ค้นว่าอยู่เล่มใด แล้วกด [ctrl]+f หรือใช้คำสั่งของเครื่องหาตำแหน่งในเล่มอีกทีนะครับ



จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อความสะดวก และสวยงาม
(เฉพาะหน้าจอใหญ่ เช่น คอมพิวเตอร์)
กรุณาคลิก จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อให้กรอบ
ค้นข้อความ ปรากฎที่ด้านซ้ายของหน้า

พระไตรปิฎกภาษาไทย
ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม (ปกสีฟ้า)
ทั้งออนไลน์และออฟไลน์
ที่มาของข้อมูล : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มจร.
MCUTRAI Version 1.0

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙-๓ สุตตันตปิฎกที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

พระสุตตันตปิฎก
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๕. ชราวรรค ๗. ตติยปุพพารามสูตร

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็น
หลัก ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุขีณาสพพยากรณ์อรหัตผลว่า ‘เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
อีกต่อไป’ เพราะอินทรีย์ ๒ ประการที่ภิกษุขีณาสพเจริญ ทำให้มากแล้ว
อินทรีย์ ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ปัญญาที่เป็นอริยะ ๒. วิมุตติที่เป็นอริยะ
ปัญญาที่เป็นอริยะเป็นปัญญินทรีย์ วิมุตติที่เป็นอริยะเป็นสมาธินทรีย์
ภิกษุขีณาสพพยากรณ์อรหัตตผลว่า ‘เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหม-
จรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
เพราะอินทรีย์ ๒ ประการนี้ที่ภิกษุขีณาสพเจริญ ทำให้มากแล้ว”

ทุติยปุพพารามสูตรที่ ๖ จบ

๗. ตติยปุพพารามสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่บุพพาราม สูตรที่ ๓

[๕๑๗] ต้นเรื่องเหมือนสูตรที่ ๕
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุขีณาสพพยากรณ์อรหัตตผลว่า ‘เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
อีกต่อไป’ เพราะอินทรีย์เท่าไรที่ภิกษุขีณาสพเจริญ ทำให้มากแล้ว”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็น
หลัก ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุขีณาสพพยากรณ์อรหัตตผลว่า ‘เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
อีกต่อไป’ เพราะอินทรีย์ ๔ ประการที่ภิกษุขีณาสพเจริญ ทำให้มากแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๕. ชราวรรค ๘. จตุตถปุพพารามสูตร

อินทรีย์ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. วิริยินทรีย์ ๒. สตินทรีย์
๓. สมาธินทรีย์ ๔. ปัญญินทรีย์
ภิกษุขีณาสพพยากรณ์อรหัตผลว่า ‘เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์
แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ เพราะ
อินทรีย์ ๔ ประการนี้ที่ภิกษุขีณาสพเจริญ ทำให้มากแล้ว”

ตติยปุพพารามสูตรที่ ๗ จบ

๘. จตุตถปุพพารามสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่บุพพาราม สูตรที่ ๔

[๕๑๘] ต้นเรื่องเหมือนสูตรที่ ๕
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุขีณาสพพยากรณ์อรหัตตผลว่า ‘เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
อีกต่อไป’ เพราะอินทรีย์เท่าไรที่ภิกษุขีณาสพเจริญ ทำให้มากแล้ว”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็น
หลัก ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุขีณาสพพยากรณ์อรหัตตผลว่า ‘เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
อีกต่อไป’ เพราะอินทรีย์ ๕ ประการที่ภิกษุขีณาสพเจริญ ทำให้มากแล้ว
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ ๒. วิริยินทรีย์
๓. สตินทรีย์ ๔. สมาธินทรีย์
๕. ปัญญินทรีย์
ภิกษุขีณาสพพยากรณ์อรหัตตผลว่า ‘เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้ที่ภิกษุขีณาสพเจริญ ทำให้มากแล้ว”

จตุตถปุพพารามสูตรที่ ๘ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๕. ชราวรรค ๙. ปิณโฑลภารทวาชสูตร

๙. ปิณโฑลภารทวาชสูตร
ว่าด้วยพระปิณโฑลภารทวาชะ

[๕๑๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี สมัยนั้น
ท่านพระปิณโฑลภารทวาชะได้พยากรณ์อรหัตตผลว่า “เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
ครั้งนั้น ภิกษุจำนวนมากเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระปิณโฑลภารทวาชะพยากรณ์อรหัตตผลว่า
‘เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจ
อื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ ท่านพระปิณโฑลภารทวาชะเห็นอำนาจประโยชน์อะไร
จึงพยากรณ์อรหัตตผลว่า ‘เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจ
ที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุปิณโฑลภารทวาชะพยากรณ์
อรหัตตผลว่า ‘เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำ
เสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ เพราะอินทรีย์ ๓ ประการที่
ภิกษุปิณโฑลภารทวาชะเจริญ ทำให้มากแล้ว
อินทรีย์ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ ๒. สมาธินทรีย์
๓. ปัญญินทรีย์
ภิกษุปิณโฑลภารทวาชะพยากรณ์อรหัตตผลว่า ‘เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
เพราะอินทรีย์ ๓ ประการนี้ที่ภิกษุปิณโฑลภารทวาชะเจริญ ทำให้มากแล้ว
อินทรีย์ ๓ ประการนี้มีอะไรเป็นที่สุด
คือ มีความสิ้นไปเป็นที่สุด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๕. ชราวรรค ๑๐. อาปณสูตร

อะไรมีความสิ้นไปเป็นที่สุด
คือ ชาติ ชรา และมรณะมีความสิ้นไปเป็นที่สุด
ภิกษุปิณโฑลภารทวาชะพิจารณาเห็นว่า ‘ชาติ ชรา และมรณะสิ้นไป’ จึง
พยากรณ์อรหัตตผลว่า ‘เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่
ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

ปิณโฑลภารทวาชสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. อาปณสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่อาปณนิคม

[๕๒๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของชาวอังคะชื่ออาปณะ แคว้น
อังคะ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระสารีบุตรมาตรัสว่า “สารีบุตร
อริยสาวกใดมีศรัทธามั่นคง เลื่อมใสยิ่งในตถาคต อริยสาวกนั้นไม่พึงสงสัยหรือ
เคลือบแคลงในตถาคตหรือในคำสอนของตถาคต”
ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระอริยสาวกใดมี
ศรัทธามั่นคง เลื่อมใสอย่างยิ่งในพระตถาคต พระอริยสาวกนั้นไม่พึงสงสัยหรือ
เคลือบแคลงในพระตถาคตหรือในคำสอนของพระตถาคต
อนึ่ง พระอริยสาวกผู้มีศรัทธาพึงหวังได้ว่าจักเป็นผู้ปรารภความเพียรเพื่อละ
อกุศลธรรม เข้าถึงกุศลธรรม มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่น มั่นคง ไม่ทอดธุระ
ในกุศลธรรมอยู่ ก็วิริยะของพระอริยสาวกนั้นพึงจัดเป็นวิริยินทรีย์
อนึ่ง พระอริยสาวกผู้มีศรัทธา ปรารภความเพียร พึงหวังได้ว่าจักเป็นผู้มีสติ
ประกอบด้วยสติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตนอย่างยิ่ง ระลึกนึกถึงสิ่งที่ทำ คำที่ได้พูด
ไว้นานบ้าง ก็สติของพระอริยสาวกนั้นพึงจัดเป็นสตินทรีย์
อนึ่ง พระอริยสาวกผู้มีศรัทธา ปรารภความเพียร มีสติมั่นคง พึงหวังได้ว่า
จักทำนิพพานให้เป็นอารมณ์ ได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต ก็สมาธิของพระอริยสาวก
นั้นพึงจัดเป็นสมาธินทรีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๓๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๕. ชราวรรค ๑๐. อาปณสูตร

อนึ่ง พระอริยสาวกผู้มีศรัทธา ปรารภความเพียร มีสติมั่นคง มีจิตตั้งมั่น
พึงหวังได้ว่า จักรู้ชัดว่า ‘สงสารมีที่สุดและเบื้องต้นกำหนดรู้ไม่ได้ เบื้องต้นและ
ที่สุดไม่ปรากฏแก่เหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาปิดกั้น มีตัณหาผูกไว้ แล่นไป ท่องเที่ยวไป
ส่วนความดับกองแห่งความมืดคืออวิชชาไม่ให้เหลือด้วยวิราคะ นี้เป็นทางอันสงบ
นี้เป็นทางอันประณีต คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความ
สิ้นตัณหา ความสิ้นกำหนัด ความดับ นิพพาน’ ก็ปัญญาของพระอริยสาวกนั้น
พึงจัดเป็นปัญญินทรีย์
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระอริยสาวกผู้มีศรัทธานั้นพยายามอย่างนี้ ครั้น
พยายามแล้วระลึกอย่างนี้ ครั้นระลึกแล้วตั้งมั่นอย่างนี้ ครั้นตั้งมั่นแล้วรู้ชัดอย่างนี้
ครั้นรู้ชัดแล้วย่อมเชื่อมั่นอย่างนี้ว่า ‘นี้แลคือธรรมที่เราได้ฟังมาก่อน บัดนี้เราถูก
ต้องด้วยนามกายนั้นอยู่และเห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา’ ก็ศรัทธาของพระอริย-
สาวกนั้นพึงจัดเป็นสัทธินทรีย์”
“ดีละ ดีละ สารีบุตร อริยสาวกใดมีศรัทธามั่นคง เลื่อมใสอย่างยิ่งในตถาคต
อริยสาวกนั้นไม่พึงสงสัยหรือเคลือบแคลงในตถาคตหรือในคำสอนของตถาคต ด้วยว่า
อริยสาวกผู้มีศรัทธาพึงหวังได้ว่า จักเป็นผู้ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม
เพื่อให้กุศลธรรมเกิด มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่น มั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศล-
ธรรมทั้งหลายอยู่ ก็วิริยะของอริยสาวกนั้นพึงจัดเป็นวิริยินทรีย์
อนึ่ง อริยสาวกผู้มีศรัทธา ปรารภความเพียร พึงหวังได้ว่า จักเป็นผู้มีสติ
ประกอบด้วยสติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตนอย่างยิ่ง ระลึกนึกถึงสิ่งที่ทำ คำที่ได้พูด
ไว้นานบ้าง ก็สติของอริยสาวกนั้นพึงจัดเป็นสตินทรีย์
อนึ่ง อริยสาวกผู้มีศรัทธา ปรารภความเพียร มีสติมั่นคง พึงหวังได้ว่า
จักยึดนิพพานให้เป็นอารมณ์ ได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต ก็สมาธิของอริยสาวกนั้น
พึงจัดเป็นสมาธินทรีย์
อนึ่ง อริยสาวกผู้มีศรัทธา ปรารภความเพียร มีสติมั่นคง มีจิตตั้งมั่น พึง
หวังได้ว่า จักรู้ชัดว่า ‘สงสารมีที่สุดและเบื้องต้นกำหนดรู้ไม่ได้ เบื้องต้นและที่สุด
ไม่ปรากฏแก่เหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาปิดกั้น มีตัณหาผูกไว้ แล่นไป ท่องเที่ยวไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๕. ชราวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ส่วนความดับกองแห่งความมืดคืออวิชชาไม่ให้เหลือด้วยวิราคะ นี้เป็นทางอันสงบ
นี้เป็นทางอันประณีต คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความ
สิ้นตัณหา ความสิ้นกำหนัด ความดับ นิพพาน’ ก็ปัญญาของอริยสาวกนั้นพึงจัด
เป็นปัญญินทรีย์
สารีบุตร อริยสาวกผู้มีศรัทธานั้นพยายามอย่างนี้ ครั้นพยายามแล้วระลึก
อย่างนี้ ครั้นระลึกแล้วตั้งมั่นอย่างนี้ ครั้นตั้งมั่นแล้วรู้ชัดอย่างนี้ ครั้นรู้ชัดแล้วย่อม
เชื่อมั่นอย่างนี้ว่า ‘นี้แลคือธรรมที่เราได้ฟังมาก่อน บัดนี้เราถูกต้องด้วยนามกาย
นั้นอยู่ และเห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา’ ก็ศรัทธาของอริยสาวกนั้นพึงจัดเป็น
สัทธินทรีย์”

อาปณสูตรที่ ๑๐ จบ
ชราวรรคที่ ๕ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ชราธัมมสูตร ๒. อุณณาภพราหมณสูตร
๓. สาเกตสูตร ๔. ปุพพโกฏฐกสูตร
๕. ปฐมปุพพารามสูตร ๖. ทุติยปุพพารามสูตร
๗. ตติยปุพพารามสูตร ๘. จตุตถปุพพารามสูตร
๙. ปิณโฑลภารทวาชสูตร ๑๐. อาปณสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๖. สูกรขตวรรค ๑. สาลสูตร

๖. สูกรขตวรรค
หมวดว่าด้วยถ้ำสุกรขาตา
๑. สาลสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่หมู่บ้านพราหณ์ชื่อสาลา

[๕๒๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ หมู่บ้านพราหมณ์ชื่อสาลา แคว้น
โกศล ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ดิรัจฉานเหล่าใดเหล่าหนึ่ง พญาราชสีห์ชาวโลกกล่าวว่า
เลิศกว่าสัตว์ดิรัจฉานเหล่านั้น เพราะพละกำลัง ความเร็ว ความกล้า แม้ฉันใด
โพธิปักขิยธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ปัญญินทรีย์บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าโพธิปักขิย-
ธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
โพธิปักขิยธรรม อะไรบ้าง คือ
สัทธินทรีย์เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้
วิริยินทรีย์เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้
สตินทรีย์เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้
สมาธินทรีย์เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้
ปัญญินทรีย์เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้
ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ดิรัจฉานเหล่าใดเหล่าหนึ่ง พญาราชสีห์ชาวโลกกล่าวว่า
เลิศกว่าสัตว์เหล่านั้น เพราะพละกำลัง ความเร็ว ความกล้า แม้ฉันใด โพธิปักขิย-
ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ปัญญินทรีย์บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น
เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน”

สาลสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๖. สูกรขตวรรค ๓. เสขสูตร

๒. มัลลกสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่นิคมของชาวมัลละ

[๕๒๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของชาวมัลละชื่ออุรุเวลกัปปะ
แคว้นมัลละ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย อริยญาณยังไม่เกิดขึ้นแก่อริยสาวกเพียงใด อินทรีย์ ๔ ประการ ก็ชื่อว่า
ยังไม่ตั้งมั่น ไม่หยั่งลงเพียงนั้น แต่เมื่อใด อริยญาณเกิดขึ้นแก่อริยสาวก เมื่อนั้น
อินทรีย์ ๔ ประการก็ชื่อว่าย่อมตั้งมั่น ย่อมหยั่งลง
ภิกษุทั้งหลาย ยอดของเรือนยอดเขายังไม่ยกขึ้นเพียงใด กลอนทั้งหลายก็ชื่อ
ว่ายังไม่ได้ตั้ง ยังไม่ได้ใส่เพียงนั้น แต่เมื่อใด ยอดของเรือนเขายกขึ้นแล้ว เมื่อนั้น
กลอนทั้งหลายก็ชื่อว่าได้ตั้ง ได้ใส่ไว้ แม้ฉันใด อริยญาณก็ฉันนั้นเหมือนกันยัง
ไม่เกิดขึ้นแก่อริยสาวกเพียงใด อินทรีย์ ๔ ประการก็ชื่อว่ายังไม่ตั้งมั่น ไม่หยั่งลง
เพียงนั้น แต่เมื่อใด อริยญาณเกิดขึ้นแก่อริยสาวก เมื่อนั้น อินทรีย์ ๔ ประการ
ก็ชื่อว่าย่อมตั้งมั่น ย่อมหยั่งลง
อินทรีย์ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ ๒. วิริยินทรีย์
๓. สตินทรีย์ ๔. สมาธินทรีย์
ภิกษุทั้งหลาย สัทธาที่เป็นไปตามปัญญา วิริยะที่เป็นไปตามปัญญา สติที่
เป็นไปตามปัญญา สมาธิที่เป็นไปตามปัญญาของอริยสาวกผู้มีปัญญา ย่อมตั้งมั่น”

มัลลกสูตรที่ ๒ จบ

๓. เสขสูตร
ว่าด้วยพระเสขะและพระอเสขะ

[๕๒๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๖. สูกรขตวรรค ๓. เสขสูตร

เหตุที่ให้ภิกษุผู้เป็นเสขะอาศัยแล้วตั้งอยู่ในเสขภูมิ รู้ชัดว่า ‘เราเป็นพระเสขะ’ และ
ที่ให้ภิกษุผู้เป็นอเสขะอาศัยแล้วตั้งอยู่ในอเสขภูมิ รู้ชัดว่า ‘เราเป็นพระอเสขะ’ มี
อยู่หรือ”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ๑
“ภิกษุทั้งหลาย เหตุที่ให้ภิกษุผู้เป็นเสขะอาศัยแล้วตั้งอยู่ในเสขภูมิ รู้ชัดว่า
‘เราเป็นพระเสขะ’ และที่ให้ภิกษุผู้เป็นอเสขะอาศัยแล้วตั้งอยู่ในอเสขภูมิ รู้ชัดว่า
‘เราเป็นพระอเสขะ’ มีอยู่
เหตุที่ให้ภิกษุผู้เป็นเสขะอาศัยแล้วตั้งอยู่ในเสขภูมิ รู้ชัดว่า ‘เราเป็น
พระเสขะ‘ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุผู้เป็นเสขะในธรรมวินัยนี้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกข-
สมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’
เหตุที่ให้ภิกษุผู้เป็นเสขะอาศัยแล้วตั้งอยู่ในเสขภูมิ รู้ชัดว่า ‘เราเป็นพระเสขะ’
เป็นอย่างนี้แล
อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้เป็นเสขะพิจารณาเห็นว่า ‘สมณะหรือพราหมณ์อื่น
นอกศาสนานี้ผู้ที่แสดงธรรมจริงแท้แน่นอนเหมือนพระผู้มีพระภาคมีอยู่หรือ’ เธอรู้
ชัดว่า ‘สมณะหรือพราหมณ์อื่นนอกศาสนานี้ผู้ที่แสดงธรรมจริงแท้แน่นอนเหมือน
พระผู้มีพระภาคไม่มีเลย’
เหตุที่ให้ภิกษุผู้เป็นเสขะอาศัยแล้วตั้งอยู่ในเสขภูมิ รู้ชัดว่า ‘เราเป็นพระเสขะ’
เป็นอย่างนี้แล
อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้เป็นเสขะย่อมรู้ชัดอินทรีย์ ๕ ประการ คือ
๑. สัทธินทรีย์ ๒. วิริยินทรีย์
๓. สตินทรีย์ ๔. สมาธินทรีย์
๕. ปัญญินทรีย์


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๖. สูกรขตวรรค ๓. เสขสูตร

อินทรีย์ ๕ ประการซึ่งมีคติ มีความเป็นเลิศ มีผล และมีที่สุด เธอยังไม่ถูก
ต้องด้วยนามกาย แต่เห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา
เหตุที่ให้ภิกษุผู้เป็นเสขะอาศัยแล้วตั้งอยู่ในเสขภูมิ รู้ชัดว่า ‘เราเป็นพระเสขะ’
เป็นอย่างนี้แล
เหตุที่ให้ภิกษุผู้เป็นอเสขะอาศัยแล้วตั้งอยู่ในอเสขภูมิ รู้ชัดว่า ‘เราเป็น
พระอเสขะ‘ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุผู้เป็นอเสขะในธรรมวินัยนี้ย่อมรู้ชัดอินทรีย์ ๕ ประการ คือ
๑. สัทธินทรีย์ ๒. วิริยินทรีย์
๓. สตินทรีย์ ๔. สมาธินทรีย์
๕. ปัญญินทรีย์
อินทรีย์ ๕ ประการซึ่งมีคติ มีความเป็นเลิศ มีผล และมีที่สุด เธอยังไม่ถูก
ต้องด้วยนามกาย แต่เห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา
เหตุที่ให้ภิกษุผู้เป็นอเสขะอาศัยแล้วตั้งอยู่ในอเสขภูมิ รู้ชัดว่า ‘เราเป็น
พระอเสขะ’ เป็นอย่างนี้แล
อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้เป็นอเสขะย่อมรู้ชัดอินทรีย์ ๖ ประการ คือ
๑. จักขุนทรีย์ ๒. โสตินทรีย์
๓. ฆานินทรีย์ ๔. ชิวหินทรีย์
๕. กายินทรีย์ ๖. มนินทรีย์
เธอรู้ชัดว่า ‘อินทรีย์ ๖ ประการนี้จักดับทุกสิ่งโดยอาการทั้งหมดทุกอย่างไม่
เหลือโดยประการทั้งปวง และอินทรีย์ ๖ ประการอื่นก็จักไม่เกิดในภพไหน ๆ’
เหตุที่ให้ภิกษุผู้เป็นอเสขะอาศัยแล้วตั้งอยู่ในอเสขภูมิ รู้ชัดว่า ‘เราเป็นพระอเสขะ’
เป็นอย่างนี้แล”

เสขสูตรที่ ๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๖. สูกรขตวรรค ๕. สารสูตร

๔. ปทสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยรอยเท้าสัตว์

[๕๒๔] “ภิกษุทั้งหลาย รอยเท้าของสัตว์ที่เที่ยวไปบนแผ่นดินทั้งหมดรวมลง
ในรอยเท้าช้าง รอยเท้าช้างชาวโลกกล่าวว่าเลิศกว่ารอยเท้าเหล่านั้น เพราะเป็น
รอยใหญ่ แม้ฉันใด บทแห่งธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่งย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้
ปัญญินทรีย์บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าบทแห่งธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
บทแห่งธรรมที่เป็นไปเพื่อความตรัสรู้ อะไรบ้าง คือ
สัทธินทรีย์เป็นบทแห่งธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้
วิริยินทรีย์เป็นบทแห่งธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้
สตินทรีย์เป็นบทแห่งธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้
สมาธินทรีย์เป็นบทแห่งธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้
ปัญญินทรีย์เป็นบทแห่งธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้
ภิกษุทั้งหลาย รอยเท้าของสัตว์ที่เที่ยวไปบนแผ่นดินทั้งหมดรวมลงในรอยเท้าช้าง
รอยเท้าช้างชาวโลกกล่าวว่าเลิศกว่ารอยเท้าเหล่านั้น เพราะเป็นรอยใหญ่ แม้ฉันใด
บทแห่งธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่งย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ปัญญินทรีย์บัณฑิตกล่าว
ว่าเลิศกว่าบทแห่งธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน”

ปทสูตรที่ ๔ จบ

๕. สารสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยแก่นไม้

[๕๒๕] “ภิกษุทั้งหลาย กลิ่นหอมที่เกิดจากแก่นชนิดใดชนิดหนึ่ง จันทน์แดง
ชาวโลกกล่าวว่าเลิศกว่ากลิ่นหอมที่เกิดจากแก่นเหล่านั้น แม้ฉันใด โพธิปักขิยธรรม
เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ปัญญินทรีย์บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น
เพราะเป็นไปเพื่อตรัสรู้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๓๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๖. สูกรขตวรรค ๖. ปติฏฐิตสูตร

โพธิปักขิยธรรม อะไรบ้าง คือ
สัทธินทรีย์เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้
วิริยินทรีย์ ฯลฯ
สตินทรีย์ ฯลฯ
สมาธินทรีย์ ฯลฯ
ปัญญินทรีย์เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้
ภิกษุทั้งหลาย จันทน์แดงชาวโลกกล่าวว่าเลิศกว่ากลิ่นหอมที่เกิดจากแก่น
เหล่านั้น แม้ฉันใด โพธิปักขิยธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ปัญญินทรีย์บัณฑิตกล่าวว่า
เลิศกว่าโพธิปักขิยธรรมทั้งหลายเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน”

สารสูตรที่ ๕ จบ

๖. ปติฏฐิตสูตร
ว่าด้วยภิกษุตั้งอยู่ในธรรมอันเป็นเอก

[๕๒๖] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการ เป็นอันภิกษุผู้ตั้งอยู่ในธรรม
อันเป็นเอกเจริญ อบรมดีแล้ว
ธรรมอันเป็นเอก คืออะไร
คือ ความไม่ประมาท
ความไม่ประมาท เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมรักษาจิตในธรรมทั้งหลายทั้งที่เป็นอาสวะและที่
เป็นไปพร้อมกับอาสวะ เมื่อเธอรักษาจิตในธรรมทั้งหลายทั้งที่เป็นอาสวะและที่เป็นไป
พร้อมกับอาสวะ สัทธินทรีย์ก็ดี วิริยินทรีย์ก็ดี สตินทรีย์ก็ดี สมาธินทรีย์ก็ดี ปัญญินทรีย์ก็ดี
ย่อมถึงความเจริญเต็มที่
ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการเป็นอันภิกษุผู้ตั้งอยู่ในธรรมอันเป็นเอก
เจริญ อบรมดีแล้ว แม้อย่างนี้แล”

ปติฏฐิตสูตรที่ ๖ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๖. สูกรขตวรรค ๗. สหัมปติพรหมสูตร

๗. สหัมปติพรหมสูตร
ว่าด้วยท้าวสหัมบดีพรหม

[๕๒๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคแรกตรัสรู้ ประทับอยู่ใต้ต้นอชปาลนิโครธ ริมฝั่ง
แม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลา ทรงหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด ได้เกิดความรำพึงขึ้นว่า
“อินทรีย์ ๕ ประการที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะ
เป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ
มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด
๒. วิริยินทรีย์ ฯลฯ
๓. สตินทรีย์ ฯลฯ
๔. สมาธินทรีย์ ฯลฯ
๕. ปัญญินทรีย์ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ
มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด
อินทรีย์ ๕ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มี
อมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด
ครั้งนั้น ท้าวสหัมบดีพรหมทราบความรำพึงของพระผู้มีพระภาคแล้ว จึง
หายตัวจากพรหมโลกมาปรากฏตรงพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาค เปรียบเหมือน
บุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้าฉะนั้น ห่มผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนม
อัญชลีไปทางพระผู้มีพระภาคแล้วกราบทูลว่า ‘ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เรื่องนี้เป็น
อย่างนั้น ข้าแต่พระสุคต เรื่องนี้เป็นอย่างนั้น อินทรีย์ ๕ ประการที่บุคคลเจริญ
ทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ
มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด
ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๔๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๖. สูกรขตวรรค ๘. สูกรขตสูตร

๕. ปัญญินทรีย์ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ
มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด
อินทรีย์ ๕ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มี
อมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เรื่องเคยมีมาแล้ว ข้าพระองค์ได้ประพฤติพรหมจรรย์
ในพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้ในสมัยนั้น พวกเขารู้จักข้าพระองค์อย่างนี้ว่า
‘สหกภิกษุ สหกภิกษุ’ ข้าพระองค์นั้นคลายกามฉันทะในกามทั้งหลาย หลังจาก
ตายแล้วไปเกิดในสุคติพรหมโลก เพราะอินทรีย์ ๕ ประการที่ข้าพระองค์เจริญ
ทำให้มากแล้ว แม้ในพรหมโลกนั้น พวกเขาก็รู้จักข้าพระองค์ว่า ‘ท้าวสหัมบดีพรหม
ท้าวสหัมบดีพรหม’ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เรื่องนี้เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระสุคต
เรื่องนี้เป็นอย่างนั้น ข้าพระองค์รู้ ข้าพระองค์เห็นข้อที่อินทรีย์ที่บุคคลเจริญ ทำให้
มากแล้ว หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด”

สหัมปติพรหมสูตรที่ ๗ จบ

๘. สูกรขตสูตร
ว่าด้วยการสนทนาธรรมที่ถ้ำสุกรขาตา

[๕๒๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ถ้ำสุกรขาตา เขาคิชฌกูฏ
เขตกรุงราชคฤห์ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระสารีบุตรมาตรัส
ถามว่า “สารีบุตร ภิกษุขีณาสพเห็นอำนาจประโยชน์อะไร จึงประพฤตินอบน้อม
อย่างยิ่งในตถาคตหรือในคำสอนของตถาคต”
ท่านพระสารีบุตรทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุขีณาสพเห็นธรรม
เป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม จึงประพฤตินอบน้อมอย่างยิ่งในพระตถาคต
หรือในคำสอนของพระตถาคต”
“ดีละ ดีละ สารีบุตร ภิกษุขีณาสพเห็นธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอด
เยี่ยม จึงประพฤตินอบน้อมอย่างยิ่งในตถาคตหรือในคำสอนของตถาคต
ธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ภิกษุขีณาสพเห็นอยู่ จึงประพฤติ
นอบน้อมอย่างยิ่งในตถาคตหรือในคำสอนของตถาคต เป็นอย่างไร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๔๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๖. สูกรขตวรรค ๙. ปฐมอุปปาทสูตร

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุขีณาสพในพระธรรมวินัยนี้เจริญสัทธินทรีย์ที่ให้
ถึงความสงบ ให้ถึงความตรัสรู้ เจริญวิริยินทรีย์ ฯลฯ เจริญสตินทรีย์ ฯลฯ
เจริญสมาธินทรีย์ ฯลฯ เจริญปัญญินทรีย์ที่ให้ถึงความสงบ ให้ถึงความตรัสรู้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมนี้ที่ภิกษุขีณาสพ
เห็นอยู่ จึงประพฤตินอบน้อมอย่างยิ่งในพระตถาคตหรือในคำสอนของพระตถาคต”
“ดีละ ดีละ สารีบุตร ธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมนี้ที่ภิกษุขีณาสพ
เห็นอยู่ จึงประพฤตินอบน้อมอย่างยิ่งในตถาคตหรือในคำสอนของตถาคต
สารีบุตร การนอบน้อมอย่างยิ่งที่ภิกษุขีณาสพประพฤติในตถาคตหรือในคำสอน
ของตถาคต เป็นอย่างไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุขีณาสพในพระธรรมวินัยนี้มีความเคารพยำเกรง
ในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในสิกขา ในสมาธิ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
นี้แล คือการนอบน้อมอย่างยิ่งที่ภิกษุขีณาสพประพฤติในพระตถาคตหรือในคำสอน
ของพระตถาคต”
“ดีละ ดีละ สารีบุตร การนอบน้อมอย่างยิ่งนี้ที่ภิกษุขีณาสพประพฤติใน
ตถาคตหรือในคำสอนของตถาคต”

สูกรขตสูตรที่ ๘ จบ

๙. ปฐมอุปปาทสูตร
ว่าด้วยความเกิดขึ้นแห่งอินทรีย์ สูตรที่ ๑

[๕๒๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ที่ยังไม่เกิด
ย่อมเกิดขึ้น เว้นความอุบัติขึ้นของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ย่อมไม่
เกิดขึ้น
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ ๒. วิริยินทรีย์
๓. สตินทรีย์ ๔. สมาธินทรีย์
๕. ปัญญินทรีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๔๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๖. สูกรขตวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

