ค้นว่าอยู่เล่มใด แล้วกด [ctrl]+f หรือใช้คำสั่งของเครื่องหาตำแหน่งในเล่มอีกทีนะครับ



จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อความสะดวก และสวยงาม
(เฉพาะหน้าจอใหญ่ เช่น คอมพิวเตอร์)
กรุณาคลิก จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อให้กรอบ
ค้นข้อความ ปรากฎที่ด้านซ้ายของหน้า

พระไตรปิฎกภาษาไทย
ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม (ปกสีฟ้า)
ทั้งออนไลน์และออฟไลน์
ที่มาของข้อมูล : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มจร.
MCUTRAI Version 1.0

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒-๓ สุตตันตปิฎกที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก ฉักกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก
อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๕. พราหมณวรรค ๒. โทณพราหมณสูตร
อาจารย์เพื่ออาจารย์โดยชอบธรรมบ้าง ไม่ชอบธรรมบ้าง แสวงหาด้วยกสิกรรมบ้าง
แสวงหาด้วยพาณิชยกรรมบ้าง แสวงหาด้วยโครักขกรรมบ้าง แสวงหาด้วยการเป็น
นักรบบ้าง แสวงหาด้วยการรับราชการบ้าง แสวงหาด้วยศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่งบ้าง
ถือกระเบื้องเที่ยวภิกขาจารบ้าง เขามอบทรัพย์สำหรับบูชาอาจารย์เพื่ออาจารย์แล้ว
แสวงหาภรรยาโดยชอบธรรมบ้าง ไม่ชอบธรรมบ้าง แสวงหาด้วยการซื้อบ้าง
แสวงหาด้วยการขายบ้าง แสวงหาพราหมณีที่เขายกให้ด้วยการหลั่งน้ำบ้าง สมสู่
กับพราหมณีบ้าง สตรีชั้นกษัตริย์บ้าง แพศย์บ้าง ศูทรบ้าง จัณฑาลบ้าง นายพราน
บ้าง ช่างสานบ้าง ช่างรถบ้าง คนขนขยะบ้าง สตรีมีครรภ์บ้าง สตรีมีลูกอ่อนบ้าง
สตรีมีระดูบ้าง สตรีหมดระดูบ้าง พราหมณีนั้นเป็นพราหมณีของพราหมณ์เพราะ
ต้องการความใคร่บ้าง เพราะต้องการความสนุกบ้าง เพราะต้องการความยินดีบ้าง
เพราะต้องการบุตรบ้าง เขาเลี้ยงชีพด้วยการงานทุกอย่าง พวกพราหมณ์ได้กล่าวกับ
เขาอย่างนี้ว่า ‘ท่านปฏิญญาว่าเป็นพราหมณ์ ผู้เจริญ เพราะเหตุไร จึงเลี้ยงชีพด้วย
การงานทุกอย่าง’ เขาตอบอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ เปรียบเสมือนไฟไหม้ของสะอาด
บ้าง ไม่สะอาดบ้าง แต่ไฟไม่ยึดติดกับสิ่งนั้น แม้ฉันใด ถึงแม้พราหมณ์เลี้ยงชีพด้วย
การงานทุกอย่างก็จริง แต่พราหมณ์ก็ไม่ยึดติดกับการงานนั้น ฉันนั้นเหมือนกัน
พราหมณ์จึงเลี้ยงชีพด้วยการงานทุกอย่าง’ เพราะเหตุดังนี้แล ชาวโลกจึงเรียกว่า
พราหมณ์ผู้เป็นจัณฑาล
พราหมณ์ผู้เป็นจัณฑาล เป็นอย่างนี้แล (๕)
โทณะ บรรดาฤๅษีผู้เป็นบุรพาจารย์ของพวกพราหมณ์ คือ ฤๅษีอัฏฐกะ ฤๅษี
วามกะ ฤๅษีวามเทวะ ฤๅษีเวสสามิตตะ ฤๅษียมทัคคิ ฤๅษีอังคีรส ฤๅษีภารทวาชะ
ฤๅษีวาเสฏฐะ ฤๅษีกัสสปะ ฤๅษีภคุ ซึ่งเป็นผู้ผูกมนตร์ บอกมนตร์ พวกพราหมณ์ใน
ปัจุบันนี้ขับตาม กล่าวตามซึ่งบทมนตร์ที่เก่าแก่นี้ ที่ท่านขับแล้ว บอกแล้ว รวบรวม
ไว้แล้ว กล่าวได้ถูกต้อง สาธยายได้ถูกต้อง บอกได้ถูกต้อง ฤๅษีเหล่านั้นบัญญัติ
พราหมณ์ ๕ จำพวกนี้ไว้ คือ
๑. พราหมณ์ผู้เสมอด้วยพรหม
๒. พราหมณ์ผู้เสมอด้วยเทวดา
๓. พราหมณ์ผู้ประพฤติดี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๕. พราหมณวรรค ๓. สังคารวสูตร
๔. พราหมณ์ผู้ประพฤติทั้งดีและชั่ว
๕. พราหมณ์ผู้เป็นจัณฑาล
โทณะ บรรดาพราหมณ์ ๕ จำพวกนั้น ท่านเป็นพราหมณ์จำพวกไหน”
โทณพราหมณ์กราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้แต่พราหมณ์
ผู้เป็นจัณฑาล ข้าพระองค์ยังให้บริบูรณ์ไม่ได้เลย ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของ
ท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่า
เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิตเถิด”
โทณพราหมณสูตรที่ ๒ จบ

๓. สังคารวสูตร
ว่าด้วยสังคารวพราหมณ์
[๑๙๓] ครั้งนั้นแล สังคารวพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ได้สนทนาปราศัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วจึงนั่ง ณ ที่สมควร
ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุปัจจัย
ให้มนตร์แม้ที่สาธยายมาเป็นเวลานาน ก็ไม่แจ่มแจ้งได้ในกาลบางคราว ไม่จำเป็น
ต้องพูดถึงมนตร์ที่ไม่ได้สาธยายเลย และอะไรเป็นเหตุปัจจัยให้มนตร์แม้ที่ไม่ได้
สาธยายมาเป็นเวลานาน ก็แจ่มแจ้งได้ในกาลบางคราว ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์
ที่ได้สาธยายเลย”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
๑. สมัยใด บุคคลมีใจถูกกามราคะกลุ้มรุม ถูกกามราคะครอบงำอยู่
และไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งธรรมที่สลัด๑กามราคะที่เกิดขึ้นแล้ว

เชิงอรรถ :
๑ ธรรมที่สลัด มี ๓ ประการ คือ (๑) ธรรมที่สลัดด้วยการข่มไว้ หมายถึงปฐมฌานที่มีอสุภกัมมัฏฐานเป็น
อารมณ์ (๒) ธรรมที่สลัดด้วยองค์นั้น หมายถึงวิปัสสนากัมมัฏฐาน (๓) ธรรมที่สลัดด้วยการถอนขึ้น
หมายถึงอรหัตตมรรค (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๙๓/๗๓-๗๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๒๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๕. พราหมณวรรค ๓. สังคารวสูตร
สมัยนั้น บุคคลย่อมไม่รู้ ย่อมไม่เห็นตามความเป็นจริงซึ่งประโยชน์
ตน๑ ประโยชน์ผู้อื่น และประโยชน์ทั้ง ๒ ฝ่าย มนตร์แม้ที่สาธยาย
มาเป็นเวลานาน ก็ไม่แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์ที่ไม่
ได้สาธยายเลย
เปรียบเหมือนภาชนะที่เต็มด้วยน้ำซึ่งระคนด้วยครั่ง ขมิ้น สี
เขียว หรือสีเหลืองอ่อน คนมีตาดีมองดูเงาหน้าของตนในภาชนะ
ที่เต็มด้วยน้ำนั้น ไม่พึงรู้ ไม่พึงเห็นตามความเป็นจริง แม้ฉันใด
สมัยใด บุคคลมีจิตถูกกามราคะกลุ้มรุม ถูกกามราคะครอบงำ
อยู่ และไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งธรรมที่สลัดกามราคะที่เกิดขึ้นแล้ว
สมัยนั้น บุคคลย่อมไม่รู้ย่อมไม่เห็นตามความเป็นจริงแม้ซึ่ง
ประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น และประโยชน์ทั้ง ๒ ฝ่าย มนตร์แม้ที่
สาธยายมาเป็นเวลานาน ก็ไม่แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้องพูดถึง
มนตร์ที่ไม่ได้สาธยายเลย ฉันนั้นเหมือนกัน
๒. สมัยใด บุคคลมีจิตถูกพยาบาทกลุ้มรุม ถูกพยาบาทครอบงำอยู่
และไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งธรรมที่สลัดพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้ว
ฯลฯ มนตร์แม้ที่สาธยายมาเป็นเวลานาน ก็ไม่แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็น
ต้องพูดถึงมนตร์ที่ไม่ได้สาธยายเลย
เปรียบเหมือนภาชนะที่เต็มด้วยน้ำร้อนเพราะไฟ เดือดพล่าน
เป็นไอ คนมีตาดี มองดูเงาหน้าของตนในภาชนะที่เต็มด้วยน้ำนั้น
ไม่พึงรู้ไม่พึงเห็นตามความเป็นจริง แม้ฉันใด
สมัยใด บุคคลมีจิตถูกพยาบาทกลุ้มรุม ถูกพยาบาทครอบงำอยู่
และไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งธรรมที่สลัดพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้ว
ฯลฯ มนตร์แม้ที่สาธยายมาเป็นเวลานาน ก็ไม่แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็น
ต้องพูดถึงมนตร์ที่ไม่ได้สาธยายเลย ฉันนั้นเหมือนกัน

เชิงอรรถ :
๑ ประโยชน์ตน ในที่นี้หมายถึงอรหัตตผล (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๙๓/๗๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๕. พราหมณวรรค ๓. สังคารวสูตร
๓. สมัยใด บุคคลมีจิตถูกถีนมิทธะกลุ้มรุม ถูกถีนมิทธะครอบงำอยู่
และไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งธรรมที่สลัดถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้วฯลฯ
มนตร์แม้ที่สาธยายมาเป็นเวลานาน ก็ไม่แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้อง
พูดถึงมนตร์ที่ไม่ได้สาธยายเลย
เปรียบเหมือนภาชนะที่เต็มด้วยน้ำถูกสาหร่ายและแหนปกคลุม
ไว้แล้ว คนมีตาดีมองดูเงาหน้าของตนในภาชนะที่เต็มด้วยน้ำนั้น
ไม่พึงรู้ ไม่พึงเห็นตามความเป็นจริง แม้ฉันใด
สมัยใด บุคคลมีจิตถูกถีนมิทธะกลุ้มรุม ถูกถีนมิทธะครอบงำ
อยู่ และไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งธรรมที่สลัดถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้ว
ฯลฯ มนตร์แม้ที่สาธยายมาเป็นเวลานานก็ไม่แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็น
ต้องพูดถึงมนตร์ที่ไม่ได้สาธยายเลย ฉันนั้นเหมือนกัน
๔. สมัยใด บุคคลมีจิตถูกอุทธัจจกุกกุจจะกลุ้มรุม ถูกอุทธัจจกุกกุจจะ
ครอบงำอยู่ และไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งธรรมที่สลัดอุทธัจจ-
กุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ มนตร์แม้ที่สาธยายมาเป็นเวลานานก็
ไม่แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์ที่ไม่ได้สาธยายเลย
เปรียบเหมือนภาชนะที่เต็มด้วยน้ำ ถูกลมพัด ไหววนเป็นคลื่น
คนมีตาดีมองดูเงาหน้าของตนในภาชนะที่เต็มด้วยน้ำนั้น ไม่พึงรู้
ไม่พึงเห็นตามความเป็นจริง แม้ฉันใด
สมัยใด บุคคลมีใจถูกอุทธัจจกุกกุจจะกลุ้มรุม ถูกอุทธัจจ-
กุกกุจจะครอบงำอยู่ และไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งธรรมที่สลัด
อุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ มนตร์แม้ที่สาธยายมาเป็นเวลา
นานก็ไม่แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์ต์ที่ไม่ได้ สาธยายเลย
ฉันนั้นเหมือนกัน
๕. สมัยใด บุคคลมีจิตถูกวิจิกิจฉากลุ้มรุม ถูกวิจิกิจฉาครอบงำอยู่
และไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งธรรมที่สลัดวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว
ฯลฯ มนตร์แม้ที่สาธยายมาเป็นเวลานาน ก็ไม่แจ่มแจ้งได้ ไม่จำ
เป็นต้องพูดถึงมนตร์ที่ไม่ได้สาธยายเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๕. พราหมณวรรค ๓. สังคารวสูตร
เปรียบเหมือนภาชนะที่เต็มด้วยน้ำขุ่นมัว เป็นตม ที่เขาวางไว้
ในที่มืด คนมีตาดี มองดูเงาหน้าของตนในภาชนะที่เต็มด้วยน้ำนั้น
ไม่พึงรู้ ไม่พึงเห็นตามความเป็นจริง แม้ฉันใด
สมัยใด บุคคลมีจิตถูกวิจิกิจฉากลุ้มรุม ถูกวิจิกิจฉาครอบงำ
อยู่ และไม่รู้ชัดตามเป็นจริงซึ่งธรรมที่สลัดวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ
มนตร์แม้ที่สาธยายมาเป็นเวลานาน ก็ไม่แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้อง
พูดถึงมนตร์ที่ไม่สาธยายเลย ฉันนั้นเหมือนกัน
พราหมณ์ แต่
๑. สมัยใด บุคคลมีจิตไม่ถูกกามราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกกามราคะครอบงำ
อยู่ และรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งธรรมที่สลัดกามราคะที่เกิดขึ้นแล้ว
สมัยนั้น บุคคลย่อมรู้ ย่อมเห็นตามความเป็นจริงแม้ซึ่งประโยชน์ตน
ประโยชน์ผู้อื่น และประโยชน์ทั้ง ๒ ฝ่าย มนตร์แม้ที่ไม่สาธยายมา
เป็นเวลานานก็แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์ที่สาธยายเลย
เปรียบเหมือนภาชนะที่เต็มด้วยน้ำซึ่งไม่ระคนด้วยครั่ง ขมิ้น
สีเขียวหรือสีเหลืองอ่อน คนมีตาดีมองดูเงาหน้าของตนในภาชนะ
ที่เต็มด้วยน้ำนั้น พึงรู้พึงเห็นตามความเป็นจริง แม้ฉันใด
สมัยใด บุคคลมีจิตไม่ถูกกามราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกกามราคะ
ครอบงำอยู่ และรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งธรรมที่สลัดกามราคะที่
เกิดขึ้นแล้ว สมัยนั้น บุคคลย่อมรู้ ย่อมเห็นตามความเป็นจริง
แม้ซึ่งประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่นและประโยชน์ทั้ง ๒ ฝ่าย มนตร์
แม้ที่ไม่สาธยายมาเป็นเวลานาน ก็แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้อง พูดถึง
มนตร์ที่สาธยายเลย ฉันนั้นเหมือนกัน
๒. สมัยใด บุคคลมีจิตไม่ถูกพยาบาทกลุ้มรุม ไม่ถูกพยาบาทครอบงำ
อยู่ และรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งธรรมที่สลัดพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้ว
ฯลฯ มนตร์แม้ที่ไม่สาธยายมาเป็นเวลานาน ก็แจ่มแจ้งได้ ไม่
จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์ที่สาธยายเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๕. พราหมณวรรค ๓. สังคารวสูตร
เปรียบเหมือนภาชนะที่เต็มด้วยน้ำ ไม่ร้อนเพราะไฟ ไม่เดือด
พล่าน ไม่เป็นไอ คนผู้มีตาดีมองดูเงาหน้าของตนในภาชนะที่เต็ม
ด้วยน้ำนั้น พึงรู้ พึงเห็นตามความเป็นจริง แม้ฉันใด
สมัยใด บุคคลมีจิตไม่ถูกพยาบาทกลุ้มรุม ไม่ถูกพยาบาท
ครอบงำอยู่ และรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งธรรมที่สลัดพยาบาทที่เกิด
ขึ้นแล้ว ฯลฯ มนตร์แม้ที่ไม่สาธยายมาเป็นเวลานานก็แจ่มแจ้งได้
ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์ที่สาธยายเลย ฉันนั้น เหมือนกัน
๓. สมัยใด บุคคลมีจิตไม่ถูกถีนมิทธะกลุ้มรุม ไม่ถูกถีนมิทธะครอบงำ
อยู่ และรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งธรรมที่สลัดถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้ว
ฯลฯ มนตร์แม้ที่ไม่สาธยายมาเป็นเวลานานก็แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็น
ต้องพูดถึงมนตร์ที่สาธยายเลย
เปรียบเหมือนภาชนะที่เต็มด้วยน้ำ ไม่ถูกสาหร่ายและแหน
ปกคลุมแล้ว คนผู้มีตาดีมองดูเงาหน้าของตนในภาชนะที่เต็มด้วย
น้ำนั้น พึงรู้ พึงเห็นตามความเป็นจริง แม้ฉันใด
สมัยใด บุคคลมีจิตไม่ถูกถีนมิทธะกลุ้มรุม ไม่ถูกถีนมิทธะ
ครอบงำอยู่ และรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งธรรมที่สลัดถีนมิทธะ
ที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ มนตร์แม้ที่ไม่สาธยายมาเป็นเวลานาน
ก็แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์ที่สาธยายเลย ฉันนั้น
เหมือนกัน
๔. สมัยใด บุคคลมีจิตไม่ถูกอุทธัจจกุกกุจจะกลุ้มรุม ไม่ถูกอุทธัจจ-
กุกกุจจะครอบงำอยู่ และรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งธรรมที่สลัด
อุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ มนตร์แม้ที่ไม่สาธยายมาเป็น
เวลานานก็แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์ที่สาธยายเลย
เปรียบเหมือนภาชนะที่เต็มด้วยน้ำ ไม่ถูกลมพัด ก็ไม่ไหว
ไม่วน ไม่เป็นคลื่น คนผู้มีตาดีมองดูเงาหน้าของตนในภาชนะที่
เต็มด้วยน้ำนั้น พึงรู้ พึงเห็นตามความเป็นจริง แม้ฉันใด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๕. พราหมณวรรค ๓. สังคารวสูตร
สมัยใด บุคคลมีจิตไม่ถูกอุทธัจจกุกกุจจะกลุ้มรุม ไม่ถูก
อุทธัจจกุกกุจจะครอบงำอยู่ และรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งธรรมที่
สลัดอุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ มนตร์แม้ที่ไม่สาธยายมา
เป็นเวลานานก็แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์ที่สาธยายเลย
ฉันนั้นเหมือนกัน
๕. สมัยใด บุคคลมีจิตไม่ถูกวิจิกิจฉากลุ้มรุม ไม่ถูกวิจิกิจฉาครอบงำอยู่
และรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งธรรมที่สลัดวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ
มนตร์แม้ที่ไม่สาธยายมาเป็นเวลานาน ก็แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้องพูด
ถึงมนตร์ที่สาธยายเลย
เปรียบเหมือนภาชนะที่เต็มด้วยน้ำใส ไม่ขุ่นมัว ที่เขาวางไว้ใน
ที่แจ้ง คนผู้มีตาดีมองดูเงาหน้าของตนในภาชนะที่เต็มด้วยน้ำนั้น
พึงรู้ พึงเห็นตามความเป็นจริง แม้ฉันใด
สมัยใด บุคคลมีจิตไม่ถูกวิจิกิจฉากลุ้มรุม ไม่ถูกวิจิกิจฉา
ครอบงำอยู่ และรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งธรรมที่สลัดวิจิกิจฉาที่เกิด
ขึ้นแล้ว ฯลฯ มนตร์แม้ที่ไม่สาธยายมาเป็นเวลานาน ก็แจ่มแจ้งได้
ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์ที่สาธยายเลย ฉันนั้น เหมือนกัน
พราหมณ์ นี้แลเป็นเหตุปัจจัยให้มนตร์แม้ที่สาธยายมาเป็นเวลานาน ก็ไม่แจ่ม
แจ้งได้ในกาลบางคราว ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์ที่ไม่ได้สาธยายเลย และนี้แลเป็น
เหตุปัจจัยให้มนตร์แม้ที่ไม่ได้สาธยายมาเป็นเวลานาน ก็แจ่มแจ้งได้ในกาลบางคราว
ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์ที่ได้สาธยายเลย
สังคารวพราหมณ์กราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของท่านพระโคดม
ชัดเจน ไพเราะยิ่งนัก ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ
ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิตเถิด”
สังคารวสูตรที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๕. พราหมณวรรค ๔. การณปาลีสูตร
๔. การณปาลีบุตร
ว่าด้วยพราหมณ์ชื่อการณปาลี
[๑๙๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน
เขตกรุงเวสาลี สมัยนั้น การณปาลีพราหมณ์ใช้คนให้ทำการงาน๑ของเจ้าลิจฉวีอยู่
ได้เห็นปิงคิยานีพราหมณ์๒เดินมาแต่ไกล จึงถามว่า “ท่านปิงคิยานีพราหมณ์มา
จากไหนแต่ยังวัน๓”
ปิงคิยานีพราหมณ์ตอบว่า “ข้าพเจ้ามาจากสำนักพระสมณโคดม”
การณปาลีพราหมณ์ถามว่า “ท่านปิงคิยานีเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ เข้าใจ
ความแจ่มชัดแห่งปัญญาของพระสมณโคดมว่า ‘เป็นบัณฑิต’ ได้หรือไม่”
ปิงคิยานีพราหมณ์ตอบว่า “ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเป็นใคร จักรู้ความแจ่มชัด
แห่งปัญญาของพระสมณโคดมเพราะเหตุไร ผู้ที่เป็นเช่นเดียวกับพระสมณโคดม
เท่านั้นจึงจะรู้ความแจ่มชัดแห่งปัญญาของพระสมณโคดม”
การณปาลีกล่าวว่า “ท่านปิงคิยานีช่างสรรเสริญพระสมณโคดมยิ่งนัก”
ปิงคิยานีพราหมณ์กล่าวว่า “ข้าพเจ้าเป็นใคร และจักสรรเสริญพระสมณโคดม
เพราะหตุไร และท่านพระสมณโคดมพระองค์นั้นเป็นผู้อันชาวโลกสรรเสริญ เป็นผู้
ประเสริฐที่สุดกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย”
การณปาลีพราหมณ์ถามว่า “ท่านปิงคิยานีเห็นอำนาจประโยชน์อะไร จึง
เลื่อมใสยิ่งนักในพระสมณโคดมอย่างนี้”

เชิงอรรถ :
๑ ให้ทำการงาน หมายถึงให้สร้างประตู ป้อม และกำแพงที่ยังไม่ได้สร้าง และหมายถึงให้ซ่อมแซมประตู ป้อม
และกำแพงที่เก่าคร่ำคร่า (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๙๔/๗๕)
๒ ปิงคิยานีพราหมณ์ คือพราหมณ์ผู้เป็นอริยสาวก ผู้บรรลุอนาคามิผล เล่ากันว่า พราหมณ์ผู้นี้ทำกิจวัตร
ประจำวันโดยการนำของหอม ระเบียบ ดอกไม้ไปบูชาพระศาสดาเป็นประจำ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๙๔/๗๕)
๓ แต่ยังวัน (ทิวา ทิวสฺส) หมายถึงในเวลาเที่ยงวัน (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๙๔/๗๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๕. พราหมณวรรค ๔. การณปาลีสูตร
ปิงคิยานีพราหมณ์ตอบว่า
ท่านผู้เจริญ
๑. บุคคลฟังธรรมของท่านพระสมณโคดมพระองค์นั้น โดยลักษณะใด ๆ
คือ โดยสุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ หรืออัพภูตธรรมย่อมไม่ปรารถนา
ปวาทะ๑ของสมณะเป็นอันมากเหล่าอื่นโดยลักษณะนั้น ๆ เปรียบ
เหมือนบุรุษผู้อิ่มในรสอันเลิศแล้ว ไม่ปรารถนารสที่เลวเหล่าอื่น”
๒. บุคคลฟังธรรมของท่านพระสมณโคดมพระองค์นั้นโดยลักษณะใด ๆ
คือ โดยสุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ หรืออัพภูตธรรม ย่อมได้ความ
พอใจ ความเลื่อมใสแห่งใจโดยลักษณะนั้น ๆ เปรียบเหมือนบุรุษผู้
ถูกความหิวและความอ่อนเพลียครอบงำ ได้รวงผึ้ง เขาพึงได้ลิ้มรส
จากส่วนใด ๆ ย่อมได้รสดีอันไม่มีสิ่งเจือปนจากส่วนนั้น ๆ
๓. บุคคลฟังธรรมของท่านพระสมณโคดมพระองค์นั้นโดยลักษณะใด ๆ
คือ โดยสุตตะ เคยยะ เวยยากรณะหรืออัพภูตธรรม ย่อมได้ความ
ปราโมทย์ โสมนัสโดยลักษณะนั้น ๆ เปรียบเหมือนบุรุษได้ไม้จันทน์
จะเป็นจันทน์เหลือง หรือจันทน์แดงก็ตาม พึงสูดกลิ่นจากส่วนใด ๆ
เช่น จากราก จากลำต้น หรือจากยอด ย่อมได้กลิ่นหอมดี กลิ่นแท้
จากส่วนนั้น ๆ
๔. บุคคลฟังธรรมของท่านพระสมณโคดมพระองค์นั้นโดยลักษณะใด ๆ
คือ โดยสุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ หรืออัพภูตธรรม โสกะ (ความ
โศก) ปริเทวะ (ความคร่ำครวญ) ทุกข์ (ความทุกข์กาย) โทมนัส
(ความทุกข์ใจ) อุปายาส (ความคับแค้นใจ)ของเขา ย่อมหมดไป
โดยลักษณะนั้น ๆ เปรียบเหมือนบุรุษผู้อาพาธ มีทุกข์ เป็นไข้หนัก
นายแพทย์ผู้ฉลาดพึงบำบัดอาพาธของเขาโดยเร็ว
๕. บุคคลฟังธรรมของท่านพระสมณโคดมพระองค์นั้นโดยลักษณะใด ๆ
คือ โดยสุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ หรืออัพภูตธรรม ความ

เชิงอรรถ :
๑ ปวาทะ ในที่นี้หมายถึงลัทธิ (ความเชื่อถือ) ของสมณพราหมณ์เหล่าอื่น (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๙๔/๗๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๕. พราหมณวรรค ๔. การณปาลีสูตร
กระวนกระวาย ความเหน็ดเหนื่อย และความเร่าร้อนทั้งปวงของเขา
ย่อมระงับไปโดยลักษณะนั้น ๆ เปรียบเหมือนสระน้ำที่มีน้ำใส จืด
สนิท สะอาด มีท่าเทียบ น่ารื่นรมย์ บุรุษถูกความร้อนแผดเผา
ถูกความร้อนกระทบ เหน็ดเหนื่อย หิว กระหาย เดินมาถึง เขาลง
ไปในสระนั้น อาบ และดื่ม พึงระงับความกระวนกระวาย ความ
เหน็ดเหนื่อย และความเร่าร้อนทั้งปวง
เมื่อปิงคิยานีพราหมณ์กล่าวอย่างนี้แล้ว การณปาลีพราหมณ์ลุกจากที่นั่ง ห่ม
ผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง คุกเข่าข้างขวาลงบนแผ่นดิน ประคองอัญชลีไปทางที่พระผู้มี
พระภาคประทับอยู่เปล่งอุทาน๑ ๓ ครั้งว่า
“ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น”
แล้วกล่าวต่อไปว่า “ท่านปิงคิยานี ภาษิตของท่านปิงคิยานีชัดเจนไพเราะยิ่งนัก
ท่านปิงคิยานี ภาษิตของท่านปิงคิยานีชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านปิงคิยานีประกาศ
ธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด
บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดโดยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’
ข้าพเจ้านี้ขอถึงท่านพระสมณโคดมพระองค์นั้น พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็น
สรณะ ขอท่านปิงคิยานีจงจำข้าพเจ้าว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
จนตลอดชีวิต”
การณปาลีสูตรที่ ๔ จบ

เชิงอรรถ :
๑ อุทาน หมายถึงคำที่เกิดจากปีติที่ไม่สามารถเก็บไว้ในใจได้ จึงเปล่งออกมาภายนอก (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/
๑๙๒/๗๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๓๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๕. พราหมณวรรค ๕. ปิงคิยานีสูตร
๕. ปิงคิยานีสูตร
ว่าด้วยปิงคิยานีพราหมณ์
[๑๙๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน
เขตกรุงเวสาลี สมัยนั้น เจ้าลิจฉวีประมาณ ๕๐๐ คน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
เจ้าลิจฉวีบางพวกมีตัวเขียว๑ มีฉวีวรรณเขียว มีผ้าเขียว มีเครื่องประดับเขียว๒
บางพวกมีตัวเหลือง มีฉวีวรรณเหลือง มีผ้าเหลือง มีเครื่องประดับเหลือง บางพวก
มีตัวแดง มีฉวีวรรณแดง มีผ้าแดง มีเครื่องประดับแดง บางพวกมีตัวขาว มีฉวีวรรณ
ขาว มีผ้าขาว มีเครื่องประดับขาว พระผู้มีพระภาคทรงรุ่งเรืองกว่าเจ้าลิจฉวีเหล่านั้น
โดยพระฉวีวรรณและพระยศ
ครั้งนั้น ปิงคิยานีพราหมณ์ลุกจากที่นั่ง ห่มผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประคอง
อัญชลีไปทางที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ แล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เนื้อความแจ่มแจ้งแก่ข้าพระองค์ ข้าแต่พระสุคต
เนื้อความแจ่มแจ้งแก่ข้าพระองค์”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ปิงคิยานี เนื้อความจงแจ่มแจ้งแก่เธอเถิด”
ลำดับนั้น ปิงคิยานีพราหมณ์ได้ชมเชยพระผู้มีพระภาคต่อพระพักตร์ด้วย
คาถาโดยย่อว่า
“เชิญท่านดูพระอังคีรส๓ผู้ทรงรุ่งโรจน์อยู่
เหมือนดอกบัวชื่อโกกนุท มีกลิ่นหอม

เชิงอรรถ :
๑ มีตัวเขียว หมายถึงเขียวเพราะการลูบไล้ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๙๕/๗๗)
๒ มีเครื่องประดับเขียว หมายถึงประดับด้วยแก้วสีเขียวและดอกไม้สีเขียว แม้เครื่องประดับช้าง เครื่องประดับ
ม้า เครื่องประดับรถ ผ้าม่าน เพดาน และเกราะของเจ้าลิจฉวีเหล่านั้นก็เป็นสีเขียวทั้งหมด(องฺ.ปญฺจก.อ.
๓/๑๙๕/๗๗)
๓ พระอังคีรส หมายถึงพระรัศมีทั้งหลายที่เปล่งออกจากพระวรกายของพระผู้มีพระภาค (องฺ.ปญฺจก.อ
๓/๑๙๕/๗๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๕. พราหมณวรรค ๕. ปิงคิยานีสูตร
ไม่ปราศจากกลิ่น บานอยู่ในเวลาเช้า
และเหมือนพระอาทิตย์เปล่งรัศมีอยู่บนท้องฟ้า ฉะนั้น”
ครั้งนั้น เจ้าลิจฉวีเหล่านั้นได้ให้ปิงคิยานีพราหมณ์ห่มผ้าอุตตราสงค์ ๕๐๐ ผืน
ปิงคิยานีได้ทูลถวายให้พระผู้มีพระภาคครองผ้าอุตตราสงค์ ๕๐๐ ผืนเหล่านั้น
พระผู้มีพระภาคตรัสกับเจ้าลิจฉวีเหล่านั้นว่า
“เจ้าลิจฉวีทั้งหลาย ความปรากฏแห่งแก้ว ๕ ประการ หาได้ยากในโลก
ความปรากฏแห่งแก้ว ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความปรากฏแห่งตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า หาได้ยากในโลก
๒. บุคคลผู้แสดงธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้ หาได้ยากในโลก
๓. บุคคลผู้รู้แจ้งธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้ซึ่งผู้อื่นแสดงแล้ว หาได้
ยากในโลก
๔. บุคคลผู้รู้แจ้งธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้ ซึ่งผู้อื่นแสดงแล้ว เป็น
ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม หาได้ยากในโลก
๕. กตัญญูกตเวทีบุคคล๑ หาได้ยากในโลก
เจ้าลิจฉวีทั้งหลาย ความปรากฏแห่งแก้ว ๕ ประการนี้แล หาได้ยากในโลก”
ปิงคิยานีสูตรที่ ๕ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๑๔๓ (สารันททสูตร) หน้า ๒๓๙ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๕. พราหมณวรรค ๖. มหาสุปินสูตร
๖. มหาสุปินสูตร
ว่าด้วยมหาสุบิน
[๑๙๖] ภิกษุทั้งหลาย มหาสุบิน๑ ๕ ประการ ปรากฏแก่ตถาคตอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้า ก่อนจะตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่
มหาสุบิน ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. แผ่นดินใหญ่นี้ เป็นที่นอนใหญ่ ขุนเขาหิมวันต์เป็นเขนย(หมอน)
มือซ้ายหย่อนลงในสมุทรด้านทิศตะวันออก มือขวาหย่อนลงในสมุทร
ด้านทิศตะวันตก เท้าทั้งสองหย่อนลงในสมุทรด้านทิศใต้ นี้เป็น
มหาสุบินประการที่ ๑ ปรากฏแก่ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ก่อนจะตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่
๒. หญ้าแพรกได้งอกขึ้นจากนาภีของตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ก่อนจะตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ ตั้งจรดท้องฟ้า
นี้เป็นมหาสุบินประการที่ ๒ ปรากฏแก่ตถาคตอรหันตสัมมาสัม-
พุทธเจ้า ก่อนจะตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่
๓. หมู่หนอนสีขาว มีหัวดำ ได้ไต่ขึ้นมาจากเท้าของตถาคตอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้า ก่อนจะตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นพระ
โพธิสัตว์อยู่ ปกปิดตั้งแต่ปลายเล็บจนถึงบริเวณพระชาณุ นี้เป็น
มหาสุบินประการที่ ๓ ปรากฏแก่ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ก่อนจะตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่
๔. นก ๔ เหล่ามีสีต่าง ๆ กัน๒ บินมาจากทิศทั้ง ๔ ตกลงแทบเท้า
ของตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ก่อนจะตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้

เชิงอรรถ :
๑ มหาสุบิน หมายถึงความฝันที่สำคัญ ซึ่งมีเหตุ ๔ อย่าง คือ (๑) ธาตุกำเริบเป็นต้น (๒) อารมณ์ที่เคย
รับรู้มาก่อน (๓) เทวดาดลใจ (๔) ปุพพนิมิต (ลางบอกเหตุดีเหตุร้าย) ในความฝัน ๔ อย่างนี้ ความฝัน ๒
อย่างแรก ไม่เป็นจริง ความฝันอย่างที่ ๓ เป็นจริงก็มี ไม่เป็นจริงก็มี ที่เป็นอย่างนี้ เพราะเทวดาบางเหล่า
โกรธประสงค์ร้าย บางเหล่าประสงค์ดี ความฝันอย่างที่ ๔ เป็นจริงแน่นอน (ตามนัย องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๙๖/
๗๘-๗๙, อภิ.วิ.อ. ๓๖๖/๔๓๖)
๒ มีสีต่าง ๆ กัน หมายถึงมีสีเขียว สีเหลือง สีแดง และสีขาว (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๙๖/๘๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๕. พราหมณวรรค ๖. มหาสุปินสูตร
ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ แล้วกลับกลายเป็นสีขาวทุกตัว นี้เป็น
มหาสุบินประการที่ ๔ ปรากฏแก่ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ก่อนจะตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่
๕. ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ก่อนจะตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยัง
เป็นพระโพธิสัตว์อยู่ เดินไปมาบนภูเขาคูถลูกใหญ่๑ (แต่) ไม่แปดเปื้อน
ด้วยคูถ นี้เป็นมหาสุบินประการที่ ๕ ปรากฏแก่ตถาคตอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้า ก่อนจะตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นพระ
โพธิสัตว์อยู่
ภิกษุทั้งหลาย การที่แผ่นดินใหญ่นี้เป็นที่นอนใหญ่ของตถาคตอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้า ก่อนจะตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ ขุนเขาหิมวันต์
เป็นเขนย มือซ้ายหย่อนลงในสมุทรด้านทิศตะวันออก มือขวาหย่อนลงในสมุทรด้าน
ทิศตะวันตก เท้าทั้งสองหย่อนลงในสมุทรด้านทิศใต้ นี้เป็นมหาสุบินประการที่ ๑
ปรากฏเป็นนิมิตให้ทราบว่า ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสรู้พระสัมโพธิญาณ
อันยอดเยี่ยม
การที่หญ้าแพรกได้งอกขึ้นจากนาภีของตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ก่อน
จะตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ ตั้งจรดท้องฟ้า นี้เป็นมหาสุบิน
ประการที่ ๒ ปรากฏเป็นนิมิตให้ทราบว่า ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้
อริยมรรคมีองค์ ๘ ประกาศดีแล้ว จนถึงเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
การที่หมู่หนอนสีขาว มีหัวดำ ได้ไต่ขึ้นจากเท้าของตถาคตอรหันต์สัมมา-
สัมพุทธเจ้า ก่อนจะตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ ปกปิดตลอดถึง
บริเวณพระชาณุ นี้เป็นมหาสุบินประการที่ ๓ ปรากฏเป็นนิมิตให้ทราบว่า คฤหัสถ์
ผู้นุ่งห่มผ้าขาวจำนวนมากได้ถึงตถาคตเป็นสรณะตลอดชีวิต
การที่นก ๔ เหล่ามีสีต่าง ๆ กันบินมาจากทิศทั้ง ๔ ตกลงแทบเท้าของ
ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ก่อนจะตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นพระโพธิสัตว์
อยู่ แล้วกลับกลายเป็นสีขาวทุกตัว นี้เป็นมหาสุบินประการที่ ๔ ปรากฏเป็นนิมิตให้

เชิงอรรถ :
๑ ภูเขาคูถที่มีความสูงถึง ๓ โยชน์ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๙๖/๘๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๕. พราหมณวรรค ๗. วัสสสูตร
ทราบว่า วรรณะทั้ง ๔ นี้ คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร ออกจากเรือนบวช
เป็นบรรพชิตในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ทำให้แจ้งซึ่งวิมุตติอันยอดเยี่ยม
การที่ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ก่อนจะตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็น
พระโพธิสัตว์อยู่ เดินไปมาบนภูเขาคูถลูกใหญ่ (แต่) ไม่แปดเปื้อนอุจจาระ นี้เป็น
มหาสุบินประการที่ ๕ ปรากฏเป็นนิมิตให้ทราบว่า ตถาคตได้จีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร แล้วไม่ลุ่มหลง ไม่หมกหมุ่น ไม่พัวพัน
มีปกติเห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก บริโภคอยู่
ภิกษุทั้งหลาย มหาสุบิน ๕ ประการนี้ ปรากฏแก่ตถาคตอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้า ก่อนจะตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่
มหาสุปินสูตรที่ ๖ จบ

๗. วัสสสูตร
ว่าด้วยอันตรายของฝน
[๑๙๗] ภิกษุทั้งหลาย อันตรายของฝน ๕ ประการนี้ ซึ่งพวกหมอดูรู้ไม่ได้
สายตาของพวกหมอดูหยั่งไม่ถึง
อันตราย ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เตโชธาตุ๑กำเริบบนอากาศ เมฆที่เกิดขึ้นย่อมกระจายไป เพราะ
เตโชธาตุที่กำเริบนั้น นี้เป็นอันตรายของฝนประการที่ ๑ ซึ่งพวก
หมอดูรู้ไม่ได้ สายตาของพวกหมอดูหยั่งไม่ถึง
๒. วาโยธาตุกำเริบบนอากาศ เมฆที่เกิดขึ้นย่อมกระจายไป เพราะ
วาโยธาตุที่กำเริบนั้น นี้เป็นอันตรายของฝนประการที่ ๒ ซึ่งพวก
หมอดูรู้ไม่ได้ สายตาของพวกหมอดูหยั่งไม่ถึง
๓. อสุรินทราหูใช้ฝ่ามือรับน้ำแล้วทิ้งลงในมหาสมุทร นี้เป็นอันตราย
ของฝนประการที่ ๓ ซึ่งพวกหมอดูรู้ไม่ได้ สายตาของพวกหมอดู
หยั่งไม่ถึง

เชิงอรรถ :
๑ เตโชธาตุ ในที่นี้หมายถึงกองไฟใหญ่ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๙๗/๘๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๓๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๕. พราหมณวรรค ๘. วาจาสูตร
๔. วัสสวลาหกเทพบุตรเป็นผู้ประมาท๑ นี้เป็นอันตรายของฝนประการ
ที่ ๔ ซึ่งพวกหมอดูรู้ไม่ได้ สายตาของพวกหมอดูหยั่งไม่ถึง
๕. พวกมนุษย์เป็นผู้ไม่ดำรงอยู่ในธรรม นี้เป็นอันตรายของฝนประการ
ที่ ๕ ซึ่งพวกหมอดูรู้ไม่ได้ สายตาของพวกหมอดูหยั่งไม่ถึง
ภิกษุทั้งหลาย อันตรายของฝน ๕ ประการนี้แล ซึ่งพวกหมอดูรู้ไม่ได้ สายตา
ของพวกหมอดูหยั่งไม่ถึง
วัสสสูตรที่ ๗ จบ

๘. วาจาสูตร
ว่าด้วยองค์แห่งวาจาสุภาษิต
[๑๙๘] ภิกษุทั้งหลาย วาจาประกอบด้วยองค์ ๕ ประการ เป็นวาจาสุภาษิต
ไม่เป็นวาจาทุพภาษิต เป็นวาจาไม่มีโทษ และท่านผู้รู้ไม่ติเตียน
วาจาประกอบด้วยองค์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. พูดถูกกาล
๒. พูดคำจริง
๓. พูดคำอ่อนหวาน
๔. พูดคำประกอบด้วยประโยชน์
๕. พูดด้วยเมตตาจิต
ภิกษุทั้งหลาย วาจาประกอบด้วยองค์ ๕ ประการนี้แล เป็นวาจาสุภาษิต
ไม่เป็นวาจาทุพภาษิต เป็นวาจาไม่มีโทษ และท่านผู้รู้ไม่ติเตียน
วาจาสูตรที่ ๘ จบ

