู่เทพชั้นต่ำ’
เทวดาจำนวนมากอีกพวกหนึ่งเข้ามาหาเราแล้วกล่าวดังนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ บรรพชิตทั้งหลายเข้ามายังเรือนของข้าพระองค์ทั้งหลายผู้เคยเป็นมนุษย์
ข้าพระองค์เหล่านั้นได้ลุกรับ กราบไหว้ ให้อาสนะ แบ่งปันของให้ตามความสามารถ
ตามกำลัง นั่งใกล้เพื่อฟังธรรม เงี่ยโสตฟังธรรม ฟังแล้วทรงจำธรรมไว้ได้ พิจารณา
เนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ได้ และรู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม’
ข้าพระองค์เหล่านั้นทำหน้าที่บริบูรณ์แล้ว ไม่มีความร้อนใจ ไม่เดือดร้อนใจใน
ภายหลัง จึงเกิดในหมู่เทพชั้นประณีต’
ภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง๑ เธอทั้งหลายจงเพ่ง อย่าประมาท
อย่าเป็นผู้มีวิปปฏิสาร(ความร้อนใจ) ในภายหลังเหมือนเทวดาพวกแรก ๆ เหล่านั้นเลย

เทวตาสูตรที่ ๙ จบ


เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑,๒ สัตตกนิบาต ข้อ ๗๔ หน้า ๑๗๐ ในเล่มนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.สีหนาทวรรค ๑๐.เวลามสูตร
๑๐. เวลามสูตร
ว่าด้วยเวลามพราหมณ์
[๒๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล อนาถบิณฑิกเศรษฐีเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาค
ได้ตรัสกับท่านดังนี้ว่า “ท่านคหบดี ในตระกูลของท่านยังให้ทานอยู่หรือ”
อนาถบิณฑิกคหบดีกราบทูลว่า “ในตระกูลของข้าพระองค์ยังให้ทานอยู่
พระพุทธเจ้าข้า แต่ทานนั้นแลเป็นของเศร้าหมอง เป็นปลายข้าวกับน้ำผักดอง”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “คหบดี บุคคลให้ทานเศร้าหมอง หรือประณีตก็ตาม
ถ้าให้ทานนั้นโดยไม่เคารพ ไม่ทำความนอบน้อมให้ทาน ไม่ให้ด้วยมือของตนเอง
ให้ทานเหมือนจะทิ้ง๑ เป็นผู้ไม่เห็นผลที่จะตามมาให้ทาน๒ ในตระกูลที่ทานนั้น ๆ
บังเกิดผล เขาไม่น้อมจิตไปเพื่อบริโภคอาหารอย่างดี ไม่น้อมจิตไปเพื่อนุ่งห่มผ้า
อย่างดี ไม่น้อมจิตไปเพื่อใช้ยานอย่างดี และไม่น้อมจิตไปเพื่อบริโภคกามคุณ๓ ๕
อย่างดี แม้แต่บริวารของผู้ให้ทานนั้น คือ บุตร ภรรยา ทาส คนใช้ หรือกรรมกร
ก็ไม่ตั้งใจฟังด้วยดี ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งใจใฝ่รู้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะผลกรรม
ที่ตนได้กระทำโดยไม่เคารพ

เชิงอรรถ :
๑ ให้ทานเหมือนจะทิ้ง ในที่นี้หมายถึงไม่ให้ทานอย่างต่อเนื่อง ให้ทานเหมือนต้องการจะทิ้ง (องฺ.นวก.อ.
๓/๒๐/๒๙๗)
๒ ไม่เห็นผลที่จะตามมาให้ทานในที่นี้หมายถึงไม่เชื่อกรรมและผลกรรมแต่ก็ให้ทาน (องฺ.นวก.อ. ๓/๒๐/๒๙๗)
๓ กามคุณ แยกอธิบายว่า ที่ชื่อว่า กาม เพราะมีความหมายว่าเป็นสิ่งที่บุคคลพึงใคร่ ที่ชื่อว่า คุณ เพราะมี
ความหมายว่าผูกพันไว้ ร้อยรัดไว้ ดุจคำว่า “อนฺตํ อนฺตคุณํ” แปลว่า “ไส้ใหญ่ ไส้เล็ก” ดู ที.ม. ๑๐/๓๗๗/
๒๕๑, ม.มู. ๑๒/๑๑๐/๗๙, ขุ.ขุ. ๒๕/๓/๒, และดุจคำว่า “กยิรา มาลาคุเณ พหู” แปลว่า “ช่างดอกไม้พึง
ร้อยพวงมาลัยไว้เป็นจำนวนมาก” ดู ขุ.ธ. ๒๕/๕๓/๒๖ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๖๓/๑๔๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.สีหนาทวรรค ๑๐.เวลามสูตร
คหบดี บุคคลให้ทานเศร้าหมอง หรือประณีตก็ตาม ถ้าให้ทานนั้นโดยเคารพ
ทำความนอบน้อมให้ทาน ให้ทานด้วยมือของตนเอง ให้ทานไม่เหมือนจะทิ้ง เป็นผู้
เห็นผลที่จะตามมาให้ทานในตระกูลที่ทานนั้น ๆ บังเกิดผล เขาน้อมจิตไปเพื่อ
บริโภคอาหารอย่างดี น้อมจิตไปเพื่อนุ่งห่มผ้าอย่างดี น้อมจิตไปเพื่อใช้ยานอย่างดี
และน้อมจิตไปเพื่อบริโภคกามคุณ ๕ อย่างดี แม้แต่บริวารของผู้ให้ทานนั้น คือ
บุตร ภรรยา ทาส คนใช้ หรือกรรมกรก็ตั้งใจฟังด้วยดี เงี่ยโสตสดับ ตั้งใจใฝ่รู้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะผลกรรมที่ตนได้กระทำไว้โดยเคารพ
คหบดี เรื่องเคยมีมาแล้ว มีพราหมณ์ชื่อเวลามะ๑ เขาให้ทานเป็นมหาทาน
อย่างนี้ คือ ได้ให้ถาดทองคำเต็มด้วยรูปิยะ ๘๔,๐๐๐ ถาด ถาดรูปิยะเต็มด้วย
ทองคำ ๘๔,๐๐๐ ถาด ถาดสำริดเต็มด้วยเงิน ๘๔,๐๐๐ ถาด ให้ช้าง ๘๔,๐๐๐ เชือก
มีเครื่องประดับทองคำ มีธงทองคำ คลุมด้วยข่ายทองคำ ให้รถ ๘๔,๐๐๐ คัน
หุ้มด้วยหนังราชสีห์ หุ้มด้วยหนังเสือโคร่ง หุ้มด้วยหนังเสือเหลือง หุ้มด้วยผ้ากัมพล
เหลือง มีเครื่องประดับทองคำ มีธงทองคำ คลุมด้วยข่ายทองคำ ให้แม่โคนม
๘๔,๐๐๐ ตัว มีน้ำนมที่รีดและไหลสะดวก มีภาชนะสำริดสำหรับรองรับ ให้หญิงสาว
๘๔,๐๐๐ คนสวมแก้วมณีและแก้วกุณฑล ให้บัลลังก์๒ ๘๔,๐๐๐ ที่ลาดด้วยผ้าโกเชาว์๓
ลาดด้วยเครื่องลาดทำด้วยขนแกะสีขาว ลาดด้วยเครื่องลาด ทำด้วยขนแกะลาย
ดอกไม้ ลาดด้วยเครื่องลาดอย่างดีทำด้วยหนังชมด ข้างบนมีเพดาน มีหมอนสี
แดงวางไว้ทั้ง ๒ ข้าง๔ ให้ผ้า ๘๔,๐๐๐ พับ เป็นผ้าเปลือกไม้เนื้อละเอียด ผ้าไหม

เชิงอรรถ :
๑ ที่มีชื่อว่า เวลามะ เพราะมีคุณสมบัติมากมาย ไร้ขอบเขต เช่น เพียบพร้อมด้วยชาติ โคตร รูปร่างลักษณะ
โภคสมบัติ ศรัทธา และปัญญา (เวลาโมติ เอตฺถ มา-สทฺโธ ปฏิเสธวจโน, ชาติโคตฺตรูปโภคาทิคุณานํ
เวลา มริยาทา นตฺถิ เอตสฺมินฺติ เวลาโม) ดู องฺ.อฏฺฐก.ฏีกา ๓/๒๐/๓๕๔
๒ บัลลังก์ ในที่นี้หมายถึงเตียงที่มีเท้าแกะสลักเป็นรูปสัตว์ร้าย (วิ.อ. ๓/๒๕๔/๑๖๙)
๓ ผ้าโกเชาว์ หมายถึงผ้าที่ทำด้วยขนแพะหรือขนแกะผืนใหญ่ มีขนยาวเกิน ๔ นิ้ว (วิ.อ. ๓/๒๕๔/๑๖๙)
๔ หมอนสีแดงวางไว้ทั้ง ๒ ข้าง หมายถึงหมอนที่ใช้สำหรับหนุนศีรษะ ๑ ใบ และใช้หนุนเท้า ๑ ใบ วางไว้
ส่วนศีรษะและส่วนเท้า (วิ.อ. ๓/๒๕๔/๑๖๙-๑๗๐) และดู องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๓๕/๑๙๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.สีหนาทวรรค ๑๐.เวลามสูตร
เนื้อละเอียด ผ้ากัมพลเนื้อละเอียด ผ้าฝ้ายเนื้อละเอียด ไม่จำต้องกล่าวถึงข้าว น้ำ
ของเคี้ยว ของบริโภค ของลิ้ม ของดื่ม ไหลออกไปเหมือนแม่น้ำ
คหบดี ท่านอาจจะมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘สมัยนั้น เวลามพราหมณ์ผู้ให้ทาน
เป็นมหาทาน เป็นคนอื่นแน่แท้ แต่ท่านไม่พึงเห็นอย่างนั้น เพราะเวลามพราหมณ์
ผู้ให้ทานเป็นมหาทาน ในสมัยนั้น ก็คือเรานั่นเอง แต่ในทานนั้น ไม่มีใครเป็น
พระทักขิไณยบุคคล ใคร ๆ ก็ชำระทักษิณานั้นให้หมดจดไม่ได้๑
คหบดี การที่บุคคลเชื้อเชิญบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิผู้เดียวให้บริโภค มีผล
มากกว่าการที่เวลามพราหมณ์ได้ให้ทานเป็นมหาทาน
การที่บุคคลเชื้อเชิญบุคคลผู้เป็นสกทาคามีผู้เดียวให้บริโภค มีผลมากกว่า
การที่บุคคลเชื้อเชิญบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิตั้งร้อยให้บริโภค
การที่บุคคลเชื้อเชิญบุคคลผู้เป็นอนาคามีผู้เดียวให้บริโภค มีผลมากกว่าการ
ที่บุคคลเชื้อเชิญบุคคลผู้เป็นสกทาคามีตั้งร้อยให้บริโภค
การที่บุคคลเชื้อเชิญบุคคลผู้เป็นอรหันต์ผู้เดียวให้บริโภค มีผลมากกว่าการ
ที่บุคคลเชื้อเชิญบุคคลผู้เป็นอนาคามีตั้งร้อยให้บริโภค
การที่บุคคลเชื้อเชิญพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์เดียวให้บริโภค มีผลมากกว่าการที่
บุคคลเชื้อเชิญบุคคลผู้เป็นอรหันต์ตั้งร้อยให้บริโภค
การที่บุคคลเชื้อเชิญตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าให้บริโภค มีผลมากกว่า
การที่บุคคลเชื้อเชิญพระปัจเจกพุทธเจ้าตั้งร้อยให้บริโภค

เชิงอรรถ :
๑ ข้อความพระดำรัสนี้ หมายความว่า ในมหาทานนั้น ไม่มีสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร หรือเมื่อว่า
โดยบุคคลชั้นยอดไม่มีพระพุทธเจ้า ไม่มีสาวกเช่นพระสารีบุตรนั้นเลยที่จะเป็นปฏิคาหกสามารถทำให้
ทักษิณามีผลเลิศได้ (องฺ.นวก.อ. ๓/๒๐/๓๐๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.สีหนาทวรรค ๑๐.เวลามสูตร
การที่บุคคลเชื้อเชิญภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานให้บริโภค มีผลมาก
กว่าการที่บุคคลเชื้อเชิญตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าให้บริโภค
การที่บุคคลสร้างวิหารอุทิศถวายสงฆ์ผู้มาจากทิศทั้ง ๔ มีผลมากกว่าการที่
บุคคลเชื้อเชิญภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานให้บริโภค
การที่บุคคลมีจิตเลื่อมใสถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะ
มีผลมากกว่าการที่บุคคลสร้างวิหารอุทิศถวายสงฆ์ผู้มาจากทิศทั้ง ๔
การที่บุคคลมีจิตเลื่อมใส สมาทานสิกขาบท คือ การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์
การงดเว้นจากการลักทรัพย์ การงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม การงดเว้นจาก
การพูดเท็จ การงดเว้นจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความ
ประมาท มีผลมากกว่าการที่บุคคลมีจิตเลื่อมใสถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และ
พระสงฆ์เป็นสรณะ
การที่บุคคลเจริญเมตตาจิตอย่างน้อยชั่วสูดดมกลิ่นหอม มีผลมากกว่าการที่
บุคคลมีจิตเลื่อมใสสมาทานสิกขาบท คือ การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ เป็นต้นนั้น
คหบดี การที่บุคคลเจริญอนิจจสัญญาชั่วลัดนิ้วมือเดียว มีผลมากกว่าการที่
เวลามพราหมณ์ได้ให้ทานเป็นมหาทาน มากกว่าการที่บุคคลเชื้อเชิญบุคคลผู้ถึงพร้อม
ด้วยทิฏฐิให้บริโภค มากกว่าการที่บุคคลเชื้อเชิญบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิตั้งร้อย
ให้บริโภค มากกว่าการที่บุคคลเชื้อเชิญบุคคลผู้เป็นสกทาคามีผู้เดียวให้บริโภค มากกว่า
การที่บุคคลเชื้อเชิญบุคคลผู้เป็นสกทาคามีตั้งร้อยให้บริโภค มากกว่าการที่บุคคล
เชื้อเชิญบุคคลผู้เป็นอนาคามีผู้เดียวให้บริโภค มากกว่าการที่บุคคลเชื้อเชิญบุคคล
ผู้เป็นอนาคามีตั้งร้อยให้บริโภค มากกว่าการที่บุคคลเชื้อเชิญบุคคลผู้เป็นอรหันต์
ผู้เดียวให้บริโภค มากกว่าการที่บุคคลเชื้อเชิญบุคคลผู้เป็นอรหันต์ตั้งร้อยให้บริโภค
มากกว่าการที่บุคคลเชื้อเชิญพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์เดียวให้บริโภค มากกว่าการที่บุคคล


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.สีหนาทวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
เชื้อเชิญพระอรหันต์ตั้งร้อยให้บริโภค มากกว่าการที่บุคคลเชื้อเชิญตถาคตอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้าให้บริโภค มากกว่าการที่บุคคลเชื้อเชิญภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้า
เป็นประธานให้บริโภค มากกว่าการที่บุคคลสร้างวิหารอุทิศถวายสงฆ์ผู้มาจากทิศ
ทั้ง ๔ มากกว่าการที่บุคคลมีจิตเลื่อมใสถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์
เป็นสรณะ มากกว่าการที่บุคคลมีจิตเลื่อมใสสมาทานสิกขาบท คือ การงดเว้นจาก
การฆ่าสัตว์ ฯลฯ การงดเว้นจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุ
แห่งความประมาท และมากกว่าการที่บุคคลเจริญเมตตาจิตอย่างน้อยชั่วสูดดม
กลิ่นหอมนั้น”
เวลามสูตรที่ ๑๐ จบ
สีหนาทวรรคที่ ๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สีหนาทสูตร ๒. สอุปาทิเสสสูตร
๓. โกฏฐิตสูตร ๔. สมิทธิสูตร
๕. คัณฑสูตร ๖. สัญญาสูตร
๗. กุลสูตร ๘. นวังคุโปสถสูตร
๙. เทวตาสูตร ๑๐. เวลามสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๗๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.สัตตาวาสวรรค ๑.ติฐานสูตร
๓. สัตตาวาสวรรค
หมวดว่าด้วยสัตตาวาส
๑. ติฐานสูตร
ว่าด้วยฐานะ ๓ ประการ
[๒๑] ภิกษุทั้งหลาย มนุษย์ชาวอุตตรกุรุทวีปเหนือกว่าเทวดาชั้นดาวดึงส์
และมนุษย์ชาวชมพูทวีป ด้วยฐานะ ๓ ประการ
ฐานะ ๓ ประการ๑ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่มีความเห็นแก่ตัว ๒. ไม่มีความหวงแหน
๓. มีอายุแน่นอน
ภิกษุทั้งหลาย มนุษย์ชาวอุตตรกุรุทวีปเหนือกว่าเทวดาชั้นดาวดึงส์และมนุษย์
ชาวชมพูทวีป ด้วยฐานะ ๓ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย เทวดาชั้นดาวดึงส์เหนือกว่ามนุษย์ชาวอุตตรกุรุทวีปและมนุษย์
ชาวชมพูทวีป ด้วยฐานะ ๓ ประการ
ฐาน ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อายุอันเป็นทิพย์ ๒. วรรณะอันเป็นทิพย์
๓. สุขอันเป็นทิพย์
ภิกษุทั้งหลาย เทวดาชั้นดาวดึงส์เหนือกว่ามนุษย์ชาวอุตตรกุรุทวีปและมนุษย์
ชาวชมพูทวีป ด้วยฐานะ ๓ ประการนี้แล

เชิงอรรถ :
๑ ไม่มีความเห็นแก่ตัว หมายถึงไม่มีตัณหา อีกนัยหนึ่ง หมายถึงไม่มีความทุกข์ ไม่มีความหวงแหน หมาย
ถึงไม่หวงแหนว่า “สิ่งนี้เป็นของเรา” มีอายุแน่นอน หมายถึงมีอายุ ๑,๐๐๐ ปี และมีคติที่แน่นอนคือ เมื่อ
จุติจากอุตตรกุรุทวีปแล้วต้องไปเกิดในสวรรค์เท่านั้น (องฺ.นวก.อ. ๓/๒๑/๓๐๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.สัตตาวาสวรรค ๒.อัสสขฬุงกสูตร
ภิกษุทั้งหลาย มนุษย์ชาวชมพูทวีปเหนือกว่ามนุษย์ชาวอุตตรกุรุทวีปและ
เทวดาชั้นดาวดึงส์ ด้วยฐานะ ๓ ประการ
ฐานะ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้แกล้วกล้า
๒. เป็นผู้มีสติ๑
๓. เป็นผู้อยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในชมพูทวีปนี้๒
ภิกษุทั้งหลาย มนุษย์ชาวชมพูทวีปเหนือกว่ามนุษย์ชาวอุตตรกุรุทวีปและ
เทวดาชั้นดาวดึงส์ ด้วยฐานะ ๓ ประการนี้แล
ติฐานสูตรที่ ๑ จบ

๒. อัสสขฬุงกสูตร๓
ว่าด้วยม้ากระจอกและคนกระจอก
[๒๒] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงม้ากระจอก ๓ จำพวก คนกระจอก ๓
จำพวก ม้าดี ๓ จำพวก และคนดี ๓ จำพวก ม้าอาชาไนย๔พันธุ์ดี ๓ จำพวก
และบุรุษอาชาไนยผู้เจริญ ๓ จำพวก เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น
ม้ากระจอก ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. ม้ากระจอกบางตัวในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยเชาว์ แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยวรรณะ
ไม่สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่

เชิงอรรถ :
๑ มีสติ ในที่นี้หมายถึงมีสติมั่นคง เพราะมนุษย์มีทั้งสุขและทุกข์คละเคล้ากัน ซึ่งต่างจากเทวดาและสัตว์นรก
ที่มีสติไม่มั่นคง เพราะเทวดามีแต่สุขอย่างเดียว และสัตว์นรกมีแต่ทุกข์อย่างเดียว (องฺ.นวก.อ. ๓/๒๑/๓๐๓)
๒ เพราะพระพุทธเจ้าและพระปัจเจกพุทธเจ้าอุบัติในชมพูทวีป จึงมีการประพฤติพรหมจรรย์คืออริยมรรค
มีองค์ ๘ (องฺ.นวก.อ. ๓/๒๑/๓๐๓) และดู อภิ.ก. ๓๗/๒๗๑/๙๕
๓ ดู องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๑๔๑-๑๔๓/๓๘๗-๓๙๒ (อัสสขฬุงกสูตร อัสสสทัสสสูตร)
๔ ม้าอาชาไนย ในที่นี้หมายถึงม้าที่เกิดในตระกูลม้าสินธพ หรือในตระกูลพญาม้าวลาหก (ขุ.ธ.อ. ๑๕๔/๑๐๕)
หรือ หมายถึงม้าที่รู้เหตุที่ควรและไม่ควร (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๔๓/๒๗๓) และดู องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๙๗/๓๓๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๗๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.สัตตาวาสวรรค ๒.อัสสขฬุงกสูตร
๒. ม้ากระจอกบางตัวในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยเชาว์ และสมบูรณ์ด้วยวรรณะ
แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่
๓. ม้ากระจอกบางตัวในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยเชาว์ สมบูรณ์ด้วยวรรณะ
และสมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่
ภิกษุทั้งหลาย ม้ากระจอก ๓ จำพวกนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย คนกระจอก ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. คนกระจอกบางคนในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยเชาว์๑ แต่ไม่สมบูรณ์ด้วย
วรรณะ๒ ไม่สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่
๒. คนกระจอกบางคนในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยเชาว์ และสมบูรณ์ด้วยวรรณะ
แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่
๓. คนกระจอกบางคนในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยเชาว์ สมบูรณ์ด้วยวรรณะ
และสมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่
คนกระจอกสมบูรณ์ด้วยเชาว์ แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยวรรณะ ไม่สมบูรณ์ด้วย
ความสูงและความใหญ่ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย
นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’ เรากล่าวว่า นี้เป็นเชาว์ของเขา แต่เขาถูก
ถามปัญหาในอภิธรรมและอภิวินัย ก็จนปัญญา ตอบไม่ได้ เรากล่าวว่า นี้ไม่ใช่
วรรณะของเขา และเขาไม่ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย-
เภสัชชบริขาร เรากล่าวว่า นี้ไม่ใช่ความสูงและความใหญ่ของเขา
ภิกษุทั้งหลาย คนกระจอกสมบูรณ์ด้วยเชาว์ แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยวรรณะ
ไม่สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ เป็นอย่างนี้แล

เชิงอรรถ :
๑ เชาว์ของม้า หมายถึงกำลังวิ่งหรือความมีฝีเท้าเร็ว (ปทชวะ) เชาว์ของคน หมายถึงกำลังวิ่งหรือหมายถึง
ญาณคือความหยั่งรู้อริยสัจ ๔ เป็นต้น (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๔๑/๒๗๓, องฺ.นวก.อ. ๓/๒๒/๓๐๔)
๒ วรรณะของม้า หมายถึงสีสันแห่งสรีระ วรรณะของคน หมายถึงคุณ คือความมีปฏิภาณในการโต้ตอบแก้
ปัญหาในเรื่องอภิธรรม อภิวินัย ไม่จนปัญญา (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๔๑/๒๗๓, องฺ.นวก.อ. ๓/๒๒/๓๐๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๗๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.สัตตาวาสวรรค ๒.อัสสขฬุงกสูตร
คนกระจอกสมบูรณ์ด้วยเชาว์ และสมบูรณ์ด้วยวรรณะ แต่ไม่สมบูรณ์ด้วย
ความสูงและความใหญ่ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธ-
คามินีปฏิปทา’ เรากล่าวว่า นี้เป็นเชาว์ของเขา เขาถูกถามปัญหาในอภิธรรมและ
อภิวินัยก็ตอบได้ ไม่จนปัญญา เรากล่าวว่า นี้เป็นวรรณะของเขา แต่เขาไม่ได้จีวร
บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร เรากล่าวว่า นี้ไม่ใช่ความสูง
และความใหญ่ของเขา
ภิกษุทั้งหลาย คนกระจอกสมบูรณ์ด้วยเชาว์ และสมบูรณ์ด้วยวรรณะ แต่ไม่
สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ เป็นอย่างนี้แล
คนกระจอกสมบูรณ์ด้วยเชาว์ สมบูรณ์ด้วยวรรณะ และสมบูรณ์ด้วยความ
สูงและความใหญ่ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธ-
คามินีปฏิปทา’ เรากล่าวว่า นี้เป็นเชาว์ของเขา เขาถูกถามปัญหาในอภิธรรมและ
อภิวินัย ก็ตอบได้ ไม่จนปัญญา เรากล่าวว่า นี้เป็นวรรณะของเขา และเขาได้จีวร
บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร เรากล่าวว่า นี้เป็นความสูง
และความใหญ่ของเขา
ภิกษุทั้งหลาย คนกระจอกสมบูรณ์ด้วยเชาว์ สมบูรณ์ด้วยวรรณะ และสมบูรณ์
ด้วยความสูงและความใหญ่ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย คนกระจอก ๓ จำพวกนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ม้าดี ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. ม้าดีบางตัวในโลกนี้ ฯลฯ
๒. ม้าดีบางตัวในโลกนี้ ฯลฯ
๓. ม้าดีบางตัวในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยเชาว์ สมบูรณ์ด้วยวรรณะ และ
สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.สัตตาวาสวรรค ๒.อัสสขฬุงกสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ม้าดี ๓ จำพวกนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย คนดี ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. คนดีบางคนในโลกนี้ ฯลฯ
๒. คนดีบางคนในโลกนี้ ฯลฯ
๓. คนดีบางคนในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยเชาว์ สมบูรณ์ด้วยวรรณะ และ
สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่
ฯลฯ
คนดีสมบูรณ์ด้วยเชาว์ สมบูรณ์ด้วยวรรณะ และสมบูรณ์ด้วยความสูงและ
ความใหญ่ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป จักเป็น
โอปปาติกะ๑ ปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นแน่นอน เรากล่าวว่า
นี้เป็นเชาว์ของเขา เขาถูกถามปัญหาในอภิธรรมและอภิวินัย ก็ตอบได้ ไม่จนปัญญา
เรากล่าวว่า นี้เป็นวรรณะของเขา และเขาได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ
คิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร เรากล่าวว่า นี้เป็นความสูงและความใหญ่ของเขา
ภิกษุทั้งหลาย คนดีสมบูรณ์ด้วยเชาว์ สมบูรณ์ด้วยวรรณะ และสมบูรณ์ด้วย
ความสูงและความใหญ่ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย คนดี ๓ จำพวกนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยพันธุ์ดี ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีบางตัวในโลกนี้ ฯลฯ
๒. ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีบางตัวในโลกนี้ ฯลฯ
๓. ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีบางตัวในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยเชาว์ สมบูรณ์ด้วย
วรรณะ และสมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่
ภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยพันธุ์ดี ๓ จำพวกนี้แล

