ค้นว่าอยู่เล่มใด แล้วกด [ctrl]+f หรือใช้คำสั่งของเครื่องหาตำแหน่งในเล่มอีกทีนะครับ



จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อความสะดวก และสวยงาม
(เฉพาะหน้าจอใหญ่ เช่น คอมพิวเตอร์)
กรุณาคลิก จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อให้กรอบ
ค้นข้อความ ปรากฎที่ด้านซ้ายของหน้า

พระไตรปิฎกภาษาไทย
ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม (ปกสีฟ้า)
ทั้งออนไลน์และออฟไลน์
ที่มาของข้อมูล : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มจร.
MCUTRAI Version 1.0

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๘-๓ วินัยปิฎกที่ ๐๘ ปริวาร

พระวินัยปิฎก
ปริวาร
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล] กติปุจฉาวาร
อันตรเปยยาล
ว่าด้วยการละข้อความในระหว่าง

กติปุจฉาวาร
วาระว่าด้วยการถามว่ามีเท่าไร
[๒๗๑] ถาม : อาบัติมีเท่าไร กองอาบัติมีเท่าไร วินีตวัตถุมีเท่าไร ความไม่
เคารพมีเท่าไร ความเคารพมีเท่าไร วินีตวัตถุมีเท่าไร วิบัติมีเท่าไร สมุฏฐานแห่ง
อาบัติมีเท่าไร มูลแห่งวิวาทมีเท่าไร มูลแห่งการโจทมีเท่าไร สาราณียธรรม(ธรรม
เป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกัน)มีเท่าไร สังฆเภท(เรื่องทำความแตกร้าว)มีเท่าไร
อธิกรณ์มีเท่าไร สมถะมีเท่าไร
ตอบ : อาบัติมี ๕ กองอาบัติมี ๕ วินีตวัตถุมี ๕ อาบัติมี ๗ กองอาบัติมี
๗ วินีตวัตถุมี ๗ ความไม่เคารพมี ๖ ความเคารพมี ๖ วินีตวัตถุมี ๖ วิบัติมี ๔
สมุฏฐานแห่งอาบัติมี ๖ มูลแห่งวิวาทมี ๖ มูลแห่งการโจทมี ๖ สาราณียธรรม
มี ๖ สังฆเภทมี ๑๘ อธิกรณ์มี ๔ สมถะมี ๗
อาบัติ ๕
ในหัวข้อเหล่านั้น อาบัติ ๕ เป็นไฉน คือ
๑. อาบัติปาราชิก ๒. อาบัติสังฆาทิเสส
๓. อาบัติปาจิตตีย์ ๔. อาบัติปาฏิเทสนียะ
๕. อาบัติทุกกฏ
นี้คืออาบัติ ๕ อย่าง
กองอาบัติ ๕
ในหัวข้อเหล่านั้น กองอาบัติ ๕ เป็นไฉน คือ
๑. กองอาบัติปาราชิก ๒. กองอาบัติสังฆาทิเสส
๓. กองอาบัติปาจิตตีย์ ๔. กองอาบัติปาฏิเทสนียะ
๕. กองอาบัติทุกกฏ
นี้คือกองอาบัติ ๕ กอง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๖๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล] กติปุจฉาวาร
วินีตวัตถุ ๕
ในหัวข้อเหล่านั้น วินีตวัตถุ ๕ เป็นไฉน คือ
๑. การเว้นไกล ๒. การเว้นขาด
๓. การงดเว้น ๔. เจตนาเครื่องงดเว้นจากกอง
อาบัติ ๕
๕. ความไม่ประกอบ การไม่ทำ การไม่แกล้งต้อง การไม่ละเมิดเวลา
การกำจัดด้วยอริยมรรคชื่อเสตุ
นี้คือวินีตวัตถุ ๕ อย่าง
อาบัติ ๗
ในหัวข้อเหล่านั้น อาบัติ ๗ เป็นไฉน คือ

๑. อาบัติปาราชิก ๒. อาบัติสังฆาทิเสส
๓. อาบัติถุลลัจจัย ๔. อาบัติปาจิตตีย์
๕. อาบัติปาฏิเทสนียะ ๖. อาบัติทุกกฏ
๗. อาบัติทุพภาสิต

นี้คืออาบัติ ๗ อย่าง
กองอาบัติ ๗
ในหัวข้อเหล่านั้น กองอาบัติ ๗ เป็นไฉน คือ

๑. กองอาบัติปาราชิก ๒. กองอาบัติสังฆาทิเสส
๓. กองอาบัติถุลลัจจัย ๔. กองอาบัติปาจิตตีย์
๕. กองอาบัติปาฏิเทสนียะ ๖. กองอาบัติทุกกฏ
๗. กองอาบัติทุพภาสิต

นี้คือกองอาบัติ ๗ กอง
วินีตวัตถุ ๗
ในหัวข้อเหล่านั้น วินีตวัตถุ ๗ เป็นไฉน คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๖๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล] กติปุจฉาวาร

๑. การเว้นไกล ๒. การเว้นขาด
๓. การงดเว้น ๔. เจตนาเครื่องงดเว้นจากกอง
อาบัติ ๗
๕. ความไม่ประกอบ ๖. การไม่ทำ การไม่แกล้งต้อง
การไม่ละเมิดเวลา
๗. การกำจัดด้วยอริยมรรคชื่อเสตุ

นี้คือวินีตวัตถุ ๗ อย่าง
ความไม่เคารพ ๖
ในหัวข้อเหล่านั้น ความไม่เคารพ ๖ เป็นไฉน คือ

๑. ความไม่เคารพในพระพุทธเจ้า ๒. ความไม่เคารพในพระธรรม
๓. ความไม่เคารพในพระสงฆ์ ๔. ความไม่เคารพในสิกขา
๕. ความไม่เคารพในอัปปมาทธรรม ๖. ความไม่เคารพในปฏิสันถาร

นี้คือความไม่เคารพ ๖ ประการ
ความเคารพ ๖
ในหัวข้อเหล่านั้น ความเคารพ ๖ เป็นไฉน คือ

๑. ความเคารพในพระพุทธเจ้า ๒. ความเคารพในพระธรรม
๓. ความเคารพในพระสงฆ์ ๔. ความเคารพในสิกขา
๕. ความเคารพในอัปปมาทธรรม ๖. ความเคารพในปฏิสันถาร

นี้คือความเคารพ ๖ ประการ
วินีตวัตถุ ๖
ในหัวข้อเหล่านั้น วินีตวัตถุ ๖ เป็นไฉน คือ

๑. การเว้นไกล ๒. การเว้นขาด
๓. การงดเว้น ๔. เจตนาเครื่องงดเว้นจากความ
ไม่เคารพ ๖


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๖๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล] กติปุจฉาวาร
๕. ความไม่ประกอบ การไม่ทำ การไม่แกล้งต้อง การไม่ละเมิดเวลา
๖. การกำจัดด้วยอริยมรรคชื่อเสตุ
นี้คือวินีตวัตถุ ๖ ประการ
วิบัติ ๔
ในหัวข้อเหล่านั้น วิบัติ ๔ เป็นไฉน คือ
๑. สีลวิบัติ ๒. อาจารวิบัติ
๓. ทิฏฐิวิบัติ ๔. อาชีววิบัติ
นี้คือวิบัติ ๔ อย่าง
สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
ในหัวข้อเหล่านั้น สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ เป็นไฉน คือ
๑. อาบัติเกิดทางกาย มิใช่เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทางจิต
๒. อาบัติเกิดทางวาจา มิใช่เกิดทางกาย มิใช่เกิดทางจิต
๓. อาบัติเกิดทางกายกับวาจา มิใช่เกิดทางจิต
๔. อาบัติเกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา
๕. อาบัติเกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย
๖. อาบัติเกิดทางกายวาจากับจิต
นี้คือสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
มูลเหตุแห่งวิวาท ๖๑
[๒๗๒] ในหัวข้อเหล่านั้น มูลเหตุแห่งวิวาท ๖ ประการ คือ

