ค้นว่าอยู่เล่มใด แล้วกด [ctrl]+f หรือใช้คำสั่งของเครื่องหาตำแหน่งในเล่มอีกทีนะครับ



จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อความสะดวก และสวยงาม
(เฉพาะหน้าจอใหญ่ เช่น คอมพิวเตอร์)
กรุณาคลิก จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อให้กรอบ
ค้นข้อความ ปรากฎที่ด้านซ้ายของหน้า

พระไตรปิฎกภาษาไทย
ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม (ปกสีฟ้า)
ทั้งออนไลน์และออฟไลน์
ที่มาของข้อมูล : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มจร.
MCUTRAI Version 1.0

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒-๑ สุตตันตปิฎกที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก ฉักกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๑. เสขพลวรรค ๑.สังขิตตสูตร

พระสุตตันตปิฎก
อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

๑. ปฐมปัณณาสก์
๑. เสขพลวรรค
หมวดว่าด้วยเสขพละ๑
๑. สังขิตตสูตร
ว่าด้วยเสขพละโดยย่อ

[๑] ข้าพเจ้า๒ได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมา
ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึง
ได้ตรัสเรื่องนี้ว่า


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๑. เสขพลวรรค ๒. วิตถตสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เสขพละ ๕ ประการ
เสขพละ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. สัทธาพละ (กำลังคือศรัทธา)
๒. หิริพละ (กำลังคือหิริ)
๓. โอตตัปปพละ (กำลังคือโอตตัปปะ)
๔. วิริยพละ (กำลังคือวิริยะ)
๕. ปัญญาพละ (กำลังคือปัญญา)

ภิกษุทั้งหลาย เสขพละ ๕ ประการนี้แล
เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลายจักเป็นผู้
ประกอบด้วยสัทธาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ วิริยพละ และปัญญาพละ อันเป็น
เสขพละ’ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมภาษิตของ
พระผู้มีพระภาค

สังขิตตสูตรที่ ๑ จบ

๒. วิตถตสูตร
ว่าด้วยเสขพละโดยพิสดาร

[๒] ภิกษุทั้งหลาย เสขพละ ๕ ประการนี้
เสขพละ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. สัทธาพละ ๒. หิริพละ
๓. โอตตัปปพละ ๔. วิริยพละ
๕. ปัญญาพละ

สัทธาพละ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศรัทธา คือเชื่อปัญญาเครื่องตรัสรู้ของ
ตถาคตว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๑. เสขพลวรรค ๒. วิตถตสูตร

ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก
เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค๑’ นี้เรียกว่า สัทธาพละ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๑. เสขพลวรรค ๒. วิตถตสูตร

หิริพละ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีหิริ คือละอายต่อกายทุจริต วจีทุจริต
มโนทุจริต ละอายต่อการประกอบบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย นี้เรียกว่า หิริพละ

โอตตัปปพละ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีโอตตัปปะ คือสะดุ้งกลัวต่อกายทุจริต
วจีทุจริต มโนทุจริต สะดุ้งกลัวต่อการประกอบบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย นี้เรียกว่า
โอตตัปปพละ

วิริยพละ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้อยู่ปรารภความเพียร๑ เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้
กุศลธรรมเกิด มีความเข้มแข็ง๒ มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้ง
หลายอยู่ นี้เรียกว่า วิริยพละ

ปัญญาพละ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีปัญญา คือประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่อง
พิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ๓ ชำแรกกิเลสให้ถึงความสิ้นทุกข์
โดยชอบ นี้เรียกว่า ปัญญาพละ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๑. เสขพลวรรค ๓. ทุกขสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เสขพละ ๕ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เรา
ทั้งหลายจักเป็นผู้ประกอบด้วยสัทธาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ วิริยพละ และ
ปัญญาพละ อันเป็นเสขพละ’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล

วิตถตสูตรที่ ๒ จบ

๓. ทุกขสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้อยู่เป็นทุกข์

[๓] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมอยู่เป็นทุกข์
เดือดร้อน๑ คับแค้นใจ เร่าร้อน๒ในภพนี้แล หลังจากตายแล้วพึงหวังได้ทุคติ๓
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑. เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๒. เป็นผู้ไม่มีหิริ
๓. เป็นผู้ไม่มีโอตตัปปะ ๔. เป็นผู้เกียจคร้าน
๕. เป็นผู้มีปัญญาทราม

ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมอยู่เป็นทุกข์ เดือดร้อน คับแค้นใจ
เร่าร้อนในภพนี้แล หลังจากตายแล้วพึงหวังได้ทุคติ
ส่วนภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมอยู่เป็นสุข ไม่เดือดร้อน ไม่คับ
แค้นใจ ไม่เร่าร้อนในภพนี้แล หลังจากตายแล้วพึงหวังได้สุคติ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๑. เสขพลวรรค ๔.ยถาถตสูตร

ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑. เป็นผู้มีศรัทธา ๒. เป็นผู้มีหิริ
๓. เป็นผู้มีโอตตัปปะ ๔. เป็นผู้ปรารภความเพียร
๕. เป็นผู้มีปัญญา

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมอยู่เป็นสุข ไม่
เดือดร้อน ไม่คับแค้นใจ ไม่เร่าร้อนในภพนี้แล หลังจากตายแล้วพึงหวังได้สุคติ

ทุกขสูตรที่ ๓ จบ

๔. ยถาภตสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดในนรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้

[๔] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมดำรงอยู่ในนรก
เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑. เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๒. เป็นผู้ไม่มีหิริ
๓. เป็นผู้ไม่มีโอตตัปปะ ๔. เป็นผู้เกียจคร้าน
๕. เป็นผู้มีปัญญาทราม

ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ในนรกเหมือนถูกนำ
ไปฝังไว้
ส่วนภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์เหมือนได้รับ
อัญเชิญไปประดิษฐานไว้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๑. เสขพลวรรค ๕. สิกขาสูตร

ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑. เป็นผู้มีศรัทธา ๒. เป็นผู้มีหิริ
๓. เป็นผู้มีโอตตัปปะ ๔. เป็นผู้ปรารภความเพียร
๕. เป็นผู้มีปัญญา

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์
เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้

ยถาภตสูตรที่ ๔ จบ

๕. สิกขาสูตร
ว่าด้วยการลาสิกขาที่เป็นเหตุให้ได้รับฐานะที่น่าติเตียน

[๕] ภิกษุทั้งหลาย ฐานะ๑ ๕ ประการ พร้อมทั้งเหตุคล้อยตามวาทะไม่ชอบ
ธรรมที่น่าติเตียนในปัจจุบัน ย่อมมาถึงภิกษุหรือภิกษุณีบางรูปผู้บอกคืนสิกขา กลับมา
เป็นคฤหัสถ์
ฐานะ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ไม่มีศรัทธาในกุศลธรรม ๒. ไม่มีหิริในกุศลธรรม
๓. ไม่มีโอตตัปปะในกุศลธรรม ๔. ไม่มีวิริยะในกุศลธรรม
๕. ไม่มีปัญญาในกุศลธรรม

ภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๕ ประการ พร้อมทั้งเหตุคล้อยตามวาทะไม่ชอบธรรม
ที่น่าติเตียนในปัจจุบัน ย่อมมาถึงภิกษุหรือภิกษุณีบางรูปผู้บอกคืนสิกขากลับมาเป็น
คฤหัสถ์
ฐานะ ๕ ประการ พร้อมทั้งเหตุที่น่าสรรเสริญในปัจจุบัน ย่อมมาถึงภิกษุหรือ
ภิกษุณีบางรูป แม้มีทุกข์(ความทุกข์กาย) แม้มีโทมนัส(ความทุกข์ใจ) ร้องไห้น้ำตา
นองหน้าอยู่ ก็ยังประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ได้


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๑. เสขพลวรรค ๖. สมาปัตติสูตร

ฐานะ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. มีศรัทธาในกุศลธรรม ๒. มีหิริในกุศลธรรม
๓. มีโอตตัปปะในกุศลธรรม ๔. มีวิริยะในกุศลธรรม
๕. มีปัญญาในกุศลธรรม

ภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๕ ประการ พร้อมทั้งเหตุที่น่าสรรเสริญในปัจจุบัน
ย่อมมาถึงภิกษุหรือภิกษุณีบางรูป แม้มีทุกข์ แม้มีโทมนัส ร้องไห้น้ำตานองหน้าอยู่
ก็ยังประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ได้

สิกขาสูตรที่ ๕ จบ

๖. สมาปัตติสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้อกุศลธรรมเข้ามาได้

[๖] ภิกษุทั้งหลาย
๑. อกุศลธรรมเข้ามาไม่ได้ตลอดเวลาที่ศรัทธาในกุศลธรรมทั้งหลาย
ยังตั้งมั่นอยู่ แต่เมื่อใด ศรัทธาเสื่อมหายไป ความไม่มีศรัทธา
กลุ้มรุมอยู่ เมื่อนั้น อกุศลธรรมก็เข้ามาได้
๒. อกุศลธรรมเข้ามาไม่ได้ตลอดเวลาที่หิริในกุศลธรรมทั้งหลายยังตั้ง
มั่นอยู่ แต่เมื่อใด หิริเสื่อมหายไป ความไม่มีหิริกลุ้มรุมอยู่ เมื่อนั้น
อกุศลธรรมก็เข้ามาได้
๓. อกุศลธรรมเข้ามาไม่ได้ตลอดเวลาที่โอตตัปปะในกุศลธรรมทั้งหลายยัง
ตั้งมั่นอยู่ แต่เมื่อใด โอตตัปปะเสื่อมหายไป ความไม่มีโอตตัปปะ
กลุ้มรุมอยู่ เมื่อนั้น อกุศลธรรมก็เข้ามาได้
๔. อกุศลธรรมเข้ามาไม่ได้ตลอดเวลาที่วิริยะในกุศลธรรมทั้งหลายยัง
ตั้งมั่นอยู่ แต่เมื่อใด วิริยะเสื่อมหายไป ความเกียจคร้านกลุ้มรุมอยู่
เมื่อนั้น อกุศลธรรมก็เข้ามาได้
๕. อกุศลธรรมเข้ามาไม่ได้ตลอดเวลาที่ปัญญาในกุศลธรรมทั้งหลาย
ยังตั้งมั่นอยู่ แต่เมื่อใด ปัญญาเสื่อมหายไป ความไม่มีปัญญา
กลุ้มรุมอยู่ เมื่อนั้น อกุศลธรรมก็เข้ามาได้

สมาปัตติสูตรที่ ๖ จบ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๑. เสขพลวรรค ๗. กามสูตร

๗. กามสูตร
ว่าด้วยกาม

[๗] ภิกษุทั้งหลาย โดยมาก สัตว์ทั้งหลายหมกมุ่นอยู่ในกาม๑ กุลบุตรผู้ละ
เคียวและคานหาบหญ้าออกบวชเป็นบรรพชิต ควรเรียกว่า ‘กุลบุตรผู้มีศรัทธา
ออกบวช’ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเขาควรได้กามด้วยความเป็นหนุ่ม และกาม
เหล่านั้นก็มีระดับ คือ กามเลว กามปานกลาง และกามประณีต๒ แต่กามทั้งหมดก็
นับว่า ‘กาม’ ทั้งนั้น

เปรียบเหมือนเด็กอ่อนนอนหงาย เอาชิ้นไม้หรือชิ้นกระเบื้องใส่เข้าไปในปาก
เพราะความพลั้งเผลอของพี่เลี้ยง พี่เลี้ยงพึงใส่ใจในเด็กนั้นทันที รีบนำชิ้นไม้หรือ
ชิ้นกระเบื้องออกโดยเร็ว ถ้าไม่สามารถนำออกโดยเร็วได้ ก็เอามือซ้ายจับโดยเร็ว
งอนิ้วมือข้างขวาแล้วแยงเข้าไปนำออกมาทั้งที่ยังมีโลหิต ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ
ความลำบากนั้นจะมีแก่เด็ก เราไม่กล่าวว่า ‘ไม่มีความลำบาก’ และพี่เลี้ยงผู้หวัง
ประโยชน์เกื้อกูลอนุเคราะห์ พึงทำอย่างนั้นด้วยความอนุเคราะห์ แต่เมื่อใด เด็กนั้น
เจริญวัย มีปัญญาสามารถ เมื่อนั้น พี่เลี้ยงก็วางใจในเด็กนั้นว่า ‘บัดนี้ เด็กมีความ
สามารถรักษาตนเองได้ ไม่ประมาท’ ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเป็นผู้ที่เราต้องรักษาตลอดเวลา
ที่เธอยัง


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๑. เสขพลวรรค ๘. จวนสูตร

๑. ไม่ทำสิ่งที่ควรทำในกุศลธรรมด้วยศรัทธา
๒. ไม่ทำสิ่งที่ควรทำในกุศลธรรมด้วยหิริ
๓. ไม่ทำสิ่งที่ควรทำในกุศลธรรมด้วยโอตตัปปะ
๔. ไม่ทำสิ่งที่ควรทำในกุศลธรรมด้วยวิริยะ
๕. ไม่ทำสิ่งที่ควรทำในกุศลธรรมด้วยปัญญา

แต่เมื่อใด ภิกษุ

๑. ทำสิ่งที่ควรทำในกุศลธรรมด้วยศรัทธา
๒. ทำสิ่งที่ควรทำในกุศลธรรมด้วยหิริ
๓. ทำสิ่งที่ควรทำในกุศลธรรมด้วยโอตัปปะ
๔. ทำสิ่งที่ควรทำในกุศลธรรมด้วยวิริยะ
๕. ทำสิ่งที่ควรทำในกุศลธรรมด้วยปัญญา

เมื่อนั้น เราก็วางใจในภิกษุนั้นได้ว่า ‘บัดนี้ ภิกษุมีความสามารถรักษาตนได้
ไม่ประมาท’

กามสูตรที่ ๗ จบ

๘. จวนสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้เคลื่อนจากพระศาสนา

[๘] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเคลื่อน๑ ไม่ตั้งมั่น
ในสัทธรรม๒
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ภิกษุผู้ไม่มีศรัทธา ย่อมเคลื่อน ไม่ตั้งมั่นในสัทธรรม
๒. ภิกษุผู้ไม่มีหิริ ย่อมเคลื่อน ไม่ตั้งมั่นในสัทธรรม
๓. ภิกษุผู้ไม่มีโอตตัปปะ ย่อมเคลื่อน ไม่ตั้งมั่นในสัทธรรม


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๑. เสขพลวรรค ๙. ปฐมอคารวสูตร

๔. ภิกษุผู้เกียจคร้าน ย่อมเคลื่อน ไม่ตั้งมั่นในสัทธรรม
๕. ภิกษุผู้มีปัญญาทราม ย่อมเคลื่อน ไม่ตั้งมั่นในสัทธรรม

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเคลื่อน ไม่ตั้งมั่น
ในสัทธรรม

ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมไม่เคลื่อน ตั้งมั่นในสัทธรรม
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ภิกษุผู้มีศรัทธา ย่อมไม่เคลื่อน ตั้งมั่นในสัทธรรม
๒. ภิกษุผู้มีหิริ ย่อมไม่เคลื่อน ตั้งมั่นในสัทธรรม
๓. ภิกษุผู้มีโอตตัปปะ ย่อมไม่เคลื่อน ตั้งมั่นในสัทธรรม
๔. ภิกษุผู้ปรารภความเพียร ย่อมไม่เคลื่อน ตั้งมั่นในสัทธรรม
๕. ภิกษุผู้มีปัญญา ย่อมไม่เคลื่อน ตั้งมั่นในสัทธรรม

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมไม่เคลื่อน ตั้งมั่น
ในสัทธรรม

จวนสูตรที่ ๘ จบ

๙. ปฐมอคารวสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้ไม่เคารพ สูตรที่ ๑

[๙] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เป็นผู้ไม่มีความ
เคารพ ไม่มีความยำเกรง ย่อมเคลื่อน ไม่ตั้งมั่นในสัทธรรม
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ภิกษุผู้ไม่มีศรัทธา เป็นผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง
ย่อมเคลื่อน ไม่ตั้งมั่นในสัทธรรม
๒. ภิกษุผู้ไม่มีหิริ เป็นผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง ย่อมเคลื่อน
ไม่ตั้งมั่นในสัทธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๑. เสขพลวรรค ๙. ปฐมอคารวสูตร

๓. ภิกษุผู้ไม่มีโอตตัปปะ เป็นผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง
ย่อมเคลื่อน ไม่ตั้งมั่นในสัทธรรม
๔. ภิกษุผู้เกียจคร้าน เป็นผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง
ย่อมเคลื่อน ไม่ตั้งมั่นในสัทธรรม
๕. ภิกษุผู้มีปัญญาทราม เป็นผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง
ย่อมเคลื่อน ไม่ตั้งมั่นในสัทธรรม

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นผู้ไม่มีความเคารพ
ไม่มีความยำเกรง ย่อมเคลื่อน ไม่ตั้งมั่นในสัทธรรม

ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เป็นผู้มีความเคารพ มีความยำเกรง
ย่อมไม่เคลื่อน ตั้งมั่นในสัทธรรม
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ภิกษุผู้มีศรัทธา เป็นผู้มีความเคารพ มีความยำเกรง ย่อมไม่
เคลื่อน ตั้งมั่นในสัทธรรม
๒. ภิกษุผู้มีหิริ เป็นผู้มีความเคารพ มีความยำเกรง ย่อมไม่เคลื่อน
ตั้งมั่นในสัทธรรม
๓. ภิกษุผู้มีโอตตัปปะ เป็นผู้มีความเคารพ มีความยำเกรง ย่อมไม่
เคลื่อน ตั้งมั่นในสัทธรรม
๔. ภิกษุผู้ปรารภความเพียร เป็นผู้มีความเคารพ มีความยำเกรง
ย่อมไม่เคลื่อน ตั้งมั่นในสัทธรรม
๕. ภิกษุผู้มีปัญญา เป็นผู้มีความเคารพ มีความยำเกรง ย่อมไม่
เคลื่อน ตั้งมั่นในสัทธรรม

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นผู้มีความเคารพ
มีความยำเกรง ย่อมไม่เคลื่อน ตั้งมั่นในสัทธรรม

ปฐมอคารวสูตรที่ ๙ จบ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๑. เสขพลวรรค ๑๐. ทุติยอคารวสูตร

๑๐. ทุติยอคารวสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้ไม่เคารพ สูตรที่ ๒

[๑๐] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เป็นผู้ไม่มีความ
เคารพ ไม่มีความยำเกรง ไม่อาจถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ภิกษุผู้ไม่มีศรัทธา เป็นผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง ไม่อาจ
ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้
๒. ภิกษุผู้ไม่มีหิริ ...
๓. ภิกษุผู้ไม่มีโอตตัปปะ ...
๔. ภิกษุผู้เกียจคร้าน ...
๕. ภิกษุผู้มีปัญญาทราม เป็นผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง
ไม่อาจถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นผู้ไม่มีความ
เคารพ ไม่มีความยำเกรง ไม่อาจถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้

ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เป็นผู้มีความเคารพ มีความยำเกรง
อาจถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ภิกษุผู้มีศรัทธา เป็นผู้มีความเคารพ มีความยำเกรง อาจถึง
ความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้
๒. ภิกษุผู้มีหิริ ...
๓. ภิกษุผู้มีโอตตัปปะ ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๑. เสขพลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๔. ภิกษุผู้ปรารภความเพียร ...
๕. ภิกษุผู้มีปัญญา เป็นผู้มีความเคารพ มีความยำเกรง อาจถึง
ความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นผู้มีความเคารพ
มีความยำเกรง อาจถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้

ทุติยอคารวสูตรที่ ๑๐ จบ
เสขพลวรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สังขิตตสูตร ๒. วิตถตสูตร
๓. ทุกขสูตร ๔. ยถาภตสูตร
๕. สิกขาสูตร ๖. สมาปัตติสูตร
๗. กามสูตร ๘. จวนสูตร
๙. ปฐมอคารวสูตร ๑๐. ทุติยอคารวสูตร


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๒. พลวรรค ๑. อนนุสสุตสูตร

๒. พลวรรค
หมวดว่าด้วยพละ
๑. อนนุสสุตสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ไม่เคยสดับมาก่อน

[๑๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เราได้บรรลุถึงบารมีอันเป็น
ที่สุดด้วยปัญญาอันยิ่งในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยสดับมาก่อน๑ จึงปฏิญญาได้ กำลัง
ของตถาคต ๕ ประการนี้ ที่ตถาคตมีแล้วเป็นเหตุให้ปฏิญญาฐานะที่องอาจ๒ บันลือ
สีหนาท๓ ประกาศพรหมจักร๔ ในบริษัท๕
กำลังของตถาคต ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. สัทธาพละ (กำลังคือศรัทธา)
๒. หิริพละ (กำลังคือหิริ)


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๒. พลวรรค ๒. กูฏสูตร

๓. โอตตัปปพละ (กำลังคือโอตตัปปะ)
๔. วิริยพละ (กำลังคือวิริยะ)
๕. ปัญญาพละ (กำลังคือปัญญา)

ภิกษุทั้งหลาย กำลังของตถาคต ๕ ประการนี้แล ที่ตถาคตมีแล้วเป็นเหตุให้
ปฏิญญาฐานะที่องอาจ บันลือสีหนาท ประกาศพรหมจักรในบริษัท

อนนุสสุตสูตรที่ ๑ จบ

๒. กูฏสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นยอดเหมือนยอดเรือน

[๑๒] ภิกษุทั้งหลาย เสขพละ๑ ๕ ประการนี้
เสขพละ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. สัทธาพละ ๒. หิริพละ
๓. โอตตัปปพละ ๔. วิริยพละ
๕. ปัญญาพละ

ภิกษุทั้งหลาย เสขพละ ๕ ประการนี้แล พละที่เป็นเลิศ เป็นที่รวม เป็นศูนย์
รวมแห่งเสขพละ ๕ ประการนี้ คือ ปัญญาพละ
ภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่เป็นเลิศ เป็นที่รวม เป็นศูนย์รวมแห่งเรือนยอด คือยอด
เรือน แม้ฉันใด พละที่เป็นเลิศ เป็นที่รวม เป็นศูนย์รวมแห่งเสขพละ ๕ ประการนี้
คือปัญญาพละ ฉันนั้นเหมือนกันแล
เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลายจักเป็น
ผู้ประกอบด้วยสัทธาพละ... หิริพละ ... โอตตัปปพละ ... วิริยพละ ... ปัญญาพละ
อันเป็นเสขพละ’ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล

กูฏสูตรที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๒. พลวรรค ๔. วิตถตสูตร

๓. สังขิตตสูตร
ว่าด้วยพละโดยย่อ

[๑๓] ภิกษุทั้งหลาย พละ ๕ ประการนี้
พละ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. สัทธาพละ ๒. วิริยพละ
๓. สติพละ (กำลังคือสติ) ๔. สมาธิพละ (กำลังคือสมาธิ)
๕. ปัญญาพละ

ภิกษุทั้งหลาย พละ ๕ ประการนี้แล

สังขิตตสูตรที่ ๓ จบ

๔. วิตถตสูตร
ว่าด้วยพละโดยพิสดาร

[๑๔] ภิกษุทั้งหลาย พละ ๕ ประการนี้
พละ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. สัทธาพละ ๒. วิริยพละ
๓. สติพละ ๔. สมาธิพละ
๕. ปัญญาพละ

สัทธาพละ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศรัทธา คือเชื่อปัญญาเครื่องตรัสรู้ของ
ตถาคตว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้
ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็น
สารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ นี้เรียกว่า สัทธาพละ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๒. พลวรรค ๔. วิตถตสูตร

วิริยพละ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อ
ให้กุศลธรรมเกิด มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้ง
หลายอยู่ นี้เรียกว่า วิริยพละ

สติพละ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีสติ คือประกอบด้วยสติปัญญาเป็นเครื่อง
รักษาตนอย่างยิ่ง ระลึกถึงสิ่งที่ทำคำที่พูดแม้นานได้ นี้เรียกว่า สติพละ

สมาธิพละ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้สงัดจากกาม และอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว
บรรลุปฐมฌานที่มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจารสงบ
ระงับไป บรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น๑ไม่มีวิตก
ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขเกิดจากสมาธิอยู่ เพราะปีติจางคลายไป เป็นผู้มีอุเบกขา
มีสติ สัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญ
ว่า ‘ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข’ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสโทมนัสดับ
ไปก่อนแล้ว บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ นี้เรียก
ว่า สมาธิพละ

ปัญญาพละ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีปัญญา คือประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่อง
พิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลสให้ถึงความสิ้นทุกข์
โดยชอบ นี้เรียกว่า ปัญญาพละ

ภิกษุทั้งหลาย พละ ๕ ประการนี้แล

วิตถตสูตรที่ ๔ จบ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๒. พลวรรค ๕. ทัฏฐัพพสูตร

๕. ทัฏฐัพพสูตร
ว่าด้วยธรรมที่พึงเห็น

[๑๕] ภิกษุทั้งหลาย พละ ๕ ประการนี้
พละ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. สัทธาพละ ๒. วิริยพละ
๓. สติพละ ๔. สมาธิพละ
๕. ปัญญาพละ

ภิกษุทั้งหลาย พึงเห็นสัทธาพละได้ที่ไหน
พึงเห็นได้ในโสตาปัตติยังคะ๑ พึงเห็นสัทธาพละได้ที่นี้
พึงเห็นวิริยพละได้ที่ไหน
พึงเห็นได้ในสัมมัปปธาน ๔๒ พึงเห็นวิริยพละได้ที่นี้
พึงเห็นสติพละได้ที่ไหน
พึงเห็นได้ในสติปัฏฐาน ๔๓ พึงเห็นสติพละได้ที่นี้
พึงเห็นสมาธิพละได้ที่ไหน


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๒. พลวรรค ๖. ปุนกูฏสูตร

พึงเห็นได้ในฌาน ๔๑ พึงเห็นสมาธิพละได้ที่นี้
พึงเห็นปัญญาพละได้ที่ไหน
พึงเห็นได้ในอริยสัจ ๔๒ พึงเห็นปัญญาพละได้ที่นี้
ภิกษุทั้งหลาย พละ ๕ ประการนี้แล

ทัฏฐัพพสูตรที่ ๕ จบ

๖. ปุนกูฏสูตร
ว่าด้วยกำลังที่เป็นยอด

[๑๖] ภิกษุทั้งหลาย พละ ๕ ประการนี้
พละ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. สัทธาพละ ๒. วิริยพละ
๓. สติพละ ๔. สมาธิพละ
๕. ปัญญาพละ

ภิกษุทั้งหลาย พละ ๕ ประการนี้แล พละที่เป็นเลิศ เป็นที่รวม เป็นศูนย์รวม
แห่งพละ ๕ ประการนี้ คือปัญญาพละ
ภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่เป็นเลิศ เป็นที่รวม เป็นศูนย์รวมแห่งเรือนยอด คือยอด
เรือน แม้ฉันใด พละที่เป็นเลิศ เป็นที่รวม เป็นศูนย์รวมแห่งเสขพละ ๕ ประการนี้
คือปัญญาพละ ฉันนั้นเหมือนกันแล

ปุนกูฏสูตรที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๒. พลวรรค ๘. ทุติยหิตสูตร

๗. ปฐมหิตสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูล สูตรที่ ๑

[๑๗] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อ
เกื้อกูลตน ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑. ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยศีล
๒. ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วย
สมาธิ
๓. ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อม
ด้วยปัญญา
๔. ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วย
วิมุตติ
๕. ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ (ความรู้ความเห็นใน
วิมุตติ) แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อ
เกื้อกูลตน ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น

ปฐมหิตสูตรที่ ๗ จบ

๘. ทุติยหิตสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูล สูตรที่ ๒

[๑๘] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อ
เกื้อกูลผู้อื่น ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑. ตนเองไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล แต่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยศีล
๒. ตนเองไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ แต่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วย
สมาธิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๒. พลวรรค ๙. ตติยหิตสูตร

๓. ตนเองไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา แต่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อม
ด้วยปัญญา
๔. ตนเองไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ แต่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วย
วิมุตติ
๕. ตนเองไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ แต่ชักชวนผู้อื่นให้
ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อ
เกื้อกูลผู้อื่น ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน

ทุติยหิตสูตรที่ ๘ จบ

๙. ตติยหิตสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูล สูตรที่ ๓

[๑๙] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ชื่อว่าไม่ปฏิบัติเพื่อ
เกื้อกูลตน ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑. ตนเองไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล และไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยศีล
๒. ตนเองไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ และไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อม
ด้วยสมาธิ
๓. ตนเองไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา และไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึง
พร้อมด้วยปัญญา
๔. ตนเองไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ และไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อม
ด้วยวิมุตติ
๕. ตนเองไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ และไม่ชักชวนผู้อื่น
ให้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ชื่อว่าไม่ปฏิบัติเพื่อ
เกื้อกูลตน ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น

ตติยหิตสูตรที่ ๙ จบ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๒. พลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๑๐. จตุตถหิตสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูล สูตรที่ ๔

[๒๐] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ชื่อว่าปฏิบัติ
เพื่อเกื้อกูลตน และปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑. ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล และชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยศีล
๒. ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ และชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วย
สมาธิ
๓. ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา และชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วย
ปัญญา
๔. ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ และชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ
๕. ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ และชักชวนผู้อื่นให้
ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อ
เกื้อกูลตน และปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น

จตุตถหิตสูตรที่ ๑๐ จบ
พลวรรคที่ ๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อนนุสสุตสูตร ๒. กูฏสูตร
๓. สังขิตตสูตร ๔. วิตถตสูตร
๕. ทัฏฐัพพสูตร ๖. ปุนกูฏสูตร
๗. ปฐมหิตสูตร ๘. ทุติยหิตสูตร
๙. ตติยหิตสูตร ๑๐. จตุตถหิตสูตร


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๓. ปัญจังคิกวรรค ๑. ปฐมอคารวสูตร

๓. ปัญจังคิกวรรค
หมวดว่าด้วยการเจริญสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ ๕

๑. ปฐมอคารวสูตร
ว่าด้วยความไม่เคารพ สูตรที่ ๑

[๒๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย

๑. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง ไม่มี
ความประพฤติเสมอภาคในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย จักบำเพ็ญ
อภิสมาจาริกธรรม๑ให้บริบูรณ์ได้
๒. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุไม่บำเพ็ญอภิสมาจาริกธรรมให้บริบูรณ์แล้ว
จักบำเพ็ญเสขธรรม๒ให้บริบูรณ์ได้
๓. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุไม่บำเพ็ญเสขธรรมให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญ
ศีลทั้งหลาย๓ให้บริบูรณ์ได้
๔. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุไม่บำเพ็ญศีลทั้งหลายให้บริบูรณ์แล้ว จัก
บำเพ็ญสัมมาทิฏฐิ๔ให้บริบูรณ์ได้


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๓. ปัญจังคิกวรรค ๒. ทุติยอคารวสูตร

๕. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุไม่บำเพ็ญสัมมาทิฏฐิให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญ
สัมมาสมาธิ๑ให้บริบูรณ์ได้

ภิกษุทั้งหลาย

๑. เป็นไปได้ที่ภิกษุมีความเคารพ มีความยำเกรง มีความประพฤติ
เสมอภาคในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย จักบำเพ็ญอภิสมาจาริกธรรม
ให้บริบูรณ์ได้
๒. เป็นไปได้ที่ภิกษุบำเพ็ญอภิสมาจาริกธรรมให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญ
เสขธรรมให้บริบูรณ์ได้
๓. เป็นไปได้ที่ภิกษุบำเพ็ญเสขธรรมให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญศีล
ทั้งหลาย ให้บริบูรณ์ได้
๔. เป็นไปได้ที่ภิกษุบำเพ็ญศีลทั้งหลายให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญสัมมา-
ทิฏฐิให้บริบูรณ์ได้
๕. เป็นไปได้ที่ภิกษุบำเพ็ญสัมมาทิฏฐิให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญ
สัมมาสมาธิ ให้บริบูรณ์ได้

ปฐมอคารวสูตรที่ ๑ จบ

๒. ทุติยอคารวสูตร
ว่าด้วยความไม่เคารพ สูตรที่ ๒

[๒๒] ภิกษุทั้งหลาย

๑. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง ไม่มี
ความประพฤติเสมอภาคในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย จักบำเพ็ญ
อภิสมาจาริกธรรมให้บริบูรณ์ได้


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๓. ปัญจังคิกวรรค ๒. ทุติยอคารวสูตร

๒. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุไม่บำเพ็ญอภิสมาจาริกธรรมให้บริบูรณ์แล้ว
จักบำเพ็ญเสขธรรมให้บริบูรณ์ได้
๓. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุไม่บำเพ็ญเสขธรรมให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญ
สีลขันธ์ให้บริบูรณ์ได้
๔. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุไม่บำเพ็ญสีลขันธ์ให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญ
สมาธิขันธ์ให้บริบูรณ์ได้
๕. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุไม่บำเพ็ญสมาธิขันธ์ให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญ
ปัญญาขันธ์ให้บริบูรณ์ได้

ภิกษุทั้งหลาย

๑. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้มีความเคารพ มีความยำเกรง มีความประพฤติ
เสมอภาคในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย จักบำเพ็ญอภิสมาจาริกธรรม
ให้บริบูรณ์ได้
๒. เป็นไปได้ที่ภิกษุบำเพ็ญอภิสมาจาริกธรรมให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญ
เสขธรรมให้บริบูรณ์ได้
๓. เป็นไปได้ที่ภิกษุบำเพ็ญเสขธรรมให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญสีลขันธ์
ให้บริบูรณ์ได้
๔. เป็นไปได้ที่ภิกษุบำเพ็ญสีลขันธ์ให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญสมาธิขันธ์
ให้บริบูรณ์ได้
๕. เป็นไปได้ที่ภิกษุบำเพ็ญสมาธิขันธ์ให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญ
ปัญญาขันธ์ให้บริบูรณ์ได้

ทุติยอคารวสูตรที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๓. ปัญจังคิกวรรค ๓. อุปกิเลสสูตร

๓. อุปกิเลสสูตร
ว่าด้วยความเศร้าหมอง

[๒๓] ภิกษุทั้งหลาย สิ่งเศร้าหมองแห่งทอง ๕ ประการ เป็นเหตุให้ทอง
เศร้าหมอง ไม่อ่อน ใช้การไม่ได้ ไม่ผุดผ่อง แตกง่าย ใช้งานไม่ได้ดี
สิ่งเศร้าหมองแห่งทอง ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. เหล็ก ๒. โลหะ
๓. ดีบุก ๔. ตะกั่ว
๕. เงิน

ภิกษุทั้งหลาย สิ่งเศร้าหมองแห่งทอง ๕ ประการนี้แล เป็นเหตุให้ทอง
เศร้าหมอง ไม่อ่อน ใช้การไม่ได้ ไม่ผุดผ่อง แตกง่าย ใช้งานไม่ได้ดี
แต่เมื่อใด ทองพ้นจากสิ่งเศร้าหมอง ๕ ประการนี้แล้ว เมื่อนั้น ทองนั้น
ย่อมอ่อน ใช้การได้ ผุดผ่อง ไม่แตกง่าย ใช้งานได้ดี และช่างทองมุ่งหมายจะทำ
เครื่องประดับชนิดใด ๆ คือ แหวน ต่างหู สร้อยคอ หรือมาลัยทอง เครื่องประดับ
ชนิดนั้นย่อมอำนวยประโยชน์ให้เขาได้ ฉันใด
ความเศร้าหมองแห่งจิต ๕ ประการ เป็นเหตุให้จิตเศร้าหมอง ไม่อ่อน
ไม่เหมาะแก่การใช้งาน ไม่ผุดผ่อง ฟุ้งซ่าน ไม่ตั้งมั่นดีเพื่อความสิ้นอาสวะ ฉันนั้น
เหมือนกัน
ความเศร้าหมองแห่งจิต ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. กามฉันทะ (ความพอใจในกาม)
๒. พยาบาท (ความคิดร้าย)
๓. ถีนมิทธะ (ความหดหู่และเซื่องซึม)
๔. อุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ)
๕. วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย)

ความเศร้าหมองแห่งจิต ๕ ประการนี้แล เป็นเหตุให้จิตเศร้าหมอง ไม่อ่อน
ไม่เหมาะแก่การใช้งาน ไม่ผุดผ่อง ฟุ้งซ่าน ไม่ตั้งมั่นดีเพื่อความสิ้นอาสวะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๓. ปัญจังคิกวรรค ๓. อุปกิเลสสูตร

แต่เมื่อใด จิตพ้นจากความเศร้าหมอง ๕ ประการนี้แล้ว เมื่อนั้น จิตนั้น
ย่อมอ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ผุดผ่อง ไม่ฟุ้งซ่าน ตั้งมั่นดีเพื่อความสิ้นอาสวะ
และภิกษุจะน้อมจิตไปเพื่อทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วย
ปัญญาอันยิ่งใด ๆ เมื่อมีเหตุ๑ เธอย่อมบรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดใน
ธรรมนั้น ๆ
ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า ‘เราพึงแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็น
หลายคนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ แสดงให้ปรากฏ หรือให้หายไปก็ได้
ทะลุฝา กำแพง และภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นหรือดำลงใน
แผ่นดินเหมือนไปในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำโดยที่น้ำไม่แยกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้
นั่งขัดสมาธิเหาะไปในอากาศเหมือนนกบินไปก็ได้ ใช้ฝ่ามือลูบคลำดวงจันทร์ และ
ดวงอาทิตย์ อันมีฤทธิ์มากมีอานุภาพมากก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลก
ก็ได้’ เมื่อมีเหตุ เธอย่อมบรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษชัดในธรรมนั้น ๆ
ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า ‘เราพึงได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์
ทั้งที่อยู่ไกลและอยู่ใกล้ ด้วยหูทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์’ เมื่อมีเหตุ เธอย่อม
บรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ
ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า ‘เราพึงกำหนดรู้จิตของสัตว์และบุคคลอื่นได้ด้วยจิตของตน
คือ จิตมีราคะก็รู้ว่ามีราคะ หรือปราศจากราคะก็รู้ว่าปราศจากราคะ จิตมีโทสะ
ก็รู้ว่ามีโทสะ หรือปราศจากโทสะก็รู้ว่าปราศจากโทสะ จิตมีโมหะก็รู้ว่ามีโมหะ หรือ
ปราศจากโมหะก็รู้ว่าปราศจากโมหะ จิตหดหู่ก็รู้ว่าหดหู่ หรือฟุ้งซ่านก็รู้ว่าฟุ้งซ่าน
จิตเป็นมหัคคตะ๒ก็รู้ว่าเป็นมหัคคตะ หรือไม่เป็นมหัคคตะก็รู้ว่าไม่เป็นมหัคคตะ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๓. ปัญจังคิกวรรค ๓. อุปกิเลสสูตร

จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่ามีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่าไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า
จิตเป็นสมาธิก็รู้ว่าเป็นสมาธิ หรือไม่เป็นสมาธิก็รู้ว่าไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้นก็รู้ว่า
หลุดพ้น หรือไม่หลุดพ้นก็รู้ว่าไม่หลุดพ้น’ เมื่อมีเหตุ เธอย่อมบรรลุความเป็นผู้
เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ
ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า ‘เราพึงระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง
๒ ชาติบ้าง ๓ ชาติบ้าง ๔ ชาติบ้าง ๕ ชาติบ้าง ๑๐ ชาติบ้าง ๒๐ ชาติบ้าง
๓๐ ชาติบ้าง ๔๐ ชาติบ้าง ๕๐ ชาติบ้าง ๑๐๐ ชาติบ้าง ๑,๐๐๐ ชาติบ้าง
๑๐๐,๐๐๐ ชาติบ้าง ตลอดสังวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัป๑เป็นอัน มาก
บ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า ในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น
มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้น
ก็ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็มีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร
เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้นจึงมาเกิดในภพนี้ เราพึงระลึกชาติ
ก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้’ เมื่อมีเหตุ เธอย่อม
บรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ
ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า ‘เราพึงเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิดทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง
งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดีด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ พึงรู้ชัดถึง
หมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า ‘หมู่สัตว์ที่ประกอบกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต
กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นผิด ชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นผิด พวกเขา
หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก แต่หมู่สัตว์ที่ประกอบ
กายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต ไม่ว่าร้ายพระอริยะ มีความเห็นชอบ ชักชวน
ผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นชอบ พวกเขาหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลก
สวรรค์ เราพึงเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิดทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๓. ปัญจังคิกวรรค ๔. ทุสสีลสูตร

เกิดดีและเกิดไม่ดีด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ พึงรู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตาม
กรรมอย่างนี้แล’ เมื่อมีเหตุ เธอย่อมบรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดใน
ธรรมนั้น ๆ
ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า ‘เราพึงทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ
เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน’ เมื่อมีเหตุ เธอย่อม
บรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ

