ค้นว่าอยู่เล่มใด แล้วกด [ctrl]+f หรือใช้คำสั่งของเครื่องหาตำแหน่งในเล่มอีกทีนะครับ



จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อความสะดวก และสวยงาม
(เฉพาะหน้าจอใหญ่ เช่น คอมพิวเตอร์)
กรุณาคลิก จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อให้กรอบ
ค้นข้อความ ปรากฎที่ด้านซ้ายของหน้า

พระไตรปิฎกภาษาไทย
ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม (ปกสีฟ้า)
ทั้งออนไลน์และออฟไลน์
ที่มาของข้อมูล : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มจร.
MCUTRAI Version 1.0

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗-๑ สุตตันตปิฎกที่ ๐๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๑. นกุลปิตุวรรค ๑. นกุลปิตุสูตร

พระสุตตันตปิฎก
สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

๑. ขันธสังยุต
มูลปัณณาสก์
๑. นกุลปิตุวรรค
หมวดว่าด้วยนกุลปิตาคหบดี
๑. นกุลปิตุสูตร
ว่าด้วยนกุลปิตาคหบดี

[๑] ข้าพเจ้า๑ได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ เภสกฬาวัน สถานที่พระราชทาน
อภัยแก่หมู่เนื้อ เขตกรุงสุงสุมารคิระ แคว้นภัคคะ ครั้งนั้น นกุลปิตาคหบดีเข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร๒ ได้กราบ
ทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เป็นผู้ชรา สูงอายุ เป็นผู้เฒ่า ล่วงกาล
มามาก ผ่านวัยมามาก มีกายกระสับกระส่าย เจ็บป่วยประจำ พระผู้มีพระภาค


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๑. นกุลปิตุวรรค ๑. นกุลปิตุสูตร

และภิกษุทั้งหลายผู้เป็นที่เจริญใจ ข้าพระองค์ก็ไม่ได้เห็นเป็นนิตย์ ขอพระผู้มี
พระภาคโปรดโอวาท โปรดสั่งสอนข้าพระองค์ด้วยพระดำรัสที่เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล
เพื่อความสุขแก่ข้าพระองค์ตลอดกาลนานเถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “คหบดี เรื่องนี้เป็นอย่างนั้น คหบดี เรื่องนี้เป็น
อย่างนั้น ความจริง กายนี้กระสับกระส่าย เป็นดังฟองไข่ มีเปลือกหุ้มไว้ อนึ่ง
บุคคลผู้บริหารกายนี้อยู่ พึงรับรองความไม่มีโรคได้แม้เพียงครู่เดียว จะมีอะไรเล่า
นอกจากความโง่เขลา เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เมื่อเรามีกาย
กระสับกระส่ายอยู่ จิตจักไม่กระสับกระส่าย’ ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้”
ลำดับนั้น นกุลปิตาคหบดีชื่นชม ยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ลุกจาก
อาสนะ ถวายอภิวาท กระทำประทักษิณ๑ แล้วเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่
อภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ท่านพระสารีบุตรได้ถามนกุลปิตาคหบดีดังนี้ว่า
“คหบดี อินทรีย์ของท่านผ่องใสยิ่งนัก สีหน้าก็บริสุทธิ์ผุดผ่อง วันนี้ ท่านได้ฟัง
ธรรมีกถาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคหรือไม่”
นกุลปิตาคหบดีตอบว่า “ท่านผู้เจริญ ทำไมจะไม่เป็นอย่างนี้เล่า บัดนี้ พระ
ผู้มีพระภาคทรงหลั่งอมตธรรมรดกระผมด้วยธรรมีกถา”
“คหบดี พระผู้มีพระภาคทรงหลั่งอมตธรรมรดท่านด้วยธรรมีกถาอย่างไร”
“ท่านผู้เจริญ กระผมเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว
นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เป็นผู้ชรา สูงอายุ
เป็นผู้เฒ่า ล่วงกาลมามาก ผ่านวัยมามาก มีกายกระสับกระส่าย เจ็บป่วยประจำ
พระผู้มีพระภาคและภิกษุทั้งหลายผู้เป็นที่เจริญใจ ข้าพระองค์ก็ไม่ได้เห็นเป็นนิตย์
ขอพระผู้มีพระภาคโปรดโอวาท โปรดสั่งสอนข้าพระองค์ด้วยพระดำรัสที่เป็นไปเพื่อ
ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ข้าพระองค์ตลอดกาลนานเถิด’
เมื่อกระผมกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับกระผมดังนี้ว่า
‘คหบดี เรื่องนี้เป็นอย่างนั้น คหบดี เรื่องนี้เป็นอย่างนั้น ความจริง กายนี้


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๑. นกุลปิตุวรรค ๑. นกุลปิตุสูตร

กระสับกระส่าย เป็นดังฟองไข่ มีเปลือกหุ้มไว้ อนึ่ง บุคคลผู้บริหารกายนี้อยู่
พึงรับรองความไม่มีโรคได้แม้เพียงครู่เดียว จะมีอะไรเล่า นอกจากความโง่เขลา
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เมื่อเรามีกายกระสับกระส่ายอยู่ จิต
จักไม่กระสับกระส่าย’ ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้
ท่านผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคทรงหลั่งอมตธรรมรดกระผมด้วยธรรมีกถา
อย่างนี้”
“คหบดี ก็ท่านไม่ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคให้ยิ่งขึ้นหรือว่า ‘ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร บุคคลจึงชื่อว่าเป็นผู้มีกายกระสับกระส่าย และชื่อว่า
มีจิตกระสับกระส่าย และด้วยเหตุเพียงเท่าไร บุคคลจึงชื่อว่าเป็นผู้มีกายกระสับ
กระส่าย แต่ไม่ชื่อว่ามีจิตกระสับกระส่าย”
“ท่านผู้เจริญ แม้กระผมมาจากที่ไกลก็เพื่อจะทราบเนื้อความแห่งพระภาษิต
นั้นในสำนักท่านพระสารีบุตร ขอโอกาส เฉพาะท่านพระสารีบุตรเท่านั้นที่จะ
อธิบายเนื้อความแห่งพระภาษิตนั้นให้แจ่มแจ้ง”
“คหบดี ถ้าเช่นนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”

สักกายทิฏฐิ ๒๐

นกุลปิตาคหบดีรับคำแล้ว ท่านพระสารีบุตรจึงได้กล่าวเรื่องนี้ว่า
“คหบดี บุคคลชื่อว่าเป็นผู้มีกายกระสับกระส่าย และมีจิตกระสับกระส่าย
เป็นอย่างไร
คือ ปุถุชน๑ในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ๒ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของ
พระอริยะ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาด
ในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ พิจารณาเห็นรูปโดย


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๑. นกุลปิตุวรรค ๑. นกุลปิตุสูตร

ความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูป พิจารณาเห็นรูปในอัตตา หรือ
พิจารณาเห็นอัตตาในรูป ดำรงอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า ‘เราเป็นรูป รูปเป็นของเรา’
เมื่อเขาดำรงอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า ‘เราเป็นรูป รูปเป็นของเรา’ รูปนั้นแปรผัน
เป็นอย่างอื่น เพราะรูปแปรผันและเป็นอย่างอื่น โสกะ (ความเศร้าโศก) ปริเทวะ
(ความคร่ำครวญ) ทุกข์ (ความทุกข์กาย) โทมนัส (ความทุกข์ใจ) และอุปายาส
(ความคับแค้นใจ) จึงเกิดขึ้นแก่เขา
พิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีเวทนา
พิจารณาเห็นเวทนาในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในเวทนา ดำรงอยู่ด้วยความ
ยึดมั่นว่า ‘เราเป็นเวทนา เวทนาเป็นของเรา’ เมื่อเขาดำรงอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า
‘เราเป็นเวทนา เวทนาเป็นของเรา’ เวทนานั้นแปรผันเป็นอย่างอื่น เพราะเวทนา
แปรผันและเป็นอย่างอื่น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงเกิดขึ้นแก่เขา
พิจารณาเห็นสัญญาโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีสัญญา
พิจารณาเห็นสัญญาในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในสัญญา ดำรงอยู่ด้วย
ความยึดมั่นว่า ‘เราเป็นสัญญา สัญญาเป็นของเรา’ เมื่อเขาดำรงอยู่ด้วยความ
ยึดมั่นว่า ‘เราเป็นสัญญา สัญญาเป็นของเรา’ สัญญานั้นแปรผันเป็นอย่างอื่น
เพราะสัญญาแปรผันและเป็นอย่างอื่น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
จึงเกิดขึ้นแก่เขา
พิจารณาเห็นสังขารโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีสังขาร พิจารณา
เห็นสังขารในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในสังขาร ดำรงอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า
‘เราเป็นสังขาร สังขารเป็นของเรา’ เมื่อเขาดำรงอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า ‘เราเป็น
สังขาร สังขารเป็นของเรา’ สังขารนั้นแปรผันเป็นอย่างอื่น เพราะสังขารแปรผัน
และเป็นอย่างอื่น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงเกิดขึ้นแก่เขา
พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณ
พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณ ดำรงอยู่ด้วย
ความยึดมั่นว่า ‘เราเป็นวิญญาณ วิญญาณเป็นของเรา’ เมื่อเขาดำรงอยู่ด้วยความ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๑. นกุลปิตุวรรค ๑. นกุลปิตุสูตร

ยึดมั่นว่า ‘เราเป็นวิญญาณ วิญญาณเป็นของเรา’ วิญญาณนั้นแปรผันเป็นอย่างอื่น
เพราะวิญญาณแปรผันและเป็นอย่างอื่น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
จึงเกิดขึ้นแก่เขา
คหบดี บุคคลชื่อว่าเป็นผู้มีกายกระสับกระส่าย และมีจิตกระสับกระส่าย
เป็นอย่างนี้แล
บุคคลแม้ชื่อว่าเป็นผู้มีกายกระสับกระส่าย แต่ไม่ชื่อว่ามีจิตกระสับกระส่าย
เป็นอย่างไร
คือ พระอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ผู้ได้สดับ ได้เห็นพระอริยะ ฉลาดใน
ธรรมของพระอริยะ ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ได้เห็นสัตบุรุษ ฉลาด
ในธรรมของสัตบุรุษ ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ ไม่พิจารณาเห็นรูปโดย
ความเป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูป ไม่พิจารณาเห็นรูปในอัตตา หรือ
ไม่พิจารณาเห็นอัตตาในรูป ไม่ดำรงอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า ‘เราเป็นรูป รูปเป็น
ของเรา’ เมื่อพระอริยสาวกนั้นไม่ดำรงอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า ‘เราเป็นรูป รูปเป็น
ของเรา’ รูปนั้นแปรผันเป็นอย่างอื่น เพราะรูปแปรผันและเป็นอย่างอื่น โสกะ ปริเทวะ
ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงไม่เกิดขึ้นแก่พระอริยสาวกนั้น
ไม่พิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีเวทนา
ไม่พิจารณาเห็นเวทนาในอัตตา หรือไม่พิจารณาเห็นอัตตาในเวทนา ไม่ดำรงอยู่
ด้วยความยึดมั่นว่า ‘เราเป็นเวทนา เวทนาเป็นของเรา’ เมื่อพระอริยสาวกนั้นไม่
ดำรงอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า ‘เราเป็นเวทนา เวทนาเป็นของเรา’ เวทนานั้นแปรผัน
เป็นอย่างอื่น เพราะเวทนาแปรผันและเป็นอย่างอื่น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
และอุปายาสจึงไม่เกิดขึ้นแก่พระอริยสาวกนั้น
ไม่พิจารณาเห็นสัญญาโดยความเป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีสัญญา
ไม่พิจารณาเห็นสัญญาในอัตตา หรือไม่พิจารณาเห็นอัตตาในสัญญา ไม่ดำรงอยู่
ด้วยความยึดมั่นว่า ‘เราเป็นสัญญา สัญญาเป็นของเรา’ เมื่อพระอริยสาวกนั้นไม่
ดำรงอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า ‘เราเป็นสัญญา สัญญาเป็นของเรา’ สัญญานั้น
แปรผันเป็นอย่างอื่น เพราะสัญญาแปรผันและเป็นอย่างอื่น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์
โทมนัส และอุปายาสจึงไม่เกิดขึ้นแก่พระอริยสาวกนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๑. นกุลปิตุวรรค ๒. เทวทหสูตร

ไม่พิจารณาเห็นสังขารโดยความเป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีสังขาร
ไม่พิจารณาเห็นสังขารในอัตตา หรือไม่พิจารณาเห็นอัตตาในสังขาร ไม่ดำรงอยู่
ด้วยความยึดมั่นว่า ‘เราเป็นสังขาร สังขารเป็นของเรา’ เมื่อพระอริยสาวกนั้นไม่
ดำรงอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า ‘เราเป็นสังขาร สังขารเป็นของเรา’ สังขารนั้นแปรผัน
เป็นอย่างอื่น เพราะสังขารแปรผันและเป็นอย่างอื่น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
และอุปายาสจึงไม่เกิดขึ้นแก่พระอริยสาวกนั้น
ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณ
ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตา หรือไม่พิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณ ไม่ดำรง
อยู่ด้วยความยึดมั่นว่า ‘เราเป็นวิญญาณ วิญญาณเป็นของเรา’ เมื่อพระอริยสาวก
นั้นไม่ดำรงอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า ‘เราเป็นวิญญาณ วิญญาณเป็นของเรา’ วิญญาณ
นั้นแปรผันเป็นอย่างอื่น เพราะวิญญาณแปรผันและเป็นอย่างอื่น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์
โทมนัส และอุปายาสจึงไม่เกิดขึ้นแก่พระอริยสาวกนั้น
คหบดี บุคคลแม้ชื่อว่าเป็นผู้มีกายกระสับกระส่าย แต่ไม่ชื่อว่ามีจิตกระสับ
กระส่าย เป็นอย่างนี้แล”
ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวอย่างนี้แล้ว นกุลปิตาคหบดีมีใจยินดี ชื่นชมภาษิต
ของท่านพระสารีบุตร

นกุลปิตุสูตรที่ ๑ จบ

๒. เทวทหสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่เทวทหนิคม

[๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ เทวทหนิคมของเจ้าศากยะทั้งหลาย
แคว้นสักกะ ครั้งนั้น ภิกษุจำนวนมากผู้ต้องการจะไปยังปัจฉาภูมชนบท เข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายต้องการจะไป
ยังปัจฉาภูมชนบทเพื่ออยู่อาศัย”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๑. นกุลปิตุวรรค ๒. เทวทหสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายบอกลาสารีบุตร
แล้วหรือ”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายยังไม่ได้บอกลาท่านพระสารีบุตร”
“ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงไปบอกลาสารีบุตรเสียก่อน สารีบุตรเป็นผู้
อนุเคราะห์๑เพื่อนภิกษุผู้ประพฤติพรหมจรรย์”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว
สมัยนั้น ท่านพระสารีบุตรนั่งอยู่ในมณฑปเล็ก ๆ ซึ่งมีตะไคร่น้ำขึ้นปกคลุม
แห่งหนึ่ง ในที่ไม่ไกลจากพระผู้มีพระภาค ลำดับนั้น ภิกษุเหล่านั้นชื่นชม ยินดี
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาท กระทำประทักษิณแล้ว
พากันเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ
พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า
“ท่านพระสารีบุตร พวกกระผมต้องการจะไปยังปัจฉาภูมชนบทเพื่ออยู่อาศัย พวก
กระผมกราบทูลลาพระศาสดาแล้ว”
ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า “ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็กษัตริย์ผู้เป็นบัณฑิต๒บ้าง
พราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิต๓บ้าง คหบดีผู้เป็นบัณฑิต๔บ้าง สมณะผู้เป็นบัณฑิต๕บ้าง
ผู้จะถามปัญหากับภิกษุผู้ไปยังประเทศต่าง ๆ มีอยู่ หากคนผู้เป็นบัณฑิตใคร่รู้๖


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๑. นกุลปิตุวรรค ๒. เทวทหสูตร

ถามว่า ‘พระศาสดาของพวกท่านมีวาทะอย่างไร ตรัสสอนอย่างไร’ ธรรมทั้งหลาย
อันพวกท่านได้ฟังดี เรียนดี ใส่ใจดี ทรงจำดี รู้แจ้งดีแล้วด้วยปัญญาบ้างหรือ’
พวกท่านเมื่อกล่าวอย่างไร จึงจะชื่อว่าเป็นผู้พูดตรงตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้
ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำเท็จ ชื่อว่ากล่าวแก้อย่างสมเหตุสมผล ไม่มี
คำกล่าวเช่นนั้นและการคล้อยตามที่จะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้”
“ท่านขอรับ แม้พวกกระผมมาจากที่ไกลก็เพื่อจะรู้เนื้อความแห่งพระภาษิต
นั้นในสำนักท่านสารีบุตร ขอโอกาส เฉพาะท่านสารีบุตรเท่านั้นที่จะอธิบายเนื้อ
ความแห่งพระภาษิตนั้นให้แจ่มแจ้ง”
“ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น ท่านทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี ผมจัก
กล่าว”
ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว ท่านพระสารีบุตรจึงได้กล่าวเรื่องนี้ว่า
“ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็กษัตริย์ผู้เป็นบัณฑิตบ้าง พราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิตบ้าง
คหบดีผู้เป็นบัณฑิตบ้าง สมณะผู้เป็นบัณฑิตบ้าง ผู้จะถามปัญหากับภิกษุผู้ไปยัง
ประเทศต่าง ๆ มีอยู่ หากคนผู้เป็นบัณฑิตใคร่รู้ถามว่า ‘พระศาสดาของพวกท่าน
มีวาทะอย่างไร ตรัสสอนอย่างไร’
ท่านทั้งหลายถูกถามอย่างนี้พึงตอบอย่างนี้ว่า ‘พระศาสดาของเรามีปกติตรัส
สอนให้กำจัดฉันทราคะ๑’
แม้เมื่อท่านทั้งหลายได้ตอบไปอย่างนี้ ก็จะพึงมีกษัตริย์ผู้เป็นบัณฑิตบ้าง
พราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิตบ้าง คหบดีผู้เป็นบัณฑิตบ้าง สมณะผู้เป็นบัณฑิตบ้าง
ถามปัญหาให้ยิ่งขึ้นไป หากคนผู้เป็นบัณฑิตใคร่รู้ถามว่า ‘ก็พระศาสดาของพวกท่าน
มีปกติตรัสสอนให้กำจัดฉันทราคะในสิ่งไรเล่า’
ท่านทั้งหลายถูกถามอย่างนี้พึงตอบอย่างนี้ว่า ‘พระศาสดามีปกติตรัสสอนให้
กำจัดฉันทราคะในรูป ... ในเวทนา ... ในสัญญา ... ในสังขาร พระศาสดา
มีปกติตรัสสอนให้กำจัดฉันทราคะในวิญญาณ’


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๑. นกุลปิตุวรรค ๒. เทวทหสูตร

แม้เมื่อท่านทั้งหลายได้ตอบไปอย่างนี้ ก็จะพึงมีกษัตริย์ผู้เป็นบัณฑิตบ้าง
พราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิตบ้าง คหบดีผู้เป็นบัณฑิตบ้าง สมณะผู้เป็นบัณฑิตบ้าง
ถามปัญหาให้ยิ่งขึ้นไป หากคนผู้เป็นบัณฑิตใคร่รู้ถามว่า ‘ก็พระศาสดาของพวก
ท่านทรงเห็นโทษอะไรจึงตรัสสอนให้กำจัดฉันทราคะในรูป ... ในเวทนา ... ในสัญญา
... ในสังขาร จึงตรัสสอนให้กำจัดฉันทราคะในวิญญาณ’
ท่านทั้งหลายถูกถามอย่างนี้พึงตอบอย่างนี้ว่า ‘เมื่อบุคคลยังไม่ปราศจาก
ความกำหนัด ไม่ปราศจากความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความ
กระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศจากความทะยานอยากในรูป เพราะ
รูปนั้นแปรผันและเป็นอย่างอื่น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงเกิดขึ้น
เมื่อบุคคลยังไม่ปราศจากความกำหนัด ... ในเวทนา ...
เมื่อบุคคลยังไม่ปราศจากความกำหนัด ... ในสัญญา ...
เมื่อบุคคลยังไม่ปราศจากความกำหนัด ฯลฯ ไม่ปราศจากความทะยาน
อยากในสังขาร เพราะสังขารเหล่านั้นแปรผันและเป็นอย่างอื่น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์
โทมนัส และอุปายาสจึงเกิดขึ้น
เมื่อบุคคลยังไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจากความพอใจ ไม่ปราศจาก
ความรัก ไม่ปราศจากความกระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศจาก
ความทะยานอยากในวิญญาณ เพราะวิญญาณนั้นแปรผันและเป็นอย่างอื่น โสกะ
ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงเกิดขึ้น
พระศาสดาของพวกเรา ทรงเห็นโทษนี้แลจึงตรัสสอนให้กำจัดฉันทราคะในรูป
... ในเวทนา ... ในสัญญา ... ในสังขาร จึงตรัสสอนให้กำจัดฉันทราคะในวิญญาณ’
แม้เมื่อท่านทั้งหลายได้ตอบไปอย่างนี้ ก็จะพึงมีกษัตริย์ผู้เป็นบัณฑิตบ้าง
พราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิตบ้าง คหบดีผู้เป็นบัณฑิตบ้าง สมณะผู้เป็นบัณฑิตบ้าง
ถามปัญหาให้ยิ่งขึ้นไป หากคนผู้เป็นบัณฑิตใคร่รู้ถามว่า ‘ก็พระศาสดาของพวกท่าน
ทรงเห็นอานิสงส์อะไรจึงตรัสสอนให้กำจัดฉันทราคะในรูป ... ในเวทนา ... ในสัญญา
... ในสังขาร จึงตรัสสอนให้กำจัดฉันทราคะในวิญญาณ’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๑. นกุลปิตุวรรค ๓. หลิททิกานิสูตร

ท่านทั้งหลายถูกถามอย่างนี้ พึงตอบอย่างนี้ว่า ‘เมื่อบุคคลปราศจากความ
กำหนัด ปราศจากความพอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความกระหาย
ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความทะยานอยากในรูป เพราะรูปนั้นแปรผัน
และเป็นอย่างอื่น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงไม่เกิดขึ้น
เมื่อบุคคลปราศจากความกำหนัด ... ในเวทนา ...
เมื่อบุคคลปราศจากความกำหนัด ... ในสัญญา ...
เมื่อบุคคลปราศจากความกำหนัด ปราศจากความพอใจ ปราศจากความรัก
ปราศจากความกระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความทะยานอยากใน
สังขาร เพราะสังขารเหล่านั้นแปรผันและเป็นอย่างอื่น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
และอุปายาสจึงไม่เกิดขึ้น
เมื่อบุคคลปราศจากความกำหนัด ปราศจากความพอใจ ปราศจากความรัก
ปราศจากความกระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความทะยานอยากใน
วิญญาณ เพราะวิญญาณนั้นแปรผันและเป็นอย่างอื่น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
และอุปายาสจึงไม่เกิดขึ้น
พระศาสดาของพวกเราทรงเห็นอานิสงส์นี้แลจึงตรัสสอนให้กำจัดฉันทราคะ
ในรูป ... ในเวทนา ... ในสัญญา ... ในสังขาร จึงตรัสสอนให้กำจัดฉันทราคะ
ในวิญญาณ’
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อบุคคลเข้าถึงอกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ จักมีการอยู่
เป็นสุข ไม่ลำบาก ไม่คับแค้น ไม่เดือดร้อนในปัจจุบันนี้ และหลังจากตายแล้วพึง
หวังได้๑ สุคติ พระผู้มีพระภาคก็จะไม่ทรงสรรเสริญการละอกุศลธรรมทั้งหลายไว้
แต่เมื่อบุคคลเข้าถึงอกุศลธรรมทั้งหลายอยู่จึงมีการอยู่เป็นทุกข์ ลำบาก คับแค้นใจ
เดือดร้อน ในปัจจุบันนี้ทีเดียว และหลังจากตายแล้วพึงหวังได้ทุคติ ฉะนั้น พระผู้มี
พระภาคจึงทรงสรรเสริญการละอกุศลธรรมทั้งหลายไว้


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๑. นกุลปิตุวรรค ๓. หลิททิกานิสูตร

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อบุคคลเข้าถึงกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ก็จักมีการอยู่
เป็นทุกข์ เดือดร้อน๑ คับแค้นใจ เร่าร้อน๒ ในปัจจุบันทีเดียว และหลังจากตาย
แล้วพึงหวังได้ทุคติ พระผู้มีพระภาคก็จะไม่ทรงสรรเสริญความถึงพร้อมกุศลธรรม
ทั้งหลายไว้ แต่เมื่อบุคคลเข้าถึงกุศลธรรมทั้งหลาย จึงมีการอยู่เป็นสุข ไม่เดือดร้อน
ไม่คับแค้นใจ ไม่เร่าร้อนในปัจจุบันนี้ทีเดียว และหลังจากตายแล้วพึงหวังได้สุคติ
ฉะนั้น พระผู้พระภาคจึงทรงสรรเสริญความถึงพร้อมกุศลธรรมทั้งหลายไว้”
ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดี ต่างชื่นชม
ภาษิตของท่านพระสารีบุตร

เทวทหสูตรที่ ๒ จบ

๓. หลิททิกานิสูตร
ว่าด้วยหลิททิกานิคหบดี

[๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัจจานะอยู่ ณ ภูเขาที่มีหน้าผาสูงชัน เขตเมืองกุรรฆระ
แคว้นอวันตี ครั้งนั้น คหบดีชื่อหลิททิกานิเข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะถึงที่อยู่
อภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามท่านพระมหากัจจานะดังนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้ในมาคัณฑิยปัญหาอันมาในอัฏฐกวรรคว่า
‘บุคคลละที่อยู่๓แล้ว ไม่เที่ยวซ่านไปหาที่อาศัย๔
มุนีไม่ทำความเยื่อใยในบ้าน ว่างจากกามทั้งหลาย
ไม่มุ่งหวังอัตภาพต่อไป ไม่พึงกล่าวถ้อยคำขัดแย้งกัน‘๕
ข้าแต่ท่านมหากัจจานะผู้เจริญ เนื้อความแห่งพระภาษิตที่พระผู้มีพระภาค
ตรัสไว้โดยย่อนี้ พึงทราบโดยพิสดารอย่างไร”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๑. นกุลปิตุวรรค ๓. หลิททิกานิสูตร

ท่านพระมหากัจจานะตอบว่า “คหบดี รูปธาตุเป็นที่อาศัยแห่งวิญญาณ
วิญญาณที่ผูกพันกับราคะในรูปธาตุ ตรัสเรียกว่า ‘ผู้เที่ยวซ่านไปหาที่อยู่’
เวทนาธาตุเป็นที่อาศัยแห่งวิญญาณ วิญญาณที่ผูกพันกับราคะในเวทนาธาตุ
ตรัสเรียกว่า ‘ผู้เที่ยวซ่านไปหาที่อยู่’
สัญญาธาตุเป็นที่อาศัยแห่งวิญญาณ วิญญาณที่ผูกพันกับราคะในสัญญาธาตุ
ตรัสเรียกว่า ‘ผู้เที่ยวซ่านไปหาที่อยู่’
สังขารธาตุเป็นที่อาศัยแห่งวิญญาณ วิญญาณที่ผูกพันกับราคะในสังขารธาตุ
ตรัสเรียกว่า ‘ผู้เที่ยวซ่านไปหาที่อยู่’
คหบดี บุคคลผู้เที่ยวซ่านไปหาที่อยู่ เป็นอย่างนี้แล
บุคคลผู้ไม่เที่ยวซ่านไปหาที่อยู่ เป็นอย่างไร
คือ ความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก
อุบายและความยึดมั่นอันเป็นเหตุที่ใจเข้าไปตั้งมั่นถือมั่นและนอนเนื่องในรูปธาตุ
พระตถาคตทรงละได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคน
ไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ฉะนั้น บัณฑิตจึงเรียกพระ
ตถาคตว่า ‘ผู้ไม่ทรงเที่ยวซ่านไปหาที่อยู่’
ความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก อุบาย
และความยึดมั่นอันเป็นเหตุที่ใจเข้าไปตั้งมั่นถือมั่นและนอนเนื่องในเวทนาธาตุ ฯลฯ
ในสัญญาธาตุ ฯลฯ ในสังขารธาตุ ฯลฯ
ความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก อุบาย
และความยึดมั่นอันเป็นเหตุที่ใจเข้าไปตั้งมั่นถือมั่นและนอนเนื่องในวิญญาณธาตุ
พระตถาคตทรงละได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคน
ไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ฉะนั้น บัณฑิตจึงเรียกพระ
ตถาคตว่า ‘ผู้ไม่ทรงเที่ยวซ่านไปหาที่อยู่’
คหบดี บุคคลผู้ไม่เที่ยวซ่านไปหาที่อยู่ เป็นอย่างนี้แล
บุคคลผู้เที่ยวซ่านไปหาที่อาศัย เป็นอย่างไร
คือ ความเที่ยวซ่านไปหาและความผูกพันกับที่อาศัย คือรูปนิมิต ตรัสเรียกว่า
‘ผู้เที่ยวซ่านไปหาที่อาศัย’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๑. นกุลปิตุวรรค ๓. หลิททิกานิสูตร

ความเที่ยวซ่านไปหาและความผูกพันกับที่อาศัย คือสัททนิมิต ฯลฯ คันธนิมิต
... รสนิมิต ... โผฏฐัพพนิมิต ... ธัมมนิมิต ตรัสเรียกว่า ‘ผู้เที่ยวซ่านไปหาที่อาศัย’
คหบดี บุคคลผู้เที่ยวซ่านไปหาที่อาศัย เป็นอย่างนี้แล
บุคคลผู้ไม่เที่ยวซ่านไปหาที่อาศัย เป็นอย่างไร
คือ ความซ่านไปหาและความผูกพันกับที่อาศัย คือรูปนิมิต พระตถาคต
ทรงละได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว
เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ฉะนั้น บัณฑิตจึงเรียกพระตถาคตว่า
‘ผู้ไม่ทรงเที่ยวซ่านไปหาที่อาศัย’
ความซ่านไปหาและความผูกพันกับที่อาศัย คือสัททนิมิต ... คันธนิมิต ...
รสนิมิต ... โผฏฐัพพนิมิต ... ธัมมนิมิต พระตถาคตละได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคน
เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไป
ไม่ได้ ฉะนั้น บัณฑิตจึงเรียกพระตถาคตว่า ‘ผู้ไม่ทรงเที่ยวซ่านไปหาที่อาศัย’
คหบดี บุคคลผู้ไม่เที่ยวซ่านไปหาที่อาศัย เป็นอย่างนี้แล
บุคคลผู้เกิดความเยื่อใยในบ้าน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ เกี่ยวข้องอยู่กับคฤหัสถ์ เพลิดเพลิน
ร่วมกัน เศร้าโศกร่วมกัน เมื่อพวกเขาสุข ก็สุขด้วย เมื่อพวกเขาทุกข์ ก็ทุกข์ด้วย
เมื่อพวกเขามีกิจที่ควรทำเกิดขึ้น ก็ลงมือช่วยเหลือด้วยตนเอง
คหบดี บุคคลผู้เกิดความเยื่อใยในบ้าน เป็นอย่างนี้แล
บุคคลผู้ไม่เกิดความเยื่อใยในบ้าน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ ไม่เกี่ยวข้องอยู่กับคฤหัสถ์ ไม่
เพลิดเพลินร่วมกัน ไม่เศร้าโศกร่วมกัน เมื่อพวกเขาสุข ก็มิได้สุขด้วย เมื่อพวก
เขาทุกข์ ก็มิได้ทุกข์ด้วย เมื่อพวกเขามีกิจที่ควรทำเกิดขึ้น ก็ไม่ลงมือช่วยเหลือ
ด้วยตนเอง
คหบดี บุคคลผู้ไม่เกิดความเยื่อใยในบ้าน เป็นอย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๑. นกุลปิตุวรรค ๓. หลิททิกานิสูตร

