ค้นว่าอยู่เล่มใด แล้วกด [ctrl]+f หรือใช้คำสั่งของเครื่องหาตำแหน่งในเล่มอีกทีนะครับ



จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อความสะดวก และสวยงาม
(เฉพาะหน้าจอใหญ่ เช่น คอมพิวเตอร์)
กรุณาคลิก จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อให้กรอบ
ค้นข้อความ ปรากฎที่ด้านซ้ายของหน้า

พระไตรปิฎกภาษาไทย
ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม (ปกสีฟ้า)
ทั้งออนไลน์และออฟไลน์
ที่มาของข้อมูล : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มจร.
MCUTRAI Version 1.0

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐-๒ สุตตันตปิฎกที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอกก ทุก ติกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก
อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต ๔. ราคเปยยาล

ภิกษุควรเจริญธรรม ๒ ประการนี้
ธรรม ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สมถะ ๒. วิปัสสนา
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญธรรม ๒ ประการนี้เพื่อสลัดความประมาท (๑๑-
๑๗๐)

(เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดี ต่างชื่นชมภาษิตของ
พระผู้มีพระภาค)

ราคเปยยาล จบ

ทุกนิบาต จบบริบูรณ์


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๑. พาลวรรค ๑. ภยสูตร

พระสุตตันตปิฎก
อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต
_________________________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

๑. ปฐมปัณณาสก์
๑. พาลวรรค
หมวดว่าด้วยคนพาลและบัณฑิต
๑. ภยสูตร
ว่าด้วยผู้เป็นภัยและไม่เป็นภัย

[๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมา
ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึง
ได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ภิกษุทั้งหลาย ภัย๑ที่เกิดขึ้นทั้งสิ้น ล้วนเกิดจากคนพาล มิใช่เกิดจากบัณฑิต
อุปัททวะ๒ที่เกิดขึ้นทั้งสิ้น ล้วนเกิดจากคนพาล มิใช่เกิดจากบัณฑิต อุปสรรค๓ที่
เกิดขึ้นทั้งสิ้น ล้วนเกิดจากคนพาล มิใช่เกิดจากบัณฑิต


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๑. พาลวรรค ๒. ลักขสูตร

ภัยที่เกิดขึ้นทั้งสิ้น ล้วนเกิดจากคนพาล มิใช่เกิดจากบัณฑิต อุปัททวะที่เกิด
ขึ้นทั้งสิ้น ล้วนเกิดจากคนพาล มิใช่เกิดจากบัณฑิต อุปสรรคที่เกิดขึ้นทั้งสิ้น ล้วน
เกิดจากคนพาล มิใช่เกิดจากบัณฑิต เปรียบเหมือนไฟที่ลุกลามจากเรือนไม้อ้อหรือ
เรือนหญ้า ไหม้แม้เรือนยอดที่เขาโบกทั้งภายในและภายนอก ลมพัดเข้าไม่ได้ มีบาน
ประตูปิดมิดชิด หน้าต่างปิดสนิท ฉะนั้น
คนพาลมีภัย บัณฑิตไม่มีภัย คนพาลมีอุปัททวะ บัณฑิตไม่มีอุปัททวะ คน
พาลมีอุปสรรค บัณฑิตไม่มีอุปสรรค ภัยไม่มีจากบัณฑิต อุปัททวะไม่มีจากบัณฑิต
อุปสรรคไม่มีจากบัณฑิต
เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า “บุคคลประกอบด้วย
ธรรม ๓ ประการใด พึงทราบว่า เป็นคนพาล เราจักประพฤติเว้นธรรม ๓ ประการ
นั้น บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการใด พึงทราบว่า เป็นบัณฑิต เราจักถือ
ปฏิบัติธรรม ๓ ประการนั้น”
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล

ภยสูตรที่ ๑ จบ

๒. ลักขณสูตร
ว่าด้วยลักษณะคนพาลและบัณฑิต

[๒] ภิกษุทั้งหลาย คนพาลมีกรรมเป็นเครื่องกำหนด บัณฑิตมีกรรมเป็นเครื่อง
กำหนด ปัญญาเมื่อใช้เป็นประจำจึงงดงาม๑ บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ
พึงทราบว่า เป็นคนพาล
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กายทุจริต (ความประพฤติชั่วด้วยกาย)
๒. วจีทุจริต (ความประพฤติชั่วด้วยวาจา)
๓. มโนทุจริต (ความประพฤติชั่วด้วยใจ)
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล พึงทราบว่า เป็นคนพาล


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๑. พาลวรรค ๓. จินตีสูตร

บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ พึงทราบว่า เป็นบัณฑิต
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กายสุจริต (ความประพฤติชอบด้วยกาย)
๒. วจีสุจริต (ความประพฤติชอบด้วยวาจา)
๓. มโนสุจริต (ความประพฤติชอบด้วยใจ)
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล พึงทราบว่า เป็นบัณฑิต
เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า “บุคคลประกอบด้วย
ธรรม ๓ ประการใด พึงทราบว่า เป็นคนพาล เราจักประพฤติเว้นธรรม ๓ ประการ
นั้น บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการใด พึงทราบว่า เป็นบัณฑิต เราจัก
ถือปฏิบัติธรรม ๓ ประการนั้น”
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล

ลักขณสูตรที่ ๒ จบ

๓. จินตีสูตร
ว่าด้วยความคิดระหว่างคนพาลกับบัณฑิต

[๓] ภิกษุทั้งหลาย ลักษณะแห่งคนพาล เครื่องหมายแห่งคนพาล ความ
ประพฤติไม่ขาดสายแห่งคนพาล ๓ ประการนี้
ลักษณะแห่งคนพาล ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
คนพาลในโลกนี้
๑. ชอบคิดแต่เรื่องชั่ว๑ ๒. ชอบพูดแต่เรื่องชั่ว๒
๓. ชอบทำแต่กรรมชั่ว๓


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๑. พาลวรรค ๓. จินตีสูตร

ถ้าคนพาลไม่ชอบคิดเรื่องชั่ว ไม่ชอบพูดเรื่องชั่ว ไม่ชอบทำกรรมชั่วเช่นนั้น
บัณฑิตทั้งหลายจะพึงรู้จักเขาด้วยเหตุไรว่า “ผู้นี้เป็นคนพาล ไม่ใช่คนดี” แต่เพราะ
คนพาลชอบคิดแต่เรื่องชั่ว ชอบพูดแต่เรื่องชั่ว และชอบทำแต่กรรมชั่ว ฉะนั้นบัณฑิต
ทั้งหลายจึงรู้จักเขาว่า “ผู้นี้เป็นคนพาล ไม่ใช่คนดี”
ลักษณะแห่งคนพาล เครื่องหมายแห่งคนพาล ความประพฤติไม่ขาดสายแห่ง
คนพาล ๓ ประการนี้แล
ลักษณะแห่งบัณฑิต เครื่องหมายแห่งบัณฑิต ความประพฤติไม่ขาดสายแห่ง
บัณฑิต ๓ ประการนี้
ลักษณะแห่งบัณฑิต ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
บัณฑิตในโลกนี้
๑. ชอบคิดแต่เรื่องดี ๒. ชอบพูดแต่เรื่องดี
๓. ชอบทำแต่กรรมดี
ถ้าบัณฑิตไม่ชอบคิดเรื่องดี ไม่ชอบพูดเรื่องดี และไม่ชอบทำกรรมดีเช่นนั้น
บัณฑิตทั้งหลายจะพึงรู้จักเขาด้วยเหตุไรว่า “ผู้นี้เป็นบัณฑิต เป็นคนดี” แต่เพราะ
บัณฑิตชอบคิดแต่เรื่องดี ชอบพูดแต่เรื่องดี และชอบทำแต่กรรมดี ฉะนั้นบัณฑิต
ทั้งหลายจึงรู้จักเขาว่า “ผู้นี้เป็นบัณฑิต เป็นคนดี”
ลักษณะแห่งบัณฑิต เครื่องหมายแห่งบัณฑิต ความประพฤติไม่ขาดสายแห่ง
บัณฑิต ๓ ประการนี้แล
เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า “บุคคลประกอบด้วย
ธรรม ๓ ประการใด พึงทราบว่า เป็นคนพาล เราจักประพฤติเว้นธรรม ๓ ประการ
นั้น บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการใด พึงทราบว่า เป็นบัณฑิต เราจักถือ
ปฏิบัติธรรม ๓ ประการนั้น”
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล

จินตีสูตรที่ ๓ จบ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๑. พาลวรรค ๕. อโยนิโสสูตร

๔. อัจจยสูตร
ว่าด้วยการเห็นโทษและไม่เห็นโทษ

[๔] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ พึงทราบว่า เป็น
คนพาล
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่เห็นโทษ๑โดยความเป็นโทษ
๒. เห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้ว ไม่แก้ไขตามสมควรแก่ความผิด
๓. เมื่อผู้อื่นชี้โทษอยู่ ไม่ยอมรับตามสมควรแก่ความผิด
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล พึงทราบว่า เป็นคนพาล
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ พึงทราบว่า เป็นบัณฑิต
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เห็นโทษโดยความเป็นโทษ
๒. เห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้ว แก้ไขตามสมควรแก่ความผิด
๓. เมื่อผู้อื่นชี้โทษอยู่ ก็ยอมรับตามสมควรแก่ความผิด
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล พึงทราบว่า เป็นบัณฑิต
เพราะเหตุนั้น ฯลฯ๒

อัจจยสูตรที่ ๔ จบ

๕. อโยนิโสสูตร
ว่าด้วยการถาม-ตอบโดยไม่แยบคาย

[๕] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ พึงทราบว่า เป็น
คนพาล
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๑. พาลวรรค ๖. อกุสลสูตร

๑. ตั้งปัญหาโดยไม่แยบคาย ๒. ตอบปัญหาโดยไม่แยบคาย
๓. ไม่ชื่นชมยินดีปัญหาที่ผู้อื่นตอบโดยแยบคายด้วยบทพยัญชนะที่
เหมาะสม สละสลวย เข้ารูป
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล พึงทราบว่า เป็นคนพาล
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ พึงทราบว่า เป็นบัณฑิต
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ตั้งปัญหาโดยแยบคาย ๒. ตอบปัญหาโดยแยบคาย
๓. ชื่นชมยินดีปัญหาที่ผู้อื่นตอบโดยแยบคายด้วยบทพยัญชนะที่
เหมาะสม สละสลวย เข้ารูป
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล พึงทราบว่า เป็นบัณฑิต
เพราะเหตุนั้น ฯลฯ

อโยนิโสสูตรที่ ๕ จบ

๖. อกุสลสูตร
ว่าด้วยอกุศลกรรม

[๖] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ พึงทราบว่า เป็น
คนพาล
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กายกรรมที่เป็นอกุศล ๒. วจีกรรมที่เป็นอกุศล
๓. มโนกรรมที่เป็นอกุศล
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล พึงทราบว่า เป็นคนพาล
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ พึงทราบว่า เป็นบัณฑิต
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๑๔๔ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๑. พาลวรรค ๗. สาวัชชสูตร

๑. กายกรรมที่เป็นกุศล ๒. วจีกรรมที่เป็นกุศล
๓. มโนกรรมที่เป็นกุศล
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล พึงทราบว่า เป็นบัณฑิต
เพราะเหตุนั้น ฯลฯ

อกุสลสูตรที่ ๖ จบ

๗. สาวัชชสูตร
ว่าด้วยกรรมที่มีโทษ

[๗] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ พึงทราบว่า เป็น
คนพาล
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กายกรรมที่มีโทษ ๒. วจีกรรมที่มีโทษ
๓. มโนกรรมที่มีโทษ
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล พึงทราบว่า เป็นคนพาล
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ พึงทราบว่า เป็นบัณฑิต
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กายกรรมที่ไม่มีโทษ ๒. วจีกรรมที่ไม่มีโทษ
๓. มโนกรรมที่ไม่มีโทษ
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล พึงทราบว่า เป็นบัณฑิต
เพราะเหตุนั้น ฯลฯ

สาวัชชสูตรที่ ๗ จบ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๑. พาลวรรค ๙. ขตสูตร

๘. สัพยาปัชฌสูตร
ว่าด้วยกรรมที่มีความเบียดเบียน

[๘] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ พึงทราบว่า เป็น
คนพาล
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กายกรรมที่มีความเบียดเบียน ๒. วจีกรรมที่มีความเบียดเบียน
๓. มโนกรรมที่มีความเบียดเบียน
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล พึงทราบว่า เป็นคนพาล
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ พึงทราบว่า เป็นบัณฑิต
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กายกรรมที่ไม่มีความเบียดเบียน ๒. วจีกรรมที่ไม่มีความเบียดเบียน
๓. มโนกรรมที่ไม่มีความเบียดเบียน
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล พึงทราบว่า เป็นบัณฑิต
เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า “บุคคลประกอบด้วย
ธรรม ๓ ประการใด พึงทราบว่า เป็นคนพาล เราจักประพฤติเว้นธรรม ๓ ประการ
นั้น บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการใด พึงทราบว่า เป็นบัณฑิต เราจักถือ
ปฏิบัติธรรม ๓ ประการนั้น”
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล

สัพยาปัชฌสูตรที่ ๘ จบ

๙. ขตสูตร
ว่าด้วยการบริหารตนให้ถูกกำจัด

[๙] ภิกษุทั้งหลาย คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็นอสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม
๓ ประการ ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียน
และประสพ๑สิ่งที่ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๑. พาลวรรค ๑๐. มลสูตร

ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กายทุจริต ๒. วจีทุจริต
๓. มโนทุจริต
คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็นอสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล
ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียน และ
ประสพสิ่งที่ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก
บัณฑิตผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ย่อม
บริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน
และประสพบุญเป็นอันมาก
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กายสุจริต ๒. วจีสุจริต
๓. มโนสุจริต
ภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม ๓
ประการนี้แล ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย
ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพบุญเป็นอันมาก

ขตสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. มลสูตร
ว่าด้วยการละมลทิน

[๑๐] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ไม่ละมลทิน๑ ๓
ประการ ย่อมดำรงอยู่ในนรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๒. รถการวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นคนทุศีลและไม่ละมลทินคือความเป็นคนทุศีล
๒. เป็นคนริษยาและไม่ละมลทินคือความริษยา
๓. เป็นคนตระหนี่และไม่ละมลทินคือความตระหนี่
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล ไม่ละมลทิน ๓ ประการนี้
ดำรงอยู่ในนรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ละมลทิน ๓ ประการ ย่อมดำรงอยู่ใน
สวรรค์เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. มีศีลและละมลทินคือความเป็นคนทุศีล
๒. ไม่ริษยาและละมลทินคือความริษยา
๓. ไม่ตระหนี่และละมลทินคือความตระหนี่
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล ละมลทิน ๓
ประการนี้ ดำรงอยู่ในสวรรค์เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้

มลสูตรที่ ๑๐ จบ
พาลวรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ภยสูตร ๒. ลักขณสูตร
๓. จินตีสูตร ๔. อัจจยสูตร
๕. อโยนิโสสูตร ๖. อกุสลสูตร
๗. สาวัชชสูตร ๘. สัพยาปัชฌสูตร
๙. ขตสูตร ๑๐. มลสูตร


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๒. รถการวรรค ๑. ญาตสูตร

๒. รถการวรรค
หมวดว่าด้วยช่างรถ

๑. ญาตสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้มีชื่อเสียง

[๑๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่มีชื่อเสียง ประกอบ
ด้วยธรรม ๓ ประการ ปฏิบัติเพื่อไม่เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุขแก่คนหมู่
มาก เพื่อไม่ใช่ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ชักชวนในกายกรรมที่ไม่สมควร ๒. ชักชวนในวจีกรรมที่ไม่สมควร
๓. ชักชวนในธรรมที่ไม่สมควร
ภิกษุที่มีชื่อเสียง ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล ปฏิบัติเพื่อไม่เกื้อกูล
แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุขแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อ
ไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ภิกษุที่มีชื่อเสียง ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่คน
หมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุข
แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ชักชวนในกายกรรมที่สมควร ๒. ชักชวนในวจีกรรมที่สมควร
๓. ชักชวนในธรรมที่สมควร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่มีชื่อเสียง ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล
ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มาก
เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

ญาตสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๒. รถการวรรค ๒. สารณียสูตร

๒. สารณียสูตร
ว่าด้วยสถานที่อันกษัตริย์และภิกษุพึงระลึกถึงตลอดชีวิต

[๑๒] ภิกษุทั้งหลาย สถานที่ ๓ แห่งนี้เป็นสถานที่อันกษัตราธิราชผู้ได้รับ
มูรธาภิเษก๑แล้วพึงระลึกถึงตลอดพระชนมชีพ
สถานที่ ๓ แห่ง อะไรบ้าง คือ
๑. กษัตราธิราชผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว ประสูติ ณ สถานที่ใด สถาน
ที่นี้เป็นสถานที่แห่งที่ ๑ อันกษัตราธิราชผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว
พึงระลึกถึงตลอดพระชนมชีพ
๒. กษัตราธิราชผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว ณ สถานที่ใด สถานที่นี้
เป็นสถานที่แห่งที่ ๒ อันกษัตราธิราชผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้วพึง
ระลึกถึงตลอดพระชนมชีพ
๓. กษัตราธิราชผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว ทรงชนะสงครามครั้งใหญ่
พิชิตชัยสงคราม ครอบครองสนามรบใด สนามรบนี้เป็นสถานที่
แห่งที่ ๓ อันกษัตราธิราชผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้วพึงระลึกถึงตลอด
พระชนมชีพ
สถานที่ ๓ แห่งนี้แลอันกษัตราธิราชผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้วพึงระลึกถึงตลอด
พระชนมชีพ
อย่างนั้นเหมือนกันแล สถานที่ ๓ แห่งนี้อันภิกษุพึงระลึกถึงตลอดชีวิต
สถานที่ ๓ แห่ง อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกจากเรือน บวช
เป็นบรรพชิต ณ สถานที่ใด สถานที่นี้เป็นสถานที่แห่งที่ ๑ อัน
ภิกษุพึงระลึกถึงตลอดชีวิต


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๒. รถการวรรค ๓. อาสังสสูตร

๒. ภิกษุรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย(เหตุเกิด
ทุกข์) นี้ทุกขนิโรธ(ความดับทุกข์) นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา(ข้อ
ปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์)” ณ สถานที่ใด สถานที่นี้เป็นสถาน
ที่แห่งที่ ๒ อันภิกษุพึงระลึกถึงตลอดชีวิต
๓. ภิกษุทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ๑ ปัญญาวิมุตติ๒ อันไม่มีอาสวะเพราะ
อาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ณ สถานที่
ใด สถานที่นี้เป็นสถานที่แห่งที่ ๓ อันภิกษุพึงระลึกถึงตลอดชีวิต
ภิกษุทั้งหลาย สถานที่ ๓ แห่งนี้แล อันภิกษุพึงระลึกถึงตลอดชีวิต

สารณียสูตรที่ ๒ จบ

๓. อาสังสสูตร
ว่าด้วยความหวังทางโลกและทางธรรม

[๑๓] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกมีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลที่หมดความหวัง ๒. บุคคลที่ยังมีความหวัง
๓. บุคคลที่ปราศจากความหวัง
บุคคลที่หมดความหวัง เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เกิดในตระกูลต่ำ คือตระกูลจัณฑาล ตระกูลช่างสาน
ตระกูลนายพราน ตระกูลช่างรถ หรือตระกูลคนขนขยะ เป็นตระกูลยากจน มีข้าว
น้ำและสิ่งของเครื่องใช้น้อย เป็นไปอย่างฝืดเคือง เป็นแหล่งที่หาของกินและเครื่อง
นุ่งห่มได้ยาก และเขามีผิวพรรณหม่นหมอง ไม่น่าดู ต่ำเตี้ย มีความเจ็บป่วยมาก
ตาบอด เป็นง่อย เป็นคนกระจอก หรือเป็นโรคอัมพาต มักไม่ได้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๒. รถการวรรค ๓. อาสังสสูตร

ดอกไม้ ของหอม และเครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องที่ทำให้เกิดแสงสว่าง
เขาฟังข่าวว่า “กษัตริย์ทรงพระนามอย่างนี้ได้รับแต่งตั้งโดยการอภิเษกให้เป็นกษัตริย์”
เขาไม่มีความคิดว่า “พวกกษัตริย์จักแต่งตั้งตัวเราโดยการอภิเษกให้เป็นกษัตริย์สัก
คราวหนึ่งเป็นแน่แท้” นี้เรียกว่า บุคคลที่หมดความหวัง
บุคคลที่ยังมีความหวัง เป็นอย่างไร
คือ พระราชโอรสพระองค์พี่ของพระราชามหากษัตริย์ผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว
ในโลกนี้ ผู้ยังไม่ได้รับการแต่งตั้งโดยการอภิเษก ถึงความไม่หวั่นไหว พระองค์สดับ
ว่า “กษัตริย์ผู้มีพระนามอย่างนี้ได้รับแต่งตั้งโดยการอภิเษกให้เป็นกษัตริย์” พระองค์
ทรงดำริอย่างนี้ว่า “พวกกษัตริย์จักแต่งตั้งเราโดยการอภิเษกให้เป็นกษัตริย์สักคราว
หนึ่งเป็นแน่แท้” นี้เรียกว่า บุคคลที่ยังมีความหวัง
บุคคลที่ปราศจากความหวัง เป็นอย่างไร
คือ พระราชาในโลกนี้เป็นกษัตริย์ผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว พระองค์สดับว่า
“กษัตริย์ผู้มีพระนามอย่างนี้ได้รับแต่งตั้งโดยการอภิเษกให้เป็นกษัตริย์” พระองค์ย่อม
ไม่ทรงดำริว่า “พวกกษัตริย์จักแต่งตั้งแม้เราโดยการอภิเษกให้เป็นกษัตริย์สักคราว
หนึ่งเป็นแน่แท้” ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะความหวังในการอภิเษกของพระองค์ เมื่อ
ครั้งยังไม่ได้รับการอภิเษกระงับไปแล้ว นี้เรียกว่า บุคคลที่ปราศจากความหวัง
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก ฉันใด
บุคคล ๓ จำพวกก็มีปรากฏอยู่ในหมู่ภิกษุ ฉันนั้นเหมือนกันแล
บุคคล ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลที่หมดความหวัง ๒. บุคคลที่ยังมีความหวัง
๓. บุคคลที่ปราศจากความหวัง
บุคคลที่หมดความหวัง เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นคนทุศีล๑ มีธรรมเลวทราม ไม่สะอาด๒ มี
ความประพฤติที่น่ารังเกียจ มีการงานปกปิด ไม่ใช่สมณะ แต่ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๒. รถการวรรค ๓. อาสังสสูตร

ไม่ใช่พรหมจารี แต่ปฏิญญาว่าเป็นพรหมจารี๑ เน่าภายใน ชุ่มด้วยราคะ เป็นเหมือน
หยากเยื่อ๒ เธอสดับว่า “ภิกษุชื่อนี้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ
เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน” เธอไม่มีความคิดอย่างนี้
ว่า “แม้เราก็จักทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไป
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบันสักคราวหนึ่งเป็นแน่แท้” นี้เรียกว่า บุคคล
ที่หมดความหวัง
บุคคลที่ยังมีความหวัง เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีศีล มีกัลยาณธรรม เธอสดับว่า “ภิกษุชื่อนี้ทำให้
แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน” เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า “แม้เราก็จักทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญา-
วิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบันสัก
คราวหนึ่งเป็นแน่แท้” นี้เรียกว่า บุคคลที่ยังมีความหวัง
บุคคลที่ปราศจากความหวัง เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันต์ สิ้นอาสวะ เธอสดับว่า “ภิกษุชื่อนี้
ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอัน
ยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน” เธอไม่มีความคิดอย่างนี้ว่า “แม้เราก็จักทำให้แจ้งเจโต
วิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึง
อยู่ในปัจจุบันสักคราวหนึ่งเป็นแน่แท้” ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะความหวังในความ
หลุดพ้น ของเธอเมื่อครั้งยังไม่หลุดพ้นระงับไปแล้ว นี้เรียกว่า บุคคลที่ปราศจาก
ความหวัง
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในหมู่ภิกษุ

อาสังสสูตรที่ ๓ จบ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๒. รถการวรรค ๔. จักกวัตติสูตร

๔. จักกวัตติสูตร
ว่าด้วยความเป็นราชาของพระเจ้าจักรพรรดิและพระพุทธเจ้า

[๑๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม
เป็นธรรมราชา ย่อมไม่ทรงให้จักรที่มิใช่ของพระราชาหมุนไป”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลถามพระผู้มีพระ
ภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรเป็นราชาของพระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม
เป็นธรรมราชา”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ธรรม๑ เป็นราชาของพระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรง
ธรรม เป็นธรรมราชา” แล้วตรัสต่อไปว่า
๑. พระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม เป็นธรรมราชาในโลกนี้ ทรงอาศัย
ธรรมเท่านั้น สักการะธรรม เคารพธรรม นอบน้อมธรรม เชิดชูธรรม
ยกย่องธรรม มีธรรมเป็นใหญ่ ทรงจัดการรักษา ป้องกัน และคุ้มครอง
ชนภายใน๒โดยธรรม
๒. พระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม เป็นธรรมราชา ทรงอาศัยธรรมเท่านั้น
สักการะธรรม เคารพธรรม นอบน้อมธรรม เชิดชูธรรม ยกย่องธรรม
มีธรรมเป็นใหญ่ ทรงจัดการรักษา ป้องกัน และคุ้มครองพวกกษัตริย์
ผู้ตามเสด็จ กำลังพล พราหมณ์ คหบดี ชาวนิคม ชาวชนบท
สมณพราหมณ์ สัตว์จำพวกเนื้อ และนกโดยธรรม
๓. พระเจ้าจักรพรรดินั้นแลผู้ทรงธรรม เป็นธรรมราชา ทรงอาศัยธรรม
เท่านั้น สักการะธรรม เคารพธรรม นอบน้อมธรรม เชิดชูธรรม
ยกย่องธรรม มีธรรมเป็นใหญ่ ทรงจัดการรักษา ป้องกัน และคุ้มครอง
ชนภายใน พวกกษัตริย์ ... กำลังพล ... พราหมณ์ คหบดี ... ชาวนิคม


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๒. รถการวรรค ๔. จักกวัตติสูตร

ชาวชนบท ... สมณพราหมณ์ ... สัตว์จำพวกเนื้อ และนกโดยธรรม
แล้วจึงให้จักรหมุนไปโดยธรรมเท่านั้น จักร๑นั้นใคร ๆ ที่เป็นมนุษย์
เป็นข้าศึก และเป็นสัตว์มีชีวิต ให้หมุนกลับไม่ได้
ในทำนองเดียวกัน
๑. พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงธรรม เป็นธรรมราชา๒ ทรง
อาศัยธรรมเท่านั้น สักการะธรรม เคารพธรรม นอบน้อมธรรม เชิดชู
ธรรม ยกย่องธรรม มีธรรมเป็นใหญ่ ทรงจัดการรักษา ป้องกัน และ
คุ้มครองกายกรรมโดยธรรมว่า “กายกรรมเช่นนี้ควรเสพ๓ กายกรรม
เช่นนี้ไม่ควรเสพ”
๒. พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงธรรม เป็นธรรมราชา ทรง
อาศัยธรรมเท่านั้น สักการะธรรม เคารพธรรม นอบน้อมธรรม เชิดชู
ธรรม ยกย่องธรรม มีธรรมเป็นใหญ่ ทรงจัดการรักษา ป้องกัน และ
คุ้มครองวจีกรรมโดยธรรมว่า “วจีกรรมเช่นนี้ควรเสพ วจีกรรมเช่นนี้
ไม่ควรเสพ”
๓. พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงธรรม เป็นธรรมราชา ทรง
อาศัยธรรมเท่านั้น สักการะธรรม เคารพธรรม นอบน้อมธรรม เชิดชู
ธรรม ยกย่องธรรม มีธรรมเป็นใหญ่ ทรงจัดการรักษา ป้องกัน และ
คุ้มครองมโนกรรมโดยธรรมว่า “มโนกรรมเช่นนี้ควรเสพ มโนกรรม
เช่นนี้ไม่ควรเสพ”
พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นแลผู้ทรงธรรม เป็นธรรมราชา
ทรงอาศัยธรรมเท่านั้น สักการะธรรม เคารพธรรม นอบน้อมธรรม เชิดชูธรรม


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๒. รถการวรรค ๕. ปเจตนสูตร

ยกย่องธรรม มีธรรมเป็นใหญ่ ทรงจัดการรักษา ป้องกัน และคุ้มครองกายกรรม
วจีกรรม และมโนกรรมโดยธรรมแล้วจึงทรงให้ธรรมจักรที่ยอดเยี่ยมหมุนไปโดย
ธรรมเท่านั้น จักร๑นั้นอันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ
ในโลกให้หมุนกลับไม่ได้

จักกวัตติสูตรที่ ๔ จบ

๕. ปเจตนสูตร
ว่าด้วยพระเจ้าปเจตนะรับสั่งให้ช่างทำล้อรถ

[๑๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
เขตกรุงพาราณสี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัส
เรื่องนี้ว่า
ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว มีพระราชาพระองค์หนึ่งทรงพระนามว่า
ปเจตนะ ครั้งนั้น พระเจ้าปเจตนะรับสั่งเรียกนายช่างรถมาตรัสว่า “นายช่างรถสหาย
รัก นับแต่นี้ไปอีก ๖ เดือน ฉันจะทำสงคราม ท่านจะสามารถทำล้อคู่ใหม่ให้ฉัน
ได้ไหม”
นายช่างรถทูลว่า “สามารถ พระเจ้าข้า”
ลำดับนั้น นายช่างรถทำล้อข้างหนึ่งสำเร็จโดยใช้เวลา ๕ เดือน ๒๔ วัน
พระเจ้าปเจตนะรับสั่งเรียกนายช่างรถมาตรัสว่า “นายช่างรถสหายรัก นับ
จากนี้ไป ๖ วัน ฉันจะทำสงคราม ล้อคู่ใหม่ทำสำเร็จแล้วหรือ”
นายช่างรถทูลว่า “ล้อข้างหนึ่งทำสำเร็จแล้วโดยใช้เวลา ๕ เดือน ๒๔ วัน
พระเจ้าข้า”


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๒. รถการวรรค ๕. ปเจตนสูตร

พระเจ้าปเจตนะตรัสถามว่า “นายช่างรถสหายรัก โดยใช้เวลา ๖ วันนับ
จากวันนี้ ท่านจักสามารถทำล้อที่ ๒ สำเร็จได้ไหม”
นายช่างรถทูลรับรองว่า “สามารถ พระเจ้าข้า” แล้วทำล้อที่ ๒ สำเร็จโดย
ใช้เวลา ๖ วัน ถือล้อคู่ใหม่เข้าไปเฝ้าพระเจ้าปเจตนะถึงที่ประทับ ได้ทูลพระเจ้า
ปเจตนะว่า “ขอเดชะ ล้อคู่ใหม่นี้ของพระองค์สำเร็จแล้ว”
พระเจ้าปเจตนะรับสั่งถามว่า “นายช่างรถสหายรัก ล้อข้างที่ทำสำเร็จโดยใช้
เวลา ๕ เดือน ๒๔ วัน กับล้อข้างที่ทำสำเร็จโดยใช้เวลา ๖ วันของท่าน มี
เหตุอะไรทำให้แตกต่างกัน ฉันจะเห็นเหตุที่ทำให้แตกต่างกันได้อย่างไร”
นายช่างรถทูลว่า “ขอเดชะ เหตุที่ทำให้แตกต่างกันมีอยู่ ขอพระองค์จง
ทอดพระเนตรความแตกต่างกันเถิด”
ลำดับนั้นแล นายช่างรถหมุนล้อข้างที่ทำสำเร็จโดยใช้เวลา ๖ วัน ล้อนั้นเมื่อ
นายช่างรถหมุนก็หมุนไปได้เท่าที่นายช่างรถหมุนแล้วหมุนเวียนล้มลงที่พื้นดิน นาย
ช่างรถหมุนล้อข้างที่ทำสำเร็จโดยใช้เวลา ๕ เดือน ๒๔ วัน ล้อนั้นเมื่อนายช่างรถ
หมุนก็หมุนไปได้เท่าที่นายช่างรถหมุนแล้วตั้งอยู่ได้เหมือนอยู่ในเพลา
พระเจ้าปเจตนะตรัสถามว่า “อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ล้อข้างที่ทำสำเร็จ
โดยใช้เวลา ๖ วันนี้เมื่อท่านหมุนไปจึงหมุนไปได้เท่าที่ท่านหมุนแล้วหมุนเวียนล้มลงที่
พื้นดิน อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ล้อข้างที่ทำสำเร็จโดยใช้เวลา ๕ เดือน ๒๔ วัน
เมื่อท่านหมุนจึงหมุนไปได้เท่าที่ท่านหมุนแล้วตั้งอยู่ได้เหมือนอยู่ในเพลา”
นายช่างรถกราบทูลว่า “ขอเดชะ กงของล้อข้างที่ทำสำเร็จโดยใช้เวลา ๖ วัน
คด มีปุ่มปม ทั้งแก่นและกระพี้ยังมียาง แม้กำก็คด มีปุ่มปม ทั้งแก่นและกระพี้
ยังมียาง แม้ดุมก็คด มีปุ่มปม ทั้งแก่นและกระพี้ยังมียาง เพราะกงคด เป็นปุ่มปม
ทั้งแก่นและกระพี้ยังมียาง เพราะแม้กำก็คด เป็นปุ่มปม ทั้งแก่นและกระพี้ยังมียาง
เพราะแม้ดุมก็คด เป็นปุ่มปม ทั้งแก่นและกระพี้ยังมียาง ล้อนั้นเมื่อข้าพระองค์
หมุนจึงหมุนไปได้เท่าที่ข้าพระองค์หมุนแล้วหมุนเวียนล้มลงที่พื้นดิน ขอเดชะ ส่วน
กงของล้อข้างที่ทำสำเร็จโดยใช้เวลา ๕ เดือน ๒๔ วัน ไม่คด ไม่มีปุ่มปม ไม่มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๑๕๗ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๒. รถการวรรค ๕. ปเจตนสูตร

แก่นและกระพี้ที่มียาง แม้กำก็ไม่คด ไม่มีปุ่มปม ไม่มีแก่นและกระพี้ที่มียาง แม้ดุม
ก็ไม่คด ไม่มีปุ่มปม ไม่มีแก่นและกระพี้ที่มียาง เพราะกงไม่คด ไม่มีปุ่มปม ไม่มี
แก่นและกระพี้ที่มียาง เพราะแม้กำก็ไม่คด ไม่มีปุ่มปม ไม่มีแก่นและกระพี้ที่มียาง
เพราะแม้ดุมก็ไม่คด ไม่มีปุ่มปม ไม่มีแก่นและกระพี้ที่มียาง ล้อนั้นเมื่อข้าพระองค์
หมุนจึงหมุนไปได้เท่าที่ข้าพระองค์หมุนแล้วตั้งอยู่ได้เหมือนอยู่ในเพลา”
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายอาจจะคิดอย่างนี้ว่า “สมัยนั้น นายช่างรถคงเป็น
คนอื่นแน่” แต่ข้อนี้เธอทั้งหลายไม่พึงเห็นอย่างนี้ สมัยนั้น เราคือนายช่างรถนั้น
ในครั้งนั้นเราเป็นคนฉลาดในความคดของไม้ ในปุ่มปมของไม้ ในแก่นและกระพี้ที่มี
ยางของไม้ แต่ในปัจจุบันนี้เราเป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า (๑) ฉลาดในความคด
ของกาย โทษของกาย มลทิน๑ของกาย (๒) ฉลาดในความคดของวาจา โทษของ
วาจา มลทินของวาจา (๓) ฉลาดในความคดของใจ โทษของใจ มลทินของใจ ภิกษุ
หรือภิกษุณีผู้ไม่ละความคดของกาย โทษของกาย มลทินของกาย ไม่ละความคดของ
วาจา โทษของวาจา มลทินของวาจา และไม่ละความคดของใจ โทษของใจ มลทิน
ของใจ ชื่อว่าได้พลัดตกไปจากธรรมวินัยนี้เหมือนล้อข้างที่ทำสำเร็จโดยใช้เวลา ๖ วัน
ภิกษุหรือภิกษุณีผู้ละความคดของกาย โทษของกาย และมลทินของกาย
ละความคดของวาจา โทษของวาจา และมลทินของวาจา ละความคดของใจ โทษ
ของใจ และมลทินของใจ ชื่อว่าดำรงมั่นอยู่ในธรรมวินัยนี้เหมือนล้อข้างที่ทำสำเร็จ
โดยใช้เวลา ๕ เดือน ๒๔ วัน
เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า “เราทั้งหลายจักละความ
คดของกาย โทษของกาย และมลทินของกาย จักละความคดของวาจา โทษของ
วาจา และมลทินของวาจา จักละความคดของใจ โทษของใจ และมลทินของใจ”
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล

ปเจตนสูตรที่ ๕ จบ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๒. รถการวรรค ๖. อปัณณกสูตร

๖. อปัณณกสูตร
ว่าด้วยข้อปฏิบัติไม่ผิด

[๑๖] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ชื่อว่าปฏิบัติ
ไม่ผิด และเธอชื่อว่าปรารภเหตุเพื่อความสิ้นอาสวะ
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. คุ้มครองทวารในอินทรีย์ ๒. รู้ประมาณในการบริโภคอาหาร
๓. ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนือง ๆ
ภิกษุชื่อว่าคุ้มครองทวารในอินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปด้วยตาแล้วไม่รวบถือ๑ ไม่แยกถือ๒ ปฏิบัติ
เพื่อสำรวมในจักขุนทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้ถูกบาปอกุศลธรรมคือ
อภิชฌา(เพ่งเล็งอยากได้ของเขา)และโทมนัส(ความทุกข์ใจ)ครอบงำได้ จึงรักษา
จักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียงด้วยหู ฯลฯ ดมกลิ่นด้วยจมูก ฯลฯ
ลิ้มรสด้วยลิ้น ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ฯลฯ รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว
ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ปฏิบัติเพื่อสำรวมในมนินทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะพึง
เป็นเหตุให้ถูกบาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จึงรักษามนินทรีย์
ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ภิกษุชื่อว่าคุ้มครองทวารในอินทรีย์ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุชื่อว่ารู้ประมาณในการบริโภคอาหาร เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาโดยแยบคายแล้วฉันอาหาร ไม่ใช่เพื่อเล่น
ไม่ใช่เพื่อมัวเมา ไม่ใช่เพื่อประดับ ไม่ใช่เพื่อตกแต่ง แต่เพียงเพื่อความดำรงอยู่ได้