อินทรีย์ ๕ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น
เว้นความอุบัติขึ้นของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ย่อมไม่เกิดขึ้น”

ปฐมอุปปาทสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ทุติยอุปปาทสูตร
ว่าด้วยความเกิดขึ้นแห่งอินทรีย์ สูตรที่ ๒

[๕๓๐] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว
ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น เว้นวินัยของพระสุคต ย่อมไม่เกิดขึ้น
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ ๒. วิริยินทรีย์
๓. สตินทรีย์ ๔. สมาธินทรีย์
๕. ปัญญินทรีย์
อินทรีย์ ๕ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น
เว้นวินัยของพระสุคต ย่อมไม่เกิดขึ้น”

ทุติยอุปปาทสูตรที่ ๑๐ จบ
สูกรขตวรรคที่ ๖ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สาลสูตร ๒. มัลลกสูตร
๓. เสขสูตร ๔. ปทสูตร
๕. สารสูตร ๖. ปติฏฐิตสูตร
๗. สหัมปติพรหมสูตร ๘. สูกรขตสูตร
๙. ปฐมอุปปาทสูตร ๑๐. ทุติยอุปปาทสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๗. โพธิปักขิยวรรค ๓. ปริญญาสูตร

๗. โพธิปักขิยวรรค
หมวดว่าด้วยโพธิปักขิยธรรม
๑. สัญโญชนสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อละสังโยชน์

[๕๓๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ
ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อละสังโยชน์
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ ฯลฯ ๕. ปัญญินทรีย์
อินทรีย์ ๕ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อละสังโยชน์”

สัญโญชนสูตรที่ ๑ จบ

๒. อนุสยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อถอนอนุสัย

[๕๓๒] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อถอนอนุสัย
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ ฯลฯ ๕. ปัญญินทรีย์
อินทรีย์ ๕ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อถอนอนุสัย”

อนุสยสูตรที่ ๒ จบ

๓. ปริญญาสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อกำหนดรู้อัทธานะ

[๕๓๓] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อกำหนดรู้อัทธานะ(ทางไกล)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๗. โพธิปักขิยวรรค ๔. อาสวักขยสูตร

อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ ฯลฯ ๕. ปัญญินทรีย์
อินทรีย์ ๕ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อกำหนดรู้
อัทธานะ”

ปริญญาสูตรที่ ๓ จบ

๔. อาสวักขยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ

[๕๓๔] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ ฯลฯ ๕. ปัญญินทรีย์
อินทรีย์ ๕ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้น
อาสวะ
อินทรีย์ ๕ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อละสังโยชน์
เพื่อถอนอนุสัย เพื่อกำหนดรู้อัทธานะ เพื่อความสิ้นอาสวะ
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ ฯลฯ ๕. ปัญญินทรีย์
อินทรีย์ ๕ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อละสังโยชน์
เพื่อถอนอนุสัย เพื่อกำหนดรู้อัทธานะ เพื่อความสิ้นอาสวะ”

อาสวักขยสูตรที่ ๔ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๗. โพธิปักขิยวรรค ๖. ทุติยผลสูตร

๕. ปฐมผลสูตร
ว่าด้วยผลแห่งการเจริญอินทรีย์ สูตรที่ ๑

[๕๓๕] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ ฯลฯ ๕. ปัญญินทรีย์
อินทรีย์ ๕ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว พึง
หวังผลอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทาน
เหลืออยู่ ก็จักเป็นพระอนาคามี”

ปฐมผลสูตรที่ ๕ จบ

๖. ทุติยผลสูตร
ว่าด้วยผลแห่งการเจริญอินทรีย์ สูตรที่ ๒

[๕๓๖] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ ฯลฯ ๕. ปัญญินทรีย์
อินทรีย์ ๕ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว พึง
หวังผลานิสงส์ ๗ ประการ
ผลานิสงส์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. จะได้บรรลุอรหัตตผลทันทีในปัจจุบัน
๒. ถ้าไม่ได้บรรลุอรหัตตผลในปัจจุบัน จะได้บรรลุในเวลาใกล้ตาย
๓. ถ้าในปัจจุบันและเวลาใกล้ตายยังไม่ได้บรรลุ ก็จะได้เป็นพระ
อนาคามี ผู้อันตราปรินิพพายี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๔๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๗. โพธิปักขิยวรรค ๗. ปฐมรุกขสูตร

๔. ...ก็จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี
๕. ...ก็จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี
๖. ...ก็จะได้เป็นพระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี
๗. ...ก็จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี เพราะอุทธัม-
ภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการสิ้นไป
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว พึง
หวังผลานิสงส์ ๗ ประการนี้”๑

ทุติยผลสูตรที่ ๖ จบ

๗. ปฐมรุกขสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยต้นไม้ สูตรที่ ๑

[๕๓๗] “ภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ที่มีอยู่ในชมพูทวีปเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ต้นหว้า
ชาวโลกกล่าวว่าเลิศกว่าต้นไม้เหล่านั้น แม้ฉันใด โพธิปักขิยธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
ปัญญินทรีย์บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อ
ความตรัสรู้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
โพธิปักขิยธรรม อะไรบ้าง คือ
สัทธินทรีย์เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้
วิริยินทรีย์ ฯลฯ
สตินทรีย์ ฯลฯ
สมาธินทรีย์ ฯลฯ
ปัญญินทรีย์เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๗. โพธิปักขิยวรรค ๘. ทุติยรุกขสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้เหล่าใดเหล่าหนึ่งที่มีอยู่ในชมพูทวีป ต้นหว้าชาวโลก
กล่าวว่าเลิศกว่าต้นไม้เหล่านั้น แม้ฉันใด โพธิปักขิยธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
ปัญญินทรีย์บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อ
ความตรัสรู้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน”

ปฐมรุกขสูตรที่ ๗ จบ

๘. ทุติยรุกขสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยต้นไม้ สูตรที่ ๒

[๕๓๘] “ภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้เหล่าใดเหล่าหนึ่งของเหล่าเทพชั้นดาวดึงส์
ต้นปาริฉัตตกะ (ต้นทองหลาง) ชาวโลกกล่าวว่าเลิศกว่าต้นไม้เหล่านั้น แม้ฉันใด
โพธิปักขิยธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ปัญญินทรีย์บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าโพธิปักขิย-
ธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
โพธิปักขิยธรรม อะไรบ้าง คือ
สัทธินทรีย์เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้
วิริยินทรีย์ ฯลฯ
สตินทรีย์ ฯลฯ
สมาธินทรีย์ ฯลฯ
ปัญญินทรีย์เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้
ภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้เหล่าใดเหล่าหนึ่งของเหล่าเทพชั้นดาวดึงส์ ต้นปาริฉัตตกะ
ชาวโลกกล่าวว่าเลิศกว่าต้นไม้เหล่านั้น แม้ฉันใด โพธิปักขิยธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
ปัญญินทรีย์บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อ
ความตรัสรู้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน”

ทุติยรุกขสูตรที่ ๘ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๗. โพธิปักขิยวรรค ๑๐. จตุตถรุกขสูตร

๙. ตติยรุกขสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยต้นไม้ สูตรที่ ๓

[๕๓๙] “ภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้เหล่าใดเหล่าหนึ่งของพวกอสูร ต้นจิตตปาฏลี
(ต้นไม้ประจำพิภพอสูร) ชาวโลกกล่าวว่าเลิศกว่าต้นไม้เหล่านั้น แม้ฉันใด โพธิ-
ปักขิยธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ปัญญินทรีย์บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าโพธิปักขิยธรรม
เหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน”
โพธิปักขิยธรรม อะไรบ้าง คือ
สัทธินทรีย์เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้
ฯลฯ
ปัญญินทรีย์เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้
ภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้เหล่าใดเหล่าหนึ่งของพวกอสูร ต้นจิตตปาฏลีชาวโลก
กล่าวว่าเลิศกว่าต้นไม้เหล่านั้น แม้ฉันใด โพธิปักขิยธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
ปัญญินทรีย์บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อ
ความตรัสรู้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน”

ตติยรุกขสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. จตุตถรุกขสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยต้นไม้ สูตรที่ ๔

[๕๔๐] “ภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้เหล่าใดเหล่าหนึ่งของพวกครุฑ ต้นโกฏสิมพลี
(ไม้งิ้วป่า) ชาวโลกกล่าวว่าเลิศกว่าต้นไม้เหล่านั้น แม้ฉันใด โพธิปักขิยธรรมเหล่าใด
เหล่าหนึ่ง ปัญญินทรีย์บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น เพราะเป็น
ไปเพื่อความตรัสรู้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน”
โพธิปักขิยธรรม อะไรบ้าง คือ
สัทธินทรีย์เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้
ฯลฯ
ปัญญินทรีย์เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๗. โพธิปักขิยวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้เหล่าใดเหล่าหนึ่งของพวกครุฑ ต้นโกฏสิมพลี ชาวโลก
กล่าวว่าเลิศกว่าต้นไม้เหล่านั้น แม้ฉันใด โพธิปักขิยธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
ปัญญินทรีย์บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้นเพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน”

จตุตถรุกขสูตรที่ ๑๐ จบ
โพธิปักขิยวรรคที่ ๗ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สัญโญชนสูตร ๒. อนุสยสูตร
๓. ปริญญาสูตร ๔. อาสวักขยสูตร
๕. ปฐมผลสูตร ๖. ทุติยผลสูตร
๗. ปฐมรุกขสูตร ๘. ทุติยรุกขสูตร
๙. ตติยรุกขสูตร ๑๐. จตุตถรุกขสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]๑-๑๒. ปาจีนาทิสูตร

๘. คังคาเปยยาลวรรค
หมวดว่าด้วยคังคาเปยยาล
๑-๑๒. ปาจีนาทิสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยแม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีนเป็นต้น

[๕๔๑-๕๕๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่
ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน หลากไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน
เมื่อเจริญอินทรีย์ ๕ ประการ ทำอินทรีย์ ๕ ประการให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน
โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน
ภิกษุเมื่อเจริญอินทรีย์ ๕ ประการ ทำอินทรีย์ ๕ ประการให้มาก ย่อม
น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัทธินทรีย์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
๒. เจริญวิริยินทรีย์ ฯลฯ
๓. เจริญสตินทรีย์ ฯลฯ
๔. เจริญสมาธินทรีย์ ฯลฯ
๕. เจริญปัญญินทรีย์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ
ภิกษุเมื่อเจริญอินทรีย์ ๕ ประการ ทำอินทรีย์ ๕ ประการให้มาก ย่อมน้อมไป
สู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างนี้แล”

ปาจีนาทิสูตรที่ ๑-๑๒ จบ
คังคาเปยยาลวรรคที่ ๘ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๘. คังคาเปยยาลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมปาจีนนินนสูตร ๒-๕. ทุติยาทิปาจีนนินนสุตตจตุกกะ
๖. ฉัฏฐปาจีนนินนสูตร ๗. ปฐมสมุททนินนสูตร
๘-๑๒. ทุติยาทิสมุททนินนสุตตปัญจกะ

อัปปมาทวรรคพึงให้พิสดาร๑

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ตถาคตสูตร ๒. ปทสูตร
๓. กูฏสูตร ๔. มูลสูตร
๕. สารสูตร ๖. วัสสิกสูตร
๗. ราชาสูตร ๘. จันทิมสูตร
๙. สุริยสูตร ๑๐. วัตถุสูตร

พลกรณียวรรคพึงให้พิสดาร๒

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. พลสูตร ๒. พีชสูตร
๓. นาคสูตร ๔. รุกขสูตร
๕. กุมภสูตร ๖. สูกสูตร
๗. อากาสสูตร ๘. ปฐมเมฆสูตร
๙. ทุติยเมฆสูตร ๑๐. นาวาสูตร
๑๑. อาคันตุกสูตร ๑๒. นทีสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๘. คังคาเปยยาลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

เอสนาวรรคพึงให้พิสดาร๑

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. เอสนาสูตร ๒. วิธาสูตร
๓. อาสวสูตร ๔. ภวสูตร
๕. ทุกขตาสูตร ๖. ขีลสูตร
๗. มลสูตร ๘. นีฆสูตร
๙. เวทนาสูตร ๑๐. ตัณหาสูตร
๑๑. ตสินาสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๑๒. โอฆวรรค ๑-๑๐. โอฆาทิสูตร

๑๒. โอฆวรรค
หมวดว่าด้วยโอฆะ
๑-๑๐. โอฆาทิสูตร
ว่าด้วยโอฆะเป็นต้น

[๕๘๗-๕๙๖] “ภิกษุทั้งหลาย อุทธัมภาคิยสังโยชน์ (สังโยชน์เบื้องสูง) ๕
ประการนี้
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปราคะ ๒. อรูปราคะ
๓. มานะ ๔. อุทธัจจะ
๕. อวิชชา
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญอินทรีย์ ๕ ประการเพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้
เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัทธินทรีย์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ
ฯลฯ
๕. เจริญปัญญินทรีย์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญอินทรีย์ ๕ ประการนี้เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้
เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้แล”

โอฆาทิสูตรที่ ๑-๑๐ จบ

(พึงเพิ่มข้อความให้พิสดารเหมือนมัคคสังยุต)

โอฆวรรคที่ ๑๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๑๒. โอฆวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. โอฆสูตร ๒. โยคสูตร
๓. อุปาทานสูตร ๔. คันถสูตร
๕. อนุสยสูตร ๖. กามคุณสูตร
๗. นีวรณสูตร ๘. อุปาทานักขันธสูตร
๙. โอรัมภาคิยสูตร ๑๐. อุทธัมภาคิยสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๑๓. คังคาเปยยาลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๑๓. คังคาเปยยาลวรรค
หมวดว่าด้วยคังคาเปยยาล
๑-๑๒. ปาจีนาทิสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยแม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีนเป็นต้น

[๕๙๗-๖๐๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่
ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน หลากไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือน
กัน เมื่อเจริญอินทรีย์ ๕ ประการ ทำอินทรีย์ ๕ ประการให้มาก ย่อมน้อมไปสู่
นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน
ภิกษุเมื่อเจริญอินทรีย์ ๕ ประการ ทำอินทรีย์ ๕ ประการให้มาก ย่อม
น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัทธินทรีย์อันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะ
เป็นที่สุด
ฯลฯ
๕. เจริญปัญญินทรีย์อันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะ
เป็นที่สุด
ภิกษุเมื่อเจริญอินทรีย์ ๕ ประการ ทำอินทรีย์ ๕ ประการให้มาก ย่อมน้อม
ไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างนี้แล”

ปาจีนาทิสูตรที่ ๑-๑๒ จบ
คังคาเปยยาลวรรคที่ ๑๓ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมปาจีนนินนสูตร ๒-๕. ทุติยาทิปาจีนนินนสุตตจตุกกะ
๖. ฉัฏฐปาจีนนินนสูตร ๗. ปฐมสมุททนินนสูตร
๘-๑๒. ทุติยาทิสมุททนินนสุตตปัญจกะ

(อัปปมาทวรรค พลกรณียวรรค และเอสนาวรรคพึงให้พิสดาร)


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๑๗. โอฆวรรค ๑-๑๐. โอฆาทิสูตร

๑๗. โอฆวรรค
หมวดว่าด้วยโอฆะ
๑-๑๐. โอฆาทิสูตร
ว่าด้วยโอฆะเป็นต้น

[๖๔๑-๖๕๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อุทธัมภาคิยสังโยชน์
(สังโยชน์เบื้องสูง) ๕ ประการนี้
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปราคะ ๒. อรูปราคะ
๓. มานะ ๔. อุทธัจจะ
๕. อวิชชา
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญอินทรีย์ ๕ ประการ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้
เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัทธินทรีย์อันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะ
เป็นที่สุด
๒. เจริญวิริยินทรีย์ ฯลฯ
๓. เจริญสตินทรีย์ ฯลฯ
๔. เจริญสมาธินทรีย์ ฯลฯ
๕. เจริญปัญญินทรีย์อันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะ
เป็นที่สุด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๑๗. โอฆวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญอินทรีย์ ๕ ประการนี้เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อ
กำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้”

โอฆาทิสูตรที่ ๑-๑๐ จบ

(พึงเพิ่มข้อความให้พิสดารเหมือนมัคคสังยุต)

โอฆวรรคที่ ๑๗ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. โอฆสูตร ๒. โยคสูตร
๓. อุปาทานสูตร ๔. คันถสูตร
๕. อนุสยสูตร ๖. กามคุณสูตร
๗. นีวรณสูตร ๘. อุปาทานักขันธสูตร
๙. โอรัมภาคิยสูตร ๑๐. อุทธัมภาคิยสูตร

อินทริยสังยุตที่ ๔ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๕. สัมมัปปธานสังยุต]
๑. คังคาเปยยาลวรรค ๑-๑๒. ปาจีนาทิสูตร

๕. สัมมัปปธานสังยุต
๑. คังคาเปยยาลวรรค
หมวดว่าด้วยคังคาเปยยาล
๑-๑๒. ปาจีนาทิสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยแม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีนเป็นต้น

[๖๕๑-๖๖๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ฯลฯ๑ ได้ตรัสเรื่องนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย สัมมัปปธาน
๔ ประการนี้
สัมมัปปธาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น
๒. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
๓. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
๔. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญ
เต็มที่แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
สัมมัปปธาน ๔ ประการนี้
แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน หลากไปสู่ทิศปราจีน
แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเจริญสัมมัปปธาน ๔ ประการ ทำสัมมัปปธาน
๔ ประการให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๕. สัมมัปปธานสังยุต]
๑. คังคาเปยยาลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ภิกษุเมื่อเจริญสัมมัปปธาน ๔ ประการ ทำสัมมัปปธาน ๔ ประการให้มาก
ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น
๒. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
๓. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
๔. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญ
เต็มที่แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญสัมมัปปธาน ๔ ประการ ทำสัมมัปปธาน ๔
ประการให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน
อย่างนี้แล”

ปาจีนาทิสูตรที่ ๑-๑๒ จบ
คังคาเปยยาลวรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมปาจีนนินนสูตร ๒-๕. ทุติยาทิปาจีนนินนสุตตจตุกกะ
๖. ฉัฏฐปาจีนนินนสูตร ๗. ปฐมสมุททนินนสูตร
๘-๑๒. ทุติยาทิสมุททนินนสุตตปัญจกะ

(คังคาเปยยาลแห่งสัมมัปปธานสังยุตพึงให้พิสดารด้วยอำนาจสัมมัปปธาน)


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๕. สัมมัปปธานสังยุต]
๒. อัปปมาทวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๒. อัปปมาทวรรค
หมวดว่าด้วยความไม่ประมาท

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ตถาคตสูตร ๒. ปทสูตร
๓. กูฏสูตร ๔. มูลสูตร
๕. สารสูตร ๖. วัสสิกสูตร
๗. ราชาสูตร ๘. จันทิมสูตร
๙. สุริยสูตร ๑๐. วัตถสูตร

(อัปปมาทวรรคพึงให้พิสดารด้วยอำนาจสัมมัปปธาน)

อัปปมาทวรรคที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๕. สัมมัปปธานสังยุต]
๓. พลกรณียวรรค ๑-๑๒. พลกรณียาทิสูตร

๓. พลกรณียวรรค
หมวดว่าด้วยอุปมาด้วยการงานที่พึงทำด้วยกำลัง
๑-๑๒. พลกรณียาทิสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยการงานที่พึงทำด้วยกำลังเป็นต้น

[๖๗๓-๖๘๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย การงานที่พึงทำด้วย
กำลังทั้งหมด บุคคลต้องอาศัยแผ่นดิน ดำรงอยู่บนแผ่นดิน จึงทำได้ แม้ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน อาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญสัมมัปปธาน ๔ ประการ
ทำสัมมัปปธาน ๔ ประการให้มาก
ภิกษุอาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญสัมมัปปธาน ๔ ประการ ทำ
สัมมัปปธาน ๔ ประการให้มาก อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น
๒. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
๓. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
๔. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญ
เต็มที่แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญสัมมัปปธาน ๔
ประการ ทำสัมมัปปธาน ๔ ประการให้มาก อย่างนี้แล”

พลกรณียาทิสูตรที่ ๑-๑๒ จบ

(พลกรณียวรรคพึงให้พิสดารด้วยอำนาจสัมมัปปธานอย่างนี้)

พลกรณียวรรคที่ ๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๕. สัมมัปปธานสังยุต]
๓. พลกรณียวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. พลสูตร ๒. พีชสูตร
๓. นาคสูตร ๔. รุกขสูตร
๕. กุมภสูตร ๖. สูกสูตร
๗. อากาสสูตร ๘. ปฐมเมฆสูตร
๙. ทุติยเมฆสูตร ๑๐. นาวาสูตร
๑๑. อาคันตุกสูตร ๑๒. นทีสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๕. สัมมัปปธานสังยุต]
๔. เอสนาวรรค ๑-๑๐. เอสนาทิสุตตทสกะ

๔. เอสนาวรรค
หมวดว่าด้วยการแสวงหา
๑-๑๐. เอสนาทิสุตตทสกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๑๐ สูตร มีเอสนาสูตรเป็นต้น

[๖๘๕-๖๙๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓
ประการนี้
การแสวงหา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. การแสวงหากาม ๒. การแสวงหาภพ
๓. การแสวงหาพรหมจรรย์
การแสวงหา ๓ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญสัมมัปปธาน ๔ ประการเพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้
เพื่อความสิ้นไป เพื่อละการแสวงหา ๓ ประการนี้
สัมมัปปธาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น
ฯลฯ
๔. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญ
เต็มที่แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญสัมมัปปธาน ๔ ประการนี้เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้
เพื่อความสิ้นไป เพื่อละการแสวงหา ๓ ประการนี้”

(พึงเพิ่มข้อความที่เหลือให้พิสดาร)

เอสนาทิสูตรที่ ๑-๑๐ จบ
เอสนาวรรคที่ ๔ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๕. สัมมัปปธานสังยุต]
๔. เอสนาวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. เอสนาสูตร ๒. วิธาสูตร
๓. อาสวสูตร ๔. ภวสูตร
๕. ทุกขตาสูตร ๖. ขีลสูตร
๗. มลสูตร ๘. นีฆสูตร
๙. เวทนาสูตร ๑๐. ตัณหาสูตร
๑๑. ตสินาสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๕. สัมมัปปธานสังยุต]
๕. โอฆวรรค ๑-๑๐. โอฆาทิสูตร

๕. โอฆวรรค
หมวดว่าด้วยโอฆะ
๑-๑๐. โอฆาทิสูตร
ว่าด้วยโอฆะเป็นต้น

[๖๙๕-๗๐๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อุทธัมภาคิยสังโยชน์
๕ ประการนี้
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปราคะ ๒. อรูปราคะ
๓. มานะ ๔. อุทธัจจะ
๕. อวิชชา
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสัมมัปปธาน ๔ ประการ เพื่อรู้ยิ่ง
เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้
สัมมัปปธาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น
ฯลฯ
๔. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญ
เต็มที่แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๕. สัมมัปปธานสังยุต]
๕. โอฆวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญสัมมัปปธาน ๔ ประการนี้เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้
เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้”

(พึงเพิ่มข้อความที่เหลือให้พิสดาร)

โอฆาทิสูตรที่ ๑-๑๐ จบ
โอฆวรรคที่ ๕ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. โอฆสูตร ๒. โยคสูตร
๓. อุปาทานสูตร ๔. คันถสูตร
๕. อนุสยสูตร ๖. กามคุณสูตร
๗. นีวรณสูตร ๘. อุปาทานักขันธสูตร
๙. โอรัมภาคิยสูตร ๑๐. อุทธัมภาคิยสูตร

สัมมัปปธานสังยุตที่ ๕ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๖. พลสังยุต]
๑. คังคาเปยยาลวรรค ๑-๑๒. พลาทิสูตร

๖. พลสังยุต
๑. คังคาเปยยาลวรรค
หมวดว่าด้วยคังคาเปยยาล
๑-๑๒. พลาทิสูตร
ว่าด้วยพละเป็นต้น

[๗๐๕-๗๑๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย พละ ๕ ประการนี้
พละ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. สัทธาพละ (กำลังคือศรัทธา) ๒. วิริยพละ (กำลังคือวิริยะ)
๓. สติพละ (กำลังคือสติ) ๔. สมาธิพละ (กำลังคือสมาธิ)
๕. ปัญญาพละ (กำลังคือปัญญา)

พละ ๕ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาที่ไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน หลากไป
สู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเจริญพละ ๕ ประการ ทำพละ
๕ ประการให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน
ภิกษุเมื่อเจริญพละ ๕ ประการ ทำพละ ๕ ประการให้มาก ย่อมน้อม
ไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัทธาพละอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
๒. เจริญวิริยพละ ฯลฯ
๓. เจริญสติพละ ฯลฯ
๔. เจริญสมาธิพละ ฯลฯ
๕. เจริญปัญญาพละอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อม
ไปในโวสสัคคะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๖. พลสังยุต] รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญพละ ๕ ประการ ทำพละ ๕ ประการให้มาก
ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างนี้แล”

พลาทิสูตรที่ ๑-๑๒ จบ
คังคาเปยยาลวรรคที่ ๑ จบ๑

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมปาจีนนินนสูตร ๒-๕. ทุติยาทิปาจีนนินนสุตตจตุกกะ
๖. ฉัฏฐปาจีนนินนสูตร ๗. ปฐมสมุททนินนสูตร
๘-๑๒. ทุติยาทิสมุททนินนสุตตปัญจกะ

อัปปมาทวรรคพึงให้พิสดาร๒

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ตถาคตสูตร ๒. ปทสูตร
๓. กูฏสูตร ๔. มูลสูตร
๕. สารสูตร ๖. วัสสิกสูตร
๗. ราชาสูตร ๘. จันทิมสูตร
๙. สุริยสูตร ๑๐. วัตถสูตร

พลกรณียวรรคพึงให้พิสดาร๓

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. พลสูตร ๒. พีชสูตร
๓. นาคสูตร ๔. รุกขสูตร
๕. กุมภสูตร ๖. สูกสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๖. พลสังยุต] รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๗. อากาสสูตร ๘. ปฐมเมฆสูตร
๙. ทุติยเมฆสูตร ๑๐. นาวาสูตร
๑๑. อาคันตุกสูตร ๑๒. นทีสูตร

เอสนาวรรคพึงให้พิสดาร๑

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. เอสนาสูตร ๒. วิธาสูตร
๓. อาสวสูตร ๔. ภวสูตร
๕. ทุกขตาสูตร ๖. ขีลสูตร
๗. มลสูตร ๘. นีฆสูตร
๙. เวทนาสูตร ๑๐. ตัณหาสูตร
๑๑. ตสินาสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๖. พลสังยุต]
๕. โอฆวรรค ๑-๑๐. โอฆาทิสูตร

๕. โอฆวรรค
หมวดว่าด้วยโอฆะ
๑-๑๐. โอฆาทิสูตร
ว่าด้วยโอฆะเป็นต้น

[๗๔๙-๗๕๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อุทธัมภาคิยสังโยชน์
๕ ประการนี้
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปราคะ ๒. อรูปราคะ
๓. มานะ ๔. อุทธัจจะ
๕. อวิชชา
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญพละ ๕ ประการเพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้
เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้
พละ ๕ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัทธาพละอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
๒. เจริญวิริยพละ ...
๓. เจริญสติพละ ...
๔. เจริญสมาธิพละ ...
๕. เจริญปัญญาพละอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญพละ ๕ ประการนี้เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้
เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้แล”

(พึงเพิ่มข้อความที่เหลือให้พิสดารอย่างนี้)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๖. พลสังยุต]
๖. คังคาเปยยาลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๖. คังคาเปยยาลวรรค
หมวดว่าด้วยคังคาเปยยาล
๑-๑๒. ปาจีนาทิสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยแม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีนเป็นต้น

[๗๕๙-๗๗๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่
ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน หลากไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน
เมื่อเจริญพละ ๕ ประการ ทำพละ ๕ ประการให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน
โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน
ภิกษุเมื่อเจริญพละ ๕ ประการ ทำพละ ๕ ประการให้มาก ย่อมน้อม
ไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัทธาพละ อันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และ
โมหะเป็นที่สุด
ฯลฯ
๕. เจริญปัญญาพละ อันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และ
โมหะเป็นที่สุด
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญพละ ๕ ประการ ทำพละ ๕ ประการให้มาก
ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างนี้แล”

(พึงเพิ่มข้อความที่เหลือให้พิสดาร)

ปาจีนาทิสูตรที่ ๑-๑๒ จบ
คังคาเปยยาลวรรคที่ ๖ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมปาจีนนินนสูตร ๒-๕. ทุติยาทิปาจีนนินนสุตตจตุกกะ
๖. ฉัฏฐปาจีนนินนสูตร ๗. ปฐมสมุททนินนสูตร
๘-๑๒. ทุติยาทิสมุททนินนสุตตปัญจกะ

(อัปปมาทวรรค - พลกรณียวรรคพึงให้พิสดาร)


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๖. พลสังยุต]
๙. เอสนาวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๙. เอสนาวรรค
หมวดว่าด้วยการแสวงหา
๑-๑๒. เอสนาทิสูตร
ว่าด้วยการแสวงหาเป็นต้น

[๗๙๒-๘๐๒] บาลีแห่งเอสนาวรรค พึงให้พิสดารจนถึงธรรมมีการกำจัดราคะ
โทสะ และโมหะเป็นที่สุด อย่างนี้

เอสนาวรรคที่ ๙ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. เอสนาสูตร ๒. วิธาสูตร
๓. อาสวสูตร ๔. ภวสูตร
๕. ปฐมทุกขสูตร ๖. ทุติยทุกขสูตร
๗. ตติยทุกขสูตร ๘. ขีลสูตร
๙. มลสูตร ๑๐. นีฆสูตร
๑๑. เวทนาสูตร ๑๒. ตัณหาสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๖. พลสังยุต]
๑๐. โอฆวรรค ๑-๑๐. โอฆาทิสูตร

๑๐. โอฆวรรค
หมวดว่าด้วยโอฆะ
๑-๑๐. โอฆาทิสูตร
ว่าด้วยโอฆะเป็นต้น

[๘๐๓-๘๑๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อุทธัมภาคิยสังโยชน์
๕ ประการนี้
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปราคะ ๒. อรูปราคะ
๓. มานะ ๔. อุทธัจจะ
๕. อวิชชา
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญพละ ๕ ประการเพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้
เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้
พละ ๕ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัทธาพละ ฯลฯ
๕. เจริญปัญญาพละอันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และ
โมหะเป็นที่สุด
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญพละ ๕ ประการนี้เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้
เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้แล”

โอฆาทิสูตรที่ ๑-๑๐ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๖. พลสังยุต]
๑๐. โอฆวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. โอฆสูตร ๒. โยคสูตร
๓. อุปาทานสูตร ๔. คันถสูตร
๕. อนุสยสูตร ๖. กามคุณสูตร
๗. นีวรณสูตร ๘. อุปาทานักขันธสูตร
๙. โอรัมภาคิยสูตร ๑๐. อุทธัมภาคิยสูตร