เชิงอรรถ :
๑ เพราะวัสสวลาหกเทพบุตรมัวเล่นกีฬาอยู่ จึงไม่ให้ฝนตกในฤดูกาล ถือเป็นอันตรายของฝน (องฺ.ปญฺจก.อ.
๓/๑๙๗/๘๑-๘๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๓๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๕. พราหมณวรรค ๙. กุลสูตร
๙. กุลสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ตระกูลประสพบุญ
[๑๙๙] ภิกษุทั้งหลาย บรรพชิตผู้มีศีลทั้งหลาย เข้าไปยังตระกูลใด พวก
มนุษย์ในตระกูลนั้นย่อมประสพบุญเป็นอันมากโดยฐานะ ๕ ประการ
ฐานะ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สมัยใด เมื่อบรรพชิตผู้มีศีลเข้าไปยังตระกูล พวกมนุษย์เห็นแล้วมี
จิตเลื่อมใส สมัยนั้น ตระกูลนั้นชื่อว่าปฏิบัติปฏิปทาที่ยังสัตว์ให้เป็น
ไปเพื่อเกิดในสวรรค์
๒. สมัยใด เมื่อบรรพชิตผู้มีศีลเข้าไปยังตระกูล พวกมนุษย์ลุกรับ
อภิวาท ถวายอาสนะ สมัยนั้น ตระกูลนั้นชื่อว่าปฏิบัติปฏิปทา
ที่ยังสัตว์ให้เป็นไปเพื่อเกิดในตระกูลสูง
๓. สมัยใด เมื่อบรรพชิตผู้มีศีลเข้าไปยังตระกูล พวกมนุษย์กำจัดมลทิน
คือความตระหนี่ได้ สมัยนั้น ตระกูลนั้นชื่อว่าปฏิบัติปฏิปทาที่ยังสัตว์
ให้เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีศักดิ์ใหญ่
๔. สมัยใด เมื่อบรรพชิตผู้มีศีลเข้าไปยังตระกูล พวกมนุษย์จัดของถวาย
ตามความสามารถ ตามกำลัง สมัยนั้น ตระกูลนั้นชื่อว่าปฏิบัติ
ปฏิปทาที่ยังสัตว์ให้เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีโภคทรัพย์มาก
๕. สมัยใด เมื่อบรรพชิตผู้มีศีลเข้าไปยังตระกูล พวกมนุษย์ไต่ถาม
สอบถามฟังธรรม สมัยนั้น ตระกูลนั้นชื่อว่าปฏิบัติปฏิปทาที่ยังสัตว์
ให้เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญามาก
ภิกษุทั้งหลาย บรรพชิตผู้มีศีลเข้าไปยังตระกูลใด พวกมนุษย์ในตระกูลนั้น
ย่อมประสพบุญเป็นอันมากโดยฐานะ ๕ ประการนี้แล
กุลสูตรที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๓๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๕. พราหมณวรรค ๑๐. นิสสารณียสูตร
๑๐. นิสสารณียสูตร
ว่าด้วยธาตุที่สลัด
[๒๐๐] ภิกษุทั้งหลาย ธาตุ๑ที่สลัด ๕ ประการนี้
ธาตุที่สลัด ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อมนสิการกามทั้งหลาย๒ จิตของเธอย่อมไม่
แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในกามทั้งหลาย แต่เมื่อเธอ
มนสิการเนกขัมมะ๓ จิตของเธอจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ น้อมไป
ในเนกขัมมะ จิต๔นั้นของเธอชื่อว่าเป็นจิตดำเนินไปดีแล้ว เจริญดี
แล้ว ตั้งอยู่ดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว พรากออกดีแล้วจากกามทั้งหลาย
เธอหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ๕ และความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้น๖
ซึ่งเกิดขึ้นเพราะกามเป็นปัจจัย เธอย่อมไม่เสวยเวทนานั้น นี้เรา
กล่าวว่าธาตุที่สลัดกามทั้งหลาย
๒. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อมนสิการพยาบาท จิตของเธอย่อมไม่
แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในพยาบาท แต่เมื่อเธอ
มนสิการความไม่พยาบาท จิตของเธอจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่
น้อมไปในความไม่พยาบาท จิตนั้นของเธอชื่อว่าเป็นจิตดำเนินไปดี

เชิงอรรถ :
๑ ธาตุ หมายถึงสภาวะที่ว่างจากอัตตา (อัตตสุญญสภาวะ) (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๐/๘๒) หรือสภาวะที่
ปราศจากชีวะ ในที่นี้หมายถึงธัมมธาตุและมโนวิญญาณธาตุขั้นพิเศษ (องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๒๐๐/๙๑)
๒ มนสิการถึงกามทั้งหลาย ในที่นี้หมายถึงเมื่อออกจากอสุภฌาน(เพ่งความไม่งาม)แล้วส่งจิตคิดถึงกามคุณ
เพื่อตรวจดูจิตว่า ‘บัดนี้ จิตเราแน่วแน่ต่อเนกขัมมะหรือไม่ กามวิตกยังเกิดขึ้นอยู่หรือไม่’ เหมือนคนจับงู
พิษเพื่อทดลองดูว่างูมีพิษหรือไม่ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๐/๘๒, องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๒๐๐/๙๑)
๓ เนกขัมมะ ในที่นี้หมายถึงปฐมฌานในอสุภะทั้งหลาย (องฺ.ปญฺจ.อ. ๓/๒๐๐/๘๒)
๔ จิต ในทีนี้หมายถึงอสุภฌานจิต (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๐/๘๒)
๕ อาสวะ ในที่นี้หมายถึงอาสวะ ๔ คือ กามาสวะ อาสวะคือกาม ภวาสวะ อาสวะคือภพ ทิฏฐาสวะ อาสวะ
คือทิฏฐิ อวิชชาสวะ อาสวะคืออวิชชา (สํ.สฬา.อ. ๓/๕๓-๖๒/๑๔, องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๕๘/๑๔๐, องฺ.ฉกฺก.ฏีกา
๓/๕๘/๑๕๔-๑๖๒)
๖ ความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้น หมายถึงความเร่าร้อนเพราะกิเลสหรือความเร่าร้อนเพราะวิบากกรรมที่
ก่อความคับแค้นใจ หรือให้เกิดทุกข์ทางกายและทุกข์ทางใจอันเป็นผลมาจากอาสวะ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๕๘/๑๔๐,
องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๕๘/๑๕๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๕. พราหมณวรรค ๑๐. นิสสารณียสูตร
แล้ว เจริญดีแล้ว ตั้งอยู่ดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว พรากออกดีแล้ว
จากพยาบาท เธอหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ และความเร่าร้อนที่ก่อ
ความคับแค้นซึ่งเกิดขึ้นเพราะพยาบาทเป็นปัจจัย เธอย่อมไม่เสวย
เวทนานั้น นี้เรากล่าวว่าธาตุที่สลัดพยาบาท
๓. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อมนสิการวิหิงสา จิตของเธอย่อมไม่แล่นไป
ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในวิหิงสา แต่เมื่อเธอมนสิการ
อวิหิงสา จิตของเธอจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ น้อมไปในอวิหิงสา
จิตนั้นของเธอชื่อว่าเป็นจิตดำเนินไปดีแล้ว เจริญดีแล้ว ตั้งอยู่ดีแล้ว
หลุดพ้นดีแล้ว พรากออกดีแล้วจากวิหิงสา เธอหลุดพ้นแล้วจาก
อาสวะ และความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้นซึ่งเกิดขึ้นเพราะวิหิงสา
เป็นปัจจัย เธอย่อมไม่เสวยเวทนานั้น นี้เรากล่าวว่าธาตุที่สลัด
วิหิงสา
๔. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อมนสิการรูปทั้งหลาย จิตของเธอย่อมไม่
แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในรูปทั้งหลาย แต่เมื่อเธอ
มนสิการอรูป จิตของเธอจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ น้อมไปในอรูป
จิตนั้นของเธอชื่อว่าเป็นจิตดำเนินไปดีแล้ว เจริญดีแล้ว ตั้งอยู่ดีแล้ว
หลุดพ้นดีแล้ว พรากออกดีแล้วจากรูปทั้งหลาย เธอหลุดพ้นแล้ว
จากอาสวะ และความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้นซึ่งเกิดขึ้นเพราะรูป
เป็นปัจจัย เธอย่อมไม่เสวยเวทนานั้น นี้เรากล่าวว่าธาตุที่สลัดรูป
ทั้งหลาย
๕. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อมนสิการสักกายะ๑ จิตของเธอย่อมไม่แล่นไป
ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในสักกายะ แต่เมื่อมนสิการถึง
สักกายนิโรธ(ความดับสักกายะ) จิตของเธอจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่

เชิงอรรถ :
๑ มนสิการสักกายะ หมายถึงวิธีการที่พระอรหันต์สุกขวิปัสสกะ(ผู้บำเพ็ญวิปัสสนาล้วน ๆ)ผู้เห็นนิพพานด้วย
อรหัตตมรรคและอรหัตตผลออกจากผลสมาบัติแล้ว ส่งจิตในอรหัตตผลสมาบัติไปยังอุปาทานขันธ์ ๕ คือ
รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเพื่อจะทดสอบดูว่า ‘ความยึดมั่นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ว่าเป็นอัตตา ยังมีอยู่หรือไม่’ (ตามนัย องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๐/๘๓)
อนึ่ง ๔ วิธีแรก เป็นวิธีของท่านผู้เป็นสมถยานิก (ผู้บำเพ็ญสมถกัมมัฏฐาน) แต่วิธีที่ ๕ เป็นวิธีของ
ท่านผู้เป็นวิปัสสนายานิก (ผู้บำเพ็ญวิปัสสนาล้วน) (องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๒๐๐/๙๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๔๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๕. พราหมณวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
น้อมไปในสักกายนิโรธ จิตนั้นของเธอชื่อว่าเป็นจิตดำเนินไปดีแล้ว
เจริญดีแล้ว ตั้งอยู่ดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว พรากออกดีแล้วจาก
สักกายะ เธอหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ และความเร่าร้อนที่ก่อ
ความคับแค้นซึ่งเกิดขึ้นเพราะสักกายะเป็นปัจจัย เธอย่อมไม่เสวย
เวทนานั้น นี้เรากล่าวว่าธาตุที่สลัดสักกายะ
ความเพลิดเพลินในกามย่อมไม่เกิดแก่เธอ ความเพลิดเพลินในพยาบาทก็
ไม่เกิด ความเพลิดเพลินในวิหิงสาก็ไม่เกิด ความเพลิดเพลินในรูปก็ไม่เกิด ความ
เพลิดเพลินในสักกายะก็ไม่เกิด
เพราะความเพลิดเพลินในกามไม่เกิด เพราะความเพลิดเพลินในพยาบาทไม่เกิด
เพราะความเพลิดเพลินในวิหิงสาไม่เกิด เพราะความเพลิดเพลินในรูปไม่เกิด และ
เพราะความเพลิดเพลินในสักกายะไม่เกิดแก่เธอ ภิกษุนี้เราจึงเรียกว่า เป็นผู้ไม่มี
อาลัย๑ ตัดตัณหาได้แล้ว คลายสังโยชน์ได้แล้ว ทำที่สุดทุกข์ได้แล้ว เพราะละมานะ
ได้โดยชอบ
ภิกษุทั้งหลาย ธาตุที่สลัด ๕ ประการนี้แล
นิสสารณียสูตรที่ ๑๐ จบ
พราหมณวรรคที่ ๕ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. โสณสูตร ๒. โทณพราหมณสูตร
๓. สังคารวสูตร ๔. การณปาลีสูตร
๕. ปิงคิยานีสูตร ๖. มหาสุปินสูตร
๗. วัสสสูตร ๘. วาจาสูตร
๙. กุลสูตร ๑๐. นิสสารณียสูตร

จตุตถปัณณาสก์ จบ

เชิงอรรถ :
๑ อาลัย ในที่นี้หมายถึงกามคุณ ๕ (รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ) หรือหมายถึงวัฏฏะ (กิเลสวัฏฏะ,
กัมมวัฏฏะ, วิปากวัฏฏะ) (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๒๘/๓๗๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๔๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๑. กิมพิลวรรค ๑. กิมพิลวรรค
๕. ปัญจมปัณณาสก์
๑. กิมพิลวรรค
หมวดว่าด้วยพระกิมพิละ
๑. กิมพิลสูตร
ว่าด้วยท่านพระกิมพิละ
[๒๐๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าไผ่ เขตเมืองกิมิลา ครั้งนั้น
ท่านพระกิมพิละได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ
ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็น
เหตุปัจจัยให้พระสัทธรรมไม่ดำรงอยู่ได้นาน ในเมื่อพระตถาคตปรินิพพานแล้ว”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “กิมพิละ เมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว ภิกษุ ภิกษุณี
อุบาสก อุบาสิกาในธรรมวินัยนี้
๑. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในศาสดา๑
๒. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในธรรม๒
๓. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในสงฆ์๓
๔. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในสิกขา๔
๕. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงกันและกัน๕

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงเมื่อขึ้นสู่ลานเจดีย์เป็นต้น ก็ไม่หุบร่ม ไม่ถอดรองเท้า และกล่าวคำหยาบเป็นต้น ซึ่งแสดงถึง
ความไม่เคารพ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๑/๘๔)
๒ หมายถึงนั่งหลับและคุยกันในขณะฟังธรรม (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๑/๘๔)
๓ หมายถึงอยู่ท่ามกลางสงฆ์ก็ไม่สำรวมกายวาจาให้เรียบร้อย และไม่มีความเคารพในพระเถระ ได้แก่ พระผู้มี
ระดับอายุ คุณธรรม ความรู้ที่นับว่าเป็นพระผู้ใหญ่ คือมีพรรษาตั้งแต่ ๑๐ ขึ้นไป ในพระมัชฌิมะ ได้แก่
พระระดับกลาง มีพรรษาตั้งแต่ครบ ๕ แต่ยังไม่ถึง ๑๐ ในพระนวกะ ได้แก่ พระใหม่มีระดับอายุ คุณธรรม
ความรู้ที่นับว่ายังใหม่ มีพรรษาต่ำกว่า ๕ ที่ยังต้องถือนิสสัย) (วิ.อ. ๑/๔๕/๒๕๓, องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๑/๘๔)
๔ หมายถึงไม่บำเพ็ญไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ และปัญญา ให้บริบูรณ์ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๑/๘๔)
๕ หมายถึงก่อการทะเลาะวิวาทกันเป็นต้น (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๑/๘๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๔๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๑. กิมพิลวรรค ๒. ธัมมัสสวนสูตร
กิมพิละ นี้แลเหตุปัจจัยให้สัทธรรมไม่ดำรงอยู่ได้นาน ในเมื่อตถาคต
ปรินิพพานแล้ว” พระกิมพิละทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรเป็นเหตุปัจจัย
ให้พระสัทธรรมดำรงอยู่ได้นาน ในเมื่อพระตถาคตปรินิพพานแล้ว” พระผู้มีพระภาค
ตรัสว่า “กิมพิละ เมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาใน
ธรรมวินัยนี้
๑. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงในศาสดา
๒. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงในธรรม
๓. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงในสงฆ์
๔. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงในสิกขา
๕. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงกันและกัน
กิมพิละ นี้แลเป็นเหตุปัจจัยให้สัทธรรมดำรงอยู่ได้นาน ในเมื่อตถาคต
ปรินิพพานแล้ว”
กิมพิลสูตรที่ ๑ จบ

๒. ธัมมัสสวนสูตร
ว่าด้วยการฟังธรรม
[๒๐๒] ภิกษุทั้งหลาย การฟังธรรมมีอานิสงส์ ๕ ประการนี้
อานิสงส์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง
๒. เข้าใจชัดสิ่งที่ได้ฟังแล้ว
๓. บรรเทาความสงสัยเสียได้
๔. ทำความเห็นได้ตรง
๕. จิตของผู้ฟังธรรมย่อมเลื่อมใส
ภิกษุทั้งหลาย การฟังธรรมมีอานิสงส์ ๕ ประการนี้แล
ธัมมัสสวนสูตรที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๔๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๑. กิมพิลวรรค ๓. อัสสาชานียสูตร
๓. อัสสาชานียสูตร
ว่าด้วยองค์ประกอบของม้าอาชาไนย๑
[๒๐๓] ภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีของพระราชา ประกอบด้วยองค์
๕ ประการ ย่อมเป็นม้าควรแก่พระราชา ควรเป็นม้าต้น นับว่าเป็นราชพาหนะ
โดยแท้
องค์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความตรง
๒. ความมีเชาว์
๓. ความอ่อน
๔. ความอดทน
๕. ความเสงี่ยม
ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีของพระราชาประกอบด้วยองค์ ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็น
ม้าควรแก่พระราชา ควรเป็นม้าต้น นับว่าเป็นราชพาหนะโดยแท้ ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นผู้ควรแก่
ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี
เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความตรง๒
๒. ความมีเชาว์๓
๓. ความอ่อน๔

เชิงอรรถ :
๑ ม้าอาชาไนย หมายถึงม้าที่เกิดในตระกูลม้าสินธพ หรือในตระกูลพญาม้าวลาหก (ขุ.ธ.อ. ๑๕๔/๑๐๕)
หรือหมายถึงม้าที่รู้เหตุที่ควรและไม่ควร (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๔๓/๒๗๓)และดู องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๙๗/๓๓๐
๒ ความตรงของม้า หมายถึงความไปได้ตรง ไปไม่คด ความตรงของพระ หมายถึงความมีญาณดำเนินไปตรง
(�าณสฺส อชุกคมนํ) (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๓-๒๐๔/๘๕)
๓ ความมีเชาว์ของม้า หมายถึงมีฝีเท้าเร็ว (ปทชวะ) ความมีเชาว์ของพระ หมายถึงความมีญาณที่แกล้วกล้า
ดำเนินไป (สูรสฺส หุตฺวา �าณสฺส คมนภาโว) (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๓-๒๐๔/๘๕)
๔ ความอ่อนของม้า หมายถึงร่างกายอ่อนนุ่ม (สรีรมุทุตา) ความอ่อนของพระ หมายถึงความอ่อนเพราะศีล
(สีลมัททวะ) (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๓-๒๐๔/๘๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๑. กิมพิลวรรค ๔. พลสูตร
๔. ความอดทน๑
๕. ความเสงี่ยม๒
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรแก่
ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี
เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
อัสสาชานียสูตรที่ ๓ จบ

๔. พลสูตร
ว่าด้วยพละ
[๒๐๔] ภิกษุทั้งหลาย พละ ๕ ประการนี้
พละ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธาพละ (กำลังคือศรัทธา)
๒. หิริพละ (กำลังคือหิริ)
๓. โอตตัปปพละ (กำลังคือโอตตับปะ)
๔. วิริยพละ (กำลังคือวิริยะ)
๕. ปัญญาพละ (กำลังคือปัญญา)
ภิกษุทั้งหลาย พละ ๕ ประการนี้แล
พลสูตรที่ ๔ จบ

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงอธิวาสนขันติ (ความอดทนคือความอดกลั้น) (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๓-๒๐๔/๘๕)
๒ หมายถึงความมีศีลสะอาด บริสุทธิ์ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๓-๒๐๔/๘๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๑. กิมพิลวรรค ๕. เจโตขิลสูตร
๕. เจโตขิลสูตร๑
ว่าด้วยกิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู
[๒๐๕] ภิกษุทั้งหลาย กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู๒ ๕ ประการนี้
กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในศาสดา๓ จิตของภิกษุ
ผู้เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในศาสดานั้น ย่อม
ไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง
เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นกิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปูประการที่ ๑ ของ
ภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อ
กระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร
๒. เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในธรรม๔ ฯลฯ
๓. เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในสงฆ์๕ ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ดู ม.มู. ๑๒/๑๘๕-๑๘๙/๑๕๖-๑๖๑,องฺ.นวก. ๒๓/๗๑-๗๒/๓๘๐-๓๘๑, องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๔/๒๒-๒๓,
อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๔๑/๕๙๔)
๒ กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู (เจโตขิลา) หมายถึงสภาวะที่จิตแข็งกระด้าง เป็นดุจหยากเยื่อ เป็นดุจตอ ได้แก่
วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) และโกธะ (ความโกรธ) เมื่อกิเลส ๒ ตัวนี้ เกิดขึ้นในจิตของผู้ใด จิตของผู้นั้น
ย่อมแข็งกระด้าง (องฺ.ปญฺจ.อ. ๓/๒๐๕/๘๕, องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๒๐๕/๙๓)
๓ ไม่เลื่อมใสในศาสดา หมายถึงไม่เชื่อว่าพระสรีระของพระพุทธเจ้าประกอบด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒
ประการ และไม่เชื่อว่าพระพุทธเจ้าจะทรงพระสัพพัญญุตญาณที่สามารถรู้อดีต ปัจจุบัน และอนาคตได้
(องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๕/๘๕)
๔ ไม่เลื่อมใสในธรรม หมายถึงไม่เชื่อในปริยัติธรรมว่าพระพุทธพจน์คือพระไตรปิฎกมี ๘๔,๐๐๐ พระธรรม
ขันธ์ และไม่เชื่อในปฏิเวธธรรมว่า มรรคเกิดจากวิปัสสนา ผลเกิดจากมรรค และนิพพานคือธรรมเป็นที่
สละคืนสังขารทั้งปวง จะมีอยู่จริงหรือไม่ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๕/๘๕)
๕ ไม่เลื่อมใสในสงฆ์ หมายถึงไม่เชื่อในพระอริยบุคคล ๘ จำพวก ว่าเป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง และเป็นผู้
ดำรงอยู่ในมรรค (ทางเข้าถึงความเป็นอริยบุคคล ๔ ประการ คือ (๑) โสตาปัตติมรรค (๒) สกทาคามิมรรค
(๓) อนาคามิมรรค (๔) อรหัตตมรรค และดำรงอยู่ในผล ๔ (ผลที่เกิดสืบเนื่องจากการละกิเลสได้ด้วยมรรค)
คือ (๑) โสดาปัตติผล (๒) สกทาคามิผล (๓) อนาคามิผล (๔) อรหัตตผล (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๕/๘๕) และดู
อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๘๐๗/๕๑๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๔๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๑. กิมพิลวรรค ๖. วินิพันธสูตร
๔. เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในสิกขา ฯลฯ
๕. เป็นผู้โกรธ ไม่พอใจ มีจิตถูกโทสะ(ความคิดประทุษร้าย)กระทบ มี
จิตแข็งกระด้างในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้โกรธ ไม่พอใจ
มีจิตถูกโทสะกระทบ มีจิตแข็งกระด้างในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายนั้น
ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อ
เนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นกิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปูประการที่ ๕
ของภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ
เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร
ภิกษุทั้งหลาย กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู ๕ ประการนี้แล
เจโตขิลสูตรที่ ๕ จบ

๖. วินิพันธสูตร
ว่าด้วยกิเลสเครื่องผูกใจ๑
[๒๐๖] ภิกษุทั้งหลาย กิเลสเครื่องผูกใจ ๕ ประการนี้
กิเลสเครื่องผูกใจ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจากความพอใจ ไม่
ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความกระหาย ไม่ปราศจากความ
เร่าร้อน ไม่ปราศจากความอยากในกามทั้งหลาย๒ จิตของภิกษุผู้ยัง

เชิงอรรถ :
๑ ดู องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๔/๒๓-๒๔, อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๔๑/๕๙๔)
๒ กามทั้งหลาย ในที่นี้หมายถึงวัตถุกามและกิเลสกาม (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๖/๘๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๔๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๑. กิมพิลวรรค ๖. วินิพันธสูตร
ไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจากความพอใจ ไม่ปราศจาก
ความรัก ไม่ปราศจากความกระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน
ไม่ปราศจากความอยากในกามทั้งหลายนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อ
ความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญ
เพียร นี้เป็นกิเลสเครื่องผูกใจประการที่ ๑ ของภิกษุผู้มีจิตไม่น้อม
ไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อ
บำเพ็ญเพียร
๒. เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัดในกาย๑ ฯลฯ
๓. เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัดในรูป๒ ฯลฯ
๔. ฉันอาหารตามความต้องการจนอิ่มเกินไป ประกอบความสุขในการ
นอนความสุขในการเอกเขนก ความสุขในการหลับอยู่ ฯลฯ
๕. ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยความปรารถนาเป็นเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่ง
ว่า ‘ด้วยศีล วัตร ตบะ หรือพรหมจรรย์๓นี้ เราจักเป็นเทพเจ้า๔
หรือเทพตนใดตนหนึ่ง’ จิตของภิกษุผู้ประพฤติพรหมจรรย์ด้วย

เชิงอรรถ :
๑ กาย ในที่นี้หมายถึงนามกายของตน หรืออัตภาพของตน (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๖/๘๖, องฺ.ปญฺจก.ฏีกา
๓/๒๐๖-๘/๙๔)
๒ รูป ในที่นี้หมายถึงร่างกายของผู้อื่น และรูปที่ไม่เกี่ยวเนื่องกับอินทรีย์ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๖/๘๖)
๓ ศีล หมายถึงปาริสุทธิศีล ๔ ประการ (คือ (๑) ปาติโมกขสังวรศีล ศีลคือความสำรวมในพระปาติโมกข์
เว้นจากข้อห้าม ทำตามข้ออนุญาต ประพฤติเคร่งครัดในสิกขาบททั้งหลาย (๒) อินทรียสังวรศีล ศีลคือ
ความสำรวมอินทรีย์ ระวังไม่ให้บาปอกุศลครอบงำ เมื่อรับรู้อารมณ์ด้วยอินทรีย์ทั้ง ๖ (๓) อาชีวปาริสุทธิศีล
ศีลคือความบริสุทธิ์แห่งอาชีวะ เลี้ยงชีวิตโดยทางที่ชอบ ไม่ประกอบอเนสนามีหลอกลวงเขาเลี้ยงชีพเป็นต้น
(๔) ปัจจัยสันนิสิตศีล ศีลที่เกี่ยวกับปัจจัย ๔ ได้แก่ ปัจจัยปัจจเวกขณะ คือพิจารณาใช้สอยปัจจัย ๔ ให้
เป็นไปตามความหมายและประโยชน์ของสิ่งนั้น ไม่บริโภคด้วยตัณหา (วิสุทธิ. ๑/๑๔-๑๘/๑๗-๓๖)
วัตร หมายถึงวัตตสมาทาน การประพฤติข้อปฏิบัติ
ตบะ หมายถึงตปจรณะ (การประพฤติตบะ)
พรหมจรรย์ หมายถึงเมถุนวิรัติ (การงดเว้นจากการร่วมประเวณี) (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๖/๘๖)
๔ เทพเจ้า ในที่นี้หมายถึงเป็นเทวดาผู้มีศักดิ์หรือมีอำนาจมาก เทพตนใดตนหนึ่ง หมายถึงเทวดาผู้มีศักดิ์หรือ
มีอำนาจน้อย (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๖/๘๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๔๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๑. กิมพิลวรรค ๗. ยาคุสูตร
ความปรารถนาเป็นเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่งว่า ‘ด้วยศีล วัตร ตบะ
หรือพรหมจรรย์นี้ เราจักเป็นเทพเจ้า หรือเทพตนใดตนหนึ่ง’ นั้น
ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำ
ต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นกิเลสเครื่องผูกใจประการที่ ๕
ของภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ
เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร
ภิกษุทั้งหลาย กิเลสเครื่องผูกใจ ๕ ประการนี้แล
วินิพันธสูตรที่ ๖ จบ

๗. ยาคุสูตร
ว่าด้วยอานิสงส์ของยาคู
[๒๐๗] ภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ของยาคู (ข้าวต้ม) ๕ ประการนี้
อานิสงส์ของยาคู ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. บรรเทาความหิว
๒. ระงับความกระหาย
๓. ให้ลมเดินคล่อง
๔. ชำระลำไส้
๕. เผาอาหารที่ยังไม่ย่อยให้ย่อย
ภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ของยาคู ๕ ประการนี้แล
ยาคุสูตรที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๑. กิมพิลวรรค ๘. ทันตกัฏฐสูตร
๘. ทันตกัฏฐสูตร
ว่าด้วยไม้สีฟัน
[๒๐๘] ภิกษุทั้งหลาย โทษของการไม่เคี้ยวไม้สีฟัน ๕ ประการนี้
โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ตาฝ้าฟาง
๒. ปากเหม็น
๓. ประสาทที่นำรสอาหาร ไม่หมดจดดี
๔. ดีและเสมหะหุ้มห่ออาหาร
๕. อาหารไม่อร่อยแก่เขา
ภิกษุทั้งหลาย โทษของการไม่เคี้ยวไม้สีฟัน ๕ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ของการเคี้ยวไม้สีฟัน ๕ ประการนี้
อานิสงส์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ตาสว่าง
๒. ปากไม่เหม็น
๓. ประสาทที่นำรสอาหาร หมดจดดี
๔. ดีและเสมหะไม่หุ้มห่ออาหาร
๕. อาหารอร่อยแก่เขา
ภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ของการเคี้ยวไม้สีฟัน ๕ ประการนี้แล
ทันตกัฏฐสูตรที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๑. กิมพิลวรรค ๑๐. มุฏฐัสสติสูตร
๙. คีตัสสรสูตร
ว่าด้วยโทษของการแสดงธรรมด้วยเสียงขับยาว
[๒๐๙] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้กล่าวธรรมด้วยเสียงขับยาว๑ มีโทษ ๕ ประการนี้
โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. แม้ตนเองก็กำหนัดในเสียงนั้น
๒. แม้ผู้อื่นก็กำหนัดในเสียงนั้น
๓. แม้พวกคหบดีก็ตำหนิว่า ‘พวกสมณศากยบุตรเหล่านี้ ย่อมขับ
เหมือนพวกเรา’
๔. เมื่อภิกษุพอใจการทำเสียง ความเสื่อมแห่งสมาธิ๒ย่อมมี
๕. หมู่คนรุ่นหลังพากันตามอย่าง
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้กล่าวธรรมด้วยเสียงขับยาวมีโทษ ๕ ประการนี้แล
คีตัสสรสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. มุฏฐัสสติสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้หลงลืมสติ
[๒๑๐] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้หลงลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะนอนหลับ มีโทษ
๕ ประการนี้
โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. หลับเป็นทุกข์ ๒. ตื่นเป็นทุกข์
๓. ฝันลามก ๔. เทวดาไม่รักษา
๕. น้ำอสุจิเคลื่อน

เชิงอรรถ :
๑ เสียงขับยาว หมายถึงการขับทำนองที่ทำให้อักขระเพี้ยนไปจนเป็นเหตุทำลายวัตร (ข้อปฏิบัติ) ที่ปรากฏ
ในพระสูตร ปรากฏในคาถาให้สูญหายไป (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๙/๘๗, องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๒๐๙-๒๑๐/๙๕)
๒ หมายถึงจิตในระดับสมถกัมมัฏฐาน และวิปัสสนากัมมัฏฐานต้องมีอันเสื่อมไป (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๙/๘๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๕๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๑. กิมพิลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้หลงลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะนอนหลับ มีโทษ ๕ ประการ
นี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีสติตั้งมั่น มีสัมปชัญญะนอนหลับ มีอานิสงส์ ๕
ประการนี้
อานิสงส์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. หลับเป็นสุข ๒. ตื่นเป็นสุข
๓. ไม่ฝันลามก ๔. เทวดารักษา
๕. น้ำอสุจิไม่เคลื่อน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีสติตั้งมั่น มีสัมปชัญญะนอนหลับ มีอานิสงส์ ๕
ประการนี้แล
มุฏฐัสสติสูตรที่ ๑๐ จบ
กิมพิลวรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. กิมพิลสูตร ๒. ธัมมัสสวนสูตร
๓. อัสสาชานียสูตร ๔. พลสูตร
๕. เจโตขิลสูตร ๖. วินิพันธสูตร
๗. ยาคุสูตร ๘. ทันตกัฏฐสูตร
๙. คีตัสสรสูตร ๑๐. มุฏฐัสสติสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๕๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๒. อักโกสกวรรค ๒. ภัณฑนการกสูตร
๒. อักโกสกวรรค
หมวดว่าด้วยโทษของการด่า
๑. อักโกสกสูตร
ว่าด้วยโทษของการด่า
[๒๑๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ด่าบริภาษเพื่อน
พรหมจารี ว่าร้ายพระอริยะ พึงหวังได้โทษ ๕ ประการ
โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ต้องอาบัติปาราชิก หรือตัดธรรมเป็นเครื่องปิดกั้น๑
๒. ต้องอาบัติเศร้าหมองกองใดกองหนึ่ง
๓. เป็นโรคร้ายแรง
๔. หลงลืมสติมรณภาพ
๕. หลังจากมรณภาพแล้ว ย่อมไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ด่าบริภาษเพื่อนพรหมจารี ว่าร้ายพระอริยะ พึงหวัง
ได้โทษ ๕ ประการนี้แล
อักโกสกสูตรที่ ๑ จบ

๒. ภัณฑนการกสูตร
ว่าด้วยโทษแห่งการทำความบาดหมาง
[๒๑๒] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ทำความบาดหมาง ทะเลาะ วิวาท ทำความ
อื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ พึงหวังได้โทษ ๕ ประการ
โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่บรรลุธรรม๒ที่ยังไม่ได้บรรลุ
๒. เสื่อมจากธรรมที่ได้บรรลุแล้ว

เชิงอรรถ :
๑ ธรรมเป็นเครื่องปิดกั้น ในที่นี้หมายถึงโลกุตตรธรรมที่เป็นเครื่องปิดกั้นทางไปอบาย (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๑๑/
๘๗, อง.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๒๑๑-๒/๙๖)
๒ ธรรม ในที่นี้หมายถึงคุณวิเศษ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๑๒/๘๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๕๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๒. อักโกสกวรรค ๓. สีลสูตร
๓. กิตติศัพท์อันชั่วย่อมกระฉ่อนไป
๔. หลงลืมสติมรณภาพ
๕. หลังจากมรณภาพแล้ว ย่อมไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ทำความบาดหมาง ทะเลาะ วิวาท ทำความอื้อฉาว
ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ พึงหวังได้โทษ ๕ ประการนี้แล
ภัณฑนการกสูตรที่ ๒ จบ

๓. สีลสูตร
ว่าด้วยศีล
[๒๑๓] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ทุศีลเพราะศีลวิบัติ มีโทษ ๕ ประการนี้
โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติในธรรมวินัยนี้ ย่อมถึงความเสื่อมโภคทรัพย์
เป็นอันมาก ซึ่งมีความประมาทเป็นเหตุ นี้เป็นโทษประการที่ ๑ ของ
บุคคลผู้ทุศีลเพราะศีลวิบัติ
๒. กิตติศัพท์อันชั่วของบุคคลผู้ทุศีลย่อมกระฉ่อนไป นี้เป็นโทษประการ
ที่ ๒ ของบุคคลผู้ทุศีลเพราะศีลวิบัติ
๓. บุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติจะเข้าไปยังบริษัทใด ๆ จะเป็นขัตติยบริษัท
ก็ตาม พราหมณบริษัทก็ตาม คหบดีบริษัทก็ตาม สมณบริษัทก็ตาม
ย่อมไม่แกล้วกล้า เก้อเขินเข้าไป นี้เป็นโทษประการที่ ๓ ของบุคคล
ผู้ทุศีลเพราะศีลวิบัติ
๔. บุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติ ย่อมหลงลืมสติตาย นี้เป็นโทษประการที่ ๔
ของบุคคลผู้ทุศีลเพราะศีลวิบัติ
๕. บุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติ หลังจากตายแล้วย่อมไปเกิดในอบาย ทุคติ
วินิบาต นรก นี้เป็นโทษประการที่ ๕ ของบุคคลผู้ทุศีลเพราะศีลวิบัติ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ทุศีลเพราะศีลวิบัติ มีโทษ ๕ ประการนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๕๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๒. อักโกสกวรรค ๓. สีลสูตร
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีศีลเพราะสมบูรณ์ด้วยศีล มีอานิสงส์ ๕ ประการนี้
อานิสงส์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีลในธรรมวินัยนี้ ย่อมมีโภคทรัพย์เป็น
อันมาก ซึ่งมีความไม่ประมาทเป็นเหตุ นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๑
ของบุคคลผู้มีศีลเพราะสมบูรณ์ด้วยศีล
๒. กิตติศัพท์อันงามของบุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีลย่อมขจรไป
นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๒ ของบุคคลผู้มีศีลเพราะสมบูรณ์ด้วยศีล
๓. บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล จะเข้าไปยังบริษัทใด ๆ จะเป็นขัตติย-
บริษัทก็ตาม พราหมณบริษัทก็ตาม คหบดีบริษัทก็ตาม สมณบริษัท
ก็ตาม ย่อมแกล้วกล้า ไม่เก้อเขินเข้าไป นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๓
ของบุคคลผู้มีศีลเพราะสมบูรณ์ด้วยศีล
๔. บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อมไม่หลงลืมสติตาย นี้เป็น
อานิสงส์ประการที่ ๔ ของบุคคลผู้มีศีลเพราะสมบูรณ์ด้วยศีล
๕. บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล หลังจากตายแล้ว ย่อมไปเกิดในสุคติ
โลกสวรรค์ นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๕ ของบุคคลผู้มีศีลเพราะ
สมบูรณ์ด้วยศีล
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีศีลเพราะสมบูรณ์ด้วยศีลมีอานิสงส์ ๕ ประการนี้แล
สีลสูตรที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๒. อักโกสกวรรค ๕. ปฐมอักขันติสูตร
๔. พหุภาณิสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้พูดมาก
[๒๑๔] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้พูดมาก๑ มีโทษ ๕ ประการนี้
โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. พูดเท็จ ๒. พูดส่อเสียด
๓. พูดคำหยาบ ๔. พูดเพ้อเจ้อ
๕. หลังจากตายแล้ว ย่อมไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้พูดมาก มีโทษ ๕ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้พูดด้วยมันตา๒ มีอานิสงส์ ๕ ประการนี้
อานิสงส์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่พูดเท็จ ๒. ไม่พูดส่อเสียด
๓. ไม่พูดคำหยาบ ๔. ไม่พูดเพ้อเจ้อ
๕. หลังจากตายแล้ว ย่อมไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้พูดด้วยมันตา มีอานิสงส์ ๕ ประการนี้แล
พหุภาณิสูตรที่ ๔ จบ

๕. ปฐมอักขันติสูตร
ว่าด้วยความไม่อดทน สูตรที่ ๑
[๒๑๕] ภิกษุทั้งหลาย ความไม่อดทนมีโทษ ๕ ประการนี้
โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของคนหมู่มาก
๒. เป็นผู้มากด้วยเวร๓

เชิงอรรถ :
๑ พูดมาก หมายถึงพูดไม่ประกอบด้วยปัญญา (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๑๔/๘๙)
๒ มันตา เป็นชื่อเรียกแทนปัญญา (องฺ.ปญฺจ.อ. ๓/๒๑๔/๘๙)
๓ มากด้วยเวร หมายถึงมีบุคคลผู้เป็นเวรต่อกันมาก มีการประพฤติอกุศลกรรมมาก (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๑๕/๘๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๒. อักโกสกวรรค ๖. ทุติยอักขันติสูตร
๓. เป็นผู้มากด้วยโทษ
๔. เป็นผู้หลงลืมสติตาย
๕. หลังจากตายแล้ว ย่อมไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ภิกษุทั้งหลาย ความไม่อดทนมีโทษ ๕ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ความอดทนมีอานิสงส์ ๕ ประการนี้
อานิสงส์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นที่รักเป็นที่พอใจของคนหมู่มาก
๒. เป็นผู้ไม่มากด้วยเวร
๓. เป็นผู้ไม่มากด้วยโทษ
๔. เป็นผู้ไม่หลงลืมสติตาย
๕. หลังจากตายแล้ว ย่อมไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
ภิกษุทั้งหลาย ความอดทนมีอานิสงส์ ๕ ประการนี้แล
ปฐมอักขันติสูตรที่ ๕ จบ

๖. ทุติยอักขันติสูตร
ว่าด้วยความไม่อดทน สูตรที่ ๒
[๒๑๖] ภิกษุทั้งหลาย ความไม่อดทนมีโทษ ๕ ประการนี้
โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่เป็นที่รักเป็นที่พอใจของคนหมู่มาก
๒. เป็นผู้ดุร้าย
๓. เป็นผู้มีวิปปฏิสาร
๔. เป็นผู้หลงลืมสติตาย
๕. หลังจากตายแล้ว ย่อมไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ภิกษุทั้งหลาย ความไม่อดทนมีโทษ ๕ ประการนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๒. อักโกสกวรรค ๗. ปฐมอปาสาทิกสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ความอดทนมีอานิสงส์ ๕ ประการนี้
อานิสงส์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นที่รักเป็นที่พอใจของคนหมู่มาก
๒. เป็นผู้ไม่ดุร้าย
๓. เป็นผู้ไม่มีวิปปฏิสาร
๔. เป็นผู้ไม่หลงลืมสติตาย
๕. หลังจากตายแล้ว ย่อมไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
ภิกษุทั้งหลาย ความอดทนมีอานิสงส์ ๕ ประการนี้แล
ทุติยอักขันติสูตรที่ ๖ จบ

๗. ปฐมอปาสาทิกสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้ไม่น่าเลื่อมใส๑ สูตรที่ ๑
[๒๑๗] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่น่าเลื่อมใส มีโทษ ๕ ประการนี้
โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. แม้ตนก็ติเตียนตนเองได้
๒. ผู้รู้ใคร่ครวญแล้วย่อมติเตียนได้
๓. กิตติศัพท์อันชั่วย่อมกระฉ่อนไป
๔. หลงลืมสติตาย
๕. หลังจากตายแล้ว ย่อมไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่น่าเลื่อมใส มีโทษ ๕ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้น่าเลื่อมใส๒ มีอานิสงส์ ๕ ประการนี้

