ค้นว่าอยู่เล่มใด แล้วกด [ctrl]+f หรือใช้คำสั่งของเครื่องหาตำแหน่งในเล่มอีกทีนะครับ



จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อความสะดวก และสวยงาม
(เฉพาะหน้าจอใหญ่ เช่น คอมพิวเตอร์)
กรุณาคลิก จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อให้กรอบ
ค้นข้อความ ปรากฎที่ด้านซ้ายของหน้า

พระไตรปิฎกภาษาไทย
ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม (ปกสีฟ้า)
ทั้งออนไลน์และออฟไลน์
ที่มาของข้อมูล : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มจร.
MCUTRAI Version 1.0

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙-๒ สุตตันตปิฎกที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

พระสุตตันตปิฎก
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๖. โพชฌังคสากัจฉวรรค ๑. อาหารสูตร

คือ อสุภนิมิตมีอยู่ การทำมนสิการโดยแยบคายในอสุภนิมิตนั้นให้มาก นี้
ไม่เป็นอาหารที่ทำกามฉันทะที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำกามฉันทะที่เกิดขึ้นแล้ว
ให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
อะไรเล่าไม่เป็นอาหารที่ทำพยาบาทที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำพยาบาท
ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
คือ เมตตาเจโตวิมุตติมีอยู่ การทำมนสิการโดยแยบคายในเมตตาเจโตวิมุตติ
นั้นให้มาก นี้ไม่เป็นอาหารที่ทำพยาบาทที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำพยาบาทที่
เกิดขึ้นแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
อะไรเล่าไม่เป็นอาหารที่ทำถีนมิทธะที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำถีน-
มิทธะที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
คือ ความริเริ่ม ความพากเพียร ความบากบั่นมีอยู่ การทำมนสิการโดย
แยบคายในธรรมเหล่านั้นให้มาก นี้ไม่เป็นอาหารที่ทำถีนมิทธะที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
หรือทำถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
อะไรเล่าไม่เป็นอาหารที่ทำอุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำ
อุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
คือ ความสงบจิตมีอยู่ การทำมนสิการโดยแยบคายในความสงบจิตนั้นให้มาก
นี้ไม่เป็นอาหารที่ทำอุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำอุทธัจจกุกกุจจะที่
เกิดขึ้นแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
อะไรเล่าไม่เป็นอาหารที่ทำวิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำวิจิกิจฉา
ที่เกิดขึ้นแล้ว ให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
คือ ธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศลและอกุศล มีโทษและไม่มีโทษ เลวและประณีต
เป็นฝ่ายดำและฝ่ายขาวมีอยู่ การทำมนสิการโดยแยบคายในธรรมเหล่านั้นให้มาก
นี้ไม่เป็นอาหารที่ทำวิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว
ให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๖. โพชฌังคสากัจฉวรรค ๑. อาหารสูตร

สิ่งที่ไม่ใช่อาหารของโพชฌงค์

อะไรเล่าไม่เป็นอาหารที่ทำสติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำ
สติสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
คือ ธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งสติสัมโพชฌงค์มีอยู่ การไม่ทำมนสิการ
ในธรรมเหล่านั้นให้มาก นี้ไม่เป็นอาหารที่ทำสติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
หรือทำสติสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
อะไรเล่าไม่เป็นอาหารที่ทำธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำ
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
คือ ธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศลและอกุศล มีโทษและไม่มีโทษ เลวและประณีต
เป็นฝ่ายดำและฝ่ายขาวมีอยู่ การไม่ทำมนสิการในธรรมเหล่านั้นให้มาก นี้ไม่เป็น
อาหารที่ทำธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
อะไรเล่าไม่เป็นอาหารที่ทำวิริยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำ
วิริยสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
คือ ความริเริ่ม ความพากเพียร ความบากบั่นมีอยู่ การไม่ทำมนสิการใน
ธรรมเหล่านั้นให้มาก นี้ไม่เป็นอาหารที่ทำวิริยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
หรือทำวิริยสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
อะไรเล่าไม่เป็นอาหารที่ทำปีติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำ
ปีติสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
คือ ธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งปีติสัมโพชฌงค์มีอยู่ การไม่ทำมนสิการ
ในธรรมเหล่านั้นให้มาก นี้ไม่เป็นอาหารที่ทำปีติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
หรือทำปีติสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
อะไรเล่าไม่เป็นอาหารที่ทำปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือ
ทำปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๖. โพชฌังคสากัจฉวรรค ๒. ปริยายสูตร

คือ ความสงบกาย ความสงบจิตมีอยู่ การไม่ทำมนสิการในธรรมเหล่านั้น
ให้มาก นี้ไม่เป็นอาหารที่ทำปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำปัสสัทธิ-
สัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
อะไรเล่าไม่เป็นอาหารที่ทำสมาธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำ
สมาธิสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
คือ สมาธินิมิต อัพยัคคนิมิตมีอยู่ การไม่ทำมนสิการในนิมิตเหล่านั้นให้มาก นี้
ไม่เป็นอาหารที่ทำสมาธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำสมาธิสัมโพชฌงค์
ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
อะไรเล่าไม่เป็นอาหารที่ทำอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำ
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
คือ ธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์มีอยู่ การไม่ทำมนสิการ
ในธรรมเหล่านั้นให้มาก นี้ไม่เป็นอาหารที่ทำอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
หรือทำอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่”

อาหารสูตรที่ ๑ จบ

๒. ปริยายสูตร
ว่าด้วยเหตุที่นิวรณ์และโพชฌงค์อาศัย

[๒๓๓] ครั้นในเวลาเช้า ภิกษุหลายรูปครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร
เข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า “การเที่ยวไปบิณฑบาต
ยังกรุงสาวัตถียังเช้านัก ทางที่ดี เราทั้งหลายควรจะเข้าไปยังอารามของพวก
อัญเดียรถีย์ปริพาชก”
ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นจึงเข้าไปยังอารามของพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก ได้
สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร พวก
อัญเดียรถีย์ปริพาชกได้กล่าวกับภิกษุเหล่านั้นดังนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๖. โพชฌังคสากัจฉวรรค ๒. ปริยายสูตร

“ผู้มีอายุทั้งหลาย พระสมณโคดมแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า
‘มาเถิด ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละนิวรณ์ ๕ ประการอันเป็นความเศร้าหมอง
แห่งจิต ทอนกำลังปัญญาแล้วเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการตามความเป็นจริงเถิด’
แม้แต่เราทั้งหลายก็แสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘มาเถิด ผู้มีอายุทั้งหลาย
ท่านทั้งหลายจงละนิวรณ์ ๕ ประการอันเป็นความเศร้าหมองแห่งจิต ทอนกำลัง
ปัญญาแล้วเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการตามความเป็นจริงเถิด’ ผู้มีอายุทั้งหลาย
ในธรรมเทศนาหรืออนุสาสนีนี้ คือ ธรรมเทศนาของพระสมณโคดมกับธรรม-
เทศนาของพวกเรา หรืออนุสาสนีของพระสมณโคดมกับอนุสาสนีของพวกเราจะผิด
แผกแตกต่างกันอย่างไร”
ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นไม่ยินดี ไม่คัดค้านภาษิตของอัญเดียรถีย์ปริพาชก
เหล่านั้น ลุกจากอาสนะจากไปด้วยคิดว่า “เราทั้งหลายจักรู้ชัดเนื้อความแห่งภาษิต
นี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาค”
ภิกษุเหล่านั้นครั้นเที่ยวไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี กลับจากบิณฑบาต ภาย
หลังฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเช้านี้ ข้าพระองค์ทั้งหลายครองอันตรวาสก ถือ
บาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘การเที่ยวไป
บิณฑบาตยังกรุงสาวัตถียังเช้านัก ทางที่ดี เราทั้งหลายควรจะเข้าไปยังอารามของ
พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก’
ครั้งนั้นแล ข้าพระองค์ทั้งหลายจึงได้เข้าไปยังอารามของพวกอัญเดียถีย์
ปริพาชกได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ
ที่สมควร พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกได้กล่าวกับข้าพระองค์ทั้งหลายดังนี้ว่า
‘ผู้มีอายุทั้งหลาย พระสมณโคดมแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า
‘มาเถิด ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละนิวรณ์ ๕ ประการอันเป็นความเศร้าหมอง
แห่งจิต ทอนกำลังปัญญาแล้วเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการตามความเป็นจริงเถิด’
แม้แต่เราทั้งหลายก็แสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘มาเถิด ผู้มีอายุทั้งหลาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๖. โพชฌังคสากัจฉวรรค ๒. ปริยายสูตร

ท่านทั้งหลายจงละนิวรณ์ ๕ ประการอันเป็นความเศร้าหมองแห่งจิต ทอนกำลัง
ปัญญาแล้วเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการตามความเป็นจริงเถิด’ ผู้มีอายุทั้งหลาย
ในธรรมเทศนาหรืออนุสาสนีนี้ คือ ธรรมเทศนาของพระสมณโคดมกับธรรม-
เทศนาของพวกเรา หรืออนุสาสนีของพระสมณโคดมกับอนุสาสนีของพวกเราจะผิด
แผกแตกต่างกันอย่างไร’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ครั้งนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่ยินดี ไม่คัดค้านภาษิต
ของอัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น ลุกจากอาสนะจากไปด้วยคิดว่า ‘เราทั้งหลายจัก
รู้ชัดเนื้อความแห่งภาษิตนี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาค”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกมีวาทะ
อย่างนี้ เธอทั้งหลายควรถามอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย ก็เหตุที่นิวรณ์ ๕ ประการ
อาศัยกลายเป็น ๑๐ ประการ และเหตุที่โพชฌงค์ ๗ ประการ อาศัยกลายเป็น
๑๔ ประการมีอยู่หรือ’ พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกถูกถามอย่างนี้แล้วจักไม่สามารถ
ตอบได้ จักถึงความลำบากอย่างยิ่ง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะพวกอัญเดียรถีย์-
ปริพาชกถูกถามในสิ่งอันมิใช่วิสัย๑
ภิกษุทั้งหลาย ในโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์
พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เรายังไม่เห็นบุคคลที่จะทำจิตให้ยินดี
ได้ด้วยการตอบปัญหาเหล่านี้ เว้นตถาคตหรือสาวกของตถาคต หรือผู้ที่ฟังจาก
คำสอนของตถาคตนี้
เหตุที่นิวรณ์ ๕ ประการอาศัยกลายเป็น ๑๐ ประการ เป็นอย่างไร
คือ แม้กามฉันทะในภายใน๒ก็เป็นนิวรณ์ แม้กามฉันทะในภายนอก๓ก็เป็น
นิวรณ์ คำว่า ‘กามฉันทนิวรณ์’ ย่อมมาสู่อุทเทสนี้ แม้ด้วยเหตุนี้ กามฉันทนิวรณ์
นั้นจึงเป็น ๒ ประการ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๖. โพชฌังคสากัจฉวรรค ๒. ปริยายสูตร

แม้พยาบาทในภายใน๑ก็เป็นนิวรณ์ แม้พยาบาทในภายนอก๒ก็เป็นนิวรณ์
คำว่า ‘พยาบาทนิวรณ์’ ย่อมไปสู่อุทเทสนี้ แม้ด้วยเหตุนี้ พยาบาทนิวรณ์นั้นจึงเป็น
๒ ประการ
แม้ถีนะก็เป็นนิวรณ์ แม้มิทธะก็เป็นนิวรณ์ คำว่า ‘ถีนมิทธนิวรณ์’ ย่อมไปสู่
อุทเทสนี้ แม้ด้วยเหตุนี้ ถีนมิทธนิวรณ์นั้นจึงเป็น ๒ ประการ
แม้อุทธัจจะก็เป็นนิวรณ์ แม้กุกกุจจะก็เป็นนิวรณ์ คำว่า ‘อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์’
ย่อมไปสู่อุทเทสนี้ แม้ด้วยเหตุนี้ อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์นั้นจึงเป็น ๒ ประการ
แม้วิจิกิจฉาในธรรมทั้งหลายในภายใน๓ก็เป็นนิวรณ์ แม้วิจิกิจฉาในธรรม
ทั้งหลายในภายนอก๔ก็เป็นนิวรณ์ คำว่า ‘วิจิกิจฉานิวรณ์’ ย่อมไปสู่อุทเทสนี้ แม้
ด้วยเหตุนี้ วิจิกิจฉานิวรณ์นั้นจึงเป็น ๒ ประการ
ภิกษุทั้งหลาย เหตุนี้แลที่นิวรณ์ ๕ ประการอาศัยกลายเป็น ๑๐ ประการ
เหตุที่โพชฌงค์ ๗ ประการอาศัยกลายเป็น ๑๔ ประการ เป็นอย่างไร
คือ แม้สติในธรรมทั้งหลายในภายใน๕ก็เป็นสติสัมโพชฌงค์ แม้สติในธรรม
ทั้งหลายในภายนอก๖ก็เป็นสติสัมโพชฌงค์ คำว่า ‘สติสัมโพชฌงค์’ ย่อมไปสู่
อุทเทสนี้ แม้ด้วยเหตุนี้ สติสัมโพชฌงค์นั้นจึงเป็น ๒ ประการ
แม้ธรรมที่บุคคลเลือกเฟ้นตรวจสอบพินิจพิจารณาในธรรมทั้งหลายในภายใน
ด้วยปัญญาก็เป็นธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ แม้ธรรมที่บุคคลเลือกเฟ้นตรวจสอบพินิจ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๖. โพชฌังคสากัจฉวรรค ๓. อัคคิสูตร

พิจารณาในธรรมทั้งหลายในภายนอกด้วยปัญญาก็เป็นธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ คำว่า
‘ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์’ ย่อมไปสู่อุทเทสนี้ แม้ด้วยเหตุนี้ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์นั้นจึง
เป็น ๒ ประการ
แม้ความเพียรทางกายก็เป็นวิริยสัมโพชฌงค์ แม้ความเพียรทางจิตก็เป็น
วิริยสัมโพชฌงค์ คำว่า ‘วิริยสัมโพชฌงค์’ ย่อมไปสู่อุทเทสนี้ แม้ด้วยเหตุนี้
วิริยสัมโพชฌงค์นั้นจึงเป็น ๒ ประการ
แม้ปีติที่มีวิตกวิจารก็เป็นปีติสัมโพชฌงค์ แม้ปีติที่ไม่มีวิตกวิจารก็เป็นปีติ-
สัมโพชฌงค์ คำว่า ‘ปีติสัมโพชฌงค์’ ย่อมมาสู่อุทเทสนี้ แม้ด้วยเหตุนี้ ปีติ-
สัมโพชฌงค์นั้นจึงเป็น ๒ ประการ
แม้กายปัสสัทธิก็เป็นปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ แม้จิตตปัสสัทธิก็เป็นปัสสัทธิ-
สัมโพชฌงค์ คำว่า ‘ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์’ ย่อมไปสู่อุทเทสนี้ แม้ด้วยเหตุนี้
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์นั้นจึงเป็น ๒ ประการ
แม้สมาธิที่มีวิตกวิจารก็เป็นสมาธิสัมโพชฌงค์ แม้สมาธิที่ไม่มีวิตกวิจารก็เป็น
สมาธิสัมโพชฌงค์ คำว่า ‘สมาธิสัมโพชฌงค์’ ย่อมไปสู่อุทเทสนี้ แม้ด้วยเหตุนี้
สมาธิสัมโพชฌงค์นั้นจึงเป็น ๒ ประการ
แม้อุเบกขาในธรรมทั้งหลายในภายในก็เป็นอุเบกขาสัมโพชฌงค์ แม้อุเบกขา
ในธรรมทั้งหลายในภายนอกก็เป็นอุเบกขาสัมโพชฌงค์ คำว่า ‘อุเบกขาสัมโพชฌงค์’
ย่อมไปสู่อุทเทสนี้ แม้ด้วยเหตุนี้ อุเบกขาสัมโพชฌงค์นั้นจึงเป็น ๒ ประการ
ภิกษุทั้งหลาย เหตุนี้แลที่โพชฌงค์ ๗ ประการอาศัยกลายเป็น ๑๔ ประการ”

ปริยายสูตรที่ ๒ จบ

๓. อัคคิสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยไฟ

[๒๓๔] ครั้นในเวลาเช้า ภิกษุหลายรูปครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร
เข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี (ความต่อไปเหมือนปริยายสูตร)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๖. โพชฌังคสากัจฉวรรค ๓. อัคคิสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกมีวาทะ
อย่างนี้ เธอทั้งหลายควรถามอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย สมัยใด จิตหดหู่ สมัยนั้น
ไม่เป็นเวลาเพื่อเจริญโพชฌงค์เหล่าไหน เป็นเวลาเพื่อเจริญโพชฌงค์เหล่าไหน อนึ่ง
สมัยใด จิตฟุ้งซ่าน สมัยนั้น ไม่เป็นเวลาเพื่อเจริญโพชฌงค์เหล่าไหน เป็นเวลา
เพื่อเจริญโพชฌงค์เหล่าไหน’
ภิกษุทั้งหลาย พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกถูกถามอย่างนี้แล้วจักไม่สามารถ
ตอบให้บริบูรณ์ได้ จักถึงความลำบากอย่างยิ่ง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะพวก
อัญเดียรถีย์ปริพาชกถูกถามในสิ่งอันมิใช่วิสัย
ภิกษุทั้งหลาย ในโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์
พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เรายังไม่เห็นบุคคลที่จะยังจิตให้ยินดีได้
ด้วยการตอบปัญหาเหล่านี้ เว้นตถาคตหรือสาวกของตถาคต หรือผู้ที่ฟังจากคำสอน
ของตถาคตนี้
ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตหดหู่ สมัยนั้น ไม่เป็นเวลาเพื่อเจริญปัสสัทธิ-
สัมโพชฌงค์ ไม่เป็นเวลาเพื่อเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ ไม่เป็นเวลาเพื่อเจริญอุเบกขา-
สัมโพชฌงค์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะจิตหดหู่ จิตที่หดหู่นั้นยากที่จะให้ฟื้นขึ้นด้วย
ธรรมเหล่านั้น
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษต้องการจะให้ไฟน้อยนิดลุกโพลง จึงใส่หญ้าสด
โคมัยเปียก ไม้สด พรมน้ำและโปรยฝุ่นลงในไฟนั้น เขาสามารถจะให้ไฟน้อยนิด
ลุกโพลงได้หรือ”
“ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น สมัยใด จิตหดหู่ สมัยนั้น
ไม่เป็นเวลาเพื่อเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ไม่เป็นเวลาเพื่อเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์
ไม่เป็นเวลาเพื่อเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะจิตหดหู่ จิตที่
หดหู่นั้นยากที่จะให้ฟื้นขึ้นด้วยธรรมเหล่านั้น
แต่สมัยใด จิตหดหู่ สมัยนั้น เป็นเวลาเพื่อเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เป็น
เวลาเพื่อเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ เป็นเวลาเพื่อเจริญปีติสัมโพชฌงค์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะจิตหดหู่ จิตที่หดหู่นั้นง่ายที่จะให้ฟื้นขึ้นด้วยธรรมเหล่านั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๖. โพชฌังคสากัจฉวรรค ๓. อัคคิสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษต้องการจะให้ไฟน้อยนิดลุกโพลง จึงใส่หญ้าแห้ง
โคมัยแห้ง ไม้แห้ง เป่าลมและไม่โปรยฝุ่นลงในไฟนั้น เขาสามารถจะให้ไฟน้อยนิด
ลุกโพลงได้หรือ”
“ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น สมัยใด จิตหดหู่ สมัยนั้น
เป็นเวลาเพื่อเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เป็นเวลาเพื่อเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ เป็น
เวลาเพื่อเจริญปีติสัมโพชฌงค์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะจิตหดหู่ จิตที่หดหู่นั้น
ง่ายที่จะให้ฟื้นขึ้นด้วยธรรมเหล่านั้น
ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตฟุ้งซ่าน สมัยนั้น ไม่เป็นเวลาเพื่อเจริญธัมม-
วิจยสัมโพชฌงค์ ไม่เป็นเวลาเพื่อเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ ไม่เป็นเวลาเพื่อเจริญ
ปีติสัมโพชฌงค์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะจิตฟุ้งซ่าน จิตที่ฟุ้งซ่านนั้นยากที่จะให้
สงบด้วยธรรมเหล่านั้น
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษต้องการจะดับไฟกองใหญ่ จึงใส่หญ้าแห้ง
โคมัยแห้ง ไม้แห้ง เป่าลมและไม่โปรยฝุ่นลงในกองไฟนั้น เขาสามารถจะดับไฟ
กองใหญ่ได้หรือ”
“ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น สมัยใด จิตฟุ้งซ่าน สมัยนั้น
ไม่เป็นเวลาเพื่อเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ไม่เป็นเวลาเพื่อเจริญวิริยสัมโพชฌงค์
ไม่เป็นเวลาเพื่อเจริญปีติสัมโพชฌงค์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะจิตฟุ้งซ่าน จิตที่
ฟุ่งซ่านนั้นยากที่จะให้สงบด้วยธรรมเหล่านั้น
แต่สมัยใด จิตฟุ้งซ่าน สมัยนั้น เป็นเวลาเพื่อเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
เป็นเวลาเพื่อเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ เป็นเวลาเพื่อเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะจิตฟุ้งซ่าน จิตที่ฟุ้งซ่านนั้นง่ายที่จะให้สงบด้วยธรรมเหล่านั้น
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษต้องการจะดับไฟกองใหญ่ จึงใส่หญ้าสด
โคมัยเปียก พรมน้ำและโปรยฝุ่นลงในกองไฟนั้น เขาสามารถจะดับไฟกองใหญ่
ได้หรือ”
“ได้ พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๖. โพชฌังคสากัจฉวรรค ๔. เมตตาสหคตสูตร

“ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น สมัยใด จิตฟุ้งซ่าน สมัยนั้น
เป็นเวลาเพื่อเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เป็นเวลาเพื่อเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ เป็น
เวลาเพื่อเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะจิตฟุ้งซ่าน จิตที่
ฟุ้งซ่านนั้นง่ายที่จะให้สงบด้วยธรรมเหล่านั้น และเรากล่าวสติว่าจำต้องประสงค์ใน
ที่ทุกสถาน”

อัคคิสูตรที่ ๓ จบ

๔. เมตตาสหคตสูตร
ว่าด้วยจิตมีเมตตา

[๒๓๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของชาวโกลิยะ ชื่อ
หลิททวสนะ แคว้นโกลิยะ ครั้นในเวลาเช้า ภิกษุหลายรูปครองอันตรวาสก ถือ
บาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังหลิททวสนนิคม ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า “การ
เที่ยวไปบิณฑบาตในหลิททวสนนิคมยังเช้านัก ทางที่ดี เราทั้งหลายควรจะเข้าไป
ยังอารามของพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก”
ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นจึงเข้าไปยังอารามของพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก ได้
สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร พวก
อัญเดียรถีย์ปริพาชกได้กล่าวกับภิกษุเหล่านั้นดังนี้ว่า
“ผู้มีอายุทั้งหลาย พระสมณโคดมแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘มาเถิด
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละนิวรณ์ ๕ ประการอันเป็นความเศร้าหมองแห่งจิต
ทอนกำลังปัญญาแล้ว มีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ...
ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน๑ ทิศเบื้องล่าง๒ ทิศเฉียง๓ แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่า
ในที่ทุกสถานด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มี
ความเบียดเบียนอยู่ มีกรุณาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ...


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๖. โพชฌังคสากัจฉวรรค ๔. เมตตาสหคตสูตร

ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่า
ในที่ทุกสถานด้วยกรุณาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มี
ความเบียดเบียนอยู่ มีมุทิตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศ
ที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่าในที่
ทุกสถานด้วยมุทิตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความ
เบียดเบียนอยู่ มีอุเบกขาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศ
ที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่าใน
ที่ทุกสถานด้วยอุเบกขาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มี
ความเบียดเบียนอยู่’
แม้แต่เราทั้งหลายก็แสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘มาเถิด ผู้มีอายุ
ทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงละนิวรณ์ ๕ ประการอันเป็นความเศร้าหมองแห่งจิต
ทอนกำลังปัญญาแล้ว มีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ฯลฯ มีกรุณาจิต ฯลฯ
มีมุทิตาจิต ฯลฯ มีอุเบกขาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ทิศที่ ๒ ... ทิศ
ที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่ว
ทุกหมู่เหล่าในที่ทุกสถานด้วยอุเบกขาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต
ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่’ ผู้มีอายุทั้งหลาย ในธรรมเทศนาหรืออนุสาสนีนี้
คือ ธรรมเทศนาของพระสมณโคดมกับธรรมเทศนาของพวกเรา หรืออนุสาสนีของ
พระสมณโคดมกับอนุสาสนีของพวกเราจะผิดแผกแตกต่างกันอย่างไร”
ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นไม่ยินดี ไม่คัดค้านภาษิตของอัญเดียรถีย์ปริพาชก
เหล่านั้น ลุกจากอาสนะจากไปด้วยคิดว่า “เราทั้งหลายจักรู้ชัดเนื้อความแห่งภาษิต
นี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาค”
ภิกษุเหล่านั้นครั้นเที่ยวไปบิณฑบาตในหลิททวสนนิคม กลับจากบิณฑบาต
ภายหลังฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเช้านี้ ข้าพระองค์ทั้งหลายครองอันตรวาสก ถือ
บาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตในหลิททวสนนิคม ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘การ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๖. โพชฌังคสากัจฉวรรค ๔. เมตตาสหคตสูตร

เที่ยวไปบิณฑบาตในหลิททวสนนิคมยังเช้านัก ทางที่ดี เราทั้งหลายควรจะเข้าไป
ยังอารามของพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก’
ครั้งนั้นแล ข้าพระองค์ทั้งหลายจึงได้เข้าไปยังอารามของพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก
ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร
พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกได้กล่าวกับข้าพระองค์ทั้งหลายดังนี้ว่า
‘ผู้มีอายุทั้งหลาย พระสมณโคดมแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า
‘มาเถิด ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละนิวรณ์ ๕ ประการอันเป็นความเศร้าหมอง
แห่งจิต ทอนกำลังปัญญาแล้ว มีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ฯลฯ มีกรุณาจิต
ฯลฯ มีมุทิตาจิต ฯลฯ มีอุเบกขาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓
... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่
เหล่าในที่ทุกสถานด้วยอุเบกขาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร
ไม่มีความเบียดเบียนอยู่’
แม้แต่เราทั้งหลายก็แสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘มาเถิด ผู้มีอายุ
ทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงละนิวรณ์ ๕ ประการอันเป็นความเศร้าหมองแห่งจิต
ทอนกำลังปัญญาแล้ว มีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ฯลฯ มีกรุณาจิต ฯลฯ
มีมุทิตาจิต ฯลฯ มีอุเบกขาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่
๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่าในที่
ทุกสถานด้วยอุเบกขาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร
ไม่มีความเบียดเบียนอยู่’ ผู้มีอายุทั้งหลาย ในธรรมเทศนาหรืออนุสาสนีนี้ คือ
ธรรมเทศนาของพระสมณโคดมกับธรรมเทศนาของพวกเรา หรืออนุสาสนีของพระ
สมณโคดมกับอนุสาสนีของพวกเราจะผิดแผกแตกต่างกันอย่างไร’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ครั้งนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่ยินดี ไม่คัดค้านภาษิต
ของอัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น ลุกจากอาสนะจากไปด้วยคิดว่า ‘เราทั้งหลาย
จักรู้ชัดเนื้อความแห่งภาษิตนี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาค”

เมตตาเจโตวิมุตติมีอะไรเป็นคติ

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกมีวาทะ
อย่างนี้ เธอทั้งหลายควรถามอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย เมตตาเจโตวิมุตติที่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๗๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๖. โพชฌังคสากัจฉวรรค ๔. เมตตาสหคตสูตร

บุคคลเจริญแล้วอย่างไร มีอะไรเป็นคติ มีอะไรเป็นอย่างยิ่ง มีอะไรเป็นผล มีอะไร
เป็นที่สุด อนึ่ง กรุณาเจโตวิมุตติที่บุคคลเจริญแล้วอย่างไร มีอะไรเป็นคติ มีอะไร
เป็นอย่างยิ่ง มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นที่สุด อนึ่ง มุทิตาเจโตวิมุตติที่บุคคลเจริญ
แล้วอย่างไร มีอะไรเป็นคติ มีอะไรเป็นอย่างยิ่ง มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นที่สุด อนึ่ง
อุเบกขาเจโตวิมุตติที่บุคคลเจริญแล้วอย่างไร มีอะไรเป็นคติ มีอะไรเป็นอย่างยิ่ง มี
อะไรเป็นผล มีอะไรเป็นที่สุด’ พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกถูกถามอย่างนี้แล้วจัก
ไม่สามารถตอบได้ จักถึงความลำบากอย่างยิ่ง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะพวก
อัญเดียรถีย์ปริพาชกถูกถามในสิ่งอันมิใช่วิสัย
ภิกษุทั้งหลาย ในโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์
พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เรายังไม่เห็นบุคคลที่จะทำจิตให้ยินดีได้
ด้วยการตอบปัญหาเหล่านี้ เว้นตถาคตหรือสาวกของตถาคต หรือผู้ที่ฟังจากคำสอน
ของตถาคตนี้
เมตตาเจโตวิมุตติที่บุคคลเจริญแล้วอย่างไร มีอะไรเป็นคติ มีอะไรเป็น
อย่างยิ่ง มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นที่สุด
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยเมตตา ฯลฯ
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยเมตตา อันอาศัยวิเวก
อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
หากเธอหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่’ ก็มีความ
หมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นอยู่
หากเธอหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลอยู่’ ก็มีความ
หมายรู้ว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลนั้นอยู่
หากเธอหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลอยู่’
ก็มีความหมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลนั้นอยู่
หากเธอหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลและไม่ปฏิกูลอยู่’
ก็มีความหมายรู้ว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลและไม่ปฏิกูลนั้นอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๗๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๖. โพชฌังคสากัจฉวรรค ๔. เมตตาสหคตสูตร

หากเธอหวังว่า ‘เราพึงเว้นสิ่งทั้ง ๒ นั้น คือ สิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลแล้ว เป็นผู้
มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่’ ก็เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะในสิ่งทั้ง ๒ นั้นอยู่
หรือเข้าถึงสุภวิโมกข์อยู่’
ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเมตตาเจโตวิมุตติว่ามีสุภวิโมกข์เป็นอย่างยิ่งสำหรับ
ภิกษุผู้มีปัญญาอันเป็นโลกิยะยังไม่รู้แจ้งวิมุตติที่ยอดเยี่ยมในธรรมวินัยนี้
กรุณาเจโตวิมุตติที่บุคคลเจริญแล้วอย่างไร มีอะไรเป็นคติ มีอะไรเป็น
อย่างยิ่ง มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นที่สุด
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยกรุณา ฯลฯ
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยกรุณา อันอาศัยวิเวก อาศัย
วิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
หากเธอหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่’ ก็มีความ
หมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นอยู่
ฯลฯ
หากเธอหวังว่า ‘เราพึงเว้นสิ่งทั้ง ๒ นั้น คือ สิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลแล้ว
เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่’ ก็เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะในสิ่งทั้ง ๒
นั้นอยู่ หรือบรรลุอากาสานัญจายตนฌานอยู่โดยกำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุดมิได้’
เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง
ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวกรุณาเจโตวิมุตติว่ามีอากาสานัญจายตนฌานเป็น อย่างยิ่ง
สำหรับภิกษุผู้มีปัญญาอันเป็นโลกิยะยังไม่รู้แจ้งวิมุตติที่ยอดเยี่ยมในธรรมวินัยนี้
มุทิตาเจโตวิมุตติที่บุคคลเจริญแล้วอย่างไร มีอะไรเป็นคติ มีอะไรเป็น
อย่างยิ่ง มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นที่สุด
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยมุทิตา ฯลฯ
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยมุทิตา อันอาศัยวิเวก
อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๖. โพชฌังคสากัจฉวรรค ๔. เมตตาสหคตสูตร

หากเธอหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่’ ก็มีความ
หมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นอยู่
ฯลฯ
หากเธอหวังว่า ‘เราพึงเว้นสิ่งทั้ง ๒ นั้น คือ สิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลแล้ว
เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่’ ก็เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะในสิ่งทั้ง ๒
นั้นอยู่ หรือบรรลุวิญญาณัญจายตนฌานอยู่โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’
เพราะล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง
ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวมุทิตาเจโตวิมุตติว่ามีวิญญาณัญจายตนฌานเป็นอย่างยิ่ง
สำหรับภิกษุผู้มีปัญญาอันเป็นโลกิยะยังไม่รู้แจ้งวิมุตติที่ยอดเยี่ยมในธรรมวินัยนี้
อุเบกขาเจโตวิมุตติที่บุคคลเจริญแล้วอย่างไร มีอะไรเป็นคติ มีอะไรเป็น
อย่างยิ่ง มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นที่สุด
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยอุเบกขา อันอาศัยวิเวก อาศัย
วิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
ฯลฯ
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยอุเบกขา อันอาศัยวิเวก
อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
หากเธอหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่’ ก็มีความ
หมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นอยู่
หากเธอหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลอยู่’ ก็มีความ
หมายรู้ว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลนั้นอยู่
หากเธอหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลอยู่’
ก็มีความหมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลนั้นอยู่
หากเธอหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลและสิ่งไม่ปฏิกูล
อยู่’ ก็มีความหมายรู้ว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลและสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๗๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๖. โพชฌังคสากัจฉวรรค ๕. สังคารวสูตร

หากเธอหวังว่า ‘เราพึงเว้นสิ่งทั้ง ๒ นั้น คือ สิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลแล้ว
เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่’ ก็เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะในสิ่งทั้ง ๒
นั้นอยู่ หรือบรรลุอากิญจัญญายตนฌานอยู่โดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ เพราะล่วง
วิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง
ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวอุเบกขาเจโตวิมุตติว่ามีอากิญจัญญายตนฌานเป็น
อย่างยิ่งสำหรับภิกษุผู้มีปัญญาอันเป็นโลกิยะยังไม่รู้แจ้งวิมุตติที่ยอดเยี่ยมในธรรม-
วินัยนี้”

เมตตาสหคตสูตรที่ ๔ จบ

๕. สังคารวสูตร
ว่าด้วยสังคารวพราหมณ์

[๒๓๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น สังคารวพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนา
ปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถาม
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มนตร์
แม้ที่สาธยายมาเป็นเวลานานก็ไม่แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์ที่ไม่ได้สาธยาย
เลย อนึ่ง อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มนตร์แม้ที่ไม่ได้สาธยายมาเป็นเวลานานก็แจ่มแจ้ง
ได้ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์ที่สาธยายเลย”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พราหมณ์
๑. สมัยใด บุคคลมีจิตถูกกามราคะกลุ้มรุม ถูกกามราคะครอบงำ
อยู่ และไม่รู้ชัดธรรมเครื่องสลัดออกจากกามราคะที่เกิดขึ้นแล้ว
ตามความเป็นจริง สมัยนั้น บุคคลไม่รู้ ไม่เห็นแม้ประโยชน์ตน
ประโยชน์ผู้อื่น และประโยชน์ทั้งสองตามความเป็นจริง มนตร์
แม้ที่สาธยายมาเป็นเวลานานก็ไม่แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้องพูด
ถึงมนตร์ที่ไม่ได้สาธยายเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๘๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๖. โพชฌังคสากัจฉวรรค ๕. สังคารวสูตร

ภาชนะน้ำซึ่งระคนด้วยครั่ง ขมิ้น สีเขียว หรือสีเหลืองอ่อน คนมีตาดีมองดู
เงาหน้าของตนในภาชนะน้ำนั้น ไม่พึงรู้ ไม่พึงเห็นตามความเป็นจริง แม้ฉันใด
สมัยใด บุคคลมีจิตถูกกามราคะกลุ้มรุม ถูกกามราคะครอบงำอยู่ และไม่
รู้ชัดธรรมเครื่องสลัดออกจากกามราคะที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง สมัยนั้น
บุคคลไม่รู้ ไม่เห็นแม้ประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น และประโยชน์ทั้งสองตามความ
เป็นจริง มนตร์แม้ที่สาธยายมาเป็นเวลานานก็ไม่แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้องพูดถึง
มนตร์ที่ไม่ได้สาธยายเลย ฉันนั้นเหมือนกัน
๒. สมัยใด บุคคลมีจิตถูกพยาบาทกลุ้มรุม ถูกพยาบาทครอบงำอยู่
และไม่รู้ชัดธรรมเครื่องสลัดออกจากพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้วตาม
ความเป็นจริง สมัยนั้น บุคคลไม่รู้ ไม่เห็นแม้ประโยชน์ตน
ประโยชน์ผู้อื่น และประโยชน์ทั้งสองตามความเป็นจริง มนตร์
แม้ที่สาธยายมาเป็นเวลานานก็ไม่แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้องพูด
ถึงมนตร์ที่ไม่ได้สาธยายเลย
ภาชนะน้ำร้อนเพราะไฟเดือดพล่านเป็นไอ คนมีตาดีมองดูเงาหน้าของตนใน
ภาชนะน้ำนั้นไม่พึงรู้ ไม่พึงเห็นตามความเป็นจริง แม้ฉันใด
สมัยใด บุคคลมีจิตถูกพยาบาทกลุ้มรุม ถูกพยาบาทครอบงำอยู่ และไม่รู้
ชัดธรรมเครื่องสลัดออกจากพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง สมัยนั้น บุคคลไม่รู้
ไม่เห็นแม้ประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น และประโยชน์ทั้งสองตามความเป็นจริง
มนตร์แม้ที่สาธยายมาเป็นเวลานานก็ไม่แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์ที่ไม่ได้
สาธยายเลย ฉันนั้นเหมือนกัน
๓. สมัยใด บุคคลมีจิตถูกถีนมิทธะกลุ้มรุม ถูกถีนมิทธะครอบงำอยู่
และไม่รู้ชัดธรรมเครื่องสลัดออกจากถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้วตาม
ความเป็นจริง สมัยนั้น บุคคลไม่รู้ ไม่เห็นแม้ประโยชน์ตน
ประโยชน์ผู้อื่น และประโยชน์ทั้งสองตามความเป็นจริง มนตร์แม้
ที่สาธยายมาเป็นเวลานานก็ไม่แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้องพูดถึง
มนตร์ที่ไม่ได้สาธยายเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๖. โพชฌังคสากัจฉวรรค ๕. สังคารวสูตร

ภาชนะน้ำถูกสาหร่ายและแหนปกคลุมไว้ คนมีตาดีมองดูเงาหน้าของตนใน
ภาชนะน้ำนั้นไม่พึงรู้ ไม่พึงเห็นตามความเป็นจริง แม้ฉันใด
สมัยใด บุคคลมีจิตถูกถีนมิทธะกลุ้มรุม ถูกถีนมิทธะครอบงำอยู่ และไม่รู้ชัด
ธรรมเครื่องสลัดออกจากถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง สมัยนั้น บุคคล
ไม่รู้ ไม่เห็นแม้ประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น และประโยชน์ทั้งสองตามความเป็นจริง
มนตร์แม้ที่สาธยายมาเป็นเวลานานก็ไม่แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์ที่ไม่
ได้สาธยายเลย ฉันนั้นเหมือนกัน
๔. สมัยใด บุคคลมีจิตถูกอุทธัจจกุกกุจจะกลุ้มรุม ถูกอุทธัจจ-
กุกกุจจะครอบงำอยู่ และไม่รู้ชัดธรรมเครื่องสลัดออกจาก
อุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง สมัยนั้น บุคคล
ไม่รู้ ไม่เห็นแม้ประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น และประโยชน์ทั้งสอง
ตามความเป็นจริง มนตร์แม้ที่สาธยายมาเป็นเวลานานก็ไม่แจ่ม
แจ้งได้ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์ที่ไม่ได้สาธยายเลย
ภาชนะน้ำถูกลมพัด ไหว วน เป็นคลื่น คนมีตาดีมองดูเงาหน้าของตนใน
ภาชนะน้ำนั้น ไม่พึงรู้ ไม่พึงเห็นตามความเป็นจริง แม้ฉันใด
สมัยใด บุคคลมีจิตถูกอุทธัจจกุกกุจจะกลุ้มรุม ถูกอุทธัจจกุกกุจจะครอบงำอยู่
และไม่รู้ชัดธรรมเครื่องสลัดออกจากอุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง
สมัยนั้น บุคคลไม่รู้ ไม่เห็นแม้ประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น และประโยชน์ทั้งสอง
ตามความเป็นจริง มนตร์แม้ที่สาธยายมาเป็นเวลานานก็ไม่แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็น
ต้องพูดถึงมนตร์ที่ไม่ได้สาธยายเลย ฉันนั้นเหมือนกัน
๕. สมัยใด บุคคลมีจิตถูกวิจิกิจฉากลุ้มรุม ถูกวิจิกิจฉาครอบงำอยู่
และไม่รู้ชัดธรรมเครื่องสลัดออกจากวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้วตามความ
เป็นจริง สมัยนั้น บุคคลไม่รู้ ไม่เห็นแม้ประโยชน์ตน ประโยชน์
ผู้อื่น และประโยชน์ทั้งสองตามความเป็นจริง มนตร์แม้ที่สาธยาย
มาเป็นเวลานานก็ไม่แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์ที่ไม่
ได้สาธยายเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๖. โพชฌังคสากัจฉวรรค ๕. สังคารวสูตร

ภาชนะน้ำขุ่นมัว เป็นตม ที่เขาวางไว้ในที่มืด คนมีตาดี มองดูเงาหน้าของ
ตนในภาชนะน้ำนั้น ไม่พึงรู้ ไม่พึงเห็นตามความเป็นจริง แม้ฉันใด
สมัยใด บุคคลมีจิตถูกวิจิกิจฉากลุ้มรุม ถูกวิจิกิจฉาครอบงำอยู่ และไม่รู้ชัด
ธรรมเครื่องสลัดออกจากวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง สมัยนั้น บุคคล
ไม่รู้ ไม่เห็นแม้ประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น และประโยชน์ทั้งสองตามความเป็นจริง
มนตร์แม้ที่สาธยายมาเป็นเวลานานก็ไม่แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์ที่ไม่
ได้สาธยายเลย ฉันนั้นเหมือนกัน
นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มนตร์แม้ที่สาธยายมาเป็นเวลานานก็ไม่แจ่มแจ้งได้
ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์ที่ไม่ได้สาธยายเลย
พราหมณ์ แต่
๑. สมัยใด บุคคลมีจิตไม่ถูกกามราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกกามราคะ
ครอบงำอยู่ และรู้ชัดธรรมเครื่องสลัดออกจากกามราคะที่เกิด
ขึ้นแล้วตามความเป็นจริง สมัยนั้น บุคคลย่อมรู้ ย่อมเห็นแม้
ประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น และประโยชน์ทั้งสองตามความ
เป็นจริง มนตร์แม้ที่ไม่ได้สาธยายมาเป็นเวลานานก็แจ่มแจ้งได้
ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์ที่สาธยายเลย
ภาชนะน้ำซึ่งไม่ระคนด้วยครั่ง ขมิ้น สีเขียว หรือสีเหลืองอ่อน คนมีตาดี มอง
ดูเงาหน้าของตนในภาชนะน้ำนั้นพึงรู้ พึงเห็นตามความเป็นจริง แม้ฉันใด
สมัยใด บุคคลมีจิตไม่ถูกกามราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกกามราคะครอบงำอยู่ และ
รู้ชัดธรรมเครื่องสลัดออกจากกามราคะที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง ฯลฯ
๒. สมัยใด บุคคลมีจิตไม่ถูกพยาบาทกลุ้มรุม ไม่ถูกพยาบาท
ครอบงำอยู่ และรู้ชัดธรรมเครื่องสลัดออกจากพยาบาทที่เกิดขึ้น
แล้วตามความเป็นจริง สมัยนั้น บุคคลย่อมรู้ ย่อมเห็น
แม้ประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น และประโยชน์ทั้งสองตามความ
เป็นจริง มนตร์แม้ที่ไม่ได้สาธยายมาเป็นเวลานานก็แจ่มแจ้งได้
ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์ที่สาธยายเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๖. โพชฌังคสากัจฉวรรค ๕. สังคารวสูตร

ภาชนะน้ำไม่ร้อนเพราะไฟ ไม่เดือดพล่าน ไม่เป็นไอ คนมีตาดีมองดูเงาหน้า
ของตนในภาชนะน้ำนั้นพึงรู้ พึงเห็นตามความเป็นจริง แม้ฉันใด
สมัยใด บุคคลมีจิตไม่ถูกพยาบาทกลุ้มรุม ไม่ถูกพยาบาทครอบงำอยู่ และรู้ชัด
ธรรมเครื่องสลัดออกจากพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง สมัยนั้น บุคคล
ย่อมรู้ ย่อมเห็นแม้ประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น และประโยชน์ทั้งสองตามความเป็นจริง
มนตร์แม้ที่ไม่ได้สาธยายมาเป็นเวลานานก็แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์ที่
สาธยายเลย ฉันนั้นเหมือนกัน
๓. สมัยใด บุคคลมีจิตไม่ถูกถีนมิทธะกลุ้มรุม ไม่ถูกถีนมิทธะ
ครอบงำอยู่ และรู้ชัดธรรมเครื่องสลัดออกจากถีนมิทธะที่เกิดขึ้น
แล้วตามความเป็นจริง สมัยนั้น บุคคลย่อมรู้ ย่อมเห็นแม้
ประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น และประโยชน์ทั้งสองตามความ
เป็นจริง มนตร์แม้ที่ไม่ได้สาธยายมาเป็นเวลานานก็แจ่มแจ้งได้
ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์ที่สาธยายเลย
ภาชนะน้ำไม่ถูกสาหร่ายและแหนปกคลุมไว้ คนมีตาดีมองดูเงาหน้าของตนใน
ภาชนะน้ำนั้นพึงรู้ พึงเห็นตามความเป็นจริง แม้ฉันใด
สมัยใด บุคคลมีจิตไม่ถูกถีนมิทธะกลุ้มรุม ไม่ถูกถีนมิทธะครอบงำอยู่ และรู้ชัด
ธรรมเครื่องสลัดออกจากถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง สมัยนั้น บุคคล
ย่อมรู้ ย่อมเห็นแม้ประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น และประโยชน์ทั้งสองตามความ
เป็นจริง มนตร์แม้ที่ไม่ได้สาธยายมาเป็นเวลานานก็แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้องพูด
ถึงมนตร์ที่สาธยายเลย ฉันนั้นเหมือนกัน
๔. สมัยใด บุคคลมีจิตไม่ถูกอุทธัจจกุกกุจจะกลุ้มรุม ไม่ถูกอุทธัจจ-
กุกกุจจะครอบงำอยู่ และรู้ชัดธรรมเครื่องสลัดออกจากอุทธัจจ-
กุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง สมัยนั้น บุคคลย่อมรู้
ย่อมเห็นแม้ประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น และประโยชน์ทั้งสอง
ตามความเป็นจริง มนตร์แม้ที่ไม่ได้สาธยายมาเป็นเวลานาน ก็
แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์ที่สาธยายเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๖. โพชฌังคสากัจฉวรรค ๕. สังคารวสูตร

ภาชนะน้ำไม่ถูกลมพัด ก็ไม่ไหว ไม่วน ไม่เป็นคลื่น คนมีตาดีมองดูเงาหน้า
ของตนในภาชนะน้ำนั้น พึงรู้ พึงเห็นตามความเป็นจริง แม้ฉันใด
สมัยใด บุคคลมีจิตไม่ถูกอุทธัจจกุกกุจจะกลุ้มรุม ไม่ถูกอุทธัจจกุกกุจจะ
ครอบงำอยู่ และรู้ชัดธรรมเครื่องสลัดออกจากอุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้วตาม
ความเป็นจริง สมัยนั้น บุคคลย่อมรู้ ย่อมเห็นแม้ประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น
และประโยชน์ทั้งสองตามความเป็นจริง มนตร์แม้ที่ไม่ได้สาธยายมาเป็นเวลานาน
ก็แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์ที่สาธยายเลย ฉันนั้นเหมือนกัน
๕. สมัยใด บุคคลมีจิตไม่ถูกวิจิกิจฉากลุ้มรุม ไม่ถูกวิจิกิจฉาครอบงำ
อยู่ และรู้ชัดธรรมเครื่องสลัดออกจากวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้วตาม
ความเป็นจริง สมัยนั้น บุคคลย่อมรู้ ย่อมเห็นแม้ประโยชน์ตน
ประโยชน์ผู้อื่น และประโยชน์ทั้งสองตามความเป็นจริง มนตร์
แม้ที่ไม่ได้สาธยายมาเป็นเวลานานก็แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้อง
พูดถึงมนตร์ที่สาธยายเลย
ภาชนะน้ำใสแจ๋ว ไม่ขุ่นมัว ที่เขาวางไว้ในที่แจ้ง คนมีตาดีมองดูเงาหน้าของ
ตนในภาชนะน้ำนั้นพึงรู้ พึงเห็นตามความเป็นจริง แม้ฉันใด
สมัยใด บุคคลมีจิตไม่ถูกวิจิกิจฉากลุ้มรุม ไม่ถูกวิจิกิจฉาครอบงำอยู่ และรู้ชัด
ธรรมเครื่องสลัดออกจากวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง สมัยนั้น บุคคล
ย่อมรู้ ย่อมเห็นแม้ประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น และประโยชน์ทั้งสองตามความ
เป็นจริง มนตร์แม้ที่ไม่ได้สาธยายมาเป็นเวลานานก็แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้องพูด
ถึงมนตร์ที่สาธยายเลย ฉันนั้นเหมือนกัน
นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มนตร์แม้ที่ไม่ได้สาธยายมาเป็นเวลานานก็แจ่มแจ้ง
ได้ในกาลบางคราว ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์ที่สาธยายเลย๑
พราหมณ์ โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ไม่เป็นนิวรณ์เครื่องกางกั้น ไม่เป็นความ
เศร้าหมองแห่งจิต ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งผล
แห่งวิชชาและวิมุตติ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๖. โพชฌังคสากัจฉวรรค ๖. อภยสูตร

โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์ไม่เป็นนิวรณ์เครื่องกางกั้น ไม่เป็นความเศร้าหมอง
แห่งจิต ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้
แจ้งผลแห่งวิชชาและวิมุตติ
ฯลฯ
๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ไม่เป็นนิวรณ์เครื่องกางกั้น ไม่เป็นความ
เศร้าหมองแห่งจิตที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป
เพื่อทำให้แจ้งผลแห่งวิชชาและวิมุตติ
พราหมณ์ โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ไม่เป็นนิวรณ์เครื่องกางกั้น ไม่เป็นความ
เศร้าหมองแห่งจิต ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งผลแห่ง
วิชชาและวิมุตติ”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว สังคารวพราหมณ์ได้กราบทูลว่า “ข้าแต่
ท่านพระโคดม พระภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอท่าน
พระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจน
ตลอดชีวิต”

สังคารวสูตรที่ ๕ จบ

๖. อภยสูตร
ว่าด้วยอภัยราชกุมาร

[๒๓๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุงราชคฤห์
ครั้งนั้น อภัยราชกุมารเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว
ประทับนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ปูรณะ กัสสปะได้กล่าวว่า ‘เหตุไม่มี ปัจจัยไม่มีเพื่อความไม่รู้ เพื่อความไม่เห็น
ความไม่รู้ ความไม่เห็นไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย เหตุไม่มี ปัจจัยไม่มีเพื่อความรู้ เพื่อ
ความเห็น ความรู้ ความเห็นไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย’ ในเรื่องนี้ พระองค์ตรัสว่าอย่างไร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๘๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๖. โพชฌังคสากัจฉวรรค ๖. อภยสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ราชกุมาร เหตุมี ปัจจัยมีเพื่อความไม่รู้ เพื่อ
ความไม่เห็น ความไม่รู้ ความไม่เห็นมีเหตุ มีปัจจัย เหตุมี ปัจจัยมีเพื่อความรู้
เพื่อความเห็น ความรู้ ความเห็นมีเหตุ มีปัจจัย”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เหตุเป็นอย่างไร ปัจจัยเพื่อความไม่รู้ เพื่อความไม่
เห็นเป็นอย่างไร ความไม่รู้ ความไม่เห็นมีเหตุ มีปัจจัยอย่างไร”
“ราชกุมาร สมัยใด บุคคลมีจิตถูกกามราคะกลุ้มรุม ถูกกามราคะครอบงำอยู่
และไม่รู้ ไม่เห็นธรรมเครื่องสลัดออกจากกามราคะที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง
นี้แลเป็นเหตุ เป็นปัจจัย เพื่อความไม่รู้ เพื่อความไม่เห็น ความไม่รู้ ความไม่เห็น
มีเหตุ มีปัจจัย แม้อย่างนี้
อีกประการหนึ่ง สมัยใด บุคคลมีจิตถูกพยาบาทกลุ้มรุม ถูกพยาบาท
ครอบงำอยู่ และไม่รู้ ไม่เห็นธรรมเครื่องสลัดออกจากพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้วตาม
ความเป็นจริง นี้แลเป็นเหตุ เป็นปัจจัย เพื่อความไม่รู้ เพื่อความไม่เห็น ความไม่รู้
ความไม่เห็นมีเหตุ มีปัจจัย แม้อย่างนี้
อีกประการหนึ่ง สมัยใด บุคคลมีจิตถูกถีนมิทธะกลุ้มรุม ฯลฯ มีจิตถูก
อุทธัจจกุกกุจจะกลุ้มรุม ฯลฯ มีจิตถูกวิจิกิจฉากลุ้มรุม ถูกวิจิกิจฉาครอบงำอยู่
และไม่รู้ ไม่เห็นธรรมเครื่องสลัดออกจากวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง
นี้แลเป็นเหตุ เป็นปัจจัย เพื่อความไม่รู้ เพื่อความไม่เห็น ความไม่รู้ ความไม่เห็น
มีเหตุ มีปัจจัย แม้อย่างนี้”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมบรรยายนี้ชื่ออะไร”
“ราชกุมาร ธรรมเหล่านี้ชื่อนิวรณ์”
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค นิวรณ์เป็นอย่างนี้ ข้าแต่พระสุคต นิวรณ์เป็นอย่างนี้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลถูกนิวรณ์แม้อย่างใดอย่างหนึ่งครอบงำแล้ว ก็ไม่รู้
ไม่เห็นตามความเป็นจริง ไม่จำเป็นต้องพูดถึงบุคคลผู้ถูกนิวรณ์ทั้ง ๕ ครอบงำเลย
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อนึ่ง เหตุเป็นอย่างไร ปัจจัยเพื่อความรู้ เพื่อความ
เห็นเป็นอย่างไร ความรู้ ความเห็นมีเหตุ มีปัจจัยอย่างไร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๘๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๖. โพชฌังคสากัจฉวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

“ราชกุมาร ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัย
วิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ เธอมีจิตอันสติสัมโพชฌงค์ให้เจริญแล้วย่อม
รู้ ย่อมเห็นตามความเป็นจริง ราชกุมาร นี้แลเป็นเหตุ เป็นปัจจัยเพื่อความรู้
เพื่อความเห็น ความรู้ ความเห็นมีเหตุ มีปัจจัย แม้อย่างนี้
อีกประการหนึ่ง ฯลฯ ภิกษุเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัย
วิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ เธอมีจิตอันอุเบกขาสัมโพชฌงค์ให้เจริญ
แล้วย่อมรู้ ย่อมเห็นตามความเป็นจริง ราชกุมาร นี้แลเป็นเหตุ เป็นปัจจัย เพื่อ
ความรู้ เพื่อความเห็น ความรู้ ความเห็นมีเหตุ มีปัจจัย แม้อย่างนี้”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมบรรยายนี้ชื่ออะไร”
“ราชกุมาร ธรรมเหล่านี้ชื่อโพชฌงค์”
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค โพชฌงค์เป็นอย่างนี้ ข้าแต่พระสุคต โพชฌงค์เป็น
อย่างนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลผู้ประกอบด้วยโพชฌงค์แม้อย่างใดอย่างหนึ่ง
พึงรู้ พึงเห็นตามความเป็นจริง ไม่จำเป็นต้องพูดถึงบุคคลผู้ประกอบด้วยโพชฌงค์ทั้ง
๗ ประการเลย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้ากายใจที่มีแก่
ข้าพระองค์ผู้ขึ้นภูเขาคิชฌกูฏก็ระงับไป และธรรมอันข้าพระองค์ก็ได้บรรลุแล้ว”

อภยสูตรที่ ๖ จบ
โพชฌังคสากัจฉวรรคที่ ๖ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อาหารสูตร ๒. ปริยายสูตร
๓. อัคคิสูตร ๔. เมตตาสหคตสูตร
๕. สังคารวสูตร ๖. อภยสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๗. อานาปานวรรค (๑) อัญญตรผลสูตร

๗. อานาปานวรรค
หมวดว่าด้วยอานาปานสติ
๑. อัฏฐิกมหัปผลสูตร
ว่าด้วยอัฏฐิกสัญญามีผลมาก

[๒๓๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญา (ความหมายรู้ซากศพ
ที่ยังเหลืออยู่แต่ร่างกระดูกหรือกระดูกท่อน) ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว มีผลมาก
มีอานิสงส์มาก
อัฏฐิกสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา อันอาศัยวิเวก
อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
ฯลฯ
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา อันอาศัย
วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว มีผลมาก มี
อานิสงส์มาก อย่างนี้แล”

(๑) อัญญตรผลสูตร
ว่าด้วยอัฏฐิกสัญญามีผลอย่างใดอย่างหนึ่ง

“ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออัฏฐิกสัญญาอันบุคคลเจริญ ทำให้มากแล้วพึงหวังผล
อย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่
ก็จักเป็นพระอนาคามี
เมื่ออัฏฐิกสัญญาอันบุคคลเจริญ ทำให้มากแล้วพึงหวังผลอย่าง ๑ ใน
๒ อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ก็จักเป็นพระ
อนาคามี อย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๘๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๗. อานาปานวรรค (๒) มหัตถสูตร

คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา ฯลฯ
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา อันอาศัย
วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออัฏฐิกสัญญาอันบุคคลเจริญ ทำให้มากแล้วพึงหวังผลอย่าง
๑ ใน ๒ อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ก็จัก
เป็นพระอนาคามี อย่างนี้แล”

(๒) มหัตถสูตร
ว่าด้วยอัฏฐิกสัญญาเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก

“ภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ
ประโยชน์มาก๑
อัฏฐิกสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก
อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา ฯลฯ
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา อันอาศัย
วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ
ประโยชน์มาก อย่างนี้แล”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๗. อานาปานวรรค (๔) สังเวคสูตร

(๓) โยคักเขมสูตร
ว่าด้วยอัฏฐิกสัญญาเป็นไปเพื่อธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะ

“ภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ
ธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะมาก๑
อัฏฐิกสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อธรรม
เป็นแดนเกษมจากโยคะมาก อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา ฯลฯ
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา อันอาศัย
วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ
ธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะมาก อย่างนี้แล”

(๔) สังเวคสูตร
ว่าด้วยอัฏฐิกสัญญาเป็นไปเพื่อความสังเวช

“ภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ
ความสังเวชมาก๒
อัฏฐิกสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสังเวช
มาก อย่างไร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๗. อานาปานวรรค ๒. ปุฬวกสูตร

คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา ฯลฯ
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา อันอาศัย
วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ
ความสังเวชมาก อย่างนี้แล”

(๕) ผาสุวิหารสูตร
ว่าด้วยอัฏฐิกสัญญาเป็นไปเพื่อความอยู่ผาสุก

“ภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญา ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป
เพื่อความอยู่ผาสุกมาก
อัฏฐิกสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่ผาสุก
มาก อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา ฯลฯ
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา อันอาศัย
วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ
ความอยู่ผาสุกมาก อย่างนี้แล”

อัฏฐิกมหัปผลสูตรที่ ๑ จบ

๒. ปุฬวกสูตร
ว่าด้วยปุฬวกสัญญา

[๒๓๙] “ภิกษุทั้งหลาย ปุฬวกสัญญา (ความหมายรู้ซากศพที่มีหนอนคลา
คล่ำเต็มไปหมด) ที่บุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ

ปุฬวกสูตรที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๗. อานาปานวรรค ๗. กรุณาสูตร

๓. วินีลกสูตร
ว่าด้วยวินิลกสัญญา

[๒๔๐] “ภิกษุทั้งหลาย วินีลกสัญญา (ความหมายรู้ซากศพที่มีสีเขียวคล้ำ
คละด้วยสีต่าง ๆ) ที่บุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ

วินีลกสูตรที่ ๓ จบ

๔. วิจฉิททกสูตร
ว่าด้วยวิจฉิททกสัญญา

[๒๔๑] “ภิกษุทั้งหลาย วิจฉิททกสัญญา (ความหมายรู้ซากศพที่ขาดจากกัน
เป็นท่อน ๆ) ที่บุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ

วิจฉิททกสูตรที่ ๔ จบ

๕. อุทธุมาตกสูตร
ว่าด้วยอุทธุมาตกสัญญา

[๒๔๒] “ภิกษุทั้งหลาย อุทธุมาตกสัญญา (ความหมายรู้ซากศพที่เน่าพอง
ขึ้นอืด) ที่บุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ

อุทธุมาตกสูตรที่ ๕ จบ

๖. เมตตาสูตร
ว่าด้วยเมตตา

[๒๔๓] “ภิกษุทั้งหลาย เมตตาที่บุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ

เมตตาสูตรที่ ๖ จบ

๗. กรุณาสูตร
ว่าด้วยกรุณา

[๒๔๔] “ภิกษุทั้งหลาย กรุณาที่บุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ

กรุณาสูตรที่ ๗ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๘. นิโรธวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๘. มุทิตาสูตร
ว่าด้วยมุทิตา

[๒๔๕] “ภิกษุทั้งหลาย มุทิตาที่บุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ

มุทิตาสูตรที่ ๘ จบ

๙. อุเบกขาสูตร
ว่าด้วยอุเบกขา

[๒๔๖] “ภิกษุทั้งหลาย อุเบกขาที่บุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ

อุเบกขาสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. อานาปานสูตร
ว่าด้วยอานาปานสติ

[๒๔๗] “ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ (สติกำหนดลมหายใจเข้าออก) ที่บุคคล
เจริญแล้ว ฯลฯ

อานาปานสูตรที่ ๑๐ จบ
อานาปานวรรคที่ ๗ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อัฏฐิกมหัปผลสูตร ๒. ปุฬวกสูตร
๓. วินีลกสูตร ๔. วิจฉิททกสูตร
๕. อุทธุมาตกสูตร ๖. เมตตาสูตร
๗. กรุณาสูตร ๘. มุทิตาสูตร
๙. อุเบกขาสูตร ๑๐. อานาปานสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๘. นิโรธวรรค ๔. อนภิรติสูตร

๘. นิโรธวรรค
หมวดว่าด้วยนิโรธ
๑. อสุภสูตร
ว่าด้วยอสุภสัญญา

[๒๔๘] “ภิกษุทั้งหลาย อสุภสัญญา (ความหมายรู้ความไม่งาม) ที่บุคคล
เจริญแล้ว ฯลฯ

อสุภสูตรที่ ๑ จบ

๒. มรณสูตร
ว่าด้วยมรณสัญญา

[๒๔๙] “ภิกษุทั้งหลาย มรณสัญญา (ความหมายรู้ความตาย) ที่บุคคลเจริญ
แล้ว ฯลฯ

มรณสูตรที่ ๒ จบ

๓. อาหาเรปฏิกูลสูตร
ว่าด้วยอาหาเรปฏิกูลสัญญา

[๒๕๐] “ภิกษุทั้งหลาย อาหาเรปฏิกูลสัญญา (ความหมายรู้ความปฏิกูลใน
อาหาร) ที่บุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ

อาหาเรปฏิกูลสูตรที่ ๓ จบ

๔. อนภิรติสูตร
ว่าด้วยอนภิรติสัญญา

[๒๕๑] “ภิกษุทั้งหลาย สัพพโลเกอนภิรติสัญญา (ความหมายรู้ความไม่น่า
เพลิดเพลินในโลกทั้งปวง) ที่บุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ

อนภิรติสูตรที่ ๔ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๘. นิโรธวรรค ๘. ปหานสูตร

๕. อนิจจสูตร
ว่าด้วยอนิจจสัญญา

[๒๕๒] “ภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญา(ความหมายรู้ความไม่เที่ยง) ที่บุคคล
เจริญแล้ว ฯลฯ

อนิจจสูตรที่ ๕ จบ

๖. ทุกขสูตร
ว่าด้วยทุกขสัญญา

[๒๕๓] “ภิกษุทั้งหลาย ทุกขสัญญา(ความหมายรู้ความเป็นทุกข์) ที่บุคคล
เจริญแล้ว ฯลฯ

ทุกขสูตรที่ ๖ จบ

๗. อนัตตสูตร
ว่าด้วยอนัตตสัญญา

[๒๕๔] “ภิกษุทั้งหลาย อนัตตสัญญา (ความหมายรู้ความเป็นอนัตตา) ที่
บุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ

อนัตตสูตรที่ ๗ จบ

๘. ปหานสูตร
ว่าด้วยปหานสัญญา

[๒๕๕] “ภิกษุทั้งหลาย ปหานสัญญา (ความหมายรู้การละ) ที่บุคคลเจริญ
แล้ว ฯลฯ

ปหานสูตรที่ ๘ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๘. นิโรธวรรค ๑๐. นิโรธสูตร

๙. วิราคสูตร
ว่าด้วยวิราคสัญญา

[๒๕๖] “ภิกษุทั้งหลาย วิราคสัญญา (ความหมายรู้วิราคะ) ที่บุคคลเจริญ
แล้ว ฯลฯ

วิราคสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. นิโรธสูตร
ว่าด้วยนิโรธสัญญา

[๒๕๗] “ภิกษุทั้งหลาย นิโรธสัญญา (ความหมายรู้นิโรธ) ที่บุคคลเจริญ
ทำให้มากแล้วมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
นิโรธสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้วมีผลมาก มีอานิสงส์มาก อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยนิโรธสัญญา ฯลฯ
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยนิโรธสัญญา อันอาศัย
วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
นิโรธสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก อย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อนิโรธสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้วพึงหวังผลอย่าง ๑
ใน ๒ อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ก็จักเป็น
พระอนาคามี
เมื่อนิโรธสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้วพึงหวังผลอย่าง ๑ ใน
๒ อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ก็จักเป็นพระ
อนาคามี อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยนิโรธสัญญา ฯลฯ
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยนิโรธสัญญา อันอาศัย
วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๘. นิโรธวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

เมื่อนิโรธสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้วพึงหวังผลอย่าง ๑ ใน ๒
อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ก็จักเป็นพระอนาคามี
อย่างนี้แล
นิโรธสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก เพื่อ
ธรรมที่เป็นแดนเกษมจากโยคะมาก เพื่อความสังเวชมาก เพื่อความอยู่ผาสุกมาก
นิโรธสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก
เพื่อธรรมที่เป็นแดนเกษมจากโยคะมาก เพื่อความสังเวชมาก เพื่อความอยู่
ผาสุกมาก อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยนิโรธสัญญา ฯลฯ
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยนิโรธสัญญา อันอาศัย
วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย นิโรธสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ
ประโยชน์มาก เพื่อธรรมที่เป็นแดนเกษมจากโยคะมาก เพื่อความสังเวชมาก เพื่อ
ความอยู่ผาสุกมาก อย่างนี้แล”

นิโรธสูตรที่ ๑๐ จบ
นิโรธวรรคที่ ๘ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อสุภสูตร ๒. มรณสูตร
๓. อาหาเรปฏิกูลสูตร ๔. อนภิรติสูตร
๕. อนิจจสูตร ๖. ทุกขสูตร
๗. อนัตตสูตร ๘. ปหานสูตร
๙. วิราคสูตร ๑๐. นิโรธสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๙. คังคาเปยยาลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๙. คังคาเปยยาลวรรค
หมวดว่าด้วยคังคาเปยยาล
๑-๑๒. คังคานทีอาทิสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยแม่น้ำคงคาเป็นต้น

[๒๕๘-๒๖๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่
ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน หลากไปสู่ทิศปราจีน ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญโพชฌงค์
๗ ประการ ทำโพชฌงค์ ๗ ประการให้มากย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน
โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้น
ภิกษุเมื่อเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ ทำโพชฌงค์ ๗ ประการให้มาก
ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ ทำโพชฌงค์ ๗ ประการให้มาก
ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างนี้แล”

(พึงเพิ่มบาลีให้พิสดารจนถึงเอสนาสูตร)

คังคานทีอาทิสูตรที่ ๑-๑๒ จบ
คังคาเปยยาลวรรคที่ ๙ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ปฐมปาจีนนินนสูตร ๒-๕. ทุติยาทิปาจีนนินนสุตตจตุกกะ
๖. ฉัฏฐปาจีนนินนสูตร ๗. ปฐมสมุททนินนสูตร
๘-๑๒. ทุติยาทิสมุททนินนสุตตปัญจกะ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๑๐. อัปปมาทวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๑๐. อัปปมาทวรรค
หมวดว่าด้วยความไม่ประมาท
๑-๑๐. ตถาคตาทิสูตร
ว่าด้วยพระตถาคตเลิศกว่าสัตว์ทั้งหลายเป็นต้น

[๒๗๐-๒๗๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายไม่มีเท้า
มีสองเท้า มีสี่เท้า หรือมีเท้ามากก็ตาม มีประมาณเท่าใด
พึงเพิ่มข้อความต่อจากนี้ไปให้พิสดาร๑

ตถาคตาทิสูตรที่ ๑-๑๐ จบ
อัปปมาทวรรคที่ ๑๐ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ตถาคตสูตร ๒. ปทสูตร
๓. กูฏสูตร ๔. มูลสูตร
๕. สารสูตร ๖. วัสสิกสูตร
๗. ราชาสูตร ๘. จันทิมสูตร
๙. สุริยสูตร ๑๐. วัตถสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๑๑. พลกรณียวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๑๑. พลกรณียวรรค
หมวดว่าด้วยการงานที่พึงทำด้วยกำลัง
๑-๑๒. พลาทิสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยการงานที่พึงทำด้วยกำลังเป็นต้น

[๒๘๐-๒๙๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย การงานที่พึงทำ
ด้วยกำลังทั้งหมด บุคคลต้องอาศัยแผ่นดิน ดำรงอยู่บนแผ่นดินจึงทำได้ แม้ฉันใด
พึงเพิ่มข้อความต่อจากนี้ไปให้พิสดาร๑

พลาทิสูตรที่ ๑-๑๒ จบ
พลกรณียวรรคที่ ๑๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. พลสูตร ๒. พีชสูตร
๓. นาคสูตร ๔. รุกขสูตร
๕. กุมภสูตร ๖. สูกสูตร
๗. อากาสสูตร ๘. ปฐมเมฆสูตร
๙. ทุติยเมฆสูตร ๑๐. นาวาสูตร
๑๑. อาคันตุกสูตร ๑๒. นทีสูตร

(พึงขยายพลกรณียวรรคให้พิสดารด้วยอำนาจโพชฌงค์แห่งโพชฌังคสังยุต)


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๑๒. เอสนาวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๑๒. เอสนาวรรค
หมวดว่าด้วยการแสวงหา
๑-๑๑. เอสนาทิสูตร
ว่าด้วยการแสวงหาเป็นต้น

[๒๙๒-๓๐๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓
ประการนี้
การแสวงหา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. การแสวงหากาม ๒. การแสวงหาภพ
๓. การแสวงหาพรหมจรรย์

พึงเพิ่มข้อความต่อจากนี้ไปให้พิสดาร๑

เอสนาทิสูตรที่ ๑-๑๑ จบ
เอสนาวรรคที่ ๑๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. เอสนาสูตร ๒. วิธาสูตร
๓. อาสวสูตร ๔. ภวสูตร
๕. ทุกขตาสูตร ๖. ขีลสูตร
๗. มลสูตร ๘. นีฆสูตร
๙. เวทนาสูตร ๑๐. ตัณหาสูตร
๑๑. ตสินาสูตร

(ผู้รู้ทั้งหลายพึงขยายเอสนาเปยยาลแห่งโพชฌังคสังยุตโดยอาศัยวิเวก)


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๑๓. โอฆวรรค ๑๐. อุทธัมภาคิยสูตร

๑๓. โอฆวรรค
หมวดว่าด้วยโอฆะ
๑-๙. โอฆาทิสูตร
ว่าด้วยโอฆะเป็นต้น

[๓๐๒-๓๑๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย โอฆะ (ห้วงน้ำ) ๔
ประการนี้
โอฆะ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กาโมฆะ ๒. ภโวฆะ
๓. ทิฏโฐฆะ ๔. อวิชโชฆะ

พึงเพิ่มข้อความต่อจากนี้ไปให้พิสดาร๑

โอฆาทิสูตรที่ ๑-๙ จบ

๑๐. อุทธัมภาคิยสูตร
ว่าด้วยอุทธัมภาคิยสังโยชน์

[๓๑๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย อุทธัมภาคิยสังโยชน์ (สังโยชน์เบื้องสูง) ๕ ประการนี้
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปราคะ
๒. อรูปราคะ
๓. มานะ
๔. อุทธัจจะ
๕. อวิชชา
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๑๓. โอฆวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ภิกษุพึงเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป
เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้
โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ
ฯลฯ
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ
และโมหะเป็นที่สุด ... อันหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า
มีอมตะเป็นที่สุด ... อันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้
เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้”

อุทธัมภาคิยสูตรที่ ๑๐ จบ
โอฆวรรคที่ ๑๓ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. โอฆสูตร ๒. โยคสูตร
๓. อุปาทานสูตร ๔. คันถสูตร
๕. อนุสยสูตร ๖. กามคุณสูตร
๗. นีวรณสูตร ๘. อุปาทานักขันธสูตร
๙. โอรัมภาคิยสูตร ๑๐. อุทธัมภาคิยสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๑๔. ปุนคังคาเปยยาลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๑๔. ปุนคังคาเปยยาลวรรค
หมวดว่าด้วยคังคาเปยยาล อีกหมวดหนึ่ง

๓๑๒-๓๒๓. ปุนคังคานทีอาทิสูตร๑
ว่าด้วยอุปมาด้วยแม่น้ำคงคาเป็นต้น อีกสูตรหนึ่ง

ปุนคังคานทีอาทิสูตรที่ ๓๑๒-๓๒๓ จบ
วรรคที่ ๑๔ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมปาจีนนินนสูตร ๒-๕. ทุติยาทิปาจีนนินนสุตตจตุกกะ
๖. ฉัฏฐปาจีนนินนสูตร ๗. ปฐมสมุททนินนสูตร
๘-๑๒. ทุติยาทิสมุททนินนสุตตปัญจกะ

(พึงขยายคังคาเปยยาลแห่งโพชฌังคสังยุตให้พิสดารด้วยอำนาจราคะ)


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๑๕. ปุนอัปปมาทวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๑๕. ปุนอัปปมาทวรรค
หมวดว่าด้วยความไม่ประมาท อีกหมวดหนึ่ง

๓๒๔-๓๓๓. ตถาคตาทิสูตร๑
ว่าด้วยพระตถาคตเลิศกว่าสัตว์ทั้งหลายเป็นต้น

ตถาคตาทิสูตรที่ ๓๒๔-๓๓๓ จบ
ปุนอัปปมาทวรรคที่ ๑๕ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ตถาคตสูตร ๒. ปทสูตร
๓-๗. กูฏาทิสุตตปัญจกะ ๘-๑๐. จันทิมาทิสุตตติกะ

(พึงขยายอัปปมาทวรรคให้พิสดารด้วยอำนาจราคะ)


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๑๖. ปุนพลกรณียวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๑๖. ปุนพลกรณียวรรค
หมวดว่าด้วยการงานที่พึงทำด้วยกำลัง อีกหมวดหนึ่ง

๓๓๔-๓๔๕. ปุนพลาทิสูตร๑
ว่าด้วยอุปมาด้วยการงานที่พึงทำด้วยกำลังเป็นต้น อีกสูตรหนึ่ง

ปุนพลาทิสูตรที่ ๓๓๔-๓๔๕ จบ
ปุนพลกรณียวรรคที่ ๑๖ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. พลสูตร ๒. พีชสูตร
๓. นาคสูตร ๔. รุกขสูตร
๕. กุมภสูตร ๖. สูกสูตร
๗. อากาสสูตร ๘. ปฐมเมฆสูตร
๙. ทุติยเมฆสูตร ๑๐. นาวาสูตร
๑๑. อาคันตุกสูตร ๑๒. นทีสูตร

(พึงขยายพลกรณียวรรคแห่งโพชฌังคสังยุตให้พิสดารด้วยอำนาจราคะ)


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๑๗. ปุนเอสนาวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๑๗. ปุนเอสนาวรรค
หมวดว่าด้วยการแสวงหา อีกหมวดหนึ่ง

๓๔๖-๓๕๖. ปุนเอสนาทิสูตร๑
ว่าด้วยการแสวงหาเป็นต้น อีกสูตรหนึ่ง

ปุนเอสนาทิสูตรที่ ๓๔๖-๓๕๖ จบ
ปุนเอสนาวรรคแห่งโพชฌังคสังยุตที่ ๑๗ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. เอสนาสูตร ๒. วิธาสูตร
๓. อาสวสูตร ๔. ภวสูตร
๕. ทุกขตาสูตร ๖. ขีลสูตร
๗. มลสูตร ๘. นีฆสูตร
๙. เวทนาสูตร ๑๐. ตัณหาสูตร
๑๑. ตสินาสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๑๘. ปุนโอฆวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๑๘. ปุนโอฆวรรค
หมวดว่าด้วยโอฆะ อีกหมวดหนึ่ง

๓๕๗-๓๖๖. ปุนโอฆาทิสูตร๑
ว่าด้วยโอฆะเป็นต้น อีกสูตรหนึ่ง

ปุนโอฆาทิสูตรที่ ๓๕๗-๓๖๖ จบ
ปุนโอฆวรรคแห่งโพชฌังคสังยุตที่ ๑๘ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. โอฆสูตร ๒. โยคสูตร
๓. อุปาทานสูตร ๔. คันถสูตร
๕. อนุสยสูตร ๖. กามคุณสูตร
๗. นีวรณสูตร ๘. อุปาทานักขันธสูตร
๙. โอรัมภาคิยสูตร ๑๐. อุทธัมภาคิยสูตร

(พึงขยายโอฆวรรคให้พิสดารด้วยอำนาจการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะเป็นที่สุด)

(พึงขยายแม้โพชฌังคสังยุตให้พิสดารเหมือนมัคคสังยุตฉะนั้น)

โพชฌังคสังยุตที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๑. อัมพปาลิวรรค ๑. อัมพปาลิสูตร

๓. สติปัฏฐานสังยุต
๑. อัมพปาลิวรรค
หมวดว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่อัมพปาลีวัน
๑. อัมพปาลิสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่อัมพปาลีวัน

[๓๖๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ อัมพปาลีวัน เขตกรุงเวสาลี
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นทางเดียว๑ เพื่อความหมดจดแห่งสัตว์ทั้งหลาย
เพื่อก้าวล่วงโสกะและปริเทวะ เพื่อดับทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อ
ทำนิพพานให้แจ้ง คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๑. อัมพปาลิวรรค ๒. สติสูตร

๓. พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นทางเดียวเพื่อความหมดจดแห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อ
ก้าวล่วงโสกะและปริเทวะ เพื่อดับทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำ
นิพพานให้แจ้ง คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดี ต่างชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค

อัมพปาลิสูตรที่ ๑ จบ

๒. สติสูตร
ว่าด้วยผู้มีสติสัมปชัญญะ

[๓๖๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ อัมพปาลีวัน เขตกรุงเวสาลี
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงมีสติสัมปชัญญะอยู่เถิด นี้เป็นคำพร่ำสอนของเรา
สำหรับเธอทั้งหลาย
ภิกษุผู้มีสติ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุผู้มีสติ เป็นอย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๑๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๑. อัมพปาลิวรรค ๓. ภิกขุสูตร

ภิกษุผู้มีสัมปชัญญะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ทำความรู้สึกตัวในการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู
การเหลียวดู การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ บาตรและจีวร การฉัน
การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม การถ่ายอุจจาระปัสสาวะ การเดิน การยืน การนั่ง
การนอน การตื่น การพูด การนิ่ง
ภิกษุผู้มีสัมปชัญญะ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงมีสติสัมปชัญญะอยู่เถิด นี้เป็นคำพร่ำสอนของเรา
สำหรับเธอทั้งหลาย”๑

สติสูตรที่ ๒ จบ

๓. ภิกขุสูตร
ว่าด้วยภิกษุ

[๓๖๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดง
ธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ซึ่งข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว จะพึงหลีกออกไปอยู่คนเดียว
ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่เถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โมฆะบุรุษบางพวกในโลกนี้ เชื้อเชิญเราอย่างนี้เหมือนกัน
และเมื่อเราได้กล่าวธรรม ย่อมสำคัญเราว่าควรติดตามเท่านั้น”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดย
ย่อ ขอพระสุคตโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อเถิด บางที ข้าพระองค์พึงรู้
ทั่วถึงเนื้อความแห่งพระดำรัสของพระผู้มีพระภาค บางที ข้าพระองค์พึงเป็นผู้สืบ
ทอดพระดำรัสของพระผู้มีพระภาค”
“ภิกษุ เพราะเหตุนั้น เธอจงทำเบื้องต้นในกุศลธรรมทั้งหลายให้หมดจดก่อน
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย คือ ศีลที่บริสุทธิ์ดีและความเห็นที่ตรง


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๑. อัมพปาลิวรรค ๓. ภิกขุสูตร

เมื่อใด ศีลของเธอจักบริสุทธิ์ดี และความเห็นจักตรง เมื่อนั้น เธออาศัยศีล
ดำรงอยู่ในศีลแล้ว พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการ โดย ๓ วิธี
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ในธรรมวินัยนี้ เธอ
๑. จงพิจารณาเห็นกายในกายภายในอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ จงพิจารณาเห็นกาย
ในกายภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด
อภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ หรือจงพิจารณาเห็นกายในกาย
ทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. จงพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายภายในอยู่ ... จงพิจารณา
เห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายภายนอกอยู่ ... จงพิจารณาเห็น
เวทนาในเวทนาทั้งหลายทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่ มีความเพียร
มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๓. จงพิจารณาเห็นจิตในจิตภายในอยู่ ... จงพิจารณาเห็นจิตในจิต
ภายนอกอยู่ ... จงพิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสใน
โลกได้
๔. จงพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายภายในอยู่ ... จงพิจารณา
เห็นธรรมในธรรมทั้งหลายภายนอกอยู่ ... จงพิจารณาเห็นธรรม
ในธรรมทั้งหลายทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุ เมื่อใด เธออาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้วจักเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้
โดย ๓ วิธีอย่างนี้ เมื่อนั้น เธอพึงหวังความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลายตลอดคืน
หรือวันที่จักมาถึง ไม่มีความเสื่อมเลย”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๑. อัมพปาลิวรรค ๔. สาลสูตร

ลำดับนั้น ภิกษุรูปนั้นชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้ว ลุกจาก
อาสนะ ถวายอภิวาท ทำประทักษิณแล้วจากไป ต่อมา เธอก็หลีกออกไปอยู่คน
เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนักได้ทำให้แจ้งซึ่ง
ประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ที่เหล่ากุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน รู้ชัดว่า “ชาติ
สิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็น
อย่างนี้อีกต่อไป”
อนึ่ง ภิกษุรูปนั้นได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย

ภิกขุสูตรที่ ๓ จบ

๔. สาลสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่หมู่บ้านพราหมณ์ชื่อสาลา

[๓๗๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ หมู่บ้านพราหมณ์ชื่อสาลา
แคว้นโกศล ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ฯลฯ
จึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใดยังเป็นผู้ใหม่ บวชได้ไม่นาน เพิ่งมาสู่ธรรมวินัยนี้
เธอทั้งหลายพึงชักชวนภิกษุเหล่านั้นให้ตั้งมั่น ให้ดำรงอยู่ในการเจริญสติปัฏฐาน ๔
ประการ
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ มาเถิด ผู้มีอายุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย
๑. จงพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มี
ธรรมเป็นหนึ่งผุดขึ้น มีจิตผ่องใส ตั้งมั่น มีอารมณ์เดียวเพื่อรู้
ยิ่งกายตามความเป็นจริง
๒. จงพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีธรรมเป็นหนึ่งผุดขึ้น มีจิตผ่องใส ตั้งมั่น มีอารมณ์
เดียวเพื่อรู้ยิ่งเวทนาตามความเป็นจริง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๑๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๑. อัมพปาลิวรรค ๔. สาลสูตร

๓. จงพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีธรรม
เป็นหนึ่งผุดขึ้น มีจิตผ่องใส ตั้งมั่น มีอารมณ์เดียวเพื่อรู้ยิ่งจิต
ตามความเป็นจริง
๔. จงพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีธรรมเป็นหนึ่งผุดขึ้น มีจิตผ่องใส ตั้งมั่น มี
อารมณ์เดียวเพื่อรู้ยิ่งธรรมทั้งหลายตามความเป็นจริง
แม้ภิกษุเหล่าใดที่ยังเป็นเสขะ ยังไม่บรรลุอรหัตตผล ปรารถนาธรรมที่เป็น
แดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม แม้ภิกษุเหล่านั้นก็พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มี
ความเพียร มีสัมปชัญญะ มีธรรมเป็นหนึ่งผุดขึ้น มีจิตผ่องใส ตั้งมั่น มีอารมณ์เดียว
เพื่อกำหนดรู้กาย พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีธรรมเป็นหนึ่งผุดขึ้น มีจิตผ่องใส ตั้งมั่น มีอารมณ์เดียวเพื่อกำหนดรู้เวทนา
พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีธรรมเป็นหนึ่งผุดขึ้น มี
จิตผ่องใส ตั้งมั่น มีอารมณ์เดียวเพื่อกำหนดรู้จิต พิจารณาเห็นธรรมในธรรม
ทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีธรรมเป็นหนึ่งผุดขึ้น มีจิตผ่องใส
ตั้งมั่นมีอารมณ์เดียวเพื่อกำหนดรู้ธรรมทั้งหลาย
แม้ภิกษุเหล่าใดที่เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควร
ทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว
หลุดพ้นเพราะรู้โดยชอบ แม้ภิกษุเหล่านั้นก็พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร
มีสัมปชัญญะ มีธรรมเป็นหนึ่งผุดขึ้น มีจิตผ่องใส ตั้งมั่น มีอารมณ์เดียว พราก
จากกายแล้ว พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีธรรมเป็นหนึ่งผุดขึ้น มีจิตผ่องใส ตั้งมั่น มีอารมณ์เดียว พรากจากเวทนาทั้งหลาย
แล้ว พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีธรรมเป็นหนึ่งผุดขึ้น
มีจิตผ่องใส ตั้งมั่น มีอารมณ์เดียว พรากจากจิตแล้ว พิจารณาเห็นธรรมในธรรม
ทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีธรรมเป็นหนึ่งผุดขึ้น มีจิตผ่องใส ตั้งมั่น
มีอารมณ์เดียว พรากจากธรรมทั้งหลายแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใดยังเป็นผู้ใหม่ บวชได้ไม่นาน เพิ่งมาสู่ธรรมวินัยนี้
เธอทั้งหลายพึงชักชวนภิกษุเหล่านั้นให้ตั้งมั่น ให้ดำรงอยู่ในการเจริญสติปัฏฐาน ๔
ประการนี้”

สาลสูตรที่ ๔ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๑. อัมพปาลิวรรค ๕. อกุสลราสิสูตร

๕. อกุสลราสิสูตร
ว่าด้วยกองอกุศล

[๓๗๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเรื่องนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อจะ
กล่าวถึงกองอกุศล จะกล่าวให้ถูกต้อง พึงกล่าวถึงนิวรณ์ (ธรรมที่กั้นจิตไม่ให้
บรรลุความดี) ๕ ประการ เพราะกองอกุศลทั้งสิ้นนี้ก็คือนิวรณ์ ๕ ประการ
นิวรณ์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กามฉันทนิวรณ์ ๒. พยาบาทนิวรณ์
๓. ถีนมิทธนิวรณ์ ๔. อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์
๕. วิจิกิจฉานิวรณ์
บุคคลเมื่อจะกล่าวถึงกองอกุศล จะกล่าวให้ถูกต้อง พึงกล่าวถึงนิวรณ์ ๕
ประการนี้ เพราะกองอกุศลทั้งสิ้นนี้ก็คือนิวรณ์ ๕ ประการ

บุคคลเมื่อจะกล่าวถึงกองกุศล จะกล่าวให้ถูกต้อง พึงกล่าวถึงสติปัฏฐาน ๔
ประการนี้ เพราะกองกุศลทั้งสิ้นนี้ก็คือสติปัฏฐาน ๔ ประการ
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ...
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ...
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อจะกล่าวถึงกองกุศล จะกล่าวให้ถูกต้อง พึงกล่าวถึง
สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ เพราะกองกุศลทั้งสิ้นนี้ก็คือสติปัฏฐาน ๔ ประการ”

อกุสลราสิสูตรที่ ๕ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๑. อัมพปาลิวรรค ๖. สกุณัคฆิสูตร

๖. สกุณัคฆิสูตร
ว่าด้วยเหยี่ยว

[๓๗๒] “ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว เหยี่ยวโฉบลงจับนกมูลไถอย่าง
รวดเร็ว ขณะนั้น นกมูลไถกำลังถูกเหยี่ยวพาไป ได้ร้องคร่ำครวญอย่างนี้ว่า ‘เรา
อับโชคมีบุญน้อย เที่ยวไปในแดนอื่นซึ่งไม่ใช่ที่หากิน ถ้าในวันนี้เราเที่ยวหากินใน
แดนหากินที่เป็นของบิดาของตนไซร้ เราก็อาจสู้เหยี่ยวตัวนี้ได้’
เหยี่ยวจึงถามว่า ‘เจ้านกมูลไถ แดนหากินที่เป็นของบิดาของเจ้าคืออะไร’
นกมูลไถตอบว่า ‘คือถิ่นที่เป็นดินก้อนมูลไถที่เขาไถไว้’
ขณะนั้นเหยี่ยวหยิ่งในกำลังของตน เมื่อจะอวดอ้างกำลังของตน จึงปล่อยนก
มูลไถไปด้วยพูดว่า ‘ไปเถิด เจ้านกมูลไถ ถึงเจ้าจะไปในที่นั้นก็ไม่พ้นเรา’
ทีนั้นนกมูลไถจึงไปยังถิ่นที่เป็นดินก้อนมูลไถที่เขาไถไว้ จับที่ก้อนใหญ่ ยืนร้อง
ท้าเหยี่ยวว่า ‘เจ้าเหยี่ยว เจ้าจงมาจับเราเดี๋ยวนี้ เจ้าเหยี่ยว เจ้าจงมาจับเราเดี๋ยวนี้’
ขณะนั้น เหยี่ยวหยิ่งในกำลังของตน เมื่อจะอวดอ้างกำลังของตน จึงหุบปีกทั้ง ๒
ลงโฉบนกมูลไถอย่างรวดเร็ว เมื่อนกมูลไถรู้ว่า ‘เหยี่ยวตัวนี้โฉบมาอย่างรวดเร็ว
หมายจะจับเรา’ จึงหลบเข้าซอกก้อนดินนั้นเอง เหยี่ยวทำให้อกกระแทกมูลไถ (ตาย)
ในที่นั้นเอง เรื่องนกมูลไถเที่ยวไปในแดนอื่นซึ่งไม่ใช่ที่หากินก็เป็นเช่นนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายอย่าเที่ยวไปในแดนอื่นที่เป็นอโคจร
เมื่อเธอทั้งหลายเที่ยวไปในแดนอื่นที่เป็นอโคจร มารก็จักได้ช่อง ได้อารมณ์
แดนอื่นที่เป็นอโคจรของภิกษุ เป็นอย่างไร
คือ กามคุณ ๕ ประการ
กามคุณ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
๒. เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ...
๓. กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๑. อัมพปาลิวรรค ๗. มักกฏสูตร

๔. รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ...
๕. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
ภิกษุทั้งหลาย นี้คือแดนอื่นที่เป็นอโคจรของภิกษุ
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเที่ยวไปในแดนที่เป็นของบิดาของตนอันเป็น
โคจรเถิด เมื่อเธอทั้งหลายเที่ยวไปในแดนที่เป็นของบิดาของตนอันเป็นโคจร มาร
ก็จักไม่ได้ช่อง ไม่ได้อารมณ์
แดนที่เป็นของบิดาของตนอันเป็นโคจรของภิกษุ เป็นอย่างไร
คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ...
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ...
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุทั้งหลาย นี้คือแดนที่เป็นของบิดาของตนอันเป็นโคจรของภิกษุ”

สกุณัคฆิสูตรที่ ๖ จบ

๗. มักกฏสูตร
ว่าด้วยลิงติดตัง

[๓๗๓] “ภิกษุทั้งหลาย ถิ่นที่เป็นขุนเขาหิมพานต์ ซึ่งไปได้ยาก ขรุขระ ไม่
เป็นที่เที่ยวไปทั้งของฝูงลิงทั้งของหมู่มนุษย์ มีอยู่ ถิ่นที่เป็นขุนเขาหิมพานต์ ซึ่งไป
ได้ยาก ขรุขระ เป็นที่เที่ยวไปของฝูงลิง ไม่ใช่ที่เที่ยวไปของหมู่มนุษย์ มีอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๑. อัมพปาลิวรรค ๗. มักกฏสูตร

ภาคพื้นขุนเขาหิมพานต์ซึ่งราบเรียบ น่ารื่นรมย์ เป็นที่เที่ยวไปทั้งของฝูงลิงทั้งของ
หมู่มนุษย์ ก็มีอยู่ ณ ที่นั้น พวกนายพรานวางตัง๑ดักไว้ที่ทางเดินของฝูงลิงเพื่อดักลิง
ภิกษุทั้งหลาย บรรดาลิงเหล่านั้น ลิงเหล่าใดไม่โง่ ไม่ลอกแลก ลิงเหล่านั้น
เห็นตังนั้นก็หลีกห่างไกล ส่วนลิงตัวใดโง่ ลอกแลก ลิงตัวนั้นเข้าไปใกล้ตังนั้นแล้ว
เอามือจับดู มือจึงติดที่ตังนั้น มันคิดจะดึงมือออก จึงเอามือข้างที่ ๒ จับ มือข้างที่
๒ ก็ติดที่ตังนั้น มันคิดจะดึงมือทั้ง ๒ ข้างออกจึงเอาเท้ายัน เท้าก็ติดที่ตังนั้น
มันคิดจะดึงมือทั้ง ๒ และเท้าออก จึงเอาเท้าข้างที่ ๒ ยัน เท้าข้างที่ ๒ ก็ติดที่ตัง
นั้น มันคิดจะดึงมือทั้ง ๒ และเท้าทั้ง ๒ ออกจึงเอาปากกัด ปากก็ติดที่ตังนั้นอีก
ลิงตัวนั้นติดตัง ๕ แห่งอย่างนี้ นอนถอนใจ ถึงความพินาศ ย่อยยับแล้ว ถูก
นายพรานทำได้ตามใจปรารถนา นายพรานแยกลิงตัวนั้นออกแล้ว ยกแขวนไว้ในที่
นั้นเอง ไม่ให้หลุดไปแล้วหลีกไปตามต้องการ เรื่องลิงเที่ยวไปในแดนอื่นซึ่งไม่ใช่ที่
หากิน ก็เป็นเช่นนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายอย่าเที่ยวไปในแดนอื่นที่เป็นอโคจร
เมื่อเธอทั้งหลายเที่ยวไปในแดนอื่นที่เป็นอโคจร มารก็จักได้ช่อง ได้อารมณ์
แดนอื่นที่เป็นอโคจรของภิกษุ เป็นอย่างไร
คือ กามคุณ ๕ ประการ
กามคุณ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
๒. เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ...
๓. กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ...
๔. รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ...
๕. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
ภิกษุทั้งหลาย นี้คือแดนอื่นที่เป็นอโคจร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๑. อัมพปาลิวรรค ๘. สูทสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเที่ยวไปในแดนที่เป็นของบิดาของตนอันเป็น
โคจรเถิด เมื่อเธอทั้งหลายเที่ยวไปในแดนที่เป็นของบิดาของตนอันเป็นโคจร มารก็
จักไม่ได้ช่อง ไม่ได้อารมณ์
แดนที่เป็นของบิดาของตนอันเป็นโคจร อะไรบ้าง
คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ
สติปัฏฐาน ๔ ประการ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ...
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ...
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุทั้งหลาย นี้คือแดนที่เป็นของบิดาของตนอันเป็นโคจรของภิกษุ”