เชิงอรรถ :
๑ วิ.จู. (แปล) ๖/๒๑๖/๓๓๒-๓๓๔, องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๓๖/๔๘๔-๔๘๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๖๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล] กติปุจฉาวาร
ภิกษุในธรรมวินัย
๑. เป็นผู้มักโกรธ ผูกโกรธไว้ ภิกษุใดเป็นผู้มักโกรธ ผูกโกรธไว้ ภิกษุนั้น
ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระศาสดา ไม่มีความเคารพ
ไม่มีความยำเกรงในพระธรรม ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง
ในพระสงฆ์ และไม่ทำสิกขาให้บริบูรณ์ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่
มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระศาสดา ไม่มีความเคารพ
ไม่มีความยำเกรงในพระธรรม ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง
ในพระสงฆ์ และไม่ทำสิกขาให้บริบูรณ์ ย่อมก่อวิวาทให้เกิดขึ้นใน
สงฆ์ ซึ่งเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุขแก่คนหมู่มาก
เพื่อไม่ใช่ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดา
และมนุษย์ทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเธอทั้งหลายพิจารณา เห็นมูล
เหตุแห่งวิวาทเช่นนี้ภายในหรือภายนอก เธอทั้งหลายพึงพยายาม
เพื่อละมูลเหตุแห่งวิวาทเช่นนี้ที่เป็นบาปภายในหรือภายนอกนั้นแล
ถ้าเธอทั้งหลายไม่พิจารณาเห็นมูลเหตุแห่งวิวาทเช่นนี้ภายในหรือ
ภายนอก เธอทั้งหลายพึงปฏิบัติเพื่อให้มูลเหตุแห่งวิวาทที่เป็นบาปนั้น
แลยืดเยื้อต่อไป การละมูลเหตุแห่งวิวาทที่เป็นบาปนั้นย่อมมีได้ และ
มูลเหตุแห่งวิวาทที่เป็นบาปนั้น ย่อมไม่ยืดเยื้อต่อไป
๒. เป็นผู้ลบหลู่ ตีเสมอ ฯลฯ
๓. เป็นผู้ริษยา มีความตระหนี่ ฯลฯ
๔. เป็นผู้โอ้อวด มีมายา ฯลฯ
๕. เป็นผู้มีความปรารถนาชั่วเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ
๖. เป็นผู้ยึดมั่นทิฏฐิของตน มีความถือรั้น สละสิ่งที่ตนถือมั่นได้ยาก
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใด เป็นผู้ยึดมั่นทิฏฐิของตน มีความถือรั้น
สละสิ่งที่ตนยึดมั่นได้ยาก ภิกษุนั้นไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง
ในพระศาสดา ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระธรรม ไม่มี
ความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระสงฆ์ และไม่ทำสิกขาให้บริบูรณ์
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระศาสดา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๖๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล] กติปุจฉาวาร
ฯลฯ และไม่ทำสิกขาให้บริบูรณ์ ย่อมก่อวิวาท ให้เกิดขึ้นในสงฆ์
ซึ่งเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุขแก่คนหมู่มาก
เพื่อไม่ใช่ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดา
และมนุษย์ทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเธอทั้งหลายพิจารณาเห็น
มูลเหตุแห่งวิวาทเช่นนี้ทั้งภายในหรือภายนอก เธอทั้งหลายพึง
พยายามเพื่อละมูลเหตุแห่งวิวาทเช่นนี้ที่เป็นบาปภายในหรือภายนอก
นั้นแล ถ้าเธอทั้งหลายไม่พิจารณาเห็นมูลเหตุแห่งวิวาทเช่นนี้ภายใน
หรือภายนอก เธอทั้งหลายพึงปฏิบัติเพื่อให้มูลเหตุแห่งวิวาทที่
เป็นบาปนั้นแลยืดเยื้อต่อไป การละมูลเหตุแห่งวิวาทที่เป็นบาปนั้น
ย่อมมีได้ และมูลเหตุแห่งวิวาทที่เป็นบาปนั้น ย่อมไม่ยืดเยื้อต่อไป

มูลเหตุแห่งการโจท ๖
[๒๗๓] ในหัวข้อเหล่านั้น มูลเหตุแห่งการโจท ๖ ประการ คือ
ภิกษุในธรรมวินัย
๑. เป็นผู้มักโกรธ ผูกโกรธไว้ ภิกษุใดเป็นผู้มักโกรธ ผูกโกรธไว้ ภิกษุนั้น
ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระศาสดา ไม่มีความเคารพ
ไม่มีความยำเกรงในพระธรรม ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง
ในพระสงฆ์ และไม่ทำสิกขาให้บริบูรณ์ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่มี
ความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระศาสดา ไม่มีความเคารพ
ไม่มีความยำเกรงในพระธรรม ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง
ในพระสงฆ์ และไม่ทำสิกขาให้บริบูรณ์ ย่อมก่อการโจทให้เกิดขึ้น
ในสงฆ์ ซึ่งเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุขแก่คนหมู่
มาก เพื่อไม่ใช่ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเธอทั้งหลายพิจารณา
เห็นมูลเหตุแห่งการโจทเช่นนี้ภายในหรือภายนอก เธอทั้งหลายพึง
พยายามเพื่อละมูลเหตุแห่งการโจทเช่นนี้ที่เป็นบาปภายในหรือภาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๖๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล] กติปุจฉาวาร
นอกนั้นแล ถ้าเธอทั้งหลายไม่พิจารณาเห็นมูลเหตุแห่งการโจท
เช่นนี้ภายในหรือภายนอก เธอทั้งหลายพึงปฏิบัติเพื่อให้มูลเหตุ
แห่งการโจทที่เป็นบาปนั้นแลยืดเยื้อต่อไป การละมูลเหตุแห่งการโจท
ที่เป็นบาปนั้นย่อมมีได้ และมูลเหตุแห่งการโจท ที่เป็นบาปนั้น
ย่อมไม่ยืดเยื้อต่อไป
๒. เป็นผู้ลบหลู่ ตีเสมอ ฯลฯ
๓. เป็นผู้ริษยา มีความตระหนี่ ฯลฯ
๔. เป็นผู้โอ้อวด มีมายา ฯลฯ
๕. เป็นผู้มีความปรารถนาชั่วเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ
๖. เป็นผู้ยึดมั่นทิฏฐิของตน มีความถือรั้น สละสิ่งที่ตนถือมั่นได้ยาก
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใด เป็นผู้ยึดมั่นทิฏฐิของตน มีความถือรั้น สละ
สิ่งที่ตนยึดมั่นได้ยาก ภิกษุนั้นไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง
ในพระศาสดา ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระธรรม
ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระสงฆ์ และไม่ทำสิกขาให้
บริบูรณ์ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง
ในพระศาสดา ฯลฯ และไม่ทำสิกขาให้บริบูรณ์ ย่อมก่อการโจท
ให้เกิดขึ้นในสงฆ์ ซึ่งเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุข
แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อ
ทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเธอทั้งหลาย
พิจารณาเห็นมูลเหตุแห่งการโจทเช่นนี้ ทั้งภายในหรือภายนอก
เธอทั้งหลาย พึงพยายามเพื่อละมูลเหตุแห่งการโจทที่เป็นบาปนั้นแล
ทั้งภายในหรือภายนอกนั้น ถ้าเธอทั้งหลายไม่พิจารณาเห็นมูลเหตุ
แห่งการโจทเช่นนี้ ภายในหรือภายนอก เธอทั้งหลายพึงปฏิบัติ เพื่อ
ให้มูลเหตุแห่งการโจทที่เป็นบาปนั้นแลไม่ยืดเยื้อต่อไป การละ
มูลเหตุแห่งการโจทที่เป็นบาปนั้นย่อมมีได้ และมูลเหตุแห่งการโจท
ที่เป็นบาปนั้น ย่อมไม่ยืดเยื้อต่อไป
ภิกษุทั้งหลาย มูลเหตุแห่งการโจท ๖ ประการนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๖๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล] กติปุจฉาวาร
สาราณียธรรม ๖ ประการ๑
[๒๗๔] ในหัวข้อเหล่านั้น สาราณียธรรม ๖ ประการ คือ
ภิกษุในธรรมวินัย
๑. ตั้งมั่นเมตตากายกรรมในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและ
ลับหลัง แม้นี้ก็เป็นสาราณียธรรมที่ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ
เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความ
สามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
๒. ตั้งมั่นเมตตาวจีกรรม ฯลฯ
๓. ตั้งมั่นเมตตามโนกรรมในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและ
ลับหลัง แม้นี้ก็เป็นสาราณียธรรมที่ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ
เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความ
สามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
๔. บริโภคโดยไม่แบ่งแยกลาภทั้งหลายที่ประกอบด้วยธรรม ได้มาโดย
ธรรม โดยที่สุดแม้เพียงบิณฑบาต บริโภคร่วมกับพรหมจารีทั้ง
หลาย ผู้มีศีล แม้นี้ก็เป็นสาราณียธรรมที่ทำให้เป็นที่รัก ทำให้
เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน
เพื่อความสามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
๕. มีศีลที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท ท่านผู้รู้สรรเสริญ
ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ เป็นไปเพื่อสมาธิเสมอกันกับเพื่อน
พรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง แม้นี้ก็เป็นสาราณียธรรม
ที่ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน
เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
๖. มีอริยทิฏฐิ อันเป็นธรรมเครื่องนำออกเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบแก่
ผู้ทำตาม เสมอกันกับเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและ

เชิงอรรถ :
๑ ที.ปา. (แปล) ๑๑/๓๒๔/๓๒๑-๓๒๒, องฺ.ฉกฺก.(แปล) ๒๒/๑๒/๔๒๗-๔๒๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๖๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล] กติปุจฉาวาร
ลับหลัง แม้นี้ก็เป็นสาราณียธรรมที่ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ
เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความ
สามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
สาราณียธรรม ๖ ประการนี้แล

สังฆเภท ๑๘ ประการ๑
[๒๗๕] ในหัวข้อเหล่านั้น เรื่องทำความแตกร้าวกัน ๑๘ ประการ เป็นไฉน คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. แสดงอธรรมว่า เป็นธรรม
๒. แสดงธรรมว่า เป็นอธรรม
๓. แสดงสิ่งที่มิใช่วินัยว่า เป็นวินัย
๔. แสดงวินัยว่า มิใช่วินัย
๕. แสดงสิ่งที่พระตถาคตมิได้ภาษิตไว้ มิได้ตรัสไว้ว่า พระตถาคตได้ภาษิตไว้
ได้ตรัสไว้
๖. แสดงสิ่งที่พระตถาคตได้ภาษิตไว้ ได้ตรัสไว้ว่า พระตถาคตมิได้ภาษิตไว้
มิได้ตรัสไว้
๗. แสดงจริยาวัตรที่พระตถาคตไม่ได้ทรงประพฤติมาว่า พระตถาคต
ได้ทรงประพฤติมา
๘. แสดงจริยาวัตรที่พระตถาคตได้ทรงประพฤติมาว่า พระตถาคตไม่ได้
ทรงประพฤติมา
๙. แสดงสิ่งที่พระตถาคตไม่ได้ทรงบัญญัติไว้ว่า พระตถาคตได้ทรง
บัญญัติไว้
๑๐. แสดงสิ่งที่พระตถาคตได้ทรงบัญญัติไว้ว่า พระตถาคตไม่ได้ทรง
บัญญัติไว้

เชิงอรรถ :
๑ วิ.ม. (แปล) ๕/๔๖๘/๓๒๓-๓๖๓, วิ.จู. (แปล) ๗/๓๕๒/๒๑๔, องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๓๘/๘๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๖๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล] กติปุจฉาวาร
๑๑. แสดงอาบัติว่า เป็นอนาบัติ
๑๒. แสดงอนาบัติว่า เป็นอาบัติ
๑๓. แสดงอาบัติเบาว่า เป็นอาบัติหนัก
๑๔. แสดงอาบัติหนักว่า เป็นอาบัติเบา
๑๕. แสดงอาบัติที่มีส่วนเหลือว่า เป็นอาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือ
๑๖. แสดงอาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือว่า เป็นอาบัติที่มีส่วนเหลือ
๑๗. แสดงอาบัติชั่วหยาบว่า เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ
๑๘. แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า เป็นอาบัติชั่วหยาบ
นี้คือ เรื่องทำความแตกร้าวกัน ๑๘ ประการ
อธิกรณ์ ๔
ในหัวข้อเหล่านั้น อธิกรณ์ ๔ เป็นไฉน คือ
๑. วิวาทาธิกรณ์ ๒. อนุวาทาธิกรณ์
๓. อาปัตตาธิกรณ์ ๔. กิจจาธิกรณ์
นี้คืออธิกรณ์ ๔ อย่าง
สมถะ ๗
ในหัวข้อเหล่านั้น สมถะ ๗ เป็นไฉน คือ
๑. สัมมุขาวินัย ๒. สติวินัย
๓. อมูฬหวินัย ๔. ปฏิญญาตกรณะ
๕. เยภุยยสิกา ๖. ตัสสปาปิยสิกา
๗. ติณวัตถารกะ
นี้คือสมถะ ๗ อย่าง
กติปุจฉาวาร จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๗๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล] ๑. ฉอาปัตติสมุฏฐานวาร
หัวข้อประจำวาร
อาบัติ กองอาบัติ วินีตวัตถุ และอาบัติ กองอาบัติ วินีตวัตถุ
อีกอย่างละ ๗ ความไม่เคารพ ความเคารพ
วินีตวัตถุอีก ๗ วิบัติ สมุฏฐานแห่งอาบัติ
มูลแห่งการวิวาทและการโจท
สาราณียธรรม สังฆเภท อธิกรณ์ และสมถะ ๗
พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว รวมเป็น ๑๗ บท