เชิงอรรถ :
๑ ผู้ไม่น่าเลื่อมใส หมายถึงผู้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริตที่ไม่น่าเลื่อมใส (องฺ.ปญฺจก.อ.
๓/๒๑๗/๘๙) และดู องฺ.ทุก. (แปล) ๒๐/๑๘/๗๑
๒ ผู้น่าเลื่อมใส หมายถึงผู้มีความประพฤติอันบริสุทธิ์ กล่าวคือประกอบกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต
อันนำมาซึ่งความเลื่อมใส (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๑๗/๘๙) และดู องฺ.ทุก. (แปล) ๒๐/๑๘/๗๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๕๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๒. อักโกสกวรรค ๘. ทุติยอปาสาทิกสูตร
อานิสงส์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. แม้ตนก็ติเตียนตนเองไม่ได้
๒. ผู้รู้ใคร่ครวญแล้วย่อมสรรเสริญ
๓. กิตติศัพท์อันงามย่อมขจรไป
๔. ไม่หลงลืมสติตาย
๕. หลังจากตายแล้ว ย่อมไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้น่าเลื่อมใส มีอานิสงส์ ๕ ประการนี้แล
ปฐมอปาสาทิกสูตรที่ ๗ จบ

๘. ทุติยอปาสาทิกสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้ไม่น่าเลื่อมใส สูตรที่ ๒
[๒๑๘] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่น่าเลื่อมใส มีโทษ ๕ ประการนี้
โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. คนที่ยังไม่เลื่อมใส ย่อมไม่เลื่อมใส
๒. คนที่เลื่อมใสแล้วย่อมกลายเป็นอื่น
๓. ไม่ปฏิบัติตนตามคำสอนของศาสดา
๔. หมู่คนรุ่นหลัง๑พากันตามอย่าง
๕. จิตของเธอย่อมไม่เลื่อมใส๒
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่น่าเลื่อมใส มีโทษ ๕ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้น่าเลื่อมใส มีอานิสงส์ ๕ ประการนี้

เชิงอรรถ :
๑ หมู่คนรุ่นหลัง หมายถึงสัทธิวิหาริก(ผู้อยู่ด้วย) เป็นคำเรียกผู้ได้รับอุปสมบทจากพระอุปัชฌาย์และ
อันเตวาสิก(ผู้อยู่ในสำนัก) มี ๔ ประเภท คือ (๑) ปัพพัชชันเตวาสิก (อันเตวาสิกในบรรพชา)
(๒) อุปสัมปทันเตวาสิก (อันเตวาสิกในอุปสมบท) (๓) นิสสยันเตวาสิก (อันเตวาสิกผู้ถือนิสสัย)
(๔) ธัมมันเตวาสิก (อันเตวาสิกผู้เรียนธรรม) (องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๕/๕๓)
๒ พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉบับ “PALI TEXT SOCIETY” แปลว่า จิตของเขาไม่บรรลุความสุขสงบ
(One‘s heart wins not to peace) (The Book of the Gradual Sayings, VOL. III, P. 187)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๒. อักโกสกวรรค ๙. อัคคิสูตร
อานิสงส์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. คนที่ยังไม่เลื่อมใส ย่อมเลื่อมใส
๒. คนที่เลื่อมใสแล้ว ย่อมเลื่อมใสยิ่งขึ้น
๓. ปฏิบัติตนตามคำสอนของศาสดา
๔. หมู่คนรุ่นหลังพากันตามอย่าง
๕. จิตของเธอย่อมเลื่อมใส
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้น่าเลื่อมใส มีอานิสงส์ ๕ ประการนี้แล
ทุติยอปาสาทิกสูตรที่ ๘ จบ

๙. อัคคิสูตร
ว่าด้วยโทษของไฟ
[๒๑๙] ภิกษุทั้งหลาย ไฟมีโทษ ๕ ประการ
โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทำให้ตาฝ้าฟาง
๒. ทำให้ผิวหยาบกร้าน
๓. ทำให้อ่อนกำลัง
๔. เพิ่มพูนการคลุกคลีด้วยหมู่
๕. เป็นเหตุให้สนทนาติรัจฉานกถา๑
ภิกษุทั้งหลาย ไฟมีโทษ ๕ ประการนี้แล
อัคคิสูตรที่ ๙ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ติรัจฉานกถา หมายถึงถ้อยคำอันขวางทางไปสู่สวรรค์หรือนิพพาน ได้แก่ เรื่องราวที่ภิกษุไม่ควรนำมาเป็น
ข้อถกเถียงสนทนากัน เพราะทำให้เกิดฟุ้งซ่าน และหลงเพลินเสียเวลา (ที.สี.อ. ๑๗/๘๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๖๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๒. อักโกสกวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
๑๐. มธุราสูตร
ว่าด้วยนครมธุรา๑
[๒๒๐] ภิกษุทั้งหลาย นครมธุรา มีโทษ ๕ ประการนี้
โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. มีพื้นดินไม่ราบเรียบ
๒. มีฝุ่นละอองมาก
๓. มีสุนัขดุ
๔. มียักษ์ร้าย
๕. หาอาหารได้ยาก
ภิกษุทั้งหลาย นครมธุรา มีโทษ ๕ ประการนี้แล
มธุราสูตรที่ ๑๐ จบ
อักโกสกวรรคที่ ๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อักโกสกสูตร ๒. ภัณฑนการกสูตร
๓. สีลสูตร ๔. พหุภาณิสูตร
๕. ปฐมอักขันติสูตร ๖. ทุติยอักขันติสูตร
๗. ปฐมอปาสาทิกสูตร ๘. ทุติยอปาสาทิกสูตร
๙. อัคคิสูตร ๑๐. มธุราสูตร


เชิงอรรถ :
๑ นครมธุรา (Madhura) นี้เป็นเมืองหลวงของแคว้นสุรเสนะ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำยมุนา มีกษัตริย์ปกครองพระ
นามว่า อวันตีบุตร บางทีเมืองนี้ เรียกอีกชื่อว่า อุตตรมธุรา (มธุราเหนือ) เพื่อให้ต่างจากเมืองมธุราตอน
ใต้ของอินเดียที่มีชื่อว่าทักขิณมธุรา เมืองอุตตรมธุรานี้ ปัจจุบันเรียกว่า มถุรา หรือมุตตระ ตั้งอยู่ตอน
เหนือห่างจากที่ตั้งเดิมระยะทาง ๕ ไมล์ และที่ตั้งเดิมกลายเป็นเมืองใหม่ชื่อมโหลี (G.P. MALALASERA,
Dictionary of Pali Proper Names, London : Luzac Company Ltd, 46 Russell Street 1960.)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๓. ทีฆจาริกวรรค ๑. ปฐมทีฆจาริกสูตร
๓. ทีฆจาริกวรรค
หมวดว่าด้วยการจาริกไปนาน
๑. ปฐมทีฆจาริกสูตร
ว่าด้วยการจาริกไปนาน สูตรที่ ๑
[๒๒๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้จาริกไปนาน จาริกไป
ไม่มีกำหนด มีโทษ ๕ ประการ
โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง
๒. ไม่เข้าใจชัดสิ่งที่ได้ฟังแล้ว
๓. ไม่แกล้วกล้าในเรื่องที่ได้ฟังแล้ว๑
๔. เป็นโรคร้ายแรง
๕. เป็นผู้ไม่มีมิตร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้จาริกไปนาน จาริกไปไม่มีกำหนด มีโทษ ๕ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย การจาริกไปมีกำหนดพอดี มีอานิสงส์ ๕ ประการนี้
อานิสงส์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง
๒. เข้าใจชัดสิ่งที่ได้ฟังแล้ว
๓. แกล้วกล้าในเรื่องที่ได้ฟังแล้ว
๔. ไม่เป็นโรคร้ายแรง
๕. เป็นผู้มีมิตร
ภิกษุทั้งหลาย การจาริกไปมีกำหนดพอดี มีอานิสงส์ ๕ ประการนี้แล
ปฐมทีฆจาริกสูตรที่ ๑ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ไม่แกล้วกล้าในเรื่องที่ได้ฟังแล้ว หมายถึงไม่เกิดโสมนัสด้วยญาณที่มีอยู่ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๒๑/๙๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๓. ทีฆจาริกวรรค ๒. ทุติยทีฆจาริกสูตร
๒. ทุติยทีฆจาริกสูตร
ว่าด้วยการจาริกไปนาน สูตรที่ ๒
[๒๒๒] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้จาริกไปนาน จาริกไปไม่มีกำหนด มีโทษ ๕
ประการนี้
โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่บรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ
๒. เสื่อมจากธรรมที่ได้บรรลุแล้ว
๓. ไม่แกล้วกล้าในธรรมที่ได้บรรลุแล้ว
๔. เป็นโรคร้ายแรง
๕. เป็นผู้ไม่มีมิตร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้จาริกไปนาน จาริกไปไม่มีกำหนด มีโทษ ๕ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย การจาริกไปมีกำหนดพอดี มีอานิสงส์ ๕ ประการนี้
อานิสงส์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ได้บรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ
๒. ไม่เสื่อมจากธรรมที่ได้บรรลุแล้ว
๓. แกล้วกล้าในธรรมที่ได้บรรลุแล้ว
๔. ไม่เป็นโรคร้ายแรง
๕. เป็นผู้มีมิตร
ภิกษุทั้งหลาย การจาริกไปมีกำหนดพอดี มีอานิสงส์ ๕ ประการนี้แล
ทุติยทีฆจาริกสูตรที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๓. ทีฆจาริกวรรค ๓. อตินิวาสสูตร
๓. อตินิวาสสูตร
ว่าด้วยการอยู่ประจำที่นาน
[๒๒๓] ภิกษุทั้งหลาย การอยู่ประจำที่นาน มีโทษ ๕ ประการนี้
โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. มีสิ่งของมาก สะสมสิ่งของมาก
๒. มีเภสัชมาก สะสมเภสัชมาก
๓. มีกิจมาก มีหน้าที่ที่จะต้องทำมาก ยึดติดในการงานที่จะพึงทำ
๔. อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์และบรรพชิตด้วยการคลุกคลีอย่างคฤหัสถ์อัน
ไม่สมควร
๕. เมื่อจากอาวาสนั้นไป ก็จากไปทั้งที่ยังมีความห่วงใย
ภิกษุทั้งหลาย การอยู่ประจำที่นาน มีโทษ ๕ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย การอยู่มีกำหนดพอดี มีอานิสงส์ ๕ ประการนี้
อานิสงส์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่มีสิ่งของมาก ไม่สะสมสิ่งของมาก
๒. ไม่มีเภสัชมาก ไม่สะสมเภสัชมาก
๓. ไม่มีกิจมาก ไม่มีหน้าที่ที่จะต้องทำมาก ไม่ยึดติดในการงานที่จะ
พึงทำ
๔. ไม่อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์และบรรพชิตด้วยการคลุกคลีอย่างคฤหัสถ์
อันไม่สมควร
๕. เมื่อจากอาวาสนั้นไป ก็จากไปโดยไม่มีความห่วงใย
ภิกษุทั้งหลาย การอยู่มีกำหนดพอดี มีอานิสงส์ ๕ ประการนี้แล
อตินิวาสสูตรที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๓. ทีฆจาริกวรรค ๔. มัจฉรีสูตร
๔. มัจฉรีสูตร
ว่าด้วยความตระหนี่
[๒๒๔] ภิกษุทั้งหลาย การอยู่ประจำที่นาน มีโทษ ๕ ประการนี้
โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้ตระหนี่อาวาส
๒. เป็นผู้ตระหนี่ตระกูล
๓. เป็นผู้ตระหนี่ลาภ
๔. เป็นผู้ตระหนี่วรรณะ๑
๕. เป็นผู้ตระหนี่ธรรม๒
ภิกษุทั้งหลาย การอยู่ประจำที่นาน มีโทษ ๕ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย การอยู่มีกำหนดพอดี มีอานิสงส์ ๕ ประการนี้
อานิสงส์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้ไม่ตระหนี่อาวาส
๒. เป็นผู้ไม่ตระหนี่ตระกูล
๓. เป็นผู้ไม่ตระหนี่ลาภ
๔. เป็นผู้ไม่ตระหนี่วรรณะ
๕. เป็นผู้ไม่ตระหนี่ธรรม
ภิกษุทั้งหลาย การอยู่มีกำหนดพอดี มีอานิสงส์ ๕ ประการนี้แล
มัจฉรีสูตรที่ ๔ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ตระหนี่วรรณะ ในที่นี้หมายถึงตระหนี่คุณความดี (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๒๓-๒๒๔/๙๐)
๒ ตระหนี่ธรรม ในที่นี้หมายถึงตระหนี่ปริยัติ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๒๓-๒๒๔/๙๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๓. ทีฆจาริกวรรค ๕. ปฐมกุลุปกสูตร
๕. ปฐมกุลุปกสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้เข้าไปสู่ตระกูล สูตรที่ ๑
[๒๒๕] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เข้าไปสู่ตระกูล มีโทษ ๕ ประการนี้
โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ต้องอาบัติเพราะเที่ยวไปไม่บอกลา๑
๒. ต้องอาบัติเพราะนั่งในที่ลับ๒
๓. ต้องอาบัติเพราะนั่งบนอาสนะที่กำบัง๓
๔. ต้องอาบัติเพราะแสดงธรรมแก่มาตุคามเกินกว่า ๕-๖ คำ๔
๕. เป็นผู้มากไปด้วยความดำริในกามอยู่
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เข้าไปสู่ตระกูล มีโทษ ๕ ประการนี้แล
ปฐมกุลุปกสูตรที่ ๕ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ต้องอาบัติเพราะเที่ยวไปไม่บอกลา หมายถึงต้องอาบัติตามสิกขาบทที่บัญญัติไว้ว่า“ภิกษุใดรับนิมนต์ไว้แล้ว
มีภัตตาหารอยู่แล้ว(ที่ทายกจัดเตรียมไว้ถวาย)เที่ยวสัญจรไปในตระกูลทั้งหลายก่อนเวลาฉันภัตตาหาร
(ภิกษุนั้น)ต้องอาบัติปาจิตตีย์” (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๒๕-๒๒๖/๙๐) และดู วิ.มหา. (แปล) ๒/๒๙๔-๒๙๗/
๔๓๗-๔๔๐
๒ ต้องอาบัติเพราะนั่งในที่ลับ ในที่นี้หมายถึงต้องอาบัติตามสิกขาบทที่บัญญัติไว้ว่า “ภิกษุใดนั่งในที่ลับกับ
มาตุคามสองต่อสอง(ภิกษุนั้น)ต้องอาบัติปาจิตตีย์” (องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๒๒๑-๒๓๐/๙๗) และดู วิ.มหา.
(แปล) ๒/๒๘๙-๒๙๑/๔๓๔-๔๓๕
๓ ต้องอาบัติเพราะนั่งบนอาสนะที่กำบัง หมายถึงต้องอาบัติตามสิกขาบทที่บัญญัติไว้ว่า “ภิกษุใดนั่งบน
อาสนะที่กำบังกับมาตุคาม (ภิกษุนั้น) ต้องอาบัติปาจิตตีย์” (องฺ.ปญฺจก.ฏีกา. ๓/๒๒๑-๒๓๐/๙๗) และดู
วิ.มหา. (แปล) ๑/๔๔๔-๔๔๘/๔๗๔-๔๗๗
๔ ต้องอาบัติเพราะแสดงธรรมแก่มาตุคามเกินกว่า ๕-๖ คำ หมายถึงต้องอาบัติตามสิกขาบทที่บัญญัติไว้
ว่า “ภิกษุใดแสดงธรรมแก่มาตุคามเกิน ๕-๖ คำ (ภิกษุนั้น) ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่มีบุรุษรู้เดียงสา
อยู่ด้วย” (องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๒๒๑-๒๓๐/๙๗-๙๘) และดู วิ.มหา. (แปล) ๒/๖๐-๖๕/๒๔๖-๒๕๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๓. ทีฆจาริกวรรค ๗. โภคสูตร
๖. ทุติยกุลุปกสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้เข้าไปสู่ตระกูล สูตรที่ ๒
[๒๒๖] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เข้าไปสู่ตระกูล อยู่คลุกคลีในตระกูลนานเกิน
เวลา มีโทษ ๕ ประการนี้
โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทำให้เห็นมาตุคามเป็นประจำ
๒. เมื่อมีการเห็น ย่อมมีการคลุกคลี
๓. เมื่อมีการคลุกคลี ย่อมมีความคุ้นเคย
๔. เมื่อมีความคุ้นเคย ย่อมมีจิตจดจ่อ
๕. เมื่อมีจิตจดจ่อ พึงหวังได้ว่า เธอจักไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์
จักต้อง อาบัติเศร้าหมองกองใดกองหนึ่ง หรือจักบอกคืนสิกขา กลับมา
เป็นคฤหัสถ์
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เข้าไปสู่ตระกูล อยู่คลุกคลีในตระกูลนานเกินเวลา มีโทษ
๕ ประการนี้แล
ทุติยกุลุปกสูตรที่ ๖ จบ

๗. โภคสูตร
ว่าด้วยโภคทรัพย์
[๒๒๗] ภิกษุทั้งหลาย โภคทรัพย์มีโทษ ๕ ประการนี้
โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. โภคทรัพย์เป็นสิ่งทั่วไปแก่ไฟ
๒. โภคทรัพย์เป็นสิ่งทั่วไปแก่น้ำ
๓. โภคทรัพย์เป็นสิ่งทั่วไปแก่พระราชา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๓. ทีฆจาริกวรรค ๘. อุสสูรภัตตสูตร
๔. โภคทรัพย์เป็นสิ่งทั่วไปแก่โจร
๕. โภคทรัพย์เป็นสิ่งทั่วไปแก่ทายาทผู้ไม่เป็นที่รัก
ภิกษุทั้งหลาย โภคทรัพย์มีโทษ ๕ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย โภคทรัพย์มีอานิสงส์ ๕ ประการนี้
อานิสงส์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. บุคคลอาศัยโภคทรัพย์จึงบำรุงตน บริหารให้เป็นสุขโดยชอบ
๒. บุคคลอาศัยโภคทรัพย์จึงบำรุงบิดามารดา บริหารให้เป็นสุขโดยชอบ
๓. บุคคลอาศัยโภคทรัพย์จึงบำรุงบุตร ภรรยา ทาส กรรมกร และ
คนใช้ บริหารให้เป็นสุขโดยชอบ
๔. บุคคลอาศัยโภคทรัพย์จึงบำรุงมิตรอำมาตย์๑ บริหารให้เป็นสุข
โดยชอบ
๕. บุคคลอาศัยโภคทรัพย์จึงบำเพ็ญทักษิณาในสมณพราหมณ์ซึ่งมีผล
มากเป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดี มีสุขเป็นผลให้เกิดในสวรรค์
ภิกษุทั้งหลาย โภคทรัพย์มีอานิสงส์ ๕ ประการนี้แล
โภคสูตรที่ ๗ จบ

๘. อุสสูรภัตตสูตร
ว่าด้วยภัตรหุงต้มในเวลาสาย
[๒๒๘] ภิกษุทั้งหลาย ตระกูลมีภัตรที่หุงต้มในเวลาสาย มีโทษ ๕ ประการนี้
โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่ได้ต้อนรับแขกที่ควรต้อนรับตามเวลา
๒. ไม่ได้เซ่นไหว้เทวดาผู้รับพลีกรรมตามเวลา
๓. ไม่ได้ถวายสมณพราหมณ์ผู้ฉันมื้อเดียว ไม่ฉันตอนกลางคืน งดเว้น
การฉันในเวลาวิกาลตามเวลา

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๔๐ (มหาสาลปุตตสูตร) หน้า ๖๓ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๓. ทีฆจาริกวรรค ๙. ปฐมกัณหสัปปสูตร
๔. ทาส กรรมกร และคนใช้ หลบหน้าทำการงาน
๕. อาหารที่บริโภคในเวลาไม่ควรเช่นนั้นไม่มีโอชา
ภิกษุทั้งหลาย ตระกูลมีภัตรที่หุงต้มในเวลาสาย มีโทษ ๕ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ตระกูลมีภัตรที่หุงต้มตามเวลา มีอานิสงส์ ๕ ประการนี้
อานิสงส์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ได้ต้อนรับแขกที่ควรต้อนรับตามเวลา
๒. ได้เซ่นไหว้เทวดาผู้รับพลีกรรมตามเวลา
๓. ได้ถวายสมณพราหมณ์ผู้ฉันมื้อเดียว ไม่ฉันตอนกลางคืน งดเว้น
การฉันในเวลาวิกาลตามเวลา
๔. ทาส กรรมกร และคนใช้ ไม่หลบหน้าทำการงาน
๕. อาหารที่บริโภคในเวลาที่ควรเช่นนั้นมีโอชา
ภิกษุทั้งหลาย ตระกูลมีภัตรที่หุงต้มตามเวลา มีอานิสงส์ ๕ ประการนี้แล
อุสสูรภัตตสูตรที่ ๘ จบ

๙. ปฐมกัณหสัปปสูตร
ว่าด้วยงูเห่า สูตรที่ ๑
[๒๒๙] ภิกษุทั้งหลาย งูเห่ามีโทษ ๕ ประการนี้
โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นสัตว์ไม่สะอาด
๒. เป็นสัตว์มีกลิ่นเหม็น
๓. เป็นสัตว์น่ากลัว
๔. เป็นสัตว์มีภัย
๕. เป็นสัตว์มักทำร้ายมิตร
ภิกษุทั้งหลาย งูเห่ามีโทษ ๕ ประการนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๓. ทีฆจาริกวรรค ๑๐. ทุติยกัณหสัปปสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ในทำนองเดียวกัน มาตุคามมีโทษ ๕ ประการนี้
โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้ไม่สะอาด
๒. เป็นผู้มีกลิ่นเหม็น
๓. เป็นผู้น่ากลัวมาก
๔. เป็นผู้มีภัย
๕. เป็นผู้มักทำร้ายมิตร๑
ภิกษุทั้งหลาย มาตุคามมีโทษ ๕ ประการนี้แล
ปฐมกัณหสัปปสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ทุติยกัณหสัปปสูตร
ว่าด้วยงูเห่า สูตรที่ ๒
[๒๓๐] ภิกษุทั้งหลาย งูเห่ามีโทษ ๕ ประการนี้
โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นสัตว์มักโกรธ
๒. เป็นสัตว์มักผูกโกรธ
๓. เป็นสัตว์มีพิษร้าย
๔. เป็นสัตว์มีลิ้นสองแฉก
๕. เป็นสัตว์มักทำร้ายมิตร
ภิกษุทั้งหลาย งูเห่ามีโทษ ๕ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ในทำนองเดียวกัน มาตุคามมีโทษ ๕ ประการนี้
โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้มักโกรธ
๒. เป็นผู้มักผูกโกรธ

เชิงอรรถ :
๑ ประทุษร้าย เบียดเบียนแม้มิตรผู้ให้น้ำและโภชนาหารแก่ตน (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๒๙/๙๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๓. ทีฆจาริกวรร รวมพระสูตรที่มีในวรรค
๓. เป็นผู้มีพิษร้าย
๔. เป็นผู้มีลิ้นสองแฉก
๕. เป็นผู้มักทำร้ายมิตร
ภิกษุทั้งหลาย บรรดาโทษ ๕ ประการนั้น การที่มาตุคามมีพิษร้าย หมายถึง
ส่วนมากมาตุคามมีราคะจัด การที่มาตุคามมีลิ้นสองแฉก หมายถึงส่วนมาก
มาตุคามมักพูดส่อเสียด การที่มาตุคามมักทำร้ายมิตร หมายถึงส่วนมากมาตุคาม
มักนอกใจ
ภิกษุทั้งหลาย มาตุคามมีโทษ ๕ ประการนี้แล
ทุติยกัณหสัปปสูตรที่ ๑๐ จบ
ทีฆจาริกวรรคที่ ๓ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมทีฆจาริกสูตร ๒. ทุติยทีฆจาริกสูตร
๓. อตินิวาสสูตร ๔. มัจฉรีสูตร
๕. ปฐมกุลุปกสูตร ๖. ทุติยกุลุปกสูตร
๗. โภคสูตร ๘. อุสสูรภัตตสูตร
๙. ปฐมกัณหสัปปสูตร ๑๐. ทุติยกัณหสัปปสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๔. อาวาสิกวรรค ๑. อาวาสิกสูตร
๔. อาวาสิกวรรค
หมวดว่าด้วยภิกษุผู้เป็นเจ้าอาวาส
๑. อาวาสิกสูตร
ว่าด้วยธรรมของเจ้าอาวาส
[๒๓๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วย
ธรรม ๕ ประการ เป็นผู้ไม่ควรยกย่อง
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุเจ้าอาวาส
๑. เป็นผู้ไม่เพียบพร้อมด้วยมรรยาท๑ ไม่เพียบพร้อมด้วยวัตร
๒. ไม่เป็นพหูสูต ไม่ทรงสุตะ
๓. เป็นผู้ไม่ประพฤติขัดเกลา ไม่ยินดีการหลีกเร้น
๔. เป็นผู้ไม่ยินดีในกัลยาณธรรม ไม่มีวาจางาม ไม่เจรจาถ้อยคำไพเราะ
๕. มีปัญญาทราม โง่เขลา เป็นคนเซอะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นผู้ไม่ควร
ยกย่อง
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เป็นผู้ควรยกย่อง
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุเจ้าอาวาส
๑. เป็นผู้เพียบพร้อมด้วยมรรยาท เพียบพร้อมด้วยวัตร
๒. เป็นพหูสูต ทรงสุตะ

เชิงอรรถ :
๑ ไม่เพียบพร้อมด้วยมรรยาท (อากัปปะ) หมายถึงมรรยาทของความเป็นสมณะ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๓๑/๙๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๔. อาวาสิกวรรค ๒. ปิยสูตร
๓. เป็นผู้ประพฤติขัดเกลา ยินดีในการหลีกเร้น
๔. เป็นผู้ยินดีในกัลยาณธรรม มีวาจางาม เจรจาถ้อยคำไพเราะ
๕. มีปัญญา ไม่โง่เขลา ไม่เป็นคนเซอะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นผู้ควร
ยกย่อง
อาวาสิกสูตรที่ ๑ จบ

๒. ปิยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้เป็นที่รัก
[๒๓๒] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อม
เป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุเจ้าอาวาส
๑. เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วย
อาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษา
อยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
๒. เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ฟังธรรมทั้งหลายที่มีความ
งามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง มีความงามในที่สุด ประกาศ
พรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วน
แล้วทรงจำไว้ได้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ
๓. เป็นผู้มีวาจางาม เจรจาถ้อยคำไพเราะอันประกอบด้วยวาจาชาวเมือง
ที่สละสลวย ไม่หยาบคาย ให้รู้ความหมายได้
๔. เป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง ซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๗๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๔. อาวาสิกวรรค ๓. โสภณสูตร
๕. ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไป
ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็น
ที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ปิยสูตรที่ ๒ จบ

๓. โสภณสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้อาวาสงดงาม
[๒๓๓] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อม
ทำอาวาสให้งดงาม
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุเจ้าอาวาส
๑. เป็นผู้มีศีล สำรวม ฯลฯ๑ ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
๒. เป็นพหูสูต ฯลฯ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ
๓. เป็นผู้มีวาจางาม เจรจาถ้อยคำไพเราะอันประกอบด้วยวาจาชาวเมือง
ที่สละสลวย ไม่หยาบคาย ให้รู้ความหมายได้
๔. เป็นผู้สามารถชี้แจงบุคคลผู้เข้าไปหาให้เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับ
เอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง
ด้วยธรรมีกถา
๕. เป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง ซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมทำ
อาวาสให้งดงาม
โสภณสูตรที่ ๓ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ฯลฯ ที่ปรากฏในข้อ ๒๓๓-๒๓๔ ดูความเต็มในข้อ ๒๓๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๔. อาวาสิกวรรค ๔. พหูปการสูตร
๔. พหูปการสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้มีอุปการะมากแก่อาวาส
[๒๓๔] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้
ย่อมเป็นผู้มีอุปการะมากแก่อาวาส
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุเจ้าอาวาส
๑. เป็นผู้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
๒. เป็นพหูสูต ฯลฯ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ
๓. ปฏิสังขรณ์เสนาสนะที่ปรักหักพัง
๔. เมื่อภิกษุสงฆ์จำนวนมากเข้ามาถึง หรือภิกษุจากต่างแคว้นเข้ามาถึง
เธอเข้าไปบอก๑พวกคฤหัสถ์ว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุสงฆ์จำนวน
มากเข้ามาถึงแล้ว ภิกษุจากต่างแคว้นเข้ามาถึงแล้ว ขอเชิญพวก
ท่านทำบุญเถิด นี้เป็นกาลสมัยที่จะทำบุญ’
๕. เป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง ซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็น
ผู้มีอุปการะมากแก่อาวาส
พหูปการสูตรที่ ๔ จบ

เชิงอรรถ :
๑ บอก ในที่นี้หมายถึงบอกแก่คนในตระกูลที่ได้ปวารณาไว้ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๓๔/๙๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๗๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๔. อาวาสิกวรรค ๕. อนุกัมปสูตร
๕. อนุกัมปสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุอนุเคราะห์คฤหัสถ์
[๒๓๕] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อม
อนุเคราะห์คฤหัสถ์ได้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุเจ้าอาวาส
๑. ให้คฤหัสถ์สมาทานอธิศีล๑
๒. ให้คฤหัสถ์ตั้งอยู่ในการเห็นธรรม๒
๓. เข้าไปหาคฤหัสถ์ผู้เป็นไข้ให้สติว่า ‘ท่านทั้งหลายจงตั้งสติไว้ต่อพระ
รัตนตรัยที่ควรแก่สักการะ’ และเมื่อภิกษุสงฆ์จำนวนมากเข้ามาถึง
หรือภิกษุจากต่างแคว้นเข้ามาถึง เธอเข้าไปบอกพวกคฤหัสถ์ว่า
‘ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุสงฆ์จำนวนมากเข้ามาถึงแล้ว ภิกษุจากต่าง
แคว้นเข้ามาถึงแล้ว ขอเชิญพวกท่านทำบุญเถิด นี้เป็นกาลสมัยที่
จะทำบุญ’
๔. ฉันโภชนะที่พวกคฤหัสถ์นำมาถวาย จะเลวหรือประณีตก็ตาม
ด้วยตนเอง
๕. ไม่ทำศรัทธาไทยให้ตกไป
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อม
อนุเคราะห์คฤหัสถ์ได้
อนุกัมปสูตรที่ ๕ จบ

เชิงอรรถ :
๑ อธิศีล ในที่นี้หมายถึงศีล ๕ ประการ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๓๕/๙๒)
๒ ธรรม ในที่นี้หมายถึงอริยสัจ ๔ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๓๕/๙๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๗๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๔. อาวาสิกวรรค ๖. ปฐมอวัณณารหสูตร
๖. ปฐมอวัณณารหสูตร
ว่าด้วยคนที่ควรติเตียน สูตรที่ ๑
[๒๓๖] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อม
ดำรงอยู่ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุเจ้าอาวาส
๑. ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง สรรเสริญคนที่ควรติเตียน
๒. ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง ติเตียนคนที่ควรสรรเสริญ
๓. ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง ปลูกความเลื่อมใสในฐานะที่ไม่ควรเลื่อมใส
๔. ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง ปลูกความไม่เลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใส
๕. ทำศรัทธาไทยให้ตกไป
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรง
อยู่ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมดำรงอยู่
ในสวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุเจ้าอาวาส
๑. พิจารณา ไตร่ตรองแล้ว ติเตียนคนที่ควรติเตียน
๒. พิจารณา ไตร่ตรองแล้ว สรรเสริญคนที่ควรสรรเสริญ
๓. พิจารณา ไตร่ตรองแล้ว ปลูกความไม่เลื่อมใสในฐานะที่ไม่ควรเลื่อมใส
๔. พิจารณา ไตร่ตรองแล้ว ปลูกความเลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใส
๕. ไม่ทำศรัทธาไทยให้ตกไป
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรง
อยู่ในสวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ปฐมอวัณณารหสูตรที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๔. อาวาสิกวรรค ๗. ทุติยอวัณณารหสูตร
๗. ทุติยอวัณณารหสูตร
ว่าด้วยคนที่ควรติเตียน สูตรที่ ๒
[๒๓๗] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อม
ดำรงอยู่ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุเจ้าอาวาส
๑. ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง สรรเสริญคนที่ควรติเตียน
๒. ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง ติเตียนคนที่ควรสรรเสริญ
๓. เป็นผู้ตระหนี่อาวาส หวงแหนอาวาส
๔. เป็นผู้ตระหนี่ตระกูล หวงแหนตระกูล
๕. ทำศรัทธาไทยให้ตกไป
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรง
อยู่ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมดำรงอยู่
ในสวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุเจ้าอาวาส
๑. พิจารณา ไตร่ตรองแล้ว ติเตียนคนที่ควรติเตียน
๒. พิจารณา ไตร่ตรองแล้ว สรรเสริญคนที่ควรสรรเสริญ
๓. เป็นผู้ไม่ตระหนี่อาวาส ไม่หวงแหนอาวาส
๔. เป็นผู้ไม่ตระหนี่ตระกูล ไม่หวงแหนตระกูล
๕. ไม่ทำศรัทธาไทยให้ตกไป
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรง
อยู่ในสวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ทุติยอวัณณารหสูตรที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๗๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๔. อาวาสิกวรรค ๘. ตติยอวัณณารหสูตร
๘. ตติยอวัณณารหสูตร
ว่าด้วยคนที่ควรติเตียน สูตรที่ ๓
[๒๓๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วย
ธรรม ๕ ประการ ย่อมดำรงอยู่ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุเจ้าอาวาส
๑. ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง สรรเสริญคนที่ควรติเตียน
๒. ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง ติเตียนคนที่ควรสรรเสริญ
๓. เป็นผู้ตระหนี่อาวาส
๔. เป็นผู้ตระหนี่ตระกูล
๕. เป็นผู้ตระหนี่ลาภ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรง
อยู่ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมดำรงอยู่
ในสวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุเจ้าอาวาส
๑. พิจารณา ไตร่ตรองแล้ว ติเตียนคนที่ควรติเตียน
๒. พิจารณา ไตร่ตรองแล้ว สรรเสริญคนที่ควรสรรเสริญ
๓. เป็นผู้ไม่ตระหนี่อาวาส
๔. เป็นผู้ไม่ตระหนี่ตระกูล
๕. เป็นผู้ไม่ตระหนี่ลาภ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรง
อยู่ในสวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ตติยอวัณณารหสูตรที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๘๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๔. อาวาสิกวรรค ๙. ปฐมมัจฉริยสูตร
๙. ปฐมมัจฉริยสูตร
ว่าด้วยความตระหนี่ สูตรที่ ๑
[๒๓๙] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อม
ดำรงอยู่ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุเจ้าอาวาส
๑. เป็นผู้ตระหนี่อาวาส
๒. เป็นผู้ตระหนี่ตระกูล
๓. เป็นผู้ตระหนี่ลาภ
๔. เป็นผู้ตระหนี่วรรณะ
๕. ทำศรัทธาไทยให้ตกไป
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรง
อยู่ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมดำรงอยู่
ในสวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุเจ้าอาวาส
๑. เป็นผู้ไม่ตระหนี่อาวาส
๒. เป็นผู้ไม่ตระหนี่ตระกูล
๓. เป็นผู้ไม่ตระหนี่ลาภ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๔. อาวาสิกวรรค ๑๐. ทุติยมัจฉริยสูตร
๔. เป็นผู้ไม่ตระหนี่วรรณะ
๕. ไม่ทำศรัทธาไทยให้ตกไป
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรง
อยู่ในสวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ปฐมมัจฉริยสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ทุติยมัจฉริยสูตร
ว่าด้วยความตระหนี่ สูตรที่ ๒
[๒๔๐] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อม
ดำรงอยู่ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุเจ้าอาวาส
๑. เป็นผู้ตระหนี่อาวาส
๒. เป็นผู้ตระหนี่ตระกูล
๓. เป็นผู้ตระหนี่ลาภ
๔. เป็นผู้ตระหนี่วรรณะ
๕. เป็นผู้ตระหนี่ธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรง
อยู่ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมดำรงอยู่
ในสวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๔. อาวาสิกวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุเจ้าอาวาส
๑. เป็นผู้ไม่ตระหนี่อาวาส
๒. เป็นผู้ไม่ตระหนี่ตระกูล
๓. เป็นผู้ไม่ตระหนี่ลาภ
๔. เป็นผู้ไม่ตระหนี่วรรณะ
๕. เป็นผู้ไม่ตระหนี่ธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรง
อยู่ในสวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ทุติยมัจฉริยสูตรที่ ๑๐ จบ
อาวาสิกวรรคที่ ๔ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อาวาสิกสูตร ๒. ปิยสูตร
๓. โสภณสูตร ๔. พหูปการสูตร
๕. อนุกัมปสูตร ๖. ปฐมอวัณณารหสูตร
๗. ทุติยอวัณณารหสูตร ๘. ตติยอวัณณารหสูตร
๙. ปฐมมัจฉริยสูตร ๑๐. ทุติยมัจฉริยสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๕. ทุจจริตวรรค ๑. ปฐมทุจจริตสูตร
๕. ทุจจริตวรรค
หมวดว่าด้วยทุจริต
๑. ปฐมทุจจริตสูตร
ว่าด้วยทุจริต สูตรที่ ๑
[๒๔๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ทุจริตมีโทษ ๕ ประการนี้
โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. แม้ตนก็ติเตียนตนเองได้
๒. ผู้รู้ใคร่ครวญแล้วย่อมติเตียนได้
๓. กิตติศัพท์อันชั่วย่อมกระฉ่อนไป
๔. หลงลืมสติตาย
๕. หลังจากตายแล้ว ย่อมไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ภิกษุทั้งหลาย ทุจริตมีโทษ ๕ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย สุจริตมีอานิสงส์ ๕ ประการนี้
อานิสงส์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. แม้ตนก็ติเตียนตนเองไม่ได้
๒. ผู้รู้ใคร่ครวญแล้วย่อมสรรเสริญ
๓. กิตติศัพท์อันงามย่อมขจรไป
๔. ไม่หลงลืมสติตาย
๕. หลังจากตายแล้ว ย่อมไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
ภิกษุทั้งหลาย สุจริตมีอานิสงส์ ๕ ประการนี้แล
ปฐมทุจจริตสูตรที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๕. ทุจจริตวรรค ๔. ปฐมมโนทุจจริตสูตร
๒. ปฐมกายทุจจริตสูตร
ว่าด้วยกายทุจริต สูตรที่ ๑
[๒๔๒] ภิกษุทั้งหลาย กายทุจริตมีโทษ ๕ ประการนี้
ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย กายสุจริตมีอานิสงส์ ๕ ประการนี้
ฯลฯ
ปฐมกายทุจจริตที่ ๒ จบ
๓. ปฐมวจีทุจจริตสูตร
ว่าด้วยวจีทุจริต สูตรที่ ๑
[๒๔๓] ภิกษุทั้งหลาย วจีทุจริต มีโทษ ๕ ประการนี้
ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย วจีสุจริตมีอานิสงส์ ๕ ประการนี้
ฯลฯ
ปฐมวจีทุจจริตที่ ๓ จบ
๔. ปฐมมโนทุจจริตสูตร
ว่าด้วยมโนทุจริต สูตรที่ ๑
[๒๔๔] ภิกษุทั้งหลาย มโนทุจริตมีโทษ ๕ ประการนี้
โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. แม้ตนก็ติเตียนตนเองได้
๒. ผู้รู้ใคร่ครวญแล้วย่อมติเตียน
๓. กิตติศัพท์อันชั่วย่อมกระฉ่อนไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๘๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๕. ทุจจริตวรรค ๕. ทุติยทุจจริตสูตร
๔. หลงลืมสติตาย
๕. หลังจากตายแล้ว ย่อมไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ภิกษุทั้งหลาย มโนทุจริตมีโทษ ๕ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย มโนสุจริตมีอานิสงส์ ๕ ประการนี้
อานิสงส์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. แม้ตนก็ติเตียนตนเองไม่ได้
๒. ผู้รู้ใคร่ครวญแล้วย่อมสรรเสริญ
๓. กิตติศัพท์อันงามย่อมขจรไป
๔. ไม่หลงลืมสติตาย
๕. หลังจากตายแล้วย่อมไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ภิกษุทั้งหลาย มโนสุจริตมีอานิสงส์ ๕ ประการนี้แล
ปฐมมโนทุจจริตสูตรที่ ๔ จบ

๕. ทุติยทุจจริตสูตร
ว่าด้วยทุจริต สูตรที่ ๒
[๒๔๕] ภิกษุทั้งหลาย ทุจริตมีโทษ ๕ ประการนี้
โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. แม้ตนก็ติเตียนตนเองได้
๒. ผู้รู้ใคร่ครวญแล้วย่อมติเตียน
๓. กิตติศัพท์อันชั่วย่อมกระฉ่อนไป
๔. เสื่อมจากสัทธรรม
๕. ตั้งอยู่ในอสัทธรรม๑
ภิกษุทั้งหลาย ทุจริตมีโทษ ๕ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย สุจริตมีอานิสงส์ ๕ ประการนี้

เชิงอรรถ :
๑ สัทธรรม หมายถึงกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ
อสัทธรรม หมายถึง อกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๔๑-๒๔๘/๙๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๘๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๕. ทุจจริตวรรค ๗. ทุติยวจีทุจจริตสูตร
อานิสงส์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. แม้ตนก็ติเตียนตนเองไม่ได้
๒. ผู้รู้ใคร่ครวญแล้วย่อมสรรเสริญ
๓. กิตติศัพท์อันงามย่อมขจรไป
๔. เสื่อมจากอสัทธรรม
๕. ตั้งอยู่ในสัทธรรม
ภิกษุทั้งหลาย สุจริตมีอานิสงส์ ๕ ประการนี้แล
ทุติยทุจจริตสูตรที่ ๕ จบ

๖. ทุติยกายทุจจริตสูตร
ว่าด้วยกายทุจริต สูตรที่ ๒
[๒๔๖] ภิกษุทั้งหลาย กายทุจริตมีโทษ ๕ ประการนี้
ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย กายสุจริตมีอานิสงส์ ๕ ประการนี้
ฯลฯ
ทุติยกายทุจจริตสูตรที่ ๖ จบ