อุปกิเลสสูตรที่ ๓ จบ

๔. ทุสสีลสูตร
ว่าด้วยโทษแห่งความทุศีลและคุณแห่งความมีศีล

[๒๔] ภิกษุทั้งหลาย สัมมาสมาธิของบุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูก
ขจัดแล้ว เมื่อสัมมาสมาธิไม่มียถาภูตญาณทัสสนะ๑ ของบุคคลผู้มีสัมมาสมาธิวิบัติ
ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะไม่มี นิพพิทา๒และวิราคะ๓ของ
บุคคลผู้มียถาภูตญาณทัสสนะวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อนิพพิทาและวิราคะไม่
มี วิมุตติญาณทัสสนะ๔ ของบุคคลผู้มีนิพพิทาและวิราคะวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว
สัมมาสมาธิของบุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อสัมมา-
สมาธิไม่มี ยถาภูตญาณทัสสนะของบุคคลผู้มีสัมมาสมาธิวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว
เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะไม่มี นิพพิทาและวิราคะของบุคคลผู้มียถาภูตญาณทัสสนะ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๓. ปัญจังคิกวรรค ๕. อนุคคหิตสูตร

วิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อนิพพิทาและวิราคะไม่มี วิมุตติญาณทัสสนะของ
บุคคลผู้มีนิพพิทาและวิราคะวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกิ่ง
และใบวิบัติ สะเก็ด เปลือก กระพี้ แม้แก่นของต้นไม้นั้น ย่อมไม่ถึงความบริบูรณ์
ภิกษุทั้งหลาย สัมมาสมาธิของบุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล ชื่อว่ามีเหตุ
สมบูรณ์ เมื่อสัมมาสมาธิมี ยถาภูตญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมา-
สมาธิ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะมี นิพพิทาและวิราคะของ
บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยยถาภูตญาณทัสสนะ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อนิพพิทาและ
วิราคะมี วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาและวิราคะ ชื่อว่า
มีเหตุสมบูรณ์
สัมมาสมาธิของบุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อ
สัมมาสมาธิมี ยถาภูตญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิ ชื่อว่า
มีเหตุสมบูรณ์ เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะมี นิพพิทาและวิราคะของบุคคลผู้
สมบูรณ์ด้วยยถาภูตญาณทัสสนะ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อนิพพิทาและวิราคะมี
วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาและวิราคะ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกิ่งและใบสมบูรณ์ สะเก็ด เปลือก กระพี้ แม้แก่นของต้นไม้นั้น
ย่อมถึงความบริบูรณ์

ทุสสีลสูตรที่ ๔ จบ

๕. อนุคคหิตสูตร
ว่าด้วยธรรมสนับสนุนสัมมาทิฏฐิ

[๒๕] ภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฏฐิ๑อันองค์ ๕ สนับสนุนแล้ว ย่อมมีเจโต-
วิมุตติเป็นผล มีเจโตวิมุตติ๒เป็นผลานิสงส์ และมีปัญญาวิมุตติ๓เป็นผล มีปัญญา-
วิมุตติเป็นผลานิสงส์


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๓. ปัญจังคิกวรรค ๖. วิมุตตายตนสูตร

องค์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ศีล๑ ๒. สุตะ๒
๓. สากัจฉา๓ ๔. สมถะ๔
๕. วิปัสสนา๕

ภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฏฐิอันองค์ ๕ นี้แล สนับสนุนแล้ว ย่อมมีเจโตวิมุตติ
เป็นผล มีเจโตวิมุตติเป็นผลานิสงส์ และมีปัญญาวิมุตติเป็นผล มีปัญญาวิมุตติเป็น
ผลานิสงส์

อนุคคหิตสูตรที่ ๕ จบ

๖. วิมุตตายตนสูตร
ว่าด้วยเหตุแห่งวิมุตติ

[๒๖] ภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการนี้ ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุ
ผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะ
ที่ยังไม่สิ้นไป ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมบรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจาก
โยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๓. ปัญจังคิกวรรค ๖. วิมุตตายตนสูตร

เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ศาสดาหรือเพื่อนพรหมจารีผู้ตั้งอยู่ในฐานะครูบางรูปแสดงธรรม๑
แก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เธอรู้แจ้งอรรถ๒ รู้แจ้งธรรมในธรรม๓นั้น
ตามที่ศาสดาหรือเพื่อนพรหมจารีผู้ตั้งอยู่ในฐานะครูบางรูปแสดง
แก่เธอ เมื่อเธอรู้แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อมี
ปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบ
ย่อมได้รับสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติประการ
ที่ ๑ ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศ
กายและใจอยู่ ที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไป
ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมบรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจาก
โยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ

๒. ศาสดาหรือเพื่อนพรหมจารีผู้ตั้งอยู่ในฐานะครูบางรูปไม่ได้แสดงธรรม
แก่ภิกษุ แต่ภิกษุแสดงธรรมตามที่ตนได้สดับมาตามที่ตนได้เรียน
มาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร เธอรู้แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรมในธรรมนั้นตาม
ที่ภิกษุแสดงธรรมตามที่ตนได้สดับมาตามที่ตนได้เรียนมาแก่ผู้อื่นโดย
พิสดาร เมื่อเธอรู้แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อมี
ปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบ
ย่อมได้รับสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติประการ
ที่ ๒ ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท ฯลฯ หรือเธอย่อม
บรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ

๓. ศาสดาหรือเพื่อนพรหมจารีผู้ตั้งอยู่ในฐานะครูบางรูปไม่ได้แสดงธรรม
แก่ภิกษุ แม้ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมตามที่ตนได้สดับมาตาม
ที่ตนได้เรียนมา แก่ผู้อื่นโดยพิสดาร แต่ภิกษุสาธยายธรรมตามที่ตนได้


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๓. ปัญจังคิกวรรค ๖. วิมุตตายตนสูตร

สดับมาตามที่ตนได้เรียนมาโดยพิสดาร เธอรู้แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรม
ในธรรมนั้น ตามที่ภิกษุสาธยายธรรมตามที่ตนได้สดับมาตามที่ตน
ได้เรียนมาโดยพิสดาร เมื่อเธอรู้แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรม ย่อมเกิด
ปราโมทย์ เมื่อมีปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ
เธอมีกายสงบ ย่อมได้รับสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น นี้เป็นเหตุแห่ง
วิมุตติประการที่ ๓ ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความ
เพียร ฯลฯ หรือเธอย่อมบรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอัน
ยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ

๔. ศาสดาหรือเพื่อนพรหมจารีผู้ตั้งอยู่ในฐานะครูบางรูปไม่ได้แสดงธรรม
แก่ภิกษุ แม้ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมตามที่ตนได้สดับมาตามที่ตนได้
เรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร ไม่ได้สาธยายธรรมตามที่ตนได้สดับมา
ตามที่ตนได้เรียนมาโดยพิสดาร แต่ภิกษุตรึกตามตรองตามเพ่ง
ตามด้วยใจซึ่งธรรมตามที่ตนได้สดับมาตามที่ตนได้เรียนมา เธอรู้
แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรมในธรรมนั้นตามที่ภิกษุตรึกตามตรองตามเพ่ง
ตามด้วยใจซึ่งธรรมตามที่ตนได้สดับมาตามที่ตนได้เรียนมา เมื่อเธอ
รู้แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อมีปราโมทย์ ย่อม
เกิดปีติ เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบ ย่อมได้รับสุข
เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติประการที่ ๔ ซึ่งเป็น
เหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท ฯลฯ หรือเธอย่อมบรรลุธรรม
อันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ

๕. ศาสดาหรือเพื่อนพรหมจารีผู้ตั้งอยู่ในฐานะครูบางรูปไม่ได้แสดงธรรม
แก่ภิกษุ แม้ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมตามที่ตนได้สดับมาตามที่ตน
ได้เรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร ไม่ได้สาธยายธรรมตามที่ตนได้สดับ
มาตามที่ตนได้เรียนมาโดยพิสดาร และไม่ได้ตรึกตามตรองตามเพ่ง
ตามด้วยใจซึ่งธรรมตามที่ตนได้สดับมาตามที่ตนได้เรียนมา แต่เธอ
เรียนสมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งมาดี มนสิการดี ทรงจำไว้ดี
แทงตลอดดีด้วยปัญญา เธอรู้แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรมในธรรมนั้นตามที่
เธอได้เรียนสมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งมาดี มนสิการดี ทรงจำไว้ดี
แทงตลอดดีด้วยปัญญา เมื่อเธอรู้แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรม ย่อมเกิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๓. ปัญจังคิกวรรค ๗. สมาธิสูตร

ปราโมทย์ เมื่อมีปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจเกิดปีติ กายย่อมสงบ
เธอมีกายสงบ ย่อมได้รับสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น นี้เป็นเหตุ
แห่งวิมุตติประการที่ ๕ ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท ฯลฯ
หรือเธอย่อมบรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่
ยังไม่ได้บรรลุ

ภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการนี้แล ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่
ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะ
ที่ยังไม่สิ้นไป ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมบรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจาก
โยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ

วิมุตตายตนสูตรที่ ๖ จบ

๗. สมาธิสูตร
ว่าด้วยการเจริญสมาธิเพื่อให้ญาณเกิดขึ้น

[๒๗] ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมีปัญญาเครื่องรักษาตน มีสติ เจริญ
อัปปมาณสมาธิ๑เถิด เมื่อเธอมีปัญญาเครื่องรักษาตน มีสติ เจริญอัปปมาณสมาธิอยู่
ญาณ๒ ๕ ประการ ย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตน
ญาณ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ญาณย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า ‘สมาธิ๓นี้มีสุขในปัจจุบัน และมีสุข
เป็นวิบากต่อไป’
๒. ญาณย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า ‘สมาธินี้เป็นอริยะ ปราศจากอามิส๔’
๓. ญาณย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า ‘สมาธินี้อันคนเลวเสพไม่ได้’


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๓. ปัญจังคิกวรรค ๘. ปัญจังคิกสูตร

๔. ญาณย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า ‘สมาธินี้สงบ ประณีต ได้ด้วยความ
สงบระงับ บรรลุได้ด้วยภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น และมิใช่บรรลุได้
ด้วยการข่มธรรมที่เป็นข้าศึก ห้ามกิเลสด้วยสสังขารจิต๑’
๕. ญาณย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า ‘เรามีสติเข้าสมาธินี้ได้ มีสติออก
จากสมาธินี้ได้’

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมีปัญญาเครื่องรักษาตน มีสติ เจริญอัปปมาณ-
สมาธิเถิด เมื่อเธอทั้งหลายมีปัญญาเครื่องรักษาตน มีสติ เจริญอัปปมาณสมาธิอยู่
ญาณ ๕ ประการนี้แล ย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตน

สมาธิสูตรที่ ๗ จบ

๘. ปัญจังคิกสูตร
ว่าด้วยการเจริญสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ ๕

[๒๘] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงการเจริญสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ ๕
อันเป็นอริยะ๒ เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจได้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนอง
พระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
การเจริญสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ ๕ อันเป็นอริยะ อะไรบ้าง คือ

๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุ
ปฐมฌาณที่มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เธอทำกาย
นี้แลให้ชุ่มชื่นอิ่มเอิบ ซาบซ่านด้วยปีติและสุขอันเกิดจากวิเวก ไม่มี
ส่วนไหน ๆ แห่งกาย ของเธอทั่วทั้งตัวที่ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวก
จะไม่ถูกต้อง เปรียบเหมือนพนักงานสรงสนานหรือลูกมือพนักงาน
สรงสนานผู้ฉลาด จะพึงใส่ผงสีตัวลงในภาชนะสำริดแล้วพรมด้วย
น้ำหมักไว้ ตกเวลาเย็นผงสีตัวจับตัวติดเป็นก้อน ไม่กระจายออก


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๓. ปัญจังคิกวรรค ๘. ปัญจังคิกสูตร

ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ทำกายนี้แลให้ชุ่มชื่นอิ่มเอิบ
ซาบซ่านด้วยปีติและสุขอันเกิดจากวิเวก ไม่มีส่วนไหน ๆ แห่ง
กายของเธอทั่วทั้งตัวที่ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกจะไม่ถูกต้อง นี้
คือการเจริญสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ ๕ อันเป็นอริยะ
ประการที่ ๑

๒. ภิกษุบรรลุทุติยฌาณที่มีความผ่องใสภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่ง
ผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป มีแต่ปีติ
และสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ เธอทำกายนี้ให้ชุ่มชื่นอิ่มเอิบซาบซ่าน
ด้วยปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิ ไม่มีส่วนไหน ๆ แห่งกายของเธอ
ทั่วทั้งตัวที่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิจะไม่ถูกต้อง เปรียบเหมือน
ห้วงน้ำลึกที่มีน้ำปั่นป่วน ไม่มีทางไหลมาได้ทั้งในทิศตะวันออก ทิศใต้
ทิศตะวันตก ทิศเหนือ และฝนก็ไม่ตกเพิ่มตามฤดูกาล แต่สายน้ำ
เย็นพุขึ้นจากห้วงน้ำนั้นแล้ว จะพึงทำห้วงน้ำนั้นแลให้ชุ่มชื่นอิ่มเอิบ
ซึมซาบด้วยน้ำเย็น ไม่มีส่วนไหน ๆ แห่งห้วงน้ำนั้นทั้งหมดที่น้ำ
เย็นจะไม่ถูกต้อง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ย่อมทำกายนี้ให้
ชุ่มชื่นอิ่มเอิบซาบซ่านด้วยปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิ ไม่มีส่วน
ไหน ๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัวที่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิจะ
ไม่ถูกต้อง นี้คือการเจริญสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ ๕ อันเป็น
อริยะ ประการที่ ๒

๓. ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติ
จางคลายไป บรรลุตติยฌาณที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้มี
อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข’ เธอทำกายนี้แลให้ชุ่มชื่นอิ่มเอิบซาบซ่าน
ด้วยสุขอันปราศจากปีติ ไม่มีส่วนไหน ๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว
ที่สุขอันปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง เปรียบเหมือนกออุบล กอบัว
หลวง หรือกอบัวขาวบางเหล่าซึ่งเกิดในน้ำ ยังไม่พ้นน้ำ จมอยู่ในน้ำ
ถูกน้ำหล่อเลี้ยงไว้ ดอกบัวเหล่านั้นชุ่มชื่นอิ่มเอิบซึมซาบด้วยน้ำเย็น
ตลอดยอด ตลอดเหง้า ไม่มีส่วนไหน ๆ แห่งดอกอุบล ดอกบัวหลวง
หรือดอกบัวขาวทั่วทุกส่วนที่น้ำเย็นจะไม่ถูกต้อง ฉันใด ภิกษุก็ฉัน
นั้น เหมือนกันแล ย่อมทำกายนี้แลให้ชุ่มชื่นอิ่มเอิบซาบซ่านด้วยสุข
อันปราศจากปีติ ไม่มีส่วนไหน ๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัวที่สุขอัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๓. ปัญจังคิกวรรค ๘. ปัญจังคิกสูตร

ปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง นี้คือการเจริญสัมมาสมาธิที่ประกอบ
ด้วยองค์ ๕ อันเป็นอริยะ ประการที่ ๓

๔. ภิกษุบรรลุจตุตถฌาณที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะ
อุเบกขาอยู่ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไป
ก่อนแล้ว เธอนั่งแผ่ไปทั่วกายนี้แลด้วยใจอันบริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มี
ส่วนไหน ๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัวที่ใจอันบริสุทธิ์ผุดผ่องจะไม่
ถูกต้อง เปรียบเหมือนบุรุษพึงเอาผ้าขาว นั่งคลุมตัวตลอดศีรษะ
ก็ไม่มีส่วนไหน ๆ แห่งกายทุกส่วนของเขา ที่ผ้าขาวจะไม่ถูกต้อง
ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล เธอนั่งแผ่ไปทั่วกายนี้แล ด้วยใจ
อันบริสุทธิ์ผุดผ่องไม่มีส่วนไหน ๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัวที่ใจอัน
บริสุทธิ์ผุดผ่องจะไม่ถูกต้อง นี้คือการเจริญสัมมาสมาธิที่
ประกอบด้วยองค์ ๕ อันเป็นอริยะ ประการที่ ๔

๕. ภิกษุเรียนปัจจเวกขณนิมิต๑ มาดี มนสิการดี ทรงจำไว้ดี แทง
ตลอดดีด้วยปัญญา เปรียบเหมือนคนหนึ่งพึงพิจารณาเห็นคนหนึ่ง
คนยืนพึงพิจารณาเห็นคนนั่ง หรือคนนั่งพึงพิจารณาเห็นคนนอน
ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล เธอเรียนปัจจเวกขณนิมิตมาดี
มนสิการดี ทรงจำไว้ดี แทงตลอดดีด้วยปัญญา นี้คือการเจริญ
สัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ ๕ อันเป็นอริยะ ประการที่ ๕
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ ๕ อันเป็นอริยะ ที่ภิกษุ
เจริญ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ เธอน้อมจิตไปเพื่อทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งซึ่งธรรม
ใด ๆ ที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง เมื่อมีเหตุ๒ เธอย่อมบรรลุความเป็นผู้
เหมาะสม ที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ เปรียบเหมือนหม้อน้ำตั้งอยู่บนเชิงรอง
เต็มด้วยน้ำเสมอขอบปากพอที่กาจะดื่มได้ บุรุษผู้มีกำลังพึงเอียงหม้อน้ำนั้นไปรอบ ๆ
น้ำจะกระฉอกออกมาได้ไหม”


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๓. ปัญจังคิกวรรค ๘. ปัญจังคิกสูตร

“ได้ พระพุทธเจ้าข้า”

“ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อสัมมาสมาธิอันประกอบด้วยองค์ ๕ อันเป็น
อริยะที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้วอย่างนี้ เธอน้อมจิตไปเพื่อทำให้แจ้งด้วยปัญญาอัน
ยิ่งซึ่งธรรมใด ๆ ที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง เมื่อมีเหตุ เธอย่อมบรรลุ
ความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ เปรียบเหมือนสระน้ำมีลักษณะ
สี่เหลี่ยมในพื้นที่ราบ กั้นด้วยทำนบ เต็มด้วยน้ำเสมอขอบปากพอที่กาจะดื่มได้
บุรุษผู้มีกำลังพึงเปิดทำนบสระน้ำทุก ๆ ด้าน น้ำจะไหลออกมาได้ไหม”

“ได้ พระพุทธเจ้าข้า”

“ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อสัมมาสมาธิอันประกอบด้วยองค์ ๕ อันเป็น
อริยะที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ เธอน้อมจิตไปเพื่อทำให้แจ้งด้วยปัญญา
อันยิ่งซึ่งธรรมใด ๆ ที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง เมื่อมีเหตุ เธอย่อมบรรลุความ
เป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ
เปรียบเหมือนรถม้าที่เทียมแล้วจอดอยู่ที่ทางใหญ่สี่แพร่ง มีพื้นราบเรียบมีปฏัก
วางไว้ข้างบน คนฝึกม้าผู้ขยันชำนาญในการฝึกขึ้นรถนั้นแล้ว ถือเชือกด้วยมือซ้าย
ถือปฏักด้วยมือขวา พึงขับรถให้เดินหน้าบ้าง ให้ถอยหลังบ้างได้ตามต้องการ ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อสัมมาสมาธิอันประกอบด้วยองค์ ๕ อันเป็นอริยะที่
ภิกษุเจริญทำให้มากแล้วอย่างนี้ เธอน้อมจิตไปเพื่อทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งซึ่ง
ธรรมใดที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง เมื่อมีเหตุ เธอย่อมบรรลุความเป็นผู้เหมาะสม
ที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ

ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า ‘เราพึงแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็น
หลายคนก็ได้ ฯลฯ๑ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้’ เมื่อมีเหตุ เธอย่อม
บรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ
ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า ‘เราพึงได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือเสียงทิพย์และเสียงมนุษย์
ทั้งที่อยู่ไกลและอยู่ใกล้ ด้วยหูทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์’ เมื่อมีเหตุ เธอย่อม
บรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๓. ปัญจังคิกวรรค ๘. ปัญจังคิกสูตร

ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า ‘เราพึงกำหนดรู้จิตของสัตว์และบุคคลอื่นได้ด้วยจิตของตน
คือ จิตมีราคะก็รู้ว่ามีราคะ หรือปราศจากราคะก็รู้ว่าปราศจากราคะ จิตมีโทสะก็รู้ว่า
มีโทสะ หรือปราศจากโทสะก็รู้ว่าปราศจากโทสะ จิตมีโมหะก็รู้ว่ามีโมหะ หรือปราศ
จากโมหะก็รู้ว่าปราศจากโมหะ จิตหดหู่ก็รู้ว่าหดหู่ หรือฟุ้งซ่านก็รู้ว่าฟุ้งซ่าน จิตเป็น
มหัคคตะก็รู้ว่าเป็นมหัคคตะ หรือไม่เป็นมหัคคตะก็รู้ว่าไม่เป็นมหัคคตะ จิตมีจิตอื่น
ยิ่งกว่าก็รู้ว่ามีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่าไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตเป็น
สมาธิก็รู้ว่าเป็นสมาธิ หรือไม่เป็นสมาธิก็รู้ว่าไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้นก็รู้ว่าหลุดพ้น
หรือไม่หลุดพ้นก็รู้ว่าไม่หลุดพ้น’ เมื่อมีเหตุ เธอย่อมบรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะ
ประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ

ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า ‘เราพึงระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง
๒ ชาติบ้าง ฯลฯ เราพึงระลึกถึงชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและ
ชีวประวัติอย่างนี้’ เมื่อมีเหตุ เธอย่อมบรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดใน
ธรรมนั้น ๆ

ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า ‘เราพึงเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง
งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดีด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ พึงรู้ชัดถึงหมู่
สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า ฯลฯ’ เมื่อมีเหตุ เธอย่อมบรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะ
ประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ

ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า ‘เราพึงทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ
เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน’ เมื่อมีเหตุ เธอย่อม
บรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ’

ปัญจังคิกสูตรที่ ๘ จบ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๓. ปัญจังคิกวรรค ๑๐. นาคิตสูตร

๙. จังกมสูตร
ว่าด้วยการเดินจงกรม

[๒๙] ภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์แห่งการเดินจงกรม ๕ ประการนี้
อานิสงส์แห่งการเดินจงกรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. เป็นผู้มีความอดทนต่อการเดินทางไกล
๒. เป็นผู้มีความอดทนต่อการบำเพ็ญเพียร
๓. เป็นผู้มีอาพาธน้อย
๔. อาหารที่กิน ดื่ม เคี้ยว ลิ้มแล้วย่อยได้ง่าย
๕. สมาธิที่ได้เพราะการเดินจงกรมตั้งอยู่ได้นาน

ภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์แห่งการเดินจงกรม ๕ ประการนี้แล

จังกมสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. นาคิตสูตร
ว่าด้วยพระนาคิตะ

[๓๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศล พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์
หมู่ใหญ่ เสด็จถึงหมู่บ้านพราหมณ์แคว้นโกศลชื่ออิจฉานังคละ เล่ากันว่า
คราวนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ราวป่าชื่ออิจฉานังคละใกล้หมู่บ้านพราหมณ์
ชื่ออิจฉานังคละ
พวกพราหมณ์และคหบดีชาวบ้านอิจฉานังคละได้ทราบข่าวว่า “ท่านผู้เจริญ
ข่าวว่า พระสมณโคดมศากยบุตร ทรงพระผนวชจากศากยตระกูล เสด็จถึงบ้าน
อิจฉานังคละ ประทับอยู่ที่ราวป่าชื่ออิจฉานังคละใกล้หมู่บ้านพราหมณ์ชื่ออิจฉานังคละ
ท่านพระสมณโคดมพระองค์นั้นมีกิตติศัพท์อันงามขจรไปอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ
เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่าง
ยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี
พระภาค’ พระองค์ทรงรู้แจ้งโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๓. ปัญจังคิกวรรค ๑๐. นาคิตสูตร

พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ด้วยพระองค์เองแล้ว จึงประกาศให้ผู้อื่น
รู้ตาม ทรงแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น๑ มีความงามในท่ามกลาง มีความงาม
ในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์๒ พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน
การได้พบพระอรหันต์เช่นนี้เป็นความดีอย่างแท้จริง”
ครั้นคืนนั้นผ่านไป พราหมณ์และคหบดีชาวบ้านอิจฉานังคละ จึงพากันถือเอา
ของเคี้ยวของฉันเป็นอันมากเข้าไปถึงราวป่าชื่ออิจฉานังคละ ได้ยืนชุมนุมกันส่งเสียง
อื้ออึงที่ซุ้มประตูด้านนอก
สมัยนั้นแล ท่านพระนาคิตะเป็นอุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาค พระผู้มี
พระภาครับสั่งเรียกท่านพระนาคิตะมาตรัสถามว่า “นาคิตะ คนพวกไหนส่งเสียง
อื้ออึงอยู่นั้น คล้ายพวกชาวประมงแย่งปลากัน”
ท่านพระนาคิตะกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พราหมณ์และคหบดีชาว
บ้านอิจฉานังคละเหล่านั้นพากันถือของเคี้ยวของฉันเป็นอันมากมายืนชุมนุมกันอยู่ที่
ซุ้มประตูด้านนอก เพื่อถวายพระผู้มีพระภาค และภิกษุสงฆ์”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “นาคิตะ เราไม่ติดยศ และยศก็ไม่ติดเรา ผู้ใดแลไม่ได้
ตามความปรารถนา ไม่ได้โดยไม่ยาก ไม่ได้โดยไม่ลำบากซึ่งเนกขัมมสุข๓ ปวิเวกสุข
อุปสมสุข สัมโพธสุขที่เราได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบากนี้
ผู้นั้นชื่อว่ายินดีสุขที่ไม่สะอาด สุขในการนอนหลับ และสุขที่อิงอาศัยลาภสักการะและ
การสรรเสริญ”


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๓. ปัญจังคิกวรรค ๑๐. นาคิตสูตร

ท่านพระนาคิตะกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้ ขอพระผู้มีพระภาค
ผู้สุคตจงทรงรับ บัดนี้ เป็นเวลาที่พระผู้มีพระภาคจะทรงรับ พระองค์จักเสด็จไป
ทางใด ๆ พราหมณ์คหบดีชาวนิคมและชาวชนบทก็จักหลั่งไหลไปทางนั้น ๆ เปรียบ
เหมือนเมื่อฝนเม็ดใหญ่ตกลงมา น้ำย่อมไหลไปตามที่ลุ่ม ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ
พระผู้มีพระภาคทรงมีศีลและปัญญา”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “นาคิตะ เราไม่ติดยศ และยศก็ไม่ติดเรา ผู้ใดแลไม่ได้
ตามความปรารถนา ไม่ได้โดยไม่ยาก ไม่ได้โดยไม่ลำบากซึ่งเนกขัมมสุข ปวิเวกสุข
อุปสมสุข สัมโพธสุขที่เราได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบากนี้
ผู้นั้นชื่อว่ายินดีสุขที่ไม่สะอาด สุขในการนอนหลับ และสุขที่อิงอาศัยลาภสักการะและ
การสรรเสริญ
นาคิตะ อาหารที่กิน ดื่ม เคี้ยว และลิ้มย่อมกลายเป็นอุจจาระและปัสสาวะ
นี้เป็นผลแห่งอาหารนั้น ปิยชนเกิดมีโสกะ(ความโศก) ปริเทวะ(ความร่ำไร) ทุกข์
(ความทุกข์กาย) โทมนัส(ความทุกข์ใจ) และอุปายาส(ความแค้นใจ) เพราะสิ่งที่รัก
แปรเป็นอื่นไป นี้เป็นผลแห่งความรักนั้น ความเป็นของปฏิกูลในอสุภนิมิต๑ ย่อมตั้ง
อยู่แก่ภิกษุผู้ขวนขวายการประกอบตามอสุภนิมิต นี้เป็นผลแห่งการประกอบตาม
อสุภนิมิตนั้น ความเป็นของปฏิกูลในผัสสะ ย่อมตั้งอยู่แก่ภิกษุผู้พิจารณาเห็นความ
ไม่เที่ยงในผัสสายตนะ๒ ๖ อยู่ นี้เป็นผลแห่งการพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงใน


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๓. ปัญจังคิกวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ผัสสายตนะนั้น ความเป็นของปฏิกูลในอุปาทาน ย่อมตั้งอยู่แก่ภิกษุผู้พิจารณาเห็น
ความเกิดและความดับในอุปาทานขันธ์๑ ๕ นี้เป็นผลแห่งการพิจารณาเห็นความเกิด
และความดับในอุปาทานขันธ์นั้น”

นาคิตสูตรที่ ๑๐ จบ
ปัญจังคิกวรรคที่ ๓ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมอคารวสูตร ๒. ทุติยอคารวสูตร
๓. อุปกิเลสสูตร ๔. ทุสสีลสูตร
๕. อนุคคหิตสูตร ๖. วิมุตตายตนสูตร
๗. สมาธิสูตร ๘. ปัญจังคิกสูตร
๙. จังกมสูตร ๑๐. นาคิตสูตร


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๔. สุมนวรรค ๑. สุมนสูตร

๔. สุมนวรรค
หมวดว่าด้วยสุมนาราชกุมารี๑

๑. สุมนสูตร
ว่าด้วยสุมนาราชกุมารี

[๓๑] สมัยหนึ่ง ฯลฯ อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น สุมนาราชกุมารีมีรถ ๕๐๐ คัน และกุมารี ๕๐๐ คนแวดล้อม เข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร๒ ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส สาวกของพระผู้มีพระภาค ๒ คน
มีศรัทธาเสมอกัน มีศีลเสมอกัน มีปัญญาเสมอกัน คนหนึ่งเป็นทายก๓ คนหนึ่งไม่ใช่
ทายก คนทั้งสองนั้น หลังจากตายแล้ว ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ท่านทั้งสองผู้เป็น
เทวดานั้น พึงมีความพิเศษ มีเหตุแตกต่างกันหรือไม่”


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๔. สุมนวรรค ๑. สุมนสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มี สุมนา คือเทวดาผู้เคยเป็นทายก ย่อมข่มเทวดา
ผู้ไม่เคยเป็นทายกด้วยฐานะ ๕ ประการ คือ

๑. อายุที่เป็นทิพย์ ๒. วรรณะที่เป็นทิพย์
๓. สุขที่เป็นทิพย์ ๔. ยศที่เป็นทิพย์
๕. อธิปไตยที่เป็นทิพย์

เทวดาผู้เคยเป็นทายก ย่อมข่มเทวดาผู้ไม่เคยเป็นทายกด้วยฐานะ ๕
ประการนี้”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าเทวดาทั้งสองนั้น จุติจากเทวโลกนั้นแล้วมาสู่ความ
เป็นมนุษย์นี้ ท่านทั้งสองผู้เป็นมนุษย์นั้น พึงมีความพิเศษ มีเหตุแตกต่างกันหรือไม่”
“มี สุมนา คือมนุษย์ผู้เคยเป็นทายก ย่อมข่มมนุษย์ผู้ไม่เคยเป็นทายกด้วย
ฐานะ ๕ ประการ คือ

๑. อายุที่เป็นของมนุษย์ ๒. วรรณะที่เป็นของมนุษย์
๓. สุขที่เป็นของมนุษย์ ๔. ยศที่เป็นของมนุษย์
๕. อธิปไตยที่เป็นของมนุษย์

มนุษย์ผู้เคยเป็นทายก ย่อมข่มมนุษย์ผู้ไม่เคยเป็นทายกด้วยฐานะ ๕
ประการนี้”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าคนทั้งสองนั้นออกบวชเป็นบรรพชิต ท่านทั้งสองผู้
เป็นบรรพชิตนั้น พึงมีความพิเศษ มีเหตุแตกต่างกันหรือไม่”
“มี สุมนา บรรพชิตผู้เคยเป็นทายก ย่อมข่มบรรพชิตผู้ไม่เคยเป็นทายกด้วย
ฐานะ ๕ ประการ คือ

๑. เมื่อเขาขอร้องจึงใช้สอยจีวรมาก เมื่อเขาไม่ขอร้องจึงใช้สอยน้อย
๒. เมื่อเขาขอร้องจึงฉันบิณฑบาตมาก เมื่อเขาไม่ขอร้องจึงฉันน้อย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๔. สุมนวรรค ๑. สุมนสูตร

๓. เมื่อเขาขอร้องจึงใช้สอยเสนาสนะมาก เมื่อเขาไม่ขอร้องจึงใช้สอยน้อย
๔. เมื่อเขาขอร้องจึงใช้สอยคิลานปัจจัยเภสัชชบริขารมาก เมื่อเขาไม่
ขอร้องจึงใช้สอยน้อย
๕. อยู่ร่วมกับเพื่อนพรหมจารีเหล่าใด เพื่อนพรหมจารีเหล่านั้นก็
ประพฤติต่อเธอด้วยกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมเป็นที่พอใจ
เป็นส่วนมาก ที่ไม่พอใจเป็นส่วนน้อย นำสิ่งเป็นที่พอใจมาเป็น
ส่วนมาก ที่ไม่พอใจเป็นส่วนน้อย

บรรพชิตผู้เคยเป็นทายก ย่อมข่มบรรพชิตผู้ไม่เคยเป็นทายกด้วยฐานะ ๕
ประการนี้”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าคนทั้งสองนั้นบรรลุอรหัตตผล ท่านทั้งสองผู้บรรลุ
อรหัตตผล พึงมีความพิเศษ มีเหตุแตกต่างกันหรือไม่”
“สุมนา เราไม่กล่าวว่าแตกต่างกันเลยในระหว่างวิมุตติกับวิมุตติ๑”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ข้อนี้กำหนดได้ว่า
ควรให้ทาน ควรทำบุญ เพราะบุญเป็นอุปการะแม้แก่เทวดา แม้แก่มนุษย์ แม้แก่
บรรพชิต”
“อย่างนั้น สุมนา ควรให้ทาน ควรทำบุญ เพราะบุญเป็นอุปการะแม้แก่เทวดา
แม้แก่มนุษย์ แม้แก่บรรพชิต”

พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณ์ภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัส
คาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๔. สุมนวรรค ๒. จุนทีสูตร

ดวงจันทร์ปราศจากมลทิน โคจรไปในอากาสธาตุ
ย่อมสว่างกว่าหมู่ดาวทั้งสิ้นในโลกด้วยรัศมี ฉันใด๑
บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีล มีศรัทธา ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ย่อมรุ่งเรืองกว่าผู้ตระหนี่ทั้งหมดในโลกด้วยจาคะ
เมฆที่ลอยไปตามอากาศ มีสายฟ้าแลบแปลบปลาบ
มียอดตั้งร้อย ให้ฝนตกรดแผ่นดินเต็มที่ดอนและที่ลุ่ม ฉันใด
สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้สมบูรณ์ด้วยทัสสนะ๒
เป็นบัณฑิต ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ย่อมข่มผู้ตระหนี่ได้ด้วยเหตุ ๕ ประการ
คือ อายุ วรรณะ สุข ยศ และโภคทรัพย์
เขาตายไปแล้วย่อมบันเทิงในสวรรค์

สุมนสูตรที่ ๑ จบ

๒. จุนทีสูตร
ว่าด้วยจุนทีราชกุมารี๓

[๓๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับยู่ ณ พระเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน๔
เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น จุนทีราชกุมารีมีรถ ๕๐๐ คัน และกุมารี ๕๐๐ คน
แวดล้อม เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่า


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๔. สุมนวรรค ๒. จุนทีสูตร

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ราชกุมารพระนามว่าจุนทะ พระภาดาของหม่อมฉัน
กล่าวอย่างนี้ว่า ‘หญิงหรือชายก็ตาม ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ว่า
เป็นสรณะ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการ
ประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการพูดเท็จ และเว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือ
สุราและเมรัย๑อันเป็นเหตุแห่งความประมาท ผู้นั้นหลังจากตายแล้วย่อมไปเกิดใน
สุคติอย่างเดียว ไม่เกิดในทุคติ’ หม่อมฉันจึงขอทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ‘ผู้เลื่อม
ใสในศาสดาเช่นไร หลังจากตายแล้วจึงไปเกิดในสุคติอย่างเดียว ไม่เกิดในทุคติ
ผู้เลื่อมใสในธรรมเช่นไร หลังจากตายแล้วจึงไปเกิดในสุคติอย่างเดียว ไม่เกิดในทุคติ
ผู้เลื่อมใสในสงฆ์เช่นไร หลังจากตายแล้วจึงไปเกิดในสุคติอย่างเดียว ไม่เกิดในทุคติ
ผู้ที่ทำให้ศีลเช่นไรบริบูรณ์ หลังจากตายแล้วจึงไปเกิดในสุคติอย่างเดียว ไม่เกิดใน
ทุคติ’

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “จุนที สัตว์ทั้งหลายที่ไม่มีเท้า มีสองเท้า มีสี่เท้า
หรือมีเท้ามากก็ตาม มีรูปหรือไม่มีรูปก็ตาม มีสัญญา ไม่มีสัญญา หรือมีสัญญา
ก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ก็ตาม มีประมาณเท่าใด ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าสัตว์มีประมาณเท่านั้น ผู้ที่เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า ชื่อว่า
เลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ และวิบากที่เลิศย่อมมีแก่บุคคลผู้เลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๔. สุมนวรรค ๒. จุนทีสูตร

ธรรมที่ปัจจัยปรุงแต่ง หรือธรรมที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง มีประมาณเท่าใด วิราคะ
(ความคลายกำหนัด) คือความสร่างความเมา ความดับความกระหาย ความถอนอาลัย
ความตัดวัฏฏะ ความสิ้นตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับทุกข์คือนิพพาน
บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าธรรมเหล่านั้น บุคคลผู้เลื่อมใสในวิราคธรรม ชื่อว่าเลื่อมใส
ในสิ่งที่เลิศ และวิบากที่เลิศย่อมมีแก่บุคคลผู้เลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ
หมู่ก็ดี คณะก็ดี มีประมาณเท่าใด สงฆ์สาวกของตถาคต ได้แก่ อริยบุคคล
๔ คู่คือ ๘ บุคคล สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมา
ถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอัน
ยอดเยี่ยมของโลก บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าหมู่หรือคณะเหล่านั้น บุคคลผู้เลื่อมใส
ในสงฆ์ ชื่อว่าเลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ และวิบากที่เลิศย่อมมีแก่บุคคลผู้เลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ
ศีลทั้งหลายมีประมาณเท่าใด ศีลที่พระอริยะใคร่๑ ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง
ไม่พร้อย เป็นไท ท่านผู้รู้สรรเสริญ ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ เป็นไปเพื่อสมาธิ
บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าศีลเหล่านั้น บุคคลผู้ทำศีลที่พระอริยะใคร่ให้บริบูรณ์ ชื่อว่า
ทำสิ่งที่เลิศให้บริบูรณ์ และวิบากที่เลิศย่อมมีแก่บุคคลผู้ทำสิ่งที่เลิศให้บริบูรณ์

พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณ์ภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัส
คาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
บุญที่เลิศ คืออายุ วรรณะ เกียรติยศ สุข และพละ
ย่อมเจริญแก่บุคคลผู้เลื่อมใส
ผู้รู้ธรรมที่เลิศโดยความเป็นธรรมที่เลิศ
ผู้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าผู้เลิศ
ซึ่งเป็นทักขิไณยบุคคลชั้นเยี่ยม


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๔. สุมนวรรค ๓. อุคคหสูตร

ผู้เลื่อมใสในพระธรรมที่เลิศอันเป็นที่คลายความกำหนัด
เป็นที่สงบระงับ นำสุขมาให้
ผู้เลื่อมใสในพระสงฆ์ผู้เลิศซึ่งเป็นนาบุญอันยอดเยี่ยม
ให้ทานในท่านผู้เลิศ
นักปราชญ์ผู้ตั้งมั่นในธรรมที่เลิศ
ให้ทานแก่ท่านผู้เลิศ
เกิดเป็นเทวดา หรือมนุษย์ก็ตาม
ถึงความเป็นผู้เลิศ๑บันเทิงอยู่๒