พลสังยุตที่ ๖ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๑. ปาวาลวรรค ๑. อปารสูตร

๗. อิทธิปาทสังยุต
๑. ปาวาลวรรค
หมวดว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่ปาวาลเจดีย์
๑. อปารสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อให้ถึงฝั่งโน้นจากฝั่งนี้

[๘๑๓] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่
บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อถึงฝั่งโน้นจากฝั่งนี้
อิทธิบาท ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร๑ (สมาธิที่
เกิดจากฉันทะและความเพียรที่มุ่งมั่น)
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร (สมาธิที่
เกิดจากวิริยะและความเพียรที่มุ่งมั่น)
๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร (สมาธิที่
เกิดจากจิตตะและความเพียรที่มุ่งมั่น)
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร (สมาธิ
ที่เกิดจากวิมังสาและความเพียรที่มุ่งมั่น)
ภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ ประการนี้แลที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อถึงฝั่งโน้นจากฝั่งนี้”

อปารสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๑. ปาวาลวรรค ๓. อริยสูตร

๒. วิรัทธสูตร
ว่าด้วยธรรมที่บุคคลพลาด

[๘๑๔] “ภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ ประการอันบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
พลาดแล้ว อริยมรรคที่ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบก็ชื่อว่าเป็นอันบุคคลเหล่านั้น
พลาดแล้ว ส่วนอิทธิบาท ๔ ประการอันบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งปรารภแล้ว
อริยมรรคที่ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบก็ชื่อว่าเป็นอันบุคคลเหล่านั้นปรารภแล้ว
อิทธิบาท ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร
๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร
ภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ ประการนี้อันบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งพลาดแล้ว
อริยมรรคที่ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบก็ชื่อว่าเป็นอันบุคคลเหล่านั้นพลาดแล้ว
ส่วนอิทธิบาท ๔ ประการนี้อันบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งปรารภแล้ว อริยมรรคที่ให้
ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบก็ชื่อว่าเป็นอันบุคคลเหล่านั้นปรารภแล้ว”

วิรัทธสูตรที่ ๒ จบ

๓. อริยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นอริยะ

[๘๑๕] “ภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว
เป็นอริยะ เป็นนิยยานิกธรรม นำออกไปเพื่อให้สิ้นทุกข์โดยชอบแก่ผู้บำเพ็ญอิทธิบาท
๔ ประการนั้น
อิทธิบาท ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๑. ปาวาลวรรค ๔. นิพพิทาสูตร

๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร
๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร
ภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว เป็น
อริยะ เป็นนิยยานิกธรรม นำออกไปเพื่อให้สิ้นทุกข์โดยชอบแก่ผู้บำเพ็ญอิทธิบาท ๔
ประการนั้น”

อริยสูตรที่ ๓ จบ

๔. นิพพิทาสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย

[๘๑๖] “ภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายอย่างที่สุด เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ
เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ และเพื่อนิพพาน
อิทธิบาท ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร
๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร
ภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อม
เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายอย่างที่สุด เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ
เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ และเพื่อนิพพาน”

นิพพิทาสูตรที่ ๔ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๑. ปาวาลวรรค ๕. อิทธิปเทสสูตร

๕. อิทธิปเทสสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ทำฤทธิ์บางอย่างให้สำเร็จ

[๘๑๗] “ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาล
ได้ทำฤทธิ์บางอย่าง๑ให้สำเร็จได้ ก็เพราะอิทธิบาท ๔ ประการที่สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดเจริญ ทำให้มากแล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคตกาลจักทำฤทธิ์บางอย่างให้
สำเร็จได้ ก็เพราะอิทธิบาท ๔ ประการที่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดเจริญ
ทำให้มากแล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบันกาลย่อมทำฤทธิ์บางอย่างให้
สำเร็จได้ ก็เพราะอิทธิบาท ๔ ประการที่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดเจริญ
ทำให้มากแล้ว
อิทธิบาท ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร
๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร
ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาลได้ทำฤทธิ์
บางอย่างให้สำเร็จได้ ก็เพราะอิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่สมณะหรือพรหมณ์เหล่านั้น
ทั้งหมดเจริญ ทำให้มากแล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคตกาลจักทำฤทธิ์บางอย่างให้
สำเร็จได้ ก็เพราะอิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดเจริญ
ทำให้มากแล้ว


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๑. ปาวาลวรรค ๖. สมัตตสูตร

สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบันกาลย่อมทำฤทธิ์บางอย่างให้
สำเร็จได้ ก็เพราะอิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด
เจริญ ทำให้มากแล้ว”

อิทธิปเทสสูตรที่ ๕ จบ

๖. สมัตตสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ทำฤทธิ์บริบูรณ์ให้สำเร็จ

[๘๑๘] “ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาลได้
ทำฤทธิ์บริบูรณ์๑ให้สำเร็จได้ ก็เพราะอิทธิบาท ๔ ประการที่สมณะหรือพราหมณ์
เหล่านั้นทั้งหมดเจริญ ทำให้มากแล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคตกาลจักทำฤทธิ์บริบูรณ์ให้
สำเร็จได้ ก็เพราะอิทธิบาท ๔ ประการที่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดเจริญ
ทำให้มากแล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบันกาลย่อมทำฤทธิ์บริบูรณ์ให้
สำเร็จได้ ก็เพราะอิทธิบาท ๔ ประการที่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดเจริญ
ทำให้มากแล้ว
อิทธิบาท ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร
๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร
ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาลได้ทำฤทธิ์
บริบูรณ์ให้สำเร็จได้ ก็เพราะอิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น
ทั้งหมดเจริญ ทำให้มากแล้ว


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๑. ปาวาลวรรค ๗. ภิกขุสูตร

สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคตกาลจักทำฤทธิ์บริบูรณ์ให้
สำเร็จได้ ก็เพราะอิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดเจริญ
ทำให้มากแล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบันกาลย่อมทำฤทธิ์บริบูรณ์ให้
สำเร็จได้ ก็เพราะอิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดเจริญ
ทำให้มากแล้ว”

สมัตตสูตรที่ ๖ จบ

๗. ภิกขุสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ทำให้ภิกษุได้วิมุตติ

[๘๑๙] “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาลได้ทำให้แจ้งเจโต-
วิมุตติ๑ ปัญญาวิมุตติ๒อันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึง
อยู่ในปัจจุบัน ก็เพราะอิทธิบาท ๔ ประการที่ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมดเจริญ ทำให้
มากแล้ว
ภิกษุเหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคตกาลจักทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอัน
ไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ก็เพราะ
อิทธิบาท ๔ ประการที่ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมดเจริญ ทำให้มากแล้ว
ภิกษุเหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบันกาลย่อมทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
อันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ก็เพราะ
อิทธิบาท ๔ ประการที่ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมดเจริญ ทำให้มากแล้ว


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๑. ปาวาลวรรค ๘. พุทธสูตร

อิทธิบาท ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร
๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาลได้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ
ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ก็เพราะอิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมดเจริญ ทำให้มากแล้ว
ภิกษุเหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคตกาลจักทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
อันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ก็เพราะ
อิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมดเจริญ ทำให้มากแล้ว
ภิกษุเหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบันกาลย่อมทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
อันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ก็เพราะ
อิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมดเจริญ ทำให้มากแล้ว”

ภิกขุสูตรที่ ๗ จบ

๘. พุทธสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ทำให้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

[๘๒๐] “ภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ ประการนี้
อิทธิบาท ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๑. ปาวาลวรรค ๙. ญาณสูตร

๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร
อิทธิบาท ๔ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตอันบัณฑิตเรียกว่า ‘พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า’
เพราะอิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่ตถาคตเจริญ ทำให้มากแล้ว”

พุทธสูตรที่ ๘ จบ

๙. ญาณสูตร
ว่าด้วยญาณเกิดขึ้นเพราะเจริญอิทธิบาท

[๘๒๑] “ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้น
แล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้
ฟังมาก่อนว่า ‘นี้เป็นอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร’ จักษุเกิดขึ้น
แล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว
แก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘ก็อิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันท-
สมาธิปธานสังขารนี้ควรเจริญ’ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว
วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อน
ว่า ‘อิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขารนี้เราได้เจริญแล้ว’
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชา
เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า
‘นี้เป็นอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร’ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิด
ขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรม
ทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘ก็อิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธาน-
สังขารนี้ควรเจริญ’ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชา
เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า
‘อิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขารนี้ได้เจริญแล้ว’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๑. ปาวาลวรรค ๑๐. เจติยสูตร

ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชา
เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อน
ว่า ‘นี้เป็นอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร’ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณ
เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราใน
ธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘ก็อิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิ-
ปธานสังขารนี้ควรเจริญ’ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว
วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อน
ว่า ‘อิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขารนี้เราได้เจริญแล้ว’
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชา
เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า
‘นี้เป็นอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร’ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณ
เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราใน
ธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘อิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิ-
ปธานสังขารนี้ควรเจริญ’ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว
วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อน
ว่า ‘อิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขารนี้เราได้เจริญแล้ว”

ญาณสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. เจติยสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่ปาวาลเจดีย์

[๘๒๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารสาลา ป่ามหาวัน เขต
กรุงเวสาลี ครั้นในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร
เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงเวสาลี เสด็จกลับจากบิณฑบาต ภายหลังเสวยพระ
กระยาหารเสร็จแล้ว ได้รับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “อานนท์ เธอจงถือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๘๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๑. ปาวาลวรรค ๑๐. เจติยสูตร

ผ้านิสีทนะ๑ เราจักเข้าไปยังปาวาลเจดีย์เพื่อพักผ่อนกลางวัน” ท่านพระอานนท์
ทูลรับสนองพระดำรัสแล้วได้ถือผ้านิสีทนะตามเสด็จพระผู้มีพระภาคไปทางเบื้องพระ
ปฤษฎางค์
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปยังปาวาลเจดีย์ ประทับนั่งบนพุทธ-
อาสน์ที่ปูลาดไว้แล้ว ฝ่ายท่านพระอานนท์ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ
ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “อานนท์ กรุงเวสาลี
น่ารื่นรมย์ อุเทนเจดีย์น่ารื่นรมย์ โคตมกเจดีย์น่ารื่นรมย์ สัตตัมพเจดีย์น่ารื่นรมย์
พหุปุตตกเจดีย์น่ารื่นรมย์ สารันททเจดีย์น่ารื่นรมย์ ปาวาลเจดีย์ก็น่ารื่นรมย์
อานนท์ อิทธิบาท ๔ ประการอันบุคคลใดบุคคลหนึ่งเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำ
ให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ให้ตั้งมั่น สั่งสม ปรารภดีแล้ว บุคคลนั้นเมื่อปรารถนา
ก็จะมีชีวิตอยู่ต่อไปได้ตลอดกัป๒หรือมากกว่ากัป
อานนท์ อิทธิบาท ๔ ประการอันตถาคตเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจ
ยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ให้ตั้งมั่น สั่งสม ปรารภดีแล้ว ตถาคตเมื่อปรารถนาก็จะมี
ชีวิตอยู่ต่อไปได้ตลอดกัปหรือมากกว่ากัป”
แม้เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงทำนิมิตที่ชัดแจ้ง โอภาสที่ชัดเจนอย่างนี้ ท่าน
พระอานนท์ก็ไม่อาจรู้ทัน จึงไม่กราบทูลวิงวอนพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดดำรงพระชนม์อยู่ต่อไปตลอดกัป ขอ
พระสุคตโปรดดำรงพระชนม์อยู่ต่อไปตลอดกัปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก
เพื่อความสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อ
ความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย” ทั้งนี้เป็นเพราะท่านถูกมารดลใจ
แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ พระผู้มีพระภาคก็รับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “อานนท์
กรุงเวสาลีน่ารื่นรมย์ อุเทนเจดีย์น่ารื่นรมย์ โคตมกเจดีย์น่ารื่นรมย์ สัตตัมพเจดีย์


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๑. ปาวาลวรรค ๑๐. เจติยสูตร

น่ารื่นรมย์ พหุปุตตกเจดีย์น่ารื่นรมย์ สารันททเจดีย์น่ารื่นรมย์ ปาวาลเจดีย์ก็น่า
รื่นรมย์
อานนท์ อิทธิบาท ๔ ประการอันบุคคลใดบุคคลหนึ่งเจริญ ทำให้มาก ทำ
ให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ให้ตั้งมั่น สั่งสม ปรารภดีแล้ว บุคคลนั้นเมื่อปรารถนา
ก็จะมีชีวิตอยู่ต่อไปได้ตลอดกัปหรือมากกว่ากัป
อานนท์ อิทธิบาท ๔ ประการอันตถาคตเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็น
ดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ให้ตั้งมั่น สั่งสม ปรารภดีแล้ว ตถาคตเมื่อมุ่งหวัง ก็จะ
มีชีวิตอยู่ต่อไปได้ตลอดกัปหรือมากกว่ากัป”
แม้เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงทำนิมิตที่ชัดแจ้ง โอภาสที่ชัดเจนอย่างนี้ ท่าน
พระอานนท์ก็ไม่อาจรู้ทัน จึงไม่กราบทูลวิงวอนพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดดำรงพระชนม์อยู่ต่อไปตลอดกัป ขอพระสุคต
โปรดดำรงพระชนม์อยู่ต่อไปตลอดกัปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อความ
สุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย” ทั้งนี้เป็นเพราะท่านถูกมารดลใจ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “ไปเถิด อานนท์
เธอจงกำหนดเวลาอันสมควรในบัดนี้” ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
ลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาท ทำประทักษิณแล้ว นั่งที่โคนต้นไม้แห่งหนึ่งในที่ไม่ไกล
ครั้นเมื่อท่านพระอานนท์จากไปไม่นาน มารผู้มีบาปก็เข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคถึงที่ประทับแล้วได้กราบทูลดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระ
ภาคโปรดปรินิพพานในบัดนี้เถิด ขอพระสุคตโปรดปรินิพพานในบัดนี้เถิด เวลานี้
เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคเคยตรัสพระวาจานี้ไว้ว่า
‘มารผู้มีบาป เราจะยังไม่ปรินิพพานตราบเท่าที่ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นสาวกของเรายัง
ไม่เฉียบแหลม ไม่ได้รับการแนะนำ ไม่แกล้วกล้า ไม่เป็นพหูสูต ไม่ทรงธรรม ไม่
ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ไม่ปฏิบัติชอบ ไม่ประพฤติตามธรรม เรียนกับอาจารย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๘๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๑. ปาวาลวรรค ๑๐. เจติยสูตร

ของตนแล้วแต่ก็ยังบอก๑ แสดง๒ บัญญัติ๓ กำหนด๔ เปิดเผย๕ จำแนก๖
ทำให้ง่าย๗ไม่ได้ ยังแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ ปราบปรับวาท๘ที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อย
โดยชอบธรรมไม่ได้’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เวลานี้ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค
เป็นผู้เฉียบแหลม ได้รับการแนะนำ แกล้วกล้า เป็นพหูสูต ทรงธรรม ปฏิบัติ
ธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบยิ่ง ประพฤติตามธรรม เรียนกับอาจารย์ของตน
แล้วก็สามารถจะบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายได้
สามารถแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ ปราบปรัปวาทที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยชอบธรรมได้
ขอพระผู้มีพระภาคโปรดปรินิพพานในบัดนี้เถิด ขอพระสุคตโปรดปริพพานในบัดนี้เถิด
เวลานี้เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาค
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเคยตรัสพระวาจานี้ไว้ว่า ‘มารผู้มีบาป
เราจะยังไม่ปรินิพพานตราบเท่าที่ภิกษุณีทั้งหลายผู้เป็นสาวิกาของเรายังไม่เฉียบแหลม
ไม่ได้รับการแนะนำ ไม่แกล้วกล้า ไม่เป็นพหูสูต ไม่ทรงธรรม ไม่ปฏิบัติธรรม
สมควรแก่ธรรม ไม่ปฏิบัติชอบยิ่ง ไม่ประพฤติตามธรรม เรียนกับอาจารย์ของตน
แล้วแต่ก็ยังบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายไม่ได้ ยัง
แสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ ปราบปรัปวาทที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยชอบธรรมไม่ได้’


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๑. ปาวาลวรรค ๑๐. เจติยสูตร

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เวลานี้ภิกษุณีทั้งหลายผู้เป็นสาวิกาของพระผู้มี
พระภาคเป็นผู้เฉียบแหลม ได้รับการแนะนำ แกล้วกล้า เป็นพหูสูต ทรงธรรม
ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรม เรียนกับอาจารย์
ของตนแล้ว ก็สามารถจะบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายได้
สามารถแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ ปราบปรับปวาทที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยชอบธรรมได้
ขอพระผู้มีพระภาคโปรดปรินิพพานในบัดนี้เถิด ขอพระสุคตโปรดปรินิพพานในบัดนี้เถิด
เวลานี้เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาค
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเคยตรัสพระวาจานี้ไว้ว่า ‘มารผู้มีบาป
เราจะยังไม่ปรินิพพานตราบเท่าที่อุบาสกทั้งหลายผู้เป็นสาวกของเรา ฯลฯ ตราบ
เท่าที่อุบาสิกาทั้งหลายผู้เป็นสาวิกาของเรา ยังไม่เฉียบแหลม ไม่ได้รับการแนะนำ
ไม่แกล้วกล้า ไม่เป็นพหูสูต ไม่ทรงธรรม ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ไม่
ปฏิบัติชอบ ไม่ประพฤติตามธรรม เรียนกับอาจารย์ของตนแล้วแต่ก็ยังบอก แสดง
บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายไม่ได้ ยังแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์
ปราบปรัปวาทที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยชอบธรรมไม่ได้’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เวลานี้อุบาสิกาทั้งหลายผู้เป็นสาวิกาของพระผู้มีพระ
ภาคเป็นผู้เฉียบแหลม ได้รับการแนะนำ แกล้วกล้า เป็นพหูสูต ทรงธรรม
ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรม เรียนกับอาจารย์
ของตนแล้ว ก็สามารถจะบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายได้
สามารถแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ ปราบปรัปวาทที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยชอบธรรม
ได้ขอพระผู้มีพระภาคโปรดปรินิพพานในบัดนี้เถิด ขอพระสุคตโปรดปรินิพพานใน
บัดนี้เถิด เวลานี้เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาค
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเคยตรัสพระวาจานี้ไว้ว่า ‘มารผู้
มีบาป เราจะยังไม่ปรินิพพานตราบเท่าที่พรหมจรรย์๑นี้ของเรายังไม่บริบูรณ์
กว้างขวาง แพร่หลาย รู้จักกันโดยมาก มั่นคงดี กระทั่งเทวดาและมนุษย์
ทั้งหลายประกาศได้แล้ว’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พรหมจรรย์นี้ของพระผู้มีพระภาคบริบูรณ์ กว้างขวาง
แพร่หลาย รู้จักกันโดยมาก มั่นคงดี กระทั่งเทวดาและมนุษย์ประกาศได้แล้ว


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๑. ปาวาลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ขอพระผู้มีพระภาคโปรดปรินิพพานในบัดนี้เถิด ขอพระสุคตโปรดปรินิพพานในบัดนี้เถิด
เวลานี้เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาค”
เมื่อมารทูลอาราธนาอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสตอบดังนี้ว่า “มารผู้
มีบาป เธอจงอย่ากังวลเลย อีกไม่นานการปรินิพพานของตถาคตจักมี จากนี้
ไป(เพียง) ๓ เดือน ตถาคตจักปรินิพพาน”
ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคทรงมีสติสัมปชัญญะ ทรงปลงพระชนมายุสังขาร๑ ณ
ปาวาลเจดีย์ เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงปลงพระชนมายุสังขารแล้ว ได้เกิดแผ่นดิน
ไหวครั้งใหญ่ น่าสะพรึงกลัว ให้เกิดขนพองสยองเกล้า ทั้งกลองทิพย์ก็ดังกึกก้อง
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งพระอุทาน
นี้ในเวลานั้นว่า
“มุนีละกรรมทั้งที่ชั่งได้และชั่งไม่ได้
อันเป็นเหตุก่อกำเนิดเป็นเครื่องปรุงแต่งภพได้แล้ว
ยินดีภายในตน มีใจมั่งคง ทำลายกิเลสที่เกิดในตนได้
เหมือนนักรบทำลายเกราะเสีย ฉะนั้น”๒

เจติยสูตรที่ ๑๐ จบ
ปาวาลวรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อปารสูตร ๒. วิรัทธสูตร
๓. อริยสูตร ๔. นิพพิทาสูตร
๕. อิทธิปเทสสูตร ๖. สมัตตสูตร
๗. ภิกขุสูตร ๘. พุทธสูตร
๙. ญาณสูตร ๑๐. เจติยสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๒. ปาสาทกัมปนวรรค ๑. ปุพพสูตร

๒. ปาสาทกัมปนวรรค
หมวดว่าด้วยเหตุที่ทำให้ปราสาทไหว
๑. ปุพพสูตร
ว่าด้วยพระดำริก่อนตรัสรู้

[๘๒๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อก่อนเราเป็นโพธิสัตว์ ยังไม่ได้
ตรัสรู้ ได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัยแห่งการเจริญอิทธิบาท’
ภิกษุทั้งหลาย (ต่อมา) เรานั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขารดังนี้ว่า
ฉันทะของเราจักไม่ย่อหย่อนนัก ไม่ต้องประคับประคองเกินไป
ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ซ่านไปในภายนอก และมีความหมายรู้ว่า
เบื้องหน้าและเบื้องหลังอยู่ คือ มีความหมายรู้ว่าเบื้องหลัง
เหมือนเบื้องหน้า เบื้องหน้าเหมือนเบื้องหลัง เบื้องบนเหมือน
เบื้องล่าง เบื้องล่างเหมือนเบื้องบน กลางคืนเหมือนกลางวัน
กลางวันเหมือนกลางคืน มีใจสงัด ไม่มีเครื่องร้อยรัด อบรม
จิตให้สว่าง๑อยู่
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขารดังนี้ว่า
วิริยะของเราจักไม่ย่อหย่อนนัก ไม่ต้องประคับประคองเกินไป
ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ซ่านไปในภายนอก และมีความหมายรู้ว่า
เบื้องหน้าและเบื้องหลังอยู่ คือ มีความหมายรู้ว่า เบื้องหลัง
เหมือนเบื้องหน้า เบื้องหน้าเหมือนเบื้องหลัง เบื้องบนเหมือน
เบื้องล่าง เบื้องล่างเหมือนเบื้องบน กลางคืนเหมือนกลางวัน
กลางวันเหมือนกลางคืน มีใจสงัด ไม่มีเครื่องร้อยรัด อบรม
จิตให้สว่างอยู่


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๒. ปาสาทกัมปนวรรค ๑. ปุพพสูตร

๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขารดังนี้ว่า จิต
ของเราจักไม่ย่อหย่อนนัก ไม่ต้องประคับประคองเกินไป ไม่
หดหู่ในภายใน ไม่ซ่านไปในภายนอก และมีความหมายรู้ว่า
เบื้องหน้าและเบื้องหลังอยู่ คือ มีความหมายรู้ว่าเบื้องหลัง
เหมือนเบื้องหน้า เบื้องหน้าเหมือนเบื้องหลัง เบื้องบนเหมือน
เบื้องล่าง เบื้องล่างเหมือนเบื้องบน กลางคืนเหมือน
กลางวัน กลางวันเหมือนกลางคืน มีใจสงัด ไม่มีเครื่องร้อยรัด
อบรมจิตให้สว่างอยู่
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขารดังนี้ว่า
วิมังสาของเราจักไม่ย่อหย่อนนัก ไม่ต้องประคับประคองเกินไป
ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ซ่านไปในภายนอก และมีความหมายรู้ว่า
เบื้องหน้าและเบื้องหลังอยู่ คือ มีความหมายรู้ว่าเบื้องหลัง
เหมือนเบื้องหน้า เบื้องหน้าเหมือนเบื้องหลัง เบื้องบนเหมือน
เบื้องล่าง เบื้องล่างเหมือนเบื้องบน กลางคืนเหมือนกลางวัน
กลางวันเหมือนกลางคืน มีใจสงัด ไม่มีเครื่องร้อยรัด อบรม
จิตให้สว่างอยู่
เมื่ออิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้
ภิกษุย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้ หลายคน
แสดงเป็นคนเดียวก็ได้ แสดงให้ปรากฏหรือให้หายไปก็ได้ ทะลุฝา กำแพง (และ)
ภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นหรือดำลงในแผ่นดินเหมือนไปใน
น้ำก็ได้ เดินบนน้ำโดยที่น้ำไม่แยกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ นั่งขัดสมาธิเหาะไปใน
อากาศเหมือนนกบินไปก็ได้ ใช้ฝ่ามือลูบคลำดวงจันทร์ดวงอาทิตย์อันมีฤทธิ์มาก
มีอานุภาพมากก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้
เมื่ออิทธิบาท ๔ ประการที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้
ภิกษุย่อมได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้
ด้วยหูทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๒. ปาสาทกัมปนวรรค ๑. ปุพพสูตร

เมื่ออิทธิบาท ๔ ประการที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้
ภิกษุย่อมกำหนดรู้จิตของสัตว์บุคคลอื่นได้ด้วยจิตของตน คือ จิตมีราคะก็รู้ชัดว่า
จิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะก็รู้ชัดว่าจิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะก็รู้ชัดว่าจิต
มีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะก็รู้ชัดว่าจิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะก็รู้ชัดว่าจิตมี
โมหะ หรือจิตปราศจากโมหะก็รู้ชัดว่าจิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ก็รู้ชัดว่าจิตหดหู่
หรือจิตฟุ้งซ่านก็รู้ชัดว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหัคคตะ๑ก็รู้ชัดว่าจิตเป็นมหัคคตะ หรือ
จิตไม่เป็นมหัคคตะก็รู้ชัดว่าจิตไม่เป็นมหัคคตะ จิตมีสิ่งอื่นยิ่งกว่าก็รู้ชัดว่าจิตมีสิ่งอื่น
ยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีสิ่งอื่นยิ่งกว่าก็รู้ชัดว่าจิตไม่มีสิ่งอื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิก็รู้ชัดว่า
จิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิก็รู้ชัดว่าจิตไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้นก็รู้ชัดว่าจิต
หลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้นก็รู้ชัดว่าจิตไม่หลุดพ้น
เมื่ออิทธิบาท ๔ ประการที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้
ภิกษุระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ๓ ชาติบ้าง ๔ ชาติบ้าง
๕ ชาติบ้าง ๑๐ ชาติบ้าง ๒๐ ชาติบ้าง ๓๐ ชาติบ้าง ๔๐ ชาติบ้าง ๕๐ ชาติบ้าง
๑๐๐ ชาติบ้าง ๑,๐๐๐ ชาติบ้าง ๑๐๐,๐๐๐ ชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอัน
มากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปเป็นอัน
มากบ้างว่า ‘ในภพโน้น เราได้มีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวย
สุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้น ก็ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น
เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่าง
นั้น ๆ จุติจากภพนั้นจึงมาเกิดในภพนี้’ เธอระลึกชาติก่อนได้หลายชาติพร้อมทั้ง
ลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้
เมื่ออิทธิบาท ๔ ประการที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ภิกษุ
เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ(ตาย) กำลังอุบัติ(เกิด) ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม
เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตาม
กรรมว่า ‘หมู่สัตว์ที่ประกอบกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต กล่าวร้ายพระอริยะ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๒. ปาสาทกัมปนวรรค ๒. มหัปผลสูตร

มีความเห็นผิด และชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นผิด พวกเขาหลังจาก
ตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก แต่หมู่สัตว์ที่ประกอบกายสุจริต
วจีสุจริต และมโนสุจริต ไม่กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นชอบ และชักชวนผู้
อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นชอบ พวกเขาหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์’
เธอเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังอุบัติ ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดี
และเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตาม
กรรมอย่างนี้แล๑
เมื่ออิทธิบาท ๔ ประการที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้
ภิกษุจึงทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วย
ปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”

ปุพพสูตรที่ ๑ จบ

๒. มหัปผลสูตร
ว่าด้วยการเจริญอิทธิบาทมีผลานิสงส์มาก

[๘๒๔] “ภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว
ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
อิทธิบาท ๔ ประการที่ภิกษุเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมี
ผลมาก มีอานิสงส์มาก
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขารดังนี้ว่า
ฉันทะของเราจักไม่ย่อหย่อนนัก ไม่ต้องประคับประคองเกินไป
ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ซ่านไปในภายนอก และมีความหมายรู้ว่า
เบื้องหน้าและเบื้องหลังอยู่ คือ มีความหมายรู้ว่าเบื้องหลัง
เหมือนเบื้องหน้า เบื้องหน้าเหมือนเบื้องหลัง เบื้องบนเหมือน
เบื้องล่าง เบื้องล่างเหมือนเบื้องบน กลางคืนเหมือนกลางวัน
กลางวันเหมือนกลางคืน มีใจสงัด ไม่มีเครื่องร้อยรัด อบรม
จิตให้สว่างอยู่


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๒. ปาสาทกัมปนวรรค ๓. ฉันทสมาธิสูตร

๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร ฯลฯ
๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร ฯลฯ
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขารดังนี้ว่า
วิมังสาของเราจักไม่ย่อหย่อนนัก ไม่ต้องประคับประคองเกินไป
ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ซ่านไปในภายนอก และมีความหมายรู้ว่า
เบื้องหน้าและเบื้องหลังอยู่ คือ มีความหมายรู้ว่าเบื้องหลัง
เหมือนเบื้องหน้า เบื้องหน้าเหมือนเบื้องหลัง เบื้องบนเหมือน
เบื้องล่าง เบื้องล่างเหมือนเบื้องบน กลางคืนเหมือนกลางวัน
กลางวันเหมือนกลางคืน มีใจสงัด ไม่มีเครื่องร้อยรัด อบรม
จิตให้สว่างอยู่
ภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ ประการที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้ว
อย่างนี้ จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออิทธิบาท ๔ ประการที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มาก
แล้วอย่างนี้ ภิกษุย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้
ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้
ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้
มากแล้วอย่างนี้ ภิกษุจึงทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะ
อาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”

มหัปผลสูตรที่ ๒ จบ

๓. ฉันทสมาธิสูตร
ว่าด้วยฉันทสมาธิ

[๘๒๕] “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุอาศัยฉันทะแล้วได้สมาธิ ได้จิตเตกัคคตา
(สภาวะที่จิตมีอารมณ์เดียว) นี้เรียกว่า ฉันทสมาธิ
๑. เธอสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๙๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๒. ปาสาทกัมปนวรรค ๓. ฉันทสมาธิสูตร