เชิงอรรถ :
๑ โอปปาติกะ หมายถึงสัตว์ที่เกิดและเติบโตเต็มที่ทันที และเมื่อจุติ (ตาย) ก็หายวับไป ไม่ทิ้งซากศพไว้ เช่น
เทวดาและสัตว์นรกเป็นต้น (เทียบ ที.สี.อ. ๑/๑๗๑/๑๔๙) แต่ในที่นี้หมายถึงพระอนาคามีที่เกิดในสุทธาวาส
(ที่อยู่ของท่านผู้บริสุทธิ์) ๕ ชั้น มีชั้นอวิหา เป็นต้น แล้วดำรงภาวะอยู่ในชั้นนั้น ๆ ปรินิพพานสิ้นกิเลสใน
สุทธาวาสนั่นเอง ไม่กลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีก (องฺ.ติก.อ. ๒/๘๗-๘๘/๒๔๒-๒๔๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๗๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.สัตตาวาสวรรค ๓.ตัณหามูลกสูตร
ภิกษุทั้งหลาย บุรุษอาชาไนยผู้เจริญ ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุรุษอาชาไนยผู้เจริญบางคนในโลกนี้ ฯลฯ
๒. บุรุษอาชาไนยผู้เจริญบางคนในโลกนี้ ฯลฯ
๓. บุรุษอาชาไนยผู้เจริญบางคนในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยเชาว์ สมบูรณ์
ด้วยวรรณะ และสมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่
ฯลฯ
บุรุษอาชาไนยผู้เจริญสมบูรณ์ด้วยเชาว์ สมบูรณ์ด้วยวรรณะ และสมบูรณ์
ด้วยความสูงและความใหญ่ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะ
อาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน เรากล่าวว่า นี้เป็นเชาว์ของเขา
เขาถูกถามปัญหาในอภิธรรมและอภิวินัย ก็ตอบได้ ไม่จนปัญญา เรากล่าวว่า นี้เป็น
วรรณะของเขา และเขาได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร
เรากล่าวว่า นี้เป็นความสูงและความใหญ่ของเขา
ภิกษุทั้งหลาย บุรุษอาชาไนยผู้เจริญสมบูรณ์ด้วยเชาว์ สมบูรณ์ด้วยวรรณะ
และสมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย บุรุษอาชาไนยผู้เจริญ ๓ จำพวกนี้แล
อัสสขฬุงกสูตรที่ ๒ จบ

๓. ตัณหามูลกสูตร
ว่าด้วยตัณหามูลธรรม๑
[๒๓] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมมีตัณหาเป็นมูลเหตุ ๙ ประการ
พวกเธอจงฟังธรรมนั้น
ธรรมมีตัณหาเป็นมูลเหตุ ๙ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เพราะอาศัยตัณหา การแสวงหาจึงเกิดขึ้น
๒. เพราะอาศัยการแสวงหา การได้จึงเกิดขึ้น

เชิงอรรถ :
๑ ดู ที.ปา ๑๑/๓๕๙/๒๗๓, อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๖๓/๖๑๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๘๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.สัตตาวาสวรรค ๔.สัตตาวาสสูตร
๓. เพราะอาศัยการได้ การวินิจฉัยจึงเกิดขึ้น
๔. เพราะอาศัยการวินิจฉัย๑ ฉันทราคะ๒ จึงเกิดขึ้น
๕. เพราะอาศัยฉันทราคะ ความหลงใหลจึงเกิดขึ้น
๖. เพราะอาศัยความหลงใหล ความหวงแหนจึงเกิดขึ้น
๗. เพราะอาศัยความหวงแหน ความตระหนี่จึงเกิดขึ้น
๘. เพราะอาศัยความตระหนี่ การรักษาจึงเกิดขึ้น
๙. เพราะอาศัยการรักษา บาปอกุศลธรรมหลายประการ คือ การถือ
ท่อนไม้ การถือศัสตรา การทะเลาะ การแก่งแย่ง การวิวาท
การพูดขึ้นมึง กู การพูดส่อเสียด การพูดเท็จ จึงเกิดขึ้น
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมมีตัณหาเป็นมูลเหตุ ๙ ประการนี้แล
ตัณหามูลกสูตรที่ ๓ จบ

๔. สัตตาวาสสูตร
ว่าด้วยสัตตาวาส๓
[๒๔] ภิกษุทั้งหลาย สัตตาวาส (ภพเป็นที่อยู่แห่งสัตว์) ๙ ประการนี้
สัตตาวาส ๙ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. มีสัตว์ผู้มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน คือ มนุษย์บางพวก เทวดา
บางพวก และวินิปาติกะบางพวก นี้เป็นสัตตาวาสประการที่ ๑

เชิงอรรถ :
๑ วินิจฉัย หมายถึงวินิจฉัย ๔ ประการ คือ (๑) ญาณวินิจฉัย ได้แก่ รู้การตกลงใจว่าเป็นสุขหมั่นประกอบ
ความสุขภายใน (๒) ตัณหาวินิจฉัย ได้แก่ ตัณหาวินิจฉัย ๑๐๘ (๓) ทิฏฐิวินิจฉัย ได้แก่ ทิฏฐิ ๖๒
(๔) วิตักกวินิจฉัย ได้แก่ ฉันทะที่เป็นเหตุเกิดแห่งวิตก และในที่นี้หมายถึงวิตักกวินิจฉัยเท่านั้น เพราะแม้
ได้ลาภ ก็วินิจฉัยถึงสิ่งที่น่าปรารถนาและสิ่งที่ไม่น่าปรารถนา วินิจฉัยถึงสิ่งที่ดีและไม่ดีด้วยวิตกทั้งนั้นว่า
สิ่งนี้มีแก่เรา สิ่งนี้มีแก่ผู้อื่น เราใช้สิ่งนี้ เรางดเว้นสิ่งนี้” (องฺ.นวก.อ. ๓/๒๓/๓๐๔)
๒ ฉันทราคะ ในที่นี้หมายถึงราคะที่มีกำลังอ่อน ไม่ใช่ราคะที่มีกำลังกล้า เกิดขึ้นเมื่อถูกอกุศลวิตกครอบงำ
(องฺ.นวก.อ. ๒/๒๓/๓๐๕)
๓ ดูสัตตกนิบาตข้อ ๔๔ (สัตตวิญญาณัฏฐิติสูตร) หน้า ๖๗-๖๘ ในเล่มนี้ และดู ที.ม. ๑๐/๑๒๗/๖๑-๖๒,
ที.ปา. ๑๑/๓๕๗/๒๕๘, ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๘๓/๒๘๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.สัตตาวาสวรรค ๔.สัตตาวาสสูตร
๒. มีสัตว์ผู้มีกายต่างกัน แต่มีสัญญาอย่างเดียวกัน คือ เทวดาชั้น
พรหมกายิกา (เทวดาผู้นับเนื่องในหมู่พรหม) เกิดในปฐมฌานที่ ๑
นี้เป็นสัตตาวาสประการที่ ๒
๓. มีสัตว์ผู้มีกายอย่างเดียวกัน แต่มีสัญญาต่างกัน คือ เทวดาชั้น
อาภัสสระ นี้เป็นสัตตาวาสประการที่ ๓
๔. มีสัตว์ผู้มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน คือ เทวดา
ชั้นสุภกิณหะ (เทวดาผู้เต็มไปด้วยความงาม) นี้เป็นสัตตาวาสประการ
ที่ ๔
๕. มีสัตว์ผู้ไม่มีสัญญา ไม่เสวยเวทนา คือ เทวดาชั้นอสัญญีสัตตพรหม
นี้เป็นสัตตาวาสประการที่ ๕
๖. มีสัตว์ผู้บรรลุอากาสานัญจายตนฌานอยู่โดยกำหนดว่า ‘อากาศ
หาที่สุดมิได้’ อยู่ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนด
นานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง นี้เป็นสัตตาวาสประการที่ ๖
๗. มีสัตว์ผู้ล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
วิญญาณัญจายตนฌานอยู่โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’
นี้เป็นสัตตาวาสประการที่ ๗
๘. มีสัตว์ผู้ล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
อากิญจัญญายตนฌานอยู่โดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ นี้เป็นสัตตาวาส
ประการที่ ๘
๙. มีสัตว์ผู้ล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
เนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ นี้เป็นสัตตาวาสประการที่ ๙
ภิกษุทั้งหลาย สัตตาวาส ๙ ประการนี้แล

สัตตาวาสสูตรที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.สัตตาวาสวรรค ๕.ปัญญาสูตร
๕. ปัญญาสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้อบรมจิตดีด้วยปัญญา
[๒๕] ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุอบรมจิตดีด้วยปัญญา เมื่อนั้น ภิกษุนั้น
ควรกล่าวดังนี้ว่า ‘เรารู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำ
เสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
ภิกษุอบรมจิตดีด้วยปัญญา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุอบรมจิตดีด้วยปัญญาว่า
๑. จิตของเราปราศจากราคะแล้ว
๒. จิตของเราปราศจากโทสะแล้ว
๓. จิตของเราปราศจากโมหะแล้ว
๔. จิตของเราไม่มีราคะเป็นธรรมดา
๕. จิตของเราไม่มีโทสะเป็นธรรมดา
๖. จิตของเราไม่มีโมหะเป็นธรรมดา
๗. จิตของเราไม่กลับมาในกามภพเป็นธรรมดา
๘. จิตของเราไม่กลับมาในรูปภพเป็นธรรมดา
๙. จิตของเราไม่กลับมาในอรูปภพเป็นธรรมดา
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุอบรมจิตดีด้วยปัญญา เมื่อนั้น ภิกษุนั้นควรกล่าว
ดังนี้ว่า ‘เรารู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว
ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’

ปัญญาสูตรที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.สัตตาวาสวรรค ๖.สิลายูปสูตร
๖. สิลายูปสูตร
ว่าด้วยจิตเปรียบด้วยเสาหิน
[๒๖] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตร และท่านพระจันทิกาบุตร อยู่ ณ
พระเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน๑ เขตกรุงราชคฤห์ ณ ที่นั้นแล ท่านพระจันทิกาบุตร
กล่าวกับภิกษุทั้งหลายว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย พระเทวทัตแสดงธรรมแก่ภิกษุ
ทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุอบรมจิตด้วยจิต เมื่อนั้น ภิกษุนั้น
ควรพยากรณ์ดังนี้ว่า ‘เรารู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควร
ทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
เมื่อท่านพระจันทิกาบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวกับท่าน
พระจันทิกาบุตรดังนี้ว่า “ท่านจันทิกาบุตร พระเทวทัตไม่แสดงธรรมแก่ภิกษุ
ทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘เมื่อใด ภิกษุอบรมจิตด้วยจิต เมื่อนั้น ภิกษุนั้นควรพยากรณ์
ดังนี้ว่า ‘เรารู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว
ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ แต่พระเทวทัตแสดงธรรมแก่ภิกษุ
ทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุอบรมจิตดีด้วยจิต เมื่อนั้น
ภิกษุนั้นควรพยากรณ์ดังนี้ว่า ‘เรารู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระจันทิกาบุตรก็กล่าวกับภิกษุทั้งหลายว่า “ผู้มีอายุ
ทั้งหลาย พระเทวทัตแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อใด
ภิกษุอบรมจิตด้วยจิต เมื่อนั้น ภิกษุนั้นควรพยากรณ์ดังนี้ว่า ‘เรารู้ชัดว่า ‘ชาติ
สิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความ
เป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

เชิงอรรถ :
๑ กลันทกนิวาปสถาน หมายถึงสถานที่สำหรับพระราชทานเหยื่อแก่กระแต (ดูรายละเอียดใน ม.มู.อ.
๒/๒๕๒/๔๑-๔๒, G.P. MALALAKERA, Dictionary of Pali : Proper Names, London, Luzac
Company Ltd. 46 Great Russell Street, 1960.)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.สัตตาวาสวรรค ๖.สิลายูปสูตร
แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระสารีบุตรก็ได้กล่าวกับท่านพระจันทิกาบุตรดังนี้ว่า “ท่าน
จันทิกาบุตร พระเทวทัตไม่แสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘เมื่อใด ภิกษุ
อบรมจิตด้วยจิต เมื่อนั้น ภิกษุนั้นควรพยากรณ์ดังนี้ว่า ‘เรารู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีก
ต่อไป’ แต่พระเทวทัตแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย
เมื่อใด ภิกษุอบรมจิตดีด้วยจิต เมื่อนั้น ภิกษุนั้นควรพยากรณ์ดังนี้ว่า ‘เรารู้ชัดว่า
‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อ
ความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
ภิกษุอบรมจิตดีด้วยจิต เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุอบรมจิตดีด้วยจิตว่า
๑. จิตของเราปราศจากราคะแล้ว
๒. จิตของเราปราศจากโทสะแล้ว
๓. จิตของเราปราศจากโมหะแล้ว
๔. จิตของเราไม่มีราคะเป็นธรรมดา
๕. จิตของเราไม่มีโทสะเป็นธรรมดา
๖. จิตของเราไม่มีโมหะเป็นธรรมดา
๗. จิตของเราไม่กลับมาในกามภพเป็นธรรมดา
๘. จิตของเราไม่กลับมาในรูปภพเป็นธรรมดา
๙. จิตของเราไม่กลับมาในอรูปภพเป็นธรรมดา
ผู้มีอายุ แม้หากรูปอย่างหยาบที่พึงรู้แจ้งทางตา ผ่านมาทางคลองจักษุของ
ภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นโดยชอบแล้วอย่างนี้ รูปเหล่านั้นก็ครอบงำจิตของเธอไม่ได้
จิตของเธอไม่ระคนกับรูปเหล่านั้นเลย เป็นจิตตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว และเธอย่อม
พิจารณาเห็นความเสื่อมแห่งรูปนั้น
ผู้มีอายุ เสาหินยาว ๑๖ ศอกหยั่งลงไปในหลุม ๘ ศอก อยู่บนหลุม ๘ ศอก
แม้ลมพายุอย่างแรงพัดมาทางทิศบูรพาก็ไม่พึงทำให้เสาหินนั้นสั่นคลอน สะเทือน
หวั่นไหวได้ แม้ลมพายุอย่างแรงพัดมาทางทิศตะวันตก ฯลฯ ทางทิศเหนือ ฯลฯ ทางทิศใต้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๘๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.สัตตาวาสวรรค ๗.ปฐมเวรสูตร
ก็ไม่พึงทำให้เสาหินนั้นสั่นคลอน สะเทือน หวั่นไหวได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ
หลุมลึกและเสาหินฝังไว้ดี ฉันใด
แม้หากรูปอย่างหยาบที่พึงรู้แจ้งทางตา ผ่านมาทางคลองจักษุของภิกษุผู้มีจิต
หลุดพ้นโดยชอบแล้วอย่างนี้ รูปเหล่านั้นก็ครอบงำจิตของเธอไม่ได้ จิตของเธอ
ไม่ระคนกับรูปเหล่านั้นเลย เป็นจิตตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว และเธอย่อมพิจารณาเห็น
ความเสื่อมแห่งรูปนั้น ฉันนั้นเหมือนกัน
แม้หากเสียงอย่างหยาบที่พึงรู้แจ้งทางหู ฯลฯ
แม้หากกลิ่นอย่างหยาบที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ฯลฯ
แม้หากรสอย่างหยาบที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ
แม้หากโผฏฐัพพะอย่างหยาบที่พึงรู้แจ้งทางกาย ฯลฯ
แม้หากธรรมารมณ์อย่างหยาบที่พึงรู้แจ้งทางใจ ผ่านมาทางคลองใจของภิกษุ
ผู้มีจิตหลุดพ้นโดยชอบแล้วอย่างนี้ ธรรมารมณ์เหล่านั้นก็ครอบงำจิตของเธอไม่ได้
จิตของเธอไม่ระคนกับธรรมารมณ์เหล่านั้นเลย เป็นจิตตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว และเธอ
ย่อมพิจารณาเห็นความเสื่อมแห่งธรรมารมณ์นั้น ฉันนั้นเหมือนกัน”
สิลายูปสูตรที่ ๖ จบ

๗. ปฐมเวรสูตร
ว่าด้วยภัยเวร๑ สูตรที่ ๑
[๒๗] ครั้งนั้นแล อนาถบิณฑิกคหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสกับอนาถบิณฑิกคหบดี
ดังนี้ว่า “คหบดี เมื่อใด อริยสาวกระงับภัยเวร ๕ ประการได้แล้ว และประกอบด้วย
องค์เครื่องบรรลุโสดา๒ ๔ ประการ เมื่อนั้น อริยสาวกนั้นเมื่อหวังอยู่ พึงพยากรณ์
ตนเองว่า ‘เรามีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีภูมิแห่งเปรตสิ้นแล้ว

เชิงอรรถ :
๑ ดู องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๙๒/๒๑๒-๒๑๔
๒ องค์เครื่องบรรลุโสดา ในที่นี้หมายถึงคุณสมบัติของพระโสดาบัน (สํ.ม.อ. ๓/๔๗๘/๓๐๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๘๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.สัตตาวาสวรรค ๗.ปฐมเวรสูตร
มีอบาย ทุคติ และวินิบาต๑สิ้นแล้ว เป็นโสดาบัน๒ ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่
จะสำเร็จสัมโพธิ๓ในวันข้างหน้า’
อริยสาวกระงับภัยเวร ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้ฆ่าสัตว์ เพราะการฆ่าสัตว์เป็นปัจจัย จึงประสพภัยเวรที่
เป็นไปในปัจจุบันบ้าง ในสัมปรายภพบ้าง ต้องเสวยทุกขโทมนัส
ทางใจบ้าง บุคคลผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ย่อมไม่ประสพภัยเวรที่
เป็นไปในปัจจุบัน ที่เป็นไปในสัมปรายภพ ทั้งไม่ต้องเสวยทุกข-
โทมนัสทางใจ บุคคลผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์แล้ว ย่อมระงับภัยเวร
นั้นได้ อย่างนี้
๒. บุคคลผู้ลักทรัพย์ ...
๓. บุคคลผู้ประพฤติผิดในกาม ...
๔. บุคคลผู้พูดเท็จ ...
๕. บุคคลผู้เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัย๔อันเป็นเหตุแห่งความ
ประมาท เพราะการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่ง
ความประมาทเป็นปัจจัย จึงประสพภัยเวรที่เป็นไปในปัจจุบันบ้าง
ในสัมปรายภพบ้าง ต้องเสวยทุกขโทมนัสทางใจบ้าง บุคคลผู้เว้น
ขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความ
ประมาท ย่อมไม่ประสพภัยเวรที่เป็นไปในปัจจุบัน ที่เป็นไปใน
สัมปรายภพ ทั้งไม่ต้องเสวยทุกขโทมนัสทางใจ บุคคลผู้เว้นขาด
จากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท
แล้วย่อมระงับภัยเวรนั้นได้ อย่างนี้
อริยสาวกระงับภัยเวร ๕ ประการ เป็นอย่างนี้แล

เชิงอรรถ :
๑ อบาย ทุคติ วินิบาต ทั้ง ๓ คำนี้เป็นไวพจน์ของนรก (องฺ.เอกก.อ. ๑/๔๓/๕๐)
๒ โสดาบัน หมายถึงผู้ประกอบด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘ เพราะคำว่า โสตะ เป็นชื่อของอริยมรรคมีองค์ ๘
(อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๑/๕๓๐)
๓ ดูเชิงอรรถที่ ๑ สัตตกนิบาต ข้อ ๑๕ หน้า ๒๓ ในเล่มนี้
๔ ดูเชิงอรรถที่ ๒ สัตตกนิบาต ข้อ ๖ หน้า ๑๐ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๘๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.สัตตาวาสวรรค ๗.ปฐมเวรสูตร
อริยสาวกประกอบด้วยองค์เครื่องบรรลุโสดา ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้
ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี
รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี
พระภาค’
๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า ‘พระธรรม
เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วย
ตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน
อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน’
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า ‘พระสงฆ์
สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติถูกทาง
ปฏิบัติสมควร ได้แก่ อริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล พระสงฆ์สาวก
ของพระผู้มีพระภาคนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่
ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก’
๔. เป็นผู้ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะใคร่ ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง
ไม่พร้อย เป็นไท ท่านผู้รู้สรรเสริญ ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ
เป็นไปเพื่อสมาธิ
อริยสาวกประกอบด้วยองค์เครื่องบรรลุโสดา ๔ ประการ เป็นอย่างนี้แล
คหบดี เมื่อใด อริยสาวกระงับภัยเวร ๕ ประการนี้ได้แล้ว และประกอบด้วย
องค์เครื่องบรรลุโสดา ๔ ประการนี้ เมื่อนั้น อริยสาวกนั้นเมื่อหวังอยู่ พึงพยากรณ์
ตนเองว่า ‘เรามีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีภูมิแห่งเปรตสิ้นแล้ว
มีอบาย ทุคติ และวินิบาตสิ้นแล้ว เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่
จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”
ปฐมเวรสูตรที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๘๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.สัตตาวาสวรรค ๘.ทุติยเวรสูตร
๘. ทุติยเวรสูตร
ว่าด้วยภัยเวร สูตรที่ ๒
[๒๘] ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด อริยสาวกระงับภัยเวร ๕ ประการได้แล้ว
และประกอบด้วยองค์เครื่องบรรลุโสดา ๔ ประการ เมื่อนั้น อริยสาวกนั้นเมื่อ
หวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนเองว่า ‘เรามีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว
มีภูมิแห่งเปรตสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ และวินิบาตสิ้นแล้ว เป็นโสดาบัน ไม่มีทาง
ตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’
อริยสาวกระงับภัยเวร ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้ฆ่าสัตว์ เพราะการฆ่าสัตว์เป็นปัจจัย จึงประสพภัยเวรที่
เป็นไปในปัจจุบันบ้าง ในสัมปรายภพบ้าง ต้องเสวยทุกขโทมนัส
ทางใจบ้าง บุคคลผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ย่อมไม่ประสพภัยเวรที่
เป็นไปในปัจจุบัน ที่เป็นไปในสัมปรายภพ ทั้งไม่ต้องเสวยทุกข-
โทมนัสทางใจ บุคคลผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์แล้ว ย่อมระงับ
ภัยเวรนั้นได้ อย่างนี้
๒. บุคคลผู้ลักทรัพย์ ...
๓. บุคคลผู้ประพฤติผิดในกาม ...
๔. บุคคลผู้พูดเท็จ ...
๕. บุคคลผู้เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท
เพราะการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความ
ประมาทเป็นปัจจัย จึงประสพภัยเวรที่เป็นไปในปัจจุบันบ้าง ใน
สัมปรายภพบ้าง ต้องเสวยทุกขโทมนัสทางใจบ้าง บุคคลผู้เว้นขาด
จากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท
ย่อมไม่ประสพภัยเวรที่เป็นไปในปัจจุบัน ที่เป็นไปในสัมปรายภพ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๘๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.สัตตาวาสวรรค ๘.ทุติยเวรสูตร
ทั้งไม่ต้องเสวยทุกขโทมนัสทางใจ บุคคลผู้เว้นขาดจากการเสพของ
มึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาทแล้วย่อมระงับ
ภัยเวรนั้นได้ อย่างนี้
อริยสาวกระงับภัยเวร ๕ ประการนี้ เป็นอย่างนี้แล
อริยสาวกประกอบด้วยองค์เครื่องบรรลุโสดา ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของ
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’
๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
๔. ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะใคร่ ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย
เป็นไท ท่านผู้รู้สรรเสริญ ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ เป็นไปเพื่อ
สมาธิ
อริยสาวกประกอบด้วยองค์เครื่องบรรลุโสดา ๔ ประการ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด อริยสาวกระงับภัยเวร ๕ ประการนี้ได้แล้ว และ
ประกอบด้วยองค์เครื่องบรรลุโสดา ๔ ประการนี้ เมื่อนั้น อริยสาวกนั้นเมื่อหวังอยู่
พึงพยากรณ์ตนเองว่า ‘เรามีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีภูมิแห่ง
เปรตสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ และวินิบาตสิ้นแล้ว เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ
มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’

