ค้นว่าอยู่เล่มใด แล้วกด [ctrl]+f หรือใช้คำสั่งของเครื่องหาตำแหน่งในเล่มอีกทีนะครับ



จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อความสะดวก และสวยงาม
(เฉพาะหน้าจอใหญ่ เช่น คอมพิวเตอร์)
กรุณาคลิก จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อให้กรอบ
ค้นข้อความ ปรากฎที่ด้านซ้ายของหน้า

พระไตรปิฎกภาษาไทย
ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม (ปกสีฟ้า)
ทั้งออนไลน์และออฟไลน์
ที่มาของข้อมูล : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มจร.
MCUTRAI Version 1.0

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐-๑ สุตตันตปิฎกที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอกก ทุก ติกนิบาต

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑.รูปาทิวรรค

พระสุตตันตปิฎก
อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

๑. รูปาทิวรรค
หมวดว่าด้วยรูปเป็นต้นที่ครอบงำจิตบุรุษและสตรี

[๑] ข้าพเจ้า๑ ได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมา
ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาค
จึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นรูปอื่นแม้อย่างหนึ่งที่จะครอบงำจิตของบุรุษอยู่ได้
เหมือนรูปสตรีนี้ ภิกษุทั้งหลาย รูปสตรีย่อมครอบงำจิตของบุรุษอยู่ได้ (๑)
[๒] เราไม่เห็นเสียงอื่นแม้อย่างหนึ่งที่จะครอบงำจิตของบุรุษอยู่ได้เหมือนเสียง
สตรีนี้ เสียงสตรีย่อมครอบงำจิตของบุรุษอยู่ได้ (๒)
[๓] เราไม่เห็นกลิ่นอื่นแม้อย่างหนึ่งที่จะครอบงำจิตของบุรุษอยู่ได้เหมือนกลิ่น
สตรีนี้ กลิ่นสตรีย่อมครอบงำจิตของบุรุษอยู่ได้ (๓)
[๔] เราไม่เห็นรสอื่นแม้อย่างหนึ่งที่จะครอบงำจิตของบุรุษอยู่ได้เหมือนรส
สตรีนี้ รสสตรีย่อมครอบงำจิตของบุรุษอยู่ได้ (๔)


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๒. นีวรณปหานวรรค

[๕] เราไม่เห็นโผฏฐัพพะ(การสัมผัสทางกาย)อื่นแม้อย่างหนึ่งที่จะครอบงำจิต
ของบุรุษอยู่ได้เหมือนโผฏฐัพพะสตรีนี้ โผฏฐัพพะสตรีย่อมครอบงำจิตของบุรุษ
อยู่ได้ (๕)
[๖] เราไม่เห็นรูปอื่นแม้อย่างหนึ่งที่จะครอบงำจิตของสตรีอยู่ได้เหมือนรูปบุรุษนี้
รูปบุรุษย่อมครอบงำจิตของสตรีอยู่ได้ (๖)
[๗] เราไม่เห็นเสียงอื่นแม้อย่างหนึ่งที่จะครอบงำจิตของสตรีอยู่ได้เหมือน
เสียงบุรุษนี้ เสียงบุรุษย่อมครอบงำจิตของสตรีอยู่ได้ (๗)
[๘] เราไม่เห็นกลิ่นอื่นแม้อย่างหนึ่งที่จะครอบงำจิตของสตรีอยู่ได้เหมือนกลิ่น
บุรุษนี้ กลิ่นบุรุษย่อมครอบงำจิตของสตรีอยู่ได้ (๘)
[๙] เราไม่เห็นรสอื่นแม้อย่างหนึ่งที่จะครอบงำจิตของสตรีอยู่ได้เหมือนรสบุรุษนี้
รสบุรุษย่อมครอบงำจิตของสตรีอยู่ได้ (๙)
[๑๐] เราไม่เห็นโผฏฐัพพะอื่นแม้อย่างหนึ่งที่จะครอบงำจิตของสตรีอยู่ได้เหมือน
โผฏฐัพพะบุรุษนี้ โผฏฐัพพะบุรุษย่อมครอบงำจิตของสตรีอยู่ได้ (๑๐)

รูปาทิวรรคที่ ๑ จบ

๒. นีวรณปหานวรรค
หมวดว่าด้วยธรรมเป็นเหตุละนิวรณ์

[๑๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่เป็นเหตุให้กามฉันทะ(ความพอใจในกาม)ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้ว
ก็เป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้นเหมือนสุภนิมิต๑นี้ เมื่อมนสิการสุภนิมิตโดยไม่
แยบคาย๒ กามฉันทะที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่อความ
เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น (๑)


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๒. นีวรณปหานวรรค

[๑๒] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้พยาบาท(ความคิดร้าย)ที่
ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้นเหมือน
ปฏิฆนิมิต๑ นี้ เมื่อมนสิการปฏิฆนิมิตโดยไม่แยบคาย พยาบาทที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น
และที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น (๒)
[๑๓] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้ถีนมิทธะ(ความหดหู่และ
เซื่องซึม)ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่ง
ขึ้นเหมือนความไม่ยินดี ความเกียจคร้าน ความเมื่อยขบของร่างกาย ความเมา
อาหาร และความที่จิตหดหู่นี้ เมื่อมีจิตหดหู่ ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น และ
ที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น (๓)
[๑๔] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้อุทธัจจกุกกุจจะ(ความฟุ้งซ่าน
และร้อนใจ)ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์
ยิ่งขึ้นเหมือนความไม่สงบแห่งจิตนี้ เมื่อมีจิตไม่สงบ อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิดขึ้นก็
เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น (๔)
[๑๕] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้วิจิกิจฉา(ความลังเลสงสัย)ที่
ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้นเหมือน
อโยนิโสมนสิการ(การมนสิการโดยไม่แยบคาย)นี้ เมื่อมนสิการโดยไม่แยบคาย วิจิกิจฉา
ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น (๕)
[๑๖] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้กามฉันทะที่ยังไม่เกิดขึ้นก็
ไม่เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็ละได้เหมือนอสุภนิมิต๒ นี้ เมื่อมนสิการอสุภนิมิตโดย
แยบคาย กามฉันทะที่ยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วก็ละได้๓ (๖)


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๒. นีวรณปหานวรรค

[๑๗] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้พยาบาทที่ยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่
เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็ละได้เหมือนเมตตาเจโตวิมุตติ๑ นี้ เมื่อมนสิการเมตตา
เจโตวิมุตติโดยแยบคาย พยาบาทที่ยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วก็
ละได้ (๗)
[๑๘] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่
เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็ละได้เหมือนความริเริ่ม ความพากเพียร ความบากบั่นนี้
เมื่อปรารภความเพียร๒ แล้ว ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว
ก็ละได้ (๘)
[๑๙] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิด
ขึ้นก็ไม่เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็ละได้เหมือนความสงบแห่งจิตนี้ เมื่อมีจิตสงบแล้ว
อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วก็ละได้ (๙)
[๒๐] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิดขึ้น
ก็ไม่เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็ละได้เหมือนโยนิโสมนสิการ(การมนสิการโดยแยบคาย)
นี้ เมื่อมนสิการโดยแยบคาย วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วก็
ละได้ (๑๐)

นีวรณปหานวรรคที่ ๒ จบ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๓. อกัมมนิยวรรค

๓. อกัมมนิยวรรค
หมวดว่าด้วยจิตที่ไม่ควรแก่การใช้งาน

[๒๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่ไม่ได้เจริญแล้วย่อมไม่ควรแก่การใช้งานเหมือนจิตนี้ จิตที่ไม่ได้เจริญแล้วย่อมไม่
ควรแก่การใช้งาน (๑)
[๒๒] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ได้เจริญแล้วย่อมควรแก่การใช้งานเหมือน
จิตนี้ จิตที่ได้เจริญแล้วย่อมควรแก่การใช้งาน (๒)
[๒๓] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ไม่ได้เจริญแล้วย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่
ประโยชน์มากเหมือนจิตนี้ จิตที่ไม่ได้เจริญแล้วย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มาก (๓)
[๒๔] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ได้เจริญแล้วย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์
มากเหมือนจิตนี้ จิตที่ได้เจริญแล้วย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก (๔)
[๒๕] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ไม่ได้เจริญไม่ปรากฏชัดแล้วย่อมเป็น
ไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มากเหมือนจิตนี้ จิตที่ไม่ได้เจริญไม่ปรากฏชัดแล้วย่อมเป็นไป
เพื่อมิใช่ประโยชน์มาก (๕)
[๒๖] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ได้เจริญปรากฏชัดแล้วย่อมเป็นไปเพื่อ
ประโยชน์มากเหมือนจินี้ จิตที่ได้เจริญปรากฏชัดแล้วย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก (๖)
[๒๗] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ไม่ได้เจริญไม่ทำให้มากแล้ว๑ ย่อมเป็น
ไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มากเหมือนจิตนี้ จิตที่ไม่ได้เจริญไม่ได้ทำให้มากแล้วย่อมเป็น
ไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มาก (๗)
[๒๘] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไป
เพื่อประโยชน์มากเหมือนจิตนี้ จิตที่ได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์
มาก (๘)


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๔. อทันตวรรค

[๒๙] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ไม่ได้เจริญไม่ทำให้มากแล้วย่อมนำ
ทุกข์มาให้เหมือนจิตนี้ จิตที่ไม่ได้เจริญไม่ได้ทำให้มากแล้วย่อมนำทุกข์มาให้ (๙)
[๓๐] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมนำสุขมา
ให้เหมือนจิตนี้ จิตที่ได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมนำสุขมาให้ (๑๐)

อกัมมนิยวรรคที่ ๓ จบ

๔. อทันตวรรค
หมวดว่าด้วยจิตที่ไม่ได้ฝึก

[๓๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่ไม่ได้ฝึกแล้วย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มากเหมือนจิตนี้ จิตที่ไม่ได้ฝึกแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มาก (๑)
[๓๒] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ได้ฝึกแล้วย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก
เหมือนจิตนี้ จิตที่ได้ฝึกแล้วย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก (๒)
[๓๓] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ไม่ได้คุ้มครองแล้วย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่
ประโยชน์มากเหมือนจิตนี้ จิตที่ไม่ได้คุ้มครองแล้วย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์
มาก (๓)
[๓๔] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ได้คุ้มครองแล้วย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์
มากเหมือนจิตนี้ จิตที่ได้คุ้มครองแล้วย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก (๔)
[๓๕] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ไม่ได้รักษาแล้วย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่
ประโยชน์มากเหมือนจิตนี้ จิตที่ไม่ได้รักษาแล้วย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์
มาก (๕)
[๓๖] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ได้รักษาแล้วย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์
มากเหมือนจิตนี้ จิตที่ได้รักษาแล้วย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก (๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๖ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๕. ปณิหิตอัจฉวรรค

[๓๗] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ไม่ได้สำรวมแล้วย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่
ประโยชน์มากเหมือนจิตนี้ จิตที่ไม่ได้สำรวมแล้วย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มาก (๗)
[๓๘] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ได้สำรวมแล้วย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน
มากเหมือนจิตนี้ จิตที่ได้สำรวมแล้วย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก (๘)
[๓๙] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ไม่ได้ฝึก ไม่ได้คุ้มครอง ไม่ได้รักษา
ไม่ได้สำรวมแล้วย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มากเหมือนจิตนี้ จิตที่ไม่ได้ฝึก ไม่ได้
คุ้มครอง ไม่ได้รักษา ไม่ได้สำรวมแล้วย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มาก (๙)
[๔๐] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ได้ฝึก ได้คุ้มครอง ได้รักษา ได้สำรวม
แล้วย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มากเหมือนจิตนี้ จิตที่ได้ฝึก ได้คุ้มครอง ได้รักษา ได้
สำรวมแล้วย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก (๑๐)

อทันตวรรคที่ ๔ จบ

๕. ปณิหิตอัจฉวรรค
หมวดว่าด้วยผลแห่งจิตที่ตั้งไว้ผิดและถูก

[๔๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปไม่ได้เลย๑ที่เดือยข้าว๒
สาลีหรือเดือยข้าวเหนียวที่บุคคลตั้งไว้ไม่ตรงจักตำมือหรือเท้าที่ไปกระทบเข้า หรือ
ทำให้เลือดออก ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะตั้งเดือยข้าวไว้ไม่ตรง แม้ฉันใด เป็นไป
ไม่ได้เลยที่ภิกษุรูปนั้นมีจิตที่ตั้งไว้ผิดจักทำลายอวิชชา(ความไม่รู้แจ้ง) ให้วิชชา(ความ
รู้แจ้ง)เกิดขึ้น ทำนิพพานให้แจ้ง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะตั้งจิตไว้ผิด ฉันนั้น
เหมือนกัน (๑)


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๕. ปณิหิตอัจฉวรรค

[๔๒] เป็นไปได้ที่เดือยข้าวสาลีหรือเดือยข้าวเหนียวที่บุคคลตั้งไว้ตรงจักตำมือ
หรือเท้าที่ไปกระทบเข้า หรือทำให้เลือดออก ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะตั้งเดือยข้าวไว้
ตรง แม้ฉันใด เป็นไปได้ที่ภิกษุรูปนั้นมีจิตที่ตั้งไว้ถูกจักทำลายอวิชชา ให้วิชชาเกิดขึ้น
ทำนิพพานให้แจ้ง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะตั้งจิตไว้ถูก ฉันนั้นเหมือนกัน (๒)
[๔๓] เรากำหนดจิต(ของผู้อื่น)ด้วยจิต(ของตน)อย่างนี้แล้วย่อมรู้ชัดบุคคลบาง
คนในโลกนี้ผู้มีจิตอันโทสะประทุษร้าย ถ้าบุคคลนี้ตายในสมัยนี้ย่อมดำรงอยู่ในนรก
เหมือนถูกนำไปฝังไว้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าจิตของบุคคลนั้นถูกโทสะประทุษ
ร้าย ก็เพราะเหตุที่จิตยังคิดประทุษร้าย สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจึงไป
เกิดในอบาย(ภาวะหรือที่อันปราศจากความเจริญ) ทุคติ(ภาวะหรือที่ชั่ว) วินิบาต๑ (ที่
อันมีแต่ความร้อนรน) นรก (๓)
[๔๔] เรากำหนดจิต(ของผู้อื่น)ด้วยจิต(ของตน)อย่างนี้แล้วย่อมรู้ชัดบุคคลบาง
คนในโลกนี้ผู้มีจิตผ่องใส ถ้าบุคคลนี้ตายในสมัยนี้ย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์เหมือนได้รับ
อัญเชิญไปประดิษฐานไว้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าจิตของเขาผ่องใส ก็เพราะเหตุ
ที่จิตผ่องใส สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ (๔)
[๔๕] ห้วงน้ำที่ขุ่นมัว ไม่ใสสะอาด เป็นโคลนตม บุคคลผู้มีตาดี ยืนอยู่บนฝั่ง
มองไม่เห็นหอยโข่งและหอยกาบบ้าง ก้อนกรวดและกระเบื้องถ้วยบ้าง ฝูงปลาที่ว่าย
ไปและหยุดอยู่บ้าง ในห้วงน้ำนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะน้ำขุ่นมัว แม้ฉันใด ภิกษุ
รูปนั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นไปไม่ได้เลยที่จักรู้ประโยชน์ตน รู้ประโยชน์ผู้อื่น รู้
ประโยชน์ทั้งสอง หรือจักทำให้แจ้งซึ่งญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถ๒อันวิเศษยิ่ง
กว่าธรรมของมนุษย์๓ด้วยจิตที่ขุ่นมัว๔ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะจิตขุ่นมัว (๕)
[๔๖] ห้วงน้ำที่ไม่ขุ่นมัว ใสสะอาด บุคคลผู้มีตาดียืนอยู่บนฝั่งพึงมองเห็นหอย
โข่งและหอยกาบบ้าง ก้อนกรวดและกระเบื้องถ้วยบ้าง ฝูงปลาที่ว่ายไปและหยุดอยู่


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๖. อัจฉราสังฆาตวรรค

บ้าง ในห้วงน้ำนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะน้ำไม่ขุ่นมัว แม้ฉันใด ภิกษุรูปนั้น ก็ฉัน
นั้นเหมือนกัน เป็นไปได้ที่จักรู้ประโยชน์ตน รู้ประโยชน์ผู้อื่น รู้ประโยชน์ทั้งสอง หรือ
จักทำให้แจ้งซึ่งญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถอันวิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์
ด้วยจิตที่ไม่ขุ่นมัว ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะจิตไม่ขุ่นมัว (๖)
[๔๗] บัณฑิตกล่าวว่าต้นจันทน์เป็นต้นไม้ที่เลิศกว่าต้นไม้ทุกชนิด เพราะเป็น
ของอ่อนและใช้งานได้ดี แม้ฉันใด เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ได้เจริญทำให้
มากแล้ว เป็นของอ่อนและควรแก่การใช้งานเหมือนจิตนี้ จิตที่ได้เจริญทำให้มาก
แล้วย่อมเป็นของอ่อนและควรแก่การใช้งาน (๗)
[๔๘] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เปลี่ยนแปลงเร็วเหมือนจิตนี้ จิตนี้
เปลี่ยนแปลงเร็วจนเปรียบเทียบกับอะไรไม่ได้ง่าย ๆ (๘)
[๔๙] จิตนี้ผุดผ่อง๑ แต่จิตนั้นแลเศร้าหมองเพราะอุปกิเลส๒ ที่เกิดขึ้น
ภายหลัง (๙)
[๕๐] จิตนี้ผุดผ่องและจิตนั้นแลหลุดพ้นแล้วจากอุปกิเลสที่เกิดขึ้นภายหลัง (๑๐)

ปณิหิตอัจฉวรรคที่ ๕ จบ

๖. อัจฉราสังฆาตวรรค
หมวดว่าด้วยผลแห่งจิตชั่วลัดนิ้วมือเดียว

[๕๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง แต่จิตนั้นแลเศร้า
หมองเพราะอุปกิเลสที่เกิดขึ้นภายหลังปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ๓ ย่อมไม่ทราบจิตนั้นตามความ
เป็นจริง เพราะเหตุนั้น เราจึงกล่าวว่า “ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับย่อมไม่มีการอบรมจิต” (๑)


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๖. อัจฉราสังฆาตวรรค

[๕๒] จิตนี้ผุดผ่อง และจิตนั้นแลหลุดพ้นแล้วจากอุปกิเลสที่เกิดขึ้นมาภาย
หลัง อริยสาวกผู้ได้สดับย่อมทราบจิตนั้นตามความเป็นจริง เพราะเหตุนั้น เราจึง
กล่าวว่า “อริยสาวกผู้ได้สดับย่อมมีการอบรมจิต” (๒)
[๕๓] ถ้าภิกษุเสพ๑เมตตาจิตแม้ชั่วลัดนิ้วมือเดียว ภิกษุนี้เราเรียกว่า อยู่ไม่ห่าง
จากฌาน ทำตามคำสอนของพระศาสดา ปฏิบัติตามโอวาท ฉันอาหารบิณฑบาต
ของชาวบ้านอย่างไม่สูญเปล่า ไม่จำเป็นต้องพูดถึงภิกษุผู้ทำเมตตาจิตนั้นให้มาก (๓)
[๕๔] ถ้าภิกษุเจริญเมตตาจิตแม้ชั่วลัดนิ้วมือเดียว ภิกษุนี้เราเรียกว่า อยู่ไม่ห่าง
จากฌาน ทำตามคำสอนของพระศาสดา ปฏิบัติตามโอวาท ฉันอาหารบิณฑบาต
ของชาวบ้านอย่างไม่สูญเปล่า ไม่จำเป็นต้องพูดถึงภิกษุผู้ทำเมตตาจิตนั้นให้มาก (๔)
[๕๕] ถ้าภิกษุมนสิการเมตตาจิตแม้ชั่วลัดนิ้วมือเดียว ภิกษุนี้เราเรียกว่า อยู่
ไม่ห่างจากฌาน ทำตามคำสอนของพระศาสดา ปฏิบัติตามโอวาท ฉันอาหาร
บิณฑบาตของชาวบ้านอย่างไม่สูญเปล่า ไม่จำเป็นต้องพูดถึงภิกษุผู้ทำเมตตาจิตนั้น
ให้มาก (๕)
[๕๖] อกุศลธรรมทั้งหลายที่เป็นส่วนอกุศล ที่เป็นฝ่ายอกุศลทั้งหมด มีใจเป็น
หัวหน้า ใจเกิดก่อนธรรมเหล่านั้น อกุศลธรรมทั้งหลายเกิดขึ้นร่วมกันภายหลัง (๖)
[๕๗] กุศลธรรมทั้งหลายที่เป็นส่วนกุศล ที่เป็นฝ่ายกุศลทั้งหมด มีใจเป็น
หัวหน้า ใจเกิดก่อนธรรมเหล่านั้น กุศลธรรมทั้งหลายเกิดขึ้นร่วมกันภายหลัง (๗)
[๕๘] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น
ก็เกิดขึ้น หรือเป็นเหตุให้กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมไปเหมือนความประมาทนี้
เมื่อประมาทแล้ว อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น และกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วก็
เสื่อมไป (๘)


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๗. วีริยารัมภาทิวรรค

[๕๙] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็
เกิดขึ้น หรือเป็นเหตุให้อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมไปเหมือนความไม่ประมาทนี้
เมื่อไม่ประมาทแล้ว กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น และอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
ก็เสื่อมไป (๙)
[๖๐] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็
เกิดขึ้น หรือเป็นเหตุให้กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมไปเหมือนความเกียจคร้านนี้
เมื่อเกียจคร้าน อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น และกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วก็
เสื่อมไป (๑๐)

อัจฉราสังฆาตวรรคที่ ๖ จบ

๗. วีริยารัมภาทิวรรค
หมวดว่าด้วยการปรารภความเพียรเป็นต้น

[๖๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นธรรมอื่น แม้อย่าง
หนึ่งที่เป็นเหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น หรือเป็นเหตุให้อกุศลธรรมที่เกิดขึ้น
แล้วเสื่อมไปเหมือนการปรารภความเพียรนี้ เมื่อปรารภความเพียร๑ กุศลธรรมที่ยัง
ไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น และอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วก็เสื่อมไป (๑)
[๖๒] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิด
ขึ้น หรือเป็นเหตุให้กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมไปเหมือนความมักมากนี้ เมื่อมัก
มาก อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น และกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วก็เสื่อมไป (๒)
[๖๓] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็
เกิดขึ้น หรือเป็นเหตุให้อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมไปเหมือนความมักน้อยนี้ เมื่อ
มักน้อย กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น และอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วก็เสื่อมไป (๓)


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๗. วีริยารัมภาทิวรรค

[๖๔] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น
ก็เกิดขึ้น หรือเป็นเหตุให้กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมไปเหมือนความไม่สันโดษนี้
เมื่อไม่สันโดษ อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น และกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วก็
เสื่อมไป (๔)
[๖๕] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็
เกิดขึ้น หรือเป็นเหตุให้อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมไปเหมือนความสันโดษนี้ เมื่อ
สันโดษ กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น และอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วก็เสื่อมไป (๕)
[๖๖] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็
เกิดขึ้น หรือเป็นเหตุให้กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมไปเหมือนอโยนิโสมนสิการ
(การมนสิการโดยไม่แยบคาย)นี้ เมื่อมนสิการโดยไม่แยบคาย อกุศลธรรมที่ยังไม่
เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น และกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วก็เสื่อมไป (๖)
[๖๗] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็
เกิดขึ้น หรือเป็นเหตุให้อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมไปเหมือนโยนิโสมนสิการ
(การมนสิการโดยแยบคาย)นี้ เมื่อมนสิการโดยแยบคาย กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น
ก็เกิดขึ้น และอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วก็เสื่อมไป (๗)
[๖๘] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็
เกิดขึ้น หรือเป็นเหตุให้กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมไปเหมือนความไม่มีสัมปชัญญะ
(ความรู้ชัด)นี้ เมื่อไม่มีสัมปชัญญะ อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น และกุศลธรรม
ที่เกิดขึ้นแล้วก็เสื่อมไป (๘)
[๖๙] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็
เกิดขึ้น หรือเป็นเหตุให้อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมไปเหมือนความมีสัมปชัญญะนี้
เมื่อมีสัมปชัญญะ กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น และอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วก็
เสื่อมไป (๙)
[๗๐] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็
เกิดขึ้น หรือเป็นเหตุให้กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมไปเหมือนความมีปาปมิตร (มิตร
ชั่ว)นี้ เมื่อมีปาปมิตร อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น และกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
ก็เสื่อมไป (๑๐)

วีริยารัมภาทิวรรคที่ ๗ จบ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๘. กัลยาณมิตตาทิวรรค

๘. กัลยาณมิตตาทิวรรค
หมวดว่าด้วยกัลยาณมิตรเป็นต้น

[๗๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่เป็นเหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น หรือเป็นเหตุให้อกุศลธรรมที่เกิดขึ้น
แล้วเสื่อมไปเหมือนความมีกัลยาณมิตร(มิตรดี)นี้ เมื่อมีกัลยาณมิตร กุศลธรรมที่ยัง
ไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น และอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วก็เสื่อมไป (๑)
[๗๒] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็
เกิดขึ้น หรือเป็นเหตุให้กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมไปเหมือนการประกอบอกุศล
ธรรมเนือง ๆ และการไม่ประกอบกุศลธรรมเนือง ๆ นี้ เพราะการประกอบอกุศล
ธรรมเนือง ๆ และการไม่ประกอบกุศลธรรมเนือง ๆ อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิด
ขึ้น และกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วก็เสื่อมไป (๒)
[๗๓] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็
เกิดขึ้น หรือเป็นเหตุให้อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมไปเหมือนการประกอบกุศล
ธรรมเนือง ๆ และการไม่ประกอบอกุศลธรรมเนือง ๆ นี้ เพราะการประกอบกุศล
ธรรมเนือง ๆ และการไม่ประกอบอกุศลธรรมเนือง ๆ กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิด
ขึ้น และอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วก็เสื่อมไป (๓)
[๗๔] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้โพชฌงค์๑ (ธรรมที่เป็นองค์
แห่งการตรัสรู้)ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่เกิดขึ้น หรือเป็นเหตุให้โพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ถึง
ความเจริญเต็มที่เหมือนอโยนิโสมนสิการ(การมนสิการโดยไม่แยบคาย)นี้ เมื่อ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๙. ปมาทาทิวรรค

มนสิการโดยไม่แยบคาย โพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วก็ไม่ถึง
ความเจริญเต็มที่ (๔)
[๗๕] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้โพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดขึ้น
ก็เกิดขึ้น หรือเป็นเหตุให้โพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วถึงความเจริญเต็มที่เหมือนโยนิโส-
มนสิการ(การมนสิการโดยแยบคาย)นี้ เมื่อมนสิการโดยแยบคาย โพชฌงค์ที่ยังไม่
เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วก็ถึงความเจริญเต็มที่ (๕)
[๗๖] ความเสื่อมญาติเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ความเสื่อมปัญญาเลวร้ายกว่า
ความเสื่อมทั้งหลาย (๖)
[๗๗] ความเจริญด้วยญาติเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ความเจริญด้วยปัญญายอด
เยี่ยมกว่าความเจริญทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า “เรา
ทั้งหลายจักเจริญด้วยความเจริญทางปัญญา” เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล (๗)
[๗๘] ความเสื่อมโภคทรัพย์เป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ความเสื่อมปัญญาเลวร้าย
กว่าความเสื่อมทั้งหลาย (๘)
[๗๙] ความเจริญด้วยโภคทรัพย์เป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ความเจริญด้วยปัญญา
ยอดเยี่ยมกว่าความเจริญทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้
ว่า “เราทั้งหลายจักเจริญด้วยความเจริญทางปัญญา” เธอทั้งหลายพึงสำเหนียก
อย่างนี้แล (๙)
[๘๐] ความเสื่อมยศเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ความเสื่อมปัญญาเลวร้ายกว่า
ความเสื่อมทั้งหลาย (๑๐)

กัลยาณมิตตาทิวรรคที่ ๘ จบ

๙. ปมาทาทิวรรค
หมวดว่าด้วยความประมาทเป็นต้น

[๘๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ความเจริญด้วยยศเป็นเรื่อง
เล็กน้อย แต่ความเจริญด้วยปัญญายอดเยี่ยมกว่าความเจริญทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น
เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า “เราทั้งหลายจักเจริญด้วยความเจริญทาง
ปัญญา” เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล (๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๑๔ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๙. ปมาทาทิวรรค

[๘๒] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มากเหมือน
ความประมาทนี้ ความประมาทย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มาก (๒)
[๘๓] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นไปเพื่อประโยชน์มากเหมือน
ความไม่ประมาทนี้ ความไม่ประมาทย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก (๓)
[๘๔] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มากเหมือน
ความเกียจคร้านนี้ ความเกียจคร้านย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มาก (๔)
[๘๕] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นไปเพื่อประโยชน์มากเหมือนการ
ปรารภความเพียรนี้ การปรารภความเพียรย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก (๕)
[๘๖] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มากเหมือน
ความมักมากนี้ ความมักมากย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มาก (๖)
[๘๗] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นไปเพื่อประโยชน์มากเหมือน
ความมักน้อยนี้ ความมักน้อยย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก (๗)
[๘๘] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มากเหมือน
ความไม่สันโดษนี้ ความไม่สันโดษย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มาก (๘)
[๘๙] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นไปเพื่อประโยชน์มากเหมือน
ความสันโดษนี้ ความสันโดษย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก (๙)
[๙๐] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มากเหมือน
อโยนิโสมนสิการ(การมนสิการโดยไม่แยบคาย)นี้ อโยนิโสมนสิการย่อมเป็นไปเพื่อ
มิใช่ประโยชน์มาก (๑๐)
[๙๑] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นไปเพื่อประโยชน์มากเหมือน
โยนิโสมนสิการ(การมนสิการโดยแยบคาย)นี้ โยนิโสมนสิการย่อมเป็นไปเพื่อ
ประโยชน์มาก (๑๑)
[๙๒] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มากเหมือน
ความไม่มีสัมปชัญญะนี้ ความไม่มีสัมปชัญญะย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มาก (๑๒)
[๙๓] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นไปเพื่อประโยชน์มากเหมือน
ความมีสัมปชัญญะนี้ ความมีสัมปชัญญะย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก (๑๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๑๕ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๐. ทุติยปมาทาทิวรรค

[๙๔] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มากเหมือน
ความมีปาปมิตรนี้ ความมีปาปมิตรย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มาก (๑๔)
[๙๕] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นไปเพื่อประโยชน์มากเหมือน
ความมีกัลยาณมิตรนี้ ความมีกัลยาณมิตรย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก (๑๕)
[๙๖] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มากเหมือน
การประกอบอกุศลธรรมเนือง ๆ และการไม่ประกอบกุศลธรรมเนือง ๆ นี้ การ
ประกอบอกุศลธรรมเนือง ๆ และการไม่ประกอบกุศลธรรมเนือง ๆ ย่อมเป็นไปเพื่อ
มิใช่ประโยชน์มาก (๑๖)
[๙๗] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นไปเพื่อประโยชน์มากเหมือนการ
ประกอบกุศลธรรมเนือง ๆ และการไม่ประกอบอกุศลธรรมเนือง ๆ นี้ การประกอบ
กุศลธรรมเนือง ๆ และการไม่ประกอบอกุศลธรรมเนือง ๆ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์
มาก (๑๗)

ปมาทาทิวรรคที่ ๙ จบ

๑๐. ทุติยปมาทาทิวรรค
หมวดว่าด้วยความประมาทเป็นต้น หมวดที่ ๒

[๙๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เพราะพูดถึงองค์ประกอบภาย
ใน เราไม่เห็นองค์ประกอบอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มากเหมือน
ความประมาทนี้ ความประมาทย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มาก (๑)
[๙๙] เพราะพูดถึงองค์ประกอบภายใน เราไม่เห็นองค์ประกอบอื่นแม้อย่าง
หนึ่งที่เป็นไปเพื่อประโยชน์มากเหมือนความไม่ประมาทนี้ ความไม่ประมาทย่อมเป็น
ไปเพื่อประโยชน์มาก (๒)
[๑๐๐] เพราะพูดถึงองค์ประกอบภายใน เราไม่เห็นองค์ประกอบอื่นแม้อย่าง
หนึ่งที่เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มากเหมือนความเกียจคร้านนี้ ความเกียจคร้านย่อม
เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มาก (๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๑๖ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๐. ทุติยปมาทาทิวรรค

