ค้นว่าอยู่เล่มใด แล้วกด [ctrl]+f หรือใช้คำสั่งของเครื่องหาตำแหน่งในเล่มอีกทีนะครับ



จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อความสะดวก และสวยงาม
(เฉพาะหน้าจอใหญ่ เช่น คอมพิวเตอร์)
กรุณาคลิก จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อให้กรอบ
ค้นข้อความ ปรากฎที่ด้านซ้ายของหน้า

พระไตรปิฎกภาษาไทย
ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม (ปกสีฟ้า)
ทั้งออนไลน์และออฟไลน์
ที่มาของข้อมูล : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มจร.
MCUTRAI Version 1.0

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐-๓ สุตตันตปิฎกที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอกก ทุก ติกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก
อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๙. อกุสลมูลสูตร

๙. อกุสลมูลสูตร
ว่าด้วยรากเหง้าของอกุศล

[๗๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย อกุศลมูล(รากเหง้าของอกุศล)
๓ ประการนี้
อกุศลมูล ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อกุศลมูล คือ โลภะ(ความอยากได้)
๒. อกุศลมูล คือ โทสะ(ความคิดประทุษร้าย)
๓. อกุศลมูล คือ โมหะ(ความหลง)
โลภะจัดเป็นอกุศลมูล กรรมที่บุคคลผู้มีโลภะทำทางกาย วาจา และใจจัดเป็น
อกุศลกรรม แม้กรรมของบุคคลผู้มีโลภะ ถูกโลภะครอบงำ มีจิตถูกโลภะกลุ้มรุม
ก่อทุกข์ให้เกิดขึ้นแก่ผู้อื่นด้วยเรื่องที่ไม่จริง ด้วยการเบียดเบียน จองจำ ให้เสีย
ทรัพย์ ติเตียน หรือขับไล่ โดยอวดอ้างว่า “เรามีกำลัง ทรงพลัง” ก็จัดเป็น
อกุศลกรรม บาปอกุศลธรรมจำนวนมากเหล่านี้ที่เกิดจากโลภะ มีโลภะเป็นเหตุ มี
โลภะเป็นแดนเกิด มีโลภะเป็นปัจจัยย่อมเกิดมีแก่บุคคลผู้มีโลภะนั้นด้วยประการฉะนี้
โทสะจัดเป็นอกุศลมูล กรรมที่บุคคลผู้มีโทสะทำทางกาย วาจา และใจจัดเป็น
อกุศลกรรม แม้กรรมของบุคคลผู้มีโทสะ ถูกโทสะครอบงำ มีจิตถูกโทสะกลุ้มรุม
ก่อทุกข์ให้เกิดขึ้นแก่ผู้อื่นด้วยเรื่องที่ไม่จริง ด้วยการเบียดเบียน จองจำ ให้เสีย
ทรัพย์ ติเตียน หรือขับไล่ โดยอวดอ้างว่า “เรามีกำลัง ทรงพลัง” ก็จัดเป็นอกุศลกรรม
บาปอกุศลธรรมจำนวนมากเหล่านี้เกิดจากโทสะ มีโทสะเป็นเหตุ มีโทสะเป็นแดนเกิด
มีโทสะเป็นปัจจัยย่อมเกิดมีแก่บุคคลผู้มีโทสะนั้นด้วยประการฉะนี้
โมหะจัดเป็นอกุศลมูล กรรมที่บุคคลผู้มีโมหะทำทางกาย วาจา และใจจัดเป็น
อกุศลกรรม แม้กรรมของบุคคลผู้มีโมหะ ถูกโมหะครอบงำ มีจิตถูกโมหะกลุ้มรุม
ก่อทุกข์ให้เกิดขึ้นแก่ผู้อื่นด้วยเรื่องที่ไม่จริง ด้วยการเบียดเบียน จองจำ ให้เสียทรัพย์
ติเตียน หรือขับไล่ โดยอวดอ้างว่า “เรามีกำลัง ทรงพลัง” ก็จัดเป็นอกุศลกรรม
บาปอกุศลธรรมจำนวนมากเหล่านี้เกิดจากโมหะ มีโมหะเป็นเหตุ มีโมหะเป็นแดนเกิด
มีโมหะเป็นปัจจัยย่อมเกิดมีแก่ผู้บุคคลผู้มีโมหะนั้นด้วยประการฉะนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๒๗๕ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๙. อกุสลมูลสูตร

บุคคลเช่นนี้เรียกว่า อกาลวาที(กล่าวไม่ถูกเวลา)บ้าง อภูตวาที(กล่าวเรื่องไม่
จริง)บ้าง อนัตถวาที(กล่าวไม่อิงอรรถ)บ้าง อธัมมวาที(กล่าวไม่อิงธรรม)บ้าง
อวินยวาที(กล่าวไม่อิงวินัย)บ้าง
เพราะเหตุไร บุคคลเช่นนี้จึงเรียกว่า อกาลวาทีบ้าง อภูตวาทีบ้าง อนัตถวาที
บ้าง อธัมมวาทีบ้าง อวินยวาทีบ้าง
เพราะบุคคลนี้ก่อทุกข์ให้เกิดขึ้นแก่ผู้อื่นด้วยเรื่องที่ไม่เป็นจริง ด้วยการเบียด
เบียน จองจำ ให้เสียทรัพย์ ติเตียน หรือขับไล่ โดยอวดอ้างว่า “เรามีกำลัง ทรง
พลัง”บ้าง เขาเมื่อถูกว่ากล่าวด้วยเรื่องที่เป็นจริงก็ปฏิเสธ ไม่ยอมรับ เมื่อถูกว่า
กล่าวด้วยเรื่องที่ไม่เป็นจริง กลับไม่พยายามที่จะปฏิเสธเรื่องนั้นว่า “แม้เพราะเหตุนี้
เรื่องนี้จึงไม่จริง ไม่แท้” ฉะนั้นบุคคลเช่นนี้จึงเรียกว่า อกาลวาทีบ้าง อภูตวาทีบ้าง
อนัตถวาทีบ้าง อธัมมวาทีบ้าง อวินยวาทีบ้าง
บุคคลเช่นนี้ถูกบาปอกุศลธรรมที่เกิดเพราะโลภะครอบงำ มีจิตถูกบาปอกุศล-
ธรรมที่เกิดเพราะโลภะกลุ้มรุม ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ลำบาก คับแค้น เดือดร้อนใน
ปัจจุบัน หลังจากตายแล้วย่อมหวังได้ทุคติ๑
บุคคลเช่นนี้ถูกบาปอกุศลธรรมที่เกิดเพราะโทสะ ฯลฯ ที่เกิดเพราะโมหะ
ครอบงำ มีจิตถูกบาปอกุศลธรรมที่เกิดเพราะโมหะกลุ้มรุม ย่อมอยู่เป็นทุกข์
ลำบาก คับแค้น เดือดร้อนในปัจจุบัน หลังจากตายแล้วพึงหวังได้ทุคติ
เปรียบเหมือนต้นสาละ ต้นตะแบก หรือต้นสะคร้อที่ถูกเถาย่านทราย ๓ ชนิด๒
คลุมยอด พันรอบต้น ย่อมถึงความเสื่อม ถึงความพินาศ ถึงความฉิบหายฉันใด
บุคคลเช่นนี้ถูกบาปอกุศลธรรมที่เกิดเพราะโลภะครอบงำ มีจิตถูกบาปอกุศล
ธรรมที่เกิดเพราะโลภะกลุ้มรุม ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ลำบาก คับแค้น เดือดร้อนใน
ปัจจุบัน หลังจากตายแล้วพึงหวังได้ทุคติ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๙. อกุสลมูลสูตร

บุคคลเช่นนี้ถูกบาปอกุศลธรรมที่เกิดเพราะโทสะ ฯลฯ ที่เกิดเพราะโมหะ
ครอบงำ มีจิตถูกบาปอกุศลธรรมที่เกิดเพราะโมหะกลุ้มรุม ย่อมอยู่เป็นทุกข์
ลำบาก คับแค้น เดือดร้อนในปัจจุบัน หลังจากตายแล้วพึงหวังได้ทุคติ ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน
ภิกษุทั้งหลาย อกุศลมูล ๓ ประการนี้แล
กุศลมูล(รากเหง้าแห่งกุศล) ๓ ประการนี้
กุศลมูล ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กุศลมูล คือ อโลภะ(ความไม่อยากได้)
๒. กุศลมูล คือ อโทสะ(ความไม่คิดประทุษร้าย)
๓. กุศลมูล คือ อโมหะ(ความไม่หลง)
อโลภะจัดเป็นกุศลมูล กรรมที่บุคคลผู้ไม่มีโลภะทำทางกาย วาจา และใจจัด
เป็นกุศลกรรม แม้กรรมของบุคคลผู้ไม่มีโลภะ ไม่ถูกโลภะครอบงำ มีจิตไม่ถูกโลภะ
กลุ้มรุม ไม่ก่อทุกข์ให้เกิดแก่ผู้อื่นด้วยเรื่องที่ไม่เป็นจริง ด้วยการเบียดเบียน จองจำ
ให้เสียทรัพย์ ติเตียน หรือขับไล่ โดยอวดอ้างว่า “เรามีกำลัง ทรงพลัง” ก็จัดเป็น
กุศลกรรม กุศลธรรมจำนวนมากเหล่านี้ที่เกิดจากอโลภะ มีอโลภะเป็นเหตุ มี
อโลภะเป็นแดนเกิด มีอโลภะเป็นปัจจัยย่อมเกิดมีแก่บุคคลผู้ไม่มีโลภะนั้นด้วย
ประการฉะนี้
อโทสะจัดเป็นกุศลมูล กรรมที่บุคคลผู้ไม่มีโทสะทำทางกาย วาจา และใจจัด
เป็นกุศลกรรม แม้กรรมของบุคคลผู้ไม่มีโทสะ ไม่ถูกโทสะครอบงำ มีจิตไม่ถูกโทสะ
กลุ้มรุม ไม่ก่อทุกข์ให้เกิดขึ้นแก่ผู้อื่นด้วยเรื่องที่ไม่เป็นจริง ด้วยการเบียดเบียน
จองจำ ให้เสียทรัพย์ ติเตียน หรือขับไล่ โดยอวดอ้างว่า “เรามีกำลัง ทรงพลัง”
ก็จัดเป็นกุศลกรรม กุศลธรรมจำนวนมากเหล่านี้ที่เกิดจากอโทสะ มีอโทสะเป็นเหตุ
มีอโทสะเป็นแดนเกิด มีอโทสะเป็นปัจจัยย่อมเกิดมีแก่บุคคลผู้ไม่มีโทสะนั้นด้วย
ประการฉะนี้
อโมหะจัดเป็นกุศลมูล กรรมที่บุคคลผู้ไม่มีโมหะทำทางกาย วาจา และใจจัด
เป็นกุศลกรรม แม้กรรมของบุคคลผู้ไม่มีโมหะ ไม่ถูกโมหะครอบงำ มีจิตไม่ถูกโมหะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๒๗๗ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๙. อกุสลมูลสูตร

กลุ้มรุม ไม่ก่อทุกข์ให้เกิดขึ้นแก่ผู้อื่นด้วยเรื่องที่ไม่เป็นจริง ด้วยการเบียดเบียน
จองจำ ให้เสียทรัพย์ ติเตียน หรือขับไล่ โดยอวดอ้างว่า “เรามีกำลัง ทรงพลัง” ก็จัด
เป็นกุศลกรรม กุศลธรรมจำนวนมากเหล่านี้ที่เกิดจากอโมหะ มีอโมหะเป็นเหตุ มี
อโมหะเป็นแดนเกิด มีอโมหะเป็นปัจจัย ย่อมเกิดมีแก่บุคคลผู้ไม่มีโมหะนั้นด้วย
ประการฉะนี้
บุคคลเช่นนี้เรียกว่า กาลวาทีบ้าง ภูตวาทีบ้าง อัตถวาทีบ้าง ธัมมวาทีบ้าง
วินยวาทีบ้าง
เพราะเหตุไร บุคคลเช่นนี้จึงเรียกว่า กาลวาทีบ้าง ภูตวาทีบ้าง อัตถวาทีบ้าง
ธัมมวาทีบ้าง วินยวาทีบ้าง
เพราะบุคคลนี้ไม่ก่อทุกข์ให้เกิดขึ้นแก่ผู้อื่นด้วยเรื่องที่ไม่เป็นจริง ด้วยการ
เบียดเบียน จองจำ ให้เสียทรัพย์ ติเตียน หรือขับไล่ โดยอวดอ้างว่า “เรามีกำลัง
ทรงพลัง” เขาเมื่อถูกว่ากล่าวด้วยเรื่องที่เป็นจริงก็ยอมรับไม่ปฏิเสธ เมื่อถูกว่ากล่าว
ด้วยเรื่องที่ไม่เป็นจริงก็พยายามที่จะปฏิเสธเรื่องนั้นว่า “แม้เพราะเหตุนี้เรื่องนี้จึง
ไม่จริง ไม่แท้” ฉะนั้นบุคคลเช่นนี้จึงเรียกว่า กาลวาทีบ้าง ภูตวาทีบ้าง อัตถวาทีบ้าง
ธัมมวาทีบ้าง วินยวาทีบ้าง
บาปอกุศลธรรมที่เกิดจากโลภะเป็นอันบุคคลเช่นนี้ละได้เด็ดขาด ตัดรากถอน
โคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อ
ไปไม่ได้ เขาย่อมอยู่เป็นสุข ไม่ลำบาก ไม่คับแค้น ไม่เดือดร้อนในปัจจุบัน ย่อม
ปรินิพพานในอัตภาพปัจจุบัน
บาปอกุศลธรรมที่เกิดจากโทสะ ฯลฯ ที่เกิดจากโมหะเป็นอันบุคคลเช่นนี้
ละได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่
พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ เขาย่อมอยู่เป็นสุข ไม่ลำบาก ไม่คับแค้น ไม่
เดือดร้อนในปัจจุบัน ย่อมปรินิพพานในอัตภาพปัจจุบัน
เปรียบเหมือนต้นสาละ ต้นตะแบก หรือต้นสะคร้อ ถูกเถาย่านทราย ๓ ชนิด
คลุมยอดพันรอบต้น ทีนั้น บุรุษถือจอบและตะกร้ามาตัดเครือเถาย่านทรายแล้ว
ก็ขุดรอบ ๆ โคน ถอนรากขึ้นแม้กระทั่งเท่ารากหญ้าคา เขาหั่นเถาย่านทรายนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๒๗๘ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๑๐. อุโปสถสูตร

เป็นท่อนเล็กท่อนน้อยแล้วผ่าออกเอารวมกันเข้า ผึ่งที่ลมและแดดแล้วเอาไฟเผา
ทำให้เป็นเขม่าแล้วโปรยที่ลมแรงหรือลอยในแม่น้ำที่ไหลเชี่ยว เถาย่านทรายเหล่า
นั้นถูกบุรุษนั้นตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่
พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย บาปอกุศลธรรมที่เกิดจากโลภะเป็นอันบุคคลเช่นนี้ละได้
เด็ดขาด ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่
ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ เขาย่อมอยู่เป็นสุข ไม่ลำบาก ไม่คับแค้น ไม่
เดือดร้อนในปัจจุบัน ย่อมปรินิพพานในอัตภาพปัจจุบัน
บาปอกุศลธรรมที่เกิดจากโทสะ ฯลฯ ที่เกิดจากโมหะเป็นอันบุคคลเช่นนี้
ละได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่
พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ เขาย่อมอยู่เป็นสุข ไม่ลำบาก ไม่คับแค้น ไม่
เดือดร้อนในปัจจุบัน ย่อมปรินิพพานในอัตภาพปัจจุบัน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ภิกษุทั้งหลาย กุศลมูล ๓ ประการนี้แล

อกุสลมูลสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. อุโปสถสูตร
ว่าด้วยอุโบสถ

[๗๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ปราสาทของนางวิสาขามิคารมาตา
ในบุพพาราม เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น นางวิสาขามิคารมาตาเข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคถึงที่ประทับในวันอุโบสถนั้น ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับนางวิสาขาดังนี้ว่า วิสาขา เธอมาจากที่ไหนแต่ยัง
วันเชียว
นางวิสาขากราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วันนี้หม่อมฉันจะรักษาอุโบสถ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๒๗๙ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๑๐. อุโปสถสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า วิสาขา อุโบสถ ๓ ประการ
อุโบสถ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. โคปาลอุโบสถ (อุโบสถที่ปฏิบัติอย่างคนเลี้ยงโค)
๒. นิคัณฐอุโบสถ (อุโบสถที่ปฏิบัติอย่างนิครนถ์)
๓. อริยอุโบสถ (อุโบสถปฏิบัติอย่างอริยสาวก)
โคปาลอุโบสถ เป็นอย่างไร
คือ คนเลี้ยงโคในตอนเย็นมอบโคให้เจ้าของย่อมเห็นประจักษ์อย่างนี้ว่า วันนี้
โคทั้งหลายเที่ยวไปในที่โน้น ๆ ดื่มน้ำในแหล่งโน้น ๆ พรุ่งนี้ ในตอนนี้ โคทั้งหลาย
จักเที่ยวไปในที่โน้น ๆ จักดื่มน้ำในแหล่งโน้น ๆ ฉันใด คนที่รักษาอุโบสถบางคนใน
โลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน คิดอย่างนี้ว่า “วันนี้ เราเองเคี้ยวกินของเคี้ยวชนิดนี้ ๆ
บริโภคของกินชนิดนี้ ๆ พรุ่งนี้ ในตอนนี้ เราจักเคี้ยวกินของเคี้ยวชนิดนี้ ๆ จัก
บริโภคของกินชนิดนี้ ๆ” บุคคลนั้นมีใจประกอบด้วยอภิชฌาย่อมให้วันเวลาผ่านไป
ด้วยโลภะนั้น
วิสาขา โคปาลอุโบสถเป็นอย่างนี้แล โคปาลอุโบสถที่บุคคลรักษาอย่างนี้แล
ย่อมไม่มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก ไม่มีความรุ่งเรืองมาก ไม่แผ่ไพศาลมาก (๑)
นิคัณฐอุโบสถ เป็นอย่างไร
คือ มีสมณะนิกายหนึ่งนามว่านิครนถ์ นิครนถ์เหล่านั้นชักชวนสาวกอย่างนี้ว่า
“มาเถิด พ่อคุณ ท่านจงลงอาญาในหมู่สัตว์ที่อยู่ทางทิศตะวันออกเลยร้อยโยชน์ไป
จงลงอาญาในหมู่สัตว์ที่อยู่ทางทิศตะวันตกเลยร้อยโยชน์ไป จงลงอาญาในหมู่สัตว์ที่
อยู่ทางทิศเหนือเลยร้อยโยชน์ไป จงลงอาญาในหมู่สัตว์ที่อยู่ทางทิศใต้เลยร้อยโยชน์
ไป” นิครนถ์เหล่านั้นชักชวนเพื่อเอ็นดูอนุเคราะห์สัตว์บางเหล่าไม่ชักชวนเพื่อเอ็นดู
อนุเคราะห์สัตว์บางเหล่าด้วยประการฉะนี้ นิครนถ์เหล่านั้นชักชวนสาวกอย่างนี้ใน
วันอุโบสถวันนั้นว่า “มาเถิด พ่อคุณ ท่านจงทิ้งผ้าทุกชิ้น แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เราไม่
เป็นที่กังวลของใคร ๆ ในที่ไหน ๆ และตัวเราก็ไม่มีความกังวลในบุคคลและสิ่งของ
ใด ๆ ในที่ไหน ๆ’ แต่บิดาและมารดาของเขารู้อยู่ว่า “ผู้นี้เป็นบุตรของเรา” แม้เขาก็รู้ว่า
“ท่านเหล่านี้เป็นบิดาและมารดาของเรา” อนึ่ง บุตรและภรรยาของเขาก็รู้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๒๘๐ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๑๐. อุโปสถสูตร

“ผู้นี้เป็นสามีของเรา” แม้ตัวเขาก็รู้ว่า “ผู้นี้เป็นบุตรและภรรยาของเรา” พวกทาส
คนงาน และคนรับใช้ใกล้ชิดก็รู้ว่า “ผู้นี้เป็นนายของพวกเรา” แม้เขาก็รู้ว่า “คน
เหล่านี้เป็นทาส คนงาน และคนรับใช้ใกล้ชิดของเรา” นิครนถ์เหล่านั้นชักชวนในการ
พูดเท็จในเวลาที่ควรชักชวนในการพูดคำสัตย์ด้วยประการฉะนี้ เรากล่าวถึงกรรม
นี้ของผู้นั้นว่าเป็นมุสาวาท พอล่วงราตรีนั้นไป เขาบริโภคโภคะเหล่านั้นที่เจ้าของไม่
ได้ให้ เรากล่าวถึงกรรมนี้ของผู้นั้นว่าเป็นอทินนาทาน
วิสาขา นิคัณฐอุโบสถเป็นอย่างนี้แล นิคัณฐอุโบสถที่บุคคลรักษาอย่างนี้แล
ย่อมไม่มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก ไม่มีความรุ่งเรืองมาก ไม่แผ่ไพศาลมาก (๒)
อริยอุโบสถ เป็นอย่างไร
คือ ๑. การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียร
การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ระลึกถึงตถาคตว่า “แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มี
พระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อม
ด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม
เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค”
เมื่ออริยสาวกระลึกถึงตถาคตอยู่ จิตย่อมผ่องใส เกิดความปราโมทย์ ละเครื่อง
เศร้าหมองแห่งจิต๑เสียได้
การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียรเปรียบเหมือนการ
ทำศีรษะที่เปื้อนให้สะอาดย่อมมีได้ด้วยความเพียร
การทำศีรษะที่เปื้อนให้สะอาดย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างไร
คือ การทำศีรษะที่เปี้อนให้สะอาดย่อมมีได้เพราะอาศัยตะกรัน๒ ดินเหนียว น้ำ
และอาศัยความพยายามอันเหมาะสมแก่เหตุนั้นของบุคคล การทำศีรษะที่เปื้อนให้
สะอาดย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างนี้แล


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๑๐. อุโปสถสูตร

การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ระลึกถึงตถาคตว่า “แม้เพราะเหตุนี้พระผู้มี
พระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค” เมื่อเธอระลึกถึง
ตถาคตอยู่ จิตย่อมผ่องใส เกิดความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้
อริยสาวกนี้เราเรียกว่า รักษาพรหมอุโบสถ๑ อยู่ร่วมกับพรหม และเพราะปรารภ
พรหม จิตของเธอจึงผ่องใส เกิดความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้
การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างนี้แล (๓ ก)
๒. การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียร
การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างไร
คืออริยสาวกในธรรมวินัยนี้ระลึกถึงพระธรรมว่า ๊พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้
มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล๒ ควร
เรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน” เมื่อเธอระลึกถึงพระ
ธรรมอยู่ จิตย่อมผ่องใส เกิดความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้
การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียรเปรียบเหมือนการ
ทำกายที่เปื้อนให้สะอาดย่อมมีได้ด้วยความเพียร
การทำกายที่เปื้อนให้สะอาดย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างไร
คือ การทำกายที่เปื้อนให้สะอาดย่อมมีได้เพราะอาศัยเชือก ผงอาบน้ำ และ
อาศัยความพยายามอันเหมาะสมแก่เหตุนั้นของบุคคล การทำกายที่เปื้อนให้สะอาด
ย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างนี้แล
การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ระลึกถึงพระธรรมว่า “พระธรรมเป็นธรรมที่พระ
ผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ฯลฯ อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน” เมื่อเธอระลึกถึงพระ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๑๐. อุโปสถสูตร

ธรรมอยู่ จิตย่อมผ่องใส เกิดความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้
อริยสาวกนี้เราเรียกว่ารักษาธัมมอุโบสถ๑ อยู่ร่วมกับธรรม และเพราะปรารภธรรม
จิตของเธอจึงผ่องใส เกิดความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้ การทำ
จิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างนี้แล (๓ ข)
๓. การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียร
การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ระลึกถึงพระสงฆ์ว่า “พระสงฆ์สาวกของพระผู้มี
พระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติถูกทาง ปฏิบัติสมควร ได้แก่ อริยบุคคล ๔
คู่ คือ ๘ บุคคล๒ พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคนี้เป็นผู้ควรแก่ของที่เขา
นำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญ
อันยอดเยี่ยมของโลก” เมื่อเธอระลึกถึงพระสงฆ์อยู่ จิตย่อมผ่องใส เกิดความ
ปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้
การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียรเปรียบเหมือนการ
ทำผ้าที่เปื้อนให้สะอาดย่อมมีได้ความเพียร
การทำผ้าที่เปื้อนให้สะอาดย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างไร
คือ การทำผ้าที่เปื้อนให้สะอาดย่อมมีได้เพราะอาศัยเกลือ น้ำด่าง โคมัย น้ำ
และอาศัยความพยายามอันเหมาะสมแก่เหตุนั้นของบุคคล การทำผ้าที่เปื้อนให้
สะอาดย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างนี้แล
การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ระลึกถึงพระสงฆ์ว่า “พระสงฆ์สาวกของพระผู้มี
พระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดี ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก” เมื่อเธอระลึกถึง


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๑๐. อุโปสถสูตร

พระสงฆ์อยู่ จิตย่อมผ่องใส เกิดความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้
อริยสาวกนี้เราเรียกว่ารักษาสังฆอุโบสถ๑ อยู่ร่วมกับพระสงฆ์ และเพราะปรารภสงฆ์
จิตของเธอจึงผ่องใส เกิดความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้ การทำ
จิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างนี้แล (๓ ค)
๔. การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียร
การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ระลึกถึงศีลของตนที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง
ไม่พร้อย เป็นไทแก่ตัว ท่านผู้รู้สรรเสริญ ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ เป็นไป
เพื่อสมาธิ เมื่อเธอระลึกถึงศีลอยู่ จิตย่อมผ่องใส เกิดความปราโมทย์ ละเครื่อง
เศร้าหมองแห่งจิตเสียได้
การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียรเปรียบเหมือนการ
ทำกระจกเงาที่มัวให้ใสย่อมมีได้ด้วยความเพียร
การทำกระจกเงาที่มัวให้ใสย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างไร
คือ การทำกระจกเงาที่มัวให้ใสย่อมมีได้เพราะอาศัยน้ำมัน เถ้า แปรง และ
อาศัยความพยายามอันเหมาะสมแก่เหตุนั้นของบุคคล การทำกระจกเงาที่มัวให้ใส
ย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างนี้แล
การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ระลึกถึงศีลของตนที่ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ
เมื่อเธอระลึกถึงศีลของตนอยู่ จิตย่อมผ่องใส เกิดความปราโมทย์ ละเครื่อง
เศร้าหมองแห่งจิตเสียได้ อริยสาวกนี้เราเรียกว่า รักษาสีลอุโบสถ อยู่ร่วมกับศีล
และเพราะปรารภศีล จิตของเธอจึงผ่องใส เกิดความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมอง
แห่งจิตเสียได้ การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่าง
นี้แล (๓ ฆ)


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๑๐. อุโปสถสูตร

๕. การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียร
การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้ว ย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ระลึกถึงเทวดาว่า “เทวดาชั้นจาตุมหาราช ชั้น
ดาวดึงส์ ชั้นยามา ชั้นดุสิต ชั้นนิมมานรดี ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี เทวดาที่นับเนื่องใน
หมู่พรหม เทวดาชั้นที่สูงกว่านั้นขึ้นไปมีอยู่ เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศรัทธาเช่น
ใด จุติจากภพนี้ไปเกิดในภพนั้น แม้ตัวเราก็มีศรัทธาเช่นนั้นอยู่พร้อม เทวดาเหล่านั้น
ประกอบด้วยศีลเช่นใด จุติจากภพนี้ไปเกิดในภพนั้น แม้ตัวเราก็มีศีลเช่นนั้นอยู่พร้อม
เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยสุตะเช่นใด จุติจากภพนี้ไปเกิดในภพนั้น แม้ตัวเราก็มีสุตะ
เช่นนั้นอยู่พร้อม เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยจาคะเช่นใด จุติจากภพนี้ไปเกิดในภพ
นั้น แม้ตัวเราก็มีจาคะเช่นนั้นอยู่พร้อม เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยปัญญาเช่นใด
จุติจากภพนี้ไปเกิดในภพนั้น แม้ตัวเราก็มีปัญญาเช่นนั้นอยู่พร้อม” เมื่อเธอระลึกถึง
ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญาทั้งของตนและของเทวดาเหล่านั้นอยู่ จิตย่อม
ผ่องใส เกิดความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้
การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียรเปรียบเหมือนการ
ทำทองที่หมองให้สุกใสย่อมมีได้ด้วยความเพียร
การทำทองที่หมองให้สุกใสย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างไร
คือ การทำทองที่หมองให้สุกใสย่อมมีได้เพราะอาศัยเบ้าหลอม เกลือ ยางไม้
คีมและความพยายามที่เหมาะสมแก่เหตุนั้นของบุคคล การทำทองที่หมองให้สุกใส
ย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างนี้แล
การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ระลึกถึงเทวดาว่า “เทวดาชั้นจาตุมหาราช ชั้น
ดาวดึงส์ ฯลฯ เทวดาที่นับเนื่องในหมู่พรหม เทวดาชั้นที่สูงกว่านั้นขึ้นไปมีอยู่
เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศรัทธาเช่นใด จุติจากภพนี้ไปเกิดในภพนั้น แม้ตัวเราก็
มีศรัทธาเช่นนั้นอยู่พร้อม เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศีลเช่นใด ฯลฯ สุตะ ฯลฯ
จาคะ ฯลฯ เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยปัญญาเช่นใด จุติจากภพนี้ไปเกิดในภพนั้น
แม้ตัวเราก็มีปัญญาเช่นนั้นอยู่พร้อม” เมื่อเธอระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๒๘๕ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๑๐. อุโปสถสูตร

ปัญญาทั้งของตนและของเทวดาเหล่านั้นอยู่ จิตย่อมผ่องใส เกิดความปราโมทย์
ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้ อริยสาวกนี้เราเรียกว่า รักษาเทวตาอุโบสถ
อยู่ร่วมกับเทวดา และเพราะปรารภเทวดา จิตของเธอจึงผ่องใส เกิดความปราโมทย์
ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้ การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้
ด้วยความเพียร เป็นอย่างนี้แล (๓ ง)
อริยสาวกนั้นย่อมเห็นประจักษ์ว่า “พระอรหันต์ทั้งหลายละเว้นขาดจากการฆ่า
สัตว์ คือวางทัณฑาวุธ และศัสตราวุธ มีความละอาย มีความเอ็นดู มุ่งประโยชน์
เกื้อกูลต่อสรรพสัตว์อยู่ตลอดชีวิต แม้เราก็ละเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ คือวางทัณฑาวุธ
และศัสตราวุธ มีความละอาย มีความเอ็นดู มุ่งประโยชน์เกื้อกูลต่อสรรพสัตว์อยู่
ตลอดวันหนึ่งและคืนหนึ่งนี้ในวันนี้ เพราะองค์แม้นี้เราชื่อว่าทำตามพระอรหันต์และ
รักษาอุโบสถ
พระอรหันต์ทั้งหลายละเว้นขาดจากการลักทรัพย์ คือรับเอาแต่ของที่เขาให้
มุ่งหวังแต่ของที่เขาให้ ไม่เป็นขโมย เป็นคนสะอาดอยู่ตลอดชีวิต แม้เราก็ละเว้นขาด
จากการลักทรัพย์ ถือเอาแต่ของที่เขาให้ มุ่งหวังแต่ของที่เขาให้ ไม่เป็นขโมย เป็น
คนสะอาด อยู่ตลอดวันหนึ่งและคืนหนึ่งนี้ในวันนี้ เพราะองค์แม้นี้เราชื่อว่าทำตาม
พระอรหันต์และรักษาอุโบสถ
พระอรหันต์ทั้งหลายละพฤติกรรมอันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์๑ คือประพฤติ
พรหมจรรย์ เว้นห่างไกลจากเมถุนธรรมอันเป็นกิจของชาวบ้านอยู่ตลอดชีวิต แม้เรา
ก็ละพฤติกรรมอันเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ ประพฤติพรหมจรรย์ เว้นห่างไกลจาก
เมถุนธรรมอันเป็นกิจของชาวบ้านอยู่ตลอดวันหนึ่งและคืนหนึ่งนี้ในวันนี้ เพราะองค์
แม้นี้เราชื่อว่าทำตามพระอรหันต์และรักษาอุโบสถ
พระอรหันต์ทั้งหลายละเว้นขาดจากการพูดเท็จ คือพูดแต่คำสัตย์ ดำรงความ
สัตย์ มีถ้อยคำเป็นหลัก น่าเชื่อถือ ไม่หลอกลวงชาวโลกอยู่ตลอดชีวิต แม้เราก็ละ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๑๐. อุโปสถสูตร

เว้นขาดจากการพูดเท็จ คือ พูดแต่คำสัตย์ ดำรงความสัตย์ มีถ้อยคำเป็นหลัก น่าเชื่อถือ
ไม่หลอกลวงชาวโลกอยู่ตลอดวันหนึ่งและคืนหนึ่งนี้ในวันนี้ เพราะองค์แม้นี้เราชื่อว่า
ทำตามพระอรหันต์และรักษาอุโบสถ
พระอรหันต์ทั้งหลายละเว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและมรัย๑อัน
เป็นเหตุแห่งความประมาทอยู่ตลอดชีวิต แม้เราก็ละเว้นขาดจากการเสพของมึนเมา
คือสุราและมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาทอยู่ตลอดวันหนึ่งและคืนหนึ่งนี้ในวันนี้
เพราะองค์แม้นี้เราชื่อว่าทำตามพระอรหันต์และรักษาอุโบสถ
พระอรหันต์ทั้งหลายฉันมื้อเดียว ไม่ฉันตอนกลางคืน เว้นขาดจากการฉัน
อาหารในเวลาวิกาลอยู่ตลอดชีวิต แม้เราก็ปริโภคมื้อเดียว ไม่บริโภคตอนกลางคืน
เว้นขาดจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาลอยู่ตลอดวันหนึ่งและคืนหนึ่งนี้ในวันนี้
เพราะองค์แม้นี้เราชื่อว่าทำตามพระอรหันต์และรักษาอุโบสถ
พระอรหันต์ทั้งหลายเว้นขาดจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี การดู
การละเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศล และจากการทัดทรงประดับตกแต่งร่างกายด้วยพวง
ดอกไม้ ของหอม และเครื่องประทินผิวอันเป็นลักษณะแห่งการแต่งตัวอยู่ตลอด
ชีวิต แม้เราก็เว้นขาดจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี การดูการละเล่นอัน
เป็นข้าศึกแก่กุศล และจากการทัดทรงประดับตกแต่งร่างกายด้วยพวงดอกไม้ ของ
หอมและเครื่องประทินผิวอันเป็นลักษณะแห่งการแต่งตัวอยู่ตลอดวันหนึ่งและ
คืนหนึ่งนี้ในวันนี้ เพราะองค์แม้นี้เราชื่อว่าทำตามพระอรหันต์และรักษาอุโบสถ
พระอรหันต์ทั้งหลายละเว้นขาดจากที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ นอนบนที่นอนต่ำ
คือบนเตียงหรือบนที่นอนที่ปูลาดด้วยหญ้าอยู่ตลอดชีวิต แม้เราก็ละเว้นขาดจาก
ที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ นอนบนที่นอนต่ำ คือบนเตียงหรือบนที่นอนที่ปูลาดด้วย
หญ้าอยู่ตลอดวันหนึ่งและคืนหนึ่งนี้ในวันนี้ เพราะองค์แม้นี้เราชื่อว่าทำตามพระ
อรหันต์และรักษาอุโบสถ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๑๐. อุโปสถสูตร

วิสาขา อริยอุโบสถเป็นอย่างนี้แล อริยอุโบสถที่บุคคลรักษาอย่างนี้แลย่อมมี
ผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก แผ่ไพศาลมาก
อริยอุโบสถมีผลมากเพียงไร มีอานิสงส์มากเพียงไร มีความรุ่งเรืองมาก
เพียงไร แผ่ไพศาลมากเพียงไร
คือ เปรียบเหมือนพระราชาพระองค์ใดพึงครองราชย์ เป็นอิสราธิบดี(เป็นผู้
ยิ่งใหญ่เหนือกว่าผู้อื่น)แห่งชนบทใหญ่ ๑๖ แคว้นที่สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ
เหล่านี้คือ อังคะ มคธะ กาสี โกสละ วัชชี มัลละ เจตี วังสะ กุรุ ปัญจาละ มัจฉะ
สุรเสนะ อัสสกะ อวันตี คันธาระ กัมโพชะ การครองราชย์ของพระราชาพระองค์นั้นยัง
มีค่าไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ
ราชสมบัติของมนุษย์เมื่อนำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์ถือว่าเป็นของเล็กน้อย
๕๐ ปีของมนุษย์เท่ากับวันและคืนหนึ่งของเทวดาชั้นจาตุมหาราช ๓๐ ราตรี
โดยราตรีนั้น เป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น เป็น ๑ ปี ๕๐๐ ปีทิพย์โดย
ปีนั้น เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นจาตุมหาราช ก็เรื่องนี้เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ คือ
สตรีหรือบุรุษบางคนในโลกนี้รักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ หลังจากตายแล้วพึง
เข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทวดาชั้นจาตุมหาราช ข้อนี้เรากล่าวหมายถึงเรื่องนี้แล
ว่า ราชสมบัติของมนุษย์เมื่อนำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์ถือว่าเป็นของเล็กน้อย
๑๐๐ ปีของมนุษย์เท่ากับวันและคืนหนึ่งของเทวดาชั้นดาวดึงส์ ๓๐ ราตรีโดย
ราตรีนั้น เป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น เป็น ๑ ปี ๑,๐๐๐ ปีทิพย์โดยปีนั้น
เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นดาวดึงส์ ก็เรื่องนี้เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ คือสตรีหรือบุรุษ
บางคนในโลกนี้รักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ หลังจากตายแล้วพึงเข้าถึงความ
เป็นผู้อยู่ร่วมกับเทวดาชั้นดาวดึงส์ ข้อนี้เรากล่าวหมายถึงเรื่องนี้แลว่า ราชสมบัติ
ของมนุษย์เมื่อนำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์ถือว่าเป็นของเล็กน้อย
๒๐๐ ปีของมนุษย์เท่ากับวันและคืนหนึ่งของเทวดาชั้นยามา ๓๐ ราตรีโดยราตรี
นั้น เป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น เป็น ๑ ปี ๒,๐๐๐ ปีทิพย์โดยปีนั้น
เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นยามา ก็เรื่องนี้เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ คือสตรีหรือบุรุษ
บางคนในโลกนี้รักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ หลังจากตายแล้วพึงเข้าถึงความ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๒๘๘ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๑๐. อุโปสถสูตร