๒. เธอสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
๓. เธอสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
๔. เธอสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญ
เต็มที่แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
เหล่านี้เรียกว่า ปธานสังขาร
ฉันทะนี้ ฉันทสมาธินี้ และปธานสังขารเหล่านี้ดังพรรณนามาฉะนี้
นี้เรียกว่า อิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุอาศัยวิริยะแล้วได้สมาธิ ได้จิตเตกัคคตา นี้เรียกว่า
วิริยสมาธิ
๑. เธอสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น
ฯลฯ
๔. เธอสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญ
เต็มที่แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
เหล่านี้เรียกว่า ปธานสังขาร
วิริยะนี้ วิริยสมาธินี้ และปธานสังขารเหล่านี้ดังพรรณนามาฉะนี้
นี้เรียกว่า อิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุอาศัยจิตแล้วได้สมาธิ ได้จิตเตกัคคตา นี้เรียกว่า จิตต-
สมาธิ
๑. เธอสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
พื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น
ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๙๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๒. ปาสาทกัมปนวรรค ๔. โมคคัลลานสูตร

๔. เธอสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญ
เต็มที่แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
เหล่านี้เรียกว่า ปธานสังขาร
จิตนี้ จิตตสมาธินี้ และปธานสังขารเหล่านี้ดังพรรณนามาฉะนี้
นี้เรียกว่า อิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุอาศัยวิมังสาแล้วได้สมาธิ ได้จิตเตกัคคตา นี้เรียกว่า
วิมังสาสมาธิ
๑. เธอสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น
ฯลฯ
๔. เธอสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญ
เต็มที่แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
เหล่านี้เรียกว่า ปธานสังขาร
วิมังสานี้ วิมังสาสมาธินี้ และปธานสังขารเหล่านี้ดังพรรณนามาฉะนี้
นี้เรียกว่า อิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร”

ฉันทสมาธิสูตรที่ ๓ จบ

๔. โมคคัลลานสูตร
ว่าด้วยพระโมคคัลลานะแสดงฤทธิ์

[๘๒๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปราสาทของนางวิสาขามิคารมาตา
ในบุพพาราม เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ภิกษุจำนวนมากอยู่ภายใต้ปราสาทของ
นางวิสาขามิคารมาตา เป็นผู้ฟุ้งซ่าน ถือตัว โลเล ปากกล้า พูดพร่ำเพรื่อ หลงลืมสติ
ไม่มีสัมปชัญญะ มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตกวัดแกว่ง ไม่สำรวมอินทรีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๒. ปาสาทกัมปนวรรค ๔. โมคคัลลานสูตร

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระมหาโมคคัลลานะมาตรัสว่า
“โมคคัลลานะ เพื่อนพรหมจารีเหล่านี้อยู่ภายใต้ปราสาทของนางวิสาขามิคารมาตา
เป็นผู้ฟุ้งซ่าน ถือตัว โลเล ปากกล้า พูดพร่ำเพรื่อ หลงลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะ
มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตกวัดแกว่ง ไม่สำรวมอินทรีย์ ไปเถิดโมคคัลลานะ เธอจงทำ
ภิกษุเหล่านั้นให้สังเวช”
ท่านพระมหาโมคคัลลานะทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว แสดงอิทธาภิสังขารให้
ปราสาทของนางวิสาขามิคารมาตาสะเทือนสะท้านหวั่นไหวด้วยนิ้วหัวแม่เท้า ทีนั้น
ภิกษุเหล่านั้นตกใจ ขนพองสยองเกล้า ได้ไปยืนอยู่ ณ ที่สมควร พูดกันว่า
“ท่านผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ลมก็ไม่พัด ทั้งปราสาทของนาง
วิสาขามิคารมาตานี้ มีฐานลึก ฝังไว้แน่น ไม่หวั่นไหว ไม่โยกคลอน ก็เมื่อเป็นเช่นนี้
คงมีอะไรสักอย่างหนึ่งที่ทำให้ปราสาทนี้สะเทือนสะท้านหวั่นไหว”
ต่อมา พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นแล้วตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายเกิดความสลดใจ ขนพองสยองเกล้า ได้ไปยืนอยู่ ณ ที่สมควร เพราะ
เหตุไร”
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคย
ปรากฏ ลมก็ไม่พัด ทั้งปราสาทของนางวิสาขามิคารมาตานี้ มีฐานลึก ฝังไว้แน่น
ไม่หวั่นไหว ไม่โยกคลอน ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ คงมีอะไรสักอย่างหนึ่งที่ทำให้ปราสาท
นี้สะเทือนสะท้านหวั่นไหวเป็นแน่”
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุโมคคัลลานะ ประสงค์จะให้เธอทั้งหลายสังเวช จึงทำ
ปราสาทของนางวิสาขามิคารมาตาให้สะเทือนสะท้านหวั่นไหวด้วยนิ้วหัวแม่เท้า
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ภิกษุโมคคัลลานะมีฤทธิ์มาก
มีอานุภาพมากอย่างนี้ เพราะธรรมเหล่าไหนที่ภิกษุโมคคัลลานะเจริญ ทำให้มาก
แล้ว”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็น
หลัก มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พึ่ง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ขอประทานวโรกาส เฉพาะพระผู้มีพระภาคเท่านั้นที่จะทรงอธิบายเนื้อความแห่งพระ
ภาษิตนั้นให้แจ่มแจ้งได้ ภิกษุทั้งหลายฟังต่อจากพระผู้มีพระภาคแล้วจักทรงจำไว้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๙๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๒. ปาสาทกัมปนวรรค ๔. โมคคัลลานสูตร

“ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น เธอทั้งหลายจงฟัง ภิกษุโมคคัลลานะมีฤทธิ์มาก
มีอานุภาพมากอย่างนี้ เพราะอิทธิบาท ๔ ประการที่ภิกษุโมคคัลลานะเจริญ ทำ
ให้มากแล้ว
อิทธิบาท ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุโมคคัลลานะ
๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขารดังนี้ว่า
ฉันทะของเราจักไม่ย่อหย่อน ฯลฯ
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร ฯลฯ
๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร ฯลฯ
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขารดังนี้ว่า
วิมังสาของเราจักไม่ย่อหย่อนนัก ไม่ต้องประคับประคองเกินไป
ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ซ่านไปในภายนอก และมีความหมายรู้ว่า
เบื้องหน้าและเบื้องหลังอยู่ คือ มีความหมายรู้ว่า เบื้องหลัง
เหมือนเบื้องหน้า เบื้องหน้าเหมือนเบื้องหลัง เบื้องบนเหมือน
เบื้องล่าง เบื้องล่างเหมือนเบื้องบน กลางคืนเหมือนกลางวัน
กลางวันเหมือนกลางคืน มีใจสงัด ไม่มีเครื่องร้อยรัด อบรม
จิตให้สว่างอยู่
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุโมคคัลลานะมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากอย่างนี้ เพราะ
อิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่ภิกษุโมคคัลลานะเจริญ ทำให้มากแล้ว อนึ่ง ภิกษุ
โมคคัลลานะแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง เพราะอิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่ภิกษุ
โมคคัลลานะเจริญ ทำให้มากแล้ว ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลก อนึ่ง
ภิกษุโมคคัลลานะย่อมทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะ
สิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”

โมคคัลลานสูตรที่ ๔ จบ

(อนึ่ง อภิญญาทั้งหลายพึงให้พิสดารอย่างนี้)


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๒. ปาสาทกัมปนวรรค ๕. อุณณาภพราหมณสูตร

๕. อุณณาภพราหมณสูตร
ว่าด้วยอุณณาภพราหมณ์

[๘๒๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี ครั้งนั้น
พราหมณ์ชื่ออุณณาภะเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็น
ที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้เรียนถามท่าน
พระอานนท์ดังนี้ว่า “ท่านอานนท์ ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระสมณโคดมเพื่อ
ต้องการอะไร”
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “พราหมณ์ เราประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มี
พระภาคเพื่อละฉันทะ”
“ท่านอานนท์ มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อละฉันทะนั้นอยู่หรือ”
“พราหมณ์ มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อละฉันทะนั้นอยู่”
“ท่านอานนท์ มรรค เป็นอย่างไร ปฏิปทาเพื่อละฉันทะนั้น เป็นอย่างไร”
“พราหมณ์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิ-
ปธานสังขาร เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร เจริญอิทธิบาท
ที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิ-
ปธานสังขาร นี้แลคือมรรค นี้คือปฏิปทาเพื่อละฉันทะนั้น”
“ท่านอานนท์ เมื่อเป็นเช่นนี้ ฉันทะนั้นยังมีอยู่ มิใช่ไม่มี เป็นไปไม่ได้เลยที่
บุคคลจักละฉันทะด้วยฉันทะนั่นเอง”
“พราหมณ์ ถ้าอย่างนั้น เราจักย้อนถามท่านในเรื่องนี้ ท่านพึงตอบเรื่องนั้น
ตามที่ท่านพอใจเถิด
พราหมณ์ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ในเบื้องต้นท่านได้มีฉันทะ (ความ
พอใจ) ว่า ‘จักไปอาราม’ เมื่อท่านไปถึงอารามแล้ว ฉันทะที่เกิดขึ้นในเบื้องต้นนั้น
ก็ระงับไปหรือ”
“อย่างนั้น ท่านผู้เจริญ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๐๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๒. ปาสาทกัมปนวรรค ๕. อุณณาภพราหมณสูตร

“ในเบื้องต้น ท่านได้มีวิริยะ (ความเพียร) ว่า ‘จักไปอาราม’ เมื่อท่านไปถึง
อารามแล้ว วิริยะที่เกิดขึ้นในเบื้องต้นนั้นก็ระงับไปหรือ”
“อย่างนั้น ท่านผู้เจริญ”
“ในเบื้องต้น ท่านได้มีจิตตะ (ความใส่ใจ) ว่า ‘จักไปอาราม’ เมื่อท่านไปถึง
อารามแล้ว จิตตะที่เกิดขึ้นในเบื้องต้นนั้นก็ระงับไปหรือ”
“อย่างนั้น ท่านผู้เจริญ”
“ในเบื้องต้น ท่านได้มีวิมังสา (ความไตร่ตรอง) ว่า ‘จักไปอาราม’ เมื่อท่าน
ไปถึงอารามแล้ว วิมังสาที่เกิดขึ้นในเบื้องต้นนั้นก็ระงับไปหรือ”
“อย่างนั้น ท่านผู้เจริญ”
“พราหมณ์ อย่างนั้นเหมือนกัน ภิกษุใดเป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตน
โดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุนั้นในเบื้องต้น
ได้มีฉันทะเพื่อบรรลุอรหัต เมื่อบรรลุอรหัตแล้ว ฉันทะที่เกิดขึ้นในเบื้องต้นนั้นก็ระงับไป
ในเบื้องต้นได้มีวิริยะเพื่อบรรลุอรหัต เมื่อบรรลุอรหัตแล้ว วิริยะที่เกิดขึ้นในเบื้องต้น
นั้นก็ระงับไป ในเบื้องต้นได้มีจิตตะเพื่อบรรลุอรหัต เมื่อบรรลุอรหัตแล้ว จิตตะที่
เกิดขึ้นในเบื้องต้นนั้นก็ระงับไป ในเบื้องต้นได้มีวิมังสาเพื่อบรรลุอรหัต เมื่อบรรลุ
อรหัตแล้ว วิมังสาที่เกิดขึ้นในเบื้องต้นนั้นก็ระงับไป พราหมณ์ ท่านจะเข้าใจความ
ข้อนั้นว่าอย่างไร เมื่อเป็นเช่นดังที่กล่าวมานี้ ฉันทะเป็นต้นนั้นยังมีอยู่ หรือมิใช่ไม่มี”
“ท่านอานนท์ เมื่อเป็นเช่นนี้ ฉันทะเป็นต้นนั้นยังมีอยู่แน่นอน มิใช่ไม่มี
ท่านอานนท์ ภาษิตของท่านชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านอานนท์ ภาษิตของท่าน
ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือน
บุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่
มืดด้วยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’ ท่านอานนท์ ข้าพเจ้านี้ขอถึงท่านพระ
โคดมพร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอท่านจงทรงจำข้าพเจ้าว่าเป็น
อุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”

อุณณาภพราหมณสูตรที่ ๕ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๒. ปาสาทกัมปนวรรค ๖. ปฐมพราหมณสูตร

๖. ปฐมพราหมณสูตร
ว่าด้วยสมณพราหมณ์ สูตรที่ ๑

[๘๒๘] “ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาล
ได้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ก็เพราะอิทธิบาท ๔ ประการที่สมณะหรือพราหมณ์
เหล่านั้นทั้งหมดเจริญ ทำให้มากแล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคตกาลจักมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพ
มาก ก็เพราะอิทธิบาท ๔ ประการที่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดเจริญ
ทำให้มากแล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบันย่อมมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพ
มาก ก็เพราะอิทธิบาท ๔ ประการที่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดเจริญ
ทำให้มากแล้ว
อิทธิบาท ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร
๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร
ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาลได้มีฤทธิ์มาก
มีอานุภาพมาก ก็เพราะอิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น
ทั้งหมดเจริญ ทำให้มากแล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคตกาลจักมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพ
มาก ก็เพราะอิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดเจริญ
ทำให้มากแล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบันกาลย่อมมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพ
มาก ก็เพราะอิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดเจริญ
ทำให้มากแล้ว”

ปฐมพราหมณสูตรที่ ๖ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๒. ปาสาทกัมปนวรรค ๗. ทุติยพราหมณสูตร

๗. ทุติยพราหมณสูตร
ว่าด้วยสมณพราหมณ์ สูตรที่ ๒

[๘๒๙] “ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาล
ได้แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนแสดงเป็น
คนเดียวก็ได้ แสดงให้ปรากฏหรือให้หายไปก็ได้ ทะลุฝา กำแพง (และ)ภูเขาไปได้
ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นหรือดำลงในแผ่นดินเหมือนไปในน้ำก็ได้
เดินบนน้ำโดยที่น้ำไม่แยกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ นั่งขัดสมาธิเหาะไปในอากาศ
เหมือนนกบินไปก็ได้ ใช้ฝ่ามือลูบคลำดวงจันทร์ดวงอาทิตย์อันมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพ
มากก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้ ก็เพราะอิทธิบาท ๔ ประการ
ที่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดเจริญ ทำให้มากแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคตกาลจักแสดง
ฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคนเดียว
ก็ได้ แสดงให้ปรากฏหรือให้หายไปก็ได้ ทะลุฝา กำแพง (และ)ภูเขาไปได้ไม่ติดขัด
เหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นหรือดำลงในแผ่นดินเหมือนไปในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำ
โดยที่น้ำไม่แยกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ นั่งขัดสมาธิเหาะไปในอากาศเหมือนนก
บินไปก็ได้ ใช้ฝ่ามือลูบคลำดวงจันทร์ดวงอาทิตย์อันมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากก็ได้
ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้ ก็เพราะอิทธิบาท ๔ ประการที่สมณะ
หรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดเจริญ ทำให้มากแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพรามณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบันกาลย่อมแสดง
ฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคนเดียว
ก็ได้ แสดงให้ปรากฏหรือให้หายไปก็ได้ ทะลุฝา กำแพง (และ)ภูเขาไปได้ไม่ติดขัด
เหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นหรือดำลงในแผ่นดินเหมือนไปในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำ
โดยที่น้ำไม่แยกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ นั่งขัดสมาธิเหาะไปในอากาศเหมือนนก
บินไปก็ได้ ใช้ฝ่ามือลูบคลำดวงจันทร์ดวงอาทิตย์อันมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากก็ได้
ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๐๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๒. ปาสาทกัมปนวรรค ๘. ภิกขุสูตร

อิทธิบาท ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร
๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร
ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาลได้แสดง
ฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกาย
ไปจนถึงพรหมโลกก็ได้ ก็เพราะอิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่สมณะหรือพราหมณ์
เหล่านั้นทั้งหมดเจริญ ทำให้มากแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคตกาลจักแสดง
ฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกาย
ไปจนถึงพรหมโลกก็ได้ ก็เพราะอิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่สมณะหรือพราหมณ์
เหล่านั้นทั้งหมดเจริญ ทำให้มากแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบันกาลย่อมแสดง
ฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกาย
ไปจนถึงพรหมโลกก็ได้ ก็เพราะอิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่สมณะหรือพราหมณ์
เหล่านั้นทั้งหมดจริญ ทำให้มากแล้ว”

ทุติยพราหมณสูตรที่ ๗ จบ

๘. ภิกขุสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ทำให้ภิกษุได้วิมุตติ

[๘๓๐] “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มี
อาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน เพราะอิทธิบาท
๔ ประการนี้ที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๒. ปาสาทกัมปนวรรค ๙. อิทธาทิเทสนาสูตร

อิทธิบาท ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร
๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร
ภิกษุทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วย
ปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน เพราะอิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่ภิกษุเจริญ
ทำให้มากแล้ว”

ภิกขุสูตรที่ ๘ จบ

๙. อิทธาทิเทสนาสูตร
ว่าด้วยการแสดงอิทธิ(ฤทธิ์)เป็นต้น

[๘๓๑] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอิทธิ อิทธิบาท อิทธิบาทภาวนาและ
ปฏิปทาที่ให้ถึงอิทธิบาทภาวนาแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
อิทธิ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็น
หลายคนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึง
พรหมโลกก็ได้ นี้เรียกว่า อิทธิ
อิทธิบาท เป็นอย่างไร
คือ มรรคใด ปฏิปทาใดเป็นไปเพื่อได้ฤทธิ์ เพื่อได้เฉพาะซึ่งฤทธิ์
นี้เรียกว่า อิทธิบาท
อิทธิบาทภาวนา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๐๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๒. ปาสาทกัมปนวรรค ๑๐. วิภังคสูตร

๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร
นี้เรียกว่า อิทธิบาทภาวนา
ปฏิปทาที่ให้ถึงอิทธิบาทภาวนา เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ ได้แก่

๑. สัมมาทิฏฐิ ๒. สัมมาสังกัปปะ
๓. สัมมาวาจา ๔. สัมมากัมมันตะ
๕. สัมมาอาชีวะ ๖. สัมมาวายามะ
๗. สัมมาสติ ๘. สัมมาสมาธิ

นี้เรียกว่า ปฏิปทาที่ให้ถึงอิทธิบาทภาวนา”

อิทธาทิเทสนาสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. วิภังคสูตร
ว่าด้วยการจำแนกอิทธิบาท

[๘๓๒] “ภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว
มีผลมาก มีอานิสงส์มาก
อิทธิบาท ๔ ประการที่บุคคลเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมี
ผลมาก มีอานิสงส์มาก
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญอิทธิบาทประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขารดังนี้ว่า ฉันทะ
ของเราจักไม่ย่อหย่อนนัก ไม่ต้องประคับประคองเกินไป ไม่
หดหู่ในภายใน ไม่ซ่านไปในภายนอก และมีความหมายรู้ว่า
เบื้องหน้าและเบื้องหลังอยู่ คือ มีความหมายรู้ว่าเบื้องหลัง
เหมือนเบื้องหน้า เบื้องหน้าเหมือนเบื้องหลัง เบื้องบนเหมือน
เบื้องล่าง เบื้องล่างเหมือนเบื้องบน กลางคืนเหมือนกลางวัน
กลางวันเหมือนกลางคืน มีใจสงัด ไม่มีเครื่องร้อยรัด อบรม
จิตให้สว่างอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๐๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๒. ปาสาทกัมปนวรรค ๑๐. วิภังคสูตร

๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร ฯลฯ
๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร ฯลฯ
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขารดังนี้ว่า
วิมังสาของเราจักไม่ย่อหย่อนนัก ไม่ต้องประคับประคองเกินไป
ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ซ่านไปในภายนอก และมีความหมายรู้ว่า
เบื้องหน้าและเบื้องหลังอยู่ คือ มีความหมายรู้ว่าเบื้องหลัง
เหมือนเบื้องหน้า เบื้องหน้าเหมือนเบื้องหลัง เบื้องบนเหมือน
เบื้องล่าง เบื้องล่างเหมือนเบื้องบน กลางคืนเหมือนกลางวัน
กลางวันเหมือนกลางคืน มีใจสงัด ไม่มีเครื่องร้อยรัด อบรม
จิตให้สว่างอยู่
ฉันทะที่ย่อหย่อนนัก เป็นอย่างไร
คือ ฉันทะที่สหรคตด้วยความเกียจคร้าน สัมปยุตด้วยความเกียจคร้าน
นี้เรียกว่า ฉันทะที่ย่อหย่อนนัก
ฉันทะที่ต้องประคับประคองเกินไป เป็นอย่างไร
คือ ฉันทะที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ สัมปยุตด้วยอุทธัจจะ
นี้เรียกว่า ฉันทะที่ต้องประคับประคองเกินไป
ฉันทะที่หดหู่ในภายใน เป็นอย่างไร
คือ ฉันทะที่สหรคตด้วยถีนมิทธะ สัมปยุตด้วยถีนมิทธะ
นี้เรียกว่า ฉันทะที่หดหู่ในภายใน
ฉันทะที่ซ่านไปในภายนอก เป็นอย่างไร
คือ ฉันทะที่ซ่านไป ฟุ้งไป ปรารภกามคุณ ๕ ประการในภายนอก
นี้เรียกว่า ฉันทะที่ซ่านไปในภายนอก
ภิกษุมีความหมายรู้ว่าเบื้องหน้าและเบื้องหลังอยู่ คือ มีความหมายรู้ว่า
เบื้องหลังเหมือนเบื้องหน้า เบื้องหน้าเหมือนเบื้องหลัง เป็นอย่างไร
คือ ความหมายรู้ว่าเบื้องหน้าและเบื้องหลังอันภิกษุในธรรมวินัยนี้เรียนดี
ใส่ใจดี ทรงจำดี รู้แจ้งดีแล้วด้วยปัญญา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๐๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๒. ปาสาทกัมปนวรรค ๑๐. วิภังคสูตร

ภิกษุชื่อว่ามีความหมายรู้ว่าเบื้องหน้าและเบื้องหลังอยู่ คือ มีความหมายรู้ว่า
เบื้องหลังเหมือนเบื้องหน้า เบื้องหน้าเหมือนเบื้องหลัง เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุมีความหมายรู้ว่าเบื้องบนเหมือนเบื้องล่าง เบื้องล่างเหมือนเบื้องบน
อยู่ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมพิจารณากายนี้ขึ้นเบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นไป
พิจารณาลงเบื้องล่างแต่ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มด้วยของไม่
สะอาดมีประการต่าง ๆ ว่า ‘ในร่างกายนี้มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น
กระดูก เยื่อในกระดูก ไต๑ หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม๒ ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย
อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน
น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร๓’
ภิกษุชื่อว่ามีความหมายรู้ว่าเบื้องบนเหมือนเบื้องล่าง เบื้องล่างเหมือนเบื้องบนอยู่
เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุมีความหมายรู้ว่ากลางคืนเหมือนกลางวัน กลางวันเหมือนกลางคืน
อยู่ เป็นอย่างไร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๒. ปาสาทกัมปนวรรค ๑๐. วิภังคสูตร

คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
ในกลางวันด้วยอาการเหล่าใด ด้วยเพศเหล่าใด ด้วยนิมิตเหล่าใด เธอก็เจริญ
อิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขารในกลางคืนด้วยอาการเหล่านั้น
ด้วยเพศเหล่านั้น ด้วยนิมิตเหล่านั้น อีกประการหนึ่ง ภิกษุเจริญอิทธิบาทที่
ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขารในกลางคืนด้วยอาการเหล่าใด ด้วยเพศเหล่าใด
ด้วยนิมิตเหล่าใด เธอก็เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขารในกลางวัน
ด้วยอาการเหล่านั้น ด้วยเพศเหล่านั้น ด้วยนิมิตเหล่านั้น
ภิกษุชื่อว่ามีความหมายรู้ว่ากลางคืนเหมือนกลางวัน กลางวันเหมือนกลางคืนอยู่
เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุมีใจสงัด ไม่มีเครื่องร้อยรัด อบรมจิตให้สว่างอยู่ เป็นอย่างไร
คือ อาโลกสัญญา (ความหมายรู้แสงสว่าง) อันภิกษุในธรรมวินัยนี้เรียนไว้ดี
ความหมายรู้ว่ากลางวัน ตั้งมั่นดี
ภิกษุชื่อว่ามีใจสงัด ไม่มีเครื่องร้อยรัด อบรมจิตให้สว่างอยู่ เป็นอย่างนี้แล
วิริยะที่ย่อหย่อนนัก เป็นอย่างไร
คือ วิริยะที่สหรคตด้วยความเกียจคร้าน สัมปยุตด้วยความเกียจคร้าน
นี้เรียกว่า วิริยะที่ย่อหย่อนนัก
วิริยะที่ต้องประคับประคองเกินไป เป็นอย่างไร
คือ วิริยะที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ สัมปยุตด้วยอุทธัจจะ
นี้เรียกว่า วิริยะที่ต้องประคับประคองเกินไป
วิริยะที่หดหู่ในภายใน เป็นอย่างไร
คือ วิริยะที่สหรคตด้วยถีนมิทธะ สัมปยุตด้วยถีนมิทธะ
นี้เรียกว่า วิริยะที่หดหู่ในภายใน
วิริยะที่ซ่านไปในภายนอก เป็นอย่างไร
คือ วิริยะที่ซ่านไป ฟุ้งไป ปรารภกามคุณ ๕ ประการในภายนอก
นี้เรียกว่า วิริยะที่ซ่านไปในภายนอก ฯลฯ
ภิกษุชื่อว่ามีใจสงัด ไม่มีเครื่องร้อยรัด อบรมจิตให้สว่างอยู่ เป็นอย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๐๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๒. ปาสาทกัมปนวรรค ๑๐. วิภังคสูตร

จิตที่ย่อหย่อนนัก เป็นอย่างไร
คือ จิตที่สหรคตด้วยความเกียจคร้าน สัมปยุตด้วยความเกียจคร้าน
นี้เรียกว่า จิตที่ย่อหย่อนนัก
จิตที่ต้องประคับประคองเกินไป เป็นอย่างไร
คือ จิตที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ สัมปยุตด้วยอุทธัจจะ
นี้เรียกว่า จิตที่ต้องประคับประคองเกินไป
จิตที่หดหู่ในภายใน เป็นอย่างไร
คือ จิตที่สหรคตด้วยถีนมิทธะ สัมปยุตด้วยถีนมิทธะ
นี้เรียกว่า จิตที่หดหู่ในภายใน
จิตที่ซ่านไปในภายนอก เป็นอย่างไร
คือ จิตที่ซ่านไป ฟุ้งไป ปรารภกามคุณ ๕ ประการในภายนอก
นี้เรียกว่า จิตที่ซ่านไปในภายนอก ฯลฯ
ภิกษุชื่อว่ามีใจสงัด ไม่มีเครื่องร้อยรัด อบรมจิตให้สว่างอยู่ เป็นอย่างนี้แล
วิมังสาที่ย่อหย่อนนัก เป็นอย่างไร
คือ วิมังสาที่สหรคตด้วยความเกียจคร้าน สัมปยุตด้วยความเกียจคร้าน
นี้เรียกว่า วิมังสาที่ย่อหย่อนนัก
วิมังสาที่ต้องประคับประคองเกินไป เป็นอย่างไร
คือ วิมังสาที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ สัมปยุตด้วยอุทธัจจะ
นี้เรียกว่า วิมังสาที่ต้องประคับประคองเกินไป
วิมังสาที่หดหู่ในภายใน เป็นอย่างไร
คือ วิมังสาที่สหรคตด้วยถีนมิทธะ สัมปยุตด้วยถีนมิทธะ
นี้เรียกว่า วิมังสาที่หดหู่ในภายใน
วิมังสาที่ซ่านไปในภายนอก เป็นอย่างไร
คือ วิมังสาที่ซ่านไป ฟุ้งไป ปรารภกามคุณ ๕ ประการ ในภายนอก
นี้เรียกว่า วิมังสาที่ซ่านไปในภายนอก ฯลฯ
ภิกษุชื่อว่ามีใจสงัด ไม่มีเครื่องร้อยรัด อบรมจิตให้สว่างอยู่ เป็นอย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๒. ปาสาทกัมปนวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ ประการที่บุคคลเจริญอย่างนี้แล ทำให้มาก
แล้วอย่างนี้ จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มาก
แล้วอย่างนี้ ภิกษุย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้
หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้
เมื่ออิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ภิกษุทำ
ให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่ง
เองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”

วิภังคสูตรที่ ๑๐ จบ

(แม้อภิญญาทั้ง ๖ ก็พึงให้พิสดาร)

ปาสาทกัมปนวรรคที่ ๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปุพพสูตร ๒. มหัปผลสูตร
๓. ฉันทสมาธิสูตร ๔. โมคคัลลานสูตร
๕. อุณณาภพราหมณสูตร ๖. ปฐมพราหมณสูตร
๗. ทุติยพราหมณสูตร ๘. ภิกขุสูตร
๙. อิทธาทิเทสนาสูตร ๑๐. วิภังคสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๓. อโยคุฬวรรค ๑. มัคคสูตร

๓. อโยคุฬวรรค
หมวดว่าด้วยอุปมาด้วยก้อนเหล็กที่ถูกไฟเผา
๑. มัคคสูตร
ว่าด้วยทางแห่งการเจริญอิทธิบาท

[๘๓๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อก่อนเราเป็นโพธิสัตว์ ยังไม่ได้
ตรัสรู้ ได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘อะไรหนอเป็นมรรค อะไรเป็นปฏิปทาแห่งการเจริญ
อิทธิบาท’ ภิกษุทั้งหลาย (ต่อมา) เรานั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขารดังนี้ว่า
ฉันทะของเราจักไม่ย่อหย่อนนัก ไม่ต้องประคับประคองเกินไป
ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ซ่านไปในภายนอก และมีความหมายรู้ว่า
เบื้องหน้าและเบื้องหลังอยู่ คือ มีความหมายรู้ว่าเบื้องหลัง
เหมือนเบื้องหน้า เบื้องหน้าเหมือนเบื้องหลัง เบื้องบนเหมือน
เบื้องล่าง เบื้องล่างเหมือนเบื้องบน กลางคืนเหมือนกลางวัน
กลางวันเหมือนกลางคืน มีใจสงัด ไม่มีเครื่องร้อยรัด อบรม
จิตให้สว่างอยู่ด้วยประการฉะนี้
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร ฯลฯ
๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร ฯลฯ
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขารดังนี้ว่า
วิมังสาของเราจักไม่ย่อหย่อนนัก ไม่ต้องประคับประคองเกินไป
ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ซ่านไปในภายนอก และมีความหมายรู้ว่า
เบื้องหน้าและเบื้องหลังอยู่ คือ มีความหมายรู้ว่าเบื้องหลัง
เหมือนเบื้องหน้า เบื้องหน้าเหมือนเบื้องหลัง เบื้องบนเหมือน
เบื้องล่าง เบื้องล่างเหมือนเบื้องบน กลางคืนเหมือนกลางวัน
กลางวันเหมือนกลางคืน มีใจสงัด ไม่มีเครื่องร้อยรัด อบรม
จิตให้สว่างอยู่ ด้วยประการฉะนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๓. อโยคุฬวรรค ๒. อโยคุฬสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออิทธิบาท ๔ ประการที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มาก
แล้วอย่างนี้ ภิกษุย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้
หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้
เมื่ออิทธิบาท ๔ ประการที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ภิกษุจึง
ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่ง
เองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”