[๑๐๑] เพราะพูดถึงองค์ประกอบภายใน เราไม่เห็นองค์ประกอบอื่นแม้อย่าง
หนึ่งที่เป็นไปเพื่อประโยชน์มากเหมือนการปรารภความเพียรนี้ การปรารภความ
เพียรย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก (๔)
[๑๐๒] เพราะพูดถึงองค์ประกอบภายใน เราไม่เห็นองค์ประกอบอื่นแม้อย่าง
หนึ่ง ฯลฯ ความมักมากย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มาก (๕)
[๑๐๓] เพราะพูดถึงองค์ประกอบภายใน เราไม่เห็นองค์ประกอบอื่นแม้อย่าง
หนึ่ง ฯลฯ ความมักน้อยย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก (๖)
[๑๐๔] เพราะพูดถึงองค์ประกอบภายใน เราไม่เห็นองค์ประกอบอื่นแม้อย่าง
หนึ่ง ฯลฯ ความไม่สันโดษย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มาก (๗)
[๑๐๕] เพราะพูดถึงองค์ประกอบภายใน เราไม่เห็นองค์ประกอบอื่นแม้อย่าง
หนึ่ง ฯลฯ ความสันโดษย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก (๘)
[๑๐๖] เพราะพูดถึงองค์ประกอบภายใน เราไม่เห็นองค์ประกอบอื่นแม้อย่าง
หนึ่ง ฯลฯ อโยนิโสมนสิการย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มาก (๙)
[๑๐๗] เพราะพูดถึงองค์ประกอบภายใน เราไม่เห็นองค์ประกอบอื่นแม้อย่าง
หนึ่ง ฯลฯ โยนิโสมนสิการย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก (๑๐)
[๑๐๘] เพราะพูดถึงองค์ประกอบภายใน เราไม่เห็นองค์ประกอบอื่นแม้อย่าง
หนึ่ง ฯลฯ ความไม่มีสัมปชัญญะย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มาก (๑๑)
[๑๐๙] เพราะพูดถึงองค์ประกอบภายใน เราไม่เห็นองค์ประกอบอื่นแม้อย่าง
หนึ่ง ฯลฯ ความมีสัมปชัญญะย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก (๑๒)
[๑๑๐] เพราะพูดถึงองค์ประกอบภายนอก เราไม่เห็นองค์ประกอบอื่นแม้อย่าง
หนึ่งที่เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มากเหมือนความมีปาปมิตรนี้ ความมีปาปมิตรย่อม
เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มาก (๑๓)
[๑๑๑] เพราะพูดถึงองค์ประกอบภายนอก เราไม่เห็นองค์ประกอบอื่นแม้อย่าง
หนึ่งที่เป็นไปเพื่อประโยชน์มากเหมือนความมีกัลยาณมิตรนี้ ความมีกัลยาณมิตร
ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก (๑๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๑๗ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๐. ทุติยปมาทาทิวรรค

[๑๑๒] เพราะพูดถึงองค์ประกอบภายใน เราไม่เห็นองค์ประกอบอื่นแม้อย่าง
หนึ่งที่เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มากเหมือนการประกอบอกุศลธรรมเนือง ๆ และการ
ไม่ประกอบกุศลธรรมเนือง ๆ นี้ การประกอบอกุศลธรรมเนือง ๆ และการไม่
ประกอบกุศลธรรมเนือง ๆ ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มาก (๑๕)
[๑๑๓] เพราะพูดถึงองค์ประกอบภายใน เราไม่เห็นองค์ประกอบอื่นแม้อย่าง
หนึ่งที่เป็นไปเพื่อประโยชน์มากเหมือนการประกอบกุศลธรรมเนือง ๆ และการไม่
ประกอบอกุศลธรรมเนือง ๆ นี้ การประกอบกุศลธรรมเนือง ๆ และการไม่ประกอบ
อกุศลธรรมเนือง ๆ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก (๑๖)
[๑๑๔] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญ หายไป
แห่งสัทธรรม๑ เหมือนความประมาทนี้ ความประมาทย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญ
หายไปแห่งสัทธรรม (๑๗)
[๑๑๕] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นไปเพื่อความดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ
ไม่หายไปแห่งสัทธรรมเหมือนความไม่ประมาทนี้ ความไม่ประมาทย่อมเป็นไปเพื่อความ
ดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ ไม่หายไปแห่งสัทธรรม (๑๘)
[๑๑๖] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญ หายไป
แห่งสัทธรรมเหมือนความเกียจคร้านนี้ ความเกียจคร้านย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อม
สูญ หายไปแห่งสัทธรรม (๑๙)
[๑๑๗] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นไปเพื่อความดำรงมั่น ไม่เสื่อม
สูญ ไม่หายไปแห่งสัทธรรมเหมือนการปรารภความเพียรนี้ การปรารภความเพียร
ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ ไม่หายไปแห่งสัทธรรม (๒๐)
[๑๑๘] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ฯลฯ ความมักมากย่อมเป็นไปเพื่อ
ความเสื่อมสูญ หายไปแห่งสัทธรรม (๒๑)


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๐. ทุติยปมาทาทิวรรค

[๑๑๙] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ฯลฯ ความมักน้อยย่อมเป็นไปเพื่อ
ความดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ ไม่หายไปแห่งสัทธรรม (๒๒)
[๑๒๐] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ฯลฯ ความไม่สันโดษย่อมเป็นไปเพื่อ
ความเสื่อมสูญ หายไปแห่งสัทธรรม (๒๓)
[๑๒๑] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ฯลฯ ความสันโดษย่อมเป็นไปเพื่อ
ความดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ ไม่หายไปแห่งสัทธรรม (๒๔)
[๑๒๒] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ฯลฯ อโยนิโยมนสิการย่อมเป็นไป
เพื่อความเสื่อมสูญ หายไปแห่งสัทธรรม (๒๕)
[๑๒๓] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ฯลฯ โยนิโสมนสิการย่อมเป็นไปเพื่อ
ความดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ ไม่หายไปแห่งสัทธรรม (๒๖)
[๑๒๔] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ฯลฯ ความไม่มีสัมปชัญญะย่อมเป็น
ไปเพื่อความเสื่อมสูญ หายไปแห่งสัทธรรม (๒๗)
[๑๒๕] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ฯลฯ ความมีสัมปชัญญะย่อมเป็นไป
เพื่อความดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ ไม่หายไปแห่งสัทธรรม (๒๘)
[๑๒๖] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ฯลฯ ความมีปาปมิตรย่อมเป็นไป
เพื่อความเสื่อมสูญ หายไปแห่งสัทธรรม (๒๙)
[๑๒๗] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ฯลฯ ความมีกัลยาณมิตรย่อมเป็นไป
เพื่อความดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ ไม่หายไปแห่งสัทธรรม (๓๐)
[๑๒๘] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ฯลฯ การประกอบอกุศลธรรมเนือง ๆ
และการไม่ประกอบกุศลธรรมเนือง ๆ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญ หายไปแห่ง
สัทธรรม (๓๑)
[๑๒๙] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นไปเพื่อความดำรงมั่น ไม่เสื่อม
สูญ ไม่หายไปแห่งสัทธรรมเหมือนการประกอบกุศลธรรมเนือง ๆ และการไม่ประกอบ
อกุศลธรรมเนือง ๆ นี้ การประกอบกุศลธรรมเนือง ๆ และการไม่ประกอบอกุศลธรรม
เนือง ๆ ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ ไม่หายไปแห่งสัทธรรม (๓๒)

(จตุกโกฏิกะ จบ)


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๑. อธัมมวรรค

[๑๓๐] ภิกษุพวกที่แสดงอธรรมว่า “เป็นธรรม” ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อไม่เกื้อกูลแก่
คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุขแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่
เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นย่อมประสพ๑สิ่งที่ไม่ใช่
บุญเป็นอันมาก และทำให้สัทธรรมนี้สูญหายไป (๓๓)
[๑๓๑-๑๓๙] ภิกษุพวกที่แสดงธรรมว่า “เป็นอธรรม” ฯลฯ แสดงสิ่งที่มิใช่
วินัยว่า “เป็นวินัย” ฯลฯ แสดงวินัยว่า “มิใช่วินัย” ฯลฯ แสดงสิ่งที่ตถาคตไม่ได้
ภาษิตไว้ ไม่ได้กล่าวไว้ว่า “ตถาคตได้ภาษิตไว้ ได้กล่าวไว้” ฯลฯ แสดงสิ่งที่ตถาคต
ภาษิตไว้ กล่าวไว้ว่า “ตถาคตไม่ได้ภาษิตไว้ ไม่ได้กล่าวไว้” ฯลฯ แสดงกรรมที่
ตถาคตไม่ได้ประพฤติปฏิบัติมาว่า “ตถาคตได้ประพฤติปฏิบัติมา” ฯลฯ แสดงกรรม
ที่ตถาคตได้ประพฤติปฏิบัติมาว่า “ตถาคตไม่ได้ประพฤติปฏิบัติมา” ฯลฯ แสดงสิ่งที่
ตถาคตไม่ได้บัญญัติไว้ว่า “ตถาคตได้บัญญัติไว้” ฯลฯ แสดงสิ่งที่ตถาคตได้บัญญัติไว้
ว่า “ตถาคตไม่ได้บัญญัติไว้” ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อไม่เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุข
แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดา
และมนุษย์ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นย่อมประสพสิ่งที่ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก และทำให้
สัทธรรมนี้สูญหายไป (๔๒)

ทุติยปมาทาทิวรรคที่ ๑๐ จบ

๑๑. อธัมมวรรค
หมวดว่าด้วยธรรมและอธรรม

[๑๔๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่แสดงอธรรมว่า
“เป็นอธรรม” ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อ
ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ภิกษุ
เหล่านั้นย่อมประสพบุญเป็นอันมาก และดำรงสัทธรรมนี้ไว้ได้ (๑)


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๒. อนาปัตติวรรค

[๑๔๑-๑๔๙] ภิกษุพวกที่แสดงธรรมว่า “เป็นธรรม” ฯลฯ แสดงสิ่งที่มิใช่วินัย
ว่า “มิใช่วินัย” ฯลฯ แสดงวินัยว่า “เป็นวินัย” ฯลฯ แสดงสิ่งที่ตถาคตไม่ได้ภาษิตไว้
ไม่ได้กล่าวไว้ว่า “ตถาคตไม่ได้ภาษิตไว้ ไม่ได้กล่าวไว้” ฯลฯ แสดงสิ่งที่ตถาคตได้
ภาษิตไว้ ได้กล่าวไว้ว่า “ตถาคตได้ภาษิตไว้ ได้กล่าวไว้” ฯลฯ แสดงกรรมที่ตถาคต
ไม่ได้ประพฤติปฏิบัติมาว่า “ตถาคตไม่ได้ประพฤติปฏิบัติมา” ฯลฯ แสดงกรรมที่
ตถาคตได้ประพฤติปฏิบัติมาว่า “ตถาคตได้ประพฤติปฏิบัติมา” ฯลฯ แสดงสิ่งที่
ตถาคตไม่ได้บัญญัติไว้ว่า “ตถาคตไม่ได้บัญญัติไว้” ฯลฯ แสดงสิ่งที่ตถาคตได้บัญญัติ
ไว้” ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อประโยชน์แก่
คนหมู่มาก เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นย่อม
ประสพบุญเป็นอันมาก และดำรงสัทธรรมนี้ไว้ได้ (๑๐)

อธัมมวรรคที่ ๑๑ จบ

๑๒. อนาปัตติวรรค
หมวดว่าด้วยอาบัติและอนาบัติ

[๑๕๐-๑๕๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่แสดงสิ่งที่ไม่
เป็นอาบัติว่า “เป็นอาบัติ” ฯลฯ แสดงอาบัติว่า “ไม่เป็นอาบัติ” ฯลฯ แสดงอาบัติ
เบาว่า “เป็นอาบัติหนัก” ฯลฯ แสดงอาบัติหนักว่า “เป็นอาบัติเบา” ฯลฯ แสดง
อาบัติชั่วหยาบว่า “เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ” ฯลฯ แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า “เป็น
อาบัติชั่วหยาบ” ฯลฯ แสดงอาบัติที่มีส่วนเหลือว่า “เป็นอาบัติไม่มีส่วนเหลือ”๑ ฯลฯ
แสดงอาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือว่า “เป็นอาบัติมีส่วนเหลือ” ฯลฯ แสดงอาบัติที่ทำคืน
ได้ว่า “เป็นอาบัติที่ทำคืนไม่ได้” ฯลฯ แสดงอาบัติที่ทำคืนไม่ได้ว่า “เป็นอาบัติที่ทำ
คืนได้” ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อไม่เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุขแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่
ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ภิกษุ
เหล่านั้นย่อมประสพสิ่งที่ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก และทำให้สัทธรรมนี้สูญหายไป (๑๐)


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๓. เอกปุคคลวรรค

[๑๖๐] ภิกษุพวกที่แสดงสิ่งที่ไม่เป็นอาบัติว่า “ไม่เป็นอาบัติ” ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อ
เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อเกื้อกูล
เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นย่อมประสพบุญเป็นอันมาก และ
ดำรงสัทธรรมนี้ไว้ได้ (๑๑)
[๑๖๑] ภิกษุพวกที่แสดงอาบัติว่า “เป็นอาบัติ” ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่คน
หมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นย่อมประสพบุญเป็นอันมาก และดำรง
สัทธรรมนี้ไว้ได้ (๑๒)
[๑๖๒-๑๖๙] ภิกษุพวกที่แสดงอาบัติเบาว่า “เป็นอาบัติเบา” ฯลฯ แสดง
อาบัติหนักว่า “เป็นอาบัติหนัก” ฯลฯ แสดงอาบัติชั่วหยาบว่า “เป็นอาบัติชั่วหยาบ”
ฯลฯ แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า “เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ” ฯลฯ แสดงอาบัติที่มีส่วน
เหลือว่า “เป็นอาบัติที่มีส่วนเหลือ” ฯลฯ แสดงอาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือว่า “เป็น
อาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือ” ฯลฯ แสดงอาบัติที่ทำคืนได้ว่า “เป็นอาบัติที่ทำคืนได้” ฯลฯ
แสดงอาบัติที่ทำคืนไม่ได้ว่า “เป็นอาบัติที่ทำคืนไม่ได้” ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่
คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุข
แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นย่อมประสพบุญเป็นอันมาก และดำรง
สัทธรรมนี้ไว้ได้ (๒๐)

อนาปัตติวรรคที่ ๑๒ จบ

๑๓. เอกปุคคลวรรค
หมวดว่าด้วยบุคคลผู้เป็นเอก

[๑๗๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เป็นเอก เมื่อเกิดขึ้นใน
โลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาว
โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย บุคคลผู้เป็น
เอกคือใคร คือ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า บุคคลผู้เป็นเอกนี้แล เมื่อเกิด
ขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์
ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย (๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๒๒ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๓. เอกปุคคลวรรค

[๑๗๑] ความปรากฏแห่งบุคคลผู้เป็นเอกหาได้ยากในโลก บุคคลผู้เป็นเอกคือ
ใคร คือ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ความปรากฏแห่งบุคคลผู้เป็นเอก
นี้แลหาได้ยากในโลก (๒)
[๑๗๒] บุคคลผู้เป็นเอก เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเป็นอัจฉริยมนุษย์๑ บุคคล
ผู้เป็นเอกคือใคร คือ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า บุคคลผู้เป็นเอกนี้แล
เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเป็นอัจฉริยมนุษย์ (๓)
[๑๗๓] การตายของบุคคลผู้เป็นเอกเป็นเหตุให้คนจำนวนมากพลอยเดือดร้อน
ไปด้วย บุคคลผู้เป็นเอกคือใคร คือ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า การตาย
ของบุคคลผู้เป็นเอกนี้แลเป็นเหตุให้คนจำนวนมากพลอยเดือดร้อนไปด้วย (๔)
[๑๗๔] บุคคลผู้เป็นเอก เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นไม่เป็นที่สอง๒ ไม่มี
สหาย๓ ไม่มีอัตภาพใดเหมือน๔ ไม่มีใครเปรียบเทียบ๕ ไม่มีผู้ทำกิจเปรียบเทียบ๖ หา


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๔. เอตทัคควรรค ๑. ปฐมวรรค

บุคคลเปรียบเทียบมิได้๑ หาผู้เสมอมิได้๒ เสมอกับบุคคลผู้หาผู้เสมอมิได้๓ เป็นผู้เลิศ
กว่าสัตว์สองเท้า๔ บุคคลผู้เป็นเอกคือใคร คือ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
บุคคลผู้เป็นเอกนี้แล เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นไม่เป็นที่สอง ไม่มีสหาย ไม่มี
อัตภาพใดเหมือน ไม่มีใครเปรียบเทียบ ไม่มีผู้ทำกิจเปรียบเทียบ หาบุคคลเปรียบ
เทียบมิได้ หาผู้เสมอมิได้ เสมอกับบุคคลผู้หาผู้เสมอมิได้ เป็นผู้เลิศกว่าสัตว์สอง
เท้า (๕)
[๑๗๕-๑๘๖] ความปรากฏแห่งบุคคลผู้เป็นเอกเป็นความปรากฏแห่งจักษุอัน
ยิ่งใหญ่ เป็นความปรากฏแห่งแสงสว่างอันยิ่งใหญ่ เป็นความปรากฏแห่งโอภาสอัน
ยิ่งใหญ่ เป็นความปรากฏแห่งอนุตตริยะ ๖๕ เป็นการทำให้แจ้งปฏิสัมภิทา ๔๖ เป็น
การรู้แจ้งชัดธาตุหลายชนิด เป็นการรู้แจ้งชัดธาตุที่แตกต่างกัน เป็นการทำให้แจ้ง
ผลคือวิชชา(ความรู้แจ้ง)และวิมุตติ(ความหลุดพ้น) เป็นการทำให้แจ้งโสดาปัตติผล
สกทาคามิผล อนาคามิผล และอรหัตตผล บุคคลผู้เป็นเอกคือใคร คือ พระตถาคต
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะความปรากฏแห่งบุคคลผู้เป็นเอกนี้แล จึงมีความ
ปรากฏแห่งจักษุอันยิ่งใหญ่ มีความปรากฏแห่งแสงสว่างอันยิ่งใหญ่ มีความปรากฏ
แห่งโอภาสอันยิ่งใหญ่ มีความปรากฏแห่งอนุตตริยะ ๖ มีการทำให้แจ้งปฏิสัมภิทา ๔


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๔. เอตทัคควรรค ๑. ปฐมวรรค

มีการรู้แจ้งชัดธาตุหลายชนิด มีการรู้แจ้งชัดธาตุที่แตกต่างกัน มีการทำให้แจ้งผล
คือวิชชาและวิมุตติ มีการทำให้แจ้งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล และ
อรหัตตผล (๖-๑๗)
[๑๘๗] เราไม่เห็นบุคคลอื่นแม้คนเดียวที่เผยแผ่โดยชอบซึ่งธรรมจักรอันยอด
เยี่ยมที่ตถาคตประกาศไว้แล้วเหมือนสารีบุตรนี้ สารีบุตรย่อมเผยแผ่โดยชอบซึ่ง
ธรรมจักรอันยอดเยี่ยมที่ตถาคตประกาศไว้แล้ว (๑๘)

เอกปุคคลวรรคที่ ๑๓ จบ

๑๔. เอตทัคควรรค
หมวดว่าด้วยเอตทัคคะ๑

๑. ปฐมวรรค
หมวดที่ ๑

[๑๘๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย อัญญาโกณฑัญญะเลิศกว่า
ภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้เป็นรัตตัญญู๒ (๑)
[๑๘๙] สารีบุตรเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้มีปัญญามาก (๒)
[๑๙๐] มหาโมคคัลลานะเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้มีฤทธิ์มาก (๓)
[๑๙๑] มหากัสสปะเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้ทรงธุดงค์ และ
สรรเสริญคุณแห่งธุดงค์ (๔)
[๑๙๒] อนุรุทธะเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้มีตาทิพย์ (๕)


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๔. เอตทัคควรรค ๒. ทุติยวรรค

[๑๙๓] ภัททิยกาฬิโคธายบุตรเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้เกิดใน
ตระกูลสูง (๖)
[๑๙๔] ลกุณฏกภัททิยะเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้มีเสียง
ไพเราะ (๗)
[๑๙๕] ปิณโฑลภารทวาชะเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้บันลือ
สีหนาท๑ (๘)
[๑๙๖] ปุณณมันตานีบุตรเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้เป็น
ธรรมกถึก (๙)
[๑๙๗] มหากัจจานะ๒เลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้อธิบายความ
หมายแห่งธรรมที่กล่าวไว้โดยย่อได้พิสดาร (๑๐)

ปฐมวรรค จบ

๑๔. เอตทัคควรรค
๒. ทุติยวรรค
หมวดที่ ๒

[๑๙๘] จูฬปันถกเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้สามารถเนรมิตกาย
มโนมัย๓ (๑)


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๔. เอตทัคควรรค ๒. ทุติยวรรค

[๑๙๙] จูฬปันถกเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้ฉลาดในเจโตวิวัฏ๑ (๒)
[๒๐๐] มหาปันถกเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้ฉลาดในสัญญา-
วิวัฏ๒ (๓)
[๒๐๑] สุภูติเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้มีปกติอยู่ด้วยความไม่มี
กิเลส (๔)
[๒๐๒] สุภูติเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้เป็นทักขิไณยบุคคล (๕)
[๒๐๓] เรวตขทิรวนิยะเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้อยู่ป่าเป็นวัตร (๖)
[๒๐๔] กังขาเรวตะเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้ยินดีในฌาน (๗)
[๒๐๕] โสณโกฬิวิสะเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้ปรารภความ
เพียร๓ (๘)
[๒๐๖] โสณกุฏิกัณณะเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้กล่าวถ้อยคำ
ไพเราะ๔ (๙)
[๒๐๗] สีวลีเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้มีลาภ (๑๐)
[๒๐๘] วักกลิเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้หลุดพ้นด้วยศรัทธา (๑๑)

ทุติยวรรค จบ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๔. เอตทัคควรรค ๓. เอตทัคควรรค

๑๔. เอตทัคควรรค
๓. ตติยวรรค
หมวดที่ ๓

[๒๐๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ราหุลเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้
ใคร่ต่อการศึกษา (๑)
[๒๑๐] รัฐบาลเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้บวชด้วยศรัทธา (๒)
[๒๑๑] กุณฑธานะเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้จับสลากได้ก่อน (๓)
[๒๑๒] วังคีสะเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้มีปฏิภาณ (๔)
[๒๑๓] อุปเสนวังคันตบุตรเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้เป็นที่เลื่อมใส
ของคนโดยรอบ (๕)
[๒๑๔] ทัพพมัลลบุตรเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้จัดแจง
เสนาสนะ (๖)
[๒๑๕] ปิลินทวัจฉะเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้เป็นที่รักที่ชอบใจ
ของเหล่าเทวดา (๗)
[๒๑๖] พาหิยทารุจีริยะเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้รู้แจ้งได้เร็ว (๘)
[๒๑๗] กุมารกัสสปะเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้แสดงธรรมได้
วิจิตร (๙)
[๒๑๘] มหาโกฏฐิตะเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา
(๑๐)

ตติยวรรค จบ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๔. เอตทัคควรรค ๔. จตุตถวรรค

๑๔. เอตทัคควรรค
๔. จตุตถวรรค
หมวดที่ ๔

[๒๑๙] อานนท์เลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้เป็นพหูสูต๑ (๑)
[๒๒๐] อานนท์เลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้มีสติ๒ (๒)
[๒๒๑] อานนท์เลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้มีคติ๓ (๓)
[๒๒๒] อานนท์เลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้มีธิติ๔ (๔)
[๒๒๓] อานนท์เลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้เป็นอุปัฏฐาก (๕)
[๒๒๔] อุรุเวลกัสสปะเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้มีบริวารมาก (๖)
[๒๒๕] กาฬุทายีเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้ยังสกุลให้เลื่อมใส (๗)
[๒๒๖] พักกุละเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้มีอาพาธน้อย (๘)
[๒๒๗] โสภิตะเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้ระลึกชาติได้ (๙)
[๒๒๘] อุบาลีเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้ทรงวินัย (๑๐)
[๒๒๙] นันทกะเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้กล่าวสอนนางภิกษุณี (๑๑)
[๒๓๐] นันทะเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์๕
ทั้งหลายได้ (๑๒)


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๔. เอตทัคควรรค ๕. ปัญจมวรรค

[๒๓๑] มหากัปปินะเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้กล่าวสอนภิกษุ (๑๓)
[๒๓๒] สาคตะเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้ฉลาดในเตโชธาตุ (๑๔)
[๒๓๓] ราธะเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้มีปฏิภาณแจ่มแจ้ง (๑๕)
[๒๓๔] โมฆราชเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้ทรงจีวรเศร้าหมอง (๑๖)

จตุตถวรรค จบ

๑๔. เอตทัคควรรค
๕. ปัญจมวรรค
หมวดที่ ๕

[๒๓๕] มหาปชาบดีโคตมีภิกษุณีเลิศกว่าภิกษุณีสาวิกาทั้งหลายของเรา ผู้เป็น
รัตตัญญู (๑)
[๒๓๖] เขมาเลิศกว่าภิกษุณีสาวิกาทั้งหลายของเรา ผู้มีปัญญามาก (๒)
[๒๓๗] อุบลวรรณาเลิศกว่าภิกษุณีสาวิกาทั้งหลายของเรา ผู้มีฤทธิ์มาก (๓)
[๒๓๘] ปฏาจาราเลิศกว่าภิกษุณีสาวิกาทั้งหลายของเรา ผู้ทรงวินัย (๔)
[๒๓๙] ธรรมทินนาเลิศกว่าภิกษุณีสาวิกาทั้งหลายของเรา ผู้เป็นธรรม-
กถึก (๕)
[๒๔๐] นันทาเลิศกว่าภิกษุณีสาวิกาทั้งหลายของเรา ผู้ยินดีในฌาน (๖)
[๒๔๑] โสณาเลิศกว่าภิกษุณีสาวิกาทั้งหลายของเรา ผู้ปรารภความเพียร (๗)
[๒๔๒] สกุลาเลิศกว่าภิกษุณีสาวิกาทั้งหลายของเรา ผู้มีตาทิพย์ (๘)
[๒๔๓] ภัททากุณฑลเกสาเลิศกว่าภิกษุณีสาวิกาทั้งหลายของเรา ผู้รู้แจ้งได้
เร็ว (๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๐ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๔. เอตทัคควรรค ๖. ฉัฏฐวรรค

[๒๔๔] ภัททากาปิลานีเลิศกว่าภิกษุณีสาวิกาทั้งหลายของเรา ผู้ระลึก
ชาติได้ (๑๐)
[๒๔๕] ภัททากัจจานาเลิศกว่าภิกษุณีสาวิกาทั้งหลายของเรา ผู้บรรลุอภิญญา
ใหญ่ (๑๑)
[๒๔๖] กิสาโคตมีเลิศกว่าภิกษุณีสาวิกาทั้งหลายของเรา ผู้ทรงจีวรเศร้า
หมอง (๑๒)
[๒๔๗] สิงคาลมาตาเลิศกว่าภิกษุณีสาวิกาทั้งหลายของเรา ผู้หลุดพ้นด้วย
ศรัทธา (๑๓)

ปัญจมวรรค จบ

๑๔. เอตทัคควรรค
๖. ฉัฏฐวรรค
หมวดที่ ๖

[๒๔๘] พ่อค้าชื่อตปุสสะและภัลลิกะเลิศกว่าอุบาสกสาวกทั้งหลายของเรา ผู้
ถึงสรณะก่อน (๑)
[๒๔๙] สุทัตตอนาถบิณฑิกคหบดีเลิศกว่าอุบาสกสาวกทั้งหลายของเรา ผู้
ยินดียิ่งในการถวายทาน (๒)
[๒๕๐] จิตตคหบดีชาวเมืองมัจฉิกาสัณฑ์เลิศกว่าอุบาสกสาวกทั้งหลายของเรา
ผู้เป็นธรรมกถึก (๓)
[๒๕๑] หัตถกอุบาสกชาวกรุงอาฬวีเลิศกว่าอุบาสกสาวกทั้งหลายของเรา ผู้
สงเคราะห์บริษัทด้วยสังคหวัตถุ ๔ (๔)
[๒๕๒] เจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะเลิศกว่าอุบาสกสาวกทั้งหลายของเรา
ผู้ถวายรสอันประณีต (๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๑ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๔. เอตทัคควรรค ๗. สัตตมวรรค

[๒๕๓] อุคคคหบดีชาวกรุงเวสาลีเลิศกว่าอุบาสกสาวกทั้งหลายของเรา ผู้
ถวายโภชนะเป็นที่น่าชอบใจ (๖)
[๒๕๔] อุคคตคหบดีชาวหัตถีคามเลิศกว่าอุบาสกสาวกทั้งหลายของเรา ผู้
อุปัฏฐากพระสงฆ์ (๗)
[๒๕๕] สูรอัมพัฏฐะเลิศกว่าอุบาสกสาวกทั้งหลายของเรา ผู้เลื่อมใสอย่าง
แน่นแฟ้น (๘)
[๒๕๖] ชีวกโกมารภัจจ์เลิศกว่าอุบาสกสาวกทั้งหลายของเรา ผู้เลื่อมใส
เฉพาะบุคคล (๙)
[๒๕๗] นกุลปิตาคหบดีเลิศกว่าอุบาสกสาวกทั้งหลายของเรา ผู้กล่าวถ้อยคำ
ที่ทำให้เกิดความคุ้นเคย (๑๐)

ฉัฏฐวรรค จบ

๑๔. เอตทัคควรรค
๗. สัตตมวรรค
หมวดที่ ๗

[๒๕๘] สุชาดาธิดาของเสนานีกุฎุมพีเลิศกว่าอุบาสิกาสาวิกาทั้งหลายของเรา
ผู้ถึงสรณะก่อน (๑)
[๒๕๙] วิสาขามิคารมาตาเลิศกว่าอุบาสิกาสาวิกาทั้งหลายของเรา ผู้ยินดียิ่ง
ในการถวายทาน (๒)
[๒๖๐] ขุชชุตตราเลิศกว่าอุบาสิกาสาวิกาทั้งหลายของเรา ผู้เป็นพหูสูต (๓)
[๒๖๑] สามาวดีเลิศกว่าอุบาสิกาสาวิกาทั้งหลายของเรา ผู้มีปกติอยู่ด้วย
เมตตา (๔)
[๒๖๒] อุตตรานันทมาตาเลิศกว่าอุบาสิกาสาวิกาทั้งหลายของเรา ผู้ยินดีใน
ฌาน (๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๒ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๕.อัฏฐานบาลี ๑. ปฐมวรรค

[๒๖๓] สุปปวาสาโกลิยธิดาเลิศกว่าอุบาสิกาสาวิกาทั้งหลายของเรา ผู้ถวาย
รสอันประณีต (๖)
[๒๖๔] สุปปิยาอุบาสิกาเลิศกว่าอุบาสิกาสาวิกาทั้งหลายของเรา ผู้บำรุงภิกษุ
อาพาธ (๗)
[๒๖๕] กาติยานีเลิศกว่าอุบาสิกาสาวิกาทั้งหลายของเรา ผู้เลื่อมใสอย่าง
แน่นแฟ้น (๘)
[๒๖๖] นกุลมาตาคหปตานีเลิศกว่าอุบาสิกาสาวิกาทั้งหลายของเรา ผู้กล่าว
ถ้อยคำที่ทำให้เกิดความคุ้นเคย (๙)
[๒๖๗] กาลีอุบาสิกาชาวเมืองกุรรฆระ เลิศกว่าอุบาสิกาสาวิกาทั้งหลายของเรา
ผู้เลื่อมใสเพราะได้ยินได้ฟังตาม ๆ กันมา (๑๐)

สัตตมวรรค จบ
เอตทัคควรรคที่ ๑๔ จบ

๑๕. อัฏฐานบาลี
บาลีว่าด้วยความเป็นไปได้และเป็นไปไม่ได้

๑. ปฐมวรรค
หมวดที่ ๑

[๒๖๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปไม่ได้เลย๑ที่บุคคลผู้ถึง
พร้อมด้วยทิฏฐิ๒ พึงยึดถือสังขารไร ๆ โดยความเป็นสภาวะเที่ยง แต่เป็นไปได้๓ ที่
ปุถุชนพึงยึดถือสังขารไร ๆ โดยความเป็นสภาวะเที่ยง (๑)