ทุติยเวรสูตรที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๙๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.สัตตาวาสวรรค ๙.อาฆาตวัตถุสูตร
๙. อาฆาตวัตถุสูตร
ว่าด้วยอาฆาตวัตถุ๑
[๒๙] ภิกษุทั้งหลาย อาฆาตวัตถุ (เหตุผูกอาฆาต) ๙ ประการนี้
อาฆาตวัตถุ ๙ ประการ อะไรบ้าง คือ
บุคคลย่อมผูกอาฆาตว่า
๑. ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์๒แก่เรา
๒. ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา
๓. ผู้นี้จักทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา
๔. ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา
๕. ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา
๖. ผู้นี้จักทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา
๗. ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา
๘. ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอ
ของเรา
๙. ผู้นี้จักทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา
ภิกษุทั้งหลาย อาฆาตวัตถุ ๙ ประการนี้แล
อาฆาตวัตถุสูตรที่ ๙ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดู องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๗๙/๑๗๗, อภิ.วิ (แปล) ๓๕/๙๖๗/๖๑๙
๒ สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ในที่นี้หมายถึงความพินาศ เสียหาย ไม่เจริญ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๘๘-๘๙/๑๕๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๙๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.สัตตาวาสวรรค ๑๐.อาฆาตปฏิวินยสูตร
๑๐. อาฆาตปฏิวินยสูตร
ว่าด้วยอุบายกำจัดอาฆาต
[๓๐] ภิกษุทั้งหลาย อุบายเป็นเครื่องกำจัดอาฆาต๑ ๙ ประการนี้
อุบายเป็นเครื่องกำจัดอาฆาต ๙ ประการ อะไรบ้าง คือ
บุคคลย่อมกำจัดอาฆาตว่า
๑. ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา การทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์
แก่เรานั้น จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน
๒. ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา การทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์
แก่เรานั้น จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน
๓. ผู้นี้จักทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา การทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์
แก่เรานั้น จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน
๔. ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา
การทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรานั้น
จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน
๕. ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา
การทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรานั้น
จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน
๖. ผู้นี้จักทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา
การทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรานั้น
จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน
๗. ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา
การทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรานั้น
จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน

เชิงอรรถ :
๑ ดู องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๘๐/๑๗๘-๑๗๙, ที.ปา. ๑๑/๓๓๙/๒๓๒ ประกอบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.สัตตาวาสวรรค ๑๑.อนุปุพพนิโรธสูตร
๘. ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอ
ของเรา การทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบ
พอของเรานั้น จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน
๙. ผู้นี้จักทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา
การทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรานั้น
จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน
ภิกษุทั้งหลาย อุบายเป็นเครื่องกำจัดอาฆาต ๙ ประการนี้แล
อาฆาตปฏิวินยสูตรที่ ๑๐ จบ

๑๑. อนุปุพพนิโรธสูตร
ว่าด้วยอนุปุพพนิโรธ
[๓๑] ภิกษุทั้งหลาย อนุปุพพนิโรธ๑ (ความดับไปตามลำดับ) ๙ ประการนี้
อนุปุพพนิโรธ ๙ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กามสัญญาของผู้เข้าปฐมฌานดับไป
๒. วิตกวิจารของผู้เข้าทุติยฌานดับไป
๓. ปีติของผู้เข้าตติยฌานดับไป
๔. ลมหายใจเข้าลมหายใจออกของผู้เข้าจตุตถฌานดับไป
๕. รูปสัญญาของผู้เข้าอากาสานัญจายตนฌานดับไป
๖. อากาสานัญจายตนสัญญาของผู้เข้าวิญญาณัญจายนตฌานดับไป
๗. วิญญาณัญจายตนสัญญาของผู้เข้าอากิญจัญญายตนฌานดับไป

เชิงอรรถ :
๑ ดู ที.ปา. ๑๑/๓๔๔/๒๓๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.สัตตาวาสวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
๘. อากิญจัญญายตนสัญญาของผู้เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌานดับไป
๙. สัญญาและเวทนาของผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ๑ ดับไป
ภิกษุทั้งหลาย อนุปุพพนิโรธ ๙ ประการนี้แล
อนุปุพพนิโรธสูตรที่ ๑๑ จบ
สัตตาวาสวรรคที่ ๓ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ติฐานสูตร ๒. อัสสขฬุงกสูตร
๓. ตัณหาสูตร ๔. สัตตาวาสสูตร
๕. ปัญญาสูตร ๖. สิลายูปสูตร
๗. ปฐมเวรสูตร ๘. ทุติยเวรสูตร
๙. อาฆาตวัตถุสูตร ๑๐. อาฆาตปฏิวินยสูตร
๑๑. อนุปุพพนิโรธสูตร


เชิงอรรถ :
๑ สัญญาเวทยิตนิโรธ หมายถึงสมาบัติที่ดับสัญญา และเวทนา มี ๒ คือ อสัญญาสมาบัติ และนิโรธสมาบัติ
ที่เป็นอสัญญาสมาบัติมีแก่ปุถุชน ที่เป็นนิโรธสมาบัติ เฉพาะพระอนาคามีและพระอรหันต์ผู้ชำนาญใน
สมาบัติ ๘ แล้วเท่านั้นจึงจะเข้าได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๓๕/๒๘๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๙๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๒.อนุปุพพวิหารสมาปัตติสูตร
๔. มหาวรรค
หมวดว่าด้วยเรื่องใหญ่
๑. อนุปุพพวิหารสูตร
ว่าด้วยอนุปุพพวิหารธรรม
[๓๒] ภิกษุทั้งหลาย อนุปุพพวิหารธรรม๑ ๙ ประการนี้
อนุปุพพวิหารธรรม ๙ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ปฐมฌาน ๒. ทุติยฌาน
๓. ตติยฌาน ๔. จตุตถฌาน
๕. อากาสานัญจายตนฌาน ๖. วิญญาณัญจายตนฌาน
๗. อากิญจัญญายตนฌาน ๘. เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
๙. สัญญาเวทยิตนิโรธ

ภิกษุทั้งหลาย อนุปุพพวิหารธรรม ๙ ประการนี้แล
อนุปุพพวิหารสูตรที่ ๑ จบ

๒. อนุปุพพวิหารสมาปัตติสูตร
ว่าด้วยอนุปุพพวิหารสมาบัติ
[๓๓] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ ประการนี้ เธอ
ทั้งหลายจงฟังธรรมนั้น ฯลฯ
อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เรากล่าวว่า กามทั้งหลายย่อมดับในที่ใด และท่านเหล่าใดดับกาม
ทั้งหลายได้สนิทอยู่ ท่านเหล่านั้นไม่มีความอยาก ดับสนิทแล้ว

เชิงอรรถ :
๑ อนุปุพพวิหารธรรม หมายถึงธรรมเครื่องอยู่ที่ต้องเข้าสมาบัติตามลำดับ (องฺ.นวก.อ. ๓/๓๒-๓๓/๓๐๗) และ
ดู อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๘๒๘/๕๓๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๙๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๒.อนุปุพพวิหารสมาปัตติสูตร
ข้ามได้แล้ว ถึงฝั่งแล้วด้วยองค์ฌานนั้นในที่นั้นเป็นแน่ ผู้ใดพึง
กล่าวอย่างนี้ว่า ‘กามทั้งหลายดับที่ไหน และคนเหล่าไหนเล่าดับ
กามได้สนิทอยู่ เราไม่รู้ผู้นี้ เราไม่เห็นผู้นี้’ เธอทั้งหลายพึงตอบผู้นั้น
อย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรม
ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจาก
วิเวกอยู่ กามทั้งหลายย่อมดับในปฐมฌานนี้ และท่านเหล่านั้นก็ดับ
กามได้สนิทอยู่’ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา พึง
ชื่นชม ยินดีภาษิตว่า ‘ดีแล้ว’ ครั้นแล้ว พึงนมัสการ ประคองอัญชลี
เข้าไปนั่งใกล้เป็นแน่
๒. เรากล่าวว่า วิตกและวิจารย่อมดับในที่ใด และท่านเหล่าใดดับ
วิตกและวิจารได้สนิทอยู่ ท่านเหล่านั้นไม่มีความอยาก ดับสนิทแล้ว
ข้ามได้แล้ว ถึงฝั่งแล้วด้วยองค์ฌานนั้นในที่นั้นเป็นแน่ ผู้ใดพึง
กล่าวอย่างนี้ว่า ‘วิตกและวิจารดับในที่ไหน และคนเหล่าไหนเล่าดับ
วิตกและวิจารได้สนิทอยู่ เราไม่รู้ผู้นี้ เราไม่เห็นผู้นี้’ เธอทั้งหลาย
พึงตอบผู้นั้นอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะวิตก-
วิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ วิตกและวิจารย่อมดับใน
ทุติยฌานนี้ และท่านเหล่านั้นดับวิตกและวิจารได้สนิทอยู่’ ภิกษุ
ทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา พึงชื่นชมยินดีภาษิตว่า
‘ดีแล้ว’ ครั้นแล้ว พึงนมัสการ ประคองอัญชลีเข้าไปนั่งใกล้เป็นแน่
๓. เรากล่าวว่า ปีติย่อมดับในที่ใด และท่านเหล่าใดดับปีติได้สนิทอยู่
ท่านเหล่านั้นไม่มีความอยาก ดับสนิทแล้ว ข้ามได้แล้ว ถึงฝั่งแล้ว
ด้วยองค์ฌานนั้นในที่นั้นเป็นแน่ ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ปีติย่อมดับ
ในที่ไหน และคนเหล่าไหนเล่าดับปีติได้สนิทอยู่ เราไม่รู้ผู้นี้ เรา
ไม่เห็นผู้นี้’ เธอทั้งหลายพึงตอบผู้นั้นอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ เพราะปีติจางคลายไป ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ
ปีติย่อมดับในตติยฌานนี้ และท่านเหล่านั้นดับปีติได้สนิทอยู่’ ภิกษุ
ทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา พึงชื่นชมยินดีภาษิตว่า
‘ดีแล้ว’ ครั้นแล้ว พึงนมัสการ ประคองอัญชลีเข้าไปนั่งใกล้เป็นแน่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๙๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๒.อนุปุพพวิหารสมาปัตติสูตร
๔. เรากล่าวว่า อุเบกขาและสุขย่อมดับในที่ใด และท่านเหล่าใดดับ
อุเบกขาและสุขได้สนิทอยู่ ท่านเหล่านั้นไม่มีความอยาก ดับสนิท
แล้ว ข้ามได้แล้ว ถึงฝั่งแล้วด้วยองค์ฌานนั้นในที่นั้นเป็นแน่ ผู้ใด
พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘อุเบกขาและสุขย่อมดับในที่ไหน และคน
เหล่าไหนเล่าดับอุเบกขาและสุขได้สนิทอยู่ เราไม่รู้ผู้นี้ เราไม่เห็นผู้นี้’
เธอทั้งหลายพึงตอบผู้นั้นอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ อุเบกขาและ
สุขย่อมดับในจตุตถฌานนี้ และท่านเหล่านั้นดับอุเบกขาและสุขได้
สนิทอยู่’ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา พึงชื่นชม
ยินดีภาษิตว่า ‘ดีแล้ว’ ครั้นแล้ว พึงนมัสการ ประคองอัญชลีเข้าไป
นั่งใกล้เป็นแน่
๕. เรากล่าวว่า รูปสัญญาย่อมดับในที่ใด และท่านเหล่าใดดับรูปสัญญา
ได้สนิทอยู่ ท่านเหล่านั้นไม่มีความอยาก ดับสนิทแล้ว ข้ามได้แล้ว
ถึงฝั่งแล้วด้วยองค์ฌานนั้นในที่นั้นเป็นแน่ ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า
‘รูปสัญญาย่อมดับในที่ไหน และคนเหล่าไหนเล่าดับรูปสัญญาได้
สนิทอยู่ เราไม่รู้ผู้นี้ เราไม่เห็นผู้นี้’ เธอทั้งหลายพึงตอบผู้นั้น
อย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้บรรลุอากาสานัญจายตนฌาน
โดยกำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุดมิได้’ อยู่ เพราะล่วงรูปสัญญา
ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญา โดยประการทั้งปวง
รูปสัญญาย่อมดับในอากาสานัญจายตนฌานนี้ และท่านเหล่านั้น
ดับรูปสัญญาได้สนิทอยู่’ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่โอ้อวด ไม่มี
มายา พึงชื่นชมยินดีภาษิตว่า ‘ดีแล้ว’ ครั้นแล้ว พึงนมัสการ
ประคองอัญชลีเข้าไปนั่งใกล้เป็นแน่
๖. เรากล่าวว่า อากาสานัญจายตนสัญญาย่อมดับในที่ใด และท่าน
เหล่าใดดับอากาสานัญจายตนสัญญาได้สนิทอยู่ ท่านเหล่านั้นไม่มี
ความอยาก ดับสนิทแล้ว ข้ามได้แล้ว ถึงฝั่งแล้วด้วยองค์ฌานนั้น
ในที่นั้นเป็นแน่ ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘อากาสานัญจายตนสัญญา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๒.อนุปุพพวิหารสมาปัตติสูตร
ย่อมดับในที่ไหน และคนเหล่าไหนเล่าดับอากาสานัญจายตนสัญญา
ได้สนิทอยู่ เราไม่รู้ผู้นี้ เราไม่เห็นผู้นี้’ เธอทั้งหลายพึงตอบผู้นั้น
อย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ล่วงอากาสานัญจายตนฌาน
โดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า
‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ อยู่ อากาสานัญจายตนสัญญาย่อมดับใน
วิญญาณัญจายตนฌานนี้ และท่านเหล่านั้นดับอากาสานัญจายตน-
สัญญาได้สนิทอยู่’ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา
พึงชื่นชมยินดีภาษิตว่า ‘ดีแล้ว’ ครั้นแล้ว พึงนมัสการ ประคอง
อัญชลีเข้าไปนั่งใกล้เป็นแน่
๗. เรากล่าวว่า วิญญาณัญจายตนสัญญาย่อมดับในที่ใด และท่าน
เหล่าใดดับวิญญาณัญจายตนสัญญาได้สนิทอยู่ ท่านเหล่านั้นไม่มี
ความอยาก ดับสนิทแล้ว ข้ามได้แล้ว ถึงฝั่งแล้วด้วยองค์ฌานนั้น
ในที่นั้นเป็นแน่ ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘วิญญาณัญจายตนสัญญา
ย่อมดับในที่ไหน และคนเหล่าไหนเล่าดับวิญญาณัญจายตนสัญญา
ได้สนิทอยู่ เราไม่รู้ผู้นี้ เราไม่เห็นผู้นี้’ เธอทั้งหลายพึงตอบผู้นั้น
อย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ล่วงวิญญาณัญจายตนฌาน
โดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌานโดยกำหนดว่า
‘ไม่มีอะไร’ อยู่ วิญญาณัญจายตนสัญญาย่อมดับในอากิญจัญญายตน-
ฌานนี้ และท่านเหล่านั้นดับวิญญาณัญจายตนสัญญาได้สนิทอยู่’
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา พึงชื่นชมยินดีภาษิตว่า
‘ดีแล้ว’ ครั้นแล้ว พึงนมัสการ ประคองอัญชลีเข้าไปนั่งใกล้เป็นแน่
๘. เรากล่าวว่า อากิญจัญญายตนสัญญาย่อมดับในที่ใด และท่าน
เหล่าใดดับอากิญจัญญายตนสัญญาได้สนิทอยู่ ท่านเหล่านั้นไม่มี
ความอยาก ดับสนิทแล้ว ข้ามได้แล้ว ถึงฝั่งแล้วด้วยองค์ฌานนั้น
ในที่นั้นเป็นแน่ ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘อากิญจัญญายตนสัญญา
ย่อมดับในที่ไหน และคนเหล่าไหนเล่าดับอากิญจัญญายตนสัญญา
ได้สนิทอยู่ เราไม่รู้ผู้นี้ เราไม่เห็นผู้นี้’ เธอทั้งหลายพึงตอบผู้นั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๙๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๒.อนุปุพพวิหารสมาปัตติสูตร
อย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ล่วงอากิญจัญญายตนฌาน
โดยประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่
อากิญจัญญายตนสัญญาย่อมดับในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนี้
และท่านเหล่านั้นดับอากิญจัญญายตนสัญญาได้สนิทอยู่’ ภิกษุ
ทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา พึงชื่นชมยินดีภาษิตว่า
‘ดีแล้ว’ ครั้นแล้ว พึงนมัสการ ประคองอัญชลีเข้าไปนั่งใกล้เป็นแน่
๙. เรากล่าวว่า เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญาย่อมดับในที่ใด และ
ท่านเหล่าใดดับเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญาได้สนิทอยู่ ท่าน
เหล่านั้นไม่มีความอยาก ดับสนิทแล้ว ข้ามได้แล้ว ถึงฝั่งแล้ว
ด้วยองค์ฌานนั้นในที่นั้นเป็นแน่ ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เนวสัญญา-
นาสัญญายตนสัญญาย่อมดับในที่ไหน และคนเหล่าไหนเล่าดับ
เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญาได้สนิทอยู่ เราไม่รู้ผู้นี้ เราไม่เห็น
ผู้นี้’ เธอทั้งหลายพึงตอบผู้นั้นอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ ภิกษุในธรรมวินัย
นี้ล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
สัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญาย่อมดับใน
สัญญาเวทยิตนิโรธนี้ และท่านเหล่านั้นดับเนวสัญญานาสัญญายตน-
สัญญาได้สนิทอยู่’ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา พึง
ชื่นชมยินดีภาษิตว่า ‘ดีแล้ว’ ครั้นแล้ว พึงนมัสการ ประคอง
อัญชลีเข้าไปนั่งใกล้เป็นแน่
ภิกษุทั้งหลาย อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ ประการนี้แล
อนุปุพพวิหารสมาปัตติสูตรที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๙๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๓.นิพพานสุขสูตร
๓. นิพพานสุขสูตร
ว่าด้วยนิพพานเป็นสุข๑
[๓๔] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ พระเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน๒
เขตกรุงราชคฤห์ ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรกล่าวกับภิกษุทั้งหลายว่า “ผู้มีอายุ
ทั้งหลาย นิพพานนี้เป็นสุข นิพพานนี้เป็นสุข”
เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระอุทายีได้กล่าวกับท่านพระ
สารีบุตรดังนี้ว่า “ท่านสารีบุตร ก็นิพพานนี้ไม่มีเวทนา จะเป็นสุขได้อย่างไร”
ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า ผู้มีอายุ นิพพานที่ไม่มีเวทนานั่นแลเป็นสุข
กามคุณ ๕ ประการนี้
กามคุณ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
๒. เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ฯลฯ
๓. กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ฯลฯ
๔. รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ
๕. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
ผู้มีอายุ กามคุณ ๕ ประการนี้แล
ผู้มีอายุ สุขโสมนัสที่อาศัยกามคุณ ๕ ประการเกิดขึ้น เรียกว่า กามสุข

เชิงอรรถ :
๑ ดูข้อ ๔๒ (สัมพาธสูตร) หน้า ๕๓๓ ในเล่มนี้
๒ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๒๖ (สิลายูปสูตร) หน้า ๔๘๔ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๐๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๓.นิพพานสุขสูตร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ ถ้าเมื่อภิกษุนั้น
อยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยกามยังฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความ
กดดัน๑แก่ภิกษุนั้น ทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่คนผู้มีสุขเพียงเพื่อความกดดัน แม้ฉันใด
สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยกามเหล่านั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมฟุ้งขึ้นแก่
ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น ความกดดัน พระผู้มีพระภาคตรัส
เรียกว่าทุกข์ โดยปริยายนี้แล พึงทราบว่า นิพพานเป็นสุขได้อย่างไร
ภิกษุบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการ
ที่ประกอบด้วยวิตกยังฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น ทุกข์พึงเกิดขึ้น
แก่คนผู้มีสุขเพียงเพื่อความกดดัน แม้ฉันใด สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยวิตก
เหล่านั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมฟุ้งขึ้นแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่
ภิกษุนั้น ความกดดัน พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่าทุกข์ โดยปริยายนี้แล พึง
ทราบว่า นิพพานเป็นสุขได้อย่างไร
ภิกษุบรรลุตติยฌาน ฯลฯ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญา-
มนสิการที่ประกอบด้วยปีติยังฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น ทุกข์พึงเกิด
ขึ้นแก่คนผู้มีสุข เพียงเพื่อความกดดัน แม้ฉันใด สัญญามนสิการที่ประกอบด้วย
ปีติเหล่านั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมฟุ้งขึ้นแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่
ภิกษุนั้น ความกดดัน พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่าทุกข์ โดยปริยายนี้แล พึงทราบ
ว่า นิพพานเป็นสุขได้อย่างไร
ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการ
ที่ประกอบด้วยอุเบกขายังฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น ทุกข์พึงเกิดขึ้น
แก่คนผู้มีสุขเพียงเพื่อความกดดัน แม้ฉันใด สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยอุเบกขา
เหล่านั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมฟุ้งขึ้นแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่
ภิกษุนั้น ความกดดัน พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่าทุกข์ โดยปริยายนี้แล พึงทราบ
ว่า นิพพานเป็นสุขได้อย่างไร


เชิงอรรถ :
๑ความกดดัน (อาพาธ) หมายถึงความบีบคั้น (ปีฬนะ) (องฺ.นวก.อ. ๓/๓๔/๓๐๘)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๓.นิพพานสุขสูตร
ภิกษุบรรลุอากาสานัญจายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘อากาสหาที่สุดมิได้’ อยู่
เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง
ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยรูปยังฟุ้งขึ้น
ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น ทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่คนผู้มีสุขเพียงเพื่อความกดดัน
แม้ฉันใด สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยรูปเหล่านั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมฟุ้ง
ขึ้นแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น ความกดดัน พระผู้มีพระภาค
ตรัสเรียกว่าทุกข์ โดยปริยายนี้แล พึงทราบว่า นิพพานเป็นสุขได้อย่างไร
ภิกษุล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตน-
ฌาน โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ อยู่ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้
สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยอากาสานัญจายตนฌานเหล่านั้นยังฟุ้งขึ้น ข้อนั้น
เป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น ทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่คนผู้มีสุขเพียงเพื่อความกดดัน แม้ฉัน
ใด สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยอากาสานัญจายตนฌานเหล่านั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ย่อมฟุ้งขึ้นแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น ความกดดัน พระผู้มีพระ
ภาคตรัสเรียกว่าทุกข์ โดยปริยายนี้แล พึงทราบว่า นิพพานเป็นสุขได้อย่างไร
ภิกษุล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน
โดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการ
ที่ประกอบด้วยวิญญาณัญจายตนฌานยังฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น
ทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่คนผู้มีสุขเพียงเพื่อความกดดัน แม้ฉันใด สัญญามนสิการที่
ประกอบด้วยวิญญาณัญจายตนฌานเหล่านั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมฟุ้งขึ้นแก่
ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น ความกดดัน พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า
ทุกข์ โดยปริยายนี้แล พึงทราบว่า นิพพานเป็นสุขได้อย่างไร
ภิกษุล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญานา-
สัญญายตนฌานอยู่ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการที่ประกอบ
ด้วยอากิญจัญญายตนฌานยังฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น ทุกข์พึง
เกิดขึ้นแก่คนผู้มีสุขเพียงเพื่อความกดดัน แม้ฉันใด สัญญามนสิการที่ประกอบด้วย
อากิญจัญญายตนฌานเหล่านั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมฟุ้งขึ้นแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๔.คาวีอุปมาสูตร
เป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น ความกดดันพระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่าทุกข์ โดยปริยาย
นี้แล พึงทราบว่า นิพพานเป็นสุขได้อย่างไร
ภิกษุล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญา-
เวทยิตนิโรธอยู่ และอาสวะทั้งหลายของเธอหมดสิ้นไปแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา
โดยปริยายนี้แล พึงทราบว่า นิพพานเป็นสุขได้อย่างไร”
นิพพานสุขสูตรที่ ๓ จบ