มักกฏสูตรที่ ๗ จบ

๘. สูทสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยพ่อครัว

[๓๗๔] “ภิกษุทั้งหลาย พ่อครัวผู้เขลา ไม่ฉลาด ไม่เฉียบแหลม บำรุงพระ
ราชาหรือมหาอำมาตย์ของพระราชาด้วยแกงชนิดต่าง ๆ คือ เปรี้ยวจัดบ้าง ขมจัด
บ้าง เผ็ดจัดบ้าง หวานจัดบ้าง เฝื่อนบ้าง ไม่เฝื่อนบ้าง เค็มบ้าง จืดบ้าง พ่อครัว
ผู้เขลา ไม่ฉลาด ไม่เฉียบแหลมนั้นไม่สังเกตชนิดแห่งอาหารของตนว่า ‘วันนี้ ท่าน
ชอบข้าวและแกงชนิดนี้ของเรา หรือรับแกงชนิดนี้ ตักแกงชนิดนี้มาก หรือชมแกง
ชนิดนี้ วันนี้ ท่านชอบข้าวและแกงที่มีรสเปรี้ยวจัดของเรา หรือรับแกงที่มีรสเปรี้ยว
จัด ตักแกงที่มีรสเปรี้ยวจัดมาก หรือชมแกงที่มีรสเปรี้ยวจัด วันนี้ แกงของเรา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๒๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๑. อัมพปาลิวรรค ๘. สูทสูตร

มีรสขมจัด ... มีรสเผ็ดจัด ... มีรสหวานจัด ... มีรสเฝื่อน ... มีรสไม่เฝื่อน ...
มีรสเค็ม ... วันนี้ ท่านชอบข้าวและแกงที่มีรสจืดของเรา หรือรับแกงที่มีรสจืด
ตักแกงที่มีรสจืดมาก หรือชมแกงที่มีรสจืด’ พ่อครัวผู้เขลา ไม่ฉลาด ไม่เฉียบ
แหลมนั้น ย่อมไม่ได้เครื่องนุ่งห่ม ไม่ได้ค่าจ้าง ไม่ได้รางวัล ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะพ่อครัวนั้นเป็นคนเขลา ไม่ฉลาด ไม่เฉียบแหลม ไม่สังเกตชนิดแห่งอาหาร
ของตน แม้ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เขลา ไม่ฉลาด
ไม่เฉียบแหลม พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ เมื่อเธอพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ จิตไม่ตั้งมั่น
ละความเศร้าหมองไม่ได้ เธอไม่กำหนดนิมิตนั้น พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา
ทั้งหลาย ... พิจารณาเห็นจิตในจิต ... พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ เมื่อเธอ
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ จิตไม่ตั้งมั่น ละความเศร้าหมองไม่ได้
เธอไม่กำหนดนิมิตนั้น ภิกษุนั้น ย่อมไม่ได้ธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน และ
ไม่ได้สติสัมปชัญญะ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุนั้นเป็นผู้เขลา ไม่ฉลาด
ไม่เฉียบแหลม ไม่กำหนดนิมิตแห่งจิตของตน
ภิกษุทั้งหลาย พ่อครัวผู้เป็นบัณฑิต ฉลาด เฉียบแหลม บำรุงพระราชา
หรือมหาอำมาตย์ของพระราชาด้วยแกงชนิดต่าง ๆ คือ เปรี้ยวจัดบ้าง ขมจัดบ้าง
เผ็ดจัดบ้าง หวานจัดบ้าง เฝื่อนบ้าง ไม่เฝื่อนบ้าง เค็มบ้าง จืดบ้าง พ่อครัวผู้
เป็นบัณฑิต ฉลาด เฉียบแหลมนั้นสังเกตชนิดแห่งอาหารของตนว่า ‘วันนี้ ท่านชอบ
ข้าวและแกงชนิดนี้ของเรา หรือรับแกงชนิดนี้ ตักแกงชนิดนี้มาก หรือชมแกงชนิดนี้
วันนี้ ท่านชอบข้าวและแกงที่มีรสเปรี้ยวจัดของเรา หรือรับแกงที่มีรสเปรี้ยวจัด ตัก
แกงที่มีรสเปรี้ยวจัดมาก หรือชมแกงที่มีรสเปรี้ยวจัด วันนี้ แกงของเรามีรสขมจัด ...
มีรสเผ็ดจัด ... มีรสหวานจัด ... มีรสเฝื่อน ... มีรสไม่เฝื่อน ... มีรสเค็ม ... วันนี้
ท่านชอบข้าวและแกงที่มีรสจืดของเรา หรือรับแกงที่มีรสจืด ตักแกงที่มีรสจืดมาก
หรือชมแกงที่มีรสจืด’ พ่อครัวผู้เป็นบัณฑิต ฉลาด เฉียบแหลมนั้นย่อมได้เครื่อง
นุ่งห่ม ได้ค่าจ้าง ได้รางวัล ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะพ่อครัวนั้นเป็นบัณฑิต ฉลาด
เฉียบแหลม สังเกตชนิดแห่งอาหารของตน แม้ฉันใด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๒๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๑. อัมพปาลิวรรค ๙. คิลานสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นบัณฑิต
ฉลาด เฉียบแหลม พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ เมื่อเธอพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ จิตย่อม
ตั้งมั่น ละความเศร้าหมองได้ เธอย่อมกำหนดนิมิตนั้นได้ พิจารณาเห็นเวทนาใน
เวทนาทั้งหลาย ... พิจารณาเห็นจิตในจิต ... พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ เมื่อเธอ
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ จิตย่อมตั้งมั่น ละความเศร้าหมองได้ เธอ
ย่อมกำหนดนิมิตนั้นได้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นเป็นบัณฑิต ฉลาด เฉียบแหลม ย่อมได้ธรรมเครื่อง
อยู่เป็นสุขในปัจจุบัน และได้สติสัมปชัญญะ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุนั้น
เป็นบัณฑิต ฉลาด เฉียบแหลม กำหนดนิมิตแห่งจิตของตน”

สูทสูตรที่ ๘ จบ

๙. คิลานสูตร
ว่าด้วยพระผู้มีพระภาคทรงพระประชวร

[๓๗๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ เวฬุวคาม เขตกรุงเวสาลี
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “มาเถิด ภิกษุ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเข้าจำพรรษารอบกรุงเวสาลี ตามที่ที่มีเพื่อน ตามที่
ที่มีคนเคยคบกัน ตามที่ที่มีคนเคยคบกันมา เราก็จะเข้าจำพรรษาในเวฬุวคามนี้
เหมือนกัน” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้วเข้าจำพรรษารอบกรุงเวสาลี
ตามที่ที่มีเพื่อน ตามที่ที่มีคนเคยคบกัน ตามที่ที่มีคนเคยคบกันมา ส่วนพระผู้มี
พระภาคก็ทรงเข้าจำพรรษาในเวฬุวคามนั้นเอง
ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคทรงเข้าจำพรรษาแล้ว ทรงพระประชวรอย่าง
รุนแรง มีทุกขเวทนาอย่างแสนสาหัส จวนเจียนปรินิพพาน พระองค์ทรงมี
สติสัมปชัญญะ ทรงอดกลั้น ไม่พรั่นพรึง ทรงพระดำริว่า “การที่เราไม่บอกผู้
อุปัฏฐาก ไม่อำลาภิกษุสงฆ์ปรินิพพานนั้น ไม่เหมาะแก่เรา ทางที่ดี เราควรใช้
ความเพียรขับไล่อาพาธนี้ ดำรงชีวิตสังขารอยู่ต่อไป”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๑. อัมพปาลิวรรค ๙. คิลานสูตร

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงใช้ความเพียรขับไล่พระอาการประชวรนั้น
ทรงดำรงชีวิตสังขารอยู่ อาการพระประชวรจึงสงบ เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงหาย
จากพระประชวรหายจากพระอาการไข้ไม่นาน ได้เสด็จออกจากพระวิหาร ไป
ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้วในร่มเงาพระวิหาร
ทีนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
เมื่อข้าพระองค์ได้เห็นพระสุขภาพของพระองค์แล้ว ได้เห็นพระองค์ทรงอดทนต่อ
ทุกขเวทนาแล้ว ทำให้ร่างกายของข้าพระองค์อ่อนเปลี้ยประดุจคนเมา ข้าพระองค์
รู้สึกมืดทุกด้าน แม้ธรรมก็ไม่ปรากฏแก่ข้าพระองค์อีกแล้ว เพราะพระอาการไข้ของ
พระผู้มีพระภาค แต่ข้าพระองค์ก็ยังเบาใจอยู่หน่อยหนึ่งว่า ‘พระผู้มีพระภาคจะยัง
ไม่ปรินิพพานตราบเท่าที่ยังไม่ได้ปรารภภิกษุสงฆ์แล้วตรัสพระพุทธพจน์อย่างใด
อย่างหนึ่ง”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ ภิกษุสงฆ์ยังจะหวังได้อะไรในเราอีกเล่า
ธรรมที่เราแสดงแล้วไม่มีในไม่มีนอก๑ ในเรื่องธรรมทั้งหลาย ตถาคตไม่มีอาจริยมุฏฐิ๒
ผู้ที่คิดว่า เราเท่านั้นจักเป็นผู้บริหารภิกษุสงฆ์ต่อไป หรือว่า ภิกษุสงฆ์จะต้องยึด
เราเท่านั้นเป็นหลัก ผู้นั้นจะต้องปรารภภิกษุสงฆ์แล้วกล่าวอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นแน่
แต่ตถาคตไม่คิดว่า เราเท่านั้นจักเป็นผู้บริหารภิกษุสงฆ์ต่อไป หรือว่า ภิกษุสงฆ์จะ
ต้องยึดเราเท่านั้นเป็นหลัก แล้วทำไมตถาคตจะต้องปรารภภิกษุสงฆ์กล่าวอย่างใด
อย่างหนึ่งอีกเล่า บัดนี้เราเป็นผู้ชรา แก่ เฒ่า ล่วงกาลมานาน ผ่านวัยมามาก
เรามีวัย ๘๐ ปี ร่างกายของตถาคตยังเป็นไปได้ก็เหมือนกับเกวียนเก่าที่ซ่อมแซม
ด้วยไม้ไผ่ ฉะนั้น ร่างกายของตถาคตยังสบายขึ้น ก็เพราะในเวลาที่ตถาคตเข้า


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๑. อัมพปาลิวรรค ๑๐. ภิกขุนูปัสสยสูตร

เจโตสมาธิอันไม่มีนิมิต๑ เพราะไม่ใส่ใจนิมิตทุกอย่าง และเพราะดับเวทนาบางอย่าง
ได้เท่านั้น เธอทั้งหลายจงมีตนเป็นเกาะ๒ มีตนเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งเลย
มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่เถิด
ภิกษุจะชื่อว่ามีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง มีธรรม
เป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่ อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ...
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ...
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุจะชื่อว่ามีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง มีธรรมเป็น
เกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่ อย่างนี้แล
อานนท์ ภิกษุเหล่าใดเหล่าหนึ่งในบัดนี้ก็ดี ในเวลาที่เราล่วงไปก็ดี จักมีตน
เป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง
ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่ ภิกษุเหล่านั้นจักเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุผู้ใคร่ต่อการศึกษา”๓

คิลานสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ภิกขุนูปัสสยสูตร
ว่าด้วยการสนทนาธรรมในสำนักภิกษุณี

[๓๗๖] ครั้นในเวลาเช้า ท่านพระอานนท์ครองอันตรวาสก ถือบาตรและ
จีวรเข้าไปยังสำนักภิกษุณีแห่งหนึ่ง นั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ ลำดับนั้น ภิกษุณี


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๑. อัมพปาลิวรรค ๑๐. ภิกขุนูปัสสยสูตร

หลายรูปเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ไหว้แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับ
ท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “ท่านอานนท์ ภิกษุณีจำนวนมากในพระธรรมวินัยนี้มีจิต
ตั้งมั่นดีในสติปัฏฐาน ๔ ประการอยู่ ย่อมรู้คุณวิเศษอันยิ่งอย่างอื่นจากคุณวิเศษที่
มีอยู่ก่อน”
ท่านพระอานนท์กล่าวว่า “น้องหญิงทั้งหลาย ข้อนี้เป็นอย่างนั้น น้องหญิง
ทั้งหลาย ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง มีจิตตั้งมั่นดีใน
สติปัฏฐาน ๔ ประการอยู่ ภิกษุหรือภิกษุณีรูปนั้นพึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักรู้คุณวิเศษ
อันยิ่งอย่างอื่นจากคุณวิเศษที่มีอยู่ก่อน” จากนั้นได้ชี้แจงให้ภิกษุณีเหล่านั้นเห็นชัด
ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่น
ร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว ลุกจากอาสนะจากไป
ต่อมา ท่านพระอานนท์เที่ยวบิณฑบาตในกรุงสาวัตถี กลับจากบิณฑบาต
ภายหลังฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส เมื่อเช้านี้ ข้าพระองค์ครองอันตรวาสก ถือบาตรและ
จีวรเข้าไปยังสำนักภิกษุณีแห่งหนึ่ง นั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ ลำดับนั้น ภิกษุณี
จำนวนมากเข้ามาหาข้าพระองค์ถึงที่อยู่ ไหว้แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับ
ข้าพระองค์ดังนี้ว่า ‘ท่านอานนท์ ภิกษุณีจำนวนมากในพระธรรมวินัยนี้มีจิตตั้งมั่นดี
ในสติปัฏฐาน ๔ ประการอยู่ ย่อมรู้คุณวิเศษอันยิ่งอย่างอื่นจากคุณวิเศษที่มีอยู่ก่อน’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อภิกษุณีทั้งหลายกล่าวอย่างนี้แล้ว ข้าพระองค์จึงกล่าวว่า
‘น้องหญิงทั้งหลาย ข้อนี้เป็นอย่างนั้น น้องหญิงทั้งหลาย ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ภิกษุ
หรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งมีจิตตั้งมั่นดีในสติปัฏฐาน ๔ ประการอยู่ ภิกษุหรือภิกษุณีรูปนั้น
พึงหวังข้อนี้ได้ว่า ‘จักรู้คุณวิเศษอันยิ่งอย่างอื่นจากคุณวิเศษที่มีอยู่ก่อน”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ ข้อนี้เป็นอย่างนั้น อานนท์ ข้อนี้เป็น
อย่างนั้น ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งมีจิตตั้งมั่นดีในสติปัฏฐาน ๔ ประการอยู่
ภิกษุหรือภิกษุณีรูปนั้นพึงหวังข้อนี้ได้ว่า ‘จักรู้คุณวิเศษอันยิ่งอย่างอื่นจากคุณวิเศษที่
มีอยู่ก่อน’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๑. อัมพปาลิวรรค ๑๐. ภิกขุนูปัสสยสูตร

สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ เมื่อเธอพิจารณาเห็นกายใน
กายอยู่ ความเร่าร้อนในกายที่มีกายเป็นอารมณ์เกิดขึ้น
บ้าง จิตหดหู่บ้าง จิตฟุ้งซ่านไปภายนอกบ้าง ภิกษุนั้นพึงตั้งจิต
ไว้ที่นิมิตอันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อ
เธอตั้งจิตไว้ที่นิมิตอันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสอย่างใดอย่างหนึ่ง
ปราโมทย์ย่อมเกิด เมื่อมีปราโมทย์ ปีติย่อมเกิด เมื่อใจมีปีติ
กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบ ย่อมได้รับสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้ง
มั่น เธอพิจารณาเห็นว่า ‘เราตั้งจิตไว้เพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์
นั้นสำเร็จแล้วแก่เรา เอาเถิด บัดนี้เราจะคุมจิตไว้’ เธอคุมจิตไว้
ไม่ตรึก และไม่ตรอง ย่อมรู้ชัดว่า ‘เราไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มี
สติในภายใน มีความสุข’
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ...
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ...
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ เมื่อเธอ
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ ความเร่าร้อนในกายที่มี
ธรรมเป็นอารมณ์เกิดขึ้นบ้าง จิตหดหู่บ้าง จิตฟุ้งซ่านไปภายนอก
บ้าง ภิกษุนั้นพึงตั้งจิตไว้ที่นิมิตอันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส
อย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อเธอตั้งจิตไว้ที่นิมิตอันเป็นที่ตั้งแห่งความ
เลื่อมใสอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ ปราโมทย์ย่อมเกิด เมื่อมีปราโมทย์
ปีติย่อมเกิด เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบย่อมได้
รับสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น เธอพิจารณาเห็นว่า ‘เราตั้งจิตไว้
เพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์นั้นสำเร็จแล้วแก่เรา เอาเถิด บัดนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๑. อัมพปาลิวรรค ๑๐. ภิกขุนูปัสสยสูตร

เราจะคุมจิตไว้’ เธอคุมจิตไว้ ไม่ตรึก และไม่ตรอง ย่อมรู้ชัดว่า
‘เราไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีสติในภายใน มีความสุข’
อานนท์ ภาวนาย่อมมีเพราะการตั้งจิตไว้ อย่างนี้
ภาวนาย่อมมีเพราะไม่ตั้งจิตไว้ อย่างไร
คือ ภิกษุไม่ตั้งจิตไว้ในภายนอก ย่อมรู้ชัดว่า ‘เราไม่ได้ตั้งจิตไว้ในภายนอก’
ลำดับนั้น เธอรู้ชัดว่า ‘จิตของเราไม่ฟุ้งซ่านไปข้างหลัง๑หรือข้างหน้า๒ หลุดพ้นแล้ว
ไม่ตั้งอยู่’ ต่อมาก็รู้ชัดว่า ‘เราพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ มีความสุข’
ภิกษุไม่ตั้งจิตไว้ในภายนอก ย่อมรู้ชัดว่า ‘เราไม่ได้ตั้งจิตไว้ในภายนอก’ ลำดับนั้น
เธอรู้ชัดว่า ‘จิตของเราไม่ฟุ้งซ่านไปข้างหลังหรือข้างหน้า หลุดพ้นแล้ว ไม่ตั้งอยู่’
ต่อมาก็รู้ชัดว่า ‘เราพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ มีความสุข”
ภิกษุไม่ตั้งจิตไว้ในภายนอก ย่อมรู้ชัดว่า ‘เราไม่ได้ตั้งจิตไว้ในภายนอก’ ลำดับนั้น
เธอรู้ชัดว่า ‘จิตของเราไม่ฟุ้งซ่านไปข้างหลังหรือข้างหน้า หลุดพ้นแล้ว ไม่ตั้งอยู่’
ต่อมาก็รู้ชัดว่า ‘เราพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
มีความสุข’
ภิกษุไม่ตั้งจิตไว้ในภายนอก ย่อมรู้ชัดว่า ‘เราไม่ได้ตั้งจิตไว้ในภายนอก’ ลำดับนั้น
เธอรู้ชัดว่า ‘จิตของเราไม่ฟุ้งซ่านไปข้างหลังหรือข้างหน้า หลุดพ้นแล้ว ไม่ตั้งอยู่’
ต่อมาก็รู้ชัดว่า ‘เราพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ มีความสุข’
อานนท์ ภาวนาย่อมมีเพราะไม่ตั้งจิตไว้ อย่างนี้
อานนท์ ภาวนาเพราะการตั้งจิตไว้เราได้แสดงแล้ว ภาวนาเพราะการไม่ตั้งจิตไว้
เราก็ได้แสดงแล้ว ด้วยประการฉะนี้


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๒. นาลันทวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

อานนท์ กิจใดที่ศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูลผู้อนุเคราะห์พึงอาศัย
ความอนุเคราะห์กระทำแก่สาวกทั้งหลาย กิจนั้นเราก็ได้กระทำแล้วแก่เธอทั้งหลาย
อานนท์ นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง เธอทั้งหลายจงเพ่งพินิจ อย่าประมาท อย่าได้
มีความร้อนใจในภายหลัง นี้คือคำพร่ำสอนของเราสำหรับเธอทั้งหลาย”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์มีใจยินดี ชื่นชม
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค

ภิกขุนูปัสสยสูตรที่ ๑๐ จบ
อัมพปาลิวรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อัมพปาลิสูตร ๒. สติสูตร
๓. ภิกขุสูตร ๔. สาลสูตร
๕. อกุสลราสิสูตร ๖. สกุณัคฆิสูตร
๗. มักกฏสูตร ๘. สูทสูตร
๙. คิลานสูตร ๑๐. ภิกขุนูปัสสยสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๒. นาลันทวรรค ๑. มหาปุริสสูตร

๒. นาลันทวรรค
หมวดว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่เมืองนาลันทา
๑. มหาปุริสสูตร
ว่าด้วยมหาบุรุษ

[๓๗๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า ‘มหาบุรุษ มหาบุรุษ’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ บุคคล
จึงชื่อว่าเป็นมหาบุรุษ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “สารีบุตร เรากล่าวว่า ‘มหาบุรุษ’ เพราะมี
จิตหลุดพ้น เรากล่าวว่า ‘ไม่ใช่มหาบุรุษ’ เพราะมีจิตยังไม่หลุดพ้น
บุคคลผู้มีจิตหลุดพ้น เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ เมื่อเธอพิจารณาเห็นกายใน
กายอยู่ จิตย่อมคลายกำหนัด หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย
เพราะไม่ถือมั่น
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ...
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ...
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ เมื่อเธอ
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ จิตย่อมคลายกำหนัด
หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่น
บุคคลผู้มีจิตหลุดพ้น เป็นอย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๒. นาลันทวรรค ๒. นาลันทสูตร

สารีบุตร เรากล่าวว่า ‘มหาบุรุษ’ เพราะมีจิตหลุดพ้น เรากล่าวว่า ‘ไม่ใช่
มหาบุรุษ’ เพราะมีจิตยังไม่หลุดพ้น”

มหาปุริสสูตรที่ ๑ จบ

๒. นาลันทสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่เมืองนาลันทา

[๓๗๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปาวาริกัมพวัน เขต
เมืองนาลันทา ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า ‘ไม่เคยมี
จักไม่มี และย่อมไม่มีสมณะหรือพราหมณ์ผู้อื่นซึ่งจะมีปัญญาในทางสัมโพธิญาณ
ยิ่งกว่าพระผู้มีพระภาค”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สารีบุตร เธอกล่าวอาสภิวาจา๑อย่างยิ่ง เธอถือ
เอาด้านเดียว บันลือสีหนาท๒ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เลื่อมใสใน
พระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า ‘ไม่เคยมี จักไม่มี และย่อมไม่มีสมณะหรือพราหมณ์ผู้อื่น
ซึ่งจะมีปัญญาในทางสัมโพธิญาณยิ่งกว่าพระผู้มีพระภาค’
สารีบุตร เธอกำหนดรู้พระทัยของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทุกพระองค์ในอดีตกาลด้วยใจแล้วหรือว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้น
ทรงมีศีลอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นทรงมีธรรมอย่างนี้ แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นทรงมีปัญญาอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มี
พระภาคเหล่านั้นทรงมีธรรมเครื่องอยู่อย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาค
เหล่านั้นทรงหลุดพ้นอย่างนี้”
“มิได้กำหนดรู้ พระพุทธเจ้าข้า”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๒. นาลันทวรรค ๒. นาลันทสูตร

“สารีบุตร เธอกำหนดรู้พระทัยของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทุกพระองค์ในอนาคตกาลด้วยใจแล้วหรือว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาค
เหล่านั้น จักทรงมีศีลอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจักทรงมี
ธรรมอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจักทรงมีปัญญาอย่างนี้
แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจักทรงมีธรรมเครื่องอยู่อย่างนี้ แม้เพราะ
เหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจักทรงหลุดพ้นอย่างนี้”
“มิได้กำหนดรู้ พระพุทธเจ้าข้า”
“สารีบุตร เธอกำหนดรู้ใจเราผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในเวลานี้ด้วย
ใจแล้วหรือว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคทรงมีศีลอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้
พระผู้มีพระภาคทรงมีธรรมอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคทรงมีปัญญา
อย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคทรงมีธรรมเครื่องอยู่อย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้
พระผู้มีพระภาคทรงหลุดพ้นอย่างนี้”
“มิได้กำหนดรู้ พระพุทธเจ้าข้า”
“สารีบุตร ในเรื่องนี้ เธอไม่มีญาณกำหนดรู้พระทัยพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทั้งในอดีต อนาคต และปัจจุบัน เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร เธอจึงกล่าว
อาสภิวาจาอย่างยิ่งนี้ เธอถือเอาด้านเดียวบันลือสีหนาทว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ข้าพระองค์เลื่อมใสในพระผู้มีภาคอย่างนี้ว่า ‘ไม่เคยมี จักไม่มี และย่อมไม่มี
สมณะหรือพราหมณ์ผู้อื่นซึ่งจะมีปัญญาในทางสัมโพธิญาณยิ่งกว่าพระผู้มีพระภาค”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถึงแม้ว่าข้าพระองค์จะไม่มีญาณกำหนดรู้พระทัยของ
พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งในอดีต อนาคต และปัจจุบัน แต่ข้าพระองค์ก็รู้
วิธีการอนุมาน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมืองชายแดนของพระราชามีรากฐานมั่นคง
มีกำแพงและป้อมค่ายแน่นหนา มีประตูเดียว นายประตูของเมืองนั้นเป็นคนเฉลียว
ฉลาด หลักแหลม ห้ามคนที่ไม่รู้จัก อนุญาตให้คนที่รู้จักเข้าไปได้ เขาเดินสำรวจ
ดูหนทางไปรอบเมืองนั้น ไม่พบรอยต่อหรือช่องกำแพง โดยที่สุดแม้พอที่แมวรอด
ออกไปได้ เขาย่อมรู้ว่า ‘สัตว์ใหญ่ทุกชนิดจะเข้าหรือออกที่เมืองนี้ จะเข้าหรือออก
ทางประตูนี้เท่านั้น’ แม้ฉันใด วิธีการอนุมานก็ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าพระองค์ทราบ
ว่า ‘พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ในอดีตกาล ทรงละนิวรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๒. นาลันทวรรค ๓. จุนทสูตร

๕ ประการอันเป็นความเศร้าหมองแห่งจิต ทอนกำลังปัญญา มีพระทัยมั่นคงดีใน
สติปัฏฐาน ๔ ประการ ทรงเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการตามความเป็นจริง ได้
ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยม แม้พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ในอนาคตกาล ทรงละนิวรณ์ ๕ ประการอันเป็นความ
เศร้าหมองแห่งจิต ทอนกำลังปัญญา มีพระทัยมั่นคงดีในสติปัฏฐาน ๔ ประการ
ทรงเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการตามความเป็นจริง จักตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณอัน
ยอดเยี่ยม แม้พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในบัดนี้ ก็ทรงละนิวรณ์ ๕
ประการอันเป็นความเศร้าหมองแห่งจิต ทอนกำลังปัญญา มีพระทัยมั่นคงดีใน
สติปัฏฐาน ๔ ประการ ทรงเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการตามความเป็นจริง ตรัสรู้
สัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยม”
“ดีละ ดีละ สารีบุตร เพราะเหตุนั้น เธอพึงกล่าวธรรมบรรยายนี้เนืองๆ
แก่ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย ด้วยว่าโมฆะบุรุษเหล่าใดจักมีความ
เคลือบแคลงหรือความสงสัยในตถาคต โมฆะบุรุษเหล่านั้นจักละความเคลือบแคลง
หรือความสงสัยในตถาคต เพราะได้ฟังธรรมบรรยายนี้”๑

นาลันทสูตรที่ ๒ จบ

๓. จุนทสูตร
ว่าด้วยจุนทสมณุทเทส

[๓๗๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ บ้าน
นาฬกคาม แคว้นมคธ อาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก อนึ่ง จุนทะ
สมณุทเทส๒ เป็นผู้ปรนนิบัติท่าน
ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรปรินิพพานด้วยอาพาธนั้นแล ทีนั้น จุนทะ
สมณุทเทสจึงถือบาตรและจีวรของท่านพระสารีบุตรเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึง


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๒. นาลันทวรรค ๓. จุนทสูตร

พระเชตวัน ไหว้แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “ท่าน
สารีบุตรปรินิพพานแล้ว ขอรับ นี้บาตรและจีวรของท่าน”
ท่านพระอานนท์กล่าวว่า “จุนทะ มูลเรื่องนี้ให้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคได้ มาเถิด
จุนทะ พวกเราจักเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้วกราบทูลเรื่องนี้” จุนทะ
สมณุทเทสรับคำของท่านพระอานนท์แล้ว
ต่อมา ท่านพระอานนท์และจุนทะ สมณุทเทส เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ท่านพระอานนท์ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ จุนทะ สมณุทเทสนี้ได้กล่าวอย่าง
นี้ว่า ‘ท่านสารีบุตรปรินิพพานแล้ว นี้บาตรและจีวรของท่าน’ ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ร่างกายของข้าพระองค์อ่อนเปลี้ยประดุจคนเมา ข้าพระองค์รู้สึกมืดทุกด้าน
แม้ธรรมก็ไม่ปรากฏแก่ข้าพระองค์เพราะได้ฟังว่า ‘ท่านสารีบุตรปรินิพพานแล้ว”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า “อานนท์ สารีบุตรพาเอาสีลขันธ์ สมาธิขันธ์
ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ หรือวิมุตติญาณทัสสนขันธ์๑ปรินิพพานไปด้วยหรือ”
ท่านพระอานนท์ทูลตอบว่า “มิใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า ท่านสารีบุตร
ไม่ได้พาเอาสีลขันธ์ ฯลฯ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ปรินิพพานไปด้วย แต่ท่าน
สารีบุตรได้เป็นผู้ให้โอวาท ชักนำให้รู้ ชี้แจงให้เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ
เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง เอาใจใส่ในการแสดงธรรม
อนุเคราะห์เพื่อนพรหมจารี ข้าพระองค์ทั้งหลายระลึกถึงโอชะแห่งธรรม โภคธรรม
และการอนุเคราะห์ด้วยธรรมนั้นของท่าน”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ เราได้บอกเรื่องนั้นไว้ก่อนแล้วมิใช่หรือว่า
‘ความพลัดพราก ความทอดทิ้ง ความแปรเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นจากของรักของชอบใจ
ทุกอย่างจะต้องมี ฉะนั้น จะไปหวังอะไรในสิ่งเหล่านั้นเล่า สิ่งที่เกิดขึ้น มีขึ้น
ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ล้วนแตกสลายเป็นธรรมดา เป็นไปไม่ได้เลยที่จะปรารถนาว่า
‘ขอสิ่งนั้นอย่าเสื่อมสลายไป’ เมื่อต้นไม้ใหญ่ มีแก่น ยืนต้นอยู่ ต้นที่ใหญ่กว่า


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๒. นาลันทวรรค ๔. อุกกเจลสูตร

พึงโค่นลง แม้ฉันใด เมื่อภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ผู้เป็นหลักยังดำรงอยู่ สารีบุตร
ปรินิพพานแล้วก็ฉันนั้น ฉะนั้น จะไปหวังอะไรในสิ่งเหล่านั้นเล่า สิ่งที่เกิดขึ้น มีขึ้น
ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ล้วนแตกสลายเป็นธรรมดา เป็นไปไม่ได้เลยที่จะปรารถนาว่า
‘ขอสิ่งนั้นอย่าเสื่อมสลายไป’
เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายจงมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็น
ที่พึ่ง มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่เถิด
ภิกษุจะชื่อว่ามีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง มีธรรม
เป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่ อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุจะชื่อว่ามีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง มีธรรมเป็น
เกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่ อย่างนี้แล
อานนท์ ภิกษุเหล่าใดเหล่าหนึ่งในบัดนี้ก็ดี ในเวลาที่เราล่วงไปก็ดี จักมีตน
เป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง
ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่ ภิกษุเหล่านั้นจักเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุผู้ใคร่ต่อการศึกษา”