บุคคลผู้ไม่ว่างจากกามทั้งหลาย เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ ไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจาก
ความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความกระหาย ไม่ปราศจากความ
เร่าร้อน ไม่ปราศจากความทะยานอยากในกามทั้งหลาย
คหบดี บุคคลผู้ไม่ว่างจากกามทั้งหลาย เป็นอย่างนี้แล
บุคคลผู้ว่างจากกามทั้งหลาย เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ ปราศจากความกำหนัด ปราศจาก
ความพอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความกระหาย ปราศจากความเร่าร้อน
ปราศจากความทะยานอยากในกามทั้งหลาย
คหบดี บุคคลผู้ว่างจากกามทั้งหลาย เป็นอย่างนี้แล
บุคคลผู้มุ่งหวังอัตภาพต่อไป เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ มีความมุ่งหวังอย่างนี้ว่า ‘ในอนาคตกาล
เราพึงมีรูปอย่างนี้ ... ในอนาคตกาล เราพึงมีเวทนาอย่างนี้ ... ในอนาคตกาล
เราพึงมีสัญญาอย่างนี้ ... ในอนาคตกาล เราพึงมีสังขารอย่างนี้ ... ในอนาคตกาล
เราพึงมีวิญญาณอย่างนี้’
คหบดี บุคคลผู้มุ่งหวังอัตภาพต่อไป เป็นอย่างนี้แล
บุคคลผู้ไม่มุ่งหวังอัตภาพต่อไป เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ ไม่มีความมุ่งหวังอย่างนี้ว่า ‘ในอนาคตกาล
เราพึงมีรูปอย่างนี้ ... ในอนาคตกาล เราพึงมีเวทนาอย่างนี้ ... ในอนาคตกาล
เราพึงมีสัญญาอย่างนี้ ... ในอนาคตกาล เราพึงมีสังขารอย่างนี้ ... ในอนาคตกาล
เราพึงมีวิญญาณอย่างนี้’
คหบดี บุคคลผู้ไม่มุ่งหวังอัตภาพต่อไป เป็นอย่างนี้แล
บุคคลผู้กล่าวถ้อยคำขัดแย้งกัน เป็นอย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๑. นกุลปิตุวรรค ๓. หลิททิกานิสูตร

คือ ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้กล่าวถ้อยคำเห็นปานนี้ว่า ‘ท่าน
ไม่รู้พระธรรมวินัยนี้ เรารู้พระธรรมวินัยนี้ ท่านรู้พระธรรมวินัยนี้ได้อย่างไร ท่าน
ปฏิบัติผิด เราปฏิบัติถูก คำที่ควรกล่าวก่อน ท่านก็กล่าวทีหลัง คำที่ควรกล่าว
ทีหลัง ท่านก็กล่าวก่อน คำของเรามีประโยชน์ คำของท่านไม่มีประโยชน์ ข้อที่
ท่านเคยปฏิบัติมาผิดเสียแล้ว เรากล่าวหาท่าน ท่านจงแก้ข้อกล่าวหาเสีย เราข่ม
ท่านได้แล้ว หรือหากท่านสามารถก็จงแก้ไขเถิด’
คหบดี บุคคลผู้กล่าวถ้อยคำขัดแย้งกัน เป็นอย่างนี้แล
บุคคลผู้ไม่กล่าวถ้อยคำขัดแย้ง เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่กล่าวถ้อยคำเห็นปานนี้ว่า
‘ท่านไม่รู้พระธรรมวินัยนี้ เรารู้พระธรรมวินัยนี้ ท่านรู้พระธรรมวินัยนี้ได้อย่างไร
ท่านปฏิบัติผิด เราปฏิบัติถูก คำที่ควรกล่าวก่อน ท่านก็กล่าวทีหลัง คำที่ควร
กล่าวทีหลัง ท่านก็กล่าวก่อน คำของเรามีประโยชน์ คำของท่านไม่มีประโยชน์
ข้อที่ท่านเคยปฏิบัติมาผิดเสียแล้ว เรากล่าวหาท่าน ท่านจงแก้ข้อกล่าวหาเสีย
เราข่มท่านได้แล้ว หรือหากท่านสามารถก็จงแก้ไขเถิด’
คหบดี บุคคลผู้ไม่กล่าวถ้อยคำขัดแย้งกัน เป็นอย่างนี้แล
คหบดี พระภาษิตที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ในมาคัณฑิยปัญหา อันมาใน
อัฏฐกวรรคว่า
‘บุคคลละที่อยู่แล้ว ไม่เที่ยวซ่านไปหาที่อาศัย
มุนีไม่ทำความเยื่อใยในบ้าน ว่างจากกามทั้งหลาย
ไม่มุ่งหวังอัตภาพต่อไป ไม่พึงกล่าวถ้อยคำขัดแย้งกัน’
คหบดี เนื้อความแห่งพระภาษิตที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้โดยย่อ พึงทราบ
โดยพิสดารอย่างนี้แล”

หลิททิกานิสูตรที่ ๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๑. นกุลปิตุวรรค ๔. ทุติยหลิททิกานิสูตร

๔. ทุติยหลิททิกานิสูตร
ว่าด้วยหลิททิกานิคหบดี สูตรที่ ๒

[๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัจจานะอยู่ ณ ภูเขาที่มีหน้าผาสูงชัน เขตเมือง
กุรรฆระ แคว้นอวันตี ครั้งนั้น คหบดีชื่อหลิททิกานิเข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะ
ถึงที่อยู่ อภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามท่านพระมหากัจจานะดังนี้ว่า
“ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้ในสักกปัญหา๑ว่า ‘สมณ-
พราหมณ์ ผู้หลุดพ้นเพราะสิ้นตัณหาเท่านั้นจึงจะมีความสำเร็จขั้นสูงสุด๒ มีความ
เกษมจากโยคะ๓ขั้นสูงสุด มีพรหมจรรย์๔ขั้นสูงสุด มีจุดหมาย๕ขั้นสูงสุด เป็นผู้
ประเสริฐสุดกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย’ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เนื้อความแห่งพระ
ภาษิตที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้โดยย่อนี้ พึงทราบโดยพิสดารอย่างไร”
พระมหากัจจานะได้กล่าวว่า “คหบดี ความพอใจ ความกำหนัด ความ
เพลิดเพลิน ความทะยานอยาก อุบายและความยึดมั่นอันเป็นเหตุที่ใจเข้าไปตั้งมั่น
ถือมั่นและนอนเนื่องในรูปธาตุ ท่านกล่าวว่า ‘จิตหลุดพ้นดีแล้ว’ เพราะความสิ้นไป
คลายกำหนัด ดับ สละ ปล่อยวางความพอใจเป็นต้นเหล่านั้น
ความพอใจ ความกำหนัด ... ในเวทนาธาตุ ฯลฯ ในสัญญาธาตุ ฯลฯ
ในสังขารธาตุ ฯลฯ
ความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก อุบาย
และความยึดมั่นอันเป็นเหตุที่ใจเข้าไปตั้งมั่นถือมั่นและนอนเนื่องในวิญญาณธาตุ
ท่านกล่าวว่า ‘จิตหลุดพ้นดีแล้ว’ เพราะความสิ้นไป คลายกำหนัด ดับ สละ
ปล่อยวางความพอใจเป็นต้นเหล่านั้น
คหบดี พระภาษิตที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ในสักกปัญหาว่า ‘สมณพราหมณ์
ผู้หลุดพ้นเพราะสิ้นตัณหาเท่านั้นจึงจะมีความสำเร็จขั้นสูงสุด มีความเกษมจากโยคะ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๑. นกุลปิตุวรรค ๕. สมาธิสูตร

ขั้นสูงสุด มีพรหมจรรย์ขั้นสูงสุด มีจุดหมายขั้นสูงสุด เป็นผู้ประเสริฐสุดกว่า
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย’
คหบดี เนื้อความแห่งพระภาษิตที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้โดยย่อนี้ พึงทราบ
โดยพิสดารอย่างนี้แล”

ทุติยหลิททิกานิสูตรที่ ๔ จบ

๕. สมาธิสูตร
ว่าด้วยสมาธิ

[๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลาย
มาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มี
พระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิเถิด ภิกษุผู้มีจิตตั้งมั่น ย่อมรู้ชัด
ตามความเป็นจริง
รู้ชัดอะไรเล่าตามความเป็นจริง
คือ ภิกษุรู้ชัดความเกิดและความดับแห่งรูป ความเกิดและความดับแห่งเวทนา
ความเกิดและความดับแห่งสัญญา ความเกิดและความดับแห่งสังขาร ความเกิดและ
ความดับแห่งวิญญาณ
อะไรเป็นความเกิดแห่งรูป อะไรเป็นความเกิดแห่งเวทนา อะไรเป็น
ความเกิดแห่งสัญญา อะไรเป็นความเกิดแห่งสังขาร อะไรเป็นความเกิดแห่ง
วิญญาณ
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เพลิดเพลิน เชยชม ยึดติด
ภิกษุเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดอะไรเล่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๑. นกุลปิตุวรรค ๖. ปฏิสัลลานสูตร

คือ ภิกษุเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดรูป เมื่อเธอเพลิดเพลิน เชยชม ยึด
ติดรูป ความเพลิดเพลินจึงเกิดขึ้น ความเพลิดเพลินในรูปเป็นอุปาทาน เพราะ
อุปาทานของภิกษุนั้นเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะ
ชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
จึงมี ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้มีได้ด้วยประการอย่างนี้
ภิกษุเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดเวทนา ฯลฯ
ภิกษุเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดสัญญา ฯลฯ
ภิกษุเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดสังขาร ฯลฯ
ภิกษุเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดวิญญาณ เมื่อเธอเพลิดเพลิน เชยชม ยึด
ติดวิญญาณ ความเพลิดเพลินจึงเกิดขึ้น ความเพลิดเพลินในวิญญาณเป็นอุปาทาน
เพราะอุปาทานของภิกษุนั้นเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี ฯลฯ
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้มีได้ด้วยประการอย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งรูป นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งเวทนา นี้
เป็นความเกิดขึ้นแห่งสัญญา นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งสังขาร นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่ง
วิญญาณ
อะไรเป็นความดับแห่งรูป ... แห่งเวทนา ฯลฯ แห่งสัญญา ฯลฯ
แห่งสังขาร อะไรเป็นความดับแห่งวิญญาณ
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติด
ภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดอะไรเล่า
คือ ภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดรูป เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม
ไม่ยึดติดรูป ความเพลิดเพลินในรูปจึงดับ เพราะความเพลิดเพลินของภิกษุนั้นดับ
อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวล
นี้มีได้ด้วยประการอย่างนี้
ภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดเวทนา เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน ไม่
เชยชม ไม่ยึดติดเวทนา ความเพลิดเพลินในเวทนาจึงดับ เพราะความเพลิดเพลิน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๑. นกุลปิตุวรรค ๖. ปฏิสัลลานสูตร

ของภิกษุนั้นดับ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ ฯลฯ ความดับ
แห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้มีได้ด้วยประการอย่างนี้
ภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดสัญญา ฯลฯ
ภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดสังขาร เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม
ไม่ยึดติดสังขาร ความเพลิดเพลินในสังขารจึงดับ เพราะความเพลิดเพลินของภิกษุ
นั้นดับ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกอง
ทุกข์ทั้งมวลนี้มีได้ด้วยประการอย่างนี้
ภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดวิญญาณ เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน ไม่
เชยชม ไม่ยึดติดวิญญาณ ความเพลิดเพลินในวิญญาณจึงดับ เพราะความ
เพลิดเพลินของภิกษุนั้นดับ อุปาทานจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้
มีได้ด้วยประการอย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นความดับแห่งรูป นี้เป็นความดับแห่งเวทนา นี้เป็น
ความดับแห่งสัญญา นี้เป็นความดับแห่งสังขาร นี้เป็นความดับแห่งวิญญาณ”

สมาธิสูตรที่ ๕ จบ

๖. ปฏิสัลลานสูตร
ว่าด้วยการหลีกเร้น

[๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงประกอบความเพียร
ในที่สงัด ภิกษุผู้หลีกเร้นอยู่ในที่สงัด ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริง
รู้ชัดอะไรเล่าตามความเป็นจริง
คือ ภิกษุรู้ชัดความเกิดและความดับแห่งรูป ความเกิดและความดับแห่งเวทนา
ความเกิดและความดับแห่งสัญญา ความเกิดและความดับแห่งสังขาร ความเกิด
และความดับแห่งวิญญาณ (พึงเพิ่มข้อความที่เหลือให้พิสดารเหมือนในสูตรที่ ๑)

ปฏิสัลลานสูตรที่ ๖ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๑. นกุลปิตุวรรค ๗. อุปาทาปริตัสสนาสูตร

๗. อุปาทาปริตัสสนาสูตร
ว่าด้วยความสะดุ้งเพราะถือมั่น

[๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความสะดุ้งเพราะถือมั่น
และความไม่สะดุ้งเพราะไม่ถือมั่นแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี
เราจักกล่าว”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ความสะดุ้งเพราะถือมั่น เป็นอย่างไร
คือ ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของ
พระอริยะ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาด
ในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ พิจารณาเห็นรูปโดย
ความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูป พิจารณาเห็นรูปในอัตตา หรือ
พิจารณาเห็นอัตตาในรูป รูปของเขาแปรผันเป็นอย่างอื่น เพราะรูปแปรผันและ
เป็นอย่างอื่น วิญญาณจึงหมุนเวียนไปตามความแปรผันแห่งรูป ความสะดุ้ง
และความเกิดขึ้นแห่งธรรมที่เกิดจากความหมุนเวียนไปตามความแปรผันแห่งรูป ก็
ครอบงำจิตของปุถุชนนั้นตั้งอยู่ เพราะจิตถูกครอบงำ ปุถุชนนั้นจึงหวาดกลัว
ลำบากใจ ห่วงใย และสะดุ้งเพราะถือมั่น
พิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีเวทนา
พิจารณาเห็นเวทนาในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในเวทนา เวทนาของเขา
แปรผันเป็นอย่างอื่น เพราะเวทนาแปรผันและเป็นอย่างอื่น วิญญาณจึงหมุนเวียนไป
ตามความแปรผันแห่งเวทนา ความสะดุ้งและความเกิดขึ้นแห่งธรรมที่เกิดจากความ
หมุนเวียนไปตามความแปรผันแห่งเวทนา ก็ครอบงำจิตของปุถุชนนั้นตั้งอยู่ เพราะ
จิตถูกครอบงำ ปุถุชนนั้นจึงหวาดกลัว ลำบากใจ ห่วงใย และสะดุ้งเพราะถือมั่น
พิจารณาเห็นสัญญาโดยความเป็นอัตตา ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๑. นกุลปิตุวรรค ๗. อุปาทาปริตัสสนาสูตร

พิจารณาเห็นสังขารโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีสังขาร
พิจารณาเห็นสังขารในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในสังขาร สังขารของเขาแปรผัน
เป็นอย่างอื่น เพราะสังขารแปรผันและเป็นอย่างอื่น วิญญาณจึงหมุนเวียนไปตาม
ความแปรผันแห่งสังขาร ความสะดุ้งและความเกิดขึ้นแห่งธรรมที่เกิดจากความ
หมุนเวียนไปตามความแปรผันแห่งสังขาร ก็ครอบงำจิตของปุถุชนนั้นตั้งอยู่ เพราะ
จิตถูกครอบงำ ปุถุชนนั้นจึงหวาดกลัว ลำบากใจ ห่วงใย และสะดุ้งเพราะถือมั่น
พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณ
พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณ วิญญาณของ
เขาแปรผันเป็นอย่างอื่น เพราะวิญญาณแปรผันและเป็นอย่างอื่น วิญญาณจึง
หมุนเวียนไปตามความแปรผันแห่งวิญญาณ ความสะดุ้งและความเกิดขึ้นแห่งธรรม
ที่เกิดจากความหมุนเวียนไปตามความแปรผันแห่งวิญญาณ ก็ครอบงำจิตของ
ปุถุชนนั้นตั้งอยู่ เพราะจิตถูกครอบงำ ปุถุชนนั้นจึงหวาดกลัว ลำบากใจ ห่วงใย
และสะดุ้งเพราะถือมั่น
ภิกษุทั้งหลาย ความสะดุ้งเพราะถือมั่น เป็นอย่างนี้แล
ความไม่สะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ผู้ได้สดับ ได้เห็นพระอริยะ ฉลาดในธรรมของ
พระอริยะ ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ได้เห็นสัตบุรุษ ฉลาดในธรรม
ของสัตบุรุษ ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ ไม่พิจารณาเห็นรูปโดยความ
เป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูป ไม่พิจารณาเห็นรูปในอัตตา หรือไม่
พิจารณาเห็นอัตตาในรูป รูปของอริยสาวกนั้นแปรผันเป็นอย่างอื่น เพราะรูป
แปรผันและเป็นอย่างอื่น วิญญาณจึงไม่หมุนเวียนไปตามความแปรผันแห่งรูป
ความสะดุ้งและความเกิดขึ้นแห่งธรรมที่เกิดจากความหมุนเวียนไปตามความแปรผัน
แห่งรูป ก็ไม่ครอบงำจิตของอริยสาวกนั้นตั้งอยู่ เพราะจิตไม่ถูกครอบงำ อริยสาวก
นั้นจึงไม่หวาดกลัว ไม่ลำบากใจ ไม่ห่วงใย และไม่สะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๑. นกุลปิตุวรรค ๗. อุปาทาปริตัสสนาสูตร

ไม่พิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีเวทนา
ไม่พิจารณาเห็นเวทนาในอัตตา หรือไม่พิจารณาเห็นอัตตาในเวทนา เวทนาของ
อริยสาวกนั้นแปรผันเป็นอย่างอื่น เพราะเวทนาแปรผันและเป็นอย่างอื่น วิญญาณ
จึงไม่หมุนเวียนไปตามความแปรผันแห่งเวทนา ความสะดุ้งและความเกิดขึ้นแห่ง
ธรรมที่เกิดจากความหมุนเวียนไปตามความแปรผันแห่งเวทนา ก็ไม่ครอบงำจิต
ของอริยสาวกนั้นตั้งอยู่ เพราะจิตไม่ถูกครอบงำ อริยสาวกนั้นจึงไม่หวาดกลัว ไม่
ลำบากใจ ไม่ห่วงใย และไม่สะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น
ไม่พิจารณาเห็นสัญญาโดยความเป็นอัตตา ฯลฯ
ไม่พิจารณาเห็นสังขารโดยความเป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีสังขาร
ไม่พิจารณาเห็นสังขารในอัตตา หรือไม่พิจารณาเห็นอัตตาในสังขาร สังขารของ
อริยสาวกนั้นแปรผันเป็นอย่างอื่น เพราะสังขารแปรผันและเป็นอย่างอื่น วิญญาณ
จึงไม่หมุนเวียนไปตามความแปรผันแห่งสังขาร ความสะดุ้งและความเกิดขึ้นแห่ง
ธรรมที่เกิดจากความหมุนเวียนไปตามความแปรผันแห่งสังขาร ก็ไม่ครอบงำจิตของ
อริยสาวกนั้นตั้งอยู่ เพราะจิตไม่ถูกครอบงำ อริยสาวกนั้นจึงไม่หวาดกลัว ไม่
ลำบากใจ ไม่ห่วงใย และไม่สะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น
ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณ
ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตา หรือไม่พิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณ วิญญาณ
ของอริยสาวกนั้นแปรผันเป็นอย่างอื่น เพราะวิญญาณแปรผันและเป็นอย่างอื่น
วิญญาณจึงไม่หมุนเวียนไปตามความแปรผันแห่งวิญญาณ ความสะดุ้งและความ
เกิดขึ้นแห่งธรรมที่เกิดจากความหมุนเวียนไปตามความแปรผันแห่งวิญญาณ ก็ไม่
ครอบงำจิตของอริยสาวกนั้นตั้งอยู่ เพราะจิตไม่ถูกครอบงำ อริยสาวกนั้นจึงไม่
หวาดกลัว ไม่ลำบากใจ ไม่ห่วงใย และไม่สะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น
ภิกษุทั้งหลาย ความไม่สะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น เป็นอย่างนี้แล”

อุปาทาปริตัสสนาสูตรที่ ๗ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๑. นกุลปิตุวรรค ๘. ทุติยอุปาทานปริตัสสนาสูตร

๘. ทุติยอุปาทาปริตัสสนาสูตร
ว่าด้วยความสะดุ้งเพราะถือมั่น สูตรที่ ๒

[๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความสะดุ้งเพราะถือมั่น
และความไม่สะดุ้งเพราะไม่ถือมั่นแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ
ความสะดุ้งเพราะถือมั่น เป็นอย่างไร
คือ ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ พิจารณาเห็นรูปว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น
นั่นเป็นอัตตาของเรา’ รูปของเขาแปรผันเป็นอย่างอื่น เพราะรูปแปรผันและเป็น
อย่างอื่น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงเกิดขึ้นแก่เขา
พิจารณาเห็นเวทนาว่า ‘นั่นของเรา ฯลฯ
พิจารณาเห็นสัญญาว่า ‘นั่นของเรา ฯลฯ
พิจารณาเห็นสังขารว่า ‘นั่นของเรา ฯลฯ
พิจารณาเห็นวิญญาณว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’
วิญญาณของเขาแปรผันเป็นอย่างอื่น เพราะวิญญาณแปรผันและเป็นอย่างอื่น โสกะ
ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงเกิดขึ้นแก่เขา
ภิกษุทั้งหลาย ความสะดุ้งเพราะถือมั่น เป็นอย่างนี้แล
ความไม่สะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ผู้ได้สดับ พิจารณาเห็นรูปว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา
เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ รูปของอริยสาวกนั้นแปรผันเป็นอย่างอื่น
เพราะรูปแปรผันและเป็นอย่างอื่น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึง
ไม่เกิดขึ้นแก่อริยสาวกนั้น
พิจารณาเห็นเวทนาว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา ฯลฯ
พิจารณาเห็นสัญญาว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา ฯลฯ
พิจารณาเห็นสังขารว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๑. นกุลปิตุวรรค ๙. กาลัตตยอนิตตสูตร

พิจารณาเห็นวิญญาณว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตา
ของเรา’ วิญญาณของอริยสาวกนั้นแปรผันเป็นอย่างอื่น เพราะวิญญาณแปรผัน
และเป็นอย่างอื่น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงไม่เกิดขึ้นแก่
อริยสาวกนั้น
ภิกษุทั้งหลาย ความไม่สะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น เป็นอย่างนี้แล”

ทุติยอุปาทาปริตัสสนาสูตรที่ ๘ จบ

๙. กาลัตตยอนิจจสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ไม่เที่ยงใน ๓ กาล

[๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอดีตและอนาคต ไม่เที่ยง
ไม่จำต้องกล่าวถึงรูปที่เป็นปัจจุบันเลย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่
อาลัยในรูปที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินรูปที่เป็นอนาคต ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย
เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับรูปที่เป็นปัจจุบัน
เวทนาที่เป็นอดีตและอนาคต ไม่เที่ยง ฯลฯ
สัญญาที่เป็นอดีตและอนาคต ไม่เที่ยง ฯลฯ
สังขารที่เป็นอดีตและอนาคต ไม่เที่ยง ไม่จำต้องกล่าวถึงสังขารที่เป็นปัจจุบัน
เลย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่อาลัยในสังขารที่เป็นอดีต ไม่
เพลิดเพลินสังขารที่เป็นอนาคต ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด
เพื่อดับสังขารที่เป็นปัจจุบัน
วิญญาณที่เป็นอดีตและอนาคต ไม่เที่ยง ไม่จำต้องกล่าวถึงวิญญาณที่เป็น
ปัจจุบันเลย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่อาลัยในวิญญาณที่เป็นอดีต
ไม่เพลิดเพลินวิญญาณที่เป็นอนาคต ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด
เพื่อดับวิญญาณที่เป็นปัจจุบัน”

กาลัตตยอนิจจสูตรที่ ๙ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๑. นกุลปิตุวรรค ๑๑. กาลัตตยอนัตตสูตร

๑๐. กาลัตตยทุกขสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่เป็นทุกข์ใน ๓ กาล

[๑๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นทุกข์
ไม่จำต้องกล่าวถึงรูปที่เป็นปัจจุบันเลย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่
อาลัยในรูปที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินรูปที่เป็นอนาคต ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย
เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับรูปที่เป็นปัจจุบัน
เวทนาที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นทุกข์ ฯลฯ
สัญญาที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นทุกข์ ฯลฯ
สังขารที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นทุกข์ ฯลฯ
วิญญาณที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นทุกข์ ไม่จำต้องกล่าวถึงวิญญาณที่เป็น
ปัจจุบันเลย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่อาลัยในวิญญาณที่เป็นอดีต
ไม่เพลิดเพลินวิญญาณที่เป็นอนาคต ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด
เพื่อดับวิญญาณที่เป็นปัจจุบัน”

กาลัตตยทุกขสูตรที่ ๑๐ จบ

๑๑. กาลัตตยอนัตตสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่เป็นอนัตตาใน ๓ กาล

[๑๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นอนัตตา
ไม่จำต้องกล่าวถึงรูปที่เป็นปัจจุบันเลย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่
อาลัยในรูปที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินรูปที่เป็นอนาคต ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย
เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับรูปที่เป็นปัจจุบัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๑. นกุลปิตุวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

เวทนาที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นอนัตตา ฯลฯ
สัญญาที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นอนัตตา ฯลฯ
สังขารที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นอนัตตา ฯลฯ
วิญญาณที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นอนัตตา ไม่จำต้องกล่าวถึงวิญญาณที่
เป็นปัจจุบันเลย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่อาลัยในวิญญาณที่เป็น
อดีต ไม่เพลิดเพลินวิญญาณที่เป็นอนาคต ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลาย
กำหนัด เพื่อดับวิญญาณที่เป็นปัจจุบัน”

กาลัตตยอนัตตสูตรที่ ๑๑ จบ
นกุลปิตุวรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. นกุลปิตุสูตร ๒. เทวทหสูตร
๓. หลิททิกานิสูตร ๔. ทุติยหลิททิกานิสูตร
๕. สมาธิสูตร ๖. ปฏิสัลลานสูตร
๗. อุปาทาปริตัสสนาสูตร ๘. ทุติยอุปาทาปริตัสสนาสูตร
๙. กาลัตตยอนิจจสูตร ๑๐. กาลัตตยทุกขสูตร
๑๑. กาลัตตยอนัตตสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๒. อนิจจวรรค ๑. อนิจจสูตร

๒. อนิจจวรรค
หมวดว่าด้วยสิ่งที่ไม่เที่ยง
๑. อนิจจสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ไม่เที่ยง

[๑๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลาย
มาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขาร
ไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขาร
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด
จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว๑ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว๒ ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่าง
นี้อีกต่อไป๓”

อนิจจสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๒. อนิจจวรรค ๓. อนันตสูตร

๒. ทุกขสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่เป็นทุกข์

[๑๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นทุกข์ เวทนาเป็นทุกข์
สัญญาเป็นทุกข์ สังขารเป็นทุกข์ วิญญาณเป็นทุกข์
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจ
อื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

ทุกขสูตรที่ ๒ จบ

๓. อนัตตสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่เป็นอนัตตา

[๑๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา เวทนาเป็นอนัตตา
สัญญาเป็นอนัตตา สังขารเป็นอนัตตา วิญญาณเป็นอนัตตา
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขาร
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด
จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
อีกต่อไป”

อนัตตสูตรที่ ๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๒. อนิจจวรรค ๕. ยังทุกขสูตร

๔. ยทนิจจสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ไม่เที่ยง

[๑๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้น
เป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลาย
พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็น
นั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
เวทนาไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา
สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง
อย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
สัญญาไม่เที่ยง ฯลฯ
สังขารไม่เที่ยง ฯลฯ
วิญญาณไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็น
อนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความ
เป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจ
อื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”๑

ยทนิจจสูตรที่ ๔ จบ

๕. ยังทุกขสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่เป็นทุกข์

[๑๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้น
เป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตาม
ความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๒. อนิจจวรรค ๖. ยทนัตตาสูตร

เวทนาเป็นทุกข์ ฯลฯ
สัญญาเป็นทุกข์ ฯลฯ
สังขารเป็นทุกข์ ฯลฯ
วิญญาณเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้น
เธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา
เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”๑

ยังทุกขสูตรที่ ๕ จบ

๖. ยทนัตตาสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่เป็นอนัตตา

[๑๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา
สิ่งนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่
ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
เวทนาเป็นอนัตตา ฯลฯ
สัญญาเป็นอนัตตา ฯลฯ
สังขารเป็นอนัตตา ฯลฯ
วิญญาณเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วย
ปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่
ใช่อัตตาของเรา’
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจ
อื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”๒

ยทนัตตาสูตรที่ ๖ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๒. อนิจจวรรค ๘. สเหตุทุกขสูตร

๗. สเหตุอนิจจสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ไม่เที่ยงพร้อมทั้งเหตุปัจจัย

[๑๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง แม้เหตุปัจจัยที่ให้รูป
เกิดขึ้นก็ไม่เที่ยง รูปเกิดจากสิ่งที่ไม่เที่ยง ที่ไหนจักเที่ยงเล่า
เวทนาไม่เที่ยง แม้เหตุปัจจัยที่ให้เวทนาเกิดขึ้นก็ไม่เที่ยง เวทนาเกิดจากสิ่งที่
ไม่เที่ยง ที่ไหนจักเที่ยงเล่า
สัญญาไม่เที่ยง ฯลฯ
สังขารไม่เที่ยง แม้เหตุปัจจัยที่ให้สังขารเกิดขึ้นก็ไม่เที่ยง สังขารเกิดจากสิ่งที่
ไม่เที่ยง ที่ไหนจักเที่ยงเล่า
วิญญาณไม่เที่ยง แม้เหตุปัจจัยที่ให้วิญญาณเกิดขึ้นก็ไม่เที่ยง วิญญาณเกิด
จากสิ่งที่ไม่เที่ยง ที่ไหนจักเที่ยงเล่า
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจ
อื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”๑

สเหตุอนิจจสูตรที่ ๗ จบ

๘. สเหตุทุกขสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่เป็นทุกข์พร้อมทั้งเหตุปัจจัย

[๑๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นทุกข์ แม้เหตุปัจจัยที่ให้รูป
เกิดขึ้นก็เป็นทุกข์ รูปเกิดจากสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ไหนจักมีสุขเล่า
เวทนาเป็นทุกข์ ฯลฯ
สัญญาเป็นทุกข์ ฯลฯ
สังขารเป็นทุกข์ ฯลฯ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๒. อนิจจวรรค ๑๐. อานันทสูตร

วิญญาณเป็นทุกข์ แม้เหตุปัจจัยที่ให้วิญญาณเกิดขึ้นก็เป็นทุกข์ วิญญาณเกิด
จากสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ไหนจักมีสุขเล่า
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจ
อื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”๑

สเหตุทุกขสูตรที่ ๘ จบ

๙. สเหตุอนัตตสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่เป็นอนัตตาพร้อมทั้งเหตุปัจจัย

[๒๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา แม้เหตุปัจจัยที่ให้
รูปเกิดขึ้นก็เป็นอนัตตา รูปเกิดจากสิ่งที่เป็นอนัตตา ที่ไหนจักมีอัตตาเล่า
เวทนาเป็นอนัตตา ฯลฯ
สัญญาเป็นอนัตตา ฯลฯ
สังขารเป็นอนัตตา ฯลฯ
วิญญาณเป็นอนัตตา แม้เหตุปัจจัยที่ให้วิญญาณเกิดขึ้นก็เป็นอนัตตา วิญญาณ
เกิดจากสิ่งที่เป็นอนัตตา ที่ไหนจักมีอัตตาเล่า
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”๒

สเหตุอนัตตสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. อานันทสูตร
ว่าด้วยพระอานนท์