จุนทีสูตรที่ ๒ จบ

๓. อุคคหสูตร
ว่าด้วยอุคคหเศรษฐี

[๓๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ชาติยาวัน เขตเมืองภัททิยะ
ครั้งนั้น อุคคหเศรษฐีผู้เป็นหลานของเมณฑกเศรษฐี ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุ ๓ รูป จงรับภัตตาหาร
ของข้าพระองค์ในวันพรุ่งนี้” พระผู้มีพระภาคทรงรับด้วยพระอาการดุษณีแล้ว
อุคคหเศรษฐีทราบว่าพระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์แล้ว จึงลุกจากอาสนะ ถวาย
อภิวาท ทำประทักษิณแล้วหลีกไป
ครั้นคืนนั้นผ่านไป เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตร
จีวร เสด็จเข้าไปยังนิเวศน์ของอุคคหเศรษฐี ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๔. สุมนวรรค ๓. อุคคหสูตร
ลำดับนั้น อุคคหเศรษฐีได้ถวายอาหารภิกษุสงฆ์มีพระผู้มีพระภาคเป็น
ประธานให้อิ่มหนำด้วยของเคี้ยวของฉันที่ประณีตด้วยมือตนเอง เมื่อพระผู้มีพระภาค
เสวยเสร็จ ทรงวางพระหัตถ์ จึงนั่ง ณ ที่สมควร กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ลูกสาวของข้าพระองค์เหล่านี้ จักไปสู่ตระกูลสามี ขอพระผู้มี
พระภาคทรงกล่าวสอนพร่ำสอนเด็กเหล่านี้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อพวกเขาตลอดกาล
นานเถิด”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสสอนกุมารีเหล่านั้นว่า กุมารีทั้งหลาย
๑. เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘มารดาบิดา
ผู้ปรารถนาประโยชน์ หวังเกื้อกูลอนุเคราะห์ด้วยความเอ็นดู ยกให้
สามีใด เราทั้งหลายจักตื่นก่อน นอนทีหลังสามีนั้น คอยรับใช้
ปฏิบัติให้เป็นที่พอใจเขา พูดคำไพเราะต่อเขา’ เธอทั้งหลายพึง
สำเหนียกอย่างนี้แล
๒. เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘ชนเหล่าใด
เป็นที่เคารพของสามี คือ บิดา มารดา หรือสมณพราหมณ์
เราทั้งหลายจักสักการะ เคารพ นับถือบูชาชนเหล่านั้น และต้อนรับ
ท่านเหล่านั้น ผู้มาถึงแล้วด้วยอาสนะและน้ำ’ เธอทั้งหลายพึง
สำเหนียกอย่างนี้แล
๓. เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘การงาน
เหล่าใดเป็นการงานในบ้านของสามี คือ การทำผ้าขนสัตว์ หรือ
ผ้าฝ้าย เราทั้งหลายจักขยัน ไม่เกียจคร้านในการงานเหล่านั้น
จักประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาอันเป็นอุบายในการงาน
เหล่านั้น สามารถทำได้ สามารถจัดได้’ เธอทั้งหลายพึงสำเหนียก
อย่างนี้แล
๔. เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลาย
จักรู้การงานที่คนในปกครองภายในบ้านสามี คือ ทาส คนใช้ หรือ
กรรมกรว่าทำแล้ว หรือยังไม่ได้ทำ จักรู้อาการของคนเหล่านั้นที่
เป็นไข้ว่าดีขึ้นหรือทรุดลง และจักแบ่งปันของกินของใช้ให้ตามส่วน
ที่ควร’ เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๔. สุมนวรรค ๓. อุคคหสูตร
๕. เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เราทั้ง
หลายจักรักษาคุ้มครองสิ่งที่สามีหามาได้ จะเป็นทรัพย์ ข้าว เงิน
หรือทองก็ตาม จักไม่เป็นนักเลงการพนัน ไม่เป็นขโมย ไม่เป็นนักเลง
สุรา ไม่ล้างผลาญทรัพย์สมบัติ’ เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้
แล
กุมารีทั้งหลาย มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล หลังจากตายแล้ว
จะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทวดาเหล่ามนาปกายิกา๑
(พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณ์ภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัส
คาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า)
สตรีผู้เป็นบัณฑิต ย่อมไม่ดูหมิ่นสามี
ผู้มีความเพียร ขวนขวายเป็นนิตย์
เลี้ยงตนเองทุกเมื่อ ผู้ให้สิ่งที่ต้องการได้ทุกอย่าง
ไม่ทำให้สามีขุ่นเคืองด้วยการแสดงความหึงหวง
ยกย่องทุกคนที่สามีเคารพ เป็นคนขยัน
ไม่เกียจคร้าน สงเคราะห์คนข้างเคียงของสามี
ปฏิบัติถูกใจสามี รักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้
สตรีผู้ประพฤติตามใจสามีอย่างนี้
จะเข้าถึงความเป็นเทวดาเหล่ามนาปกายิกา
อุคคหสูตรที่ ๓ จบ

เชิงอรรถ :
๑ เทวดาเหล่ามนาปกายิกา หมายถึงเทวดาชั้นนิมมานรดี เทวดาเหล่านี้เรียกว่า เทพนิมมานรดี และเทพ
มนาปา เพราะเนรมิตรูปตามที่ตนปรารถนาได้ และชื่นชมรูปที่เนรมิตนั้น (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๓๓/๒๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๔. สุมนวรรค ๔. สีหเสนาปติสูตร
๔. สีหเสนาปติสูตร
ว่าด้วยสีหเสนาบดี
[๓๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน
เขตกรุงเวสาลี ครั้งนั้นแล สีหเสนาบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า “พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มี
พระภาคทรงบัญญัติผลแห่งทานที่จะพึงเห็นเองได้ไหม”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสตอบว่า “ได้ สีหะ” แล้วได้ตรัสต่อไปว่า สีหะ
๑. ทายก ทานบดี๑ย่อมเป็นที่รักที่พอใจของคนหมู่มาก แม้ข้อนี้ ก็
เป็นผลแห่งทานที่จะพึงเห็นเอง
๒. สัตบุรุษผู้สงบย่อมคบหาทายก ทานบดี แม้ข้อนี้ก็เป็นผลแห่งทาน
ที่จะพึงเห็นเอง
๓. กิตติศัพท์อันงามของทายก ทานบดีย่อมขจรไป แม้ข้อนี้ก็เป็นผล
แห่งทานที่จะพึงเห็นเอง
๔. ทายก ทานบดีจะเข้าไปสู่บริษัทใด ๆ จะเป็นขัตติยบริษัทก็ตาม
พราหมณบริษัทก็ตาม คหบดีบริษัทก็ตาม สมณบริษัทก็ตาม
ก็เป็นผู้แกล้วกล้า ไม่เก้อเขินเข้าไป แม้ข้อนี้ก็เป็นผลแห่งทานที่
จะพึงเห็นเอง
๕. ทายก ทานบดี หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ แม้
ข้อนี้ก็เป็นผลแห่งทานที่จะพึงเห็นเองในภพหน้า”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว สีหเสนาบดีจึงกราบทูลว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่เพียงเชื่อต่อพระผู้มีพระภาค ในเรื่องผลแห่งทาน ๔
ประการ ที่พระผู้มีพระภาคตรัสบอกแล้วนี้เท่านั้น แต่ยังทราบอีกด้วย คือ ข้าพระองค์

เชิงอรรถ :
๑ ทายก ในที่นี้หมายถึงผู้แกล้วกล้าในการให้ทาน คือ ไม่ใช่มีเพียงศรัทธาเท่านั้น แต่กล้าที่จะบริจาคได้ด้วย
ทานบดี หมายถึงผู้เป็นใหญ่ในทาน คือให้ของที่ดีกว่าของที่ตนบริโภค (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๓๔/๒๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๔. สุมนวรรค ๔. สีหเสนาปติสูตร
เป็นทายก เป็นทานบดี ย่อมเป็นที่รักที่พอใจของคนหมู่มาก สัตบุรุษผู้สงบย่อม
คบหาข้าพระองค์ผู้เป็นทายกเป็นทานบดี กิตติศัพท์อันงามของข้าพระองค์ผู้เป็น
ทายกเป็นทานบดี ย่อมขจรไปว่า ‘สีหเสนาบดีเป็นทายก เป็นผู้รับใช้ เป็นผู้บำรุง
พระสงฆ์’ ข้าพระองค์ผู้เป็นทายก เป็นทานบดี จะเข้าไปสู่บริษัทใด ๆ จะเป็น
ขัตติยบริษัทก็ตาม พราหมณบริษัทก็ตาม คหบดีบริษัทก็ตาม สมณบริษัทก็ตาม
ก็เป็นผู้แกล้วกล้า ไม่เก้อเขินเข้าไป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่เพียงเชื่อ
ต่อพระผู้มีพระภาคในเรื่องผลแห่งทาน ๔ ประการที่พระผู้มีพระภาคตรัสบอกแล้วนี้
เท่านั้น แต่ยังทราบอีกด้วย ส่วนผลแห่งทานที่จะพึงเห็นเองประการที่ ๕ ที่พระผู้มี
พระภาคตรัสบอกข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ‘ทายก ทานบดี หลังจากตายแล้วจะไปเกิด
ในสุคติโลกสวรรค์’ นั้นข้าพระองค์ยังไม่ทราบ แต่ข้าพระองค์ก็เชื่อต่อพระผู้มีพระภาค
ในเรื่องนี้”
พระผู้มีพระภาคตรัสย้ำว่า “ข้อนั้นเป็นอย่างนั้น สีหะ ข้อนั้นเป็นอย่างนั้น
สีหะ คือ ทายก ทานบดี หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์”
นรชนผู้ไม่ตระหนี่ ให้ทานอยู่
ย่อมเป็นที่รักของคนหมู่มาก
คนหมู่มากย่อมคบหานรชนนั้น
เขาย่อมได้รับเกียรติ เจริญด้วยยศ
เป็นผู้ไม่เก้อเขิน แกล้วกล้าเข้าสู่บริษัท
เพราะเหตุนั้นแล บัณฑิตทั้งหลายผู้หวังสุข
จงขจัดความตระหนี่อันเป็นมลทินแล้วให้ทาน
บัณฑิตเหล่านั้น ย่อมดำรงในไตรทิพย์
ถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทวดา
รื่นเริงอยู่ตลอดกาลนาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๔. สุมนวรรค ๕. ทานานิสังสสูตร
บัณฑิตเหล่านั้นได้โอกาสบำเพ็ญกุศลแล้ว
ละโลกนี้ไป ย่อมมีรัศมีเปล่งปลั่ง
เที่ยวชมไปในอุทยานชื่อนันทวัน
เพียบพร้อมด้วยกามคุณ ๕
เพลิดเพลิน รื่นเริง บันเทิงอยู่ในนันทวันนั้น
สาวกทั้งปวงของพระสุคตผู้ไม่มีกิเลส ผู้คงที่
ทำตามพระดำรัสของพระองค์แล้ว
ย่อมรื่นเริงในสวรรค์
สีหเสนาปติสูตรที่ ๔ จบ

๕. ทานานิสังสสูตร
ว่าด้วยอานิสงส์การให้ทาน
[๓๕] ภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์การให้ทาน ๕ ประการนี้
อานิสงส์การให้ทาน ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ผู้ให้ทานย่อมเป็นที่รักที่พอใจของคนหมู่มาก
๒. สัตบุรุษผู้สงบย่อมคบหาผู้ให้ทาน
๓. กิตติศัพท์อันงามของผู้ให้ทานย่อมขจรไป
๔. ผู้ให้ทานย่อมไม่ห่างเหินจากธรรมของคฤหัสถ์
๕. ผู้ให้ทานหลังจากตายแล้วย่อมเกิดในสุคติโลกสวรรค์
ภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์การให้ทาน ๕ ประการนี้แล
ผู้ให้ทานย่อมเป็นที่รักของคนหมู่มาก
ชื่อว่าดำเนินตามธรรมของสัตบุรุษ
สัตบุรุษทั้งหลายผู้สงบ ผู้สำรวมอินทรีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๔. สุมนวรรค ๖. กาลทานสูตร
ประพฤติพรหมจรรย์
ย่อมคบหาผู้ให้ทานทุกเมื่อ
สัตบุรุษเหล่านั้นย่อมแสดงธรรม
เป็นเครื่องบรรเทาทุกข์ทั้งปวงแก่เขา
เขารู้ชัดธรรมนั้นแล้ว
เป็นผู้ไม่มีอาสวะ ปรินิพพานในโลกนี้
ทานานิสังสสูตรที่ ๕ จบ

๖. กาลทานสูตร
ว่าด้วยกาลทา๑
[๓๖] ภิกษุทั้งหลาย กาลทาน ๕ ประการนี้
กาลทาน ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ให้ทานแก่ผู้มาสู่ถิ่นของตน
๒. ให้ทานแก่ผู้เตรียมจะไป
๓. ให้ทานแก่ผู้เป็นไข้
๔. ให้ทานในสมัยมีภิกษาหาได้ยาก
๕. ให้ข้าวอย่างดี และผลไม้ใหม่แก่ผู้มีศีล
ภิกษุทั้งหลาย กาลทาน ๕ ประการนี้แล
ผู้มีปัญญารู้ความประสงค์ของผู้ขอ๒
เป็นผู้ปราศจากความตระหนี่
ย่อมให้ทานในกาลที่ควรให้

เชิงอรรถ :
๑ กาลทาน หมายถึงยุตตทาน คือ การให้ที่เหมาะสม (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๓๖/๒๒)
๒ รู้ความประสงค์ของผู้ขอ ในที่นี้หมายถึงคฤหัสถ์เมื่อเห็นภิกษุเที่ยวบิณฑบาตยืนที่ประตูเรือนของตนเป็น
ผู้นิ่งไม่ออกปากขอ ก็รู้ความหมายได้ว่า ‘ท่านกำลังขอ ซึ่งเป็นการขออย่างพระอริยะ’ เมื่อรู้แล้วก็คิดว่า
‘พวกเราหุงต้มได้ แต่ภิกษุเหล่านี้หุงต้มไม่ได้ แล้วท่านจะหาภัตรได้ที่ไหน‘จึงจัดแจงไทยธรรมถวายท่าน
(องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๓๖-๓๗/๒๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๔. สุมนวรรค ๗. โภชนทานสูตร
ทานที่ให้ในพระอริยะผู้ซื่อตรง ผู้คงที่
ย่อมเป็นทักษิณาที่ไพบูลย์
ทำให้เขามีใจผ่องใส
ชนเหล่าใดอนุโมทนาหรือขวนขวายในทักษิณานั้น
เพราะการอนุโมทนาหรือขวนขวายของชนเหล่านั้น
ทักษิณาย่อมมีผลไม่พร่อง
แม้พวกเขาก็เป็นผู้มีส่วนแห่งบุญ
เพราะฉะนั้น ผู้มีจิตไม่ท้อถอย
จึงควรให้ทานในเขตที่มีผลมาก
เพราะบุญเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายในโลกหน้า
กาลทานสูตรที่ ๖ จบ

๗. โภชนทานสูตร
ว่าด้วยการให้โภชนะ
[๓๗] ภิกษุทั้งหลาย ทายกผู้ให้โภชนะ ชื่อว่าให้ฐานะ ๕ ประการแก่ปฏิคาหก
ฐานะ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อายุ ๒. วรรณะ
๓. สุข ๔. พละ
๕. ปฏิภาณ๑
ครั้นให้อายุแล้ว ย่อมมีส่วนได้อายุอันเป็นทิพย์ หรือเป็นของมนุษย์ ครั้นให้
วรรณะแล้ว ย่อมมีส่วนได้วรรณะอันเป็นทิพย์หรือเป็นของมนุษย์ ครั้นให้สุขแล้ว
ย่อมมีส่วนได้สุขอันเป็นทิพย์ หรือเป็นของมนุษย์ ครั้นให้พละแล้ว ย่อมมีส่วนได้
พละอันเป็นทิพย์ หรือเป็นของมนุษย์ ครั้นให้ปฏิภาณแล้ว ย่อมมีส่วนได้ปฏิภาณอัน
เป็นทิพย์ หรือเป็นของมนุษย์
ภิกษุทั้งหลาย ทายกผู้ให้โภชนะ ชื่อว่าให้ฐานะ ๕ ประการนี้แล

เชิงอรรถ :
๑ ปฏิภาณ ในที่นี้หมายถึงยุตตปฏิภาณ คือ ตอบปัญหาได้ถูกต้องตามเนื้อหาสาระและเหตุต่าง ๆ แต่ตอบ
ช้าไม่ตอบเร็ว และมุตตปฏิภาณ คือ ตอบปัญหาได้รวดเร็วในขณะที่ถามทีเดียว (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๓๒/๓๘๐)
และดู องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๓๒/๒๐๑-๒๐๒, อภิ.ปุ. (แปล) ๓๖/๑๕๒-๑๕๕/๑๘๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๔. สุมนวรรค ๘. สัทธสูตร
นักปราชญ์ผู้มีปัญญา ให้อายุ ย่อมได้อายุ
ให้พละ ย่อมได้พละ ให้วรรณะ ย่อมได้วรรณะ
ให้ปฏิภาณ ย่อมได้ปฏิภาณ ให้สุข ย่อมได้สุข
ครั้นให้อายุ พละ วรรณะ สุขะ และปฏิภาณแล้ว
จะเกิดในที่ใด ๆ ย่อมเป็นผู้มีอายุยืน มียศในที่นั้น ๆ
โภชนสูตรที่ ๗ จบ

๘. สัทธสูตร
ว่าด้วยอานิสงส์แห่งศรัทธา
[๓๘] ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรผู้มีศรัทธา ย่อมได้อานิสงส์ ๕ ประการ
อานิสงส์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
สัตบุรุษทั้งหลายผู้สงบในโลก
๑. เมื่อจะอนุเคราะห์ ย่อมอนุเคราะห์ผู้มีศรัทธาก่อน ไม่อนุเคราะห์
ผู้ไม่มีศรัทธาก่อน
๒. เมื่อจะเข้าไปหา ย่อมเข้าไปหาผู้มีศรัทธาก่อน ไม่เข้าไปหาผู้ไม่มีศรัทธา
ก่อน
๓. เมื่อจะต้อนรับ ย่อมต้อนรับผู้มีศรัทธาก่อน ไม่ต้อนรับผู้ไม่มี
ศรัทธาก่อน
๔. เมื่อจะแสดงธรรม ย่อมแสดงธรรมแก่ผู้มีศรัทธาก่อน ไม่แสดง
ธรรมแก่ผู้ไม่มีศรัทธาก่อน
๕. กุลบุตรผู้มีศรัทธา หลังจากตายแล้วย่อมเกิดในสุคติโลกสวรรค์
ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรผู้มีศรัทธา ย่อมได้อานิสงส์ ๕ ประการนี้แล
เปรียบเหมือนต้นไทรใหญ่ที่ทางใหญ่สี่แพร่ง มีพื้นราบเรียบ ย่อมเป็นที่พึ่งของ
หมู่นกโดยรอบ ฉันใด กุลบุตรผู้มีศรัทธาก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเป็นที่พึ่งของคน
หมู่มาก คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๔. สุมนวรรค ๙. ปุตตสูตร
ต้นไม้ใหญ่ มีกิ่ง ใบ และผล
มีลำต้นแข็งแรง มีรากมั่นคง สมบูรณ์ด้วยผล
ย่อมเป็นที่พึ่งของนกทั้งหลาย
ฝูงนกย่อมอาศัยต้นไม้นั้นซึ่งเป็นที่รื่นรมย์ใจ ให้เกิดสุข
ผู้ต้องการความร่มเย็น ย่อมเข้าไปอาศัยร่มเงา
ผู้ต้องการผล ย่อมบริโภคผลได้ ฉันใด
ท่านผู้ปราศจากราคะ ปราศจากโทสะ
ปราศจากโมหะ ไม่มีอาสวะ เป็นนาบุญของโลก
ย่อมคบหาบุคคลผู้มีศรัทธาซึ่งสมบูรณ์ด้วยศีล
ประพฤติถ่อมตน ไม่กระด้าง๑ สุภาพ
น่าชื่นชม อ่อนโยน มั่นคง ฉันนั้น
ท่านเหล่านั้นย่อมแสดงธรรม
เป็นเครื่องบรรเทาทุกข์ทั้งปวงแก่เขา
เขารู้ชัดธรรมนั้นแล้ว
เป็นผู้ไม่มีอาสวะ ปรินิพพานในโลกนี้
สัทธสูตรที่ ๘ จบ

๙. ปุตตสูตร
ว่าด้วยบุตร
[๓๙] ภิกษุทั้งหลาย มารดาบิดา เมื่อเห็นฐานะ ๕ ประการนี้ จึงปรารถนา
บุตรผู้เกิดในตระกูล
ฐานะ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. บุตรที่เราเลี้ยงมาแล้วจักเลี้ยงเรา
๒. บุตรจักช่วยทำกิจของเรา

เชิงอรรถ :
๑ ไม่กระด้าง หมายถึงปราศจากความกระด้าง คือ โกธะ (ความโกรธ) และมานะ (ความถือตัว) (องฺ.ปญฺจก.อ.
๓/๓๘/๒๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๔. สุมนวรรค ๙. ปุตตสูตร
๓. วงศ์ตระกูลจักดำรงอยู่ได้นาน
๔. บุตรจักปฏิบัติตนให้สมควรรับทรัพย์มรดกไว้
๕. เมื่อเราทั้งสองตายไป บุตรจักทำบุญอุทิศให้
ภิกษุทั้งหลาย มารดาบิดาเมื่อเห็นฐานะ ๕ ประการนี้แล จึงปรารถนาบุตรผู้
เกิดในตระกูล
มารดาบิดาผู้ฉลาด
เมื่อเห็นฐานะ ๕ ประการ จึงปรารถนาบุตร
ด้วยหวังว่า ‘บุตรที่เราเลี้ยงแล้วจักเลี้ยงเรา
จักช่วยทำกิจของเรา
วงศ์ตระกูลจักดำรงอยู่ได้นาน
จักปฏิบัติตนให้สมควรแก่การรับทรัพย์มรดก
และเมื่อเราทั้งสองตายแล้วจักทำบุญอุทิศให้’
มารดาบิดาผู้ฉลาด
เมื่อเห็นฐานะเหล่านี้ จึงปรารถนาบุตร
เพราะฉะนั้น บุตรผู้เป็นสัตบุรุษ ผู้สงบ
เป็นกตัญญูกตเวทีบุคคล
เมื่อระลึกถึงคุณท่านที่ทำไว้ต่อเราก่อน
จึงเลี้ยงมารดาบิดา ช่วยทำกิจของท่าน
เชื่อฟังโอวาท ตอบสนองพระคุณท่าน
ดำรงวงศ์ตระกูลสมกับที่ท่านเป็นบุพการี
บุตรผู้มีศรัทธา สมบูรณ์ด้วยศีล
ย่อมเป็นที่สรรเสริญ
ปุตตสูตรที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๔. สุมนวรรค ๑๐. มหาสาลปุตตสูตร
๑๐. มหาสาลปุตตสูตร
ว่าด้วยต้นสาละใหญ่กับกุลบุตร
[๔๐] ภิกษุทั้งหลาย ไม้สาละใหญ่อาศัยขุนเขาหิมพานต์ ย่อมงอกงามด้วย
ความเจริญ ๕ ประการ
ความเจริญ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กิ่ง ใบแก่ และใบอ่อน ๒. เปลือก
๓. สะเก็ด ๔. กระพี้
๕. แก่น
ภิกษุทั้งหลาย ไม้สาละใหญ่อาศัยขุนเขาหิมพานต์ ย่อมงอกงามด้วยความ
เจริญ ๕ ประการนี้ ฉันใด
ชนภายใน๑อาศัยกุลบุตรผู้มีศรัทธา ย่อมงอกงามด้วยความเจริญ ๕ ประการ
ฉันนั้นเหมือนกัน
ความเจริญ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ศรัทธา(ความเชื่อ)
๒. ศีล (การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย)
๓. สุตะ(การสดับฟังหาความรู้)
๔. จาคะ (การเสียสละ)
๕. ปัญญา (ความรอบรู้)
ภิกษุทั้งหลาย ชนภายในอาศัยกุลบุตรผู้มีศรัทธา ย่อมงอกงามด้วยความ
เจริญ ๕ ประการนี้
ภูเขาหินมีอยู่ในป่าใหญ่
หมู่ไม้เหล่านั้นอาศัยภูเขานั้น
เจริญงอกงามเติบโตในป่า แม้ฉันใด

เชิงอรรถ :
๑ ชนภายใน ในที่นี้หมายถึงภรรยา บุตร ธิดา (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๔/๘๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๔. สุมนวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
บุตร ภรรยา พวกพ้อง อำมาตย์๑ หมู่ญาติ
และชนผู้อาศัยเขาเลี้ยงชีพ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
อาศัยกุลบุตรผู้มีศรัทธา สมบูรณ์ด้วยศีล
ย่อมงอกงามในโลกนี้
ชนผู้มีปัญญาเห็นแจ้ง เห็นศีล
จาคะ และสุจริต (ความประพฤติดี)
ของกุลบุตรผู้มีศรัทธานั้นแล้วย่อมทำตาม
บุคคลประพฤติธรรมซึ่งเป็นทางนำสัตว์ไปสู่สุคติ
ย่อมเพลิดเพลินในโลกนี้สมปรารถนา
ย่อมบันเทิงในเทวโลก๒
มหาสาลปุตตสูตรที่ ๑๐ จบ
สุมนวรรคที่ ๔ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สุมนสูตร ๒. จุนทีสูตร
๓. อุคคหสูตร ๔. สีหเสนาปติสูตร
๕. ทานานิสังสสูตร ๖. กาลทานสูตร
๗. โภชนทานสูตร ๘. สัทธสูตร
๙. ปุตตสูตร ๑๐. มหาสาลปุตตสูตร


เชิงอรรถ :
๑ อำมาตย์ ในที่นี้หมายถึงบุคคลที่ทำกิจการงานร่วมกัน ชี้แนะกันได้ ปรึกษาหารือกันได้ทุกเรื่อง ทุกอิริยาบถ
(สํ.สฬา.อ. ๓/๑๐๑๒/๓๖๗, สํ.ฏีกา ๒/๑๐๑๒/๖๒๙)
๒ ดู องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๔๙/๒๑๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. มุณฑราชวรรค ๑. อาทิยสูตร
๕. มุณฑราชวรรค
หมวดว่าด้วยพระเจ้ามุณฑราช

๑. อาทิยสูตร
ว่าด้วยประโยชน์ที่ควรถือเอาจากโภคทรัพย์
[๔๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล อนาถบิณฑิกเศรษฐีเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาค
จึงได้ตรัสดังนี้ว่า คหบดี ประโยชน์ที่จะพึงถือเอาจากโภคทรัพย์ ๕ ประการนี้
ประโยชน์ ๕ ประการนี้ อะไรบ้าง คือ
๑. อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ย่อมบำรุงตนเอง บำรุงมารดาบิดา บำรุง
บุตร ภรรยา ทาส กรรมกร และคนใช้ให้เป็นสุข บริหารให้เป็นสุข
โดยชอบด้วยโภคทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร เก็บ
รวบรวมด้วยน้ำพักน้ำแรง อาบเหงื่อต่างน้ำ ประกอบด้วยธรรม
ได้มาโดยธรรม๑ นี้เป็นประโยชน์ที่ควรถือเอาจากโภคทรัพย์ประการ
ที่ ๑
๒. อริยสาวกย่อมบำรุงตนเองบำรุงมิตรและอำมาตย์ให้เป็นสุข บริหาร
ให้เป็นสุขโดยชอบด้วยโภคทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร
เก็บรวบรวมด้วยน้ำพักน้ำแรง อาบเหงื่อต่างน้ำ ประกอบด้วย
ธรรม ได้มาโดยธรรม นี้เป็นประโยชน์ที่ควรถือเอาจากโภคทรัพย์
ประการที่ ๒

เชิงอรรถ :
๑ ได้มาโดยธรรม ในที่นี้หมายถึงได้มาโดยไม่ล่วงละเมิดกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๔๑/๒๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. มุณฑราชวรรค ๑. อาทิยสูตร
๓. อริยสาวกย่อมป้องกันอันตรายที่เกิดจากไฟ น้ำ พระราชา โจร คน
ที่ไม่ชอบกัน หรือจากทายาท ทำตนให้ปลอดภัย นี้เป็นประโยชน์
ที่ควรถือเอาจากโภคทรัพย์ประการที่ ๓
๔. อริยสาวกย่อมทำพลี๑ ๕ อย่าง คือ (๑) ญาติพลี (๒) อติถิพลี
(๓) ปุพพเปตพลี (๔) ราชพลี (๕) เทวตาพลี นี้เป็นประโยชน์ที่
ควรถือเอาจากโภคทรัพย์ประการที่ ๔
๕. อริยสาวกย่อมตั้งทักษิณาที่มีผลสูงขึ้นไป เป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดี
มีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ในสมณพราหมณ์ผู้เว้นขาดจากความ
มัวเมาและความประมาท ดำรงมั่นอยู่ในขันติ (ความอดทน) และ
โสรัจจะ (ความเสงี่ยม) ฝึกอบรมตน ทำตนให้สงบ ทำตนให้
ดับเย็นสนิท ด้วยโภคทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร
เก็บรวบรวมด้วยน้ำพักน้ำแรง อาบเหงื่อต่างน้ำ ประกอบด้วย
ธรรม ได้มาโดยธรรม นี้เป็นประโยชน์ที่ควรถือเอาจากโภคทรัพย์
ประการที่ ๕
คหบดี ประโยชน์ที่ควรถือเอาจากโภคทรัพย์ ๕ ประการนี้แล
ถ้าเมื่ออริยสาวกนั้นถือเอาประโยชน์จากโภคทรัพย์ ๕ ประการนี้ โภคทรัพย์
หมดสิ้นไป อริยสาวกนั้นย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราได้ถือเอาประโยชน์จาก
โภคทรัพย์นั้นแล้ว และโภคทรัพย์ของเราก็หมดสิ้นไป’ ด้วยเหตุนี้ อริยสาวกนั้น
จึงไม่มีวิปปฏิสาร (ความร้อนใจ) ถ้าเมื่ออริยสาวกนั้นถือเอาประโยชน์จากโภคทรัพย์
๕ ประการนี้ โภคทรัพย์เพิ่มพูนขึ้น อริยสาวกนั้นย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราถือ

เชิงอรรถ :
๑ พลี (พะลี) หมายถึงการสงเคราะห์ บวงสรวง น้อมให้ หรือส่วย มี ๕ อย่าง คือ (๑) ญาติพลี สงเคราะห์ญาติ
(๒) อติถิพลี ต้อนรับแขก (๓) ปุพพเปตพลี ทำบุญอุทิศให้ผู้ตาย (๔) ราชพลี ถวายเป็นของหลวงมีเสีย
ภาษีอากรเป็นต้น (๕) เทวตาพลี ทำบุญอุทิศให้เทวดา (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๖๑/๓๕๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. มุณฑราชวรรค ๒. สัปปุริสสูตร
เอาประโยชน์จากโภคทรัพย์นี้แล้ว และโภคทรัพย์ของเราก็เพิ่มพูนขึ้น’ อริยสาวก
นั้นย่อมไม่มีวิปปฏิสารด้วยเหตุทั้ง ๒ ประการนี้เลย
นรชนผู้จะต้องตายเมื่อคำนึงถึงเหตุนี้ว่า
‘โภคทรัพย์ เราได้บริโภคแล้ว
คนที่ควรเลี้ยง เราได้เลี้ยงแล้ว
อันตรายทั้งหลาย เราได้ข้ามพ้นแล้ว
ทักษิณาที่มีผลสูงขึ้นไป เราได้ให้แล้ว
และพลี ๕ อย่าง เราได้ทำแล้ว
ท่านผู้มีศีลสำรวมระวัง ประพฤติพรหมจรรย์ เราได้บำรุงแล้ว
ประโยชน์ที่บัณฑิตผู้อยู่ครองเรือนปรารถนา เราก็ได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
กรรมที่ไม่ก่อความเดือดร้อนในภายหลัง เราก็ได้ทำแล้ว’
ชื่อว่า เป็นผู้ตั้งอยู่ในอริยธรรม
บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญเขาในโลกนี้
เขาตายไปแล้ว ย่อมบันเทิงในสวรรค์
อาทิยสูตรที่ ๑ จบ

๒. สัปปุริสสูตร
ว่าด้วยสัตบุรุษ
[๔๒] ภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษเมื่อเกิดในตระกูล ชื่อว่าเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อ
เกื้อกูล เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก คือ มารดา บิดา บุตร ภรรยา ทาส กรรมกร คนใช้
มิตร อำมาตย์๑ และสมณพราหมณ์
สัตบุรุษเมื่อเกิดในตระกูล ชื่อว่าเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่คน
หมู่มาก คือ แก่มารดา บิดา บุตร ภรรยา ทาส กรรมกร คนใช้ มิตร อำมาตย์

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๔๐ (มหาสาลปุตตสูตร) หน้า ๖๓ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. มุณฑราชวรรค ๓. อิฏฐสูตร
และสมณพราหมณ์ เปรียบเหมือนมหาเมฆทำข้าวกล้าทั้งปวงให้งอกงาม ชื่อว่ามี
เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก
สัตบุรุษครอบครองโภคทรัพย์
เป็นผู้เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก
เทวดาย่อมรักษาเขาผู้มีธรรมคุ้มครองแล้ว
เป็นพหูสูต สมบูรณ์ด้วยศีลและวัตร
เกียรติย่อมไม่ละเขาผู้ตั้งอยู่ในธรรม
ใครเล่าจะสามารถติเตียนเขาผู้ตั้งอยู่ในธรรม
สมบูรณ์ด้วยศีล มีวาจาสัตย์
มีหิริ(ความละอายต่อบาป)ในใจ
ดุจแท่งทองชมพูนุท
แม้เทวดาก็ชม ถึงพรหมก็สรรเสริญเขา
สัปปุริสสูตรที่ ๒ จบ

๓. อิฏฐสูตร
ว่าด้วยธรรมที่น่าปรารถนา
[๔๓] ครั้งนั้น อนาถบิณฑิกคหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสกับอนาถบิณฑิกคหบดี
ดังนี้ว่า
คหบดี ธรรม ๕ ประการนี้ ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อายุที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก
๒. วรรณะที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก
๓. สุขที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. มุณฑราชวรรค ๓. อิฏฐสูตร
๔. ยศที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก
๕. สวรรค์ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก
คหบดี ธรรม ๕ ประการนี้แล ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก
ธรรม ๕ ประการนี้ ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก เรามิได้
กล่าวว่า จะพึงได้เพราะความอ้อนวอน หรือเพราะความปรารถนา ถ้าธรรม ๕
ประการนี้ ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก จักได้เพราะการ
อ้อนวอน หรือเพราะความปรารถนาในโลกนี้แล้ว ใครเล่าจะพึงเสื่อมจากอะไรได้
อริยสาวกผู้ต้องการอายุ ไม่ควรอ้อนวอนหรือเพลิดเพลินอายุ หรือปฏิบัติ
ปฏิปทาอันเป็นไปเพื่ออายุเพราะอายุเป็นเหตุ แท้จริงปฏิปทาอันเป็นไปเพื่ออายุที่
อริยสาวกนั้นปฏิบัติแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อให้ได้อายุ อริยสาวกนั้นย่อมได้อายุอัน
เป็นทิพย์ หรือเป็นของมนุษย์
อริยสาวกผู้ต้องการวรรณะ ไม่ควรอ้อนวอนหรือเพลิดเพลินวรรณะ หรือ
ปฏิบัติปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อวรรณะเพราะวรรณะเป็นเหตุ แท้จริง ปฏิปทาอันเป็น
ไปเพื่อวรรณะที่อริยสาวกนั้นปฏิบัติแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อให้ได้วรรณะ อริยสาวกนั้น
ย่อมได้วรรณะอันเป็นทิพย์ หรือเป็นของมนุษย์
อริยสาวกผู้ต้องการสุข ไม่ควรอ้อนวอนหรือเพลิดเพลินสุข หรือปฏิบัติ
ปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อสุขเพราะสุขเป็นเหตุ แท้จริง ปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อสุขที่อริย-
สาวกนั้นปฏิบัติแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อให้ได้สุข อริยสาวกนั้นย่อมได้สุขอันเป็นทิพย์
หรือเป็นของมนุษย์
อริยสาวกผู้ต้องการยศ ไม่ควรอ้อนวอนหรือเพลิดเพลินยศ หรือปฏิบัติ
ปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อยศเพราะยศเป็นเหตุ แท้จริง ปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อยศที่อริย-
สาวกนั้นปฏิบัติแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อให้ได้ยศ อริยสาวกนั้นย่อมได้ยศอันเป็นทิพย์
หรือเป็นของมนุษย์
คหบดี อริยสาวกผู้ต้องการสวรรค์ ไม่ควรอ้อนวอนหรือเพลิดเพลินสวรรค์
หรือปฏิบัติปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อสวรรค์เพราะสวรรค์เป็นเหตุ แท้จริง ปฏิปทาอัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. มุณฑราชวรรค ๔. มนาปทายีสูตร
เป็นไปเพื่อสวรรค์อันอริยสาวกนั้นปฏิบัติแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อให้ได้สวรรค์ อริยสาวก
นั้นย่อมได้สวรรค์
ชนผู้ปรารถนาอายุ วรรณะ เกียรติยศ
สวรรค์ การเกิดในตระกูลสูง และความเพลินใจ
พึงทำความไม่ประมาทให้มากยิ่งขึ้น
บัณฑิตทั้งหลายสรรเสริญความไม่ประมาทในการทำบุญ
บัณฑิตผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อมยึดประโยชน์ทั้งสองไว้ได้
คือประโยชน์ในภพนี้ และประโยชน์ในภพหน้า
ผู้มีปัญญา ท่านเรียกว่า บัณฑิต
เพราะบรรลุถึงประโยชน์ทั้งสองนั้นแล้ว
อิฏฐสูตรที่ ๓ จบ

๔. มนาปทายีสูตร
ว่าด้วยผู้ให้สิ่งที่น่าพอใจ
[๔๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน
เขตกรุงเวสาลี ครั้งนั้น เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตร
และจีวรเสด็จเข้าไปสู่นิเวศน์ของอุคคคหบดีชาวกรุงเวสาลี ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่
ปูลาดไว้ ลำดับนั้น อุคคคหบดีได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มี
พระภาคว่า ‘ผู้ให้ของที่น่าพอใจ ย่อมได้ของที่น่าพอใจ’ ก็ของเคี้ยวชื่อสาลปุปผกะ๑
เป็นที่น่าพอใจของข้าพระองค์ ขอพระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์รับ
ขาทนียาหารของข้าพระองค์นั้นด้วยเถิด”

เชิงอรรถ :
๑ ของเคี้ยวชื่อสาลปุปผกะ หมายถึงของเคี้ยวที่ทำด้วยแป้งข้าวสาลี ปรุงด้วยของอร่อย ๔ ชนิด คือ เนยใส
น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๔๔/๒๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. มุณฑราชวรรค ๔. มนาปทายีสูตร
พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์รับแล้ว
อุคคคหบดีได้กราบทูลอีกว่า “ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระ
ผู้มีพระภาคว่า ‘ผู้ให้ของที่น่าพอใจย่อมได้ของที่น่าพอใจ’ ก็เนื้อสุกรอย่างดี๑ เป็นที่
น่าพอใจของข้าพระองค์ ขอพระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์รับเนื้อสุกร
อย่างดีของข้าพระองค์นั้นด้วยเถิด”
พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์รับแล้ว
อุคคคหบดีได้กราบทูลอีกว่า “ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระ
ผู้มีพระภาคว่า ‘ผู้ให้ของที่น่าพอใจย่อมได้ของที่น่าพอใจ’ ก็นาลิยสากะ๒ ซึ่งทอด
ด้วยน้ำมันเป็นที่น่าพอใจของข้าพระองค์ ขอพระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์
รับนาลิยสากขาทนียาหารของข้าพระองค์นั้นด้วยเถิด”
พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์รับแล้ว
อุคคคหบดีได้กราบทูลอีกว่า “ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระ
ผู้มีพระภาคว่า ‘ผู้ให้ของที่น่าพอใจย่อมได้ของที่น่าพอใจ’ ก็ข้าวสุกแห่งข้าวสาลีที่
ขาวสะอาด มีแกงและกับมากเป็นที่น่าพอใจของข้าพระองค์ ขอพระผู้มีพระภาคทรง
อาศัยความอนุเคราะห์รับข้าวสุกแห่งข้าวสาลีของข้าพระองค์นั้นด้วยเถิด”
พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์รับแล้ว
อุคคคหบดีได้กราบทูลอีกว่า “ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระ
ผู้มีพระภาคว่า ‘ผู้ให้ของที่น่าพอใจย่อมได้ของที่น่าพอใจ’ ก็ผ้าที่ทอในแคว้นกาสี
เป็นที่น่าพอใจของข้าพระองค์ ขอพระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์รับผ้า
ของข้าพระองค์นั้นด้วยเถิด”
พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์รับแล้ว

เชิงอรรถ :
๑ เนื้อสุกรอย่างดี หมายถึงเนื้อสุกรที่มีอายุ ๑ ปี ที่ปรุงให้สุกด้วยเครื่องปรุงมีเมล็ดยี่หร่าเป็นต้นผสมกับ
พุทรารสอร่อย (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๔๔/๒๕)
๒ นาลิยสากะ หมายถึงของเคี้ยวที่ใช้ผักประมาณ ๑ ทะนาน ขยำกับแป้งข้าวสาลีแล้วเคี่ยวในเนยใสที่ผสม
เมล็ดยี้หร่าเป็นต้น ผสมกับของอร่อย ๔ ชนิด อบให้สุก (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๔๔/๒๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. มุณฑราชวรรค ๔. มนาปทายีสูตร
อุคคคหบดีได้กราบทูลอีกว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมา
เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า ‘ผู้ให้ของที่น่าพอใจย่อมได้ของที่น่าพอใจ’
ก็บัลลังก์๑ที่ลาดด้วยผ้าโกเชาว์๒ ลาดด้วยผ้าขนแกะสีขาว ลาดด้วยเครื่องลาดมี
สัณฐานเป็นช่อดอกไม้ ลาดด้วยเครื่องลาดอย่างดีทำด้วยหนังชะมด มีเพดานข้างบน
มีหมอนสีแดงทั้ง ๒ ข้าง๓ เป็นที่น่าพอใจของข้าพระองค์ และข้าพระองค์ก็ทราบ
ดีว่า สิ่งเหล่านี้ไม่ควรแก่พระผู้มีพระภาค เตียงไม้จันทน์ของข้าพระองค์นี้ราคาเกิน
กว่า ๑๐๐,๐๐๐ กหาปณะ ขอพระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์รับเตียง
ของข้าพระองค์นั้นด้วยเถิด”
พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์รับแล้ว
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอนุโมทนาอุคคคหบดีชาวกรุงเวสาลี ด้วย
อนุโมทนียกถานี้ว่า
ผู้ให้ของที่น่าพอใจ ย่อมได้ของที่น่าพอใจ
ผู้ใดให้เครื่องนุ่งห่ม ที่นอน ข้าว น้ำ
และปัจจัยมีประการต่าง ๆ
แก่ท่านผู้ประพฤติตรง ด้วยความพอใจ
สิ่งของที่ให้ไปแล้วนั้น เป็นของที่บริจาคแล้ว
สละแล้ว ไม่คิดเอาคืน
ผู้นั้นชื่อว่าเป็นสัตบุรุษรู้ชัดว่า
พระอรหันต์เปรียบด้วยนาบุญ
บริจาคสิ่งที่บริจาคได้ยาก
ให้ของที่น่าพอใจ ย่อมได้ของที่น่าพอใจ

