ค้นว่าอยู่เล่มใด แล้วกด [ctrl]+f หรือใช้คำสั่งของเครื่องหาตำแหน่งในเล่มอีกทีนะครับ



จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อความสะดวก และสวยงาม
(เฉพาะหน้าจอใหญ่ เช่น คอมพิวเตอร์)
กรุณาคลิก จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อให้กรอบ
ค้นข้อความ ปรากฎที่ด้านซ้ายของหน้า

พระไตรปิฎกภาษาไทย
ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม (ปกสีฟ้า)
ทั้งออนไลน์และออฟไลน์
ที่มาของข้อมูล : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มจร.
MCUTRAI Version 1.0

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒-๒ สุตตันตปิฎกที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก ฉักกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก
อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๔. เถรวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
๕. ภิกษุผู้เป็นเสขะได้กถาเป็นเครื่องขัดเกลาอย่างยิ่ง เป็นสัปปายะแห่ง
ความเป็นไปของจิต คือ อัปปิจฉกถา สันตุฏฐิกถา ปวิเวกกถา
อสังสัคคกถา วีริยารัมภกถา สีลกถา สมาธิกถา ปัญญากถา
วิมุตติกถา วิมุตติญาณทัสสนกถา ตามความปรารถนา ได้โดย
ไม่ยาก ได้ไม่ลำบาก ไม่ละการหลีกเร้น ประกอบความสงบใจ
ภายใน นี้เป็นธรรมประการที่ ๕ เป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ
ผู้เป็นเสขะ
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ
ผู้เป็นเสขะ
ทุติยเสขสูตรที่ ๑๐ จบ
เถรวรรคที่ ๔ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. รชนียสูตร ๒. วีตราคสูตร
๓. กุหกสูตร ๔. อัสสัทธสูตร
๕. อักขมสูตร ๖. ปฏิสัมภิทาปัตตสูตร
๗. สีลวันตสูตร ๘. เถรสูตร
๙. ปฐมเสขสูตร ๑๐. ทุติยเสขสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๕. กกุธวรรค ๒. ทุติยสัมปทาสูตร
๕. กกุธวรรค
หมวดว่าด้วยกกุธเทพบุตร
๑. ปฐมสัมปทาสูตร
ว่าด้วยสัมปทา สูตรที่ ๑
[๙๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย สัมปทา(ความถึงพร้อม)
๕ ประการนี้
สัมปทา ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธาสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศรัทธา)
๒. สีลสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศีล)
๓. สุตสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยสุตะ)
๔. จาคสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยจาคะ)
๕. ปัญญาสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยปัญญา)
ภิกษุทั้งหลาย สัมปทา ๕ ประการนี้แล
ปฐมสัมปทาสูตรที่ ๑ จบ

๒. ทุติยสัมปทาสูตร
ว่าด้วยสัมปทา สูตรที่ ๒
[๙๒] ภิกษุทั้งหลาย สัมปทา ๕ ประการนี้
สัมปทา ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สีลสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศีล)
๒. สมาธิสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยสมาธิ)
๓. ปัญญาสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยปัญญา)
๔. วิมุตติสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยวิมุตติ)
๕. วิมุตติญาณทัสสนสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ)
ภิกษุทั้งหลาย สัมปทา ๕ ประการนี้แล
ทุติยสัมปทาสูตรที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๕. กกุธวรรค ๔. ผาสุวิหารสูตร
๓. พยากรณสูตร
ว่าด้วยการพยากรณ์อรหัตตผล
[๙๓] ภิกษุทั้งหลาย การพยากรณ์อรหัตตผล๑ ๕ ประการนี้
การพยากรณ์อรหัตตผล ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. พยากรณ์อรหัตตผล เพราะโง่เขลา เพราะหลงงมงาย
๒. มีความปรารถนาชั่ว ถูกความปรารถนาครอบงำ จึงพยากรณ์
อรหัตตผล
๓. พยากรณ์อรหัตตผล เพราะความบ้า เพราะจิตฟุ้งซ่าน
๔. พยากรณ์อรหัตตผล เพราะสำคัญว่าได้บรรลุ
๕. พยากรณ์อรหัตตผลโดยถูกต้อง
ภิกษุทั้งหลาย การพยากรณ์อรหัตตผล ๕ ประการนี้แล
พยากรณสูตรที่ ๓ จบ

๔. ผาสุวิหารสูตร
ว่าด้วยผาสุวิหารธรรม๒
[๙๔] ภิกษุทั้งหลาย ผาสุวิหารธรรม ๕ ประการนี้
ผาสุวิหารธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. สงัดจากกาม และอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ๓ อยู่
๒. เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ อยู่
๓. เพราะปีติจางคลายไปมีอุเบกขามีสติสัมปชัญญะเสวยสุขด้วยนาม
กายบรรลุตติยฌาน ฯลฯ อยู่

เชิงอรรถ :
๑ พยากรณ์อรหัตตผล ในที่นี้หมายถึงการกล่าวอ้างว่าตนได้บรรลุอรหัตตผล (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๙๓/๔๔)
๒ ผาสุวิหารธรรม หมายถึงธรรมเครื่องอยู่เป็นสุข (สุขวิหาระ) (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๙๔-๙๕/๔๔)
๓ ฯลฯ ที่ปรากฏในสูตรนี้ ดูความเต็มในข้อ ๒๘ (ปัญจังคิกสูตร) หน้า ๓๖-๓๘ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๕. กกุธวรรค ๕. อกุปปสูตร
๔. เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว
บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ อยู่
๕. ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้น
ไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย ผาสุวิหารธรรม ๕ ประการนี้แล
ผาสุวิหารสูตรที่ ๔ จบ

๕. อกุปปสูตร
ว่าด้วยอกุปปธรรม๑
[๙๕] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ไม่นานนักก็จะ
บรรลุอกุปปธรรม
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้บรรลุอัตถปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในอรรถ)
๒. เป็นผู้บรรลุธัมมปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในธรรม)
๓. เป็นผู้บรรลุนิรุตติปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในนิรุตติ)
๔. เป็นผู้บรรลุปฏิภาณปฏิสัมภิทา๒ (ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ)
๕. พิจารณาจิตตามที่หลุดพ้นแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ไม่นานนักก็จะบรรลุ
อกุปปธรรม
อกุปปสูตรที่ ๕ จบ

เชิงอรรถ :
๑ อกุปปธรรม หมายถึงพระอรหัตตผล (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๙๔-๙๕/๔๔)
๒ ดู องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๗๒/๒๔๒-๒๔๓, ขุ.ป. ๓๑/๑๑๐/๑๒๓, ๓๐/๓๕๘, อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๗๑๘/๔๕๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๕. กกุธวรรค ๖. สุตธรสูตร
๖. สุตธรสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้ทรงสุตะ
[๙๖] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เสพ๑อานาปาน-
สติกัมมัฏฐานอยู่ ไม่นานนัก ย่อมบรรลุอกุปปธรรม
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มีธุระน้อย มีกิจน้อย เลี้ยงง่าย สันโดษในบริขารแห่งชีวิต
๒. เป็นผู้มีอาหารน้อย หมั่นประกอบความไม่เห็นแก่ปากแก่ท้อง
๓. เป็นผู้มีการหลับน้อย หมั่นประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่
๔. เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ฟังมากซึ่งธรรมทั้งหลาย
ที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง มีความงามใน
ที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์
ครบถ้วน แล้วทรงจำไว้ได้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดดี
ด้วยทิฏฐิ
๕. พิจารณาจิตตามที่หลุดพ้นแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เสพอานาปานสติ-
กัมมัฏฐานอยู่ ไม่นานนัก ย่อมบรรลุอกุปปธรรม
สุตธรสูตรที่ ๖ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๕๗ (ฐานสูตร) หน้า ๑๐๒ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๕. กกุธวรรค ๗. กถาสูตร
๗. กถาสูตร
ว่าด้วยกถาเครื่องขัดเกลากิเลส
[๙๗] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เจริญอานาปาน-
สติกัมมัฏฐานอยู่ ไม่นานนัก ย่อมบรรลุอกุปปธรรม
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มีธุระน้อย มีกิจน้อย เลี้ยงง่าย สันโดษในบริขารแห่งชีวิต
๒. เป็นผู้มีอาหารน้อย หมั่นประกอบความไม่เห็นแก่ปากแก่ท้อง
๓. เป็นผู้มีการหลับน้อย หมั่นประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่
๔. เป็นผู้ได้กถาเป็นเครื่องขัดเกลาอย่างยิ่ง เป็นสัปปายะแห่งความเป็น
ไปของจิต คือ อัปปิจฉกถา สันตุฏฐิกถา ปวิเวกกถา อสังสัคคกถา
วีริยารัมภกถา สีลกถา สมาธิกถา ปัญญากถา วิมุตติกถา วิมุตติ-
ญาณทัสสนกถา ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้ไม่ลำบาก
๕. พิจารณาจิตตามที่หลุดพ้นแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เจริญอานาปานสติ-
กัมมัฏฐานอยู่ ไม่นานนัก ย่อมบรรลุอกุปปธรรม
กถาสูตรที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๕. กกุธวรรค ๙. สีหสูตร
๘. อารัญญกสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร
[๙๘] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ทำอานาปานสติ-
กัมมัฏฐานให้มากอยู่ ไม่นานนัก ย่อมบรรลุอกุปปธรรม
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มีธุระน้อย มีกิจน้อย เลี้ยงง่าย สันโดษในบริขารแห่งชีวิต
๒. เป็นผู้มีอาหารน้อย หมั่นประกอบความไม่เห็นแก่ปากแก่ท้อง
๓. เป็นผู้มีการหลับน้อย หมั่นประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่
๔. ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร อยู่ในเสนาสนะอันเงียบสงัด
๕. พิจารณาจิตตามที่หลุดพ้นแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ทำอานาปานสติ-
กัมมัฏฐานให้มากอยู่ ไม่นานนัก ย่อมบรรลุอกุปปธรรม
อารัญญกสูตรที่ ๘ จบ

๙. สีหสูตร
ว่าด้วยพญาราชสีห์
[๙๙] ภิกษุทั้งหลาย ในเวลาเย็น พญาราชสีห์ออกจากที่อาศัยแล้วบิดกาย
ชำเลืองดูรอบ ๆ ทั้ง ๔ ทิศ บรรลือสีหนาท ๓ ครั้ง แล้วก็หลีกไปหากิน พญา-
ราชสีห์นั้น ถ้าแม้จะจับช้าง ก็จับได้แม่นยำ ไม่พลาด แม้จะจับกระบือ ก็จับได้
แม่นยำ ไม่พลาด แม้จะจับโค ก็จับได้แม่นยำ ไม่พลาด แม้จะจับเสือเหลือง ก็จับได้
แม่นยำ ไม่พลาด แม้จะจับพวกสัตว์เล็กๆ โดยที่สุดแม้กระต่ายและแมว ก็จับได้
แม่นยำ ไม่พลาดทีเดียว ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะพญาราชสีห์นั้นคิดว่า “ช่องทาง
หากินของเราอย่าเสียไป”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๕. กกุธวรรค ๙. สีหสูตร
ภิกษุทั้งหลาย คำว่า สีหะ นี้เป็นชื่อของตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
อาการที่ตถาคตแสดงธรรมแก่บริษัท เป็นสีหนาท๑ของตถาคตแท้ คือ ตถาคต
๑. แม้จะแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย ก็แสดงโดยเคารพ๒ ไม่แสดง
โดยไม่เคารพ
๒. แม้จะแสดงธรรมแก่ภิกษุณีทั้งหลาย ก็แสดงโดยเคารพ ไม่แสดง
โดยไม่เคารพ
๓. แม้จะแสดงธรรมแก่อุบาสกทั้งหลาย ก็แสดงโดยเคารพ ไม่แสดง
โดยไม่เคารพ
๔. แม้จะแสดงธรรมแก่อุบาสิกาทั้งหลาย ก็แสดงโดยเคารพ ไม่แสดง
โดยไม่เคารพ
๕. แม้จะแสดงธรรมแก่ปุถุชนทั้งหลาย ก็แสดงโดยเคารพ ไม่แสดงโดย
ไม่เคารพ โดยที่สุดแม้จะแสดงแก่คนขอทานและพรานนก๓ ก็แสดง
โดยเคารพ ไม่แสดงโดยไม่เคารพ
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
ภิกษุทั้งหลาย เพราะตถาคตเป็นผู้หนักในธรรม เคารพธรรม
สีหสูตรที่ ๙ จบ

เชิงอรรถ :
๑ สีหนาท หมายถึงคำพูดที่ตรัสด้วยท่าทีองอาจดังพญาราชสีห์ ไม่ทรงหวั่นเกรงผู้ใด เพราะทรงมั่นพระทัย
ในศีล สมาธิ และปัญญาของพระองค์ (ที.สี.ฏีกา ๔๐๓/๔๓๒)
๒ คำว่า โดยเคารพ แปลจากคำว่า “สกฺกจฺจํ” ในที่นี้หมายถึงความตั้งใจจริง เอาจริงเอาจังถือเป็นเรื่องสำคัญ
ดุจในประโยคว่า “วจฺฉกํ สกฺกจฺจํ อุปนิชฺฌายติ” แปลว่า “จ้องดูลูกวัวอย่างสนใจจริงจัง” (วิ.ม. ๕/๒๕๕/๑๙)
และเทียบ ที.ปา.อ. ๒๖๗/๑๔๗, องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๕๔/๕๙
๓ ตามนัย องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๙๙/๔๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๕. กกุธวรรค ๑๐. กกุธเถรสูตร
๑๐. กกุธเถรสูตร
ว่าด้วยกกุธเทพบุตรกับพระมหาโมคคัลลานะ
[๑๐๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี
สมัยนั้นแล บุตรเจ้าโกลิยะนามว่ากกุธะเป็นอุปัฏฐากของท่านพระมหาโมคคัลลานะ
สิ้นชีพิตักษัยได้ไม่นาน เข้าถึงชั้นกายมโนมัย๑ชั้นใดชั้นหนึ่ง เป็นผู้ได้อัตภาพใหญ่
เหมือนคามเขตในแคว้นมคธสองสามหมู่ เพราะการได้อัตภาพนั้น เขาจึงไม่ทำตนให้
เดือดร้อน ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน
ครั้งนั้น กกุธเทพบุตรได้เข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ไหว้แล้ว
ยืนอยู่ ณ ที่สมควร ครั้นแล้ว ได้กล่าวอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระเทวทัต
เกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘เราจักปกครองภิกษุสงฆ์ และพระเทวทัตได้เสื่อมจาก
ฤทธิ์นั้นพร้อมกับจิตตุปบาท’ กกุธเทพบุตรครั้นกล่าวดังนี้แล้ว ได้ไหว้ท่านพระมหา-
โมคคัลลานะทำประทักษิณแล้วหายไป ณ ที่นั้น นั่นเอง
ลำดับนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุตรของเจ้าโกลิยะนามว่ากกุธะเป็นอุปัฏฐากของ
ข้าพระองค์ สิ้นชีพิตักษัยได้ไม่นาน เข้าถึงชั้นกายมโนมัยชั้นใดชั้นหนึ่ง เป็นผู้
ได้อัตภาพใหญ่เหมือนคามเขตในแคว้นมคธสองสามหมู่ เพราะการได้อัตภาพนั้น
เขาจึงไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ต่อมากกุธเทพบุตรได้เข้าไป
หาข้าพระองค์ถึงที่อยู่ ไหว้แล้ว ยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับข้าพระองค์
ดังนี้ว่า ‘ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระเทวทัตเกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า เราจักปกครอง


เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๔๔ (มนาปทายีสูตร) หน้า ๗๒ ในเล่มนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๕. กกุธวรรค ๑๐. กกุธเถรสูตร
ภิกษุสงฆ์ และพระเทวทัตได้เสื่อมจากฤทธิ์นั้นพร้อมกับจิตตุปบาท’ กกุธเทพบุตร
ครั้นกล่าวดังนี้แล้ว ได้ไหว้ข้าพระองค์ทำประทักษิณแล้วหายไป ณ ที่นั้นนั่นเอง”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “โมคคัลลานะ เธอกำหนดรู้กกุธเพพบุตรด้วย
ใจดีแล้วหรือว่า ‘กกุธเทพบุตรกล่าวสิ่งหนึ่งสิ่งใด สิ่งนั้นทั้งหมดย่อมเป็นอย่างนั้น
ทีเดียว ไม่เป็นอย่างอื่น”
ท่านพระมหาโมคคัลลานะกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์
กำหนดรู้กกุธเทพบุตรด้วยใจดีแล้วว่า ‘กกุธเทพบุตรกล่าวสิ่งหนึ่งสิ่งใด สิ่งนั้น
ทั้งหมดย่อมเป็นอย่างนั้นทีเดียว ไม่เป็นอย่างอื่น”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า โมคคัลลานะ เธอจงรักษาวาจานั้น โมคคัลลานะ
เธอจงรักษาวาจานั้น บัดนี้ โมฆบุรุษ๑นั้นจักทำตนให้ปรากฏด้วยตนเอง โมคคัลลานะ
ศาสดา ๕ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
ศาสดา ๕ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. ศาสดาบางท่านในโลกนี้เป็นผู้มีศีลไม่บริสุทธิ์แต่ปฏิญญาว่า “เรา
เป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ ศีลของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง”
พวกสาวกรู้จักเขาอย่างนี้ว่า “ศาสดาท่านนี้เป็นผู้มีศีลไม่บริสุทธิ์
แต่ปฏิญญาว่า ‘เราเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ ศีลของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว
ไม่เศร้าหมอง’ แต่ถ้าพวกเราจักบอกแก่พวกคฤหัสถ์ ก็จะไม่เป็นที่
พอใจของท่าน พวกเราจะกล่าวถ้อยคำที่ท่านไม่พอใจได้อย่างไร
อนึ่ง มหาชนก็ยกย่องท่านด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ
คิลานปัจจัยเภสัชชบริขารด้วยคิดว่า ‘ศาสดาท่านนี้จักทำกรรมใด
เขาเองก็จักปรากฏด้วยกรรมนั้น” พวกสาวกรักษาศาสดาเช่นนี้
โดยศีล และศาสดาเช่นนี้ก็หวังการรักษาจากพวกสาวกโดยศีล

เชิงอรรถ :
๑ โมฆบุรุษ (บุรุษเปล่า) เป็นคำที่พระพุทธเจ้าตรัสเรียกภิกษุที่เป็นมิจฉาทิฏฐิ (ตุจฺฉปุริโส) (องฺ.ปญฺจก.อ.
๓/๑๐๐/๔๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๕. กกุธวรรค ๑๐. กกุธเถรสูตร
๒. ศาสดาบางท่านในโลกนี้เป็นผู้มีอาชีพไม่บริสุทธิ์แต่ปฏิญญาว่า
“เราเป็นผู้มีอาชีพบริสุทธิ์ อาชีพของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้า
หมอง” พวกสาวกรู้จักเขาอย่างนี้ว่า “ศาสดาท่านนี้มีอาชีพไม่
บริสุทธิ์แต่ปฏิญญาว่า ‘เราเป็นผู้มีอาชีพบริสุทธิ์ อาชีพของเรา
บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง’ แต่ถ้าพวกเราพึงบอกแก่พวก
คฤหัสถ์ ก็จะไม่เป็นที่พอใจของท่าน พวกเราจะกล่าวถ้อยคำที่ท่าน
ไม่พอใจได้อย่างไร อนึ่ง มหาชนก็ยกย่องท่านด้วยจีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขารด้วยคิดว่า ‘ศาสดาท่านนี้
จักทำกรรมใด เขาเองก็จักปรากฏด้วยกรรมนั้น” พวกสาวกรักษา
ศาสดาเช่นนี้โดยอาชีพ และศาสดาเช่นนี้ก็หวังการรักษาจากพวก
สาวกโดยอาชีพ
๓. ศาสดาบางท่านในโลกนี้เป็นผู้มีธรรมเทศนาไม่บริสุทธิ์ แต่ปฏิญญา
ว่า “เราเป็นผู้มีธรรมเทศนาบริสุทธิ์ ธรรมเทศนาของเราบริสุทธิ์
ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง” พวกสาวกรู้จักเขาอย่างนี้ว่า “ศาสดา
ท่านนี้เป็นผู้มีธรรมเทศนาไม่บริสุทธิ์แต่ปฏิญญาว่า ‘เราเป็นผู้มี
ธรรมเทศนาบริสุทธิ์ ธรรมเทศนาของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้า
หมอง’ แต่ถ้าพวกเราพึงบอกแก่พวกคฤหัสถ์ ก็จะไม่เป็นที่พอใจ
ของท่าน พวกเราจะกล่าวถ้อยคำที่ท่านไม่พอใจได้อย่างไร อนึ่ง
มหาชนก็ยกย่องท่านด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลาน-
ปัจจัยเภสัชชบริขารด้วยคิดว่า ‘ศาสดาท่านนี้จักทำกรรมใด เขาเอง
ก็จักปรากฏด้วยกรรมนั้น” พวกสาวกรักษาศาสดาเช่นนี้โดยธรรม
เทศนา และศาสดาเช่นนี้ก็หวังการรักษาจากพวกสาวกโดยธรรม-
เทศนา
๔. ศาสดาบางท่านในโลกนี้เป็นผู้มีเวยยากรณะไม่บริสุทธิ์แต่ปฏิญญา
ว่า “เราเป็นผู้มีเวยยากรณะบริสุทธิ์ เวยยากรณะของเราบริสุทธิ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๕. กกุธวรรค ๑๐. กกุธเถรสูตร
ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง” พวกสาวกรู้จักเขาอย่างนี้ว่า “ศาสดา
ท่านนี้เป็นผู้มีเวยยากรณะไม่บริสุทธิ์แต่ปฏิญณาว่า ‘เราเป็นผู้มี
เวยยากรณะบริสุทธิ์ เวยยากรณะของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้า
หมอง’ แต่ถ้าพวกเราพึงบอกแก่พวกคฤหัสถ์ ก็จะไม่เป็นที่พอใจ
ของท่าน พวกเราจะกล่าวถ้อยคำที่ท่านไม่พอใจได้อย่างไร อนึ่ง
มหาชนก็ยกย่องท่านด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัย
เภสัชชบริขารด้วยคิดว่า ‘ศาสดาท่านนี้จักทำกรรมใด เขาเองก็จัก
ปรากฏด้วยกรรมนั้น” พวกสาวกรักษาศาสดาเช่นนี้โดยเวยยากรณะ
และศาสดาเช่นนี้ก็หวังการรักษาจากพวกสาวกโดยเวยยากรณะ
๕. ศาสดาบางท่านในโลกนี้เป็นผู้มีญาณทัสสนะไม่บริสุทธิ์แต่ปฏิญญา
ว่า “เราเป็นผู้มีญาณทัสสนะบริสุทธิ์ ญาณทัสสนะของเราบริสุทธิ์
ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง” พวกสาวกย่อมรู้จักเขาอย่างนี้ว่า “ศาสดา
ท่านนี้เป็นผู้มีญาณทัสสนะไม่บริสุทธิ์แต่ปฏิญญาว่า ‘เราเป็นผู้
มีญาณทัสสนะบริสุทธิ์ ญาณทัสสนะของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว
ไม่เศร้าหมอง’ แต่ถ้าพวกเราพึงบอกแก่พวกคฤหัสถ์ ก็จะไม่เป็น
ที่พอใจของท่าน พวกเราจะกล่าวถ้อยคำที่ท่านไม่พอใจได้อย่างไร
อนึ่ง มหาชนก็ยกย่องท่านด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ
คิลานปัจจัยเภสัชบริขารด้วยคิดว่า ‘ศาสดาท่านนี้จักทำกรรมใด
เขาเองก็จักปรากฏด้วยกรรมนั้น” พวกสาวกรักษาศาสดาเช่นนี้โดย
ญาณทัสสนะ และศาสดาเช่นนี้ก็หวังการรักษาจากพวกสาวกโดย
ญาณทัสสนะ
โมคคัลลานะ ศาสดา ๕ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก
โมคคัลลานะ เรามีศีลบริสุทธิ์จึงปฏิญญาว่า“เราเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ ศีลของเรา
บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง” พวกสาวกไม่รักษาเราโดยศีล และเราก็ไม่หวังการ
รักษาจากพวกสาวกโดยศีล เรามีอาชีพบริสุทธิ์จึงปฏิญญาว่า “เราเป็นผู้มีอาชีพ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๕. กกุธวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
บริสุทธิ์ อาชีพของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง” พวกสาวกไม่รักษาเราโดย
อาชีพ และเราก็ไม่หวังการรักษาจากพวกสาวกโดยอาชีพ เรามีธรรมเทศนาบริสุทธิ์
จึงปฏิญญาว่า “เราเป็นผู้มีธรรมเทศนาบริสุทธิ์ ธรรมเทศนาของเราบริสุทธิ์
ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง” พวกสาวกไม่รักษาเราโดยธรรมเทศนา และเราก็ไม่หวัง
การรักษาจากพวกสาวกโดยธรรมเทศนา เรามีเวยยากรณะบริสุทธิ์จึงปฏิญญาว่า
“เราเป็นผู้มีเวยยากรณะบริสุทธิ์ เวยยากรณะของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้า
หมอง” พวกสาวกไม่รักษาเราโดยเวยยากรณะ และเราก็ไม่หวังการรักษาจากพวก
สาวกโดยเวยยากรณะ เรามีญาณทัสสนะบริสุทธิ์จึงปฏิญาณว่า “เราเป็นผู้มีญาณ-
ทัสสนะบริสุทธิ์ ญาณทัสสนะของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง” พวก
สาวกไม่รักษาเราโดยญาณทัสสนะ และเราก็ไม่หวังการรักษาจากพวกสาวกโดย
ญาณทัสสนะ
กกุธเถรสูตรที่ ๑๐ จบ
กกุธวรรคที่ ๕ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมสัมปทาสูตร ๒. ทุติยสัมปทาสูตร
๓. พยากรณสูตร ๔. ผาสุวิหารสูตร
๕. อกุปปสูตร ๖. สุตธรสูตร
๗. กถาสูตร ๘. อารัญญกสูตร
๙. สีหสูตร ๑๐. กกุธเถรสูตร

ทุติยปัณณาสก์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๗๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๑. ผาสุวิหารวรรค ๑. สารัชชสูตร
๓. ตติยปัณณาสก์
๑. ผาสุวิหารวรรค
หมวดว่าด้วยผาสุวิหารธรรม
๑. สารัชชสูตร
ว่าด้วยความแกล้วกล้าและความครั่นคร้าม๑
[๑๐๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเครื่องทำความแกล้วกล้า
สำหรับภิกษุผู้เป็นเสขะ ๕ ประการนี้
ธรรมเครื่องทำความแกล้วกล้าสำหรับภิกษุผู้เป็นเสขะ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มีศรัทธา
๒. เป็นผู้มีศีล
๓. เป็นพหูสูต
๔. เป็นผู้ปรารภความเพียร
๕. เป็นผู้มีปัญญา
ผู้ไม่มีศรัทธามีความครั่นคร้ามใด แต่ผู้มีศรัทธาหามีความครั่นคร้ามนั้นไม่ ฉะนั้น
ธรรมนี้จึงชื่อว่าเครื่องทำความแกล้วกล้าสำหรับภิกษุผู้เป็นเสขะ
ผู้ทุศีลมีความครั่นคร้ามใด แต่ผู้มีศีลหามีความครั่นคร้ามนั้นไม่ ฉะนั้น ธรรมนี้
จึงชื่อว่าเครื่องทำความแกล้วกล้าสำหรับภิกษุผู้เป็นเสขะ

เชิงอรรถ :
๑ ความครั่นคร้าม ในที่นี้หมายถึงโทมนัส(ความทุกข์ใจ) (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๐๑/๔๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๑. ผาสุวิหารวรรค ๒. อุสสังกิตสูตร
ผู้มีสุตะน้อยมีความครั่นคร้ามใด แต่ผู้เป็นพหูสูตหามีความครั่นคร้ามนั้นไม่ ฉะนั้น
ธรรมนี้จึงชื่อว่าเครื่องทำความแกล้วกล้าสำหรับภิกษุผู้เป็นเสขะ
ผู้เกียจคร้านมีความครั่นคร้ามใด แต่ผู้ปรารภความเพียรหามีความครั่นคร้าม
นั้นไม่ ฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่าเครื่องทำความแกล้วกล้าสำหรับภิกษุผู้เป็นเสขะ
ผู้มีปัญญาทรามมีความครั่นคร้ามใด แต่ผู้มีปัญญาหามีความครั่นคร้ามนั้นไม่
ฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่าเครื่องทำความแกล้วกล้าสำหรับภิกษุผู้เป็นเสขะ
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเครื่องทำความแกล้วกล้าสำหรับภิกษุผู้เป็นเสขะ ๕ ประการ
นี้แล
สารัชชสูตรที่ ๑ จบ

๒. อุสสังกิตสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ทำให้น่ารังเกียจ
[๑๐๒] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นที่
รังเกียจสงสัยว่า ‘เป็นภิกษุชั่ว’ แม้จะเป็นผู้มีอกุปปธรรม๑ก็ตาม
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มีหญิงแพศยา๒เป็นโคจร๓
๒. เป็นผู้มีหญิงหม้ายเป็นโคจร

เชิงอรรถ :
๑ ผู้มีอกุปปธรรม ในที่นี้หมายถึงพระขีณาสพ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๐๒/๔๖)
๒ หญิงแพศยา หมายถึงหญิงที่เลี้ยงชีพด้วยอาศัยเรือนร่างของตน (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๐๒/๔๖)
๓ โคจร ในที่นี้หมายถึงการไปมาหาสู่บ่อย ๆ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๐๓/๔๖) อีกนัยหยึ่ง หมายถึงสถานที่
สำหรับเข้าไปเพื่อบิณฑบาต หรือเข้าไปเพื่อสร้างความคุ้นเคยฉันมิตร หญิงเหล่านี้ ภิกษุไม่ควรเข้าไปหา
เพื่อสร้างความคุ้นเคยฉันมิตร เพราะจะเป็นเหตุก่ออันตรายแก่สมณภาวะและก่อคำติเตียนแก่ภิกษุผู้บริสุทธิ์ได้
(องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๑๐๑-๑๐๔/๔๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๗๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๑. ผาสุวิหารวรรค ๓. มหาโจรสูตร
๓. เป็นผู้มีสาวเทื้อ๑เป็นโคจร
๔. เป็นผู้มีบัณเฑาะก์๒เป็นโคจร
๕. เป็นผู้มีภิกษุณีเป็นโคจร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นที่รังเกียจ
สงสัยว่า ‘เป็นภิกษุชั่ว’ แม้จะเป็นผู้มีอกุปปธรรมก็ตาม
อุสสังกิตสูตรที่ ๒ จบ

๓. มหาโจรสูตร
ว่าด้วยองค์ประกอบของมหาโจร๓
[๑๐๓] ภิกษุทั้งหลาย มหาโจรประกอบด้วยองค์ ๕ ประการ ย่อมงัดแงะบ้าง
ทำการปล้นบ้าง ล้อมปล้นเรือนหลังเดียวบ้าง ดักปล้นในทางเปลี่ยวบ้าง
องค์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
มหาโจรในโลกนี้
๑. อาศัยที่ขรุขระ ๒. อาศัยป่ารก
๓. อาศัยผู้มีอิทธิพล ๔. แจกจ่ายโภคทรัพย์
๕. เที่ยวไปคนเดียว
มหาโจรอาศัยที่ขรุขระ เป็นอย่างไร
คือ มหาโจรในโลกนี้อาศัยเกาะแก่งแห่งแม่น้ำ หรือที่ขรุขระแห่งภูเขา มหาโจร
อาศัยที่ขรุขระเป็นอย่างนี้แล

เชิงอรรถ :
๑ สาวเทื้อ หมายถึงสาวแก่ (มหลฺลิกกุมารี) (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๐๒/๔๖)
๒ บัณเฑาะก์ หมายถึงขันที ชายที่ถูกตอน พจนานุกรมบาลีสันกฤต แปลว่า กระเทย มี ๓ จำพวก คือ
บัณเฑาะก์ที่เป็นมนุษย์ บัณเฑาะก์ที่เป็นอมนุษย์ บัณเฑาะก์ที่เป็นสัตว์ดิรัจฉาน ดู วิ.มหา. (แปล) ๑/๕๖/๔๓
๓ ดู องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๕๑/๒๑๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๗๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๑. ผาสุวิหารวรรค ๓. มหาโจรสูตร
มหาโจรอาศัยป่ารก เป็นอย่างไร
คือ มหาโจรในโลกนี้อาศัยป่ารกด้วยหญ้าบ้าง ป่ารกด้วยต้นไม้บ้าง ป่าที่มี
แนวป้องกันบ้าง แนวป่าใหญ่บ้าง มหาโจรอาศัยป่ารก เป็นอย่างนี้แล
มหาโจรอาศัยผู้มีอิทธิพล เป็นอย่างไร
คือ มหาโจรในโลกนี้อาศัยพระราชาหรือมหาอำมาตย์ของพระราชา เขาคิด
อย่างนี้ว่า ‘ถ้าใครจักกล่าวหาอะไรเรา พระราชาหรือมหาอำมาตย์ของพระราชา
เหล่านี้ ก็จักว่าคดีความช่วยปกป้องเรา’ ถ้าใครกล่าวหาอะไรมหาโจรนั้น พระราชา
หรือมหาอำมาตย์ของพระราชานั้น ต่างก็ว่าคดีความช่วยปกป้องเขา มหาโจรอาศัย
ผู้มีอิทธิพล เป็นอย่างนี้แล
มหาโจรแจกจ่ายโภคทรัพย์ เป็นอย่างไร
คือ มหาโจรในโลกนี้เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีสมบัติมาก เขาคิดอย่างนี้ว่า
‘ถ้าใครจักกล่าวหาอะไรเรา เราก็จักจ่ายโภคทรัพย์กลบเกลื่อนเรื่องนั้น’ ถ้าใคร
กล่าวหาอะไรมหาโจรนั้น เขาก็จ่ายโภคทรัพย์กลบเกลื่อนเรื่องนั้น มหาโจรแจกจ่าย
โภคทรัพย์ เป็นอย่างนี้แล
มหาโจรเที่ยวไปคนเดียว เป็นอย่างไร
คือ มหาโจรในโลกนี้เป็นผู้ทำโจรกรรมคนเดียว ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเขา
ย่อมปรารถนาว่า ‘เรื่องลับของเราอย่าได้แพร่งพรายออกไปภายนอก’ มหาโจรเที่ยว
ไปคนเดียว เป็นอย่างนี้แล
มหาโจรประกอบด้วยองค์ ๕ ประการนี้แล ย่อมงัดแงะบ้าง ทำการปล้นบ้าง
ล้อมปล้นเรือนหลังเดียวบ้าง ดักปล้นในทางเปลี่ยวบ้าง ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชั่วประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพ๑
สิ่งที่ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก

เชิงอรรถ :
๑ ประสพ (ปสวติ) ในที่นี้หมายถึงได้ผลสะท้อนหรือผลย้อนกลับ(ปฏิลภติ) (องฺ.ติก.อ. ๒/๔๑/๑๔๘, องฺ.จตุกฺก.
อ. ๒/๔/๒๘๑ )

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๑. ผาสุวิหารวรรค ๓. มหาโจรสูตร
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุชั่วในธรรมวินัยนี้
๑. อาศัยกรรมที่ไม่ตรงไปตรงมา ๒. อาศัยที่เร้นลับ
๓. อาศัยผู้มีอิทธิพล ๔. แจกจ่ายโภคทรัพย์
๕. เที่ยวไปรูปเดียว
ภิกษุชั่วอาศัยกรรมที่ไม่ตรงไปตรงมา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุชั่วในธรรมวินัยนี้ประกอบกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ที่ไม่ตรงไป
ตรงมา ภิกษุชั่วอาศัยกรรมที่ไม่ตรงไปตรงมา เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุชั่วอาศัยกรรมที่เร้นลับ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุชั่วในธรรมวินัยนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิ ประกอบด้วยอันตคาหิกทิฏฐิ๑ ภิกษุ
ชั่วอาศัยกรรมที่เร้นลับ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุชั่วอาศัยผู้มีอิทธิพล เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุชั่วในธรรมวินัยนี้อาศัยพระราชาหรือมหาอำมาตย์ของพระราชา
ภิกษุนั้นคิดอย่างนี้ว่า ‘ถ้าใครจักกล่าวหาอะไรเรา พระราชาหรือมหาอำมาตย์ของ
พระราชาเหล่านี้ ก็จักว่าคดีความช่วยปกป้องเรา’ ถ้าใครว่ากล่าวอะไรภิกษุนั้น
พระราชาหรือมหาอำมาตย์ของพระราชานั้น ต่างก็ว่าคดีความช่วยปกป้องเธอ ภิกษุ
ชั่วอาศัยผู้มีอิทธิพล เป็นอย่างนี้แล

เชิงอรรถ :
๑ อันตคาหิกทิฏฐิ หมายถึงความเห็นผิดแล่นไปสุดโต่งข้างใดข้างหนึ่ง มี ๑๐ ประการ คือ เห็นว่า (๑) โลก
เที่ยง (๒) โลกไม่เที่ยง (๓) โลกมีที่สุด (๔) โลกไม่มีที่สุด (๕) ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน (๖) ชีวะ
กับสรีระเป็นคนละอย่างกัน (๗) หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก (๘) หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีก
(๙) หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกก็มี ไม่เกิดอีกก็มี (๑๐) หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกก็ไม่ใช่
ไม่เกิดอีกก็ไม่ใช่ (องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๙๓/๒๑๗, อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๗๒/๖๒๑, องฺ.ติก.อ. ๒/๕๑/๑๕๖)
ชีวะ ในที่นี้หมายถึงวิญญาณอมตะ หรือ อาตมัน (Soul) (ตามนัย อภิ.ปญฺจ.อ. ๑/๑/๑๒๙)
ตถาคต ในที่นี้ เป็นคำที่ลัทธิอื่น ๆ ใชักันมาก่อนพุทธกาล หมายถึงอัตตา (อาตมัน) ไม่ได้หมายถึง
พระพุทธเจ้า อรรถกถาอธิบายว่าหมายถึงสัตว์ (ที.สี.อ. ๖๕/๑๐๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๗๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๑. ผาสุวิหารวรรค ๔. สมณสุขุมาลสูตร
ภิกษุชั่วแจกจ่ายโภคทรัพย์ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุชั่วในธรรมวินัยนี้ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย-
เภสัชชบริขาร เธอคิดอย่างนี้ว่า ‘ถ้าใครจักกล่าวหาอะไรเรา เราจักแจกจ่ายลาภ
กลบเกลื่อนเรื่องนั้น’ ถ้าใครกล่าวหาอะไรเธอ เธอก็แจกจ่ายลาภกลบเกลื่อนเรื่องนั้น
ภิกษุชั่วแจกจ่ายโภคทรัพย์ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุชั่วเที่ยวไปรูปเดียว เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุชั่วในธรรมวินัยนี้อยู่ที่ชนบทชายแดนรูปเดียว เธอเข้าไปสู่ตระกูลใน
ชนบทนั้นย่อมได้ลาภ ภิกษุชั่วเที่ยวไปรูปเดียวเป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชั่วประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมบริหารตน
ให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพสิ่งที่ไม่ใช่บุญ
เป็นอันมาก
มหาโจรสูตรที่ ๓ จบ

๔. สมณสุขุมาลสูตร
ว่าด้วยธรรมของสมณะผู้ละเอียดอ่อน
[๑๐๔] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ชื่อว่าเป็นสมณะ
ผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อเขาขอร้องจึงใช้สอยจีวรมาก เมื่อเขาไม่
ขอร้องจึงใช้สอยน้อย เมื่อเขาขอร้องจึงฉันบิณฑบาตมาก เมื่อเขา
ไม่ขอร้องจึงฉันน้อย เมื่อเขาขอร้องจึงใช้สอยเสนาสนะมาก เมื่อ
เขาไม่ขอร้องจึงใช้สอยน้อย เมื่อเขาขอร้องจึงใช้สอยคิลานปัจจัย
เภสัชชบริขารมาก เมื่อเขาไม่ขอร้องจึงใช้สอยน้อย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๘๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๑. ผาสุวิหารวรรค ๔. สมณสุขุมาลสูตร
๒. เธออยู่ร่วมกับเพื่อนพรหมจารีเหล่าใด เพื่อนพรหมจารีเหล่านั้น ก็
ประพฤติต่อเธอด้วยกายกรรมเป็นที่พอใจเป็นส่วนมาก ที่ไม่พอใจ
เป็นส่วนน้อย ประพฤติต่อเธอด้วยวจีกรรมเป็นที่พอใจเป็นส่วนมาก
ที่ไม่พอใจเป็นส่วนน้อย ประพฤติต่อเธอด้วยมโนกรรมเป็นที่พอใจ
เป็นส่วนมาก ที่ไม่พอใจเป็นส่วนน้อย นำสิ่งเป็นที่พอใจมาเป็น
ส่วนมาก ที่ไม่พอใจเป็นส่วนน้อย
๓. เวทนาที่เกิดจากดี เวทนาที่เกิดจากเสมหะ เวทนาที่เกิดจากลม
เวทนาที่เกิดจากไข้สันนิบาต เวทนาที่เกิดจากการเปลี่ยนฤดูกาล
เวทนาที่เกิดจากการผลัดเปลี่ยนอิริยาบถไม่ได้ส่วนกัน เวทนาที่
เกิดจากการพากเพียรเกินกำลัง เวทนาที่เกิดจากผลกรรม ส่วน
มากไม่เกิดแก่เธอ เธอจึงมีความเจ็บไข้น้อย
๔. เธอเป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง๑ ซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขใน
ปัจจุบัน ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
๕. เธอทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะ
สิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ชื่อว่าเป็นสมณะผู้
ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ
บุคคลเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้อง พึงกล่าวถึงผู้ใดว่า ‘เป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนใน
หมู่สมณะ’ บุคคลนั้นคือเรานั่นเอง ที่บุคคลเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้อง พึงกล่าวว่า ‘เป็น
สมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ’ เพราะเราเมื่อเขาขอร้องจึงใช้สอยจีวรมาก เมื่อ
เขาไม่ขอร้องจึงใช้สอยน้อย เมื่อเขาขอร้องจึงฉันบิณฑบาตมาก เมื่อเขาไม่ขอร้องจึง
ฉันน้อย เมื่อเขาขอร้องจึงใช้สอยเสนาสนะมาก เมื่อเขาไม่ขอร้องจึงใช้สอยน้อย เมื่อ
เขาขอร้องจึงใช้สอยคิลานปัจจัยเภสัชชบริขารมาก เมื่อเขาไม่ของร้องจึงใช้สอยน้อย