เป็นผู้อยู่ร่วมกับเทวดาชั้นยามา ข้อนี้เรากล่าวหมายถึงเรื่องนี้แลว่า ราชสมบัติของ
มนุษย์เมื่อนำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์ถือว่าเป็นของเล็กน้อย
๔๐๐ ปีของมนุษย์เท่ากับวันและคืนหนึ่งของเทวดาชั้นดุสิต ๓๐ ราตรีโดยราตรี
นั้น เป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น เป็น ๑ ปี ๔,๐๐๐ ปีทิพย์โดยปีนั้น
เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นดุสิต ก็เรื่องนี้เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ คือสตรีหรือบุรุษ
บางคนในโลกนี้รักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ หลังจากตายแล้วพึงเข้าถึงความ
เป็นผู้อยู่ร่วมกับเทวดาชั้นดุสิต ข้อนี้เรากล่าวหมายถึงเรื่องนี้แลว่า ราชสมบัติของ
มนุษย์เมื่อนำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์ถือว่าเป็นของเล็กน้อย
๘๐๐ ปีของมนุษย์เท่ากับวันและคืนหนึ่งของเทวดาชั้นนิมมานรดี ๓๐ ราตรี
โดยราตรีนั้น เป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น เป็น ๑ ปี ๘,๐๐๐ ปีทิพย์โดย
ปีนั้น เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นนิมมานรดี ก็เรื่องนี้เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ คือสตรี
หรือบุรุษบางคนในโลกนี้รักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ หลังจากตายแล้วพึงเข้า
ถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทวดาชั้นนิมมานรดี ข้อนี้เรากล่าวหมายถึงเรื่องนี้แลว่า
ราชสมบัติของมนุษย์เมื่อนำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์ถือว่าเป็นของเล็กน้อย
๑,๖๐๐ ปีของมนุษย์เท่ากับวันและคืนหนึ่งของเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี
๓๐ ราตรี โดยราตรีนั้น เป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น เป็น ๑ ปี ๑๖,๐๐๐
ปีทิพย์โดยปีนั้น เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ก็เรื่องนี้เป็นสิ่งที่
เป็นไปได้ คือสตรีหรือบุรุษบางคนในโลกนี้รักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ หลัง
จากตายแล้วพึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ข้อนี้เรา
กล่าวหมายถึงเรื่องนี้แลว่า ราชสมบัติของมนุษย์เมื่อนำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์
ถือว่าเป็นของเล็กน้อย
บุคคลไม่พึงฆ่าสัตว์ ไม่พึงลักทรัพย์
ไม่พึงพูดเท็จ ไม่พึงดื่มน้ำเมา
พึงงดเว้นจากเมถุนที่เป็นความประพฤติไม่ประเสริฐ
ไม่พึงบริโภคอาหารในเวลาวิกาล ในเวลากลางคืน
ไม่พึงทัดทรงดอกไม้ ไม่พึงลูบไล้ของหอม
และพึงนอนบนเตียง บนพื้น หรือบนที่ที่ปูลาดไว้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๒๘๙ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า
อุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล
ที่พระพุทธเจ้าผู้ถึงที่สุดทุกข์ทรงประกาศไว้
ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ทั้งสอง
งดงามส่องสว่างโคจรไปทั่วสถานที่ประมาณเท่าใด
ก็ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์นั้น
กำจัดความมืดไปในอากาศ
ทำให้ทิศสว่างไสว ส่องแสงอยู่ในอากาศ
ทั่วสถานที่ประมาณเท่าใด
ทรัพย์ คือแก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์
ทองสิงคีและทองคำ ตลอดถึงทองชื่อว่าหฏกะ
เท่าที่มีอยู่ในสถานที่ประมาณเท่านั้น
และแสงจันทร์ หมู่ดาวทั้งหมด ยังไม่ถึงแม้เสี้ยวที่ ๑๖
ของอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘
เพราะฉะนั้นแล สตรีหรือบุรุษผู้มีศีล
รักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘
ทำบุญที่มีสุขเป็นกำไร ไม่ถูกนินทา ย่อมเข้าถึงสวรรค์

อุโปสถสูตรที่ ๑๐ จบ
มหาวรรคที่ ๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ติตถายตนสูตร ๒. ภยสูตร
๓. เวนาคปุรสูตร ๔. สรภสูตร
๕. เกสปุตติสูตร ๖. สาฬหสูตร
๗. กถาวัตถุสูตร ๘. อัญญติตถิยสูตร
๙. อกสลมูลสูตร ๑๐. อุโปสถสูตร


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๓. อานันทวรรค ๑. ฉันนสูตร

๓. อานันทวรรค
หมวดว่าด้วยพระอานนท์

๑. ฉันนสูตร
ว่าด้วยฉันนปริพาชก

[๗๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล ปริพาชกชื่อฉันนะเข้าไปหาท่านพระ
อานนท์ถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจพอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง
ณ ที่สมควร ได้เรียนถามท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “ท่านอานนท์ แม้พวกท่านก็บัญญัติ
การละราคะ(ความกำหนัด) โทสะ(ความคิดประทุษร้าย) และโมหะ(ความหลง)หรือ”
พระอานนท์ตอบว่า “ผู้มีอายุ พวกเราเองบัญญัติการละราคะ โทสะ และโมหะ”
ฉันนปริพาชกเรียนถามว่า “ผู้มีอายุ ก็พวกท่านเห็นโทษในราคะอย่างไร จึง
บัญญัติการละราคะ เห็นโทษในโทสะอย่างไรจึงบัญญัติการละโทสะ และเห็นโทษใน
โมหะอย่างไรจึงบัญญัติการละโมหะ”
พระอานนท์ตอบว่า บุคคลผู้มีราคะ ถูกราคะครอบงำ มีจิตถูกราคะกลุ้มรุม
ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อเบียดเบียนทั้ง
๒ ฝ่ายบ้าง เสวยทุกขโทมนัสทางใจบ้าง เมื่อละราคะได้แล้ว เขาย่อมไม่คิดเพื่อ
เบียดเบียนตนเอง ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่าย
ไม่เสวยทุกขโทมนัสทางใจ
บุคคลผู้มีราคะ ถูกราคะครอบงำ มีจิตถูกราคะกลุ้มรุม ย่อมประพฤติกาย-
ทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต เมื่อละราคะได้แล้ว เขาย่อมไม่ประพฤติกายทุจริต
วจีทุจริต และมโนทุจริต
บุคคลผู้มีราคะ ถูกราคะครอบงำ มีจิตถูกราคะกลุ้มรุม ย่อมไม่รู้ชัดตามความ
เป็นจริงถึงประโยชน์ตนบ้าง ประโยชน์ผู้อื่นบ้าง ประโยชน์ทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง เมื่อละ
ราคะได้แล้ว เขาย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงถึงประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น และ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๒๙๑ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๓. อานันทวรรค ๑. ฉันนสูตร

ประโยชน์ทั้ง ๒ ฝ่าย ราคะนั่นเองทำให้เป็นเหมือนคนตาบอด เป็นเหมือนคนไม่มี
ดวงตา ทำให้ไม่รู้อะไร มีปัญญามืดบอด เป็นไปในฝ่ายความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อ
พระนิพพาน
บุคคลผู้มีโทสะ ฯลฯ บุคคลผู้มีโมหะ ถูกโมหะครอบงำ มีจิตถูกโมหะกลุ้มรุม
ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อเบียดเบียนทั้ง
๒ ฝ่ายบ้าง เสวยทุกขโทมนัสทางใจบ้าง เมื่อละโมหะได้แล้ว เขาย่อมไม่คิดเพื่อ
เบียดเบียนตน ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่าย ไม่
เสวยทุกขโทมนัสทางใจ
บุคคลผู้มีโมหะ ถูกโมหะครอบงำ มีจิตถูกโมหะกลุ้มรุม ย่อมประพฤติกาย-
ทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต เมื่อละโมหะได้แล้ว เขาย่อมไม่ประพฤติกายทุจริต
วจีทุจริต และมโนทุจริต
บุคคลผู้มีโมหะ ถูกโมหะครอบงำ มีจิตถูกโมหะกลุ้มรุม ย่อมไม่รู้ชัดตามความ
เป็นจริงถึงประโยชน์ตนบ้าง ประโยชน์ผู้อื่นบ้าง ประโยชน์ทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง เมื่อ
ละโมหะได้แล้ว เขาย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงถึงประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น
และประโยชน์ทั้ง ๒ ฝ่าย โมหะนั่นเองทำให้เป็นเหมือนคนตาบอด เป็นเหมือนคนไม่
มีดวงตา ทำให้ไม่รู้อะไร มีปัญญามืดบอด เป็นไปในฝ่ายความคับแค้น ไม่เป็นไป
เพื่อพระนิพพาน
พวกเราเห็นโทษในราคะเช่นนี้แลจึงบัญญัติการละราคะ เห็นโทษในโทสะเช่นนี้
จึงบัญญัติการละโทสะ และเห็นโทษในโมหะเช่นนี้จึงบัญญัติการละโมหะ
ฉันนปริพาชกเรียนถามว่า “ผู้มีอายุ มรรคปฏิปทาเพื่อละราคะ โทสะ และ
โมหะนั้นมีอยู่หรือ”
พระอานนท์ตอบว่า “มรรคปฏิปทาเพื่อละราคะ โทสะ และโมหะนั้นมีอยู่”
ฉันนปริพาชกเรียนถามต่อไปอีกว่า “ผู้มีอายุ มรรคปฏิปทาเพื่อละราคะ โทสะ
และโมหะนั้น เป็นอย่างไร”
พระอานนท์ตอบว่า “คืออริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล ได้แก่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๒๙๒ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๓. อานันทวรรค ๒. อาชีวกสูตร

๑. สัมมาทิฏฐิ ๒. สัมมาสังกัปปะ
๓. สัมมาวาจา ๔. สัมมากัมมันตะ
๕. สัมมาอาชีวะ ๖. สัมมาวายามะ
๗. สัมมาสติ ๘. สัมมาสมาธิ

ผู้มีอายุ นี้แลคือมรรคปฏิปทาเพื่อละราคะ โทสะ และโมหะนั้น”
ฉันนปริพาชกกล่าวว่า “ผู้มีอายุ มรรคปฏิปทาเพื่อละราคะ โทสะ และโมหะ
นั่น ดีจริงหนอ และควรที่จะไม่ประมาท”

ฉันนสูตรที่ ๑ จบ

๒. อาชีวกสูตร
ว่าด้วยสาวกของอาชีวก

[๗๓] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ที่โฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี ครั้งนั้น
คหบดีคนหนึ่ง เป็นสาวกของอาชีวก เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ไหว้แล้วนั่ง
ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า
“ท่านอานนท์ผู้เจริญ ในโลก คนพวกไหนกล่าวธรรมไว้ดีแล้ว ปฏิบัติดีแล้ว
ดำเนินไปดีแล้ว”
พระอานนท์ตอบว่า “คหบดี ถ้าเช่นนั้น ในเรื่องนี้เราขอย้อนถามท่าน ท่าน
พึงตอบตามที่ท่านพอใจ ท่านเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือคนพวกใดแสดงธรรมเพื่อละ
ราคะ โทสะ และโมหะ คนพวกนั้นกล่าวธรรมไว้ดีแล้วหรือไม่ หรือท่านมีความ
เข้าใจในเรื่องนี้อย่างไร”
คหบดีกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ คนพวกใดแสดงธรรมเพื่อละราคะ โทสะ และ
โมหะ คนพวกนั้นชื่อว่ากล่าวธรรมไว้ดีแล้ว ข้าพเจ้ามีความเข้าใจในเรื่องนี้อย่างนี้”
พระอานนท์กล่าวว่า “คหบดี ท่านเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือคนพวกใด
ปฏิบัติเพื่อละราคะ โทสะ และโมหะ คนพวกนั้นปฏิบัติดีแล้วในโลกหรือไม่ หรือ
ท่านมีความเข้าใจในเรื่องนี้อย่างไร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๒๙๓ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๓. อานันทวรรค ๒. อาชีวกสูตร

คหบดีกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ คนพวกใดปฏิบัติเพื่อละราคะ โทสะ และโมหะ
คนพวกนั้นชื่อว่าปฏิบัติดีแล้วในโลก ข้าพเจ้ามีความเข้าใจในเรื่องนี้อย่างนี้”
พระอานนท์กล่าวว่า “คหบดี ท่านเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือคนพวกใดละ
ราคะได้แล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่
พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ คนพวกใดละโทสะได้แล้ว ฯลฯ คนพวกใดละ
โมหะได้แล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่
พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ คนพวกนั้นดำเนินไปดีแล้วในโลกหรือไม่ หรือ
ท่านมีความเข้าใจในเรื่องนี้อย่างไร”
คหบดีกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ คนพวกใดละราคะได้แล้ว ตัดรากถอนโคน
เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไป
ไม่ได้ คนพวกใดละโทสะได้แล้ว ฯลฯ คนพวกใดละโมหะได้แล้ว ตัดรากถอนโคน
เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไป
ไม่ได้ คนพวกนั้นชื่อว่าดำเนินไปดีแล้วในโลก ข้าพเจ้ามีความเข้าในเรื่องนี้อย่างนี้”
พระอานนท์กล่าวว่า “คหบดี เรื่องนี้ท่านได้ตอบแล้วว่า ‘ท่านผู้เจริญ คนพวก
ใดแสดงธรรมเพื่อละราคะ โทสะ และโมหะ คนพวกนั้นชื่อว่ากล่าวธรรมไว้ดีแล้ว’
เรื่องนี้ท่านได้ตอบแล้วว่า ‘ท่านผู้เจริญ คนพวกใดปฏิบัติเพื่อละราคะ โทสะ และ
โมหะ คนพวกนั้นชื่อว่าปฏิบัติดีแล้วในโลก’ เรื่องนี้ท่านได้ตอบแล้วเหมือนกันว่า
‘ท่านผู้เจริญ คนพวกใดละราคะได้แล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดราก
ถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ คนพวกใดละโทสะ
ได้แล้ว ฯลฯ คนพวกใดละโมหะได้แล้ว ตัดรากถอนโคเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดราก
ถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ คนพวกนั้นชื่อว่า
ดำเนินไปดีแล้วในโลกแล”
คหบดีกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ท่านไม่ยกย่อง
ธรรมของตนเอง และไม่มีการรุกรานธรรมของผู้อื่น มีแต่แสดงธรรมตามเหตุผล
กล่าวแต่เนื้อความ และไม่ได้นำความเห็นของตนเข้าไปเกี่ยวข้อง ท่านแสดงธรรม
เพื่อละราคะ โทสะ และโมหะ ท่านอานนท์ผู้เจริญ ท่านกล่าวธรรมไว้ดีแล้ว ท่าน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๒๙๔ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๓. อานันทวรรค ๓. มหานามสักกสูตร

อานนท์ผู้เจริญ ท่านปฏิบัติเพื่อละราคะ โทสะ และโมหะ ท่านปฏิบัติดีแล้วในโลก
ท่านอานนท์ผู้เจริญ ท่านละราคะได้แล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดราก
ถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ท่านละโทสะได้แล้ว
ฯลฯ ท่านละโมหะได้แล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว
เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ท่านดำเนินไปดีแล้วในโลก
ท่านผู้เจริญ ภาษิตของท่านชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ภาษิตของท่านชัดเจนไพเราะ
ยิ่งนัก พระคุณเจ้าอานนท์ประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือน
บุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด
ด้วยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’ ข้าพเจ้านี้ขอถึงพระผู้มีพระภาค พร้อมทั้ง
พระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอพระคุณเจ้าอานนท์จงจำข้าพเจ้าว่าเป็น
อุบาสกผู้เข้าถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”

อาชีวกสูตรที่ ๒ จบ

๓. มหานามสักกสูตร
ว่าด้วยเจ้ามหานามศากยะ

[๗๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขตกรุงกบิลพัสดุ์
แคว้นสักกะ สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคทรงหายจากความอาพาธไม่นาน ครั้งนั้น
เจ้ามหานามศากยะ เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว
ประทับนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เป็นเวลานานแล้วที่ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มี
พระภาคแสดงอย่างนี้ว่า ญาณ(ความรู้) เกิดแก่ผู้มีใจเป็นสมาธิ ไม่เกิดแก่ผู้มีใจไม่
เป็นสมาธิ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมาธิเกิดก่อน ญาณเกิดทีหลัง หรือว่า ญาณเกิด
ก่อน สมาธิเกิดทีหลัง”
ในขณะนั้น ท่านพระอานนท์ได้มีความดำริว่า “พระผู้มีพระภาคเพิ่งจะทรงหาย
จากความอาพาธได้ไม่นาน เจ้ามหานามศากยะนี้ทูลถามปัญหาที่ลึกซึ้งกับพระผู้มี
พระภาค ทางที่ดี เราควรนำเจ้ามหานามศากยะไปอีกที่หนึ่งแล้วแสดงธรรม(ให้ฟง)”ั

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๒๙๕ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๓. อานันทวรรค ๓. มหานามสักกสูตร

ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์พาเจ้ามหานามศากยะหลีกไป ณ ที่สมควรแล้วได้
กล่าวว่า มหานามะ พระผู้มีพระภาคตรัสศีลที่เป็นของพระเสขะไว้ก็มี ตรัสศีลที่เป็น
ของพระอเสขะ๑ ไว้ก็มี พระผู้มีพระภาคตรัสสมาธิที่เป็นของพระเสขะ๒ไว้ก็มี ตรัส
สมาธิที่เป็นของพระอเสขะไว้ก็มี พระผู้มีพระภาคตรัสปัญญาที่เป็นของพระเสขะ
ไว้ก็มี ตรัสปัญญาที่เป็นของพระอเสขะไว้ก็มี
ศีลที่เป็นของพระเสขะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีศีล สำรวมด้วยความสังวรในพระปาติโมกข์อยู่ ฯลฯ
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย นี้เรียกว่า ศีลที่เป็นของพระเสขะ
สมาธิที่เป็นของพระเสขะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ ไม่มี
สุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ นี้เรียกว่า สมาธิที่เป็นของพระเสขะ
ปัญญาที่เป็นของพระเสขะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธ-
คามินีปฏปทา” นี้เรียกว่า ปัญญาที่เป็นของพระเสขะ
มหานามะ อริยสาวกนั้นแลผู้เพียบพร้อมด้วยศีลอย่างนี้ เพียบพร้อมด้วย
สมาธิอย่างนี้ เพียบพร้อมด้วยปัญญาอย่างนี้ ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอัน
ไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน พระผู้มีพระ
ภาคตรัสศีลที่เป็นของพระเสขะไว้ก็มี ตรัสศีลที่เป็นของพระอเสขะไว้ก็มี ตรัสสมาธิที่
เป็นของพระเสขะไว้ก็มี ตรัสสมาธิที่เป็นของพระอเสขะไว้ก็มี ตรัสปัญญาที่เป็นของ
พระเสขะไว้ก็มี ตรัสปัญญาที่เป็นของพระอเสขะไว้ก็มีด้วยประการฉะนี้แล

มหานามสักกสูตรที่ ๓ จบ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๓. อานันทวรรค ๔. นิคัณฐสูตร

๔. นิคัณฐสูตร
ว่าด้วยนิครนถนาฏบุตร

[๗๕] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ที่กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขตกรุง
เวสาลี สมัยนั้น เจ้าอภัยลิจฉวีและเจ้าบัณฑิตกุมารลิจฉวีพากันเข้าไปหาท่านพระ
อานนท์ถึงที่อยู่ ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่สมควร เจ้าอภัยลิจฉวีผู้นั่ง ณ ที่สมควร ได้เรียน
ถามท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า
“ข้าแต่ท่านผู้เจริญ นิครนถนาฏบุตรเป็นสัพพัญญู(ผู้รู้ทุกสิ่ง) มองเห็นทุกอย่าง
ปฏิญญาญาณทัสสนะโดยไม่เหลือว่า ‘เมื่อเราเดิน ยืน หลับ และตื่น ญาณทัสสนะ๑
ก็ปรากฏเป็นนิตย์’ เขาบัญญัติว่ากรรมเก่าสิ้นสุดเพราะตบะ(การบำเพ็ญเพียรอย่าง
หนัก) บัญญัติการกำจัดเหตุได้เพราะไม่ทำกรรมใหม่ ด้วยเหตุนี้ เพราะกรรมสิ้นไป
ทุกข์จึงสิ้นไป เพราะทุกข์สิ้นไป เวทนาจึงสิ้นไป เพราะเวทนาสิ้นไป ทุกข์ทั้งสิ้นจึงจัก
เป็นอันสลายไป การล่วงพ้นทุกข์ทั้งสิ้นย่อมมีได้ด้วยความบริสุทธิ์ที่ทำให้กิเลสสิ้นไป
ซึ่งประจักษ์ชัดด้วยตนเองนี้ ด้วยประการฉะนี้ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ในเรื่องนี้พระผู้มี
พระภาคตรัสไว้อย่างไร”
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “ท่านอภัย ความบริสุทธิ์ที่ทำให้กิเลสสิ้นไป ๓ ประการนี้
อันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์
เองโดยชอบ ตรัสไว้ชอบแล้ว เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อล่วงพ้น
ความโศก ความร่ำไร เพื่อความสิ้นทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ควรรู้ เพื่อทำ
พระนิพพานให้แจ้ง
ความบริสุทธิ์ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
เธอไม่ทำกรรมใหม่ และรับผลกรรมเก่าแล้วทำให้สิ้นไปโดยคิดว่า
“ความบริสุทธิ์เป็นสิ่งที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ทำให้กิเลสสิ้น
ไป ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อัน
วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน”


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๓. อานันทวรรค ๕. นิเวสกสูตร

๒. ภิกษุนั้นเพียบพร้อมด้วยศีล สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุจตุตถฌานที่ไม่
มีทุกข์ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ เธอไม่ทำกรรมใหม่ และ
รับผลกรรมเก่าแล้วทำให้สิ้นไปโดยคิดว่า “ความบริสุทธิ์เป็นสิ่งที่ผู้
ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ทำให้กิเลสสิ้นไป ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน”
๓. ภิกษุนั้นเพียบพร้อมด้วยศีลอย่างนี้ เพียบพร้อมด้วยสมาธิอย่างนี้
ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติที่ไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไป
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน เธอไม่ทำกรรมใหม่และรับผล
กรรมเก่าแล้วทำให้สิ้นไปโดยคิดว่า “ความบริสุทธิ์เป็นสิ่งที่ผู้ปฏิบัติจะ
พึงเห็นชัดด้วยตนเอง ทำให้กิเลสสิ้นไป ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียก
ให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน”
ความบริสุทธิ์ที่ทำให้กิเลสสิ้นไป ๓ ประการนี้แลอันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ ได้ตรัสไว้ชอบแล้ว
เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อล่วงพ้นความโศก ความร่ำไร เพื่อความสิ้น
ทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ควรรู้ เพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง
เมื่อท่านพระอานนท์กล่าวอย่างนี้แล้ว เจ้าบัณฑิตกุมารลิจฉวีได้กล่าวกับเจ้า
อภัยดังนี้ว่า “อภัยเพื่อนรัก ทำไมท่านจึงไม่ชื่นชมคำที่ท่านพระอานนท์กล่าวไว้ดีโดย
ความเป็นคำสุภาษิตเล่า”
เจ้าอภัยตอบว่า “บัณฑิตกุมารเพื่อนรัก ไฉนเราจักไม่ชื่นชมคำที่ท่านพระ
อานนท์กล่าวไว้ดีโดยความเป็นคำสุภาษิตเล่า ความคิดของผู้ที่ไม่ชื่นชมคำที่ท่าน
พระอานนท์กล่าวไว้ดีโดยความเป็นคำสุภาษิต พึงเสื่อมแน่นอน”

นิคัณฐสูตรที่ ๔ จบ

๕. นิเวสกสูตร
ว่าด้วยการชักชวนให้ตั้งมั่นในฐานะ

[๗๖] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๒๙๘ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๓. อานันทวรรค ๕. นิเวสกสูตร

อานนท์ เธอทั้งหลายพึงอนุเคราะห์คนเหล่าใด และคนเหล่าใดจะเป็นมิตร
อำมาตย์ ญาติ สาโลหิต๑ก็ตาม ให้ความสำคัญคำที่ควรรับฟัง เธอทั้งหลายพึง
ชักชวนคนเหล่านั้นให้ตั้งมั่นให้ดำรงอยู่ในฐานะ ๓ ประการ
ฐานะ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. พึงชักชวนให้ตั้งมั่นให้ดำรงอยู่ในความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า
ว่า “แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์
ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จ
ไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค”
๒. พึงชักชวนให้ตั้งมั่นให้ดำรงอยู่ในความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม
ว่า “พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัด
ด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน
อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน”
๓. พึงชักชวนให้ตั้งมั่นให้ดำรงอยู่ในความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า
“พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติ
ถูกทาง ปฏิบัติสมควร ได้แก่ อริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล พระสงฆ์
สาวกของพระผู้มีพระภาคนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่
ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอด
เยี่ยมของโลก”
มหาภูต ๔ คือ ปฐวีธาตุ(ธาตุดิน) อาโปธาตุ(ธาตุน้ำ) เตโชธาตุ(ธาตุไฟ) และ
วาโยธาตุ(ธาตุลม) อาจกลายเป็นอย่างอื่นได้ แต่พระอริยสาวกผู้ประกอบด้วยความ
เลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ไม่พึงแปรเป็นอย่างอื่นได้เลย ในเรื่องนั้น เป็น
ไปไม่ได้เลยที่จะแปรเป็นอย่างอื่น คือพระอริยสาวกนั้นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใส
อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าจักถือกำเนิดในนรก สัตว์เดรัจฉาน หรือแดนเปรต


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๓. อานันทวรรค ๖. ปฐมภวสูตร

มหาภูต ๔ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ อาจกลายเป็น
อย่างอื่นได้ แต่พระอริยสาวกผู้เพียบพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระ
ธรรม ฯลฯ แต่พระอริยสาวกผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์
ไม่พึงแปรเป็นอย่างอื่นได้เลย ในเรื่องนั้นเป็นไปไม่ได้เลยที่จะแปรเป็นอย่างอื่น คือ
พระอริยสาวกผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์จักถือกำเนิดในนรก
สัตว์เดรัจฉาน หรือแดนเปรต
อานนท์ เธอทั้งหลายพึงอนุเคราะห์คนเหล่าใด และคนเหล่าใดจะเป็นมิตร
อำมาตย์ ญาติ สาโลหิตก็ตาม ให้ความสำคัญคำที่ควรรับฟัง เธอทั้งหลายพึงชัก
ชวนคนเหล่านั้นให้ตั้งมั่นให้ดำรงอยู่ในฐานะ ๓ ประการนี้แล

นิเวสกสูตรที่ ๕ จบ

๖. ปฐมภวสูตร
ว่าด้วยเหตุเกิดแห่งภพ สูตรที่ ๑

[๗๗] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ พระองค์ตรัสเรียกว่า ‘ภพ ภพ’ ด้วยเหตุเพียงไร ภพจึงมีได้ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “อานนท์ ถ้ากรรมที่อำนวยผลให้ในกามธาตุ
จักไม่มีแล้ว กามภพพึงปรากฏได้บ้างไหม”
พระอานนท์กราบทูลว่า “ไม่พึงปรากฏเลย พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ เพราะเหตุนี้แล กรรม๑จึงชื่อว่าเป็นไร่นา
วิญญาณ๒จึงชื่อว่าเป็นพืช ตัณหาจึงชื่อว่าเป็นยางเหนียว วิญญาณดำรงมั่นอยู่ได้
เพราะธาตุอย่างหยาบ๓ของสัตว์ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องปิดกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก
ใจ การเกิดในภพใหม่จึงมีต่อไปอีกด้วยประการฉะนี้”


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๓. อานันทวรรค ๗.ทุติยภวสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสถามต่อไปอีกว่า “อานนท์ ถ้ากรรมที่อำนวยผลให้ใน
รูปธาตุจักไม่มีแล้ว รูปภพพึงปรากฏบ้างไหม”
พระอานนท์กราบทูลว่า “ไม่พึงปรากฏเลย พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ เพราะเหตุนี้แล กรรมจึงชื่อว่าเป็นไร่นา
วิญญาณจึงชื่อว่าเป็นพืช ตัณหา จึงชื่อว่าเป็นยางเหนียว วิญญาณดำรงมั่นอยู่ได้
เพราะธาตุอย่างกลาง๑ของสัตว์ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องปิดกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกใจ
การเกิดในภพใหม่จึงมีต่อไปอีกด้วยประการฉะนี้”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามต่อไปอีกว่า “อานนท์ ถ้ากรรมที่อำนวยผลให้ใน
อรูปธาตุจักไม่มีแล้ว อรูปภพพึงปรากฏบ้างไหม”
พระอานนท์กราบทูลว่า “ไม่พึงปรากฏเลย พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ เพราะเหตุนี้แล กรรมจึงชื่อว่าเป็นไร่นา
วิญญาณจึงชื่อว่าเป็นพืช ตัณหาจึงชื่อว่าเป็นยางเหนียว วิญญาณดำรงมั่นอยู่ได้เพราะ
ธาตุอย่างประณีต๒ของสัตว์ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องปิดกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกใจ
การเกิดในภพใหม่จึงมีต่อไปอีกด้วยประการฉะนี้ อานนท์ ภพมีได้ด้วยเหตุดังกล่าว
มานี้แล”

ปฐมภวสูตรที่ ๖ จบ

๗. ทุติยภวสูตร
ว่าด้วยเหตุเกิดแห่งภพ สูตรที่ ๒

[๗๘] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลกับพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ พระองค์ตรัสเรียกว่า ‘ภพ ภพ’ ด้วยเหตุเพียงไร ภพจึงมีได้ พระพุทธเจ้าข้า”


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๓. อานันทวรรค ๗.ทุติยภวสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “อานนท์ ถ้ากรรมที่อำนวยผลให้ในกามธาตุจัก
ไม่มีแล้ว กามภพพึงปรากฏบ้างไหม”
พระอานนท์กราบทูลว่า “ไม่พึงปรากฏเลย พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ เพราะเหตุนี้แล กรรมจึงชื่อว่าเป็นไร่นา
วิญญาณจึงชื่อว่าเป็นพืช ตัณหาจึงชื่อว่าเป็นยางเหนียว เจตนาแน่วแน่ ความ
ปรารถนาดำรงมั่นอยู่ได้เพราะธาตุอย่างหยาบของสัตว์ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องปิดกั้นมี
ตัณหาเป็นเครื่องผูกใจ การเกิดในภพใหม่จึงมีต่อไปอีกด้วยประการฉะนี้”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามต่อไปอีกว่า “อานนท์ ถ้ากรรมที่อำนวยผลให้ในรูป
ธาตุจักไม่มีแล้ว รูปภพพึงปรากฏบ้างไหม”
พระอานนท์กราบทูลว่า “ไม่พึงปรากฏเลย พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ เพราะเหตุนี้แล กรรมจึงชื่อว่าเป็นไร่นา
วิญญาณจึงชื่อว่าเป็นพืช ตัณหาจึงชื่อว่าเป็นยางเหนียว เจตนาแน่วแน่ ความ
ปรารถนาดำรงมั่นอยู่ได้เพราะธาตุอย่างกลางของสัตว์ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องปิดกั้น
มีตัณหาเป็นเครื่องผูกใจ การเกิดในภพใหม่จึงมีต่อไปอีกด้วยประการฉะนี้”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามต่อไปอีกว่า “อานนท์ ถ้ากรรมที่อำนวยผลให้ใน
อรูปธาตุจักไม่มีแล้ว อรูปภพพึงปรากฏบ้างไหม”
พระอานนท์กราบทูลว่า “ไม่พึงปรากฏเลย พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ เพราะเหตุนี้แล กรรมจึงชื่อว่าเป็นไร่นา
วิญญาณจึงชื่อว่าเป็นพืช ตัณหาจึงชื่อว่าเป็นยางเหนียว เจตนาแน่วแน่ ความ
ปรารถนาดำรงมั่นอยู่ได้เพราะธาตุอย่างประณีตของสัตว์ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องปิดกั้น
มีตัณหาเป็นเครื่องผูกใจ การเกิดในภพใหม่จึงมีต่อไปอีกด้วยประการฉะนี้ อานนท์
ภพมีได้ด้วยเหตุดังกล่าวมานี้แล”

ทุติยภวสูตรที่ ๗ จบ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๓. อานันทวรรค ๙. คันธชาตสูตร

๘. สีลัพพตสูตร
ว่าด้วยผลแห่งศีลและวัตร

[๗๙] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า
“อานนท์ ศีลวัตร ชีวิต๑ พรหมจรรย์ และการบำบวง๒ มีผลทุกอย่างหรือ”
พระอานนท์กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในปัญหาเรื่องนี้ไม่พึงตอบ
โดยแง่เดียว”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ ถ้าเช่นนั้น เธอจงจำแนก”
พระอานนท์กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลนั้นเสพ(รักษา)
ศีลวัตร ชีวิต พรหมจรรย์ และการบำบวงใด อกุศลธรรมเจริญยิ่งขึ้น กุศลธรรม
กลับเสื่อมไป ศีลวัตร ชีวิต พรหมจรรย์ และการบำบวงนั้นชื่อว่าไม่มีผล ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลนั้นเสพศีลวัตร ชีวิต พรหมจรรย์ และการบำบวงใด
อกุศลธรรมเสื่อมไป กุศลธรรมกลับเจริญยิ่งขึ้น ศีลวัตร ชีวิต พรหมจรรย์ และการ
บำบวงนั้นชื่อว่ามีผล”
ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลเรื่องนี้แล้ว พระศาสดาทรงพอพระทัย ลำดับนั้น
ท่านพระอานนท์คิดว่า “พระศาสดาทรงพอพระทัยเรา” จึงลุกจากที่นั่งถวายอภิวาท
ทำประทักษิณแล้วหลีกไป ครั้นพอท่านพระอานนท์หลีกไปได้ไม่นาน พระผู้มีพระ
ภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อานนท์ยังเป็นพระเสขะ
แต่ผู้ที่เสมอกับอานนท์ทางปัญญามิใช่หาได้ง่าย”

สีลัพพตสูตรที่ ๘ จบ

๙. คันธชาตสูตร
ว่าด้วยกลิ่นหอม

[๘๐] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควรได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๓. อานันทวรรค ๙. คันธชาตสูตร

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กลิ่นหอม ๓ อย่าง ลอยไปตามลมเท่านั้น ลอยไป
ทวนลมไม่ได้
กลิ่นหอม ๓ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. กลิ่นที่เกิดจากราก ๒. กลิ่นที่เกิดจากแก่น
๓. กลิ่นที่เกิดจากดอก
กลิ่นหอม ๓ อย่างนี้แล ลอยไปตามลมเท่านั้น ลอยไปทวนลมไม่ได้ ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ กลิ่นหอมที่ลอยไปตามลมก็ได้ ลอยไปทวนลมก็ได้ ลอยไปตามลม
และทวนลมก็ได้ มีอยู่หรือ
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อานนท์ กลิ่นหอมที่ลอยไปตามลมก็ได้ ลอยไป
ทวนลมก็ได้ ลอยไปทั้งตามลมและทวนลมก็ได้ มีอยู่
ท่านพระอานนท์ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กลิ่นหอมที่ลอยไปตามลม
ก็ได้ ลอยไปทวนลมก็ได้ ลอยไปทั้งตามลมและทวนลมก็ได้ เป็นอย่างไร
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อานนท์ ในโลกนี้สตรีหรือบุรุษในบ้านหรือใน
ตำบลใดถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ถึงพระธรรมเป็นสรณะ ถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ
เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการประพฤติผิด
ในกาม เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัย
อันเป็นเหตุแห่งความประมาท เป็นผู้มีศีล มีธรรมงาม มีใจปราศจากความตระหนี่
อันเป็นมลทิน มีจาคะอันสละแล้ว มีฝ่ามือชุ่ม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดี
ในการให้ทานและการจำแนกทาน อยู่ครองเรือน
สมณพราหมณ์ในทิศทั้งหลายต่างกล่าวสรรเสริญคุณของเขาว่า “สตรีหรือ
บุรุษในบ้านหรือในตำบลโน้นถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ถึงพระธรรมเป็นสรณะ ถึง
พระสงฆ์เป็นสรณะ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาดจาก
การประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากการเสพของมึนเมา
คือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท เป็นผู้มีศีล มีธรรมงาม มีใจปราศ
จากความตระหนี่อันเป็นมลทิน มีจาคะอันสละแล้ว มีฝ่ามือชุ่ม ยินดีในการสละ
ควรแก่การขอ ยินดีในการให้ทานและการจำแนกทาน อยู่ครองเรือน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๐๔ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๓. อานันทวรรค ๑๐. จูฬนิกาสูตร

