ค้นว่าอยู่เล่มใด แล้วกด [ctrl]+f หรือใช้คำสั่งของเครื่องหาตำแหน่งในเล่มอีกทีนะครับ



จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อความสะดวก และสวยงาม
(เฉพาะหน้าจอใหญ่ เช่น คอมพิวเตอร์)
กรุณาคลิก จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อให้กรอบ
ค้นข้อความ ปรากฎที่ด้านซ้ายของหน้า

พระไตรปิฎกภาษาไทย
ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม (ปกสีฟ้า)
ทั้งออนไลน์และออฟไลน์
ที่มาของข้อมูล : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มจร.
MCUTRAI Version 1.0

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙-๑ สุตตันตปิฎกที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑. อวิชชาวรรค ๑. อวิชชาสูตร

พระสุตตันตปิฎก
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

๑. มัคคสังยุต
๑. อวิชชาวรรค
หมวดว่าด้วยอวิชชา
๑. อวิชชาสูตร
ว่าด้วยอวิชชา

[๑] ข้าพเจ้า๑ได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลาย
มาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย อวิชชา (ความไม่รู้แจ้ง) เป็นประธานแห่งการเข้าถึงอกุศลธรรม
ทั้งหลาย อหิริกะ (ความไม่ละอายบาป) อโนตตัปปะ (ความไม่เกรงกลัวบาป) ก็มี
ตามมาด้วย


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑. อวิชชาวรรค ๒. อุปัฑฒสูตร

๑. ผู้มีอวิชชาไม่เห็นแจ้งย่อมมีมิจฉาทิฏฐิ (เห็นผิด)
๒. ผู้มีมิจฉาทิฏฐิย่อมมีมิจฉาสังกัปปะ (ดำริผิด)
๓. ผู้มีมิจฉาสังกัปปะย่อมมีมิจฉาวาจา (เจรจาผิด)
๔. ผู้มีมิจฉาวาจาย่อมมีมิจฉากัมมันตะ (กระทำผิด)
๕. ผู้มีมิจฉากัมมันตะย่อมมีมิจฉาอาชีวะ (เลี้ยงชีพผิด)
๖. ผู้มีมิจฉาอาชีวะย่อมมีมิจฉาวายามะ (พยายามผิด)
๗. ผู้มีมิจฉาวายามะย่อมมีมิจฉาสติ (ระลึกผิด)
๘. ผู้มีมิจฉาสติย่อมมีมิจฉาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นผิด)

ภิกษุทั้งหลาย วิชชา๑ (ความรู้แจ้ง) เป็นประธานแห่งการเข้าถึงกุศลธรรมทั้งหลาย
หิริ (ความละอายบาป) และโอตตัปปะ (ความเกรงกลัวบาป) ก็มีตามมาด้วย

๑. ผู้มีวิชชาเห็นแจ้งย่อมมีสัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ)
๒. ผู้มีสัมมาทิฏฐิย่อมมีสัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ)
๓. ผู้มีสัมมาสังกัปปะย่อมมีสัมมาวาจา (เจรจาชอบ)
๔. ผู้มีสัมมาวาจาย่อมมีสัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ)
๕. ผู้มีสัมมากัมมันตะย่อมมีสัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ)
๖. ผู้มีสัมมาอาชีวะย่อมมีสัมมาวายามะ (พยายามชอบ)
๗. ผู้มีสัมมาวายามะย่อมมีสัมมาสติ (ระลึกชอบ)
๘. ผู้มีสัมมาสติย่อมมีสัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ)”๒

อวิชชาสูตรที่ ๑ จบ

๒. อุปัฑฒสูตร
ว่าด้วยความเป็นผู้มีมิตรดีเป็นพรหมจรรย์กึ่งหนึ่ง
[๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของเจ้าศากยะ ชื่อว่าสักกระ
แคว้นสักกะ ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑. อวิชชาวรรค ๒. อุปัฑฒสูตร

ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ความเป็นผู้มีมิตรดี๑ มีสหายดี๒ มีเพื่อนดี๓ เป็นพรหมจรรย์๔กึ่งหนึ่ง”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อย่ากล่าวอย่างนั้น อานนท์ อย่ากล่าวอย่างนั้น
อานนท์ ที่จริง ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี เป็นพรหมจรรย์ทั้งหมด
ทีเดียว อานนท์ ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดีพึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญ
อริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรค
มีองค์ ๘ ให้มาก อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก (ความสงัด) อาศัยวิราคะ (ความคลาย
กำหนัด) อาศัยนิโรธ (ความดับ) น้อมไปในโวสสัคคะ (ความสละ)
๒. เจริญสัมมาสังกัปปะอันอาศัยวิเวก ...
๓. เจริญสัมมาวาจา ...
๔. เจริญสัมมากัมมันตะ ...
๕. เจริญสัมมาอาชีวะ ...
๖. เจริญสัมมาวายามะ ...
๗. เจริญสัมมาสติ ...
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อม
ไปในโวสสัคคะ

ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรค
มีองค์ ๘ ให้มาก อย่างนี้แล


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑. อวิชชาวรรค ๓. สารีปุตตสูตร

อนึ่ง ข้อที่ว่าความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี เป็นพรหมจรรย์ทั้งหมด
ทีเดียวนั้นพึงทราบโดยปริยายนี้ ด้วยว่าเพราะอาศัยเราผู้เป็นมิตรดี เหล่าสัตว์ผู้มี
ชาติ (ความเกิด) เป็นธรรมดาย่อมพ้นจากชาติ ผู้มีชรา (ความแก่) เป็นธรรมดาย่อม
พ้นจากชรา ผู้มีมรณะ (ความตาย) เป็นธรรมดาย่อมพ้นจากมรณะ ผู้มีโสกะ (ความ
เศร้าโศก) ปริเทวะ (ความคร่ำครวญ) ทุกข์ (ความทุกข์กาย) โทมนัส (ความทุกข์ใจ)
และอุปายาส (ความคับแค้นใจ) เป็นธรรมดาย่อมพ้นจากโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
และอุปายาส

อานนท์ ข้อที่ว่าความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี เป็นพรหมจรรย์
ทั้งหมดทีเดียวนั้นพึงทราบโดยปริยายนี้แล”

อุปัฑฒสูตรที่ ๒ จบ

๓. สารีปุตตสูตร
ว่าด้วยพระสารีบุตร

[๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี เป็นพรหมจรรย์ทั้งหมดทีเดียว”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ถูกละ ถูกละ สารีบุตร ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี
มีเพื่อนดี เป็นพรหมจรรย์ทั้งหมด สารีบุตร ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี
พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรค
มีองค์ ๘ ให้มาก อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อม
ไปในโวสสัคคะ
ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑. อวิชชาวรรค ๔. ชาณุสโสณิพราหมณสูตร

๘. เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อม
ไปในโวสสัคคะ
ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรค
มีองค์ ๘ ให้มาก อย่างนี้แล

สารีบุตร อนึ่ง ข้อที่ว่าความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี เป็นพรหมจรรย์
ทั้งหมดนั้น พึงทราบโดยปริยายนี้ ด้วยว่าเพราะอาศัยเราผู้เป็นมิตรดี เหล่าสัตว์ผู้
มีชาติเป็นธรรมดาย่อมพ้นจากชาติ ผู้มีชราเป็นธรรมดาย่อมพ้นจากชรา ผู้มีมรณะ
เป็นธรรมดาย่อมพ้นจากมรณะ ผู้มีโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
เป็นธรรมดาย่อมพ้นจากโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
สารีบุตร ข้อที่ว่าความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี เป็นพรหมจรรย์
ทั้งหมดนั้น พึงทราบโดยปริยายนี้แล”

สารีปุตตสูตรที่ ๓ จบ

๔. ชาณุสโสณิพราหมณสูตร
ว่าด้วยชาณุสโสณิพราหมณ์

[๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้นในเวลาเช้า ท่านพระอานนท์ครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร๑เข้าไป
บิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี ได้เห็นพราหมณ์ชื่อชาณุสโสณิออกจากกรุงสาวัตถีด้วยรถ
เทียมด้วยม้าขาวล้วน นัยว่า ม้าที่เทียมเป็นม้าขาว เครื่องประดับขาว ตัวรถขาว


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑. อวิชชาวรรค ๔. ชาณุสโสณิพราหมณสูตร

ประทุนขาว เชือกขาว ด้ามประตักขาว ร่มขาว ผ้าโพกขาว ผ้านุ่งขาว รองเท้าขาว
และพัดวาลวีชนี (พัดหรือแส้ขนจามรี) ก็ขาว ชนทั้งหลายเห็นท่านแล้วพากันพูด
อย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ยานประเสริฐหนอ รูปของยานก็ประเสริฐหนอ”
ต่อมา ท่านพระอานนท์เที่ยวบิณฑบาตในกรุงสาวัตถี กลับจากบิณฑบาต
ภายหลังฉันภัตตาหารเสร็จแล้วจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ในเวลาเช้า ข้าพระองค์ครองอันตรวาสก ถือบาตร
และจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี ได้เห็นชาณุสโสณิพราหมณ์ออกจากกรุง
สาวัตถีด้วยรถเทียมด้วยม้าขาวล้วน นัยว่า ม้าที่เทียมเป็นม้าขาว เครื่องประดับขาว
ตัวรถขาว ประทุนขาว เชือกขาว ด้ามประตักขาว ร่มขาว ผ้าโพกขาว ผ้านุ่งขาว
รองเท้าขาว และพัดวาลวีชนีก็ขาว ชนทั้งหลายเห็นท่านแล้วพากันพูดว่า ‘ท่าน
ผู้เจริญ ยานประเสริฐหนอ รูปของยานก็ประเสริฐหนอ’ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
พระองค์อาจทรงบัญญัติยานอันประเสริฐในพระธรรมวินัยนี้ได้หรือหนอ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ อาจบัญญัติได้ คำว่า ‘ยานอันประเสริฐ’
นั้นเป็นชื่อของอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เอง เรียกว่า พรหมยานบ้าง ธรรมยานบ้าง
รถพิชัยสงครามอันยอดเยี่ยมบ้าง

สัมมาทิฏฐิที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว เป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ
และโมหะเป็นที่สุด
สัมมาสังกัปปะที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว เป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ
และโมหะเป็นที่สุด
สัมมาวาจาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว เป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ
และโมหะเป็นที่สุด
สัมมากัมมันตะที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว เป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ
และโมหะเป็นที่สุด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑. อวิชชาวรรค ๔. ชาณุสโสณิพราหมณสูตร

สัมมาอาชีวะที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว เป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ
และโมหะเป็นที่สุด
สัมมาวายามะที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว เป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ
และโมหะเป็นที่สุด
สัมมาสติที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว เป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ
และโมหะเป็นที่สุด
สัมมาสมาธิที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว เป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ
และโมหะเป็นที่สุด

คำว่า ‘ยานอันประเสริฐ’ นั้นเป็นชื่อของอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เอง เรียกว่า
พรหมยานบ้าง ธรรมยานบ้าง รถพิชัยสงครามอันยอดเยี่ยมบ้างนั้น พึงทราบโดย
ปริยายนี้แล”

พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา-
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า

“รถ๑ใดมีธรรมคือศรัทธาและปัญญาเป็นแอกทุกเมื่อ
มีหิริเป็นงอน มีใจเป็นเชือก
มีสติเป็นนายสารถีผู้คอยควบคุม
รถนี้มีศีล๒เป็นเครื่องประดับ
มีฌาน๓เป็นเพลา มีความเพียรเป็นล้อ
มีอุเบกขาเป็นทูบ๔ มีความไม่อยากได้เป็นประทุน


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑. อวิชชาวรรค ๕. กิมัตถิยสูตร

กุลบุตรใดมีความไม่พยาบาท
มีความไม่เบียดเบียนและมีวิเวก๑เป็นอาวุธ
มีความอดทนเป็นเกราะหนัง
กุลบุตรนั้นย่อมประพฤติเพื่อความเกษมจากโยคะ
พรหมยานอันยอดเยี่ยมนี้
เกิดแล้วในตนของบุคคลเหล่าใด
บุคคลเหล่านั้นเป็นนักปราชญ์ มีชัยชนะ
ย่อมออกไปจากโลกโดยแท้”

ชาณุสโสณิพราหมณสูตรที่ ๔ จบ

๕. กิมัตถิยสูตร
ว่าด้วยคำถามเกี่ยวกับประโยชน์ของการประพฤติพรหมจรรย์

[๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ภิกษุหลายรูปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ขอประทานวโรกาส พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกถามข้าพระองค์ทั้งหลายอย่างนี้ว่า
‘ผู้มีอายุทั้งหลาย พวกท่านอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระสมณโคดมเพื่อประโยชน์
อะไร’ ข้าพระองค์ทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว จึงตอบอัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น
อย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย พวกเราอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค
เพื่อกำหนดรู้ทุกข์’ ข้าพระองค์ทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว ตอบอย่างนี้ ชื่อว่า
พูดตรงตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำเท็จหรือ
ชื่อว่ากล่าวแก้อย่างสมเหตุสมผลหรือ ไม่มีบ้างหรือที่คำเช่นนั้นและคำที่กล่าวต่อ ๆ
กันมาจะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑. อวิชชาวรรค ๖. ปฐมอัญญตรภิกขุสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “เอาเถิด ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายถูกถาม
อย่างนั้นแล้ว ตอบอย่างนั้น ชื่อว่าพูดตรงตามคำที่เรากล่าวไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่เรา
ด้วยคำเท็จ ชื่อว่ากล่าวแก้อย่างสมเหตุสมผล ไม่มีคำเช่นนั้นและคำที่กล่าวต่อ ๆ
กันมาที่จะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้ เพราะเธอทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในเรา
เพื่อกำหนดรู้ทุกข์ ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอัญเดียรถีย์ปริพาชกพึงถามเธอทั้งหลายว่า
‘ผู้มีอายุทั้งหลาย มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้ทุกข์นั้นอยู่หรือ’ เธอทั้งหลาย
ถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงตอบอัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย
มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้ทุกข์นั้นอยู่’
มรรค เป็นอย่างไร ปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้ทุกข์นั้น เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล ได้แก่

๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้คือมรรค นี้คือปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้ทุกข์
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงตอบอัญเดียรถีย์ปริพาชก
เหล่านั้นอย่างนี้”

กิมัตถิยสูตรที่ ๕ จบ

๖. ปฐมอัญญตรภิกขุสูตร
ว่าด้วยภิกษุรูปหนึ่งทูลถามปัญหา สูตรที่ ๑

[๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
พระองค์ตรัสว่า ‘พรหมจรรย์ พรหมจรรย์’ พรหมจรรย์เป็นอย่างไร ที่สุดแห่ง
พรหมจรรย์เป็นอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แลเป็นพรหมจรรย์
ได้แก่

๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
ธรรมเป็นที่สิ้นราคะ โทสะ และโมหะ นี้เป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์”

ปฐมอัญญตรภิกขุสูตรที่ ๖ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑. อวิชชาวรรค ๘. วิภังคสูตร

๗. ทุติยอัญญตรภิกขุสูตร
ว่าด้วยภิกษุรูปหนึ่งทูลถามปัญหา สูตรที่ ๒

[๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว
นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์
ตรัสว่า ‘ธรรมเป็นที่กำจัดราคะ โทสะ และโมหะ’ คำว่า ‘ธรรมเป็นที่กำจัดราคะ
โทสะ และโมหะ’ นี้เป็นชื่อของอะไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ คำว่า ‘ธรรมเป็นที่กำจัดราคะ โทสะ และ
โมหะ’ นี้เป็นชื่อของนิพพานธาตุ๑ เพราะเหตุนั้นจึงเรียกว่า ธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะ”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุนั้นได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคต่อไป
ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า ‘อมตะ อมตะ’ อมตะเป็นอย่างไร
ทางที่ให้ถึงอมตะเป็นอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ ธรรมเป็นที่สิ้นราคะ โทสะ และโมหะ
นี้เรียกว่า อมตะ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แลเป็นทางที่ให้ถึงอมตะ ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ

ทุติยอัญญตรภิกขุสูตรที่ ๗ จบ

๘. วิภังคสูตร
ว่าด้วยการจำแนกอริยมรรค

[๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง จักจำแนกอริยมรรคมี
องค์ ๘ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑. อวิชชาวรรค ๘. วิภังคสูตร

“ภิกษุทั้งหลาย อริยมรรคมีองค์ ๘ อะไรบ้าง คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
สัมมาทิฏฐิ เป็นอย่างไร
คือ ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย (เหตุเกิดทุกข์) ความรู้ในทุกขนิโรธ
(ความดับทุกข์) ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความดับทุกข์)
นี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ
สัมมาสังกัปปะ เป็นอย่างไร
คือ ความดำริในเนกขัมมะ (การออกจากกาม) ความดำริในอพยาบาท (ความ
ไม่พยาบาท) ความดำริในอวิหิงสา (การไม่เบียดเบียน)
นี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ
สัมมาวาจา เป็นอย่างไร
คือ เจตนาเป็นเหตุเว้นจากมุสาวาท (พูดเท็จ) เจตนาเป็นเหตุเว้นจากปิสุณา-
วาจา (พูดส่อเสียด) เจตนาเป็นเหตุเว้นจากผรุสวาจา (พูดคำหยาบ) เจตนาเป็น
เหตุเว้นจากสัมผัปปลาปะ (พูดเพ้อเจ้อ)
นี้เรียกว่า สัมมาวาจา
สัมมากัมมันตะ เป็นอย่างไร
คือ เจตนาเป็นเหตุเว้นจากปาณาติบาต (การฆ่าสัตว์) เจตนาเป็นเหตุเว้นจาก
อทินนาทาน (การลักทรัพย์) เจตนาเป็นเหตุเว้นจากอพรหมจรรย์ (พฤติกรรมอัน
เป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์)
นี้เรียกว่า สัมมากัมมันตะ
สัมมาอาชีวะ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ละมิจฉาอาชีวะ สำเร็จการเลี้ยงชีพด้วยสัมมา-
อาชีวะ
นี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑. อวิชชาวรรค ๘. วิภังคสูตร

สัมมาวายามะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น๑
เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น
๒. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
๓. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
๔. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญ
เต็มที่แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
นี้เรียกว่า สัมมาวายามะ
สัมมาสติ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด
อภิชฌาและโทมนัสในโลกได้


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต] ๑. อวิชชาวรรค ๙. สูกสูตร

๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย๑อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
นี้เรียกว่า สัมมาสติ
สัมมาสมาธิ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก
วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่
๒. เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสในภายใน
มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่
ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่
๓. เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวย
สุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า
‘ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข’
๔. เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน บรรลุ
จตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่
นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ”

วิภังคสูตรที่ ๘ จบ

๙. สูกสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยเดือย

[๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปไม่ได้เลยที่เดือยข้าวสาลีหรือ
เดือยข้าวเหนียวที่บุคคลตั้งไว้ไม่ตรงจักตำมือหรือเท้าที่ไปกระทบเข้าหรือทำให้เลือดออก


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑. อวิชชาวรรค ๑๐. นันทิยสูตร

ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะตั้งเดือยข้าวไว้ไม่ตรง แม้ฉันใด เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุ
รูปนั้นมีทิฏฐิที่ตั้งไว้ผิด มีมรรคภาวนาที่ตั้งไว้ผิด จักทำลายอวิชชา ให้วิชชาเกิดขึ้น
ทำนิพพานให้แจ้ง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะตั้งทิฏฐิไว้ผิด ฉันนั้นเหมือนกัน
ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปได้ที่เดือยข้าวสาลีหรือเดือยข้าวเหนียวที่บุคคลตั้งไว้ตรง
จักตำมือหรือเท้าที่ไปกระทบเข้าหรือทำให้เลือดออก ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะตั้ง
เดือยข้าวไว้ตรง แม้ฉันใด เป็นไปได้ที่ภิกษุรูปนั้นมีทิฏฐิที่ตั้งไว้ถูก มีมรรคภาวนาที่
ตั้งไว้ถูก จักทำลายอวิชชา ให้วิชชาเกิดขึ้น ทำนิพพานให้แจ้ง ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะตั้งทิฏฐิไว้ถูก ฉันนั้นเหมือนกัน๑
ภิกษุมีทิฏฐิที่ตั้งไว้ถูก มีมรรคภาวนาที่ตั้งไว้ถูก ย่อมทำลายอวิชชา ให้
วิชชาเกิดขึ้น ทำนิพพานให้แจ้ง อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีทิฏฐิที่ตั้งไว้ถูก มีมรรคภาวนาที่ตั้งไว้ถูก ย่อมทำลาย
อวิชชา ให้วิชชาเกิดขึ้น ทำนิพพานให้แจ้ง เป็นอย่างนี้แล”

สูกสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. นันทิยสูตร
ว่าด้วยนันทิยปริพาชก

[๑๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้นแล นันทิยปริพาชกเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนา
ปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถาม
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ธรรมเหล่าไหนที่บุคคลเจริญ ทำ
ให้มากแล้ว ย่อมให้ถึงนิพพาน มีนิพพานเป็นเบื้องหน้า มีนิพพานเป็นที่สุด”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑. อวิชชาวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “นันทิยะ ธรรม ๘ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ
ทำให้มากแล้ว ย่อมให้ถึงนิพพาน มีนิพพานเป็นเบื้องหน้า มีนิพพานเป็นที่สุด
ธรรม ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ

นันทิยะ ธรรม ๘ ประการนี้แลที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมให้ถึงนิพพาน
มีนิพพานเป็นเบื้องหน้า มีนิพพานเป็นที่สุด”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว นันทิยปริพาชกได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม พระภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก
ข้าแต่ท่านพระโคดม พระภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านพระ
โคดมทรงประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของ
ที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด๑ ด้วยตั้งใจว่า
‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’ ข้าพระองค์นี้ขอถึงท่านพระโคดมพร้อมทั้งพระธรรมและ
พระสงฆ์เป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ
ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”

นันทิยสูตรที่ ๑๐ จบ
อวิชชาวรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อวิชชาสูตร ๒. อุปัฑฒสูตร
๓. สารีปุตตสูตร ๔. ชาณุสโสณิพราหมณสูตร
๕. กิมัตถิยสูตร ๖. ปฐมอัญญตรภิกขุสูตร
๗. ทุติยอัญญตรภิกขุสูตร ๘. วิภังคสูตร
๙. สูกสูตร ๑๐. นันทิยสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๒. วิหารวรรค ๑. ปฐมวิหารสูตร

๒. วิหารวรรค
หมวดว่าด้วยวิหารธรรม
๑. ปฐมวิหารสูตร
ว่าด้วยวิหารธรรม สูตรที่ ๑

[๑๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราปรารถนาจะหลีกเร้นสักครึ่งเดือน
ใคร ๆ อย่าเข้าไปหาเรา ยกเว้นภิกษุผู้นำอาหารบิณฑบาตเข้าไปให้รูปเดียว”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว ในครึ่งเดือนนี้จึงไม่มีใครเข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคเลย ยกเว้นภิกษุผู้นำอาหารบิณฑบาตไปทูลถวายรูปเดียว
ครั้นครึ่งเดือนนั้นผ่านไป พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้นแล้ว รับสั่ง
เรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรานั้นแรกตรัสรู้ ได้อยู่ด้วยส่วนแห่ง
วิหารธรรม (ธรรมเป็นเครื่องอยู่) รู้ชัดอย่างนี้ว่า
‘เพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี
เพราะสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี
ฯลฯ
เพราะมิจฉาสมาธิเป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี
เพราะสัมมาสมาธิเป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี
เพราะฉันทะเป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี
เพราะวิตกเป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี
เพราะสัญญาเป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี
เพราะฉันทะ วิตก และสัญญาเป็นธรรมไม่สงบเป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี
เพราะฉันทะ วิตก และสัญญาเป็นธรรมสงบเป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี
ความพยายามเพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ๑มีอยู่ แต่เพราะเมื่อยังไม่ได้บรรลุ
ฐานะ๒นั้นเป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี”

ปฐมวิหารสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๒. วิหารวรรค ๒. ทุติยวิหารสูตร

๒. ทุติยวิหารสูตร
ว่าด้วยวิหารธรรม สูตรที่ ๒

[๑๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เราปรารถนาจะหลีกเร้นตลอด ๓ เดือน ใคร ๆ อย่าเข้าไป
หาเรา ยกเว้นภิกษุผู้นำอาหารบิณฑบาตเข้าไปให้รูปเดียว” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับ
สนองพระดำรัสแล้ว ใน ๓ เดือนนี้จึงไม่มีใครเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเลย ยก
เว้นภิกษุผู้นำอาหารบิณฑบาตเข้าไปทูลถวายรูปเดียว
ครั้น ๓ เดือนนั้นผ่านไป พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้นแล้ว รับสั่ง
เรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรานั้นแรกตรัสรู้ ได้อยู่ด้วยส่วนแห่ง
วิหารธรรม รู้ชัดอย่างนี้ว่า
‘เพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี
เพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นธรรมสงบเป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี
เพราะสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี
เพราะสัมมาทิฏฐิเป็นธรรมสงบเป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี
ฯลฯ
เพราะมิจฉาสมาธิเป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี
เพราะมิจฉาสมาธิเป็นธรรมสงบเป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี
เพราะสัมมาสมาธิเป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี
เพราะสัมมาสมาธิเป็นธรรมสงบเป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี
เพราะฉันทะเป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี
เพราะฉันทะเป็นธรรมสงบเป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี
เพราะวิตกเป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี
เพราะวิตกเป็นธรรมสงบเป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี
เพราะสัญญาเป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี
เพราะสัญญาเป็นธรรมสงบเป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๒. วิหารวรรค ๔. ปฐมอุปปาทสูตร

เพราะฉันทะ วิตก และสัญญาเป็นธรรมไม่สงบเป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี
เพราะฉันทะ วิตก และสัญญาเป็นธรรมสงบเป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี
ความพยายามเพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ มีอยู่ แต่เพราะเมื่อยังไม่ได้บรรลุ
ฐานะนั้นเป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี”

ทุติยวิหารสูตรที่ ๒ จบ

๓. เสกขสูตร
ว่าด้วยองค์คุณของพระเสขะ

[๑๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ นั่ง ณ
ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า
‘พระเสขะ พระเสขะ’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุจึงชื่อว่าเป็นพระเสขะ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุในธรรมวินัยนี้ประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิอัน
เป็นของพระเสขะ๑ ฯลฯ ประกอบด้วยสัมมาสมาธิอันเป็นของพระเสขะ ด้วยเหตุ
เพียงเท่านี้แล ภิกษุจึงชื่อว่าเป็นพระเสขะ”

เสกขสูตรที่ ๓ จบ

๔. ปฐมอุปปาทสูตร
ว่าด้วยความเกิดขึ้นแห่งธรรม สูตรที่ ๑

[๑๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๘ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ที่ยังไม่
เกิดย่อมเกิดขึ้น เว้นความอุบัติขึ้นของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ย่อมไม่
เกิดขึ้น


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๒. วิหารวรรค ๕. ทุติยอุปปาทสูตร

ธรรม ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๘ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ที่ยังไม่เกิด
ย่อมเกิดขึ้น เว้นความอุบัติขึ้นของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ย่อมไม่
เกิดขึ้น”