๗. ทุติยวจีทุจจริตสูตร
ว่าด้วยวจีทุจริต สูตรที่ ๒
[๒๔๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย วจีทุจริตมีโทษ ๕ ประการนี้
ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย วจีสุจริตมีอานิสงส์ ๕ ประการนี้
ฯลฯ
ทุติยวจีทุจจริตสูตรที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๘๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๕. ทุจจริตวรรค ๘. ทุติยมโนทุจจริตสูตร
๘. ทุติยมโนทุจจริตสูตร
ว่าด้วยมโนทุจริต สูตรที่ ๒
[๒๔๘] ภิกษุทั้งหลาย มโนทุจริตมีโทษ ๕ ประการนี้
โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. แม้ตนก็ติเตียนตนเองได้
๒. ผู้รู้ใคร่ครวญแล้วย่อมติเตียน
๓. กิตติศัพท์อันชั่วย่อมกระฉ่อนไป
๔. เสื่อมจากสัทธรรม
๕. ตั้งอยู่ในอสัทธรรม
ภิกษุทั้งหลาย มโนทุจริตมีโทษ ๕ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย มโนสุจริตมีอานิสงส์ ๕ ประการนี้
อานิสงส์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. แม้ตนก็ติเตียนตนเองไม่ได้
๒. ผู้รู้ใคร่ครวญแล้วย่อมสรรเสริญ
๓. กิตติศัพท์อันงามย่อมขจรไป
๔. เสื่อมจากอสัทธรรม
๕. ตั้งอยู่ในสัทธรรม
ภิกษุทั้งหลาย มโนสุจริตมีอานิสงส์ ๕ ประการนี้แล
ทุติยมโนทุจจริตสูตรที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๘๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๕. ทุจจริตวรรค ๙. สีวถิกสูตร
๙. สีวถิกสูตร
ว่าด้วยป่าช้า
[๒๔๙] ภิกษุทั้งหลาย ป่าช้ามีโทษ ๕ ประการ
โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่สะอาด
๒. มีกลิ่นเหม็น
๓. มีภัย
๔. เป็นที่อยู่ของอมนุษย์ดุร้าย
๕. เป็นที่คร่ำครวญของคนจำนวนมาก
ภิกษุทั้งหลาย ป่าช้ามีโทษ ๕ ประการนี้แล ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เปรียบด้วยป่าช้าก็มีโทษ ๕ ประการนี้ ฉันนั้นเหมือนกัน
โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. บุคคลบางคนในโลกนี้ประกอบกายกรรมที่ไม่สะอาด ประกอบวจีกรรม
ที่ไม่สะอาด ประกอบมโนกรรมที่ไม่สะอาด เรากล่าวอย่างนี้เพราะ
เขาเป็นคนไม่สะอาด เรากล่าวว่าบุคคลนี้เป็นเหมือนป่าช้าที่ไม่สะอาด
๒. กิตติศัพท์อันชั่วของเขาผู้ประกอบกายกรรมที่ไม่สะอาด ประกอบ
วจีกรรมที่ไม่สะอาด ประกอบมโนกรรมที่ไม่สะอาด ย่อมกระฉ่อนไป
เรากล่าวอย่างนี้เพราะเขาเป็นคนมีกลิ่นเหม็น เรากล่าวว่าบุคคลนี้
เป็นเหมือนป่าช้าที่มีกลิ่นเหม็น
๓. เพื่อนพรหมจารีทั้งหลายผู้มีศีลเป็นที่รักย่อมเว้นห่างไกลบุคคลผู้
ประกอบกายกรรมที่ไม่สะอาด ประกอบวจีกรรมที่ไม่สะอาด ประกอบ
มโนกรรมที่ไม่สะอาด เรากล่าวอย่างนี้เพราะเขามีภัย เรากล่าวว่า
บุคคลนี้เป็นเหมือนป่าช้าที่มีภัย
๔. เขาประกอบกายกรรมที่ไม่สะอาด ประกอบวจีกรรมที่ไม่สะอาด
ประกอบมโนกรรมที่ไม่สะอาด ย่อมอยู่ร่วมกันกับบุคคลที่เหมือนกัน
เรากล่าวอย่างนี้เพราะเขาเป็นที่อยู่ที่ดุร้าย เรากล่าวว่าบุคคลนี้เป็น
เหมือนที่อยู่ของอมนุษย์ดุร้าย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๘๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๕. ทุจจริตวรรค ๑๐. ปุคคลัปปสาทสูตร
๕. เพื่อนพรหมจารีทั้งหลายผู้มีศีลเป็นที่รักเห็นเขาประกอบกายกรรม
ที่ไม่สะอาด ประกอบวจีกรรมที่ไม่สะอาด ประกอบมโนกรรมที่ไม่
สะอาดแล้ว ย่อมถึงกับหมดอาลัยเป็นธรรมดาว่า ‘โอ เป็นทุกข์จริง
หนอสำหรับเราผู้จำต้องอยู่ร่วมกับบุคคลเช่นนี้’ เรากล่าวอย่างนี้
เพราะเขาเป็นที่คร่ำครวญ เรากล่าวว่าบุคคลนี้เป็นหมือนป่าช้าเป็น
ที่คร่ำครวญของคนจำนวนมาก
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เปรียบด้วยป่าช้ามีโทษ ๕ ประการนี้แล
สีวถิกสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. ปุคคลัปปสาทสูตร
ว่าด้วยความเลื่อมใสเฉพาะบุคคล
[๒๕๐] ภิกษุทั้งหลาย ความเลื่อมใสที่เกิดขึ้นเฉพาะบุคคล มีโทษ ๕ ประการนี้
โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้เลื่อมใสในบุคคลที่ต้องอาบัติเป็นเหตุให้สงฆ์ยกวัตร มีความ
คิดอย่างนี้ว่า ‘บุคคลผู้เป็นที่รัก เป็นที่พอใจของเรานี้ถูกสงฆ์ยกวัตร
เสียแล้ว’ จึงไม่เลื่อมใสในภิกษุทั้งหลาย เมื่อไม่เลื่อมใสในภิกษุ
ทั้งหลาย จึงไม่คบภิกษุเหล่าอื่น เมื่อไม่คบภิกษุเหล่าอื่น จึงไม่ฟัง
สัทธรรม เมื่อไม่ฟังสัทธรรม จึงเสื่อมจากสัทธรรม นี้เป็นโทษของ
ความเลื่อมใสที่เกิดขึ้นเฉพาะบุคคลประการที่ ๑
๒. บุคคลผู้เลื่อมใสในบุคคลที่ต้องอาบัติเป็นเหตุให้สงฆ์สั่งให้เขานั่งท้าย๑
มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘บุคคลผู้เป็นที่รัก เป็นที่พอใจของเรานี้ถูกสงฆ์
สั่งให้นั่งท้ายเสียแล้ว‘จึงไม่เลื่อมใสในภิกษุทั้งหลาย เมื่อไม่เลื่อมใส
ในภิกษุทั้งหลาย จึงไม่คบภิกษุเหล่าอื่น เมื่อไม่คบภิกษุเหล่าอื่น
จึงไม่ฟังสัทธรรม เมื่อไม่ฟังสัทธรรม จึงเสื่อมจากสัทธรรม นี้เป็น
โทษของความเลื่อมใสที่เกิดขึ้นเฉพาะบุคคลประการที่ ๒

เชิงอรรถ :
๑ ท้าย หมายถึงอาสนะสุดท้ายของสงฆ์ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๕๐/๙๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๙๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๕. ทุจจริตวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
๓. บุคคลผู้เลื่อมใสในบุคคลที่หลีกไปสู่ทิศ มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘บุคคล
ผู้เป็นที่รัก เป็นที่พอใจของเรานี้หลีกไปสู่ทิศเสียแล้ว’ จึงไม่คบภิกษุ
เหล่าอื่น เมื่อไม่คบภิกษุเหล่าอื่น จึงไม่ฟังสัทธรรม เมื่อไม่ฟัง
สัทธรรม จึงเสื่อมจากสัทธรรม นี้เป็นโทษของความเลื่อมใสที่เกิด
ขึ้นเฉพาะบุคคลประการที่ ๓
๔. บุคคลผู้เลื่อมใสในบุคคลที่ลาสิกขา มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘บุคคลผู้
เป็นที่รัก เป็นที่พอใจของเรานี้ได้ลาสิกขาไปแล้ว’ จึงไม่คบภิกษุ
เหล่าอื่น เมื่อไม่คบภิกษุเหล่าอื่น จึงไม่ฟังสัทธรรม เมื่อไม่ฟัง
สัทธรรม จึงเสื่อมจากสัทธรรม นี้เป็นโทษของความเลื่อมใสที่เกิด
ขึ้นเฉพาะบุคคลประการที่ ๔
๕. บุคคลผู้เลื่อมใสในบุคคลที่ตายแล้ว มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘บุคคลผู้
เป็นที่รัก เป็นที่พอใจของเรานี้ได้ตายเสียแล้ว’ จึงไม่คบภิกษุเหล่าอื่น
เมื่อไม่คบภิกษุเหล่าอื่น จึงไม่ฟังสัทธรรม เมื่อไม่ฟังสัทธรรม
จึงเสื่อมจากสัทธรรม นี้เป็นโทษของความเลื่อมใสที่เกิดขึ้นเฉพาะ
บุคคลประการที่ ๕
ภิกษุทั้งหลาย ความเลื่อมใสที่เกิดขึ้นเฉพาะบุคคล มีโทษ ๕ ประการนี้แล
ปุคคลัปปสาทสูตรที่ ๑๐ จบ
ทุจจริตวรรคที่ ๕ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมทุจจริตสูตร ๒. ปฐมกายทุจจริตสูตร
๓. ปฐมวจีทุจจริตสูตร ๔. ปฐมมโนทุจจริตสูตร
๕. ทุติยทุจจริตสูตร ๖. ทุติยกายทุจจริตสูตร
๗. ทุติยวจีทุจจริตสูตร ๘. ทุติยมโนทุจจริตสูตร
๙. สีวถิกสูตร ๑๐. ปุคคลัปปสาทสูตร

ปัญจมปัณณาสก์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๙๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๖. อุปสัมปทาวรรค ๑. อุปสัมปาเทตัพพสูตร
๖. อุปสัมปทาวรรค
หมวดว่าด้วยการอุปสมบท
๑. อุปสัมปาเทตัพพสูตร๑
ว่าด้วยคุณสมบัติของภิกษุผู้ให้อุปสมบท
[๒๕๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕
ประการ พึงให้กุลบุตรอุปสมบทได้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้ประกอบด้วยสีลขันธ์ที่เป็นอเสขะ๒
๒. เป็นผู้ประกอบด้วยสมาธิขันธ์ที่เป็นอเสขะ
๓. เป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาขันธ์ที่เป็นอเสขะ
๔. เป็นผู้ประกอบด้วยวิมุตติขันธ์ที่เป็นอเสขะ
๕. เป็นผู้ประกอบด้วยวิมุตติญาณทัสสนขันธ์๓ที่เป็นอเสขะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล พึงให้กุลบุตร
อุปสมบทได้
อุปสัมปาเทตัพพสูตรที่ ๑ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ข้อ ๒๕๑-๒๕๓ ดู วิ.ม. (แปล) ๔/๘๔/๑๒๓
๒ อเสขะ ในที่นี้หมายถึงธรรมระดับโลกุตตระของพระอเสขะ ได้แก่ พระอรหันต์ (วิ.อ. ๓/๘๔/๔๘, องฺ.ทสก.อ.
๓/๑๒/๓๒๐)
๓ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ หมายถึงกองแห่งวิมุตติญาณทัสสนะเป็นความรู้ขั้นสุดท้าย แยกอธิบายได้ว่า
วิมุตติ หมายถึงอรหัตตผล ญาณทัสสนะ หมายถึงปัจจเวกขณญาณ คือ ญาณที่เกิดขึ้นถัดจากการบรรลุ
มรรคผลด้วยมรรคญาณและผลญาณ เพื่อพิจารณามรรคผล พิจารณากิเลสที่ละได้และเหลืออยู่รวมทั้ง
พิจารณานิพพาน จัดเป็นโลกิยะ ส่วนสีลขันธ์เป็นต้นนอกนี้จัดเป็นโลกุตตระ (วิ.อ. ๓/๘๔/๔๘, องฺ.ติก.อ.
๒/๕๘/๑๖๐, องฺ.ทสก.อ. ๓/๑/๓๑๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๖. อุปสัมปทาวรรค ๓. สามเณรสูตร
๒. นิสสยสูตร
ว่าด้วยคุณสมบัติของภิกษุผู้ให้นิสสัย
[๒๕๒] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ พึงให้นิสสัยได้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้ประกอบด้วยสีลขันธ์ที่เป็นอเสขะ
ฯลฯ
๕. เป็นผู้ประกอบด้วยวิมุตติญาณทัสสนขันธ์ที่เป็นอเสขะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล พึงให้นิสสัยได้
นิสสยสูตรที่ ๒ จบ

๓. สามเณรสูตร
ว่าด้วยคุณสมบัติของภิกษุผู้ให้สามเณรอุปัฏฐาก
[๒๕๓] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้ประกอบด้วยสีลขันธ์ที่เป็นอเสขะ
ฯลฯ
๕. เป็นผู้ประกอบด้วยวิมุตติญาณทัสสนขันธ์ที่เป็นอเสขะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล พึงให้สามเณรอุปัฏฐากได้
สามเณรสูตรที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๖. อุปสัมปทาวรรค ๕. มัจฉริยปหานสูตร
๔. ปัญจมัจฉริยสูตร
ว่าด้วยความตระหนี่ ๕ ประการ
[๒๕๔] ภิกษุทั้งหลาย ความตระหนี่ ๕ ประการนี้
ความตระหนี่ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความตระหนี่อาวาส
๒. ความตระหนี่ตระกูล
๓. ความตระหนี่ลาภ
๔. ความตระหนี่วรรณะ
๕. ความตระหนี่ธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ความตระหนี่ ๕ ประการนี้แล บรรดาความตระหนี่ ๕
ประการนี้ ความตระหนี่ธรรมน่าเกลียดที่สุด
ปัญจมัจฉริยสูตรที่ ๔ จบ
๕. มัจฉริยปหานสูตร
ว่าด้วยการละความตระหนี่
[๒๕๕] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละ เพื่อตัดขาดซึ่ง
ความตระหนี่ ๕ ประการ
ความตระหนี่ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความตระหนี่อาวาส
๒. ความตระหนี่ตระกูล
๓. ความตระหนี่ลาภ
๔. ความตระหนี่วรรณะ
๕. ความตระหนี่ธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละ เพื่อตัดขาดซึ่งความตระหนี่
๕ ประการนี้แล
มัจฉริยปหานสูตรที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๙๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๖. อุปสัมปทาวรรค ๖. ปฐมฌานสูตร
๖. ปฐมฌานสูตร
ว่าด้วยปฐมฌาน
[๒๕๖] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังละธรรม ๕ ประการไม่ได้ ก็ไม่อาจบรรลุ
ปฐมฌานอยู่ได้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความตระหนี่อาวาส
๒. ความตระหนี่ตระกูล
๓. ความตระหนี่ลาภ
๔. ความตระหนี่วรรณะ
๕. ความตระหนี่ธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังละธรรม ๕ ประการนี้แลไม่ได้ ก็ไม่อาจบรรลุปฐมฌาน
อยู่ได้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๕ ประการได้แล้ว จึงอาจบรรลุปฐมฌานอยู่ได้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความตระหนี่อาวาส
๒. ความตระหนี่ตระกูล
๓. ความตระหนี่ลาภ
๔. ความตระหนี่วรรณะ
๕. ความตระหนี่ธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๕ ประการนี้แลได้แล้ว จึงอาจบรรลุปฐมฌาน
อยู่ได้
ปฐมฌานสูตรที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๙๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๖. อุปสัมปทาวรรค ๗-๑๓. ทุติยฌานสุตตาทิสัตตกะ
๗-๑๓. ทุติยฌานสุตตาทิสัตตกะ
ว่าด้วยสูตร ๗ สูตร มีทุติยฌานสูตรเป็นต้น
[๒๕๗ - ๒๖๓] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังละธรรม ๕ ประการไม่ได้ ก็ไม่อาจ
บรรลุทุติยฌานอยู่ได้ ฯลฯ ตติยฌาน ฯลฯ จตุตถฌาน ฯลฯ ก็ไม่อาจทำให้แจ้ง
โสดาปัตติผลได้ ฯลฯ สกทาคามิผล ฯลฯ อนาคามิผล ฯลฯ ก็ไม่อาจทำให้แจ้ง
อรหัตตผลได้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความตระหนี่อาวาส ๒. ความตระหนี่ตระกูล
๓. ความตระหนี่ลาภ ๔. ความตระหนี่วรรณะ
๕. ความตระหนี่ธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังละธรรม ๕ ประการไม่ได้ ก็ไม่อาจทำให้แจ้งอรหัตตผลได้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๕ ประการนี้ได้แล้ว จึงอาจบรรลุทุติยฌาน
อยู่ได้ ฯลฯ ตติยฌาน ฯลฯ จตุตถฌาน ฯลฯ จึงอาจทำให้แจ้งโสดาปัตติผล ฯลฯ
สกทาคามิผล ฯลฯ อนาคามิผล ฯลฯ จึงอาจทำให้แจ้งอรหัตตผลได้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความตระหนี่อาวาส ๒. ความตระหนี่ตระกูล
๓. ความตระหนี่ลาภ ๔. ความตระหนี่วรรณะ
๕. ความตระหนี่ธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๕ ประการนี้แลได้แล้ว จึงอาจทำให้แจ้งอรหัตต-
ผลได้
ทุติยฌานสุตตาทิสัตตกที่ ๗-๑๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๙๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๖. อุปสัมปทาวรรค ๑๕-๒๑. อปรทุติยฌานสุตตาทิ
๑๔. อปรปฐมฌานสูตร
ว่าด้วยปฐมฌาน อีกนัยหนึ่ง
[๒๖๔] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังละธรรม ๕ ประการไม่ได้ ก็ไม่อาจบรรลุ
ปฐมฌานอยู่ได้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความตระหนี่อาวาส ๒. ความตระหนี่ตระกูล
๓. ความตระหนี่ลาภ ๔. ความตระหนี่วรรณะ
๕. ความอกตัญญู ความอกตเวที
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังละธรรม ๕ ประการนี้แลไม่ได้ ก็ไม่อาจบรรลุปฐมฌาน
อยู่ได้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๕ ประการได้แล้ว จึงอาจบรรลุปฐมฌานอยู่ได้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความตระหนี่อาวาส ๒. ความตระหนี่ตระกูล
๓. ความตระหนี่ลาภ ๔. ความตระหนี่วรรณะ
๕. ความอกตัญญู ความอกตเวที
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๕ ประการนี้แลได้แล้ว จึงอาจบรรลุปฐมฌาน
อยู่ได้
อปรปฐมฌานสูตรที่ ๑๔ จบ
๑๕-๒๑. อปรทุติยฌานสุตตาทิ
ว่าด้วยทุติยฌานสูตรเป็นต้น อีกนัยหนึ่ง
[๒๖๕ - ๒๗๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังละธรรม ๕
ประการไม่ได้ ก็ไม่อาจบรรลุทุติยฌานอยู่ได้ ฯลฯ ตติยฌาน ฯลฯ จตุตถฌาน ฯลฯ
ก็ไม่อาจทำให้รู้แจ้งโสดาปัตติผลได้ ฯลฯ สกทาคามิผล ฯลฯ อนาคามิผล ฯลฯ
ก็ไม่อาจทำให้แจ้งอรหัตตผลได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๖. อุปสัมปทาวรรค ๑๕-๒๑. อปรทุติยฌานสุตตาทิ
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความตระหนี่อาวาส ๒. ความตระหนี่ตระกูล
๓. ความตระหนี่ลาภ ๔. ความตระหนี่วรรณะ
๕. ความอกตัญญู ความอกตเวที
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๕ ประการนี้แลไม่ได้ ก็ไม่อาจบรรลุปฐมฌาน
อยู่ได้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๕ ประการได้แล้ว จึงอาจบรรลุทุติยฌานอยู่ได้
ฯลฯ จึงอาจทำให้แจ้งอรหัตตผลได้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความตระหนี่อาวาส ๒. ความตระหนี่ตระกูล
๓. ความตระหนี่ลาภ ๔. ความตระหนี่วรรณะ
๕. ความอกตัญญู ความอกตเวที
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๕ ประการนี้แลได้แล้ว จึงอาจทำให้แจ้ง
อรหัตตผลได้
อปรทุติยฌานสุตตาทิที่ ๑๕-๒๑ จบ
อุปสัมปทาวรรคที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๙๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๑. สัมมุติเปยยาล ๑. ภัตตุทเทสกสูตร
๑. สัมมุติเปยยาล
๑. ภัตตุทเทสกสูตร
ว่าด้วยภิกษุภัตตุทเทสกะ๑
[๒๗๒] พระผู้มีพระภาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕
ประการ สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งให้เป็นภัตตุทเทสกะ
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ลำเอียงเพราะชอบ
๒. ลำเอียงเพราะชัง
๓. ลำเอียงเพราะหลง
๔. ลำเอียงเพราะกลัว
๕. ไม่รู้จักภัตตาหารที่แจกแล้วและภัตตาหารที่ยังมิได้แจก๒
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งให้
เป็นภัตตุทเทสกะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์พึงแต่งตั้งให้เป็น
ภัตตุทเทสกะ
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง
๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว
๕. รู้จักภัตตาหารที่แจกแล้วและภัตตาหารที่ยังมิได้แจก

เชิงอรรถ :
๑ ภัตตุทเทสกะ แปลว่า ผู้แจกภัตตาหาร หมายถึงภิกษุผู้ได้รับการแต่งตั้งจากสงฆ์ให้มีหน้าที่จัดพระรับ
ภัตตาหาร ดูเทียบในวิ.มหา. (แปล) ๑/๓๘๐-๓๘๓/๔๑๒-๔๑๕, วิ.จู. ๖/๑๘๙-๑๙๒/๒๒๒-๒๒๕, องฺ.จตุกฺก.
(แปล) ๒๑/๒๐/๓๑-๓๒, วิ.อ. ๓/๓๒๕/๓๕๗-๓๖๗ ประกอบ
๒ ดู วิ.ม. (แปล) ๕/๓๔๒/๒๐๓ ประกอบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๙๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๑. สัมมุติเปยยาล ๑. ภัตตุทเทสกสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล สงฆ์พึงแต่งตั้งให้เป็น
ภัตตุทเทสกะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งให้เป็น
ภัตตุทเทสกะ ถึงแต่งตั้งแล้ว ก็ไม่พึงส่งไป๑ ฯลฯ สงฆ์แต่งตั้งแล้ว พึงส่งไป ฯลฯ
พึงทราบว่าเป็นพาล ฯลฯ พึงทราบว่าเป็นบัณฑิต ฯลฯ บริหารตนให้ถูกกำจัด
ถูกทำลาย ฯลฯ บริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ฯลฯ ย่อมดำรงอยู่
ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้ ฯลฯ ย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไป
ประดิษฐานไว้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง
๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว
๕. รู้จักภัตตาหารที่แจกแล้วและภัตตาหารที่ยังมิได้แจก
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เป็นภัตตุทเทสกะประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล
ย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ภัตตุทเทสกสูตรที่ ๑ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ไม่พึงส่งไป ในที่นี้หมายถึงไม่พึงให้จัดการเรื่องกิจนิมนต์ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๗๒/๙๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๐๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๑. สัมมุติเปยยาล ๒-๑๔. เสนาสนปัญญาปกสุตตาทิ
๒-๑๔. เสนาสนปัญญาปกสุตตาทิ
ว่าด้วยภิกษุเสนาสนปัญญาปกะ๑เป็นต้น
[๒๗๓ - ๒๘๕] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์ไม่พึง
แต่งตั้งให้เป็นเสนาสนปัญญาปกะ ฯลฯ ไม่รู้จักเสนาสนะที่จัดแจงแล้วและเสนาสนะ
ที่ยังมิได้จัดแจง ฯลฯ สงฆ์พึงแต่งตั้งให้เป็นเสนาสนปัญญาปกะ ฯลฯ รู้จักเสนาสนะ
ที่จัดแจงแล้วและเสนาสนะที่ยังมิได้จัดแจง ฯลฯ
สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งให้เป็นเสนาสนคาหาปกะ๒ ฯลฯ ไม่รู้จักเสนาสนะที่จัดแจงแล้ว
และเสนาสนะที่ยังมิได้จัดแจง ฯลฯ สงฆ์พึงแต่งตั้งให้เป็นเสนาสนคาหาปกะ ฯลฯ
รู้จักเสนาสนะที่จัดแจงแล้วและเสนาสนะที่ยังมิได้จัดแจง ฯลฯ
สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งให้เป็นภัณฑาคาริกะ๓ ฯลฯ ไม่รู้จักภัณฑะที่เก็บแล้วและภัณฑะ
ที่ยังมิได้เก็บ ฯลฯ สงฆ์พึงแต่งตั้งให้เป็นภัณฑาคาริกะ ฯลฯ รู้จักภัณฑะที่เก็บแล้ว
และภัณฑะที่ยังมิได้เก็บ ฯลฯ
สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งให้เป็นจีวรปฏิคคาหกะ๔ ฯลฯ ไม่รู้จักจีวรที่รับไว้แล้วและจีวร
ที่ยังมิได้รับไว้ ฯลฯ สงฆ์พึงแต่งตั้งให้เป็นจีวรปฏิคคาหกะ ฯลฯ รู้จักจีวรที่ได้รับแล้ว
และจีวรที่ยังมิได้รับ ฯลฯ
สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งให้เป็นจีวรภาชกะ๕ ฯลฯ ไม่รู้จักจีวรที่แจกแล้วและจีวรที่ยัง
มิได้แจก ฯลฯ สงฆ์พึงแต่งตั้งให้เป็นจีวรภาชกะ ฯลฯ รู้จักจีวรที่แจกแล้วและจีวรที่
ยังไม่ได้แจก ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ เสนาสนปัญญาปกะ หมายถึงภิกษุผู้ได้รับแต่งตั้งจากสงฆ์ให้เป็นเจ้าหน้าที่จัดแจงเสนาสนะ ดู วิ.จู. ๖/๑๘๙-
๑๙๒/๒๒๒-๒๒๕ ประกอบ
๒ เสนาสนคาหาปกะ หมายถึงภิกษุผู้ได้รับแต่งตั้งจากสงฆ์ให้เป็นเจ้าหน้าที่จัดเสนาสนะ(ตามนัย วิ.อ. ๓/
๓๑๘/๒๒๘-๓๔๑)
๓ ภัณฑาคาริกะ หมายถึงภิกษุผู้ได้รับแต่งตั้งจากสงฆ์ให้เป็นเจ้าหน้าที่รักษาเรือนคลัง ดู วิ.ม. ๕/๓๔๓/๑๔๔
๔ จีวรปฏิคคาหกะ หมายถึงภิกษุผู้ได้รับแต่งตั้งจากสงฆ์ให้เป็นเจ้าหน้าที่รับจีวร ดู วิ.ม. ๕/๓๔๒/๑๔๓
๕ จีวรภาชกะ หมายถึงภิกษุผู้ได้รับแต่งตั้งจากสงฆ์ให้เป็นเจ้าหน้าที่แจกจีวร ดู วิ.ม. ๕/๓๔๓/๑๔๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๑. สัมมุติเปยยาล ๒-๑๔. เสนาสนปัญญาปกสุตตาทิ
สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งให้เป็นยาคุภาชกะ(ผู้แจกข้าวต้ม) ฯลฯ สงฆ์พึงแต่งตั้งให้เป็น
ยาคุภาชกะ ฯลฯ
สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งให้เป็นผลภาชกะ (ผู้แจกผลไม้) ฯลฯ สงฆ์พึงแต่งตั้งให้เป็น
ผลภาชกะ ฯลฯ
สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งให้เป็นขัชชกภาชกะ (ผู้แจกของขบฉัน) ฯลฯ ไม่รู้จักของขบฉัน
ที่แจกแล้วและของขบฉันที่ยังมิได้แจก ฯลฯ สงฆ์พึงแต่งตั้งให้เป็นขัชชกภาชกะ ฯลฯ
รู้จักของขบฉันที่แจกแล้วและของขบฉันที่ยังมิได้แจก ฯลฯ
สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งให้เป็นอัปปมัตตกวิสัชชกะ (ผู้แจกของเล็กน้อย) ฯลฯ ไม่รู้จัก
ของเล็กน้อยที่แจกแล้วและของเล็กน้อยที่ยังมิได้แจก ฯลฯ สงฆ์พึงแต่งตั้งให้เป็น
อัปปมัตตกวิสัชชกะ ฯลฯ รู้จักของเล็กน้อยที่แจกแล้วและของเล็กน้อยที่ยังมิได้แจก
ฯลฯ
สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งให้เป็นสาฏิยคาหาปกะ (ผู้ให้รับผ้าสาฎก) ฯลฯ ไม่รู้จักผ้า
สาฎกที่รับแล้วและผ้าสาฎกที่ยังมิได้รับ ฯลฯ สงฆ์พึงแต่งตั้งให้เป็นสาฏิยคาหาปกะ
ฯลฯ รู้จักผ้าสาฎกที่รับแล้วและผ้าสาฎกที่ยังมิได้รับ ฯลฯ
สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งให้เป็นปัตตคาหาปกะ (ผู้ให้รับบาตร) ฯลฯ ไม่รู้จักบาตรที่รับ
แล้วและบาตรที่ยังมิได้รับ ฯลฯ สงฆ์พึงแต่งตั้งให้เป็นปัตตคาหาปกะ ฯลฯ รู้จักบาตร
ที่รับแล้วและบาตรที่ยังมิได้รับ ฯลฯ
สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งให้เป็นอารามเปสกะ (ผู้ใช้คนวัด) ฯลฯ ไม่รู้จักคนวัดที่ใช้แล้ว
และคนวัดที่ยังมิได้ใช้ ฯลฯ สงฆ์พึงแต่งตั้งให้เป็นอารามเปสกะ ฯลฯ รู้จักคนวัดที่ใช้
แล้วและคนวัดที่ยังมิได้ใช้ ฯลฯ
สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งให้เป็นสามเณรเปสกะ (ผู้ใช้สามเณร) ฯลฯ สงฆ์พึงแต่งตั้ง
ให้เป็นสามเณรเปสกะ ฯลฯ ถึงแต่งตั้งแล้วก็ไม่พึงส่งไป ฯลฯ สงฆ์แต่งตั้งแล้วพึง
ส่งไป พึงทราบว่าเป็นพาล ฯลฯ พึงทราบว่าเป็นบัณฑิต ฯลฯ บริหารตนให้ถูกกำจัด
ถูกทำลาย ฯลฯ บริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ฯลฯ ย่อมดำรงอยู่ในนรก
เหมือนถูกนำไปฝังไว้ ฯลฯ ไม่รู้จักสามเณรที่ใช้แล้วและสามเณรที่ยังมิได้ใช้ ฯลฯ
ย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๒. สิกขาปทเปยยาล ๑. ภิกขุสูตร
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง
๓. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว ๔. ไม่ลำเอียงเพราะหลง
๕. รู้จักสามเณรที่ใช้แล้วและสามเณรที่ยังมิได้ใช้
ภิกษุผู้เป็นสามเณรเปสกะประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่
ในสวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
เสนาสนปัญญาปกสุตตาทิที่ ๒-๑๔ จบ
สัมมุติเปยยาล จบ
๒. สิกขาปทเปยยาล
๑. ภิกขุสูตร
ว่าด้วยภิกษุ
[๒๘๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕
ประการ ย่อมดำรงอยู่ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้ฆ่าสัตว์
๒. เป็นผู้ลักทรัพย์
๓. เป็นผู้ประพฤติผิดพรหมจรรย์
๔. เป็นผู้พูดเท็จ
๕. เป็นผู้เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ในนรก
เหมือนถูกนำไปฝังไว้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๐๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๒. สิกขาปทเปยยาล ๒-๗. ภิกขุนีสุตตาทิ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์
เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์
๒. เป็นผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์
๓. เป็นผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดพรหมจรรย์
๔. เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ
๕. เป็นผู้เว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่ง
ความประมาท
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์
เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ภิกขุสูตรที่ ๑ จบ
๒-๗. ภิกขุนีสุตตาทิ
ว่าด้วยภิกษุณีเป็นต้น
[๒๘๗ - ๒๙๒] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ฯลฯ
สิกขมานา ฯลฯ สามเณร ฯลฯ สามเณรี ฯลฯ อุบาสก ฯลฯ อุบาสิกาประกอบ
ด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมดำรงอยู่ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้ฆ่าสัตว์
๒. เป็นผู้ลักทรัพย์
๓. เป็นผู้ประพฤติผิดในกาม
๔. เป็นผู้พูดเท็จ
๕. เป็นผู้เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท
ภิกษุทั้งหลาย อุบาสิกาประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่
ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๒. สิกขาปทเปยยาล ๘. อาชีวกสูตร
ภิกษุทั้งหลาย อุบาสิกาประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมดำรงอยู่ใน
สวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์
๒. เป็นผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์
๓. เป็นผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม
๔. เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ
๕. เป็นผู้เว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่ง
ความประมาท
ภิกษุทั้งหลาย อุบาสิกาประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ใน
สวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ภิกขุนีสุตตาทิที่ ๒-๗ จบ
๘. อาชีวกสูตร
ว่าด้วยอาชีวก
[๒๙๓] ภิกษุทั้งหลาย อาชีวก๑ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมดำรง
อยู่ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้ฆ่าสัตว์
๒. เป็นผู้ลักทรัพย์
๓. เป็นผู้ประพฤติผิดพรหมจรรย์
๔. เป็นผู้พูดเท็จ
๕. เป็นผู้เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท
ภิกษุทั้งหลาย อาชีวกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ในนรก
เหมือนถูกนำไปฝั่งไว้
อาชีวกสูตรที่ ๘ จบ

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงนักบวชเปลือย (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๙๓-๓๐๒/๙๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๐๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๒. สิกขาปทเปยยาล ๙-๑๗. นิคัณฐสุตตาทิ
๙-๑๗. นิคัณฐสุตตาทิ
ว่าด้วยนิครนถ์เป็นต้น
[๒๙๔ - ๓๐๒] ภิกษุทั้งหลาย นิครนถ์๑ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ฯลฯ
มุณฑสาวก๒ ฯลฯ ชฏิลกะ๓ ฯลฯ ปริพาชก๔ ฯลฯ มาคัณฑิกะ๕ ฯลฯ เตคัณฑิกะ ฯลฯ
อารุทธกะ ฯลฯ โคตมกะ ฯลฯ เทวธัมมิกะ ฯลฯ ย่อมดำรงอยู่ในนรก เหมือนถูก
นำไปฝังไว้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้ฆ่าสัตว์
๒. เป็นผู้ลักทรัพย์
๓. เป็นผู้ประพฤติผิดพรหมจรรย์
๔. เป็นผู้พูดเท็จ
๕. เป็นผู้เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท
ภิกษุทั้งหลาย เทวธัมมิกะประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่
ในนรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้
นิคัณฐสุตตาทิที่ ๙-๑๗ จบ
สิกขาปทเปยยาล จบ

เชิงอรรถ :
๑ นิครนถ์ หมายถึงปริพาชกผู้นุ่งผ้าปกปิดเฉพาะอวัยวะส่วนหน้า (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๙๓-๓๐๒/๙๔)
๒ มุณฑสาวก หมายถึงสาวกของพวกนิครนถ์ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๙๓-๓๐๒/๙๔)
๓ ชฏิลกะ หมายถึงดาบส (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๙๓-๓๐๒/๙๔)
๔ ปริพาชก หมายถึงนักบวชผู้นุ่งผ้า (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๙๓-๓๐๒/๙๔)
๕ มาคัณฑิกะ เตคัณฑิกะ อารุทธกะ โคตมกะ เทวธัมมิกะ หมายถึงพวกเดียรถีย์ คือนักบวชผู้ถือลัทธิ
นอกพระพุทธศาสนา (วิ.อ. ๓/๑๓๒/๑๐๕, องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๙๓-๓๐๒/๙๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๐๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๓. ราคเปยยาล
๓. ราคเปยยาล
[๓๐๓] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๕
ประการ เพื่อรู้ยิ่งราคะ (ความกำหนัด)
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อสุภสัญญา ๒. มรณสัญญา
๓. อาทีนวสัญญา ๔. อาหาเร ปฏิกูลสัญญา
๕. สัพพโลเก อนภิรตสัญญา
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๕ ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่งราคะ
[๓๐๔] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๕ ประการ เพื่อรู้ยิ่งราคะ
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อนิจจสัญญา ๒. อนัตตสัญญา
๓. มรณสัญญา ๔. อาหาเร ปฏิกูลสัญญา
๕. สัพพโลเก อนภิรตสัญญา
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๕ ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่งราคะ
[๓๐๕] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๕ ประการ เพื่อรู้ยิ่งราคะ
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อนิจจสัญญา ๒. อนิจเจ ทุกขสัญญา
๓. ทุกเข อนัตตสัญญา ๔. ปหานสัญญา
๕. วิราคสัญญา
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๕ ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่งราคะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๐๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๓. ราคเปยยาล
[๓๐๖] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๕ ประการ เพื่อรู้ยิ่งราคะ
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ ๒. วิริยินทรีย์
๓. สตินทรีย์ ๔. สมาธินทรีย์
๕. ปัญญินทรีย์
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๕ ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่งราคะ
[๓๐๗] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๕ ประการ เพื่อรู้ยิ่งราคะ
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธาพละ ๒. วิริยพละ
๓. สติพละ ๔. สมาธิพละ
๕. ปัญญาพละ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๕ ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่งราคะ
[๓๐๘ - ๑๑๕๑] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๕ ประการนี้ เพื่อ
กำหนดรู้ราคะ
... เพื่อความสิ้นราคะ
... เพื่อละราคะ
... เพื่อความสิ้นไปแห่งราคะ
... เพื่อความเสื่อมไปแห่งราคะ
... เพื่อความคลายไปแห่งราคะ
... เพื่อความดับไปแห่งราคะ
... เพื่อความสละราคะ
... เพื่อความสละคืนราคะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๐๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๓. ราคเปยยาล รวมธรรมที่มีในเปยยาลนี้
... โทสะ (ความคิดประทุษร้าย) ... โมหะ (ความหลง) ... โกธะ (ความโกรธ) ...
อุปนาหะ (ความผูกโกรธ) ... มักขะ (ความลบหลู่คุณท่าน) ... ปฬาสะ (ความตีเสมอ)
... อิสสา (ความริษยา) ... มัจฉริยะ (ความตระหนี่) ... มายา (มารยา) ... สาเถยยะ
(ความโอ้อวด) ... ถัมภะ (ความหัวดื้อ) สารัมภะ (ความแข่งดี) ... มานะ (ความถือตัว)
... อติมานะ (ความดูหมิ่น) ... มทะ (ความมัวเมา) ... ปมาทะ (ความประมาท) ...
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธาพละ ๒. วีริยพละ
๓. สติพละ ๔. สมาธิพละ
๕. ปัญญาพละ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๕ ประการนี้ เพื่อความสละคืนปมาทะ
ราคเปยยาล จบ

รวมธรรมที่มีในเปยยาลนี้ คือ
ธรรม ๑๐ ประการนี้ คือ

๑. อภิญญา (ความรู้ยิ่ง) ๒. ปริญญา (การกำหนดรู้)
๓. ปริกขยา (ความสิ้น) ๔. ปหานะ (การละ)
๕. ขยะ (ความสิ้นไป) ๖. วยะ (ความเสื่อมไป)
๗. วิราคะ (ความคลายไป) ๘. นิโรธะ (ความดับไป)
๙. จาคะ (ความสละ) ๑๐. ปฏินิสสัคคะ (ความสละคืน)

ปัญจกนิบาต จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๐๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๓. ราคเปยยาล รวมวรรคที่มีในปัญจกนิบาต
รวมวรรคที่มีในปัญจกนิบาตนี้ คือ

๑. เสขพลวรรค ๒. พลวรรค
๓. ปัญจังคิกวรรค ๔. สุมนวรรค
๕. มุณฑราชวรรค ๖. นีวรณวรรค
๗. สัญญาวรรค ๘. โยธาชีววรรค
๙. เถรวรรค ๑๐. กกุธวรรค
๑๑. ผาสุวิหารวรรค ๑๒. อันธกวินทวรรค
๑๓. คิลานวรรค ๑๔. ราชวรรค
๑๕. ติกัณฑกีวรรค ๑๖. สัทธัมมวรรค
๑๗. อาฆาตวรรค ๑๘. อุปาสกวรรค
๑๙. อรัญญวรรค ๒๐. พราหมณวรรค
๒๑. กิมพิลวรรค ๒๒. อักโกสกวรรค
๒๓. ทีฆจาริกวรรค ๒๔. อาวาสิกวรรค
๒๕. ทุจริตวรรค ๒๖. อุปสัมปทาวรรค


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๑. อาหุเนยยวรรค ๑. ปฐมอาหุเนยยสูตร
พระสุตตันตปิฎก
อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต
__________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
๑. ปฐมปัณณาสก์
๑. อาหุเนยยวรรค
หมวดว่าด้วยพระอาหุไนยบุคคล
๑. ปฐมอาหุเนยยสูตร
ว่าด้วยพระอาหุไนยบุคคล สูตรที่ ๑
[๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมา
ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึง
ได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำ
มาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอัน
ยอดเยี่ยมของโลก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๑๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๑. อาหุเนยยวรรค ๒. ทุติยอาหุเนยยสูตร
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เห็นรูปทางตาแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ๑ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่
๒. ฟังเสียงทางหู ฯลฯ
๓. ดมกลิ่นทางจมูก ฯลฯ
๔. ลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ
๕. ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ฯลฯ
๖. รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติ-
สัมปชัญญะอยู่
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำ
มาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอัน
ยอดเยี่ยมของโลก
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมภาษิตของ
พระผู้มีพระภาค
ปฐมอาหุเนยยสูตรที่ ๑ จบ

๒. ทุติยอาหุเนยยสูตร๒
ว่าด้วยพระอาหุไนยบุคคล สูตรที่ ๒
[๒] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ เป็นผู้ควรแก่ของ
ที่เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้
หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ แสดงให้ปรากฏหรือให้หายไปก็ได้