๔. คาวีอุปมาสูตร
ว่าด้วยการอุปมาด้วยแม่โค
[๓๕] ภิกษุทั้งหลาย แม่โคที่เที่ยวไปตามภูเขา โง่ ไม่เฉียบแหลม ไม่รู้จักเขต
ไม่ฉลาดที่จะเที่ยวไปบนภูเขาที่ขรุขระ มันพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควร
ไปยังทิศที่ยังไม่เคยไป กินหญ้าที่ยังไม่เคยกิน และดื่มน้ำที่ยังไม่เคยดื่ม’ มันยัน
เท้าหน้าไม่สนิทดีแล้วยกเท้าหลังขึ้น จะไปสู่ทิศทางที่ยังไม่เคยไปไม่ได้ กินหญ้าที่ยัง
ไม่เคยกินไม่ได้ และดื่มน้ำที่ยังไม่เคยดื่มก็ไม่ได้
เมื่อมันยืนอยู่ ณ ที่ใด พึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรไปยังทิศที่ยัง
ไม่เคยไป กินหญ้าที่ยังไม่เคยกิน และดื่มน้ำที่ยังไม่เคยดื่ม’ พึงกลับมายังถิ่นนั้น
โดยสวัสดีไม่ได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะแม่โคนั้นเป็นสัตว์ที่เที่ยวไปตามภูเขา โง่
ไม่เฉียบแหลม ไม่รู้จักเขต ไม่ฉลาดที่จะเที่ยวไปบนภูเขาที่ขรุขระ ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้เขลา
ไม่เฉียบแหลม ไม่รู้จักเขต ไม่ฉลาดที่จะสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว
บรรลุปฐมฌานที่มีวิตกและวิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เธอไม่เสพ ไม่เจริญ
ไม่ทำให้มากซึ่งนิมิต๑นั้น ไม่อธิษฐานนิมิตนั้นให้ดี


เชิงอรรถ :
๑นิมิต ในที่นี้หมายถึงปฐมฌาน (องฺ.นวก.อ. ๓/๓๕/๓๐๘)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๐๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๔.คาวีอุปมาสูตร
เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรบรรลุทุติยฌานที่มีความผ่องใส
ภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร เพราะวิตกและวิจารสงบ
ระงับไป มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่’ เธอไม่อาจบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ
เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรสงัดจากกามและอกุศลธรรมแล้ว
บรรลุปฐมฌานที่มีวิตกและวิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่’ เธอไม่อาจสงัด
จากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ ภิกษุนี้เราเรียกว่า
เป็นผู้พลาด เป็นผู้เสื่อมจากผลทั้ง ๒ ฝ่าย เปรียบเหมือนแม่โคที่เที่ยวไปบนภูเขา
โง่ ไม่เฉียบแหลม ไม่รู้จักเขต ไม่ฉลาดที่จะเที่ยวไปบนภูเขาที่ขรุขระ ฉะนั้น
ภิกษุทั้งหลาย แม่โคที่เที่ยวไปตามภูเขา ฉลาด เฉียบแหลม รู้จักเขต ฉลาดที่
จะเที่ยวไปบนภูเขาที่ขรุขระ มันพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรไปยังทิศที่
ยังไม่เคยไป กินหญ้าที่ยังไม่เคยกิน และดื่มน้ำที่ยังไม่เคยดื่ม’ มันยันเท้าหน้าไว้ดีแล้ว
ยกเท้าหลังขึ้น พึงไปยังทิศที่ยังไม่เคยไป กินหญ้าที่ยังไม่เคยกิน และดื่มน้ำที่ยัง
ไม่เคยดื่มได้ เมื่อมันยืนอยู่ ณ ที่ใด พึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรไปยัง
ทิศที่ยังไม่เคยไป กินหญ้าที่ยังไม่เคยกิน และดื่มน้ำที่ยังไม่เคยดื่ม’ พึงกลับมายัง
ถิ่นนั้นโดยสวัสดีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะแม่โคนั้นเป็นสัตว์ที่เที่ยวไปตามภูเขา
ฉลาด เฉียบแหลม รู้จักเขต ฉลาดที่จะเที่ยวไปบนภูเขาที่ขรุขระ ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฉลาด เฉียบแหลม
รู้จักเขต ฉลาดที่จะสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มี
วิตกและวิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เธอเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งนิมิตนั้น
อธิษฐานนิมิตนั้นให้ดี
เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรบรรลุทุติยฌานที่มีความผ่องใส
ภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร เพราะวิตกและวิจารสงบ
ระงับไป มีปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่’ เธอไม่ติดใจทุติยฌาน บรรลุทุติยฌาน
ฯลฯ เธอเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งนิมิตนั้น อธิษฐานนิมิตนั้นให้ดี
เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรเป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ
เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติจางคลายไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลาย


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๔.คาวีอุปมาสูตร
กล่าวสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข’ เธอไม่ติดใจตติยฌาน บรรลุ
ตติยฌาน ฯลฯ เธอเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งนิมิตนั้น อธิษฐานนิมิตนั้นให้ดี
เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและ
โทมนัสดับไปก่อนแล้ว เราควรบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์และไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์
เพราะอุเบกขาอยู่’ เธอไม่ติดใจจตุตถฌาน บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ เธอเสพ เจริญ
ทำให้มากซึ่งนิมิตนั้น อธิษฐานนิมิตนั้นให้ดี
เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรบรรลุอากาสานัญจายตนฌาน
โดยกำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุดมิได้’ อยู่’ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา
ไม่กำหนดนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง เธอไม่ติดใจอากาสานัญจายตนฌาน
บรรลุอากาสานัญจายตนฌาน ฯลฯ เธอเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งนิมิตนั้น
อธิษฐานนิมิตนั้นให้ดี
เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดย
ประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’
อยู่” เธอไม่ติดใจวิญญาณัญจายตนฌาน ล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการ
ทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ อยู่
เธอเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งนิมิตนั้น อธิษฐานนิมิตนั้นให้ดี
เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดย
ประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่’
เธอไม่ติดใจอากิญจัญญายตนฌาน ล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง
บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ เธอเสพ เจริญ ทำให้
มากซึ่งนิมิตนั้น อธิษฐานนิมิตนั้นให้ดี
เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดย
ประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่’ เธอไม่ติดใจเนวสัญญานา-
สัญญายตนฌาน ล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญานา-
สัญญายตนฌานอยู่ เธอเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งนิมิตนั้น อธิษฐานนิมิตนั้นให้ดี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๐๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๔.คาวีอุปมาสูตร
เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
โดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่’ เธอไม่ติดใจสัญญาเวทยิตนิโรธ
ล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด สมาบัตินั้น ๆ แล ภิกษุเข้าก็ได้ ออกก็ได้ เมื่อนั้น
จิตของเธอย่อมอ่อน เหมาะแก่การใช้งาน๑ ด้วยจิตที่อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน
เธอจึงเจริญอัปปมาณสมาธิ๒ ด้วยอัปปมาณสมาธิที่เจริญดีแล้ว เธอจึงน้อมจิตไป
เพื่อทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งใดๆ
เมื่อมีเหตุ๓ เธอย่อมบรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ
ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า ‘เราพึงแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็น
หลายคนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึง
พรหมโลกก็ได้’ เมื่อมีเหตุ เธอย่อมบรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดใน
ธรรมนั้น ๆ
ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า ‘เราพึงได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์
ทั้งที่อยู่ไกลและอยู่ใกล้ ด้วยหูทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์’ เมื่อมีเหตุ เธอย่อม
บรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ
ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า ‘เราพึงกำหนดรู้จิตของสัตว์และบุคคลอื่นได้ด้วยจิตของตน
คือ จิตมีราคะ ก็รู้ว่า มีราคะ หรือปราศจากราคะ ก็รู้ว่า ปราศจากราคะ จิตมีโทสะ
ก็รู้ว่า มีโทสะ หรือปราศจากโทสะ ก็รู้ว่า ปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ ก็รู้ว่า มีโมหะ

เชิงอรรถ :
๑ เหมาะแก่การใช้งาน ในที่นี้หมายถึงจิตอยู่ในระดับฌานที่ ๔ ที่เป็นบาทแห่งอภิญญา (องฺ.นวก.อ. ๓/๓๕/๓๐๘)
๒ อัปปมาณสมาธิ หมายถึงสมาธิในพรหมวิหาร ๔ บ้าง หมายถึงมัคคสมาธิและผลสมาธิบ้าง แต่ในที่นี้
หมายถึงสมาธิที่ชำนาญคล่องแคล่วในอารมณ์สมถกัมมัฏฐานที่ได้ขยายให้กว้างใหญ่ไพบูลย์ (องฺ.นวก.อ.
๓/๓๕/๓๐๘, องฺ.อฏฺฐก.ฏีกา ๓/๖๑-๖๕/๓๐๔)
๓ เมื่อมีเหตุ แปลจากบาลีว่า สติ อายตเน (เมื่อมีเหตุแห่งสติ) หมายถึงฌานที่เป็นบาท (เครื่องบรรลุ) กล่าว
คือบุพเหตุแห่งอภิญญาบ้าง หมายถึงอรหัตตผลที่เป็นเหตุแห่งอภิญญา ๖ ประการบ้าง หมายถึง
วิปัสสนาที่เป็นเหตุแห่งอรหัตตผลบ้าง แต่ในที่นี้หมายถึงเหตุคืออุปนิสสัยแห่งการบรรลุคุณวิเศษนั้น ๆ
(องฺ.ติก.อ. ๒/๑๐๒/๒๕๕, องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๗๑-๗๔/๑๗๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๐๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๔.คาวีอุปมาสูตร
หรือปราศจากโมหะ ก็รู้ว่า ปราศจากโมหะ จิตหดหู่ก็รู้ว่า หดหู่ หรือฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่า
ฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหัคคตะ๑ ก็รู้ว่า เป็นมหัคคตะ หรือไม่เป็นมหัคคตะ ก็รู้ว่า ไม่เป็น
มหัคคตะ จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่า มีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่า ไม่มี
จิตอื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ว่า เป็นสมาธิ หรือไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ว่า ไม่เป็นสมาธิ
จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่า หลุดพ้น หรือไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่า ไม่หลุดพ้น’ เมื่อมีเหตุ เธอย่อม
บรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ
ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า ‘เราพึงระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง
๒ ชาติบ้าง ฯลฯ๒ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้’ เมื่อมีเหตุ เธอ
ย่อมบรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ
ถ้าภิกษุนั้นหวังอยู่ว่า ‘เราพึงเห็นหมู่สัตว์ ฯลฯ๓ ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือ
มนุษย์ ฯลฯ พึงรู้ชัดหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมอย่างนี้แล’ เมื่อมีเหตุ เธอย่อมบรรลุ
ความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ
ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า ‘เราพึงทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ
เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน’ เมื่อมีเหตุ เธอย่อม
บรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ

คาวีอุปมาสูตรที่ ๔ จบ

เชิงอรรถ :
๑ จิตเป็นมหัคคตะ แปลว่าจิตที่ถึงความเป็นใหญ่ หมายถึงรูปาวจรกุศลจิตและอรูปาวจรกุศลจิต ที่ชื่อว่าถึง
ความเป็นใหญ่ เพราะสามารถข่มกิเลสได้ มีผลไพบูลย์และมีการสืบต่อยาวนาน หรือหมายถึงจิตที่ดำเนิน
ไปด้วยฉันทะ วิริยะ จิตตะ และปัญญาที่กว้างขวาง (ขุ.ป.อ. ๑/๑๐๔/๓๖๖, ๓๖๖, อภิ.สงฺ.อ. ๑๒/๙๒) และดู
องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๒๓/๒๘/-๓๐, อภิ.สงฺ. (แปล) ๓๔/๑๖๐-๒๖๘/๕๗-๘๕
๒ ดูความเต็มในอัฏฐกนิบาต ข้อ ๑๑ (เวรัญชสูตร) หน้า ๒๒๓ ในเล่มนี้
๓ ดูความเต็มในอัฏฐกนิบาต ข้อ ๑๑ (เวรัญชสูตร) หน้า ๒๒๔ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๐๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๕.ฌานสูตร
๕. ฌานสูตร
ว่าด้วยฌาน
[๓๖] ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า
๑. อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้๑ เพราะอาศัยปฐมฌาน
๒. อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยทุติยฌาน
๓. อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยตติยฌาน
๔. อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยจตุตถฌาน
๕. อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยอากาสานัญจายตนฌาน
๖. อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยวิญญาณัญจายตนฌาน
๗. อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยอากิญจัญญายตนฌาน
๘. อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
๙. อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยสัญญาเวทยิตนิโรธ
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยปฐมฌาน’
เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย
บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ เธอย่อมพิจารณาเห็น๒ธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา
สังขาร วิญญาณที่มีอยู่ในปฐมฌานนั้น โดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังโรค
เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นสิ่งคอยก่อความเดือดร้อน เป็นที่ทำให้ขัดข้อง เป็น
ดังคนฝ่ายอื่น เป็นสิ่งที่ต้องแตกสลาย เป็นของว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อม
ทำจิตให้กลับจากธรรมเหล่านั้น๓ ครั้นแล้ว จึงน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุ๔ว่า ‘ภาวะ

เชิงอรรถ :
๑ อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ ในที่นี้หมายถึงสภาวะที่เรียกว่า “อรหัต” (องฺ.นวก.อ. ๓/๓๖/๓๐๙)
๒ พิจารณาเห็น ในที่นี้หมายถึงเห็นด้วยวิปัสสนาอันแรงกล้า (องฺ.นวก.อ. ๓/๓๖/๓๐๙)
๓ ธรรมเหล่านั้น ในที่นี้หมายถึงขันธ์ ๕ (องฺ.นวก.อ. ๓/๓๖/๓๐๙)
๔ อมตธาตุ หมายถึงนิพพาน (องฺ.นวก.อ. ๓/๓๖/๓๐๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๐๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๕.ฌานสูตร
ที่สงบ ประณีต คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิกิเลสทั้งปวง
ความสิ้นไปแห่งตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน‘๑ เธอดำรงอยู่ใน
ปฐมฌานนั้น ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย๒ หากยังไม่บรรลุความ
สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จะเป็นโอปปาติกะ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการ
สิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้น จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับ
มาจากโลกนั้นอีก๓
ภิกษุทั้งหลาย นายขมังธนู หรือลูกมือของนายขมังธนู พยายามยิงลูกศรไป
ที่หุ่นหญ้า หรือกองดิน สมัยต่อมา เขาเป็นผู้ยิงลูกศรได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลาย
กายขนาดใหญ่ได้ แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน สงัดจากกาม และอกุศลธรรม
ทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา
สัญญา สังขาร วิญญาณที่มีอยู่ในปฐมฌานนั้น โดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์
เป็นดังโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นสิ่งคอยก่อความเดือดร้อน เป็นที่ทำให้
ขัดข้อง เป็นดังคนฝ่ายอื่น เป็นสิ่งที่ต้องแตกสลาย เป็นของว่างเปล่า เป็นอนัตตา
เธอย่อมทำจิตให้กลับจากธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว จึงน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า
‘ภาวะที่สงบ ประณีต คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิกิเลสทั้งปวง
ความสิ้นไปแห่งตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน’ เธอดำรงอยู่ใน
ปฐมฌานนั้น ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย หากยังไม่บรรลุความสิ้นไป
แห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จะเป็นโอปปาติกะ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป
ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้น จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจาก
โลกนั้นอีก
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยปฐมฌาน’
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยทุติยฌาน’
เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น ฯลฯ
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยตติยฌาน’
เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ดู ม.ม. ๑๓/๑๓๓/๑๐๘, ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑๕๐/๔๐๕-๔๑๑, ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๖๕/๒๔๕-๒๔๘
๒ หมายถึงดำรงอยู่ในปฐมฌานเจริญวิปัสสนาอันแรงกล้าแล้วบรรลุอรหัตตผล (องฺ.นวก.อ. ๓/๓๖/๓๐๙)
๓ ดู องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๖/๔๒๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๐๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๕.ฌานสูตร
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยจตุตถฌาน‘
เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์และไม่มีสุข
มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับ
ไปก่อนแล้ว เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณที่มีอยู่ในจตุตถฌานนั้น โดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังโรค
เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นสิ่งคอยก่อความเดือดร้อน เป็นที่ทำให้ขัดข้อง เป็นดัง
คนฝ่ายอื่น เป็นสิ่งที่ต้องแตกสลาย เป็นของว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมทำจิตให้
กลับจากธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว จึงน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า ‘ภาวะที่สงบ ประณีต
คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิกิเลสทั้งปวง ความสิ้นไปแห่งตัณหา
ความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน’ เธอดำรงอยู่ในจตุตถฌานนั้น ย่อมบรรลุ
ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย หากยังไม่บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จะ
เป็นโอปปาติกะ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลิน
ในธรรมนั้น จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก
ภิกษุทั้งหลาย นายขมังธนู หรือลูกมือของนายขมังธนู พยายามยิงลูกศรไปที่
หุ่นหญ้า หรือกองดิน สมัยต่อมา เขาเป็นผู้ยิงลูกศรได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลาย
กายขนาดใหญ่ได้ แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ เธอย่อม
พิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา ฯลฯ ที่มีอยู่ในจตุตถฌานนั้น ฯลฯ
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยจตุตถฌาน’
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยอากาสานัญจายตน-
ฌาน‘ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้บรรลุอากาสานัญจายตนฌานโดย
กำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุดมิได้’ อยู่ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนด
นานัตตสัญญา เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ เวทนา สัญญา สังขาร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๕.ฌานสูตร
วิญญาณที่มีอยู่ในอากาสานัญจายตนฌานนั้น โดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์
เป็นดังโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นสิ่งคอยก่อความเดือดร้อน เป็นที่ทำให้
ขัดข้อง เป็นดังคนฝ่ายอื่น เป็นสิ่งที่ต้องแตกสลาย เป็นของว่างเปล่า เป็นอนัตตา
เธอย่อมทำจิตให้กลับจากธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว จึงน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า
‘ภาวะที่สงบ ประณีต คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิกิเลสทั้งปวง
ความสิ้นไปแห่งตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน’ เธอดำรงอยู่ใน
อากาสานัญจายตนฌานนั้น ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย หากยังไม่
บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จะเป็นโอปปาติกะ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ
๕ ประการสิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้น จักปรินิพพานในภพนั้น
ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก
ภิกษุทั้งหลาย นายขมังธนู หรือลูกมือของนายขมังธนู พยายามยิงลูกศรไปที่
หุ่นหญ้า หรือกองดิน สมัยต่อมา เขาเป็นผู้ยิงลูกศรได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลาย
กายขนาดใหญ่ได้ แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน บรรลุอากาสานัญจายตนฌาน
โดยกำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุดมิได้’ อยู่ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา
ไม่กำหนดนานัตตสัญญา เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา ฯลฯ
ที่มีอยู่ในอากาสานัญจายตนฌานนั้น ฯลฯ
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยอากาสานัญจายตน-
ฌาน’
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ’ อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยวิญญาณัญจายตน-
ฌาน‘ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น ฯลฯ
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยอากิญจัญญายตน-
ฌาน‘ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการ
ทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ เธอย่อม


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๑๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๕.ฌานสูตร
พิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณที่มีอยู่ใน
อากิญจัญญายตนฌานนั้น โดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังโรค เป็นดัง
หัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นสิ่งคอยก่อความเดือดร้อน เป็นที่ทำให้ขัดข้อง เป็นดังคน
ฝ่ายอื่น เป็นสิ่งที่ต้องแตกสลาย เป็นของว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมทำจิตให้
กลับจากธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว จึงน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า ‘ภาวะที่สงบ ประณีต
คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิกิเลสทั้งปวง ความสิ้นไปแห่งตัณหา
ความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน’ เธอดำรงอยู่ในอากิญจัญญายตนฌานนั้น
ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย หากยังไม่บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะ
ทั้งหลาย ก็จะเป็นโอปปาติกะ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป ด้วยความ
ยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้น จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก
ภิกษุทั้งหลาย นายขมังธนู หรือลูกมือของนายขมังธนู พยายามยิงลูกศรไปที่
หุ่นหญ้า หรือกองดิน สมัยต่อมา เขาเป็นผู้ยิงลูกศรได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลาย
กายขนาดใหญ่ได้ แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดย
ประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ เธอ
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณที่มีอยู่ใน
อากิญจัญญายตนฌานนั้นโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังโรค เป็นดัง
หัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นสิ่งคอยก่อความเดือดร้อน เป็นที่ทำให้ขัดข้อง เป็นดัง
คนฝ่ายอื่น เป็นสิ่งที่ต้องแตกสลาย เป็นของว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมทำจิตให้
กลับจากธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว จึงน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า ‘ภาวะที่สงบ ประณีต
คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิกิเลสทั้งปวง ความสิ้นไปแห่งตัณหา
ความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน’ เธอดำรงอยู่ในอากิญจัญญายตนฌานนั้น
ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย หากยังไม่บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะ
ทั้งหลาย ก็จะเป็นโอปปาติกะ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป ด้วยความ
ยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้น จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยอากิญจัญญายตน-
ฌาน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๖.อานันทสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ดังพรรณนามานี้แล สัญญาสมาบัติ มีอยู่เท่าใด สัญญาปฏิเวธ
ก็มีอยู่เท่านั้น ภิกษุทั้งหลาย อายตนะ ๒ ประการนี้ คือ เนวสัญญานาสัญญายตน-
สมาบัติ และสัญญาเวทยิตนิโรธ ต่างก็อาศัยกันและกัน เรากล่าวว่า ภิกษุผู้ได้ฌาน
ฉลาดในการเข้าสมาบัติ ฉลาดในการออกจากสมาบัติ เข้าออกแล้ว พึงกล่าว
อายตนะ ๒ ประการนี้ไว้โดยชอบ
ฌานสูตรที่ ๕ จบ

๖. อานันทสูตร
ว่าด้วยพระอานนท์
[๓๗] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี ณ
ที่นั้นแล ท่านพระอานนท์เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุ
เหล่านั้นรับคำแล้ว ท่านพระอานนท์จึงได้กล่าวดังนี้ว่า
“ผู้มีอายุทั้งหลาย น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ ได้ตรัสรู้วิธีบรรลุ
ช่องว่างในที่คับแคบ๑ เพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงโสกะ(ความ
เศร้าโศก) และปริเทวะ(ความร่ำไร) เพื่อดับทุกข์(ความทุกข์กาย) โทมนัส(ความ
ทุกข์ใจ) เพื่อบรรลุญายธรรม๒ เพื่อทำให้แจ้งนิพพาน
คือ จักษุ (ตา) ชื่อว่าจักเป็นจักษุนั้นนั่นเอง คือ รูปเหล่านั้นก็จักไม่รับรู้
อายตนะนั้น และอายตนะนั้นก็จักไม่รับรู้รูปเหล่านั้น