ปฐมอุปปาทสูตรที่ ๔ จบ

๕. ทุติยอุปปาทสูตร
ว่าด้วยความเกิดขึ้นแห่งธรรม สูตรที่ ๒

[๑๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๘ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ที่ยังไม่
เกิดย่อมเกิดขึ้น เว้นวินัยของพระสุคต๑ ย่อมไม่เกิดขึ้น
ธรรม ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๘ ประการนี้ ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ที่ยังไม่
เกิดย่อมเกิดขึ้น เว้นวินัยของพระสุคต ย่อมไม่เกิดขึ้น”

ทุติยอุปปาทสูตรที่ ๕ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๒. วิหารวรรค ๗. ทุติยปริสุทธสูตร

๖. ปฐมปริสุทธสูตร
ว่าด้วยธรรมอันบริสุทธิ์ สูตรที่ ๑

[๑๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๘ ประการนี้บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน๑
ปราศจากความเศร้าหมอง ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น เว้นความอุบัติขึ้นของพระ
ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ย่อมไม่เกิดขึ้น
ธรรม ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ

ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๘ ประการนี้แลบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน
ปราศจากความเศร้าหมอง ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น เว้นความอุบัติขึ้นของพระ
ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ย่อมไม่เกิดขึ้น”

ปฐมปริสุทธสูตรที่ ๖ จบ

๗. ทุติยปริสุทธสูตร
ว่าด้วยธรรมอันบริสุทธิ์ สูตรที่ ๒

[๑๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๘ ประการนี้บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน
ปราศจากความเศร้าหมอง ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น เว้นวินัยของพระสุคต ย่อมไม่
เกิดขึ้น
ธรรม ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๒. วิหารวรรค ๘. ปฐมกุกกุฏารามสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๘ ประการนี้แลบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน
ปราศจากความเศร้าหมอง ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น เว้นวินัยของพระสุคต ย่อมไม่
เกิดขึ้น”

ทุติยปริสุทธสูตรที่ ๗ จบ

๘. ปฐมกุกกุฏารามสูตร
ว่าด้วยการสนทนาธรรมในกุกกุฏาราม สูตรที่ ๑

[๑๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์กับท่านพระภัททะอยู่ที่กุกกุฏาราม เขตเมือง
ปาฏลีบุตร ครั้นในเวลาเย็น ท่านพระภัททะออกจากที่หลีกเร้น เข้าไปหาท่าน
พระอานนท์ถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว
นั่ง ณ ที่สมควร ได้เรียนถามท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า
“ท่านอานนท์ ที่เรียกกันว่า ‘อพรหมจรรย์ อพรหมจรรย์’ อพรหมจรรย์
เป็นอย่างไร”
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “ดีละ ดีละ ท่านภัททะ ปัญญาใฝ่รู้๑ของท่าน
ดีนัก ปฏิภาณดีนัก สอบถามเข้าที ก็ท่านถามว่า ‘ที่เรียกกันว่า ‘อพรหมจรรย์
อพรหมจรรย์’ อพรหมจรรย์เป็นอย่างไร’ อย่างนั้นหรือ”
“อย่างนั้น ผู้มีอายุ”
“ผู้มีอายุ มิจฉามรรค (ทางผิด) มีองค์ ๘ นี้แลเป็นอพรหมจรรย์ ได้แก่

๑. มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. มิจฉาสมาธิ

ปฐมกุกกุฏารามสูตรที่ ๘ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๒. วิหารวรรค ๑๐. ตติยกุกกุฏารามสูตร

๙. ทุติยกุกกุฏารามสูตร
ว่าด้วยการสนทนาธรรมในกุกกุฏาราม สูตรที่ ๒

[๑๙] เรื่องเกิดขึ้นที่เมืองปาฏลีบุตร
ท่านพระภัททะได้เรียนถามท่านพระอานนท์ว่า “ท่านอานนท์ ที่เรียกกันว่า
‘พรหมจรรย์ พรหมจรรย์’ พรหมจรรย์เป็นอย่างไร ที่สุดแห่งพรหมจรรย์เป็นอย่างไร”
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “ดีละ ดีละ ท่านภัททะ ปัญญาใฝ่รู้ของท่านดีนัก
ปฏิภาณดีนัก สอบถามเข้าที ก็ท่านถามว่า ‘ที่เรียกกันว่า ‘พรหมจรรย์ พรหมจรรย์’
พรหมจรรย์เป็นอย่างไร ที่สุดแห่งพรหมจรรย์เป็นอย่างไร’ อย่างนั้นหรือ”
“อย่างนั้น ผู้มีอายุ”
“ผู้มีอายุ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แลเป็นพรหมจรรย์ ได้แก่

๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ

ธรรมเป็นที่สิ้นราคะ โทสะ และโมหะ นี้เป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์”

ทุติยกุกกุฏารามสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ตติยกุกกุฏารามสูตร
ว่าด้วยการสนทนาธรรมในกุกกุฏาราม สูตรที่ ๓

[๒๐] เรื่องเกิดขึ้นที่เมืองปาฏลีบุตร
ท่านพระภัททะได้เรียนถามท่านพระอานนท์ว่า “ท่านอานนท์ ที่เรียกกันว่า
‘พรหมจรรย์ พรหมจรรย์’ พรหมจรรย์เป็นอย่างไร พรหมจารีเป็นอย่างไร ที่สุด
แห่งพรหมจรรย์เป็นอย่างไร”
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “ดีละ ดีละ ท่านภัททะ ปัญญาใฝ่รู้ของท่านดีนัก
ปฏิภาณดีนัก สอบถามเข้าที ก็ท่านถามว่า ‘ที่เรียกกันว่า ‘พรหมจรรย์ พรหมจรรย์’
พรหมจรรย์เป็นอย่างไร พรหมจารีเป็นอย่างไร ที่สุดแห่งพรหมจรรย์เป็นอย่างไร’
อย่างนั้นหรือ”
“อย่างนั้น ผู้มีอายุ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๒. วิหารวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

“ผู้มีอายุ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แลเป็นพรหมจรรย์ ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
บุคคลผู้ประกอบด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เรียกว่า พรหมจารี
ธรรมเป็นที่สิ้นราคะ โทสะ และโมหะ นี้เป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์”

พระสูตร ๓ สูตร มีเหตุเกิดอย่างเดียวกัน

ตติยกุกกุฏารามสูตรที่ ๑๐ จบ
วิหารวรรคที่ ๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมวิหารสูตร ๒. ทุติยวิหารสูตร
๓. เสกขสูตร ๔. ปฐมอุปปาทสูตร
๕. ทุติยอุปปาทสูตร ๖. ปฐมปริสุทธสูตร
๗. ทุติยปริสุทธสูตร ๘. ปฐมกุกกุฏารามสูตร
๙. ทุติยกุกกุฏารามสูตร ๑๐. ตติยกุกกุฏารามสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๓. มิจฉัตตวรรค ๒. อกุสลธัมมสูตร

๓. มิจฉัตตวรรค
หมวดว่าด้วยมิจฉัตตธรรม
๑. มิจฉัตตสูตร
ว่าด้วยมิจฉัตตธรรม

[๒๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงมิจฉัตตธรรม (ธรรมที่ผิด)
และสัมมัตตธรรม (ธรรมที่ชอบ) แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง

มิจฉัตตธรรม อะไรบ้าง คือ
๑. มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. มิจฉาสมาธิ
นี้เรียกว่า มิจฉัตตธรรม

สัมมัตตธรรม อะไรบ้าง คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้เรียกว่า สัมมัตตธรรม”

มิจฉัตตสูตรที่ ๑ จบ

๒. อกุสลธัมมสูตร
ว่าด้วยอกุศลธรรม

[๒๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอกุศลธรรมและกุศลธรรมแก่เธอทั้งหลาย เธอ
ทั้งหลายจงฟัง

อกุศลธรรม อะไรบ้าง คือ
๑. มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. มิจฉาสมาธิ
นี้เรียกว่า อกุศลธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๓. มิจฉัตตวรรค ๔. ทุติยปฏิปทาสูตร

กุศลธรรม อะไรบ้าง คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้เรียกว่า กุศลธรรม”

อกุสลธัมมสูตรที่ ๒ จบ

๓. ปฐมปฏิปทาสูตร
ว่าด้วยปฏิปทา สูตรที่ ๑

[๒๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงมิจฉาปฏิปทา (ข้อปฏิบัติผิด) และสัมมาปฏิปทา
(ข้อปฏิบัติชอบ) แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง

มิจฉาปฏิปทา อะไรบ้าง คือ
๑. มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. มิจฉาสมาธิ
นี้เรียกว่า มิจฉาปฏิปทา

สัมมาปฏิปทา อะไรบ้าง คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้เรียกว่า สัมมาปฏิปทา”

ปฐมปฏิปทาสูตรที่ ๓ จบ

๔. ทุติยปฏิปทาสูตร
ว่าด้วยปฏิปทา สูตรที่ ๒

[๒๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เราไม่สรรเสริญมิจฉาปฏิปทาของคฤหัสถ์หรือบรรพชิต คฤหัสถ์
หรือบรรพชิตผู้ปฏิบัติผิดย่อมทำญายธรรม๑ที่เป็นกุศลให้สำเร็จไม่ได้ เพราะเหตุแห่ง
การปฏิบัติผิด


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๓. มิจฉัตตวรรค ๕. ปฐมอสัปปุริสสูตร

มิจฉาปฏิปทา อะไรบ้าง คือ
๑. มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. มิจฉาสมาธิ
นี้เรียกว่า มิจฉาปฏิปทา
เราไม่สรรเสริญมิจฉาปฏิปทาของคฤหัสถ์หรือบรรพชิต คฤหัสถ์หรือบรรพชิต
ผู้ปฏิบัติผิดย่อมทำญายธรรมที่เป็นกุศลให้สำเร็จไม่ได้ เพราะเหตุแห่งการปฏิบัติผิด
ภิกษุทั้งหลาย แต่เราสรรเสริญสัมมาปฏิปทาของคฤหัสถ์หรือบรรพชิต คฤหัสถ์
หรือบรรพชิตผู้ปฏิบัติชอบย่อมทำญายธรรมที่เป็นกุศลให้สำเร็จได้ เพราะเหตุแห่ง
การปฏิบัติชอบ

สัมมาปฏิปทา อะไรบ้าง คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้เรียกว่า สัมมาปฏิปทา
เราสรรเสริญสัมมาปฏิปทาของคฤหัสถ์หรือบรรพชิต คฤหัสถ์หรือบรรพชิตผู้
ปฏิบัติชอบย่อมทำญายธรรมที่เป็นกุศลให้สำเร็จได้ เพราะเหตุแห่งการปฏิบัติชอบ”

ทุติยปฏิปทาสูตรที่ ๔ จบ

๕. ปฐมอสัปปุริสสูตร
ว่าด้วยอสัตบุรุษ สูตรที่ ๑

[๒๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอสัตบุรุษและสัตบุรุษแก่เธอทั้งหลาย เธอ
ทั้งหลายจงฟัง
อสัตบุรุษ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีมิจฉาทิฏฐิ มีมิจฉาสังกัปปะ มีมิจฉาวาจา
มีมิจฉากัมมันตะ มีมิจฉาอาชีวะ มีมิจฉาวายามะ มีมิจฉาสติ มีมิจฉาสมาธิ
บุคคลนี้เรียกว่า อสัตบุรุษ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๓. มิจฉัตตวรรค ๖. ทุติยอสัปปุริสสูตร

สัตบุรุษ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ มีสัมมาสังกัปปะ มีสัมมาวาจา
มีสัมมากัมมันตะ มีสัมมาอาชีวะ มีสัมมาวายามะ มีสัมมาสติ มีสัมมาสมาธิ
บุคคลนี้เรียกว่า สัตบุรุษ”

ปฐมอสัปปุริสสูตรที่ ๕ จบ

๖. ทุติยอสัปปุริสสูตร
ว่าด้วยอสัตบุรุษ สูตรที่ ๒

[๒๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอสัตบุรุษและอสัตบุรุษที่ยิ่งกว่าอสัตบุรุษ และ
จักแสดงสัตบุรุษและสัตบุรุษที่ยิ่งกว่าสัตบุรุษแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง

อสัตบุรุษ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ มีมิจฉาสมาธิ
บุคคลนี้เรียกว่า อสัตบุรุษ
อสัตบุรุษที่ยิ่งกว่าอสัตบุรุษ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ มีมิจฉาสมาธิ มีมิจฉา-
ญาณะ (รู้ผิด) มีมิจฉาวิมุตติ (หลุดพ้นผิด)
บุคคลนี้เรียกว่า อสัตบุรุษที่ยิ่งกว่าอสัตบุรุษ

สัตบุรุษ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ มีสัมมาสมาธิ
บุคคลนี้เรียกว่า สัตบุรุษ
สัตบุรุษที่ยิ่งกว่าสัตบุรุษ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ มีสัมมาสมาธิ มีสัมมา-
ญาณะ (รู้ชอบ) มีสัมมาวิมุตติ (หลุดพ้นชอบ)
บุคคลนี้เรียกว่า สัตบุรุษที่ยิ่งกว่าสัตบุรุษ”

ทุติยอสัปปุริสสูตรที่ ๖ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๓. มิจฉัตตวรรค ๘. สมาธิสูตร

๗. กุมภสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยหม้อ

[๒๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย หม้อที่ไม่มีเครื่องรองรับ กลิ้งไปได้ง่าย ที่มีเครื่องรองรับ
กลิ้งไปได้ยาก แม้ฉันใด จิตก็ฉันนั้นเหมือนกัน ที่ไม่มีธรรมเครื่องรองรับ กลับกลอก
ได้ง่าย ที่มีธรรมเครื่องรองรับ กลับกลอกได้ยาก
อะไรเล่าเป็นธรรมเครื่องรองรับจิต
คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้เป็นธรรมเครื่องรองรับจิต
หม้อที่ไม่มีเครื่องรองรับ กลิ้งไปได้ง่าย ที่มีเครื่องรองรับ กลิ้งไปได้ยาก
แม้ฉันใด จิตก็ฉันนั้นเหมือนกัน ที่ไม่มีธรรมเครื่องรองรับ กลับกลอกได้ง่าย ที่มีธรรม
เครื่องรองรับ กลับกลอกได้ยาก”

กุมภสูตรที่ ๗ จบ

๘. สมาธิสูตร
ว่าด้วยสมาธิ

[๒๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอริยสัมมาสมาธิที่มีอุปนิสะ๑บ้าง ที่มีบริขาร๒บ้าง
แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
อริยสัมมาสมาธิที่มีอุปนิสะ ที่มีบริขาร อะไรบ้าง คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๓. มิจฉัตตวรรค ๑๐. อุตติยสูตร

สภาวะที่จิตมีอารมณ์เดียว ซึ่งมีองค์ ๗ ประการนี้แวดล้อม เรียกว่า ‘อริย-
สัมมาสมาธิที่มีอุปนิสะ’ บ้าง ว่า ‘อริยสัมมาสมาธิที่มีบริขาร’ บ้าง”

สมาธิสูตรที่ ๘ จบ

๙. เวทนาสูตร
ว่าด้วยเวทนา

[๒๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ ประการนี้
เวทนา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สุขเวทนา (ความรู้สึกสุข)
๒. ทุกขเวทนา (ความรู้สึกทุกข์)
๓. อทุกขมสุขเวทนา (ความรู้สึกที่มิใช่สุขมิใช่ทุกข์)
เวทนา ๓ ประการนี้

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อกำหนดรู้เวทนา ๓ ประการนี้
อริยมรรคมีองค์ ๘ อะไรบ้าง คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อกำหนดรู้เวทนา ๓
ประการนี้แล”

เวทนาสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. อุตติยสูตร
ว่าด้วยพระอุตติยะ

[๓๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้นแล ท่านพระอุตติยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ นั่ง ณ
ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๓. มิจฉัตตวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

วโรกาส ข้าพระองค์หลีกเร้นอยู่ในที่สงัด ได้เกิดความคิดคำนึงขึ้นมาว่า ‘กามคุณ ๕
ประการ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้แล้ว’ กามคุณ ๕ ประการ อะไรบ้าง ที่พระผู้
มีพระภาคได้ตรัสไว้แล้ว”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ดีละ ดีละ อุตติยะ กามคุณ ๕ ประการนี้
เราได้กล่าวไว้แล้ว

กามคุณ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
๒. เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ...
๓. กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ...
๔. รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ...
๕. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
กามคุณ ๕ ประการนี้ เราได้กล่าวไว้แล้ว

อุตติยะ บุคคลพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อละกามคุณ ๕ ประการนี้
อริยมรรคมีองค์ ๘ อะไรบ้าง คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
อุตติยะ บุคคลพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อละกามคุณ ๕ ประการนี้”

อุตติยสูตรที่ ๑๐ จบ
มิจฉัตตวรรคที่ ๓ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. มิจฉัตตสูตร ๒. อกุสลธัมมสูตร
๓. ปฐมปฏิปทาสูตร ๔. ทุติยปฏิปทาสูตร
๕. ปฐมอสัปปุริสสูตร ๖. ทุติยอสัปปุริสสูตร
๗. กุมภสูตร ๘. สมาธิสูตร
๙. เวทนาสูตร ๑๐. อุตติยสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๔. ปฏิปัตติวรรค ๒. ทุติยปฏิปัตติสูตร

๔. ปฏิปัตติวรรค
หมวดว่าด้วยการปฏิบัติ
๑. ปฐมปฏิปัตติสูตร
ว่าด้วยการปฏิบัติ สูตรที่ ๑

[๓๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงมิจฉาปฏิบัติ (การปฏิบัติผิด)
และสัมมาปฏิบัติ (การปฏิบัติชอบ) แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
มิจฉาปฏิบัติ อะไรบ้าง คือ
๑. มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. มิจฉาสมาธิ
นี้เรียกว่า มิจฉาปฏิบัติ
สัมมาปฏิบัติ อะไรบ้าง คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้เรียกว่า สัมมาปฏิบัติ”

ปฐมปฏิปัตติสูตรที่ ๑ จบ

๒. ทุติยปฏิปัตติสูตร
ว่าด้วยการปฏิบัติ สูตรที่ ๒

[๓๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงบุคคลผู้ปฏิบัติผิดและบุคคลผู้ปฏิบัติชอบแก่เธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
บุคคลผู้ปฏิบัติผิด เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ มีมิจฉาสมาธิ
บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ปฏิบัติผิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๔. ปฏิปัตติวรรค ๓. วิรัทธสูตร

บุคคลผู้ปฏิบัติชอบ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ มีสัมมาสมาธิ
บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ปฏิบัติชอบ”

ทุติยปฏิปัตติสูตรที่ ๒ จบ

๓. วิรัทธสูตร
ว่าด้วยธรรมที่บุคคลพลาด

[๓๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย อริยมรรคมีองค์ ๘ อันบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งพลาด๑แล้ว
อริยมรรคมีองค์ ๘ ที่ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ก็ชื่อว่าเป็นอันบุคคลเหล่านั้น
พลาดแล้ว
อริยมรรคมีองค์ ๘ อันบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งปรารภ๒แล้ว อริยมรรคมี
องค์ ๘ ที่ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ก็ชื่อว่าเป็นอันบุคคลเหล่านั้นปรารภแล้ว
อริยมรรคมีองค์ ๘ อะไรบ้าง คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
อริยมรรคมีองค์ ๘ อันบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งพลาดแล้ว อริยมรรคมีองค์ ๘
ที่ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ก็ชื่อว่าเป็นอันบุคคลเหล่านั้นพลาดแล้ว
อริยมรรคมีองค์ ๘ อันบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งปรารภแล้ว อริยมรรคมีองค์ ๘
ที่ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ก็ชื่อว่าเป็นอันบุคคลเหล่านั้นปรารภแล้ว”

วิรัทธสูตรที่ ๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๔. ปฏิปัตติวรรค ๔. ปารังคมสูตร

๔. ปารังคมสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ให้ถึงฝั่ง

[๓๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๘ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้วย่อมเป็น
ไปเพื่อถึงฝั่งโน้น๑ จากฝั่งนี้๒
ธรรม ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
ธรรม ๘ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อถึงฝั่งโน้น
จากฝั่งนี้”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา-
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า
“ในหมู่มนุษย์ เหล่าชนผู้ไปถึงฝั่งโน้นมีจำนวนน้อย
ส่วนหมู่สัตว์นอกนี้เลาะไปตามฝั่งนี้ทั้งนั้น
ส่วนชนเหล่าใดประพฤติตามธรรม
ในธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้โดยชอบ๓
ชนเหล่านั้นจักข้ามพ้นวัฏฏะ๔
อันเป็นบ่วงมารที่ข้ามได้แสนยาก จักถึงฝั่งโน้น


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๔. ปฏิปัตติวรรค ๕. ปฐมสามัญญสูตร

บัณฑิตละธรรมดำ๑แล้วพึงเจริญธรรมขาว๒
ออกจากที่มีน้ำ มาสู่ที่ไม่มีน้ำ๓
ละกามทั้งหลายแล้วเป็นผู้หมดความกังวล
พึงปรารถนาความยินดียิ่งในวิเวก๔ที่ยินดีได้ยากยิ่ง
บัณฑิตพึงชำระตนให้ผ่องแผ้ว
จากเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตทั้งหลาย
บัณฑิตเหล่าใดอบรมจิตโดยชอบ
ในองค์ธรรมเป็นเครื่องตรัสรู้ทั้งหลาย
ไม่ถือมั่น ยินดีในนิพพานเป็นที่สละความถือมั่น
บัณฑิตเหล่านั้นสิ้นอาสวะแล้ว
มีความรุ่งเรือง ดับสนิทแล้วในโลก”๕

ปารังคมสูตรที่ ๔ จบ

๕. ปฐมสามัญญสูตร
ว่าด้วยความเป็นสมณะ สูตรที่ ๑

[๓๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสามัญญะ (ความเป็นสมณะ) และสามัญญผล (ผล
แห่งความเป็นสมณะ) แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๔. ปฏิปัตติวรรค ๖. ทุติยสามัญญสูตร

สามัญญะ เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้เรียกว่า สามัญญะ
สามัญญผล เป็นอย่างไร
คือ โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตตผล
เหล่านี้เรียกว่า สามัญญผล”

ปฐมสามัญญสูตรที่ ๕ จบ

๖. ทุติยสามัญญสูตร
ว่าด้วยความเป็นสมณะ สูตรที่ ๒

[๓๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสามัญญะและประโยชน์แห่งสามัญญะ๑แก่เธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
สามัญญะ เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้เรียกว่า สามัญญะ
ประโยชน์แห่งสามัญญะ เป็นอย่างไร
คือ ธรรมเป็นที่สิ้นราคะ โทสะ และโมหะ
นี้เรียกว่า ประโยชน์แห่งสามัญญะ”

ทุติยสามัญญสูตรที่ ๖ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๔. ปฏิปัตติวรรค ๘. ทุติยพรหมัญญสูตร

๗. ปฐมพรหมัญญสูตร
ว่าด้วยความเป็นพรหม สูตรที่ ๑

[๓๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงพรหมัญญะ (ความเป็นพรหม) และพรหมัญญ-
ผล๑ (ผลแห่งความเป็นพรหม) แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
พรหมัญญะ เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้เรียกว่า พรหมัญญะ
พรหมัญญผล เป็นอย่างไร
คือ โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตตผล
เหล่านี้เรียกว่า พรหมัญญผล”

ปฐมพรหมัญญสูตรที่ ๗ จบ

๘. ทุติยพรหมัญญสูตร
ว่าด้วยความเป็นพรหม สูตรที่ ๒

[๓๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงพรหมัญญะและประโยชน์แห่งพรหมัญญะแก่เธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
พรหมัญญะ เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้เรียกว่า พรหมัญญะ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๔. ปฏิปัตติวรรค ๑๐. ทุติยพรหมจริยสูตร

ประโยชน์แห่งพรหมัญญะ เป็นอย่างไร
คือ ธรรมเป็นที่สิ้นราคะ โทสะ และโมหะ
นี้เรียกว่า ประโยชน์แห่งพรหมัญญะ”

ทุติยพรหมัญญสูตรที่ ๘ จบ

๙. ปฐมพรหมจริยสูตร
ว่าด้วยพรหมจรรย์ สูตรที่ ๑

[๓๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงพรหมจรรย์และผลแห่งพรหมจรรย์แก่เธอทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงฟัง
พรหมจรรย์ เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้เรียกว่า พรหมจรรย์
ผลแห่งพรหมจรรย์ เป็นอย่างไร
คือ โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตตผล
เหล่านี้เรียกว่า ผลแห่งพรหมจรรย์”

ปฐมพรหมจริยสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ทุติยพรหมจริยสูตร
ว่าด้วยพรหมจรรย์ สูตรที่ ๒

[๔๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงพรหมจรรย์และประโยชน์แห่งพรหมจรรย์แก่เธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๔. ปฏิปัตติวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

พรหมจรรย์ เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้เรียกว่า พรหมจรรย์
ประโยชน์แห่งพรหมจรรย์ เป็นอย่างไร
คือ ธรรมเป็นที่สิ้นราคะ โทสะ และโมหะ
นี้เรียกว่า ประโยชน์แห่งพรหมจรรย์”

ทุติยพรหมจริยสูตรที่ ๑๐ จบ
ปฏิปัตติวรรคที่ ๔ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมปฏิปัตติสูตร ๒. ทุติยปฏิปัตติสูตร
๓. วิรัทธสูตร ๔. ปารังคมสูตร
๕. ปฐมสามัญญสูตร ๖. ทุติยสามัญญสูตร
๗. ปฐมพรหมัญญสูตร ๘. ทุติยพรหมัญญสูตร
๙. ปฐมพรหมจริยสูตร ๑๐. ทุติยพรหมจริยสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๕. อัญญติตถิยเปยยาลวรรค ๑. ราควิราคสูตร

๕. อัญญติตถิยเปยยาลวรรค
หมวดว่าด้วยอัญญติตถิยเปยยาล
๑. ราควิราคสูตร
ว่าด้วยมรรคและปฏิปทาเพื่อสำรอกราคะ

[๔๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกอัญเดียรถีย์๑ปริพาชกพึงถาม
เธอทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใน
พระสมณโคดมเพื่อต้องการอะไร’ เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้ พึงตอบอัญเดียรถีย์-
ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย เราทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใน
พระผู้มีพระภาคเพื่อสำรอกราคะ’
อนึ่ง ถ้าพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก พึงถามเธอทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ
ทั้งหลาย มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อสำรอกราคะอยู่หรือ’ เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้
พึงตอบอัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย มีมรรค มีปฏิปทา
เพื่อสำรอกราคะอยู่’
มรรค เป็นอย่างไร ปฏิปทาเพื่อสำรอกราคะ เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้คือมรรค นี้คือปฏิปทาเพื่อสำรอกราคะ
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้ พึงตอบอัญเดียรถีย์ปริพาชก
เหล่านั้นอย่างนี้”

ราควิราคสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๕. อัญญติตถิยเปยยาลวรรค ๒-๗. สังโยชนัปปหานาทิสุตตฉักกะ

๒-๗. สังโยชนัปปหานาทิสุตตฉักกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๖ สูตร มีสังโยชนปหานสูตรเป็นต้น