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๕.อัฏฐานบาลี ๑. ปฐมวรรค

[๒๖๙] เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิพึงยึดถือสังขารไร ๆ โดย
ความเป็นสุข แต่เป็นไปได้ที่ปุถุชนพึงยึดถือสังขารไร ๆ โดยความเป็นสุข (๒)
[๒๗๐] เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิพึงยึดถือธรรมไร ๆ โดยความ
เป็นอัตตา แต่เป็นไปได้ที่ปุถุชนพึงยึดถือธรรมไร ๆ โดยความเป็นอัตตา (๓)
[๒๗๑] เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิพึงฆ่ามารดา แต่เป็นไปได้
ที่ปุถุชนพึงฆ่ามารดา (๔)
[๒๗๒] เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิพึงฆ่าบิดา แต่เป็นไปได้ที่
ปุถุชนพึงฆ่าบิดา (๕)
[๒๗๓] เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิพึงฆ่าพระอรหันต์ แต่เป็น
ไปได้ที่ปุถุชนพึงฆ่าพระอรหันต์ (๖)
[๒๗๔] เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ พึงมีจิตประทุษร้าย ทำ
ร้ายตถาคตให้ห้อเลือด แต่เป็นไปได้ที่ปุถุชนพึงมีจิตประทุษร้าย ทำร้ายตถาคตให้
ห้อเลือด (๗)
[๒๗๕] เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิพึงทำลายสงฆ์ แต่เป็นไป
ได้ที่ปุถุชนพึงทำลายสงฆ์ (๘)
[๒๗๖] เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิพึงนับถือศาสดาอื่น แต่
เป็นไปได้ที่ปุถุชนพึงนับถือศาสดาอื่น (๙)
[๒๗๗] เป็นไปไม่ได้เลยที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒ พระองค์พึงเสด็จ
อุบัติพร้อมกันในโลกธาตุเดียวกัน๑ แต่เป็นไปได้ที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระ
องค์เดียวพึงเสด็จอุบัติในโลกธาตุเดียว (๑๐)

ปฐมวรรค จบ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๕.อัฏฐานบาลี ๓. ตติยวรรค

๑๕. อัฏฐานบาลี
๒. ทุติยวรรค
หมวดที่ ๒

[๒๗๘] เป็นไปไม่ได้เลยที่พระเจ้าจักรพรรดิ ๒ พระองค์พึงเสด็จอุบัติพร้อมกัน
ในโลกธาตุเดียวกัน แต่เป็นไปได้ที่พระเจ้าจักรพรรดิพระองค์เดียวพึงเสด็จอุบัติใน
โลกธาตุเดียว (๑)
[๒๗๙] เป็นไปไม่ได้เลยที่สตรีพึงเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่เป็นไป
ได้ที่บุรุษพึงเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า (๒)
[๒๘๐] เป็นไปไม่ได้เลยที่สตรีพึงเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ แต่เป็นไปได้ที่บุรุษพึง
เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ (๓)
[๒๘๑-๒๘๓] เป็นไปไม่ได้เลยที่สตรีพึงครองความเป็นท้าวสักกะ ฯลฯ เป็นมาร
ฯลฯ เป็นพรหม แต่เป็นไปได้ที่บุรุษพึงครองความเป็นท้าวสักกะ ฯลฯ เป็นมาร ฯลฯ
เป็นพรหม (๔-๖)
[๒๘๔] เป็นไปไม่ได้เลยที่กายทุจริตจะพึงเกิดผลที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
แต่เป็นไปได้ที่กายทุจริตจะพึงเกิดผลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ (๗)
[๒๘๕-๒๘๖] เป็นไปไม่ได้เลยที่วจีทุจริต ฯลฯ เป็นไปไม่ได้เลยที่มโนทุจริตจะ
พึงเกิดผลที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ แต่เป็นไปได้ที่มโนทุจริตจะพึงเกิดผลที่ไม่
น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ (๘-๙)

ทุติยวรรค จบ

๑๕. อัฏฐานบาลี
๓. ตติยวรรค
หมวดที่ ๓

[๒๘๗] เป็นไปไม่ได้เลยที่กายสุจริตจะพึงเกิดผลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่
ไม่น่าพอใจ แต่เป็นไปได้ที่กายสุจริตจะพึงเกิดผลที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ (๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๕ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๕.อัฏฐานบาลี ๓. ตติยวรรค

[๒๘๘-๒๘๙] เป็นไปไม่ได้เลยที่วจีสุจริต ฯลฯ เป็นไปไม่ได้เลยที่มโนสุจริตจะ
พึงเกิดผลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ แต่เป็นไปได้ที่มโนสุจริตจะพึงเกิด
ผลที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ (๒-๓)
[๒๙๐] เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลผู้ประกอบกายทุจริต หลังจากตายแล้วจะไป
เกิดในสุคติโลกสวรรค์ เพราะความประกอบกายทุจริตเป็นเหตุเป็นปัจจัย แต่เป็นไป
ได้ที่บุคคลผู้ประกอบกายทุจริต หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต๑
นรก เพราะความประกอบกายทุจริตเป็นเหตุเป็นปัจจัย (๔)
[๒๙๑-๒๙๒] เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลผู้ประกอบวจีทุจริต ฯลฯ เป็นไปไม่ได้
เลยที่บุคคลผู้ประกอบมโนทุจริตหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ เพราะ
ความประกอบมโนทุจริตเป็นเหตุเป็นปัจจัย แต่เป็นไปได้ที่บุคคลผู้ประกอบมโนทุจริต
หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะประกอบมโนทุจริต
เป็นเหตุเป็นปัจจัย (๕-๖)
[๒๙๓] เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลผู้ประกอบกายสุจริต หลังจากตายแล้วจะไป
เกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะความประกอบกายสุจริตเป็นเหตุเป็นปัจจัย
แต่เป็นไปได้ที่บุคคลผู้ประกอบกายสุจริต หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
เพราะประกอบกายสุจริตเป็นเหตุเป็นปัจจัย (๗)
[๒๙๔-๒๙๕] เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลผู้ประกอบวจีสุจริต ฯลฯ เป็นไปไม่ได้
เลยที่บุคคลผู้ประกอบมโนสุจริต หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต
นรก เพราะประกอบมโนสุจริตเป็นเหตุเป็นปัจจัย แต่เป็นไปได้ที่บุคคลผู้ประกอบ
มโนสุจริต หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ เพราะประกอบมโนสุจริต
เป็นเหตุเป็นปัจจัย (๘-๙)

ตติยวรรค จบ
อัฏฐานบาลีที่ ๑๕ จบ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๖. เอกธัมมบาลี ๑. ปฐมวรรค

๑๖. เอกธัมมบาลี
บาลีว่าด้วยธรรมอันเป็นเอก๑
๑. ปฐมวรรค
หมวดที่ ๑

[๒๙๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันเป็นเอกที่บุคคลเจริญ
ทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายอย่างที่สุด เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ
เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
ธรรมอันเป็นเอก คืออะไร
คือ พุทธานุสสติ(การระลึกถึงพระพุทธเจ้า)
ธรรมอันเป็นเอกนี้แลที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย
อย่างที่สุด เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน (๑)
[๒๙๗] ธรรมอันเป็นเอกที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความ
เบื่อหน่ายอย่างที่สุด เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้
เพื่อนิพพาน
ธรรมอันเป็นเอก คืออะไร
คือ ธัมมานุสสติ(การระลึกถึงพระธรรม) ฯลฯ สังฆานุสสติ(การระลึกถึง
พระสงฆ์) ฯลฯ สีลานุสสติ(การระลึกถึงศีล) ฯลฯ จาคานุสสติ(การระลึกถึงการ
บริจาค) ฯลฯ เทวตานุสสติ(การระลึกถึงเทวดา) ฯลฯ อานาปานัสสติ(สติกำหนด
ลมหายใจเข้าออก) ฯลฯ มรณัสสติ(การระลึกถึงความตาย) ฯลฯ กายคตาสติ(สติ
อันไปในกาย) ฯลฯ อุปสมานุสสติ(การระลึกถึงธรรมอันเป็นที่สงบ)
ธรรมอันเป็นเอกนี้แลที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย
อย่างที่สุด เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน (๑๐)

ปฐมวรรค จบ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๖. เอกธัมมบาลี ๒. ทุติยวรรค

๑๖. เอกธัมมบาลี
๒. ทุติยวรรค
หมวดที่ ๒

[๒๙๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่าง
หนึ่งที่เป็นเหตุให้อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่อ
ความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้นเหมือนมิจฉาทิฏฐิ๑(ความเห็นผิด)นี้ เมื่อเป็นมิจฉาทิฏฐิ
อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์
ยิ่งขึ้น (๑)
[๒๙๙] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น
ก็เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้นเหมือนสัมมาทิฏฐิ๒
(ความเห็นชอบ)นี้ เมื่อเป็นสัมมาทิฏฐิ กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น และที่เกิด
ขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น (๒)
[๓๐๐] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น
ก็ไม่เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็เสื่อมไปเหมือนมิจฉาทิฏฐินี้ เมื่อเป็นมิจฉาทิฏฐิ
กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วก็เสื่อมไป (๓)
[๓๐๑] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด
ขึ้นก็ไม่เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็เสื่อมไปเหมือนสัมมาทิฏฐินี้ เมื่อเป็นสัมมาทิฏฐิ
อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วก็เสื่อมไป (๔)
[๓๐๒] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้มิจฉาทิฏฐิที่ยังไม่เกิดขึ้น
ก็เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็เจริญยิ่งขึ้นเหมือนอโยนิโสมนสิการ เมื่อมนสิการโดยไม่
แยบคาย มิจฉาทิฏฐิที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วก็เจริญยิ่งขึ้น (๕)


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๖. เอกธัมมบาลี ๒. ทุติยวรรค

[๓๐๓] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้สัมมาทิฏฐิที่ยังไม่เกิดขึ้น
ก็เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็เจริญยิ่งขึ้นเหมือนโยนิโสมนสิการ เมื่อมนสิการโดย
แยบคาย สัมมาทิฏฐิที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วก็เจริญยิ่งขึ้น (๖)
[๓๐๔] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้เหล่าสัตว์ หลังจากตาย
แล้วไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เหมือนมิจฉาทิฏฐินี้ เหล่าสัตว์ที่ประกอบ
ด้วยมิจฉาทิฏฐิ หลังจากตายแล้วย่อมไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก (๗)
[๓๐๕] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้เหล่าสัตว์ หลังจากตาย
แล้วไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์เหมือนสัมมาทิฏฐินี้ เหล่าสัตว์ที่ประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิ
หลังจากตายแล้วย่อมไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ (๘)
[๓๐๖] กายกรรมที่ถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ วจีกรรมที่ถือ
ปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ มโนกรรมที่ถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควร
แก่ทิฏฐิ เจตนา ความปรารถนา ความตั้งใจ และสังขารทั้งหลาย ของบุคคลผู้เป็น
มิจฉาทิฏฐิ ธรรมทั้งหมดนั้นย่อมเป็นไปเพื่อผลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่า
พอใจ ไม่เกื้อกูล เป็นทุกข์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะความเห็นเลวทราม
กายกรรมที่ถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ ... ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะความเห็นเลวทราม เปรียบเหมือนเมล็ดสะเดา เมล็ดบวบขม หรือเมล็ดน้ำ
เต้าขมที่บุคคลเพาะไว้ในดินชุ่มชื้น รสดินและรสน้ำที่มันดูดซับเอาไว้ทั้งหมด ย่อม
เป็นไปเพื่อความเป็นของขม เผ็ดร้อน ไม่น่ายินดี ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเมล็ด
สะเดาเป็นต้นนั้นเลว ฉะนั้น (๙)
[๓๐๗] กายกรรมที่ถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ วจีกรรมที่ถือ
ปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ มโนกรรมที่ถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควร
แก่ทิฏฐิ เจตนา ความปรารถนา ความตั้งใจ และสังขารทั้งหลายของบุคคลผู้เป็น
สัมมาทิฏฐิ ธรรมทั้งหมดนั้นย่อมเป็นไปเพื่อผลอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
เกื้อกูล เป็นสุข ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะความเห็นดี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๙ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๖. เอกธัมมบาลี ๓. ตติยวรรค

กายกรรมที่ถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ ... ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะความเห็นดี เปรียบเหมือนพันธุ์อ้อย พันธุ์ข้าวสาลีหรือเมล็ดจันทน์ที่บุคคล
เพาะไว้ในดินชุ่มชื้น รสดินและรสน้ำที่มันดูดซับเอาไว้ทั้งหมดย่อมเป็นไปเพื่อความ
เป็นของหวาน น่าอร่อย น่าชื่นใจ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะพันธุ์อ้อยเป็นต้นนั้นดี
ฉะนั้น (๑๐)

ทุติยวรรค จบ

๑๖. เอกธัมมบาลี
๓. ตติยวรรค
หมวดที่ ๓

[๓๐๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เป็นเอก เมื่อเกิดขึ้นใน
โลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อไม่เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุขแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่
ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย บุคคล
ผู้เป็นเอกคือใคร คือ บุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ มีความเห็นวิปริต บุคคลนั้นทำให้คน
หมู่มากออกจากสัทธรรม๑ ให้ตั้งอยู่ในอสัทธรรม๒ บุคคลผู้เป็นเอกนี้แล เมื่อเกิดขึ้น
ในโลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อไม่เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุขแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่
ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย (๑)
[๓๐๙] บุคคลผู้เป็นเอก เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่
มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย บุคคลผู้เป็นเอกคือใคร คือ บุคคลผู้เป็นสัมมาทิฏฐิ
มีความเห็นไม่วิปริต บุคคลนั้นทำให้คนหมู่มากออกจากอสัทธรรม ให้ตั้งอยู่ใน
สัทธรรม บุคคลผู้เป็นเอกนี้แล เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อเกื้อกูลแก่คน
หมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุข
แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย (๒)


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๖. เอกธัมมบาลี ๓. ตติยวรรค

[๓๑๐] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่มีโทษมากเหมือนมิจฉาทิฏฐินี้ โทษ
ทั้งหลายมีมิจฉาทิฏฐิเป็นอย่างยิ่ง (๓)
[๓๑๑] เราไม่เห็นบุคคลอื่นแม้คนเดียวที่ปฏิบัติเพื่อไม่เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก
เพื่อไม่ใช่สุขแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์
แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเหมือนโมฆบุรุษชื่อว่ามักขลินี้
โมฆบุรุษชื่อมักขลิเกิดขึ้นในโลก เป็นเหมือนลอบที่ดักมนุษย์ เพื่อไม่เกื้อกูล
เพื่อทุกข์ เพื่อความเสื่อม เพื่อความพินาศแก่สัตว์เป็นอันมากเปรียบเหมือนบุคคล
ดักลอบไว้ที่ปากอ่าว เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความเสื่อม เพื่อความพินาศแก่
ปลาเป็นอันมาก ฉะนั้น (๔)
[๓๑๒] ผู้ชักชวน ผู้ถูกชักชวน ผู้ถูกชักชวนแล้วปฏิบัติตามคำชักชวน ในธรรม
วินัยที่กล่าวไว้ไม่ดี คนทั้งหมดนั้นย่อมประสพสิ่งที่ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก ข้อนั้นเพราะ
เหตุไร เพราะธรรมที่กล่าวไว้ไม่ดี (๕)
[๓๑๓] ผู้ชักชวน ผู้ถูกชักชวน ผู้ถูกชักชวนแล้วปฏิบัติตามคำชักชวน ในธรรม
วินัยที่กล่าวไว้ดี คนทั้งหมดนั้นย่อมประสพบุญเป็นอันมาก ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะธรรมที่กล่าวไว้ดี (๖)
[๓๑๔] ในธรรมวินัยที่กล่าวไว้ไม่ดี ทายก(ผู้ให้)พึงรู้จักประมาณ ปฏิคาหก
(ผู้รับ)ไม่จำต้องรู้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะธรรมที่กล่าวไว้ไม่ดี (๗)
[๓๑๕] ในธรรมวินัยที่กล่าวไว้ดี ปฏิคาหกพึงรู้จักประมาณ ทายกไม่จำต้องรู้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะธรรมที่กล่าวไว้ดี (๘)
[๓๑๖] ในธรรมวินัยที่กล่าวไว้ไม่ดี ผู้ปรารภความเพียรย่อมอยู่เป็นทุกข์ ข้อ
นั้นเพราะเหตุไร เพราะธรรมที่กล่าวไว้ไม่ดี (๙)
[๓๑๗] ในธรรมวินัยที่กล่าวไว้ดี ผู้เกียจคร้านย่อมอยู่เป็นทุกข์ ข้อนั้นเพราะ
เหตุไร เพราะธรรมวินัยที่กล่าวไว้ดี (๑๐)
[๓๑๘] ในธรรมวินัยที่กล่าวไว้ไม่ดี ผู้เกียจคร้านย่อมอยู่เป็นสุข ข้อนั้นเพราะ
เหตุไร เพราะธรรมที่กล่าวไว้ไม่ดี (๑๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๔๑ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๖. เอกธัมมบาลี ๔. จตุตถวรรค

[๓๑๙] ในธรรมวินัยที่กล่าวไว้ดี ผู้ปรารภความเพียรย่อมอยู่เป็นสุข ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะธรรมที่กล่าวไว้ดี (๑๒)
[๓๒๐] คูถ(อุจจาระ)แม้เพียงเล็กน้อยก็มีกลิ่นเหม็น แม้ฉันใด ภพแม้เพียงเล็กน้อย
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เราไม่สรรเสริญโดยที่สุดแม้ชั่วลัดนิ้วมือเดียว (๑๓)
[๓๒๑] มูตร(ปัสสาวะ)แม้เพียงเล็กน้อยก็มีกลิ่นเหม็น ... น้ำลายแม้เพียงเล็ก
น้อยก็มีกลิ่นเหม็น ... น้ำหนองแม้เพียงเล็กน้อยก็มีกลิ่นเหม็น ... เลือดแม้เพียงเล็ก
น้อยก็มีกลิ่นเหม็นแม้ฉันใด ภพแม้เพียงเล็กน้อยก็ฉันนั้นเหมือนกัน เราไม่สรรเสริญ
โดยที่สุดแม้ชั่วลัดนิ้วมือเดียว (๑๔)

ตติยวรรค จบ

๑๖. เอกธัมมบาลี
๔. จตุตถวรรค
หมวดที่ ๔

[๓๒๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ในชมพูทวีปนี้ สวนอันน่า
รื่นรมย์ ป่าอันน่ารื่นรมย์ ภูมิประเทศอันน่ารื่นรมย์ สระโบกขรณีอันน่ารื่นรมย์มี
จำนวนน้อยนัก ส่วนสถานที่ที่เป็นที่ดอน ที่ลุ่ม ที่มีน้ำหลาก ที่มีตอไม้และหนาม
ที่มีภูเขาสูงชันลาดต่ำมีจำนวนมากกว่า แม้ฉันใด สัตว์ที่เกิดบนบกมีจำนวนน้อย
ส่วนสัตว์ที่เกิดในน้ำมีจำนวนมากกว่า ฉันนั้นเหมือนกันแล (๑)
[๓๒๓] สัตว์ที่กลับมาเกิดในหมู่มนุษย์มีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไปเกิดใน
กำเนิดอื่น๑นอกจากมนุษย์มีจำนวนมากกว่า สัตว์ที่กลับมาเกิดในมัชฌิมชนบทมี
จำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่กลับมาเกิดในปัจจันตชนบท ในหมู่ชาวมิลักขะผู้โง่เขลามี
จำนวนมากกว่า (๒)


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๖. เอกธัมมบาลี ๔. จตุตถวรรค

[๓๒๔] สัตว์ที่มีปัญญา๑ ไม่โง่เขลา ไม่เป็นเหมือนคนหนวก คนใบ้ สามารถรู้
เนื้อความแห่งคำสุภาษิตและทุพภาษิตได้มีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่มีปัญญา โง่
เขลา เป็นเหมือนคนหนวก คนใบ้ ไม่สามารถรู้เนื้อความแห่งคำสุภาษิตและทุพภาษิต
ได้มีจำนวนมากกว่า (๓)
[๓๒๕] สัตว์ที่ประกอบด้วยปัญญาจักษุอย่างประเสริฐมีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์
ที่ตกอยู่ในอวิชชา ลุ่มหลงมีจำนวนมากกว่า (๔)
[๓๒๖] สัตว์ที่ได้เห็นตถาคต๒มีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่ได้เห็นตถาคตมี
จำนวนมากกว่า (๕)
[๓๒๗] สัตว์ที่ได้ฟังธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้มีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่
ได้ฟังธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้มีจำนวนมากกว่า (๖)
[๓๒๘] สัตว์ที่ฟังธรรมแล้วทรงจำไว้ได้มีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ฟังธรรมแล้ว
ทรงจำไว้ไม่ได้มีจำนวนมากกว่า (๗)
[๓๒๙] สัตว์ที่ไตร่ตรองเนื้อความแห่งธรรมที่ตนทรงจำไว้มีจำนวนน้อย ส่วน
สัตว์ที่ไม่ไตร่ตรองเนื้อความแห่งธรรมที่ตนทรงจำไว้มีจำนวนมากกว่า (๘)
[๓๓๐] สัตว์ที่รู้ทั่วถึงอรรถ รู้ทั่วถึงธรรม และปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมมี
จำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่รู้ทั่วถึงอรรถ รู้ทั่วถึงธรรม แต่ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
มีจำนวนมากกว่า (๙)
[๓๓๑] สัตว์ที่สลดใจในเหตุอันควรสลดใจมีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่สลดใจ
ในเหตุอันควรสลดใจมีจำนวนมากกว่า (๑๐)
[๓๓๒] สัตว์ที่สลดใจ ทำความเพียรโดยแยบคายมีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่
สลดใจ ไม่ทำความเพียรโดยแยบคายมีจำนวนมากกว่า (๑๑)


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๖. เอกธัมมบาลี ๔. จตุตถวรรค

[๓๓๓] สัตว์ที่ทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้วได้สมาธิ๑ ได้เอกัคคตาจิต(จิตมี
อารมณ์เป็นหนึ่ง)มีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้วไม่ได้สมาธิ
ไม่ได้เอกัคคตาจิตมีจำนวนมากกว่า (๑๒)
[๓๓๔] สัตว์ที่ได้ข้าวอันเลิศและรสอันเลิศมีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่ได้ข้าวอัน
เลิศและรสอันเลิศยังชีพด้วยการแสวงหาด้วยภัตที่ใส่กระเบื้องมามีจำนวนมากกว่า (๑๓)
[๓๓๕] สัตว์ที่ได้อรรถรส๒ ธรรมรส๓ และวิมุตติรส๔มีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์
ที่ไม่ได้อรรถรส ธรรมรส และวิมุตติรสมีจำนวนมากกว่า เพราะเหตุนั้นแล เธอ
ทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า “เราจักเป็นผู้ได้อรรถรส ธรรมรส และวิมุตติรส”
เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล (๑๔)
[๓๓๖-๓๓๘] ในชมพูทวีปนี้ สวนอันน่ารื่นรมย์ ป่าอันน่ารื่นรมย์ ภูมิประเทศ
อันน่ารื่นรมย์ สระโบกขรณีอันน่ารื่นรมย์มีจำนวนน้อยนัก ส่วนสถานที่ที่เป็นที่ดอน
ที่ลุ่ม ที่มีน้ำหลาก ที่มีตอไม้และหนาม ที่มีภูเขาสูงชันลาดต่ำมีจำนวนมากกว่า แม้
ฉันใด สัตว์ที่จุติจากมนุษย์กลับมาเกิดในหมู่มนุษย์มีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่จุติจาก
มนุษย์ไปเกิดในนรก ฯลฯ เกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ เกิดในเปรตวิสัย (แดน
เปรต)มีจำนวนมากกว่า ฉันนั้นเหมือนกันแล (๑๕-๑๗)
[๓๓๙-๓๔๑] สัตว์ที่จุติจากมนุษย์ไปเกิดในหมู่เทวดามีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์
ที่จุติจากมนุษย์ไปเกิดในนรก ฯลฯ เกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ เกิดในเปรตวิสัย
มีจำนวนมากกว่า (๑๘-๒๐)
[๓๔๒-๓๔๔] สัตว์ที่จุติจากเทวดากลับมาเกิดในหมู่เทวดามีจำนวนน้อย ส่วน
สัตว์ที่จุติจากเทวดาไปเกิดในนรก ฯลฯ เกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ เกิดใน
เปรตวิสัยมีจำนวนมากกว่า (๒๑-๒๓)


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๖. เอกธัมมบาลี ๔. จตุตถวรรค

[๓๔๕-๓๔๗] สัตว์ที่จุติจากเทวดามาเกิดในหมู่มนุษย์มีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์
ที่จุติจากเทวดาไปเกิดในนรก ฯลฯ เกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ เกิดในเปรตวิสัย
มีจำนวนมากกว่า (๒๔-๒๖)
[๓๔๘-๓๕๐] สัตว์ที่จุติจากนรกมาเกิดในหมู่มนุษย์มีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่
จุติจากนรกไปเกิดในนรก ฯลฯ เกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ เกิดในเปรตวิสัยมี
จำนวนมากกว่า (๒๗-๒๙)
[๓๕๑-๓๕๓] สัตว์ที่จุติจากนรกไปเกิดในหมู่เทวดามีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่
จุติจากนรกไปเกิดในนรก ฯลฯ เกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ เกิดในเปรตวิสัยมี
จำนวนมากกว่า (๓๐-๓๒)
[๓๕๔-๓๕๖] สัตว์ที่จุติจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานมาเกิดในหมู่มนุษย์ มีจำนวนน้อย
ส่วนสัตว์ที่จุติจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานไปเกิดในนรก ฯลฯ เกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน
ฯลฯ เกิดในเปรตวิสัยมีจำนวนมากกว่า (๓๓-๓๕)
[๓๕๗-๓๕๙] สัตว์ที่จุติจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานไปเกิดในหมู่เทวดามีจำนวน
น้อย ส่วนสัตว์ที่จุติจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานไปเกิดในนรก ฯลฯ เกิดในกำเนิดสัตว์
ดิรัจฉาน ฯลฯ เกิดในเปรตวิสัยมีจำนวนมากกว่า (๓๖-๓๘)
[๓๖๐-๓๖๒] สัตว์ที่จุติจากเปรตวิสัยมาเกิดในหมู่มนุษย์มีจำนวนน้อย ส่วน
สัตว์ที่จุติจากเปรตวิสัยไปเกิดในนรก ฯลฯ เกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ เกิดใน
เปรตวิสัยมีจำนวนมากกว่า (๓๙-๔๑)
[๓๖๓-๓๖๕] สัตว์ที่จุติจากเปรตวิสัยไปเกิดในหมู่เทวดามีจำนวนน้อย ส่วน
สัตว์ที่จุติจากเปรตวิสัยไปเกิดในนรก ฯลฯ เกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ เกิด
ในเปรตวิสัยมีจำนวนมากกว่า (๔๒-๔๔)

จตุตถวรรค จบ
(ชัมพุทีปเปยยาล๑ จบ)


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๘. อปรอัจฉราสังฆาตวรรค

๑๗. ปสาทกรธัมมวรรค
หมวดว่าด้วยธรรมที่ทำให้เกิดความเลื่อมใส

[๓๖๖-๓๘๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้อยู่ป่าเป็น
วัตร ความเป็นผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ความเป็นผู้ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร
ความเป็นผู้ทรงไตรจีวรเป็นวัตร ความเป็นธรรมกถึก ความเป็นวินัยธร ความเป็น
พหูสูต ความเป็นผู้มั่นคง ความถึงพร้อมด้วยอากัปกิริยา๑ ความถึงพร้อมด้วย
บริวารที่ดี ความเป็นผู้มีบริวารมาก ความเป็นกุลบุตร ความเป็นผู้มีรูปผิวพรรณ
งาม ความเป็นผู้เจรจาไพเราะ ความเป็นผู้มักน้อย ความเป็นผู้มีอาพาธน้อย
ทั้งหมดนี้ เป็นชื่อเรียกลาภนั่นเอง (๑-๑๖)

(ปสาทกรธรรมวรรคที่ ๑๗ จบ)

๑๘. อปรอัจฉราสังฆาตวรรค
หมวดว่าด้วยผลแห่งจิตชั่วลัดนิ้วมือเดียว อีกหมวดหนึ่ง

[๓๘๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุเจริญปฐมฌานแม้ชั่ว
ลัดนิ้วมือเดียว ภิกษุนี้เราเรียกว่า ผู้อยู่ไม่ห่างจากฌาน ทำตามคำสอนของศาสดา
ปฏิบัติตามโอวาท ฉันบิณฑบาตของชาวบ้านอย่างไม่สูญเปล่า ไม่จำเป็นต้องพูดถึง
ภิกษุผู้ทำให้มากซึ่งปฐมฌานนั้น (๑)
[๓๘๓-๓๘๙] ถ้าภิกษุเจริญทุติยฌานแม้ชั่วลัดนิ้วมือเดียว ... เจริญตติยฌาน
... เจริญจตุตถฌาน ... เจริญเมตตาเจโตวิมุตติ ... เจริญกรุณาเจโตวิมุตติ ... เจริญ
มุทิตาเจโตวิมุตติ ... เจริญอุเปกขาเจโตวิมุตติ ฯลฯ (๒-๘)
[๓๙๐-๓๙๓] ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ ... พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๘. อปรอัจฉราสังฆาตวรรค

... พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย๑อยู่ มีความ
เพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ (๙-๑๒)
[๓๙๔-๓๙๗] ภิกษุสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่ง
มั่น๒เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น ภิกษุสร้างฉันทะ พยายาม
ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ภิกษุ
สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อทำกุศลธรรมที่ยัง
ไม่เกิดให้เกิดขึ้น ภิกษุสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งกุศลธรรมที่
เกิดขึ้นแล้ว (๑๓-๑๖)
[๓๙๘-๔๐๑] ภิกษุเจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร๓...
เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวีริยสมาธิปธานสังขาร ... เจริญอิทธิบาทที่ประกอบ
ด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร ... เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวีมังสาสมาธิปธาน-
สังขาร ... (๑๗-๒๐)
[๔๐๒-๔๐๖] ภิกษุเจริญสัทธินทรีย์ ... เจริญวีริยินทรีย์ ... เจริญสตินทรีย์ ...
เจริญสมาธินทรีย์ ... เจริญปัญญินทรีย์ ... (๒๑-๒๕)
[๔๐๗-๔๑๑] ภิกษุเจริญสัทธาพละ ... เจริญวีริยพละ ... เจริญสติพละ ...
เจริญสมาธิพละ ... เจริญปัญญาพละ ... (๒๖-๓๐)


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๘. อปรอัจฉราสังฆาตวรรค

[๔๑๒-๔๑๘] ภิกษุเจริญสติสัมโพชฌงค์ ... เจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ...
เจริญวีริยสัมโพชฌงค์ ... เจริญปีติสัมโพชฌงค์ ... เจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ...
เจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ ... เจริญอุเปกขาสัมโพชฌงค์ ... (๓๑-๓๗)
[๔๑๙-๔๒๖] ภิกษุเจริญสัมมาทิฏฐิ ... เจริญสัมมาสังกัปปะ ... เจริญสัมมา-
วาจา ... เจริญสัมมากัมมันตะ ... เจริญสัมมาอาชีวะ ... เจริญสัมมาวายามะ ...
เจริญสัมมาสติ ... เจริญสัมมาสมาธิ... (๓๘-๔๕)
[๔๒๗] ภิกษุผู้มีความจำได้หมายรู้รูปภายใน เห็นรูปภายนอกขนาดเล็ก มี
สีสันดีหรือไม่ดี เธอครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีความจำได้หมายรู้อย่างนี้ว่า “เรารู้
เราเห็น” (๔๖)
[๔๒๘] ภิกษุผู้มีความจำได้หมายรู้รูปภายใน เห็นรูปภายนอกขนาดใหญ่ มี
สีสันดีหรือไม่ดี เธอครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีความจำได้หมายรู้อย่างนี้ว่า “เรารู้
เราเห็น” (๔๗)
[๔๒๙] ภิกษุผู้มีความจำได้หมายรู้อรูปภายใน เห็นรูปภายนอกขนาดเล็ก มี
สีสันดีหรือไม่ดี เธอครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีความจำได้หมายรู้อย่างนี้ว่า “เรารู้
เราเห็น” (๔๘)
[๔๓๐] ภิกษุผู้มีความจำได้หมายรู้อรูปภายใน เห็นรูปภายนอกขนาดใหญ่ มี
สีสันดีหรือไม่ดี เธอครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีความจำได้หมายรู้อย่างนี้ว่า “เรารู้
เราเห็น” (๔๙)
[๔๓๑] ภิกษุผู้มีความจำได้หมายรู้อรูปภายใน เห็นรูปภายนอกเขียว มีสีเขียว
เปรียบด้วยของเขียว มีสีเขียวเข้ม เธอครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีความจำได้หมายรู้
อย่างนี้ว่า “เรารู้ เราเห็น” (๕๐)
[๔๓๒] ภิกษุผู้มีความจำได้หมายรู้อรูปภายใน เห็นรูปภายนอกเหลือง มีสี
เหลือง เปรียบด้วยของเหลือง มีสีเหลืองเข้ม เธอครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีความ
จำได้หมายรู้อย่างนี้ว่า “เรารู้ เราเห็น” (๕๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๔๘ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๘. อปรอัจฉราสังฆาตวรรค