เชิงอรรถ :
๑ ไม่ดีใจ หมายถึงไม่กำหนัดยินดีในอิฏฐารมณ์(อารมณ์ที่น่าปรารถนา)
ไม่เสียใจ หมายถึงไม่ขัดเคืองในอนิฏฐารมณ์(อารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา) สูตรนี้ทรงตรัสถึงธรรมที่เป็น
คุณสมบัติของพระขีณาสพ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑/๙๓)
๒ ดู ที.ปา. ๑๑/๓๕๖/๒๕๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๑. อาหุเนยยวรรค ๒. ทุติยอาหุเนยยสูตร
ทะลุฝากำแพง และภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้น
หรือดำลงในแผ่นดินเหมือนไปในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำโดยที่น้ำไม่แยก
เหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ นั่งขัดสมาธิเหาะไปในอากาศเหมือนนก
บินไปก็ได้ ใช้ฝ่ามือลูบคลำดวงจันทร์และดวงอาทิตย์อันมีฤทธิ์มาก
มีอานุภาพมากก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้
๒. ได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ เสียงทิพย์ และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกล
และอยู่ใกล้ด้วยหูทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์
๓. กำหนดรู้จิตของสัตว์และบุคคลอื่นได้ด้วยจิตของตน คือ จิตมีราคะก็
รู้ว่ามีราคะ หรือปราศจากราคะก็รู้ว่าปราศจากราคะ จิตมีโทสะก็รู้
ว่ามีโทสะ หรือปราศจากโทสะก็รู้ว่าปราศจากโทสะ จิตมีโมหะก็รู้ว่า
มีโมหะ หรือปราศจากโมหะก็รู้ว่าปราศจากโมหะ จิตหดหู่ก็รู้ว่า
หดหู่ หรือฟุ้งซ่านก็รู้ว่าฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหัคคตะ๑ก็รู้ว่าเป็นมหัคคตะ
หรือไม่เป็นมหัคคตะก็รู้ว่าไม่เป็นมหัคคตะ จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่ามี
จิตอื่นยิ่งกว่า หรือไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่าไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตเป็น
สมาธิก็รู้ว่าเป็นสมาธิ หรือไม่เป็นสมาธิก็รู้ว่าไม่เป็นสมาธิ จิตหลุด
พ้นก็รู้ว่าหลุดพ้น หรือไม่หลุดพ้นก็รู้ว่าไม่หลุดพ้น
๔. ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ๓ ชาติบ้าง
๔ ชาติบ้าง ๕ ชาติบ้าง ๑๐ ชาติบ้าง ๒๐ ชาติบ้าง ๓๐ ชาติบ้าง
๔๐ ชาติบ้าง ๕๐ ชาติบ้าง ๑๐๐ ชาติบ้าง ๑,๐๐๐ ชาติบ้าง
๑๐๐,๐๐๐ ชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอด
วิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปเป็นอันมาก
บ้างว่า ‘ในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร
เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้นก็ไปเกิดในภพโน้น
แม้ในภพนั้นเราก็มีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวย

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๒๓ (อุปกิเลสสูตร) หน้า ๒๘ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๑. อาหุเนยยวรรค ๒. ทุติยอาหุเนยยสูตร
สุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้นจึงมาเกิดในภพนี้’
ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติ
อย่างนี้
๕. เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและ
ไม่งาม๑ เกิดดีและเกิดไม่ดีด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัด
ถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า ‘หมู่สัตว์ที่ประกอบกายทุจริต
วจีทุจริต และมโนทุจริต กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นผิด ชักชวน
ผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นผิด พวกเขาหลังจากตายแล้วจะไปเกิด
ในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก แต่หมู่สัตว์ที่ประกอบกายสุจริต
วจีสุจริต และมโนสุจริต ไม่ว่าร้ายพระอริยะ มีความเห็นชอบ
ชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นชอบ พวกเขาหลังจากตายแล้ว
จะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์’ เธอเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด
ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดีด้วยตาทิพย์
อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมอย่างนี้แล
๖. ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะ
สิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล เป็นผู้ควรแก่ของ
ที่เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ทุติยอาหุเนยยสูตรที่ ๒ จบ

เชิงอรรถ :
๑ งาม ในที่นี้หมายถึงมีผิวพรรณที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นผลแห่งความไม่มีโทสะ
ไม่งาม ในที่นี้หมายถึงมีผิวพรรณไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ เป็นผลแห่งโทสะ (วิ.อ. ๑/๑๓/ ๑๖๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๑๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๑. อาหุเนยยวรรค ๔. พลสูตร
๓. อินทริยสูตร
ว่าด้วยอินทรีย์
[๓] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ เป็นผู้ควรแก่ของ
ที่เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ (อินทรีย์คือศรัทธา)
๒. วิริยินทรีย์ (อินทรีย์คือวิริยะ)
๓. สตินทรีย์ (อินทรีย์คือสติ)
๔. สมาธินทรีย์ (อินทรีย์คือสมาธิ)
๕. ปัญญินทรีย์ (อินทรีย์คือปัญญา)
๖. ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะ
สิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขา
นำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญ
อันยอดเยี่ยมของโลก
อินทริยสูตรที่ ๓ จบ
๔. พลสูตร
ว่าด้วยพละ
[๔] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ เป็นผู้ควรแก่ของ
ที่เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธาพละ (กำลังคือศรัทธา)
๒. วิริยพละ (กำลังคือวิริยะ)
๓. สติพละ (กำลังคือสติ)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๑. อาหุเนยยวรรค ๕. ปฐมอาชานียสูตร
๔. สมาธิพละ (กำลังคือสมาธิ)
๕. ปัญญาพละ (กำลังคือปัญญา)
๖. ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไป
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขา
นำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
พลสูตรที่ ๔ จบ
๕. ปฐมอาชานียสูตร
ว่าด้วยองค์ประกอบของม้าอาชาไนย สูตรที่ ๑
[๕] ภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีของพระราชา ประกอบด้วยองค์๑ ๖
ประการ เป็นม้าควรแก่พระราชา ควรเป็นม้าต้น นับว่าเป็นราชพาหนะโดยแท้
องค์ ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีของพระราชาในโลกนี้
๑. เป็นสัตว์อดทนต่อรูป
๒. เป็นสัตว์อดทนต่อเสียง
๓. เป็นสัตว์อดทนต่อกลิ่น
๔. เป็นสัตว์อดทนต่อรส
๕. เป็นสัตว์อดทนต่อโผฏฐัพพะ
๖. เป็นสัตว์สมบูรณ์ด้วยสี
ภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีของพระราชา ประกอบด้วยองค์ ๖ ประการ
นี้แล เป็นม้าควรแก่พระราชา ควรเป็นม้าต้น นับว่าเป็นราชพาหนะโดยแท้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก

เชิงอรรถ :
๑ องค์ ในที่นี้หมายถึงคุณสมบัติ (องฺ.ฉกฺก.อ.๓/๕-๗/๙๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๑๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๑. อาหุเนยยวรรค ๖. ทุติยอาชานียสูตร
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้อดทนต่อรูป
๒. เป็นผู้อดทนต่อเสียง
๓. เป็นผู้อดทนต่อกลิ่น
๔. เป็นผู้อดทนต่อรส
๕. เป็นผู้อดทนต่อโผฏฐัพพะ
๖. เป็นผู้อดทนต่อธรรมารมณ์
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล เป็นผู้ควรแก่ของที่
เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ปฐมอาชานียสูตรที่ ๕ จบ
๖. ทุติยอาชานียสูตร
ว่าด้วยองค์ประกอบของม้าอาชาไนย สูตรที่ ๒
[๖] ภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีของพระราชา ประกอบด้วยองค์ ๖
ประการ เป็นม้าควรแก่พระราชา ควรเป็นม้าต้น นับว่าเป็นราชพาหนะโดยแท้
องค์ ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีของพระราชาในโลกนี้
๑. เป็นสัตว์อดทนต่อรูป
๒. เป็นสัตว์อดทนต่อเสียง
๓. เป็นสัตว์อดทนต่อกลิ่น
๔. เป็นสัตว์อดทนต่อรส
๕. เป็นสัตว์อดทนต่อโผฏฐัพพะ
๖. เป็นสัตว์สมบูรณ์ด้วยกำลัง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๑. อาหุเนยยวรรค ๗. ตติยอาชานียสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีของพระราชา ประกอบด้วยองค์ ๖ ประการ
นี้แล เป็นม้าควรแก่พระราชา ควรเป็นม้าต้น นับว่าเป็นราชพาหนะโดยแท้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้อดทนต่อรูป
๒. เป็นผู้อดทนต่อเสียง
๓. เป็นผู้อดทนต่อกลิ่น
๔. เป็นผู้อดทนต่อรส
๕. เป็นผู้อดทนต่อโผฏฐัพพะ
๖. เป็นผู้อดทนต่อธรรมารมณ์
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขา
นำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ทุติยอาชานียสูตรที่ ๖ จบ
๗. ตติยอาชานียสูตร
ว่าด้วยองค์ประกอบของม้าอาชาไนย สูตรที่ ๓
[๗] ภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีของพระราชา ประกอบด้วยองค์ ๖
ประการ เป็นม้าควรแก่พระราชา ควรเป็นม้าต้น นับว่าเป็นราชพาหนะโดยแท้
องค์ ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีของพระราชาในโลกนี้
๑. เป็นสัตว์อดทนต่อรูป
๒. เป็นสัตว์อดทนต่อเสียง
๓. เป็นสัตว์อดทนต่อกลิ่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๑. อาหุเนยยวรรค ๘. อนุตตริยสูตร
๔. เป็นสัตว์อดทนต่อรส
๕. เป็นสัตว์อดทนต่อโผฏฐัพพะ
๖. เป็นสัตว์สมบูรณ์ด้วยเชาว์(ฝีเท้าเร็ว)
ภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีของพระราชาประกอบด้วยองค์ ๖ ประการนี้
เป็นม้าควรแก่พระราชา ควรเป็นม้าต้น นับว่าเป็นราชพาหนะโดยแท้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขา
นำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้อดทนต่อรูป
ฯลฯ
๖. เป็นผู้อดทนต่อธรรมารมณ์
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขา
นำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ตติยอาชานียสูตรที่ ๗ จบ
๘. อนุตตริยสูตร
ว่าด้วยอนุตตริยะ๑
[๘] ภิกษุทั้งหลาย อนุตตริยะ(ภาวะอันยอดเยี่ยม) ๖ ประการนี้
อนุตตริยะ ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทัสสนานุตตริยะ (การเห็นอันยอดเยี่ยม)
๒. สวนานุตตริยะ (การฟังอันยอดเยี่ยม)

เชิงอรรถ :
๑ อนุตตริยะ หมายถึงภาวะที่ไม่มีสิ่งอื่นยอดเยี่ยมกว่าหรือวิเศษกว่า หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ภาวะอันยอดเยี่ยม
นำผลอันวิเศษมาให้ (องฺ.ฉกฺก.อ.๓/๘-๙/๙๔, องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๘/๑๐๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๑๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๑. อาหุเนยยวรรค ๙. อนุสสติฎฐานสูตร
๓. ลาภานุตตริยะ (การได้อันยอดเยี่ยม)
๔. สิกขานุตตริยะ (การศึกษาอันยอดเยี่ยม)
๕. ปาริจริยานุตตริยะ (การบำรุงอันยอดเยี่ยม)
๖. อนุสสตานุตตริยะ๑ (การระลึกอันยอดเยี่ยม)
ภิกษุทั้งหลาย อนุตตริยะ ๖ ประการนี้แล
อนุตตริยสูตรที่ ๘ จบ
๙. อนุสสติฏฐานสูตร
ว่าด้วยอนุสสติฏฐาน๒
[๙] ภิกษุทั้งหลาย อนุสสติฏฐาน ๖ ประการนี้
อนุสสติฏฐาน ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. พุทธานุสสติ (การระลึกถึงพระพุทธเจ้า)
๒. ธัมมานุสสติ (การระลึกถึงพระธรรม)

เชิงอรรถ :
๑ การเห็นรูป เช่น เห็นพระทศพล และพระภิกษุสงฆ์ด้วยศรัทธาด้วยความรักที่ตั้งมั่น หรือเห็นอารมณ์
กัมมัฏฐานมีกสิณและอสุภนิมิตเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งก่อให้เกิดความเจริญใจ จัดเป็นทัสสนานุตตริยะ
ส่วนการเห็นสิ่งที่มีค่าอื่น ๆ มีช้างแก้ว ม้าแก้ว เป็นต้น หาใช่ทัสสนานุตตริยะไม่
การได้ฟังการพรรณาคุณพระรัตนตรัยด้วยศรัทธา ด้วยความรักที่ตั้งมั่น หรือการได้ฟังพระพุทธพจน์คือ
พระไตรปิฎกจัดเป็น สวนานุตตริยะ ส่วนการฟังการพรรณนาคุณของบุคคอื่นหาใช่สวนานุตตริยะไม่
การได้อริยทรัพย์ ๗ อย่าง จัดเป็น ลาภานุตตริยะ ส่วนการได้แก้วมณีเป็นต้น หาใช่ลาภานุตตริยะไม่
การบำเพ็ญไตรสิกขา (สีล,สมาธิ,ปัญญา) จัดเป็น สิกขานุตตริยะ ส่วนการศึกษาศิลปะอย่างอื่น เช่น
ศิลปะการฝึกช้าง หาใช่สิกขานุตตริยะไม่
การบำรุงพระรัตนตรัย จัดเป็น ปาริจริยานุตตริยะ ส่วนการบำรุงบุคคลอื่น หาใช่ปาริจริยานุตตริยะไม่
การระลึกถึงคุณพระรัตนตรัยจัดเป็น อนุสสตานุตตริยะ ส่วนการระลึกถึงคุณบุคคลอื่น หาใช่อนุสสตา-
นุตตริยะไม่ ดูรายละเอียดในฉักกนิบาตข้อ ๓๐
อนุตตริยะ ๖ ประการนี้ เป็นทั้งโลกิยะ และโลกุตตระ (องฺ.ฉกฺก.อ.๓/๘-๙/๙๖,องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๘/๑๐๗)
๒ อนุสสติฏฐาน แปลว่า ‘ฐานคืออนุสสติ’ หมายถึงเหตุคืออนุสสติ กล่าวคือฌาน ๓ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๕/
๑๑๐,๒๙/๑๑๒)
อนุสสติ ที่เรียกว่า ‘ฐาน’ เพราะเป็นเหตุให้ได้รับประโยชน์เกื้อกูล และความสุขทั้งในภพนี้และภพหน้า
เช่น พุทธานุสสติ (การระลึกถึงพระพุทธคุณ)ย่อมเป็นเหตุให้บรรลุคุณวิเศษ เพราะเมื่อบุคคลระลึกถึงพุทธ
คุณอยู่ ปีติ(ความอิ่มใจ)ย่อมเกิด จากนั้นจึงพิจารณาปีติให้เห็นความสิ้นไปเสื่อมไปจนได้บรรลุ
อรหัตตผล
อนุสสติฏฐานนี้ จัดเป็นอุปจารกัมมัฏฐาน แม้คฤหัสถ์ก็สามารถบำเพ็ญได้ (ขุ.ป.อ. ๑/๒๕/๑๓๗,
องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๙/๑๐๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๒๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๑. อาหุเนยยวรรค ๑๐. มหานามสูตร
๓. สังฆานุสสติ (การระลึกถึงพระสงฆ์)
๔. สีลานุสสติ (การระลึกถึงศีล)
๕. จาคานุสสติ (การระลึกถึงการบริจาค)
๖. เทวตานุสสติ (ระลึกถึงเทวดา)
ภิกษุทั้งหลาย อนุสสติฏฐาน ๖ ประการนี้แล
อนุสสติฏฐานสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. มหานามสูตร
ว่าด้วยเจ้าศากยะมหานามะ
[๑๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขตกรุงกบิลพัสดุ์
แคว้นสักกะ ครั้งนั้นแล เจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะ๑ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อริยสาวกผู้ได้บรรลุผลแล้ว๒ รู้ชัดศาสนาแล้ว๓ ส่วน
มากย่อมอยู่ด้วยวิหารธรรมชนิดไหน พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มหานามะ อริยสาวกผู้ได้บรรลุผลแล้ว รู้ชัดศาสนา
แล้ว ส่วนมากย่อมอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ คือ
๑. อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ระลึกถึงตถาคตว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มี
พระภาคพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ
เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถี
ฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ มหานามะ

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงเจ้าศากยะราชโอรสของพระเจ้าอาว์ของพระผู้มีพระภาค (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๐/๙๖)
๒ ผล ในที่นี้หมายถึงอริยผล (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๐/๙๖)
๓ รู้ชัดศาสนาแล้ว หมายถึงรู้แจ้งไตรสิกขา คือ อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา (องฺ.ฉกฺก.อ.
๓/๑๐/๙๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๒๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๑. อาหุเนยยวรรค ๑๐. มหานามสูตร
สมัยใด อริยสาวกระลึกถึงตถาคต สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น
ย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม
สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นย่อมปรารภตถาคตดำเนินไปตรง
ทีเดียว มหานามะ ก็อริยสาวกผู้มีจิตดำเนินไปตรงแล้ว ย่อมได้
ความปลาบปลื้มอิงอรรถ ย่อมได้ความปลาบปลื้มอิงธรรม ย่อมได้
ปราโมทย์ที่ประกอบด้วยธรรม เมื่อมีปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจ
มีปีติกายย่อมสงบ เธอมีกายสงบย่อมได้รับสุข เมื่อมีสุขจิตย่อม
ตั้งมั่น มหานามะ ตถาคตกล่าวว่า อริยสาวกนี้เป็นผู้ถึงความสงบ
อยู่ในหมู่สัตว์ผู้ถึงความไม่สงบ เป็นผู้ไม่มีพยาบาทอยู่ในหมู่สัตว์ผู้มี
พยาบาท เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยกระแสธรรม เจริญพุทธานุสสติอยู่
๒. อริยสาวกระลึกถึงธรรมว่า ‘พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาค
ตรัสไว้ดีแล้ว ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล๑
ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน’
มหานามะ สมัยใด อริยสาวกระลึกถึงธรรม สมัยนั้น จิตของ
อริยสาวกนั้นย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะ
กลุ้มรุม สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นย่อมปรารภธรรมดำเนินไป
ตรงทีเดียว มหานามะ ก็อริยสาวกผู้มีจิตดำเนินไปตรงแล้ว ย่อมได้
ความปลาบปลื้มอิงอรรถ ย่อมได้ความปลาบปลื้มอิงธรรม ย่อมได้
ปราโมทย์ที่ประกอบด้วยธรรม เมื่อมีปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจ
มีปีติกายย่อมสงบ เธอมีกายสงบย่อมได้รับสุข เมื่อมีสุขจิตย่อม
ตั้งมั่น มหานามะ ตถาคตกล่าวว่า อริยสาวกนี้เป็นผู้ถึงความสงบ
อยู่ในหมู่สัตว์ผู้ถึงความไม่สงบ เป็นผู้ไม่มีพยาบาทอยู่ในหมู่สัตว์ผู้มี
พยาบาท เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยกระแสธรรม เจริญธัมมานุสสติอยู่
๓. อริยสาวกระลึกถึงพระสงฆ์ว่า ‘พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค
เป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติถูกทาง ปฏิบัติสมควร ได้แก่

เชิงอรรถ :
๑ ไม่ประกอบด้วยกาล หมายถึงให้ผลไม่จำกัดกาล คือไม่ขึ้นกับกาลเวลา ให้ผลแก่ผู้ปฏิบัติทุกเวลา ทุกโอกาส
บรรลุเมื่อใดก็ได้รับผลเมื่อนั้น (องฺ.ติก.อ. ๒/๕๔/๑๕๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๑. อาหุเนยยวรรค ๑๐. มหานามสูตร
อริยบุคคล ๔ คู่คือ ๘ บุคคล๑ พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคนี้
เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา
ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก’ มหานามะ
สมัยใด อริยสาวกระลึกถึงพระสงฆ์ สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น
ย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม
สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นย่อมปรารภพระสงฆ์ดำเนินไปตรง
ทีเดียว มหานามะ ก็อริยสาวกผู้มีจิตดำเนินไปตรงแล้ว ย่อมได้
ความปลาบปลื้มอิงอรรถ ย่อมได้ความปลาบปลื้มอิงธรรม ย่อมได้
ปราโมทย์ที่ประกอบด้วยธรรม เมื่อมีปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจ
มีปีติกายย่อมสงบ เธอมีกายสงบย่อมได้รับสุข เมื่อมีสุขจิตย่อม
ตั้งมั่น มหานามะ ตถาคตกล่าวว่า อริยสาวกนี้เป็นผู้ถึงความสงบ
อยู่ในหมู่สัตว์ผู้ถึงความไม่สงบ เป็นผู้ไม่มีพยาบาทอยู่ในหมู่สัตว์ผู้มี
พยาบาท เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยกระแสธรรม เจริญสังฆานุสสติอยู่
๔. อริยสาวกระลึกถึงศีลของตน ที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย
เป็นไท ท่านผู้รู้สรรเสริญ ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ เป็นไปเพื่อ
สมาธิ สมัยใด อริยสาวกระลึกถึงศีล สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น
ย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม
สมัยนั้นจิตของอริยสาวกนั้นย่อมปรารภศีลดำเนินไปตรงทีเดียว
มหานามะ ก็อริยสาวกผู้มีจิตดำเนินไปตรงแล้ว ย่อมได้ความ
ปลาบปลื้มอิงอรรถ ย่อมได้ความปลาบปลื้มอิงธรรม ย่อมได้
ปราโมทย์ที่ประกอบด้วยธรรม เมื่อมีปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจ
มีปีติกายย่อมสงบ เธอมีกายสงบย่อมได้รับสุข เมื่อมีสุขจิตย่อม
ตั้งมั่น มหานามะ ตถาคตกล่าวว่า อริยสาวกนี้เป็นผู้ถึงความสงบ
อยู่ในหมู่สัตว์ผู้ถึงความไม่สงบ เป็นผู้ไม่มีพยาบาทอยู่ในหมู่สัตว์ผู้มี
พยาบาท เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยกระแสธรรม เจริญสีลานุสสติอยู่

เชิงอรรถ :
๑ อริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล ได้แก่ (๑) พระผู้บรรลุโสดาปัตติผล (๒) พระผู้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติมรรค
(๓) พระผู้บรรลุสกทาคามิผล (๔) พระผู้ดำรงอยู่ในสกทาคามิมรรค (๕) พระผู้บรรลุอนาคามิผล
(๖) พระผู้ดำรงอยู่ในอนาคามิมรรค (๗) พระผู้บรรลุอรหัตตผล (๘) พระผู้ดำรงอยู่ในอรหัตตมรรค
(อภิ.ปุ. (แปล) ๓๖/๒๐๗/๒๒๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๑. อาหุเนยยวรรค ๑๐. มหานามสูตร
๕. อริยสาวกระลึกถึงจาคะ(การสละ) ของตนว่า ‘เป็นลาภของเราหนอ
เราได้ดีแล้วหนอ เมื่อหมู่สัตว์ถูกความตระหนี่อันเป็นมลทินกลุ้มรุม
เรามีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน มีจาคะอันสละแล้ว
มีฝ่ามือชุ่ม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการแจกทาน
อยู่ครองเรือน’ มหานามะ สมัยใด อริยสาวกระลึกถึงจาคะ สมัยนั้น
จิตของอริยสาวกนั้นย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม
ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นย่อมปรารภจาคะ
ดำเนินไปตรงที่เดียว มหานามะ ก็อริยสาวกผู้มีจิตดำเนินไปตรงแล้ว
ย่อมได้ความปลาบปลื้มอิงอรรถ ย่อมได้ความปลาบปลื้มอิงธรรม
ย่อมได้ปราโมทย์ที่ประกอบด้วยธรรม เมื่อมีปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ
เมื่อใจมีปีติกายย่อมสงบ เธอมีกายสงบย่อมได้รับสุข เมื่อมีสุขจิต
ย่อมตั้งมั่น มหานามะ ตถาคตกล่าวว่า อริยสาวกนี้เป็นผู้ถึง
ความสงบอยู่ในหมู่สัตว์ผู้ถึงความไม่สงบ เป็นผู้ไม่มีพยาบาทอยู่
ในหมู่สัตว์ผู้มีพยาบาท เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยกระแสธรรม เจริญ
จาคานุสสติอยู่
๖. อริยสาวกเจริญเทวตานุสสติว่า ‘มีเทวดาชั้นจาตุมหาราช เทวดา
ชั้นดาวดึงส์ เทวดาชั้นยามา เทวดาชั้นดุสิต เทวดาชั้นนิมมานรดี
เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี เทวดาชั้นพรหมกาย เทวดาชั้นสูงขึ้นไป
กว่านั้น เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศรัทธาเช่นใด จุติจากโลกนี้
แล้วไปเกิดในเทวโลกนั้น แม้เราเองก็มีศรัทธาเช่นนั้น เทวดา
เหล่านั้นประกอบด้วยศีลเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้วไปเกิดในเทว-
โลกนั้น แม้เราเองก็มีศีลเช่นนั้น เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยสุตะ
เช่นใด จุติจากโลกนี้แล้วไปเกิดในเทวโลกนั้น แม้เราเองก็มีสุตะ
เช่นนั้น เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยจาคะเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้ว
ไปเกิดในเทวโลกนั้น แม้เราเองก็มีจาคะเช่นนั้น เทวดาเหล่านั้น
ประกอบด้วยปัญญาเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้วไปเกิดในเทวโลกนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๒๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๑. อาหุเนยยวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
แม้เราเองก็มีปัญญาเช่นนั้น’ มหานามะ สมัยใด อริยสาวกระลึกถึง
ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญาของตนและของเทวดาเหล่านั้น
สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม
ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม สมัยนั้นจิตของอริยสาวกนั้นย่อมปรารภเทวดา
ทั้งหลายดำเนินไปตรงทีเดียว มหานามะ ก็อริยสาวกผู้มีจิตดำเนิน
ไปตรงแล้ว ย่อมได้ความปลาบปลื้มอิงอรรถ ย่อมได้ความปลาบปลื้ม
อิงธรรม ย่อมได้ปราโมทย์ที่ประกอบด้วยธรรม เมื่อมีปราโมทย์
ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจมีปีติกายย่อมสงบ เธอมีกายสงบย่อมได้รับสุข
เมื่อมีสุขจิตย่อมตั้งมั่น มหานามะ ตถาคตกล่าวว่า อริยสาวกนี้
เป็นผู้ถึงความสงบอยู่ในหมู่สัตว์ผู้ถึงความไม่สงบ เป็นผู้ไม่มีพยาบาท
อยู่ในหมู่สัตว์ผู้มีพยาบาท เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยกระแสธรรม เจริญ
เทวตานุสสติอยู่
มหานามะ อริยสาวกผู้ได้บรรลุผลแล้ว รู้ชัดศาสนาแล้ว ส่วนมากย่อมอยู่ด้วย
วิหารธรรมนี้
มหานามสูตรที่ ๑๐ จบ
อาหุเนยยวรรคที่ ๑ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมอาหุเนยยสูตร ๒. ทุติยอาหุเนยยสูตร
๓. อินทริยสูตร ๔. พลสูตร
๕. ปฐมอาชานียสูตร ๖. ทุติยอาชานียสูตร
๗. ตติยอาชานียสูตร ๘. อนุตตริยสูตร
๙. อนุสสติฏฐานสูตร ๑๐. มหานามสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๒. สารณียวรรค ๑. ปฐมสารณียสูตร
๒. สารณียวรรค
หมวดว่าด้วยสารณียธรรม
๑. ปฐมสารณียสูตร
ว่าด้วยสารณียธรรม สูตรที่๑
[๑๑] ภิกษุทั้งหลาย สารณียธรรม(ธรรมเป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน) ๖ ประการนี้
สารณียธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. ตั้งมั่นเมตตากายกรรม๑ ในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้า
และลับหลัง แม้นี้ก็เป็นสารณียธรรม
๒. ตั้งมั่นเมตตาวจีกรรมในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและ
ลับหลัง แม้นี้ก็เป็นสารณียธรรม
๓. ตั้งมั่นเมตตามโนกรรมในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและ
ลับหลัง แม้นี้ก็เป็นสารณียธรรม
๔. บริโภคโดยไม่แบ่งแยก๒ลาภทั้งหลายที่ประกอบด้วยธรรม ได้มา
โดยธรรม โดยที่สุดแม้เพียงบิณฑบาต บริโภคร่วมกับเพื่อนพรหม-
จารีทั้งหลายผู้มีศีล แม้นี้ก็เป็นสารณียธรรม
๕. มีศีลที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท ท่านผู้รู้สรรเสริญ
ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ เป็นไปเพื่อสมาธิเสมอกันกับเพื่อน
พรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง แม้นี้ก็เป็นสารณียธรรม

เชิงอรรถ :
๑ เมตตากายกรรม หมายถึงกายกรรมที่พึงทำด้วยจิตประกอบด้วยเมตตา และเมตตาวจีกรรม เมตตามโน-
กรรมก็มีอรรถาธิบายเช่นเดียวกันนี้ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๑/๙๗)
๒ ไม่แบ่งแยก หมายถึงไม่แบ่งแยกอามิสโดยคิดว่า “จะให้เท่านี้ ๆ” และไม่แบ่งแยกบุคคลโดยคิดว่า
“จะให้แก่คนนั้น ไม่ให้แก่คนนี้” (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๑/๙๙, องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๑๑/๑๑๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๒. สารณียวรรค ๒. ทุติยสารณียสูตร
๖. มีอริยทิฏฐิ๑ อันเป็นธรรมเครื่องนำออก๒เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ
แก่ผู้ทำตาม เสมอกันกับเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและ
ลับหลัง แม้นี้ก็เป็นสารณียธรรม
ภิกษุทั้งหลาย สารณียธรรม ๖ ประการนี้แล
ปฐมสารณียสูตรที่ ๑ จบ
๒. ทุติยสารณียสูตร
ว่าด้วยสารณียธรรม สูตรที่ ๒
[๑๒] ภิกษุทั้งหลาย สารณียธรรม ๖ ประการนี้ ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่
เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน
เพื่อความเป็นอันเดียวกัน สารณียธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. ตั้งมั่นเมตตากายกรรมในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและ
ลับหลัง แม้นี้ก็เป็นสารณียธรรมที่ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่
เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อ
ความสามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
๒. ตั้งมั่นเมตตาวจีกรรม ฯลฯ
๓. ตั้งมั่นเมตตามโนกรรมในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและ
ลับหลัง แม้นี้ก็เป็นสารณียธรรมที่ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ
เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความ
สามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
๔. บริโภคโดยไม่แบ่งแยกลาภทั้งหลายที่ประกอบด้วยธรรม ได้มาโดย
ธรรม โดยที่สุดแม้เพียงบิณฑบาต บริโภคร่วมกับเพื่อนพรหมจารี

เชิงอรรถ :
๑ อริยทิฏฐิ ในที่นี้หมายถึงอริยมัคคสัมมาทิฏฐิ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๑/๑๐๓)
๒ อันเป็นธรรมเครื่องนำออก หมายถึงมรรค ๔ (โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค และ
อรหัตตมรรค) ที่ตัดมูลเหตุแห่งวัฏฏะ ทำนิพพานให้เป็นอารมณ์ แล้วออกจากวัฏฏะได้ (อภิ.สงฺ. (แปล) ๓๔/
๑๒๙๕/๓๒๗, อภิ.สงฺ.อ. ๘๓-๑๐๐/๙๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๒. สารณียวรรค ๒. ทุติยสารณียสูตร
ทั้งหลายผู้มีศีล แม้นี้ก็เป็นสารณียธรรมที่ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็น
ที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อ
ความสามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
๕. มีศีลที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท ท่านผู้รู้สรรเสริญ
ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ เป็นไปเพื่อสมาธิเสมอกันกับเพื่อน
พรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง แม้นี้ก็เป็นสารณียธรรม
ที่ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน
เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน เพื่อความเป็นอัน
เดียวกัน
๖. มีอริยทิฏฐิ อันเป็นธรรมเครื่องนำออกเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ
แก่ผู้ทำตาม เสมอกันกับเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายทั้งต่อหน้าและ
ลับหลัง แม้นี้ก็เป็นสารณียธรรมที่ทำให้เป็นที่รัก เป็นที่เคารพ เป็น
ไปเพื่อความสังเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน
เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
ภิกษุทั้งหลาย สารณียธรรม ๖ ประการนี้แล ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่
เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน
เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
ทุติยสารณียสูตรที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๒. สารณียวรรค ๓. นิสสารณียสูตร
๓. นิสสารณียสูตร
ว่าด้วยธาตุที่สลัด
[๑๓] ภิกษุทั้งหลาย ธาตุที่สลัด ๖ ประการนี้
ธาตุ๑ที่สลัด ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ข้าพเจ้าได้เจริญเมตตา
เจโตวิมุตติแล้ว๒ ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่
ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่พยาบาทก็ยัง
ครอบงำจิตของข้าพเจ้าอยู่’ ภิกษุทั้งหลายพึงกล่าวตักเตือนเธอว่า
‘อย่าได้กล่าวอย่างนี้เลย ผู้มีอายุ ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้ อย่าได้
กล่าวตู่พระผู้มีพระภาค เพราะการกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย
พระผู้มีพระภาคไม่ตรัสอย่างนี้เลย ผู้มีอายุ เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุ
ได้เจริญเมตตาโจโตวิมุตติแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว
ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่
พยาบาทก็ยังครอบงำจิตของภิกษุนั้นอยู่’ ข้อนั้นเป็นไปไม่ได้เลย
เพราะเมตตาเจโตวิมุตตินี้เป็นธาตุที่สลัดพยาบาท
๒. ภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ข้าพเจ้าได้เจริญกรุณาเจโต-
วิมุตติ ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว
ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่วิหิงสา (ความเบียดเบียน)
ก็ยังครอบงำจิตของข้าพเจ้าอยู่’ ภิกษุทั้งหลายพึงกล่าวตักเตือน
เธอว่า ‘อย่าได้กล่าวอย่างนี้เลย ผู้มีอายุ ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้
อย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาค เพราะการกล่าวตู่พระผู้มีพระภาค
ไม่ดีเลย พระผู้มีพระภาคไม่ตรัสอย่างนี้เลย ผู้มีอายุ เป็นไปไม่ได้
เลยที่ภิกษุได้เจริญกรุณาเจโตวิมุตติแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็น
ดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภ
ดีแล้ว แต่วิหิงสาก็ยังครอบงำจิตของภิกษุนั้นอยู่’ ข้อนั้นเป็นไปไม่
ได้เลย เพราะกรุณาเจโตวิมุตตินี้เป็นธาตุที่สลัดวิหิงสา

เชิงอรรถ :
๑ ธาตุ หมายถึงสภาวะที่ว่างจากอัตตา (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๐/๘๒) หรือหมายถึงสภาวะที่ปราศจากชีวะ ใน
ที่นี้หมายถึงธัมมธาตุขั้นพิเศษ (องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๒๐๐/๙๑)
๒ เมตตาเจโตวิมุตติ หมายถึงเมตตาที่เกิดจากตติยฌาน และจตุตถฌาน เพราะพ้นจากปัจจนีธรรม (ธรรมที่
เป็นข้าศึก) กล่าวคือนิวรณ์ ๕ ประการ ได้แก่ กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา
(องฺ.เอกก.อ.๑/๑๗/๔๒,องฺ.ฉกฺก.อ.๓/๑๓/๑๐๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๒. สารณียวรรค ๓. นิสสารณียสูตร
๓. ภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ข้าพเจ้าได้เจริญมุทิตาเจโต-
วิมุตติแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่
ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่อรติ(ความไม่
ยินดี) ก็ยังครอบงำจิตของข้าพเจ้าอยู่’ ภิกษุทั้งหลายพึงกล่าว
ตักเตือนเธอว่า ‘อย่าได้กล่าวอย่างนี้เลย ผู้มีอายุ อย่าได้กล่าว
อย่างนี้ อย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาค เพราะการกล่าวตู่พระผู้มี
พระภาคไม่ดีเลย พระผู้มีพระภาคไม่ตรัสอย่างนี้เลย ผู้มีอายุ เป็น
ไปไม่ได้เลยที่ภิกษุได้เจริญมุทิตาเจโตวิมุตติแล้ว ทำให้มากแล้ว
ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว
ปรารภดีแล้ว แต่อรติก็ยังครอบงำจิตของภิกษุนั้นอยู่’ ข้อนั้นเป็น
ไปไม่ได้เลย เพราะมุทิตาเจโตวิมุตตินี้เป็นธาตุที่สลัดอรติ
๔. ภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ข้าพเจ้าได้เจริญอุเบกขา-
เจโตวิมุตติแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้เป็น
ที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่ราคะก็ยัง
ครอบงำจิตของข้าพเจ้าอยู่’ ภิกษุทั้งหลายพึงกล่าวตักเตือนเธอว่า
‘อย่าได้กล่าวอย่างนี้เลย ผู้มีอายุ ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้ อย่าได้
กล่าวตู่พระผู้มีพระภาค เพราะการกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย
พระผู้มีพระภาคไม่ตรัสอย่างนี้เลย ผู้มีอายุ เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุ
ได้เจริญอุเบกขาเจโตวิมุตติแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว
ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่ราคะ
ก็ยังครอบงำจิตของภิกษุนั้นอยู่’ ข้อนั้นเป็นไปไม่ได้เลย เพราะ
อุเบกขาเจโตวิมุตตินี้เป็นธาตุที่สลัดราคะ
๕. ภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ข้าพเจ้าเจริญอนิมิตตาเจโต-
วิมุตติ๑แล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่

เชิงอรรถ :
๑ อนิมิตตาเจโตวิมุตติ อรรถกถาอธิบายว่า หมายถึงพลววิปัสสนา(วิปัสสนาที่มีพลัง) กล่าวคืออรหัตตผล
สมาบัติ ที่ชื่อว่า อนิมิต (ไม่มีเครื่องหมาย) เพราะไม่มีราคนิมิต (นิมิตคือราคะ) ไม่มีโทสนิมิต (นิมิตคือ
โทสะ) ไม่มีโมหนิมิต (นิมิตคือโมหะ) ไม่มีรูปนิมิต (นิมิตคือรูป) ไม่มีนิจจนิมิต (นิมิตคือความเห็นว่าเที่ยง)
(องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๓/๑๐๔)
อีกนัยหนึ่ง อนิมิตตาเจโตวิมุตติ เป็นชื่อของญาณ ๔ คือ (๑) ภยตุปัฏฐานญาณ (ความรู้ความปรากฏแห่ง
ความเป็นของน่ากลัว) (๒) อาทีนวานุปัสสนาญาณ (ความรู้ในการพิจารณาเห็นโทษ) (๓) มุจจิตุกัมยตา-
ญาณ (ความรู้ความเป็นผู้ใคร่จะพ้น) (๔) ภังคญาณ (ความรู้ความดับไป) (องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๑๓/๑๑๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๒. สารณียวรรค ๓. นิสสารณียสูตร
ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่วิญญาณของ
ข้าพเจ้าก็ยังแส่หานิมิตอยู่’ ภิกษุทั้งหลายพึงกล่าวตักเตือนเธอว่า
‘อย่าได้กล่าวอย่างนี้เลย ผู้มีอายุ ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้ อย่าได้
กล่าวตู่พระผู้มีพระภาค เพราะการกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย
พระผู้มีพระภาคไม่ตรัสอย่างนี้เลย ผู้มีอายุ เป็นไปไม่ได้เลยที่
ภิกษุได้เจริญอนิมิตตาเจโตวิมุตติแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจ
ยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว
แต่วิญญาณของภิกษุนั้นก็ยังแส่หานิมิตอยู่’ ข้อนั้นเป็นไปไม่ได้เลย
เพราะอนิมิตตาเจโตวิมุตตินี้เป็นธาตุที่สลัดนิมิตทั้งปวง
๖. ภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ข้าพเจ้าปราศจากอัสมิ-
มานะ๑ และไม่พิจารณาเห็นว่า ‘เราเป็นนี้‘๒ แต่ลูกศรคือความ
เคลือบแคลงสงสัยก็ยังครอบงำจิตของข้าพเจ้าอยู่’ ภิกษุทั้งหลาย
พึงกล่าวตักเตือนเธอว่า ‘อย่าได้กล่าวอย่างนี้เลย ผู้มีอายุ ท่าน
อย่าได้กล่าวอย่างนี้ อย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาค เพราะการ
กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย พระผู้มีพระภาคไม่ตรัสอย่างนี้เลย
ผู้มีอายุ เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุปราศจากอัสมิมานะแล้ว และไม่
พิจารณาเห็นว่า ‘เราเป็นนี้’ แต่ลูกศรคือความเคลือบแคลงสงสัย
ก็ยังครอบงำจิตของภิกษุนั้นอยู่’ ข้อนั้นเป็นไปไม่ได้เลย เพราะสภาวะ
ที่ถอนอัสมิมานะ๓นี้เป็นธาตุที่สลัดลูกศรคือความเคลือบแคลงสงสัย’
ภิกษุทั้งหลาย ธาตุที่สลัด ๖ ประการนี้แล
นิสสารณียสูตรที่ ๓ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ปัญจกนิบาต ข้อ ๗๑ หน้า ๑๒๑ ในเล่มนี้
๒ ไม่พิจารณาเห็นว่า ‘เราเป็นนี้‘ เป็นคำกล่าวพยากรณ์อรหัตตผลว่า ‘ไม่เห็นว่าเป็นเรา ในเบญจขันธ์’
กล่าวคือไม่พิจารณาเห็นว่าเราเป็นรูป เป็นเวทนา เป็นสัญญา เป็นสังขาร เป็นวิญญาณ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๓/
๑๐๕) ดู อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๘๘๓/๕๕๙
๓ สภาวะที่ถอนอัสมิมานะ หมายถึงอรหัตตมรรค ที่เรียกว่า สภาวะที่ถอนอัสมิมานะ เพราะเมื่อเห็นนิพพาน
ด้วยอำนาจผลที่เกิดจากอรหัตตมรรค อัสมีมานะย่อมไม่มี (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๓/๑๐๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๒. สารณียวรรค ๔. ภัททกสูตร
๔. ภัททกสูตร
ว่าด้วยการอยู่อย่างมีความตายที่เจริญ
[๑๔] ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ผู้มีอายุ
ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว ท่านพระสารีบุตรจึงได้กล่าวเรื่องนี้ว่า
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุสำเร็จการอยู่อย่างมีความตายที่ไม่เจริญ๑ มีกาลกิริยา
ที่ไม่เจริญ
ภิกษุสำเร็จการอยู่อย่างมีความตายที่ไม่เจริญ มีกาลกิริยาที่ไม่เจริญ เป็น
อย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้ชอบการงาน๒ ยินดีในการงาน หมั่นประกอบความเป็นผู้ชอบ
การงาน
๒. เป็นผู้ชอบการพูดคุย๓ ยินดีในการพูดคุย หมั่นประกอบความเป็น
ผู้ชอบการพูดคุย
๓. เป็นผู้ชอบการนอนหลับ ยินดีในการนอนหลับ หมั่นประกอบความ
เป็นผู้ชอบการนอนหลับ
๔. เป็นผู้ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่ ยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่ หมั่น
ประกอบความเป็นผู้ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่
๕. เป็นผู้ชอบคลุกคลีกับคฤหัสถ์ ยินดีในการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ หมั่น
ประกอบความเป็นผู้ชอบการคลุกคลีกับคฤหัสถ์
๖. เป็นผู้ชอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ยินดีในธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า
หมั่นประกอบความเป็นผู้ชอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า