[๔๒-๔๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกพึงถามเธอทั้งหลายอย่างนี้ว่า
‘ผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระสมณโคดมเพื่อ
ต้องการอะไร’ เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้ พึงตอบอัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น
อย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย เราทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค
เพื่อละสังโยชน์๑ ฯลฯ
‘ท่านทั้งหลาย เราทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อ
ถอนอนุสัย๒ ฯลฯ
‘ท่านทั้งหลาย เราทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อ
กำหนด รู้อัทธานะ (ทางไกล) ฯลฯ
‘ท่านทั้งหลาย เราทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อ
ความสิ้นอาสวะ๓ ฯลฯ
‘ท่านทั้งหลาย เราทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อทำ
ให้แจ้งผลแห่งวิชชาและวิมุตติ๔ ฯลฯ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๕. อัญญติตถิยเปยยาลวรรค ๘. อนุปาทาปรินิพพานสูตร

‘ท่านทั้งหลาย เราทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อ
ญาณทัสสนะ๑ ฯลฯ

สังโยชนัปปหานาทิสุตตฉักกะที่ ๒-๗ จบ

๘. อนุปาทาปรินิพพานสูตร
ว่าด้วยมรรคและปฏิปทาเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน

[๔๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกพึงถาม
เธอทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใน
พระสมณโคดมเพื่อต้องการอะไร’ เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้พึงตอบอัญเดียรถีย์-
ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย เราทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใน
พระผู้มีพระภาคเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน (ความดับไม่มีเชื้อ)’
อนึ่ง ถ้าพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก พึงถามเธอทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ
ทั้งหลาย มีมรรค มีปฏิปทาเพื่ออนุปาทาปรินิพพานอยู่หรือ’
เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้ พึงตอบว่า ‘ท่านทั้งหลาย มีมรรค มีปฏิปทา
เพื่ออนุปาทาปรินิพพานอยู่’
มรรค เป็นอย่างไร ปฏิปทาเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้คือมรรค นี้คือปฏิปทาเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๕. อัญญติตถิยเปยยาลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้ พึงตอบอัญเดียรถีย์ปริพาชก
เหล่านั้นอย่างนี้”

อนุปาทาปรินิพพานสูตรที่ ๘ จบ
อัญญติตถิยเปยยาลวรรคที่ ๕ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ราควิราคสูตร ๒-๗. สังโยชนัปปหานาทิสุตตฉักกะ
๘. อนุปาทาปรินิพพานสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๖. สุริยเปยยาลวรรค ๑. กัลยาณมิตตสูตร

๖. สุริยเปยยาลวรรค
หมวดว่าด้วยสุริยเปยยาล
๑. กัลยาณมิตตสูตร
ว่าด้วยกัลยาณมิตร

[๔๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อดวงอาทิตย์กำลังจะอุทัย ย่อมมี
แสงอรุณขึ้นมาก่อน เป็นบุพนิมิต ฉันใด กัลยาณมิตตตา (ความเป็นผู้มีมิตรดี) ก็
เป็นตัวนำ เป็นบุพนิมิตเพื่อความเกิดขึ้นแห่งอริยมรรคมีองค์ ๘ ฉันนั้น
ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตร (มิตรดี) พึงหวังข้อนี้ได้ว่า ‘จักเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘
ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก’

ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตรเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตรเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรค
มีองค์ ๘ ให้มาก อย่างนี้แล”

กัลยาณมิตตสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๖. สุริยเปยยาลวรรค ๗. โยนิโสมนสิการสัมปทาสูตร

๒-๖. สีลสัมปทาทิสุตตปัญจกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๕ สูตร มีสีลสัมปทาสูตรเป็นต้น

[๕๐-๕๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อดวงอาทิตย์กำลังจะอุทัย ย่อมมีแสงอรุณขึ้นมาก่อน เป็น
บุพนิมิต ฉันใด สีลสัมปทา๑ ก็เป็นตัวนำ เป็นบุพนิมิตเพื่อความเกิดขึ้นแห่งอริยมรรค
มีองค์ ๘ ฉันนั้น
ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยศีลพึงหวังข้อนี้ได้ว่า ฯลฯ
ฉันทสัมปทา๒ ฯลฯ
อัตตสัมปทา๓ ฯลฯ
ทิฏฐิสัมปทา๔ ฯลฯ
อัปปมาทสัมปทา๕ ฯลฯ

สีลสัมปทาทิสุตตปัญจกะที่ ๒-๖ จบ

๗. โยนิโสมนสิการสัมปทาสูตร
ว่าด้วยโยนิโสมนสิการสัมปทา

[๕๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อดวงอาทิตย์กำลังจะอุทัย ย่อมมีแสงอรุณขึ้นมาก่อน เป็น
บุพนิมิต ฉันใด โยนิโสมนสิการสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยการมนสิการโดยแยบคาย)
ก็เป็นตัวนำ เป็นบุพนิมิตเพื่อความเกิดขึ้นแห่งอริยมรรคมีองค์ ๘ ฉันนั้น


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๖. สุริยเปยยาลวรรค ๘. กัลยาณมิตตสูตร

ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการพึงหวังข้อนี้ได้ว่า ‘จักเจริญอริยมรรคมีองค์
๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก’
ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรค
มีองค์ ๘ ให้มาก อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำ
อริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก อย่างนี้แล”

โยนิโสมนสิการสัมปทาสูตรที่ ๗ จบ

๘. กัลยาณมิตตสูตร
ว่าด้วยกัลยาณมิตร

[๕๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อดวงอาทิตย์กำลังจะอุทัย ย่อมมีแสงอรุณขึ้นมาก่อน เป็น
บุพนิมิต ฉันใด กัลยาณมิตตตาก็เป็นตัวนำ เป็นบุพนิมิตเพื่อความเกิดขึ้นแห่ง
อริยมรรคมีองค์ ๘ ฉันนั้น
ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตรพึงหวังข้อนี้ได้ว่า ‘จักเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริย-
มรรคมีองค์ ๘ ให้มาก’
ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตรเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๖. สุริยเปยยาลวรรค ๑๔. โยนิโสมนสิการสัมปทาสูตร

๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะ
เป็นที่สุด
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะ
เป็นที่สุด
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตรเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรค
มีองค์ ๘ ให้มาก อย่างนี้แล”

กัลยาณมิตตสูตรที่ ๘ จบ

๙-๑๓. สีลสัมปทาทิสุตตปัญจกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๕ สูตร มีสีลสัมปทาสูตรเป็นต้น

[๕๗-๖๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อดวงอาทิตย์กำลังจะอุทัย ย่อมมีแสงอรุณขึ้นมาก่อน เป็น
บุพนิมิต ฉันใด สีลสัมปทาก็เป็นตัวนำ เป็นบุพนิมิตเพื่อความเกิดขึ้นแห่งอริยมรรค
มีองค์ ๘ ฉันนั้น ฯลฯ
ฉันทสัมปทา ฯลฯ
อัตตสัมปทา ฯลฯ
ทิฏฐิสัมปทา ฯลฯ
อัปปมาทสัมปทา ฯลฯ”

สีลสัมปทาทิสุตตปัญจกะที่ ๙-๑๓ จบ

๑๔. โยนิโสมนสิการสัมปทาสูตร
ว่าด้วยโยนิโสมนสิการสัมปทา

[๖๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“... โยนิโสมนสิการสัมปทา ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๖. สุริยเปยยาลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการพึงหวังข้อนี้ได้ว่า ‘จักเจริญอริยมรรคมีองค์
๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก’
ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรค
มีองค์ ๘ ให้มาก อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะ
เป็นที่สุด
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะ
เป็นที่สุด
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำ
อริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก อย่างนี้แล”

โยนิโสมนสิการสัมปทาสูตรที่ ๑๔ จบ
สุริยเปยยาลวรรคที่ ๖ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. กัลยาณมิตตสูตร ๒-๖. สีลสัมปทาทิสุตตปัญจกะ
๗. โยนิโสมนสิการสัมปทาสูตร ๘. กัลยาณมิตตสูตร
๙-๑๓. สีลสัมปทาทิสุตตปัญจกะ ๑๔. โยนิโสมนสิการสัมปทาสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๗. เอกธัมมเปยยาลวรรค ๑. กัลยาณมิตตสูตร

๗. เอกธัมมเปยยาลวรรค
หมวดว่าด้วยเอกธัมมเปยยาล
๑. กัลยาณมิตตสูตร
ว่าด้วยกัลยาณมิตร

[๖๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันเป็นเอก๑ มีอุปการะมาก
เพื่อความเกิดขึ้นแห่งอริยมรรคมีองค์ ๘
ธรรมอันเป็นเอก คืออะไร
คือ กัลยาณมิตตตา
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตรพึงหวังข้อนี้ได้ว่า ‘จักเจริญอริยมรรคมี
องค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก’
ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตรเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตรเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรค
มีองค์ ๘ ให้มาก อย่างนี้แล”

กัลยาณมิตตสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๗. เอกธัมมเปยยาลวรรค ๗. โยนิโสมนสิการสัมปทาสูตร

๒-๖. สีลสัมปทาทิสุตตปัญจกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๕ สูตร มีสีลสัมปทาสูตรเป็นต้น

[๖๔-๖๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันเป็นเอก มีอุปการะมากเพื่อความเกิดขึ้นแห่งอริย-
มรรคมีองค์ ๘
ธรรมอันเป็นเอก คืออะไร
คือ สีลสัมปทา ฯลฯ
คือ ฉันทสัมปทา ฯลฯ
คือ อัตตสัมปทา ฯลฯ
คือ ทิฏฐิสัมปทา ฯลฯ
คือ อัปปมาทสัมปทา ฯลฯ

สีลสัมปทาทิสุตตปัญจกะที่ ๒-๖ จบ

๗. โยนิโสมนสิการสัมปทาสูตร
ว่าด้วยโยนิโสมนสิการสัมปทา

[๖๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ ... คือ โยนิโสมนสิการสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยการมนสิการโดย
แยบคาย)
ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการพึงหวังข้อนี้ได้ว่า ‘จักเจริญอริยมรรค
มีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก’
ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรค
มีองค์ ๘ ให้มาก อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๗. เอกธัมมเปยยาลวรรค ๘. กัลยาณมิตตสูตร

๘. เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำ
อริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก อย่างนี้แล”

โยนิโสมนสิการสัมปทาสูตรที่ ๗ จบ

๘. กัลยาณมิตตสูตร
ว่าด้วยกัลยาณมิตร

[๗๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันเป็นเอก มีอุปการะมากเพื่อความเกิดขึ้นแห่งอริยมรรค
มีองค์ ๘
ธรรมอันเป็นเอก คืออะไร
คือ กัลยาณมิตตตา
ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตรพึงหวังข้อนี้ได้ว่า ‘จักเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริย-
มรรคมีองค์ ๘ ให้มาก’
ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตรเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะ
เป็นที่สุด
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะ
เป็นที่สุด
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตรเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรค
มีองค์ ๘ ให้มาก อย่างนี้แล”

กัลยาณมิตตสูตรที่ ๘ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๗. เอกธัมมเปยยาลวรรค ๑๔. โยนิโสมนสิการสัมปทาสูตร

๙-๑๓. สีลสัมปทาทิสุตตปัญจกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๕ สูตร มีสีลสัมปทาสูตรเป็นต้น

[๗๑-๗๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันเป็นเอก มีอุปการะมากเพื่อความเกิดขึ้นแห่งอริยมรรค
มีองค์ ๘
ธรรมอันเป็นเอก คืออะไร
คือ สีลสัมปทา ฯลฯ
คือ ฉันทสัมปทา ฯลฯ
คือ อัตตสัมปทา ฯลฯ
คือ ทิฏฐิสัมปทา ฯลฯ
คือ อัปปมาทสัมปทา ฯลฯ

สีลสัมปทาทิสุตตปัญจกะที่ ๙-๑๓ จบ

๑๔. โยนิโสมนสิการสัมปทาสูตร
ว่าด้วยโยนิโสมนสิการสัมปทา

[๗๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“... คือ โยนิโสมนสิการสัมปทา
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการพึงหวังข้อนี้ได้ว่า ‘จักเจริญ
อริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก’
ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรค
มีองค์ ๘ ให้มาก อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะ
เป็นที่สุด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๗. เอกธัมมเปยยาลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘
ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก อย่างนี้แล”

โยนิโสมนสิการสัมปทาสูตรที่ ๑๔ จบ
เอกธัมมเปยยาลวรรคที่ ๗ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. กัลยาณมิตตสูตร ๒-๖. สีลสัมปทาทิสุตตปัญจกะ
๗. โยนิโสมนสิการสัมปทาสูตร ๘. กัลยาณมิตตสูตร
๙-๑๓. สีลสัมปทาทิสุตตปัญจกะ ๑๔. โยนิโสมนสิการสัมปทาสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๘. ทุติยเอกธัมมเปยยาลวรรค ๑. กัลยาณมิตตสูตร

๘. ทุติยเอกธัมมเปยยาลวรรค
หมวดว่าด้วยเอกธัมมเปยยาลที่ ๒
๑. กัลยาณมิตตสูตร
ว่าด้วยกัลยาณมิตร

[๗๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราไม่พิจารณาเห็นธรรมอื่นแม้
อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้อริยมรรคมีองค์ ๘ ที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น หรือเป็นเหตุให้
อริยมรรคมีองค์ ๘ ที่เกิดขึ้นแล้วถึงความเจริญเต็มที่ เหมือนกัลยาณมิตตตา
(ความเป็นผู้มีมิตรดี) นี้
ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตรพึงหวังข้อนี้ได้ว่า ‘จักเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริย-
มรรคมีองค์ ๘ ให้มาก’
ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตรเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตรเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมี
องค์ ๘ ให้มาก อย่างนี้แล”

กัลยาณมิตตสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๘. ทุติยเอกธัมมเปยยาลวรรค ๗. โยนิโสมนสิการสัมปทาสูตร

๒-๖. สีลสัมปทาทิสุตตปัญจกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๕ สูตร มีสีลสัมปทาสูตรเป็นต้น

[๗๘-๘๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เราไม่พิจารณาเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้อริย-
มรรคมีองค์ ๘ ที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น หรือเป็นเหตุให้อริยมรรคมีองค์ ๘ ที่เกิดขึ้น
แล้วถึงความเจริญเต็มที่ เหมือนสีลสัมปทานี้ ฯลฯ
เหมือนฉันทสัมปทานี้ ฯลฯ
เหมือนอัตตสัมปทานี้ ฯลฯ
เหมือนทิฏฐิสัมปทานี้ ฯลฯ
เหมือนอัปปมาทสัมปทานี้ ฯลฯ”

สีลสัมปทาทิสุตตปัญจกะที่ ๒-๖ จบ

๗. โยนิโสมนสิการสัมปทาสูตร
ว่าด้วยโยนิโสมนสิการสัมปทา

[๘๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“... เหมือนโยนิโสมนสิการสัมปทานี้
ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการพึงหวังข้อนี้ได้ว่า ‘จักเจริญอริยมรรคมีองค์
๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก’
ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรค
มีองค์ ๘ ให้มาก อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๘. ทุติยเอกธัมมเปยยาลวรรค ๘. กัลยาณมิตตสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘
ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก อย่างนี้แล”

โยนิโสมนสิการสัมปทาสูตรที่ ๗ จบ

๘. กัลยาณมิตตสูตร
ว่าด้วยกัลยาณมิตร

[๘๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เราไม่พิจารณาเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้อริยมรรค
มีองค์ ๘ ที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น หรือเป็นเหตุให้อริยมรรคมีองค์ ๘ ที่เกิดขึ้นแล้วถึง
ความเจริญเต็มที่ เหมือนกัลยาณมิตตตานี้
ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตรพึงหวังข้อนี้ได้ว่า ‘จักเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริย-
มรรคมีองค์ ๘ ให้มาก’
ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตรเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะ
เป็นที่สุด
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะ
เป็นที่สุด
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตรเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมี
องค์ ๘ ให้มาก อย่างนี้แล”

กัลยาณมิตตสูตรที่ ๘ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๘. ทุติยเอกธัมมเปยยาลวรรค ๑๔. โยนิโสมนสิการสัมปทาสูตร

๙-๑๓. สีลสัมปทาทิสุตตปัญจกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๕ สูตร มีสีลสัมปทาสูตรเป็นต้น

[๘๕-๘๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เราไม่พิจารณาเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้อริยมรรค
มีองค์ ๘ ที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น หรือเป็นเหตุให้อริยมรรคมีองค์ ๘ ที่เกิดขึ้นแล้วถึง
ความเจริญเต็มที่ เหมือนสีลสัมปทานี้ ฯลฯ
เหมือนฉันทสัมปทานี้ ฯลฯ
เหมือนอัตตสัมปทานี้ ฯลฯ
เหมือนทิฏฐิสัมปทานี้ ฯลฯ
เหมือนอัปปมาทสัมปทานี้ ฯลฯ

สีลสัมปทาทิสุตตปัญจกะที่ ๙-๑๓ จบ

๑๔. โยนิโสมนสิการสัมปทาสูตร
ว่าด้วยโยนิโสมนสิการสัมปทา

[๙๐] “... เหมือนโยนิโสมนสิการสัมปทานี้
ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการพึงหวังข้อนี้ได้ว่า ‘จักเจริญอริยมรรคมี
องค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก’
ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการ เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรค
มีองค์ ๘ ให้มาก อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะ
เป็นที่สุด
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะ
เป็นที่สุด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๘. ทุติยเอกธัมมเปยยาลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘
ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก อย่างนี้แล”

โยนิโสมนสิการสัมปทาสูตรที่ ๑๔ จบ
ทุติยเอกธัมมเปยยาลวรรคที่ ๘ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. กัลยาณมิตตสูตร ๒-๖. สีลสัมปทาทิสุตตปัญจกะ
๗. โยนิโสมนสิการสัมปทาสูตร ๘. กัลยาณมิตตสูตร
๙-๑๓. สีลสัมปทาทิสุตตปัญจกะ ๑๔. โยนิโสมนสิการสัมปทาสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๙. คังคาเปยยาลวรรค ๒-๕. ทุติยาทิปาจีนนินนสุตตจตุกกะ

๙. คังคาเปยยาลวรรค
หมวดว่าด้วยคังคาเปยยาล
๑. ปฐมปาจีนนินนสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยแม่น้ำไหลไปสู่ทิศปราจีน สูตรที่ ๑

[๙๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไป
สู่ทิศปราจีน หลากไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเจริญ
อริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่
นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน
ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘
ให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างนี้แล”

ปฐมปาจีนนินนสูตรที่ ๑ จบ

๒-๕. ทุติยาทิปาจีนนินนสุตตจตุกกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๔ สูตร มีทุติยปาจีนนินนสูตรเป็นต้น

[๙๒-๙๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำยมุนาไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน หลากไป
สู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๙. คังคาเปยยาลวรรค ๖. ฉัฎฐปาจีนนินนสูตร

ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำอจิรวดีไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน หลากไป
สู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำสรภูไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน หลากไปสู่
ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำมหีไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน หลากไปสู่ทิศ
ปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

ทุติยาทิปาจีนนินนสุตตจตุกกะที่ ๒-๕ จบ

๖. ฉัฏฐปาจีนนินนสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยแม่น้ำไหลไปสู่ทิศปราจีน สูตรที่ ๖

[๙๖] “ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำใหญ่เหล่านี้ คือ แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนา
แม่น้ำอจิรวดี แม่น้ำสรภู แม่น้ำมหี ทั้งหมดไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน
หลากไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘
ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่
นิพพาน
ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘
ให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างนี้แล”

ฉัฏฐปาจีนนินนสูตรที่ ๖ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๙. คังคาเปยยาลวรรค ๘-๑๒. ทุติยาทิสมุททนินนสุตตปัญจกะ

๗. ปฐมสมุททนินนสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยแม่น้ำไหลไปสู่สมุทร สูตรที่ ๑

[๙๗] “ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร หลากไปสู่
สมุทร แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรค
มีองค์ ๘ ให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน
ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘
ให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างนี้แล”

ปฐมสมุททนินนสูตรที่ ๗ จบ

๘-๑๒. ทุติยาทิสมุททนินนสุตตปัญจกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๕ สูตร มีทุติยสมุททนินนสูตรเป็นต้น

[๙๘-๑๐๒] “ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำยมุนาไหลไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร หลาก
ไปสู่สมุทร แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำอจิรวดีไหลไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร หลากไปสู่สมุทร
แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำสรภูไหลไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร หลากไปสู่สมุทร
แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำมหีไหลไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร หลากไปสู่สมุทร
แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๙. คังคาเปยยาลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำใหญ่เหล่านี้ คือ แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนา แม่น้ำอจิรวดี
แม่น้ำสรภู แม่น้ำมหี ทั้งหมดไหลไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร หลากไปสู่สมุทร
แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘
ให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน
ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘
ให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างนี้แล”

ทุติยาทิสมุททนินนสุตตปัญจกะที่ ๘-๑๒ จบ

คังคาเปยยาลวาร ท่านเขียนไว้โดยย่อ พึงให้พิสดารในเปยยาล

คังคาเปยยาลวรรคที่ ๙ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมปาจีนนินนสูตร ๒-๕. ทุติยาทิปาจีนนินนสุตตจตุกกะ
๖. ฉัฏฐปาจีนนินนสูตร ๗. ปฐมสมุททนินนสูตร
๘-๑๒. ทุติยาทิสมุททนินนสุตตปัญจกะ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๐. ทุติยคังคาเปยยาลวรรค ๒-๖. ทุติยาทิปาจีนนินนสุตตปัญจกะ

๑๐. ทุติยคังคาเปยยาลวรรค
หมวดว่าด้วยคังคาเปยยาลที่ ๒
๑. ปฐมปาจีนนินนสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยแม่น้ำไหลไปสู่ทิศปราจีน สูตรที่ ๑

[๑๐๓] “ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน
หลากไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเจริญอริยมรรคมี
องค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน
โอนไปสู่นิพพาน
ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะ
เป็นที่สุด
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะ
เป็นที่สุด
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างนี้แล”

ปฐมปาจีนนินนสูตรที่ ๑ จบ

๒-๖. ทุติยาทิปาจีนนินนสุตตปัญจกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๕ สูตร มีทุติยปาจีนนินนสูตรเป็นต้น

[๑๐๔-๑๐๘] “ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำยมุนาไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศ
ปราจีน หลากไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๐. ทุติยคังคาเปยยาลวรรค ๗. ปฐมสมุททนินนสูตร

ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำอจิรวดีไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน หลากไป
สู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำสรภูไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน หลากไปสู่
ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำมหีไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน หลากไปสู่
ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำใหญ่เหล่านี้ คือ แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนา แม่น้ำอจิรวดี
แม่น้ำสรภู แม่น้ำมหี ทั้งหมดไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน หลากไปสู่
ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

ทุติยาทิปาจีนนินนสุตตปัญจกะที่ ๒-๖ จบ

๗. ปฐมสมุททนินนสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยแม่น้ำไหลไปสู่สมุทร สูตรที่ ๑

[๑๐๙] “ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร หลากไป
สู่สมุทร แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำ
อริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน
ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะ
เป็นที่สุด
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะ
เป็นที่สุด
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘
ให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างนี้แล”

ปฐมสมุททนินนสูตรที่ ๗ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๐. ทุติยคังคาเปยยาลวรรค ๘-๑๒. ทุติยาทิสมุททนินนสุตตปัญจกะ

๘-๑๒. ทุติยาทิสมุททนินนสุตตปัญจกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๕ สูตร มีทุติยสมุททนินนสูตรเป็นต้น

[๑๑๐-๑๑๔] “ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำยมุนาไหลไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร
หลากไปสู่สมุทร แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำอจิรวดีไหลไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร หลากไปสู่สมุทร
แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำสรภูไหลไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร หลากไปสู่สมุทร
แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำมหีไหลไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร หลากไปสู่สมุทร
แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำใหญ่เหล่านี้ คือ แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนา แม่น้ำอจิรวดี
แม่น้ำสรภู แม่น้ำมหี ทั้งหมดไหลไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร หลากไปสู่สมุทร
แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรค
มีองค์ ๘ ให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน
ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะ
เป็นที่สุด
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะ
เป็นที่สุด
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘
ให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างนี้แล”

ทุติยาทิสมุททนินนสุตตปัญจกะที่ ๘-๑๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๐. ทุติยคังคาเปยยาลวรรค ๑๔-๑๘. ทุติยาทิปาจีนนินนสุตตปัญจกะ

(หมวดที่ ๒ ว่าด้วยธรรมเป็นที่กำจัดราคะมี ๑๒ สูตร คือ
๖ สูตรแรก ว่าด้วยอุปมาด้วยแม่น้ำไหลไปสู่ทิศปราจีน
๖ สูตรหลัง ว่าด้วยอุปมาด้วยแม่น้ำไหลไปสู่สมุทร)

๑๓. ปฐมปาจีนนินนสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยแม่น้ำไหลไปสู่ทิศปราจีน สูตรที่ ๑

[๑๑๕] “ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน
หลากไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเจริญอริยมรรค
มีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน
โอนไปสู่นิพพาน
ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะ
เป็นที่สุด
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะ
เป็นที่สุด
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘
ให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างนี้แล”

ปฐมปาจีนนินนสูตรที่ ๑๓ จบ

๑๔-๑๘. ทุติยาทิปาจีนนินนสุตตปัญจกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๕ สูตร มีทุติยปาจีนนินนสูตรเป็นต้น

[๑๑๖-๑๒๐] “ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำยมุนาไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศ
ปราจีน หลากไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๐. ทุติยคังคาเปยยาลวรรค ๑๙. ปฐมสมุททนินนสูตร

ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำอจิรวดีไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน หลากไป
สู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำสรภูไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน หลากไปสู่
ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำมหีไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน หลากไปสู่ทิศ
ปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำใหญ่เหล่านี้ คือ แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนา แม่น้ำอจิรวดี
แม่น้ำสรภู แม่น้ำมหี ทั้งหมดไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน หลากไปสู่
ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

ทุติยาทิปาจีนนินนสุตตปัญจกะที่ ๑๔-๑๘ จบ

๑๙. ปฐมสมุททนินนสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยแม่น้ำไหลไปสู่สมุทร สูตรที่ ๑

[๑๒๑] “ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร หลากไปสู่
สมุทร แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรค
มีองค์ ๘ ให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน
ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะ
เป็นที่สุด
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะ
เป็นที่สุด
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘
ให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างนี้แล”

ปฐมสมุททนินนสูตรที่ ๑๙ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๐. ทุติยคังคาเปยยาลวรรค ๒๐-๒๔. ทุติยาทิสมุททนินนสุตตปัญจกะ

๒๐-๒๔. ทุติยาทิสมุททนินนสุตตปัญจกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๕ สูตร มีทุติยสมุททนินนสูตรเป็นต้น

[๑๒๒-๑๒๖] “ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำยมุนาไหลไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร
หลากไปสู่สมุทร แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำอจิรวดีไหลไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร หลากไปสู่สมุทร
แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำสรภูไหลไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร หลากไปสู่สมุทร
แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำมหีไหลไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร หลากไปสู่สมุทร
แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำใหญ่เหล่านี้ คือ แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนา แม่น้ำอจิรวดี
แม่น้ำสรภู แม่น้ำมหี ทั้งหมดไหลไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร หลากไปสู่สมุทร
แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘
ให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน
ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะ
เป็นที่สุด
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะ
เป็นที่สุด
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘
ให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างนี้แล”