เชิงอรรถ :
๑ บัลลังก์ ในที่นี้หมายถึงเตียงมีเท้าทำเป็นรูปสัตว์ (วิ.อ. ๓/๒๕๔/๑๖๙)
๒ ผ้าโกเชาว์ หมายถึงผ้าที่ทำด้วยขนแพะหรือแกะ ผืนใหญ่มีขนาดยาวเกิน ๔ นิ้ว (วิ.อ. ๓/๒๕๔/๑๖๙)
๓ หมอนสีแดงทั้ง ๒ ข้างนี้ใช้สำหรับหนุนศีรษะ ๑ ใบ ใช้หนุนเท้า ๑ ใบ วางไว้ส่วนศีรษะและส่วนเท้า
(วิ.อ. ๓/๒๕๔/๑๖๙-๑๗๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. มุณฑราชวรรค ๔. มนาปทายีสูตร
ที่นั้น พระผู้มีพระภาคครั้นทรงอนุโมทนาอุคคคหบดีชาวกรุงเวสาลีด้วย
อนุโมทนียกถาแล้ว จึงเสด็จลุกจากพุทธอาสน์หลีกไป
ต่อมาไม่นาน อุคคคหบดีชาวกรุงเวสาลีได้ถึงแก่กรรม เข้าถึงชั้นกายมโนมัย๑
ชั้นใดชั้นหนึ่ง สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น เมื่อราตรี๒ผ่านไป อุคคเทพบุตรมี
มีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างทั่วพระเชตวัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสถามว่า
“อุคคะ สำเร็จตามที่ท่านประสงค์แล้วหรือ” อุคคเทพบุตรกราบทูลว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ สำเร็จตามที่ข้าพระองค์ประสงค์แล้ว พระพุทธเจ้าข้า”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับอุคคเทพบุตรด้วยพระคาถาว่า
ผู้ให้ของที่น่าพอใจ ย่อมได้ของที่น่าพอใจ
ผู้ให้ของที่เลิศ ย่อมได้ของที่เลิศ
ผู้ให้ของที่ดี ย่อมได้ของที่ดี
และผู้ให้ของที่ประเสริฐ ย่อมเข้าถึงสถานที่ประเสริฐ
นรชนใดให้ของที่เลิศ ให้ของที่ดี
และให้ของที่ประเสริฐ
นรชนนั้น จะเกิดในที่ใด ๆ
ย่อมเป็นผู้มีอายุยืน มียศในที่นั้น ๆ
มนาปทายีสูตรที่ ๔ จบ

เชิงอรรถ :
๑ กายมโนมัย ในที่นี้หมายถึงเทพกายหรือพรหมกายของผู้บำเพ็ญฌานสมาบัติแล้วบังเกิดในพรหมโลก
ชั้นสุทธาวาสด้วยอำนาจฌาน (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๔๔/๒๖, ๑๖๖/๖๔)
๒ ราตรี ในที่นี้หมายถึงปฐมยามแห่งราตรีผ่านไป มัชฌิมยามย่างเข้ามา (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๑-๒๒/๑๐๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. มุณฑราชวรรค ๕. ปุญญาภิสันทสูตร
๕. ปุญญาภิสันทสูตร๑
ว่าด้วยห้วงบุญกุศล
[๔๕] ภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญกุศล๒ ๕ ประการนี้ นำสุขมาให้ เป็นไปเพื่อ
ให้ได้อารมณ์ดี๓ มีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขที่น่า
ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ห้วงบุญกุศล ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุใช้สอยจีวรของทายกใด บรรลุเจโตสมาธิที่ประมาณไม่ได้อยู่๔
ห้วงบุญกุศลของทายกนั้นประมาณไม่ได้ นำสุขมาให้ เป็นไปเพื่อ
ให้ได้อารมณ์ดี มีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ เป็นไปเพื่อเกื้อกูล
เพื่อสุขที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
๒. ภิกษุฉันบิณฑบาตของทายกใด ...
๓. ภิกษุใช้สอยวิหารของทายกใด ...
๔. ภิกษุใช้สอยเตียงตั่งของทายกใด ...
๕. ภิกษุใช้สอยคิลานปัจจัยเภสัชชบริขารของทายกใด บรรลุเจโต-
สมาธิที่ประมาณไม่ได้อยู่ ห้วงบุญกุศลของทายกนั้นประมาณไม่ได้
นำสุขมาให้ เป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดี มีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์
เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ห้วงบุญกุศล ๕ ประการนี้แล นำสุขมาให้ เป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดี มีสุข
เป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ

เชิงอรรถ :
๑ ดู องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๕๑/๘๔
๒ ห้วงบุญกุศล ในที่นี้หมายถึงผลบุญกุศลที่หลั่งไหลนำความสุขมาสู่ผู้บำเพ็ญอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย
(องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๕๑/๓๔๘,องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๕๑/๓๘๒)
๓ อารมณ์ดี ในที่นี้หมายถึงอารมณ์ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
(องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๕๑/๓๔๘)
๔ เจโตสมาธิที่ประมาณไม่ได้ ในที่นี้หมายถึงอรหัตตผลสมาธิ (สมาธิในขั้นอรหัตตผล) (องฺ.จตุกฺก.อ.
๒/๕๑/๓๔๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. มุณฑราชวรรค ๕. ปุญญาภิสันทสูตร
การกำหนดประมาณบุญของอริยสาวกผู้เพียบพร้อมด้วยห้วงบุญกุศล ๕ ประการ
นี้ว่า ‘ห้วงบุญกุศลมีประมาณเท่านี้ นำสุขมาให้ เป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดี มีสุข
เป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขที่น่าปรารถนา น่าใคร น่าพอใจ’
มิใช่จะทำได้ง่าย แท้จริง ห้วงบุญกุศลนั้นย่อมถึงการนับว่า ‘เป็นกองบุญใหญ่ที่นับ
ไม่ได้ ประมาณไม่ได้เลย’
การกำหนดปริมาณของน้ำในมหาสมุทรว่า ‘น้ำมีปริมาณเท่านี้อาฬหกะ๑ น้ำมี
ปริมาณเท่านี้ ๑๐๐ อาฬหกะ น้ำมีปริมาณเท่านี้ ๑,๐๐๐ อาฬหกะ หรือน้ำมีปริมาณ
เท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ อาฬหกะ’ มิใช่จะทำได้ง่าย แท้จริง ปริมาณของน้ำในมหาสมุทรนั้น
ย่อมถึงการนับว่า ‘เป็นห้วงน้ำใหญ่ที่นับไม่ได้ ประมาณไม่ได้เลย’ ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย การกำหนดประมาณของอริยสาวกผู้เพียบพร้อมด้วยห้วงบุญ
กุศล ๕ ประการนี้ว่า ‘ห้วงบุญกุศลมีประมาณเท่านี้ นำสุขมาให้ เป็นไปเพื่อให้ได้
อารมณ์ดี มีสุขเป็นผลให้เกิดในสวรรค์ เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขที่น่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ’ มิใช่จะทำได้ง่าย แท้จริง ห้วงบุญกุศลนั้นย่อมถึงการนับว่า
‘เป็นกองบุญใหญ่ที่นับไม่ได้ ประมาณไม่ได้เลย’ ฉันนั้น
แม่น้ำหลายสายคับคั่งไปด้วยหมู่ปลา
ไหลบ่าไปยังมหาสมุทร

เชิงอรรถ :
๑ อาฬหกะ เป็นชื่อมาตราตวงชนิดหนึ่งของอินเดียโบราณ มีลำดับมาตราดังนี้
๔ กุฑวะ หรือ ปสตะ (ฟายมือ) เป็น ๑ ปัตถะ (กอบ)
๔ ปัตถวะ เป็น ๑ อาฬหกะ
๔ อาฬหกะ เป็น ๑ โทณะ
๔ โทณะ เป็น ๑ มาณิกา
๔ มาณิกา เป็น ๑ ขารี
๒๐ ขารี เป็น ๑ วาหะ (เกวียน)
๒๐ วาหะ เป็น ๑ ธารณะ
๒๐ ธารณะ เป็น ๑ ปละ
๑๐๐ ปละ เป็น ๑๒ ตุลา
๒๐ ตุลา เป็น ๑ ภาระ
(ดู อภิธา.ฏีกา คาถา ๔๘๐-๔๙๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๗๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. มุณฑราชวรรค ๖. สัมปทาสูตร
อันเป็นที่ขังน้ำขนาดใหญ่ประมาณไม่ได้
มีสิ่งที่น่ากลัวมาก เป็นแหล่งรัตนะชั้นเยี่ยม ฉันใด
สายธารแห่งบุญ ย่อมหลั่งไหลไปสู่นรชน
ผู้เป็นบัณฑิต ผู้ให้ข้าว น้ำ ผ้า
ที่นอน ที่นั่ง และเครื่องปูลาด
เปรียบเหมือนแม่น้ำคือห้วงน้ำไหลไปยังมหาสมุทร ฉันนั้น
ปุญญาภิสันทสูตรที่ ๕ จบ

๖. สัมปทาสูตร
ว่าด้วยสัมปทา
[๔๖] ภิกษุทั้งหลาย สัมปทา (ความถึงพร้อม) ๕ ประการนี้
สัมปทา ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธาสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศรัทธา)
๒. สีลสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศีล)
๓. สุตสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยสุตะ)
๔. จาคสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยจาคะ)
๕. ปัญญาสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยปัญญา)
ภิกษุทั้งหลาย สัมปทา ๕ ประการนี้แล
สัมปทาสูตรที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. มุณฑราชวรรค ๗. ธนสูตร
๗. ธนสูตร
ว่าด้วยทรัพย์
[๔๗] ภิกษุทั้งหลาย ธนะ(ทรัพย์) ๕ ประการนี้
ธนะ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธาธนะ (ทรัพย์คือศรัทธา)
๒. สีลธนะ (ทรัพย์คือศีล)
๓. สุตธนะ (ทรัพย์คือสุตะ)
๔. จาคธนะ (ทรัพย์คือจาคะ)
๕. ปัญญาธนะ (ทรัพย์คือปัญญา)
สัทธาธนะ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อปัญญาเครื่องตรัสรู้ของตถาคต
ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ๑ เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระ
ผู้มีพระภาค’ นี้เรียกว่า สัทธาธนะ
สีลธนะ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ๒ เว้นขาด
จากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัย๓อันเป็นเหตุแห่งความประมาท นี้เรียกว่า
สีลธนะ
สุตธนะ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นพหูสูต ฯลฯ๔ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ นี้เรียกว่า
สุตธนะ

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มในข้อ ๒ (วิตถตสูตร) หน้า ๒-๓ ในเล่มนี้
๒ ดูความเต็มในข้อ ๓๒ (จุนทีสูตร) หน้า ๔๙ ในเล่มนี้
๓ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๓๒ หน้า ๔๙ ในเล่มนี้
๔ ดูความเต็มในข้อ ๘๗ (สีลวันตสูตร) หน้า ๑๕๕ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๗๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. มุณฑราชวรรค ๗. ธนสูตร
จาคธนะ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน
มีจาคะอันสละแล้ว มีฝ่ามือชุ่ม๑ ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการ
แจกทาน นี้เรียกว่า จาคธนะ
ปัญญาธนะ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาเป็น
เครื่องพิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลสให้ถึงความ
สิ้นทุกข์โดยชอบ นี้เรียกว่า ปัญญาธนะ
ภิกษุทั้งหลาย ทรัพย์ ๕ ประการนี้แล
ผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่นไม่หวั่นไหวในตถาคต
มีศีลงาม เป็นศีลที่พระอริยใคร่ (และ)สรรเสริญ
มีความเลื่อมใสในสงฆ์ และมีความเห็นตรง
บัณฑิตทั้งหลายเรียกผู้นั้นว่า ‘เป็นคนไม่ขัดสน
ชีวิตของเขาไม่สูญเปล่า’
เพราะฉะนั้น ผู้มีปัญญา
เมื่อระลึกถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ควรประกอบศรัทธา ศีล ความเลื่อมใส
และการเห็นธรรม๒
ธนสูตรที่ ๗ จบ

เชิงอรรถ :
๑ มีฝ่ามือชุ่ม อรรถกถาอธิบายว่า ถ้าคนไม่มีศรัทธา แม้จะล้างมือถึง ๗ ครั้ง ก็ชื่อว่ามีมือยังไม่ล้าง มีมือสกปรก
แต่คนมีศรัทธา แม้มีมือสกปรก ก็ชื่อว่าได้ล้างมือสะอาดแล้ว (องฺ.ติก.อ. ๒/๔๒/๑๔๘)
๒ การเห็นธรรม ในที่นี้หมายถึงเห็นอริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๕๒/๓๔๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๗๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. มุณฑราชวรรค ๘. ฐานสูตร
๘. ฐานสูตร
ว่าด้วยฐานะที่ใคร ๆ ไม่พึงได้
[๔๘] ภิกษุทั้งหลาย ฐานะ๑ ๕ ประการนี้ อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร
พรหม หรือใคร ๆ ในโลกนี้ไม่พึงได้
ฐานะ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ขอสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา๒ อย่าแก่
๒. ขอสิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา อย่าเจ็บไข้
๓. ขอสิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดา อย่าตาย
๔. ขอสิ่งที่มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา อย่าสิ้นไป
๕. ขอสิ่งที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดา อย่าฉิบหาย
สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาของปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ย่อมแก่ไป เมื่อสิ่งที่มีความ
แก่เป็นธรรมดา แก่ไปแล้ว เขาไม่พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘ไม่ใช่สิ่งที่มีความแก่เป็น
ธรรมดาของเราคนเดียวเท่านั้นที่แก่ไป แท้จริง สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาของสัตว์
ทั้งปวงที่มีการมา การไป การจุติ และการอุบัติ ก็แก่ไปทั้งสิ้น เมื่อสิ่งที่มีความแก่
เป็นธรรมดา แก่ไปแล้ว ถ้าเราจะพึงเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร ทุบอก คร่ำครวญ
หลงงมงาย อาหารเราก็จะไม่อยากรับประทาน กายก็จะเศร้าหมอง การงานก็จะ
หยุดชะงัก พวกศัตรูก็จะดีใจ และพวกมิตรก็จะเสียใจ’ เมื่อสิ่งที่มีความแก่เป็น
ธรรมดา แก่ไปแล้ว เขาย่อมเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร ทุบอก คร่ำครวญ หลงงมงาย
นี้เรียกว่า ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ถูกลูกศรคือความโศกที่มีพิษทิ่มแทงแล้ว ย่อมทำตน
นั่นเองให้เดือดร้อน
สิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดาของปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ย่อมเจ็บไข้ ... สิ่งที่มี
ความตายเป็นธรรมดาของปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ย่อมตายไป ... สิ่งที่มีความสิ้นไปเป็น
ธรรมดาของปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ย่อมสิ้นไป ... สิ่งที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดาของ

เชิงอรรถ :
๑ ฐานะ ในที่นี้หมายถึงเหตุ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๔๘/๒๖)
๒ ธรรมดา ในที่นี้หมายถึงสภาวธรรมที่เกิดเอง คำนี้มุ่งแสดงกฎแห่งเหตุผล (องฺ.ทสก.อ. ๓/๒/๓๑๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. มุณฑราชวรรค ๘. ฐานสูตร
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ย่อมฉิบหายไป เมื่อสิ่งที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดา ฉิบหาย
ไปแล้ว เขาไม่พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘ไม่ใช่สิ่งที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดาของเราคน
เดียวเท่านั้นที่ฉิบหายไป แท้จริง สิ่งที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดาของสัตว์ทั้งปวงที่มี
การมา การไป การจุติ การอุบัติ ก็ฉิบหายไปทั้งสิ้น เมื่อสิ่งที่มีความฉิบหายไปเป็น
ธรรมดา ฉิบหายไปแล้ว ถ้าเราจะพึงเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร ทุบอก คร่ำครวญ
หลงงมงาย อาหารเราก็จะไม่อยากรับประทาน กายก็จะเศร้าหมอง การงานก็จะ
หยุดชะงัก พวกศัตรูก็จะดีใจ และพวกมิตรก็จะเสียใจ’ เมื่อสิ่งที่มีความฉิบหาย
เป็นธรรมดา ฉิบหายไปแล้ว เขาย่อมเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร ทุบอก คร่ำครวญ
หลงงมงาย นี้เรียกว่า ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ถูกลูกศรคือความโศกที่มีพิษทิ่มแทงแล้ว
ย่อมทำตนนั่นเองให้เดือดร้อน
ส่วนสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาของอริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมแก่ไป เมื่อสิ่งที่
มีความแก่เป็นธรรมดาแก่ไปแล้ว อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘ไม่ใช่สิ่งที่มี
ความแก่เป็นธรรมดาของเราคนเดียวเท่านั้นที่แก่ไป แท้จริง สิ่งที่มีความแก่เป็น
ธรรมดาของสัตว์ทั้งปวงที่มีการมา การไป การจุติ การอุบัติ ก็แก่ไปทั้งสิ้น
เมื่อสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาแก่ไปแล้ว ถ้าเราจะพึงเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร ทุบอก
คร่ำครวญ หลงงมงาย อาหารเราก็จะไม่อยากรับประทาน กายก็จะเศร้าหมอง
การงานก็จะหยุดชะงัก พวกศัตรูก็จะดีใจ และพวกมิตรก็จะเสียใจ’ เมื่อสิ่งที่มีความ
แก่เป็นธรรมดาแก่ไปแล้ว อริยสาวกนั้นย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบาก ไม่ร่ำไร ไม่ทุบอก
ไม่คร่ำครวญ ไม่หลงงมงาย นี้เรียกว่า อริยสาวกผู้ได้สดับ ถอนลูกศรคือความ
โศกที่มีพิษทิ่มแทงปุถุชนผู้ไม่ได้สดับทำตนนั่นเองให้เดือดร้อน อริยสาวกผู้ไม่มีความโศก
ปราศจากลูกศร ย่อมดับทุกข์ได้ด้วยตนเอง
สิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดาของอริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมเจ็บไข้ ... สิ่งที่มี
ความตายเป็นธรรมดา ของอริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมตายไป ... สิ่งที่มีความสิ้นไป
เป็นธรรมดาของอริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมสิ้นไป ... สิ่งที่มีความฉิบหายไปเป็น
ธรรมดาของอริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมฉิบหายไป เมื่อสิ่งที่มีความฉิบหายไปเป็น
ธรรมดาฉิบหายไปแล้ว อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘ไม่ใช่สิ่งที่มีความฉิบหาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๗๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. มุณฑราชวรรค ๘. ฐานสูตร
ไปเป็นธรรมดาของเราคนเดียวเท่านั้นที่ฉิบหายไป แท้จริง สิ่งที่มีความฉิบหายไปเป็น
ธรรมดาของสัตว์ทั้งปวงที่มีการมา การไป การจุติ การอุบัติ ก็ฉิบหายไปทั้งสิ้น
เมื่อสิ่งที่มีความฉิบหายไปเป็นธรรมดา ฉิบหายไปแล้ว ถ้าเราจะพึงเศร้าโศก
ลำบาก ร่ำไร ทุบอก คร่ำครวญ หลงงมงาย อาหารเราก็จะไม่อยากรับประทาน
กายก็จะเศร้าหมอง การงานก็จะหยุดชะงัก พวกศัตรูก็จะดีใจ และพวกมิตรก็จะ
เสียใจ’ เมื่อสิ่งที่มีความฉิบหายไปเป็นธรรมดา ฉิบหายไปแล้ว อริยสาวกนั้นย่อม
ไม่เศร้าโศก ไม่ลำบาก ไม่ร่ำไร ไม่ทุบอก ไม่คร่ำครวญ ไม่หลงงมงาย นี้เรียกว่า
อริยสาวกผู้ได้สดับ ถอนลูกศรคือความโศกที่มีพิษทิ่มแทงปุถุชนผู้ไม่ได้สดับทำตน
นั่นเองให้เดือดร้อน อริยสาวกผู้ไม่มีความโศก ปราศจากลูกศร ย่อมดับทุกข์
ได้ด้วยตนเอง
ภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๕ ประการนี้แล อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร
พรหม หรือใคร ๆ ในโลกนี้ไม่พึงได้
ประโยชน์๑แม้เล็กน้อยในโลกนี้
ใคร ๆ ย่อมไม่ได้ด้วยความเศร้าโศก
ย่อมไม่ได้ด้วยความคร่ำครวญ
พวกศัตรูทราบว่า เขาเศร้าโศก เป็นทุกข์
ย่อมดีใจ
แต่ในกาลใด บัณฑิตฉลาดในการวินิจฉัยเหตุผล
ไม่หวั่นไหวในอันตรายทั้งหลาย
ในกาลนั้น พวกศัตรูเห็นหน้าซึ่งไม่ผิดปกติ
ของบัณฑิตนั้น ผู้ยังยิ้มแย้มตามเคย
ย่อมเป็นทุกข์
บัณฑิตพึงได้ประโยชน์ในที่ใด ๆ ด้วยวิธีใด ๆ
คือด้วยการสรรเสริญ ด้วยการร่ายมนตร์

เชิงอรรถ :
๑ ประโยชน์ ในที่นี้หมายถึงสภาวะที่มีความแก่เป็นต้นกลับกลายเป็นสภาวะที่ไม่แก่ (องฺ.ปญฺจก.อ.
๓/๔๘/๒๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๘๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. มุณฑราชวรรค ๙. โกสลสูตร
ด้วยการกล่าวคำสุภาษิต ด้วยการให้
หรือด้วยการอ้างประเพณี
ก็พึงบากบั่นในที่นั้น ๆ ด้วยวิธีนั้น ๆ
ถ้าทราบว่า ‘ประโยชน์นี้ เราหรือคนอื่นไม่พึงได้’
เธอผู้ไม่เศร้าโศก ควรอดทนโดยพิจารณาว่า
‘เราได้ทำงานอย่างมุ่งมั่นแล้ว
บัดนี้ เราจะทำอย่างไร’
ฐานสูตรที่ ๘ จบ

๙. โกสลสูตร
ว่าด้วยพระเจ้าปเสนทิโกศล
[๔๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร
สมัยนั้น พระนางมัลลิกาเทวีได้สวรรคตแล้ว ลำดับนั้น มหาดเล็กคนหนึ่ง
เข้าไปเฝ้าพระเจ้าปเสนทิโกศลแล้วกราบทูลกระซิบที่ใกล้พระกรรณว่า ‘ขอเดชะ
พระนางมัลลิกาเทวีวรรคตแล้ว’ เมื่อมหาดเล็กกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระเจ้า
ปเสนทิโกศลก็ทรงมีทุกข์ เสียพระทัย ประทับนั่งพระศอตกก้มพระพักตร์ ทรง
ครุ่นคิด ทรงอ้ำอึ้งอยู่
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบแล้ว จึงตรัสกับพระเจ้าปเสนทิโกศลว่า
มหาบพิตร ฐานะ ๕ ประการนี้ อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม
หรือใคร ๆ ในโลกไม่พึงได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. มุณฑราชวรรค ๑๐. นารทสูตร
ฐานะ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ขอสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา อย่าแก่
ฯลฯ๑
ประโยชน์แม้เล็กน้อยในโลกนี้
ใคร ๆ ย่อมไม่ได้ด้วยความเศร้าโศก
ย่อมไม่ได้ด้วยความคร่ำครวญ
ฯลฯ๒
เธอผู้ไม่เศร้าโศกควรอดทนโดยพิจารณาว่า
‘เราได้ทำงานอย่างมุ่งมั่นแล้ว
บัดนี้ เราจะทำอย่างไร’
โกสลสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. นารทสูตร
ว่าด้วยพระนารทะ
[๕๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระนารทะอยู่ที่กุกกุฏาราม เขตกรุงปาตลีบุตร
ก็สมัยนั้น พระนางภัททาราชเทวีผู้เป็นที่รัก เป็นที่พอพระทัยของพระเจ้ามุณฑะ
สวรรคตแล้ว เมื่อพระนางภัททาราชเทวีสวรรคตแล้ว พระองค์ก็ไม่สรงสนาน ไม่แต่ง
พระองค์ ไม่เสวยพระกระยาหาร ไม่ทรงประกอบพระราชกรณียกิจ ซบอยู่ที่
พระศพของพระนางตลอดคืนตลอดวัน ลำดับนั้น พระเจ้ามุณฑะได้รับสั่งเรียก
มหาอำมาตย์ชื่อว่าโสการักขะผู้เป็นที่รักมาตรัสว่า “ท่านโสการักขะ ผู้เป็นที่รัก
ท่านจงยกพระศพพระนางภัททาราชเทวีใส่ไว้ในรางเหล็กที่เต็มด้วยน้ำมันแล้วเอา
รางเหล็กอื่นปิดไว้ เพื่อเราจะได้เห็นศพพระนางให้นาน ๆ”
โสการักขะมหาอำมาตย์ทูลรับสนองพระบรมราชโองการแล้ว จึงจัดการยก
พระศพพระนางใส่ไว้ในรางเหล็กที่เต็มไปด้วยน้ำมันแล้วเอารางเหล็กอื่นปิดไว้

เชิงอรรถ :
๑,๒ ดูความเต็มในข้อ ๔๘ (ฐานสูตร) หน้า ๗๘-๘๑ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. มุณฑราชวรรค ๑๐. นารทสูตร
ครั้งนั้น โสการักขะมหาอำมาตย์ได้มีความคิดว่า “พระนางภัททาราชเทวี ผู้เป็น
ที่รัก เป็นที่พอพระทัยของพระเจ้ามุณฑะนี้ได้สวรรคตแล้ว เมื่อพระนางสวรรคต
พระราชาก็ไม่สรงสนาน ไม่แต่งพระองค์ ไม่เสวยพระกระยาหาร ไม่ทรงประกอบ
พระราชกรณียกิจ ทรงซบอยู่ที่พระศพของพระนางตลอดคืนตลอดวัน พระองค์พึง
เสด็จเข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์รูปไหนหนอ ทรงสดับธรรมแล้ว จะพึงละลูกศร
คือความโศกได้”
ลำดับนั้น โสการักขะมหาอำมาตย์ได้คิดต่อไปว่า “ท่านพระนารทะรูปนี้
อยู่ที่กุกกุฏาราม เขตกรุงปาตลีบุตร กิตติศัพท์อันงามของท่านขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า
‘เป็นบัณฑิต เป็นผู้ฉลาด เป็นนักปราชญ์ เป็นพหูสูต กล่าวถ้อยคำไพเราะ
มีปฏิภาณดี เป็นพระผู้ใหญ่ และเป็นพระอรหันต์’ จึงควรที่พระเจ้ามุณฑะจะเสด็จ
เข้าไปหาท่าน เพื่อบางทีได้ทรงสดับธรรมของท่านแล้ว จะทรงละลูกศรคือความโศก
ได้บ้าง”
ต่อมา โสการักขะมหาอำมาตย์ ได้เข้าไปเฝ้าพระเจ้ามุณฑะแล้วกราบทูลว่า
“ขอเดชะ ท่านพระนารทะรูปนี้อยู่ที่กุกกุฏาราม เขตกรุงปาตลีบุตร กิตติศัพท์
อันงามของท่านพระนารทะขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า ‘เป็นบัณฑิต เป็นผู้ฉลาด เป็น
นักปราชญ์ เป็นพหูสูต กล่าวถ้อยคำไพเราะ มีปฏิภาณดี เป็นพระผู้ใหญ่ และเป็น
พระอรหันต์’ จึงควรที่พระองค์จะเสด็จเข้าไปหาท่าน เพื่อบางทีพระองค์ได้ทรงสดับ
ธรรมของท่านแล้วจะทรงละลูกศรคือความโศกได้บ้าง”
พระเจ้ามุณฑะจึงรับสั่งว่า “ท่านอำมาตย์ ถ้าเช่นนั้น ท่านจงไปกราบเรียน
ท่านพระนารทะให้ทราบก่อน เพราะกษัตริย์เช่นเราพึงเข้าใจว่า สมณะหรือพราหมณ์
ที่อยู่ในราชอาณาจักร ยังไม่ได้แจ้งให้ทราบก่อนจะพึงเข้าไปหาได้อย่างไร”
มหาอำมาตย์ทูลรับสนองพระบรมราชโองการแล้ว ได้เข้าไปพบท่านพระ
นารทะถึงที่อยู่ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบเรียนว่า “ข้าแต่
ท่านผู้เจริญ พระนางภัททาราชเทวีผู้เป็นที่รัก เป็นที่พอพระทัยของพระเจ้ามุณฑะนี้
ได้สวรรคตแล้ว เมื่อพระนางสวรรคต พระราชาก็ไม่สรงสนาน ไม่แต่งพระองค์
ไม่เสวยพระยาหาร ไม่ทรงประกอบพระราชกรณียกิจ ทรงซบอยู่ที่พระศพของ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. มุณฑราชวรรค ๑๐. นารทสูตร
พระนางภัททาราชเทวีตลอดคืนตลอดวัน ขอท่านพระนารทะโปรดแสดงธรรมแก่
พระราชา โดยที่พระองค์ได้สดับธรรมของท่านแล้วจะทรงละลูกศรคือความโศกได้”
ท่านพระนารทะจึงกล่าวว่า “มหาอำมาตย์ บัดนี้ ขอให้พระราชาทรงทราบ
เวลาที่สมควร’
ลำดับนั้น โสการักขะมหาอำมาตย์ ลุกจากที่นั่ง ถวายอภิวาทท่านพระนารทะ
ทำประทักษิณแล้ว ได้ไปเฝ้าพระเจ้ามุณฑะกราบทูลว่า “ขอเดชะ ท่านพระนารทะได้
เปิดโอกาสให้เสด็จไปแล้ว บัดนี้ ขอพระองค์ทรงทราบเวลาที่สมควรเถิด พระเจ้าข้า”
พระเจ้ามุณฑะรับสั่งว่า “ท่านอำมาตย์ ถ้าเช่นนั้น ท่านจงให้พนักงานตระ
เตรียมพาหนะอย่างดีไว้”
มหาอำมาตย์ทูลรับสนองพระบรมราชโองการแล้ว ให้พนักงานตระเตรียม
พระราชพาหนะอย่างดีไว้เสร็จแล้วจึงกราบทูลว่า “ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้าได้ให้
พนักงานตระเตรียมพระราชพาหนะอย่างดีไว้เสร็จแล้ว บัดนี้ ขอพระองค์ทรงทราบ
เวลาที่สมควรเถิด พระเจ้าข้า”
ลำดับนั้น พระเจ้ามุณฑะเสด็จพระราชดำเนินไปสู่กุกกุฏารามเพื่อพบท่าน
พระนารทะ ด้วยราชานุภาพอันยิ่งใหญ่ เสด็จไปเท่าที่พระราชพาหนะจะไปได้ เมื่อ
เสด็จถึงแล้ว ก็ได้เสด็จพระราชดำเนินเข้าไปยังอาราม ทรงเข้าไปพบท่านพระนารทะ
ทรงถวายอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร ท่านพระนารทะจึงได้ถวายพระพร
ท้าวเธอว่า
ขอถวายพระพร มหาบพิตร ฐานะ ๕ ประการนี้ อันสมณะ พราหมณ์
เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ ในโลกนี้ไม่พึงได้
ฐานะ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ขอสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา อย่าแก่
๒. ขอสิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา อย่าเจ็บไข้
๓. ขอสิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดา อย่าตาย
๔. ขอสิ่งที่มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา อย่าสิ้นไป
๕. ขอสิ่งที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดา อย่าฉิบหาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. มุณฑราชวรรค ๑๐. นารทสูตร
สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาของปุถุชนผู้ไม่ได้สดับย่อมแก่ไป เมื่อสิ่งที่มีความ
แก่เป็นธรรมดาแก่ไปแล้ว เขาไม่พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘ไม่ใช่สิ่งที่มีความแก่เป็น
ธรรมดาของเราคนเดียวเท่านั้นที่แก่ไป แท้จริง สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาของสัตว์
ทั้งปวงที่มีการมา การไป การจุติ การอุบัติ ก็แก่ไปทั้งสิ้น เมื่อสิ่งที่มีความแก่
เป็นธรรมดา แก่ไปแล้ว ถ้าเราจะพึงเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร ทุบอก คร่ำครวญ
หลงงมงาย อาหารเราก็จะไม่อยากรับประทาน กายก็จะเศร้าหมอง การงานก็
จะหยุดชะงัก พวกศัตรูก็จะดีใจ และพวกมิตรก็จะเสียใจ’ เมื่อสิ่งที่มีความแก่เป็น
ธรรมดาแก่ไปแล้ว เขาย่อมเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร ทุบอก คร่ำครวญ หลงงมงาย
นี้เรียกว่า ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ถูกลูกศรคือความโศกที่มีพิษทิ่มแทงแล้ว ย่อมทำตน
นั่นเองให้เดือดร้อน
สิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดาของปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ย่อมเจ็บไข้ ... สิ่งที่มี
ความตายเป็นธรรมดาของปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ย่อมตายไป ... สิ่งที่มีความสิ้นไปเป็น
ธรรมดาของปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ย่อมสิ้นไป ... สิ่งที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดาของ
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ย่อมฉิบหายไป เมื่อสิ่งที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดา ฉิบหาย
ไปแล้ว เขาไม่พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘ไม่ใช่สิ่งที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดาของเรา
คนเดียวเท่านั้นที่ฉิบหายไป แท้จริง สิ่งที่มีความฉิบหายไปเป็นธรรมดาของสัตว์
ทั้งปวงที่มีการมา การไป การจุติ การอุบัติ ก็ฉิบหายไปทั้งสิ้น เมื่อสิ่งที่มีความ
ฉิบหายไปเป็นธรรมดา ฉิบหายไปแล้ว ถ้าเราจะพึงเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร ทุบอก
คร่ำครวญ หลงงมงาย อาหารเราก็จะไม่อยากรับประทาน กายก็จะเศร้าหมอง
การงานก็จะหยุดชะงัก พวกศัตรูก็จะดีใจ และพวกมิตรก็จะเสียใจ’ เมื่อสิ่งที่มีความ
ฉิบหายเป็นธรรมดา ฉิบหายไปแล้ว เขาย่อมเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร ทุบอก
คร่ำครวญ หลงงมงาย นี้เรียกว่า ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ถูกลูกศรคือความโศกที่มีพิษ
ทิ่มแทงแล้ว ย่อมทำตนนั่นเองให้เดือดร้อน
ส่วนสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาของอริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมแก่ไป เมื่อสิ่งที่มี
ความแก่ไปเป็นธรรมดาแก่ไปแล้ว อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘ไม่ใช่สิ่งที่มี
ความแก่เป็นธรรมดาของเราคนเดียวเท่านั้นที่แก่ไป แท้จริง สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๘๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. มุณฑราชวรรค ๑๐. นารทสูตร
ของสัตว์ทั้งปวงที่มีการมา การไป การจุติ การอุบัติ ก็แก่ไปทั้งสิ้น เมื่อสิ่งที่มี
ความแก่เป็นธรรมดา แก่ไปแล้ว ถ้าเราจะพึงเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร ทุบอก
คร่ำครวญ หลงงมงาย อาหารเราก็จะไม่อยากรับประทาน กายก็จะเศร้าหมอง
การงานก็จะหยุดชะงัก พวกศัตรูก็จะดีใจ และพวกมิตรก็จะเสียใจ’ เมื่อสิ่งที่มี
ความแก่เป็นธรรมดาแก่ไปแล้ว อริยสาวกนั้นย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบาก ไม่ร่ำไร
ไม่ทุบอก ไม่คร่ำครวญ ไม่หลงงมงาย นี้เรียกว่า อริยสาวกผู้ได้สดับ ถอนลูกศร
คือความโศกที่มีพิษทิ่มแทงปุถุชนผู้ไม่ได้สดับทำตนนั่นเองให้เดือดร้อน อริยสาวก
ผู้ไม่มีความโศก ปราศจากลูกศร ย่อมดับทุกข์ได้ด้วยตนเอง
สิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดาของอริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมเจ็บไข้ ... สิ่งที่มี
ความตายเป็นธรรมดาของอริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมตายไป ... สิ่งที่มีความสิ้นไปเป็น
ธรรมดาของอริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมสิ้นไป ... สิ่งที่มีความฉิบหายไปเป็นธรรมดา
ของอริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมฉิบหายไป เมื่อสิ่งที่มีความฉิบหายไปเป็นธรรมดาฉิบ
หายไปแล้ว อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘ไม่ใช่สิ่งที่มีความฉิบหายไปเป็นธรรมดา
ของเราคนเดียวเท่านั้นที่ฉิบหายไป แท้จริง สิ่งที่มีความฉิบหายไปเป็นธรรมดาของ
สัตว์ทั้งปวงที่มีการมา การไป การจุติ การอุบัติ ก็ฉิบหายไปทั้งสิ้น เมื่อสิ่งที่มี
ความฉิบหายเป็นธรรมดา ฉิบหายไปแล้ว ถ้าเราจะพึงเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร ทุบอก
คร่ำครวญ หลงงมงาย อาหารเราก็จะไม่อยากรับประทาน กายก็จะเศร้าหมอง
การงานก็จะหยุดชะงัก พวกศัตรูก็จะดีใจ และพวกมิตรก็จะเสียใจ’ เมื่อสิ่งที่มี
ความฉิบหายเป็นธรรมดา ฉิบหายไปแล้ว อริยสาวกนั้นย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบาก
ไม่ร่ำไร ไม่ทุบอก ไม่คร่ำครวญ ไม่หลงงมงาย นี้เรียกว่า อริยสาวกผู้ได้สดับ
ถอนลูกศรคือความโศกที่มีพิษทิ่มแทงปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ทำตนเองให้เดือดร้อน
อริยสาวกผู้ไม่มีความโศก ปราศจากลูกศร ย่อมดับทุกข์ได้ด้วยตนเอง
ขอถวายพระพร มหาบพิตร ฐานะ ๕ ประการนี้แล อันสมณะ พราหมณ์
เทวดา มาร พรหม หรือ ใคร ๆ ในโลกนี้ไม่พึงได้
ท่านพระนารทะ ครั้นกล่าวเวยยากรณ์ภาษิตนี้แล้ว จึงได้กล่าวคาถาประพันธ์
ต่อไปอีกว่า


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๘๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. มุณฑราชวรรค ๑๐. นารทสูตร
ประโยชน์แม้เล็กน้อยในโลกนี้
ใคร ๆ ย่อมไม่ได้ด้วยความเศร้าโศก
ย่อมไม่ได้ด้วยความคร่ำครวญ
พวกศัตรูทราบว่า เขาเศร้าโศก เป็นทุกข์
ย่อมดีใจ
แต่ในกาลใด บัณฑิตฉลาดในการวินิจฉัยเหตุผล
ไม่หวั่นไหวในอันตรายทั้งหลาย
ในกาลนั้น พวกศัตรูเห็นหน้าซึ่งไม่ผิดปกติ
ของบัณฑิตนั้น ผู้ยังยิ้มแย้มตามเคย
ย่อมเป็นทุกข์
บัณฑิตพึงได้ประโยชน์ในที่ใด ๆ ด้วยวิธีใด ๆ
คือด้วยการสรรเสริญ ด้วยการร่ายมนตร์
ด้วยการกล่าวคำสุภาษิต ด้วยการให้
หรือด้วยการอ้างประเพณี
ก็พึงบากบั่นในที่นั้น ๆ ด้วยวิธีนั้น ๆ
ถ้าทราบว่า ‘ประโยชน์นี้ เราหรือคนอื่นไม่พึงได้’
เธอผู้ไม่เศร้าโศก ควรอดทนโดยพิจารณาว่า
‘เราได้ทำงานอย่างมุ่งมั่นแล้ว
บัดนี้ เราจะทำอย่างไร’
เมื่อท่านพระนารทะกล่าวอย่างนี้แล้ว พระเจ้ามุณฑะได้ตรัสถามว่า “ธรรม
บรรยายนี้ชื่ออะไร” ท่านพระนารทะถวายพระพรว่า “ขอถวายพระพร ธรรม
บรรยายนี้ชื่อเหตุถอนลูกศรคือความโศก”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๘๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. มุณฑราชวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
พระเจ้ามุณฑะตรัสชมว่า “ท่านผู้เจริญ ธรรมบรรยายนี้เป็นเหตุถอนลูกศรคือ
ความโศกได้อย่างแท้จริง ท่านผู้เจริญ ธรรมบรรยายนี้เป็นเหตุถอนลูกศรคือความ
โศกได้อย่างแท้จริง เพราะได้ฟังธรรมบรรยายนี้ ข้าพเจ้าจึงละลูกศรคือความโศกได้”
ลำดับนั้น พระเจ้ามุณฑะได้รับสั่งโสการักขะมหาอำมาตย์ว่า “ท่านจงถวาย
พระเพลิงพระศพของพระนางภัททาราชเทวีแล้วทำเป็นสถูปไว้ ตั้งแต่วันนี้ไป เราจัก
อาบน้ำแต่งตัว บริโภคอาหาร และประกอบการงาน”
นารทสูตรที่ ๑๐ จบ
มุณฑราชวรรคที่ ๕ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อาทิยสูตร ๒. สัปปุริสสูตร
๓. อิฏฐสูตร ๔. มนาปทายีสูตร
๕. ปุญญาภิสันทสูตร ๖. สัมปทาสูตร
๗. ธนสูตร ๘. ฐานสูตร
๙. โกสลสูตร ๑๐. นารทสูตร