จุนทสูตรที่ ๓ จบ

๔. อุกกเจลสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่อุกกเจลนิคม

[๓๘๐] สมัยหนึ่ง เมื่อพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะปรินิพพานได้ไม่นาน
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ริมฝั่งแม่น้ำคงคา เขตอุกกเจลนิคม แคว้นวัชชี
พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแวดล้อมด้วยภิกษุสงฆ์
ประทับนั่ง ณ ที่กลางแจ้ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๒. นาลันทวรรค ๔. อุกกเจลสูตร

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชำเลืองดูภิกษุสงฆ์ที่นิ่งอยู่แล้วรับสั่งเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อสารีบุตรและโมคคัลลานะปรินิพพานแล้ว
บริษัทของเรานี้ปรากฏเหมือนว่างเปล่า สารีบุตรและโมคคัลลานะอยู่ในทิศใด
บริษัทของเราไม่ว่างเปล่า ไม่มีความห่วงใยในทิศนั้น พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
เหล่านั้นใดได้มีแล้วในอดีตกาล แม้พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นได้มีคู่สาวกนั้นเป็น
อย่างยิ่งเหมือนกับสารีบุตรและโมคคัลลานะของเรา พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
เหล่านั้นใดจักมีในอนาคตกาล แม้พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นก็จักมีคู่สาวกนั้นเป็นอย่างยิ่ง
เหมือนสารีบุตรและโมคคัลลานะของเรา
ภิกษุทั้งหลาย น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏสำหรับสาวกทั้งหลาย ชื่อว่า
สาวกทั้งหลายจักทำตามคำสอนและทำตามคำสั่งของพระศาสดา จักเป็นที่รัก
ที่พอใจ และเป็นที่เคารพสรรเสริญของบริษัท ๔
ภิกษุทั้งหลาย น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏสำหรับตถาคต เมื่อคู่สาวก
เห็นปานนี้ปรินิพพานแล้ว โสกะหรือปริเทวะย่อมไม่มีแก่ตถาคต ฉะนั้น จะไปหวัง
อะไรในสิ่งเหล่านั้นเล่า สิ่งที่เกิดขึ้น มีขึ้น ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ล้วนแตกสลายเป็น
ธรรมดา เป็นไปไม่ได้เลยที่จะปรารถนาว่า ‘ขอสิ่งนั้นอย่าเสื่อมสลายไป’ เมื่อ
ต้นไม้ใหญ่ มีแก่น ยืนต้นอยู่ ต้นที่ใหญ่กว่าพึงโค่นลง แม้ฉันใด เมื่อภิกษุสงฆ์
หมู่ใหญ่ผู้เป็นหลักยังดำรงอยู่ สารีบุตรและโมคคัลลานะปรินิพพานแล้วก็ฉันนั้น ฉะนั้น
จะไปหวังอะไรในสิ่งเหล่านั้นเล่า สิ่งที่เกิดขึ้น มีขึ้น ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ล้วนแตก
สลายเป็นธรรมดา เป็นไปไม่ได้เลยที่จะปรารถนาว่า ‘ขอสิ่งนั้นอย่าเสื่อมสลายไป’
เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายจงมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็น
ที่พึ่ง มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่เถิด
ภิกษุจะชื่อว่ามีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง มีธรรม
เป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่ อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๒. นาลันทวรรค ๕. พาหิยสูตร

๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุจะชื่อว่ามีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง มีธรรมเป็นเกาะ
มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่ อย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใดเหล่าหนึ่งในบัดนี้ก็ดี ในเวลาที่เราล่วงไปก็ดี จักมี
ตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง
ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่ ภิกษุเหล่านั้นจักเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุผู้ใคร่ต่อการศึกษา”

อุกกเจลสูตรที่ ๔ จบ

๕. พาหิยสูตร
ว่าด้วยพระพาหิยะ

[๓๘๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ท่านพระพาหิยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ซึ่ง
ข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว จะพึงหลีกออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร
อุทิศกายและใจอยู่เถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พาหิยะ เพราะเหตุนั้น เธอจงทำเบื้องต้นในกุศลธรรม
ทั้งหลายให้หมดจดก่อน
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย
คือ ศีลที่บริสุทธิ์ดีและความเห็น๑ที่ตรง
พาหิยะ เมื่อใด ศีลของเธอจักบริสุทธิ์ดี และความเห็นจักตรง เมื่อนั้น
เธออาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้ว พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๒. นาลันทวรรค ๖. อุตติยสูตร

สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ในธรรมวินัยนี้ เธอ
๑. จงพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. จงพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. จงพิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. จงพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
พาหิยะ เมื่อใด เธออาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้วจักเจริญสติปัฏฐาน ๔
ประการนี้อย่างนี้ เมื่อนั้น เธอพึงหวังความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลายตลอดคืนหรือ
วันที่จักมาถึง ไม่มีความเสื่อมเลย”
ลำดับนั้น ท่านพระพาหิยะชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้ว ลุก
จากอาสนะ ถวายอภิวาท ทำประทักษิณแล้วจากไป ต่อมา ท่านพระพาหิยะก็หลีก
ออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนักได้
ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ที่เหล่ากุลบุตรออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน รู้ชัดว่า
“ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความ
เป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
อนึ่ง ท่านพระพาหิยะได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย

พาหิยสูตรที่ ๕ จบ

๖. อุตติยสูตร
ว่าด้วยพระอุตติยะ

[๓๘๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ท่านพระอุตติยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ นั่ง ณ
ที่สมควรแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๓๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๒. นาลันทวรรค ๖. อุตติยสูตร

วโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ซึ่งข้าพระองค์
ได้ฟังแล้ว จะพึงหลีกออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจ
อยู่เถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุตติยะ เพราะเหตุนั้น เธอจงทำเบื้องต้นในกุศลธรรม
ทั้งหลายให้หมดจดก่อน
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย
คือ ศีลที่บริสุทธิ์ดีและความเห็นที่ตรง
อุตติยะ เมื่อใด ศีลของเธอจักบริสุทธิ์ดีและความเห็นจักตรง เมื่อนั้น เธอ
อาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้ว พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการ
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ในธรรมวินัยนี้ เธอ
๑. จงพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. จงพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. จงพิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. จงพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
อุตติยะ เมื่อใด เธออาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้ว จักเจริญสติปัฏฐาน ๔
ประการนี้อย่างนี้ เมื่อนั้น เธอจักถึงจุดจบแห่งความตาย๑
ลำดับนั้น ท่านพระอุตติยะชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้ว ลุก
จากอาสนะ ถวายอภิวาท ทำประทักษิณแล้วจากไป ต่อมา ท่านพระอุตติยะก็หลีก
ออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนักได้
ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ที่เหล่ากุลบุตรออกจาก


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๒. นาลันทวรรค ๗. อริยสูตร

เรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
อนึ่ง ท่านพระอุตติยะได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย

อุตติยสูตรที่ ๖ จบ

๗. อริยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นอริยะ

[๓๘๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ
ทำให้มากแล้ว เป็นอริยะ เป็นนิยยานิกธรรม นำออกไปเพื่อให้สิ้นทุกข์โดยชอบ
แก่ผู้บำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ประการนั้น
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว เป็น
อริยะ เป็นนิยยานิกธรรม นำออกไปเพื่อให้สิ้นทุกข์โดยชอบแก่ผู้บำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔
ประการนั้น”

อริยสูตรที่ ๗ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๒. นาลันทวรรค ๘. พรหมสูตร

๘. พรหมสูตร
ว่าด้วยท้าวสหัมบดีพรหม

[๓๘๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคแรกตรัสรู้ ประทับอยู่ใต้ต้นอชปาลนิโครธ
ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลา ทรงหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด ได้เกิดความรำพึงขึ้น
มาว่า “ทางนี้เป็นทางเดียวเพื่อความหมดจดแห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงโสกะ
และปริเทวะ เพื่อดับทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง
คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุ
๑. พึงพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พึงพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พึงพิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พึงพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ทางนี้เป็นทางเดียวเพื่อความหมดจดแห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงโสกะและ
ปริเทวะ เพื่อดับทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง
คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ
ลำดับนั้น ท้าวสหัมบดีพรหมทราบความรำพึงของพระผู้มีพระภาคแล้ว จึง
หายตัวจากพรหมโลกมาปรากฏตรงพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาค เปรียบเหมือน
บุรุษมีกำลังเหยียดแขนออกหรือคู้เแขนเข้าฉะนั้น ครั้นแล้วท้าวเธอห่มผ้าเฉวียงบ่า
ข้างหนึ่ง ประนมอัญชลีไปทางพระผู้มีพระภาคแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เรื่องนี้เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระสุคต เรื่องนี้เป็นอย่าง
นั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทางนี้เป็นทางเดียวเพื่อความหมดจดแห่งสัตว์ทั้งหลาย
เพื่อก้าวล่วงโสกะและปริเทวะ เพื่อดับทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อ
ทำนิพพานให้แจ้ง คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๒. นาลันทวรรค ๙. เสทกสูตร

สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุ
๑. พึงพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พึงพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พึงพิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พึงพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทางนี้เป็นทางเดียว เพื่อความหมดจดแห่งสัตว์
ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงโสกะและปริเทวะ เพื่อดับทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม
เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ”
ท้าวสหัมบดีพรหมได้กราบทูลคำนี้แล้ว จึงได้กล่าวคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
“พระผู้มีพระภาคผู้ทรงเห็นธรรม
อันเป็นส่วนที่สุดสิ้นแห่งชาติ
ทรงอนุเคราะห์ด้วยความเกื้อกูล
ทรงรู้จักทางอันเป็นทางเดียว
ซึ่งเหล่าบัณฑิตได้ข้ามมาก่อนแล้ว
จักข้าม และกำลังข้ามโอฆะได้ด้วยทางนี้”

พรหมสูตรที่ ๘ จบ

๙. เสทกสูตร
ว่าด้วยธรรมเทศนาที่เสทกนิคม

[๓๘๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของชาวสุมภะชื่อ
เสทกะ แคว้นสุมภะ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัส
ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว คนจัณฑาลผู้เป็นนักไต่ราว ยกไม้ไผ่ขึ้นตั้งไว้
แล้วเรียกศิษย์ชื่อเมทกถาลิกะมาบอกว่า ‘เมทกถาลิกะผู้สหาย เธอจงขึ้นราวไม้ไผ่
แล้วยืนบนคอของเราเถิด’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๔๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๒. นาลันทวรรค ๙. เสทกสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เมทกถาลิกะผู้เป็นศิษย์รับคำของคนจัณฑาลผู้เป็นนักไต่ราว
แล้วได้ขึ้นราวไม้ไผ่ ยืนอยู่บนคอของอาจารย์ คนจัณฑาลผู้เป็นนักไต่ราวได้กล่าวว่า
‘เมทกถาลิกะผู้สหาย เธอจงรักษาเรา เราก็จักรักษาเธอ เราทั้งสองต่างคุ้มครอง
รักษากันและกันอย่างนี้ จักแสดงศิลปะ จักได้ลาภ และจักลงจากราวไม้ไผ่โดย
ความสวัสดี’
ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออาจารย์กล่าวอย่างนี้แล้ว เมทกถาลิกะผู้เป็นศิษย์ได้กล่าว
ว่า ‘ท่านอาจารย์ ก็เรื่องนี้ จักเป็นอย่างนั้นหามิได้ ท่านจงรักษาตน ผมก็จักรักษาตน
เราทั้งสองต่างคุ้มครองรักษาตนอย่างนี้ จักแสดงศิลปะ จักได้ลาภ และจักลงจาก
ราวไม้ไผ่โดยความสวัสดี”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสสนับสนุนว่า “อุบายในเรื่องนั้นมีอยู่” เหมือนศิษย์ชื่อ
เมทกถาลิกะได้พูดกับอาจารย์ คือ พระองค์ได้ตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงปฏิบัติสติปัฏฐานด้วยคิดว่า ‘จักรักษาตน’
พึงปฏิบัติสติปัฏฐานด้วยคิดว่า ‘จักรักษาผู้อื่น’ บุคคลเมื่อรักษาตน ชื่อว่ารักษา
ผู้อื่น เมื่อรักษาผู้อื่น ก็ชื่อว่ารักษาตน
บุคคลเมื่อรักษาตน ชื่อว่ารักษาผู้อื่น เป็นอย่างไร
คือ บุคคลเมื่อรักษาตนด้วยการปฏิบัติ ด้วยการเจริญ ด้วยการทำให้มาก
ชื่อว่ารักษาผู้อื่น
บุคคลเมื่อรักษาตน ชื่อว่ารักษาผู้อื่น เป็นอย่างนี้แล
บุคคลเมื่อรักษาผู้อื่น ชื่อว่ารักษาตน เป็นอย่างไร
คือ บุคคลเมื่อรักษาผู้อื่นด้วยความอดทน ด้วยความไม่เบียดเบียน ด้วยจิต
เมตตา ด้วยความเอ็นดู ชื่อว่ารักษาตน
บุคคลเมื่อรักษาผู้อื่น ชื่อว่ารักษาตน เป็นอย่างนี้แล
เธอทั้งหลายพึงปฏิบัติสติปัฏฐานด้วยคิดว่า ‘จักรักษาตน’ พึงปฏิบัติ
สติปัฏฐานด้วยคิดว่า ‘จักรักษาผู้อื่น’
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรักษาตน ชื่อว่ารักษาผู้อื่น เมื่อรักษาผู้อื่น ก็ชื่อว่า
รักษาตน”

เสทกสูตรที่ ๙ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๒. นาลันทวรรค ๑๐. ชนปทกัลยาณีสูตร

๑๐. ชนปทกัลยาณีสูตร
ว่าด้วยนางงามในชนบท

[๓๘๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของชาวสุมภะชื่อเสทกะ ใน
แคว้นสุมภะ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้
ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย หมู่มหาชนได้ทราบข่าวว่า ‘มีนางงามในชนบท๑ มีนางงามใน
ชนบท’ จึงประชุมกัน ก็นางงามในชนบทนั้นน่าดูยิ่งนักในเวลาฟ้อนรำ น่าฟังยิ่งนัก
ในเวลาขับร้อง หมู่มหาชนได้ทราบข่าวอีกว่า ‘นางงามในชนบทจะฟ้อนรำ จะขับร้อง’
จึงประชุมกันแน่นขนัดประมาณไม่ได้ ทีนั้น มีบุรุษคนหนึ่งผู้รักตัวกลัวตาย รักสุข
เกลียดทุกข์เดินมา หมู่มหาชนพึงพูดกับเขาอย่างนี้ว่า ‘บุรุษผู้เจริญ ท่านพึงนำ
ภาชนะน้ำมันซึ่งเต็มเปี่ยมนี้ผ่านไประหว่างที่ประชุมใหญ่กับนางงามชนบท และจักมี
บุรุษเงื้อดาบติดตามไปข้างหลังๆ โดยบอกว่า ‘ถ้าท่านจักทำน้ำมันหกแม้เพียง
หน่อยหนึ่งในที่ใด ศีรษะของท่านจักขาดตกลงในที่นั้น’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษนั้นจะไม่ใส่
ใจภาชนะน้ำมันโน้นแล้ว เผลอนำไปในภายนอกเทียวหรือ”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรายกอุปมานี้มา ก็เพื่อให้เข้าใจ
เนื้อความชัดเจน เนื้อความในเรื่องนี้มีดังต่อไปนี้


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๒. นาลันทวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

คำว่า ‘ภาชนะน้ำมันซึ่งเต็มเปี่ยม’ นี้เป็นคำเรียกกายคตาสติ เพราะเหตุนั้น
เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘กายคตาสติจักเป็นกัมมัฏฐานที่พวกเราเจริญ
ทำให้มาก ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ให้มั่นคง สั่งสม ปรารภดีแล้ว’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล”

ชนปทกัลยาณีสูตรที่ ๑๐ จบ
นาลันทวรรคที่ ๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. มหาปุริสสูตร ๒. นาลันทสูตร
๓. จุนทสูตร ๔. อุกกเจลสูตร
๕. พาหิยสูตร ๖. อุตติยสูตร
๗. อริยสูตร ๘. พรหมสูตร
๙. เสทกสูตร ๑๐. ชนปทกัลยาณีสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๓. สีลัฏฐิติวรรค ๑. สีลสูตร

๓. สีลัฏฐิติวรรค
หมวดว่าด้วยความดำรงอยู่แห่งศีล
๑. สีลสูตร
ว่าด้วยศีลที่เป็นกุศล

[๓๘๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์และท่านพระภัททะอยู่ ณ กุกกุฏาราม เขตเมือง
ปาฏลีบุตร ครั้นในเวลาเย็น ท่านพระภัททะออกจากที่หลีกเร้นแล้ว เข้าไปหาท่าน
พระอานนท์ถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว
นั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “ท่านอานนท์ พระผู้มีพระภาค
ตรัสศีลที่เป็นกุศล๑เหล่านี้ไว้ทรงมีพระประสงค์อะไร”
ท่านพระอานนท์กล่าวสอบถามว่า “ดีละ ดีละ ท่านภัททะ ปัญญาใฝ่รู้ของ
ท่านดีนัก ปฏิภาณดีนัก สอบถามเข้าที ก็ท่านถามว่า ‘ท่านอานนท์ พระผู้มี
พระภาคตรัสศีลที่เป็นกุศลเหล่านี้ไว้ ทรงมีพระประสงค์อะไร’ อย่างนั้นหรือ”
“อย่างนั้น ผู้มีอายุ”
“ท่านภัททะ พระผู้มีพระภาคตรัสศีลที่เป็นกุศลเหล่านี้ไว้ ก็เพียงเพื่อเจริญ
สติปัฏฐาน ๔ ประการเท่านั้น
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๓. สีลัฏฐิติวรรค ๒. จิรัฏฐิติสูตร

๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ท่านภัททะ พระผู้มีพระภาคตรัสศีลที่เป็นกุศลเหล่านี้ไว้ ก็เพียงเพื่อเจริญ
สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้เท่านั้น”

สีลสูตรที่ ๑ จบ

๒. จิรัฏฐิติสูตร
ว่าด้วยความดำรงอยู่ได้นานแห่งพระสัทธรรม

[๓๘๘] ต้นเรื่องนี้เหมือนสูตรแรก
ท่านพระภัททะนั่ง ณ ที่สมควรแล้ว ได้ถามท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “ท่าน
อานนท์ อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้พระสัทธรรมดำรงอยู่ได้ไม่นานในเมื่อ
พระตถาคตเสด็จปรินิพพานแล้ว และอะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้พระสัทธรรม
ดำรงอยู่ได้นานในเมื่อพระตถาคตเสด็จปรินิพพานแล้ว”
ท่านพระอานนท์กล่าวสอบถามว่า “ดีละ ดีละ ท่านภัททะ ปัญญาใฝ่รู้ของ
ท่านดีนัก ปฏิภาณดีนัก สอบถามเข้าที ก็ท่านถามว่า ‘ท่านอานนท์ อะไรหนอ
เป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้พระสัทธรรมดำรงอยู่ได้ไม่นานในเมื่อพระตถาคตเสด็จ
ปรินิพพานแล้ว และอะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้พระสัทธรรมดำรงอยู่ได้นานในเมื่อ
พระตถาคตเสด็จปรินิพพานแล้ว’ อย่างนั้นหรือ”
“อย่างนั้น ผู้มีอายุ”
“ผู้มีอายุ เพราะสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่บุคคลไม่เจริญ ไม่ทำให้มากแล้ว
พระสัทธรรมจึงดำรงอยู่ได้ไม่นานในเมื่อพระตถาคตเสด็จปรินิพพานแล้ว และ
เพราะสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว พระสัทธรรมจึงดำรง
อยู่ได้นานในเมื่อพระตถาคตเสด็จปรินิพพานแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๓. สีลัฏฐิติวรรค ๓. ปริหานสูตร

สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ผู้มีอายุ เพราะสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่บุคคลไม่เจริญ ไม่ทำให้มากแล้ว
พระสัทธรรมจึงดำรงอยู่ได้ไม่นานในเมื่อพระตถาคตเสด็จปรินิพพานแล้ว และเพราะ
สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว พระสัทธรรมจึงดำรงอยู่ได้
นานในเมื่อพระตถาคตเสด็จปรินิพพานแล้ว”

จิรัฏฐิติสูตรที่ ๒ จบ

๓. ปริหานสูตร
ว่าด้วยความเสื่อมแห่งพระสัทธรรม

[๓๘๙] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์และท่านพระภัททะอยู่ ณ กุกกุฏาราม
เขตเมืองปาฏลีบุตร ครั้นในเวลาเย็น ท่านพระภัททะออกจากที่หลีกเร้นเข้าไปหาท่าน
พระอานนท์ถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว
นั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “ท่านอานนท์ อะไรหนอเป็นเหตุ
เป็นปัจจัยให้พระสัทธรรมเสื่อม และอะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้พระสัทธรรมไม่เสื่อม”
ท่านพระอานนท์กล่าวสอบถามว่า “ดีละ ดีละ ท่านภัททะ ปัญญาใฝ่รู้ของ
ท่านดีนัก ปฏิภาณดีนัก สอบถามเข้าที ก็ท่านถามว่า ‘ท่านอานนท์ อะไรหนอ
เป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้พระสัทธรรมเสื่อม และอะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้พระ
สัทธรรมไม่เสื่อม’ อย่างนั้นหรือ”
“อย่างนั้น ผู้มีอายุ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๔๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๓. สีลัฏฐิติวรรค ๔. สุทธสูตร

“ผู้มีอายุ เพราะสติปัฏฐาน ๔ ประการที่บุคคลไม่เจริญ ไม่ทำให้มากแล้ว
พระสัทธรรมจึงเสื่อม และเพราะสติปัฏฐาน ๔ ประการที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว
พระสัทธรรมจึงไม่เสื่อม”
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ผู้มีอายุ เพราะสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่บุคคลไม่เจริญ ไม่ทำให้มากแล้ว
พระสัทธรรมจึงเสื่อม และเพราะสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มาก
แล้ว พระสัทธรรมจึงไม่เสื่อม”

ปริหานสูตรที่ ๓ จบ

๔. สุทธสูตร
ว่าด้วยสติปัฏฐานล้วน

[๓๙๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๔๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๓. สีลัฏฐิติวรรค ๕. อัญญตรพราหมณสูตร

๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้”

สุทธสูตรที่ ๔ จบ

๕. อัญญตรพราหมณสูตร
ว่าด้วยพราหมณ์คนหนึ่งทูลถามปัญหา

[๓๙๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล พราหมณ์คนหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง
ที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ
ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอ
เป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้พระสัทธรรมดำรงอยู่ได้ไม่นานในเมื่อพระตถาคตปรินิพพานแล้ว
และอะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้พระสัทธรรมดำรงอยู่ได้นานในเมื่อพระตถาคต
ปรินิพพานแล้ว”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พราหมณ์ เพราะสติปัฏฐาน ๔ ประการ
ที่บุคคลไม่เจริญ ไม่ทำให้มากแล้ว พระสัทธรรมจึงดำรงอยู่ได้ไม่นานในเมื่อ
ตถาคตปรินิพพาน แล้ว และเพราะสติปัฏฐาน ๔ ประการที่บุคคลเจริญ ทำให้
มากแล้ว พระสัทธรรมจึงดำรงอยู่ได้นานในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๔๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๓. สีลัฏฐิติวรรค ๖. ปเทสสูตร

๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
พราหมณ์ เพราะสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่บุคคลไม่เจริญ ไม่ทำให้มากแล้ว
พระสัทธรรมจึงดำรงอยู่ได้ไม่นานในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว และเพราะสติปัฏฐาน
๔ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว พระสัทธรรมจึงดำรงอยู่ได้นานในเมื่อ
ตถาคตปรินิพพานแล้ว”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พราหมณ์นั้นได้กราบทูลว่า “ข้าแต่
ท่านพระโคดม พระภาษิตของท่านพระโคดมไพเราะชัดเจนยิ่งนัก ขอท่านพระโคดม
จงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”

อัญญตรพราหมณสูตรที่ ๕ จบ

๖. ปเทสสูตร
ว่าด้วยการเจริญสติปัฏฐานบางข้อ

[๓๙๒] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตร ท่านพระมหาโมคคัลลานะ และท่านพระ
อนุรุทธะอยู่ ณ กัณฏกีวัน เขตเมืองสาเกต ครั้นในเวลาเย็น ท่านพระสารีบุตรและ
ท่านพระมหาโมคคัลลานะออกจากที่หลีกเร้นแล้วเข้าไปหาท่านพระอนุรุทธะถึงที่อยู่
ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร
ท่านพระสารีบุตรได้ถามท่านพระอนุรุทธะดังนี้ว่า “ท่านอนุรุทธะ ที่เรียกกันว่า ‘พระเสขะ
พระเสขะ’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ บุคคลจึงชื่อว่าเป็นพระเสขะ”
ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า “ผู้มีอายุ บุคคลชื่อว่าเป็นพระเสขะ เพราะได้
เจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการเป็นบางข้อ
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๓. สีลัฏฐิติวรรค ๗. สมัตตสูตร

๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ผู้มีอายุ บุคคลชื่อว่าเป็นพระเสขะ เพราะเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้เป็น
บางข้อ”

ปเทสสูตรที่ ๖ จบ

๗. สมัตตสูตร
ว่าด้วยการเจริญสติปัฏฐานครบบริบูรณ์

[๓๙๓] ต้นเรื่องนี้เหมือนสูตรที่ ๖
ท่านพระสารีบุตรนั่ง ณ ที่สมควรแล้ว ได้ถามท่านพระอนุรุทธะว่า “ท่าน
อนุรุทธะ ที่เรียกกันว่า ‘พระอเสขะ พระอเสขะ’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ
บุคคลจึงชื่อว่าเป็นพระอเสขะ”
ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า “ผู้มีอายุ บุคคลชื่อว่าเป็นพระอเสขะ เพราะได้เจริญ
สติปัฏฐาน ๔ ประการครบบริบูรณ์”
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ผู้มีอายุ บุคคลชื่อว่าเป็นพระอเสขะ เพราะได้เจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้
ครบบริบูรณ์”

สมัตตสูตรที่ ๗ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๓. สีลัฏฐิติวรรค ๙. สิริวัฑฒสูตร

๘. โลกสูตร
ว่าด้วยผู้รู้โลก

[๓๙๔] ต้นเรื่องนี้เหมือนสูตรที่ ๖
ท่านพระสารีบุตรนั่ง ณ ที่สมควรแล้ว ได้ถามท่านพระอนุรุทธะดังนี้ว่า
“ท่านอนุรุทธะถึงความเป็นผู้มีอภิญญามาก เพราะธรรมเหล่าไหน ที่ท่านเจริญ
ทำให้มากแล้ว
ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า “ผู้มีอายุ ผมถึงความเป็นผู้มีอภิญญามาก เพราะ
สติปัฏฐาน ๔ ประการ ที่ผมเจริญ ทำให้มากแล้ว
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ในพระธรรมวินัยนี้ ผม
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ผู้มีอายุ ผมถึงความเป็นผู้มีอภิญญามาก เพราะสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้
ที่ผมเจริญ ทำให้มากแล้ว และผมรู้แจ้งโลก ๑,๐๐๐ โลกได้ เพราะสติปัฏฐาน ๔
ประการนี้ที่ผมเจริญ ทำให้มากแล้ว”

โลกสูตรที่ ๘ จบ

๙. สิริวัฑฒสูตร
ว่าด้วยสิริวัฑฒคหบดี

[๓๙๕] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต
เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น คหบดีชื่อสิริวัฑฒะป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ได้
เรียกบุรุษคนหนึ่งมาสั่งว่า “มานี่แน่ะบุรุษผู้เจริญ เธอจงเข้าไปหาท่านพระ
อานนท์ถึงที่อยู่ แล้วกราบเท้าทั้งสองของท่านด้วยเศียรเกล้า เรียนตามคำของเราว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๕๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๓. สีลัฏฐิติวรรค ๙. สิริวัฑฒสูตร

‘ท่านผู้เจริญ สิริวัฑฒคหบดีป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ขอกราบเท้าทั้งสองของ
ท่านด้วยเศียรเกล้า’ และเธอจงเรียนว่า ‘ขอท่านพระอานนท์โปรดอนุเคราะห์เข้าไป
เยี่ยมสิริวัฑฒคหบดีถึงนิเวศน์ด้วยเถิด” บุรุษนั้นรับคำของสิริวัฑฒคหบดีแล้วเข้าไป
หาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้เรียนท่านพระอานนท์
ดังนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ สิริวัฑฒคหบดีป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ขอกราบเท้าทั้ง
สองของท่านด้วยเศียรเกล้า และฝากมาเรียนว่า ‘ขอท่านพระอานนท์โปรดอนุเคราะห์
เข้าไปเยี่ยมสิริวัฑฒคหบดีถึงนิเวศน์ด้วยเถิด” ท่านพระอานนท์รับนิมนต์โดยดุษณีภาพ
ครั้นในเวลาเช้า ท่านพระอานนท์ครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไป
ยังนิเวศน์ของสิริวัฑฒคหบดี นั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้แล้วถามว่า “คหบดี ท่านยัง
สบายดีหรือ ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ ทุกขเวทนาทุเลาลงไม่กำเริบขึ้นหรือ อาการ
ทุเลาปรากฏ อาการกำเริบไม่ปรากฏหรือ”
สิริวัฑฒคหบดีตอบว่า “ผมไม่สบาย จะเป็นอยู่ไม่ได้ ทุกขเวทนามีแต่
กำเริบหนักขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย อาการกำเริบปรากฏ อาการทุเลาไม่ปรากฏ ขอรับ”
“คหบดี เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เราจักพิจารณาเห็นกาย
ในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
จักพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ จักพิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ จัก
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้’ คหบดี ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้แล”
“ท่านผู้เจริญ ธรรมคือสติปัฏฐาน ๔ ประการที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วมี
อยู่ในผม และผมก็เห็นชัดในธรรมเหล่านั้น เพราะผมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มี
ความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ พิจารณาเห็น
เวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ พิจารณาเห็นธรรมในธรรม
ทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ท่านผู้เจริญ โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการใดที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง
แล้ว ผมไม่เล็งเห็นโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนั้นข้อใดข้อหนึ่งในตนที่ยังละไม่ได้”
“คหบดี เป็นลาภของท่านหนอ ท่านได้ดีแล้วหนอ อนาคามิผลท่านก็ทำให้
แจ้งแล้ว”

สิริวัฑฒสูตรที่ ๙ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๓. สีลัฏฐิติวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๑๐. มานทินนสูตร
ว่าด้วยมานทินนคหบดี

[๓๙๖] ต้นเรื่องนี้เหมือนสูตรที่ ๙
สมัยนั้น คหบดีชื่อมานทินนะป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ได้เรียกบุรุษคน
หนึ่งมาสั่งว่า “มานี่แน่ะบุรุษผู้เจริญ ฯลฯ๑
มานทินนคหบดีตอบว่า “ผมไม่สบาย จะเป็นอยู่ไม่ได้ ทุกขเวทนามีแต่
กำเริบหนักขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย อาการกำเริบปรากฏ อาการทุเลาไม่ปรากฏ ท่าน
ผู้เจริญ แม้ผมจะได้รับทุกขเวทนาเห็นปานนี้ก็ยังพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มี
ความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ พิจารณา
เห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ พิจารณาเห็น
ธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ
โทมนัสในโลกได้
ท่านผู้เจริญ โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการใดที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว
ผมไม่เล็งเห็นโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนั้นข้อใดข้อหนึ่งในตนที่ยังละไม่ได้”
“คหบดี เป็นลาภของท่านหนอ ท่านได้ดีแล้วหนอ อนาคามิผลท่านก็ทำให้แจ้งแล้ว”

มานทินนสูตรที่ ๑๐ จบ
สีลัฏฐิติวรรคที่ ๓ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สีลสูตร ๒. จิรัฏฐิติสูตร
๓. ปริหานสูตร ๔. สุทธสูตร
๕. อัญญตรพราหมณสูตร ๖. ปเทสสูตร
๗. สมัตตสูตร ๘. โลกสูตร
๙. สิริวัฑฒสูตร ๑๐. มานทินนสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๔. อนนุสสุตวรรค ๑. อนนุสสุตสูตร