เชิงอรรถ :
๑ อันมีในจิตยิ่ง (อภิเจตสิก) ในที่นี้หมายถึงอุปจารสมาธิ (ม.มู.อ. ๑/๖๖/๑๗๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๑. ผาสุวิหารวรรค ๕. ผาสุวิหารสูตร
และเราอยู่ร่วมกับภิกษุเหล่าใด ภิกษุเหล่านั้นประพฤติต่อเราด้วยกายกรรม
เป็นที่พอใจเป็นส่วนมาก ที่ไม่พอใจเป็นส่วนน้อย ประพฤติต่อเราด้วยวจีกรรม เป็น
ที่พอใจเป็นส่วนมาก ที่ไม่พอใจเป็นส่วนน้อย ประพฤติต่อเราด้วยมโนกรรมเป็นที่พอใจ
เป็นส่วนมาก ที่ไม่พอใจเป็นส่วนน้อย นำสิ่งเป็นที่พอใจมาเป็นส่วนมาก ที่ไม่พอใจ
เป็นส่วนน้อย และเวทนาที่เกิดจากดี เวทนาที่เกิดจากเสมหะ เวทนาที่เกิดจากลม
เวทนาที่เกิดจากไข้สันนิบาต เวทนาที่เกิดจากการเปลี่ยนฤดูกาล เวทนาที่เกิดจาก
การผลัดเปลี่ยนอิริยาบถไม่ได้ส่วนกัน เวทนาที่เกิดจากการพากเพียรเกินกำลัง และ
เวทนาที่เกิดจากผลกรรม ส่วนมากไม่เกิดแก่เรา เราจึงมีความเจ็บไข้น้อย เราเป็น
ผู้ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่งซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ตามความปรารถนา
ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ
เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้อง พึงกล่าวถึงผู้ใดว่า ‘เป็นสมณะผู้
ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ’ บุคคลนั้นคือเรานั่นเอง ที่บุคคลเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้อง
พึงกล่าวว่า ‘เป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ’
สมณสุขุมาลสูตรที่ ๔ จบ

๕. ผาสุวิหารสูตร
ว่าด้วยผาสุวิหารธรรม๑
[๑๐๕] ภิกษุทั้งหลาย ผาสุวิหารธรรม ๕ ประการนี้
ผาสุวิหารธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. ตั้งมั่นกายกรรมประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ทั้งต่อหน้าและลับหลัง
๒. ตั้งมั่นวจีกรรมประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ทั้งต่อหน้าและลับหลัง

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๙๔ (ผาสุวิหารสูตร) หน้า ๑๖๔ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๑. ผาสุวิหารวรรค ๖. อานันทสูตร
๓. ตั้งมั่นมโนกรรมประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ทั้งต่อหน้าและลับหลัง
๔. มีศีล๑ที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท ท่านผู้รู้สรรเสริญ
ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ เป็นไปเพื่อสมาธิ เสมอกันกับเพื่อน
พรหมจารีทั้งหลายทั้งต่อหน้าและลับหลัง
๕. มีอริยทิฏฐิ๒ อันเป็นธรรมเครื่องนำออกเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ
แก่ผู้ทำตามเสมอกันกับเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายทั้งต่อหน้าและ
ลับหลัง
ภิกษุทั้งหลาย ผาสุวิหารธรรม ๕ ประการนี้แล
ผาสุวิหารสูตรที่ ๕ จบ

๖. อานันทสูตร
ว่าด้วยพระอานนท์
[๑๐๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุง
โกสัมพี ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
๑. “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุผู้อยู่ในสงฆ์พึงอยู่ผาสุกด้วยเหตุเท่าไรหนอ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ ภิกษุ ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล
และไม่ติเตียนผู้อื่นเพราะอธิศีล แม้ด้วยเหตุเท่านี้ ภิกษุผู้อยู่ในสงฆ์ก็พึงอยู่ผาสุกได้”
๒. “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้เหตุอื่นที่ภิกษุผู้อยู่ในสงฆ์พึงอยู่ผาสุกก็มี
อยู่หรือ”
“มี อานนท์ ภิกษุ ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ไม่ติเตียนผู้อื่นเพราะอธิศีล
และเป็นผู้ใส่ใจตนเอง ไม่ใส่ใจผู้อื่น แม้ด้วยเหตุเท่านี้ ภิกษุผู้อยู่ในสงฆ์ก็พึงอยู่
ผาสุกได้”

เชิงอรรถ :
๑ ศีล ในที่นี้หมายถึงปาริสุทธิศีล ๔ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๐๕/๔๗)
๒ อริยทิฏฐิ ในที่หมายถึงวิปัสสนาสัมมาทิฏฐิ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๐๕/๔๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๑. ผาสุวิหารวรรค ๖. อานันทสูตร
๓. “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้เหตุอื่นที่ภิกษุผู้อยู่ในสงฆ์พึงอยู่ผาสุกก็มี
อยู่หรือ”
“มี อานนท์ ภิกษุ ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ไม่ติเตียนผู้อื่นเพราะอธิศีล
เป็นผู้ใส่ใจตนเอง ไม่ใส่ใจผู้อื่น และเป็นผู้ไม่มีชื่อเสียง ไม่สะดุ้งเพราะความไม่มี
ชื่อเสียงนั้น แม้ด้วยเหตุเท่านี้ ภิกษุผู้อยู่ในสงฆ์ก็พึงอยู่ผาสุกได้”
๔. “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้เหตุอื่นที่ภิกษุผู้อยู่ในสงฆ์พึงอยู่ผาสุกก็มี
อยู่หรือ”
“มี อานนท์ ภิกษุ ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ไม่ติเตียนผู้อื่นเพราะอธิศีล
เป็นผู้ใส่ใจตนเอง ไม่ใส่ใจผู้อื่น แม้เป็นผู้ไม่มีชื่อเสียงก็ไม่สะดุ้งเพราะความไม่มี
ชื่อเสียงนั้น และเป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่งซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก แม้ด้วยเหตุเท่านี้ ภิกษุผู้อยู่
ในสงฆ์ก็พึงอยู่ผาสุกได้”
๕. “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้เหตุอื่นที่ภิกษุผู้อยู่ในสงฆ์พึงอยู่ผาสุก ก็มี
อยู่หรือ”
“มี อานนท์ ภิกษุ ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ไม่ติเตียนผู้อื่นเพราะอธิศีล
เป็นผู้ใส่ใจตนเอง ไม่ใส่ใจผู้อื่น แม้เป็นผู้ไม่มีชื่อเสียงก็ไม่สะดุ้งเพราะความไม่มี
ชื่อเสียงนั้น เป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่งซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ตาม
ความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก และทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญา-
วิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
แม้ด้วยเหตุเท่านี้ ภิกษุผู้อยู่ในสงฆ์ก็พึงอยู่ผาสุกได้’
อานนท์ เรากล่าวว่า ‘ผาสุวิหารธรรมอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าผาสุวิหารธรรมนี้
ย่อมไม่มี”
อานันทสูตรที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๑. ผาสุวิหารวรรค ๘. อเสขสูตร
๗. สีลสูตร
ว่าด้วยศีลที่เป็นองค์ประกอบของภิกษุ
[๑๐๗] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นผู้
ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำ
อัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล
๒. เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ
๓. เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา
๔. เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ
๕. เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควร
แก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี
เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
สีลสูตรที่ ๗ จบ

๘. อเสขสูตร
ว่าด้วยธรรมของพระอเสขะ
[๑๐๘] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นผู้
ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้ประกอบด้วยอริยสีลขันธ์อันเป็นของพระอเสขะ
๒. เป็นผู้ประกอบด้วยสมาธิขันธ์อันเป็นของพระอเสขะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๘๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๑. ผาสุวิหารวรรค ๙. จาตุททิสสูตร
๓. เป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาขันธ์อันเป็นของพระอเสขะ
๔. เป็นผู้ประกอบด้วยวิมุตติขันธ์อันเป็นของพระอเสขะ
๕. เป็นผู้ประกอบด้วยวิมุตติญาณทัสสนขันธ์อันเป็นของพระอเสขะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรแก่ของ
ที่เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
อเสขสูตรที่ ๘ จบ

๙. จาตุททิสสูตร
ว่าด้วยธรรมของภิกษุผู้เที่ยวไปในทิศทั้งสี่๑
[๑๐๙] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เป็นผู้เที่ยวไป
ในทิศทั้งสี่
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วย
อาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่
ในสิกขาบททั้งหลาย
๒. เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ฟังมากซึ่งธรรมทั้งหลาย
ที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง มีความงาม
ในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์
บริบูรณ์ ครบถ้วน แล้วทรงจำไว้ได้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดดี
ด้วยทิฏฐิ
๓. เป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย-
เภสัชชบริขารตามแต่จะได้

เชิงอรรถ :
๑ ผู้เที่ยวไปในทิศทั้งสี่ ในที่นี้หมายถึงพระขีณาสพ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๐๙-๑๑๐/๔๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๘๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๑. ผาสุวิหารวรรค ๑๐. อรัญญสูตร
๔. เป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่งซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
๕. ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไป
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นผู้เที่ยวไปใน
ทิศทั้งสี่
จาตุททิสสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. อรัญญสูตร
ว่าด้วยคุณสมบัติของภิกษุผู้ควรอยู่ในป่า
[๑๑๐] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เป็นผู้ควรอาศัย
เสนาสนะอันเงียบสงัด คือ ป่าโปร่ง และป่าทึบ๑
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในพระปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วย
อาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษา
อยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
๒. เป็นพหูสูต ฯลฯ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ
๓. เป็นผู้ปรารภความเพียร มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง
ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย

เชิงอรรถ :
๑ ผู้ควรอาศัยเสนาสนะอันเงียบสงัดคือป่าโปร่งและป่าทึบ ในที่นี้หมายถึงพระขีณาสพ (องฺ.ปญฺจก.อ.
๓/๑๐๙-๑๑๐/๔๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๘๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๑. ผาสุวิหารวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
๔. เป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง ซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
๕. ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะ
สิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นผู้ควรอาศัย
เสนาสนะอันเงียบสงัด คือ ป่าโปร่ง และป่าทึบ
อรัญญสูตรที่ ๑๐ จบ
ผาสุวิหารวรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สารัชชสูตร ๒. อุสสังกิตสูตร
๓. มหาโจรสูตร ๔. สมณสุขุมาลสูตร
๕. ผาสุวิหารสูตร ๖. อานันทสูตร
๗. สีลสูตร ๘. อเสขสูตร
๙. จาตุททิสสูตร ๑๐. อรัญญสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๘๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๒. อันธกวินทวรรค ๑. กุลูปกสูตร
๒. อันธกวินทวรรค
หมวดว่าด้วยหมู่บ้านอันธกวินทะ

๑. กุลูปกสูตร
ว่าด้วยธรรมของภิกษุผู้เข้าไปสู่ตระกูล
[๑๑๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เข้าไปสู่ตระกูลประกอบ
ด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็น
ที่ยกย่องในตระกูลทั้งหลาย
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทำความคุ้นเคยกับผู้ไม่คุ้นเคย ๒. สั่งการทั้งที่ตนไม่ได้เป็นใหญ่
๓. คบหาตระกูลที่แตกแยกกัน ๔. พูดกระซิบที่หู
๕. ขอมากเกินไป
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เข้าไปสู่ตระกูลประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อม
ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่ยกย่องในตระกูลทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เข้าไปสู่ตระกูลประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อม
เป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องในตระกูลทั้งหลาย
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่ทำความคุ้นเคยกับผู้ไม่คุ้นเคย ๒. ไม่สั่งการทั้งที่ตนไม่ได้เป็นใหญ่
๓. ไม่คบตระกูลที่แตกแยกกัน ๔. ไม่พูดกระซิบที่หู
๕. ไม่ขอมากเกินไป
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เข้าไปสู่ตระกูลประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อม
เป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องในตระกูลทั้งหลาย
กุลูปกสูตรที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๘๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๒. อันธกวินทวรรค ๒. ปัจฉาสมณสูตร
๒. ปัจฉาสมณสูตร
ว่าด้วยธรรมของภิกษุผู้เป็นปัจฉาสมณะ๑
[๑๑๒] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ไม่ควรพาไป
เป็นปัจฉาสมณะ
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เดินห่างนัก หรือใกล้นัก
๒. ไม่รับบาตรหรือของในบาตร๒
๓. เมื่อพระอุปัชฌาย์พูดใกล้อาบัติก็ไม่ห้าม๓
๔. เมื่อพระอุปัชฌาย์กำลังพูดอยู่ก็พูดแทรกขึ้น
๕. มีปัญญาทราม โง่เขลา เป็นคนเซอะ๔
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ไม่ควรพาไปเป็น
ปัจฉาสมณะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ จึงควรพาไปเป็น
ปัจฉาสมณะ

เชิงอรรถ :
๑ ปัจฉาสมณะ หมายถึงพระผู้ติดตาม เช่น พระอานนท์เป็นปัจฉาสมณะของพระพุทธเจ้า ดู วิ.มหา. (แปล)
๒/๒๒๖/๓๙๓
๒ หมายถึงเมื่ออุปัชฌาย์บิณฑบาตกลับมา ก็ไม่ให้บาตรเปล่าของตนแล้วรับบาตรของท่าน หรือไม่รับสิ่งของ
ที่ท่านให้จากบาตรนั้น (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๑๒/๔๘)
๓ หมายถึงไม่รู้ว่า คำพูดนี้ทำให้ต้องอาบัติ หรือแม้รู้ก็ไม่ห้ามว่า ไม่ควรพูดอย่างนี้ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/
๑๑๒/๔๘)
๔ เป็นคนเซอะ แปลจากบาลีว่า ‘เอฬมูโค’ อรรถกถาอธิบายว่า ‘ปคฺฆริตเขฬมูโค’ แปลว่าเป็นใบ้มีน้ำลายไหล
(องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๑๒/๔๘) แต่ในฎีกาอภิธานัปปทีปิกา อธิบายว่า หมายถึงผู้ไม่ฉลาดพูดและไม่ฉลาดฟัง
(วตฺตุํ โสตุญฺจ อกุสโล, วจเน สวเน จ อกุสโล) และแยกอธิบายอีกว่า เอโฬ หมายถึง พธิโร (คนหูหนวก)
มูโค หมายถึง อวจโน (พูดไม่ได้) หรือหมายถึงคนโอ้อวด (สเ�ปิ เอฬมูโค) (อภิธา.ฏีกา คาถา ๗๓๔)
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉบับ “PALI TEXT SOCIETY” ให้ความหมายว่า idiot (โง่, บ้า,
จิตทราม) หรือ lack-wit (ขาดสติ) (The Book of the Gradual Sayings, VOL.III, PP. 106,132)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๙๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๒. อันธกวินทวรรค ๓. สัมมาสมาธิสูตร
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เดินไม่ห่างนัก ไม่ใกล้นัก
๒. รับบาตรหรือของในบาตร
๓. เมื่อพระอุปัชฌาย์พูดใกล้อาบัติก็ห้ามเสีย
๔. เมื่อพระอุปัชฌาย์กำลังพูดอยู่ก็ไม่พูดแทรกขึ้น
๕. มีปัญญา ไม่โง่เขลา ไม่เป็นคนเซอะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล จึงควรพาไปเป็น
ปัจฉาสมณะ
ปัจฉาสมณสูตรที่ ๒ จบ

๓. สัมมาสมาธิสูตร
ว่าด้วยสัมมาสมาธิ
[๑๑๓] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เป็นผู้ไม่อาจ
บรรลุสัมมาสมาธิอยู่ได้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้ไม่อดทนต่อรูป
๒. เป็นผู้ไม่อดทนต่อเสียง
๓. เป็นผู้ไม่อดทนต่อกลิ่น
๔. เป็นผู้ไม่อดทนต่อรส
๕. เป็นผู้ไม่อดทนต่อโผฏฐัพพะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้ เป็นผู้ไม่อาจบรรลุ
สัมมาสมาธิอยู่ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๙๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๒. อันธกวินทวรรค ๔. อันธกวินทสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เป็นผู้อาจบรรลุสัมมา-
สมาธิอยู่ได้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้อดทนต่อรูป
๒. เป็นผู้อดทนต่อเสียง
๓. เป็นผู้อดทนต่อกลิ่น
๔. เป็นผู้อดทนต่อรส
๕. เป็นผู้อดทนต่อโผฏฐัพพะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นผู้อาจบรรลุ
สัมมาสมาธิอยู่ได้
สัมมาสมาธิสูตรที่ ๓ จบ

๔. อันธกวินทสูตร
ว่าด้วยหมู่บ้านอันธกวินทะ
[๑๑๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่หมู่บ้านอันธกวินทะ แคว้น
มคธ ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
อานนท์ เธอทั้งหลายพึงยังพวกภิกษุใหม่ บวชได้ไม่นาน เพิ่งมาสู่ธรรมวินัยให้
สมาทาน ให้ตั้งมั่น ให้ดำรงอยู่ในธรรม ๕ ประการ
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เธอทั้งหลายพึงยังภิกษุเหล่านั้นให้สมาทาน ให้ตั้งมั่น ให้ดำรงอยู่
ในปาติโมกขสังวรศีลว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย มาเถิด ขอท่านทั้งหลาย
จงเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในพระปาติโมกข์ เพียบพร้อม
ด้วยอาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทาน
ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๒. อันธกวินทวรรค ๔. อันธกวินทสูตร
๒. เธอทั้งหลายพึงยังภิกษุเหล่านั้นให้สมาทาน ให้ตั้งมั่น ให้ดำรงอยู่
ในอินทรีย์สังวรศีลว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย มาเถิด ขอท่านทั้งหลาย
จงเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย มีสติเป็นเครื่องรักษา๑
มีสติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน๒ มีใจรักษาดีแล้ว ประกอบด้วยจิต
ที่มีสติเป็นเครื่องรักษาอยู่’
๓. เธอทั้งหลายพึงยังภิกษุเหล่านั้นให้สมาทาน ให้ตั้งมั่น ให้ดำรงอยู่ใน
การพูดมีที่จบว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย มาเถิด ขอท่านทั้งหลายจงเป็น
ผู้พูดน้อย พูดให้มีที่จบ’
๔. เธอทั้งหลายพึงยังภิกษุเหล่านั้นให้สมาทาน ให้ตั้งมั่น ให้ดำรงอยู่
ในความสงบกายว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย มาเถิด ขอท่านทั้งหลาย
จงอยู่ป่าเป็นวัตร จงอาศัยเสนาสนะอันเงียบสงัด คือป่าโปร่งและ
ป่าทึบ’
๕. เธอทั้งหลายพึงยังภิกษุเหล่านั้นให้สมาทาน ให้ตั้งมั่น ให้ดำรงอยู่ใน
สัมมาทัสสนะ(ความเห็นชอบ)ว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย มาเถิด ขอท่าน
ทั้งหลายจงเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ๓ ประกอบด้วยสัมมาทัสสนะ’
อานนท์ เธอทั้งหลายพึงยังพวกภิกษุใหม่ บวชได้ไม่นาน เพิ่งมาสู่ธรรมวินัย
นี้ให้สมาทาน ให้ตั้งมั่น ให้ดำรงอยู่ในธรรม ๕ ประการนี้แล
อันธกวินทสูตรที่ ๔ จบ

เชิงอรรถ :
๑ สติเป็นเครื่องรักษา หมายถึงสติเป็นเครื่องรักษาทวาร (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๑๔/๔๘)
๒ สติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน ในที่นี้หมายถึงสติที่ประกอบด้วยญาณเป็นเครื่องคุ้มครองทวาร (องฺ.ปญฺจก.อ.
๓/๑๑๔/๔๘)
๓ สัมมาทิฏฐิ ในที่นี้หมายถึงมีสัมมาทิฏฐิ ๕ ประการ คือ (๑) กัมมัสสกตสัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบว่าสัตว์มี
กรรมเป็นของตน) (๒) ฌานสัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบในขั้นฌาน) (๓) วิปัสสนาสัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบในขั้น
วิปัสสนา) (๔) มัคคสัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบในขั้นอริยมรรค) (๕) ผลสัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบในขั้นอริยผล)
(องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๑๔/๔๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๒. อันธกวินทวรรค ๕. มัจฉรินีสูตร
๕. มัจฉรินีสูตร
ว่าด้วยภิกษุณีผู้ตระหนี่
[๑๑๕] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมดำรง
อยู่ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ตระหนี่ที่อยู่
๒. ตระหนี่ตระกูล
๓. ตระหนี่ลาภ
๔. ตระหนี่วรรณะ
๕. ตระหนี่ธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่
ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์
เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่ตระหนี่ที่อยู่
๒. ไม่ตระหนี่ตระกูล
๓. ไม่ตระหนี่ลาภ
๔. ไม่ตระหนี่วรรณะ
๕. ไม่ตระหนี่ธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ใน
สวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
มัจฉรินีสูตรที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๙๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๒. อันธกวินทวรรค ๖. วัณณนาสูตร
๖. วัณณนาสูตร
ว่าด้วยภิกษุณีผู้สรรเสริญ
[๑๑๖] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมดำรง
อยู่ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง สรรเสริญคนที่ควรติเตียน
๒. ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง ติเตียนคนที่ควรสรรเสริญ
๓. ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง แสดงความเลื่อมใสในฐานะไม่เป็นที่ตั้งแห่ง
ความเลื่อมใส
๔. ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง แสดงความไม่เลื่อมใสในฐานะเป็นที่ตั้งแห่ง
ความเลื่อมใส
๕. ทำศรัทธาไทยให้ตกไป๑
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่
ในนรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์
เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. พิจารณา ไตร่ตรองแล้ว ติเตียนคนที่ควรติเตียน
๒. พิจารณา ไตร่ตรองแล้ว สรรเสริญคนที่ควรสรรเสริญ
๓. พิจารณา ไตร่ตรองแล้ว แสดงความไม่เลื่อมใสในฐานะไม่เป็นที่ตั้ง
แห่งความเลื่อมใส

เชิงอรรถ :
๑ ทำศรัทธาไทยให้ตกไป หมายถึงการที่ภิกษุไม่ถือเอาส่วนเลิศจากบิณฑบาตที่คนเหล่าอื่นถวายด้วยศรัทธา
เสียก่อนแล้วจึงให้แก่คนอื่นในภายหลัง (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๑๖-๑๑๗/๔๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๙๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๒. อันธกวินทวรรค ๗. อิสสุกินีสูตร
๔. พิจารณา ไตร่ตรองแล้ว แสดงความเลื่อมใสในฐานะเป็นที่ตั้งแห่ง
ความเลื่อมใส
๕. ไม่ทำศรัทธาไทยให้ตกไป
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ใน
สวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
วัณณนาสูตรที่ ๖ จบ

๗. อิสสุกินีสูตร
ว่าด้วยภิกษุณีผู้มีความริษยา
[๑๑๗] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมดำรง
อยู่ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง สรรเสริญคนที่ควรติเตียน
๒. ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง ติเตียนคนที่ควรสรรเสริญ
๓. มีความริษยา
๔. มีความตระหนี่
๕. ทำศรัทธาไทยให้ตกไป
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่
ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์
เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๙๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๒. อันธกวินทวรรค ๘. มิจฉาทิฏฐิกสูตร
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. พิจารณา ไตร่ตรองแล้ว ติเตียนคนที่ควรติเตียน
๒. พิจารณา ไตร่ตรองแล้ว สรรเสริญคนที่ควรสรรเสริญ
๓. ไม่มีความริษยา
๔. ไม่มีความตระหนี่
๕. ไม่ทำศรัทธาไทยให้ตกไป
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่
ในสวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
อิสสุกินีสูตรที่ ๗ จบ

๘. มิจฉาทิฏฐิกสูตร
ว่าด้วยภิกษุณีผู้มีความเห็นผิด
[๑๑๘] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมดำรงอยู่
ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง สรรเสริญคนที่ควรติเตียน
๒. ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง ติเตียนคนที่ควรสรรเสริญ
๓. มีความเห็นผิด
๔. มีความดำริผิด
๕. ทำศรัทธาไทยให้ตกไป
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ในนรก
เหมือนถูกนำไปฝังไว้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๒. อันธกวินทวรรค ๙. มิจฉาวาจาสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์
เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. พิจารณา ไตร่ตรองแล้ว ติเตียนคนที่ควรติเตียน
๒. พิจารณา ไตร่ตรองแล้ว สรรเสริญคนที่ควรสรรเสริญ
๓. มีความเห็นชอบ
๔. มีความดำริชอบ
๕. ไม่ทำศรัทธาไทยให้ตกไป
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่
ในสวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
มิจฉาทิฏฐิกสูตรที่ ๘ จบ

๙. มิจฉาวาจาสูตร
ว่าด้วยภิกษุณีผู้มีการเจรจาผิด
[๑๑๙] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมดำรงอยู่
ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง สรรเสริญคนที่ควรติเตียน
๒. ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง ติเตียนคนที่ควรสรรเสริญ
๓. มีการเจรจาผิด
๔. มีการกระทำผิด
๕. ทำศรัทธาไทยให้ตกไป
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่
ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๙๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๒. อันธกวินทวรรค ๑๐. มิจฉาวายามสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์
เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. พิจารณา ไตร่ตรองแล้ว ติเตียนคนที่ควรติเตียน
๒. พิจารณา ไตร่ตรองแล้ว สรรเสริญคนที่ควรสรรเสริญ
๓. มีการเจรจาชอบ
๔. มีการกระทำชอบ
๕. ไม่ทำศรัทธาไทยให้ตกไป
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่
ในสวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
มิจฉาวาจาสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. มิจฉาวายามสูตร
ว่าด้วยภิกษุณีผู้มีความพยายามผิด
[๑๒๐] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมดำรง
อยู่ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง สรรเสริญคนที่ควรติเตียน
๒. ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง ติเตียนคนที่ควรสรรเสริญ
๓. มีความพยายามผิด
๔. มีความระลึกผิด
๕. ทำศรัทธาไทยให้ตกไป
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่
ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๙๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๒. อันธกวินทวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์
เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. พิจารณา ไตร่ตรองแล้ว ติเตียนคนที่ควรติเตียน
๒. พิจารณา ไตร่ตรองแล้ว สรรเสริญคนที่ควรสรรเสริญ
๓. มีความพยายามชอบ
๔. มีความระลึกชอบ
๕. ไม่ทำศรัทธาไทยให้ตกไป
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่
ในสวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
มิจฉาวายามสูตรที่ ๑๐ จบ
อันธกวินทวรรคที่ ๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. กุลูปกสูตร ๒. ปัจฉาสมณสูตร
๓. สัมมาสมาธิสูตร ๔. อันธกวินทสูตร
๕. มัจฉรินีสูตร ๖. วัณณนาสูตร
๗. อิสสุกินีสูตร ๘. มิจฉาทิฏฐิกสูตร
๙. มิจฉาวาจาสูตร ๑๐. มิจฉาวายามสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๐๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๑. คิลานวรรค ๑. คิลานสูตร
๑. คิลานวรรค
หมวดว่าด้วยธรรมสำหรับภิกษุไข้
๑. คิลานสูตร
ว่าด้วยธรรมสำหรับภิกษุไข้
[๑๒๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่กูฏาคารศาลา๑ป่ามหาวัน
เขตกรุงเวสาลี๒ ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้นในเวลาเย็น เสด็จ
เข้าไปที่ศาลาบำรุงภิกษุไข้ ได้ทรงเห็นภิกษุรูปหนึ่งผู้ทุพพลภาพ เป็นไข้ แล้วประทับ
นั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้ ได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการ ย่อมไม่ละภิกษุบางรูปผู้ทุพพลภาพ เป็นไข้
เธอพึงหวังได้ผลนี้คือ ‘ไม่นานนักจักทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มี
อาสวะเพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน’
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นความไม่งามในกายอยู่
๒. กำหนดหมายความปฏิกูลในอาหาร
๓. กำหนดหมายความไม่น่าเพลิดเพลินในโลกทั้งปวง

เชิงอรรถ :
๑ กูฏาคารศาลา (ศาลาเรือนยอด) หมายถึงพระคันธกุฎีของพระผู้มีพระภาคที่พรั่งพร้อมด้วยศิลปะ ถูกสร้าง
หลังคาทรงกลมงามสง่าคล้ายหงส์ มีเรือนยอดกล่าวคือเรือนที่มีหลังคาทรงสูงอยู่ภายในอีกชั้นหนึ่ง (วิ.อ.
๑/๑๖๒/๔๓๐, องฺ.ติก.อ. ๒/๓๕/๑๓๑)
๒ ที่ชื่อว่า เวสาลี เพราะเป็นเมืองที่กว้างใหญ่ไพศาล มีการสร้างกำแพงรอบเมืองถึง ๓ ชั้น เมืองนี้เจริญ
รุ่งเรืองมากในสมัยที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ (วิ.อ. ๑/๑๖๒/๔๓๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๑. คิลานวรรค ๒. สติสุปัฏฐิตสูตร
๔. พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง
๕. เข้าไปตั้งมรณสัญญา(กำหนดหมายความตาย)ไว้ในภายใน
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมไม่ละภิกษุบางรูปผู้ทุพพลภาพ เป็นไข้
เธอพึงหวังได้ผลนี้คือ ‘ไม่นานนักจักทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มี
อาสวะเพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน’
คิลานสูตรที่ ๑ จบ

๒. สติสุปัฏฐิตสูตร
ว่าด้วยผู้มีสติตั้งไว้ดี
[๑๒๒] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง เจริญ ทำให้มากซึ่ง
ธรรม ๕ ประการ เธอพึงหวังได้ผลอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน
หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ ก็จักเป็นอนาคามี
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เข้าไปตั้งสติไว้ในภายใน
๒. พิจารณาเห็นกายว่าเป็นของไม่งาม ด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา
เห็นทั้งความเกิดและความดับแห่งธรรมทั้งหลาย
๓. กำหนดหมายความปฏิกูลในอาหาร
๔. กำหนดหมายความไม่น่าเพลิดเพลินในโลกทั้งปวง
๕. พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง เจริญ ทำให้มากซึ่งธรรม ๕
ประการนี้ เธอพึงหวังได้ผลอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือ
เมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ ก็จักเป็นอนาคามี
สติสุปัฏฐิตสูตรที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๑. คิลานวรรค ๓. ปฐมอุปัฏฐากสูตร
๓. ปฐมอุปัฏฐากสูตร
ว่าด้วยภิกษุไข้ที่พยาบาลได้ยากและง่าย สูตรที่ ๑
[๑๒๓] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไข้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เป็นผู้
พยาบาลได้ยาก
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่ทำสิ่งที่เป็นสัปปายะ
๒. ไม่รู้จักประมาณในสิ่งที่เป็นสัปปายะ
๓. ไม่ฉันยา
๔. ไม่บอกอาพาธที่มีอยู่ตามความเป็นจริงแก่ผู้พยาบาลที่ปรารถนา
ประโยชน์ เช่น ไม่บอกอาพาธที่กำเริบว่า ‘กำเริบ’ ไม่บอกอาพาธ
ที่ทุเลาว่า ‘ทุเลา’ ไม่บอกอาพาธที่ยังทรงอยู่ว่า ‘ทรงอยู่’
๕. ไม่อดกลั้นต่อเวทนาทั้งหลายอันมีในร่างกายที่เกิดขึ้นแล้วเป็นทุกข์
กล้าแข็ง เจ็บปวด เผ็ดร้อน ไม่น่ายินดี ไม่น่าพอใจ พรากชีวิต
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไข้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นผู้พยาบาลได้ยาก
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไข้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เป็นผู้พยาบาลได้ง่าย
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทำสิ่งที่เป็นสัปปายะ
๒. รู้จักประมาณในสิ่งที่เป็นสัปปายะ
๓. ฉันยา
๔. บอกอาพาธที่มีอยู่ตามความเป็นจริงแก่ผู้พยาบาลที่ปรารถนา
ประโยชน์ เช่น บอกอาพาธที่กำเริบว่า ‘กำเริบ’ บอกอาพาธที่
ทุเลาว่า ‘ทุเลา’ บอกอาพาธที่ยังทรงอยู่ว่า ‘ทรงอยู่’
๕. เป็นผู้อดกลั้นต่อเวทนาทั้งหลายอันมีในร่างกายที่เกิดขึ้นแล้วเป็นทุกข์
กล้าแข็ง เจ็บปวด เผ็ดร้อน ไม่น่ายินดี ไม่น่าพอใจ พรากชีวิต
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไข้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นผู้พยาบาล
ได้ง่าย
ปฐมอุปัฏฐากสูตรที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๐๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๑. คิลานวรรค ๔. ทุติยอุปัฏฐากสูตร
๔. ทุติยอุปัฏฐากสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้ควรและไม่ควรพยาบาลภิกษุไข้ สูตรที่ ๒
[๑๒๔] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พยาบาลภิกษุไข้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ
ไม่ควรพยาบาลภิกษุไข้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่สามารถ๑จัดยา
๒. ไม่ทราบสิ่งที่เป็นสัปปายะและสิ่งที่ไม่เป็นสัปปายะ นำสิ่งที่ไม่เป็น
สัปปายะเข้ามา นำสิ่งที่เป็นสัปปายะออกไป
๓. เห็นแก่อามิส๒พยาบาล ไม่มีจิตเมตตาพยาบาล
๔. รังเกียจที่จะนำอุจจาระ ปัสสาวะ อาเจียน หรือน้ำลายออกไปทิ้ง
๕. ไม่สามารถชี้แจงให้ภิกษุไข้เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจ
ให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา
ตามกาลอันควร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พยาบาลภิกษุไข้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล
ไม่ควรพยาบาลภิกษุไข้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พยาบาลภิกษุไข้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ควร
พยาบาลภิกษุไข้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สามารถจัดยา
๒. ทราบสิ่งที่เป็นสัปปายะ และสิ่งที่ไม่เป็นสัปปายะ นำสิ่งที่ไม่เป็น
สัปปายะออกไป นำสิ่งที่เป็นสัปปายะเข้ามา

เชิงอรรถ :
๑ ไม่สามารถ ในที่นี้หมายถึงไม่มีกำลังกายที่จะปรุงยา และไม่มีความรู้ที่จะจัดยา (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๒๔/๔๙)
๒ เห็นแก่อามิส หมายถึงหวังลาภสักการะมีจีวรเป็นต้น (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๒๔/๔๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๑. คิลานวรรค ๕. ปฐมอนายุสสาสูตร
๓. มีจิตเมตตาพยาบาล ไม่เห็นแก่อามิสพยาบาล
๔. ไม่รังเกียจที่จะนำอุจจาระ ปัสสาวะ อาเจียน หรือน้ำลายออกไปทิ้ง
๕. สามารถชี้แจงให้ภิกษุไข้เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจ
ให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา
ตามกาลอันควร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พยาบาลภิกษุไข้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล
ควรพยาบาลภิกษุไข้
ทุติยอุปัฏฐากสูตรที่ ๔ จบ

๕. ปฐมอนายุสสาสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้อายุสั้นและอายุยืน สูตรที่ ๑
[๑๒๕] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ เป็นเหตุให้อายุสั้น
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่ทำสิ่งที่เป็นสัปปายะ ๒. ไม่รู้จักประมาณในสิ่งที่เป็นสัปปายะ
๓. บริโภคสิ่งที่ย่อยยาก ๔. เที่ยวในเวลาไม่สมควร
๕. ไม่ประพฤติพรหมจรรย์
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นเหตุให้อายุสั้น
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ เป็นเหตุให้อายุยืน
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทำสิ่งที่เป็นสัปปายะ ๒. รู้จักประมาณในสิ่งที่เป็นสัปปายะ
๓. บริโภคสิ่งที่ย่อยง่าย ๔. เที่ยวในเวลาที่สมควร
๕. ประพฤติพรหมจรรย์
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นเหตุให้อายุยืน
ปฐมอนายุสสาสูตรที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๐๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๑. คิลานวรรค ๖. ทุติยอนายุสสาสูตร
๖. ทุติยอนายุสสาสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้อายุสั้นและอายุยืน สูตรที่ ๒
[๑๒๖] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ เป็นเหตุให้อายุสั้น
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่ทำสิ่งที่เป็นสัปปายะ
๒. ไม่รู้จักประมาณในสิ่งที่เป็นสัปปายะ
๓. บริโภคสิ่งที่ย่อยยาก
๔. ทุศีล
๕. มีปาปมิตร(มิตรชั่ว)
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นเหตุให้อายุสั้น
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ เป็นเหตุให้อายุยืน
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทำสิ่งที่เป็นสัปปายะ
๒. รู้จักประมาณในสิ่งที่เป็นสัปปายะ
๓. บริโภคสิ่งที่ย่อยง่าย
๔. มีศีล
๕. มีกัลยาณมิตร(มิตรดี)
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นเหตุให้อายุยืน
ทุติยอนายุสสาสูตรที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๐๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๑. คิลานวรรค ๗. วปกาสสูตร
๗. วปกาสสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้ควรหลีกออกจากหมู่
[๑๒๗] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ไม่ควรหลีกออก
จากหมู่อยู่ผู้เดียว
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. ไม่สันโดษด้วยจีวรตามแต่จะได้
๒. ไม่สันโดษด้วยบิณฑบาตตามแต่จะได้
๓. ไม่สันโดษด้วยเสนาสนะตามแต่จะได้
๔. ไม่สันโดษด้วยคิลานปัจจัยเภสัชชบริขารตามแต่จะได้
๕. มากด้วยความดำริในกาม
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบธรรม ๕ ประการนี้แล ไม่ควรหลีกออกจากหมู่
อยู่ผู้เดียว
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ควรหลีกออกจากหมู่
อยู่ผู้เดียว
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. สันโดษด้วยจีวรตามแต่จะได้
๒. สันโดษด้วยบิณฑบาตตามแต่จะได้
๓. สันโดษด้วยเสนาสนะตามแต่จะได้
๔. สันโดษด้วยคิลานปัจจัยเภสัชชบริขารตามแต่จะได้
๕. มากด้วยความดำริในการออกจากกาม
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบธรรม ๕ ประการนี้แล ควรหลีกออกจากหมู่
อยู่ผู้ดียว
วปกาสสูตรที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๐๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๑. คิลานวรรค ๘. สมณสุขสูตร
๘. สมณสุขสูตร
ว่าด้วยสุขของสมณะ
[๑๒๘] ภิกษุทั้งหลาย ทุกข์ของสมณะ ๕ ประการ
ทุกข์ของสมณะ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. ไม่สันโดษด้วยจีวรตามแต่จะได้
๒. ไม่สันโดษด้วยบิณฑบาตตามแต่จะได้
๓. ไม่สันโดษด้วยเสนาสนะตามแต่จะได้
๔. ไม่สันโดษด้วยคิลานปัจจัยเภสัชชบริขารตามแต่จะได้
๕. ไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์
ภิกษุทั้งหลาย ทุกข์ของสมณะ ๕ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย สุขของสมณะ ๕ ประการ
สุขของสมณะ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. สันโดษด้วยจีวรตามแต่จะได้
๒. สันโดษด้วยบิณฑบาตตามแต่จะได้
๓. สันโดษด้วยเสนาสนะตามแต่จะได้
๔. สันโดษด้วยคิลานปัจจัยเภสัชชบริขารตามแต่จะได้
๕. ยินดีประพฤติพรหมจรรย์
ภิกษุทั้งหลาย สุขของสมณะ ๕ ประการนี้แล
สมณสุขสูตรที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๐๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๑. คิลานวรรค ๑๐. พยสนสูตร
๙. ปริกุปปสูตร
ว่าด้วยบุคคลที่ต้องเดือดร้อน
[๑๒๙] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๕ จำพวกนี้เป็นผู้ไปอบาย เป็นผู้ไปนรก เป็น
ผู้เดือดร้อน เป็นผู้แก้ไขไม่ได้
บุคคล ๕ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้ฆ่ามารดา
๒. บุคคลผู้ฆ่าบิดา
๓. บุคคลผู้ฆ่าพระอรหันต์
๔. บุคคลผู้มีจิตคิดประทุษร้ายทำพระโลหิตของตถาคตให้ห้อขึ้น
๕. บุคคลผู้ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๕ จำพวกนี้แล เป็นผู้ไปอบาย เป็นผู้ไปนรก เป็นผู้
เดือดร้อน เป็นผู้แก้ไขไม่ได้
ปริกุปปสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. พยสนสูตร
ว่าด้วยความวิบัติ
[๑๓๐] ภิกษุทั้งหลาย วิบัติ ๕ ประการนี้
วิบัติ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. วิบัติแห่งญาติ
๒. วิบัติแห่งโภคะ
๓. วิบัติเพราะโรค
๔. วิบัติแห่งศีล
๕. วิบัติแห่งทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายหลังจากตายแล้ว จะไม่ไปเกิดในอบาย ทุคติ
วินิบาต นรก เพราะความวิบัติแห่งญาติเป็นเหตุ เพราะความวิบัติแห่งโภคะเป็นเหตุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๐๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๑. คิลานวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
เพราะความวิบัติเพราะโรคเป็นเหตุ แต่สัตว์ทั้งหลายหลังจากตายแล้ว จะไปเกิดใน
อบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะความวิบัติแห่งศีลเป็นเหตุ หรือเพราะความวิบัติ
แห่งทิฏฐิเป็นเหตุ
ภิกษุทั้งหลาย วิบัติ ๕ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย สมบัติ ๕ ประการนี้
สมบัติ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สมบัติคือญาติ
๒. สมบัติคือโภคะ
๓. สมบัติคือความไม่มีโรค
๔. สมบัติคือศีล
๕. สมบัติคือทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายหลังจากตายแล้ว จะไม่ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
เพราะสมบัติคือญาติเป็นเหตุ เพราะสมบัติคือโภคะเป็นเหตุ เพราะสมบัติคือความไม่
มีโรคเป็นเหตุ แต่สัตว์ทั้งหลายหลังจากตายแล้ว จะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ เพราะ
สมบัติคือศีลเป็นเหตุ หรือเพราะสมบัติคือทิฏฐิเป็นเหตุ
ภิกษุทั้งหลาย สมบัติ ๕ ประการนี้แล
พยสนสูตรที่ ๑๐ จบ
คิลานวรรคที่ ๓ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. คิลานสูตร ๒. สติสุปัฏฐิตสูตร
๓. ปฐมอุปัฏฐากสูตร ๔. ทุติยอุปัฏฐากสูตร
๕. ปฐมอนายุสสาสูตร ๖. ทุติยอนายุสสาสูตร
๗. วปกาสสูตร ๘. สมณสุขสูตร
๙. ปริกุปปสูตร ๑๐. พยสนสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๔. ราชวรรค ๑. ปฐมจักกานุวัตตนสูตร
๔. ราชวรรค
หมวดว่าด้วยพระราชา
๑. ปฐมจักกานุวัตตนสูตร
ว่าด้วยการให้จักรหมุนไป สูตรที่ ๑
[๑๓๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าจักรพรรดิประกอบ
ด้วยองค์ ๕ ประการ จึงทรงให้จักรหมุนไปโดยธรรม๑เท่านั้น จักรนั้นอันใคร ๆ ที่เป็น
มนุษย์ เป็นข้าศึก และเป็นสัตว์มีชีวิตให้หมุนกลับไม่ได้
องค์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
พระเจ้าจักรพรรดิในโลกนี้
๑. เป็นผู้รู้ประโยชน์๒
๒. เป็นผู้รู้ธรรม๓
๓. เป็นผู้รู้ประมาณ๔
๔. เป็นผู้รู้กาล๕
๕. เป็นผู้รู้บริษัท๖