๑. ฉอาปัตติสมุฏฐานวาร
วาระว่าด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
[๒๗๖] ถาม : ด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติข้อที่ ๑ ภิกษุต้องอาบัติปาราชิกหรือ
ตอบ : ไม่ต้องเลย
ถาม : ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือ
ตอบ : ต้องก็มี
ถาม : ต้องอาบัติถุลลัจจัยหรือ
ตอบ : ต้องก็มี
ถาม : ต้องอาบัติปาจิตตีย์หรือ
ตอบ : ต้องก็มี
ถาม : ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะหรือ
ตอบ : ต้องก็มี
ถาม : ต้องอาบัติทุกกฏหรือ
ตอบ : ต้องก็มี
ถาม : ต้องทุพภาสิตหรือ
ตอบ : ไม่ต้องเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๗๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล] ๑. ฉอาปัตติสมุฏฐานวาร
ถาม : ด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติที่ ๒ ภิกษุต้องอาบัติปาราชิกหรือ
ตอบ : ไม่ต้องเลย
ถาม : ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือ
ตอบ : ต้องก็มี
ถาม : ต้องอาบัติถุลลัจจัยหรือ
ตอบ : ต้องก็มี
ถาม : ต้องอาบัติปาจิตตีย์หรือ
ตอบ : ต้องก็มี
ถาม : ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะหรือ
ตอบ : ไม่ต้องเลย
ถาม : ต้องอาบัติทุกกฏหรือ
ตอบ : ต้องก็มี
ถาม : ต้องทุพภาสิตหรือ
ตอบ : ไม่ต้องเลย
ถาม : ด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติที่ ๓ ภิกษุต้องอาบัติปาราชิกหรือ
ตอบ : ไม่ต้องเลย
ถาม : ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือ
ตอบ : ต้องก็มี
ถาม : ต้องอาบัติถุลลัจจัยหรือ
ตอบ : ต้องก็มี
ถาม : ต้องอาบัติปาจิตตีย์หรือ
ตอบ : ต้องก็มี
ถาม : ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะหรือ
ตอบ : ต้องก็มี
ถาม : ต้องอาบัติทุกกฏหรือ
ตอบ : ต้องก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๗๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล] ๑.ฉอาปัตติสมุฏฐานวาร
ถาม : ต้องทุพภาสิตหรือ
ตอบ : ไม่ต้องเลย
ถาม : ด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติที่ ๔ ภิกษุต้องอาบัติปาราชิกหรือ
ตอบ : ต้องก็มี
ถาม : ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือ
ตอบ : ต้องก็มี
ถาม : ต้องอาบัติถุลลัจจัยหรือ
ตอบ : ต้องก็มี
ถาม : ต้องอาบัติปาจิตตีย์หรือ
ตอบ : ต้องก็มี
ถาม : ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะหรือ
ตอบ : ต้องก็มี
ถาม : ต้องอาบัติทุกกฏหรือ
ตอบ : ต้องก็มี
ถาม : ต้องทุพภาสิตหรือ
ตอบ : ไม่ต้องเลย
ถาม : ด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติที่ ๕ ภิกษุต้องอาบัติปาราชิกหรือ
ตอบ : ต้องก็มี
ถาม : ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือ
ตอบ : ต้องก็มี
ถาม : ต้องอาบัติถุลลัจจัยหรือ
ตอบ : ต้องก็มี
ถาม : ต้องอาบัติปาจิตตีย์หรือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๗๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล] ๑.ฉอาปัตติสมุฏฐานวาร
ตอบ : ต้องก็มี
ถาม : ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะหรือ
ตอบ : ไม่ต้องเลย
ถาม : ต้องอาบัติทุกกฏหรือ
ตอบ : ต้องก็มี
ถาม : ต้องทุพภาสิตหรือ
ตอบ : ต้องก็มี
ถาม : ด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติที่ ๖ ภิกษุต้องอาบัติปาราชิกหรือ
ตอบ : ต้องก็มี
ถาม : ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือ
ตอบ : ต้องก็มี
ถาม : ต้องอาบัติถุลลัจจัยหรือ
ตอบ : ต้องก็มี
ถาม : ต้องอาบัติปาจิตตีย์หรือ
ตอบ : ต้องก็มี
ถาม : ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะหรือ
ตอบ : ต้องก็มี
ถาม : ต้องอาบัติทุกกฏหรือ
ตอบ : ต้องก็มี
ถาม : ต้องทุพภาสิตหรือ
ตอบ : ไม่ต้องเลย
ฉอาปัตติสมุฏฐานวารที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๗๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล] ๒. กตาปัตติวาร
๒. กตาปัตติวาร
วาระว่าด้วยต้องอาบัติเท่าไร
[๒๗๗] ถาม : ด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติข้อที่ ๑ ภิกษุต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : ด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติข้อที่ ๑ ภิกษุต้องอาบัติ ๕ อย่าง คือ
๑. ภิกษุมีความสำคัญว่าควร สร้างกุฎีซึ่งสงฆ์ไม่ได้แสดงพื้นที่ให้ เกิน
ขนาด มีอันตราย ไม่มีบริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะ
พยายาม
๒. ยังเหลืออิฐอีกก้อนหนึ่งจึงจะเสร็จ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. อิฐก้อนสุดท้ายเสร็จแล้ว ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
๔. ภิกษุมีความสำคัญว่าควร ฉันโภชนะในเวลาวิกาล ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๕. ภิกษุมีความสำคัญว่าควร รับของเคี้ยวหรือของฉันจากมือภิกษุณี
ผู้ไม่ใช่ญาติ ผู้เข้าไปสู่ละแวกบ้าน ด้วยมือของตนมาฉัน ต้องอาบัติ
ปาฏิเทสนียะ
ด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติข้อที่ ๑ ภิกษุต้องอาบัติ ๕ อย่างเหล่านี้
ถาม : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติเท่าไร บรรดากอง
อาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติเท่าไร บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอธิกรณ์ไหน บรรดาสมถะ
๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติ ๒ อย่าง คือ
(๑) สีลวิบัติ (๒) อาจารวิบัติ
บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติ ๕ กอง คือ (๑) กองอาบัติ
สังฆาทิเสส (๒) กองอาบัติถุลลัจจัย (๓) กองอาบัติปาจิตตีย์ (๔) กองอาบัติ
ปาฏิเทสนียะ (๕) กองอาบัติทุกกฏ
บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ
เกิดทางกาย มิใช่เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทางจิต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๗๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล] ๒. กตาปัตติวาร
บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์
บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย
(๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) สัมมุขาวินัยและติณวัตถารกะ
[๒๗๘] ถาม : ด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติข้อที่ ๒ ภิกษุต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : ด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติข้อที่ ๒ ภิกษุต้องอาบัติ ๔ อย่าง คือ
๑. ภิกษุมีความสำคัญว่าควร สั่งว่า “จงสร้างกุฎีให้เรา” ผู้รับคำสั่ง
สร้างกุฎีให้ภิกษุนั้น ซึ่งสงฆ์ไม่ได้แสดงพื้นที่ให้ สร้างเกินขนาด เป็น
พื้นที่มีอันตราย ไม่มีบริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะ
พยายาม
๒. ยังเหลืออิฐก้อนหนึ่งจึงจะเสร็จ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. อิฐก้อนสุดท้ายเสร็จแล้ว ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
๔. ภิกษุมีความสำคัญว่าควร สอนอนุปสัมบันให้กล่าวธรรมแข่งกันเป็น
บท ๆ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติข้อที่ ๒ ภิกษุต้องอาบัติ ๔ อย่างเหล่านี้
ถาม : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติเท่าไร ฯลฯ
บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติ ๒ อย่าง คือ
(๑) สีลวิบัติ (๒) อาจารวิบัติ
บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติ ๔ กอง คือ (๑) กองอาบัติ
สังฆาทิเสส (๒) กองอาบัติถุลลัจจัย (๓) กองอาบัติปาจิตตีย์ (๔) กองอาบัติ
ทุกกฏ
บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ
เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทางกาย มิใช่เกิดทางจิต
บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๗๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล] ๒. กตาปัตติวาร
บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย
(๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) สัมมุขาวินัยและติณวัตถารกะ
[๒๗๙] ถาม : ด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติข้อที่ ๓ ภิกษุต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : ด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติข้อที่ ๓ ภิกษุต้องอาบัติ ๕ อย่าง คือ
๑. ภิกษุมีความสำคัญว่าควร สร้างกุฎีซึ่งสงฆ์ไม่ได้แสดงพื้นที่ให้ เกิน