๔. อนนุสสุตวรรค
หมวดว่าด้วยธรรมที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อน
๑. อนนุสสุตสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อน

[๓๙๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว
ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลาย
ที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า๑ ‘นี้คือการพิจารณาเห็นกายในกาย’ จักษุเกิดขึ้นแล้ว
ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว
แก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘การพิจารณาเห็นกายในกายนี้
ควรเจริญ’ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘การพิจารณา
เห็นกายในกายนี้ เราได้เจริญแล้ว’
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชา
เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า
‘นี้คือการพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย’ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว
ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลาย
ที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘การพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายนี้ควรเจริญ’
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่าง
เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘การพิจารณาเห็น
เวทนาในเวทนาทั้งหลายนี้เราได้เจริญแล้ว’
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชา
เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า
‘นี้คือการพิจารณาเห็นจิตในจิต’ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้น


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๔. อนนุสสุตวรรค ๒. วิราคสูตร

แล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟัง
มาก่อนว่า ‘การพิจารณาเห็นจิตในจิตนี้ควรเจริญ’ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว
ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลาย
ที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘การพิจารณาเห็นจิตในจิตนี้เราได้เจริญแล้ว’
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชา
เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า
‘นี้คือการพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย’ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว
ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลาย
ที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘การพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายนี้ควรเจริญ’
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่าง
เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘การพิจารณาเห็นธรรม
ในธรรมทั้งหลายนี้เราได้เจริญแล้ว”

อนนุสสุตสูตรที่ ๑ จบ

๒. วิราคสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อความคลายกำหนัด

[๓๙๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายอย่างที่สุด เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ
เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๔. อนนุสสุตวรรค ๓. วิรัทธสูตร

๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อม
เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายอย่างที่สุด เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ
เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน”

วิราคสูตรที่ ๒ จบ

๓. วิรัทธสูตร
ว่าด้วยธรรมที่บุคคลพลาด

[๓๙๙] “ภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ ประการ อันบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
พลาดแล้ว อริยมรรคมีองค์ ๘ ที่ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ชื่อว่าเป็นอันบุคคล
เหล่านั้นพลาดแล้ว สติปัฏฐาน ๔ ประการ อันบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งปรารภแล้ว
อริยมรรคมีองค์ ๘ ที่ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ชื่อว่าเป็นอันบุคคลเหล่านั้น
ปรารภแล้ว
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ อันบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งพลาดแล้ว
อริยมรรคมีองค์ ๘ ที่ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ชื่อว่าเป็นอันบุคคลเหล่านั้นพลาด
แล้ว สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ อันบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งปรารภแล้ว อริยมรรค
มีองค์ ๘ ที่ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ชื่อว่าเป็นอันบุคคลเหล่านั้นปรารภแล้ว”

วิรัทธสูตรที่ ๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๔. อนนุสสุตวรรค ๕. สติสูตร

๔. ภาวิตสูตร
ว่าด้วยผู้เจริญสติปัฏฐาน

[๔๐๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ
ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อถึงฝั่งโน้นจากฝั่งนี้
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อม
เป็นไปเพื่อถึงฝั่งโน้นจากฝั่งนี้”

ภาวิตสูตรที่ ๔ จบ

๕. สติสูตร
ว่าด้วยผู้มีสติสัมปชัญญะ

[๔๐๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงมีสติสัมปชัญญะอยู่เถิด นี้เป็นคำพร่ำสอนของเรา
สำหรับเธอทั้งหลาย
ภิกษุผู้มีสติ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๔. อนนุสสุตวรรค ๖. อัญญาสูตร

๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุผู้มีสติ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุผู้มีสัมปชัญญะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีเวทนาปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่
ปรากฏถึงความดับไป มีวิตกปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความ
ดับไป มีสัญญาปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไป
ภิกษุผู้มีสัมปชัญญะ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงมีสติสัมปชัญญะอยู่เถิด นี้เป็นคำพร่ำสอนของเรา
สำหรับเธอทั้งหลาย”

สติสูตรที่ ๕ จบ

๖. อัญญาสูตร
ว่าด้วยเหตุให้บรรลุอรหัตตผล

[๔๐๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๕๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๔. อนนุสสุตวรรค ๗. ฉันทสูตร

๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย เพราะสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว
พึงหวังผลอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ อรหัตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทาน
เหลืออยู่ก็จักเป็นพระอนาคามี”

อัญญาสูตรที่ ๖ จบ

๗. ฉันทสูตร
ว่าด้วยผู้ละฉันทะ

[๔๐๓] “ภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ เมื่อเธอพิจารณาเห็นกายในกาย
อยู่ ย่อมละฉันทะ(ความพอใจ)ในกายนั้นได้ เพราะละฉันทะได้
จึงทำอมตะ(นิพพาน)ให้แจ้ง
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ เมื่อเธอ
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ ย่อมละฉันทะในเวทนา
ทั้งหลาย เพราะละฉันทะได้จึงทำอมตะให้แจ้ง
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ เมื่อเธอพิจารณาเห็นจิตในจิต
อยู่ ย่อมละฉันทะในจิต เพราะละฉันทะได้จึงทำอมตะให้แจ้ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๔. อนนุสสุตวรรค ๘. ปริญญาตสูตร

๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ เมื่อเธอพิจารณาเห็น
ธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ ย่อมละฉันทะในธรรมทั้งหลาย เพราะ
ละฉันทะได้จึงทำอมตะให้แจ้ง”

ฉันทสูตรที่ ๗ จบ

๘. ปริญญาตสูตร
ว่าด้วยผู้กำหนดรู้สติปัฏฐาน

[๔๐๔] “ภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ เมื่อเธอพิจารณาเห็นกายในกาย
อยู่ ย่อมกำหนดรู้กาย เพราะกำหนดรู้กายจึงทำอมตะให้แจ้ง
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ เมื่อเธอ
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ ย่อมกำหนดรู้เวทนา
เพราะกำหนดรู้เวทนาจึงทำอมตะให้แจ้ง
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ เมื่อเธอพิจารณาเห็นจิตในจิต
อยู่ ย่อมกำหนดรู้จิต เพราะกำหนดรู้จิตจึงทำอมตะให้แจ้ง
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ เมื่อเธอพิจารณาเห็น
ธรรมในธรรมทั้งหลาย ย่อมกำหนดรู้ธรรม เพราะกำหนดรู้ธรรม
จึงทำอมตะให้แจ้ง”

ปริญญาตสูตรที่ ๘ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๔. อนนุสสุตวรรค ๑๐. วิภังคสูตร

๙. ภาวนาสูตร
ว่าด้วยการเจริญสติปัฏฐาน

[๔๐๕] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงการเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการ เธอ
ทั้งหลายจงฟัง
การเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุทั้งหลาย การเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการ เป็นอย่างนี้แล”

ภาวนาสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. วิภังคสูตร
ว่าด้วยการจำแนกสติปัฏฐาน

[๔๐๖] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสติปัฏฐาน การเจริญสติปัฏฐานและ
ปฏิปทาที่ให้ถึงการเจริญสติปัฏฐานแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
สติปัฏฐาน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๔. อนนุสสุตวรรค ๑๐. วิภังคสูตร

๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
นี้เรียกว่า สติปัฏฐาน
การเจริญสติปัฏฐาน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุเกิดในกายอยู่ พิจารณาเห็นธรรม
เป็นเหตุดับในกายอยู่ พิจารณาเห็นทั้งธรรมเป็นเหตุเกิดทั้งธรรม
เป็นเหตุดับในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุเกิดในเวทนาทั้งหลายอยู่ พิจารณา
เห็นธรรมเป็นเหตุดับในเวทนาทั้งหลายอยู่ พิจารณาเห็นทั้ง
ธรรมเป็นเหตุเกิดทั้งธรรมเป็นเหตุดับในเวทนาทั้งหลายอยู่ ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุเกิดในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุเกิดในธรรมทั้งหลายอยู่ พิจารณา
เห็นธรรมเป็นเหตุดับในธรรมทั้งหลายอยู่ พิจารณาเห็นทั้งธรรม
เป็นเหตุเกิดทั้งธรรมเป็นเหตุดับในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร
มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
นี้เรียกว่า การเจริญสติปัฏฐาน

ปฏิปทาที่ให้ถึงการเจริญสติปัฏฐาน เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ๒. สัมมาสังกัปปะ
๓. สัมมาวาจา ๔. สัมมากัมมันตะ
๕. สัมมาอาชีวะ ๖. สัมมาวายามะ
๗. สัมมาสติ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้เรียกว่า ปฏิปทาที่ให้ถึงการเจริญสติปัฏฐาน”

วิภังคสูตรที่ ๑๐ จบ
อนนุสสุตวรรคที่ ๔ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๔. อนนุสสุตวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อนนุสสุตสูตร ๒. วิราคสูตร
๓. วิรัทธสูตร ๔. ภาวิตสูตร
๕. สติสูตร ๖. อัญญาสูตร
๗. ฉันทสูตร ๘. ปริญญาตสูตร
๙. ภาวนาสูตร ๑๐. วิภังคสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๕. อมตวรรค ๒. สมุทยสูตร

๕. อมตวรรค
หมวดว่าด้วยอมตะ
๑. อมตสูตร
ว่าด้วยอมตะ

[๔๐๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมีจิตตั้งมั่นในสติ-
ปัฏฐาน ๔ ประการอยู่เถิด อย่ามีจิตไม่ตั้งมั่นอยู่เลย และอมตะ (นิพพาน) พึงมี
แก่เธอทั้งหลาย
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมีจิตตั้งมั่นในสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้อยู่เถิด
อย่ามีจิตไม่ตั้งมั่นอยู่เลย และอมตะพึงมีแก่เธอทั้งหลาย”

อมตสูตรที่ ๑ จบ

๒. สมุทยสูตร
ว่าด้วยความเกิดแห่งสติปัฏฐาน

[๔๐๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความเกิดและความดับแห่งสติปัฏฐาน ๔ ประการ
เธอทั้งหลายจงฟัง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๕. อมตวรรค ๓. มัคคสูตร

ความเกิดแห่งกาย เป็นอย่างไร
คือ เพราะอาหารเกิด กายจึงเกิด เพราะอาหารดับ กายจึงดับ เพราะผัสสะ
เกิด เวทนาจึงเกิด เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ เพราะนามรูปเกิด จิตจึงเกิด
เพราะนามรูปดับ จิตจึงดับ เพราะมนสิการเกิด ธรรมจึงเกิด เพราะมนสิการดับ
ธรรมจึงดับ”

สมุทยสูตรที่ ๒ จบ

๓. มัคคสูตร
ว่าด้วยทางเดียว

[๔๐๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย
สมัยหนึ่ง เราเมื่อแรกตรัสรู้อยู่ใต้ต้นไม้อชปาลนิโครธ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา
ตำบลอุรุเวลา หลีกเร้นอยู่ในที่สงัดได้เกิดความรำพึงขึ้นมาว่า ‘ทางนี้เป็นทาง
เดียวเพื่อความหมดจดแห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงโสกะและปริเทวะ เพื่อดับ
ทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง คือ สติปัฏฐาน
๔ ประการ
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุ
๑. พึงพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พึงพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ ฯลฯ
๓. พึงพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯลฯ
๔. พึงพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ทางนี้เป็นทางเดียวเพื่อความหมดจดแห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงโสกะและ
ปริเทวะ เพื่อดับทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง คือ
สติปัฏฐาน ๔ ประการ’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๕. อมตวรรค ๓. มัคคสูตร

ลำดับนั้น ท้าวสหัมบดีพรหมทราบความรำพึงของเราแล้ว จึงหายตัวจาก
พรหมโลกมาปรากฏตรงหน้าเรา เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขนออก หรือคู้
แขนเข้าฉะนั้น ครั้นแล้วท้าวเธอห่มผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมมือมาทางเราแล้ว
กล่าวว่า ‘ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เรื่องนี้เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระสุคต เรื่องนี้เป็น
อย่างนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทางนี้เป็นทางเดียวเพื่อความหมดจดแห่งสัตว์ทั้ง
หลาย เพื่อก้าวล่วงโสกะและปริเทวะ เพื่อดับทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม
เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุ
๑. พึงพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พึงพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พึงพิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พึงพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทางนี้เป็นทางเดียว เพื่อความหมดจดแห่งสัตว์
ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงโสกะและปริเทวะ เพื่อดับทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม
เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ’
ภิกษุทั้งหลาย ท้าวสหัมบดีพรหมได้กราบทูลคำนี้แล้วจึงได้กล่าวคาถาประพันธ์
ต่อไปอีกว่า
“พระผู้มีพระภาคผู้ทรงเห็นธรรม
อันเป็นส่วนที่สุดสิ้นแห่งชาติ
ทรงอนุเคราะห์ด้วยความเกื้อกูล
ทรงรู้จักทางอันเป็นทางเดียว
ซึ่งเหล่าบัณฑิตได้ข้ามมาก่อนแล้ว
จักข้าม และกำลังข้ามโอฆะได้ด้วยทางนี้”

มัคคสูตรที่ ๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๕. อมตวรรค ๕. กุสลราสิสูตร

๔. สติสูตร
ว่าด้วยผู้มีสติ

[๔๑๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงมีสติอยู่เถิด นี้เป็นคำพร่ำสอนของเราสำหรับเธอ
ทั้งหลาย
ภิกษุผู้มีสติ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุผู้มีสติ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุพึงมีสติอยู่เถิด นี้เป็นคำพร่ำสอนของเราสำหรับเธอทั้งหลาย”

สติสูตรที่ ๔ จบ

๕. กุสลราสิสูตร
ว่าด้วยกองกุศล

[๔๑๑] “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อจะกล่าวถึงกองกุศล จะกล่าวให้ถูกต้อง
พึงกล่าวถึงสติปัฏฐาน ๔ ประการ เพราะกองกุศลทั้งสิ้นนี้ก็คือสติปัฏฐาน ๔ ประการ
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๕. อมตวรรค ๖. ปาติโมกขสังวรสูตร

๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อจะกล่าวถึงกองกุศล จะกล่าวให้ถูกต้อง พึงกล่าว
ถึงสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ เพราะกองกุศลทั้งสิ้นนี้ก็คือสติปัฏฐาน ๔ ประการ”

กุสลราสิสูตรที่ ๕ จบ

๖. ปาติโมกขสังวรสูตร
ว่าด้วยปาติโมกขสังวร

[๔๑๒] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ
นั่ง ณ ที่สมควรแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ซึ่ง
ข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว จะพึงหลีกออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร
อุทิศกายและใจอยู่เถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ เพราะเหตุนั้น เธอจงทำเบื้องต้นในกุศลธรรม
ทั้งหลายให้หมดจดก่อน
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย
คือ ในธรรมวินัยนี้ เธอจงสำรวมด้วยสังวรในพระปาติโมกข์ เพียบพร้อม
ด้วยอาจาระ(มารยาท) และโคจร(การเที่ยวไป) มีปกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย
สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายเถิด เมื่อใด เธอจักสำรวมด้วยสังวรในพระ
ปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย
สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย เมื่อนั้น เธออาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้ว พึง
เจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๕. อมตวรรค ๗. ทุจจริตสูตร

สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ในธรรมวินัยนี้ เธอ
๑. จงพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. จงพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. จงพิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. จงพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุ เมื่อใด เธออาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้วจักเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการ
นี้อย่างนี้ เมื่อนั้น เธอพึงหวังความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลายตลอดคืนและวันที่จัก
มาถึง ไม่มีความเสื่อมเลย”
ลำดับนั้น ภิกษุรูปนั้นชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้ว ลุกจาก
อาสนะ ถวายอภิวาท ทำประทักษิณแล้วจากไป ต่อมา เธอก็หลีกออกไปอยู่คนเดียว
ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนักได้ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์
ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ที่เหล่ากุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
โดยชอบต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
อีกต่อไป”
อนึ่ง ภิกษุรูปนั้นได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย

ปาติโมกขสังวรสูตรที่ ๖ จบ

๗. ทุจจริตสูตร
ว่าด้วยการละทุจริต

[๔๑๓] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ ได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอ
พระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ซึ่งข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว จะ
พึงหลีกออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่เถิด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๕. อมตวรรค ๘. มิตตสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ เพราะเหตุนั้น เธอจงทำเบื้องต้นในกุศลธรรม
ทั้งหลายให้หมดจดก่อน
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย
คือ ในธรรมวินัยนี้ เธอจักละกายทุจริตแล้ว เจริญกายสุจริต จักละวจีทุจริต
แล้ว เจริญวจีสุจริต จักละมโนทุจริตแล้ว เจริญมโนสุจริต เมื่อใด เธอจักละกายทุจริต
แล้ว เจริญกายสุจริต จักละวจีทุจริตแล้ว เจริญวจีสุจริต จักละมโนทุจริตแล้ว เจริญ
มโนสุจริต เมื่อนั้น เธออาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้วพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการ
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ในธรรมวินัยนี้ เธอ
๑. จงพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. จงพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. จงพิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. จงพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
เมื่อใด เธออาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้วจักเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้
อย่างนี้ เมื่อนั้น เธอพึงหวังความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลายตลอดคืนและวันที่จัก
มาถึง ไม่มีความเสื่อมเลย ฯลฯ
อนึ่ง ภิกษุรูปนั้นได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย”

ทุจจริตสูตรที่ ๗ จบ

๘. มิตตสูตร
ว่าด้วยการชักชวนมิตรให้เจริญสติปัฏฐาน

[๔๑๔] “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงอนุเคราะห์คนเหล่าใด และคน
เหล่าใดจะเป็นมิตร อำมาตย์ ญาติ สาโลหิตก็ตามให้ความสำคัญคำที่ควรรับฟัง
เธอทั้งหลายพึงชักชวนคนเหล่านั้นให้ตั้งมั่น ให้ดำรงอยู่ในการเจริญสติปัฏฐาน ๔
ประการ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๕. อมตวรรค ๙. เวทนาสูตร

สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงอนุเคราะห์คนเหล่าใด และคนเหล่าใดจะเป็น
มิตร อำมาตย์ ญาติ สาโลหิตก็ตามให้ความสำคัญคำที่ควรรับฟัง เธอทั้งหลาย
พึงชักชวนคนเหล่านั้นให้ตั้งมั่น ให้ดำรงอยู่ในการเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้”

มิตตสูตรที่ ๘ จบ

๙. เวทนาสูตร
ว่าด้วยเวทนา

[๔๑๕] “ภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ ประการนี้
เวทนา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สุขเวทนา ๒. ทุกขเวทนา
๓. อทุกขมสุขเวทนา
เวทนา ๓ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการ เพื่อกำหนด
รู้เวทนา ๓ ประการนี้
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๕. อมตวรรค ๑๐. อาสวสูตร

๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้เพื่อกำหนดรู้
เวทนา ๓ ประการนี้”

เวทนาสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. อาสวสูตร
ว่าด้วยอาสวะ

[๔๑๖] “ภิกษุทั้งหลาย อาสวะ ๓ ประการนี้
อาสวะ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กามาสวะ ๒. ภวาสวะ
๓. อวิชชาสวะ
อาสวะ ๓ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการเพื่อละอาสวะ ๓ ประการนี้
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๕. อมตวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้เพื่อละอาสวะ
๓ ประการนี้”

อาสวสูตรที่ ๑๐ จบ
อมตวรรคที่ ๕ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อมตสูตร ๒. สมุทยสูตร
๓. มัคคสูตร ๔. สติสูตร
๕. กุสลราสิสูตร ๖. ปาติโมกขสังวรสูตร
๗. ทุจจริตสูตร ๘. มิตตสูตร
๙. เวทนาสูตร ๑๐. อาสวสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๖. คังคาเปยยาลวรรค ๑-๑๒. คังคานทีอาทีอาทิสุตตทวาทสกะ

๖. คังคาเปยยาลวรรค
หมวดว่าด้วยคังคาเปยยาล
๑-๑๒. คังคานทีอาทิสุตตทวาทสกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๑๒ สูตรมีคังคานทีสูตรเป็นต้น

[๔๑๗-๔๒๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไป
สู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน หลากไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น
เหมือนกัน เมื่อเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการ ทำสติปัฏฐาน ๔ ประการให้มาก
ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน
ภิกษุเมื่อเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการ ทำสติปัฏฐาน ๔ ประการให้มาก
ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการ ทำสติปัฏฐาน ๔ ประการ
ให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างนี้แล”

พึงเพิ่มข้อความต่อจากนี้ไปให้พิสดาร๑

คังคานทีอาทิสุตตทวาทสกะที่ ๑-๑๒ จบ
คังคาเปยยาลวรรคที่ ๖ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๖. คังคาเปยยาลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมปาจีนนินนสูตร ๒-๕. ทุติยาทิปาจีนนินนสุตตจตุกกะ
๖. ฉัฏฐปาจีนนินนสูตร ๗. ปฐมสมุททนินนสูตร
๘-๑๒. ทุติยาทิสมุททนินนสุตตปัญจกะ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๗. อัปปมาทวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๗. อัปปมาทวรรค
หมวดว่าด้วยความไม่ประมาท
๑-๑๐. ตถาคตาทิสูตร
ว่าด้วยพระตถาคตเป็นต้น

[๔๒๙-๔๓๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายที่ไม่มี
เท้า มีสองเท้า มีสี่เท้า หรือมีเท้ามากก็ตาม

พึงเพิ่มข้อความต่อจากนี้ไปให้พิสดาร๑

ตถาคตาทิสูตรที่ ๑-๑๐ จบ
อัปปมาทวรรคที่ ๗ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ตถาคตสูตร ๒. ปทสูตร
๓. กูฏสูตร ๔. มูลสูตร
๕. สารสูตร ๖. วัสสิกสูตร
๗. ราชาสูตร ๘. จันทิมสูตร
๙. สุริยสูตร ๑๐. วัตถสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๘. พลกรณียวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๘. พลกรณียวรรค
หมวดว่าด้วยอุปมาด้วยการงานที่พึงทำด้วยกำลัง
๑-๑๒. พลาทิสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยการงานที่พึงทำด้วยกำลังเป็นต้น

[๔๓๙-๔๕๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย การงานที่พึงทำ
ด้วยกำลังทั้งหมด

พึงเพิ่มข้อความต่อจากนี้ไปให้พิสดาร๑

พลาทิสูตรที่ ๑-๑๒ จบ
พลกรณียวรรคที่ ๘ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. พลสูตร ๒. พีชสูตร
๓. นาคสูตร ๔. รุกขสูตร
๕. กุมภสูตร ๖. สูกสูตร
๗. อากาสสูตร ๘. ปฐมเมฆสูตร
๙. ทุติยเมฆสูตร ๑๐. นาวาสูตร
๑๑. อาคันตุกสูตร ๑๒. นทีสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๙. เอสนาวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๙. เอสนาวรรค
หมวดว่าด้วยการแสวงหา
๑-๑๐. เอสนาทิสูตร
ว่าด้วยการแสวงหาเป็นต้น

[๔๕๑-๔๖๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓
ประการนี้
การแสวงหา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. การแสวงหากาม ๒. การแสวงหาภพ
๓. การแสวงหาพรหมจรรย์

พึงเพิ่มข้อความต่อจากนี้ไปให้พิสดาร๑

เอสนาทิสูตรที่ ๑-๑๐ จบ
เอสนาวรรคที่ ๙ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. เอสนาสูตร ๒. วิธาสูตร
๓. อาสวสูตร ๔. ภวสูตร
๕. ทุกขตาสูตร ๖. ขีลสูตร
๗. มลสูตร ๘. นีฆสูตร
๙. เวทนาสูตร ๑๐. ตัณหาสูตร
๑๑. ตสินาสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๑๐. โอฆวรรค ๑-๑๐. อุทธัมภาคิยาทิสูตร

๑๐. โอฆวรรค
หมวดว่าด้วยโอฆะ
๑-๑๐. อุทธัมภาคิยาทิสูตร
ว่าด้วยอุทธัมภาคิยสังโยชน์เป็นต้น

[๔๖๑-๔๗๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อุทธัมภาคิยสังโยชน์
(สังโยชน์เบื้องสูง) ๕ ประการนี้
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปราคะ ๒. อรูปราคะ
๓. มานะ ๔. อุทธัจจะ
๕. อวิชชา
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการเพื่อรู้ยิ่ง เพื่อ
กำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่ง
เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้”

อุทธัมภาคิยาทิสูตรที่ ๑-๑๐ จบ

(บัณฑิตพึงขยายสติปัฏฐานสังยุตให้พิสดารเหมือนมัคคสังยุต)

โอฆวรรคที่ ๑๐ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
รวมพระสูตรที่มีในวรรค

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. โอฆสูตร ๒. โยคสูตร
๓. อุปาทานสูตร ๔. คันถสูตร
๕. อนุสยสูตร ๖. กามคุณสูตร
๗. นีวรณสูตร ๘. อุปาทานักขันธสูตร
๙. โอรัมภาคิยสูตร ๑๐. อุทธัมภาคิยสูตร

สติปัฏฐานสังยุตที่ ๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๑. สุทธิกวรรค ๒. ปฐมโสตาปันนสูตร

๔. อินทริยสังยุต
๑. สุทธิกวรรค
หมวดว่าด้วยอินทรีย์ล้วน
๑. สุทธิกสูตร
ว่าด้วยอินทรีย์ล้วน

[๔๗๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ (อินทรีย์คือศรัทธา)
๒. วิริยินทรีย์ (อินทรีย์คือวิริยะ)
๓. สตินทรีย์ (อินทรีย์คือสติ)
๔. สมาธินทรีย์ (อินทรีย์คือสมาธิ)
๕. ปัญญินทรีย์ (อินทรีย์คือปัญญา)
ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้”

สุทธิกสูตรที่ ๑ จบ

๒. ปฐมโสตาปันนสูตร
ว่าด้วยพระโสดาบัน สูตรที่ ๑

[๔๗๒] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ ๒. วิริยินทรีย์
๓. สตินทรีย์ ๔. สมาธินทรีย์
๕. ปัญญินทรีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๑. สุทธิกวรรค ๓. ทุติยโสตาปันนสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดคุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจาก
อินทรีย์ ๕ ประการนี้ตามความเป็นจริง เมื่อนั้น อริยสาวกนี้เรากล่าวว่า ‘เป็น
โสดาบัน๑ ไม่มีทางตกต่ำ๒ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิ๓ในวันข้างหน้า”

ปฐมโสตาปันนสูตรที่ ๒ จบ

๓. ทุติยโสตาปันนสูตร
ว่าด้วยพระโสดาบัน สูตรที่ ๒

[๔๗๓] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ ๒. วิริยินทรีย์
๓. สตินทรีย์ ๔. สมาธินทรีย์
๕. ปัญญินทรีย์
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ และ
เครื่องสลัดออกจากอินทรีย์ ๕ ประการนี้ตามความเป็นจริง เมื่อนั้น อริยสาวกนี้
เรากล่าวว่า ‘เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิ
ในวันข้างหน้า”

ทุติยโสตาปันนสูตรที่ ๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๑. สุทธิกวรรค ๕. ทุติยอรหันตสูตร

๔. ปฐมอรหันตสูตร
ว่าด้วยพระอรหันต์ สูตรที่ ๑

[๔๗๔] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ ๒. วิริยินทรีย์
๓. สตินทรีย์ ๔. สมาธินทรีย์
๕. ปัญญินทรีย์
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุรู้ชัดคุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากอินทรีย์ ๕
ประการนี้ตามความเป็นจริง เป็นผู้หลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น เมื่อนั้น ภิกษุนี้
เรากล่าวว่า ‘เป็นอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว
ปลงภาระได้แล้ว๑ บรรลุประโยชน์ตน๒โดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์๓แล้ว
หลุดพ้นเพราะรู้โดยชอบ”

ปฐมอรหันตสูตรที่ ๔ จบ

๕. ทุติยอรหันตสูตร
ว่าด้วยพระอรหันต์ สูตรที่ ๒

[๔๗๕] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ ๒. วิริยินทรีย์
๓. สตินทรีย์ ๔. สมาธินทรีย์
๕. ปัญญินทรีย์
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุรู้ชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่อง
สลัดออกจากอินทรีย์ ๕ ประการนี้ตามความเป็นจริง เป็นผู้หลุดพ้นเพราะไม่


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๑. สุทธิกวรรค ๗. ทุติยสมณพราหมณสูตร

ถือมั่น เมื่อนั้น ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ‘เป็นอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้น
ภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นเพราะรู้โดยชอบ”

ทุติยอรหันตสูตรที่ ๕ จบ

๖. ปฐมสมณพราหมณสูตร
ว่าด้วยสมณพราหมณ์ สูตรที่ ๑

[๔๗๖] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ ๒. วิริยินทรีย์
๓. สตินทรีย์ ๔. สมาธินทรีย์
๕. ปัญญินทรีย์
ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งไม่รู้ชัดความเกิด ความ
ดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากอินทรีย์ ๕ ประการนี้ตามความเป็นจริง
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นเราไม่จัดว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือไม่จัดว่าเป็น
พราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ ทั้งท่านเหล่านั้นก็ไม่ทำให้แจ้งประโยชน์แห่งความเป็น
สมณะหรือประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดความเกิด ความ
ดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากอินทรีย์ ๕ ประการนี้ตามความเป็นจริง
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นเราจัดว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ และจัดว่าเป็น
พราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ ทั้งท่านเหล่านั้นก็ทำให้แจ้งประโยชน์แห่งความเป็น
สมณะและประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”

ปฐมสมณพราหมณสูตรที่ ๖ จบ

๗. ทุติยสมณพราหมณสูตร
ว่าด้วยสมณพราหมณ์ สูตรที่ ๒

[๔๗๗] “ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งไม่รู้ชัดสัทธินทรีย์
ความเกิดแห่งสัทธินทรีย์ ความดับแห่งสัทธินทรีย์ และปฏิปทาที่ให้ถึงความดับ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๘๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๑. สุทธิกวรรค ๙. ปฐมวิภังคสูตร

แห่งสัทธินทรีย์ ไม่รู้ชัดวิริยินทรีย์ ฯลฯ ไม่รู้ชัดสตินทรีย์ ฯลฯ ไม่รู้ชัดสมาธินทรีย์
ฯลฯ ไม่รู้ชัดปัญญินทรีย์ ความเกิดแห่งปัญญินทรีย์ ความดับแห่งปัญญินทรีย์
และปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งปัญญินทรีย์ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นเราไม่
จัดว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือไม่จัดว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ ทั้งท่าน
เหล่านั้นก็ไม่ทำให้แจ้งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะหรือประโยชน์แห่งความเป็น
พราหมณ์ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดสัทธินทรีย์
ความเกิดแห่งสัทธินทรีย์ ความดับแห่งสัทธินทรีย์ และปฏิปทาที่ให้ถึงความดับ
แห่งสัทธินทรีย์ รู้ชัดวิริยินทรีย์ ความเกิดแห่งวิริยินทรีย์ ความดับแห่งวิริยินทรีย์
และปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งวิริยินทรีย์ รู้ชัดสตินทรีย์ ฯลฯ รู้ชัดสมาธินทรีย์
ฯลฯ รู้ชัดปัญญินทรีย์ ความเกิดแห่งปัญญินทรีย์ ความดับแห่งปัญญินทรีย์ และ
ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งปัญญินทรีย์ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นเราจัดว่า
เป็นสมณะในหมู่สมณะ และจัดว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ ทั้งท่านเหล่านั้น
ก็ทำให้แจ้งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะและประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ด้วย
ปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”

ทุติยสมณพราหมณสูตรที่ ๗ จบ

๘. ทัฏฐัพพสูตร
ว่าด้วยการเห็นอินทรีย์ในธรรมต่าง ๆ

[๔๗๘] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ ฯลฯ ๕. ปัญญินทรีย์
พึงเห็นสัทธินทรีย์ได้ที่ไหน
พึงเห็นได้ในองค์เครื่องบรรลุโสดา ๔ ประการ พึงเห็นสัทธินทรีย์ได้ในที่นี้
พึงเห็นวิริยินทรีย์ได้ที่ไหน
พึงเห็นได้ในสัมมัปปธาน ๔ ประการ พึงเห็นวิริยินทรีย์ได้ในที่นี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๘๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๑. สุทธิกวรรค ๙. ปฐมวิภังคสูตร