เชิงอรรถ :
๑ ทรงให้จักรหมุนไปโดยธรรม หมายถึงอาณาจักรที่พระเจ้าจักรพรรดิทรงปกครองด้วยกุศลกรรมบถ ๑๐
ประการ อันใคร ๆ จะให้หมุนกลับเป็นอื่นไปไม่ได้ (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๔/๘๘, องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๓๑/๕๐)
๒ เป็นผู้รู้ประโยชน์ หมายถึงทรงครองราชย์ด้วยการทรงบำเพ็ญประโยชน์ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๓๑/๕๐,
องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๑๓๑/๕๓)
๓ เป็นผู้รู้ธรรม หมายถึงทรงรู้ขนบธรรมเนียมประเพณี (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๓๑/๕๐)
๔ เป็นผู้รู้ประมาณ หมายถึงทรงรู้จักประมาณในการลงอาชญาตามสมควรแก่ความผิด หรือในการทำพลีกรรม
(องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๓๑/๕๐, องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๑๓๑/๕๓)
๕ เป็นผู้รู้กาล หมายถึงทรงรู้กาลที่จะเสวยความสุขในราชสมบัติ กาลเป็นที่วินิจฉัย และกาลที่เสด็จไปยัง
ชนบท (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๓๑/๕๐)
๖ เป็นผู้รู้บริษัท คือทรงรู้ว่า “นี้คือขัตติยบริษัท นี้คือพราหมณบริษัท นี้คือเวสสบริษัท นี้คือศุทรบริษัท
และนี้คือสมณบริษัท” (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๓๑/๕๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๑๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๔. ราชวรรค ๑. ปฐมจักกานุวัตตนสูตร
ภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าจักรพรรดิประกอบด้วยองค์ ๕ ประการนี้แล จึงทรงให้
จักรหมุนไปโดยธรรมเท่านั้น จักรนั้นอันใคร ๆ ที่เป็นมนุษย์ เป็นข้าศึก และเป็นสัตว์
มีชีวิตให้หมุนกลับไม่ได้
ภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ประกอบด้วยธรรม ๕
ประการ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จึงทรงให้ธรรมจักรอันยอดเยี่ยมหมุนไปโดยธรรม
เท่านั้น จักรนั้นอันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ ในโลก ให้หมุน
กลับไม่ได้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในโลกนี้
๑. เป็นผู้รู้ประโยชน์๑
๒. เป็นผู้รู้ธรรม๒
๓. เป็นผู้รู้ประมาณ๓
๔. เป็นผู้รู้กาล๔
๕. เป็นผู้รู้บริษัท
ภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ประกอบด้วยธรรม ๕
ประการนี้แล จึงทรงให้ธรรมจักรอันยอดเยี่ยมหมุนไปโดยธรรมเท่านั้น จักรนั้นอัน
สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ ในโลก ให้หมุนกลับไม่ได้
ปฐมจักกานุวัตตนสูตรที่ ๑ จบ

เชิงอรรถ :
๑ เป็นผู้รู้ประโยชน์ ในที่นี้หมายถึงทรงรู้ประโยชน์ ๕ ประการ คือ (๑) ประโยชน์ตน (๒) ประโยชน์ผู้อื่น
(๓) ประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่น (๔) ประโยชน์ในภพนี้ (๕) ประโยชน์ในภพหน้า (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๓๑/
๕๑, องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๑๓๑/๕๓)
๒ เป็นผู้รู้ธรรม ในที่นี้หมายถึงทรงรู้ธรรม คือ อริยสัจ ๔ หรือธรรม ๔ ประการ คือ กามาวจรธรรม
รูปาวจรธรรม อรูปาวจรธรรม และโลกุตตรธรรม (องฺ.ปญฺจ.อ. ๓/๑๓๑/๕๑, องฺ.ปญฺจ.ฏีกา ๓/๑๓๑/๕๓)
๓ เป็นผู้รู้ประมาณ ในที่นี้หมายถึงทรงรู้ประมาณในการรับปัจจัย ๔ การบริโภคปัจจัย ๔ การแสวงหาปัจจัย
๔ และการสละปัจจัย ๔ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๓๑/๕๑, องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๑๓๑/๕๓)
๔ รู้กาล หมายถึงทรงรู้ว่า “นี้เป็นเวลาหลีกเร้น นี้เป็นเวลาเข้าสมาบัติ นี้เป็นเวเลาแสดงธรรม และนี้เป็น
เวลาเที่ยวจาริกในชนบท” (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๓๑/๕๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๔. ราชวรรค ๒. ทุติยจักกานุวัตตนสูตร
๒. ทุติยจักกานุวัตตนสูตร
ว่าด้วยการให้จักรหมุนไป สูตรที่ ๒
[๑๓๒] ภิกษุทั้งหลาย พระราชโอรสองค์ใหญ่ของพระเจ้าจักรพรรดิ ประกอบ
ด้วยองค์ ๕ ประการ จึงทรงให้จักรที่พระราชบิดาให้หมุนไปแล้ว ให้หมุนไปโดย
ธรรมเท่านั้น จักรนั้นอันใคร ๆ ที่เป็นมนุษย์ เป็นข้าศึก และเป็นสัตว์มีชีวิตให้หมุน
กลับไม่ได้
องค์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
พระราชโอรสองค์ใหญ่ของพระเจ้าจักรพรรดิในโลกนี้
๑. เป็นผู้รู้ประโยชน์
๒. เป็นผู้รู้ธรรม
๓. เป็นผู้รู้ประมาณ
๔. เป็นผู้รู้กาล
๕. เป็นผู้รู้บริษัท
ภิกษุทั้งหลาย พระราชโอรสองค์ใหญ่ของพระเจ้าจักรพรรดิ ประกอบด้วย
องค์ ๕ ประการนี้แล จึงทรงให้จักรที่พระราชบิดาให้หมุนไปแล้ว ให้หมุนไปโดยธรรม
เท่านั้น จักรนั้นอันใคร ๆ ที่เป็นมนุษย์ เป็นข้าศึก และเป็นสัตว์มีชีวิตให้หมุนกลับ
ไม่ได้
ภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
จึงให้ธรรมจักรอันยอดเยี่ยมที่ตถาคตให้หมุนไปแล้ว ให้หมุนไปโดยธรรมเท่านั้น
จักรนั้นอันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ ในโลก ให้หมุนกลับไม่ได้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
สารีบุตรในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้รู้ประโยชน์
๒. เป็นผู้รู้ธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๔. ราชวรรค ๓. ธัมมราชาสูตร
๓. เป็นผู้รู้ประมาณ
๔. เป็นผู้รู้กาล
๕. เป็นผู้รู้บริษัท
ภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล จึงให้ธรรมจักร
อันยอดเยี่ยมที่ตถาคตให้หมุนไปแล้ว ให้หมุนไปโดยธรรมเท่านั้น จักรนั้นอันสมณะ
พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ ในโลก ให้หมุนกลับไม่ได้
ทุติยจักกานุวัตตนสูตรที่ ๒ จบ

๓. ธัมมราชาสูตร
ว่าด้วยธรรมราชา
[๑๓๓] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม
เป็นธรรมราชา ย่อมไม่ทรงให้จักรที่มิใช่ของพระราชาหมุนไป”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไร เป็นราชาของพระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม
เป็นธรรมราชา”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ธรรม๑ เป็นราชาของพระเจ้าจักรพรรดิผู้
ทรงธรรม เป็นธรรมราชา” แล้วตรัสต่อไปว่า “พระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม เป็น
ธรรมราชาในโลกนี้ ทรงอาศัยธรรมเท่านั้น สักการะธรรม เคารพธรรม นอบน้อม
ธรรม เชิดชูธรรม ยกย่องธรรม มีธรรมเป็นใหญ่ ทรงจัดการรักษา ป้องกันและ
คุ้มครองชนภายใน๒โดยธรรม
อีกประการหนึ่ง พระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม เป็นธรรมราชา ฯลฯ มีธรรม
เป็นใหญ่ ทรงจัดการรักษา ป้องกัน และคุ้มครองพวกกษัตริย์ผู้ตามเสด็จ กำลังพล

เชิงอรรถ :
๑ ธรรม ในที่นี้หมายถึงกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ จัดเป็นราชาของพระเจ้าจักรพรรดิ (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๔/๘๗)
๒ ชนภายใน หมายถึงมเหสี พระราชโอรส และพระราชธิดา (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๔/๘๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๑๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๔. ราชวรรค ๓. ธัมมราชาสูตร
พราหมณ์คหบดี ชาวนิคม ชาวชนบท สมณพราหมณ์ สัตว์จำพวกเนื้อและนก
โดยธรรม พระเจ้าจักรพรรดินั้นแลผู้ทรงธรรม เป็นธรรมราชา ฯลฯ มีธรรมเป็นใหญ่
ครั้นทรงจัดการรักษา ป้องกัน และคุ้มครองโดยธรรมแล้ว จึงให้จักรหมุนไปโดย
ธรรมเท่านั้น จักรนั้นอันใคร ๆ ที่เป็นมนุษย์ เป็นข้าศึก และเป็นสัตว์มีชีวิตให้หมุน
กลับไม่ได้
พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้ทรงธรรม
เป็นธรรมราชา๑ ทรงอาศัยธรรมเท่านั้น สักการะธรรม เคารพธรรม นอบน้อมธรรม
เชิดชูธรรม ยกย่องธรรม มีธรรมเป็นใหญ่ ทรงจัดการรักษา ป้องกัน และคุ้มครอง
ภิกษุทั้งหลายโดยธรรมว่า
๑. กายกรรมเช่นนี้ควรประพฤติ กายกรรมเช่นนี้ไม่ควรประพฤติ
๒. วจีกรรมเช่นนี้ควรประพฤติ วจีกรรมเช่นนี้ไม่ควรประพฤติ
๓. มโนกรรมเช่นนี้ควรประพฤติ มโนกรรมเช่นนี้ไม่ควรประพฤติ
๔. อาชีพเช่นนี้ควรประกอบ อาชีพเช่นนี้ไม่ควรประกอบ
๕. บ้านและนิคมเช่นนี้ควรอยู่อาศัย บ้านและนิคมเช่นนี้ไม่ควรอยู่อาศัย
อีกประการหนึ่ง ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงธรรม เป็นธรรม
ราชา ฯลฯ มีธรรมเป็นใหญ่ ทรงจัดการรักษา ป้องกัน และคุ้มครองภิกษุณีทั้งหลาย
โดยธรรม ... อุบาสกทั้งหลาย ... อุบาสิกาทั้งหลายโดยธรรมว่า
๑. กายกรรมเช่นนี้ควรประพฤติ กายกรรมเช่นนี้ไม่ควรประพฤติ
ฯลฯ
๕. บ้านและนิคมเช่นนี้ควรอยู่อาศัย บ้านและนิคมเช่นนี้ไม่ควรอยู่อาศัย

เชิงอรรถ :
๑ ธรรมราชา เป็นพระนามของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า หมายถึงพระผู้ทรงให้มหาชนยินดีด้วย
โลกุตตรธรรม ๙ ประการ (มรรค ๔ ผล ๔ และนิพพาน ๑) (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๔/๘๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๔. ราชวรรค ๔. ยัสสังทิสังสูตร
ภิกษุ ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น เป็นผู้ทรงธรรม เป็น
ธรรมราชา ฯลฯ มีธรรมเป็นใหญ่ ครั้นทรงจัดการรักษา ป้องกัน และคุ้มครอง
ภิกษุทั้งหลายโดยธรรม ภิกษุณีทั้งหลาย ... อุบาสกทั้งหลาย ... อุบาสิกาทั้งหลาย
โดยธรรมแล้ว จึงทรงให้ธรรมจักรอันยอดเยี่ยมหมุนไปโดยธรรมเท่านั้น จักร๑นั้นอัน
สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ ในโลก ให้หมุนกลับไม่ได้”
ธัมมราชาสูตรที่ ๓ จบ

๔. ยัสสังทิสังสูตร
ว่าด้วยทิศที่กษัตริย์ใช้ประทับ
[๑๓๔] ภิกษุทั้งหลาย กษัตราธิราชผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว๒ ทรงประกอบ
ด้วยองค์ ๕ ประการ จะประทับอยู่ ณ ทิศใด ๆ ก็เหมือนกับประทับอยู่ในแคว้น
ของพระองค์เอง
องค์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
กษัตราธิราชในโลกนี้
๑. ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว ทรงมีชาติกำเนิดดีทั้งฝ่ายพระมารดาและฝ่าย
พระบิดา ถือปฏิสนธิบริสุทธิ์ดีตลอดเจ็ดชั่วบรรพบุรุษ๓ ไม่มีใคร
จะคัดค้านตำหนิได้เพราะอ้างถึงชาติตระกูล
๒. ทรงเป็นผู้มั่งคั่ง มีพระราชทรัพย์มาก มีพระราชสมบัติมาก มี
พระฉางและพระคลัง๔บริบูรณ์

เชิงอรรถ :
๑ จักร ในที่นี้หมายถึงธรรมจักรอันยอดเยี่ยมที่พระพุทธองค์ทรงให้หมุนไปด้วยนวโลกุตตรธรรม ๙ ประการ
อันใคร ๆ ไม่สามารถให้หมุนกลับได้ (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๔/๘๙)
๒ มูรธาภิเษก หมายถึงน้ำรดพระเศียรในงานราชาภิเษกหรือพระราชพิธีอื่น ๆ (พจนานุกรม ฉบับ
ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕)
๓ เจ็ดชั่วบรรพบุรุษ หมายถึงวิธีนับลำดับบรรพบุรุษแบบหนึ่ง เพื่อแสดงความบริสุทธิ์ของวงศ์ตระกูลโดย
นับจากปัจจุบันขึ้นไป ๗ ชั้น (ที.สี.อ. ๓๐๓/๒๕๒-๒๕๓)
๔ พระฉาง (โกสะ) ในที่นี้หมายถึงกองกำลัง ๔ เหล่า คือ พลช้าง พลม้า พลรถ พลคนเดินเท้า (องฺ.ปญฺจก.อ.
๓/๑๓๔/๕๒, องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๑๓๔/๕๖)
พระคลัง (โกฏฐาคาร) หมายถึงพระคลัง ๓ ชนิด คือ พระคลังเก็บทรัพย์ พระคลังเก็บข้าวเปลือก และ
พระคลังเก็บผ้า (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๓๔/๕๒, องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๑๓๔/๕๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๑๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๔. ราชวรรค ๔. ยัสสังทิสังสูตร
๓. ทรงมีกำลังพล ประกอบด้วยกองทัพทั้ง ๔ เหล่า เชื่อฟังและ
ทำตามที่ทรงรับสั่ง
๔. ทรงเป็นปริณายก เป็นบัณฑิต ฉลาด มีปัญญา สามารถคิด
เหตุการณ์ได้ทั้งอดีต อนาคต และปัจจุบัน
๕. ทรงประกอบด้วยยศที่มีธรรม ๔ ประการ นี้ทำให้เจริญ
กษัตราธิราชพระองค์นั้นจะประทับอยู่ ณ ทิศใด ๆ ก็เหมือนกับประทับอยู่ใน
แคว้นของพระองค์เอง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะพระองค์ทรงชนะได้เด็ดขาดแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการก็ฉันนั้นเหมือนกัน จะอยู่
ณ ทิศใด ๆ ก็เป็นผู้มีจิตหลุดพ้นอยู่
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย เหมือน
กษัตราธิราชผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว ทรงสมบูรณ์ด้วยชาติ
๒. เป็นพหูสูต ฯลฯ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ เหมือนกษัตราธิราชผู้ได้รับ
มูรธาภิเษกแล้วทรงมั่งคั่ง มีพระราชทรัพย์มาก มีพระราชสมบัติ
มาก มีพระฉางและพระคลังบริบูรณ์
๓. เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรมเกิด
มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม
ทั้งหลายอยู่ เหมือนกษัตราธิราชผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว ทรงสมบูรณ์
ด้วยกำลัง
๔. เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาเห็นทั้ง
ความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความ
สิ้นทุกข์โดยชอบ เหมือนกษัตราธิราชผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว ทรงเป็น
ปริณายก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๔. ราชวรรค ๕. ปฐมปัตถนาสูตร
๕. ประกอบด้วยวิมุตติที่มีธรรม ๔ ประการนี้ทำให้เจริญ เธอจะอยู่
ณ ทิศใด ๆ ก็เป็นผู้มีจิตหลุดพ้นอยู่ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ
เธอมีจิตหลุดพ้นแล้วอย่างนั้น
ยัสสังทิสังสูตรที่ ๔ จบ

๕. ปฐมปัตถนาสูตร
ว่าด้วยความปรารถนา สูตรที่ ๑
[๑๓๕] ภิกษุทั้งหลาย พระราชโอรสองค์ใหญ่ของกษัตราธิราชผู้ได้รับมูรธา-
ภิเษกแล้ว ทรงประกอบด้วยองค์ ๕ ประการ ย่อมปรารถนาราชสมบัติ
องค์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
พระราชโอรสองค์ใหญ่ของกษัตราธิราชผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้วในโลกนี้
๑. เป็นผู้มีชาติกำเนิดดีทั้งฝ่ายพระมารดาและฝ่ายพระบิดา ถือปฏิสนธิ
บริสุทธิ์ดีตลอดเจ็ดชั่วบรรพบุรุษ ไม่มีใครจะคัดค้านตำหนิได้เพราะ
อ้างถึงชาติตระกูล
๒. เป็นผู้มีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส มีฉวีวรรณผุดผ่องยิ่งนัก๑
๓. เป็นที่รัก เป็นที่พอพระทัยของพระมารดาและพระบิดา
๔. เป็นที่รัก เป็นที่พอใจของชาวนิคมและชาวชนบท
๕. เป็นผู้ได้ศึกษาสำเร็จดีในศิลปศาสตร์แห่งกษัตราธิราชผู้ได้รับมูรธา-
ภิเษกแล้ว เช่น ศิลปศาสตร์เรื่องช้าง ม้า รถ ธนู หรือดาบ
พระราชโอรสองค์ใหญ่นั้น ทรงมีพระดำริอย่างนี้ว่า ‘เรามีชาติกำเนิดดีทั้งฝ่าย
พระมารดาและฝ่ายพระบิดา ถือปฏิสนธิบริสุทธิ์ดีตลอดเจ็ดชั่วบรรพบุรุษ ไม่มีใคร

เชิงอรรถ :
๑ ฉวีวรรณผุดผ่อง หมายถึงมีผิวพรรณดีและมีทรวดทรงดี (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๗๕/๓๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๔. ราชวรรค ๕. ปฐมปัตถนาสูตร
จะคัดค้านตำหนิได้เพราะอ้างถึงชาติตระกูล ไฉนเราจะไม่ปรารถนาราชสมบัติเล่า
เราเป็นผู้มีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส มีฉวีวรรณผุดผ่องยิ่งนัก ไฉนเราจะไม่ปรารถนา
ราชสมบัติเล่า เราเป็นที่รัก เป็นที่พอพระทัยของพระมารดาและพระบิดา ไฉนเราจะ
ไม่ปรารถนาราชสมบัติเล่า เราเป็นที่รักเป็นที่พอใจของชาวนิคมและชาวชนบท ไฉน
เราจะไม่ปรารถนาราชสมบัติเล่า เราเป็นผู้ได้ศึกษาสำเร็จดีในศิลปศาสตร์ของ
กษัตราธิราชผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว เช่นศิลปศาสตร์เรื่องช้าง ม้า รถ ธนู หรือดาบ
ไฉนเราจะไม่ปรารถนาราชสมบัติเล่า’
พระราชโอรสองค์ใหญ่ของกษัตราธิราชผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว ประกอบด้วย
องค์ ๕ ประการนี้แล ย่อมปรารถนาราชสมบัติ ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ก็ปรารถนาความสิ้น
อาสวะ ฉันนั้น เหมือนกัน
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อพระปัญญาเครื่องตรัสรู้ของตถาคตว่า ‘แม้เพราะ
เหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระ
ผู้มีพระภาค’
๒. เป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคเบาบาง ประกอบด้วยไฟธาตุสำหรับย่อย
อาหารสม่ำเสมอ ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก ปานกลาง เหมาะแก่การ
บำเพ็ญเพียร
๓. เป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา ทำตนให้เปิดเผยตามความเป็นจริงใน
ศาสดา หรือในเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลาย
๔. เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรมเกิด
มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้ง
หลายอยู่
๕. เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาเห็น
ทั้งความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความ
สิ้นทุกข์โดยชอบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๑๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๔. ราชวรรค ๖. ทุติยปัตถนาสูตร
เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้มีศรัทธา เชื่อพระปัญญาเครื่องตรัสรู้ของ
พระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นพระพุทธเจ้า
เป็นพระผู้มีพระภาค ไฉนเราจะไม่ปรารถนาความสิ้นอาสวะเล่า เราเป็นผู้มีอาพาธ
น้อย มีโรคเบาบาง ประกอบด้วยไฟธาตุสำหรับย่อยอาหารสม่ำเสมอ ไม่เย็นนัก
ไม่ร้อนนัก ปานกลาง เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียร ไฉนเราจะไม่ปรารถนาความสิ้น
อาสวะเล่า เราเป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา ทำตนให้เปิดเผยตามความเป็นจริงใน
ศาสดา หรือในเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลาย ไฉนเราจะไม่ปรารถนาความสิ้นอาสวะ
เล่า เราเป็นผู้ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรมเกิด มีความ
เข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ไฉนเราจะไม่
ปรารถนาความสิ้นอาสวะเล่า เราเป็นผู้มีปัญญา คือประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่อง
พิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับ อันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้น
ทุกข์โดยชอบ ไฉนเราจะไม่ปรารถนาความสิ้นอาสวะเล่า’
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมปรารถนาความ
สิ้นอาสวะ
ปฐมปัตถนาสูตรที่ ๕ จบ

๖. ทุติยปัตถนาสูตร
ว่าด้วยความปรารถนา สูตรที่ ๒
[๑๓๖] ภิกษุทั้งหลาย พระราชโอรสองค์ใหญ่ของกษัตราธิราชผู้ได้รับ
มูรธาภิเษกแล้ว ทรงประกอบด้วย องค์ ๕ ประการ ย่อมปรารถนาความเป็นอุปราช
องค์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
พระราชโอรสองค์ใหญ่ของกษัตราธิราชผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้วในโลกนี้
๑. เป็นผู้มีชาติกำเนิดดีทั้งฝ่ายพระมารดาและฝ่ายพระบิดา ถือปฏิสนธิ
บริสุทธิ์ดีตลอดเจ็ดชั่วบรรพบุรุษ ไม่มีใครจะคัดค้านตำหนิได้เพราะ
อ้างถึงชาติตระกูล
๒. เป็นผู้มีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส มีฉวีวรรณผุดผ่องยิ่งนัก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๒๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๔. ราชวรรค ๖. ทุติยปัตถนาสูตร
๓. เป็นที่รัก เป็นที่พอพระทัยของพระมารดาและพระบิดา
๔. เป็นที่รัก เป็นที่พอใจของกองทัพ
๕. เป็นบัณฑิต ฉลาด มีปัญญาสามารถคิดเหตุการณ์ทั้งอดีต อนาคต
และปัจจุบันได้
พระราชโอรสพระองค์นั้น มีดำริอย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้มีชาติดีทั้งฝ่ายพระมารดา
และฝ่ายพระบิดา ถือปฏิสนธิบริสุทธิ์ดีตลอดเจ็ดชั่วบรรพบุรุษ ไม่มีใครจะคัดค้าน
ตำหนิได้เพราะอ้างถึงชาติตระกูล ไฉนเราจะไม่ปรารถนาเป็นอุปราชเล่า เราเป็นผู้มี
รูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส มีฉวีวรรณผุดผ่องยิ่งนัก ไฉนเราจะไม่ปรารถนาเป็น
อุปราชเล่า เราเป็นที่รัก เป็นที่พอพระทัยของพระมารดาและพระบิดา ไฉนเราจะ
ไม่ปรารถนาเป็นอุปราชเล่า เราเป็นที่รักเป็นที่พอใจแห่งกองทัพ ไฉนเราจะไม่
ปรารถนาเป็นอุปราชเล่า เราเป็นบัณฑิต ฉลาด มีปัญญา สามารถคิดเหตุการณ์
ทั้งอดีต อนาคต และปัจจุบันได้ ไฉนเราจะไม่ปรารถนาความเป็นอุปราชเล่า’
ภิกษุทั้งหลาย พระราชโอรสองค์ใหญ่ของกษัตราธิราชผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว
ประกอบด้วยองค์ ๕ ประการนี้แล ย่อมปรารถนาความเป็นอุปราช ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ก็ปรารถนาความสิ้น
อาสวะ ฉันนั้นเหมือนกัน
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
๒. เป็นพหูสูต ฯลฯ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ
๓. เป็นผู้มีจิตตั้งมั่นดีในสติปัฏฐาน ๔๑
๔. เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม ฯลฯ ไม่ทอดธุระใน
กุศลธรรมทั้งหลายอยู่
๕. เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาเห็นทั้ง
ความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้น
ทุกข์โดยชอบ

เชิงอรรถ :
๑ ดู ที.ม. ๑๐/๓๗๒-๓๗๔/๒๔๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๒๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๔. ราชวรรค ๗. อัปปังสุปติสูตร
เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท
ทั้งหลาย ไฉนเราจะไม่ปรารถนาความสิ้นอาสวะเล่า เราเป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสม
สุตะ ฯลฯ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ ไฉนเราจะไม่ปรารถนาความสิ้นอาสวะเล่า เราเป็น
ผู้มีจิตตั้งมั่นดีแล้วในสติปัฏฐาน ๔ ไฉนเราจะไม่ปรารถนาความสิ้นอาสวะเล่า เรา
เป็นผู้ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม ฯลฯ ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่
ไฉนเราจะไม่ปรารถนาความสิ้นอาสวะเล่า เราเป็นผู้มีปัญญา ฯลฯ ให้ถึงความสิ้น
ทุกข์โดยชอบ ไฉนเราจะไม่ปรารถนาความสิ้นอาสวะเล่า’
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมปรารถนาความ
สิ้นอาสวะ
ทุติยปัตถนาสูตรที่ ๖ จบ

๗. อัปปังสุปติสูตร
ว่าด้วยคนหลับน้อย ตื่นมาก
[๑๓๗] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๕ จำพวกนี้ หลับน้อย ตื่นมากในราตรี
บุคคล ๕ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. สตรีหลับน้อยตื่นมากเพราะประสงค์บุรุษ
๒. บุรุษหลับน้อยตื่นมากเพราะประสงค์สตรี
๓. โจรหลับน้อยตื่นมากเพราะประสงค์จะลักทรัพย์
๔. พระราชาผู้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจทรงหลับน้อยตื่นมาก
๕. ภิกษุผู้มุ่งถึงธรรมที่ปราศจากสังโยชน์๑หลับน้อยตื่นมาก
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๕ จำพวกนี้แล หลับน้อย ตื่นมากในราตรี
อัปปังสุปติสูตรที่ ๗ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ธรรมที่ปราศจากสังโยชน์ หมายถึงนิพพาน (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๓๗/๕๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๔. ราชวรรค ๘. ภัตตาทกสูตร
๘. ภัตตาทกสูตร
ว่าด้วยองค์ประกอบของช้างต้นกินจุ
[๑๓๘] ภิกษุทั้งหลาย ช้างของพระราชาประกอบด้วยองค์ ๕ ประการ
เป็นช้างกินจุ ขวางที่ ขี้เรี่ยราด พอถือเป็นเครื่องหมายได้ว่าช้าง นับว่าเป็นช้างต้น
องค์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ช้างของพระราชาในโลกนี้
๑. เป็นสัตว์ไม่อดทนต่อรูป
๒. เป็นสัตว์ไม่อดทนต่อเสียง
๓. เป็นสัตว์ไม่อดทนต่อกลิ่น
๔. เป็นสัตว์ไม่อดทนต่อรส
๕. เป็นสัตว์ไม่อดทนต่อโผฏฐัพพะ
ภิกษุทั้งหลาย ช้างของพระราชาประกอบด้วยองค์ ๕ ประการนี้แล เป็นช้าง
กินจุ ขวางที่ ขี้เรี่ยราด พอถือเป็นเครื่องหมายได้ว่าช้าง นับว่าเป็นช้างต้น
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้
ฉันจุ ขวางที่ ย่ำยีเตียงตั่ง๑ พอถือเป็นเครื่องหมายได้ว่าภิกษุ นับว่าเป็นภิกษุ
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้ไม่อดทนต่อรูป
๒. เป็นผู้ไม่อดทนต่อเสียง
๓. เป็นผู้ไม่อดทนต่อกลิ่น
๔. เป็นผู้ไม่อดทนต่อรส
๕. เป็นผู้ไม่อดทนต่อโผฏฐัพพะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นผู้ฉันจุ ขวางที่
ย่ำยีเตียงตั่ง พอถือเป็นเครื่องหมายได้ว่าภิกษุ นับว่าเป็นภิกษุ
ภัตตาทกสูตรที่ ๘ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ย่ำยีเตียงตั่ง ในที่นี้หมายถึงนั่งมาก นอนมาก (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๓๘/๕๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๔. ราชวรรค ๙. อักขมสูตร
๙. อักขมสูตร
ว่าด้วยองค์ประกอบของช้างต้นที่ไม่อดทน
[๑๓๙] ภิกษุทั้งหลาย ช้างของพระราชาประกอบด้วยองค์ ๕ ประการ
เป็นช้างไม่ควรแก่พระราชา ไม่ควรเป็นช้างต้น ไม่นับว่าเป็นราชพาหนะโดยแท้
องค์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ช้างของพระราชา
๑. เป็นสัตว์ไม่อดทนต่อรูป
๒. เป็นสัตว์ไม่อดทนต่อเสียง
๓. เป็นสัตว์ไม่อดทนต่อกลิ่น
๔. เป็นสัตว์ไม่อดทนต่อรส
๕. เป็นสัตว์ไม่อดทนต่อโผฏฐัพพะ
ช้างของพระราชาเป็นสัตว์ไม่อดทนต่อรูป เป็นอย่างไร
คือ ช้างของพระราชาในโลกนี้ เข้าสู่สมรภูมิแล้ว เห็นกองทัพช้าง กองทัพม้า
กองทัพรถ หรือกองทัพพลเดินเท้า ก็หยุดนิ่ง หวั่นไหว ไม่สามารถเข้าสู่สมรภูมิได้
ช้างของพระราชาเป็นสัตว์ไม่อดทนต่อรูป เป็นอย่างนี้แล (๑)
ช้างของพระราชาเป็นสัตว์ไม่อดทนต่อเสียง เป็นอย่างไร
คือ ช้างของพระราชาในโลกนี้ เข้าสู่สมรภูมิแล้ว ได้ยินเสียงกองทัพช้าง
กองทัพม้า กองทัพรถ กองทัพพลเดินเท้า หรือเสียงกลอง บัณเฑาะว์๑ สังข์
มโหระทึก๒ที่กระหึ่ม ก็หยุดนิ่ง หวั่นไหว ไม่สามารถเข้าสู่สมรภูมิได้ ช้างของพระ
ราชาเป็นสัตว์ไม่อดทนต่อเสียง เป็นอย่างนี้ (๒)

เชิงอรรถ :
๑ บัณเฑาะว์ หมายถึงกลองสองหน้าขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีหลักอยู่ตอนบน ผูกตุ้มห้อยลงมาทางหน้ากลอง
ใช้ให้ตุ้มแกว่งกระทบหน้ากลองทั้ง ๒ ข้าง (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕)
๒ มโหระทึก หมายถึงกลองโลหะชนิดหนึ่งของชนชาติที่อยู่ตอนใต้ประเทศจีน ใช้ตีเป็นสัญญาณ และประโคม
(พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๒๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๔. ราชวรรค ๙. อักขมสูตร
ช้างของพระราชาเป็นสัตว์ไม่อดทนต่อกลิ่น เป็นอย่างไร
คือ ช้างของพระราชาในโลกนี้เข้าสู่สมรภูมิแล้ว ได้กลิ่นมูตรและคูถของช้าง
พระราชา(ฝ่ายข้าศึก)ที่ใหญ่กว่าซึ่งเข้ามาสู่สมรภูมิ ก็หยุดนิ่ง หวั่นไหว ไม่สามารถ
เข้าสู่สมรภูมิได้ ช้างของพระราชาเป็นสัตว์ไม่อดทนต่อกลิ่น เป็นอย่างนี้แล (๓)
ช้างของพระราชาเป็นสัตว์ไม่อดทนต่อรส เป็นอย่างไร
คือ ช้างของพระราชาในโลกนี้เข้าสู่สมรภูมิแล้ว ไม่ได้กินอาหารเพียง ๑ คืน
๒ คืน ๓ คืน ๔ คืน หรือ ๕ คืน ก็หยุดนิ่ง หวั่นไหว ไม่สามารถเข้าสู่สมรภูมิได้
ช้างของพระราชาเป็นสัตว์ไม่อดทนต่อรส เป็นอย่างนี้แล (๔)
ช้างของพระราชาเป็นสัตว์ไม่อดทนต่อโผฏฐัพพะ เป็นอย่างไร
คือ ช้างของพระราชาในโลกนี้เข้าสู่สมรภูมิแล้ว ถูกเขายิงด้วยลูกศร ๑ ครั้ง
๒ ครั้ง ๓ ครั้ง ๔ ครั้ง หรือ ๕ ครั้งแล้ว ก็หยุดนิ่ง หวั่นไหว ไม่สามารถเข้าสู่
สมรภูมิได้ ช้างของพระราชาเป็นสัตว์ไม่อดทนต่อโผฏฐัพพะ เป็นอย่างนี้แล (๕)
ภิกษุทั้งหลาย ช้างของพระราชาประกอบด้วยองค์ ๕ ประการนี้ เป็นช้าง
ไม่ควรแก่พระราชา ไม่ควรเป็นช้างต้น ไม่นับว่าเป็นราชพาหนะโดยแท้ ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้
ไม่ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ไม่ควรแก่ของต้อนรับ ไม่ควรแก่ทักษิณา ไม่ควรแก่
การทำอัญชลี ไม่เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้ไม่อดทนต่อรูป
๒. เป็นผู้ไม่อดทนต่อเสียง
๓. เป็นผู้ไม่อดทนต่อกลิ่น
๔. เป็นผู้ไม่อดทนต่อรส
๕. เป็นผู้ไม่อดทนต่อโผฏฐัพพะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๔. ราชวรรค ๙. อักขมสูตร
ภิกษุเป็นผู้ไม่อดทนต่อรูป เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปทางตาแล้ว กำหนัดในรูปที่เป็นเหตุให้กำหนัด
ไม่สามารถตั้งจิตไว้โดยชอบได้ ภิกษุเป็นผู้ไม่อดทนต่อรูป เป็นอย่างนี้แล (๑)
ภิกษุเป็นผู้ไม่อดทนต่อเสียง เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ฟังเสียงทางหูแล้ว กำหนัดในเสียงที่เป็นเหตุให้กำหนัด
ไม่สามารถตั้งจิตไว้โดยชอบได้ ภิกษุเป็นผู้ไม่อดทนต่อเสียง เป็นอย่างนี้แล (๒)
ภิกษุเป็นผู้ไม่อดทนต่อกลิ่น เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ดมกลิ่นทางจมูกแล้ว กำหนัดในกลิ่นที่เป็นเหตุให้
กำหนัด ไม่สามารถตั้งจิตไว้โดยชอบได้ ภิกษุเป็นผู้ไม่อดทนต่อกลิ่น เป็นอย่าง
นี้แล (๓)
ภิกษุเป็นผู้ไม่อดทนต่อรส เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ลิ้มรสทางลิ้นแล้ว กำหนัดในรสที่เป็นเหตุให้กำหนัด
ไม่สามารถตั้งจิตไว้โดยชอบได้ ภิกษุเป็นผู้ไม่อดทนต่อรส เป็นอย่างนี้แล (๔)
ภิกษุเป็นผู้ไม่อดทนต่อโผฏฐัพพะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกายแล้ว กำหนัดในโผฏฐัพพะที่
เป็นเหตุให้กำหนัด ไม่สามารถตั้งจิตไว้โดยชอบได้ ภิกษุเป็นผู้ไม่อดทนต่อโผฏฐัพพะ
เป็นอย่างนี้แล (๕)
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นผู้ไม่ควรแก่ของ
ที่เขานำมาถวาย ไม่ควรแก่ของต้อนรับ ไม่ควรแก่ทักษิณา ไม่ควรแก่การทำอัญชลี
ไม่เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ภิกษุทั้งหลาย ช้างของพระราชาประกอบด้วยองค์ ๕ ประการ เป็นช้าง
ควรแก่พระราชา ควรเป็นช้างต้น นับว่าเป็นราชพาหนะโดยแท้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๔. ราชวรรค ๙. อักขมสูตร
องค์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ช้างของพระราชา
๑. เป็นสัตว์อดทนต่อรูป
๒. เป็นสัตว์อดทนต่อเสียง
๓. เป็นสัตว์อดทนต่อกลิ่น
๔. เป็นสัตว์อดทนต่อรส
๕. เป็นสัตว์อดทนต่อโผฏฐัพพะ
ช้างของพระราชาเป็นสัตว์อดทนต่อรูป เป็นอย่างไร
คือ ช้างของพระราชาในโลกนี้เข้าสู่สมรภูมิแล้ว เห็นกองทัพช้าง กองทัพม้า
กองทัพรถ หรือกองทัพพลเดินเท้า ก็ไม่หยุดนิ่ง ไม่หวั่นไหว สามารถเข้าสู่สมรภูมิได้
ช้างของพระราชาเป็นสัตว์อดทนต่อรูป เป็นอย่างนี้แล (๑)
ช้างของพระราชาเป็นสัตว์อดทนต่อเสียง เป็นอย่างไร
คือ ช้างของพระราชาในโลกนี้เข้าสู่สมรภูมิแล้ว ได้ยินเสียงกองทัพช้าง กอง
ทัพม้า กองทัพรถ กองทัพพลเดินเท้า หรือเสียงกลอง บัณเฑาะว์ สังข์ มโหระทึก
ที่กระหึ่ม ก็ไม่หยุดนิ่ง ไม่หวั่นไหว สามารถเข้าสู่สมรภูมิได้ ช้างของพระราชาเป็น
สัตว์อดทนต่อเสียง เป็นอย่างนี้แล (๒)
ช้างของพระราชาเป็นสัตว์อดทนต่อกลิ่น เป็นอย่างไร
คือ ช้างของพระราชาในโลกนี้เข้าสู่สมรภูมิแล้ว ได้กลิ่นมูตรและคูถของช้าง
พระราชา (ฝ่ายข้าศึก) ที่ใหญ่กว่าซึ่งเข้ามาสู่สมรภูมิ ก็ไม่หยุดนิ่ง ไม่หวั่นไหว
สามารถเข้าสู่สมรภูมิได้ ช้างของพระราชาเป็นสัตว์อดทนต่อกลิ่น เป็นอย่างนี้แล (๓)
ช้างของพระราชาเป็นสัตว์อดทนต่อรส เป็นอย่างไร
คือ ช้างของพระราชาในโลกนี้เข้าสู่สมรภูมิแล้ว ไม่ได้กินอาหารแม้เพียง
๑ คืน ๒ คืน ๓ คืน ๔ คืน หรือ ๕ คืน ก็ไม่หยุดนิ่ง ไม่หวั่นไหว สามารถเข้า
สู่สมรภูมิได้ ช้างของพระราชาเป็นสัตว์อดทนต่อรส เป็นอย่างนี้แล (๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๔. ราชวรรค ๙. อักขมสูตร
ช้างของพระราชาเป็นสัตว์อดทนต่อโผฏฐัพพะ เป็นอย่างไร
คือ ช้างของพระราชาในโลกนี้เข้าสู่สมรภูมิแล้ว ถูกเขายิงด้วยลูกศร ๑ ครั้ง
๒ ครั้ง ๓ ครั้ง ๔ ครั้ง หรือ ๕ ครั้ง ก็ไม่หยุดนิ่ง ไม่หวั่นไหว สามารถเข้าสู่สมรภูมิได้
ช้างของพระราชาเป็นสัตว์อดทนต่อโผฏฐัพพะ เป็นอย่างนี้แล (๕)
ช้างของพระราชาประกอบด้วยองค์ ๕ ประการนี้แล เป็นช้างควรแก่พระราชา
ควรเป็นช้างต้น นับว่าเป็นราชพาหนะโดยแท้ ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้
ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำ
อัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้อดทนต่อรูป
๒. เป็นผู้อดทนต่อเสียง
๓. เป็นผู้อดทนต่อกลิ่น
๔. เป็นผู้อดทนต่อรส
๕. เป็นผู้อดทนต่อโผฏฐัพพะ
ภิกษุเป็นผู้อดทนต่อรูป เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปทางตาแล้ว ไม่กำหนัดในรูปที่เป็นเหตุให้กำหนัด
สามารถตั้งจิตไว้โดยชอบได้ ภิกษุเป็นผู้อดทนต่อรูป เป็นอย่างนี้แล (๑)
ภิกษุเป็นผู้อดทนต่อเสียง เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ฟังเสียงทางหูแล้ว ไม่กำหนัดในเสียงที่เป็นเหตุให้
กำหนัด สามารถตั้งจิตไว้โดยชอบได้ ภิกษุเป็นผู้อดทนต่อเสียง เป็นอย่างนี้แล (๒)
ภิกษุเป็นผู้อดทนต่อกลิ่น เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ดมกลิ่นทางจมูกแล้ว ไม่กำหนัดในกลิ่นที่เป็นเหตุให้
กำหนัด สามารถตั้งจิตไว้โดยชอบได้ ภิกษุเป็นผู้อดทนต่อกลิ่น เป็นอย่างนี้แล (๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๔. ราชวรรค ๑๐. โสตสูตร
ภิกษุเป็นผู้อดทนต่อรส เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ลิ้มรสทางลิ้นแล้ว ไม่กำหนัดในรสที่เป็นเหตุให้กำหนัด
สามารถตั้งจิตไว้โดยชอบได้ ภิกษุเป็นผู้อดทนต่อรส เป็นอย่างนี้แล (๔)
ภิกษุเป็นผู้อดทนต่อโผฏฐัพพะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกายแล้ว ไม่กำหนัดในโผฏฐัพพะ
ที่เป็นเหตุให้กำหนัด สามารถตั้งจิตไว้โดยชอบได้ ภิกษุเป็นผู้อดทนต่อโผฏฐัพพะ
เป็นอย่างนี้แล (๕)
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรแก่
ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี
เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
อักขมสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. โสตสูตร
ว่าด้วยองค์ประกอบของช้างต้นที่เชื่อฟัง
[๑๔๐] ภิกษุทั้งหลาย ช้างของพระราชาประกอบด้วยองค์ ๕ ประการ
เป็นช้างควรแก่พระราชา ควรเป็นช้างต้น นับว่าเป็นราชพาหนะโดยแท้
องค์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ช้างของพระราชาในโลกนี้
๑. เป็นสัตว์เชื่อฟัง
๒. เป็นสัตว์ฆ่าได้
๓. เป็นสัตว์รักษาได้
๔. เป็นสัตว์อดทนได้
๕. เป็นสัตว์ไปได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๔. ราชวรรค ๑๐. โสตสูตร
ช้างของพระราชาเป็นสัตว์เชื่อฟัง เป็นอย่างไร
คือ ช้างของพระราชาในโลกนี้ตั้งใจ ใฝ่ใจ สำรวมใจ เงี่ยหูฟังเหตุการณ์ที่
ควาญช้างให้ทำ คือเหตุการณ์ที่เคยทำหรือไม่เคยทำ ช้างของพระราชาเป็นสัตว์
เชื่อฟัง เป็นอย่างนี้แล (๑)
ช้างของพระราชาเป็นสัตว์ฆ่าได้ เป็นอย่างไร
คือ ช้างของพระราชาในโลกนี้เข้าสู่สมรภูมิแล้ว ฆ่าช้างบ้าง ฆ่าควาญช้างบ้าง ฆ่าม้าบ้าง
ฆ่าคนขี่ม้าบ้าง ทำลายรถบ้าง ฆ่าพลรถบ้าง ฆ่าพลเดินเท้าบ้าง ช้างของ
พระราชาเป็นสัตว์ฆ่าได้ เป็นอย่างนี้แล (๒)
ช้างของพระราชาเป็นสัตว์รักษาได้ เป็นอย่างไร
คือ ช้างของพระราชาในโลกนี้เข้าสู่สมรภูมิแล้ว รักษากายส่วนหน้า รักษากาย
ส่วนหลัง รักษาเท้าหน้า รักษาเท้าหลัง รักษาศีรษะ รักษาหู รักษางา รักษางวง
รักษาหาง รักษาควาญช้าง ช้างของพระราชาเป็นสัตว์รักษาได้ เป็นอย่างนี้แล (๓)
ช้างของพระราชาเป็นสัตว์อดทนได้ เป็นอย่างไร
คือ ช้างของพระราชาในโลกนี้เข้าสู่สมรภูมิแล้ว อดทนต่อการประหาร
ด้วยหอก ดาบ ลูกศร ง้าว เสียงกลอง บัณเฑาะว์ สังข์ และมโหระทึกที่กระหึ่ม
ช้างของพระราชาเป็นสัตว์อดทนได้ เป็นอย่างนี้แล (๔)
ช้างของพระราชาเป็นสัตว์ไปได้ เป็นอย่างไร
คือ ช้างของพระราชาในโลกนี้ไปสู่ทิศที่ควาญช้างไสไป คือทิศที่เคยไป หรือ
ทิศที่ยังไม่เคยไปได้โดยเร็วพลัน ช้างของพระราชาเป็นสัตว์ไปได้ เป็นอย่างนี้แล (๕)
ภิกษุทั้งหลาย ช้างของพระราชาประกอบด้วยองค์ ๕ ประการนี้แล เป็นช้างควร
แก่พระราชา ควรเป็นช้างต้น นับว่าเป็นราชพาหนะโดยแท้ ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้
ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำ
อัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๔. ราชวรรค ๑๐. โสตสูตร
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้เชื่อฟัง
๒. เป็นผู้ฆ่าได้
๓. เป็นผู้รักษาได้
๔. เป็นผู้อดทนได้
๕. เป็นผู้ไปได้
ภิกษุเป็นผู้เชื่อฟัง เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ตั้งใจ ใฝ่ใจ สำรวมใจ เงี่ยโสตสดับธรรมในเมื่อผู้อื่น
แสดงธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ภิกษุเป็นผู้เชื่อฟัง เป็นอย่างนี้แล (๑)
ภิกษุเป็นผู้ฆ่าได้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไม่รับกามวิตกที่เกิดขึ้น ละ บรรเทา ทำให้สิ้นสุด
ทำให้ถึงความเกิดขึ้นไม่ได้อีกต่อไป ฯลฯ ไม่รับพยาบาทวิตกที่เกิดขึ้น ฯลฯ ไม่รับ
วิหึงสาวิตกที่เกิดขึ้น ฯลฯ ไม่รับบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเกิดขึ้นอีก ละ บรรเทา
ทำให้สิ้นสุด ทำให้ถึงความเกิดขึ้นไม่ได้อีกต่อไป๑ ภิกษุเป็นผู้ฆ่าได้ เป็นอย่างนี้แล (๒)
ภิกษุเป็นผู้รักษาได้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปทางตาแล้ว ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ปฏิบัติเพื่อ
ความสำรวมในจักขุนทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้ว ก็จะเป็นเหตุให้ถูกบาปอกุศลธรรม
คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จึงรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์
ฟังเสียงทางหู ฯลฯ ดมกลิ่นทางจมูก ฯลฯ ลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะ
ทางกาย ฯลฯ รู้ธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ปฏิบัติเพื่อสำรวมใน
มนินทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้ถูกบาปอกุศลธรรม คืออภิชฌาและ
โทมนัสครอบงำได้ จึงรักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ภิกษุเป็นผู้รักษาได้
เป็นอย่างนี้แล (๓)