ทุติยาทิสมุททนินนสุตตปัญจกะที่ ๒๐-๒๔ จบ
(หมวดที่ ๓ ว่าด้วยธรรมอันหยั่งลงสู่อมตะมี ๑๒ สูตร)


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๐. ทุติยคังคาเปยยาลวรรค ๒๖-๓๐. ทุติยาทิปาจีนนินนสุตตปัญจกะ

๒๕. ปฐมปาจีนนินนสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยแม่น้ำไหลไปสู่ทิศปราจีน สูตรที่ ๑

[๑๒๗] “ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน
หลากไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเจริญอริยมรรค
มีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน
โอนไปสู่นิพพาน
ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่
นิพพาน
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่
นิพพาน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘
ให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างนี้แล”

ปฐมปาจีนนินนสูตรที่ ๒๕ จบ

๒๖-๓๐. ทุติยาทิปาจีนนินนสุตตปัญจกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๕ สูตร มีทุติยปาจีนนินนสูตรเป็นต้น

[๑๒๘-๑๓๒] “ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำยมุนาไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศ
ปราจีน หลากไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำอจิรวดีไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน หลากไป
สู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำสรภูไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน หลากไป
สู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๐. ทุติยคังคาเปยยาลวรรค ๓๑. ปฐมสมุททนินนสูตร

ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำมหีไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน หลากไป
สู่ทิศไปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำใหญ่เหล่านี้ คือ แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนา แม่น้ำอจิรวดี
แม่น้ำสรภู แม่น้ำมหี ทั้งหมดไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน หลากไปสู่ทิศ
ปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริย-
มรรคมีองค์ ๘ ให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน
ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่
นิพพาน
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่
นิพพาน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘
ให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างนี้แล”

ทุติยาทิปาจีนนินนสุตตปัญจกะที่ ๒๖-๓๐ จบ

๓๑. ปฐมสมุททนินนสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยแม่น้ำไหลไปสู่สมุทร สูตรที่ ๑

[๑๓๓] “ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร หลากไปสู่
สมุทร แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรค
มีองค์ ๘ ให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน
ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๐. ทุติยคังคาเปยยาลวรรค ๓๒-๓๖. ทุติยาทิสมุททนินนสุตตปัญจกะ

คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่
นิพพาน
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่
นิพพาน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘
ให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างนี้แล”

ปฐมสมุททนินนสูตรที่ ๓๑ จบ

๓๒-๓๖. ทุติยาทิสมุททนินนสุตตปัญจกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๕ สูตร มีทุติยสมุททนินนสูตรเป็นต้น

[๑๓๔-๑๓๘] “ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำยมุนาไหลไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร
หลากไปสู่สมุทร แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำอจิรวดีไหลไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร หลากไปสู่สมุทร
แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำสรภูไหลไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร หลากไปสู่สมุทร
แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำมหีไหลไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร หลากไปสู่สมุทร
แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำใหญ่เหล่านี้ คือ แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนา แม่น้ำอจิรวดี
แม่น้ำสรภู แม่น้ำมหี ทั้งหมดไหลไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร หลากไปสู่สมุทร
แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรค
มีองค์ ๘ ให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน
ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๐. ทุติยคังคาเปยยาลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่
นิพพาน
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่
นิพพาน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างนี้แล”

ทุติยาทิสมุททนินนสุตตปัญจกะที่ ๓๒-๓๖ จบ
ทุติยคังคาเปยยาลวรรคที่ ๑๐ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมปาจีนนินนสูตร ๒-๖. ทุติยาทิปาจีนนินนสุตตปัญจกะ
๗. ปฐมสมุททนินนสูตร ๘-๑๒. ทุติยาทิสมุททนินนสุตตปัญจกะ
๑๓. ปฐมปาจีนนินนสูตร ๑๔-๑๘. ทุติยาทิปาจีนนินนสุตตปัญจกะ
๑๙. ปฐมสมุททนินนสูตร ๒๐-๒๔. ทุติยาทิสมุททนินนสุตตปัญจกะ
๒๕. ปฐมปาจีนนินนสูตร ๒๖-๓๐. ทุติยาทิปาจีนนินนสุตตปัญจกะ
๓๑. ปฐมสมุททนินนสูตร ๓๒-๓๖. ทุติยาทิสมุททนินนสุตตปัญจกะ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๑. อัปปมาทวรรค ๑. ตถาคตสูตร

๑๑. อัปปมาทวรรค
หมวดว่าด้วยความไม่ประมาท
๑. ตถาคตสูตร
ว่าด้วยพระตถาคตเป็นเลิศ

[๑๓๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายไม่มีเท้า มีสองเท้า มี
สี่เท้า หรือมีเท้ามากก็ตาม มีรูป หรือไม่มีรูปก็ตาม มีสัญญา ไม่มีสัญญา หรือ
มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ก็ตาม มีประมาณเท่าใด ตถาคตอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้าบัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าสัตว์มีประมาณเท่านั้น ฉันใด กุศลธรรม
ทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีความไม่ประมาทเป็นมูล รวมลงในความไม่ประมาท
ความไม่ประมาทบัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่ากุศลธรรมเหล่านั้น๑
ภิกษุผู้ไม่ประมาทพึงหวังข้อนี้ได้ว่า ‘จักเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรค
มีองค์ ๘ ให้มาก’
ภิกษุผู้ไม่ประมาทเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ภิกษุผู้ไม่ประมาทเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
อย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายไม่มีเท้า มีสองเท้า มีสี่เท้า หรือมีเท้ามากก็ตาม
มีรูป หรือไม่มีรูปก็ตาม มีสัญญา ไม่มีสัญญา หรือมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๑. อัปปมาทวรรค ๑. ตถาคตสูตร

ไม่ใช่ก็ตาม มีประมาณเท่าใด ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าบัณฑิตกล่าวว่า
เลิศกว่าสัตว์มีประมาณเท่านั้น ฉันใด กุศลธรรมทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน มี
ความไม่ประมาทเป็นมูล รวมลงในความไม่ประมาท ความไม่ประมาทบัณฑิตกล่าว
ว่าเลิศกว่ากุศลธรรมเหล่านั้น
ภิกษุผู้ไม่ประมาทพึงหวังข้อนี้ได้ว่า ‘จักเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริมรรค
มีองค์ ๘ ให้มาก’
ภิกษุผู้ไม่ประมาทเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะ
เป็นที่สุด
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะ
เป็นที่สุด
ภิกษุผู้ไม่ประมาทเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
อย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายไม่มีเท้า มีสองเท้า มีสี่เท้า หรือมีเท้ามากก็ตาม
มีรูป หรือไม่มีรูปก็ตาม มีสัญญา ไม่มีสัญญา หรือมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็
ไม่ใช่ก็ตาม มีประมาณเท่าใด ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าบัณฑิตกล่าวว่า
เลิศกว่าสัตว์มีประมาณเท่านั้น ฉันใด กุศลธรรมทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน มี
ความไม่ประมาทเป็นมูล รวมลงในความไม่ประมาท ความไม่ประมาทบัณฑิตกล่าว
ว่าเลิศกว่ากุศลธรรมเหล่านั้น
ภิกษุผู้ไม่ประมาทพึงหวังข้อนี้ได้ว่า ‘จักเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรค
มีองค์ ๘ ให้มาก’
ภิกษุผู้ไม่ประมาทเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
อย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๑. อัปปมาทวรรค ๑. ตถาคตสูตร

คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะ
เป็นที่สุด
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะ
เป็นที่สุด
ภิกษุผู้ไม่ประมาทเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
อย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายมีสองเท้า มีสี่เท้า หรือมีเท้ามากก็ตาม มีรูป
หรือไม่มีรูปก็ตาม มีสัญญา ไม่มีสัญญา หรือมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่
ก็ตาม มีประมาณเท่าใด ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าบัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่า
สัตว์มีประมาณเท่านั้น ฉันใด กุศลธรรมทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีความไม่
ประมาทเป็นมูล รวมลงในความไม่ประมาท ความไม่ประมาทบัณฑิตกล่าวว่า
เลิศกว่ากุศลธรรมเหล่านั้น
ภิกษุผู้ไม่ประมาทพึงหวังข้อนี้ได้ว่า ‘จักเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรค
มีองค์ ๘ ให้มาก’
ภิกษุผู้ไม่ประมาทเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่
นิพพาน
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่
นิพพาน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่ประมาทเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมี
องค์ ๘ ให้มาก อย่างนี้แล”

ตถาคตสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๑. อัปปมาทวรรค ๓-๗. กูฏาทิสุตตปัญจกะ

๒. ปทสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยรอยเท้าสัตว์

[๑๔๐] “ภิกษุทั้งหลาย รอยเท้าของสัตว์ที่เที่ยวไปบนแผ่นดินทั้งหมดรวมลง
ในรอยเท้าช้าง รอยเท้าช้างชาวโลกกล่าวว่าเลิศกว่ารอยเท้าเหล่านั้น เพราะเป็นรอย
ใหญ่ แม้ฉันใด กุศลธรรมทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีความไม่ประมาทเป็นมูล
รวม ลงในความไม่ประมาท ความไม่ประมาทบัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่ากุศลธรรมเหล่านั้น๑
ภิกษุผู้ไม่ประมาทพึงหวังข้อนี้ได้ว่า ‘จักเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรค
มีองค์ ๘ ให้มาก’
ภิกษุผู้ไม่ประมาทเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่ประมาทเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์
๘ ให้มาก อย่างนี้แล”

ปทสูตรที่ ๒ จบ

๓-๗. กูฏาทิสุตตปัญจกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๕ สูตร มีกูฏสูตรเป็นต้น

[๑๔๑-๑๔๕] “ภิกษุทั้งหลาย กลอนของเรือนยอดทั้งหมดทอดไปถึงยอด
รวมลงที่ยอด ยอดเรือนชาวโลกกล่าวว่าเลิศกว่ากลอนเหล่านั้นทั้งหมด แม้ฉันใด
กุศลธรรมทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ (พึงเพิ่มข้อความให้พิสดารเหมือนสูตรต้น)


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๑. อัปปมาทวรรค ๘-๑๐. จันทิมาทิสุตตติกะ

กลิ่นหอมที่เกิดจากรากชนิดใดชนิดหนึ่ง กฤษณาชาวโลกกล่าวว่าเลิศกว่ากลิ่น
หอมที่เกิดจากรากเหล่านั้น แม้ฉันใด กุศลธรรมทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
กลิ่นหอมที่เกิดจากแก่นชนิดใดชนิดหนึ่ง จันทน์แดงชาวโลกกล่าวว่าเลิศกว่า
กลิ่นที่เกิดจากแก่นเหล่านั้น แม้ฉันใด กุศลธรรมทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
กลิ่นหอมที่เกิดจากดอกชนิดใดชนิดหนึ่ง ดอกมะลิชาวโลกกล่าวว่าเลิศกว่ากลิ่น
ที่เกิดจากดอกเหล่านั้น แม้ฉันใด กุศลธรรมทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
พระราชาผู้มีอำนาจน้อยทั้งหมดย่อมคล้อยตามพระเจ้าจักรพรรดิ พระเจ้า
จักรพรรดิชาวโลกกล่าวว่าเลิศกว่าพระราชาผู้มีอำนาจน้อยเหล่านั้น แม้ฉันใด
กุศลธรรมทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ๑

กูฏาทิสุตตปัญจกะที่ ๓-๗ จบ

๘-๑๐. จันทิมาทิสุตตติกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๓ สูตร มีจันทิมสูตรเป็นต้น

[๑๔๖-๑๔๘] “ภิกษุทั้งหลาย แสงสว่างของดวงดาวทั้งหมดย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่
๑๖ แห่งแสงสว่างของดวงจันทร์ แสงสว่างของดวงจันทร์ชาวโลกกล่าวว่าเลิศกว่า
แสงสว่างของดวงดาวเหล่านั้น แม้ฉันใด กุศลธรรมทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
ในสารทฤดู เมื่อฝนขาดหาย ปราศจากเมฆ ดวงอาทิตย์อุทัยขึ้นสู่ท้องฟ้า
กำจัดความมืดที่มีอยู่ในอากาศทั้งหมดย่อมส่องแสง แผดแสงจ้า และแจ่มกระจ่าง
แม้ฉันใด กุศลธรรมทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ๒
ผ้าที่ทอด้วยด้ายชนิดใดชนิดหนึ่ง ผ้าแคว้นกาสีชาวโลกกล่าวว่าเลิศกว่าผ้า
เหล่านั้น แม้ฉันใด กุศลธรรมทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีความไม่ประมาทเป็นมูล
รวมลงในความไม่ประมาท ความไม่ประมาทบัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่ากุศลธรรม
เหล่านั้น


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๑. อัปปมาทวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่ประมาทพึงหวังข้อนี้ได้ว่า ‘จักเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘
ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก”

(พึงเพิ่มข้อความให้พิสดารเหมือนตถาคตสูตร)

จันทิมาทิสุตตติกะที่ ๘-๑๐ จบ
อัปปมาทวรรคที่ ๑๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ตถาคตสูตร ๒. ปทสูตร
๓. กูฏสูตร ๔. มูลสูตร
๕. สารสูตร ๖. วัสสิกสูตร
๗. ราชาสูตร ๘. จันทิมสูตร
๙. สุริยสูตร ๑๐. วัตถสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๒. พลกรณียวรรค ๑. พลสูตร

๑๒. พลกรณียวรรค
หมวดว่าด้วยการงานที่พึงทำด้วยกำลัง
๑. พลสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยกำลัง

[๑๔๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย การงานที่พึงทำด้วยกำลังทั้งหมด
บุคคลต้องอาศัยแผ่นดิน ดำรงอยู่บนแผ่นดินจึงทำได้ แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น
เหมือนกัน อาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีล๑แล้ว เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรค
มีองค์ ๘ ให้มาก
ภิกษุอาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรค
มีองค์ ๘ ให้มาก อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ภิกษุอาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมี
องค์ ๘ ให้มาก อย่างนี้แล

(พึงทราบความพิสดารสูตรที่บริบูรณ์ตามพรรณนาในคังคาเปยยาลข้างต้น)


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๒. พลกรณียวรรค ๑. พลสูตร

ภิกษุทั้งหลาย การงานที่พึงทำด้วยกำลังทั้งหมด บุคคลต้องอาศัยแผ่นดิน
ดำรงอยู่บนแผ่นดินจึงทำได้ แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน อาศัยศีล ดำรงอยู่
ในศีลแล้ว เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
ภิกษุอาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรค
มีองค์ ๘ ให้มาก อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะ
เป็นที่สุด
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะ
เป็นที่สุด
ภิกษุอาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมี
องค์ ๘ ให้มาก อย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย การงานที่พึงทำด้วยกำลังทั้งหมด บุคคลต้องอาศัยแผ่นดิน
ดำรงอยู่บนแผ่นดินจึงทำได้ แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน อาศัยศีล ดำรงอยู่
ในศีลแล้ว เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
ภิกษุอาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรค
มีองค์ ๘ ให้มาก อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะ
เป็นที่สุด
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะ
เป็นที่สุด
ภิกษุอาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมี
องค์ ๘ ให้มาก อย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๗๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๒. พลกรณียวรรค ๒. พีชสูตร

ภิกษุทั้งหลาย การงานที่พึงทำด้วยกำลังทั้งหมด บุคคลต้องอาศัยแผ่นดิน
ดำรงอยู่บนแผ่นดินจึงทำได้ แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน อาศัยศีล ดำรงอยู่
ในศีลแล้ว เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
ภิกษุอาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรค
มีองค์ ๘ ให้มาก อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่
นิพพาน
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่
นิพพาน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘
ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก อย่างนี้แล”

พลสูตรที่ ๑ จบ

๒. พีชสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยพืช

[๑๕๐] “ภิกษุทั้งหลาย พืชคาม๑ และภูตคาม๒ทั้งหมด ล้วนอาศัยแผ่นดิน
ดำรงอยู่บนแผ่นดิน จึงเจริญงอกงามเติบโตได้ ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อ
อาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีล เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย
ภิกษุเมื่ออาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีล เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรค
มีองค์ ๘ ให้มาก ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย อย่างไร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๒. พลกรณียวรรค ๓. นาคสูตร

คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่ออาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีล เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘
ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย
อย่างนี้แล”

พีชสูตรที่ ๒ จบ

๓. นาคสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยนาค

[๑๕๑] “ภิกษุทั้งหลาย พวกนาคอาศัยขุนเขาหิมพานต์ย่อมเติบโตมีกำลัง
เติบโตมีกำลังแล้วลงสู่หนอง ลงสู่หนองแล้วลงสู่บึง ลงสู่บึงแล้วลงสู่แม่น้ำน้อย
ลงสู่แม่น้ำน้อยแล้วลงสู่แม่น้ำใหญ่ ลงสู่แม่น้ำใหญ่แล้วลงสู่มหาสมุทรสาคร นาค
เหล่านั้นย่อมถึงความเจริญเติบโตทางกายในมหาสมุทรสาครนั้น แม้ฉันใด ภิกษุก็
ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่ออาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีล เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำ
อริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก ย่อมถึงความเป็นใหญ่ไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย
ภิกษุเมื่ออาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีล เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรค
มีองค์ ๘ ให้มาก ย่อมถึงความเป็นใหญ่ไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๒. พลกรณียวรรค ๔. รุกขสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่ออาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีล เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘
ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก ย่อมถึงความเป็นใหญ่ไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย อย่าง
นี้แล”

นาคสูตรที่ ๓ จบ

๔. รุกขสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยต้นไม้

[๑๕๒] “ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้ที่น้อมไปสู่ทิศปราจีน โน้มไป
สู่ทิศปราจีน โอนไปสู่ทิศปราจีน ต้นไม้นั้นถูกตัดโคนแล้วพึงล้มไปทางไหน”
“ล้มไปทางที่น้อมไป โน้มไป โอนไป พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุเมื่อเจริญ
อริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่
นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน
ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างนี้แล”

รุกขสูตรที่ ๔ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๒. พลกรณียวรรค ๖. สูกสูตร

๕. กุมภสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยหม้อ

[๑๕๓] “ภิกษุทั้งหลาย หม้อที่คว่ำ น้ำย่อมไหลออกอย่างเดียว ไม่ไหลเข้า
แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมี
องค์ ๘ ให้มาก ย่อมคายบาปอกุศลธรรมออกอย่างเดียว ไม่ให้กลับมา
ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก ย่อมคาย
บาปอกุศลธรรมออกอย่างเดียว ไม่ให้กลับมา อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
ย่อมคายบาปอกุศลธรรมออกอย่างเดียว ไม่ให้กลับมา อย่างนี้แล”

กุมภสูตรที่ ๕ จบ

๖. สูกสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยเดือย

[๑๕๔] “ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปได้ที่เดือยข้าวสาลีหรือเดือยข้าวเหนียวที่บุคคล
ตั้งไว้ตรงจักตำมือหรือเท้าที่ไปกระทบเข้าหรือทำให้เลือดออก ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะตั้งเดือยข้าวไว้ตรง แม้ฉันใด เป็นไปได้ที่ภิกษุรูปนั้นมีทิฏฐิที่ตั้งไว้ถูก มี
มรรคภาวนาที่ตั้งไว้ถูก จักทำลายอวิชชา ให้วิชชาเกิดขึ้น ทำนิพพานให้แจ้ง ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะตั้งทิฏฐิไว้ถูก ฉันนั้นเหมือนกัน
ภิกษุมีทิฏฐิที่ตั้งไว้ถูก มีมรรคภาวนาที่ตั้งไว้ถูก ย่อมทำลายอวิชชา ให้
วิชชาเกิดขึ้น ทำนิพพานให้แจ้ง อย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๒. พลกรณียวรรค ๘. ปฐมเมฆสูตร

คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีทิฏฐิที่ตั้งไว้ถูก มีมรรคภาวนาที่ตั้งไว้ถูก ย่อมทำลาย
อวิชชา ให้วิชชาเกิดขึ้น ทำนิพพานให้แจ้ง อย่างนี้แล”

สูกสูตรที่ ๖ จบ

๗. อากาสสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยอากาศ

[๑๕๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย ลมหลายชนิดพัดไปในอากาศ คือ ลมทางทิศตะวันออกพัดไป
บ้าง ลมทางทิศตะวันตกพัดไปบ้าง ลมทางทิศเหนือพัดไปบ้าง ลมทางทิศใต้พัดไป
บ้าง ลมมีฝุ่นพัดไปบ้าง ลมไม่มีฝุ่นพัดไปบ้าง ลมหนาวพัดไปบ้าง ลมร้อนพัดไปบ้าง
ลมอ่อนพัดไปบ้าง ลมแรงพัดไปบ้าง แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเจริญ
อริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก สติปัฏฐาน ๔ ประการถึงความเจริญ
เต็มที่บ้าง สัมมัปปธาน ๔ ประการถึงความเจริญเต็มที่บ้าง อิทธิบาท ๔ ประการถึง
ความเจริญเต็มที่บ้าง อินทรีย์ ๕ ประการถึงความเจริญเต็มที่บ้าง พละ ๕ ประการ
ถึงความเจริญเต็มที่บ้าง โพชฌงค์ ๗ ประการถึงความเจริญเต็มที่บ้าง
เมื่อภิกษุเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก สติปัฏฐาน
๔ ประการถึงความเจริญเต็มที่บ้าง สัมมัปปธาน ๔ ประการถึงความเจริญเต็มที่
บ้าง อิทธิบาท ๔ ประการถึงความเจริญเต็มที่บ้าง อินทรีย์ ๕ ประการถึง
ความเจริญเต็มที่บ้าง พละ ๕ ประการถึงความเจริญเต็มที่บ้าง โพชฌงค์ ๗
ประการถึงความเจริญเต็มที่บ้าง อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๒. พลกรณียวรรค ๘. ปฐมเมฆสูตร

๑. เจริญสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้
มาก สติปัฏฐาน ๔ ประการถึงความเจริญเต็มที่บ้าง สัมมัปปธาน ๔ ประการถึง
ความเจริญเต็มที่บ้าง อิทธิบาท ๔ ประการถึงความเจริญเต็มที่บ้าง อินทรีย์ ๕
ประการถึงความเจริญเต็มที่บ้าง พละ ๕ ประการถึงความเจริญเต็มที่บ้าง โพชฌงค์
๗ ประการถึงความเจริญเต็มที่บ้าง อย่างนี้แล”

อากาสสูตรที่ ๗ จบ

๘. ปฐมเมฆสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยเมฆฝน สูตรที่ ๑

[๑๕๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เมฆฝนก้อนใหญ่ที่เกิดนอกฤดูกาล พัดเอาฝุ่นละอองธุลี
ที่ตั้งขึ้นในเดือนท้ายฤดูร้อน๑ให้อันตรธานหายไปโดยฉับพลัน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น
เหมือนกัน เมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มากย่อมทำ
บาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๆ ให้อันตรธานสงบไปโดยฉับพลัน
ภิกษุเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มากย่อมทำบาป
อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๆ ให้อันตรธานสงบโดยฉับพลัน อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
ย่อมทำบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๆ ให้อันตรธานสงบไปโดยฉับพลัน อย่างนี้แล”

ปฐมเมฆสูตรที่ ๘ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๒. พลกรณียวรรค ๑๐. นาวาสูตร

๙. ทุติยเมฆสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยเมฆฝน สูตรที่ ๒

[๑๕๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย ลมมรสุมพัดเอาเมฆฝนก้อนใหญ่ที่เกิดขึ้นให้อันตรธานหายไป
ในระหว่าง แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำ
อริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มากย่อมทำบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๆ ให้อันตรธาน
สงบไปในระหว่าง
ภิกษุเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มากย่อมทำบาป
อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๆ ให้อันตรธานสงบไปในระหว่าง อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
ย่อมทำบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๆ ให้อันตรธานสงบไปในระหว่าง อย่างนี้แล”

ทุติยเมฆสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. นาวาสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยเรือ

[๑๕๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรือเดินสมุทรที่ผูกไว้ด้วยเครื่องผูกคือหวาย จอดอยู่ในน้ำ
๖ เดือน พอถึงฤดูหนาว เขาก็ยกขึ้นบก เครื่องผูกเหล่านั้นต้องลมและแดด ถูก
ฝนตกรดย่อมเปื่อยผุไปโดยง่ายดาย แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเจริญ
อริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก สังโยชน์ทั้งหลายย่อมสงบราบคาบ
ไปโดยง่ายดาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๘๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๒. พลกรณียวรรค ๑๑. อาคันตุกสูตร

เมื่อภิกษุเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก สังโยชน์
ทั้งหลายย่อมสงบราบคาบไปโดยง่ายดาย อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
สังโยชน์ทั้งหลายย่อมสงบราบคาบไปโดยง่ายดาย อย่างนี้แล”

นาวาสูตรที่ ๑๐ จบ

๑๑. อาคันตุกสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยอาคันตุกะ

[๑๕๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย มีเรือนพักคนเดินทาง๑อยู่หลังหนึ่ง คนทั้งหลายมาจากทิศ
ตะวันออกบ้าง มาจากทิศตะวันตกบ้าง มาจากทิศเหนือบ้าง มาจากทิศใต้บ้าง
เข้าพักในเรือนนั้น คือ กษัตริย์มาพักบ้าง พราหมณ์มาพักบ้าง แพศย์มาพักบ้าง
ศูทรมาพักบ้าง แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘
ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก กำหนดรู้ธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรกำหนดรู้ ฯลฯ
ละธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรละ ทำให้แจ้งธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรทำให้แจ้ง
เจริญธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรเจริญ
ธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรกำหนดรู้ เป็นอย่างไร
คือ ควรกล่าวได้ว่า ธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรกำหนดรู้นั้น ได้แก่ อุปาทาน-
ขันธ์ (กองอันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น) ๕ ประการ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๒. พลกรณียวรรค ๑๑. อาคันตุกสูตร

อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือรูป)
ฯลฯ
๕. วิญญาณูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ)
นี้คือ ธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรกำหนดรู้
ธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรละ เป็นอย่างไร
คือ อวิชชาและภวตัณหา
นี้คือ ธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรละ
ธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรทำให้แจ้ง เป็นอย่างไร
คือ วิชชาและวิมุตติ
นี้คือ ธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรทำให้แจ้ง
ธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรเจริญ เป็นอย่างไร
คือ สมถะและวิปัสสนา๑
นี้คือ ธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรเจริญ
ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก กำหนดรู้
ธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรกำหนดรู้ ฯลฯ เจริญธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรเจริญ
อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
กำหนดรู้ธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรกำหนดรู้ ละธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรละ ทำให้
แจ้งธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรทำให้แจ้ง เจริญธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรเจริญ
อย่างนี้แล”

อาคันตุกสูตรที่ ๑๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๒. พลกรณียวรรค ๑๒. นทีสูตร