แม้พวกเทวดาก็กล่าวสรรเสริญคุณของเขาว่า “สตรีหรือบุรุษในบ้านหรือใน
ตำบลโน้น ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ฯลฯ ควรแก่การขอ ยินดีในการให้ทานและ
การจำแนกทาน อยู่ครองเรือน” อานนท์ กลิ่นหอมนี้แล ลอยไปตามลมก็ได้ ลอยไป
ทวนลมก็ได้ ลอยไปทั้งตามลมและทวนลมก็ได้
กลิ่นดอกไม้ลอยไปทวนลมไม่ได้
กลิ่นจันทน์ กลิ่นกฤษณา
หรือกลิ่นกะลำพัก ลอยไปทวนลมไม่ได้
ส่วนกลิ่นของสัตบุรุษลอยไปทวนลมได้
เพราะสัตบุรุษขจรไปทั่วทุกทิศ(ด้วยกลิ่นแห่งคุณมีศีลเป็นต้น)

คันธชาตสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. จูฬนิกาสูตร
ว่าด้วยโลกธาตุขนาดเล็ก

[๘๑] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้รับฟังเรื่องนี้มาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มี
พระภาคว่า ‘อานนท์ สาวกชื่อว่าอภิภูของพระผู้มีพระภาคพระนามว่าสิขีสถิตอยู่ใน
พรหมโลก ใช้เสียงประกาศให้สหัสสีโลกธาตุรู้เรื่องได้๑’ ส่วนพระผู้มีพระภาคอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสามารถใช้พระสุรเสียงประกาศให้รู้เรื่องได้ไกลเท่าไร พระพุทธ
เจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ นั้นเป็นเพียงสาวก ส่วนตถาคตทั้งหลาย
ประมาณไม่ได้”


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๓. อานันทวรรค ๑๐. จูฬนิกาสูตร

แม้ครั้งที่ ๒ ท่านพระอานนท์ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้รับฟังเรื่องนี้มาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มี
พระภาคว่า ‘อานนท์ สาวกชื่อว่าอภิภูของพระผู้มีพระภาคพระนามว่าสิขีสถิตอยู่ใน
พรหมโลก ใช้เสียงประกาศให้สหัสสีโลกธาตุรู้เรื่องได้’ ส่วนพระผู้มีพระภาคอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสามารถใช้พระสุรเสียงประกาศให้รู้เรื่องได้ไกลเท่าไร พระพุทธ
เจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ นั้นเป็นเพียงสาวก ส่วนตถาคตทั้งหลาย
ประมาณไม่ได้”
แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระอานนท์ก็ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้รับฟังเรื่องนี้มาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มี
พระภาคว่า ‘อานนท์ สาวกชื่อว่าอภิภูของพระผู้มีพระภาคพระนามว่าสิขีสถิตอยู่ใน
พรหมโลก ใช้เสียงประกาศให้สหัสสีโลกธาตุรู้เรื่องได้’ ส่วนพระผู้มีพระภาคอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสามารถใช้พระสุรเสียงประกาศให้รู้เรื่องได้ไกลเท่าไร พระพุทธ
เจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เธอได้ฟังเพียงเรื่องสหัสสีโลกธาตุขนาดเล็ก๑เท่านั้น”
พระอานนท์กราบทูลว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค บัดนี้เป็นเวลา ข้าแต่พระสุคต
บัดนี้เป็นเวลาแห่งเทศนาที่พระองค์จะพึงตรัส ภิกษุทั้งหลายได้สดับพระธรรมเทศนาของ
พระผู้มีพระภาคแล้วจักทรงจำไว้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ ถ้าเช่นนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เรา
จักกล่าว”
ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
อานนท์ สหัสสีโลกธาตุเท่าโอกาสที่ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์โคจรส่องทิศทั้ง
หลายให้สว่างรุ่งโรจน์ ในสหัสสีโลกธาตุนั้น มีดวงจันทร์ ๑,๐๐๐ ดวง มีดวงอาทิตย์
๑,๐๐๐ ดวง มีขุนเขาสิเนรุ ๑,๐๐๐ ลูก มีชมพูทวีป ๑,๐๐๐ มีอปรโคยานทวีป


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๓. อานันทวรรค ๑๐. จูฬนิกาสูตร

๑,๐๐๐ มีอุตตรกุรุทวีป ๑,๐๐๐ มีปุพพวิเทหทวีป ๑,๐๐๐ มีมหาสมุทร ๔,๐๐๐
มีท้าวมหาราช ๔,๐๐๐๑มีเทวโลกชั้นจาตุมหาราช ๑,๐๐๐ มีเทวโลกชั้นดาวดึงส์
๑,๐๐๐ มีเทวโลกชั้นยามา ๑,๐๐๐ มีเทวโลกชั้นดุสิต ๑,๐๐๐ มีเทวโลกชั้นนิมมานรดี
๑,๐๐๐ มีเทวโลกชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ๑,๐๐๐ มีพรหมโลก ๑,๐๐๐ นี้เรียกว่า
สหัสสีโลกธาตุขนาดเล็ก
โลก ๑,๐๐๐ คูณด้วยโลกธาตุขนาดเล็กนั้น นี้เรียกว่า สหัสสีโลกธาตุขนาด
กลาง๒ โลก ๑,๐๐๐ คูณด้วยสหัสสีโลกธาตุขนาดกลางนั้น นี้เรียกว่า สหัสสีโลกธาตุ
ขนาดใหญ่๓
อานนท์ ตถาคตเมื่อมุ่งหมายพึงใช้เสียงประกาศให้สหัสสีโลกธาตุขนาดใหญ่
รู้เรื่องได้ หรือใช้เสียงประกาศให้รู้เรื่องได้เท่าที่มุ่งหมาย
พระอานนท์ทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคพึงใช้พระ
สุรเสียงประกาศให้สหัสสีโลกธาตุขนาดใหญ่รู้เรื่องได้หรือใช้พระสุรเสียงประกาศให้รู้
เรื่องได้เท่าที่มุ่งหมาย อย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ พระตถาคตในโลกนี้พึงแผ่รัศมีไปทั่ว
สหัสสีโลกธาตุขนาดใหญ่ได้ เมื่อใด หมู่สัตว์พึงจำแสงสว่างนั้นได้ เมื่อนั้น พระ
ตถาคตพึงเปล่งพระสุรเสียงให้สัตว์เหล่านั้นได้ยิน อานนท์ พระตถาคตพึงใช้
พระสุรเสียงประกาศให้สหัสสีโลกธาตุขนาดใหญ่รู้เรื่องได้หรือใช้พระสุรเสียงประกาศให้รู้
เรื่องได้เท่าที่มุ่งหมายอย่างนี้แล”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์จึงได้กราบทูลคำนี้ว่า
“เป็นลาภของข้าพระองค์หนอ เป็นโชคของข้าพระองค์หนอที่ข้าพระองค์มีพระศาสดา
ผู้ทรงมีฤทธิ์อย่างนี้ มีอานุภาพอย่างนี้”


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๔. สมณวรรค ๑. สมณสูตร

เมื่อท่านพระอานนท์กราบทูลอย่างนี้แล้ว ท่านพระอุทายีจึงได้กล่าวกับท่าน
พระอานนท์ดังนี้ว่า “ท่านอานนท์ ถ้าพระศาสดาของท่านทรงมีฤทธิ์อย่างนี้ มี
อานุภาพอย่างนี้ ในข้อนี้ท่านได้ประโยชน์อะไร”
เมื่อท่านพระอุทายีกล่าวอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคจึงตรัสกับท่านพระอุทายี
ดังนี้ว่า “อุทายี เธออย่าได้กล่าวอย่างนั้น ๆ ถ้าอานนท์ยังไม่หมดราคะมรณภาพไป
อย่างนี้ไซร้ เพราะจิตที่เลื่อมใสนั้น เธอจะครอบครองความเป็นเจ้าแห่งเทวดาในหมู่
เทวดา ๗ ครั้ง จะครอบครองความเป็นมหาราชในชมพูทวีปนี้แล ๗ ครั้ง อุทายี
แต่อานนท์จักปรินิพพานในปัจจุบันชาตินี้แล”

จูฬนิกาสูตรที่ ๑๐ จบ
อานันทวรรคที่ ๓ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ฉันนสูตร ๒. อาชีวกสูตร
๓. มหานามสักกสูตร ๔. นิคัณฐสูตร
๕. นิเวสกสูตร ๖. ปฐมภวสูตร
๗. ทุติยภวสูตร ๘ สีลัพพตสูตร
๙. คันธชาตสูตร ๑๐. จูฬนิกาสูต

๔. สมณวรรค
หมวดว่าด้วยสมณะ
๑. สมณสูตร
ว่าด้วยกิจของสมณะ

[๘๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย กิจที่สมณะควรทำ เป็นของ
สมณะ ๓ ประการนี้
กิจที่สมณะควรทำ เป็นของสมณะ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๐๘ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๔. สมณวรรค ๒. คัทรภสูตร

๑. การสมาทานอธิสีลสิกขา (สิกขาคือศีลอันยิ่ง)
๒. การสมาทานอธิจิตตสิกขา (สิกขาคือจิตอันยิ่ง)
๓. การสมาทานอธิปัญญาสิกขา (สิกขาคือปัญญาอันยิ่ง)

กิจที่สมณะควรทำ เป็นของสมณะ ๓ ประการนี้แล
เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า “เราจักมีความพอใจ
อย่างยิ่งในการสมาทานอธิสีลสิกขา เราจักมีความพอใจอย่างยิ่งในการสมาทานอธิจิตต-
สิกขา เราจักมีความพอใจอย่างยิ่งในการสมาทานอธิปัญญาสิกขา”
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล

สมณสูตรที่ ๑ จบ

๒. คัทรภสูตร
ว่าด้วยภิกษุที่ไม่มีไตรสิกขาเปรียบเหมือนลาในฝูงโค

[๘๓] ภิกษุทั้งหลาย ลาติดตามฝูงโคไปข้างหลังร้องว่า “แม้ตัวเราก็เป็นโค แม้
ตัวเราก็เป็นโค” แต่มันไม่มีสีเหมือนโค ไม่มีเสียงเหมือนโค ไม่มีรอยเท้าเหมือนโค
มันเพียงแต่ติดตามไปข้างหลังเท่านั้น ร้องว่า “แม้ตัวเราก็เป็นโค แม้ตัวเราก็เป็นโค”
แม้ฉันใด
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ติดตามไปข้างหลังหมู่ภิกษุ ประกาศ
ตนว่า “แม้เราก็เป็นภิกษุ แม้เราก็เป็นภิกษุ” แต่เธอไม่มีความพอใจในการสมาทาน
อธิสีลสิกขาเหมือนภิกษุอื่น ไม่มีความพอใจในการสมาทานอธิจิตตสิกขาเหมือนภิกษุอื่น
ไม่มีความพอใจในการสมาทานอธิปัญญาสิกขาเหมือนภิกษุอื่น ภิกษุนั้นเพียงแต่ติด
ตามไปข้างหลังหมู่ภิกษุ ประกาศตนว่า “แม้เราก็เป็นภิกษุ แม้เราก็เป็นภิกษุ” เท่านั้น
เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า “เราจักมีความพอใจ
อย่างยิ่งในการสมาทานอธิสีลสิกขา เราจักมีความพอใจอย่างยิ่งในการสมาทาน
อธิจิตตสิกขา เราจักมีความพอใจอย่างยิ่งในการสมาทานอธิปัญญาสิกขา”
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล

คัทรภสูตรที่ ๒ จบ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๔. สมณวรรค ๔. วัชชีปุตตสูตร

๓. เขตตสูตร
ว่าด้วยกิจเบื้องต้นที่ควรทำในนา

[๘๔] ภิกษุทั้งหลาย คหบดีชาวนามีกิจที่ต้องทำในเบื้องต้น ๓ ประการนี้
กิจที่ต้องทำในเบื้องต้น ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
คหบดีชาวนาในโลกนี้ ในเบื้องต้น
๑. ต้องไถคราดนาให้เรียบร้อย ๒. ต้องเพาะพืชลงไปตามกาลที่ควร
๓. ต้องไขน้ำเข้าบ้าง ระบายน้ำออกบ้างตามกาลที่ควร
คหบดีชาวนามีกิจที่ต้องทำในเบื้องต้น ๓ ประการนี้แล ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล มีกิจที่ต้องทำในเบื้องต้น ๓ ประการนี้
กิจที่ต้องทำในเบื้องต้น ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. การสมาทานอธิสีลสิกขา ๒. การสมาทานอธิจิตตสิกขา
๓. การสมาทานอธิปัญญาสิกขา
ภิกษุมีกิจที่ต้องทำในเบื้องต้น ๓ ประการนี้แล
เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า “เราจักมีความพอใจ
อย่างยิ่งในการสมาทานอธิสีลสิกขา เราจักมีความพอใจอย่างยิ่งในการสมาทาน
อธิจิตตสิกขา เราจักมีความพอใจอย่างยิ่งในการสมาทานอธิปัญญาสิกขา”
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล

เขตตสูตรที่ ๓ จบ

๔. วัชชีปุตตสูตร
ว่าด้วยภิกษุวัชชีบุตร

[๘๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน
เขตกรุงเวสาลี ครั้งนั้น ภิกษุวัชชีบุตร๑รูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๔. สมณวรรค ๕. เสกขสูตร

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สิกขาบท ๑๕๐ ถ้วน๑นี้มาถึงวาระที่จะยกขึ้นแสดง
เป็นข้อ ๆ ตามลำดับทุกกึ่งเดือน ข้าพระองค์ไม่สามารถศึกษาในสิกขาบทนี้ได้”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุ ก็เธอจักสามารถศึกษาในสิกขา ๓ คือ
อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขาหรือ”
ภิกษุวัชชีบุตรนั้นกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์สามารถ
ศึกษาในสิกขา ๓ คือ อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขาได้”
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ถ้าเช่นนั้น เธอจงศึกษาในสิกขา ๓ คือ อธิสีลสิกขา
อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา
เมื่อใด เธอศึกษาอธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา เมื่อนั้น
เธอผู้ศึกษาอธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขาอยู่ ก็จักละราคะ โทสะ
และโมหะได้ เพราะละราคะ โทสะ และโมหะได้ เธอจักไม่ทำกรรมที่เป็นอกุศล
จักไม่ประพฤติสิ่งที่เลวทรามอีก
ครั้นต่อมา ภิกษุนั้นศึกษาอธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา
เมื่อเธอผู้ศึกษาอธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขาอยู่ ก็ละราคะ โทสะ
และโมหะได้ เพราะละราคะ โทสะ และโมหะได้แล้ว เธอจึงไม่ทำกรรมที่เป็นอกุศล
ไม่ประพฤติสิ่งที่เลวทรามอีก

วัชชีปุตตสูตรที่ ๔ จบ

๕. เสกขสูตร
ว่าด้วยเสกขบุคคล

[๘๖] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๔. สมณวรรค ๖.ปฐมสิกขาสูตร

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า “เสขะ เสขะ” บุคคลชื่อว่าเป็นเสขะ
ด้วยเหตุเพียงเท่าไร
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ที่เรียกว่า “เสขะ” เพราะยังต้องศึกษา
ศึกษาอะไร คือ ศึกษาอธิสีลสิกขาบ้าง อธิจิตตสิกขาบ้าง อธิปัญญาสิกขาบ้าง
ภิกษุ ที่เรียกว่า เสขะ เพราะยังต้องศึกษาแล
ญาณ๑ในความสิ้นกิเลสย่อมเกิดขึ้นแก่พระเสขะ
ผู้กำลังศึกษาและปฏิบัติตามทางสายตรง๒ก่อน
ลำดับต่อจากนั้นอรหัตตผลจึงเกิด
ต่อจากนั้น ญาณ๓ในความสิ้นไปแห่งภวสังโยชน์
ว่า “วิมุตติของเราไม่กำเริบ”
ย่อมเกิดขึ้นแก่ท่านผู้หลุดพ้นด้วยอรหัตตผล

เสกขสูตรที่ ๕ จบ

๖. ปฐมสิกขาสูตร
ว่าด้วยไตรสิกขา สูตรที่ ๑

[๘๗] ภิกษุทั้งหลาย สิกขาบท ๑๕๐ ถ้วนที่กุลบุตรผู้ปรารถนาประโยชน์
ศึกษาอยู่ มาถึงวาระที่จะยกขึ้นแสดงเป็นข้อ ๆ ตามลำดับทุกกึ่งเดือน สิกขา ๓
ประการนี้เป็นที่รวมของสิกขาบท ๑๕๐ นั้นทั้งหมด
สิกขา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อธิสีลสิกขา ๒. อธิจิตตสิกขา
๓. อธิปัญญาสิกขา
สิกขา ๓ ประการนี้แลเป็นที่รวมของสิกขาบท ๑๕๐ นั้นทั้งหมด


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๔. สมณวรรค ๖.ปฐมสิกขาสูตร

ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีปกติทำศีลให้บริบูรณ์ มีปกติทำสมาธิพอประมาณ มี
ปกติทำปัญญาพอประมาณ ภิกษุนั้นล่วงละเมิดสิกขาบทเล็กน้อย๑บ้าง ออกจาก
อาบัติบ้าง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะในการต้องอาบัติและการออกจากอาบัติ
เล็กน้อยนี้ เราไม่กล่าวความเป็นคนไม่เหมาะสม(แก่มรรคผล)ไว้ แต่สิกขาบท๒
เหล่าใดเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ สมควรแก่พรหมจรรย์ ภิกษุนั้นมีศีลประจำตัว
และมีศีลมั่นคงในสิกขาบทเหล่านั้น ศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย เพราะสังโยชน์๓
๓ ประการสิ้นไป เธอจึงเป็นโสดาบัน๔ ไม่มีทางตกต่ำ๕ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จ
สัมโพธิ๖ ในวันข้างหน้า
ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีปกติทำศีลให้บริบูรณ์ มีปกติทำสมาธิพอประมาณ มี
ปกติทำปัญญาพอประมาณ ภิกษุนั้นล่วงละเมิดสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง ออกจาก
อาบัติบ้าง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะในการต้องอาบัติและการออกจากอาบัติเล็ก
น้อยนี้ เราไม่กล่าวความเป็นคนไม่เหมาะสมไว้ แต่สิกขาบทเหล่าใดเป็นเบื้องต้น
แห่งพรหมจรรย์ สมควรแก่พรหมจรรย์ ภิกษุนั้นมีศีลประจำตัวและมีศีลมั่นคงใน
สิกขาบทเหล่านั้น สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย เพราะสังโยชน์ ๓ ประการ
สิ้นไป และเพราะราคะ โทสะ โมหะเบาบาง เธอจึงเป็นสกทาคามี มาสู่โลกนี้อีก
เพียงครั้งเดียวก็จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๔. สมณวรรค ๗. ทุติยสิกขาสูตร

ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีปกติทำศีลให้บริบูรณ์ มีปกติทำสมาธิให้บริบูรณ์ มีปกติ
ทำปัญญาพอประมาณ ภิกษุนั้นล่วงละเมิดสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง ออกจากอาบัติบ้าง
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะในการต้องอาบัติและการออกจากอาบัติเล็กน้อยนี้ เราไม่
กล่าวความเป็นคนไม่เหมาะสมไว้ แต่สิกขาบทเหล่าใดเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์
สมควรแก่พรหมจรรย์ ภิกษุนั้นมีศีลประจำตัวและมีศีลมั่นคงในสิกขาบทเหล่านั้น
สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป เธอ
จึงเป็นโอปปาติกะ๑ ปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก
ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีปกติทำศีลให้บริบูรณ์ มีปกติทำสมาธิให้บริบูรณ์ มีปกติ
ทำปัญญาพอประมาณ ภิกษุนั้นล่วงละเมิดสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง ออกจากอาบัติบ้าง
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะในการต้องอาบัติและการออกจากอาบัติเล็กน้อยนี้ เราไม่
กล่าวความเป็นคนไม่เหมาะสมไว้ แต่สิกขาบทเหล่าใดเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์
สมควรแก่พรหมจรรย์ ภิกษุนั้นมีศีลประจำตัวและมีศีลมั่นคงในสิกขาบทเหล่านั้น
สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย เธอทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มี
อาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ทำได้เพียงบางส่วนย่อมให้สำเร็จได้บางส่วน ผู้ทำได้
บริบูรณ์ย่อมให้สำเร็จได้บริบูรณ์ ด้วยประการฉะนี้แล เรากล่าวว่าสิกขาบททั้งหลาย
ไม่เป็นหมันเลย

ปฐมสิกขาสูตรที่ ๖ จบ

๗. ทุติยสิกขาสูตร
ว่าด้วยไตรสิกขา สูตรที่ ๒

[๘๘] ภิกษุทั้งหลาย สิกขาบท ๑๕๐ ถ้วนที่กุลบุตรทั้งหลายผู้ปรารถนา
ประโยชน์ศึกษาอยู่ มาถึงวาระที่จะยกขึ้นแสดงเป็นข้อ ๆ ตามลำดับทุกกึ่งเดือน
สิกขา ๓ ประการนี้เป็นที่รวมของสิกขาบท ๑๕๐ นั้นทั้งหมด


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๔. สมณวรรค ๗. ทุติยสิกขาสูตร

สิกขา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อธิสีลสิกขา ๒. อธิจิตตสิกขา
๓. อธิปัญญาสิกขา
สิกขา ๓ ประการนี้แลเป็นที่รวมของสิกขาบท ๑๕๐ นั้นทั้งหมด
ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีปกติทำศีลให้บริบูรณ์ มีปกติทำสมาธิพอประมาณ มีปกติ
ทำปัญญาพอประมาณ ภิกษุนั้นล่วงละเมิดสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง ออกจากอาบัติบ้าง
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะในการต้องอาบัติและการออกจากอาบัติเล็กน้อยนี้ เราไม่
กล่าวความเป็นคนไม่เหมาะสมไว้ แต่สิกขาบทเหล่าใดเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์
สมควรแก่พรหมจรรย์ ภิกษุนั้นมีศีลประจำตัวและมีศีลมั่นคงในสิกขาบทเหล่านั้น
สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป เธอจึงเป็น
สัตตักขัตตุปรมโสดาบัน๑ ท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์อย่างมาก ๗ ครั้งแล้วทำ
ที่สุดแห่งทุกข์ได้ เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป เธอจึงเป็นโกลังโกลโสดาบัน๒
ท่องเที่ยวไปสู่ตระกูล๓๒ หรือ ๓ ตระกูล แล้วทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ เพราะสังโยชน์ ๓
ประการสิ้นไป เธอจึงเป็นเอกพีชีโสดาบัน๔ เกิดเป็นมนุษย์อีกเพียงภพเดียว ก็จะทำที่
สุดแห่งทุกข์ได้ เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไปและเพราะราคะ โทสะ โมหะเบาบาง
เธอจึงเป็นสกทาคามี มาสู่โลกนี้อีกเพียงครั้งเดียว ก็จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีปกติทำศีลให้บริบูรณ์ มีปกติทำสมาธิให้บริบูรณ์ มีปกติ
ทำปัญญาพอประมาณ ภิกษุนั้นล่วงละเมิดสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง ออกจากอาบัติบ้าง


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๔. สมณวรรค ๗. ทุติยสิกขาสูตร

ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะในการต้องอาบัติและการออกจากอาบัติเล็กน้อยนี้ เราไม่
กล่าวความเป็นคนไม่เหมาะสมไว้ แต่สิกขาบทเหล่าใดเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์
สมควรแก่พรหมจรรย์ ภิกษุนั้นมีศีลประจำตัวและมีศีลมั่นคงในสิกขาบทเหล่านั้น
ถือปฏิบัติศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป เธอ
จึงเป็นอุทธังโสโตอกนิฏฐคามี๑ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป เธอจึงเป็น
สสังขารปรินิพพายี๒ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป เธอจึงเป็นอสังขาร-
ปรินิพพายี๓ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป เธอจึงเป็นอุปหัจจปรินิพพายี๔
เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป เธอจึงเป็นอันตราปรินิพพายี๕
อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีปกติทำศีลให้บริบูรณ์ มีปกติทำสมาธิให้บริบูรณ์
มีปกติทำปัญญาให้บริบูรณ์ ภิกษุนั้นล่วงละเมิดสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง ออกจาก
อาบัติบ้าง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะในการต้องอาบัติและการออกจากอาบัติเล็ก
น้อยนี้ เราไม่กล่าวความเป็นคนไม่เหมาะสมไว้ แต่สิกขาบทเหล่าใดเป็นเบื้องต้นแห่ง
พรหมจรรย์ สมควรแก่พรหมจรรย์ ภิกษุนั้นมีศีลประจำตัวและมีศีลมั่นคงในสิกขาบท
เหล่านั้น สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย เธอทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
อันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๔. สมณวรรค ๘.ตติยสิกขาสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ทำได้เพียงบางส่วนย่อมให้สำเร็จได้บางส่วน ผู้ทำได้
บริบูรณ์ย่อมให้สำเร็จได้บริบูรณ์ ด้วยประการฉะนี้แล เรากล่าวว่าสิกขาบททั้งหลาย
ไม่เป็นหมันเลย

ทุติยสิกขาสูตรที่ ๗ จบ

๘. ตติยสิกขาสูตร
ว่าด้วยการบำเพ็ญไตรสิกขา สูตรที่ ๓

[๘๙] ภิกษุทั้งหลาย สิกขาบท ๑๕๐ ถ้วนที่กุลบุตรทั้งหลายผู้ปรารถนา
ประโยชน์ศึกษาอยู่ มาถึงวาระที่จะยกขึ้นแสดงเป็นข้อ ๆ ตามลำดับทุกกึ่งเดือน
สิกขา ๓ ประการนี้ เป็นที่รวมของสิกขาบท ๑๕๐ นั้นทั้งหมด
สิกขา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อธิสีลสิกขา ๒. อธิจิตตสิกขา
๓. อธิปัญญาสิกขา
สิกขา ๓ ประการนี้แลเป็นที่รวมของสิกขาบท ๑๕๐ นั้นทั้งหมด
ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีปกติทำศีลให้บริบูรณ์ มีปกติทำสมาธิให้บริบูรณ์ มีปกติ
ทำปัญญาให้บริบูรณ์ ภิกษุนั้นล่วงละเมิดสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง ออกจากอาบัติบ้าง
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะในการต้องอาบัติและการออกจากอาบัติเล็กน้อยนี้ เราไม่
ได้กล่าวความเป็นคนไม่เหมาะสมไว้ แต่สิกขาบทเหล่าใดเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์
สมควรแก่พรหมจรรย์ ภิกษุนั้นมีศีลประจำตัวและมีศีลมั่นคงในสิกขาบทเหล่านั้น
สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย เธอทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มี
อาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน หรือเมื่อยังไม่
บรรลุ ยังไม่รู้แจ้งอรหัตนั้น เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป เธอจึงเป็น
อันตราปรินิพพายี หรือเมื่อยังไม่บรรลุ ยังไม่รู้แจ้งอรหัตนั้น เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ
๕ ประการสิ้นไป เธอจึงเป็นอุปหัจจปรินิพพายี หรือเมื่อยังไม่บรรลุ ยังไม่รู้แจ้ง
อรหัตนั้น เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป เธอจึงเป็นอสังขารปรินิพพายี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๑๗ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๔. สมณวรรค ๙. ปฐมสิกขัตตยสูตร

หรือเมื่อยังไม่บรรลุ ยังไม่รู้แจ้งอรหัตนั้น เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป
เธอจึงเป็นสสังขารปรินิพพายี หรือเมื่อยังไม่บรรลุ ยังไม่รู้แจ้งอรหัตนั้น เพราะ
สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป เธอจึงเป็นอุทธังโสโตอกนิฏฐคามี หรือเมื่อยัง
ไม่บรรลุ ยังไม่รู้แจ้งอรหัตนั้น เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป และเพราะราคะ
โทสะ โมหะเบาบาง เธอจึงเป็นสกทาคามี มาสู่โลกนี้อีกเพียงครั้งเดียว ก็จะทำที่สุด
แห่งทุกข์ได้ หรือเมื่อยังไม่บรรลุ ยังไม่รู้แจ้งอรหัตนั้น เพราะสังโยชน์ ๓ ประการ
สิ้นไป เธอจึงเป็นเอกพีชีโสดาบัน เกิดเป็นมนุษย์อีกเพียงภพเดียว ก็จะทำที่สุด
แห่งทุกข์ได้ หรือเมื่อยังไม่บรรลุ ยังไม่รู้แจ้งอรหัตนั้น เพราะสังโยชน์ ๓ ประการ
สิ้นไป เธอจึงเป็นโกลังโกลโสดาบัน ท่องเที่ยวไปสู่ตระกูล ๒ หรือ ๓ ตระกูล ก็จะ
ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ หรือเมื่อยังไม่บรรลุ ยังไม่รู้แจ้งอรหัตนั้น เพราะสังโยชน์ ๓
ประการสิ้นไป เธอจึงเป็นสัตตักขัตตุปรมโสดาบัน ท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์
อย่างมาก ๗ ครั้ง ก็จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ทำได้บริบูรณ์ย่อมให้สำเร็จได้บริบูรณ์ ผู้ทำได้เพียงบาง
ส่วนย่อมให้สำเร็จได้บางส่วน ด้วยประการฉะนี้แล เรากล่าวว่าสิกขาบททั้งหลาย
ไม่เป็นหมันเลย

ตติยสิกขาสูตรที่ ๘ จบ

๙. ปฐมสิกขัตตยสูตร
ว่าด้วยไตรสิกขา สูตรที่ ๑

[๙๐] ภิกษุทั้งหลาย สิกขา ๓ ประการนี้
สิกขา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อธิสีลสิกขา ๒. อธิจิตตสิกขา
๓. อธิปัญญาสิกขา
อธิสีลสิกขา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
นี้เรียกว่า อธิสีลสิกขา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๑๘ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๔. สมณวรรค ๑๐. ทุติยสิกขัตยสูตร

อธิจิตตสิกขา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามทั้งหลาย ฯลฯ บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มี
ทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ นี้เรียกว่า อธิจิตตสิกขา
อธิปัญญาสิกขา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธ-
คามินีปฏิปทา” นี้เรียกว่า อธิปัญญาสิกขา
ภิกษุทั้งหลาย สิกขา ๓ ประการนี้แล

ปฐมสิกขัตตยสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ทุติยสิกขัตตยสูตร
ว่าด้วยไตรสิกขา สูตรที่ ๒

[๙๑] ภิกษุทั้งหลาย สิกขา ๓ ประการนี้
สิกขา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อธิสีลสิกขา ๒. อธิจิตตสิกขา
๓. อธิปัญญาสิกขา
อธิสีลสิกขา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
นี้เรียกว่า อธิสีลสิกขา
อธิจิตตสิกขา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามทั้งหลาย ฯลฯ บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มี
ทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ นี้เรียกว่า อธิจิตตสิกขา
อธิปัญญาสิกขา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะ
อาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน นี้เรียกว่า อธิปัญญาสิกขา
ภิกษุทั้งหลาย สิกขา ๓ ประการนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๑๙ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๔. สมณวรรค ๑๑. ปังกธาสูตร

ภิกษุผู้มีความเพียร มีความเข้มแข็ง
มีปัญญา เพ่งพินิจ มีสติ
คุ้มครองอินทรีย์ ครอบงำทุกทิศด้วยอัปปมาณสมาธิ๑
ประพฤติอธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา
เมื่อก่อนฉันใด ภายหลังก็ฉันนั้น
ภายหลังฉันใด เมื่อก่อนก็ฉันนั้น
เบื้องต่ำฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น
เบื้องบนฉันใด เบื้องต่ำก็ฉันนั้น
กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น
กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น
ภิกษุเช่นนั้น บัณฑิตกล่าวว่าเป็นนักศึกษา
เป็นนักปฏิบัติ และมีความประพฤติบริสุทธิ์
ภิกษุเช่นนั้น บัณฑิตกล่าวว่าเป็นผู้ตรัสรู้ชอบ๒
เป็นนักปราชญ์ เป็นผู้ถึงที่สุดแห่งการปฏิบัติในโลก
ท่านผู้ประกอบด้วยวิมุตติอันเป็นที่สิ้นตัณหา
ย่อมมีจิตหลุดพ้นจากสังขารธรรมเพราะวิญญาณดับสนิท
เหมือนความดับแห่งประทีปฉะนั้น

ทุติยสิกขัตตยสูตรที่ ๑๐ จบ

๑๑. ปังกธาสูตร
ว่าด้วยตำบลปังกธา

[๙๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศล พร้อมด้วย
ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จถึงตำบลของแคว้นโกศลชื่อปังกธา ทราบว่า พระผู้มีพระ
ภาคประทับอยู่ ณ ตำบลปังกธาของชาวโกศลนั้น


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๔. สมณวรรค ๑๑. ปังกธาสูตร

สมัยนั้น ภิกษุชื่อกัสสปโคตร เป็นเจ้าอาวาสอยู่ที่ตำบลปังกธา ทราบมาว่า ณ
ที่นั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เหล่าภิกษุเห็นชัด ชวนให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ
เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาที่ประกอบด้วย
สิกขาบท เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เหล่าภิกษุเห็นชัด ชวนให้อยากรับเอาไป
ปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาที่
ประกอบด้วยสิกขาบทอยู่ ภิกษุกัสสปโคตรได้มีความขัดใจ ไม่ยินดีว่า ‘สมณะนี้
ขัดเกลากิเลสยิ่งนัก’
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ตำบลปังกธาตามพระอัธยาศัยแล้ว เสด็จจาริก
ไปทางกรุงราชคฤห์ เสด็จจาริกไปโดยลำดับจนถึงกรุงราชคฤห์ ประทับอยู่ ณ ภูเขา
คิชฌกูฏ เขตกรุงราชคฤห์นั้น
เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จหลีกไปไม่นาน ภิกษุกัสสปโคตรได้มีความรำคาญ
เดือดร้อนใจว่า “ไม่ใช่ลาภของเราหนอ เราไม่มีลาภหนอ เราได้ชั่วแล้วหนอ เราได้
ไม่ดีแล้วหนอ ที่เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เหล่าภิกษุเห็นชัด ชวนให้อยากรับ
เอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา
ที่ประกอบด้วยสิกขาบท ได้มีความขัดใจ ไม่ยินดีว่า ‘สมณะนี้ขัดเกลากิเลสยิ่งนัก’
จะเป็นการดี ถ้าเราจะพึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้วแสดงโทษโดย
ความเป็นโทษในสำนักพระผู้มีพระภาค”
ลำดับนั้น ภิกษุกัสสปโคตรเก็บเสนาสนะ ถือบาตรจีวร หลีกไปทางกรุง
ราชคฤห์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุงราชคฤห์
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ตำบล
ปังกธาของชาวโกศล ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เหล่าภิกษุเห็นชัด ชวน
ให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง
ด้วยธรรมีกถาที่ประกอบด้วยสิกขาบท เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เหล่าภิกษุ
เห็นชัด ชวนให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้
สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาที่ประกอบด้วยสิกขาบทอยู่ ข้าพระองค์นั้นได้มีความขัดใจ
ไม่ยินดีว่า ‘สมณะนี้ขัดเกลากิเลสยิ่งนัก’ ครั้นพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ตำบล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๒๑ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๔. สมณวรรค ๑๑. ปังกธาสูตร

ปังกธาตามพระอัธยาศัยแล้ว เสด็จจาริกไปทางกรุงราชคฤห์ เมื่อพระผู้มีพระภาค
เสด็จหลีกไปไม่นาน ข้าพระองค์นั้นได้มีความรำคาญเดือดร้อนใจว่า ‘ไม่ใช่ลาภของ
เราหนอ เราไม่มีลาภหนอ เราได้ชั่วแล้วหนอ เราไม่ได้ดีแล้วหนอ ที่เมื่อพระผู้มี
พระภาคทรงชี้แจงให้เหล่าภิกษุเห็นชัด ชวนให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้
อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาที่ประกอบด้วยสิกขาบท
เรากลับมีความขัดใจไม่ยินดีว่า ‘สมณะนี้ขัดเกลากิเลสยิ่งนัก’ จะเป็นการดี ถ้าเรา
จะพึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้วแสดงโทษโดยความเป็นโทษในสำนัก
พระผู้มีพระภาค’ โทษได้ถึงตัวข้าพระองค์ผู้โง่เขลา งมงาย ไม่ฉลาด เมื่อพระผู้มีพระ
ภาคทรงชี้แจงให้เหล่าภิกษุเห็นชัด ชวนให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญ
แกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมมีกถาที่ประกอบด้วยสิกขาบทอยู่
ข้าพระองค์ได้มีความขัดใจ ไม่ยินดีว่า ‘สมณะนี้ขัดเกลากิเลสยิ่งนัก’ ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคทรงรับทราบโทษของข้าพระองค์นั้นโดยความเป็นโทษ
เพื่อความสำรวมระวังต่อไปเถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เอาละ กัสสปะ โทษได้ถึงตัวเธอผู้โง่เขลา งมงาย
ไม่ฉลาด เมื่อเราให้เหล่าภิกษุเห็นชัด ชวนให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจ
หาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาที่ประกอบด้วยสิกขาบท
ก็เพราะเธอมีความขัดใจ ไม่ยินดีว่า ‘สมณะนี้ขัดเกลากิเลสยิ่งนัก’ ได้เห็นโทษโดย
ความเป็นโทษแล้วทำคืนตามธรรม ฉะนั้นเราจึงรับทราบโทษนั้นของเธอ ก็การที่
บุคคลเห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้วทำคืนตามธรรม ถึงความสำรวมระวังต่อไป
นี้เป็นความเจริญในอริยวินัย
ถ้าภิกษุผู้เป็นเถระไม่ใคร่ต่อการศึกษา ไม่สรรเสริญการเอาใจใส่การศึกษา
เธอย่อมไม่ชักชวนภิกษุอื่นที่ไม่ใคร่ต่อการศึกษาให้ใคร่ต่อการศึกษา และไม่สรรเสริญ
คุณที่มีจริงเป็นจริงของภิกษุอื่นที่ใคร่ต่อการศึกษาตามโอกาสอันสมควร เราไม่
สรรเสริญคุณของภิกษุผู้เป็นเถระเช่นนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะพวกภิกษุอื่นพึง
คบหาเธอโดยเห็นว่า “พระศาสดาก็ยังตรัสสรรเสริญคุณของท่าน” ภิกษุพวกที่คบหา
เธอพึงพากันตามอย่างเธอ ข้อนั้นพึงเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่ภิกษุพวกที่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๒๒ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๔. สมณวรรค ๑๑. ปังกธาสูตร