เชิงอรรถ :
๑ ดู องฺ.เอกาทสก. (แปล) ๒๔/๑๗/๔๓๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๔. ราชวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ภิกษุเป็นผู้อดทนได้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้อดทนต่อความหนาว ความร้อน ความหิว
กระหาย อดทนต่อการถูกเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลายรบกวน
อดทนต่อถ้อยคำหยาบคายร้ายแรงต่าง ๆ เป็นผู้อดกลั้นเวทนาทั้งหลายอันมีในร่าง
กายที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นทุกข์ กล้าแข็ง เจ็บปวด เผ็ดร้อน ไม่น่ายินดี ไม่น่าพอใจ
พรากชีวิต ภิกษุเป็นผู้อดทนได้ เป็นอย่างนี้แล (๔)
ภิกษุเป็นผู้ไปได้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมไปสู่ทิศที่ไม่เคยไปตลอดระยะเวลาอันยาวนานนี้
คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิกิเลสทั้งปวง ความสิ้นไปแห่งตัณหา
ความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน ภิกษุเป็นผู้ไปได้ เป็นอย่างนี้แล (๕)
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นผู้ควรแก่ของ
ที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็น
นาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
โสตสูตรที่ ๑๐ จบ
ราชวรรคที่ ๔ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมจักกานุวัตตนสูตร ๒. ทุติยจักกานุวัตตนสูตร
๓. ธัมมราชาสูตร ๔. ยัสสังทิสังสูตร
๕. ปฐมปัตถนาสูตร ๖. ทุติยปัตถนาสูตร
๗. อัปปังสุปติสูตร ๘. ภัตตาทกสูตร
๙. อักขมสูตร ๑๐. โสตสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๓๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๕. ติกัณฑกีวรรค ๑. อวชนาติสูตร
๕. ติกัณฑกีวรรค
หมวดว่าด้วยป่าติกัณฑกี
๑. อวชานาติสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้ให้แล้วดูหมิ่น
[๑๔๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๕ จำพวกนี้ มีปรากฏ
อยู่ในโลก
บุคคล ๕ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลให้แล้วดูหมิ่น
๒. บุคคลดูหมิ่น เพราะอยู่ร่วมกัน
๓. บุคคลผู้เชื่อง่าย
๔. บุคคลผู้โลเล
๕. บุคคลผู้เขลา หลงงมงาย
บุคคลให้แล้วดูหมิ่น เป็นอย่างไร
คือ บุคคลในโลกนี้ให้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชช-
บริขารแก่บุคคลใด เขาคิดอย่างนี้ว่า ‘เราให้ ผู้นี้รับ’ ให้แล้ว ดูหมิ่นบุคคลนั้น บุคคล
ให้แล้วดูหมิ่น เป็นอย่างนี้แล
บุคคลดูหมิ่น เพราะอยู่ร่วมกัน เป็นอย่างไร
คือ บุคคลในโลกนี้อยู่ร่วมกับบุคคลเป็นเวลา ๒ ปี หรือ ๓ ปี ดูหมิ่นผู้นั้น
เพราะอยู่ร่วมกัน บุคคลดูหมิ่นเพราะอยู่ร่วมกัน เป็นอย่างนี้แล
บุคคลผู้เชื่อง่าย เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เมื่อเขากล่าวคุณหรือโทษของผู้อื่นอยู่ ก็น้อมใจเชื่อ
โดยพลันทีเดียว บุคคลผู้เชื่อง่าย เป็นอย่างนี้แล
บุคคลผู้โลเล เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีศรัทธาน้อย มีความภักดีน้อย มีความรัก
น้อย มีความเลื่อมใสน้อย บุคคลผู้โลเล เป็นอย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๕. ติกัณฑกีวรรค ๒. อารภติสูตร
บุคคลผู้เขลา หลงงมงาย เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่รู้กุศลธรรมและอกุศลธรรม ไม่รู้ธรรมที่มีโทษ
และธรรมที่ไม่มีโทษ ไม่รู้ธรรมที่เลวและธรรมที่ประณีต ไม่รู้ธรรมดำและธรรมขาว๑
บุคคลผู้เขลาหลงงมงาย เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๕ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก
อวชานาติสูตรที่ ๑ จบ

๒. อารภติสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้ต้องอาบัติ
[๑๔๒] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๕ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๕ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลบางคนในธรรมวินัยนี้ต้องอาบัติ๒ มีวิปปฏิสาร (ความร้อนใจ)
และไม่รู้ชัดเจโตวิมุตติ๓ ปัญญาวิมุตติอันเป็นที่ดับไม่เหลือแห่งบาป
อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง

เชิงอรรถ :
๑ ธรรมดำ หมายถึงกายทุจริตเป็นต้น ธรรมขาว หมายถึงกายสุจริตเป็นต้น (สํ.ม.อ. ๓/๓๑-๓๔/๑๙๖,
ขุ.ธ.อ. ๔/๔๕-๔๗)
๒ ต้องอาบัติ (อารภติ) ฎีกาอธิบายว่า อารมฺภ ศัพท์ มีความหมายหลายนัยดังนี้ คือ (๑) มีความหมายว่า
กรรม เช่น ประโยคว่า “ยํ กิญฺจิ ทุกฺขํ สมฺโภติ สพฺพํ อารมฺภปจฺจยา” แปลว่า “ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่ง
เกิดขึ้น ทุกข์นั้นทั้งหมดย่อมเกิดขึ้นเพราะกรรมเป็นปัจจัย” (ขุ.สุ. ๒๕/๗๕๐/๔๘๑) (๒) มีความหมายว่า
กิริยา เช่น ประโยคว่า “มหารมฺภา มหายญฺญา น เต โหนฺติ มหปฺผลา” แปลว่า “มหายัญที่มีกิริยา
มากเหล่านั้น ย่อมไม่มีผลมาก” (สํ.ส. ๑๕/๑๒๐/๙๒, องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๓๙/๖๔) (๓) มีความหมายว่า
เบียดเบียน เช่น ประโยคว่า “สมณํ โคตมํ อุทฺทิสฺส ปาณํ อารภนฺติ” แปลว่า “ย่อมเบียดเบียนสัตว์อุทิศ
พระสมณโคดม” (ม.ม. ๑๓/๕๒/๓๔) (๔) มีความหมายว่า เพียร เช่น ประโยคว่า “อารมฺภถ นิกฺขมถ, ยุญฺชถ
พุทฺธสาสเน” แปลว่า “ท่านทั้งหลายจงเพียร จงออก จงประกอบในพระพุทธศาสนา” (สํ.ส. ๑๕/๑๘๕/๑๘๘)
(๕) มีความหมายว่า พราก เช่น ประโยคว่า “พีชคามภูตคามสมารมฺภา ปฏิวิรโต โหติ” แปลว่า “เว้นขาด
จากการพรากพืชคาม และภูตคาม” (ที.สี. (แปล) ๙/๑๐/๔, ม.มู. ๑๒/๒๙๓/๒๕๗) (๖) มีความหมายว่า
ต้องอาบัติ เช่น ประโยคว่า “อารภติ จ วิปฺปฏิสารี จ โหติ” แปลว่า “บุคคลต้องอาบัติและมีวิปปฏิสาร”
(องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๑๔๒/๒๓๔, อภิ.ปุ. (แปล) ๓๖/๑๙๑/๒๑๘)
เพราะฉะนั้นในที่นี้ จึงแปลว่า ต้องอาบัติ (องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๑๔๒-๑๔๓/๕๙)
๓ เจโตวิมุตติ หมายถึงอรหัตตสมาธิ ปัญญาวิมุตติ หมายถึงอรหัตตผลญาณ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๔๒/๕๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๕. ติกัณฑกีวรรค ๒. อารภติสูตร
๒. บุคคลบางคนในธรรมวินัยนี้ต้องอาบัติ แต่ไม่มีวิปปฏิสาร ไม่รู้ชัด
เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันเป็นที่ดับไม่เหลือแห่งบาปอกุศลธรรม
ที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง
๓. บุคคลบางคนในธรรมวินัยนี้ไม่ต้องอาบัติ แต่มีวิปปฏิสาร และไม่รู้
ชัดเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันเป็นที่ดับไม่เหลือแห่งบาปอกุศลธรรม
ที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง
๔. บุคคลบางคนในธรรมวินัยนี้ไม่ต้องอาบัติ และไม่มีวิปปฏิสาร แต่ไม่
รู้ชัดเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันเป็นที่ดับไม่เหลือแห่งบาปอกุศลธรรม
ที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง
๕. บุคคลบางคนในธรรมวินัยนี้ไม่ต้องอาบัติ ไม่มีวิปปฏิสาร และรู้ชัด
เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันเป็นที่ดับไม่เหลือแห่งบาปอกุศลธรรม
ที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง
ภิกษุทั้งหลาย บรรดาบุคคล ๕ จำพวกนั้น๑ บุคคลใดต้องอาบัติ มีวิปปฏิสาร
และไม่รู้ชัดเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันเป็นที่ดับไม่เหลือแห่งบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้น
แล้วตามความเป็นจริง บุคคลนั้นพึงเป็นผู้ควรถูกกล่าวตักเตือนอย่างนี้ว่า ‘อาสวะที่
เกิดเพราะความการต้องอาบัติของท่านยังมีอยู่ อาสวะที่เกิดเพราะวิปปฏิสารของท่าน
ยังเจริญอยู่ ขอท่านจงละอาสวะที่เกิดเพราะการต้องอาบัติ๒ จงบรรเทาอาสวะที่เกิด
เพราะวิปปฏิสารแล้วจึงเจริญจิตและปัญญา๓ เพราะการเจริญ อย่างนี้ ท่านก็จักเป็น
ผู้ทัดเทียมกับบุคคลจำพวกที่ ๕๔ โน้น’ (๑)

เชิงอรรถ :
๑ ดู อภิ.ปุ. (แปล) ๓๖/๑๙๑/๒๑๘
๒ ละอาสวะที่เกิดเพราะการต้องอาบัติ หมายถึงละอาสวะทั้งหลายที่เกิดเพราะการล่วงละเมิดสิกขาบทที่
ทรงบัญญัติไว้ ด้วยการแสดงอาบัติเบา (เทสนาวิธี) หรือวิธีปฏิบัติเพื่อเปลื้องตนจากอาบัติหนักขั้นสังฆาทิเสส
(วุฏฐานวิธี) (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๔๒/๕๖)
๓ เจริญจิตและปัญญา หมายถึงเพิ่มพูนวิปัสสนาจิต และเพิ่มพูนปัญญาที่ประกอบด้วยวิปัสสนาจิต (องฺ.
ปญฺจก.อ. ๓/๑๔๒/๕๖)
๔ บุคคลจำพวกที่ ๕ ในที่นี้หมายถึงพระขีณาสพ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๔๒/๕๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๕. ติกัณฑกีวรรค ๒. อารภติสูตร
บุคคลใดต้องอาบัติ แต่ไม่มีวิปปฏิสาร ไม่รู้ชัดเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันเป็น
ที่ดับไม่เหลือแห่งบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง บุคคลนั้นพึงเป็นผู้
ควรถูกกล่าวตักเตือนอย่างนี้ว่า ‘อาสวะที่เกิดเพราะการต้องอาบัติของท่านยังมีอยู่
อาสวะที่เกิดเพราะวิปปฏิสารของท่านไม่เจริญ ขอท่านจงละอาสวะที่เกิดเพราะการ
ต้องอาบัติแล้วจึงเจริญจิตและปัญญา เพราะการเจริญอย่างนี้ ท่านก็จักเป็นผู้
ทัดเทียมกับบุคคลจำพวกที่ ๕ โน้น’ (๒)
บุคคลใดไม่ต้องอาบัติ แต่มีวิปปฏิสาร และไม่รู้ชัดเจโตวุมิตติ ปัญญาวิมุตติอัน
เป็นที่ดับไม่เหลือแห่งบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง บุคคลนั้นพึง
เป็นผู้ควรถูกกล่าวตักเตือนอย่างนี้ว่า ‘อาสวะที่เกิดเพราะการต้องอาบัติของท่านไม่มี
แต่อาสวะที่เกิดเพราะวิปปฏิสารของท่านยังเจริญอยู่ ขอท่านจงบรรเทาอาสวะที่เกิด
เพราะวิปปฏิสารแล้วจึงเจริญจิตและปัญญา เพราะการเจริญอย่างนี้ ท่านก็จักเป็นผู้
ทัดเทียมกับบุคคลจำพวกที่ ๕ โน้น’ (๓)
บุคคลใดไม่ต้องอาบัติ และไม่มีวิปปฏิสาร แต่ไม่รู้ชัดเจโตวิมุตติ ปัญญา-
วิมุตติอันเป็นที่ดับไม่เหลือแห่งบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง
บุคคลนั้นพึงเป็นผู้ควรถูกกล่าวตักเตือนอย่างนี้ว่า ‘อาสวะที่เกิดเพราะการต้องอาบัติ
ของท่านไม่มี อาสวะที่เกิดเพราะวิปปฏิสารของท่านก็ไม่เจริญ ขอท่านจงเจริญจิต
และปัญญา เพราะการเจริญอย่างนี้ ท่านก็จักเป็นผู้ทัดเทียมกับบุคคลจำพวกที่ ๕
โน้น’ (๔)
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แล ถูกตักเตือนพร่ำสอนโดยเทียบกับบุคคล
จำพวกที่ ๕ โน้น อย่างนี้ ย่อมบรรลุความสิ้นอาสวะโดยลำดับ
อารภติสูตรที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๕. ติกัณฑกีวรรค ๓. สารันททสูตร
๓. สารันททสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่สารันททเจดีย์
[๑๔๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน
เขตกรุงเวสาลี ครั้งนั้น เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและ
จีวร เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงเวสาลี สมัยนั้นเจ้าลิจฉวีประมาณ ๕๐๐ พระองค์
นั่งประชุมกันอยู่ที่สารันททเจดีย์ ได้สนทนากันว่า
ความปรากฏแห่งแก้ว ๕ ประการ หาได้ยากในโลก
ความปรากฏแห่งแก้ว ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความปรากฏแห่งช้างแก้ว หาได้ยากในโลก
๒. ความปรากฏแห่งม้าแก้ว หาได้ยากในโลก
๓. ความปรากฏแห่งมณีแก้ว หาได้ยากในโลก
๔. ความปรากฏแห่งนางแก้ว หาได้ยากในโลก
๕. ความปรากฏแห่งคหบดีแก้ว หาได้ยากในโลก
ความปรากฏแห่งแก้ว ๕ ประการนี้ หาได้ยากในโลก
ครั้งนั้น เจ้าลิจฉวีเหล่านั้นได้ส่งคนไปคอยดักทางโดยรับสั่งว่า “พ่อผู้เจริญ
เมื่อท่านเห็นพระผู้มีพระภาคเสด็จมา พึงมาบอกแก่พวกเรา”
บุรุษนั้นได้เห็นพระผู้มีพระภาคเสด็จมาแต่ไกล จึงเข้าไปหาเจ้าลิจฉวีเหล่านั้น
ถึงที่อยู่ แล้วทูลว่า “ขอเดชะ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
กำลังเสด็จมา พระเจ้าข้า ขอพระองค์จงทราบกำหนดเวลาที่สมควร ณ บัดนี้เถิด”
ลำดับนั้น เจ้าลิจฉวีเหล่านั้นได้พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้ว ประทับยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูลว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคทรงพระกรุณา
เสด็จเข้าไปยังสารันททเจดีย์เถิด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๓๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๕. ติกัณฑกีวรรค ๓. สารันททสูตร
พระผู้มีพระภาคทรงรับอาราธนาโดยดุษณีภาพแล้วได้เสด็จเข้าไปยังสารันททเจดีย์
ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้ ได้ตรัสถามเจ้าลิจฉวีเหล่านั้นว่า
“เจ้าลิจฉวีทั้งหลาย เวลานี้ พวกท่านนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร พูดเรื่อง
อะไรค้างไว้”
เจ้าลิจฉวีเหล่านั้นกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อข้าพระองค์ทั้งหลาย
นั่งประชุมกันอยู่ ณ ที่นี้ ได้สนทนากันว่า ‘ความปรากฏแห่งแก้ว ๕ ประการ หาได้
ยากในโลก
ความปรากฏแห่งแก้ว ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความปรากฏแห่งช้างแก้ว หาได้ยากในโลก
๒. ความปรากฏแห่งม้าแก้ว หาได้ยากในโลก
๓. ความปรากฏแห่งมณีแก้ว หาได้ยากในโลก
๔. ความปรากฏแห่งนางแก้ว หาได้ยากในโลก
๕. ความปรากฏแห่งคหบดีแก้ว หาได้ยากในโลก
ความปรากฏแห่งแก้ว ๕ ประการนี้ หาได้ยากในโลก”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เจ้าลิจฉวีทั้งหลายเป็นผู้มุ่งกาม๑จริงหนอ สนทนากัน
แต่เรื่องกาม เจ้าลิจฉวีทั้งหลาย ความปรากฏแห่งแก้ว ๕ ประการ หาได้ยากในโลก
ความปรากฏแห่งแก้ว ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความปรากฏแห่งตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า หาได้ยากในโลก
๒. บุคคลผู้แสดงธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้ หาได้ยากในโลก
๓. บุคคลผู้รู้แจ้งธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้ซึ่งผู้อื่นแสดงแล้ว หาได้
ยากในโลก

เชิงอรรถ :
๑ กาม ในทีนี้หมายถึงวัตถุกามและกิเลสกาม (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๔๓/๕๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๓๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๕. ติกัณฑกีวรรค ๔. ติกัณฑกีสูตร
๔. บุคคลผู้รู้แจ้งธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้ซึ่งผู้อื่นแสดงแล้ว เป็นผู้
ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม๑หาได้ยากในโลก
๕. กตัญญูกตเวทีบุคคล๒หาได้ยากในโลก
เจ้าลิจฉวีทั้งหลาย ความปรากฏแห่งแก้ว ๕ ประการนี้แล หาได้ยากในโลก
สารันททสูตรที่ ๓ จบ

๔. ติกัณฑกีสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่ป่าติกัณฑกีวัน
[๑๔๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ป่าติกัณฑกีวัน เขตเมือง
สาเกต ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ภิกษุทั้งหลาย
๑. ภิกษุพึงมีสัญญาว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูล๓ตามกาลอันควร
๒. ภิกษุพึงมีสัญญาว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูล๔ตามกาลอันควร
๓. ภิกษุพึงมีสัญญาว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูล ตามกาลอันควร
๔. ภิกษุพึงมีสัญญาว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลและสิ่งไม่ปฏิกูล ตามกาล
อันควร

เชิงอรรถ :
๑ ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม หมายถึงปฏิบัติข้อปฏิบัติเบื้องต้นพร้อมทั้งศีล เพื่อบรรลุโลกุตตรธรรม ๙
ประการ คือ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๔๓/๕๖)
๒ กตัญญูกตเวทีบุคคล หมายถึงบุคคลที่รู้อุปการคุณที่ผู้อื่นกระทำแก่ตนแล้วกระทำปฏิการคุณตอบแทน
พร้อมทั้งประกาศเกียรติคุณให้ปรากฏ (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๑๕/๒๖๑)
๓ มีสัญญาว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูล หมายถึงมีความกำหนดหมายในอารมณ์ที่น่าปรารถนาว่าเป็นสิ่งไม่งาม
หรือพิจารณาเห็นว่าเป็นสิ่งไม่เที่ยง (ตามนัย องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๔๔/๕๖)
๔ มีสัญญาว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูล หมายถึงมีความกำหนดหมายในอารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนาว่าเป็นสิ่งที่
ควรแผ่เมตตา และพิจารณาเห็นว่าเป็นเพียงธาตุ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๔๔/๕๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๓๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๕. ติกัณฑกีวรรค ๔. ติกัณฑกีสูตร
๕. ภิกษุพึงเว้นสิ่งทั้งสองนั้น คือสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลแล้ว เป็นผู้มี
อุเบกขา๑ มีสติสัมปชัญญะอยู่ตามกาลอันควร
ภิกษุพึงมีสัญญาว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่ เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร
ภิกษุพึงมีสัญญาว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่ เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์นี้ว่า
“ความกำหนัดในธรรมที่เป็นเหตุให้กำหนัด อย่าเกิดขึ้นแก่เรา”
ภิกษุพึงมีสัญญาว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลอยู่ เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร
ภิกษุพึงมีสัญญาว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลอยู่ เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์นี้ว่า
“ความขัดเคืองในธรรมที่เป็นเหตุให้ขัดเคือง อย่าเกิดขึ้นแก่เรา”
ภิกษุพึงมีสัญญาว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลอยู่ เพราะอาศัยอำนาจ
ประโยชน์อะไร
ภิกษุพึงมีสัญญาว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลอยู่ เพราะอาศัยอำนาจ
ประโยชน์นี้ว่า “ความกำหนัดในธรรมที่เป็นเหตุให้กำหนัดอย่าเกิดขึ้นแก่เรา ความ
ขัดเคืองในธรรมที่เป็นเหตุให้ขัดเคือง อย่าเกิดขึ้นแก่เรา”
ภิกษุพึงมีสัญญาว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลและสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่ เพราะอาศัยอำนาจ
ประโยชน์อะไร
ภิกษุพึงมีสัญญาว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลและสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่ เพราะอาศัยอำนาจ
ประโยชน์นี้ว่า “ความขัดเคืองในธรรมที่เป็นเหตุให้ขัดเคือง อย่าเกิดขึ้นแก่เรา
ความกำหนัดในธรรมเป็นเหตุให้กำหนัด อย่าเกิดขึ้นแก่เรา”

เชิงอรรถ :
๑ เป็นผู้มีอุเบกขา ในที่นี้หมายถึงดำรงอยู่ในสภาวะที่เป็นกลาง กล่าวคือมีปกติภาวะที่บริสุทธิ์ไม่ดีใจไม่เสีย
ใจในอารมณ์ทั้ง ๖ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ทั้งที่เป็นอิฏฐารมณ์ (อารมณ์ที่
น่าปรารถนา) และที่เป็นอนิฏฐารมณ์ (อารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา) อุเบกขานี้เรียกว่า ฉฬังคุเบกขา เป็น
เหมือนอุเบกขาของพระขีณาสพ แต่มิใช่อุเบกขาของพระขีณาสพ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๔๔/๕๖, องฺ.ปญฺจก.ฏีกา
๓/๑๔๔-๖/๖๑, วิสุทธิ. ๑/๘๔/๑๗๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๕. ติกัณฑกีวรรค ๕. นิรยสูตร
ภิกษุพึงเว้นสิ่งทั้งสองนั้น คือ สิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลแล้ว เป็นผู้มีอุเบกขา
มีสติสัมปชัญญะอยู่ เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร
ภิกษุพึงเว้นสิ่งทั้งสองนั้น คือสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลแล้ว เป็นผู้มีอุเบกขา
มีสติสัมปชัญญะอยู่ เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์นี้ว่า “ความกำหนัดในธรรมที่เป็น
เหตุให้กำหนัดในอารมณ์ไหน ๆ ในส่วนไหน ๆ แม้มีประมาณน้อย อย่าเกิดขึ้นแก่เรา
ความขัดเคืองในธรรมที่เป็นเหตุให้ขัดเคือง ในอารมณ์ไหน ๆ ในส่วนไหน ๆ แม้มี
ประมาณน้อย อย่าเกิดขึ้นแก่เรา ความหลงในธรรมที่เป็นเหตุให้หลง ในอารมณ์ไหน ๆ
ในส่วนไหน ๆ แม้มีประมาณน้อย อย่าเกิดขึ้นแก่เรา”
ติกัณฑกีสูตรที่ ๔ จบ

๕. นิรยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้ตกนรก
[๑๔๕] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมดำรงอยู่ใน
นรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้ฆ่าสัตว์
๒. เป็นผู้ลักทรัพย์
๓. เป็นผู้ประพฤติผิดในกาม
๔. เป็นผู้พูดเท็จ
๕. เป็นผู้เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ในนรก
เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์
เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๔๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๕. ติกัณฑกีวรรค ๖. มิตตสูตร
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์
๒. เป็นผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์
๓. เป็นผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม
๔. เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ
๕. เป็นผู้เว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่ง
ความประมาท
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์
เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
นิรยสูตรที่ ๕ จบ

๖. มิตตสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้ควรคบเป็นมิตร
[๑๔๖] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ไม่ควรคบ
เป็นมิตร
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ใช้ให้ทำการงาน๑
๒. ก่ออธิกรณ์๒
๓. โกรธต่อภิกษุผู้เป็นประธาน

เชิงอรรถ :
๑ การงาน ในที่นี้หมายถึงการทำนาเป็นต้น (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๔๖/๕๗)
๒ อธิกรณ์ ในที่นี้หมายถึงเรื่องที่เกิดขึ้นแล้วจะต้องจัดต้องทำ เรื่องที่สงฆ์ต้องดำเนินการมี ๔ อย่าง คือ
(๑) วิวาทาธิกรณ์ การเถียงกันเกี่ยวกับธรรมวินัย (๒) อนุวาทาธิกรณ์ การโจทหรือการกล่าวหากัน
ด้วยอาบัติ (๓) อาปัตตาธิกรณ์ การต้องอาบัติ การปรับอาบัติ และการแก้ไขตัวให้พ้นจากอาบัติ
(๔) กิจจาธิกรณ์ กิจธุระต่าง ๆ ที่สงฆ์จะต้องทำ เช่น ให้อุปสมบท ให้ผ้ากฐิน (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๔๖/๕๗)
และดู วิ.จู. ๖/๒๑๙-๒๒๗/๒๕๐-๒๕๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๔๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๕. ติกัณฑกีวรรค ๗. อสัปปุริสทานสูตร
๔. เที่ยวจาริกไปในสถานที่ไม่สมควรตลอดกาลนาน
๕. ไม่สามารถชี้แจงให้ภิกษุเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ
เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วย
ธรรมีกถาตามกาลอันควร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ไม่ควรคบเป็นมิตร
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ควรคบเป็นมิตร
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่ใช้ให้ทำการงาน
๒. ไม่ก่ออธิกรณ์
๓. ไม่โกรธต่อภิกษุผู้เป็นประธาน
๔. ไม่เที่ยวจาริกไปในสถานที่ไม่สมควรตลอดกาลนาน
๕. สามารถชี้แจงให้ภิกษุเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ
เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วย
ธรรมีกถาตามกาลอันควร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ควรคบเป็นมิตร
มิตตสูตรที่ ๖ จบ

๗. อสัปปุริสทานสูตร
ว่าด้วยอสัปปุริสทาน
[๑๔๗] ภิกษุทั้งหลาย อสัปปุริสทาน (ทานของอสัตบุรุษ) ๕ ประการนี้
อสัปปุริสทาน ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ให้โดยไม่เคารพ๑
๒. ให้โดยความไม่อ่อนน้อม๒

เชิงอรรถ :
๑ ให้โดยไม่เคารพ หมายถึงให้ทานโดยมิได้ทำเครื่องไทยธรรมให้สะอาดเสียก่อน (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๔๗/๕๗)
๒ ให้โดยความไม่อ่อนน้อม หมายถึงให้ทานด้วยความไม่เคารพ ไม่ยำเกรง (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๔๗/๕๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๔๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๕. ติกัณฑกีวรรค ๘. สัปปุริสทานสูตร
๓. ไม่ให้ด้วยมือตนเอง
๔. ให้ของที่เป็นเดน
๕. ไม่เห็นผลที่จะพึงมาถึงก็ให้
ภิกษุทั้งหลาย อสัปปุริสทาน ๕ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย สัปปุริสทาน(ทานของสัตบุรุษ) ๕ ประการนี้
สัปปุริสทาน ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ให้โดยเคารพ๑
๒. ให้โดยความอ่อนน้อม
๓. ให้ด้วยมือตนเอง
๔. ให้ของที่ไม่เป็นเดน
๕. เห็นผลที่จะพึงมาถึงจึงให้๒
ภิกษุทั้งหลาย สัปปุริสทาน ๕ ประการนี้แล
อสัปปุริสทานสูตรที่ ๗ จบ

๘. สัปปุริสทานสูตร
ว่าด้วยสัปปุริสทาน
[๑๔๘] ภิกษุทั้งหลาย สัปปุริสทาน ๕ ประการนี้
สัปปุริสทาน ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ให้ทานด้วยศรัทธา
๒. ให้ทานโดยเคารพ

เชิงอรรถ :
๑ ให้โดยเคารพ หมายถึงให้โดยเคารพทั้งในไทยธรรมและในพระทักขิไณยบุคคล (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๔๗/๕๗)
๒ เห็นผลที่จะพึงมาถึงจึงให้ หมายถึงเชื่อกรรมและผลของกรรมแล้วให้ทานด้วยคิดว่า “ทานนี้จักเป็นปัจจัย
แห่งความมีในอนาคต” (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๔๗/๕๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๔๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๕. ติกัณฑกีวรรค ๘. สัปปุริสทานสูตร
๓. ให้ทานตามกาลอันควร
๔. เป็นผู้มีจิตอนุเคราะห์ให้ทาน
๕. ให้ทานไม่กระทบตนและผู้อื่น๑
ภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษครั้นให้ทานด้วยศรัทธาแล้ว ย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์
มาก มีโภคะมาก และเป็นผู้มีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส มีฉวีวรรณผุดผ่องยิ่งนักในที่
ที่ทานนั้นเผล็ดผล
ครั้นให้ทานโดยเคารพแล้ว ย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก และ
เป็นผู้ที่บุตร ภรรยา ทาส คนใช้ และกรรมกรตั้งใจฟังด้วยดี เงี่ยโสตสดับ ตั้งใจใฝ่รู้
ครั้นให้ทานตามกาลอันควรแล้ว ย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก
และเป็นผู้มีความปรารถนาที่เกิดขึ้นตามกาลบริบูรณ์ในที่ที่ทานนั้นเผล็ดผล
ครั้นเป็นผู้มีจิตอนุเคราะห์ให้ทานแล้ว ย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะ
มาก และเป็นผู้มีจิตน้อมไปเพื่อบริโภคกามคุณ ๕ สูงยิ่งขึ้นในที่ที่ทานนั้นเผล็ดผล
ครั้นให้ทานไม่กระทบตนและผู้อื่นแล้ว ย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะ
มาก และเป็นผู้มีโภคทรัพย์ ไม่มีภยันตรายมาแต่ที่ไหน ๆ คือ จากไฟ จากน้ำ
จากพระราชา จากโจร จากคนไม่เป็นที่รัก หรือจากทายาทในที่ที่ทานนั้นเผล็ดผล
ภิกษุทั้งหลาย สัปปุริสทาน ๕ ประการนี้แล
สัปปุริสทานสูตรที่ ๘ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ให้ทานไม่กระทบตนและผู้อื่น หมายถึงให้ทานโดยไม่ลบหลู่คุณของตนและผู้อื่น (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๔๘/
๕๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๕. ติกัณฑกีวรรค ๙. ปฐมสมยวิมุตตสูตร
๙. ปฐมสมยวิมุตตสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้เป็นสมยวิมุต๑ สูตรที่ ๑
[๑๔๙] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุ
ผู้เป็นสมยวิมุต
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความเป็นผู้ชอบการงาน๒
๒. ความเป็นผู้ชอบการพูดคุย
๓. ความเป็นผู้ชอบการนอนหลับ
๔. ความเป็นผู้ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่
๕. ไม่พิจารณาจิตตามที่หลุดพ้นแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้เป็น
สมยวิมุต
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุผู้เป็น
สมยวิมุต
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความเป็นผู้ไม่ชอบการงาน
๒. ความเป็นผู้ไม่ชอบการพูดคุย

เชิงอรรถ :
๑ ภิกษุผู้เป็นสมยวิมุต หมายถึงภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นด้วยสมยวิมุตติ (ความหลุดพ้นชั่วคราว) ซึ่งหมายถึง
สมาบัติ ๘ เป็นโลกิยวิมุตติ เพราะหลุดพ้นจากกิเลสทั้งหลายที่ข่มได้ในขณะที่จิตแน่วแน่เป็นครั้งคราวตรง
ข้ามกับภิกษุผู้เป็นอสมยวิมุตคือ ภิกษุขีณาสพผู้หลุดพ้นด้วยอสมยวิมุตติ (ความหลุดพ้นที่ไม่ขึ้นต่อสมัย
คือยั่งยืนเรื่อยไป) (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๔๙/๕๘) และดู ม.มู. ๑๒/๓๑๑/๒๗๘-๒๘๐, องฺ.เอกาทสก. (แปล)
๒๔/๑๓/๔๒๐
๒ การงาน ในที่นี้หมายถึงงานนวกรรม คือ การก่อสร้างต่าง ๆ เช่น การก่อสร้างวิหารเป็นต้น ความเป็นผู้
ยินดีแต่การก่อสร้างที่ถือว่าเป็นความเสื่อมเพราะทำให้ละเลยต่อการบำเพ็ญคันถธุระ และวิปัสสนาธุระ
(องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๔/๑๐๕, องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๑๔-๑๕/๑๑๘) และดู อภิ.ก. ๓๗/๒๖๗/๘๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๕. ติกัณฑกีวรรค ๑๐. ทุติยสมยวิมุตตสูตร
๓. ความเป็นผู้ไม่ชอบการนอนหลับ
๔. ความเป็นผู้ไม่ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่
๕. พิจารณาจิตตามที่หลุดพ้นแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้เป็น
สมยวิมุต
ปฐมสมยวิมุตตสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ทุติยสมยวิมุตตสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้เป็นสมยวิมุต สูตรที่ ๒
[๑๕๐] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุ
ผู้เป็นสมยวิมุต
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความเป็นผู้ชอบการงาน
๒. ความเป็นผู้ชอบการพูดคุย
๓. ความเป็นผู้ชอบการนอนหลับ
๔. ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย
๕. ความเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้เป็น
สมยวิมุต
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุผู้เป็น
สมยวิมุต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๔๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๕. ติกัณฑกีวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความเป็นผู้ไม่ชอบการงาน
๒. ความเป็นผู้ไม่ชอบการพูดคุย
๓. ความเป็นผู้ไม่ชอบการนอนหลับ
๔. ความเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย
๕. ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภค
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้เป็น
สมยวิมุต
ทุติยสมยวิมุตตสูตรที่ ๑๐ จบ
ติกัณฑกีวรรคที่ ๕ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อวชานาติสูตร ๒. อารภติสูตร
๓. สารันททสูตร ๔. ติกัณฑกีสูตร
๕. นิรยสูตร ๖. มิตตสูตร
๗. อสัปปุริสทานสูตร ๘. สัปปุริสทานสูตร
๙. ปฐมสมยวิมุตตสูตร ๑๐. ทุติยสมยวิมุตตสูตร

ตติยปัณณาสก์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๔๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๑. สัทธัมมวรรค ๑. ปฐมสัมมัตตนิยามสูตร
๔. จตุตถปัณณาสก์
๑. สัทธัมมวรรค
หมวดว่าด้วยพระสัทธรรม
๑. ปฐมสัมมัตตนิยามสูตร
ว่าด้วยสัมมัตตนิยาม๑ สูตรที่ ๑
[๑๕๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๕
ประการ แม้ฟังสัทธรรมอยู่ ก็ไม่อาจหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรมทั้งหลาย
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. วิพากษ์วิจารณ์คำพูด๒
๒. วิพากษ์วิจารณ์ผู้พูด๓
๓. วิพากษ์วิจารณ์ตน๔
๔. เป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่าน คือมีจิตไม่แน่วแน่ฟังธรรม
๕. มนสิการโดยไม่แยบคาย
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล แม้ฟังสัทธรรมอยู่
ก็ไม่อาจหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรมทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนบุคคลประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ฟังสัทธรรมอยู่
เป็นผู้อาจหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรมทั้งหลาย

เชิงอรรถ :
๑ สัมมัตตนิยาม ในที่นี้หมายถึงอริยมรรคมีองค์ ๘ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๕๑/๕๙, สํ.ข.อ. ๒/๓๐๒-๓๑๑/๓๗๘)
และดู สํ.ข. ๑๗/๓๐๒-๓๑๑/๑๘๗-๑๙๑ ประกอบ
๒ วิพากษ์วิจารณ์คำพูด หมายถึงพูดว่า “นั่นเรื่องอะไร” (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๕๑/๕๙)
๓ วิพากษ์วิจารณ์ผู้พูด หมายถึงพูดว่า “ผู้นั้นพูดเรื่องอะไร ผู้นี้จะรู้อะไร” (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๕๑/๕๙)
๔ วิพากษ์วิจารณ์ตน หมายถึงพูดว่า “เรารู้หรือว่า คำพูดนั้นของเรามีน้ำหนักที่น่าเชื่อถือได้แค่ไหนกัน”
(องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๕๑/๕๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๔๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๑. สัทธัมมวรรค ๒. ทุติยสัมมัตตนิยามสูตร
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่วิพากษ์วิจารณ์คำพูด
๒. ไม่วิพากษ์วิจารณ์ผู้พูด
๓. ไม่วิพากษ์วิจารณ์ตน
๔. เป็นผู้มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน คือมีจิตแน่วแน่ฟังธรรม
๕. มนสิการโดยแยบคาย
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ฟังสัทธรรมอยู่
เป็นผู้อาจหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรมทั้งหลาย
ปฐมสัมมัตตนิยามสูตรที่ ๑ จบ