ขนาด มีอันตราย ไม่มีบริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะ
พยายาม
๒. ยังเหลืออิฐอีกก้อนหนึ่งจึงจะเสร็จ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. อิฐก้อนสุดท้ายเสร็จแล้ว ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
๔. ภิกษุมีความสำคัญว่าควร ออกปากขอโภชนะอันประณีตมาเพื่อ
ประโยชน์ตนแล้วฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๕. ภิกษุมีความสำคัญว่าควร ไม่ห้ามภิกษุณีผู้คอยบงการฉันอยู่ ต้อง
อาบัติปาฏิเทสนียะ
ด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติข้อที่ ๓ ภิกษุต้องอาบัติ ๕ อย่างเหล่านี้
ถาม : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติเท่าไร ฯลฯ ระงับ
ด้วยสมถะเท่าไร บรรดาสมถะ ๗ อย่าง
ตอบ : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติ ๒ อย่าง คือ
(๑) สีลวิบัติ (๒) อาจารวิบัติ
บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติ ๕ กอง คือ (๑) กองอาบัติ
สังฆาทิเสส (๒) กองอาบัติถุลลัจจัย (๓) กองอาบัติปาจิตตีย์ (๔) กองอาบัติ
ปาฏิเทสนียะ (๕) กองอาบัติทุกกฏ
บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน
คือ เกิดทางกายกับวาจา มิใช่เกิดทางจิต
บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์
บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย
(๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) สัมมุขาวินัยและติณวัตถารกะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๗๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล] ๒. กตาปัตติวาร
[๒๘๐] ถาม : ด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติข้อที่ ๔ ภิกษุต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : ด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติข้อที่ ๔ ภิกษุต้องอาบัติ ๖ อย่าง คือ
๑. ภิกษุเสพเมถุนธรรม ต้องอาบัติปาราชิก
๒. ภิกษุมีความสำคัญว่าไม่ควร สร้างกุฎีด้วยการขอเอาเอง ซึ่งสงฆ์
ไม่ได้แสดงพื้นที่ให้ เกินขนาด มีอันตราย ไม่มีบริเวณโดยรอบ
ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๓. ยังเหลืออิฐอีกก้อนหนึ่งจึงจะเสร็จ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๔. อิฐก้อนสุดท้ายเสร็จแล้ว ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
๕. ภิกษุมีความสำคัญว่าไม่ควร ฉันโภชนะในเวลาวิกาล ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
๖. ภิกษุมีความสำคัญว่าไม่ควร รับของเคี้ยวหรือของฉันจากมือภิกษุณี
ที่ไม่ใช่ญาติ ผู้เข้าไปสู่ละแวกบ้าน ด้วยมือของตนมาฉัน ต้องอาบัติ
ปาฏิเทสนียะ
ด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติข้อที่ ๔ ภิกษุต้องอาบัติ ๖ อย่างเหล่านี้
ถาม : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติเท่าไร ฯลฯ
บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติ ๒ อย่าง คือ
(๑) สีลวิบัติ (๒) อาจารวิบัติ
บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติ ๖ กอง คือ (๑) กองอาบัติ
ปาราชิก (๒) กองอาบัติสังฆาทิเสส (๓) กองอาบัติถุลลัจจัย (๔) กองอาบัติปาจิตตีย์
(๕) กองอาบัติปาฏิเทสนียะ (๖) กองอาบัติทุกกฏ
บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน
คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา
บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๗๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล] ๒. กตาปัตติวาร
บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย
(๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) สัมมุขาวินัยและติณวัตถารกะ
[๒๘๑] ถาม : ด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติข้อที่ ๕ ภิกษุต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : ด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติข้อที่ ๕ ภิกษุต้องอาบัติ ๖ อย่าง คือ
๑. ภิกษุมีความปรารถนาชั่วช้า ถูกความอยากครอบงำ กล่าวอวด
อุตตริมนุสสธรรมที่ไม่มีอยู่ ไม่เป็นจริง ต้องอาบัติปาราชิก
๒. ภิกษุมีความสำคัญว่าไม่ควร สั่งว่า “จงสร้างกุฎีให้เรา” ผู้รับคำสั่ง
สร้างกุฎีให้แก่ภิกษุนั้น ซึ่งสงฆ์ไม่ได้แสดงพื้นที่ให้ สร้างเกินขนาด
เป็นพื้นที่มีอันตราย ไม่มีบริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะ
พยายาม
๓. ยังเหลืออิฐอีกก้อนหนึ่งจึงจะเสร็จ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๔. อิฐก้อนสุดท้ายเสร็จแล้ว ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
๕. ภิกษุมีความสำคัญว่าไม่ควร สอนอนุปสัมบันให้กล่าวธรรมแข่งกัน
เป็นบท ๆ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๖. ภิกษุไม่ต้องการจะด่า ไม่ต้องการจะสบประมาท ไม่ต้องการจะทำ
ให้เก้อเขิน ต้องการจะเล่น กล่าวกับอุปสัมบันชาติกำเนิดต่ำ
ด้วยถ้อยคำบ่งถึงชาติกำเนิดต่ำ ต้องอาบัติทุพภาสิต
ด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติข้อที่ ๕ ภิกษุต้องอาบัติ ๖ อย่างเหล่านี้
ถาม : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติเท่าไร ฯลฯ
บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติ ๒ อย่าง คือ
(๑) สีลวิบัติ (๒) อาจารวิบัติ
บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติ ๖ กอง คือ (๑) กองอาบัติปาราชิก
(๒) กองอาบัติสังฆาทิเสส (๓) กองอาบัติถุลลัจจัย (๔) กองอาบัติปาจิตตีย์
(๕) กองอาบัติทุกกฏ (๖) กองอาบัติทุพภาสิต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๗๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล] ๒. กตาปัตติวาร
บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน
คือ เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย
บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์
บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย
(๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) สัมมุขาวินัยและติณวัตถารกะ
[๒๘๒] ถาม : ด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติข้อที่ ๖ ภิกษุต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : ด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติข้อที่ ๖ ภิกษุต้องอาบัติ ๖ อย่างคือ
๑. ภิกษุชวนกันไปลักทรัพย์ ต้องอาบัติปาราชิก
๒. ภิกษุมีความสำคัญว่าไม่ควร สร้างกุฎีซึ่งสงฆ์ไม่ได้แสดงพื้นที่ให้
เกินขนาด มีอันตราย ไม่มีบริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ
เพราะพยายาม
๓. ยังเหลืออิฐอีกก้อนหนึ่งจึงจะเสร็จ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๔. อิฐก้อนสุดท้ายเสร็จแล้ว ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
๕. ภิกษุมีความสำคัญว่าไม่ควร ออกปากขอโภชนะอันประณีตมาเพื่อ
ประโยชน์แก่ตนแล้วฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๖. ภิกษุมีความสำคัญว่าไม่ควร ไม่ห้ามภิกษุณีผู้คอยบงการ ฉันอยู่
ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ
ด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติข้อที่ ๖ ภิกษุต้องอาบัติ ๖ อย่างเหล่านี้
ถาม : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติเท่าไร บรรดากอง
อาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติเท่าไร บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอธิกรณ์ไหน บรรดาสมถะ
๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติ ๒ อย่าง คือ
(๑) สีลวิบัติ (๒) อาจารวิบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๘๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล] ๓. อาปัตติสมุฏฐานคาถา
บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติ ๖ กอง คือ (๑) กองอาบัติ
ปาราชิก (๒) กองอาบัติสังฆาทิเสส (๓) กองอาบัติถุลลัจจัย (๔) กองอาบัติ
ปาจิตตีย์ (๕) กองอาบัติปาฏิเทสนียะ (๖) กองอาบัติทุกกฏ
บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ
เกิดทางกายวาจากับจิต
บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์
บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย
(๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) สัมมุขาวินัยและติณวัตถารกะ
กตาปัตติวารแห่งสมุฏฐานวารแห่งอาบัติ ๖ ที่ ๒ จบ