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๒. รถการวรรค ๗. อัตตพยาพาธสูตร

แห่งกายนี้ เพื่อให้กายนี้เป็นไปได้ เพื่อกำจัดความเบียดเบียน เพื่ออนุเคราะห์
พรหมจรรย์ด้วยคิดเห็นว่า “เราจักกำจัดเวทนาเก่า และจักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น
ความดำเนินไปแห่งกาย ความไม่มีโทษ และความอยู่ผาสุกจักมีแก่เรา” ภิกษุชื่อว่า
รู้ประมาณในการบริโภคอาหาร เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุชื่อว่าประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนือง ๆ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมที่เป็นตัวขัดขวางด้วยการ
จงกรม ด้วยการนั่งตลอดวัน ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมที่เป็นตัวขัดขวางด้วยการ
จงกรม ด้วยการนั่งตลอดปฐมยามแห่งราตรี นอนดุจราชสีห์โดยข้างเบื้องขวาซ้อน
เท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ หมายใจว่าจะลุกขึ้นในมัชฌิมยามแห่งราตรี ลุกขึ้น
ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมที่เป็นตัวขัดขวางด้วยการจงกรม ด้วยการนั่งตลอดปัจฉิม-
ยามแห่งราตรี ภิกษุชื่อว่าประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนือง ๆ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล ชื่อว่าปฏิบัติไม่ผิด
และเธอชื่อว่าปรารภเหตุเพื่อความสิ้นอาสวะ

อปัณณกสูตรที่ ๖ จบ

๗. อัตตพยาพาธสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตน

[๑๗] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเอง เป็นไป
เพื่อเบียดเบียนผู้อื่น และเป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่าย
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กายทุจริต (ความประพฤติชั่วด้วยกาย)
๒. วจีทุจริต (ความประพฤติชั่วด้วยวาจา)
๓. มโนทุจริต (ความประพฤติชั่วด้วยใจ)
ธรรม ๓ ประการนี้แลเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเอง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น
และเป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่าย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๑๖๐ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๒. รถการวรรค ๙. ปฐมปปาณิกสูตร

ธรรม ๓ ประการนี้ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเอง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียน
ผู้อื่น และไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่าย
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กายสุจริต (ความประพฤติชอบด้วยกาย)
๒. วจีสุจริต (ความประพฤติชอบด้วยวาจา)
๓. มโนสุจริต (ความประพฤติชอบด้วยใจ)
ธรรม ๓ ประการนี้แลไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเอง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียน
ผู้อื่น และไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่าย

อัตตพยาพาธสูตรที่ ๗ จบ

๘. เทวโลกสูตร
ว่าด้วยเทวโลก

[๑๘] “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกจะพึงถามเธอทั้งหลาย
อย่างนี้ว่า ‘พวกท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระสมณโคดมเพื่อเข้าถึงเทวโลกหรือ’
เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้พึงอึดอัด ระอา รังเกียจ มิใช่หรือ”
เมื่อภิกษุพวกนั้นกราบทูลว่า “เป็นเช่นนั้น พระพุทธเจ้าข้า” จึงตรัสต่อไปว่า
“ทราบมาว่า เธอทั้งหลายอึดอัด ระอา รังเกียจอายุทิพย์ วรรณะทิพย์ สุขทิพย์
ยศทิพย์ และอธิปไตยทิพย์ แต่เบื้องต้นทีเดียว เธอทั้งหลายควรอึดอัด ระอา
รังเกียจกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต”

เทวโลกสูตรที่ ๘ จบ

๙. ปฐมปาปณิกสูตร
ว่าด้วยคุณสมบัติของพ่อค้า สูตรที่ ๑

[๑๙] ภิกษุทั้งหลาย พ่อค้าประกอบด้วยองค์ ๓ ประการ ไม่อาจได้โภคทรัพย์
ที่ยังไม่ได้ หรือทำโภคทรัพย์ที่ได้แล้วให้เพิ่มพูนมากขึ้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๑๖๑ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๒. รถการวรรค ๙. ปฐมปปาณิกสูตร

องค์ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
พ่อค้าในโลกนี้
๑. เวลาเช้า ไม่ตั้งใจจัดแจงการงานให้ดี
๒. เวลาเที่ยง ไม่ตั้งใจจัดแจงการงานให้ดี
๓. เวลาเย็น ไม่ตั้งใจจัดแจงการงานให้ดี
พ่อค้าประกอบด้วยองค์ ๓ ประการนี้แล ไม่อาจได้โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้ หรือ
ทำโภคทรัพย์ที่ได้แล้วให้เพิ่มพูนมากขึ้น ฉันใด
ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ไม่อาจบรรลุ
กุศลธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ หรือทำกุศลธรรมที่ได้บรรลุแล้วให้เจริญมากขึ้น
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เวลาเช้า ไม่ตั้งใจเข้าสมาธิ
๒. เวลาเที่ยง ไม่ตั้งใจเข้าสมาธิ
๓. เวลาเย็น ไม่ตั้งใจเข้าสมาธิ
ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล ไม่อาจบรรลุกุศลธรรมที่ยังไม่ได้
บรรลุ หรือทำกุศลธรรมที่ได้บรรลุแล้วให้เจริญมากขึ้น
พ่อค้าประกอบด้วยองค์ ๓ ประการ อาจได้โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้ หรือทำ
โภคทรัพย์ที่ได้แล้วให้เพิ่มพูนมากขึ้น
องค์ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
พ่อค้าในโลกนี้
๑. เวลาเช้า ตั้งใจจัดแจงการงานดี
๒. เวลาเที่ยง ตั้งใจจัดแจงการงานดี
๓. เวลาเย็น ตั้งใจจัดแจงการงานดี
พ่อค้าประกอบด้วยองค์ ๓ ประการนี้แล อาจได้โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้ หรือ
ทำโภคทรัพย์ที่ได้แล้วให้เพิ่มพูนมากขึ้น ฉันใด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๑๖๒ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๒. รถการวรรค ๑๐. ทุติยปาปณิกสูตร

ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล อาจบรรลุกุศล
ธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ หรือทำกุศลธรรมที่ได้บรรลุแล้วให้เจริญมากขึ้น
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เวลาเช้า ตั้งใจเข้าสมาธิ
๒. เวลาเที่ยง ตั้งใจเข้าสมาธิ
๓. เวลาเย็น ตั้งใจเข้าสมาธิ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล อาจบรรลุกุศล
ธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ หรือทำกุศลธรรมที่ได้บรรลุแล้วให้เจริญมากขึ้น

ปฐมปาปณิกสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ทุติยปาปณิกสูตร
ว่าด้วยคุณสมบัติของพ่อค้า สูตรที่ ๒

[๒๐] ภิกษุทั้งหลาย พ่อค้าประกอบด้วยองค์ ๓ ประการ ไม่นานนักก็ถึง
ความเป็นผู้ยิ่งใหญ่ไพบูลย์ในโภคทรัพย์
องค์ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
พ่อค้าในโลกนี้
๑. มีตาดี ๒. มีธุรกิจดี
๓. เพียบพร้อมด้วยที่พักพิงอาศัย
พ่อค้าชื่อว่ามีตาดี เป็นอย่างไร
คือ พ่อค้าในโลกนี้รู้จักสินค้าว่า “สินค้านี้ ซื้อมาเท่านี้ ขายไปอย่างนี้ จัก
มีมูลค่าประมาณเท่านี้ มีกำไรเท่านี้” พ่อค้าชื่อว่ามีตาดี เป็นอย่างนี้แล
พ่อค้าชื่อว่ามีธุรกิจดี เป็นอย่างไร
คือ พ่อค้าเป็นคนฉลาดซื้อและขายสินค้าได้ พ่อค้าชื่อว่ามีธุรกิจดี เป็นอย่าง
นี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๑๖๓ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๒. รถการวรรค ๑๐. ทุติยปาปณิกสูตร

พ่อค้าชื่อว่าเพียบพร้อมด้วยที่พักพิงอาศัย เป็นอย่างไร
คือ คหบดีหรือบุตรคหบดีผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคทรัพย์มาก ย่อมรู้จัก
พ่อค้าในโลกนี้อย่างนี้ว่า “พ่อค้าผู้นี้แลมีตาดี มีธุรกิจดี และสามารถที่จะเลี้ยงดู
บุตรภรรยาได้ทั้งใช้คืนให้แก่พวกเราได้ตามกำหนดเวลา” คหบดีหรือบุตรคหบดีเหล่านั้น
ย่อมเชื้อเชิญพ่อค้านั้นด้วยโภคทรัพย์ว่า “นับแต่นี้ไป ท่านจงนำโภคทรัพย์ไปเลี้ยงดู
บุตรภรรยา และใช้คืนให้พวกเราตามกำหนดเวลา” พ่อค้าชื่อว่าเพียบพร้อมด้วยที่
พักพิงอาศัย เป็นอย่างนี้แล
พ่อค้าประกอบด้วยองค์ ๓ ประการนี้แล ไม่นานนักก็ถึงความเป็นผู้ยิ่งใหญ่
ไพบูลย์ในโภคทรัพย์ ฉันใด
ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ไม่นานนักก็
บรรลุความเป็นผู้ยิ่งใหญ่ไพบูลย์ในกุศลธรรม
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. มีตาดี ๒. มีธุระดี
๓. เพียบพร้อมด้วยที่พักพิงอาศัย
ภิกษุชื่อว่ามีตาดี เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้
ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา” ภิกษุชื่อว่ามีตาดี เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุชื่อว่ามีธุระดี เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรมเกิด
มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย ภิกษุชื่อ
ว่ามีธุระดี เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุชื่อว่าเพียบพร้อมด้วยที่พักพิงอาศัย เป็นอย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๑๖๔ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๒. รถการวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าไปหาภิกษุผู้เป็นพหูสูต ผู้เรียนจบคัมภีร์๑ ทรงธรรม
ทรงวินัย ทรงมาติกา ตามเวลาสมควร สอบสวนไต่ถามว่า “พุทธพจน์นี้เป็นอย่างไร
เนื้อความแห่งพุทธพจน์นี้เป็นอย่างไร” ท่านผู้คงแก่เรียนเหล่านั้นย่อมเปิดเผยธรรม
ที่ยังไม่ได้เปิดเผย ทำให้ง่ายซึ่งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้ง่าย และบรรเทาความสงสัย
ในธรรมที่น่าสงสัยหลายอย่าง ภิกษุชื่อว่าเพียบพร้อมด้วยที่พักพิงอาศัย เป็น
อย่างนี้แล
ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล ไม่นานนักก็บรรลุความเป็นผู้ยิ่ง
ใหญ่ไพบูลย์ในกุศลธรรม

ทุติยปาปณิกสูตรที่ ๑๐ จบ

รถการวรรคที่ ๒ จบ

ปฐมภาณวาร จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ญาตสูตร ๒. สารณียสูตร
๓. อาสังสสูตร ๔. จักกวัตติสูตร
๕. ปเจตนสูตร ๖. อปัณณกสูตร
๗. อัตตพยาพาธสูตร ๘. เทวโลกสูตร
๙. ปฐมปาปณิกสูตร ๑๐. ทุติยปาปณิกสูตร


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๓. ปุคคลวรรค ๑. สวิฏฐสูตร

๓. ปุคคลวรรค
หมวดว่าด้วยบุคคล

๑. สวิฏฐสูตร
ว่าด้วยพระสวิฏฐะและมหาโกฏฐิตะ

[๒๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระสวิฏฐะและท่านพระมหาโกฏฐิตะเข้าไป
หาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจพอเป็นที่ระลึก
ถึงกันเแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวกับท่านพระสวิฏฐะดังนี้ว่า
ท่านสวิฏฐะ บุคคล ๓ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. กายสักขีบุคคล๑ ๒. ทิฏฐิปัตตบุคคล๒
๓. สัทธาวิมุตตบุคคล๓
บุคคล ๓ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก บรรดาบุคคล ๓ จำพวกนี้ ท่าน
ชอบใจบุคคลจำพวกไหนซึ่งดียิ่งกว่าและประณีตกว่า
ท่านพระสวิฏฐะตอบว่า บุคคล ๓ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๓. ปุคคลวรรค ๑. สวิฏฐสูตร

๑. กายสักขีบุคคล ๒. ทิฏฐิปัตตบุคคล
๓. สัทธาวิมุตตบุคคล
บุคคล ๓ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก บรรดาบุคคล ๓ จำพวกนี้ ผม
ชอบใจสัทธาวิมุตตบุคคลซึ่งดียิ่งกว่าและประณีตกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ
สัทธินทรีย์ของบุคคลนี้แก่กล้ายิ่งนัก
ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวกับท่านพระมหาโกฏฐิตะดังนี้ว่า บุคคล
๓ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. กายสักขีบุคคล ๒. ทิฏฐิปัตตบุคคล
๓. สัทธาวิมุตตบุคคล
บุคคล ๓ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก บรรดาบุคคล ๓ จำพวกนี้ ท่าน
ชอบใจบุคคลจำพวกไหนซึ่งดียิ่งกว่าและประณีตกว่า
ท่านพระมหาโกฏฐิตะตอบว่า บุคคล ๓ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. กายสักขีบุคคล ๒. ทิฏฐิปัตตบุคคล
๓. สัทธาวิมุตตบุคคล
บุคคล ๓ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก บรรดาบุคคล ๓ จำพวกนี้ ผม
ชอบใจกายสักขีบุคคลซึ่งดียิ่งกว่าและประณีตกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ
สมาธินทรีย์ของบุคคลนี้แก่กล้ายิ่งนัก
ลำดับนั้น ท่านพระมหาโกฏฐิตะได้ถามปัญหานี้กับท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า
บุคคล ๓ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. กายสักขีบุคคล ๒. ทิฏฐิปัตตบุคคล
๓. สัทธาวิมุตตบุคคล
บุคคล ๓ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก บรรดาบุคคล ๓ จำพวกนี้ ท่าน
ชอบใจบุคคลจำพวกไหนซึ่งดียิ่งกว่าและประณีตกว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๑๖๗ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๓. ปุคคลวรรค ๑. สวิฏฐสูตร

ท่านพระสารีบุตรตอบว่า บุคคล ๓ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. กายสักขีบุคคล ๒. ทิฏฐิปัตตบุคคล
๓. สัทธาวิมุตตบุคคล
บุคคล ๓ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก บรรดาบุคคล ๓ จำพวกนี้ ผม
ชอบใจทิฏฐิปัตตบุคคลซึ่งดียิ่งกว่าและประณีตกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ
ปัญญินทรีย์ของบุคคลนี้แก่กล้ายิ่งนัก
ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวกับท่านพระสวิฏฐะและท่านพระมหาโกฏฐิตะ
ดังนี้ว่า “พวกเราทั้งหมดต่างตอบปัญหาตามปฏิภาณของตน มาไปด้วยกันเถิด เรา
จักเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ กราบทูลข้อความนี้ เราจักทรงจำข้อความ
ตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสตอบแก่เรา” ท่านพระสวิฏฐะและท่านพระมหาโกฏฐิตะ
ตอบรับท่านพระสารีบุตรแล้ว
ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตร ท่านพระสวิฏฐะ และท่านพระมหาโกฏฐิตะเข้า
ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ท่านพระ
สารีบุตรผู้นั่ง ณ ที่สมควรแล้ว ได้กราบทูลข้อสนทนาทั้งหมดกับท่านพระสวิฏฐะ
และท่านพระมหาโกฏฐิตะแด่พระผู้มีพระภาค
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ในเรื่องนี้ การตอบปัญหาโดยนัยเดียวว่า บรรดา
บุคคล ๓ จำพวกนี้ บุคคลนี้ดียิ่งกว่าและประณีตกว่า ไม่ใช่จะทำได้ง่าย เพราะอาจ
เป็นไปได้ว่า สัทธาวิมุตตบุคคลเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเป็นอรหันต์ กายสักขีบุคคล
เป็นสกทาคามีหรืออนาคามี ทิฏฐิปัตตบุคคลเป็นสกทาคามีหรืออนาคามี
ในเรื่องนี้ การตอบปัญหาโดยนัยเดียวว่า บรรดาบุคคล ๓ จำพวกนี้ บุคคล
นี้ดียิ่งกว่าและประณีตกว่า ไม่ใช่จะทำได้ง่าย เพราะอาจเป็นไปได้ว่า กายสักขีบุคคล
เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเป็นอรหันต์ สัทธาวิมุตตบุคคลเป็นสกทาคามีหรืออนาคามี
ทิฏฐิปัตตบุคคลเป็นสกทาคามีหรืออนาคามี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๑๖๘ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๓. ปุคคลวรรค ๒. คิลานสูตร

ในเรื่องนี้ การตอบปัญหาโดยนัยเดียวว่า บรรดาบุคคล ๓ จำพวกนี้ บุคคล
นี้ดียิ่งกว่าและประณีตกว่า ไม่ใช่จะทำได้ง่าย เพราะอาจเป็นไปได้ว่า ทิฏฐิปัตตบุคคล
เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเป็นอรหันต์ สัทธาวิมุตตบุคคลเป็นสกทาคามีหรืออนาคามี
กายสักขีบุคคลเป็นสกทาคามีหรืออนาคามี
ในเรื่องนี้ การตอบปัญหาโดยนัยเดียวว่า บรรดาบุคคล ๓ จำพวกนี้ บุคคล
นี้ดียิ่งกว่าและประณีตกว่า ไม่ใช่จะทำได้ง่าย

สวิฏฐสูตรที่ ๑ จบ

๒. คิลานสูตร
ว่าด้วยคนไข้และบุคคลผู้เปรียบด้วยคนไข้

[๒๒] ภิกษุทั้งหลาย คนไข้ ๓ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
คนไข้ ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. คนไข้บางคนในโลกนี้ได้โภชนะที่เป็นสัปปายะ๑ หรือไม่ได้โภชนะที่เป็น
สัปปายะก็ตาม ได้ยาที่เป็นสัปปายะ หรือไม่ได้ยาที่เป็นสัปปายะก็ตาม
และได้คนพยาบาลที่เหมาะสม หรือไม่ได้คนพยาบาลที่เหมาะสมก็ตาม
ย่อมไม่หายจากอาพาธนั้นได้เลย
๒. คนไข้บางคนในโลกนี้ได้โภชนะที่เป็นสัปปายะ หรือไม่ได้โภชนะที่เป็น
สัปปายะก็ตาม ได้ยาที่เป็นสัปปายะ หรือไม่ได้ยาที่เป็นสัปปายะก็ตาม
และได้คนพยาบาลที่เหมาะสม หรือไม่ได้คนพยาบาลที่เหมาะสมก็ตาม
ย่อมหายจากอาพาธนั้นได้
๓. คนไข้บางคนในโลกนี้ได้โภชนะที่เป็นสัปปายะจึงหายจากอาพาธนั้น เมื่อ
ไม่ได้ ย่อมไม่หาย ได้ยาที่เป็นสัปปายะจึงหายจากอาพาธนั้น เมื่อ
ไม่ได้ย่อมไม่หาย และได้คนพยาบาลที่เหมาะสมจึงหายจากอาพาธนั้น
เมื่อไม่ได้ย่อมไม่หาย


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๓. ปุคคลวรรค ๒. คิลานสูตร

บรรดาคนไข้ ๓ จำพวกนั้น คนไข้ใดได้โภชนะที่เป็นสัปปายะจึงหายจากอาพาธ
นั้น เมื่อไม่ได้ย่อมไม่หาย ได้ยาที่เป็นสัปปายะจึงหายจากอาพาธนั้นเมื่อไม่ได้
ย่อมไม่หาย และได้คนพยาบาลที่เหมาะสมจึงหายจากอาพาธนั้น เมื่อไม่ได้ย่อมไม่
หาย เพราะอาศัยคนไข้นี้แล เราจึงอนุญาตอาหารสำหรับภิกษุไข้ อนุญาตยาสำหรับ
ภิกษุไข้ และอนุญาตคนพยาบาลสำหรับภิกษุไข้ ก็เพราะอาศัยคนไข้นี้ คนไข้แม้อื่น ๆ
ก็ควรได้รับการพยาบาลด้วย คนไข้ ๓ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก ฉันใด
บุคคลที่เปรียบได้กับคนไข้ ๓ จำพวกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกันแลมีปรากฏอยู่
ในโลก
บุคคลที่เปรียบได้กับคนไข้ ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลบางคนในโลกนี้ได้เห็นตถาคต หรือไม่ได้เห็นตถาคตก็ตาม ได้ฟัง
ธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้ หรือไม่ได้ฟังธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศ
ไว้ก็ตาม ย่อมไม่หยั่งลงสู่ความเห็นชอบที่กำหนดในกุศลธรรมทั้งหลาย
๒. บุคคลบางคนในโลกนี้ได้เห็นตถาคต หรือไม่ได้เห็นตถาคตก็ตาม ได้ฟัง
ธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้ หรือไม่ได้ฟังธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศ
ไว้ก็ตาม ย่อมหยั่งลงสู่ความเห็นชอบที่กำหนดในกุศลธรรมทั้งหลาย
๓. บุคคลบางคนในโลกนี้ได้เห็นตถาคตจึงหยั่งลงสู่ความเห็นชอบที่กำหนด
ในกุศลธรรมทั้งหลาย เมื่อไม่ได้เห็นย่อมไม่หยั่งลง ได้ฟังธรรมวินัยที่
ตถาคตประกาศไว้จึงหยั่งสู่ความเห็นชอบที่กำหนดในกุศลธรรมทั้งหลาย
เมื่อไม่ได้ฟังย่อมไม่หยั่งลง
บรรดาบุคคล ๓ จำพวกนั้น บุคคลใดได้เห็นตถาคตจึงหยั่งลงสู่ความเห็นชอบ
ที่กำหนดในกุศลธรรมทั้งหลาย เมื่อไม่ได้เห็นย่อมไม่หยั่งลง ได้ฟังธรรมวินัยที่
ตถาคตประกาศไว้จึงหยั่งลงสู่ความเห็นชอบที่กำหนดในกุศลธรรมทั้งหลาย เมื่อไม่
ได้ฟังย่อมไม่หยั่งลง เพราะอาศัยบุคคลนี้แล เราจึงอนุญาตการแสดงธรรม ก็เพราะ
อาศัยบุคคลนี้จึงควรแสดงธรรมแก่บุคคลแม้เหล่าอื่น
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลที่เปรียบได้กับคนไข้ ๓ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก

คิลานสูตรที่ ๒ จบ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๓. ปุคคลวรรค ๓. สังขารสูตร

๓. สังขารสูตร
ว่าด้วยสังขาร

[๒๓] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลบางคนในโลกนี้ปรุงแต่งกายสังขาร๑ ที่มีความเบียดเบียน ปรุง
แต่งวจีสังขาร๒ ที่มีความเบียดเบียน และปรุงแต่งมโนสังขาร๓ ที่มีความ
เบียดเบียน เขาครั้นปรุงแต่งแล้วย่อมเข้าถึงโลกที่มีความเบียดเบียน
ผัสสะที่มีความเบียดเบียนย่อมถูกต้องบุคคลผู้เข้าถึงโลกที่มีความ
เบียดเบียนนั้น เขาถูกผัสสะที่มีความเบียดเบียนกระทบเข้า ย่อม
เสวยเวทนาที่มีความเบียดเบียน เป็นทุกข์โดยส่วนเดียวเหมือนพวก
สัตว์นรก
๒. บุคคลบางคนในโลกนี้ปรุงแต่งกายสังขารที่ไม่มีความเบียดเบียน ปรุง
แต่งวจีสังขารที่ไม่มีความเบียดเบียน และปรุงแต่งมโนสังขารที่ไม่มี
ความเบียดเบียน เขาครั้นปรุงแต่งแล้วย่อมเข้าถึงโลกที่ไม่มีความ
เบียดเบียน ผัสสะที่ไม่มีความเบียดเบียนย่อมถูกต้องบุคคลผู้เข้าถึง
โลกที่ไม่มีความเบียดเบียนนั้น เขาถูกผัสสะที่ไม่มีความเบียดเบียน
กระทบเข้า ย่อมเสวยเวทนาที่ไม่มีความเบียดเบียน เป็นสุขโดยส่วน
เดียวเหมือนสุภกิณหพรหม
๓. บุคคลบางคนในโลกนี้ปรุงแต่งกายสังขารที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่
มีความเบียดเบียนบ้าง ปรุงแต่งวจีสังขารที่มีความเบียดเบียนบ้าง


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๓. ปุคคลวรรค ๔. พหุการสูตร

ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง และปรุงแต่งมโนสังขารที่มีความเบียดเบียนบ้าง
ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง เขาครั้นปรุงแต่งแล้วย่อมเข้าถึงโลกที่มี
ความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ผัสสะที่มีความ
เบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ย่อมถูกต้องบุคคลผู้เข้าถึง
โลกที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง เขาถูกผัสสะ
ที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้างกระทบเข้า ย่อม
เสวยเวทนาที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง มีสุข
และทุกข์ระคนกันเหมือนมนุษย์ เทวดาบางพวก และเปรตบางพวก
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก

สังขารสูตรที่ ๓ จบ

๔. พหุการสูตร
ว่าด้วยบุคคลที่มีอุปการะมาก

[๒๔] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้มีอุปการะมากแก่บุคคล
บุคคล ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลอาศัยบุคคลใดแล้ว นับถือพระพุทธเจ้าว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก นับถือ
พระธรรมว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก และนับถือพระสงฆ์ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
บุคคลนี้ชื่อว่ามีอุปการะมากแก่บุคคลนี้
๒. บุคคลอาศัยบุคคลใดแล้วรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ นี้ทุกข-
สมุทัย(เหตุเกิดทุกข์) นี้ทุกขนิโรธ(ความดับทุกข์) นี้ทุกขนิโรธคามินี-
ปฏิปทา(ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์) บุคคลนี้ชื่อว่ามีอุปการะมาก
แก่บุคคลนี้
๓. บุคคลอาศัยบุคคลใดแล้วทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มี
อาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
บุคคลนี้ชื่อว่ามีอุปการะมากแก่บุคคลนี้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้แลชื่อว่ามีอุปการะมากแก่บุคคลนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๑๗๒ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๓. ปุคคลวรรค ๕. วชิรูปมสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า ไม่มีบุคคลอื่นนอกจากบุคคล ๓ จำพวกนี้ที่ชื่อว่า
เป็นผู้มีอุปการะมากแก่บุคคลนี้ การที่บุคคลนี้จะปฏิบัติตอบแทนแก่บุคคล ๓ จำพวก
นี้ด้วยการตอบแทน คือด้วยการกราบไหว้ การลุกรับ การประนมมือไหว้ การแสดง
ความเคารพ การให้ผ้านุ่งห่ม อาหาร ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค เรากล่าวว่า
มิใช่จะทำได้โดยง่าย

พหุการสูตรที่ ๔ จบ

๕. วชิรูปมสูตร
ว่าด้วยบุคคลที่มีจิตเหมือนเพชร

[๒๕] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลที่มีจิตเหมือนแผลเก่า ๒. บุคคลที่มีจิตเหมือนฟ้าแลบ
๓. บุคคลที่มีจิตเหมือนเพชร
บุคคลที่มีจิตเหมือนแผลเก่า เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นคนมักโกรธ มากไปด้วยความคับแค้นใจ ถูกว่า
กล่าวแม้เพียงเล็กน้อยก็ขัดใจ โกรธเคือง พยาบาท ขึ้งเคียด แสดงอาการโกรธ
ขัดเคือง และไม่พอใจ เปรียบเหมือนแผลเก่าถูกไม้หรือกระเบื้องกระทบเข้า ย่อม
ให้เกิดความเจ็บปวดมากขึ้น แม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล
เป็นคน มักโกรธ มากไปด้วยความคับแค้นใจ ถูกว่ากล่าวแม้เพียงเล็กน้อยก็ขัดใจ
โกรธเคือง พยาบาท ขึ้งเคียด แสดงอาการโกรธ ขัดเคือง และไม่พอใจ นี้เรียกว่า
บุคคลที่มีจิตเหมือนแผลเก่า
บุคคลที่มีจิตเหมือนฟ้าแลบ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย
นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา” เปรียบเหมือนคนมีตาดีเห็นรูปได้ในขณะ
ฟ้าแลบในเวลากลางคืนที่มืดมิด แม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๑๗๓ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๓. ปุคคลวรรค ๖. เสวิตัพพสูตร

รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินี-
ปฏิปทา” นี้เรียกว่า บุคคลที่มีจิตเหมือนฟ้าแลบ
บุคคลที่มีจิตเหมือนเพชร๑ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ
เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน เปรียบเหมือนแก้วมณี
หรือหินบางชนิดที่เพชรจะทำลายไม่ได้ไม่มี แม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉัน
นั้นเหมือนกันแล ... เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน นี้
เรียกว่า บุคคลที่มีจิตเหมือนเพชร
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก

วชิรูปมสูตรที่ ๕ จบ

๖. เสวิตัพพสูตร
ว่าด้วยบุคคลที่ควรคบ

[๒๖] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลที่ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้
๒. บุคคลที่ควรเสพ ควรคบ ควรเข้าไปนั่งใกล้
๓. บุคคลที่ควรสักการะ เคารพแล้วจึงเสพ คบ เข้าไปนั่งใกล้
บุคคลที่ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ต่ำทรามกว่าตนในด้านศีล สมาธิ ปัญญา บุคคล
เช่นนี้ ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้ นอกจากจะเมตตาอนุเคราะห์
บุคคลที่ควรเสพ ควรคบ ควรเข้าไปนั่งใกล้ เป็นอย่างไร


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๓. ปุคคลวรรค ๗. ชิคุจฉิตัพพสูตร

คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เสมอตนในด้านศีล สมาธิ ปัญญา บุคคลเช่นนี้
ควรเสพ ควรคบ ควรเข้าไปนั่งใกล้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะการสนทนาเกี่ยวกับศีล
สมาธิ ปัญญา จักมีแก่เราทั้งหลายผู้ถึงความเสมอกันในด้านศีล สมาธิ ปัญญา
การสนทนาของเราทั้งหลายนั้นจักดำเนินไปได้ และจักเป็นความสำราญ
เพราะเหตุนั้น บุคคลเช่นนี้จึงควรเสพ ควรคบ ควรเข้าไปนั่งใกล้
บุคคลที่ควรสักการะ เคารพ แล้วจึงเสพ คบ เข้าไปนั่งใกล้ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เหนือกว่าตนในด้านศีล สมาธิ ปัญญา บุคคลเช่นนี้
ควรสักการะ เคารพแล้วจึงเสพ คบ เข้าไปนั่งใกล้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุคคล
เช่นนี้คิดว่า จักบำเพ็ญสีลขันธ์(กองศีล) สมาธิขันธ์(กองสมาธิ) ปัญญาขันธ์(กอง
ปัญญา)ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ หรือจักอนุเคราะห์สีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์
ที่บริบูรณ์ด้วยปัญญาในที่นั้น ๆ
เพราะเหตุนั้น บุคคลเช่นนี้จึงควรสักการะ เคารพแล้วจึงเสพ คบ เข้าไปนั่งใกล้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคลคบผู้ต่ำทรามย่อมพลอยต่ำทรามไปด้วย
แต่คบผู้ที่เสมอกันย่อมไม่เสื่อมในกาลไหน ๆ
คบผู้ที่สูงกว่าย่อมเด่นขึ้นทันตาเห็น
เพราะฉะนั้นจึงควรคบผู้ที่สูงกว่าตน

เสวิตัพพสูตรที่ ๖ จบ

๗. ชิคุจฉิตัพพสูตร
ว่าด้วยบุคคลที่ควรรังเกียจ

[๒๗] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลที่ควรรังเกียจ ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้
๒. บุคคลที่ควรวางเฉย ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้
๓. บุคคลที่ควรเสพ ควรคบ ควรเข้าไปนั่งใกล้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๑๗๕ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๓. ปุคคลวรรค ๗. ชิคุจฉิตัพพสูตร

บุคคลที่ควรรังเกียจ ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นคนทุศีล มีธรรมเลวทราม ไม่สะอาด มีความ
ประพฤติที่น่ารังเกียจ มีการงานปกปิด ไม่ใช่สมณะ แต่ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ ไม่
ใช่พรหมจารี แต่ปฏิญญาว่าเป็นพรหมจารี๑ เน่าภายใน ชุ่มด้วยราคะ เป็นเหมือน
หยากเยื่อ บุคคลเช่นนี้ควรรังเกียจ ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้ ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะคนทั่วไปแม้จะไม่ได้ตามอย่างบุคคลเช่นนี้ แต่กิตติศัพท์อันชั่ว
ของเขาก็กระฉ่อนไปว่า “คนคบมิตรชั่ว คบสหายชั่ว คบเพื่อนชั่ว” เปรียบเหมือน
งูที่จมอยู่ในคูถ แม้จะไม่กัดใคร ๆ ก็จริง แต่ก็ทำเขาให้เปื้อนได้ แม้ฉันใด คน
ทั่วไปก็ฉันนั้นเหมือนกัน แม้จะไม่ได้ตามอย่างบุคคลเช่นนี้ แต่กิตติศัพท์อันชั่วของ
เขาก็กระฉ่อนไปว่า “คนคบมิตรชั่ว คบสหายชั่ว คบเพื่อนชั่ว”
เพราะเหตุนั้น บุคคลเช่นนี้จึงควรรังเกียจ ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควร
เข้าไปนั่งใกล้
บุคคลที่ควรวางเฉย ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นคนมักโกรธ มากไปด้วยความคับแค้นใจ ถูกว่า
กล่าวแม้เพียงเล็กน้อยก็ขัดใจ โกรธเคือง พยาบาท ขึ้งเคียด แสดงอาการโกรธ
ขัดเคือง และไม่พอใจ
เปรียบเหมือนแผลเก่าถูกไม้หรือกระเบื้องกระทบเข้าย่อมทำให้เกิดความเจ็บปวด
มากขึ้น แม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล เป็นคนมักโกรธ มาก
ไปด้วยความคับแค้นใจ ถูกว่ากล่าวแม้เพียงเล็กน้อยก็ขัดใจ โกรธเคือง พยาบาท
ขึ้งเคียด แสดงอาการโกรธ ขัดเคือง และไม่พอใจ
เปรียบเหมือนถ่านไม้มะพลับถูกไม้หรือกระเบื้องกระทบเข้าย่อมปะทุเกินประมาณ
แม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล เป็นคนมักโกรธ มากไปด้วย
ความคับแค้นใจ ถูกว่ากล่าวแม้เพียงเล็กน้อยก็ขัดใจ โกรธเคือง พยาบาท ขึ้งเคียด
แสดงอาการโกรธ ขัดเคือง และไม่พอใจ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๓. ปุคคลวรรค ๘. คูถภาณีสูตร

เปรียบเหมือนหลุมคูถถูกไม้หรือกระเบื้องกระทบเข้าย่อมส่งกลิ่นเหม็นรุนแรงขึ้น
แม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือกันแล เป็นคนมักโกรธ มากไปด้วย
ความคับแค้นใจ ถูกว่ากล่าวแม้เพียงเล็กน้อยก็ขัดใจ โกรธเคือง พยาบาท ขึ้งเคียด
แสดงอาการโกรธ ขัดเคือง และไม่พอใจ
บุคคลเช่นนี้ควรวางเฉย ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้ ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะว่าบุคคลนั้นอาจด่าเราบ้าง บริภาษเราบ้าง ทำเราให้ฉิบหายบ้าง
เพราะเหตุนั้น บุคคลเช่นนี้จึงควรวางเฉย ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควร
เข้าไปนั่งใกล้
บุคคลที่ควรเสพ ควรคบ ควรเข้าไปนั่งใกล้ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้มีศีล มีธรรมงาม บุคคลเช่นนี้ควรเสพ ควรคบ
ควรเข้าไปนั่งใกล้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าคนทั่วไปแม้จะไม่ได้ตามอย่างบุคคล
เช่นนี้ แต่กิตติศัพท์อันงามของเขาก็ขจรไปว่า “คนคบมิตรดี คบสหายดี คบเพื่อนดี”
เพราะเหตุนั้น บุคคลเช่นนี้จึงควรเสพ ควรคบ ควรเข้าไปนั่งใกล้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคลคบผู้ต่ำทรามย่อมพลอยต่ำทรามไปด้วย
แต่คบผู้ที่เสมอกันย่อมไม่เสื่อมในกาลไหน ๆ
คบผู้ที่สูงกว่าย่อมเด่นขึ้นทันตาเห็น
เพราะฉะนั้นจึงควรคบผู้ที่สูงกว่าตน

ชิคุจฉิตัพพสูตรที่ ๗ จบ

๘. คูถภาณีสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้พูดภาษาคูถ

[๒๘] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๓ จำพวก ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้พูดภาษาคูถ ๒. บุคคลผู้พูดภาษาดอกไม้
๓. บุคคลผู้พูดภาษาน้ำผึ้ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๑๗๗ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๓. ปุคคลวรรค ๙. อันธสูตร