๒. ทุติยสัมมัตตนิยามสูตร
ว่าด้วยสัมมัตตนิยาม สูตรที่ ๒
[๑๕๒] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ แม้ฟัง
สัทธรรมอยู่ ก็ไม่อาจหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรมทั้งหลาย
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. วิพากษ์วิจารณ์คำพูด
๒. วิพากษ์วิจารณ์ผู้พูด
๓. วิพากษ์วิจารณ์ตน
๔. มีปัญญาทราม โง่เขลา เป็นคนเซอะ๑
๕. ถือตัวว่ารู้ในสิ่งที่ตนยังไม่รู้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล แม้ฟังสัทธรรมอยู่
ก็ไม่อาจหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรมทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ฟังสัทธรรมอยู่ เป็นผู้
อาจหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรมทั้งหลาย

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๔ ข้อ ๑๑๒ (ปัจฉาสมณสูตร) หน้า ๑๙๐ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๑. สัทธัมมวรรค ๓. ตติยสัมมัตตนิยามสูตร
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่วิพากษ์วิจารณ์คำพูด
๒. ไม่วิพากษ์วิจารณ์ผู้พูด
๓. ไม่วิพากษ์วิจารณ์ตน
๔. มีปัญญา ไม่โง่เขลา ไม่เป็นคนเซอะ
๕. ไม่ถือตัวว่ารู้ในสิ่งที่ตนยังไม่รู้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ฟังสัทธรรมอยู่
เป็นผู้อาจหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรมทั้งหลาย
ทุติยสัมมัตตนิยามสูตรที่ ๒ จบ

๓. ตติยสัมมัตตนิยามสูตร
ว่าด้วยสัมมัตตนิยาม สูตรที่ ๓
[๑๕๓] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๕
ประการ แม้ฟังสัทธรรมอยู่ ก็ไม่อาจหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรมทั้งหลาย
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ลบหลู่คุณท่านฟังธรรม ถูกความลบหลู่คุณท่านกลุ้มรุมฟังธรรม
๒. มีจิตแข่งดี คอยจับผิดฟังธรรม
๓. มีจิตกระทบ มีจิตกระด้างในผู้แสดงธรรม
๔. มีปัญญาทราม โง่เขลา เป็นคนเซอะ
๕. ถือตัวว่ารู้ในสิ่งที่ตนยังไม่รู้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล แม้ฟังธรรมอยู่ก็ไม่
อาจหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรมทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนบุคคลประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ฟังสัทธรรมอยู่
เป็นผู้อาจหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรมทั้งหลาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๑. สัทธัมมวรรค ๔. ปฐมสัทธัมมสัมโมสสูตร
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่ลบหลู่คุณท่าน ไม่ถูกความลบหลู่คุณท่านกลุ้มรุมฟังธรรม
๒. ไม่มีจิตแข่งดี ไม่คอยจับผิดฟังธรรม
๓. ไม่มีจิตกระทบ ไม่มีจิตกระด้างในผู้ฟังธรรม
๔. มีปัญญา ไม่โง่เขลา ไม่เป็นคนเซอะ
๕. ไม่ถือตัวว่ารู้ในสิ่งที่ตนยังไม่รู้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ฟังธรรมอยู่ เป็นผู้
อาจหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรมทั้งหลาย
ตติยสัมมัตตนิยามสูตรที่ ๓ จบ

๔. ปฐมสัทธัมมสัมโมสสูตร
ว่าด้วยเหตุเสื่อมแห่งพระสัทธรรม สูตรที่ ๑
[๑๕๔] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญ
หายไปแห่งสัทธรรม
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. ไม่ฟังธรรมโดยเคารพ
๒. ไม่เรียนธรรมโดยเคารพ
๓. ไม่ทรงจำธรรมโดยเคารพ
๔. ไม่ใคร่ครวญอรรถแห่งธรรมที่ทรงจำไว้แล้วโดยเคารพ
๕. รู้อรรถรู้ธรรมแล้วไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมโดยเคารพ
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญหายไป
แห่งสัทธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ
ไม่หายไปแห่งสัทธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๕๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๑. สัทธัมมวรรค ๕. ทุติยสัมธัมมสัมโมสสูตร
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. ฟังธรรมโดยเคารพ
๒. เรียนธรรมโดยเคารพ
๓. ทรงจำธรรมโดยเคารพ
๔. ใคร่ครวญอรรถแห่งธรรมที่ทรงจำไว้แล้วโดยเคารพ
๕. รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมโดยเคารพ
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ
ไม่หายไปแห่งสัทธรรม
ปฐมสัทธัมมสัมโมสสูตรที่ ๔ จบ

๕. ทุติยสัทธัมมสัมโมสสูตร
ว่าด้วยเหตุเสื่อมแห่งพระสัทธรรม สูตรที่ ๒
[๑๕๕] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญ
หายไปแห่งสัทธรรม
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. ไม่เรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน
อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม และเวทัลละ นี้เป็นธรรมประการ
ที่ ๑ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อสูญหายไปแห่งสัทธรรม
๒. ไม่แสดงธรรมตามที่ตนได้สดับมา ตามที่ตนได้เรียนมาแก่ผู้อื่นโดย
พิสดาร นี้เป็นธรรมประการที่ ๒ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญ
หายไปแห่งสัทธรรม
๓. ไม่บอกธรรมตามที่ตนได้สดับมา ตามที่ตนได้เรียนมาแก่ผู้อื่นโดย
พิสดาร นี้เป็นธรรมประการที่ ๓ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญ
หายไปแห่งสัทธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๕๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๑. สัทธัมมวรรค ๕. ทุติยสัทธัมมสัมโมสสูตร
๔. ไม่ทำการสาธยายธรรมตามที่ตนได้สดับมา ตามที่ตนได้เรียนมาโดย
พิสดาร นี้เป็นธรรมประการที่ ๔ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญ
หายไปแห่งสัทธรรม
๕. ไม่ตรึกตาม ตรองตาม เพ่งตามด้วยใจซึ่งธรรมตามที่ตนได้สดับมา
ตามที่ตนได้เรียนมา นี้เป็นธรรมประการที่ ๕ ย่อมเป็นไปเพื่อความ
เสื่อมสูญหายไปแห่งสัทธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญหายไป
แห่งสัทธรรม
ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ ไม่หายไปแห่ง
สัทธรรม
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ
ชาตกะ อัพภูตธรรม และเวทัลละ นี้เป็นธรรมประการที่ ๑ ย่อม
เป็นไปเพื่อความดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ ไม่หายไปแห่งสัทธรรม
๒. แสดงธรรมตามที่ตนได้สดับมา ตามที่ตนได้เรียนมาแก่ผู้อื่นโดย
พิสดาร นี้เป็นธรรมประการที่ ๒ ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงมั่น
ไม่เสื่อมสูญ ไม่หายไปแห่งสัทธรรม
๓. บอกธรรมตามที่ตนได้สดับมา ตามที่ตนได้เรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร
นี้เป็นธรรมประการที่ ๓ ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ
ไม่หายไปแห่งสัทธรรม
๔. ทำการสาธยายธรรมตามที่ตนได้สดับมา ตามที่ตนได้เรียนมาโดย
พิสดาร นี้เป็นธรรมประการที่ ๔ ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงมั่น
ไม่เสื่อมสูญ ไม่หายไปแห่งสัทธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๕๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๑. สัทธัมมวรรค ๖. ตติยสัมธัมมสัมโมสสูตร
๕. ตรึกตาม ตรองตาม เพ่งตามด้วยใจซึ่งธรรมตามที่ตนได้สดับมา
ตามที่ตนได้เรียนมา นี้เป็นธรรมประการที่ ๕ ย่อมเป็นไปเพื่อความ
ดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ ไม่หายไปแห่งสัทธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงมั่น
ไม่เสื่อมสูญ ไม่หายไปแห่งสัทธรรม
ทุติยสัทธัมมสัมโมสสูตรที่ ๕ จบ

๖. ตติยสัทธัมมสัมโมสสูตร
ว่าด้วยเหตุเสื่อมแห่งพระสัทธรรม สูตรที่ ๓
[๑๕๖] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญ
หายไปแห่งสัทธรรม
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เล่าเรียนพระสูตรที่เล่าเรียนกันมาไม่ดี ด้วยบท
พยัญชนะที่สืบทอดกันมาไม่ดี๑ แม้อรรถ๒แห่งบทพยัญชนะที่สืบ
ทอดกันมาไม่ดีก็ชื่อว่าเป็นการสืบทอดขยายความไม่ดี นี้เป็นธรรม
ประการที่ ๑ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญหายไปแห่งสัทธรรม
๒. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ว่ายาก ประกอบด้วยธรรมเป็นเครื่องทำให้
เป็นผู้ว่ายาก ไม่อดทนรับฟังคำพร่ำสอนโดยเคารพ นี้เป็นธรรม
ประการที่ ๒ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญหายไปแห่งสัทธรรม

เชิงอรรถ :
๑ บทพยัญชนะที่สืบทอดกันมาไม่ดี หมายถึงบทบาลีที่สืบทอดกันมาผิดระเบียบ (องฺ.ทุก.อ. ๒/๒๐/๒๘)
และดู องฺ.ทุก. (แปล) ๒๐/๒๐/๗๒
๒ อรรถ ในที่นี้หมายถึงอรรถกถาที่สวดสืบทอดกันมาผิดระเบียบ (องฺ.ทุก.อ. ๒/๒๐/๒๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๕๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๑. สัทธัมมวรรค ๖. ตติยสัมธัมมสัมโมสสูตร
๓. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นพหูสูต เรียนจบคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย
ทรงมาติกา๑ ไม่ถ่ายทอดสูตรแก่ผู้อื่นโดยเคารพ เมื่อภิกษุเหล่านั้น
ล่วงลับไป สูตรก็ขาดรากฐาน ไม่มีที่พึ่งอาศัย นี้เป็นธรรมประการ
ที่ ๓ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญหายไปแห่งสัทธรรม
๔. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นเถระ ผู้มักมาก ย่อหย่อน๒ เป็นผู้นำใน
โอกกมนธรรม๓ ทอดธุระในปวิเวก๔ ไม่ปรารภความเพียรเพื่อถึง
ธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่
ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง หมู่คนรุ่นหลังพากันตามอย่างภิกษุเถระเหล่านั้น
แม้หมู่คนรุ่นหลังนั้นก็เป็นผู้มักมาก เป็นผู้ย่อหย่อน เป็นผู้นำใน
โอกกมนธรรมทอดธุระในปวิเวก ไม่ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรม
ที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่
ได้ทำให้แจ้ง นี้เป็นธรรมประการที่ ๔ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อม
สูญหายไปแห่ง สัทธรรม

เชิงอรรถ :
๑ เป็นพหูสูต หมายถึงได้สดับพระพุทธพจน์ หรือได้เล่าเรียนนวังคสัตถุศาสน์(คำสอนของพระศาสดามีองค์ ๙)
เรียนจบคัมภีร์ หมายถึงเรียนจบพระพุทธพจน์คือ พระไตรปิฎก ๕ นิกาย ได้แก่ ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย
สังยุตตนิกาย อังคุตตรนิกาย และขุททกนิกาย
ทรงธรรม หมายถึงทรงจำพระสุตตันตปิฎก
ทรงวินัย หมายถึงทรงจำพระวินัยปิฎก
ทรงมาติกา หมายถึงทรงจำพระปาติโมกข์ทั้งสอง คือ ภิกขุปาติโมกข์ และภิกขุณีปาติโมกข์ (องฺ.ติก.อ.
๒/๒๐/๙๗-๙๘)
๒ ย่อหย่อน ในที่นี้หมายถึงยึดถือปฏิบัติตามคำสั่งสอนโดยไม่เคร่งครัด (องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๕/๕๓)
๓ โอกกมนธรรม หมายถึงนิวรณ์ ๕ คือ (๑) กามฉันทะ (ความพอใจในกาม) (๒) พยาบาท (ความคิดร้าย)
(๓) ถีนมิทธะ (ความหดหู่และเซื่องซึม) (๔) อุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ) (๕) วิจิกิจฉา
(ความลังเลสงสัย) (องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๕/๕๓)
๔ ปวิเวก หมายถึงอุปธิวิเวก คือความสงัดจากอุปธิ (สภาวะอันเป็นที่ตั้งที่ทรงไว้ซึ่งทุกข์ ได้แก่ กาม กิเลส
เบญจขันธ์ และอภิสังขาร) อีกนัยหนึ่ง หมายถึงนิพพาน (องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๕/๕๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๑. สัทธัมมวรรค ๖. ตติยสัมธัมมสัมโมสสูตร
๕. สงฆ์แตกแยกกัน เมื่อสงฆ์แตกแยกกัน จึงมีการด่ากัน มีการ
บริภาษกัน มีการใส่ร้ายกัน มีการทอดทิ้งกัน หมู่คนที่ยังไม่เลื่อมใส
ในสงฆ์นั้น ก็ไม่เลื่อมใส และหมู่คนที่เลื่อมใสแล้วก็กลายเป็นอื่นไป นี้
เป็นธรรมประการที่ ๕ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญหายไปแห่ง
สัทธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญหายไป
แห่งสัทธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ
ไม่หายไปแห่งสัทธรรม
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุเล่าเรียนพระสูตรที่เล่าเรียนมาดี ด้วยบทพยัญชนะที่สืบทอด
กันมาดี แม้อรรถแห่งบทพยัญชนะที่สืบทอดกันมาดี ก็ชื่อว่า
เป็นการสืบทอดขยายความดี นี้เป็นธรรมประการที่ ๑ ย่อมเป็น
ไปเพื่อความดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ ไม่หายไปแห่งสัทธรรม
๒. ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย ประกอบด้วยธรรมเป็นเครื่องทำให้เป็นผู้ว่าง่าย
อดทนรับฟังคำพร่ำสอนโดยเคารพ นี้เป็นธรรมประการที่ ๒ ย่อม
เป็นไปเพื่อความดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ ไม่หายไปแห่งสัทธรรม
๓. ภิกษุเป็นพหูสูต เรียนจบคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา
ถ่ายทอดสูตรแก่ผู้อื่นโดยเคารพ เมื่อภิกษุเหล่านั้นล่วงลับไป สูตร
ไม่ขาดรากฐาน มีที่พึ่งอาศัย นี้เป็นธรรมประการที่ ๓ ย่อมเป็น
ไปเพื่อความดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ ไม่หายไปแห่งสัทธรรม
๔. ภิกษุเป็นเถระ ไม่มักมาก ไม่ย่อหย่อน หมดธุระในโอกกมนธรรม
เป็นผู้นำในปวิเวก ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อ
บรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง
หมู่คนรุ่นหลังพากันตามอย่างภิกษุเถระเหล่านั้น แม้หมู่คนรุ่นหลัง
นั้นก็ไม่มักมาก ไม่ย่อหย่อน หมดธุระในโอกกมนธรรม เป็นผู้นำ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๑. สัทธัมมวรรค ๗. ทุกกถาสูตร
ในปวิเวก ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่
ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง นี้เป็นธรรม
ประการที่ ๔ ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ ไม่หาย
ไปแห่งสัทธรรม
๕. สงฆ์พร้อมเพรียงกัน ชื่นชมกัน ไม่วิวาทกัน มีอุทเทสที่สวด
ร่วมกัน๑อยู่ผาสุก เมื่อสงฆ์พร้อมเพรียงกัน จึงไม่มีการด่ากัน
ไม่มีการบริภาษกัน ไม่มีการใส้ร้ายกัน ไม่มีการทอดทิ้งกัน
หมู่คนที่ยังไม่เลื่อมใสในสงฆ์นั้นก็เลื่อมใส และหมู่คนที่เลื่อมใสแล้ว
ก็เลื่อมใสยิ่งขึ้น นี้เป็นธรรมประการที่ ๕ ย่อมเป็นไปเพื่อความ
ดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ ไม่หายไปแห่งสัทธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงมั่น ไม่
เสื่อมสูญ ไม่หายไปแห่งสัทธรรม
ตติยสัทธัมมสัมโมสสูตรที่ ๖ จบ

๗. ทุกกถาสูตร
ว่าด้วยการพูดเป็นเรื่องไม่ดีและเรื่องดีสำหรับผู้อื่น
[๑๕๗] ภิกษุทั้งหลาย การพูด เป็นเรื่องไม่ดีสำหรับบุคคล ๕ จำพวก เมื่อ
เทียบบุคคลกับบุคคล
การพูด เป็นเรื่องไม่ดีสำหรับบุคคล ๕ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. การพูดเรื่องศรัทธา เป็นเรื่องไม่ดีสำหรับบุคคลผู้ไม่มีศรัทธา
๒. การพูดเรื่องศีล เป็นเรื่องไม่ดีสำหรับบุคคลผู้ทุศีล

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๕๔ (สมยสูตร) หน้า ๙๔ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๑. สัทธัมมวรรค ๗. ทุกกถาสูตร
๓. การพูดเรื่องพาหุสัจจะ๑ เป็นเรื่องไม่ดีสำหรับบุคคลผู้มีสุตะ๒น้อย
๔. การพูดเรื่องจาคะ เป็นเรื่องไม่ดีสำหรับบุคคลผู้ตระหนี่
๕. การพูดเรื่องปัญญา เป็นเรื่องไม่ดีสำหรับบุคคลผู้มีปัญญาทราม
การพูดเรื่องศรัทธา เป็นเรื่องไม่ดีสำหรับบุคคลผู้ไม่มีศรัทธา เพราะเหตุไร
เพราะบุคคลผู้ไม่มีศรัทธา เมื่อพูดเรื่องศรัทธา ก็ขัดใจ โกรธเคือง พยาบาท
ขึ้งเคียด แสดงอาการโกรธ ขัดเคือง และไม่พอใจ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุคคล
ผู้ไม่มีศรัทธานั้น ไม่พิจารณาเห็นสัทธาสัมปทา(ความถึงพร้อมด้วยศรัทธา)ในตน
และไม่ได้ปีติปราโมทย์ที่มีสัทธาสัมปทานั้นเป็นเหตุ ฉะนั้น การพูดเรื่องศรัทธา จึงเป็น
เรื่องไม่ดีสำหรับบุคคลผู้ไม่มีศรัทธา
การพูดเรื่องศีล เป็นเรื่องไม่ดีสำหรับบุคคลผู้ทุศีล เพราะเหตุไร
เพราะบุคคลผู้ทุศีล เมื่อพูดเรื่องศีล ก็ขัดใจ โกรธเคือง พยาบาท ขึ้งเคียด
แสดงอาการโกรธ ขัดเคือง และไม่พอใจ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะผู้ทุศีลนั้น ไม่เห็น
สีลสัมปทา(ความถึงพร้อมด้วยศีล)ในตน และไม่ได้ปีติปราโมทย์ที่มีสีลสัมปทานั้น
เป็นเหตุ ฉะนั้น การพูดเรื่องศีลจึงเป็นเรื่องไม่ดีสำหรับบุคคลผู้ทุศีล
การพูดเรื่องพาหุสัจจะ เป็นเรื่องไม่ดีสำหรับบุคคลผู้มีสุตะน้อย เพราะเหตุไร
เพราะบุคคลผู้มีสุตะน้อย เมื่อพูดเรื่องพาหุสัจจะ ก็ขัดใจ โกรธเคือง พยาบาท
ขึ้งเคียด แสดงอาการโกรธ ขัดเคือง และไม่พอใจ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุคคลผู้
มีสุตะน้อยนั้น ไม่พิจารณาเห็นสุตสัมปทา(ความถึงพร้อมด้วยสุตะ)ในตน และไม่ได้
ปีติปราโมทย์ที่มีสุตสัมปทานั้นเป็นเหตุ ฉะนั้น การพูดเรื่องพาหุสัจจะ จึงเป็นเรื่อง
ไม่ดีสำหรับบุคคลผู้มีสุตะน้อย

เชิงอรรถ :
๑ ดูความหมายของพหูสูตในเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๑๕๖ หน้า ๒๕๖ ในเล่มนี้
๒ สุตะ ในที่นี้หมายถึงนวังคสัตถุศาสน์ (คำสอนของพระศาสดามีองค์ ๙) คือ (๑) สุตตะ (พระสูตรทั้งหลาย
รวมทั้งพระวินัยปิฎกและนิทเทส) (๒) เคยยะ (ข้อความร้อยแก้วผสมร้อยกรอง ได้แก่พระสูตรที่มีคาถา
ทั้งหมด) (๓) เวยยากรณะ (ข้อความร้อยแก้ว) (๔) คาถา (ข้อความร้อยกรอง) (๕) อุทาน (พระคาถา
พุทธอุทาน) (๖) อิติวุตตกะ (พระสูตรที่ตรัสอ้างอิง) (๗) ชาตกะ (ชาดก ๕๕๐ เรื่อง) (๘) อัพภูตธรรม
(เรื่องอัศจรรย์) (๙) เวทัลละ (พระสูตรแบบถาม-ตอบ) (องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๖/๑๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๕๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๑. สัทธัมมวรรค ๗. ทุกกถาสูตร
การพูดเรื่องจาคะ เป็นเรื่องไม่ดีสำหรับบุคคลผู้ตระหนี่ เพราะเหตุไร
เพราะบุคคลผู้ตระหนี่ เมื่อพูดเรื่องจาคะ ก็ขัดใจ โกรธเคือง พยาบาท ขึ้งเคียด
แสดงอาการโกรธ ขัดเคือง และไม่พอใจ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุคคลผู้ตระหนี่นั้น
ไม่พิจารณาเห็นจาคสัมปทา(ความถึงพร้อมด้วยจาคะ)ในตน และไม่ได้ปีติปราโมทย์
ที่มีจาคสัมปทานั้นเป็นเหตุ ฉะนั้น การพูดเรื่องจาคะจึงเป็นเรื่องไม่ดีสำหรับบุคคลผู้
ตระหนี่
การพูดเรื่องปัญญา เป็นเรื่องไม่ดีสำหรับบุคคลผู้มีปัญญาทราม เพราะเหตุไร
เพราะบุคคลผู้มีปัญญาทราม เมื่อพูดเรื่องปัญญา ก็ขัดใจ โกรธเคือง พยาบาท
ขึ้งเคียด แสดงอาการโกรธ ขัดเคือง และไม่พอใจ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุคคลผู้
มีปัญญาทรามนั้นไม่พิจารณาเห็นปัญญาสัมปทา(ความถึงพร้อมด้วยปัญญา)ในตน
และไม่ได้ปีติปราโมทย์ที่มีปัญญาสัมปทานั้นเป็นเหตุ ฉะนั้น การพูดเรื่องปัญญา จึง
เป็นเรื่องไม่ดีสำหรับบุคคลผู้มีปัญญาทราม
ภิกษุทั้งหลาย การพูด เป็นเรื่องไม่ดีสำหรับบุคคล ๕ จำพวกนี้แล เมื่อเทียบ
บุคคลกับบุคคล
ภิกษุทั้งหลาย การพูด เป็นเรื่องดีสำหรับบุคคล ๕ จำพวก เมื่อเทียบบุคคล
กับบุคคล
การพูด เป็นเรื่องดีสำหรับบุคคล ๕ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. การพูดเรื่องศรัทธา เป็นเรื่องดีสำหรับบุคคลผู้มีศรัทธา
๒. การพูดเรื่องศีล เป็นเรื่องดีสำหรับบุคคลผู้มีศีล
๓. การพูดเรื่องพาหุสัจจะ เป็นเรื่องดีสำหรับบุคคลผู้เป็นพหูสูต
๔. การพูดเรื่องจาคะ เป็นเรื่องดีสำหรับบุคคลผู้มีจาคะ
๕. การพูดเรื่องปัญญา เป็นเรื่องดีสำหรับบุคคลผู้มีปัญญา
การพูดเรื่องศรัทธา เป็นเรื่องดีสำหรับบุคคลผู้มีศรัทธา เพราะเหตุไร
เพราะบุคคลผู้มีศรัทธา เมื่อพูดเรื่องศรัทธา ก็ไม่ขัดใจ ไม่โกรธเคือง ไม่พยาบาท
ไม่ขึ้งเคียด ไม่แสดงอาการโกรธ ขัดเคือง และไม่พอใจ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๑. สัทธัมมวรรค ๗. ทุกกถาสูตร
บุคคลผู้มีศรัทธานั้น พิจารณาเห็นสัทธาสัมปทาในตน และได้ปีติปราโมทย์ที่มีสัทธา-
สัมปทานั้นเป็นเหตุ ฉะนั้น การพูดเรื่องศรัทธา จึงเป็นเรื่องดีสำหรับบุคคลผู้มีศรัทธา
การพูดเรื่องศีล เป็นเรื่องดีสำหรับบุคคลผู้มีศีล เพราะเหตุไร
เพราะบุคคลผู้มีศีล เมื่อพูดเรื่องศีล ก็ไม่ขัดใจ ไม่โกรธเคือง ไม่พยาบาท
ไม่ขึ้งเคียด ไม่แสดงอาการโกรธ ขัดเคือง และไม่พอใจ ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะบุคคลผู้มีศีลนั้นพิจารณาเห็นสีลสัมปทาในตน และได้ปีติปราโมทย์ที่มี
สีลสัมปทานั้นเป็นเหตุ ฉะนั้น การพูดเรื่องศีล จึงเป็นเรื่องดีสำหรับบุคคลผู้มีศีล
การพูดเรื่องพาหุสัจจะ เป็นเรื่องดีสำหรับบุคคลผู้เป็นพหูสูต เพราะเหตุไร
เพราะบุคคลผู้เป็นพหูสูต เมื่อพูดเรื่องพาหุสัจจะ ก็ไม่ขัดใจ ไม่โกรธเคือง
ไม่พยาบาท ไม่ขึ้งเคียด ไม่แสดงอาการโกรธ ขัดเคือง และไม่พอใจ ข้อนั้นเพราะ
เหตุไร เพราะบุคคลผู้เป็นพหูสูตนั้น พิจารณาเห็นสุตสัมปทาในตน และได้ปีติ-
ปราโมทย์ที่มีสุตสัมปทานั้นเป็นเหตุ ฉะนั้น การพูดเรื่องพาหุสัจจะ จึงเป็นเรื่องดี
สำหรับบุคคลผู้เป็นพหูสูต
การพูดเรื่องจาคะ เป็นเรื่องดีสำหรับบุคคลผู้มีจาคะ เพราะเหตุไร
เพราะบุคคลผู้มีจาคะ เมื่อพูดเรื่องจาคะ ก็ไม่ขัดใจ ไม่โกรธเคือง ไม่พยาบาท
ไม่ขึ้งเคียด ไม่แสดงอาการโกรธ ขัดเคือง และไม่พอใจ ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะบุคคลผู้มีจาคะนั้นพิจารณาเห็นจาคสัมปทาในตน และได้ปีติปราโมทย์ที่มี
จาคสัมปทานั้นเป็นเหตุ ฉะนั้น การพูดเรื่องจาคะ จึงเป็นเรื่องดีสำหรับบุคคลผู้มีจาคะ
การพูดเรื่องปัญญา เป็นเรื่องดีสำหรับบุคคลผู้มีปัญญา เพราะเหตุไร
เพราะบุคคลผู้มีปัญญา เมื่อพูดเรื่องปัญญา ก็ไม่ขัดใจ ไม่โกรธเคือง ไม่พยาบาท
ไม่ขึ้งเคียด ไม่แสดงอาการโกรธ ขัดเคือง และไม่พอใจ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ
บุคคลผู้มีปัญญานั้นพิจารณาเห็นปัญญาสัมปทาในตน และได้ปีติปราโมทย์ที่มี
ปัญญาสัมปทานั้นเป็นเหตุ ฉะนั้น การพูดเรื่องปัญญา จึงเป็นเรื่องดีสำหรับบุคคลผู้มี
ปัญญา
ภิกษุทั้งหลาย การพูด เป็นเรื่องดีสำหรับบุคคล ๕ จำพวกนี้แล เมื่อเทียบ
บุคคลกับบุคคล
ทุกกถาสูตรที่ ๗ จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๖๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๑. สัทธัมมวรรค ๘. สารัชชสูตร
๘. สารัชชสูตร
ว่าด้วยความครั่นคร้ามและความแกล้วกล้า
[๑๕๘] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมถึงความ
ครั่นคร้าม
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้ไม่มีศรัทธา
๒. เป็นผู้ทุศีล
๓. เป็นผู้มีสุตะน้อย
๔. เป็นผู้เกียจคร้าน
๕. เป็นผู้มีปัญญาทราม
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมถึงความ
ครั่นคร้าม
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นผู้แกล้วกล้า
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มีศรัทธา
๒. เป็นผู้มีศีล
๓. เป็นพหูสูต
๔. เป็นผู้ปรารภความเพียร
๕. เป็นผู้มีปัญญา
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้แกล้วกล้า
สารัชชสูตรที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๑. สัทธัมมวรรค ๙. อุทายีสูตร
๙. อุทายีสูตร
ว่าด้วยพระอุทายี
[๑๕๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี
สมัยนั้นแล ท่านพระอุทายีมีคฤหัสถ์บริษัทหมู่ใหญ่แวดล้อมนั่งแสดงธรรมอยู่ ท่าน
พระอานนท์ได้เห็นท่านพระอุทายีมีคฤหัสถ์บริษัทหมู่ใหญ่แวดล้อมนั่งแสดงธรรมอยู่
จึงได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร๑
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระอุทายีมีคฤหัสถ์
บริษัทหมู่ใหญ่แวดล้อมนั่งแสดงธรรมอยู่”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อานนท์ การแสดงธรรมแก่ผู้อื่นมิใช่ทำได้ง่าย ภิกษุ
เมื่อจะแสดงธรรมแก่ผู้อื่น พึงตั้งธรรม ๕ ประการไว้ในตนแล้วจึงแสดงธรรมแก่ผู้อื่น
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุพึงตั้งใจว่า
๑. เราจักแสดงธรรมไปตามลำดับ๒
๒. เราจักแสดงอ้างเหตุ
๓. เราจักแสดงธรรมอาศัยความเอ็นดู๓
๔. เราจักเป็นผู้ไม่เพ่งอามิส๔แสดงธรรม
๕. เราจักไม่แสดงธรรมกระทบตนและผู้อื่น๕
อานนท์ การแสดงธรรมแก่ผู้อื่นไม่ใช่ทำได้ง่าย ภิกษุเมื่อจะแสดงธรรมแก่
คนอื่น พึงตั้งธรรม ๕ ประการนี้ไว้ในตนแล้วจึงแสดงธรรมแก่ผู้อื่น
อุทายีสูตรที่ ๙ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๓๑ (สุมนสูตร) หน้า ๔๕ ในเล่มนี้
๒ แสดงธรรมไปตามลำดับ หมายถึงแสดงธรรมให้มีลำดับ ไม่ตัดลัดให้ขาดความ เช่น แสดงเรื่องทานเป็น
ลำดับที่ ๑ แสดงเรื่องศีลเป็นลำดับที่ ๒ แสดงเรื่องสวรรค์เป็นลำดับที่ ๓
อีกนัยหนึ่ง หมายถึงแสดงธรรมให้ครอบคลุมเนื้อหาสาระตามที่ตั้งสุตตบท หรือคาถาบทไว้ (องฺ.ปญฺจก.อ.
๓/๑๕๙/๖๐)
๓ อาศัยความเอ็นดู หมายถึงการอนุเคราะห์ด้วยคิดว่า “จักเปลื้องเหล่าสัตว์ผู้มีความคับแค้นมากให้พ้น
จากความคับแค้น” (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๕๙/๖๐)
๔ ไม่เพ่งอามิส หมายถึงไม่มุ่งหวังลาภคือปัจจัย ๔ เพื่อตน (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๕๙/๖๐)
๕ ไม่แสดงธรรมกระทบตนและผู้อื่น หมายถึงไม่แสดงธรรมยกตนข่มท่าน (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๕๙/๖๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๑. สัทธัมมวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
๑๐. ทุปปฏิวิโนทยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่บรรเทาได้ยาก
[๑๖๐] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ที่เกิดขึ้นแล้ว บรรเทาได้ยาก
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ราคะที่เกิดขึ้นแล้ว บรรเทาได้ยาก
๒. โทสะที่เกิดขึ้นแล้ว บรรเทาได้ยาก
๓. โมหะที่เกิดขึ้นแล้ว บรรเทาได้ยาก
๔. ปฏิภาณ๑ที่เกิดขึ้นแล้ว บรรเทาได้ยาก
๕. จิตคิดจะไปที่เกิดขึ้นแล้ว บรรเทาได้ยาก
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล ที่เกิดขึ้นแล้ว บรรเทาได้ยาก
ทุปปฏิวิโนทยสูตรที่ ๑๐ จบ
สัทธัมมวรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมสัมมัตตนิยามสูตร ๒. ทุติยสัมมัตตนิยามสูตร
๓. ตติยสัมมัตตนิยามสูตร ๔. ปฐมสัทธัมมสัมโมสสูตร
๕. ทุติยสัทธัมมสัมโมสสูตร ๖. ตติยสัทธัมมสัมโมสสูตร
๗. ทุกกถาสูตร ๘. สารัชชสูตร
๙. อุทายีสูตร ๑๐. ทุปปฏิวิโนทยสูตร


เชิงอรรถ :
๑ ปฏิภาณ ในที่นี้หมายถึงความมุ่งหวังที่จะพูด (กเถตุกามตา) (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๖๐/๖๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. อาฆาตวรรค ๑. ปฐมอาฆาตปฏิวินยสูตร
๒. อาฆาตวรรค
หมวดว่าด้วยอาฆาต๑
๑. ปฐมอาฆาตปฏิวินยสูตร
ว่าด้วยอุบายกำจัดอาฆาต สูตรที่ ๑
[๑๖๑] ภิกษุทั้งหลาย อุบายกำจัดอาฆาต ๕ ประการนี้ เป็นเครื่องกำจัด
อาฆาตที่เกิดขึ้นแก่ภิกษุได้อย่างสิ้นเชิง
อุบายกำจัดอาฆาต ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุพึงเจริญเมตตาในบุคคลผู้ที่ตนเกิดอาฆาต๒ ภิกษุพึงกำจัดอาฆาต
ในบุคคลนั้นอย่างนี้
๒. ภิกษุพึงเจริญกรุณาในบุคคลผู้ที่ตนเกิดอาฆาต ภิกษุพึงกำจัดอาฆาต
ในบุคคลนั้นอย่างนี้
๓. ภิกษุพึงเจริญอุเบกขาในบุคคลผู้ที่ตนเกิดอาฆาต ภิกษุพึงกำจัดอาฆาต
ในบุคคลนั้นอย่างนี้
๔. ภิกษุไม่พึงระลึกถึง ไม่พึงมนสิการถึงบุคคลผู้ที่ตนเกิดอาฆาต ภิกษุ
พึงกำจัดอาฆาตในบุคคลนั้นอย่างนี้
๕. ภิกษุพึงนึกถึงความเป็นผู้มีกรรมเป็นของตนให้มั่นในบุคคลผู้ที่ตน
เกิดอาฆาตนั้น ดังนี้ว่า ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้มีกรรมเป็นของตน เป็นผู้รับ
ผลของกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรม

เชิงอรรถ :
๑ อาฆาต หมายถึงความโกรธเคือง (องฺ.นวก.อ. ๓/๒๙/๓๐๗)
๒ เมตตาและกรุณา ต้องเจริญด้วยฌานที่ ๓ และฌานที่ ๔ ส่วนอุเบกขา ต้องเจริญด้วยฌานที่ ๔ และฌานที่ ๕
(องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๖๑/๖๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. อาฆาตวรรค ๒. ทุติยอาฆาตปฏิวินยสูตร
เป็นที่พึ่งอาศัย ทำกรรมใดไว้ จะเป็นกรรมดีหรือกรรมชั่วก็ตาม
ย่อมเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น’ ภิกษุพึงกำจัดอาฆาตในบุคคลนั้น
อย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย อุบายกำจัดอาฆาต ๕ ประการนี้แล เป็นเครื่องกำจัดอาฆาต
ที่เกิดขึ้นแก่ภิกษุได้อย่างสิ้นเชิง
ปฐมอาฆาตปฏิวินยสูตรที่ ๑ จบ

๒. ทุติยอาฆาตปฏิวินยสูตร
ว่าด้วยอุบายกำจัดอาฆาต สูตรที่ ๒
[๑๖๒] ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ผู้มี
อายุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำของท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตรจึงได้
กล่าวเรื่องนี้ว่า
ผู้มีอายุทั้งหลาย อุบายกำจัดอาฆาต ๕ ประการนี้ เป็นเครื่องกำจัดอาฆาตที่
เกิดขึ้นแก่ภิกษุได้อย่างสิ้นเชิง
อุบายกำจัดอาฆาต ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุพึงกำจัดอาฆาตในบุคคลผู้มีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์
แต่มีความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์
๒. ภิกษุพึงกำจัดอาฆาตในบุคคลผู้มีความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์
แต่มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์
๓. ภิกษุพึงกำจัดอาฆาตในบุคคลผู้มีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์
มีความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์ แต่ได้ช่องแห่งใจ๑ได้ความ
เลื่อมใสทางใจตามกาลอันควร