เชิงอรรถ :
๑ วิธีบรรลุช่องว่างในที่คับแคบ มีความหมายดังนี้ คำว่า ที่คับแคบ มีความหมาย ๒ นัย คือ นัยที่ ๑
หมายถึงที่คับแคบสำหรับปุถุชนผู้ครองเรือน ได้แก่ กามคุณ ๕ นัยที่ ๒ หมายถึงที่คับแคบสำหรับผู้
บำเพ็ญฌาน ได้แก่ นิวรณ์ ๕ เป็นต้น คำว่า วิธีบรรลุช่องว่าง หมายถึงภาวะที่ปลอดจากกิเลสต่าง ๆ
ได้แก่ รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ สัญญาเวทยิตนิโรธ ๑ และอรหัตตมรรค แต่ละภาวะก็ปลอดจากกิเลสต่างกัน
เช่น ปฐมฌานปลอดจากนิวรณ์ ๕ จตุตถฌานปลอดจากสุขและทุกข์ ดู ที.ม. ๑๐/๒๘๘/๑๘๓, ที.ม.อ.
๒/๒๘๘/๒๕๕, องฺ.นวก.ฏีกา ๓/๓๗/๓๖๙ ประกอบ
๒ ญายธรรม หมายถึงอริยมัคคธรรม (สํ.ม. ๑๙/๒๔/๑๕, สํ.ม.อ. ๓/๒๑-๓๐/๑๙๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๖.อานันทสูตร
โสตะ (หู) ชื่อว่าจักเป็นโสตะนั้นนั่นเอง คือ เสียงเหล่านั้นจักไม่รับรู้อายตนะนั้น
และอายตนะนั้นก็จักไม่รับรู้เสียงเหล่านั้น
ฆานะ (จมูก) ชื่อว่าจักเป็นฆานะนั้นนั่นเอง คือ กลิ่นเหล่านั้นจักไม่รับรู้อายตนะนั้น
และอายตนะนั้นก็จักไม่รับรู้กลิ่นเหล่านั้น
ชิวหา (ลิ้น) ชื่อว่าจักเป็นชิวหานั้นนั่นเอง คือ รสเหล่านั้นจักไม่รับรู้อายตนะนั้น
และอายตนะนั้นก็จักไม่รับรสเหล่านั้น
กาย ชื่อว่าจักเป็นกายนั้นนั่นเอง คือ โผฏฐัพพะเหล่านั้นจักไม่รับรู้อายตนะนั้น
และอายตนะนั้นก็จักไม่รับรู้โผฏฐัพพะเหล่านั้น”
เมื่อท่านพระอานนท์กล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระอุทายี๑ได้ถามท่านพระ
อานนท์ดังนี้ว่า “ท่านอานนท์ คนผู้มีสัญญาเท่านั้น หรือว่าคนไม่มีสัญญา ไม่รับรู้
อายตนะนั้น”
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “ผู้มีอายุ คนมีสัญญานั้นก็ไม่รับรู้อายตนะได้ หรือ
คนไม่มีสัญญาก็ไม่รับรู้อายตนะนั้นได้”
ท่านพระอุทายีถามว่า “ผู้มีอายุ คนผู้มีสัญญาอย่างไร จึงไม่รับรู้อายตนะนั้น”
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “ผู้มีอายุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้บรรลุอากาสานัญจายตน-
ฌานโดยกำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุดมิได้’ อยู่ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา
ไม่กำหนดนานัตตสัญญา ภิกษุผู้มีสัญญาอย่างนี้แล ย่อมไม่รับรู้อายตนะนั้น
ภิกษุล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตน-
ฌาน โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ อยู่ ภิกษุผู้มีสัญญาอย่างนี้แล ย่อมไม่
รับรู้อายตนะนั้น
ภิกษุล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน
โดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ ภิกษุผู้มีสัญญาอย่างนี้แล ย่อมไม่รับรู้อายตนะนั้น

เชิงอรรถ :
๑ พระอุทายี ในที่นี้คือพระกาฬุทายีเถระ (องฺ.นวก.อ. ๓/๓๗/๓๑๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๑๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๗.โลกายติกสูตร
ผู้มีอายุ ครั้งหนึ่ง ผมพักอยู่ ณ อัญชนมิคทายวัน เมืองสาเกต ครั้งนั้นแล
ภิกษุณีชื่อชฏิลภาคิกาเข้าไปหาผมจนถึงที่อยู่ ไหว้แล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร ครั้นแล้ว
ได้กล่าวกับผมดังนี้ว่า ‘ท่านอานนท์ผู้เจริญ สมาธิใดอันกิเลสน้อมไปไม่ได้๑ นำไป
ไม่ได้๒ ไม่มีการข่มห้ามกิเลสด้วยธรรมเครื่องปรุงแต่ง ชื่อว่าตั้งมั่นแล้วเพราะ
หลุดพ้น ชื่อว่ายินดีเพราะตั้งมั่น ชื่อว่าไม่สะดุ้งเพราะยินดี สมาธินี้พระผู้มีพระภาค
ตรัสว่า มีอะไรเป็นผล’ เมื่อชฏิลภาคิกาภิกษุณีกล่าวอย่างนี้แล้ว ผมได้กล่าวกับ
ภิกษุณีนั้นว่า ‘น้องหญิง สมาธิใดอันกิเลสน้อมไปไม่ได้ นำไปไม่ได้ ไม่มีการข่ม
ห้ามกิเลสด้วยธรรมเครื่องปรุงแต่ง ชื่อว่าตั้งมั่นแล้วเพราะหลุดพ้น ชื่อว่ายินดี
เพราะตั้งมั่น ชื่อว่าไม่สะดุ้งเพราะยินดี สมาธินี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า มีอรหัต
เป็นผล’ ผู้มีอายุ ภิกษุผู้มีสัญญาอย่างนี้ ย่อมไม่รับรู้อายตนะนั้น”
อานันทสูตรที่ ๖ จบ

๗. โลกายติกสูตร
ว่าด้วยพราหมณ์ผู้ชำนาญคัมภีร์โลกายัต๓
[๓๘] ครั้งนั้น พราหมณ์ผู้ชำนาญในคัมภีร์โลกายัต ๒ คน เข้าไปเฝ้าพระ
ผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ สนทนาปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคพอเป็นที่บันเทิงใจ
พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่ท่านพระโคดม ท่านปูรณะ กัสสปะ เป็นสัพพัญญู เห็นสิ่งทั้งปวง
ปฏิญญาญาณทัสสนะอย่างเบ็ดเสร็จว่า ‘เมื่อเราเดิน ยืน หลับ และตื่นอยู่
ญาณทัสสนะได้ปรากฏต่อเนื่องตลอดไป’ เธอกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เรารู้เห็นโลกอันไม่มี
ที่สุดด้วยญาณอันไม่มีที่สุด’ ท่านพระโคดม แม้แต่ท่านนิครนถ นาฎบุตรนี้ก็เป็น
สัพพัญญู เห็นสิ่งทั้งปวง ปฏิญญาญาณทัสสนะอย่างเบ็ดเสร็จว่า ‘เมื่อเราเดิน
ยืน หลับ และตื่นอยู่ ญาณทัสสนะได้ปรากฏต่อเนื่องตลอดไป’ เธอกล่าวอย่างนี้ว่า

เชิงอรรถ :
๑ น้อมไปไม่ได้ ในที่นี้หมายถึงไม่น้อมไปตามอำนาจราคะ (องฺ.นวก.อ. ๓/๓๗/๓๑๑)
๒ นำไปไม่ได้ ในที่นี้หมายถึงไม่ถูกชักนำไปตามอำนาจโทสะ (องฺ.นวก.อ. ๓/๓๗/๓๑๑)
๓ โลกายัต หมายถึงวิตัณฑวาทศาสตร์ คือ ศิลปะแห่งการเอาชนะผู้อื่นในเชิงวาทศิลป์ โดยการอ้างทฤษฎีและ
ประเพณีทางสังคมมาหักล้างสัจธรรม มุ่งแสดงให้เห็นว่าตนฉลาดกว่า มิได้มุ่งสัจธรรมแต่อย่างใด (ที.สี.อ.
๑/๒๕๖/๒๒๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๗.โลกายติกสูตร
‘เรารู้เห็นโลกอันไม่มีที่สุดด้วยญาณอันไม่มีที่สุด’ ท่านพระโคดม ทั้ง ๒ คนนี้ต่างพูด
อวดความรู้กัน ต่างพูดขัดแย้งกัน ใครพูดจริง ใครพูดเท็จ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อย่าเลย พราหมณ์ เรื่องที่คนทั้ง ๒ คนนี้ต่างพูดอวด
ความรู้กัน ต่างพูดขัดแย้งกัน ใครพูดจริง ใครพูดเท็จนี้จงพักไว้ก่อน เราจักแสดง
ธรรมแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว” พราหมณ์
เหล่านั้นทูลรับสนองพระพุทธดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า
“พราหมณ์ เปรียบเหมือนบุรุษ ๔ คน ยืนอยู่ ๔ ทิศ ต่างมีฝีเท้าวิ่งได้เร็ว
และก้าวได้เร็ว พวกเขาต่างมีฝีเท้าเร็วเช่นนี้ เปรียบเหมือนนายขมังธนูถือธนูไว้มั่น
ศึกษามาเจนจบ ฝีมือช่ำชอง ผ่านการประลองฝีมือมาแล้ว พึงใช้ลูกธนูชนิดเบา ๆ
ยิงเงาตาลด้านขวางให้ผ่านไปได้โดยไม่ยาก และยิงได้รวดเร็วกว่าการก้าวเท้าดังที่
กล่าวมา เปรียบเหมือนจากมหาสมุทรในทิศตะวันออกถึงมหาสมุทรในทิศตะวันตก
ถ้าบุรุษผู้ยืนอยู่ทางทิศตะวันออก พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เราจะเดินไปถึงที่สุดโลก’
เขางดกิน ดื่ม เคี้ยว และลิ้ม งดถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ งดหลับและพักผ่อน
เขามีอายุ ๑๐๐ ปี มีชีวิตอยู่ ๑๐๐ ปี เดินไปได้ตลอด ๑๐๐ ปี ยังไปไม่ถึงที่สุดโลกเลย
จะพึงตายเสียก่อนในระหว่าง ถ้าบุรุษผู้ยืนอยู่ทางทิศตะวันตก ฯลฯ ทางทิศเหนือ ฯลฯ
ถ้าบุรุษผู้ยืนอยู่ทางทิศใต้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เราจะเดินไปถึงที่สุดของโลก’ เขางดกิน
ดื่ม เคี้ยว และลิ้ม งดถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ งดหลับและพักผ่อน เขามีอายุ
๑๐๐ ปี มีชีวิตอยู่ ๑๐๐ ปี เดินไปได้ตลอด ๑๐๐ ปี ยังไปไม่ถึงที่สุดโลกเลย ก็จะพึง
ตายเสียก่อนในระหว่าง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเราจะไม่กล่าวว่า ‘บุคคลพึงรู้
พึงเห็น พึงถึงที่สุดโลกได้ด้วยการวิ่งไปเช่นนี้’ แต่เราก็ไม่กล่าวว่า ‘บุคคลยังไม่ถึง
ที่สุดโลกจะทำที่สุดทุกข์ได้’
พราหมณ์ กามคุณ ๕ ประการนี้ เรียกว่า ‘โลก’ ในอริยวินัย
กามคุณ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๑๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๗.โลกายติกสูตร
๒. เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ฯลฯ
๓. กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ฯลฯ
๔. รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ
๕. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
พราหมณ์ กามคุณ ๕ ประการนี้แล เรียกว่า ‘โลก’ ในอริยวินัย
ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน
ที่มีวิตกวิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เราเรียกว่า ภิกษุนี้ถึงที่สุดโลกแล้ว
อยู่ในที่สุดโลก คนพวกอื่นกล่าวถึงภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ‘แม้ภิกษุนี้ก็เกี่ยวข้องกับโลก
สลัดตนออกจากโลกไม่ได้’ แม้เราเองก็กล่าวอย่างนี้ว่า ‘แม้ภิกษุนี้ก็เกี่ยวข้องกับโลก
สลัดตนออกจากโลกไม่ได้’
ภิกษุบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ ตติยฌาน ฯลฯ จตุตถฌาน ฯลฯ เราก็เรียกว่า
ภิกษุนี้ถึงที่สุดโลกแล้ว อยู่ในที่สุดโลก คนพวกอื่นกล่าวถึงภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า
‘แม้ภิกษุนี้ก็เกี่ยวข้องกับโลก สลัดตนออกจากโลกไม่ได้’ แม้เราเองก็กล่าวอย่างนี้ว่า
‘แม้ภิกษุนี้ก็เกี่ยวข้องกับโลก สลัดตนออกจากโลกไม่ได้’
ภิกษุบรรลุอากาสานัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุดมิได้’ อยู่
เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญา เราก็เรียกว่า
ภิกษุนี้ถึงที่สุดโลกแล้ว อยู่ในที่สุดโลก คนพวกอื่นกล่าวถึงภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า
‘แม้ภิกษุนี้ก็เกี่ยวข้องกับโลก สลัดตนออกจากโลกไม่ได้’ แม้เราก็กล่าวอย่างนี้ว่า
‘แม้ภิกษุนี้ก็เกี่ยวข้องกับโลก สลัดตนออกจากโลกไม่ได้’
ภิกษุล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตน-
ฌาน โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ อยู่ ฯลฯ ภิกษุล่วงวิญญาณัญจายตนฌาน
โดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๘.เทวาสุรสังคามสูตร
ภิกษุล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตน-
ฌานอยู่ เราก็เรียกว่า ภิกษุนี้ถึงที่สุดโลกแล้ว อยู่ในที่สุดโลก คนพวกอื่นกล่าวถึง
ภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ‘แม้ภิกษุนี้ก็เกี่ยวข้องกับโลก สลัดตนออกจากโลกไม่ได้’ แม้เราก็
กล่าวอย่างนี้ว่า ‘แม้ภิกษุนี้ก็เกี่ยวข้องกับโลก สลัดตนออกจากโลกไม่ได้’
ภิกษุล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิต-
นิโรธอยู่ อาสวะทั้งหลายของเธอหมดสิ้นแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา เราเรียกว่า
ภิกษุนี้ถึงที่สุดโลกแล้ว อยู่ในที่สุดโลก ข้ามพ้นตัณหาเครื่องข้องในโลกได้”
โลกายติกสูตรที่ ๗ จบ

๘. เทวาสุรสังคามสูตร
ว่าด้วยสงครามระหว่างเทวดากับอสูร
[๓๙] ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว สงครามระหว่างเทวดากับอสูรได้
ประจัญหน้ากันแล้ว ในสงครามครั้งนั้น พวกอสูรชนะ พวกเทวดาแพ้ พวกเทวดาที่
แพ้ได้พากันหลบหนีมุ่งหน้าไปทางทิศเหนือ พวกอสูรได้ไล่ตามไป ครั้งนั้นแล
พวกเทวดาได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘พวกอสูรกำลังไล่ตามมา ทางที่ดี เราควรรบกับ
พวกอสูรเป็นครั้งที่ ๒’ พวกเทวดาได้รบกับพวกอสูรเป็นครั้งที่ ๒ แล้ว แม้ครั้งที่ ๒
พวกอสูรก็ชนะอีก พวกเทวดาแพ้ และพวกเทวดาที่แพ้ได้พากันหลบหนีมุ่งหน้าไป
ทางทิศเหนือ พวกอสูรได้ไล่ตามไป
ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พวกเทวดาได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘พวกอสูรกำลังไล่
ตามมา ทางที่ดี เราควรรบกับพวกอสูรเป็นครั้งที่ ๓’ พวกเทวดาได้รบกับพวกอสูร
เป็นครั้งที่ ๓ แล้ว แม้ครั้งที่ ๓ พวกอสูรก็ชนะอีก พวกเทวดาแพ้ พวกเทวดาที่แพ้
ต่างก็กลัวพากันเข้าไปยังเทพบุรี ก็แลพวกเทวดาที่อยู่ในเทพบุรีได้มีความคิดดังนี้ว่า
‘บัดนี้ พวกเราได้เครื่องป้องกันตนจากความขลาดกลัวอยู่ พวกอสูรจะทำอะไรเรา
ไม่ได้’ แม้พวกอสูรก็ได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘บัดนี้ พวกเทวดาได้มีเครื่องป้องกันตน
จากความขลาดกลัวอยู่ พวกเราจะทำอะไรพวกเทวดาไม่ได้’


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๘.เทวาสุรสังคามสูตร
ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว สงครามระหว่างเทวดากับอสูรได้
ประจัญหน้ากันแล้ว ในสงครามครั้งนั้น พวกเทวดาชนะ พวกอสูรแพ้ พวกอสูรที่
แพ้ได้พากันหลบหนีมุ่งหน้าไปทางทิศใต้ พวกเทวดาได้ไล่ตามไป ครั้งนั้นแล พวกอสูร
ได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘พวกเทวดากำลังไล่ตามมา ทางที่ดี เราควรรบกับพวกเทวดา
เป็นครั้งที่ ๒’ พวกอสูรได้รบกับพวกเทวดาเป็นครั้งที่ ๒ แล้ว แม้ครั้งที่ ๒ เทวดาก็
ชนะอีก พวกอสูรแพ้ พวกอสูรที่แพ้ได้พากันหลบหนีมุ่งหน้าไปทางทิศใต้ พวกเทวดา
ได้ไล่ตามไป
ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พวกอสูรได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘พวกเทวดากำลังไล่
ตามมา ทางที่ดี เราควรรบกับพวกเทวดาเป็นครั้งที่ ๓’ พวกอสูรได้รบกับพวกเทวดา
เป็นครั้งที่ ๓ แล้ว แม้ครั้งที่ ๓ พวกเทวดาก็ชนะอีก พวกอสูรแพ้ พวกอสูรที่แพ้
ต่างก็กลัวพากันเข้าไปยังอสูรบุรี ก็แลพวกอสูรที่อยู่ในอสูรบุรีได้มีความคิดดังนี้ว่า
‘บัดนี้ เราได้เครื่องป้องกันตนจากความขลาดกลัวอยู่ พวกเทวดาทำอะไรเราไม่ได้’
แม้พวกเทวดาก็ได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘บัดนี้ พวกอสูรได้เครื่องป้องกันตนจากความ
ขลาดกลัวอยู่ พวกเราจะทำอะไรพวกอสูรไม่ได้’
ภิกษุทั้งหลาย ในทำนองเดียวกัน สมัยใด ภิกษุสงัดจากกามและอกุศลธรรม
ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ สมัยนั้น
ภิกษุมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘บัดนี้ เราได้เครื่องป้องกันตนจากความขลาดกลัวอยู่
มารจะทำอะไรเราไม่ได้’ แม้มารผู้มีบาปก็ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘บัดนี้ ภิกษุได้
เครื่องป้องกันตนจากความขลาดกลัวอยู่ เราจะทำอะไรภิกษุไม่ได้’
ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ
บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ สมัยนั้น ภิกษุได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘บัดนี้ เราได้
เครื่องป้องกันตนจากความขลาดกลัวอยู่ มารจะทำอะไรเราไม่ได้’ แม้มารผู้มีบาป
ก็ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘บัดนี้ ภิกษุได้เครื่องป้องกันตนจากความขลาดกลัวอยู่
เราจะทำอะไรภิกษุไม่ได้’
ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุบรรลุอากาสานัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า
‘อากาศหาที่สุดมิได’ อยู่ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตต-
สัญญา ภิกษุนี้เราเรียกว่า ทำให้มารสิ้นสุด ไร้ร่องรอย ปิดตามารผู้มีบาปจนมอง
ไม่เห็น ข้ามพ้นตัณหาเครื่องข้องในโลกได้แล้ว


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๑๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๙.นาคสูตร
ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง
บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ อยู่ ฯลฯ
ล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน โดย
กำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ ฯลฯ ล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง
บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ ฯลฯ ล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
โดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ อาสวะทั้งหลายของเธอหมด
สิ้นแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา เราเรียกว่า ภิกษุนี้ทำให้มารสิ้นสุด ไร้ร่องรอย
ปิดตามารผู้มีบาปจนมองไม่เห็น ข้ามพ้นตัณหาเครื่องข้องในโลกได้แล้ว
เทวาสุรสังคามสูตรที่ ๘ จบ

๙. นาคสูตร
ว่าด้วยการหาความสงบของพญาช้าง
[๔๐] ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด เมื่อพญาช้างที่อยู่ในป่าขวนขวายเที่ยวหากินอยู่
เหล่าช้างพลาย ช้างพัง ลูกช้างใหญ่ และลูกช้างเล็ก เดินไปข้างหน้าๆ ทำลาย
ยอดหญ้า พญาช้างที่อยู่ในป่าย่อมอึดอัด ระอา รังเกียจ เพราะการกระทำนั้น
ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด เมื่อพญาช้างที่อยู่ในป่า ขวนขวายเที่ยวหากินอยู่ เหล่า
ช้างพลาย ช้างพัง ลูกช้างใหญ่ และลูกช้างเล็กต่างก็พากันกินกิ่งไม้ที่หักลงมา
พญาช้างที่อยู่ในป่าย่อมอึดอัด ระอา รังเกียจ เพราะการกระทำนั้น ภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด เมื่อพญาช้างที่อยู่ในป่าลงสู่ท่าน้ำ เหล่าช้างพลาย ช้างพัง ลูกช้างใหญ่
และลูกช้างเล็กต่างก็เดินไปข้างหน้าๆ ใช้งวงกวนน้ำให้ขุ่น พญาช้างที่อยู่ในป่า ย่อม
อึดอัด ระอา รังเกียจ เพราะการกระทำนั้น ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด เมื่อพญาช้าง
ที่อยู่ในป่า ขึ้นจากท่าน้ำแล้ว ช้างพังย่อมเดินเสียดสีกายไป พญาช้างที่อยู่ในป่า
ย่อมอึดอัด ระอา รังเกียจ เพราะการกระทำนั้น
ภิกษุทั้งหลาย สมัยนั้น พญาช้างที่อยู่ในป่าได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘บัดนี้
เราอยู่พลุกพล่านไปด้วยช้างพลาย ช้างพัง ลูกช้างใหญ่ และลูกช้างเล็ก กินหญ้า


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๒๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๙.นาคสูตร
ยอดด้วน ถูกช้างเหล่านั้นแย่งกินกิ่งไม้ที่เราหักลงมา ดื่มน้ำที่ขุ่น และเมื่อเรา
ขึ้นจากท่าน้ำ ช้างพังก็เดินเสียดสีกายไป ทางที่ดี เราควรหลีกออกจากโขลงไปอยู่
ผู้เดียว‘๑ ต่อมา พญาช้างนั้นได้หลีกออกจากโขลงไปอยู่ผู้เดียว กินหญ้ายอดไม่ด้วน
ไม่ถูกช้างเหล่านั้นแย่งกินกิ่งไม้ที่ตนหักลงมา ดื่มน้ำที่ไม่ขุ่น และเมื่อพญาช้างนั้นขึ้น
จากท่าน้ำก็ไม่ถูกช้างพังเดินเสียดสีกายไป
ภิกษุทั้งหลาย สมัยนั้น พญาช้างที่อยู่ในป่ามีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เมื่อก่อน
เราอยู่พลุกพล่านไปด้วยช้างพลาย ช้างพัง ลูกช้างใหญ่ และลูกช้างเล็ก กินหญ้า
ยอดด้วน ถูกช้างเหล่านั้นแย่งกินกิ่งไม้ที่เราหักลงมา ดื่มน้ำที่ขุ่น และเมื่อเราขึ้น
จากท่าน้ำ ก็ถูกช้างพังเดินเสียดสีกายไป บัดนี้ เรานั้นได้หลีกออกจากโขลงมาอยู่
ผู้เดียว กินหญ้ายอดไม่ด้วน ไม่ถูกช้างเหล่านั้นแย่งกินกิ่งไม้ที่เราหักลงมา ดื่มน้ำที่
ไม่ขุ่น และเมื่อเราขึ้นจากท่าน้ำก็ไม่ถูกช้างพังเดินเสียดสีกายไป’ พญาช้างนั้นใช้งวง
หักกิ่งไม้ ใช้กิ่งไม้ปัดกาย มีใจเบิกบาน บำบัดโรคคัน
ภิกษุทั้งหลาย ในทำนองเดียวกัน สมัยใด ภิกษุอยู่พลุกพล่านไปด้วยภิกษุ
ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา เดียรถีย์ และพวก
สาวกของเดียรถีย์ สมัยนั้น ภิกษุมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘บัดนี้ เราแลอยู่พลุกพล่าน
ไปด้วยภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา
เดียรถีย์ และพวกสาวกของเดียรถีย์ ทางที่ดี เราควรหลีกออกจากหมู่ไปอยู่ผู้เดียว’
เธอใช้สอยเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าทึบ
ที่กลางแจ้ง ลอมฟาง’ เธอไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี หรือไปสู่เรือนว่างก็ดี ย่อมนั่งคู้
บัลลังก์๒ ตั้งกายตรงดำรงสติไว้เฉพาะหน้า๓