ปฐมปัณณาสก์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๘๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๑. นีวรณวรรค ๑. อาวรณสูตร
๒. ทุติยปัณณาสก์
๑. นีวรณวรรค
หมวดว่าด้วยนิวรณ์
๑. อาวรณสูตร
ว่าด้วยนิวรณ์เครื่องกางกั้น
[๕๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมา
ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึง
ได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ภิกษุทั้งหลาย นิวรณ์เครื่องกางกั้น ๕ ประการนี้ ครอบงำจิตแล้ว ทอนกำลัง
ปัญญา๑
นิวรณ์เครื่องกางกั้น ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กามฉันทะ (ความพอใจในกาม)
๒. พยาบาท (ความคิดร้าย)
๓. ถีนมิทธะ (ความหดหู่และเซื่องซึม)
๔. อุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ)
๕. วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย)
ภิกษุทั้งหลาย นิวรณ์เครื่องกางกั้น ๕ ประการนี้แล ครอบงำจิตแล้ว ทอนกำลัง
ปัญญา

เชิงอรรถ :
๑ ปัญญา ในที่นี้หมายถึงวิปัสสนาปัญญา และมัคคปัญญา (องฺ.ปญฺจ.อ. ๓/๕๑/๒๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๘๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๑. นีวรณวรรค ๑. อาวรณสูตร
ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุนั้นยังละนิวรณ์เครื่องกางกั้น ๕ ประการ
นี้ที่ครอบงำจิต ทอนกำลังปัญญาไม่ได้แล้วจักรู้ประโยชน์ตน รู้ประโยชน์ผู้อื่น รู้
ประโยชน์ทั้งสอง หรือจักทำให้แจ้งซึ่งญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถ๑อันวิเศษ
ยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์๒ด้วยปัญญาที่ไม่มีกำลังที่อ่อนกำลังได้
เปรียบเหมือนแม่น้ำที่ไหลลงจากภูเขาไปสู่ที่ไกล มีกระแสเชี่ยว พัดสิ่งที่จะพัด
ไปได้ บุรุษพึงเปิดปากเหมืองทั้ง ๒ ข้างแห่งแม่น้ำนั้น เมื่อเปิดปากเหมืองแล้ว
อย่างนี้ กระแสน้ำในท่ามกลางแม่น้ำนั้นก็ซัดส่ายไหลผิดทาง ไหลไปสู่ที่ไกลไม่ได้
ไม่มีกระแสเชี่ยว และไม่พัดสิ่งที่พอจะพัดไปได้ ฉันใด
เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุนั้นยังละนิวรณ์เครื่องกางกั้น ๕ ประการนี้ที่ครอบงำจิต
ทอนกำลังปัญญาไม่ได้แล้วจักรู้ประโยชน์ตน รู้ประโยชน์ผู้อื่น รู้ประโยชน์ทั้งสอง
หรือจักทำให้แจ้งซึ่งญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถอันวิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์
ด้วยปัญญาที่ไม่มีกำลังที่อ่อนกำลังได้ ฉันนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปได้ที่ภิกษุนั้นละนิวรณ์เครื่องกางกั้น ๕ ประการนี้ที่
ครอบงำจิต ทอนกำลังปัญญาได้แล้วจักรู้ประโยชน์ตน รู้ประโยชน์ผู้อื่น รู้ประโยชน์
ทั้งสอง หรือจักทำให้แจ้งซึ่งญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถอันวิเศษยิ่งกว่าธรรม
ของมนุษย์ด้วยปัญญาที่มีกำลังได้
เปรียบเหมือนแม่น้ำที่ไหลลงจากภูเขาไปสู่ที่ไกล มีกระแสเชี่ยว พัดสิ่งที่พอ
จะพัดไปได้ บุรุษพึงปิดปากเหมืองทั้ง ๒ ข้างแห่งแม่น้ำนั้น เมื่อปิดปากเหมืองแล้ว
อย่างนี้ กระแสน้ำในท่ามกลางแม่น้ำนั้นก็ไม่ซัดส่ายไม่ไหลผิดทาง ไหลไปสู่ที่ไกลได้
มีกระแสเชี่ยว และพัดสิ่งที่พอจะพัดไปได้ ฉันใด

เชิงอรรถ :
๑ ญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถ หมายถึงมหัคคตโลกุตตรปัญญาอันประเสริฐบริสุทธิ์สูงสุด สามารถ
กำจัดกิเลสได้ (องฺ.ทสก.อ. ๓/๔๘/๓๕๐)
๒ ธรรมของมนุษย์ ในที่นี้หมายถึงกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๕๑/๒๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๙๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๑. นีวรณวรรค ๒. อกุสลราสิสูตร
เป็นไปได้ที่ภิกษุนั้นละนิวรณ์เครื่องกางกั้น ๕ ประการนี้ที่ครอบงำจิต ทอนกำลัง
ปัญญาได้แล้วจักรู้ประโยชน์ตน รู้ประโยชน์ผู้อื่น รู้ประโยชน์ทั้งสอง หรือจักทำ
ให้แจ้งซึ่งญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถอันวิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ด้วย
ปัญญาที่มีกำลังได้ ฉันนั้น
อาวรณสูตรที่ ๑ จบ

๒. อกุสลราสิสูตร
ว่าด้วยกองอกุศล
[๕๒] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อจะกล่าวถึงกองอกุศล เมื่อจะกล่าวให้ถูก
พึงกล่าวถึงนิวรณ์(ธรรมที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุความดี) ๕ ประการ เพราะกองอกุศล
ทั้งสิ้น คือ นิวรณ์ ๕ ประการ
นิวรณ์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กามฉันทะ ๒. พยาบาท
๓. ถีนมิทธะ ๔. อุทธัจจกุกกุจจะ
๕. วิจิกิจฉา
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อจะกล่าวถึงกองอกุศล เมื่อจะกล่าวให้ถูก พึงกล่าวถึง
นิวรณ์ ๕ ประการนี้ เพราะกองอกุศลทั้งสิ้น คือ นิวรณ์ ๕ ประการ
อกุสลราสิสูตรที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๙๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๑. นีวรณวรรค ๓. ปธานิยังสูตร
๓. ปธานิยังคสูตร
ว่าด้วยองค์ของภิกษุผู้บำเพ็ญเพียร
[๕๓] ภิกษุทั้งหลาย องค์ของภิกษุผู้บำเพ็ญเพียร ๕ ประการนี้
องค์ของภิกษุผู้บำเพ็ญเพียร ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อพระปัญญาเครื่องตรัสรู้๑ของพระตถาคตว่า
‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์
ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม
เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็น
พระผู้มีพระภาค’
๒. เป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคเบาบาง ประกอบด้วยไฟธาตุสำหรับย่อย
อาหารสม่ำเสมอ ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก ปานกลาง เหมาะแก่การ
บำเพ็ญเพียร
๓. เป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา ทำตนให้เปิดเผยตามความเป็นจริงใน
ศาสดา หรือในเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลาย
๔. เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรมเกิด
มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม
ทั้งหลายอยู่
๕. เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาเห็น
ทั้งความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้น
ทุกข์โดยชอบ๒
ภิกษุทั้งหลาย องค์ของภิกษุผู้บำเพ็ญเพียร ๕ ประการนี้แล
ปธานิยังคสูตรที่ ๓ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ปัญญาเครื่องตรัสรู้ (โพธิ) หมายถึงมัคคญาณ (ญาณในอริยมรรค คือ ความหยั่งรู้ที่ให้สำเร็จภาวะอริย-
บุคคล แต่ละชั้น) ๔ ประการ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๕๓/๒๙)
๒ ดู เสนาสนสูตร ใน องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๑/๑๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๑. นีวรณวรรค ๔. สมยสูตร
๔. สมยสูตร
ว่าด้วยสมัยที่ควรบำเพ็ญเพียร
[๕๔] ภิกษุทั้งหลาย สมัยที่ไม่ควรบำเพ็ญเพียร ๕ ประการนี้
สมัยที่ไม่ควรบำเพ็ญเพียร ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นคนแก่ ถูกชราครอบงำ นี้เป็นสมัยที่ไม่ควร
บำเพ็ญเพียรประการที่ ๑
๒. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้อาพาธ ถูกพยาธิครอบงำ นี้เป็นสมัยที่ไม่
ควรบำเพ็ญเพียรประการที่ ๒
๓. สมัยที่มีภิกษาหาได้ยาก ข้าวกล้าเสียหาย บิณฑบาตได้ยาก จึงไม่
สะดวกแก่การแสวงหาเลี้ยงชีพ นี้เป็นสมัยที่ไม่ควรบำเพ็ญเพียร
ประการที่ ๓
๔. สมัยที่มีภัย มีการปล้นสะดมในดง ชาวชนบทพากันขึ้นยานพาหนะ
อพยพไป นี้เป็นสมัยที่ไม่ควรบำเพ็ญเพียรประการที่ ๔
๕. สมัยที่สงฆ์แตกแยกกัน เมื่อสงฆ์แตกแยกกัน จึงมีการด่ากัน
มีการบริภาษกัน มีการใส่ร้ายกัน มีการทอดทิ้งกัน หมู่คนที่ยังไม่
เลื่อมใสในสงฆ์นั้นก็ไม่เลื่อมใส และหมู่คนที่เลื่อมใสแล้วก็กลาย
เป็นอื่นไป นี้เป็นสมัยที่ไม่ควรบำเพ็ญเพียรประการที่ ๕
ภิกษุทั้งหลาย สมัยที่ไม่ควรบำเพ็ญเพียร ๕ ประการ นี้แล
ภิกษุทั้งหลาย สมัยที่ควรบำเพ็ญเพียร ๕ ประการนี้
สมัยที่ควรบำเพ็ญเพียร ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ยังเป็นคนหนุ่มแน่น มีผมดำสนิท ประกอบ
ด้วยความเป็นหนุ่มกำลังเจริญ ดำรงอยู่ในปฐมวัย นี้เป็นสมัยที่
ควรบำเพ็ญเพียรประการที่ ๑
๒. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคเบาบาง ประกอบด้วยไฟธาตุ
สำหรับย่อยอาหารสม่ำเสมอ ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก ปานกลาง
เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียร นี้เป็นสมัยที่ควรบำเพ็ญเพียรประการที่ ๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๑. นีวรณวรรค ๕. มาตาปุตตสูตร
๓. สมัยที่มีภิกษาหาได้ง่าย ข้าวกล้าดี บิณฑบาตได้ง่าย สะดวกแก่
การแสวงหาเลี้ยงชีพ นี้เป็นสมัยที่ควรบำเพ็ญเพียรประการที่ ๓
๔. สมัยที่คนทั้งหลายพร้อมเพรียงกัน ชื่นชมกัน ไม่วิวาทกัน เป็นเหมือน
น้ำนมกับน้ำ มองกันด้วยนัยน์ตาที่เปี่ยมด้วยความรักอยู่ นี้เป็นสมัยที่
ควรบำเพ็ญเพียรประการที่ ๔
๕. สมัยที่สงฆ์พร้อมเพรียงกัน ชื่นชมกัน ไม่วิวาทกัน มีอุทเทสที่
สวดร่วมกัน๑ อยู่ผาสุก เมื่อสงฆ์พร้อมเพรียงกัน จึงไม่มีการด่ากัน
ไม่มีการบริภาษกัน ไม่มีการใส่ร้ายกัน ไม่มีการทอดทิ้งกัน หมู่คน
ที่ยังไม่เลื่อมใสในสงฆ์นั้นก็เลื่อมใส และหมู่คนที่เลื่อมใสแล้วก็
เลื่อมใสยิ่งขึ้น นี้เป็นสมัยที่ควรบำเพ็ญเพียรประการที่ ๕
ภิกษุทั้งหลาย สมัยที่ควรบำเพ็ญเพียร ๕ ประการนี้แล
สมยสูตรที่ ๔ จบ

๕. มาตาปุตตสูตร
ว่าด้วยมารดากับบุตร
[๕๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้นแล คนทั้งสอง คือภิกษุและภิกษุณี
ผู้เป็นมารดาเป็นบุตรกัน เข้าจำพรรษาในกรุงสาวัตถี คนทั้งสองนั้นใคร่จะเห็นกัน
เนือง ๆ แม้มารดาก็ใคร่จะเห็นบุตรเนือง ๆ แม้บุตรก็ใคร่จะเห็นมารดาเนือง ๆ เพราะ
การเห็นกันเนือง ๆ ของคนทั้งสองนั้น จึงมีความคลุกคลีกัน เมื่อมีความคลุกคลีกัน

เชิงอรรถ :
๑ มีอุทเทสที่สวดร่วมกัน ในที่นี้หมายถึงมีการยกปาติโมกขุทเทส ๕ ประการ (๑) นิทานุทเทส (๒) ปาราชิ-
กุทเทส (๓) สังฆาทิเสสุทเทส (๔) อนิยตุทเทส (๕) วิตถารุทเทส เฉพาะอุทเทสที่ ๕ นั้น รวมเอานิสสัคคิ-
ยุทเทส ปาจิตยุทเทส ปาฏิเทสนิยุทเทส เสขิยุทเทส และสมถุทเทสเข้าไว้ด้วย) ขึ้นสวดร่วมกัน (วิ.อ. ๑/๕๕/
๒๗๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๙๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๑. นีวรณวรรค ๕. มาตาปุตตสูตร
จึงมีความคุ้นเคยกัน เมื่อมีความคุ้นเคยกันจึงมีช่อง คนทั้งสองนั้นมีจิตได้ช่อง ไม่บอก
คืนสิกขา ไม่เปิดเผยความท้อแท้๑ เสพเมถุนธรรม๒แล้ว
ครั้งนั้น ภิกษุจำนวนมากเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
คนทั้งสองคือภิกษุและภิกษุณีผู้เป็นมารดาเป็นบุตรกัน เข้าจำพรรษาในกรุง
สาวัตถีนี้ คนทั้งสองนั้นใคร่จะเห็นกันเนือง ๆ แม้มารดาก็ใคร่จะเห็นบุตรเนือง ๆ
แม้บุตรก็ใคร่จะเห็นมารดาเนือง ๆ เพราะการเห็นกันเนือง ๆ ของคนทั้งสองนั้น
จึงมีความคลุกคลีกัน เมื่อมีความคลุกคลีกัน จึงมีความคุ้นเคยกัน เมื่อมีความ
คุ้นเคยกันจึงมีช่อง คนทั้งสองนั้นมีจิตได้ช่อง ไม่บอกคืนสิกขา ไม่เปิดเผยความ
ท้อแท้ เสพเมถุนธรรมแล้ว”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย โมฆบุรุษนั้นย่อมสำคัญหรือหนอว่า
‘มารดาย่อมไม่กำหนัดในบุตร หรือบุตรย่อมไม่กำหนัดในมารดา’
๑. เราไม่เห็นรูปอื่นแม้อย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นที่เกิดความกำหนัด เกิดความใคร่
เกิดความมัวเมา เกิดความผูกพัน เกิดความหมกมุ่น ทำอันตราย
แก่การบรรลุธรรมที่เป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม เหมือน
รูปสตรีนี้เลย สัตว์ทั้งหลายกำหนัด ยินดี ติดใจ หมกมุ่น พัวพันอยู่
ในรูปสตรี ตกอยู่ใต้อำนาจรูปสตรี จึงเศร้าโศกตลอดกาลนาน
๒. เราไม่เห็นเสียงอื่นแม้อย่างหนึ่ง ...
๓. เราไม่เห็นกลิ่นอื่นแม้อย่างหนึ่ง ...
๔. เราไม่เห็นรสอื่นแม้อย่างหนึ่ง ...
๕. เราไม่เห็นโผฏฐัพพะอื่นแม้อย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นที่เกิดความกำหนัด
เกิดความใคร่ เกิดความมัวเมา เกิดความผูกพัน เกิดความหมกมุ่น

เชิงอรรถ :
๑ ไม่เปิดเผยความท้อแท้ (ทุพฺพลฺยํ อนาวิกตฺวา) หมายถึงไม่ประกาศความท้อแท้เบื่อหน่ายในการประพฤติ
พรหมจรรย์ ดู วิ.มหา. (แปล) ๑/๔๕-๕๔/๓๓-๔๒
๒ เมถุนธรรม หมายถึงการร่วมประเวณี การร่วมสังวาส กล่าวคือการเสพอสัทธรรมอันเป็นประเวณีของชาว
บ้าน มีน้ำเป็นที่สุด เป็นกิจที่ทำในที่ลับ ต้องทำกันสองต่อสอง ดู วิ.มหา. (แปล) ๑/๕๕/๔๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๙๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๑. นีวรณวรรค ๕. มาตาปุตตสูตร
ทำอันตรายแก่การบรรลุธรรมที่เป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม
เหมือนโผฏฐัพพะสตรีนี้เลย สัตว์ทั้งหลายกำหนัด ยินดี ติดใจ
หมกมุ่น พัวพันอยู่ในโผฏฐัพพะสตรี ตกอยู่ในโผฏฐัพพะสตรี
จึงเศร้าโศกตลอดกาลนาน
สตรีแม้เดินอยู่ก็ครอบงำจิตของบุรุษได้ แม้ยืนอยู่ ... แม้นั่งอยู่ แม้นอนอยู่ ...
แม้หลับอยู่ ... แม้หัวเราะอยู่ ... แม้พูดอยู่ ... แม้ขับร้องอยู่ ... แม้ร้องไห้อยู่ ...
แม้พองขึ้น ... แม้ตายแล้วก็ครอบงำจิตของบุรุษได้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อจะกล่าวถึงสิ่งหนึ่งสิ่งใดว่า ‘เป็นบ่วงรวบรัดแห่งมาร’
เมื่อจะกล่าวให้ถูกก็พึงกล่าวถึงมาตุคาม๑นั่นแลว่า ‘เป็นบ่วงรวบรัดแห่งมาร’
บุคคลสนทนากับเพชฌฆาตก็ดี
สนทนากับปีศาจก็ดี
ถูกต้องอสรพิษที่กัดแล้วตายก็ดี
ก็ยังไม่ร้ายแรงเท่าการสนทนาสองต่อสองกับมาตุคามเลย
สตรีทั้งหลายย่อมผูกพันบุรุษผู้ลุ่มหลง
ด้วยการมองดู การหัวเราะ
การนุ่งห่มไม่เรียบร้อย และการพูดอ่อนหวาน
มาตุคามนี้มิใช่จะผูกพันเพียงแค่นี้
แม้ตายไปแล้วพองขึ้น ก็ยังผูกพันได้
กามคุณ ๕ นี้ คือ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ
ซึ่งน่ารื่นรมย์ใจ ย่อมปรากฏในรูปสตรี
เหล่าชนผู้ถูกกาโมฆะ(ห้วงน้ำคือกาม) พัด
ไม่กำหนดรู้กาม ย่อมมีกาล (แห่งวัฏฏะ) คติ
และภพน้อยภพใหญ่ในวัฏฏสงสารเป็นเบื้องหน้า

เชิงอรรถ :
๑ มาตุคาม หมายถึงหญิงมนุษย์ ไม่ใช่นางยักษ์ ไม่ใช่นางเปรต ไม่ใช่สัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย (วิ.มหา. (แปล)
๑/๒๗๑/๒๙๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๙๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๑. นีวรณวรรค ๖. อุปัชฌายสูตร
ส่วนชนเหล่าใด กำหนดรู้กาม๑
เป็นผู้ไม่มีภัยแต่ที่ไหน ๆ เที่ยวไป
ชนเหล่านั้นผู้บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะ
เป็นผู้ถึงฝั่ง๒ในโลก
มาตาปุตตสูตรที่ ๕ จบ

๖. อุปัชฌายสูตร
ว่าด้วยอุปัชฌาย์๓
[๕๖] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปหาพระอุปัชฌาย์ของตนถึงที่อยู่ ได้กล่าว
ดังนี้ว่า “ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เดี๋ยวนี้ กายของผมหนักขึ้น ทิศทั้งหลายไม่ปรากฏแก่ผม
ธรรมทั้งหลาย๔ก็ไม่แจ่มแจ้งแก่ผม ผมถูกถีนมิทธะครอบงำจิต ไม่ยินดีประพฤติ
พรหมจรรย์ และมีความสงสัยในธรรมทั้งหลาย”
ต่อมา ภิกษุนั้นพาภิกษุสัทธิวิหาริก เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระพระภาคว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุนี้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘เดี๋ยวนี้ กายของผมหนักขึ้น ทิศทั้งหลาย
ไม่ปรากฏแก่ผม ธรรมทั้งหลายก็ไม่แจ่มแจ้งแก่ผม ผมถูกถีนมิทธะครอบงำจิต
ไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์ และมีความสงสัยในธรรมทั้งหลาย”

เชิงอรรถ :
๑ กำหนดรู้กาม ในที่นี้หมายถึงกำหนดรู้กามทั้งสอง คือ วัตถุกาม และกิเลสกาม ด้วยปริญญา ๓ คือ
(๑) ญาตปริญญา กำหนดรู้ด้วยให้เป็นสิ่งอันรู้แล้ว (๒) ตีรณปริญญา กำหนดรู้ด้วยการพิจารณา
(๓) ปหานปริญญา กำหนดรู้ด้วยการละ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๕๕/๓๐)
๒ เป็นผู้ถึงฝั่ง ในที่นี้หมายถึงเป็นผู้บรรลุพระนิพพาน (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๕๕/๓๐)
๓ อุปัชฌาย์ หมายถึงครูผู้คอยเพ่งโทษน้อยใหญ่ ได้แก่ ผู้รับรองกุลบุตรเข้ารับการอุปสมบทในท่ามกลางภิกษุสงฆ์
และเป็นผู้คอยดูแลผิดและชอบ อบรมให้การศึกษา (วชฺชาวชฺชํ อุปนิชฺฌายตีติ อุปชฺฌาโย) (วิ.อ. ๓/๖๔-๖๕/
๓๒, สารตฺถ.ฏีกา ๓/๖๔/๒๘๑)
๔ ธรรมทั้งหลาย ในที่นี้หมายถึงสมถะ(การฝึกจิตให้สงบเป็นสมาธิ) และวิปัสสนา(ความเห็นแจ้ง) (องฺ.ปญฺจก.อ.
๓/๕๕/๓๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๑. นีวรณวรรค ๖. อุปัชฌายสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ การที่กายของเธอหนักขึ้น ทิศทั้งหลายไม่
ปรากฏแก่เธอ ธรรมทั้งหลายไม่แจ่มแจ้งแก่เธอ เธอถูกถีนมิทธะครอบงำจิต ไม่ยินดี
ประพฤติพรหมจรรย์ และมีความสงสัยในธรรมทั้งหลายนี้ ย่อมมีแก่ภิกษุผู้ไม่
คุ้มครองทวารในอินทรีย์ ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค ไม่ประกอบความเพียร
เป็นเครื่องตื่นอยู่ ไม่เห็นแจ้งกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ประกอบการเจริญโพธิปักขิย-
ธรรมทั้งหลายทุกวันทุกคืน เพราะเหตุนั้นแล เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เราจัก
คุ้มครองทวารในอินทรีย์ รู้จักประมาณในการบริโภค ประกอบความเพียรเป็นเครื่อง
ตื่นอยู่ เห็นแจ้งกุศลธรรมทั้งหลาย ประกอบการเจริญโพธิปักขิยธรรมทั้งหลายทุกวัน
ทุกคืน’ ภิกษุ เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้แล”
ครั้งนั้น ภิกษุนั้นอันพระผู้มีพระภาคตรัสสอนด้วยพระโอวาทนี้แล้วก็ลุกจาก
อาสนะ ถวายอภิวาท ทำประทักษิณแล้วหลีกไป ลำดับนั้น ภิกษุนั้นหลีกออกไปอยู่
ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนักได้ทำให้แจ้ง
ซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยม๑อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ที่กุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ได้รู้ชัดว่า
‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำ๒เสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความ
เป็นอย่างนี้อีกต่อไป๓’ ก็ภิกษุนั้นได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่งในจำนวนพระอรหันต์
ทั้งหลาย
ครั้นภิกษุนั้นได้บรรลุความเป็นพระอรหันต์แล้ว จึงเข้าไปหาพระอุปัชฌาย์
ของตนถึงที่อยู่แล้วกล่าวว่า “ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เดี๋ยวนี้ กายของผมไม่หนักขึ้น
ทิศทั้งหลายปรากฏแก่ผม ธรรมทั้งหลายแจ่มแจ้งแก่ผม ผมไม่ถูกถีนมิทธะ
ครอบงำจิต ยินดีประพฤติพรหมจรรย์ และไม่มีความสงสัยในธรรมทั้งหลาย”

เชิงอรรถ :
๑ ประโยชน์ยอดเยี่ยม ในที่นี้หมายถึงอรหัตตผล หรืออริยผลอันเป็นที่สุดแห่งมัคคพรหมจรรย์ (องฺ.ทุก.อ.
๒/๕/๗, ม.ม.อ.๒/๘๒/๘๐)
๒ กิจที่ควรทำ ในที่นี้หมายถึงกิจ ๔ อย่าง คือ ปริญญากิจ (หน้าที่กำหนดรู้ทุกข์) ปหานกิจ (หน้าที่ละเหตุ
เกิดทุกข์) สัจฉิกิริยากิจ (หน้าที่ทำให้แจ้งความดับทุกข์) และภาวนากิจ (หน้าที่อบรมมรรคมีองค์ ๘ ให้เจริญ)
เป็นกิจในอริยสัจ ๔ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๔๙/๑๒๘, องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๔๙/๑๔๑, ที.สี.อ. ๒๔๘/๒๐๓)
๓ ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป ในที่นี้หมายถึงไม่มีหน้าที่ในการบำเพ็ญมัคคญาณ (ญาณในขั้น
อริยมรรค)เพื่อความสิ้นกิเลสอีกต่อไป เพราะพระพุทธศาสนาถือว่าการบรรลุพระอรหัตตผลเป็นจุดหมาย
สูงสุดแล้ว (ที.สี.อ. ๒๔๘/๒๐๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๙๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๑. นีวรณวรรค ๗. ฐานสูตร
ลำดับนั้น ภิกษุนั้นพาภิกษุสัทธิวิหาริกนั้นเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุ
นี้กล่าวอย่างนี้ว่า “ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เดี๋ยวนี้ กายของผมไม่หนักขึ้น ทิศทั้งหลาย
ปรากฏแก่ผม ธรรมทั้งหลายแจ่มแจ้งแก่ผม ผมไม่ถูกถีนมิทธะครอบงำจิต ยินดี
ประพฤติพรหมจรรย์ และไม่มีความสงสัยในธรรมทั้งหลาย”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ การที่กายของเธอไม่หนักขึ้น ทิศทั้งหลาย
ปรากฏแก่เธอ ธรรมทั้งหลายแจ่มแจ้งแก่เธอ ถีนมิทธะไม่ครอบงำจิต ยินดีประพฤติ
พรหมจรรย์ และไม่มีความสงสัยในธรรมทั้งหลายนี้ ย่อมมีแก่ภิกษุผู้คุ้มครองทวาร
ในอินทรีย์ รู้จักประมาณในการบริโภค ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่ เห็นแจ้ง
กุศลธรรม ประกอบการเจริญโพธิปักขิยธรรมทั้งหลายทุกวันทุกคืน เพราะเหตุ
นั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เราจักคุ้มครองทวารในอินทรีย์ รู้จัก
ประมาณในการบริโภค ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่ เห็นแจ้งกุศลธรรม ประกอบ
การเจริญโพธิปักขิยธรรมทุกวันทุกคืน’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล”
อุปัชฌายสูตรที่ ๖ จบ

๗. ฐานสูตร
ว่าด้วยฐานะที่ควรพิจารณาเนือง ๆ
[๕๗] ภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๕ ประการนี้ ที่สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต
ต้องพิจารณาเนือง ๆ
ฐานะ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิตควรพิจารณา เนือง ๆ ว่า
๑. เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้
๒. เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้
๓. เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๙๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๑. นีวรณวรรค ๗. ฐานสูตร
๔. เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น
๕. เรามีกรรมเป็นของตน เป็นผู้รับผลของกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด
มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย เราทำกรรมใดไว้จะเป็น
กรรมดีหรือกรรมชั่วก็ตาม ย่อมเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น
สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า ‘เรามีความแก่
เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้’ เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร
เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แลว่า ‘สัตว์ทั้งหลายมีความมัวเมาในความเป็น
หนุ่มสาวซึ่งเป็นเหตุให้ประพฤติชั่วด้วยกาย ประพฤติชั่วด้วยวาจา ประพฤติชั่วด้วยใจ
เมื่อเขาพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนือง ๆ ย่อมละความมัวเมาในความเป็นหนุ่มสาวนั้นได้
โดยสิ้นเชิง หรือทำให้เบาบางลงได้’
สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิตจึงควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า ‘เรามีความแก่
เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้’
สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า ‘เรามีความ
เจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้’ เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร
เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แลว่า ‘สัตว์ทั้งหลายมีความมัวเมาในความไม่
มีโรคซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ประพฤติชั่วด้วยกาย ประพฤติชั่วด้วยวาจา ประพฤติชั่ว
ด้วยใจ เมื่อเขาพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนือง ๆ ย่อมละความมัวเมาในความไม่มีโรคนั้น
ได้โดยสิ้นเชิง หรือทำให้เบาบางลงได้’
สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิตจึงควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า ‘เรามีความ
เจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้’
สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า ‘เรามีความตาย
เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้‘ เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร
เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แลว่า ‘สัตว์ทั้งหลายมีความมัวเมาในชีวิตซึ่ง
เป็นเหตุให้ประพฤติชั่วด้วยกาย ประพฤติชั่วด้วยวาจา ประพฤติชั่วด้วยใจ เมื่อเขา
พิจารณาฐานะนั้นอยู่เนืองๆ ย่อมละความมัวเมาในชีวิตนั้นได้โดยสิ้นเชิง หรือทำให้
เบาบางลงได้’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๐๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๑. นีวรณวรรค ๗. ฐานสูตร
สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิตจึงควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า ‘เรามีความตาย
เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้’
สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า ‘เราจะต้องพลัด
พรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น‘ เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร
เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แลว่า ‘สัตว์ทั้งหลายมีความกำหนัดด้วยอำนาจ
ความพอใจในของรักของชอบใจซึ่งเป็นเหตุให้ประพฤติชั่วด้วยกาย ประพฤติชั่วด้วย
วาจา ประพฤติชั่วด้วยใจ เมื่อเขาพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนือง ๆ ย่อมละความ
กำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในของรักของชอบใจนั้นได้โดยสิ้นเชิง หรือทำให้เบา
บางลงได้’
สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิตจึงควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า ‘เราจะต้อง
พลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น’
สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า ‘เรามีกรรม
เป็นของตน เป็นผู้รับผลของกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์
มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย เราทำกรรมใดไว้ จะเป็นกรรมดีหรือกรรมชั่วก็ตาม ย่อม
เป็นผู้รับผลของกรรมนั้น’ เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร
เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แลว่า ‘สัตว์ทั้งหลายมีกายทุจริต วจีทุจริต
มโนทุจริต เมื่อเขาพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนือง ๆ ย่อมละทุจริตได้โดยสิ้นเชิง หรือทำ
ให้เบาบางลงได้’
สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิตจึงควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า ‘เรามีกรรม
เป็นของตน เป็นผู้รับผลของกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรม
เป็นที่พึ่งอาศัย เราทำกรรมใดไว้ จะเป็นกรรมดีหรือกรรมชั่วก็ตาม ย่อมเป็นผู้รับผล
ของกรรมนั้น’
ผลแห่งการพิจารณาฐานะ ๕ ประการ
ภิกษุทั้งหลาย
๑. อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘ไม่ใช่เราคนเดียวเท่านั้น ที่มี
ความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ แท้จริง สัตว์ทั้งปวง
ที่มีการมา การไป การจุติ การอุบัติ ล้วนมีความแก่เป็นธรรมดา ไม่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๑. นีวรณวรรค ๗. ฐานสูตร
ล่วงพ้นความแก่ไปได้’ เมื่ออริยสาวกนั้นพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนือง ๆ
มรรค๑ย่อมเกิดขึ้น อริยสาวกนั้นย่อมเสพ๒ เจริญ ทำให้มากซึ่ง
มรรคนั้น เมื่อเสพ เจริญ ทำให้มากอยู่ ย่อมละสังโยชน์๓ได้
อนุสัย๔ย่อมสิ้นไป
๒. อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘ไม่ใช่เราคนเดียวเท่านั้นที่มี
ความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้ แท้จริง สัตว์
ทั้งปวงที่มีการมา การไป การจุติ การอุบัติ ก็ล้วนมีความเจ็บไข้
เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้’ เมื่ออริยสาวกนั้นพิจารณา
ฐานะนั้นอยู่เนือง ๆ มรรคย่อมเกิดขึ้น อริยสาวกนั้นย่อมเสพ เจริญ
ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเสพ เจริญ ทำให้มากอยู่ ย่อมละ
สังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป

เชิงอรรถ :
๑ มรรค ในที่นี้หมายถึงโลกุตตรมรรค ได้แก่ อริยมรรค ๔ คือ โสตาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค
และอรหัตตมรรค (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๕๗/๓๑)
๒ เสพในที่นี้หมายถึงการนึกหน่วง การรู้ การเห็น การพิจารณา การอธิษฐานจิต การน้อมใจเชื่อ ประคอง
ความเพียร ตั้งสติไว้ ตั้งจิตไว้ กำหนดรู้ด้วยปัญญา รู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ละ
ธรรมที่ควรละ เจริญธรรมที่ควรเจริญ ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง (องฺ.เอกก.อ.๑/๕๓/๖๓)
เจริญ หมายถึงบำเพ็ญสิ่งที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ให้เจริญขึ้น และตามรักษาสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วให้มีอยู่ตลอดไป
(องฺ.เอกก.อ. ๑/๕๔-๕๕/๖๓, ๔๑๘/๔๔๘, ๔๕๓/๔๖๙)
ทำให้มาก หมายถึงทำบ่อย ๆ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๖๐๐-๖๑๑/๔๘๐)
๓ สังโยชน์ หมายถึงกิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์ หรือธรรมที่มัดใจสัตว์ไว้กับทุกข์ มี ๑๐ ประการ คือ สักกายทิฏฐิ,
วิจิกิจฉา, สีลัพพตปรามาส, กามฉันทะหรือกามราคะ, พยาบาทหรือปฏิฆะ, รูปราคะ, อรูปราคะ, มานะ,
อุทธัจจะ, อวิชชา (สํ.ม.๑๙/๑๘๐-๑๘๑/๕๖-๕๗, องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๓/๒๑, อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๔๐/
๕๙๒)
๔ อนุสัย หมายถึงกิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดานมี ๗ ประการ คือ (๑) กามราคะ (ความกำหนัดในกาม)
(๒) ปฏิฆะ (ความขัดใจ) (๓) ทิฏฐิ (ความเห็นผิด) (๔) วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) (๕) มานะ (ความถือตัว)
(๖) ภวราคะ (ความกำหนัดในภพ) (๗) อวิชชา (ความไม่รู้แจ้ง) (สํ.สฬา.อ. ๓/๕๓-๖๒/๑๔, องฺ.ปญฺจก.อ.
๓/๕๗/๓๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๑. นีวรณวรรค ๗. ฐานสูตร
๓. อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘ไม่ใช่เราคนเดียวเท่านั้นที่มีความ
ตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ แท้จริง สัตว์ทั้งปวง
ที่มีการมา การไป การจุติ การอุบัติ ก็ล้วนมีความตายเป็นธรรมดา
ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้’ เมื่ออริยสาวกนั้นพิจารณาฐานะนั้นอยู่
เนือง ๆ มรรคย่อมเกิดขึ้น อริยสาวกนั้นย่อมเสพ เจริญ ทำให้
มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเสพ เจริญ ทำให้มากอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้
อนุสัยย่อมสิ้นไป
๔. อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘ไม่ใช่เราคนเดียวเท่านั้น ที่จะ
ต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น แท้จริง สัตว์ทั้งปวงที่มี
การมา การไป การจุติ การอุบัติ ก็ล้วนจะต้องพลัดพรากจากของ
รักของชอบใจทั้งสิ้น’ เมื่ออริยสาวกนั้นพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนือง ๆ
มรรคย่อมเกิดขึ้น อริยสาวกนั้นย่อมเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่ง
มรรคนั้น เมื่อเสพ เจริญ ทำให้มากอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัย
ย่อมสิ้นไป
๕. อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘ไม่ใช่เราคนเดียวเท่านั้นที่มีกรรม
เป็นของตน เป็นผู้รับผลของกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็น
เผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย เราทำกรรมใดไว้ จะเป็นกรรมดีหรือ
กรรมชั่วก็ตาม ย่อมเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น แท้จริง สัตว์ทั้งปวงที่
มีการมา การไป การจุติ การอุบัติ ล้วนมีกรรมเป็นของตน เป็นผู้
รับผลของกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรม
เป็นที่พึ่งอาศัย ทำกรรมใดไว้ จะเป็นกรรมดีหรือกรรมชั่วก็ตาม
ย่อมเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น’ เมื่ออริยสาวกนั้นพิจารณาฐานะนั้นอยู่
เนือง ๆ มรรคย่อมเกิดขึ้น อริยสาวกนั้น ย่อมเสพ เจริญ ทำให้
มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเสพ เจริญ ทำให้มากอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้
อนุสัยย่อมสิ้นไป
สัตว์ทั้งหลาย มีความแก่ มีความเจ็บ
และมีความตายเป็นธรรมดา
ย่อมเป็นไปตามธรรม
พวกปุถุชนย่อมเกลียด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๐๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๑. นีวรณวรรค ๘. ลิจฉวิกุมารกสูตร
ถ้าเราพึงเกลียดธรรมนั้น
ในสัตว์ทั้งหลายผู้มีธรรมอย่างนั้น
ข้อนั้นไม่สมควรแก่เรา ผู้เป็นอยู่อย่างนี้
เรานั้นดำรงอยู่อย่างนี้ รู้ธรรมที่ไม่มีอุปธิกิเลส๑
เห็นเนกขัมมะ๒ว่า เป็นธรรมเกษม
ครอบงำความมัวเมาทั้งปวงในความไม่มีโรค
ในความเป็นหนุ่ม สาว และในชีวิต
ความอุตสาหะได้มีแล้วแก่เราผู้เห็นแจ้งนิพพาน
บัดนี้ เราไม่ควรเสพกาม
จักประพฤติไม่ถอยหลัง๓
มุ่งประพฤติพรหมจรรย์๔
ฐานสูตรที่ ๗ จบ

๘. ลิจฉวิกุมารกสูตร
ว่าด้วยเจ้าลิจฉวีกุมาร
[๕๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน
เขตกรุงเวสาลี ครั้งนั้นแล เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตร
และจีวร เสด็จเข้าไปยังกรุงเวสาลีเพื่อบิณฑบาต เสด็จกลับจากบิณฑบาตหลังจาก
เสวยพระกระยาหารเสร็จแล้ว จึงเสด็จเข้าไปยังป่ามหาวัน ประทับนั่งพักผ่อน
กลางวัน ณ โคนไม้ต้นหนึ่ง