เชิงอรรถ :
๑ ได้ช่องแห่งใจ หมายถึงได้โอกาสให้วิปัสสนาจิตเกิดขึ้น (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๖๒/๖๑)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. อาฆาตวรรค ๒. ทุติยอาฆาตปฏิวินยสูตร
๔. ภิกษุพึงกำจัดอาฆาตในบุคคลผู้มีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์
มีความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์ และไม่ได้ช่องแห่งใจ ไม่ได้
ความเลื่อมใสทางใจตามกาลอันควร
๕. ภิกษุพึงกำจัดอาฆาตในบุคคลผู้มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ มี
ความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ และได้ช่องแห่งใจ ได้ความเลื่อมใส
ทางใจตามกาลอันควร
บรรดาบุคคล ๕ จำพวกนั้น
ภิกษุพึงกำจัดอาฆาตในบุคคลผู้มีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์ แต่มี
ความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ อย่างไร
คือ บุคคลใดมีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์ แต่มีความประพฤติทาง
วาจาบริสุทธิ์ ความประพฤติทางกายที่ไม่บริสุทธิ์ของเขาส่วนใด ภิกษุไม่พึงใส่ใจ
ส่วนนั้นในเวลานั้น ส่วนความประพฤติทางวาจาที่บริสุทธิ์ของเขาส่วนใด ภิกษุก็พึง
ใส่ใจแต่ส่วนนั้นในเวลานั้น เปรียบเหมือนภิกษุผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร พบผ้าเก่า
ที่ถนน เหยียบให้มั่นด้วยเท้าซ้าย เขี่ยออกดูด้วยเท้าขวา ส่วนใดยังใช้ได้ก็เลือกถือ
เอาส่วนนั้นแล้วจากไป
ภิกษุพึงกำจัดอาฆาตในบุคคลนั้นอย่างนี้
ภิกษุพึงกำจัดอาฆาตในบุคคลผู้มีความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์ แต่มี
ความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ อย่างไร
คือ บุคคลใดมีความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์ แต่มีความประพฤติทางกาย
บริสุทธิ์ ความประพฤติทางวาจาที่ไม่บริสุทธิ์ของเขาส่วนใด ภิกษุไม่พึงใส่ใจส่วนนั้น
ในเวลานั้น ส่วนความประพฤติทางกายที่บริสุทธิ์ของเขาส่วนใด ภิกษุก็พึงใส่ใจแต่
ส่วนนั้นในเวลานั้น เปรียบเหมือนสระน้ำที่ถูกสาหร่ายและแหนคลุมไว้ คนเดินทาง
มาถูกความร้อนกระทบ ร้อนอบอ้าว เหนื่อยอ่อน กระหายน้ำ เขาจึงลงสระน้ำนั้น
แหวกสาหร่ายและแหนด้วยมือทั้งสองแล้วกอบน้ำขึ้นดื่มแล้วจึงจากไป
ภิกษุพึงกำจัดอาฆาตในบุคคลนั้นอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. อาฆาตวรรค ๒. ทุติยอาฆาตปฏิวินยสูตร
ภิกษุพึงกำจัดอาฆาตในบุคคลผู้มีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์ มีความ
ประพฤติทางวาจาก็ไม่บริสุทธิ์ แต่ได้ช่องแห่งใจ ได้ความเลื่อมใสทางใจตาม
กาลอันควร อย่างไร
คือ บุคคลใดมีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์ มีความประพฤติทางวาจาไม่
บริสุทธิ์ แต่ได้ช่องแห่งใจ ได้ความเลื่อมใสทางใจตามกาลอันควร ความประพฤติ
ทางกายที่ไม่บริสุทธิ์ของเขาส่วนใด ภิกษุไม่พึงใส่ใจส่วนนั้นในเวลานั้น แม้ความ
ประพฤติทางวาจาที่ไม่บริสุทธิ์ของเขาส่วนใด ภิกษุก็ไม่พึงใส่ใจส่วนนั้นในเวลานั้น
แต่การได้ช่องแห่งใจ ได้ความเลื่อมใสทางใจตามกาลอันควรของเขาส่วนใด ภิกษุพึง
ใส่ใจแต่ส่วนนั้นในเวลานั้น เปรียบเหมือนน้ำเล็กน้อยในรอยเท้าโค คนเดินทางมา
ถูกความร้อนกระทบ ร้อนอบอ้าว เหนื่อยอ่อน กระหายน้ำ เขาเกิดความคิด
อย่างนี้ว่า “น้ำเล็กน้อยมีอยู่ในรอยเท้าโคนี้ ถ้าเราจักกอบขึ้นดื่ม หรือใช้ภาชนะ
ตักดื่ม ก็จักทำน้ำนั้นให้ไหวบ้าง ให้ขุ่นบ้าง ให้ไม่ควรดื่มบ้าง ทางที่ดี เราควรจะ
คุกเข่าก้มลงดื่มอย่างโคแล้วจึงค่อยไปเถิด” เขาจึงคุกเข่าก้มลงดื่มอย่างโคแล้วจึงจากไป
ภิกษุพึงกำจัดอาฆาตในบุคคลนั้นอย่างนี้
ภิกษุพึงกำจัดอาฆาตในบุคคลผู้มีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์ มีความ
ประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์ และไม่ได้ช่องแห่งใจ ไม่ได้ความเลื่อมใสทางใจ
ตามกาลอันควร อย่างไร
คือ บุคคลใดมีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์ มีความประพฤติทางวาจา
ไม่บริสุทธิ์ และไม่ได้ช่องแห่งใจ ไม่ได้ความเลื่อมใสทางใจตามกาลอันควร ภิกษุพึง
เข้าไปตั้งความกรุณา ความเอ็นดู ความอนุเคราะห์ในบุคคลแม้เช่นนี้ว่า “โอ ท่านผู้นี้
พึงละกายทุจริตแล้วเจริญกายสุจริต พึงละวจีทุจริตแล้วเจริญวจีสุจริต พึงละ
มโนทุจริตแล้วเจริญมโนสุจริต” ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะท่านผู้นี้หลังจากตายแล้ว
อย่าไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก” เปรียบเหมือนคนเจ็บป่วย มีทุกข์ เป็นไข้หนัก
เดินทางไกล แม้ข้างหน้าเขาก็มีบ้านอยู่ห่างไกล แม้ข้างหลังเขาก็มีบ้านอยู่ห่างไกล
เขาไม่ได้อาหารที่เป็นสัปปายะ ยาที่ตรงกับโรค คนพยาบาลที่เหมาะสม และผู้ที่จะ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. อาฆาตวรรค ๒. ทุติยอาฆาตปฏิวินยสูตร
นำทางไปสู่บ้าน คนบางคนที่เดินทางไกลพึงเห็นเขา จึงเข้าไปตั้งความกรุณา ความ
เอ็นดู ความอนุเคราะห์ในเขาว่า “โอ ท่านผู้นี้ควรจะได้อาหารที่เป็นสัปปายะ ยาที่ตรง
กับโรค คนพยาบาลที่เหมาะสม และผู้นำทางไปสู่บ้าน ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่า
ท่านผู้นี้อย่าถึงความพินาศเสียหาย ณ ที่นี้เลย”
ภิกษุพึงกำจัดอาฆาตในบุคคลนั้นอย่างนี้
ภิกษุพึงกำจัดอาฆาตในบุคคลผู้มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ มีความ
ประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ และได้ช่องแห่งใจ ได้ความเลื่อมใสทางใจตามกาล
อันควร อย่างไร
คือ บุคคลใดมีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ มีความประพฤติทางวาจา
บริสุทธิ์ ได้ช่องแห่งใจและได้ความเลื่อมใสทางใจตามกาลอันควร แม้ความประพฤติ
ทางกายที่บริสุทธิ์ของเขาส่วนใด ภิกษุพึงใสใจส่วนนั้นในเวลานั้น แม้ความ
ประพฤติทางวาจาที่บริสุทธิ์ของเขาส่วนใด ภิกษุก็พึงใส่ใจส่วนนั้นในเวลานั้น แม้การ
ได้ช่องแห่งใจ ได้ความเลื่อมใสทางใจตามกาลอันควรของเขาส่วนใด ภิกษุก็พึงใส่ใจ
ส่วนนั้นในเวลานั้น เปรียบเหมือนสระน้ำที่ใส จืดสนิท เย็น สะอาด มีท่าเทียบ
น่ารื่นรมย์ ดาดาษไปด้วยต้นไม้นานาพันธุ์ คนเดินทางมา ถูกความร้อนกระทบ
ร้อนอบอ้าว เหนื่อยอ่อน กระหายน้ำ เขาพึงลงสระน้ำนั้น อาบบ้าง ดื่มบ้าง
แล้วขึ้นมา นั่งบ้าง นอนบ้าง ที่ร่มไม้ใกล้สระน้ำนั้น
ภิกษุพึงกำจัดอาฆาตในบุคคลนั้นอย่างนี้
ผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะอาศัยบุคคลที่น่าเลื่อมใส จิตจึงเลื่อมใส
อุบายกำจัดอาฆาต ๕ ประการนี้แล เป็นเครื่องกำจัดอาฆาตที่เกิดขึ้นแก่ภิกษุ
ได้อย่างสิ้นเชิง
ทุติยอาฆาตปฏิวินยสูตรที่ ๒ จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. อาฆาตวรรค ๓. สากัจฉสูตร
๓. สากัจฉสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้ควรสนทนาด้วย
[๑๖๓] ณ ที่นั้น ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ฯลฯ๑ จึงได้
กล่าวเรื่องนี้ว่า
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เป็นผู้ควรสนทนากับ
เพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลและตอบปัญหาที่มาในเรื่องสีลสัมปทาได้
๒. ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิและตอบปัญหาที่มาในเรื่องสมาธิ-
สัมปทาได้
๓. ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาและตอบปัญหาที่มาในเรื่องปัญญา-
สัมปทาได้
๔. ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติและตอบปัญหาที่มาในเรื่องวิมุตติ-
สัมปทาได้
๕. ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะและตอบปัญหาที่มา
ในเรื่องวิมุตติญาณทัสสนสัมปทาได้
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นผู้ควรสนทนา
กับเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
สากัจฉสูตรที่ ๓ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ฯลฯ ที่ปรากฏในข้อ ๑๖๓-๑๖๖ ดูความเต็มในข้อ ๑๖๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. อาฆาตวรรค ๔. อาชีวสูตร
๔. อาชีวสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้ควรแก่สาชีพ๑
[๑๖๔] ณ ที่นั้น ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ฯลฯ จึงได้
กล่าวเรื่องนี้ว่า
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เป็นผู้ควรแก่สาชีพของ
เพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล และตอบปัญหาที่มาในเรื่องสีลสัมปทาได้
๒. ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ และตอบปัญหาที่มาในเรื่องสมาธิ-
สัมปทาได้
๓. ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา และตอบปัญหาที่มาในเรื่องปัญญา-
สัมปทาได้
๔. ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ และตอบปัญหาที่มาในเรื่องวิมุตติ-
สัมปทาได้
๕. ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ และตอบปัญหาที่มา
ในเรื่องวิมุตติญาณทัสสนสัมปทาได้
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นผู้ควรแก่สาชีพ
ของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
อาชีวสูตรที่ ๔ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๖๖ (สาชีวสูตร) หน้า ๑๑๔ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. อาฆาตวรรค ๕. ปัญหาปุจฉาสูตร
๕. ปัญหาปุจฉาสูตร
ว่าด้วยการถามปัญหา
[๑๖๕] ณ ที่นั้น ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ฯลฯ จึงได้
กล่าวเรื่องนี้ว่า
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุบางรูปย่อมถามปัญหากับภิกษุอื่นด้วยเหตุ ๕ ประการ
ทั้งหมด หรือเหตุใดเหตุหนึ่ง
เหตุ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุบางรูปถามปัญหากับภิกษุอื่น เพราะโง่เขลา เพราะหลงงมงาย
๒. ภิกษุบางรูปมีความปรารถนาชั่ว ถูกความปรารถนาครอบงำ จึงถาม
ปัญหากับภิกษุอื่น
๓. ภิกษุบางรูปดูหมิ่น จึงถามปัญหากับภิกษุอื่น
๔. ภิกษุบางรูปประสงค์จะรู้จึงถามปัญหากับภิกษุอื่น
๕. ภิกษุบางรูปคิดอย่างนี้ว่า ‘ภิกษุอื่นถ้าถูกเราถามปัญหาก็จักตอบให้
ชัดเจน นั่นเป็นการดี แต่ถ้าตอบไม่ชัดเจน เราเองจักตอบให้ชัดเจน
แก่เธอ’ จึงถามปัญหากับภิกษุอื่น
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุบางรูปย่อมถามปัญหากับภิกษุอื่นด้วยเหตุ ๕ ประการ
ทั้งหมด หรือเหตุใดเหตุหนึ่ง
ส่วนข้าพเจ้าคิดอย่างนี้ว่า ‘ถ้าภิกษุอื่นถูกเราถามปัญหาก็จักตอบให้ชัดเจน
นั่นเป็นการดี แต่ถ้าตอบไม่ชัดเจน เราเองจักตอบให้ชัดเจนแก่ภิกษุนั้น’ จึงถาม
ปัญหากับภิกษุอื่น
ปัญหาปุจฉาสูตรที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. อาฆาตวรรค ๖. นิโรธสูตร
๖. นิโรธสูตร
ว่าด้วยนิโรธ
[๑๖๖] ณ ที่นั้น ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ผู้มีอายุ
ทั้งหลาย ฯลฯ จึงได้กล่าวเรื่องนี้ว่า
“ผู้มีอายุทั้งหลาย เป็นไปได้ที่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ถึงพร้อม
ด้วยสมาธิ ถึงพร้อมด้วยปัญญา เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง ออกจากสัญญา-
เวทยิตนิโรธบ้าง หากเธอไม่บรรลุอรหัตตผลในปัจจุบัน ก็เป็นไปได้ที่เธอจะล่วงความ
เป็นผู้อยู่ร่วมกับเหล่าเทวดาผู้มีคำข้าวเป็นภักษา๑ แล้วเข้าถึงกายมโนมัย๒ชั้นใดชั้นหนึ่ง
เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ๓บ้าง ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง”
เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระอุทายีจึงกล่าวกับท่านพระ
สารีบุตรดังนี้ว่า “ท่านสารีบุตร เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุจะล่วงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับ
เหล่าเทวดาผู้มีคำข้าวเป็นภักษา แล้วเข้าถึงกายมโนมัยชั้นใดชั้นหนึ่ง เข้าสัญญา
เวทยิตนิโรธบ้าง ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง เป็นไปไม่ได้แน่นอน”
แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า “ผู้มีอายุ
ทั้งหลาย เป็นไปได้ที่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยสมาธิ
ถึงพร้อมด้วยปัญญา เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง
หากเธอไม่บรรลุอรหัตตผลในปัจจุบัน ก็เป็นไปได้ที่เธอจะล่วงความเป็นผู้อยู่ร่วม
กับเหล่าเทวดาผู้มีคำข้าวเป็นภักษา แล้วเข้าถึงกายมโนมัยชั้นใดชั้นหนึ่ง เข้าสัญญา-
เวทยิตนิโรธบ้าง ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง”

เชิงอรรถ :
๑ เหล่าเทวดาผู้มีคำข้าวเป็นภักษา ในที่นี้หมายถึงเทวดาชั้นกามาวจร (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๖๖/๖๔)
๒ ดู เชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๔๔ (มนาปทายีสูตร) หน้า ๗๒ ในเล่มนี้
๓ สัญญาเวทยิตนิโรธ หมายถึงการดับสัญญาและเวทนา เรียกสั้น ๆ ว่า นิโรธสมาบัติ เป็นสมาบัติข้อที่ ๙
ในอนุปุพพวิหาร ๙ ดู ที.ปา. ๑๑/๓๔๓/๒๓๔, องฺ.นวก. ๒๓/๓๒/๓๓๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. อาฆาตวรรค ๖. นิโรธสูตร
แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระอุทายีก็ได้กล่าวกับท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า “ท่าน
สารีบุตร เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุจะล่วงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเหล่าเทวดาผู้มีคำข้าว
เป็นภักษาแล้วเข้าถึงกายมโนมัยชั้นใดชั้นหนึ่ง เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง ออกจาก
สัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง เป็นไปไม่ได้แน่นอน”
ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรได้มีความคิดว่า “ท่านอุทายีคัดค้านเราถึง ๓ ครั้ง
และภิกษุบางรูปก็ไม่อนุโมทนาเรา ทางที่ดี เราควรจะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ” ครั้นแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง
ณ ที่สมควร เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย เป็นไปได้ที่ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยสมาธิ ถึงพร้อมด้วยปัญญา เข้า
สัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง หากเธอไม่บรรลุอรหัตตผล
ในปัจจุบัน ก็เป็นไปได้ที่เธอจะล่วงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเหล่าเทวดาผู้มีคำข้าวเป็น
ภักษา แล้วเข้าถึงกายมโนมัยชั้นใดชั้นหนึ่ง เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง ออกจาก
สัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง”
เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระอุทายีได้กล่าวกับท่านพระ
สารีบุตรดังนี้ว่า “ท่านสารีบุตร เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุจะล่วงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับ
เหล่าเทวดาผู้มีคำข้าวเป็นภักษา แล้วเข้าถึงกายมโนมัยชั้นใดชั้นหนึ่ง เข้าสัญญา-
เวทยิตนิโรธบ้าง ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง เป็นไปไม่ได้แน่นอน”
แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า “ผู้มีอายุ
ทั้งหลาย เป็นไปได้ที่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยสมาธิ
ถึงพร้อมด้วยปัญญา เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง
หากเธอไม่บรรลุอรหัตตผลในปัจจุบัน ก็เป็นไปได้ที่เธอจะล่วงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับ
เหล่าเทวดาผู้มีคำข้าวเป็นภักษา แล้วเข้าถึงกายมโนมัยชั้นใดชั้นหนึ่ง เข้าสัญญา-
เวทยิตนิโรธบ้าง ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๗๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. อาฆาตวรรค ๖. นิโรธสูตร
แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระอุทายีได้กล่าวกับท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า “ท่านสารีบุตร
เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุจะล่วงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเหล่าเทวดาผู้มีคำข้าวเป็นภักษา
แล้วเข้าถึงกายมโนมัยชั้นใดชั้นหนึ่ง เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง ออกจากสัญญา-
เวทยิตนิโรธบ้าง เป็นไปไม่ได้แน่นอน”
ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรได้มีความคิดว่า “ท่านอุทายี คัดค้านเราถึง
๓ ครั้งต่อพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาค และภิกษุบางรูปก็ไม่อนุโมทนาเรา ทางที่ดี
เราพึงนิ่งเสีย” จึงได้นิ่งอยู่
จากนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านอุทายีว่า “อุทายี เธอหมายถึงกาย-
มโนมัยอย่างไหน”
ท่านพระอุทายีกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์หมายถึงเหล่า
เทพชั้นอรูปพรหมที่สำเร็จด้วยสัญญา”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุทายี การพูดของเธอผู้เขลา ไม่ฉลาด จะมี
ประโยชน์อะไร เธอเข้าใจถึงสิ่งที่เธอพูดหรือ”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “อานนท์
เป็นไปได้หรือที่เธอทั้งหลายเพิกเฉยต่อภิกษุเถระผู้กำลังถูกเบียดเบียนอยู่ เธอ
ทั้งหลายคงจะไม่มีความกรุณาในภิกษุเถระผู้ฉลาดซึ่งกำลังถูกเบียดเบียนอยู่๑”
พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปได้
ที่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยสมาธิ ถึงพร้อมด้วยปัญญา
เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง หากเธอไม่บรรลุ
อรหัตตผลในปัจจุบัน ก็เป็นไปได้ที่เธอจะล่วงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเหล่าเทวดาผู้มี
คำข้าวเป็นภักษา แล้วเข้าถึงกายมโนมัยชั้นใดชั้นหนึ่ง เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง
ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง” พระผู้มีพระภาคผู้สุคตครั้นตรัสดังนี้แล้วก็เสด็จ
ลุกขึ้นจากพุทธอาสน์ เสด็จเข้าไปยังพระวิหาร๒

เชิงอรรถ :
๑ เหตุที่พระผู้มีพระภาคตรัสในเชิงตำหนิท่านพระอานนท์อย่างนี้ ก็เพราะท่านพระอานนท์เป็นสหายรักของ
ท่านพระสารีบุตรเถระและท่านเป็นธัมมภัณฑาคาริก (ขุนคลังพระธรรม) การห้ามปรามภิกษุผู้รุกรานภิกษุ
เถระอย่างนี้ เป็นหน้าที่ของภิกษุผู้เป็นธัมมภัณฑาคาริก (ตามนัย องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๖๖/๖๔)
๒ พระวิหาร ในที่นี้หมายถึงพระคันธกุฎี (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๖๖/๖๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. อาฆาตวรรค ๖. นิโรธสูตร
ครั้นพระผู้มีพระภาคเสด็จหลีกไปไม่นาน ท่านพระอานนท์ ได้เข้าไปหาท่าน
พระอุปวานะถึงที่อยู่แล้วกล่าวดังนี้ว่า “ท่านอุปวานะ ภิกษุเหล่าอื่นในศาสนานี้
เบียดเบียนพระเถระ พวกเราจะไม่ถามหาภิกษุเหล่านั้น การที่พระผู้มีพระภาคเสด็จ
ออกจากที่หลีกเร้นในเวลาเย็น จะปรารภเหตุนั้นนั่นแลแล้วยกขึ้นแสดงเหมือนที่จะ
พึงตรัสกับท่านอุปวานะโดยเฉพาะในเหตุนั้น นั้นไม่น่าอัศจรรย์ บัดนี้ ความน้อยใจ
ได้เกิดขึ้นแก่พวกเรา”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้นในเวลาเย็นแล้วเสด็จเข้าไป
ประทับนั่งที่อุปัฏฐานศาลา ได้ตรัสถามท่านอุปวานะว่า
“อุปวานะ ภิกษุเถระประกอบด้วยธรรมเท่าไรจึงเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่
เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย”
ท่านอุปวานะกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุเถระประกอบด้วย
ธรรม ๕ ประการ จึงเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของ
เพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุเถระในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มีศีล ฯลฯ ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
๒. เป็นพหูสูต ฯลฯ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ
๓. มีวาจางาม เจรจาถ้อยคำไพเราะ ประกอบด้วยวาจาชาวเมืองที่
สละสลวย ไม่หยาบคาย ให้รู้ความหมายได้
๔. เป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง๑ ซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
๕. ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ๒อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะ
สิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๑๐๔ (สมณสุขุมาลสูตร) หน้า ๑๘๑ ในเล่มนี้
๒ ดูเชิงอรรถที่ ๒,๓ ข้อ ๒๕ (อนุคคหิตสูตร) หน้า ๓๑ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๗๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. อาฆาตวรรค ๗. โจทนาสูตร
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุเถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็น
ที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ อุปวานะ ภิกษุเถระประกอบด้วยธรรม ๕
ประการนี้แล ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อน
พรหมจารีทั้งหลาย หากภิกษุเถระไม่มีธรรม ๕ ประการนี้ เพื่อนพรหมจารี
ทั้งหลายจะสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเธอเพราะความเป็นผู้มีฟันหัก มีผมหงอก
มีหนังย่น เพื่ออะไร แต่เพราะภิกษุเถระมีธรรม ๕ ประการนี้ เพื่อนพรหมจารี
ทั้งหลายจึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเธอ”
นิโรธสูตรที่ ๖ จบ

๗. โจทนาสูตร
ว่าด้วยคุณสมบัติของภิกษุผู้เป็นโจทก์๑
[๑๖๗] ณ ที่นั้น ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ผู้มีอายุ
ทั้งหลาย ภิกษุผู้เป็นโจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงตั้งมั่นธรรม ๕ ประการไว้ในตน
แล้วจึงโจทผู้อื่น
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เราจักกล่าวในกาลอันควร จักไม่กล่าวในกาลอันไม่ควร
๒. เราจักกล่าวถ้อยคำจริง จักไม่กล่าวถ้อยคำไม่จริง
๓. เราจักกล่าวถ้อยคำอ่อนหวาน จักไม่กล่าวถ้อยคำหยาบ
๔. เราจักกล่าวถ้อยคำอันประกอบด้วยประโยชน์ จักไม่กล่าวถ้อยคำ
อันไม่ประกอบด้วยประโยชน์
๕. เราจักมีเมตตาจิตกล่าว จักไม่เพ่งโทษกล่าว

เชิงอรรถ :
๑ ผู้เป็นโจทก์ ในที่นี้หมายถึงผู้โจทก์ด้วยเรื่องสำหรับโจท ๔ อย่าง คือ (๑) วัตถุสันทัสสนา แสดงเรื่องที่ต้องอาบัติ
(๒) อาปัตติสันทัสสนา แสดงอาบัติที่ล่วงละเมิด (๓) สังวาสัปปฏิกเขปะ ห้ามสังวาสคือไม่ร่วมสังฆกรรม
มีอุโบสถกรรมและปวารณากรรมเป็นต้น (๔) สามีจิปฏิกเขปะ ไม่ทำสามีจิกรรมมีการกราบไหว้เป็นต้น
(องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๖๗/๖๕, องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๑๖๗-๙-๖/๖๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๗๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. อาฆาตวรรค ๗. โจทนาสูตร
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงตั้งมั่นธรรม ๕ ประการนี้
ไว้ในตนแล้วจึงโจทผู้อื่น
ผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าเห็นบุคคลบางคนในธรรมวินัยนี้ถูกผู้อื่นโจทในกาล
อันไม่ควร ไม่ถูกโจทในกาลอันควร ก็โกรธ ถูกผู้อื่นโจทด้วยถ้อยคำไม่จริง ไม่ถูก
โจทด้วยถ้อยคำจริง ก็โกรธ ถูกผู้อื่นโจทด้วยถ้อยคำหยาบ ไม่ถูกโจทด้วยถ้อยคำ
อ่อนหวาน ก็โกรธ ถูกผู้อื่นโจทด้วยถ้อยคำอันไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ถูกโจท
ด้วยถ้อยคำอันประกอบด้วยประโยชน์ ก็โกรธ ถูกผู้อื่นโจทด้วยการเพ่งโทษ ไม่ถูก
โจทด้วยเมตตาจิต ก็โกรธ
ภิกษุพึงให้อวิปปฏิสาร (ความไม่ร้อนใจ) เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ถูกโจทโดยไม่เป็น
ธรรม โดยอาการ ๕ คือ
๑. ท่านถูกโจทในกาลอันไม่ควร ไม่ถูกโจทในกาลอันควร ท่านจึงควร
มีอวิปปฏิสาร
๒. ท่านถูกโจทด้วยถ้อยคำไม่จริง ไม่ถูกโจทด้วยถ้อยคำจริง ท่านจึง
ควรมีอวิปปฏิสาร
๓. ท่านถูกโจทด้วยถ้อยคำหยาบ ไม่ถูกโจทด้วยถ้อยคำอ่อนหวาน
ท่านจึงควรมีอวิปปฏิสาร
๔. ท่านถูกโจทด้วยถ้อยคำอันไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ถูกโจทด้วย
ถ้อยคำอันประกอบด้วยประโยชน์ ท่านจึงควรมีอวิปปฏิสาร
๕. ท่านถูกโจทด้วยการเพ่งโทษ ไม่ถูกโจทด้วยเมตตาจิต ท่านจึงควรมี
อวิปปฏิสาร
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุพึงให้มีอวิปปฏิสารเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ถูกโจทโดยไม่เป็น
ธรรม โดยอาการ ๕ นี้
ภิกษุพึงให้วิปปฏิสาร(ความร้อนใจ)เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้เป็นโจทก์โดยไม่เป็นธรรม
โดยอาการ ๕ คือ
๑. ท่านโจทในกาลอันไม่ควร ไม่โจทในกาลอันควร ท่านจึงควรมีวิปปฏิสาร
๒. ท่านโจทด้วยถ้อยคำไม่จริง ไม่โจทด้วยถ้อยคำจริง ท่านจึงควรมี
วิปปฏิสาร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. อาฆาตวรรค ๗. โจทนาสูตร
๓. ท่านโจทด้วยถ้อยคำหยาบ ไม่โจทด้วยถ้อยคำอ่อนหวาน ท่านจึง
ควรมีวิปปฏิสาร
๔. ท่านโจทด้วยถ้อยคำอันไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่โจทด้วยถ้อยคำ
อันประกอบด้วยประโยชน์ ท่านจึงควรมีวิปปฏิสาร
๕. ท่านโจทด้วยการเพ่งโทษ ไม่โจทด้วยเมตตาจิต ท่านจึงควรมี
วิปปฏิสาร
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุพึงให้วิปปฏิสารเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้เป็นโจทก์โดยไม่เป็นธรรม
โดยอาการ ๕ นี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุแม้รูปอื่น ไม่พึงเข้าใจว่า ควรโจท
ด้วยถ้อยคำไม่จริง
ข้าพเจ้าเห็นบุคคลบางคนในธรรมวินัยนี้ ถูกโจทในกาลอันควร ไม่ถูกโจทใน
กาลอันไม่ควร ก็โกรธ ถูกโจทด้วยถ้อยคำจริง ไม่ถูกโจทด้วยถ้อยคำไม่จริง ก็โกรธ
ถูกโจทด้วยถ้อยคำอ่อนหวาน ไม่ถูกโจทด้วยถ้อยคำหยาบ ก็โกรธ ถูกโจทด้วยถ้อย
คำอันประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ถูกโจทด้วยถ้อยคำอันไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ก็โกรธ ถูกโจทด้วยเมตตาจิต ไม่ถูกโจทด้วยการเพ่งโทษ ก็โกรธ
ภิกษุพึงให้วิปปฏิสารเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ถูกโจทโดยธรรม โดยอาการ ๕ คือ
๑. ท่านถูกโจทในกาลอันควร ไม่ถูกโจทในกาลอันไม่ควร ท่านจึงควรมี
วิปปฏิสาร
๒. ท่านถูกโจทด้วยถ้อยคำจริง ไม่ถูกโจทด้วยถ้อยคำไม่จริง ท่านจึง
ควรมีวิปปฏิสาร
๓. ท่านถูกโจทด้วยถ้อยคำอ่อนหวาน ไม่ถูกโจทด้วยถ้อยคำหยาบ
ท่านจึงควรมีวิปปฏิสาร
๔. ท่านถูกโจทด้วยถ้อยคำอันประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ถูกโจทด้วย
ถ้อยคำอันไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ท่านจึงควรมีวิปปฏิสาร
๕. ท่านถูกโจทด้วยเมตตาจิต ไม่ถูกโจทด้วยการเพ่งโทษ ท่านจึงควรมี
วิปปฏิสาร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๗๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. อาฆาตวรรค ๗. โจทนาสูตร
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุพึงให้วิปปฏิสารเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ถูกโจทโดยธรรม โดย
อาการ ๕ นี้
ภิกษุพึงให้อวิปปฏิสารเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้เป็นโจทก์โดยธรรม โดยอาการ ๕ คือ
๑. ท่านโจทในกาลอันควร ไม่โจทในกาลอันไม่ควร ท่านจึงควรมี
อวิปปฏิสาร
๒. ท่านโจทด้วยถ้อยคำจริง ไม่โจทด้วยถ้อยคำไม่จริง ท่านจึงควรมี
อวิปปฏิสาร
๓. ท่านโจทด้วยถ้อยคำอ่อนหวาน ไม่โจทด้วยถ้อยคำหยาบ ท่านจึง
ควรมีอวิปปฏิสาร
๔. ท่านโจทด้วยถ้อยคำอันประกอบด้วยประโยชน์ ไม่โจทด้วยถ้อยคำ
อันไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ท่านจึงควรมีอวิปปฏิสาร
๕. ท่านโจทด้วยเมตตาจิต ไม่โจทด้วยการเพ่งโทษ ท่านจึงควรมี
อวิปปฏิสาร
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุพึงให้อวิปปฏิสารเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้เป็นโจทก์โดยธรรม
โดยอาการ ๕ นี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุแม้รูปอื่นพึงเข้าใจว่าควรโจทด้วย
ถ้อยคำจริง
บุคคลผู้ถูกโจทพึงตั้งมั่นในธรรม ๒ ประการ คือ ความจริง และความไม่
โกรธว่า ‘ถ้าผู้อื่นพึงโจทเรา ด้วยธรรม ๕ ประการ คือ
๑. พึงโจทในกาลอันควรหรือในกาลอันไม่ควร
๒. พึงโจทด้วยถ้อยคำจริงหรือด้วยถ้อยคำไม่จริง
๓. พึงโจทด้วยถ้อยคำอ่อนหวานหรือด้วยถ้อยคำหยาบ
๔. พึงโจทด้วยถ้อยคำอันประกอบด้วยประโยชน์หรือด้วยถ้อยคำอันไม่
ประกอบด้วยประโยชน์
๕. พึงโจทด้วยเมตตาจิตหรือด้วยการเพ่งโทษ
แม้เราก็จะตั้งอยู่ในธรรม ๒ ประการ คือ ความจริงและความไม่โกรธ ถ้าเรา
พึงทราบว่าธรรมนั้นมีในเรา ก็จะพึงกล่าวว่า ‘มีอยู่’ และว่า ‘ปรากฏในเรา’ ถ้าพึง
ทราบว่า ธรรมนั้นไม่มีในเรา ก็จะพึงกล่าวว่า ‘ไม่มี’ และกล่าวว่า ‘ไม่ปรากฏในเรา’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๘๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. อาฆาตวรรค ๗. โจทนาสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สารีบุตร เรื่องพึงเป็นอย่างนั้น แต่โมฆบุรุษบางพวก
ในธรรมวินัยนี้ เมื่อถูกกล่าวสอน ย่อมไม่รับฟังคำพร่ำสอนโดยเคารพ”
ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลเหล่าใดไม่มี
ศรัทธา ต้องการเลี้ยงชีวิต มิใช่มีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เป็นผู้
โอ้อวด มีมารยา เกเร ฟุ้งซ่าน ถือตัว โลเล ปากกล้า พูดพร่ำเพรื่อ ไม่คุ้มครอง
ทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค ไม่ประกอบความเพียร
เครื่องตื่นอยู่ ไม่มุ่งหวังความเป็นสมณะ ไม่มีความเคารพอย่างแรงกล้าในสิกขา เป็น
ผู้มักมาก เป็นผู้ย่อหย่อน เป็นผู้นำในโอกกมนธรรม๑ ทอดธุระในปวิเวก เกียจคร้าน
มีความเพียรต่ำ หลงลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะ มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตกวัดแกว่ง มีปัญญา
ทราม เป็นคนเซอะ๒ คนเหล่านั้น เมื่อถูกข้าพระองค์กล่าวสอนอย่างนี้ ย่อมไม่
รับฟังโอวาทโดยเคารพ
ส่วนกุลบุตรเหล่าใดมีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ไม่โอ้อวด ไม่มี
มารยา ไม่เกเร ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ถือตัว ไม่โลเล ไม่ปากกล้า ไม่พูดพร่ำเพรื่อ
คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้จักประมาณในการบริโภค ประกอบความเพียร
เครื่องตื่นอยู่ มุ่งหวังความเป็นสมณะ มีความเคารพอย่างแรงกล้าในสิกขา
ไม่มักมาก ไม่ย่อหย่อน หมดธุระในโอกกมนธรรม เป็นผู้นำในปวิเวก ปรารภ
ความเพียร อุทิศกายและใจ มีสติตั้งมั่น มีสัมปชัญญะ มีจิตตั้งมั่น มีจิตแน่วแน่
มีปัญญา ไม่เป็นคนเซอะ กุลบุตรเหล่านั้น เมื่อถูกข้าพระองค์กล่าวสอนอย่างนี้
ย่อมรับฟังโอวาทโดยเคารพ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สารีบุตร บุคคลเหล่าใด ไม่มีศรัทธา ต้องการ
เลี้ยงชีวิต ไม่มีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เป็นผู้โอ้อวด มีมารยา เกเร
ฟุ้งซ่าน ถือตัว โลเล ปากกล้า พูดพร่ำเพรื่อ ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย
ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค ไม่ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่ ไม่มุ่งหวังความ

เชิงอรรถ :
๑ โอกกมนธรรม ในที่นี้หมายถึงนิวรณ์ ๕ คือ (๑) กามฉันทะ (ความพอใจในกาม) (๒) พยาบาท (ความคิดร้าย)
(๓) ถีนมิทธะ (ความหดหู่และเซื่องซึม) (๔) อุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ) (๕) วิจิกิจฉา
(ความลังเลสังสัย) (องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๕/๕๓)
๒ ดูเชิงอรรถที่ ๔ ข้อ ๑๑๒ (ปัจฉาสมณสูตร) หน้า ๑๙๐ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. อาฆาตวรรค ๘. สีลสูตร
เป็นสมณะ ไม่มีความเคารพอย่างแรงกล้าในสิกขา เป็นผู้มักมาก เป็นผู้ย่อหย่อน
เป็นผู้นำในโอกกมนธรรม ทอดธุระในปวิเวก เกียจคร้าน มีความเพียรต่ำ หลงลืมสติ
ไม่มีสัมปชัญญะ มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตกวัดแกว่ง มีปัญญาทราม เป็นคนเซอะ บุคคล
เหล่านั้น จงยกไว้
สารีบุตร ส่วนกุลบุตรเหล่าใดมีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ไม่โอ้อวด
ไม่มีมารยา ไม่เกเร ไม่ฟุ้งซ้าน ไม่ถือตัว ไม่โลเล ไม่ปากกล้า ไม่พูดพร่ำเพรื่อ
คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้จักประมาณในการบริโภค ประกอบความเพียร
เครื่องตื่นอยู่ มุ่งหวังความเป็นสมณะ มีความเคารพอย่างแรงกล้าในสิกขา ไม่มักมาก
ไม่ย่อหย่อน หมดธุระในโอกกมนธรรม เป็นผู้นำในปวิเวก ปรารภความเพียร อุทิศ
กายและใจ มีสติตั้งมั่น มีสัมปชัญญะ มีจิตตั้งมั่น มีจิตแน่วแน่ มีปัญญา ไม่เป็น
คนเซอะ สารีบุตร เธอพึงว่ากล่าวกุลบุตรเหล่านั้น จงกล่าวสอนเพื่อนพรหมจารี
ทั้งหลาย จงพร่ำสอนเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายด้วยหวังว่า ‘เราจักยกเพื่อนพรหมจารี
ทั้งหลายขึ้นจากอสัทธรรม ให้ตั้งอยู่ในสัทธรรม’
สารีบุตร เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้แล”
โจทนาสูตรที่ ๗ จบ

๘. สีลสูตร
ว่าด้วยโทษแห่งความทุศีลและคุณแห่งความมีศีล
[๑๖๘] ณ ที่นั้น ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า “ผู้มีอายุ
ทั้งหลาย สัมมาสมาธิของบุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อ
สัมมาสมาธิไม่มี ยถาภูตญาณทัสสนะของบุคคลผู้มีสัมมาสมาธิวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูก
ขจัดแล้ว เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะไม่มี นิพพิทาและวิราคะของบุคคลผู้มียถาภูต-
ญาณทัสสนะวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อนิพพิทาและวิราคะไม่มี วิมุตติญาณ-
ทัสสนะของบุคคลผู้มีนิพพิทาและวิราคะวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว
สัมมาสมาธิของบุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อสัมมา-
สมาธิไม่มี ยถาภูตญาณทัสสนะของบุคคลผู้มีสัมมาสมาธิวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. อาฆาตวรรค ๙. ขิปปนิสันติสูตร
ขจัดแล้ว เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะไม่มี นิพพิทาและวิราคะของบุคคลผู้มียถาภูต-
ญาณทัสสนะวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อนิพพิทาและวิราคะไม่มี วิมุตติญาณ-
ทัสสนะของบุคคลผู้มีนิพพิทาและวิราคะวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เปรียบ
เหมือนต้นไม้ที่มีกิ่งและใบวิบัติแล้ว สะเก็ด เปลือก กระพี้ แม้แก่นของต้นไม้นั้น
ย่อมไม่ถึงความบริบูรณ์ ฉะนั้น
สัมมาสมาธิของบุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อสัมมา-
สมาธิมี ยถาภูตญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิ ชื่อว่ามีเหตุ
สมบูรณ์ เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะมี นิพพิทาและวิราคะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วย
ยถาภูตญาณทัสสนะ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อนิพพิทาและวิราคะมี วิมุตติญาณ-
ทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาและวิราคะ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ผู้มีอายุทั้งหลาย สัมมาสมาธิของบุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล ชื่อว่ามีเหตุ
สมบูรณ์ เมื่อสัมมาสมาธิมี ยถาภูตญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมา-
สมาธิ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะมี นิพพิทาและวิราคะของ
บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยด้วยยถาภูตญาณทัสสนะ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อนิพพิทา
และวิราคะมี วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาและวิราคะ ชื่อว่า
มีเหตุสมบูรณ์ เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกิ่งและใบสมบูรณ์ สะเก็ด เปลือก กระพี้
แม้แก่นของต้นไม้นั้น ย่อมถึงความบริบูรณ์ ฉะนั้น
สีลสูตรที่ ๘ จบ

๙. ขิปปนิสันติสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ใคร่ครวญได้เร็ว
[๑๖๙] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้สนทนา
ปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วจึงนั่ง ณ ที่สมควร ได้ถาม
ท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า
“ท่านสารีบุตร ด้วยเหตุเพียงเท่าไร ภิกษุจึงเป็นผู้ใคร่ครวญได้เร็ว เรียนได้เร็ว
เรียนได้มากในกุศลธรรมทั้งหลาย และสิ่งที่เธอเรียนแล้วจะไม่เลือนหายไป”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. อาฆาตวรรค ๙. ขิปปนิสันติสูตร
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ท่านอานนท์เป็นพหูสูต เฉพาะท่านอานนท์เท่านั้น
ที่จะสามารถอธิบายเนื้อความนี้ให้แจ่มแจ้งได้๑”
พระอานนท์กล่าวว่า “ท่านสารีบุตร ถ้าเช่นนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี
ผมจักกล่าว” ท่านพระสารีบุตรรับคำแล้ว ท่านพระอานนท์จึงได้กล่าวเรื่องนี้ว่า
“ท่านสารีบุตร ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้ฉลาดในอรรถ
๒. เป็นผู้ฉลาดในธรรม
๓. เป็นผู้ฉลาดในพยัญชนะ
๔. เป็นผู้ฉลาดในนิรุตติ
๕. เป็นผู้ฉลาดในเบื้องต้นและเบื้องปลาย๒
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล ภิกษุจึงเป็นผู้ใคร่ครวญได้เร็ว เรียนได้ดี เรียนได้มาก
ในกุศลธรรมทั้งหลาย และสิ่งที่เธอเรียนแล้วย่อมไม่เลือนหายไป”
พระสารีบุตรกล่าวว่า “ผู้มีอายุ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏตามที่ท่าน
อานนท์กล่าวไว้ดีแล้วนี้ เราทั้งหลายขอทรงจำไว้ว่า ท่านอานนท์มีธรรม ๕ ประการนี้
ท่านอานนท์เป็นผู้ฉลาดในอรรถ ฉลาดในธรรม ฉลาดในพยัญชนะ ฉลาดในนิรุตติ
และฉลาดในเบื้องต้นและเบื้องปลาย”
ขิปปนิสันติสูตรที่ ๙ จบ

เชิงอรรถ :
๑ แปลจากบาลีว่า “ปฏิภาตุ อายสฺมนฺตญฺเ�ว อานนฺทํ” มีข้อสังเกตว่า โครงสร้างประโยคเช่นนี้ เป็นประโยค
ธรรมเนียมการให้โอกาส การเชิญ หรือการมอบหมายให้แสดงธรรมตาม ‘ความถนัดส่วนบุคคล’ มีปรากฏ
ในพระไตรปิฎกหลายเล่ม เช่น
ปรากฏใน ที.สี. ๙/๓๑๘/๑๒๔, ม.มู. ๑๒/๔๗๓/๔๒๒, องฺ.ติก. ๒๐/๖๙/๑๙๔ ว่า “สาธุ วต ภนฺเต
ภควนฺตํเยว โคตมํ ปฏิภาตุ เอตสฺส ภาสิตสฺส อตฺโถ”
ปรากฏใน ม.มู. ๑๒/๖๓/๔๑ ว่า “อุปมา มํ อาวุโส สารีปุตฺต ปฏิภาติ, ปฏิภาตุ ตํ อาวุโส
โมคคลฺลาน” และปรากฏใน องฺ.ทสก. ๒๔/๖๗/๙๗ ว่า “ปฏิภาตุ ตํ สารีปุตฺต ภิกฺขูนํ ธมฺมีกถา”
๒ ฉลาดในอรรถ หมายถึงฉลาดในอรรถกถา ฉลาดในธรรม หมายถึงฉลาดในพระบาลี ฉลาดในพยัญชนะ
หมายถึงฉลาดในด้านอักษรศาสตร์ ฉลาดในนิรุตติ หมายถึงฉลาดในภาษาศาสตร์ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๖๙/
๖๕) ฉลาดในเบื้องต้นและเบื้องปลาย ในที่นี้หมายถึงฉลาดในเบื้องต้นเบื้องปลาย ๕ ประการ คือ
(๑) เบื้องต้นและเบื้องปลายแห่งอรรถ (๒) เบื้องต้นและเบื้องปลายแห่งธรรม (๓) เบื้องต้นและเบื้องปลาย
แห่งบท (๔) เบื้องต้นและเบื้องปลายแห่งอักขระ (๕) เบื้องต้นและเบื้องปลายแห่งอนุสนธิ (องฺ.ปญฺจก.อ.
๓/๑๖๙/๖๕-๖๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. อาฆาตวรรค ๑๐. ภัททชิสูตร
๑๐. ภัททชิสูตร
ว่าด้วยท่านพระภัททชิ
[๑๗๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี
ครั้งนั้นแล ท่านพระภัททชิได้เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัย
พอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วจึงนั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามท่านพระ
ภัททชิดังนี้ว่า
“ท่านภัททชิ บรรดาการเห็นทั้งหลาย การเห็นชนิดไหนเป็นเลิศ บรรดาการได้
ยินทั้งหลาย การได้ยินชนิดไหนเป็นเลิศ บรรดาสุขทั้งหลาย สุขชนิดไหนเป็นเลิศ
บรรดาสัญญาทั้งหลาย สัญญาชนิดไหนเป็นเลิศ บรรดาภพทั้งหลาย ภพชนิดไหน
เป็นเลิศ”
ท่านภัททชิตอบว่า “ผู้มีอายุ มีพรหมผู้ยิ่งใหญ่ ไม่มีใครครอบงำได้ เห็นทุกสิ่ง
มีอำนาจเหนือผู้อื่น ผู้ใดเห็นพรหมนั้น การเห็นของผู้นั้นนี้เลิศกว่าการเห็นทั้งหลาย
มีเทวดาเหล่าอาภัสสระ ผู้เพียบพร้อมด้วยความสุข เทวดาเหล่านั้นเปล่งอุทานบาง
ครั้งบางแห่งว่า “สุขหนอ ๆ” ผู้ใดได้ยินเสียงนั้น การได้ยินของผู้นั้นนี้เลิศกว่า
การได้ยินทั้งหลาย มีเทวดาเหล่าสุภกิณหะ เทวดาเหล่านั้นยินดีเฉพาะสิ่งที่มี เสวย
สุขอยู่ การเสวยสุขนี้เลิศกว่าความสุขทั้งหลาย มีเหล่าเทวดาผู้เข้าถึงอากิญจัญญา-
ยตนภพ การเข้าถึงนี้เลิศกว่าสัญญาทั้งหลาย มีเหล่าเทวดาผู้เข้าถึงเนวสัญญานา-
สัญญายตนภพ การเข้าถึงนี้เลิศกว่าภพทั้งหลาย
พระอานนท์กล่าวว่า “คำพูดของท่านภัททชิ ก็เหมือนกับคนจำนวนมาก”
พระภัททชิกล่าวว่า “ท่านอานนท์เป็นพหูสูต เฉพาะท่านอานนท์เท่านั้นที่จะ
สามารถอธิบายเนื้อความนี้ให้แจ่มแจ้งได้”
พระอานนท์กล่าวว่า “ท่านภัททชิ ถ้าเช่นนั้นท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี ผมจัก
กล่าว” ท่านพระภัททชิรับคำแล้ว ท่านพระอานนท์จึงได้กล่าวเรื่องนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๘๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. อาฆาตวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
“ผู้มีอายุ ความสิ้นอาสวะย่อมมีในลำดับแแก่บุคคลผู้เห็นตามความเป็นจริง
การเห็นนี้เลิศกว่าการเห็นทั้งหลาย ความสิ้นอาสวะย่อมมีในลำดับแก่บุคคลผู้ได้ยิน
ตามความเป็นจริง การได้ยินนี้เลิศกว่าการได้ยินทั้งหลาย ความสิ้นอาสวะย่อมมี
ในลำดับแก่บุคคลผู้ได้รับความสุขตามความเป็นจริง ความสุขนี้เลิศกว่าความสุข
ทั้งหลาย ความสิ้นอาสวะย่อมมีในลำดับแก่บุคคลผู้มีสัญญาตามความเป็นจริง
สัญญานี้เลิศกว่าสัญญาทั้งหลาย ความสิ้นอาสวะย่อมมีในลำดับแก่บุคคลผู้เป็นอยู่
ตามความเป็นจริง ความเป็นอยู่นี้เลิศกว่าภพทั้งหลาย”
ภัททชิสูตรที่ ๑๐ จบ
อาฆาตวรรคที่ ๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมอาฆาตปฏิวินยสูตร ๒. ทุติยอาฆาตปฏิวินยสูตร
๓. สากัจฉสูตร ๔. อาชีวสูตร
๕. ปัญหาปุจฉาสูตร ๖. นิโรธสูตร
๗. โจทนาสูตร ๘. สีลสูตร
๙. ขิปปนิสันติสูตร ๑๐. ภัททชิสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๘๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๓. อุปาสกวรรค ๑. สารัชชสูตร
๓. อุปาสกวรรค
หมวดว่าด้วยอุบาสก๑
๑. สารัชชสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้ครั่นคร้าม
[๑๗๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มี
พระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมถึงความครั่นคร้าม
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้ฆ่าสัตว์
๒. เป็นผู้ลักทรัพย์
๓. เป็นผู้ประพฤติผิดในกาม
๔. เป็นผู้พูดเท็จ
๕. เป็นผู้เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท
ภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมถึงความ
ครั่นคร้าม
ภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นผู้แกล้วกล้า
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์
๒. เป็นผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์