พากันตามอย่างเธอตลอดกาลนาน เพราะเหตุนั้น เราจึงไม่สรรเสริญคุณของภิกษุ
ผู้เป็นเถระเช่นนี้
ถ้าภิกษุผู้เป็นมัชฌิมะ ฯลฯ แม้ถ้าภิกษุผู้เป็นนวกะไม่ใคร่ต่อการศึกษา ไม่
สรรเสริญการเอาใจใส่การศึกษา เธอย่อมไม่ชักชวนภิกษุอื่นที่ไม่ใคร่ต่อการศึกษา
ให้ใคร่ต่อการศึกษา และไม่สรรเสริญคุณที่มีจริงเป็นจริงของภิกษุอื่นที่ใคร่ต่อการ
ศึกษาตามโอกาสอันสมควร เราไม่สรรเสริญคุณของภิกษุผู้เป็นนวกะเช่นนี้ ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะภิกษุอื่นพึงคบหาเธอโดยเห็นว่า “พระศาสดาก็ยังตรัสสรรเสริญ
คุณของท่าน” ภิกษุพวกที่คบหาเธอพึงพากันตามอย่างเธอ ข้อนั้นพึงเป็นไปเพื่อไม่
เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่ภิกษุพวกที่พากันตามอย่างเธอตลอดกาลนาน เพราะเหตุนั้น
เราจึงไม่สรรเสริญคุณของภิกษุผู้เป็นนวกะเช่นนี้
ถ้าภิกษุผู้เป็นเถระใคร่ต่อการศึกษา สรรเสริญการเอาใจใส่การศึกษา เธอ
ย่อมชักชวนภิกษุอื่นที่ไม่ใคร่ต่อการศึกษาให้ใคร่ต่อการศึกษา และสรรเสริญคุณที่มี
จริงเป็นจริงของภิกษุอื่นที่ใคร่ต่อการศึกษาตามโอกาสอันสมควร เราสรรเสริญคุณ
ของภิกษุผู้เป็นเถระเช่นนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะพวกภิกษุอื่นพึงคบหาเธอโดย
เห็นว่า “พระศาสดาก็ยังตรัสสรรเสริญคุณของท่าน” ภิกษุพวกที่คบหาเธอพึงพากัน
ตามอย่างเธอ ข้อนั้นพึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่ภิกษุพวกที่พากันตามอย่างเธอ
ตลอดกาลนาน เพราะเหตุนั้น เราจึงสรรเสริญคุณของภิกษุผู้เป็นเถระเช่นนี้
ถ้าภิกษุผู้เป็นมัชฌิมะ ฯลฯ แม้ถ้าภิกษุผู้เป็นนวกะใคร่ต่อการศึกษา สรรเสริญ
การเอาใจใส่การศึกษา เธอย่อมชักชวนภิกษุอื่นที่ไม่ใคร่ต่อการศึกษาให้ใคร่ต่อการ
ศึกษา และสรรเสริญคุณที่มีจริงเป็นจริงของภิกษุอื่นที่ใคร่ต่อการศึกษาตามโอกาส
อันสมควร เราสรรเสริญคุณของภิกษุผู้เป็นนวกะเช่นนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ
ภิกษุอื่นพึงคบหาเธอโดยเห็นว่า “พระศาสดาก็ยังตรัสสรรเสริญคุณของท่าน” ภิกษุ
พวกที่คบหาเธอพึงพากันตามอย่างเธอ ข้อนั้นพึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่ภิกษุ
พวกที่พากันตามอย่างเธอตลอดกาลนาน เพราะเหตุนั้น เราจึงสรรเสริญคุณของ
ภิกษุผู้เป็นนวกะเช่นนี้

ปังกธาสูตรที่ ๑๑ จบ
สมณวรรคที่ ๔ จบ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๕. โลณผลวรรค ๑. อัจจายิกสูตร

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สมณสูตร ๒. คัทรภสูตร
๓. เขตตสูตร ๔. วัชชีปุตตสูตร
๕. เสกขสูตร ๖. ปฐมสิกขาสูตร
๗. ทุติยสิกขาสูตร ๘. ตติยสิกขาสูตร
๙. ปฐมสิกขัตตยสูตร ๑๐. ทุติยสิกขัตตยสูตร
๑๑. ปังกธาสูตร

๕. โลณผลวรรค
หมวดว่าด้วยก้อนเกลือ
๑. อัจจายิกสูตร
ว่าด้วยกิจรีบด่วนของชาวนาและของภิกษุ

[๙๓] ภิกษุทั้งหลาย กิจที่คหบดีชาวนาต้องรีบทำ ๓ ประการนี้
กิจที่คหบดีชาวนาต้องรีบทำ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
คหบดีชาวนาในโลกนี้
๑. ต้องเร่งรีบไถคราดนา ให้เรียบร้อย
๒. ต้องเร่งรีบเพาะพืชลงไปตามกาลที่ควร
๓. ต้องเร่งรีบไขน้ำเข้าบ้าง ระบายน้ำออกบ้าง
กิจที่คหบดีชาวนาต้องรีบทำ ๓ ประการนี้แล
คหบดีชาวนานั้นไม่มีฤทธิ์หรืออานุภาพที่จะบันดาลว่า “วันนี้แลข้าวเปลือก
ของเราจงเกิด พรุ่งนี้จงออกรวง มะรืนนี้จงหุงได้” แท้ที่จริง ข้าวเปลือกของคหบดี
ชาวนานั้น มีระยะเวลาของฤดูที่จะเกิดขึ้น ออกรวง และหุงได้ ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย กิจที่ภิกษุต้องรีบทำ ๓ ประการนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๒๔ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๕. โลณผลวรรค ๒. ปวิเวกสูตร

กิจที่ภิกษุต้องรีบทำ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. การสมาทานอธิสีลสิกขา (สิกขาคือศีลอันยิ่ง)
๒. การสมาทานอธิจิตตสิกขา (สิกขาคือจิตอันยิ่ง)
๓. การสมาทานอธิปัญญาสิกขา (สิกขาคือปัญญาอันยิ่ง)

กิจที่ภิกษุต้องรีบทำ ๓ ประการนี้แล
ภิกษุนั้นไม่มีฤทธิ์หรืออานุภาพที่จะบันดาลว่า “วันนี้แล พรุ่งนี้ หรือมะรืนนี้
จิตของเราจงหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น” ภิกษุทั้งหลาย แท้ที่จริง จิตของ
ภิกษุนั้นผู้ศึกษาอธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา มีระยะเวลาที่จะ
หลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า “เราจักมี
ความพอใจอย่างยิ่งในการสมาทานอธิสีลสิกขา เราจักมีความพอใจอย่างยิ่งในการ
สมาทานอธิจิตตสิกขา เราจักมีความพอใจอย่างยิ่งในการสมาทานอธิปัญญาสิกขา”
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล

อัจจายิกสูตรที่ ๑ จบ

๒. ปวิเวกสูตร
ว่าด้วยความสงัดจากกิเลส

[๙๔] ภิกษุทั้งหลาย พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก บัญญัติความสงัดจากกิเลส
ไว้ ๓ ประการนี้
ความสงัดจากกิเลส ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความสงัดจากกิเลสเพราะอาศัยจีวร
๒. ความสงัดจากกิเลสเพราะอาศัยบิณฑบาต
๓. ความสงัดจากกิเลสเพราะอาศัยเสนาสนะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๒๕ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๕. โลณผลวรรค ๒. ปวิเวกสูตร

บรรดาความสงัดจากกิเลสทั้ง ๓ ประการนั้น ในความสงัดจากกิเลสเพราะ
อาศัยจีวร พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกบัญญัติไว้ คือ นุ่งห่มผ้าป่านบ้าง นุ่งห่มผ้า
แกมกันบ้าง นุ่งห่มผ้าห่อศพบ้าง นุ่งห่มผ้าบังสุกุลบ้าง นุ่งห่มผ้าเปลือกไม้บ้าง
นุ่งห่มหนังเสือบ้าง นุ่งห่มหนังเสือที่มีเล็บติดอยู่บ้าง นุ่งห่มผ้าคากรองบ้าง นุ่งห่ม
ผ้าเปลือกปอกรองบ้าง นุ่งห่มผ้าผลไม้กรองบ้าง นุ่งห่มผ้ากัมพลทำด้วยผมคนบ้าง
นุ่งห่มผ้ากัมพลทำด้วยขนสัตว์บ้าง นุ่งห่มผ้าทำด้วยปีกนกเค้าบ้าง
ภิกษุทั้งหลาย พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกบัญญัติเรื่องนี้แล ในความสงัดจาก
กิเลสเพราะอาศัยจีวร
บรรดาความสงัดจากกิเลสทั้ง ๓ นั้น ความสงัดจากกิเลสเพราะอาศัยบิณฑบาต
ที่พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกบัญญัติไว้คือกินผักดองเป็นอาหารบ้าง กินข้าวฟ่างบ้าง
อาหารบ้าง กินลูกเดือยเป็นอาหารบ้าง กินกากข้าวเป็นอาหารบ้าง กินยาง๑เป็น
อาหารบ้าง กินรำบ้าง กินข้าวตังบ้าง กินกำยานบ้าง กินหญ้าบ้าง กินโคมัยบ้าง กิน
รากและผลไม้ในป่าบ้าง กินผลไม้ที่หล่นเลี้ยงชีพอยู่ ภิกษุทั้งหลาย พวกอัญเดียรถีย์
ปริพาชกบัญญัติเรื่องนี้แลไว้ในความสงัดจากกิเลสเพราะอาศัยบิณฑบาต
บรรดาความสงัดจากกิเลสทั้ง ๓ นั้น ในความสงัดจากกิเลสเพราะอาศัย
เสนาสนะ พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกบัญญัติไว้ คือ ป่า โคนไม้ ป่าช้า ป่าทึบ
ที่แจ้ง ลอมฟาง โรงลาน พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกบัญญัติเรื่องนี้แลไว้ในความสงัด
จากกิเลสที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยเสนาสนะ
ภิกษุทั้งหลาย อัญเดียรถีย์ปริพาชก บัญญัติความสงัดจากกิเลสไว้ ๓ ประการ
นี้แล
ส่วนความสงัดจากกิเลส ๓ ประการ ของภิกษุในธรรมวินัยนี้
ความสงัดจากกิเลส ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๕. โลณผลวรรค ๒. ปวิเวกสูตร

๑. มีศีล๑ละความเป็นคนทุศีล๒และปราศจากโทษเครื่องทุศีลนั้น
๒. เป็นสัมมาทิฏฐิ ละมิจฉาทิฏฐิและปราศจากมิจฉาทิฏฐินั้น
๓. เป็นขีณาสพ ละอาสวะทั้งหลาย๓และปราศจากอาสวะเหล่านั้น
เพราะภิกษุเป็นผู้มีศีล ละความเป็นคนทุศีลและปราศจากความเป็นคนทุศีลนั้น
เป็นสัมมาทิฏฐิ ละมิจฉาทิฏฐิและปราศจากมิจฉาทิฏฐินั้น และเป็นขีณาสพ ละ
อาสวะทั้งหลายและปราศจากอาสวะเหล่านั้น ฉะนั้นภิกษุนี้จึงเรียกว่า “ผู้เลิศด้วย
ศีล ถึงธรรมที่เป็นสาระ บริสุทธิ์ ดำรงอยู่ในธรรมที่เป็นสาระ๔”
เปรียบเหมือนนาข้าวสาลีของคหบดีชาวนา สมบูรณ์แล้ว คหบดีชาวนาพึงใช้
คนให้รีบเก็บเกี่ยวข้าวสาลีนั้น ให้รีบรวบรวมไว้ ให้รีบขนเอาไปเข้าลาน ให้รีบทำเป็น
ลอมไว้ ให้รีบนวด ให้รีบเอาฟางออก ให้รีบเอาข้าวลีบออก ให้รีบฝัดข้าว ให้รีบขนไป
ให้รีบซ้อม ให้รีบเอาแกลบออก ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเป็นเช่นนั้น ข้าวเปลือกเหล่านั้น
ของคหบดีชาวนานั้นพึงถึงความเป็นส่วนอันเลิศ เป็นข้าวสารสะอาด คงอยู่ในความ
เป็นข้าวสาร ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล เพราะเป็นผู้มีศีล ละความเป็นคนทุศีลและปราศ
จากความเป็นคนทุศีลนั้น เป็นสัมมาทิฏฐิ ละมิจฉาทิฏฐิและปราศจากมิจฉาทิฏฐินั้น
และเป็นขีณาสพ ละอาสวะทั้งหลายและปราศจากอาสวะเหล่านั้น ฉะนั้นภิกษุนี้จึง
เรียกว่า “ผู้เลิศด้วยศีล ถึงธรรมที่เป็นสาระ บริสุทธิ์ ดำรงอยู่ในธรรมที่เป็นสาระ”

ปวิเวกสูตรที่ ๒ จบ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๕. โลณผลวรรค ๔. ปริสาสูตร

๓. สรทสูตร
ว่าด้วยธรรมจักษุกับท้องฟ้าในสารทกาล

[๙๕] ภิกษุทั้งหลาย เมื่อท้องฟ้าแจ่มใสปราศจากเมฆหมอกในสารทกาล๑ ดวง
อาทิตย์ส่องแสงไปทั่วท้องฟ้า ขจัดความมืดมัวที่อยู่ในอากาศทั้งหมด ส่องแสง แผด
แสงและส่องสว่างอยู่ ฉันใด
ฉันนั้นเหมือนกันแล เมื่อธรรมจักษุ๒ที่ปราศจากธุลี ปราศจากมลทินเกิดแก่
อริยสาวก พร้อมกับการเกิดขึ้นแห่งทัสสนะ อริยสาวกย่อมละสังโยชน์ ๓ ประการ
คือ สักกายทิฏฐิ(ความเห็นว่าเป็นตัวของตน) วิจิกิจฉา(ความลังเลสงสัย) และ
สีลัพพตปรามาส(ความถือมั่นศีลพรต)
ลำดับต่อมา อริยสาวกออกจากธรรม ๒ ประการ คือ อภิชฌา(ความเพ่งเล็ง
อยากได้ของเขา) และพยาบาท(ความคิดร้าย) อริยสาวกนั้นสงัดจากกามและอกุศล-
ธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอริยสาวกพึงตายลงในขณะนั้น เธอไม่มีสังโยชน์ที่เป็นเหตุ
ให้ต้องกลับมาสู่โลกนี้อีก

สรทสูตรที่ ๓ จบ

๔. ปริสาสูตร
ว่าด้วยบริษัท

[๙๖] ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๓ จำพวกนี้
บริษัท ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บริษัทที่มีหัวหน้ายอดเยี่ยม ๒. บริษัทที่แตกแยกกัน
๓. บริษัทที่สามัคคีกัน


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๕. โลณผลวรรค ๔. ปริสาสูตร

บริษัทที่มีหัวหน้ายอดเยี่ยม เป็นอย่างไร
คือ บริษัทใดในธรรมวินัยนี้ มีพวกภิกษุผู้เป็นเถระ ไม่มักมาก ไม่ย่อหย่อน
หมดธุระในโอกกมนธรรม๑ เป็นผู้นำในปวิเวก ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยัง
ไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง หมู่คน
รุ่นหลังต่างพากันตามอย่างภิกษุผู้เถระเหล่านั้น แม้หมู่คนรุ่นหลังนั้นก็ไม่มักมาก
ไม่ย่อหย่อน หมดธุระในโอกกมนธรรม เป็นผู้นำในปวิเวก ปรารภความเพียรเพื่อ
ถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำ
ให้แจ้ง ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า บริษัทที่มีหัวหน้ายอดเยี่ยม
บริษัทที่แตกแยกกัน เป็นอย่างไร
คือ บริษัทใดในธรรมวินัยนี้ มีพวกภิกษุต่างบาดหมางกัน ทะเลาะวิวาทกัน
ใช้หอกคือปากทิ่มแทงกันอยู่ ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า บริษัทที่แตกแยกกัน
บริษัทที่สามัคคีกัน เป็นอย่างไร
คือ บริษัทใดในธรรมวินัยนี้ มีพวกภิกษุพร้อมเพรียงกัน ชื่นชมกัน ไม่วิวาทกัน
เป็นเหมือนน้ำนมกับน้ำ มองกันด้วยนัยน์ตาที่เปี่ยมด้วยความรักอยู่ ภิกษุทั้งหลาย
นี้เรียกว่า บริษัทที่สามัคคีกัน
ในสมัยใด พวกภิกษุพร้อมเพรียงกัน ชื่นชมกัน ไม่วิวาทกัน เป็นเหมือน
น้ำนมกับน้ำ มองกันด้วยนัยน์ตาที่เปี่ยมด้วยความรักอยู่ ในสมัยนั้น พวกภิกษุ
ย่อมประสพบุญเป็นอันมาก ในสมัยนั้น พวกภิกษุอยู่กันเหมือนพรหม คืออยู่กัน
ด้วยมุทิตาเจโตวิมุตติ ผู้มีความบันเทิงใจย่อมเกิดความอิ่มใจ กายของผู้มีความอิ่ม
ใจย่อมสงบ ผู้มีกายสงบย่อมเสวยสุข จิตของผู้มีสุขย่อมตั้งมั่น
เปรียบเหมือนเมื่อฝนเม็ดใหญ่ตกลงบนยอดเขา น้ำนั้นไหลไปตามที่ลุ่ม ทำให้
ซอกเขา ลำธาร และห้วยเต็มเปี่ยม ซอกเขา ลำธาร และห้วยเต็มเปี่ยมแล้วทำให้
หนองเต็ม หนองเต็มแล้วทำให้บึงเต็ม บึงเต็มแล้วทำให้แม่น้ำน้อยเต็ม แม่น้ำน้อย
เต็มแล้วทำให้แม่น้ำใหญ่เต็ม แม่น้ำใหญ่เต็มแล้วก็ทำให้มหาสมุทรเต็ม ฉันใด


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๕. โลณผลวรรค ๕. ปฐมอาชานียสูตร

ในสมัยใด พวกภิกษุพร้อมเพรียงกัน ชื่นชมกัน ไม่วิวาทกัน เป็นเหมือน
น้ำนมกับน้ำ มองกันด้วยนัยน์ตาที่เปี่ยมด้วยความรักอยู่ ในสมัยนั้น พวกภิกษุย่อม
ประสพบุญเป็นอันมาก ในสมัยนั้น พวกภิกษุอยู่กันเหมือนพรหม คือ อยู่กันด้วย
มุทิตาเจโตวิมุตติ ผู้มีความบันเทิงใจย่อมเกิดความอิ่มใจ กายของผู้มีความอิ่มใจย่อม
สงบ ผู้มีกายสงบย่อมเสวยสุข จิตของผู้มีสุขย่อมตั้งมั่น ฉันนั้นเหมือนกัน
ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๓ จำพวกนี้แล

ปริสาสูตรที่ ๔ จบ

๕. ปฐมอาชานียสูตร
ว่าด้วยองค์ประกอบของม้าอาชาไนย สูตรที่ ๑

[๙๗] ภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนย๑พันธุ์ดีของพระราชาประกอบด้วยองค์ ๓
ประการย่อมเป็นม้าควรแก่พระราชา ควรเป็นม้าต้น นับว่าเป็นราชพาหนะโดยแท้
องค์ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีของพระราชาในโลกนี้
๑. สมบูรณ์ด้วยสี ๒. สมบูรณ์ด้วยกำลัง
๓. สมบูรณ์ด้วยฝีเท้าเร็ว
ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีของพระราชาประกอบด้วยองค์ ๓ ประการนี้แลย่อมเป็นม้า
ควรแก่พระราชา ควรเป็นม้าต้น นับว่าเป็นราชพาหนะโดยแท้ ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการย่อมเป็นผู้ควร
แก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี
เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๕. โลณผลวรรค ๖. ทุติยอาชานียสูตร

๑. สมบูรณ์ด้วยวรรณะ ๒. สมบูรณ์ด้วยกำลัง
๓. สมบูรณ์ด้วยเชาวน์
ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยวรรณะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีศีล สำรวมด้วยความสังวรในปาติโมกข์ เพียบพร้อม
ด้วยอาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ใน
สิกขาบททั้งหลาย ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยวรรณะ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยกำลัง เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรมเกิด
มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย ภิกษุผู้
สมบูรณ์ด้วยกำลัง เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้
ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา” ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรแก่
ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี
เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก

ปฐมอาชานียสูตรที่ ๕ จบ

๖. ทุติยอาชานียสูตร
ว่าด้วยองค์ประกอบของม้าอาชาไนย สูตรที่ ๒

[๙๘] ภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีของพระราชาประกอบด้วยองค์ ๓
ประการย่อมเป็นม้าควรแก่พระราชา ควรเป็นม้าต้น นับว่าเป็นราชพาหนะโดยแท้
องค์ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีของพระราชาในโลกนี้
๑. สมบูรณ์ด้วยสี ๒. สมบูรณ์ด้วยกำลัง
๓. สมบูรณ์ด้วยฝีเท้าเร็ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๓๑ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๕. โลณผลวรรค ๗. ตติยอาชานียสูตร

ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีของพระราชา ประกอบด้วยองค์ ๓ ประการนี้แล ย่อมเป็น
ม้าควรแก่พระราชา ควรเป็นม้าต้น นับว่าเป็นราชพาหนะโดยแท้ ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ย่อมเป็นผู้ควร
แก่ของที่เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. สมบูรณ์ด้วยวรรณะ ๒. สมบูรณ์ด้วยกำลัง
๓. สมบูรณ์ด้วยเชาวน์
ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยวรรณะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยวรรณะ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยกำลัง เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ปรารภความเพียรอยู่ ฯลฯ ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม
ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยกำลัง เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป จึงเป็น
โอปปาติกะ ปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับจากโลกนั้นอย่างแน่นอน ภิกษุผู้
สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรแก่
ของที่เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก

ทุติยอาชานียสูตรที่ ๖ จบ

๗. ตติยอาชานียสูตร
ว่าด้วยองค์ปประกอบของม้าอาชาไนย สูตรที่ ๓

[๙๙] ภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีของพระราชาประกอบด้วยองค์ ๓
ประการย่อมเป็นม้าควรแก่พระราชา ควรเป็นม้าต้น นับว่าเป็นราชพาหนะโดยแท้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๓๒ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๕. โลณผลวรรค ๗. ตติยอาชานียสูตร

องค์ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีของพระราชาในโลกนี้
๑. สมบูรณ์ด้วยสี ๒. สมบูรณ์ด้วยกำลัง
๓. สมบูรณ์ด้วยฝีเท้าเร็ว
ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีของพระราชา ประกอบด้วยองค์ ๓ ประการนี้แล ย่อมเป็น
ม้าควรแก่พระราชา ควรเป็นม้าต้น นับว่าเป็นราชพาหนะโดยแท้ ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ย่อมเป็นผู้ควร
แก่ของที่เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. สมบูรณ์ด้วยวรรณะ ๒. สมบูรณ์ด้วยกำลัง
๓. สมบูรณ์ด้วยเชาวน์
ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยวรรณะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยวรรณะ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยกำลัง เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ปรารภความเพียรอยู่ ฯลฯ ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม
ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยกำลัง เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะ
อาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยเชาวน์
เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมา
ถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก

ตติยอาชานียสูตรที่ ๗ จบ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๕. โลณผลวรรค ๘. โปตถกสูตร

๘. โปตถกสูตร
ว่าด้วยบุคคลที่เปรียบเหมือนผ้าเปลือกไม้

[๑๐๐] ภิกษุทั้งหลาย ผ้าเปลือกไม้แม้ยังใหม่แต่ก็มีสีไม่สวย มีสัมผัสไม่สบาย
และมีราคาถูก ผ้าเปลือกไม้แม้กลางเก่ากลางใหม่ก็มีสีไม่สวย มีสัมผัสไม่สบาย และมี
ราคาถูก ผ้าเปลือกไม้ที่เก่า มีสีไม่สวย มีสัมผัสไม่สบาย และมีราคาถูก คนทั้งหลาย
ย่อมทำผ้าเปลือกไม้ที่เก่าให้เป็นผ้าเช็ดหม้อข้าวหรือทิ้งมันที่กองหยากเยื่อ ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ถ้าภิกษุผู้เป็นนวกะ๑ แต่เป็นผู้ทุศีล มี
ธรรมเลวทราม เรากล่าวอย่างนี้ เพราะภิกษุนั้นมีชื่อเสียงไม่ดี เราเรียกบุคคลเช่นนี้
ว่าเป็นเหมือนผ้าเปลือกไม้ที่มีสีไม่สวย ก็คนเหล่าใดคบหาใกล้ชิดพากันตามอย่าง
เธอ การคบหาเป็นต้นนั้นย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่คนเหล่านั้นตลอด
กาลนาน เรากล่าวอย่างนี้เพราะภิกษุนั้นมีการติดต่อก่อให้เกิดทุกข์ เราเรียกบุคคล
เช่นนี้ว่าเป็น เหมือนผ้าเปลือกไม้ที่มีสัมผัสไม่สบาย ก็ภิกษุนั้นรับจีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขารของคนเหล่าใด การรับของเธอนั้นไม่มีผล
มาก ไม่มีอานิสงส์มากแก่คนเหล่านั้น เรากล่าวอย่างนี้ เพราะภิกษุนั้นเป็นคนมีค่า
น้อย เราเรียกบุคคลเช่นนี้ว่าเป็นเหมือนผ้าเปลือกไม้ที่มีราคาถูก
ถ้าภิกษุผู้เป็นมัชฌิมะ ฯลฯ ถ้าภิกษุแม้ผู้เป็นเถระ แต่เป็นผู้ทุศีล มีธรรมเลว
ทราม เรากล่าวอย่างนี้ เพราะภิกษุนั้นมีชื่อเสียงไม่ดี เราเรียกบุคคลเช่นนี้ว่าเป็น
เหมือนผ้าเปลือกไม้ที่มีสีไม่สวย ก็คนเหล่าใดคบหาใกล้ชิดพากันตามอย่างเธอ การ
คบหาเป็นต้นนั้นย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่คนเหล่านั้นตลอดกาลนาน
เรากล่าวอย่างนี้ เพราะภิกษุนั้นมีการติดต่อก่อให้เกิดทุกข์ เราเรียกบุคคลเช่นนี้ว่า
เป็นเหมือนผ้าเปลือกไม้ที่มีสัมผัสไม่สบาย ก็ภิกษุนั้นรับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขารของคนเหล่าใด การรับของเธอนั้นไม่มีผลมาก ไม่มี
อานิสงส์มากแก่คนเหล่านั้น เรากล่าวอย่างนี้ เพราะภิกษุนั้นเป็นผู้มีค่าน้อย เรา
เรียกบุคคลเช่นนี้ว่าเป็นเหมือนผ้าเปลือกไม้ที่มีราคาถูก


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๕. โลณผลวรรค ๘. โปตถกสูตร

อนึ่ง ภิกษุผู้เป็นเถระเช่นนี้จะต้องกล่าวในท่ามกลางสงฆ์ พวกภิกษุได้กล่าว
กับเธออย่างนี้ว่า “จะมีประโยชน์อะไรด้วยคำที่คนพาลไม่ฉลาดกล่าวออกไป แม้ตัว
ท่านก็เข้าใจคำที่ควรกล่าว” เธอโกรธ ไม่พอใจ เปล่งวาจาที่เป็นเหตุให้สงฆ์
ยกวัตรตนเหมือนผ้าเปลือกไม้ที่เขาทิ้งที่กองหยากเยื่อ
ผ้าแคว้นกาสีที่ยังใหม่ มีสีสวย มีสัมผัสสบาย และมีราคาแพง ผ้าแคว้น
กาสีแม้กลางเก่ากลางใหม่แต่ก็มีสีสวย มีสัมผัสสบาย และมีราคาแพง ผ้าแคว้น
กาสีแม้เก่า แต่ก็มีสีสวย มีสัมผัสสบาย และมีราคาแพง คนทั้งหลายย่อมทำผ้า
แคว้นกาสีแม้ที่เก่าให้เป็นผ้าห่อแก้ว หรือเอาใส่ไว้ในหีบของหอม ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุผู้เป็นนวกะ แต่มีศีล มีธรรมงาม เรา
กล่าวอย่างนี้ เพราะภิกษุนั้นมีชื่อเสียงดี เราเรียกบุคคลเช่นนี้ว่าเป็นเหมือนผ้าแคว้น
กาสีที่มีสีสวย ก็คนเหล่าใดคบหาใกล้ชิดพากันตามอย่างเธอ การคบหาเป็นต้นนั้น
ย่อมเป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่คนเหล่านั้นตลอดกาลนาน เรากล่าวอย่างนี้
เพราะภิกษุนั้นมีการติดต่อก่อให้เกิดสุข เราเรียกบุคคลเช่นนี้ว่าเป็นเหมือนผ้าแคว้น
กาสีที่มีสัมผัสสบาย ก็ภิกษุนั้นรับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย-
เภสัชชบริขารของคนเหล่าใด การรับของเธอนั้นย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มากแก่คน
เหล่านั้น เรากล่าวอย่างนี้เพราะภิกษุนั้นเป็นผู้มีค่ามาก เราเรียกบุคคลเช่นนี้ว่าเป็น
เหมือนผ้าแคว้นกาสีที่มีราคาแพง
ถ้าภิกษุผู้เป็นมัชฌิมะ ฯลฯ ถ้าภิกษุแม้ผู้เป็นเถระ แต่มีศีล มีธรรมงาม เรา
กล่าวอย่างนี้ เพราะภิกษุนั้นมีชื่อเสียงดี เราเรียกบุคคลเช่นนี้ว่าเป็นเหมือนผ้าแคว้น
กาสีที่มีสีสวย ก็คนเหล่าใดคบหาใกล้ชิดพากันตามอย่างเธอ การคบหาเป็นต้นนั้น
ย่อมเป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่คนเหล่านั้นตลอดกาลนาน เรากล่าวอย่างนี้เพราะ
ภิกษุนั้นมีการติดต่อก่อให้เกิดสุข เราเรียกบุคคลเช่นนี้ว่าเป็นเหมือนผ้าแคว้นกาสีที่มี
สัมผัสสบาย ก็ภิกษุนั้นรับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร
ของคนเหล่าใด การรับของเธอนั้นย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มากแก่คนเหล่านั้น เรา
กล่าวอย่างนี้ เพราะภิกษุนั้นเป็นผู้มีค่ามาก เราเรียกบุคคลเช่นนี้ว่าเป็นเหมือนผ้า
แคว้นกาสีที่มีราคาแพง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๓๕ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๕. โลณผลวรรค ๙. โลณผลสูตร

อนึ่ง ภิกษุผู้เป็นเถระเช่นนี้จะต้องกล่าวในท่ามกลางสงฆ์ ภิกษุทั้งหลายได้กล่าว
กับเธออย่างนี้ว่า “ขอให้ท่านทั้งหลายจงสงบเถิด ภิกษุที่เป็นเถระจะกล่าวธรรมและ
วินัย”
เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า “เราจักเป็นเหมือนผ้า
แคว้นกาสี จักไม่เป็นเหมือนผ้าเปลือกไม้”
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล

โปตถกสูตรที่ ๘ จบ

๙. โลณผลสูตร
ว่าด้วยผลกรรมกับก้อนเกลือ

[๑๐๑] ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า “บุคคลนี้ทำกรรมไว้อย่างใด ๆ
เขาต้องเสวยกรรมนั้นอย่างนั้น ๆ” เมื่อเป็นเช่นนั้น การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อม
มีไม่ได้ โอกาสที่จะทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบย่อมไม่ปรากฏ ส่วนผู้ใดพึงกล่าว อย่างนี้
ว่า “บุคคลนี้ทำกรรมที่ต้องเสวยผลไว้อย่างใด ๆ เขาต้องเสวยผลของกรรมนั้น อย่าง
นั้น ๆ” เมื่อเป็นเช่นนั้น การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมมีได้ โอกาสที่จะทำที่สุด
แห่งทุกข์โดยชอบย่อมปรากฏ บุคคลบางคนในโลกนี้ทำบาปกรรมแม้เพียงเล็กน้อย
บาปกรรมก็นำเขาไปสู่นรกได้ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ทำบาปกรรมเพียงเล็กน้อย
เช่นนั้นแล บาปกรรมนั้นให้ผลในปัจจุบันเท่านั้น ไม่ให้ผลแม้แต่น้อยในอัตภาพที่ ๒
(ชาติหน้า)๑ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงผลมาก
บุคคลที่ทำบาปกรรมแม้เพียงเล็กน้อย บาปกรรมนั้นก็นำเขาไปสู่นรกได้ คือ
บุคคลเช่นไร


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๕. โลณผลวรรค ๙. โลณผลสูตร

คือ บุคคล๑บางคนในโลกนี้ไม่เจริญกาย๒ ไม่เจริญศีล ไม่เจริญจิต ไม่เจริญ
ปัญญา มีคุณน้อย มีอัตภาพน้อย มักอยู่เป็นทุกข์เพราะผลกรรมเล็กน้อย บุคคล
เช่นนี้ทำบาปกรรมแม้เพียงเล็กน้อย บาปกรรมนั้นก็นำเขาไปสู่นรกได้
บุคคลที่ทำบาปกรรมเพียงเล็กน้อยเช่นนั้นแล บาปกรรมนั้นให้ผลในปัจจุบันเท่านั้น
ไม่ให้ผลแม้แต่น้อยในอัตภาพที่ ๒ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงผลมาก คือบุคคลเช่นไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เจริญกาย เจริญศีล เจริญจิต เจริญปัญญา๓แล้ว
มีคุณไม่น้อย มีอัตภาพใหญ่๔ เป็นอัปปมาณวิหารี๕ บุคคลเช่นนี้ทำบาปกรรมเพียง
เล็กน้อยเช่นนั้นแล บาปกรรมนั้นให้ผลในปัจจุบันเท่านั้น ไม่ให้ผลแม้แต่น้อยใน
อัตภาพที่ ๒ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงผลมาก
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษใส่ก้อนเกลือลงในขันใบน้อย เธอทั้งหลาย
เข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร น้ำในขันเล็กน้อยนั้นเค็ม ดื่มกินไม่ได้เพราะก้อนเกลือโน้นใช่
หรือไม่
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“เพราะในขันน้ำมีน้ำนิดหน่อย น้ำนั้นจึงเค็ม ดื่มกินไม่ได้เพราะก้อนเกลือโน้น
พระพุทธเจ้าข้า”
“บุคคลใส่ก้อนเกลือลงในแม่น้ำคงคา เธอทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร แม่น้ำ
คงคานั้นเค็ม ดื่มกินไม่ได้เพราะก้อนเกลือโน้นใช่หรือไม่”


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๕. โลณผลวรรค ๙. โลณผลสูตร

“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“เพราะในแม่น้ำคงคานั้นมีห้วงน้ำใหญ่ น้ำนั้นจึงไม่เค็ม ดื่มกินได้เพราะก้อน
เกลือโน้น พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือน
กันแล ทำบาปกรรมแม้เพียงเล็กน้อย บาปกรรมนั้นก็นำเขาไปสู่นรกได้ ส่วนบุคคล
บางคนในโลกนี้ทำบาปกรรมเพียงเล็กน้อยเช่นนั้นแล บาปกรรมนั้นให้ผลในปัจจุบัน
เท่านั้น ไม่ให้ผลแม้แต่น้อยในอัตภาพที่ ๒ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงผลมาก”
บุคคลที่ทำบาปกรรมแม้เพียงเล็กน้อย บาปกรรมนั้นก็นำเขาไปสู่นรกได้ คือ
บุคคลเช่นไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่เจริญกาย ไม่เจริญศีล ไม่เจริญจิต ไม่เจริญปัญญา
มีคุณน้อย มีอัตภาพน้อย มักอยู่เป็นทุกข์เพราะผลกรรมเล็กน้อย บุคคลเช่นนี้ทำ
บาปกรรมแม้เพียงเล็กน้อย บาปกรรมนั้นก็นำเขาไปสู่นรกได้
บุคคลที่ทำบาปกรรมเพียงเล็กน้อยเช่นนั้นแล บาปกรรมนั้นให้ผลในปัจจุบัน
เท่านั้น ไม่ให้ผลแม้แต่น้อยในอัตภาพที่ ๒ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงผลมาก คือบุคคล
เช่นไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เจริญกาย เจริญศีล เจริญจิต เจริญปัญญาแล้ว
มีคุณไม่น้อย มีอัตภาพใหญ่ เป็นอัปปมาณวิหารี บุคคลเช่นนี้ทำบาปกรรมเพียง
เล็กน้อยเช่นนั้นแล บาปกรรมนั้นให้ผลในปัจจุบันเท่านั้น ไม่ให้ผลแม้แต่น้อยในอัตภาพ
ที่ ๒ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงผลมาก (๑)
บุคคลบางคนในโลกนี้ถูกจองจำเพราะทรัพย์กึ่งกหาปณะบ้าง ถูกจองจำเพราะ
ทรัพย์หนึ่งกหาปณะบ้าง ถูกจองจำเพราะทรัพย์ร้อยกหาปณะบ้าง ส่วนบุคคลบาง
คนในโลกนี้ไม่ถูกจองจำเพราะทรัพย์กึ่งกหาปณะบ้าง ไม่ถูกจองจำเพราะทรัพย์หนึ่ง
กหาปณะบ้าง ไม่ถูกจองจำเพราะทรัพย์ตั้งร้อยกหาปณะบ้าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๓๘ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๕. โลณผลวรรค ๙. โลณผลสูตร