๑๒. นทีสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยแม่น้ำ

[๑๖๐] “ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไป
สู่ทิศปราจีน หลากไปสู่ทิศปราจีน ถ้าหมู่มหาชนพากันถือเอาจอบและตะกร้ามา
ด้วยตั้งใจว่า ‘พวกเราจักช่วยกันทดแม่น้ำคงคานี้ให้ไหลไปข้างหลัง บ่าไปข้างหลัง
หลากไปข้างหลัง’ เธอทั้งหลายจักเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร หมู่มหาชนนั้นจะพึง
ทดแม่น้ำคงคาให้ไหลไปข้างหลัง บ่าไปข้างหลัง หลากไปข้างหลังได้หรือ”
“ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“เพราะแม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน หลากไปสู่ทิศ
ปราจีน พระพุทธเจ้าข้า ใคร ๆ จะทดแม่น้ำคงคานั้นให้ไหลไปข้างหลัง บ่าไปข้างหลัง
หลากไปข้างหลังมิใช่ทำได้ง่าย แต่หมู่มหาชนนั้นพึงมีส่วนแห่งความลำบาก
เหน็ดเหนื่อยแน่นอน”
“อุปมานี้แม้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน พระราชา มหาอำมาตย์ของ
พระราชา มิตร๑ อำมาตย์๒ ญาติ๓ สาโลหิต๔ก็ตาม พึงปวารณาภิกษุผู้เจริญ
อริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มากเพื่อให้ยินดียิ่งด้วยโภคทรัพย์
ทั้งหลายว่า ‘มาเถิดพระคุณเจ้าผู้เจริญ ผ้ากาสาวะเหล่านี้ทำให้ท่านเร่าร้อนมิใช่หรือ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๒. พลกรณียวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ท่านจะเป็นคนหัวโล้นเที่ยวถือกระเบื้องไปทำไม เชิญเถิด เชิญท่านกลับมาเป็น
คฤหัสถ์ใช้สอยโภคทรัพย์และทำบุญเถิด’
เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุนั้นผู้เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้
มาก จักบอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเป็นไปไม่ได้
เลยที่จิตนั้นอันน้อมไปในวิเวก โน้มไปในวิเวก โอนไปในวิเวกตลอดกาลนานแล้ว จักเวียน
มาเพื่อเป็นคฤหัสถ์
ภิกษุเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
อย่างนี้แล”

(พึงเพิ่มข้อความให้พิสดารเหมือนพลสูตรฉะนั้น)

นทีสูตรที่ ๑๒ จบ
พลกรณียวรรคที่ ๑๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. พลสูตร ๒. พีชสูตร
๓. นาคสูตร ๔. รุกขสูตร
๕. กุมภสูตร ๖. สูกสูตร
๗. อากาสสูตร ๘. ปฐมเมฆสูตร
๙. ทุติยเมฆสูตร ๑๐. นาวาสูตร
๑๑. อาคันตุกสูตร ๑๒. นทีสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๓. เอสนาวรรค ๑. เอสนาสูตร

๑๓. เอสนาวรรค
หมวดว่าด้วยการแสวงหา
๑. เอสนาสูตร
ว่าด้วยการแสวงหา

[๑๖๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓ ประการนี้
การแสวงหา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. การแสวงหากาม ๒. การแสวงหาภพ
๓. การแสวงหาพรหมจรรย์๑
การแสวงหา ๓ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่งการแสวงหาทั้ง ๓
ประการนี้

อริยมรรคมีองค์ ๘ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เพื่อรู้ยิ่งการแสวงหาทั้ง
๓ ประการนี้

ภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓ ประการนี้
การแสวงหา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. การแสวงหากาม ๒. การแสวงหาภพ
๓. การแสวงหาพรหมจรรย์
การแสวงหา ๓ ประการนี้


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๓. เอสนาวรรค ๑. เอสนาสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่งการแสวงหาทั้ง ๓
ประการนี้
อริยมรรคมีองค์ ๘ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะ
เป็นที่สุด
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เพื่อรู้ยิ่งการแสวงหาทั้ง
๓ ประการนี้

ภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓ ประการนี้
การแสวงหา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. การแสวงหากาม ๒. การแสวงหาภพ
๓. การแสวงหาพรหมจรรย์
การแสวงหา ๓ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่งการแสวงหาทั้ง ๓
ประการนี้

อริยมรรคมีองค์ ๘ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะ
เป็นที่สุด
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เพื่อรู้ยิ่งการแสวงหาทั้ง
๓ ประการนี้

ภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓ ประการนี้
การแสวงหา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. การแสวงหากาม ๒. การแสวงหาภพ
๓. การแสวงหาพรหมจรรย์
การแสวงหา ๓ ประการนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๓. เอสนาวรรค ๑. เอสนาสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่งการแสวงหาทั้ง ๓
ประการนี้
อริยมรรคมีองค์ ๘ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่
นิพพาน
ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เพื่อรู้ยิ่งการแสวงหาทั้ง ๓ ประการนี้

ภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓ ประการนี้
การแสวงหา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. การแสวงหากาม ๒. การแสวงหาภพ
๓. การแสวงหาพรหมจรรย์
การแสวงหา ๓ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อกำหนดรู้การแสวงหา
ทั้ง ๓ ประการนี้ ฯลฯ

ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ฯลฯ

(พึงเพิ่มข้อความเพื่อกำหนดรู้ให้พิสดารเหมือนความรู้ยิ่งฉะนั้น)

ภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓ ประการนี้
การแสวงหา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. การแสวงหากาม ๒. การแสวงหาภพ
๓. การแสวงหาพรหมจรรย์
การแสวงหา ๓ ประการนี้
ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อความสิ้นไปแห่งการแสวงหาทั้ง ๓ ประการ
นี้ ฯลฯ

ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ฯลฯ

(พึงเพิ่มข้อความเพื่อความสิ้นไปให้พิสดารเหมือนความรู้ยิ่งฉะนั้น)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๓. เอสนาวรรค ๒. วิธาสูตร

ภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓ ประการนี้
การแสวงหา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. การแสวงหากาม ๒. การแสวงหาภพ
๓. การแสวงหาพรหมจรรย์
การแสวงหา ๓ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อละการแสวงหาทั้ง ๓
ประการนี้

อริยมรรคมีองค์ ๘ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ เพื่อละการแสวงหาทั้ง ๓
ประการนี้แล”

(พึงเพิ่มข้อความเพื่อการละให้พิสดารเหมือนความรู้ยิ่งฉะนั้น)

เอสนาสูตรที่ ๑ จบ

๒. วิธาสูตร
ว่าด้วยมานะ

[๑๖๒] “ภิกษุทั้งหลาย มานะ (ความถือตัว) ๓ ประการนี้
มานะ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. มานะว่าเราเลิศกว่าเขา ๒. มานะว่าเราเสมอเขา
๓. มานะว่าเราด้อยกว่าเขา
มานะ ๓ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อ
ความสิ้นไป เพื่อละมานะทั้ง ๓ ประการนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๙๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต] ๑๓. เอสนาวรรค ๔. ภวสูตร

อริยมรรคมีองค์ ๘ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อ
ความสิ้นไป เพื่อละมานะทั้ง ๓ ประการนี้แล”

(พึงเพิ่มข้อความให้พิสดารเหมือนเอสนาสูตรฉะนั้น)

วิธาสูตรที่ ๒ จบ

๓. อาสวสูตร
ว่าด้วยอาสวะ

[๑๖๓] “ภิกษุทั้งหลาย อาสวะ ๓ ประการนี้
อาสวะ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กามาสวะ (อาสวะคือกาม) ๒. ภวาสวะ (อาสวะคือภพ)
๓. อวิชชาสวะ (อาสวะคืออวิชชา)
อาสวะ ๓ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อ
ความสิ้นไป เพื่อละอาสวะทั้ง ๓ ประการนี้ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ฯลฯ

อาสวสูตรที่ ๓ จบ

๔. ภวสูตร
ว่าด้วยภพ

[๑๖๔] “ภิกษุทั้งหลาย ภพ ๓ ประการนี้
ภพ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๙๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต] ๑๓. เอสนาวรรค ๖. ขีลสูตร

๑. กามภพ (ภพที่เป็นกามาวจร) ๒. รูปภพ (ภพที่เป็นรูปาวจร)
๓. อรูปภพ (ภพที่เป็นอรูปาวจร)
ภพ ๓ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อ
ความสิ้นไป เพื่อละภพทั้ง ๓ ประการนี้ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ฯลฯ

ภวสูตรที่ ๔ จบ

๕. ทุกขตาสูตร
ว่าด้วยสภาวทุกข์

[๑๖๕] “ภิกษุทั้งหลาย สภาวทุกข์ ๓ ประการนี้
สภาวทุกข์ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สภาวทุกข์คือทุกข์ ๒. สภาวทุกข์คือสังขาร
๓. สภาวทุกข์คือความแปรผันไป
สภาวทุกข์ ๓ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อ
ความสิ้นไป เพื่อละสภาวทุกข์ทั้ง ๓ ประการนี้ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ฯลฯ

ทุกขตาสูตรที่ ๕ จบ

๖. ขีลสูตร
ว่าด้วยกิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู

[๑๖๖] “ภิกษุทั้งหลาย กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู ๓ ประการนี้
กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปูคือราคะ
๒. กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปูคือโทสะ
๓. กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปูคือโมหะ
กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู ๓ ประการนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๙๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๓. เอสนาวรรค ๘. นีฆสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อ
ความสิ้นไป เพื่อละกิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปูทั้ง ๓ ประการนี้ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ฯลฯ

ขีลสูตรที่ ๖ จบ

๗. มลสูตร
ว่าด้วยมลทิน

[๑๖๗] “ภิกษุทั้งหลาย มลทิน ๓ ประการนี้
มลทิน ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. มลทินคือราคะ ๒. มลทินคือโทสะ
๓. มลทินคือโมหะ
มลทิน ๓ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อ
ความสิ้นไป เพื่อละมลทินทั้ง ๓ ประการนี้ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ฯลฯ

มลสูตรที่ ๗ จบ

๘. นีฆสูตร
ว่าด้วยทุกข์

[๑๖๘] “ภิกษุทั้งหลาย ทุกข์ ๓ ประการนี้
ทุกข์ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทุกข์คือราคะ ๒. ทุกข์คือโทสะ
๓. ทุกข์คือโมหะ
ทุกข์ ๓ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อ
ความสิ้นไป เพื่อละทุกข์ทั้ง ๓ ประการนี้ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ฯลฯ

นีฆสูตรที่ ๘ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๓. เอสนาวรรค ๑๐. ตัณหาสูตร

๙. เวทนาสูตร
ว่าด้วยเวทนา

[๑๖๙] “ภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ ประการนี้
เวทนา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สุขเวทนา (ความรู้สึกสุข) ๒. ทุกขเวทนา (ความรู้สึกทุกข์)
๓. อทุกขมสุขเวทนา (ความรู้สึกที่มิใช่สุขมิใช่ทุกข์)
เวทนา ๓ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อ
ความสิ้นไป เพื่อละเวทนาทั้ง ๓ ประการนี้ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ฯลฯ

เวทนาสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ตัณหาสูตร
ว่าด้วยตัณหา

[๑๗๐] “ภิกษุทั้งหลาย ตัณหา (ความทะยานอยาก) ๓ ประการนี้
ตัณหา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กามตัณหา (ความทะยานอยากในกาม)
๒. ภวตัณหา (ความทะยานอยากในภพ)
๓. วิภวตัณหา (ความทะยานอยากในวิภพ)
ตัณหา ๓ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อ
ความสิ้นไป เพื่อละตัณหาทั้ง ๓ ประการนี้ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ฯลฯ
อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๙๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๓. เอสนาวรรค ๑๑. ตสินาสูตร

๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อ
ความสิ้นไป เพื่อละตัณหาทั้ง ๓ ประการนี้ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ฯลฯ

ตัณหาสูตรที่ ๑๐ จบ

๑๑. ตสินาสูตร
ว่าด้วยตสินา

[๑๗๑] “ภิกษุทั้งหลาย ตสินา (ความอยาก) ๓ ประการนี้
ตสินา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กามตสินา (ความอยากในกาม)
๒. ภวตสินา (ความอยากในภพ)
๓. วิภวตสินา (ความอยากในวิภพ)
ตสินา ๓ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อ
ความสิ้นไป เพื่อละตสินาทั้ง ๓ ประการนี้ ฯลฯ
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะ
เป็นที่สุด
ฯลฯ
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะ
เป็นที่สุด
ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๙๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๓. เอสนาวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่
นิพพาน
ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อ
ความสิ้นไป เพื่อละตสินาทั้ง ๓ ประการนี้ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ฯลฯ

ตสินาสูตรที่ ๑๑ จบ
เอสนาวรรคที่ ๑๓ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. เอสนาสูตร ๒. วิธาสูตร
๓. อาสวสูตร ๔. ภวสูตร
๕. ทุกขตาสูตรร ๖. ขีลสูตร
๗. มลสูตร ๘. นีฆสูตร
๙. เวทนาสูตร ๑๐. ตัณหาสูตร
๑๑. ตสินาสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต] ๑๔. โอฆวรรค ๒. โยคสูตร

๑๔. โอฆวรรค
หมวดว่าด้วยโอฆะ
๑. โอฆสูตร
ว่าด้วยโอฆะ

[๑๗๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย โอฆะ (ห้วงน้ำ) ๔ ประการนี้
โอฆะ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กาโมฆะ (โอฆะคือกาม) ๒. ภโวฆะ (โอฆะคือภพ)
๓. ทิฏโฐฆะ (โอฆะคือทิฏฐิ) ๔. อวิชโชฆะ (โอฆะคืออวิชชา)
โอฆะ ๔ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อ
ความสิ้นไป เพื่อละโอฆะทั้ง ๔ ประการนี้ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ฯลฯ

(พึงเพิ่มข้อความให้พิสดารเหมือนเอสนาสูตรฉะนั้น)

โอฆสูตรที่ ๑ จบ

๒. โยคสูตร
ว่าด้วยโยคะ

[๑๗๓] “ภิกษุทั้งหลาย โยคะ (สภาวะอันประกอบสัตว์ไว้ในภพ) ๔ ประการนี้
โยคะ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กามโยคะ (โยคะคือกาม) ๒. ภวโยคะ (โยคะคือภพ)
๓. ทิฏฐิโยคะ (โยคะคือทิฏฐิ) ๔. อวิชชาโยคะ (โยคะคืออวิชชา)
โยคะ ๔ ประการนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต] ๑๔. โอฆวรรค ๔. คันถสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อ
ความสิ้นไป เพื่อละโยคะทั้ง ๔ ประการนี้ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ฯลฯ

โยคสูตรที่ ๒ จบ

๓. อุปาทานสูตร
ว่าด้วยอุปาทาน

[๑๗๔] “ภิกษุทั้งหลาย อุปาทาน (ความยึดมั่น) ๔ ประการนี้
อุปาทาน ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กามุปาทาน (ความยึดมั่นในกาม)
๒ ทิฏฐุปาทาน (ความยึดมั่นในทิฏฐิ)
๓. สีลัพพตุปาทาน (ความยึดมั่นในศีลพรต)
๔. อัตตวาทุปาทาน (ความยึดมั่นในวาทะว่ามีอัตตา)
อุปาทาน ๔ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อ
ความสิ้นไป เพื่อละอุปาทานทั้ง ๔ ประการนี้ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ฯลฯ

อุปาทานสูตรที่ ๓ จบ

๔. คันถสูตร
ว่าด้วยคันถะ

[๑๗๕] “ภิกษุทั้งหลาย คันถะ (กิเลสเครื่องผูก) มี ๔ ประการนี้
คันถะ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อภิชฌากายคันถะ (กิเลสเครื่องผูกกายคืออภิชฌา)
๒. พยาปาทกายคันถะ (กิเลสเครื่องผูกกายคือพยาบาท)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๔. โอฆวรรค ๕. อนุสยสูตร

๓. สีลัพพตปรามาสกายคันถะ (กิเลสเครื่องผูกกายคือความถือมั่น
ศีลพรต)
๔. อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ (กิเลสเครื่องผูกกายคือความยึดมั่น
ว่าสิ่งนี้จริง)
คันถะ ๔ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อ
ความสิ้นไป เพื่อละคันถะทั้ง ๔ ประการนี้ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ฯลฯ

คันถสูตรที่ ๔ จบ

๕. อนุสยสูตร
ว่าด้วยอนุสัย

[๑๗๖] “ภิกษุทั้งหลาย อนุสัย (กิเลสที่นอนเนื่อง) ๗ ประการนี้
อนุสัย ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กามราคานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องคือกามราคะ)
๒. ปฏิฆานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องคือปฏิฆะ)
๓. ทิฏฐานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องคือทิฏฐิ)
๔. วิจิกิจฉานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องคือวิจิกิจฉา)
๕. มานานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องคือมานะ)
๖. ภวราคานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องคือภวราคะ)
๗. อวิชชานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องคืออวิชชา)
อนุสัย ๗ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้
เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอนุสัยทั้ง ๗ ประการนี้ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ฯลฯ

อนุสยสูตรที่ ๕ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๔. โอฆวรรค ๗. นีวรณสูตร

๖. กามคุณสูตร
ว่าด้วยกามคุณ

[๑๗๗] “ภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการนี้
กามคุณ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
๒. เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ฯลฯ
๓. กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ฯลฯ
๔. รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ
๕. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
กามคุณ ๕ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้
เพื่อความสิ้นไป เพื่อละกามคุณทั้ง ๕ ประการนี้ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ฯลฯ

กามคุณสูตรที่ ๖ จบ

๗. นีวรณสูตร
ว่าด้วยนิวรณ์

[๑๗๘] “ภิกษุทั้งหลาย นิวรณ์ (สิ่งกั้นจิตไม่ให้บรรลุความดี) ๕ ประการนี้
นิวรณ์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กามฉันทนิวรณ์ (สิ่งกั้นจิตไม่ให้บรรลุความดีคือความพอใจ
ในกาม)
๒. พยาบาทนิวรณ์ (สิ่งกั้นจิตไม่ให้บรรลุความดีคือความคิด
ปองร้าย)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๔. โอฆวรรค ๘. อุปาทานักขันธสูตร

๓. ถีนมิทธนิวรณ์ (สิ่งกั้นจิตไม่ให้บรรลุความดีคือความหดหู่
และเซื่องซึม)
๔. อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ (สิ่งกั้นจิตไม่ให้บรรลุความดีคือความฟุ้งซ่าน
และร้อนใจ)
๕. วิจิกิจฉานิวรณ์ (สิ่งกั้นจิตไม่ให้บรรลุความดีคือความลังเล
สงสัย)
นิวรณ์ ๕ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อ
ความสิ้นไป เพื่อละนิวรณ์ทั้ง ๕ ประการนี้ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ฯลฯ”

นีวรณสูตรที่ ๗ จบ

๘. อุปาทานักขันธสูตร
ว่าด้วยอุปาทานขันธ์

[๑๗๙] “ภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธ์ (กองอันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น) ๕
ประการนี้
อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือรูป)
๒. เวทนูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือเวทนา)
๓. สัญญูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสัญญา)
๔. สังขารูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสังขาร)
๕. วิญญาณูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ)
อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้
เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ ประการนี้ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ฯลฯ

อุปาทานักขันธสูตรที่ ๘ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๔. โอฆวรรค ๑๐. อุทธัมภาคิยสูตร

๙. โอรัมภาคิยสูตร
ว่าด้วยโอรัมภาคิยสังโยชน์

[๑๘๐] “ภิกษุทั้งหลาย โอรัมภาคิยสังโยชน์ (สังโยชน์เบื้องต่ำ) ๕ ประการนี้
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นตัวของตน)
๒. วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย)
๓. สีลัพพตปรามาส (ความถือมั่นศีลพรต)
๔. กามฉันทะ (ความพอใจในกาม)
๕. พยาบาท (ความคิดปองร้าย)
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้
เพื่อความสิ้นไป เพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ทั้ง ๕ ประการนี้ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ฯลฯ

โอรัมภาคิยสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. อุทธัมภาคิยสูตร
ว่าด้วยอุทธัมภาคิยสังโยชน์

[๑๘๑] “ภิกษุทั้งหลาย อุทธัมภาคิยสังโยชน์ (สังโยชน์เบื้องสูง) ๕ ประการนี้
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปราคะ (ความติดใจในอารมณ์แห่งรูปฌาน)
๒. อรูปราคะ (ความติดใจในอารมณ์แห่งอรูปฌาน)
๓. มานะ (ความถือตัว)
๔. อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน)
๕. อวิชชา (ความไม่รู้แจ้ง)
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๐๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๔. โอฆวรรค ๑๐. อุทธัมภาคิยสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้
เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ทั้ง ๕ ประการนี้
อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้
เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ทั้ง ๕ ประการนี้

ภิกษุทั้งหลาย อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปราคะ ๒. อรูปราคะ
๓. มานะ ๔. อุทธัจจะ
๕. อวิชชา
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้
เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ทั้ง ๕ ประการนี้

อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะ
เป็นที่สุด ... อันหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะ
เป็นที่สุด ... อันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่
นิพพาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๐๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๔. โอฆวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้
เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ทั้ง ๕ ประการนี้”

อุทธัมภาคิยสูตรที่ ๑๐ จบ
โอฆวรรคที่ ๑๔ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. โอฆสูตร ๒. โยคสูตร
๓. อุปาทานสูตร ๔. คันถสูตร
๕. อนุสยสูต ๖. กามคุณสูตร
๗. นีวรณสูตร ๘. อุปาทานักขันธสูตร
๙. โอรัมภาคิยสูตร ๑๐. อุทธัมภาคิยสูตร

รวมวรรคที่มีในสังยุตนี้ คือ

๑. อวิชชาวรรค ๒. วิหารวรรค
๓. มิจฉัตตวรรค ๔. ปฏิปัตติวรรค
๕. อัญญติตถิยเปยยาลวรรค ๖. สุริยเปยยาลวรรค
๗. เอกธัมมเปยยาลวรรค ๘. ทุติยเอกธัมมเปยยาลวรรค
๙. คังคาเปยยาลวรรค ๑๐. ทุติยคังคาเปยยาลวรรค
๑๑. อัปปมาทวรรค ๑๒. พลกรณียวรรค
๑๓. เอสนาวรรค ๑๔. โอฆวรรค

มัคคสังยุตที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๑. ปัพพตวรรค ๑. หิมวันตสูตร

๒. โพชฌังคสังยุต
๑. ปัพพตวรรค
หมวดว่าด้วยขุนเขา
๑. หิมวันตสูตร
ว่าด้วยขุนเขาหิมพานต์

[๑๘๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกนาคอาศัยขุนเขาหิมพานต์ย่อม
เติบโตมีกำลัง เติบโตมีกำลังแล้วลงสู่หนอง ลงสู่หนองแล้วลงสู่บึง ลงสู่บึงแล้วลง
สู่แม่น้ำน้อย ลงสู่แม่น้ำน้อยแล้วลงสู่แม่น้ำใหญ่ ลงสู่แม่น้ำใหญ่แล้วลงสู่มหาสมุทรสาคร
นาคเหล่านั้นย่อมถึงความเจริญเติบโตทางกายในมหาสมุทรสาครนั้น แม้ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่ออาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีล เจริญโพชฌงค์ (ธรรมที่
เป็นองค์แห่งการตรัสรู้) ๗ ประการ ทำโพชฌงค์ ๗ ประการให้มาก ย่อมถึง
ความเป็นใหญ่ไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย
ภิกษุเมื่ออาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีล เจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ ทำโพชฌงค์
๗ ประการให้มาก ย่อมถึงความเป็นใหญ่ไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ คือความ
ระลึกได้) อันอาศัยวิเวก (ความสงัด) อาศัยวิราคะ (ความคลาย
กำหนัด) อาศัยนิโรธ (ความดับ) น้อมไปในโวสสัคคะ (ความสละ)
๒. เจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ คือ
การเฟ้นธรรม) ฯลฯ
๓. เจริญวิริยสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ คือ
ความเพียร) ...
๔. เจริญปีติสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ คือ
ความอิ่มใจ) ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๐๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๑. ปัพพตวรรค ๒. กายสูตร

๕. เจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ คือ
ความสงบกายสงบใจ) ...
๖. เจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ คือ
ความตั้งจิตมั่น) ...
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ คือ
ความมีใจเป็นกลาง) อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่ออาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีล เจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ
ทำโพชฌงค์ ๗ ประการให้มาก ย่อมถึงความเป็นใหญ่ไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย
อย่างนี้แล”

หิมวันตสูตรที่ ๑ จบ

๒. กายสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยกาย

[๑๘๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย กายนี้ดำรงอยู่ได้ด้วยอาหาร อาศัยอาหารจึงดำรงอยู่ได้
ขาดอาหารก็ดำรงอยู่ไม่ได้ แม้ฉันใด นิวรณ์ ๕ ประการก็ฉันนั้นเหมือนกัน ดำรง
อยู่ได้ด้วยอาหาร อาศัยอาหารจึงดำรงอยู่ได้ ขาดอาหารก็ดำรงอยู่ไม่ได้

อาหารของนิวรณ์

อะไรเล่าเป็นอาหารที่ทำกามฉันทะที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำกามฉันทะ
ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
คือ สุภนิมิต๑มีอยู่ การทำมนสิการโดยไม่แยบคายในสุภนิมิตนั้นให้มาก นี้
เป็นอาหารที่ทำกามฉันทะที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำกามฉันทะที่เกิดขึ้นแล้วให้
เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๑. ปัพพตวรรค ๒. กายสูตร

อะไรเล่าเป็นอาหารที่ทำพยาบาทที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำพยาบาท
ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
คือ ปฏิฆนิมิต๑มีอยู่ การทำมนสิการโดยไม่แยบคายในปฏิฆนิมิตนั้นให้มาก
นี้เป็นอาหารที่ทำพยาบาทที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้วให้
เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
อะไรเล่าเป็นอาหารที่ทำถีนมิทธะที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำถืนมิทธะ
ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
คือ ความไม่ยินดี ความเกียจคร้าน ความเมื่อยขบของร่างกาย ความเมา
อาหาร และความที่จิตหดหู่มีอยู่ การทำมนสิการโดยไม่แยบคายในธรรมเหล่านั้น
ให้มาก นี้เป็นอาหารที่ทำถีนมิทธะที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำถีนมิทธะที่เกิดขึ้น
แล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
อะไรเล่าเป็นอาหารที่ทำอุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำ
อุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
คือ ความไม่สงบจิตมีอยู่ การทำมนสิการโดยไม่แยบคายในความไม่สงบจิต
นั้นให้มาก นี้เป็นอาหารที่ทำอุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำอุทธัจจ-
กุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
อะไรเล่าเป็นอาหารที่ทำวิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำวิจิกิจฉาที่
เกิดขึ้นแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
คือ ธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งวิจิกิจฉามีอยู่ การทำมนสิการโดยไม่แยบ
คายในธรรมเหล่านั้นให้มาก นี้เป็นอาหารที่ทำวิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือ
ทำวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๑. ปัพพตวรรค ๒. กายสูตร