[๒๑] เรื่องเกิดขึ้นที่อารามในกรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๒. อนิจจวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ความดับพระองค์ตรัสเรียกว่า ‘นิโรธ’ ความดับแห่งธรรมเหล่าไหน พระองค์ตรัส
เรียกว่า ‘นิโรธ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ รูปไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มี
ความคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา ความดับแห่งรูปนั้น เรา
เรียกว่า ‘นิโรธ’
เวทนาไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็น
ธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไป
เป็นธรรมดา ความดับแห่งเวทนานั้น เราเรียกว่า ‘นิโรธ’
สัญญาไม่เที่ยง ฯลฯ
สังขารไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็น
ธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไป
เป็นธรรมดา ความดับแห่งสังขารนั้น เราเรียกว่า ‘นิโรธ’
วิญญาณไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็น
ธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไป
เป็นธรรมดา ความดับแห่งวิญญาณนั้น เราเรียกว่า ‘นิโรธ”

อานันทสูตรที่ ๑๐ จบ
อนิจจวรรคที่ ๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อนิจจสูตร ๒. ทุกขสูตร
๓. อนัตตสูตร ๔. ยทนิจจสูตร
๕. ยังทุกขสูตร ๖. ยทนัตตาสูตร
๗. สเหตุอนิจจสูตร ๘. สเหตุทุกขสูตร
๙. สเหตุอนัตตสูตร ๑๐. อานันทสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๓. ภารวรรค ๑. ภารสูตร

๓. ภารวรรค
หมวดว่าด้วยภาระ
๑. ภารสูตร
ว่าด้วยภาระ

[๒๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงภาระ ผู้แบกภาระ
การถือภาระ และการวางภาระแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ
ภาระ เป็นอย่างไร
คือ ควรกล่าวได้ว่า ภาระนั้น ได้แก่ อุปาทานขันธ์ (กองอันเป็นที่ตั้งแห่ง
ความยึดมั่น) ๕ ประการ
อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือรูป)
๒. เวทนูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือเวทนา)
๓. สัญญูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสัญญา)
๔. สังขารูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสังขาร)
๕. วิญญาณูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ)
นี้เรียกว่า ภาระ
ผู้แบกภาระ เป็นอย่างไร
คือ ควรกล่าวได้ว่า ผู้แบกภาระนั้น ได้แก่ บุคคลผู้มีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้
นี้เรียกว่า ผู้แบกภาระ
การถือภาระ เป็นอย่างไร
คือ ตัณหาอันทำให้เกิดอีก ประกอบด้วยความเพลิดเพลินและความกำหนัด
มีปกติให้เพลิดเพลินในอารมณ์นั้น ๆ ได้แก่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๓. ภารวรรค ๒. ปริญญาสูตร

๑. กามตัณหา (ความทะยานอยากในกาม)
๒. ภวตัณหา (ความทะยานอยากในภพ)
๓. วิภวตัณหา (ความทะยานอยากในวิภพ)
นี้เรียกว่า การถือภาระ
การวางภาระ เป็นอย่างไร
คือ ความดับตัณหาไม่เหลือด้วยวิราคะ ความสละ ความสละคืน ความพ้น
ความไม่อาลัยในตัณหา
นี้เรียกว่า การวางภาระ”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา-
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า
“ขันธ์ ๕ คือภาระ บุคคลคือผู้แบกภาระ
การถือภาระเป็นทุกข์ในโลก การวางภาระเป็นสุขในโลก
บุคคลวางภาระหนักได้แล้ว ไม่ถือภาระอื่นไว้
ถอนตัณหาพร้อมทั้งราก สิ้นความอยาก ดับสนิทแล้ว”

ภารสูตรที่ ๑ จบ

๒. ปริญญาสูตร
ว่าด้วยการกำหนดรู้

[๒๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ควรกำหนดรู้
และการกำหนดรู้ เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมที่ควรกำหนดรู้ เป็นอย่างไร
คือ รูปเป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้ เวทนาเป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้ สัญญา
เป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้ สังขารเป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้ วิญญาณเป็นธรรมที่ควร
กำหนดรู้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๓. ภารวรรค ๓. อภิชานสูตร

เหล่านี้เรียกว่า ธรรมที่ควรกำหนดรู้
การกำหนดรู้ เป็นอย่างไร
คือ ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ
นี้เรียกว่า การกำหนดรู้”

ปริญญาสูตรที่ ๒ จบ

๓. อภิชานสูตร
ว่าด้วยผู้รู้ยิ่ง

[๒๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้
ไม่คลายกำหนัด ไม่ละรูป เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์
บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละเวทนา เป็นผู้ไม่
ควรเพื่อความสิ้นทุกข์
บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ... สัญญา ฯลฯ
บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละสังขาร เป็นผู้ไม่
ควรเพื่อความสิ้นทุกข์
บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละวิญญาณ เป็นผู้ไม่
ควรเพื่อความสิ้นทุกข์
ภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง๑ กำหนดรู้๒ คลายกำหนัด๓ ละรูปได้ เป็น
ผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์
บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง ... เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๓. ภารวรรค ๔. ฉันทราคสูตร

บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัด ละวิญญาณได้ เป็นผู้ควรเพื่อความ
สิ้นทุกข์”

อภิชานสูตรที่ ๓ จบ

๔. ฉันทราคสูตร
ว่าด้วยการละฉันทราคะ

[๒๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละฉันทราคะในรูป
ด้วยการละอย่างนี้ เธอทั้งหลายจักละรูปนั้นได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคน เหมือน
ต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
เธอทั้งหลายจงละฉันทราคะในเวทนา ด้วยการละอย่างนี้ เธอทั้งหลายจักละ
เวทนานั้นได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว
เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
เธอทั้งหลายจงละฉันทราคะในสัญญา ด้วยการละอย่างนี้ เธอทั้งหลายจักละ
สัญญานั้นได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว
เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
เธอทั้งหลายจงละฉันทราคะในสังขาร ด้วยการละอย่างนี้ เธอทั้งหลายจักละ
สังขารนั้นได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว
เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
เธอทั้งหลายจงละฉันทราคะในวิญญาณ ด้วยการละอย่างนี้ เธอทั้งหลายจัก
ละวิญญาณนั้นได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไป
แล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้”๑

ฉันทราคสูตรที่ ๔ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๓. ภารวรรค ๕. อัสสาทสูตร

๕. อัสสาทสูตร
ว่าด้วยคุณของขันธ์

[๒๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อก่อนเราเป็นโพธิสัตว์ ยังไม่ได้
ตรัสรู้ ได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘อะไรหนอเป็นคุณ๑ อะไรเป็นโทษ๒ อะไรเป็นเครื่อง
สลัดออกจากรูป
อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษ อะไรเป็นเครื่องสลัดออกจากเวทนา
อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษ อะไรเป็นเครื่องสลัดออกจากสัญญา
อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษ อะไรเป็นเครื่องสลัดออกจากสังขาร
อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษ อะไรเป็นเครื่องสลัดออกจากวิญญาณ’
ภิกษุทั้งหลาย เรานั้นได้มีความคิดต่อไปดังนี้ว่า ‘สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยรูป
เกิดขึ้น นี้เป็นคุณของรูป สภาพที่รูปไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา
นี้เป็นโทษของรูป ธรรมเป็นที่กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะ๓ ในรูป
นี้เป็นเครื่องสลัดออกจากรูป
สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยเวทนาเกิดขึ้น นี้เป็นคุณของเวทนา สภาพที่เวทนา
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษของเวทนา ธรรมเป็นที่
กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะในเวทนา นี้เป็นเครื่องสลัดออกจากเวทนา
สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยสัญญาเกิดขึ้น ฯลฯ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๓. ภารวรรค ๕. อัสสาทสูตร

สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยสังขารเกิดขึ้น นี้เป็นคุณของสังขาร สภาพที่สังขาร
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษของสังขาร ธรรมเป็นที่
กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะในสังขาร นี้เป็นเครื่องสลัดออกจากสังขาร
สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยวิญญาณเกิดขึ้น นี้เป็นคุณของวิญญาณ สภาพที่
วิญญาณไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษของวิญญาณ
ธรรมเป็นที่กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะในวิญญาณ นี้เป็นเครื่องสลัด
ออกจากวิญญาณ
ภิกษุทั้งหลาย ตราบใด เรายังไม่รู้คุณโดยความเป็นคุณ โทษโดยความเป็นโทษ
และเครื่องสลัดออกโดยความเป็นเครื่องสลัดออกจากอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้
ตามความเป็นจริงอย่างนี้ ตราบนั้น เราก็ยังไม่ยืนยันว่า ‘เป็นผู้ตรัสรู้โดยชอบซึ่ง
สัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ใน
หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์’
แต่เมื่อใดเรารู้ชัดคุณโดยความเป็นคุณ โทษโดยความเป็นโทษ เครื่องสลัด
ออกโดยความเป็นเครื่องสลัดออกจากอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ ตามความเป็น
จริงอย่างนี้ เมื่อนั้นเราจึงจะยืนยันว่า ‘เป็นผู้ตรัสรู้โดยชอบซึ่งสัมมาสัมโพธิญาณ
อันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้ง
สมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์’
อนึ่ง ญาณทัสสนะ๑ เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า ‘วิมุตติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้
เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีก”๒

อัสสาทสูตรที่ ๕ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๓. ภารวรรค ๖. ทุติยอัสสาทสูตร

๖. ทุติยอัสสาทสูตร
ว่าด้วยคุณของขันธ์ สูตรที่ ๒

[๒๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราได้เที่ยวแสวงหาคุณของรูป ได้
พบคุณของรูปแล้ว คุณของรูปมีประมาณเท่าใด เราเห็นคุณประมาณเท่านั้นดีแล้ว
ด้วยปัญญา
เราได้เที่ยวแสวงหาโทษของรูป ได้พบโทษของรูปแล้ว โทษของรูปมีประมาณ
เท่าใด เราเห็นโทษประมาณเท่านั้นดีแล้วด้วยปัญญา
เราได้เที่ยวแสวงหาเครื่องสลัดออกจากรูป ได้พบเครื่องสลัดออกจากรูปแล้ว
เครื่องสลัดออกจากรูปมีประมาณเท่าใด เราเห็นเครื่องสลัดออกจากรูปประมาณ
เท่านั้นดีแล้วด้วยปัญญา
เราได้เที่ยวแสวงหาคุณของเวทนา ฯลฯ
เราได้เที่ยวแสวงหาคุณของสัญญา ฯลฯ
เราได้เที่ยวแสวงหาคุณของสังขาร ฯลฯ
เราได้เที่ยวแสวงหาคุณของวิญญาณ ได้พบคุณของวิญญาณแล้ว คุณของ
วิญญาณมีประมาณเท่าใด เราเห็นคุณประมาณเท่านั้นดีแล้วด้วยปัญญา
เราได้เที่ยวแสวงหาโทษของวิญญาณ ได้พบโทษของวิญญาณแล้ว โทษของ
วิญญาณมีประมาณเท่าใด เราเห็นโทษประมาณเท่านั้นดีแล้วด้วยปัญญา
เราได้เที่ยวแสวงหาเครื่องสลัดออกจากวิญญาณ ได้พบเครื่องสลัดออกจาก
วิญญาณแล้ว โทษของวิญญาณมีประมาณเท่าใด เราเห็นโทษประมาณเท่านั้นดี
แล้วด้วยปัญญา
ภิกษุทั้งหลาย ตราบใด เรายังไม่รู้ชัดคุณโดยความเป็นคุณ โทษโดยความ
เป็นโทษ และเครื่องสลัดออกโดยความเป็นเครื่องสลัดออกจากอุปาทานขันธ์ ๕
ประการนี้ตามความเป็นจริง ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๓. ภารวรรค ๗. ตติยอัสสาทสูตร

อนึ่ง ญาณทัสสนะเกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า ‘วิมุตติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็น
ชาติสุดท้าย บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีก”๑

ทุติยอัสสาทสูตรที่ ๖ จบ

๗. ตติยอัสสาทสูตร
ว่าด้วยคุณของขันธ์ สูตรที่ ๓

[๒๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าคุณของรูปจักไม่มีแล้ว สัตว์
ทั้งหลายก็ไม่พึงติดใจในรูป แต่เพราะคุณของรูปมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึง
ติดใจในรูป
ถ้าโทษของรูปจักไม่มีแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงเบื่อหน่ายในรูป แต่เพราะ
โทษของรูปมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายในรูป
ถ้าเครื่องสลัดออกจากรูปจักไม่มีแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงสลัดออกจากรูป
แต่เพราะเครื่องสลัดออกจากรูปมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงสลัดออกจากรูป
ถ้าคุณของเวทนาจักไม่มีแล้ว ฯลฯ
ถ้าคุณของสัญญาจักไม่มีแล้ว ฯลฯ
ถ้าคุณของสังขารจักไม่มีแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงติดใจในสังขาร แต่เพราะ
คุณของสังขารมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงติดใจในสังขาร
ถ้าโทษของสังขารจักไม่มีแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงเบื่อหน่ายในสังขาร แต่
เพราะโทษของสังขารมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายในสังขาร
ถ้าเครื่องสลัดออกจากสังขารจักไม่มีแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงสลัดออกจากสังขาร
แต่เพราะเครื่องสลัดออกจากสังขารมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงสลัดออกจากสังขาร
ถ้าคุณของวิญญาณจักไม่มีแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงติดใจในวิญญาณ แต่
เพราะคุณของวิญญาณมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงติดใจในวิญญาณ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๓. ภารวรรค ๘. อภินันทนสูตร

ถ้าโทษของวิญญาณจักไม่มีแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงเบื่อหน่ายในวิญญาณ
แต่เพราะโทษของวิญญาณมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายในวิญญาณ
ถ้าเครื่องสลัดออกจากวิญญาณจักไม่มีแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงสลัดออก
จากวิญญาณ แต่เพราะเครื่องสลัดออกจากวิญญาณมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึง
สลัดออกจากวิญญาณ
ภิกษุทั้งหลาย ตราบใด สัตว์ทั้งหลายยังไม่รู้ชัดคุณโดยความเป็นคุณ โทษ
โดยความเป็นโทษ และเครื่องสลัดออกโดยความเป็นเครื่องสลัดออกจากอุปาทาน-
ขันธ์ ๕ ประการนี้ตามความเป็นจริง ตราบนั้น สัตว์ทั้งหลายจะออกไป หลุดไป
พ้นไป มีใจปราศจากแดน๑อยู่ไม่ได้เลยในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก
ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์
แต่เมื่อใด สัตว์ทั้งหลายรู้ชัดคุณโดยความเป็นคุณ โทษโดยความเป็นโทษ
เครื่องสลัดออกโดยความเป็นเครื่องสลัดออกจากอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ตาม
ความเป็นจริง เมื่อนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงออกไป หลุดไป พ้นไป มีใจปราศจาก
แดนอยู่ในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณ-
พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์”๒

ตติยอัสสาทสูตรที่ ๗ จบ

๘. อภินันทนสูตร
ว่าด้วยความเพลิดเพลินขันธ์

[๒๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ผู้ที่เพลิดเพลินรูป ชื่อว่าเพลิดเพลินทุกข์
ผู้ที่เพลิดเพลินทุกข์ เรากล่าวว่า ‘พ้นจากทุกข์ไม่ได้’
ผู้ที่เพลิดเพลินเวทนา ...
ผู้ที่เพลิดเพลินสัญญา ...
ผู้ที่เพลิดเพลินสังขาร ...


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๓. ภารวรรค ๙. อุปปาทสูตร

ผู้ที่เพลิดเพลินวิญญาณ ชื่อว่าเพลิดเพลินทุกข์ ผู้ที่เพลิดเพลินทุกข์ เรา
กล่าวว่า ‘พ้นจากทุกข์ไม่ได้’
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ที่ไม่เพลิดเพลินรูป ชื่อว่าไม่เพลิดเพลินทุกข์ ผู้ที่ไม่
เพลิดเพลินทุกข์ เรากล่าวว่า ‘พ้นจากทุกข์ได้’
ผู้ที่ไม่เพลิดเพลินเวทนา ...
ผู้ที่ไม่เพลิดเพลินสัญญา ...
ผู้ที่ไม่เพลิดเพลินสังขาร ...
ผู้ที่ไม่เพลิดเพลินวิญญาณ ชื่อว่าไม่เพลิดเพลินทุกข์ ผู้ที่ไม่เพลิดเพลินทุกข์
เรากล่าวว่า ‘พ้นจากทุกข์ได้”๑

อภินันทนสูตรที่ ๘ จบ

๙. อุปปาทสูตร
ว่าด้วยความเกิดขึ้นแห่งขันธ์

[๓๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความ
บังเกิด ความปรากฏแห่งรูป นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค
เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ
ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งเวทนา ... แห่ง
สัญญา ... แห่งสังขาร ...
ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งวิญญาณ นี้เป็น
ความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนความดับ ความสงบระงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งรูป นี้
เป็นความดับแห่งทุกข์ เป็นความสงบระงับแห่งโรค เป็นความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชรา
และมรณะ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๓. ภารวรรค ๑๐. อฆมูลสูตร

ความดับ ความสงบระงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งเวทนา ... แห่งสัญญา ...
แห่งสังขาร ...
ความดับ ความสงบระงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งวิญญาณ นี้เป็นความดับ
แห่งทุกข์ เป็นความสงบระงับแห่งโรค เป็นความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชราและมรณะ”๑

อุปปาทสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. อฆมูลสูตร
ว่าด้วยมูลเหตุแห่งทุกข์

[๓๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงทุกข์ และมูลเหตุแห่ง
ทุกข์แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ทุกข์ เป็นอย่างไร
คือ ทุกข์คือรูป ทุกข์คือเวทนา ทุกข์คือสัญญา ทุกข์คือสังขาร ทุกข์คือ
วิญญาณ
นี้เรียกว่า ทุกข์
มูลเหตุแห่งทุกข์ เป็นอย่างไร
คือ ตัณหาอันทำให้เกิดอีก ประกอบด้วยความเพลิดเพลินและความกำหนัด
มีปกติให้เพลิดเพลินในอารมณ์นั้น ๆ ได้แก่
๑. กามตัณหา
๒. ภวตัณหา
๓. วิภวตัณหา
นี้เรียกว่า มูลเหตุแห่งทุกข์”

อฆมูลสูตรที่ ๑๐ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๓. ภารวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๑๑. ปภังคุสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่แตกสลาย

[๓๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสิ่งที่แตกสลาย และสิ่ง
ที่ไม่แตกสลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
อะไรเล่าเป็นสิ่งที่แตกสลาย และ อะไรเป็นสิ่งที่ไม่แตกสลาย
คือ รูปจัดเป็นสิ่งที่แตกสลาย ส่วนความดับ ความสงบระงับ ความตั้งอยู่
ไม่ได้แห่งรูปนั้น จัดเป็นสิ่งที่ไม่แตกสลาย
เวทนาจัดเป็นสิ่งที่แตกสลาย ส่วนความดับ ความสงบระงับ ความตั้งอยู่
ไม่ได้แห่งเวทนานั้น จัดเป็นสิ่งที่ไม่แตกสลาย
สัญญาจัดเป็นสิ่งที่แตกสลาย ...
สังขารจัดเป็นสิ่งที่แตกสลาย ส่วนความดับ ความสงบระงับ ความตั้งอยู่
ไม่ได้แห่งสังขารเหล่านั้น จัดเป็นสิ่งที่ไม่แตกสลาย
วิญญาณจัดเป็นสิ่งที่แตกสลาย ส่วนความดับ ความสงบระงับ ความตั้งอยู่
ไม่ได้แห่งวิญญาณนั้น จัดเป็นสิ่งที่ไม่แตกสลาย”

ปภังคุสูตรที่ ๑๑ จบ
ภารวรรคที่ ๓ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ภารสูตร ๒. ปริญญาสูตร
๓. อภิชานสูตร ๔. ฉันทราคสูตร
๕. อัสสาทสูต ๖. ทุติยอัสสาทสูตร
๗. ตติยอัสสาทสูตร ๘. อภินันทนสูตร
๙. อุปปาทสูตร ๑๐. อฆมูลสูตร
๑๑. ปภังคุสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๔. นตุมหากวรรค ๑. นตุมหากวรรค

๔. นตุมหากวรรค
หมวดว่าด้วยสิ่งที่ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย
๑. นตุมหากสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย

[๓๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอ
ทั้งหลายจงละสิ่งนั้น สิ่งที่เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล
เพื่อความสุข
ก็อะไรเล่าชื่อว่าสิ่งที่ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย
คือ รูปไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละรูปนั้น รูปที่เธอทั้งหลายละ
ได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข
เวทนาไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละเวทนานั้น เวทนาที่เธอ
ทั้งหลายละได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข
สัญญาไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย ...
สังขารไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละสังขารนั้น สังขารที่เธอ
ทั้งหลายละได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข
วิญญาณไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละวิญญาณนั้น วิญญาณที่
เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข
เปรียบเหมือนคนพึงนำหญ้า ไม้ กิ่งไม้ และใบไม้ ที่มีอยู่ในเชตวันนี้ไป เผา
หรือจัดการไปตามเรื่อง เธอทั้งหลายจะพึงมีความคิดอย่างนี้บ้างไหมว่า ‘คนนำเรา
ทั้งหลายไป เผา หรือจัดการไปตามเรื่อง”
“ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๔. นตุมหากวรรค ๒. ทุติยนตุมหากสูตร

“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“เพราะหญ้าเป็นต้นนั้นไม่ใช่อัตตาหรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน รูปไม่ใช่ของเธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละรูปนั้น รูปที่เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อ
ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข
เวทนาไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละเวทนานั้น เวทนาที่เธอ
ทั้งหลายละได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข
สัญญาไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย ...
สังขารไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย ...
วิญญาณไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละวิญญาณนั้น วิญญาณที่
เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข”๑

นตุมหากสูตรที่ ๑ จบ

๒. ทุติยนตุมหากสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย สูตรที่ ๒

[๓๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอ
ทั้งหลายจงละสิ่งนั้น สิ่งที่เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล
เพื่อความสุข
ก็อะไรเล่าชื่อว่าสิ่งที่ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย
คือ รูปไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละรูปนั้น รูปที่เธอทั้งหลายละ
ได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๔. นตุมหากวรรค ๓. อัญญตรภิกขุสูตร

เวทนาไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย ...
สัญญาไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย ...
สังขารไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย ...
วิญญาณไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละวิญญาณนั้น วิญญาณที่
เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข”๑

ทุติยนตุมหากสูตรที่ ๒ จบ

๓. อัญญตรภิกขุสูตร
ว่าด้วยภิกษุรูปหนึ่งทูลถามปัญหา

[๓๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อซึ่ง
ข้าพระองค์ได้ฟังแล้วจะพึงหลีกออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร
อุทิศกายและใจอยู่เถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ บุคคลครุ่นคิดถึงสิ่งใด ก็ถึงการนับเข้ากับสิ่งนั้น
ไม่ครุ่นคิดถึงสิ่งใด ก็ไม่ถึงการนับเข้ากับสิ่งนั้น”
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์เข้าใจแล้ว ข้าแต่พระสุคต ข้าพระองค์
เข้าใจแล้ว”
“ภิกษุ ก็เธอเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวอย่างย่อโดยพิสดารได้อย่างไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าบุคคลครุ่นคิดถึงรูป ก็ถึงการนับเข้ากับรูปนั้น ถ้า
ครุ่นคิดถึงเวทนา ... ถ้าครุ่นคิดถึงสัญญา ... ถ้าครุ่นคิดถึงสังขาร ... ถ้า
ครุ่นคิดถึงวิญญาณ ก็ถึงการนับเข้ากับวิญญาณนั้น


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๔. นตุมหากวรรค ๓. อัญญตรภิกขุสูตร

ถ้าบุคคลไม่ครุ่นคิดถึงรูป ก็ไม่ถึงการนับเข้ากับรูปนั้น ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงเวทนา
... ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงสัญญา ... ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงสังขาร ... ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงวิญญาณ
ก็ไม่ถึงการนับเข้ากับวิญญาณนั้น
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เข้าใจเนื้อความแห่งพระภาษิตที่พระผู้มีพระ
ภาคตรัสไว้อย่างย่อโดยพิสดารได้อย่างนี้”
“ดีละ ดีละ ภิกษุ เธอเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้อย่างย่อโดย
พิสดารได้ดีแล้ว ถ้าบุคคลครุ่นคิดถึงรูป ก็ถึงการนับเข้ากับรูปนั้น ฯลฯ
ถ้าบุคคลไม่ครุ่นคิดถึงรูป ก็ไม่ถึงการนับเข้ากับรูปนั้น ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงเวทนา
... ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงสัญญา ... ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงสังขาร ... ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงวิญญาณ
ก็ไม่ถึงการนับเข้ากับวิญญาณนั้น
ภิกษุ เธอพึงเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้อย่างย่อโดยพิสดารอย่างนี้”
ครั้งนั้น ภิกษุนั้นชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้วลุกจากอาสนะ
ถวายอภิวาท กระทำประทักษิณแล้วจากไป
ต่อมา ภิกษุนั้นหลีกออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศ
กายและใจอยู่ ไม่นานนักก็ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยม๑ อันเป็นที่สุดแห่ง
พรหมจรรย์๒ ที่เหล่ากุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วย
ปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
อนึ่ง ภิกษุนั้นได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย๓

อัญญตรภิกขุสูตรที่ ๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๔. นตุมหากวรรค ๔. ทุติยอัญญตรภิกขุสูตร

๔. ทุติยอัญญตรภิกขุสูตร
ว่าด้วยภิกษุรูปหนึ่งทูลถามปัญหา สูตรที่ ๒

[๓๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ นั่ง
ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอ
ประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อซึ่ง
ข้าพระองค์ได้ฟังแล้วจะพึงหลีกออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร
อุทิศกายและใจอยู่เถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ บุคคลครุ่นคิดถึงสิ่งใด ก็หมกมุ่นถึงสิ่งนั้น
หมกมุ่นถึงสิ่งใด ก็ถึงการนับเข้ากับสิ่งนั้น ไม่ครุ่นคิดถึงสิ่งใด ก็ไม่หมกมุ่นถึงสิ่งนั้น
ไม่หมกมุ่นถึงสิ่งใด ก็ไม่ถึงการนับเข้ากับสิ่งนั้น”
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์เข้าใจแล้ว ข้าแต่พระสุคต ข้าพระองค์
เข้าใจแล้ว”
“ภิกษุ ก็เธอเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้อย่างย่อโดยพิสดารได้อย่างไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าบุคคลครุ่นคิดถึงรูป ก็หมกมุ่นถึงรูปนั้น หมกมุ่น
ถึงรูปใด ก็ถึงการนับเข้ากับรูปนั้น ถ้าครุ่นคิดถึงเวทนา ... ถ้าครุ่นคิดถึงสัญญา ...
ถ้าครุ่นคิดถึงสังขาร ... ถ้าครุ่นคิดถึงวิญญาณ ก็หมกมุ่นถึงวิญญาณนั้น หมกมุ่น
ถึงวิญญาณใด ก็ถึงการนับเข้ากับวิญญาณนั้น
ถ้าบุคคลไม่ครุ่นคิดถึงรูป ก็ไม่หมกมุ่นถึงรูปนั้น ไม่หมกมุ่นถึงรูปใด ก็ไม่ถึง
การนับเข้ากับรูปนั้น ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงเวทนา ... ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงสัญญา ... ถ้าไม่
ครุ่นคิดถึงสังขาร ... ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงวิญญาณ ก็ไม่หมกมุ่นถึงวิญญาณนั้น ไม่
หมกมุ่นถึงวิญญาณใด ก็ไม่ถึงการนับเข้ากับวิญญาณนั้น
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เข้าใจเนื้อความแห่งพระภาษิตที่พระผู้มี
พระภาคตรัสไว้อย่างย่อโดยพิสดารได้อย่างนี้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๔. นตุมหากวรรค ๕. อานันทสูตรสูตร

“ดีละ ดีละ ภิกษุ เธอเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้อย่างย่อโดย
พิสดารได้ดีแล้ว ถ้าบุคคลครุ่นคิดถึงรูป ก็หมกมุ่นถึงรูปนั้น หมกมุ่นถึงรูปใด
ก็ถึงการนับเข้ากับรูปนั้น ถ้าครุ่นคิดถึงเวทนา ... ถ้าครุ่นคิดถึงสัญญา ...
ถ้าครุ่นคิดถึงสังขาร ... ถ้าครุ่นคิดถึงวิญญาณ ก็หมกมุ่นถึงวิญญาณนั้น หมกมุ่น
ถึงวิญญาณใด ก็ถึงการนับเข้ากับวิญญาณนั้น
ภิกษุ ถ้าบุคคลไม่ครุ่นคิดถึงรูป ก็ไม่หมกมุ่นถึงรูปนั้น ไม่หมกมุ่นถึงรูปใด
ก็ไม่ถึงการนับเข้ากับรูปนั้น ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงเวทนา ... ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงสัญญา ...
ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงสังขาร ... ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงวิญญาณ ก็ไม่หมกมุ่นถึงวิญญาณนั้น
ไม่หมกมุ่นถึงวิญญาณใด ก็ไม่ถึงการนับเข้ากับวิญญาณนั้น
ภิกษุ เธอพึงเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวอย่างย่อโดยพิสดารอย่างนี้”
ฯลฯ
อนึ่ง ภิกษุนั้นได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย

ทุติยอัญญตรภิกขุสูตรที่ ๔ จบ

๕. อานันทสูตร
ว่าด้วยพระอานนท์

[๓๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้นในเวลาเย็น ท่านพระอานนท์ออกจากที่หลีกเร้น เข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า
“อานนท์ ถ้าภิกษุทั้งหลายพึงถามเธออย่างนี้ว่า ‘ท่านอานนท์ ความเกิดขึ้น
แห่งธรรมเหล่าไหนปรากฏ ความเสื่อมไปแห่งธรรมเหล่าไหนปรากฏ เมื่อธรรม
เหล่าไหนตั้งอยู่ ความแปร๑ปรากฏ’ เธอถูกถามอย่างนี้จะพึงตอบอย่างไร”
ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าภิกษุทั้งหลายพึง
ถามข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ‘ท่านอานนท์ ความเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่าไหนปรากฏ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๔. นตุมหากวรรค ๖.ทุติยอานันทสูตร

ความเสื่อมไปแห่งธรรมเหล่าไหนปรากฏ เมื่อธรรมเหล่าไหนตั้งอยู่ ความแปร
ปรากฏ’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้ พึงตอบอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้
มีอายุทั้งหลาย ความเกิดขึ้นแห่งรูปปรากฏ ความเสื่อมไปแห่งรูปปรากฏ เมื่อรูป
ตั้งอยู่ ความแปรปรากฏ ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา ... แห่งสัญญา ... แห่งสังขาร ...
ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณปรากฏ ความเสื่อมไปแห่งวิญญาณปรากฏ เมื่อวิญญาณ
ตั้งอยู่ ความแปรปรากฏ ความเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่านี้ปรากฏ ความเสื่อมไปแห่ง
ธรรมเหล่านี้ปรากฏ เมื่อธรรมเหล่านี้ตั้งอยู่ ความแปรปรากฏ’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้ พึงตอบอย่างนี้”
“ดีละ ดีละ อานนท์ ความเกิดขึ้นแห่งรูปปรากฏ ความเสื่อมไปแห่งรูปปรากฏ
เมื่อรูปตั้งอยู่ ความแปรปรากฏ ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา ... แห่งสัญญา ...
แห่งสังขาร ... ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณปรากฏ ความเสื่อมไปแห่งวิญญาณปรากฏ
เมื่อวิญญาณตั้งอยู่ ความแปรปรากฏ ความเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่านี้ปรากฏ
ความเสื่อมไปแห่งธรรมเหล่านี้ปรากฏ เมื่อธรรมเหล่านี้ตั้งอยู่ ความแปรปรากฏ
อานนท์ เธอถูกถามอย่างนี้ พึงตอบอย่างนี้”