บุคคลที่ถูกจองจำเพราะทรัพย์กึ่งกหาปณะบ้าง ถูกจองจำเพราะทรัพย์หนึ่ง
กหาปณะบ้าง ถูกจองจำเพราะทรัพย์ร้อยกหาปณะบ้าง คือบุคคลเช่นไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ขัดสน มีสมบัติน้อย มีโภคะน้อย บุคคลเช่นนี้
ย่อมถูกจองจำเพราะทรัพย์กึ่งกหาปณะบ้าง ถูกจองจำเพราะทรัพย์หนึ่งกหาปณะ
บ้าง ถูกจองจำเพราะทรัพย์ร้อยกหาปณะบ้าง
บุคคลที่ไม่ถูกจองจำเพราะทรัพย์กึ่งกหาปณะบ้าง ไม่ถูกจองจำเพราะทรัพย์
หนึ่งกหาปณะบ้าง ไม่ถูกจองจำเพราะทรัพย์ตั้งร้อยกหาปณะบ้าง คือบุคคลเช่นไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก บุคคลเช่นนี้
ย่อมไม่ถูกจองจำเพราะทรัพย์กึ่งกหาปณะบ้าง ไม่ถูกจองจำเพราะทรัพย์หนึ่งกหาปณะ
บ้าง ไม่ถูกจองจำเพราะทรัพย์ตั้งร้อยกหาปณะบ้าง ฉันใด
บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทำบาปกรรมแม้เพียงเล็กน้อย
บาปกรรมนั้นก็นำเขาไปสู่นรกได้ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ทำบาปกรรมเพียงเล็กน้อย
เช่นนั้นแล บาปกรรมนั้นให้ผลในปัจจุบันเท่านั้น ไม่ให้ผลแม้แต่น้อยในอัตภาพที่ ๒
ไม่จำเป็นต้องพูดถึงผลมาก
บุคคลที่ทำบาปกรรมเพียงเล็กน้อย บาปกรรมนั้นก็นำเขาไปสู่นรกได้ คือ
บุคคลเช่นไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่เจริญกาย ไม่เจริญศีล ไม่เจริญจิต ไม่เจริญปัญญา
มีคุณน้อย มีอัตภาพน้อย มักอยู่เป็นทุกข์เพราะผลกรรมเล็กน้อย บุคคลเช่นนี้แล
ทำบาปกรรมแม้เพียงเล็กน้อย บาปกรรมนั้นก็นำเขาไปสู่นรกได้
บุคคลที่ทำบาปกรรมเพียงเล็กน้อยเช่นนั้นแล บาปกรรมนั้นให้ผลในปัจจุบัน
เท่านั้น ไม่ให้ผลแม้แต่น้อยในอัตภาพที่ ๒ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงผลมาก คือบุคคล
เช่นไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เจริญกาย เจริญศีล เจริญจิต เจริญปัญญาแล้ว มี
คุณไม่น้อย มีอัตภาพใหญ่ เป็นอัปปมาณวิหารี บุคคลเช่นนี้ทำบาปกรรมเพียง
เล็กน้อยเช่นนั้นแล บาปกรรมนั้นให้ผลในปัจจุบันเท่านั้น ไม่ให้ผลแม้แต่น้อยใน
อัตภาพที่ ๒ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงผลมาก (๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๓๙ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๕. โลณผลวรรค ๑๐. ปังสุโธวกสูตร

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้เจริญกาย เจริญศีล เจริญจิต เจริญ
ปัญญาแล้ว มีคุณไม่น้อย มีอัตภาพใหญ่ เป็นอัปปมาณวิหารี บุคคลเช่นนี้ทำ
บาปกรรมเพียงเล็กน้อยเช่นนั้นแล บาปกรรมนั้นให้ผลในปัจจุบันเท่านั้น ไม่ให้ผล
แม้แต่น้อยในอัตภาพที่ ๒ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงผลมาก
เจ้าของแกะหรือคนฆ่าแกะบางคนสามารถที่จะฆ่า จองจำ หรือเผาคนลักแกะ
หรือทำตามที่ตนปรารถนา แต่บางคนไม่สามารถที่จะฆ่า จองจำ หรือเผาคนลักแกะ
หรือทำตามที่ตนปรารถนาได้
เจ้าของแกะหรือคนฆ่าแกะที่สามารถที่จะฆ่า จองจำ หรือเผาคนลักแกะ หรือ
ทำตามที่ตนปรารถนาได้ คือเจ้าของแกะหรือคนฆ่าแกะเช่นไร
คือ เจ้าของแกะหรือคนฆ่าแกะบางคนในโลกนี้ขัดสน มีสมบัติน้อย มีโภคะ
น้อย เจ้าของแกะหรือคนฆ่าแกะเช่นนี้ สามารถที่จะฆ่า จองจำ หรือเผาคนลักแกะ
หรือทำตามที่ตนปรารถนาได้
เจ้าของแกะหรือคนฆ่าแกะที่ไม่สามารถที่จะฆ่า จองจำ หรือเผาคนลักแกะ หรือ
ทำตามที่ตนปรารถนาได้ คือเจ้าของแกะหรือคนฆ่าแกะเช่นไร
คือ เจ้าของแกะหรือคนฆ่าแกะบางคนในโลกนี้เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มี
โภคะมาก เป็นพระราชา หรือมหาอำมาตย์ของพระราชา เจ้าของแกะหรือคนฆ่า
แกะเช่นนี้ ไม่สามารถที่จะฆ่าจองจำ หรือเผาคนลักแกะ หรือทำตามที่ตนปรารถนา
ได้ แท้ที่จริง คนที่ประนมมือย่อมขอเจ้าของแกะหรือคนฆ่าแกะได้ว่า “ขอท่านจง
ให้แกะหรือทรัพย์ที่มีมูลค่าเท่ากับแกะแก่ฉันด้วยเถิด” ฉันใด
บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทำบาปกรรมแม้เพียงเล็กน้อยเช่น
นั้นแล บาปกรรมนั้นก็นำเขาไปสู่นรกได้ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ทำบาปกรรม
เพียงเล็กน้อยเช่นนั้นแล บาปกรรมนั้นให้ผลในปัจจุบันเท่านั้น ไม่ให้ผลแม้แต่น้อย
ในอัตภาพที่ ๒ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงผลมาก
บุคคลที่ทำบาปกรรมแม้เพียงเล็กน้อย บาปกรรมนั้นก็นำเขาไปสู่นรกได้คือ
บุคคลเช่นไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๔๐ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๕. โลณผลวรรค ๑๐. ปังสุโธวกสูตร

คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่เจริญกาย ไม่เจริญศีล ไม่เจริญจิต ไม่เจริญปัญญา
มีคุณน้อย มีอัตภาพน้อย มักอยู่เป็นทุกข์เพราะผลกรรมเล็กน้อย บุคคลเช่นนี้แล
ทำบาปกรรมแม้เพียงเล็กน้อย บาปกรรมนั้นก็นำเขาไปสู่นรกได้
บุคคลที่ทำบาปกรรมเพียงเล็กน้อยเช่นนั้นแล บาปกรรมนั้นให้ผลในปัจจุบัน
เท่านั้น ไม่ให้ผลแม้แต่น้อยในอัตภาพที่ ๒ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงผลมาก คือบุคคล
เช่นไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เจริญกาย เจริญศีล เจริญจิต เจริญปัญญาแล้ว
มีคุณไม่น้อย มีอัตภาพใหญ่ เป็นอัปปมาณวิหารี บุคคลเช่นนี้ทำบาปกรรมเพียง
เล็กน้อยเช่นนั้นแล บาปกรรมนั้นให้ผลในปัจจุบันเท่านั้น ไม่ให้ผลแม้แต่น้อยใน
อัตภาพที่ ๒ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงผลมาก (๓)
ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า “บุคคลนี้ทำกรรมไว้อย่างใด ๆ เขา
จะต้องเสวยกรรมนั้นอย่างนั้น ๆ” เมื่อเป็นเช่นนั้น การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์
ย่อมมีไม่ได้ โอกาสที่จะทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบย่อมไม่ปรากฏ ส่วนผู้ใดพึงกล่าว
อย่างนี้ว่า “บุคคลนี้ทำกรรมที่ต้องเสวยผลไว้อย่างใด ๆ เขาต้องเสวยผลของกรรม
นั้นอย่างนั้น ๆ” เมื่อเป็นเช่นนั้น การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมมีได้ โอกาสที่
จะทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบย่อมปรากฏ

โลณผลสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ปังสุโธวกสูตร
ว่าด้วยคนล้างฝุ่นล้างทอง

[๑๐๒] ภิกษุทั้งหลาย ทองมีสิ่งที่ทำให้เศร้าหมองอย่างหยาบ คือ ดินร่วน
ทราย ก้อนกรวด และกระเบื้อง คนล้างฝุ่นหรือลูกมือของคนล้างฝุ่น ร่อนทอง
นั้นในรางน้ำแล้ว ล้างซ้ำหลาย ๆ ครั้ง เมื่อสิ่งที่ทำให้เศร้าหมองอย่างหยาบนั้นถูก
ทำให้หมดไป สิ้นไปแล้ว ทองยังคงมีสิ่งที่ทำให้เศร้าหมองอย่างกลาง คือ ก้อนกรวด
อย่างละเอียด ทรายอย่างหยาบ คนล้างฝุ่นหรือลูกมือของคนล้างฝุ่น ล้างทองนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๔๑ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๕. โลณผลวรรค ๑๐. ปังสุโธวกสูตร

ซ้ำหลาย ๆ ครั้ง เมื่อสิ่งที่ทำให้เศร้าหมองอย่างกลางนั้นถูกทำให้หมดไป สิ้นไปแล้ว
ทองยังมีสิ่งที่ทำให้เศร้าหมองอย่างละเอียด คือ ทรายอย่างละเอียด และสะเก็ด
กะลำพัก คนล้างฝุ่นหรือลูกมือของคนล้างฝุ่น ล้างทองนั้นซ้ำหลาย ๆ ครั้ง เมื่อ
สิ่งที่ทำให้เศร้าหมองอย่างละเอียดนั้นถูกทำให้หมดไป สิ้นไปแล้ว ก็ยังคงเหลือเขม่า
ทองอยู่อีก ช่างทองหรือลูกมือของช่างทอง ใส่ทองลงในเบ้าหลอม เป่าทองนั้น
เป่าแล้วเป่าอีก เป่าจนได้ที่ ทองนั้นก็ยังไม่ติดสนิทแนบเป็นเนื้อเดียวกัน ยังไม่หาย
กระด้าง ไม่อ่อน ใช้การไม่ได้ ไม่ผุดผ่อง แตกง่ายและใช้งานได้ไม่ดี ช่างทอง
หรือลูกมือของช่างทองเป่าทองนั้น เป่าแล้วเป่าอีก เป่าจนได้ที่ในสมัยใด สมัยนั้น
ทองนั้นถูกเป่า ถูกเป่าแล้วเป่าอีก ถูกเป่าจนได้ที่ ติดสนิทแนบเป็นเนื้อเดียวกัน
หมดความกระด้าง เป็นของอ่อน ใช้การได้ ผุดผ่อง ไม่แตกง่าย ใช้งานได้ดี เขามุ่ง
หมายจะทำเครื่องประดับชนิดใด ๆ คือ แผ่นทอง ต่างหู สร้อยคอ หรือมาลัยทอง
เครื่องประดับชนิดนั้น ย่อมอำนวยประโยชน์ให้เขาได้ ฉันใด
ฉันนั้นเหมือนกันแล อุปกิเลสอย่างหยาบ คือ กายทุจริต(ความประพฤติชั่ว
ด้วยกาย) วจีทุจริต(ความประพฤติชั่วด้วยวาจา) มโนทุจริต(ความประพฤติชั่วด้วย
ใจ)ของภิกษุผู้บำเพ็ญอธิจิตยังมีอยู่ ภิกษุผู้มีความคิด เป็นคนฉลาด ละบรรเทา
อุปกิเลสอย่างหยาบนั้น ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี เมื่อละได้เด็ดขาดทำให้สิ้นไป
แล้ว อุปกิเลสอย่างกลาง คือ กามวิตก(ความตรึกในทางกาม) พยาบาทวิตก(ความ
ตรึกในทางพยาบาท) วิหิงสาวิตก(ความตรึกในความเบียดเบียน)ของภิกษุผู้บำเพ็ญ
อธิจิตยังมีอยู่ ภิกษุผู้มีความคิด เป็นคนฉลาด ละ บรรเทาอุปกิเลสอย่างกลางนั้น
ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี เมื่อละได้เด็ดขาด ทำให้สิ้นไปแล้ว อุปกิเลสอย่าง
ละเอียด คือ ความนึกคิดถึงชาติ ความนึกคิดถึงชนบท และความนึกคิดที่ประกอบ
ด้วยความไม่ดูหมิ่นของภิกษุผู้บำเพ็ญอธิจิตยังมีอยู่ ภิกษุผู้มีความคิด เป็นคนฉลาด
ละ บรรเทาอุปกิเลสอย่างละเอียดนั้น ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี เมื่อละได้เด็ดขาด
ทำให้สิ้นไปแล้ว ก็ยังมีธรรมวิตกเหลืออยู่ สมาธินั้นยังไม่สงบ ไม่ประณีต ไม่ได้
ความสงบระงับ ยังไม่บรรลุภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ยังมีการข่มห้ามกิเลสด้วย
ธรรมเครื่องปรุงแต่งอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๔๒ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๕. โลณผลวรรค ๑๐. ปังสุโธวกสูตร

ภิกษุทั้งหลาย มีสมัย๑ที่จิตตั้งมั่นอยู่ภายใน สงบนิ่งอยู่ มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่ง
ผุดขึ้นตั้งมั่นอยู่ สมาธินั้นเป็นธรรมสงบ ประณีต ได้ความสงบระงับ ถึงภาวะที่จิต
เป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีการข่มห้ามกิเลสด้วยธรรมเครื่องปรุงแต่ง และภิกษุนั้นจะน้อม
จิตไปเพื่อทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งใด ๆ เมื่อ
มีเหตุแห่งสติ๒ เธอย่อมบรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ
ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า “เราพึงแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็น
หลายคนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ แสดงให้ปรากฏหรือให้หายไปก็ได้
ทะลุฝา กำแพง และภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นหรือดำลงใน
แผ่นดินเหมือนไปในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำโดยที่น้ำไม่แยกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ นั่ง
ขัดสมาธิเหาะไปในอากาศเหมือนนกบินไปก็ได้ ใช้ฝ่ามือลูบคลำดวงจันทร์และดวง
อาทิตย์อันมีฤทธ์มากมีอานุภาพมากก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้”
เมื่อมี เหตุแห่งสติ๒ เธอย่อมบรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ
ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า “เราพึงได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือเสียงทิพย์และเสียงมนุษย์
ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ด้วยหูทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์” เมื่อมีเหตุแห่งสติ เธอย่อม
บรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ
ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า “เราพึงกำหนดรู้จิตของสัตว์และบุคคลอื่นได้ด้วยจิตของตน
คือ จิตมีราคะก็รู้ว่ามีราคะ หรือปราศจากราคะก็รู้ว่าปราศจากราคะ จิตมีโทสะก็รู้
ว่ามีโทสะ หรือปราศจากโทสะก็รู้ว่าปราศจากโทสะ จิตมีโมหะก็รู้ว่ามีโมหะ หรือ
ปราศจากโมหะก็รู้ว่าปราศจากโมหะ จิตหดหู่ก็รู้ว่าหดหู่ หรือฟุ้งซ่านก็รู้ว่าฟุ้งซ่าน
จิตเป็นมหัคคตะ๓ก็รู้ว่าเป็นมหัคคตะ หรือไม่เป็นมหัคคตะก็รู้ว่าไม่เป็นมหัคคตะ
จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่ามีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่าไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า
จิตเป็นสมาธิก็รู้ว่าเป็นสมาธิ หรือไม่เป็นสมาธิก็รู้ว่าไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้นก็รู้ว่า
หลุดพ้น หรือไม่หลุดพ้นก็รู้ว่าไม่หลุดพ้น” เมื่อมีเหตุแห่งสติ เธอย่อมบรรลุความ
เป็นผู้เหมาะที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๕. โลณผลวรรค ๑๐. ปังสุโธวกสูตร

ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า “เราพึงระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติ
บ้าง ๓ ชาติบ้าง ๔ ชาติบ้าง ๕ ชาติบ้าง ๑๐ ชาติบ้าง ๒๐ ชาติบ้าง ๓๐ ชาติบ้าง
๔๐ ชาติบ้าง ๕๐ ชาติบ้าง ๑๐๐ ชาติบ้าง ๑,๐๐๐ ชาติบ้าง ๑๐๐,๐๐๐ ชาติบ้าง
ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัป
และวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ว่า “ในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ
มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้นก็ไปเกิดในภพโน้น แม้
ในภพนั้น เราก็มีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุข ทุกข์ และ
มีอายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้นจึงมาเกิดในภพนี้ เราพึงระลึกชาติก่อนได้หลาย
ชาติพร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้” เมื่อมีเหตุแห่งสติ เธอย่อมบรรลุ
ความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ
ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า “เราเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ(เคลื่อน) กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและ
ชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ พึง
รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า “หมู่สัตว์ที่ประกอบกายทุจริต วจีทุจริต และ
มโนทุจริต กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นผิด ชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความ
เห็นผิด พวกเขาหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก แต่หมู่สัตว์
ที่ประกอบกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต ไม่กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็น
ชอบ ชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นชอบ พวกเขาหลังจากตายแล้วจะไปเกิด
ในสุคติโลกสวรรค์ เราพึงเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งาม
และไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ พึงรู้ชัดถึงหมู่
สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมอย่างนี้แล” เมื่อมีเหตุแห่งสติ เธอย่อมบรรลุความเป็นผู้
เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ
ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า “เราพึงทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ
เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน” เมื่อมีเหตุแห่งสติ เธอ
ย่อมบรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ

ปังสุโธวกสูตรที่ ๑๐ จบ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๕. โลณผลวรรค ๑๑. นิมิตตสูตร

๑๑. นิมิตตสูตร
ว่าด้วยนิมิต

[๑๐๓] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้บำเพ็ญอธิจิต๑พึงมนสิการนิมิต ๓ ประการ
ตามสมควรแก่เวลา คือ
๑. พึงมนสิการสมาธินิมิต๒ตามสมควรแก่เวลา
๒. พึงมนสิการปัคคหนิมิต๓ตามสมควรแก่เวลา
๓. พึงมนสิการอุเบกขานิมิต๔ตามสมควรแก่เวลา
ถ้าภิกษุผู้บำเพ็ญอธิจิตพึงมนสิการเฉพาะสมาธินิมิตอย่างเดียว เป็นไปได้ที่จิต
นั้นจะพึงเป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน ถ้าภิกษุผู้บำเพ็ญอธิจิตพึงมนสิการเฉพาะ
ปัคคหนิมิตอย่างเดียว เป็นได้ที่จิตนั้นจะพึงเป็นไปเพื่อความฟุ้งซ่าน ถ้าภิกษุผู้
บำเพ็ญอธิจิตพึงมนสิการเฉพาะอุเบกขานิมิตอย่างเดียว เป็นไปได้ที่จิตนั้นจะไม่พึง
ตั้งมั่นด้วยดีเพื่อความสิ้นอาสวะ แต่เมื่อใดที่ภิกษุผู้บำเพ็ญอธิจิตมนสิการสมาธินิ
มิตตามสมควรแก่เวลา มนสิการปัคคหนิมิตตามสมควรแก่เวลา และมนสิการ
อุเบกขานิมิตตามสมควรแก่เวลา เมื่อนั้น จิตนั้นย่อมอ่อน เหมาะแก่การใช้งาน
ผุดผ่อง และไม่เสียหาย ตั้งมั่นด้วยดีเพื่อความสิ้นอาสวะ
เปรียบเหมือนช่างทองหรือลูกมือของช่างทองตระเตรียมเบ้า เอาคีมคีบทองใส่
ลงที่ปากเบ้า แล้วสูบลมตามสมควรแก่เวลา เอาน้ำประพรมตามสมควรแก่เวลา เพ่ง
ดูตามสมควรแก่เวลา ถ้าช่างทองหรือลูกมือของช่างทองพึงสูบลมทองนั้นอย่างเดียว
เป็นไปได้ที่ทองนั้นพึงไหม้ ถ้าช่างทองหรือลูกมือของช่างทองพึงเอาน้ำประพรมทอง
นั้นอย่างเดียว เป็นไปได้ที่ทองนั้นพึงเย็น ถ้าช่างทองหรือลูกมือของช่างทองพึงเพ่งดู
ทองนั้นอย่างเดียว เป็นไปได้ที่ทองนั้นไม่สุกทั่วถึง แต่เมื่อใด ช่างทองหรือลูกมือ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๕. โลณผลวรรค ๑๑. นิมิตตสูตร

ของช่างทองสูบลมทองนั้นตามสมควรแก่เวลา เอาน้ำประพรมตามสมควรแก่เวลา
เพ่งดูตามสมควรแก่เวลา ทองนั้นย่อมอ่อน ใช้การได้ ผุดผ่องและไม่แตกง่าย ใช้งาน
ได้ดี และช่างทองหรือลูกมือของช่างทองมุ่งหมายจะทำเครื่องประดับชนิดใด ๆ คือ
แผ่นทอง ต่างหู สร้อยคอ หรือมาลัยทอง ทองนั้น ย่อมอำนวยประโยชน์ให้เขาได้
แม้ฉันใด
ภิกษุผู้บำเพ็ญอธิจิตก็ฉันนั้นเหมือนกัน พึงมนสิการนิมิต ๓ ประการ ตาม
สมควรแก่เวลา คือ
๑. พึงมนสิการสมาธินิมิตตามสมควรแก่เวลา
๒. พึงมนสิการปัคคหนิมิตตามสมควรแก่เวลา
๓. พึงมนสิการอุเบกขานิมิตตามสมควรแก่เวลา
ถ้าภิกษุผู้บำเพ็ญอธิจิตพึงมนสิการเฉพาะสมาธินิมิตอย่างเดียว เป็นได้ที่จิตนั้น
จะพึงเป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน ถ้าภิกษุผู้บำเพ็ญอธิจิตพึงมนสิการเฉพาะ ปัคค
หนิมิตอย่างเดียว เป็นไปได้ที่จิตนั้นจะพึงเป็นไปเพื่อความฟุ้งซ่าน ถ้าภิกษุผู้บำเพ็ญ
อธิจิตพึงมนสิการเฉพาะอุเบกขานิมิตอย่างเดียว เป็นไปได้ที่จิตนั้นจะไม่พึงตั้งมั่น
ด้วยดีเพื่อความสิ้นอาสวะ แต่เมื่อใดที่ภิกษุผู้บำเพ็ญอธิจิตมนสิการสมาธินิมิตตาม
สมควรแก่เวลา มนสิการปัคคหนิมิตตามสมควรแก่เวลา และมนสิการอุเบกขา-
นิมิตตามสมควรแก่เวลา เมื่อนั้น จิตนั้นย่อมอ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ผุดผ่อง
และไม่เสียหาย ตั้งมั่นด้วยดีเพื่อความสิ้นอาสวะ และภิกษุนั้นย่อมน้อมจิตไปเพื่อ
ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญายิ่งใด ๆ เมื่อมีเหตุแห่งสติ เธอย่อมบรรลุ
ความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ
ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า “เราพึงแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง ฯลฯ๑พึงทำให้แจ้ง ฯลฯ
เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน” เมื่อมีเหตุแห่งสติ เธอย่อมบรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะ
ประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ

นิมิตตสูตรที่ ๑๑ จบ
โลณผลวรรคที่ ๕ จบ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๕. โลณผลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อัจจายิกสูตร ๒. ปวิเวกสูตร
๓. สรทสูตร ๔. ปริสาสูตร
๕. ปฐมอาชานียสูตร ๖. ทุติยอาชานียสูตร
๗. ตติยอาชานียสูตร ๘. โปตถกสูตร
๙. โลณผลสูตร ๑๐. ปังสุโธวกสูตร
๑๑. นิมิตตสูตร

ทุติยปัณณาสก์ จบบริบูรณ์


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๑. สัมโพธวรรค ๑. ปุพเพวสัมโพธสูตร

๓. ตติยปัณณาสก์

๑. สัมโพธวรรค
หมวดว่าด้วยการตรัสรู้
๑. ปุพเพวสัมโพธสูตร
ว่าด้วยความดำริก่อนตรัสรู้

[๑๐๔] ภิกษุทั้งหลาย เมื่อก่อนเราเป็นพระโพธิสัตว์ยังไม่ได้ตรัสรู้ ได้มีความ
คิดดังนี้ว่า “ในโลก อะไรหนอเป็นคุณ อะไรเป็นโทษ อะไรเป็นเครื่องสลัดออก”
เรานั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า “สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยโลกเกิดขึ้นนี้เป็นคุณในโลก
สภาพที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เป็นโทษในโลก ธรรมเป็น
ที่กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะ๑เป็นเครื่องสลัดออกไปในโลก”
ภิกษุทั้งหลาย ตราบใด เรายังไม่รู้คุณของโลกโดยความเป็นคุณ โทษโดยความ
เป็นโทษ และเครื่องสลัดออกไปโดยความเป็นเครื่องสลัดออกไปตามความเป็นจริง
ตราบนั้น เราจะยังไม่ปฏิญญาตนว่าเป็นผู้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลก
พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา
และมนุษย์ทั้งหลาย
แต่เมื่อใด เรารู้คุณของโลกโดยความเป็นคุณ โทษโดยความเป็นโทษ และ
เครื่องสลัดออกไปโดยความเป็นเครื่องสลัดออกไป เมื่อนั้นเราจึงปฏิญญาตนว่าเป็น
ผู้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ใน
หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย
ก็แลญาณทัสสนะ๒เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า “วิมุตติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็น
ชาติสุดท้าย บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีก”

ปุพเพวสัมโพธสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๑. สัมโพธวรรค ๓. ทุติยอัสสาทสูตร

๒. ปฐมอัสสาทสูตร
ว่าด้วยคุณของโลก สูตรที่ ๑

[๑๐๕] ภิกษุทั้งหลาย เราได้เที่ยวแสวงหาคุณของโลก ได้พบคุณในโลกแล้ว
คุณในโลกมีประมาณเท่าใด เราเห็นคุณประมาณเท่านั้นดีแล้วด้วยปัญญา
เราได้เที่ยวแสวงหาโทษของโลก ได้พบโทษในโลกแล้ว โทษในโลกมีประมาณเท่าใด
เราเห็นโทษประมาณเท่านั้นดีแล้วด้วยปัญญา
เราได้เที่ยวแสวงหาเครื่องสลัดโลกออกไป ได้พบเครื่องสลัดโลกออกไป
เครื่องสลัดออกไปในโลกมีประมาณเท่าใด เราเห็นเครื่องสลัดโลกออกไปประมาณ
เท่านั้นดีแล้วด้วยปัญญา
ตราบใด เรายังไม่รู้คุณของโลกโดยความเป็นคุณ โทษโดยความเป็นโทษ และ
เครื่องสลัดออกไปโดยความเป็นเครื่องสลัดออกไปตามความเป็นจริง ตราบนั้น เรา
จะยังไม่ปฏิญญาตนว่าเป็นผู้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลกพร้อมทั้งเทวโลก
มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย
แต่เมื่อใด เรารู้คุณของโลกโดยความเป็นคุณ โทษโดยความเป็นโทษ และเครื่อง
สลัดออกไปโดยความเป็นเครื่องสลัดออกไปตามความเป็นจริง เมื่อนั้น เราจึง
ปฏิญญาตนว่าเป็นผู้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก
พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ก็แลญาณทัสสนะเกิดขึ้นแก่เราว่า “วิมุตติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็นชาติสุด
ท้าย บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีก”

ปฐมอัสสาทสูตรที่ ๒ จบ

๓. ทุติยอัสสาทสูตร
ว่าด้วยคุณของโลก สูตรที่ ๒

[๑๐๖] ภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าคุณในโลกนี้จักไม่มีแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึง
ติดใจในโลก แต่เพราะคุณในโลกมีอยู่ สัตว์ทั้งหลายจึงติดใจในโลก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๔๙ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๑. สัมโพธวรรค ๔. สมณพราหมณสูตร

ถ้าโทษในโลกจักไม่มีแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงเบื่อหน่ายในโลก แต่เพราะโทษ
ในโลกมีอยู่ สัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายในโลก
ก็ถ้าเครื่องสลัดออกไปในโลกจักไม่มีแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงสลัดออกไปจากโลก
แต่เพราะเครื่องสลัดออกไปในโลกมีอยู่ สัตว์ทั้งหลายจึงสลัดออกไปจากโลก
ตราบใด สัตว์ทั้งหลายยังไม่รู้คุณของโลกโดยความเป็นคุณ โทษของโลกโดย
ความเป็นโทษ และเครื่องสลัดออกไปโดยความเป็นเครื่องสลัดออกไปตามความเป็นจริง
ตราบนั้น สัตว์ทั้งหลายจะออกไป หลุดไป พ้นไปจากโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก
พรหมโลก จากหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย มีใจ
ปราศจากขีดคั่นอยู่ไม่ได้เลย
แต่เมื่อใด สัตว์ทั้งหลายรู้คุณของโลกโดยความเป็นคุณ โทษของโลกโดย
ความเป็นโทษ และเครื่องสลัดออกไปโดยความเป็นเครื่องสลัดออกไปตามความเป็นจริง
เมื่อนั้น สัตว์ทั้งหลายย่อมออกไป หลุดไป พ้นไปจากโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก
พรหมโลก จากหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย มีใจ
ปราศจากขีดคั่นอยู่ได้

ทุติยอัสสาทสูตรที่ ๓ จบ

๔. สมณพราหมณสูตร
ว่าด้วยผู้ควรยกย่องว่าเป็นสมณะและพราหมณ์

[๑๐๗] ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์ผู้ไม่รู้คุณของโลกโดยความเป็น
คุณ โทษของโลกโดยความเป็นโทษ และเครื่องสลัดออกไปโดยความเป็นเครื่องสลัด
ออกไปตามความเป็นจริง เราไม่ยกย่องว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือเป็นพราหมณ์
ในหมู่พราหมณ์ และท่านเหล่านั้นไม่ชื่อว่าทำให้แจ้งคุณของความเป็นสมณะและ
คุณของความเป็นพราหมณ์ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
แต่สมณะหรือพราหมณ์ผู้รู้คุณของโลกโดยความเป็นคุณของโลก โทษของโลก
โดยความเป็นโทษ และเครื่องสลัดออกไปโดยความเป็นเครื่องสลัดออกไปตามความ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๕๐ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๑. สัมโพธวรรค ๖. อติตติสูตร

เป็นจริง เรายกย่องว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์
และท่านเหล่านั้นชื่อว่าทำให้แจ้งคุณของความเป็นสมณะและคุณของความเป็นพราหมณ์
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน

สมณพราหมณสูตรที่ ๔ จบ

๕. รุณณสูตร
ว่าด้วยการขับร้องคือการร้องไห้ในอริยวินัย

[๑๐๘] ภิกษุทั้งหลาย การขับร้องคือการร้องไห้ในอริยวินัย การฟ้อนรำคือ
ความเป็นบ้าในอริยวินัย การหัวเราะจนเห็นฟันมากเกินไปคือความเป็นเด็กในอริยวินัย
เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายจงละโดยเด็ดขาดในการขับร้องและการฟ้อนรำ
เมื่อเธอทั้งหลายมีความเบิกบานในธรรม เพียงแค่ยิ้มแย้มก็เพียงพอแล้ว

รุณณสูตรที่ ๕ จบ

๖. อติตติสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่เสพไม่รู้จักอิ่ม

[๑๐๙] ภิกษุทั้งหลาย ความอิ่มในการเสพสิ่ง ๓ ประการ ย่อมไม่มี
ความอิ่มในการเสพสิ่ง ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความอิ่มในการนอนหลับ
๒. ความอิ่มในการเสพเครื่องดื่มคือสุราและเมรัย
๓. ความอิ่มในการเสพเมถุนธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ความอิ่มในการเสพสิ่ง ๓ ประการนี้แลย่อมไม่มี

อติตติสูตรที่ ๖ จบ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๑. สัมโพธวรรค ๗. อรักขิตสูตร

๗. อรักขิตสูตร
ว่าด้วยผู้ไม่รักษาจิต

[๑๑๐] ครั้งนั้น อนาถบิณฑิกคหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับอนาถบิณฑิกคหบดีดังนี้ว่า
คหบดี เมื่อบุคคลไม่รักษาจิต ชื่อว่าไม่รักษากายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม
เขาผู้ไม่รักษากายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ย่อมมีกายกรรม วจีกรรม และ
มโนกรรมเปียกชุ่ม เขาผู้มีกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมเปียกชุ่ม ย่อมมี
กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมเสียหาย เขาผู้มีกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม
เสียหาย ย่อมมีการตายที่ไม่ดี กาลกิริยา(การตาย)ก็ไม่งาม
เมื่อเรือนยอดมุงไว้ไม่ดี ยอดเรือน ไม้กลอน และฝาเรือนชื่อว่าไม่ได้รับการ
รักษา ยอดเรือน ไม้กลอน และฝาเรือนชื่อว่าถูกฝนรั่วรด ยอดเรือน ไม้กลอน
และฝาเรือนก็ผุพัง แม้ฉันใด
เมื่อบุคคลไม่รักษาจิต ฯลฯ ย่อมมีการตายที่ไม่ดี กาลกิริยาก็ไม่งาม ก็ฉัน
นั้นเหมือนกัน
เมื่อบุคคลรักษาจิต ชื่อว่ารักษากายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม เขา
ผู้รักษากายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ย่อมมีกายกรรม วจีกรรม และ
มโนกรรมที่ไม่เปียกชุ่ม เขาผู้มีกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมที่ไม่เปียกชุ่ม
ย่อมมีกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมที่ไม่เสียหาย เขาผู้มีกายกรรม วจีกรรม
และมโนกรรมไม่เสียหาย ย่อมมีการตายที่ดี กาลกิริยาก็งาม
เมื่อเรือนยอดมุงไว้ดี ยอดเรือน ไม้กลอน และฝาเรือนชื่อว่าได้รับการรักษา
ยอดเรือน ไม้กลอน และฝาเรือนชื่อว่าไม่ถูกฝนรั่วรด ยอดเรือน ไม้กลอน
ฝาเรือนก็ไม่ผุพัง แม้ฉันใด
คหบดี เมื่อบุคคลรักษาจิต ฯลฯ ย่อมมีการตายที่ดี กาลกิริยาก็งาม ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน

อรักขิตสูตรที่ ๗ จบ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๑. สัมโพธวรรค ๙. ปฐมนิทานสูตร

๘. พยาปันนสูตร
ว่าด้วยจิตถึงความผิดปกติ

[๑๑๑] ครั้งนั้น อนาถบิณฑิกคหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับอนาถบิณฑิกคหบดีดังนี้ว่า
คหบดี เมื่อจิตถึงความผิดปกติ แม้กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมก็ถึง
ความผิดปกติ เขาผู้มีกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมถึงความผิดปกติ ย่อมมี
การตายที่ไม่ดี กาลกิริยาก็ไม่งาม
เมื่อเรือนยอดมุงไว้ไม่ดี ยอดเรือน ไม้กลอน และฝาเรือนย่อมถึงความผิด
ปกติแม้ฉันใด เมื่อจิตถึงความผิดปกติ ฯลฯ ย่อมมีการตายที่ไม่ดี กาลกิริยาก็ไม่งาม
ฉันนั้นเหมือนกัน
เมื่อจิตไม่ถึงความผิดปกติ แม้กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมก็ไม่ถึง
ความผิดปกติ เขาผู้มีกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมไม่ถึงความผิดปกติ ย่อม
มีการตายที่ดี กาลกิริยาก็งาม
เมื่อเรือนยอดมุงไว้ดี แม้ยอดเรือน ไม้กลอน ฝาเรือนก็ไม่ถึงความผิดปกติ
แม้ฉันใด
คหบดี เมื่อจิตไม่ถึงความผิดปกติ ฯลฯ ย่อมมีการตายที่ดี กาลกิริยาก็งาม
ฉันนั้นเหมือนกัน

พยาปันนสูตรที่ ๘ จบ

๙. ปฐมนิทานสูตร
ว่าด้วยเหตุให้เกิดกรรม สูตรที่ ๑

[๑๑๒] ภิกษุทั้งหลาย เหตุให้เกิดกรรม(ชั่ว) ๓ ประการนี้
เหตุให้เกิดกรรม(ชั่ว) ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. โลภะ (ความอยากได้) ๒. โทสะ (ความคิดประทุษร้าย)
๓. โมหะ (ความหลง)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๕๓ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๑. สัมโพธวรรค ๙. ปฐมนิทานสูตร