ภิกษุทั้งหลาย กายนี้ดำรงอยู่ได้ด้วยอาหาร อาศัยอาหารจึงดำรงอยู่ได้ ขาด
อาหารก็ดำรงอยู่ไม่ได้ แม้ฉันใด นิวรณ์ ๕ ประการนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ดำรง
อยู่ได้ด้วยอาหาร อาศัยอาหารจึงดำรงอยู่ได้ ขาดอาหารก็ดำรงอยู่ไม่ได้
ภิกษุทั้งหลาย กายนี้ดำรงอยู่ได้ด้วยอาหาร อาศัยอาหารจึงดำรงอยู่ได้ ขาด
อาหารก็ดำรงอยู่ไม่ได้ แม้ฉันใด โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ดำรง
อยู่ได้ด้วยอาหาร อาศัยอาหารจึงดำรงอยู่ได้ ขาดอาหารก็ดำรงอยู่ไม่ได้

อาหารของโพชฌงค์

อะไรเล่าเป็นอาหารที่ทำสติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำ
สติสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
คือ ธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งสติสัมโพชฌงค์มีอยู่ การทำมนสิการโดย
แยบคายในธรรมเหล่านั้นให้มาก นี้เป็นอาหารที่ทำสติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
หรือทำสติสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
อะไรเล่าเป็นอาหารที่ทำธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือ
ทำธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
คือ ธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศลและอกุศล มีโทษและไม่มีโทษ เลวและประณีต
เป็นฝ่ายดำและฝ่ายขาวมีอยู่ การทำมนสิการโดยแยบคายในธรรมเหล่านั้นให้มาก
นี้เป็นอาหารที่ทำธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำธัมมวิจย-
สัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
อะไรเล่าเป็นอาหารที่ทำวิริยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำ
วิริยสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
คือ ความริเริ่ม ความพากเพียร ความบากบั่นมีอยู่ การทำมนสิการโดย
แยบคายในธรรมเหล่านั้นให้มาก นี้เป็นอาหารที่ทำวิริยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
หรือทำวิริยสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
อะไรเล่าเป็นอาหารที่ทำปีติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำปีติ-
สัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๑. ปัพพตวรรค ๒. กายสูตร

คือ ธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งปีติสัมโพชฌงค์มีอยู่ การทำมนสิการโดย
แยบคายในธรรมเหล่านั้นให้มาก นี้เป็นอาหารที่ทำปีติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้
เกิดขึ้น หรือทำปีติสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
อะไรเล่าเป็นอาหารที่ทำปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือ
ทำปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
คือ ความสงบกาย ความสงบจิตมีอยู่ การทำมนสิการโดยแยบคายในธรรม
เหล่านั้นให้มาก นี้เป็นอาหารที่ทำปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำ
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
อะไรเล่าเป็นอาหารที่ทำสมาธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำ
สมาธิสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
คือ สมถนิมิต๑ อัพยัคคนิมิต๒มีอยู่ การทำมนสิการโดยแยบคายในนิมิต
เหล่านั้นให้มาก นี้เป็นอาหารที่ทำสมาธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำ
สมาธิสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
อะไรเล่าเป็นอาหารที่ทำอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำ
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
คือ ธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์มีอยู่ การทำมนสิการ
โดยแยบคายในธรรมเหล่านั้นให้มาก นี้เป็นอาหารที่ทำอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่
เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
ภิกษุทั้งหลาย กายนี้ดำรงอยู่ได้ด้วยอาหาร อาศัยอาหารจึงดำรงอยู่ได้ ขาด
อาหารก็ดำรงอยู่ไม่ได้ แม้ฉันใด โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ดำรง
อยู่ได้ด้วยอาหาร อาศัยอาหารจึงดำรงอยู่ได้ ขาดอาหารก็ดำรงอยู่ไม่ได้”

กายสูตรที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๑. ปัพพตวรรค ๓. สีลสูตร

๓. สีลสูตร
ว่าด้วยศีล

[๑๘๔] “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใดสมบูรณ์ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ๑
และวิมุตติญาณทัสสนะ๒ การเห็น๓ภิกษุเหล่านั้นก็ดี การได้ยิน๔ภิกษุเหล่านั้นก็ดี
การเข้าไปหา๕ภิกษุเหล่านั้นก็ดี การเข้าไปนั่งใกล้๖ภิกษุเหล่านั้นก็ดี การระลึก
ถึง๗ภิกษุเหล่านั้นก็ดี การบวชตาม๘ภิกษุเหล่านั้นก็ดี เรากล่าวว่า มีอุปการะมาก
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุคคลได้ฟังธรรมของภิกษุเห็นปานนั้นแล้วย่อมหลีกออก
ด้วยการหลีกออก ๒ อย่าง คือ (๑) หลีกออกทางกาย (๒) หลีกออกทางจิต เขา
หลีกออกไปอยู่อย่างนั้นย่อมระลึก ตรึกถึงธรรมนั้น
สมัยใด ภิกษุหลีกออกไปอยู่อย่างนั้นย่อมระลึก ตรึกถึงธรรมนั้น สมัยนั้น
สติสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุชื่อว่าเจริญสติสัมโพชฌงค์ สติสัมโพชฌงค์
ย่อมถึงความเจริญเต็มที่แก่ภิกษุ ภิกษุมีสติอยู่อย่างนั้นย่อมเลือกเฟ้น ตรวจตรา
พินิจพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา
สมัยใด ภิกษุมีสติอยู่อย่างนั้นย่อมเลือกเฟ้น ตรวจตรา พินิจพิจารณาธรรม
นั้นด้วยปัญญา สมัยนั้น ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุชื่อว่า
เจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญเต็มที่แก่ภิกษุ
ความเพียรไม่ย่อหย่อนเป็นอันเธอผู้เลือกเฟ้น ตรวจตรา พินิจพิจารณาธรรมนั้น
ด้วยปัญญาปรารภแล้ว


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๑. ปัพพตวรรค ๓. สีลสูตร

สมัยใด ความเพียรไม่ย่อหย่อนเป็นอันเธอผู้เลือกเฟ้น ตรวจตรา พินิจ
พิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญาปรารภแล้ว สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุ
ปรารภแล้ว ภิกษุชื่อว่าเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญ
เต็มที่แก่ภิกษุ ปีติไม่มีอามิสย่อมเกิดแก่เธอผู้ได้ปรารภความเพียร
สมัยใด ปีติไม่มีอามิสย่อมเกิดแก่ภิกษุผู้ได้ปรารภความเพียร สมัยนั้น ปีติ-
สัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุชื่อว่าเจริญปีติสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์
ย่อมถึงความเจริญเต็มที่แก่ภิกษุ ทั้งกายทั้งจิตของเธอผู้มีใจมีปีติย่อมสงบ
สมัยใด ทั้งกายทั้งจิตของภิกษุผู้มีใจมีปีติย่อมสงบ สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุชื่อว่าเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
ย่อมถึงความเจริญเต็มที่แก่ภิกษุ จิตของเธอผู้มีกายสงบ มีสุขย่อมตั้งมั่น
สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายสงบ มีสุขย่อมตั้งมั่น สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์
เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุชื่อว่าเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อม
ถึงความเจริญเต็มที่แก่ภิกษุ เธอย่อมเพ่งดูจิตที่ตั้งมั่นอย่างนั้นด้วยดี
สมัยใด ภิกษุย่อมเพ่งดูจิตที่ตั้งมั่นอย่างนั้นด้วยดี สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์
เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุชื่อว่าเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์
ย่อมถึงความเจริญเต็มที่แก่ภิกษุ

อานิสงส์การเจริญโพชฌงค์

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อโพชฌงค์ ๗ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้วอย่างนี้
พึงหวังผลานิสงส์๑ ๗ ประการ
ผลานิสงส์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. จะได้บรรลุอรหัตตผลทันทีในปัจจุบัน
๒. หากในปัจจุบันยังไม่ได้บรรลุ ก็จะได้บรรลุในเวลาใกล้ตาย


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๑. ปัพพตวรรค ๓. สีลสูตร

๓. หากในปัจจุบันและในเวลาใกล้ตายยังไม่ได้บรรลุ ก็จะได้เป็นพระ
อนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี๑ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ (สังโยชน์
เบื้องต่ำ) ๕ ประการสิ้นไป
๔. หากในปัจจุบันและในเวลาใกล้ตายยังไม่ได้บรรลุ และไม่ได้เป็น
พระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี ก็จะได้เป็นพระอนาคามีผู้
อุปหัจจปรินิพพายี๒ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการสิ้นไป
๕. หากในปัจจุบันและในเวลาใกล้ตายยังไม่ได้บรรลุ ไม่ได้เป็นพระ
อนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี และไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจ-
ปรินิพพายี ก็จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี๓] เพราะ
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการสิ้นไป
๖. หากในปัจจุบันและในเวลาใกล้ตายยังไม่ได้บรรลุ ไม่ได้เป็นพระ
อนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจ-
ปรินิพพายี และไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี ก็
จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี๔ เพราะโอรัมภาคิย-
สังโยชน์ ๕ ประการสิ้นไป


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๑. ปัพพตวรรค ๔. วัตถสูตร

๗. หากในปัจจุบันและในเวลาใกล้ตายยังไม่ได้บรรลุ ไม่ได้เป็นพระ
อนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจ-
ปรินิพพายี ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี และ
ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี ก็จะได้เป็นพระ
อนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี๑ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
ประการสิ้นไป
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อโพชฌงค์ ๗ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้วอย่างนี้
พึงหวังผลานิสงส์ ๗ ประการนี้”

สีลสูตรที่ ๓ จบ

๔. วัตถสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยผ้า

[๑๘๕] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลาย
มากล่าวว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว ท่านพระสารีบุตรจึงได้
กล่าวเรื่องนี้ว่า
“ผู้มีอายุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้
โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์ ๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
๓. วิริยสัมโพชฌงค์ ๔. ปีติสัมโพชฌงค์
๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ๖. สมาธิสัมโพชฌงค์
๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์
โพชฌงค์ ๗ ประการนี้


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๑. ปัพพตวรรค ๔. วัตถสูตร

บรรดาโพชฌงค์ ๗ ประการนี้ ผมประสงค์จะอยู่ด้วยโพชฌงค์ข้อใด ๆ ใน
เวลาเช้า ก็อยู่ด้วยโพชฌงค์ข้อนั้น ๆ ประสงค์จะอยู่ด้วยโพชฌงค์ข้อใด ๆ ในเวลา
เที่ยง ก็อยู่ด้วยโพชฌงค์ข้อนั้น ๆ ประสงค์จะอยู่ด้วยโพชฌงค์ข้อใด ๆ ในเวลาเย็น
ก็อยู่ด้วยโพชฌงค์ข้อนั้น ๆ
ถ้าสติสัมโพชฌงค์ของผมมีอยู่ ผมก็รู้ชัดว่า สติสัมโพชฌงค์ของผมไม่มีประมาณ
ผมปรารภดีแล้ว ผมรู้ชัดสติสัมโพชฌงค์ที่ดำรงอยู่ว่าดำรงอยู่ ถ้าแม้สติสัมโพชฌงค์
ของผมเคลื่อนไป ผมก็รู้ชัดว่าเคลื่อนไป เพราะสิ่งนี้เป็นปัจจัย ฯลฯ ถ้าอุเบกขา-
สัมโพชฌงค์ของผมมีอยู่ ผมก็รู้ชัดว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของผมไม่มีประมาณ
ผมปรารภดีแล้ว ผมรู้ชัดอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ดำรงอยู่ว่าดำรงอยู่ ถ้าแม้อุเบกขา-
สัมโพชฌงค์ของผมเคลื่อนไป ผมก็รู้ชัดว่าเคลื่อนไป เพราะสิ่งนี้เป็นปัจจัย
ตู้เก็บผ้าของพระราชาหรือของมหาอำมาตย์ของพระราชาบรรจุผ้าสีต่าง ๆ
พระราชาหรือมหาอำมาตย์ของพระราชาประสงค์จะนุ่งห่มผ้าคู่ใด ๆ ในเวลาเช้า ก็
นุ่งห่มผ้าคู่นั้น ๆ ประสงค์จะนุ่งห่มผ้าคู่ใด ๆ ในเวลาเที่ยง ก็นุ่งห่มผ้าคู่นั้น ๆ ประสงค์
จะนุ่งห่มผ้าคู่ใด ๆ ในเวลาเย็น ก็นุ่งห่มผ้าคู่นั้น ๆ แม้ฉันใด บรรดาโพชฌงค์ ๗
ประการนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ผมประสงค์จะอยู่ด้วยโพชฌงค์ข้อใด ๆ ในเวลาเช้า ก็
อยู่ด้วยโพชฌงค์ข้อนั้น ๆ ประสงค์จะอยู่ด้วยโพชฌงค์ข้อใด ๆ ในเวลาเที่ยง ก็อยู่
ด้วยโพชฌงค์ข้อนั้น ๆ ประสงค์จะอยู่ด้วยโพชฌงค์ข้อใด ๆ ในเวลาเย็น ก็อยู่ด้วย
โพชฌงค์ข้อนั้น ๆ
ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าสติสัมโพชฌงค์ของผมมีอยู่ ผมก็รู้ชัดว่า สติสัมโพชฌงค์
ของผมไม่มีประมาณ ผมปรารภดีแล้ว ผมรู้ชัดสติสัมโพชฌงค์ที่ดำรงอยู่ว่าดำรงอยู่
ถ้าแม้สติสัมโพชฌงค์ของผมเคลื่อนไป ผมก็รู้ชัดว่าเคลื่อนไป เพราะสิ่งนี้เป็นปัจจัย
ฯลฯ ถ้าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ของผมมีอยู่ ผมก็รู้ชัดว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของผม
ไม่มีประมาณ ผมปรารภดีแล้ว ผมรู้ชัดอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ดำรงอยู่ว่าดำรงอยู่
ถ้าแม้อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของผมเคลื่อนไป ผมก็รู้ชัดว่าเคลื่อนไป เพราะสิ่งนี้เป็น
ปัจจัย”๑

วัตถสูตรที่ ๔ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๑. ปัพพตวรรค ๕. ภิกขุสูตร

๕. ภิกขุสูตร
ว่าด้วยภิกษุทูลถามเรื่องโพชฌงค์

[๑๘๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ นั่ง
ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์
ตรัสว่า ‘โพชฌงค์ โพชฌงค์’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ พระองค์จึงตรัสว่า ‘โพชฌงค์’
พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ ที่เรียกว่า ‘โพชฌงค์’ เพราะเป็นไป
เพื่อตรัสรู้
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ
ฯลฯ
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย
นิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
เมื่อเธอเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการนี้อยู่ จิตย่อมหลุดพ้นจากกามาสวะ
ภวาสวะ และอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติ
สิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว๑ ทำกิจที่ควรทำ๒เสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็น
อย่างนี้อีกต่อไป๓’
ภิกษุ ที่เรียกว่า ‘โพชฌงค์’ เพราะเป็นไปเพื่อตรัสรู้ อย่างนี้แล”

ภิกขุสูตรที่ ๕ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๑. ปัพพตวรรค ๖. กุณฑลิยสูตร

๖. กุณฑลิยสูตร
ว่าด้วยกุณฑลิยปริพาชก

[๑๘๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าอัญชนวัน สถานที่
พระราชทานอภัยแก่หมู่เนื้อ เขตเมืองสาเกต ครั้งนั้น กุณฑลิยปริพาชกเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึก
ถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ท่านพระโคดม
ข้าพเจ้าเที่ยวไปในอาราม เข้าไปหาบริษัท เมื่อข้าพเจ้าบริโภคอาหารเช้าเสร็จแล้ว
ในเวลาหลังอาหารเดินเที่ยวไปทางอารามสู่อาราม ทางอุทยานสู่อุทยาน ณ ที่นั้น
ข้าพเจ้าเห็นสมณพราหมณ์ พวกหนึ่งกำลังกล่าวกถาซึ่งมีวิธีเปลื้องวาทะเป็น
อานิสงส์และมีวิธีโต้วาทะเป็นอานิสงส์ ส่วนท่านพระโคดมมีอะไรเป็นอานิสงส์อยู่”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “กุณฑลิยะ ตถาคตมีวิชชาและวิมุตติเป็นผลานิสงส์”
“ท่านพระโคดม ธรรมเหล่าไหนที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำวิชชาและ
วิมุตติให้บริบูรณ์”
“กุณฑลิยะ โพชฌงค์ ๗ ประการที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำวิชชา
และวิมุตติให้บริบูรณ์”
“ท่านพระโคดม อนึ่ง ธรรมเหล่าไหนที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำโพชฌงค์
๗ ประการให้บริบูรณ์”
“กุณฑลิยะ สติปัฏฐาน ๔ ประการที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำโพชฌงค์
๗ ประการให้บริบูรณ์”
“ท่านพระโคดม อนึ่ง ธรรมเหล่าไหนที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำ
สติปัฏฐาน ๔ ประการให้บริบูรณ์”
“กุณฑลิยะ สุจริต ๓ ประการที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำสติปัฏฐาน ๔
ประการให้บริบูรณ์”
“ท่านพระโคดม อนึ่ง ธรรมเหล่าไหนที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำสุจริต
๓ ประการให้บริบูรณ์”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๒๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๑. ปัพพตวรรค ๖. กุณฑลิยสูตร

“กุณฑลิยะ อินทรียสังวรที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำสุจริต ๓ ประการ
ให้บริบูรณ์
อินทรียสังวรที่บุคคลเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงทำสุจริต ๓
ประการให้บริบูรณ์
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปที่น่าชอบใจทางตาแล้ว ไม่หลงใหล ไม่เพลิด
เพลินรูปที่น่าชอบใจ ไม่ให้เกิดความกำหนัด กายของเธอก็คงที่ และจิตที่คงที่ใน
ภายในก็มั่นคงดี หลุดพ้นดีแล้ว อนึ่ง เธอเห็นรูปที่ไม่น่าชอบใจทางตาแล้ว ก็ไม่
เก้อเขิน มีจิตไม่ติดอยู่ ไม่เสียใจ มีใจไม่พยาบาท ทั้งกายของเธอก็คงที่ และจิต
ที่คงที่ในภายในก็มั่นคงดี หลุดพ้นดีแล้ว
อีกประการหนึ่ง ภิกษุฟังเสียงทางหู ฯลฯ ดมกลิ่นทางจมูก ... ลิ้มรสทางลิ้น
... ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ... รู้แจ้งธรรมารมณ์ที่น่าชอบใจทางใจแล้ว ไม่หลงใหล
ไม่เพลิดเพลิน ไม่ให้เกิดความกำหนัด กายของเธอก็คงที่ และจิตที่คงที่ในภายในก็
มั่นคงดี หลุดพ้นดีแล้ว อนึ่ง เธอรู้แจ้งธรรมารมณ์ที่ไม่น่าชอบใจทางใจแล้ว ก็ไม่
เก้อเขิน มีจิตไม่ติดอยู่ ไม่เสียใจ มีใจไม่พยาบาท ทั้งกายของเธอก็คงที่ และจิต
ที่คงที่ในภายในก็มั่นคงดี หลุดพ้นดีแล้ว
เพราะเหตุที่ภิกษุเห็นรูปทางตาแล้ว มีกายคงที่ และมีจิตที่คงที่ในภายใน
มั่นคงดี หลุดพ้นดีแล้วในรูปทั้งที่น่าชอบใจและไม่น่าชอบใจ ฟังเสียงทางหู ฯลฯ ดม
กลิ่นทางจมูก ... ลิ้มรสทางลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ... รู้แจ้งธรรมารมณ์
ทางใจแล้ว มีกายคงที่ และมีจิตที่คงที่ในภายในมั่นคงดี หลุดพ้นดีแล้วในธรรมที่
น่าชอบใจและไม่น่าชอบใจ
อินทรียสังวรที่บุคคลเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้ จึงทำสุจริต ๓
ประการให้บริบูรณ์
สุจริต ๓ ประการนั้นที่บุคคลเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงทำ
สติปัฏฐาน ๔ ประการให้บริบูรณ์
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ละกายทุจริต เจริญกายสุจริต ละวจีทุจริต เจริญ
วจีสุจริต ละมโนทุจริต เจริญมโนสุจริต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๒๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๑. ปัพพตวรรค ๖. กุณฑลิยสูตร

สุจริต ๓ ประการที่บุคคลเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้ จึงทำ
สติปัฏฐาน ๔ ประการให้บริบูรณ์
สติปัฏฐาน ๔ ประการที่บุคคลเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึง
ทำโพชฌงค์ ๗ ประการให้บริบูรณ์
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
สติปัฏฐาน ๔ ประการที่บุคคลเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้ จึงทำ
โพชฌงค์ ๗ ประการให้บริบูรณ์
โพชฌงค์ ๗ ประการที่บุคคลเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึง
ทำวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ
ฯลฯ
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย
นิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
โพชฌงค์ ๗ ประการที่บุคคลเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้ จึงทำ
วิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว กุณฑลิยปริพาชกได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม พระภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๑. ปัพพตวรรค ๗. กูฏาคารสูตร

ยิ่งนัก ข้าแต่ท่านพระโคดม พระภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก
ท่านพระโคดมประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงาย
ของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า
‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’ ข้าพระองค์นี้ขอถึงท่านพระโคดมพร้อมทั้งพระธรรมและ
พระสงฆ์เป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ
ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”

กุณฑลิยสูตรที่ ๖ จบ

๗. กูฏาคารสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยกลอนของเรือนยอด

[๑๘๘] “ภิกษุทั้งหลาย กลอนของเรือนยอดทั้งหมดล้วนน้อมไปสู่ยอด โน้มไป
สู่ยอด โอนไปสู่ยอด แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเจริญโพชฌงค์ ๗
ประการ ทำโพชฌงค์ ๗ ประการให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน
โอนไปสู่นิพพาน
ภิกษุเมื่อเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ ทำโพชฌงค์ ๗ ประการให้มาก
ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ
ฯลฯ
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย
นิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ ทำโพชฌงค์ ๗ ประการให้มาก
ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างนี้แล”

กูฏาคารสูตรที่ ๗ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๑. ปัพพตวรรค ๘. อุปวาณสูตร

๘. อุปวาณสูตร
ว่าด้วยพระอุปวาณะ

[๑๘๙] สมัยหนึ่ง ท่านพระอุปวาณะและท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ โฆสิตาราม
เขตกรุงโกสัมพี ครั้นในเวลาเย็น ท่านพระสารีบุตร ออกจากที่หลีกเร้น๑ เข้าไปหา
ท่านพระอุปวาณะถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึง
กันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามท่านพระอุปวาณะดังนี้ว่า “ท่านอุปวาณะ
เพราะมนสิการโดยแยบคายเฉพาะตน ภิกษุพึงรู้ไหมว่า ‘โพชฌงค์ ๗ ประการที่
เราปรารภดีแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่ออยู่ผาสุก”
ท่านพระอุปวาณะตอบว่า “ท่านสารีบุตร เพราะมนสิการโดยแยบคายเฉพาะ
ตน ภิกษุพึงรู้ได้ว่า ‘โพชฌงค์ ๗ ประการที่เราปรารภดีแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อ
อยู่ผาสุก”
ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า “อาวุโส ภิกษุปรารภสติสัมโพชฌงค์อยู่ย่อมรู้ชัดว่า
‘จิตของเราหลุดพ้นดีแล้ว ถีนมิทธะเราถอนได้แล้ว อุทธัจจกุกกุจจะเรากำจัดได้แล้ว
ความเพียรเราก็ปรารภแล้ว เรามนสิการอย่างจริงจังไม่ย่อหย่อน ฯลฯ ภิกษุปรารภ
อุเบกขาสัมโพชฌงค์อยู่ย่อมรู้ชัดว่า ‘จิตของเราหลุดพ้นดีแล้ว ถีนมิทธะเราถอนได้
แล้ว อุทธัจจกุกกุจจะเรากำจัดได้แล้ว ความเพียรเราปรารภแล้ว เรามนสิการอย่าง
จริงจังไม่ย่อหย่อน”
ท่านพระอุปวาณะกล่าวว่า “ท่านสารีบุตร เพราะมนสิการโดยแยบคาย
เฉพาะตน ภิกษุพึงรู้ได้ว่า ‘โพชฌงค์ ๗ ประการที่เราปรารภดีแล้วอย่างนี้ ย่อม
เป็นไปเพื่ออยู่ผาสุกด้วยประการฉะนี้”

อุปวาณสูตรที่ ๘ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๑. ปัพพตวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๙. ปฐมอุปปันนสูตร
ว่าด้วยเหตุเกิดโพชฌงค์ สูตรที่ ๑

[๑๙๐] “ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว
ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น เว้นความอุบัติขึ้นของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ย่อมไม่เกิดขึ้น
โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์
โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น
เว้นความอุบัติขึ้นของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ย่อมไม่เกิดขึ้น”

ปฐมอุปปันนสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ทุติยอุปปันนสูตร
ว่าด้วยเหตุเกิดโพชฌงค์ สูตรที่ ๒

[๑๙๑] “ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว
ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น เว้นวินัยของพระสุคต ย่อมไม่เกิดขึ้น
โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์
โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น
เว้นวินัยของพระสุคต ย่อมไม่เกิดขึ้น”

ทุติยอุปปันนสูตรที่ ๑๐ จบ
ปัพพตวรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. หิมวันตสูตร ๒. กายสูตร
๓. สีลสูตร ๔. วัตถสูตร
๕. ภิกขุสูตร ๖. กุณฑลิยสูตร
๗. กูฏาคารสูตร ๘. อุปวาณสูตร
๙. ปฐมอุปปันนสูตร ๑๐. ทุติยอุปปันนสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๒. คิลานวรรค ๒. ปฐมสุริยูปมสูตร

๒. คิลานวรรค
หมวดว่าด้วยผู้อาพาธ
๑. ปาณสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยสัตว์

[๑๙๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าใดเหล่าหนึ่งสำเร็จ
อิริยาบถ ๔ คือ บางคราวก็เดิน บางคราวก็ยืน บางคราวก็นั่ง บางคราวก็นอน
สัตว์เหล่านั้นทั้งหมด ล้วนอาศัยแผ่นดิน ดำรงอยู่บนแผ่นดิน จึงสำเร็จอิริยาบถ ๔
นี้ แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน อาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญโพชฌงค์
(ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้) ๗ ประการ ทำโพชฌงค์ ๗ ประการให้มาก
ภิกษุอาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ ทำโพชฌงค์
๗ ประการให้มาก อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ
ฯลฯ
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย
นิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ
ทำโพชฌงค์ ๗ ประการให้มาก อย่างนี้แล”

ปาณสูตรที่ ๑ จบ

๒. ปฐมสุริยูปมสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยดวงอาทิตย์ สูตรที่ ๑

[๑๙๓] “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อดวงอาทิตย์กำลังจะอุทัย ย่อมมีแสงอรุณขึ้นมา
ก่อน เป็นบุพนิมิต ฉันใด กัลยาณมิตตตา (ความเป็นผู้มีมิตรดี) ก็เป็นตัวนำ เป็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๒. คิลานวรรค ๓. ทุติยสุริยูปมสูตร

บุพนิมิตเพื่อความเกิดขึ้นแห่งโพชฌงค์ ๗ ประการ ฉันนั้น ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตร
พึงหวังข้อนี้ได้ว่า ‘จักเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ ทำโพชฌงค์ ๗ ประการให้มาก’
ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตรเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ ทำโพชฌงค์ ๗ ประการ
ให้มาก อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก ฯลฯ
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย
นิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตรเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ ทำโพชฌงค์
๗ ประการให้มาก อย่างนี้แล”