[๔๓๓] ภิกษุผู้มีความจำได้หมายรู้อรูปภายใน เห็นรูปภายนอกแดง มีสีแดง
เปรียบด้วยของแดง มีสีแดงเข้ม เธอครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีความจำได้หมายรู้
อย่างนี้ว่า “เรารู้ เราเห็น” (๕๒)
[๔๓๔] ภิกษุผู้มีความจำได้หมายรู้อรูปภายใน เห็นรูปภายนอกขาว มีสีขาว
เปรียบด้วยของขาว มีสีขาวเข้ม เธอครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีความจำได้หมายรู้
อย่างนี้ว่า “เรารู้ เราเห็น” (๕๓)
[๔๓๕] ภิกษุผู้มีรูปฌานเป็นอารมณ์ย่อมเห็นรูปภายนอกทั้งหลายได้ (๕๔)
[๔๓๖] ภิกษุผู้มีความจำได้หมายรู้อรูปภายในย่อมเห็นรูปภายนอกทั้งหลาย
ได้ (๕๕)
[๔๓๗] ภิกษุเป็นผู้น้อมใจไปว่า “งาม” เท่านั้น (๕๖)
[๔๓๘] ภิกษุบรรลุอากาสานัญจายตนฌาน๑อยู่โดยกำหนดว่า “อากาศหา
ที่สุดมิได้” เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดถึงนานัตตสัญญาโดย
ประการทั้งปวง (๕๗)
[๔๓๙] ภิกษุล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
วิญญาณัญจายตนฌาน๒ อยู่โดยกำหนดว่า “วิญญาณหาที่สุดมิได้” (๕๘)
[๔๔๐] ภิกษุล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
อากิญจัญญายตนฌาน๓ อยู่โดยกำหนดว่า “ไม่มีอะไร” (๕๙)


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๘. อปรอัจฉราสังฆาตวรรค

[๔๔๑] ภิกษุล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญา-
นาสัญญายตนฌานอยู่ (๖๐)
[๔๔๒] ภิกษุล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
สัญญาเวทยิตนิโรธ(สมาบัติที่ดับสัญญาและเวทนา)อยู่ (๖๑)
[๔๔๓-๔๕๒] ภิกษุเจริญปฐวีกสิณ ... เจริญอาโปกสิณ ... เจริญเตโชกสิณ ...
เจริญวาโยกสิณ ... เจริญนีลกสิณ ... เจริญปีตกสิณ ... เจริญโลหิตกสิณ ... เจริญ
โอทาตกสิณ ... เจริญอากาสกสิณ ... เจริญวิญญาณกสิณ ... (๖๒-๗๑)
[๔๕๓-๔๖๒] ภิกษุเจริญอสุภสัญญา ... เจริญมรณสัญญา ... เจริญอาหาเร-
ปฏิกูลสัญญา ... เจริญสัพพโลเกอนภิรตสัญญา ... เจริญอนิจจสัญญา ... เจริญ
อนิจเจทุกขสัญญา ... เจริญทุกเขอนัตตสัญญา ... เจริญปหานสัญญา ... เจริญวิราคสัญญา
... เจริญนิโรธสัญญา... (๗๒-๘๑)
[๔๖๓-๔๗๒] ภิกษุเจริญอนิจจสัญญา ... เจริญอนัตตสัญญา ... เจริญมรณ-
สัญญา ... เจริญอาหาเรปฏิกูลสัญญา ... เจริญสัพพโลเกอนภิรตสัญญา ... เจริญ
อัฏฐิกสัญญา ... เจริญปุฬวกสัญญา ... เจริญวินีลกสัญญา ... เจริญวิจฉิททกสัญญา ...
เจริญอุทธุมาตกสัญญา ... ( ๘๒-๙๑)
[๔๗๓-๔๘๒] ภิกษุเจริญพุทธานุสสติ ... เจริญธัมมานุสสติ ...เจริญสังฆานุสสติ
... เจริญสีลานุสสติ ... เจริญจาคานุสสติ ... เจริญเทวตานุสสติ ... เจริญอานาปานสติ
... เจริญมรณัสสติ ... เจริญกายคตาสติ ... เจริญอุปสมานุสสติ ... (๙๒-๑๐๑)
[๔๘๓-๔๙๒] ภิกษุเจริญสัทธินทรีย์ที่ประกอบด้วยปฐมฌาน ... เจริญ
วีริยินทรีย์ ... เจริญสตินทรีย์ ... เจริญสมาธินทรีย์ ... เจริญปัญญินทรีย์ ... เจริญ
สัทธาพละ ... เจริญวีริยพละ ... เจริญสติพละ ... เจริญสมาธิพละ ... เจริญปัญญาพละ
... (๑๐๒-๑๑๑)
[๔๙๓-๕๖๒] ภิกษุเจริญสัทธินทรีย์ที่ประกอบด้วยทุติยฌาน ฯลฯ ที่ประกอบ
ด้วยตติยฌาน ฯลฯ ที่ประกอบด้วยจตุตถฌาน ฯลฯ ที่ประกอบด้วยเมตตา ฯลฯ
ที่ประกอบด้วยกรุณา ฯลฯ ที่ประกอบด้วยมุทิตา ฯลฯ ที่ประกอบด้วยอุเบกขา ...
เจริญวีริยินทรีย์ ... เจริญสตินทรีย์ ... เจริญสมาธินทรีย์ ... เจริญปัญญินทรีย์ ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๕๐ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๙. กายคตาสติวรรค

เจริญสัทธาพละ ... เจริญวีริยพละ ... เจริญสติพละ ... เจริญสมาธิพละ ... เจริญ
ปัญญาพละ ... ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เราเรียกว่า ผู้อยู่ไม่ห่างจากฌาน ทำตามคำสอน
ของศาสดา ปฏิบัติตามโอวาท ฉันบิณฑบาตของชาวบ้านอย่างไม่สูญเปล่า ไม่จำเป็น
ต้องพูดถึงภิกษุผู้ทำให้มากซึ่งปัญญาพละที่ประกอบด้วยอุเบกขา (๑๑๒-๑๘๑)

อปรอัจฉราสังฆาตวรรคที่ ๑๘ จบ

๑๙. กายคตาสติวรรค
หมวดว่าด้วยผลแห่งการเจริญกายคตาสติ

[๕๖๓] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันภิกษุรูปใดรูป
หนึ่งได้เจริญทำให้มากแล้ว กุศลธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นส่วนแห่งวิชชา๑ย่อม
เป็นภาวนาที่หยั่งลงในจิตของภิกษุนั้น เปรียบเหมือนมหาสมุทรอันผู้ใดผู้หนึ่งสัมผัส
ด้วยใจแล้ว๒ แม่น้ำน้อยสายใดสายหนึ่งที่ไหลไปสู่สมุทรย่อมปรากฏภายในจิตของ
ผู้นั้น (๑)
[๕๖๔-๕๗๐] ธรรมอันเป็นเอกที่บุคคลได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไป
เพื่อสังเวชใหญ่๓ เพื่อประโยชน์ใหญ่๔ เพื่อธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะใหญ่๕ เพื่อ
สติและสัมปชัญญะ เพื่อได้ญาณทัสสนะ๖ เพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เพื่อทำให้แจ้งซึ่ง
ผลแห่งวิชชาและวิมุตติ๗ ธรรมอันเป็นเอกคืออะไร คือ กายคตาสติ ธรรมอันเป็นเอก
นี้แลที่บุคคลได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อสังเวชใหญ่ เพื่อประโยชน์ใหญ่
เพื่อธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะใหญ่ เพื่อสติและสัมปชัญญะ เพื่อได้ญาณทัสสนะ
เพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เพื่อทำให้แจ้งซึ่งผลแห่งวิชชาและวิมุตติ (๒-๘)


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๙. กายคตาสติวรรค

[๕๗๑] เมื่อธรรมอันเป็นเอกที่บุคคลได้เจริญทำให้มากแล้ว แม้กายก็สงบ แม้
จิตก็สงบ แม้วิตกและวิจารก็สงบ ธรรมที่เป็นส่วนแห่งวิชชาแม้ทั้งสิ้นก็ถึงความเจริญ
เต็มที่ ธรรมอันเป็นเอกคืออะไร คือ กายคตาสติ เมื่อธรรมอันเป็นเอกนี้แลที่บุคคล
ได้เจริญทำให้มากแล้ว แม้กายก็สงบ แม้จิตก็สงบ แม้วิตกและวิจารก็สงบ ธรรมที่
เป็นส่วนแห่งวิชชาแม้ทั้งสิ้นก็ถึงความเจริญเต็มที่ (๙)
[๕๗๒] เมื่อธรรมอันเป็นเอกที่บุคคลได้เจริญทำให้มากแล้ว อกุศลธรรมที่ยัง
ไม่เกิดขึ้นก็ไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วก็ละได้ ธรรมอันเป็นเอกคืออะไร คือ
กายคตาสติ เมื่อธรรมอันเป็นเอกนี้แลที่บุคคลได้เจริญทำให้มากแล้ว อกุศลธรรมที่
ยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วก็ละได้ (๑๐)
[๕๗๓] เมื่อธรรมอันเป็นเอกที่บุคคลได้เจริญทำให้มากแล้ว กุศลธรรมที่ยังไม่
เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น ธรรมอันเป็น
เอกคืออะไร คือ กายคตาสติ เมื่อธรรมอันเป็นเอกนี้แลที่บุคคลได้เจริญทำให้มาก
แล้ว กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่อความเจริญ
ไพบูลย์ยิ่งขึ้น (๑๑)
[๕๗๔] เมื่อธรรมอันเป็นเอกที่บุคคลได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมละอวิชชาได้
วิชชาเกิดขึ้นย่อมละอัสมิมานะได้ อนุสัย๑ย่อมถึงความถอนขึ้น ย่อมละสังโยชน์ได้
ธรรมอันเป็นเอกคืออะไร คือ กายคตาสติ เมื่อธรรมอันเป็นเอกนี้แล ที่บุคคลได้
เจริญทำให้มากแล้วย่อมละอวิชชาได้ วิชชาเกิดขึ้นย่อมละอัสมิมานะ๒ได้ อนุสัยถึง
ความถอนขึ้นย่อมละสังโยชน์ได้ (๑๒)


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๙. กายคตาสติวรรค

[๕๗๕-๕๗๖] ธรรมอันเป็นเอกที่บุคคลได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไป
เพื่อความแตกฉานแห่งปัญญา เพื่ออนุปาทาปรินิพพาน ธรรมอันเป็นเอกคืออะไร
คือ กายคตาสติ ธรรมอันเป็นเอกนี้แลที่บุคคลได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อ
ความแตกฉานแห่งปัญญา เพื่ออนุปาทาปรินิพพาน (๑๓-๑๔)
[๕๗๗-๕๗๙] เมื่อธรรมอันเป็นเอกที่บุคคลได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมมี
ความเข้าใจแจ่มแจ้งธาตุหลายชนิด๑ มีความเข้าใจแจ่มแจ้งธาตุที่แตกต่างกัน มีความ
แตกฉานในธาตุหลายชนิด ธรรมอันเป็นเอกคืออะไร คือ กายคตาสติ เมื่อธรรมอัน
เป็นเอกนี้แลที่บุคคลได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมมีความเข้าใจแจ่มแจ้งธาตุหลายชนิด
มีความเข้าใจแจ่มแจ้งธาตุที่แตกต่างกัน มีความแตกฉานในธาตุหลายชนิด (๑๕-๑๗)
[๕๘๐-๕๘๓] ธรรมอันเป็นเอกที่บุคคลได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อ
ทำให้แจ้งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล และอรหัตตผล ธรรมอันเป็นเอก
คืออะไร คือ กายคตาสติ ธรรมอันเป็นเอกนี้แลที่บุคคลได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็น
ไปเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล และอรหัตตผล (๑๘-๒๑)
[๕๘๔-๕๙๙] ธรรมอันเป็นเอกที่บุคคลได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อ
ได้ปัญญา๒ เพื่อความเจริญแห่งปัญญา๓ เพื่อความไพบูลย์แห่งปัญญา เพื่อความ
เป็นผู้มีปัญญามาก๔ เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาแน่นหนา๕ เพื่อความเป็นผู้มีปัญญา


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๒๐. อมตวรรค

ไพบูลย์ เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาลุ่มลึก๑ เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาสามารถยิ่ง๒ เพื่อ
ความเป็นผู้มีปัญญากว้างขวาง๓ เพื่อความเป็นผู้มากด้วยปัญญา เพื่อความเป็นผู้มี
ปัญญาว่องไว เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเร็ว เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาร่าเริง เพื่อความ
เป็นผู้มีปัญญาคล่องแคล่ว เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเฉียบแหลม๔ และเพื่อความเป็น
ผู้มีปัญญาชำแรกกิเลส ธรรมอันเป็นเอกคืออะไร คือ กายคตาสติ ธรรมอันเป็นเอก
นี้แลที่บุคคลได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา เพื่อความเจริญแห่ง
ปัญญา เพื่อความไพบูลย์แห่งปัญญา เพื่อความเป็นผู้มีปัญญามาก เพื่อความเป็นผู้
มีปัญญาแน่นหนา เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาไพบูลย์ เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาลุ่มลึก
เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาสามารถยิ่ง เพื่อความเป็นผู้มีปัญญากว้างขวาง เพื่อความ
เป็นผู้มากด้วยปัญญา เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาว่องไว เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเร็ว
เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาร่าเริง เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาคล่องแคล่ว เพื่อความเป็นผู้
มีปัญญาเฉียบแหลม และเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาชำแรกกิเลส (๒๒-๓๗)

กายคตาสติวรรคที่ ๑๙ จบ

๒๐. อมตวรรค
หมวดว่าด้วยอมตธรรม

[๖๐๐] ชนเหล่าใดไม่เจริญกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่บรรลุอมตธรรม
ชนเหล่าใดเจริญกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าบรรลุอมตธรรม (๑)


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๒๐. อมตวรรค

[๖๐๑] ชนเหล่าใดไม่ได้เจริญกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่ได้บรรลุอมต-
ธรรม ชนเหล่าใดได้เจริญกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าได้บรรลุอมตธรรม (๒)
[๖๐๒] ชนเหล่าใดมีกายคตาสติเสื่อม ชนเหล่านั้นชื่อว่ามีอมตธรรมเสื่อม
ชนเหล่าใดมีกายคตาสติไม่เสื่อม ชนเหล่านั้นชื่อว่ามีอมตธรรมไม่เสื่อม (๓)
[๖๐๓] ชนเหล่าใดเบื่อกายคตาสติ๑ ชนเหล่านั้นชื่อว่าเบื่ออมตธรรม ชน
เหล่าใดชอบใจกายคตาสติ๒ ชนเหล่านั้นชื่อว่าชอบใจอมตธรรม (๔)
[๖๐๔] ชนเหล่าใดประมาทกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าประมาทอมตธรรม
ชนเหล่าใดไม่ประมาทกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่ประมาทอมตธรรม (๕)
[๖๐๕] ชนเหล่าใดหลงลืมกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าหลงลืมอมตธรรม
ชนเหล่าใดไม่หลงลืมกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่หลงลืมอมตธรรม (๖)
[๖๐๖] ชนเหล่าใดไม่ได้เสพกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่ได้เสพอมตธรรม
ชนเหล่าใดได้เสพกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าได้เสพอมตธรรม (๗)
[๖๐๗] ชนเหล่าใดไม่ได้เจริญกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่ได้เจริญอมต-
ธรรม ชนเหล่าใดได้เจริญกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าได้เจริญอมตธรรม (๘)
[๖๐๘] ชนเหล่าใดไม่ได้ทำกายคตาสติให้มาก ชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่ได้ทำ
อมตธรรมให้มาก ชนเหล่าใดได้ทำกายคตาสติให้มาก ชนเหล่านั้นชื่อว่าได้ทำ
อมตธรรมให้มาก (๙)
[๖๐๙] ชนเหล่าใดไม่ได้รู้ยิ่งกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่ได้รู้ยิ่งอมตธรรม
ชนเหล่าใดได้รู้ยิ่งกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าได้รู้ยิ่งอมตธรรม (๑๐)


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๒๐. อมตวรรค

[๖๑๐] ชนเหล่าใดไม่ได้กำหนดรู้กายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่ได้กำหนดรู้
อมตธรรม ชนเหล่าใดได้กำหนดรู้กายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าได้กำหนดรู้
อมตธรรม (๑๑)
[๖๑๑] ชนเหล่าใดไม่ได้ทำกายคตาสติให้แจ้ง ชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่ได้ทำ
อมตธรรมให้แจ้ง ชนเหล่าใดได้ทำกายคตาสติให้แจ้ง ชนเหล่านั้นชื่อว่าได้ทำ
อมตธรรมให้แจ้ง (๑๒)
(เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดี ต่างชื่นชมภาษิตของ
พระผู้มีพระภาค)

อมตวรรคที่ ๒๐ จบ

เอกกนิบาต จบ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๑. กัมมกรณวรรค ๑. วัชชสูตร

พระสุตตันตปิฎก
อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต
__________________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

๑. ปฐมปัณณาสก์

๑. กัมมกรณวรรค
หมวดว่าด้วยวิธีการลงโทษ
๑. วัชชสูตร
ว่าด้วยโทษ

[๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมา
ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาค
จึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ภิกษุทั้งหลาย โทษ ๒ ประการนี้
โทษ ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. โทษที่ให้ผลในภพนี้ ๒. โทษที่ให้ผลในภพหน้า
โทษที่ให้ผลในภพนี้ เป็นอย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๕๗ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์]
๑. กัมมกรณวรรค ๑. วัชชสูตร

คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เห็นพระราชารับสั่งให้จับโจรผู้มักประพฤติชั่วแล้วให้
ลงโทษทัณฑ์นานาชนิด คือ เฆี่ยนด้วยแส้บ้าง เฆี่ยนด้วยหวายบ้าง ตีด้วยไม้ตะบอง
บ้าง ตัดมือบ้าง ตัดเท้าบ้าง ตัดทั้งมือและเท้าบ้าง ตัดหูบ้าง ตัดจมูกบ้าง ตัดทั้งหู
และจมูกบ้าง ทำให้เป็นภาชนะสำหรับรองหม้อน้ำข้าวบ้าง ทำให้เกลี้ยงเกลาเหมือน
สังข์บ้าง ทำให้มีปากเหมือนปากราหูบ้าง ทำให้มีพวงมาลัยไฟบ้าง ทำให้มือมีไฟลุก
โชติช่วงบ้าง ทำให้เป็นเกลียวหนังเนื้อทรายบ้าง ทำให้นุ่งหนังตนเองเหมือนนุ่งผ้าขี้ริ้ว
บ้าง ทำให้ยืนกวางบ้าง ทำให้เหมือนเนื้อติดเบ็ดบ้าง ทำให้เป็นชิ้นเท่ากหาปณะบ้าง
ทำให้เป็นที่รับน้ำด่างบ้าง ทำให้หมุนเหมือนกลอนเหล็กบ้าง ทำให้เป็นตั่งที่ทำด้วย
ฟางบ้าง ราดด้วยน้ำมันร้อนบ้าง ให้สุนัขกัดกินบ้าง ให้นอนหงายบนหลาวทั้งที่ยัง
มีชีวิตอยู่บ้าง ตัดศีรษะด้วยดาบบ้าง
เขามีความคิดอย่างนี้ว่า “เพราะกรรมชั่วเช่นใดเป็นเหตุ พระราชารับสั่งให้จับ
โจรผู้มักประพฤติชั่ว แล้วให้ลงโทษทัณฑ์นานาชนิด คือ เฆี่ยนด้วยแส้บ้าง ฯลฯ ตัด
ศีรษะด้วยดาบบ้าง ก็ถ้าเราเองพึงทำกรรมชั่วเช่นนั้น พระราชาพึงรับสั่งให้จับเรา
แล้วให้ลงโทษทัณฑ์นานาชนิดอย่างนี้ คือ เฆี่ยนด้วยแส้บ้าง ฯลฯ ตัดศีรษะด้วย
ดาบบ้าง” เขากลัวโทษที่ให้ผลในภพนี้ ไม่เที่ยวแย่งชิงสิ่งของของคนอื่น ๆ นี้เรียกว่า
โทษที่ให้ผลในภพนี้
โทษที่ให้ผลในภพหน้า เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เห็นประจักษ์ดังนี้ว่า “ผลของกายทุจริตเป็นผลที่
เลวทราม เป็นทุกข์ ซึ่งบุคคลจะต้องได้รับในภพหน้าแน่นอน ผลของวจีทุจริตเป็นผล
ที่เลวทราม เป็นทุกข์ ซึ่งบุคคลจะต้องได้รับในภพหน้าแน่นอน ผลของมโนทุจริตเป็น
ผลที่เลวทราม เป็นทุกข์ ซึ่งบุคคลจะต้องได้รับในภพหน้าแน่นอน ก็ถ้าเราพึง
ประพฤติชั่วทางกาย ประพฤติชั่วทางวาจา ประพฤติชั่วทางใจ ความชั่วบางอย่างนั้น
พึงเป็นเหตุให้เราหลังจากตายแล้วไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก” เขากลัวโทษ
ที่ให้ผลในภพหน้า จึงละกายทุจริต บำเพ็ญกายสุจริต ละวจีทุจริต บำเพ็ญวจีสุจริต
ละมโนทุจริต บำเพ็ญมโนสุจริต บริหารตนให้บริสุทธิ์ นี้เรียกว่า โทษที่ให้ผลใน
ภพหน้า
ภิกษุทั้งหลาย โทษ ๒ ประการนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๕๘ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์]
๑. กัมมกรณวรรค ๒. ปธานสูตร

เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า “เราจักกลัวโทษที่ให้ผล
ในภพนี้ จักกลัวโทษที่ให้ผลในภพหน้า จักเป็นคนขลาดต่อโทษ มีปกติเห็นโทษโดย
ความเป็นของน่ากลัว” เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล บุคคลผู้ขลาดต่อโทษ
มีปกติเห็นโทษโดยความเป็นของน่ากลัว พึงหวังเหตุแห่งความหลุดพ้นจากโทษ๑
ทั้งมวลได้

วัชชสูตรที่ ๑ จบ

๒. ปธานสูตร
ว่าด้วยความเพียรที่เกิดได้ยาก

[๒] ภิกษุทั้งหลาย ความเพียรที่เกิดได้ยากในโลก ๒ ประการนี้
ความเพียร ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความเพียรของพวกคฤหัสถ์ผู้ครองเรือนเพื่อทำให้เกิดเครื่อง
นุ่งห่ม อาหาร ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค
๒. ความเพียรของผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเพื่อสละทิ้ง
อุปธิ๒ ทั้งปวง
ความเพียรที่เกิดได้ยากในโลก ๒ ประการนี้แล
บรรดาความเพียร ๒ ประการนี้ ความเพียรเพื่อสละทิ้งอุปธิทั้งปวงเป็นธรรม
ยอดเยี่ยม เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า “เราจักเริ่มตั้ง
ความเพียรเพื่อสละทิ้งอุปธิทั้งปวง๋
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล

ปธานสูตรที่ ๒ จบ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์]
๑. กัมมกรณวรรค ๔. อตปนียสูตร

๓. ตปนียสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุแห่งความเดือดร้อน

[๓] ภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นเหตุแห่งความเดือดร้อน ๒ ประการนี้
ธรรมที่เป็นเหตุแห่งความเดือดร้อน ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
บุคคลบางคนในโลกนี้

๑. ทำแต่กายทุจริต ๒. ไม่ได้ทำกายสุจริต
๑. ทำแต่วจีทุจริต ๒. ไม่ได้ทำวจีสุจริต
๑. ทำแต่มโนทุจริต ๒. ไม่ได้ทำมโนสุจริต

เขาเดือดร้อนอยู่ว่า “เราทำแต่กายทุจริต ไม่ได้ทำกายสุจริต ทำแต่วจีทุจริต
ไม่ได้ทำวจีสุจริต ทำแต่มโนทุจริต ไม่ได้ทำมโนสุจริต”
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นเหตุแห่งความเดือดร้อน ๒ ประการนี้แล

ตปนียสูตรที่ ๓ จบ

๔. อตปนียสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ไม่เป็นเหตุแห่งความเดือดร้อน

[๔] ภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่ไม่เป็นเหตุแห่งความเดือดร้อน ๒ ประการนี้
ธรรมที่ไม่เป็นเหตุแห่งความเดือดร้อน ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
บุคคลบางคนในโลกนี้

๑. ทำแต่กายทุจริต ๒. ไม่ได้ทำกายสุจริต
๑. ทำแต่วจีทุจริต ๒. ไม่ได้ทำวจีสุจริต
๑. ทำแต่มโนทุจริต ๒. ไม่ได้ทำมโนสุจริต

เขาย่อมไม่เดือดร้อนอยู่ว่า “เราทำแต่กายสุจริต ไม่ได้ทำกายทุจริต ทำแต่
วจีสุจริต ไม่ได้ทำวจีทุจริต ทำแต่มโนสุจริต ไม่ได้ทำมโนทุจริต”
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่ไม่เป็นเหตุแห่งความเดือดร้อน ๒ ประการนี้แล

อตปนียสูตรที่ ๔ จบ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์]
๑. กัมมกรณวรรค ๕. อุปัญญาตสูตร

๕. อุปัญญาตสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้ทรงรู้สัพพัญญุตญาณ

[๕] ภิกษุทั้งหลาย เรารู้ทั่วถึงธรรม ๒ ประการ
ธรรม ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความไม่สันโดษเพียงแค่กุศลธรรมทั้งหลาย
๒. ความไม่ท้อถอยในการบำเพ็ญเพียร
ภิกษุทั้งหลาย เราเริ่มตั้งความเพียรไม่ย่อหย่อนว่า “จะเหลืออยู่แต่หนัง เอ็น
และกระดูกก็ตามที เนื้อและเลือดในสรีระจงเหือดแห้งไปเถิด ยังไม่บรรลุผลที่พึง
บรรลุด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษแล้ว
จักไม่หยุดความเพียร” สัมโพธิญาณนั้นเราบรรลุได้ด้วยความไม่ประมาท ธรรม
เป็นแดนเกษมจากโยคะที่ยอดเยี่ยม๑ เราก็บรรลุได้ด้วยความไม่ประมาท แม้ถ้าเธอ
ทั้งหลายพึงตั้งความเพียรไม่ย่อหย่อนว่า “จะเหลืออยู่แต่หนัง เอ็น และกระดูกก็
ตามที เนื้อและเลือดในสรีระจงเหือดแห้งไปเถิด ยังไม่บรรลุผลที่พึงบรรลุด้วย
เรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษแล้ว จักไม่
หยุดความเพียร” ไม่นานนักก็จักทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยม๒อันเป็นที่สุดแห่ง
พรหมจรรย์ที่กุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญาอัน
ยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบันแน่แท้
เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า “เราจักเริ่มตั้งความ
เพียรไม่ย่อหย่อนว่า จะเหลืออยู่แต่หนัง เอ็น และกระดูกก็ตามที เนื้อและเลือดใน
สรีระจงเหือดแห้งไปเถิด ยังไม่บรรลุผลที่พึงบรรลุด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยความ
เพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษแล้ว จักไม่หยุดความเพียร”
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล

อุปัญญาตสูตรที่ ๕ จบ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์]
๑. กัมมกรณวรรค ๗. กัณหสูตร

๖. สัญโญชนสูตร
ว่าด้วยกิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์

[๖] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ ประการนี้
ธรรม ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. การเห็นธรรมที่เป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์โดยความพอใจ
๒. การเห็นธรรมที่เป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์โดยความเบื่อหน่าย
บุคคลผู้เห็นธรรมที่เป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์โดยความพอใจอยู่ย่อมละราคะ โทสะ
และโมหะไม่ได้ เรากล่าวว่า “บุคคลยังละราคะ โทสะ และโมหะไม่ได้ ย่อมไม่พ้นจาก
ชาติ(ความเกิด) ชรา(ความแก่) มรณะ(ความตาย) โสกะ(ความเศร้าโศก) ปริเทวะ
(ความคร่ำครวญ) ทุกข์(ความทุกข์กาย) โทมนัส(ความทุกข์ใจ) อุปายาส(ความคับ
แค้นใจ) และย่อมไม่พ้นจากทุกข์”๑
บุคคลผู้เห็นธรรมที่เป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์โดยความเบื่อหน่ายอยู่ย่อมละราคะ
โทสะ และโมหะได้ เรากล่าวว่า “บุคคลละราคะ โทสะ และโมหะได้แล้ว ย่อมพ้นจาก
ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส และย่อมพ้นจากทุกข์”
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ ประการนี้แล

สัญโญชนสูตรที่ ๖ จบ

๗. กัณหสูตร
ว่าด้วยธรรมฝ่ายดำ

[๗] ภิกษุทั้งหลาย ธรรมฝ่ายดำ ๒ ประการนี้
ธรรมฝ่ายดำ ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อหิริกะ (ความไม่อายบาป) ๒. อโนตตัปปะ (ความไม่กลัวบาป)
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมฝ่ายดำ ๒ ประการนี้แล

กัณหสูตรที่ ๗ จบ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์]
๑. กัมมกรณวรรค ๙. จริยสูตร

๘. สุกกสูตร
ว่าด้วยธรรมฝ่ายขาว

[๘] ภิกษุทั้งหลาย ธรรมฝ่ายขาว ๒ ประการนี้
ธรรมฝ่ายขาว ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. หิริ (ความอายบาป) ๒. โอตตัปปะ (ความกลัวบาป)
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมฝ่ายขาว ๒ ประการนี้แล

สุกกสูตรที่ ๘ จบ

๙. จริยสูตร
ว่าด้วยจริยธรรมคุ้มครองโลก

[๙] ภิกษุทั้งหลาย ธรรมฝ่ายขาว ๒ ประการย่อมคุ้มครองโลก๑
ธรรมฝ่ายขาว ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. หิริ ๒. โอตตัปปะ
ธรรมฝ่ายขาว ๒ ประการนี้แล หากไม่คุ้มครองโลก ชาวโลกไม่พึงบัญญัติว่า
“มารดา น้า ป้า ภรรยาของอาจารย์ หรือภรรยาของครู” โลกจักถึงความสำส่อน
กันเหมือนพวกแพะ แกะ ไก่ หมู สุนัขบ้าน และสุนัขจิ้งจอกฉะนั้น
ภิกษุทั้งหลาย แต่เพราะเหตุที่ธรรมฝ่ายขาว ๒ ประการนี้คุ้มครองโลก ฉะนั้น
ชาวโลกจึงบัญญัติคำว่า “มารดา น้า ป้า ภรรยาของอาจารย์ หรือภรรยาของครู”

จริยสูตรที่ ๙ จบ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๒. อธิกรณวรรค

๑๐. วัสสูปนายิกสูตร
ว่าด้วยการเข้าพรรษา

[๑๐] ภิกษุทั้งหลาย การเข้าพรรษา ๒ อย่างนี้
การเข้าพรรษา ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. การเข้าพรรษาต้น ๒. การเข้าพรรษาหลัง
ภิกษุทั้งหลาย การเข้าพรรษา ๒ อย่างนี้แล

วัสสูปนายิกสูตรที่ ๑๐ จบ
กัมมกรณวรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. วัชชสูตร ๒. ปธานสูตร
๓. ตปนียสูตร ๔. อตปนียสูตร
๕. อุปัญญาตสูตร ๖. สัญโญชนสูตร
๗. กัณหสูตร ๘. สุกกสูตร
๙. จริยสูตร ๑๐. วัสสูปนายิกสูตร

๒. อธิกรณวรรค
หมวดว่าด้วยอธิกรณ์

[๑๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย พละ๑ ๒ ประการนี้
พละ ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ปฏิสังขานพละ (กำลังคือการพิจารณา)
๒. ภาวนาพละ (กำลังคือการเจริญ)