กรรมใดที่บุคคลทำด้วยโลภะ เกิดจากโลภะ มีโลภะเป็นเหตุ มีโลภะเป็น
แดนเกิด กรรมนั้นเป็นอกุศล กรรมนั้นมีโทษ กรรมนั้นมีผลเป็นทุกข์ กรรมนั้น
เป็นไปเพื่อความเกิดกรรมอีก กรรมนั้นไม่เป็นไปเพื่อความดับกรรม
กรรมใดที่บุคคลทำด้วยโทสะ เกิดจากโทสะ มีโทสะเป็นเหตุ มีโทสะเป็น
แดนเกิด กรรมนั้นเป็นอกุศล กรรมนั้นมีโทษ กรรมนั้นมีผลเป็นทุกข์ กรรมนั้น
เป็นไปเพื่อความเกิดกรรมอีก กรรมนั้นไม่เป็นไปเพื่อความดับกรรม
กรรมใดที่บุคคลทำด้วยโมหะ เกิดจากโมหะ มีโมหะเป็นเหตุ มีโมหะเป็น
แดนเกิด กรรมนั้นเป็นอกุศล กรรมนั้นมีโทษ กรรมนั้นมีผลเป็นทุกข์ กรรมนั้น
เป็นไปเพื่อความเกิดกรรมอีก กรรมนั้นไม่เป็นไปเพื่อความดับกรรม
ภิกษุทั้งหลาย เหตุให้เกิดกรรม(ชั่ว) ๓ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย เหตุให้เกิดกรรม(ดี) ๓ ประการนี้
เหตุให้เกิดกรรม(ดี) ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อโลภะ (ความไม่อยากได้) ๒. อโทสะ (ความไม่คิดประทุษร้าย)
๓. อโมหะ (ความไม่หลง)
กรรมใดที่บุคคลทำด้วยอโลภะ เกิดจากอโลภะ มีอโลภะเป็นเหตุ มีอโลภะ
เป็นแดนเกิด กรรมนั้นเป็นกุศล กรรมนั้นไม่มีโทษ กรรมนั้นมีผลเป็นสุข กรรม
นั้นเป็นไปเพื่อความดับกรรม กรรมนั้นไม่เป็นไปเพื่อความเกิดกรรมอีก
กรรมใดที่บุคคลทำด้วยอโทสะ เกิดจากอโทสะ มีอโทสะเป็นเหตุ มีอโทสะ
เป็นแดนเกิด กรรมนั้นเป็นกุศล กรรมนั้นไม่มีโทษ กรรมนั้นมีผลเป็นสุข กรรม
นั้นเป็นไปเพื่อความดับกรรม กรรมนั้นไม่เป็นไปเพื่อความเกิดกรรมอีก
กรรมใดที่บุคคลทำด้วยอโมหะ เกิดจากอโมหะ มีอโมหะเป็นเหตุ มีอโมหะ
เป็นแดนเกิด กรรมนั้นเป็นกุศล กรรมนั้นไม่มีโทษ กรรมนั้นมีผลเป็นสุข กรรม
นั้นเป็นไปเพื่อความดับกรรม กรรมนั้นไม่เป็นไปเพื่อความเกิดกรรมอีก
ภิกษุทั้งหลาย เหตุให้เกิดกรรม(ดี) ๓ ประการนี้แล

ปฐมนิทานสูตรที่ ๙ จบ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๑. สัมโพธวรรค ๑๐. ทุติยนิทานสูตร

๑๐. ทุติยนิทานสูตร
ว่าด้วยเหตุให้เกิดกรรม สูตรที่ ๒

[๑๑๓] ภิกษุทั้งหลาย เหตุให้เกิดกรรม(ชั่ว) ๓ ประการนี้
เหตุให้เกิดกรรม(ชั่ว) ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ฉันทะ๑เกิดเพราะอาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในอดีต
๒. ฉันทะเกิดเพราะอาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในอนาคต
๓. ฉันทะเกิดเพราะอาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในปัจจุบัน
ฉันทะเกิดเพราะอาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในอดีต เป็นอย่างไร
คือ บุคคลอาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในอดีต ตรึกตรอง พิจารณาด้วยใจ
เมื่อเขาอาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในอดีต ตรึกตรอง พิจารณาด้วยใจ ย่อม
เกิดฉันทะ เขาผู้เกิดฉันทะ ย่อมถูกธรรมเหล่านั้นร้อยรัด เราเรียกความกำหนัดแห่ง
ใจนั้นว่าเป็นสังโยชน์ ฉันทะเกิดเพราะอาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะใน
อดีต เป็นอย่างนี้แล
ฉันทะเกิดเพราะอาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในอนาคต เป็นอย่างไร
คือ บุคคลอาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในอนาคต ตรึกตรอง พิจารณา
ด้วยใจ เมื่อเขาอาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในอนาคต ตรึกตรอง พิจารณา
ด้วยใจ ย่อมเกิดฉันทะ เขาผู้เกิดฉันทะ ย่อมถูกธรรมเหล่านั้นร้อยรัด เราเรียกความ
กำหนัดแห่งใจนั้นว่าเป็นสังโยชน์ ฉันทะเกิดเพราะอาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะ
ในอนาคต เป็นอย่างนี้แล
ฉันทะเกิดเพราะอาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในปัจจุบัน เป็นอย่างไร
คือ บุคคลอาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในปัจจุบัน ตรึกตรอง พิจารณา
ด้วยใจ เมื่อเขาอาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในปัจจุบัน ตรึกตรอง พิจารณา
ด้วยใจ ย่อมเกิดฉันทะ เขาผู้เกิดฉันทะ ย่อมถูกธรรมเหล่านั้นร้อยรัด เราเรียกความ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๑. สัมโพธวรรค ๑๐. ทุติยนิทานสูตร

กำหนัดแห่งใจนั้นว่าเป็นสังโยชน์ ฉันทะเกิดเพราะอาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะ
ในปัจจุบัน เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย เหตุให้เกิดกรรม(ชั่ว) ๓ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย เหตุให้เกิดกรรม(ดี) ๓ ประการนี้
เหตุให้เกิดกรรม(ดี) ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ฉันทะไม่เกิดเพราะอาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในอดีต
๒. ฉันทะไม่เกิดเพราะอาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในอนาคต
๓. ฉันทะไม่เกิดเพราะอาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในปัจจุบัน
ฉันทะไม่เกิดเพราะอาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในอดีต เป็นอย่างไร
คือ บุคคลรู้ชัดผลที่จะเกิดต่อไปแห่งธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในอดีต ครั้น
รู้แล้วจึงละเว้นผลนั้นเสียแล้วรู้แจ้งด้วยใจ เห็นชัดด้วยปัญญา ฉันทะไม่เกิดเพราะ
อาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในอดีต เป็นอย่างนี้แล
ฉันทะไม่เกิดเพราะอาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในอนาคต เป็น
อย่างไร
คือ บุคคลรู้ชัดผลที่จะเกิดต่อไปแห่งธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในอนาคต
ครั้นรู้แล้วจึงละเว้นผลนั้นเสียแล้วรู้แจ้งด้วยใจ เห็นชัดด้วยปัญญา ฉันทะไม่เกิดเพราะ
อาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในอนาคต เป็นอย่างนี้แล
ฉันทะไม่เกิดเพราะอาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในปัจจุบัน เป็น
อย่างไร
คือ บุคคลรู้ชัดผลที่จะเกิดต่อไปแห่งธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในปัจจุบัน
ครั้นรู้แล้วจึงละเว้นผลนั้นเสียแล้วรู้แจ้งด้วยใจ เห็นชัดด้วยปัญญา ฉันทะไม่เกิดเพราะ
อาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในปัจจุบัน เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย เหตุให้เกิดกรรม(ดี) ๓ ประการนี้แล

ทุติยนิทานสูตรที่ ๑๐ จบ
สัมโพธวรรคที่ ๑ จบ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๒. อาปายิกวรรค ๑. อาปายิกสูตร

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปุพเพวสัมโพธสูตร ๒. ปฐมอัสสาทสูตร
๓. ทุติยอัสสาทสูตร ๔. สมณพราหมณสูตร
๕. รุณณสูตร ๖. อติตติสูตร
๗. อรักขิตสูตร ๘. พยาปันนสูตร
๙. ปฐมนิทานสูตร ๑๐. ทุติยนิทานสูตร

๒. อาปายิกวรรค
หมวดว่าด้วยบุคคลผู้ต้องไปสู่อบายภูมิ
๑. อาปายิกสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้ต้องไปสู่อบายภูมิ

[๑๑๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้ไม่ละ
บาปกรรม ๓ ประการนี้ ต้องไปอบายภูมิ ต้องไปนรก
บุคคล ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลที่ไม่ใช่พรหมจารี แต่ปฏิญญาตนว่าเป็นพรหมจารี
๒. บุคคลที่ตามกำจัดท่านผู้ประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์ด้วยกรรมที่ไม่มี
มูลอันเป็นปฏิปักษ์ต่อพรหมจรรย์
๓. บุคคลที่มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิ๑อย่างนี้ว่า “โทษในกามไม่มี” แล้ว
ถึงความเป็นเหยื่อในกามทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้แล ไม่ละบาปกรรม ๓ ประการนี้ ต้องไป
อบายภูมิ ต้องไปนรก

อาปายิกสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๒. อาปายิกวรรค ๓. อัปปเมยยสูตร

๒. ทุลลภสูตร
ว่าด้วยบุคคลหาได้ยาก

[๑๑๕] ภิกษุทั้งหลาย ความปรากฏของบุคคล ๓ จำพวกหาได้ยากในโลก
ความปรากฏของบุคคล ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
๒. บุคคลผู้แสดงธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้
๓. กตัญญูกตเวทีบุคคล๑
ภิกษุทั้งหลาย ความปรากฏของบุคคล ๓ จำพวกนี้แลหาได้ยากในโลก

ทุลลภสูตรที่ ๒ จบ

๓. อัปปเมยยสูตร
ว่าด้วยบุคคลที่ประมาณไม่ได้

[๑๑๖] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. สุปปเมยยบุคคล (บุคคลที่ประมาณได้ง่าย)
๒. ทุปปเมยยบุคคล (บุคคลที่ประมาณได้ยาก)
๓. อัปปเมยยบุคคล (บุคคลที่ประมาณไม่ได้)
สุปปเมยยบุคคล เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ฟุ้งซ่าน ถือตัว โลเล ปากกล้า พูดพร่ำเพรื่อ
หลงลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะ มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตกวัดแกว่ง ไม่สำรวมอินทรีย์ นี้
เรียกว่า สุปปเมยยบุคคล
ทุปปเมยยบุคคล เป็นอย่างไร


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๒. อาปายิกวรรค ๔. อาเนญชสูตร

คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ถือตัว ไม่โลเล ไม่ปากกล้า ไม่พูด
พร่ำเพรื่อ มีสติมั่นคง มีสัมปชัญญะ มีจิตตั้งมั่น มีจิตแน่วแน่ สำรวมอินทรีย์
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ทุปปเมยยบุคคล
อัปปเมยยบุคคล เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นพระอรหันตขีณาสพ นี้เรียกว่า อัปปเมยยบุคคล
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก

อัปปเมยยสูตรที่ ๓ จบ

๔. อาเนญชสูตร
ว่าด้วยธรรมอันไม่หวั่นไหว

[๑๑๗] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลบางคนในโลกนี้บรรลุอากาสานัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า
“อากาศไม่มีที่สุด” อยู่ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนด
นานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง เขาชอบใจฌานนั้น ติดใจฌาน
นั้นและถึงความปลื้มใจกับฌานนั้น เขาดำรงอยู่ในฌานนั้น น้อมใจ
ไปในฌานนั้น ชอบอยู่กับฌานนั้นโดยมากไม่เสื่อม หลังจากตายแล้ว
เข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทวดาพวกที่เข้าถึงชั้นอากาสานัญจา ยตนะ
พวกเทวดาที่เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนะ มีอายุประมาณ ๒๐,๐๐๐
กัป คนที่เป็นปุถุชนดำรงอยู่ในชั้นอากาสานัญจายตนะนั้นจนสิ้นอายุ
ให้ระยะเวลาที่เป็นกำหนดอายุของเทวดาเหล่านั้นหมดไปแล้วไปสู่
นรกบ้าง ไปสู่กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานบ้าง ไปสู่แดนเปรตบ้าง ส่วนสาวก
ของพระผู้มีพระภาคดำรงอยู่ในชั้นอากาสานัญจายตนะนั้นจนสิ้นอายุ
ให้ระยะเวลาที่เป็นกำหนดอายุของเทวดาเหล่านั้นหมดไปแล้วปรินิพพาน
ในภพนั้นแล นี้แลเป็นความแปลกกัน เป็นความแตกต่างกัน เป็น
เหตุทำให้ต่างกัน ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ
เมื่อคติ(การตาย)และอุบัติ(การเกิด)ยังมีอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๕๙ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๒. อาปายิกวรรค ๔. อาเนญชสูตร

๒. บุคคลบางคนในโลกนี้ล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง
บรรลุวิญญาณัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า “วิญญาณไม่มีที่สุด” อยู่
เขาชอบใจฌานนั้น ติดใจฌานนั้น และถึงความปลื้มใจกับฌานนั้น
เขาดำรงอยู่ในฌานนั้น น้อมใจไปในฌานนั้น ชอบอยู่กับฌานนั้น
โดยมากไม่เสื่อม หลังจากตายแล้วเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับ
เทวดาพวกที่เข้าถึงชั้นวิญญาณัญจายตนะ เทวดาพวกที่เข้าถึงชั้น
วิญญาณัญจายตนะมีอายุประมาณ ๔๐,๐๐๐ กัป คนที่เป็นปุถุชน
ดำรงอยู่ในชั้นวิญญาณัญจายตนะนั้นจนสิ้นอายุ ให้ระยะเวลาที่เป็น
กำหนดอายุของเทวดาเหล่านั้นหมดไปแล้วไปสู่นรกบ้าง ไปสู่กำเนิด
สัตว์ดิรัจฉานบ้าง ไปสู่แดนเปรตบ้าง ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาค
ดำรงอยู่ในชั้นวิญญาณัญจายตนะนั้นจนสิ้นอายุ ให้ระยะเวลาที่เป็น
กำหนดอายุของเทวดาเหล่านั้นหมดไปแล้วปรินิพพานในภพนั้นแล
นี้แลเป็นความแปลกกัน เป็นความแตกต่างกัน เป็นเหตุทำให้ต่าง
กันระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เมื่อคติและอุบัติ
ยังมีอยู่
๓. บุคคลบางคนในโลกนี้ล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง
บรรลุอากิญจัญญายตนฌานอยู่โดยกำหนดว่า “ไม่มีอะไร” อยู่ เขา
ชอบใจฌานนั้น ติดใจฌานนั้น และถึงความปลื้มใจกับฌานนั้น เขา
ดำรงอยู่ในฌานนั้น น้อมใจไปในฌานนั้น ชอบอยู่กับฌานนั้นโดยมาก
ไม่เสื่อม หลังจากตายแล้วเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทวดาพวก
ที่เข้าถึงชั้นอากิญจัญญายตนะ เทวดาทั้งหลายพวกที่เข้าถึงชั้น
อากิญจัญญายตนะ มีอายุประมาณ ๖๐,๐๐๐ กัป คนที่เป็นปุถุชน
ดำรงอยู่ในชั้นอากิญจัญญายตนะนั้นจนสิ้นอายุ ให้ระยะเวลาที่เป็น
กำหนดอายุของเทวดาเหล่านั้นหมดไปแล้วไปสู่นรกบ้าง ไปสู่กำเนิดสัตว์
ดิรัจฉานบ้าง ไปสู่แดนเปรตบ้าง ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาคดำรง
อยู่ในชั้นอากิญจัญญายตนะนั้นจนสิ้นอายุ ให้ระยะเวลาที่เป็นกำหนด
อายุของเทวดาเหล่านั้นหมดไปแล้วปรินิพพานในภพนั้นแล นี้แลเป็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๖๐ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๒. อาปายิกวรรค ๕. วิปัตติสัมปทาสูตร

ความแปลกกัน เป็นความแตกต่างกัน เป็นเหตุทำให้ต่างกันระหว่าง
อริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เมื่อคติและอุบัติยังมีอยู่
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก

อาเนญชสูตรที่ ๔ จบ

๕. วิปัตติสัมปทาสูตร
ว่าด้วยวิบัติ และสัมปทา

[๑๑๘] ภิกษุทั้งหลาย วิบัติ ๓ ประการนี้
วิบัติ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สีลวิบัติ (ความวิบัติแห่งศีล)
๒. จิตตวิบัติ (ความวิบัตแห่งจิต)
๓. ทิฏฐิวิบัติ (ความวิบัติแห่งทิฏฐิ)
สีลวิบัติ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ
พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ นี้เรียกว่า สีลวิบัติ
จิตตวิบัติ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิ(เห็นผิด) มีจิตพยาบาท นี้เรียกว่า
จิตตวิบัติ
ทิฏฐิวิบัติ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิ มีความเห็นวิปริตว่า “ทานที่ให้แล้ว
ไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและ
ชั่วก็ไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มีคุณ บิดาไม่มีคุณ โอปปาติกสัตว์ไม่มี
สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอัน
ยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งก็ไม่มีในโลก” นี้เรียกว่า ทิฏฐิวิบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๖๑ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๒. อาปายิกวรรค ๕. วิปัตติสัมปทาสูตร

เพราะสีลวิบัติเป็นเหตุ สัตว์ทั้งหลายหลังจากตายแล้วจึงไปเกิดในอบาย ทุคติ
วินิบาต๑ นรก เพราะจิตตวิบัติเป็นเหตุ สัตว์ทั้งหลายหลังจากตายแล้วจึงไปเกิดใน
อบาย ทุคติ วินิบาต นรก หรือเพราะทิฏฐิวิบัติเป็นเหตุ สัตว์ทั้งหลายหลังจาก
ตายแล้วจึงไปเกิดอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ภิกษุทั้งหลาย วิบัติ ๓ ประการนี้แล
สัมปทา ๓ ประการนี้
สัมปทา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สีลสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศีล)
๒. จิตตสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยจิต)
๓. ทิฏฐิสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ)
สีลสัมปทา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติ
ผิดในกาม การพูดเท็จ การพูดส่อเสียด การพูดคำหยาบ และการพูดเพ้อเจ้อ นี้
เรียกว่า สีลสัมปทา
จิตตสัมปทา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา ไม่มีจิตพยาบาท นี้เรียกว่า
จิตตสัมปทา
ทิฏฐิสัมปทา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นสัมมาทิฏฐิ(เห็นชอบ) มีความเห็นไม่วิปริตว่า
“ทานที่ให้แล้วมีผล ยัญที่บูชาแล้วมีผล การเซ่นสรวงมีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่
ทำไว้ดีและชั่วมี โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามีคุณ บิดามีคุณ โอปปาติกสัตว์มี
สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่ง
เองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งมีอยู่ในโลก” นี้เรียกว่า ทิฏฐิสัมปทา


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๒. อาปายิกวรรค ๖. อปัณณกสูตร

เพราะสีลสัมปทาเป็นเหตุ สัตว์ทั้งหลายหลังจากตายแล้วจึงไปเกิดในสุคติโลก
สวรรค์ เพราะจิตตสัมปทาเป็นเหตุ สัตว์ทั้งหลายหลังจากตายแล้วจึงไปเกิดใน
สุคติโลกสวรรค์ หรือเพราะทิฏฐิสัมปทาเป็นเหตุ สัตว์ทั้งหลายหลังจากตายแล้วจึง
ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
ภิกษุทั้งหลาย สัมปทา ๓ ประการนี้แล

วิปัตติสัมปทาสูตรที่ ๕ จบ

๖. อปัณณกสูตร
ว่าด้วยข้อปฏิบัติไม่ผิด

[๑๑๙] ภิกษุทั้งหลาย วิบัติ ๓ ประการนี้
วิบัติ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สีลวิบัติ (ความวิบัติแห่งศีล)
๒. จิตตวิบัติ (ความวิบัติแห่งจิต)
๓. ทิฏฐิวิบัติ (ความวิบัติแห่งทิฏฐิ)
สีลวิบัติ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ พูดเพ้อเจ้อ นี้เรียกว่า
สีลวิบัติ
จิตตวิบัติ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เพ่งเล็งอยากได้ของเขา มีจิตพยาบาท นี้เรียกว่า
จิตตวิบัติ
ทิฏฐิวิบัติ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิ มีความเห็นวิปริตว่า “ทานที่ให้แล้ว
ไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล ฯลฯ สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบทำให้
แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งก็ไม่มีในโลก” นี้เรียกว่า
ทิฏฐิวิบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๖๓ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๒. อาปายิกวรรค ๖. อปัณณกสูตร

เพราะสีลวิบัติเป็นเหตุ สัตว์ทั้งหลายหลังจากตายแล้วจึงไปเกิดในอบาย ทุคติ
วินิบาต นรก เพราะจิตตวิบัติเป็นเหตุ ฯลฯ หรือเพราะทิฏฐิวิบัติเป็นเหตุ สัตว์
ทั้งหลายหลังจากตายแล้วจึงไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ภิกษุทั้งหลาย เพราะศีลวิบัติเป็นเหตุ สัตว์ทั้งหลายหลังจากตายแล้วจึงไป
เกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เปรียบเหมือนแก้วมณีหกเหลี่ยมถูกโยนขึ้นสูงก็
กลับลงมาตั้งอยู่ด้วยดีตามปกติฉะนั้น
ภิกษุทั้งหลาย วิบัติ ๓ ประการนี้แล
สัมปทา ๓ ประการนี้
สัมปทา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สีลสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศีล)
๒. จิตตสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยจิต)
๓. ทิฏฐิสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ)
สีลสัมปทา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ การพูดเพ้อเจ้อ นี้
เรียกว่า สีลสัมปทา
จิตตสัมปทา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา ไม่มีจิตพยาบาท นี้เรียก
ว่า จิตตสัมปทา
ทิฏฐิสัมปทา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นไม่วิปริตว่า “ทานที่
ให้แล้วมีผล ยัญที่บูชาแล้วมีผล ฯลฯ สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบทำให้
แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งมีอยู่ในโลก” นี้เรียกว่า
ทิฏฐิสัมปทา
เพราะสีลสัมปทาเป็นเหตุ สัตว์ทั้งหลายหลังจากตายแล้วจึงไปเกิดในสุคติโลก
สวรรค์ เพราะจิตตสัมปทาเป็นเหตุ ฯลฯ หรือเพราะทิฏฐิสัมปทาเป็นเหตุ สัตว์
ทั้งหลายหลังจากตายแล้วจึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๖๔ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๒. อาปายิกวรรค ๗. กัมมันตสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เพราะสีลสัมปทาเป็นเหตุ สัตว์ทั้งหลายหลังจากตายแล้วจึง
ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ เปรียบเหมือนแก้วมณีหกเหลี่ยมถูกโยนขึ้นสูงก็กลับลงมา
ตั้งอยู่ด้วยดีตามปกติฉะนั้น
ภิกษุทั้งหลาย สัมปทา ๓ ประการนี้แล

อปัณณกสูตรที่ ๖ จบ

๗. กัมมันตสูตร
ว่าด้วยความวิบัติแห่งการงาน

[๑๒๐] ภิกษุทั้งหลาย วิบัติ ๓ ประการนี้
วิบัติ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กัมมันตวิบัติ (ความวิบัติแห่งการงาน)
๒. อาชีววิบัติ (ความวิบัติแห่งอาชีพ)
๓. ทิฏฐิวิบัติ (ความวิบัติแห่งทิฏฐิ)
กัมมันตวิบัติ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ พูดเพ้อเจ้อ นี้เรียกว่า
กัมมันตวิบัติ
อาชีววิบัติ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้มีอาชีพผิด เลี้ยงชีพด้วยมิจฉาอาชีวะ(เลี้ยงชีพผิด)
นี้เรียกว่า อาชีววิบัติ
ทิฏฐิวิบัติ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิ มีความเห็นวิปริตว่า “ทานที่ให้แล้ว
ไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล ฯลฯ สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบทำให้
แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งก็ไม่มีในโลก” นี้เรียกว่า
ทิฏฐิวิบัติ
ภิกษุทั้งหลาย วิบัติ ๓ ประการนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๖๕ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๒. อาปายิกวรรค ๘. ปฐมโสเจยยสูตร

สัมปทา ๓ ประการนี้
สัมปทา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กัมมันตสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยการงาน)
๒. อาชีวสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยอาชีพ)
๓. ทิฏฐิสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ)
กัมมันตสัมปทา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ การพูดเพ้อเจ้อ นี้
เรียกว่า กัมมันตสัมปทา
อาชีวสัมปทา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้มีอาชีพชอบ เลี้ยงชีพด้วยสัมมาอาชีวะ(เลี้ยงชีพ
ชอบ) นี้เรียกว่า อาชีวสัมปทา
ทิฏฐิสัมปทา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นไม่วิปริตว่า “ทานที่ให้
แล้วมีผล ยัญที่บูชาแล้วมีผล ฯลฯ สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบทำให้แจ้ง
โลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งมีอยู่ในโลก” นี้เรียกว่า
ทิฏฐิสัมปทา
ภิกษุทั้งหลาย สัมปทา ๓ ประการนี้แล

กัมมันตสูตรที่ ๗ จบ

๘. ปฐมโสเจยยสูตร
ว่าด้วยความสะอาด สูตรที่ ๑

[๑๒๑] ภิกษุทั้งหลาย ความสะอาด ๓ ประการนี้
ความสะอาด ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความสะอาดกาย ๒. ความสะอาดวาจา
๓. ความสะอาดใจ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๖๖ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๒. อาปายิกวรรค ๙. ทุติยโสเจยยสูตร

ความสะอาดกาย เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติ
ผิดในกาม นี้เรียกว่า ความสะอาดกาย
ความสะอาดวาจา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เว้นขาดจากการพูดเท็จ การพูดส่อเสียด การพูด
คำหยาบ การพูดเพ้อเจ้อ นี้เรียกว่า ความสะอาดวาจา
ความสะอาดใจ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่เป็นผู้โลภมาก มีจิตไม่พยาบาท เป็นสัมมาทิฏฐิ
นี้เรียกว่า ความสะอาดใจ
ภิกษุทั้งหลาย ความสะอาด ๓ ประการนี้แล

ปฐมโสเจยยสูตรที่ ๘ จบ

๙. ทุติยโสเจยยสูตร
ว่าด้วยความสะอาด สูตรที่ ๒

[๑๒๒] ภิกษุทั้งหลาย ความสะอาด ๓ ประการนี้
ความสะอาด ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความสะอาดกาย ๒. ความสะอาดวาจา
๓. ความสะอาดใจ
ความสะอาดกาย เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติ
ไม่ประเสริฐ นี้เรียกว่า ความสะอาดกาย
ความสะอาดวาจา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เว้นขาดจากการพูดเท็จ การพูดส่อเสียด การพูด
คำหยาบ การพูดเพ้อเจ้อ นี้เรียกว่า ความสะอาดวาจา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๖๗ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๒. อาปายิกวรรค ๙. ทุติยโสเจยยสูตร

ความสะอาดใจ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ชัดกามฉันทะ(ความพอใจในกาม)ที่มีในภายในว่า
“กามฉันทะมีในภายในของเรา” หรือรู้ชัดกามฉันทะที่ไม่มีในภายในว่า “กามฉันทะ
ไม่มีในภายในของเรา” รู้ชัดถึงการเกิดขึ้นแห่งกามฉันทะที่ยังไม่เกิดขึ้น รู้ชัดถึงการ
ละกามฉันทะที่เกิดขึ้นแล้ว และรู้ชัดถึงการไม่เกิดขึ้นต่อไปของกามฉันทะที่ละได้แล้ว
รู้ชัดพยาบาท(ความคิดร้าย)ที่มีในภายในว่า “พยาบาทมีในภายในของเรา” หรือรู้ชัด
พยาบาทที่ไม่มีในภายในก็รู้ชัดว่า “พยาบาทไม่มีในภายในของเรา” รู้ชัดถึงการเกิด
ขึ้นแห่งพยาบาทที่ยังไม่เกิดขึ้น รู้ชัดถึงการละพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้ว และรู้ชัดถึง
การไม่เกิดขึ้นต่อไปแห่งพยาบาทที่ละได้แล้ว รู้ชัดถีนมิทธะ(ความหดหู่และเซื่องซึม)
ที่มีในภายในว่า “ถีนมิทธะมีในภายในของเรา” หรือรู้ชัดถีนมิทธะไม่มีในภายในว่า
“ถีนมิทธะไม่มีในภายในของเรา” รู้ชัดถึงการเกิดขึ้นแห่งถีนมิทธะที่ยังไม่เกิดขี้น รู้ชัด
ถึงการละถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้ว และรู้ชัดถึงการไม่เกิดขึ้นต่อไปแห่งถีนมิทธะที่ละได้
แล้ว รู้ชัดอุทธัจจกุกกุจจะ(ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ)ที่มีในภายในว่า “อุทธัจจกุกกุจจะ
มีในภายในของเรา” หรือรู้ชัดอุทธัจจกุกกุจจะที่ไม่มีในภายในว่า “อุทธัจจกุกกุจจะ
ไม่มีในภายใน” รู้ชัดถึงการเกิดขึ้นแห่งอุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิดขึ้น รู้ชัดถึงการละ
อุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้ว และรู้ชัดถึงการไม่เกิดขึ้นต่อไปแห่ง อุทธัจจกุกกุจจะที่
ละได้แล้ว รู้ชัดวิจิกิจฉา(ความลังเลสงสัย) มีในภายในว่า “วิจิกิจฉามีในภายในของ
เรา” หรือรู้ชัดวิจิกิจฉาที่ไม่มีในภายในว่า “วิจิกิจฉาไม่มีในภายในของเรา” รู้ชัดถึง
การเกิดขึ้นแห่งวิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิดขึ้น รู้ชัดถึงการละวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว และรู้ชัด
ถึงการไม่เกิดขึ้นต่อไปแห่งวิจิกิจฉาที่ละได้แล้ว นี้เรียกว่า ความสะอาดใจ
ภิกษุทั้งหลาย ความสะอาด ๓ ประการนี้แล
ผู้มีกายสะอาด มีวาจาสะอาด
มีใจสะอาด ไม่มีอาสวะ
เป็นผู้สะอาด ถึงพร้อมด้วยความสะอาด
บัณฑิตทั้งหลายเรียกว่าเป็นผู้ล้างบาปได้แล้ว

ทุติยโสเจยยสูตรที่ ๙ จบ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๒. อาปายิกวรรค ๑๐. โมเนยยสูตร

๑๐. โมเนยยสูตร
ว่าด้วยความเป็นมุนี

[๑๒๓] ภิกษุทั้งหลาย ความเป็นมุนี ๓ ประการนี้
ความเป็นมุนี ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความเป็นมุนีทางกาย ๒. ความเป็นมุนีทางวาจา
๓. ความเป็นมุนีทางใจ
ความเป็นมุนีทางกาย เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติ
ไม่ประเสริฐ นี้เรียกว่า ความเป็นมุนีทางกาย
ความเป็นมุนีทางวาจา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เว้นขาดจากการพูดเท็จ การพูดส่อเสียด การพูด
คำหยาบ การพูดเพ้อเจ้อ นี้เรียกว่า ความเป็นมุนีทางวาจา
ความเป็นมุนีทางใจ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะ
อาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน นี้เรียกว่า ความเป็นมุนีทางใจ
ภิกษุทั้งหลาย ความเป็นมุนี ๓ ประการนี้แล
ผู้ที่เป็นมุนีทางกาย เป็นมุนีทางวาจา
เป็นมุนีทางใจ ไม่มีอาสวะ
เป็นมุนี ถึงพร้อมด้วยความเป็นมุนี
บัณฑิตทั้งหลายเรียกว่าเป็นผู้ละได้ทุกอย่าง

โมเนยยสูตรที่ ๑๐ จบ
อาปายิกวรรคที่ ๒ จบ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๓. กุสินารวรรค ๑. กุสินารสูตร

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อาปายิกสูตร ๒. ทุลลภสูตร
๓. อัปปเมยยสูตร ๔. อาเนญชสูตร
๕. วิปัตติสัมปทาสูตร ๖. อปัณณกสูตร
๗. กัมมันตสูตร ๘. ปฐมโสเจยยสูตร
๙. ทุติยโสเจยยสูตร ๑๐. โมเนยยสูตร

๓. กุสินารวรรค
หมวดว่าด้วยกรุงกุสินารา
๑. กุสินารสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่กรุงกุสินารา

[๑๒๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ราวป่าชื่อพลิหรณะ เขต
กรุง กุสินารา ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัส
เรื่องนี้ว่า
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าไปอาศัยหมู่บ้านหรือตำบลแห่งใดแห่ง
หนึ่งอยู่ คหบดีหรือบุตรของคหบดีเข้าไปหาภิกษุนั้น นิมนต์ฉันในวันรุ่งขึ้น ภิกษุ
เมื่อประสงค์ก็รับนิมนต์ ภิกษุนั้นพอล่วงราตรีนั้นไป เวลาเช้า ครองอันตรวาสก
ถือบาตรจีวรเข้าไปยังนิเวศน์ของคหบดีหรือบุตรของคหบดี นั่งบนอาสนะที่เขาปูไว้
คหบดีหรือบุตรของคหบดีนั้น ถวายอาหารให้ภิกษุนั้นอิ่มหนำด้วยของเคี้ยวของฉัน
ที่ประณีตด้วยมือตนเอง
ภิกษุนั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า “ดีจริง คหบดีหรือบุตรของคหบดีนี้ถวายอาหาร
ให้เราอิ่มหนำด้วยของเคี้ยวของฉันที่ประณีตด้วยมือตนเอง” เธอยังมีความคิดอย่างนี้
อีกว่า “โอหนอ คหบดีหรือบุตรของคหบดีนี้พึงถวายอาหารให้เราอิ่มหนำด้วยของ
เคี้ยวของฉันที่ประณีตอย่างนี้ด้วยมือตนเองแม้ต่อ ๆ ไป” เธอติดใจ ลุ่มหลง หมกมุ่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๗๐ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๓. กุสินารวรรค ๒. ภัณฑนสูตร

มองไม่เห็นโทษ ไม่มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก ฉันบิณฑบาตนั้น เธอตรึกถึง
กามวิตก(ความตรึกในทางกาม)บ้าง ตรึกถึงพยาบาทวิตก(ความตรึกในทาง
พยาบาท)บ้าง ตรึกถึงวิหิงสาวิตก(ความตรึกในทางเบียดเบียน)บ้าง
ภิกษุทั้งหลาย บิณฑบาตที่ถวายแก่ภิกษุเช่นนี้ เราไม่กล่าวว่ามีผลมาก ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะภิกษุเป็นผู้ประมาทอยู่
ส่วนภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าไปอาศัยบ้านหรือตำบลแห่งใดแห่งหนึ่งอยู่ คหบดี
หรือบุตรของคหบดีเข้าไปหาภิกษุนั้น นิมนต์ฉันในวันรุ่งขึ้น ภิกษุเมื่อประสงค์ก็รับ
นิมนต์ ภิกษุนั้นพอล่วงราตรีนั้นไป เวลาเช้า ครองอันตรวาสก ถือบาตรจีวรเข้า
ไปยังนิเวศน์ของคหบดีหรือบุตรของคหบดีนั้น นั่งบนอาสนะที่เขาปูไว้ คหบดีหรือ
บุตรของคหบดีนั้นถวายอาหารให้ภิกษุนั้นอิ่มหนำด้วยของเคี้ยวของฉันที่ประณีตด้วย
มือตนเอง
ภิกษุนั้นไม่มีความคิดอย่างนี้ว่า “ดีจริง คหบดีหรือบุตรของคหบดีนี้ถวาย
อาหารให้เราอิ่มหนำด้วยของเคี้ยวของฉันที่ประณีตด้วยมือตนเอง” และเธอไม่มีความ
คิดอย่างนี้ว่า “โอหนอ คหบดีหรือบุตรของคหบดีนี้พึงถวายอาหารให้เราอิ่มหนำ
ด้วยของเคี้ยวของฉันที่ประณีตด้วยมือตนเองแม้ต่อ ๆ ไป” เธอไม่ติดใจ ไม่มัวเมา
ไม่หมกมุ่น มองเห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออกฉันบิณฑบาตนั้น เธอตรึกถึง
เนกขัมมวิตก(ความตรึกปลอดจากกาม)บ้าง ตรึกถึงอพยาบาทวิตก(ความตรึก
ปลอดจากพยาบาท)บ้าง ตรึกถึงอวิหิงสาวิตก(ความตรึกปลอดจากการเบียดเบียน)
บ้าง ภิกษุทั้งหลายบิณฑบาตที่ถวายแก่ภิกษุเช่นนี้ เราเรียกว่ามีผลมาก ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะภิกษุเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่

กุสินารสูตรที่ ๑ จบ

๒. ภัณฑนสูตร
ว่าด้วยเหตุแห่งความบาดหมาง

[๑๒๕] ภิกษุทั้งหลาย ในทิศใด ภิกษุทั้งหลายเกิดความบาดหมางกัน ทะเลาะ
วิวาทกัน ใช้หอกคือปากทิ่มแทงกันอยู่ ทิศนี้ แม้เพียงคิดก็ไม่เป็นที่สำราญแก่เรา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๗๑ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๓. กุสินารวรรค ๒. ภัณฑนสูตร