เชิงอรรถ :
๑ ธรรมที่ไม่มีอุปธิกิเลส ในที่นี้หมายถึงอรหัตตผล (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๕๗/๓๑)
๒ เนกขัมมะ ในที่นี้หมายถึงบรรพชา (การบวช) (องฺ.ปญฺจก.อ.๓/๕๗/๓๑)
๓ ประพฤติไม่ถอยหลัง ในที่นี้หมายถึงไม่ถอยหลังจากบรรพชา จากการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ และจาก
พระสัพพัญญุตญาณ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๕๗/๓๑)
๔ พรหมจรรย์ ในที่นี้หมายถึงมรรคพรหมจรรย์ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ อันเป็นโลกุตตระ (องฺ.ปญฺจก.อ.
๓/๕๗/๓๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๑. นีวรณวรรค ๘. ลิจฉวิกุมารกสูตร
สมัยนั้น เจ้าลิจฉวีกุมารหลายพระองค์ถือธนูที่ขึ้นสาย มีฝูงสุนัขแวดล้อมเดิน
เที่ยวไปในป่ามหาวัน ได้เห็นพระผู้มีพระภาคประทับนั่งอยู่ที่โคนไม้ต้นหนึ่ง จึงวาง
ธนูที่ขึ้นสายไว้แล้ว ปล่อยฝูงสุนัขไป ณ ที่สมควร พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว ต่างนั่งนิ่งประคองอัญชลีอยู่ใกล้พระผู้มีพระภาค
สมัยนั้น เจ้าลิจฉวีนามว่ามหานามะเดินพักผ่อนอยู่ในป่ามหาวัน ได้เห็นเจ้า
ลิจฉวีกุมารเหล่านั้นผู้ต่างนั่งนิ่งประคองอัญชลีอยู่ใกล้พระผู้มีพระภาค จึงเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้เปล่งอุทานว่า
“เจ้าวัชชีจักเจริญ เจ้าวัชชีจักเจริญ”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า มหานามะ เพราะเหตุไร เธอจึงกล่าวอย่างนี้ว่า
“เจ้าวัชชีจักเจริญ เจ้าวัชชีจักเจริญ”
เจ้ามหานามะกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เจ้าลิจฉวีกุมารเหล่านี้ เป็นผู้
ดุร้าย หยาบคาย กระด้าง ของขวัญต่าง ๆ คือ อ้อย พุทรา ขนม ขนมต้ม หรือ
ขนมแดกงาที่เขาส่งไปในตระกูลทั้งหลาย เจ้าลิจฉวีกุมารเหล่านี้ก็แย่งชิงเอาไปกิน
ถีบหลังกุลสตรีบ้าง กุลกุมารีบ้าง แต่บัดนี้ เจ้าลิจฉวีกุมารเหล่านี้ต่างนั่งนิ่งประคอง
อัญชลีอยู่ใกล้พระผู้มีพระภาค”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มหานามะ กุลบุตรคนใด เป็นกษัตราธิราชผู้ได้รับ
มูรธาภิเษก๑แล้วก็ตาม เป็นผู้ปกครองรัฐซึ่งรับมรดกจากบิดาก็ตาม เป็นอัคร-
เสนาบดีก็ตาม เป็นผู้ใหญ่บ้านก็ตาม เป็นหัวหน้าคณะก็ตาม เป็นใหญ่เฉพาะตระกูล
ก็ตาม มีธรรม ๕ ประการนี้ กุลบุตรนั้นพึงหวังได้ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความ
เสื่อมเลย
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กุลบุตรในโลกนี้สักการะ เคารพ นับถือ บูชามารดาบิดาด้วย
โภคทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร เก็บรวบรวมด้วย
น้ำพักน้ำแรง อาบเหงื่อต่างน้ำ ประกอบด้วยธรรม ได้มาโดยธรรม

เชิงอรรถ :
๑ มูรธาภิเษก หมายถึงน้ำรดพระเศียรในงานราชาภิเษก หรือพระราชพิธีอื่น ๆ (พจนานุกรม ฉบับ
ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๐๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๑. นีวรณวรรค ๘. ลิจฉวิกุมารกสูตร
มารดาบิดาผู้ได้รับสักการะ เคารพ นับถือ บูชาแล้ว ย่อมอนุเคราะห์
กุลบุตรนั้นด้วยน้ำใจอันงามว่า ‘ขอเจ้าจงมีชีวิตยืนนาน มีอายุยืนนาน’
กุลบุตรผู้อันมารดาบิดาอนุเคราะห์แล้ว พึงหวังได้ความเจริญอย่าง
เดียว ไม่มีความเสื่อมเลย
๒. กุลบุตรในโลกนี้สักการะ เคารพ นับถือ บูชาบุตร ภรรยา ทาส
กรรมกร และคนใช้ด้วยโภคทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความขยัน
หมั่นเพียร เก็บรวบรวมด้วยน้ำพักน้ำแรง อาบเหงื่อต่างน้ำ
ประกอบด้วยธรรม ได้มาโดยธรรม บุตร ภรรยา ทาส กรรมกร
และคนใช้ผู้ได้รับสักการะ เคารพ นับถือ บูชาแล้ว ย่อม
อนุเคราะห์กุลบุตรนั้นด้วยน้ำใจอันงามว่า ‘ขอท่านจงมีชีวิตยืนนาน
มีอายุยืนนาน’ กุลบุตรผู้อันบุตร ภรรยา ทาส กรรมกร และคน
ใช้อนุเคราะห์แล้ว พึงหวังได้ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความ
เสื่อมเลย
๓. กุลบุตรในโลกนี้สักการะ เคารพ นับถือ บูชาเพื่อนชาวนา และ
เพื่อนร่วมงานด้วยโภคทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร
เก็บรวบรวมด้วยน้ำพักน้ำแรง อาบเหงื่อต่างน้ำ ประกอบด้วยธรรม
ได้มาโดยธรรม เพื่อนชาวนา และเพื่อนร่วมงานผู้ได้รับสักการะ
เคารพ นับถือ บูชาแล้ว ย่อมอนุเคราะห์กุลบุตรนั้นด้วยน้ำใจอันงาม
ว่า ‘ขอเพื่อนจงมีชีวิตยืนนาน มีอายุยืนนาน’ กุลบุตรผู้อันเพื่อน
ชาวนา และเพื่อนร่วมงานอนุเคราะห์แล้ว พึงหวังได้ความเจริญ
อย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย
๔. กุลบุตรในโลกนี้สักการะ เคารพ นับถือ บูชาเทวดาผู้รับพลีกรรม
ด้วยโภคทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร เก็บรวบรวม
ด้วยน้ำพักน้ำแรง อาบเหงื่อต่างน้ำ ประกอบด้วยธรรม ได้มาโดย
ธรรม เทวดาผู้รับพลีกรรม ได้รับสักการะ เคารพ นับถือ บูชาแล้ว
ย่อมอนุเคราะห์กุลบุตรนั้นด้วยน้ำใจอันงามว่า ‘ขอท่านจงมีชีวิต
ยืนนาน มีอายุยืนนาน’ กุลบุตรผู้อันเทวดาอนุเคราะห์แล้ว พึงหวัง
ได้ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๐๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๑. นีวรณวรรค ๘. ลิจฉวิกุมารกสูตร
๕. กุลบุตรในโลกนี้สักการะ เคารพ นับถือ บูชาสมณพราหมณ์ด้วย
โภคทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร เก็บรวบรวมด้วย
น้ำพักน้ำแรง อาบเหงื่อต่างน้ำ ประกอบด้วยธรรม ได้มาโดยธรรม
สมณพราหมณ์ผู้ได้รับสักการะ เคารพ นับถือ บูชาแล้ว ย่อม
อนุเคราะห์กุลบุตรนั้นด้วยน้ำใจอันงามว่า ‘ขอท่านจงมีชีวิตยืนนาน
มีอายุยืนนาน ‘กุลบุตรผู้อันสมณพราหมณ์อนุเคราะห์แล้ว พึงหวัง
ได้ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย
มหานามะ กุลบุตรคนใด เป็นกษัตราธิราชผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้วก็ตาม เป็นผู้
ปกครองรัฐซึ่งรับมรดกจากบิดาก็ตาม เป็นอัครเสนาบดีก็ตาม เป็นผู้ใหญ่บ้านก็ตาม
เป็นหัวหน้าคณะก็ตาม เป็นใหญ่เฉพาะตระกูลก็ตาม มีธรรม ๕ ประการนี้ พึงหวัง
ได้ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย
กุลบุตรผู้มีศีล รู้ความประสงค์ของผู้ขอ๑
ช่วยทำกิจของมารดาบิดา เกื้อกูลบุตร ภรรยา
ปฏิบัติเพื่อประโยชน์แก่คนทั้ง ๒ ฝ่าย
คือ ชนภายในและชนผู้อาศัยบุคคลนั้นอยู่
กุลบุตรผู้เป็นบัณฑิตเมื่ออยู่ครองเรือนโดยธรรม
ทำความยินดีให้เกิดขึ้นแก่ญาติทั้งที่ล่วงลับไปแล้ว
และที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน
ยังความยินดีให้เกิดขึ้นแก่สมณพราหมณ์และเทวดา
กุลบุตรนั้น ครั้นบำเพ็ญกัลยาณธรรมแล้ว
เป็นผู้ควรบูชา เป็นผู้ควรสรรเสริญ
บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญเขาในโลกนี้
เขาตายไปแล้ว ย่อมบันเทิงในสวรรค์”
ลิจฉวิกุมารกสูตรที่ ๘ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๓๖ (กาลทานสูตร) หน้า ๕๗ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๐๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๑. นีวรณวรรค ๙. ปฐมวุฑฒปัพพชิตสูตร
๙. ปฐมวุฑฒปัพพชิตสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้บวชเมื่อแก่ สูตรที่ ๑
[๕๙] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้บวชเมื่อแก่ ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ
หาได้ยาก
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุผู้บวชเมื่อแก่
๑. เป็นผู้ละเอียด หาได้ยาก
๒. เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยมารยาท๑หาได้ยาก
๓. เป็นพหูสูต หาได้ยาก
๔. เป็นธรรมกถึก๒ หาได้ยาก
๕. เป็นวินัยธร๓หาได้ยาก
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้บวชเมื่อแก่ ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล หาได้ยาก
ปฐมวุฑฒปัพพชิตสูตรที่ ๙ จบ

เชิงอรรถ :
๑ มารยาท (อากัปปะ) ในที่นี้หมายถึงมารยาทของสมณะ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๕๙-๖๐/๓๒)
๒ ธรรมกถึก หมายถึงผู้แสดงธรรม (องฺ.เอกก.อ. ๑/๒๓๙/๓๑๘-๓๒๐, ๒๕๐/๓๓๙-๓๔๑)
๓ วินัยธร หมายถึงเป็นผู้ทรงจำพระวินัยปิฎก (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๕๑/๑๓๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๐๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๑. นีวรณวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
๑๐. ทุติยวุฑฒปัพพชิตสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้บวชเมื่อแก่ สูตรที่ ๒
[๖๐] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้บวชเมื่อแก่ ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ
หาได้ยาก
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุผู้บวชเมื่อแก่
๑. เป็นผู้ว่าง่าย หาได้ยาก
๒. เป็นผู้คงแก่เรียน หาได้ยาก
๓. เป็นผู้รับคำพร่ำสอนโดยเคารพ หาได้ยาก
๔. เป็นธรรมกถึก หาได้ยาก
๕. เป็นวินัยธร หาได้ยาก
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้บวชเมื่อแก่ ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล หาได้ยาก
ทุติยวุฑฒปัพพชิตสูตรที่ ๑๐ จบ
นีวรณวรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อาวรณสูตร ๒. อกุสลราสิสูตร
๓. ปธานิยังคสูตร ๔. สมยสูตร
๕. มาตาปุตตสูตร ๖. อุปัชฌายสูตร
๗. ฐานสูตร ๘. ลิจฉวิกุมารกสูตร
๙. ปฐมวุฑฒปัพพชิตสูตร ๑๐. ทุติยวุฑฒปัพพชิตสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๐๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๒. สัญญาวรรค ๑. ปฐมสัญญาสูตร
๒. สัญญาวรรค
หมวดว่าด้วยสัญญา
๑. ปฐมสัญญาสูตร๑
ว่าด้วยสัญญา สูตรที่ ๑
[๖๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๕ ประการนี้ ที่บุคคล
เจริญทำให้มากแล้วย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ๒ มีอมตะเป็นที่สุด
สัญญา ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อนิจจสัญญา (กำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร)
๒. อนัตตสัญญา (กำหนดหมายความเป็นอนัตตาแห่งธรรมทั้งปวง)
๓. มรณสัญญา (กำหนดหมายความตายที่จะต้องมาถึงเป็นธรรมดา)
๔. อาหาเร ปฏิกูลสัญญา (กำหนดหมายความปฏิกูลในอาหาร)
๕. สัพพโลเก อนภิรติสัญญา (กำหนดหมายความไม่น่าเพลิดเพลินใน
โลกทั้งปวง)
ภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๕ ประการนี้แล ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมมี
ผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด
ปฐมสัญญาสูตรที่ ๑ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดู องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๕๗/๑๒๔
๒ อมตะ หมายถึงพระนิพพาน (องฺปญฺจก.อ. ๓/๖๑-๖๒/๓๓, องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๔๘-๔๙/๑๘๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๒. สัญญาวรรค ๓. ปฐมวัฑฒิสูตร
๒. ทุติยสัญญาสูตร
ว่าด้วยสัญญา สูตรที่ ๒
[๖๒] ภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๕ ประการนี้ ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว
ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด
สัญญา ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อนิจจสัญญา
๒. อนัตตสัญญา
๓. มรณสัญญา
๔. อาหาเร ปฏิกูลสัญญา
๕. สัพพโลเก อนภิรติสัญญา
ภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๕ ประการนี้แล ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมมี
ผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด
ทุติยสัญญาสูตรที่ ๒ จบ

๓. ปฐมวัฑฒิสูตร
ว่าด้วยธรรมเป็นเหตุเจริญ สูตรที่ ๑
[๖๓] ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกเมื่อเจริญด้วยธรรมเป็นเหตุเจริญ ๕ ประการ
ชื่อว่าย่อมเจริญด้วยธรรมเป็นเหตุเจริญอย่างประเสริฐ ชื่อว่าเป็นผู้ถือเอาสิ่งที่เป็น
สาระ และถือเอาสิ่งที่ประเสริฐแห่งกาย
ธรรมเป็นเหตุเจริญ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ศรัทธา (ความเชื่อ)
๒. ศีล (การรักษากาย วาจา ให้เรียบร้อย)
๓. สุตะ (การสดับฟังหาความรู้)
๔. จาคะ (การเสียสละ)
๕. ปัญญา (ความรอบรู้)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๑๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๒. สัญญาวรรค ๔. ทุติยวัฑฒิสูตร
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกเมื่อเจริญด้วยธรรมเป็นเหตุเจริญ ๕ ประการนี้แล
ชื่อว่าย่อมเจริญด้วยธรรมเป็นเหตุเจริญอย่างประเสริฐ ชื่อว่าเป็นผู้ถือเอาแต่สิ่งที่เป็น
สาระ และถือเอาสิ่งที่ประเสริฐแห่งกาย
อริยสาวกใด เจริญด้วยศรัทธา
ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา
อริยสาวกนั้น เป็นสัตบุรุษ
มีปัญญาเห็นประจักษ์
ชื่อว่าถือเอาแต่สิ่งที่เป็นสาระสำหรับตนไว้ได้
ในโลกนี้ทีเดียว
ปฐมวัฑฒิสูตรที่ ๓ จบ

๔. ทุติยวัฑฒิสูตร
ว่าด้วยธรรมเป็นเหตุเจริญ สูตรที่ ๒
[๖๔] ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวิกาเมื่อเจริญด้วยธรรมเป็นเหตุเจริญ ๕ ประการ
ชื่อว่าย่อมเจริญด้วยธรรมเป็นเหตุเจริญอย่างประเสริฐ ชื่อว่าเป็นผู้ถือเอาสิ่งที่เป็นสาระ
และถือเอาสิ่งที่ประเสริฐแห่งกาย
ธรรมเป็นเหตุเจริญ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ศรัทธา ๒. ศีล
๓. สุตะ ๔. จาคะ
๕. ปัญญา
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวิกาเมื่อเจริญด้วยธรรมเป็นเหตุเจริญ ๕ ประการนี้แล
ชื่อว่าย่อมเจริญด้วยธรรมเป็นเหตุเจริญอย่างประเสริฐ ชื่อว่าเป็นผู้ถือเอาสิ่งที่เป็น
สาระ และถือเอาสิ่งที่ประเสริฐแห่งกาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๒. สัญญาวรรค ๕. สากัจฉสูตร
อริยสาวิกาใด เจริญด้วยศรัทธา
ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา
อริยสาวิกานั้น เป็นผู้มีศีล เป็นอุบาสิกา
ชื่อว่าถือเอาสิ่งที่เป็นสาระสำหรับตนไว้ได้
ในโลกนี้ทีเดียว
ทุติยวัฑฒิสูตรที่ ๔ จบ

๕. สากัจฉสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้ควรสนทนาด้วย
[๖๕] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เป็นผู้สมควร
ที่เพื่อนพรหมจารีทั้งหลายจะสนทนาด้วย
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล และตอบปัญหาที่มาในเรื่องสีลสัมปทาได้
๒. ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ และตอบปัญหาที่มาในเรื่องสมาธิ-
สัมปทาได้
๓. ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา และตอบปัญหาที่มาในเรื่องปัญญา-
สัมปทาได้
๔. ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ และตอบปัญหาที่มาในเรื่องวิมุตติ-
สัมปทาได้
๕. ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ และตอบปัญหาที่มา
ในเรื่องวิมุตติญาณทัสสนสัมปทาได้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นผู้สมควรที่
เพื่อนพรหมจารีทั้งหลายจะสนทนาด้วย
สากัจฉสูตรที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๒. สัญญาวรรค ๖. สาชีวสูตร
๖. สาชีวสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้ควรแก่สาชีพ๑
[๖๖] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เป็นผู้ควรแก่
สาชีพของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล และตอบปัญหาที่ตั้งขึ้นถามในเรื่อง
สีลสัมปทาได้
๒. ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ และตอบปัญหาที่ตั้งขึ้นถามในเรื่อง
สมาธิสัมปทาได้
๓. ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา และตอบปัญหาที่ตั้งขึ้นถามในเรื่อง
ปัญญาสัมปทาได้
๔. ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ และตอบปัญหาที่ตั้งขึ้นถามใน
เรื่องวิมุตติสัมปทาได้
๕. ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ และตอบปัญหาที่ตั้ง
ขึ้นถามในเรื่องวิมุตติญาณทัสสนสัมปทาได้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นผู้ควรแก่สาชีพ
ของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
สาชีวสูตรที่ ๖ จบ

เชิงอรรถ :
๑ สาชีพ ในที่นี้หมายถึงการถามปัญหา และการตอบปัญหา เพราะเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายจะอยู่ร่วมกันได้
ก็ด้วยอาศัยความเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกันมีข้อสงสัยก็ถามกัน แก้ปัญหาให้กัน (องฺ.ปญฺจก.อ.๓/๖๖/๓๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๑๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๒. สัญญาวรรค ๗. ปฐมอิทธิปาทสูตร
๗. ปฐมอิทธิปาทสูตร
ว่าด้วยอิทธิบาท สูตรที่ ๑
[๖๗] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งเจริญทำให้มากซึ่งธรรม
๕ ประการ ภิกษุหรือภิกษุณีรูปนั้นพึงหวังได้ผลอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ อรหัตตผล
ในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ ก็จักเป็นอนาคามี
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญ
๑. อิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร๑
๒. อิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิและปธานสังขาร
๓. อิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิและปธานสังขาร
๔. อิทธิบาทที่ประกอบด้วยวีมังสาสมาธิและปธานสังขาร
๕. ความขะมักเขม้น๒
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งเจริญทำให้มากซึ่งธรรม ๕ ประการ
นี้แล ภิกษุหรือภิกษุณีรูปนั้นพึงหวังได้ผลอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ อรหัตตผลใน
ปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ ก็จักเป็นอนาคามี
ปฐมอิทธิปาทสูตรที่ ๗ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ฉันทสมาธิ หมายถึงสมาธิที่เกิดจากฉันทะ
ปธานสังขาร หมายถึงความเพียรที่มุ่งมั่น วิริยสมาธิ จิตตสมาธิและวีมังสาสมาธิ ก็มีอรรถาธิบายเช่นเดียวกัน
เป็นทั้งโลกิยะและโลกุตตระ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๓๘๙-๔๐๑/๔๔๕)
๒ ความขะมักเขม้น (อุสฺโสฬฺหิ) หมายถึงอธิมัตตวิริยะ (ความเพียรชั้นสูง) (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๖๗-๗๐/๓๓)
และดู องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๙๓/๑๔๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๒. สัญญาวรรค ๘. ทุติยอิทธิปาทสูตร
๘. ทุติยอิทธิปาทสูตร
ว่าด้วยอิทธิบาท สูตรที่ ๒
[๖๘] ภิกษุทั้งหลาย ก่อนจะตรัสรู้ เราเป็นพระโพธิสัตว์ ยังไม่ได้ตรัสรู้
ได้เจริญทำให้มากซึ่งธรรม ๕ ประการ
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
เราได้เจริญ
๑. อิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร
๒. อิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิและปธานสังขาร
๓. อิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิและปธานสังขาร
๔. อิทธิบาทที่ประกอบด้วยวีมังสาสมาธิและปธานสังขาร
๕. ความขะมักเขม้น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะได้เจริญทำให้มากซึ่งธรรมมีความขะมักเขม้นเป็นที่ ๕ นี้
เราจึงได้น้อมจิตไปเพื่อทำให้แจ้งธรรมที่จะพึงทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งใดๆเมื่อมีเหตุ๑
เราจึงบรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ
ถ้าเรานั้นพึงหวังว่า ‘เราพึงแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็น
หลายคนก็ได้ ฯลฯ๒ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้’ เมื่อมีเหตุ เราจึง
บรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ
ถ้าเรานั้นพึงหวังว่า ฯลฯ เราพึงทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มี
อาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน เมื่อมีเหตุ เรา
จึงบรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ๓
ทุติยอิทธิปาทสูตรที่ ๘ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๒๓ (อุปกิเลสสูตร) หน้า ๒๘ ในเล่มนี้
๒ “ฯลฯ” ที่ปรากฏในสูตรนี้ ดูความเต็มในข้อ ๒๓ (อุปกิเลสสูตร) หน้า ๒๘-๓๐ ในเล่มนี้
๓ ในสูตรนี้นอกจากพระองค์จะทรงแสดงอิทธิบาทที่เป็นเหตุให้พระองค์บรรลุปฏิเวธที่ควงไม้โพธิ์แล้ว ยังได้
ทรงแสดงอภิญญา ๔ ประการที่พระองค์บรรลุ เพิ่มเติมอีกด้วย (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๖๗-๗๐/๓๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๑๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๒. สัญญาวรรค ๙. นิพพิทาสูตร
๙. นิพพิทาสูตร๑
ว่าด้วยความเบื่อหน่าย
[๖๙] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง
เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน โดยส่วนเดียว
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นความไม่งามในกายอยู่
๒. กำหนดหมายความปฏิกูลในอาหาร
๓. กำหนดหมายความไม่น่าเพลิดเพลินในโลกทั้งปวง
๔. พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง
๕. เข้าไปตั้งมรณสัญญาไว้ในภายใน
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็น
ไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้
เพื่อนิพพาน โดยส่วนเดียว
นิพพิทาสูตรที่ ๙ จบ

เชิงอรรถ :
๑ นิพพิทาสูตร และอาสวักขยสูตร นี้ พระผู้มีพระภาคตรัสมุ่งถึงวิปัสสนากัมมัฏฐาน (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๖๗-
๗๐/๓๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๒. สัญญาวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
๑๐. อาสวักขยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ทำให้สิ้นอาสวะ
[๗๐] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลาย
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นความไม่งามในกายอยู่
๒. กำหนดหมายความปฏิกูลในอาหาร
๓. กำหนดความไม่น่าเพลิดเพลินในโลกทั้งปวง
๔. พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง
๕. เข้าไปตั้งมรณสัญญาไว้ในภายใน
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป
เพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลาย
อาสวักขยสูตรที่ ๑๐ จบ
สัญญาวรรคที่ ๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมสัญญาสูตร ๒. ทุติยสัญญาสูตร
๓. ปฐมวัฑฒิสูตร ๔. ทุติยวัฑฒิสูตร
๕. สากัจฉสูตร ๖. สาชีวสูตร
๗. ปฐมอิทธิปาทสูตร ๘. ทุติยอิทธิปาทสูตร
๙. นิพพิทาสูตร ๑๐. อาสวักขยสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. โยธาชีวรรค ๑. ปฐมเจโตวิมุตติผลสูตร
๓. โยธาชีววรรค
หมวดว่าด้วยนักรบอาชีพ

๑. ปฐมเจโตวิมุตติผลสูตร
ว่าด้วยธรรมมีเจโตวิมุตติเป็นผล สูตรที่ ๑
[๗๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ที่บุคคล
เจริญทำให้มากแล้ว ย่อมมีเจโตวิมุตติเป็นผล มีเจโตวิมุตติเป็นผลานิสงส์ ย่อมมี
ปัญญาวิมุตติเป็นผล มีปัญญาวิมุตติเป็นผลานิสงส์
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นความไม่งามในกายอยู่
๒. กำหนดหมายความปฏิกูลในอาหาร
๓. กำหนดความไม่น่าเพลิดเพลินในโลกทั้งปวง
๔. พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง
๕. เข้าไปตั้งมรณสัญญาไว้ในภายใน
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมมี
เจโตวิมุตติเป็นผล มีเจโตวิมุตติเป็นผลานิสงส์ ย่อมมีปัญญาวิมุตติเป็นผล
มีปัญญาวิมุตติเป็นผลานิสงส์
เมื่อใด ภิกษุมีเจโตวิมุตติ และปัญญาวิมุตติ เมื่อนั้น ภิกษุนี้เราเรียกว่า
‘เป็นผู้ถอนลิ่มสลักขึ้นได้’ บ้าง ว่า ‘เป็นผู้รื้อเครื่องแวดล้อมได้’ บ้าง ว่า ‘เป็นผู้ถอน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๑๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. โยธาชีวรรค ๑. ปฐมเจโตวิมุตติผลสูตร
เสาระเนียดขึ้นได้’ บ้าง ว่า ‘เป็นผู้ถอดกลอนออกได้’ บ้าง ว่า ‘เป็นผู้ไกลจากข้าศึก
ปลดธงลงได้ ปลงภาระลงได้๑ ไม่ประกอบด้วยวัฏฏะ’ บ้าง
ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถอนลิ่มสลักขึ้นได้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละอวิชชาได้หมดสิ้น ตัดรากถอนโคน เหมือน
ต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ภิกษุ
ชื่อว่าเป็นผู้ถอนลิ่มสลักขึ้นได้ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้รื้อเครื่องแวดล้อมได้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละชาติสงสารซึ่งเป็นเหตุให้เกิดในภพใหม่ได้หมดสิ้น
ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี
เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้รื้อเครื่องแวดล้อมได้ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถอนเสาระเนียดขึ้นได้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละตัณหาได้หมดสิ้น ตัดรากถอนโคน เหมือน
ต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ภิกษุ
ชื่อว่าเป็นผู้ถอนเสาระเนียดขึ้นได้ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถอดกลอนออกได้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ (สังโยชน์เบื้องต่ำ) ๕
ประการได้หมดสิ้น ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว
เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถอดกลอนออกได้
เป็นอย่างนี้แล

เชิงอรรถ :
๑ ธง ในที่นี้หมายถึงมานะ(ความถือตัว) ภาระ ในที่นี้หมายถึงขันธมาร(มารคือขันธ์ ๕) อภิสังขารมาร(มารคือ
อภิสังขาร = เครื่องปรุงแต่งกรรม) และกิเลสมาร(มารคือกิเลส) (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๗๑/๓๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๒๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. โยธาชีวรรค ๒. ทุติยเจโตวิมุตติผลสูตร
ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ไกลจากข้าศึก ปลดธงลงได้ ปลงภาระลงได้ ไม่ประกอบ
ด้วยวัฏฏะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละอัสมิมานะ๑ได้หมดสิ้น ตัดรากถอนโคน
เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไป
ไม่ได้ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ไกลจากข้าศึก ปลดธงลงได้ ปลงภาระลงได้
ไม่ประกอบด้วยวัฏฏะ เป็นอย่างนี้แล
ปฐมเจโตวิมุตติผลสูตรที่ ๑ จบ

๒. ทุติยเจโตวิมุตติผลสูตร
ว่าด้วยธรรมมีเจโตวิมุตติเป็นผล สูตรที่ ๒
[๗๒] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว
ย่อมมีเจโตวิมุตติเป็นผล มีเจโตวิมุตติเป็นผลานิสงส์ ย่อมมีปัญญาวิมุตติเป็นผล
มีปัญญาวิมุตติเป็นผลานิสงส์
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อนิจจสัญญา (กำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร)
๒. อนิจเจ ทุกขสัญญา (กำหนดหมายความเป็นทุกข์ในความไม่เที่ยง
แห่งสังขาร)
๓. ทุกเข อนัตตสัญญา (กำหนดหมายความเป็นอนัตตาในความเป็นทุกข์)

เชิงอรรถ :
๑ อัสมิมานะ หมายถึงความถือตัวว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ มี ๙ ประการ คือ (๑) เป็นผู้เลิศกว่าเขาถือตัวว่า
เลิศกว่าเขา (๒) เป็นผู้เลิศกว่าเขาถือตัวว่าเสมอเขา (๓) เป็นผู้เลิศว่าเขาถือตัวว่าด้อยกว่าเขา (๔) เป็นผู้
เสมอเขาถือตัวว่าเลิศกว่าเขา (๕) เป็นผู้เสมอเขาถือตัวว่าเสมอเขา (๖) เป็นผู้เสมอเขาถือตัวว่าด้อยกว่าเขา
(๗) เป็นผู้ด้อยกว่าเขาถือตัวว่าเลิศกว่าเขา (๘) เป็นผู้ด้อยกว่าเขาถือตัวว่าเสมอเขา (๙) เป็นผู้ด้อยกว่า
เขาถือตัวว่าด้อยกว่าเขา (ตามนัย องฺ.เอกก.อ. ๑/๕๗๔/๔๗๓) และดู ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑๗๘/๕๐๘, อภิ.วิ.
(แปล) ๓๕/๙๖๒/๖๑๖-๖๑๗
แต่ในที่นี้หมายถึงความสำคัญ ความพอใจ ความเข้าใจว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ
เป็น ‘เรา’ (องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๗๑-๗๒/๓๔) และดู อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๘๘๓/๕๕๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๒๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. โยธาชีวรรค ๒. ทุติยเจโตวิมูตติผลสูตร
๔. ปหานสัญญา(กำหนดหมายเพื่อละอกุศลวิตกและบาปธรรมทั้งหลาย)
๕. วิราคสัญญา (กำหนดหมายวิราคะว่าเป็นธรรมละเอียดประณีต)
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมมี
เจโตวิมุตติเป็นผล มีเจโตวิมุตติเป็นผลานิสงส์ ย่อมมีปัญญาวิมุตติเป็นผล มีปัญญา-
วิมุตติเป็นผลานิสงส์
เมื่อใด ภิกษุมีเจโตวิมุตติ และปัญญาวิมุตติ เมื่อนั้น ภิกษุนี้เราเรียกว่า ‘เป็นผู้
ถอนลิ่มสลักขึ้นได้’ บ้าง ว่า ‘เป็นผู้รื้อเครื่องแวดล้อมได้’ บ้าง ว่า ‘เป็นผู้ถอนเสาระ
เนียดขึ้นได้’ บ้าง ว่า ‘เป็นผู้ถอดกลอนออกได้’ บ้าง ว่า ‘เป็นผู้ไกลจากข้าศึก
ปลดธงลงได้ ปลงภาระลงได้ ไม่ประกอบด้วยวัฏฏะ’ บ้าง
ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถอนลิ่มสลักขึ้นได้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละอวิชชาได้หมดสิ้น ตัดรากถอนโคน เหมือน
ต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ภิกษุ
ชื่อว่าเป็นผู้ถอนลิ่มสลักขึ้นได้ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้รื้อเครื่องแวดล้อมได้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละชาติสงสารซึ่งเป็นเหตุให้เกิดในภพใหม่ได้หมดสิ้น
ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี
เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้รื้อเครื่องแวดล้อมได้ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถอนเสาระเนียดขึ้นได้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละตัณหาได้หมดสิ้น ตัดรากถอนโคน เหมือน
ต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ภิกษุ
ชื่อว่าเป็นผู้ถอนเสาระเนียดขึ้นได้ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถอดกลอนออกได้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการได้หมดสิ้น
ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี
เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถอดกลอนออกได้ เป็นอย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. โยธาชีวรรค ๓. ปฐมธัมมวิหารีสูตร
ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ไกลจากข้าศึก ปลดธงลงได้ ปลงภาระลงได้ ไม่ประกอบ
ด้วยวัฏฏะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละอัสมิมานะได้หมดสิ้น ตัดรากถอนโคน เหมือน
ต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ไกลจากข้าศึก ปลดธงลงได้ ปลงภาระลงได้ ไม่ประกอบ
ด้วยวัฏฏะ เป็นอย่างนี้แล
ทุติยเจโตวิมุตติผลสูตรที่ ๒ จบ

๓. ปฐมธัมมวิหารีสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้อยู่ด้วยธรรม สูตรที่ ๑
[๗๓] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า ‘ผู้อยู่ด้วยธรรม ผู้อยู่ด้วยธรรม’ ภิกษุ
ชื่อว่าเป็นผู้อยู่ด้วยธรรม ด้วยเหตุเท่าไรหนอ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา
อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม และเวทัลละ เธอปล่อยให้
วันคืนล่วงเลยไป ละการหลีกเร้นอยู่ ไม่ประกอบความสงบใจภายใน
เพราะการเรียนธรรมนั้น ภิกษุนี้เราเรียกว่าเป็นผู้มากด้วยการเรียน
ธรรม ไม่เรียกว่าเป็นผู้อยู่ด้วยธรรม
๒. ภิกษุในธรรมวินัยนี้แสดงธรรมตามที่ตนได้สดับมา ตามที่ตนได้
เรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร เธอปล่อยให้วันคืนล่วงเลยไป ละการ
หลีกเร้นอยู่ ไม่ประกอบความสงบใจภายใน เพราะการแสดงธรรมนั้น
ภิกษุนี้เราเรียกว่าเป็นผู้มากด้วยการแสดงธรรม ไม่เรียกว่าเป็นผู้อยู่
ด้วยธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. โยธาชีวรรค ๓. ปฐมธัมมวิหารีสูตร
๓. ภิกษุในธรรมวินัยนี้สาธยายธรรมตามที่ตนได้สดับมา ตามที่ตนได้
เรียนมา แก่ผู้อื่นโดยพิสดาร เธอปล่อยให้วันคืนล่วงเลยไป ละการ
หลีกเร้นอยู่ ไม่ประกอบความสงบใจภายใน เพราะการสาธยายธรรมนั้น
ภิกษุนี้เราเรียกว่าเป็นผู้มากด้วยการสาธยายธรรม ไม่เรียกว่าเป็นผู้
อยู่ด้วยธรรม
๔. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ตรึกตาม ตรองตาม เพ่งตามด้วยใจซึ่งธรรม
ตามที่ตนได้สดับมา ตามที่ตนได้เรียนมา เธอปล่อยให้วันคืนล่วง
เลยไป ละการหลีกเร้นอยู่ ไม่ประกอบความสงบใจภายใน เพราะ
การตรึกตามธรรมนั้น ภิกษุนี้เราเรียกว่าเป็นผู้มากด้วยการตรึกธรรม
ไม่เรียกว่าเป็นผู้อยู่ด้วยธรรม
๕. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา
อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม และเวทัลละ เธอไม่ปล่อย
ให้วันคืนล่วงเลยไป ไม่ละการหลีกเร้นอยู่ ตามประกอบความสงบใจ
ภายใน เพราะการเรียนธรรมนั้น ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้อยู่ด้วยธรรม
อย่างนี้แล
เราแสดงภิกษุผู้มากด้วยการเรียนธรรม ผู้มากด้วยการแสดงธรรม ผู้มากด้วย
การสาธยายธรรม ผู้มากด้วยการตรึกธรรม ผู้อยู่ด้วยธรรม ด้วยประการฉะนี้แล ภิกษุ
กิจใดที่ศาสดาผู้หวังประโยชน์เกื้อกูล อนุเคราะห์ อาศัยความเอ็นดู พึงทำแก่สาวก
ทั้งหลาย กิจนั้น เราได้ทำแล้วแก่เธอทั้งหลาย ภิกษุ นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง๑ เธอจง
เพ่ง๒ อย่าประมาท อย่าเป็นผู้มีวิปปฏิสาร(ความร้อนใจ)ในภายหลังเลย นี้เป็น
อนุสาสนีของเราเพื่อเธอทั้งหลาย
ปฐมธัมมวิหารีสูตรที่ ๓ จบ

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง นี้ พระผู้มีพระภาคตรัสมอบมรดก คือเสนาสนะ หรือสถานที่ที่สงัด
ปราศจากคน เหมาะแก่การบำเพ็ญความเพียรแก่ภิกษุ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๗๓/๓๖)
๒ เพ่ง ในที่นี้หมายถึงเจริญสมถกัมมัฏฐานโดยเพ่งอารมณ์กัมมัฏฐาน ๓๘ ประการ และเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน
โดยเพ่งขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ เป็นต้น ว่าเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นต้น (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๗๓/๓๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๒๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. โยธาชีวรรค ๔. ปฐมธัมมวิหารีสูตร
๔. ทุติยธัมมวิหารีสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้อยู่ด้วยธรรม สูตรที่ ๒
[๗๔] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า ‘ผู้อยู่ด้วยธรรม ผู้อยู่ด้วยธรรม’ ภิกษุ
ชื่อว่าเป็นผู้อยู่ด้วยธรรม ด้วยเหตุเท่าไรหนอ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา
อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม และเวทัลละ เธอย่อมไม่
ทราบเนื้อความของธรรมนั้นที่ยิ่งขึ้นไปด้วยปัญญา ภิกษุนี้เราเรียก
ว่าเป็นผู้มากด้วยการเรียนธรรม ไม่เรียกว่าเป็นผู้อยู่ด้วยธรรม
ฯลฯ๑
๕. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา
อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม และเวทัลละ เธอทราบ
เนื้อความของธรรมนั้นที่ยิ่งขึ้นไปด้วยปัญญา ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้อยู่
ด้วยธรรม อย่างนี้แล
ภิกษุ ฯลฯ นี้เป็นอนุสาสนีของเราเพื่อเธอทั้งหลาย
ทุติยธัมมวิหารีสูตรที่ ๔ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มในข้อ ๗๓ (ปฐมธัมมวิหารีสูตร)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. โยธาชีวรรค ๕. ปฐมโยธาชีวสูตร
๕. ปฐมโยธาชีวสูตร
ว่าด้วยนักรบอาชีพ สูตรที่ ๑
[๗๕] ภิกษุทั้งหลาย นักรบอาชีพ ๕ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
นักรบอาชีพ ๕ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. นักรบอาชีพบางคนในโลกนี้ พอเห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นเท่านั้น ก็หยุดนิ่ง
หวั่นไหว ไม่สามารถเข้าสู่สมรภูมิได้ นักรบอาชีพบางคนแม้เช่นนี้
ก็มีอยู่ในโลกนี้ นี้คือนักรบอาชีพจำพวกที่ ๑ ซึ่งมีปรากฏอยู่ในโลก
๒. นักรบอาชีพบางคนในโลกนี้ แม้เห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นก็อดทนได้ แต่พอ
เห็นยอดธงของข้าศึกเท่านั้นก็หยุดนิ่ง หวั่นไหว ไม่สามารถเข้าสู่
สมรภูมิได้ นักรบอาชีพบางคนแม้เช่นนี้ก็มีอยู่ในโลกนี้ นี้คือนัก
รบอาชีพจำพวกที่ ๒ ซึ่งมีปรากฏอยู่ในโลก
๓. นักรบอาชีพบางคนในโลกนี้ แม้เห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นก็อดทนได้ แม้เห็น
ยอดธงของข้าศึกก็อดทนได้ แต่พอได้ยินเสียงกึกก้องของข้าศึก
เท่านั้น ก็หยุดนิ่ง หวั่นไหว ไม่สามารถเข้าสู่สมรภูมิได้ นักรบ
อาชีพบางคนแม้เช่นนี้ก็มีอยู่ในโลกนี้ นี้คือนักรบอาชีพจำพวกที่ ๓
ซึ่งมีปรากฏอยู่ในโลก
๔. นักรบอาชีพบางคนในโลกนี้ แม้เห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นก็อดทนได้ แม้
เห็นยอดธงของข้าศึกก็อดทนได้ แม้ได้ยินเสียงกึกก้องของข้าศึกก็
อดทนได้ แต่หวาดสะดุ้งต่อการประหารของข้าศึก นักรบอาชีพ
บางคน แม้เช่นนี้ ก็มีอยู่ในโลกนี้ นี้คือนักรบอาชีพจำพวกที่ ๔
ซึ่งมีปรากฏอยู่ในโลก
๕. นักรบอาชีพบางคนในโลกนี้ แม้เห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นก็อดทนได้ แม้เห็นยอด
ธงของข้าศึกก็อดทนได้ แม้ได้ยินเสียงกึกก้องของข้าศึกก็อดทนได้
อดทนต่อการประหารของข้าศึกได้ เขาชนะสงครามนั้นแล้ว เป็นผู้
พิชิตสงคราม ยึดครองค่ายสงครามนั้นไว้ได้ นักรบอาชีพบางคน
แม้เช่นนี้ก็มีอยู่ในโลกนี้ นี้คือนักรบอาชีพจำพวกที่ ๕ ซึ่งมีปรากฏ
อยู่ในโลก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. โยธาชีวรรค ๕. ปฐมโยธาชีวสูตร
ภิกษุทั้งหลาย นักรบอาชีพ ๕ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพ ๕ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ใน
ภิกษุทั้งหลายก็ฉันนั้นเหมือนกัน
บุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพ ๕ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้พอเห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นเท่านั้น ก็หยุดนิ่ง๑ หวั่นไหว
ไม่สามารถสืบต่อพรหมจรรย์ได้ เปิดเผยความท้อแท้ในสิกขา
บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์ อะไรชื่อว่าฝุ่นฟุ้งขึ้นสำหรับเธอ
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้ฟังว่า ในบ้านหรือนิคมโน้น มีหญิงหรือ
หญิงสาวรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส มีฉวีวรรณผุดผ่องยิ่งนัก เธอได้
ฟังดังนั้นแล้ว ก็หยุดนิ่ง หวั่นไหว ไม่สามารถสืบต่อพรหมจรรย์ได้
เปิดเผยความท้อแท้ในสิกขา บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์
นี้ชื่อว่าฝุ่นฟุ้งขึ้นสำหรับเธอ
เรากล่าวว่า ภิกษุนี้เปรียบเหมือนนักรบอาชีพที่พอเห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นเท่านั้น ก็หยุดนิ่ง
หวั่นไหว ไม่สามารถเข้าสู่สมรภูมิได้ บุคคลบางคนแม้เช่นนี้ก็มีอยู่ในธรรมวินัยนี้ นี้คือ
บุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพจำพวกที่ ๑ ซึ่งมีปรากฏอยู่ในภิกษุทั้งหลาย
๒. ภิกษุในธรรมวินัยนี้แม้เห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นก็อดทนได้ แต่พอเห็นยอดธง
ของข้าศึกเท่านั้น ก็หยุดนิ่ง หวั่นไหว ไม่สามารถสืบต่อพรหมจรรย์ได้
เปิดเผยความท้อแท้ในสิกขา บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์
อะไรชื่อว่ายอดธงของข้าศึกสำหรับเธอ คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ไม่ได้ฟังว่า ในบ้านหรือนิคมชื่อโน้น มีหญิงหรือหญิงสาวรูปงาม
น่าดู น่าเลื่อมใส มีฉวีวรรณผุดผ่องยิ่งนัก แต่เธอได้เห็นด้วยตนเอง
ครั้นเห็นแล้ว ก็หยุดนิ่ง หวั่นไหว ไม่สามารถสืบต่อพรหมจรรย์ได้
เปิดเผยความท้อแท้ในสิกขา บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์
นี้ชื่อว่ายอดธงข้าศึกสำหรับเธอ