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๒. อธิกรณวรรค

ปฏิสังขานพละ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เห็นประจักษ์ดังนี้ว่า “ผลของกายทุจริตเป็นผลที่เลว
ทรามทั้งในภพนี้และภพหน้า ผลของวจีทุจริตเป็นผลที่เลวทรามทั้งในภพนี้และภพ
หน้า ผลของมโนทุจริตเป็นผลที่เลวทรามทั้งในภพนี้และภพหน้า” บุคคลนั้นครั้นเห็น
ประจักษ์ดังนี้แล้วย่อมละกายทุจริต บำเพ็ญกายสุจริต ละวจีทุจริต บำเพ็ญวจีสุจริต
ละมโนทุจริต บำเพ็ญมโนสุจริต บริหารตนให้บริสุทธิ์ นี้เรียกว่า ปฏิสังขานพละ
ภาวนาพละ เป็นอย่างไร
คือ ในพละ ๒ ประการนั้น ภาวนาพละเป็นของพระเสขะ บุคคลนั้นอาศัยพละ
ของพระเสขะย่อมละราคะ โทสะ และโมหะได้ ครั้นละราคะ โทสะ และโมหะได้แล้ว
เขาย่อมไม่ทำกรรมที่เป็นอกุศล ไม่ประพฤติกรรมที่เป็นบาป นี้เรียกว่า ภาวนาพละ
ภิกษุทั้งหลาย พละ ๒ ประการนี้แล (๑)
[๑๒] พละ ๒ ประการนี้
พละ ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ปฏิสังขานพละ ๒. ภาวนาพละ
ปฏิสังขานพละ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เห็นประจักษ์ดังนี้ว่า “ผลของกายทุจริตเป็นผลที่เลว
ทรามทั้งในภพนี้และภพหน้า ผลของวจีทุจริตเป็นผลที่เลวทรามทั้งในภพนี้และภพ
หน้า ผลของมโนทุจริตเป็นผลที่เลวทรามทั้งในภพนี้และภพหน้า” บุคคลนั้นครั้นเห็น
ประจักษ์ดังนี้แล้วย่อมละกายทุจริต บำเพ็ญกายสุจริต ละวจีทุจริต บำเพ็ญวจีสุจริต
ละมโนทุจริต บำเพ็ญมโนสุจริต บริหารตนให้บริสุทธิ์ นี้เรียกว่า ปฏิสังขานพละ
ภาวนาพละ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้บำเพ็ญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ
อาศัยนิโรธน้อมไปในการสละ บำเพ็ญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ... บำเพ็ญวีริยสัมโพชฌงค์
... บำเพ็ญปีติสัมโพชฌงค์ ... บำเพ็ญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ... บำเพ็ญสมาธิสัมโพชฌงค์
... บำเพ็ญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปใน
การสละ นี้เรียกว่า ภาวนาพละ
ภิกษุทั้งหลาย พละ ๒ ประการนี้แล (๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๖๕ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๒. อธิกรณวรรค

[๑๒] พละ ๒ ประการนี้
พละ ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ปฏิสังขานพละ ๒. ภาวนาพละ
ปฏิสังขานพละ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เห็นประจักษ์ดังนี้ว่า “ผลของกายทุจริตเป็นผลที่เลว
ทรามทั้งในภพนี้และภพหน้า ผลของวจีทุจริตเป็นผลที่เลวทรามทั้งในภพนี้และภพ
หน้า ผลของมโนทุจริตเป็นผลที่เลวทรามทั้งในภพนี้และภพหน้า” บุคคลนั้นครั้นเห็น
ประจักษ์ดังนี้แล้ว ย่อมละกายทุจริต บำเพ็ญกายสุจริต ละวจีทุจริต บำเพ็ญวจีสุจริต
ละมโนทุจริต บำเพ็ญมโนสุจริต บริหารตนให้บริสุทธิ์ นี้เรียกว่า ปฏิสังขานพละ
ภาวนาพละ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน
ที่มีวิตกมีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดจากวิเวก๑อยู่ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว
ภิกษุบรรลุทุติยฌานที่มีความผ่องใสภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่
มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ อนึ่ง เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุมี
อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะ
ทั้งหลายสรรเสริญว่า “ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข” เพราะละสุขและทุกข์ได้แล้ว
เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว ภิกษุบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข
มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ นี้เรียกว่า ภาวนาพละ
ภิกษุทั้งหลาย พละ ๒ ประการนี้แล (๓)

พระธรรมเทศนาของพระตถาคต ๒ แบบ

[๑๔] ธรรมเทศนาของตถาคต๒ ๒ แบบนี้
ธรรมเทศนาของตถาคต ๒ แบบ อะไรบ้าง คือ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๒. อธิกรณวรรค

๑. ธรรมเทศนาแบบย่อ๑ ๒. ธรรมเทศนาแบบพิสดาร๒
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเทศนาของตถาคต ๒ แบบนี้แล (๔)

เหตุให้อธิกรณ์ยืดเยื้อและไม่ยืดเยื้อ

[๑๕] ในอธิกรณ์ใด๓ ภิกษุผู้ต้องอาบัติและภิกษุผู้เป็นโจทก์ยังมิได้พิจารณา
ตนเองให้ดี ในอธิกรณ์นั้นพึงหวังได้ดังนี้ว่า “จักเป็นไปเพื่อความยืดเยื้อ เพื่อความ
รุนแรง๔ เพื่อความร้ายแรง๕ และภิกษุทั้งหลายจักอยู่ไม่ผาสุก” ส่วนในอธิกรณ์ใด
ภิกษุผู้ต้องอาบัติและภิกษุผู้เป็นโจทก์พิจารณาตนเองให้ดี ในอธิกรณ์นั้นพึงหวังได้
ดังนี้ว่า “จักไม่เป็นไปเพื่อความยืดเยื้อ เพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายแรง และ
ภิกษุทั้งหลายจักอยู่ผาสุก”
ภิกษุผู้ต้องอาบัติพิจารณาตนเองให้ดี เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุผู้ต้องอาบัติในธรรมวินัยนี้เห็นประจักษ์ดังนี้ว่า “เราแลต้องอาบัติที่
เป็นอกุศลทางกายบางอย่าง เพราะเหตุนั้น ภิกษุนั้นจึงได้เห็นว่าเราต้องอาบัติที่เป็น
อกุศลทางกายบางอย่าง ถ้าเราไม่พึงต้องอาบัติที่เป็นอกุศลทางกายบางอย่าง ภิกษุ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๒. อธิกรณวรรค

นั้นก็ไม่พึงเห็นว่าเราต้องอาบัติที่เป็นอกุศลทางกายบางอย่าง ก็เพราะเราต้องอาบัติ
ที่เป็นอกุศลทางกายบางอย่าง ฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงได้เห็นว่าเราต้องอาบัติที่เป็นอกุศล
ทางกายบางอย่าง ครั้นเห็นแล้วจึงไม่พอใจ ภิกษุนั้นเมื่อไม่พอใจ จึงว่ากล่าวเราผู้มี
วาจาไม่น่าพอใจ เราผู้มีวาจาไม่น่าพอใจถูกภิกษุนั้นว่ากล่าว จึงไม่พอใจ เมื่อไม่พอใจ
จึงบอกแก่ผู้อื่นว่า “ด้วยเหตุนี้ โทษในอธิกรณ์นั้นจึงครอบงำแต่เฉพาะเราเท่านั้น
เหมือนในเรื่องสินค้า โทษย่อมครอบงำเฉพาะบุคคลผู้จำต้องเสียภาษี”
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ต้องอาบัติพิจารณาตนเองให้ดีเป็นอย่างนี้แล
ภิกษุผู้เป็นโจทก์พิจารณาตนเองให้ดี เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุผู้เป็นโจทก์ในธรรมวินัยนี้เห็นประจักษ์ดังนี้ว่า “ภิกษุนี้แลต้องอาบัติที่
เป็นอกุศลทางกายบางอย่าง เพราะเหตุนั้น เราจึงได้เห็นว่าภิกษุนี้ต้องอาบัติที่เป็น
อกุศลทางกายบางอย่าง ถ้าภิกษุนี้ไม่พึงต้องอาบัติที่เป็นอกุศลทางกายบางอย่าง
เราก็ไม่พึงเห็นว่าภิกษุนี้ต้องอาบัติที่เป็นอกุศลทางกายบางอย่าง ก็เพราะภิกษุนี้ต้อง
อาบัติที่เป็นอกุศลทางกายบางอย่าง ฉะนั้น เราจึงได้เห็นว่าภิกษุนี้ต้องอาบัติที่เป็น
อกุศลทางกายบางอย่าง ครั้นเห็นแล้วจึงไม่พอใจ เราเมื่อไม่พอใจ ได้ว่ากล่าวภิกษุนี้
ผู้มีวาจาไม่น่าพอใจ ภิกษุนี้ผู้มีวาจาไม่น่าพอใจนี้ถูกเราว่ากล่าว จึงไม่พอใจ เมื่อไม่
พอใจจึงบอกแก่ผู้อื่นว่า “ด้วยเหตุนี้ โทษในอธิกรณ์นั้นจึงครอบงำแต่เฉพาะเรา
เท่านั้นเหมือนในเรื่องสินค้า โทษย่อมครอบงำเฉพาะบุคคลผู้จำต้องเสียภาษี”
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เป็นโจทก์พิจารณาตนเองให้ดีเป็นอย่างนี้แล
ในอธิกรณ์ใด ภิกษุผู้ต้องอาบัติและภิกษุผู้เป็นโจทก์ยังไม่พิจารณาตนเองให้ดี
ในอธิกรณ์นั้นพึงหวังได้ดังนี้ว่า “จักเป็นไปเพื่อความยืดเยื้อ เพื่อความรุนแรง เพื่อ
ความร้ายแรง และภิกษุทั้งหลายจักอยู่ไม่ผาสุก”
ส่วนในอธิกรณ์ใด ภิกษุผู้ต้องอาบัติและภิกษุผู้เป็นโจทก์พิจารณาตนเองให้ดี
ในอธิกรณ์นั้นพึงหวังได้ดังนี้ว่า “จักไม่เป็นไปเพื่อความยืดเยื้อ เพื่อความรุนแรง
เพื่อความร้ายแรง และภิกษุทั้งหลายจักอยู่ผาสุก” (๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๖๘ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๒. อธิกรณวรรค

เหตุให้เกิดในทุคติและสุคติ

[๑๖] ครั้งนั้น พราหมณ์คนหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้
สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจพอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร๑ ได้ทูล
ถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้
สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พราหมณ์ เพราะเหตุแห่งการประพฤติไม่สม่ำ
เสมอ คือประพฤติไม่ชอบธรรม สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจึงไปเกิดใน
อบาย ทุคติ วินิบาต นรก”
พราหมณ์ทูลถามว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้
สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พราหมณ์ เพราะเหตุแห่งการประพฤติสม่ำ
เสมอ คือประพฤติชอบธรรม สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจึงไปเกิดใน
สุคติโลกสวรรค์”
พราหมณ์นั้นกราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของท่านพระโคดม
ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่ง
นัก ท่านพระโคดมประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคล
หงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด๒โดย
ตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’ ข้าพระองค์นี้ขอถึงท่านพระโคดม พร้อมทั้งพระ
ธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก
ผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต” (๖)
[๑๗] ครั้งนั้น พราหมณ์ชานุสโสณิเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้
สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจพอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูล


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๒. อธิกรณวรรค

ถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้
สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พราหมณ์ สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตาย
แล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะทำและเพราะไม่ทำ”
พราหมณ์ชานุสโสณิทูลถามว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัย
ให้สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พราหมณ์ สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตาย
แล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์เพราะทำและไม่ทำอย่างนี้”
พราหมณ์นั้นกราบทูลว่า “ข้าพระองค์ย่อมไม่รู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิตที่
ท่านพระโคดมตรัสไว้โดยย่อโดยพิสดารได้ ขอประทานวโรกาส ขอท่านพระโคดม
โปรดแสดงธรรมโดยวิธีที่ข้าพระองค์จะพึงรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิตที่ท่านพระโคดม
ตรัสไว้โดยย่อได้โดยพิสดารเถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ถ้าเช่นนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
พราหมณ์ชานุสโสณิทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัส
เรื่องนี้ว่า
“พราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ทำแต่กายทุจริต ไม่ทำกายสุจริต ทำแต่
วจีทุจริต ไม่ทำวจีสุจริต ทำแต่มโนทุจริต ไม่ทำมโนสุจริต สัตว์บางพวกในโลกนี้
หลังจากตายแล้วจึงไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะทำและเพราะไม่ทำ
อย่างนี้แล ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ทำแต่กายสุจริต ไม่ทำกายทุจริต ทำแต่วจีสุจริต
ไม่ทำวจีทุจริต ทำแต่มโนสุจริต ไม่ทำมโนทุจริต สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตาย
แล้วจึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์เพราะทำและเพราะไม่ทำอย่างนี้แล”
พราหมณ์ชานุสโสณิกราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของท่านพระ
โคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็น
อุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต” (๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๗๐ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๒. อธิกรณวรรค

โทษแห่งทุจริต ๕ อย่าง

[๑๘] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า “อานนท์ กายทุจริต
วจีทุจริตและมโนทุจริต เรากล่าวว่าเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำโดยส่วนเดียว”
ท่านพระอานนท์ทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลทำกายทุจริต
วจีทุจริต และมโนทุจริตที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำโดยส่วนเดียว
บุคคลนั้นจะได้รับโทษอะไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เมื่อบุคคลทำกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริตที่เรา
กล่าวว่าเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำโดยส่วนเดียว บุคคลนั้นจะได้รับโทษดังต่อไปนี้ คือ (๑)
แม้ตนก็ติเตียนตนเองได้ (๒) ผู้รู้ใคร่ครวญแล้วย่อมติเตียนได้ (๓) กิตติศัพท์อันชั่ว
ย่อมกระฉ่อนไป (๔) หลงลืมสติตาย (๕) หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ
วินิบาต นรก เมื่อบุคคลทำกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริตที่เรากล่าวว่าไม่ควร
ทำโดยส่วนเดียว บุคคลนั้นจะได้รับโทษนี้”

อานิสงส์แห่งสุจริต ๕ อย่าง

อานนท์ กายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต เรากล่าวว่าเป็นสิ่งที่ควรทำโดย
ส่วนเดียว
ท่านพระอานนท์ทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลทำกายสุจริต
วจีสุจริต และมโนสุจริตที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่าควรทำโดยส่วนเดียว บุคคลนั้นจะ
ได้รับอานิสงส์อะไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “เมื่อบุคคลทำกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต
ที่เรากล่าวว่าควรทำโดยส่วนเดียว บุคคลนั้นจะได้รับอานิสงส์ดังต่อไปนี้ คือ (๑) แม้
ตนก็ติเตียนตนเองไม่ได้ (๒) ผู้รู้ใคร่ครวญแล้วย่อมสรรเสริญ (๓) กิตติศัพท์อันงาม
ย่อมขจรไป (๔) ไม่หลงลืมสติตาย (๕) หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
เมื่อบุคคลทำกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริตที่เรากล่าวว่าควรทำโดยส่วนเดียว
บุคคลนั้นจะได้รับอานิสงส์นี้” (๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๗๑ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๒. อธิกรณวรรค

การละอกุศลและการบำเพ็ญกุศล

[๑๙] ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละอกุศล บุคคลสามารถละอกุศลได้ ถ้า
บุคคลไม่สามารถละอกุศลนี้ได้ เราไม่พึงกล่าวอย่างนี้ว่า “เธอทั้งหลายจงละอกุศล”
ก็เพราะบุคคลสามารถละอกุศลได้ ฉะนั้นเราจึงกล่าวอย่างนี้ว่า “เธอทั้งหลายจงละ
อกุศล” ถ้าอกุศลนี้ที่บุคคลละได้แล้วพึงเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เราไม่พึง
กล่าวอย่างนี้ว่า “เธอทั้งหลายจงละอกุศล” ก็เพราะอกุศลที่บุคคลละได้แล้วย่อมเป็น
ไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุข ฉะนั้นเราจึงกล่าวอย่างนี้ว่า “เธอทั้งหลายจงละอกุศล”
เธอทั้งหลายจงบำเพ็ญกุศล บุคคลสามารถบำเพ็ญกุศลได้ ถ้าบุคคลไม่สามารถ
บำเพ็ญกุศลนี้ได้ เราไม่พึงกล่าวอย่างนี้ว่า “เธอทั้งหลายจงบำเพ็ญกุศล” ก็เพราะ
บุคคลสามารถบำเพ็ญกุศลได้ ฉะนั้นเราจึงกล่าวอย่างนี้ว่า “เธอทั้งหลายจงบำเพ็ญกุศล”
ถ้ากุศลนี้ที่บุคคลบำเพ็ญแล้วพึงเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เราไม่พึงกล่าวอย่าง
นี้ว่า “เธอทั้งหลายจงบำเพ็ญกุศล” ก็เพราะกุศลที่บุคคลบำเพ็ญแล้วย่อมเป็นไปเพื่อ
เกื้อกูล เพื่อสุข ฉะนั้นเราจึงกล่าวอย่างนี้ว่า “เธอทั้งหลายจงบำเพ็ญกุศล” (๙)

ธรรมที่ทำให้ศาสนาเสื่อมและเจริญ

[๒๐] ธรรม ๒ ประการนี้ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญหายไปแห่งสัทธรรม
ธรรม ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. บทพยัญชนะที่สืบทอดกันมาไม่ดี๑
๒. อรรถที่สืบทอดขยายความไม่ดี๒
แม้อรรถแห่งบทพยัญชนะที่ตั้งไว้ไม่ดีก็ชื่อว่าเป็นการสืบทอดขยายความไม่ดี
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ ประการนี้แลย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญหายไป
แห่งสัทธรรม (๑๐)


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๓. พาลวรรค

[๒๑] ธรรม ๒ ประการนี้ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ ไม่หาย
ไปแห่งสัทธรรม
ธรรม ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. บทพยัญชนะที่สืบทอดกันมาดี
๒. อรรถที่สืบทอดขยายความดี
แม้อรรถแห่งบทพยัญชนะที่ตั้งไว้ดีก็ชื่อว่าเป็นการสืบทอดขยายความดี
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ ประการนี้แลย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงมั่น ไม่
เสื่อมสูญ ไม่หายไปแห่งสัทธรรม (๑๑)

อธิกรณวรรคที่ ๒ จบ

๓. พาลวรรค
หมวดว่าด้วยคนพาล

[๒๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย คนพาล ๒ จำพวกนี้
คนพาล ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. คนที่ไม่เห็นโทษโดยความเป็นโทษ
๒. คนที่ไม่ยอมรับตามความเป็นจริงเมื่อบุคคลอื่นแสดงโทษ
คนพาล ๒ จำพวกนี้แล
บัณฑิต ๒ จำพวกนี้
บัณฑิต ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. คนที่เห็นโทษโดยความเป็นโทษ
๒. คนที่ยอมรับตามความเป็นจริงเมื่อบุคคลอื่นแสดงโทษ
บัณฑิต ๒ จำพวกนี้แล (๑)
[๒๓] คน ๒ จำพวกนี้ย่อมกล่าวตู่ตถาคต
คน ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๗๓ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๓. พาลวรรค

๑. คนเจ้าโทสะที่มีความโหดร้ายอยู่ภายใน
๒. คนที่เชื่อโดยยึดถือผิด
คน ๒ จำพวกนี้แลย่อมกล่าวตู่ตถาคต (๒)
[๒๔] คน ๒ จำพวกนี้ย่อมกล่าวตู่ตถาคต
คน ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. คนที่แสดงสิ่งที่ตถาคตไม่ได้ภาษิตไว้ ไม่ได้กล่าวไว้ว่า “ตถาคต
ได้ภาษิตไว้ ได้กล่าวไว้”
๒. คนที่แสดงสิ่งที่ตถาคตได้ภาษิตไว้ ได้กล่าวไว้ว่า “ตถาคต
ไม่ได้ภาษิตไว้ ไม่ได้กล่าวไว้”
คน ๒ จำพวกนี้แลย่อมกล่าวตู่ตถาคต
คน ๒ จำพวกนี้ย่อมไม่กล่าวตู่ตถาคต
คน ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. คนที่แสดงสิ่งที่ตถาคตไม่ได้ภาษิตไว้ ไม่ได้กล่าวไว้ว่า “ตถาคต
ไม่ได้ภาษิตไว้ ไม่ได้กล่าวไว้”
๒. คนที่แสดงสิ่งที่ตถาคตได้ภาษิตไว้ ได้กล่าวไว้ว่า “ตถาคตได้
ภาษิตไว้ ได้กล่าวไว้”
คน ๒ จำพวกนี้แลย่อมไม่กล่าวตู่ตถาคต (๓)
[๒๕] คน ๒ จำพวกนี้ย่อมกล่าวตู่ตถาคต
คน ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. คนที่แสดงสุตตันตะที่ควรขยายความว่า “สุตตันตะมีการขยาย
ความแล้ว”
๒. คนที่แสดงสุตตันตะที่มีการขยายความแล้วว่า “สุตตันตะที่ควร
ขยายความ”
คน ๒ จำพวกนี้แลย่อมกล่าวตู่ตถาคต (๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๗๔ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๓. พาลวรรค

[๒๖] คน ๒ จำพวกนี้ย่อมไม่กล่าวตู่ตถาคต
คน ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. คนที่แสดงสุตตันตะที่ควรขยายความว่า “สุตตันตะควรขยาย
ความ”
๒. คนที่แสดงสุตตันตะที่มีการขยายความแล้วว่า “สุตตันตะที่มี
การขยายความแล้ว”
คน ๒ จำพวกนี้แลย่อมไม่กล่าวตู่ตถาคต (๕)

คติและฐานะ ๒ อย่างเป็นต้น

[๒๗] ผู้มีการงานปกปิดไว้๑ พึงหวังได้๒คติอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ
นรกหรือกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ผู้มีการงานไม่ปกปิดไว้พึงหวังได้คติอย่าง ๑ ใน ๒
อย่าง คือ เทวดาหรือมนุษย์ (๖)
[๒๘] ผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิพึงหวังได้คติอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ นรกหรือ
กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน (๗)
[๒๙] ผู้เป็นสัมมาทิฏฐิพึงหวังได้คติอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ เทวดาหรือ
มนุษย์ (๘)
[๓๐] สถานที่รองรับคนทุศีล ๒ แห่ง คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน
สถานที่รองรับคนมีศีล ๒ แห่ง คือ เทวดาหรือมนุษย์ (๙)
[๓๑] เราพิจารณาเห็นอำนาจประโยชน์๓ ๒ ประการจึงอาศัยเสนาสนะอัน
เงียบสงัด คือ ป่าโปร่งและป่าทึบ๔


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๓. พาลวรรค

อำนาจประโยชน์ ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เห็นการอยู่เป็นสุขในปัจจุบันของตน๑
๒. อนุเคราะห์คนรุ่นหลัง
เราพิจารณาเห็นอำนาจประโยชน์ ๒ ประการนี้แลจึงอาศัยเสนาสนะอันเงียบ
สงัด คือ ป่าโปร่งและป่าทึบ (๑๐)
[๓๒] ธรรม ๒ ประการนี้เป็นฝ่ายวิชชา
ธรรม ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สมถะ (การฝึกจิตให้สงบเป็นสมาธิ)
๒. วิปัสสนา (ความเห็นแจ้ง)
สมถะที่ภิกษุเจริญแล้วย่อมให้สำเร็จประโยชน์อะไร
คือ ย่อมให้จิตเจริญ
จิต๒ที่เจริญแล้วย่อมให้สำเร็จประโยชน์อะไร
คือ ย่อมละราคะได้
วิปัสสนาที่ภิกษุเจริญแล้วย่อมให้สำเร็จประโยชน์อะไร
คือ ย่อมให้ปัญญาเจริญ
ปัญญาที่เจริญแล้วย่อมให้สำเร็จประโยชน์อะไร
คือ ย่อมละอวิชชาได้
จิตที่เศร้าหมองเพราะราคะย่อมไม่หลุดพ้น ปัญญา๓ที่เศร้าหมองเพราะอวิชชา
ย่อมไม่เจริญ เพราะสำรอกราคะจึงมีเจโตวิมุตติ เพราะสำรอกอวิชชา จึงมีปัญญา-
วิมุตติ (๑๑)

พาลวรรคที่ ๓ จบ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๔. สมจิตตวรรค

๔. สมจิตตวรรค
หมวดว่าด้วยเทวดาพร้อมใจกัน

[๓๓] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงภูมิอสัตบุรุษและภูมิ
สัตบุรุษแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ภูมิอสัตบุรุษ เป็นอย่างไร
คือ อสัตบุรุษเป็นคนอกตัญญู๑ เป็นคนอกตเวที๒ ความเป็นคนอกตัญญู
ความเป็นคนอกตเวที อสัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญ ความเป็นคนอกตัญญู และ
ความเป็นคนอกตเวที ทั้งหมดนี้เป็นภูมิอสัตบุรุษ
ภูมิสัตบุรุษ เป็นอย่างไร
คือ สัตบุรุษเป็นคนกตัญญู เป็นคนกตเวที ความเป็นคนกตัญญู ความเป็นคน
กตเวที สัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญ ความเป็นคนกตัญญู และความเป็นคนกตเวที
ทั้งหมดนี้เป็นภูมิสัตบุรุษ (๑)

การตอบแทนที่ทำได้ยาก

[๓๔] การทำตอบแทนแก่ท่านทั้งสองเราไม่กล่าวว่าเป็นการทำได้โดยง่าย
ท่านทั้งสองคือใคร คือ มารดาและบิดา ถึงบุตรจะมีอายุ ๑๐๐ ปี มีชีวิตอยู่ ๑๐๐ ปี
ประคับประคองมารดาด้วยบ่าข้างหนึ่ง ประคับประคองบิดาด้วยบ่าข้างหนึ่ง ปฏิบัติ
ท่านทั้งสองนั้นด้วยการอบกลิ่น การนวด การให้อาบน้ำ และการบีบนวด๓ และแม้
ท่านทั้งสองนั้นจะถ่ายอุจจาระและปัสสาวะลงบนบ่าทั้งสองของเขานั่นแล การ
กระทำอย่างนั้นยังไม่ชื่อว่าอันบุตรได้ทำ หรือทำตอบแทนแก่มารดาและบิดาเลย ถึง
บุตรจะสถาปนามารดาและบิดาไว้ในราชสมบัติซึ่งเป็นเจ้าเหนือหัวแห่งแผ่นดินใหญ่ที่มี


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๔. สมจิตตวรรค

รัตนะ ๗ ประการมากมายนี้ การกระทำอย่างนั้นยังไม่ชื่อว่าอันบุตรได้ทำ หรือทำ
ตอบแทนแก่มารดาและบิดาเลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะมารดาและบิดามีอุปการะ
มาก บำรุงเลี้ยง แสดงโลกนี้แก่บุตรทั้งหลาย
ส่วนบุตรคนใดให้มารดาและบิดาผู้ไม่มีศรัทธา สมาทาน ตั้งมั่น ดำรงอยู่ใน
สัทธาสัมปทา(ความถึงพร้อมด้วยศรัทธา) ให้มารดาและบิดาผู้ทุศีล สมาทาน ตั้งมั่น
ดำรงอยู่ในสีลสัมปทา(ความถึงพร้อมด้วยศีล) ให้มารดาและบิดาผู้ตระหนี่ สมาทาน
ตั้งมั่น ดำรงอยู่ในจาคสัมปทา(ความถึงพร้อมด้วยการเสียสละ) ให้มารดาและบิดาผู้
ไม่มีปัญญา สมาทาน ตั้งมั่น ดำรงอยู่ในปัญญาสัมปทา(ความถึงพร้อมด้วยปัญญา)
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล การกระทำอย่างนั้นชื่อว่าอันบุตรได้ทำและทำตอบแทน
แก่มารดาและบิดา (๒)

วาทะ ๒ อย่าง

[๓๕] ครั้งนั้น พราหมณ์คนหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้
สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจพอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูล
ถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ท่านพระโคดมมีวาทะ๑อย่างไร กล่าวถึงอะไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ เรามีวาทะว่าควรทำ และมีวาทะว่า
ไม่ควรทำ”
พราหมณ์ทูลถามว่า “ท่านพระโคดมมีวาทะว่าควรทำและมีวาทะว่าไม่ควรทำ
อย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เรากล่าวว่า ไม่ควรทำกายทุจริต วจีทุจริต และ
มโนทุจริต ไม่ควรทำบาปอกุศลธรรมหลายอย่าง แต่ควรทำกายสุจริต วจีสุจริต และ
มโนสุจริต ควรทำกุศลธรรมหลายอย่าง พราหมณ์ เรามีวาทะว่าควรทำและมีวาทะ
ว่าไม่ควรทำอย่างนี้แล”


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๔. สมจิตตวรรค

พราหมณ์กราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจน
ไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ
ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต” (๓)

ทักขิไณยบุคคล ๒ จำพวก

[๓๖] ครั้งนั้น อนาถบิณฑิกคหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ทักขิไณยบุคคล(คนที่ควรแก่ของทำบุญ)ในโลกมีกี่จำพวก และควรให้ทาน
ในเขตไหน
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ในโลกมีทักขิไณยบุคคล ๒ จำพวก คือ
๑. พระเสขะ (ผู้ยังต้องศึกษา)
๒. พระอเสขะ (ผู้ไม่ต้องศึกษา)
ในโลกมีทักขิไณยบุคคล ๒ จำพวกนี้แล และพึงให้ทานในเขตนี้
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระดำรัสนี้ พระสุคตศาสดาครั้นตรัสพระดำรัสนี้แล้ว
ได้ตรัสพระคาถาประพันธ์นี้ต่อไปอีกว่า
ในโลกนี้ พระเสขะและพระอเสขะ
เป็นผู้ควรแก่ทักษิณาของทายกผู้บูชาอยู่
พระเสขะและพระอเสขะเหล่านั้นเป็นคนตรง
ทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ
นี้เป็นเขต๑ของทายกผู้บูชาอยู่
ทานที่ให้ในเขตนี้มีผลมาก (๔)


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๔. สมจิตตวรรค

บุคคลผู้มีสังโยชน์ ๒ จำพวก

[๓๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ท่านพระสารีบุตรอยู่ที่ปราสาทของวิสาขามิคาร-
มาตา ในบุพพาราม เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมากล่าวว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นตอบรับแล้ว ท่านพระสารีบุตร
จึงได้กล่าวเรื่องนี้ว่า
“ผู้มีอายุทั้งหลาย เราจักแสดงบุคคลที่มีสังโยชน์ภายใน๑ และบุคคลที่มี
สังโยชน์ภายนอก๒ ท่านทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
ภิกษุเหล่านั้นตอบรับแล้ว ท่านพระสารีบุตรจึงได้กล่าวเรื่องนี้ว่า
บุคคลผู้มีสังโยชน์ภายใน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในพระปาติโมกข์
เพียบพร้อมด้วยอาจาระ(มารยาท)และโคจร(การเที่ยวไป) มีปกติเห็นภัยในโทษแม้
เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ภิกษุนั้นหลังจากมรณภาพแล้วจะ
ไปเกิดในหมู่เทพหมู่ใดหมู่หนึ่ง๓ เธอจุติจากอัตภาพนั้น เป็นอาคามี กลับมาสู่ความ
เป็นมนุษย์นี้
บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีสังโยชน์ภายใน เป็นอาคามี กลับมาสู่ความเป็นมนุษย์นี้
บุคคลผู้มีสังโยชน์ภายนอก เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในพระปาติโมกข์
เพียบพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษา


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๔. สมจิตตวรรค

อยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ภิกษุนั้นบรรลุเจโตวิมุตติที่สงบอย่างใดอย่างหนึ่ง ภิกษุนั้น
หลังจากมรณภาพแล้วจะไปเกิดในหมู่เทพหมู่ใดหมู่หนึ่ง๑ เธอจุติจากอัตภาพนั้นเป็น
อนาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็นมนุษย์นี้
บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีสังโยชน์ภายนอก เป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็น
มนุษย์นี้
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในพระปาติโมกข์ เพียบ
พร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ใน
สิกขาบททั้งหลาย ภิกษุนั้นปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อ
ดับกามทั้งหลาย ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับภพ
ทั้งหลาย เธอปฏิบัติเพื่อสิ้นตัณหา เธอปฏิบัติเพื่อสิ้นความโลภ หลังจากมรณภาพ
แล้วจะไปเกิดในหมู่เทพหมู่ใดหมู่หนึ่ง เธอจุติจากอัตภาพนั้นเป็นอนาคามีไม่กลับมา
สู่ความเป็นมนุษย์นี้
บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีสังโยชน์ภายนอกเป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็น
มนุษย์นี้
ครั้งนั้น เทวดาจำนวนมากพร้อมใจกันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้ว ได้ยืน ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ณ ปราสาทของวิสาขามิคารมาตา ในบุพพาราม ท่านพระสารีบุตร
นั้นกำลังเทศนาถึงบุคคลที่มีสังโยชน์ภายในและบุคคลที่มีสังโยชน์ภายนอกให้ภิกษุ
ทั้งหลายฟัง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บริษัทต่างร่าเริง ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มี
พระภาคทรงพระกรุณาเสด็จไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่เถิด”
พระผู้มีพระภาคทรงรับอาราธนาโดยดุษณีภาพ ต่อจากนั้น ได้ทรงหายจาก
พระเชตวันไปปรากฏต่อหน้าท่านพระสารีบุตรที่ปราสาทของวิสาขามิคารมาตาใน
บุพพาราม เหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้าฉะนั้น พระผู้มี
พระภาคประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ ฝ่ายท่านพระสารีบุตรก็ถวายอภิวาทพระผู้มี
พระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๔. สมจิตตวรรค

พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า
สารีบุตร เทวดาจำนวนมากพร้อมใจกันเข้าไปหาเราถึงที่อยู่ ไหว้แล้วยืนอยู่
ณ ที่สมควร ได้กล่าวดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ณ ปราสาทของวิสาขามิคาร-
มาตา ในบุพพาราม ท่านพระสารีบุตรนั้นกำลังเทศนาถึงบุคคลที่มีสังโยชน์ภายใน
และบุคคลที่มีสังโยชน์ภายนอกให้ภิกษุทั้งหลายฟัง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บริษัท
ต่างร่าเริง ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคทรงพระกรุณาเสด็จไปหาท่าน
พระสารีบุตรถึงที่อยู่เถิด” เทวดาเหล่านั้นยืนอยู่ในพื้นที่มีขนาดพอที่ปลายเหล็ก
แหลมจรดลงได้ จำนวน ๑๐ องค์บ้าง ๒๐ องค์บ้าง ๓๐ องค์บ้าง ๔๐ องค์บ้าง
๕๐ องค์บ้าง ๖๐ องค์บ้าง แต่ก็ไม่เบียดเสียดกัน
เธออาจมีความคิดอย่างนี้ว่า “จิตซึ่งเป็นเหตุให้เทวดาเหล่านั้นยืนอยู่ได้ในพื้น
ที่มีขนาดพอที่ปลายเหล็กแหลมจรดลงได้จำนวน ๑๐ องค์บ้าง ๒๐ องค์บ้าง
๓๐ องค์บ้าง ๔๐ องค์บ้าง ๕๐ องค์บ้าง ๖๐ องค์บ้าง แต่ก็ไม่เบียดเสียดกันอย่าง
นั้น เป็นจิตอันเทวดาเหล่านั้นได้เจริญในภพนั้นแน่นอน” ข้อนั้นเธอไม่ควรเห็นอย่าง
นั้น จิตซึ่งเป็นเหตุให้เทวดาเหล่านั้นยืนอยู่ได้ในพื้นที่มีขนาดพอที่ปลายเหล็กแหลม
จรดลงได้ จำนวน ๑๐ องค์บ้าง ฯลฯ แต่ก็ไม่เบียดเสียดกันอย่างนั้น เป็นจิตอัน
เทวดาเหล่านั้นได้เจริญในธรรมวินัยนี้นั่นเอง
เพราะเหตุนั้นแล เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า “เราจักเป็นผู้มีอินทรีย์สงบ มีใจ
สงบ กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมของผู้มีอินทรีย์สงบ มีใจสงบ ก็จักสงบด้วย
เราจักนำกายและจิตที่สงบเท่านั้นเข้าไปในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย”
สารีบุตร เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้แล
สารีบุตร พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกที่ไม่ได้ฟังธรรมบรรยายนี้ได้เสียโอกาส
แล้ว (๕)

เหตุปัจจัยแห่งการวิวาท

[๓๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัจจานะอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำกัททมทหะ เขตเมืองวรณา
ครั้งนั้น พราหมณ์อารามทัณฑะเข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะถึงที่อยู่ ได้สนทนา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๘๒ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๔. สมจิตตวรรค

ปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจพอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามท่าน
พระมหากัจจานะดังนี้ว่า “ท่านกัจจานะ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้แม้กษัตริย์
ก็ขัดแย้งกับกษัตริย์ แม้พราหมณ์ก็ขัดแย้งกับพราหมณ์ แม้คหบดีก็ขัดแย้งกับ
คหบดี”
พระมหากัจจานะตอบว่า “พราหมณ์ เพราะความยึดมั่นกามราคะ ตกอยู่ใน
อำนาจกามราคะ กำหนัดยินดีในกามราคะ ถูกกามราคะกลุ้มรุม และถูกกามราคะ
ครอบงำเป็นเหตุ แม้กษัตริย์ก็ขัดแย้งกับกษัตริย์ แม้พราหมณ์ก็ขัดแย้งกับพราหมณ์
แม้คหบดีก็ขัดแย้งกับคหบดี”
พราหมณ์อารามทัณฑะถามว่า “อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สมณะขัดแย้ง
กับสมณะ”
พระมหากัจจานะตอบว่า “เพราะความยึดมั่นทิฏฐิราคะ๑ ตกอยู่ในอำนาจทิฏฐิ
ราคะ กำหนัดยินดีในทิฏฐิราคะ ถูกทิฏฐิราคะกลุ้มรุม และถูกทิฏฐิราคะครอบงำเป็น
เหตุ แม้สมณะก็ขัดแย้งกับสมณะ”
พราหมณ์อารามทัณฑะถามว่า “บุคคลที่ล่วงพ้นความยึดมั่นกามราคะ การ
ตกอยู่ในอำนาจกามราคะ ความกำหนัดยินดีในกามราคะ การถูกกามราคะกลุ้มรุม
และการถูกกามราคะครอบงำนี้ และบุคคลที่ล่วงพ้นความยึดมั่นทิฏฐิราคะ การตก
อยู่ในอำนาจทิฏฐิราคะ ความกำหนัดยินดีในทิฏฐิราคะ การถูกทิฏฐิราคะกลุ้มรุม
และการถูกทิฏฐิราคะครอบงำนี้ยังมีอยู่ในโลกหรือ”
พระมหากัจจานะตอบว่า “บุคคลที่ล่วงพ้นความยึดมั่นกามราคะ การตกอยู่ใน
อำนาจกามราคะ ความกำหนัดยินดีในกามราคะ การถูกกามราคะกลุ้มรุม และการ
ถูกกามราคะครอบงำนี้ และบุคคลที่ล่วงพ้นความยึดมั่นทิฏฐิราคะ การตกอยู่ใน
อำนาจทิฏฐิราคะ ความกำหนัดยินดีในทิฏฐิราคะ การถูกทิฏฐิราคะกลุ้มรุม และ
การถูกทิฏฐิราคะครอบงำนี้ยังมีอยู่ในโลก”


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๔. สมจิตตวรรค

พราหมณ์อารามทัณฑะถามว่า “ก็ใครในโลกที่ล่วงพ้นความยึดมั่นกามราคะ
การตกอยู่ในอำนาจกามราคะ ความกำหนัดยินดีในกามราคะ การถูกกามราคะ
กลุ้มรุม และการถูกกามราคะครอบงำนี้ และที่ล่วงพ้นความยึดมั่นทิฏฐิราคะ การ
ตกอยู่ในอำนาจทิฏฐิราคะ ความกำหนัดยินดีในทิฏฐิราคะ การถูกทิฏฐิราคะกลุ้มรุม
และการถูกทิฏฐิราคะครอบงำนี้”
พระมหากัจจานะตอบว่า “ในชนบทด้านทิศตะวันออกมีเมืองหลวงชื่อสาวัตถี
ณ กรุงสาวัตถีนั้น ขณะนี้พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นกำลัง
ประทับอยู่ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงล่วงพ้นความยึดมั่นกามราคะ การตกอยู่
ในอำนาจกามราคะ ความกำหนัดยินดีในกามราคะ การถูกกามราคะกลุ้มรุม
และการถูกกามราคะครอบงำนี้ และทรงล่วงพ้นความยึดมั่นทิฏฐิราคะ การตกอยู่ใน
อำนาจทิฏฐิราคะ ความกำหนัดยินดีในทิฏฐิราคะ การถูกทิฏฐิราคะกลุ้มรุม และการ
ถูกทิฏฐิราคะครอบงำนี้”
เมื่อพระมหากัจจานะตอบอย่างนี้แล้ว พราหมณ์อารามทัณฑะได้ลุกจากที่นั่ง
ห่มผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง คุกเข่าข้างขวาลงบนแผ่นดิน ประนมมือไปยังทิศที่พระผู้มี
พระภาคประทับอยู่ อุทานขึ้น ๓ ครั้งว่า
“ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ขอนอบ
น้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ขอนอบน้อมพระผู้มี
พระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นผู้ทรงล่วงพ้นความยึดมั่นกามราคะ
การตกอยู่ในอำนาจกามราคะ ความกำหนัดยินดีในกามราคะ การถูกกามราคะ
กลุ้มรุม และการถูกกามราคะครอบงำนี้ และทรงล่วงพ้นความยึดมั่นทิฏฐิราคะ การ
ตกอยู่ในอำนาจทิฏฐิราคะ ความกำหนัดยินดีในทิฏฐิราคะ การถูกทิฏฐิราคะกลุ้มรุม
และการถูกทิฏฐิราคะครอบงำนี้
ท่านกัจจานะ ภาษิตของท่านชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านกัจจานะ ภาษิตของท่าน
ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านกัจจานะประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบ
เหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีป
ในที่มืดโดยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’ ข้าพเจ้านี้ขอถึงท่านพระโคดมพระองค์
นั้น พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอท่านกัจจานะจงจำข้าพเจ้าว่าเป็น
อุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต” (๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๘๔ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๔. สมจิตตวรรค

ภูมิคนแก่และภูมิคนหนุ่ม

[๓๙] สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัจจานะอยู่ที่ป่าคุนทาวัน เขตเมืองมธุรา
ครั้งนั้น พราหมณ์กัณฑรายนะเข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะถึงที่อยู่ ได้สนทนา
ปราศรัย ฯลฯ พราหมณ์กัณฑรายนะผู้นั่ง ณ ที่สมควรแล้วได้กล่าวดังนี้ว่า “ท่าน
กัจจานะ ข้าพเจ้าได้ฟังมาว่า สมณะกัจจานะไม่ยอมกราบ ไม่ลุกรับพวกพราหมณ์
ผู้แก่ ผู้เฒ่า ผู้ใหญ่ ผู้ล่วงกาลผ่านวัย หรือไม่เชื้อเชิญให้นั่ง ท่านกัจจานะ เรื่องที่
ข้าพเจ้าได้ทราบมานั้นจริงทีเดียว การที่ท่านกัจจานะทำเช่นนั้นไม่สมควรเลย”
ท่านพระมหากัจจานะตอบว่า “ภูมิคนแก่และภูมิคนหนุ่มที่พระผู้มีพระภาค
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงรู้ทรงเห็นพระองค์นั้นตรัสไว้มีอยู่ ถึงแม้นับแต่เกิดมา
บุคคลจะเป็นคนแก่มีอายุ ๘๐ ปี ๙๐ ปี หรือ ๑๐๐ ปี แต่เขายังบริโภคกาม อยู่ใน
ท่ามกลางกาม ถูกความเร่าร้อนเพราะกามแผดเผา ถูกกามวิตกกัดกินอยู่ ยังเป็นผู้
ขวนขวายเพื่อแสวงหากาม เขาย่อมถึงการนับว่าเป็นหนุ่ม ไม่ใช่ผู้ใหญ่แท้ ถึงแม้ว่า
จะเป็นเด็ก๑ ยังหนุ่มมีผมดำสนิท ประกอบด้วยความเป็นคนหนุ่มแน่น อยู่ในปฐมวัย
แต่เขาไม่บริโภคกาม ไม่อยู่ในท่ามกลางกาม ไม่ถูกความเร่าร้อนเพราะกามแผดเผา
ไม่ถูกกามวิตกกัดกินอยู่ ไม่ขวนขวายเพื่อแสวงหากาม เขาย่อมถึงการนับว่า
เป็นบัณฑิต เป็นผู้ใหญ่แท้”
เมื่อท่านพระมหากัจจานะกล่าวอย่างนี้แล้ว พราหมณ์กัณฑรายนะได้ลุกจากที่
นั่ง ห่มผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าของภิกษุหนุ่ม ๑๐๐ รูป ด้วยเศียรเกล้า
กล่าวว่า “พระคุณเจ้าทั้งหลายเป็นผู้ใหญ่ ตั้งอยู่ในภูมิของผู้ใหญ่ แต่ข้าพเจ้าเป็น
เด็ก ตั้งอยู่ในภูมิของเด็ก ท่านกัจจานะ ภาษิตของท่านชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอ
ท่าน กัจจานะจงจำข้าพเจ้าว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอด
ชีวิต” (๗)


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๔. สมจิตตวรรค

สมัย ๒ อย่าง

[๔๐] ภิกษุทั้งหลาย ในเวลาที่พวกโจรมีกำลัง๑ พระเจ้าแผ่นดินทั้งหลายย่อม
อ่อนกำลัง ในสมัยนั้น พระเจ้าแผ่นดินย่อมไม่สะดวกที่จะเสด็จผ่านไป เสด็จออกไป
หรือออกคำสั่งไปยังชนบทชายแดน แม้พวกพราหมณ์และคหบดีก็ไม่สะดวกที่จะ
ผ่านไป ออกไป หรือตรวจตราการงานภายนอก
ในทำนองเดียวกัน ในเวลาที่พวกภิกษุเลวทรามมีกำลัง๒ พวกภิกษุผู้มีศีลเป็น
ที่รักย่อมอ่อนกำลัง ในสมัยนั้น ภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รักย่อมนิ่งเงียบ นั่งในท่ามกลาง
สงฆ์หรืออพยพไปอยู่ชนบทชายแดน ข้อนี้นั้นย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก
เพื่อไม่ใช่สุขแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์
แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ในเวลาที่พระเจ้าแผ่นดินทั้งหลายมีกำลัง พวกโจรย่อมอ่อนกำลัง ในสมัยนั้น
พระเจ้าแผ่นดินย่อมมีความสะดวกที่จะเสด็จผ่านไป เสด็จออกไป หรือออกคำสั่งไป
ยังชนบทชายแดน แม้พวกพราหมณ์และคหบดีก็มีความสะดวกที่จะผ่านไป ออกไป
หรือตรวจตราการงานภายนอก
ในทำนองเดียวกัน ในเวลาที่ภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รักมีกำลัง ภิกษุเลวทรามย่อม
อ่อนกำลัง ในสมัยนั้น ภิกษุเลวทรามย่อมนิ่งเงียบ นั่งอยู่ในท่ามกลางสงฆ์หรือออก
ไปทางใดทางหนึ่ง ข้อนี้นั้นย่อมเป็นไปเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก
เพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย (๘)

การปฏิบัติที่ทรงสรรเสริญและไม่ทรงสรรเสริญ

[๔๑] ภิกษุทั้งหลาย เราไม่สรรเสริญการปฏิบัติผิดของคน ๒ จำพวก คือ
คฤหัสถ์หรือบรรพชิต คฤหัสถ์หรือบรรพชิตปฏิบัติผิด เพราะการปฏิบัติผิดเป็นเหตุ
ย่อมไม่ทำให้ญายกุศลธรรม๓สำเร็จบริบูรณ์


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๕. ปริสวรรค

ภิกษุทั้งหลาย เราสรรเสริญการปฏิบัติชอบของคน ๒ จำพวก คือ คฤหัสถ์
หรือบรรพชิต คฤหัสถ์หรือบรรพชิตปฏิบัติชอบ เพราะการปฏิบัติชอบเป็นเหตุย่อม
ทำให้ญายกุศลธรรมสำเร็จบริบูรณ์ (๙)

บุคคลผู้ทำให้ศาสนาเสื่อมและเจริญ

[๔๒] ภิกษุพวกที่คัดค้านอรรถและธรรมโดยสูตรที่ตนเรียนไว้ไม่ดีด้วยพยัญชน-
ปฏิรูป๑นั้นชื่อว่าปฏิบัติเพื่อไม่เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุขแก่คนหมู่มาก เพื่อ
ไม่ใช่ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ภิกษุย่อมประสพสิ่งไม่ใช่บุญเป็นอันมาก และชื่อว่าทำให้สัทธรรมนี้สูญหายไป
ภิกษุพวกที่อนุโลมอรรถและธรรมโดยสูตรที่ตนเรียนไว้ดีด้วยพยัญชนปฏิรูปนั้น
ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อประโยชน์แก่คน
หมู่มาก เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นย่อมประสพ
บุญเป็นอันมาก และชื่อว่าดำรงสัทธรรมนี้ไว้ได้ (๑๐)

สมจิตตวรรคที่ ๔ จบ

๕. ปริสวรรค
หมวดว่าด้วยบริษัท

[๔๓] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้
บริษัท ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บริษัทตื้น ๒. บริษัทลึก
บริษัทตื้น เป็นอย่างไร
คือ บริษัทใดในธรรมวินัยนี้มีพวกภิกษุเป็นผู้ฟุ้งซ่าน ถือตัว โลเล ปากกล้า
พูดพร่ำเพรื่อ หลงลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะ มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตกวัดแกว่ง ไม่สำรวม
อินทรีย์ บริษัทเช่นนี้เรียกว่า บริษัทตื้น


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๕. ปริสวรรค

บริษัทลึก เป็นอย่างไร
คือ บริษัทใดในธรรมวินัยนี้มีพวกภิกษุเป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ถือตัว ไม่โลเล ไม่
ปากกล้า ไม่พูดพร่ำเพรื่อ มีสติตั้งมั่น มีสัมปชัญญะ มีจิตตั้งมั่น มีจิตแน่วแน่
สำรวมอินทรีย์ บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทลึก
ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้แล
บรรดาบริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัทลึกเป็นเลิศ (๑)
[๔๔] ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้
บริษัท ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บริษัทที่แตกแยกกัน ๒. บริษัทที่สามัคคีกัน
บริษัทที่แตกแยกกัน เป็นอย่างไร
คือ บริษัทใดในธรรมวินัยนี้มีพวกภิกษุต่างบาดหมางกัน ทะเลาะวิวาทกัน
ใช้หอกคือปากทิ่มแทงกันอยู่ บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทที่แตกแยกกัน
บริษัทที่สามัคคีกัน เป็นอย่างไร
คือ บริษัทใดในธรรมวินัยนี้มีพวกภิกษุพร้อมเพรียงกัน ชื่นชมกัน ไม่วิวาทกัน
เป็นเหมือนน้ำนมกับน้ำ มองกันด้วยนัยน์ตาที่เปี่ยมด้วยความรักอยู่ บริษัทนี้เรียกว่า
บริษัทที่สามัคคีกัน
ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้แล
บรรดาบริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัทที่สามัคคีกันเป็นเลิศ (๒)
[๔๕] ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้
บริษัท ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บริษัทที่ไม่มีหัวหน้ายอดเยี่ยม
๒. บริษัทที่มีหัวหน้ายอดเยี่ยม
บริษัทที่ไม่มีหัวหน้ายอดเยี่ยม เป็นอย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๘๘ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๕. ปริสวรรค

คือ บริษัทใดในธรรมวินัยนี้มีพวกภิกษุเถระเป็นผู้มักมาก เป็นผู้ย่อหย่อน๑ เป็น
ผู้นำในโวกกมนธรรม๒ ทอดธุระ๓ในปวิเวก๔ ไม่ปรารภความเพียร๕เพื่อถึงธรรม
ที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง หมู่คน
รุ่นหลังพากันตามอย่างพวกภิกษุเถระเหล่านั้น แม้หมู่คนรุ่นหลังนั้นก็เป็นผู้มักมาก
เป็นผู้ย่อหย่อน เป็นผู้นำในโวกกมนธรรม ทอดธุระในปวิเวก ไม่ปรารภความเพียร
เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำ
ให้แจ้ง บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทที่ไม่มีหัวหน้ายอดเยี่ยม
บริษัทที่มีหัวหน้ายอดเยี่ยม เป็นอย่างไร
คือ บริษัทใดในธรรมวินัยนี้มีพวกภิกษุเถระ ไม่มักมาก ไม่ย่อหย่อน หมดธุระใน
โวกกมนธรรม เป็นผู้นำในปวิเวก ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อ
บรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง หมู่คนรุ่นหลังพากัน
ตามอย่างพวกภิกษุเถระเหล่านั้น แม้หมู่คนรุ่นหลังนั้นก็ไม่มักมาก ไม่ย่อหย่อน
หมดธุระในโวกกมนธรรม เป็นผู้นำในปวิเวก ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง
เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง บริษัทนี้เรียกว่า
บริษัทที่มีหัวหน้ายอดเยี่ยม
ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้แล
บรรดาบริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัทที่มีหัวหน้ายอดเยี่ยมเป็นเลิศ (๓)


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๕. ปริสวรรค

[๔๖] ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้
บริษัท ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บริษัทที่ไม่เป็นอริยะ ๒. บริษัทที่เป็นอริยะ
บริษัทที่ไม่เป็นอริยะ เป็นอย่างไร
คือ บริษัทใดในธรรมวินัยนี้มีพวกภิกษุไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ นี้
ทุกขสมุทัย(เหตุเกิดทุกข์) นี้ทุกขนิโรธ(ความดับทุกข์) นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
(ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์)” บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทที่ไม่เป็นอริยะ
บริษัทที่เป็นอริยะ เป็นอย่างไร
คือ บริษัทใดในธรรมวินัยนี้มีพวกภิกษุรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ นี้
ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา” บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทที่เป็น
อริยะ
ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้แล
บรรดาบริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัทที่เป็นอริยะเป็นเลิศ (๔)
[๔๗] ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้
บริษัท ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บริษัทหยากเยื่อ ๒. บริษัทใสสะอาด
บริษัทหยากเยื่อ เป็นอย่างไร
คือ บริษัทใดในธรรมวินัยนี้มีพวกภิกษุถึงฉันทาคติ(ลำเอียงเพราะชอบ)
โทสาคติ(ลำเอียงเพราะชัง) โมหาคติ(ลำเอียงเพราะหลง) ภยาคติ(ลำเอียงเพราะ
กลัว) บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทหยากเยื่อ
บริษัทใสสะอาด เป็นอย่างไร
คือ บริษัทใดในธรรมวินัยนี้มีพวกภิกษุไม่ถึงฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ
ภยาคติ บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทใสสะอาด
ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้แล
บรรดาบริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัทใสสะอาดเป็นเลิศ (๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๙๐ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๕. ปริสวรรค

[๔๘] ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้
บริษัท ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บริษัทที่ดื้อด้าน ไม่ไต่ถาม และไม่ได้รับการแนะนำ
๒. บริษัทที่ไต่ถาม ได้รับการแนะนำ และไม่ดื้อด้าน
บริษัทที่ดื้อด้าน ไม่ไต่ถาม และไม่ได้รับการแนะนำ เป็นอย่างไร
คือ บริษัทใดในธรรมวินัยนี้เมื่อผู้อื่นกล่าวสูตรที่ตถาคตกล่าวไว้ ล้ำลึก มีเนื้อ
ความลึกซึ้ง เป็นโลกุตตรธรรม ประกอบด้วยความว่าง พวกภิกษุไม่ตั้งใจฟังให้ดี
ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อรู้ทั่วถึง และไม่ให้ความสำคัญธรรมว่าควรเรียน
ควรท่องจำให้ขึ้นใจ แต่เมื่อผู้อื่นกล่าวสูตรที่ท่านผู้เชี่ยวชาญได้รจนาไว้เป็นบทกวี
มีอักษรวิจิตร มีพยัญชนะวิจิตร อยู่ภายนอก๑เป็นสาวกภาษิต๒ ภิกษุเหล่านั้นกลับ
ตั้งใจฟังอย่างดี เงี่ยหูฟัง เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อรู้ทั่วถึง และให้ความสำคัญธรรมว่าควร
เรียน ควรท่องจำให้ขึ้นใจ ครั้นท่องจำธรรมนั้นแล้ว ไม่สอบสวน ไม่ไต่ถามกันว่า
“พุทธพจน์นี้เป็นอย่างไร เนื้อความแห่งพุทธพจน์นี้เป็นอย่างไร” ภิกษุเหล่านั้นไม่
เปิดเผยธรรมที่ยังไม่ได้เปิดเผย ไม่ทำให้ง่ายซึ่งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้ง่าย และไม่
บรรเทาความสงสัยในธรรมที่น่าสงสัยหลายอย่าง บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทที่ดื้อด้าน
ไม่ไต่ถาม และไม่ได้รับการแนะนำ
บริษัทที่ไต่ถาม ได้รับการแนะนำ และไม่ดื้อด้าน เป็นอย่างไร
คือ บริษัทใดในธรรมวินัยนี้เมื่อผู้อื่นกล่าวสูตรที่ท่านผู้เชี่ยวชาญรจนาไว้เป็น
บทกวี มีอักษรวิจิตร มีพยัญชนะวิจิตร อยู่ภายนอก เป็นสาวกภาษิต พวกภิกษุไม่
ตั้งใจฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อรู้ทั่วถึง และไม่ให้ความสำคัญธรรม
ว่าควรเรียน ควรท่องจำให้ขึ้นใจ แต่เมื่อผู้อื่นกล่าวสูตรที่ตถาคตกล่าวไว้ ล้ำลึก
มีเนื้อความลึกซึ้ง เป็นโลกุตตรธรรม ประกอบด้วยความว่าง ภิกษุเหล่านั้นกลับ
ตั้งใจฟังด้วยดี เงี่ยหูฟัง เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อรู้ทั่วถึง และให้ความสำคัญธรรมว่าควร


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๕. ปริสวรรค

เรียน ควรท่องจำให้ขึ้นใจ ครั้นท่องจำธรรมนั้นแล้วย่อมสอบสวนไต่ถามกันว่า
“พุทธพจน์นี้เป็นอย่างไร เนื้อความแห่งพุทธพจน์นี้เป็นอย่างไร” ภิกษุเหล่านั้นเปิด
เผยธรรมที่ยังไม่ได้เปิดเผย ทำให้ง่ายซึ่งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้ง่าย และบรรเทาความ
สงสัยในธรรมที่น่าสงสัยหลายอย่าง บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทที่ไต่ถาม ได้รับการ
แนะนำ และไม่ดื้อด้าน
ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้แล
บรรดาบริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัทที่ไต่ถาม ได้รับการแนะนำ และไม่ดื้อด้าน
เป็นเลิศ (๖)
[๔๙] ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้
บริษัท ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บริษัทที่หนักในอามิส ไม่หนักในสัทธรรม
๒. บริษัทที่หนักในสัทธรรม ไม่หนักในอามิส
บริษัทที่หนักในอามิส ไม่หนักในสัทธรรม เป็นอย่างไร
คือ บริษัทใดในธรรมวินัยนี้มีพวกภิกษุต่างสรรเสริญคุณของกันและกันต่อหน้า
คฤหัสถ์ผู้นุ่งผ้าขาวว่า “ภิกษุรูปโน้นเป็นอุภโตภาควิมุต๑ ภิกษุรูปโน้นเป็นปัญญาวิมุต๒
ภิกษุรูปโน้นเป็นกายสักขี๓ ภิกษุรูปโน้นเป็นทิฏฐิปัตตะ๔ ภิกษุรูปโน้นเป็นสัทธาวิมุต๕


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๕. ปริสวรรค

ภิกษุรูปโน้นเป็นธัมมานุสารี๑ ภิกษุรูปโน้นเป็นสัทธานุสารี๒ ภิกษุรูปโน้นมีศีลมี
กัลยาณธรรม ภิกษุรูปโน้นทุศีลมีธรรมเลวทราม” ภิกษุเหล่านั้นได้ลาภเพราะเหตุนั้น
เธอทั้งหลายครั้นได้ลาภนั้นแล้ว ต่างติดใจ ลุ่มหลง หมกมุ่น ไม่เห็นโทษ ขาดปัญญา
เป็นเครื่องสลัดออก บริโภคอยู่ บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทที่หนักในอามิส ไม่หนักใน
สัทธรรม
บริษัทที่หนักในสัทธรรม ไม่หนักในอามิส เป็นอย่างไร
คือ บริษัทใดในธรรมวินัยนี้มีพวกภิกษุไม่กล่าวสรรเสริญคุณของกันและกัน
ต่อหน้าคฤหัสถ์ผู้นุ่งผ้าขาวว่า “ภิกษุรูปโน้นเป็นอุภโตภาควิมุต ภิกษุรูปโน้นเป็น
ปัญญาวิมุต ภิกษุรูปโน้นเป็นกายสักขี ภิกษุรูปโน้นเป็นทิฏฐิปัตตะ ภิกษุรูปโน้นเป็น
สัทธาวิมุต ภิกษุรูปโน้นเป็นธัมมานุสารี ภิกษุรูปโน้นเป็นสัทธานุสารี ภิกษุรูปโน้นมี
ศีลมีกัลยาณธรรม ภิกษุรูปโน้นทุศีลมีธรรมเลวทราม “ภิกษุเหล่านั้นได้ลาภเพราะ
เหตุนั้น เธอทั้งหลายครั้นได้ลาภนั้นแล้ว ไม่ติดใจ ไม่ลุ่มหลง ไม่หมกมุ่น มองเห็น
โทษ มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก บริโภคอยู่ บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทที่หนักใน
สัทธรรม ไม่หนักในอามิส
ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้แล
บรรดาบริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัทที่หนักในสัทธรรม ไม่หนักในอามิสเป็น
เลิศ (๗)
[๕๐] ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้
บริษัท ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บริษัทที่ไม่เรียบร้อย ๒. บริษัทที่เรียบร้อย
บริษัทที่ไม่เรียบร้อย เป็นอย่างไร


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๕. ปริสวรรค

คือ บริษัทใดในธรรมวินัยนี้ กรรมที่ไม่เป็นธรรมเป็นไป กรรมที่เป็นธรรมไม่
เป็นไป กรรมที่ไม่เป็นวินัยเป็นไป กรรมที่เป็นวินัยไม่เป็นไป กรรมที่ไม่เป็นธรรม
รุ่งเรือง กรรมที่เป็นธรรมไม่รุ่งเรือง กรรมที่ไม่เป็นวินัยรุ่งเรือง กรรมที่เป็นวินัยไม่
รุ่งเรือง บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทที่ไม่เรียบร้อย
เพราะบริษัทที่ไม่เรียบร้อย กรรมที่ไม่เป็นธรรมจึงเป็นไป กรรมที่เป็นธรรมไม่
เป็นไป กรรมที่ไม่เป็นวินัยเป็นไป กรรมที่เป็นวินัยไม่เป็นไป กรรมที่ไม่เป็นธรรมรุ่งเรือง
กรรมที่เป็นธรรมไม่รุ่งเรือง กรรมที่ไม่เป็นวินัยรุ่งเรือง กรรมที่เป็นวินัยไม่รุ่งเรือง
บริษัทที่เรียบร้อย เป็นอย่างไร
คือ บริษัทใดในธรรมวินัยนี้ กรรมที่เป็นธรรมเป็นไป กรรมที่ไม่เป็นธรรมไม่
เป็นไป กรรมที่เป็นวินัยเป็นไป กรรมที่ไม่เป็นวินัยไม่เป็นไป กรรมที่เป็นธรรมรุ่งเรือง
กรรมที่ไม่เป็นธรรมไม่รุ่งเรือง กรรมที่เป็นวินัยรุ่งเรือง กรรมที่ไม่เป็นวินัยไม่รุ่งเรือง
บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทที่เรียบร้อย
เพราะบริษัทที่เรียบร้อย กรรมที่เป็นธรรมจึงเป็นไป กรรมที่ไม่เป็นธรรมไม่เป็นไป
กรรมที่เป็นวินัยเป็นไป กรรมที่ไม่เป็นวินัยไม่เป็นไป กรรมที่เป็นธรรมรุ่งเรือง กรรม
ที่ไม่เป็นธรรมไม่รุ่งเรือง กรรมที่เป็นวินัยรุ่งเรือง กรรมที่ไม่เป็นวินัยไม่รุ่งเรือง
ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้แล
บรรดาบริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัทที่เรียบร้อยเป็นเลิศ (๘)
[๕๑] ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้
บริษัท ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บริษัทที่ไม่เป็นธรรม ๒. บริษัทที่เป็นธรรม ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้แล
บรรดาบริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัทที่เป็นธรรมเป็นเลิศ (๙)
[๕๒] ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้
บริษัท ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๙๔ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๕. ปริสวรรค