ไม่จำเป็นต้องพูดถึงการไป ในเรื่องนี้เราสันนิษฐานได้ว่า ท่านเหล่านั้นได้ละธรรม ๓
ประการ คลุกคลีอยู่กับธรรม ๓ ประการอย่างแน่นอน
ท่านเหล่านั้นได้ละธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เนกขัมมวิตก (ความตรึกปลอดจากกาม)
๒. อพยาบาทวิตก (ความตรึกปลอดจากพยาบาท)
๓. อวิหิงสาวิตก (ความตรึกปลอดจากการเบียดเบียน)
ท่านเหล่านั้นได้ละธรรม ๓ ประการนี้
ท่านเหล่านั้นคลุกคลีอยู่กับธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กามวิตก (ความตรึกในทางกาม)
๒. พยาบาทวิตก (ความตรึกในทางพยาบาท)
๓. วิหิงสาวิตก (ความตรึกในทางเบียดเบียน)
ท่านเหล่านั้นคลุกคลีอยู่กับธรรม ๓ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย ในทิศใด ภิกษุทั้งหลายเกิดความบาดหมางกัน ทะเลาะวิวาทกัน
ใช้หอกคือปากทิ่มแทงกันอยู่ ทิศนี้ แม้เพียงคิดก็ไม่เป็นที่สำราญแก่เรา ไม่จำเป็น
ต้องพูดถึงการไป ในเรื่องนี้ เราสันนิษฐานได้ว่า ท่านเหล่านั้นได้ละธรรม ๓ ประการ
คลุกคลีอยู่กับธรรม ๓ ประการอย่างแน่นอน
ในทิศใด ภิกษุทั้งหลายพร้อมเพรียงกัน ชื่นชมกัน ไม่วิวาทกัน เป็นเหมือน
น้ำนมกับน้ำ มองกันด้วยนัยน์ตาที่เปี่ยมด้วยความรักอยู่ ทิศนี้ แม้ไปเยือนก็เป็น
ที่สำราญแก่เรา ไม่จำเป็นต้องพูดถึงการคิด ในเรื่องนี้ เราสันนิษฐานได้ว่า ท่าน
เหล่านั้นได้ละธรรม ๓ ประการ คลุกคลีอยู่กับธรรม ๓ ประการอย่างแน่นอน
ท่านเหล่านั้นได้ละธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กามวิตก ๒. พยาบาทวิตก
๓. วิหิงสาวิตก
ท่านเหล่านั้นคลุกคลีอยู่กับธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เนกขัมมวิตก ๒. อพยาบาทวิตก
๓. อวิหิงสาวิตก
ท่านเหล่านั้นคลุกคลีอยู่กับธรรม ๓ ประการนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๗๒ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๓. กุสินารวรรค ๓. โคตมกเจติยสูตร

ในทิศใด ภิกษุทั้งหลายพร้อมเพรียงกัน ชื่นชมกัน ไม่วิวาทกัน เป็นเหมือน
น้ำนมกับน้ำ มองกันด้วยนัยน์ตาที่เปี่ยมด้วยความรักอยู่ ทิศนี้ แม้ไปเยือนก็เป็นที่
สำราญแก่เรา ไม่จำเป็นต้องพูดถึงการคิด ในเรื่องนี้ เราสันนิษฐานได้ว่า ท่านเหล่านั้น
ได้ละธรรม ๓ ประการนี้ คลุกคลีอยู่กับธรรม ๓ ประการนี้อย่างแน่นอน

ภัณฑนสูตรที่ ๒ จบ

๓. โคตมกเจติยสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่โคตมกเจดีย์

[๑๒๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โคตมกเจดีย์๑เขตกรุงเวสาลี
ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
เหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ภิกษุทั้งหลาย เรารู้ยิ่งแล้ว๒จึงแสดงธรรม ไม่รู้ยิ่งแล้ว ไม่แสดงธรรม
เราแสดงธรรมมีเหตุ ไม่ใช่แสดงธรรมไม่มีเหตุ เราแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ ไม่ใช่
แสดงธรรมไม่มีปาฏิหาริย์ เมื่อเรานั้นรู้ยิ่งแล้วจึงแสดงธรรม ไม่รู้ยิ่งแล้วไม่แสดง
ธรรม แสดงธรรมมีเหตุ ไม่ใช่แสดงธรรมไม่มีเหตุ แสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ ไม่ใช่
แสดงธรรมไม่มีปาฏิหาริย์ เธอทั้งหลายควรทำตามคำสั่งสอน ควรทำตามคำ
พร่ำสอน ก็แลเธอทั้งหลายควรที่จะยินดี ควรที่จะชื่นชม ควรที่จะโสมนัสว่า
“พระผู้มีพระภาคเป็นผู้ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มี
พระภาคตรัสไว้ดีแล้ว พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดี ต่างชื่นชมภาษิตของ
พระผู้มีพระภาค เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ สหัสสีโลกธาตุ๓
ได้หวั่นไหวสั่นสะเทือนแล้ว

โคตมกเจติยสูตรที่ ๓ จบ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๓. กุสินารวรรค ๔. ภรัณฑุกาลามสูตร

๔. ภรัณฑุกาลามสูตร
ว่าด้วยภรัณฑุดาบสกาลามโคตร

[๑๒๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศล เสด็จถึงกรุง
กบิลพัสดุ์ เจ้ามหานามศากยะได้ทราบข่าวว่า ‘พระผู้มีพระภาคเสด็จถึงกรุงกบิลพัสดุ์
โดยลำดับแล้ว’ ครั้งนั้น เจ้ามหานามศากยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วได้ยืน ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับเจ้ามหานามศากยะ
ดังนี้ว่า
มหานามะ ไปเถิด เธอจงพิจารณาดูสถานที่พักในกรุงกบิลพัสดุ์ที่เราจะอยู่
ได้สักคืนหนึ่งในวันนี้ เจ้ามหานามศากยะทูลรับสนองพระดำรัสแล้วเข้าไปกรุงกบิลพัสดุ์
เที่ยวไปจนทั่วกรุงกบิลพัสดุ์ ไม่เห็นสถานที่พักที่พระผู้มีพระภาคพอจะ ประทับได้
สักคืนหนึ่ง
ลำดับนั้น เจ้ามหานามศากยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้วได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในกรุงกบิลพัสดุ์ ไม่มี
สถานที่พักที่พระผู้มีพระภาคพอจะประทับได้สักคืนหนึ่งในวันนี้ ภรัณฑุดาบส
กาลามโคตรนี้เป็นเพื่อนพรหมจารีเก่าของพระผู้มีพระภาค ในวันนี้ขอพระผู้มีพระภาค
ประทับอยู่ในอาศรมของภรัณฑุดาบสนั้นสักคืนหนึ่ง”
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “จงไปปูเครื่องปูลาดเถิด มหานามะ”
เจ้ามหานามศากยะทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว เข้าไปยังอาศรมของภรัณฑุ-
ดาบสกาลามโคตร ปูเครื่องลาด จัดน้ำสำหรับล้างเท้าไว้ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับแล้วได้กราบทูลดังนี้ว่า “ข้าพระองค์ได้ปูเครื่องลาดแล้ว ได้จัดตั้งน้ำ
สำหรับล้างพระบาทแล้ว บัดนี้ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงทราบกาลอันควรเถิด
พระพุทธเจ้าข้า”
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปยังอาศรมของภรัณฑุดาบสกาลามโคตร
ประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้แล้วทรงล้างพระบาททั้งสอง ลำดับนั้น เจ้ามหานาม-
ศากยะคิดว่า “วันนี้ไม่ใช่เวลาเหมาะที่จะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค
ทรงเหน็ดเหนื่อย ในวันพรุ่งนี้เราจักเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค” จึงถวายอภิวาท ทำ
ประทักษิณแล้วหลีกไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๗๔ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๓. กุสินารวรรค ๔. ภรัณฑุกาลามสูตร

ครั้นพอล่วงราตรีนั้นไป เจ้ามหานามศากยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับเจ้ามหานามศากยะ
นั้นดังนี้ว่า มหานามะ ศาสดา ๓ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
ศาสดา ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. ศาสดาบางท่านในโลกนี้บัญญัติการกำหนดรู้กาม ไม่บัญญัติการกำหนด
รู้รูป ไม่บัญญัติการกำหนดรู้เวทนา
๒. ศาสดาบางท่านในโลกนี้บัญญัติการกำหนดรู้กามและบัญญัติการ
กำหนดรู้รูป ไม่บัญญัติการกำหนดรู้เวทนา
๓. ศาสดาบางท่านในโลกนี้บัญญัติการกำหนดรู้กาม บัญญัติการกำหนด
รู้รูป และบัญญัติการกำหนดรู้เวทนา
มหานามะ ศาสดา ๓ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
จุดมุ่งหมายของศาสดา ๓ จำพวกนี้เป็นอย่างเดียวกันหรือต่างกัน เมื่อพระ
ผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภรัณฑุดาบสกาลามโคตรได้กล่าวกับเจ้ามหานามศากยะว่า
“มหานามะ ท่านจงกราบทูลว่า ‘จุดมุ่งหมายของศาสดา ๓ จำพวกเป็นอย่างเดียว
กัน” เมื่อภรัณฑุดาบสกล่าวอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับเจ้ามหานามศากยะ
ว่า “มหานามะ เธอจงกล่าวว่า ‘(จุดมุ่งหมายของศาสดา ๓ จำพวก)ต่างกัน”
แม้ในครั้งที่ ๒ ภรัณฑุดาบสกาลามโคตรได้กล่าวกับเจ้ามหานามศากยะว่า
“มหานามะ ท่านจงกราบทูลว่า ‘เป็นอย่างเดียวกัน” แม้ในครั้งที่ ๒ พระผู้มีพระ
ภาคก็ได้ตรัสกับเจ้ามหานามศากยะว่า “มหานามะ เธอจงกล่าวว่า ‘ต่างกัน” แม้
ในครั้งที่ ๓ ภรัณฑุดาบสกาลามโคตรได้กล่าวกับเจ้ามหานามศากยะว่า “มหานามะ
ท่านจงกราบทูลว่า ‘เป็นอย่างเดียวกัน”
แม้ในครั้งที่ ๓ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับเจ้ามหานามศากยะว่า “มหานามะ
เธอจงกล่าวว่า ‘ต่างกัน”
ลำดับนั้น ภรัณฑุดาบสกาลามโคตรคิดว่า “เราถูกพระสมณโคดมรุกรานแล้ว
ถึง ๓ ครั้งต่อหน้าเจ้ามหานามศากยะผู้มีศักดิ์ใหญ่ ทางที่ดี เราพึงหลีกไปเสียจาก
กรุงกบิลพัสดุ์” ทีนั้น ภรัณฑุดาบสกาลามโคตรไปจากกรุงกบิลพัสดุ์ หนีห่างจาก
กรุงกบิลพัสดุ์ ไม่หวนกลับมาอีกเลย

ภรัณฑุกาลามสูตรที่ ๔ จบ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๓. กุสินารวรรค ๕. หัตถกสูตร

๕. หัตถกสูตร
ว่าด้วยหัตถกเทพบุตร

[๑๒๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น หัตถกเทพบุตรเมื่อปฐมยามผ่านไป
มีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างทั่วพระเชตวัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง
ที่ประทับ คิดว่าจักยืนตรงพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาค กลับทรุดลงนั่งตรงพระ
พักตร์ของพระผู้มีพระภาค ไม่สามารถยืนอยู่ได้ เปรียบเหมือนเนยใสหรือน้ำมันที่
เขาเทลงบนทรายย่อมซึมลง ไม่ขังอยู่ หัตถกเทพบุตรคิดว่า จักยืนตรงพระพักตร์
ของพระผู้มีพระภาค กลับทรุดลงนั่งตรงพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาค ไม่สามารถ
ยืนอยู่ได้
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับหัตถกเทพบุตรว่า “หัตถกะ ท่านจง
เนรมิตร่างอย่างหยาบ ๆ” หัตถกเทพบุตรทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว เนรมิตร่าง
อย่างหยาบ ๆ ถวายอภิวาทแล้วได้ยืน ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัส
เรื่องนี้ กับหัตถกเทพบุตรดังนี้ว่า “หัตถกะ ธรรมประจำตัวของท่านเมื่อครั้งที่เป็น
มนุษย์ในกาลก่อน บัดนี้ยังมีอยู่ประจำตัวท่านบ้างไหม”
หัตถกเทพบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ธรรมประจำตัวของข้าพระ
องค์เมื่อครั้งที่เป็นมนุษย์ในกาลก่อน มาบัดนี้ยังมีอยู่ประจำตัวของข้าพระองค์ และ
ธรรมที่ไม่ได้มีอยู่ประจำตัวข้าพระองค์เมื่อครั้งเป็นมนุษย์ในกาลก่อน มาบัดนี้กลับ
มีอยู่ประจำตัวข้าพระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในปัจจุบันนี้พระผู้มีพระภาคประทับ
อยู่รายล้อมไปด้วยเหล่าภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา มหาอำมาตย์
ของพระราชา พวกเดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์แม้ฉันใด ข้าพระองค์ก็ฉันนั้นเหมือน
กัน รายล้อมไปด้วยเทพบุตรทั้งหลายอยู่ พวกเทพบุตรพากันมาจากถิ่นไกลด้วยตั้ง
ใจว่าจักฟังธรรมในสำนักของหัตถกเทพบุตร ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ยังไม่
อิ่ม ยังไม่เบื่อธรรม ๓ ประการก็จุติเสียก่อน
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๗๖ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๓. กุสินารวรรค ๖. กฏุวิยสูตร

๑. ข้าพระองค์ยังไม่อิ่ม ยังไม่เบื่อการเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคก็จุติเสียแล้ว
๒. ข้าพระองค์ยังไม่อิ่ม ยังไม่เบื่อการฟังสัทธรรมก็จุติเสียแล้ว
๓. ข้าพระองค์ยังไม่อิ่ม ยังไม่เบื่อการบำรุงพระสงฆ์ก็จุติเสียแล้ว
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ยังไม่อิ่ม ยังไม่เบื่อธรรม ๓ ประการนี้แล
ก็จุติเสียแล้ว
หัตถกเทพบุตรได้กล่าวคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
ความอิ่มในการเฝ้าพระผู้มีพระภาค
(การฟังสัทธรรม) การบำรุงพระสงฆ์
จักมีในกาลไหน ๆ เป็นแน่แท้
หัตถกอุบาสกยังศึกษาอธิศีล๑อยู่
ยินดีแล้วในการฟังสัทธรรม
ยังไม่อิ่มธรรม ๓ ประการ
ก็ไปพรหมโลกชั้นอวิหาเสียแล้ว

หัตถกสูตรที่ ๕ จบ

๖. กฏุวิยสูตร
ว่าด้วยความมักใหญ่

[๑๒๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขต
กรุงพาราณสี ครั้นในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรจีวร
เสด็จเข้าไปสู่กรุงพาราณสีเพื่อบิณฑบาต พระผู้มีพระภาคกำลังเที่ยวบิณฑบาตใน
สำนักของพวกมิลักขะที่ชุมนุมกันอยู่ในที่ซื้อขายโค ได้ทอดพระเนตรเห็นภิกษุรูปหนึ่ง
ผู้ไม่มีความแช่มชื่น๒ มีแต่ความแช่มชื่นภายนอก๓ หลงลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะ มีจิต


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๓. กุสินารวรรค ๖. กฏุวิยสูตร

ไม่ตั้งมั่น มีจิตกวัดแกว่ง ไม่สำรวมอินทรีย์ ครั้นแล้วได้ตรัสกับภิกษุนั้นดังนี้ว่า
“ภิกษุ เธออย่าได้ทำตนให้เป็นผู้มักใหญ่ เป็นไปไม่ได้เลยที่แมลงวันจักไม่ตอม ไม่
กัดตนที่มักใหญ่ ชุ่มเพราะกลิ่นดิบ”
ครั้นภิกษุนั้นได้รับพระโอวาทนี้จากพระผู้มีพระภาคแล้วก็ถึงความสังเวช๑ ลำดับ
นั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเที่ยวบิณฑบาตในกรุงพาราณสี ในเวลาภายหลังภัต เสด็จ
กลับจากเที่ยวบิณฑบาตได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ในเช้าวันนี้ เรานุ่ง
อันตรวาสก ถือบาตรจีวรเข้าไปสู่กรุงพาราณสีเพื่อบิณฑบาต เรากำลังเที่ยว
บิณฑบาตในสำนักของพวกมิลักขะที่ชุมนุมกันอยู่ในที่ซื้อขายโค ได้เห็นภิกษุรูปหนึ่ง
ผู้ไม่มีความแช่มชื่น มีแต่ความแช่มชื่นภายนอก หลงลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะ มี
จิตไม่ตั้งมั่น มีจิตกวัดแกว่ง ไม่สำรวมอินทรีย์ ครั้นแล้วได้กล่าวกับภิกษุนั้นดังนี้ว่า
“ภิกษุ เธออย่าได้ทำตนให้เป็นผู้มักใหญ่ เป็นไปไม่ได้เลยที่แมลงวันจักไม่ตอม ไม่กัด
ตนที่มักใหญ่ ชุ่มเพราะกลิ่นดิบนั้น” ครั้นเรากล่าวสอนด้วยโอวาทนี้แล้วภิกษุนั้นก็ถึง
ความสังเวช”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความมักใหญ่คืออะไร กลิ่นดิบคืออะไร แมลงวัน
คืออะไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ภิกษุ ความมักใหญ่คืออภิชฌา กลิ่นดิบคือ
พยาบาท แมลงวันคือบาปอกุศลวิตก ภิกษุ เป็นไปไม่ได้เลยที่แมลงวันจักไม่ตอม
ไม่กัดตนที่มักใหญ่ ชุ่มเพราะกลิ่นดิบ
แมลงวันคือความดำริที่อิงราคะ
จักไต่ตอมบุคคลที่ไม่คุ้มครองในจักขุทวารและโสตทวาร
ไม่สำรวมในอินทรีย์ทั้งหลาย
ภิกษุทำตนให้เป็นผู้มักใหญ่ ชุ่มเพราะกลิ่นดิบ
ย่อมอยู่ห่างไกลจากนิพพาน มีแต่ความคับแค้นเท่านั้น


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๓. กุสินารวรรค ๗. ปฐมอนุรุทธสูตร

คนพาลมีปัญญาทราม ถูกแมลงวันไต่ตอม
ไม่ได้เพื่อนที่เสมอตน พึงเที่ยวไปในบ้านบ้าง ในป่าบ้าง
ส่วนพวกที่สมบูรณ์ด้วยศีล ยินดีในธรรมที่สงบด้วยปัญญา
เป็นผู้สงบระงับอยู่เป็นสุข แมลงวันย่อมไม่รบกวนเขา

กฏุวิยสูตรที่ ๖ จบ

๗. ปฐมอนุรุทธสูตร
ว่าด้วยพระอนุรุทธ สูตรที่ ๑

[๑๓๐] ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทธะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระ
องค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ ข้าพระองค์
เห็นแต่มาตุคาม(สตรี) โดยมากหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต
นรก มาตุคามประกอบด้วยธรรมเท่าไรหนอ หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ
วินิบาต นรก
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อนุรุทธะ มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ
หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
มาตุคามในโลกนี้
๑. ในเวลาเช้า ถูกมลทินคือความตระหนี่กลุ้มรุมจิตอยู่ครองเรือน
๒. ในเวลาเที่ยง ถูกความริษยากลุ้มรุมจิตอยู่ครองเรือน
๓. ในเวลาเย็น ถูกกามราคะกลุ้มรุมจิตอยู่ครองเรือน
อนุรุทธะ มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แลหลังจากตายแล้วจะ
ไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

ปฐมอนุรุทธสูตรที่ ๗ จบ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๓. กุสินารวรรค ๘. ทุติยอนุรุทธสูตร

๘. ทุติยอนุรุทธสูตร
ว่าด้วยพระอนุรุทธ สูตรที่ ๒

[๑๓๑] ครั้งนั้น พระอนุรุทธะเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ได้สนทนา
ปราศรัยกับท่านพระสารีบุตรพอเป็นที่บันเทิงใจพอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
ได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า “ท่านสารีบุตร ขอโอกาส ผมตรวจดูทั่วโลก ๑,๐๐๐
โลกด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ ก็ผมเองบำเพ็ญเพียรไม่ย่อหย่อน ตั้งสติ
ไม่หลงลืม กายก็สงบระงับ ไม่ระส่ำระสาย จิตตั้งมั่น มีอารมณ์เป็นหนึ่ง แต่เพราะ
เหตุไรเล่า จิตของผมจึงยังไม่พ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ท่านอนุรุทธะ การที่ท่านคิดเห็นอย่างนี้ว่า ‘เรา
ตรวจดูโลก ๑,๐๐๐ โลกด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์’ นี้เป็นเพราะมานะ
ของท่านเอง การที่ท่านคิดเห็นอย่างนี้ว่า ‘ก็เราบำเพ็ญเพียรไม่ย่อหย่อน ตั้งสติไม่
หลงลืม กายก็สงบระงับ ไม่ระสำระสาย จิตตั้งมั่น มีอารมณ์เป็นหนึ่ง’ นี้เป็นเพราะ
ความฟุ้งซ่านของท่านเอง การที่ท่านคิดเห็นอย่างนี้ว่า “เพราะเหตุไรเล่า จิตของเรา
จึงยังไม่พ้นจากอาสวะ เพราะไม่ถือมั่น” นี้เป็นเพราะความรำคาญของท่านเอง ท่าน
อนุรุทธะ เอาเถอะ ท่านจงละธรรม ๓ ประการนี้ ไม่มนสิการถึงธรรม ๓ ประการนี้
แล้วน้อมจิตไปในอมตธาตุ๑”
ครั้นต่อมา ท่านพระอนุรุทธะละธรรม ๓ ประการนี้ ไม่มนสิการถึงธรรม ๓
ประการนี้ น้อมจิตไปในอมตธาตุ หลีกออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท๒ มีความเพียร
อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนักได้ทำให้แจ้งที่สุดซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยม๓อันเป็นที่สุด
แห่งพรหมจรรย์ ที่กุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญา
อันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำ
กิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป” ท่านพระอนุรุทธะ
ได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย

ทุติยอนุรุทธสูตรที่ ๘ จบ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๓. กุสินารวรรค ๑๐. เลขสูตร

๙. ปฏิจฉันนสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ปิดดี เปิดไม่ดี

[๑๓๒] ภิกษุทั้งหลาย สิ่ง ๓ อย่างนี้ ปิดบังไว้จึงดี เปิดเผยไม่ดี
สิ่ง ๓ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. มาตุคาม(สตรี)ปิดบังไว้จึงงดงาม เปิดเผยไม่งดงาม
๒. มนตร์ของพราหมณ์ปิดบังไว้จึงขลัง เปิดเผยไม่ขลัง
๓. มิจฉาทิฏฐิปิดบังไว้จึงดี เปิดเผยไม่ดี
ภิกษุทั้งหลาย สิ่ง ๓ อย่างนี้แล ปิดบังไว้จึงดี เปิดเผยไม่ดี
สิ่ง ๓ อย่างนี้ เปิดเผยจึงรุ่งเรือง ปิดบังไว้ไม่รุ่งเรือง
สิ่ง ๓ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ดวงจันทร์เปิดเผยจึงรุ่งเรือง ปิดบังไว้ไม่รุ่งเรือง
๒. ดวงอาทิตย์เปิดเผยจึงรุ่งเรือง ปิดบังไว้ไม่รุ่งเรือง
๓. ธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้เปิดเผยจึงรุ่งเรือง ปิดบังไว้ไม่รุ่งเรือง
ภิกษุทั้งหลาย สิ่ง ๓ อย่างนี้แล เปิดเผยจึงรุ่งเรือง ปิดบังไว้ไม่รุ่งเรือง

ปฏิจฉันนสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. เลขสูตร
ว่าด้วยบุคคลกับรอยขีด

[๑๓๓] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลที่เปรียบเหมือนรอยขีดบนแผ่นหิน
๒. บุคคลที่เปรียบเหมือนรอยขีดที่แผ่นดิน
๓. บุคคลที่เปรียบเหมือนรอยขีดที่น้ำ
บุคคลที่เปรียบเหมือนรอยขีดบนแผ่นหิน เป็นอย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๘๑ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๓. กุสินารวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

คือ บุคคลบางคนในโลกนี้โกรธเป็นประจำ และความโกรธนั้นของเขาก็หมักหมม
อยู่นาน รอยขีดบนแผ่นหิน ไม่ลบเลือนเร็วเพราะลมหรือน้ำ ย่อมติดอยู่นานแม้ฉันใด
บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน โกรธเป็นประจำ และความโกรธนั้นของเขา
ก็หมักหมมอยู่นาน นี้เรียกว่า บุคคลที่เปรียบเหมือนรอยขีดบนแผ่นหิน
บุคคลที่เปรียบเหมือนรอยขีดที่แผ่นดิน เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้โกรธเป็นประจำ แต่ความโกรธนั้นของเขาไม่หมักหมม
อยู่นาน รอยขีดที่แผ่นดิน ย่อมลบเลือนเร็วเพราะลมหรือน้ำ ไม่ปรากฏอยู่นานแม้
ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน โกรธเป็นประจำ แต่ความโกรธนั้น
ของเขาไม่หมักหมมอยู่นาน นี้เรียกว่า บุคคลที่เปรียบเหมือนรอยขีที่แผ่นดิน
บุคคลที่เปรียบเหมือนรอยขีดที่น้ำ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้แม้จะถูกว่าด้วยคำหนัก ๆ แม้จะถูกว่าด้วยคำหยาบ
แม้จะถูกว่าด้วยคำที่ไม่น่าพอใจ ก็ยังสมานไมตรีกลมเกลียวอยู่ ปรองดองกันอยู่
รอยขีดที่น้ำย่อมขาดหายไปเร็ว ไม่ปรากฏอยู่นานแม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็
ฉันนั้นเหมือนกัน แม้จะถูกว่าด้วยคำหนัก ๆ แม้จะถูกว่าด้วยคำหยาบ แม้จะถูกว่า
ด้วยคำที่ไม่น่าพอใจก็ยังสมานไมตรีกลมเกลียวอยู่ ปรองดองกันอยู่ได้ นี้เรียกว่า
บุคคลที่เปรียบเหมือนรอยขีดที่น้ำ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก

เลขสูตรที่ ๑๐ จบ
กุสินารวรรคที่ ๓ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. กุสินารสูตร ๒. ภัณฑนสูตร
๓. โคตมกเจติยสูตร ๔. ภรัณฑุกาลามสูตร
๕. หัตถกสูตร ๖. กฏุวิยสูตร
๗. ปฐมอนุรุทธสูตร ๘. ทุติยอนุรุทธสูตร
๙. ปฏิจฉันนสูตร ๑๐. เลขสูตร


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๔. โยธาชีววรรค ๑. โยธาชีวสูตร

๔. โยธาชีววรรค
หมวดว่าด้วยนักรบอาชีพ
๑. โยธาชีวสูตร
ว่าด้วยองค์ประกอบของนักรบ

[๑๓๔] นักรบอาชีพประกอบด้วยองค์ ๓ ประการ ย่อมคู่ควรแก่พระราชา
เหมาะแก่พระราชา ถึงการนับว่าเป็นราชองครักษ์โดยแท้
องค์ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
นักรบอาชีพในโลกนี้
๑. ยิงลูกศรได้ไกล ๒. ยิงไม่พลาด
๓. ทำลายกายขนาดใหญ่ได้
นักรบอาชีพประกอบด้วยองค์ ๓ ประการนี้ ย่อมคู่ควรแก่พระราชา เหมาะ
แก่พระราชา ถึงการนับว่าเป็นราชองครักษ์โดยแท้ ฉันใด
ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ ประการก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเป็นผู้ควรแก่ของ
ที่เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
องค์ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. ยิงลูกศรได้ไกล ๒. ยิงไม่พลาด
๓. ทำลายกายขนาดใหญ่ได้
ภิกษุยิงลูกศรได้ไกล เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นรูปอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยปัญญาอันชอบ
ตามความเป็นจริง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบ
หรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ก็ตาม อย่างนี้ว่า “นั่นไม่ใช่ของเรา
เราไม่ได้เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา” พิจารณาเห็นเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่งด้วย
ปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือ
ภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ก็ตาม อย่างนี้ว่า “นั่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๘๓ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๔. โยธาชีววรรค ๒. ปริสาสูตร

ไม่ใช่ของเรา เราไม่ได้เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา” พิจารณาเห็นสัญญาอย่างใด
อย่างหนึ่งด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน
ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ก็ตาม
อย่างนี้ว่า “นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่ได้เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา” พิจารณาเห็น
สังขารอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต
และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือ
ใกล้ก็ตาม อย่างนี้ว่า “นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่ได้เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา”
พิจารณาเห็นวิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง ทั้งที่
เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือ
ประณีต ไกลหรือใกล้ก็ตาม อย่างนี้ว่า “นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่ได้เป็นนั่น นั่นไม่
ใช่ตัวตนของเรา” ภิกษุชื่อว่ายิงลูกศรได้ไกล เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุยิงลูกศรไม่พลาด เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย(เหตุ
เกิดทุกข์) นี้ทุกขนิโรธ(ความดับทุกข์) นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา(ข้อปฏิบัติให้ถึง
ความดับทุกข์)” ภิกษุชื่อว่ายิงลูกศรไม่พลาด เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทำลายกายขนาดใหญ่ได้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ทำลายกองอวิชชาใหญ่ได้ ภิกษุชื่อว่าทำลายกาย
ขนาดใหญ่ได้ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ ประการนี้แล เป็นผู้ควรแก่ของที่
เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก

โยธาชีวสูตรที่ ๑ จบ

๒. ปริสาสูตร
ว่าด้วยบริษัท

[๑๓๕] ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๓ จำพวกนี้
บริษัท ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๘๔ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๔. โยธาชีววรรค ๔. อุปปาทาสูตร

๑. บริษัทที่แนะนำยาก ๒. บริษัทที่แนะนำง่าย
๓. บริษัทที่แนะนำแต่พอประมาณก็รู้ได้
ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๓ จำพวกนี้แล

ปริสาสูตรที่ ๒ จบ

๓. มิตตสูตร
ว่าด้วยองค์ประกอบของมิตรแท้

[๑๓๖] ภิกษุทั้งหลาย มิตรผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ ประการควรคบหาได้
องค์ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ให้สิ่งที่ให้ได้ยาก ๒. ช่วยทำสิ่งที่ทำได้ยาก
๓. อดทนต่อสิ่งที่ทนได้ยาก
ภิกษุทั้งหลาย มิตรผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ ประการนี้แลควรคบหาได้

มิตตสูตรที่ ๓ จบ

๔. อุปปาทาสูตร
ว่าด้วยความเกิดขึ้นแห่งพระตถาคต

[๑๓๗] ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเกิดขึ้นก็ตาม ไม่เกิดขึ้นก็ตาม ธาตุนั้นคือความ
ตั้งอยู่ตามธรรมดา ความเป็นไปตามธรรมดาก็คงตั้งอยู่อย่างนั้น ตถาคตรู้ บรรลุธาตุ
นั้นว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง” ครั้นรู้ บรรลุแล้วจึงบอก แสดง บัญญัติ กำหนด
เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง” ตถาคตเกิดขึ้นก็ตาม ไม่เกิด
ขึ้นก็ตาม ธาตุนั้นคือความตั้งอยู่ตามธรรมดา ความเป็นไปตามธรรมดา ก็คงตั้งอยู่
อย่างนั้น ตถาคตรู้ บรรลุธาตุนั้นว่า “สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์” ครั้นรู้ บรรลุแล้วจึง
บอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายว่า “สังขารทั้งปวงเป็น
ทุกข์” ตถาคตเกิดขึ้นก็ตาม ไม่เกิดขึ้นก็ตาม ธาตุนั้นคือความตั้งอยู่ตามธรรมดา
ความเป็นไปตามธรรมดาก็คงตั้งอยู่อย่างนั้น ตถาคตรู้ บรรลุธาตุนั้นว่า “ธรรม
ทั้งปวงเป็นอนัตตา” ครั้นรู้ บรรลุแล้วจึงบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย
จำแนก ทำให้ง่ายว่า “ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา”

อุปปาทาสูตรที่ ๔ จบ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๔. โยธาชีววรรค ๕. เกสกัมพลสูตร

๕. เกสกัมพลสูตร
ว่าด้วยวาทะของมักขลิเปรียบเหมือนผ้ากัมพลทอด้วยผมคน

[๑๓๘] ภิกษุทั้งหลาย ผ้ากัมพลทอด้วยผมคน บัณฑิตเรียกว่า เลวกว่าผ้า
ที่ช่างหูกทอแล้วทุกชนิด ผ้ากัมพลทอด้วยผมคน ในฤดูหนาวก็เย็น ในฤดูร้อนก็ร้อน
สีไม่สวย มีกลิ่นเหม็น เนื้อผ้าไม่อ่อนนุ่ม แม้ฉันใด วาทะ๑ของเจ้าลัทธิชื่อมักขลิก็
ฉันนั้นเหมือนกัน บัณฑิตกล่าวว่าเลวกว่าวาทะของสมณะทุกจำพวก
มักขลิเป็นโมฆบุรุษ(คนไร้ค่า)มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “กรรมไม่มี
กิริยาไม่มี ความเพียรไม่มี” ตลอดอดีตกาลอันยาวนาน แม้พระผู้มีพระภาคอรหันต
สัมมาสัมพุทธเจ้าก็ตรัสเรื่องกรรม ตรัสเรื่องกิริยา และตรัสเรื่องความเพียร โมฆ
บุรุษชื่อมักขลิกลับคัดค้านพระผู้มีพระภาคแม้เหล่านั้นว่า “กรรมไม่มี กิริยาไม่มี
ความเพียรไม่มี” แม้พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าที่จักมีในอนาคตก็จัก
ตรัสเรื่องกรรม ตรัสเรื่องกิริยา และตรัสเรื่องความเพียร โมฆบุรุษชื่อมักขลิกลับ
คัดค้านพระผู้มีพระภาคแม้เหล่านั้นว่า “กรรมไม่มี กิริยาไม่มี ความเพียรไม่มี”
แม้เราที่เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในปัจจุบันก็ยังกล่าวเรื่องกรรม กล่าวเรื่อง
กิริยา กล่าวเรื่องความเพียร โมฆบุรุษชื่อมักขลิก็คัดค้านแม้เราว่า “กรรมไม่มี
กิริยาไม่มี ความเพียรไม่มี”
ภิกษุทั้งหลาย โมฆบุรุษชื่อมักขลิเป็นเหมือนไซดักมนุษย์ เกิดขึ้นมาในโลก
เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความฉิบหาย เพื่อความพินาศของสัตว์เป็นจำนวนมาก
เปรียบเหมือนบุคคลพึงวางไซดักปลาไว้ที่ปากอ่าว เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อ
ความฉิบหาย เพื่อความพินาศของปลาเป็นจำนวนมาก

เกสกัมพลสูตรที่ ๕ จบ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๔. โยธาชีววรรค ๘. อัสสขลุงกสูตร

๖. สัมปทาสูตร
ว่าด้วยสัมปทา

[๑๓๙] ภิกษุทั้งหลาย สัมปทา ๓ ประการนี้
สัมปทา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธาสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศรัทธา)
๒. สีลสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศีล)
๓. ปัญญาสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยปัญญา)
ภิกษุทั้งหลาย สัมปทา ๓ ประการนี้แล

สัมปทาสูตรที่ ๖ จบ

๗. วุฑฒิสูตร
ว่าด้วยวุฑฒิ

[๑๔๐] ภิกษุทั้งหลาย วุฑฒิ ๓ ประการนี้
วุฑฒิ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธาวุฑฒิ (ความเจริญด้วยศรัทธา)
๒. สีลวุฑฒิ (ความเจริญด้วยศีล)
๓. ปัญญาวุฑฒิ (ความเจริญด้วยปัญญา)
ภิกษุทั้งหลาย วุฒิ ๓ ประการนี้แล

วุฑฒิสูตรที่ ๗ จบ

๘. อัสสขลุงกสูตร
ว่าด้วยม้ากระจอกและคนกระจอก

[๑๔๑] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงม้ากระจอก ๓ จำพวก และคนกระจอก ๓
จำพวก เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนอง
พระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๘๗ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๔. โยธาชีววรรค ๘. อัสสขลุงกสูตร

ม้ากระจอก ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. ม้ากระจอกบางตัวในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยกำลังวิ่ง แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยสี
สัน ไม่สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่
๒. ม้ากระจอกบางตัวในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยกำลังวิ่งและสมบูรณ์ด้วยสีสัน
แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่
๓. ม้ากระจอกบางตัวในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยกำลังวิ่ง สมบูรณ์ด้วยสีสัน
และสมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่
ภิกษุทั้งหลาย ม้ากระจอก ๓ จำพวกนี้แล
คนกระจอก ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. คนกระจอกบางคนในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยเชาวน์๑ แต่ไม่สมบูรณ์ด้วย
วรรณะ๒ ไม่สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่
๒. คนกระจอกบางคนในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยเชาวน์และสมบูรณ์ด้วยวรรณะ
แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่
๓. คนกระจอกบางคนในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์ด้วยวรรณะ
และสมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่
คนกระจอกสมบูรณ์ด้วยเชาวน์ แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยวรรณะ ไม่สมบูรณ์
ด้วยความสูงและความใหญ่ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธ-
คามินีปฏิปทา” เรากล่าวว่านี้เป็นเชาวน์ของเขา แต่เขาถูกถามปัญหาในอภิธรรม
และอภิวินัย ก็จนปัญญาตอบไม่ได้ เรากล่าวว่านี้ไม่ใช่วรรณะของเขา และเขาไม่ได้
จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร เรากล่าวว่านี้ไม่ใช่ความสูง
และความใหญ่ของเขา
ภิกษุทั้งหลาย คนกระจอกสมบูรณ์ด้วยเชาวน์ แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยวรรณะ ไม่
สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ เป็นอย่างนี้แล


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๔. โยธาชีววรรค ๙. อัสสสทัสสสูตร