ปฐมสุริยูปมสูตรที่ ๒ จบ

๓. ทุติยสุริยูปมสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยดวงอาทิตย์ สูตรที่ ๒

[๑๙๔] “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อดวงอาทิตย์กำลังจะอุทัย ย่อมมีแสงอรุณขึ้นมา
ก่อน เป็นบุพนิมิต ฉันใด โยนิโสมนสิการ (การมนสิการโดยแยบคาย) ก็เป็นตัวนำ
เป็นบุพนิมิตเพื่อความเกิดขึ้นแห่งโพชฌงค์ ๗ ประการ ฉันนั้น ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วย
โยนิโสมนสิการพึงหวังข้อนี้ได้ว่า ‘จักเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ ทำโพชฌงค์ ๗
ประการให้มาก’
ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ ทำโพชฌงค์
๗ ประการให้มาก อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก ฯลฯ
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย
นิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๒. คิลานวรรค ๔. ปฐมคิลานสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ
ทำโพชฌงค์ ๗ ประการให้มาก อย่างนี้แล”

ทุติยสุริยูปมสูตรที่ ๓ จบ

๔. ปฐมคิลานสูตร
ว่าด้วยผู้อาพาธ สูตรที่ ๑

[๑๙๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้
เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น ท่านพระมหากัสสปะอาพาธ ได้รับทุกข์
เป็นไข้หนัก อยู่ที่ปิปผลิคูหา
ครั้นในเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้น เข้าไปหาท่านพระ
มหากัสสปะถึงที่อยู่ ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้ว ได้ตรัสถามท่านพระ
มหากัสสปะดังนี้ว่า
“กัสสปะ เธอยังสบายดีหรือ ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ ทุกขเวทนาทุเลาลง
ไม่กำเริบขึ้นหรือ อาการทุเลาปรากฏ อาการกำเริบไม่ปรากฏหรือ”
ท่านพระมหากัสสปะทูลตอบว่า “ข้าพระองค์ไม่สบาย จะเป็นอยู่ไม่ได้
ทุกขเวทนามีแต่กำเริบหนักขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย อาการกำเริบปรากฏ อาการทุเลา
ไม่ปรากฏ พระพุทธเจ้าข้า”
“กัสสปะ โพชฌงค์ ๗ ประการนี้เรากล่าวไว้ชอบแล้ว ที่บุคคลเจริญ ทำให้
มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์เรากล่าวไว้ชอบแล้ว ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
ฯลฯ
๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์เรากล่าวไว้ชอบแล้ว ที่บุคคลเจริญ ทำให้
มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๒. คิลานวรรค ๕. ทุติยคิลานสูตร

กัสสปะ โพชฌงค์ ๗ ประการนี้แลเรากล่าวไว้ชอบแล้ว ที่บุคคลเจริญ
ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน”
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค โพชฌงค์ดีนัก ข้าแต่พระสุคต โพชฌงค์ดีนัก”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระมหากัสสปะก็มีใจยินดี ชื่นชม
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค หายขาดจากอาพาธนั้น และอาพาธนั้นอันท่าน
พระมหากัสสปะละได้อย่างนั้น

ปฐมคิลานสูตรที่ ๔ จบ

๕. ทุติยคิลานสูตร
ว่าด้วยผู้อาพาธ สูตรที่ ๒

[๑๙๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้
เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะอาพาธ ได้รับ
ทุกข์ เป็นไข้หนัก อยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ
ครั้นในเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้น เข้าไปหาท่านพระ
มหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้ว ได้ตรัสถามท่าน
พระมหาโมคคัลลานะดังนี้ว่า
“โมคคัลลานะ เธอยังสบายดีหรือ ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ ทุกขเวทนาทุเลาลง
ไม่กำเริบขึ้นหรือ อาการทุเลาปรากฏ อาการกำเริบไม่ปรากฏหรือ”
ท่านพระมหาโมคคัลลานะทูลตอบว่า “ข้าพระองค์ไม่สบาย จะเป็นอยู่ไม่ได้
ทุกขเวทนามีแต่กำเริบหนักขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย อาการกำเริบปรากฏ อาการทุเลา
ไม่ปรากฏ พระพุทธเจ้าข้า”
“โมคคัลลานะ โพชฌงค์ ๗ ประการนี้เรากล่าวไว้ชอบแล้ว ที่บุคคลเจริญ
ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน”
โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์เรากล่าวไว้ชอบแล้ว ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๒. คิลานวรรค ๖. ตติยคิลานสูตร

ฯลฯ
๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์เรากล่าวไว้ชอบแล้ว ที่บุคคลเจริญ ทำให้
มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
โมคคัลลานะ โพชฌงค์ ๗ ประการนี้เรากล่าวไว้ชอบแล้ว ที่บุคคลเจริญ
ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน”
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค โพชฌงค์ดีนัก ข้าแต่พระสุคต โพชฌงค์ดีนัก”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะก็มีใจยินดี
ชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค หายขาดจากอาพาธนั้น และอาพาธนั้นอัน
ท่านพระมหาโมคคัลลานะละได้อย่างนั้น

ทุติยคิลานสูตรที่ ๕ จบ

๖. ตติยคิลานสูตร
ว่าด้วยผู้อาพาธ สูตรที่ ๓

[๑๙๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้
เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคทรงพระประชวร ได้รับ
ทุกข์ พระอาการหนัก
ครั้งนั้น ท่านพระมหาจุนทะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านพระมหาจุนทะดังนี้ว่า
“จุนทะ เฉพาะเธอที่จะอธิบายโพชฌงค์ให้แจ่มแจ้ง”
ท่านพระมหาจุนทะทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โพชฌงค์ ๗ ประการ
นี้พระองค์ตรัสไว้ชอบแล้ว ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง
เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ชอบแล้ว ที่บุคคลเจริญ
ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๒. คิลานวรรค ๗. ปารังคมสูตร

ฯลฯ
๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ชอบแล้ว ที่บุคคลเจริญ
ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โพชฌงค์ ๗ ประการนี้พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ชอบแล้ว
ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน”
“จุนทะ โพชฌงค์ดีนัก จุนทะ โพชฌงค์ดีนัก”
ท่านพระมหาจุนทะได้กล่าวคำนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคทรงชื่นชม พอพระทัย
ทรงหายขาดจากพระประชวรนั้น และพระประชวรนั้นอันพระผู้มีพระภาคทรงละได้
อย่างนั้น

ตติยคิลานสูตรที่ ๖ จบ

๗. ปารังคมสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อให้ถึงฝั่ง

[๑๙๘] “ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มาก
แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อถึงฝั่งโน้นจากฝั่งนี้
โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์
ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อม
เป็นไปเพื่อถึงฝั่งโน้นจากฝั่งนี้
ในหมู่มนุษย์ เหล่าชนผู้ไปถึงฝั่งโน้นมีจำนวนน้อย
ส่วนหมู่สัตว์นอกนี้เลาะไปตามฝั่งนี้ทั้งนั้น
ส่วนชนเหล่าใดประพฤติตามธรรม
ในธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้โดยชอบ
ชนเหล่านั้นจักข้ามพ้นวัฏฏะ
อันเป็นบ่วงมารที่ข้ามได้แสนยาก จักถึงฝั่งโน้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๒. คิลานวรรค ๘. วิรัทธสูตร

บัณฑิตละธรรมดำแล้วพึงเจริญธรรมขาว
ออกจากที่มีน้ำ มาสู่ที่ไม่มีน้ำ
ละกามทั้งหลายแล้วเป็นผู้หมดความกังวล
พึงปรารถนาความยินดียิ่งในวิเวกที่ยินดีได้ยากยิ่ง
บัณฑิตพึงชำระตนให้ผ่องแผ้ว
จากเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตทั้งหลาย
บัณฑิตเหล่าใดอบรมจิตโดยชอบ
ในองค์ธรรมเป็นเครื่องตรัสรู้ทั้งหลาย
ไม่ถือมั่น ยินดีในนิพพานเป็นที่สละความถือมั่น
บัณฑิตเหล่านั้นสิ้นอาสวะแล้ว
มีความรุ่งเรือง ดับสนิทแล้วในโลก”๑

ปารังคมสูตรที่ ๗ จบ

๘. วิรัทธสูตร
ว่าด้วยธรรมที่บุคคลพลาด

[๑๙๙] “ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการอันบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
พลาดแล้ว อริยมรรคที่ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ก็ชื่อว่าเป็นอันบุคคลเหล่านั้น
พลาดแล้ว โพชฌงค์ ๗ ประการอันบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งปรารภแล้ว อริยมรรค
ที่ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ก็ชื่อว่าเป็นอันบุคคลเหล่านั้นปรารภแล้ว
โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์
ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการอันบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งพลาดแล้ว
อริยมรรคที่ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ก็ชื่อว่าเป็นอันบุคคลเหล่านั้นพลาดแล้ว
ส่วนโพชฌงค์ ๗ ประการนี้อันบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งปรารภแล้ว อริยมรรคที่ให้
ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ก็ชื่อว่าเป็นอันบุคคลเหล่านั้นปรารภแล้ว”

วิรัทธสูตรที่ ๘ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๒. คิลานวรรค ๑๐. นิพพิทาสูตร

๙. อริยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นอริยะ

[๒๐๐] “ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว
เป็นอริยะ เป็นนิยยานิกธรรม๑ นำออกไปเพื่อให้สิ้นทุกข์โดยชอบแก่ผู้บำเพ็ญ
โพชฌงค์ ๗ ประการนั้น
โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์
ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว เป็น
อริยะ เป็นนิยยานิกธรรม นำออกไปเพื่อให้สิ้นทุกข์โดยชอบแก่ผู้บำเพ็ญโพชฌงค์ ๗
ประการนั้น”

อริยสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. นิพพิทาสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย

[๒๐๑] “ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายอย่างที่สุด เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ
เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์
ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อม
เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายอย่างที่สุด เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ
เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน”

นิพพิทาสูตรที่ ๑๐ จบ
คิลานวรรคที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๒. คิลานวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปาณสูตร ๒. ปฐมสุริยูปมสูตร
๓. ทุติยสุริยูปมสูตร ๔. ปฐมคิลานสูตร
๕. ทุติยคิลานสูตร ๖. ตติยคิลานสูตร
๗. ปารังคมสูตร ๘. วิรัทธสูตร
๙. อริยสูตร ๑๐. นิพพิทาสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๓. อุทายิวรรค ๒. โพชฌังคเทสนาสูตร

๓. อุทายิวรรค
หมวดว่าด้วยพระอุทายี
๑. โพธายสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อตรัสรู้

[๒๐๒] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า ‘โพชฌงค์ โพชฌงค์’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ จึงตรัสว่า
‘โพชฌงค์”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ เราเรียกว่า ‘โพชฌงค์’ เพราะเป็นไป
เพื่อตรัสรู้
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ
ฯลฯ
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย
นิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
ภิกษุ เราเรียกว่า ‘โพชฌงค์’ เพราะเป็นไปเพื่อตรัสรู้”

โพธายสูตรที่ ๑ จบ

๒. โพชฌังคเทสนาสูตร
ว่าด้วยการแสดงโพชฌงค์

[๒๐๓] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงโพชฌงค์ ๗ ประการแก่เธอทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงฟัง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๓. อุทายิวรรค ๓. ฐานิยสูตร

โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์
ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้แล”

โพชฌังคเทสนาสูตรที่ ๒ จบ

๓. ฐานิยสูตร
ว่าด้วยธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งนิวรณ์

[๒๐๔] “ภิกษุทั้งหลาย กามฉันทะ (ความพอใจในกาม) ที่ยังไม่เกิดย่อม
เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น เพราะทำมนสิการ
ถึงธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งกามราคะให้มาก พยาบาท (ความคิดปองร้าย) ที่ยังไม่เกิด
ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น เพราะทำ
มนสิการถึงธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งพยาบาทให้มาก ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น
และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น เพราะทำมนสิการถึง
ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งถีนมิทธะให้มาก อุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ)
ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
เพราะทำมนสิการถึงธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอุทธัจจกุกกุจจะให้มาก วิจิกิจฉา (ความ
ลังเลสงสัย) ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญ
ไพบูลย์ยิ่งขึ้น เพราะทำมนสิการถึงธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งวิจิกิจฉาให้มาก
ภิกษุทั้งหลาย สติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมถึง
ความเจริญเต็มที่ เพราะทำมนสิการถึงธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งสติสัมโพชฌงค์ให้มาก
ฯลฯ
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมถึงความ
เจริญเต็มที่ เพราะทำมนสิการถึงธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์ให้มาก”

ฐานิยสูตรที่ ๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๓. อุทายิวรรค ๕. อปริหานิยสูตร

๔. อโยนิโสมนสิการสูตร
ว่าด้วยการมนสิการโดยไม่แยบคาย

[๒๐๕] “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลมนสิการโดยไม่แยบคาย กามฉันทะที่ยังไม่
เกิดย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น พยาบาท
ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญ
ไพบูลย์ยิ่งขึ้น วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไปเพื่อ
ความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
สติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดย่อมไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป
ฯลฯ
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดย่อมไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป
ภิกษุทั้งหลาย แต่เมื่อบุคคลมนสิการโดยแยบคาย กามฉันทะที่ยังไม่เกิด
ย่อมไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว เขาก็ละได้ พยาบาทที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น
และที่เกิดขึ้นแล้ว เขาก็ละได้ ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว
เขาก็ละได้ อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว เขาก็ละได้
วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว เขาก็ละได้ สติสัมโพชฌงค์
ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมถึงความเจริญเต็มที่
ฯลฯ
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมถึงความ
เจริญเต็มที่”

อโยนิโสมนสิการสูตรที่ ๔ จบ

๕. อปริหานิยสูตร
ว่าด้วยอปริหานิยธรรม

[๒๐๖] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอปริหานิยธรรม (ธรรมอันไม่เป็นที่ตั้ง
แห่งความเสื่อม) ๗ ประการแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๓๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๓. อุทายิวรรค ๖. ตัณหักขยสูตร

อปริหานิยธรรม ๗ ประการ เป็นอย่างไร
คือ โพชฌงค์ ๗ ประการ
โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์
ภิกษุทั้งหลาย อปริหานิยธรรม ๗ ประการนี้แล”

อปริหานิยสูตรที่ ๕ จบ

๖. ตัณหักขยสูตร
ว่าด้วยมรรคและปฏิปทาเพื่อความสิ้นตัณหา

[๒๐๗] “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเจริญมรรค(และ)ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อ
ความสิ้นตัณหา
มรรค เป็นอย่างไร ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความสิ้นตัณหา เป็นอย่างไร
คือ โพชฌงค์ ๗ ประการ
โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอุทายีได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โพชฌงค์ ๗ ประการที่บุคคลเจริญอย่างไร ทำให้
มากแล้วอย่างไร จึงเป็นไปเพื่อความสิ้นตัณหา”
“อุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต
ไม่มีความเบียดเบียน เมื่อเธอเจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัย
วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ อันไพบูลย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๓๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๓. อุทายิวรรค ๗. ตัณหานิโรธสูตร

เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีความเบียดเบียน ย่อมละ
ตัณหาได้ เพราะละตัณหาได้จึงละกรรม๑ได้ เพราะละกรรมได้
จึงละทุกข์๒ได้
ฯลฯ
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต
ไม่มีความเบียดเบียน เมื่อเธอเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัย
วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ อันไพบูลย์
เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีความเบียดเบียน ย่อมละ
ตัณหาได้ เพราะละตัณหาได้จึงละกรรมได้ เพราะละกรรมได้
จึงละทุกข์ได้
อุทายี เพราะสิ้นตัณหาจึงสิ้นกรรม เพราะสิ้นกรรมจึงสิ้นทุกข์ ด้วยประการ
ฉะนี้”

ตัณหักขยสูตรที่ ๖ จบ

๗. ตัณหานิโรธสูตร
ว่าด้วยมรรคและปฏิปทาเพื่อความดับตัณหา

[๒๐๘] “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเจริญมรรค(และ)ปฏิปทาที่เป็นไป
เพื่อความดับตัณหา
มรรค เป็นอย่างไร ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความดับตัณหา เป็นอย่างไร
คือ โพชฌงค์ ๗ ประการ
โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๓. อุทายิวรรค ๘. นิพเพธภาคิยสูตร

โพชฌงค์ ๗ ประการที่บุคคลเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึง
เป็นไปเพื่อความดับตัณหา
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ
ฯลฯ
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการที่บุคคลเจริญอย่างนี้แล ทำให้มาก
แล้วอย่างนี้ จึงเป็นไปเพื่อความดับตัณหา”

ตัณหานิโรธสูตรที่ ๗ จบ

๘. นิพเพธภาคิยสูตร
ว่าด้วยทางอันเป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส

[๒๐๙] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงทางอันเป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลสแก่
เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ทางอันเป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส เป็นอย่างไร
คือ โพชฌงค์ ๗ ประการ
โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอุทายีได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โพชฌงค์ ๗ ประการที่บุคคลเจริญอย่างไร ทำให้
มากแล้วอย่างไร จึงเป็นไปเพื่อความตรัสรู้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๓. อุทายิวรรค ๙. เอกธัมมสูตร

“อุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต
ไม่มีความเบียดเบียน เธอมีจิตอันสติสัมสัมโพชฌงค์ให้เจริญ
แล้ว ชำแรก ทำลายกองโลภะที่ไม่เคยชำแรก ทำลายได้ ชำแรก
ทำลายกองโทสะที่ไม่เคยชำแรก ทำลายได้ ชำแรก ทำลาย
กองโมหะที่ไม่เคยชำแรก ทำลายได้
ฯลฯ
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต
ไม่มีความเบียดเบียน เธอมีจิตอันอุเบกขาสัมโพชฌงค์ให้เจริญ
แล้ว ชำแรก ทำลายกองโลภะที่ไม่เคยชำแรก ทำลายได้ ชำแรก
ทำลายกองโทสะที่ไม่เคยชำแรก ทำลายได้ ชำแรก ทำลายกอง
โมหะที่ไม่เคยชำแรก ทำลายได้
อุทายี โพชฌงค์ ๗ ประการที่บุคคลเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้
จึงเป็นไปเพื่อความชำแรกกิเลส”

นิพเพธภาคิยสูตรที่ ๘ จบ

๙. เอกธัมมสูตร
ว่าด้วยธรรมอันเป็นเอก

[๒๑๐] “ภิกษุทั้งหลาย เราไม่พิจารณาเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่บุคคล
เจริญ ทำให้มากแล้ว จึงเป็นไปเพื่อละธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์เหมือนโพชฌงค์ ๗
ประการนี้เลย
โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๔๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๓. อุทายิวรรค ๑๐. อุทายิสูตร

โพชฌงค์ ๗ ประการที่บุคคลเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึง
เป็นไปเพื่อละธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ
ฯลฯ
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย
นิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
โพชฌงค์ ๗ ประการที่บุคคลเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้ จึงเป็น
ไปเพื่อละธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์
ธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์ เป็นอย่างไร
คือ จักขุ (ตา) เป็นธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์ เครื่องผูกคือสังโยชน์ ความถือ
มั่น ย่อมเกิดขึ้นที่จักขุนี้ โสตะ (หู) ... ฆานะ (จมูก) ... ชิวหา (ลิ้น) เป็นธรรม
ที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์ เครื่องผูกคือสังโยชน์ ความถือมั่น ย่อมเกิดขึ้นที่โสตะ ...
ฆานะ ... ชิวหานี้ ฯลฯ มโน (ใจ) เป็นธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์ เครื่องผูกคือ
สังโยชน์ ความถือมั่น ย่อมเกิดขึ้นที่มโนนี้
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์”

เอกธัมมสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. อุทายิสูตร
ว่าด้วยพระอุทายี

[๒๑๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของชาวสุมภะชื่อ
เสตกะ แคว้นสุมภะ ครั้งนั้นแล ท่านพระอุทายีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ฯลฯ นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ที่ข้าพระองค์มีความรัก
ความเคารพ ความละอาย และความเกรงกลัวในพระผู้มีพระภาคมากเหลือเกิน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๔๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๓. อุทายิวรรค ๑๐. อุทายิสูตร

เพราะเมื่อก่อน ข้าพระองค์เป็นคฤหัสถ์อยู่ครองเรือน ไม่คุ้นเคยกับพระธรรม
ไม่คุ้นเคยกับพระสงฆ์ ข้าพระองค์นั้นเมื่อมีความรัก ความเคารพ ความละอาย
และความเกรงกลัวในพระผู้มีพระภาค จึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต พระผู้มี
พระภาคทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์ว่า ‘รูปเป็นดังนี้ ความเกิดแห่งรูปเป็นดังนี้
ความดับแห่งรูปเป็นดังนี้ เวทนาเป็นดังนี้ ฯลฯ สัญญาเป็นดังนี้ ... สังขารเป็นดังนี้
... วิญญาณเป็นดังนี้ ความเกิดแห่งวิญญาณเป็นดังนี้ ความดับแห่งวิญญาณเป็น
ดังนี้’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์อยู่ในเรือนว่าง พิจารณาความเกิดและความ
เสื่อมแห่งอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ ได้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกข-
สมุทัย (เหตุเกิดทุกข์) นี้ทุกขนิโรธ (ความดับทุกข์) นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อ
ปฏิบัติที่ให้ถึงความดับทุกข์)’ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม๑ที่ข้าพระองค์บรรลุแล้ว
และมรรค๒ที่ข้าพระองค์ได้แล้ว ที่ข้าพระองค์เจริญทำให้มากแล้วนั้น จักนำข้าพระ
องค์ผู้อยู่เพื่อความเป็นอย่างนั้นไปโดยประการที่จักรู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สติสัมโพชฌงค์ที่ข้าพระองค์ได้แล้ว ที่ข้าพระองค์เจริญ
ทำให้มากแล้วนั้น จักนำข้าพระองค์ผู้อยู่เพื่อความเป็นอย่างนั้นไปโดยประการที่จักรู้ชัดว่า
‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความ
เป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ ฯลฯ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ข้าพระองค์
ได้แล้ว ที่ข้าพระองค์เจริญ ทำให้มากแล้วนั้น จักนำข้าพระองค์ผู้อยู่เพื่อความเป็น
อย่างนั้นไปโดยประการที่จักรู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่
ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
มรรคที่ข้าพระองค์ได้แล้ว ที่ข้าพระองค์เจริญ ทำให้มากแล้วนั้น จักนำข้าพระองค์ผู้
อยู่เพื่อความเป็นอย่างนั้นไปโดยประการที่จักรู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๓. อุทายิวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ อุทายี มรรคที่เธอได้แล้ว ที่เธอเจริญ
ทำให้มากแล้วนั้น จักนำเธอผู้อยู่เพื่อความเป็นอย่างนั้นไปโดยประการที่จักรู้ชัดว่า
‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อ
ความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

อุทายิสูตรที่ ๑๐ จบ
อุทายิวรรคที่ ๓ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. โพธายสูตร ๒. โพชฌังคเทสนาสูตร
๓. ฐานิยสูตร ๔. อโยนิโสมนสิการสูตร
๕. อปริหานิยสูตร ๖. ตัณหักขยสูตร
๗. ตัณหานิโรธสูตร ๘. นิพเพธภาคิยสูตร
๙. เอกธัมมสูตร ๑๐. อุทายิสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๔. นีวรณวรรค ๒. ทุติยกุสลสูตร

๔. นีวรณวรรค
หมวดว่าด้วยนิวรณ์
๑. ปฐมกุสลสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นกุศล สูตรที่ ๑

[๒๑๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศล
เป็นส่วนกุศล เป็นฝ่ายกุศล ทั้งหมดมีความไม่ประมาทเป็นมูล รวมลงในความ
ไม่ประมาท ความไม่ประมาทบัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าธรรมเหล่านั้น ภิกษุผู้ไม่
ประมาทพึงหวังข้อนี้ได้ว่า ‘จักเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ ทำโพชฌงค์ ๗ ประการ
ให้มาก’
ภิกษุผู้ไม่ประมาทเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ ทำโพชฌงค์ ๗ ประการ
ให้มาก อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ
ฯลฯ
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย
นิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่ประมาทเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ ทำโพชฌงค์ ๗
ประการให้มาก อย่างนี้แล”

ปฐมกุสลสูตรที่ ๑ จบ

๒. ทุติยกุสลสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นกุศล สูตรที่ ๒

[๒๑๓] “ภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศล เป็นส่วนกุศล เป็นฝ่าย
กุศล ทั้งหมดมีโยนิโสมนสิการ (การมนสิการโดยแยบคาย) เป็นมูล รวมลงใน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๔. นีวรณวรรค ๓. อุปักกิเลสสูตร

โยนิโสมนสิการ โยนิโสมนสิการบัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าธรรมเหล่านั้น ภิกษุผู้ถึง
พร้อมด้วยโยนิโสมนสิการ พึงหวังข้อนี้ได้ว่า ‘จักเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ
ทำโพชฌงค์ ๗ ประการให้มาก’
ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ ทำ
โพชฌงค์ ๗ ประการให้มาก อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ
ฯลฯ
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย
นิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการ เจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ
ทำโพชฌงค์ ๗ ประการให้มาก อย่างนี้แล”

ทุติยกุสลสูตรที่ ๒ จบ

๓. อุปักกิเลสสูตร
ว่าด้วยความเศร้าหมองแห่งจิต

[๒๑๔] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งเศร้าหมองแห่งทอง ๕ ประการนี้เป็นเหตุให้ทอง
เศร้าหมอง ไม่อ่อน ใช้การไม่ได้ ไม่ผุดผ่อง แตกง่าย ใช้งานไม่ได้ดี
สิ่งเศร้าหมองแห่งทอง ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เหล็กเป็นสิ่งเศร้าหมองแห่งทอง เป็นเหตุให้ทองเศร้าหมอง ไม่
อ่อน ใช้การไม่ได้ ไม่ผุดผ่อง แตกง่าย ใช้งานไม่ได้ดี
๒. โลหะเป็นสิ่งเศร้าหมองแห่งทอง ฯลฯ
๓. ดีบุกเป็นสิ่งเศร้าหมองแห่งทอง ฯลฯ
๔. ตะกั่วเป็นสิ่งเศร้าหมองแห่งทอง ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๔. นีวรณวรรค ๔. อนุปักกิเลสสูตร