๑. บริษัทที่เป็นอธัมมวาที (กล่าวแต่สิ่งที่ไม่เป็นธรรม)
๒. บริษัทที่เป็นธัมมวาที (กล่าวแต่สิ่งที่เป็นธรรม)
บริษัทที่เป็นอธัมมวาที เป็นอย่างไร
คือ บริษัทใดในธรรมวินัยนี้มีพวกภิกษุได้รับอธิกรณ์๑ ที่เป็นธรรมหรือไม่เป็น
ธรรมก็ตาม ครั้นได้รับอธิกรณ์นั้นแล้ว ไม่ประกาศให้ยอมรับกัน และไม่เข้าร่วมการ
ยอมรับ ไม่ยอมให้พิจารณาอธิกรณ์ และไม่เข้าร่วมการพิจารณาอธิกรณ์ ภิกษุ
เหล่านั้นมีความตกลงกันไม่ได้เป็นแรงหนุน มีการไม่เพ่งโทษตนเป็นแรงหนุน คิด
แต่จะดื้อดึงไม่ยอมรับ กล่าวด้วยความยึดมั่นถือมั่นอธิกรณ์นั้นว่า “นี้เท่านั้นจริง
อย่างอื่นไม่จริง” บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทที่เป็นอธัมมวาที
บริษัทที่เป็นธัมมวาที เป็นอย่างไร
คือ บริษัทใดในธรรมวินัยนี้มีพวกภิกษุได้รับอธิกรณ์ที่เป็นธรรมหรือไม่เป็น
ธรรมก็ตาม ครั้นได้รับอธิกรณ์นั้นแล้ว ประกาศให้ยอมรับกัน และเข้าร่วมการยอมรับ
ยอมให้พิจารณาอธิกรณ์ และเข้าร่วมการพิจารณาอธิกรณ์ ภิกษุเหล่านั้นมีการตกลง
กันได้เป็นแรงหนุน มีการเพ่งโทษตนเป็นแรงหนุน คิดแต่จะยอมรับ ไม่กล่าวด้วย
ความยึดมั่นถือมั่นอธิกรณ์นั้นว่า “นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง” บริษัทนี้เรียกว่า
บริษัทที่เป็นธัมมวาที
ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้แล
บรรดาบริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัทที่เป็นธัมมวาทีเป็นเลิศ (๑๐)

ปริสวรรคที่ ๕ จบ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] รวมพระสูตรที่มีในวรรค

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อุตตานสูตร ๒. วัคคสูตร
๓. อัคควตีสูตร ๔. อริยสูตร
๕. กสฏสูตร ๖. อุกกาจิตสูตร
๗. อามิสสูตร ๘. วิสมสูตร
๙. อธัมมสูตร ๑๐. ธัมมิยสูตร

ปฐมปัณณาสก์ จบบริบูรณ์


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๑. ปุคคลวรรค

๒. ทุติยปัณณาสก์

๑. ปุคคลวรรค
หมวดว่าด้วยบุคคล

[๕๓] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๒ จำพวกนี้ เมื่อ
เกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก๑ เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อ
ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
บุคคล ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒. พระเจ้าจักรพรรดิ
บุคคล ๒ จำพวกนี้แล เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก
เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลาย (๑)
[๕๔] บุคคล ๒ จำพวกนี้ เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเป็นอัจฉริย-
มนุษย์๒
บุคคล ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒. พระเจ้าจักรพรรดิ
บุคคล ๒ จำพวกนี้แล เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเป็นอัจฉริยมนุษย์ (๒)
[๕๕] การตายของบุคคล ๒ จำพวกนี้เป็นเหตุให้คนจำนวนมากพลอยเดือด
ร้อนไปด้วย


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๑. ปุคคลวรรค

การตายของบุคคล ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒. พระเจ้าจักรพรรดิ
การตายของบุคคล ๒ จำพวกนี้แลเป็นเหตุให้คนจำนวนมากพลอยเดือดร้อน
ไปด้วย (๓)
[๕๖] ถูปารหบุคคล๑ ๒ จำพวกนี้
ถูปารหบุคคล ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒. พระเจ้าจักรพรรดิ
ถูปารหบุคคล ๒ จำพวกนี้แล (๔)
[๕๗] พระพุทธเจ้า ๒ จำพวกนี้
พระพุทธเจ้า ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒. พระปัจเจกพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้า ๒ จำพวกนี้แล (๕)
[๕๘] สัตว์วิเศษ ๒ จำพวกนี้ เมื่อฟ้าผ่าย่อมไม่สะดุ้ง
สัตว์วิเศษ ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. ภิกษุขีณาสพ ๒. ช้างอาชาไนย
สัตว์วิเศษ ๒ จำพวกนี้แล เมื่อฟ้าผ่าย่อมไม่สะดุ้ง (๖)
[๕๙] สัตว์วิเศษ ๒ จำพวกนี้ เมื่อฟ้าผ่าย่อมไม่สะดุ้ง
สัตว์วิเศษ ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. ภิกษุขีณาสพ ๒. ม้าอาชาไนย
สัตว์วิเศษ ๒ จำพวกนี้แล เมื่อฟ้าผ่าย่อมไม่สะดุ้ง (๗)
[๖๐] สัตว์วิเศษ ๒ จำพวกนี้ เมื่อฟ้าผ่าย่อมไม่สะดุ้ง
สัตว์วิเศษ ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๑. ปุคคลวรรค

๑. ภิกษุขีณาสพ ๒. พญาราชสีห์
สัตว์วิเศษ ๒ จำพวกนี้แล เมื่อฟ้าผ่าย่อมไม่สะดุ้ง (๘)

เหตุที่กินนรไม่พูดภาษาคน

[๖๑] กินนร๑เห็นอำนาจประโยชน์ ๒ ประการนี้จึงไม่พูดภาษาคน
อำนาจประโยชน์ ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่พูดเท็จ ๒. ไม่กล่าวตู่ผู้อื่นด้วยเรื่องไม่จริง
กินนรเห็นอำนาจประโยชน์ ๒ ประการนี้แลจึงไม่พูดภาษาคน (๙)

สิ่งที่มาตุคามไม่อิ่ม

[๖๒] มาตุคาม(สตรี)ไม่อิ่ม ไม่ระอาต่อธรรม ๒ ประการจนกระทั่งตาย
ธรรม ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. การเสพเมถุนธรรม๒ ๒. การคลอดบุตร
มาตุคามไม่อิ่ม ไม่ระอาต่อธรรม ๒ ประการนี้แลจนกระทั่งตาย (๑๐)

การอยู่ร่วมกัน ๒ แบบ

[๖๓] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงการอยู่ร่วมกันของอสัตบุรุษและการอยู่ร่วม
กันของสัตบุรุษแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุ
เหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
การอยู่ร่วมกันของอสัตบุรุษและอสัตบุรุษอยู่ร่วมกัน เป็นอย่างไร


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๑. ปุคคลวรรค

คือ ภิกษุผู้เป็นเถระในธรรมวินัยนี้มีความคิดอย่างนี้ว่า “ถึงพระเถระ๑ก็ไม่ควร
ว่ากล่าวเรา ถึงพระมัชฌิมะ๒ก็ไม่ควรว่ากล่าวเรา ถึงพระนวกะ๓ก็ไม่ควรว่ากล่าวเรา
ตัวเราก็ไม่ควรว่ากล่าวพระเถระ พระมัชฌิมะ และพระนวกะ ถึงหากพระเถระจะว่า
กล่าวเรา ก็ปรารถนาสิ่งที่ไม่เกื้อกูลว่ากล่าวเรา ไม่ใช่ปรารถนาสิ่งที่เกื้อกูลว่ากล่าว
เรา เราจะพูดกับเขาว่า ‘ไม่ทำละ’ ถึงเราก็จะเบียดเบียนเขา แม้เห็นอยู่ก็จะไม่ทำตาม
คำแนะนำของเขา หากพระมัชฌิมะจะว่ากล่าวเรา ฯลฯ หากพระนวกะจะว่ากล่าวเรา
ก็ปรารถนาสิ่งที่ไม่เกื้อกูลว่ากล่าวเรา ไม่ใช่ปรารถนาสิ่งที่เกื้อกูลว่ากล่าวเรา เราจะ
พูดกับเขาว่า ‘ไม่ทำละ’ ถึงเราก็จะเบียดเบียนเขา แม้เห็นอยู่ก็จะไม่ทำตามคำแนะนำ
ของเขา”
แม้พระมัชฌิมะก็มีความคิดอย่างนี้ว่า ฯลฯ แม้พระนวกะก็มีความคิดอย่างนี้ว่า
“ถึงพระเถระก็ไม่ควรว่ากล่าวเรา ถึงพระมัชฌิมะก็ไม่ควรว่ากล่าวเรา ถึงพระนวกะ
ก็ไม่ควรว่ากล่าวเรา ตัวเราก็ไม่ควรว่ากล่าวพระเถระ พระมัชฌิมะ และพระนวกะ
ถึงหากพระเถระจะว่ากล่าวเรา ก็ปรารถนาสิ่งที่ไม่เกื้อกูลว่ากล่าวเรา ไม่ใช่ปรารถนา
สิ่งที่เกื้อกูลว่ากล่าวเรา เราจะพูดกับท่านว่า ‘ไม่ทำละ’ ถึงเราก็จะเบียดเบียนท่าน
แม้เห็นอยู่ก็จะไม่ทำตามคำสอนของท่าน หากพระมัชฌิมะจะว่ากล่าวเรา ฯลฯ หาก
พระนวกะจะว่ากล่าวเรา ก็ปรารถนาสิ่งที่ไม่เกื้อกูลว่ากล่าวเรา ไม่ใช่ปรารถนาสิ่งที่
เกื้อกูลว่ากล่าวเรา เราจะพูดกับท่านว่า ‘ไม่ทำละ’ ถึงเราก็จะเบียดเบียนท่าน แม้
เห็นอยู่ก็จะไม่ทำตามคำสอนของท่าน”
การอยู่ร่วมกันของอสัตบุรุษและอสัตบุรุษอยู่ร่วมกันเป็นอย่างนี้แล
การอยู่ร่วมกันของสัตบุรุษและสัตบุรุษอยู่ร่วมกัน เป็นอย่างไร


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๑. ปุคคลวรรค

คือ ภิกษุผู้เป็นเถระในธรรมวินัยนี้มีความคิดอย่างนี้ว่า “ถึงพระเถระก็ควรว่า
กล่าวเรา ถึงพระมัชฌิมะก็ควรว่ากล่าวเรา ถึงพระนวกะก็ควรว่ากล่าวเรา ตัวเราก็
ควรว่ากล่าวทั้งพระเถระ พระมัชฌิมะ และพระนวกะ ถึงหากพระเถระจะว่ากล่าวเรา
ก็ปรารถนาสิ่งที่เกื้อกูลว่ากล่าวเรา ไม่ใช่ปรารถนาสิ่งที่ไม่เกื้อกูลว่ากล่าวเรา เราจะ
พูดกับท่านว่า ‘ดีละ’ เราจะไม่เบียดเบียนท่าน แม้เห็นอยู่ก็จะทำตามคำแนะนำของ
ท่าน หากพระมัชฌิมะจะว่ากล่าวเรา ฯลฯ หากพระนวกะจะว่ากล่าวเรา ก็ปรารถนา
สิ่งที่เกื้อกูลว่ากล่าวเรา ไม่ใช่ปรารถนาสิ่งที่ไม่เกื้อกูลว่ากล่าวเรา เราจะพูดกับท่านว่า
‘ดีละ’ เราจะไม่เบียดเบียนท่าน แม้เห็นอยู่ก็จะทำตามคำแนะนำของท่าน”
แม้พระมัชฌิมะก็มีความคิดอย่างนี้ว่า ฯลฯ แม้พระนวกะก็มีความคิดอย่างนี้ว่า
“ถึงพระเถระก็ควรว่ากล่าวเรา ถึงพระมัชฌิมะก็ควรว่ากล่าวเรา ถึงพระนวกะก็ควร
ว่ากล่าวเรา ตัวเราก็ควรว่ากล่าวทั้งพระเถระ พระมัชฌิมะ และพระนวกะ ถึงหาก
พระเถระจะว่ากล่าวเรา ก็ปรารถนาสิ่งที่เกื้อกูลว่ากล่าวเรา ไม่ใช่ปรารถนาสิ่งที่ไม่
เกื้อกูลว่ากล่าวเรา เราจะพูดกับท่านว่า ‘ดีละ’ เราจะไม่เบียดเบียนท่าน แม้เห็นอยู่
ก็จะทำตามคำสอนของท่าน หากพระมัชฌิมะจะว่ากล่าวเรา ฯลฯ หากพระนวกะ
จะว่ากล่าวเรา ก็ปรารถนาสิ่งที่เกื้อกูลว่ากล่าวเรา ไม่ใช่ปรารถนาสิ่งที่ไม่เกื้อกูลว่า
กล่าวเรา เราจะพูดกับท่านว่า ‘ดีละ’ เราจะไม่เบียดเบียนท่าน แม้เห็นอยู่ก็จะทำ
ตามคำสอนของท่าน”
การอยู่ร่วมกันของสัตบุรุษและสัตบุรุษอยู่ร่วมกันเป็นอย่างนี้แล (๑๑)

เหตุให้อธิกรณ์ยืดเยื้อและไม่ยืดเยื้อ

[๖๔] ในอธิกรณ์ใด การโต้ตอบกันด้วยวาจา ความแข่งดีเพราะทิฏฐิ ความมี
ใจอาฆาต ความไม่พอใจ ความขึ้งเคียด ยังไม่สงบระงับภายใน ในอธิกรณ์นั้นจะมีผล
ตามมาดังนี้ คือ อธิกรณ์นั้นจักเป็นไปเพื่อความยืดเยื้อ เพื่อความรุนแรง เพื่อความ
ร้ายแรง๑ และภิกษุทั้งหลายจักอยู่ไม่ผาสุก


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๒. สุขวรรค

ภิกษุทั้งหลาย ส่วนในอธิกรณ์ใด การโต้ตอบด้วยวาจา ความแข่งดีเพราะทิฏฐิ
ความมีใจอาฆาต ความไม่พอใจ ความขึ้งเคียด สงบระงับไปด้วยดีภายใน ใน
อธิกรณ์นั้นจะมีผลตามมา ดังนี้ คือ อธิกรณ์นั้นจักไม่เป็นไปเพื่อความยืดเยื้อ เพื่อ
ความรุนแรง เพื่อความร้ายแรง และภิกษุทั้งหลายจักอยู่ผาสุก (๑๒)

ปุคคลวรรคที่ ๑ จบ

๒. สุขวรรค
หมวดว่าด้วยสุข

[๖๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้
สุข ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. สุขของคฤหัสถ์ ๒. สุขของบรรพชิต
สุข ๒ อย่างนี้แล บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขของบรรพชิตเป็นเลิศ (๑)
[๖๖] สุข ๒ อย่างนี้
สุข ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. กามสุข๑ ๒. เนกขัมมสุข๒
สุข ๒ อย่างนี้แล บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ เนกขัมมสุขเป็นเลิศ (๒)
[๖๗] สุข ๒ อย่างนี้
สุข ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. สุขที่มีอุปธิ๓ ๒. สุขที่ไม่มีอุปธิ๔
สุข ๒ อย่างนี้แล บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขที่ไม่มีอุปธิเป็นเลิศ (๓)


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์ ] ๒. สุขวรรค

[๖๘] สุข ๒ อย่างนี้
สุข ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. สุขที่มีอาสวะ๑ ๒. สุขที่ไม่มีอาสวะ๒
สุข ๒ อย่างนี้แล บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขที่ไม่มีอาสวะเป็นเลิศ (๔)
[๖๙] สุข ๒ อย่างนี้
สุข ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. สุขที่อิงอามิส๓ ๒. สุขที่ไม่อิงอามิส๔
สุข ๒ อย่างนี้แล บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขที่ไม่อิงอามิสเป็นเลิศ (๕)
[๗๐] สุข ๒ อย่างนี้
สุข ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. สุขของพระอริยะ๕ ๒. สุขของผู้ไม่ใช่พระอริยะ๖
สุข ๒ อย่างนี้แล บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขของพระอริยะเป็นเลิศ (๖)
[๗๑] สุข ๒ อย่างนี้
สุข ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. สุขทางกาย ๒. สุขทางใจ
สุข ๒ อย่างนี้แล บรรดาสุข ๒ อยางนี้ สุขทางใจเป็นเลิศ (๗)


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๒. สุขวรรค

[๗๒] สุข ๒ อย่างนี้
สุข ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. สุขที่มีปีติ๑ ๒. สุขที่ไม่มีปีติ๒
สุข ๒ อย่างนี้แล บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขที่ไม่มีปีติเป็นเลิศ (๘)
[๗๓] สุข ๒ อย่างนี้
สุข ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. สุขที่เกิดจากความยินดี๓ ๒. สุขที่เกิดจากอุเบกขา๔
สุข ๒ อย่างนี้แล บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขที่เกิดจากอุเบกขาเป็นเลิศ (๙)
[๗๔] สุข ๒ อย่างนี้
สุข ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. สมาธิสุข๕ ๒. อสมาธิสุข๖
สุข ๒ อย่างนี้แล บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สมาธิสุขเป็นเลิศ (๑๐)
[๗๕] สุข ๒ อย่างนี้
สุข ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. สุขที่เกิดจากฌานมีปีติเป็นอารมณ์๗
๒. สุขที่เกิดจากฌานไม่มีปีติเป็นอารมณ์๘
สุข ๒ อย่างนี้แล บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขที่เกิดจากฌานไม่มีปีติเป็น
อารมณ์เป็นเลิศ (๑๑)


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๓. สนิมิตตวรรค

[๗๖] สุข ๒ อย่างนี้
สุข ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. สุขที่เกิดจากฌานมีความยินดีเป็นอารมณ์๑
๒. สุขที่เกิดจากฌานมีอุเบกขาเป็นอารมณ์๒
สุข ๒ อย่างนี้แล บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขที่เกิดจากฌานมีอุเบกขาเป็น
อารมณ์เป็นเลิศ (๑๒)
[๗๗] สุข ๒ อย่างนี้
สุข ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. สุขที่มีรูปฌานเป็นอารมณ์
๒. สุขที่มีอรูปฌานเป็นอารมณ์
สุข ๒ อย่างนี้แล บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขที่มีอรูปฌานเป็นอารมณ์เป็น
เลิศ (๑๓)

สุขวรรคที่ ๒ จบ

๓. สนิมิตตวรรค
หมวดว่าด้วยเหตุแห่งบาปอกุศล

[๗๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มี
นิมิต๓ จึงเกิดขึ้น ไม่มีนิมิต ไม่เกิดขึ้น เพราะละนิมิตนั้นเสียได้อย่างนี้ ธรรมที่เป็น
บาปอกุศลเหล่านั้นจึงไม่มี (๑)


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๓. สนิมิตตวรรค

[๗๙] ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีนิทาน๑ จึงเกิดขึ้น ไม่มีนิทาน ไม่เกิดขึ้น
เพราะละนิทานนั้นเสียได้อย่างนี้ ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นจึงไม่มี (๒)
[๘๐] ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีเหตุจึงเกิดขึ้น ไม่มีเหตุ ไม่เกิดขึ้น เพราะละ
เหตุนั้นเสียได้อย่างนี้ ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นจึงไม่มี (๓)
[๘๑] ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีสังขารจึงเกิดขึ้น ไม่มีสังขาร ไม่เกิดขึ้น เพราะ
ละสังขารเหล่านั้นเสียได้อย่างนี้ ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นจึงไม่มี (๔)
[๘๒] ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีปัจจัยจึงเกิดขึ้น ไม่มีปัจจัย ไม่เกิดขึ้น เพราะ
ละปัจจัยนั้นเสียได้อย่างนี้ ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นจึงไม่มี (๕)
[๘๓] ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีรูปจึงเกิดขึ้น ไม่มีรูป ไม่เกิดขึ้น เพราะละรูป
นั้นเสียได้อย่างนี้ ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นจึงไม่มี (๖)
[๘๔] ธรรมที่เป็นบาปอกุศลมีเวทนาจึงเกิดขึ้น ไม่มีเวทนา ไม่เกิดขึ้น เพราะ
ละเวทนานั้นเสียได้อย่างนี้ ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นจึงไม่มี (๗)
[๘๕] ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีสัญญาจึงเกิดขึ้น ไม่มีสัญญา ไม่เกิดขึ้น
เพราะละสัญญานั้นเสียได้อย่างนี้ ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นจึงไม่มี (๘)
[๘๖] ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีวิญญาณจึงเกิดขึ้น ไม่มีวิญญาณ ไม่เกิดขึ้น
เพราะละวิญญาณนั้นเสียได้อย่างนี้ ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นจึงไม่มี (๙)
[๘๗] ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีสังขตธรรม(ธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง) เป็น
อารมณ์จึงเกิดขึ้น ไม่มีสังขตธรรมเป็นอารมณ์ ไม่เกิดขึ้น เพราะละสังขตธรรมนั้น
เสียได้อย่างนี้ ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นจึงไม่มี (๑๐)

สนิมิตตวรรคที่ ๓ จบ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๔. ธัมมวรรค

๔. ธัมมวรรค
หมวดว่าด้วยธรรม

[๘๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้
ธรรม ๒ อย่างอะไรบ้าง คือ
๑. เจโตวิมุตติ๑ (ความหลุดพ้นแห่งจิต)
๒. ปัญญาวิมุตติ๒ (ความหลุดพ้นด้วยปัญญา)
ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๑)
[๘๙] ธรรม ๒ อย่างนี้
ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ความเพียร ๒. ความไม่ฟุ้งซ่าน
ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๒)
[๙๐] ธรรม ๒ อย่างนี้
ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. นาม ๒. รูป
ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๓)
[๙๑] ธรรม ๒ อย่างนี้
ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. วิชชา (ความรู้แจ้ง) ๒. วิมุตติ (ความหลุดพ้น)
ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๔)


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๔. ธัมมวรรค

[๙๒] ธรรม ๒ อย่างนี้
ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ภวทิฏฐิ๑ ๒. วิภวทิฏฐิ๒
ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๕)
[๙๓] ธรรม ๒ อย่างนี้
ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. อหิริกะ (ความไม่อายบาป) ๒. อโนตตัปปะ (ความไม่กลัวบาป)
ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๖)
[๙๔] ธรรม ๒ อย่างนี้
ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. หิริ (ความอายบาป) ๒. โอตตัปปะ (ความกลัวบาป)
ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๗)
[๙๕] ธรรม ๒ อย่างนี้
ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ความเป็นผู้ว่ายาก ๒. ความมีปาปมิตร
ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๘)
[๙๖] ธรรม ๒ อย่างนี้
ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ความเป็นผู้ว่าง่าย ๒. ความมีกัลยาณมิตร
ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๙)


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๕. พาลวรรค

[๙๗] ธรรม ๒ อย่างนี้
ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ความเป็นผู้ฉลาดในธาตุ๑ ๒. ความเป็นผู้ฉลาดในมนสิการ
ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๑๐)
[๙๘] ธรรม ๒ อย่างนี้
ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ความเป็นผู้ฉลาดในอาบัติ๒ ๒. ความเป็นผู้ฉลาดในการออกจากอาบัติ๓
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๑๑)

ธัมมวรรคที่ ๔ จบ

๕. พาลวรรค
หมวดว่าด้วยคนพาลและบัณฑิต

[๙๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย คนพาล ๒ จำพวกนี้
คนพาล ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. คนที่ทำหน้าที่ซึ่งยังมาไม่ถึง ๒. คนที่ไม่ทำหน้าที่ซึ่งมาถึงแล้ว
คนพาล ๒ จำพวกนี้แล (๑)


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๕. พาลวรรค

[๑๐๐] บัณฑิต ๒ จำพวกนี้
บัณฑิต ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. คนที่ไม่ทำหน้าที่ซึ่งยังมาไม่ถึง ๒. คนที่ทำหน้าที่ซึ่งมาถึงแล้ว
บัณฑิต ๒ จำพวกนี้แล (๒)
[๑๐๑] คนพาล ๒ จำพวกนี้
คนพาล ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. คนที่เข้าใจว่าควรในของที่ไม่ควร ๒. คนที่เข้าใจว่าไม่ควรในของที่ควร
คนพาล ๒ จำพวกนี้แล (๓)
[๑๐๒] บัณฑิต ๒ จำพวกนี้
บัณฑิต ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. คนที่เข้าใจว่าไม่ควรในของที่ไม่ควร ๒. คนที่เข้าใจว่าควรในของที่ควร
บัณฑิต ๒ จำพวกนี้แล (๔)
[๑๐๓] คนพาล ๒ จำพวกนี้
คนพาล ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. คนที่เข้าใจว่าเป็นอาบัติในข้อที่ไม่เป็นอาบัติ
๒. คนที่เข้าใจว่าไม่เป็นอาบัติในข้อที่เป็นอาบัติ
คนพาล ๒ จำพวกนี้แล (๕)
[๑๐๔] บัณฑิต ๒ จำพวกนี้
บัณฑิต ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. คนที่เข้าใจว่าไม่เป็นอาบัติในข้อที่ไม่เป็นอาบัติ
๒. คนที่เข้าใจว่าเป็นอาบัติในข้อที่เป็นอาบัติ
บัณฑิต ๒ จำพวกนี้แล (๖)
[๑๐๕] คนพาล ๒ จำพวกนี้
คนพาล ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๑๑๐ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๕. พาลวรรค

๑. คนที่เข้าใจว่าเป็นธรรมในข้อที่ไม่เป็นธรรม
๒. คนที่เข้าใจว่าไม่เป็นธรรมในข้อที่เป็นธรรม
คนพาล ๒ จำพวกนี้แล (๗)
[๑๐๖] บัณฑิต ๒ จำพวกนี้
บัณฑิต ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. คนที่เข้าใจว่าเป็นธรรมในข้อที่เป็นธรรม
๒. คนที่เข้าใจว่าไม่เป็นธรรมในข้อที่ไม่เป็นธรรม
บัณฑิต ๒ จำพวกนี้แล (๘)
[๑๐๗] คนพาล ๒ จำพวกนี้
คนพาล ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. คนที่เข้าใจว่าเป็นวินัยในข้อที่ไม่เป็นวินัย
๒. คนที่เข้าใจว่าไม่เป็นวินัยในข้อที่เป็นวินัย
คนพาล ๒ จำพวกนี้แล (๙)
[๑๐๘] บัณฑิต ๒ จำพวกนี้
บัณฑิต ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. คนที่เข้าใจว่าไม่เป็นวินัยในข้อที่ไม่เป็นวินัย
๒. คนที่เข้าใจว่าเป็นวินัยในข้อที่เป็นวินัย
บัณฑิต ๒ จำพวกนี้แล (๑๐)
[๑๐๙] อาสวะ๑ ย่อมเจริญแก่คน ๒ จำพวก
คน ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. คนที่รังเกียจสิ่งที่ไม่น่ารังเกียจ ๒. คนที่ไม่รังเกียจสิ่งที่น่ารังเกียจ
อาสวะย่อมเจริญแก่คน ๒ จำพวกนี้แล (๑๑)


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๕. พาลวรรค

[๑๑๐] อาสวะย่อมไม่เจริญแก่คน ๒ จำพวก
คน ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. คนที่ไม่รังเกียจสิ่งที่ไม่น่ารังเกียจ ๒. คนที่รังเกียจสิ่งที่น่ารังเกียจ
อาสวะย่อมไม่เจริญแก่คน ๒ จำพวกนี้แล (๑๒)
[๑๑๑] อาสวะย่อมเจริญแก่คน ๒ จำพวก
คน ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. คนที่เข้าใจว่าควรในของที่ไม่ควร ๒. คนที่เข้าใจว่าไม่ควรในของที่ควร
อาสวะย่อมเจริญแก่คน ๒ จำพวกนี้แล (๑๓)
[๑๑๒] อาสวะย่อมไม่เจริญแก่คน ๒ จำพวก
คน ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. คนที่เข้าใจว่าไม่ควรในของที่ไม่ควร ๒. คนที่เข้าใจว่าควรในของที่ควร
อาสวะย่อมไม่เจริญแก่คน ๒ จำพวกนี้แล (๑๔)
[๑๑๓] อาสวะย่อมเจริญแก่คน ๒ จำพวก
คน ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. คนที่เข้าใจว่าไม่เป็นอาบัติในข้อที่เป็นอาบัติ
๒. คนที่เข้าใจว่าเป็นอาบัติในข้อที่ไม่เป็นอาบัติ
อาสวะย่อมเจริญแก่คน ๒ จำพวกนี้แล (๑๕)
[๑๑๔] อาสวะย่อมไม่เจริญแก่คน ๒ จำพวก
คน ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. คนที่เข้าใจว่าเป็นอาบัติในข้อที่เป็นอาบัติ
๒. คนที่เข้าใจว่าไม่เป็นอาบัติในข้อที่ไม่เป็นอาบัติ
อาสวะย่อมไม่เจริญแก่คน ๒ จำพวกนี้แล (๑๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๑๑๒ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์ ] ๕. พาลวรรค

[๑๑๕] อาสวะย่อมเจริญแก่คน ๒ จำพวก
คน ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. คนที่เข้าใจว่าเป็นธรรมในข้อที่ไม่เป็นธรรม
๒. คนที่เข้าใจว่าไม่เป็นธรรมในข้อที่เป็นธรรม
อาสวะย่อมเจริญแก่คน ๒ จำพวกนี้แล (๑๗)
[๑๑๖] อาสวะย่อมไม่เจริญแก่คน ๒ จำพวก
คน ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. คนที่เข้าใจว่าเป็นธรรมในข้อที่เป็นธรรม
๒. คนที่เข้าใจว่าไม่เป็นธรรมในข้อที่ไม่เป็นธรรม
อาสวะย่อมไม่เจริญแก่คน ๒ จำพวกนี้แล (๑๘)
[๑๑๗] อาสวะย่อมเจริญแก่คน ๒ จำพวก
คน ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. คนที่เข้าใจว่าเป็นวินัยในข้อที่ไม่เป็นวินัย
๒. คนที่เข้าใจว่าไม่เป็นวินัยในข้อที่เป็นวินัย
อาสวะย่อมเจริญแก่คน ๒ จำพวกนี้แล (๑๙)
[๑๑๘] อาสวะย่อมไม่เจริญแก่คน ๒ จำพวก
คน ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. คนที่เข้าใจว่าไม่เป็นวินัยในข้อที่ไม่เป็นวินัย
๒. คนที่เข้าใจว่าเป็นวินัยในข้อที่เป็นวินัย
ภิกษุทั้งหลาย อาสวะย่อมไม่เจริญแก่คน ๒ จำพวกนี้แล (๒๐)

พาลวรรคที่ ๕ จบ
ทุติยปัณณาสก์ จบบริบูรณ์


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๑. อาสาทุปปชหวรรค

๓. ตติยปัณณาสก์

๑. อาสาทุปปชหวรรค
หมวดว่าด้วยความหวังที่ละได้ยาก

[๑๑๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ความหวัง ๒ อย่างนี้ละ
ได้ยาก
ความหวัง ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ความหวังในลาภ ๒. ความหวังในชีวิต
ความหวัง ๒ อย่างนี้แล ละได้ยาก (๑)
[๑๒๐] บุคคล ๒ จำพวกนี้หาได้ยากในโลก
บุคคล ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุพพการี (ผู้ทำอุปการะก่อน)
๒. กตัญญูกตเวที (ผู้รู้อุปการะที่เขาทำแล้วและตอบแทน)
บุคคล ๒ จำพวกนี้แลหาได้ยากในโลก (๒)
[๑๒๑] บุคคล ๒ จำพวกนี้หาได้ยากในโลก
บุคคล ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. คนที่อิ่มเอง๑ ๒. คนที่ให้ผู้อื่นอิ่ม๒
บุคคล ๒ จำพวกนี้แลหาได้ยากในโลก (๓)
[๑๒๒] บุคคล ๒ จำพวกนี้ให้อิ่มได้ยาก
บุคคล ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. คนที่สะสมสิ่งที่ได้มาทุกครั้ง ๒. คนที่สละสิ่งที่ได้มาทุกครั้ง
บุคคล ๒ จำพวกนี้แลให้อิ่มได้ยาก (๔)


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๑. อาสาทุปปชหวรรค

[๑๒๓] บุคคล ๒ จำพวกนี้ให้อิ่มได้ง่าย
บุคคล ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. คนที่ไม่สะสมสิ่งที่ได้มาทุกครั้ง ๒. คนที่ไม่สละสิ่งที่ได้มาทุกครั้ง
บุคคล ๒ จำพวกนี้แลให้อิ่มได้ง่าย (๕)
[๑๒๔] ปัจจัยให้เกิดราคะ ๒ อย่างนี้
ปัจจัย ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. สุภนิมิต๑ (นิมิตงาม)
๒. อโยนิโสมนสิการ (การมนสิการโดยไม่แยบคาย)
ปัจจัยให้เกิดราคะ ๒ อย่างนี้แล (๖)
[๑๒๕] ปัจจัยให้เกิดโทสะ ๒ อย่างนี้
ปัจจัย ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ปฏิฆนิมิต๒ (นิมิตให้ขัดเคือง) ๒. อโยนิโสมนสิการ
ปัจจัยให้เกิดโทสะ ๒ อย่างนี้แล (๗)
[๑๒๖] ปัจจัยให้เกิดมิจฉาทิฏฐิ ๒ อย่างนี้
ปัจจัย ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ปรโตโฆสะ๓ (เสียงจากผู้อื่น) ๒. อโยนิโสมนสิการ
ปัจจัยให้เกิดมิจฉาทิฏฐิ ๒ อย่างนี้แล (๘)
[๑๒๗] ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิ ๒ อย่างนี้
ปัจจัย ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ปรโตโฆสะ๔ ๒. โยนิโสมนสิการ (การมนสิการโดยแยบคาย)
ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิ ๒ อย่างนี้แล (๙)