มัคคสูตรที่ ๑ จบ

(แม้อภิญญาทั้ง ๖ ก็พึงให้พิสดาร)

๒. อโยคุฬสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยก้อนเหล็กที่ถูกไฟเผา

[๘๓๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
พระผู้มีพระภาคทรงทราบอยู่หรือว่า พระองค์มีพระวรกายเป็นมโนมัย ทรงเข้าถึง
พรหมโลกด้วยฤทธิ์”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ เราทราบอยู่ว่า เรามีกายเป็นมโนมัย
เข้าถึงพรหมโลกด้วยฤทธิ์”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคทรงทราบหรือว่า พระองค์มีพระ
วรกายที่ประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ นี้ ทรงเข้าถึงพรหมโลกด้วยฤทธิ์”
“อานนท์ เราทราบอยู่ว่า เรามีกายที่ประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ นี้ เข้าถึง
พรหมโลกด้วยฤทธิ์”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏที่พระผู้มีพระภาคทรง
ทราบว่า พระองค์มีพระวรกายเป็นมโนมัย ทรงเข้าถึงพรหมโลกด้วยฤทธิ์ และทรง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๓. อโยคุฬวรรค ๒. อโยคุฬสูตร

ทราบว่า มีพระวรกายที่ประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ นี้ ทรงเข้าถึงพรหมโลกด้วย
ฤทธิ์”
“อานนท์ พระตถาคตทั้งหลายเป็นผู้อัศจรรย์และประกอบด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์
เป็นผู้ไม่เคยมีและประกอบด้วยธรรมที่ไม่เคยมี
สมัยใด ตถาคตตั้งกายไว้ในจิตหรือตั้งจิตไว้ในกาย ก้าวลงสู่สุขสัญญา (ความ
หมายรู้ว่าสบาย) และลหุสัญญา (ความหมายรู้ว่าเบา) ในกายอยู่ สมัยนั้น กาย
ของตถาคตย่อมเบากว่า อ่อนกว่า ควรแก่การงานกว่า และผุดผ่องกว่า
ก้อนเหล็กที่ไฟเผาตลอดทั้งวันย่อมเบากว่า อ่อนกว่า ควรแก่การงานกว่า
และผุดผ่องกว่า แม้ฉันใด
สมัยใด ตถาคตตั้งกายไว้ในจิตหรือตั้งจิตไว้ในกาย ก้าวลงสู่สุขสัญญาและ
ลหุสัญญาในกายอยู่ สมัยนั้น กายของตถาคตย่อมเบากว่า อ่อนกว่า ควรแก่การ
งานกว่า และผุดผ่องกว่า ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
สมัยใด ตถาคตตั้งกายไว้ในจิตหรือตั้งจิตไว้ในกาย ก้าวลงสู่สุขสัญญาและ
ลหุสัญญาในกายอยู่ สมัยนั้น กายของตถาคตย่อมลอยจากพื้นดินขึ้นสู่อากาศ
ได้โดยไม่ยากเลย ตถาคตย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวเป็นหลายคน
ก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้
ปุยนุ่นหรือปุยฝ้ายซึ่งเบาถูกลมพัดก็ลอยจากพื้นดินขึ้นสู่อากาศโดยไม่ยากเลย
แม้ฉันใด
สมัยใด ตถาคตตั้งกายไว้ในจิตหรือตั้งจิตไว้ในกาย ก้าวลงสู่สุขสัญญาและ
ลหุสัญญาในกายอยู่ สมัยนั้น กายของตถาคตย่อมลอยจากพื้นดินขึ้นสู่อากาศได้
โดยไม่ยากเลย ตถาคตย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลาย
คนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลก
ก็ได้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน”

อโยคุฬสูตรที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๓. อโยคุฬวรรค ๔. สุทธิกสูตร

๓. ภิกขุสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ทำให้ภิกษุได้วิมุตติ

[๘๓๕] “ภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ ประการนี้
อิทธิบาท ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร
๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร
อิทธิบาท ๔ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะ
อาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน เพราะอิทธิบาท ๔ ประการ
นี้ ที่ภิกษุนั้นเจริญ ทำให้มากแล้ว”

ภิกขุสูตรที่ ๓ จบ

๔. สุทธิกสูตร
ว่าด้วยอิทธิบาทล้วน

[๘๓๖] “ภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ ประการนี้
อิทธิบาท ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร
๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร
อิทธิบาท ๔ ประการนี้”

สุทธิกสูตรที่ ๔ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๓. อโยคุฬวรรค ๖. ทุติยผลสูตร

๕. ปฐมผลสูตร
ว่าด้วยผลแห่งการเจริญอิทธิบาท สูตรที่ ๑

[๘๓๗] “ภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ ประการนี้
อิทธิบาท ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร
๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร
อิทธิบาท ๔ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่ภิกษุนั้นเจริญ ทำให้มากแล้ว
ภิกษุพึงหวังผลอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมี
อุปาทานเหลืออยู่ก็จักเป็นพระอนาคามี”

ปฐมผลสูตรที่ ๕ จบ

๖. ทุติยผลสูตร
ว่าด้วยผลแห่งการเจริญอิทธิบาท สูตรที่ ๒

[๘๓๘] “ภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ ประการนี้
อิทธิบาท ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร
๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร
อิทธิบาท ๔ ประการนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๑๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๓. อโยคุฬวรรค ๗. ปฐมอานันทสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เพราะอิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่ภิกษุนั้นเจริญ ทำให้มากแล้ว
ภิกษุพึงหวังผลานิสงส์ ๗ ประการ
ผลานิสงส์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. จะได้บรรลุอรหัตตผลทันทีในปัจจุบัน
๒. หากไม่ได้บรรลุอรหัตตผลในปัจจุบัน จะได้บรรลุในเวลาใกล้ตาย
๓. หากในปัจจุบันและในเวลาใกล้ตายยังไม่ได้บรรลุ ก็จะได้เป็น
พระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี
๔. ... ก็จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี
๕. ... ก็จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี
๖. ... ก็จะได้เป็นพระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี
๗. ... ก็จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี เพราะ
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการสิ้นไป
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่ภิกษุนั้นเจริญ ทำให้มากแล้ว
ภิกษุพึงหวังผลานิสงส์ ๗ ประการนี้”๑

ทุติยผลสูตรที่ ๖ จบ

๗. ปฐมอานันทสูตร
ว่าด้วยพระอานนท์ สูตรที่ ๑

[๘๓๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อิทธิ เป็นอย่างไร อิทธิบาท เป็นอย่างไร อิทธิบาท-
ภาวนาเป็นอย่างไร ปฏิปทาที่ให้ถึงอิทธิบาทภาวนา เป็นอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมแสดงฤทธิ์ได้
หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้
ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้ นี้เรียกว่า อิทธิ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๓. อโยคุฬวรรค ๘. ทุติยอานันทสูตร

อิทธิบาท เป็นอย่างไร
คือ มรรคใด ปฏิปทาใดเป็นไปเพื่อได้ฤทธิ์ เพื่อได้เฉพาะซึ่งฤทธิ์
นี้เรียกว่า อิทธิบาท
อิทธิบาทภาวนา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร
๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร
นี้เรียกว่า อิทธิบาทภาวนา
ปฏิปทาที่ให้ถึงอิทธิบาทภาวนา เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้เรียกว่า ปฏิปทาที่ให้ถึงอิทธิบาทภาวนา”

ปฐมอานันทสูตรที่ ๗ จบ

๘. ทุติยอานันทสูตร
ว่าด้วยพระอานนท์ สูตรที่ ๒

[๘๔๐] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านพระอานนท์ผู้นั่งอยู่ ณ ที่สมควรว่า
“อานนท์ อิทธิ เป็นอย่างไร อิทธิบาท เป็นอย่างไร อิทธิบาทภาวนา เป็นอย่างไร
ปฏิปทาที่ให้ถึงอิทธิบาทภาวนา เป็นอย่างไร”
ท่านพระอานนท์ทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ ฯลฯ๑


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๓. อโยคุฬวรรค ๙. ปฐมภิกขุสูตร

“อานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดง
เป็นหลายคนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปจน
ถึงพรหมโลกก็ได้ นี้เรียกว่า อิทธิ
อิทธิบาท เป็นอย่างไร
คือ มรรคใด ปฏิปทาใดเป็นไปเพื่อได้ฤทธิ์ เพื่อได้เฉพาะซึ่งฤทธิ์
นี้เรียกว่า อิทธิบาท
อิทธิบาทภาวนา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร
๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร
นี้เรียกว่า อิทธิบาทภาวนา
ปฏิปทาที่ให้ถึงอิทธิบาทภาวนา เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้เรียกว่า ปฏิปทาที่ให้ถึงอิทธิบาทภาวนา”

ทุติยอานันทสูตรที่ ๘ จบ

๙. ปฐมภิกขุสูตร
ว่าด้วยภิกษุ สูตรที่ ๑

[๘๔๑] ครั้งนั้น ภิกษุจำนวนมากเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อิทธิ เป็นอย่างไร อิทธิบาท เป็นอย่างไร อิทธิ-
บาทภาวนา เป็นอย่างไร ปฏิปทาที่ให้ถึงอิทธิบาทภาวนา เป็นอย่างไร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๑๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๓. อโยคุฬวรรค ๑๐. ทุติยภิกขุสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมแสดง
ฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคน
เดียวก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้ นี้เรียกว่า อิทธิ
อิทธิบาท เป็นอย่างไร
คือ มรรคใด ปฏิปทาใดเป็นไปเพื่อได้ฤทธิ์ เพื่อได้เฉพาะซึ่งฤทธิ์
นี้เรียกว่า อิทธิบาท
อิทธิบาทภาวนา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร
๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร
นี้เรียกว่า อิทธิบาทภาวนา
ปฏิปทาที่ให้ถึงอิทธิบาทภาวนา เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้เรียกว่า ปฏิปทาที่ให้ถึงอิทธิบาทภาวนา”

ปฐมภิกขุสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ทุติยภิกขุสูตร
ว่าด้วยภิกษุ สูตรที่ ๒

[๘๔๒] ครั้งนั้น ภิกษุจำนวนมากเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับภิกษุเหล่านั้น
ดังนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย อิทธิ เป็นอย่างไร อิทธิบาท เป็นอย่างไร อิทธิบาทภาวนา
เป็นอย่างไร ปฏิปทาที่ให้ถึงอิทธิบาทภาวนา เป็นอย่างไร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๒๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๓. อโยคุฬวรรค ๑๐. ทุติยภิกขุสูตร

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย อิทธิ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็น
หลายคนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึง
พรหมโลกก็ได้
นี้เรียกว่า อิทธิ
อิทธิบาท เป็นอย่างไร
คือ มรรคใด ปฏิปทาใดเป็นไปเพื่อได้ฤทธิ์ เพื่อได้เฉพาะซึ่งฤทธิ์
นี้เรียกว่า อิทธิบาท
อิทธิบาทภาวนา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร
๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร
นี้เรียกว่า อิทธิบาทภาวนา
ปฏิปทาที่ให้ถึงอิทธิบาทภาวนา เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้เรียกว่า ปฏิปทาที่ให้ถึงอิทธิบาทภาวนา”

ทุติยภิกขุสูตรที่ ๑๐ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๓. อโยคุฬวรรค ๑๑. โมคคัลลานสูตร

๑๑. โมคคัลลานสูตร
ว่าด้วยพระโมคคัลลานะ

[๘๔๓] ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ภิกษุโมคคัลลานะมีฤทธิ์มาก
มีอานุภาพมากอย่างนี้ เพราะธรรมเหล่าไหนที่เธอเจริญ ทำให้มากแล้ว”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุโมคคัลลานะมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากอย่างนี้ เพราะ
อิทธิบาท ๔ ประการที่ภิกษุโมคคัลลานะนั้นเจริญ ทำให้มากแล้ว
อิทธิบาท ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ในธรรมวินัยนี้ ภิกษุโมคคัลลานะ
๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขารดังนี้ว่า
ฉันทะของเราจักไม่ย่อหย่อนนัก ไม่ต้องประคับประคองเกินไป
ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ซ่านไปในภายนอก และมีความหมายรู้ว่า
เบื้องหน้าและเบื้องหลังอยู่ คือ มีความหมายรู้ว่าเบื้องหลัง
เหมือนเบื้องหน้า เบื้องหน้าเหมือนเบื้องหลัง เบื้องบนเหมือน
เบื้องล่าง เบื้องล่างเหมือนเบื้องบน กลางคืนเหมือนกลางวัน
กลางวันเหมือนกลางคืน มีใจสงัด ไม่มีเครื่องร้อยรัด อบรม
จิตให้สว่างอยู่ ด้วยประการฉะนี้
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร ฯลฯ
๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร ฯลฯ
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขารดังนี้ว่า
วิมังสาของเราจักไม่ย่อหย่อนนัก ไม่ต้องประคับประคองเกินไป
ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ซ่านไปในภายนอก ฯลฯ มีใจสงัด ไม่มี
เครื่องร้อยรัด อบรมจิตให้สว่างอยู่ ด้วยประการฉะนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๓. อโยคุฬวรรค ๑๒. ตถาคตสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุโมคคัลลานะมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากอย่างนี้ เพราะ
อิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่ภิกษุโมคคัลลานะนั้นเจริญ ทำให้มากแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุโมคคัลลานะแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียว
แสดงเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกาย
ไปจนถึงพรหมโลกก็ได้ เพราะอิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่ภิกษุโมคคัลลานะเจริญ ทำ
ให้มากแล้ว อนึ่ง ภิกษุโมคคัลลานะทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มี
อาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน เพราะอิทธิบาท
๔ ประการนี้ที่ภิกษุโมคคัลลานะเจริญ ทำให้มากแล้ว”

โมคคัลลานสูตรที่ ๑๑ จบ

๑๒. ตถาคตสูตร
ว่าด้วยพระตถาคต

[๘๔๔] ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจข้อความนั้นว่าอย่างไร ตถาคตมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพ
มากอย่างนี้ เพราะธรรมเหล่าไหนที่ตถาคตเจริญ ทำให้มากแล้ว”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากอย่างนี้ เพราะอิทธิบาท ๔
ประการที่ตถาคตเจริญ ทำให้มากแล้ว
อิทธิบาท ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ตถาคต
๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขารดังนี้ว่า
ฉันทะของเราจักไม่ย่อหย่อนนัก ไม่ต้องประคับประคองเกินไป ไม่
หดหู่ในภายใน ไม่ซ่านไปในภายนอก และตถาคตมีความหมาย
รู้ว่าเบื้องหน้าและเบื้องหลังอยู่ คือ มีความหมายรู้ว่าเบื้องหลัง
เหมือนเบื้องหน้า เบื้องหน้าเหมือนเบื้องหลัง เบื้องบนเหมือน
เบื้องล่าง เบื้องล่างเหมือนเบื้องบน กลางคืนเหมือนกลางวัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๓. อโยคุฬวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

กลางวันเหมือนกลางคืน มีใจสงัด ไม่มีเครื่องร้อยรัด อบรม
จิตให้สว่างอยู่ ด้วยประการฉะนี้
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร ฯลฯ
๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร ฯลฯ
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขารดังนี้ว่า
วิมังสาของเราจักไม่ย่อหย่อนนัก ไม่ต้องประคับประคองเกินไป มี
ใจสงัด ไม่มีเครื่องร้อยรัด อบรมจิตให้สว่างอยู่ ด้วยประการฉะนี้
ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากอย่างนี้ เพราะอิทธิบาท ๔
ประการนี้ที่ตถาคตเจริญ ทำให้มากแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ตถาคตย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดง
เป็นหลายคนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปจน
ถึงพรหมโลกก็ได้ เพราะอิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่ตถาคตเจริญ ทำให้มากแล้ว
อนึ่ง ตถาคตย่อมทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะ
สิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน เพราะอิทธิบาท ๔ ประการนี้
ที่ตถาคตเจริญ ทำให้มากแล้ว”

ตถาคตสูตรที่ ๑๒ จบ

(แม้อภิญญาทั้ง ๖ ก็พึงให้พิสดาร)

อโยคุฬวรรคที่ ๓ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. มัคคสูตร ๒. อโยคุฬสูตร
๓. ภิกขุสูตร ๔. สุทธิกสูตร
๕. ปฐมผลสูตร ๖. ทุติยผลสูตร
๗. ปฐมอานันทสูตร ๘. ทุติยอานันทสูตร
๙. ปฐมภิกขุสูตร ๑๐. ทุติยภิกขุสูตร
๑๑. โมคคัลลานสูตร ๑๒. ตถาคตสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๔. คังคาเปยยาลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๔. คังคาเปยยาลวรรค
หมวดว่าด้วยคังคาเปยยาล
๑-๑๒. คังคานทีอาทิสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยแม่นํ้าคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีนเป็นต้น

[๘๔๕-๘๔๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่
ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน หลากไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น
เหมือนกัน เมื่อเจริญอิทธิบาท ๔ ประการ ทำอิทธิบาท ๔ ประการให้มาก
ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน
ภิกษุเมื่อเจริญอิทธิบาท ๔ ประการ ทำอิทธิบาท ๔ ประการให้มาก
ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร
๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปานสังขาร
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญอิทธิบาท ๔ ประการ ทำอิทธิบาท ๔
ประการให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างนี้แล”

คังคานทีอาทิสูตรที่ ๑-๑๒ จบ
คังคาเปยยาลวรรคที่ ๔ จบ๑

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมปาจีนนินนสูตร ๒-๕. ทุติยาทิปาจีนนินนสุตตจตุกกะ
๖. ฉัฏฐปาจีนนินนสูตร ๗. ปฐมสมุททนินนสูตร
๘-๑๒. ทุติยาทิสมุททนินนสุตตปัญจกะ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๔. คังคาเปยยาลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

อัปปมาทวรรคพึงให้พิสดาร๑

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ตถาคตสูตร ๒. ปทสูตร
๓. กูฏสูตร ๔. มลสูตร
๕. สารสูตร ๖. วัสสิกสูตร
๗. ราชาสูตร ๘. จันทิมสูตร
๙. สุริยสูตร ๑๐. วัตถสูตร

พลกรณียวรรคพึงให้พิสดาร๒

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. พลสูตร ๒. พีชสูตร
๓. นาคสูตร ๔. รุกขสูตร
๕. กุมภสูตร ๖. สูกสูตร
๗. อากาสสูตร ๘. ปฐมเมฆสูตร
๙. ทุติยเมฆสูตร ๑๐. นาวาสูตร
๑๑. อาคันตุกสูตร ๑๒. นทีสูตร

เอสนาวรรคพึงให้พิสดาร๓

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. เอสนาสูตร ๒. วิธาสูตร
๓. อาสวสูตร ๔. ภวสูตร
๕. ทุกขตาสูตร ๖. ขีลสูตร
๗. มลสูตร ๘. นีฆสูตร
๙. เวทนาสูตร ๑๐. ตัณหาสูตร
๑๑. ตสินาสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๘. โอฆวรรค ๑-๑๐. โอฆาทิสูตร

๘. โอฆวรรค
หมวดว่าด้วยโอฆะ
๑-๑๐. โอฆาทิสูตร
ว่าด้วยโอฆะเป็นต้น

[๘๘๙-๘๙๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อุทธัมภาคิยสังโยชน์
(สังโยชน์เบื้องสูง) ๕ ประการนี้
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปราคะ ๒. อรูปราคะ
๓. มานะ ๔. อุทธัจจะ
๕. อวิชชา
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญอิทธิบาท ๔ ประการ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อ
กำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้
อิทธิบาท ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร
๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญอิทธิบาท ๔ ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อ
กำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้”

(พึงเพิ่มข้อความให้พิสดารเหมือนมัคคสังยุต)

โอฆาทิสูตรที่ ๑-๑๐ จบ
โอฆวรรคที่ ๘ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๘. โอฆวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. โอฆสูตร ๒. โยคสูตร
๓. อุปาทานสูตร ๔. คันถสูตร
๕. อนุสยสูตร ๖. กามคุณสูตร
๗. นีวรณสูตร ๘. อุปาทานักขันธสูตร
๙. โอรัมภาคิยสูตร ๑๐. อุทธัมภาคิยสูตร

อิทธิปาทสังยุตที่ ๗ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๘. อนุรุทธสังยุต]
๑. รโหคตวรรค ๑. ปฐมรโหคตสูตร

๘. อนุรุทธสังยุต
๑. รโหคตวรรค
หมวดว่าด้วยผู้หลีกเร้นอยู่ในที่สงัด
๑. ปฐมรโหคตสูตร
ว่าด้วยผู้หลีกเร้นอยู่ในที่สงัด สูตรที่ ๑

[๘๙๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง ท่านพระอนุรุทธะอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทธะหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด
ได้เกิดความรำพึงขึ้นมาว่า “สติปัฏฐาน ๔ ประการอันชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
พลาดแล้ว อริยมรรคที่ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ก็ชื่อว่าเป็นอันชนเหล่านั้น
พลาดแล้ว สติปัฏฐาน ๔ ประการอันชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งปรารภแล้ว อริยมรรค
ที่ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ก็ชื่อว่าเป็นอันชนเหล่านั้นปรารภแล้ว”
ลำดับนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะทราบความรำพึงของท่านพระอนุรุทธะ
ด้วยใจ จึงหายตัวไปปรากฏเฉพาะหน้าของท่านพระอนุรุทธะ เหมือนบุรุษมีกำลัง
เหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้า ฉะนั้น
ทีนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้ถามท่านพระอนุรุทธะดังนี้ว่า “ท่าน
อนุรุทธะ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุจึงชื่อว่าปรารภสติปัฏฐาน ๔ ประการ”
ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุเกิดในกายภายในอยู่ ฯลฯ พิจารณา
เห็นธรรมเป็นเหตุดับในกายภายในอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นทั้งธรรม
เป็นเหตุเกิดทั้งธรรมเป็นเหตุดับในกายภายในอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ พิจารณา
เห็นธรรมเป็นเหตุเกิดในกายภายนอกอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๘. อนุรุทธสังยุต]
๑. รโหคตวรรค ๑. ปฐมรโหคตสูตร

ธรรมเป็นเหตุดับในกายภายนอกอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นทั้งธรรม
เป็นเหตุเกิดทั้งธรรมเป็นเหตุดับในกายภายนอกอยู่ มีความเพียร
มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ พิจารณา
เห็นธรรมเป็นเหตุเกิดในกายทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่ ฯลฯ
พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุดับในกายทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่ ฯลฯ
พิจารณาเห็นทั้งธรรมเป็นเหตุเกิดทั้งธรรมเป็นเหตุดับในกายทั้ง
ภายในทั้งภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด
อภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
หากเธอหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่’ ก็มี
ความหมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นอยู่
หากเธอหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลอยู่’ ก็มีความ
หมายรู้ว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลนั้นอยู่
หากเธอหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลอยู่
ก็มีความรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลนั้นอยู่
หากเธอหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลและสิ่งไม่ปฏิกูล
อยู่’ ก็มีความหมายรู้ว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลและสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นอยู่
หากเธอหวังว่า ‘เราพึงเว้นสิ่งทั้ง ๒ นั้น คือ สิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลแล้ว
เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะอยู่เถิด’ ก็เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ มี
สัมปชัญญะในสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลทั้ง ๒ นั้นอยู่
๒. พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุเกิดในเวทนาทั้งหลายภายในอยู่ ฯลฯ
พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุดับในเวทนาทั้งหลายภายในอยู่ ฯลฯ
พิจารณาเห็นทั้งธรรมเป็นเหตุเกิดทั้งธรรมเป็นเหตุดับในเวทนา
ทั้งหลายภายในอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด
อภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุเกิดใน
เวทนาทั้งหลายภายนอกอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุ
ดับในเวทนาทั้งหลายภายนอกอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นทั้งธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๘. อนุรุทธสังยุต]
๑. รโหคตวรรค ๑. ปฐมรโหคตสูตร

เป็นเหตุเกิดทั้งธรรมเป็นเหตุดับในเวทนาทั้งหลายภายนอกอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสใน
โลกได้ พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุเกิดในเวทนาทั้งหลายทั้ง
ภายในทั้งภายนอกอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุดับใน
เวทนาทั้งหลายทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็น
ทั้งธรรมเป็นเหตุเกิดทั้งธรรมเป็นเหตุดับในเวทนาทั้งหลาย
ทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
หากเธอหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่’ ก็มีความ
หมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นอยู่
หากเธอหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลอยู่’ ก็มีความ
หมายรู้ว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลนั้นอยู่
หากเธอหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลอยู่’
ก็มีความหมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลนั้นอยู่
หากเธอหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลและสิ่งไม่ปฏิกูล
อยู่’ ก็มีความหมายรู้ว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลและสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นอยู่
หากเธอหวังว่า ‘เราพึงเว้นสิ่งทั้ง ๒ นั้น คือสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลแล้ว
เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะอยู่’ ก็เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ
ในสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลทั้ง ๒ นั้นอยู่
๓. พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุเกิดในจิตภายใน ฯลฯ ในจิตภายนอก
ฯลฯ พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุเกิดในจิตทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่
ฯลฯ พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุดับในจิตทั้งภายในทั้งภายนอก
อยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นทั้งธรรมเป็นเหตุเกิดทั้งธรรมเป็นเหตุ
ดับในจิตทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่ มีความเพียร ฯลฯ กำจัด
อภิชฌาและโทมนัสในโลกได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๘. อนุรุทธสังยุต]
๑. รโหคตวรรค ๒. ทุติยรโหคตสูตร

หากเธอหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่ ก็มีความ
หมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นอยู่ ฯลฯ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ
ในสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลทั้ง ๒ นั้นอยู่
๔. พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุเกิดในธรรมทั้งหลายภายใน ฯลฯ ใน
ธรรมทั้งหลายภายนอก ฯลฯ พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุเกิด
ในธรรมทั้งหลายทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็น
ธรรมเป็นเหตุดับในธรรมทั้งหลายทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่ ฯลฯ
พิจารณาเห็นทั้งธรรมเป็นเหตุเกิดทั้งธรรมเป็นเหตุดับในธรรม
ทั้งหลายทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
หากเธอหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่’ ก็มีความ
หมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นอยู่ ฯลฯ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ
ในสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลทั้ง ๒ นั้นอยู่
ท่านผู้มีอายุ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล ภิกษุจึงชื่อว่าปรารภสติปัฏฐาน ๔ ประการ”

ปฐมรโหคตสูตรที่ ๑ จบ

๒. ทุติยรโหคตสูตร
ว่าด้วยผู้หลีกเร้นอยู่ในที่สงัด สูตรที่ ๒

[๙๐๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทธะหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด ได้เกิดความคิดคำนึงขึ้นมาว่า
“สติปัฏฐาน ๔ ประการอันชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งพลาดแล้ว อริยมรรคที่ให้ถึง
ความสิ้นทุกข์โดยชอบ ก็ชื่อว่าเป็นอันชนเหล่านั้นพลาดแล้ว สติปัฏฐาน ๔
ประการอันชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งปรารภแล้ว อริยมรรคที่ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ
ก็ชื่อว่าเป็นอันชนเหล่านั้นปรารภแล้ว”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๓๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๘. อนุรุทธสังยุต]
๑. รโหคตวรรค ๒. ทุติยรโหคตสูตร

ลำดับนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะทราบความรำพึงของท่านพระอนุรุทธะ
ด้วยใจ จึงหายตัวไปปรากฏเฉพาะหน้าของท่านพระอนุรุทธะ เหมือนบุรุษมีกำลัง
เหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้า ฉะนั้น
ทีนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้ถามท่านพระอนุรุทธะดังนี้ว่า “ท่าน
อนุรุทธะ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุจึงชื่อว่าปรารภสติปัฏฐาน ๔ ประการ”
ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายภายในอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ พิจารณาเห็นกายใน
กายภายนอกอยู่ มีความเพียร ฯลฯ พิจารณาเห็นกายในกาย
ทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายภายในอยู่ มีความเพียร
มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ พิจารณาเห็น
เวทนาในเวทนาทั้งหลายภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ พิจารณาเห็นเวทนา
ในเวทนาทั้งหลายทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่ มีความเพียร
มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิตภายในอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นจิตในจิตภาย
นอก ฯลฯ พิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสใน
โลกได้
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายภายใน ฯลฯ พิจารณาเห็น
ธรรมในธรรมทั้งหลายภายนอก ฯลฯ พิจารณาเห็นธรรมในธรรม
ทั้งหลายทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ท่านผู้มีอายุ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล ภิกษุจึงชื่อว่าปรารภสติปัฏฐาน ๔ ประการ”

ทุติยรโหคตสูตรที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๘. อนุรุทธสังยุต]
๑. รโหคตวรรค ๕. ทุติยกัณฏกีสูตร

๓. สุตนุสูตร
ว่าด้วยการสนทนาธรรมที่ริมฝั่งแม่น้ำสุตนุ

[๙๐๑] สมัยหนึ่ง ท่านพระอนุรุทธะอยู่ใกล้ริมฝั่งแม่น้ำสุตนุ เขตกรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ภิกษุจำนวนมากเข้าไปหาท่านพระอนุรุทธะถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอ
เป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้เรียนถามท่าน
พระอนุรุทธะดังนี้ว่า “ท่านอนุรุทธะได้ถึงความเป็นผู้มีอภิญญามาก เพราะธรรม
เหล่าไหนที่ท่านอนุรุทธะเจริญ ทำให้มากแล้ว”
ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า “ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ผมได้ถึงความเป็นผู้มี
อภิญญามาก เพราะสติปัฏฐาน ๔ ประการที่ผมเจริญ ทำให้มากแล้ว
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ในพระธรรมวินัยนี้ ผม
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ผมได้ถึงความเป็นผู้มีอภิญญามาก เพราะสติปัฏฐาน ๔
ประการนี้ที่ผมเจริญ ทำให้มากแล้ว อนึ่ง ผมได้รู้ธรรมเลวโดยความเป็นธรรมเลว
ได้รู้ธรรมปานกลางโดยความเป็นธรรมปานกลาง ได้รู้ธรรมประณีตโดยความเป็น
ธรรมประณีต เพราะสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่ผมเจริญ ทำให้มากแล้ว”