เชิงอรรถ :
๑ อุบาสก หมายถึงผู้เข้าถึงพระรัตนตรัย คือพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๖/๒๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๘๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๓. อุปาสกวรรค ๒. วิสารทสูตร
๓. เป็นผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม
๔. เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ
๕. เป็นผู้เว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุ
แห่งความประมาท
ภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้
แกล้วกล้า
สารัชชสูตรที่ ๑ จบ

๒. วิสารทสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้แกล้วกล้า
[๑๗๒] ภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เป็นผู้ไม่
แกล้วกล้าอยู่ครองเรือน
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้ฆ่าสัตว์
ฯลฯ๑
๕. เป็นผู้เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท
ภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นผู้ไม่แกล้วกล้า
อยู่ครองเรือน
ภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เป็นผู้แกล้วกล้าอยู่
ครองเรือน

เชิงอรรถ :
๑ ฯลฯ ที่ปรากฏในข้อ ๑๗๑,๑๗๒ ดูความเต็มในสารัชชสูตร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๘๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๓. อุปาสกวรรค ๓. นิรยสูตร
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์
ฯลฯ
๕. เป็นผู้เว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุ
แห่งความประมาท
ภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นผู้แกล้วกล้า
อยู่ครองเรือน
วิสารทสูตรที่ ๒ จบ

๓. นิรยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้ตกนรก
[๑๗๓] อุบาสกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมดำรงอยู่ในนรก เหมือน
ถูกนำไปฝังไว้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้ฆ่าสัตว์
ฯลฯ
๕. เป็นผู้เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท
ภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่
ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมดำรงอยู่ใน
สวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์
ฯลฯ
๕. เป็นผู้เว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุ
แห่งความประมาท
ภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ใน
สวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
นิรยสูตรที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๘๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๓. อุปาสกวรรค ๔. เวรสูตร
๔. เวรสูตร
ว่าด้วยภัยเวร
[๑๗๔] ครั้งนั้น อนาถบิณฑิกคหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับอนาถบิณฑิกคหบดี
ดังนี้ว่า
คหบดี อุบาสกละภัย๑เวร๒ ๕ ประการไม่ได้ เราเรียกว่า ‘ผู้ทุศีล’ และเขาย่อม
ไปเกิดในนรก
ภัยเวร ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. การฆ่าสัตว์
๒. การลักทรัพย์
๓. การประพฤติผิดในกาม
๔. การพูดเท็จ
๕. การเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท
คหบดี อุบาสกละภัยเวร ๕ ประการนี้แลไม่ได้ เราเรียกว่า ‘ผู้ทุศีล’ และเขา
ย่อมไปเกิดในนรก
อุบาสกละภัยเวร ๕ ประการได้แล้ว เราเรียกว่า ‘ผู้มีศีล’ และเขาย่อมไปเกิด
ในสุคติ
ภัยเวร ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. การฆ่าสัตว์
๒. การลักทรัพย์
๓. การประพฤติผิดในกาม
๔. การพูดเท็จ
๕. การเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท

เชิงอรรถ :
๑ ภัย หมายถึงสิ่งที่ทำให้จิตสะดุ้ง (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๗๔/๖๗)
๒ เวร หมายถึงอกุศลกรรม และบุคคลผู้ก่อเวร (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๗๔/๖๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๙๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๓. อุปาสกวรรค ๔. เวรสูตร
คหบดี อุบาสกละภัยเวร ๕ ประการนี้แลได้แล้ว เราเรียกว่า ‘ผู้มีศีล’ และเขา
ย่อมไปเกิดในสุคติ
คหบดี อุบาสกผู้ฆ่าสัตว์ย่อมประสพภัยเวรใดทั้งในภพนี้และภพหน้า เสวย
ทุกขโทมนัส๑ทางใจใดเพราะมีการฆ่าสัตว์เป็นปัจจัย อุบาสกผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์
ย่อมไม่ประสพภัยเวรนั้นทั้งในภพนี้และภพหน้า ย่อมไม่เสวยทุกขโทมนัสทางใจนั้น
ภัยเวรนั้นของอุบาสกผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ย่อมสงบระงับไปด้วยประการฉะนี้
อุบาสกผู้ลักทรัพย์ ฯลฯ
อุบาสกผู้ประพฤติผิดในกาม ฯลฯ
อุบาสกผู้พูดเท็จ ฯลฯ
อุบาสกผู้เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท ย่อม
ประสพภัยเวรใดทั้งในภพนี้และภพหน้า เสวยทุกขโทมนัสทางใจใดเพราะมีการ
เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาทเป็นปัจจัย อุบาสกผู้
เว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท ย่อม
ไม่ประสพภัยเวรนั้นทั้งในภพนี้และภพหน้า ย่อมไม่เสวยทุกขโทมนัสที่เป็นไป
ทางใจนั้น ภัยเวรนั้นของอุบาสกผู้เว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัย
อันเป็นเหตุแห่งความประมาท ย่อมสงบระงับไปด้วยประการฉะนี้
นรชนใดในโลกฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์
คบชู้กับภรรยาของผู้อื่น พูดเท็จ
และหมกมุ่นในการดื่มสุราและเมรัย๒
นรชนนั้นละเวร ๕ ประการไม่ได้
เราเรียกว่า ‘ผู้ทุศีล’
เขาผู้มีปัญญาทราม ตายไปแล้วย่อมไปเกิดในนรก

เชิงอรรถ :
๑ ทุกข์ คือทุกข์ที่มีกายประสาทเป็นที่ตั้ง หมายถึงความไม่สบายกายหรือทุกข์ทางกาย
โทมนัส คือ โทมนัสเวทนา หมายถึงความไม่สบายใจหรือทุกข์ใจ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๗๔/๖๗)
๒ ดู ขุ.ธ. ๒๕/๒๔๖/๕๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๙๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๓. อุปาสกวรรค ๕. จัณฑาลสูตร
นรชนใดในโลกไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์
ไม่คบชู้กับภรรยาของผู้อื่น ไม่พูดเท็จ
และไม่หมกมุ่นในการดื่มสุราและเมรัย
นรชนนั้นละเวร ๕ ประการได้
เราเรียกว่า ‘ผู้มีศีล’
เขาผู้มีปัญญา ตายไปแล้วย่อมไปเกิดในสุคติ
เวรสูตรที่ ๔ จบ

๕. จัณฑาลสูตร
ว่าด้วยอุบาสกจัณฑาล
[๑๗๕] ภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เป็นอุบาสก
จัณฑาล เป็นอุบาสกเศร้าหมอง และเป็นอุบาสกน่ารังเกียจ๑
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้ไม่มีศรัทธา
๒. เป็นผู้ทุศีล
๓. เป็นผู้ถือมงคลตื่นข่าว๒เชื่อมงคล ไม่เชื่อกรรม
๔. แสวงหาผู้รับทักษิณานอกศาสนานี้
๕. ทำอุปการะ๓นอกศาสนาก่อน
ภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นอุบาสกจัณฑาล
เป็นอุบาสกเศร้าหมอง และเป็นอุบาสกน่ารังเกียจ

เชิงอรรถ :
๑ อุบาสกน่ารังเกียจ ในที่นี้หมายถึงอุบาสกชั้นเลว (อุปาสกปัจฉิมกะ) (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๗๕/๖๗)
๒ ผู้ถือมงคลตื่นข่าว หมายถึงบุคคลผู้ประกอบด้วย (๑) ทิฏฐมงคล (เชื่อว่ารูปเป็นมงคล) (๒) สุตมงคล
(เชื่อว่าเสียงเป็นมงคล) (๓) มุตมงคล (เชื่อว่ากลิ่น รส โผฏฐัพพะเป็นมงคล) กล่าวคือต่างก็มีความเชื่อที่
แตกต่างกันไปว่า “สิ่งนี้ ๆ เป็นมงคล อะไร ๆ จักสำเร็จได้ด้วยสิ่งนี้ ๆ” (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๗๕/๖๗)
๓ ทำอุปการะ ในที่นี้หมายถึงทำกิจที่เป็นกุศลมีการให้ทานเป็นต้น (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๗๕/๖๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๓. อุปาสกวรรค ๖. ปีติสูตร
ภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เป็นอุบาสกแก้ว เป็น
อุบาสกปทุม และเป็นอุบาสกบุณฑริก
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้มีศรัทธา
๒. เป็นผู้มีศีล
๓. เป็นผู้ไม่ถือมงคลตื่นข่าว เชื่อกรรม ไม่เชื่อมงคล
๔. ไม่แสวงหาผู้รับทักษิณานอกศาสนานี้
๕. ทำอุปการะในศาสนานี้ก่อน
ภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นอุบาสกแก้ว
เป็นอุบาสกปทุม และเป็นอุบาสกบุณฑริก
จัณฑาลสูตรที่ ๕ จบ

๖. ปีติสูตร
ว่าด้วยปีติ
[๑๗๖] ครั้งนั้น อนาถบิณฑิกคหบดี มีอุบาสกประมาณ ๕๐๐ คนแวดล้อม
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มี
พระภาคได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
คหบดี ท่านทั้งหลายได้บำรุงภิกษุสงฆ์ด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ
คิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร ท่านทั้งหลายไม่ควรทำความยินดีด้วยเหตุเพียงเท่านี้ว่า
‘เราได้บำรุงภิกษุสงฆ์ด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร’
เพราะเหตุนั้นแล ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘พวกเราพึงบรรลุปีติที่เกิด
จากวิเวก๑อยู่ตามกาลอันควรด้วยอุบายอย่างไร’ ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่าง
นี้แล

เชิงอรรถ :
๑ ปีติที่เกิดจากวิเวก ในที่นี้หมายถึงปีติที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยปฐมฌานและทุติยฌาน (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๗๖/
๖๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๓. อุปาสกวรรค ๖. ปีติสูตร
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กราบทูลว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ตามที่พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระ
ดำรัสนี้ว่า ‘คหบดี ท่านทั้งหลายได้บำรุงภิกษุสงฆ์ด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร เพราะเหตุนั้นแล ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่าง
นี้ว่า ‘พวกเราพึงบรรลุปีติที่เกิดจากวิเวกอยู่ตามกาลอันควร ด้วยอุบายอย่างไร
ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล’ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมัยใดอริยสาวกบรรลุ
ปีติที่เกิดจากวิเวกอยู่ สมัยนั้น อริยสาวกนั้นย่อมไม่มีฐานะ ๕ ประการ คือ
๑. ไม่มีทุกขโทมนัสอันประกอบด้วยกาม๑
๒. ไม่มีสุขโสมนัสอันประกอบด้วยกาม
๓. ไม่มีทุกขโทมนัสอันประกอบด้วยอกุศล๒
๔. ไม่มีสุขโสมนัสอันประกอบด้วยอกุศล
๕. ไม่มีทุกขโทมนัสอันประกอบด้วยกุศล
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมัยใด อริยสาวกบรรลุปีติที่เกิดจากวิเวกอยู่ สมัยนั้น
อริยสาวกนั้นย่อมไม่มีฐานะ ๕ ประการนี้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ สารีบุตร สมัยใด อริยสาวกบรรลุปีติที่เกิด
จากวิเวกอยู่ สมัยนั้น อริยสาวกนั้นย่อมไม่มีฐานะ ๕ ประการ คือ
๑. ไม่มีทุกขโทมนัสอันประกอบด้วยกาม
๒. ไม่มีสุขโสมนัสอันประกอบด้วยกาม
๓. ไม่มีทุกขโทมนัสอันประกอบด้วยอกุศล

เชิงอรรถ :
๑ ทุกขโทมนัสอันประกอบด้วยกาม หมายถึงทุกขโทมนัสที่เกิดขึ้นเพราะกาม ๒ ประเภท คือวัตถุกาม และ
กิเลสกาม (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๗๖/๖๘)
๒ ทุกขโทมนัสอันประกอบด้วยอกุศล หมายถึงเมื่อบุคคลทำอกุศลกรรมเช่นยิงลูกศรไปด้วยคิดว่าจะฆ่าเนื้อ
และสุกร แต่เมื่อลูกศรผิดเป้าหมายไปก็เกิดทุกขโทมนัสขึ้นว่า ‘เรายิงพลาด’ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๗๖/๖๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๙๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๓. อุปาสกวรรค ๗. วณิชชาสูตร
๔. ไม่มีสุขโสมนัสอันประกอบด้วยอกุศล
๕. ไม่มีทุกขโทมนัสอันประกอบด้วยกุศล
สารีบุตร สมัยใด อริยสาวกบรรลุปีติที่เกิดแต่วิเวกอยู่ สมัยนั้น อริยสาวกนั้น
ย่อมไม่มีฐานะ ๕ ประการนี้”
ปีติสูตรที่ ๖ จบ

๗. วณิชชาสูตร
ว่าด้วยการค้าขายที่อุบาสกไม่ควรประกอบ
[๑๗๗] ภิกษุทั้งหลาย อุบาสกไม่ควรทำการค้าขาย ๕ ประการนี้
การค้าขาย ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. การค้าขายศัสตราวุธ๑
๒. การค้าขายสัตว์๒
๓. การค้าขายเนื้อ๓
๔. การค้าขายของมึนเมา๔
๕. การค้าขายยาพิษ๕
ภิกษุทั้งหลาย อุบาสกไม่ควรทำการค้าขาย ๕ ประการนี้แล
วณิชชาสูตรที่ ๗ จบ

เชิงอรรถ :
๑ การค้าขายศัสตราวุธ หมายถึงการให้สร้างอาวุธแล้วขายอาวุธนั้น (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๗๗/๖๘) ที่ห้าม
ค้าขาย ก็เพราะการค้าขายอาวุธ เป็นเหตุให้ทำความผิดก่อโทษแก่ผู้อื่นได้ (องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๑๗๗-๘/๖๖)
๒ การค้าขายสัตว์ ในที่นี้หมายถึงการค้าขายมนุษย์ ที่ห้ามค้าขาย ก็เพราะการค้าขายมนุษย์ทำให้มนุษย์
หมดอิสรภาพ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๗๗/๖๘, องฺ.ปญฺจก.ฏีกา. ๓/๑๗๗-๘/๖๖)
๓ การค้าขายเนื้อ หมายถึงการเลี้ยงสัตว์มีสุกรเป็นต้นไว้ขาย หรือการขายเนื้อสัตว์ ที่ห้ามค้าขาย ก็เพราะ
การค้าขายเนื้อเป็นเหตุให้ต้องฆ่าสัตว์ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๗๗/๖๘, องฺ.ปญฺจก.ฏีกา. ๓/๑๗๗-๘/๖๖)
๔ การค้าขายของมึนเมา หมายถึงการให้ปรุงของมึนเมาชนิดใดชนิดหนึ่งแล้วขาย ที่ห้ามค้าขาย ก็เพราะ
การค้าขายของมึนเมาเป็นเหตุให้มีการดื่มแล้วเกิดความประมาท (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๗๗/๖๘, องฺ.ปญฺจก.ฏีกา
๓/๑๗๗-๘/๖๖)
๕ การค้าขายยาพิษ หมายถึงการให้ทำยาพิษแล้วค้าขายยาพิษนั้น
การค้าขาย ๕ ประการนี้ อุบาสกไม่ควรทำทั้งด้วยตนเองและไม่ควรชักชวนบุคคลอื่นให้ทำด้วย
(องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๗๗/๖๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๙๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๓. อุปาสกวรรค ๘. ราชสูตร
๘. ราชสูตร
ว่าด้วยพระราชา
[๑๗๘] “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ เธอทั้งหลาย
เคยได้เห็นเคยได้ฟังมาบ้างหรือไม่ว่า ‘คนผู้นี้เป็นผู้ละเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ พระ
ราชาจับเขาแล้วประหาร จองจำ เนรเทศ หรือทำตามพระราชประสงค์ เพราะการ
งดเว้นจากการฆ่าสัตว์เป็นเหตุ”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ไม่เคยได้เห็น ไม่เคยได้ฟังมาอย่างนั้นเลย พระ
พุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ภิกษุทั้งหลาย แม้เราก็ไม่เคยได้เห็น ไม่เคยได้
ฟังมาอย่างนั้นเลยว่า ‘คนผู้นี้เป็นผู้ละเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ พระราชาจับเขาแล้ว
ประหาร จองจำ เนรเทศ หรือทำตามพระราชประสงค์ เพราะการงดเว้นจากการฆ่า
สัตว์เป็นเหตุ’ แต่ถ้าบาปกรรมของเขานั้นเองปรากฏให้รู้ว่า ‘คนผู้นี้ฆ่าบุรุษหรือสตรี
ต่อมาพระราชาจับเขาแล้วประหาร จองจำ เนรเทศ หรือทำตามพระราชประสงค์
เพราะการงดเว้นจากการฆ่าสัตว์เป็นเหตุ’ เธอทั้งหลายเคยได้เห็น เคยได้ฟัง
บาปกรรมเช่นนี้บ้างหรือไม่”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ข้าพระองค์ทั้งหลายเคยได้เห็นมาแล้ว เคยได้ฟัง
มาแล้ว และจักได้ฟังต่อไป พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ
เธอทั้งหลายเคยได้เห็นเคยได้ฟังมาบ้างหรือไม่ว่า ‘คนผู้นี้เป็นผู้ละเว้นขาดจากการ
ลักทรัพย์ พระราชาจับเขาแล้วประหาร จองจำ เนรเทศ หรือทำตามพระราช
ประสงค์ เพราะการงดเว้นจากการลักทรัพย์เป็นเหตุ”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ไม่เคยได้เห็นไม่เคยได้ฟังมาอย่างนั้นเลย พระ
พุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ภิกษุทั้งหลาย แม้เราก็ไม่เคยได้เห็น ไม่เคยได้
ฟังมาอย่างนั้นเลยว่า ‘คนผู้นี้เป็นผู้ละเว้นขาดจากการลักทรัพย์ พระราชาจับเขาแล้ว

 


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๙๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๓. อุปาสกวรรค ๘. ราชสูตร
ประหาร จองจำ เนรเทศ หรือทำตามพระราชประสงค์ เพราะการงดเว้นจากการ
ลักทรัพย์เป็นเหตุ’ แต่ถ้าบาปกรรมของเขานั่นเอง ปรากฏให้รู้ว่า ‘คนผู้นี้ลักทรัพย์
เขามาจากบ้านหรือจากป่า พระราชาจับเขาแล้วประหาร จองจำ เนรเทศ หรือทำ
ตามพระราชประสงค์ เพราะการลักทรัพย์เป็นเหตุ เธอทั้งหลายเคยได้เห็น เคยได้ฟัง
บาปกรรมเช่นนี้บ้างหรือไม่”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ข้าพระองค์ทั้งหลายเคยได้เห็นมาแล้ว เคยได้ฟัง
มาแล้ว และจักได้ฟังต่อไป พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ
เธอทั้งหลายเคยได้เห็น เคยได้ฟังมาบ้างหรือไม่ว่า ‘คนผู้นี้เป็นผู้ละเว้นขาดจากการ
ประพฤติผิดในกาม พระราชาจับเขาแล้วประหาร จองจำ เนรเทศ หรือทำตามพระ
ราชประสงค์ เพราะการงดเว้นจากการประพฤติผิดในกามเป็นเหตุ”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ไม่เคยได้เห็น ไม่เคยได้ฟังมาอย่างนั้นเลย พระ
พุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ภิกษุทั้งหลาย แม้เราก็ไม่เคยได้เห็น ไม่เคยได้
ฟังมาอย่างนั้นเลยว่า ‘คนผู้นี้เป็นผู้ละเว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม พระราชา
จับเขาแล้วประหาร จองจำ เนรเทศ หรือทำตามพระราชประสงค์ เพราะการงดเว้น
จากการประพฤติผิดในกามเป็นเหตุ’ แต่ถ้าบาปกรรมของเขานั่นเองปรากฏให้รู้ว่า
‘คนผู้นี้ประพฤติล่วงในหญิงหรือลูกสาวของผู้อื่น พระราชาจับเขาแล้วประหาร จองจำ
เนรเทศ หรือทำตามพระราชประสงค์ เพราะการประพฤติผิดในกามเป็นเหตุ
เธอทั้งหลายเคยได้เห็น เคยได้ฟังบาปกรรมเช่นนี้บ้างหรือไม่”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ข้าพระองค์ทั้งหลายเคยได้เห็นมาแล้ว เคยได้ฟัง
มาแล้ว และจักได้ฟังต่อไป พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร
คือ เธอทั้งหลายเคยได้เห็น เคยได้ฟังมาบ้างหรือไม่ว่า ‘คนผู้นี้เป็นผู้ละเว้นขาด
จากการพูดเท็จ พระราชาจับเขาแล้วประหาร จองจำ เนรเทศ หรือทำตามพระราช
ประสงค์ เพราะการงดเว้นจากการพูดเท็จเป็นเหตุ”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๓. อุปาสกวรรค ๘. ราชสูตร
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ไม่เคยได้เห็น ไม่เคยได้ฟังมาอย่างนั้นเลย พระ
พุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ภิกษุทั้งหลาย แม้เราก็ไม่เคยได้เห็น ไม่เคยได้
ฟังมาอย่างนั้นเลยว่า ‘คนผู้นี้เป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดเท็จ พระราชาจับเขาแล้ว
ประหาร จองจำ เนรเทศ หรือทำตามพระราชประสงค์ เพราะการงดเว้นจากการพูด
เท็จเป็นเหตุ’ แต่ถ้าบาปกรรมของเขานั่นเองปรากฏให้รู้ว่า ‘คนผู้นี้ทำลายประโยชน์
ของคหบดี หรือบุตรของคหบดีด้วยการพูดเท็จ พระราชาจับเขาแล้วประหาร จองจำ
เนรเทศ หรือทำตามพระราชประสงค์ เพราะการพูดเท็จเป็นเหตุ เธอทั้งหลายเคย
ได้เห็น เคยได้ฟังบาปกรรมเช่นนี้บ้างหรือไม่”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ข้าพระองค์ทั้งหลายเคยได้เห็นมาแล้ว เคยได้ฟัง
มาแล้ว และจักได้ฟังต่อไป พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ
เธอทั้งหลายเคยได้เห็น เคยได้ฟังมาบ้างหรือไม่ว่า ‘คนผู้นี้เป็นผู้ละเว้นขาดจากการ
เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท พระราชาจับเขาแล้ว
ประหาร จองจำ เนรเทศ หรือทำตามพระราชประสงค์ เพราะการงดเว้นจากการเสพ
ของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาทเป็นเหตุ”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ไม่เคยได้เห็นไม่เคยได้ฟังมาอย่างนั้นเลย พระ
พุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ภิกษุทั้งหลาย แม้เราก็ไม่เคยได้เห็น ไม่เคยได้
ฟังมาอย่างนั้นเลยว่า ‘คนผู้นี้เป็นผู้ละเว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัย
อันเป็นเหตุแห่งความประมาท พระราชาจับเขาแล้วประหาร จองจำ เนรเทศ หรือ
ทำตามพระราชประสงค์ เพราะการงดเว้นจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัย
อันเป็นเหตุแห่งความประมาทเป็นเหตุ’ แต่ถ้าบาปกรรมของเขานั่นเองปรากฏให้รู้ว่า
‘คนผู้นี้หมกมุ่นการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท
แล้วฆ่าหญิงหรือชาย คนผู้นี้หมกมุ่นการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุ
แห่งความประมาทแล้วลักทรัพย์จากบ้านหรือป่า คนผู้นี้หมกมุ่นการเสพของมึนเมา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๙๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๓. อุปาสกวรรค ๙. คิหิสูตร
คือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาทแล้วประพฤติล่วงในหญิงหรือลูกสาว
ของผู้อื่น คนผู้นี้หมกมุ่นการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความ
ประมาทแล้วทำลายประโยชน์ของคหบดีหรือบุตรของคหบดีด้วยการพูดเท็จ พระ
ราชาจับเขาแล้วประหาร จองจำ เนรเทศ หรือทำตามพระราชประสงค์ เพราะการ
เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาทเป็นเหตุ เธอทั้งหลาย
เคยได้เห็น เคยได้ฟังบาปกรรมเช่นนี้บ้างหรือไม่”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ข้าพระองค์ทั้งหลายเคยได้เห็นมาแล้ว เคยได้ฟัง
มาแล้ว และจักได้ฟังต่อไป พระพุทธเจ้าข้า”
ราชสูตรที่ ๘ จบ

๙. คิหิสูตร
ว่าด้วยคฤหัสถ์
[๑๗๙] ครั้งนั้น อนาถบิณฑิกคหบดี มีอุบาสกประมาณ ๕๐๐ คนแวดล้อม
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ลำดับนั้น
พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกท่านพระสารีบุตรมาตรัสว่า สารีบุตร เธอทั้งหลายพึง
รู้จักคฤหัสถ์คนหนึ่งผู้นุ่งห่มผ้าขาว มีการงานสำรวมดีในสิกขาบท ๕ ประการ
และเป็นผู้ได้ธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน๑ อันมีในจิตยิ่ง๒ ๔ ประการ
ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก และคฤหัสถ์นั้นเมื่อหวังอยู่ก็พึง
พยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า ‘เราเป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว

เชิงอรรถ :
๑ ธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เป็นชื่อของรูปาวจรฌาน และรูปาวจรฌานนี้เอง ที่เรียกว่าเป็น
ธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เพราะเป็นเหตุให้ท่านผู้บำเพ็ญฌานได้ประสพเนกขัมมสุขที่ไม่เศร้าหมอง
ในอัตภาพปัจจุบัน (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๗๙/๖๖)
๒ จิตยิ่ง (อภิเจตสิก) ในที่นี้หมายถึงจิตที่ยอดเยี่ยม(อุตตมจิต) ได้แก่จิตที่บริสุทธิ์(วิสุทธจิต) (องฺ.ปญฺจก.อ.
๓/๑๗๙/๖๘-๖๙, องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๑๗๙/๖๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๙๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๓. อุปาสกวรรค ๙. คิหิสูตร
มีเปตวิสัยสิ้นแล้ว มีอบายสิ้นแล้ว มีทุคติสิ้นแล้ว มีวินิบาตสิ้นแล้ว เป็นโสดาบัน
ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิ๑ในวันข้างหน้า’
คฤหัสถ์เป็นผู้มีการงานสำรวมดีในสิกขาบท ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์
๒. เป็นผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์
๓. เป็นผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม
๔. เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ
๕. เป็นผู้เว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่ง
ความประมาท
คฤหัสถ์เป็นผู้มีการงานสำรวมดีในสิกขาบท ๕ ประการนี้
คฤหัสถ์เป็นผู้ได้ธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันอันมีในจิตยิ่ง ๔ ประการ
ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก อะไรบ้าง คือ
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า
‘แม้เพราะเหตุนี้พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้
ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จ
ไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็น
ศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้
มีพระภาค’ นี้เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันอันมีในจิตยิ่ง
ประการที่ ๑ อันอริยสาวกนั้นได้ถึงแล้ว เพื่อความหมดจดแห่งจิตที่
ยังไม่หมดจด เพื่อความผ่องแผ้วแห่งจิตที่ยังไม่ผ่องแผ้ว

เชิงอรรถ :
๑ สัมโพธิ ในที่นี้หมายถึงมรรค ๓ เบื้องสูง คือสกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค และอรหัตตมรรค (องฺ.ติก.อ.
๒/๘๗/๒๔๒, ที.สี.อ. ๓๗๓/๒๘๑, องฺ.ติก.ฏีกา ๒/๘๗/๒๓๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๐๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๓. อุปาสกวรรค ๙. คิหิสูตร
๒. เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า
‘พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ผู้ปฏิบัติจะพึง
เห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อม
เข้ามาในตน๑ อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน นี้เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็น
สุขในปัจจุบัน อันมีในจิตยิ่งประการที่ ๒ อันอริยสาวกนั้นได้ถึงแล้ว
เพื่อความหมดจดแห่งจิตที่ยังไม่หมดจด เพื่อความผ่องแผ้วแห่งจิต
ที่ยังไม่ผ่องแผ้ว
๓. เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า
‘พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง
ปฏิบัติถูกทาง ปฏิบัติสมควร ได้แก่อริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย
ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็น
นาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก’ นี้เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
อันมีในจิตยิ่งประการที่ ๓ อันอริยสาวกนั้นได้ถึงแล้ว เพื่อความ
หมดจดแห่งจิตที่ยังไม่หมดจด เพื่อความผ่องแผ้วแห่งจิตที่ยังไม่
ผ่องแผ้ว
๔. เป็นผู้ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะใคร่๒ ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง
ไม่พร้อย เป็นไท ท่านผู้รู้สรรเสริญ ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ
เป็นไปเพื่อสมาธิ นี้เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน อันมีในจิต
ยิ่งประการที่ ๔ อันอริยสาวกนั้นได้ถึงแล้ว เพื่อความหมดจดแห่ง
จิตที่ยังไม่หมดจด เพื่อความผ่องแผ้วแห่งจิตที่ยังไม่ผ่องแผ้ว
คฤหัสถ์ผู้ได้ธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันอันมีในจิตยิ่ง ๔ ประการนี้
ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก

เชิงอรรถ :
๑ ควรน้อมเข้ามาในตน หมายถึงควรน้อมเข้ามาสู่จิตของตนหรือควรน้อมเข้ามาเพื่อการปฏิบัติ (องฺ.ติก.อ.
๒/๕๔/๑๕๘)
๒ ศีลที่พระอริยะใคร่ ในที่นี้หมายถึงศีลในอริยมรรค ศีลในอริยผล (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๗๙/๖๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๓. อุปาสกวรรค ๙. คิหิสูตร
สารีบุตร พวกเธอพึงรู้จักคฤหัสถ์คนใดคนหนึ่งผู้นุ่งห่มผ้าขาว มีการงาน
สำรวมดีในสิกขาบท ๕ ประการ และเป็นผู้ได้ธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
อันมีในจิตยิ่ง ๔ ประการนี้ ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
และคฤหัสถ์นั้นเมื่อหวังอยู่ ก็พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า ‘เราเป็นผู้มีนรก
สิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีเปตวิสัยสิ้นแล้ว มีอบายสิ้นแล้ว มีทุคติ
สิ้นแล้ว และมีวินิบาตสิ้นแล้ว เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะ
สำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’
บัณฑิตเห็นภัยในนรกแล้ว พึงเว้นบาปเสีย
สมาทานอริยธรรม๑แล้ว พึงเว้นบาปเสีย
ก็ในเมื่อมีความพยายามอยู่
ไม่พึงเบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย
ไม่พึงกล่าวเท็จทั้งที่รู้
ไม่พึงหยิบฉวยสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้
พึงยินดีภริยาของตน ไม่พึงยินดีภริยาผู้อื่น
ไม่พึงดื่มสุราเมรัย๒เครื่องยังจิตให้หลงไหล
พึงระลึกถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพึงตรึกถึงพระธรรม๓
พึงเจริญจิตอันปราศจากพยาบาท๔เพื่อเกื้อกูลแก่เทวโลก
ทักษิณาที่ผู้ต้องการบุญแสวงหาบุญอยู่ให้แล้วในสัตบุรุษ๕เป็นอัน
ดับแรก

เชิงอรรถ :
๑ อริยธรรม ในที่นี้หมายถึงศีล ๕ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๗๙/๖๙)
๒ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๓๒ (จุนทีสูตร) หน้า ๔๙ ในเล่มนี้
๓ ตรึกถึงพระธรรม ในที่นี้หมายถึงระลึกถึงโลกุตตรธรรม ๙ ประการ คือ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑
(องฺ.ปญฺจก.อ.๓/๑๗๙/๖๙)
๔ จิตอันปราศจากพยาบาท ในที่นี้หมายถึงพรหมวิหารจิตมีเมตตาจิตเป็นต้น ที่ไม่มีทุกข์ (องฺ.ปญฺจก.อ.
๓/๑๗๙/๖๙)
๕ สัตบุรุษ ในที่นี้หมายถึงพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวกของพระพุทธเจ้า (องฺ.ปญฺจก.อ.
๓/๑๗๙/๖๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๓. อุปาสกวรรค ๙. คิหิสูตร
ในเมื่อไทยธรรมมีอยู่พร้อม ย่อมมีผลไพบูลย์
สารีบุตร เราจักบอกสัตบุรุษให้ จงฟังคำของเรา
โคผู้ที่ฝึกแล้วเป็นโคใช้งานที่สมบูรณ์ด้วยกำลัง
มีเชาวน์ดี และเป็นสัตว์ที่ซื่อตรง
จะเกิดในสีสันใด ๆ คือ สีดำ สีขาว สีแดง
สีเขียว สีด่าง สีตามธรรมชาติของตน
สีเหมือนโคธรรมดา หรือสีเหมือนนกพิราบก็ตาม
ชนทั้งหลายเทียมมันเข้าในแอก
ไม่คำนึงถึงสีสันของมัน ฉันใด
ผู้ที่ฝึกตนดีแล้ว มีความประพฤติดีงาม
ตั้งอยู่ในธรรม สมบูรณ์ด้วยศีล พูดคำสัตย์
มีใจประกอบด้วยหิริ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
จะเกิดในหมู่มนุษยชาติใด ๆ คือ กษัตริย์
พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คนจัณฑาล และคนเทขยะก็ตาม
ก็ละความเกิดและความตายได้
มีพรหมจรรย์บริบูรณ์ ปลงภาระได้แล้ว
ไม่ประกอบด้วยกิเลส ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว
ไม่มีอาสวะ รู้จบธรรมทุกอย่าง๑
ดับสนิทเพราะไม่ถือมั่น
ในเขตที่ปราศจากธุลี๒เช่นนั้นแล
ทักษิณาย่อมมีผลมาก

เชิงอรรถ :
๑ ธรรมทุกอย่าง ในที่นี้หมายถึงขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ (องฺ.ติก.อ. ๒/๕๘/๑๖๑)
๒ ปราศจากธุลี หมายถึงไม่มีธุลี คือ ราคะ โทสะ และโมหะ (องฺ.ติก.อ. ๒/๕๘/๑๖๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๐๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๓. อุปาสกวรรค ๑๐. ภเวสีสูตร
คนพาลไม่รู้แจ้ง๑ ไม่มีปัญญา ไม่ได้สดับรับฟัง
ย่อมให้ทานภายนอก๒ ไม่เข้าไปหาสัตบุรุษ
ส่วนเหล่าชนผู้มีศรัทธาหยั่งลงตั้งมั่นในพระสุคต
ย่อมเข้าไปหาสัตบุรุษผู้มีปัญญา
ที่เขายกย่องกันว่าเป็นนักปราชญ์
ท่านเหล่านั้นผู้เป็นบัณฑิต ย่อมไปสู่เทวโลก
หรือไม่ก็เกิดในตระกูลดีในโลกนี้
และบรรลุนิพพานได้โดยลำดับ
คิหิสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ภเวสีสูตร
ว่าด้วยภเวสีอุบาสก
[๑๘๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค เสด็จจาริกไปในแคว้นโกศล พร้อมด้วย
ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ขณะที่เสด็จพระดำเนินไปตามหนทางไกล ได้ทอดพระเนตรเห็น
ป่าสาละใหญ่ ณ สถานที่แห่งหนึ่ง จึงทรงแวะลงจากทางเสด็จเข้าไปสู่ป่าสาละนั้น
ครั้นเสด็จถึงแล้วจึงได้ทรงแสดงการแย้ม๓ ณ สถานที่แห่งหนึ่ง
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ได้คิดว่า “อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้พระผู้มีพระภาค
ทรงแสดงอาการแย้ม พระตถาคตย่อมไม่ทรงแสดงอาการแย้มให้ปรากฏโดยไม่มีเหตุ”
จึงได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้
พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอาการแย้ม พระตถาคตย่อมไม่ทรงแสดงอาการแย้มโดย
ไม่มีเหตุ”

เชิงอรรถ :
๑ ไม่รู้แจ้ง ในที่นี้หมายถึงไม่รู้จักนาบุญ หรือเขตบุญ (องฺ.ติก.อ. ๒/๕๘/๑๖๑)
๒ ภายนอก ในที่นี้หมายถึงนอกพุทธศาสนา (องฺ.ติก.อ. ๒/๕๘/๑๖๑)
๓ แสดงอาการแย้ม หมายถึงการยิ้มน้อย ๆ เพียงเห็นไรฟัน (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๗๙/๖๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๓. อุปาสกวรรค ๑๐. ภเวสีสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ เรื่องเคยมีมาแล้ว ณ สถานที่นี้ ได้มีเมือง
มั่งคั่ง กว้างขวาง มีประชาชนมากมาย มีมนุษย์หนาแน่น พระผู้มีพระภาคพระนาม
ว่ากัสสปอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอาศัยอยู่ในพระนครนั้น อุบาสกชื่อว่าภเวสี
ของพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นผู้มีปกติไม่ทำ
ศีลให้บริบูรณ์๑ อุบาสก ๕๐๐ คน เป็นผู้อันภเวสีอุบาสกชี้แจงชักชวน เป็นผู้มี
ปกติไม่ทำศีลให้บริบูรณ์ ต่อมา ภเวสีอุบาสกมีความคิดว่า “เราเป็นผู้มีอุปการะมาก
เป็นหัวหน้า เป็นผู้ชักชวนอุบาสก ๕๐๐ คนเหล่านี้ ทั้งเราและอุบาสก ๕๐๐ คน
เหล่านี้ต่างก็เป็นผู้มีปกติไม่ทำศีลให้บริบูรณ์ ต่างคนต่างก็เท่า ๆ กัน ไม่ยิ่งหย่อนไป
กว่ากัน เอาเถอะ เราควรปฏิบัติให้ยิ่งกว่า
ต่อมา ภเวสีอุบาสกได้เข้าไปหาอุบาสก ๕๐๐ คนเหล่านั้นแล้วกล่าวดังนี้ว่า
‘ท่านทั้งหลาย ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ขอพวกท่านจงจำข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นผู้มีปกติทำ
ศีลให้บริบูรณ์’
ครั้งนั้น อุบาสก ๕๐๐ คนเหล่านั้นมีความคิดว่า ‘ภเวสีอุบาสกผู้เป็นนายมี
อุปการะมาก เป็นหัวหน้า เป็นผู้ชักชวนพวกเรา ก็ภเวสีอุบาสกผู้เป็นนายจักเป็นผู้มี
ปกติทำศีลให้บริบูรณ์ ไฉนพวกเราจะเป็นเช่นนั้นบ้างไม่ได้เล่า’ จึงพากันเข้าไปหา
ภเวสีอุบาสกแล้วกล่าวว่า ‘ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ขอภเวสีอุบาสกผู้เป็นนายจงจำ
อุบาสก ๕๐๐ คนแม้เหล่านี้ว่าเป็นผู้มีปกติทำศีลให้บริบูรณ์’
ครั้นต่อมา ภเวสีอุบาสกมีความคิดว่า ‘เราแลเป็นผู้มีอุปการะมาก เป็น
หัวหน้า เป็นผู้ชักชวนอุบาสกประมาณ ๕๐๐ คนเหล่านี้ ทั้งเราและอุบาสก ๕๐๐ คน
เหล่านี้ ต่างก็เป็นผู้มีปกติทำศีลให้บริบูรณ์ ต่างคนต่างก็เท่า ๆ กัน ไม่ยิ่งหย่อนไป
กว่ากัน เอาเถอะ เราควรปฏิบัติให้ยิ่งกว่า’ จึงได้เข้าไปหาอุบาสก ๕๐๐ คนเหล่านั้น
แล้วกล่าวว่า ‘ท่านทั้งหลาย ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ขอพวกท่านจงจำข้าพเจ้าไว้ว่า
เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ เว้นห่างไกลจากเมถุนธรรมอันเป็นกิจของชาวบ้าน’