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๒. อายาจนวรรค

[๑๒๘] อาบัติ ๒ อย่างนี้
อาบัติ ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. อาบัติเบา ๒. อาบัติหนัก๑
อาบัติ ๒ อย่างนี้แล (๑๐)
[๑๒๙] อาบัติ ๒ อย่างนี้
อาบัติ ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. อาบัติชั่วหยาบ ๒. อาบัติไม่ชั่วหยาบ๒
อาบัติ ๒ อย่างนี้แล (๑๑)
[๑๓๐] อาบัติ ๒ อย่างนี้
อาบัติ ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. อาบัติที่มีส่วนเหลือ๓ ๒. อาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือ๔
ภิกษุทั้งหลาย อาบัติ ๒ อย่างนี้แล (๑๒)

อาสาทุปปชหวรรคที่ ๑ จบ

๒. อายาจนวรรค
หมวดว่าด้วยความปรารถนา

[๑๓๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีศรัทธา เมื่อ
ปรารถนาโดยชอบพึงปรารถนาอย่างนี้ว่า “ขอให้เราเป็นเช่นกับพระสารีบุตรและพระ
โมคคัลลานะเถิด” สารีบุตรและโมคคัลลานะนี้เป็นบรรทัดฐาน เป็นมาตรฐานของ
ภิกษุสาวกของเรา (๑)


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๒. อายาจนวรรค

[๑๓๒] ภิกษุณีผู้มีศรัทธา เมื่อปรารถนาโดยชอบพึงปรารถนาอย่างนี้ว่า “ขอ
ให้เราเป็นเช่นกับภิกษุณีเขมาและภิกษุณีอุบลวรรณาเถิด” เขมาและอุบลวรรณานี้
เป็นบรรทัดฐาน เป็นมาตรฐานของภิกษุณีสาวิกาของเรา (๒)
[๑๓๓] อุบาสกผู้มีศรัทธา เมื่อปรารถนาโดยชอบพึงปรารถนาอย่างนี้ว่า “ขอ
ให้เราเป็นเช่นกับจิตตคหบดีและหัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวีเถิด” จิตตคหบดีและ
หัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวีนี้เป็นบรรทัดฐาน เป็นมาตรฐานของอุบาสกสาวก
ของเรา (๓)
[๑๓๔] อุบาสิกาผู้มีศรัทธา เมื่อปรารถนาโดยชอบพึงปรารถนาอย่างนี้ว่า
“ขอให้เราเป็นเช่นกับอุบาสิกาขุชชุตตราและอุบาสิกาเวฬุกัณฏกีนันทมาตาเถิด”
ขุชชุตราและเวฬุกัณฏกีนันทมาตานี้เป็นบรรทัดฐาน เป็นมาตรฐานของอุบาสิกา
สาวิกาของเรา (๔)
[๑๓๕] คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็นอสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ
ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพ
สิ่งที่ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก
ธรรม ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง พูดสรรเสริญคนที่ควรติเตียน
๒. ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง พูดติเตียนคนที่ควรสรรเสริญ
คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็นอสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการนี้แล
ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพ
สิ่งที่ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก
บัณฑิตผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ ย่อม
บริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน และ
ประสพบุญเป็นอันมาก
ธรรม ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. พิจารณา ไตร่ตรองแล้ว พูดติเตียนคนที่ควรติเตียน
๒. พิจารณา ไตร่ตรองแล้ว พูดสรรเสริญคนที่ควรสรรเสริญ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๑๑๗ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๒. อายาจนวรรค

บัณฑิตผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการนี้แลย่อม
บริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน และ
ประสพบุญเป็นอันมาก (๕)
[๑๓๖] คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็นอสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ
ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพสิ่ง
ที่ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก
ธรรม ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง ปลูกความเลื่อมใสในฐานะที่ไม่ควรเลื่อมใส
๒. ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง ปลูกความไม่เลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใส
คนพาล ผู้ไม่เฉียบแหลม เป็นอสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม ๒ อย่างนี้แล
ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพสิ่ง
ที่ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก
บัณฑิต ผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการย่อม
บริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน และ
ประสพบุญเป็นอันมาก
ธรรม ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. พิจารณาไตร่ตรองแล้ว ปลูกความไม่เลื่อมใสในฐานะที่ไม่ควรเลื่อมใส
๒. พิจารณาไตร่ตรองแล้ว ปลูกความเลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใส
บัณฑิตผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการนี้แลย่อม
บริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน และ
ประสพบุญเป็นอันมาก (๖)
[๑๓๗] คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็นอสัตบุรุษ ปฏิบัติผิดในบุคคล ๒ จำพวก
ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพสิ่ง
ที่ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก
บุคคล ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. มารดา ๒. บิดา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๑๑๘ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๒. อายาจนวรรค

คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็นอสัตบุรุษ ปฏิบัติผิดในบุคคล ๒ จำพวกนี้แล
ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพสิ่ง
ที่ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก
บัณฑิตผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ปฏิบัติชอบในบุคคล ๒ จำพวกย่อมบริหาร
ตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพ
บุญเป็นอันมาก
บุคคล ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. มารดา ๒. บิดา
บัณฑิตผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ปฏิบัติชอบในบุคคล ๒ จำพวกนี้แลย่อม
บริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน และ
ประสพบุญเป็นอันมาก (๗)
[๑๓๘] คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็นอสัตบุรุษ ปฏิบัติผิดในบุคคล ๒ จำพวก
ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพสิ่ง
ที่ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก
บุคคล ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. ตถาคต ๒. สาวกของตถาคต
คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็นอสัตบุรุษ ปฏิบัติผิดในบุคคล ๒ จำพวกนี้แลย่อม
บริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพสิ่งที่
ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก
บัณฑิตผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ปฏิบัติชอบในบุคคล ๒ จำพวกย่อมบริหาร
ตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพ
บุญเป็นอันมาก
บุคคล ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. ตถาคต ๒. สาวกของตถาคต
บัณฑิตผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ปฏิบัติชอบในบุคคล ๒ จำพวกนี้แลย่อม
บริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน และ
ประสพบุญเป็นอันมาก (๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๑๑๙ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๓. ทานวรรค

[๑๓๙] ธรรม ๒ ประการนี้
ธรรม ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. การชำระจิตของตนให้ผ่องแผ้ว ๒. ความไม่ถือมั่นอะไร ๆ๑ ในโลก
ธรรม ๒ ประการนี้แล (๙)
[๑๔๐] ธรรม ๒ ประการนี้
ธรรม ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. โกธะ (ความโกรธ) ๒. อุปนาหะ (ความผูกโกรธ)
ธรรม ๒ ประการนี้แล (๑๐)
[๑๔๑] ธรรม ๒ ประการนี้
ธรรม ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. การกำจัดความโกรธ ๒. การกำจัดอุปนาหะ
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ ประการนี้แล (๑๑)

อายาจนวรรคที่ ๒ จบ

๓. ทานวรรค
หมวดว่าด้วยทาน

[๑๔๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ทาน ๒ อย่างนี้
ทาน ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. อามิสทาน๒ (การให้สิ่งของ) ๒. ธัมมทาน๓ (การให้ธรรม)
ทาน ๒ อย่างนี้แล บรรดาทาน ๒ อย่างนี้ ธัมมทานเป็นเลิศ (๑)


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๓. ทานวรรค

[๑๔๓] การบูชายัญ ๒ อย่างนี้
การบูชายัญ ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. การบูชายัญด้วยอามิส ๒. การบูชายัญด้วยธรรม
การบูชายัญ ๒ อย่างนี้แล บรรดาการบูชายัญ ๒ อย่างนี้ การบูชายัญ
ด้วยธรรมเป็นเลิศ (๒)
[๑๔๔] จาคะ (การสละ) ๒ อย่างนี้
จาคะ ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. อามิสจาคะ (การสละอามิส) ๒. ธัมมจาคะ (การสละธรรม)
จาคะ ๒ อย่างนี้แล บรรดาจาคะ ๒ อย่างนี้ ธัมมจาคะเป็นเลิศ (๓)
[๑๔๕] การบริจาค ๒ อย่างนี้
การบริจาค ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. การบริจาคอามิส ๒. การบริจาคธรรม
การบริจาค ๒ อย่างนี้แล บรรดาการบริจาค ๒ อย่างนี้ การบริจาค
ธรรมเป็นเลิศ (๔)
[๑๔๖] การบริโภค ๒ อย่างนี้
การบริโภค ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. การบริโภคอามิส ๒. การบริโภคธรรม
การบริโภค ๒ อย่างนี้แล บรรดาการบริโภค ๒ อย่างนี้ การบริโภคธรรม
เป็นเลิศ (๕)
[๑๔๗] การคบหากัน ๒ อย่างนี้
การคบหากัน ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. การคบหากันด้วยอามิส ๒. การคบหากันด้วยธรรม
การคบหากัน ๒ อย่างนี้แล บรรดาการคบหากัน ๒ อย่างนี้ การคบหา
กันด้วยธรรมเป็นเลิศ (๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๑๒๑ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๓. ทานวรรค

[๑๔๘] การจำแนก ๒ อย่างนี้
การจำแนก ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. การจำแนกอามิส ๒. การจำแนกธรรม
การจำแนก ๒ อย่างนี้แล บรรดาการจำแนก ๒ อย่างนี้ การจำแนกธรรม
เป็นเลิศ (๗)
[๑๔๙] การสงเคราะห์ ๒ อย่างนี้
การสงเคราะห์ ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. การสงเคราะห์ด้วยอามิส ๒. การสงเคราะห์ด้วยธรรม
การสงเคราะห์ ๒ อย่างนี้แล บรรดาการสงเคราะห์ ๒ อย่างนี้ การสงเคราะห์
ด้วยธรรมเป็นเลิศ (๘)
[๑๕๐] การอนุเคราะห์ ๒ อย่างนี้
การอนุเคราะห์ ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. การอนุเคราะห์ด้วยอามิส ๒. การอนุเคราะห์ด้วยธรรม
การอนุเคราะห์ ๒ อย่างนี้แล บรรดาอนุเคราะห์ ๒ อย่างนี้ การอนุเคราะห์
ด้วยธรรมเป็นเลิศ (๙)
[๑๕๑] ความเอื้อเฟื้อ ๒ อย่างนี้
ความเอื้อเฟื้อ ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ความเอื้อเฟื้อด้วยอามิส ๒. ความเอื้อเฟื้อด้วยธรรม
ความเอื้อเฟื้อ ๒ อย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย บรรดาความเอื้อเฟื้อ ๒ อย่างนี้
ความเอื้อเฟื้อด้วยธรรมเป็นเลิศ (๑๐)

ทานวรรคที่ ๓ จบ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๔. สันถารวรรค

๔. สันถารวรรค
หมวดว่าด้วยการรับรอง

[๑๕๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย สันถาร (การรับรอง) ๒
อย่างนี้
สันถาร ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. อามิสสันถาร (การรับรองด้วยอามิส)
๒. ธัมมสันถาร (การรับรองด้วยธรรม)
สันถาร ๒ อย่างนี้แล บรรดาสันถาร ๒ อย่างนี้ ธัมมสันถารเป็นเลิศ (๑)
[๑๕๓] ปฏิสันถาร(การต้อนรับ) ๒ อย่างนี้
ปฏิสันถาร ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. อามิสปฏิสันถาร (การต้อนรับด้วยอามิส)
๒. ธัมมปฏิสันถาร (การต้อนรับด้วยธรรม)
ปฏิสันถาร ๒ อย่างนี้แล บรรดาปฏิสันถาร ๒ อย่างนี้ ธัมมปฏิสันถาร
เป็นเลิศ (๒)
[๑๕๔] การเสาะหา ๒ อย่างนี้
การเสาะหา ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. การเสาะหาอามิส ๒. การเสาะหาธรรม
การเสาะหา ๒ อย่างนี้แล บรรดาการเสาะหา ๒ อย่างนี้ การเสาะหา
ธรรมเป็นเลิศ (๓)
[๑๕๕] การแสวงหา ๒ อย่างนี้
การแสวงหา ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. การแสวงหาอามิส ๒. การแสวงหาธรรม
การแสวงหา ๒ อย่างนี้แล บรรดาการแสวงหา ๒ อย่างนี้ การแสวงหา
ธรรมเป็นเลิศ (๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๑๒๓ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๔. สันถารวรรค

[๑๕๖] การค้นหา ๒ อย่างนี้
การค้นหา ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. การค้นหาอามิส ๒. การค้นหาธรรม
การค้นหา ๒ อย่างนี้แล บรรดาการค้นหา ๒ อย่างนี้ การค้นหาธรรม
เป็นเลิศ (๕)
[๑๕๗] บูชา ๒ อย่างนี้
บูชา ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. อามิสบูชา (การบูชาด้วยอามิส) ๒. ธัมมบูชา (การบูชาด้วยธรรม)
บูชา ๒ อย่างนี้แล บรรดาบูชา ๒ อย่างนี้ ธัมมบูชาเป็นเลิศ (๖)
[๑๕๘] ของต้อนรับแขก ๒ อย่างนี้
ของต้อนรับแขก ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ของต้อนรับแขกคืออามิส ๒. ของต้อนรับแขกคือธรรม
ของต้อนรับแขก ๒ อย่างนี้แล บรรดาของต้อนรับแขก ๒ อย่างนี้ ของ
ต้อนรับแขกคือธรรมเป็นเลิศ (๗)
[๑๕๙] ความสำเร็จ ๒ อย่างนี้
ความสำเร็จ ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ความสำเร็จทางอามิส ๒. ความสำเร็จทางธรรม
ความสำเร็จ ๒ อย่างนี้แล บรรดาความสำเร็จ ๒ อย่างนี้ ความสำเร็จ
ทางธรรมเป็นเลิศ (๘)
[๑๖๐] ความเจริญ ๒ อย่างนี้
ความเจริญ ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ความเจริญด้วยอามิส ๒. ความเจริญด้วยธรรม
ความเจริญ ๒ อย่างนี้แล บรรดาความเจริญ ๒ อย่างนี้ ความเจริญด้วย
ธรรมเป็นเลิศ (๙)
[๑๖๑] รัตนะ(แก้วอันประเสริฐ) ๒ อย่างนี้
รัตนะ ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๑๒๔ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๕. สมาปัตติวรรค

๑. อามิสรัตนะ (รัตนะคืออามิส) ๒. ธัมมรัตนะ (รัตนะคือธรรม)
รัตนะ ๒ อย่างนี้แล บรรดารัตนะ ๒ อย่างนี้ ธัมมรัตนะเป็นเลิศ (๑๐)
[๑๖๒] การสะสม ๒ อย่างนี้
การสะสม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. การสะสมอามิส ๒. การสั่งสมธรรม
การสะสม ๒ อย่างนี้แล บรรดาการสะสม ๒ อย่างนี้ การสั่งสมธรรม
เป็นเลิศ (๑๑)
[๑๖๓] ความไพบูลย์ ๒ อย่างนี้
ความไพบูลย์ ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ความไพบูลย์แห่งอามิส ๒. ความไพบูลย์แห่งธรรม
ความไพบูลย์ ๒ อย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย บรรดาความไพบูลย์ ๒ อย่างนี้
ความไพบูลย์แห่งธรรมเป็นเลิศ (๑๒)

สันถารวรรคที่ ๔ จบ

๕. สมาปัตติวรรค
หมวดว่าด้วยสมาบัติ

[๑๖๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้
ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ความเป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาบัติ๑
๒. ความเป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาบัติ๒
ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๑)


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๕. สมาปัตติวรรค

[๑๖๕] ธรรม ๒ อย่างนี้
ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. อาชชวะ (ความซื่อตรง) ๒. มัททวะ (ความอ่อนโยน)
ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๒)
[๑๖๖] ธรรม ๒ อย่างนี้
ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ขันติ (ความอดทน)๑ ๒. โสรัจจะ (ความเสงี่ยม)๒
ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๓)
[๑๖๗] ธรรม ๒ อย่างนี้
ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. สาขัลยะ๓ (ความมีวาจาอ่อนหวาน)
๒. ปฏิสันถาร (การต้อนรับ)
ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๔)
[๑๖๘] ธรรม ๒ อย่างนี้
ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. อวิหิงสา (ความไม่เบียดเบียน)
๒. โสเจยยะ๔ (ความสะอาด)
ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๕)


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๕. สมาปัตติวรรค

[๑๖๙] ธรรม ๒ อย่างนี้
ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ความไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์๑ ๒. ความไม่รู้จักประมาณในการบริโภค
ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๖)
[๑๗๐] ธรรม ๒ อย่างนี้
ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ความคุ้มครองทวารในอินทรีย์ ๒. ความรู้จักประมาณในการบริโภค
ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๗)
[๑๗๑] ธรรม ๒ อย่างนี้
ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ปฏิสังขานพละ (กำลังคือการพิจารณา)
๒. ภาวนาพละ (กำลังคือการเจริญ)
ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๘)
[๑๗๒] ธรรม ๒ อย่างนี้
ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. สติพละ (กำลังคือสติ) ๒. สมาธิพละ (กำลังคือสมาธิ)
ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๙)
[๑๗๓] ธรรม ๒ อย่างนี้
ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. สมถะ๒(การฝึกจิตให้สงบเป็นสมาธิ) ๒. วิปัสสนา๓(ความเห็นแจ้ง)
ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๑๐)


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๕. สมาปัตติวรรค

[๑๗๔] ธรรม ๒ อย่างนี้
ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. สีลวิบัติ (ความวิบัติแห่งศีล)
๒. ทิฏฐิวิบัติ (ความวิบัติแห่งทิฏฐิ)
ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๑๑)
[๑๗๕] ธรรม ๒ อย่างนี้
ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. สีลสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศีล)
๒. ทิฏฐิสัมปทา๑ (ความถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ)
ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๑๒)
[๑๗๖] ธรรม ๒ อย่างนี้
ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. สีลวิสุทธิ (ความหมดจดแห่งศีล)
๒. ทิฏฐิวิสุทธิ๒ (ความหมดจดแห่งทิฏฐิ)
ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๑๓)
[๑๗๗] ธรรม ๒ อย่างนี้
ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ทิฏฐิวิสุทธิ (ความหมดจดแห่งทิฏฐิ)
๒. ปธาน (ความเพียร) ที่สมควรแก่สัมมาทิฏฐิ
ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๑๔)


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๕. สมาปัตติวรรค

[๑๗๘] ธรรม ๒ อย่างนี้
ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ความไม่สันโดษในกุศลธรรมทั้งหลาย
๒. ความไม่ท้อถอยในการบำเพ็ญเพียร
ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๑๕)
[๑๗๙] ธรรม ๒ อย่างนี้
ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ความหลงลืมสติ ๒. ความไม่มีสัมปชัญญะ
ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๑๖)
[๑๘๐] ธรรม ๒ อย่างนี้
ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. สติ ๒. สัมปชัญญะ
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๑๗)

สมาปัตติวรรคที่ ๕ จบ

ตติยปัณณาสก์ จบบริบูรณ์


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต ๑. โกธเปยยาล

๑. โกธเปยยาล

[๑๘๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้
ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ

๑. โกธะ (ความโกรธ) ๒. อุปนาหะ (ความผูกโกรธ) ...
๑. มักขะ (ความลบหลู่คุณท่าน) ๒. ปฬาสะ (ความตีเสมอ) ...
๑. อิสสา (ความริษยา) ๒. มัจฉริยะ (ความตระหนี่) ...
๑. มายา (มารยา) ๒. สาเถยยะ (ความโอ้อวด) ...
๑. อหิริกะ (ความไม่อายบาป) ๒. อโนตตัปปะ (ความไม่กลัวบาป)

ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๑-๕)

[๑๘๒] ธรรม ๒ อย่างนี้
ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ

๑. อักโกธะ (ความไม่โกรธ) ๒. อนุปนาหะ (ความไม่ผูกโกรธ) ...
๑. อมักขะ (ความไม่ลบหลู่คุณท่าน) ๒. อปฬาสะ (ความไม่ตีเสมอ) ...
๑. อนิสสา (ความไม่ริษยา) ๒. อมัจฉริยะ (ความไม่ตระหนี่) ...
๑. อมายา (ไม่มีมารยา) ๒. อสาเถยยะ (ความไม่โอ้อวด) ..
๑. หิริ (ความอายบาป) ๒. โอตตัปปะ (ความกลัวบาป)

ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๖-๑๐)

[๑๘๓] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๒ อย่างย่อมอยู่เป็นทุกข์
ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ

๑. โกธะ ๒. อุปนาหะ ...
๑. มักขะ ๒. ปฬาสะ ...
๑. อิสสา ๒. มัจฉริยะ ...
๑. มายา ๒. สาเถยยะ ...
๑. อหิริกะ ๒. อโนตตัปปะ ...

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๒ อย่างนี้แลย่อมอยู่เป็นทุกข์ (๑๑-๑๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๑๓๐ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต ๑. โกธเปยยาล

[๑๘๔] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๒ อย่างย่อมอยู่เป็นสุข
ธรรม ๒ อย่างอะไรบ้าง คือ

๑. อักโกธะ ๒. อนุปนาหะ ...
๑. อมักขะ ๒. อปฬาสะ ...
๑. อนิสสา ๒. อมัจฉริยะ ...
๑. อมายา ๒. อสาเถยยะ ...
๑. หิริ ๒. โอตตัปปะ ...

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๒ อย่างนี้แลย่อมอยู่เป็นสุข (๑๖-๒๐)

[๑๘๕] ธรรม ๒ อย่างนี้ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมของภิกษุผู้ยังเป็นเสขะ
ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ

๑. โกธะ ๒. อุปนาหะ ...
๑. มักขะ ๒. ปฬาสะ ...
๑. อิสสา ๒. มัจฉริยะ ...
๑. มายา ๒. สาเถยยะ ...
๑. อหิริกะ ๒. อโนตตัปปะ ...

ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แลย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมของภิกษุผู้ยังเป็น
เสขะ (๒๑-๒๕)

[๑๘๖] ธรรม ๒ อย่างนี้ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมของภิกษุผู้ยังเป็นเสขะ
ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ

๑. อักโกธะ ๒. อนุปนาหะ ...
๑. อมักขะ ๒. อปฬาสะ ...
๑. อนิสสา ๒. อมัจฉริยะ ...
๑. อมายา ๒. อสาเถยยะ ...
๑. หิริ ๒. โอตตัปปะ ...

ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แลย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมของภิกษุผู้ยัง
เป็นเสขะ (๒๖-๓๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๑๓๑ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต ๑. โกธเปยยาล

[๑๘๗] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๒ อย่างย่อมดำรงอยู่ในนรก
เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ

๑. โกธะ ๒. อุปนาหะ ...
๑. มักขะ ๒. ปฬาสะ ...
๑. อิสสา ๒. มัจฉริยะ ...
๑. มายา ๒. สาเถยยะ ...
๑. อหิริกะ ๒. อโนตตัปปะ ...

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๒ อย่างนี้แลย่อมดำรงอยู่ในนรก
เหมือนถูกนำไปฝังไว้ (๓๑-๓๕)

[๑๘๘] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๒ อย่างย่อมดำรงอยู่ใน
สวรรค์เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ

๑. อักโกธะ ๒. อนุปนาหะ ...
๑. อมักขะ ๒. อปฬาสะ ...
๑. อนิสสา ๒. อมัจฉริยะ ...
๑. อมายา ๒. อสาเถยยะ ...
๑. หิริ ๒. โอตตัปปะ ...

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๒ อย่างนี้แลย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์
เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ (๓๖-๔๐)

[๑๘๙] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ประกอบด้วยธรรม ๒ อย่าง
หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๑๓๒ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต ๒. อกุสลเปยยาล

ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ

๑. โกธะ ๒. อุปนาหะ ...
๑. มักขะ ๒. ปฬาสะ ...
๑. อิสสา ๒. มัจฉริยะ ...
๑. มายา ๒. สาเถยยะ ...
๑. อหิริกะ ๒. อโนตตัปปะ ...

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการนี้แล หลัง
จากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก (๔๑-๔๕)

[๑๙๐] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ประกอบด้วยธรรม ๒ อย่าง หลัง
จากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ

๑. อักโกธะ ๒. อนุปนาหะ ...
๑. อมักขะ ๒. อปฬาสะ ...
๑. อนิสสา ๒. อมัจฉริยะ ...
๑. อมายา ๒. อสาเถยยะ ...
๑. หิริ ๒. โอตตัปปะ ...

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ประกอบด้วยธรรม ๒ อย่างนี้แล หลัง
จากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ (๔๖-๕๐)

โกธเปยยาล จบ

๒. อกุสลเปยยาล

[๑๙๑-๒๐๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย อกุศลธรรม ๒ อย่าง
นี้ ... กุศลธรรม ๒ อย่างนี้ ... ธรรมที่มีโทษ ๒ อย่างนี้ ... ธรรมที่ไม่มีโทษ ๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๑๓๓ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต ๓. วินยเปยยาล

อย่างนี้ ... ธรรมที่มีทุกข์เป็นกำไร ๒ อย่างนี้ ... ธรรมที่มีสุขเป็นกำไร ๒ อย่างนี้ ...
ธรรมที่มีวิบากเป็นทุกข์ ๒ อย่างนี้ ... ธรรมที่มีวิบากเป็นสุข ๒ อย่างนี้ ... ธรรม
ที่มีความเบียดเบียน ๒ อย่างนี้ ... ธรรมที่ไม่มีความเบียดเบียน ๒ อย่างนี้
ธรรมที่ไม่มีความเบียดเบียน ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ

๑. อักโกธะ (ความไม่โกรธ) ๒. อนุปนาหะ (ความไม่ผูกโกรธ) ...
๑. อมักขะ (ความไม่ลบหลู่คุณท่าน) ๒. อปฬาสะ (ความไม่ตีเสมอ) ...
๑. อนิสสา (ความไม่ริษยา) ๒. อมัจฉริยะ (ความไม่ตระหนี่) ...
๑. อมายา (ไม่มีมารยา) ๒. อสาเถยยะ (ความไม่โอ้อวด) ..
๑. หิริ (ความอายบาป) ๒. โอตตัปปะ (ความกลัวบาป)

ภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่ไม่มีความเบียดเบียน ๒ อย่างนี้แล (๑-๕๐)

อกุสลเปยยาล จบ

๓. วินยเปยยาล

[๒๐๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตบัญญัติสิกขาบทแก่
เหล่าสาวกโดยอาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ ประการนี้
อำนาจประโยชน์ ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์
๒. เพื่อความผาสุกแห่งสงฆ์

๑. เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก
๒. เพื่อความอยู่ผาสุกแห่งเหล่าภิกษุผู้มีศีลดีงาม

๑. เพื่อปิดกั้นอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน
๒. เพื่อกำจัดอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๑๓๔ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต ๓. วินยเปยยาล

๑. เพื่อปิดกั้นเวรทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน
๒. เพื่อกำจัดเวรทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต

๑. เพื่อปิดกั้นโทษทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน
๒. เพื่อกำจัดโทษทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต

๑. เพื่อปิดกั้นภัยทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน
๒. เพื่อกำจัดภัยทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต

๑. เพื่อปิดกั้นอกุศลธรรมทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน
๒. เพื่อกำจัดอกุศลธรรมทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต

๑. เพื่ออนุเคราะห์คฤหัสถ์
๒. เพื่อตัดฝักฝ่ายของภิกษุผู้ปรารถนาชั่ว

๑. เพื่อความเลื่อมใสของคนที่ยังไม่เลื่อมใส
๒. เพื่อความเลื่อมใสยิ่งขึ้นของคนที่เลื่อมใสแล้ว

๑. เพื่อความตั้งมั่นแห่งสัทธรรม
๒. เพื่อเอื้อเฟื้อวินัย๑

ตถาคตบัญญัติสิกขาบทแก่เหล่าสาวกโดยอาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ ประการ
นี้แล (๑-๑๐)

[๒๐๒-๒๓๐] ตถาคตบัญญัติปาติโมกข์แก่เหล่าสาวก ... บัญญัติการสวด
ปาติโมกข์ ... บัญญัติการงดสวดปาติโมกข์ ... บัญญัติปวารณา ... บัญญัติการงด
ปวารณา ... บัญญัติตัชชนียกรรม ... บัญญัตินิยสกรรม ... บัญญัติปัพพาชนียกรรม ...
บัญญัติปฏิสารณียกรรม ... บัญญัติอุกเขปนียกรรม ... บัญญัติการให้ปริวาส ...


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต ๓. วินยเปยยาล

บัญญัติการชักเข้าหาอาบัติเดิม ... บัญญัติการให้มานัต ... บัญญัติอัพภาน ...
บัญญัติการเรียกเข้าหมู่ ... บัญญัติการขับออกจากหมู่ ... บัญญัติการอุปสมบท ...
บัญญัติญัตติกรรม ... บัญญัติญัตติทุติยกรรม ... บัญญัติญัตติจตุตถกรรม ...
บัญญัติสิกขาบทที่ยังไม่ได้บัญญัติ ... บัญญัติเพิ่มเติมสิกขาบทที่บัญญัติไว้แล้ว ...
บัญญัติสัมมุขาวินัย ... บัญญัติสติวินัย ... บัญญัติอมูฬหวินัย ... บัญญัติ-
ปฏิญญาตกรณะ ... บัญญัติเยภุยยสิกา ... บัญญัติตัสสปาปิยสิกา ... บัญญัติ
ติณวัตถารกะโดยอาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ ประการนี้
อำนาจประโยชน์ ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์
๒. เพื่อความผาสุกแห่งสงฆ์

๑. เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก
๒. เพื่อความอยู่ผาสุกแห่งเหล่าภิกษุผู้มีศีลดีงาม

๑. เพื่อปิดกั้นอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน
๒. เพื่อกำจัดอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต

๑. เพื่อปิดกั้นเวรทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน
๒. เพื่อกำจัดเวรทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต

๑. เพื่อปิดกั้นโทษทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน
๒. เพื่อกำจัดโทษทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต

๑. เพื่อปิดกั้นภัยทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน
๒. เพื่อกำจัดภัยทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต

๑. เพื่อปิดกั้นอกุศลธรรมทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน
๒. เพื่อกำจัดอกุศลธรรมทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต

๑. เพื่ออนุเคราะห์คฤหัสถ์
๒. เพื่อตัดฝักฝ่ายของภิกษุผู้ปรารถนาชั่ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๑๓๖ }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต ๔. ราคเปยยาล

๑. เพื่อความเลื่อมใสของคนที่ยังไม่เลื่อมใส
๒. เพื่อความเลื่อมใสยิ่งขึ้นของคนที่เลื่อมใสแล้ว

๑. เพื่อความตั้งมั่นแห่งสัทธรรม
๒. เพื่อเอื้อเฟื้อวินัย

ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตบัญญัติติณวัตถารกะแก่เหล่าสาวกโดยอาศัยอำนาจ
ประโยชน์ ๒ ประการนี้แล (๑๑-๓๐๐)

วินยเปยยาล จบ

๔. ราคเปยยาล

[๒๓๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญธรรม ๒
ประการเพื่อรู้ยิ่งราคะ
ธรรม ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สมถะ (การฝึกจิตให้สงบเป็นสมาธิ) ๒. วิปัสสนา (ความเห็นแจ้ง)
ภิกษุควรเจริญธรรม ๒ ประการนี้เพื่อรู้ยิ่งราคะ...
เพื่อกำหนดรู้ราคะ(ความกำหนัด) ... เพื่อความสิ้นราคะ ... เพื่อละราคะ ...
เพื่อความสิ้นไปแห่งราคะ ... เพื่อความเสื่อมไปแห่งราคะ ... เพื่อความคลายไปแห่ง
ราคะ ... เพื่อความดับแห่งราคะ ฯลฯ เพื่อความสละราคะ ... เพื่อความสละคืน
ราคะ ภิกษุควรเจริญธรรม ๒ ประการนี้ ฯลฯ (๑-๑๐)
[๒๓๒-๒๔๖] เพื่อรู้ยิ่งโทสะ(ความคิดประทุษร้าย) ... เพื่อกำหนดรู้โทสะ ...
เพื่อความสิ้นโทสะ ... เพื่อละโทสะ ... เพื่อความสิ้นไปแห่งโทสะ ... เพื่อความเสื่อมไป
แห่งโทสะ ... เพื่อความคลายไปแห่งโทสะ ... เพื่อความดับไปแห่งโทสะ ... เพื่อความ
สละโทสะ ... เพื่อความสละคืนโทสะ ... โมหะ(ความหลง)... โกธะ(ความโกรธ)...
อุปนาหะ(ความผูกโกรธ)... มักขะ(ความลบหลู่คุณท่าน)... ปฬาสะ(ความตีเสมอ)...
อิสสา (ความริษยา)... มัจฉริยะ(ความตระหนี่)... มายา(มารยา)... สาเถยยะ (ความ
โอ้อวด)... ถัมภะ(ความหัวดื้อ)... สารัมภะ(ความแข่งดี)... มานะ(ความถือตัว)...
อติมานะ(ความดูหมิ่นเขา)... มทะ(ความมัวเมา)... ปมาทะ(ความประมาท)...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๑๓๗ }


>>>>> หน้าต่อไป >>>>>





eXTReMe Tracker