๓. อาปัตติสมุฏฐานคาถา
ว่าด้วยคาถาแสดงสมุฏฐานแห่งอาบัติ
[๒๘๓] ถาม : พระพุทธเจ้าผู้ทรงเห็นธรรมไม่มีที่สุด๑
ทรงเกื้อกูลแก่สัตว์โลก ทรงเห็นวิเวก
ได้ตรัสบอกสมุฏฐานทางกายไว้แล้ว
อาบัติที่เกิดโดยสมุฏฐานนั้นมีเท่าไร
ข้าพเจ้าขอถาม ท่านผู้ฉลาดในวิภังค์โปรดบอกข้อนั้นเถิด
ตอบ : พระพุทธเจ้าผู้ทรงเห็นธรรมไม่มีที่สุด
ทรงเกื้อกูลแก่สัตว์โลก ทรงเห็นวิเวก
ได้ตรัสบอกสมุฏฐานทางกายไว้แล้ว
อาบัติที่เกิดโดยสมุฏฐานนั้นมีอยู่ ๕
ท่านผู้ฉลาดในวิภังค์ ข้าพเจ้าขอบอกข้อนั้นแก่ท่าน

เชิงอรรถ :
๑ เห็นเญยยธรรมไม่มีที่สุด (สํ.ส.ฏีกา ๑/๑๗๕/๒๕๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๘๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล] ๓. อาปัตติสมุฏฐานคาถา
พระพุทธเจ้าผู้ทรงเห็นธรรมไม่มีที่สุด
ทรงเกื้อกูลแก่สัตว์โลก ทรงเห็นวิเวก
ได้ตรัสบอกสมุฏฐานทางวาจาไว้แล้ว
อาบัติที่เกิดโดยสมุฏฐานนั้นมีเท่าไร
ข้าพเจ้าขอถาม โปรดบอกข้อนั้นเถิด ท่านผู้ฉลาดในวิภังค์
พระพุทธเจ้าผู้ทรงเห็นธรรมไม่มีที่สุด
ทรงเกื้อกูลแก่สัตว์โลก ทรงเห็นวิเวก
ได้ตรัสบอกสมุฏฐานทางวาจาไว้แล้ว
อาบัติที่เกิดโดยสมุฏฐานนั้นมีอยู่ ๔
ท่านผู้ฉลาดในวิภังค์ ข้าพเจ้าขอบอกข้อนั้นแก่ท่าน
พระพุทธเจ้าผู้ทรงเห็นธรรมไม่มีที่สุด
ทรงเกื้อกูลแก่สัตว์โลก ทรงเห็นวิเวก
ได้ตรัสบอกสมุฏฐานทางกาย ทางวาจาไว้แล้ว
อาบัติที่เกิดโดยสมุฏฐานนั้นมีเท่าไร
ข้าพเจ้าขอถาม โปรดบอกข้อนั้นเถิด ท่านผู้ฉลาดในวิภังค์
พระพุทธเจ้าผู้ทรงเห็นธรรมไม่มีที่สุด
ทรงเกื้อกูลแก่สัตว์โลก ทรงเห็นวิเวก
ได้ตรัสบอกสมุฏฐานทางกาย ทางวาจาไว้แล้ว
อาบัติที่เกิดโดยสมุฏฐานนั้นมีอยู่ ๕
ท่านผู้ฉลาดในวิภังค์ ข้าพเจ้าขอบอกข้อนั้นแก่ท่าน
พระพุทธเจ้าผู้ทรงเห็นธรรมไม่มีที่สุด
ทรงเกื้อกูลแก่สัตว์โลก ทรงเห็นวิเวก
ได้ตรัสบอกสมุฏฐานทางกาย ทางจิตไว้แล้ว
อาบัติที่เกิดโดยสมุฏฐานนั้นมีเท่าไร
ข้าพเจ้าขอถาม โปรดบอกข้อนั้นเถิด ท่านผู้ฉลาดในวิภังค์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๘๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล] ๓. อาปัตติสมุฏฐานคาถา
พระพุทธเจ้าผู้ทรงเห็นธรรมไม่มีที่สุด
ทรงเกื้อกูลแก่สัตว์โลก ทรงเห็นวิเวก
ได้ตรัสบอกสมุฏฐานทางกาย ทางจิตไว้แล้ว
อาบัติที่เกิดโดยสมุฏฐานนั้นมีอยู่ ๖
ท่านผู้ฉลาดในวิภังค์ ข้าพเจ้าขอบอกข้อนั้นแก่ท่าน
พระพุทธเจ้าผู้ทรงเห็นธรรมไม่มีที่สุด
ทรงเกื้อกูลแก่สัตว์โลก ทรงเห็นวิเวก
ได้ตรัสบอกสมุฏฐานทางวาจา ทางจิตไว้แล้ว
อาบัติที่เกิดโดยสมุฏฐานนั้นมีเท่าไร
ข้าพเจ้าขอถาม โปรดบอกข้อนั้นเถิด ท่านผู้ฉลาดในวิภังค์
พระพุทธเจ้าผู้ทรงเห็นธรรมไม่มีที่สุด
ทรงเกื้อกูลแก่สัตว์โลก ทรงเห็นวิเวก
ได้ตรัสบอกสมุฏฐานทางวาจา ทางจิตไว้แล้ว
อาบัติที่เกิดโดยสมุฏฐานนั้นมีอยู่ ๖
ท่านผู้ฉลาดในวิภังค์ ข้าพเจ้าขอบอกข้อนั้นแก่ท่าน
พระพุทธเจ้าผู้ทรงเห็นธรรมไม่มีที่สุด
ทรงเกื้อกูลแก่สัตว์โลก ทรงเห็นวิเวก
ได้ตรัสบอกสมุฏฐานทางกาย ทางวาจา ทางจิตไว้แล้ว
อาบัติที่เกิดโดยสมุฏฐานนั้นมีเท่าไร
ข้าพเจ้าขอถาม โปรดบอกข้อนั้นเถิด ท่านผู้ฉลาดในวิภังค์
พระพุทธเจ้าผู้ทรงเห็นธรรมไม่มีที่สุด
ทรงเกื้อกูลแก่สัตว์โลก ทรงเห็นวิเวก
ได้ตรัสบอกสมุฏฐานทางกาย ทางวาจา ทางจิตไว้แล้ว
อาบัติที่เกิดโดยสมุฏฐานนั้นมีอยู่ ๖
ท่านผู้ฉลาดในวิภังค์ ข้าพเจ้าขอบอกข้อนั้นแก่ท่าน
อาปัตติสมุฏฐานคาถาที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๘๓ }


พระวินัยปิฏก ปริวาร [อันตรเปยยาล] ๔. วิปัตติปัจจยวาร
๔. วิปัตติปัจจยวาร
วาระว่าด้วยความวิบัติเป็นปัจจัย
[๒๘๔] ถาม : เพราะสีลวิบัติเป็นปัจจัย ต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : เพราะสีลวิบัติเป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๔ อย่าง คือ
๑. ภิกษุณีรู้อยู่ ปกปิดธรรมคือปาราชิก ต้องอาบัติปาราชิก
๒. ภิกษุณีสงสัยปกปิด ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. ภิกษุปกปิดอาบัติสังฆาทิเสส ต้องอาบัติปาจิตตีย์๑
๔. ภิกษุปกปิดอาบัติชั่วหยาบของตน ต้องอาบัติทุกกฏ
เพราะสีลวิบัติเป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๔ อย่างนี้
ถาม : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติเท่าไร ฯลฯ
บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติ ๒ อย่าง คือ
(๑) สีลวิบัติ (๒) อาจารวิบัติ
บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติ ๔ กอง คือ (๑) กองอาบัติ
ปาราชิก (๒) กองอาบัติถุลลัจจัย (๓) กองอาบัติปาจิตตีย์ (๔) กองอาบัติทุกกฏ
บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน
คือ เกิดทางกายวาจากับจิต
บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์
บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย
(๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) สัมมุขาวินัยและติณวัตถารกะ

เชิงอรรถ :
๑ ดู วิ.มหา. (แปล) ๒/๓๙๘-๓๙๙/๕๑๐-๕๑๑๔.

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๘๔ }


พระวินัยปิฏก ปริวาร [อันตรเปยยาล] ๔. วิปัตติปัจจยวาร
[๒๘๕] ถาม : เพราะอาจารวิบัติเป็นปัจจัย ต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : เพราะอาจารวิบัติเป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ ภิกษุปิด
อาจารวิบัติ ต้องอาบัติทุกกฏ
เพราะอาจารวิบัติเป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๑ อย่างนี้
ถาม : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติเท่าไร ฯลฯ บรรดา
สมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติ ๑ อย่าง คือ
อาจารวิบัติ
บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติ ๑ กอง คือ กองอาบัติทุกกฏ
บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน
คือ เกิดทางกายวาจากับจิต
บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์
บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย
(๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) สัมมุขาวินัยและติณวัตถารกะ
[๒๘๖] ถาม : เพราะทิฏฐิวิบัติเป็นปัจจัย ต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : เพราะทิฏฐิวิบัติเป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. ภิกษุไม่สละทิฏฐิบาป จนกระทั่งสงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง
จบญัตติต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติทุกกฏ
๒ ตัว
๒. จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เพราะทิฏฐิวิบัติเป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๒ อย่างเหล่านี้
ถาม : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติเท่าไร ฯลฯ
บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๘๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล] ๔. วิปัตติปัจจยวาร
ตอบ : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติ ๑ คือ อาจารวิบัติ
บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติ ๒ กอง คือ (๑) กองอาบัติ
ปาจิตตีย์ (๒) กองอาบัติทุกกฏ
บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน
คือ เกิดทางกายวาจากับจิต
บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์
บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย
(๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) สัมมุขาวินัยและติณวัตถารกะ
[๒๘๗] ถาม : เพราะอาชีววิบัติเป็นปัจจัย ต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : เพราะอาชีววิบัติเป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๖ สมุฏฐาน คือ
๑. เพราะเหตุแห่งอาชีวะ เพราะการณ์แห่งอาชีวะ ภิกษุผู้มีความปรารถนา
ชั่วช้า ถูกความอยากครอบงำ กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรมที่ไม่มีอยู่
ไม่เป็นจริง ต้องอาบัติปาราชิก
๒. เพราะเหตุแห่งอาชีวะ เพราะการณ์แห่งอาชีวะ ภิกษุทำหน้าชักสื่อ
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
๓. เพราะเหตุแห่งอาชีวะ เพราะการณ์แห่งอาชีวะ ภิกษุกล่าวว่า “ภิกษุ
รูปใดอยู่ในวิหารของท่าน ภิกษุรูปนั้นเป็นพระอรหันต์” เมื่อผู้ฟัง
เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๔. เพราะเหตุแห่งอาชีวะ เพราะการณ์แห่งอาชีวะ ภิกษุออกปากขอ
โภชนะอันประณีตมาเพื่อประโยชน์ของตนแล้วฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๕. เพราะเหตุแห่งอาชีวะ เพราะการณ์แห่งอาชีวะ ภิกษุณีออกปาก
ขอโภชนะอันประณีตมาเพื่อประโยชน์ของตนแล้วฉัน ต้องอาบัติ
ปาฏิเทสนียะ
๖. เพราะเหตุแห่งอาชีวะ เพราะการณ์แห่งอาชีวะ ภิกษุไม่เป็นไข้ออกปาก
ขอแกง หรือข้าวสุกมาเพื่อประโยชน์ตนแล้วฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ
เพราะอาชีววิบัติเป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๖ อย่างเหล่านี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๘๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล] ๕. อธิกรณปัจจยวาร
ถาม : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติเท่าไร ฯลฯ
บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติ ๒ อย่าง คือ
(๑) สีลวิบัติ (๒) อาจารวิบัติ
บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติ ๖ กอง คือ (๑) กองอาบัติปาราชิก
(๒) กองอาบัติสังฆาทิเสส (๓) กองอาบัติถุลลัจจัย (๔) กองอาบัติปาจิตตีย์
(๕) กองอาบัติปาฏิเทสนียะ (๖) กองอาบัติทุกกฏ
บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน คือ
(๑) เกิดทางกาย มิใช่ทางวาจา มิใช่เกิดทางจิต (๒) เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทางกาย
มิใช่เกิดทางจิต (๓) เกิดทางกายกับวาจา มิใช่เกิดทางจิต (๔) เกิดทางกายกับจิต
มิใช่เกิดทางวาจา (๕) เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย (๖) เกิดทางกาย
วาจากับจิต
บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์
บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย
(๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) สัมมุขาวินัยและติณวัตถารกะ
วิปัตติปัจจยวารที่ ๔ จบ