พึงเห็นสตินทรีย์ได้ที่ไหน
พึงเห็นได้ในสติปัฏฐาน ๔ ประการ พึงเห็นสตินทรีย์ได้ในที่นี้
พึงเห็นสมาธินทรีย์ได้ที่ไหน
พึงเห็นได้ในฌาน ๔ ประการ พึงเห็นสมาธินทรีย์ได้ในที่นี้
พึงเห็นปัญญินทรีย์ได้ที่ไหน
พึงเห็นได้ในอริยสัจ ๔ ประการ พึงเห็นปัญญินทรีย์ได้ในที่นี้
ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้”

ทัฏฐัพพสูตรที่ ๘ จบ

๙. ปฐมวิภังคสูตร
ว่าด้วยการจำแนกอินทรีย์ สูตรที่ ๑

[๔๗๙] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ ฯลฯ ๕. ปัญญินทรีย์
สัทธินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของตถาคตว่า
‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง
โดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควร
ฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า
เป็นพระผู้มีพระภาค๑’
นี้เรียกว่า สัทธินทรีย์


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๑. สุทธิกวรรค ๑๐. ทุติยวิภังคสูตร

วิริยินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ปรารภความเพียร๑ เพื่อละอกุศลธรรม
เข้าถึงกุศลธรรม มีความเข้มแข็ง๒ มีความบากบั่น มั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศล-
ธรรมอยู่
นี้เรียกว่า วิริยินทรีย์


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๑. สุทธิกวรรค ๑๐. ทุติยวิภังคสูตร

สตินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติปัญญาเป็นเครื่อง
รักษาตน๑อย่างยิ่ง ระลึกนึกถึงสิ่งที่ทำ คำที่ได้พูดไว้นานบ้าง
นี้เรียกว่า สตินทรีย์
สมาธินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้ว ได้สมาธิ ได้
เอกัคคตาจิต
นี้เรียกว่า สมาธินทรีย์
ปัญญินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่อง
พิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้น
ทุกข์โดยชอบ
นี้เรียกว่า ปัญญินทรีย์
ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้”

ปฐมวิภังคสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ทุติยวิภังคสูตร
ว่าด้วยการจำแนกอินทรีย์ สูตรที่ ๒

[๔๘๐] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ ฯลฯ ๕. ปัญญินทรีย์
สัทธินทรีย์ เป็นอย่างไร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๑. สุทธิกวรรค ๑๐. ทุติยวิภังคสูตร

คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของตถาคตว่า
‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์
เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้
ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า
เป็นพระผู้มีพระภาค’
นี้เรียกว่า สัทธินทรีย์
วิริยินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม
เข้าถึงกุศลธรรม มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่น มั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม
เธอสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อ
ป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น
เธอสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อละ
บาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
เธอสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อทำ
กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
เธอสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อความ
ดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
นี้เรียกว่า วิริยินทรีย์
สตินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติปัญญาเป็นเครื่อง
รักษาตนอย่างยิ่ง ระลึกนึกถึงสิ่งที่ทำ คำที่ได้พูดไว้นานบ้าง
เธอพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด
อภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ พิจารณา
เห็นจิตในจิต ฯลฯ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มี
สติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
นี้เรียกว่า สตินทรีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๙๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๑. สุทธิกวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

สมาธินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ทำนิพพานให้เป็นอารมณ์ ได้สมาธิ ได้เอกัคคตา-
จิต เธอสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตกวิจาร มี
ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌานมี
ความผ่องใสภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและ
สุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ เพราะปีติจางคลายไป เธอมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ
เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา
มีสติ อยู่เป็นสุข’ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว
เธอบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์และไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่
นี้เรียกว่า สมาธินทรีย์
ปัญญินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่อง
พิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้น
ทุกข์โดยชอบ เธอรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ
นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’
นี้เรียกว่า ปัญญินทรีย์
ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้”

ทุติยวิภังคสูตรที่ ๑๐ จบ
สุทธิกวรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สุทธิกสูตร ๒. ปฐมโสตาปันนสูตร
๓. ทุติยโสตาปันนสูตร ๔. ปฐมอรหันตสูตร
๕. ทุติยอรหันตสูตร ๖. ปฐมสมณพราหมณสูตร
๗. ทุติยสมณพราหมณสูตร ๘. ทัฏฐัพพสูตร
๙. ปฐมวิภังคสูตร ๑๐. ทุติยวิภังคสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๒. มุทุตรวรรค ๑. ปฏิลาภสูตร

๒. มุทุตรวรรค
หมวดว่าด้วยอินทรีย์ที่อ่อนกว่า
๑. ปฏิลาภสูตร
ว่าด้วยการได้อินทรีย์

[๔๘๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ ฯลฯ ๕. ปัญญินทรีย์
สัทธินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของตถาคต
ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์
เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถี
ฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็น
พระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’
นี้เรียกว่า สัทธินทรีย์
วิริยินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกปรารภสัมมัปปธาน ๔ ประการ ย่อมได้ความเพียร
นี้เรียกว่า วิริยินทรีย์
สตินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกปรารภสติปัฏฐาน ๔ ประการ ย่อมได้สติ
นี้เรียกว่า สตินทรีย์
สมาธินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้ว ได้สมาธิ ได้
เอกัคคตาจิต
นี้เรียกว่า สมาธินทรีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๒. มุทุตรวรรค ๒. ปฐมสังขิตตสูตร

ปัญญินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่อง
พิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้น
ทุกข์โดยชอบ
นี้เรียกว่า ปัญญินทรีย์
ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้”

ปฏิลาภสูตรที่ ๑ จบ

๒. ปฐมสังขิตตสูตร
ว่าด้วยผลแห่งอินทรีย์โดยย่อ สูตรที่ ๑

[๔๘๒] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ ฯลฯ ๕. ปัญญินทรีย์
อินทรีย์ ๕ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล
๑. เป็นพระอรหันต์เพราะมีอินทรีย์ ๕ ประการนี้ครบถ้วนบริบูรณ์
๒. เป็นพระอนาคามีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระอรหันต์นั้น
๓. เป็นพระสกทาคามีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระอนาคามีนั้น
๔. เป็นพระโสดาบันเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระสกทาคามีนั้น
๕. เป็นพระโสดาบันผู้ธัมมานุสารี๑เพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระ
โสดาบันนั้น


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๒. มุทุตรวรรค ๓. ทุติยสังขิตตสูตร

๖. เป็นพระโสดาบันผู้สัทธานุสารี๑เพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระ
โสดาบันผู้ธัมมานุสารีนั้น”

ปฐมสังขิตตสูตรที่ ๒ จบ

๓. ทุติยสังขิตตสูตร
ว่าด้วยผลแห่งอินทรีย์โดยย่อ สูตรที่ ๒

[๔๘๓] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ ฯลฯ ๕. ปัญญินทรีย์
อินทรีย์ ๕ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล
๑. เป็นพระอรหันต์เพราะมีอินทรีย์ ๕ ประการนี้ครบถ้วนบริบูรณ์
๒. เป็นพระอนาคามีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระอรหันต์นั้น
๓. เป็นพระสกทาคามีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระอนาคามีนั้น
๔. เป็นพระโสดาบันเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระสกทาคามีนั้น
๕. เป็นพระโสดาบันผู้ธัมมานุสารีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระ
โสดาบันนั้น
๖. เป็นพระโสดาบันผู้สัทธานุสารีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระ
โสดาบันผู้ธัมมานุสารีนั้น
ภิกษุทั้งหลาย ความแตกต่างแห่งผลย่อมมีเพราะความแตกต่างแห่งอินทรีย์
ความแตกต่างแห่งบุคคลย่อมมีเพราะความแตกต่างแห่งผล อย่างนี้”

ทุติยสังขิตตสูตรที่ ๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๒. มุทุตรวรรค ๕. ปฐมวิตถารสูตร

๔. ตติยสังขิตตสูตร
ว่าด้วยผลแห่งอินทรีย์โดยย่อ สูตรที่ ๓

[๔๘๔] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ ฯลฯ ๕. ปัญญินทรีย์
อินทรีย์ ๕ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล
๑. เป็นพระอรหันต์เพราะมีอินทรีย์ ๕ ประการนี้ครบถ้วนบริบูรณ์
๒. เป็นพระอนาคามีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระอรหันต์นั้น
๓. เป็นพระสกทาคามีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระอนาคามีนั้น
๔. เป็นพระโสดาบันเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระสกทาคามีนั้น
๕. เป็นพระโสดาบันผู้ธัมมานุสารีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระ
โสดาบันนั้น
๖. เป็นพระโสดาบันผู้สัทธานุสารีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระโสดาบัน
ผู้ธัมมานุสารีนั้น
บุคคลผู้บำเพ็ญอรหัตตมรรคให้บริบูรณ์ ย่อมได้บรรลุอรหัตตผล บุคคลผู้
บำเพ็ญมรรคทั้ง ๓ (ที่เหลือให้บริบูรณ์) ย่อมได้บรรลุผลทั้ง ๓ ดังกล่าวนี้ ภิกษุ
ทั้งหลาย เรากล่าวอินทรีย์ ๕ ประการว่าไม่เป็นหมันเลย”

ตติยสังขิตตสูตรที่ ๔ จบ

๕. ปฐมวิตถารสูตร
ว่าด้วยผลแห่งอินทรีย์โดยพิสดาร สูตรที่ ๑

[๔๘๕] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ ฯลฯ ๕. ปัญญินทรีย์
อินทรีย์ ๕ ประการนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๙๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๒. มุทุตรวรรค ๖. ทุติยวิตถารสูตร

ภิกษุทั้งหลาย บุคคล
๑. เป็นพระอรหันต์เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้ครบถ้วนบริบูรณ์
๒. เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระ
อรหันต์นั้น
๓. เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระ
อนาคามีผู้อันตราปรินิพพายีนั้น
๔. เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระ
อนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายีนั้น
๕. เป็นพระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระ
อนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายีนั้น
๖. เป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่า
พระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายีนั้น
๗. เป็นพระสกทาคามีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระอนาคามีผู้อุทธัง-
โสโตอกนิฏฐคามีนั้น
๘. เป็นพระโสดาบันเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระสกทาคามีนั้น
๙. เป็นพระโสดาบันผู้ธัมมานุสารีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระโสดาบัน
นั้น
๑๐. เป็นพระโสดาบันผู้สัทธานุสารีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระโสดาบัน
ผู้ธัมมานุสารีนั้น”

ปฐมวิตถารสูตรที่ ๕ จบ

๖. ทุติยวิตถารสูตร
ว่าด้วยผลแห่งอินทรีย์โดยพิสดาร สูตรที่ ๒

[๔๘๖] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ ฯลฯ ๕. ปัญญินทรีย์
อินทรีย์ ๕ ประการนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๙๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๒. มุทุตรวรรค ๖. ทุติยวิตถารสูตร

ภิกษุทั้งหลาย บุคคล
๑. เป็นพระอรหันต์เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้ครบถ้วนบริบูรณ์
๒. เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระ
อรหันต์นั้น
๓. เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระ
อนาคามีผู้อันตราปรินิพพายีนั้น
๔. เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระ
อนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายีนั้น
๕. เป็นพระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระ
อนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายีนั้น
๖. เป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่า
พระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายีนั้น
๗. เป็นพระสกทาคามีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระอนาคามีผู้อุทธัง-
โสโตอกนิฏฐคามีนั้น
๘. เป็นพระโสดาบันเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระสกทาคามีนั้น
๙. เป็นพระโสดาบันผู้ธัมมานุสารีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระโสดาบัน
นั้น
๑๐. เป็นพระโสดาบันผู้สัทธานุสารีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระโสดาบัน
ผู้ธัมมานุสารีนั้น
ภิกษุทั้งหลาย ความแตกต่างแห่งผลย่อมมีเพราะความแตกต่างแห่งอินทรีย์
ความแตกต่างแห่งบุคคลย่อมมีเพราะความแตกต่างแห่งผล อย่างนี้”

ทุติยวิตถารสูตรที่ ๖ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๒. มุทุตรวรรค ๗. ตติยวิตถารสูตร

๗. ตติยวิตถารสูตร
ว่าด้วยผลแห่งอินทรีย์โดยพิสดาร สูตรที่ ๓

[๔๘๗] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ ฯลฯ ๕. ปัญญินทรีย์
อินทรีย์ ๕ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล
๑. เป็นพระอรหันต์เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้ครบถ้วนบริบูรณ์
๒. เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่า
พระอรหันต์นั้น
๓. เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระ
อนาคามีผู้อันตราปรินิพพายีนั้น
๔. เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระ
อนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายีนั้น
๕. เป็นพระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระ
อนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายีนั้น
๖. เป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่า
พระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายีนั้น
๗. เป็นพระสกทาคามีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระอนาคามีผู้อุทธัง-
โสโตอกนิฏฐคามีนั้น
๘. เป็นพระโสดาบันเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระสกทาคามีนั้น
๙. เป็นพระโสดาบันผู้ธัมมานุสารีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระโสดาบัน
นั้น
๑๐. เป็นพระโสดาบันผู้สัทธานุสารีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระโสดาบัน
ผู้ธัมมานุสารีนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๙๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๒. มุทุตรวรรค ๘. ปฏิปันนสูตร

บุคคลผู้บำเพ็ญอรหัตตมรรคให้บริบูรณ์ ย่อมได้บรรลุอรหัตตผล บุคคลผู้
บำเพ็ญมรรคทั้ง ๓ (ที่เหลือให้บริบูรณ์) ย่อมได้บรรลุผลทั้ง ๓ ดังกล่าวนี้
ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวอินทรีย์ ๕ ประการว่าไม่เป็นหมันเลย”

ตติยวิตถารสูตรที่ ๗ จบ

๘. ปฏิปันนสูตร
ว่าด้วยผลแห่งการปฏิบัติตามลำดับอินทรีย์

[๔๘๘] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ ฯลฯ ๕. ปัญญินทรีย์
อินทรีย์ ๕ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล
๑. เป็นพระอรหันต์เพราะมีอินทรีย์ ๕ ประการนี้ครบถ้วนบริบูรณ์
๒. เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระ
อรหันต์นั้น
๓. เป็นพระอนาคามีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้ง
อรหัตตผลนั้น
๔. เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผลเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระ
อนาคามีนั้น
๕. เป็นพระสกทาคามีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้ง
อนาคามิผลนั้น
๖. เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผลเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระ
สกทาคามีนั้น
๗. เป็นพระโสดาบันเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้ง
สกทาคามิผลนั้น
๘. เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผลเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระ
โสดาบันนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๙๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๒. มุทุตรวรรค ๑๐. อาสวักขยสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดไม่มีอินทรีย์ ๕ ประการนี้โดยประการทั้งปวง ผู้นั้นเรา
กล่าวว่า ‘เป็นผู้เหินห่าง อยู่ในฝ่ายปุถุชน”

ปฏิปันนสูตรที่ ๘ จบ

๙. สัมปันนสูตร
ว่าด้วยผู้สมบูรณ์ด้วยอินทรีย์

[๔๘๙] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า ‘ผู้สมบูรณ์ด้วยอินทรีย์ ผู้สมบูรณ์
ด้วยอินทรีย์’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุจึงชื่อว่าเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยอินทรีย์”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญสัทธินทรีย์ให้ถึงความ
สงบ ให้ถึงความตรัสรู้ เจริญวิริยินทรีย์ที่ให้ถึงความสงบ ให้ถึงความตรัสรู้ เจริญ
สตินทรีย์ที่ให้ถึงความสงบ ให้ถึงความตรัสรู้ เจริญสมาธินทรีย์ที่ให้ถึงความสงบ
ให้ถึงความตรัสรู้ เจริญปัญญินทรีย์ที่ให้ถึงความสงบ ให้ถึงความตรัสรู้ ด้วยเหตุ
เพียงเท่านี้แล ภิกษุจึงชื่อว่าเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยอินทรีย์”

สัมปันนสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. อาสวักขยสูตร
ว่าด้วยธรรมเป็นเหตุให้สิ้นอาสวะ

[๔๙๐] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ ฯลฯ ๕. ปัญญินทรีย์
อินทรีย์ ๕ ประการนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๐๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๒. มุทุตรวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้เพราะ
อาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน เพราะอินทรีย์ ๕
ประการนี้ที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว”

อาสวักขยสูตรที่ ๑๐ จบ
มุทุตรวรรคที่ ๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฏิลาภสูตร ๒. ปฐมสังขิตตสูตร
๓. ทุติยสังขิตตสูตร ๔. ตติยสังขิตตสูตร
๕. ปฐมวิตถารสูตร ๖. ทุติยวิตถารสูตร
๗. ตติยวิตถารสูตร ๘. ปฏิปันนสูตร
๙. สัมปันนสูตร ๑๐. อาสวักขยสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๓. ฉฬินทริยวรรค ๑. ปุนัพภวสูตร

๓. ฉฬินทริยวรรค
หมวดว่าด้วยอินทรีย์ ๖

๑. ปุนัพภวสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ทำให้ไม่มีภพใหม่

[๔๙๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ ฯลฯ ๕. ปัญญินทรีย์
ภิกษุทั้งหลาย ตราบใดเรายังไม่รู้ชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ และ
เครื่องสลัดออกจากอินทรีย์ ๕ ประการนี้ตามความเป็นจริง ตราบนั้นเรายังไม่ยืนยัน
ว่า ‘เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก
พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์’
แต่เมื่อใด เรารู้ชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจาก
อินทรีย์ ๕ ประการนี้ตามความเป็นจริง เมื่อนั้น เราจึงยืนยันว่า ‘เป็นผู้ตรัสรู้
สัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก
ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์’
อนึ่ง ญาณทัสสนะ๑เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า ‘วิมุตติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็น
ชาติสุดท้าย บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีก”

ปุนัพภวสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๓. ฉฬินทริยวรรค ๓. อัญญินทริยสูตร

๒. ชีวิตินทริยสูตร
ว่าด้วยชีวิตินทรีย์

[๔๙๒] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๓ ประการนี้
อินทรีย์ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อิตถินทรีย์ (อินทรีย์คืออิตถีภาวะ)
๒. ปุริสินทรีย์ (อินทรีย์คือปุริสภาวะ)
๓. ชีวิตินทรีย์ (อินทรีย์คือชีวิต)
อินทรีย์ ๓ ประการนี้”

ชีวิตินทริยสูตรที่ ๒ จบ

๓. อัญญินทริยสูตร
ว่าด้วยอัญญินทรีย์

[๔๙๓] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๓ ประการนี้
อินทรีย์ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ (อินทรีย์ของท่านผู้ปฏิบัติด้วยมุ่งว่า
เราจักรู้สัจธรรมที่มิได้รู้)
๒. อัญญินทรีย์ (อินทรีย์คือปัญญาอันรู้ทั่วถึง)
๓. อัญญาตาวินทรีย์ (อินทรีย์ของท่านผู้รู้ทั่วถึงแล้ว)

อินทรีย์ ๓ ประการนี้”

อัญญินทริยสูตรที่ ๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๓. ฉฬินทริยวรรค ๔. เอกพีชีสูตร

๔. เอกพีชีสูตร
ว่าด้วยพระเอกพีชีโสดาบัน

[๔๙๔] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ ฯลฯ ๕. ปัญญินทรีย์
อินทรีย์ ๕ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล
๑. เป็นพระอรหันต์เพราะมีอินทรีย์ ๕ ประการนี้ครบถ้วนบริบูรณ์
๒. เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่า
พระอรหันต์นั้น
๓. เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่า
พระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายีนั้น
๔. เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระ
อนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายีนั้น
๕. เป็นพระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระ
อนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายีนั้น
๖. เป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่า
พระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายีนั้น
๗. เป็นพระสกทาคามีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระอนาคามีผู้อุทธัง-
โสโตอกนิฏฐคามีนั้น
๘. เป็นพระเอกพีชีโสดาบัน๑ เพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระสกทาคามี
นั้น


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๓. ฉฬินทริยวรรค ๕. สุทธสูตร

๙. เป็นพระโกลังโกลโสดาบัน๑ เพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระเอกพีชี-
โสดาบันนั้น
๑๐. เป็นพระสัตตักขัตตุปรมโสดาบัน๒เพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระ
โกลังโกลโสดาบันนั้น
๑๑. เป็นพระโสดาบันผู้ธัมมานุสารีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระ
สัตตักขัตตุปรมโสดาบันนั้น
๑๒. เป็นพระโสดาบันผู้สัทธานุสารีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระโสดาบัน
ผู้ธัมมานุสารีนั้น”

เอกพีชีสูตรที่ ๔ จบ

๕. สุทธสูตร
ว่าด้วยอินทรีย์ล้วน

[๔๙๕] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๖ ประการนี้
อินทรีย์ ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. จักขุนทรีย์ (อินทรีย์คือจักขุปสาท)
๒. โสตินทรีย์ (อินทรีย์คือโสตปสาท)
๓. ฆานินทรีย์ (อินทรีย์คือฆานปสาท)
๔. ชิวหินทรีย์ (อินทรีย์คือชิวหาปสาท)
๕. กายินทรีย์ (อินทรีย์คือกายปสาท)
๖. มนินทรีย์ (อินทรีย์คือใจ)
อินทรีย์ ๖ ประการนี้”

สุทธสูตรที่ ๕ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๓. ฉฬินทริยวรรค ๗. อรหันตสูตร

๖. โสตาปันนสูตร
ว่าด้วยพระโสดาบัน

[๔๙๖] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๖ ประการนี้
อินทรีย์ ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. จักขุนทรีย์ ๒. โสตินทรีย์
๓. ฆานินทรีย์ ๔. ชิวหินทรีย์
๕. กายินทรีย์ ๖. มนินทรีย์
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่อง
สลัดออกจากอินทรีย์ ๖ ประการนี้ตามความเป็นจริง เมื่อนั้น อริยสาวกนี้เรากล่าว
ว่า ‘เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”

โสตาปันนสูตรที่ ๖ จบ

๗. อรหันตสูตร
ว่าด้วยพระอรหันต์

[๔๙๗] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๖ ประการนี้
อินทรีย์ ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. จักขุนทรีย์ ๒. โสตินทรีย์
๓. ฆานินทรีย์ ๔. ชิวหินทรีย์
๕. กายินทรีย์ ๖. มนินทรีย์
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุรู้ชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัด
ออกจากอินทรีย์ ๖ ประการนี้ตามความเป็นจริง เป็นผู้หลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น
เมื่อนั้น ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ‘อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลง
ภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นเพราะ
รู้โดยชอบ”

อรหันตสูตรที่ ๗ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๓. ฉฬินทริยวรรค ๙. ปฐมสมณพราหมณสูตร

๘. สัมมัทธสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ทำให้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

[๔๙๘] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๖ ประการนี้
อินทรีย์ ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. จักขุนทรีย์ ๒. โสตินทรีย์
๓. ฆานินทรีย์ ๔. ชิวหินทรีย์
๕. กายินทรีย์ ๖. มนินทรีย์
ภิกษุทั้งหลาย ตราบใด เรายังไม่รู้ชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่อง
สลัดออกจากอินทรีย์ ๖ ประการนี้ตามความเป็นจริง ตราบนั้น เรายังไม่ยืนยันว่า
‘เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก
ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์’
แต่เมื่อใด เรารู้ชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจาก
อินทรีย์ ๖ ประการนี้ตามความเป็นจริง เมื่อนั้น เราจึงยืนยันว่า ‘เป็นผู้ตรัสรู้
สัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ใน
หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์’
อนึ่ง ญาณทัสสนะเกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า “วิมุตติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็น
ชาติสุดท้าย บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีก”

สัมมัทธสูตรที่ ๘ จบ

๙. ปฐมสมณพราหมณสูตร
ว่าด้วยสมณพราหมณ์ สูตรที่ ๑

[๔๙๙] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๖ ประการนี้
อินทรีย์ ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. จักขุนทรีย์ ๒. โสตินทรีย์
๓. ฆานินทรีย์ ๔. ชิวหินทรีย์
๕. กายินทรีย์ ๖. มนินทรีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๐๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๓. ฉฬินทริยวรรค ๑๐. ทุติยสมณพราหมณสูตร

ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งไม่รู้ชัดความเกิด ความ
ดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากอินทรีย์ ๖ ประการนี้ตามความเป็นจริง
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นเราไม่จัดว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือไม่จัดว่าเป็น
พราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ ทั้งท่านเหล่านั้นก็ไม่ทำให้แจ้งประโยชน์แห่งความเป็น
สมณะหรือประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดความเกิด
ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากอินทรีย์ ๖ ประการนี้ตามความ
เป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นเราจัดว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะและจัดว่า
เป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ ทั้งท่านเหล่านั้นก็ทำให้แจ้งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะ
และประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”

ปฐมสมณพราหมณสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ทุติยสมณพราหมณสูตร
ว่าด้วยสมณพราหมณ์ สูตรที่ ๒

[๕๐๐] “ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งไม่รู้ชัด
จักขุนทรีย์ความเกิดแห่งจักขุนทรีย์ ความดับแห่งจักขุนทรีย์ และปฏิปทาที่ให้ถึง
ความดับแห่งจักขุนทรีย์ ไม่รู้ชัดโสตินทรีย์ ฯลฯ ฆานินทรีย์ ฯลฯ ชิวหินทรีย์ ฯลฯ
กายินทรีย์ ฯลฯ ไม่รู้ชัดมนินทรีย์ ความเกิดแห่งมนินทรีย์ ความดับแห่งมนินทรีย์
และปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งมนินทรีย์ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นเราไม่จัด
ว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะหรือไม่จัดว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ ทั้งท่าน
เหล่านั้นก็ไม่ทำให้แจ้งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะหรือประโยชน์แห่งความเป็น
พราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดจักขุนทรีย์
ความเกิดแห่งจักขุนทรีย์ ความดับแห่งจักขุนทรีย์ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่ง
จักขุนทรีย์ รู้ชัดโสตินทรีย์ ฯลฯ ฆานินทรีย์ ฯลฯ ชิวหินทรีย์ ฯลฯ กายินทรีย์
ฯลฯ รู้ชัดมนินทรีย์ ความเกิดแห่งมนินทรีย์ ความดับแห่งมนินทรีย์ ปฏิปทาที่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๐๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๓. ฉฬินทริยวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ให้ถึงความดับแห่งมนินทรีย์ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นเราจัดว่าเป็นสมณะในหมู่
สมณะและจัดว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ ทั้งท่านเหล่านั้นก็ทำให้แจ้ง
ประโยชน์แห่งความเป็นสมณะและประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ด้วยปัญญา
อันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”

ทุติยสมณพราหมณสูตรที่ ๑๐ จบ
ฉฬินทริยวรรคที่ ๓ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปุนัพภวสูตร ๒. ชีวิตินทริยสูตร
๓. อัญญินทริยสูตร ๔. เอกพีชีสูตร
๕. สุทธสูตร ๖. โสตาปันนสูตร
๗. อรหันตสูตร ๘. สัมมัทธสูตร
๙. ปฐมสมณพราหมณสูตร ๑๐. ทุติยสมณพราหมณสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๔. สุขินทริยวรรค ๒. โสตาปันนสูตร

๔. สุขินทริยวรรค
หมวดว่าด้วยสุขินทรีย์
๑. สุทธิกสูตร
ว่าด้วยอินทรีย์ล้วน

[๕๐๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สุขินทรีย์ (อินทรีย์คือสุขเวทนา)
๒. ทุกขินทรีย์ (อินทรีย์คือทุกขเวทนา)
๓. โสมนัสสินทรีย์ (อินทรีย์คือโสมนัสสเวทนา)
๔. โทมนัสสินทรีย์ (อินทรีย์คือโทมนัสสเวทนา)
๕. อุเปกขินทรีย์ (อินทรีย์คืออุเบกขา)
อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล”

สุทธิกสูตรที่ ๑ จบ

๒. โสตาปันนสูตร
ว่าด้วยพระโสดาบัน

[๕๐๒] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สุขินทรีย์ ๒. ทุกขินทรีย์
๓. โสมนัสสินทรีย์ ๔. โทมนัสสินทรีย์
๕. อุเปกขินทรีย์
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่อง
สลัดออกจากอินทรีย์ ๕ ประการนี้ตามความเป็นจริง เมื่อนั้น อริยสาวกนี้เรากล่าวว่า
‘เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”

โสตาปันนสูตรที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๔. สุขินทริยวรรค ๔. ปฐมสมณพราหมณสูตร

๓. อรหันตสูตร
ว่าด้วยพระอรหันต์

[๕๐๓] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สุขินทรีย์ ๒. ทุกขินทรีย์
๓. โสมนัสสินทรีย์ ๔. โทมนัสสินทรีย์
๕. อุเปกขินทรีย์
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุรู้ชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่อง
สลัดออกจากอินทรีย์ ๕ ประการนี้ตามความเป็นจริง เป็นผู้หลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น
เมื่อนั้น ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ‘เป็นอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่
ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์
แล้ว หลุดพ้นเพราะรู้โดยชอบ”

อรหันตสูตรที่ ๓ จบ

๔. ปฐมสมณพราหมณสูตร
ว่าด้วยสมณพราหมณ์ สูตรที่ ๑

[๕๐๔] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สุขินทรีย์ ๒. ทุกขินทรีย์
๓. โสมนัสสินทรีย์ ๔. โทมนัสสินทรีย์
๕. อุเปกขินทรีย์
ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งไม่รู้ชัดความเกิด ความดับ
คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากอินทรีย์ ๕ ประการนี้ตามความเป็นจริง สมณะ
หรือพราหมณ์เหล่านั้นเราไม่จัดว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือไม่จัดว่าเป็น
พราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ ทั้งท่านเหล่านั้นก็ไม่ทำให้แจ้งประโยชน์แห่งความเป็น
สมณะหรือประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๑๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๔. สุขินทริยวรรค ๕. ทุติยสมณพราหมณสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดความเกิด ความ
ดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากอินทรีย์ ๕ ประการนี้ตามความเป็นจริง
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นเราจัดว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือจัดว่าเป็น
พราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ ทั้งท่านเหล่านั้นก็ทำให้แจ้งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะ
และประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”

ปฐมสมณพราหมณสูตรที่ ๔ จบ

๕. ทุติยสมณพราหมณสูตร
ว่าด้วยสมณพราหมณ์ สูตรที่ ๒

[๕๐๕] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สุขินทรีย์ ๒. ทุกขินทรีย์
๓. โสมนัสสินทรีย์ ๔. โทมนัสสินทรีย์
๕. อุเปกขินทรีย์
ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งไม่รู้ชัดสุขินทรีย์ ความ
เกิดแห่งสุขินทรีย์ ความดับแห่งสุขินทรีย์ และปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสุขินทรีย์
ไม่รู้ชัดทุกขินทรีย์ ฯลฯ ไม่รู้ชัดโสมนัสสินทรีย์ ฯลฯ ไม่รู้ชัดโทมนัสสินทรีย์ ฯลฯ
ไม่รู้ชัดอุเปกขินทรีย์ ความเกิดแห่งอุเปกขินทรีย์ ความดับแห่งอุเปกขินทรีย์ และ
ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งอุเปกขินทรีย์ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นเราไม่จัดว่า
เป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือไม่จัดว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ ทั้งท่านเหล่านั้น
ก็ไม่ทำให้แจ้งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะหรือประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ด้วย
ปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดสุขินทรีย์ รู้ชัด
ความเกิดแห่งสุขินทรีย์ ความดับแห่งสุขินทรีย์ และปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่ง
สุขินทรีย์ รู้ชัดทุกขินทรีย์ ฯลฯ รู้ชัดโสมนัสสินทรีย์ ฯลฯ รู้ชัดโทมนัสสินทรีย์ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๔. สุขินทริยวรรค ๖. ปฐมวิภังคสูตร