เชิงอรรถ :
๑ ความตายที่ไม่เจริญ หมายถึงความตายของผู้มีความหวาดกลัว
กาลกิริยาที่ไม่เจริญ หมายถึงการถือปฏิสนธิในอบายภูมิ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๔/๑๐๕)
๒ การงาน ในที่นี้หมายถึงงานนวกรรม คือการก่อสร้างต่าง ๆ เช่น การก่อสร้างวิหารเป็นต้น ความเป็นผู้ยินดี
แต่การก่อสร้างที่ถือว่าเป็นความเสื่อมในพระธรรมวินัย เพราะทำให้ละเลยต่อการบำเพ็ญคันถธุระและ
วิปัสสนาธุระ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๔/๑๐๕,องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๑๔-๑๕/๑๑๘)
๓ พูดคุย ในที่นี้หมายถึงการพูดเกี่ยวกับเรื่องผิวพรรณของสตรีและผิวพรรณของบุรุษเป็นต้น (องฺ.ฉกฺก.ฏีกา
๓/๑๔-๑๕/๑๙๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๓๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๒. สารณียวรรค ๔. ภัททกสูตร
ภิกษุสำเร็จการอยู่อย่างมีความตายที่ไม่เจริญ มีกาลกิริยาที่ไม่เจริญ เป็นอย่าง
นี้แล
ภิกษุนี้เรียกว่า ผู้ยินดียิ่งในสักกายะ๑ ไม่ละสักกายะเพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบ
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุสำเร็จการอยู่อย่างมีความตายที่เจริญ มีกาลกิริยาที่เจริญ
ภิกษุสำเร็จการอยู่อย่างมีความตายที่เจริญ มีกาลกิริยาที่เจริญ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้ไม่ชอบการงาน ไม่ยินดีในการงาน ไม่หมั่นประกอบความ
เป็นผู้ชอบการงาน
๒. เป็นผู้ไม่ชอบการพูดคุย ไม่ยินดีในการพูดคุย ไม่หมั่นประกอบ
ความเป็นผู้ชอบการพูดคุย
๓. เป็นผู้ไม่ชอบการนอนหลับ ไม่ยินดีในการนอนหลับ ไม่หมั่นประกอบ
ความเป็นผู้ชอบการนอนหลับ
๔. เป็นผู้ไม่ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่ ไม่ยินดีการคลุกคลีด้วยหมู่ ไม่
หมั่นประกอบความเป็นผู้คลุกคลีด้วยหมู่
๕. เป็นผู้ไม่ชอบการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ ไม่ยินดีในการคลุกคลีกับ
คฤหัสถ์ ไม่หมั่นประกอบความเป็นผู้ชอบการคลุกคลีกับคฤหัสถ์
๖. เป็นผู้ไม่ชอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ไม่ยินดีธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า
ไม่หมั่นประกอบความเป็นผู้ชอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า
ภิกษุสำเร็จการอยู่อย่างมีความตายที่เจริญ มีกาลกิริยาที่เจริญ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุนี้เรียกว่า ผู้ยินดีในนิพพาน ละสักกายะเพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบ
ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวเวยยากรณ์ภาษิตนี้แล้ว จึงได้กล่าวคาถาประพันธ์
ต่อไปอีกว่า

เชิงอรรถ :
๑ สักกายะ ในที่นี้หมายถึงวัฏฏะที่เกี่ยวข้องอยู่ในภูมิ ๓ คือ กามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ (ดู อภิ.สงฺ. (แปล)
๓๔/๑๒๙๓/๓๒๖ ประกอบ) คำว่าวัฏฏะมี ๓ ประการ คือ (๑) กิเลสวัฏฏะ วงจรกิเลส ประกอบด้วยอวิชชา
ตัณหา อุปาทาน (๒) กัมมวัฏฏะ วงจรกรรมประกอบด้วยสังขาร และกรรมภพ (๓) วิปากวัฏฏะ วงจรวิบาก
ประกอบด้วยวิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ซึ่งแสดงออกในรูปอุปปัติภพ ชาติ ชรา มรณะ
เป็นต้น (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๔/๑๐๕,๖๑/๑๔๗, องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๑๗-๑๑๘/๓๗๕ สารตฺถ.ฏีกา ๓/๕๔/๒๕๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๒. สารณียวรรค ๕. อนุตัปปิยสูตร
ผู้ใดหมั่นประกอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า
ยินดีธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ผู้เป็นเช่นกับเนื้อ
ผู้นั้นไม่ได้ชมนิพพานอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม
ส่วนผู้ใดละธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้าได้แล้ว
ยินดีในบทคือธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า
ผู้นั้นได้ชมนิพพานอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม
ภัททกสูตรที่ ๔ จบ
๕. อนุตัปปิยสูตร
ว่าด้วยการอยู่อย่างมีกาลกิริยาที่เดือดร้อน
[๑๕] ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ผู้มีอายุ
ทั้งหลาย ภิกษุสำเร็จการอยู่อย่างมีกาลกิริยาที่เดือดร้อน
ภิกษุสำเร็จการอยู่อย่างมีกาลกิริยาที่เดือดร้อน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้ชอบการงาน ยินดีในการงาน หมั่นประกอบความเป็นผู้ชอบ
การงาน
๒. เป็นผู้ชอบการพูดคุย ...
๓. เป็นผู้ชอบการนอนหลับ ...
๔. เป็นผู้ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่ ...
๕. เป็นผู้ชอบการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ ...
๖. เป็นผู้ชอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ยินดีธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า
หมั่นประกอบความเป็นผู้ชอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า
ภิกษุสำเร็จการอยู่อย่างมีกาลกิริยาที่เดือดร้อน เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุนี้เรียกว่า ผู้ยินดีในสักกายะ ไม่ละสักกายะเพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบ
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุสำเร็จการอยู่อย่างมีกาลกิริยาที่ไม่เดือดร้อน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๒. สารณียวรรค ๕. อนุตัปปิยสูตร
ภิกษุสำเร็จการอยู่อย่างมีกาลกิริยาที่ไม่เดือดร้อน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้ไม่ชอบการงาน ไม่ยินดีในการงาน ไม่หมั่นประกอบความ
เป็นผู้ชอบการงาน
๒. เป็นผู้ไม่ชอบการพูดคุย ...
๓. เป็นผู้ไม่ชอบการนอนหลับ ...
๔. เป็นผู้ไม่ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่ ...
๕. เป็นผู้ไม่ชอบการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ ...
๖. เป็นผู้ไม่ชอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ไม่ยินดีธรรมที่เป็นเหตุให้
เนิ่นช้า ไม่หมั่นประกอบความเป็นผู้ชอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า
ภิกษุสำเร็จการอยู่อย่างมีกาลกิริยาที่ไม่เดือดร้อน เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุนี้เรียกว่า ผู้ยินดีในนิพพาน ละสักกายะเพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบ
ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวเวยยากรณ์ภาษิตนี้แล้ว จึงได้กล่าวคาถาประพันธ์
ต่อไปอีกว่า
ผู้ใดหมั่นประกอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า
ยินดีธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ผู้เป็นเช่นกับเนื้อ
ผู้นั้นไม่ได้ชมนิพพานอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม
ส่วนผู้ใดละธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้าได้แล้ว
ยินดีในบทคือธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า
ผู้นั้นได้ชมนิพพานอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม
อนุตัปปิยสูตรที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๒. สารณียวรรค ๖. นกุลปิตุสูตร
๖. นกุลปิตุสูตร
ว่าด้วยนกุลปิตาคหบดี
[๑๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าเภสกฬามิคทายวัน
นครสุงสุมารคีระ แคว้นภัคคะ สมัยนั้น นกุลปิตาคหบดีมีความเจ็บไข้ ได้รับทุกข์
เป็นไข้หนัก ครั้งนั้น นกุลมาตาคหปตานีได้กล่าวเตือนนกุลปิตาคหบดีว่า
คหบดี ท่านอย่าได้ตายทั้งที่ยังมีความห่วงใย๑เลย เพราะการตายของผู้ที่ยังมี
ความห่วงใย เป็นทุกข์ และพระผู้มีพระภาคก็ทรงติเตียน
๑. ท่านมีความห่วงใยอย่างนี้หรือว่า ‘เมื่อเราตายไปแล้ว นกุลมาตา-
คหปตานีจักไม่สามารถเลี้ยงทารก และครองเรือนอยู่ได้’ ท่านไม่
ควรคิดเห็นอย่างนี้ เพราะดิฉันเป็นคนฉลาดปั่นฝ้าย ทำขนสัตว์
เมื่อท่านตายไปแล้ว ดิฉันสามารถเลี้ยงดูทารก และครองเรือนอยู่ได้
เพราะฉะนั้นแล ท่านอย่าได้ตายทั้งที่ยังมีความห่วงใยเลย เพราะ
การตายของผู้ที่ยังมีความห่วงใย เป็นทุกข์ และพระผู้มีพระภาคก็
ทรงติเตียน
๒. ท่านมีความห่วงใยอย่างนี้หรือว่า ‘เมื่อเราตายไปแล้ว นกุลมาตา-
คหปตานีจักได้ชายอื่นเป็นสามี’ ท่านไม่ควรคิดเห็นอย่างนี้ ทั้งท่าน
และดิฉันย่อมรู้ว่าได้อยู่ร่วมกันประพฤติเคร่งครัดต่อระเบียบประเพณี
ของผู้ครองเรือนตลอด ๑๖ ปี เพราะฉะนั้นแล ท่านอย่าได้ตายทั้ง
ที่ยังมีความห่วงใยเลย เพราะการตายของผู้ที่ยังมีความห่วงใย
เป็นทุกข์ และพระผู้มีพระภาคก็ทรงติเตียน
๓. ท่านมีความห่วงใยอย่างนี้หรือว่า ‘เมื่อเราตายไปแล้ว นกุลมาตา-
คหปตานีจักไม่ต้องการเห็นพระผู้มีพระภาค ไม่ต้องการเห็นภิกษุสงฆ์’
ท่านไม่ควรคิดเห็นอย่างนี้ เพราะดิฉันต้องการเห็นพระผู้มีพระภาค
อย่างยิ่ง ต้องการเห็นภิกษุสงฆ์อย่างยิ่ง เพราะฉะนั้นแล ท่านอย่า

เชิงอรรถ :
๑ ความห่วงใย ในที่นี้หมายถึงตัณหา (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๖/๑๐๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๒. สารณียวรรค ๖. นกุลปิตุสูตร
ได้ตายทั้งที่ยังมีความห่วงใยเลย เพราะการตายของผู้ที่ยังมีความ
ห่วงใย เป็นทุกข์ และพระผู้มีพระภาคก็ทรงติเตียน
๔. ท่านมีความห่วงใยอย่างนี้หรือว่า ‘เมื่อเราตายไปแล้ว นกุลมาตา-
คหปตานีจักไม่ทำศีลให้บริบูรณ์’ ท่านไม่ควรคิดเห็นอย่างนี้ เพราะ
สาวิกาทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ที่ยังเป็นคฤหัสถ์
นุ่งห่มผ้าขาว บำเพ็ญศีลให้บริบูรณ์ มีจำนวนเท่าใด ดิฉันก็เป็น
คนหนึ่งในจำนวนสาวิกาเหล่านั้น ก็ผู้ใดพึงมีความสงสัยหรือ
เคลือบแคลง ผู้นั้นจงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้าผู้กำลังประทับอยู่ ณ ป่าเภสกฬามิคทายวัน นคร
สุงสุมารคีระ แคว้นภัคคะแล้วทูลถามเถิด เพราะฉะนั้นแล ท่านอย่า
ได้ตายทั้งที่ยังมีความห่วงใยเลย เพราะการตายของผู้ที่ยังมีความ
ห่วงใย เป็นทุกข์ และพระผู้มีพระภาคก็ทรงติเตียน
๕. ท่านมีความห่วงใยอย่างนี้หรือว่า ‘นกุลมาตาคหปตานีจักไม่ได้
ความสงบใจในภายใน’ ท่านไม่ควรคิดเห็นอย่างนี้ เพราะสาวิกา
ทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ที่ยังเป็นคฤหัสถ์นุ่งห่ม
ผ้าขาว ได้ความสงบใจในภายใน มีจำนวนเท่าใด ดิฉันก็เป็นคน
หนึ่งในจำนวนสาวิกาเหล่านั้น ก็ผู้ใดมีความสงสัยหรือเคลือบแคลง
ผู้นั้นจงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้กำลัง
ประทับอยู่ ณ ป่าเภสกฬามิคทายวัน นครสุงสุมารคีระ แคว้น
ภัคคะ แล้วทูลถามเถิด เพราะฉะนั้นแล ท่านอย่าได้ตายทั้งที่ยังมี
ความห่วงใยเลย เพราะการตายของผู้ที่ยังมีความห่วงใย เป็นทุกข์
และพระผู้มีพระภาคก็ทรงติเตียน
๖. ท่านมีความห่วงใยอย่างนี้หรือว่า ‘นกุลมาตาคหปตานียังไม่ถึงการ
หยั่งลง ยังไม่ถึงที่พึ่ง ยังไม่ถึงความเบาใจ ยังไม่ข้ามพ้นความ
สงสัย ยังไม่ปราศจากความเคลือบแคลง ยังไม่ถึงความแกล้วกล้า
ยังไม่ปราศจากความมีผู้อื่นเป็นปัจจัย๑ ในพระธรรมวินัยนี้ อยู่ใน
ศาสนาของพระศาสดา’ ท่านไม่ควรคิดเห็นอย่างนี้ เพราะสาวิกา

เชิงอรรถ :
๑ ความมีผู้อื่นเป็นปัจจัย ในที่นี้หมายถึงอาศัยผู้อื่นสนับสนุน (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๖/๑๐๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๓๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๒. สารณียวรรค ๖. นกุลปิตุสูตร
ทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ที่ยังเป็นคฤหัสถ์นุ่งห่ม
ผ้าขาว ถึงการหยั่งลง ถึงที่พึ่ง ถึงความเบาใจ ข้ามพ้นความสงสัย
ปราศจากความเคลือบแคลง ถึงความแกล้วกล้า ปราศจากความมี
ผู้อื่นเป็นปัจจัย ในพระธรรมวินัยนี้ อยู่ในศาสนาของพระศาสดามี
จำนวนเท่าใด ดิฉันก็เป็นคนหนึ่งในจำนวนสาวิกาเหล่านั้น ก็ผู้ใด
พึงมีความสงสัยหรือเคลือบแคลง ผู้นั้นจงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ
ภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้กำลังประทับอยู่ ณ ป่าเภสกฬา-
มิคทายวัน นครสุงสุมารคีระ แคว้นภัคคะแล้วทูลถามเถิด เพราะ
ฉะนั้นแล ท่านอย่าได้ตายทั้งที่ยังมีความห่วงใยเลย เพราะการตาย
ของผู้ที่ยังมีความห่วงใย เป็นทุกข์ และพระผู้มีพระภาคก็ทรงติเตียน
ครั้งนั้น เมื่อนกุลมาตาคหปตานีกล่าวเตือนนกุลปิตาคหบดีด้วยคำเตือนนี้
ความเจ็บไข้นั้นได้สงบระงับโดยพลัน ท่านนกุลปิตาคหบดีได้หายจากความเจ็บไข้นั้น
และนกุลปิตาคหบดีละความเจ็บไข้นั้น ละได้โดยอาการอย่างนั้น
ครั้งนั้นแล นกุลปิตาคหบดี พอหายจากความเจ็บไข้เท่านั้น ยังฟื้นจากไข้
ไม่นาน ก็ถือไม้เท้าเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ
ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับนกุลปิตาคหบดี ดังนี้ว่า
“คหบดี เป็นลาภของท่านหนอ ท่านได้ดีแล้วหนอ ที่นกุลมาตาคหปตานี
เป็นผู้อนุเคราะห์ หวังประโยชน์กล่าวตักเตือนพร่ำสอนท่าน คหบดี สาวิกาทั้งหลาย
ของเราที่ยังเป็นคฤหัสถ์นุ่งห่มผ้าขาว ทำศีลให้บริบูรณ์ มีจำนวนเท่าใด นกุลมาตา-
คหปตานีก็เป็นคนหนึ่งในจำนวนสาวิกาเหล่านั้น คหบดี สาวิกาทั้งหลายของเราที่ยัง
เป็นคฤหัสถ์นุ่งห่มผ้าขาว ได้ความสงบใจในภายใน มีจำนวนเท่าใด นกุลมาตา-
คหปตานี ก็เป็นคนหนึ่งในจำนวนสาวิกาเหล่านั้น คหบดี สาวิกาทั้งหลายของเราที่ยัง
เป็นคฤหัสถ์นุ่งห่มผ้าขาว ถึงการหยั่งลง ถึงที่พึ่ง ถึงความเบาใจ ข้ามพ้นความสงสัย
ปราศจากความเคลือบแคลง ถึงความแกล้วกล้า ปราศจากความมีผู้อื่นเป็นปัจจัยใน
ธรรมวินัยนี้ อยู่ในศาสนาของศาสดา มีจำนวนเท่าใด นกุลมาตาคหปตานีก็เป็นคน
หนึ่งในจำนวนสาวิกาเหล่านั้น คหบดี เป็นลาภของท่านหนอ ท่านได้ดีแล้วหนอ
ที่นกุลมาตาคหปตานีเป็นผู้อนุเคราะห์ หวังประโยชน์ กล่าวตักเตือนพร่ำสอนท่าน”
นกุลปิตุสูตรที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๓๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๒. สารณียวรรค ๗. โสปปสูตร
๗. โสปปสูตร
ว่าด้วยการนอนหลับ
[๑๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้น๑ใน
เวลาเย็น เสด็จเข้าไปยังหอฉัน ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้ แม้ท่านพระ
สารีบุตรก็ออกจากที่หลีกเร้นในเวลาเย็นแล้วเข้าไปยังหอฉัน ถวายอภิวาทพระผู้มี
พระภาค แล้วนั่ง ณ ที่สมควร แม้ท่านพระโมคคัลลานะ แม้ท่านพระมหากัสสปะ
แม้ท่านพระมหากัจจานะ แม้ท่านพระมหาโกฏฐิกะ แม้ท่านพระมหาจุนทะ แม้ท่าน
พระมหากัปปินะ แม้ท่านพระอนุรุทธะ แม้ท่านพระเรวตะ แม้ท่านพระอานนท์ก็
ออกจากที่หลีกเร้นในเวลาเย็น แล้วเข้าไปยังหอฉัน ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงให้ราตรีผ่านไปนานด้วยการ
ประทับนั่ง แล้วเสด็จลุกจากพุทธอาสน์เข้าไปสู่วิหาร เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จ
หลีกไปไม่นาน แม้พระเถระเหล่านั้น ต่างก็ลุกจากอาสนะเข้าไปยังที่อยู่ของตน
ส่วนพวกภิกษุใหม่ บวชไม่นาน เพิ่งมาสู่พระธรรมวินัยนี้ ต่างก็เข้าไปสู่ที่อยู่ของตน
นอนหลับกรนอยู่จนพระอาทิตย์ขึ้น พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นภิกษุ
เหล่านั้นผู้นอนหลับกรนอยู่ ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ แล้วเสด็จเข้าไป
ยังหอฉัน ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้ ได้เรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสถามว่า
“ภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรไปไหน โมคคัลลานะไปไหน มหากัสสปะไปไหน
มหากัจจายนะไปไหน มหาโกฏฐิกะไปไหน มหาจุนทะไปไหน มหากัปปินะไปไหน
อนุรุทธะไปไหน เรวตะไปไหน อานนท์ไปไหน สาวกชั้นเถระเหล่านั้นไปไหน”
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จ
หลีกไปไม่นาน พระเถระเหล่านั้นต่างก็ลุกจากอาสนะเข้าไปยังที่อยู่ของตน”

เชิงอรรถ :
๑ ที่หลีกเร้น หมายถึงการอยู่ผู้เดียว การอยู่โดยเพ่งพินิจธรรม หรือการอยู่ด้วยผลสมาบัติ (สํ.สฬา.อ.
๓/๘๗/๒๐, องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๗/๑๐๖-๑๐๗) อีกนัยหนึ่ง หมายถึงการทำนิพพานที่สงบให้เป็นอารมณ์ เข้า
ผลสมาบัติในเวลาเช้า (ตามนัย วิ.อ. ๑/๒๒/๒๐๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๓๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๒. สารณียวรรค ๗. โสปปสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเป็นเถระหรือหนอ
เธอทั้งหลายเป็นภิกษุใหม่นอนหลับกรนอยู่จนพระอาทิตย์ขึ้น เธอทั้งหลายเข้าใจ
เรื่องนั้นอย่างไร เธอทั้งหลายเคยได้เห็นหรือเคยได้ยินบ้างไหมว่า ‘กษัตราธิราชได้รับ
มูรธาภิเษกแล้ว ทรงประกอบความสุขในการบรรทม๑ ความสุขในการเอกเขนก๒
ความสุขในการหลับอยู่ตามพระประสงค์ ครองราชย์จนตลอดพระชนมชีพ ย่อมเป็น
ที่รัก เป็นที่พอใจของชาวชนบท”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ไม่เป็นอย่างนั้นเลย พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ภิกษุทั้งหลาย ข้อนั้นแม้เราก็ไม่เคยได้เห็น
ไม่เคยได้ยินมาเลยว่า ‘กษัตราธิราชได้รับมูรธาภิเษกแล้ว ทรงประกอบความสุขใน
การบรรทม ความสุขในการเอกเขนก ความสุขในการหลับอยู่ตามพระประสงค์
ครองราชย์จนตลอดพระชนมชีพ ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจของชาวชนบท
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร เธอทั้งหลายเคยได้เห็นหรือ
เคยได้ยินมาบ้างไหมว่า “ท่านผู้ครองรัฐ ฯลฯ ท่านผู้เป็นทายาทของตระกูล ฯลฯ
ท่านผู้เป็นเสนาบดี ฯลฯ ท่านผู้ครองหมู่บ้าน ฯลฯ ท่านผู้เป็นหัวหน้าคณะ
ประกอบความสุขในการนอน ความสุขในการเอกเขนก ความสุขในการหลับอยู่ตาม
ความประสงค์ ปกครองหมู่คณะจนตลอดชีวิต ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจของหมู่คณะ”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ไม่เป็นอย่างนั้นเลย พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ภิกษุทั้งหลาย ข้อนั้นแม้เราก็ไม่เคยได้เห็น
ไม่เคยได้ยินมาเลยว่า ‘ท่านผู้เป็นหัวหน้าคณะประกอบความสุขในการนอน ความสุข
ในการเอกเขนก ความสุขในการหลับอยู่ตามความประสงค์ ปกครองหมู่คณะจน
ตลอดชีวิต ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจของหมู่คณะ’

เชิงอรรถ :
๑ ความสุขในการบรรทม หมายถึงความสุขที่เกิดจากการนอนบนพระแท่นบรรทม หรือการแปรพระราช
ฐานพักผ่อนตามฤดู (องฺ.ปญฺจ.อ. ๓/๒๐๖/๘๖)
๒ ความสุขในการเอกเขนก หมายถึงความสุขในการบรรทมพลิกกลับไปมา (องฺ.ปญฺจ.อ. ๓/๒๐๖/๘๖)
๓ โพธิปักขิยธรรม หมายถึงธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งการตรัสรู้ มี ๓๗ ประการ คือ (๑) สติปัฏฐาน ๔
(๒) สัมมัปปธาน ๔ (๓) อิทธิบาท ๔ (๔) อินทรีย์ ๕ (๕) พละ ๕ (๖) โพชฌงค์ ๗ (๗) มรรคมีองค์ ๘
ดู ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๕๐/๑๗๔, อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๕๒๒/๓๙๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๒. สารณียวรรค ๗. โสปปสูตร
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร เธอทั้งหลายเคยได้เห็นหรือ
เคยได้ยินมาบ้างไหมว่า สมณะหรือพราหมณ์ประกอบความสุขในการนอน ความสุข
ในการเอกเขนก ความสุขในการหลับอยู่ตามความประสงค์ ไม่คุ้มครองทวาร
ในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค ไม่หมั่นประกอบความเพียรเป็น
เครื่องตื่นอยู่ ไม่เห็นแจ้งกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่หมั่นประกอบความเพียรในการ
เจริญโพธิปักขิยธรรม ทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายแห่งราตรีแล้วทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ
ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ใน
ปัจจุบัน”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ไม่เป็นอย่างนั้นเลย พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ภิกษุทั้งหลาย ข้อนั้นแม้เราก็ไม่เคยได้เห็น
ไม่เคยได้ยินมาเลยว่า ‘สมณะหรือพราหมณ์ประกอบความสุขในการนอน ความสุข
ในการเอกเขนก ความสุขในการหลับอยู่ตามความประสงค์ ไม่คุ้มครองทวารใน
อินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค ไม่หมั่นประกอบความเพียรเครื่อง
ตื่นอยู่ ไม่เห็นแจ้งกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่หมั่นประกอบความเพียรในการเจริญ
โพธิปักขิยธรรม ทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายแห่งราตรี ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญา-
วิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน’
เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลายจักคุ้มครอง
ทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย จักเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภค จักเป็นผู้หมั่น
ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่ จักเป็นผู้เห็นแจ้งกุศลธรรมทั้งหลาย จักเป็นผู้
หมั่นประกอบความเพียรในการเจริญโพธิปักขิยธรรม ทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายแห่ง
ราตรีอยู่’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล”
โสปปสูตรที่ ๗ จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๔๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๒. สารณียวรรค ๘. มัจฉพันธสูตร
๘. มัจฉพันธสูตร
ว่าด้วยชาวประมงจับปลา
[๑๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศลพร้อมด้วยภิกษุ
สงฆ์หมู่ใหญ่ พระผู้มีพระภาคทรงดำเนินทางไกล ได้ทอดพระเนตรเห็นชาวประมง
จับปลา ฆ่าแล้วขายอยู่ ในท้องถิ่นแห่งหนึ่ง ได้เสด็จแวะริมทาง ประทับนั่งบน
พุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้ที่โคนไม้แห่งหนึ่ง แล้วได้ตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายเห็นชาวประมงโน้นผู้จับปลา ฆ่าแล้วขายอยู่หรือไม่”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “เห็น พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร
เธอทั้งหลายเคยได้เห็นหรือเคยได้ยินมาบ้างไหมว่า ‘ชาวประมงจับปลาฆ่าแล้ว
ขายอยู่ ได้เป็นผู้ขี่ช้าง ขี่ม้า ขี่รถ ขี่ยาน เป็นเจ้าของโภคทรัพย์ หรือครอบครอง
กองโภคทรัพย์เป็นอันมาก เพราะกรรมนั้น เพราะอาชีพนั้น”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ไม่เป็นอย่างนั้นเลย พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ภิกษุทั้งหลาย ข้อนั้นแม้เราก็ไม่เคยได้เห็น
ไม่เคยได้ยินมาเลยว่า ‘ชาวประมงจับปลาฆ่าแล้วขายอยู่ ได้เป็นผู้ขี่ช้าง ขี่ม้า ขี่รถ
ขี่ยาน เป็นเจ้าของโภคทรัพย์ หรือครอบครองกองโภคทรัพย์เป็นอันมาก เพราะ
กรรมนั้น เพราะอาชีพนั้น’ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเขาเพ่งดูปลาเหล่านั้นที่เขา
พึงฆ่า ที่พึงนำมาเพื่อฆ่าด้วยใจที่เป็นบาป ฉะนั้น เขาจึงไม่ได้ขี่ช้าง ไม่ได้ขี่ม้า
ไม่ได้ขี่รถ ไม่ได้ขี่ยาน ไม่ได้เป็นเจ้าของโภคทรัพย์ ไม่ได้ครอบครองกองโภคทรัพย์
เป็นอันมาก
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร เธอทั้งหลายเคยได้เห็น
หรือเคยได้ยินมาบ้างไหมว่า ‘คนฆ่าโคฆ่าโคแล้วขายอยู่ ได้เป็นผู้ขี่ช้าง ขี่ม้า ขี่รถ
ขี่ยาน เป็นเจ้าของโภคทรัพย์ หรือครอบครองกองโภคทรัพย์เป็นอันมาก เพราะ
กรรมนั้น เพราะอาชีพนั้น”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ไม่เป็นอย่างนั้นเลย พระพุทธเจ้าข้า”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๔๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๒. สารณียวรรค ๘. มัจฉพันธสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ภิกษุทั้งหลาย ข้อนั้นแม้เราก็ไม่เคยได้เห็น
ไม่เคยได้ยินมาเลยว่า ‘คนฆ่าโคฆ่าโคแล้วขายอยู่ ได้เป็นผู้ขี่ช้าง ขี่ม้า ขี่รถ ขี่ยาน
เป็นเจ้าของโภคทรัพย์ หรือครอบครองกองโภคทรัพย์เป็นอันมากเพราะกรรมนั้น
เพราะอาชีพนั้น’ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเขาเพ่งดูโคเหล่านั้น ที่เขาพึงฆ่า ที่พึงนำ
มาเพื่อฆ่าด้วยใจที่เป็นบาป ฉะนั้น เขาจึงไม่ได้ขี่ช้าง ไม่ได้ขี่ม้า ไม่ได้ขี่รถ ไม่ได้ขี่ยาน
ไม่ได้เป็นเจ้าของโภคทรัพย์ ไม่ได้ครอบครองกองโภคทรัพย์เป็นอันมาก
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร เธอทั้งหลายเคยได้เห็นหรือ
เคยได้ยินมาบ้างไหมว่า ‘คนฆ่าแกะ ฯลฯ คนฆ่าสุกร ฯลฯ พรานนก ฯลฯ พรานเนื้อ
ฆ่าเนื้อแล้วขายอยู่ ได้เป็นผู้ขี่ช้าง ขี่ม้า ขี่รถ ขี่ยาน เป็นเจ้าของโภคทรัพย์ หรือครอบ
ครองกองโภคทรัพย์เป็นอันมาก เพราะกรรมนั้น เพราะอาชีพนั้น”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ไม่เป็นอย่างนั้นเลย พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ภิกษุทั้งหลาย ข้อนั้นแม้เราก็ไม่เคยได้เห็น
ไม่เคยได้ยินมาเลยว่า ‘พรานเนื้อ ฆ่าเนื้อแล้วขายอยู่ ได้เป็นผู้ขี่ช้าง ขี่ม้า ขี่รถ
ขี่ยาน เป็นเจ้าของโภคทรัพย์ หรือครอบครองกองโภคทรัพย์เป็นอันมาก เพราะ
กรรมนั้น เพราะอาชีพนั้น’ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเขาเพ่งดูเนื้อที่เขาพึงฆ่า ที่นำ
มาเพื่อฆ่าด้วยใจที่เป็นบาป ฉะนั้น เขาจึงไม่ได้ขี่ช้าง ไม่ได้ขี่ม้า ไม่ได้ขี่รถ ไม่ได้ขี่ยาน
ไม่ได้เป็นเจ้าของโภคทรัพย์ ไม่ได้ครอบครองกองโภคทรัพย์เป็นอันมาก
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเพ่งดูสัตว์ดิรัจฉานเหล่านั้นที่เขาพึงฆ่า ที่พึงนำมาเพื่อฆ่า
ด้วยใจที่เป็นบาป ฉะนั้น เขาจึงไม่ได้ขี่ช้าง ไม่ได้ขี่ม้า ไม่ได้ขี่รถ ไม่ได้ขี่ยาน ไม่ได้เป็น
เจ้าของโภคทรัพย์ ไม่ได้ครอบครองกองโภคทรัพย์เป็นอันมาก ไม่จำเป็นต้องพูดถึงผู้
เพ่งดูมนุษย์ที่เขาพึงฆ่า ที่พึงนำมาเพื่อฆ่าด้วยใจที่เป็นบาป เพราะผลของกรรมนั้น
ย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เขาตลอดกาลนาน หลังจากตายแล้ว เขาจะไป
เกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก”
มัจฉพันธสูตรที่ ๘ จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๔๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๒. สารณียวรรค ๙. ปฐมมรณัสสติสูตร
๙. ปฐมมรณัสสติสูตร
ว่าด้วยการเจริญมรณัสสติ สูตรที่ ๑
[๑๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ คิญชกาวสถาราม๑ ใน
นาทิกคาม ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัส
เรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย มรณัสสติที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ๒ มีอมตะเป็นที่สุด ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย
ยังเจริญมรณัสสติอยู่หรือไม่”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสถามอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระ
ภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้าพระองค์ก็ยังเจริญมรณัสสติอยู่”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอเจริญมรณัสสติอย่างไร”
ภิกษุกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในเรื่องนี้ ข้าพระองค์มีความคิด
อย่างนี้ว่า ‘โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ได้ตลอดคืนหนึ่งและวันหนึ่ง เราพึงมนสิการ
ถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาค เราพึงทำกิจให้มากหนอ’ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ข้าพระองค์เจริญมรณัสสติอย่างนี้”
ภิกษุอีกรูปหนึ่งกราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้า
พระองค์ก็ยังเจริญมรณัสสติอยู่”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอเจริญมรณัสสติอย่างไร”
ภิกษุกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์คิดอย่างนี้ว่า ‘โอหนอ
เราพึงเป็นอยู่ได้ตลอดวันหนึ่ง เราพึงมนสิการถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาค เราพึง
ทำกิจให้มากหนอ’ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เจริญมรณัสสติอย่างนี้

เชิงอรรถ :
๑ คิญชกาวสถาราม หมายถึงปราสาทที่สร้างด้วยอิฐ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓//๑๙/๑๐๗)
๒ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ปัญจกนิบาต ข้อ ๖๑ หน้า ๑๑๐ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๔๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๒. สารณียวรรค ๙. ปฐมมรณัสสติสูตร
ภิกษุอีกรูปหนึ่งกราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้า
พระองค์ก็ยังเจริญมรณัสสติอยู่”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอเจริญมรณัสสติอย่างไร”
ภิกษุกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในเรื่องนี้ ข้าพระองค์มีความคิด
อย่างนี้ว่า ‘โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ได้เพียงชั่วขณะฉันบิณฑบาตมื้อหนึ่ง เราพึง
มนสิการถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาค เราพึงทำกิจให้มากหนอ’ ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ข้าพระองค์เจริญมรณัสสติอย่างนี้”
ภิกษุอีกรูปหนึ่งกราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้า
พระองค์ก็ยังเจริญมรณัสสติอยู่”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอเจริญมรณัสสติอย่างไร”
ภิกษุกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์มีความคิดอย่างนี้ว่า
‘โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ได้เพียงชั่วขณะเคี้ยวกินคำข้าว ๔-๕ คำ เราพึงมนสิการ
ถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาค เราพึงทำกิจให้มากหนอ’ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ข้าพระองค์เจริญมรณัสสติอย่างนี้”
ภิกษุอีกรูปหนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้า
พระองค์ก็ยังเจริญมรณัสสติอยู่”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอเจริญมรณัสสติอย่างไร”
ภิกษุกราบทูลว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในเรื่องนี้ ข้าพระองค์มีความคิด
อย่างนี้ว่า ‘โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ได้เพียงชั่วขณะเคี้ยวกินคำข้าว ๑ คำ เราพึง
มนสิการถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาค เราพึงทำกิจให้มากหนอ’ ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ข้าพระองค์เจริญมรณัสสติอย่างนี้”
ภิกษุอีกรูปหนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้า
พระองค์ก็ยังเจริญมรณัสสติอยู่”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอเจริญมรณัสสติอย่างไร”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๒. สารณียวรรค ๙. ปฐมมรณัสสติสูตร
ภิกษุกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในเรื่องนี้ ข้าพระองค์มีความคิด
อย่างนี้ว่า ‘โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ได้เพียงชั่วขณะลมหายใจเข้าหายใจออก หรือหาย
ใจออกหายใจเข้า เราพึงมนสิการคำสอนของพระผู้มีพระภาค เราพึงทำกิจให้
มากหนอ’ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เจริญมรณัสสติอย่างนี้”
เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปใดเจริญมรณัสสติว่า ‘โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ได้ตลอด
คืนหนึ่งและวันหนึ่ง เราพึงมนสิการถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาค เราพึงทำกิจให้
มากหนอ’
ภิกษุรูปใดเจริญมรณัสสติอย่างนี้ว่า ‘โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ได้ตลอดวันหนึ่ง
เราพึงมนสิการถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาค เราพึงทำกิจให้มากหนอ’
ภิกษุรูปใดเจริญมรณัสสติอย่างนี้ว่า ‘โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ได้เพียงชั่วขณะฉัน
บิณฑบาตมื้อหนึ่ง เราพึงมนสิการถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาค เราพึงทำกิจให้
มากหนอ’
ภิกษุรูปใดเจริญมรณัสสติอย่างนี้ว่า ‘โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ได้เพียงชั่วขณะ
เคี้ยวกินคำข้าว ๔-๕ คำ เราพึงมนสิการถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาค เราพึง
ทำกิจให้มากหนอ’
เรากล่าวว่า ภิกษุเหล่านี้ยังเป็นผู้ประมาทอยู่ ยังเจริญมรณัสสติอย่างเพลาเพื่อ
ความสิ้นอาสวะทั้งหลาย
ส่วนภิกษุรูปใดเจริญมรณัสสติอย่างนี้ว่า ‘โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ได้เพียงชั่ว
ขณะเคี้ยวกินคำข้าว ๑ คำ เราพึงมนสิการถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาค เราพึง
ทำกิจให้มากหนอ’
และภิกษุรูปใดเจริญมรณัสสติอย่างนี้ว่า ‘โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ได้เพียงชั่วขณะ
ลมหายใจเข้าหายใจออก หรือหายใจออกหายใจเข้า เราพึงมนสิการถึงคำสอนของ
พระผู้มีพระภาค เราพึงทำกิจให้มากหนอ’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๒. สารณียวรรค ๑๐. ทุติยมรณัสสติสูตร
ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า ภิกษุเหล่านี้เป็นผู้ไม่ประมาทอยู่ เจริญมรณัสสติ
อย่างแรงกล้าเพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลาย
เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลายจักเป็นผู้ไม่
ประมาทอยู่ จักเจริญมรณัสสติอย่างแรงกล้าเพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลาย’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล”
ปฐมมรณัสสติสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. ทุติยมรณัสสติสูตร
ว่าด้วยการเจริญมรณัสสติ สูตรที่ ๒
[๒๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ คิญชกาวสถาราม ใน
นาทิกคาม ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย มรณัสสติที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด
มรณัสสติที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลง
สู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อกลางวันผ่านไป กลางคืนย่างเข้ามา พิจารณา
เห็นดังนี้ว่า ‘ปัจจัยแห่งความตายของเรามีมากแท้ คือ งูพึงกัดเราก็ได้ แมงป่อง
พึงต่อยเราก็ได้ หรือตะขาบพึงกัดเราก็ได้ เพราะเหตุนั้น เราพึงตาย เราพึงมี
อันตราย๑นั้น เราพึงพลาดหกล้มก็ได้ ภัตตาหารที่เราฉันแล้วไม่พึงย่อยก็ได้ ดีของ
เราพึงกำเริบก็ได้ เสมหะของเราพึงกำเริบก็ได้ หรือลมมีพิษดังศัสตราของเราพึง
กำเริบก็ได้ เพราะเหตุนั้น เราพึงตาย เราพึงมีอันตรายนั้น’ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้น
พึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘บาปอกุศลธรรมที่เรายังละไม่ได้ ซึ่งจะพึงเป็นอันตรายแก่
เราผู้จะตายในเวลากลางคืนมีอยู่หรือไม่’

เชิงอรรถ :
๑ อันตราย ในที่นี้หมายถึงอันตราย ๓ อย่าง คือ (๑) อันตรายต่อชีวิต (๒) อันตรายต่อสมณธรรม (๓) อันตราย
ต่อสวรรค์และอันตรายต่อมรรคสำหรับผู้ที่ตายอย่างปุถุชน (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๐/๑๐๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๔๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๒. สารณียวรรค ๑๐. ทุติยมรณัสสติสูตร
ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘บาปอกุศลธรรมที่เรายังละไม่ได้ ซึ่งจะพึง
เป็นอันตรายแก่เราผู้จะตายในเวลากลางคืนยังมีอยู่’ ภิกษุนั้นควรทำความพอใจ
ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย สติและ
สัมปชัญญะให้มีประมาณยิ่ง เพื่อละบาปอกุศลธรรมเหล่านั้น
ภิกษุนั้นควรทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น
ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะให้มีประมาณยิ่ง เพื่อละบาปอกุศลธรรม
เหล่านั้น เปรียบเหมือนบุคคลผู้มีผ้าที่ถูกไฟไหม้ หรือมีศีรษะถูกไฟไหม้ ควรทำ
ความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย
สติและสัมปชัญญะให้มีประมาณยิ่ง เพื่อดับไฟที่ไหม้ผ้าหรือไฟที่ไหม้ศีรษะนั้น
ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘บาปอกุศลธรรมที่เรายังละไม่ได้ ซึ่งจะพึง
เป็นอันตรายแก่เราผู้จะตายในเวลากลางคืนไม่มี’ ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้มีปีติและปราโมทย์
นั้นแล ตามสำเหนียกในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันและกลางคืนอยู่เถิด
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อกลางคืนผ่านไป กลางวันย่างเข้ามา พิจารณาเห็น
ดังนี้ว่า ‘ปัจจัยแห่งความตายของเรามีมากแท้ คือ งูพึงกัดเราก็ได้ แมงป่องพึงต่อย
เราก็ได้ หรือตะขาบพึงกัดเราก็ได้ เพราะเหตุนั้น เราพึงตาย เราพึงมีอันตรายนั้น
เราพึงพลาดหกล้มก็ได้ ภัตตาหารที่เราฉันแล้วไม่พึงย่อยก็ได้ ดีของเราพึงกำเริบก็ได้
เสมหะของเราพึงกำเริบก็ได้ หรือลมมีพิษดังศัสตราของเราพึงกำเริบ เพราะเหตุนั้น
เราพึงตาย เราพึงมีอันตรายนั้น’ ภิกษุนั้นพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘บาปอกุศลธรรมที่
เรายังละไม่ได้ ซึ่งจะพึงเป็นอันตรายแก่เราผู้จะตายในเวลากลางวันมีอยู่หรือไม่’
ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘บาปอกุศลธรรมที่เรายังละไม่ได้ ซึ่งจะพึง
เป็นอันตรายแก่เราผู้จะตายในเวลากลางวันยังมีอยู่’ ภิกษุนั้นควรทำความพอใจ ความ
พยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ
ให้มีประมาณยิ่ง เพื่อละบาปอกุศลธรรมเหล่านั้น
ภิกษุนั้นควรทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น
ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะให้มีประมาณยิ่ง เพื่อละบาปอกุศลธรรม