บุคคลผู้พูดภาษาคูถ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้อยู่ในสภา อยู่ในบริษัท อยู่ท่ามกลางหมู่ญาติ
อยู่ท่ามกลางหมู่ทหาร หรืออยู่ท่ามกลางราชสำนัก ถูกเขาอ้างเป็นพยานซักถามว่า
“ท่านรู้สิ่งใด จงกล่าวสิ่งนั้น” บุคคลนั้นไม่รู้ก็กล่าวว่า “รู้” หรือรู้ก็กล่าวว่า “ไม่รู้”
ไม่เห็นก็กล่าวว่า “เห็น” หรือเห็นก็กล่าวว่า “ไม่เห็น” กล่าวเท็จทั้งที่รู้เพราะตน
เป็นเหตุบ้าง เพราะบุคคลอื่นเป็นเหตุบ้าง เพราะเหตุคือเห็นแก่อามิสเล็กน้อยบ้าง
ด้วยประการฉะนี้ นี้เรียกว่า บุคคลผู้พูดภาษาคูถ
บุคคลผู้พูดภาษาดอกไม้ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้อยู่ในสภา อยู่ในบริษัท อยู่ท่ามกลางหมู่ญาติ
อยู่ท่ามกลางหมู่ทหาร หรืออยู่ท่ามกลางราชสำนัก ถูกเขาอ้างเป็นพยานซักถามว่า
“ท่านรู้สิ่งใด จงกล่าวสิ่งนั้น” บุคคลนั้นไม่รู้ก็กล่าวว่า “ไม่รู้” หรือรู้ก็กล่าวว่า “รู้”
ไม่เห็นก็กล่าวว่า “ไม่เห็น” หรือเห็นก็กล่าวว่า “เห็น” ไม่กล่าวเท็จทั้งที่รู้เพราะตน
เป็นเหตุบ้าง เพราะบุคคลอื่นเป็นเหตุบ้าง เพราะเหตุคือเห็นแก่อามิสเล็กน้อยบ้าง
ด้วยประการฉะนี้ นี้เรียกว่า บุคคลผู้พูดภาษาดอกไม้
บุคคลผู้พูดภาษาน้ำผึ้ง เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ละเว้นขาดจากการพูดคำหยาบ คือพูดแต่คำที่ไม่มี
โทษ ไพเราะ น่ารัก จับใจ เป็นคำของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่พอใจ นี้เรียกว่า
บุคคลผู้พูดภาษาน้ำผึ้ง
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก

คูถภาณีสูตรที่ ๘ จบ

๙. อันธสูตร
ว่าด้วยบุคคลตาบอด

[๒๙] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๓ จำพวก ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลตาบอด ๒. บุคคลตาเดียว
๓. บุคคลสองตา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๑๗๘ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๓. ปุคคลวรรค ๙. อันธสูตร

บุคคลตาบอด เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่มีนัยน์ตา๑ เป็นเหตุให้ได้โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้ หรือ
ทำโภคทรัพย์ที่ได้แล้วให้เพิ่มพูน และเขาไม่มีนัยน์ตาเป็นเครื่องรู้ธรรมที่เป็นกุศลและ
อกุศล รู้ธรรมที่มีโทษและไม่มีโทษ รู้ธรรมที่เลวและประณีต รู้ธรรมที่มีส่วนเปรียบ
ด้วยธรรมฝ่ายดำและธรรมฝ่ายขาว นี้เรียกว่า บุคคลตาบอด
บุคคลตาเดียว เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้มีนัยน์ตาเป็นเหตุให้ได้โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้ หรือทำ
โภคทรัพย์ที่ได้แล้วให้เพิ่มพูน แต่เขาไม่มีนัยน์ตาเป็นเครื่องรู้ธรรมที่เป็นกุศลและ
อกุศล รู้ธรรมที่มีโทษและไม่มีโทษ รู้ธรรมที่เลวและประณีต รู้ธรรมที่มีส่วนเปรียบ
ด้วยธรรมฝ่ายดำและธรรมฝ่ายขาว นี้เรียกว่า บุคคลตาเดียว
บุคคลสองตา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้มีนัยน์ตาเป็นเหตุให้ได้โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้ หรือทำ
โภคทรัพย์ที่ได้แล้วให้เพิ่มพูน และเขามีนัยน์ตาเป็นเครื่องรู้ธรรมที่เป็นกุศลและ
อกุศล รู้ธรรมที่มีโทษและไม่มีโทษ รู้ธรรมที่เลวและประณีต รู้ธรรมที่มีส่วนเปรียบ
ด้วยธรรมฝ่ายดำและธรรมฝ่ายขาว นี้เรียกว่า บุคคลสองตา
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
โภคทรัพย์อย่างนั้นไม่มีแก่บุคคลตาบอด
และบุคคลตาบอดย่อมไม่ทำบุญ
โทษเคราะห์ย่อมมีแก่บุคคลตาบอด
ผู้มีนัยน์ตาเสียในโลกทั้งสอง
ในกาลต่อมา เราได้กล่าวถึงบุคคลตาเดียวนี้ไว้
ก็บุคคลตาเดียวหมกมุ่นกับธรรมและอธรรม
แสวงหาโภคทรัพย์ด้วยการคดโกงและการพูดเท็จ
อันเป็นการลักขโมยทั้งสองอย่าง


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๓. ปุคคลวรรค ๑๐. อวกุชชสูตร

ก็มาณพผู้เป็นกามโภคีบุคคล
เป็นคนฉลาดที่จะรวบรวมโภคทรัพย์
เขาเป็นคนตาเดียวจากโลกนี้ไปสู่นรกย่อมเดือดร้อน
ส่วนบุคคลสองตา
เรากล่าวว่าเป็นบุคคลผู้ประเสริฐที่สุด
เขาให้ทรัพย์ที่ตนได้มาด้วยความหมั่นเป็นทาน
จากโภคทรัพย์ที่ตนหาได้โดยชอบธรรม
มีความดำริประเสริฐ มีจิตใจไม่วอกแวก
ย่อมเข้าถึงฐานะที่เจริญซึ่งไปแล้วไม่เศร้าโศก
บุคคลควรเว้นให้ห่างไกลจากบุคคลตาบอดและบุคคลตาเดียว
แต่ควรคบบุคคลสองตาที่ประเสริฐที่สุด

อันธสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. อวกุชชสูตร
ว่าด้วยบุคคลมีปัญญาเหมือนหม้อคว่ำ

[๓๐] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลมีปัญญาเหมือนหม้อคว่ำ ๒. บุคคลมีปัญญาเหมือนชายพก
๓. บุคคลมีปัญญากว้างขวาง(เหมือนหม้อหงาย)
บุคคลมีปัญญาเหมือนหม้อคว่ำ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไปวัดเป็นประจำเพื่อฟังธรรมในสำนักภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลายแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความ
งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์๑พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๓. ปุคคลวรรค ๑๐. อวกุชชสูตร

แก่เขา เขานั่งตรงที่นั้น จำเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่งกถานั้นไม่ได้ แม้
ลุกจากที่นั้นแล้วก็จำเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดของกถานั้นไม่ได้ เปรียบเหมือน
หม้อคว่ำที่เขาเทน้ำลงไป น้ำย่อมไหลราดไป ไม่ขังอยู่แม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลก
นี้ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ไปวัดเป็นประจำเพื่อฟังธรรมในสำนักภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
ทั้งหลายแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงาม
ในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน
แก่เขา เขานั่งตรงที่นั้น จำเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่งกถานั้นก็ไม่ได้ แม้
ลุกจากที่นั้นแล้วก็ยังจำเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่งกถานั้นไม่ได้ นี้เรียกว่า
บุคคลมีปัญญาเหมือนหม้อคว่ำ
บุคคลมีปัญญาเหมือนชายพก เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไปวัดเป็นประจำเพื่อฟังธรรมในสำนักภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลายแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความ
งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน
แก่เขา เขานั่งตรงที่นั้น จำเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่งกถานั้นได้ แต่ลุกจาก
ที่นั้นแล้วก็จำเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่งกถานั้นไม่ได้ เปรียบเหมือนบุรุษเก็บ
ของเคี้ยวต่าง ๆ คือ งา ข้าวสาร ขนมต้ม พุทราไว้ที่ชายพก บุรุษนั้นเมื่อลุกจากที่
นั้นพึงทำเรี่ยราดเพราะเผลอสติแม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล
ไปวัดเป็นประจำเพื่อฟังธรรมในสำนักภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายแสดงธรรมมีความ
งามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์
พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วนแก่เขา เขานั่งตรงที่นั้น จำ
เบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่งกถานั้นได้ แต่ลุกจากที่นั้นแล้ว ก็จำเบื้องต้น
ท่ามกลาง และที่สุดแห่งกถานั้นไม่ได้ นี้เรียกว่า บุคคลมีปัญญาเหมือนชายพก
บุคคลมีปัญญากว้างขวาง เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไปวัดเป็นประจำเพื่อฟังธรรมในสำนักภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลายแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความ
งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน
แก่เขา เขานั่งตรงที่นั้น จำเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่งกถานั้นได้ แม้ลุกจากที่
นั้นแล้วก็ยังจำเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่งกถานั้นได้ เปรียบเหมือนหม้อหงาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๑๘๑ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๓. ปุคคลวรรค ๑๐. อวกุชชสูตร

ที่เขาเทน้ำลงไป น้ำย่อมขังอยู่ไม่ไหลราดไป แม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้น
เหมือนกันแล ไปวัดเป็นประจำเพื่อฟังธรรมในสำนักภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย
แสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด
ประกาศพรหมจรรย์พร้อมอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วนแก่เขา เขานั่ง
ตรงที่นั้น จำเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่งกถานั้นได้ แม้ลุกจากที่นั้นแล้วก็ยัง
จำเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่งกถานั้นได้ นี้เรียกว่า บุคคลมีปัญญากว้างขวาง
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคลมีปัญญาเหมือนหม้อคว่ำ
เป็นคนเขลา ไม่มีปัญญาสำหรับพิจารณา
บุคคลเช่นนั้นแม้จะหมั่นไปในสำนักภิกษุทั้งหลาย
ก็ไม่อาจเล่าเรียนเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่งกถาได้
เพราะเขาไม่มีปัญญา
บุคคลมีปัญญาเหมือนชายพก
เรากล่าวว่า ดีกว่าบุคคลที่มีปัญญาเหมือนหม้อคว่ำ
บุคคลเช่นนั้นแม้หมั่นไปในสำนักภิกษุทั้งหลาย
นั่งตรงที่นั้นเรียนเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่งกถา
ครั้นลุกขึ้นแล้วก็กำหนดรู้พยัญชนะไม่ได้
เพราะพยัญชนะที่เขาเรียนแล้วเลอะเลือนไป
ส่วนบุคคลมีปัญญากว้างขวาง
เรากล่าวว่า ดีกว่าบุคคลที่มีปัญญาเหมือนชายพก
บุคคลเช่นนั้นหมั่นไปในสำนักภิกษุทั้งหลาย
นั่งตรงที่นั้นเรียนเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่งกถานั้น
จำพยัญชนะได้ มีความดำริประเสริฐ
มีจิตใจไม่วอกแวก ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
พึงทำที่สุดแห่งทุกข์ได้

อวกุชชสูตรที่ ๑๐ จบ
ปุคคลวรรคที่ ๓ จบ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๔. เทวทูตวรรค ๑. สพรหมกสูตร

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สวิฏฐสูตร ๒. คิลานสูตร
๓. สังขารสูตร ๔. พหุการสูตร
๕. วชิรูปมสูตร ๖. เสวิตัพพสูตร
๗. ชิคุจฉิตัพพสูตร ๘. คูถภาณีสูตร
๙. อันธสูตร ๑๐. อวกุชชสูตร

๔. เทวทูตวรรค
หมวดว่าด้วยเทวทูต
๑. สพรหมกสูตร
ว่าด้วยสกุลที่มีพรหม

[๓๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุตรของสกุลใดบูชาบิดามารดา
ในเรือนตน สกุลนั้นชื่อว่ามีพรหม บุตรของสกุลใดบูชาบิดามารดาในเรือนตน สกุล
นั้นชื่อว่ามีบุรพาจารย์ บุตรของสกุลใดบูชาบิดามารดาในเรือนตน สกุลนั้นชื่อว่ามี
อาหุไนยบุคคล
คำว่า พรหม นี้เป็นชื่อของบิดามารดา คำว่า บุรพาจารย์ นี้เป็นชื่อของ
บิดามารดา คำว่า อาหุไนยบุคคล นี้เป็นชื่อของบิดามารดา ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะบิดามารดามีอุปการะมาก บำรุงเลี้ยง แสดงโลกนี้แก่บุตร
บิดามารดาผู้อนุเคราะห์ประชา
ท่านเรียกว่า พรหม บุรพาจารย์
และอาหุไนยบุคคลของบุตร
เพราะเหตุนั้น บัณฑิตพึงนมัสการ
และสักการะบิดามารดานั้นด้วยข้าว น้ำ ผ้า ที่นอน
การอบกลิ่น การให้อาบน้ำ และการล้างเท้า
เพราะการปรนนิบัติบิดามารดานั้น
บัณฑิตจึงสรรเสริญในโลกนี้เอง
เขาตายไปแล้วย่อมบันเทิงในสวรรค์

สพรหมกสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๔. เทวทูตวรรค ๒. อานันทสูตร

๒. อานันทสูตร
ว่าด้วยพระอานนท์ทูลถามพระผู้มีพระภาค

[๓๒] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การที่ภิกษุได้สมาธิอย่างที่ไม่ต้องมีอหังการ๑(การถือว่า
เป็นเรา) มมังการ๒(การถือว่าเป็นของเรา) และมานานุสัย(กิเลสนอนเนื่องคือความ
ถือตัว) ทั้งในกายที่มีวิญญาณนี้ และในนิมิตภายนอกทั้งปวง๓ และการที่ภิกษุผู้เข้าถึง
เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติไม่มีอหังการ มมังการ และมานานุสัยอยู่ พึงมีได้หรือหนอ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ การที่ภิกษุได้สมาธิอย่างที่ไม่ต้องมี
อหังการ มมังการและมานานุสัยทั้งในกายที่มีวิญญาณนี้ และในนิมิตภายนอก
ทั้งปวง และการที่ภิกษุผู้เข้าถึงเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติไม่มีอหังการ มมังการ และ
มานานุสัยอยู่ พึงมีได้”
ท่านพระอานนท์ทูลถามว่า “การที่ภิกษุได้สมาธิอย่างที่ไม่ต้องมีอหังการ
มมังการ และมานานุสัยทั้งในกายที่มีวิญญาณนี้ และในนิมิตภายนอกทั้งปวง และ
การที่ภิกษุผู้เข้าถึงเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ ไม่มีอหังการ มมังการ และมานานุสัย
อยู่ พึงมีได้อย่างไร พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาตรัสตอบว่า อานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีความคิดอย่างนี้ว่า
‘ธรรมชาตินั่นสงบ นั่นประณีต คือความสงบสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง
ความสิ้นตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับทุกข์ นิพพาน’ อานนท์ การที่ภิกษุ
ได้สมาธิอย่างที่ไม่ต้องมีอหังการ มมังการ และมานานุสัยทั้งในกายที่มีวิญญาณนี้
และในนิมิตภายนอกทั้งปวง และการที่ภิกษุผู้เข้าถึงเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติไม่มี
อหังการ มมังการ และมานานุสัยอยู่ พึงมีได้อย่างนี้แล


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๔. เทวทูตวรรค ๓. สารีปุตตสูตร

อานนท์ เราหมายเอาเช่นนี้จึงกล่าวไว้ในปุณณกปัญหาในปารายนวรรค ดังนี้ว่า
บุคคลใดรู้อัตภาพของผู้อื่นและของตนในโลก
ไม่มีกิเลสเป็นเหตุให้หวั่นไหวในโลกไหน ๆ
เรากล่าวว่าบุคคลนั้นเป็นผู้สงบ
ไม่มีกิเลสทำให้จิตมัวหมอง ไม่มีกิเลสกระทบจิต
ไม่มีความทะเยอทะยาน ข้ามพ้นชาติและชราได้แล้ว

อานันทสูตรที่ ๒ จบ

๓. สารีปุตตสูตร
ว่าด้วยพระสารีบุตรกราบทูลพระผู้มีพระภาค

[๓๓] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสกับท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า
“สารีบุตร เราแสดงธรรมโดยย่อก็ได้ เราแสดงธรรมโดยพิสดารก็ได้ เรา
แสดงธรรมทั้งโดยย่อและโดยพิสดารก็ได้ แต่บุคคลผู้รู้ทั่วถึงธรรมหาได้ยาก”
ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค บัดนี้เป็นกาล ข้าแต่
พระสุคต บัดนี้เป็นเวลาที่พระผู้มีพระภาคพึงแสดงธรรมโดยย่อ พึงแสดงธรรมโดย
พิสดาร พึงแสดงธรรมทั้งโดยย่อและโดยพิสดาร จักมีผู้รู้ทั่วถึงธรรมได้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สารีบุตร เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียก
อย่างนี้ว่า “จักไม่มีอหังการ มมังการ และมานานุสัยทั้งในกายที่มีวิญญาณนี้ และ
ในนิมิตภายนอกทั้งปวง และเราทั้งหลายจักเข้าถึงเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติไม่มี
อหังการ มมังการ และมานานุสัยอยู่” เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล
เพราะภิกษุไม่มีอหังการ มมังการ และมานานุสัยทั้งในกายที่มีวิญญาณนี้และ
ในนิมิตภายนอกทั้งปวง และเพราะภิกษุผู้เข้าถึงเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติไม่มีอหังการ
มมังการ และมานานุสัยอยู่ เราจึงเรียกว่า ภิกษุนี้ตัดตัณหา ถอนสังโยชน์ ทำที่สุด
แห่งทุกข์ เพราะรู้ยิ่งด้วยการละมานะได้โดยชอบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๑๘๕ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๔. เทวทูตวรรค ๔. นิทานสูตร

เราหมายเอาเช่นนี้จึงกล่าวไว้ในอุทยปัญหาในปารายนวรรค ดังนี้ว่า
เรากล่าวอัญญาวิโมกข์๑ ซึ่งเป็นธรรม
สำหรับละธรรมทั้งสองคือกามสัญญา๒และโทมนัส
เป็นธรรมบรรเทาถีนะ(ความง่วง)
เป็นธรรมปิดกั้นกุกกุจจะ(ความร้อนใจ)
ซึ่งบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาและสติ
มีการตรึกตรองธรรม๓ เป็นธรรมเกิดก่อน
และเป็นธรรมเครื่องทำลายอวิชชา(ความไม่รู้แจ้ง)

สารีปุตตสูตรที่ ๓ จบ

๔. นิทานสูตร
ว่าด้วยเหตุเกิดแห่งกรรม

[๓๔] ภิกษุทั้งหลาย เหตุให้เกิดกรรม ๓ ประการนี้
เหตุให้เกิดกรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. โลภะ (ความอยากได้) เป็นเหตุให้เกิดกรรม
๒. โทสะ (ความคิดประทุษร้าย) เป็นเหตุให้เกิดกรรม
๓. โมหะ (ความหลง) เป็นเหตุให้เกิดกรรม

กรรมที่ถูกโลภะครอบงำ เกิดจากโลภะ มีโลภะเป็นเหตุ มีโลภะเป็นแดนเกิด๔
ย่อมให้ผลในที่ซึ่งอัตภาพของเขาเกิด บุคคลต้องเสวยผลกรรมนั้นในขันธ์ที่กรรมนั้น
ให้ผลในปัจจุบัน ในลำดับที่เกิด หรือในระยะต่อไป


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๔. เทวทูตวรรค ๔. นิทานสูตร

กรรมที่ถูกโทสะครอบงำ เกิดจากโทสะ มีโทสะเป็นเหตุ มีโทสะเป็นแดนเกิด
ย่อมให้ผลในที่ซึ่งอัตภาพของเขาเกิด บุคคลต้องเสวยผลกรรมนั้นในขันธ์ที่กรรมนั้น
ให้ผลในปัจจุบัน ในลำดับที่เกิด หรือในระยะต่อไป
กรรมที่ถูกโมหะครอบงำ เกิดจากโมหะ มีโมหะเป็นเหตุ มีโมหะเป็นแดนเกิด
ย่อมให้ผลในที่ซึ่งอัตภาพของเขาเกิด บุคคลต้องเสวยผลกรรมนั้นในขันธ์ที่กรรมนั้น
ให้ผลในปัจจุบัน ในลำดับที่เกิด หรือในระยะต่อไป
เปรียบเหมือน เมล็ดพืชที่ไม่แตกหัก ไม่เสียหาย ไม่ถูกลมและแดดกระทบ
มีแก่นใน ถูกเก็บไว้อย่างดี ถูกหว่านลงบนพื้นดินที่เตรียมไว้ดี ในนาดี และฝนก็ตกดี
เมล็ดพืชที่ฝนตกรดอย่างนั้น ย่อมถึงความเจริญงอกงาม ไพบูลย์ แม้ฉันใด
กรรมที่ถูกโลภะครอบงำ เกิดจากโลภะ มีโลภะเป็นเหตุ มีโลภะเป็นแดนเกิด
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมให้ผลในที่ซึ่งอัตภาพของเขาเกิด บุคคลต้องเสวยผลกรรม
นั้นในขันธ์ที่กรรมนั้นให้ผลในปัจจุบัน ในลำดับที่เกิด หรือในระยะต่อไป
กรรมที่ถูกโทสะครอบงำ ฯลฯ กรรมที่ถูกโมหะครอบงำ เกิดจากโมหะ มีโมหะ
เป็นเหตุ มีโมหะเป็นแดนเกิด ย่อมให้ผลในที่ซึ่งอัตภาพของเขาเกิด บุคคลต้องเสวย
ผลกรรมนั้น ในขันธ์ที่กรรมนั้นให้ผลในปัจจุบัน ในลำดับที่เกิด หรือในระยะต่อไป
ภิกษุทั้งหลาย เหตุให้เกิดกรรม ๓ ประการนี้แล
เหตุให้เกิดกรรม ๓ ประการนี้
เหตุให้เกิดกรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. อโลภะ (ความไม่โลภ) เป็นเหตุให้เกิดกรรม
๒. อโทสะ (ความไม่คิดประทุษร้าย) เป็นเหตุให้เกิดกรรม
๓. อโมหะ (ความไม่หลง) เป็นเหตุให้เกิดกรรม

กรรมที่ถูกอโลภะครอบงำ เกิดจากอโลภะ มีอโลภะเป็นเหตุ มีอโลภะเป็นแดน
เกิด เมื่อสิ้นโลภะแล้ว เป็นอันบุคคลละกรรมนั้นได้ ตัดรากถอนโคนได้เหมือนต้นตาล
ที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
กรรมที่ถูกอโทสะครอบงำ เกิดจากอโทสะ มีอโทสะเป็นเหตุ มีอโทสะเป็นแดน
เกิด เมื่อสิ้นโทสะแล้ว เป็นอันบุคคลละกรรมนั้นได้ ตัดรากถอนโคนได้เหมือนต้น
ตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๑๘๗ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๔. เทวทูตวรรค ๔. นิทานสูตร

กรรมที่ถูกอโมหะครอบงำ เกิดจากอโมหะ มีอโมหะเป็นเหตุ มีอโมหะเป็นแดน
เกิด เมื่อสิ้นโมหะแล้ว เป็นอันบุคคลละกรรมนั้นได้ ตัดรากถอนโคนได้เหมือนต้น
ตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
เมล็ดพืชไม่แตกหัก ไม่เสียหาย ไม่ถูกลมและแดดกระทบ มีแก่นใน ถูกเก็บ
ไว้อย่างดี บุรุษพึงเอาไฟเผาเมล็ดพืชเหล่านั้น ครั้นเอาไฟเผาแล้ว ทำให้เป็นเขม่า
ครั้นทำให้เป็นเขม่าแล้วพึงโปรยลงในลมที่พัดแรง หรือลอยเสียในแม่น้ำมีกระแสไหลเชี่ยว
เมล็ดพืชอันนั้นชื่อว่าถูกตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือ
แต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ แม้ฉันใด
กรรมที่ถูกอโลภะครอบงำ เกิดจากอโลภะ มีอโลภะเป็นเหตุ มีอโลภะเป็นแดน
เกิด ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อสิ้นโลภะแล้ว เป็นอันบุคคลละกรรมนั้นได้ ตัดรากถอน
โคนได้เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้น
ต่อไปไม่ได้
กรรมที่ถูกอโทสะครอบงำ ฯลฯ กรรมที่ถูกอโมหะครอบงำ เกิดจากอโมหะ มี
อโมหะเป็นเหตุ มีอโมหะเป็นแดนเกิด เมื่อสิ้นโมหะแล้ว เป็นอันบุคคลละกรรมนั้นได้
ฯลฯ เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
ภิกษุทั้งหลาย เหตุให้เกิดกรรม ๓ ประการนี้แล
คนเขลาทำกรรมที่เกิดเพราะโลภะ โทสะ และโมหะ
กรรมที่คนเขลานั้นทำแล้วจะมากหรือน้อยก็ตาม
ย่อมให้ผลในอัตภาพนี้แล
สิ่งอื่น(ที่จะรองรับผลกรรมนั้น)ไม่มี
เพราะเหตุนั้น ภิกษุผู้รู้โลภะ โทสะ และโมหะ
(จึงไม่ทำ)กรรมที่เกิด เพราะเมื่อทำวิชชา๑ ให้เกิดขึ้น
ย่อมละทุคติทั้งปวงได้

นิทานสูตรที่ ๔ จบ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๔. เทวทูตวรรค ๕. หัตถกสูตร

๕. หัตถกสูตร
ว่าด้วยหัตถกกุมารทูลถามถึงความสุข

[๓๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่บนที่ลาดใบไม้ในสีสปาวัน (ป่าไม้สีเสียด)
ใกล้ทางเดินของโค เขตกรุงอาฬวี
ครั้งนั้น หัตถกกุมารชาวกรุงอาฬวี เดินพักผ่อนอิริยาบถ ได้เห็นพระผู้มีพระ
ภาคประทับนั่งบนที่ลาดใบไม้ในสีสปาวัน ใกล้ทางเดินของโค จึงเข้าไปเฝ้าถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระ
ผู้มีพระภาคผู้เจริญ พระองค์ทรงอยู่สุขสบายดีหรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อย่างนั้น กุมาร เราอยู่เป็นสุขดี และเราเป็น
หนึ่งในบรรดาคนที่อยู่เป็นสุขในโลก”
หัตถกกุมารกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ราตรีในฤดูหนาวตั้งอยู่ใน
ระหว่าง๑ เป็นสมัยที่หิมะตกพื้นดินแข็ง แตกระแหง ที่ลาดใบไม้บาง ใบไม้ทั้งหลาย
อยู่ห่างกัน ผ้ากาสายะ(ผ้าย้อมน้ำฝาด)เย็น และลมเวรัมภะ๒ ที่เยือกเย็นก็กำลังพัด”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ว่า “อย่างนั้น กุมาร เราอยู่สุขสบายดี
เราเป็นหนึ่งในบรรดาคนที่อยู่เป็นสุขในโลก”
พระผู้มีพระภาคตรัสต่อไปอีกว่า “ถ้าอย่างนั้นในเรื่องนี้ เราจักย้อนถามเธอ
เธอพึงตอบปัญหานั้นตามที่เธอชอบใจ เธอเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร เรือนยอด๓ ของ
คหบดีหรือบุตรคหบดีในโลกนี้ที่เขาโบกทั้งภายในและภายนอก ลมพัดเข้าไม่ได้ มี


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๔. เทวทูตวรรค ๕. หัตถกสูตร

บานประตูปิดมิดชิด หน้าต่างปิดสนิท ในเรือนยอดนั้นพึงมีบัลลังก์๑ลาดด้วยผ้าโกเชาว์๒
ลาดด้วยเครื่องลาดทำด้วยขนเเกะสีขาว ลาดด้วยเครื่องลาดทำด้วยขนแกะลายดอก
ไม้ ลาดด้วยเครื่องลาดอย่างดีทำด้วยหนังชะมด ข้างบนมีเพดาน มีหมอนสีแดง
วางไว้ทั้ง ๒ ข้าง๓ และประทีปน้ำมันส่องสว่างอยู่ในเรือนนี้ ประชาบดี ๔ นาง
พึงบำรุงด้วยวิธีที่น่าชอบใจ น่าพอใจ เธอเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คหบดีหรือบุตร
คหบดีนั้นพึงอยู่เป็นสุขหรือไม่ หรือเธอเข้าใจในเรื่องนี้อย่างไร”
“คหบดีหรือบุตรคหบดีนั้นพึงอยู่เป็นสุข และเขาเป็นคนหนึ่งในบรรดาคนที่
อยู่เป็นสุขในโลก พระพุทธเจ้าข้า”
“กุมาร เธอเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร ความเร่าร้อนทางกายหรือทางใจที่เกิด
เพราะราคะซึ่งเป็นเหตุให้ผู้ที่ถูกแผดเผาอยู่เป็นทุกข์ พึงเกิดขึ้นแก่คหบดีหรือบุตร
คหบดีนั้นบ้างไหม”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“กุมาร คหบดีหรือบุตรคหบดีนั้นถูกความเร่าร้อนที่เกิดเพราะราคะใดแผดเผา
อยู่พึงอยู่เป็นทุกข์ ราคะนั้นตถาคตละได้เด็ดขาดแล้ว ตัดรากถอนโคนได้เหมือนต้น
ตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ เพราะฉะนั้น
เราจึงอยู่เป็นสุข กุมาร เธอเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร ความเร่าร้อนทางกายหรือทางใจ
ที่เกิดเพราะโทสะ ฯลฯ ความเร่าร้อนทางกายหรือทางใจที่เกิดเพราะโมหะ ซึ่งเป็น
เหตุให้ผู้ที่ถูกแผดเผาอยู่เป็นทุกข์ พึงเกิดขึ้นแก่คหบดีหรือบุตรคหบดีนั้นบ้างไหม”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“กุมาร คหบดีหรือบุตรคหบดีนั้นถูกความเร่าร้อนที่เกิดจากโมหะใดแผดเผา
อยู่ โมหะนั้นตถาคตละได้เด็ดขาดแล้ว ตัดรากถอนโคนได้เหมือนต้นตาลที่ถูกตัด
รากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ เพราะฉะนั้น
เราจึงอยู่เป็นสุข”


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๔. เทวทูตวรรค ๖. เทวทูตสูตร

พราหมณ์๑ผู้ดับกิเลสแล้วย่อมอยู่เป็นสุขทุกเมื่อ
ผู้ไม่ติดอยู่ในกาม๒ เป็นคนเยือกเย็น
ไม่มีอุปธิกิเลส ตัดกิเลสเครื่องข้องทุกอย่างแล้ว
พึงกำจัดความกระวนกระวายในใจ
เข้าถึงความสงบ๓ย่อมอยู่เป็นสุข

หัตถกสูตรที่ ๕ จบ

๖. เทวทูตสูตร
ว่าด้วยเทวทูต

[๓๖] ภิกษุทั้งหลาย เทวทูต๔ ๓ จำพวกนี้
เทวทูต ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลบางคนในโลกนี้ประพฤติกายทุจริต(ความประพฤติชั่วด้วยกาย) วจี-
ทุจริต(ความประพฤติชั่วด้วยวาจา) และมโนทุจริต(ความประพฤติชั่วด้วย
ใจ) หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก นาย
นิรยบาล๕จับแขนเขาไปแสดงต่อพญายม๖ว่า “ขอเดชะ คนผู้นี้ไม่เกื้อกูล
มารดา ไม่เกื้อกูลบิดา ไม่เกื้อกูลสมณะ ไม่เกื้อกูลพราหมณ์ และไม่
อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในสกุล ขอพระองค์จงลงโทษแก่คนผู้นี้เถิด”


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๔. เทวทูตวรรค ๖. เทวทูตสูตร

ภิกษุทั้งหลาย พญายมสอบสวนซักไซ้ไล่เลียงเขาถึงเทวทูตที่ ๑ ว่า “เจ้า
ไม่เคยเห็นเทวทูตที่ ๑ ปรากฏในหมู่มนุษย์บ้างหรือ”
เขาตอบว่า “ไม่เคยเห็น พระเจ้าข้า”
พญายมถามเขาว่า “ในหมู่มนุษย์ สตรีหรือบุรุษมีอายุ ๘๐ ปี... ๙๐ ปี...
หรือ ๑๐๐ ปี... เป็นคนชรา มีซี่โครงคด หลังโกง หลังค่อม ถือไม้เท้า เดินงก ๆ
เงิ่น ๆ เก้ ๆ กัง ๆ หมดความเป็นหนุ่มสาว ฟันหัก ผมหงอก ศีรษะล้าน หนังเหี่ยว
ตัวตกกระ เจ้าไม่เคยเห็นบ้างหรือ”
เขาตอบว่า “เคยเห็น พระเจ้าข้า”
พญายมถามเขาว่า “เจ้านั้นเป็นผู้รู้เดียงสา เป็นผู้ใหญ่ ไม่ได้คิดอย่างนี้เลย
หรือว่า ‘ถึงตัวเราก็มีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ เอาเถอะ
เราจะทำความดีทางกาย วาจา และใจ”
เขาตอบว่า “ไม่เคยคิด เพราะมัวประมาทอยู่ พระเจ้าข้า”
พญายมถามเขาว่า “เจ้าไม่ได้ทำความดีทางกาย วาจา และใจ เพราะมัว
ประมาทอยู่ เอาเถอะ เขาจะลงโทษเจ้าตามฐานะที่ประมาท ก็บาปกรรมนี้นั้น
บิดามารดา พี่ชายน้องชาย พี่หญิงน้องหญิง มิตรอำมาตย์ ญาติสาโลหิต เทวดา
สมณพราหมณ์ไม่ได้ทำให้เลย เจ้าทำเองแท้ ๆ เจ้านั่นเองต้องรับผลของบาปกรรม
นั้น”
๒. พญายมครั้นสอบสวนซักไซ้ไล่เลียงเขาถึงเทวทูตที่ ๑ แล้วจึงสอบสวน
ซักไซ้ไล่เลียงถึงเทวทูตที่ ๒ ว่า “เจ้าไม่เคยเห็นเทวทูตที่ ๒ ปรากฏ
ในหมู่มนุษย์บ้างหรือ”
เขาตอบว่า “ไม่เคยเห็น พระเจ้าข้า”
พญายมถามเขาว่า “ในหมู่มนุษย์ สตรีหรือบุรุษป่วย ประสพทุกข์ เป็นไข้หนัก
นอนจมอยู่ในมูตรและกรีสของตน ผู้อื่นต้องช่วยพยุงให้ลุกขึ้นช่วยป้อนอาหาร เจ้า
ไม่เคยเห็นบ้างหรือ”
เขาตอบว่า “เคยเห็น พระเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๑๙๒ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๔. เทวทูตวรรค ๖. เทวทูตสูตร

พญายมถามเขาว่า “เจ้านั้นเป็นผู้รู้เดียงสา เป็นผู้ใหญ่ ไม่เคยคิดบ้างหรือว่า
‘ถึงตัวเราก็ต้องป่วยไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความป่วยไข้ไปได้ เอาเถอะ เราจะ
ทำความดีทางกาย วาจา และใจ”
เขาตอบว่า “ไม่เคยคิด เพราะมัวประมาทอยู่ พระเจ้าข้า”
พญายมถามเขาว่า “เจ้าไม่ได้ทำความดีทางกาย วาจา และใจ เพราะมัว
ประมาทอยู่ เอาเถอะ เขาจะลงโทษเจ้าตามฐานะที่ประมาท ก็บาปกรรมนั้น
บิดามารดา พี่ชายน้องชาย พี่หญิงน้องหญิง มิตรอำมาตย์ ญาติสาโลหิต เทวดา
สมณพราหมณ์ไม่ได้ทำให้เลย เจ้าทำเองแท้ ๆ เจ้านั่นเองต้องรับผลของบาปกรรมนั้น”
๓. พญายมครั้นสอบสวนซักไซ้ไล่เลียงเขาถึงเทวทูตที่ ๒ แล้วจึงสอบ
สวน ซักไซ้ไล่เลียงถึงเทวทูตที่ ๓ ว่า “เจ้าไม่เคยเห็นเทวทูตที่ ๓
ที่ปรากฏในหมู่มนุษย์บ้างหรือ”
เขาตอบว่า “ไม่เคยเห็น พระเจ้าข้า”
พญายมถามเขาว่า “ในหมู่มนุษย์ สตรีหรือบุรุษที่ตายได้ ๑ วัน ๒ วัน หรือ
๓ วัน พองขึ้น เป็นสีเขียว มีน้ำเหลืองแตกซ่าน เจ้าไม่เคยเห็นบ้างหรือ”
เขาตอบว่า “เคยเห็น พระเจ้าข้า”
พญายมถามเขาว่า “เจ้าเป็นผู้รู้เดียงสา เป็นผู้ใหญ่ ไม่เคยคิดบ้างหรือว่า
ถึงตัวเราก็มีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ เอาเถอะ เราจะทำ
ความดีทางกาย วาจา และใจ”
เขาตอบว่า “ไม่เคยคิด เพราะมัวประมาทอยู่ พระเจ้าข้า”
พญายมถามเขาว่า “เจ้าไม่ได้ทำความดีทางกาย วาจา และใจ เพราะมัว
ประมาทอยู่ เอาเถอะ เขาจะลงโทษเจ้าตามฐานะที่ประมาท ก็บาปกรรมนั้น
บิดามารดา พี่ชายน้องชาย พี่หญิงน้องหญิง มิตรอำมาตย์ ญาติสาโลหิต เทวดา
สมณพราหมณ์ไม่ได้ทำให้เลย เจ้าทำเองแท้ ๆ เจ้านั่นเองต้องรับผลของบาปกรรมนั้น”
พญายมครั้นสอบสวนซักไซ้ไล่เลียงเขาถึงเทวทูตที่ ๓ นั้นแล้วก็นิ่งเสีย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๑๙๓ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๔. เทวทูตวรรค ๗ ยมราชสูตร