อานันทสูตรที่ ๕ จบ

๖. ทุติยอานันทสูตร
ว่าด้วยพระอานนท์ สูตรที่ ๒

[๓๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านพระอานนท์ผู้นั่ง ณ ที่สมควรดังนี้ว่า “อานนท์
ถ้าภิกษุทั้งหลายพึงถามเธออย่างนี้ว่า ‘ท่านอานนท์ ความเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่า
ไหนปรากฏแล้ว ความเสื่อมไปแห่งธรรมเหล่าไหนปรากฏแล้ว เมื่อธรรมเหล่าไหน
ตั้งอยู่ ความแปรปรากฏแล้ว
ความเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่าไหนจักปรากฏ ความเสื่อมไปแห่งธรรมเหล่าไหน
จักปรากฏ เมื่อธรรมเหล่าไหนตั้งอยู่ ความแปรจักปรากฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๕๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๔. นตุมหากวรรค ๖.ทุติยอานันทสูตร

ความเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่าไหนปรากฏ ความเสื่อมไปแห่งธรรมเหล่าไหนปรากฏ
เมื่อธรรมเหล่าไหนตั้งอยู่ ความแปรปรากฏ’
อานนท์ เธอถูกถามอย่างนี้ จะพึงตอบอย่างไร”
ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าภิกษุทั้งหลายพึง
ถามข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ‘ท่านอานนท์ ความเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่าไหนปรากฏแล้ว
ความเสื่อมไปแห่งธรรมเหล่าไหนปรากฏแล้ว เมื่อธรรมเหล่าไหนตั้งอยู่ ความแปร
ปรากฏแล้ว
ความเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่าไหนจักปรากฏ ความเสื่อมไปแห่งธรรมเหล่าไหน
จักปรากฏ เมื่อธรรมเหล่าไหนตั้งอยู่ ความแปรจักปรากฏ
ความเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่าไหนปรากฏ ความเสื่อมไปแห่งธรรมเหล่าไหนปรากฏ
เมื่อธรรมเหล่าไหนตั้งอยู่ ความแปรปรากฏ’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้ พึงตอบอย่างนี้ว่า
‘ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย รูปใดล่วงไป ดับไป แปรผันไปแล้ว ความเกิดขึ้น
แห่งรูปนั้นปรากฏแล้ว ความเสื่อมไปแห่งรูปนั้นปรากฏแล้ว เมื่อรูปนั้นตั้งอยู่
ความแปรปรากฏแล้ว
เวทนาใดล่วงไป ดับไป แปรผันไปแล้ว ความเกิดขึ้นแห่งเวทนานั้นปรากฏแล้ว
ความเสื่อมไปแห่งเวทนานั้นปรากฏแล้ว เมื่อเวทนานั้นตั้งอยู่ ความแปรปรากฏแล้ว
สัญญาใดล่วงไป ...
สังขารเหล่าใดล่วงไป ดับไป แปรผันไปแล้ว ความเกิดขึ้นแห่งสังขารเหล่านั้น
ปรากฏแล้ว ความเสื่อมไปแห่งสังขารเหล่านั้นปรากฏแล้ว เมื่อสังขารเหล่านั้นตั้งอยู่
ความแปรปรากฏแล้ว
วิญญาณใดล่วงไป ดับไป แปรผันไปแล้ว ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณนั้น
ปรากฏแล้ว ความเสื่อมไปแห่งวิญญาณนั้นปรากฏแล้ว เมื่อวิญญาณนั้นตั้งอยู่
ความแปรปรากฏแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๕๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๔. นตุมหากวรรค ๖.ทุติยอานันทสูตร

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ความเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่านี้ปรากฏแล้ว ความเสื่อม
ไปแห่งธรรมเหล่านี้ปรากฏแล้ว เมื่อธรรมเหล่านี้ตั้งอยู่ ความแปรปรากฏแล้ว
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย รูปใดยังไม่เกิด ยังไม่ปรากฏ ความเกิดขึ้นแห่งรูปนั้น
จักปรากฏ ความเสื่อมไปแห่งรูปนั้นจักปรากฏ เมื่อรูปนั้นตั้งอยู่ ความแปรจักปรากฏ
เวทนาใดยังไม่เกิด ยังไม่ปรากฏ ความเกิดขึ้นแห่งเวทนานั้นจักปรากฏ
ความเสื่อมไปแห่งเวทนานั้นจักปรากฏ เมื่อเวทนานั้นตั้งอยู่ ความแปรจักปรากฏ
สัญญาใดยังไม่เกิด ...
สังขารเหล่าใดยังไม่เกิด ยังไม่ปรากฏ ความเกิดขึ้นแห่งสังขารเหล่านั้นจัก
ปรากฏ เมื่อสังขารเหล่านั้นตั้งอยู่ ความแปรจักปรากฏ
วิญญาณใดยังไม่เกิด ยังไม่ปรากฏ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณนั้นจักปรากฏ
ความเสื่อมไปแห่งวิญญาณนั้นจักปรากฏ เมื่อวิญญาณนั้นตั้งอยู่ ความแปรจักปรากฏ
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ความเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่านี้จักปรากฏ ความเสื่อม
ไปแห่งธรรมเหล่านี้จักปรากฏ เมื่อธรรมเหล่านี้ตั้งอยู่ ความแปรจักปรากฏ
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย รูปใดเกิดแล้ว ปรากฏแล้ว ความเกิดขึ้นแห่งรูปนั้น
ปรากฏ ความเสื่อมไปแห่งรูปนั้นปรากฏ เมื่อรูปนั้นตั้งอยู่ ความแปรปรากฏ
เวทนาใดเกิดแล้ว ปรากฏแล้ว ...
สัญญาใดเกิดแล้ว ปรากฏแล้ว ...
สังขารเหล่าใดเกิดแล้ว ปรากฏแล้ว ความเกิดขึ้นแห่งสังขารเหล่านั้นปรากฏ
ความเสื่อมไปแห่งสังขารเหล่านั้นปรากฏ เมื่อสังขารเหล่านั้นตั้งอยู่ ความแปร
ปรากฏ
วิญญาณใดเกิดแล้ว ปรากฏแล้ว ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณนั้นปรากฏ
ความเสื่อมไปแห่งวิญญาณนั้นปรากฏ เมื่อวิญญาณนั้นตั้งอยู่ ความแปรปรากฏ
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ความเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่านี้ปรากฏ ความเสื่อมไป
แห่งธรรมเหล่านี้ปรากฏ เมื่อธรรมเหล่านี้ตั้งอยู่ ความแปรปรากฏ’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้ พึงตอบอย่างนี้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๕๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๔. นตุมหากวรรค ๖.ทุติยอานันทสูตร

“ดีละ ดีละ อานนท์ รูปใดล่วงไป ดับไป แปรผันไปแล้ว ความเกิดขึ้น
แห่งรูปนั้นปรากฏแล้ว ความเสื่อมไปแห่งรูปนั้นปรากฏแล้ว เมื่อรูปนั้นตั้งอยู่
ความแปรปรากฏแล้ว
เวทนาใด ...
สัญญาใด ...
สังขารเหล่าใด ...
วิญญาณใดล่วงไป ดับไป แปรผันไปแล้ว ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณนั้นปรากฏ
แล้ว ความเสื่อมไปแห่งวิญญาณนั้นปรากฏแล้ว เมื่อวิญญาณนั้นตั้งอยู่ ความแปร
ปรากฏแล้ว
อานนท์ ความเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่านี้ปรากฏแล้ว ความเสื่อมไปแห่งธรรม
เหล่านี้ปรากฏแล้ว เมื่อธรรมเหล่านี้ตั้งอยู่ ความแปรปรากฏแล้ว
อานนท์ รูปใดยังไม่เกิด ยังไม่ปรากฏ ความเกิดขึ้นแห่งรูปนั้นจักปรากฏ
ความเสื่อมไปแห่งรูปนั้นจักปรากฏ เมื่อรูปนั้นตั้งอยู่ ความแปรจักปรากฏ
เวทนาใด ฯลฯ
สัญญาใด ฯลฯ
สังขารเหล่าใด ฯลฯ
วิญญาณใด ยังไม่เกิด ยังไม่ปรากฏ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณนั้นจักปรากฏ
ความเสื่อมไปแห่งวิญญาณนั้นจักปรากฏ เมื่อวิญญาณนั้นตั้งอยู่ ความแปรจักปรากฏ
อานนท์ ความเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่านี้จักปรากฏ ความเสื่อมไปแห่งธรรม
เหล่านี้จักปรากฏ เมื่อธรรมเหล่านี้ตั้งอยู่ ความแปรจักปรากฏ
อานนท์ รูปใดเกิดแล้ว ปรากฏแล้ว ความเกิดขึ้นแห่งรูปนั้นปรากฏ ความ
เสื่อมไปแห่งรูปปรากฏ เมื่อรูปนั้นตั้งอยู่ ความแปรปรากฏ
เวทนาใดเกิดแล้ว ปรากฏแล้ว ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๕๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๔. นตุมหากวรรค ๗. อนุธัมมสูตร

สัญญาใด ฯลฯ
สังขารเหล่าใด ฯลฯ
วิญญาณใดเกิดแล้ว ปรากฏแล้ว ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณนั้นปรากฏ
ความเสื่อมไปแห่งวิญญาณนั้นปรากฏ เมื่อวิญญาณนั้นตั้งอยู่ ความแปรปรากฏ
อานนท์ ความเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่านี้ปรากฏ ความเสื่อมไปแห่งธรรมเหล่านี้
ปรากฏ เมื่อธรรมเหล่านี้ตั้งอยู่ ความแปรปรากฏ
อานนท์ เธอถูกถามอย่างนี้ พึงตอบอย่างนี้”

ทุติยอานันทสูตรที่ ๖ จบ

๗. อนุธัมมสูตร
ว่าด้วยผู้มีธรรมอันเหมาะสม

[๓๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
มีธรรมอันเหมาะสม คือ พึงเป็นผู้มากด้วยความเบื่อหน่ายในรูป มากด้วยความ
เบื่อหน่ายในเวทนา มากด้วยความเบื่อหน่ายในสัญญา มากด้วยความเบื่อหน่าย
ในสังขาร มากด้วยความเบื่อหน่ายในวิญญาณอยู่ เมื่อเธอเป็นผู้มากด้วยความ
เบื่อหน่ายในรูป ... ในเวทนา ฯลฯ ในสัญญา ฯลฯ ในสังขาร เป็นผู้มากด้วย
ความเบื่อหน่ายในวิญญาณอยู่ ก็จะกำหนดรู้รูป ... เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ
สังขาร ฯลฯ กำหนดรู้วิญญาณ เธอเมื่อกำหนดรู้รูป ... เวทนา ฯลฯ สัญญา
ฯลฯ สังขาร เมื่อกำหนดรู้วิญญาณ ย่อมพ้นจากรูป ย่อมพ้นจากเวทนา ย่อม
พ้นจากสัญญา ย่อมพ้นจากสังขาร ย่อมพ้นจากวิญญาณ เรากล่าวว่า ‘ย่อมพ้น
จากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส และย่อมพ้น
จากทุกข์’

อนุธัมมสูตรที่ ๗ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๔. นตุมหากวรรค ๙.ตติยอนุธัมมสูตร

๘. ทุติยอนุธัมมสูตร
ว่าด้วยผู้มีธรรมอันเหมาะสม สูตรที่ ๒

[๔๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
มีธรรมอันเหมาะสม คือ พึงเป็นผู้พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในรูป ... ในเวทนา ฯลฯ
ในสัญญา ฯลฯ ในสังขาร พึงเป็นผู้พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในวิญญาณอยู่
เมื่อเธอพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในรูป ... ในเวทนา ฯลฯ ในสัญญา ฯลฯ
ในสังขาร พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในวิญญาณอยู่ ก็จะกำหนดรู้รูป ... เวทนา
ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร กำหนดรู้วิญญาณ เมื่อเธอกำหนดรู้รูป ... เวทนา
ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร กำหนดรู้วิญญาณ ย่อมพ้นจากรูป ย่อมพ้นจากเวทนา
ย่อมพ้นจากสัญญา ย่อมพ้นจากสังขาร ย่อมพ้นจากวิญญาณ เรากล่าวว่า ‘ย่อม
พ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส และ
ย่อมพ้นจากทุกข์”

ทุติยอนุธัมมสูตรที่ ๘ จบ

๙. ตติยอนุธัมมสูตร
ว่าด้วยผู้มีธรรมอันเหมาะสม สูตรที่ ๓

[๔๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
มีธรรมอันเหมาะสม คือ พึงเป็นผู้พิจารณาเห็นทุกข์ในรูป ... ในเวทนา ฯลฯ
ในสัญญา ฯลฯ ในสังขาร พึงเป็นผู้พิจารณาเห็นทุกข์ในวิญญาณอยู่ เมื่อเธอ
พิจารณาเห็นทุกข์ในรูป ... ในเวทนา ฯลฯ ในสัญญา ฯลฯ ในสังขาร
พิจารณาเห็นทุกข์ในวิญญาณอยู่ ก็จะกำหนดรู้รูป ... เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ
สังขาร กำหนดรู้วิญญาณ เมื่อเธอกำหนดรู้รูป ... เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ รวมพระสูตรที่มีในวรรค

สังขาร กำหนดรู้วิญญาณ ย่อมพ้นจากรูป ย่อมพ้นจากเวทนา ย่อมพ้นจากสัญญา
ย่อมพ้นจากสังขาร ย่อมพ้นจากวิญญาณ เรากล่าวว่า ‘ย่อมพ้นจากชาติ ชรา มรณะ
โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส และย่อมพ้นจากทุกข์”

ตติยอนุธัมมสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. จตุตถอนุธัมมสูตร
ว่าด้วยผู้มีธรรมอันเหมาะสม สูตรที่ ๔

[๔๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
มีธรรมอันเหมาะสม คือ พึงเป็นผู้พิจารณาเห็นอนัตตาในรูป ... ในเวทนา ฯลฯ
ในสัญญา ฯลฯ ในสังขาร พึงเป็นผู้พิจารณาเห็นอนัตตาในวิญญาณอยู่ เมื่อเธอ
พิจารณาเห็นอนัตตาในรูป ... ในเวทนา ฯลฯ ในสัญญา ฯลฯ ในสังขาร
พิจารณาเห็นอนัตตาในวิญญาณอยู่ ก็จะกำหนดรู้รูป ... เวทนา ฯลฯ สัญญา
ฯลฯ สังขาร กำหนดรู้วิญญาณ เมื่อเธอกำหนดรู้รูป ... เวทนา ฯลฯ สัญญา
ฯลฯ สังขาร กำหนดรู้วิญญาณ ย่อมพ้นจากรูป ย่อมพ้นจากเวทนา ย่อมพ้น
จากสัญญา ย่อมพ้นจากสังขาร ย่อมพ้นจากวิญญาณ เรากล่าวว่า ‘ย่อมพ้นจากชาติ
ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส และย่อมพ้นจากทุกข์”

จตุตถอนุธัมมสูตรที่ ๑๐ จบ
นตุมหากวรรคที่ ๔ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. นตุมหากสูตร ๒. ทุติยนตุมหากสูตร
๓. อัญญตรภิกขุสูตร ๔. ทุติยอัญญตรภิกขุสูตร
๕. อานันทสูตร ๖. ทุติยอานันทสูตร
๗. อนุธัมมสูตร ๘. ทุติยอนุธัมมสูตร
๙. ตติยอนุธัมมสูตร ๑๐. จตุตถอนุธัมมสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๕. อัตตทีปวรรค ๑. อัตตทีปสูตร

๕. อัตตทีปวรรค
หมวดว่าด้วยการมีตนเป็นเกาะ
๑. อัตตทีปสูตร
ว่าด้วยการมีตนเป็นเกาะ

[๔๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมีตนเป็นเกาะ๑ มี
ตนเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง จงมีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่ง
อื่นเป็นที่พึ่งเลย
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอทั้งหลายมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็น
ที่พึ่งอยู่ เธอทั้งหลายผู้มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง
ควรพิจารณาถึงกำเนิดว่า ‘โสกะ (ความเศร้าโศก) ปริเทวะ (ความคร่ำครวญ) ทุกข์
(ความทุกข์กาย) โทมนัส (ความทุกข์ใจ) และอุปายาส (ความคับแค้นใจ) เกิดขึ้น
อย่างไร มีอะไรเป็นแดนเกิด’
โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เกิดขึ้นอย่างไร มีอะไร
เป็นแดนเกิด
คือ ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของ
พระอริยะ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาด
ในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ พิจารณาเห็นรูปโดย
ความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูป พิจารณาเห็นรูปในอัตตา หรือ
พิจารณาเห็นอัตตาในรูป รูปของเขาแปรผันเป็นอย่างอื่น เพราะรูปแปรผันและ
เป็นอย่างอื่น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงเกิดขึ้นแก่เขา


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๕. อัตตทีปวรรค ๑. อัตตทีปสูตร

พิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีเวทนา
พิจารณาเห็นเวทนาในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในเวทนา เวทนาของเขา
แปรผันเป็นอย่างอื่น เพราะเวทนาแปรผันและเป็นอย่างอื่น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์
โทมนัส และอุปายาสจึงเกิดขึ้นแก่เขา
พิจารณาเห็นสัญญาโดยความเป็นอัตตา ฯลฯ
พิจารณาเห็นสังขารโดยความเป็นอัตตา ฯลฯ
พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณ
พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณ วิญญาณของ
เขาแปรผันเป็นอย่างอื่น เพราะวิญญาณแปรผันและเป็นอย่างอื่น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์
โทมนัส และอุปายาสจึงเกิดขึ้นแก่เขา
ภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อภิกษุรู้ว่ารูปไม่เที่ยง แปรผันไป คลายไป ดับไป เห็น
ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘รูปในกาลก่อนและรูปทั้งปวงในบัดนี้
ล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา’ ก็จะละโสกะ ปริเทวะ ทุกข์
โทมนัส และอุปายาสได้ เพราะละโสกะเป็นต้นเหล่านั้นได้จึงไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง
ก็อยู่เป็นสุข ภิกษุผู้อยู่เป็นสุข เรากล่าวว่า ‘ผู้ดับกิเลสแล้วด้วยองค์ธรรมนั้น’
ก็เมื่อภิกษุรู้ว่าเวทนาไม่เที่ยง แปรผันไป คลายไป ดับไป เห็นด้วยปัญญา
อันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘เวทนาในกาลก่อนและเวทนาทั้งปวงในบัดนี้
ล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา’ ก็จะละโสกะ ปริเทวะ
ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสได้ เพราะละโสกะเป็นต้นเหล่านั้นได้จึงไม่สะดุ้ง เมื่อ
ไม่สะดุ้ง ก็อยู่เป็นสุข ภิกษุผู้อยู่เป็นสุข เรากล่าวว่า ‘ผู้ดับกิเลสแล้วด้วยองค์
ธรรมนั้น’
ก็เมื่อภิกษุรู้ว่าสัญญาไม่เที่ยง ...
ก็เมื่อภิกษุรู้ว่าสังขารไม่เที่ยง แปรผันไป คลายไป ดับไป เห็นด้วยปัญญา
อันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘สังขารในกาลก่อนและสังขารทั้งปวงในบัดนี้
ล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา’ ก็จะละโสกะ ปริเทวะ ทุกข์
โทมนัส และอุปายาสได้ เพราะละโสกะเป็นต้นเหล่านั้นได้จึงไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง
ก็อยู่เป็นสุข ภิกษุผู้อยู่เป็นสุข เรากล่าวว่า ‘ผู้ดับกิเลสแล้วด้วยองค์ธรรมนั้น’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๕. อัตตทีปวรรค ๒. ปฏิปทาสูตร

ก็เมื่อภิกษุรู้ว่าวิญญาณไม่เที่ยง แปรผันไป คลายไป ดับไป เห็นด้วย
ปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘วิญญาณในกาลก่อนและวิญญาณ
ทั้งปวงในบัดนี้ ล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา’ ก็จะละโสกะ
ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสได้ เพราะละโสกะเป็นต้นเหล่านั้นได้ จึงไม่สะดุ้ง
เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมอยู่เป็นสุข ภิกษุผู้อยู่เป็นสุข เรากล่าวว่า ‘ผู้ดับกิเลสแล้วด้วย
องค์ธรรมนั้น”

อัตตทีปสูตรที่ ๑ จบ

๒. ปฏิปทาสูตร
ว่าด้วยปฏิปทา

[๔๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปฏิปทาที่ให้ถึงสักกาย-
สมุทัย (เหตุเกิดแห่งสักกายะ๑) และปฏิปทาที่ให้ถึงสักกายนิโรธ (ความดับแห่ง
สักกายะ) แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ปฏิปทาที่ให้ถึงสักกายสมุทัย เป็นอย่างไร
คือ ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของ
พระอริยะ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาด
ในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ พิจารณาเห็นรูปโดย
ความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูป พิจารณาเห็นรูปในอัตตา หรือ
พิจารณาเห็นอัตตาในรูป
พิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา ฯลฯ
พิจารณาเห็นสัญญาโดยความเป็นอัตตา ฯลฯ
พิจารณาเห็นสังขารโดยความเป็นอัตตา ฯลฯ
พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณ
พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๕. อัตตทีปวรรค ๓. อนิจจสูตร

นี้เรียกว่า ปฏิปทาที่ให้ถึงสักกายสมุทัย
คำว่า ‘ปฏิปทาที่ให้ถึงสักกายสมุทัย‘ ดังกล่าวมานี้ เราเรียกว่า ‘การพิจารณา
เห็นที่ให้ถึงทุกขสมุทัย’ นี้เป็นใจความในข้อนี้
ปฏิปทาที่ให้ถึงสักกายนิโรธ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ผู้ได้สดับ ได้เห็นพระอริยะ ฉลาดในธรรมของ
พระอริยะ ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ได้เห็นสัตบุรุษ ฉลาดในธรรม
ของสัตบุรุษ ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ ไม่พิจารณาเห็นรูปโดยความ
เป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูป ไม่พิจารณาเห็นรูปในอัตตา หรือไม่
พิจารณาเห็นอัตตาในรูป
ไม่พิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา ฯลฯ
ไม่พิจารณาเห็นสัญญา ฯลฯ
ไม่พิจารณาเห็นสังขาร ฯลฯ
ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณ
ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตา หรือไม่พิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณ
นี้เรียกว่า ปฏิปทาที่ให้ถึงสักกายนิโรธ
คำว่า ‘ปฏิปทาที่ให้ถึงสักกายนิโรธ‘ ดังกล่าวมานี้ เราเรียกว่า ‘การพิจารณา
เห็นที่ให้ถึงทุกขนิโรธ’ นี้เป็นใจความในข้อนี้”

ปฏิปทาสูตรที่ ๒ จบ

๓. อนิจจสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ไม่เที่ยง

[๔๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้น
เป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลาย
พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๕. อัตตทีปวรรค ๓. อนิจจสูตร

เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ เมื่อเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้
จิตย่อมคลายกำหนัด หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่น
เวทนาไม่เที่ยง ฯลฯ
สัญญาไม่เที่ยง ฯลฯ
สังขารไม่เที่ยง ฯลฯ
วิญญาณไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็น
อนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความ
เป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ เมื่อ
เห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ จิตย่อมคลายกำหนัด หลุดพ้น
จากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่น
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าจิตของภิกษุคลายกำหนัดจากรูปธาตุ ก็เป็นจิตที่หลุดพ้น
แล้วจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่น
ถ้าจิตของภิกษุคลายกำหนัดจากเวทนาธาตุ ฯลฯ
ถ้าจิตของภิกษุคลายกำหนัดจากสัญญาธาตุ ฯลฯ
ถ้าจิตของภิกษุคลายกำหนัดจากสังขารธาตุ ฯลฯ
ถ้าจิตของภิกษุคลายกำหนัดจากวิญญาณธาตุ ก็เป็นจิตที่หลุดพ้นแล้วจาก
อาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่น เพราะหลุดพ้นจึงตั้งมั่น เพราะตั้งมั่นจึงสันโดษ
เพราะสันโดษจึงไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้งย่อมดับไปเอง ภิกษุนั้นรู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
อีกต่อไป”๑

อนิจจสูตรที่ ๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๕. อัตตทีปวรรค ๔.ทุติยอนิจจสูตร

๔. ทุติยอนิจจสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ไม่เที่ยง สูตรที่ ๒

[๔๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้น
เป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลาย
พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็น
นั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
เวทนาไม่เที่ยง ฯลฯ
สัญญาไม่เที่ยง ฯลฯ
สังขารไม่เที่ยง ฯลฯ
วิญญาณไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็น
อนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความ
เป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
เมื่อเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ การตามเห็นส่วน
เบื้องต้น (อดีต) ก็ไม่มี เมื่อการตามเห็นส่วนเบื้องต้นไม่มี การตามเห็นส่วนเบื้อง
ปลาย (อนาคต) ก็ไม่มี เมื่อการตามเห็นส่วนเบื้องปลายไม่มี ความยึดมั่นอย่าง
แรงกล้าก็ไม่มี เมื่อความยึดมั่นอย่างแรงกล้าไม่มี จิตก็คลายกำหนัดในรูป ฯลฯ
ในเวทนา ฯลฯ ในสัญญา ฯลฯ ในสังขาร จิตก็คลายกำหนัดในวิญญาณ
หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่น เพราะหลุดพ้นจึงตั้งมั่น เพราะตั้งมั่น
จึงสันโดษ เพราะสันโดษจึงไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้งย่อมดับไปเอง ภิกษุนั้นรู้ชัดว่า
‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อ
ความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

ทุติยอนิจจสูตรที่ ๔ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๕. อัตตทีปวรรค ๕. สมนุปัสสนาสูตร

๕. สมนุปัสสนาสูตร
ว่าด้วยการพิจารณาเห็น

[๔๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง
เมื่อพิจารณา ก็พิจารณาเห็นตนเป็นไปต่าง ๆ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด
พิจารณาเห็นอุปาทานขันธ์ (กองอันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น) ทั้ง ๕ ประการ
หรืออุปาทานขันธ์ประการใดประการหนึ่ง
อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ เป็นอย่างไร
คือ ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของ
พระอริยะ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาด
ในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ
๑. พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูป
พิจารณาเห็นรูปในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในรูป
๒. พิจารณาเห็นเวทนา ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นสัญญา ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นสังขาร ฯลฯ
๕. พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามี
วิญญาณ พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตา
ในวิญญาณ
การพิจารณาเห็นอย่างนี้ จัดว่าผู้นั้นยึดมั่นถือมั่นว่า ‘เราเป็น’ เมื่อผู้นั้น
ยึดมั่นถือมั่นว่า ‘เราเป็น’ ย่อมเกิดอินทรีย์ ๕ ประการ คือ
๑. จักขุนทรีย์ (อินทรีย์คือจักขุปสาท)
๒. โสตินทรีย์ (อินทรีย์คือโสตปสาท)
๓. ฆานินทรีย์ (อินทรีย์คือฆานปสาท)
๔. ชิวหินทรีย์ (อินทรีย์คือชิวหาปสาท)
๕. กายินทรีย์ (อินทรีย์คือกายปสาท)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๕. อัตตทีปวรรค ๖. ขันธสูตร

ภิกษุทั้งหลาย มโนมีอยู่ ธรรม๑ทั้งหลายมีอยู่ อวิชชาธาตุ๒มีอยู่ เมื่อปุถุชน
ผู้ไม่ได้สดับถูกความเสวยอารมณ์ซึ่งเกิดจากอวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว เขาก็มีความ
ยึดมั่นถือมั่นว่า ‘เราเป็น’ บ้าง ‘เราเป็นนี้’ บ้าง ‘เราจักเป็น’ บ้าง ‘เราจักไม่เป็น’
บ้าง ‘เราจักมีรูป’ บ้าง ‘เราจักไม่มีรูป’ บ้าง ‘เราจักมีสัญญา’ บ้าง ‘เราจักไม่มี
สัญญา’ บ้าง ‘เราจักมีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่’ บ้าง
ภิกษุทั้งหลาย ก็อินทรีย์ ๕ ประการ ตั้งอยู่ได้เพราะการพิจารณาเห็นนั้นแล
เมื่อเป็นเช่นนี้ อริยสาวกผู้ได้สดับ ก็ละอวิชชาในอินทรีย์เหล่านั้น วิชชา๓จึงเกิดขึ้น
เพราะอวิชชาคลายไป เพราะวิชชาเกิดขึ้น อริยสาวกนั้นจึงไม่มีความยึดมั่นถือมั่นว่า
‘เราเป็น’ บ้าง ‘เราเป็นนี้’ บ้าง ‘เราจักเป็น’ บ้าง ‘เราจักไม่เป็น’ บ้าง ‘เราจัก
มีรูป’ บ้าง ‘เราจักไม่มีรูป’ บ้าง ‘เราจักมีสัญญา’ บ้าง ‘เราจักไม่มีสัญญา’ บ้าง
‘เราจักมีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่’ บ้าง”

สมนุปัสสนาสูตรที่ ๕ จบ

๖. ขันธสูตร
ว่าด้วยขันธ์

[๔๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงขันธ์ ๕ ประการ และ
อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ เธอทั้งหลายจงฟัง

ขันธ์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน
ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกล
หรือใกล้ก็ตาม นี้เรียกว่า รูปขันธ์


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๕. อัตตทีปวรรค ๖. ขันธสูตร

๒. เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ
๓. สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ
๔. สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน
ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกล
หรือใกล้ก็ตาม นี้เรียกว่า สังขารขันธ์
๕. วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน
ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกล
หรือใกล้ก็ตาม นี้เรียกว่า วิญญาณขันธ์
ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เรียกว่า ขันธ์ ๕ ประการ

อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน
ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกล
หรือใกล้ก็ตาม ประกอบด้วยอาสวะ เกื้อกูลแก่อุปาทาน นี้เรียกว่า
รูปูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือรูป)
๒. เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ ไกลหรือใกล้ก็ตาม ประกอบด้วย
อาสวะ เกื้อกูลแก่อุปาทาน นี้เรียกว่า เวทนูปาทานขันธ์
(อุปาทานขันธ์คือเวทนา)
๓. สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ ไกลหรือใกล้ก็ตาม ประกอบด้วย
อาสวะ เกื้อกูลแก่อุปาทาน นี้เรียกว่า สัญญูปาทานขันธ์
(อุปาทานขันธ์คือสัญญา)
๔. สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ฯลฯ ประกอบด้วยอาสวะ เกื้อกูลแก่
อุปาทาน นี้เรียกว่า สังขารูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสังขาร)
๕. วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ฯลฯ
ไกลหรือใกล้ก็ตาม ประกอบด้วยอาสวะ เกื้อกูลแก่อุปาทาน
นี้เรียกว่า วิญญาณูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ)
ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เรียกว่า อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ”

ขันธสูตรที่ ๖ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๕. อัตตทีปวรรค ๗. โสณสูตร