๕. อธิกรณปัจจยวาร
วาระว่าด้วยอธิกรณ์เป็นปัจจัย
[๒๘๘] ถาม : เพราะวิวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย ต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : เพราะวิวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. ภิกษุกล่าวเสียดสีอุปสัมบัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๒. ภิกษุกล่าวเสียดสีอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ
เพราะวิวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๒ อย่างเหล่านี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๘๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล] ๕. อธิกรณปัจจยวาร
ถาม : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติเท่าไร ฯลฯ
บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติ ๑ อย่าง คือ
อาจารวิบัติ
บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติ ๒ กอง คือ (๑) กองอาบัติ
ปาจิตตีย์ (๒) กองอาบัติทุกกฏ
บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน
คือ (๑) เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา (๒) เกิดทางวาจากับจิต มิใช่
เกิดทางกาย (๓) เกิดทางกายวาจากับจิต
บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์
บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย
(๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) สัมมุขาวินัยและติณวัตถารกะ
[๒๘๙] ถาม : เพราะอนุวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย ต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : เพราะอนุวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ
๑. ภิกษุใส่ความภิกษุด้วยอาบัติชั้นปาราชิกที่ไม่มีมูล ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส
๒. ภิกษุใส่ความภิกษุด้วยอาบัติสังฆาทิเสสที่ไม่มีมูล ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
๓. ภิกษุใส่ความภิกษุด้วยอาจารวิบัติที่ไม่มีมูล ต้องอาบัติทุกกฏ
เพราะอนุวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๓ อย่างเหล่านี้
ถาม : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติเท่าไร ฯลฯ
บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติ ๒ อย่าง คือ
(๑) สีลวิบัติ (๒) อาจารวิบัติ
บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติ ๓ กอง คือ (๑) กองอาบัติ
สังฆาทิเสส (๒) กองอาบัติปาจิตตีย์ (๓) กองอาบัติทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๘๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล] ๕. อธิกรณปัจจยวาร
บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน
คือ (๑) เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา (๒) เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิด
ทางกาย (๓) เกิดทางกายวาจากับจิต
บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์
บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย
(๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) สัมมุขาวินัยและติณวัตถารกะ
[๒๙๐] ถาม : เพราะอาปัตตาธิกรณ์เป็นปัจจัย ต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : เพราะอาปัตตาธิกรณ์เป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๔ อย่าง คือ
๑. ภิกษุณีรู้อยู่ปกปิดธรรมคือปาราชิก ต้องอาบัติปาราชิก
๒. ภิกษุณีสงสัยปกปิด ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. ภิกษุปกปิดอาบัติสังฆาทิเสส ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๔. ภิกษุปกปิดอาจารวิบัติ ต้องอาบัติทุกกฏ
เพราะอาปัตตาธิกรณ์เป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๔ อย่างเหล่านี้
ถาม : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติเท่าไร ฯลฯ
บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติ ๒ อย่าง
คือ (๑) สีลวิบัติ (๒) อาจารวิบัติ
บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติ ๔ กอง คือ (๑) กองอาบัติ
ปาราชิก (๒) กองอาบัติถุลลัจจัย (๓) กองอาบัติปาจิตตีย์ (๔) กองอาบัติทุกกฏ
บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน
คือ เกิดทางกายวาจากับจิต
บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์
บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย
(๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) สัมมุขาวินัยและติณวัตถารกะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๘๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล] ๕. อธิกรณปัจจยวาร
[๒๙๑] ถาม : เพราะกิจจาธิกรณ์เป็นปัจจัย ต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : เพราะกิจจาธิกรณ์เป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๕ อย่าง คือ
๑. ภิกษุณีผู้ประพฤติตามภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ไม่ยอมสละ
กรรม จนกระทั่งสงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง จบญัตติ ต้อง
อาบัติทุกกฏ
๒. จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ต้องอาบัติปาราชิก
๔. ภิกษุผู้ประพฤติตามภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ไม่ยอมสละกรรมเพราะสงฆ์
สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
๕. ภิกษุไม่สละทิฏฐิบาป จนกระทั่งสงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เพราะกิจจาธิกรณ์เป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๕ อย่างเหล่านี้
ถาม : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติเท่าไร ฯลฯ
บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติ ๒ อย่าง
คือ (๑) สีลวิบัติ (๒) อาจารวิบัติ
บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติ ๕ กอง คือ (๑) กองอาบัติปาราชิก
(๒) กองอาบัติสังฆาทิเสส (๓) กองอาบัติถุลลัจจัย (๔) กองอาบัติปาจิตตีย์
(๕) กองอาบัติทุกกฏ
บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน
คือ เกิดทางกายวาจากับจิต
บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์
บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย
(๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) สัมมุขาวินัยและติณวัตถารกะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๙๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล] ๕. อธิกรณปัจจยวาร
ถาม : เว้นอาบัติ ๗ เว้นกองอาบัติ ๗ เสีย อาบัตินอกนั้น บรรดาวิบัติ
๔ จัดเป็นวิบัติเท่าไร บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติไหน บรรดา
สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร บรรดาอธิกรณ์ ๔
จัดเป็นอธิกรณ์ไหน บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : เว้นอาบัติ ๗ เว้นกองอาบัติ ๗ เสีย อาบัตินอกนั้น บรรดาวิบัติ ๔
ไม่จัดเป็นวิบัติไหน บรรดากองอาบัติ ๗ กอง ไม่จัดเข้ากองอาบัติไหน บรรดา
สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน ไม่เกิดด้วยสมุฏฐานไหน บรรดาอธิกรณ์ ๔
ไม่จัดเป็นอธิกรณ์ไหน บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ไม่ระงับด้วยสมถะไหน ข้อนั้นเป็น
เพราะเหตุไร เพราะเว้นอาบัติ ๗ เว้นกองอาบัติ ๗ เสีย ก็ไม่มีอาบัติอย่างอื่น
อธิกรณปัจจยวารที่ ๕ จบ
อันตรเปยยาล จบ

หัวข้อบอกวาร
กติปุจฉาวาร สมุฏฐานวาร กตาปัตติวาร
อาปัตติสมุฏฐานวาร วิปัตติวาร และอธิกรณวาร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๙๑ }