นายนิรยบาลจึงทำกรรมกรณ์๑ ชื่อเครื่องพันธนาการ ๕ อย่าง คือ ตอก
ตะปูเหล็กแดง ที่มือ ๒ ข้าง ที่เท้า ๒ ข้าง และที่กลางอก เขาเสวยทุกขเวทนา
กล้าอย่างหนัก เผ็ดร้อน ณ ที่นั้น แต่ยังไม่ตายตราบเท่าที่บาปกรรมยังไม่สิ้นไป
นายนิรยบาลฉุดลากเขาไป เอาขวานถาก เขาเสวยทุกขเวทนากล้าอย่างหนัก
เผ็ดร้อน ณ ที่นั้น แต่ยังไม่ตายตราบเท่าที่บาปกรรมยังไม่สิ้นไป
นายนิรยบาลจับเขา เอาเท้าขึ้น เอาศีรษะลง เอามีดเฉือน ฯลฯ จับเขาเทียม
รถแล่นกลับไปกลับมาบนพื้นอันร้อนลุกเป็นเปลวโชติช่วง ฯลฯ บังคับเขาขึ้นลงภูเขา
ถ่านเพลิงลูกใหญ่ ที่ไฟลุกโชน ฯลฯ จับเขาเอาเท้าขึ้น เอาศีรษะลง ทุ่มลงในโลหกุมภี
อันร้อนแดงลุกเป็นแสงไฟ เขาถูกต้มเดือดจนตัวพองในโลหกุมภีนั้น บางครั้งลอยขึ้น
บางครั้งจมลง บางครั้งลอยขวาง เขาเสวยทุกขเวทนากล้าอย่างหนัก เผ็ดร้อนอยู่
ในโลหกุมภีอันร้อนแดงนั้น แต่ยังไม่ตายตราบเท่าที่บาปกรรมยังไม่สิ้นไป นาย
นิรยบาลจึงทุ่มเขาลงในมหานรก
ก็มหานรกนั้น
มี ๔ มุม ๔ ประตู แบ่งออกเป็นส่วน
มีกำแพงเหล็กล้อมรอบ ครอบด้วยฝาเหล็ก
มีพื้นเป็นเหล็กลุกโชนโชติช่วง
แผ่ไปไกลด้านละ ๑๐๐ โยชน์ตั้งอยู่ทุกเมื่อ

เทวทูตสูตรที่ ๖ จบ

๗. ยมราชสูตร
ว่าด้วยพญายม

[๓๗] ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว พญายมได้มีความคิดดังนี้ว่า “ชน
เหล่าใดทำบาปกรรมไว้ในโลก ชนเหล่านั้นถูกนายนิรยบาลทรมานด้วยวิธีการต่าง ๆ
อย่างนี้ โอหนอ เราพึงได้ความเป็นมนุษย์ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
พึงเสด็จอุบัติในโลก เราพึงเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น พระผู้มีพระภาคพระ
องค์นั้นพึงแสดงธรรมแก่เรา และเราพึงรู้ทั่วถึงธรรมของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น”


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๔. เทวทูตวรรค ๘. จตุมหาราชสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เราได้ฟังข้อความนั้นต่อจากสมณะหรือพราหมณ์อื่นแล้วจึง
กล่าวอย่างนี้ก็หาไม่ แต่เรากล่าวสิ่งที่เรารู้เอง เห็นเอง ทราบเองเท่านั้น
มาณพเหล่าใดอันเทวทูตตักเตือนแล้ว ยังประมาทอยู่
มาณพเหล่านั้นเข้าถึงหมู่ที่เลว
ย่อมเศร้าโศกตลอดกาลนาน
ส่วนสัตบุรุษเหล่าใดเป็นผู้สงบในโลกนี้
อันเทวทูตตักเตือนแล้ว ไม่ประมาทในอริยธรรมในเวลาใด ๆ
เห็นภัยในความยึดมั่นถือมั่น
ที่เป็นบ่อเกิดแห่งการเกิดและการตาย
ย่อมหลุดพ้นในธรรมเป็นที่สิ้นการเกิดและการตาย
เพราะไม่ยึดมั่นถือมั่น
สัตบุรุษเหล่านั้นจึงถึงความเกษม
มีความสุข ดับสนิทในปัจจุบัน
ล่วงพ้นเวรและภัยทุกอย่าง ข้ามพ้นทุกข์ทั้งสิ้น

ยมราชสูตรที่ ๗ จบ

๘. จตุมหาราชสูตร
ว่าด้วยท้าวมหาราชทั้ง ๔

[๓๘] ภิกษุทั้งหลาย ในวัน ๘ ค่ำแห่งปักษ์ เทวดาผู้เป็นบริวาร ผู้ช่วยเหลือ
ของท้าวมหาราชทั้ง ๔ เที่ยวตรวจดูโลกนี้ว่า ในหมู่มนุษย์ มนุษย์ที่เกื้อกูลมารดา
เกื้อกูลบิดา เกื้อกูลสมณะ เกื้อกูลพราหมณ์ อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในสกุล อยู่จำ
อุโบสถ๑ อยู่จำปฏิชาครอุโบสถ๒ ทำบุญ๓กันอยู่ มีอยู่มากหรือหนอ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๔. เทวทูตวรรค ๘. จตุมหาราชสูตร

ในวัน ๑๔ ค่ำแห่งปักษ์ บุตรของท้าวมหาราชทั้ง ๔ เที่ยวตรวจดูโลกนี้ว่า
ในหมู่มนุษย์ มนุษย์ที่เกื้อกูลมารดา เกื้อกูลบิดา เกื้อกูลสมณะ เกื้อกูลพราหมณ์
อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในสกุล อยู่จำอุโบสถ อยู่จำปฏิชาครอุโบสถ ทำบุญกันอยู่ มี
อยู่มากหรือหนอ
ในวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำนั้น ท้าวมหาราชทั้ง ๔ เที่ยวตรวจดูโลกนี้ด้วยตัวเองว่า
ในหมู่มนุษย์ มนุษย์ที่เกื้อกูลมารดา เกื้อกูลบิดา เกื้อกูลสมณะ เกื้อกูลพราหมณ์
อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในสกุล อยู่จำอุโบสถ อยู่จำปฏิชาครอุโบสถ ทำบุญกันอยู่ มี
อยู่มากหรือหนอ
ถ้าในหมู่มนุษย์ มนุษย์ที่เกื้อกูลมารดา เกื้อกูลบิดา เกื้อกูลสมณะ เกื้อกูล
พราหมณ์ อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในสกุล อยู่จำอุโบสถ อยู่จำปฏิชาครอุโบสถ ทำ
บุญกันอยู่ มีอยู่น้อย
ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ย่อมรายงานเหตุนั้นแก่พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ที่นั่งประชุม
ร่วมกันในสภาชื่อสุธัมมาว่า ในหมู่มนุษย์ มนุษย์ผู้เกื้อกูลมารดา เกื้อกูลบิดา
เกื้อกูลสมณะ เกื้อกูลพราหมณ์ อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในสกุล อยู่จำอุโบสถ อยู่จำ
ปฏิชาครอุโบสถ ทำบุญกันอยู่ มีจำนวนน้อย
เพราะเหตุนั้น พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์จึงพากันเสียใจว่า “หมู่เทพจักเสื่อม
หมู่อสูรจักบริบูรณ์”
ก็ถ้าในหมู่มนุษย์ มนุษย์ผู้เกื้อกูลมารดา เกื้อกูลบิดา เกื้อกูลสมณะ
เกื้อกูลพราหมณ์ อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในสกุล อยู่จำอุโบสถ อยู่จำปฏิชาครอุโบสถ
ทำบุญกันอยู่ มีจำนวนมาก
ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ย่อมรายงานเหตุนั้นแก่พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ที่นั่งประชุม
ร่วมกันในสภาชื่อสุธัมมาว่า ในหมู่มนุษย์ มนุษย์ผู้เกื้อกูลมารดา เกื้อกูลบิดา
เกื้อกูลสมณะ เกื้อกูลพราหมณ์ อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในสกุล อยู่จำอุโบสถ อยู่จำ
ปฏิชาครอุโบสถ ทำบุญกันอยู่ มีจำนวนน้อย
เพราะเหตุนั้น พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์จึงพากันดีใจว่า “หมู่เทพจักบริบูรณ์
หมู่อสูรจักเสื่อม”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๑๙๖ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๔. เทวทูตวรรค ๘. จตุมหาราชสูตร

เรื่องเคยมีมาแล้ว ท้าวสักกะจอมเทพ เมื่อแนะนำพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ได้
ตรัสคาถานี้ในเวลานั้นว่า
นรชนแม้ใดผู้เช่นกับเราพึงอยู่จำอุโบสถ
ประกอบด้วยองค์ ๘๑ สิ้นวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ
และ ๘ ค่ำแห่งปักษ์ และสิ้นปาฏิหาริยปักษ์๒
คาถานี้ท้าวสักกะจอมเทพขับผิด ขับไม่ดี กล่าวผิด กล่าวไม่ดี ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะท้าวสักกะจอมเทพ ยังไม่ปราศจากราคะ ไม่ปราศจากโทสะ
ไม่ปราศจากโมหะ
ส่วนภิกษุใดเป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำ
เสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว๓ บรรลุประโยชน์ตน๔โดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์๕แล้ว
หลุดพ้นเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุนั้นควรกล่าวคำว่า
นรชนแม้ใดผู้เช่นกับเราพึงอยู่จำอุโบสถ
ประกอบด้วยองค์ ๘ สิ้นวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ
และ ๘ ค่ำแห่งปักษ์ และสิ้นปาฏิหาริยปักษ์
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุนั้น ปราศจากราคะ ปราศจากโทสะ ปราศจาก
โมหะ

จตุมหาราชสูตรที่ ๘ จบ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๔. เทวทูตวรรค ๙. สุขุมาลสูตร

๘. ทุติยจตุมหาราชสูตร
ว่าด้วยท้าวมหาราชทั้ง ๔ สูตรที่ ๒

[๓๘] ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ท้าวสักกะจอมเทพเมื่อแนะนำพวก
เทวดาชั้นดาวดึงส์ได้ตรัสคาถานี้ในเวลานั้นว่า
นรชนแม้ใดผู้เช่นกับเรา พึงอยู่จำอุโบสถ
ประกอบด้วยองค์ ๘ สิ้นวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ
และ ๘ ค่ำแห่งปักษ์ และสิ้นปาฏิหาริยปักษ์
คาถานี้ท้าวสักกะจอมเทพขับผิด ขับไม่ดี กล่าวผิด กล่าวไม่ดี ข้อนั้นเพราะ
เหตุไร เพราะท้าวสักกะจอมเทพยังไม่พ้นจากชาติ(ความเกิด) ชรา(ความแก่) มรณะ
(ความตาย) โสกะ(ความเศร้าโศก) ปริเทวะ(ความคร่ำครวญ) ทุกข์(ความทุกข์กาย)
โทมนัส(ความทุกข์ใจ) และอุปายาส(ความคับแค้นใจ) เรากล่าวว่า ยังไม่พ้นจากทุกข์
ส่วนภิกษุใดเป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำ
เสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว
หลุดพ้นเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุนั้นควรกล่าวคำว่า
นรชนแม้ใดผู้เช่นกับเรา พึงอยู่จำอุโบสถ
ประกอบด้วยองค์ ๘ สิ้นวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ
และ ๘ ค่ำแห่งปักษ์ และสิ้นปาฏิหาริยปักษ์
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุนั้นพ้นแล้วจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ
ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เรากล่าวว่า พ้นจากทุกข์

ทุติยจตุมหาราชสูตรที่ ๘ จบ

๙. สุขุมาลสูตร
ว่าด้วยสุขุมาลชาติ

[๓๙] ภิกษุทั้งหลาย เราเป็นผู้สุขุมาลชาติ๑ เป็นผู้สุขุมาลชาติอย่างยิ่ง เป็น
ผู้สุขุมาลชาติอย่างยิ่งยวด ได้ทราบว่า พระราชบิดารับสั่งให้ขุดสระโบกขรณี (สระบัว)


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๔. เทวทูตวรรค ๙. สุขุมาลสูตร

ไว้เพื่อเราภายในที่อยู่ ได้ทราบว่า พระราชบิดานั้นรับสั่งให้ปลูกอุบลไว้ในสระหนึ่ง
ปลูกปทุมไว้ในสระหนึ่ง ปลูกปุณฑริก(บัวขาว)ไว้ในสระหนึ่งเพื่อประโยชน์แก่เรา เรา
ไม่ได้ใช้เฉพาะไม้จันทน์แคว้นกาสี(พาราณสี)เท่านั้น ผ้าโพกของเราก็ทำในแคว้นกาสี
เสื้อก็ทำในแคว้นกาสี ผ้านุ่งก็ทำในแคว้นกาสี ผ้าห่มก็ทำในแคว้นกาสี ทั้งคนรับใช้
คอยกั้นเศวตฉัตรให้เราตลอดวันและคืนด้วยหวังว่า หนาว ร้อน ธุลี หญ้า หรือ
น้ำค้างอย่าได้กระทบพระองค์ท่าน
เรานั้นมีปราสาทอยู่ ๓ หลัง คือ ปราสาทหลังหนึ่งเป็นที่อยู่ในฤดูหนาว
หลังหนึ่งเป็นที่อยู่ในฤดูร้อน หลังหนึ่งเป็นที่อยู่ในฤดูฝน เรานั้นได้รับการบำเรอด้วย
ดนตรีที่ไม่ใช่บุรุษบรรเลง ตลอด ๔ เดือนฤดูฝน ในปราสาทฤดูฝน ไม่ได้ลงข้างล่าง
ปราสาทเลย ก็แลในที่อยู่ของคนเหล่าอื่น เขาให้ข้าวป่น(ข้าวหัก)มีน้ำผักดองเป็นกับ
แก่ทาส คนงาน และคนรับใช้ ฉันใด ในนิเวศน์ของพระราชบิดาของเราก็ฉันนั้น
เหมือนกัน เขาให้ข้าวสาลีสุกผสมเนื้อแก่ทาส คนงาน และคนรับใช้
เรานั้นเพียบพร้อมด้วยความสำเร็จอย่างนี้ และเป็นผู้สุขุมาลชาติอย่างยิ่ง ได้
มีความคิดว่า ปุถุชนผู้ยังไม่ได้สดับ ตนเองเป็นผู้มีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วง
พ้นความแก่ไปได้ เห็นบุคคลอื่นแก่ ก็อึดอัด ระอา รังเกียจ ลืมตัว ไม่คิดว่า
แม้เราเองก็มีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ การที่เราผู้มีความแก่
เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ เห็นบุคคลอื่นแก่ ก็อึดอัด ระอา รังเกียจนั้น
ไม่สมควรแก่เราเลย เรานั้น เมื่อพิจารณาเห็นอย่างนี้ จึงละความมัวเมาในความ
เป็นหนุ่มสาวได้โดยประการทั้งปวง
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ตนเองเป็นผู้มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความ
เจ็บไข้ไปได้ เห็นบุคคลอื่นเจ็บไข้ ก็อึดอัด ระอา รังเกียจ ลืมตัว ไม่คิดว่า แม้
เราเองก็มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้ การที่เราผู้มีความ
เจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้เห็นบุคคลอื่นเจ็บไข้ ก็อึดอัด ระอา
รังเกียจนั้น ไม่สมควรแก่เราเลย เรานั้น เมื่อพิจารณาเห็นอย่างนี้ จึงละความมัว
เมาในความไม่มีโรคได้โดยประการทั้งปวง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๑๙๙ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๔. เทวทูตวรรค ๙. สุขุมาลสูตร

ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ตนเองเป็นผู้มีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตาย
ไปได้ เห็นบุคคลอื่นตาย ก็อึดอัด ระอา รังเกียจ ลืมตัว ไม่คิดว่า แม้เราเองก็
มีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ การที่เราผู้มีความตายเป็นธรรมดา
ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ เห็นบุคคลอื่นตาย ก็อึดอัด ระอา รังเกียจนั้น ไม่สมควร
แก่เราเลย เรานั้น เมื่อพิจารณาเห็นอย่างนี้ จึงละความมัวเมาในชีวิตได้โดยประการ
ทั้งปวง
ความมัวเมา ๓ ประการนี้
ความมัวเมา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความมัวเมาในความเป็นหนุ่มสาว ๒. ความมัวเมาในความไม่มีโรค
๓. ความมัวเมาในชีวิต
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ มัวเมาในความเป็นหนุ่มสาว ประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต
มโนทุจริต หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ มัวเมาในความไม่มีโรค ฯลฯ หรือปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ
มัวเมาในชีวิต ประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต หลังจากตายแล้วจะไปเกิด
ในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ภิกษุผู้มัวเมาในความเป็นหนุ่มสาวย่อมบอกคืนสิกขา กลับมาเป็นคฤหัสถ์
ภิกษุผู้มัวเมาในความไม่มีโรคย่อมบอกคืนสิกขา กลับมาเป็นคฤหัสถ์ หรือภิกษุผู้
มัวเมาในชีวิตย่อมบอกคืนสิกขา กลับมาเป็นคฤหัสถ์
ปุถุชนทั้งหลายมีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา
มีความแก่เป็นธรรมดาและมีความตายเป็นธรรมดา
เป็นอยู่ตามสภาวะ ย่อมพากันรังเกียจ(บุคคลอื่น)
ก็การที่เรารังเกียจความป่วยไข้เป็นต้นนี้
ในหมู่สัตว์ผู้มีสภาวะอย่างนี้นั้น
ไม่สมควรแก่เราผู้มีปกติอยู่อย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๒๐๐ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๔. เทวทูตวรรค ๑๐. อาธิปเตยยสูตร

เรานั้นอยู่อย่างนี้ รู้ธรรมที่หมดอุปธิ๑
เห็นความสำราญในเนกขัมมะ๒
ย่อมครอบงำความมัวเมาทุกอย่าง
คือ ความมัวเมาในความไม่มีโรค
ความมัวเมาในความเป็นหนุ่มสาว
และความมัวเมาในชีวิต
ความพยายามได้มีแก่เรานั้นผู้เห็นนิพพาน
บัดนี้เราไม่ควรกลับไปเสพกาม
เราจักไม่เวียนกลับ จักมีพรหมจรรย์เป็นจุดมุ่งหมาย

สุขุมาลสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. อาธิปเตยยสูตร
ว่าด้วยอาธิปไตย

[๔๐] ภิกษุทั้งหลาย อาธิปไตย(ความเป็นใหญ่) ๓ ประการนี้
อาธิปไตย ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อัตตาธิปไตย (ความมีตนเป็นใหญ่)
๒. โลกาธิปไตย (ความมีโลกเป็นใหญ่)
๓. ธัมมาธิปไตย (ความมีธรรมเป็นใหญ่)
อัตตาธิปไตย เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่ในป่าบ้าง อยู่ตามโคนต้นไม้บ้าง อยู่ในเรือนว่างบ้าง
ย่อมเห็นประจักษ์ว่า “เราออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งจีวร


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๔. เทวทูตวรรค ๑๐. อาธิปเตยยสูตร

บิณฑบาต เสนาสนะ เราออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งความ
มีหรือความไม่มีเช่นนั้น อนึ่ง เราถูกชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
และอุปายาสครอบงำชื่อว่าถูกทุกข์ครอบงำ มีทุกข์อยู่ตรงหน้า ทำอย่างไร การทำ
ที่สุดกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้จะพึงปรากฏ การที่เราละกามเช่นใดแล้วจึงออกจากเรือนบวช
เป็นบรรพชิต เราพึงแสวงหากามเช่นนั้น หรือกามที่เลวกว่านั้น นั้นไม่สมควรแก่
เราเลย”
ภิกษุนั้นเห็นประจักษ์ว่า “ความเพียรที่เราเริ่มไว้แล้วจักไม่ย่อหย่อน สติที่
ตั้งมั่นแล้วจักไม่เลอะเลือน กายที่สงบแล้วจักไม่กระสับกระส่าย จิตที่ตั้งมั่นแล้วจัก
มีอารมณ์แน่วแน่” เธอทำตนเท่านั้นให้เป็นใหญ่ ละอกุศล บำเพ็ญกุศล ละกรรม
ที่มีโทษ บำเพ็ญกรรมที่ไม่มีโทษ รักษาตนให้บริสุทธิ์
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า อัตตาธิปไตย
โลกาธิปไตย เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่ในป่าบ้าง อยู่ตามโคนต้นไม้บ้าง อยู่ในเรือนว่างบ้าง
ย่อมเห็นประจักษ์ว่า “เราออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งจีวร
บิณฑบาต เสนาสนะ เราออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งความ
มีหรือความไม่มีเช่นนั้น อนึ่ง เราถูกชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
และอุปายาสครอบงำ ชื่อว่าถูกทุกข์ครอบงำ มีทุกข์อยู่ตรงหน้า ทำอย่างไร การทำ
ที่สุดกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้จะพึงปรากฏ ก็เราบวชแล้วอย่างนี้พึงคิดเรื่องกาม เรื่องปอง
ร้าย เรื่องเบียดเบียน โลกสันนิวาส(การอยู่ร่วมกันของสัตว์โลก)นี้ใหญ่ ก็ในโลก-�
สันนิวาสใหญ่มีสมณพราหมณ์ผู้มีฤทธิ์ มีตาทิพย์ รู้จิตของบุคคลอื่น สมณพราหมณ์
เหล่านั้นมองเห็นได้แม้จากที่ไกล แม้อยู่ใกล้ก็ไม่ปรากฏ รู้จิต(ของบุคคลอื่น)แม้ด้วย
จิต(ของตน) สมณพราหมณ์แม้เหล่านั้นพึงรู้จักเราอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย
โปรดดูกุลบุตรนี้ เพราะมีศรัทธา เขาจึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เต็มไปด้วย
บาปอกุศลธรรมอยู่ แม้เทวดาผู้มีฤทธิ์ มีตาทิพย์ รู้จิตของบุคคลอื่นก็มีอยู่
เทวดาเหล่านั้นย่อมปรากฏจากที่ไกลบ้าง เข้ามาใกล้แล้วกลับมองไม่เห็นบ้าง ย่อม
รู้จิตด้วยจิตบ้าง’ เทวดาแม้เหล่านั้นพึงรู้จักเราอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย
โปรดดูกุลบุตรนี้ เพราะมีศรัทธาเขาจึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เต็มไปด้วย
บาปอกุศลธรรมอยู่”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๒๐๒ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๔. เทวทูตวรรค ๑๐. อาธิปเตยยสูตร

ภิกษุนั้นเห็นประจักษ์ว่า “ความเพียรที่เราเริ่มไว้แล้วจักไม่ย่อหย่อน สติที่ตั้ง
มั่นแล้วจักไม่เลอะเลือน กายที่สงบแล้วจักไม่กระสับกระส่าย จิตที่ตั้งมั่นแล้วจักมี
อารมณ์แน่วแน่” เธอทำโลกเท่านั้นให้เป็นใหญ่ ละอกุศล บำเพ็ญกุศล ละกรรมที่มี
โทษ บำเพ็ญกรรมที่ไม่มีโทษ รักษาตนให้บริสุทธิ์
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า โลกาธิปไตย
ธัมมาธิปไตย เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่ในป่าบ้าง อยู่ตามโคนต้นไม้บ้าง อยู่ในเรือนว่างบ้าง
ย่อมเห็นประจักษ์ว่า “เราออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งจีวร
บิณฑบาต เสนาสนะ เราออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งความ
มีหรือความไม่มีเช่นนั้น อนึ่ง เราถูกชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
และอุปายาสครอบงำ ชื่อว่าถูกทุกข์ครอบงำ มีทุกข์อยู่ตรงหน้า ทำอย่างไร การ
ทำที่สุดกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้จะพึงปรากฏ พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ผู้
ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล๑ ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้า
มาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ก็เพื่อนพรหมจารีผู้รู้เห็นอยู่ มีอยู่ การที่เรา
บวชในธรรมวินัยที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้วอย่างนี้พึงเกียจคร้านประมาทอยู่นั้น
ไม่สมควรแก่เราเลย”
ภิกษุนั้นย่อมเห็นประจักษ์ว่า “ความเพียรที่เราเริ่มไว้แล้วจักไม่ย่อหย่อน สติที่
ตั้งมั่นแล้วจักไม่เลอะเลือน กายที่สงบแล้วจักไม่กระสับกระส่าย จิตที่ตั้งมั่นแล้วจัก
มีอารมณ์แน่วแน่” เธอยกธรรมเท่านั้นให้เป็นใหญ่ ละอกุศล บำเพ็ญกุศล ละกรรม
ที่มีโทษ บำเพ็ญกรรมที่ไม่มีโทษ รักษาตนให้บริสุทธิ์
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธัมมาธิปไตย
ภิกษุทั้งหลาย อาธิปไตย ๓ ประการนี้แล


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๔. เทวทูตวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ชื่อว่าความลับของผู้ทำบาปย่อมไม่มีในโลก
แน่ะบุรุษ ตัวท่านเองย่อมรู้ว่าจริงหรือเท็จ
ท่านผู้เจริญ ท่านสามารถทำความดีได้
แต่กลับดูหมิ่นตัวเองเสีย
และยังปกปิดความชั่วซึ่งมีอยู่ในตน
ทวยเทพและตถาคตย่อมมองเห็นท่าน
ผู้เป็นคนพาล ประพฤติไม่สม่ำเสมอในโลก
เพราะเหตุนั้นแล คนที่มีตนเป็นใหญ่ควรมีสติเที่ยวไป
คนที่มีโลกเป็นใหญ่ควรมีปัญญาและเพ่งพินิจ
ส่วนคนมีธรรมเป็นใหญ่ควรประพฤติตามธรรม
มุนีผู้มีความบากบั่นอย่างจริงจังย่อมไม่เสื่อม
บุคคลใดมีความเพียร ข่มมาร
ครอบงำมัจจุราชผู้กำหนดชะตากรรมเสียได้
สัมผัสธรรมเป็นที่สิ้นความเกิด
บุคคลเช่นนั้นย่อมเป็นผู้รู้แจ้งโลก มีปัญญาดี
เป็นมุนีหมดความทะยานอยากในธรรมทั้งปวง

อาธิปเตยยสูตรที่ ๑๐ จบ
เทวทูตวรรคที่ ๔ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สพรหมกสูตร ๒. อานันทสูตร
๓. สารีปุตตสูต ๔. นิทานสูตร
๕. หัตถกสูต ๖. เทวทูตสูตร
๗. ยมราชสูตร ๘. จตุมหาราชสูตร
๘. ทุติยจตุมหาราชสูตร ๙. สุขุมาลสูตร
๑๐. อาธิปเตยยสูตร


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๕. จูฬวรรค ๒. ติฐานสูตร

๕. จูฬวรรค
หมวดว่าด้วยเรื่องเล็กน้อย
๑. สัมมุขีภาวสูตร
ว่าด้วยความพร้อมแห่งธรรม

[๔๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เพราะความพร้อมแห่งธรรม
๓ ประการ กุลบุตรผู้มีศรัทธาจึงประสพ๑บุญมาก
ความพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เพราะความพร้อมแห่งศรัทธา๒ กุลบุตรผู้มีศรัทธาจึงประสพบุญมาก
๒. เพราะความพร้อมแห่งไทยธรรม กุลบุตรผู้มีศรัทธาจึงประสพบุญมาก
๓. เพราะความพร้อมแห่งทักขิไณยบุคคล(บุคคลผู้ควรรับทักษิณา) กุลบุตร
ผู้มีศรัทธาจึงประสพบุญมาก
ภิกษุทั้งหลาย เพราะความพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการนี้แล กุลบุตรผู้มี
ศรัทธาจึงประสพบุญมาก

สัมมุขีภาวสูตรที่ ๑ จบ

๒. ติฐานสูตร
ว่าด้วยฐานะที่เป็นเหตุให้ทราบผู้มีศรัทธา

[๔๒] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีศรัทธาเลื่อมใสพึงทราบได้โดยฐานะ ๓ ประการ
ฐานะ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๕. จูฬวรรค ๓. อัตถวสสูตร

๑. เป็นผู้ปรารถนาที่จะเห็นท่านผู้มีศีล
๒. เป็นผู้ปรารถนาที่จะฟังสัทธรรม
๓. เป็นผู้มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน มีจาคะอันสละแล้ว มี
ฝ่ามือชุ่ม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการแจกทาน อยู่
ครองเรือน
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีศรัทธาเลื่อมใสพึงทราบได้โดยฐานะ ๓ ประการนี้แล
บุคคลผู้ปรารถนาจะเห็นท่านผู้มีศีล
ปรารถนาจะฟังสัทธรรม
กำจัดความตระหนี่อันเป็นมลทิน
บุคคลนั้นเรียกว่า ผู้มีศรัทธา

ติฐานสูตรที่ ๒ จบ

๓. อัตถวสสูตร
ว่าด้วยอำนาจประโยชน์

[๔๓] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้พิจารณาเห็นอำนาจประโยชน์ ๓ ประการ
จึงควรแสดงธรรมแก่คนเหล่าอื่น
อำนาจประโยชน์ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้แสดงธรรม๑รู้แจ้งอรรถ๒และรู้แจ้งธรรม๓
๒. บุคคลผู้ฟังธรรมรู้แจ้งอรรถและรู้แจ้งธรรม
๓. บุคคลผู้แสดงธรรมและผู้ฟังธรรมทั้ง ๒ ฝ่าย รู้แจ้งอรรถและรู้แจ้งธรรม
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้พิจารณาเห็นอำนาจประโยชน์ ๓ ประการนี้แลจึงควร
แสดงธรรมแก่คนเหล่าอื่น

อัตถวสสูตรที่ ๓ จบ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๕. จูฬวรรค ๕. ปัณฑิตสูตร

๔. กถาปวัตติสูตร
ว่าด้วยเหตุให้การสนทนาดำเนินไปได้

[๔๔] ภิกษุทั้งหลาย การสนทนาดำเนินไปได้ด้วยฐานะ๑ ๓ ประการ
ฐานะ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้แสดงธรรมรู้แจ้งอรรถและรู้แจ้งธรรม
๒. บุคคลผู้ฟังธรรมรู้แจ้งอรรถและรู้แจ้งธรรม
๓. บุคคลผู้แสดงธรรมและผู้ฟังธรรมทั้ง ๒ ฝ่ายรู้แจ้งอรรถและรู้แจ้งธรรม
ภิกษุทั้งหลาย การสนทนาดำเนินไปได้ด้วยฐานะ ๓ ประการนี้แล

กถาปวัตติสูตรที่ ๔ จบ

๕. ปัณฑิตสูตร
ว่าด้วยกรรมที่บัณฑิตบัญญัติไว้

[๔๕] ภิกษุทั้งหลาย กรรม ๓ ประการนี้บัณฑิตบัญญัติไว้ สัตบุรุษบัญญัติไว้
กรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทาน(การให้) ๒. ปัพพัชชา(การถือบวช)
๓. มาตาปิตุอุปัฏฐาน(การบำรุงมารดาบิดา)
กรรม ๓ ประการนี้แลบัณฑิตบัญญัติไว้ สัตบุรุษบัญญัติไว้
ทาน อหิงสา(ความไม่เบียดเบียน)
สัญญมะ(ความสำรวม) ทมะ(การฝึกฝน)
มาตาปิตุอุปัฏฐาน(การบำรุงมารดาบิดา)
เป็นสิ่งที่สัตบุรุษบัญญัติไว้


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๕. จูฬวรรค ๗. สังขตลักขณสูตร

คุณธรรมเหล่านี้เป็นฐานะของสัตบุรุษทั้งหลายผู้สงบ
เป็นพรหมจารีบุคคลซึ่งบัณฑิตควรเสพ
บัณฑิตนั้นเป็นอริยบุคคลผู้มีทัสสนะสมบูรณ์๑
เข้าถึงโลกอันเกษม๒ได้

ปัณฑิตสูตรที่ ๕ จบ

๖. สีลวันตสูตร
ว่าด้วยบรรพชิตผู้มีศีล

[๔๖] ภิกษุทั้งหลาย บรรพชิตผู้มีศีล เข้าไปอาศัยหมู่บ้านหรือตำบลใดอยู่
มนุษย์ทั้งหลายในหมู่บ้านหรือตำบลนั้น ย่อมประสพบุญมากด้วยฐานะ๓ ๓ ประการ
ฐานะ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กาย ๒. วาจา ๓. ใจ
ภิกษุทั้งหลาย บรรพชิตผู้มีศีลเข้าไปอาศัยหมู่บ้านหรือตำบลใดอยู่ มนุษย์
ทั้งหลายในหมู่บ้านหรือตำบลนั้นย่อมประสพบุญมากด้วยฐานะ ๓ ประการนี้แล

สีลวันตสูตรที่ ๖ จบ

๗. สังขตลักขณสูตร
ว่าด้วยลักษณะที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง

[๔๗] ภิกษุทั้งหลาย สังขตลักษณะแห่งสังขตธรรม(ลักษณะที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
แห่งธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง) ๓ ประการนี้


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๕. จูฬวรรค ๙. ปัพพตราชสูตร

สังเขตลักษณะแห่งสังขตธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความเกิดขึ้นปรากฏ ๒. ความดับสลายปรากฏ
๓. เมื่อตั้งอยู่ ความแปร๑ปรากฏ
ภิกษุทั้งหลาย สังขตลักษณะแห่งสังขตธรรม ๓ ประการนี้แล

สังขตลักขณสูตรที่ ๗ จบ

๘. อสังขตลักขณสูตร
ว่าด้วยลักษณะที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง

[๔๘] ภิกษุทั้งหลาย อสังขตลักษณะแห่งอสังขตธรรม(ลักษณะที่ไม่ถูกปัจจัย
ปรุงแต่งแห่งธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง) ๓ ประการนี้
อสังขตลักษณะแห่งอสังขตธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความเกิดขึ้นไม่ปรากฏ
๒. ความดับสลายไม่ปรากฏ
๓. เมื่อตั้งอยู่ ความแปรไม่ปรากฏ
ภิกษุทั้งหลาย อสังขตลักษณะแห่งอสังขตธรรม ๓ ประการนี้แล

อสังขตลักขณสูตรที่ ๘ จบ

๙. ปัพพตราชสูตร
ว่าด้วยขุนเขาหิมพานต์

[๔๙] ภิกษุทั้งหลาย ไม้สาละใหญ่อาศัยขุนเขาหิมพานต์ย่อมงอกงามด้วยความ
เจริญ ๓ ประการ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๕. จูฬวรรค ๙. ปัพพตราชสูตร

ความเจริญ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กิ่ง ใบแก่ และใบอ่อน ๒. เปลือกและสะเก็ด
๓. กระพี้และแก่น
ไม้สาละใหญ่อาศัยขุนเขาหิมพานต์ย่อมงอกงามด้วยความเจริญ ๓ ประการนี้
ฉันใด
ชนภายในอาศัยพ่อบ้านผู้มีศรัทธาย่อมงอกงามด้วยความเจริญ ๓ ประการ
ฉันนั้นเหมือนกัน
ความเจริญ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ศรัทธา ๒. ศีล ๓. ปัญญา
ภิกษุทั้งหลาย ชนภายในอาศัยพ่อบ้านผู้มีศรัทธาย่อมงอกงามด้วยความเจริญ
๓ ประการนี้
ภูเขาหินมีอยู่ในป่าใหญ่
หมู่ไม้เหล่านั้นอาศัยภูเขานั้น
เจริญงอกงามเติบโตในป่า แม้ฉันใด
บุตร ภรรยา พวกพ้อง อำมาตย์ หมู่ญาติ
และชนผู้อาศัยเขาเลี้ยงชีพ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
อาศัยพ่อบ้านผู้มีศรัทธา สมบูรณ์ด้วยศีล
ย่อมงอกงามในโลกนี้
ชนผู้มีปัญญาเห็นแจ้ง เห็นศีล
จาคะ(ความเสียสละ) และสุจริต(ความประพฤติดี)
ของพ่อบ้านผู้มีศีลนั้นแล้วย่อมทำตาม
บุคคลประพฤติธรรมซึ่งเป็นทางนำสัตว์ไปสู่สุคติ
ย่อมเพลิดเพลินในโลกนี้สมปรารถนา
ย่อมบันเทิงในเทวโลก

ปัพพตราชสูตรที่ ๙ จบ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๕. จูฬวรรค ๑๑. มหาโจรสูตร

๑๐. อาตัปปกรณียสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ทำความเพียร

[๕๐] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรทำความเพียรด้วยฐานะ ๓ ประการ
ฐานะ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เพื่อความไม่เกิดขึ้นแห่งบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น
๒. เพื่อความเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น
๓. เพื่อความอดกลั้นเวทนาทั้งหลาย อันมีในร่างกายที่เกิดขึ้นแล้ว เป็น
ทุกข์ กล้าแข็ง เจ็บปวด เผ็ดร้อน ไม่น่ายินดี ไม่น่าพอใจ พรากชีวิต
บุคคลควรทำความเพียรด้วยฐานะ ๓ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย ในกาลใด ภิกษุทำความเพียรเพื่อความไม่เกิดขึ้นแห่งบาป
อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น เพื่อความเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น เพื่อความ
อดกลั้นเวทนาทั้งหลายอันมีในร่างกายที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นทุกข์ กล้าแข็ง เจ็บปวด
เผ็ดร้อน ไม่น่ายินดี ไม่น่าพอใจ พรากชีวิต ในกาลนั้น ภิกษุนี้เราเรียกว่า มี
ความเพียร มีปัญญารักษาตน มีสติเพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบ

อาตัปปกรณียสูตรที่ ๑๐ จบ

๑๑. มหาโจรสูตร
ว่าด้วยองค์ประกอบของมหาโจร

[๕๑] ภิกษุทั้งหลาย มหาโจรประกอบด้วยองค์ ๓ ประการ ย่อมงัดแงะบ้าง
ทำการปล้นบ้าง ล้อมปล้นเรือนหลังเดียวบ้าง ดักปล้นในทางเปลี่ยวบ้าง
องค์ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
มหาโจรในโลกนี้
๑. อาศัยที่ขรุขระ ๒. อาศัยป่ารก
๓. อาศัยผู้มีอิทธิพล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๒๑๑ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๕. จูฬวรรค ๑๑. มหาโจรสูตร