สุตนุสูตรที่ ๓ จบ

๔. ปฐมกัณฏกีสูตร
ว่าด้วยการสนทนาธรรมที่กัณฏกีวัน สูตรที่ ๑

[๙๐๒] สมัยหนึ่ง ท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระสารีบุตร และท่านพระมหา-
โมคคัลลานะอยู่ที่กัณฏกีวัน เขตเมืองสาเกต ครั้นในเวลาเย็น ท่านพระสารีบุตร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๘. อนุรุทธสังยุต]
๑. รโหคตวรรค ๕. ทุติยกัณฏกีสูตร

และท่านพระมหาโมคคัลลานะออกจากที่สงัดเข้าไปหาท่านพระอนุรุทธะถึงที่อยู่ ได้
สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร
ท่านพระสารีบุตรได้ถามท่านพระอนุรุทธะดังนี้ว่า “ท่านอนุรุทธะ ธรรมเหล่าไหนที่
ภิกษุผู้เสขะพึงเข้าถึงอยู่”
ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า “ท่านสารีบุตร สติปัฏฐาน ๔ ประการที่ภิกษุผู้เสขะ
พึงเข้าถึงอยู่
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ท่านสารีบุตร สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่ภิกษุผู้เสขะพึงเข้าถึงอยู่”

ปฐมกัณฏกีสูตรที่ ๔ จบ

๕. ทุติยกัณฏกีสูตร
ว่าด้วยการสนทนาธรรมที่กัณฏกีวัน สูตรที่ ๒

[๙๐๓] เรื่องเกิดขึ้นที่เมืองสาเกต
ท่านพระสารีบุตรนั่ง ณ ที่สมควรแล้ว ได้ถามท่านพระอนุรุทธดังนี้ว่า “ท่าน
อนุรุทธะ ธรรมเหล่าไหนที่ภิกษุผู้อเสขะพึงเข้าถึงอยู่”
ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า “ท่านสารีบุตร สติปัฏฐาน ๔ ประการที่ภิกษุผู้
อเสขะพึงเข้าถึงอยู่
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๘. อนุรุทธสังยุต]
๑. รโหคตวรรค ๖. ตติยกัณฏกีสูตร

๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ท่านพระสารีบุตร สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่ภิกษุผู้อเสขะพึงเข้าถึงอยู่”

ทุติยกัณฏกีสูตรที่ ๕ จบ

๖. ตติยกัณฏกีสูตร
ว่าด้วยการสนทนาธรรมที่กัณฏกีวัน สูตรที่ ๓

[๙๐๔] เรื่องเกิดขึ้นที่เมืองสาเกต
ท่านพระสารีบุตรนั่ง ณ ที่สมควรแล้ว ได้ถามท่านพระอนุรุทธะดังนี้ว่า “ท่าน
อนุรุทธะได้ถึงความเป็นผู้มีภิญญามาก เพราะธรรมเหล่าไหนที่ท่านอนุรุทธะเจริญ
ทำให้มากแล้ว”
ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า “ผู้มีอายุ ผมได้ถึงความเป็นผู้มีอภิญญามาก
เพราะสติปัฏฐาน ๔ ประการที่ผมเจริญ ทำให้มากแล้ว
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ในพระธรรมวินัยนี้ ผม
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๘. อนุรุทธสังยุต]
๑. รโหคตวรรค ๗. ตัณหากขยสูตร

ผู้มีอายุ ผมได้ถึงความเป็นผู้มีอภิญญามาก เพราะสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้
ที่ผมเจริญ ทำให้มากแล้ว อนึ่ง ผมรู้โลกตั้ง ๑,๐๐๐ โลกได้เพราะสติปัฏฐาน ๔
ประการนี้ที่ผมเจริญ ทำให้มากแล้ว”

ตติยกัณฏกีสูตรที่ ๖ จบ

๗. ตัณหากขยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อความสิ้นตัณหา

[๙๐๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ณ ที่นั้นแล ท่านพระอนุรุทธะเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า “ผู้มีอายุ
ทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระอนุรุทธะแล้ว ท่านพระอนุรุทธะจึงได้กล่าว
เรื่องนี้ว่า
“ผู้มีอายุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นตัณหา
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯลฯ
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ผู้มีอายุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นตัณหา”

ตัณหากขยสูตรที่ ๗ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๘. อนุรุทธสังยุต]
๑. รโหคตวรรค ๘. สลฬาคารสูตร

๘. สลฬาคารสูตร
ว่าด้วยธรรมเทศนาที่สลฬาคาร

[๙๐๖] สมัยหนึ่ง ท่านพระอนุรุทธะอยู่ ณ สลฬาคาร เขตกรุงสาวัตถี ณ
ที่นั้นแล ท่านพระอนุรุทธะเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ฯลฯ๑ ได้กล่าวคำนี้ว่า
“ผู้มีอายุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน
หลากไปสู่ทิศปราจีน เมื่อเป็นเช่นนั้น หมู่มหาชนพากันถือเอาจอบและตะกร้ามา
ด้วยประสงค์ว่า ‘จักทดแม่น้ำคงคานี้ให้ไหลไปข้างหลัง บ่าไปข้างหลัง หลากไป
ข้างหลัง’ ท่านทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร หมู่มหาชนนั้นจะพึงทดแม่
น้ำคงคาให้ไหลไปข้างหลัง บ่าไปข้างหลัง หลากไปข้างหลังได้หรือ”
ภิกษุเหล่านั้นตอบว่า “ไม่ได้ ขอรับ”
“ข้อนั้น เพราะเหตุไร”
“เพราะการจะทดแม่น้ำคงคาที่ไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน หลาก
ไปสู่ทิศปราจีน ให้ไหลไปข้างหลัง บ่าไปข้างหลัง หลากไปข้างหลังนั้น มิใช่ทำได้ง่าย
ทั้งหมู่มหาชนนั้นจะพึงมีส่วนแห่งความลำบาก เหน็ดเหนื่อยแน่นอน”
“ผู้มีอายุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น พระราชา มหาอำมาตย์ของ
พระราชา มิตร อำมาตย์ ญาติ สาโลหิตก็ตาม พึงเชื้อเชิญภิกษุผู้เจริญสติปัฏฐาน
๔ ประการ ทำสติปัฏฐาน ๔ ประการให้มาก ให้ยินดีด้วยโภคะว่า ‘เชิญเถิด
ท่านผู้เจริญ ผ้ากาสาวะเหล่านี้ทำให้ท่านเร่าร้อนมิใช่หรือ ท่านจะเป็นคนหัวโล้น
เที่ยวถือกระเบื้องไปทำไม เชิญเถิด เชิญท่านกลับมาเป็นคฤหัสถ์ใช้สอยโภคทรัพย์
และทำบุญเถิด”
“ผู้มีอายุทั้งหลาย เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุนั้นเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการ
ทำสติปัฏฐาน ๔ ประการให้มาก จะบอกคืนสิกขา กลับมาเป็นคฤหัสถ์ ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะเป็นไปไม่ได้เลยที่จิตอันน้อมไปในวิเวก โน้มไปในวิเวก โอนไป
ในวิเวกตลอดกาลนานแล้ว จักเวียนมาเพื่อเป็นคฤหัสถ์


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๘. อนุรุทธสังยุต]
๑. รโหคตวรรค ๙. อัมพปาลิวนสูตร

ภิกษุเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการ ทำสติปัฏฐาน ๔ ประการให้มาก อย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯลฯ
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการ ทำสติปัฏฐาน ๔ ประการ
ให้มาก อย่างนี้แล”

สลฬาคารสูตรที่ ๘ จบ

๙. อัมพปาลิวนสูตร
ว่าด้วยการสนทนาธรรมในอัมพปาลีวัน

[๙๐๗] สมัยหนึ่ง ท่านพระอนุรุทธะและท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ อัมพปาลีวัน
เขตกรุงเวสาลี ครั้นในเวลาเย็น ท่านพระสารีบุตรออกจากที่สงัด ฯลฯ๑ นั่ง ณ
ที่สมควร ได้ถามท่านพระอนุรุทธะดังนี้ว่า “ท่านอนุรุทธะ อินทรีย์ของท่านผ่องใส
ยิ่งนัก สีหน้าบริสุทธิ์ผุดผ่อง ขณะนี้ โดยมากท่านอยู่ด้วยวิหารธรรม (ธรรมเป็น
เครื่องอยู่) อะไร”
ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า “ผู้มีอายุ ขณะนี้ ผมมีจิตตั้งมั่นดีอยู่ในสติปัฏฐาน ๔
ประการ
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ในพระธรรมวินัยนี้ ผม
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๘. อนุรุทธสังยุต]
๑. รโหคตวรรค ๑๐. พาฬหคิลานสูตร

๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ผู้มีอายุ ขณะนี้ โดยมากผมมีจิตตั้งมั่นดีอยู่ในสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ ภิกษุ
ใดเป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระ
ได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นเพราะรู้โดย
ชอบ ภิกษุนั้นโดยมากชื่อว่ามีจิตตั้งมั่นดีอยู่ในสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้”
ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า “เป็นลาภของพวกเราหนอ พวกเราได้ดีแล้วที่ได้
ฟังเฉพาะหน้าท่านอนุรุทธะผู้กล่าวอาสภิวาจา๑อยู่”

อัมพปาลิวนสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. พาฬหคิลานสูตร
ว่าด้วยพระอนุรุทธะอาพาธหนัก

[๙๐๘] สมัยหนึ่ง ท่านพระอนุรุทธะอาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนักอยู่ ณ
ป่าอันธวัน เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุจำนวนมากเข้าไปหาท่านถึงที่อยู่แล้วได้
ถามท่านพระอนุรุทธะดังนี้ว่า “ท่านอนุรุทธะอยู่ด้วยวิหารธรรมอะไร ทุกขเวทนา
ทางกายที่เกิดขึ้นแล้ว จึงไม่ครอบงำจิตอยู่ได้”
ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย ผมมีจิตตั้งมั่นดีอยู่ในสติปัฏฐาน
๔ ประการ ทุกขเวทนาทางกายที่เกิดขึ้นแล้ว จึงไม่ครอบงำจิตอยู่ได้
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ในพระธรรมวินัยนี้ ผม
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯลฯ
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๘. อนุรุทธสังยุต]
๑. รโหคตวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ผู้มีอายุทั้งหลาย ผมมีจิตตั้งมั่นดีอยู่ในสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ ทุกขเวทนา
ทางกายที่เกิดขึ้นแล้ว จึงไม่ครอบงำจิตอยู่ได้”

พาฬหคิลานสูตรที่ ๑๐ จบ
รโหคตวรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมรโหคตสูตร ๒. ทุติยรโหคตสูตร
๓. สุตนุสูตร ๔. ปฐมกัณฏกีสูตร
๕. ทุติยกัณฏกีสูตร ๖. ตติยกัณฏกีสูตร
๗. ตัณหากขยสูตร ๘. สลฬาคารสูตร
๙. อัมพปาลิวนสูตร ๑๐. พาฬหคิลานสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๘. อนุรุทธสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๑. กัปปสหัสสสูตร

๒. ทุติยวรรค
หมวดที่ ๒
๑. กัปปสหัสสสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ทำให้ระลึกได้ตั้ง ๑,๐๐๐ กัป

[๙๐๙] สมัยหนึ่ง ท่านพระอนุรุทธะอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุจำนวนมากเข้าไปหาท่านพระอนุรุทธะ
ถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว ฯลฯ๑
เรียนถามท่านพระอนุรุทธะดังนี้ว่า
“ท่านอนุรุทธะได้ถึงความเป็นผู้มีอภิญญามาก เพราะธรรมเหล่าไหนที่ท่าน
อนุรุทธะเจริญ ทำให้มากแล้ว”
ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย ผมได้ถึงความเป็นผู้มีอภิญญา
มาก เพราะสติปัฏฐาน ๔ ประการที่ผมเจริญ ทำให้มากแล้ว
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ผม
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯลฯ
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ผู้มีอายุทั้งหลาย ผมได้ถึงความเป็นผู้มีอภิญญามาก เพราะสติปัฏฐาน ๔
ประการนี้ที่ผมเจริญ ทำให้มากแล้ว อนึ่ง ผมระลึกได้ตั้ง ๑,๐๐๐ กัป เพราะ
สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่ผมเจริญ ทำให้มากแล้ว”

กัปปสหัสสสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๘. อนุรุทธสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๔. เจโตปริยสูตร

๒. อิทธิวิธสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ทำให้แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง

[๙๑๐] ท่านพระอนุรุทธะกล่าวว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง ผมแสดงฤทธิ์
ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้ ฯลฯ๑ ใช้อำนาจทางกายไป
จนถึงพรหมโลกก็ได้ ก็เพราะสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่ผมเจริญ ทำให้มากแล้ว”

อิทธิวิธสูตรที่ ๒ จบ

๓. ทิพพโสตสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ทำให้มีหูทิพย์

[๙๑๑] “ผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง ผมได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ เสียงทิพย์
และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ด้วยหูทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ ก็เพราะ
สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่ผมเจริญ ทำให้มากแล้ว”

ทิพพโสตสูตรที่ ๓ จบ

๔. เจโตปริยสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ทำให้ได้เจโตปริยญาณ

[๙๑๒] “ผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง ผมกำหนดรู้ใจของสัตว์เหล่าอื่น ของบุคคล
เหล่าอื่นได้ด้วยใจ คือ จิตมีราคะก็รู้ว่าจิตมีราคะ ฯลฯ๒ จิตยังไม่หลุดพ้นก็รู้ว่าจิต
ยังไม่หลุดพ้น ก็เพราะสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่ผมเจริญ ทำให้มากแล้ว”

เจโตปริยสูตรที่ ๔ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๘. อนุรุทธสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๘. นานาธาตุสูตร

๕. ฐานสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ทำให้รู้ชัดฐานะและอฐานะ

[๙๑๓] “ผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง ผมรู้ชัดฐานะโดยเป็นฐานะ และอฐานะโดย
เป็นอฐานะตามความเป็นจริง ก็เพราะสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่ผมเจริญ ทำให้
มากแล้ว”

ฐานสูตรที่ ๕ จบ

๖. กัมมสมาทานสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ทำให้รู้ชัดวิบากแห่งการยึดถือกรรม

[๙๑๔] “ผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง ผมรู้ชัดวิบากแห่งการยึดถือกรรมทั้งที่เป็น
อดีต อนาคต และปัจจุบันโดยฐานะ โดยเหตุตามความเป็นจริง ก็เพราะสติปัฏฐาน
๔ ประการนี้ที่ผมเจริญ ทำให้มากแล้ว”

กัมมสมาทานสูตรที่ ๖ จบ

๗. สัพพัตถคามินีสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ทำให้รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงภูมิทั้งปวง

[๙๑๕] “ผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง ผมรู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงภูมิทั้งปวงตามความ
เป็นจริง ก็เพราะสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่ผมเจริญ ทำให้มากแล้ว”

สัพพัตถคามินีสูตรที่ ๗ จบ

๘. นานาธาตุสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ทำให้รู้ชัดโลกที่มีธาตุแตกต่างกัน

[๙๑๖] “ผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง ผมรู้ชัดโลกที่มีธาตุหลายชนิดและมีธาตุ
แตกต่างกันตามความเป็นจริง ก็เพราะสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่ผมเจริญ ทำให้
มากแล้ว”

นานาธาตุสูตรที่ ๘ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๘. อนุรุทธสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๑๑. ฌานาทิสูตร

๙. นานาธิมุตติสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ทำให้รู้ชัดหมู่สัตว์ที่มีอัธยาศัยต่างกัน

[๙๑๗] “ผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง ผมรู้ชัดว่า หมู่สัตว์มีอัธยาศัยต่างกันตาม
ความเป็นจริง ก็เพราะสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่ผมเจริญ ทำให้มากแล้ว”

นานาธิมุตติสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. อินทริยปโรปริยัตตสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ทำให้รู้ชัดความแก่อ่อนแห่งอินทรีย์

[๙๑๘] “ผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง ผมรู้ชัดว่า สัตว์เหล่าอื่นและบุคคลเหล่าอื่น
มีอินทรีย์แก่กล้าและอินทรีย์อ่อนตามความเป็นจริง ก็เพราะสติปัฏฐาน ๔
ประการนี้ที่ผมเจริญ ทำให้มากแล้ว”

อินทริยปโรปริยัตตสูตรที่ ๑๐ จบ

๑๑. ฌานาทิสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ทำให้รู้ชัดความเศร้าหมองแห่งฌานเป็นต้น

[๙๑๙] “ผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง ผมรู้ชัดความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว
แห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติ และการออกจากฌาน วิโมกข์ สมาธิ และ
สมาบัติตามความเป็นจริง ก็เพราะสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่ผมเจริญ ทำให้
มากแล้ว”

ฌานาทิสูตรที่ ๑๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๘. อนุรุทธสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๑๔. อาสวักขยสูตร

๑๒. ปุพเพนิวาสสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ทำให้ระลึกชาติก่อนได้

[๙๒๐] “ผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง ผมระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ชาติ ๑
บ้าง ๒ ชาติบ้าง ฯลฯ๑ ผมระลึกชาติก่อนได้หลายชาติพร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและ
ชีวประวัติอย่างนี้ ก็เพราะสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่ผมเจริญ ทำให้มากแล้ว”

ปุพเพนิวาสสูตรที่ ๑๒ จบ

๑๓. ทิพพจักขุสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ทำให้มีตาทิพย์

[๙๒๑] “ผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง ผมเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ(ตาย)และกำลัง
อุบัติ(เกิด)ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ ฯลฯ รู้สัตว์ทั้งหลายผู้เป็นไปตาม
อำนาจกรรม ฯลฯ๒ ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์อย่างนี้ ก็เพราะสติปัฏฐาน
๔ ประการนี้ที่ผมเจริญ ทำให้มากแล้ว”

ทิพพจักขุสูตรที่ ๑๓ จบ

๑๔. อาสวักขยสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ทำให้สิ้นอาสวะ

[๙๒๒] “ผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง ผมรู้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มี
อาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ก็เพราะสติ-
ปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่ผมเจริญ ทำให้มากแล้ว”

อาสวักขยสูตรที่ ๑๔ จบ
ทุติยวรรคที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๘. อนุรุทธสังยุต]
๒. ทุติยวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. กัปปสหัสสสูตร ๒. อิทธิวิธสูตร
๓. ทิพพโสตสูตร ๔. เจโตปริยสูตร
๕. ฐานสูตร ๖. กัมมสมาทานสูตร
๗. สัพพัตถคามินีสูตร ๘. นานาธาตุสูตร
๙. นานาธิมุตติสูตร ๑๐. อินทริยปโรปริยัตตสูตร
๑๑. ฌานาทิสูตร ๑๒. ปุพเพนิวาสสูตร
๑๓. ทิพพจักขุสูตร ๑๔. อาสวักขยสูตร

อนุรุทธสังยุตที่ ๘ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๙. ฌานสังยุต]
๑. คังคาเปยยาลวรรค ๑-๑๒. ฌานาทิสูตร

๙. ฌานสังยุต
๑. คังคาเปยยาลวรรค
หมวดว่าด้วยคังคาเปยยาล
๑-๑๒. ฌานาทิสูตร
ว่าด้วยฌานเป็นต้น

[๙๒๓-๙๓๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย ฌาน ๔ ประการนี้
ฌาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก
วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่
๒. เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสใน
ภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่
ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่
๓. เพราะปีติจางคลายไป มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวย
สุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยทั้งหลายสรรเสริญว่า
‘ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข’
๔. เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว
บรรลุจตุตถฌาน ที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์ เพราะ
อุเบกขาอยู่
ฌาน ๔ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน หลากไปสู่
ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเจริญฌาน ๔ ประการ ทำฌาน
๔ ประการให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๔๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๙. ฌานสังยุต]
๑. คังคาเปยยาลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ภิกษุเมื่อเจริญฌาน ๔ ประการ ทำฌาน ๔ ประการให้มาก ย่อมน้อม
ไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก
วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่
๒. เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ
๓. ... บรรลุตติยฌาน ฯลฯ
๔. ... บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญฌาน ๔ ประการ ทำฌาน ๔ ประการให้มาก
ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างนี้แล”

ฌานาทิสูตรที่ ๑-๑๒ จบ
คังคาเปยยาลวรรคที่ ๑ จบ๑

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมปาจีนนินนสูตร ๒-๕. ทุติยาทิปาจีนนินนสุตตจตุกกะ
๖. ฉัฏฐปาจีนนินนสูตร ๗. ปฐมสมุททนินนสูตร
๘-๑๒. ทุติยาทิสมุททนินนสุตตปัญจกะ

อัปปมาทวรรคพึงให้พิสดาร๒

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ตถาคตสูตร ๒. ปทสูตร
๓. อาสวสูตร ๔. มูลสูตร
๕. สารสูตร ๖. วัสสิกสูตร
๗. ราชาสูตร ๘. จันทิมสูตร
๙. สุริยสูตร ๑๐. วัตถสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๙. ฌานสังยุต]
๑. คังคาเปยยาลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

พลกรณียวรรคพึงให้พิสดาร๑

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. พลสูตร ๒. พีชสูตร
๓. ราคสูตร ๔. รุกขสูตร
๕. กุมภสูตร ๖. สูกสูตร
๗. อากาสสูตร ๘. ปฐมเมฆสูตร
๙. ทุติยเมฆสูตร ๑๐. นาวาสูตร
๑๑. อาคันตุกสูตร ๑๒. นทีสูตร

เอสนาวรรคพึงให้พิสดาร๒

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. เอสนาสูตร ๒. วิธาสูตร
๓. อาสวสูตร ๔. ภวสูตร
๕. ทุกขตาสูตร ๖. ขีลสูตร
๗. มลสูตร ๘. นีฆสูตร
๙. เวทนาสูตร ๑๐. ตัณหาสูตร
๑๑. ตสินาสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๙. ฌานสังยุต]
๕. โอฆวรรค ๑-๑๐. โอฆาทิสูตร

๕. โอฆวรรค
หมวดว่าด้วยโอฆะ
๑-๑๐. โอฆาทิสูตร
ว่าด้วยโอฆะเป็นต้น

[๙๖๗-๙๗๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อุทธัมภาคิยสังโยชน์
๕ ประการนี้
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปราคะ ๒. อรูปราคะ
๓. มานะ ๔. อุทธัจจะ
๕. อวิชชา
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญฌาน ๔ ประการ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้
เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้
ฌาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก
วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่
๒. เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌานที่มีความผ่องใสในภายใน
มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่
ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่
๓. ... บรรลุตติยฌาน ฯลฯ
๔. ... บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญฌาน ๔ ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้
เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้

ข้อความที่เหลือพึงให้พิสดารอย่างนี้

(พึงเพิ่มข้อความให้พิสดารเหมือนมัคคสังยุต)

โอฆวรรคที่ ๕ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๙. ฌานสังยุต]
๕. โอฆวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. โอฆสูตร ๒. โยคสูตร
๓. อุปาทานสูตร ๔. คันถสูตร
๕. อนุสยสูตร ๖. กามคุณสูตร
๗. นีวรณสูตร ๘. อุปาทานักขันธสูตร
๙. โอรัมภาคิยสูตร ๑๐. อุทธัมภาคิยสูตร

ฌานสังยุตที่ ๙ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๑. เอกธัมมวรรค ๑. เอกธัมมสูตร

๑๐. อานาปานสังยุต
๑. เอกธัมมวรรค
หมวดว่าด้วยธรรมอันเป็นเอก
๑. เอกธัมมสูตร
ว่าด้วยธรรมอันเป็นเอก

[๙๗๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ฯลฯ๑ จึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย
ธรรมอันเป็นเอกที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก
ธรรมอันเป็นเอก คืออะไร
คือ อานาปานสติ
อานาปานสติที่ภิกษุเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้
บัลลังก์๒ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า๓ มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก๔
อานาปานสติ ๑๖ ขั้น๕
๑. เมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว
เมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๑. เอกธัมมวรรค ๑. เอกธัมมสูตร

๒. เมื่อหายใจเข้าสั้นก็รู้ชัดว่าหายใจเข้าสั้น
เมื่อหายใจออกสั้นก็รู้ชัดว่าหายใจออกสั้น
๓. สำเหนียกว่า จะรู้ชัดกองลมทั้งปวง หายใจเข้า
สำเหนียกว่า จะรู้ชัดกองลมทั้งปวง หายใจออก
๔. สำเหนียกว่า จะระงับกายสังขาร หายใจเข้า
สำเหนียกว่า จะระงับกายสังขาร หายใจออก
๕. สำเหนียกว่า จะรู้ชัดปีติ หายใจเข้า
สำเหนียกว่า จะรู้ชัดปีติ หายใจออก
๖. สำเหนียกว่า จะรู้ชัดสุข หายใจเข้า
สำเหนียกว่า จะรู้ชัดสุข หายใจออก
๗. สำเหนียกว่า จะรู้ชัดจิตตสังขาร หายใจเข้า
สำเหนียกว่า จะรู้ชัดจิตตสังขาร หายใจออก
๘. สำเหนียกว่า จะระงับจิตตสังขาร หายใจเข้า
สำเหนียกว่า จะระงับจิตตสังขาร หายใจออก
๙. สำเหนียกว่า จะรู้ชัดจิต หายใจเข้า
สำเหนียกว่า จะรู้ชัดจิต หายใจออก
๑๐. สำเหนียกว่า จะยังจิตให้บันเทิง หายใจเข้า
สำเหนียกว่า จะยังจิตให้บันเทิง หายใจออก
๑๑. สำเหนียกว่า จะตั้งจิตมั่น หายใจเข้า
สำเหนียกว่า จะตั้งจิตมั่น หายใจออก
๑๒. สำเหนียกว่า จะเปลื้องจิต หายใจเข้า
สำเหนียกว่า จะเปลื้องจิต หายใจออก
๑๓. สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง หายใจเข้า
สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง หายใจออก
๑๔. สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความคลายออกได้ หายใจเข้า
สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความคลายออกได้ หายใจออก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๕๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๑. เอกธัมมวรรค ๒. โพชฌังคสูตร

๑๕. สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความดับไป หายใจเข้า
สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความดับไป หายใจออก
๑๖. สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจเข้า
สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจออก
ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติที่บุคคลเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้
จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก”

เอกธัมมสูตรที่ ๑ จบ

๒. โพชฌังคสูตร
ว่าด้วยการเจริญโพชฌงค์

[๙๗๘] “ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว มีผลมาก
มีอานิสงส์มาก
อานาปานสติที่ภิกษุเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยอานาปานสติ อันอาศัยวิเวก
อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
๒. เจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยอานาปานสติ ฯลฯ
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยอานาปานสติ อันอาศัย
วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้
จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก”

โพชฌังคสูตรที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๑. เอกธัมมวรรค ๔. ปฐมผลสูตร

๓. สุทธิกสูตร
ว่าด้วยอานาปานสติล้วน

[๙๗๙] “ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว มีผลมาก
มีอานิสงส์มาก
อานาปานสติที่ภิกษุเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์
ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก ฯลฯ๑
สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจเข้า สำเหนียกว่าจะพิจารณา
เห็นความสละคืน หายใจออก
ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้
จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก”

สุทธิกสูตรที่ ๓ จบ

๔. ปฐมผลสูตร
ว่าด้วยผลแห่งการเจริญอานาปานสติ สูตรที่ ๑

[๙๘๐] “ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว มีผลมาก
มีอานิสงส์มาก
อานาปานสติที่ภิกษุเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์
ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก ฯลฯ
สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจเข้า สำเหนียกว่า จะพิจารณา
เห็นความสละคืน หายใจออก


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๑. เอกธัมมวรรค ๕. ทุติยผลสูตร

อานาปานสติที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้ จึงมีผลมาก มี
อานิสงส์มาก
ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออานาปานสติที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้
พึงหวังผล ๑ อย่าง ใน ๒ อย่าง คือ อรหัตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมี
อุปาทานเหลืออยู่ ก็จักเป็นพระอนาคามี”

ปฐมผลสูตรที่ ๔ จบ

๕. ทุติยผลสูตร
ว่าด้วยผลแห่งการเจริญอานาปานสติ สูตรที่ ๒

[๙๘๑] “ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว มีผลมาก
มีอานิสงส์มาก
อานาปานสติที่ภิกษุเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์
ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก ฯลฯ
สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจเข้า สำเหนียกว่า จะพิจารณา
เห็นความสละคืน หายใจออก
ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้
จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออานาปานสติที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้
ภิกษุพึงหวังผลานิสงส์ ๗ ประการ
ผลานิสงส์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. จะได้บรรลุอรหัตตผลทันทีในปัจจุบัน
๒. หากปัจจุบันไม่ได้บรรลุ ก็จะได้บรรลุในเวลาใกล้ตาย
๓. หากปัจจุบันและในเวลาใกล้ตายยังไม่ได้บรรลุ ก็จะได้เป็นพระ
อนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๑. เอกธัมมวรรค ๖. อริฏฐสูตร

๔. ... ก็จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี
๕. ... ก็จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี
๖. ... ก็จะได้เป็นพระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี
๗. ... ก็จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี เพราะอุทธัม-
ภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการสิ้นไป
ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออานาปานสติที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้
ภิกษุพึงหวังผลานิสงส์ ๗ ประการนี้”๑

ทุติยผลสูตรที่ ๕ จบ

๖. อริฏฐสูตร
ว่าด้วยพระอริฏฐะ

[๙๘๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ฯลฯ ได้ตรัสถามภิกษุทั้งหลายดังนี้ว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายยังเจริญอานาปานสติอยู่หรือ” เมื่อพระผู้มีพระภาตตรัส
ถามอย่างนี้แล้ว ท่านพระอริฏฐะได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าพระองค์
ยังเจริญอานาปานสติอยู่ พระพุทธเจ้าข้า”
“อริฏฐะ เธอเจริญอานาปานสติอย่างไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กามฉันทะในกามทั้งหลายที่ล่วงไปแล้ว ข้าพระองค์
ก็ละได้แล้ว กามฉันทะในกามทั้งหลายที่ยังไม่มาถึงของข้าพระองค์ก็ไปปราศแล้ว
ปฏิฆสัญญาในธรรมทั้งหลายทั้งภายในทั้งภายนอก ข้าพระองค์ก็กำจัดแล้ว ข้าพระ
องค์มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก ข้าพระองค์เจริญอานาปานสติอยู่อย่างนี้
พระพุทธเจ้าข้า”
“อริฏฐะ อานาปานสตินั้นมีอยู่ เราไม่กล่าวว่าไม่มี แต่ว่าอานาปานสติจะ
ทำให้บริบูรณ์ได้โดยพิสดารด้วยวิธีใด เธอจงตั้งใจฟังวิธีนั้นให้ดี เราจักกล่าว”
ท่านพระอริฏฐะทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๑. เอกธัมมวรรค ๗. มหากัปปินสูตร