เชิงอรรถ :
๑ ดู ขุ.อุ. ๒๕/๓๕/๑๔๘
๒ นั่งคู้บัลลังก์ หมายถึงนั่งพับขาเข้าหากันทั้งสองข้าง เรียกว่านั่งสมาธิ (วิ.อ. ๑/๑๖๕/๔๔๕)
๓ ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า หมายถึงตั้งสติกำหนดอารมณ์กัมมัฏฐาน (วิ.อ. ๑/๑๖๕/๔๔๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๒๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๙.นาคสูตร
เธอละอภิชฌาในโลกได้ มีใจปราศจากอภิชฌาอยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก
อภิชฌา ละความมุ่งร้ายคือพยาบาทได้แล้ว มีจิตไม่พยาบาท มุ่งประโยชน์เกื้อกูล
ต่อสรรพสัตว์อยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความมุ่งร้ายคือพยาบาท ละถีนมิทธะ
ปราศจากถีนมิทธะ มีอาโลกสัญญา(กำหนดหมายแสงสว่าง) มีสติสัมปชัญญะอยู่
ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะ ละอุทธัจจกุกกุจจะ เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบ
ภายในอยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะ ละวิจิกิจฉา ข้ามวิจิกิจฉาได้แล้ว
ไม่มีวิจิกิจฉาในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉา เธอละนิวรณ์
๕ ประการนี้ที่เป็นเครื่องเศร้าหมองใจ ทอนกำลังปัญญา สงัดจากกามและอกุศล
ธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่
เธอมีใจเบิกบาน บำบัดกิเลสดังโรคคันได้ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ ตติยฌาน ฯลฯ
จตุตถฌาน ฯลฯ เธอมีใจเบิกบานบำบัดกิเลสดังโรคคันได้
ภิกษุบรรลุอากาสานัญจายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุดมิได้’ อยู่
เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญา เธอมีใจเบิกบาน
บำบัดกิเลสดังโรคคันได้ ภิกษุล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
วิญญาณัญจายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ อยู่ ฯลฯ ภิกษุล่วง
วิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน โดยกำหนด
ว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ ฯลฯ ภิกษุล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
เนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่๑ ฯลฯ ภิกษุล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
โดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ อาสวะทั้งหลายของเธอหมดสิ้นแล้ว
เพราะเห็นด้วยปัญญา เธอเป็นผู้มีใจเบิกบานบำบัดกิเลสดังโรคคันได้
นาคสูตรที่ ๙ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดู ที.ปา. ๑๑/๓๔๓/๒๓๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๑๐.ตปุสสสูตร
๑๐. ตปุสสสูตร
ว่าด้วยตปุสสคหบดี
[๔๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของชาวมัลละ ชื่อว่า
อุรุเวลกัปปะ แคว้นมัลละ ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก
ทรงถือบาตรและจีวรเสด็จเข้าไปยังนิคมชื่ออุรุเวลกัปปะเพื่อบิณฑบาต ครั้นแล้ว
เสด็จกลับจากบิณฑบาต หลังจากเสวยพระกระยาหารเสร็จแล้ว รับสั่งเรียกท่าน
พระอานนท์มาตรัสว่า “อานนท์ เธอจงรออยู่ที่นี้ก่อน จนกว่าเราจะไปถึงป่ามหาวัน
เพื่อพักผ่อนกลางวัน” ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จดำเนินไปถึงป่ามหาวันแล้ว จึงประทับนั่งพัก
ผ่อนกลางวันที่โคนไม้แห่งหนึ่ง
ลำดับนั้นแล ตปุสสคหบดีเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ อภิวาทท่านพระ
อานนท์แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “ท่านพระอานนท์
ผู้เจริญ พวกกระผมเป็นคฤหัสถ์ เป็นกามโภคี มีกามเป็นที่ยินดี รื่นรมย์ในกาม
บันเทิงในกาม เนกขัมมะ๑จึงปรากฏดุจเหวแก่พวกกระผมผู้เป็นคฤหัสถ์ เป็นกามโภคี
มีกามเป็นที่ยินดี รื่นรมย์ในกาม บันเทิงในกาม ท่านพระอานนท์ผู้เจริญ กระผมได้
ทราบมาดังนี้ว่า ‘จิตของภิกษุหนุ่ม ๆ ในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น
ในเนกขัมมะ หลุดพ้น๒ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘เนกขัมมะนั่นสงบ’ ท่านผู้เจริญ ภิกษุ
ในพระธรรมวินัยนี้มีส่วนต่างกับคนส่วนมาก คือ เนกขัมมะหรือ”
ท่านพระอานนท์กล่าวว่า “คหบดี มีเหตุแห่งถ้อยคำที่จะเฝ้าพระผู้มีพระภาคได้
มาเถิด คหบดี เราจะไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว จักกราบทูล


เชิงอรรถ :
๑เนกขัมมะ ในที่นี้หมายถึงการบรรพชา (องฺ.นวก.อ. ๓/๔๑/๓๑๔)
๒หลุดพ้น ในที่นี้หมายถึงหลุดพ้นจากธรรมที่เป็นข้าศึก (องฺ.นวก.อ. ๓/๔๑/๓๑๔)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๑๐.ตปุสสสูตร
เนื้อความนี้แด่พระผู้มีพระภาค จักทรงจำเนื้อความตามที่พระผู้มีพระภาคจะทรงตอบ
แก่พวกเรา” ตปุสสคหบดีรับคำท่านพระอานนท์แล้ว
ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์พร้อมด้วยตปุสสคหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ตปุสสคหบดีนี้ได้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านพระอานนท์ผู้เจริญ
พวกกระผมผู้เป็นคฤหัสถ์เป็นกามโภคี มีกามเป็นที่ยินดี รื่นรมย์ในกาม บันเทิง
ในกาม เนกขัมมะจึงปรากฏดุจเหวแก่พวกกระผมผู้เป็นคฤหัสถ์ เป็นกามโภคี มีกาม
เป็นที่ยินดี รื่นรมย์ในกาม บันเทิงในกาม ท่านพระอานนท์ผู้เจริญ กระผมได้ทราบ
มาดังนี้ว่า ‘จิตของภิกษุหนุ่ม ๆ ในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่นใน
เนกขัมมะ หลุดพ้น เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘เนกขัมมะนั่นสงบ’ ท่านผู้เจริญ ภิกษุใน
พระธรรมวินัยนี้มีส่วนต่างกับคนส่วนมาก คือ เนกขัมมะหรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ข้อนี้เป็นอย่างนั้น อานนท์ ข้อนี้เป็นอย่างนั้น อานนท์
แม้เราเองก่อนจะตรัสรู้ ยังมิได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่นั่นแล ได้มีความดำริดังนี้ว่า
‘เนกขัมมะเป็นความดี ความสงบเป็นความดี’ จิตของเรานั้น ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส
ไม่ตั้งมั่นในเนกขัมมะ ไม่หลุดพ้น เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘เนกขัมมะนั่นสงบ’ เรานั้นจึง
มีความดำริดังนี้ว่า ‘อะไรหนอแลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้จิตของเราไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส
ไม่ตั้งมั่นในเนกขัมมะ ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘เนกขัมมะนั่นสงบ’ เราจึงมี
ความดำริดังนี้ว่า ‘โทษในกามทั้งหลายเรายังไม่ได้เห็นและไม่ได้ทำให้มาก และอานิสงส์
ในเนกขัมมะเรายังไม่ได้บรรลุและไม่ได้เสพ เพราะเหตุนั้น จิตของเราจึงไม่แล่นไป
ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นในเนกขัมมะ ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘เนกขัมมะ
นั่นสงบ’ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า ‘ถ้าเราเห็นโทษในกามทั้งหลายแล้วทำให้มาก
ได้บรรลุอานิสงส์ในเนกขัมมะแล้วเสพอานิสงส์นั้น เป็นไปได้ที่จิตของเราจะพึงแล่นไป
เลื่อมใส ตั้งมั่นในเนกขัมมะ หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘เนกขัมมะนั่นสงบ’ ต่อมา
เราได้เห็นโทษในกามทั้งหลายแล้วทำให้มาก ได้บรรลุอานิสงส์ในเนกขัมมะแล้วเสพ
อานิสงส์นั้น จิตของเราจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่นในเนกขัมมะ หลุดพ้น เมื่อพิจารณา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๒๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๑๐.ตปุสสสูตร
เห็นว่า ‘เนกขัมมะนั่นสงบ’ อานนท์ เราสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว
บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้
สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยกามยังฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่เรา ทุกข์พึง
เกิดขึ้นแก่คนผู้มีสุขก็เพียงเพื่อความกดดัน๑ ฉันใด สัญญาและมนสิการที่ประกอบ
ด้วยกามย่อมฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่เรา ฉันนั้น
อานนท์ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า ทางที่ดี เราควรบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ
จิตของเรานั้นไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นในทุติยฌานที่ไม่มีวิตก ไม่หลุดพ้น’
เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘ทุติยฌานนั่นสงบ’ เรานั้นจึงมีความดำริดังนี้ว่า ‘อะไรหนอแล
เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้จิตของเราไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นในทุติยฌานที่ไม่มีวิตก
ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘ทุติยฌานนั่นสงบ’ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า ‘โทษใน
วิตกเรายังไม่ได้เห็นและไม่ได้ทำให้มาก อานิสงส์ในทุติยฌานที่ไม่มีวิตกเรายังไม่ได้
บรรลุและไม่ได้เสพ เพราะเหตุนั้น จิตของเราจึงไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นใน
ทุติยฌานที่ไม่มีวิตก ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘ทุติยฌานนั่นสงบ’ เราจึงมี
ความคิดดังนี้ว่า ‘ถ้าเราเห็นโทษในวิตกแล้วทำให้มาก ได้บรรลุอานิสงส์ในทุติยฌาน
ที่ไม่มีวิตกแล้วเสพอานิสงส์นั้น เป็นไปได้ที่จิตของเราจะพึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น
ในทุติยฌานที่ไม่มีวิตก หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘ทุติยฌานนั่นสงบ’ ต่อมา
เราได้เห็นโทษในวิตกแล้วทำให้มาก ได้บรรลุอานิสงส์ในทุติยฌานที่ไม่มีวิตกแล้ว
เสพอานิสงส์นั้น จิตของเราจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่นในทุติยฌานที่ไม่มีวิตก หลุดพ้น
เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘ทุติยฌานนั่นสงบ’ อานนท์ เราบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ เมื่อเรา
อยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยวิตกยังฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความ
กดดันแก่เรา ทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่คนผู้มีสุข เพียงเพื่อความกดดัน ฉันใด สัญญา-
มนสิการที่ประกอบด้วยวิตกย่อมฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่เรา ฉันนั้น


เชิงอรรถ :
๑ ดูความหมายในเชิงอรรถที่ ๑ นวกนิบาต ข้อ ๓๔ (นิพพานสูตร) หน้า ๕๐๑ ในเล่มนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๑๐.ตปุสสสูตร
อานนท์ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรเป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัม-
ปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติจางคลายไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยะ
ทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข’ จิตของเราไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส
ไม่ตั้งมั่นในตติยฌานที่ไม่มีปีติ ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘ตติยฌานนั่นสงบ’
เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า ‘อะไรหนอแลเป็นเหตุเป็นปัจจัย ให้จิตของเราไม่แล่นไป
ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นในตติยฌานที่ไม่มีปีติ ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า
‘ติยฌานนั่นสงบ’ เรามีความดำริดังนี้ว่า ‘โทษในปีติเรายังไม่ได้เห็นและไม่ได้ทำ
ให้มาก อานิสงส์ในตติยฌานที่ไม่มีปีติ เรายังไม่ได้บรรลุและไม่ได้เสพ เพราะเหตุนั้น
จิตของเรา จึงไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นในตติยฌานที่ไม่มีปีติ ไม่หลุดพ้น’
เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘ตติยฌานนั่นสงบ’ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า ‘ถ้าเราเห็นโทษในปีติแล้ว
ทำให้มาก ได้บรรลุอานิสงส์ในตติยฌานที่ไม่มีปีติแล้วเสพอานิสงส์นั้น เป็นไปได้
ที่จิตของเราจะพึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่นในตติยฌานที่ไม่มีปีติ หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณา
เห็นว่า ‘ตติยฌานนั่นสงบ’ ต่อมาเราได้เห็นโทษในปีติแล้วทำให้มาก ได้บรรลุอานิสงส์
ในตติยฌานที่ไม่มีปีติแล้วเสพอานิสงส์นั้น จิตของเราจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่นใน
ตติยฌานที่ไม่มีปีติ หลุดพ้น เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘ตติยฌานนั่นสงบ’ อานนท์
เพราะปีติจางคลายไป เราจึงบรรลุตติยฌาน ฯลฯ เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้
สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยปีติยังฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่เรา ทุกข์พึง
เกิดขึ้นแก่คนผู้มีสุขเพียงเพื่อความกดดัน ฉันใด สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยปีติ
ย่อมฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่เรา ฉันนั้น
อานนท์ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์
และไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว มีสติ
บริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ จิตของเราไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นในจตุตถฌาน
ที่ไม่มีทุกข์และไม่มีสุข ไม่หลุดพ้น เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘จตุตถฌานนั่นสงบ’ เราจึง
มีความคิดดังนี้ว่า ‘อะไรหนอแลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้จิตของเราไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๑๐.ตปุสสสูตร
ไม่ตั้งมั่นในจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์และไม่มีสุข ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า
‘จตุตถฌานนั่นสงบ’ เรามีความดำริดังนี้ว่า ‘โทษในอุเบกขาและสุข เรายังไม่ได้เห็น
และไม่ได้ทำให้มาก อานิสงส์ในจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์และไม่มีสุข เรายังไม่ได้บรรลุ
และไม่ได้เสพ เพราะเหตุนั้น จิตของเราจึงไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นใน
จตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์และไม่มีสุข ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘จตุตถฌาน
นั่นสงบ’ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า ‘ถ้าเราเห็นโทษในอุเบกขาและสุขแล้วทำให้มาก
ได้บรรลุอานิสงส์ในจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์และไม่มีสุขแล้วเสพอานิสงส์นั้น เป็นไปได้
ที่จิตของเราพึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่นในจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์และไม่มีสุข หลุดพ้น’
เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘จตุตถฌานนั่นสงบ’ ต่อมาเราได้เห็นโทษในอุเบกขาและสุขแล้ว
ทำให้มาก ได้บรรลุอานิสงส์ในจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์และไม่มีสุขแล้วเสพอานิสงส์นั้น
จิตของเราจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่นในจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์และไม่มีสุข หลุดพ้น
เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘จตุตถฌานนั่นสงบ’ อานนท์ เราบรรลจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์
และไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญา-
มนสิการที่ประกอบด้วยอุเบกขาย่อมฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่เรา ทุกข์พึง
เกิดขึ้นแก่คนผู้มีสุขเพียงเพื่อความกดดัน ฉันใด สัญญามนสิการที่ประกอบด้วย
อุเบกขาย่อมฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่เรา ฉันนั้น
อานนท์ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรบรรลุอากาสานัญจายตนฌาน
โดยกำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุดมิได้’ อยู่ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนด
นานัตตสัญญา จิตของเราไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นในอากาสานัญจายตนฌาน
ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘อากาสานัญจายตนฌานนั่นสงบ’ เราจึงมีความ
ดำริดังนี้ว่า ‘อะไรหนอแลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้จิตของเราไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่น
ในอากาสานัญจายตนฌาน ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘อากาสานัญจายตน-
ฌานนั่นสงบ’ เรามีความดำริดังนี้ว่า ‘โทษในรูปทั้งหลายเรายังไม่ได้เห็นและไม่ได้
ทำให้มาก อานิสงส์ในอากาสานัญจายตนฌาน เรายังไม่ได้บรรลุและไม่ได้เสพ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๑๐.ตปุสสสูตร
เพราะเหตุนั้น จิตของเราจึงไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นในอากาสานัญจายตนฌาน
ไม่หลุดพ้น เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘อากาสานัญจายตนฌานนั่นสงบ’ เราจึงมี
ความดำริดังนี้ว่า ถ้าเราได้เห็นโทษในรูปทั้งหลายแล้วทำให้มาก ได้บรรลุอานิสงส์ใน
อากาสานัญจายตนฌานแล้วเสพอานิสงส์นั้น เป็นไปได้ที่จิตของเราจะพึงแล่นไป เลื่อมใส
ตั้งมั่นในอากาสานัญจายตนฌาน หลุดพ้น เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘อากาสานัญจายตน-
ฌานนั่นสงบ’ ต่อมาเราได้เห็นโทษในรูปทั้งหลายแล้วทำให้มาก ได้บรรลุอานิสงส์ใน
อากาสานัญจายตนฌานแล้วเสพอานิสงส์นั้น จิตของเราจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น
ในอากาสานัญจายตนฌาน หลุดพ้น เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘อากาสานัญจายตนฌาน
นั่นสงบ’ อานนท์ เราบรรลุอากาสานัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุด
มิได้’ อยู่ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญา เมื่อเราอยู่
ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยรูปยังฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกด
ดันแก่เรา ทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่คนผู้มีสุขเพียงเพื่อความกดดัน ฉันใด สัญญามนสิการ
ที่ประกอบด้วยรูป ย่อมฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่เรา ฉันนั้น
อานนท์ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรล่วงอากาสานัญจายตน-
ฌาน โดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณ
หาที่สุดมิได้’ อยู่ จิตของเราไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นในวิญญาณัญจายตนฌาน
ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘วิญญาณัญจายตนฌานนั่นสงบ’ เราจึงมีความดำริ
ดังนี้ว่า ‘อะไรหนอแลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้จิตของเราไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่น
ในวิญญาณัญจายตนฌาน ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘วิญญาณัญจายตนฌาน
นั่นสงบ’ เรามีความดำริดังนี้ว่า ‘โทษในอากาสานัญจายตนฌานเรายังไม่ได้เห็นและ
ไม่ได้ทำให้มาก อานิสงส์ในวิญญาณัญจายตนฌานเรายังไม่ได้บรรลุ และไม่ได้เสพ
เพราะเหตุนั้น จิตของเราจึงไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่น ในวิญญาณัญจายตนฌาน
ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘วิญญาณัญจายตนฌานนั่นสงบ’ เราจึงมีความดำริ
ดังนี้ว่า ‘ถ้าเราเห็นโทษในอากาสานัญจายตนฌานแล้วทำให้มาก ได้บรรลุอานิสงส์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๑๐.ตปุสสสูตร
ในวิญญาณัญจายตนฌานแล้วเสพอานิสงส์นั้น เป็นไปได้ที่จิตของเราจะพึงแล่นไป
เลื่อมใส ตั้งมั่นในวิญญาณัญจายตนฌาน หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า
‘วิญญาณัญจายตนฌานนั่นสงบ’ ต่อมาเราได้เห็นโทษในอากาสานัญจายตนฌาน
แล้วทำให้มาก ได้บรรลุอานิสงส์ในวิญญาณัญจายตนฌานแล้วเสพอานิสงส์นั้น
จิตของเราจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่นในวิญญาณัญจายตนฌาน หลุดพ้น เมื่อ
พิจารณาเห็นว่า ‘วิญญาณัญจายตนฌานนั่นสงบ’ อานนท์ เราล่วงอากาสานัญจายตน-
ฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณ
หาที่สุดมิได้’ อยู่ เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการที่ประกอบด้วย
อากาสานัญจายตนฌานยังฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่เรา ทุกข์พึงเกิดขึ้น
แก่คนผู้มีสุขเพียงเพื่อความกดดัน ฉันใด สัญญามนสิการที่ประกอบด้วย
อากาสานัญจายตนฌานย่อมฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่เรา ฉันนั้น
อานนท์ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรล่วงวิญญาณัญจายตนฌาน
โดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่
จิตของเราไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นในอากิญจัญญายตนฌาน ไม่หลุดพ้น’
เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘อากิญจัญญายตนฌานนั่นสงบ’ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า
‘อะไรหนอแลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้จิตของเราไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นใน
อากิญจัญญายตนฌาน ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘อากิญจัญญายตนฌาน
นั่นสงบ’ เรามีความดำริดังนี้ว่า ‘โทษในวิญญาณัญจายตนฌาน เรายังไม่ได้เห็นและ
ไม่ได้ทำให้มาก อานิสงส์ในอากิญจัญญายตนฌาน เรายังไม่ได้บรรลุและไม่ได้เสพ
เพราะเหตุนั้น จิตของเราจึงไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นในอากิญจัญญายตนฌาน
ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘อากิญจัญญายตนฌานนั่นสงบ’ เราจึงมีความดำริ
ดังนี้ว่า ‘ถ้าเราเห็นโทษในวิญญาณัญจายตนฌานแล้วทำให้มาก ได้บรรลุอานิสงส์ใน
อากิญจัญญายตนฌานแล้วเสพอานิสงส์นั้น เป็นไปได้ที่จิตของเราจะพึงแล่นไป เลื่อมใส
ตั้งมั่นในอากิญจัญญายตนฌาน หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘อากิญจัญญายตน-


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๑๐.ตปุสสสูตร
ฌานนั่นสงบ’ ต่อมาเราได้เห็นโทษในวิญญาณัญจายตนฌานแล้วทำให้มาก ได้บรรลุ
อานิสงส์ในอากิญจัญญายตนฌานแล้วเสพอานิสงส์นั้น จิตของเราจึงแล่นไป เลื่อมใส
ตั้งมั่นในอากิญจัญญายตนฌาน หลุดพ้น เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘อากิญจัญญายตน-
ฌานนั่นสงบ’ อานนท์ เราล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
อากิญจัญญายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้
สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยวิญญาณัญจายตนฌานยังฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกด
ดันแก่เรา ทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่คนผู้มีสุขเพียงเพื่อความกดดัน ฉันใด สัญญามนสิการที่
ประกอบด้วยวิญญาณัญจายตนฌานย่อมฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่เรา ฉันนั้น
อานนท์ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรล่วงอากิญจัญญายตนฌาน
โดยประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ จิตของเราไม่แล่นไป
ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นในเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณา
เห็นว่า ‘เนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั่นสงบ’ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า ‘อะไร
หนอแล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้จิตของเราไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นในเนวสัญญานา-
สัญญายตนฌาน ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
นั่นสงบ’ เรามีความดำริดังนี้ว่า ‘โทษในอากิญจัญญายตนฌาน เรายังไม่ได้เห็นและ
ไม่ได้ทำให้มาก อานิสงส์ในเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เรายังไม่ได้บรรลุและไม่ได้
เสพ เพราะเหตุนั้น จิตของเราจึงไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นในเนวสัญญานา-
สัญญายตนฌาน ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
นั่นสงบ’ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า ‘ถ้าเราเห็นโทษในอากิญจัญญายตนฌานแล้วทำ
ให้มาก ได้บรรลุอานิสงส์ในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานแล้วเสพอานิสงส์นั้น เป็น
ไปได้ที่จิตของเราพึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่นในเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน หลุดพ้น’
เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘เนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั่นสงบ’ ต่อมาเราได้เห็นโทษใน
อากิญจัญญายตนฌานแล้วทำให้มาก ได้บรรลุอานิสงส์ในเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
แล้วเสพอานิสงส์นั้น จิตของเราจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่นในเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๑๐.ตปุสสสูตร
หลุดพ้น เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘เนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั่นสงบ’ อานนท์
เราล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
อยู่ เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยอากิญจัญญายตนฌาน
ยังฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่เรา ทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่คนผู้มีสุขเพียงเพื่อความ
กดดัน ฉันใด สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยอากิญจัญญายตนฌานย่อมฟุ้งขึ้น ข้อ
นั้นเป็นความกดดันแก่เรา ฉันนั้น
อานนท์ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรล่วงเนวสัญญานาสัญญายตน-
ฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ จิตของเราไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส
ไม่ตั้งมั่นในสัญญาเวทยิตนิโรธ ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘สัญญาเวทยิตนิโรธ
นั่นสงบ’ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า ‘อะไรหนอแลเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้จิตของเรา
ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นในสัญญาเวทยิตนิโรธ ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณา
เห็นว่า ‘สัญญาเวทยิตนิโรธนั่นสงบ’ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า ‘โทษในเนวสัญญานา-
สัญญายตนฌานเรายังไม่ได้เห็นและไม่ได้ทำให้มาก อานิสงส์ในสัญญาเวทยิตนิโรธ
เรายังไม่ได้บรรลุและไม่ได้เสพ เพราะเหตุนั้น จิตของเราจึงไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส
ไม่ตั้งมั่นในสัญญาเวทยิตนิโรธ ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘สัญญาเวทยิตนิโรธ
นั่นสงบ’ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า ‘ถ้าเราเห็นโทษในเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
แล้วทำให้มาก ได้บรรลุอานิสงส์ในสัญญาเวทยิตนิโรธ แล้วเสพอานิสงส์นั้น เป็นไป
ได้ที่จิตของเราจะพึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่นในสัญญาเวทยิตนิโรธ หลุดพ้น เมื่อ
พิจารณาเห็นว่า ‘สัญญาเวทยิตนิโรธนั่นสงบ’ ต่อมาเราได้เห็นโทษในเนวสัญญานา-
สัญญายตนฌานแล้วทำให้มาก ได้บรรลุอานิสงส์ในสัญญาเวทยิตนิโรธแล้วเสพ
อานิสงส์นั้น จิตของเราจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่นในสัญญาเวทยิตนิโรธ หลุดพ้น
เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘สัญญาเวทยิตนิโรธนั่นสงบ’ อานนท์ เราล่วงเนวสัญญานา-
สัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ อาสวะทั้งหลาย
ของเราได้ถึงความหมดสิ้นแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
อานนท์ เมื่อใด อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ ประการนี้ เรายังเข้าไม่ได้ ออกไม่ได้
ทั้งโดยอนุโลมและปฏิโลมอย่างนี้ เมื่อนั้น เราก็ยังไม่ยืนยันว่า เป็นผู้ตรัสรู้สัมมา-
สัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์
พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์
แต่เมื่อใด อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ ประการนี้ เราเข้าก็ได้ ออกก็ได้ ทั้งโดย
อนุโลมและปฏิโลมอย่างนี้ เมื่อนั้น เราจึงยืนยันได้ว่า เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ
อันยอดเยี่ยมในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้ง
สมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ก็แลญาณทัสสนะได้เกิดขึ้นแก่เราว่า ‘เจโตวิมุตติ
ของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก”
ตปุสสสูตรที่ ๑๐ จบ
มหาวรรคที่ ๔ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อนุปุพพวิหารสูตร ๒. อนุปุพพวิหารสมาปัตติสูตร
๓. นิพพานสุขสูตร ๔. คาวีอุปมาสูตร
๕. ฌานสูตร ๖. อานันทสูตร
๗. โลกายติกสูตร ๘. เทวาสุรสังคามสูตร
๙. นาคสูตร ๑๐. ตปุสสสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๓๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.สามัญญวรรค ๑.สัมพาธสูตร
๕. สามัญญวรรค
หมวดว่าด้วยสามัญญธรรม
๑. สัมพาธสูตร
ว่าด้วยวิธีบรรลุช่องว่างในที่คับแคบ๑
[๔๒] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี
ครั้งนั้นแล ท่านพระอุทายีเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ สนทนาปราศรัยกับ
ท่านพอเป็นที่บันเทิงใจพอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับท่าน
พระอานนท์ดังนี้ว่า “ผู้มีอายุ ปัญจาลจัณฑเทพบุตรได้กล่าวไว้ดังนี้ว่า
‘พระพุทธเจ้าพระองค์ใด ผู้ทรงหลีกเร้นอยู่
ทรงเป็นพระมุนีผู้ประเสริฐ ได้ตรัสรู้ฌานแล้ว
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น มีพระปัญญากว้างขวาง
ได้ทรงรู้วิธีบรรลุช่องว่างในที่คับแคบ’
ผู้มีอายุ ที่คับแคบ เป็นอย่างไร วิธีบรรลุช่องว่างในที่คับแคบ พระผู้มีพระภาค
ตรัสไว้อย่างไร”
ท่านพระอานนท์กล่าวว่า “ผู้มีอายุ กามคุณ ๕ ประการนี้ พระผู้มีพระภาค
ตรัสว่า ที่คับแคบ
กามคุณ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
๒. เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบข้อ ๓๔ (นิพพานสุขสูตร) หน้า ๕๐๐ และดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๓๗ หน้า ๕๑๓ ในเล่มนี้ และดู ที.ม.
๑๐/๒๘๘/๑๘๓, ที.ม.อ. ๒/๒๘๘/๒๕๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.สามัญญวรรค ๑.สัมพาธสูตร
๓. กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ฯลฯ
๔. รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ
๕. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
ผู้มีอายุ กามคุณ ๕ ประการนี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ที่คับแคบ
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน
ฯลฯ อยู่ พระผู้มีพระภาคตรัสวิธีบรรลุช่องว่างในที่คับแคบโดยปริยาย๑หนึ่งด้วยเหตุ
เพียงเท่านี้ แม้ในปฐมฌานนั้นก็ยังมีที่คับแคบ อะไรชื่อว่าที่คับแคบในปฐมฌานนั้น
วิตกและวิจารที่ยังไม่ดับในปฐมฌานนั้น ชื่อว่าที่คับแคบในปฐมฌานนี้
ภิกษุ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ อยู่ พระผู้มีพระภาค
ตรัสวิธีบรรลุช่องว่างในที่คับแคบโดยปริยายหนึ่ง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ แม้ในทุติยฌาน
นั้น ก็ยังมีที่คับแคบ อะไรชื่อว่าที่คับแคบในทุติยฌานนั้น ปีติที่ยังไม่ดับในทุติยฌานนั้น
ชื่อว่าที่คับแคบในทุติยฌานนี้
ภิกษุ เพราะปีติจางคลายไป เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วย
นามกาย บรรลุตติยฌาน ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสวิธีบรรลุช่องว่างในที่คับแคบ
โดยปริยายหนึ่ง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ แม้ในตติยฌานนั้นก็ยังมีที่คับแคบ อะไรชื่อว่า
ที่คับแคบในตติยฌานนั้น อุเบกขาและสุขที่ยังไม่ดับในตติยฌานนั้น ชื่อว่าที่คับแคบ
ในตติยฌานนี้
ภิกษุ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสโทมนัสดับไปก่อนแล้ว บรรลุ
จตุตถฌาน ฯลฯ อยู่ พระผู้มีพระภาคตรัสวิธีบรรลุถึงช่องว่างในที่คับแคบโดยปริยายหนึ่ง
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ แม้ในจตุตถฌานนั้นก็ยังมีที่คับแคบ อะไรชื่อว่าที่คับแคบใน
จตุตถฌานนั้น รูปสัญญาที่ยังไม่ดับในจตุตถฌานนั้น ชื่อว่าที่คับแคบในจตุตถฌานนี้