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๔๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๒. สารณียวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
เหล่านั้น เปรียบเหมือนบุคคลผู้มีผ้าที่ถูกไฟไหม้ หรือมีศีรษะถูกไฟไหม้ พึงทำความ
พอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย สติและ
สัมปชัญญะให้มีประมาณยิ่ง เพื่อดับไฟที่ไหม้ผ้าหรือไฟที่ไหม้ศีรษะนั้น
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘บาปอกุศลธรรมที่เรายังละไม่ได้
ซึ่งจะพึงเป็นอันตรายแก่เราผู้จะตายในเวลากลางวันไม่มี ภิกษุนั้น พึงเป็นผู้มีปีติและ
ปราโมทย์นั้นแล ตามสำเหนียกในกุศลธรรมทั้งหลาย ทั้งกลางวันกลางคืนอยู่เถิด
ภิกษุทั้งหลาย มรณัสสติที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เป็นอย่างนี้แล”
ทุติยมรณัสสติสูตรที่ ๑๐ จบ
สารณียวรรคที่ ๒ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมสารณียสูตร ๒. ทุติยสารณียสูตร
๓. นิสสารณียสูตร ๔. ภัททกสูตร
๕. อนุตัปปิยสูตร ๖. นกุลปิตุสูตร
๗. โสปปสูตร ๘. มัจฉพันธสูตร
๙. ปฐมมรณัสสติสูตร ๑๐. ทุติยมรณัสสติสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๔๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๓. อนุตตริยวรรค ๑. สามกสูตร
๓. อนุตตริยวรรค
หมวดว่าด้วยอนุตตริยะ๑
๑. สามกสูตร
ว่าด้วยหมู่บ้านสามะ
[๒๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่วิหารชื่อโปกขรณีย์ ใกล้หมู่บ้าน
สามะ แคว้นสักกะ ครั้งนั้น เมื่อราตรีผ่านไป๒ เทวดาตนหนึ่งมีวรรณะงดงามยิ่งนัก
เปล่งรัศมีให้สว่างทั่วโปกขรณีย์วิหาร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๓ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุ
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความเป็นผู้ชอบการงาน๓
๒. ความเป็นผู้ชอบการพูดคุย๔
๓. ความเป็นผู้ชอบการนอนหลับ๕
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๓ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุ”
เมื่อเทวดานั้นได้กราบทูลดังนี้แล้ว พระศาสดาทรงพอพระทัย ครั้นเทวดานั้น
รู้ว่า ‘พระศาสดาทรงพอพระทัยเรา’ จึงถวายอภิวาททำประทักษิณแล้วหายไป ณ
ที่นั้นแล

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ฉักกนิบาต ข้อ ๘ หน้า ๔๑๙ ในเล่มนี้
๒ เมื่อราตรีผ่านไป หมายถึงเมื่อปฐมยามผ่านไป มัชฌิมยามย่างเข้ามา (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๑-๒๒/๑๐๘)
๓ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ปัญจกนิบาต ข้อ ๘๙ (ปฐมเสขสูตร) หน้า ๑๕๙ ในเล่มนี้
๔ ชอบการพูดคุย ในที่นี้หมายถึงชอบสนทนาเกี่ยวกับบุรุษและสตรีเป็นต้น ให้วันและคืนผ่านไปโดยเปล่า
ประโยชน์ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๒๔/๑๗๗)
๕ ชอบการนอนหลับ ในที่นี้หมายถึงภิกษุแม้จะยืนก็ตาม เดินก็ตาม นั่งก็ตาม ก็ถูกถีนมิทธะ (ความหดหู่และ
เซื่องซึม) ครอบงำ เอาแต่หลับถ่ายเดียว (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๒๔/๑๗๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๓. อนุตตริยวรรค ๑. สามกสูตร
ครั้นคืนนั้นผ่านไป พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย เมื่อคืนนี้ เมื่อราตรีผ่านไป เทวดาตนหนึ่งมีวรรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่ง
รัศมีให้สว่างทั่วโปกขรณีย์วิหาร เข้ามาหาเราถึงที่อยู่ ไหว้แล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร
ได้กล่าวกับเราดังนี้ว่า
‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๓ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุ
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความเป็นผู้ชอบการงาน
๒. ความเป็นผู้ชอบการพูดคุย
๓. ความเป็นผู้ชอบการนอนหลับ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๓ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุ’
เทวดานั้นครั้นได้กล่าวดังนี้แล้ว จึงไหว้เราทำประทักษิณแล้วหายไป ณ ที่นั้นแล
ภิกษุทั้งหลาย ไม่ใช่ลาภของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายได้ชั่วแล้วหนอ ที่เธอทั้งหลาย
เสื่อมจากกุศลธรรม แม้พวกเทวดาก็รู้
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปริหานิยธรรม (ธรรมที่เป็นเหตุแห่งความเสื่อม)
๓ ประการข้ออื่นอีก เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ภิกษุทั้งหลาย ปริหานิยธรรม ๓ ประการ
ปริหานิยธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความเป็นผู้ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่๑
๒. ความเป็นผู้ว่ายาก
๓. ความเป็นผู้มีปาปมิตร(มิตรชั่ว)
ภิกษุทั้งหลาย ปริหานิยธรรม ๓ ประการนี้แล

เชิงอรรถ :
๑ ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่ ในที่นี้หมายถึงชอบอยู่คลุกคลีกับเพื่อน ๑ คนบ้าง ๒ คนบ้าง ๓ คนบ้าง เมื่ออยู่
คนเดียวก็หาความสบายใจไม่ได้ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๒๔/๑๗๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๓. อนุตตริยวรรค ๒. อปริหานิยสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ชนทั้งหลายบางพวกในอดีตเสื่อมแล้วจากกุศลธรรมทั้งหลาย
ชนเหล่านั้นทั้งหมดก็เสื่อมเพราะธรรม ๖ ประการนี้แล
ชนทั้งหลายบางพวกในอนาคตจักเสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย ชนเหล่านั้น
ทั้งหมดก็จักเสื่อมเพราะธรรม ๖ ประการนี้แล
ชนทั้งหลายบางพวกในปัจจุบันกำลังเสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย ชนเหล่านั้น
ทั้งหมดก็เสื่อมเพราะธรรม ๖ ประการนี้แล
สามกสูตรที่ ๑ จบ
๒. อปริหานิยสูตร
ว่าด้วยอปริหานิยธรรม
[๒๒] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอปริหานิยธรรม(ธรรมที่ไม่เป็นเหตุแห่ง
ความเสื่อม) ๖ ประการนี้ เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ
อปริหานิยธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความเป็นผู้ไม่ชอบการงาน๑
๒. ความเป็นผู้ไม่ชอบการพูดคุย๒
๓. ความเป็นผู้ไม่ชอบการนอนหลับ๓

เชิงอรรถ :
๑ ไม่ชอบการงาน ในที่นี้หมายถึงเมื่อพวกภิกษุทำกิจมีการทำจีวร ประคตเอว ผ้ากรองน้ำ ไม้กวาด และ
ผ้าเช็ดเท้าเป็นต้น ภิกษุปฏิเสธกิจเหล่านั้นเสียด้วยศรัทธา อนึ่ง หมายถึงทำกิจเหล่านั้นร่วมกับภิกษุทั้งหลาย
แล้วเรียนอุทเทสในเวลาเรียนอุทเทส สาธยายในเวลาสาธยาย กวาดลานพระเจดีย์ในเวลากวาดลานพระเจดีย์
มนสิการในเวลามนสิการ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๒๔/๑๗๖-๑๗๗)
๒ ไม่ชอบการพูดคุย ในที่นี้หมายถึงไม่สนทนาเรื่องเกี่ยวกับบุรุษและสตรีเป็นต้น แต่สนทนาเฉพาะเรื่อง
เกี่ยวกับธรรมในเวลากลางวันกลางคืนให้เป็นประโยชน์ ตอบปัญหาธรรมตลอดวันและคืน พูดน้อย พูดมีที่
จบ เพราะพุทธพจน์ว่า “ภิกษุผู้นั่งประชุมกันมีหน้าที่ ๒ อย่าง คือ สนทนาธรรม และเป็นผู้นิ่งอย่างพระ
อริยะ” (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๒๔/๑๗๗) และดู ม.มู. ๑๒/๒๗๓/๒๓๕ (ปาสราสิสูตร)
๓ ไม่ชอบการนอนหลับ ในที่นี้หมายถึงจะยืนก็ตาม จะเดินก็ตาม จะนั่งก็ตาม มีจิตตกภวังค์ เพราะกรช-
กายมีความเจ็บป่วยก็ตาม ก็ไม่ถูกถีนมิทธะครอบงำ เพราะฉะนั้นจึงมีพุทธพจน์ว่า “เรากลับจากบิณฑบาต
หลังจากฉันอาหารเสร็จแล้ว ปูลาดสังฆาฏิ ๔ ชั้น มีสติสัมปชัญญะ หยั่งลงสู่การนอนหลับโดยพระปรัศว์
เบื้องขวารู้ชัดอยู่” (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๒๔/๑๗๗) และดู ม.มู. ๑๒/๓๘๗/๓๔๕ (มหาสัจจกสูตร)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๕๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๓. อนุตตริยวรรค ๓. ภยสูตร
๔. ความเป็นผู้ไม่ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่
๕. ความเป็นผู้ว่าง่าย
๖. ความเป็นผู้มีกัลยาณมิตร (มิตรดี)
ภิกษุทั้งหลาย อปริหานิยธรรม ๖ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ชนทั้งหลายบางพวกในอดีตไม่เสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย
ชนเหล่านั้นทั้งหมดก็ไม่เสื่อมเพราะธรรม ๖ ประการนี้แล
ชนทั้งหลายบางพวกในอนาคตจักไม่เสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย ชนเหล่านั้น
ทั้งหมดก็จักไม่เสื่อมเพราะธรรม ๖ ประการนี้แล
ชนทั้งหลายบางพวกในปัจจุบันไม่เสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย ชนเหล่านั้น
ทั้งหมดก็ไม่เสื่อมเพราะธรรม ๖ ประการนี้แล
อปริหานิยสูตรที่ ๒ จบ
๓. ภยสูตร
ว่าด้วยภัยเป็นชื่อของกาม
[๒๓] ภิกษุทั้งหลาย
๑. คำว่า ‘ภัย’ นี้เป็นชื่อของกาม
๒. คำว่า ‘ทุกข์’ นี้เป็นชื่อของกาม
๓. คำว่า ‘โรค’ นี้เป็นชื่อของกาม
๔. คำว่า ‘ฝี’ นี้เป็นชื่อของกาม
๕. คำว่า ‘เครื่องข้อง’ นี้เป็นชื่อของกาม
๖. คำว่า ‘เปือกตม’ นี้เป็นชื่อของกาม
คำว่า ‘ภัย’ นี้เป็นชื่อของกาม เพราะเหตุไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๕๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๓. อนุตตริยวรรค ๓. ภยสูตร
เพราะสัตว์โลกผู้ยินดีด้วยกามราคะ ถูกฉันทราคะ๑เกี่ยวพันไว้ ย่อมไม่พ้นจาก
ภัยทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพหน้า ฉะนั้น คำว่า ‘ภัย’ นี้จึงเป็นชื่อของกาม
คำว่า ‘ทุกข์’ ฯลฯ คำว่า ‘โรค’ ฯลฯ คำว่า ‘ฝี’ ฯลฯ คำว่า ‘เครื่องข้อง’ ฯลฯ
คำว่า ‘เปือกตม’ นี้เป็นชื่อของกาม เพราะเหตุไร
เพราะสัตว์โลกผู้ยินดีด้วยกามราคะ ถูกฉันทราคะเกี่ยวพันไว้ ย่อมไม่พ้นจาก
เปือกตมทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพหน้า ฉะนั้น คำว่า ‘เปือกตม’ นี้จึงเป็นชื่อ
ของกาม
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาครั้นตรัสเวยยากรณ์ภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า
ภัย ทุกข์ โรค (ฝี) เครื่องข้องและเปือกตม
เหล่านี้เราเรียกว่ากามที่ข้องของปุถุชน
ชนทั้งหลายเห็นภัยในอุปาทาน๒
อันเป็นแดนเกิดแห่งชาติและมรณะ

เชิงอรรถ :
๑ ฉันทราคะ หมายถึงความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจกล่าวคือตัณหา (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๑๓/๒๖๐)
ทั้ง กามราคะ และ ฉันทราคะ เป็นชื่อเรียกกิเลสกามในจำนวนชื่อเรียก ๑๘ ชื่อ คือ (๑) ฉันทะ (ความพอใจ)
(๒) ราคะ (ความกำหนัด) (๓) ฉันทราคะ (ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ) (๔) สังกัปปะ (ความดำริ)
(๕) ราคะ (ความกำหนัด) (๖) สังกัปปราคะ (ความกำหนัดอำนาจความดำริ) (๗) กามฉันทะ (ความพอใจ
ด้วยอำนาจความใคร่) (๘) กามราคะ (ความกำหนัดด้วยอำนาจความใคร่) (๙) กามนันทะ (ความเพลิด
เพลินด้วยอำนาจความใคร่) (๑๐) กามตัณหา (ความทะยานอยากด้วยอำนาจความใคร่) (๑๑) กามเสนหะ
(ความเยื่อใยด้วยอำนาจความใคร่) (๑๒) กามปริฬาหะ (ความเร่าร้อนด้วยอำนาจความใคร่) (๑๓) กามมุจฉา
(ความสยบด้วยอำนาจความใคร่) (๑๔) กามัชโฌสานะ (ความติดใจด้วยอำนาจความใคร่) (๑๕) กาโมฆะ
(ห้วงน้ำคือความใคร่) (๑๖) กามโยคะ (กิเลสเครื่องประกอบคือความใคร่) (๑๗) กามุปาทานะ (กิเลส
เครื่องยึดมั่นคือความใคร่) (๑๘) กามัจฉันทนีวรณะ (กิเลสเครื่องกั้นจิตคือความพอใจด้วยอำนาจความใคร่)
(ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑/๒)
๒ อุปาทาน (ความยึดมั่น) ๔ คือ (๑) กามุปาทาน ความยึดมั่นในกาม (๒) ทิฏฐุปาทาน ความยึดมั่นในทิฏฐิ
(๓) สีลัพพตุปาทาน ความยึดมั่นในศีลและวัตร (๔) อัตตวาทุปาทาน ความยึดมั่นในวาทะว่าตัวตน (ที.ปา.
๑๑/๓๑๒/๒๐๕, ม.มู. ๑๒/๑๔๓/๑๐๑, อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๓๘/๕๘๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๕๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๓. อนุตตริยวรรค ๔. หิมวันตสูตร
ย่อมหลุดพ้นในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งชาติและมรณะ๑
เพราะไม่ถือมั่น
ชนเหล่านั้นถึงธรรมเป็นแดนเกษม
มีความสุข ดับสนิทในปัจจุบัน
ล่วงทุกข์ทั้งหมดไปได้ พ้นเวรทั้งปวง
ภยสูตรที่ ๓ จบ
๔. หิมวันตสูตร
ว่าด้วยขุนเขาหิมพานต์
[๒๔] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ พึงทำลายขุนเขา
หิมพานต์ได้ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงอวิชชาอันเลวทรามเลย
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ๒
๒. เป็นผู้ฉลาดในการให้สมาธิตั้งอยู่ได้๓
๓. เป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาธิ๔

เชิงอรรถ :
๑ ธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งชาติ และมรณะ ในที่นี้หมายถึงนิพพาน (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๔/๑๐๙)
๒ ฉลาดในการเข้าสมาธิ หมายถึงฉลาดเลือกอาหารและฤดูที่เหมาะแก่การเจริญสมาธิ (องฺ.ฉกฺก.อ.
๓/๒๔/๑๐๙)
๓ ฉลาดในการให้สมาธิตั้งอยู่ได้ หมายถึงสามารถรักษาสมาธิให้ดำรงอยู่ได้นาน (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๔/๑๐๙)
๔ ฉลาดในการออกจากสมาธิ ในที่นี้หมายถึงกำหนดเวลาที่จะออกจากสมาธิได้ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๔/๑๐๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๕๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๓. อนุตตริยวรรค ๕. อนุสสติฏฐานสูตร
๔. เป็นผู้ฉลาดในความพร้อมแห่งสมาธิ๑
๕. เป็นผู้ฉลาดในอารมณ์แห่งสมาธิ๒
๖. เป็นผู้ฉลาดในอภินิหารแห่งสมาธิ๓
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล พึงทำลายขุนเขา
หิมพานต์ได้ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงอวิชชาที่เลวทรามเลย
หิมวันตสูตรที่ ๔ จบ
๕. อนุสสติฏฐานสูตร
ว่าด้วยอนุสสติฏฐาน๔
[๒๕] ภิกษุทั้งหลาย อนุสสติฏฐาน ๖ ประการนี้
อนุสสติฏฐาน ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ระลึกถึงตถาคตว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มี
พระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ สมัยใด อริยสาวก
ระลึกถึงตถาคตแล้ว สมัยนั้น จิตของเธอย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม
ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม เป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว
เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความกำหนัด คำว่า ‘กำหนัด’
นี้เป็นชื่อของกามคุณ ๕

เชิงอรรถ :
๑ ฉลาดในความพร้อมแห่งสมาธิ หมายถึงสามารถทำสมาธิจิตให้มีความร่าเริงได้(องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๔/๑๐๙)
๒ ฉลาดในอารมณ์แห่งสมาธิ หมายถึงฉลาดในการเว้นธรรมที่ไม่เป็นอุปการะแก่สมาธิแล้วเลือกเจริญแต่
ธรรมที่เป็นสัปปายะและเป็นอุปการะโดยรู้ว่า “นี้คืออารมณ์ที่เป็นนิมิต (เครื่องหมาย) สำหรับให้จิตกำหนด
นี้คืออารมณ์ที่เป็นไตรลักษณ์” (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๔/๑๐๙)
๓ ฉลาดในอภินิหารแห่งสมาธิ หมายถึงฉลาดในการเจริญสมาธิในชั้นปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และ
จตุตถฌาน ตามลำดับจนเกิดความชำนาญแล้วเข้าสมาธิชั้นสูงขึ้นไป (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๔/๑๑๐)
๔ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๙ (อนุสสติฏฐานสูตร) หน้า ๔๒๐ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๓. อนุตตริยวรรค ๕. อนุสสติฏฐานสูตร
ภิกษุทั้งหลาย สัตว์บางพวกในโลกนี้ทำพุทธานุสสตินี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อม
บริสุทธิ์๑ได้อย่างนี้แล
๒. อริยสาวกระลึกถึงธรรมว่า ‘พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาค
ตรัสไว้ดีแล้ว ฯลฯ อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน’ สมัยใด อริยสาวก
ระลึกถึงธรรม สมัยนั้น จิตของเธอย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูก
โทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม เป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็น
จิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความกำหนัด คำว่า ‘กำหนัด’ นี้เป็น
ชื่อของกามคุณ ๕
ภิกษุทั้งหลาย สัตว์บางพวกในโลกนี้ทำธัมมานุสสตินี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อม
บริสุทธิ์ได้อย่างนี้แล
๓. อริยสาวกระลึกถึงสงฆ์ว่า ‘พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้
ปฏิบัติดี ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก’ สมัยใด อริยสาวก
ระลึกถึงสงฆ์ สมัยนั้น จิตของเธอย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูก
โทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม เป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็น
จิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความกำหนัด คำว่า ‘กำหนัด’ นี้เป็น
ชื่อของกามคุณ ๕
ภิกษุทั้งหลาย สัตว์บางพวกในโลกนี้ทำสังฆานุสสตินี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อม
บริสุทธิ์ได้อย่างนี้แล
๔. อริยสาวกระลึกถึงศีลของตนที่ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ สมัยใด
อริยสาวกระลึกถึงศีล สมัยนั้น จิตของเธอย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม
ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม เป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว
เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความกำหนัด คำว่า ‘กำหนัด’
นี้เป็นชื่อของกามคุณ ๕
ภิกษุทั้งหลาย สัตว์บางพวกในโลกนี้ทำสีลานุสสตินี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อมบริสุทธิ์
ได้อย่างนี้แล

เชิงอรรถ :
๑ บริสุทธิ์ ในที่นี้หมายถึงบรรลุนิพพานที่บริสุทธิ์อย่างยิ่ง (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๕/๑๑๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๓. อนุตตริยวรรค ๕. อนุสสติฏฐานสูตร
๕. อริยสาวกระลึกถึงจาคะของตนว่า ‘เป็นลาภของเราหนอ เราได้ดี
แล้วหนอ ฯลฯ ควรแก่การขอ ยินดีในการแจกทานอยู่ครองเรือน’
สมัยใด อริยสาวกระลึกถึงจาคะ สมัยนั้น จิตของเธอย่อมไม่ถูก
ราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม เป็นจิตดำเนิน
ไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความกำหนัด
คำว่า ‘กำหนัด’ นี้เป็นชื่อของกามคุณ ๕
ภิกษุทั้งหลาย สัตว์บางพวกในโลกนี้ทำจาคานุสสตินี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อม
บริสุทธิ์ได้อย่างนี้แล
๖. อริยสาวกระลึกถึงเทวดาทั้งหลายว่า ‘มีเทวดาชั้นจาตุมหาราช
เทวดาชั้นดาวดึงส์ เทวดาชั้นยามา เทวดาชั้นดุสิต เทวดาชั้น
นิมมานรดี เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี เทวดาชั้นพรหมกาย เทวดา
ชั้นสูงขึ้นไปกว่านั้น เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศรัทธาเช่นใด จุติ
จากโลกนี้แล้วไปเกิดในเทวโลกนั้น แม้เราเองก็มีศรัทธาเช่นนั้น
เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศีลเช่นใด ... สุตะ ... จาคะ ... ปัญญา
เช่นใด จุติจากโลกนี้แล้วไปเกิดในเทวโลกนั้น แม้เราเองก็มีปัญญา
เช่นนั้น’ สมัยใด อริยสาวกระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และ
ปัญญาของตน และของเทวดาเหล่านั้น สมัยนั้น จิตของเธอย่อม
ไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม เป็นจิต
ดำเนินไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความกำหนัด
คำว่า ‘กำหนัด’ นี้เป็นชื่อของกามคุณ ๕
ภิกษุทั้งหลาย สัตว์บางพวกในโลกนี้ทำอนุสสติทั้ง ๖ นี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อม
บริสุทธิ์ได้อย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย อนุสสติฏฐาน ๖ ประการนี้แล
อนุสสติฏฐานสูตรที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๓. อนุตตริยวรรค ๖. มหากัจจานสูตร
๖. มหากัจจานสูตร
ว่าด้วยพระมหากัจจานะ๑
[๒๖] ณ ที่นั้นแล ท่านพระมหากัจจานะ เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว ท่านพระมหากัจจานะจึงได้กล่าวดังนี้ว่า
ผู้มีอายุทั้งหลาย น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ ได้ตรัสรู้วิธี
บรรลุช่องว่างในที่คับแคบ๒คืออนุสสติฏฐาน ๖ ประการ เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์
ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงโสกะ(ความเศร้าโศก)และปริเทวะ(ความร่ำไร) เพื่อดับทุกข์
(ความทุกข์กาย)และโทมนัส(ความทุกข์ใจ) เพื่อบรรลุญายธรรม๓ เพื่อทำให้แจ้ง
นิพพาน
อนุสสติฏฐาน ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ระลึกถึงพระตถาคตว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ สมัยใด อริยสาวก
ระลึกถึงพระตถาคต สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นย่อมไม่ถูกราคะ
กลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม เป็นจิตดำเนินไป
ตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความกำหนัด คำว่า
‘กำหนัด’ นี้ เป็นชื่อของกามคุณ ๕ อริยสาวกนั้นแล มีจิตเสมอ
อากาศ อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความ
เบียดเบียน๔อยู่โดยประการทั้งปวง

เชิงอรรถ :
๑ คัมภีร์บางแห่งใช้ว่า มหากัจจายนะ
๒ ช่องว่างในที่คับแคบ หมายถึงทางหลุดพ้นจากกามคุณ ๕ (รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ) ทางหลุดพ้น
นั้นคืออนุสสติฏฐาน ๖ ประการ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๖/๑๑๐)
๓ ญายธรรม หมายถึงอริยมัคคธรรม (สํ.ม. ๑๙/๒๔/๑๕, สํ.ม.อ. ๓/๒๑-๓๐/๑๙๕)
๔ จิตเสมออากาศ หมายถึงจิตที่ไม่ต้องเกี่ยวข้อง ไม่ต้องผูกพัน
ไพบูลย์ หมายถึงจิตไม่ใช่นิดหน่อย
มหัคคตะ หมายถึงจิตที่ยิ่งใหญ่ หรือเป็นจิตที่พระอริยสาวกจำนวนมากปฏิบัติมา
ไม่มีขอบเขต หมายถึงประมาณไม่ได้
ไม่มีเวร หมายถึงปราศจากอกุศลเวรและบุคคลผู้เป็นเวรกัน
ไม่มีความเบียดเบียน หมายถึงปราศจากความโกรธและความทุกข์ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๖/๑๑๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๕๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๓. อนุตตริยวรรค ๖. มหากัจจานสูตร
ผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์บางพวกในโลกนี้ทำพุทธานุสสตินี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อม
เป็นผู้มีความบริสุทธิ์เป็นธรรมดาอย่างนี้แล
๒. อริยสาวกระลึกถึงพระธรรมว่า ‘พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระ
ภาคตรัสไว้ดีแล้ว ฯลฯ อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน’ สมัยใด อริยสาวก
ระลึกถึงพระธรรม สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นย่อมไม่ถูกราคะ
กลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม ย่อมเป็นจิตดำเนิน
ไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความกำหนัด คำว่า
‘กำหนัด’ นี้เป็นชื่อของกามคุณ ๕ อริยสาวกนั้นแล มีจิตเสมอ
อากาศ อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความ
เบียดเบียนอยู่ โดยประการทั้งปวง
ผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์บางพวกในโลกนี้ทำธัมมานุสสตินี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อม
เป็นผู้มีความบริสุทธิ์เป็นธรรมดาอย่างนี้แล
๓. อริยสาวกระลึกถึงพระสงฆ์ว่า ‘พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค
เป็นผู้ปฏิบัติดี ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก’ สมัยใด
อริยสาวกระลึกถึงพระสงฆ์ สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นย่อมไม่
ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม ย่อมเป็น
จิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความ
กำหนัด คำว่า ‘กำหนัด’ นี้เป็นชื่อของกามคุณ ๕ อริยสาวกนั้นแล
มีจิตเสมออากาศ อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร
ไม่มีความเบียดเบียนอยู่โดยประการทั้งปวง
ผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์บางพวกในโลกนี้ทำสังฆานุสสตินี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อม
เป็นผู้มีความบริสุทธิ์เป็นธรรมดาอย่างนี้แล
๔. อริยสาวกระลึกถึงศีลของตน ที่ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ
สมัยใด อริยสาวกระลึกถึงศีลของตน สมัยนั้น จิตของอริยสาวก
นั้นย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม
ย่อมเป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจาก
ความกำหนัด คำว่า ‘กำหนัด’ นี้เป็นชื่อของกามคุณ ๕ อริยสาวก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๓. อนุตตริยวรรค ๖. มหากัจจานสูตร
นั้นแล มีจิตเสมออากาศ อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต
ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ โดยประการทั้งปวง
ผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์บางพวกในโลกนี้ทำสีลานุสสตินี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อม
เป็นผู้มีความบริสุทธิ์เป็นธรรมดาอย่างนี้แล
๕. อริยสาวกระลึกถึงจาคะของตนว่า ‘เป็นลาภของเราหนอ เราได้ดี
แล้วหนอ ฯลฯ ควรแก่การขอ ยินดีในการแจกทานอยู่ครองเรือน’
สมัยใด อริยสาวกระลึกถึงจาคะของตน สมัยนั้น จิตของอริยสาวก
นั้นย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม
เป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจาก
ความกำหนัด คำว่า ‘กำหนัด’ นี้ เป็นชื่อของกามคุณ ๕ อริยสาวก
นั้นแลมีจิตเสมออากาศ อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต
ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ โดยประการทั้งปวง
ผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์บางพวกในโลกนี้ทำจาคานุสสตินี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อม
เป็นผู้มีความบริสุทธิ์เป็นธรรมดาอย่างนี้แล
๖. อริยสาวกระลึกถึงเทวดาว่า ‘มีเทวดาชั้นจาตุมหาราช ฯลฯ เทวดา
ชั้นสูงขึ้นไปกว่านั้น เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศรัทธาเช่นใด จุติ
จากโลกนี้แล้วไปเกิดในเทวโลกนั้น แม้เราเองก็มีศรัทธาเช่นนั้น
เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศีลเช่นใด... สุตะ... จาคะ... ปัญญาเช่นใด
แม้เราเองก็มีปัญญาเช่นนั้น สมัยใด อริยสาวกระลึกถึงศรัทธา
ศีล สุตะ จาคะ และปัญญาของตน และของเทวดาเหล่านั้น
สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะ
กลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม เป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็นจิต
ออกไป พ้นไป หลุดไปจากความกำหนัด คำว่า ‘กำหนัด’ นี้เป็นชื่อ
ของกามคุณ ๕ อริยสาวกนั้นแลมีจิตเสมอด้วยอากาศ อันไพบูลย์
เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่โดย
ประการทั้งปวง
ผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์บางพวกในโลกนี้ทำเทวตานุสสตินี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อม
เป็นผู้มีความบริสุทธิ์เป็นธรรมดาอย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๖๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๓. อนุตตริยวรรค ๗. ปฐมสมยสูตร
ผู้มีอายุทั้งหลาย น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ ได้ตรัสรู้วิธีบรรลุ
ช่องว่างในที่คับแคบ คือ อนุสสติฏฐาน ๖ ประการนี้ เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์
ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงโสกะ และปริเทวะ เพื่อดับทุกข์ และโทมนัส เพื่อบรรลุ
ญายธรรม เพื่อทำให้แจ้งนิพพาน
มหากัจจานสูตรที่ ๖ จบ
๗. ปฐมสมยสูตร
ว่าด้วยสมัยที่ควรพบผู้เจริญภาวนา สูตรที่ ๑
[๒๗] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมัยที่ควรเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ มีเท่าไร
หนอแล”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ สมัยที่ควรเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ
๖ ประการนี้
สมัยที่ควรเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สมัยใด ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีจิตถูกกามราคะ๑กลุ้มรุม ถูกกามราคะ
ครอบงำอยู่ และเธอไม่ทราบชัดซึ่งอุบายเครื่องสลัดกามราคะที่เกิด
ขึ้นตามความเป็นจริง สมัยนั้น ภิกษุนั้นพึงเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญ
ภาวนาทางใจแล้วถามอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ ผมมีจิตถูกกามราคะ
กลุ้มรุม ถูกกามราคะครอบงำอยู่ และผมก็ไม่ทราบชัดซึ่งอุบาย
เครื่องสลัดกามราคะที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง ขอผู้มีอายุโปรด
แสดงธรรมเพื่อละกามราคะแก่ผมเถิด’ ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ
ย่อมแสดงธรรม๒เพื่อละกามราคะแก่เธอ นี้เป็นสมัยที่ ๑ ที่ควร
เข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ฉักกนิบาต ข้อ ๒๓ หน้า ๔๕๔ ในเล่มนี้
๒ หมายถึงแสดงอสุภกัมมัฏฐาน (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๗/๑๑๑) สาระในสูตรนี้ ดู องฺ.เอกก. (แปล) ๒๐/๑๑-๒๐/
๒-๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๓. อนุตตริยวรรค ๗. ปฐมสมยสูตร
๒. สมัยใด ภิกษุมีจิตถูกพยาบาท(ความคิดร้าย)กลุ้มรุม ถูกพยาบาท
ครอบงำอยู่ และเธอไม่ทราบชัดซึ่งอุบายเครื่องสลัดพยาบาทที่เกิด
ขึ้นตามความเป็นจริง สมัยนั้น ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุผู้เจริญ
ภาวนาทางใจแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ ผมมีจิตถูกพยาบาท
กลุ้มรุม ถูกพยาบาทครอบงำอยู่ และผมก็ไม่ทราบชัดซึ่งอุบาย
เครื่องสลัดพยาบาทที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง ขอผู้มีอายุโปรด
แสดงธรรมเพื่อละพยาบาทแก่ผมเถิด’ ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ
ย่อมแสดงธรรม๑เพื่อละพยาบาทแก่เธอ นี้เป็นสมัยที่ ๒ ที่ควร
เข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ
๓. สมัยใด ภิกษุมีจิตถูกถีนมิทธะ(ความหดหู่และเซื่องซึม)กลุ้มรุม
ถูกถีนมิทธะครอบงำอยู่ และเธอไม่ทราบชัดซึ่งอุบายเครื่องสลัด
ถีนมิทธะที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง สมัยนั้น ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหา
ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ ผมมีจิตถูก
ถีนมิทธะกลุ้มรุม ถูกถีนมิทธะครอบงำอยู่ และผมก็ไม่ทราบชัดซึ่ง
อุบายเครื่องสลัดถีนมิทธะที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง ขอผู้มีอายุได้
โปรดแสดงธรรมเพื่อละถีนมิทธะแก่ผมเถิด’ ภิกษุผู้เจริญภาวนา
ทางใจ ย่อมแสดงธรรม๒เพื่อละถีนมิทธะแก่เธอ นี้เป็นสมัยที่ ๓ ที่
ควรเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ
๔. สมัยใด ภิกษุมีจิตถูกอุทธัจจกุกกุจจะ(ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ)
กลุ้มรุม ถูกอุทธัจจกุกกุจจะครอบงำอยู่ และเธอไม่ทราบชัดซึ่งอุบาย
เครื่องสลัดอุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้วออกไปตามความเป็นจริง
สมัยนั้น ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจแล้วกล่าว
อย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ ผมมีจิตถูกอุทธัจจกุกกุจจะกลุ้มรุม ถูก
อุทธัจจกุกกุจจะครอบงำอยู่ และผมก็ไม่ทราบชัดซึ่งอุบายเครื่องสลัด
อุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง ขอผู้มีอายุโปรดแสดง

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงแสดงเมตตากัมมัฏฐาน (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๗/๑๑๑)
๒ หมายถึงแสดงอาโลกสัญญา หรือเหตุปรารภความเพียรบางอย่าง (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๗/๑๑๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๓. อนุตตริยวรรค ๗. ปฐมสมยสูตร
ธรรมเพื่อละอุทธัจจกุกกุจจะแก่ผมเถิด’ ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ
ย่อมแสดงธรรม๑เพื่อละอุทธัจจกุกกุจจะแก่เธอ นี้เป็นสมัยที่ ๔ ที่
ควรเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ
๕. สมัยใด ภิกษุมีจิตถูกวิจิกิจฉา(ความลังเลสงสัย)กลุ้มรุม ถูกวิจิกิจฉา
ครอบงำอยู่ และเธอไม่ทราบชัดซึ่งอุบายเครื่องสลัดวิจิกิจฉาที่เกิด
ขึ้นตามความเป็นจริง สมัยนั้น ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุผู้เจริญ
ภาวนาทางใจแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ ผมมีจิตถูกวิจิกิจฉา
กลุ้มรุม ถูกวิจิกิจฉาครอบงำอยู่ และผมก็ไม่ทราบชัดซึ่งอุบายเครื่อง
สลัดวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง ขอผู้มีอายุโปรดแสดง
ธรรมเพื่อละวิจิกิจฉาแก่ผมเถิด’ ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจย่อมแสดง
ธรรม๒เพื่อละวิจิกิจฉาแก่เธอ นี้เป็นสมัยที่ ๕ ที่ควรเข้าไปพบภิกษุ
ผู้เจริญภาวนาทางใจ
๖. สมัยใด ภิกษุไม่รู้ไม่เห็นนิมิตซึ่งเป็นที่สิ้นอาสวะโดยลำดับสำหรับผู้
อาศัยมนสิการอยู่ สมัยนั้น ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุผู้เจริญภาวนา
ทางใจแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ ผมไม่รู้ไม่เห็นนิมิตซึ่งเป็นที่สิ้น
อาสวะโดยลำดับสำหรับผู้อาศัยมนสิการอยู่ ขอผู้มีอายุโปรดแสดง
ธรรมเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายแก่ผมเถิด’ ภิกษุผู้เจริญ
ภาวนาทางใจย่อมแสดงธรรมเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะแก่เธอ นี้
เป็นสมัยที่ ๖ ที่ควรเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ
ภิกษุ สมัยที่ควรเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ๖ ประการนี้แล”
ปฐมสมยสูตรที่ ๗ จบ

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงแสดงสมถกัมมัฏฐาน (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๗/๑๑๑)
๒ หมายถึงแสดงคุณพระรัตนตรัย (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๗/๑๑๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๓. อนุตตริยวรรค ๘. ทุติยสมยสูตร
๘. ทุติยสมยสูตร
ว่าด้วยสมัยที่ควรพบผู้เจริญภาวนา สูตรที่ ๒
[๒๘] สมัยหนึ่ง ภิกษุเถระจำนวนมาก อยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
เขตกรุงพาราณสี ครั้งนั้น เมื่อภิกษุเถระเหล่านั้นกลับจากบิณฑบาต ภายหลังฉัน
อาหารเสร็จแล้ว นั่งประชุมกันในโรงฉัน๑ ได้เกิดการสนทนากันขึ้นในระหว่างว่า
“ผู้มีอายุทั้งหลาย สมัยไหนเป็นสมัยที่ควรเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ”
เมื่อกล่าวถามกันอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กล่าวกับภิกษุเถระดังนี้ว่า “ผู้มี
อายุ สมัยใด ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจกลับจากบิณฑบาตภายหลังฉันอาหารเสร็จ
ล้างเท้าแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า๒ สมัยนั้น เป็นสมัยที่ควร
เข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ”
เมื่อภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุอีกรูปหนึ่งได้กล่าวกับภิกษุนั้นดังนี้ว่า
“ผู้มีอายุ สมัยนั้น ไม่ใช่สมัยที่ควรเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ เพราะ
สมัยใด ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ กลับจากบิณฑบาตภายหลังฉันอาหารเสร็จ
ล้างเท้าแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า สมัยนั้น ความ
เหน็ดเหนื่อยเพราะการเที่ยวบิณฑบาตของภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจนั้นยังไม่สงบระงับ
และความเหน็ดเหนื่อยเพราะการฉันอาหารของภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจนั้นก็ยังไม่
สงบระงับ ฉะนั้น สมัยนั้นจึงไม่ใช่สมัยที่ควรเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจนั้น
แต่สมัยใด ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ออกจากที่หลีกเร้นในเวลาเย็น นั่งคู้
บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้าที่ร่มเงาวิหาร สมัยนั้น ควรเข้าไปพบภิกษุ
ผู้เจริญภาวนาทางใจ”
เมื่อภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุอีกรูปหนึ่งได้กล่าวกับภิกษุนั้นดังนี้ว่า