“อริฏฐะ อานาปานสติจะทำให้บริบูรณ์ได้โดยพิสดาร อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์
ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก เมื่อหายใจ
เข้ายาวก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว ฯลฯ สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน
หายใจเข้า สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจออก
อริฏฐะ อานาปานสติจะทำให้บริบูรณ์ได้โดยพิสดาร อย่างนี้แล”

อริฏฐสูตรที่ ๖ จบ

๗. มหากัปปินสูตร
ว่าด้วยพระมหากัปปินะ

[๙๘๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
สมัยนั้น ท่านพระมหากัปปินะนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า
ณ ที่ไม่ไกลจากพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นท่านพระ
มหากัปปินะนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า ณ ที่ไม่ไกล แล้วรับสั่ง
เรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเห็นกายของภิกษุ
นั้นไหวหรือเอนเอียงไหม”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เวลาใดข้าพระองค์ทั้งหลาย
เห็นท่านผู้มีอายุนั้นนั่งในท่ามกลางสงฆ์ หรือนั่งในที่สงัดตามลำพัง เวลานั้น
ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่เห็นกายของท่านผู้มีอายุนั้นไหวหรือเอนเอียง”
“ภิกษุทั้งหลาย การที่กายไม่ไหวหรือเอนเอียง หรือการที่จิตไม่ไหวหรือดิ้นรน
เพราะสมาธิใดที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว สมาธินั้นภิกษุนั้นได้ตามความปรารถนา
ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
การที่กายไม่ไหวหรือเอนเอียง หรือการที่จิตไม่ไหวหรือดิ้นรน เพราะ
สมาธิอย่างไหนที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๕๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๑. เอกธัมมวรรค ๘. ปทีโปปมสูตร

คือ การที่กายไม่ไหวหรือเอนเอียง หรือการที่จิตไม่ไหวหรือดิ้นรน เพราะ
อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว
เมื่ออานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว การที่กายไม่ไหว
หรือเอนเอียง หรือการที่จิตไม่ไหวหรือดิ้นรน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์
ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก ฯลฯ
สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจเข้า สำเหนียกว่าจะพิจารณา
เห็นความสละคืน หายใจออก
ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้ว
อย่างนี้ การที่กายไม่ไหวหรือเอนเอียง หรือการที่จิตไม่ไหวหรือดิ้นรน เป็นอย่าง
นี้แล”

มหากัปปินสูตรที่ ๗ จบ

๘. ปทีโปปมสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยประทีป

[๙๘๔] “ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว มี
ผลมาก มีอานิสงส์มาก
อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผล
มาก มีอานิสงส์มาก
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์
ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก เมื่อหายใจ
เข้ายาว ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว ฯลฯ สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน
หายใจเข้า สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจออก
ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้ว
อย่างนี้ จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๑. เอกธัมมวรรค ๘. ปทีโปปมสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า เมื่อก่อนเราเป็นโพธิสัตว์ ยังไม่ได้ตรัสรู้ โดยมากก็
อยู่ด้วยวิหารธรรม (ธรรมเป็นเครื่องอยู่) นี้ เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ กาย
ก็ไม่ลำบาก จักษุก็ไม่ลำบาก และจิตของเราก็หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพราะ
ไม่ถือมั่น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น หากภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงหวังว่า ‘แม้กาย
ของเราไม่พึงลำบาก จักษุของเราไม่พึงลำบาก และจิตของเราพึงหลุดพ้นจาก
อาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น’ ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แลให้ดี
หากภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงหวังว่า ‘เราพึงละความคิดถึงและความดำริอัน
อาศัยเรือนเสีย’ ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แลให้ดี
หากภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่
ปฏิกูลอยู่’ ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แลให้ดี
หากภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าไม่ปฏิกูลในสิ่ง
ปฏิกูลอยู่’ ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แลให้ดี
หากภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่
ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลอยู่’ ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แลให้ดี
หากภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าไม่ปฏิกูลในสิ่ง
ปฏิกูลและสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่’ ก็พึงมนสิการอานาปานสตินี้แลให้ดี
หากภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงหวังว่า ‘เราพึงเว้นทั้ง ๒ นั้น คือ สิ่งไม่ปฏิกูล
และสิ่งปฏิกูลแล้วเป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะอยู่’ ก็พึงมนสิการอานาปาน-
สติสมาธินี้แลให้ดี
หากภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงหวังว่า ‘เราพึงสงัดจากกามและอกุศลธรรม
ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่’ ก็พึง
มนสิการอานาปานสติสมาธินี้แลให้ดี
หากภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงหวังว่า ‘เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป เราพึงบรรลุ
ทุติยฌานที่มีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร
มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่’ ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แลให้ดี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๖๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๑. เอกธัมมวรรค ๘. ปทีโปปมสูตร

หากภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงหวังว่า ‘เพราะปีติจางคลายไป เราพึงมีอุเบกขา
มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลาย
สรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข’ ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้
แลให้ดี
หากภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงหวังว่า ‘เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัส
และโทมนัสดับไปก่อนแล้ว เราพึงบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์
เพราะอุเบกขาอยู่’ ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แลให้ดี
หากภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงหวังว่า ‘เราพึงบรรลุอากาสาณัญจายตนฌานโดย
กำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุดมิได้’ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนด
นานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง’ ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แลให้ดี
หากภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงหวังว่า ‘เราพึงล่วงอากาสาณัญจายตนฌานโดย
ประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’
ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แลให้ดี
หากภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงหวังว่า ‘เราพึงล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดย
ประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ ก็พึง
มนสิการอานาปานสติสมาธินี้แลให้ดี
หากภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงหวังว่า ‘เราพึงล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดย
ประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน’ ก็พึงมนสิการอานาปานสติ
สมาธินี้แลให้ดี
หากภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงหวังว่า ‘เราพึงล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
โดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ (สมาบัติที่ดับสัญญาและเวทนา)’ ก็พึง
มนสิการอานาปานสติสมาธินี้แลให้ดี
ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้ว
อย่างนี้ ถ้าเธอเสวยสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า ‘สุขเวทนานั้นไม่เที่ยง’ รู้ชัดว่า ‘ไม่น่า
หมกมุ่น’ รู้ชัดว่า ‘ไม่น่าเพลิดเพลิน’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๑. เอกธัมมวรรค ๙. เวสาลีสูตร

ถ้าเธอเสวยทุกขเวทนา ก็รู้ชัดว่า ‘ทุกขเวทนานั้นไม่เที่ยง’ รู้ชัดว่า ‘ไม่น่า
หมกมุ่น’ รู้ชัดว่า ‘ไม่น่าเพลิดเพลิน’
ถ้าเธอเสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า ‘อทุกขมสุขเวทนานั้นไม่เที่ยง’ รู้ชัดว่า
‘ไม่น่าหมกมุ่น’ รู้ชัดว่า ‘ไม่น่าเพลิดเพลิน’
ถ้าเธอเสวยสุขเวทนา ก็เป็นผู้ปราศจาก(กิเลส)เสวยสุขเวทนานั้น ถ้าเธอ
เสวยทุกขเวทนา ก็เป็นผู้ปราศจาก(กิเลส)เสวยทุกขเวทนานั้น ถ้าเธอเสวยอทุกขม-
สุขเวทนา ก็เป็นผู้ปราศจาก(กิเลส)เสวยอทุกขมสุขเวทนานั้น
เธอเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ก็รู้ชัดว่า ‘เราเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด’
เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ก็รู้ชัดว่า ‘เราเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด’ หลัง
จากตายไป ก็รู้ชัดว่า ‘เวทนาทั้งปวงไม่น่าเพลิดเพลิน จักเย็นในโลกนี้ทีเดียว’
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยน้ำมันและไส้ ตะเกียงน้ำมันจึงติดอยู่ได้ เพราะ
สิ้นน้ำมันและไส้ ตะเกียงน้ำมันก็หมดเชื้อดับไป แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน
เมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ก็รู้ชัดว่า ‘เราเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด’ เมื่อ
เสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ก็รู้ชัดว่า ‘เราเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด’ ก็รู้ชัดว่า
‘เวทนาทั้งปวงไม่น่าเพลิดเพลิน จักเย็นในโลกนี้ทีเดียว”

ปทีโปปมสูตรที่ ๘ จบ

๙. เวสาลีสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่กรุงเวสาลี

[๙๘๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขต
กรุงเวสาลี ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสสอนอสุภกัมมัฏฐาน ทรงพรรณนาคุณแห่ง
อสุภกัมมัฏฐาน ตรัสสรรเสริญการเจริญอสุภกัมมัฏฐานแก่ภิกษุทั้งหลายโดย
ประการต่าง ๆ
ต่อมา พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย
เราปรารถนาจะหลีกเร้นอยู่ผู้เดียวสักครึ่งเดือน ใคร ๆ อย่าเข้าไปหาเรา ยกเว้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๑. เอกธัมมวรรค ๙. เวสาลีสูตร

ภิกษุผู้นำอาหารบิณฑบาตเข้าไปให้รูปเดียว” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
ในครึ่งเดือนนี้ จึงไม่มีใคร ๆ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ยกเว้นภิกษุผู้นำอาหาร
บิณฑบาตเข้าไปถวายรูปเดียว
ลำดับนั้น ภิกษุเหล่านั้นสนทนากันว่า “พระผู้มีพระภาคตรัสสอนอสุภกัมมัฏ-
ฐาน ทรงพรรณนาคุณแห่งอสุภกัมมัฏฐาน ตรัสสรรเสริญการเจริญอสุภกัมมัฏฐาน
โดยประการต่าง ๆ” แล้วพากันประกอบความเพียรในการเจริญอสุภกัมมัฏฐาน
หลายประการ กระทั่งเกิดความรู้สึกอึดอัด เบื่อหน่าย รังเกียจร่างกายของตน จึง
พากันแสวงหาศัสตราสำหรับฆ่าตัวตาย วันเดียวภิกษุก็นำศัสตรามาฆ่าตัวตาย ๑๐
รูปบ้าง ฯลฯ ๓๐ รูปบ้าง
เมื่อครึ่งเดือนผ่านไป พระผู้มีพระภาคก็เสด็จออกจากที่หลีกเร้น รับสั่งเรียก
ท่านพระอานนท์มาตรัสถามว่า “อานนท์ ทำไมภิกษุสงฆ์จึงดูเหมือนจะน้อยลง”
ท่านพระอานนท์ทูลตอบว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุทั้งหลายสนทนากันว่า
‘พระผู้มีพระภาคตรัสสอนอสุภกัมมัฏฐาน ทรงพรรณนาคุณแห่งอสุภกัมมัฏฐาน
ตรัสสรรเสริญการเจริญอสุภกัมมัฏฐานโดยประการต่าง ๆ’ แล้วพากันประกอบ
ความเพียรในการเจริญอสุภกัมมัฏฐานหลายประการ กระทั่งเกิดความรู้สึกอึดอัด
เบื่อหน่าย รังเกียจร่างกายของตน จึงพากันแสวงหาศัสตราสำหรับฆ่าตัวตาย
วันเดียว ภิกษุก็นำศัสตรามาฆ่าตัวตาย ๑๐ รูปบ้าง ฯลฯ ๓๐ รูปบ้าง ขอ
ประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดตรัสบอกวิธีอื่นที่ภิกษุสงฆ์นี้จะพึง
ดำรงอยู่ในอรหัตตผลเถิด พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ ถ้าเช่นนั้น เธอจงเผดียงภิกษุเท่าที่อาศัย
กรุงเวสาลีอยู่ทั้งหมดให้ประชุมที่โรงอาหาร” ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระ
ดำรัสแล้วเผดียงภิกษุเท่าที่อาศัยกรุงเวสาลีอยู่ทั้งหมดให้ประชุมที่โรงอาหารแล้ว
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุสงฆ์ประชุมกันแล้ว ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทราบกาลอัน
สมควรในบัดนี้เถิด พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๑. เอกธัมมวรรค ๑๐. กิมิลสูตร

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จไปที่โรงอาหาร ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่
ปูลาดไว้ แล้วรับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ
สมาธิแม้นี้ ที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นสภาพสงบ ประณีต สดชื่น
เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุข และทำบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๆ ให้อันตรธานไป
สงบไปโดยเร็ว
ภิกษุทั้งหลาย ฝุ่นละอองที่ฟุ้งขึ้นท้ายฤดูร้อน ถูกฝนใหญ่นอกฤดูกาล ทำให้
อันตรธานไป สงบไปโดยเร็ว แม้ฉันใด อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญ ทำให้
มากแล้วก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นสภาพสงบ ประณีต สดชื่น เป็นธรรมเครื่องอยู่
เป็นสุข และทำบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๆ ให้อันตรธานไป สงบไปโดยเร็ว
อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงเป็น
สภาพสงบ ประณีต สดชื่น เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุข และทำบาปอกุศล-
ธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๆ ให้อันตรธานไป สงบไปโดยเร็ว
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้
บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก ฯลฯ
สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจเข้า สำเหนียกว่า จะพิจารณา
เห็นความสละคืน หายใจออก’
ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้
จึงเป็นสภาพสงบ ประณีต สดชื่น เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุข และทำบาปอกุศลธรรม
ที่เกิดขึ้นแล้ว ๆ ให้อันตรธานไป สงบไปโดยเร็ว”๑

เวสาลีสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. กิมิลสูตร
ว่าด้วยพระกิมิละ

[๙๘๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าไผ่ เขตเมืองกิมิลา ณ ที่นั้นแล
พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระกิมิละมาตรัสถามว่า “กิมิละ อานาปานสติ
สมาธิที่ภิกษุเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๑. เอกธัมมวรรค ๑๐. กิมิลสูตร

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสถามอย่างนี้ ท่านพระกิมิละได้นิ่งเฉย
แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระกิมิละมาตรัสถามว่า “กิมิละ
อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มี
อานิสงส์มาก” แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระกิมิละก็ได้นิ่งเฉย
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสถามอย่างนี้ ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ถึงเวลาที่พระองค์จะพึงตรัสอานาปานสติ-
สมาธิ ข้าแต่พระสุคต ถึงเวลาที่พระองค์จะพึงตรัสอานาปานสติสมาธิ ภิกษุทั้ง
หลายได้สดับจากพระองค์แล้วจักทรงจำไว้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ ถ้าเช่นนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เรา
จักกล่าว” ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
“อานนท์ อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร
จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้
บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก ฯลฯ
สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจเข้า สำเหนียกว่า จะพิจารณา
เห็นความสละคืน หายใจออก
อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้ จึงมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก
๑. สมัยใด ภิกษุเมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว หรือเมื่อ
หายใจออกยาวก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้าสั้นก็รู้ชัด
ว่าหายใจเข้าสั้น หรือเมื่อหายใจออกสั้นก็รู้ชัดว่าหายใจออกสั้น
สำเหนียกว่า จะรู้แจ้งกองลมทั้งปวง หายใจเข้า สำเหนียกว่า จะรู้
แจ้งกองลมทั้งปวง หายใจออก สำเหนียกว่า จะระงับกายสังขาร
หายใจเข้า สำเหนียกว่า จะระงับกายสังขาร หายใจออก สมัยนั้น
ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๑. เอกธัมมวรรค ๑๐. กิมิลสูตร

เพราะเรากล่าวกายอย่างหนึ่ง คือ ลมหายใจเข้าและลมหายใจ
ออก เพราะเหตุนั้น สมัยนั้น ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสใน
โลกได้
๒. สมัยใด ภิกษุสำเหนียกว่า จะรู้แจ้งปีติ หายใจเข้า สำเหนียกว่า
จะรู้แจ้งปีติ หายใจออก สำเหนียกว่า จะรู้แจ้งสุข หายใจเข้า
สำเหนียกว่า จะรู้แจ้งสุข หายใจออก สำเหนียกว่า จะรู้แจ้ง
จิตตสังขาร หายใจเข้า สำเหนียกว่า จะรู้แจ้งจิตตสังขาร หายใจ
ออก สำเนียกว่า จะระงับจิตตสังขาร หายใจเข้า สำเหนียกว่า
จะระงับจิตตสังขาร หายใจออก สมัยนั้น ภิกษุพิจารณาเห็น
เวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ
เรากล่าวเวทนาอย่างหนึ่ง คือ การมนสิการให้ดีถึงลมหายใจเข้า
และลมหายใจออก เพราะเหตุนั้น สมัยนั้น ภิกษุพิจารณาเห็น
เวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๓. สมัยใด ภิกษุสำเหนียกว่า จะรู้แจ้งจิต หายใจเข้า สำเหนียกว่า
จะรู้แจ้งจิต หายใจออก สำเหนียกว่า จะยังจิตให้บันเทิง หายใจ
เข้า ฯลฯ สำเหนียกว่า จะตั้งจิตมั่น หายใจออก สำเหนียกว่า
จะเปลื้องจิต หายใจเข้า สำเหนียกว่า จะเปลื้องจิต หายใจออก
สมัยนั้น ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเราไม่กล่าวการเจริญอานาปานสติสมาธิไว้ สำหรับผู้หลง
ลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะ เพราะเหตุนั้น สมัยนั้น ภิกษุ
พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๑. เอกธัมมวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๔. สมัยใด ภิกษุสำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง หายใจ
เข้า ฯลฯ สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความคลายออกได้
หายใจเข้า ... สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความดับไป หายใจ
เข้า ... สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจเข้า
สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจออก สมัยนั้น
ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ เธอเห็น
การละอภิชฌาและโทมนัสนั้นด้วยปัญญาแล้ววางเฉยอย่างดี
เพราะเหตุนั้น สมัยนั้น ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย
อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ
โทมนัสในโลกได้
อานนท์ ดินกองใหญ่ที่ถนนใหญ่ ๔ แยก ถ้าเกวียนหรือรถผ่านมาทางทิศ
ตะวันออก ก็จะกระทบดินกองนั้น ถ้าผ่านมาทางทิศตะวันตก ... ถ้าผ่านมาทาง
ทิศเหนือ ... ถ้าเกวียนหรือรถผ่านมาทางทิศใต้ ก็จะกระทบดินกองนั้น แม้ฉันใด
ภิกษุเมื่อพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ก็ดี ชื่อว่าย่อมกำจัดบาปอกุศลธรรมได้ เมื่อ
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ เมื่อพิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ เมื่อ
พิจาณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายก็ดี ชื่อว่าย่อมกำจัดบาปอกุศลธรรมได้ ก็ฉัน
นั้นเหมือนกัน”

กิมิลสูตรที่ ๑๐ จบ
เอกธัมมวรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. เอกธัมมสูตร ๒. โพชฌังคสูตร
๓. สุทธิกสูตร ๔. ปฐมผลสูตร
๕. ทุติยผลสูตร ๖. อริฏฐสูตร
๗. มหากัปปินสูตร ๘. ปทีโปปมสูตร
๙. เวสาลีสูตร ๑๐. กิมิลสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๑. อิจฉานังคลสูตร

๒. ทุติยวรรค
หมวดที่ ๒
๑. อิจฉานังคลสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่กรุงอิจฉานังคละ

[๙๘๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ไพรสณฑ์ชื่ออิจฉานังคละ
เขตกรุงอิจฉานังคละ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เราปรารถนาจะหลีกเร้นอยู่ผู้เดียวสัก ๓ เดือน ใคร ๆ อย่าเข้า
ไปหาเรา ยกเว้นภิกษุผู้นำอาหารบิณฑบาตเข้าไปให้รูปเดียว” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับ
สนองพระดำรัสแล้ว ใน ๓ เดือนนี้ จึงไม่มีใคร ๆ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเลย
ยกเว้นภิกษุผู้นำอาหารบิณฑบาตเข้าไปถวายรูปเดียว
ครั้นล่วง ๓ เดือนนั้นไป พระผู้มีพระภาคก็เสด็จออกจากที่หลีกเร้นแล้ว รับสั่ง
เรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกพึงถาม
เธอทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย โดยมากพระสมณโคดมทรงอยู่จำพรรษา
ด้วยวิหารธรรมข้อไหน’ เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้พึงตอบอัญเดียรถีย์ปริพาชก
เหล่านั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย โดยมากพระผู้มีพระภาคทรงอยู่จำพรรษาด้วย
อานาปานสติสมาธิ’ ภิกษุทั้งหลาย ขณะนี้เรามีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก
เมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว หรือเมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่าหายใจ
ออกยาว เมื่อหายใจเข้าสั้นก็รู้ชัดว่าหายใจเข้าสั้น หรือเมื่อหายใจออกสั้นก็รู้ชัดว่า
หายใจออกสั้น ย่อมรู้ชัดว่า จะรู้แจ้งกองลมทั้งปวง หายใจเข้า ฯลฯ ย่อมรู้ชัดว่า
จะพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจเข้า จะพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจออก
ภิกษุทั้งหลาย ความจริง บุคคลเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้อง พึงกล่าวถึงธรรม
นั้นใดว่า อริยวิหาร (ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระอริยะ) บ้าง พรหมวิหาร (ธรรม
เป็นเครื่องอยู่ของพรหม) บ้าง ตถาคตวิหาร (ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระตถาคต)
บ้าง เมื่อจะกล่าวให้ถูกต้อง ก็พึงกล่าวถึงอานาปานสติสมาธิว่า อริยวิหารบ้าง
พรหมวิหารบ้าง ตถาคตวิหารบ้าง ภิกษุเหล่าใดเป็นพระเสขะยังไม่บรรลุอรหัตตผล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๒. กังเขยยสูตร

ย่อมปรารถนาธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมอยู่ อานาปานสติสมาธิที่
ภิกษุเหล่านั้นเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ ส่วนภิกษุ
เหล่าใดเป็นอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลง
ภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นแล้ว
เพราะรู้โดยชอบ อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเหล่านั้นเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อม
เป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในปัจจุบันและเพื่อมีสติ มีสัมปชัญญะ
ภิกษุทั้งหลาย ความจริง บุคคลเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้อง พึงกล่าวถึงธรรมนั้น
ใดว่า อริยวิหารบ้าง พรหมวิหารบ้าง ตถาคตวิหารบ้าง เมื่อจะกล่าวให้ถูกต้อง
ก็พึงกล่าวถึงอานาปานสติสมาธิว่า อริยวิหารบ้าง พรหมวิหารบ้าง ตถาคตวิหารบ้าง”

อิจฉานังคลสูตรที่ ๑ จบ

๒. กังเขยยสูตร
ว่าด้วยข้อกังขาของเจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะ

[๙๘๘] สมัยหนึ่ง ท่านพระโลมสกังภิยะอยู่ที่นิโครธาราม เขตกรุงกบิลพัสดุ์
แคว้นสักกะ ครั้งนั้น เจ้าศากยะทรงพระนามว่ามหานามะ เสด็จเข้าไปหาท่าน
พระโลมสกังภิยะถึงที่อยู่ ทรงอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร ได้ตรัสถามท่าน
พระโลมสกังภิยะดังนี้ว่า “พระคุณเจ้าผู้เจริญ เสขวิหารธรรม (ธรรมเป็นเครื่องอยู่
ของพระเสขะ) กับตถาคตวิหารธรรมเป็นอย่างเดียวกันหรือ หรือว่าเสขวิหารธรรม
เป็นอย่างหนึ่ง ตถาคตวิหารธรรมเป็นอีกอย่างหนึ่ง”
ท่านพระโลมสกังภิยะ ถวายพระพรว่า “ขอถวายพระพร มหาบพิตร
เสขวิหารธรรมกับตถาคตวิหารธรรมไม่ใช่อย่างเดียวกัน เสขวิหารธรรมเป็นอย่าง
หนึ่ง ตถาคตวิหารธรรมเป็นอีกอย่างหนึ่ง
มหาบพิตร ภิกษุเหล่าใดเป็นพระเสขะยังไม่บรรลุอรหัตตผล ปรารถนาธรรม
เป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมอยู่ ภิกษุเหล่านั้นชื่อว่าละนิวรณ์ ๕ ประการอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๒. กังเขยยสูตร

ละนิวรณ์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ละกามฉันทนิวรณ์อยู่ ๒. ละพยาบาทนิวรณ์อยู่
๓. ละถีนมิทธนิวรณ์อยู่ ๔. ละอุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์อยู่
๕. ละวิจิกิจฉานิวรณ์อยู่
ภิกษุเหล่าใดเป็นพระเสขะยังไม่บรรลุอรหัตตผล ปรารถนาธรรมเป็นแดนเกษม
จากโยคะอันยอดเยี่ยมอยู่ ภิกษุเหล่านั้นชื่อว่าละนิวรณ์ ๕ ประการนี้อยู่
มหาบพิตร ส่วนภิกษุเหล่าใดเป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้น
ภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นเพราะรู้โดยชอบ นิวรณ์ ๕ ประการเป็นอันภิกษุเหล่านั้น
ละได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่
พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
นิวรณ์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กามฉันทนิวรณ์เป็นอันภิกษุเหล่านั้นละได้เด็ดขาด ตัดรากถอน
โคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดราถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำ
ให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
๒. พยาบาทนิวรณ์...
๓. ถีนมิทธนิวรณ์...
๔. อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์...
๕. วิจิกิจฉานิวรณ์เป็นอันภิกษุเหล่านั้นละได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคน
เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้
ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
มหาบพิตร ภิกษุเหล่าใดเป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้น
ภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นเพราะรู้โดยชอบ นิวรณ์ ๕ ประการนี้เป็นอันภิกษุเหล่า
นั้นละได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือ
แต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ขอพระองค์ทรงทราบเรื่องนี้โดยปริยายที่ว่า
เสขวิหารธรรมเป็นอย่างหนึ่ง ตถาคตวิหารธรรมก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๒. กังเขยยสูตร

มหาบพิตร สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ไพรสณฑ์ชื่ออิจฉานังคละ
เขตกรุงอิจฉานังคละ ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
‘ภิกษุทั้งหลาย เราปรารถนาจะหลีกเร้นอยู่คนเดียวสัก ๓ เดือน ใคร ๆ อย่าเข้า
ไปหาเรา ยกเว้นภิกษุผู้นำอาหารบิณฑบาตเข้าไปให้รูปเดียว’ ภิกษุเหล่านั้นทูลรับ
สนองพระดำรัสแล้ว ใน ๓ เดือนนี้ จึงไม่มีใคร ๆ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเลย
ยกเว้นภิกษุผู้นำอาหารบิณฑบาตเข้าไปถวายรูปเดียว
ครั้นล่วง ๓ เดือนนั้นไป พระผู้มีพระภาคก็เสด็จออกจากที่หลีกเร้นแล้ว รับสั่ง
เรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกพึงถาม
เธอทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย โดยมากพระสมณโคดมทรงอยู่จำพรรษา
ด้วยวิหารธรรมข้อไหน’ เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้พึงตอบอัญญเดียรถีย์ปริพาชก
เหล่านั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย โดยมากพระผู้มีพระภาคทรงอยู่จำพรรษาด้วย
อานาปานสติสมาธิ’
ภิกษุทั้งหลาย ขณะนี้เรามีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก เมื่อหายใจเข้ายาว
ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว หรือเมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว ฯลฯ
ย่อมรู้ชัดว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจเข้า จะพิจารณาเห็นความสละคืน
หายใจออก
ภิกษุทั้งหลาย ความจริง บุคคลเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้อง พึงกล่าวถึงธรรมนั้น
ใดว่า อริยวิหารบ้าง พรหมวิหารบ้าง ตถาคตวิหารบ้าง เมื่อจะกล่าวให้ถูกต้อง
พึงกล่าวถึงอานาปานสติสมาธิว่า อริยวิหารบ้าง พรหมวิหารบ้าง ตถาคตวิหารบ้าง
ภิกษุเหล่าใดเป็นเสขะยังไม่บรรลุอรหัตตผล ปรารถนาธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะ
อันยอดเยี่ยมอยู่ อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเหล่านั้นเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป
เพื่อความสิ้นอาสวะ ส่วนภิกษุเหล่าใดเป็นอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้น
ภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นเพราะรู้โดยชอบ อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเหล่านั้นเจริญ
ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบันและเพื่อมีสติ มีสัมปชัญญะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๓. ปฐมอานันทสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ความจริง บุคคลเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้อง พึงกล่าวถึงธรรมนั้น
ใดว่า อริยวิหารบ้าง พรหมวิหารบ้าง ตถาคตวิหารบ้าง เมื่อจะกล่าวให้ถูกต้อง
ก็พึงกล่าวถึงอานาปานสติสมาธิว่า อริยวิหารบ้าง พรหมวิหารบ้าง ตถาคตวิหาร
บ้าง’
ขอถวายพระพร มหาบพิตร ขอพระองค์ทรงทราบเรื่องนี้โดยปริยายที่ว่า
เสขวิหารธรรมเป็นอย่างหนึ่ง ตถาคตวิหารธรรมก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง”

กังเขยยสูตรที่ ๒ จบ

๓. ปฐมอานันทสูตร
ว่าด้วยพระอานนท์ สูตรที่ ๑

[๙๘๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ธรรมอันเป็นเอกที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม ๔ ประการบริบูรณ์ ธรรม
๔ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม ๗ ประการบริบูรณ์ ธรรม ๗
ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม ๒ ประการบริบูรณ์ มีอยู่หรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ ธรรมอันเป็นเอกที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว
ทำให้ธรรม ๔ ประการบริบูรณ์ ธรรม ๔ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว
ทำให้ธรรม ๗ ประการบริบูรณ์ ธรรม ๗ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว
ทำให้ธรรม ๒ ประการบริบูรณ์ มีอยู่”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมอันเป็นเอกที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้
ธรรม ๔ ประการบริบูรณ์ ธรรม ๔ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม
๗ ประการบริบูรณ์ ธรรม ๗ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม ๒
ประการบริบูรณ์ เป็นอย่างไร”
“อานนท์ ธรรมอันเป็นเอกคืออานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว
ทำให้สติปัฏฐาน ๔ ประการบริบูรณ์ สติปัฏฐาน ๔ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้
มากแล้ว ทำให้โพชฌงค์ ๗ ประการบริบูรณ์ โพชฌงค์ ๗ ประการที่ภิกษุเจริญ
ทำให้มากแล้ว ทำให้วิชชาและวิมุตติบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๓. ปฐมอานันทสูตร

อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงทำให้
สติปัฏฐาน ๔ ประการบริบูรณ์
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้
บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก
เมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว หรือเมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่าหายใจ
ออกยาว ฯลฯ สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจเข้า จะพิจารณา
เห็นความสละคืน หายใจออก
๑. สมัยใด ภิกษุเมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว หรือ
เมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้าสั้นก็
รู้ชัดว่าหายใจเข้าสั้น หรือเมื่อหายใจออกสั้นก็รู้ชัดว่าหายใจออกสั้น
ฯลฯ สำเหนียกว่า จะระงับกายสังขาร หายใจเข้า จะระงับ
กายสังขาร หายใจออก สมัยนั้น ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัส
ในโลกได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเรากล่าวกายอย่างหนึ่ง คือ
ลมหายใจเข้าและลมหายใจออก เพราะเหตุนั้น สมัยนั้น ภิกษุ
พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. สมัยใด ภิกษุสำเหนียกว่า จะรู้แจ้งปีติ หายใจเข้า สำเหนียกว่า
จะรู้แจ้งปีติ หายใจออก ฯลฯ จะรู้แจ้งสุข ... จะรู้แจ้งจิตตสังขาร
... สำเหนียกว่า จะระงับจิตตสังขาร หายใจเข้า สำเหนียกว่า
จะระงับจิตตสังขาร หายใจออก สมัยนั้น ภิกษุพิจารณาเห็น
เวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ
เรากล่าวเวทนาอย่างหนึ่ง คือ การมนสิการให้ดีถึงลมหายใจ
เข้าและลมหายใจออก เพราะเหตุนั้น สมัยนั้น ภิกษุพิจารณาเห็น
เวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๗๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๓. ปฐมอานันทสูตร

๓. สมัยใด ภิกษุสำเหนียกว่า จะรู้แจ้งจิต หายใจเข้า สำเหนียกว่า
จะรู้แจ้งจิต หายใจออก สำเหนียกว่า จะยังจิตให้บันเทิงหายใจเข้า
ฯลฯ จะตั้งจิตมั่น ... สำเหนียกว่า จะเปลื้องจิต หายใจเข้า
สำเหนียกว่า จะเปลื้องจิต หายใจออก สมัยนั้น ภิกษุพิจารณาเห็น
จิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา
และโทมนัสในโลกได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเราไม่กล่าวการ
เจริญอานาปานสติสมาธิไว้สำหรับผู้หลงลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะ
เพราะเหตุนั้น สมัยนั้น ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความ
เพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๔. สมัยใด ภิกษุสำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง ฯลฯ
จะพิจารณาเห็นความคลายออกได้ ... จะพิจารณาเห็นความ
ดับไป ... สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจเข้า
สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจออก สมัยนั้น
ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ เธอเห็น
การละอภิชฌาและโทมนัสนั้นด้วยปัญญาแล้ววางเฉยอย่างดี
เพราะเหตุนั้น สมัยนั้น ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย
อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ
โทมนัสในโลกได้
อานนท์ อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้
จึงทำให้สติปัฏฐาน ๔ ประการบริบูรณ์
สติปัฏฐาน ๔ ประการที่ภิกษุเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึง
ทำให้โพชฌงค์ ๗ ประการบริบูรณ์ คือ
๑. สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ สมัยนั้น สติของเธอ
ตั้งมั่น ไม่หลงลืม
(๑) สมัยใด สติของภิกษุย่อมตั้งมั่น ไม่หลงลืม สมัยนั้น สติ-
สัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุเจริญสติ-
สัมโพชฌงค์ สติสัมโพชฌงค์จึงถึงความเจริญเต็มที่แก่ภิกษุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๓. ปฐมอานันทสูตร

(๒) เธอมีสติอยู่อย่างนั้น ค้นหาพิจารณาสอดส่องธรรมนั้น
ด้วยปัญญา สมัยใด ภิกษุมีสติอยู่อย่างนั้น ค้นหา
พิจารณาสอดส่องธรรมนั้นด้วยปัญญา สมัยนั้น ธัมม-
วิจยสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุเจริญ
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์จึงถึงความเจริญ
เต็มที่แก่ภิกษุ
(๓) เมื่อเธอค้นหาพิจารณาสอดส่องธรรมนั้นด้วยปัญญา
ความเพียรอันไม่ย่อหย่อนชื่อว่าเป็นอันปรารภแล้ว สมัยใด
ความเพียรไม่ย่อหย่อนเป็นอันภิกษุผู้ค้นคว้าพิจารณาสอด
ส่องธรรมนั้นด้วยปัญญาปรารภแล้ว สมัยนั้น วิริย-
สัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุเจริญวิริย-
สัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์จึงถึงความเจริญเต็มที่แก่ภิกษุ
(๔) ปีติไม่มีอามิสย่อมเกิดแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียร สมัยใด
ปีติไม่มีอามิสเกิดแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียร สมัยนั้น
ปีติสัมโพชฌงค์ เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุเจริญปีติ-
สัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์จึงถึงความเจริญเต็มที่แก่
ภิกษุ
(๕) แม้กายของภิกษุผู้มีใจมีปีติย่อมระงับ แม้จิตก็ระงับ สมัยใด
แม้กายของภิกษุผู้มีใจมีปีติย่อมระงับ แม้จิตก็ระงับ สมัย
นั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุ
เจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ปัสสิทธิสัมโพชฌงค์จึงถึงความ
เจริญเต็มที่แก่ภิกษุ
(๖) จิตของภิกษุผู้มีกายระงับ มีสุข ย่อมตั้งมั่น สมัยใด จิต
ของภิกษุผู้มีกายระงับ มีสุข ย่อมตั้งมั่น สมัยนั้น สมาธิ
สัมโพชฌงค์ เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุเจริญสมาธิ
สัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์จึงถึงความเจริญเต็มที่
แก่ภิกษุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๗๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๓. ปฐมอานันทสูตร

(๗) เธอย่อมเพ่งจิตที่ตั้งมั่นเช่นนั้นอย่างดี สมัยใด ภิกษุย่อม
เพ่งจิตที่ตั้งมั่นเช่นนั้นอย่างดี สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์
ชื่อว่าเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์
อุเบกขาสัมโพชฌงค์จึงถึงความเจริญเต็มที่แก่ภิกษุ
๒. สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ สมัยนั้น
สติของเธอย่อมตั้งมั่น ไม่หลงลืม
(๑) สมัยใด สติของภิกษุย่อมตั้งมั่น ไม่หลงลืม สมัยนั้น
สติสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุเจริญสติ-
สัมโพชฌงค์ สติสัมโพชฌงค์จึงถึงความเจริญเต็มที่แก่ภิกษุ
(พึงเพิ่มข้อความให้พิสดารเหมือนสติปัฏฐานข้อต้น)
(๗) เธอย่อมเพ่งจิตที่ตั้งมั่นเช่นนั้นอย่างดี สมัยใด ภิกษุย่อม
เพ่งจิตที่ตั้งมั่นเช่นนั้นอย่างดี สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์
เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์
อุเบกขาสัมโพชฌงค์จึงถึงความเจริญเต็มที่แก่ภิกษุ
สติปัฏฐาน ๔ ประการที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้ จึงทำ
ให้โพชฌงค์ ๗ ประการบริบูรณ์
โพชฌงค์ ๗ ประการที่ภิกษุเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึง
ทำให้วิชชาและวิมุตติบริบูรณ์
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ
๒. เจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๗๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๔. ทุติยอานันทสูตร

๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ
อานนท์ โพชฌงค์ ๗ ประการที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้
จึงทำให้วิชชาและวิมุตติบริบูรณ์”

ปฐมอานันทสูตรที่ ๓ จบ

๔. ทุติยอานันทสูตร
ว่าด้วยพระอานนท์ สูตรที่ ๒

[๙๙๐] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านพระอานนท์
ดังนี้ว่า “อานนท์ ธรรมอันเป็นเอกที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม ๔
ประการบริบูรณ์ ธรรม ๔ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม ๗
ประการบริบูรณ์ ธรรม ๗ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม ๒
ประการบริบูรณ์ มีอยู่หรือ”
ท่านพระอานนท์ทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ๑
“อานนท์ ธรรมอันเป็นเอกที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม ๔
ประการบริบูรณ์ ธรรม ๔ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม ๗
ประการบริบูรณ์ ธรรม ๗ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม ๒
ประการบริบูรณ์ มีอยู่
ธรรมอันเป็นเอกที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม ๔ ประการ
บริบูรณ์ ธรรม ๔ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม ๗
ประการบริบูรณ์ ธรรม ๗ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม ๒
ประการบริบูรณ์ เป็นอย่างไร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๕. ปฐมภิภขุสูตร

คือ ธรรมอันเป็นเอกคืออานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว
ทำให้สติปัฏฐาน ๔ ประการบริบูรณ์ สติปัฏฐาน ๔ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำ
ให้มากแล้ว ทำให้โพชฌงค์ ๗ ประการบริบูรณ์ โพชฌงค์ ๗ ประการที่ภิกษุเจริญ
ทำให้มากแล้ว ทำให้วิชชาและวิมุตติบริบูรณ์
อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงทำให้
สติปัฏฐาน ๔ ประการบริบูรณ์
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไปสู่ป่าก็ดี ฯลฯ
อานนท์ โพชฌงค์ ๗ ประการที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้
จึงทำให้วิชชาและวิมุตติบริบูรณ์”

ทุติยอานันทสูตรที่ ๔ จบ

๕. ปฐมภิกขุสูตร
ว่าด้วยภิกษุ สูตรที่ ๑

[๙๙๑] ครั้งนั้น ภิกษุหลายรูปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ธรรมอันเป็นเอกที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม ๔ ประการบริบูรณ์
ธรรม ๔ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม ๗ ประการบริบูรณ์
ธรรม ๗ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม ๒ ประการบริบูรณ์
มีอยู่หรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันเป็นเอกที่ภิกษุเจริญ ทำ
ให้มากแล้ว ทำให้ธรรม ๔ ประการบริบูรณ์ ธรรม ๔ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำ
ให้มากแล้ว ทำให้ธรรม ๗ ประการบริบูรณ์ ธรรม ๗ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำ
ให้มากแล้ว ทำให้ธรรม ๒ ประการบริบูรณ์ มีอยู่”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมอันเป็นเอกที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้
ธรรม ๔ ประการบริบูรณ์ ธรรม ๔ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้
ธรรม ๗ ประการบริบูรณ์ ธรรม ๗ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้
ธรรม ๒ ประการบริบูรณ์ เป็นอย่างไร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๗๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๖. ทุติยภิกขุสูตร

“ภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันเป็นเอกคืออานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญ ทำให้
มากแล้ว ทำให้สติปัฏฐาน ๔ ประการบริบูรณ์ สติปัฏฐาน ๔ ประการที่ภิกษุเจริญ
ทำให้มากแล้ว ทำให้โพชฌงค์ ๗ ประการบริบูรณ์ โพชฌงค์ ๗ ประการที่ภิกษุเจริญ
ทำให้มากแล้ว ทำให้วิชชาและวิมุตติบริบูรณ์
อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงทำให้
สติปัฏฐาน ๔ ประการบริบูรณ์
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไปสู่ป่าก็ดี ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้ว
อย่างนี้ จึงทำให้วิชชาและวิมุตติบริบูรณ์”

ปฐมภิกขุสูตรที่ ๕ จบ

๖. ทุติยภิกขุสูตร
ว่าด้วยภิกษุ สูตรที่ ๒

[๙๙๒] ครั้งนั้น ภิกษุหลายรูปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุทั้งหลายดังนี้ว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย ธรรมอันเป็นเอกที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม ๔ ประการ
บริบูรณ์ ธรรม ๔ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม ๗ ประการ
บริบูรณ์ ธรรม ๗ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม ๒ ประการ
บริบูรณ์ มีอยู่หรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ ภิกษุทั้งหลายได้สดับจากพระผู้มีพระภาค
แล้วจักทรงจำไว้”
“ภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันเป็นเอกที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม ๔
ประการบริบูรณ์ ธรรม ๔ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม ๗
ประการบริบูรณ์ ธรรม ๗ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม ๒
ประการบริบูรณ์ มีอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๘๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๖. ทุติยภิกขุสูตร

ธรรมอันเป็นเอกที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม ๔ ประการ
บริบูรณ์ ธรรม ๔ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม ๗
ประการบริบูรณ์ ธรรม ๗ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม ๒
ประการบริบูรณ์ เป็นอย่างไร
คือ ธรรมอันเป็นเอกคืออานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว
ทำให้สติปัฏฐาน ๔ ประการบริบูรณ์ สติปัฏฐาน ๔ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำ
ให้มากแล้ว ทำให้โพชฌงค์ ๗ ประการบริบูรณ์ โพชฌงค์ ๗ ประการที่ภิกษุ
เจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้วิชชาและวิมุตติบริบูรณ์
อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงทำให้
สติปัฏฐาน ๔ ประการบริบูรณ์
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้
บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก ฯลฯ
สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจเข้า สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็น
ความสละคืน หายใจออก
๑. สมัยใด ภิกษุเมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว หรือ
เมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้าสั้นก็
รู้ชัดว่าหายใจเข้าสั้น ฯลฯ สำเหนียกว่า จะรู้แจ้งกองลมทั้งปวง
ฯลฯ สำเหนียกว่า จะระงับกายสังขาร หายใจเข้า สำเหนียกว่า
จะระงับกายสังขาร หายใจออก สมัยนั้น ภิกษุพิจารณาเห็น
กายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด
อภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเรา
กล่าวกายอย่างหนึ่ง คือลมหายใจเข้าและลมหายใจออก
เพราะเหตุนั้น สมัยนั้น ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มี
ความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสใน
โลกได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๖. ทุติยภิกขุสูตร

๒. สมัยใด ภิกษุสำเหนียกว่า จะรู้แจ้งปีติ ฯลฯ จะรู้แจ้งสุข ฯลฯ
จะรู้แจ้งจิตตสังขาร ฯลฯ สำเหนียกว่า จะระงับจิตตสังขาร
หายใจเข้า สำเหนียกว่า จะระงับจิตตสังขาร หายใจออก สมัยนั้น
ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะเรากล่าวเวทนาอย่างหนึ่ง คือ การมนสิการ
ให้ดีถึงลมหายใจเข้าและลมหายใจออก เพราะเหตุนั้น สมัยนั้น
ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๓. สมัยใด ภิกษุสำเหนียกว่า จะรู้แจ้งจิต ฯลฯ จะยังจิตให้บันเทิง
ฯลฯ สำเหนียกว่า จะตั้งจิตมั่น หายใจเข้า สำเหนียกว่า จะตั้ง
จิตมั่น หายใจออก สำเหนียกว่า จะเปลื้องจิต หายใจเข้า
สำเหนียกว่า จะเปลื้องจิต หายใจออก สมัยนั้น ภิกษุ
พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ
เราไม่กล่าวการเจริญอานาปานสติสมาธิไว้สำหรับผู้หลงลืมสติ
ไม่มีสัมปชัญญะ เพราะเหตุนั้น สมัยนั้น ภิกษุพิจารณาเห็นจิต
ในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ
โทมนัสในโลกได้
๔. สมัยใด ภิกษุสำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง ฯลฯ
จะพิจารณาเห็นความคลายออกได้ ฯลฯ จะพิจารณาเห็นความ
ดับไป ฯลฯ สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน หาย
ใจเข้า สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจออก
สมัยนั้น ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความ
เพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
เธอเห็นการละอภิชฌาและโทมนัสนั้นด้วยปัญญาแล้ววางเฉยอย่างดี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๖. ทุติยภิกขุสูตร

เพราะเหตุนั้น สมัยนั้น ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย
อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ
โทมนัสในโลกได้
ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้
จึงทำให้สติปัฏฐาน ๔ ประการบริบูรณ์
สติปัฏฐาน ๔ ประการที่ภิกษุเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงทำ
ให้โพชฌงค์ ๗ ประการบริบูรณ์ คือ
๑. สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ สมัยนั้น สติของเธอ
ตั้งมั่น ไม่หลงลืม
(๑) สมัยใด สติของภิกษุตั้งมั่น ไม่หลงลืม สมัยนั้น สติ-
สัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุเจริญสติ-
สัมโพชฌงค์ สติสัมโพชฌงค์จึงถึงความเจริญเต็มที่แก่ภิกษุ
(๒) เธอมีสติอยู่อย่างนั้น ค้นหาพิจารณาสอดส่องธรรมนั้น
ด้วยปัญญา สมัยใด ภิกษุมีสติอยู่อย่างนั้น ค้นหา
พิจารณาสอดส่องธรรมนั้นด้วยปัญญา สมัยนั้น ธัมมวิจย-
สัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุเจริญธัมมวิจย-
สัมโพชฌงค์ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์จึงถึงความเจริญเต็มที่
แก่ภิกษุ
(๓) เมื่อเธอค้นหาพิจารณาสอดส่องธรรมนั้นด้วยปัญญา
ความเพียรอันไม่ย่อหย่อนชื่อว่าเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
สมัยใด ความเพียรไม่ย่อหย่อนเป็นอันภิกษุผู้ค้นคว้า
พิจารณาสอดส่องธรรมนั้นด้วยปัญญาปรารภแล้ว สมัยนั้น
วิริยสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุเจริญวิริย-
สัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์จึงถึงความเจริญเต็มที่แก่ภิกษุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๖. ทุติยภิกขุสูตร

(๔) ปีติไม่มีอามิสย่อมเกิดแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียร สมัยใด
ปีติไม่มีอามิสเกิดแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียร สมัยนั้น
ปีติสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุเจริญปีติ-
สัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์จึงถึงความเจริญเต็มที่แก่ภิกษุ
(๕) แม้กายของภิกษุผู้มีใจมีปีติย่อมระงับ แม้จิตก็ระงับ สมัยใด
แม้กายของภิกษุผู้มีใจมีปีติย่อมระงับ แม้จิตก็ระงับ สมัย
นั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุ
เจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ปัสสิทธิสัมโพชฌงค์จึงถึงความ
เจริญเต็มที่แก่ภิกษุ
(๖) จิตของภิกษุผู้มีกายระงับ มีสุข ย่อมตั้งมั่น สมัยใด จิต
ของภิกษุผู้มีกายระงับ มีสุข ย่อมตั้งมั่น สมัยนั้น
สมาธิสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุเจริญ
สมาธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์จึงถึงความเจริญ
เต็มที่แก่ภิกษุ
(๗) เธอย่อมเพ่งจิตที่ตั้งมั่นเช่นนั้นอย่างดี สมัยใด ภิกษุย่อม
เพ่งจิตที่ตั้งมั่นเช่นนั้นอย่างดี สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์
เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์
อุเบกขาสัมโพชฌงค์จึงถึงความเจริญเต็มที่แก่ภิกษุ
๒. สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ สมัยนั้น
สติของเธอย่อมตั้งมั่น ไม่หลงลืม
(๑) สมัยใด สติของภิกษุย่อมตั้งมั่น ไม่หลงลืม สมัยนั้น
สติสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุเจริญสติ-
สัมโพชฌงค์ สติสัมโพชฌงค์จึงถึงความเจริญเต็มที่แก่ภิกษุ
ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๗. สัญโญชนัปปาหนสูตร

(๗) เธอย่อมเพ่งจิตที่ตั้งมั่นเช่นนั้นอย่างดี สมัยใด ภิกษุเพ่ง
จิตที่ตั้งมั่นเช่นนั้นอย่างดี สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์
เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์
อุเบกขาสัมโพชฌงค์จึงถึงความเจริญเต็มที่แก่ภิกษุ
ภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ ประการที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มาก
แล้วอย่างนี้ จึงทำให้โพชฌงค์ ๗ ประการบริบูรณ์
โพชฌงค์ ๗ ประการที่ภิกษุเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึง
ทำให้วิชชาและวิมุตติบริบูรณ์
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ
๒. เจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย
นิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
ฯลฯ
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย
นิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้ว
อย่างนี้ จึงทำให้วิชชาและวิมุตติบริบูรณ์”

ทุติยภิกขุสูตรที่ ๖ จบ

๗. สัญโญชนัปปหานสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อละสังโยชน์

[๙๙๓] “ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อละสังโยชน์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๘๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๙. อัทธานปริญญาสูตร

อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงเป็น
ไปเพื่อละสังโยชน์
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ฯลฯ๑ สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน
หายใจเข้า สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจออก
ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้
จึงเป็นไปเพื่อละสังโยชน์”

สัญโญชนัปปหานสูตรที่ ๗ จบ

๘. อนุสยสมุคฆาตสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อถอนอนุสัย

[๙๙๔] “ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อถอนอนุสัย (พึงเพิ่มข้อความที่เหลือให้พิสดาร)
อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้ จึงเป็นไป
เพื่อถอนอนุสัย”

อนุสยสมุคฆาตสูตรที่ ๘ จบ

๙. อัทธานปริญญาสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อกำหนดรู้อัทธานะ

[๙๙๕] “ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อกำหนดรู้อัทธานะ (ทางไกล) (พึงเพิ่มข้อความที่เหลือให้พิสดาร) ฯลฯ
อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้ จึงเป็นไปเพื่อ
กำหนดรู้อัทธานะ”

อัทธานปริญญาสูตรที่ ๙ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๒. ทุติยวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๑๐. อาสวักขยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ

[๙๙๖] “ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ (พึงเพิ่มข้อความที่เหลือให้พิสดาร)
อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากอย่างนี้ จึงเป็นไปเพื่อ
ความสิ้นอาสวะ”

อาสวักขยสูตรที่ ๑๐ จบ
ทุติยวรรคที่ ๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อิจฉานังคลสูตร ๒. กังเขยยสูตร
๓. ปฐมอานันทสูตร ๔. ทุติยอานันทสูตร
๕. ปฐมภิกขุสูตร ๖. ทุติยภิกขุสูตร
๗. สัญโญชนัปปหานสูตร ๘. อนุสยสมุคฆาตสูตร
๙. อัทธานปริญญาสูตร ๑๐. อาสวักขยสูตร

อานาปานสังยุตที่ ๑๐ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๑. เวฬุทวารวรรค ๑. จักกวัตติราชสูตร

๑๑. โสตาปัตติสังยุต
๑. เวฬุทวารวรรค
หมวดว่าด้วยเวฬุทวารคาม
๑. จักกวัตติราชสูตร
ว่าด้วยพระเจ้าจักรพรรดิ

[๙๙๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ฯลฯ๑ จึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย
พระเจ้าจักรพรรดิทรงครองราชย์เป็นอิสสราธิบดีแห่งทวีปทั้ง ๔ หลังจากเสด็จ
สวรรคตแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ เข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเหล่าเทพ
ชั้นดาวดึงส์ ท้าวเธอทรงแวดล้อมด้วยหมู่นางอัปสร เพียบพร้อม บำเรอตนด้วย
กามคุณ ๕ ประการที่เป็นทิพย์ สำราญพระทัยในสวนนันทวัน ที่ภพดาวดึงส์นั้น
ท้าวเธอไม่ทรงประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น ก็ไม่ทรงพ้น
จากนรก ไม่ทรงพ้นจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ไม่ทรงพ้นจากภูมิแห่งเปรต และไม่
ทรงพ้นจากอบาย ทุคติ และวินิบาต๒ไปได้
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกเลี้ยงอัตภาพด้วยอาหาร ที่แสวงหามาได้ด้วยลำแข้ง
นุ่งห่มผ้าที่เศร้าหมอง เธอประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น
ก็พ้นจากนรก พ้นจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน พ้นจากภูมิแห่งเปรต และพ้นจากอบาย
ทุคติ และวินิบาตไปได้
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๑. เวฬุทวารวรรค ๑. จักกวัตติราชสูตร

๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์
ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม
เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า
เป็นพระผู้มีพระภาค’
๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า ‘พระธรรม
เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัด
ด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล๑ ควรเรียกให้มาดู ควรน้อม
เข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน’
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์
ว่า ‘พระสงฆ์ สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติ
ตรง ปฏิบัติถูกทาง ปฏิบัติสมควร ได้แก่ อริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำ
มาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำ
อัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก’
๔. ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ๒ ที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง
ไม่พร้อย เป็นไท ท่านผู้รู้สรรเสริญ ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ
เป็นไปเพื่อสมาธิ
อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย การได้ครองทวีปทั้ง ๔ กับการได้ธรรม ๔ ประการ การครอง
ทวีปทั้ง ๔ ยังไม่ถึงเศษหนึ่งส่วนสิบหกแห่งการได้ธรรม ๔ ประการเลย”

จักกวัตติราชสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๑. เวฬุทวารวรรค ๒. พรหมจริโยคธสูตร

๒. พรหมจริโยคธสูตร
ว่าด้วยผู้ประสบสุขอันหยั่งลงสู่พรหมจรรย์

[๙๙๘] “ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เป็น
โสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์
ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม
เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า
เป็นพระผู้มีพระภาค’
๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
๔. ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อ
สมาธิ
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้ เป็นโสดาบัน
ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา-
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า
“ศรัทธา ศีล ความเลื่อมใส
และการเห็นธรรม มีอยู่แก่ชนเหล่าใด
ชนเหล่านั้น ย่อมประสบสุข
อันหยั่งลงสู่พรหมจรรย์ตลอดกาล”

พรหมจริโยคธสูตรที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๑. เวฬุทวารวรรค ๓. ทีฆาวุอุปาสกสูตร

๓. ทีฆาวุอุปาสกสูตร
ว่าด้วยทีฆาวุอุบาสก

[๙๙๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถาน
ที่ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น อุบาสกชื่อทีฆาวุป่วย ได้รับทุกข์
เป็นไข้หนัก ได้เรียกคหบดีชื่อโชติยะผู้เป็นบิดามาขอร้องว่า “มาเถิดคุณพ่อ ขอ
คุณพ่อจงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค กราบพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วย
เศียรเกล้าแล้ว กราบทูลตามคำของผมว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทีฆาวุอุบาสกป่วย
ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก เขาขอกราบพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า’
และคุณพ่อจงกราบทูลอย่างนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส
ขอพระผู้มีพระภาคได้โปรดอนุเคราะห์ เสด็จไปเยี่ยมทีฆาวุอุบาสกถึงนิเวศน์
ด้วยเถิด”
โชติยคหบดีรับคำแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ทีฆาวุอุบาสกป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก เขาขอกราบพระยุคลบาทของพระผู้มี
พระภาคด้วยเศียรเกล้า และฝากมากราบทูลอย่างนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอ
ประทานวโรกาส ขอพระองค์ได้โปรดอนุเคราะห์เสด็จไปเยี่ยมทีฆาวุอุบาสกถึง
นิเวศน์ด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเสด็จไปยัง
นิเวศน์ของทีฆาวุอุบาสก ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้ว ตรัสถาม
ทีฆาวุอุบาสกดังนี้ว่า “ทีฆาวุ ท่านยังสบายดีหรือ ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ ทุกขเวทนา
ทุเลาลง ไม่กำเริบขึ้นหรือ อาการทุเลาปรากฏ อาการกำเริบไม่ปรากฏหรือ”
ทีฆาวุอุบาสกทูลตอบว่า “ข้าพระองค์ไม่สบาย จะเป็นอยู่ไม่ได้ ทุกขเวทนา
มีแต่กำเริบขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย อาการกำเริบปรากฏ อาการทุเลาไม่ปรากฏ
พระพุทธเจ้าข้า”
“ทีฆาวุ เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกว่า ‘เรา
๑. จักประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า
‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๙๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๑. เวฬุทวารวรรค ๓. ทีฆาวุอุปาสกสูตร

ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี
พระภาค’
๒. จักประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. จักประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
๔. จักประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อ
สมาธิ’
ทีฆาวุ ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้แล”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ องค์เครื่องบรรลุโสดา๑ ๔ ประการใดที่พระผู้มีพระภาค
ได้ทรงแสดงไว้ ธรรม(คือองค์เครื่องบรรลุโสดา)เหล่านั้นมีอยู่ในข้าพระองค์ และ
ข้าพระองค์ก็เห็นธรรมเหล่านั้น
ก็ข้าพระองค์
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของ
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’
๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
๔. ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อ
สมาธิ”
“ทีฆาวุ เพราะเหตุนั้น ท่านพึงตั้งอยู่ในองค์เครื่องบรรลุโสดา ๔ ประการนี้แล้ว
เจริญธรรมอันเป็นส่วนแห่งวิชชา ๖ ประการให้ยิ่งขึ้นไปว่า ‘ทีฆาวุ ในเรื่องนี้
ท่านจงพิจารณา เห็นในสังขารทั้งปวงว่าไม่เที่ยง มีความหมายรู้ในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเป็นทุกข์
มีความหมายรู้ในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นอนัตตา มีความหมายรู้ในการละ มีความ
หมายรู้ในการคลายออกได้ มีความหมายรู้ในความดับ’ ทีฆาวุ ท่านพึงสำเหนียก
อย่างนี้แล”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมอันเป็นส่วนแห่งวิชชา ๖ ประการใดที่พระผู้มี
พระภาคได้ทรงแสดงไว้ ธรรมเหล่านั้นมีอยู่ในข้าพระองค์ และข้าพระองค์ก็เห็น
ธรรมเหล่านั้น ข้าพระองค์พิจารณาเห็นในสังขารทั้งปวงว่าไม่เที่ยง มีความหมายรู้


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๑. เวฬุทวารวรรค ๔. ปฐมสารีปุตตสูตร

ในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเป็นทุกข์ มีความหมายรู้ในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นอนัตตา มีความ
หมายรู้ในการละ มีความหมายรู้ในการคลายออกได้ มีความหมายรู้ในความดับ
อีกอย่างหนึ่ง ข้าพระองค์มีความคิดว่า ‘เมื่อข้าพระองค์ล่วงลับไป โชติยคหบดีนี้
อย่าได้ถึงความคับแค้นเลย”
โชติยคหบดีกล่าวว่า “พ่อทีฆาวุ เธออย่าได้ใส่ใจอย่างนั้นเลย เธอจงใส่ใจถึง
พระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้นั้นแลให้ดีเถิด”
ครั้นพระผู้มีพระภาคตรัสสอนทีฆาวุอุบาสกด้วยพระโอวาทนี้แล้ว ก็เสด็จลุก
จากอาสนะจากไป เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จจากไปไม่นาน ทีฆาวุอุบาสกก็ได้ถึง
แก่กรรม
ต่อมา ภิกษุหลายรูปพากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ทีฆาวุอุบาสกที่พระองค์ตรัสสอนด้วยพระโอวาทโดยย่อ ได้ถึงแก่กรรมแล้ว
คติของเขา เป็นอย่างไร อภิสัมปรายภพ เป็นอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสตอบว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทีฆาวุอุบาสกเป็นบัณฑิต
พูดความจริงถูกต้องตามธรรม ทั้งไม่เบียดเบียนเราเพราะเหตุแห่งธรรม ภิกษุ
ทั้งหลาย เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ (สังโยชน์เบื้องต่ำ) ๕ ประการสิ้นไป ทีฆาวุ
อุบาสกจึงเป็นโอปปาติกะ๑ ปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก”

ทีฆาวุอุปาสกสูตรที่ ๓ จบ

๔. ปฐมสารีปุตตสูตร
ว่าด้วยพระสารีบุตร สูตรที่ ๑

[๑๐๐๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรและท่านพระอานนท์อยู่ ณ พระเชตวัน
อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้นในเวลาเย็น ท่านพระอานนท์
ออกจากที่หลีกเร้นแล้ว เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ไหว้แล้ว นั่ง


>>>>> หน้าต่อไป >>>>>





eXTReMe Tracker