เชิงอรรถ :
๑ ปริยาย ในที่นี้หมายถึงเหตุหนึ่ง ๆ หรือวิธีหนึ่ง ๆ กล่าวคือทรงแสดงว่าวิธีแต่ละอย่าง ต่างก็เป็น “ช่องว่าง”
ในที่คับแคบแต่ละอย่าง เช่น ปฐมฌาน เป็นช่องว่างในที่คับแคบคือกามคุณ ๕ และนิวรณ์ ๕ ทุติยฌาน
เป็นช่องว่างในที่คับแคบคือวิตกและวิจาร (องฺ.นวก.อ. ๓/๔๒/๓๑๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.สามัญญวรรค ๑.สัมพาธสูตร
ภิกษุบรรลุอากาสานัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุดมิได้’ อยู่
เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญา พระผู้มีพระภาค
ตรัสวิธีบรรลุช่องว่างในที่คับแคบโดยปริยายหนึ่ง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ แม้ใน
อากาสานัญจายตนฌานนั้นก็ยังมีที่คับแคบ อะไรชื่อว่าที่คับแคบในอากาสานัญจายตน-
ฌานนั้น อากาสานัญจายตนสัญญาที่ยังไม่ดับในอากาสานัญจายตนฌานนั้น ชื่อว่า
ที่คับแคบในอากาสานัญจายตนฌานนี้
ภิกษุล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตน-
ฌาน โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ อยู่ พระผู้มีพระภาคตรัสวิธีบรรลุช่องว่าง
ในที่คับแคบโดยปริยายหนึ่ง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ แม้ในวิญญาณัญจายตนฌานก็ยังมี
ที่คับแคบ อะไรชื่อว่าที่คับแคบในวิญญาณัญจายตนฌานนั้น วิญญาณัญจายตนสัญญา
ที่ยังไม่ดับในวิญญาณัญจายตนฌานนั้น ชื่อว่าที่คับแคบในวิญญาณัญจายตนฌานนี้
ภิกษุล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน
โดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ พระผู้มีพระภาคตรัสวิธีบรรลุช่องว่างในที่คับแคบโดย
ปริยายหนึ่ง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ แม้ในอากิญจัญญายตนฌานก็ยังมีที่คับแคบ อะไร
ชื่อว่าที่คับแคบในอากิญจัญญายตนฌานนั้น อากิญจัญญายตนสัญญาที่ยังไม่ดับใน
อากิญจัญญายตนฌานนั้น ชื่อว่าที่คับแคบในอากิญจัญญายตนฌานนี้
ภิกษุล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญานา-
สัญญายตนฌานอยู่ พระผู้มีพระภาคตรัสวิธีบรรลุช่องว่างในที่คับแคบโดยปริยายหนึ่ง
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ แม้ในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานก็ยังมีที่คับแคบ อะไรชื่อว่า
ที่คับแคบในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา
ที่ยังไม่ดับในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น ชื่อว่าที่คับแคบในเนวสัญญานา-
สัญญายตนฌานนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.สามัญญวรรค ๒.กายสักขีสูตร
ภิกษุล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญา-
เวทยิตนิโรธอยู่ อาสวะทั้งหลายของเธอหมดสิ้นแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา ผู้มีอายุ
พระผู้มีพระภาคตรัสวิธีบรรลุช่องว่างในที่คับแคบโดยนิปปริยาย๑แล้ว ด้วยเหตุเพียง
เท่านี้
สัมพาธสูตรที่ ๑ จบ

๒. กายสักขีสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้เป็นกายสักขี
[๔๓] ท่านพระอุทายีถามว่า “ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘กายสักขี
กายสักขี’ ผู้มีอายุ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกบุคคล
ว่า กายสักขี”๒
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “ผู้มีอายุ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้สงัดจากกาม ฯลฯ
บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ และอายตนะคือปฐมฌานนั้นมีอยู่โดยประการใด ๆ เธอสัมผัส
อายตนะคือปฐมฌานนั้นด้วยกาย๓ โดยประการนั้น ๆ อยู่ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกบุคคลว่า ‘กายสักขี’ โดยปริยายแล้ว (๑)
ภิกษุบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ
และอายตนะคือจตุตถฌานนั้นมีอยู่โดยประการใด ๆ เธอสัมผัสอายตนะคือจตุตถฌาน
นั้นด้วยกายโดยประการนั้น ๆ อยู่ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียก
บุคคลว่า ‘กายสักขี’ โดยปริยายแล้ว (๒-๔)

เชิงอรรถ :
๑ นิปปริยาย วิธีนี้เป็นวิธีบรรลุช่องว่างคือการสิ้นอาสวะได้อย่างดีเยี่ยม เพราะเป็นวิธีที่ละที่คับแคบได้อย่าง
สิ้นเชิง (องฺ.นวก.อ. ๓/๔๒/๓๑๕)
๒ ดูเชิงอรรถที่ ๔ สัตตกนิบาต ข้อ ๑๔ (ปุคคลสูตร) หน้า ๒๐ ในเล่มนี้
๓ กาย ในที่นี้หมายถึงนามกาย (องฺ.นวก.อ. ๓/๔๓/๓๑๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.สามัญญวรรค ๓.ปัญญาวิมุตตสูตร
ภิกษุบรรลุอากาสานัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุดมิได้’ อยู่
เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญา และอายตนะคือ
อากาสานัญจายตนฌานนั้นมีอยู่โดยประการใด ๆ เธอสัมผัสอายตนะคือ
อากาสานัญจายตนฌานนั้นด้วยกายโดยประการนั้น ๆ อยู่ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกบุคคลว่า ‘กายสักขี’ โดยปริยายแล้ว (๕-๘)
ภิกษุล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญา-
เวทยิตนิโรธอยู่ อาสวะทั้งหลายของเธอหมดสิ้นแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา และ
อายตนะคือสัญญาเวทยิตนิโรธนั้นมีอยู่ โดยประการใด ๆ เธอสัมผัสอายตนะคือ
สัญญาเวทยิตนิโรธนั้นด้วยกายโดยประการนั้น ๆ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ พระผู้มี
พระภาคจึงตรัสเรียกบุคคลว่า ‘กายสักขี’ โดยนิปปริยายแล้ว” (๙)
กายสักขีสูตรที่ ๒ จบ

๓. ปัญญาวิมุตตสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้เป็นปัญญาวิมุต
[๔๔] ท่านพระอุทายีถามว่า “ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกบุคคลว่า
‘ปัญญาวิมุต ปัญญาวิมุต’ ผู้มีอายุ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ พระผู้มีพระภาคจึงตรัส
เรียกบุคคลว่า ปัญญาวิมุต”๑
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “ผู้มีอายุ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้สงัดจากกาม ฯลฯ
บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ และเธอย่อมรู้ชัดปฐมฌานนั้นด้วยปัญญา ด้วยเหตุเพียงเท่านี้
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกบุคคลว่า ‘ปัญญาวิมุต’ โดยปริยายแล้ว
ฯลฯ๒

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๓ สัตตกนิบาต ข้อ ๑๔ (ปุคคลสูตร) หน้า ๒๐ ในเล่มนี้
๒ ดูความเต็มเทียบกับข้อ ๔๓ (กายสักขีสูตร) ในวรรคเดียวกันนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๓๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.สามัญญวรรค ๔.อุภโตภาควิมุตตสูตร
ภิกษุล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญา-
เวทยิตนิโรธอยู่ อาสวะทั้งหลายของเธอหมดสิ้นแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา และเธอ
ย่อมรู้ชัดสัญญาเวทยิตนิโรธนั้นด้วยปัญญา ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ พระผู้มีพระภาค
จึงตรัสเรียกบุคคลว่า ‘ปัญญาวิมุต’ โดยนิปปริยายแล้ว”
ปัญญาวิมุตตสูตรที่ ๓ จบ

๔. อุภโตภาควิมุตตสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้เป็นอุภโตภาควิมุต
[๔๕] ท่านพระอุทายีถามว่า “ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกบุคคลว่า
‘อุภโตภาควิมุต อุภโตภาควิมุต’ “ผู้มีอายุ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ พระผู้มีพระภาค
จึงตรัสเรียกบุคคลว่า ‘อุภโตภาควิมุต”๑
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “ผู้มีอายุ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้สงัดจากกาม ฯลฯ
บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ และอายตนะคือปฐมฌานนั้นมีอยู่โดยประการใดๆ เธอสัมผัส
อายตนะคือปฐมฌานนั้นด้วยกายโดยประการนั้นๆ อยู่ และเธอรู้ชัดอายตนะคือ
ปฐมฌานนั้นด้วยปัญญา ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกบุคคลว่า
‘อุภโตภาควิมุต’ โดยปริยายแล้ว
ฯลฯ๒
ภิกษุล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญา-
เวทยิตนิโรธอยู่ อาสวะทั้งหลายของเธอหมดสิ้นแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา อายตนะ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๑๔ (ปุคคลสูตร) หน้า ๒๐ ในเล่มนี้
๒ ดูความเต็มเทียบกับข้อ ๔๓ (กายสักขีสูตร) ในวรรคเดียวกันนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๓๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.สามัญญวรรค ๕.สันทิฏฐิกธัมมสูตร
คือสัญญาเวทยิตนิโรธนั้นมีอยู่โดยประการใดๆ เธอสัมผัสอายตนะคือสัญญา-
เวทยิตนิโรธนั้นด้วยกายโดยประการนั้นๆ อยู่ และเธอรู้ชัดอายตนะคือสัญญา-
เวทยิตนิโรธนั้นด้วยปัญญา ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกบุคคล
ว่า ‘อุภโตภาควิมุต’ โดยนิปปริยายแล้ว”
อุภโตภาควิมุตตสูตรที่ ๔ จบ

๕. สันทิฏฐิกธัมมสูตร
ว่าด้วยสันทิฏฐิกธรรม
[๔๖] ท่านพระอุทายีถามว่า “ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘สันทิฏฐิก-
ธรรม๑ สันทิฏฐิกธรรม’ ผู้มีอายุ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ พระผู้มีพระภาคจึงตรัส
สันทิฏฐิกธรรม”
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “ผู้มีอายุ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้สงัดจากกาม ฯลฯ
บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสสันทิฏฐิกธรรม
โดยปริยายแล้ว
ฯลฯ๒
ภิกษุล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ
อยู่ อาสวะทั้งหลายของเธอหมดสิ้นแล้วเพราะเห็นด้วยปัญญา ด้วยเหตุเพียงเท่านี้
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสสันทิฏฐิกธรรม โดยนิปปริยายแล้ว”
สันทิฏฐิกธัมมสูตรที่ ๕ จบ

เชิงอรรถ :
๑ สันทิฏฐิกธรรม หมายถึงธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นเอง (องฺ.นวก.อ. ๓/๔๖-๕๑/๓๑๖)
๒ ดูความเต็มเทียบกับข้อ ๔๓ (กายสักขีสูตร) ในวรรคเดียวกันนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๓๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.สามัญญวรรค ๗.นิพพานสูตร
๖. สันทิฏฐิกนิพพานสูตร
ว่าด้วยสันทิฏฐิกนิพพาน
[๔๗] ท่านพระอุทายีถามว่า “ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘สันทิฏฐิก-
นิพพาน สันทิฏฐิกนิพพาน’ ท่านผู้มีอายุ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ พระผู้มีพระภาค
จึงตรัสสันทิฏฐิกนิพพาน”๑
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “ผู้มีอายุ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้สงัดจากกาม ฯลฯ
บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสสันทิฏฐิกนิพพาน
โดยปริยายแล้ว
ฯลฯ
ภิกษุล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญา-
เวทยิตนิโรธอยู่ อาสวะทั้งหลายของเธอหมดสิ้นแล้วเพราะเห็นด้วยปัญญา ด้วยเหตุ
เพียงเท่านี้ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสสันทิฏฐิกนิพพาน โดยนิปปริยายแล้ว”
สันทิฏฐิกนิพพานสูตรที่ ๖ จบ

๗. นิพพานสูตร
ว่าด้วยนิพพาน
[๔๘] ท่านพระอุทายีถามว่า “ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘นิพพาน
นิพพาน’
ฯลฯ
นิพพานสูตรที่ ๗ จบ

เชิงอรรถ :
๑ สันทิฏฐิกนิพพาน หมายถึงนิพพานที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นเอง นิพพาน ในที่นี้หมายถึงความดับกิเลส (องฺ.
นวก.อ. ๓/๔๖-๕๑/๓๑๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.สามัญญวรรค ๑๐.ทิฏฐธัมมนิพพานสูตร
๘. ปรินิพพานสูตร
ว่าด้วยปรินิพพาน
[๔๙] ท่านพระอุทายีถามว่า ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘ปรินิพพาน ปรินิพพาน’
ฯลฯ
ปรินิพพานสูตรที่ ๘ จบ

๙. ตทังคนิพพานสูตร
ว่าด้วยตทังคนิพพาน
[๕๐] ท่านพระอุทายีถามว่า ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘ตทังคนิพพาน๑
ตทังคนิพพาน’
ฯลฯ
ตทังคนิพพานสูตรที่ ๙ จบ

๑๐ . ทิฏฐธัมมนิพพานสูตร
ว่าด้วยทิฏฐธัมมนิพพาน
[๕๑] ท่านพระอุทายีถามว่า “ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘ทิฏฐ-
ธัมมนิพพาน๒ ทิฏฐธัมมนิพพาน’ ผู้มีอายุ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ พระผู้มี
พระภาคจึงตรัสทิฏฐธัมมนิพพาน

เชิงอรรถ :
๑ ตทังคนิพพาน หมายถึงความดับกิเลสด้วยองค์นั้น ๆ คือดับกิเลสด้วยฌานนั้น ๆ มีปฐมฌานเป็นต้น
(องฺ.นวก.อ. ๓/๔๖-๕๑/๓๑๖)
๒ ทิฏฐธัมมนิพพาน หมายถึงนิพพานในปัจจุบัน (องฺ.นวก.อ. ๓/๔๖-๕๑/๓๑๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๔๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.สามัญญวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
พระอานนท์ตอบว่า “ผู้มีอายุ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้สงัดจากกาม และ
กุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ พระผู้มีพระภาค
จึงตรัสทิฏฐธัมมนิพพาน โดยปริยายแล้ว
ฯลฯ
ภิกษุล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญา-
เวทยิตนิโรธอยู่ อาสวะทั้งหลายของเธอหมดสิ้นแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา ด้วยเหตุ
เพียงเท่านี้ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสทิฏฐธัมมนิพพาน โดยนิปปริยายแล้ว”
ทิฏฐธัมมนิพพานสูตรที่ ๑๐ จบ
สามัญญวรรคที่ ๕ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สัมพาธสูตร ๒. กายสักขีสูตร
๓. ปัญญาวิมุตตสูตร ๔. อุภโตภาควิมุตตสูตร
๕. สันทิฏฐิกธัมมสูตร ๖. สันทิฏฐิกนิพพานสูตร
๗. นิพพานสูตร ๘. ปรินิพพานสูตร
๙. ตทังคนิพพานสูตร ๑๐. ทิฏฐธัมมนิพพานสูตร

ปฐมปัณณาสก์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๔๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๑.เขมวรรค ๒. เขมัปปัตตสูตร
๒. ทุติยปัณณาสก์
๑. เขมวรรค
หมวดว่าด้วยเหตุให้ตรัสเรียกว่า เขมะ
๑. เขมสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ตรัสเรียกว่า เขมะ
[๕๒] ท่านพระอุทายีถามว่า “ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘เขมะ๑ เขมะ’
ผู้มีอายุ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเขมะ”
พระอานนท์ตอบว่า “ผู้มีอายุ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ
บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเขมะ โดยปริยายแล้ว
ฯลฯ๒
ภิกษุล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญา-
เวทยิตนิโรธอยู่ อาสวะทั้งหลายของเธอหมดสิ้นแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา ด้วยเหตุ
เพียงเท่านี้ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเขมะ โดยนิปปริยายแล้ว”
เขมสูตรที่ ๑ จบ

๒. เขมัปปัตตสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ตรัสเรียกว่า เขมปัตตะ
[๕๓] ท่านพระอุทายีถามว่า “ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘เขมปัตตะ
เขมปัตตะ’
ฯลฯ
เขมัปปัตตสูตรที่ ๒ จบ

เชิงอรรถ :
๑ เขมะ ในที่นี้หมายถึงไม่มีอุปัททวะ (องฺ.นวก.อ. ๓/๕๒/๓๑๗)
๒ ดูความเต็มเทียบกับนวกนิบาต ข้อ ๔๓ (กายสักขีสูตร) ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๔๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๑.เขมวรรค ๖. อภยัปปัตตสูตร
๓. อมตสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ตรัสเรียกว่า อมตะ
[๕๔] ท่านพระอุทายีถามว่า “ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘อมตะ อมตะ’
ฯลฯ
อมตสูตรที่ ๓ จบ

๔. อมตัปปัตตสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ตรัสเรียกว่า อมตปัตตะ
[๕๕] ท่านพระอุทายีถามว่า “ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘อมตปัตตะ
อมตปัตตะ’
ฯลฯ
อมตัปปัตตสูตรที่ ๔ จบ

๕. อภยสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ตรัสเรียกว่า อภยะ
[๕๖] ท่านพระอุทายีถามว่า “ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘อภยะ อภยะ’
ฯลฯ
อภยสูตรที่ ๕ จบ

๖. อภยัปปัตตสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ตรัสเรียกว่า อภยปัตตะ
[๕๗] ท่านพระอุทายีถามว่า “ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘อภยปัตตะ
อภยปัตตะ’
ฯลฯ
อภยัปปัตตสูตรที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๔๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๑.เขมวรรค ๑๐.อนุปุพพนิโรธสูตร
๗. ปัสสัทธิสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ตรัสเรียกว่า ปัสสัทธิ
[๕๘] ท่านพระอุทายีถามว่า “ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘ปัสสัทธิ
ปัสสัทธิ’
ฯลฯ
ปัสสัทธิสูตรที่ ๗ จบ

๘. อนุปุพพปัสสัทธิสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ตรัสเรียกว่า อนุปุพพปัสสัทธิ
[๕๙] ท่านพระอุทายีถามว่า “ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘อนุปุพพ-
ปัสสัทธิ อนุปุพพปัสสัทธิ’
ฯลฯ
อนุปุพพปัสสิทธิสูตรที่ ๘ จบ

๙. นิโรธสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ตรัสเรียกว่า นิโรธ
[๖๐] ท่านพระอุทายีถามว่า “ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘นิโรธ นิโรธ’
ฯลฯ
นิโรธสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. อนุปุพพนิโรธสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ตรัสเรียกว่า อนุปุพพนิโรธ
[๖๑] ท่านพระอุทายีถามว่า “ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘อนุปุพพ-
นิโรธ อนุปุพพนิโรธ’ ผู้มีอายุ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ พระผู้มีพระภาคจึงตรัส
อนุปุพพนิโรธ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๑.เขมวรรค ๑๑.อภัพพสูตร
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “ผู้มีอายุ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้สงัดจากกาม ฯลฯ
บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสอนุปุพพนิโรธ
โดยปริยายแล้ว
ฯลฯ๑
ภิกษุล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญา-
เวทยิตนิโรธอยู่ อาสวะทั้งหลายของเธอหมดสิ้นแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา ด้วยเหตุ
เพียงเท่านี้ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสอนุปุพพนิโรธ โดยนิปปริยายแล้ว”
อนุปุพพนิโรธสูตรที่ ๑๐ จบ

๑๑. อภัพพสูตร
ว่าด้วยผู้อาจและไม่อาจเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล
[๖๒] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๙ ประการไม่ได้ ก็ไม่อาจทำให้แจ้ง
อรหัตตผลได้
ธรรม ๙ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ราคะ (ความกำหนัด) ๒. โทสะ (ความคิดประทุษร้าย)
๓. โมหะ (ความหลง) ๔. โกธะ (ความโกรธ)
๕. อุปนาหะ (ความผูกโกรธ) ๖. มักขะ (ความลบหลู่คุณท่าน)
๗. ปลาสะ (ความตีเสมอ) ๘. อิสสา (ความริษยา)
๙. มัจฉริยะ (ความตระหนี่)