๗. โสณสูตร
ว่าด้วยโสณคหบดีบุตร

[๔๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต
เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น บุตรของคหบดีชื่อโสณะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ฯลฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับโสณคหบดีบุตรดังนี้ว่า
“โสณะ ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง พิจารณาเห็นว่า ‘เราเลิศ
กว่าเขา’ หรือพิจารณาเห็นว่า ‘เราเสมอเขา’ หรือพิจารณาเห็นว่า ‘เราด้อยกว่าเขา’
ด้วยรูปที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ที่เป็นเช่นนี้มิใช่อะไร
นอกจากการไม่เห็นความเป็นจริง
พิจารณาเห็นว่า ‘เราเลิศกว่าเขา’ หรือพิจารณาเห็นว่า ‘เราเสมอเขา’ หรือ
พิจารณาเห็นว่า ‘เราด้อยกว่าเขา’ ด้วยเวทนาที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผัน
เป็นธรรมดา ที่เป็นเช่นนี้มิใช่อะไร นอกจากการไม่เห็นความเป็นจริง
พิจารณาเห็นว่า ... ด้วยสัญญาที่ไม่เที่ยง ฯลฯ
พิจารณาเห็นว่า ‘เราเลิศกว่าเขา’ หรือพิจารณาเห็นว่า ‘เราเสมอเขา’ หรือ
พิจารณาเห็นว่า ‘เราด้อยกว่าเขา’ ด้วยสังขารที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผัน
เป็นธรรมดา ที่เป็นเช่นนี้มิใช่อะไร นอกจากการไม่เห็นความเป็นจริง
พิจารณาเห็นว่า ‘เราเลิศกว่าเขา’ หรือพิจารณาเห็นว่า ‘เราเสมอเขา’ หรือ
พิจารณาเห็นว่า ‘เราด้อยกว่าเขา’ ด้วยวิญญาณที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความ
แปรผันเป็นธรรมดา ที่เป็นเช่นนี้มิใช่อะไร นอกจากการไม่เห็นความเป็นจริง
โสณะ ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ไม่พิจารณาเห็นว่า ‘เรา
เลิศกว่าเขา’ บ้าง ไม่พิจารณาเห็นว่า ‘เราเสมอเขา’ บ้าง ไม่พิจารณาเห็นว่า
‘เราด้อยกว่าเขา’ บ้าง ด้วยรูปที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา
ที่เป็นเช่นนี้มิใช่อะไร นอกจากการเห็นความเป็นจริง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๕. อัตตทีปวรรค ๗. โสณสูตร

ไม่พิจารณาเห็นว่า ... ด้วยเวทนาที่ไม่เที่ยง ฯลฯ
ไม่พิจารณาเห็นว่า ... ด้วยสัญญาที่ไม่เที่ยง ฯลฯ
ไม่พิจารณาเห็นว่า ... ด้วยสังขารที่ไม่เที่ยง ฯลฯ
ไม่พิจารณาเห็นว่า ‘เราเลิศกว่าเขา’ บ้าง ไม่พิจารณาเห็นว่า ‘เราเสมอเขา’
บ้าง ไม่พิจารณาเห็นว่า ‘เราด้อยกว่าเขา’ บ้าง ด้วยวิญญาณที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์
มีความแปรผันเป็นธรรมดา ที่เป็นเช่นนี้มิใช่อะไร นอกจากการเห็นความเป็นจริง
โสณะ เธอจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“เวทนาเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๕. อัตตทีปวรรค ๘. ทุติยโสณสูตร

“โสณะ เพราะเหตุนั้นแล รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต
และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือ
ใกล้ก็ตาม รูปทั้งหมดนั้นเธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ...
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือ
ภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ก็ตาม วิญญาณ
ทั้งหมดนั้นเธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่
ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
โสณะ อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อม
เบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขาร
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด
จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
อีกต่อไป”๑

โสณสูตรที่ ๗ จบ

๘. ทุติยโสณสูตร
ว่าด้วยโสณคหบดีบุตร สูตรที่ ๒

[๕๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต
เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น บุตรของคหบดีชื่อโสณะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับโสณ-
คหบดีบุตรดังนี้ว่า


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๕. อัตตทีปวรรค ๘. ทุติยโสณสูตร

“โสณะ ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ไม่รู้ชัดรูป ไม่รู้ชัดความ
เกิดขึ้นแห่งรูป ไม่รู้ชัดความดับแห่งรูป ไม่รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งรูป
ไม่รู้ชัดเวทนา ไม่รู้ชัดความเกิดขึ้นแห่งเวทนา ไม่รู้ชัดความดับแห่งเวทนา
ไม่รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งเวทนา
ไม่รู้ชัดสัญญา ฯลฯ
ไม่รู้ชัดสังขาร ไม่รู้ชัดความเกิดขึ้นแห่งสังขาร ไม่รู้ชัดความดับแห่งสังขาร
ไม่รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสังขาร
ไม่รู้ชัดวิญญาณ ไม่รู้ชัดความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ ไม่รู้ชัดความดับแห่งวิญญาณ
ไม่รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นเราไม่จัดว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือไม่จัด
ว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ ทั้งท่านเหล่านั้นก็ไม่ทำให้แจ้งประโยชน์แห่งความ
เป็นสมณะหรือประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ใน
ปัจจุบัน
โสณะ ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ชัดรูป รู้ชัดความเกิด
ขึ้นแห่งรูป รู้ชัดความดับแห่งรูป รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งรูป
รู้ชัดเวทนา ...
รู้ชัดสัญญา ...
รู้ชัดสังขาร ...
รู้ชัดวิญญาณ รู้ชัดความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ รู้ชัดความดับแห่งวิญญาณ รู้ชัด
ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นเราจัดว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ และจัดว่าเป็น
พราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ ทั้งท่านเหล่านั้นก็ทำให้แจ้งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะ
หรือประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”

ทุติยโสณสูตรที่ ๘ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๕. อัตตทีปวรรค ๙. นันทิกขยสูตร

๙. นันทิกขยสูตร
ว่าด้วยการสิ้นความเพลิดเพลิน

[๕๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเห็นรูปที่ไม่เที่ยงนั่นแลว่า ‘ไม่
เที่ยง’ ความเห็นนั้นของเธอเป็นสัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) เมื่อเธอเห็นโดยชอบ
ก็ย่อมเบื่อหน่าย เพราะสิ้นความเพลิดเพลินจึงสิ้นความกำหนัด เพราะสิ้นความ
กำหนัดจึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นทั้งความเพลิดเพลินและความกำหนัด
จิตจึงหลุดพ้น เราเรียกว่า ‘หลุดพ้นดีแล้ว’
ภิกษุเห็นเวทนาที่ไม่เที่ยงนั่นแลว่า ‘ไม่เที่ยง’ ความเห็นนั้นของเธอเป็นสัมมา-
ทิฏฐิ เมื่อเธอเห็นโดยชอบ ก็ย่อมเบื่อหน่าย เพราะสิ้นความเพลิดเพลินจึงสิ้น
ความกำหนัด เพราะสิ้นความกำหนัดจึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นทั้งความ
เพลิดเพลินและความกำหนัด จิตจึงหลุดพ้น เราเรียกว่า ‘หลุดพ้นดีแล้ว’
ภิกษุเห็นสัญญาที่ไม่เที่ยงนั่นแลว่า ‘ไม่เที่ยง’ ฯลฯ
ภิกษุเห็นสังขารที่ไม่เที่ยงนั่นแลว่า ‘ไม่เที่ยง’ ความเห็นนั้นของเธอเป็น
สัมมาทิฏฐิ เมื่อเธอเห็นโดยชอบ ก็ย่อมเบื่อหน่าย เพราะสิ้นความเพลิดเพลิน
จึงสิ้นความกำหนัด เพราะสิ้นความกำหนัดจึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นทั้ง
ความเพลิดเพลินและความกำหนัด จิตจึงหลุดพ้น เราเรียกว่า ‘หลุดพ้นดีแล้ว’
ภิกษุเห็นวิญญาณที่ไม่เที่ยงนั่นแลว่า ‘ไม่เที่ยง’ ความเห็นของเธอนั้นเป็น
สัมมาทิฏฐิ เมื่อเธอเห็นโดยชอบ ก็ย่อมเบื่อหน่าย เพราะสิ้นความเพลิดเพลิน
จึงสิ้นความกำหนัด เพราะสิ้นความกำหนัดจึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้น
ทั้งความเพลิดเพลินและความกำหนัด จิตจึงหลุดพ้น เราเรียกว่า ‘หลุดพ้นดีแล้ว”

นันทิกขยสูตรที่ ๙ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๕. อัตตทีปวรรค ๑๐. ทุติยนันทิกขยสูตร

๑๐. ทุติยนันทิกขยสูตร
ว่าด้วยการสิ้นความเพลิดเพลิน สูตรที่ ๒

[๕๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมนสิการรูปโดยแยบคาย
และจงพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งรูปตามความเป็นจริง เมื่อภิกษุมนสิการรูป
โดยแยบคาย และพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งรูปตามความเป็นจริง ก็ย่อม
เบื่อหน่ายในรูป เพราะสิ้นความเพลิดเพลินจึงสิ้นความกำหนัด เพราะสิ้นความ
กำหนัดจึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นทั้งความเพลิดเพลินและความกำหนัด
จิตจึงหลุดพ้น เราเรียกว่า ‘หลุดพ้นดีแล้ว’
เธอทั้งหลายจงมนสิการเวทนาโดยแยบคาย และจงพิจารณาเห็นความไม่
เที่ยงแห่งเวทนาตามความเป็นจริง เมื่อภิกษุมนสิการเวทนาโดยแยบคาย และ
พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งเวทนาตามความเป็นจริง ก็ย่อมเบื่อหน่ายในเวทนา
เพราะสิ้นความเพลิดเพลินจึงสิ้นความกำหนัด เพราะสิ้นความกำหนัดจึงสิ้นความ
เพลิดเพลิน เพราะสิ้นทั้งความเพลิดเพลินและความกำหนัด จิตจึงหลุดพ้น
เราเรียกว่า ‘หลุดพ้นดีแล้ว’
เธอทั้งหลายจงมนสิการสัญญาโดยแยบคาย ฯลฯ
เธอทั้งหลายจงมนสิการสังขารโดยแยบคาย และจงพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง
แห่งสังขารตามความเป็นจริง เมื่อภิกษุมนสิการสังขารโดยแยบคาย และพิจารณา
เห็นความไม่เที่ยงแห่งสังขารตามความเป็นจริง ก็ย่อมเบื่อหน่ายในสังขาร เพราะสิ้น
ความเพลิดเพลินจึงสิ้นความกำหนัด เพราะสิ้นความกำหนัดจึงสิ้นความเพลิดเพลิน
เพราะสิ้นทั้งความเพลิดเพลินและความกำหนัด จิตจึงหลุดพ้น เราเรียกว่า ‘หลุดพ้น
ดีแล้ว’
เธอทั้งหลายจงมนสิการวิญญาณโดยแยบคาย และจงพิจารณาเห็นความไม่
เที่ยงแห่งวิญญาณตามความเป็นจริง เมื่อภิกษุมนสิการวิญญาณโดยแยบคาย และ
พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งวิญญาณตามความเป็นจริง ก็ย่อมเบื่อหน่ายในวิญญาณ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๕. อัตตทีปวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

เพราะสิ้นความเพลิดเพลินจึงสิ้นความกำหนัด เพราะสิ้นความกำหนัดจึงสิ้นความ
เพลิดเพลิน เพราะสิ้นทั้งความเพลิดเพลินและความกำหนัด จิตจึงหลุดพ้น เรา
เรียกว่า ‘หลุดพ้นดีแล้ว’

ทุติยนันทิกขยสูตรที่ ๑๐ จบ
อัตตทีปวรรคที่ ๕ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อัตตทีปสูตร ๒. ปฏิปทาสูตร
๓. อนิจจสูตร ๔. ทุติยอนิจจสูตร
๕. สมนุปัสสนาสูตร ๖. ขันธสูตร
๗. โสณสูตร ๘. ทุติยโสณสูตร
๙. นันทิกขยสูตร ๑๐. ทุติยนันทิกขยสูตร

มูลปัณณาสก์ จบบริบูรณ์

รวมวรรคที่มีในมูลปัณณาสก์นี้ คือ

๑. นกุลปิตุวรรค ๒. อนิจจวรรค
๓. ภารวรรค ๔. นตุมหากวรรค
๕. อัตตทีปวรรค

รวม ๕ วรรค เรียกว่า ปฐมปัณณาสก์


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๑. อุปยสูตร

มัชฌิมปัณณาสก์
๑. อุปยวรรค
หมวดว่าด้วยความเข้าถึง
๑. อุปยสูตร
ว่าด้วยความเข้าถึง

[๕๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ความเข้าถึง๑ ไม่ใช่ความหลุดพ้น
ความไม่เข้าถึง เป็นความหลุดพ้น
ภิกษุทั้งหลาย วิญญาณที่เข้าถึงรูป เมื่อตั้งอยู่ ก็พึงมีรูปเป็นอารมณ์ มีรูป
เป็นที่ตั้ง เข้าไปเสพเสวยความเพลิดเพลินตั้งอยู่ ถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ได้
ฯลฯ
วิญญาณที่เข้าถึงสังขาร เมื่อตั้งอยู่ ก็พึงมีสังขารเป็นอารมณ์ มีสังขารเป็นที่ตั้ง
เข้าไปเสพเสวยความเพลิดเพลินตั้งอยู่ ถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ได้
ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปไม่ได้เลยที่ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เราจักบัญญัติการมา
การไป การจุติ การอุบัติ หรือความเจริญงอกงามไพบูลย์แห่งวิญญาณ เว้นจากรูป
เวทนา สัญญา สังขาร’
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าความกำหนัดในรูปธาตุ ภิกษุละได้แล้ว เพราะละความ
กำหนัดได้ อารมณ์จึงขาดสูญ ที่ตั้งแห่งวิญญาณก็ไม่มี
ถ้าความกำหนัดในเวทนาธาตุ ...
ถ้าความกำหนัดในสัญญาธาตุ ...
ถ้าความกำหนัดในสังขารธาตุ ...


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๒. พีชสูตร

ถ้าความกำหนัดในวิญญาณธาตุ ภิกษุละได้แล้ว เพราะละความกำหนัดได้
อารมณ์จึงขาดสูญ ที่ตั้งแห่งวิญญาณก็ไม่มี วิญญาณที่ไม่มีที่ตั้งนั้น ก็ไม่งอกงาม
ไม่ปรุงแต่ง๑ หลุดพ้นไป เพราะหลุดพ้นจึงตั้งมั่น เพราะตั้งมั่นจึงสันโดษ เพราะ
สันโดษจึงไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้งย่อมดับไปเอง ภิกษุนั้นรู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
อีกต่อไป”

อุปยสูตรที่ ๑ จบ

๒. พีชสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยพืช

[๕๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย พืช ๕ ชนิดนี้ คือ
๑. พืชเกิดจากเหง้า ๒. พืชเกิดจากลำต้น
๓. พืชเกิดจากตา ๔. พืชเกิดจากยอด
๕. พืชเกิดจากเมล็ด
ภิกษุทั้งหลาย ก็พืช ๕ ชนิดนี้ ไม่แตกหัก ไม่เสียหาย ไม่ถูกลมและแดด
ทำลาย มีแก่นสาร ถูกเก็บไว้อย่างดี แต่ไม่มีดิน ไม่มีน้ำ พืช ๕ ชนิดนี้พึงถึง
ความเจริญงอกงามไพบูลย์ได้หรือ”
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า “ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย ก็พืช ๕ ชนิดนี้ ไม่แตกหัก ฯลฯ ถูกเก็บไว้อย่างดี และมีดิน
มีน้ำ พืช ๕ ชนิดนี้พึงถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ได้หรือ”
“ได้ พระพุทธเจ้าข้า”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๒. พีชสูตร

“ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเห็นวิญญาณฐิติ ๔๑ เหมือนปฐวีธาตุ พึงเห็น
ความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลินเหมือนอาโปธาตุ พึงเห็นวิญญาณพร้อม
ด้วยอาหาร๒ เหมือนพืช ๕ ชนิด
วิญญาณที่เข้าถึงรูป เมื่อตั้งอยู่ ก็พึงมีรูปเป็นอารมณ์ มีรูปเป็นที่ตั้ง เข้าไป
เสพเสวยความเพลิดเพลินตั้งอยู่ ถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ได้
วิญญาณที่เข้าถึงเวทนา เมื่อตั้งอยู่ ฯลฯ เข้าไปเสพเสวยความเพลิดเพลิน
ตั้งอยู่ ถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ได้
วิญญาณที่เข้าถึงสัญญา ฯลฯ
วิญญาณที่เข้าถึงสังขาร เมื่อตั้งอยู่ ก็พึงมีสังขารเป็นอารมณ์ มีสังขารเป็นที่ตั้ง
เข้าไปเสพเสวยความเพลิดเพลินตั้งอยู่ ถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ได้
ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปไม่ได้ที่ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เราจักบัญญัติการมา การไป
การจุติ การอุบัติ หรือความเจริญงอกงามไพบูลย์แห่งวิญญาณ เว้นจากรูป เวทนา
สัญญา สังขาร’
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าความกำหนัดในรูปธาตุ ภิกษุละได้แล้ว เพราะละความ
กำหนัดได้ อารมณ์จึงขาดสูญ ที่ตั้งแห่งวิญญาณก็ไม่มี
ถ้าความกำหนัดในเวทนาธาตุ ...
ถ้าความกำหนัดในสัญญาธาตุ ...
ถ้าความกำหนัดในสังขารธาตุ ...
ถ้าความกำหนัดในวิญญาณธาตุ ภิกษุละได้แล้ว เพราะละความกำหนัดได้
อารมณ์จึงขาดสูญ ที่ตั้งแห่งวิญญาณก็ไม่มี วิญญาณที่ไม่มีที่ตั้งนั้น ก็ไม่งอกงาม


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๓. อุทานสูตร

ไม่ปรุงแต่งปฏิสนธิ หลุดพ้นไป เพราะหลุดพ้นจึงตั้งมั่น เพราะตั้งมั่นจึงสันโดษ
เพราะสันโดษจึงไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้งย่อมดับไปเอง ภิกษุนั้นรู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว
ฯลฯ ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

พีชสูตรที่ ๒ จบ

๓. อุทานสูตร
ว่าด้วยการเปล่งอุทาน

[๕๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคทรงเปล่งอุทานว่า “ภิกษุผู้น้อมใจไปอย่างนี้ว่า ‘ถ้าเราไม่พึงมี
แม้บริขารของเราก็ไม่พึงมี ถ้ากรรมสังขาร (การปรุงแต่งกรรม) จักไม่ได้มีแล้ว
ปฏิสนธิของเราก็จักไม่มี’ พึงตัดโอรัมภาคิยสังโยชน์(สังโยชน์เบื้องต่ำ)ได้”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ภิกษุผู้น้อมใจไปอย่างนี้ว่า ‘ถ้าเราไม่พึงมี
แม้บริขารของเราก็ไม่พึงมี ถ้ากรรมสังขารจักไม่ได้มีแล้ว ปฏิสนธิของเราก็จักไม่มี’
พึงตัดโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้อย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ
ฯลฯ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา
พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูป พิจารณาเห็นรูปในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในรูป
... เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา
พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณ พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตา หรือพิจารณา
เห็นอัตตาในวิญญาณ
เธอไม่รู้ชัดรูปที่ไม่เที่ยงตามความเป็นจริงว่า ‘รูปไม่เที่ยง’ ไม่รู้ชัดเวทนาที่ไม่
เที่ยงตามความเป็นจริงว่า ‘เวทนาไม่เที่ยง’ ไม่รู้ชัดสัญญาที่ไม่เที่ยงตามความเป็น
จริงว่า ‘สัญญาไม่เที่ยง’ ไม่รู้ชัดสังขารที่ไม่เที่ยงตามความเป็นจริงว่า ‘สังขารไม่เที่ยง’
ไม่รู้ชัดวิญญาณที่ไม่เที่ยงตามความเป็นจริงว่า ‘วิญญาณไม่เที่ยง’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๓. อุทานสูตร

เธอไม่รู้ชัดรูปที่เป็นทุกข์ตามความเป็นจริงว่า ‘รูปเป็นทุกข์’ ... เวทนาที่เป็น
ทุกข์ ... สัญญาที่เป็นทุกข์ ... สังขารที่เป็นทุกข์ ... ไม่รู้ชัดวิญญาณที่เป็นทุกข์
ตามความเป็นจริงว่า ‘วิญญาณเป็นทุกข์’
เธอไม่รู้ชัดรูปที่เป็นอนัตตาตามความเป็นจริงว่า ‘รูปเป็นอนัตตา’ ... เวทนาที่
เป็นอนัตตา ... สัญญาที่เป็นอนัตตา ... สังขารที่เป็นอนัตตา ... ไม่รู้ชัดวิญญาณ
ที่เป็นอนัตตาตามความเป็นจริงว่า ‘วิญญาณเป็นอนัตตา’
เธอไม่รู้ชัดรูปที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งตามความเป็นจริงว่า ‘รูปถูกปัจจัยปรุงแต่ง’
... เวทนาที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ... สัญญาที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ... สังขารที่ถูกปัจจัย
ปรุงแต่ง ... ไม่รู้ชัดวิญญาณที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งตามความเป็นจริงว่า ‘วิญญาณถูก
ปัจจัยปรุงแต่ง’
เธอไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘รูปจักมี’ ... ‘เวทนาจักมี’ ... ‘สัญญาจักมี’
... ‘สังขารจักมี’ ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘วิญญาณจักมี’
ภิกษุ ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับ ได้เห็นพระอริยะ ฉลาดในธรรมของพระอริยะ
ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ได้เห็นสัตบุรุษ ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ
ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ ไม่พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา ...
ไม่พิจารณาเห็นเวทนา ... ไม่พิจารณาเห็นสัญญา ... ไม่พิจารณาเห็นสังขาร ...
ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา
เธอรู้ชัดรูปที่ไม่เที่ยงตามความเป็นจริงว่า ‘รูปไม่เที่ยง’ ... ‘เวทนาไม่เที่ยง’ ...
‘สัญญาไม่เที่ยง’ ... ‘สังขารไม่เที่ยง’ รู้ชัดวิญญาณที่ไม่เที่ยงตามความเป็นจริงว่า
‘วิญญาณไม่เที่ยง’
รู้ชัดรูปที่เป็นทุกข์ ... รู้ชัดวิญญาณที่เป็นทุกข์ ...
รู้ชัดรูปที่เป็นอนัตตา ... รู้ชัดวิญญาณที่เป็นอนัตตา ...
รู้ชัดรูปที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ... รู้ชัดวิญญาณที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งตามความเป็น
จริงว่า ‘วิญญาณถูกปัจจัยปรุงแต่ง’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๗๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๓. อุทานสูตร

รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘รูปจักมี’ ... ‘เวทนาจักมี’ ... ‘สัญญาจักมี’ ...
‘สังขารจักมี’ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘วิญญาณจักมี’
เพราะความไม่มีรูป เพราะความไม่มีเวทนา เพราะความไม่มีสัญญา เพราะ
ความไม่มีสังขาร เพราะความไม่มีวิญญาณ ภิกษุนั้นเมื่อน้อมใจไปอย่างนี้ว่า ‘ถ้า
เราไม่พึงมี แม้บริขารของเราก็ไม่พึงมี ถ้ากรรมสังขารจักไม่ได้มีแล้ว ปฏิสนธิของ
เราก็จักไม่มี’ พึงตัดโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้อย่างนี้”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุผู้น้อมใจไปอย่างนี้ พึงตัดโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้
ก็เมื่อภิกษุรู้ เห็นอย่างไร อาสวะทั้งหลายจึงจะสิ้นไปตามลำดับ”
“ภิกษุ ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ ย่อมสะดุ้งในที่ไม่ควรสะดุ้ง ก็ปุถุชนผู้ไม่
ได้สดับ ย่อมสะดุ้งอย่างนี้ว่า ‘ถ้าเราไม่พึงมี แม้บริขารของเราก็ไม่พึงมี ถ้ากรรม-
สังขารจักไม่ได้มีแล้ว ปฏิสนธิของเราก็จักไม่มี’
ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับ ไม่สะดุ้งในที่ไม่ควรสะดุ้ง ก็อริยสาวกผู้ได้สดับ
ไม่สะดุ้งอย่างนี้ว่า ‘ถ้าเราไม่พึงมี แม้บริขารของเราก็ไม่พึงมี ถ้ากรรมสังขารจัก
ไม่ได้มีแล้ว ปฏิสนธิของเราก็จักไม่มี’
วิญญาณที่เข้าถึงรูปก็ดี เมื่อตั้งอยู่ ก็พึงมีรูปเป็นอารมณ์ มีรูปเป็นที่ตั้ง
เข้าไปเสพเสวยความเพลิดเพลินตั้งอยู่ ถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ได้
วิญญาณที่เข้าถึงเวทนาก็ดี ฯลฯ
วิญญาณที่เข้าถึงสัญญาก็ดี ฯลฯ
วิญญาณที่เข้าถึงสังขารก็ดี เมื่อตั้งอยู่ ก็พึงมีสังขารเป็นอารมณ์ มีสังขาร
เป็นที่ตั้ง เข้าไปเสพเสวยความเพลิดเพลินตั้งอยู่ ถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ได้
ภิกษุ เป็นไปไม่ได้เลยที่ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เราจักบัญญัติการมา การไป
การจุติ การอุบัติ หรือความเจริญงอกงามไพบูลย์แห่งวิญญาณ เว้นจากรูป เวทนา
สัญญา สังขาร’
ภิกษุ ถ้าความกำหนัดในรูปธาตุ ภิกษุละได้แล้ว เพราะละความกำหนัดได้
อารมณ์จึงขาดสูญ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๘๐ }


ระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๔.อุปาทานปริปวัตตนสูตร

ถ้าความกำหนัดในเวทนาธาตุ ...
ถ้าความกำหนัดในสัญญาธาตุ ...
ถ้าความกำหนัดในสังขารธาตุ ...
ถ้าความกำหนัดในวิญญาณธาตุ ภิกษุละได้แล้ว เพราะละความกำหนัดได้
อารมณ์จึงขาดสูญ ที่ตั้งแห่งวิญญาณก็ไม่มี วิญญาณที่ไม่มีที่ตั้งนั้น ก็ไม่งอกงาม
ไม่ปรุงแต่งปฏิสนธิ หลุดพ้นไป เพราะหลุดพ้นจึงตั้งมั่น เพราะตั้งมั่นจึงสันโดษ
เพราะสันโดษจึงไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้งย่อมดับไปเอง ภิกษุนั้นรู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว
ฯลฯ ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
ภิกษุ เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างนี้ อาสวะทั้งหลายจึงสิ้นไปตามลำดับ”

อุทานสูตรที่ ๓ จบ

๔. อุปาทานปริปวัตตนสูตร
ว่าด้วยอุปาทานขันธ์เวียนรอบ

[๕๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้
อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. รูปูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือรูป)
๒. เวทนูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือเวทนา)
๓. สัญญูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสัญญา)
๔. สังขารูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสังขาร)
๕. วิญญาณูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ)

ตราบใด เรายังไม่รู้ชัดอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ โดยเวียนรอบ ๔ ครั้ง
ตามความเป็นจริง ตราบนั้น เราก็ไม่ยืนยันว่า ‘เป็นผู้ตรัสรู้โดยชอบซึ่งสัมมาสัมโพธิ-
ญาณอันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้ง
สมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๔. อุปาทานปริปวัตตนสูตร

แต่เมื่อใด เรารู้ชัดอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ โดยเวียนรอบ ๔ ครั้งตาม
ความเป็นจริง เมื่อนั้น เราจึงจะยืนยันว่า ‘เป็นผู้ตรัสรู้โดยชอบซึ่งสัมมาสัมโพธิ-
ญาณอันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก ฯลฯ เทวดาและมนุษย์’
เวียนรอบ ๔ ครั้ง เป็นอย่างไร
คือ เรารู้ชัดรูป ความเกิดขึ้นแห่งรูป ความดับแห่งรูป ปฏิปทาที่ให้ถึง
ความดับแห่งรูป ... เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ เรารู้ชัดวิญญาณ
ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ ความดับแห่งวิญญาณ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ
รูป เป็นอย่างไร
คือ มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔
นี้เรียกว่า รูป
เพราะความเกิดขึ้นแห่งอาหาร ความเกิดขึ้นแห่งรูปจึงมี เพราะความดับแห่ง
อาหาร ความดับแห่งรูปจึงมี
อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เป็นปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งรูป คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดรูป ความเกิดขึ้นแห่งรูป ความดับ
แห่งรูป และปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งรูปอย่างนี้แล้วปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย
เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับรูป สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าปฏิบัติดีแล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดปฏิบัติดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่า
มั่นคงในธรรมวินัยนี้
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดรูป ความเกิดขึ้นแห่งรูป ความดับ
แห่งรูป และปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งรูปอย่างนี้ เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะ
ความเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะดับไป เพราะไม่ยึดมั่นถือมั่นรูป สมณะ
หรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าหลุดพ้นดีแล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดหลุดพ้นดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อ
ว่าหมดกิเลสโดยสิ้นเชิง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๔. อุปาทานปริปวัตตนสูตร

สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดหมดกิเลสโดยสิ้นเชิง สมณะหรือพราหมณ์
เหล่านั้นชื่อว่าไม่มีวัฏฏะเพื่อความปรากฏอีก
เวทนา เป็นอย่างไร
คือ เวทนา ๖ ประการนี้ ได้แก่
๑. จักขุสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากจักขุสัมผัส)
๒. โสตสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากโสตสัมผัส)
๓. ฆานสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากฆานสัมผัส)
๔. ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากชิวหาสัมผัส)
๕. กายสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากกายสัมผัส)
๖. มโนสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากมโนสัมผัส)
นี้เรียกว่า เวทนา
เพราะความเกิดขึ้นแห่งผัสสะ ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาจึงมี เพราะความดับ
แห่งผัสสะ ความดับแห่งเวทนาจึงมี
อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เป็นปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งเวทนา คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดเวทนา ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา
ความดับแห่งเวทนา และปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งเวทนาอย่างนี้แล้วปฏิบัติเพื่อ
ความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับเวทนา สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น
ชื่อว่าปฏิบัติดีแล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดปฏิบัติดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่า
มั่นคงในธรรมวินัยนี้
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดเวทนา ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา
ความดับแห่งเวทนา และปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งเวทนาอย่างนี้ ฯลฯ สมณะ
หรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าไม่มีวัฏฏะเพื่อความปรากฏอีก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๔. อุปาทานปริปวัตตนสูตร

สัญญา เป็นอย่างไร
คือ สัญญา ๖ ประการนี้ ได้แก่
๑. รูปสัญญา (ความหมายรู้รูป)
๒. สัททสัญญา (ความหมายรู้เสียง)
๓. คันธสัญญา (ความหมายรู้กลิ่น)
๔. รสสัญญา (ความหมายรู้รส)
๕. โผฏฐัพพสัญญา (ความหมายรู้โผฏฐัพพะ)
๖. ธัมมสัญญา (ความหมายรู้ธรรมารมณ์)
นี้เรียกว่า สัญญา
เพราะความเกิดขึ้นแห่งผัสสะ ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาจึงมี เพราะความดับ
แห่งผัสสะ ความดับแห่งสัญญาจึงมี
อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เป็นปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสัญญา คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดสัญญาอย่างนี้ ฯลฯ
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าไม่มีวัฏฏะเพื่อความปรากฏอีก
สังขาร เป็นอย่างไร
คือ เจตนา ๖ ประการนี้ ได้แก่
๑. รูปสัญเจตนา (ความจำนงรูป)
๒. สัททสัญเจตนา (ความจำนงเสียง)
๓. คันธสัญเจตนา (ความจำนงกลิ่น)
๔. รสสัญเจตนา (ความจำนงรส)
๕. โผฏฐัพพสัญเจตนา (ความจำนงโผฏฐัพพะ)
๖. ธัมมสัญเจตนา (ความจำนงธรรมารมณ์)
นี้เรียกว่า สังขาร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๔. อุปาทานปริปวัตตนสูตร