๕. เงินเป็นสิ่งเศร้าหมองแห่งทอง เป็นเหตุให้ทองเศร้าหมอง ไม่อ่อน
ใช้การไม่ได้ ไม่ผุดผ่อง แตกง่าย ใช้งานไม่ได้ดี
สิ่งเศร้าหมองแห่งทอง ๕ ประการนี้เป็นเหตุให้ทองเศร้าหมอง ไม่อ่อน ใช้การ
ไม่ได้ ไม่ผุดผ่อง แตกง่าย ใช้งานไม่ได้ดี
ความเศร้าหมองแห่งจิต ๕ ประการนี้ก็เหมือนกัน เป็นเหตุให้จิตเศร้าหมอง
ไม่อ่อน ไม่เหมาะแก่การใช้งาน ไม่ผุดผ่อง ฟุ้งซ่าน ไม่ตั้งมั่นดีเพื่อความสิ้น
อาสวะ
ความเศร้าหมองแห่งจิต ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กามฉันทะเป็นความเศร้าหมองแห่งจิต เป็นเหตุให้จิตเศร้าหมอง
ไม่อ่อน ไม่เหมาะแก่การใช้งาน ไม่ผุดผ่อง ฟุ้งซ่าน ไม่ตั้งมั่น
ดีเพื่อความสิ้นอาสวะ
๒. พยาบาทเป็นความเศร้าหมองแห่งจิต เป็นเหตุให้จิตเศร้าหมอง
ไม่อ่อน ไม่เหมาะแก่การใช้งาน ไม่ผุดผ่อง ฟุ้งซ่าน ไม่ตั้งมั่น
ดีเพื่อความสิ้นอาสวะ
ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ความเศร้าหมองแห่งจิต ๕ ประการนี้ เป็นเหตุให้จิตเศร้าหมอง
ไม่อ่อน ไม่เหมาะแก่การใช้งาน ไม่ผุดผ่อง ฟุ้งซ่าน ไม่ตั้งมั่นดีเพื่อความสิ้นอาสวะ”๑

อุปักกิเลสสูตรที่ ๓ จบ

๔. อนุปักกิเลสสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ไม่เป็นความเศร้าหมองแห่งจิต

[๒๑๕] “ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ไม่เป็นนิวรณ์เครื่องกางกั้น
ไม่เป็นความเศร้าหมองแห่งจิต ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ
ทำให้แจ้งผลแห่งวิชชาและวิมุตติ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๔. นีวรณวรรค ๕. อโยนิโสมนสิการสูตร

โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์ไม่เป็นนิวรณ์เครื่องกางกั้น ไม่เป็นความเศร้าหมอง
แห่งจิต ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้
แจ้งผลแห่งวิชชาและวิมุตติ
ฯลฯ
๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ไม่เป็นนิวรณ์เครื่องกางกั้น ไม่เป็นความ
เศร้าหมองแห่งจิต ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป
เพื่อทำให้แจ้งผลแห่งวิชชาและวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ ไม่เป็นนิวรณ์เครื่องกางกั้น ไม่เป็น
ความเศร้าหมองแห่งจิต ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้ง
ผลแห่งวิชชาและวิมุตติ”

อนุปักกิเลสสูตรที่ ๔ จบ

๕. อโยนิโสมนสิการสูตร
ว่าด้วยการมนสิการโดยไม่แยบคาย

[๒๑๖] “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมนสิการโดยไม่แยบคาย กามฉันทะที่ยังไม่
เกิดย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น พยาบาท
ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์
ยิ่งขึ้น อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไปเพื่อ
ความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็น
ไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น”

อโยนิโสมนสิการสูตรที่ ๕ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๔. นีวรณวรรค ๘. อาวรณนีวรณสูตร

๖. โยนิโสมนสิการสูตร
ว่าด้วยการมนสิการโดยแยบคาย

[๒๑๗] “ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง เมื่อภิกษุมนสิการโดยแยบคาย สติสัมโพชฌงค์
ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมถึงความเจริญเต็มที่
ฯลฯ
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมถึงความ
เจริญเต็มที่”

โยนิโสมนสิการสูตรที่ ๖ จบ

๗. วุฑฒิสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อความเจริญ

[๒๑๘] “ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญ ไม่เสื่อม
โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์
ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้แลที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญ ไม่เสื่อม”

วุฑฒิสูตรที่ ๗ จบ

๘. อาวรณนีวรณสูตร
ว่าด้วยนิวรณ์เครื่องกางกั้น

[๒๑๙] “ภิกษุทั้งหลาย นิวรณ์เครื่องกางกั้น ๕ ประการนี้ เป็นความ
เศร้าหมองแห่งจิต ทอนกำลังปัญญา๑


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๔. นีวรณวรรค ๘. อาวรณนีวรณสูตร

นิวรณ์เครื่องกางกั้น ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กามฉันทะเป็นนิวรณ์เครื่องกางกั้น เป็นความเศร้าหมองแห่งจิต
ทอนกำลังปัญญา
๒. พยาบาทเป็นนิวรณ์เครื่องกางกั้น เป็นความเศร้าหมองแห่งจิต
ทอนกำลังปัญญา
๓. ถีนมิทธะเป็นนิวรณ์เครื่องกางกั้น เป็นความเศร้าหมองแห่งจิต
ทอนกำลังปัญญา
๔. อุทธัจจกุกกุจจะเป็นนิวรณ์เครื่องกางกั้น เป็นความเศร้าหมอง
แห่งจิต ทอนกำลังปัญญา
๕. วิจิกิจฉาเป็นนิวรณ์เครื่องกางกั้น เป็นความเศร้าหมองแห่งจิต
ทอนกำลังปัญญา
นิวรณ์เครื่องกางกั้น ๕ ประการนี้ เป็นความเศร้าหมองแห่งจิต ทอนกำลัง
ปัญญา

ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ไม่เป็นนิวรณ์เครื่องกางกั้น ไม่เป็น
ความเศร้าหมองแห่งจิต ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้ง
ผลแห่งวิชชาและวิมุตติ
โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์ไม่เป็นนิวรณ์เครื่องกางกั้น ไม่เป็นความเศร้าหมอง
แห่งจิต ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้
แจ้งผลแห่งวิชชาและวิมุตติ
ฯลฯ
๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ไม่เป็นนิวรณ์เครื่องกางกั้น ไม่เป็นความ
เศร้าหมองแห่งจิต ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป
เพื่อทำให้แจ้งผลแห่งวิชชาและวิมุตติ
โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ไม่เป็นนิวรณ์เครื่องกางกั้น ไม่เป็นความเศร้าหมองแห่ง
จิต ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งผลแห่งวิชชาและวิมุตติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๔. นีวรณวรรค ๙. รุกขสูตร

ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกตั้งใจ ใฝ่ใจ สำรวมใจ เงี่ยโสตสดับธรรม
สมัยนั้น นิวรณ์ ๕ ประการย่อมไม่มีแก่เธอ โพชฌงค์ ๗ ประการย่อมถึงความ
เจริญเต็มที่
นิวรณ์ ๕ ประการย่อมไม่มีแก่เธอในสมัยนั้น อะไรบ้าง คือ
๑. กามฉันทนิวรณ์ย่อมไม่มีในสมัยนั้น
๒. พยาบาทนิวรณ์ย่อมไม่มีในสมัยนั้น
๓. ถีนมิทธนิวรณ์ย่อมไม่มีในสมัยนั้น
๔. อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ย่อมไม่มีในสมัยนั้น
๕. วิจิกิจฉานิวรณ์ย่อมไม่มีในสมัยนั้น
นิวรณ์ ๕ ประการย่อมไม่มีแก่เธอในสมัยนั้น
โพชฌงค์ ๗ ประการย่อมถึงความเจริญเต็มที่ในสมัยนั้น อะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญเต็มที่ในสมัยนั้น
ฯลฯ
๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญเต็มที่ในสมัยนั้น
โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ย่อมถึงความเจริญเต็มที่ในสมัยนั้น
ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกตั้งใจ ใฝ่ใจ สำรวมใจ เงี่ยโสตสดับธรรม
สมัยนั้น นิวรณ์ ๕ ประการย่อมไม่มีแก่เธอ โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ย่อมถึง
ความเจริญเต็มที่”

อาวรณนีวรณสูตรที่ ๘ จบ

๙. รุกขสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยต้นไม้

[๒๒๐] “ภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ใหญ่ที่มีกาฝากกอใหญ่ขึ้นเกาะปกคลุมเป็น
เหตุให้ล้มระเนระนาด ต้นไม้ใหญ่เหล่านั้นที่มีกาฝากกอใหญ่ขึ้นเกาะปกคลุมเป็น
เหตุให้ล้มระเนระนาด ได้แก่ต้นอะไรบ้าง คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๔. นีวรณวรรค ๙. รุกขสูตร

ต้นโพธิ์ ต้นไทร ต้นเลียบ ต้นมะเดื่อ ต้นกัจฉกะ ต้นมะขวิด ต้นไม้ใหญ่เหล่านี้
ที่มีกาฝากกอใหญ่ขึ้นเกาะปกคลุมเป็นเหตุให้ล้มหักลง ฉันใด กุลบุตรบางคนในโลกนี้
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ละกามเช่นใด ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เขาย่อมถูก
กามเช่นนั้น หรือสิ่งที่เลวกว่านั้น ทำให้หักล้มลง
ภิกษุทั้งหลาย นิวรณ์เครื่องกางกั้น ๕ ประการนี้ครอบงำจิตแล้ว ทอนกำลัง
ปัญญา
นิวรณ์เครื่องกางกั้น ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กามฉันทะเป็นนิวรณ์เครื่องกางกั้น ครอบงำจิตแล้ว ทอนกำลัง
ปัญญา
๒. พยาบาทเป็นนิวรณ์เครื่องกางกั้น ครอบงำจิตแล้ว ทอนกำลัง
ปัญญา
๓. ถีนมิทธะเป็นนิวรณ์เครื่องกางกั้น ครอบงำจิตแล้ว ทอนกำลัง
ปัญญา
๔. อุทธัจจกุกกุจจะเป็นนิวรณ์เครื่องกางกั้น ครอบงำจิตแล้ว ทอน
กำลังปัญญา
๕. วิจิกิจฉาเป็นนิวรณ์เครื่องกางกั้น ครอบงำจิตแล้ว ทอนกำลัง
ปัญญา
นิวรณ์เครื่องกางกั้น ๕ ประการนี้ครอบงำจิตแล้ว ทอนกำลังปัญญา๑
ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ไม่เป็นนิวรณ์เครื่องกางกั้น ไม่ครอบงำ
จิต ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งผลแห่งวิชชาและวิมุตติ
โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์ไม่เป็นนิวรณ์เครื่องกางกั้น ไม่ครอบงำจิต ที่
บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งผลแห่ง
วิชชาและวิมุตติ
ฯลฯ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๔. นีวรณวรรค ๑๐. นีวรณสูตร

๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ไม่เป็นนิวรณ์เครื่องกางกั้น ไม่ครอบงำจิต
ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งผลแห่ง
วิชชาและวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ไม่เป็นนิวรณ์เครื่องกางกั้น ไม่ครอบงำ
จิต ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งผลแห่งวิชชาและวิมุตติ”

รุกขสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. นีวรณสูตร
ว่าด้วยนิวรณ์

[๒๒๑] “ภิกษุทั้งหลาย นิวรณ์ ๕ ประการนี้ทำให้เป็นเหมือนคนตาบอด
เป็นเหมือนคนไม่มีดวงตา ทำให้ไม่รู้อะไร มีปัญญามืดบอด เป็นไปในฝ่ายความ
คับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน
นิวรณ์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กามฉันทนิวรณ์ทำให้เป็นเหมือนคนตาบอด เป็นเหมือนคนไม่มี
ดวงตา ทำให้ไม่รู้อะไร มีปัญญามืดบอด เป็นไปในฝ่ายความ
คับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน
๒. พยาบาทนิวรณ์ทำให้เป็นเหมือนคนตาบอด ฯลฯ
๓. ถีนมิทธนิวรณ์ทำให้เป็นเหมือนคนตาบอด ฯลฯ
๔. อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ทำให้เป็นเหมือนคนตาบอด ฯลฯ
๕. วิจิกิจฉานิวรณ์ทำให้เป็นเหมือนคนตาบอด เป็นเหมือนคนไม่มี
ดวงตา ทำให้ไม่รู้อะไร มีปัญญามืดบอด เป็นไปในฝ่ายความ
คับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน
นิวรณ์ ๕ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ทำให้เป็นเหมือนคนมีดวงตา ทำให้รู้
เจริญปัญญา ไม่เป็นไปในฝ่ายความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๕๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๔. นีวรณวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์ทำให้เป็นเหมือนคนมีดวงตา ทำให้รู้ เจริญ
ปัญญา ไม่เป็นไปในฝ่ายความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน
ฯลฯ
๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ทำให้เป็นเหมือนคนมีดวงตา ทำให้รู้ เจริญ
ปัญญา ไม่เป็นไปในฝ่ายความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน
ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ทำให้เป็นเหมือนคนมีดวงตา ทำให้รู้
เจริญปัญญา ไม่เป็นไปในฝ่ายความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน”

นีวรณสูตรที่ ๑๐ จบ
นีวรณวรรคที่ ๔ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมกุสลสูตร ๒. ทุติยกุสลสูตร
๓. อุปักกิเลสสูตร ๔. อนุปักกิเลสสูตร
๕. อโยนิโสมนสิการสูตร ๖. โยนิโสมนสิการสูตร
๗. วุฑฒิสูตร ๘. อาวรณนีวรณสูตร
๙. รุกขสูตร ๑๐. นีวรณสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๕. จักกวัตติวรรค ๒. จักกวัตติสูตร

๕. จักกวัตติวรรค
หมวดว่าด้วยพระเจ้าจักรพรรดิ
๑. วิธาสูตร
ว่าด้วยมานะ

[๒๒๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์ทั้งปวงที่ละมานะ
(ความถือตัว) ๓ ประการในอดีตได้ก็เพราะโพชฌงค์ ๗ ประการที่สมณะหรือ
พราหมณ์ทั้งปวงเจริญ ทำให้มากแล้ว สมณะหรือพราหมณ์ทั้งปวงที่จักละมานะ
๓ ประการในอนาคตได้ก็เพราะโพชฌงค์ ๗ ประการที่สมณะหรือพราหมณ์ทั้ง
ปวงเจริญ ทำให้มากแล้ว สมณะหรือพราหมณ์ทั้งปวงที่ละมานะ ๓ ประการได้
ในปัจจุบันก็เพราะโพชฌงค์ ๗ ประการที่สมณะหรือพราหมณ์ทั้งปวงเจริญ ทำ
ให้มากแล้ว
โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์
ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์ทั้งปวงที่ละมานะ ๓ ประการในอดีตได้
ฯลฯ จักละ ฯลฯ ละมานะ ๓ ประการในปัจจุบันได้ก็เพราะโพชฌงค์ ๗ ประการนี้
ที่สมณะหรือพราหมณ์ทั้งปวงเจริญ ทำให้มากแล้ว”

วิธาสูตรที่ ๑ จบ

๒. จักกวัตติสูตร
ว่าด้วยพระเจ้าจักรพรรดิ

[๒๒๓] “ภิกษุทั้งหลาย เพราะพระเจ้าจักรพรรดิปรากฏ แก้ว ๗ ประการ
จึงปรากฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๕๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๕. จักกวัตติวรรค ๓. มารสูตร

แก้ว ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. จักรแก้ว ๒. ช้างแก้ว
๓. ม้าแก้ว ๔. มณีแก้ว
๕. นางแก้ว ๖. คหบดีแก้ว
๗. ปริณายกแก้ว
เพราะพระเจ้าจักรพรรดิปรากฏ แก้ว ๗ ประการนี้จึงปรากฏ
เพราะตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าปรากฏ แก้วคือโพชฌงค์ ๗ ประการ
จึงปรากฏ
แก้วคือโพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. แก้วคือสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ๗. แก้วคืออุเบกขาสัมโพชฌงค์
ภิกษุทั้งหลาย เพราะตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าปรากฏ แก้วคือ
โพชฌงค์ ๗ ประการนี้จึงปรากฏ”

จักกวัตติสูตรที่ ๒ จบ

๓. มารสูตร
ว่าด้วยมาร

[๒๒๔] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงทางสำหรับย่ำยีมารและกองทัพมารแก่
เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ทางสำหรับย่ำยีมารและกองทัพมาร เป็นอย่างไร
คือ โพชฌงค์ ๗ ประการ
โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์
ภิกษุทั้งหลาย นี้แล คือทางสำหรับย่ำยีมารและกองทัพมาร”

มารสูตรที่ ๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๕. จักกวัตติวรรค ๕. ปัญญวันตสูตร

๔. ทุปปัญญสูตร
ว่าด้วยเหตุให้คนมีปัญญาทราม

[๒๒๕] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ นั่ง
ณ ที่สมควรแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์
ตรัสว่า ‘มีปัญญาทราม เป็นคนเซอะ๑ มีปัญญาทราม เป็นคนเซอะ’ ด้วยเหตุเพียง
เท่าไรหนอ พระองค์จึงตรัสว่า ‘มีปัญญาทราม เป็นคนเซอะ’ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ เรากล่าวว่า ‘มีปัญญาทราม เป็นคนเซอะ’
ก็เพราะโพชฌงค์ ๗ ประการที่บุคคลนั้นไม่เจริญ ไม่ทำให้มากแล้ว
โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์
ภิกษุ เรากล่าวว่า ‘มีปัญญาทราม เป็นคนเซอะ’ ก็เพราะโพชฌงค์ ๗ ประการนี้
อันบุคคลนั้นไม่เจริญ ไม่ทำให้มากแล้ว”

ทุปปัญญสูตรที่ ๔ จบ

๕. ปัญญวันตสูตร
ว่าด้วยเหตุให้คนมีปัญญา

[๒๒๖] ภิกษุทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า ‘มีปัญญา
ไม่เป็นคนเซอะ มีปัญญา ไม่เป็นคนเซอะ’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ พระองค์จึง
ตรัสว่า ‘มีปัญญา ไม่เป็นคนเซอะ’ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ เรากล่าวว่า ‘มีปัญญา ไม่เป็นคนเซอะ’
ก็เพราะโพชฌงค์ ๗ ประการที่บุคคลนั้นเจริญ ทำให้มากแล้ว


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๕. จักกวัตติวรรค ๗. อทลิททสูตร

โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์
ภิกษุ เรากล่าวว่า ‘มีปัญญา ไม่เป็นคนเซอะ’ ก็เพราะโพชฌงค์ ๗ ประการนี้
ที่บุคคลนั้นเจริญ ทำให้มากแล้ว”

ปัญญวันตสูตรที่ ๕ จบ

๖. ทลิททสูตร
ว่าด้วยเหตุให้เป็นคนจน

[๒๒๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า ‘คนจน คนจน’ ด้วยเหตุเพียง
เท่าไรหนอ พระองค์จึงตรัสว่า ‘คนจน’ พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุ เรากล่าวว่า ‘คนจน’ ก็เพราะโพชฌงค์ ๗ ประการที่บุคคลนั้นไม่เจริญ
ไม่ทำให้มากแล้ว
โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์
ภิกษุ เรากล่าวว่า ‘คนจน’ ก็เพราะโพชฌงค์ ๗ ประการนี้ที่บุคคลนั้นไม่เจริญ
ไม่ทำให้มากแล้ว”

ทลิททสูตรที่ ๖ จบ

๗. อทลิททสูตร
ว่าด้วยเหตุให้เป็นคนไม่จน

[๒๒๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า ‘คนไม่จน คนไม่จน’ ด้วยเหตุเพียง
เท่าไรหนอ พระองค์จึงตรัสว่า ‘คนไม่จน’ พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๕. จักกวัตติวรรค ๘. อาทิจจสูตร

“ภิกษุ เรากล่าวว่า ‘คนไม่จน’ ก็เพราะโพชฌงค์ ๗ ประการที่บุคคลนั้นเจริญ
ทำให้มากแล้ว
โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์
ภิกษุ เรากล่าวว่า ‘คนไม่จน’ ก็เพราะโพชฌงค์ ๗ ประการนี้ที่บุคคลนั้นเจริญ
ทำให้มากแล้ว”

อทลิททสูตรที่ ๗ จบ

๘. อาทิจจสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยดวงอาทิตย์

[๒๒๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อดวงอาทิตย์กำลังจะอุทัย ย่อมมีแสงอรุณขึ้นมาก่อน เป็น
บุพนิมิต ฉันใด กัลยาณมิตตตา (ความเป็นผู้มีมิตรดี) ก็เป็นตัวนำ เป็นบุพนิมิต
เพื่อความเกิดขึ้นแห่งโพชฌงค์ ๗ ประการ ฉันนั้น
ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตร (มิตรดี) พึงหวังข้อนี้ได้ว่า ‘จักเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ
ทำโพชฌงค์ ๗ ประการให้มาก’
ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตรเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ ทำโพชฌงค์ ๗
ประการให้มาก อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก ฯลฯ
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตรเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ ทำโพชฌงค์ ๗
ประการให้มาก อย่างนี้แล”

อาทิจจสูตรที่ ๘ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๕. จักกวัตติวรรค ๑๐. พาหิรังคสูตร

๙. อัชฌัตติกังคสูตร
ว่าด้วยเหตุภายในให้โพชฌงค์เกิด

[๒๓๐] “ภิกษุทั้งหลาย เราไม่พิจารณาเห็นเหตุอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุ
ภายในให้โพชฌงค์ ๗ ประการเกิดขึ้นเหมือนโยนิโสมนสิการ
ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการพึงหวังข้อนี้ได้ว่า ‘จักเจริญโพชฌงค์ ๗
ประการ ทำโพชฌงค์ ๗ ประการให้มาก’
ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ ทำโพชฌงค์
๗ ประการให้มาก อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก ฯลฯ
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย
นิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการ เจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ
ทำโพชฌงค์ ๗ ประการให้มาก อย่างนี้แล”

อัชฌัตติกังคสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. พาหิรังคสูตร
ว่าด้วยเหตุภายนอกให้โพชฌงค์เกิด

[๒๓๑] “ภิกษุทั้งหลาย เราไม่พิจารณาเห็นเหตุอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุ
ภายนอกให้โพชฌงค์ ๗ ประการเกิดขึ้นเหมือนกัลยาณมิตตตา
ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตร พึงหวังข้อนี้ได้ว่า ‘จักเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ ทำ
โพชฌงค์ ๗ ประการให้มาก’
ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตรเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ ทำโพชฌงค์ ๗ ประการ
ให้มาก อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๕. จักกวัตติวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตรเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ ทำโพชฌงค์
๗ ประการให้มาก อย่างนี้แล”

พาหิรังคสูตรที่ ๑๐ จบ
จักกวัตติวรรคที่ ๕ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. วิธาสูตร ๒. จักกวัตติสูตร
๓. มารสูตร ๔. ทุปปัญญสูตร
๕. ปัญญวันตสูตร ๖. ทลิททสูตร
๗. อทลิททสูตร ๘. อาทิจจสูตร
๙. อัชฌัตติกังคสูตร ๑๐. พาหิรังคสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๖. โพชฌังคสากัจฉวรรค ๑. อาหารสูตร

๖. โพชฌังคสากัจฉวรรค
หมวดว่าด้วยการสนทนาเรื่องโพชฌงค์
๑. อาหารสูตร
ว่าด้วยอาหารของนิวรณ์และโพชฌงค์

[๒๓๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอาหารและสิ่งไม่ใช่อาหาร
ของนิวรณ์ ๕ ประการและโพชฌงค์ ๗ ประการแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
อาหารของนิวรณ์
อะไรเล่าเป็นอาหารที่ทำกามฉันทะที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำกามฉันทะ
ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
คือ สุภนิมิตมีอยู่ การทำมนสิการโดยไม่แยบคายในสุภนิมิตนั้นให้มาก นี้
เป็นอาหารที่ทำกามฉันทะที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำกามฉันทะที่เกิดขึ้นแล้วให้
เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
อะไรเล่าเป็นอาหารที่ทำพยาบาทที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำพยาบาท
ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
คือ ปฏิฆนิมิตมีอยู่ การทำมนสิการโดยไม่แยบคายในปฏิฆนิมิตนั้นให้มาก
นี้เป็นอาหารที่ทำพยาบาทที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้วให้
เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
อะไรเล่าเป็นอาหารที่ทำถีนมิทธะที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำถีนมิทธะ
ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
คือ ความไม่ยินดี ความเกียจคร้าน ความเมื่อยขบของร่างกาย ความเมา
อาหาร และความที่จิตหดหู่มีอยู่ การทำมนสิการโดยไม่แยบคายในธรรมเหล่านั้น
ให้มาก นี้เป็นอาหารที่ทำถีนมิทธะที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำถีนมิทธะที่เกิดขึ้น
แล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๖. โพชฌังคสากัจฉวรรค ๑. อาหารสูตร

อะไรเล่าเป็นอาหารที่ทำอุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำ
อุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
คือ ความไม่สงบจิตมีอยู่ การทำมนสิการโดยไม่แยบคายในความไม่สงบ
จิตนั้นให้มาก นี้เป็นอาหารที่ทำอุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำ
อุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
อะไรเล่าเป็นอาหารที่ทำวิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำวิจิกิจฉาที่
เกิดขึ้นแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
คือ ธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งวิจิกิจฉามีอยู่ การทำมนสิการโดยไม่
แยบคายในธรรมเหล่านั้นให้มาก นี้เป็นอาหารที่ทำวิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
หรือทำวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น

อาหารของโพชฌงค์

อะไรเล่าเป็นอาหารที่ทำสติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำ
สติสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
คือ ธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งสติสัมโพชฌงค์มีอยู่ การทำมนสิการโดย
แยบคายในธรรมเหล่านั้นให้มาก นี้เป็นอาหารที่ทำสติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
หรือทำสติสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
อะไรเล่าเป็นอาหารที่ทำธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือ
ทำธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
คือ ธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศลและอกุศล มีโทษและไม่มีโทษ เลวและประณีต
เป็นฝ่ายดำและฝ่ายขาวมีอยู่ การทำมนสิการโดยแยบคายในธรรมเหล่านั้นให้มาก นี้
เป็นอาหารที่ทำธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
อะไรเล่าเป็นอาหารที่ทำวิริยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำ
วิริยสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๖. โพชฌังคสากัจฉวรรค ๑. อาหารสูตร

คือ ความริเริ่ม ความพากเพียร ความบากบั่นมีอยู่ การทำมนสิการโดย
แยบคายในธรรมเหล่านั้นให้มาก นี้เป็นอาหารที่ทำวิริยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
หรือทำวิริยสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
อะไรเล่าเป็นอาหารที่ทำปีติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำปีติ-
สัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
คือ ธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งปีติสัมโพชฌงค์มีอยู่ การทำมนสิการโดย
แยบคายในธรรมเหล่านั้นให้มาก นี้เป็นอาหารที่ทำปีติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
หรือทำปีติสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
อะไรเล่าเป็นอาหารที่ทำปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือ
ทำปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
คือ ความสงบกาย ความสงบจิตมีอยู่ การทำมนสิการโดยแยบคายในธรรม
เหล่านั้นให้มาก นี้เป็นอาหารที่ทำปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำ
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
อะไรเล่าเป็นอาหารที่ทำสมาธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำ
สมาธิสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
คือ สมาธินิมิต อัพยัคคนิมิตมีอยู่ การทำมนสิการโดยแยบคายในนิมิต
เหล่านั้นให้มาก นี้เป็นอาหารที่ทำสมาธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำ
สมาธิสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
อะไรเล่าเป็นอาหารที่ทำอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือ
ทำอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
คือ ธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์มีอยู่ การทำมนสิการ
โดยแยบคายในธรรมเหล่านั้นให้มาก นี้เป็นอาหารที่ทำอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่
เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
สิ่งที่ไม่ใช่อาหารของนิวรณ์
อะไรเล่าไม่เป็นอาหารที่ทำกามฉันทะที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำกามฉันทะ
ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๖๔ }


>>>>> หน้าต่อไป >>>>>





eXTReMe Tracker