เชิงอรรถ :
๑ โรงฉัน แปลจากภาษาบาลีว่า ‘มณฺฑลมาเฬ’ หมายถึง(โภชนสาลา)โรงฉันที่สร้างเป็นปะรำมีลักษณะกลม
(องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๘/๑๑๑, องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๒๘/๑๒๖)
๒ ดูเชิงอรรถที่ ๕ ปัญจกนิบาต ข้อ ๗๕ หน้า ๑๒๙ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๓. อนุตตริยวรรค ๘. ทุติยสมยสูตร
“ผู้มีอายุ สมัยนั้น ไม่ใช่สมัยที่ควรเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ เพราะ
สมัยใด ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ออกจากที่หลีกเร้นในเวลาเย็น นั่งคู้บัลลังก์
ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้าที่ร่มเงาวิหาร สมัยนั้น สมาธินิมิตที่ท่านมนสิการ
ในเวลากลางวัน ก็ยังฟุ้งซ่านอยู่ ฉะนั้น สมัยนั้นจึงไม่ใช่สมัยที่ควรเข้าไปพบภิกษุ
ผู้เจริญภาวนาทางใจ แต่สมัยใด ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ นั่งคู้
บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า สมัยนั้น เป็นสมัยที่ควรเข้าไปพบภิกษุผู้
เจริญภาวนาทางใจ”
เมื่อภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุอีกรูปหนึ่ง จึงกล่าวกับภิกษุนั้นดังนี้ว่า
“ผู้มีอายุ สมัยนั้น ก็ไม่ใช่สมัยที่ควรเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ
แต่สมัยใด ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรง
สติไว้เฉพาะหน้า สมัยนั้น กายของท่านตั้งอยู่ในโอชารส ความสบายย่อมมีแก่ท่าน
เพื่อมนสิการถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า ฉะนั้น สมัยนั้น จึงเป็นสมัยที่ควรเข้าไปพบ
ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ”
เมื่อภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระมหากัจจานะจึงได้กล่าวกับภิกษุเถระ
ทั้งหลายดังนี้ว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อนั้นผมได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มี
พระภาคว่า ‘ภิกษุ สมัยที่ควรเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ๖ ประการนี้
สมัยที่ควรเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สมัยใด ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีจิตถูกกามราคะกลุ้มรุม ถูกกามราคะ
ครอบงำอยู่ และเธอก็ไม่ทราบชัดซึ่งอุบายเครื่องสลัดกามราคะที่
เกิดขึ้นตามความเป็นจริง สมัยนั้น ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุผู้
เจริญภาวนาทางใจแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ ผมมีจิตถูก
กามราคะกลุ้มรุม ถูกกามราคะครอบงำอยู่ และผมก็ไม่ทราบชัดซึ่ง
อุบายเครื่องสลัดกามราคะที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง ขอผู้มีอายุ
โปรดแสดงธรรมเพื่อละกามราคะแก่ผมเถิด’ ภิกษุผู้เจริญภาวนา
ทางใจย่อมแสดงธรรมเพื่อละกามราคะแก่เธอ นี้เป็นสมัยที่ ๑ ที่
ควรไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๓. อนุตตริยวรรค ๙. อุทายีสูตร
๒. สมัยใด ภิกษุมีจิตถูกพยาบาทกลุ้มรุม ฯลฯ๑
๓. สมัยใด ภิกษุมีจิตถูกถีนมิทธะกลุ้มรุม ฯลฯ
๔. สมัยใด ภิกษุมีจิตถูกอุทธัจจกุกกุจจะกลุ้มรุม ฯลฯ
๕. สมัยใด ภิกษุมีจิตถูกวิจิกิจฉากลุ้มรุม ฯลฯ
๖. สมัยใด ภิกษุไม่รู้ไม่เห็นนิมิตซึ่งเป็นที่สิ้นอาสวะโดยลำดับสำหรับผู้
อาศัยมนสิการอยู่ สมัยนั้น ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุผู้เจริญภาวนา
ทางใจแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ ผมไม่รู้ไม่เห็นนิมิตซึ่งเป็นที่สิ้น
อาสวะโดยลำดับสำหรับผู้อาศัยมนสิการอยู่ ขอผู้มีอายุโปรดแสดง
ธรรมเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายแก่ผมเถิด’ ภิกษุผู้เจริญ
ภาวนาทางใจย่อมแสดงธรรมเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
แก่เธอ นี้เป็นสมัยที่ ๖ ที่ควรเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ
ผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อนั้นผมได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า
‘ภิกษุ สมัยที่ควรเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ๖ ประการนี้แล”
ทุติยสมยสูตรที่ ๘ จบ
๙. อุทายีสูตร
ว่าด้วยท่านพระอุทายี
[๒๙] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระอุทายีมาตรัสถามว่า
“อุทายี อนุสสติฏฐาน๒ มีเท่าไรหนอ” เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสถามอย่างนี้ ท่านพระ
อุทายีได้นิ่งอยู่
แม้ครั้งที่ ๒ พระผู้มีพระภาคก็รับสั่งเรียกท่านพระอุทายีมาตรัสถามว่า “อุทายี
อนุสสติฏฐาน มีเท่าไรหนอ” เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสถามแล้วอย่างนี้ แม้ครั้งที่ ๒
ท่านพระอุทายีก็นิ่งอยู่

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มในปฐมสมยสูตร
๒ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๙ (อนุสสติฏฐานสูตร) หน้า ๔๒๐ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๓. อนุตตริยวรรค ๙. อุทายีสูตร
แม้ครั้งที่ ๓ พระผู้มีพระภาคก็รับสั่งเรียกท่านพระอุทายีมาตรัสถามว่า “อุทายี
อนุสสติฏฐาน มีเท่าไรหนอ” แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระอุทายีก็นิ่งอยู่
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ได้กล่าวกับท่านพระอุทายีว่า “ท่านอุทายี พระศาสดา
ตรัสถามท่าน”
ท่านพระอุทายีตอบว่า “ท่านอานนท์ ผมได้ยินพระดำรัสของพระผู้มี
พระภาคอยู่” และได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคต่อไปอีกว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ฯลฯ
ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้ ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ นี้เป็นอนุสสติฏฐาน”
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “อานนท์
เรารู้แล้ว อุทายีนี้เป็นโมฆบุรุษ ไม่ประกอบอธิจิต๑อยู่” แล้วตรัสถามท่านพระ
อานนท์ต่อไปว่า “อานนท์ อนุสสติฏฐาน มีเท่าไร”
ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อนุสสติฏฐาน มี ๕
ประการ
อนุสสติฏฐาน ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมแล้วบรรลุปฐมฌาน
ที่มีวิตกวิจาร ปีติและสุขเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจารสงบระงับ
ไปภิกษุบรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่ง
ผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขเกิดจากสมาธิอยู่ เพราะ
ปีติจางคลายไปภิกษุมีอุเบกขามีสติมีสัมปชัญญะเสวยสุขด้วยนาม
กายบรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา
มีสติอยู่เป็นสุข’ อยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้เป็นอนุสสติฏฐาน
ที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุขใน
ปัจจุบัน

เชิงอรรถ :
๑ อธิจิต หมายถึงสมาธิจิตและวิปัสสนาจิต (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๙/๑๑๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๓. อนุตตริยวรรค ๙. อุทายีสูตร
๒. ภิกษุมนสิการอาโลกสัญญา ตั้งสัญญาไว้ว่าเป็นกลางวันอยู่ มนสิการ
อาโลกสัญญาว่ากลางวันอย่างไร กลางคืนก็อย่างนั้น กลางคืน
อย่างไร กลางวันก็อย่างนั้น ภิกษุนั้นมีจิตปลอดโปร่งไม่ถูกนิวรณ์
พัวพัน ย่อมเจริญจิตที่มีความสว่าง๑ด้วยประการอย่างนี้ นี้เป็น
อนุสสติฏฐาน ที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อได้
ญาณทัสสนะ๒
๓. ภิกษุพิจารณาเห็นกายนี้เท่านั้น ตั้งแต่พื้นเท้าขึ้นไป ตั้งแต่ปลายผม
ลงมา มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มไปด้วยของไม่สะอาดประการต่าง ๆ
ว่า ‘ในกายนี้มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อใน
กระดูก ไต๓ หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม๔ ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่
อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน
น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร๕’ นี้เป็นอนุสสติฏฐาน ที่ภิกษุเจริญทำให้
มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อละกามราคะ
๔. ภิกษุเห็นสรีระที่ถูกทิ้งไว้ในป่าช้า ตายแล้ววันหนึ่ง สองวัน หรือ
สามวัน พองขึ้น มีสีเขียวคล้ำ มีหนองไหลออกอย่างไร ก็น้อม

เชิงอรรถ :
๑ เจริญจิตที่มีความสว่าง หมายถึงเจริญพอกพูนจิตที่มีโอภาสเพื่อบรรลุทิพพจักขุญาณซึ่งต่างจากการ
มนสิการอาโลกสัญญาที่มุ่งบรรเทาถีนมิทธะ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๙/๑๑๒)
๒ ญาณทัสสนะ ในที่นี้หมายถึงทิพพจักขุญาณ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๙/๑๑๒)
๓ ไต แปลจากคำว่า ‘วกฺก’ (โบราณแปลว่า ม้าม) ได้แก่ ก้อนเนื้อ ๒ ก้อนมีขั้วเดียวกัน รูปร่างคล้ายลูก
สะบ้าของเด็ก ๆ หรือคล้ายผลมะม่วง ๒ ผลที่ติดอยู่ในขั้วเดียวกัน มีเอ็นใหญ่รึงรัดจากลำคอลงไปถึงหัว
ใจแล้วแยกออกห้อยอยู่ทั้ง ๒ ข้าง (ขุ.ขุ.อ. ๓/๔๓); พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ ให้บท
นิยามของคำว่า “ไต” ว่า อวัยวะคู่หนึ่งของคนและสัตว์ อยู่ในช่องท้องใกล้กระดูกสันหลัง ทำหน้าที่ขับของ
เสียออกมากับน้ำปัสสาวะ; Buddhadatta Mahathera, A. Concise Pali-English Dictionary, 1985,
(224) และ Rhys Davids, T.W. Pali-English Dictionary, 1921-1925,(591) ให้ความหมายของคำว่า
“วกฺก” ตรงกับคำว่า “ไต” (Kidney)
๔ ม้าม แปลจากคำว่า ‘ปิหก’ ตาม (ขุ.ขุ.อ. ๓/๔๕) (โบราณแปลว่าไต); พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
พ.ศ. ๒๕๒๕ ให้บทนิยามไว้ว่า “อวัยวะภายในร่างกาย ริมกระเพาะอาหารข้างซ้าย มีหน้าที่ทำลายเม็ด
เลือดแดง สร้างเม็ดเลือดเหลืองและสร้างภูมิคุ้มกันแก่ร่างกาย”
๕ มูตร หมายถึงน้ำปัสสาวะ ซึ่งมีที่อยู่คือกระเพาะปัสสาวะนั่นเอง (วิสุทฺธิ. ๑/๒๑๓/๒๘๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๓. อนุตตริยวรรค ๙. อุทายีสูตร
กายนี้แล เข้าไปเปรียบอย่างนั้นว่า ‘แม้กายนี้ก็เป็นธรรมดาอย่างนี้
มีภาวะอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นอย่างนี้ไปได้‘๑
ภิกษุนั้นเห็นสรีระที่ถูกทิ้งไว้ในป่าช้า ถูกฝูงกา นกเหยี่ยว นกแร้ง สุนัข สุนัข
จิ้งจอกหรือสัตว์มีชีวิตชนิดต่าง ๆ กำลังกัดกินอย่างไร ก็น้อมกายนี้แลเข้าไปเปรียบ
อย่างนั้นว่า ‘แม้กายนี้ก็เป็นธรรมดาอย่างนี้ มีภาวะอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นอย่างนี้ไปได้’
ภิกษุนั้นเห็นสรีระที่ถูกทิ้งไว้ในป่าช้า มีโครงกระดูก มีเนื้อและเลือด มีเอ็น
รึงรัดไว้ ฯลฯ มีแต่โครงกระดูก ไม่มีเนื้อและเลือด มีเอ็นรึงรัดไว้ ฯลฯ มีแต่โครง
กระดูก ปราศจากเนื้อและเลือด ยังมีเอ็นรึงรัดไว้ ฯลฯ มีแต่ท่อนกระดูกปราศจาก
เครื่องผูก กระจัดกระจายไปคนละทิศละทาง คือ กระดูกมือไปทางหนึ่ง กระดูกเท้า
ไปทางหนึ่ง กระดูกแข้งไปทางหนึ่ง กระดูกขาไปทางหนึ่ง กระดูกสะเอวไปทางหนึ่ง
กระดูกสันหลังไปทางหนึ่ง กระโหลกศีรษะไปทางหนึ่งอย่างไร ก็น้อมกายนี้แลเข้าไป
เปรียบอย่างนั้นว่า ‘แม้กายนี้ ก็เป็นธรรมดาอย่างนี้ มีภาวะอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้น
อย่างนี้ไปได้’
หรือภิกษุนั้นเห็นสรีระที่ถูกทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นกระดูกมีสีขาวเหมือนสีสังข์ เป็น
กระดูกที่สัตว์ทำให้เป็นกอง ๆ เกินหนึ่งปี เป็นกระดูกผุแตกเป็นชิ้นเล็กๆ อย่างไร
ก็น้อมกายนี้แลเข้าไปเปรียบอย่างนั้นว่า ‘แม้กายนี้ ก็เป็นธรรมดาอย่างนี้ มีภาวะ
อย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นอย่างนี้ไปได้’ นี้เป็นอนุสสติฏฐานที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้วอย่างนี้
ย่อมเป็นไปเพื่อถอนอัสมิมานะ๒ได้
๕. ภิกษุ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน
จึงบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา

เชิงอรรถ :
๑ เป็นธรรมดาอย่างนี้ หมายถึงสิ่ง ๓ สิ่ง คือ อายุ ไออุ่น และวิญญาณ เป็นปัจจัยที่ทำให้กายนี้อดทนต่อ
อิริยาบถมีการยืนและการเดินเป็นต้นได้ แต่เมื่อสิ่ง ๓ สิ่งนี้ขาดไป กายนี้จึงมีความเน่าเปื่อยเป็นธรรมดา
มีภาวะอย่างนี้ หมายถึงจักมีการพองขึ้นเป็นต้นอย่างนี้ทีเดียว
ไม่ล่วงพ้นอย่างนี้ไปได้ หมายถึงไม่ล่วงพ้นจากการพองขึ้นเป็นต้นไปได้ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๙/๑๑๓)
๒ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ปัญจกนิบาต ข้อ ๗๑ หน้า ๑๒๑ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๓. อนุตตริยวรรค ๑๐. อนุตตริยสูตร
อยู่ นี้เป็นอนุสสติฏฐานที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็น
ไปเพื่อการรู้แจ้งธาตุหลายชนิด๑
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญอนุสสติฏฐาน ๕ ประการนี้แล”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ อานนท์ ถ้าอย่างนั้น เธอจงทรงจำ
อนุสสติฏฐาน ข้อที่ ๖ นี้ คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีสติก้าวไป มีสติถอยกลับ๒ มีสติ
ยืนอยู่ มีสตินั่งอยู่ มีสตินอนอยู่ มีสติประกอบการงานอยู่
อานนท์ นี้เป็นอนุสสติฏฐาน ที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไป
เพื่อสติสัมปชัญญะ”
อุทายีสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. อนุตตริยสูตร
ว่าด้วยอนุตตริยะ๓
[๓๐] ภิกษุทั้งหลาย อนุตตริยะ (ภาวะอันยอดเยี่ยม) ๖ ประการนี้
อนุตตริยะ ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทัสสนานุตตริยะ (การเห็นอันยอดเยี่ยม)
๒. สวนานุตตริยะ (การฟังอันยอดเยี่ยม)
๓. ลาภานุตตริยะ (การได้อันยอดเยี่ยม)
๔. สิกขานุตตริยะ (การศึกษาอันยอดเยี่ยม)
๕. ปาริจริยานุตตริยะ (การบำรุงอันยอดเยี่ยม)
๖. อนุสสตานุตตริยะ (การระลึกอันยอดเยี่ยม)

เชิงอรรถ :
๑ ธาตุหลายชนิด หมายถึง ธาตุ ๑๘ มีจักขุธาตุเป็นต้น (องฺ.เอกก.อ. ๑/๕๗๗/๔๗๓) และดู อภิ.วิ. (แปล)
๓๕/๑๘๓/๑๔๒)
๒ มีสติก้าวไป หมายถึงเมื่อเดินก็เดินไปอย่างมีสติและปัญญา (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๙/๑๑๓)
มีสติถอยกลับ หมายถึงแม้เมื่อจะกลับ ก็กลับอย่างมีสติและปัญญา (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๙/๑๑๓)
๓ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ฉักกนิบาต ข้อ ๘ หน้า ๔๑๙ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๓. อนุตตริยวรรค ๑๐. อนุตตริยสูตร
ทัสสนานุตตริยะ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไปเพื่อเห็นช้างแก้วบ้าง ไปเพื่อเห็นม้าแก้วบ้าง
ไปเพื่อเห็นแก้วมณีบ้าง ไปเพื่อเห็นของสูงของต่ำบ้าง หรือไปเพื่อเห็นสมณะหรือ
พราหมณ์ผู้เห็นผิดปฏิบัติผิดบ้าง ภิกษุทั้งหลาย การเห็นนี้มีอยู่ เราไม่กล่าวว่า
ไม่มี แต่ว่าการเห็นนี้ยังเป็นการเห็นที่เลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่
อริยะ๑ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์๒ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย ไม่เป็นไปเพื่อ
คลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อดับ ไม่เป็นไปเพื่อสงบระงับ ไม่เป็นไปเพื่อรู้ยิ่ง ไม่เป็นไป
เพื่อตรัสรู้ ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน
ส่วนบุคคลใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น บรรลุที่สุด๓ มีความเลื่อมใส
อย่างยิ่ง ไปเพื่อเห็นตถาคตหรือสาวกของตถาคต ภิกษุทั้งหลาย การเห็นนี้ของ
บุคคลนั้น เป็นการเห็นที่ยอดเยี่ยมกว่าการเห็นทั้งหลาย เป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์
ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงโสกะและปริเทวะ เพื่อดับทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุ
ญายธรรม เพื่อทำให้แจ้งนิพพาน
การที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั่งมั่น บรรลุที่สุด มีความเลื่อมใส
อย่างยิ่ง ไปเพื่อเห็นตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต นี้เรียกว่า ทัสสนานุตตริยะ
ทัสสนานุตตริยะ เป็นอย่างนี้
สวนานุตตริยะ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไปเพื่อฟังเสียงกลองบ้าง ไปเพื่อฟังเสียงพิณบ้าง
ไปเพื่อฟังเสียงเพลงขับบ้าง ไปเพื่อฟังเสียงสูงเสียงต่ำบ้าง หรือไปเพื่อฟังธรรมของ

เชิงอรรถ :
๑ ไม่ใช่อริยะ ในที่นี้หมายถึง ไม่ประเสริฐ ไม่สูงสุด ไม่บริสุทธิ์ อันพระอริยะทั้งหลายไม่เสพ (องฺ.ฉกฺก.อ.
๓/๓๐/๑๑๔, องฺ.ฉกฺก.ฏีกา. ๓/๓๐/๑๒๘)
๒ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ หมายถึงไม่ประกอบด้วยประโยชน์ที่ไพบูลย์ต่าง ๆ เช่นทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์
(ประโยชน์ภพนี้) และสัมปรายิกัตถประโยชน์ (ประโยชน์ในภพหน้า) (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๓๐/๑๑๔,องฺ.ฉกฺก.ฏีกา.
๓/๓๐/๑๒๘)
๓ บรรลุที่สุด ในที่นี้หมายถึงถึงความไม่หวั่นไหว (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๓๐/๑๑๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๓. อนุตตริยวรรค ๑๐. อนุตตริยสูตร
สมณะหรือพราหมณ์ผู้เห็นผิดปฏิบัติผิดบ้าง ภิกษุทั้งหลาย การฟังนี้มีอยู่ เราไม่
กล่าวว่า ไม่มี แต่ว่าการฟังนี้ ยังเป็นการฟังที่เลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน
ไม่ใช่อริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย ไม่เป็นไปเพื่อ
คลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อดับ ไม่เป็นไปเพื่อสงบระงับ ไม่เป็นไปเพื่อรู้ยิ่ง ไม่เป็นไป
เพื่อตรัสรู้ ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน
ส่วนบุคคลใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น บรรลุที่สุด มีความเลื่อมใส
อย่างยิ่ง ไปเพื่อฟังธรรมของตถาคตหรือสาวกของตถาคต ภิกษุทั้งหลาย การฟังนี้
ของบุคคลนั้น เป็นการฟังที่ยอดเยี่ยมกว่าการฟังทั้งหลาย เป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์
ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงโสกะและปริเทวะ เพื่อดับทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุ
ญายธรรม เพื่อทำให้แจ้งนิพพาน
การที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น บรรลุที่สุด มีความเลื่อมใส
อย่างยิ่ง ไปเพื่อฟังธรรมของตถาคต หรือสาวกของพระตถาคต นี้เรียกว่า
สวนานุตตริยะ
ทัสสนานุตตริยะ สวนานุตตริยะ เป็นอย่างนี้
ลาภานุตตริยะ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ได้บุตรบ้าง ได้ภรรยาบ้าง ได้ทรัพย์บ้าง ได้ของสูง
ของต่ำบ้างหรือได้ศรัทธาในสมณะหรือพราหมณ์ผู้เห็นผิดปฏิบัติผิดบ้าง ภิกษุ
ทั้งหลาย การได้นั้นมีอยู่ เราไม่กล่าวว่า ไม่มี แต่ว่าการได้นี้ยังเป็นการได้ที่เลว
เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่อริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นไปเพื่อ
ความเบื่อหน่าย ไม่เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อดับ ไม่เป็นไปเพื่อสงบระงับ
ไม่เป็นไปเพื่อรู้ยิ่ง ไม่เป็นไปเพื่อตรัสรู้ ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน
ส่วนบุคคลใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น บรรลุที่สุด มีความเลื่อมใส
อย่างยิ่ง ได้ศรัทธาในตถาคต หรือสาวกของตถาคต ภิกษุทั้งหลาย การได้นี้ของ
บุคคลนั้นเป็นการได้ที่ยอดเยี่ยมกว่าการได้ทั้งหลาย เป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์
ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงโสกะและปริเทวะ เพื่อดับทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม
เพื่อทำให้แจ้งนิพพาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๓. อนุตตริยวรรค ๑๐. อนุตตริยสูตร
การที่บุคคลมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น บรรลุที่สุด มีความเลื่อมใส
อย่างยิ่ง ได้ศรัทธาในตถาคต หรือสาวกของตถาคต นี้เรียกว่า ลาภานุตตริยะ
ทัสสนานุตตริยะ สวนานุตตริยะ ลาภานุตตริยะ เป็นอย่างนี้
สิกขานุตตริยะ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ศึกษาศิลปะเกี่ยวกับช้างบ้าง ศึกษาศิลปะเกี่ยวกับ
ม้าบ้าง ศึกษาศิลปะเกี่ยวกับรถบ้าง ศึกษาศิลปะเกี่ยวกับธนูบ้าง ศึกษาศิลปะ
เกี่ยวกับดาบบ้าง ศึกษาศิลปะชั้นสูงชั้นต่ำบ้าง หรือศึกษาศิลปะจากสมณะหรือ
พราหมณ์ผู้เห็นผิดปฏิบัติผิดบ้าง ภิกษุทั้งหลาย การศึกษานั้นมีอยู่ เราไม่กล่าวว่า
ไม่มี แต่ว่าการศึกษานี้ยังเป็นการศึกษาที่เลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน
ไม่ใช่อริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย ไม่เป็นไปเพื่อ
คลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อดับ ไม่เป็นไปเพื่อสงบระงับ ไม่เป็นไปเพื่อรู้ยิ่ง ไม่เป็นไป
เพื่อตรัสรู้ ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน
ส่วนบุคคลใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น บรรลุที่สุด มีความเลื่อมใส
อย่างยิ่ง ศึกษาอธิศีลบ้าง ศึกษาอธิจิตบ้าง ศึกษาอธิปัญญาบ้าง ในธรรมวินัยที่
ตถาคตประกาศไว้ การศึกษานี้ของบุคคลนั้นเป็นการศึกษาที่ยอดเยี่ยมกว่าการศึกษา
ทั้งหลาย เป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงโสกะและปริเทวะ
เพื่อดับทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำให้แจ้งนิพพาน
การที่บุคคลมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น บรรลุที่สุด มีความเลื่อมใส
อย่างยิ่ง ศึกษาอธิศีลบ้าง ศึกษาอธิจิตบ้าง ศึกษาอธิปัญญาบ้าง ในธรรมวินัยที่
ตถาคตประกาศไว้ นี้เรียกว่า สิกขานุตตริยะ
ทัสสนานุตตริยะ สวนานุตตริยะ ลาภานุตตริยะ สิกขานุตตริยะ เป็นอย่างนี้
ปาริจริยานุตตริยะ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้บำรุงกษัตริย์บ้าง บำรุงพราหมณ์บ้าง บำรุงคหบดีบ้าง
บำรุงคนชั้นสูงชั้นต่ำบ้าง หรือบำรุงสมณะหรือพราหมณ์ผู้เห็นผิดปฏิบัติผิดบ้าง ภิกษุ
ทั้งหลาย การบำรุงนั้นมีอยู่ เราไม่กล่าวว่า ไม่มี แต่ว่าการบำรุงนี้ยังเป็นการบำรุง
ที่เลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่อริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๗๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๓. อนุตตริยวรรค ๑๐. อนุตตริยสูตร
ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย ไม่เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อดับ ไม่เป็น
ไปเพื่อสงบระงับ ไม่เป็นไปเพื่อรู้ยิ่ง ไม่เป็นไปเพื่อตรัสรู้ ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน
ส่วนบุคคลใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น บรรลุที่สุด มีความเลื่อมใส
อย่างยิ่ง บำรุงตถาคตหรือสาวกของตถาคต การบำรุงนี้ของบุคคลนั้นเป็นการบำรุงที่
ยอดเยี่ยมกว่าการบำรุงทั้งหลาย เป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าว
ล่วงโสกะและปริเทวะ เพื่อดับทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำให้แจ้ง
นิพพาน
การที่บุคคลมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น บรรลุที่สุด มีความเลื่อมใส
อย่างยิ่ง บำรุงตถาคตหรือสาวกของตถาคต นี้เรียกว่า ปาริจริยานุตตริยะ
ทัสสนานุตตริยะ สวนานุตตริยะ ลาภานุตตริยะ สิกขานุตตริยะ ปาริจริยา-
นุตตริยะ เป็นอย่างนี้
อนุสสตานุตตริยะ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ระลึกถึงการได้บุตรบ้าง ระลึกถึงการได้ภรรยาบ้าง
ระลึกถึงการได้ทรัพย์บ้าง ระลึกถึงการได้ของสูงของต่ำบ้าง หรือระลึกถึงสมณะ
หรือพราหมณ์ผู้เห็นผิดปฏิบัติผิดบ้าง ภิกษุทั้งหลาย การระลึกนั้นมีอยู่ เราไม่
กล่าวว่า ไม่มี แต่ว่าการระลึกนี้ยังเป็นการระลึกที่เลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของ
ปุถุชน ไม่ใช่อริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นไปความเบื่อหน่าย ไม่เป็นไป
เพื่อคลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อดับ ไม่เป็นไปเพื่อสงบระงับ ไม่เป็นไปเพื่อรู้ยิ่ง
ไม่เป็นไปเพื่อตรัสรู้ ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน
ส่วนบุคคลใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น บรรลุที่สุด มีความเลื่อมใส
อย่างยิ่ง ระลึกถึงตถาคตหรือสาวกของตถาคต ภิกษุทั้งหลาย การระลึกถึงนี้ของ
บุคคลนั้น เป็นการระลึกถึงที่ยอดเยี่ยมกว่าการระลึกถึงทั้งหลาย เป็นไปเพื่อความ
บริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงโสกะและปริเทวะ เพื่อดับทุกข์และโทมนัส
เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำให้แจ้งนิพพาน
การที่บุคคลมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น บรรลุที่สุด มีความเลื่อมใส
อย่างยิ่ง นี้เรียกว่า อนุสสตานุตตริยะ
ภิกษุทั้งหลาย อนุตตริยะ ๖ ประการนี้แล


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๓. อนุตตริยวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ภิกษุเหล่าใดได้ทัสสนานุตตริยะ
สวนานุตตริยะ ลาภานุตตริยะ
ยินดีในสิกขานุตตริยะ ตั้งมั่นปาริจริยานุตตริยะ
เจริญอนุสสตานุตตริยะอันประกอบด้วยวิเวก๑
อันเกษม ให้ถึงอมตธรรม
เป็นผู้ยินดีในความไม่ประมาท
มีปัญญาเครื่องรักษาตน สำรวมในศีล
ภิกษุเหล่านั้นแล ย่อมรู้ที่เป็นที่ดับแห่งทุกข์ตามกาลอันควร
อนุตตริยสูตรที่ ๑๐ จบ
อนุตตริยวรรคที่ ๓ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สามกสูตร ๒. อปริหานิยสูตร
๓. ภยสูตร ๔. หิมวันตสูตร
๕. อนุสสติฏฐานสูตร ๖. มหากัจจานสูตร
๗. ปฐมสมยสูตร ๘. ทุติยสมยสูตร
๙. อุทายีสูตร ๑๐. อนุตตริยสูตร


เชิงอรรถ :
๑ ทั้ง ๓ คำ คือ วิเวก อมตธรรม และ ที่เป็นที่ดับแห่งทุกข์ ในคาถานี้หมายถึงนิพพาน (องฺ.ฉกฺก.อ.
๓/๓๐/๑๑๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๗๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๔. เทวตาวรรค ๑. เสขสูตร
๔. เทวตาวรรค
หมวดว่าด้วยเทวดา
๑. เสขสูตร
ว่าด้วยธรรมของพระเสขะ๑
[๓๑] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่
ภิกษุผู้เป็นเสขะ
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความเป็นผู้ชอบการงาน
๒. ความเป็นผู้ชอบการพูดคุย
๓. ความเป็นผู้ชอบการนอนหลับ
๔. ความเป็นผู้ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่
๕. ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย๒
๖. ความเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้เป็นเสขะ
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุผู้เป็นเสขะ
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความเป็นผู้ไม่ชอบการงาน
๒. ความเป็นผู้ไม่ชอบการพูดคุย
๓. ความเป็นผู้ไม่ชอบการนอนหลับ
๔. ความเป็นผู้ไม่ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่
๕. ความเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย
๖. ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภค
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุผู้เป็นเสขะ
เสขสูตรที่ ๑ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๑ หน้า ๑ ในเล่มนี้
๒ คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ในที่นี้หมายถึง สำรวมระวังอายตนะภายใน ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย
และใจ (ที.ปา. ๑๑/๓๒๓/๒๑๕, ม.อุ. ๑๔/๓๐๕/๒๗๙, อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๒๒๙/๒๒๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๗๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๔. เทวตาวรรค ๒. ปฐมอปริหานสูตร
๒. ปฐมอปริหานสูตร
ว่าด้วยอปริหานิยธรรม สูตรที่ ๑
[๓๒] ครั้งนั้น เมื่อราตรีผ่านไป๑ เทวดาตนหนึ่งมีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่ง
รัศมีให้สว่างทั่วพระเชตวัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว
ยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๖ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความเป็นผู้มีความเคารพในพระศาสดา
๒. ความเป็นผู้มีความเคารพในพระธรรม
๓. ความเป็นผู้มีความเคารพในพระสงฆ์
๔. ความเป็นผู้มีความเคารพในสิกขา
๕. ความเป็นผู้มีความเคารพในความไม่ประมาท
๖. ความเป็นผู้มีความเคารพในปฏิสันถาร๒
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๖ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่
ภิกษุ
เมื่อเทวดานั้นได้กราบทูลดังนี้แล้ว พระศาสดาทรงพอพระทัย ครั้นเทวดานั้น
รู้ว่า ‘พระศาสดาทรงพอพระทัยเรา’ จึงถวายอภิวาท ทำประทักษิณ๓แล้วหายไป
ณ ที่นั้นแล

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๒๑ ฉักกนิบาต (สามกสูตร) หน้า ๔๕๐ ในเล่มนี้
๒ ปฏิสันถาร ในทีนี้หมายถึงการต้อนรับมี ๒ อย่าง คือ (๑) อามิสปฏิสันถาร (การต้อนรับด้วยอามิส)
(๒) ธัมมปฏิสันถาร (การต้อนรับด้วยธรรม) ดู องฺ.ทุก. (แปล) ๒๐/๑๕๓/๑๒๓
๓ ทำประทักษิณ หมายถึงเดินเวียนขวาโดยการประนมมือเวียนไปทางขวาตามเข็มนาฬิกา ๓ รอบ มีผู้ที่ตน
เคารพอยู่ทางขวา เสร็จแล้วหันหน้าไปทางผู้ที่ตนเคารพ เดินถอยหลังจนสุดสายตา จนมองไม่เห็นผู้ที่
ตนเคารพแล้วคุกเข่าลงกราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ (การกราบด้วยตั้งอวัยวะทั้ง ๕ อย่างลงกับพื้นคือ
กราบเอาเข่าทั้งสอง มือทั้งสอง และศรีษะ (หน้าผาก) จรดลงกับพื้น)แล้วลุกขึ้นเดินจากไป (วิ.อ. ๑/๑๕/
๑๗๖-๑๗๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๔. เทวตาวรรค ๒. ปฐมอปริหานสูตร
ครั้นคืนนั้นผ่านไป พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย เมื่อคืนนี้ เมื่อราตรีผ่านไป เทวดาตนหนึ่งมีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่ง
รัศมีให้สว่างทั่วพระเชตวัน เข้ามาหาเราถึงที่อยู่ ไหว้แล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้
กล่าวกับเราดังนี้ว่า
‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๖ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่
ภิกษุ
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความเป็นผู้มีความเคารพในพระศาสดา
๒. ความเป็นผู้มีความเคารพในพระธรรม
๓. ความเป็นผู้มีความเคารพในพระสงฆ์
๔. ความเป็นผู้มีความเคารพในสิกขา
๕. ความเป็นผู้มีความเคารพในความไม่ประมาท
๖. ความเป็นผู้มีความเคารพในปฏิสันถาร
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๖ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ’
ภิกษุทั้งหลาย เทวดานั้นครั้นได้กล่าวดังนี้แล้ว จึงไหว้เราทำประทักษิณแล้ว
หายไป ณ ที่นั้นแล
ภิกษุมีความเคารพในศาสดา
มีความเคารพในธรรม
มีความเคารพอย่างแรงกล้าในสงฆ์
มีความเคารพในความไม่ประมาท
มีความเคารพในปฏิสันถาร
เป็นผู้ไม่ควรเสื่อม ดำรงอยู่ใกล้นิพพานทีเดียว๑”
ปฐมอปริหานสูตรที่ ๒ จบ

เชิงอรรถ :
๑ องฺ.สตฺตก. ๒๓/๓๒/๒๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๗๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๔. เทวตาวรรค ๓. ทุติยอปริหานสูตร
๓. ทุติยอปริหานสูตร
ว่าด้วยอปริหานิยธรรม สูตรที่ ๒
[๓๓] ภิกษุทั้งหลาย เมื่อคืนนี้ เมื่อราตรีผ่านไป เทวดาตนหนึ่งมีวรรณะ
งดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างทั่วพระเชตวัน เข้ามาหาเราถึงที่อยู่ ไหว้แล้วยืนอยู่
ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับเราดังนี้ว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๖ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความเป็นผู้มีความเคารพในพระศาสดา
๒. ความเป็นผู้มีความเคารพในพระธรรม
๓. ความเป็นผู้มีความเคารพในพระสงฆ์
๔. ความเป็นผู้มีความเคารพในสิกขา
๕. ความเป็นผู้มีความเคารพในหิริ (ความอายบาป)
๖. ความเป็นผู้มีความเคารพในโอตตัปปะ (ความกลัวบาป)
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๖ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ
ภิกษุทั้งหลาย เทวดานั้นครั้นได้กล่าวดังนี้แล้ว จึงไหว้เราทำประทักษิณแล้ว
หายไป ณ ที่นั้นแล
ภิกษุมีความเคารพในศาสดา
มีความเคารพในธรรม
มีความเคารพอย่างแรงกล้าในสงฆ์
ถึงพร้อมด้วยหิริและโอตตัปปะ
มีความยำเกรง มีความเคารพ
เป็นผู้ไม่ควรเสื่อม ดำรงอยู่ใกล้นิพพานทีเดียว
ทุติยอปริหานสูตรที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๘๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๔. เทวตาวรรค ๔. มหาโมคคัลลานสูตร
๔. มหาโมคคัลลานสูตร
ว่าด้วยพระมหาโมคคัลลานะ
[๓๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระโมคคัลลานะหลีกเร้นอยู่ใน
ที่สงัด เกิดความคิดคำนึงขึ้นในจิตว่า “เทวดาเหล่าไหนมีญาณอย่างนี้ว่า ‘เราเป็น
โสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิ๑ในวันข้างหน้า”
สมัยนั้นแล ภิกษุชื่อว่าติสสะมรณภาพไม่นาน ได้บังเกิดในพรหมโลกชั้นหนึ่ง
ณ พรหมโลกชั้นนั้น เทวดาทั้งหลายก็รู้จักพรหมนั้นว่า “ติสสพรหมมีฤทธิ์มาก
มีอานุภาพมาก”
ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้หายไปจากพระเชตวันมาปรากฏใน
พรหมโลกนั้น เหมือนบุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้า ติสสพรหมได้เห็น
ท่านพระมหาโมคคัลลานะมาแต่ไกลทีเดียว จึงได้กล่าวกับท่านพระโมคคัลลานะว่า
“ท่านพระโมคคัลลานะผู้ไม่มีทุกข์ ขอท่านจงมาเถิด ท่านมาดีแล้ว ท่านจัดลำดับใน
การมาในที่นี้นานจริงหนอ ขอนิมนต์นั่งเถิด นี้อาสนะที่ปูลาดไว้”
ท่านพระมหาโมคคัลลานะนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้แล้ว ฝ่ายติสสพรหม
ไหว้ท่านพระมหาโมคคัลลานะแล้วจึงนั่ง ณ ที่สมควร ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้
ถามติสสพรหมดังนี้ว่า
“ติสสพรหม เทวดาชั้นไหนหนอ มีญาณอย่างนี้ว่า ‘เราเป็นโสดาบัน ไม่มีทาง
ตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”
ติสสพรหมตอบว่า “ท่านพระโมคคัลลานะผู้ไม่มีทุกข์ เทวดาชั้นจาตุมหาราชมี
ญาณอย่างนี้ว่า ‘เราเป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิ
ในวันข้างหน้า”
ท่านพระโมคคัลลานะถามว่า “ติสสพรหม เทวดาชั้นจาตุมหาราชทั้งหมดเลย
หรือ ที่มีญาณอย่างนี้ว่า ‘เราเป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จ
สัมโพธิในวันข้างหน้า”


เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ปัญจกนิบาต ข้อ ๑๗๙ หน้า ๓๐๐ ในเล่มนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๔. เทวตาวรรค ๔. มหาโมคคัลลานสูตร
ติสสพรหมตอบว่า “ท่านพระโมคคัลลานะผู้ไม่มีทุกข์ ไม่ใช่เทวดาชั้น
จาตุมหาราชทั้งหมดที่มีญาณอย่างนี้ว่า ‘เราเป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่
นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’ ท่านพระมหาโมคคัลลานะผู้ไม่มีทุกข์ เทวดา
ชั้นจาตุมหาราชเหล่าใด ไม่มีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ไม่มีความ
เลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ไม่มีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ไม่มี
ศีลที่พระอริยะใคร่ เทวดาชั้นจาตุมหาราชเหล่านั้นก็ไม่มีญาณอย่างนี้ว่า ‘เราเป็น
โสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’ ท่านพระ
มหาโมคคัลลานะผู้ไม่มีทุกข์ ส่วนเทวดาชั้นจาตุมหาราชเหล่าใด มีความ เลื่อมใส
อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า มีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม มีความ
เลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ มีศีลที่พระอริยะใคร่ เทวดาชั้นจาตุมหาราช
เหล่านั้นจึงมีญาณอย่างนี้ว่า ‘เราเป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอน
ที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”
ท่านพระโมคคัลลานะถามว่า “ติสสพรหม เทวดาชั้นจาตุมหาราชเท่านั้นหรือ
ที่มีญาณอย่างนี้ว่า ‘เราเป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จ
สัมโพธิในวันข้างหน้า’ หรือว่าแม้เทวดาชั้นดาวดึงส์ ฯลฯ แม้เทวดาชั้นยามา ฯลฯ
แม้เทวดาชั้นดุสิต ฯลฯ แม้เทวดาชั้นนิมมานรดี ฯลฯ แม้เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี
ก็มีญาณอย่างนี้ว่า ‘เราเป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จ
สัมโพธิในวันข้างหน้า”
ติสสพรหมตอบว่า “ท่านพระโมคคัลลานะผู้ไม่มีทุกข์ เทวดาชั้นปรนิมมิตว-
สวัตดีมีญาณอย่างนี้ว่า ‘เราเป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จ
สัมโพธิในวันข้างหน้า”
ท่านพระโมคคัลลานะถามว่า “ติสสพรหม เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดีทั้งหมด
เลยหรือที่มีญาณอย่างนี้ว่า ‘เราเป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะ
สำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”
ติสสพรหมตอบว่า “ท่านพระโมคคัลลานะผู้ไม่มีทุกข์ ไม่ใช่เทวดาชั้น
ปรนิมมิตวสวัตดีทั้งหมดที่มีญาณอย่างนี้ว่า ‘เราเป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ
มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’ ท่านพระโมคคัลลานะผู้ไม่มีทุกข์
เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดีเหล่าใด ไม่มีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๔. เทวตาวรรค ๕. วิชชาภาคิยสูตร
ไม่มีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ไม่มีความเลื่อมใสในอันไม่หวั่นไหวใน
พระสงฆ์ ไม่มีศีลที่พระอริยะใคร่เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดีเหล่านั้นไม่มีญาณอย่าง
นี้ว่า ‘เราเป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวัน
ข้างหน้า’ ท่านพระโมคคัลลานะผู้ไม่มีทุกข์ ส่วนเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดีเหล่าใด
มีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า มีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม
มีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ มีศีลที่พระอริยะใคร่ เทวดาชั้นปรนิม-
มิตวสวัตดีเหล่านั้นจึงมีญาณอย่างนี้ว่า ‘เราเป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่
นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”
ลำดับนั้น ท่านพระโมคคัลลานะชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของติสสพรหมแล้ว
หายไปจากพรหมโลกมาปรากฏ ณ พระเชตวัน เหมือนบุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขนออก
หรือคู้แขนเข้า
มหาโมคคัลลานสูตรที่ ๔ จบ
๕. วิชชาภาคิยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นส่วนแห่งวิชชา
[๓๕] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการนี้ เป็นส่วนแห่งวิชชา
ธรรม๑ ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อนิจจสัญญา
๒. อนิจเจ ทุกขสัญญา
๓. ทุกเข อนัตตสัญญา

เชิงอรรถ :
๑ อนิจจสัญญา หมายถึงสัญญาที่เกิดขึ้นในญาณที่พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง
อนิจเจ ทุกขสัญญา หมายถึงสัญญาที่เกิดขึ้นในญาณที่พิจารณาเห็นความเป็นทุกข์ในความไม่เที่ยง
ทุกเข อนัตตสัญญา หมายถึงสัญญาที่เกิดขึ้นในญาณที่พิจารณาเห็นความเป็นอนัตตาในความเป็นทุกข์
ปหานสัญญา หมายถึงสัญญาที่เกิดขึ้นในญาณที่พิจารณาเห็นการละกิเลส
วิราคสัญญา หมายถึงสัญญาที่เกิดขึ้นในญาณที่พิจารณาเห็นวิราคะ (ความคลายกำหนัด)
นิโรธสัญญา หมายถึงสัญญาที่เกิดขึ้นในญาณที่พิจารณาเห็นนิโรธ (ความดับแห่งกิเลส) (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๓๕/
๑๑๖) และดู องฺ.สตฺตก. ๒๓/๔๘-๔๙/๔๐-๔๖, องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๕๖/๑๒๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๘๓ }


>>>>> หน้าต่อไป >>>>>





eXTReMe Tracker