เชิงอรรถ :
๑ หยุดนิ่ง ในที่นี้หมายถึงจมดิ่งในมิจฉาวิตก(ความตรึกผิด) (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๗๕/๓๗) และดู องฺ.ติก. (แปล)
๒๐/๑๒๕/๓๗๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. โยธาชีวรรค ๕. ปฐมโยธาชีวสูตร
เรากล่าวว่าภิกษุนี้เปรียบเหมือนนักรบอาชีพที่เห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นก็อดทนได้ แต่พอ
เห็นยอดธงของข้าศึกเท่านั้น ก็หยุดนิ่ง หวั่นไหว ไม่สามารถเข้าสู่สมรภูมิได้ บุคคล
บางคนแม้เช่นนี้ก็มีอยู่ในธรรมวินัยนี้ นี้คือบุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพจำพวก
ที่ ๒ ซึ่งมีปรากฏอยู่ในภิกษุทั้งหลาย
๓. ภิกษุในธรรมวินัยนี้แม้เห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นก็อดทนได้ แม้เห็นยอดธงของ
ข้าศึกก็อดทนได้ แต่พอได้ยินเสียงกึกก้องของข้าศึกเท่านั้น ก็หยุดนิ่ง
หวั่นไหว ไม่สามารถสืบต่อพรหมจรรย์ได้ เปิดเผยความท้อแท้ใน
สิกขา บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์ อะไรชื่อว่าเสียงกึกก้อง
ของข้าศึกสำหรับเธอ คือ มาตุคามเข้าไปหาภิกษุในธรรมวินัยนี้
ผู้ไปสู่ป่า ไปสู่โคนไม้ หรือไปสู่เรือนว่าง แล้วยิ้มแย้ม ปราศรัย
กระซิกกระซี้ ยั่วยวน เธอถูกมาตุคามยิ้มแย้ม ปราศรัย กระซิก-
กระซี้ ยั่วยวนอยู่ ก็หยุดนิ่ง หวั่นไหว ไม่สามารถสืบต่อพรหมจรรย์ได้
เปิดเผยความท้อแท้ในสิกขา บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์ นี้
ชื่อว่าเสียงกึกก้องของข้าศึกสำหรับเธอ
เรากล่าวว่าภิกษุนี้เปรียบเหมือนนักรบอาชีพที่แม้เห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นก็อดทนได้ แม้เห็น
ยอดธงของข้าศึกก็อดทนได้ แต่พอได้ยินเสียงกึกก้องของข้าศึกเท่านั้น ก็หยุดนิ่ง
หวั่นไหว ไม่สามารถเข้าสู่สมรภูมิได้ บุคคลบางคนแม้เช่นนี้ก็มีอยู่ในธรมวินัยนี้
นี้คือบุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพจำพวกที่ ๓ ซึ่งมีปรากฏอยู่ในภิกษุทั้งหลาย
๔. ภิกษุในธรรมวินัยนี้แม้เห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นก็อดทนได้ แม้เห็นยอดธงของ
ข้าศึกก็อดทนได้ แม้ได้ยินเสียงกึกก้องของข้าศึกก็อดทนได้ แต่
หวาดสะดุ้งต่อการประหารของข้าศึก อะไรชื่อว่าการประหารสำหรับ
ข้าศึกของเธอ คือ มาตุคามเข้าไปหาภิกษุในธรรมวินัยนี้ผู้ไปสู่ป่า
ไปสู่โคนไม้ หรือไปสู่เรือนว่าง แล้วนั่งทับ๑ นอนทับ ข่มขืน เธอถูก
มาตุคามนั่งทับ นอนทับ ข่มขืนอยู่ ไม่บอกคืนสิกขา ไม่เปิดเผย

เชิงอรรถ :
๑ นั่งทับ ในที่นี้หมายถึงใช้ทวารหนักและทวารเบานั่งทับองคชาตของภิกษุ อรรถกถาอธิบายว่า อิตฺถิยา
วจฺจมคฺเคน ตสฺส ภิกฺขุโน องฺคชาตํ อภินิสีเทนฺติ แปลว่า ให้องคชาตของภิกษุนั้นสอดเข้าไปทางทวารหนัก
ของหญิง (วิ.อ.๑/๕๘/๒๘๐) และดู วิ.มหา. (แปล) ๑/๕๘-๕๙/๔๕-๔๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. โยธาชีวรรค ๕. ปฐมโยธาชีวสูตร
ความท้อแท้๑ เสพเมถุนธรรม๒ นี้ชื่อว่าการประหารของข้าศึก
สำหรับเธอ
เรากล่าวว่าภิกษุนี้เปรียบเหมือนนักรบอาชีพที่แม้เห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นก็อดทนได้ แม้
เห็นยอดธงของข้าศึกก็อดทนได้ แม้ได้ยินเสียงกึกก้องของข้าศึกก็อดทนได้ แต่หวาด
สะดุ้งต่อการประหารของข้าศึก บุคคลบางคนแม้เช่นนี้ก็มีอยู่ในธรรมวินัยนี้ นี้คือ
บุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพจำพวกที่ ๔ ซึ่งมีปรากฏอยู่ในภิกษุทั้งหลาย
๕. ภิกษุในธรรมวินัยนี้แม้เห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นก็อดทนได้ แม้เห็นยอดธงของ
ข้าศึกก็อดทนได้ แม้ได้ยินเสียงกึกก้องของข้าศึกก็อดทนได้ อดทน
ต่อการประหารของข้าศึกได้ ชนะสงครามแล้ว เป็นผู้พิชิตสงคราม
ยึดค่ายสงครามนั้นไว้ได้ อะไรชื่อว่าชัยชนะในสงครามสำหรับเธอ
คือ มาตุคามเข้าไปหาภิกษุในธรรมวินัยนี้ผู้ไปสู่ป่า ไปสู่โคนไม้ หรือ
ไปสู่เรือนว่าง แล้วนั่งทับ นอนทับ ข่มขืน เธอถูกมาตุคามนั่งทับ
นอนทับ ข่มขืนอยู่ ไม่พัวพัน แต่ปลดเปลื้อง หลีกออกได้ แล้วหลีก
ไปตามความประสงค์ เธอพักอยู่ ณ เสนาสนะอันเงียบสงัด คือ ป่า
โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าทึบ๓ ที่แจ้ง ลอมฟาง เธอไปสู่ป่า
ไปสู่โคนไม้ หรือไปสู่เรือนว่าง นั่งคู้บัลลังก์๔ ตั้งกายตรง ดำรง
สติไว้เฉพาะหน้า๕ ละอภิชฌา(ความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา)ในโลก๖
มีใจปราศจากอภิชฌาอยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอภิชฌา ละความ
มุ่งร้ายคือพยาบาท มีจิตไม่พยาบาท มุ่งประโยชน์เกื้อกูลสรรพสัตว์
อยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความมุ่งร้ายคือพยาบาท ละถีนมิทธะ
(ความหดหู่และความเซื่องซึม) ปราศจากถีนมิทธะ กำหนด

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๕๕ (มาตาปุตตสูตร) หน้า ๙๕ ในเล่มนี้
๒ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๕๕ (มาตาปุตตสูตร) หน้า ๙๕ ในเล่มนี้
๓ ป่าทึบ หมายถึงป่าที่ไม่มีผู้คนอยู่อาศัย เลยเขตหมู่บ้านไป (องฺ.ทุก.อ. ๒/๓๑/๓๐)
๔ นั่งคู้บัลลังก์ หมายถึงนั่งพับขาเข้าหากันทั้ง ๒ ข้าง เรียกว่า นั่งขัดสมาธิ (วิ.อ. ๑/๑๖๕/๔๔๕)
๕ ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า หมายถึงตั้งสติกำหนดอารมณ์กัมมัฏฐาน (วิ.อ. ๑/๑๖๕/๔๔๕)
๖ โลก ในที่นี้หมายถึงสภาวะที่ต้องแตกสลาย กล่าวคือ อุปาทานขันธ์ ๕ ได้แก่ ความถือมั่นรูป เวทนา
สัญญา สังขาร และวิญญาณ ว่าเป็นอัตตาอันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ (ที.สี.อ. ๒๑๗/๑๙๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. โยธาชีวรรค ๕. ปฐมโยธาชีวสูตร
แสงสว่าง มีสติสัมปชัญญะอยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะ
ละอุทธัจจกุกกุจจะ(ความฟุ้งซ่านและรำคาญใจ) เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน
มีจิตสงบภายใน ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะ ละวิจิกิจฉา
(ความลังเลสงสัย) ข้ามพ้นวิจิกิจฉาได้แล้ว ไม่มีวิจิกิจฉาในกุศลธรรมอยู่
ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉา เธอละนิวรณ์ ๕ ประการนี้ ซึ่งเป็น
เครื่องเศร้าหมองใจ ทอนกำลังปัญญาแล้ว สงัดจากกาม ฯลฯ
บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุขมีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่
เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน๑ปราศจาก
ความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว
อย่างนี้ เธอน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ รู้ชัดตามความเป็นจริง
ว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’
เมื่อเธอรู้ เห็นอยู่อย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ
และอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า
‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว๒ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว
ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ นี้ชื่อว่าชัยชนะในสงคราม
สำหรับเธอ
เรากล่าวว่าภิกษุนี้เปรียบเหมือนนักรบอาชีพที่แม้เห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นก็อดทนได้ แม้เห็น
ยอดธงของข้าศึกก็อดทนได้ แม้ได้ยินเสียงกึกก้องของข้าศึกก็อดทนได้ อดทนต่อการ
ประหารของข้าศึกได้ เขาชนะสงครามนั้นแล้ว เป็นผู้พิชิตสงคราม ยึดค่ายสงคราม
นั้นไว้ได้ บุคคลบางคนแม้เช่นนี้ก็มีอยู่ในธรรมวินัยนี้ นี้คือบุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบ
อาชีพจำพวกที่ ๕ ซึ่งมีปรากฏอยู่ในภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพ ๕ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ใน
ภิกษุทั้งหลาย
ปฐมโยธาชีวสูตรที่ ๕ จบ

เชิงอรรถ :
๑ กิเลส คือ ราคะ โทสะ และโมหะ ท่านเรียกว่ากิเลสเพียงดังเนิน (อังคณะ) เพราะยังจิตให้ลาดต่ำโน้มเอียง
ไปสู่ที่ต่ำเช่น ต้องย้อนกลับไปสู่จตุตถฌานอีกเป็นต้น ดู อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๒๔/๕๗๘
๒ อยู่จบพรหมจรรย์ หมายถึงกิจแห่งการปฏิบัติเพื่อทำลายอาสวกิเลสจบสิ้นสมบูรณ์แล้ว ไม่มีกิจที่จะต้องทำ
เพื่อตนเอง แต่ยังมีหน้าที่เพื่อผู้อื่นอยู่ ผู้บรรลุถึงขั้นนี้ ได้ชื่อว่า อเสขบุคคล (เทียบ ที.สี.อ. ๒๔๘/๒๐๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. โยธาชีวรรค ๖. ทุติยโยธาชีวสูตร
๖. ทุติยโยธาชีวสูตร
ว่าด้วยนักรบอาชีพ สูตรที่ ๒
[๗๖] ภิกษุทั้งหลาย นักรบอาชีพ ๕ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
นักรบอาชีพ ๕ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. นักรบอาชีพบางคนในโลกนี้ถือดาบและโล่ ผูกสอดธนูและแล่งแล้ว
เข้าสู่สมรภูมิ เขาขะมักเขม้นพยายามรบในสมรภูมินั้น พวกข้าศึก
ฆ่าเขาตายทำลายเขาได้ นักรบอาชีพบางคนแม้เช่นนี้ ก็มีอยู่ใน
โลกนี้ นี้คือนักรบอาชีพจำพวกที่ ๑ ซึ่งมีปรากฏอยู่ในโลก
๒. นักรบอาชีพบางคนในโลกนี้ถือดาบและโล่ ผูกสอดธนูและแล่งแล้ว
เข้าสู่สมรภูมิ เขาขะมักเขม้นพยายามรบในสมรภูมินั้น พวกข้าศึก
ทำร้ายเขาให้บาดเจ็บ พวกของเขานำเขาออกมาส่งให้ถึงหมู่ญาติ
เขากำลังถูกนำไปอยู่ ยังไม่ทันถึงหมู่ญาติ ก็เสียชีวิตในระหว่างทาง
นักรบอาชีพบางคนแม้เช่นนี้ก็มีอยู่ในโลกนี้ นี้คือนักรบอาชีพจำพวก
ที่ ๒ ซึ่งมีปรากฏอยู่ในโลก
๓. นักรบอาชีพบางคนในโลกนี้ถือดาบและโล่ ผูกสอดธนูและแล่งแล้ว
เข้าสู่สมรภูมิ เขาขะมักเขม้นพยายามรบในสมรภูมินั้น พวกข้าศึก
ทำร้ายเขาให้บาดเจ็บ พวกของเขานำเขาออกมาส่งให้ถึงหมู่ญาติ
หมู่ญาติย่อมพยาบาลรักษา เขาอันหมู่ญาติพยาบาลรักษาอยู่
แต่เสียชีวิตด้วยอาการบาดเจ็บนั้นนั่นเอง นักรบอาชีพบางคนแม้
เช่นนี้ก็มีอยู่ในโลกนี้ นี้เป็นนักรบอาชีพจำพวกที่ ๓ ซึ่งมีปรากฏ
อยู่ในโลก
๔. นักรบอาชีพบางคนในโลกนี้ถือดาบและโล่ ผูกสอดธนูและแล่งแล้ว
เข้าสู่สมรภูมิ เขาขะมักเขม้นพยายามรบในสมรภูมินั้น พวกข้าศึก
ทำร้ายเขาให้บาดเจ็บ พวกของเขานำเขาออกมาส่งให้ถึงหมู่ญาติ
หมู่ญาติพยาบาลรักษา เขาอันหมู่ญาติพยาบาลรักษาอยู่ก็หายจาก
อาการบาดเจ็บนั้น นักรบอาชีพบางคนแม้เช่นนี้ ก็มีอยู่ในโลกนี้ นี้เป็น
นักรบอาชีพจำพวกที่ ๔ ซึ่งมีปรากฏอยู่ในโลก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. โยธาชีวรรค ๖. ทุติยโยธาชีวสูตร
๕. นักรบอาชีพบางคนในโลกนี้ถือดาบและโล่ ผูกสอดธนูและแล่งแล้ว
เข้าสู่สมรภูมิ เขาชนะสงครามนั้นแล้ว เป็นผู้พิชิตสงคราม ยึดค่าย
สงครามนั้นไว้ได้ นักรบอาชีพบางคนแม้เช่นนี้ก็มีอยู่ในโลกนี้ นี้เป็น
นักรบอาชีพจำพวกที่ ๕ ซึ่งมีปรากฏอยู่ในโลก
ภิกษุทั้งหลาย นักรบอาชีพ ๕ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก ฉันใด
บุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพ ๕ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในภิกษุทั้งหลาย
ฉันนั้นเหมือนกัน
บุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพ ๕ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าไปอาศัยหมู่บ้านหรือนิคมบางแห่งอยู่ เวลา
เช้า เธอครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร เข้าไปยังหมู่บ้านหรือ
นิคมนั้นเพื่อบิณฑบาต ไม่รักษากาย ไม่รักษาวาจา ไม่รักษาจิต
มีสติไม่ตั้งมั่น ไม่สำรวมอินทรีย์ เธอได้เห็นมาตุคามนุ่งห่มไม่
เรียบร้อยในหมู่บ้านหรือในนิคมนั้น เพราะเห็นมาตุคามนุ่งห่มไม่
เรียบร้อยนั้น ราคะ(ความกำหนัด) จึงรบกวนจิตของเธอ เธอถูก
ราคะรบกวนจิตแล้ว ไม่บอกคืนสิกขา ไม่เปิดเผยความท้อแท้ เสพ
เมถุนธรรม
เรากล่าวว่าภิกษุนี้เปรียบเหมือนนักรบอาชีพนั้นถือดาบและโล่ ผูกสอดธนูและ
แล่งแล้วเข้าสู่สมรภูมิ เขาขะมักเขม้นพยายามรบในสมรภูมินั้น พวกข้าศึกฆ่าเขาตาย
ทำลายเขาได้ บุคคลบางคนแม้เช่นนี้ก็มีปรากฏอยู่ในธรรมวินัยนี้ นี้คือบุคคลผู้
เปรียบด้วยนักรบอาชีพจำพวกที่ ๑ ซึ่งมีปรากฏอยู่ในภิกษุทั้งหลาย
๒. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าไปอาศัยหมู่บ้านหรือนิคมบางแห่งอยู่ เวลาเช้า
เธอครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังหมู่บ้านหรือนิคมนั้น
เพื่อบิณฑบาต ไม่รักษากาย ไม่รักษาวาจา ไม่รักษาจิต มีสติไม่
ตั้งมั่น ไม่สำรวมอินทรีย์ เธอได้เห็นมาตุคามนุ่งห่มไม่เรียบร้อย ใน
หมู่บ้านหรือในนิคมนั้น เพราะเห็นมาตุคามนุ่งห่มไม่เรียบร้อยนั้น
ราคะจึงรบกวนจิตของเธอ เธอถูกราคะรบกวนจิตแล้วจึงมีกายเร่าร้อน
มีใจเร่าร้อน มีความคิดอย่างนี้ว่า “ทางที่ดี เราควรจะไปอาราม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๓๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. โยธาชีวรรค ๖. ทุติยโยธาชีวสูตร
บอกพวกภิกษุว่า ‘ผู้มีอายุ ผมถูกราคะกลุ้มรุม ถูกราคะครอบงำแล้ว
ไม่สามารถสืบต่อพรหมจรรย์ได้ จักเปิดเผยความท้อแท้ในสิกขา
บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์” เธอกำลังเดินไปยังอาราม ยัง
ไม่ทันถึงอาราม ก็เปิดเผยความท้อแท้ในสิกขา บอกคืนสิกขากลับ
มาเป็นคฤหัสถ์ในระหว่างทาง
เรากล่าวว่าภิกษุนี้เปรียบเหมือนนักรบอาชีพนั้นถือดาบและโล่ ผูกสอดธนู
และแล่งแล้วเข้าสู่สมรภูมิ เขาขะมักเขม้นพยายามรบในสมรภูมินั้น พวกข้าศึก
ทำร้ายเขาให้บาดเจ็บ พวกของเขานำเขาออกมาส่งให้ถึงหมู่ญาติ เขากำลังถูกนำ
ไปอยู่ ยังไม่ทันถึงหมู่ญาติ ก็เสียชีวิตในระหว่างทาง บุคคลบางคนแม้เช่นนี้ก็มี
ปรากฏอยู่ในธรรมวินัยนี้ นี้คือบุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพจำพวกที่ ๒ ซึ่งมี
ปรากฏอยู่ในภิกษุทั้งหลาย
๓. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าไปอาศัยหมู่บ้านหรือนิคมบางแห่งอยู่ เวลา
เช้า เธอครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังหมู่บ้านหรือ
นิคมนั้นเพื่อบิณฑบาต ไม่รักษากาย ไม่รักษาวาจา ไม่รักษาจิต
มีสติไม่ตั้งมั่น ไม่สำรวมอินทรีย์ เธอได้เห็นมาตุคามนุ่งห่มไม่
เรียบร้อยในหมู่บ้านหรือในนิคมนั้น เพราะเห็นมาตุคามนุ่งห่มไม่
เรียบร้อยนั้น ราคะจึงรบกวนจิตของเธอ เธอถูกราคะรบกวนจิตแล้ว
จึงมีกายเร่าร้อน มีใจเร่าร้อน มีความคิดอย่างนี้ว่า “ทางที่ดี
เราควรจะไปยังอารามบอกพวกภิกษุว่า ‘ผู้มีอายุ ผมถูกราคะ
กลุ้มรุม ถูกราคะครอบงำแล้ว ไม่สามารถสืบต่อพรหมจรรย์ได้
จักเปิดเผยความท้อแท้ในสิกขา บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์”
เธอจึงไปยังอารามแล้วบอกพวกภิกษุว่า “ผู้มีอายุ ผมถูกราคะ
กลุ้มรุม ถูกราคะครอบงำแล้ว ไม่สามารถสืบต่อพรหมจรรย์ได้
จักเปิดเผยความท้อแท้ในสิกขา บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์”
เพื่อนพรหมจารีทั้งหลายจึงกล่าวสอนพร่ำสอนเธอว่า “ผู้มีอายุ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. โยธาชีวรรค ๖. ทุติยโยธาชีวสูตร
กามทั้งหลาย๑มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก
มีโทษยิ่งใหญ่
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนร่างโครงกระดูก มีทุกข์มาก มีความ
คับแค้นมาก มีโทษยิ่งใหญ่
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนชิ้นเนื้อ มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก
มีโทษยิ่งใหญ่
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนคบเพลิงหญ้า มีทุกข์มาก มีความ
คับแค้นมาก มีโทษยิ่งใหญ่
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิง มีทุกข์มาก มีความ
คับแค้นมาก มีโทษยิ่งใหญ่
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนความฝัน มีทุกข์มาก มีความคับ
แค้นมาก มีโทษยิ่งใหญ่
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนของที่ขอยืมมา มีทุกข์มาก มีความ
คับแค้นมาก มีโทษยิ่งใหญ่
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนผลไม้คาต้น มีทุกข์มาก มีความคับ
แค้นมาก มีโทษยิ่งใหญ่
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนเขียงหั่นเนื้อ มีทุกข์มาก มีความ
คับแค้นมาก มีโทษยิ่งใหญ่
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนหอกหลาว มีทุกข์มาก มีความคับ
แค้นมาก มีโทษยิ่งใหญ่
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนหัวงู มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก
มีความคับแค้นมาก มีโทษยิ่งใหญ่
ขอผู้มีอายุจงยินดีในพรหมจรรย์ อย่าเปิดเผยความท้อแท้ในสิกขา
บอกคืนสิกขากลับมาป็นคฤหัสถ์เลย"
เธออันเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายกล่าวสอนพร่ำสอนอยู่อย่างนี้
จึงกล่าวอย่างนี้ว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

เชิงอรรถ :
๑ ดู วิ.มหา. (แปล) ๒/๔๑๗/๓๐๖-๓๐๗, ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๓/๗-๘, ขุ.จู.(แปล) ๓๐/๑๔๗/๔๖๙-๔๗๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. โยธาชีวรรค ๖. ทุติยโยธาชีวสูตร
กามทั้งหลาย มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก
มีโทษยิ่งใหญ่ก็จริง ถึงกระนั้น ผมไม่สามารถสืบต่อพรหมจรรย์ได้
จักเปิดเผยความท้อแท้ในสิกขา บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์”
เธอจึงเปิดเผยความท้อแท้ในสิกขา บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์
เรากล่าวว่าภิกษุนี้เปรียบเหมือนนักรบอาชีพนั้นถือดาบและโล่ ผูกสอดธนูและ
แล่งแล้วเข้าสู่สมรภูมิ เขาขะมักเขม้นพยายามรบในสมรภูมินั้น พวกข้าศึกทำร้ายเขา
ให้บาดเจ็บ พวกของเขานำเขามาส่งให้ถึงหมู่ญาติ หมู่ญาติย่อมพยาบาลรักษาเขา
เขาอันหมู่ญาติพยาบาลรักษาอยู่ ก็เสียชีวิตด้วยอาการบาดเจ็บนั้นนั่นเอง บุคคล
บางคนแม้เช่นนี้ก็มีอยู่ในธรรมวินัยนี้ นี้คือบุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพจำพวกที่ ๓
ซึ่งมีปรากฏอยู่ในภิกษุทั้งหลาย
๔. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าไปอาศัยหมู่บ้านหรือนิคมบางแห่งอยู่ เวลา
เช้า เธอครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังหมู่บ้านหรือ
นิคมนั้นเพื่อบิณฑบาต ไม่รักษากาย ไม่รักษาวาจา ไม่รักษาจิต
มีสติไม่ตั้งมั่น ไม่สำรวมอินทรีย์ เธอได้เห็นมาตุคามนุ่งห่มไม่
เรียบร้อย ในหมู่บ้านหรือในนิคมนั้น เพราะเห็นมาตุคามนุ่งห่มไม่
เรียบร้อยนั้น ราคะจึงรบกวนจิตของเธอ เธอถูกราคะรบกวนจิตแล้ว
จึงมีกายเร่าร้อน มีใจเร่าร้อน มีความคิดอย่างนี้ว่า “ทางที่ดี
เราควรจะไปยังอารามบอกพวกภิกษุว่า ‘ผู้มีอายุ ผมถูกราคะ
กลุ้มรุมแล้ว ถูกราคะครอบงำแล้ว ไม่สามารถสืบต่อพรหมจรรย์ได้
จักเปิดเผยความท้อแท้ในสิกขา บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์”
เธอจึงไปยังอารามแล้ว บอกพวกภิกษุว่า “ผู้มีอายุ ผมถูกราคะ
กลุ้มรุม ถูกราคะครอบงำแล้ว ไม่สามารถสืบต่อพรหมจรรย์ได้
จักเปิดเผยความท้อแท้ในสิกขา บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์”
เพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย จึงกล่าวสอน พร่ำสอนเธอว่า “ผู้มี
อายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
กามทั้งหลายมีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก
มีโทษยิ่งใหญ่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. โยธาชีวรรค ๖. ทุติยโยธาชีวสูตร
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนร่างโครงกระดูก มีทุกข์มาก มีความ
คับแค้นมาก มีโทษยิ่งใหญ่
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนชิ้นเนื้อ ฯลฯ
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนคบเพลิงหญ้า ฯลฯ
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิง ฯลฯ
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนความฝัน ฯลฯ
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนของที่ขอยืมมา ฯลฯ
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนผลไม้คาต้น ฯลฯ
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนเขียงหั่นเนื้อ ฯลฯ
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนหอกหลาว ฯลฯ
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนหัวงู มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก
มีความคับแค้นมาก มีโทษยิ่งใหญ่
ขอผู้มีอายุจงยินดีในพรหมจรรย์เถิด อย่าเปิดเผยความท้อแท้
ในสิกขา บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์เลย” เธออันเพื่อน
พรหมจารีทั้งหลายกล่าวสอนพร่ำสอนอยู่อย่างนี้ จึงกล่าวอย่างนี้
ว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย ผมจักขะมักเขม้นเพียรพยายามอย่างดียิ่ง
จักไม่เปิดเผยความท้อแท้ในสิกขา ไม่บอกคืนสิกขากลับมาเป็น
คฤหัสถ์อีก”
เรากล่าวว่าภิกษุนี้เปรียบเหมือนนักรบอาชีพนั้นถือดาบและโล่ ผูกสอดธนูและ
แล่งแล้วเข้าสู่สมรภูมิ เขาขะมักเขม้นพยายามรบในสมรภูมินั้น พวกข้าศึกทำร้าย
เขาให้บาดเจ็บ พวกของเขานำเขามาส่งให้ถึงหมู่ญาติ หมู่ญาติพยาบาลรักษาเขา
เขาอันหมู่ญาติพยาบาลรักษาอยู่ก็หายจากอาการบาดเจ็บนั้น บุคคลบางคนแม้
เช่นนี้ก็มีอยู่ในธรรมวินัยนี้ นี้คือบุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพจำพวกที่ ๔ ซึ่งมี
ปรากฏอยู่ในภิกษุทั้งหลาย
๕. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าไปอาศัยหมู่บ้านหรือนิคมบางแห่งอยู่ เวลา
เช้า เธอครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังหมู่บ้านหรือ
นิคมนั้นเพื่อบิณฑบาต รักษากาย รักษาวาจา รักษาจิต มีสติตั้งมั่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. โยธาชีวรรค ๖. ทุติยโยธาชีวสูตร
สำรวมอินทรีย์ เธอเห็นรูปทางตาแล้วไม่รวบถือไม่แยกถือปฏิบัติ
เพื่อสำรวมในจักขุนทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้บาป
อกุศลธรรมคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จึงรักษาจักขุนทรีย์
ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียงทางหู ฯลฯ ดมกลิ่นทาง
จมูก ฯลฯ ลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ฯลฯ
รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ปฏิบัติเพื่อ
สำรวมในมนินทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้บาปอกุศล
ธรรม คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จึงรักษามนินทรีย์
ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ เธอกลับจากบิณฑบาต หลังจากฉัน
อาหารเสร็จแล้ว พักอยู่ ณ เสนาสนะอันเงียบสงัด คือ ป่า โคนไม้
ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าทึบ ที่แจ้ง ลอมฟาง เธอไปสู่ป่า ไปสู่
โคนไม้ หรือไปสู่เรือนว่าง นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้
เฉพาะหน้า เธอละอภิชฌาในโลกได้แล้ว ฯลฯ ละนิวรณ์ ๕
ประการนี้ ซึ่งเป็นเครื่องเศร้าหมองใจ ทอนกำลังปัญญาแล้ว
สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีสติ
บริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่
เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน
ปราศจากความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น
ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ เธอน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ รู้ชัด
ตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ๑ ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
อีกต่อไป”
เรากล่าวว่าภิกษุนี้เปรียบเหมือนนักรบอาชีพนั้นถือดาบและโล่
ผูกสอดธนูและแล่งแล้วเข้าสู่สมรภูมิ เขาชนะสงครามนั้นแล้ว เป็น

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มในข้อ ๗๕ (ปฐมโยธาชีวสูตร) หน้า ๑๓๐ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๓๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. โยธาชีวรรค ๗. ปฐมอนาคตภยสูตร
ผู้พิชิตสงคราม ยึดค่ายสงครามนั้นไว้ได้ บุคคลบางคนแม้เช่นนี้ก็มี
อยู่ในธรรมวินัยนี้ นี้คือบุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพจำพวกที่ ๕
ซึ่งมีปรากฏอยู่ในภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพ ๕ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ใน
ภิกษุทั้งหลาย
ทุติยโยธาชีวสูตรที่ ๖ จบ

๗. ปฐมอนาคตภยสูตร
ว่าด้วยภัยในอนาคต สูตรที่ ๑
[๗๗] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ป่า เมื่อพิจารณาเห็นภัยในอนาคต ๕
ประการนี้ ไม่ควรเป็นผู้ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ เพื่อถึงธรรม
ที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง
ภัยในอนาคต ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่ป่าพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘บัดนี้ เราอยู่ในป่า
ผู้เดียว งูพึงกัดเราก็ได้ แมงป่องพึงต่อยเราก็ได้ หรือตะขาบพึงกัด
เราก็ได้ เพราะเหตุนั้น เราพึงตาย เราพึงมีอันตราย๑นั้น เอาเถอะ
เราจะปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่
ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง’
ภิกษุผู้อยู่ป่า เมื่อพิจารณาเห็นภัยในอนาคตประการที่ ๑ นี้ ควรเป็นผู้ไม่
ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม
ที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง
๒. ภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่ป่าพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘บัดนี้ เราอยู่ในป่า
ผู้เดียว เราเมื่ออยู่ในป่าผู้เดียว พึงพลาดหกล้มก็ได้ ภัตตาหารที่เรา

เชิงอรรถ :
๑ อันตราย ในที่นี้หมายถึงอันตรายต่อชีวิตและอันตรายต่อการประพฤติพรหมจรรย์ แต่สำหรับผู้เป็นปุถุชน
เมื่อสิ้นชีวิตไปพึงมีอันตรายต่อสวรรค์ หรืออันตรายต่อมรรค (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๗๗/๓๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๓๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. โยธาชีวรรค ๗. ปฐมอนาคตภยสูตร
ฉันแล้วไม่พึงย่อยก็ได้ ดีของเราพึงกำเริบก็ได้ เสมหะของเรา
พึงกำเริบก็ได้ หรือลมมีพิษดังศัสตราของเราพึงกำเริบก็ได้ เพราะ
เหตุนั้น เราพึงตาย เราพึงมีอันตรายนั้น เอาเถอะ เราจะปรารภ
ความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ
เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง’
ภิกษุผู้อยู่ป่า เมื่อพิจารณาเห็นภัยในอนาคตประการที่ ๒ นี้ ควรเป็นผู้ไม่
ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม
ที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง
๓. ภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่ป่าพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘บัดนี้ เราอยู่ในป่า
ผู้เดียว เมื่อเราอยู่ในป่าผู้เดียว พึงพบสัตว์ร้ายคือราชสีห์ เสือโคร่ง
เสือเหลือง หมี หรือเสือดาวก็ได้ สัตว์เหล่านั้นพึงทำร้ายเราถึง
ตายก็ได้ เพราะเหตุนั้น เราพึงตาย เราพึงมีอันตรายนั้น เอาเถอะ
เราจะปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยัง
ไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง’
ภิกษุผู้อยู่ป่า เมื่อพิจารณาเห็นภัยในอนาคตประการที่ ๓ นี้ ควรเป็นผู้ไม่
ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม
ที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง
๔. ภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่ป่าพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘บัดนี้ เราอยู่ในป่า
ผู้เดียว เมื่อเราอยู่ในป่าผู้เดียว เราพึงพบคนร้ายผู้ก่อคดีแล้วหรือ
ยังไม่ได้ก่อคดีก็ได้ พวกคนร้ายนั้นพึงปลิดชีวิตเราเสียก็ได้ เพราะ
เหตุนั้น เราพึงตาย เราพึงมีอันตรายนั้น เอาเถอะ เราจะปรารภ
ความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ
เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง’
ภิกษุผู้อยู่ป่า เมื่อพิจารณาเห็นภัยในอนาคตประการที่ ๔ นี้ ควรเป็นผู้ไม่
ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม
ที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๓๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. โยธาชีวรรค ๘. ทุติยอนาคตภยสูตร
๕. ภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่ป่าพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘บัดนี้ เราอยู่ในป่า
ผู้เดียว ก็ในป่ามีพวกอมนุษย์๑ ดุร้าย พวกอมนุษย์นั้นพึงปลิดชีวิต
เราก็ได้ เพราะเหตุนั้น เราพึงตาย เราพึงมีอันตรายนั้น เอาเถอะ
เราจะปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่
ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง’
ภิกษุผู้อยู่ป่า เมื่อพิจารณาเห็นภัยในอนาคตประการที่ ๕ นี้ ควรเป็นผู้ไม่
ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม
ที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ป่าเมื่อเห็นภัยในอนาคต ๕ ประการนี้แล ควรเป็นผู้
ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม
ที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง
ปฐมอนาคตภยสูตรที่ ๗ จบ

๘. ทุติยอนาคตภยสูตร
ว่าด้วยภัยในอนาคต สูตรที่ ๒
[๗๘] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อพิจารณาเห็นภัยในอนาคต ๕ ประการนี้ ควร
เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อ
บรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง
ภัยในอนาคต ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘บัดนี้ เรายังเป็นคนหนุ่มแน่น
มีผมดำสนิท ประกอบด้วยความเป็นหนุ่มกำลังเจริญ ดำรงอยู่ใน
ปฐมวัยก็จริง ถึงกระนั้น ก็ยังมีสมัยที่ชราจะถูกต้องกายนี้ได้ การ
ที่บุคคลผู้แก่ถูกชราครอบงำแล้วจะมนสิการถึงคำสั่งสอนของ
พระพุทธเจ้า มิใช่ทำได้ง่าย ทั้งจะอาศัยเสนาสนะอันเงียบสงัด คือ

เชิงอรรถ :
๑ อมนุษย์ หมายถึงยักษ์เป็นต้น (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๗๗/๓๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. โยธาชีวรรค ๘. ทุติยอนาคตภยสูตร
ป่าโปร่ง๑ และป่าทึบ๒ ก็มิใช่ทำได้ง่าย ก่อนที่ธรรมซึ่งไม่น่าปรารถนา
ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจนั้นจะมาถึงเรา เราจะรีบปรารภความเพียร
เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้
แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้งเสียก่อนทีเดียว ซึ่งเมื่อเรามีแล้ว แม้แก่
ก็จักอยู่สบาย’
ภิกษุเมื่อพิจารณาเห็นภัยในอนาคตประการที่ ๑ นี้ ควรเป็นผู้ไม่ประมาท
มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ
เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง
๒. ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘บัดนี้ เรามีอาพาธน้อย
มีโรคเบาบาง ประกอบด้วยไฟธาตุสำหรับย่อยอาหารสม่ำเสมอ
ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก ปานกลาง เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียรก็จริง
ถึงกระนั้น ก็ยังมีสมัยที่พยาธิจะถูกต้องกายนี้ได้ การที่บุคคลผู้
เจ็บไข้ถูกพยาธิครอบงำแล้วจะมนสิการถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
มิใช่ทำได้ง่าย ทั้งจะอาศัยเสนาสนะอันเงียบสงัด คือ ป่าโปร่ง และ
ป่าทึบ ก็มิใช่ทำได้ง่าย ก่อนที่ธรรมซึ่งไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่
ไม่น่าพอใจนั้นจะมาถึงเรา เราจะรีบปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรม
ที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยัง
ไม่ได้ทำให้แจ้งเสียก่อนทีเดียว ซึ่งเมื่อเรามีแล้ว แม้อาพาธก็จัก
อยู่สบาย’
ภิกษุเมื่อพิจารณาเห็นภัยในอนาคตประการที่ ๒ นี้ ควรเป็นผู้ไม่ประมาท
มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่
บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง
๓. ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘บัดนี้ มีภิกษาหาได้ง่าย
ข้าวกล้าดี บิณฑบาตได้ง่าย สะดวกแก่การแสวงหาเลี้ยงชีพก็จริง