เพราะความเกิดขึ้นแห่งผัสสะ ความเกิดขึ้นแห่งสังขารจึงมี เพราะความดับ
แห่งผัสสะ ความดับแห่งสังขารจึงมี
อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เป็นปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสังขาร คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดสังขาร ความเกิดขึ้นแห่งสังขาร
ความดับแห่งสังขาร และปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสังขารอย่างนี้แล้วปฏิบัติเพื่อ
ความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับสังขารทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์
เหล่านั้นชื่อว่าปฏิบัติดีแล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดปฏิบัติดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่า
มั่นคงในธรรมวินัยนี้
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดสังขาร ความเกิดขึ้นแห่งสังขาร
ความดับแห่งสังขาร และปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสังขารอย่างนี้แล้ว เป็นผู้หลุดพ้น
เพราะความเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะดับไป ไม่ยึดมั่นถือมั่นสังขาร
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าหลุดพ้นดีแล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดหลุดพ้นดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อ
ว่าหมดกิเลสโดยสิ้นเชิง
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดหมดกิเลสโดยสิ้นเชิง สมณะหรือพราหมณ์
เหล่านั้นชื่อว่าไม่มีวัฏฏะเพื่อความปรากฏอีก
วิญญาณ เป็นอย่างไร
คือ วิญญาณ ๖ ประการนี้ ได้แก่
๑. จักขุวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางตา)
๒. โสตวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางหู)
๓. ฆานวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางจมูก)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๘๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๔. อุปาทานปริปวัตตนสูตร

๔. ชิวหาวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางลิ้น)
๕. กายวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางกาย)
๖. มโนวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางใจ)
นี้เรียกว่า วิญญาณ
เพราะความเกิดขึ้นแห่งนามรูป ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณจึงมี เพราะความ
ดับแห่งนามรูป ความดับแห่งวิญญาณจึงมี
อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เป็นปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดวิญญาณ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ
ความดับแห่งวิญญาณ และปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งวิญญาณอย่างนี้แล้วปฏิบัติ
เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับวิญญาณ สมณะหรือพราหมณ์
เหล่านั้นชื่อว่าปฏิบัติดีแล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดปฏิบัติดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่า
มั่นคงในธรรมวินัยนี้
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดวิญญาณ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ
ความดับแห่งวิญญาณ และปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งวิญญาณอย่างนี้แล้วเป็น
ผู้หลุดพ้นเพราะความเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะดับไป ไม่ยึดมั่นถือมั่น
วิญญาณ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าหลุดพ้นดีแล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดหลุดพ้นดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อ
ว่าหมดกิเลสโดยสิ้นเชิง
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดหมดกิเลสโดยสิ้นเชิง สมณะหรือพราหมณ์
เหล่านั้นชื่อว่าไม่มีวัฏฏะเพื่อความปรากฏอีก”

อุปาทานปริปวัตตนสูตรที่ ๔ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๕. สัตตัฏฐานสูตร

๕. สัตตัฏฐานสูตร
ว่าด้วยฐานะ ๗ ประการ

[๕๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลาย
มาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มี
พระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ฉลาดในฐานะ ๗ ประการ ผู้เพ่งพินิจโดยวิธี ๓ วิธี
เราเรียกว่า ‘อุดมบุรุษ ผู้หมดกิเลสโดยสิ้นเชิง อยู่จบพรหมจรรย์ในธรรมวินัยนี้’
ภิกษุผู้ฉลาดในฐานะ ๗ ประการ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. รู้ชัดรูป ความเกิดขึ้นแห่งรูป ความดับแห่งรูป ปฏิปทาที่ให้ถึง
ความดับแห่งรูป คุณแห่งรูป โทษแห่งรูป และเครื่องสลัดออก
จากรูป
๒. รู้ชัดเวทนา ฯลฯ
๓. รู้ชัดสัญญา ฯลฯ
๔. รู้ชัดสังขาร ฯลฯ
๕. รู้ชัดวิญญาณ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ ความดับแห่งวิญญาณ
ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ คุณแห่งวิญญาณ โทษ
แห่งวิญญาณ และเครื่องสลัดออกจากวิญญาณ
รูป เป็นอย่างไร
คือ มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔
นี้เรียกว่า รูป
เพราะความเกิดขึ้นแห่งอาหาร ความเกิดขึ้นแห่งรูปจึงมี เพราะความดับแห่ง
อาหาร ความดับแห่งรูปจึงมี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๘๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๕. สัตตัฏฐานสูตร

อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เป็นปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งรูป คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยรูปเกิดขึ้น นี้เป็นคุณของรูป สภาพที่รูปไม่เที่ยง เป็นทุกข์
มีความแปรผันเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษของรูป ธรรมเป็นที่กำจัดฉันทราคะ ธรรม
เป็นที่ละฉันทราคะในรูป นี้เป็นเครื่องสลัดออกจากรูป
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดรูป ความเกิดขึ้นแห่งรูป ความดับ
แห่งรูป ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งรูป คุณแห่งรูป โทษแห่งรูป และเครื่องสลัด
ออกจากรูปอย่างนี้แล้วปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับรูป
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าปฏิบัติดีแล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดปฏิบัติดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่า
มั่นคงในธรรมวินัยนี้
ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดรูป ความเกิดขึ้นแห่งรูป
ความดับแห่งรูป ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งรูป คุณแห่งรูป โทษแห่งรูป และ
เครื่องสลัดออกจากรูปอย่างนี้แล้วเป็นผู้หลุดพ้นเพราะความเบื่อหน่าย เพราะคลาย
กำหนัด เพราะดับไป เพราะไม่ถือมั่นรูป สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าหลุด
พ้นดีแล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดหลุดพ้นดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น
ชื่อว่าหมดกิเลสโดยสิ้นเชิง
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดหมดกิเลสโดยสิ้นเชิง สมณะหรือพราหมณ์
เหล่านั้นชื่อว่าไม่มีวัฏฏะเพื่อความปรากฏอีก
เวทนา เป็นอย่างไร
คือ เวทนา ๖ ประการนี้ ได้แก่
๑. จักขุสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ ๖. มโนสัมผัสสชาเวทนา
นี้เรียกว่า เวทนา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๘๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๕. สัตตัฏฐานสูตร

เพราะความเกิดขึ้นแห่งผัสสะ ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาจึงมี เพราะความดับ
แห่งผัสสะ ความดับแห่งเวทนาจึงมี
อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เป็นปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งเวทนา คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยเวทนาเกิดขึ้น นี้เป็นคุณแห่งเวทนา สภาพที่เวทนา
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งเวทนา ธรรมเป็นที่
กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะในเวทนา นี้เป็นเครื่องสลัดออกจากเวทนา
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดเวทนา ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา
ความดับแห่งเวทนา ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งเวทนา คุณแห่งเวทนา โทษ
แห่งเวทนา และเครื่องสลัดออกจากเวทนาอย่างนี้แล้วปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย
เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับเวทนา สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าปฏิบัติดีแล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดปฏิบัติดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่า
มั่นคงในธรรมวินัยนี้
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดเวทนา ฯลฯ
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าไม่มีวัฏฏะเพื่อความปรากฏอีก
สัญญา เป็นอย่างไร
คือ สัญญา ๖ ประการนี้ ได้แก่

๑. รูปสัญญา ๒. สัททสัญญา
๓. คันธสัญญา ๔. รสสัญญา
๕. โผฏฐัพพสัญญา ๖. ธัมมสัญญา

นี้เรียกว่า สัญญา
เพราะความเกิดขึ้นแห่งผัสสะ ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาจึงมี เพราะความดับ
แห่งผัสสะ ความดับแห่งสัญญาจึงมี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๘๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๕. สัตตัฏฐานสูตร

อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เป็นปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสัญญา คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
ฯลฯ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าไม่มีวัฏฏะเพื่อความปรากฏอีก
สังขาร เป็นอย่างไร
คือ เจตนา ๖ ประการนี้ ได้แก่
๑. รูปสัญเจตนา ฯลฯ ๖. ธัมมสัญเจตนา
นี้เรียกว่า สังขาร
เพราะความเกิดขึ้นแห่งผัสสะ ความเกิดขึ้นแห่งสังขารจึงมี เพราะความดับ
แห่งผัสสะ ความดับแห่งสังขารจึงมี
อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เป็นปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสังขาร คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยสังขารเกิดขึ้น นี้เป็นคุณแห่งสังขาร สภาพที่สังขาร
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งสังขาร ธรรมเป็นที่
กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะในสังขารทั้งหลาย นี้เป็นเครื่องสลัดออก
จากสังขาร
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดสังขาร ความเกิดขึ้นแห่งสังขาร
ความดับแห่งสังขาร ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสังขาร ฯลฯ ปฏิบัติเพื่อความ
เบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับสังขาร สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่า
ปฏิบัติดีแล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดปฏิบัติดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่า
มั่นคงในธรรมวินัยนี้ ฯลฯ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าไม่มีวัฏฏะเพื่อความ
ปรากฏอีก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๙๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๕. สัตตัฏฐานสูตร

วิญญาณ เป็นอย่างไร
คือ วิญญาณ ๖ ประการนี้ ได้แก่

๑. จักขุวิญญาณ ๒. โสตวิญญาณ
๓. ฆานวิญญาณ ๔. ชิวหาวิญญาณ
๕. กายวิญญาณ ๖. มโนวิญญาณ

นี้เรียกว่า วิญญาณ
เพราะความเกิดขึ้นแห่งนามรูป ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณจึงมี เพราะความ
ดับแห่งนามรูป ความดับแห่งวิญญาณจึงมี
อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เป็นปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยวิญญาณเกิดขึ้น นี้เป็นคุณแห่งวิญญาณ สภาพที่
วิญญาณไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งวิญญาณ
ธรรมเป็นที่กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะในวิญญาณ นี้เป็นเครื่องสลัด
ออกจากวิญญาณ
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดวิญญาณ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ
ความดับแห่งวิญญาณ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ คุณแห่งวิญญาณ
โทษแห่งวิญญาณ เครื่องสลัดออกจากวิญญาณอย่างนี้แล้วปฏิบัติเพื่อความ
เบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับวิญญาณ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น
ชื่อว่าปฏิบัติดีแล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดปฏิบัติดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่า
มั่นคงในธรรมวินัยนี้
ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดรู้ชัดวิญญาณ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ
ความดับแห่งวิญญาณ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ คุณแห่งวิญญาณ
โทษแห่งวิญญาณ และเครื่องสลัดออกจากวิญญาณอย่างนี้แล้วเป็นผู้หลุดพ้น
เพราะความเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะดับ เพราะไม่ถือมั่นวิญญาณ
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าหลุดพ้นดีแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๙๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๖.สัมมาสัมพุทธสูตร

สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดหลุดพ้นดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อ
ว่าหมดกิเลสโดยสิ้นเชิง
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดหมดกิเลสโดยสิ้นเชิง สมณะหรือพราหมณ์
เหล่านั้นชื่อว่าไม่มีวัฏฏะเพื่อความปรากฏอีก
ภิกษุชื่อว่าผู้ฉลาดในฐานะ ๗ ประการ เป็นอย่างนี้
ภิกษุผู้เพ่งพินิจโดยวิธี ๓ วิธี เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เพ่งพินิจเป็นธาตุ
๒. เพ่งพินิจเป็นอายตนะ
๓. เพ่งพินิจเป็นปฏิจจสมุปบาท
ภิกษุชื่อว่าผู้เพ่งพินิจโดยวิธี ๓ วิธี เป็นอย่างนี้
ภิกษุผู้ฉลาดในฐานะ ๗ ประการ ผู้เพ่งพินิจโดยวิธี ๓ วิธี เราเรียกว่า
‘อุดมบุรุษ ผู้หมดกิเลสโดยสิ้นเชิง อยู่จบพรหมจรรย์ในธรรมวินัยนี้”

สัตตัฏฐานสูตรที่ ๕ จบ

๖. สัมมาสัมพุทธสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ทำให้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

[๕๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
หลุดพ้นแล้วเพราะเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะดับ เพราะไม่ถือมั่นรูป
บัณฑิตจึงเรียกว่า ‘พระสัมมาสัมพุทธเจ้า’
แม้ภิกษุผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา หลุดพ้นเพราะเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด
เพราะดับ เพราะไม่ถือมั่นรูป เราก็เรียกว่า ‘ผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๖.สัมมาสัมพุทธสูตร

พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าหลุดพ้นแล้วเพราะเบื่อหน่าย เพราะ
คลายกำหนัด เพราะดับ เพราะไม่ถือมั่นเวทนา บัณฑิตจึงเรียกว่า ‘พระสัมมา-
สัมพุทธเจ้า’
แม้ภิกษุผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา หลุดพ้นเพราะเบื่อหน่าย ฯลฯ เราก็เรียกว่า
‘ผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา’
พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าหลุดพ้นแล้วเพราะเบื่อหน่าย เพราะ
คลายกำหนัด เพราะดับ เพราะไม่ถือมั่นสัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ
บัณฑิตจึงเรียกว่า ‘‘พระสัมมาสัมพุทธเจ้า’
แม้ภิกษุผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา หลุดพ้นเพราะเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด
เพราะดับ เพราะไม่ถือมั่นวิญญาณ เราก็เรียกว่า ‘ผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา’
ในเรื่องนั้นจะผิดแผกแตกต่างกันอย่างไร คือ ระหว่างพระตถาคตอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้ากับภิกษุผู้หลุดพ้นด้วยปัญญามีอะไรต่างกัน”
ภิกษุทั้งหลายพากันกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระ
ภาคเป็นที่พึ่ง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส เฉพาะพระผู้มีพระภาค
เท่านั้นที่จะทรงอธิบายเนื้อความแห่งพระภาษิตนั้นให้แจ่มแจ้ง ภิกษุทั้งหลายฟังต่อ
จากพระผู้มีพระภาคแล้วจักทรงจำไว้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้นเธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจ
ให้ดี เราจักกล่าว”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทำทางที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
ทำให้รู้จักทางที่ใคร ๆ ไม่รู้จัก บอกทางที่ยังไม่มีใครบอก เป็นผู้รู้จักทาง รู้แจ้งทาง
ฉลาดในทาง ภิกษุทั้งหลาย ส่วนเหล่าสาวกในบัดนี้ เป็นผู้ดำเนินไปตามทางอยู่
เป็นผู้ตามมาในภายหลัง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๗. อนันตตลักขณสูตร

นี้แล เป็นความผิดแผกแตกต่างกัน ระหว่างพระตถาคตอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้ากับภิกษุผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา”
สัมมาสัมพุทธสูตรที่ ๖ จบ

๗. อนัตตลักขณสูตร๑
ว่าด้วยลักษณะแห่งอนัตตา

[๕๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
เขตกรุงพาราณสี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกพระปัญจวัคคีย์มาตรัสว่า
ฯลฯ แล้วได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา ถ้ารูปนี้จักเป็นอัตตาแล้วไซร้ รูปนี้ไม่พึงเป็น
ไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในรูปว่า ‘รูปของเราจงเป็นอย่างนี้ รูปของเราอย่า
ได้เป็นอย่างนั้น’ ก็เพราะรูปเป็นอนัตตา ฉะนั้น รูปจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และ
บุคคลย่อมไม่ได้ในรูปว่า ‘รูปของเราจงเป็นอย่างนี้ รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้น’
เวทนาเป็นอนัตตา ถ้าเวทนานี้จักเป็นอัตตาแล้วไซร้ เวทนานี้ไม่พึงเป็นไป
เพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในเวทนาว่า ‘เวทนาของเราจงเป็นอย่างนี้ เวทนาของ
เราอย่าได้เป็นอย่างนั้น’ ก็เพราะเวทนาเป็นอนัตตา ฉะนั้น เวทนาจึงเป็นไปเพื่อ
อาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในเวทนาว่า ‘เวทนาของเราจงเป็นอย่างนี้ เวทนาของ
เราอย่าได้เป็นอย่างนั้น’
สัญญาเป็นอนัตตา ฯลฯ
สังขารเป็นอนัตตา ถ้าสังขารนี้จักเป็นอัตตาแล้วไซร้ สังขารนี้ไม่พึงเป็นไป
เพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในสังขารว่า ‘สังขารของเราจงเป็นอย่างนี้ สังขารของ
เราอย่าได้เป็นอย่างนั้น’ ก็เพราะสังขารเป็นอนัตตา ฉะนั้น สังขารจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๗. อนันตตลักขณสูตร

และบุคคลย่อมไม่ได้ในสังขารว่า ‘สังขารของเราจงเป็นอย่างนี้ สังขารของเราอย่า
ได้เป็นอย่างนั้น’
วิญญาณเป็นอนัตตา ถ้าวิญญาณนี้จักเป็นอัตตาแล้วไซร้ วิญญาณนี้ไม่พึง
เป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในวิญญาณว่า ‘วิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้
วิญญาณของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้น’ ก็เพราะวิญญาณเป็นอนัตตา ฉะนั้น
วิญญาณจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในวิญญาณว่า ‘วิญญาณของ
เราจงเป็นอย่างนี้ วิญญาณของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้น’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือ
ไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๘. มหาลิสูตร

“ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต
และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือ
ใกล้ก็ตาม รูปทั้งหมดนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง
อย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ฯลฯ ไกลหรือ
ใกล้ก็ตาม เวทนาทั้งหมดนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็น
จริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ
สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ฯลฯ ไกลหรือ
ใกล้ก็ตาม สังขารทั้งหมดนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความจริง
อย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายใน
หรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ก็ตาม วิญญาณ
ทั้งหมดนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขาร
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด
จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
อีกต่อไป”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสอนัตตลักขณสูตรนี้จบแล้ว พระปัญจวัคคีย์มีใจยินดี
ต่างชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสเวยยากรณภาษิต
นี้อยู่ พระปัญจวัคคีย์ก็มีจิตหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น

อนัตตลักขณสูตรที่ ๗ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๘. มหาลิสูตร

๘. มหาลิสูตร
ว่าด้วยเจ้ามหาลิ

[๖๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขต
กรุงเวสาลี ครั้งนั้น เจ้าลิจฉวีพระนามว่ามหาลิเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ฯลฯ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านปูรณะ กัสสปะกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ความเศร้าหมอง
ของสัตว์ทั้งหลาย ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย สัตว์ทั้งหลายไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย เศร้าหมอง
เอง ความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย สัตว์ทั้งหลายไม่มีเหตุ ไม่มี
ปัจจัย บริสุทธิ์เอง’ ในเรื่องนี้พระผู้มีพระภาคตรัสอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มหาลิ ความเศร้าหมองของสัตว์ทั้งหลาย มีเหตุ
มีปัจจัย สัตว์ทั้งหลายมีเหตุ มีปัจจัย จึงเศร้าหมอง ความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย
มีเหตุ มีปัจจัย สัตว์ทั้งหลายมีเหตุ มีปัจจัย จึงบริสุทธิ์”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เหตุปัจจัยเพื่อความเศร้าหมองของสัตว์ทั้งหลาย
เป็นอย่างไร สัตว์ทั้งหลายมีเหตุ มีปัจจัย เศร้าหมองอย่างไร”
“มหาลิ หากรูปนี้จักได้เป็นทุกข์ส่วนเดียว มีแต่ทุกข์ติดตาม หยั่งลงสู่ความ
ทุกข์ ไม่หยั่งลงสู่ความสุขบ้างแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงติดใจในรูป แต่เพราะรูป
เป็นสุข มีสุขติดตาม หยั่งลงสู่ความสุข ไม่หยั่งลงสู่ความทุกข์เสมอไป ฉะนั้น
สัตว์ทั้งหลายจึงติดใจในรูป เพราะกำหนัดจึงถูกรูปผูกไว้ เพราะถูกรูปผูกไว้จึง
เศร้าหมอง นี้เป็นเหตุ เป็นปัจจัยเพื่อความเศร้าหมองของสัตว์ทั้งหลาย สัตว์
ทั้งหลายมีเหตุ มีปัจจัยจึงเศร้าหมองอย่างนี้
หากเวทนานี้จักได้เป็นทุกข์ส่วนเดียว มีแต่ทุกข์ติดตาม หยั่งลงสู่ความทุกข์
ไม่หยั่งลงสู่ความสุขบ้างแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงติดใจในเวทนา แต่เพราะเวทนา
เป็นสุข มีสุขติดตาม หยั่งลงสู่ความสุข ไม่หยั่งลงสู่ความทุกข์เสมอไป ฉะนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๙. อาทิตตสูตร

สัตว์ทั้งหลายจึงติดใจในเวทนา เพราะกำหนัดจึงถูกเวทนาผูกไว้ เพราะถูกเวทนา
ผูกไว้จึงเศร้าหมอง นี้เป็นเหตุ เป็นปัจจัยเพื่อความเศร้าหมองแห่งสัตว์ทั้งหลาย
สัตว์ทั้งหลายมีเหตุ มีปัจจัยจึงเศร้าหมองอย่างนี้
หากสัญญานี้ ฯลฯ
หากสังขารนี้จักได้เป็นทุกข์ส่วนเดียว มีแต่ทุกข์ติดตาม หยั่งลงสู่ความทุกข์
ไม่หยั่งลงสู่ความสุขบ้างแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงติดใจในสังขาร แต่เพราะสังขาร
เป็นสุข มีสุขติดตาม หยั่งลงสู่ความสุข ไม่หยั่งลงสู่ความทุกข์เสมอไป ฉะนั้น
สัตว์ทั้งหลายจึงติดใจในสังขาร เพราะกำหนัดจึงถูกสังขารผูกไว้ เพราะถูกสังขาร
ผูกไว้จึงเศร้าหมอง นี้เป็นเหตุ เป็นปัจจัยเพื่อความเศร้าหมองของสัตว์ทั้งหลาย
สัตว์ทั้งหลายมีเหตุ มีปัจจัยจึงเศร้าหมองอย่างนี้
หากวิญญาณนี้จักได้เป็นทุกข์ส่วนเดียว มีแต่ทุกข์ติดตาม หยั่งลงสู่ความทุกข์
ไม่หยั่งลงสู่ความสุขบ้างแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงติดใจในวิญญาณ แต่เพราะ
วิญญาณเป็นสุข มีสุขติดตาม หยั่งลงสู่ความสุข ไม่หยั่งลงสู่ความทุกข์เสมอไป
ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงติดใจในวิญญาณ เพราะกำหนัดจึงถูกวิญญาณผูกไว้ เพราะ
ถูกวิญญาณผูกไว้จึงเศร้าหมอง นี้เป็นเหตุ เป็นปัจจัยเพื่อความเศร้าหมองของสัตว์
ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายมีเหตุ มีปัจจัยจึงเศร้าหมองอย่างนี้”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ส่วนเหตุปัจจัยเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลายเป็น
อย่างไร สัตว์ทั้งหลายมีเหตุ มีปัจจัยบริสุทธิ์อย่างไร”
“มหาลิ หากรูปนี้จักได้เป็นสุขส่วนเดียว มีแต่สุขติดตาม หยั่งลงสู่ความสุข
ไม่หยั่งลงสู่ความทุกข์บ้างแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงเบื่อหน่ายในรูป แต่เพราะรูป
เป็นทุกข์ มีทุกข์ติดตาม หยั่งลงสู่ความทุกข์ ไม่หยั่งลงสู่ความสุขเสมอไป ฉะนั้น
สัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายในรูป เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลาย
กำหนัดจึงบริสุทธิ์ นี้เป็นเหตุ เป็นปัจจัยเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย สัตว์
ทั้งหลายมีเหตุ มีปัจจัยจึงบริสุทธิ์อย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๙๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๙. อาทิตตสูตร

หากเวทนานี้จักได้เป็นสุขส่วนเดียว ฯลฯ
หากสัญญานี้จักได้เป็นสุขส่วนเดียว ฯลฯ
หากสังขารนี้จักได้เป็นสุขส่วนเดียว ฯลฯ
หากวิญญาณนี้จักได้เป็นสุขส่วนเดียว มีแต่สุขติดตาม หยั่งลงสู่ความสุข ไม่
หยั่งลงสู่ความทุกข์บ้างแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงเบื่อหน่ายในวิญญาณ แต่เพราะ
วิญญาณเป็นทุกข์ มีทุกข์ติดตาม หยั่งลงสู่ความทุกข์ ไม่หยั่งลงสู่ความสุขเสมอไป
ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด
เพราะคลายกำหนัดจึงบริสุทธิ์ นี้เป็นเหตุ เป็นปัจจัยเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์
ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายมีเหตุ มีปัจจัยจึงบริสุทธิ์อย่างนี้”

มหาลิสูตรที่ ๘ จบ

๙. อาทิตตสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่เป็นของร้อน

[๖๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ณ ที่นั้นแล ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นของร้อน
เวทนาเป็นของร้อน สัญญาเป็นของร้อน สังขารเป็นของร้อน วิญญาณเป็นของร้อน
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ... ย่อมเบื่อหน่าย
แม้ในสังขาร ... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด
เพราะคลายกำหนัดจิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัด
ว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อ
ความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

อาทิตตสูตรที่ ๙ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๑๐. นิรุตติปถสูตร

๑๐. นิรุตติปถสูตร
ว่าด้วยหลักภาษา

[๖๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ณ ที่นั้นแล ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย หลักการ ๓
ประการนี้ คือ (๑) หลักภาษา (๒) หลักการตั้งชื่อ (๓) หลักการบัญญัติ ไม่ได้
ถูกทอดทิ้ง ไม่เคยถูกทอดทิ้ง ย่อมไม่ถูกทอดทิ้ง จักไม่ถูกทอดทิ้ง ไม่ถูกสมณ-
พราหมณ์ผู้เป็นวิญญูชนคัดค้านแล้ว
หลักการ ๓ ประการ เป็นอย่างไร คือ
๑.รูปใดล่วงไป ดับไป แปรผันไปแล้ว เรียกรูปนั้นว่า ‘ได้มีแล้ว’
ตั้งชื่อรูปนั้นว่า ‘ได้มีแล้ว’ บัญญัติรูปนั้นว่า ‘ได้มีแล้ว’ (แต่) ไม่
เรียกรูปนั้นว่า ‘มีอยู่’ ไม่เรียกรูปนั้นว่า ‘จักมี’
เวทนาใดล่วงไป ดับไป แปรผันไปแล้ว เรียกเวทนานั้นว่า
‘ได้มีแล้ว’ ตั้งชื่อเวทนานั้นว่า ‘ได้มีแล้ว’ บัญญัติเวทนานั้นว่า
‘ได้มีแล้ว’ (แต่) ไม่เรียกเวทนานั้นว่า ‘มีอยู่’ ไม่เรียกเวทนานั้นว่า
‘จักมี’
สัญญาใด ฯลฯ
สังขารเหล่าใดล่วงไป ดับไป แปรผันไปแล้ว เรียกสังขารนั้นว่า
‘ได้มีแล้ว’ ตั้งชื่อสังขารนั้นว่า ‘ได้มีแล้ว’ บัญญัติสังขารเหล่านั้นว่า
‘ได้มีแล้ว’ (แต่) ไม่เรียกสังขารเหล่านั้นว่า ‘มีอยู่’ ไม่เรียกสังขาร
เหล่านั้นว่า ‘จักมี’
วิญญาณใดล่วงไป ดับไป แปรผันไปแล้ว เรียกวิญญาณนั้นว่า
‘ได้มีแล้ว’ ตั้งชื่อวิญญาณนั้นว่า ‘ได้มีแล้ว’ บัญญัติวิญญาณนั้นว่า
‘ได้มีแล้ว’ (แต่) ไม่เรียกวิญญาณนั้นว่า ‘มีอยู่’ ไม่เรียกวิญญาณ
นั้นว่า ‘จักมี’
๒. รูปยังไม่เกิด ยังไม่ปรากฏ เรียกรูปนั้นว่า ‘จักมี’ ตั้งชื่อรูปนั้นว่า
‘จักมี’ และบัญญัติรูปนั้นว่า ‘จักมี’ (แต่) ไม่เรียกรูปนั้นว่า ‘มีอยู่’
ไม่เรียกรูปนั้นว่า ‘ได้มีแล้ว’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๐๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๑๐. นิรุตติปถสูตร

เวทนาใดยังไม่เกิด ยังไม่ปรากฏ เรียกเวทนานั้นว่า ‘จักมี’
ตั้งชื่อเวทนานั้นว่า ‘จักมี’ และบัญญัติเวทนานั้นว่า ‘จักมี’ (แต่)
ไม่เรียกเวทนานั้นว่า ‘มีอยู่’ ไม่เรียกเวทนานั้นว่า ‘ได้มีแล้ว
สัญญาใด ฯลฯ
สังขารเหล่าใดยังไม่เกิด ยังไม่ปรากฏ เรียกสังขารเหล่านั้นว่า
‘จักมี’ ตั้งชื่อสังขารเหล่านั้นว่า ‘จักมี’ และบัญญัติสังขารเหล่านั้นว่า
‘จักมี’ (แต่) ไม่เรียกสังขารเหล่านั้นว่า ‘มีอยู่’ ไม่เรียกสังขาร
เหล่านั้นว่า ‘ได้มีแล้ว’
วิญญาณใดยังไม่เกิด ยังไม่ปรากฏ เรียกวิญญาณนั้นว่า ‘จักมี’
ตั้งชื่อวิญญาณนั้นว่า ‘จักมี’ และบัญญัติวิญญาณนั้นว่า ‘จักมี’ (แต่)
ไม่เรียกวิญญาณนั้นว่า ‘มีอยู่’ ไม่เรียกวิญญาณนั้นว่า ‘มีแล้ว’
๓. รูปใดเกิดแล้ว ปรากฏแล้ว เรียกรูปนั้นว่า ‘มีอยู่’ ตั้งชื่อรูปนั้นว่า
‘มีอยู่’ และบัญญัติรูปนั้นว่า ‘มีอยู่’ (แต่) ไม่เรียกรูปนั้นว่า ‘ได้มีแล้ว’
ไม่เรียกรูปนั้นว่า ‘จักมี’
เวทนาใดเกิดแล้ว ปรากฏแล้ว เรียกเวทนานั้นว่า ‘มีอยู่’ ตั้ง
ชื่อเวทนานั้นว่า ‘มีอยู่’ และบัญญัติเวทนานั้นว่า ‘มีอยู่’ (แต่) ไม่
เรียกเวทนานั้นว่า ‘ได้มีแล้ว’ ไม่เรียกเวทนานั้นว่า ‘จักมี’
สัญญาใด ฯลฯ
สังขารเหล่าใดเกิดแล้ว ปรากฏแล้ว เรียกสังขารเหล่านั้นว่า
‘มีอยู่’ ตั้งชื่อสังขารเหล่านั้นว่า ‘มีอยู่’ และบัญญัติสังขารเหล่านั้น
ว่า ‘มีอยู่’ (แต่) ไม่เรียกสังขารเหล่านั้นว่า ‘ได้มีแล้ว’ ไม่เรียก
สังขารเหล่านั้นว่า ‘จักมี’
วิญญาณใดเกิดแล้ว ปรากฏแล้ว เรียกวิญญาณนั้นว่า ‘มีอยู่’
ตั้งชื่อวิญญาณนั้นว่า ‘มีอยู่’ และบัญญัติวิญญาณนั้นว่า ‘มีอยู่’ (แต่)
ไม่เรียกวิญญาณนั้นว่า ‘ได้มีแล้ว’ ไม่เรียกวิญญาณนั้นว่า ‘จักมี’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ภิกษุทั้งหลาย หลักการ ๓ ประการ คือ (๑) หลักภาษา (๒) หลักการตั้งชื่อ
(๓) หลักการบัญญัติ ไม่ได้ถูกทอดทิ้ง ไม่เคยถูกทอดทิ้ง ย่อมไม่ถูกทอดทิ้ง จัก
ไม่ถูกทอดทิ้ง ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้เป็นวิญญูชนคัดค้านแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย แม้ชนชาวอุกกลชนบท กับชนชาววัสสภัญญชนบททั้ง ๒ พวก
นั้นเป็นผู้มีอเหตุกวาทะ๑ เป็นผู้มีอกิริยวาทะ๒ เป็นผู้มีนัตถิกวาทะ๓ ก็ได้สำคัญว่า
หลักการ ๓ ประการ คือ (๑) หลักภาษา (๒) หลักการตั้งชื่อ (๓) หลักการบัญญัติ
ไม่ควรติเตียน ไม่ควรคัดค้าน ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะกลัวถูกนินทา ใส่โทษ
และถูกคัดค้าน”