มหาโจรอาศัยที่ขรุขระ เป็นอย่างไร
คือ มหาโจรในโลกนี้อาศัยเกาะแก่งแห่งแม่น้ำหรือที่ขรุขระแห่งภูเขา มหาโจร
อาศัยที่ขรุขระ เป็นอย่างนี้แล
มหาโจรอาศัยป่ารก เป็นอย่างไร
คือ มหาโจรในโลกนี้อาศัยป่ารกด้วยหญ้าบ้าง ป่ารกด้วยต้นไม้บ้าง ป่าที่มี
แนวป้องกันบ้าง แนวป่าใหญ่บ้าง มหาโจรอาศัยป่ารก เป็นอย่างนี้แล
มหาโจรอาศัยผู้มีอิทธิพล เป็นอย่างไร
คือ มหาโจรในโลกนี้อาศัยพระราชาหรือมหาอำมาตย์ของพระราชา เขาคิด
อย่างนี้ว่า “ถ้าใครจักกล่าวหาอะไรเรา พระราชาหรือมหาอำมาตย์ของพระราชา
เหล่านี้ก็จักว่าคดีความช่วยปกป้องเรา” ถ้าใครกล่าวหาอะไรมหาโจรนั้น พระราชา
หรือมหาอำมาตย์ของพระราชานั้นต่างก็ว่าคดีความช่วยปกป้องเขา มหาโจรอาศัยผู้
มีอิทธิพล เป็นอย่างนี้แล
มหาโจรประกอบด้วยองค์ ๓ เป็นประการนี้แล ย่อมงัดแงะบ้าง ทำการ
ปล้นบ้าง ล้อมปล้นเรือนหลังเดียวบ้าง ดักปล้นในทางเปลี่ยวบ้าง ฉันใด
ภิกษุชั่วประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมบริหารตนให้
ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพสิ่งที่ไม่ใช่บุญเป็น
อันมาก
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุชั่วในธรรมวินัยนี้
๑. อาศัยกรรมที่ไม่ตรงไปตรงมา ๒. อาศัยกรรมที่เร้นลับ
๓. อาศัยผู้มีอิทธิพล
ภิกษุชั่วอาศัยกรรมที่ไม่ตรงไปตรงมา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุชั่วในธรรมวินัยนี้ประกอบด้วยกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมที่ไม่ตรง
ไปตรงมา ภิกษุชั่วอาศัยกรรมที่ไม่ตรงไปตรงมา เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุชั่วอาศัยกรรมที่เร้นลับ เป็นอย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๒๑๒ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๕. จูฬวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

คือ ภิกษุชั่วในธรรมวินัยนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิ ประกอบด้วยอันตคาหิกทิฏฐิ๑ ภิกษุ
ชั่วอาศัยกรรมที่เร้นลับ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุชั่วอาศัยผู้มีอิทธิพล เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุชั่วในธรรมวินัยนี้อาศัยพระราชาหรือมหาอำมาตย์ของพระราชา ภิกษุ
นั้นคิดอย่างนี้ว่า “ถ้าใครจักกล่าวหาอะไรเรา พระราชาหรือมหาอำมาตย์ของพระ
ราชาเหล่านี้ก็จักว่าคดีความช่วยปกป้องเรา” ถ้าใครว่ากล่าวอะไรภิกษุนั้น พระราชา
หรือมหาอำมาตย์ของพระราชานั้นต่างก็ว่าคดีความช่วยปกป้องเธอ ภิกษุชั่วอาศัยผู้
มีอิทธิพล เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุชั่วประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูก
ทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพสิ่งที่ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก

มหาโจรสูตรที่ ๑๑ จบ
จูฬวรรคที่ ๕ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สัมมุขีภาวสูตร ๒. ติฐานสูตร
๓. อัตถวสสูตร ๔. กถาปวัตติสูตร
๕. ปัณฑิตสูตร ๖. สีลวันตสูตร
๗. สังขตลักขณสูตร ๘. อสังขตลักขณสูตร
๙. ปัพพตราชสูตร ๑๐. อาตัปปกรณียสูตร
๑๑. มหาโจรสูตร

ปฐมปัณณาสก์ จบบริบูรณ์


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๑. พราหมณวรรค ๑. ปฐมเทวพราหมณสูตร

๒. ทุติยปัณณาสก์

๑. พราหมณวรรค
หมวดว่าด้วยพราหมณ์
๑. ปฐมเทวพราหมณสูตร
ว่าด้วยพราหมณ์แก่ ๒ คน สูตรที่ ๑

[๕๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พราหมณ์ ๒ คน เป็นผู้แก่ ผู้เฒ่า ผู้ใหญ่
ผู้ล่วงกาลผ่านวัย นับแต่เกิดมามีอายุ ๑๒๐ ปี เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจพอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วจึงนั่ง ณ ที่
สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
ข้าแต่ท่านพระโคดม ข้าพเจ้าทั้งหลายเป็นพราหมณ์แก่ ผู่เฒ่า ผู้ใหญ่ ผู้ล่วง
กาลผ่านวัย นับแต่เกิดมามีอายุ ๑๒๐ ปี พวกข้าพเจ้านั้นไม่ได้ทำความดีไว้ ไม่
ได้ทำกุศลไว้ ไม่ได้สร้างเครื่องต้านทานภัยไว้ ขอท่านพระโคดมทรงว่ากล่าวพวก
ข้าพเจ้า ขอท่านพระโคดมทรงสั่งสอนพวกข้าพเจ้าเพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่พวก
ข้าพเจ้าตลอดกาลนานเถิด
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า พราหมณ์ทั้งหลาย ที่แท้พวกท่านเป็นผู้แก่ ผู้เฒ่า
ผู้ใหญ่ ผู้ล่วงกาลผ่านวัย นับแต่เกิดมามีอายุ ๑๒๐ ปี พวกท่านนั้นไม่ได้ทำความดีไว้
ไม่ได้ทำกุศลไว้ ไม่ได้สร้างเครื่องต้านทานภัยไว้ โลกนี้ถูกชรา(ความแก่) พยาธิ(ความ
เจ็บ) และมรณะ(ความตาย)ร้อยรัดไว้ เมื่อโลกถูกชรา พยาธิ และมรณะร้อยรัดไว้
อย่างนี้ ความสำรวมทางกาย วาจา และใจในโลกนี้จะเป็นเครื่องต้านทาน เป็นที่เร้น
เป็นที่พึ่ง เป็นที่ระลึกและเป็นที่ยึดเหนี่ยวของผู้ตายไปแล้ว
ชีวิตถูกชรานำเข้าไปสู่ความมีอายุสั้น
ผู้ที่ถูกชรานำเข้าไปแล้วย่อมไม่มีเครื่องต้านทาน
บุคคลเมื่อพิจารณาเห็นภัยนี้ในความตาย
ควรทำบุญที่นำสุขมาให้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๒๑๔ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๑. พราหมณวรรค ๒. ทุติยเทวพราหมณสูตร

ความสำรวมทางกาย วาจาและใจในโลกนี้
ย่อมมีเพื่อความสุขแก่บุคคลผู้ตายไปแล้ว
ซึ่งได้ทำบุญไว้ขณะเมื่อมีชีวิตอยู่

ปฐมเทวพราหมณสูตรที่ ๑ จบ

๒. ทุติยเทวพราหมณสูตร
ว่าด้วยพราหมณ์แก่ ๒ คน สูตรที่ ๒

[๕๓] ครั้งนั้นพราหมณ์ ๒ คน เป็นผู้แก่ ผู้เฒ่า ผู้ใหญ่ ผู้ล่วงกาลผ่านวัย
นับแต่เกิดมามีอายุ ๑๒๐ ปี เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
ข้าแต่ท่านพระโคดม พวกข้าพเจ้าเป็นพราหมณ์แก่ ผู้เฒ่า ผู้ใหญ่ ผู้ล่วงกาล
ผ่านวัย นับแต่เกิดมามีอายุ ๑๒๐ ปี พวกข้าพเจ้านั้นไม่ได้ทำความดีไว้ ไม่ได้ทำกุศล
ไว้ ไม่ได้สร้างเครื่องต้านทานภัยไว้ ขอท่านพระโคดมทรงว่ากล่าวพวกข้าพเจ้า ขอ
ท่านพระโคดมทรงสั่งสอนพวกข้าพเจ้าเพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่พวกข้าพเจ้า
ตลอดกาลนาน
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า พราหมณ์ทั้งหลาย ที่แท้พวกท่านเป็นผู้แก่ ผู้เฒ่า
ผู้ใหญ่ ผู้ล่วงกาลผ่านวัย นับแต่เกิดมามีอายุ ๑๒๐ ปี พวกท่านนั้น ไม่ได้ทำความดีไว้
ไม่ได้ทำกุศลไว้ ไม่ได้สร้างเครื่องต้านทานภัยไว้ โลกนี้ถูกชรา พยาธิ และมรณะ
แผดเผาแล้ว เมื่อโลกถูกชรา พยาธิ และมรณะแผดเผาแล้วอย่างนี้ ความสำรวม
ทางกาย วาจา และใจในโลกนี้จะเป็นเครื่องต้านทาน เป็นที่เร้น เป็นที่พึ่ง เป็นที่ระลึก
และเป็นที่ยึดเหนี่ยวของผู้ตายไปแล้ว
เมื่อเรือนถูกไฟไหม้
สิ่งของที่นำออกไปได้ย่อมเป็นประโยชน์แก่เขา
สิ่งของที่ถูกไฟไหม้ในเรือนนั้น
ย่อมไม่เป็นประโยชน์แก่เขา ฉันใด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๒๑๕ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๑. พราหมณวรรค ๓. อัญญตรพราหมณสูตร

เมื่อโลกถูกชราและมรณะแผดเผาแล้วก็ฉันนั้นเหมือนกัน
บุคคลควรนำออกมาด้วยการให้
สิ่งที่ให้แล้วชื่อว่านำออกไปดีแล้ว
ความสำรวมทางกาย วาจา และใจในโลกนี้
ย่อมมีเพื่อความสุขแก่บุคคลผู้ตายไปแล้ว
ซึ่งได้ทำบุญไว้ขณะเมื่อมีชีวิตอยู่

ทุติยเทวพราหมณสูตรที่ ๒ จบ

๓. อัญญตรพราหมณสูตร
ว่าด้วยพราหมณ์ผู้ทูลถามธรรมคุณ

[๕๔] ครั้งนั้น พราหมณ์คนหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้
สนทนาปราศรัย ฯลฯ พราหมณ์นั้นซึ่งนั่ง ณ ที่สมควรแล้วได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า
ข้าแต่ท่านพระโคดม พระองค์ตรัสว่า “พระธรรมเป็นธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็น
ชัดด้วยตนเอง พระธรรมเป็นธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง” ข้าแต่ท่าน
พระโคดม ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ พระธรรมจึงชื่อว่าเป็นธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึง
เห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน
อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า พราหมณ์ บุคคลผู้มีราคะ ถูกราคะครอบงำ
มีจิตถูกราคะกลุ้มรุม ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
เพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง เสวยทุกขโทมนัสทางใจบ้าง เมื่อละราคะได้แล้ว
เขาย่อมไม่คิดเพื่อเบียดเบียนตนเอง ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ไม่คิดเพื่อเบียด เบียน
ทั้ง ๒ ฝ่าย ไม่เสวยทุกขโทมนัสทางใจ พระธรรมชื่อว่าเป็นธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็น
ชัดด้วยตนเอง เป็นอย่างนี้แล
บุคคลผู้มีโทสะ ถูกโทสะครอบงำ มีจิตถูกโทสะกลุ้มรุม ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียน
ตนเองบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง เสวยทุกขโทมนัส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๒๑๖ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๑. พราหมณวรรค ๔. ปริพพาชกสูตร

ทางใจบ้าง เมื่อละโทสะได้แล้ว เขาย่อมไม่คิดเพื่อเบียดเบียนตนเอง ไม่คิดเพื่อ
เบียดเบียนผู้อื่น ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่าย ไม่เสวยทุกขโทมนัสทางใจ พระ
ธรรมชื่อว่าเป็นธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ฯลฯ เป็นอย่างนี้แล
บุคคลผู้มีโมหะ ถูกโมหะครอบงำ มีจิตถูกโมหะกลุ้มรุม ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียน
ตนเองบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง เสวยทุกข-
โทมนัสทางใจบ้าง เมื่อละโมหะได้แล้ว เขาย่อมไม่คิดเพื่อเบียดเบียนตนเอง ไม่คิด
เพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่าย ไม่เสวยทุกขโทมนัสทางใจ
พระธรรมชื่อว่าเป็นธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน เป็นอย่างนี้แล
พราหมณ์นั้นกราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของท่านพระโคดม
ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก
ผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”

อัญญตรพราหมณสูตรที่ ๓ จบ

๔. ปริพพาชกสูตร
ว่าด้วยปริพาชกผู้ทูลถามธรรมคุณ

[๕๕] ครั้งนั้น พราหมณ์ปริพาชกคนหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ฯลฯ พราหมณ์ปริพาชกนั้นซึ่งนั่ง ณ ที่สมควรแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า
ข้าแต่ท่านพระโคดม พระองค์ตรัสว่า “พระธรรมเป็นธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็น
ชัดด้วยตนเอง พระธรรมเป็นธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง” ข้าแต่ท่าน
พระโคดม ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ พระธรรมชื่อว่าเป็นธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัด
ด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามา อันวิญญูชนพึงรู้
เฉพาะตน
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า พราหมณ์ บุคคลผู้มีราคะ ถูกราคะครอบงำ มีจิต
ถูกราคะกลุ้มรุม ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๒๑๗ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๑. พราหมณวรรค ๔. ปริพพาชกสูตร

เบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง เสวยทุกขโทมนัสทางใจบ้าง เมื่อละราคะได้แล้ว เขา
ย่อมไม่คิดเพื่อเบียดเบียนตนเอง ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ไม่คิดเพื่อเบียดเบียน
ทั้ง ๒ ฝ่าย ไม่เสวยทุกขโทมนัสทางใจ
บุคคลผู้มีราคะ ถูกราคะครอบงำ มีจิตถูกราคะกลุ้มรุม ย่อมประพฤติ
กายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต เมื่อละราคะได้แล้ว เขาย่อมไม่ประพฤติ
กายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต
บุคคลผู้มีราคะ ถูกราคะครอบงำ มีจิตถูกราคะกลุ้มรุม ย่อมไม่รู้ชัดตาม
ความเป็นจริงถึงประโยชน์ตนบ้าง ประโยชน์ผู้อื่นบ้าง ประโยชน์ทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง
เมื่อละราคะได้แล้ว เขาย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงถึงประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น
และประโยชน์ทั้ง ๒ ฝ่าย พระธรรมชื่อว่าเป็นธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง
ฯลฯ เป็นอย่างนี้แล
บุคคลผู้มีโทสะ ฯลฯ บุคคลผู้มีโมหะ ถูกโมหะครอบงำ มีจิตถูกโมหะกลุ้มรุม
ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อเบียดเบียนทั้ง
๒ ฝ่ายบ้าง เสวยทุกขโทมนัสทางใจบ้าง เมื่อละโมหะได้แล้ว เขาย่อมไม่คิดเพื่อ
เบียดเบียนตนเอง ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่าย ไม่
เสวยทุกขโทมนัสทางใจ
บุคคลผู้มีโมหะ ถูกโมหะครอบงำ มีจิตถูกโมหะกลุ้มรุม ย่อมประพฤติ
กายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต เมื่อละโมหะได้แล้ว เขาย่อมไม่ประพฤติ
กายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต
บุคคลผู้มีโมหะ ถูกโมหะครอบงำ มีจิตถูกโมหะกลุ้มรุม ย่อมไม่รู้ชัดตามความ
เป็นจริงถึงประโยชน์ตนบ้าง ประโยชน์ผู้อื่นบ้าง ประโยชน์ทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง เมื่อ
ละโมหะได้แล้ว เขาย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงถึงประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น และ
ประโยชน์ทั้ง ๒ ฝ่าย พระธรรมชื่อว่าเป็นธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง
ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้
เฉพาะตน เป็นอย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๒๑๘ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๑. พราหมณวรรค ๕. นิพพุตสูตร

พราหมณ์ปริพาชกนั้นกราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของท่าน
พระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็น
อุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”

ปริพพาชกสูตรที่ ๔ จบ

๕. นิพพุตสูตร
ว่าด้วยพระนิพพาน

[๕๖] ครั้งนั้น ชานุสโสณิพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ฯลฯ ชานุสโสณิพราหมณ์ซึ่งนั่ง ณ ที่สมควรแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
ข้าแต่ท่านพระโคดม พระองค์ตรัสว่า “พระนิพพานเป็นสภาวธรรมที่ผู้ปฏิบัติ
จะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง พระนิพพานเป็นสภาวธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วย
ตนเอง” ข้าแต่ท่านพระโคดม ด้วยเหตุเพียงไรหนอ พระนิพพานจึงชื่อว่าเป็น
สภาวธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู
ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า พราหมณ์ บุคคลผู้มีราคะ ถูกราคะครอบงำ มี
จิตถูกราคะกลุ้มรุม ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
เพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง เสวยทุกขโทมนัสทางใจบ้าง เมื่อละราคะได้แล้ว
เขาย่อมไม่คิดเพื่อเบียดเบียนตนเอง ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ไม่คิดเพื่อเบียด
เบียนทั้ง ๒ ฝ่าย ไม่เสวยทุกขโทมนัสทางใจ พระนิพพานชื่อว่าเป็นสภาวธรรมที่ผู้
ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ฯลฯ เป็นอย่างนี้แล
บุคคลผู้มีโทสะ ฯลฯ บุคคลผู้มีโมหะ ถูกโมหะครอบงำ มีจิตถูกโมหะกลุ้มรุม
ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อเบียดเบียนทั้ง
๒ ฝ่ายบ้าง เสวยทุกขโทมนัสทางใจบ้าง เมื่อละโมหะได้แล้ว เขาย่อมไม่คิดเพื่อ
เบียดเบียนตนเอง ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่าย ไม่
เสวยทุกขโทมนัสทางใจ พระนิพพานชื่อว่าเป็นสภาวธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัด
ด้วยตนเอง เป็นอย่างนี้แล
ในกาลใด บุคคลนี้เสวยธรรมเป็นที่สิ้นราคะอันไม่มีส่วนเหลือ เสวยธรรมเป็น
ที่สิ้นโทสะอันไม่มีส่วนเหลือ เสวยธรรมเป็นที่สิ้นโมหะอันไม่มีส่วนเหลือ ในกาลนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๒๑๙ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๑. พราหมณวรรค ๖. ปโลกสูตร

พระนิพพานชื่อว่าเป็นสภาวธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วย
กาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน
ชานุสโสณิพราหมณ์นั้นกราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของท่าน
พระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็น
อุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”

นิพพุตสูตรที่ ๕ จบ

๖. ปโลกสูตร
ว่าด้วยเหตุทำให้จำนวนมนุษย์มีน้อยลง

[๕๗] ครั้งนั้น พราหมณ์มหาศาลคนหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง
ที่ประทับ ฯลฯ พราหมณ์มหาศาลนั้นนั่ง ณ ที่สมควรแล้วได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า
ข้าแต่ท่านพระโคดม ข้าพเจ้าได้ฟังมาแต่พราหมณ์ผู้เป็นบรรพบุรุษ ผู้เฒ่า
ผู้ใหญ่ ผู้เป็นอาจารย์ และผู้เป็นอาจารย์ของอาจารย์ซึ่งกล่าวอยู่ว่า ทราบมาว่า ใน
กาลก่อน โลกนี้หนาแน่นไปด้วยมนุษย์เหมือนอเวจีมหานรก หมู่บ้าน ตำบล ชนบท
และเมืองหลวง มีทุกระยะไก่บินตก ข้าแต่ท่านพระโคดม อะไรหนอเป็นเหตุเป็น
ปัจจัยให้มนุษย์ทุกวันนี้หมดไป เหลืออยู่น้อย แม้หมู่บ้านก็ไม่เป็นหมู่บ้าน แม้ตำบล
ก็ไม่เป็นตำบล แม้เมืองก็ไม่เป็นเมือง แม้ชนบทก็ไม่เป็นชนบท
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า พราหมณ์ มนุษย์ทุกวันนี้ยินดีด้วยความยินดี
ที่ไม่ชอบธรรม๑ ถูกความโลภที่ไม่สม่ำเสมอ๒ครอบงำ ประกอบด้วยธรรมผิด๓
มนุษย์เหล่านั้นยินดีด้วยความยินดีที่ไม่ชอบธรรม ถูกความโลภที่ไม่สม่ำเสมอ
ครอบงำ ประกอบด้วยธรรมผิด ต่างหยิบฉวยศัสตราวุธอันคมเข่นฆ่ากันและกัน


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๑. พราหมณวรรค ๗. วัจฉโคตตสูตร

เพราะเหตุนั้น มนุษย์จึงล้มตายเป็นจำนวนมาก นี้แลเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้มนุษย์
ทุกวันนี้หมดไป เหลืออยู่น้อย แม้หมู่บ้านก็ไม่เป็นหมู่บ้าน แม้ตำบลก็ไม่เป็นตำบล
แม้เมืองก็ไม่เป็นเมือง แม้ชนบทก็ไม่เป็นชนบท
มนุษย์ทุกวันนี้ยินดีด้วยความยินดีที่ไม่ชอบธรรม ถูกความโลภที่ไม่สม่ำเสมอ
ครอบงำ ประกอบด้วยธรรมผิด เมื่อมนุษย์เหล่านั้นยินดีด้วยความยินดีที่ไม่ชอบ
ธรรม ถูกความโลภที่ไม่สม่ำเสมอครอบงำ ประกอบด้วยธรรมผิด ฝนย่อมไม่ตกตาม
ฤดูกาล เพราะเหตุนั้นจึงมีภิกษาหาได้ยาก ข้าวกล้าเสียหายเป็นเพลี้ยหนอน เหลือ
แต่ก้าน เพราะเหตุนั้น มนุษย์จึงล้มตายเป็นจำนวนมาก แม้นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัย
ให้มนุษย์ทุกวันนี้หมดไป เหลืออยู่น้อย แม้หมู่บ้านก็ไม่เป็นหมู่บ้าน แม้ตำบลก็ไม่
เป็นตำบล แม้เมืองก็ไม่เป็นเมือง แม้ชนบทก็ไม่เป็นชนบท
อีกประการหนึ่ง มนุษย์ทุกวันนี้ยินดีด้วยความยินดีที่ไม่ชอบธรรม ถูกความ
โลภที่ไม่สม่ำเสมอครอบงำ ประกอบด้วยธรรมผิด เมื่อมนุษย์เหล่านั้นยินดีด้วย
ความยินดีที่ไม่ชอบธรรม ถูกความโลภที่ไม่สม่ำเสมอครอบงำ ประกอบด้วยธรรม
ผิด พวกยักษ์จึงปล่อยอมนุษย์ที่ร้ายกาจไว้(บนพื้นโลก) เพราะเหตุนั้น มนุษย์จึงล้ม
ตายเป็นจำนวนมาก แม้นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มนุษย์ทุกวันนี้หมดไป เหลืออยู่
น้อย แม้หมู่บ้านก็ไม่เป็นหมู่บ้าน แม้ตำบลก็ไม่เป็นตำบล แม้เมืองก็ไม่เป็นเมือง
แม้ชนบทก็ไม่เป็นชนบท
พราหมณ์มหาศาลนั้นกราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของท่านพระ
โคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก
ผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”

ปโลกสูตรที่ ๖ จบ

๗. วัจฉโคตตสูตร
ว่าด้วยปริพาชกชื่อว่าวัจฉโคตร

[๕๘] ครั้งนั้น วัจฉโคตรปริพาชกเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้
สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจพอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๒๒๑ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๑. พราหมณวรรค ๗. วัจฉโคตตสูตร

ข้าแต่ท่านพระโคดม ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้ว พระสมณโคดมตรัสอย่างนี้ว่า
“พึงให้ทานแก่เราเท่านั้น ไม่พึงให้ทานแก่ชนเหล่าอื่น พึงให้ทานแก่สาวกของเรา
เท่านั้น ไม่พึงให้ทานแก่สาวกของชนเหล่าอื่น ทานที่ให้แก่เราเท่านั้นจึงมีผลมาก
ทานที่ให้แก่ชนเหล่าอื่นไม่มีผลมาก ทานที่ให้แก่สาวกของเราเท่านั้นจึงมีผลมาก
ทานที่ให้แก่สาวกของชนเหล่าอื่นไม่มีผลมาก” ข้าแต่ท่านพระโคดม ชนเหล่าใด
กล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมตรัสอย่างนี้ว่า “พึงให้ทานแก่เราเท่านั้น ไม่พึงให้
ทานแก่ชนเหล่าอื่น พึงให้ทานแก่สาวกของเราเท่านั้น ไม่พึงให้ทานแก่สาวกของ
ชนเหล่าอื่น ทานที่ให้แก่เราเท่านั้นจึงมีผลมาก ทานที่ให้แก่ชนเหล่าอื่นไม่มีผลมาก
ทานที่ให้แก่สาวกของเราเท่านั้นจึงมีผลมาก ทานที่ให้แก่สาวกของชนเหล่าอื่นไม่มี
ผลมาก” ชนเหล่านั้นชื่อว่าพูดตามที่ท่านพระโคดมตรัส ไม่กล่าวตู่ท่านพระโคดม
ด้วยคำที่ไม่จริง และชื่อว่ากล่าวธรรมตามสมควรแก่ธรรม ก็การคล้อยตามคำพูดที่
ชอบธรรมบางอย่าง ย่อมไม่ถึงฐานะที่น่าติเตียนบ้างหรือ เพราะข้าพเจ้าทั้งหลายไม่
ประสงค์จะกล่าวตู่ท่านพระโคดม
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า วัจฉะ ชนเหล่าใดกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดม
ตรัสอย่างนี้ว่า พึงให้ทานแก่เราเท่านั้น ฯลฯ ทานที่ให้แก่สาวกของชนเหล่าอื่นไม่มี
ผลมาก ชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่พูดตามที่เราพูด และชนเหล่านั้นชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วย
คำที่ไม่ดี ไม่เป็นจริง วัจฉะ ผู้ใดห้ามบุคคลอื่นที่ให้ทานอยู่ ผู้นั้นชื่อว่าทำอันตราย
แก่วัตถุ ๓ อย่าง เป็นโจรดักปล้นวัตถุ ๓ อย่าง
วัตถุ ๓ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ทำอันตรายแก่บุญของทายก(ผู้ให้)
๒. ทำอันตรายแก่ลาภของปฏิคาหก(ผู้รับ)
๓. ในเบื้องต้น ตัวเขาเองย่อมถูกกำจัดและถูกทำลาย
วัจฉะ ผู้ใดห้ามบุคคลอื่นที่ให้ทานอยู่ ผู้นั้นชื่อว่าทำอันตรายแก่วัตถุ ๓ อย่าง
เป็นโจรดักปล้นวัตถุ ๓ อย่าง
แต่เราเองกล่าวอย่างนี้ว่า ผู้ใดเทน้ำล้างภาชนะหรือน้ำล้างขันลงที่หมู่สัตว์ซึ่ง
อาศัยอยู่ที่บ่อน้ำครำหรือที่บ่อโสโครกด้วยตั้งใจว่า หมู่สัตว์ที่อาศัยอยู่ในที่นั้นจงเลี้ยง
ชีพด้วยน้ำล้างภาชนะเป็นต้นนั้น เรากล่าวกรรมที่มีการเทน้ำล้างภาชนะเป็นต้นเหตุ
ว่า เป็นที่มาแห่งบุญ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงในหมู่มนุษย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๒๒๒ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๑. พราหมณวรรค ๗. วัจฉโคตตสูตร

อีกประการหนึ่ง เรากล่าวถึงทานที่ให้แก่ผู้มีศีลว่า มีผลมาก ทานที่ให้แก่ผู้
ทุศีลย่อมไม่เป็นอย่างนั้น เพราะท่านผู้มีศีลนั้นเป็นผู้ละองค์ ๕ ประกอบด้วยองค์ ๕
ท่านผู้มีศีลนั้นละองค์ ๕ อะไรบ้าง คือ
๑. กามฉันทะ (ความพอใจในกาม)
๒. พยาบาท (ความคิดร้าย)
๓. ถีนมิทธะ (ความหดหู่และเซื่องซึม)
๔. อุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ)
๕. วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย)
ท่านผู้มีศีลละองค์ ๕ นี้
ท่านผู้มีศีลประกอบด้วยองค์ ๕ อะไรบ้าง คือ
๑. สีลขันธ์(กองศีล)ที่เป็นอเสขะ๑
๒. สมาธิขันธ์(กองสมาธิ)ที่เป็นอเสขะ
๓. ปัญญาขันธ์(กองปัญญา)ที่เป็นอเสขะ
๔. วิมุตติขันธ์(กองวิมุตติ)ที่เป็นอเสขะ
๕. วิมุตติญาณทัสสนขันธ์๒ (กองวิมุตติญาณทัสสนะ)ที่เป็นอเสขะ
ท่านผู้มีศีลประกอบด้วยองค์ ๕ นี้
เรากล่าวว่า ทานที่ให้ในท่านผู้มีศีลที่ละองค์ ๕ ประกอบด้วยองค์ ๕ ย่อมมี
ผลมากด้วยประการฉะนี้
โคผู้ที่ฝึกแล้วเป็นโคใช้งานที่สมบูรณ์ด้วยกำลัง
มีเชาว์ดี และเป็นสัตว์ที่ซื่อตรง
จะเกิดในสีสันใด ๆ คือ สีดำ สีขาว สีแดง
สีเขียว สีด่าง สีตามธรรมชาติของตน


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๑. พราหมณวรรค ๗. วัจฉโคตตสูตร

สีเหมือนโคธรรมดา หรือสีเหมือนนกพิราบก็ตาม
ชนทั้งหลายเทียมมันเข้าในแอก
ไม่คำนึงถึงสีสันของมัน ฉันใด
ผู้ที่ฝึกตนดีแล้ว มีความประพฤติดีงาม
ตั้งอยู่ในธรรม สมบูรณ์ด้วยศีล พูดแต่คำสัตย์
มีใจประกอบด้วยหิริ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
จะเกิดในหมู่มนุษย์ชาติใด ๆ คือ กษัตริย์
พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คนจัณฑาล และคนเทขยะก็ตาม
ก็ละความเกิดและความตายได้
มีพรหมจรรย์บริบูรณ์ ปลงภาระได้แล้ว
ไม่ประกอบด้วยกิเลส ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว
ไม่มีอาสวะ รู้จบธรรมทุกอย่าง๑
ดับสนิทเพราะไม่ถือมั่น
ในเขตที่ปราศจากธุลี ๒เช่นนั้นแล ทักษิณาย่อมมีผลมาก
คนพาลไม่รู้แจ้ง๓ ไม่มีปัญญา ไม่ได้สดับรับฟัง
ย่อมให้ทานภายนอก๔ ไม่เข้าไปหาสัตบุรุษ
ส่วนเหล่าชนผู้มีศรัทธาหยั่งลงตั้งมั่นในพระสุคต
ย่อมเข้าไปหาสัตบุรุษผู้มีปัญญา
ที่เขายกย่องกันว่าเป็นนักปราชญ์
ท่านเหล่านั้นผู้เป็นบัณฑิต ย่อมไปสู่เทวโลก
หรือไม่ก็เกิดในตระกูลดีในโลกนี้
และบรรลุนิพพานได้โดยลำดับ

วัจฉโคตตสูตรที่ ๗ จบ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๑. พราหมณวรรค ๘. ติกัณณสูตร

๘. ติกัณณสูตร
ว่าด้วยพราหมณ์ชื่อติกัณณะ

[๕๙] ครั้งนั้น ติกัณณพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้
สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจพอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้
กล่าวสรรเสริญคุณของพราหมณ์ผู้ได้วิชชา ๓ ณ เบื้องพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาค
ว่า “พราหมณ์ผู้ได้วิชชา ๓ เป็นอย่างนี้ พราหมณ์ผู้ได้วิชชา ๓ เป็นอย่างนี้”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “พราหมณ์ พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติพราหมณ์
ว่าเป็นผู้ได้วิชชา ๓ เป็นอย่างไร”
ติกัณณพราหมณ์กราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม พราหมณ์ในโลกนี้
เป็นผู้มีชาติกำเนิดดีทั้งฝ่ายบิดาและฝ่ายมารดา ถือปฏิสนธิบริสุทธิ์ดีตลอดเจ็ดชั่ว
บรรพบุรุษ ไม่มีใครจะคัดค้านตำหนิได้เพราะอ้างถึงชาติตระกูล เป็นผู้คงแก่เรียน
ทรงจำมนตร์ รู้จบไตรเพท๑ พร้อมทั้งนิฆัณฑุศาสตร์๒ เกฏุภศาสตร์๓ อักษรศาสตร์
และประวัติศาสตร์ เข้าใจตัวบทและไวยากรณ์ ชำนาญโลกายตศาสตร์๔ และลักษณะ
มหาบุรุษ ข้าแต่ท่านพระโคดม พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติพราหมณ์ว่าเป็นผู้ได้
วิชชา ๓ เป็นอย่างนี้แล”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติพราหมณ์ว่าเป็นผู้ได้
วิชชา ๓ เป็นอย่างหนึ่ง ส่วนผู้ได้วิชชา ๓ ในอริยวินัยเป็นอีกอย่างหนึ่ง”
ติกัณณพราหมณ์กราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ผู้ได้วิชชา ๓ ในอริยวินัย
เป็นอย่างไร ขอประทานวโรกาส ขอท่านพระโคดมแสดงธรรมแก่ข้าพเจ้าอย่างที่
ผู้ได้วิชชา ๓ มีในอริยวินัย


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๑. พราหมณวรรค ๘. ติกัณณสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ถ้าอย่างนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
ติกัณณพราหมณ์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่อง
นี้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก
วิจาร ปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุบรรลุทุติยฌาน
มีความผ่องใสภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและ
สุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ
เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า “ผู้มีอุเบกขา
มีสติ อยู่เป็นสุข” เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน ภิกษุ
บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่
เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน๑ ปราศจากความ
เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้นน้อมจิต
ไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง
๒ ชาติบ้าง ๓ ชาติบ้าง ๔ ชาติบ้าง ๕ ชาติบ้าง ๑๐ ชาติบ้าง ๒๐ ชาติบ้าง
๓๐ ชาติบ้าง ๔๐ ชาติบ้าง ๕๐ ชาติบ้าง ๑๐๐ ชาติบ้าง ๑,๐๐๐ ชาติบ้าง
๑๐๐,๐๐๐ ชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอัน
มากบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัป๒ เป็นอันมากบ้างว่า ในภพโน้น เรามีชื่อ
อย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้น ๆ จุติจาก
ภพนั้นก็ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็มีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ
มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้นจึงมาเกิดในภพนี้
ภิกษุนั้นระลึกชาติก่อนได้หลายชาติพร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้ เธอ
ได้บรรลุวิชชาที่ ๑ นี้ ความมืดมิด๓คืออวิชชา เธอกำจัดได้แล้ว แสงสว่างคือ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๑. พราหมณวรรค ๘. ติกัณณสูตร

วิชชา๑ ได้เกิดขึ้นแก่เธอ เปรียบเหมือนแสงสว่างเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ไม่ประมาท มี
ความเพียร อุทิศกายและใจ
เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความ
เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้นน้อมจิตไป
เพื่อจุตูปปาตญาณ เห็นหมู่ผู้สัตว์กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและ
ไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็น
ไปตามกรรมว่า “หมู่สัตว์ที่ประกอบกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต กล่าวร้าย
พระอริยะ มีความเห็นผิด และชักชวนผู้อื่นให้ทำตามความเห็นผิด พวกเขา หลังจาก
ตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก แต่หมู่สัตว์ที่ประกอบกายสุจริต
วจีสุจริต และมโนสุจริต ไม่กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นชอบ และชักชวนผู้อื่นให้
ทำตามความเห็นชอบ พวกเขาหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์” เธอ
เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและเกิด
ไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมอย่างนี้
เธอได้บรรลุวิชชาที่ ๒ นี้ ความมืดมิดคืออวิชชา เธอกำจัดได้แล้ว แสงสว่างคือ
วิชชา๒ ได้เกิดขึ้นแก่เธอ เปรียบเหมือนแสงสว่างเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ไม่ประมาท มี
ความเพียร อุทิศกายและใจ
เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความ
เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้นน้อมจิตไป
เพื่ออาสวักขยญาณ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ นี้ ทุกขสมุทัย (เหตุเกิดทุกข์)
นี้ทุกขนิโรธ(ความดับทุกข์) นี้ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา(ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์)”
“นี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย(เหตุเกิดอาสวะ) นี้อาสวนิโรธ(ความดับอาสวะ) นี้อาสว-
นิโรธคามินีปฏิปทา(ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับอาสวะ)” เมื่อเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ จิต
ย่อมหลุดพ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ และอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่า