เชิงอรรถ :
๑ มีปกติไม่ทำศีลให้บริบูรณ์ หมายถึงไม่รักษาศีลห้าให้สม่ำเสมอ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๘๐/๗๐)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๐๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๓. อุปาสกวรรค ๑๐. ภเวสีสูตร
อุบาสก ๕๐๐ คนเหล่านั้นมีความคิดว่า ‘ภเวสีอุบาสกผู้เป็นนายมีอุปการะมาก
เป็นหัวหน้า เป็นผู้ชักชวนพวกเรา ภเวสีอุบาสกผู้เป็นนายจักประพฤติพรหมจรรย์
เว้นห่างไกลจากเมถุนธรรมอันเป็นกิจของชาวบ้าน ไฉนพวกเราจะเป็นเช่นนั้นบ้าง
ไม่ได้เล่า’ จึงได้เข้าไปหาภเวสีอุบาสกแล้วกล่าวดังนี้ว่า ‘ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
ขอภเวสีอุบาสกผู้เป็นนาย จงจำอุบาสก ๕๐๐ คนแม้เหล่านี้ว่าเป็นผู้ประพฤติ
พรหมจรรย์ เว้นห่างไกลจากเมถุนธรรมอันเป็นกิจของชาวบ้าน’
ครั้นต่อมา ภเวสีอุบาสกมีความคิดว่า ‘เราเองเป็นผู้มีอุปการะมาก เป็นหัวหน้า
เป็นผู้ชักชวนอุบาสก ๕๐๐ คนเหล่านี้ ทั้งเราและอุบาสก ๕๐๐ คนเหล่านี้ต่างก็เป็นผู้มี
ปกติทำศีลให้บริบูรณ์ เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ เว้นห่างไกลจากเมถุนธรรมอัน
เป็นกิจของชาวบ้าน ต่างคนต่างก็เท่า ๆ กัน ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เอาเถอะ เรา
ควรปฏิบัติให้ยิ่งกว่า’ จึงได้เข้าไปหาอุบาสก ๕๐๐ คนเหล่านั้นแล้วกล่าวดังนี้ว่า
‘ท่านทั้งหลาย ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ขอพวกท่านจงจำข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นผู้บริโภค
มื้อเดียว ไม่บริโภคตอนกลางคืน งดเว้นจากการบริโภคในเวลาวิกาล’
อุบาสก ๕๐๐ คนเหล่านั้นมีความคิดว่า ‘ภเวสีอุบาสกเป็นนายผู้มีอุปการะมาก
เป็นหัวหน้า เป็นผู้ชักชวนพวกเรา ภเวสีอุบาสกผู้เป็นนายจักเป็นผู้บริโภคมื้อเดียว
ไม่บริโภคตอนกลางคืน งดเว้นจากการบริโภคในเวลาวิกาล ไฉนพวกเราจะเป็นเช่น
นั้นบ้างไม่ได้เล่า’ จึงได้เข้าไปหาภเวสีอุบาสกแล้วกล่าวดังนี้ว่า ‘ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
ขอภเวสีอุบาสกผู้เป็นนายจงจำอุบาสก ๕๐๐ คนแม้เหล่านี้ว่าเป็นผู้บริโภคมื้อเดียว
ไม่บริโภคตอนกลางคืน งดเว้นจากการบริโภคในเวลาวิกาล’
ครั้นต่อมา ภเวสีอุบาสกมีความคิดว่า ‘เราแลเป็นผู้มีอุปการะมาก เป็นหัวหน้า
เป็นผู้ชักชวนอุบาสก ๕๐๐ คนเหล่านี้ ทั้งเราและอุบาสก ๕๐๐ คนเหล่านี้ ต่างก็
เป็นผู้มีปกติทำศีลให้บริบูรณ์ เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ เว้นห่างไกลจากเมถุนธรรม
อันเป็นกิจของชาวบ้าน เป็นผู้บริโภคมื้อเดียว ไม่บริโภคตอนกลางคืน งดเว้นจาก
การบริโภคในเวลาวิกาล ต่างคนต่างก็เท่า ๆ กัน ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เอาเถอะ
เราควรปฏิบัติให้ยิ่งกว่า’ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้าถึงที่ประทับ แล้วได้กราบทูลดังนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์
พึงได้บรรพชาพึงได้อุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาค’


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๐๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๓. อุปาสกวรรค ๑๐. ภเวสีสูตร
ภเวสีอุบาสกได้บรรพชาได้อุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาคพระนามว่า
กัสสปอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วแล ครั้นอุปสมบทแล้วไม่นาน จึงหลีกไปอยู่ผู้เดียว
ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนัก ก็ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์
ยอดเยี่ยม๑อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่กุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรชิต
โดยชอบ ต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ได้รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
อีกต่อไป’
อานนท์ ภเวสีภิกษุได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย
อานนท์ คราวนั้น อุบาสก ๕๐๐ คนเหล่านั้น ได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘ภเวสี
อุบาสกผู้เป็นนายมีอุปการะมาก เป็นหัวหน้า เป็นผู้ชักชวนพวกเรา ภเวสีอุบาสกผู้
เป็นนาย จักโกนผมและหนวดนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
ไฉนพวกเราจักเป็นเช่นนั้นบ้างไม่ได้’ จึงได้พากันเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคพระนามว่า
กัสสปอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าถึงที่ประทับแล้วกราบทูลว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ข้าพระองค์ทั้งหลายพึงได้บรรพชาพึงได้อุปสมบทในสำนักพระผู้มีพระภาค’
อุบาสก ๕๐๐ คนเหล่านั้นได้บรรพชาได้อุปสมบทในสำนักพระผู้มีพระภาค
พระนามว่ากัสสปอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วแล
ต่อมา ภเวสีภิกษุได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘เราเองเป็นผู้ได้วิมุตติสุขอันยอดเยี่ยมนี้
ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก โอหนอ ภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป
แม้เหล่านี้ ก็พึงเป็นผู้ได้วิมุตติสุขอันยอดเยี่ยมนี้ ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก
ได้โดยไม่ลำบาก’
คราวนั้นภิกษุ ๕๐๐ รูปเหล่านั้น ต่างเป็นผู้หลีกไปอยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท
มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนัก ก็ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยม

เชิงอรรถ :
๑ ประโยชน์ยอดเยี่ยม ในที่นี้หมายถึงอรหัตตผล หรืออริยผลอันเป็นที่สุดแห่งมรรคพรหมจรรย์ (องฺ.ทุก.อ.
๒/๕/๗, ม.ม.อ. ๒/๘๒/๘๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๐๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๓. อุปาสกวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่กุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ
ต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ได้รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
ภิกษุ ๕๐๐ รูปเหล่านั้นมีภเวสีภิกษุเป็นประมุข พยายามบำเพ็ญธรรมที่สูง ๆ
ขึ้นไป ประณีตขึ้นไป ได้ทำให้แจ้งซึ่งวิมุตติอันยอดเยี่ยม ด้วยประการฉะนี้
อานนท์ เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลาย
เมื่อพยายามบำเพ็ญธรรมที่สูง ๆ ขึ้นไป ประณีตขึ้นไป ก็จักทำให้แจ้งซึ่งวิมุตติอัน
ยอดเยี่ยม’ เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล”
ภเวสีสูตรที่ ๑๐ จบ
อุปาสกวรรคที่ ๓ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สารัชชสูตร ๒. วิสารทสูตร
๓. นิรยสูตร ๔. เวรสูตร
๕. จัณฑาลสูตร ๖. ปีติสูตร
๗. วณิชชาสูตร ๘. ราชสูตร
๙. คิหิสูตร ๑๐. ภเวสีสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๐๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๔. อรัญญวรรค ๑. อารัญญิกสูตร
๔. อรัญญวรรค
หมวดว่าด้วยป่า
๑. อารัญญิกสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร
[๑๘๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร ๕
จำพวกนี้
ภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร ๕ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. ภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตรเพราะโง่เขลา เพราะหลงงมงาย๑
๒. ภิกษุผู้มีความปรารถนาชั่ว ถูกความปรารถนาครอบงำ๒ จึงอยู่ป่า
เป็นวัตร
๓. ภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตรเพราะเป็นบ้า เพราะมีจิตฟุ้งซ่าน
๔. ภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร เพราะรู้ว่า ‘เป็นวัตรที่พระพุทธเจ้าและสาวก
ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายสรรเสริญ’
๕. ภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร เพราะอาศัยความมักน้อย ความสันโดษ
ความขัดเกลา ความสงัด ความต้องการด้วยข้อปฏิบัติอันงามเช่นนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้ ภิกษุผู้อยู่ป่า
เป็นวัตร เพราะอาศัยความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความสงัด
ความต้องการด้วยข้อปฏิบัติอันงามเช่นนี้ เป็นผู้เลิศ เป็นผู้ประเสริฐ เป็นประธาน
เป็นผู้สูงสุด และเป็นผู้ประเสริฐสุด

เชิงอรรถ :
๑ เพราะโง่เขลา เพราะหลงงมงาย หมายถึงไม่รู้วิธีปฏิบัติสมาทาน และไม่รู้อานิสงส์แห่งการปฏิบัติ-
สมาทาน (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๘๑/๗๑)
๒ มีความปรารถนาชั่ว ถูกความปรารถนาครอบงำ หมายถึงมีความปรารถนาว่า เมื่อเราอยู่ป่า คนทั้งหลาย
ก็จักสักการะเราด้วยปัจจัย ๔ ด้วยคิดว่า ‘ภิกษุรูปนี้อยู่ป่าเป็นวัตร’ ทั้งจักยกย่องเราว่า ‘ภิกษุนี้เป็นลัชชี
ภิกษุนี้ชอบสงัด’ จึงอยู่ป่า (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๘๑/๗๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๐๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๔. อรัญญวรรค ๒. จีวรสูตร
เปรียบเหมือนนมสดเกิดจากแม่โค นมส้มเกิดจากนมสด เนยข้นเกิดจาก
นมส้ม เนยใสเกิดจากเนยข้น หัวเนยใสเกิดจากเนยใส บรรดาโครส ๕ ชนิดนั้น
หัวเนยใส ชาวโลกกล่าวว่าเลิศ แม้ฉันใด
บรรดาภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้ ภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร เพราะอาศัย
ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความสงัด ความต้องการด้วยข้อ
ปฏิบัติอันงามเช่นนี้ เป็นผู้เลิศ เป็นผู้ประเสริฐ เป็นประธาน เป็นผู้สูงสุด และเป็นผู้
ประเสริฐสุด ฉันนั้นเหมือนกัน
อารัญญิกสูตรที่ ๑ จบ

๒. จีวรสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร
[๑๘๒] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้
ภิกษุผู้ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ๕ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. ภิกษุผู้ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เพราะโง่เขลา เพราะหลงงมงาย
ฯลฯ๑
๕. ภิกษุผู้ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เพราะอาศัยความมักน้อย ความ
สันโดษ ความขัดเกลา ความสงัด ความต้องการด้วยข้อปฏิบัติอัน
งามเช่นนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้แล
จีวรสูตรที่ ๒ จบ

เชิงอรรถ :
๑ “ฯลฯ” ที่ปรากฏในสูตรที่ ๒-๙ ของวรรคนี้ มีความเต็มเหมือนสูตรที่ ๑ และสูตรที่ ๑๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๔. อรัญญวรรค ๔. โสสานิกสูตร
๓. รุกขมูลิกสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้อยู่โคนไม้เป็นวัตร
[๑๘๓] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่โคนไม้เป็นวัตร ๕ จำพวกนี้
ภิกษุผู้อยู่โคนไม้เป็นวัตร ๕ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. ภิกษุผู้อยู่โคนไม้เป็นวัตร เพราะโง่เขลา เพราะหลงงมงาย
ฯลฯ
๕. ภิกษุผู้อยู่โคนไม้เป็นวัตร เพราะอาศัยความมักน้อย ความสันโดษ
ความขัดเกลา ความสงัด ความต้องการด้วยข้อปฏิบัติอันงามเช่นนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่โคนไม้เป็นวัตร ๕ จำพวกนี้แล
รุกขมูลิกสูตรที่ ๓ จบ

๔. โสสานิกสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้อยู่ป่าช้าเป็นวัตร
[๑๘๔] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ป่าช้าเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้
ภิกษุผู้อยู่ป่าช้าเป็นวัตร ๕ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. ภิกษุผู้อยู่ป่าช้าเป็นวัตร เพราะโง่เขลา เพราะหลงงมงาย
ฯลฯ
๕. ภิกษุผู้อยู่ป่าช้าเป็นวัตร เพราะอาศัยความมักน้อย ความสันโดษ
ความขัดเกลา ความสงัด ความต้องการด้วยข้อปฏิบัติอันงามเช่นนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ป่าช้าเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้แล
โสสานิกสูตรที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๑๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๔. อรัญญวรรค ๘. เอกาสนิกสูตร
๕. อัพโภกาสิกสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้อยู่กลางแจ้งเป็นวัตร
[๑๘๕] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่กลางแจ้งเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้
ฯลฯ
อัพโภกาสิกสูตรที่ ๕ จบ

๖. เนสัชชิกสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้นั่งเป็นวัตร
[๑๘๖] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้นั่งเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้
ฯลฯ
เนสัชชิกสูตรที่ ๖ จบ

๗. ยถาสันถติกสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้อยู่ในเสนาสนะตามที่จัดไว้เป็นวัตร
[๑๘๗] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ในเสนาสนะตามที่จัดไว้เป็นวัตร ๕ จำพวกนี้
ฯลฯ
ยถาสันถติกสูตรที่ ๗ จบ

๘. เอกาสนิกสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้นั่งฉันอาสนะเดียวเป็นวัตร
[๑๘๘] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้นั่งฉันอาสนะเดียวเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้
ฯลฯ
เอกาสนิกสูตรที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๔. อรัญญวรรค ๑๐. ปัตตปิณฑิกสูตร
๙. ขลุปัจฉาภัตติกสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้ห้ามภัตที่เขานำมาถวายภายหลังเป็นวัตร
[๑๘๙] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ห้ามภัตที่เขานำมาถวายภายหลังเป็นวัตร ๕
จำพวกนี้
ฯลฯ
ขลุปัจฉาภัตติกสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ปัตตปิณฑิกสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้ฉันในบาตรเป็นวัตร
[๑๙๐] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ฉันในบาตรเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้
ภิกษุผู้ฉันในบาตรเป็นวัตร ๕ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. ภิกษุผู้ฉันในบาตรเป็นวัตร เพราะโง่เขลา เพราะหลงงมงาย
๒. ภิกษุผู้มีความปรารถนาชั่ว ถูกความปรารถนาครอบงำ จึงเป็นผู้ฉัน
ในบาตรเป็นวัตร
๓. ภิกษุผู้ฉันในบาตรเป็นวัตร เพราะเป็นบ้า เพราะมีจิตฟุ้งซ่าน
๔. ภิกษุผู้ฉันในบาตรเป็นวัตร เพราะรู้ว่า ‘เป็นวัตรที่พระพุทธเจ้าและ
สาวกของพระพุทธเจ้าทั้งหลายสรรเสริญ’
๕. ภิกษุฉันในบาตรเป็นวัตร เพราะอาศัยความมักน้อย ความสันโดษ
ความขัดเกลา ความสงัด ความต้องการด้วยข้อปฏิบัติอันงามเช่นนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ฉันในบาตรเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุผู้ฉันในบาตรเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้ ภิกษุผู้ฉันใน
บาตรเป็นวัตร เพราะอาศัยความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความสงัด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๔. อรัญญวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ความต้องการด้วยข้อปฏิบัติอันงามเช่นนี้ เป็นผู้เลิศ เป็นผู้ประเสริฐ เป็นประธาน
เป็นผู้สูงสุด และเป็นผู้ประเสริฐสุด
เปรียบเหมือนนมสดเกิดจากแม่โค นมส้มเกิดจากนมสด เนยข้นเกิดจากนมส้ม
เนยใสเกิดจากเนยข้น หัวเนยใสเกิดจากเนยใส บรรดาโครส ๕ ชนิดนั้น หัวเนยใส
ชาวโลกกล่าวว่าเลิศ แม้ฉันใด
บรรดาภิกษุผู้ฉันในบาตรเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้ ภิกษุผู้ฉันในบาตรเป็นวัตร
เพราะอาศัยความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความสงัด ความต้องการ
ด้วยข้อปฏิบัติอันงามเช่นนี้ เป็นผู้เลิศ เป็นผู้ประเสริฐ เป็นประธาน เป็นผู้สูงสุด
และเป็นผู้ประเสริฐสุด
ปัตตปิณฑิกสูตรที่ ๑๐ จบ
อรัญญวรรคที่ ๔ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อารัญญิกสูตร ๒. จีวรสูตร
๓. รุกขมูลิกสูตร ๔. โสสานิกสูตร
๕. อัพโภกาสิกสูตร ๖. เนสัชชิกสูตร
๗. ยถาสันถติกสูตร ๘. เอกาสนิกสูตร
๙. ขลุปัจฉาภัตติกสูตร ๑๐. ปัตตปิณฑิกสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๑๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๕. พราหมณวรรค ๑. โสณสูตร
๕. พราหมณวรรค
หมวดว่าดัวยพราหมณ์
๑. โสณสูตร
ว่าด้วยธรรมของพราหมณ์เปรียบเทียบกับสุนัข
[๑๙๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ธรรมของพราหมณ์ที่เก่าแก่
๕ ประการนี้ บัดนี้ ปรากฏในพวกสุนัข ไม่ปรากฏในพวกพราหมณ์
ธรรมของพราหมณ์ที่เก่าแก่ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทราบว่า เมื่อก่อน พวกพราหมณ์สมสู่กับพราหมณีเท่านั้น ไม่สมสู่
กับหญิงที่ไม่ใช่พราหมณี แต่บัดนี้ พวกพราหมณ์สมสู่กับพราหมณี
บ้าง สมสู่กับหญิงที่ไม่ใช่พราหมณีบ้าง บัดนี้ พวกสุนัขสมสู่กับสุนัข
ตัวเมียเท่านั้น ไม่สมสู่กับสัตว์ตัวเมียที่ไม่ใช่สุนัข นี้เป็นธรรมของ
พราหมณ์ที่เก่าแก่ประการที่ ๑ บัดนี้ ปรากฏในพวกสุนัข ไม่ปรากฏ
ในพวกพราหมณ์
๒. ทราบว่า เมื่อก่อน พวกพราหมณ์สมสู่กับพราหมณีที่มีระดูเท่านั้น
ไม่สมสู่กับพราหมณีที่ไม่มีระดู แต่บัดนี้ พวกพราหมณ์สมสู่กับ
พราหมณีที่มีระดูบ้าง สมสู่กับพราหมณีที่ไม่มีระดูบ้าง บัดนี้
พวกสุนัขสมสู่กับสุนัขตัวเมียที่มีระดูเท่านั้น ไม่สมสู่กับสุนัขตัวเมีย
ที่ไม่มีระดู นี้เป็นธรรมของพราหมณ์ที่เก่าแก่ประการที่ ๒ บัดนี้
ปรากฏในพวกสุนัข ไม่ปรากฏในพวกพราหมณ์
๓. ทราบว่า เมื่อก่อน พวกพราหมณ์ไม่ซื้อไม่ขายพราหมณี ยังการอยู่
ร่วมกันให้เป็นไปด้วยความรักด้วยความผูกพัน แต่บัดนี้ พวก
พราหมณ์ซื้อบ้าง ขายบ้างซึ่งพราหมณี ยังการอยู่ร่วมกันให้เป็นไป
ด้วยความรักด้วยความผูกพัน บัดนี้ พวกสุนัขไม่ซื้อ ไม่ขายสุนัข
ตัวเมีย ยังการอยู่ร่วมกันให้เป็นไปด้วยความรักด้วยความผูกพัน
นี้เป็นธรรมของพราหมณ์ที่เก่าแก่ประการที่ ๓ บัดนี้ ปรากฏใน
พวกสุนัข ไม่ปรากฏในพวกพราหมณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๕. พราหมณวรรค ๒. โทณพราหมณสูตร
๔. ทราบว่า เมื่อก่อน พวกพราหมณ์ไม่ทำการสะสมทรัพย์บ้าง
ข้าวเปลือกบ้าง เงินบ้าง ทองบ้าง แต่บัดนี้ พวกพราหมณ์ทำการ
สะสมทรัพย์บ้าง ข้าวเปลือกบ้าง เงินบ้าง ทองบ้าง บัดนี้ พวกสุนัข
ไม่ทำการสะสมทรัพย์บ้าง ข้าวเปลือกบ้าง เงินบ้าง ทองบ้าง นี้เป็น
ธรรมของพราหมณ์ที่เก่าแก่ประการที่ ๔ บัดนี้ ปรากฏในพวกสุนัข
ไม่ปรากฏในพวกพราหมณ์
๕. ทราบว่า เมื่อก่อน พวกพราหมณ์แสวงหาอาหารเย็น เพื่อกินใน
เวลาเย็น อาหารเช้าเพื่อกินในเวลาเช้า แต่บัดนี้ พวกพราหมณ์
บริโภคอาหารตามความต้องการจนอิ่มท้องแล้ว ถือเอาส่วนที่เหลือ
ไป บัดนี้ พวกสุนัขก็แสวงหาอาหารเย็น เพื่อกินในเวลาเย็น อาหาร
เช้าเพื่อกินในเวลาเช้า นี้เป็นธรรมของพราหมณ์ที่เก่าแก่ประการที่ ๕
บัดนี้ ปรากฏในพวกสุนัข ไม่ปรากฏในพวกพราหมณ์
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมของพราหมณ์ที่เก่าแก่ ๕ ประการนี้แล บัดนี้ ปรากฏใน
พวกสุนัข ไม่ปรากฏในพวกพราหมณ์
โสณสูตรที่ ๑ จบ

๒. โทณพราหมณสูตร
ว่าด้วยโทณพราหมณ์
[๑๙๒] ครั้งนั้นแล โทณพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วจึงนั่ง ณ ที่สมควร
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่ท่านพระโคดม ข้าพระองค์ได้สดับมาดังนี้ว่า ‘พระสมณโคดม ไม่ไหว้
ไม่ลุกรับ หรือไม่เชื้อเชิญพราหมณ์ผู้แก่เฒ่า ผู้เป็นใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยมาแล้วตาม
ลำดับด้วยอาสนะ พระโคดมผู้เจริญ ข้อนี้เห็นจะเป็นอย่างนั้น เพราะท่านพระโคดม
ไม่ไหว้ ไม่ลุกรับ หรือไม่เชื้อเชิญพราหมณ์ผู้แก่เฒ่า เป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยมา
แล้วตามลำดับด้วยอาสนะ ข้อนี้ไม่ดีเลย’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๑๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๕. พราหมณวรรค ๒. โทณพราหมณสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โทณะ แม้ท่านก็ปฏิญญาว่า เป็นพราหมณ์มิใช่หรือ”
โทณพราหมณ์กราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ผู้ใดเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้อง
พึงกล่าวว่าเป็นพราหมณ์ ผู้มีชาติกำเนิดดีทั้งฝ่ายมารดาและฝ่ายบิดา ถือปฏิสนธิ
บริสุทธิ์ดีตลอดเจ็ดชั่วบรรพบุรุษ๑ ไม่มีใครจะคัดค้านตำหนิได้เพราะอ้างถึงชาติตระกูล
เป็นผู้คงแก่เรียน ทรงจำมนตร์ รู้จบไตรเพท๒ พร้อมทั้งนิฆัณฑุศาสตร์๓ เกฏุภศาสตร์๔
อักษรศาสตร์๕ และประวัติศาสตร์๖ เข้าใจตัวบทและไวยากรณ์ ชำนาญโลกายต-
ศาสตร์๗ และลักษณะมหาบุรุษ๘ ผู้นั้นเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้อง พึงหมายถึงข้าพระองค์
ทีเดียว เพราะข้าพระองค์เป็นพราหมณ์ เป็นผู้มีชาติกำเนิดดีทั้งฝ่ายมารดาและฝ่าย
บิดา ถือปฏิสนธิบริสุทธิ์ดีตลอดเจ็ดชั่วบรรพบุรุษ ไม่มีใครจะคัดค้านตำหนิได้เพราะ

เชิงอรรถ :
๑ ดู เชิงอรรถที่ ๓ ข้อ ๑๓๔ (ยัสสังทิสังสูตร) หน้า ๒๑๖ ในเล่มนี้
๒ ไตรเภท หมายถึงคัมภีร์ คือ ฤคเวท (อิรุเวท) ยชุรเวท และสามเวท (องฺ.ติก.อ. ๒/๕๙/๑๖๓)
๓ นิฆัณฑุศาสตร์ หมายถึงวิชาว่าด้วยชื่อสิ่งของมีต้นไม้เป็นต้น (องฺ.ติก.อ. ๒/๕๙/๑๖๓) อีกนัยหนึ่งหมายถึง
คัมภีร์ประเภทศัพทมูลวิทยา (Etymology) คลังศัพท์ (Lexicon) หรืออภิธานศัพท์ (Glossary) ที่รวบรวม
คำศัพท์ในพระเวทซึ่งเป็นคำยาก หรือคำที่เลิกใช้แล้ว นำมาอธิบายความหมายเป็นส่วนหนึ่งของนิรุตติซึ่ง
เป็นหนึ่งในเวทางคศาสตร์ ๖ ของศาสนาพราหมณ์ ภาษาสันสกฤต เรียกว่า นิฆัณฏุ
๔ เกฏุภศาสตร์ หมายถึงตำราว่าด้วยวิชาการกวี การแต่งฉันท์ (องฺ.ติก.อ. ๒/๕๙/๑๖๓) อีกนัยหนึ่ง หมายถึง
คัมภีร์ว่าด้วยกฎเกณฑ์การใช้ถ้อยคำให้เหมาะสมแก่การประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ เป็นส่วนหนึ่งของกัลปะ
ซึ่งเป็น ๑ ในบรรดาเวทางคศาสตร์ ๖ ของศาสนาพราหมณ์ ภาษาสันสกฤต เรียกว่า ไกฏภ
๕ อักษรศาสตร์ หมายถึงคัมภีร์ว่าด้วยสิกขา (การเปล่งเสียง, การออกเสียง) และนิรุตติ (การอธิบายคำศัพท์
โดยอาศัยประวัติและกำเนิดของคำ)
๖ ประวัติศาสตร์ หมายถึงพงศาวดารเล่าเรื่องเก่า ๆ มักจะมีคำว่า สิ่งนี้เป็นมาอย่างนี้ (ที.สี.อ. ๒๕๖/๒๒๒
และดู Dawson, John. A classical Dictionary of Hindu Mythology (London: Routledge and Kegen
Paul. 1957) P.222
๗ โลกายตศาสตร์ ในที่นี้หมายถึงวิตัณฑวาทศาสตร์ คือ ศิลปะแห่งการเอาชนะผู้อื่นในเชิงวาทศิลป์ โดยการ
อ้างทฤษฎี และประเพณีทางสังคมมาหักล้างสัจธรรม มุ่งแสดงให้เห็นว่าตนฉลาดกว่า มิได้มุ่งสัจธรรมแต่
อย่างใด (ที.สี.อ. ๒๕๖/๒๒๒)
๘ ลักษณะมหาบุรุษ หมายถึงศาสตร์ว่าด้วยลักษณะของบุคคลสำคัญมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น อันมีอยู่ใน
คัมภีร์พราหมณ์ซึ่งเรียกว่า มนตร์ เฉพาะส่วนที่ว่าด้วยผู้เป็นพระพุทธเจ้า เรียกว่าพุทธมนตร์มีอยู่ ๑๖,๐๐๐
คาถา (ที.สี.อ. ๒๕๖/๒๒๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๕. พราหมณวรรค ๒. โทณพราหมณสูตร
อ้างถึงชาติตระกูล เป็นผู้คงแก่เรียน ทรงจำมนตร์ รู้จบไตรเพท พร้อมทั้งนิฆัณฑุ-
ศาสตร์ เกฏุภศาสตร์ อักษรศาสตร์ และประวัติศาสตร์ เข้าใจตัวบทและไวยากรณ์
ชำนาญโลกายตศาสตร์ และลักษณะมหาบุรุษ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โทณะ บรรดาฤๅษีผู้เป็นบุรพาจารย์ของพวกพราหมณ์
คือ ฤๅษีอัฏฐกะ ฤๅษีวามกะ ฤๅษีวามเทวะ ฤๅษีเวสสามิตตะ ฤๅษียมทัคคิ
ฤๅษีอังคีรส ฤๅษีภารทวาชะ ฤๅษีวาเสฏฐะ ฤๅษีกัสสปะ ฤๅษีภคุ ซึ่งเป็นผู้ผูกมนตร์
บอกมนตร์ พวกพราหมณ์ในปัจจุบันนี้ขับตาม กล่าวตามซึ่งบทมนตร์ที่เก่าแก่นี้ที่
ท่านขับแล้ว บอกแล้ว รวบรวมไว้แล้ว กล่าวได้ถูกต้อง สาธยายได้ถูกต้อง บอกได้
ถูกต้อง ฤๅษีเหล่านั้นบัญญัติพราหมณ์ ๕ จำพวกนี้ไว้ คือ
๑. พราหมณ์ผู้เสมอด้วยพรหม
๒. พราหมณ์ผู้เสมอด้วยเทวดา
๓. พราหมณ์ผู้ประพฤติดี
๔. พราหมณ์ผู้ประพฤติทั้งดีและชั่ว
๕. พราหมณ์ผู้เป็นจัณฑาล
โทณะ ท่านเป็นพราหมณ์จำพวกไหน ใน ๕ จำพวกนั้น”
โทณพราหมณ์กราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ข้าพระองค์ไม่รู้จักพราหมณ์
๕ จำพวกนี้ รู้แต่ว่าเป็นพราหมณ์เท่านั้น ขอท่านพระโคดมโปรดแสดงธรรมแก่
ข้าพระองค์ โดยวิธีที่ข้าพระองค์จะพึงรู้จักพราหมณ์ ๕ จำพวกนี้ได้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โทณะ ถ้าเช่นนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจัก
กล่าว” โทณพราหมณ์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
พราหมณ์ผู้เสมอด้วยพรหม เป็นอย่างไร
คือ พราหมณ์ในโลกนี้เป็นผู้มีชาติกำเนิดดีทั้งฝ่ายมารดาและฝ่ายบิดา ถือปฏิสนธิ
บริสุทธิ์ดีตลอดเจ็ดชั่วบรรพบุรุษ ไม่มีใครจะคัดค้านตำหนิได้เพราะอ้างถึงชาติตระกูล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๕. พราหมณวรรค ๒. โทณพราหมณสูตร
เขาประพฤติโกมารพรหมจรรย์๑เรียนมนตร์อยู่ตลอด ๔๘ ปี แสวงหาทรัพย์สำหรับ
บูชาอาจารย์เพื่ออาจารย์โดยชอบธรรมเท่านั้น ไม่แสวงหาโดยไม่ชอบธรรม
ความชอบธรรมในการแสวงหานั้น เป็นอย่างไร
คือ เขาไม่แสวงหาด้วยกสิกรรม ไม่แสวงหาด้วยพาณิชยกรรม(การค้าขาย)
ไม่แสวงหาด้วยโครักขกรรม(การเลี้ยงโค) ไม่แสวงหาด้วยการเป็นนักรบ ไม่แสวงหา
ด้วยการรับราชการ ไม่แสวงหาด้วยศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่ง เขาถือกระเบื้องเที่ยว
ขอทานอย่างเดียว มอบทรัพย์สำหรับบูชาอาจารย์เพื่ออาจารย์แล้ว โกนผมและ
หนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์แล้วออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เมื่อบวชแล้วอย่างนี้
มีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ทิศเบื้องบน๒ ทิศเบื้องล่าง๓
ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็น
มหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ มีกรุณาจิต ฯลฯ
มีมุทิตาจิต ฯลฯ มีอุเบกขาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ทิศ
เบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วย
อุเบกขาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่
เธอเจริญพรหมวิหาร ๔ ประการนี้แล หลังจากตายแล้วจึงไปเกิดในสุคติพรหมโลก
พราหมณ์ผู้เสมอด้วยพรหม เป็นอย่างนี้แล (๑)
พราหมณ์ผู้เสมอด้วยเทวดา เป็นอย่างไร
คือ พราหมณ์ในโลกนี้เป็นผู้มีชาติกำเนิดดีทั้งฝ่ายมารดาและฝ่ายบิดา ถือปฏิสนธิ
บริสุทธิ์ดีตลอดเจ็ดชั่วบรรพบุรุษ ไม่มีใครจะคัดค้านตำหนิได้เพราะอ้างถึงชาติตระกูล
เขาประพฤติโกมารพรหมจรรย์ เรียนมนตร์อยู่ตลอด ๔๘ ปี แสวงหาทรัพย์สำหรับ
บูชาอาจารย์เพื่ออาจารย์โดยชอบธรรมเท่านั้น ไม่แสวงหาโดยไม่ชอบธรรม

เชิงอรรถ :
๑ โกมารพรหมจรรย์ หมายถึงพรหมจรรย์ที่ประพฤติสืบต่อมาตั้งแต่ยังเป็นเด็ก (องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๑๙๒/
๗๑)
๒ ทิศเบื้องบน หมายถึงเทวโลก (วิสุทธิ. มหาฏีกา ๑/๒๕๔/๔๓๕)
๓ ทิศเบื้องล่าง หมายถึงสัตว์นรก และนาค (วิสุทธิ.มหาฏีกา ๑/๒๕๔/๔๓๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๑๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๕. พราหมณวรรค ๒. โทณพราหมณสูตร
ความชอบธรรมในการแสวงหานั้น เป็นอย่างไร
คือ เขาไม่แสวงหาด้วยกสิกรรม ไม่แสวงหาด้วยพาณิชยกรรม ไม่แสวงหา
ด้วยโครักขกรรม ไม่แสวงหาด้วยการเป็นนักรบ ไม่แสวงหาด้วยการรับราชการ
และไม่แสวงหาด้วยศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่ง เขาถือกระเบื้องเที่ยวภิกขาจารอย่างเดียว
มอบทรัพย์สำหรับบูชาอาจารย์เพื่ออาจารย์แล้ว แสวงหาภรรยาโดยชอบธรรม ไม่
แสวงหาโดยไม่ชอบธรรม
ความชอบธรรมในการแสวงหานั้น เป็นอย่างไร
คือ เขาไม่แสวงหาด้วยการซื้อ ไม่แสวงหาด้วยการขาย แต่แสวงหาเฉพาะ
พราหมณีที่เขายกให้ด้วยการหลั่งน้ำ เขาสมสู่เฉพาะพราหมณี ไม่สมสู่กับสตรีชั้น
กษัตริย์ แพศย์ ศูทร จัณฑาล นายพราน ช่างสาน ช่างรถ คนขนขยะ สตรีมีครรภ์
สตรีมีลูกอ่อน สตรีหมดระดู เพราะเหตุไร พราหมณ์จึงไม่สมสู่กับสตรีมีครรภ์
เพราะถ้าพราหมณ์สมสู่กับสตรีมีครรภ์ มาณพหรือมาณวิกา ชื่อว่าเป็นผู้เกิดแต่กอง
อุจจาระ ฉะนั้น พราหมณ์จึงไม่สมสู่กับสตรีมีครรภ์ เพราะเหตุไร พราหมณ์จึง
ไม่สมสู่กับสตรีมีลูกอ่อน เพราะถ้าพราหมณ์สมสู่กับสตรีมีลูกอ่อน มาณพหรือ
มาณวิกาชื่อว่าเป็นผู้ดื่มของไม่สะอาด ฉะนั้น พราหมณ์จึงไม่สมสู่กับสตรีมีลูกอ่อน
พราหมณีนั้นเป็นพราหมณีของพราหมณ์ มิใช่เพราะต้องการความใคร่ มิใช่
เพราะต้องการความสนุก มิใช่เพราะต้องการความยินดี แต่เป็นพราหมณีของ
พราหมณ์ เพราะต้องการบุตรเท่านั้น พราหมณ์นั้นมีบุตรหรือธิดาแล้ว จึงปลงผม
และหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์แล้วออกบวชเป็นบรรพชิต เขาบวชแล้วอย่างนี้
ก็สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะ
อุเบกขาอยู่ เธอเจริญฌานทั้ง ๔ ประการนี้แล หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติ
โลกสวรรค์
พราหมณ์ผู้เสมอด้วยเทวดา เป็นอย่างนี้แล (๒)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๒๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๕. พราหมณวรรค ๒. โทณพราหมณสูตร
พราหมณ์ผู้มีความประพฤติดี เป็นอย่างไร
คือ พราหมณ์ในโลกนี้เป็นผู้มีชาติกำเนิดดีทั้งฝ่ายมารดาและฝ่ายบิดา ถือปฏิสนธิ
บริสุทธิ์ดีตลอดเจ็ดชั่วบรรพบุรุษ ไม่มีใครจะคัดค้านตำหนิได้เพราะอ้างถึงชาติตระกูล
เขาประพฤติโกมารพรหมจรรย์ เรียนมนตร์อยู่ ๔๘ ปี แสวงหาทรัพย์สำหรับบูชา
อาจารย์เพื่ออาจารย์โดยชอบธรรมเท่านั้น ไม่แสวงหาโดยไม่ชอบธรรม
ความชอบธรรมในการแสวงหานั้น เป็นอย่างไร
คือ เขาไม่แสวงหาด้วยกสิกรรม ไม่แสวงหาด้วยพาณิชยกรรม ไม่แสวงหา
ด้วยโครักขกรรม ไม่แสวงหาด้วยการเป็นนักรบ ไม่แสวงหาด้วยการรับราชการ
และไม่แสวงหาด้วยศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่ง เขาถือกระเบื้องเที่ยวภิกขาจารอย่างเดียว
มอบทรัพย์สำหรับบูชาอาจารย์เพื่ออาจารย์แล้ว แสวงหาภรรยาโดยชอบธรรม
เท่านั้น ไม่แสวงหาโดยไม่ชอบธรรม
ความชอบธรรมในการแสวงหานั้น เป็นอย่างไร
คือ เขาไม่แสวงหาด้วยการซื้อ ไม่แสวงหาด้วยการขาย แต่แสวงหาเฉพาะ
พราหมณีที่เขายกให้ด้วยการหลั่งน้ำ เขาสมสู่เฉพาะพราหมณี ไม่สมสู่กับสตรีชั้น
กษัตริย์ แพศย์ ศูทร จัณฑาล นายพราน ช่างสาน ช่างรถ คนขนขยะ สตรีมีครรภ์
สตรีมีลูกอ่อน สตรีหมดระดู เพราะเหตุไร พราหมณ์จึงไม่สมสู่กับสตรีมีครรภ์
เพราะถ้าพราหมณ์สมสู่กับสตรีมีครรภ์ มาณพหรือมาณวิกาชื่อว่าเป็นผู้เกิดแต่กอง
อุจจาระ ฉะนั้น พราหมณ์จึงไม่สมสู่กับสตรีมีครรภ์ เพราะเหตุไร พราหมณ์จึงไม่
สมสู่กับสตรีมีลูกอ่อน เพราะถ้าพราหมณ์สมสู่กับสตรีมีลูกอ่อน มาณพหรือ
มาณวิกาชื่อว่าเป็นผู้ดื่มของไม่สะอาด ฉะนั้น พราหมณ์จึงไม่สมสู่กับสตรีมีลูกอ่อน
พราหมณีนั้นเป็นพราหมณีของพราหมณ์ มิใช่เพราะต้องการความใคร่ มิใช่
เพราะต้องการความสนุก มิใช่เพราะต้องการความยินดี แต่เป็นพราหมณีของ
พราหมณ์นั้น เพราะต้องการบุตรเท่านั้น พราหมณ์นั้นมีบุตรหรือธิดาแล้ว ปรารถนา
ความยินดีในบุตรหรือธิดานั้นแล ครอบครองทรัพย์สมบัติ ไม่ออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิต ดำรงอยู่ในความประพฤติดีของพราหมณ์แต่ปางก่อน ไม่ล่วงละเมิดความ
ประพฤติดีนั้น เพราะเหตุดังนี้แล ชาวโลกจึงเรียกว่า พราหมณ์ผู้มีความประพฤติดี
พราหมณ์ผู้มีความประพฤติดี เป็นอย่างนี้แล (๓)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๒๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๕. พราหมณวรรค ๒. โทณพราหมณสูตร
พราหมณ์ผู้ประพฤติทั้งดีและชั่ว เป็นอย่างไร
คือ พราหมณ์ในโลกนี้เป็นผู้มีชาติกำเนิดดีทั้งฝ่ายมารดาและฝ่ายบิดา ถือปฏิสนธิ
บริสุทธิ์ดีตลอดเจ็ดชั่วบรรพบุรุษ ไม่มีใครคัดค้านตำหนิได้เพราะอ้างถึงชาติตระกูล
เขาประพฤติโกมารพรหมจรรย์ เรียนมนตร์อยู่ตลอด ๔๘ ปี แสวงหาทรัพย์สำหรับ
บูชาอาจารย์เพื่ออาจารย์โดยชอบธรรมเท่านั้น ไม่แสวงหาโดยไม่ชอบธรรม
ความชอบธรรมในการแสวงหานั้น เป็นอย่างไร
คือ เขาไม่แสวงหาด้วยกสิกรรม ไม่แสวงหาด้วยพาณิชยกรรม ไม่แสวงหา
ด้วยโครักขกรรม ไม่แสวงหาด้วยการเป็นนักรบ ไม่แสวงหาด้วยการรับราชการ
ไม่แสวงหาด้วยศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่ง เขาถือกระเบื้องเที่ยวภิกขาจารอย่างเดียว
มอบทรัพย์สำหรับบูชาอาจารย์เพื่ออาจารย์แล้ว แสวงหาภรรยาโดยชอบธรรมบ้าง
ไม่ชอบธรรมบ้าง แสวงหาด้วยการซื้อบ้าง แสวงหาด้วยการขายบ้าง แสวงหา
พราหมณีที่เขายกให้ด้วยการหลั่งน้ำบ้าง สมสู่กับพราหมณีบ้าง สตรีชั้นกษัตริย์บ้าง
แพศย์บ้าง ศูทรบ้าง จัณฑาลบ้าง นายพรานบ้าง ช่างสานบ้าง ช่างรถบ้าง
คนขนขยะบ้าง สตรีมีครรภ์บ้าง สตรีมีลูกอ่อนบ้าง สตรีมีระดูบ้าง สตรีหมด
ระดูบ้าง พราหมณีนั้นเป็นพราหมณีของพราหมณ์เพราะต้องการความใคร่บ้าง
เพราะต้องการความสนุกบ้าง เพราะต้องการความยินดีบ้าง เพราะต้องการบุตร
บ้าง พราหมณ์ไม่ดำรงอยู่ในความประพฤติดีของพราหมณ์แต่ปางก่อน ล่วงละเมิด
ความประพฤตินั้น เพราะเหตุดังนี้แล ชาวโลกจึงเรียกว่า พราหมณ์ผู้มีความประพฤติ
ทั้งดีและชั่ว
พราหมณ์ผู้ประพฤติทั้งดีและชั่ว เป็นอย่างนี้แล (๔)
พราหมณ์ผู้เป็นจัณฑาล เป็นอย่างไร
คือ พราหมณ์ในโลกนี้เป็นผู้มีชาติกำเนิดดีทั้งฝ่ายมารดาและฝ่ายบิดา ถือปฏิสนธิ
บริสุทธิ์ดีตลอดเจ็ดชั่วบรรพบุรุษ ไม่มีใครจะคัดค้านตำหนิได้เพราะอ้างถึงชาติตระกูล
เขาประพฤติโกมารพรหมจรรย์ เรียนมนตร์อยู่ ๔๘ ปี แสวงหาทรัพย์สำหรับบูชา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๒๒ }


>>>>> หน้าต่อไป >>>>>





eXTReMe Tracker