นิรุตติปถสูตรที่ ๑๐ จบ
อุปยวรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อุปยสูตร ๒. พีชสูตร
๓. อุทานสูต ๔. อุปาทานปริปวัตตนสูตร
๕. สัตตัฏฐานสูตร ๖. สัมมาสัมพุทธสูตร
๗. อนัตตลักขณสูต ๘. มหาลิสูตร
๙. อาทิตตสูตร ๑๐. นิรุตติปถสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๒. อรหันตวรรค ๑. อุปาทิยมานสูตร

๒. อรหันตวรรค
หมวดว่าด้วยพระอรหันต์
๑. อุปาทิยมานสูตร
ว่าด้วยผู้ยึดมั่นขันธ์

[๖๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง
ที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมแก่
ข้าพระองค์โดยย่อ ซึ่งข้าพระองค์ได้ฟังแล้วจะพึงหลีกออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท
มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่เถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ บุคคลเมื่อยึดมั่น๑ ก็ถูกมารผูกมัดไว้ เมื่อ
ไม่ยึดมั่นก็พ้นจากมารผู้มีบาป”
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์เข้าใจแล้ว ข้าแต่พระสุคต ข้าพระองค์
เข้าใจแล้ว”
“ภิกษุ ก็เธอเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้อย่างย่อโดยพิสดารได้อย่างไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลเมื่อยึดมั่นรูปก็ถูกมารผูกมัดไว้ เมื่อไม่ยึดมั่น
ก็พ้นจากมารผู้มีบาป เมื่อยึดมั่นเวทนาก็ถูกมารผูกมัดไว้ เมื่อไม่ยึดมั่นก็พ้นจาก
มารผู้มีบาป เมื่อยึดมั่นสัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ เมื่อยึดมั่นวิญญาณก็ถูกมาร
ผูกมัดไว้ เมื่อไม่ยึดมั่นก็พ้นจากมารผู้มีบาป ข้าพระองค์เข้าใจเนื้อความแห่ง
พระภาษิตที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้อย่างย่อโดยพิสดารได้อย่างนี้”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๒. อรหันตวรรค ๒. มัญญมานสูตร

“ดีละ ดีละ ภิกษุ ดีแท้ ภิกษุ เธอเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้
อย่างย่อโดยพิสดารได้ดีแล้ว บุคคลเมื่อยึดมั่นรูปก็ถูกมารผูกมัดไว้ เมื่อไม่ยึดมั่นก็
พ้นจากมารผู้มีบาป เมื่อยึดมั่นเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร เมื่อยึดมั่น
วิญญาณก็ถูกมารผูกมัดไว้ เมื่อไม่ยึดมั่นก็พ้นจากมารผู้มีบาป
ภิกษุ เธอพึงทราบเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้อย่างย่อโดยพิสดารอย่างนี้”
ครั้งนั้น ภิกษุนั้นชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ลุกจากอาสนะ
ถวายอภิวาท กระทำประทักษิณแล้วจากไป ต่อมา ภิกษุนั้นก็หลีกออกไปอยู่คนเดียว
ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนักได้ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์
ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือน บวชเป็น
บรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน รู้ชัดว่า “ชาติ
สิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็น
อย่างนี้อีกต่อไป”
อนึ่ง ภิกษุนั้นได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย

อุปาทิยมานสูตรที่ ๑ จบ

๒. มัญญมานสูตร
ว่าด้วยผู้กำหนดหมายขันธ์

[๖๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดง
ธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ฯลฯ มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่เถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ บุคคลเมื่อกำหนดหมาย๑ ก็ถูกมารผูกมัดไว้
เมื่อไม่กำหนดหมายก็พ้นจากมารผู้มีบาป”
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์เข้าใจแล้ว ข้าแต่พระสุคต ข้าพระองค์
เข้าใจแล้ว”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๒. อรหันตวรรค ๓. อภินันทมานสูตร

“ภิกษุ ก็เธอเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้อย่างย่อโดยพิสดารได้อย่างไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลเมื่อกำหนดหมายรูป ก็ถูกมารผูกมัดไว้ เมื่อ
ไม่กำหนดหมายก็พ้นจากมารผู้มีบาป เมื่อกำหนดหมายเวทนา ... สัญญา ...
สังขาร ... เมื่อกำหนดหมายวิญญาณก็ถูกมารผูดมัดไว้ เมื่อไม่กำหนดหมายก็พ้น
จากมารผู้มีบาป ... ข้าพระองค์เข้าใจเนื้อความแห่งพระภาษิตที่พระผู้มีพระภาค
ตรัสไว้อย่างย่อโดยพิสดารได้อย่างนี้”
“ดีละ ดีละ ภิกษุ ดีแท้ ภิกษุ เธอเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวแล้ว
อย่างย่อโดยพิสดารได้ดีแล้ว บุคคลเมื่อกำหนดหมายรูป ก็ถูกมารผูกมัดไว้ เมื่อ
ไม่กำหนดหมายก็พ้นจากมารผู้มีบาป เมื่อกำหนดหมายเวทนา ... สัญญา ...
สังขาร ... เมื่อกำหนดหมายวิญญาณก็ถูกมารผูกมัดไว้ เมื่อไม่กำหนดหมาย ก็
พ้นจากมารผู้มีบาป
ภิกษุ เธอพึงทราบเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้อย่างย่อโดยพิสดารอย่างนี้”
ฯลฯ
อนึ่ง ภิกษุนั้นได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย

มัญญมานสูตรที่ ๒ จบ

๓. อภินันทมานสูตร
ว่าด้วยผู้เพลิดเพลินขันธ์

[๖๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรด
แสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ฯลฯ อุทิศกายและใจอยู่เถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ บุคคลเมื่อเพลิดเพลิน๑ ก็ถูกมารผูกมัดไว้
เมื่อไม่เพลิดเพลินก็พ้นจากมารผู้มีบาป”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๒. อรหันตวรรค ๔. อนิจจสูตร

“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์เข้าใจแล้ว ข้าแต่พระสุคต ข้าพระองค์
เข้าใจแล้ว”
“ภิกษุ ก็เธอเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้อย่างย่อโดยพิสดารได้อย่างไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลเมื่อเพลิดเพลินรูป ก็ถูกมารผูกมัดไว้ เมื่อไม่
เพลิดเพลินก็พ้นจากมารผู้มีบาป เมื่อเพลิดเพลินเวทนา ... สัญญา ... สังขาร ...
เมื่อเพลิดเพลินวิญญาณ ก็ถูกมารผูกมัดไว้ เมื่อไม่ยึดมั่นก็พ้นจากมารผู้มีบาป
ข้าพระองค์เข้าใจเนื้อความแห่งพระภาษิตที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้อย่างย่อโดย
พิสดารได้อย่างนี้”
“ดีละ ดีละ ภิกษุ ดีแท้ ภิกษุ เธอเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวแล้ว
อย่างย่อโดยพิสดารได้ดีแล้ว บุคคลเมื่อเพลิดเพลินรูป ก็ถูกมารผูกมัดไว้ เมื่อไม่
เพลิดเพลินก็พ้นจากมารผู้มีบาป เมื่อเพลิดเพลินเวทนา ... สัญญา ... สังขาร ...
เมื่อเพลิดเพลินวิญญาณ ก็ถูกมารผูกมัดไว้ เมื่อไม่เพลิดเพลินก็พ้นจากมารผู้มีบาป
ภิกษุ เธอพึงทราบเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้อย่างย่อโดยพิสดารอย่างนี้”
ฯลฯ
อนึ่ง ภิกษุนั้นได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย

อภินันทมานสูตรที่ ๓ จบ

๔. อนิจจสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ไม่เที่ยง

[๖๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรด
แสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ฯลฯ มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่เถิด”
“ภิกษุ สิ่งใดไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจ๑ ในสิ่งนั้น”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๒. อรหันตวรรค ๕. ทุกขสูตร

“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์เข้าใจแล้ว ข้าแต่พระสุคต ข้าพระองค์
เข้าใจแล้ว”
“ภิกษุ ก็เธอเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้อย่างย่อโดยพิสดารได้อย่างไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ รูปไม่เที่ยง ข้าพระองค์พึงละความพอใจในรูปนั้น
เวทนา ... สัญญา ...สังขาร ... วิญญาณไม่เที่ยง ข้าพระองค์พึงละความพอใจ
ในวิญญาณนั้น ข้าพระองค์เข้าใจเนื้อความแห่งพระภาษิตที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้
อย่างย่อโดยพิสดารได้อย่างนี้”
“ดีละ ดีละ ภิกษุ ดีแท้ ภิกษุ เธอเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้
อย่างย่อโดยพิสดารได้ดีแล้ว รูปไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจในรูปนั้น เวทนา ...
สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจในวิญญาณนั้น
ภิกษุ เธอพึงทราบเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้อย่างย่อโดยพิสดารอย่างนี้”
ฯลฯ
อนึ่ง ภิกษุนั้นได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย

อนิจจสูตรที่ ๔ จบ

๕. ทุกขสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่เป็นทุกข์

[๖๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรด
แสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ฯลฯ มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่เถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ สิ่งใดเป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้น”
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์เข้าใจแล้ว ข้าแต่พระสุคต ข้าพระองค์
เข้าใจแล้ว”
“ภิกษุ ก็เธอเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้อย่างย่อโดยพิสดารได้อย่างไร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๐๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๒. อรหันตวรรค ๖. อนัตตสูตร

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ รูปเป็นทุกข์ ข้าพระองค์พึงละความพอใจในรูปนั้น
เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเป็นทุกข์ ข้าพระองค์พึงละความพอใจ
ในวิญญาณนั้น ข้าพระองค์เข้าใจเนื้อความแห่งพระภาษิตที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้
อย่างย่อโดยพิสดารได้อย่างนี้”
“ดีละ ดีละ ภิกษุ ดีแท้ ภิกษุ เธอเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้
อย่างย่อโดยพิสดารได้ดีแล้ว รูปเป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจในรูปนั้น เวทนา ...
สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจในวิญญาณนั้น
ภิกษุ เธอพึงทราบเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้อย่างย่อโดยพิสดารอย่างนี้”
ฯลฯ
อนึ่ง ภิกษุนั้นได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย

ทุกขสูตรที่ ๕ จบ

๖. อนัตตสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่เป็นอนัตตา

[๖๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรด
แสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ฯลฯ มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่เถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอพึงละความพอใจใน
สิ่งนั้น”
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์เข้าใจแล้ว ข้าแต่พระสุคต ข้าพระองค์
เข้าใจแล้ว”
“ภิกษุ ก็เธอเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้อย่างย่อโดยพิสดารได้อย่างไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ รูปเป็นอนัตตา ข้าพระองค์พึงละความพอใจในรูปนั้น
เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเป็นอนัตตา ข้าพระองค์พึงละความ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๐๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๒. อรหันตวรรค ๗. อนัตตนิยสูตร

พอใจในวิญญาณนั้น ข้าพระองค์เข้าใจเนื้อความแห่งพระภาษิตที่พระผู้มีพระภาค
ตรัสไว้อย่างย่อโดยพิสดารได้อย่างนี้”
“ดีละ ดีละ ภิกษุ ดีแท้ ภิกษุ เธอเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้
อย่างย่อโดยพิสดารได้ดีแล้ว รูปเป็นอนัตตา เธอพึงละความพอใจในรูปนั้น เวทนา ...
สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเป็นอนัตตา เธอพึงละความพอใจในวิญญาณนั้น
ภิกษุ เธอพึงทราบเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้อย่างย่อโดยพิสดารอย่างนี้”
ฯลฯ
อนึ่ง ภิกษุนั้นได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย

อนัตตสูตรที่ ๖ จบ

๗. อนัตตนิยสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ไม่เนื่องด้วยอัตตา

[๖๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรด
แสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ฯลฯ มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่เถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ สิ่งใดไม่เนื่องด้วยอัตตา เธอพึงละความ
พอใจในสิ่งนั้น”
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์เข้าใจแล้ว ข้าแต่พระสุคต ข้าพระองค์
เข้าใจแล้ว”
“ภิกษุ ก็เธอเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้อย่างย่อโดยพิสดารได้อย่างไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ รูปไม่ใช่สิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา ข้าพระองค์พึงละความ
พอใจในรูปนั้น เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณไม่ใช่สิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา
ข้าพระองค์พึงละความพอใจในวิญญาณนั้น ข้าพระองค์เข้าใจเนื้อความแห่งพระ
ภาษิตที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้อย่างย่อโดยพิสดารได้อย่างนี้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๐๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๒. อรหันตวรรค ๘. รชนียสัณฐิตสูตร

“ดีละ ดีละ ภิกษุ ดีแท้ ภิกษุ เธอเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้
อย่างย่อโดยพิสดารได้ดีแล้ว รูปไม่ใช่สิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา เธอพึงละความพอใจ
ในรูปนั้น เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณไม่ใช่สิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา
เธอพึงละความพอใจในวิญญาณนั้น
ภิกษุ เธอพึงทราบเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้อย่างย่อโดยพิสดารอย่างนี้”
ฯลฯ
อนึ่ง ภิกษุนั้นได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย

อนัตตนิยสูตรที่ ๗ จบ

๘. รชนียสัณฐิตสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่จูงใจให้กำหนัด

[๗๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรด
แสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ฯลฯ มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่เถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ สิ่งใดจูงใจให้กำหนัด เธอพึงละความพอใจ
ในสิ่งนั้น”
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์เข้าใจแล้ว ข้าแต่พระสุคต ข้าพระองค์
เข้าใจแล้ว”
“ภิกษุ ก็เธอเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้อย่างย่อโดยพิสดารได้อย่างไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ รูปเป็นสิ่งจูงใจให้กำหนัด ข้าพระองค์พึงละความ
พอใจในรูปนั้น เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเป็นสิ่งจูงใจให้กำหนัด
ข้าพระองค์พึงละความพอใจในวิญญาณนั้น ข้าพระองค์เข้าใจเนื้อความแห่งพระ
ภาษิตที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้อย่างย่อโดยพิสดารได้อย่างนี้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๒. อรหันตวรรค ๙. ราธสูตร

“ดีละ ดีละ ภิกษุ ดีแท้ ภิกษุ เธอเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้
อย่างย่อโดยพิสดารได้ดีแล้ว รูปเป็นสิ่งจูงใจให้กำหนัด เธอพึงละความพอใจในรูปนั้น
เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเป็นสิ่งจูงใจให้กำหนัด เธอพึงละ
ความพอใจในวิญญาณนั้น
ภิกษุ เธอพึงทราบเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้อย่างย่อโดยพิสดารอย่างนี้”
ฯลฯ
อนึ่ง ภิกษุนั้นได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย

รชนียสัณฐิตสูตรที่ ๘ จบ

๙. ราธสูตร
ว่าด้วยพระราธะ

[๗๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ท่านพระราธะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ทูลถาม
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างไรจึงจะไม่มี
อหังการ๑ มมังการ๒ และมานานุสัยในกายที่มีวิญญาณนี้ และในนิมิตทั้งปวงใน
ภายนอก”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ราธะ รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต
อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต
ไกลหรือใกล้ก็ตาม รูปทั้งหมดนั้นอริยสาวกพิจารณาเห็นด้วยปัญญาอันชอบตาม
ความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ...


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๒. อรหันตวรรค ๑๐. สุราธสูตร

วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ฯลฯ ไกล
หรือใกล้ก็ตาม วิญญาณทั้งหมดนั้นอริยสาวกพิจารณาเห็นด้วยปัญญาอันชอบตาม
ความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
ราธะ เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างนี้จึงจะไม่มีอหังการ มมังการ และมานานุสัย
ในกายที่มีวิญญาณนี้ และในนิมิตทั้งปวงในภายนอก”
ฯลฯ
อนึ่ง ท่านพระราธะได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย

ราธสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. สุราธสูตร
ว่าด้วยพระสุราธะ

[๗๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ท่านพระสุราธะ ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างไร ใจจึงจะปราศจากอหังการ มมังการ และมานานุสัย
ในกายที่มีวิญญาณนี้ และในนิมิตทั้งปวงในภายนอก ก้าวล่วงมานะด้วยดี สงบระงับ
หลุดพ้นดีแล้ว”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “สุราธะ รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต
อนาคต และปัจจุบัน ฯลฯ ไกลหรือใกล้ก็ตาม รูปทั้งหมดนั้นอริยสาวกพิจารณา
เห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น
นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ เป็นผู้หลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๒. อรหันตวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ฯลฯ ไกล
หรือใกล้ก็ตาม วิญญาณทั้งหมดนั้นอริยสาวกพิจารณาเห็นด้วยปัญญาอันชอบตาม
ความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
เป็นผู้หลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น
สุราธะ เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างนี้ ใจจึงจะปราศจากอหังการ มมังการ และ
มานานุสัยในกายที่มีวิญญาณนี้ และในนิมิตทั้งปวงในภายนอก ก้าวล่วงมานะด้วยดี
สงบระงับ หลุดพ้นดีแล้ว”
ฯลฯ
อนึ่ง ท่านพระสุราธะได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย

สุราธสูตรที่ ๑๐ จบ
อรหันตวรรคที่ ๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อุปาทิยมานสูตร ๒. มัญญมานสูตร
๓. อภินันทมานสูตร ๔. อนิจจสูตร
๕. ทุกขสูตร ๖. อนัตตสูตร
๗. อนัตตนิยสูตร ๘. รชนียสัณฐิตสูตร
๙. ราธสูตร ๑๐. สุราธสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๓. ขัชชนียวรรค ๒. สมุทยสูตร

๓. ขัชชนียวรรค
หมวดว่าด้วยผู้ถูกเคี้ยวกิน
๑. อัสสาทสูตร
ว่าด้วยคุณของขันธ์

[๗๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ไม่รู้ชัดคุณ โทษ
และเครื่องสลัดออกจากรูปตามความเป็นจริง ... เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ...
ไม่รู้ชัดคุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากวิญญาณตามความเป็นจริง
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับ รู้ชัดคุณ โทษ และเครื่องสลัดออก
จากรูป ... เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... รู้ชัดคุณ โทษ และเครื่องสลัด
ออกจากวิญญาณตามความเป็นจริง”

อัสสาทสูตรที่ ๑ จบ

๒. สมุทยสูตร
ว่าด้วยความเกิดขึ้นแห่งขันธ์

[๗๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ไม่รู้ชัดความเกิดขึ้น
ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากรูปตามความเป็นจริง ... เวทนา ...
สัญญา ... สังขาร ... ไม่รู้ชัดความเกิดขึ้น ความดับ คุณ โทษ และเครื่อง
สลัดออกจากวิญญาณตามความเป็นจริง
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับ รู้ชัดความเกิดขึ้น ความดับ คุณ โทษ
และเครื่องสลัดออกจากรูป ... เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... รู้ชัดความเกิดขึ้น
ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากวิญญาณตามความเป็นจริง”

สมุทยสูตรที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๓. ขัชชนียวรรค ๔. อรหันตสูตร

๓. ทุติยสมุทยสูตร
ว่าด้วยความเกิดขึ้นแห่งขันธ์ สูตรที่ ๒

[๗๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ รู้ชัดความเกิดขึ้น
ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากรูปตามความเป็นจริง ... เวทนา ...
สัญญา ... สังขาร ... รู้ชัดความเกิดขึ้น ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัด
ออกจากวิญญาณตามความเป็นจริง”

ทุติยสมุทยสูตรที่ ๓ จบ

๔. อรหันตสูตร
ว่าด้วยพระอรหันต์

[๗๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้น
เป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลาย
พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็น
นั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
เวทนา ...
สัญญา ...
สังขาร ...
วิญญาณไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็น
อนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความ
เป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ...
แม้ในเวทนา ... แม้ในสัญญา ... แม้ในสังขาร ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๓. ขัชชนียวรรค ๔. อรหันตสูตร

เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดจิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุด
พ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
ภิกษุทั้งหลาย พระอรหันต์ทั้งหลายเป็นผู้เลิศ ประเสริฐที่สุดในโลกกว่าสัตว์
ในสัตตาวาสและภวัคคภพ”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา-
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า
“พระอรหันต์ทั้งหลายมีความสุข๑หนอ
เพราะท่านไม่มีตัณหา ตัดอัสมิมานะได้เด็ดขาด
ทำลายข่ายคือโมหะได้แล้ว
พระอรหันต์เหล่านั้นถึงความไม่หวั่นไหว๒
มีจิตไม่ขุ่นมัว ไม่แปดเปื้อนในโลก
เป็นผู้ประเสริฐ ไม่มีอาสวะ เป็นสัตบุรุษ
เป็นพุทธบุตร พุทธโอรส กำหนดรู้ขันธ์ ๕
มีสัทธรรม ๗ ประการเป็นโคจร๓ ควรสรรเสริญ
ท่านเป็นวีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่
สมบูรณ์ด้วยรัตนะ ๗ ประการ๔
สำเหนียกแล้วในไตรสิกขา


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๓. ขัชชนียวรรค ๕. ทุติยอรหันตสูตร

ละความกลัวและความสะดุ้งกลัวได้เด็ดขาดแล้ว
ย่อมเที่ยวไปโดยลำดับ
ท่านมหานาคผู้สมบูรณ์ด้วยองค์ ๑๐
มีจิตตั้งมั่น๑ ประเสริฐที่สุดในโลก
เพราะท่านเหล่านั้นไม่มีตัณหา มีอเสขญาณ๒ เกิดขึ้นแล้ว
มีร่างกายนี้เป็นร่างสุดท้าย
ไม่ต้องอาศัยผู้อื่นในคุณที่เป็นแก่นสารแห่งพรหมจรรย์
ท่านเหล่านั้นไม่หวั่นไหวในส่วนทั้งหลาย๓
พ้นจากภพใหม่ถึงทันตภูมิ๔ ชนะเด็ดขาดแล้วในโลก
ท่านเหล่านั้นไม่มีความเพลิดเพลินอยู่
ในส่วนเบื้องบน ท่ามกลาง และเบื้องล่าง
เป็นพุทธะผู้ยอดเยี่ยมในโลก ย่อมบันลือสีหนาท”

อรหันตสูตรที่ ๔ จบ

๕. ทุติยอรหันตสูตร
ว่าด้วยพระอรหันต์ สูตรที่ ๒

[๗๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้น
เป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลาย


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๓. ขัชชนียวรรค ๖. สีหสูตร

พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่
เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ...
แม้ในเวทนา ... แม้ในสัญญา ... แม้ในสังขาร ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ
เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดจิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิต
หลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
ภิกษุทั้งหลาย พระอรหันต์ทั้งหลายเป็นผู้เลิศ ประเสริฐที่สุดในโลกกว่าสัตว์
ในสัตตาวาสและภวัคคภพ”

ทุติยอรหันตสูตรที่ ๕ จบ

๖. สีหสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยพญาราชสีห์

[๗๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เวลาเย็น พญาราชสีห์ออกจากที่
อาศัยบิดกายชำเลืองดูรอบ ๆ ทั้ง ๔ ทิศ บันลือสีหนาท ๓ ครั้ง แล้วหลีกไปหา
เหยื่อ โดยมากพวกสัตว์ดิรัจฉานทุกหมู่เหล่าได้ยินเสียงพญาราชสีห์บันลือสีหนาท
ย่อมถึงความกลัว หวาดหวั่น และสะดุ้ง สัตว์พวกที่อาศัยอยู่ในโพรงก็หลบเข้า
โพรง พวกที่อาศัยอยู่ในน้ำก็ดำลงในน้ำ พวกที่อาศัยอยู่ในป่าก็หนีเข้าป่า พวก
สัตว์ปีกก็บินขึ้นสู่อากาศ แม้พญาช้างของพระมหากษัตริย์ ซึ่งผูกไว้ด้วยเชือกอย่าง
มั่นคงในหมู่บ้าน ตำบล และเมืองหลวง ก็ตัดทำลายเครื่องผูกเหล่านั้นจนขาด
ตกใจกลัว ถ่ายมูตรคูถ หนีไปทางใดทางหนึ่ง
ภิกษุทั้งหลาย พญาราชสีห์มีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีศักดิ์มากอย่างนี้ มีอานุภาพ
มากอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๓. ขัชชนียวรรค ๖. สีหสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ตถาคต๑ อุบัติขึ้นในโลกเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วย
ตนเองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่
ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า
เป็นพระผู้มีพระภาค๒ แสดงธรรมว่า ‘รูปเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็น
อย่างนี้ ความดับแห่งรูปเป็นอย่างนี้ เวทนาเป็นอย่างนี้ ... สัญญาเป็นอย่างนี้ ...
สังขารเป็นอย่างนี้ ... วิญญาณเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณเป็นอย่างนี้
ความดับแห่งวิญญาณเป็นอย่างนี้’
เมื่อนั้น แม้เทพทั้งหลายที่มีอายุยืน มีวรรณะงดงาม มีความสุขมาก สถิตอยู่
ในวิมานสูงเป็นเวลานาน ได้สดับธรรมเทศนาของตถาคตแล้ว โดยมากต่าง
ก็ถึงความกลัว หวาดหวั่น และสะดุ้งว่า ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ได้ยินว่า พวกเรา
เป็นผู้ไม่เที่ยง แต่ได้สำคัญตนว่า ‘เที่ยง’ เป็นผู้ไม่ยั่งยืน แต่ได้สำคัญตนว่า ‘ยั่งยืน’
เป็นผู้ไม่คงที่ แต่ได้สำคัญตนว่า ‘คงที่’ ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ได้ยินว่า ถึงพวก
เราก็ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงที่ เกี่ยวเนื่องอยู่ในสักกายะ๓
ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตก็อย่างนั้นเหมือนกัน มีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีศักดิ์มาก
อย่างนี้ มีอานุภาพมากอย่างนี้กว่าโลกพร้อมทั้งเทวโลก”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา-
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๓. ขัชชนียวรรค ๗. ขัชชนียสูตร

“เมื่อใด พระพุทธเจ้า ผู้เป็นศาสดา
หาบุคคลเปรียบเทียบมิได้๑ ตรัสรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งแล้ว
ทรงประกาศธรรมจักร๒ คือ สักกายะ
ความดับแห่งสักกายะ และอริยมรรคมีองค์ ๘
ที่ให้ถึงความดับทุกข์แก่โลกพร้อมทั้งเทวโลก

เมื่อนั้น แม้พวกเทพที่มีอายุยืน มีวรรณะ มียศ
ฟังคำของตถาคตผู้เป็นอรหันต์ หลุดพ้นแล้ว ผู้คงที่
ต่างก็หวาดหวั่นถึงความสะดุ้ง ดุจเนื้อกลัวราชสีห์ด้วยคิดว่า
‘ท่านผู้เจริญ ทราบว่าพวกเราเป็นผู้ไม่เที่ยง ยังไม่ก้าวล่วงสักกายะ”

สีหสูตรที่ ๖ จบ

๗. ขัชชนียสูตร
ว่าด้วยผู้ถูกเคี้ยวกิน

[๗๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด
เหล่าหนึ่ง เมื่อระลึกก็ระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น
ทั้งหมดระลึกถึงอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ ประการ หรืออุปาทานขันธ์ประการใดประการหนึ่ง
อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ เป็นอย่างไร
คือ เมื่อระลึกก็ระลึกถึงรูปอย่างนี้ว่า ‘ในอดีตกาล เรามีรูปอย่างนี้’ เมื่อระลึก
ก็ระลึกถึงเวทนาอย่างนี้ว่า ‘ในอดีตกาล เรามีเวทนาอย่างนี้’ เมื่อระลึกก็ระลึกถึง


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๓. ขัชชนียวรรค ๗. ขัชชนียสูตร

สัญญาอย่างนี้ว่า ‘ในอดีตกาล เรามีสัญญาอย่างนี้’ เมื่อระลึกก็ระลึกถึงสังขาร
อย่างนี้ว่า ‘ในอดีตกาล เรามีสังขารอย่างนี้’ เมื่อระลึกก็ระลึกถึงวิญญาณอย่างนี้ว่า
‘ในอดีตกาล เรามีวิญญาณอย่างนี้’
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอะไรจึงเรียกว่ารูป เพราะสลายไปจึงเรียกว่า ‘รูป’
สลายไปเพราะอะไร สลายไปเพราะหนาวบ้าง ร้อนบ้าง หิวบ้าง กระหายบ้าง
เพราะสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานบ้าง เพราะสลายไป
จึงเรียกว่า ‘รูป’
เพราะอะไรจึงเรียกว่าเวทนา เพราะเสวยจึงเรียกว่า ‘เวทนา’ เสวยอะไร เสวย
อารมณ์สุขบ้าง ทุกข์บ้าง มิใช่ทุกข์มิใช่สุขบ้าง เพราะเสวยจึงเรียกว่า ‘เวทนา’
เพราะอะไรจึงเรียกว่าสัญญา เพราะจำได้หมายรู้จึงเรียกว่า ‘สัญญา’ จำได้
หมายรู้อะไร จำได้หมายรู้สีเขียวบ้าง สีเหลืองบ้าง สีแดงบ้าง สีขาวบ้าง เพราะ
จำได้หมายรู้จึงเรียกว่า ‘สัญญา’
เพราะอะไรจึงเรียกว่าสังขาร เพราะปรุงแต่งสังขตธรรมจึงเรียกว่า ‘สังขาร’
ปรุงแต่งสังขตธรรมอะไร ปรุงแต่งสังขตธรรม คือ รูปโดยความเป็นรูป เวทนา
โดยความเป็นเวทนา สัญญาโดยความเป็นสัญญา สังขารโดยความเป็นสังขาร
วิญญาณโดยความเป็นวิญญาณ เพราะปรุงแต่งสังขตธรรมจึงเรียกว่า ‘สังขาร’
เพราะอะไรจึงเรียกว่าวิญญาณ เพราะรู้แจ้งจึงเรียกว่า ‘วิญญาณ’ รู้แจ้งอะไร
รู้แจ้งรสเปรี้ยวบ้าง รสขมบ้าง รสเผ็ดบ้าง รสหวานบ้าง รสขื่นบ้าง รสไม่ขื่นบ้าง
รสเค็มบ้าง รสไม่เค็มบ้าง เพราะรู้แจ้งจึงเรียกว่า ‘วิญญาณ’
ภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้น อริยสาวกผู้ได้สดับพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า ‘บัดนี้
เราถูกรูปเคี้ยวกินอยู่ แม้ในอดีตกาล เราก็ถูกรูปเคี้ยวกินแล้ว เหมือนกับที่ถูกรูป
ที่เป็นปัจจุบันเคี้ยวกินอยู่ในเวลานี้ ก็เราเองพึงชื่นชมรูปที่เป็นอนาคต แม้ใน
อนาคตกาล เราก็พึงถูกรูปเคี้ยวกิน เหมือนกับที่ถูกรูปที่เป็นปัจจุบันเคี้ยวกินอยู่ใน
เวลานี้ เธอพิจารณาเห็นอย่างนี้แล้ว ไม่มีความอาลัยในรูปที่เป็นอดีต ไม่ชื่นชมรูป
ที่เป็นอนาคต ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับรูปที่เป็นปัจจุบัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๒๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๓. ขัชชนียวรรค ๗. ขัชชนียสูตร