เชิงอรรถ :
๑ ป่าโปร่ง หมายถึงป่าอยู่นอกเสาเขตเมืองออกไปอย่างน้อยชั่ว ๕๐๐ ลูกธนู (องฺ.ทุก.อ. ๒/๓๑/๓๐)
๒ ดูเชิงอรรถที่ ๓ ข้อ ๗๕ (ปฐมโยธาชีวสูตร) หน้า ๑๒๙ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๔๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. โยธาชีวรรค ๘. ทุติยอนาคตภยสูตร
ถึงกระนั้นก็ยังมีสมัยที่ภิกษาหาได้ยาก ข้าวกล้าเสียหาย บิณฑบาต
ได้ยาก จึงไม่สะดวกแก่การแสวงหาเลี้ยงชีพ เมื่อภิกษาหาได้ยาก
คนทั้งหลายจึงอพยพไปในที่มีอาหารดี ที่นั้นย่อมมีการอยู่คลุกคลี
ด้วยหมู่คณะ อยู่กันอย่างพลุกพล่าน เมื่อมีการอยู่คลุกคลีด้วย
หมู่คณะ อยู่กันอย่างพลุกพล่าน การที่จะมนสิการถึงคำสั่งสอน
ของพระพุทธเจ้า มิใช่ทำได้ง่าย ทั้งจะอาศัยเสนาสนะอันเงียบสงัด
คือป่าโปร่ง และป่าทึบ ก็มิใช่ทำได้ง่าย ก่อนที่ธรรมซึ่งไม่น่าปรารถนา
ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจนั้นจะมาถึงเรา เอาเถอะ เราจะรีบปรารภ
ความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อ
ทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้งเสียก่อนทีเดียว ซึ่งเมื่อเรามีแล้ว
แม้ในสมัยที่มีภิกษาหาได้ยากก็จักอยู่สบาย’
ภิกษุเมื่อพิจารณาเห็นภัยในอนาคตประการที่ ๓ นี้ ควรเป็นผู้ไม่ประมาท
มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ
เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง
๔. ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘บัดนี้ คนทั้งหลายพร้อม
เพรียงกัน ชื่นชมกัน ไม่วิวาทกัน เป็นเหมือนน้ำนมกับน้ำ มองกัน
ด้วยนัยน์ตาที่เปี่ยมด้วยความรักอยู่ก็จริง ถึงกระนั้น ก็ยังมีสมัยที่
มีภัย มีความปั่นป่วนในดง ประชาชนวุ่นวาย เมื่อมีภัย คนทั้งหลาย
จึงอพยพไปในที่ปลอดภัย ที่นั้นย่อมมีการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ
อยู่กันอย่างพลุกพล่าน เมื่อมีการอยู่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ อยู่กัน
อย่างพลุกพล่าน การที่จะมนสิการถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
มิใช่ทำได้ง่าย ทั้งจะอาศัยเสนาสนะอันเงียบสงัด คือป่าโปร่ง และ
ป่าทึบ ก็มิใช่ทำได้ง่าย ก่อนที่ธรรมซึ่งไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่
ไม่น่าพอใจนั้นจะมาถึงเรา เอาเถอะ เราจะรีบปรารภความเพียร
เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้
แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้งเสียก่อนทีเดียว ซึ่งเมื่อเรามีแล้ว แม้ใน
สมัยที่มีภัยก็จักอยู่สบาย’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๔๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. โยธาชีวรรค ๘. ทุติยอนาคตภยสูตร
ภิกษุเมื่อพิจารณาเห็นภัยในอนาคตประการที่ ๔ นี้ ควรเป็นผู้ไม่ประมาท
มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ
เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง
๕. ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘บัดนี้ สงฆ์พร้อมเพรียงกัน
ชื่นชมกัน ไม่วิวาทกัน มีอุทเทสที่สวดร่วมกัน๑ อยู่ผาสุกก็จริง
ถึงกระนั้น ก็ยังมีสมัยที่สงฆ์แตกแยกกัน เมื่อสงฆ์แตกแยกกันแล้ว
การที่จะมนสิการถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า มิใช่ทำได้ง่าย
ทั้งจะอาศัยเสนาสนะอันเงียบสงัด คือป่าโปร่ง และป่าทึบ ก็มิใช่
ทำได้ง่าย ก่อนที่ธรรมซึ่งไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจนั้น
จะมาถึงเรา เอาเถอะ เราจะรีบปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยัง
ไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้
ทำให้แจ้งเสียก่อนทีเดียว ซึ่งเมื่อเรามีแล้ว แม้ในเมื่อสงฆ์แตกแยก
กันก็จักอยู่สบาย’
ภิกษุเมื่อพิจารณาเห็นภัยในอนาคตประการที่ ๕ นี้ ควรเป็นผู้ไม่ประมาท
มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ
เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อพิจารณาเห็นภัยในอนาคต ๕ ประการนี้แล ควรเป็นผู้
ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม
ที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง
ทุติยอนาคตภยสูตรที่ ๘ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๕๔ (สมยสูตร) หน้า ๙๔ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๔๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. โยธาชีวรรค ๙. ตติยอนาคตภยสูตร
๙. ตติยอนาคตภยสูตร
ว่าด้วยภัยในอนาคต สูตรที่ ๓
[๗๙] ภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคต ๕ ประการนี้ ยังไม่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
แต่จักเกิดขึ้นในกาลต่อไป ภัยเหล่านั้น เธอทั้งหลายพึงรับรู้ไว้ และพึงพยายามเพื่อ
ละภัยเหล่านั้นเสีย
ภัยในอนาคต ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ในอนาคต หมู่ภิกษุจักไม่เจริญกาย ไม่เจริญศีล ไม่เจริญจิต ไม่
เจริญปัญญา เมื่อไม่เจริญกาย ไม่เจริญศีล ไม่เจริญจิต ไม่เจริญ
ปัญญา ให้กุลบุตรเหล่าอื่นอุปสมบท ก็จักไม่สามารถแนะนำ
กุลบุตรเหล่านั้นในอธิศีล อธิจิต และอธิปัญญาได้ แม้กุลบุตร
เหล่านั้นก็จักไม่เจริญกาย ไม่เจริญศีล ไม่เจริญจิต ไม่เจริญ
ปัญญา เมื่อไม่เจริญกาย ไม่เจริญศีล ไม่เจริญจิต ไม่เจริญปัญญา
ให้กุลบุตรเหล่าอื่นอุปสมบทอีก ก็จักไม่สามารถแนะนำกุลบุตร
เหล่านั้นในอธิศีล อธิจิต และอธิปัญญาได้ ถึงกุลบุตรเหล่านั้นก็
จักไม่เจริญกาย ไม่เจริญศีล ไม่เจริญจิต ไม่เจริญปัญญา โดยนัย
นี้แล เพราะธรรมเลอะเลือน วินัยจึงเลอะเลือน เพราะวินัย
เลอะเลือน ธรรมจึงเลอะเลือน
ภัยในอนาคตประการที่ ๑ นี้ ซึ่งยังไม่เกิดขึ้นในบัดนี้ แต่จักเกิดขึ้นในกาลต่อไป
ภัยนั้น เธอทั้งหลายพึงรับรู้ไว้ และพึงพยายามเพื่อละภัยนั้นเสีย
๒. ในอนาคต หมู่ภิกษุจักไม่เจริญกาย ไม่เจริญศีล ไม่เจริญจิต ไม่
เจริญปัญญา เมื่อไม่เจริญกาย ไม่เจริญศีล ไม่เจริญจิต ไม่เจริญ
ปัญญา ให้นิสสัยแก่กุลบุตรเหล่าอื่นก็จักไม่สามารถแนะนำ
กุลบุตรเหล่านั้นในอธิศีล อธิจิต และอธิปัญญาได้ กุลบุตรเหล่านั้น
ก็จักไม่เจริญกาย ไม่เจริญศีล ไม่เจริญจิต ไม่เจริญปัญญา เมื่อ
ไม่เจริญกาย ไม่เจริญศีล ไม่เจริญจิต ไม่เจริญปัญญา ให้นิสสัย
แก่กุลบุตรเหล่าอื่นอีก ก็จักไม่สามารถแนะนำกุลบุตรเหล่านั้น
ในอธิศีล อธิจิต และอธิปัญญาได้ ถึงกุลบุตรเหล่านั้นก็จักไม่
เจริญกาย ไม่เจริญศีล ไม่เจริญจิต ไม่เจริญปัญญา โดยนัยนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๔๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. โยธาชีวรรค ๙. ตติยอนาคตภยสูตร
เพราะธรรมเลอะเลือน วินัยจึงเลอะเลือน เพราะวินัยเลอะเลือน
ธรรมจึงเลอะเลือน
ภัยในอนาคตประการที่ ๒ นี้ ซึ่งยังไม่เกิดขึ้นในบัดนี้ แต่จักเกิดขึ้นในกาลต่อไป
ภัยนั้น เธอทั้งหลายพึงรับรู้ไว้ และพึงพยายามเพื่อละภัยนั้นเสีย
๓. ในอนาคต หมู่ภิกษุจักไม่เจริญกาย ไม่เจริญศีล ไม่เจริญจิต ไม่เจริญ
ปัญญา เมื่อไม่เจริญกาย ไม่เจริญศีล ไม่เจริญจิต ไม่เจริญปัญญา
แสดงอภิธัมมกถา๑ เวทัลลกถา๒ ถลำลงสู่ธรรมดำก็จักไม่รู้ตัว
โดยนัยนี้แล เพราะธรรมเลอะเลือน วินัยจึงเลอะเลือน เพราะวินัย
เลอะเลือน ธรรมจึงเลอะเลือน
ภัยในอนาคตประการที่ ๓ นี้ ซึ่งยังไม่เกิดขึ้นในบัดนี้ แต่จักเกิดขึ้นในกาลต่อไป
ภัยนั้น เธอทั้งหลายพึงรับรู้ไว้ และพึงพยายามเพื่อละภัยนั้นเสีย
๔. ในอนาคต หมู่ภิกษุจักไม่เจริญกาย ไม่เจริญศีล ไม่เจริญจิต ไม่
เจริญปัญญา เมื่อผู้อื่นกล่าวสูตรที่ตถาคตตรัสไว้ ล้ำลึก มีเนื้อความ
ลึกซึ้ง เป็นโลกุตตรธรรม ประกอบด้วยความว่าง ภิกษุเหล่านั้นไม่
ตั้งใจฟังด้วยดี ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งใจใฝ่รู้ และไม่ให้ความสำคัญ
ธรรมว่าควรเรียนควรท่องจำให้ขึ้นใจ แต่เมื่อผู้อื่นกล่าวสูตรที่ท่าน
ผู้เชี่ยวชาญได้รจนาไว้เป็นบทกวีมีอักษรวิจิตร มีพยัญชนะวิจิตร
อยู่ภายนอก เป็นสาวกภาษิต๓ ภิกษุเหล่านั้นกลับตั้งใจฟังด้วยดี
เงี่ยโสตสดับ ตั้งใจใฝ่รู้ และให้ความสำคัญธรรมว่าควรเรียน
ควรท่องจำให้ขึ้นใจ โดยนัยนี้แล เพราะธรรมเลอะเลือน วินัยจึง
เลอะเลือน เพราะวินัยเลอะเลือน ธรรมจึงเลอะเลือน
ภัยในอนาคตประการที่ ๔ นี้ ซึ่งยังไม่เกิดขึ้นในบัดนี้ แต่จักเกิดขึ้นในกาลต่อไป
ภัยนั้น เธอทั้งหลายพึงรับรู้ไว้ และพึงพยายามเพื่อละภัยนั้นเสีย

เชิงอรรถ :
๑ อภิธัมมกถา หมายถึงกถาว่าด้วยธรรมอันยอดเยี่ยมเช่นกถาว่าด้วยศีล (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๗๙/๔๐)
๒ เวทัลลกถา หมายถึงกถาที่เจือด้วยญาณประกอบด้วยเวท คือปีติและโสมนัสที่เกิดจากความเข้าใจธรรม
เทศนา ถึงกับแสดงความชื่นชม แล้วถามปัญหาต่อไปอีก (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๗๙/๔๐, วิ.อ. ๑/๒๖, สารตฺถ.
ฏีกา ๑/๑๒๗) และดูสัมมาทิฏฐิสูตร (ม.มู. ๑๒/๙/๖๓) สักกปัญหสูตร (ที.ม. ๑๐/๘/๒๒๖) มหาเวทัลลสูตร
(ม.มู. ๑๒/๓/๔๐๑) จูฬเวทัลลสูตร (ม.มู. ๑๒/๔/๔๑๐) มหาปุณณมสูตร (ม.อุ. ๑๔/๘๕-๙๐/๖๗-๗๑)
๓ อยู่ภายนอก หมายถึงนอกพระพุทธศาสนา (องฺ.ทุก.อ.๒/๔๘/๕๕) เป็นสาวกภาษิต หมายถึงเป็นภาษิต
ของเหล่าสาวกของเจ้าลัทธินอกพุทธศาสนา (องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๘/๕๕, องฺ.ทุก.ฏีกา ๒/๔๘/๕๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. โยธาชีวรรค ๑๐. จตุตถอนาคตภยสูตร
๕. ในอนาคต หมู่ภิกษุจักไม่เจริญกาย ไม่เจริญศีล ไม่เจริญจิต ไม่
เจริญปัญญา เมื่อไม่เจริญกาย ไม่เจริญศีล ไม่เจริญจิต ไม่เจริญ
ปัญญา ภิกษุผู้เถระก็จักเป็นผู้มักมาก เป็นผู้ย่อหย่อน เป็นผู้นำ
ในโอกกมนธรรม๑ ทอดธุระในปวิเวก๒ จักไม่ปรารภความเพียรเพื่อ
ถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรม
ที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง หมู่คนรุ่นหลังก็จักพากันตามอย่างพวกภิกษุเถระ
เหล่านั้น แม้หมู่คนรุ่นหลังนั้น ก็จักเป็นผู้มักมาก เป็นผู้ย่อหย่อน
เป็นผู้นำในโอกกมนธรรม ทอดธุระในปวิเวก จักไม่ปรารภความเพียร
เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้ง
ธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง โดยนัยนี้แล เพราะธรรมเลอะเลือน วินัย
จึงเลอะเลือน เพราะวินัยเลอะเลือน ธรรมจึงเลอะเลือน
ภัยในอนาคตประการที่ ๕ นี้ ซึ่งยังไม่เกิดขึ้นในบัดนี้ แต่จักเกิดขึ้นในกาลต่อไป
ภัยนั้น เธอทั้งหลายพึงรับรู้ไว้ และพึงพยายามเพื่อละภัยนั้นเสีย
ภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคต ๕ ประการนี้แล ซึ่งยังไม่เกิดขึ้นในบัดนี้ แต่จัก
เกิดขึ้นในกาลต่อไป ภัยเหล่านั้น เธอทั้งหลายพึงรับรู้ไว้ และพึงพยายามเพื่อละภัย
เหล่านั้นเสีย
ตติยอนาคตภยสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. จตุตถอนาคตภยสูตร
ว่าด้วยภัยในอนาคต สูตรที่ ๔
[๘๐] ภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคต ๕ ประการนี้ ยังไม่เกิดขึ้นในบัดนี้
แต่จักเกิดขึ้นในกาลต่อไป ภัยเหล่านั้น เธอทั้งหลายพึงรับรู้ไว้ และพึงพยายามเพื่อ
ละภัยเหล่านั้นเสีย

เชิงอรรถ :
๑ โอกกมนธรรม หมายถึงนิวรณ์ ๕ ประการ (องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๕/๕๓)
๒ ปวิเวก ในที่นี้หมายถึงพระนิพพาน (องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๕/๕๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. โยธาชีวรรค ๑๐. จตุตถอนาคตภยสูตร
ภัยในอนาคต ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ในอนาคต หมู่ภิกษุจักเป็นผู้ชอบที่จีวรสวยงาม เมื่อชอบจีวรที่
สวยงาม ก็จักละความเป็นผู้ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร จักละเสนาสนะ
อันเงียบสงัด คือป่าโปร่ง และป่าทึบ ไปรวมกันอยู่ที่หมู่บ้าน นิคม
และเมืองหลวง และจักถึงการแสวงหาที่ไม่สมควร ไม่เหมาะสม
หลายอย่าง เพราะจีวรเป็นเหตุ
ภัยในอนาคตประการที่ ๑ นี้ ยังไม่เกิดขึ้นในบัดนี้ แต่จักเกิดขึ้นในกาลต่อไป
ภัยนั้น เธอทั้งหลายพึงรับรู้ไว้ และพึงพยายามเพื่อละภัยนั้นเสีย
๒. ในอนาคต หมู่ภิกษุจักเป็นผู้ชอบบิณฑบาตที่มีรสอร่อย เมื่อชอบ
บิณฑบาตที่มีรสอร่อย ก็จักละความเป็นผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร
จักละเสนาสนะอันเงียบสงัด คือป่าโปร่ง และป่าทึบ ไปรวมกันอยู่ที่
หมู่บ้าน นิคม และเมืองหลวง แสวงหาบิณฑบาตที่มีรสเลิศอร่อย
และจักถึงการแสวงหาที่ไม่สมควร ไม่เหมาะสมหลายอย่าง เพราะ
บิณฑบาตเป็นเหตุ
ภัยในอนาคตประการที่ ๒ นี้ ยังไม่เกิดขึ้นในบัดนี้ แต่จักเกิดขึ้นในกาลต่อไป
ภัยนั้น เธอทั้งหลายพึงรับรู้ไว้ และพึงพยายามเพื่อละภัยนั้นเสีย
๓. ในอนาคต หมู่ภิกษุจักเป็นผู้ชอบเสนาสนะที่สวยงาม เมื่อชอบ
เสนาสนะที่สวยงาม ก็จักละการอยู่ป่าเป็นวัตร จักละเสนาสนะอัน
เงียบสงัด คือป่าโปร่ง และป่าทึบ ไปรวมกันอยู่ที่หมู่บ้าน นิคม
และเมืองหลวง และจักถึงการแสวงหาที่ไม่สมควร ไม่เหมาะสม
หลายอย่าง เพราะเสนาสนะเป็นเหตุ
ภัยในอนาคตประการที่ ๓ นี้ ยังไม่เกิดขึ้นในบัดนี้ แต่จักเกิดขึ้นในกาลต่อไป
ภัยนั้น เธอทั้งหลายพึงรับรู้ไว้ และพึงพยายามเพื่อละภัยนั้นเสีย
๔. ในอนาคต หมู่ภิกษุจักอยู่คลุกคลีกับภิกษุณี นางสิกขมานา๑ และ
เหล่าสามเณร เมื่ออยู่คลุกคลีกับภิกษุณี นางสิกขมานา และเหล่า

เชิงอรรถ :
๑ นางสิกขมานา หมายถึงสามเณรีผู้มีอายุ ๑๘ ปีแล้วอีก ๒ ปีจะครบบวชเป็นภิกษุณี ภิกษุณีสงฆ์สวดให้
สิกขาสมมติ คือตกลงให้สมาทานสิกขาบท ๖ ประการ ตั้งแต่ ปาณาติปาตา เวรมณี ถึง วิกาลโภชนา
เวรมณี ให้รักษาอย่างเคร่งครัดไม่ขาดเลยตลอดเวลา ๒ ปีเต็ม (ถ้าล่วงละเมิดข้อใดข้อหนึ่ง ต้องสมาทาน
ตั้งต้นไปใหม่อีก ๒ ปี) ในระหว่างที่สมาทานสิกขาบท ๖ ประการนี้ เรียกว่า นางสิกขมานา (วิ.ภิกฺขุนี.
(แปล) ๓/๑๐๗๘-๑๐๗๙/๒๙๗-๒๙๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๔๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. โยธาชีวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
สามเณร ก็พึงหวังข้อนี้ได้ว่า ‘เธอเหล่านั้นจักไม่ยินดีประพฤติ
พรหมจรรย์ จักต้องอาบัติเศร้าหมองบางอย่าง หรือจักบอกคืน
สิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์’
ภัยในอนาคตประการที่ ๔ นี้ ยังไม่เกิดขึ้นในบัดนี้ แต่จักเกิดขึ้นในกาลต่อไป
ภัยนั้น เธอทั้งหลายพึงรับรู้ไว้ และพึงพยายามเพื่อละภัยนั้นเสีย
๕. ในอนาคต หมู่ภิกษุจักอยู่คลุกคลีกับพวกคนวัดและเหล่าสามเณร
เมื่ออยู่คลุกคลีกับพวกคนวัดและเหล่าสามเณร ก็พึงหวังข้อนี้ได้ว่า
‘เธอเหล่านั้นจักบริโภคของที่สะสมไว้หลายอย่าง จักทำนิมิตอย่าง
หยาบไว้ที่แผ่นดินบ้าง ที่ปลายของเขียวบ้าง๑’
ภัยในอนาคตประการที่ ๕ นี้ ยังไม่เกิดขึ้นในบัดนี้ แต่จักเกิดขึ้นในกาลต่อไป
ภัยนั้น เธอทั้งหลายพึงรับรู้ไว้ และพึงพยายามเพื่อละภัยนั้นเสีย
ภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคต ๕ ประการนี้ ยังไม่เกิดขึ้นในปัจจุบัน แต่จัก
เกิดขึ้นในกาลต่อไป ภัยเหล่านั้น เธอทั้งหลายพึงรับรู้ไว้ และพึงพยายามเพื่อละภัย
เหล่านั้นเสีย
จตุตถอนาคตภยสูตรที่ ๑๐ จบ
โยธาชีววรรคที่ ๓ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมเจโตวิมุตติผลสูตร ๒. ทุติยเจโตวิมุตติผลสูตร
๓. ปฐมธัมมวิหารีสูตร ๔. ทุติยธัมมวิหารีสูตร
๕. ปฐมโยธาชีวสูตร ๖. ทุติยโยธาชีวสูตร
๗. อนาคตภยสูตร ๘. ทุติยอนาคตภยสูตร
๙. ตติยอนาคตภยสูตร ๑๐. จตุตถอนาคตภยสูตร


เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงการสั่งให้ขุดดิน ให้ตัดต้นไม้ กิ่งไม้ และใบหญ้า ซึ่งจะเป็นเหตุให้ต้องอาบัติ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๘๐/
๔๐-๔๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๔๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๔. เถรวรรค ๑. รชนียสูตร
๔. เถรวรรค
หมวดว่าด้วยธรรมของพระเถระ

๑. รชนียสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้กำหนัด
[๘๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม
๕ ประการ ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่ยกย่องของ
เพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กำหนัดในสิ่ง๑ที่เป็นเหตุให้กำหนัด
๒. ขัดเคืองในสิ่งที่เป็นเหตุให้ขัดเคือง
๓. หลงในสิ่งที่เป็นเหตุให้หลง
๔. โกรธในสิ่งที่เป็นเหตุให้โกรธ
๕. มัวเมาในสิ่งที่เป็นเหตุให้มัวเมา
ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่
พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่
เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่กำหนัดในสิ่งที่เป็นเหตุให้กำหนัด
๒. ไม่ขัดเคืองในสิ่งที่เป็นเหตุให้ขัดเคือง
๓. ไม่หลงในสิ่งที่เป็นเหตุให้หลง

เชิงอรรถ :
๑ สิ่ง ในที่นี้หมายถึงอารมณ์ทั้งหลายที่เป็นปัจจัยให้เกิดกำหนัด ขัดเคือง หลง โกรธ และมัวเมา (องฺ.ปญฺจก.อ.
๓/๘๑/๔๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๔๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๔. เถรวรรค ๒. วีตราคสูตร
๔. ไม่โกรธในสิ่งที่เป็นเหตุให้โกรธ
๕. ไม่มัวเมาในสิ่งที่เป็นเหตุให้มัวเมา
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นที่รัก
เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
รชนียสูตรที่ ๑ จบ

๒. วีตราคสูตร
ว่าด้วยธรรมของผู้ปราศจากราคะ
[๘๒] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมไม่
เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารี
ทั้งหลาย
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้ไม่ปราศจากราคะ
๒. เป็นผู้ไม่ปราศจากโทสะ
๓. เป็นผู้ไม่ปราศจากโมหะ
๔. เป็นผู้ลบหลู่คุณท่าน
๕. เป็นผู้ตีเสมอ
ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่
พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่
เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้ปราศจากราคะ
๒. เป็นผู้ปราศจากโทสะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๔. เถรวรรค ๓. กุหกสูตร
๓. เป็นผู้ปราศจากโมหะ
๔. เป็นผู้ไม่ลบหลู่คุณท่าน
๕. เป็นผู้ไม่ตีเสมอ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นที่รัก
เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
วีตราคสูตรที่ ๒ จบ

๓. กุหกสูตร
ว่าด้วยผู้หลอกลวง
[๘๓] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมไม่
เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารี
ทั้งหลาย
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้หลอกลวง๑
๒. เป็นผู้พูดป้อยอ๒
๓. เป็นผู้ทำนิมิต๓
๔. เป็นผู้พูดบีบบังคับ๔
๕. เป็นผู้แสวงหาลาภด้วยลาภ๕

เชิงอรรถ :
๑ หลอกลวง หมายถึงหลอกลวงด้วยอาการ ๓ คือ (๑) พูดเลียบเคียง (๒) แสร้งแสดงอิริยาบถคือยืน เดิน
นั่ง นอนให้น่าเลื่อมใส (๓) แสร้งปฏิเสธปัจจัย (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๘๓/๘๓/๔๑, องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๘๓/๔๓,
วิสุทธิ. ๑/๑๖/๒๔) และดู อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๘๖๑/๕๕๓
๒ พูดป้อยอ หมายถึงพูดป้อยอมุ่งหวังลาภสักการะ และชื่อเสียง (องฺ.ปญฺจ.อ. ๓/๘๓/๔๑, วิสุทธิ. ๑/๑๖/๒๔)
ดู อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๘๖๒/๕๕๓ ประกอบ
๓ ทำนิมิต หมายถึงการกระทำทางกายวาจาเพื่อให้คนอื่นให้ทาน เช่นการพูดเป็นเลศนัย พูดเลียบเคียง
(อภิ.วิ.อ.๘๖๓/๕๒๓,วิสุทฺธิ. ๑/๑๖/๒๔)
๔ พูดบีบบังคับ หมายถึงการด่า การพูดข่ม พูดนินทาตำหนิโทษ พูดเหยียดหยาม และการนำเรื่องไป
ประจาน ตลอดถึงการพูดสรรเสริญต่อหน้า นินทาลับหลัง (ปุรโต มธุรํ ภณิตฺวา ปรมฺมุเข อวณฺณภาสิตา)
(อภิ.วิ.อ.๘๖๔/๕๒๔, วิสุทธิ. ๑/๑๖/๒๔-๒๕)
๕ แสวงหาลาภด้วยลาภ หมายถึงได้อะไรเอามาฝากเขา ทำให้เขาเกรงใจ ต้องให้ตอบแทน (วิสุทฺธิ. ๑/๑๖/๒๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๔. เถรวรรค ๔. อัสสัทธสูตร
ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่
พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่
เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้ไม่หลอกลวง
๒. เป็นผู้ไม่พูดป้อยอ
๓. เป็นผู้ไม่ทำนิมิต
๔. เป็นผู้ไม่พูดบีบบังคับ
๕. เป็นผู้ไม่แสวงหาลาภด้วยลาภ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นที่รัก
เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
กุหกสูตรที่ ๓ จบ

๔. อัสสัทธสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้ไม่มีศรัทธา
[๘๔] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมไม่
เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารี
ทั้งหลาย
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้ไม่มีศรัทธา
๒. เป็นผู้ไม่มีหิริ
๓. เป็นผู้ไม่มีโอตตัปปะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๕๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๔. เถรวรรค ๕. อักขมสูตร
๔. เป็นผู้เกียจคร้าน
๕. เป็นผู้มีปัญญาทราม
ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่
พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่
เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้มีศรัทธา
๒. เป็นผู้มีหิริ
๓. เป็นผู้มีโอตตัปปะ
๔. เป็นผู้ปรารภความเพียร
๕. เป็นผู้มีปัญญา
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นที่รัก
เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
อัสสัทธสูตรที่ ๔ จบ

๕. อักขมสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้ไม่อดทน
[๘๕] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมไม่
เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารี
ทั้งหลาย
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้ไม่อดทนต่อรูป
๒. เป็นผู้ไม่อดทนต่อเสียง
๓. เป็นผู้ไม่อดทนต่อกลิ่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๕๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๔. เถรวรรค ๖. ปฏิสัมภิทาปัตตสูตร
๔. เป็นผู้ไม่อดทนต่อรส
๕. เป็นผู้ไม่อดทนต่อโผฏฐัพพะ
ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่
พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่
เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้อดทนต่อรูป
๒. เป็นผู้อดทนต่อเสียง
๓. เป็นผู้อดทนต่อกลิ่น
๔. เป็นผู้อดทนต่อรส
๕. เป็นผู้อดทนต่อโผฏฐัพพะ
ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ
เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
อักขมสูตรที่ ๕ จบ

๖. ปฏิสัมภิทาปัตตสูตร๑
ว่าด้วยภิกษุผู้บรรลุปฏิสัมภิทา
[๘๖] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็น
ที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้บรรลุอัตถปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในอรรถ)
๒. เป็นผู้บรรลุธัมมปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในธรรม)

เชิงอรรถ :
๑ ดู อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๗๑๘-๗๕๐/๔๕๙-๔๘๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๕๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๔. เถรวรรค ๗. สีลวันตสูตร
๓. เป็นผู้บรรลุนิรุตติปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในนิรุตติ)
๔. เป็นผู้บรรลุปฏิภาณปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ)
๕. เป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้านในการงานที่จะต้องช่วยกันทำ ทั้งงานสูง
และงานต่ำ๑ของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ประกอบด้วยปัญญา
เป็นเครื่องพิจารณาอันเป็นอุบายในการงานที่จะต้องช่วยกันทำนั้น
สามารถทำได้ สามารถจัดได้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นที่รัก
เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ปฏิสัมภิทาปัตตสูตรที่ ๖ จบ

๗. สีลวันตสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้มีศีล
[๘๗] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็น
ที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วย
อาจาระ(มารยาท)และโคจร(การเที่ยวไป) มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
๒. เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ฟังมากซึ่งธรรมทั้งหลาย
ที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง มีความงามใน
ที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์
บริบูรณ์ครบถ้วน แล้วทรงจำไว้ได้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดดี
ด้วยทิฏฐิ

เชิงอรรถ :
๑ งานสูง หมายถึงงานย้อมจีวร หรืองานโบกทาพระเจดีย์ ตลอดถึงงานที่จะต้องช่วยกันทำที่โรงอุโบสถ
เรือนพระเจดีย์ เรือนต้นโพธิ์เป็นต้น (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๗/๓๒๒)
งานต่ำ หมายถึงงานเล็กน้อยมีล้างเท้า และนวดเท้าเป็นต้น (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๗/๓๒๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๕๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๔. เถรวรรค ๘. เถรสูตร
๓. เป็นผู้มีวาจางาม เจรจาถ้อยคำไพเราะ ประกอบด้วยวาจาชาวเมือง
ที่สละสลวย ไม่หยาบคาย ให้รู้ความหมายได้
๔. เป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง ซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
๕. ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะ
สิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นที่รัก
เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
สีลวันตสูตรที่ ๗ จบ

๘. เถรสูตร
ว่าด้วยธรรมของพระเถระ
[๘๘] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็น
ผู้ปฏิบัติเพื่อไม่เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุขแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่ประโยชน์
แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นรัตตัญญู๑ บวชมานาน
๒. เป็นผู้มีชื่อเสียง มียศ มีบริวารมาก ปรากฏแก่พวกคฤหัสถ์และ
บรรพชิต
๓. เป็นผู้ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร

เชิงอรรถ :
๑ รัตตัญญู เป็นตำแหน่งเอตทัคคะที่พระอัญญาโกณฑัญญะได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้า มีความหมายว่ารู้
ราตรีนาน คือบวช รู้แจ้งธรรม และเป็นพระขีณาสพก่อนพระสาวกทั้งหลาย (องฺ.เอกก.อ. ๑/๑๘๘/๑๒๒)
แต่ในที่นี้หมายถึงเป็นผู้ผ่านมาหลายราตรี (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๘๘/๔๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๔. เถรวรรค ๘. เถรสูตร
๔. เป็นพหูสูต ทรงสุตะ๑ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ฟังมากซึ่งธรรมทั้งหลาย
ที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง มีความงามใน
ที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์
บริบูรณ์ครบถ้วน แล้วทรงจำไว้ได้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดดี
ด้วยทิฏฐิ
๕. เป็นมิจฉาทิฏฐิ มีความเห็นวิปริต บุคคลนั้นทำให้คนหมู่มากออก
จากสัทธรรมให้ตั้งอยู่ในอสัทธรรม๒ คนหมู่มากพากันตามอย่างเธอ
ด้วยคิดว่า ‘เป็นภิกษุเถระ เป็นรัตตัญญู บวชมานาน’ บ้าง ‘เป็น
ภิกษุเถระ มีชื่อเสียง มียศ มีบริวารมาก ปรากฏแก่พวกคฤหัสถ์
และบรรพชิต’ บ้าง ‘เป็นภิกษุเถระ ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร’ บ้าง ‘เป็นภิกษุเถระ เป็นพหูสูต
ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ’ บ้าง
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้
ปฏิบัติเพื่อไม่เกื้อกูลประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุขแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่
ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้
ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มาก
เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

เชิงอรรถ :
๑ สุตะ ในที่นี้หมายถึงนวังคสัตถุศาสน์ (คำสอนของพระศาสดามีองค์ ๙) คือ (๑) สุตตะ (พระสูตรทั้งหลาย
รวมทั้งพระวินัยปิฎกและนิทเทส) (๒) เคยยะ (ข้อความร้อยแก้วผสมร้อยกรอง ได้แก่พระสูตรที่มีคาถา
ทั้งหมด) (๓) เวยยากรณะ (ความร้อยแก้ว) (๔) คาถา (ข้อความร้อยกรอง) (๕) อุทาน (พระคาถาพุทธอุทาน)
(๖) อิติวุตตกะ (พระสูตรที่ตรัสอ้างอิง) (๗) ชาตกะ (ชาดก ๕๕๐ เรื่อง) (๘) อัพภูตธรรม (เรื่องอัศจรรย์)
(๙) เวทัลละ (พระสูตรแบบถาม-ตอบ) (องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๖/๙-๑๑)
๒ สัทธรรม ในที่นี้หมายถึงกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ
อสัทธรรม ในที่นี้หมายถึงอกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๘๘/๔๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๔. เถรวรรค ๘. เถรสูตร
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นรัตตัญญู บวชมานาน
๒. เป็นผู้มีชื่อเสียง มียศ มีบริวารมาก ปรากฏแก่พวกคฤหัสถ์และบรรพชิต
๓. เป็นผู้ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร
๔. เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ฟังมากซึ่งธรรมทั้งหลาย
ที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง มีความงามใน
ที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์
บริบูรณ์ครบถ้วนแล้ว ทรงจำไว้ได้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดดี
ด้วยทิฏฐิ
๕. เป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นไม่วิปริต บุคคลนั้นทำให้คนหมู่มาก
ออกจากอสัทธรรม ให้ตั้งอยู่ในสัทธรรม คนหมู่มากพากันตาม
อย่างเธอด้วยคิดว่า ‘เป็นภิกษุเถระ เป็นรัตตัญญู บวชมานาน’ บ้าง
‘เป็นภิกษุเถระ มีชื่อเสียง มียศ มีบริวารมาก ปรากฏแก่พวก
คฤหัสถ์และบรรพชิต’ บ้าง ‘เป็นภิกษุเถระ ได้จีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร’ บ้าง ‘เป็นภิกษุเถระ
เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ’ บ้าง
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้
ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มาก
เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เถรสูตรที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๔. เถรวรรค ๙. ปฐมเสขสูตร
๙. ปฐมเสขสูตร
ว่าด้วยธรรมของพระเสขะ๑ สูตรที่ ๑
[๘๙] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่
ภิกษุผู้เป็นเสขะ
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความเป็นผู้ชอบการงาน๒
๒. ความเป็นผู้ชอบการพูดคุย
๓. ความเป็นผู้ชอบการนอนหลับ
๔. ความเป็นผู้ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่
๕. ไม่พิจารณาจิตตามที่หลุดพ้นแล้ว๓
ธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้เป็นเสขะ
ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุผู้เป็นเสขะ
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความเป็นผู้ไม่ชอบการงาน
๒. ความเป็นผู้ไม่ชอบการพูดคุย
๓. ความเป็นผู้ไม่ชอบการนอนหลับ
๔. ความเป็นผู้ไม่ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่
๕. พิจารณาจิตตามที่หลุดพ้นแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ
ผู้เป็นเสขะ
ปฐมเสขสูตรที่ ๙ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๑ หน้า ๑ ในเล่มนี้
๒ การงาน ในที่นี้หมายถึงการกะจีวร ทำจีวร เย็บปะจีวร ทำถลกบาตร อังสะ ประคตเอว ผ้ากรองน้ำ
ทำเชิงรองบาตร ผ้าเช็ดเท้า ไม้กวาด เป็นต้นตลอดวัน (องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๘๙/๔๔)
๓ ไม่พิจารณาจิตตามที่หลุดพ้นแล้ว หมายถึงไม่พิจารณาโทษที่ตนละ และคุณที่ตนได้ ตามที่จิตหลุด
พ้นแล้ว พยายามเพื่อให้ได้คุณเบื้องสูงขึ้นไป (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๘๙/๔๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๕๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๔. เถรวรรค ๑๐. ทุติยเสขสูตร
๑๐. ทุติยเสขสูตร
ว่าด้วยธรรมของพระเสขะ สูตรที่ ๒
[๙๐] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่
ภิกษุผู้เป็นเสขะ
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุผู้เป็นเสขะในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีกิจมาก มีกรณียกิจมาก ไม่
ฉลาดในกิจน้อยใหญ่ ละการหลีกเร้น ไม่ตามประกอบความสงบใจ๑
ภายใน นี้เป็นธรรมประการที่ ๑ เป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุ
ผู้เป็นเสขะ
๒. ภิกษุผู้เป็นเสขะให้วันเวลาล่วงไปเพราะการงานเล็กน้อย ละการ
หลีกเร้น ไม่ประกอบความสงบใจภายใน นี้เป็นธรรมประการที่ ๒
เป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้เป็นเสขะ
๓. ภิกษุผู้เป็นเสขะคลุกคลีกับพวกคฤหัสถ์และบรรพชิต ด้วยการ
คลุกคลีอย่างคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร ละการหลีกเร้น ไม่ประกอบ
ความสงบใจภายใน นี้เป็นธรรมประการที่ ๓ เป็นไปเพื่อความ
เสื่อมแก่ภิกษุผู้เป็นเสขะ
๔. ภิกษุผู้เป็นเสขะเข้าไปยังหมู่บ้านในเวลาเช้านัก กลับมาในเวลาสายนัก
ละการหลีกเร้น ไม่ประกอบความสงบใจภายใน นี้เป็นธรรมประการ
ที่ ๔ เป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้เป็นเสขะ
๕. ภิกษุผู้เป็นเสขะไม่ได้กถาเป็นเครื่องขัดเกลา เป็นสัปปายะแห่งความ
เป็นไปของจิต๒ คืออัปปิจฉกถา (เรื่องความมักน้อย) สันตุฏฐิกถา
(เรื่องความสันโดษ) ปวิเวกกถา (เรื่องความสงัด) อสังสัคคกถา

เชิงอรรถ :
๑ ความสงบใจ (เจโตสมถะ) ในที่นี้หมายถึงสมาธิกัมมัฏฐาน (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๙๐/๔๓)
๒ เป็นสัปปายะแห่งความเป็นไปของจิต หมายถึงเป็นที่สบายและเป็นอุปการะแก่การชักนำจิตเข้าสู่สมถะ
และวิปัสสนา คือความปลอดโปร่งแห่งจิต (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๙๐/๔๓, องฺ.นวก.อ.๓/๑/๒๘๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๔. เถรวรรค ๑๐. ทุติยเสขสูตร
(เรื่องความไม่คลุกคลี) วีริยารัมภกถา (เรื่องการปรารภความเพียร)
สีลกถา (เรื่องศีล) สมาธิกถา (เรื่องสมาธิ) ปัญญากถา (เรื่องปัญญา)
วิมุตติกถา (เรื่องวิมุตติ) วิมุตติญาณทัสสนกถา (เรื่องความรู้
ความเห็นในวิมุตติ) ตามความปรารถนา ได้โดยยาก ได้โดยลำบาก
ละการหลีกเร้น ไม่ประกอบความสงบใจภายใน นี้เป็นธรรมประการ
ที่ ๕ เป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้เป็นเสขะ
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการต่อไปนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่
ภิกษุผู้เป็นเสขะ
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุผู้เป็นเสขะในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่มีกิจมาก ไม่มีกรณียกิจมาก
ฉลาดในกิจน้อยใหญ่ ไม่ละการหลีกเร้น ตามประกอบความสงบใจ
ภายใน นี้เป็นธรรมประการที่ ๑ เป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ
ผู้เป็นเสขะ
๒. ภิกษุผู้เป็นเสขะไม่ให้วันเวลาล่วงไป เพราะการงานเล็กน้อย ไม่ละ
การหลีกเร้น ประกอบความสงบใจภายใน นี้เป็นธรรมประการที่ ๒
เป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุผู้เป็นเสขะ
๓. ภิกษุผู้เป็นเสขะไม่คลุกคลีกับพวกคฤหัสถ์และบรรพชิต ด้วยการ
คลุกคลีกับคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร ไม่ละการหลีกเร้น ประกอบความ
สงบใจภายใน นี้เป็นธรรมประการที่ ๓ เป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่
ภิกษุผู้เป็นเสขะ
๔. ภิกษุผู้เป็นเสขะไม่เข้าไปยังหมู่บ้านในเวลาเช้านัก ไม่กลับในเวลาสายนัก
ไม่ละการหลีกเร้น ประกอบความสงบใจภายใน นี้เป็นธรรมประการ
ที่ ๔ เป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุผู้เป็นเสขะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๖๑ }


>>>>> หน้าต่อไป >>>>>





eXTReMe Tracker