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๙ ประการนี้ไม่ได้ ก็ไม่อาจทำให้แจ้งอรหัตตผลได้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๙ ประการได้แล้ว อาจทำให้แจ้งอรหัตตผลได้

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มเทียบกับนวกนิบาต ข้อ ๔๓ (กายสักขีสูตร) ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๑.เขมวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ธรรม ๙ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ราคะ ๒. โทสะ
๓. โมหะ ๔. โกธะ
๕. อุปนาหะ ๖. มักขะ
๗. ปลาสะ ๘. อิสสา
๙. มัจฉริยะ

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๙ ประการนี้ได้แล้ว อาจทำให้แจ้งอรหัตตผลได้
อภัพพสูตรที่ ๑๑ จบ
เขมวรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. เขมสูตร ๒. เขมัปปัตตสูตร
๓. อมตสูตร ๔. อมตัปปัตตสูตร
๕. อภยสูตร ๖. อภยัปปัตตสูตร
๗. ปัสสัทธิสูตร ๘. อนุปุพพปัสสัทธิสูตร
๙. นิโรธสูตร ๑๐. อนุปุพพนิโรธสูตร
๑๑. อภัพพสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๔๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๒.สติปัฏฐานวรรค ๑.สิกขาทุพพัลยสูตร
๒. สติปัฏฐานวรรค
หมวดว่าด้วยสติปัฏฐาน
๑. สิกขาทุพพัลยสูตร
ว่าด้วยเหตุท้อแท้ในสิกขา๑
[๖๓] ภิกษุทั้งหลาย เหตุท้อแท้ในสิกขา ๕ ประการนี้
เหตุท้อแท้ในสิกขา ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. การฆ่าสัตว์ ๒. การลักทรัพย์
๓. การประพฤติผิดในกาม ๔. การพูดเท็จ
๕. การเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท
ภิกษุทั้งหลาย เหตุท้อแท้ในสิกขา ๕ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการ เพื่อละเหตุท้อแท้ในสิกขา
๕ ประการนี้
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด
อภิชฌาและโทมนัสในโลกได้

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า เหตุท้อแท้ในสิกขา แยกอธิบายได้ดังนี้ คือ (๑) เหตุท้อแท้ หมายถึงเหตุให้เบื่อหน่ายในการ
ประพฤติพรหมจรรย์ ได้แก่ การล่วงละเมิดศีล ๕ (๒) สิกขา หมายถึงสิกขา ๓ ประการ คือ อธิสีลสิกขา
อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา และในสิกขา ๓ นั้น ในที่นี้ท่านประสงค์เอาอธิสีลสิกขา (เทียบ วิ.มหา.
(แปล) ๑/๔๕-๕๔/๓๓-๔๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๔๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๒.สติปัฏฐานวรรค ๒.นีวรณสูตร
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด
อภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ เพื่อละเหตุท้อแท้ใน
สิกขา ๕ ประการนี้แล
สิกขาทุพพัลยสูตรที่ ๑ จบ

๒. นีวรณสูตร
ว่าด้วยนิวรณ์
[๖๔] ภิกษุทั้งหลาย นิวรณ์ (ธรรมที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุความดี) ๕ ประการนี้
นิวรณ์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กามฉันทนิวรณ์ (นิวรณ์คือความพอใจในกาม)
๒. พยาปาทนิวรณ์ (นิวรณ์คือความคิดร้าย)
๓. ถีนมิทธนิวรณ์ (นิวรณ์คือความหดหู่และเซื่องซึม)
๔. อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ (นิวรณ์คือความฟุ้งซ่านและร้อนใจ)
๕. วิจิกิจฉานิวรณ์ (นิวรณ์คือความลังเลสงสัย)
ภิกษุทั้งหลาย นิวรณ์ ๕ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการ เพื่อละนิวรณ์ ๕ ประการนี้แล
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด
อภิชฌาและโทมนัสในโลกได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๔๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๒.สติปัฏฐานวรรค ๓.กามคุณสูตร
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด
อภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ เพื่อละนิวรณ์ ๕ ประการ นี้แล
นีวรณสูตรที่ ๒ จบ

๓. กามคุณสูตร
ว่าด้วยกามคุณ
[๖๕] ภิกษุทั้งหลาย กามคุณ๑ ๕ ประการนี้
กามคุณ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
๒. เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ฯลฯ
๓. กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ฯลฯ
๔. รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ
๕. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
ภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการ เพื่อละกามคุณ ๕ ประการ
นี้แล
ฯลฯ
กามคุณสูตรที่ ๓ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๓ นวกนิบาต ข้อ ๒๐ หน้า ๔๗๐ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๒.สติปัฏฐานวรรค ๔.อุปาทานักขันธสูตร
๔. อุปาทานักขันธสูตร
ว่าด้วยอุปาทานขันธ์
[๖๖] ภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธ์๑ (ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น) ๕
ประการนี้
อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือรูป)
๒. เวทนูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือเวทนา)
๓. สัญญูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสัญญา)
๔. สังขารูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสังขาร)
๕. วิญญาณูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ)
ภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ เพื่อละอุปาทานขันธ์
๕ ประการนี้แล
ฯลฯ

อุปาทานักขันธสูตรที่ ๔ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๒ สัตตกนิบาต ข้อ ๕๖ (ติสสพรหมสูตร) หน้า ๑๐๔ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๒.สติปัฏฐานวรรค ๕. โอรัมภาคิยสูตร
๕. โอรัมภาคิยสูตร
ว่าด้วยโอรัมภาคิยสังโยชน์
[๖๗] ภิกษุทั้งหลาย โอรัมภาคิยสังโยชน์ (สังโยชน์เบื้องต่ำ) ๕ ประการนี้
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นอัตตาของตน)
๒. วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย)
๓. สีลัพพตปรามาส (ความยึดมั่นศีลพรต)
๔. กามฉันทะ (ความพอใจในกาม)
๕. พยาบาท (ความคิดร้าย)
ภิกษุทั้งหลาย โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ เพื่อละโอรัมภาคิย-
สังโยชน์ ๕ ประการนี้แล
ฯลฯ

โอรัมภาคิยสูตรที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๕๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๒.สติปัฏฐานวรรค ๗.มัจฉริยสูตร
๖. คติสูตร
ว่าด้วยคติ
[๖๘] ภิกษุทั้งหลาย คติ ๕ ประการนี้
คติ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. นิรยะ (นรก) ๒. ติรัจฉานโยนิ (กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน)
๓. เปตติวิสัย (แดนเปรต) ๔. มนุษย์
๕. เทวดา

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ เพื่อละคติ ๕ ประการ
นี้แล
ฯลฯ
คติสูตรที่ ๖ จบ

๗. มัจฉริยสูตร
ว่าด้วยมัจฉริยะ
[๖๙] ภิกษุทั้งหลาย มัจฉริยะ (ความตระหนี่) ๕ ประการนี้
มัจฉริยะ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. อาวาสมัจฉริยะ (ตระหนี่ที่อยู่) ๒. กุลมัจฉริยะ (ตระหนี่ตระกูล)
๓. ลาภมัจฉริยะ (ตระหนี่ลาภ) ๔. วัณณมัจฉริยะ (ตระหนี่วรรณะ)
๕. ธัมมมัจฉริยะ (ตระหนี่ธรรม)

ภิกษุทั้งหลาย มัจฉริยะ ๕ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ เพื่อละมัจฉริยะ ๕
ประการนี้แล
ฯลฯ
มัจฉริยสูตรที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๕๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๒.สติปัฏฐานวรรค ๘.อุทธัมภาคิยสูตร
๘. อุทธัมภาคิยสูตร
ว่าด้วยอุทธัมภาคิยสังโยชน์๑
[๗๐] ภิกษุทั้งหลาย อุทธัมภาคิยสังโยชน์ (สังโยชน์เบื้องสูง) ๕ ประการนี้
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปราคะ (ความติดใจในอารมณ์แห่งรูปฌาน)
๒. อรูปราคะ (ความติดใจในอารมณ์แห่งอรูปฌาน)
๓. มานะ (ความถือตัว)
๔. อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน)
๕. อวิชชา (ความไม่รู้แจ้ง)
ภิกษุทั้งหลาย อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ เพื่อละอุทธัมภาคิย-
สังโยชน์ ๕ ประการนี้แล
ฯลฯ

อุทธัมภาคิยสูตรที่ ๘ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดู ที.ปา. ๑๑/๓๑๕/๒๐๘, สํ.ม. ๑๙/๑๘๐/๕๖, องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๓/๒๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๕๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๒.สติปัฏฐานวรรค ๙.เจโตขีลสูตร
๙. เจโตขีลสูตร๑
ว่าด้วยกิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู
[๗๑] ภิกษุทั้งหลาย กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู ๕ ประการนี้
กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในศาสดา๒ จิตของ
ภิกษุผู้เคลือบแคลง สงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในศาสดานั้น
ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำ
ต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นกิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปูประการ
ที่ ๑ ของภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ
เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร
๒. เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในธรรม ฯลฯ
๓. เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในสงฆ์ ฯลฯ
๔. เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในสิกขา (ข้อที่จะต้อง
ศึกษา) ฯลฯ
๕. เป็นผู้โกรธ ไม่พอใจ มีจิตถูกโทสะ (ความคิดประทุษร้าย) กระทบ
มีจิตแข็งกระด้างในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้โกรธ
ไม่พอใจ มีจิตถูกโทสะกระทบ มีจิตแข็งกระด้างในเพื่อนพรหมจารี

เชิงอรรถ :
๑ ดู ที.ปา. ๑๑/๓๑๙/๒๑๑, ม.มู. ๑๒/๑๘๕-๑๘๙/๑๕๖-๑๖๑, องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๒๐๕/๓๔๗, องฺ.ทสก.
(แปล) ๒๔/๑๔/๒๒-๒๓, อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๔๑/๕๙๓-๕๙๔
๒ ไม่เลื่อมใสในศาสดา ในที่นี้หมายถึงไม่เชื่อว่าพระสรีระของพระพุทธเจ้าประดับด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒
ประการ ไม่เชื่อว่าพระสัพพัญญุตญาณของพระพุทธเจ้าสามารถรู้อดีต อนาคต และปัจจุบัน (องฺ.ปญฺจก.อ.
๓/๒๐๕/๘๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๕๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๒.สติปัฏฐานวรรค ๑๐.เจตโสวินิพันธสูตร
ทั้งหลายนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ
เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นกิเลสเครื่องตรึงจิตดุจ
ตะปูประการที่ ๕ ของภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อ
ประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ เพื่อละกิเลสเครื่องตรึง
จิตดุจตะปู ๕ ประการนี้แล ฯลฯ
เจโตขีลสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. เจตโสวินิพันธสูตร๑
ว่าด้วยกิเลสเครื่องผูกใจ
[๗๒] ภิกษุทั้งหลาย กิเลสเครื่องผูกใจ ๕ ประการนี้
กิเลสเครื่องผูกใจ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจากความพอใจ ไม่
ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความกระหาย ไม่ปราศจากความ
เร่าร้อน ไม่ปราศจากความอยากในกามทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ยัง
ไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจากความพอใจ ไม่ปราศจาก
ความรัก ไม่ปราศจากความกระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน
ไม่ปราศจากความอยากในกามทั้งหลายนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อ
ความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญ
เพียร นี้เป็นกิเลสเครื่องผูกใจประการที่ ๑ ของภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไป

เชิงอรรถ :
๑ ที.ปา. ๑๑/๓๒๐/๒๑๑-๒๑๒, องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๒๐๖/๓๔๘, องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๔/๒๓-๒๔, อภิ.วิ.
(แปล) ๓๕/๙๔๑/๕๙๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๒.สติปัฏฐานวรรค ๑๐.เจตโสวินิพันธสูตร
เพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญ
เพียร
๒. เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัดในกาย ฯลฯ
๓. เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัดในรูป ฯลฯ
๔. ฉันอาหารตามต้องการจนอิ่มเกินไป ประกอบความสุขในการนอน
ความสุขในการเอกเขนก ความสุขในการหลับอยู่ ฯลฯ
๕. ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยความปรารถนาเป็นเทพนิกายหมู่ใดหมู่
หนึ่งว่า ‘ด้วยศีล วัตร ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้๑ เราจักเป็นเทพเจ้า
หรือเทพองค์ใดองค์หนึ่ง’ จิตของภิกษุผู้ประพฤติพรหมจรรย์ด้วย
ความปรารถนาเป็นเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่งว่า ‘ด้วยศีล วัตร ตบะ
หรือพรหมจรรย์นี้ เราจักเป็นเทพเจ้า หรือเทพองค์ใดองค์หนึ่ง’
ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำ
ต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นกิเลสเครื่องผูกใจประการที่ ๕ ของ
ผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำ
ต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร
ภิกษุทั้งหลาย กิเลสเครื่องผูกใจ ๕ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการ เพื่อละกิเลสเครื่องผูกใจ
๕ ประการนี้แล

เชิงอรรถ :
๑ ศีล หมายถึงปาริสุทธิศีล ๔ ประการ คือ (๑) ปาติโมกขสังวรศีล ศีลคือความสำรวมในพระปาติโมกข์
เว้นจากข้อห้ามทำตามข้ออนุญาต ประพฤติเคร่งครัดในสิกขาบททั้งหลาย (๒) อินทรียสังวรศีล คือ ความ
สำรวมอินทรีย์ระวังไม่ให้บาปอกุศลครอบงำ เมื่อรับรู้อารมณ์ด้วยอินทรีย์ทั้ง ๖ (๓) อาชีวปาริสุทธิศีล ศีล
คือความบริสุทธิ์แห่งอาชีวะ เลี้ยงชีวิตโดยทางที่ชอบไม่ประกอบอเนสนา(การแสวงหาอันไม่สมควร) มีหลอกลวง
เขาเลี้ยงชีพเป็นต้น (๔) ปัจจยสันนิสิตศีล ศีลที่เกี่ยวกับปัจจัย ๔ ได้แก่ ปัจจัยปัจจเวกขณะ คือ พิจารณา
ใช้สอยปัจจัย ๔ ให้เป็นไปตามความหมายและประโยชน์ของสิ่งนั้น ไม่บริโภคด้วยตัณหา (วิสุทธิ. ๑/๑๔-
๑๘/๑๗-๓๖)
วัตร หมายถึงวัตตสมาทาน (การประพฤติข้อปฏิบัติ)
ตบะ หมายถึงตปจรณะ (การประพฤติตบะ)
พรหมจรรย์ หมายถึงเมถุนวิรัติ (การงดเว้นจากการร่วมประเวณี) (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๖/๘๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๒.สติปัฏฐานวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัย
๑. พิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด
อภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด
อภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ เพื่อละกิเลสเครื่องผูกใจ
๕ ประการนี้แล
เจตโสวินิพันธสูตรที่ ๑๐ จบ
สติปัฏฐานวรรคที่ ๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สิกขาทุพพัลยสูตร ๒. นีวรณสูตร
๓. กามคุณสูตร ๔. อุปาทานักขันธสูตร
๕. โอรัมภาคิยสูตร ๖. คติสูตร
๗. มัจฉริยสูตร ๘. อุทธัมภาคิยสูตร
๙. เจโตขีลสูตร ๑๐. เจตโสวินิพันธสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๓.สัมมัปปธานวรรค ๑.สิกขาสูตร
๓. สัมมัปปธานวรรค
หมวดว่าด้วยสัมมัปปธาน
๑. สิกขาสูตร
ว่าด้วยเหตุท้อแท้ในสิกขา
[๗๓] ภิกษุทั้งหลาย เหตุท้อแท้ในสิกขา ๕ ประการนี้
เหตุท้อแท้ในสิกขา ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. การฆ่าสัตว์
ฯลฯ๑
๕. การเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท
ภิกษุทั้งหลาย เหตุท้อแท้ในสิกขา ๕ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญสัมมัปปธาน (ความเพียรชอบ) ๔ ประการ เพื่อ
ละเหตุท้อแท้ในสิกขา ๕ ประการนี้แล
สัมมัปปธาน ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อ
ป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น
๒. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อ
ละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
๓. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อ
ทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
๔. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อ
ความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่ง
กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญสัมมัปปธาน ๔ ประการนี้ เพื่อละเหตุท้อแท้ใน
สิกขา ๕ ประการนี้แล
สิกขาสูตรที่ ๑ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มในนวกนิบาต ข้อ ๖๓ (สิกขาทุพพัลยสูตร) หน้า ๕๔๘ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๕๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๓.สัมมัปปธานวรรค ๑๐. เจตโสวินิพันธสูตร
[๗๔-๘๑] (พึงขยายหมวดธรรมว่าด้วยสัมมัปปธานเหมือนในสติปัฏฐานวรรค)

๑๐. เจตโสวินิพันธสูตร
ว่าด้วยกิเลสเครื่องผูกใจ
[๘๒] ภิกษุทั้งหลาย กิเลสเครื่องผูกใจ ๕ ประการนี้
กิเลสเครื่องผูกใจ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด
ฯลฯ๑
ภิกษุทั้งหลาย กิเลสเครื่องผูกใจ ๕ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญสัมมัปปธาน ๔ ประการ เพื่อละกิเลสเครื่องผูกใจ
๕ ประการนี้แล
สัมมัปปธาน ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อ
ป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น
๒. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อ
ละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
๓. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อ
ทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
๔. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อ
ความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่ง
กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญสัมมัปปธาน ๔ ประการนี้ เพื่อละกิเลสเครื่องผูกใจ
๕ ประการนี้แล
เจตโสวินิพันธสูตรที่ ๑๐ จบ
สัมมัปปธานวรรคที่ ๓ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มในนวกนิบาต ข้อ ๗๒ (เจตโสวินิพันธสูตร) หน้า ๕๕๖-๕๕๗ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๔.อิทธิปาทวรรค ๑.สิกขาสูตร
๔. อิทธิปาทวรรค
หมวดว่าอิทธิบาท
๑. สิกขาสูตร
ว่าด้วยเหตุท้อแท้ในสิกขา
[๘๓] ภิกษุทั้งหลาย เหตุท้อแท้ในสิกขา ๕ ประการนี้
เหตุท้อแท้ในสิกขา ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. การฆ่าสัตว์
ฯลฯ๑
๕. การเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท
ภิกษุทั้งหลาย เหตุท้อแท้ในสิกขา ๕ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอิทธิบาท ๔ ประการนี้ เพื่อละเหตุท้อแท้ใน
สิกขา ๕ ประการนี้แล
อิทธิบาท ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อ
ป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น
๒. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อ
ละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
๓. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อ
ทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
๔. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อ
ความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่ง
กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอิทธิบาท ๔ ประการนี้ เพื่อละเหตุท้อแท้ในสิกขา ๕
ประการนี้แล
สิกขาสูตรที่ ๑ จบ
[๘๔-๙๑] (พึงขยายหมวดธรรมว่าด้วยอิทธิบาทเหมือนในสติปัฏฐานวรรค)

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มในนวกนิบาต ข้อ ๖๓ (สิกขาทุพพัลยสูตร) หน้า ๕๔๘ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๖๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๔.อิทธิปาทวรรค ๑๐.เจตโสวินิพันธสูตร
๑๐. เจตโสวินิพันธสูตร
ว่าด้วยกิเลสเครื่องผูกใจ
[๙๒] ภิกษุทั้งหลาย กิเลสเครื่องผูกใจ ๕ ประการนี้
กิเลสเครื่องผูกใจ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด
ฯลฯ๑
ภิกษุทั้งหลาย กิเลสเครื่องผูกใจ ๕ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอิทธิบาท ๔ ประการนี้ เพื่อละกิเลสเครื่อง
ผูกใจ ๕ ประการนี้แล
อิทธิบาท ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร๒(สมาธิที่เกิด
จากฉันทะและความเพียรสร้างสรรค์)
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร(สมาธิที่เกิดจาก
วิริยะและความเพียรสร้างสรรค์)
๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร(สมาธิที่เกิดจาก
จิตตะและความเพียรสร้างสรรค์)
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวีมังสาสมาธิปธานสังขาร(สมาธิที่เกิด
จากวีมังสาและความเพียรสร้างสรรค์)
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอิทธิบาท ๔ ประการนี้ เพื่อละกิเลสเครื่องผูกใจ
๕ ประการนี้แล
เจตโสวินิพันธสูตรที่ ๑๐ จบ
อิทธิปาทวรรคที่ ๔ จบ
(ผู้ศึกษาพึงประกอบสัมมัปปธาน ๔ และอิทธิบาท ๔ เหมือนสติปัฏฐาน ๔)

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มในข้อ ๗๒ (เจตโสวินิพันธสูตร) หน้า ๕๕๖ ในเล่มนี้
๒ ฉันทสมาธิ หมายถึงสมาธิที่เกิดจากฉันทะ ปธานสังขาร หมายถึงความเพียรที่มุ่งมั่น (ปธาน) คำว่า ฉันท-
สมาธิปธานสังขาร หมายถึงสมาธิที่เกิดจากฉันทะ และความเพียรที่มุ่งมั่น วิริยสมาธิ จิตตสมาธิ และ
วีมังสาสมาธิ ก็มีอรรถาธิบายเช่นเดียวกัน (องฺ.เอกก.อ. ๑/๓๙๘/๔๔๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ราคเปยยาล
ราคเปยยาล
[๙๓] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๙ ประการ เพื่อรู้ยิ่งราคะ
ธรรม ๙ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อสุภสัญญา (กำหนดหมายความไม่งามแห่งกาย)
๒. มรณสัญญา (กำหนดหมายความตายที่จะต้องมาถึงเป็นธรรมดา)
๓. อาหาเร ปฏิกูลสัญญา (กำหนดหมายความปฏิกูลในอาหาร)
๔. สัพพโลเก อนภิรตสัญญา (กำหนดหมายความไม่น่าเพลิดเพลินใน
โลกทั้งปวง)
๕. อนิจจสัญญา (กำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร)
๖. อนิจเจ ทุกขสัญญา (กำหนดหมายความเป็นทุกข์ในความไม่เที่ยง
แห่งสังขาร)
๗. ทุกเข อนัตตสัญญา (กำหนดหมายความเป็นอนัตตาในความเป็นทุกข์)
๘. ปหานสัญญา (กำหนดหมายเพื่อละอกุศลวิตกและบาปธรรมทั้งหลาย)
๙. วิราคสัญญา (กำหนดหมายวิราคะว่าเป็นธรรมละเอียดประณีต)
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๙ ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่งราคะ (๑)
[๙๔] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๙ ประการ เพื่อรู้ยิ่งราคะ
ธรรม ๙ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ปฐมฌาน ๒. ทุติยฌาน
๓. ตติยฌาน ๔. จตุตถฌาน
๕. อากาสานัญจายตฌาน ๖. วิญญาณัญจายตนฌาน
๗. อากิญจัญญายตนฌาน ๘. เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
๙. สัญญาเวทยิตนิโรธ

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๙ ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่งราคะ (๒)
[๙๕-๑๑๒] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๙ ประการนี้ เพื่อกำหนดรู้ราคะ
... เพื่อความสิ้นราคะ
... เพื่อละราคะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ราคเปยยาล
... เพื่อความสิ้นไปแห่งราคะ
... เพื่อความเสื่อมไปแห่งราคะ
... เพื่อความคลายไปแห่งราคะ
... เพื่อความดับไปแห่งราคะ
... เพื่อความสละราคะ
... เพื่อความสละคืนราคะ (๓-๒๐)
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๙ ประการนี้ เพื่อความสละคืนราคะ
[๑๑๓-๔๓๒] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๙ ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่งโทสะ
... เพื่อกำหนดรู้โทสะ
... เพื่อความสิ้นโทสะ
... เพื่อละโทสะ
... เพื่อความสิ้นไปแห่งโทสะ
... เพื่อความเสื่อมไปแห่งโทสะ
... เพื่อความคลายไปแห่งโทสะ
... เพื่อความดับไปแห่งโทสะ
... เพื่อความสละโทสะ
... เพื่อความสละคืนโทสะ ... โมหะ(ความหลง) ... โกธะ(ความโกรธ) ...
อุปนาหะ(ความผูกโกรธ) ... มักขะ(ความลบหลู่คุณท่าน) ... ปลาสะ(ความตีตัวเสมอ)
... อิสสา(ความริษยา) ... มัจฉริยะ(ความตระหนี่) ... มายา(มายา) ... สาเถยยะ
(ความโอ้อวด) ... ถัมภะ(ความหัวดื้อ) ... สารัมภะ(ความแข่งดี) ... มานะ(ความถือตัว)
... อติมานะ(ความดูหมิ่นเขา) ... มทะ(ความมัวเมา) ... ปมาทะ(ความประมาท) ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญธรรม ๙ ประการนี้ เพื่อความสละคืนปมาทะ
(๒๑-๓๔๐)
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาคแล
ราคเปยยาล จบ
นวกนิบาต จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๖๔ }


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ สุตตันตปิฎกที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก อัฏฐก นวกนิบาต จบ





eXTReMe Tracker