รู้ชัดอุเปกขินทรีย์ ความเกิดแห่งอุเปกขินทรีย์ ความดับแห่งอุเปกขินทรีย์ และ
ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งอุเปกขินทรีย์ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นเราจัดว่า
เป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือจัดว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ ทั้งท่านเหล่านั้น
ก็ทำให้แจ้งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะและประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ด้วย
ปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”

ทุติยสมณพราหมณสูตรที่ ๕ จบ

๖. ปฐมวิภังคสูตร
ว่าด้วยการจำแนกอินทรีย์ สูตรที่ ๑

[๕๐๖] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สุขินทรีย์ ๒. ทุกขินทรีย์
๓. โสมนัสสินทรีย์ ๔. โทมนัสสินทรีย์
๕. อุเปกขินทรีย์
สุขินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ ความสุขทางกาย ความสำราญทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข
สำราญ อันเกิดจากกายสัมผัส
นี้เรียกว่า สุขินทรีย์
ทุกขินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ ความทุกข์ทางกาย ความไม่สำราญทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่เป็น
ทุกข์ ไม่สำราญ อันเกิดจากกายสัมผัส
นี้เรียกว่า ทุกขินทรีย์
โสมนัสสินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ ความสุขทางใจ ความสำราญทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข สำราญ
อันเกิดจากมโนสัมผัส
นี้เรียกว่า โสมนัสสินทรีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๔. สุขินทริยวรรค ๗. ทุติยวิภังคสูตร

โทมนัสสินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ ความทุกข์ทางใจ ความไม่สำราญทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่เป็นทุกข์
ไม่สำราญ อันเกิดจากมโนสัมผัส
นี้เรียกว่า โทมนัสสินทรีย์
อุเปกขินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ ความเสวยอารมณ์ทางกายหรือทางใจที่สำราญก็มิใช่ ไม่สำราญก็มิใช่
นี้เรียกว่า อุเปกขินทรีย์
ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล”

ปฐมวิภังคสูตรที่ ๖ จบ

๗. ทุติยวิภังคสูตร
ว่าด้วยการจำแนกอินทรีย์ สูตรที่ ๒

[๕๐๗] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สุขินทรีย์ ๒. ทุกขินทรีย์
๓. โสมนัสสินทรีย์ ๔. โทมนัสสินทรีย์
๕. อุเปกขินทรีย์
สุขินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ ความสุขทางกาย ความสำราญทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข
สำราญ อันเกิดจากกายสัมผัส
นี้เรียกว่า สุขินทรีย์
ทุกขินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ ความทุกข์ทางกาย ความไม่สำราญทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่เป็น
ทุกข์ ไม่สำราญ อันเกิดจากกายสัมผัส
นี้เรียกว่า ทุกขินทรีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๑๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๔. สุขินทริยวรรค ๘. ตติยวิภังคสูตร

โสมนัสสินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ ความสุขทางใจ ความสำราญทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข สำราญ
อันเกิดจากมโนสัมผัส
นี้เรียกว่า โสมนัสสินทรีย์
โทมนัสสินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ ความทุกข์ทางใจ ความไม่สำราญทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่เป็นทุกข์
ไม่สำราญ อันเกิดจากมโนสัมผัส
นี้เรียกว่า โทมนัสสินทรีย์
อุเปกขินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ ความเสวยอารมณ์ทางกายหรือทางใจที่สำราญก็มิใช่ ไม่สำราญก็มิใช่
นี้เรียกว่า อุเปกขินทรีย์
ในอินทรีย์ ๕ ประการนั้น สุขินทรีย์และโสมนัสสินทรีย์ พึงเห็นว่าเป็นสุขเวทนา
ทุกขินทรีย์และโทมนัสสินทรีย์ พึงเห็นว่าเป็นทุกขเวทนา
อุเปกขินทรีย์ พึงเห็นว่าเป็นอทุกขมสุขเวทนา
ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้”

ทุติยวิภังคสูตรที่ ๗ จบ

๘. ตติยวิภังคสูตร
ว่าด้วยการจำแนกอินทรีย์ สูตรที่ ๓

[๕๐๘] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สุขินทรีย์ ๒. ทุกขินทรีย์
๓. โสมนัสสินทรีย์ ๔. โทมนัสสินทรีย์
๕. อุเปกขินทรีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๔. สุขินทริยวรรค ๘. ตติยวิภังคสูตร

สุขินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ ความสุขทางกาย ความสำราญทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข
สำราญ อันเกิดจากกายสัมผัส
นี้เรียกว่า สุขินทรีย์
ทุกขินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ ความทุกข์ทางกาย ความไม่สำราญทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่เป็นทุกข์
ไม่สำราญ อันเกิดจากกายสัมผัส
นี้เรียกว่า ทุกขินทรีย์
โสมนัสสินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ ความสุขทางใจ ความสำราญทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข สำราญ
อันเกิดจากมโนสัมผัส
นี้เรียกว่า โสมนัสสินทรีย์
โทมนัสสินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ ความทุกข์ทางใจ ความไม่สำราญทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่เป็นทุกข์
ไม่สำราญ อันเกิดจากมโนสัมผัส
นี้เรียกว่า โทมนัสสินทรีย์
อุเปกขินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ ความเสวยอารมณ์ทางกายหรือทางใจที่สำราญก็มิใช่ ไม่สำราญก็มิใช่
นี้เรียกว่า อุเปกขินทรีย์
ในอินทรีย์ ๕ ประการนั้น สุขินทรีย์และโสมนัสสินทรีย์ พึงเห็นว่าเป็นสุขเวทนา
ทุกขินทรีย์และโทมนัสสินทรีย์ พึงเห็นว่าเป็นทุกขเวทนา
อุเปกขินทรีย์ พึงเห็นว่าเป็นอทุกขมสุขเวทนา
อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็น ๕ ประการแล้วย่อเป็น ๓ ประการ เป็น ๓ ประการ
แล้วขยายออกเป็น ๕ ประการโดยปริยาย ด้วยประการฉะนี้”

ตติยวิภังคสูตรที่ ๘ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๔. สุขินทริยวรรค ๙. กัฏโฐปมสูตร

๙. กัฏโฐปมสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยไม้เสียดสีกัน

[๕๐๙] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สุขินทรีย์ ๒. ทุกขินทรีย์
๓. โสมนัสสินทรีย์ ๔. โทมนัสสินทรีย์
๕. อุเปกขินทรีย์
ภิกษุทั้งหลาย สุขินทรีย์เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา
ภิกษุนั้นมีสุขก็รู้ชัดว่า เรามีสุข เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้นแลดับไป
เธอก็รู้ชัดว่า สุขินทรีย์ที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนาที่เสวยอยู่
อันเกิดจากผัสสะนั้นดับไป คือสงบไป
ทุกขินทรีย์เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ภิกษุนั้นมี
ทุกข์ก็รู้ชัดว่า เรามีทุกข์ เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนานั้นแลดับไป เธอ
ก็รู้ชัดว่า ทุกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนาที่เสวยอยู่
อันเกิดจากผัสสะนั้นดับไป คือสงบไป
โสมนัสสินทรีย์เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัสสเวทนา ภิกษุ
นั้นสบายใจก็รู้ชัดว่า เราสบายใจ เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัสสเวทนานั้นแล
ดับไป เธอก็รู้ชัดว่า โสมนัสสินทรีย์ที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่ง
โสมนัสสเวทนาที่เสวยอยู่อันเกิดจากผัสสะนั้นดับไป คือสงบไป
โทมนัสสินทรีย์เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัสสเวทนา ภิกษุ
นั้นไม่สบายใจก็รู้ชัดว่า เราไม่สบายใจ เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัสสเวทนา
นั้นแลดับไป เธอก็รู้ชัดว่า โทมนัสสินทรีย์ที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้ง
แห่งโทมนัสสเวทนาที่เสวยอยู่อันเกิดจากผัสสะนั้นดับไป คือสงบไป
อุเปกขินทรีย์เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาเวทนา ภิกษุนั้น
วางเฉยก็รู้ชัดว่า เราวางเฉย เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาเวทนานั้นแลดับไป
เธอก็รู้ชัดว่า อุเปกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาเวทนา
ที่เสวยอยู่อันเกิดจากผัสสะนั้นดับไป คือสงบไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๔. สุขินทริยวรรค ๑๐. อุปปฏิปาฏิกสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เพราะไม้ ๒ อันเสียดสีกันจึงเกิดความร้อน ลุกเป็นไฟขึ้น เพราะ
แยกไม้ ๒ อันนั้นออกจากกัน ความร้อนที่เกิดจากการเสียดสีนั้นก็ดับไป ระงับไป
แม้ฉันใด สุขินทรีย์ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่ง
สุขเวทนา ภิกษุนั้นมีสุขก็รู้ชัดว่า เรามีสุข เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา
นั้นแลดับไป เธอก็รู้ชัดว่า สุขินทรีย์ที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่ง
สุขเวทนาที่เสวยอยู่อันเกิดจากผัสสะนั้นดับไป ระงับไป ทุกขินทรีย์เกิดขึ้นเพราะ
อาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ฯลฯ โสมนัสสินทรีย์เกิดขึ้นเพราะอาศัย
ผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัสสเวทนา ฯลฯ โทมนัสสินทรีย์เกิดขึ้นเพราะอาศัย
ผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัสสเวทนา ฯลฯ อุเปกขินทรีย์เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะ
อันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาเวทนา ภิกษุนั้นวางเฉยก็รู้ชัดว่า เราวางเฉย เพราะผัสสะ
อันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาเวทนานั้นแลดับไป เธอก็รู้ชัดว่า อุเปกขินทรีย์ที่เกิดขึ้น
เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาเวทนาที่เสวยอยู่อันเกิดจากผัสสะนั้น
ดับไป ระงับไป”

กัฏโฐปมสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. อุปปฏิปาฏิกสูตร
ว่าด้วยอินทรีย์ที่เกิดสับลำดับกัน

[๕๑๐] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทุกขินทรีย์ ๒. โทมนันสินทรีย์
๓. สุขินทรีย์ ๔. โทมนัสสินทรีย์
๕. อุเปกขินทรีย์
เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่
ทุกขินทรีย์ย่อมเกิดขึ้น เธอรู้ชัดว่า ‘ทุกขินทรีย์นี้เกิดขึ้นแก่เรา และทุกขินทรีย์นั้น
มีเครื่องหมาย มีเหตุ มีสิ่งปรุงแต่ง มีปัจจัย ทั้งเป็นไปไม่ได้เลยที่ทุกขินทรีย์นั้นซึ่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๔. สุขินทริยวรรค ๑๐. อุปปฏิปาฏิกสูตร

ไม่มีเครื่องหมาย ไม่มีเหตุ ไม่มีสิ่งปรุงแต่ง ไม่มีปัจจัย จักเกิดขึ้น’ เธอรู้ชัดทุกขินทรีย์
รู้ชัดความเกิดแห่งทุกขินทรีย์ รู้ชัดความดับแห่งทุกขินทรีย์ และรู้ชัดที่ดับไปไม่
เหลือแห่งทุกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว
ทุกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไปไม่เหลือในที่ไหน
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน
ที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขที่เกิดจากวิเวกอยู่ ทุกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไปไม่
เหลือในปฐมฌานนี้
ภิกษุนี้เรากล่าวว่า รู้ความดับแห่งทุกขินทรีย์แล้วน้อมจิตไปเพื่อความเป็นอย่างนั้น
เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่
โทมนัสสินทรีย์ย่อมเกิดขึ้น เธอรู้ชัดว่า ‘โทมนัสสินทรีย์นี้เกิดขึ้นแก่เรา และ
โทมนัสสินทรีย์นั้นมีเครื่องหมาย มีเหตุ มีสิ่งปรุงแต่ง มีปัจจัย ทั้งเป็นไปไม่ได้เลย
ที่โทมนัสสินทรีย์นั้นซึ่งไม่มีเครื่องหมาย ไม่มีเหตุ ไม่มีสิ่งปรุงแต่ง ไม่มีปัจจัย จัก
เกิดขึ้น’ เธอรู้ชัดโทมนัสสินทรีย์ รู้ชัดความเกิดแห่งโทมนัสสินทรีย์ รู้ชัดความดับ
แห่งโทมนัสสินทรีย์ และรู้ชัดที่ดับไปไม่เหลือแห่งโทมนัสสินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว
โทมนัสสินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไปไม่เหลือในที่ไหน
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌานที่มี
ความผ่องใสภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและ
สุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ โทมนัสสินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไปไม่เหลือในทุติยฌานนี้
ภิกษุนี้เรากล่าวว่า รู้ความดับแห่งโทมนัสสินทรีย์แล้วน้อมจิตไปเพื่อความเป็น
อย่างนั้น
เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่
สุขินทรีย์ย่อมเกิดขึ้น เธอรู้ชัดว่า ‘สุขินทรีย์นี้เกิดขึ้นแก่เรา และสุขินทรีย์นั้น
มีเครื่องหมาย มีเหตุ มีสิ่งปรุงแต่ง มีปัจจัย ทั้งเป็นไปไม่ได้เลยที่สุขินทรีย์นั้นซึ่ง
ไม่มีเครื่องหมาย ไม่มีเหตุ ไม่มีสิ่งปรุงแต่ง ไม่มีปัจจัย จักเกิดขึ้น’ เธอรู้ชัดสุขินทรีย์
รู้ชัดความเกิดแห่งสุขินทรีย์ รู้ชัดความดับแห่งสุขินทรีย์ และรู้ชัดที่ดับไปไม่เหลือแห่ง
สุขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๑๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค[๔. อินทริยสังยุต]
๔. สุขินทริยวรรค ๑๐. อุปปฏิปาฏิกสูตร

สุขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไปไม่เหลือในที่ไหน
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เพราะปีติจางคลายไป มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ
เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา
มีสติ อยู่เป็นสุข’ สุขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไปไม่เหลือในตติยฌานนี้
ภิกษุนี้เรากล่าวว่า รู้ความดับแห่งสุขินทรีย์แล้วน้อมจิตไปเพื่อความเป็นอย่าง
นั้น
เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่
โสมนัสสินทรีย์ย่อมเกิดขึ้น เธอรู้ชัดว่า ‘โสมนัสสินทรีย์นี้เกิดขึ้นแก่เรา และ
โสมนัสสินทรีย์นั้นมีเครื่องหมาย มีเหตุ มีสิ่งปรุงแต่ง มีปัจจัย ทั้งเป็นไปไม่ได้เลยที่
โสมนัสสินทรีย์นั้นซึ่งไม่มีเครื่องหมาย ไม่มีเหตุ ไม่มีสิ่งปรุงแต่ง ไม่มีปัจจัย
จักเกิดขึ้น’ เธอรู้ชัดโสมนัสสินทรีย์ รู้ชัดความเกิดแห่งโสมนัสสินทรีย์ รู้ชัดความ
ดับแห่งโสมนัสสินทรีย์ และรู้ชัดที่ดับไปไม่เหลือแห่งโสมนัสสินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว
โสมนัสสินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไปไม่เหลือในที่ไหน
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัส
ดับไปก่อนแล้ว บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่
โสมนัสสินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไปไม่เหลือในจตุตถฌานนี้
ภิกษุนี้เรากล่าวว่า รู้ความดับแห่งโสมนัสสินทรีย์แล้วน้อมจิตไปเพื่อความเป็น
อย่างนั้น
เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่
อุเปกขินทรีย์ย่อมเกิดขึ้น เธอรู้ชัดว่า ‘อุเปกขินทรีย์นี้เกิดขึ้นแก่เรา และ
อุเปกขินทรีย์นั้นมีเครื่องหมาย มีเหตุ มีสิ่งปรุงแต่ง มีปัจจัย ทั้งเป็นไปไม่ได้เลยที่
อุเปกขินทรีย์นั้นซึ่งไม่มีเครื่องหมาย ไม่มีเหตุ ไม่มีสิ่งปรุงแต่ง ไม่มีปัจจัย จักเกิดขึ้น’
เธอรู้ชัดอุเปกขินทรีย์ รู้ชัดความเกิดแห่งอุเปกขินทรีย์ รู้ชัดความดับแห่งอุเปกขินทรีย์
และรู้ชัดที่ดับไปไม่เหลือแห่งอุเปกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๒๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๔. สุขินทริยวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

อุเปกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไปไม่เหลือในที่ไหน
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการ
ทั้งปวงแล้ว เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติอยู่ อุเปกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมดับ
ไม่เหลือในสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัตินี้
ภิกษุนี้เรากล่าวว่า รู้ความดับแห่งอุเปกขินทรีย์แล้วน้อมจิตไปเพื่อความเป็น
อย่างนั้น”

อุปปฏิปาฏิกสูตรที่ ๑๐ จบ
สุขินทริยวรรคที่ ๔ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สุทธิกสูตร ๒. โสตาปันนสูตร
๓. อรหันตสูตร ๔. ปฐมสมณพราหมณสูตร
๕. ทุติยสมณพราหมณสูตร ๖. ปฐมวิภังคสูตร
๗. ทุติยวิภังคสูตร ๘. ตติยวิภังคสูตร
๙. กัฏโฐปมสูตร ๑๐. อุปปฏิปาฏิกสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๕. ชราวรรค ๑. ชราธัมมสูตร

๕. ชราวรรค
หมวดว่าด้วยความแก่
๑. ชราธัมมสูตร
ว่าด้วยผู้มีความแก่

[๕๑๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปราสาทของนางวิสาขามิคารมาตา
ในบุพพาราม เขตกรุงสาวัตถี ครั้นในเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่
หลีกเร้น ประทับนั่งผินพระปฤษฎางค์ให้แดดที่ส่องมาจากทิศตะวันตก
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วบีบนวดพระวรกายของพระผู้มีพระภาคด้วยฝ่ามือพลางกราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ บัดนี้พระฉวีวรรณ
ของพระผู้มีพระภาคไม่บริสุทธิ์ผุดผ่องเหมือนเมื่อก่อน พระอวัยวะทุกส่วนก็เหี่ยวย่น
เป็นเกลียว พระวรกายก็ค้อมไปข้างหน้า และพระอินทรีย์ทั้งหลาย คือ จักขุนทรีย์
โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ ก็ปรากฏแปรเปลี่ยนไป”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “จริงอย่างนั้น อานนท์ ความแก่มีอยู่ในความเป็น
หนุ่มสาว ความเจ็บไข้มีอยู่ในความไม่มีโรค ความตายก็มีอยู่ในชีวิต ผิวพรรณไม่
บริสุทธิ์ผุดผ่องเหมือนเมื่อก่อน อวัยวะทุกส่วนก็เหี่ยวย่นเป็นเกลียว กายก็ค้อมไป
ข้างหน้า และอินทรีย์ทั้งหลาย คือ จักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์
กายินทรีย์ ก็ปรากฏแปรเปลี่ยนไป”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสพระดำรัสนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์
ต่อไปอีกว่า
“ถึงท่านจะติความแก่ที่เลวทราม
จะติความแก่ที่ทำให้ผิวพรรณทรามไปสักเพียงใด
รูปที่น่าพึงพอใจก็คงถูกความแก่ย่ำยีเพียงนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๕. ชราวรรค ๒. อุณณาภพราหมณสูตร

แม้ผู้ใดพึงมีชีวิตอยู่ถึง ๑๐๐ ปี
ผู้นั้นก็มีความตายอยู่เบื้องหน้า
ความตายไม่ละเว้นใคร ๆ ย่อมย่ำยีสัตว์ทั้งหมดทีเดียว”

ชราธัมมสูตรที่ ๑ จบ

๒. อุณณาภพราหมณสูตร
ว่าด้วยอุณณาภพราหมณ์

[๕๑๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้นแล พราหมณ์ชื่ออุณณาภะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้
สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ท่านพระโคดม อินทรีย์ ๕ ประการนี้ มีอารมณ์ต่างกัน มีโคจรต่างกัน ไม่
เสวยอารมณ์อันเป็นโคจรของกันและกัน
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. จักขุนทรีย์ ๒. โสตินทรีย์
๓. ฆานินทรีย์ ๔. ชิวหินทรีย์
๕. กายินทรีย์
ท่านพระโคดม อะไรเป็นที่ยึดเหนี่ยวของอินทรีย์ ๕ ประการนี้ที่มีอารมณ์ต่างกัน
มีโคจรต่างกัน ไม่เสวยอารมณ์อันเป็นโคจรของกันและกัน และอะไรเล่าย่อมเสวย
อารมณ์อันเป็นโคจรของอินทรีย์ ๕ ประการนี้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ มีอารมณ์
ต่างกัน มีโคจรต่างกัน ไม่เสวยอารมณ์อันเป็นโคจรของกันและกัน
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. จักขุนทรีย์ ๒. โสตินทรีย์
๓. ฆานินทรีย์ ๔. ชิวหินทรีย์
๕. กายินทรีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๕. ชราวรรค ๒. อุณณาภพราหมณสูตร

พราหมณ์ ใจเป็นที่ยึดเหนี่ยวของอินทรีย์ ๕ ประการนี้ที่มีอารมณ์ต่างกัน มี
โคจรต่างกัน ไม่เสวยอารมณ์อันเป็นโคจรของกันและกัน และใจย่อมเสวยอารมณ์
อันเป็นโคจรของอินทรีย์ ๕ ประการนี้”
“ท่านพระโคดม อะไรเป็นที่ยึดเหนี่ยวของใจ”
“พราหมณ์ สติเป็นที่ยึดเหนี่ยวของใจ”
“ท่านพระโคดม อะไรเป็นที่ยึดเหนี่ยวของสติ”
“พราหมณ์ วิมุตติเป็นที่ยึดเหนี่ยวของสติ”
“ท่านพระโคดม อะไรเป็นที่ยึดเหนี่ยวของวิมุตติ”
“พราหมณ์ นิพพานเป็นที่ยึดเหนี่ยวของวิมุตติ”
“ท่านพระโคดม อะไรเป็นที่ยึดเหนี่ยวของนิพพาน”
“พราหมณ์ ท่านล่วงเลยปัญหาไป ไม่สามารถกำหนดที่สุดแห่งปัญหาได้ ด้วยว่า
พรหมจรรย์ที่บุคคลอยู่จบแล้ว หยั่งลงสู่นิพพาน มีนิพพานเป็นเบื้องหน้า มี
นิพพานเป็นที่สุด”
ลำดับนั้น อุณณาภพราหมณ์ชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้ว
ลุกจากที่นั่ง ถวายอภิวาท ทำประทักษิณแล้วจากไป
ครั้นอุณณาภพราหมณ์จากไปได้ไม่นาน พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลาย
มาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเรือนยอดหรือศาลาเรือนยอด มีหน้าต่างอยู่
ด้านทิศตะวันออก เมื่อดวงอาทิตย์ขึ้น แสง (ดวงอาทิตย์) ส่องเข้าไปทางหน้าต่าง
จะปรากฏที่ไหน”
“ที่ฝาด้านทิศตะวันตก พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน ศรัทธาในตถาคตของ
อุณณาภพราหมณ์ตั้งมั่นหยั่งรากลงแล้วมั่นคง อันสมณะหรือพราหมณ์ เทวดาหรือมาร
พรหมหรือใคร ๆ ในโลกให้หวั่นไหวไม่ได้ ถ้าอุณณาภพราหมณ์พึงทำกาละในเวลา
นี้ไซร้ ย่อมไม่มีสังโยชน์ที่เป็นเครื่องประกอบให้อุณณาภพราหมณ์ต้องมาสู่โลกนี้อีก”

อุณณาภพราหมณสูตรที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๕. ชราวรรค ๓. สาเกตสูตร

๓. สาเกตสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่เมืองสาเกต

[๕๑๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าอัญชนวัน สถานที่พระราชทาน
อภัยแก่หมู่เนื้อ เขตเมืองสาเกต ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมาตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เหตุที่อินทรีย์ ๕ ประการอาศัยแล้วกลาย
เป็นพละ ๕ ประการ และที่พละ ๕ ประการอาศัยแล้วกลายเป็นอินทรีย์ ๕ ประการ
มีอยู่หรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาค
เป็นที่พึ่ง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส เฉพาะพระผู้มีพระภาคเท่านั้น
จะทรงอธิบายเนื้อความแห่งพระภาษิตนั้นให้แจ่มแจ้งได้ ภิกษุทั้งหลายฟังต่อจาก
พระผู้มีพระภาคแล้วจักทรงจำไว้”
“ภิกษุทั้งหลาย เหตุที่อินทรีย์ ๕ ประการอาศัยแล้วกลายเป็นพละ ๕ ประการ
และที่พละ ๕ ประการอาศัยแล้วกลายเป็นอินทรีย์ ๕ ประการมีอยู่
เหตุที่อินทรีย์ ๕ ประการอาศัยแล้วกลายเป็นพละ ๕ ประการ และที่
พละ ๕ ประการอาศัยแล้วกลายเป็นอินทรีย์ ๕ ประการ เป็นอย่างไร
คือ สิ่งใดเป็นสัทธินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสัทธาพละ สิ่งใดเป็นสัทธาพละ สิ่งนั้น
เป็นสัทธินทรีย์ สิ่งใดเป็นวิริยินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นวิริยพละ สิ่งใดเป็นวิริยพละ สิ่งนั้น
เป็นวิริยินทรีย์ สิ่งใดเป็นสตินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสติพละ สิ่งใดเป็นสติพละ สิ่งนั้น
เป็นสตินทรีย์ สิ่งใดเป็นสมาธินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสมาธิพละ สิ่งใดเป็นสมาธิพละ
สิ่งนั้นเป็นสมาธินทรีย์ สิ่งใดเป็นปัญญินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นปัญญาพละ สิ่งใดเป็น
ปัญญาพละ สิ่งนั้นเป็นปัญญินทรีย์
ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน หลากไปสู่ทิศ
ปราจีน กลางแม่น้ำนั้นมีเกาะ เหตุที่จะให้นับว่าแม่น้ำนั้นมีกระแสเดียวมีอยู่ และ
เหตุที่จะให้นับว่าแม่น้ำนั้นมี ๒ กระแสก็มีอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๕. ชราวรรค ๔. ปุพพโกฏฐกสูตร

เหตุที่จะให้นับว่าแม่น้ำนั้นมีกระแสเดียว เป็นอย่างไร
คือ น้ำที่อยู่สุดทิศตะวันออกและสุดทิศตะวันตกของเกาะนั้น
นี้แล คือเหตุที่ให้นับว่าแม่น้ำนั้นมีกระแสเดียว
เหตุที่จะให้นับว่าแม่น้ำนั้นมี ๒ กระแส เป็นอย่างไร
คือ น้ำที่อยู่สุดทิศเหนือและสุดทิศใต้ของเกาะนั้น
นี้แล คือเหตุที่ให้นับว่าแม่น้ำนั้นมี ๒ กระแส แม้ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สิ่งใดเป็นสัทธินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสัทธา-
พละ สิ่งใดเป็นสัทธาพละ สิ่งนั้นเป็นสัทธินทรีย์ สิ่งใดเป็นวิริยินทรีย์ สิ่งนั้นเป็น
วิริยพละ สิ่งใดเป็นวิริยพละ สิ่งนั้นเป็นวิริยินทรีย์ สิ่งใดเป็นสตินทรีย์ สิ่งนั้นเป็น
สติพละ สิ่งใดเป็นสติพละ สิ่งนั้นเป็นสตินทรีย์ สิ่งใดเป็นสมาธินทรีย์ สิ่งนั้น
เป็นสมาธิพละ สิ่งใดเป็นสมาธิพละ สิ่งนั้นเป็นสมาธินทรีย์ สิ่งใดเป็นปัญญินทรีย์
สิ่งนั้นเป็นปัญญาพละ สิ่งใดเป็นปัญญาพละ สิ่งนั้นเป็นปัญญินทรีย์
ภิกษุทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้เพราะอาสวะทั้งหลาย
สิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน เพราะอินทรีย์ ๕ ประการที่ภิกษุนั้น
เจริญ ทำให้มากแล้ว”

สาเกตสูตรที่ ๓ จบ

๔. ปุพพโกฏฐกสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่ปุพพโกฏฐกะ

[๕๑๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปุพพโกฏฐกะ เขตกรุงสาวัตถี ณ
ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระสารีบุตรมาตรัสว่า
“สารีบุตร เธอเชื่อหรือไม่ว่า สัทธินทรีย์ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อม
หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่ไปในเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ฯลฯ ปัญญินทรีย์
ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่ไปในเบื้องหน้า
มีอมตะเป็นที่สุด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๕. ชราวรรค ๕. ปฐมปุพพารามสูตร

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อนี้ชนเหล่าใดไม่รู้ ไม่เห็น ไม่เข้าใจ มิได้ทำให้แจ้ง
มิได้สัมผัสด้วยปัญญา ชนเหล่านั้นพึงถึงความเชื่อต่อผู้อื่นในข้อนั้นว่า สัทธินทรีย์
ฯลฯ ปัญญินทรีย์ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็น
เบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อนี้ชนเหล่าใดรู้ เห็น เข้าใจ
ทำให้แจ้ง สัมผัสด้วยปัญญาแล้ว ชนเหล่านั้นย่อมไม่มีความสงสัย ไม่มีความ
แคลงใจในข้อนั้นเลยว่า สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว
ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ก็ข้อนั้นข้าพระองค์
รู้ เห็น เข้าใจ ทำให้แจ้ง สัมผัสด้วยปัญญาแล้ว ข้าพระองค์ไม่มีความสงสัย
ไม่มีความแคลงใจในข้อนั้นว่า สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ที่บุคคลเจริญ ทำให้
มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด”
“ดีละ ดีละ สารีบุตร ข้อนี้ชนเหล่าใดไม่รู้ ไม่เห็น ไม่เข้าใจ มิได้ทำให้แจ้ง
มิได้สัมผัสด้วยปัญญา ชนเหล่านั้นพึงดำเนินไปด้วยความเชื่อต่อผู้อื่นในข้อนั้นว่า
สัทธินทรีย์ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า
มีอมตะเป็นที่สุด ฯลฯ ปัญญินทรีย์ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่
อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ข้อนี้ชนเหล่าใดรู้ เห็น เข้าใจ
ทำให้แจ้ง ได้สัมผัสด้วยปัญญา ชนเหล่านั้นหมดความระแวงสงสัยในข้อนั้นว่า
สัทธินทรีย์ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า
มีอมตะเป็นที่สุด ฯลฯ ปัญญินทรีย์ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ
มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด”

ปุพพโกฏฐกสูตรที่ ๔ จบ

๕. ปฐมปุพพารามสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่บุพพาราม สูตรที่ ๑

[๕๑๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปราสาทของนางวิสาขามิคารมาตา
ในบุพพาราม เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๕. ชราวรรค ๖. ทุติยปุพพารามสูตร

มาตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุขีณาสพพยากรณ์อรหัตตผลว่า ‘เรารู้ชัดว่า
ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความ
เป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ เพราะอินทรีย์เท่าไรที่ภิกษุขีณาสพเจริญ ทำให้มากแล้ว”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็น
หลัก ฯลฯ๑
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุขีณาสพพยากรณ์อรหัตตผลว่า ‘เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
อีกต่อไป’ เพราะอินทรีย์อย่างหนึ่งที่ภิกษุขีณาสพเจริญ ทำให้มากแล้ว
อินทรีย์อย่างหนึ่ง คืออะไร
คือ ปัญญินทรีย์ ศรัทธาที่เป็นไปตามปัญญา วิริยะที่เป็นไปตามปัญญา
สติที่เป็นไปตามปัญญา สมาธิที่เป็นไปตามปัญญาของอริยสาวกผู้มีปัญญาย่อม
ตั้งมั่น
ภิกษุขีณาสพพยากรณ์อรหัตตผลว่า ‘เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
เพราะอินทรีย์อย่างหนึ่งนี้ที่ภิกษุขีณาสพเจริญ ทำให้มากแล้ว”

ปฐมปุพพารามสูตรที่ ๕ จบ

๖. ทุติยปุพพารามสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่บุพพาราม สูตรที่ ๒

[๕๑๖] ต้นเรื่องเหมือนสูตรที่ ๕
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุขีณาสพพยากรณ์อรหัตผลว่า ‘เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
อีกต่อไป’ เพราะอินทรีย์เท่าไรที่ภิกษุขีณาสพเจริญ ทำให้มากแล้ว


>>>>> หน้าต่อไป >>>>>





eXTReMe Tracker