คนกระจอกสมบูรณ์ด้วยเชาวน์และสมบูรณ์ด้วยวรรณะ แต่ไม่สมบูรณ์ด้วย
ความสูงและความใหญ่ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธ-
คามินีปฏิปทา” เรากล่าวว่านี้เป็นเชาวน์ของเขา และเขาถูกถามปัญหาในอภิธรรม
และอภิวินัย ก็ตอบได้ ไม่จนปัญญา เรากล่าวว่านี้เป็นวรรณะของเขา แต่เขาไม่ได้
จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร เรากล่าวว่านี้ไม่ใช่ความสูง
และความใหญ่ของเขา
ภิกษุทั้งหลาย คนกระจอกสมบูรณ์ด้วยเชาวน์และสมบูรณ์ด้วยวรรณะ แต่ไม่
สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ เป็นอย่างนี้แล
คนกระจอกสมบูรณ์ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์ด้วยวรรณะ และสมบูรณ์ด้วย
ความสูงและความใหญ่ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธ-
คามินีปฏิปทา” เขาถูกถามปัญหาในอภิธรรม และอภิวินัย ก็ตอบได้ ไม่จนปัญญา
เรากล่าวว่านี้เป็นเชาวน์ของเขา และเขาได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัย
เภสัชชบริขาร เรากล่าวว่า นี้เป็นความสูงและความใหญ่ของเขา
ภิกษุทั้งหลาย คนกระจอกสมบูรณ์ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์ด้วยวรรณะ และ
สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย คนกระจอก ๓ จำพวกนี้แล

อัสสขลุงกสูตรที่ ๘ จบ

๙. อัสสสทัสสสูตร
ว่าด้วยม้าดีและคนดี

[๑๔๒] เราจักแสดงม้าดี ๓ จำพวก และคนดี ๓ จำพวก เธอทั้งหลายจงฟัง
จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาค
จึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๘๙ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๔. โยธาชีววรรค ๙. อัสสสทัสสสูตร

ม้าดี ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. ม้าดีบางตัวในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยกำลังวิ่ง แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยสีสัน ไม่
สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่
๒. ม้าดีบางตัวในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยกำลังวิ่งและสมบูรณ์ด้วยสีสัน แต่ไม่
สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่
๓. ม้าดีบางตัวในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยกำลังวิ่ง สมบูรณ์ด้วยสีสัน และ
สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่
ภิกษุทั้งหลาย ม้าดี ๓ จำพวกนี้แล
คนดี ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. คนดีบางคนในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยวรรณะ
ไม่สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่
๒. คนดีบางคนในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ และสมบูรณ์ด้วยวรรณะ แต่
ไม่สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่
๓. คนดีบางคนในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์ด้วยวรรณะ และ
สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่
คนดีสมบูรณ์ด้วยเชาวน์ แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยวรรณะ ไม่สมบูรณ์ด้วยความ
สูงและความใหญ่ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป จักเป็น
โอปปาติกะ๑ ปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นแน่นอน เรากล่าวว่านี้
เป็นเชาวน์ของเขา แต่เขาถูกถามปัญหาในอภิธรรมและอภิวินัย ก็จนปัญญาตอบ
ไม่ได้ เรากล่าวว่านี้ไม่ใช่วรรณะของเขา และเขาไม่ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
คิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร เรากล่าวว่านี้ไม่ใช่ความสูงและความใหญ่ของเขา
ภิกษุทั้งหลาย คนดีสมบูรณ์ด้วยเชาวน์ แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยวรรณะ ไม่
สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ เป็นอย่างนี้แล


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๔. โยธาชีววรรค ๑๐. อัสสาชานียสูตร

คนดีสมบูรณ์ด้วยเชาวน์ และสมบูรณ์ด้วยวรรณะ แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยความ
สูงและความใหญ่ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป จักเป็น
โอปปาติกะ ปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นแน่นอน เรากล่าวว่า
นี้เป็นเชาวน์ของเขาและเขาถูกถามปัญหาในอภิธรรม และอภิวินัย ก็ตอบได้ ไม่จน
ปัญญา เรากล่าวว่านี้เป็นวรรณะของเขา แต่เขาไม่ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
คิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร เรากล่าวว่านี้ไม่ใช่ความสูงและความใหญ่ของเขา
ภิกษุทั้งหลาย คนดีสมบูรณ์ด้วยเชาวน์ และสมบูรณ์ด้วยวรรณะ แต่ไม่
สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ เป็นอย่างนี้แล
คนดีสมบูรณ์ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์ด้วยวรรณะ และสมบูรณ์ด้วยความสูง
และความใหญ่ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป จักเป็น
โอปปาติกะ ปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นแน่นอน เรากล่าวว่า
นี้เป็นเชาวน์ของเขา เขาถูกถามปัญหาในอภิธรรม และอภิวินัย ก็ตอบได้ ไม่จน
ปัญญา เรากล่าวว่านี้เป็นวรรณะของเขา และเขาได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
คิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร เรากล่าวว่านี้เป็นความสูงและความใหญ่ของเขา
ภิกษุทั้งหลาย คนดีสมบูรณ์ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์ด้วยวรรณะ และสมบูรณ์
ด้วยความสูงและความใหญ่ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย คนดี ๓ จำพวกนี้แล

อัสสสทัสสสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. อัสสาชานียสูตร
ว่าด้วยม้าอาชาไนยและบุรุษอาชาไนย

[๑๔๓] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงม้าอาชาไนยพันธุ์ดี ๓ จำพวก และบุรุษ
อาชาไนยผู้เจริญ ๓ จำพวก เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุ
เหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๙๑ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๔. โยธาชีววรรค ๑๐. อัสสาชานียสูตร

ม้าอาชาไนยพันธุ์ดี ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีบางตัวในโลกนี้
ฯลฯ๑
๓. ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีบางตัวในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยกำลังวิ่ง สมบูรณ์ด้วย
สีสัน และสมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่
ภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยพันธุ์ดี ๓ จำพวกนี้แล
บุรุษอาชาไนยผู้เจริญ ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุรุษอาชาไนยผู้เจริญบางคนในโลกนี้
ฯลฯ
๓. บุรุษอาชาไนยผู้เจริญบางคนในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์ด้วย
วรรณะ และสมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ ฯลฯ
บุรุษอาชาไนยผู้เจริญ สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์ด้วยวรรณะ และ
สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะ
อาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน เรากล่าวว่านี้เป็นเชาวน์ของเขา
เขาถูกถามปัญหาในอภิธรรม และอภิวินัย ก็ตอบได้ ไม่จนปัญญา เรากล่าวว่านี้เป็น
วรรณะของเขา เขาได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจยเภสัชชบริขาร เรา
กล่าวว่านี้เป็นความสูงและความใหญ่ของเขา
ภิกษุทั้งหลาย บุรุษอาชาไนยผู้เจริญ สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์ด้วยวรรณะ
และสมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย บุรุษอาชาไนยผู้เจริญ ๓ จำพวกนี้แล

อัสสาชานียสูตรที่ ๑๐ จบ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๔. โยธาชีววรรค ๑๒. ทุติยโมรนิวาปสูตร

๑๑. ปฐมโมรนิวาปสูตร
ว่าด้วยอารามปริพาชกชื่อโมรนิวาปะ สูตรที่ ๑

[๑๔๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปริพาชการาม ชื่อ
โมรนิวาปะ เขตกรุงราชคฤห์ ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลาย
มาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาค
จึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการย่อมมีความสำเร็จสูงสุด
มีความเกษมสูงสุด ประพฤติพรหมจรรย์ลุล่วงถึงที่สุด และถึงที่สุดแห่งที่สุด ประเสริฐ
กว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สีลขันธ์(กองศีล)ที่เป็นของพระอเสขะ
๒. สมาธิขันธ์(กองสมาธิ)ที่เป็นของพระอเสขะ
๓. ปัญญาขันธ์(กองปัญญา)ที่เป็นของพระอเสขะ
ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แลย่อมมีความสำเร็จสูงสุด มีความ
เกษมสูงสุด ประพฤติพรหมจรรย์ลุล่วงถึงที่สุด และถึงที่สุดแห่งที่สุด ประเสริฐกว่า
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

ปฐมโมรนิวาปสูตรที่ ๑๑ จบ

๑๒. ทุติยโมรนิวาปสูตร
ว่าด้วยอารามปริพาชกชื่อโมรนิวาปะ สูตรที่ ๒

[๑๔๕] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการย่อมมีความสำเร็จ
สูงสุด มีความเกษมสูงสุด ประพฤติพรหมจรรย์ลุล่วงถึงที่สุด และถึงที่สุดแห่งที่สุด
ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อิทธิปาฏิหาริย์ (ปาฏิหาริย์คือฤทธิ์)
๒. อาเทสนาปาฏิหาริย์ (ปาฏิหาริย์คือการทายใจ)
๓. อนุสาสนีปาฏิหาริย์ (ปาฏิหาริย์คืออนุศาสนี)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๙๓ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๔. โยธาชีววรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แลย่อมมีความสำเร็จสูงสุด มีความ
เกษมสูงสุด ประพฤติพรหมจรรย์ลุล่วงถึงที่สุด และถึงที่สุดแห่งที่สุด ประเสริฐกว่า
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

ทุติยโมรนิวาปสูตรที่ ๑๒ จบ

๑๓. ตติยโมรนิวาปสูตร
ว่าด้วยอารามปริพาชกชื่อโมรนิวาปะ สูตรที่ ๓

[๑๔๖] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการย่อมมีความ
สำเร็จสูงสุด มีความเกษมสูงสุด ประพฤติพรหมจรรย์ลุล่วงถึงที่สุด และถึงที่สุด
แห่งที่สุด ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) ๒. สัมมาญาณะ (รู้ชอบ)
๓. สัมมาวิมุตติ (หลุดพ้นชอบ)
ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แลย่อมมีความสำเร็จสูงสุด มีความ
เกษมสูงสุด ประพฤติพรหมจรรย์ลุล่วงถึงที่สุด และถึงที่สุดแห่งที่สุด ประเสริฐกว่า
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

ตติยโมรนิวาปสูตรที่ ๑๓ จบ
โยธาชีววรรคที่ ๔ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. โยธาชีวสูตร ๒. ปริสาสูตร
๓. มิตตสูตร ๔. อุปปาทาสูตร
๕. เกสกัมพลสูตร ๖. สัมปทาสูตร
๗. วุฑฒิสูตร ๘. อัสสขลุงกสูตร
๙. อัสสสทัสสสูตร ๑๐. อัสสาชานียสูตร
๑๑. ปฐมโมรนิวาปสูตร ๑๒. ทุติยโมรนิวาปสูตร
๑๓. ตติยโมรนิวาปสูตร


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๕. มังคลวรรค ๒. สาวัชชสูตร

๕. มังคลวรรค
หมวดว่าด้วยมงคล

๑. อกุสลสูตร
ว่าด้วยอกุศลกรรมเป็นเหตุให้ตกนรก

[๑๔๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓
ประการย่อมดำรงอยู่ในนรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กายกรรม (การกระทำทางกาย) ฝ่ายอกุศล
๒. วจีกรรม (การกระทำทางวาจา) ฝ่ายอกุศล
๓. มโนกรรม (การกระทำทางใจ) ฝ่ายอกุศล
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ในนรก
เหมือนถูกนำไปฝังไว้
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์เหมือนได้รับ
อัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กายกรรมฝ่ายกุศล ๒. วจีกรรมฝ่ายกุศล
๓. มโนกรรมฝ่ายกุศล
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์เหมือนได้
รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้

อกุสลสูตรที่ ๑ จบ

๒. สาวัชชสูตร
ว่าด้วยกรรมที่มีโทษเป็นเหตุให้ตกนรก

[๑๔๘] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๙๕ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๕. มังคลวรรค ๔. อสุจิสูตร

๑. กายกรรมที่มีโทษ ๒. วจีกรรมที่มีโทษ
๓. มโนกรรมที่มีโทษ
ฯลฯ
๑. กายกรรมที่ไม่มีโทษ ๒. วจีกรรมที่ไม่มีโทษ
๓. มโนกรรมที่ไม่มีโทษ
ฯลฯ

สาวัชชสูตรที่ ๒ จบ

๓. วิสมสูตร
ว่าด้วยกรรมที่ไม่สม่ำเสมอเป็นเหตุให้ตกนรก

[๑๔๙] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ฯลฯ
๑. กายกรรมที่ไม่สม่ำเสมอ ๒. วจีกรรมที่ไม่สม่ำเสมอ
๓. มโนกรรมที่ไม่สม่ำเสมอ
ฯลฯ
๑. กายกรรมที่สม่ำเสมอ ๒. วจีกรรมที่สม่ำเสมอ
๓. มโนกรรมที่สม่ำเสมอ
ฯลฯ

วิสมสูตรที่ ๓ จบ

๔. อสุจิสูตร
ว่าด้วยกรรมที่ไม่สะอาดเป็นเหตุให้ตกนรก

[๑๕๐] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ฯลฯ
๑. กายกรรมที่ไม่สะอาด ๒. วจีกรรมที่ไม่สะอาด
๓. มโนกรรมที่ไม่สะอาด
ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๙๖ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๕. มังคลวรรค ๕. ปฐมขตสูตร

๑. กายกรรมที่สะอาด ๒. วจีกรรมที่สะอาด
๓. มโนกรรมที่สะอาด
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แลย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์เหมือนได้รับ
อัญเชิญไปประดิษฐานไว้

อสุจิสูตรที่ ๔ จบ

๕. ปฐมขตสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ตนถูกทำลาย สูตรที่ ๑

[๑๕๑] ภิกษุทั้งหลาย คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็นอสัตบุรุษ ประกอบด้วย
ธรรม ๓ ประการ ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้
ติเตียน และประสพสิ่งที่ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กายกรรมฝ่ายอกุศล ๒. วจีกรรมฝ่ายอกุศล
๓. มโนกรรมฝ่ายอกุศล
คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็นอสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ย่อม
บริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพสิ่งที่
ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก
บัณฑิตผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ย่อม
บริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน และ
ประสพบุญเป็นอันมาก
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กายกรรมฝ่ายกุศล ๒. วจีกรรมฝ่ายกุศล
๓. มโนกรรมฝ่ายกุศล
ฯลฯ

ปฐมขตสูตรที่ ๕ จบ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๕. มังคลวรรค ๘. จตุตถขตสูตร

๖. ทุติยขตสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ตนถูกทำลาย สูตรที่ ๒

[๑๕๒] ภิกษุทั้งหลาย ผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ฯลฯ
๑. กายกรรมที่มีโทษ ๒. วจีกรรมที่มีโทษ
๓. มโนกรรมที่มีโทษ
ฯลฯ
๑ กายกรรมที่ไม่มีโทษ ๒. วจีกรรมที่ไม่มีโทษ
๓. มโนกรรมที่ไม่มีโทษ
ฯลฯ

ทุติยขตสูตรที่ ๖ จบ

๗. ตติยขตสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ตนถูกทำลาย สูตรที่ ๓

[๑๕๓] ภิกษุทั้งหลาย ผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ฯลฯ
๑. กายกรรมที่ไม่สม่ำเสมอ ๒. วจีกรรมที่ไม่สม่ำเสมอ
๓. มโนกรรมที่ไม่สม่ำเสมอ
ฯลฯ
๑. กายกรรมที่สม่ำเสมอ ๒. วจีกรรมที่สม่ำเสมอ
๓. มโนกรรมที่สม่ำเสมอ
ฯลฯ

ตติยขตสูตรที่ ๗ จบ

๘. จตุตถขตสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ตนถูกทำลาย สูตรที่ ๔

[๑๕๔] ภิกษุทั้งหลาย ผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๙๘ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๕. มังคลวรรค ๑๐. ปุพพัณหสูตร

๑. กายกรรมที่ไม่สะอาด ๒. วจีกรรมที่ไม่สะอาด
๓. มโนกรรมที่ไม่สะอาด
ฯลฯ
๑. กายกรรมที่สะอาด ๒. วจีกรรมที่สะอาด
๓. มโนกรรมที่สะอาด
บัณฑิตผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล
ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน
และประสพบุญเป็นอันมาก

จตุตถขตสูตรที่ ๘ จบ

๙. วันทนาสูตร
ว่าด้วยการไหว้

[๑๕๕] ภิกษุทั้งหลาย การไหว้ ๓ ประการนี้
การไหว้ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. การไหว้ทางกาย ๒. การไหว้ทางวาจา
๓. การไหว้ทางใจ
ภิกษุทั้งหลาย การไหว้ ๓ ประการนี้แล

วันทนาสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ปุพพัณหสูตร
ว่าด้วยเวลาเช้าเป็นฤกษ์ดีเป็นต้น

[๑๕๖] ภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าใดประพฤติกายสุจริต(ความประพฤติชอบด้วย
กาย) วจีสุจริต(ความประพฤติชอบด้วยวาจา) และมโนสุจริต(ความประพฤติชอบ
ด้วยใจ) ในเวลาเช้า เวลาเช้าก็เป็นเวลาที่ดีของสัตว์เหล่านั้น
สัตว์เหล่าใดประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต ในเวลาเที่ยง เวลา
เที่ยงก็เป็นเวลาที่ดีของสัตว์เหล่านั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๙๙ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๕. มังคลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าใดประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต ใน
เวลาเย็น เวลาเย็นก็เป็นเวลาที่ดีของสัตว์เหล่านั้น
สัตว์ทั้งหลายประพฤติชอบในเวลาใด
เวลานั้นชื่อว่าเป็นฤกษ์ดี มงคลดี สว่างดี รุ่งดี
ขณะดี ยามดี และบูชาดีในพรหมจารีบุคคล
กายกรรมเป็นส่วนเบื้องขวา๑ วจีกรรมเป็นส่วนเบื้องขวา
มโนกรรมเป็นส่วนเบื้องขวา
ความปรารถนาของท่านเป็นส่วนเบื้องขวา
สัตว์ทั้งหลายทำกรรมอันเป็นส่วนเบื้องขวาแล้ว
ย่อมได้ประโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องขวา
ท่านเหล่านั้นได้ประโยชน์แล้ว จงได้รับความสุข
งอกงามในพุทธศาสนา จงไม่มีโรค
ถึงความสุขพร้อมด้วยญาติทั้งมวล

ปุพพัณหสูตรที่ ๑๐ จบ
มังคลวรรคที่ ๕ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อกุสลสูตร ๒. สาวัชชสูตร
๓. วิสมสูตร ๔. อสุจิสูตร
๕. ปฐมขตสูตร ๖. ทุติยขตสูตร
๗. ตติยขตสูตร ๘. จตุตถขตสูตร
๙. วันทนาสูตร ๑๐. ปุพพัณหสูตร

ตติยปัณณาสก์ จบบริบูรณ์


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๖. อเจลกวรรค

๖. อเจลกวรรค
หมวดว่าด้วยคนเปลือย

ว่าด้วยปฏิปทา ๓ อย่าง

[๑๕๗-๑๖๓] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๓ ประการ
ปฏิปทา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ปฏิปทาอย่างหยาบ ๒. ปฏิปทาอย่างเหี้ยมหาญ
๓. ปฏิปทาอย่างกลาง
ปฏิปทาอย่างหยาบ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “โทษในกามทั้งหลาย
ไม่มี” เขาย่อมตกเป็นเหยื่อในกามทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ปฏิปทาอย่างหยาบ
ปฏิปทาอย่างเหี้ยมหาญ เป็นอย่างไร
คือ คนเปลือยบางคนในโลกนี้ไร้มารยาท เลียมือ เขาเชิญให้มารับภิกษา๑ก็ไม่มา
เขาเชิญให้หยุดก็ไม่หยุด ไม่รับภิกษาที่เขาแบ่งไว้ก่อน ไม่รับภิกษาที่เขาเจาะจงทำไว้
ไม่ยินดีกิจนิมนต์ ไม่รับภิกษาปากหม้อ ไม่รับภิกษาจากกระเช้า ไม่รับภิกษาคร่อม
ธรณีประตู ไม่รับภิกษาคร่อมท่อนไม้ ไม่รับภิกษาคร่อมสาก ไม่รับภิกษาที่คนสอง
คนบริโภคอยู่ ไม่รับภิกษาของหญิงมีครรภ์ ไม่รับภิกษาของหญิงที่กำลังให้ลูกดูดนม
ไม่รับภิกษาของหญิงที่คลอเคลียคน ไม่รับภิกษาที่นัดแนะกันทำไว้ ไม่รับภิกษาในที่
ที่รับเลี้ยงดูลูกสุนัข ไม่รับภิกษาในที่แมลงวันไต่ตอมเป็นกลุ่ม ไม่รับปลา ไม่รับเนื้อ
ไม่ดื่มสุรา ไม่ดื่มเมรัย ไม่ดื่มน้ำหมักดอง เขารับภิกษาเฉพาะที่เรือนหลังเดียว เยียว
ยาอัตภาพด้วยข้าวคำเดียว รับภิกษาที่เรือน ๒ หลัง เยียวยา อัตภาพด้วยข้าว ๒ คำ
ฯลฯ หรือรับภิกษาที่เรือน ๗ หลัง เยียวยาอัตภาพด้วยข้าว ๗ คำ เยียวยาอัตภาพ
ด้วยภิกษาในถาดน้อยใบเดียวบ้าง เยียวยาอัตภาพด้วยภิกษาในถาดน้อย ๒ ใบบ้าง


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๖. อเจลกวรรค (๑. สติปัฏฐานสูตร)

ฯลฯ เยียวยาอัตภาพด้วยภิกษาในถาดน้อย ๗ ใบบ้าง กินอาหารที่เก็บค้างไว้วัน
เดียวบ้าง กินอาหารที่เก็บค้างไว้ ๒ วันบ้าง ฯลฯ กินอาหารที่เก็บค้างไว้เจ็ดวันบ้าง
เขาหมั่นประกอบในการบริโภคที่เวียนมาตั้งกึ่งเดือนเช่นนี้อยู่
คนเปลือยนั้นกินผักดองเป็นอาหารบ้าง กินข้าวฟ่างเป็นอาหารบ้าง กินลูก
เดือยเป็นอาหารบ้าง กินกากข้าวเป็นอาหารบ้าง กินยาง๑เป็นอาหารบ้าง กินรำ
เป็นอาหารบ้าง กินข้าวตังเป็นอาหารบ้าง กินกำยานเป็นอาหารบ้าง กินหญ้าเป็น
อาหารบ้าง กินมูลโคเป็นอาหารบ้าง กินเหง้าและผลไม้ในป่าเป็นอาหารบ้าง กิน
ผลไม้ที่หล่นเยียวยาอัตภาพ เขานุ่งห่มผ้าป่านบ้าง นุ่งห่มผ้าแกมกันบ้าง นุ่งห่มผ้า
ห่อศพบ้าง นุ่งห่มผ้าบังสุกุลบ้าง นุ่งห่มผ้าเปลือกไม้บ้าง นุ่งห่มหนังเสือบ้าง นุ่งห่ม
หนังเสือที่มีเล็บติดอยู่บ้าง นุ่งห่มคากรองบ้าง นุ่งห่มผ้าเปลือกปอกรองบ้าง นุ่งห่ม
ผ้าผลไม้กรองบ้าง นุ่งห่มผ้ากัมพลทำด้วยผมคนบ้าง นุ่งห่มผ้ากัมพลทำด้วยขน
สัตว์ร้ายบ้าง นุ่งห่มผ้าทำด้วยขนปีกนกเค้าบ้าง ถอนผมและหนวด หมั่นประกอบ
การถอนผมและหนวดบ้าง ยืนอย่างเดียวปฏิเสธการนั่งบ้าง นั่งกระโหย่ง ประกอบ
ความเพียรด้วยการนั่งกระโหย่งบ้าง นอนบนหนาม สำเร็จการนอนบนหนามบ้าง
อาบน้ำวันละ ๓ ครั้ง หมั่นประกอบการลงน้ำบ้าง เขาหมั่นประกอบการทำร่างกาย
ให้เดือดร้อนหลายวิธีดังกล่าวมานี้อยู่
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ปฏิปทาอย่างเหี้ยมหาญ

(๑. สติปัฏฐานสูตร)

ปฏิปทาอย่างกลาง เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา ฯลฯ พิจารณา
เห็นจิตในจิต ฯลฯ พิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ปฏิปทาอย่างกลาง
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๓ ประการนี้แล


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๖. อเจลกวรรค (๓. อิทธิปาทสูตร)

(๒. สัมมัปปธานสูตร)

ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๓ ประการนี้
ปฏิปทา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ปฏิปทาอย่างหยาบ ๒. ปฏิปทาอย่างเหี้ยมหาญ
๓. ปฏิปทาอย่างกลาง
ปฏิปทาอย่างหยาบ เป็นอย่างไร
ฯลฯ นี้เรียกว่า ปฏิปทาอย่างหยาบ
ปฏิปทาอย่างเหี้ยมหาญ เป็นอย่างไร
ฯลฯ นี้เรียกว่า ปฏิปทาอย่างเหี้ยมหาญ
ปฏิปทาอย่างกลาง เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต
มุ่งมั่น๑เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น สร้างฉันทะ พยายาม
ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดแล้ว สร้างฉันทะ
พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อความดำรงอยู่
ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว

(๓. อิทธิปาทสูตร)

ภิกษุนั้นเจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร(สมาธิที่เกิดจาก
ฉันทะและความเพียรสร้างสรรค์) เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวีริยสมาธิปธาน-
สังขาร(สมาธิที่เกิดจากวิริยะและความเพียรสร้างสรรค์) เจริญอิทธิบาทที่ประกอบ
ด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร(สมาธิที่เกิดจากจิตตะและความเพียรสร้างสรรค์) เจริญ
อิทธิบาทที่ประกอบด้วยวีมังสาสมาธิปธานสังขาร(สมาธิที่เกิดจากวีมังสาและความ
เพียรสร้างสรรค์) ฯลฯ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๖. อเจลกวรรค (๗. มัคคสูตร)

(๔. อินทริยสูตร)

เจริญสัทธินทรีย์ เจริญวีริยินทรีย์ เจริญสตินทรีย์ เจริญสมาธินทรีย์ เจริญ
ปัญญินทรีย์ ฯลฯ

(๕. พลสูตร)

เจริญสัทธาพละ เจริญวีริยพละ เจริญสติพละ เจริญสมาธิพละ เจริญ
ปัญญาพละ ฯลฯ

(๖. สัมโพชฌังคสูตร)

เจริญสติสัมโพชฌงค์(ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความระลึกได้) เจริญ
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์(ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความเฟ้นธรรม) เจริญวีริย-
สัมโพชฌงค์(ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความเพียร) เจริญปีติสัมโพชฌงค์(ธรรม
เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความอิ่มใจ) เจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์(ธรรมเป็นองค์แห่ง
การตรัสรู้คือความสงบกายสงบใจ) เจริญสมาธิสัมโพชฌงค์(ธรรมเป็นองค์แห่งการ
ตรัสรู้คือความตั้งจิตมั่น) เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์(ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือ
ความวางใจเป็นกลาง) ฯลฯ

(๗. มัคคสูตร)

เจริญสัมมาทิฏฐิ(เห็นชอบ) เจริญสัมมาสังกัปปะ(ดำริชอบ) เจริญสัมมาวาจา
(เจรจาชอบ) เจริญสัมมากัมมันตะ(กระทำชอบ) เจริญสัมมาอาชีวะ(เลี้ยงชีพชอบ)
เจริญสัมมาวายามะ(พยายามชอบ) เจริญสัมมาสติ(ระลึกชอบ) เจริญสัมมาสมาธิ
(ตั้งจิตมั่นชอบ)
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ปฏิปทาอย่างกลาง
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๓ ประการนี้แล

อเจลกวรรคที่ ๖ จบ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๗. กัมมปถเปยยาล (๑. ปาณ - อปาณสูตร)

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สติปัฏฐานสูตร ๒. สัมมัปปธานสูตร
๓. อิทธิปาทสูตร ๔. อินทริยสูตร
๕. พลสูตร ๖. สัมโพชฌังคสูตร
๗. มัคคสูตร

๗. กัมมปถเปยยาล
ว่าด้วยธรรม ๓ ประการมีหลายนัย

(๑. ปาณ - อปาณสูตร)

[๑๖๔-๑๘๓] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วย
ธรรม ๓ ประการ ย่อมดำรงอยู่ในนรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ตนเองเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ๒. ชักชวนผู้อื่นให้ฆ่าสัตว์
๓. เป็นผู้พอใจการฆ่าสัตว์
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ใน
นรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้
บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์เหมือนได้รับ
อัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์
๒. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์
๓. เป็นผู้พอใจการงดเว้นจากการฆ่าสัตว์
ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๔๐๕ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๗. กัมมปถเปยยาล (๔. มุสาวาที - อมุสาวาทีสูตร)

(๒. อทินนาทาน - อนทินนาทานสูตร)

๑. ตนเองเป็นผู้ลักทรัพย์ ๒. ชักชวนผู้อื่นให้ลักทรัพย์
๓. เป็นผู้พอใจการลักทรัพย์
ฯลฯ
๑. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์
๒. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการลักทรัพย์
๓. เป็นผู้พอใจการงดเว้นจากการลักทรัพย์
ฯลฯ

(๓. มิจฉา - สัมมาสูตร)

๑. ตนเองเป็นผู้ประพฤติผิดในกาม
๒. ชักชวนผู้อื่นให้ประพฤติผิดในกาม
๓. เป็นผู้พอใจการประพฤติผิดในกาม
ฯลฯ
๑. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม
๒. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
๓. เป็นผู้พอใจการงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
ฯลฯ

(๔. มุสาวาที - อมุสาวาทีสูตร)

๑. ตนเองเป็นผู้พูดเท็จ ๒. ชักชวนผู้อื่นให้พูดเท็จ
๓. เป็นผู้พอใจการพูดเท็จ
ฯลฯ
๑. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ
๒. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการพูดเท็จ
๓. เป็นผู้พอใจการงดเว้นจากการพูดเท็จ
ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๔๐๖ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๗. กัมมปถเปยยาล (๗. สัมผัปปลาป - อสัมผัปปลาปสูตร)

(๕. ปิสุณา - อปิสุณาสูตร)

๑. ตนเองเป็นผู้พูดส่อเสียด ๒. ชักชวนผู้อื่นให้พูดส่อเสียด
๓. เป็นผู้พอใจการพูดส่อเสียด
ฯลฯ
๑. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด
๒. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการพูดส่อเสียด
๓. เป็นผู้พอใจการงดเว้นจากการพูดส่อเสียด
ฯลฯ

(๖. ผรุส - อผรุสสูตร)

๑. ตนเองเป็นผู้พูดคำหยาบ ๒. ชักชวนผู้อื่นให้พูดคำหยาบ
๓. เป็นผู้พอใจการพูดคำหยาบ
ฯลฯ
๑. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ
๒. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการพูดคำหยาบ
๓. เป็นผู้พอใจการงดเว้นจากการพูดคำหยาบ
ฯลฯ

(๗. สัมผัปปลาป - อสัมผัปปลาปสูตร)

๑. ตนเองเป็นผู้พูดเพ้อเจ้อ ๒. ชักชวนผู้อื่นให้พูดเพ้อเจ้อ
๓. เป็นผู้พอใจการพูดเพ้อเจ้อ
ฯลฯ
๑. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ
๒. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
๓. เป็นผู้พอใจการงดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๔๐๗ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๗. กัมมปถเปยยาล (๑๐. มิจฉาทิฏฐิ - สัมมาทิฏฐิสูตร)

(๘. อภิชฌา - อนภิชฌาสูตร)

๑. ตนเองเป็นผู้เพ่งเล็งอยากได้ของเขา
๒. ชักชวนผู้อื่นให้เพ่งเล็งอยากได้ของเขา
๓. เป็นผู้พอใจความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา
ฯลฯ
๑. ตนเองเป็นผู้ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา
๒. ชักชวนผู้อื่นให้ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา
๓. เป็นผู้พอใจความไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา
ฯลฯ

(๙. พยาปาท - อัพยาปาทสูตร)

๑. ตนเองเป็นผู้มีจิตพยาบาท ๒. ชักชวนผู้อื่นให้มีจิตพยาบาท
๓. เป็นผู้พอใจความมีจิตพยาบาท
ฯลฯ
๑. ตนเองเป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท ๒. ชักชวนผู้อื่นให้มีจิตไม่พยาบาท
๓. เป็นผู้พอใจความมีจิตไม่พยาบาท
ฯลฯ

(๑๐. มิจฉาทิฏฐิ - สัมมาทิฏฐิสูตร)

๑. ตนเองเป็นมิจฉาทิฏฐิ ๒. ชักชวนผู้อื่นให้เป็นมิจฉาทิฏฐิ
๓. เป็นผู้พอใจความเป็นมิจฉาทิฏฐิ
ฯลฯ
๑. ตนเองเป็นสัมมาทิฏฐิ ๒. ชักชวนผู้อื่นให้เป็นสัมมาทิฏฐิ
๓. เป็นผู้พอใจความเป็นสัมมาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ใน
สวรรค์เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้

กัมมปถเปยยาลที่ ๗ จบ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๘. ราคเปยยาล

รวมพระสูตรที่มีในเปยยาลนี้ คือ

๑. ปาณ-อปาณสูตร ๒. อทินนาทาน-อนทินนาทานสูตร
๓. มิจฉา-สัมมาสูตร ๔. มุสาวาที-อมุสาวาทีสูตร
๕. ปิสุณา-อปิสุณาสูตร ๖. ผรุส-อผรุสสูตร
๗. สัมผัปปลาป-อสัมผัปปลาปสูตร ๘. อภิชฌา-อนภิชฌาสูตร
๙. พยาปาท-อพยาปาทสูตร ๑๐. มิจฉาทิฏฐิ-สัมมาทิฏฐิสูตร

๘. ราคเปยยาล

[๑๘๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๓ ประการ
เพื่อรู้ยิ่งราคะ(ความกำหนัด)
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สุญญตสมาธิ (สมาธิพิจารณาเห็นความว่าง)
๒. อนิมิตตสมาธิ (สมาธิพิจารณาธรรมไม่มีนิมิต)
๓. อัปปณิหิตสมาธิ (สมาธิพิจารณาธรรมไม่มีความตั้งปรารถนา)
บุคคลควรเจริญธรรม ๓ ประการนี้แล เพื่อรู้ยิ่งราคะ
[บุคคลควรเจริญธรรม ๓ ประการเพื่อรู้ยิ่งราคะ
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สวิตักกสวิจารสมาธิ(สมาธิที่มีวิตกวิจาร)
๒. อวิตักกวิจารมัตตสมาธิ(สมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร)
๓. อวิตักกอวิจารสมาธิ(สมาธิที่ไม่มีวิตกวิจาร)
บุคคลควรเจริญธรรม ๓ ประการนี้แลเพื่อรู้ยิ่งราคะ] ๑


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
รวมธรรมที่มีในราคเปยยาล

เพื่อกำหนดรู้ราคะ... เพื่อความสิ้นราคะ ... เพื่อละราคะ ... เพื่อความสิ้น
ไปแห่งราคะ... เพื่อความเสื่อมไปแห่งราคะ... เพื่อความคลายไปแห่งราคะ... เพื่อ
ความดับไปแห่งราคะ... เพื่อสละราคะ ... เพื่อสละคืนราคะ บุคคลควรเจริญธรรม
๓ ประการนี้
เพื่อรู้ยิ่งโทสะ(ความคิดประทุษร้าย)... เพื่อกำหนดรู้โทสะ... เพื่อความสิ้นโทสะ...
เพื่อละโทสะ... เพื่อความสิ้นไปแห่งโทสะ... เพื่อความเสื่อมไปแห่งโทสะ... เพื่อความ
คลายไปแห่งโทสะ... เพื่อความดับไปแห่งโทสะ... เพื่อความสละโทสะ... เพื่อความ
สละคืนโทสะ... โมหะ(ความหลง)... โกธะ(ความโกรธ)... อุปนาหะ (ความผูกโกรธ)...
มักขะ(ความลบหลู่คุณท่าน)... ปลาสะ(ความตีเสมอ)... อิสสา (ความริษยา)...
มัจฉริยะ(ความตระหนี่)... มายา(มารยา)... สาเถยยะ(ความโอ้อวด)...
ถัมภะ(ความหัวดื้อ)... สารัมภะ(ความแข่งดี)... มานะ(ความถือตัว)... อติมานะ
(ความดูหมิ่นเขา)... มทะ(ความมัวเมา)... ปมาทะ(ความประมาท)...
บุคคลควรเจริญธรรม ๓ ประการนี้

[เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดี ต่างชื่นชมภาษิตของ
พระผู้มีพระภาค]

ราคเปยยาลที่ ๘ จบ
รวมธรรมที่มีในเปยยาลนี้ คือ

๑. ราคะ ๒. โทสะ
๓. โมหะ ๔. โกธะ
๕. อุปนาหะ ๖. มักขะ
๗. ปลาสะ ๘. อิสสา
๙. มัจฉริยะ ๑๐. มายา
๑๑. สาเถยยะ ๑๒. ถัมภะ
๑๓. สารัมภะ ๑๔. มานะ
๑๕. อติมานะ ๑๖. มทะ
๑๗. ปมาทะ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
รวมธรรมที่มีในราคเปยยาล

ธรรมเหล่านี้อยู่ในราคเปยยาล พระผู้มีพระภาคตรัสโดยเทียบเคียงกับ
โอปัมมสูตร ทรงประสงค์ธรรม ๑๐ ประการเหล่านี้ คือ อภิญญา(รู้ยิ่ง)
ปริญญา(การกำหนดรู้) ปริกขยา(ความสิ้น) ปหานะ(การละ) ขยะ(ความสิ้นไป)
วยะ(ความเสื่อมไป) วิราคะ(ความคลายไป) นิโรธะ(ความดับไป) จาคะ(ความสละ)
ปฏินิสสัคคะ(ความสละคืน) และทรงกำหนดธรรม ๓ ประการ คือ (๑) สุญญตะ
(ความว่าง) (๒) อนิมิตตะ(ธรรมไม่มีนิมิต) (๓) อัปปณิหิตะ(ธรรมไม่มีความ
ตั้งปรารถนา) มีสมาธิเป็นมูล แม้ในเปยยาลทั้งหมดแล

ติกนิบาต จบบริบูรณ์


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ สุตตันตปิฎกที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอกก ทุก ติกนิบาต จบ





eXTReMe Tracker