บัดนี้ เราถูกเวทนาเคี้ยวกินอยู่ แม้ในอดีตกาล เราก็ถูกเวทนาเคี้ยวกินแล้ว
เหมือนกับที่ถูกเวทนาที่เป็นปัจจุบันเคี้ยวกินอยู่ในเวลานี้ ก็เราเองพึงชื่นชมเวทนาที่
เป็นอนาคต แม้ในอนาคตกาล เราก็พึงถูกเวทนาเคี้ยวกิน เหมือนกับที่ถูกเวทนา
ที่เป็นปัจจุบันเคี้ยวกินอยู่ในเวลานี้ เธอพิจารณาเห็นอย่างนี้แล้ว ไม่มีความอาลัย
ในเวทนาที่เป็นอดีต ไม่ชื่นชมเวทนาที่เป็นอนาคต ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย
เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับเวทนาที่เป็นปัจจุบัน
บัดนี้ เราถูกสัญญาเคี้ยวกินอยู่ ฯลฯ
บัดนี้ เราถูกสังขารเคี้ยวกินอยู่ แม้ในอดีตกาล เราก็ถูกสังขารเคี้ยวกินแล้ว
เหมือนกับที่ถูกสังขารที่เป็นปัจจุบันเคี้ยวกินอยู่ในเวลานี้ ก็เราเองพึงชื่นชมสังขารที่
เป็นอนาคต แม้ในอนาคตกาล เราก็พึงถูกสังขารเคี้ยวกิน เหมือนกับที่ถูกสังขาร
ที่เป็นปัจจุบันเคี้ยวกินอยู่ในเวลานี้ เธอพิจารณาเห็นอย่างนี้แล้ว ไม่มีความอาลัย
ในสังขารที่เป็นอดีต ไม่ชื่นชมสังขารที่เป็นอนาคต ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย
เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับสังขารที่เป็นปัจจุบัน
บัดนี้ เราถูกวิญญาณเคี้ยวกินอยู่ แม้ในอดีตกาล เราก็ถูกวิญญาณเคี้ยวกิน
แล้ว เหมือนกับที่ถูกวิญญาณที่เป็นปัจจุบันเคี้ยวกินอยู่ในเวลานี้ ก็เราเองพึงชื่นชม
วิญญาณที่เป็นอนาคต แม้ในอนาคตกาล เราก็พึงถูกวิญญาณเคี้ยวกิน เหมือน
กับที่ถูกวิญญาณที่เป็นปัจจุบันเคี้ยวกินอยู่ในเวลานี้ เธอพิจารณาเห็นอย่างนี้แล้ว
ไม่มีความอาลัยในวิญญาณที่เป็นอดีต ไม่ชื่นชมวิญญาณที่เป็นอนาคต ปฏิบัติเพื่อ
ความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับวิญญาณที่เป็นปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือ
ไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๓. ขัชชนียวรรค ๗. ขัชชนียสูตร

“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต
และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือ
ใกล้ก็ตาม รูปทั้งหมดนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง
อย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ...
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ฯลฯ ไกล
หรือใกล้ก็ตาม วิญญาณทั้งหมดนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตาม
ความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกนี้ เราเรียกว่า ทำให้พินาศ ไม่ก่อ ละทิ้ง ไม่ถือมั่น
เรี่ยราย ไม่รวบรวมไว้ ทำให้มอด ไม่ก่อให้ลุกโพลงขึ้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๓. ขัชชนียวรรค ๗. ขัชชนียสูตร

อริยสาวกทำอะไรให้พินาศ ไม่ก่ออะไร
คือ ทำรูปให้พินาศ ไม่ก่อรูป ... เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... ทำ
วิญญาณให้พินาศ ไม่ก่อวิญญาณ
ละทิ้งอะไร ไม่ถือมั่นอะไร
คือ ละทิ้งรูป ไม่ถือมั่นรูป ... เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... ละทิ้งวิญญาณ
ไม่ถือมั่นวิญญาณ
เรี่ยรายอะไร ไม่รวบรวมอะไรไว้
คือ เรี่ยรายรูป ไม่รวบรวมรูปไว้ ... เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ...
เรี่ยรายวิญญาณ ไม่รวบรวมวิญญาณไว้
ทำอะไรให้มอด ไม่ก่ออะไรให้ลุกโพลงขึ้น
คือ ทำรูปให้มอด ไม่ก่อวิญญาณให้ลุกโพลงขึ้น ... เวทนา ... สัญญา ...
สังขาร ... ทำวิญญาณให้มอด ไม่ก่อวิญญาณให้ลุกโพลงขึ้น
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ...
แม้ในเวทนา ... แม้ในสัญญา ... แม้ในสังขาร ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ
เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดจิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิต
หลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้ เราเรียกว่า ไม่ก่อ ไม่ทำให้พินาศ แต่เป็นผู้ทำให้
พินาศได้แล้วดำรงอยู่ ไม่ละทิ้ง ไม่ถือมั่น แต่เป็นผู้ละทิ้งได้แล้วดำรงอยู่ ไม่เรี่ยราย
ไม่รวบรวมไว้ แต่เป็นผู้เรี่ยรายได้แล้วดำรงอยู่ ไม่ทำให้มอด ไม่ก่อให้ลุกโพลงขึ้น
แต่เป็นผู้ทำให้มอดได้แล้วดำรงอยู่
อริยสาวกไม่ก่ออะไร ไม่ทำอะไรให้พินาศ แต่เป็นผู้ทำให้พินาศได้แล้ว
ดำรงอยู่
คือ ไม่ก่อรูป ไม่ทำรูปให้พินาศ แต่เป็นผู้ทำให้พินาศได้แล้วดำรงอยู่ ... เวทนา
... สัญญา ... สังขาร ... ไม่ก่อวิญญาณ ไม่ทำวิญญาณให้พินาศ แต่เป็นผู้
ทำให้พินาศได้แล้วดำรงอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๒๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๓. ขัชชนียวรรค ๘.ปิณโฑลยสูตร

ไม่ละทิ้ง ไม่ถือมั่นอะไร แต่เป็นผู้ละทิ้งได้แล้วดำรงอยู่
คือ ไม่ละทิ้งรูป ไม่ถือมั่นรูป แต่เป็นผู้ละทิ้งได้แล้วดำรงอยู่ ... เวทนา ...
สัญญา ... สังขาร ... ไม่ละทิ้งวิญญาณ ไม่ถือมั่นวิญญาณ แต่เป็นผู้ละทิ้งได้
แล้วดำรงอยู่
ไม่เรี่ยรายอะไร ไม่รวบรวมอะไรไว้ แต่เป็นผู้เรี่ยรายได้แล้วดำรงอยู่
คือ ไม่เรี่ยรายรูป ไม่รวบรวมรูปไว้ แต่เป็นผู้เรี่ยรายได้แล้วดำรงอยู่ ... เวทนา
... สัญญา ... สังขาร ... ไม่เรี่ยรายวิญญาณ ไม่รวบรวมวิญญาณไว้ แต่เป็นผู้
เรี่ยรายได้แล้วดำรงอยู่
ไม่ทำอะไรให้มอด ไม่ก่ออะไรให้ลุกโพลงขึ้น แต่เป็นผู้ทำให้มอดได้
แล้วดำรงอยู่
คือ ไม่ทำรูปให้มอด ไม่ก่อรูปให้ลุกโพลงขึ้น แต่เป็นผู้ทำให้มอดได้แล้วดำรงอยู่
... เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... ไม่ทำวิญญาณให้มอด ไม่ก่อวิญญาณให้
ลุกโพลงขึ้น แต่เป็นผู้ทำให้มอดได้แล้วดำรงอยู่
ภิกษุทั้งหลาย เทพทั้งหลายพร้อมทั้งอินทร์ พรหม และท้าวปชาบดี
ย่อมนมัสการภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วอย่างนี้ แต่ที่ไกลทีเดียวว่า
‘ข้าแต่ท่านผู้เป็นบุรุษอาชาไนย ขอความนอบน้อมจงมีแด่ท่าน
ข้าแต่ท่านผู้เป็นบุรุษสูงสุด ขอความนอบน้อมจงมีแด่ท่าน
ที่พวกเราไม่รู้ว่า ท่านอาศัยอารมณ์อะไรเล่า ถึงเข้าฌานอยู่”

ขัชชนียสูตรที่ ๗ จบ

๘. ปิณโฑลยสูตร
ว่าด้วยการเที่ยวบิณฑบาตเลี้ยงชีพ

[๘๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขตกรุง
กบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงขับไล่ภิกษุสงฆ์เพราะ
เหตุบางอย่างแล้ว เวลาเช้า ทรงครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๓. ขัชชนียวรรค ๘.ปิณโฑลยสูตร

บิณฑบาตยังกรุงกบิลพัสดุ์ เสด็จกลับจากบิณฑบาต ภายหลังเสวยพระกระยาหาร
เสร็จแล้ว เข้าไปยังป่ามหาวัน เพื่อประทับพักผ่อนกลางวัน ครั้นเสด็จถึงแล้ว ได้
ประทับนั่ง ณ โคนต้นมะตูมหนุ่ม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด ทรงเกิดความรำพึงว่า
“เราเองได้ขับไล่ภิกษุสงฆ์ไปแล้ว ในภิกษุเหล่านี้ มีพวกภิกษุใหม่บวชยังไม่นาน
เพิ่งมาสู่ธรรมวินัยนี้ เมื่อภิกษุเหล่านั้นไม่เห็นเราก็จะพึงเป็นอื่น เปลี่ยนแปลงไป
เหมือนลูกโคน้อย ๆ เมื่อไม่เห็นแม่ก็จะพึงเป็นอื่น เปลี่ยนแปลงไปฉะนั้น และ
เหมือนพืชที่ยังอ่อน ๆ ขาดน้ำพึงเหี่ยวเฉาไปฉะนั้น ทางที่ดี เราพึงอนุเคราะห์
ภิกษุสงฆ์ในบัดนี้ เหมือนกับที่เคยอนุเคราะห์มาแล้วในครั้งก่อน ๆ เถิด”
ขณะนั้น ท้าวสหัมบดีพรหมได้ทราบความรำพึงของพระผู้มีพระภาคด้วยใจ
ของตนแล้วจึงหายตัวจากพรหมโลกมาปรากฏเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาค
เหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้าฉะนั้น ครั้นแล้วท้าวเธอห่มผ้า
เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมมือมาทางพระผู้มีพระภาคกราบทูลดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เรื่องนี้เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระสุคต เรื่องนี้เป็น
อย่างนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคได้ทรงขับไล่ภิกษุสงฆ์ไปแล้ว ใน
ภิกษุเหล่านี้ มีพวกภิกษุใหม่บวชยังไม่นาน เพิ่งมาสู่พระธรรมวินัยนี้ เมื่อภิกษุ
เหล่านั้น ไม่เห็นพระผู้มีพระภาคก็จะพึงเป็นอื่น เปลี่ยนแปลงไป เหมือนลูกโคน้อย ๆ
เมื่อไม่เห็นแม่ก็จะพึงเป็นอื่น เปลี่ยนแปลงไปฉะนั้น และเหมือนพืชที่ยังอ่อน ๆ
ขาดน้ำพึงเหี่ยวเฉาไปฉะนั้น ขอพระผู้มีพระภาคโปรดชื่นชมภิกษุสงฆ์ โปรดพร่ำสอน
ภิกษุสงฆ์ โปรดอนุเคราะห์ภิกษุสงฆ์ในบัดนี้ เหมือนกับที่เคยอนุเคราะห์มาแล้ว
ในครั้งก่อน ๆ เถิด พระพุทธเจ้าข้า”๑
พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ ลำดับนั้น ท้าวสหัมบดีพรหม
ทราบว่าพระผู้มีพระภาคทรงรับอาราธนาแล้วจึงถวายอภิวาท กระทำประทักษิณ
แล้วหายตัวไป ณ ที่นั้นนั่นเอง
ต่อมา พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้นในเวลาเย็น ได้เสด็จเข้าไปยัง
นิโครธาราม ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้ว ทรงบันดาลด้วยอิทธาภิสังขาร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๓. ขัชชนียวรรค ๘.ปิณโฑลยสูตร

ให้ภิกษุเหล่านั้นเกรงกลัวเข้าไปเฝ้าทีละรูปบ้าง สองรูปบ้าง ต่างถวายอภิวาท
พระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสกับภิกษุเหล่านั้น
ดังนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย การที่ภิกษุทุศีลเที่ยวบิณฑบาตเลี้ยงชีพนี้เป็นการกระทำที่
ต่ำทราม การที่ภิกษุทุศีลประพฤติเช่นนี้ ย่อมถูกชาวโลกด่าว่า ‘เจ้าคนนี้อุ้มบาตร
เที่ยวขอชาวโลกมาเลี้ยงชีพ’
กุลบุตรต่างเป็นผู้ตระหนักในเหตุ อาศัยความตระหนักในเหตุจึงเข้ามาใช้ชีวิต
เที่ยวขอก้อนข้าวนี้ มิใช่ถูกพระราชารับสั่งให้นำไปจองจำ มิใช่ถูกพวกโจรนำไปกักขัง
มิใช่เป็นลูกหนี้ มิใช่ตกอยู่ในห้วงอันตราย มิใช่จะยึดเป็นอาชีพ แท้ที่จริง กุลบุตร
เหล่านั้นเข้ามาบวชด้วยเหตุผลว่า ‘พวกเราต่างถูกชาติ (ความเกิด) ชรา (ความแก่)
มรณะ (ความตาย) โสกะ (ความเศร้าโศก) ปริเทวะ (ความคร่ำครวญ) ทุกข์
(ความทุกข์กาย) โทมนัส (ความทุกข์ใจ) และอุปายาส (ความคับแค้นใจ) ทับถม
ครอบงำ จมปลักอยู่ในทุกข์ สาละวนอยู่กับทุกข์ ทำอย่างไรเล่า การทำที่สุดแห่ง
กองทุกข์ทั้งมวลนี้ จะพึงปรากฏได้’
กุลบุตรนี้เป็นผู้บวชด้วยเหตุผลตามที่กล่าวมาแล้วนี้ แต่แล้วกุลบุตรนั้นกลับ
เกิดความละโมบ กำหนัดยินดีอย่างแรงกล้าในกาม มีจิตพยาบาท คิดประทุษร้าย
ลงลืมสติ ไม่รู้สึกตัว มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตกระสับกระส่าย ไม่สำรวมอินทรีย์
บุคคลผู้เสื่อมจากโภคะของคฤหัสถ์ และไม่สามารถบำเพ็ญประโยชน์สำหรับ
ความเป็นสมณะให้บริบูรณ์ได้ เราเรียกว่า เป็นเหมือนท่อนไม้ที่ถูกทิ้งไว้ในป่าช้า
ไฟไหม้ทั้ง ๒ ข้าง ตรงกลางเปื้อนคูถ ย่อมไม่อำนวยประโยชน์เป็นเครื่องเรือน๑
ทั้งไม่อำนวยประโยชน์เป็นอุปกรณ์ในป่า๒
ภิกษุทั้งหลาย อกุศลวิตก ๓ ประการ คือ
๑. กามวิตก (ความตรึกในกาม)
๒. พยาบาทวิตก (ความตรึกในพยาบาท)
๓. วิหิงสาวิตก (ความตรึกในการเบียดเบียน)


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๓. ขัชชนียวรรค ๘.ปิณโฑลยสูตร

อกุศลวิตก ๓ ประการนี้ดับไม่เหลือที่ไหน
คือ เมื่อบุคคลมีจิตตั้งมั่นดีแล้วในสติปัฏฐาน ๔ ประการ หรือเจริญอนิมิตต-
สมาธิ อกุศลวิตก ๓ ประการ ย่อมดับโดยไม่เหลือ อนิมิตตสมาธิควรแท้ที่
บุคคลจะเจริญ อนิมิตตสมาธิที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มี
อานิสงส์มาก
ภิกษุทั้งหลาย ทิฏฐิ ๒ ประการนี้ คือ
๑. ภวทิฏฐิ (ความเห็นในภพ)
๒. วิภวทิฏฐิ (ความเห็นในวิภพ)
อริยสาวกผู้ได้สดับพิจารณาเห็นในทิฏฐิ ๒ ประการนั้นเช่นนี้ว่า ‘เรายึดถือ
สิ่งใดอยู่ พึงเป็นผู้ไม่มีโทษ สิ่งนั้นมีอยู่ในโลกบ้างไหม’ เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘เรา
ยึดถือสิ่งใดอยู่ พึงเป็นผู้ไม่มีโทษ สิ่งนั้นไม่มีในโลกเลย ก็เราเมื่อยึดถือ พึงยึดถือรูป
เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนั่นเอง เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมีแก่เรา
เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ
ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงมี ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้จึงมีด้วย
ประการอย่างนี้’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือ
ไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๓. ขัชชนียวรรค ๙. ปาลิเลยยสูตร

“เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยง หรือไม่เที่ยง” ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ
รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

ปิณโฑลยสูตรที่ ๘ จบ

๙. ปาลิเลยยสูตร
ว่าด้วยป่าปาลิเลยยกะ

[๘๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี
ครั้นในเวลาเช้า ทรงครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยัง
กรุงโกสัมพี เสด็จกลับจากบิณฑบาต ภายหลังเสวยพระกระยาหารเสร็จแล้ว ทรง
เก็บงำเสนาสนะด้วยพระองค์เองถือบาตรและจีวร ไม่ได้ทรงรับสั่งพวกอุปัฏฐาก
ไม่ได้ตรัสอำลาภิกษุสงฆ์ เสด็จจาริกไปพระองค์เดียวไม่มีผู้ติดตาม
ลำดับนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จจากไปไม่นาน ได้เข้าไป
หาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ แล้วได้กล่าวกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “ท่านอานนท์
พระผู้มีพระภาคทรงเก็บงำเสนาสนะด้วยพระองค์เองถือบาตรและจีวร ไม่ได้ทรงรับ
สั่งพวกอุปัฏฐาก ไม่ได้ตรัสอำลาภิกษุสงฆ์ เสด็จจาริกไปพระองค์เดียวไม่มีผู้ติดตาม”
ท่านพระอานนท์ได้ตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ สมัยใด พระผู้มีพระภาคทรงเก็บงำ
เสนาสนะด้วยพระองค์เองถือบาตรและจีวร ไม่ได้ทรงรับสั่งพวกอุปัฏฐาก ไม่ได้
ตรัสอำลาภิกษุสงฆ์ เสด็จจาริกไปพระองค์เดียวไม่มีผู้ติดตาม สมัยนั้น พระผู้มี
พระภาคมีพระประสงค์จะประทับอยู่เพียงลำพัง จึงไม่ควรที่ใคร ๆ จะพึงติดตาม”
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปโดยลำดับ ถึงป่าปาลิเลยยกะ ทราบว่า
ณ ที่นั้นพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โคนไม้รังอันงาม
ต่อมา ภิกษุจำนวนมากเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัย
พอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้พากันกล่าวกับ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๓. ขัชชนียวรรค ๙. ปาลิเลยยสูตร

ท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “ท่านอานนท์ นานมาแล้วที่พวกผมได้ฟังธรรมีกถาเฉพาะ
พระพักตร์พระผู้มีพระภาค ท่านอานนท์ พวกผมปรารถนาที่จะฟังธรรมีกถาเฉพาะ
พระพักตร์พระผู้มีพระภาค”
ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์พร้อมด้วยภิกษุเหล่านั้นพากันเข้าไปเฝ้าพระผู้
มีพระภาค ณ โคนไม้รังอันงามในป่าปาลิเลยยกะ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้ภิกษุเหล่านั้นเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ
เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งได้เกิดความคิดคำนึงอย่างนี้ว่า “เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างไร
อาสวะทั้งหลายจึงสิ้นไปโดยลำดับ”
พระผู้มีพระภาคทรงทราบความคิดคำนึงของภิกษุนั้นด้วยพระทัยจึงรับสั่งเรียก
ภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เราได้แสดงธรรมโดยการวิจัย (การเลือกเฟ้น) แสดง
สติปัฏฐาน ๔ ประการโดยการวิจัย แสดงสัมมัปปธาน ๔ ประการโดยการวิจัย
แสดงอิทธิบาท ๔ ประการโดยการวิจัย แสดงอินทรีย์ ๕ ประการโดยการวิจัย
แสดงพละ ๕ ประการโดยการวิจัย แสดงโพชฌงค์ ๗ ประการโดยการวิจัย
แสดงอริยมรรคมีองค์ ๘ โดยการวิจัย ภิกษุทั้งหลาย เราได้แสดงธรรมโดยการ
วิจัยเช่นนี้ ธรรมอันเราแสดงแล้วโดยการวิจัยเช่นนี้ แต่ก็มีภิกษุบางรูปในธรรมวินัย
นี้ยังเกิดความคิดคำนึงว่า ‘เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างไร อาสวะทั้งหลายจึงสิ้นไปโดย
ลำดับ’
เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างไร อาสวะทั้งหลายจึงสิ้นไปโดยลำดับ
คือ ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของ
พระอริยะ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาด
ในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ พิจารณาเห็นรูปโดย
ความเป็นอัตตา ก็การพิจารณาเห็นนั้นจัดเป็นสังขาร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๓. ขัชชนียวรรค ๙. ปาลิเลยยสูตร

สังขารนั้นมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มี
อะไรเป็นแดนเกิด
คือ สังขารนั้นเกิดจากตัณหาที่เกิดขึ้นแก่ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ผู้ถูกความเสวย
อารมณ์ที่เกิดจากอวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว เพราะเหตุนั้น แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยง
ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น แม้ตัณหานั้นก็ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น แม้เวทนานั้น ... แม้ผัสสะนั้น ... แม้อวิชชานั้นก็ไม่เที่ยง
ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น
เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างนี้ อาสวะทั้งหลายจึงสิ้นไปโดยลำดับ
ปุถุชนไม่พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา แต่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูป
ก็การพิจารณาเห็นนั้นจัดเป็นสังขาร
สังขารนั้นมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มี
อะไรเป็นแดนเกิด
คือ สังขารนั้นเกิดจากตัณหาที่เกิดขึ้นแก่ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ผู้ถูกความเสวย
อารมณ์ที่เกิดจากอวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว เพราะเหตุนั้น แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยง
ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น แม้ตัณหานั้น ... แม้เวทนานั้น ... แม้ผัสสะนั้น
... แม้อวิชชานั้นก็ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น
เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างนี้ อาสวะทั้งหลายจึงสิ้นไปโดยลำดับ
ปุถุชนไม่พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูป
แต่พิจารณาเห็นรูปในอัตตา ก็การพิจารณาเห็นนั้นจัดเป็นสังขาร
สังขารนั้นมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มี
อะไรเป็นแดนเกิด
คือ สังขารนั้นเกิดจากตัณหาที่เกิดขึ้นแก่ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ผู้ถูกความเสวย
อารมณ์ที่เกิดจากอวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว เพราะเหตุนั้น แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยง
ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น แม้ตัณหานั้น ... แม้เวทนานั้น ... แม้ผัสสะนั้น
... แม้อวิชชานั้นก็ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๓. ขัชชนียวรรค ๙. ปาลิเลยยสูตร

เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างนี้ อาสวะทั้งหลายจึงสิ้นไปโดยลำดับ
ปุถุชนไม่พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูป
ไม่พิจารณาเห็นรูปในอัตตา แต่พิจารณาเห็นอัตตาในรูป ก็การพิจารณาเห็นนั้นจัด
เป็นสังขาร
สังขารนั้นมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มี
อะไรเป็นแดนเกิด
คือ สังขารนั้นเกิดจากตัณหาที่เกิดขึ้นแก่ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ผู้ถูกความเสวย
อารมณ์ที่เกิดจากอวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว เพราะเหตุนั้น แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยง
ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น แม้ตัณหานั้น ... แม้เวทนานั้น ... แม้ผัสสะนั้น
... แม้อวิชชานั้นก็ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น
เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างนี้ อาสวะทั้งหลายจึงสิ้นไปโดยลำดับ
ปุถุชนไม่พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูป
ไม่พิจารณาเห็นรูปในอัตตา ไม่พิจารณาเห็นอัตตาในรูป แต่พิจารณาเห็นเวทนา
โดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีเวทนา พิจารณาเห็นเวทนาในอัตตา
พิจารณาเห็นอัตตาในเวทนา พิจารณาเห็นสัญญาโดยความเป็นอัตตา ฯลฯ
พิจารณาเห็นสังขารโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีสังขาร พิจารณา
เห็นสังขารในอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาในสังขาร พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความ
เป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณ พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตา
พิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณ ก็การพิจารณาเห็นนั้นจัดเป็นสังขาร
สังขารนั้นมีอะไรเป็นเหตุ ฯลฯ มีอะไรเป็นแดนเกิด
คือ สังขารนั้นเกิดจากตัณหาที่เกิดขึ้นแก่ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ผู้ถูกความเสวย
อารมณ์ที่เกิดจากอวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว เพราะเหตุนั้น แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยง
ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น แม้ตัณหานั้น ... แม้เวทนานั้น ... แม้ผัสสะนั้น
... แม้อวิชชานั้นก็ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๓๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๓. ขัชชนียวรรค ๙. ปาลิเลยยสูตร

เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างนี้ อาสวะทั้งหลายจึงสิ้นไปโดยลำดับ
ปุถุชนไม่พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นเวทนา ... ไม่
พิจารณาเห็นสัญญา ... ไม่พิจารณาเห็นสังขาร ... ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณโดย
ความเป็นอัตตา แต่มีทิฏฐิ (ความเห็น) อย่างนี้ว่า ‘อัตตากับโลกเป็นอย่างเดียวกัน
เรานั้นละโลกนี้ไปแล้ว จักเป็นผู้เที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปร’ ก็สัสสตทิฏฐิ
(ความเห็นว่าเที่ยง) นั้นจัดเป็นสังขาร
สังขารนั้นมีอะไรเป็นเหตุ ฯลฯ
เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างนี้ อาสวะทั้งหลายจึงสิ้นไปโดยลำดับ
ปุถุชนไม่พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นเวทนา ... ไม่
พิจารณาเห็นสัญญา ... ไม่พิจารณาเห็นสังขาร ... ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณโดย
ความเป็นอัตตา ทั้งไม่มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตากับโลกเป็นอย่างเดียวกัน เรานั้น
ละโลกนี้ไปแล้วจักเป็นผู้เที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปร’ แต่มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า
‘ถ้าเราไม่พึงมี แม้บริขารของเราก็ไม่พึงมี ถ้าเราจักไม่ได้มีแล้ว แม้บริขารของเรา
ก็จักไม่มี’ ก็อุจเฉททิฏฐิ (ความเห็นว่าขาดสูญ) นั้นจัดเป็นสังขาร
สังขารนั้นมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มี
อะไรเป็นแดนเกิด
คือ สังขารนั้นเกิดจากตัณหาที่เกิดขึ้นแก่ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ผู้ถูกความเสวย
อารมณ์ที่เกิดจากอวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว เพราะเหตุนั้น แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยง
ฯลฯ
เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างนี้ อาสวะทั้งหลายจึงสิ้นไปโดยลำดับ
ปุถุชนไม่พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นเวทนา ... ไม่
พิจารณาเห็นสัญญา ... ไม่พิจารณาเห็นสังขาร ... ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณโดย
ความเป็นอัตตา ฯลฯ ไม่พิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณ ทั้งไม่มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า
‘อัตตากับโลกเป็นอย่างเดียวกัน เรานั้นละโลกนี้ไปแล้วจักเป็นผู้เที่ยงแท้ ยั่งยืน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๓. ขัชชนียวรรค ๑๐. ปุณณมสูตร

คงทน ไม่ผันแปร’ ทั้งไม่มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ถ้าเราไม่พึงมี แม้บริขารของเราก็ไม่พึงมี
ถ้าเราจักไม่ได้มีแล้ว แม้บริขารของเราก็จักไม่มี’ แต่ยังมีความสงสัย เคลือบแคลง
ไม่แน่ใจในสัทธรรม ก็ความเป็นผู้สงสัย เคลือบแคลง ไม่แน่ใจในสัทธรรมนั้นจัด
เป็นสังขาร
สังขารนั้นมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มี
อะไรเป็นแดนเกิด
คือ สังขารนั้นเกิดจากตัณหาที่เกิดขึ้นแก่ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ผู้ถูกความเสวย
อารมณ์ที่เกิดจากอวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว เพราะเหตุนั้น แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยง
ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น แม้ตัณหานั้นก็ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น แม้เวทนานั้นก็ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น
แม้ผัสสะนั้นก็ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น แม้อวิชชานั้นก็ไม่เที่ยง
ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างนี้ อาสวะทั้งหลายจึงสิ้นไปโดยลำดับ”

ปาลิเลยยสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ปุณณมสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาในคืนดวงจันทร์เต็มดวง

[๘๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปราสาทของนางวิสาขา-
มิคารมาตา ในบุพพาราม เขตกรุงสาวัตถี พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ สมัยนั้น
ในวันอุโบสถขึ้น ๑๕ ค่ำ คืนดวงจันทร์เต็มดวง พระผู้มีพระภาคทรงมีภิกษุสงฆ์
แวดล้อม ประทับนั่งในที่แจ้ง
ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งลุกจากอาสนะ ห่มผ้าเฉวียงบ่าประนมมือไปทางที่
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอทูลถามเหตุอย่างหนึ่งกับพระองค์ ถ้าพระผู้มีพระภาคทรง
ประทานวโรกาสที่จะตอบปัญหาแก่ข้าพระองค์”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๓. ขัชชนียวรรค ๑๐. ปุณณมสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ ถ้าเช่นนั้น เธอจงนั่งบนอาสนะของตน
แล้วถามปัญหาที่เธอต้องการจะถามเถิด”
ภิกษุนั้นทูลรับพระดำรัสแล้วนั่งบนอาสนะของตนได้ทูลถามปัญหากับพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ใช่ไหม คือ

๑. รูปูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือรูป)
๒. เวทนูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือเวทนา)
๓. สัญญูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสัญญา)
๔. สังขารูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสังขาร)
๕. วิญญาณูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ)”

“ภิกษุ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้แล คือ
๑. รูปูปาทานขันธ์ ฯลฯ ๕. วิญญาณูปาทานขันธ์”

มูลเหตุแห่งอุปาทานขันธ์ ๕ ประการ

ภิกษุนั้นชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า “สาธุ พระพุทธเจ้าข้า”
แล้วได้ทูลถามปัญหายิ่งขึ้นไปว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้
มีอะไรเป็นมูลเหตุ”
“ภิกษุ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ มีฉันทะเป็นมูลเหตุ” ฯลฯ
“อุปาทานกับอุปาทานขันธ์ ๕ ประการเป็นอย่างเดียวกัน หรือว่าอุปาทาน
เป็นอย่างอื่นนอกจากอุปาทานขันธ์ ๕ ประการ พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุ อุปาทานกับอุปาทานขันธ์ ๕ ประการเป็นอย่างเดียวกันก็มิใช่ ทั้ง
อุปาทานเป็นอย่างอื่นนอกจากอุปาทานขันธ์ ๕ ประการก็มิใช่ แต่ฉันทราคะใน
อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนั้นเป็นตัวอุปาทาน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๓. ขัชชนียวรรค ๑๐. ปุณณมสูตร

ฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕ ประการ
ภิกษุนั้น ฯลฯ ได้ทูลถามปัญหายิ่งขึ้นไปว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็
ฉันทราคะต่าง ๆ ในอุปาทานขันธ์ ๕ ประการ จะพึงมีได้หรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พึงมีได้ ภิกษุ” แล้วได้ตรัสต่อไปว่า “ภิกษุ
บุคคลบางคนในโลกนี้มีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘ในอนาคตกาล ขอเราพึงมีรูปเช่นนี้
มีเวทนาเช่นนี้ มีสัญญาเช่นนี้ มีสังขารเช่นนี้ มีวิญญาณเช่นนี้’
ภิกษุ ฉันทราคะต่าง ๆ ในอุปาทานขันธ์ ๕ ประการ จะพึงมีได้อย่างนี้แล”

เหตุที่เรียกว่าขันธ์

ภิกษุนั้นชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า “สาธุ พระพุทธเจ้าข้า”
แล้วได้ทูลถามปัญหายิ่งขึ้นไปว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร ขันธ์
จึงชื่อว่าขันธ์”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต
อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต
ไกลหรือใกล้ก็ตาม นี้เรียกว่า รูปขันธ์
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ...
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายใน
หรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ก็ตาม นี้เรียกว่า
วิญญาณขันธ์
ภิกษุ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ขันธ์จึงชื่อว่าขันธ์”

เหตุปัจจัยแห่งขันธ์

ภิกษุนั้นชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า “สาธุ พระพุทธเจ้าข้า”
แล้วได้ทูลถามปัญหายิ่งขึ้นไปว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๓๖ }


>>>>> หน้าต่อไป >>>>>





eXTReMe Tracker