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๑. พราหมณวรรค ๘. ติกัณณสูตร

หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จ
แล้ว๑ ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป๒” ได้บรรลุวิชชาที่ ๓ นี้ ความ
มืดมิดคืออวิชชา เธอกำจัดได้แล้ว แสงสว่างคือวิชชา๓ ได้เกิดขึ้นแก่เธอ เปรียบ
เหมือนแสงสว่างเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจ
จิตของพระโคดมพระองค์ใด
ผู้มีศีลไม่ลุ่ม ๆ ดอน ๆ
มีปัญญาและมีความเพ่งพินิจ
เป็นจิตมีความชำนาญแน่วแน่ เป็นสมาธิดี
พระโคดมพระองค์นั้น
บัณฑิตกล่าวว่าบรรเทาความมืดได้
เป็นนักปราชญ์ ได้วิชชา ๓ ละทิ้งมัจจุราช
เกื้อกูลแก่เทวดาและมนุษย์ ละบาปธรรมได้ทุกอย่าง
สาวกทั้งหลายย่อมนมัสการพระโคดมพระองค์นั้น
ผู้สมบูรณ์ด้วยวิชชา ๓ ไม่ลุ่มหลง
เป็นพระพุทธเจ้ามีสรีระเป็นชาติสุดท้าย
บุคคลใดรู้แจ้งปุพเพนิวาสญาณ เห็นทั้งสวรรค์
และอบาย บรรลุธรรมเป็นที่สิ้นความเกิด เป็นมุนี
อยู่จบพรหมจรรย์เพราะรู้ยิ่ง เป็นพราหมณ์ผู้ได้วิชชา ๓
โดยวิชชา ๓ นี้ เราเรียกบุคคลนั้นว่าได้วิชชา ๓
ไม่เรียกบุคคลอื่นว่าได้วิชชา ๓ ตามที่ผู้อื่นเรียกกัน
พราหมณ์ ผู้ได้วิชชา ๓ ในอริยวินัยเป็นอย่างนี้แล


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๑. พราหมณวรรค ๙. ชานุสโสณิสูตร

ติกัณณพราหมณ์กราบทูลว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม ผู้ได้วิชชา ๓ ของพวก
พราหมณ์เป็นอย่างหนึ่ง ส่วนผู้ได้วิชชา ๓ ในอริยวินัยเป็นอีกอย่างหนึ่ง ข้าแต่
ท่านพระโคดม ก็ผู้ได้วิชชา ๓ ของพวกพราหมณ์มีค่าไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ ของผู้ได้
วิชชา ๓ ในอริยวินัยนี้
ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอ
ท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพเจ้าว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจน
ตลอดชีวิต

ติกัณณสูตรที่ ๘ จบ

๙. ชานุสโสณิสูตร
ว่าด้วยพราหมณ์ชื่อว่าชานุสโสณิ

[๖๐] ครั้งนั้น ชานุสโสณิพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ฯลฯ ชานุสโสณิพราหมณ์นั่ง ณ ที่สมควรแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่ท่านพระโคดม ผู้ใดมียัญ๑ มีสิ่งที่พึงให้ด้วยศรัทธา๒ มีอาหารที่พึงให้
แก่บุคคลอื่น หรือมีไทยธรรม ผู้นั้นควรให้ทานในพราหมณ์ผู้ได้วิชชา ๓”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “พราหมณ์ พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติพราหมณ์
ว่าเป็นผู้ได้วิชชา ๓ เป็นอย่างไร”
ชานุสโสณิพราหมณ์กราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม พราหมณ์ในโลกนี้เป็น
ผู้มีชาติกำเนิดดีทั้งฝ่ายบิดาและฝ่ายมารดา ถือปฏิสนธิบริสุทธิ์ดีตลอดเจ็ดชั่ว
บรรพบุรุษ ไม่มีใครจะคัดค้านตำหนิโดยการอ้างถึงชาติตระกูลได้ เป็นผู้คงแก่เรียน
ทรงจำมนตร์ รู้จบไตรเพท พร้อมทั้งนิฆัณฑุศาสตร์ เกฏุภศาสตร์ อักษรศาสตร์
และประวัติศาสตร์ เข้าใจตัวบทและไวยากรณ์ ชำนาญโลกายตศาสตร์และลักษณะ
มหาบุรุษ ข้าแต่ท่านพระโคดม พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติพราหมณ์ว่าเป็นผู้ได้วิชชา
๓ เป็นอย่างนี้แล”


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๑. พราหมณวรรค ๙. ชานุสโสณิสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติพราหมณ์ว่าเป็นผู้ได้
วิชชา ๓ เป็นอย่างหนึ่ง ส่วนผู้ได้วิชชา ๓ ในอริยวินัยเป็นอีกอย่างหนึ่ง”
ชานุสโสณิพราหมณ์ทูลถามว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ผู้ได้วิชชา ๓ ใน
อริยวินัยเป็นอย่างไร ขอประทานวโรกาส ขอท่านพระโคดมแสดงธรรมแก่ข้าพเจ้า
อย่างที่ผู้ได้วิชชา ๓ มีในอริยวินัย”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ถ้าอย่างนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
ชานุสโสณิพราหมณ์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่อง
นี้ว่า
ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุจตุตถฌานที่...อยู่
เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน๑ ปราศจากความ
เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้นน้อม
จิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ ฯลฯ๓ เธอได้บรรลุวิชชา
ที่ ๑ นี้ ความมืดมิดคืออวิชชา เธอกำจัดได้แล้ว แสงสว่างคือวิชชาได้เกิดขึ้นแก่เธอ
เปรียบเหมือนแสงสว่างเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจ
เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความเศร้า
หมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้นน้อมจิตไป
เพื่อจุตูปปาตญาณ เห็นหมู่สัตว์ ฯลฯ ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ ฯลฯ
เธอได้บรรลุวิชชาที่ ๒ นี้ ความมืดมิดคืออวิชชา เธอกำจัดได้แล้ว แสงสว่างคือวิชชา
ได้เกิดขึ้นแก่เธอเปรียบเหมือนแสงสว่างเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ไม่ประมาท มีความเพียร
อุทิศกายและใจ
เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความ
เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้นน้อมจิตไป


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๑. พราหมณวรรค ๙. ชานุสโสณิสูตร

เพื่ออาสวักขยญาณ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินี-
ปฏิปทา” “นี้อาสวะ ฯลฯ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา” เมื่อเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ จิต
ย่อมหลุดพ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ และอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่า
หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว
ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป” เธอได้บรรลุวิชชาที่ ๓ นี้ ความมืดมิดคือ
อวิชชา เธอกำจัดได้แล้ว แสงสว่างคือวิชชาได้เกิดขึ้นแก่เธอ เปรียบเหมือนแสงสว่าง
เกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจ
บุคคลใดสมบูรณ์ด้วยศีลและวัตร
อุทิศกายและใจ มีจิตตั้งมั่น
บุคคลใดมีจิตที่ชำนาญ แน่วแน่ ตั้งมั่นดี
บุคคลใดรู้แจ้งปุพเพนิวาสญาณ เห็นทั้งสวรรค์
และอบาย บรรลุธรรมเป็นที่สิ้นความเกิด เป็นมุนี
อยู่จบพรหมจรรย์เพราะรู้ยิ่ง เป็นพราหมณ์ผู้ได้วิชชา ๓
โดยวิชชา ๓ นี้ เราเรียกบุคคลนั้นว่าได้วิชชา ๓
ไม่เรียกบุคคลอื่นว่าได้วิชชา ๓ ตามที่ผู้อื่นเรียกกัน
พราหมณ์ผู้ได้วิชชา ๓ ในอริยวินัย เป็นอย่างนี้แล
ชานุสโสณิพราหมณ์กราบทูลว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม ผู้ได้วิชชา ๓ ของพวก
พราหมณ์เป็นอย่างหนึ่ง ส่วนผู้ได้วิชชา ๓ ในอริยวินัยเป็นอีกอย่างหนึ่ง ข้าแต่ท่าน
พระโคดม ก็ผู้ได้วิชชา ๓ ของพวกพราหมณ์มีค่าไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ ของผู้ได้วิชชา ๓
ในอริยวินัยนี้
ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอท่าน
พระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจน
ตลอดชีวิต

ชานุสโสณิสูตรที่ ๙ จบ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๑. พราหมณวรรค ๑๐. สังคารวสูตร

๑๐. สังคารวสูตร
ว่าด้วยสังคารวพราหมณ์

[๖๑] ครั้งนั้น สังคารวพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้
สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจพอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่ท่านพระโคดม ข้าพเจ้าทั้งหลายชื่อว่าเป็นพราหมณ์ บูชายัญเองบ้าง
ให้ผู้อื่นบูชาบ้าง ในหมู่พราหมณ์นั้น ผู้ใดบูชายัญเอง และผู้ใดให้ผู้อื่นบูชายัญ คน
เหล่านั้นทั้งหมดชื่อว่าปฏิบัติปุญญปฏิปทาที่เกิดแก่หลายสรีระคือยัญญาธิกรณ์๑(มี
ยัญเป็นเหตุ) ส่วนบุคคลใดออกจากเรือนแห่งตระกูลใดก็ตาม บวชเป็นบรรพชิต ฝึก
ตนเอง ทำตนเองให้สงบ ทำตนเองให้ดับเย็นสนิท เมื่อเป็นอย่างนี้ บุคคลนั้นชื่อว่า
ปฏิบัติปุญญปฏิปทาที่เกิดแก่สรีระเดียวคือปัพพัชชาธิกรณ์(มีบรรพชาเป็นเหตุ)”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ ถ้าอย่างนั้น เราจักย้อนถามท่านในข้อนี้
ท่านพึงเฉลยปัญหานั้นตามที่ท่านเห็นควร ท่านเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร ตถาคตเสด็จ
อุบัติในโลกนี้ชื่อว่าเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อม
ด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม
เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค
ตถาคตพระองค์นั้นตรัสไว้อย่างนี้ว่า ‘ในข้อนี้เราปฏิบัติตามมรรคนี้ปฏิปทานี้ ทำให้
แจ้งซึ่งประโยชน์อันยอดเยี่ยมซึ่งเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว
ประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม มาเถิด แม้ท่านทั้งหลายก็จงปฏิบัติตามที่ท่านทั้งหลายปฏิบัติ
แล้ว จักทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์อันยอดเยี่ยมซึ่งเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ด้วยปัญญา
อันยิ่งเองเข้าถึงอยู่’ พระศาสดาพระองค์นี้ทรงแสดงธรรมไว้ และคนเหล่าอื่นต่างก็
ปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น ก็ผู้แสดงและผู้ปฏิบัตินั้นมีมากกว่าร้อย มีมากกว่า
พัน มีมากกว่าแสน ท่านเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร เมื่อเป็นอย่างนี้ ปุญญปฏิปทาคือ
ปัพพัชชาธิกรณ์ย่อมเกิดแก่สรีระเดียวหรือเกิดแก่หลายสรีระ”


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๑. พราหมณวรรค ๑๐. สังคารวสูตร

เมื่อสังคารวพราหมณ์กราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม เมื่อเป็นอย่างนี้
ปุญปฏิปทาคือปัพพชชาธิกรณ์นี้ย่อมเกิดแก่หลายสรีระ”
เมื่อสังคารวพราหมณ์กราบทูลอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ได้ถามสังคารว-
พราหมณ์ว่า “บรรดาปฏิปทา ๒ อย่างนี้ ท่านชอบใจปฏิปทาอะไร ซึ่งต้องใช้
อุปกรณ์น้อยกว่า มีความวุ่นวายน้อยกว่า แต่มีผลมากกว่าและมีอานิสงส์มากกว่า”
เมื่อท่านพระอานนท์ถามอย่างนี้ สังคารวพราหมณ์ได้กล่าวกับท่านพระ
อานนท์ดังนี้ว่า “ท่านพระโคดมเป็นฉันใด ท่านพระอานนท์ก็เป็นฉันนั้น ท่าน
ทั้ง ๒ นี้เราบูชาแล้ว ท่านทั้ง ๒ นี้เราสรรเสริญแล้ว”
แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระอานนท์ได้กล่าวกับสังคารวพราหมณ์ว่า “พราหมณ์ เรา
ไม่ได้ถามท่านอย่างนี้ว่า ท่านบูชาใครหรือว่าท่านสรรเสริญใคร แต่เราถามท่าน
อย่างนี้ว่า บรรดาปฏิปทา ๒ อย่างนี้ ท่านชอบปฏิปทาอะไร ซึ่งต้องใช้อุปกรณ์
น้อยกว่า มีความวุ่นวายน้อยกว่า แต่มีผลมากกว่าและมีอานิสงส์มากกว่า”
แม้ครั้งที่ ๓ สังคารวพราหมณ์ก็ได้กล่าวกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “ท่าน
พระโคดมเป็นฉันใด ท่านพระอานนท์ก็เป็นฉันนั้น ท่านทั้ง ๒ นี้เราบูชาแล้ว ท่าน
ทั้ง ๒ นี้เราสรรเสริญแล้ว”
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้ทรงดำริว่า “สังคารวพราหมณ์ถูกอานนท์ถาม
ปัญหาที่ชอบธรรม ก็นิ่งเสีย ไม่ตอบถึง ๓ ครั้ง ทางที่ดี เราควรช่วยเหลือ”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับสังคารวพราหมณ์ดังนี้ว่า “พราหมณ์ วันนี้
พวกราชบุรุษนั่งประชุมกันในราชสำนัก สนทนากันในระหว่างการประชุมว่าอย่างไร”
สังคารวพราหมณ์กราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม วันนี้พวกราชบุรุษนั่ง
ประชุมกันในราชสำนัก สนทนากันในระหว่างการประชุมว่า ‘ทราบมาว่า ในกาลก่อน
ภิกษุธรรมดามีจำนวนน้อย ส่วนภิกษุที่ได้อุตตริมนุสสธรรม แสดงอิทธิปาฏิหาริย์๑


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๑. พราหมณวรรค ๑๐. สังคารวสูตร

ได้มีจำนวนมากกว่า ทุกวันนี้ ภิกษุธรรมดามีจำนวนมากกว่า ส่วนภิกษุที่ได้อุตตริ-
มนุสสธรรม แสดงอิทธิปาฏิหาริย์ได้มีจำนวนน้อยกว่า’ ข้าแต่ท่านพระโคดม วันนี้
พวกราชบุรุษนั่งประชุมกันในราชสำนัก สนทนากันในระหว่างการประชุมดังนี้แล”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า พราหมณ์ ปาฏิหาริย์(การทำให้ปฏิปักษ์ยอมได้)
๓ อย่างนี้
ปาฏิหาริย์ ๓ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. อิทธิปาฏิหาริย์ (ปาฏิหาริย์คือฤทธิ์)
๒. อาเทสนาปาฏิหาริย์ (ปาฏิหาริย์คือการทายใจ)
๓. อนุสาสนีปาฏิหาริย์ (ปาฏิหาริย์คืออนุสาสนี)
อิทธิปาฏิหาริย์ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดง
เป็นหลายคนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ แสดงให้ปรากฏหรือให้หายไป
ก็ได้ ทะลุฝา กำแพง ภูเขา ไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นและดำลง
ในแผ่นดินเหมือนไปในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำโดยที่น้ำไม่แยกเหมือนเดินบนแผ่นดิน
ก็ได้ นั่งขัดสมาธิเหาะไปในอากาศเหมือนนกบินไปก็ได้ ใช้ฝ่ามือลูบคลำดวงจันทร์
ดวงอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลก
ก็ได้ นี้เรียกว่า อิทธิปาฏิหาริย์
อาเทสนาปาฏิหาริย์ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้กล่าวดักใจได้โดยเครื่องหมายว่า “ใจของท่าน
เป็นอย่างนี้ก็มี ใจของท่านเป็นอย่างนี้ก็มี จิตของท่านกำลังคิดอย่างนี้ ๆ” แม้หาก
เธอจะกล่าวดักใจหลายเรื่อง คำที่เธอกล่าวนั้นก็เป็นอย่างนั้น ไม่เป็นอย่างอื่น
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้กล่าวดักใจโดยอาศัยเครื่องหมายไม่ได้เลย แต่พอได้
ฟังมนุษย์ อมนุษย์ หรือเทวดา ย่อมกล่าวดักใจได้ว่า “ใจของท่านเป็นอย่างนี้๑ก็มี
ใจของท่านเป็นอย่างนี้ก็มี จิตของท่านกำลังคิดอย่างนี้ ๆ” แม้หากเธอจะกล่าวดักใจ
หลายเรื่อง คำที่เธอกล่าวนั้นก็เป็นอย่างนั้น ไม่เป็นอย่างอื่น


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๑. พราหมณวรรค ๑๐. สังคารวสูตร

ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้กล่าวดักใจโดยอาศัยเครื่องหมายไม่ได้เลย ถึงได้ฟัง
เสียงมนุษย์ อมนุษย์ หรือเทวดา ก็กล่าวดักใจไม่ได้ แต่พอได้ฟังเสียงบ่นเพ้อของ
บุคคลผู้ตรึกตรองแล้ว ย่อมกล่าวดักใจได้ว่า “ใจของท่านเป็นอย่างนี้ก็มี ใจของท่าน
เป็นอย่างนี้ก็มี จิตของท่านกำลังคิดอย่างนี้ ๆ” แม้หากเธอจะกล่าวดักใจหลายเรื่อง
คำที่เธอกล่าวนั้นก็เป็นอย่างนั้น ไม่เป็นอย่างอื่น
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้กล่าวดักใจโดยอาศัยเครื่องหมายไม่ได้เลย ถึงได้ฟัง
เสียงมนุษย์ อมนุษย์ หรือเทวดา ก็กล่าวดักใจไม่ได้ ถึงได้ฟังเสียงบ่นเพ้อของบุคคล
ผู้ตรึกตรอง ก็กล่าวดักใจไม่ได้ แต่กำหนดรู้ใจของบุคคลผู้เข้าสมาธิ ไม่มีวิตก ไม่มี
วิจารด้วยใจของตนว่า “ท่านผู้เจริญนี้จักตรึกเรื่องชื่อโน้นในลำดับจิตนี้โดยวิธีที่ได้ตั้ง
มโนสังขาร” แม้หากเธอจะกล่าวดักใจหลายเรื่อง คำที่เธอกล่าวนั้นก็เป็นอย่างนั้น
ไม่เป็นอย่างอื่น นี้เรียกว่า อาเทสนาปาฏิหาริย์
อนุสาสนีปาฏิหาริย์ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้พร่ำสอนอยู่อย่างนี้ว่า “จงตรึกอย่างนี้ อย่าได้
ตรึกอย่างนี้ จงมนสิการอย่างนี้ อย่าได้มนสิการอย่างนี้ จงละธรรมนี้ จงบรรลุธรรม
นี้อยู่” นี้เรียกว่า อนุสาสนีปาฏิหาริย์
พราหมณ์ ปาฏิหาริย์ ๓ อย่างนี้แล บรรดาปาฏิหาริย์ ๓ อย่างนี้ท่านชอบใจ
ปาฏิหาริย์ไหน ซึ่งงดงามกว่าและประณีตกว่า
สังคารวพราหมณ์กราบทูลว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม บรรดาปาฏิหาริย์ ๓
อย่างนั้น ปาฏิหาริย์ที่ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง ฯลฯ
แผ่อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้ นี้คือปาฏิหาริย์ ผู้ใดแสดงอิทธิปาฏิหาริย์
นั้น ผู้นั้นย่อมชอบใจปาฏิหาริย์นั้น และผู้ใดแสดงอิทธิปาฏิหาริย์นั้น ปาฏิหาริย์
นั้นเป็นของผู้นั้น ข้าแต่ท่านพระโคดม ปาฏิหาริย์นี้ปรากฏแก่ข้าพเจ้าเหมือนกับ
ภาพมายา
ข้าแต่ท่านพระโคดม ปาฏิหาริย์ที่ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้กล่าวดักใจได้โดย
อาศัยเครื่องหมายว่า “ใจของท่านเป็นอย่างนี้ก็มี ใจของท่านเป็นอย่างนี้ก็มี จิตของ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๒๓๕ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๑. พราหมณวรรค ๑๐. สังคารวสูตร

ท่านกำลังคิดอย่างนี้ ๆ” แม้หากเขาจะกล่าวดักใจหลายเรื่อง คำที่เขากล่าวนั้นก็
เป็นอย่างนั้นแล ไม่เป็นอย่างอื่น ข้าแต่ท่านพระโคดม ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้
กล่าวดักใจโดยอาศัยเครื่องหมายไม่ได้ แต่พอได้ฟังเสียงมนุษย์ อมนุษย์ หรือเทวดา
แล้วก็กล่าวดักใจได้ว่า ฯลฯ ได้ฟังเสียงมนุษย์ อมนุษย์ หรือเทวดาแล้ว ก็ยังกล่าว
ดักใจไม่ได้ แต่พอได้ฟังเสียงบ่นเพ้อของบุคคลผู้ตรึกตรอง ก็กล่าวดักใจได้ว่า ฯลฯ
แม้ได้ฟังเสียงบ่นเพ้อของบุคคลผู้ตรึกตรอง ก็ยังกล่าวดักใจไม่ได้ แต่กำหนดรู้ใจของ
บุคคลผู้เข้าสมาธิที่ไม่มีวิตก ไม่มีวิจารด้วยใจของตนว่า “ท่านผู้เจริญนี้จักตรึกเรื่อง
โน้นในลำดับจิตนี้โดยวิธีที่ได้ตั้งมโนสังขารไว้” แม้หากเธอจะกล่าวดักใจหลายเรื่อง
คำที่เธอกล่าวนั้นก็เป็นอย่างนั้น ไม่ได้เป็นอย่างอื่น ข้าแต่ท่านพระโคดมนี้คือ
ปาฏิหาริย์ ผู้ใดแสดงอาเทสนาปาฏิหาริย์นั้น ผู้นั้นย่อมชอบใจปาฏิหาริย์นั้น และ
ผู้ใดแสดงอาเทสนาปาฏิหาริย์นั้น ปาฏิหาริย์นั้นเป็นของผู้นั้น ข้าแต่ท่านพระโคดม
ปาฏิหาริย์แม้นี้ปรากฏแก่ข้าพเจ้าเหมือนภาพมายา
ข้าแต่ท่านพระโคดม บรรดาปาฏิหาริย์ ๓ อย่างนี้ ข้าพระองค์ชอบใจปาฏิหาริย์
นี้ซึ่งงดงามกว่าและประณีตกว่า คือภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้พร่ำสอนอย่างนี้ว่า
“จงตรึกอย่างนี้ อย่าได้ตรึกอย่างนี้ จงมนสิการอย่างนี้ อย่าได้มนสิการอย่างนี้
จงละธรรมนี้ จงบรรลุธรรมนี้อยู่”
ข้าแต่ท่านพระโคดม น่าอัศจรรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ท่านพระโคดมตรัส
เรื่องนี้ไว้ดี และข้าพเจ้าทั้งหลายขอทรงจำไว้ว่า ท่านพระโคดมประกอบด้วยปาฏิหาริย์
๓ อย่างนี้ เพราะท่านพระโคดมทรงแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง ฯลฯ ทรงใช้อำนาจ
ทางกายไปจนถึงพรหมโลกได้ เพราะท่านพระโคดมทรงกำหนดรู้ใจของบุคคลผู้เข้า
สมาธิที่ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร ด้วยใจของพระองค์ว่า “ท่านผู้เจริญนี้ จักตรึกเรื่องโน้น
ในลำดับจิตนี้โดยวิธีที่ได้ตั้งมโนสังขารไว้” เพราะท่านพระโคดมทรงพร่ำสอนอย่างนี้ว่า
“จงตรึกอย่างนี้ อย่าได้ตรึกอย่างนี้ จงมนสิการอย่างนี้ อย่าได้มนสิการอย่างนี้
จงละธรรมนี้ จงบรรลุธรรมนี้อยู่”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ท่านกล่าววาจาที่เกี่ยวข้องกับคุณของเราแน่แท้ อนึ่ง
เราจักตอบคำถามของท่าน เพราะเราแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง ฯลฯ ใช้อำนาจทาง
กายไปจนถึงพรหมโลกได้ เพราะเรากำหนดรู้ใจของบุคคลผู้เข้าสมาธิที่ไม่มีวิตก ไม่มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๒๓๖ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๑. พราหมณวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

วิจาร ด้วยใจของตนว่า ‘ท่านผู้เจริญนี้ จักตรึกเรื่องโน้นในลำดับจิตนี้ด้วยวิธีที่ได้ตั้ง
มโนสังขารไว้’ เพราะว่าเราพร่ำสอนอยู่อย่างนี้ว่า ‘จงตรึกอย่างนี้ อย่าได้ตรึกอย่างนี้
จงมนสิการอย่างนี้ อย่าได้มนสิการอย่างนี้ จงละธรรมนี้ จงบรรลุธรรมนี้อยู่”
สังคารวพราหมณ์ทูลถามว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม นอกจากท่านพระโคดม
ภิกษุอื่นแม้รูปเดียวผู้เพียบพร้อมด้วยปาฏิหาริย์ ๓ อย่างนี้มีอยู่หรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ไม่ใช่เพียงหนึ่งร้อย ไม่ใช่สองร้อย ไม่ใช่สามร้อย
ไม่ใช่สี่ร้อย ไม่ใช่ห้าร้อย ที่แท้ ภิกษุผู้ประกอบด้วยปาฏิหาริย์ ๓ อย่างนี้มีอยู่จำนวน
มากทีเดียว”
สังคารวพราหมณ์ทูลถามว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ก็บัดนี้ภิกษุเหล่านั้น
อยู่ไหน”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ท่านเหล่านั้นอยู่ในหมู่ภิกษุนี้เอง”
สังคารวพราหมณ์กราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของท่านพระโคดม
ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะ
ยิ่งนัก ท่านพระโคดมทรงประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือน
บุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด
ด้วยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’ ข้าพระองค์นี้ขอถึงท่านพระโคดม พร้อมทั้ง
พระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็น
อุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”

สังคารวสูตรที่ ๑๐ จบ
พราหมณวรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมเทวพราหมณสูตร ๒. ทุติยเทวพราหมณสูตร
๓. อัญญตรพราหมณสูตร ๔. ปริพพาชกสูตร
๕. นิพพุตสูตร ๖. ปโลกสูตร
๗. วัจฉโคตตสูตร ๘. ติกัณณสูตร
๙. ชานุสโสณิสูตร ๑๐. สังคารวสูตร


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๑. ติตถายตนสูตร

๒. มหาวรรค
หมวดว่าด้วยเรื่องใหญ่

๑. ติตถายตนสูตร
ว่าด้วยที่เกิดแห่งทิฏฐิเป็นดุจท่า

[๖๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ที่เกิดแห่งทิฏฐิเป็นดุจท่า๑ ๓
ประการ ซึ่งเมื่อถูกบัณฑิตไต่ถามซักไซ้ไล่เลียงเข้า ก็อ้างการถือสืบ ๆ กันมา ยืน
กรานอยู่ในหลักอกิริยวาทะ๒
ที่เกิดแห่งทิฏฐิเป็นดุจท่า ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “สุข
ทุกข์ หรือไม่ทุกข์ ไม่สุขที่บุรุษบุคคลนี้เสวย ทั้งหมดล้วน
แต่มีกรรมที่ทำไว้ในปางก่อนเป็นเหตุ๋
๒. สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “สุข
ทุกข์ หรือไม่ทุกข์ ไม่สุขที่บุรุษบุคคลนี้เสวย ทั้งหมดล้วนแต่
มีการเนรมิตของพระเป็นเจ้าผู้ยิ่งใหญ่เป็นเหตุ”
๓. สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “สุข
ทุกข์ หรือไม่ทุกข์ ไม่สุข ที่บุรุษบุคคลนี้เสวย ทั้งหมดล้วนแต่
ไม่มีเหตุไม่มีปัจจัย”
บรรดาสมณพราหมณ์ทั้ง ๓ จำพวกนั้น สมณพราหมณ์พวกใดมีวาทะอย่างนี้
มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “สุข ทุกข์ หรือไม่ทุกข์ ไม่สุขที่บุรุษบุคคลนี้เสวย ทั้งหมดล้วนมี
กรรมที่ทำไว้ในปางก่อนเป็นเหตุ” เราเข้าไปหาสมณพราหมณ์พวกนั้น กล่าวอย่างนี้


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๑. ติตถายตนสูตร

ว่า “ทราบมาว่า จริงหรือ ที่ท่านทั้งหลายมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “สุข
ทุกข์ หรือไม่ทุกข์ ไม่สุขที่บุรุษบุคคลนี้เสวย ทั้งหมดล้วนแต่มีกรรมที่ทำไว้ในปาง
ก่อนเป็นเหตุ” ถ้าสมณพราหมณ์เหล่านั้น ถูกเราถามอย่างนี้ยอมรับว่า “จริง” เรา
จะกล่าวกับท่านเหล่านั้นดังนี้ว่า “ถ้าอย่างนั้น เพราะกรรมที่ทำไว้ในปางก่อนเป็นเหตุ
ท่านทั้งหลาย ก็จักเป็นคนฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดพรหมจรรย์ พูดเท็จ พูด
ส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ มากด้วยอภิชฌา(เพ่งเล็งอยากได้ของเขา) มีจิต
พยาบาท และเป็นมิจฉาทิฏฐิ”
อนึ่ง เมื่อบุคคลยึดถือกรรมที่ทำไว้ในปางก่อนโดยความเป็นแก่นสารย่อมไม่มี
ความพอใจหรือความพยายามว่า “สิ่งนี้ควรทำ หรือสิ่งนี้ไม่ควรทำ” ก็เมื่อไม่ได้
กรณียกิจและอกรณียกิจโดยจริงจังมั่นคง ดังมากล่าวนี้ สมณวาทะที่เป็นธรรม เป็น
ของเฉพาะตัวย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้มีสติฟั่นเฟือน ไม่มีเครื่องป้องกัน นี้แลเป็น
วาทะที่ ๑ สำหรับข่มโดยชอบธรรมของเราต่อสมณพราหมณ์เหล่านั้นผู้มีวาทะ
อย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ (๑)
บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์พวกใดมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิ
อย่างนี้ว่า “สุข ทุกข์ หรือไม่ทุกข์ ไม่สุขที่บุรุษบุคคลนี้เสวย ทั้งหมดล้วนแต่มีการ
เนรมิตของพระผู้เป็นเจ้าผู้ยิ่งใหญ่เป็นเหตุ” เราเข้าไปหาสมณพราหมณ์พวกนั้น
กล่าวอย่างนี้ว่า “ทราบมาว่า จริงหรือ ที่ท่านทั้งหลายมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิ
อย่างนี้ว่า “สุข ทุกข์ หรือไม่ทุกข์ ไม่สุขที่บุรุษบุคคลนี้เสวย ทั้งหมดล้วนแต่มีการ
เนรมิตของพระผู้เป็นเจ้าผู้ยิ่งใหญ่เป็นเหตุ” ถ้าสมณพราหมณ์เหล่านั้นถูกเราถาม
อย่างนี้ยอมรับว่า “จริง” เราก็จะกล่าวกับท่านเหล่านั้นอย่างนี้ว่า “ถ้าอย่างนั้น
เพราะการเนรมิตของพระผู้เป็นเจ้าผู้ยิ่งใหญ่เป็นเหตุ ท่านทั้งหลายก็จักเป็นคนฆ่าสัตว์
ฯลฯ และเป็นมิจฉาทิฏฐิ”
อนึ่ง เมื่อบุคคลยึดถือการเนรมิตของพระผู้เป็นเจ้าผู้ยิ่งใหญ่โดยความเป็น
แก่นสารย่อมไม่มีความพอใจหรือความพยายามว่า “สิ่งนี้ควรทำ หรือสิ่งนี้ไม่ควร
ทำ” ก็เมื่อไม่ได้กรณียกิจและอกรณียกิจโดยจริงจังมั่นคง ดังกล่าวมานี้ สมณวาทะ
ที่ชอบธรรม เป็นของเฉพาะตัว ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้มีสติฟั่นเฟือน ไม่มีเครื่อง
ป้องกัน นี้แลเป็นวาทะที่ ๒ สำหรับข่มโดยชอบธรรมของเราต่อสมณพราหมณ์
เหล่านั้นผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ (๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๒๓๙ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๑. ติตถายตนสูตร

บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์พวกใดมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิ
อย่างนี้ว่า “สุข ทุกข์ หรือไม่ทุกข์ ไม่สุข ที่บุรุษบุคคลนี้เสวย ทั้งหมดล้วนไม่มีเหตุ
ไม่มีปัจจัย” เราเข้าไปหาสมณพราหมณ์พวกนั้น กล่าวอย่างนี้ว่า “ทราบมาว่า จริง
หรือ ที่ท่านทั้งหลายมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘สุข ทุกข์ หรือไม่ทุกข์ ไม่สุข
ที่บุรุษบุคคลนี้เสวย ทั้งหมดล้วนไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย” ถ้าท่านเหล่านั้นถูกเราถาม
อย่างนี้ ยอมรับว่า “จริง” เราก็จะกล่าวกับท่านเหล่านั้นอย่างนี้ว่า “ถ้าอย่างนั้น
เพราะไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ท่านทั้งหลายจักเป็นคนฆ่าสัตว์ ฯลฯ และเป็นมิจฉาทิฏฐิ”
อนึ่ง เมื่อบุคคลยึดถือความไม่มีเหตุโดยความเป็นแก่นสารย่อมไม่มีความ
พอใจหรือความพยายามว่า “สิ่งนี้ควรทำ หรือสิ่งนี้ไม่ควรทำ” ก็เมื่อไม่ได้กรณียกิจ
และอกรณียกิจโดยจริงจังมั่นคง ดังกล่าวมานี้ สมณวาทะที่ชอบธรรม เป็นของ
เฉพาะตัวย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้มีสติฟั่นเฟือน ไม่มีเครื่องป้องกัน นี้แลเป็นวาทะที่ ๓
สำหรับข่มโดยชอบธรรมของเราต่อสมณพราหมณ์เหล่านั้นผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิ
อย่างนี้ (๓)
ภิกษุทั้งหลาย ที่เกิดแห่งทิฏฐิเป็นดุจท่า ๓ ประการ ซึ่งเมื่อถูกบัณฑิตไต่ถาม
ซักไซ้ไล่เลียงเข้า ก็อ้างการถือสืบ ๆ กันมา ยืนกรานอยู่ในหลักอกิริยวาทะ
ส่วนธรรมที่เราแสดงไว้นี้ใคร ๆ ข่มไม่ได้ ไม่มัวหมอง ไม่ถูกตำหนิ ไม่ถูก
สมณพราหมณ์ผู้รู้แจ้งคัดค้าน
ธรรมที่เราแสดงไว้ใคร ๆ ข่มไม่ได้ ไม่มัวหมอง ไม่ถูกตำหนิ ไม่ถูก
สมณพราหมณ์ผู้รู้แจ้งคัดค้าน เป็นอย่างไร
คือ (๑) ธรรมที่เราแสดงไว้ว่า “ธาตุ ๖ ประการนี้” ใคร ๆ ข่มไม่ได้ ไม่มัว
หมอง ไม่ถูกตำหนิ ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้แจ้งคัดค้าน (๒) ธรรมที่เราแสดงไว้ว่า
“ผัสสายตนะ ๖ ประการนี้” ใคร ๆ ข่มไม่ได้ ไม่มัวหมอง ไม่ถูกตำหนิ ไม่ถูกสมณ-
พราหมณ์ผู้รู้แจ้งคัดค้าน (๓) ธรรมที่เราแสดงไว้ว่า “มโนปวิจาร๑ ๑๘ ประการนี้”


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๑. ติตถายตนสูตร

ใคร ๆ ข่มไม่ได้ ไม่มัวหมอง ไม่ถูกตำหนิ ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้แจ้งคัดค้าน
(๔) ธรรมที่เราแสดงไว้ว่า “อริยสัจ ๔ ประการนี้’ ใคร ๆ ข่มไม่ได้ ไม่มัวหมอง
ไม่ถูกตำหนิ ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้แจ้งคัดค้าน
เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ธรรมที่เราแสดงไว้ว่า “ธาตุ ๖ ประการนี้”
ใคร ๆ ข่มไม่ได้ ไม่มัวหมอง ไม่ถูกตำหนิ ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้แจ้งคัดค้าน
เพราะอาศัยอะไรเราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น ธาตุ ๖ ประการนี้ คือ ปฐวีธาตุ(ธาตุดิน)
อาโปธาตุ(ธาตุน้ำ) เตโชธาตุ(ธาตุไฟ) วาโยธาตุ(ธาตุลม) อากาสธาตุ(ธาตุอากาศ)
วิญญาณธาตุ(ธาตุวิญญาณ) เพราะอาศัยคำที่เรากล่าวไว้ว่า ธรรมที่เราแสดงไว้ว่า
“ธาตุ ๖ ประการนี้” ใคร ๆ ข่มไม่ได้ ไม่มัวหมอง ไม่ถูกตำหนิ ไม่ถูกสมณ-
พราหมณ์ผู้รู้แจ้งคัดค้าน เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ธรรมที่เราแสดงไว้ว่า “ผัสสายตนะ ๖ ประการนี้”
ใคร ๆ ข่มไม่ได้ ไม่มัวหมอง ไม่ถูกตำหนิ ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้แจ้งคัดค้าน
เพราะอาศัยอะไรเราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น ผัสสายตนะ ๖ ประการนี้ คือ จักขุ(ตา)
โสตะ(หู) ฆานะ(จมูก) ชิวหา(ลิ้น) กาย(กาย) มโน(ใจ) เพราะอาศัยคำที่เรากล่าว
ไว้ว่า ธรรมที่เราแสดงไว้ว่า “ผัสสายตนะ ๖ ประการนี้” ใคร ๆ ข่มไม่ได้ ไม่มัว
หมอง ไม่ถูกตำหนิ สมณพราหมณ์ผู้รู้แจ้งคัดค้าน เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ธรรมที่เราแสดงไว้ว่า “มโนปวิจาร ๑๘ ประการนี้”
ใคร ๆ ข่มไม่ได้ ไม่มัวหมอง ไม่ถูกตำหนิ ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้แจ้งคัดค้าน
เพราะอาศัยอะไรเราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น เพราะบุคคลเห็นรูปด้วยตาแล้วย่อมเข้าไปไตร่
ตรองรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส เข้าไปไตร่ตรองรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส เข้าไป
ไตร่ตรองรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา บุคคลฟังเสียงด้วยหูแล้ว ฯลฯ ดมกลิ่นด้วย
จมูกแล้ว ฯลฯ ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ฯลฯ
รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้วย่อมเข้าไปไตร่ตรองธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส เข้าไป
ไตร่ตรองธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส เข้าไปไตร่ตรองธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
เพราะอาศัยคำที่เรากล่าวไว้ว่า ธรรมที่เราแสดงว่า “มโนปวิจาร ๑๘ ประการนี้”
ใคร ๆ ข่มไม่ได้ ไม่มัวหมอง ไม่ถูกตำหนิ ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้แจ้งคัดค้าน
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๒๔๑ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๑. ติตถายตนสูตร

อนึ่ง เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ธรรมที่เราแสดงไว้ว่า “อริยสัจ ๔ ประการนี้”
ใคร ๆ ข่มไม่ได้ ไม่มัวหมอง ไม่ถูกตำหนิ ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้แจ้งคัดค้าน
เพราะอาศัยอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น เพราะถือมั่นธาตุ ๖ ประการ สัตว์จึงก้าวลง
สู่ครรภ์ เมื่อมีการก้าวลงสู่ครรภ์ นามรูปจึงมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะ
จึงมี เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี ก็เรา
บัญญัติไว้ว่า “นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ และนี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”
แก่บุคคลผู้เสวยอารมณ์อยู่
ทุกขอริยสัจ เป็นอย่างไร
คือ แม้ชาติ(ความเกิด)ก็เป็นทุกข์ แม้ชรา(ความแก่)ก็เป็นทุกข์ แม้มรณะ(ความ
ตาย)ก็เป็นทุกข์ แม้โสกะ(ความโศก) แม้ปริเทวะ(ความคร่ำครวญ) ทุกข์(ความทุกข์
กาย) โทมนัส(ความทุกข์ใจ) อุปายาส(ความคับแค้นใจ)ก็เป็นทุกข์ ความประสบกับ
สิ่งที่ไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ปรารถนา
สิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ นี้เรียกว่า ทุกขอริยสัจ
ทุกขสมุทัยอริยสัจ เป็นอย่างไร

คือ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
อุปายาสจึงมี

กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีความเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ นี้เรียกว่า ทุกขสมุทัย-
อริยสัจ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๒๔๒ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๑. ติตถายตนสูตร

ทุกขนิโรธอริยสัจ เป็นอย่างไร

คือ เพราะอวิชชาสำรอกดับไป สังขารจึงดับ
เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ
เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ
เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ
เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ
เพราะภพดับ ชาติจึงดับ
เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
อุปายาสจึงดับ

กองทุกข์ทั้งมวลนี้ย่อมมีความดับด้วยอาการอย่างนี้ นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธ-
อริยสัจ
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ได้แก่

๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) ๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ)
๓. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ) ๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ)
๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) ๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ)
๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ) ๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ)

นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
เพราะอาศัยคำที่เรากล่าวไว้ว่า ธรรมที่เราแสดงไว้ว่า “อริยสัจ ๔ ประการนี้”
ใคร ๆ ข่มไม่ได้ ไม่มัวหมอง ไม่ถูกตำหนิ ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้แจ้งคัดค้าน เรา
จึงกล่าวไว้เช่นนั้น

ติตถายตนสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๒. ภยสูตร

๒. ภยสูตร
ว่าด้วยภัย

[๖๓] ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับย่อมเรียกภัย ๓ อย่างนี้ว่า “อมาตา-
ปุตติกภัย”
ภัย ๓ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. สมัยที่เกิดไฟไหม้ใหญ่มีอยู่ เมื่อเกิดไฟไหม้ใหญ่แล้ว แม้หมู่บ้านก็ถูกไฟ
เผา ตำบลก็ถูกไฟเผา เมืองก็ถูกไฟเผา เมื่อหมู่บ้านถูกไฟเผาอยู่ เมื่อ
ตำบลถูกไฟเผาอยู่ เมื่อเมืองถูกไฟเผาอยู่ ในที่นั้น แม้มารดาก็ไม่ได้พบ
บุตร แม้บุตรก็ไม่ได้พบมารดา ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับเรียกภัยที่ ๑ นี้ว่า
“อมาตาปุตติกภัย๑”
๒. สมัยที่มหาเมฆตั้งเค้ามีอยู่ เมื่อมหาเมฆตั้งเค้าขึ้นแล้ว ฝนตกลงมา
ย่อมเกิดห้วงน้ำใหญ่ เมื่อเกิดห้วงน้ำใหญ่แล้ว แม้หมู่บ้านก็ถูกน้ำพัด
ไป ตำบลก็ถูกน้ำพัดไป เมืองก็ถูกน้ำพัดไป เมื่อหมู่บ้านถูกน้ำพัดไปอยู่
เมื่อตำบลถูกน้ำพัดไปอยู่ เมื่อเมืองถูกน้ำพัดไปอยู่ ในที่นั้น แม้มารดา
ก็ไม่ได้พบบุตร แม้บุตรก็ไม่ได้พบมารดา ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับเรียกภัยที่
๒ นี้ว่า “อมาตาปุตติกภัย”
๓. สมัยที่ภัยคือโจรป่าปล้นสะดม พวกชาวบ้านต่างพากันขึ้นยานหนีไป
มีอยู่ เมื่อมีภัยคือโจรป่าปล้นสะดม เมื่อชาวบ้านพากันขึ้นยานหนีไป
ในที่นั้น แม้มารดาก็ไม่ได้พบบุตร แม้บุตรก็ไม่ได้พบมารดา ปุถุชนผู้ไม่
ได้สดับเรียกภัยที่ ๓ นี้ว่า “อมาตาปุตติกภัย”
ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับย่อมเรียกอมาตาปุตติกภัยทั้ง ๓ อย่างนี้แล
ว่า “อมาตาปุตติกภัย”
แต่ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับเรียกสมาตาปุตติกภัยทั้ง ๓ อย่างนี้แลว่า “อมาตา-
ปุตติกภัย”


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๒. มหาวรรค ๒. ภยสูตร

สมาตาปุตติกภัย ๓ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. สมัยที่เกิดไฟไหม้ใหญ่มีอยู่ เมื่อเกิดไฟไหม้ใหญ่แล้ว แม้หมู่บ้านก็ถูก
ไฟเผา ตำบลก็ถูกไฟเผา เมืองก็ถูกไฟเผา เมื่อหมู่บ้านถูกไฟเผาอยู่
เมื่อตำบลถูกไฟเผาอยู่ เมื่อเมืองถูกไฟนั้นเผาอยู่ สมัยที่มารดาได้พบ
บุตร แม้บุตรก็ได้พบมารดา เป็นบางครั้งบางคราวมีอยู่ ปุถุชนผู้ไม่ได้
สดับเรียกสมาตาปุตติกภัยที่ ๑ นี้แลว่า “อมาตาปุตติกภัย”
๒. สมัยที่มหาเมฆตั้งเค้าขึ้นมีอยู่ เมื่อมหาเมฆตั้งเค้าขึ้นแล้ว ฝนตกลงมา
ย่อมเกิดห้วงน้ำใหญ่ เมื่อเกิดห้วงน้ำใหญ่แล้ว แม้หมู่บ้านก็ถูกน้ำพัดไป
ตำบลก็ถูกน้ำพัดไป เมืองก็ถูกน้ำพัดไป เมื่อหมู่บ้านถูกน้ำพัดไปอยู่
เมื่อตำบลถูกน้ำพัดไปอยู่ เมื่อเมืองถูกน้ำพัดไปอยู่ สมัยที่มารดาได้พบ
บุตร แม้บุตรก็ได้พบมารดาเป็นบางครั้งบางคราวมีอยู่ ปุถุชนผู้ไม่ได้
สดับเรียกสมาตาปุตติกภัยที่ ๒ นี้แลว่า “อมาตาปุตติกภัย”
๓. สมัยที่ภัยคือโจรป่าปล้นสะดม พวกชาวบ้านต่างพากันขึ้นยานหนีไป
มีอยู่ เมื่อภัยคือโจรป่าปล้นสะดม เมื่อชาวบ้านต่างพากันขึ้นยานหนีไป
มีอยู่ สมัยที่มารดาได้พบบุตร แม้บุตรก็ได้พบมารดาเป็นบางครั้งบาง
คราวมีอยู่ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับเรียกสมาตาปุตติกภัยที่ ๓ นี้แลว่า
“อมาตาปุตติกภัย”
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับเรียกสมาตาปุตติกภัย ๓ อย่างนี้แลว่า “อมาตาปุตติกภัย”
ภิกษุทั้งหลาย อมาตาปุตติกภัย ๓ อย่างนี้
อมาตาปุตติกภัย ๓ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ชราภัย๑ (ภัยที่เกิดขึ้นเพราะความแก่)
๒. พยาธิภัย (ภัยที่เกิดขึ้นเพราะความเจ็บ)
๓. มรณภัย (ภัยที่เกิดขึ้นเพราะความตาย)
เมื่อบุตรแก่ มารดาย่อมไม่ได้ดังใจหวังอย่างนี้ว่า “เราจงแก่ บุตรของเราอย่าได้
แก่” หรือเมื่อมารดาแก่ บุตรย่อมไม่ได้ดังใจหวังอย่างนี้ว่า “เราจงแก่ มารดาของเรา
อย่าได้แก่”


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๓. เวนาคปุรสูตร

เมื่อบุตรเจ็บไข้ มารดาย่อมไม่ได้ดังใจหวังอย่างนี้ว่า “เราจงเจ็บไข้ บุตรของเรา
อย่าได้เจ็บไข้” หรือเมื่อมารดาเจ็บไข้ บุตรย่อมไม่ได้ดังใจหวังอย่างนี้ว่า “เราจงเจ็บไข้
มารดาของเราอย่าได้เจ็บไข้”
เมื่อบุตรกำลังจะตาย มารดาย่อมไม่ได้ดังใจหวังอย่างนี้ว่า “เราจงตาย บุตร
ของเราอย่าได้ตาย” หรือเมื่อมารดากำลังจะตาย บุตรย่อมไม่ได้ดังใจหวังอย่างนี้ว่า
“เราจงตาย มารดาของเราอย่าได้ตาย”
อมาตาปุตติกภัย ๓ อย่างนี้แล
มรรคปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อละ เพื่อก้าวล่วงสมาตาปุตติกภัย ๓ อย่างนี้ และ
อมาตาปุตติกภัย ๓ อย่างนี้มีอยู่
มรรคปฏิปทา เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ได้แก่

๑. สัมมาทิฏฐิ ๒. สัมมาสังกัปปะ
๓. สัมมาวาจา ๔. สัมมากัมมันตะ
๕. สัมมาอาชีวะ ๖. สัมมาวายามะ
๗. สัมมาสติ ๘. สัมมาสมาธิ

ย่อมเป็นไปเพื่อละ เพื่อก้าวล่วงสมาตาปุตติกภัย ๓ อย่างนี้ และอมาตาปุตติกภัย ๓
อย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย มรรคปฏิปทานี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อละ เพื่อก้าวล่วงสมาตา-
ปุตติกภัย ๓ อย่างนี้ และอมาตาปุตติกภัย ๓ อย่างนี้

ภยสูตรที่ ๒ จบ

๓. เวนาคปุรสูตร
ว่าด้วยหมู่บ้านพราหมณ์ชื่อเวนาคปุระ

[๖๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศลพร้อมกับภิกษุ
หมู่ใหญ่ เสด็จถึงหมู่บ้านพราหมณ์ของชาวโกศลชื่อเวนาคปุระ
พราหมณ์และคหบดีชาวเวนาคปุระได้ทราบว่า “ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ได้ฟัง
ข่าวว่า พระสมณโคดมศากยบุตรเสด็จออกผนวชจากศากยตระกูล เสด็จถึงเวนาค-

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๒๔๖ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๓. เวนาคปุรสูตร

ปุระโดยลำดับแล้ว ท่านพระสมณโคดมนั้นมีกิตติศัพท์อันงามขจรไปอย่างนี้ว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง
โดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควร
ฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า
เป็นพระผู้มีพระภาค๑’ พระองค์ทรงรู้แจ้งโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๓. เวนาคปุรสูตร

และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ด้วยพระองค์เองแล้ว จึงทรง
ประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม ทรงแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง
และมีความงามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์
บริบูรณ์ครบถ้วน การได้พบพระอรหันต์เช่นนี้เป็นความดีอย่างแท้จริง”
ต่อมา พราหมณ์และคหบดีชาวเวนาคปุระเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ บางพวกถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวกได้สนทนาปราศรัยพอ
เป็นที่บันเทิงใจพอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวกประนมมือไหว้ไป
ทางที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่แล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวกประกาศชื่อและ
โคตรแล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวกนั่งนิ่งอยู่ ณ ที่สมควร
พราหมณ์วัจฉโคตรชาวเวนาคปุระผู้นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระ
ภาคดังนี้ว่า
ข้าแต่ท่านพระโคดม น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ อินทรีย์ของท่านพระโคดม
ผ่องใสยิ่งนัก พระฉวีวรรณบริสุทธิ์ผุดผ่อง ผลพุทราสุกที่มีในสารทกาล๑ ย่อม
บริสุทธิ์ผุดผ่องแม้ฉันใด อินทรีย์ของท่านพระโคดมก็ผ่องใสยิ่งนัก พระฉวีวรรณก็
บริสุทธิ์ผุดผ่อง ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าแต่ท่านพระโคดม ผลตาลสุกที่หล่นจากขั้วย่อม
บริสุทธิ์ผุดผ่อง แม้ฉันใด อินทรีย์ของท่านพระโคดมก็บริสุทธิ์ผุดผ่อง พระฉวีวรรณก็
บริสุทธิ์ผุดผ่อง ฉันนั้นเหมือนกัน ทองแท่งชมพูนุท๒ ที่บุตรนายช่างทองผู้ชำนาญ
หลอมดีแล้ว ที่นายช่างทองผู้ฉลาดบุดีแล้ว วางไว้บนผ้ากัมพล๓ ส่องแสงประกาย
สุกสว่างอยู่ แม้ฉันใด อินทรีย์ของท่านพระโคดมก็ผ่องใสยิ่งนัก พระฉวีวรรณก็
บริสุทธิ์ผุดผ่อง ฉันนั้นเหมือนกัน ที่นอนสูงและที่นอนใหญ่คือเตียงมีเท้าเกินประมาณ
บัลลังก์๔ ผ้าโกเชาว์๕ เครื่องลาดทำด้วยขนแกะวิจิตรด้วยลวดลาย เครื่องลาด


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๓. เวนาคปุรสูตร

ทำด้วยขนแกะสีขาว เครื่องลาดทำด้วยขนแกะลายดอกไม้ เครื่องลาดที่ยัดนุ่น
เครื่องลาดขนแกะที่วิจิตรด้วยรูปสัตว์ร้ายมีราชสีห์และเสือเป็นต้น เครื่องลาดขนแกะ
มีขนตั้งข้างเดียว เครื่องลาดขนแกะมีขนตั้งสองข้าง เครื่องลาดไหมขลิบรัตนะ เครื่อง
ลาดไหม เครื่องลาดขนแกะที่นางรำ ๑๖ นางยืนรำได้ เครื่องลาดหลังช้าง เครื่องลาด
หลังม้า เครื่องลาดในรถ เครื่องลาดทำด้วยหนังเสือดาวซึ่งมีขนอ่อนนุ่ม เครื่องลาด
อย่างดีทำด้วยหนังชะมด เครื่องลาดข้างบนมีเพดาน เครื่องลาดมีหมอนสีแดงวางไว้
ทั้ง ๒ ข้าง๑(เหล่านี้) ท่านพระโคดมได้ที่นอนสูงและที่นอนใหญ่อย่างนี้ตามความ
ปรารถนาโดยไม่ยาก ไม่ลำบากแน่นอน
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า พราหมณ์ ที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ คือเตียงมี
เท้าเกินประมาณ ฯลฯ เครื่องลาดมีหมอนข้าง ของเหล่านั้นบรรพชิตหาได้ยาก และ
ได้มาแล้วก็ไม่สมควร
ที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ ๓ อย่าง ในปัจจุบันนี้ที่เราได้ตามความปรารถนาโดย
ไม่ยาก ไม่ลำบาก
ที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ ๓ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ที่เป็นของทิพย์
๒. ที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ที่เป็นของพรหม
๓. ที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ที่เป็นของพระอริยะ
ที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ ๓ อย่างในปัจจุบันนี้ที่เราได้ตามความปรารถนาโดย
ไม่ยาก ไม่ลำบาก
พราหมณ์วัจฉโคตรทูลถามว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม ก็ที่นอนสูงและที่นอนใหญ่
ที่เป็นของทิพย์ ที่ท่านพระโคดมได้ตามความปรารถนา โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ใน
ปัจจุบันนี้ เป็นอย่างไร
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า พรามหณ์ เราอาศัยหมู่บ้านหรือตำบลใดในโลกนี้
อยู่ ในเวลาเช้า เราครองอันตรวาสก ถือบาตรจีวร เข้าไปสู่หมู่บ้านหรือตำบลนั้นแล


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๓. เวนาคปุรสูตร

เพื่อบิณฑบาต กลับจากบิณฑบาต หลังจากฉันเสร็จแล้วเข้าไปสู่ชายป่า กวาดหญ้า
หรือใบไม้ที่มีอยู่ในที่นั้นรวมเป็นกองแล้วนั่งขัดสมาธิ ตั้งกายตรงดำรงสติไว้มั่น สงัด
จากกาม และอกุศลธรรมแล้ว บรรลุปฐมฌานมีวิตก วิจาร ปีติและสุขเกิดแต่วิเวก
อยู่ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป เราบรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสภายใน มีภาวะที่
จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เพราะปีติจาง
คลายไป เรามีอุเบกขามีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกายบรรลุตติยฌานที่พระ
อริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า “ผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข” เพราะละสุขและทุกข์ได้
เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว เราบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มี
สติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ ถ้าเรานั้นผู้เป็นอย่างนี้ จงกรมอยู่ ในสมัยนั้นที่จงกรม
ของเรานั้นชื่อว่าเป็นทิพย์ ถ้าเราผู้เป็นอย่างนี้ยืนอยู่ ในสมัยที่ยืนของเรานั้น ชื่อว่า
เป็นทิพย์ ถ้าเราผู้เป็นอย่างนี้นั่งอยู่ ในสมัยนั้นที่นั่งของเรานั้นชื่อว่าเป็นทิพย์ ถ้าเรา
ผู้เป็นอย่างนี้นอนอยู่ ในสมัยนั้นที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ของเรานั้นชื่อว่าเป็นทิพย์
นี้แลคือที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ที่เป็นของทิพย์ ที่เราได้ตามความปรารถนา
โดยไม่ยาก ไม่ลำบากในปัจจุบันนี้
พราหมณ์วัจฉโคตรกราบทูลว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคย
ปรากฏ ก็ใครอื่นนอกจากท่านพระโคดมจักได้ที่นอนสูงและที่นอนใหญ่เป็นของทิพย์
ตามความปรารถนาโดยไม่ยาก ไม่ลำบากอย่างนี้
ข้าแต่ท่านพระโคดม ที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ที่เป็นของพรหมที่ท่านพระโคดม
ได้ตามความปรารถนา โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ในปัจจุบันนี้ เป็นอย่างไร
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า พราหมณ์ เราอาศัยหมู่บ้านหรือตำบลใดในโลกนี้
อยู่ ในเวลาเช้า เราครองอันตรวาสก ถือบาตรจีวร เข้าไปสู่หมู่บ้านหรือตำบลนั้นแล
เพื่อบิณฑบาต กลับจากบิณฑบาต หลังจากฉันเสร็จแล้วเข้าไปสู่ชายป่า กวาดหญ้า
หรือใบไม้ที่มีอยู่ในที่นั้นรวมเป็นกองแล้วนั่งขัดสมาธิ ตั้งกายตรงดำรงสติไว้มั่น มี
เมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ทิศเบื้องบน๑ ทิศเบื้องล่าง๒


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๓. เวนาคปุรสูตร

ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วทุกหมู่เหล่า ในที่ทุกสถานด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็น
มหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ มีกรุณาจิต ฯลฯ มีมุทิตา-
จิต ฯลฯ มีอุเบกขาจิต แผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ทิศเบื้องบน
ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วทุกหมู่เหล่า ในที่ทุกสถานด้วยอุเบกขาจิต
อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่
พราหมณ์ ถ้าเราผู้เป็นอย่างนี้จงกรมอยู่ ในสมัยนั้นที่จงกรมของเรานั้นชื่อว่า
เป็นของพรหม ถ้าเราผู้เป็นอย่างนี้ยืนอยู่ ฯลฯ นั่งอยู่ ฯลฯ นอนอยู่ ในสมัยนั้นที่
นอนสูงและที่นอนใหญ่ของเรานั้นชื่อว่าเป็นของพรหม
นี้แล คือที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ที่เป็นของพรหมที่เราได้ตามความปรารถนา
โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ในปัจจุบันนี้
พราหมณ์วัจฉโคตรกราบทูลว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคย
ปรากฏ ก็ใครอื่นนอกจากท่านพระโคดมจักได้ที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ที่เป็นของ
พรหมตามความปรารถนาโดยไม่ยาก ไม่ลำบากอย่างนี้
ข้าแต่ท่านพระโคดม ที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ที่เป็นของอริยะที่ท่านพระโคดม
ได้ตามความปรารถนาโดยไม่ยาก ไม่ลำบากในปัจจุบันนี้ เป็นอย่างไร
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า พราหมณ์ เราอาศัยหมู่บ้านหรือตำบลใดในโลกนี้
อยู่ ในเวลาเช้า เราครองอันตรวาสก ถือบาตรจีวร เข้าไปสู่หมู่บ้านหรือตำบลนั้นแล
เพื่อบิณฑบาต กลับจากบิณฑบาต หลังจากฉันเสร็จแล้วเข้าไปสู่ชายป่า กวาดหญ้า
หรือใบไม้ที่มีอยู่ในที่นั้นรวมเข้าเป็นกองแล้วนั่งขัดสมาธิ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้มั่น
รู้ชัดอย่างนี้ว่า เราละราคะ โทสะ โมหะได้เด็ดขาดแล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือน
ต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
พราหมณ์ ถ้าเราผู้เป็นอย่างนี้จงกรมอยู่ ในสมัยนั้นที่จงกรมของเรานั้นชื่อว่าเป็นของ
อริยะ ถ้าเราผู้เป็นอย่างนี้ยืนอยู่ ฯลฯ นั่งอยู่ ฯลฯ นอนอยู่ ในสมัยนั้นที่นอนสูงและ
ที่นอนใหญ่ของเรานั้นชื่อว่าเป็นของอริยะ
นี้แลคือที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ที่เป็นของอริยะที่เราได้ตามความปรารถนา
โดยไม่ยาก ไม่ลำบากในปัจจุบันนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๒๕๑ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๔. สรภสูตร

พราหมณ์วัจฉโคตรกราบทูลว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคย
ปรากฏ ก็ใครอื่นนอกจากท่านพระโคดมจักได้ที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ที่เป็นของ
อริยะตามปรารถนาโดยไม่ยาก ไม่ลำบากอย่างนี้
ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ภาษิตของ
ท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านพระโคดมทรงประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดย
ประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลง
ทาง หรือตามประทีปในที่มืดโดยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’ ข้าพระองค์นี้ขอถึง
ท่านพระโคดมพร้อมทั้งพระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมจงทรง
จำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต

เวนาคปุรสูตรที่ ๓ จบ

๔. สรภสูตร
ว่าด้วยปริพาชกชื่อว่าสรภะ

[๖๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุงราชคฤห์ ก็
สมัยนั้น สรภปริพาชกผู้ออกไปจากพระธรรมวินัยนี้ไม่นาน๑ เขากล่าวอย่างนี้ใน
หมู่ชน ณ กรุงราชคฤห์อย่างนี้ว่า “เรารู้ทั่วถึงธรรมของเหล่าสมณศากยบุตรแล้ว ก็
เพราะรู้ทั่วถึงธรรมของเหล่าสมณศากยบุตร เราจึงออกมา ถ้ามิเช่นนั้นแล้ว เราคง
ไม่ออกมาจากธรรมวินัยนั้น”
ครั้งนั้น ในเวลาเช้า ภิกษุจำนวนมากครองอันตรวาสก ถือบาตรจีวร เข้าไปยัง
กรุงราชคฤห์เพื่อบิณฑบาต ภิกษุเหล่านั้นได้ยินสรภปริพาชกกำลังกล่าวอย่างนี้ใน
หมู่ชน ณ กรุงราชคฤห์อย่างนี้ว่า “เรารู้ทั่วถึงธรรมของเหล่าสมณศากยบุตรแล้ว
เพราะรู้ทั่วถึงธรรมของเหล่าสมณศากยบุตร เราจึงออกมา ถ้ามิเช่นนั้นแล้ว เราคง
ไม่ออกมาจากธรรมวินัยนั้น”


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๔. สรภสูตร

ครั้นต่อมา ภิกษุเหล่านั้นเที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ กลับจากบิณฑบาต
หลังจากฉันเสร็จแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ
ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สรภปริพาชกผู้ออกไปจากพระธรรมวินัยนี้ได้ไม่นาน
กล่าวในหมู่ชน ณ กรุงราชคฤห์อย่างนี้ว่า ‘เรารู้ทั่วถึงธรรมของเหล่าสมณศากยบุตร
ก็เพราะรู้ทั่วถึงธรรมของเหล่าสมณศากยบุตร เราจึงออกมา ถ้ามิเช่นนั้นแล้ว เราคง
ไม่ออกมาจากธรรมวินัยนั้น’ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มี
พระภาคเสด็จไปยังอารามของปริพาชก ณ ริมฝั่งแม่น้ำสัปปินิกา ได้โปรดอนุเคราะห์
เสด็จไปหาสรภปริพาชกด้วยเถิด”
พระผู้มีพระภาคทรงรับโดยดุษณีภาพ
ครั้งนั้น ในเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้น เสด็จไปยัง
อารามปริพาชก ณ ริมฝั่งแม่น้ำสัปปินิกา เสด็จเข้าไปหาสรภปริพาชกถึงที่อยู่แล้วนั่ง
บนอาสนะที่ปูไว้ ครั้นแล้วได้ตรัสกับสรภปริพาชกดังนี้ว่า
“สรภะ ทราบว่า ท่านกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ทั่วถึงธรรมของเหล่าสมณศากย-
บุตรแล้ว ก็เพราะรู้ทั่วถึงธรรมของเหล่าสมณศากยบุตร เราจึงออกมา ถ้ามิเช่นนั้นแล้ว
เราคงไม่ออกมาจากธรรมวินัยนั้น’ จริงหรือ”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว สรภปริพาชกได้นิ่งเงียบ
แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับสรภปริพาชกดังนี้ว่า
“(สรภะ เราเองบัญญัติธรรมไว้สำหรับเหล่าสมณศากยบุตร) สรภะ จงกล่าวเถิด ท่าน
รู้ทั่วถึงธรรมของเหล่าสมณศากยบุตรว่าอย่างไร ถ้าความรู้ของท่านยังไม่บริบูรณ์
เราจักช่วยทำให้บริบูรณ์ แต่ถ้าความรู้ของท่านบริบูรณ์ เราจักพลอยยินดีด้วย”
แม้ครั้งที่ ๓ สรภปริพาชกก็ยังนิ่ง
ลำดับนั้น ปริพาชกเหล่านั้นได้กล่าวกับสรภปริพาชกดังนี้ว่า “ท่านสรภะ พระ
สมณโคดมจะปวารณาพระองค์เองทุกครั้งที่ท่านขอ ท่านสรภะ จงกล่าวเถิด ท่านรู้ทั่ว
ถึงธรรมของเหล่าสมณศากยบุตรว่าอย่างไร ถ้าความรู้ของท่านยังไม่บริบูรณ์ พระ
สมณโคดมจักช่วยทำให้บริบูรณ์ แต่ถ้าความรู้ของท่านบริบูรณ์ พระสมณโคดมจัก
พลอยยินดีด้วย”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๒๕๓ }


พระสุตตัตนตปิฎ อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๒. มหาวรรค ๔. สรภสูตร

เมื่อปริพาชกเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว สรภปริพาชกนิ่งเงียบ เก้อเขิน นั่ง
คอตก ก้มหน้า ซบเซา ไม่สามารถจะโต้ตอบได้
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคครั้นทราบว่าสรภปริพาชกนิ่งเงียบ เก้อเขิน นั่งคอตก
ก้มหน้า ซบเซา ไม่สามารถจะโต้ตอบได้ จึงได้ตรัสกับปริพาชกเหล่านั้นดังนี้ว่า
ปริพาชกทั้งหลาย ผู้ใดพึงกล่าวกับเราอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เป็นพระสัมมาสัม-
พุทธเจ้าปฏิญญาตนอยู่ ยังไม่ได้ตรัสรู้ธรรมเหล่านี้ เราพึงไต่ถามซักไซ้ไล่เลียงผู้นั้น
ในธรรมนั้นตามหลักเหตุผล” เป็นไปไม่ได้เลยที่ผู้นั้นเมื่อถูกเราไต่ถามซักไซ้ไล่เลียง
ตามหลักเหตุผลจะไม่เข้าถึงฐานะอย่างใดอย่างหนึ่งในฐานะ ๓ อย่าง คือ (๑) พูดกลบ
เกลื่อนหรือพูดนอกเรื่อง (๒) แสดงอาการโกรธ ขัดเคือง และไม่พอใจ (๓) นิ่งเงียบ
เก้อเขิน นั่งคอตก ก้มหน้า ซบเซา ไม่สามารถจะโต้ตอบได้เหมือนสรภปริพาชก
ปริพาชกทั้งหลาย ผู้ใดพึงกล่าวกับเราอย่างนี้ว่า “อาสวะเหล่านี้ของท่านผู้
ปฏิญญาตนว่าเป็นพระขีณาสพยังไม่สิ้นไปเลย เราพึงไต่ถามซักไซ้ไล่เลียงผู้นั้นใน
ธรรมนั้นตามหลักเหตุผล” เป็นไปไม่ได้เลยที่ผู้นั้นเมื่อถูกเราไต่ถามซักไซ้ไล่เลียงตาม
หลักเหตุผลจะไม่เข้าถึงฐานะอย่างใดอย่างหนึ่งในฐานะ ๓ อย่าง คือ (๑) พูดกลบ
เกลื่อนหรือพูดนอกเรื่อง (๒) แสดงอาการโกรธ ขัดเคือง และไม่พอใจ (๓) นิ่งเงียบ
เก้อเขิน นั่งคอตก ก้มหน้า ซบเซา ไม่สามารถจะโต้ตอบได้เหมือนสรภปริพาชก
ปริพาชกทั้งหลาย ผู้ใดพึงกล่าวกับเราอย่างนี้ว่า “ท่านแสดงธรรมเพื่อ
ประโยชน์ใด ธรรมที่ท่านแสดงนั้นไม่อำนวยประโยชน์นั้นเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ
แก่ผู้ปฏิบัติธรรมนั้น เราพึงไต่ถามซักไซ้ไล่เลียงผู้นั้นในธรรมนั้นตามหลักเหตุผล”
เป็นไปไม่ได้เลยที่ผู้นั้นเมื่อถูกเราไต่ถามซักไซ้ไล่เลียงตามหลักเหตุผลจะไม่เข้าถึง
ฐานะอย่างใดอย่างหนึ่งในฐานะ ๓ อย่าง คือ (๑) พูดกลบเกลื่อนหรือพูดนอกเรื่อง
(๒) แสดงอาการโกรธ ขัดเคือง และอาการไม่พอใจ (๓) นิ่งเงียบ เก้อเขิน นั่งคอตก
ก้มหน้า ซบเซา ไม่สามารถจะโต้ตอบได้เหมือนสรภปริพาชก
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงบันลือสีหนาท ๓ ครั้ง ณ อารามปริพาชก
ที่ริมฝั่งแม่น้ำสัปปินิกาแล้วทรงเหาะหลีกไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๒๕๔ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๕. เกสปุตติสูตร

ต่อมา เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จหลีกไปไม่นาน ปริพาชกพากันใช้ปฏักคือ
วาจาทิ่มแทงสรภปริพาชกรอบด้านว่า “ท่านสรภะ สุนัขจิ้งจอกแก่ในป่าใหญ่คิดว่า
จักร้องเหมือนเสียงราชสีห์ แต่ก็ร้องเป็นสุนัขจิ้งจอกอยู่นั่นเอง ร้องไม่ต่างจากสุนัข
จิ้งจอกเลยแม้ฉันใด ท่านสรภะ ตัวท่านเองก็ฉันนั้นเหมือนกัน คิดว่า ‘นอกจากพระ
สมณโคดมแล้ว เราก็บันลือสีหนาทได้’ กลับบันลือได้เหมือนสุนัขจิ้งจอกแก่ บันลือไม่
ต่างจากสุนัขจิ้งจอกเลย ท่านสรภะ ลูกไก่ตัวเมียคิดว่าจักขันให้ได้เหมือนพ่อไก่ กลับ
ขันได้อย่างลูกไก่ตัวเมียเท่านั้น แม้ฉันใด ท่านสรภะ ตัวท่านเองก็ฉันนั้นเหมือนกัน
คิดว่า ‘นอกจากพระสมณโคดมแล้ว เราก็จักขันเหมือนพ่อไก่ได้’ กลับขันได้เหมือน
ลูกไก่ตัวเมีย ท่านสรภะ โคผู้เข้าใจว่าตนร้องได้อย่างลึกซึ้งในโรงโคที่ว่าง แม้ฉันใด ท่าน
สรภะ ตัวท่านเองก็ฉันนั้นเหมือนกัน เข้าใจว่าตนร้องได้อย่างลึกซึ้ง”
ครั้งนั้น ปริพาชกเหล่านั้นพากันใช้ปฏักคือวาจาทิ่มแทงสรภปริพาชกรอบด้าน

สรภสูตรที่ ๔ จบ

๕. เกสปุตติสูตร
ว่าด้วยกาลามะ๑ชาวเกสปุตตนิคม

[๖๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศล พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์
หมู่ใหญ่ เสด็จถึงตำบลของพวกกาลามะชื่อว่าเกสปุตตนิคม
พวกกาลามะชาวเกสปุตตนิคมได้ทราบว่า “ข่าวว่า ท่านพระสมณโคดมศากย
บุตรเสด็จออกผนวชจากศากยตระกูลเสด็จถึงเกสปุตตนิคมโดยลำดับแล้ว ท่านพระ
สมณโคดมนั้นมีกิตติศัพท์อันงามขจรไปอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาค
พระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชา
และจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็น


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๕. เกสปุตติสูตร

ศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค พระ
องค์ทรงรู้แจ้งโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลกและหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณ
พราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ด้วยพระองค์เองแล้ว จึงประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม ทรง
แสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด
ทรงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน’ การ
ได้พบพระอรหันต์ทั้งหลายเช่นนี้เป็นความดีอย่างแท้จริง”
ลำดับนั้น พวกกาลามะชาวเกสปุตตนิคมเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ บางพวกถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวกสนทนาปราศรัยพอ
เป็นที่บันเทิงใจพอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวกประนมมือไหว้ไป
ทางที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่แล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวกประกาศชื่อและ
โคตรแล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวกนั่งนิ่งอยู่ ณ ที่สมควร
พวกกาลามะชาวเกสปุตตนิคมผู้นั่ง ณ ที่สมควรได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมายังเกสปุตตนิคม แสดง
ประกาศวาทะ๑ของตนเท่านั้น แต่กระทบกระเทียบ ดูหมิ่น กล่าวข่มวาทะของผู้อื่น
ทำให้ไม่น่าเชื่อถือ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีสมณพราหมณ์อีกพวกหนึ่งมายังเกสปุตตนิคม แสดง
ประกาศวาทะของตนเท่านั้น แต่กระทบกระเทียบ ดูหมิ่น กล่าวข่มวาทะของผู้อื่น
ทำให้ไม่น่าเชื่อถือ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความสงสัยลังเลใจในสมณ-
พราหมณ์เหล่านั้นว่า “บรรดาท่านสมณพราหมณ์เหล่านี้ ใครพูดจริง ใครพูดเท็จ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า กาลามชนทั้งหลาย ก็สมควรที่ท่านทั้งหลายจะสงสัย
สมควรที่จะลังเลใจ ท่านทั้งหลายเกิดความสงสัยลังเลใจในฐานะที่ควรสงสัยอย่าง
แท้จริง มาเถิด กาลามะทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๕. เกสปุตติสูตร

อย่าปลงใจเชื่อด้วยการฟังตามกันมา
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการถือสืบ ๆ กันมา
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการเล่าลือ
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์
อย่าปลงใจเชื่อเพราะตรรกะ(การคิดเอาเอง)
อย่าปลงใจเชื่อเพราะการอนุมาน๑
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล
อย่าปลงใจเชื่อเพราะเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว
อย่าปลงใจเชื่อเพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้
อย่าปลงใจเชื่อเพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา
กาลามะทั้งหลาย เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองเท่านั้นว่า “ธรรมเหล่านี้
เป็นอกุศล ธรรมเหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้ผู้รู้ติเตียน ธรรมเหล่านี้ที่บุคคลถือปฏิบัติ
บริบูรณ์แล้วย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์” เมื่อนั้น ท่านทั้งหลายควรละ
(ธรรมเหล่านั้น)เสีย
กาลามะทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ โลภะ(ความอยาก
ได้) เมื่อเกิดขึ้นภายในบุคคล ย่อมเกิดขึ้นเพื่อเกื้อกูลหรือไม่เกื้อกูล
“ไม่เกื้อกูล พระพุทธเจ้าข้า”
“กาลามะทั้งหลาย ก็บุรุษบุคคลผู้มีโลภะนี้ ถูกโลภะครอบงำ มีจิตถูกโลภะ
กลุ้มรุม ฆ่าสัตว์บ้าง ลักทรัพย์บ้าง ล่วงเกินภรรยาของผู้อื่นบ้าง พูดเท็จบ้าง ชักชวน
ผู้อื่นเพื่อสิ่งที่ไม่เกื้อกูลเพื่อทุกข์บ้างหรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“กาลามะทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ โทสะ(ความคิด
ประทุษร้าย) เมื่อเกิดขึ้นภายในบุคคล ย่อมเกิดขึ้นเพื่อเกื้อกูลหรือไม่เกื้อกูล”


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๕. เกสปุตติสูตร

“ไม่เกื้อกูล พระพุทธเจ้าข้า”
“กาลามะทั้งหลาย ก็บุรุษบุคคลผู้มีโทสะนี้ ถูกโทสะครอบงำ มีจิตถูกโทสะ
กลุ้มรุม ฆ่าสัตว์บ้าง ลักทรัพย์บ้าง ล่วงเกินภรรยาของผู้อื่นบ้าง พูดเท็จบ้าง ชักชวน
ผู้อื่นเพื่อสิ่งที่ไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์บ้างหรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“กาลามะทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ โมหะ(ความหลง)
เมื่อเกิดขึ้นภายในบุคคล ย่อมเกิดขึ้นเพื่อเกื้อกูลหรือไม่เกื้อกูล”
“ไม่เกื้อกูล พระพุทธเจ้าข้า”
“กาลามะทั้งหลาย ก็บุรุษบุคคลผู้มีโมหะนี้ ถูกโมหะครอบงำ มีจิตถูกโมหะ
กลุ้มรุม ฆ่าสัตว์บ้าง ลักทรัพย์บ้าง ล่วงเกินภรรยาของผู้อื่นบ้าง พูดเท็จบ้าง ชักชวน
ผู้อื่นเพื่อสิ่งที่ไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์บ้างหรือ”
“ อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“กาลามะทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ ธรรมเหล่านี้เป็น
กุศลหรืออกุศล”
“เป็นอกุศล พระพุทธเจ้าข้า”
“เป็นธรรมที่มีโทษหรือไม่มีโทษ”
“เป็นธรรมที่มีโทษ พระพุทธเจ้าข้า”
“เป็นธรรมที่ผู้รู้ติเตียนหรือผู้รู้สรรเสริญ”
“เป็นธรรมที่ผู้รู้ติเตียน พระพุทธเจ้าข้า”
“ธรรมเหล่านี้ที่บุคคลถือปฏิบัติบริบูรณ์แล้วย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อ
ทุกข์หรือไม่ หรือท่านทั้งหลายมีความเข้าใจในเรื่องนี้อย่างไร”
“ธรรมเหล่านี้ที่บุคคลถือปฏิบัติบริบูรณ์แล้วย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์
ข้าพเจ้าทั้งหลายมีความเข้าใจในเรื่องนี้อย่างนี้ พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๒๕๘ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๕. เกสปุตติสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า กาลามะทั้งหลาย เพราะเหตุนี้แล เราจึงได้กล่าวไว้ว่า
มาเถิด กาลามะทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการฟังตามกันมา
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการถือสืบ ๆ กันมา
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการเล่าลือ
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์
อย่าปลงใจเชื่อเพราะตรรกะ
อย่าปลงใจเชื่อเพราะการอนุมาน
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล
อย่าปลงใจเชื่อเพราะเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว
อย่าปลงใจเชื่อเพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้
อย่าปลงใจเชื่อเพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา
กาลามะทั้งหลาย เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองเท่านั้นว่า “ธรรมเหล่านี้
เป็นอกุศล ธรรมเหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้ผู้รู้ติเตียน ธรรมเหล่านี้ที่บุคคลถือปฏิบัติ
บริบูรณ์แล้วย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์” เมื่อนั้น ท่านทั้งหลายควรละ
(ธรรมเหล่านั้น)เสีย เพราะอาศัยคำที่เรากล่าวไว้นั้น เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น มาเถิด
กาลามะทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการฟังตามกันมา
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการถือสืบ ๆ กันมา
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการเล่าลือ
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์
อย่าปลงใจเชื่อเพราะตรรกะ
อย่าปลงใจเชื่อเพราะการอนุมาน
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล
อย่าปลงใจเชื่อเพราะเข้าได้กับทฤษฏีที่พินิจไว้แล้ว
อย่าปลงใจเชื่อเพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้
อย่าปลงใจเชื่อเพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๒๕๙ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๕. เกสปุตติสูตร

กาลามะทั้งหลาย เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองเท่านั้นว่า “ธรรมเหล่านี้
เป็นกุศล ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ ธรรมเหล่านี้ผู้รู้สรรเสริญ ธรรมเหล่านี้ที่บุคคลถือ
ปฏิบัติบริบูรณ์แล้วย่อมเป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุข” เมื่อนั้น ท่านทั้งหลายควรเข้า
ถึง(ธรรมเหล่านั้น)อยู่
กาลามะทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ อโลภะ(ความไม่
อยากได้) เมื่อเกิดขึ้นภายในบุคคล ย่อมเกิดขึ้นเพื่อเกื้อกูลหรือไม่เกื้อกูล”
“เกื้อกูล พระพุทธเจ้าข้า”
“กาลามะทั้งหลาย ก็บุรุษบุคคลผู้ไม่มีโลภะนี้ ไม่ถูกโลภะครอบงำ มีจิตไม่ถูก
โลภะกลุ้มรุม ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ล่วงเกินภรรยาของผู้อื่น ไม่พูดเท็จ ชักชวน
ผู้อื่นเพื่อสิ่งที่เกื้อกูล เพื่อสุขบ้างหรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“กาลามะทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ อโทสะ(ความไม่คิด
ประทุษร้าย) เมื่อเกิดขึ้นภายในบุคคล ย่อมเกิดขึ้นเพื่อเกื้อกูลหรือไม่เกื้อกูล”
“เกื้อกูล พระพุทธเจ้าข้า”
“กาลามะทั้งหลาย ก็บุรุษบุคคลผู้ไม่มีโทสะนี้ ไม่ถูกโทสะครอบงำ มีจิตไม่ถูก
โทสะกลุ้มรุม ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ล่วงเกินภรรยาของผู้อื่น ไม่พูดเท็จ ชักชวน
ผู้อื่นเพื่อสิ่งที่เกื้อกูล เพื่อสุขบ้างหรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“กาลามะทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ อโมหะ(ความไม่
หลง) เมื่อเกิดขึ้นภายในบุคคล ย่อมเกิดขึ้นเพื่อเกื้อกูลหรือไม่เกื้อกูล”
“เกื้อกูล พระพุทธเจ้าข้า”
“กาลามะทั้งหลาย ก็บุรุษบุคคลผู้ไม่มีโมหะนี้ ไม่ถูกโมหะครอบงำ มีจิตไม่ถูก
โมหะกลุ้มรุม ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ล่วงเกินภรรยาของผู้อื่น ไม่พูดเท็จ ชักชวน
ผู้อื่นเพื่อสิ่งที่เกื้อกูล เพื่อสุขบ้างหรือ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๒๖๐ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๕. เกสปุตติสูตร

“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“กาลามะทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือธรรมเหล่านี้เป็น
กุศลหรือเป็นอกุศล”
“เป็นกุศล พระพุทธเจ้าข้า”
“เป็นธรรมที่มีโทษหรือไม่มีโทษ”
“เป็นธรรมที่ไม่มีโทษ พระพุทธเจ้าข้า”
“เป็นธรรมที่ผู้รู้ติเตียนหรือผู้รู้สรรเสริญ”
“เป็นธรรมที่ผู้รู้สรรเสริญ พระพุทธเจ้าข้า”
“ธรรมเหล่านี้ที่บุคคลถือปฏิบัติบริบูรณ์แล้วย่อมเป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุข
หรือไม่ หรือท่านทั้งหลายมีความเข้าใจในเรื่องนี้อย่างไร”
“ธรรมเหล่านี้ที่บุคคลถือปฏิบัติบริบูรณ์แล้วย่อมเป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุข
ข้าพเจ้าทั้งหลายมีความเข้าใจในเรื่องนี้อย่างนี้ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า กาลามะทั้งหลาย เพราะเหตุนี้แล เราจึงได้กล่าวไว้ว่า
มาเถิด กาลามะทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการฟังตามกันมา
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการถือสืบ ๆ กันมา
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการเล่าลือ
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์
อย่าปลงใจเชื่อเพราะตรรกะ
อย่าปลงใจเชื่อเพราะการอนุมาน
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล
อย่าปลงใจเชื่อเพราะเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว
อย่าปลงใจเชื่อเพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้
อย่าปลงใจเชื่อเพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๒๖๑ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๕. เกสปุตติสูตร

กาลามะทั้งหลาย เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองเท่านั้นว่า ธรรมเหล่านี้
เป็นกุศล ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ ธรรมเหล่านี้ผู้รู้สรรเสริญ ธรรมเหล่านี้ที่บุคคลถือ
ปฏิบัติบริบูรณ์แล้วย่อมเป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุข เมื่อนั้น ท่านทั้งหลายควรเข้า
ถึง(ธรรมเหล่านั้น)อยู่ เพราะอาศัยคำที่เรากล่าวไว้นั้น เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
กาลามะทั้งหลาย อริยสาวกนั้นปราศจากอภิชฌา ปราศจากพยาบาท ไม่
ลุ่มหลง มีสัมปชัญญะ มีสติมั่นคง มีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓
ทิศที่ ๔ ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่าในที่
ทุกสถานด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความ
เบียดเบียนอยู่ มีกรุณาจิต ฯลฯ มีมุทิตาจิต ฯลฯ มีอุเบกขาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑
ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่ว
ทุกหมู่เหล่าในที่ทุกสถานด้วยอุเบกขาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต
ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่
กาลามะทั้งหลาย อริยสาวกนั้นมีจิตไม่มีเวรอย่างนี้ มีจิตไม่พยาบาทอย่างนี้
มีจิตไม่เศร้าหมองอย่างนี้ มีจิตบริสุทธิ์อย่างนี้ เธอบรรลุความเบาใจ ๔ ประการใน
ปัจจุบัน คือ
๑. ถ้าโลกหน้ามี ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่วมี เป็นไปได้ที่เรื่อง
นั้นจะเป็นเหตุให้เราหลังจากตายแล้วไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ นี้คือ
ความเบาใจประการที่ ๑ ที่อริยสาวกนั้นบรรลุแล้ว
๒. ถ้าโลกหน้าไม่มี ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่วไม่มี เราก็รักษา
ตนไม่ให้มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน ไม่ให้มีทุกข์ ให้มีสุขในปัจจุบันใน
โลกนี้ได้ นี้คือความเบาใจประการที่ ๒ ที่อริยสาวกนั้นบรรลุแล้ว
๓. ถ้าบุคคลเมื่อทำบาปก็ชื่อว่าทำบาป เราไม่เจาะจงบาปไว้เพื่อใคร ๆ เลย
เมื่อเราไม่ทำบาปเลย ความทุกข์จะถูกต้องเราได้อย่างไร นี้คือความ
เบาใจประการที่ ๓ ที่อริยสาวกนั้นบรรลุแล้ว
๔. ถ้าบุคคลเมื่อทำบาปก็ชื่อว่าไม่ทำบาป เราก็พิจารณาเห็นตนบริสุทธิ์
ทั้ง ๒ ส่วนในโลกนี้ นี้คือความเบาใจประการที่ ๔ ที่อริยสาวกนั้น
บรรลุแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๒๖๒ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๕. เกสปุตติสูตร

กาลามะทั้งหลาย อริยสาวกนั้นมีจิตไม่มีเวรอย่างนี้ มีจิตไม่พยาบาทอย่างนี้
มีจิตไม่เศร้าหมองอย่างนี้ มีจิตบริสุทธิ์อย่างนี้ อริยสาวกนั้นชื่อว่าบรรลุความเบาใจ
๔ ประการนี้ในปัจจุบัน
พวกกาลามะกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เรื่องนั้นเป็นอย่างนี้ ข้าแต่
พระสุคต เรื่องนั้นเป็นอย่างนี้ พระอริยสาวกนั้นมีจิตไม่มีเวรอย่างนี้ มีจิตไม่พยาบาท
อย่างนี้ มีจิตไม่เศร้าหมองอย่างนี้ มีจิตบริสุทธิ์อย่างนี้ พระอริยสาวกนั้นบรรลุ
ความเบาใจ ๔ ประการในปัจจุบัน คือ
๑. ถ้าโลกหน้ามี ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่วมี เป็นไปได้ที่เรื่อง
นั้นจะเป็นเหตุให้เราหลังจากตายแล้วไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ นี้คือ
ความเบาใจประการที่ ๑ ที่พระอริยสาวกนั้นบรรลุแล้ว
๒. ถ้าโลกหน้าไม่มี ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่วไม่มี เราก็รักษาตน
ไม่ให้มีเวร ไม่ให้มีความเบียดเบียน ไม่ให้มีทุกข์ ให้มีสุขในปัจจุบันใน
โลกนี้ได้ นี้คือความเบาใจประการที่ ๒ ที่พระอริยสาวกนั้นบรรลุแล้ว
๓. ถ้าบุคคลเมื่อทำบาปก็ชื่อว่าทำบาป เราไม่เจาะจงบาปไว้เพื่อใคร ๆ
เลย เมื่อเราไม่ทำบาปเลย ความทุกข์จะถูกต้องเราได้อย่างไร นี้คือ
ความเบาใจประการที่ ๓ ที่พระอริยสาวกนั้นบรรลุแล้ว
๔. ถ้าบุคคลเมื่อทำบาปก็ชื่อว่าไม่ทำบาป เราก็พิจารณาเห็นตนบริสุทธิ์
ทั้ง ๒ ส่วนในโลกนี้ นี้คือความเบาใจประการที่ ๔ ที่พระอริยสาวก
นั้นบรรลุแล้ว
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระอริยสาวกนั้นมีจิตไม่มีเวรอย่างนี้ มีจิตไม่พยาบาท
อย่างนี้ มีจิตไม่เศร้าหมองอย่างนี้ มีจิตบริสุทธิ์อย่างนี้ พระอริยสาวกนั้นชื่อว่าบรรลุ
ความเบาใจ ๔ ประการนี้ในปัจจุบัน
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ
ข้าพระองค์ทั้งหลายนี้ขอถึงพระผู้มีพระภาค พร้อมทั้งพระธรรม และพระสงฆ์เป็น
สรณะ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงจำข้าพระองค์ทั้งหลายว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ
ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๖. สาฬหสูตร

๖. สาฬหสูตร
ว่าด้วยนายสาฬหะถามถึงหลักความเชื่อ

[๖๗] สมัยหนึ่ง ท่านพระนันทกะอยู่ที่ปราสาทของวิสาขามิคารมาตา ใน
บุพพาราม เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น นายสาฬหะผู้เป็นหลานชายของมิคารเศรษฐี
และนายโรหนะผู้เป็นหลานชายของเปขุณิยเศรษฐี เข้าไปหาท่านพระนันทกะถึง
ที่อยู่ ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ท่านพระนันทกะได้กล่าวกับสาฬหมิคารนัดดาดังนี้ว่า
มาเถิด สาฬหะและโรหนะ ท่านทั้งหลาย
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการฟังตามกันมา
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการถือสืบ ๆ กันมา
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการเล่าลือ
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์
อย่าปลงใจเชื่อเพราะตรรกะ
อย่าปลงใจเชื่อเพราะการอนุมาน
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล
อย่าปลงใจเชื่อเพราะเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว
อย่าปลงใจเชื่อเพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้
อย่าปลงใจเชื่อเพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา
สาฬหะและโรหนะ เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองเท่านั้นว่า “ธรรม
เหล่านี้เป็นอกุศล ธรรมเหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้ติเตียน ธรรมเหล่านี้ที่
บุคคลถือปฏิบัติบริบูรณ์แล้วย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์” เมื่อนั้น ท่าน
ทั้งหลายควรละ(ธรรมเหล่านั้น)เสีย
สาฬหะและโรหนะ ท่านทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ โลภะมีอยู่หรือ
“มี ท่านผู้เจริญ”
“สาฬหะและโรหนะ เราจะอธิบายคำว่า “อภิชฌา” บุคคลผู้เพ่งเล็งอยากได้
ของเขานี้ เป็นผู้โลภ ฆ่าสัตว์บ้าง ลักทรัพย์บ้าง ล่วงเกินภรรยาของผู้อื่นบ้าง พูด
เท็จบ้าง ชักชวนผู้อื่นเพื่อสิ่งที่ไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์บ้างหรือ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๒๖๔ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๖. สาฬหสูตร

“อย่างนั้น ท่านผู้เจริญ”
“สาฬหะและโรหนะ ท่านทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ โทสะมีอยู่หรือ”
“มี ท่านผู้เจริญ”
“สาฬหะและโรหนะ เราจะอธิบายคำว่า “พยาบาท” บุคคลผู้มีจิตพยาบาท
(ความคิดร้าย)นี้เป็นผู้คิดร้าย ฆ่าสัตว์บ้าง ลักทรัพย์บ้าง ล่วงเกินภรรยาของผู้อื่น
บ้าง พูดเท็จบ้าง ชักชวนผู้อื่นเพื่อสิ่งที่ไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์บ้างหรือ”
“อย่างนั้น ท่านผู้เจริญ”
“สาฬหะและโรหนะ ท่านทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ โมหะมีอยู่หรือ”
“มี ท่านผู้เจริญ”
“สาฬหะและโรหนะ เราจะอธิบายคำว่า “อวิชชา” บุคคลผู้ตกอยู่ในอวิชชา
(ความไม่รู้แจ้ง)นี้เป็นผู้หลง ฆ่าสัตว์บ้าง ลักทรัพย์บ้าง ล่วงเกินภรรยาของผู้อื่น
บ้าง พูดเท็จบ้าง ชักชวนผู้อื่นเพื่อสิ่งที่ไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์บ้างหรือ”
“อย่างนั้น ท่านผู้เจริญ”
“สาฬหะและโรหนะ ท่านทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ ธรรมเหล่านี้เป็น
กุศลหรืออกุศล”
“เป็นอกุศล ท่านผู้เจริญ”
“เป็นธรรมที่มีโทษหรือไม่มีโทษ”
“เป็นธรรมที่มีโทษ ท่านผู้เจริญ”
“เป็นธรรมที่ผู้รู้ติเตียนหรือผู้รู้สรรเสริญ”
“เป็นธรรมที่ผู้รู้ติเตียน ท่านผู้เจริญ”
“ธรรมเหล่านี้ที่บุคคลถือปฏิบัติบริบูรณ์แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อ
ทุกข์หรือไม่ หรือท่านทั้งหลาย มีความเข้าใจในเรื่องนี้อย่างไร”
“ธรรมเหล่านี้ที่บุคคลถือปฏิบัติบริบูรณ์แล้วย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์
พวกกระผมมีความเข้าใจในเรื่องนี้อย่างนี้ ท่านผู้เจริญ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๒๖๕ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๖. สาฬหสูตร

ท่านพระนันทกะกล่าวว่า สาฬหะและโรหนะ เพราะเหตุนี้แล เราจึงได้กล่าวไว้ว่า
มาเถิด สาฬหะและโรหนะ ท่านทั้งหลาย
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการฟังตามกันมา
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการถือสืบ ๆ กันมา
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการเล่าลือ
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์
อย่าปลงใจเชื่อเพราะตรรกะ
อย่าปลงใจเชื่อเพราะการอนุมาน
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล
อย่าปลงใจเชื่อเพราะเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว
อย่าปลงใจเชื่อเพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้
อย่าปลงใจเชื่อเพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา
สาฬหะและโรหนะ เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองเท่านั้นว่า “ธรรม
เหล่านี้เป็นอกุศล ธรรมเหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้ผู้รู้ติเตียน ธรรมเหล่านี้ที่บุคคล
ถือปฏิบัติบริบูรณ์แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์” เมื่อนั้น ท่านทั้งหลาย
ควรละ(ธรรมเหล่านั้น)เสีย เพราะอาศัยคำที่เรากล่าวไว้นั้น เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
มาเถิด สาฬหะและโรหนะ ท่านทั้งหลาย
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการฟังตามกันมา
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการถือสืบ ๆ กันมา
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการเล่าลือ
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์
อย่าปลงใจเชื่อเพราะตรรกะ
อย่าปลงใจเชื่อเพราะการอนุมาน
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล
อย่าปลงใจเชื่อเพราะเข้าได้กับทฤษฏีที่พินิจไว้แล้ว
อย่าปลงใจเชื่อเพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้
อย่าปลงใจเชื่อเพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๒๖๖ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๖. สาฬหสูตร

สาฬหะและโรหนะ เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองเท่านั้นว่า “ธรรม
เหล่านี้เป็นกุศล ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ ธรรมเหล่านี้ผู้รู้สรรเสริญ ธรรมเหล่านี้ที่
บุคคลถือปฏิบัติบริบูรณ์แล้วย่อมเป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุข” เมื่อนั้น ท่านทั้งหลาย
ควรเข้าถึง(ธรรมเหล่านั้น)อยู่เถิด
สาฬหะและโรหนะ ท่านทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ อโลภะมีอยู่หรือ
“มี ท่านผู้เจริญ”
สาฬหะและโรหนะ เราจะอธิบายคำนี้ว่า “อนภิชฌา” บุคคลผู้ไม่เพ่งเล็งอยาก
ได้ของเขานี้ เป็นผู้ไม่โลภ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ล่วงเกินภรรยาของผู้อื่น ไม่
พูดเท็จ ชักชวนผู้อื่นเพื่อสิ่งที่เกื้อกูล เพื่อสุขบ้างหรือ”
“อย่างนั้น ท่านผู้เจริญ”
“สาฬหะและโรหนะ ท่านทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ อโทสะมีอยู่หรือ”
“มี ท่านผู้เจริญ”
“สาฬหะและโรหนะ เราจะอธิบายคำนี้ว่า “อพยาบาท” บุคคลผู้มีจิตไม่
พยาบาทนี้เป็นผู้ไม่คิดร้าย ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ล่วงเกินภรรยาของผู้อื่น ไม
พูดเท็จ ชักชวนผู้อื่นเพื่อสิ่งที่เกื้อกูล เพื่อสุขบ้างหรือ”
“อย่างนั้น ท่านผู้เจริญ”
“สาฬหะและโรหนะ ท่านทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ อโมหะมีอยู่หรือ”
“มี ท่านผู้เจริญ”
“สาฬหะและโรหนะ เราจะอธิบายคำนี้ว่า “วิชชา” บุคคลผู้มีวิชชานี้เป็นผู้
ไม่หลงอยู่ในความรู้นี้ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ล่วงเกินภรรยาของผู้อื่น ไม่พูดเท็จ
ชักชวนผู้อื่นเพื่อสิ่งที่เกื้อกูล เพื่อสุขบ้างหรือ”
“อย่างนั้น ท่านผู้เจริญ”
“สาฬหะและโรหนะ ท่านทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล
หรือเป็นอกุศล”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๒๖๗ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๖. สาฬหสูตร

“เป็นกุศล ท่านผู้เจริญ”
“เป็นธรรมที่มีโทษหรือไม่มีโทษ”
“เป็นธรรมที่ไม่มีโทษ ท่านผู้เจริญ”
“เป็นธรรมที่ผู้รู้ติเตียนหรือผู้รู้สรรเสริญ”
“เป็นธรรมที่ผู้รู้สรรเสริญ ท่านผู้เจริญ”
“ธรรมเหล่านี้ที่บุคคลถือปฏิบัติบริบูรณ์แล้วย่อมเป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุข
หรือไม่ หรือท่านทั้งหลายมีความเข้าใจในเรื่องนี้อย่างไร”
“ธรรมเหล่านี้ที่บุคคลถือปฏิบัติบริบูรณ์แล้วย่อมเป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุข
พวกกระผมมีความเข้าใจในเรื่องนี้อย่างนี้ ท่านผู้เจริญ”
ท่านพระนันทกะกล่าวว่า สาฬหะและโรหนะ เพราะเหตุนี้แล เราจึงได้กล่าว
ไว้ว่า มาเถิด ท่านสาฬหะและโรหนะ ท่านทั้งหลาย
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการฟังตามกันมา
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการถือสืบ ๆ กันมา
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการเล่าลือ
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์
อย่าปลงใจเชื่อเพราะตรรกะ
อย่าปลงใจเชื่อเพราะการอนุมาน
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล
อย่าปลงใจเชื่อเพราะเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว
อย่าปลงใจเชื่อเพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้
อย่าปลงใจเชื่อเพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา
สาฬหะและโรหนะ เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองเท่านั้นว่า “ธรรม
เหล่านี้เป็นกุศล ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ ธรรมเหล่านี้ผู้รู้สรรเสริญ ธรรมเหล่านี้ที่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๒๖๘ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๖. สาฬหสูตร

บุคคลถือปฏิบัติบริบูรณ์แล้วย่อมเป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุข” เมื่อนั้น ท่านทั้งหลาย
ควรเข้าถึง(ธรรมเหล่านั้น)อยู่เถิด เพราะอาศัยคำที่เรากล่าวไว้นั้น เราจึงกล่าวไว้
เช่นนั้น
สาฬหะและโรหนะ พระอริยสาวกนั้นปราศจากอภิชฌา ปราศจากพยาบาท
ไม่ลุ่มหลง มีสัมปชัญญะ มีสติมั่นคง มีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ทิศที่ ๒ ... ทิศ
ที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่
เหล่าในที่ทุกสถานด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่
มีความเบียดเบียนอยู่ มีกรุณาจิต ฯลฯ มีมุทิตาจิต ฯลฯ มีอุเบกขาจิตแผ่ไปตลอด
ทิศที่ ๑ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลก
ทั่วทุกหมู่เหล่าในที่ทุกสถานด้วยอุเบกขาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต
ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ พระอริยสาวกนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า “ธรรมชาตินี้๑
มีอยู่ ธรรมอันทราม๒มีอยู่ ธรรมอันประณีต๓มีอยู่ การที่สัญญานี้สลัดออกอย่าง
ยอดเยี่ยม๔มีอยู่” เมื่อเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ
และอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป
พระอริยสาวกนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า “เมื่อก่อนเรามีโลภะ เรื่องนั้นเป็นสิ่งไม่ดี
บัดนี้โลภะนั้นไม่มี เรื่องนั้นเป็นสิ่งที่ดี เมื่อก่อนเรามีโทสะ ฯลฯ เมื่อก่อนเรามีโมหะ
เรื่องนั้นเป็นสิ่งไม่ดี บัดนี้โมหะนั้นไม่มี เรื่องนั้นเป็นสิ่งที่ดี” เธอไม่มีความทะยาน
อยาก ดับสนิทเยือกเย็น เสวยสุข มีตนเป็นประหนึ่งพรหมอยู่ในปัจจุบัน

สาฬหสูตรที่ ๖ จบ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๗. กถาวัตถุสูตร

๗. กถาวัตถุสูตร
ว่าด้วยเรื่องที่ควรกล่าว

[๖๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย กถาวัตถุ๑ ๓ ประการนี้
กถาวัตถุ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ควรกล่าวถ้อยคำย้อนอดีตกาลว่า “อดีตกาลได้มีอย่างนี้”
๒. ควรกล่าวถ้อยคำมุ่งถึงอนาคตกาลว่า “อนาคตกาลจักมีอย่างนี้”
๓. ควรกล่าวถ้อยคำสืบเนื่องกับปัจจุบันกาลว่า “ปัจจุบันกาลมีอยู่อย่างนี้”
ชาวโลกพึงรู้จักบุคคลได้ด้วยการมาร่วมประชุมสนทนากันว่า “ผู้นี้ควรพูดด้วย
หรือไม่ควรพูดด้วย” ถ้าบุคคลนี้ถูกถามปัญหา ไม่ตอบโดยนัยเดียวซึ่งปัญหาที่ควร
ตอบนัยเดียว ไม่จำแนกตอบซึ่งปัญหาที่ควรจำแนกตอบ ไม่ย้อนถามแล้วจึงตอบ
ปัญหาที่ควรย้อนถามแล้วจึงตอบ ไม่พักปัญหาที่ควรพักไว้ เมื่อเป็นอย่างนี้ บุคคลนี้
ชื่อว่า “ผู้ไม่ควรพูดด้วย” แต่ถ้าบุคคลนี้ถูกถามปัญหา ตอบโดยนัยเดียวซึ่งปัญหาที่
ควรตอบโดยนัยเดียว จำแนกตอบปัญหาที่ควรจำแนกตอบ ย้อนถามแล้วจึงตอบ
ปัญหาที่ควรย้อนถามแล้วจึงตอบ พักปัญหาที่ควรพักไว้ เมื่อเป็นอย่างนี้ บุคคลนี้ชื่อ
ว่า “ผู้ควรพูดด้วย”
ชาวโลกพึงรู้จักบุคคลได้ด้วยการมาร่วมประชุมสนทนากันว่า “ผู้นี้ควรพูดด้วย
หรือไม่ควรพูดด้วย” ถ้าบุคคลนี้ถูกถามปัญหา ไม่ตั้งมั่นอยู่ในฐานะและอฐานะ๒
ไม่ตั้งมั่นอยู่ในปริกัป๓ ไม่ตั้งมั่นอยู่ในเรื่องที่ควรรู้ ไม่ตั้งมั่นอยู่ในเรื่องปฏิบัติ เมื่อ
เป็นอย่างนี้ บุคคลนี้ชื่อว่า “ผู้ไม่ควรพูดด้วย” แต่ถ้าบุคคลนี้ถูกถามปัญหา ตั้งมั่น
อยู่ในฐานะและอฐานะ ตั้งมั่นอยู่ในปริกัป ตั้งมั่นอยู่ในเรื่องที่ควรรู้ ตั้งมั่นอยู่ใน
เรื่องปฏิบัติ เมื่อเป็นอย่างนี้ บุคคลนี้ชื่อว่า “ผู้ควรพูดด้วย”


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๗. กถาวัตถุสูตร

ชาวโลกพึงรู้จักบุคคลได้ด้วยการมาร่วมประชุมสนทนากันว่า “ผู้นี้ควรพูดด้วย
หรือไม่ควรพูดด้วย” ถ้าบุคคลนี้ถูกถามปัญหา พูดกลบเกลื่อน พูดนอกเรื่อง แสดง
อาการโกรธ ขัดเคือง และไม่พอใจ เมื่อเป็นอย่างนี้ บุคคลนี้ชื่อว่า “ผู้ไม่ควรพูด
ด้วย” แต่ถ้าบุคคลนี้ถูกถามปัญหา ไม่พูดกลบเกลื่อน ไม่พูดนอกเรื่อง ไม่แสดง
อาการโกรธ ขัดเคือง และไม่พอใจ เมื่อเป็นอย่างนี้ บุคคลนี้ชื่อว่า “ผู้ควรพูดด้วย”
ชาวโลกพึงรู้จักบุคคลได้ด้วยการมาร่วมประชุมสนทนากันว่า “ผู้นี้ควรพูดด้วย
หรือไม่ควรพูดด้วย” ถ้าบุคคลนี้ถูกถามปัญหา พูดฟุ้งเฟ้อ พูดย่ำยี พูดหัวเราะเยาะ
คอยจับผิด เมื่อเป็นอย่างนี้ บุคคลนี้ชื่อว่า “ผู้ไม่ควรพูดด้วย” แต่ถ้าบุคคลนี้ถูกถาม
ปัญหา ไม่พูดฟุ้งเฟ้อ ไม่พูดย่ำยี ไม่พูดหัวเราะเยาะ ไม่คอยจับผิด เมื่อเป็นอย่างนี้
บุคคลนี้ชื่อว่า “ผู้ควรพูดด้วย”
ชาวโลกพึงรู้จักบุคคลได้ด้วยการมาร่วมประชุมสนทนากันว่า “ผู้นี้มีอุปนิสัย๑
หรือไม่มีอุปนิสัย” บุคคลผู้ไม่เงี่ยหูฟัง ชื่อว่า “ไม่มีอุปนิสัย” บุคคลผู้เงี่ยหูฟังชื่อว่า
“มีอุปนิสัย” บุคคลนั้นผู้มีอุปนิสัยย่อมรู้ธรรมอย่างหนึ่ง กำหนดรู้ธรรมอย่างหนึ่ง ละ
ธรรมอย่างหนึ่ง ทำให้แจ้งธรรมอย่างหนึ่ง เขาเมื่อรู้ยิ่งธรรมอย่างหนึ่ง กำหนดรู้
ธรรมอย่างหนึ่ง ละธรรมอย่างหนึ่ง ทำให้แจ้งธรรมอย่างหนึ่ง ย่อมสัมผัสความ
หลุดพ้นโดยชอบ การสนทนากันมีประโยชน์อย่างนี้ การปรึกษากันมีประโยชน์
อย่างนี้ อุปนิสัยมีประโยชน์อย่างนี้ การเงี่ยหูฟังมีประโยชน์อย่างนี้ คือ ความหลุด
พ้นแห่งจิตเพราะความไม่ถือมั่น
ชนเหล่าใดเป็นคนมักโกรธ
ฟุ้งซ่าน โอ้อวด พูดเพ้อเจ้อ
ชนเหล่านั้นชื่อว่ายึดถือถ้อยคำที่ไม่ประเสริฐ
มองดูเรื่องผิดพลาดของกันและกัน
ชนเหล่าใดชื่นชมทุพภาษิต ความพลั้งพลาด
ความหลงลืม ความพ่ายแพ้ของกันและกัน
พระอริยะไม่พูดถึงเรื่องนั้นของชนเหล่านั้น


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๘. อัญญติตถิยสูตร

แต่ถ้าบัณฑิตรู้จักกาลอันเหมาะสมแล้ว
ประสงค์จะพูด ควรมีความรู้ ไม่โกรธ ไม่ฟุ้งซ่าน
ไม่โอ้อวด ไม่ใจเบาหุนหันพลันแล่น ไม่คอยจับผิด
พูดแต่เรื่องที่เกี่ยวกับบุคคลผู้ดำรงอยู่ในธรรม
เป็นเรื่องที่พระอริยะประพฤติกันมา
เพราะรู้ทั่วถึงโดยชอบ เขาไม่พูดริษยา
บุคคลควรชื่นชมถ้อยคำที่เป็นสุภาษิต
ไม่ควรเลื่อมใสถ้อยคำที่เป็นทุพภาษิต
ไม่ควรใส่ใจถึงความแข่งดี
และไม่ควรคอยจับผิด ไม่ควรพูดทับถม
ไม่ควรพูดย่ำยี ไม่ควรพูดเหลาะแหละ
เพื่อความรู้ เพื่อความเลื่อมใส
สัตบุรุษทั้งหลายจึงมีการปรึกษากัน
พระอริยะทั้งหลายย่อมปรึกษากันเช่นนั้นแล
นี้เป็นการปรึกษากันของพระอริยะทั้งหลาย
บุคคลผู้มีปัญญารู้เรื่องนี้แล้ว
ไม่ควรถือตัว ควรปรึกษากัน

กถาวัตถุสูตรที่ ๗ จบ

๘. อัญญติตถิยสูตร
ว่าด้วยพวกอัญเดียรถีย์

[๖๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก
พึงถามอย่างนี้ว่า
ท่านทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้ คือ (๑) ราคะ(ความกำหนัด) (๒) โทสะ
(ความคิดประทุษร้าย) (๓) โมหะ(ความหลง) ท่านทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้
แล ธรรม ๓ ประการนี้มีความแปลกกันอย่างไร มีคำอธิบายอย่างไร มีความต่างกัน
อย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๒๗๒ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๘. อัญญติตถิยสูตร

เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้ พึงตอบพวกเขาอย่างไร
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลาย
มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พึ่ง
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส เฉพาะพระผู้มีพระภาคเท่านั้นที่จะทรง
อธิบายเนื้อความแห่งภาษิตนั้นให้แจ่มแจ้งได้ ภิกษุทั้งหลายฟังต่อจากพระผู้มีพระ
ภาคแล้วจักทรงจำไว้
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจ
ให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้
ตรัสเรื่องนี้ว่า
ถ้าพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกพึงถามอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการ
นี้ คือ (๑) ราคะ (๒) โทสะ (๓) โมหะ ท่านทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้แล ธรรม
๓ ประการนี้มีความแปลกกันอย่างไร มีคำอธิบายอย่างไร มีความต่างกันอย่างไร
เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้พึงตอบพวกเขาอย่างนี้ว่า ราคะมีโทษน้อยแต่
คลายช้า โทสะมีโทษมากแต่คลายเร็ว โมหะมีโทษมากและคลายช้า
ถ้าพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกพึงถามอย่างนี้ว่า อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ราคะ
ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
เธอทั้งหลายพึงตอบว่า “สุภนิมิต” เมื่อมนสิการสุภนิมิตโดยไม่แยบคาย
ราคะที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ราคะที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่อ
ความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
ถ้าพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกพึงถามอย่างนี้ว่า อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้โทสะ
ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
เธอทั้งหลายพึงตอบว่า “ปฏิฆนิมิต” เมื่อมนสิการปฏิฆนิมิตโดยไม่แยบคาย
โทสะที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้โทสะที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่อ
ความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๒๗๓ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๘. อัญญติตถิยสูตร

ถ้าพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกพึงถามอย่างนี้ว่า อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้โมหะ
ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
เธอทั้งหลายพึงตอบว่า “อโยนิโสมนสิการ” เมื่อมนสิการโดยไม่แยบคาย
โมหะที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้โมหะที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่อ
ความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
ถ้าพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกพึงถามอย่างนี้ว่า อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ราคะ
ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็ละได้
เธอทั้งหลายพึงตอบว่า “อสุภนิมิต” เมื่อมนสิการอสุภนิมิตโดยแยบคาย ราคะ
ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็ละได้ นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ราคะที่
ยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็ละได้
ถ้าพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกพึงถามอย่างนี้ว่า อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้โทสะ
ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็ละได้
เธอทั้งหลายพึงตอบว่า “เมตตาเจโตวิมุตติ๑” เมื่อมนสิการเมตตาเจโตวิมุตติ
โดยแยบคาย โทสะที่ยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็ละได้ นี้แลเป็นเหตุ
เป็นปัจจัยให้โทสะที่ยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็ละได้
ถ้าพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกพึงถามอย่างนี้ว่า อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้โมหะ
ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็ละได้
เธอทั้งหลายพึงตอบว่า “โยนิโสมนสิการ” เมื่อมนสิการโดยแยบคาย โมหะ
ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็ละได้ นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้โมหะที่
ยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็ละได้

อัญญติตถิยสูตรที่ ๘ จบ


>>>>> หน้าต่อไป >>>>>





eXTReMe Tracker