พระวินัยปิฏก ปริวาร [สมถเภท] ๖. อธิกรณปริยายวาร
สมถเภท
ว่าด้วยประเภทแห่งสมถะ
๖. อธิกรณปริยายวาร
วาระว่าด้วยการอธิบายอธิกรณ์
[๒๙๒] วิวาทาธิกรณ์ มีอะไรเป็นหัวหน้า มีฐานเท่าไร มีวัตถุเท่าไร มีภูมิเท่าไร
มีเหตุเท่าไร มีมูลเท่าไร ภิกษุวิวาทกันด้วยอาการเท่าไร วิวาทาธิกรณ์ระงับด้วย
สมถะเท่าไร
อนุวาทาธิกรณ์ มีอะไรเป็นหัวหน้า มีฐานเท่าไร มีวัตถุเท่าไร มีภูมิเท่าไร มีเหตุ
เท่าไร มีมูลเท่าไร ภิกษุโจทด้วยอาการเท่าไร อนุวาทาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะเท่าไร
อาปัตตาธิกรณ์ มีอะไรเป็นหัวหน้า มีฐานเท่าไร มีวัตถุเท่าไร มีภูมิเท่าไร มีเหตุ
เท่าไร มีมูลเท่าไร ภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการเท่าไร อาปัตตาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ
เท่าไร
กิจจาธิกรณ์ มีอะไรเป็นหัวหน้า มีฐานเท่าไร มีวัตถุเท่าไร มีภูมิเท่าไร มีเหตุ
เท่าไร มีมูลเท่าไร กิจเกิดด้วยอาการเท่าไร กิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะเท่าไร
[๒๙๓] ถาม : วิวาทาธิกรณ์ มีอะไรเป็นหัวหน้า
ตอบ : มีความโลภเป็นหัวหน้า มีความโกรธเป็นหัวหน้า มีความหลงเป็นหัวหน้า
มีความไม่โลภเป็นหัวหน้า มีความไม่โกรธเป็นหัวหน้า มีความไม่หลงเป็นหัวหน้า
ถาม : มีฐานเท่าไร
ตอบ : มีฐาน คือ เรื่องทำความแตกร้าว ๑๘ ประการ
ถาม : มีวัตถุเท่าไร
ตอบ : มีวัตถุ คือ เรื่องทำความแตกร้าว ๑๘ ประการ
ถาม : มีภูมิเท่าไร
ตอบ : มีภูมิ คือ เรื่องทำความแตกร้าว ๑๘ ประการ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๙๒ }


พระวินัยปิฏก ปริวาร [สมถเภท] ๖. อธิกรณปริยายวาร
ถาม : มีเหตุเท่าไร
ตอบ : มีเหตุ ๙ คือ กุศลเหตุ ๓ อกุศลเหตุ ๓ อัพยากตเหตุ ๓
ถาม : มีมูลเท่าไร
ตอบ : มีมูล ๑๒
ถาม : ภิกษุวิวาทกันด้วยอาการเท่าไร
ตอบ : ภิกษุวิวาทกันด้วยอาการ ๒ คือ (๑) เห็นว่าเป็นธรรม (๒) เห็นว่า
เป็นอธรรม
ถาม : วิวาทาธิกรณ์ ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : วิวาทาธิกรณ์ ระงับด้วยสมถะ ๒ คือ (๑) สัมมุขาวินัย
(๒) เยภุยยสิกา
[๒๙๔] ถาม : อนุวาทาธิกรณ์ มีอะไรเป็นหัวหน้า
ตอบ : มีความโลภเป็นหัวหน้า มีความโกรธเป็นหัวหน้า มีความหลงเป็นหัวหน้า
มีความไม่โลภเป็นหัวหน้า มีความไม่โกรธเป็นหัวหน้า มีความไม่หลงเป็นหัวหน้า
ถาม : มีฐานเท่าไร
ตอบ : มีฐาน คือ วิบัติ ๔
ถาม : มีวัตถุเท่าไร
ตอบ : มีวัตถุ คือ วิบัติ ๔
ถาม : มีภูมิเท่าไร
ตอบ : มีภูมิ คือ วิบัติ ๔
ถาม : มีเหตุเท่าไร
ตอบ : มีเหตุ ๙ คือ กุศลเหตุ ๓ อกุศลเหตุ ๓ อัพยากตเหตุ ๓
ถาม : มีมูลเท่าไร
ตอบ : มีมูล ๑๔
ถาม : ภิกษุโจทกันด้วยอาการเท่าไร
ตอบ : ภิกษุโจทด้วยอาการ ๒ คือ (๑) วัตถุ (๒) อาบัติ
ถาม : อนุวาทาธิกรณ์ ระงับด้วยสมถะเท่าไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๙๓ }


พระวินัยปิฏก ปริวาร [สมถเภท] ๖. อธิกรณปริยายวาร
ตอบ : อนุวาทาธิกรณ์ ระงับด้วยสมถะ ๔ คือ (๑) สัมมุขาวินัย (๒) สติวินัย
(๓) อมูฬหวินัย (๔) ตัสสปาปิยสิกา
[๒๙๕] ถาม : อาปัตตาธิกรณ์ มีอะไรเป็นหัวหน้า
ตอบ : มีความโลภเป็นหัวหน้า มีความโกรธเป็นหัวหน้า มีความหลงเป็นหัวหน้า
มีความไม่โลภเป็นหัวหน้า มีความไม่โกรธเป็นหัวหน้า มีความไม่หลงเป็นหัวหน้า
ถาม : มีฐานเท่าไร
ตอบ : มีฐาน คือ กองอาบัติ ๗ กอง
ถาม : มีวัตถุเท่าไร
ตอบ : มีวัตถุ คือ กองอาบัติ ๗ กอง
ถาม : มีภูมิเท่าไร
ตอบ : มีภูมิ คือ กองอาบัติ ๗ กอง
ถาม : มีเหตุเท่าไร
ตอบ : มีเหตุ ๙ คือ กุศลเหตุ ๓ อกุศลเหตุ ๓ อัพยากตเหตุ ๓
ถาม : มีมูลเท่าไร
ตอบ : มีมูล คือ สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
ถาม : ภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการเท่าไร
ตอบ : ภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการ ๖ คือ (๑) ไม่ละอาย (๒) ไม่รู้ (๓) สงสัย
แล้วขืนทำ (๔) สำคัญในของไม่สมควรว่าสมควร (๕) สำคัญในของสมควรว่าไม่สมควร
(๖) ลืมสติ
ถาม : อาปัตตาธิกรณ์ ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : อาปัตตาธิกรณ์ ระงับด้วยสมถะ ๓ คือ (๑) สัมมุขาวินัย
(๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) ติณวัตถารกะ
[๒๙๖] ถาม : กิจจาธิกรณ์ มีอะไรเป็นหัวหน้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๙๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมถเภท] ๖. อธิกรณปริยายวาร
ตอบ : มีความโลภเป็นหัวหน้า มีความโกรธเป็นหัวหน้า มีความหลงเป็นหัวหน้า
มีความไม่โลภเป็นหัวหน้า มีความไม่โกรธเป็นหัวหน้า มีความไม่หลงเป็นหัวหน้า
ถาม : มีฐานเท่าไร
ตอบ : มีฐาน คือ กรรม ๔
ถาม : มีวัตถุเท่าไร
ตอบ : มีวัตถุ คือ กรรม ๔
ถาม : มีภูมิเท่าไร
ตอบ : มีภูมิ คือ กรรม ๔
ถาม : มีเหตุเท่าไร
ตอบ : มีเหตุ ๙ คือ กุศลเหตุ ๓ อกุศลเหตุ ๓ อัพยากตเหตุ ๓
ถาม : มีมูลเท่าไร
ตอบ : มีมูล ๑ คือ สงฆ์
ถาม : กิจเกิดด้วยอาการเท่าไร
ตอบ : กิจเกิดด้วยอาการ ๒ คือ (๑) ญัตติ (๒) อปโลกน์
ถาม : กิจจาธิกรณ์ ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : กิจจาธิกรณ์ ระงับด้วยสมถะ ๑ คือ สัมมุขาวินัย
ถาม : สมถะ มีเท่าไร
ตอบ : สมถะมี ๗ คือ

๑. สัมมุขาวินัย ๒. สติวินัย
๓. อมูฬหวินัย ๔. ปฏิญญาตกรณะ
๕. เยภุยยสิกา ๖. ตัสสปาปิยสิกา
๗. ติณวัตถารกะ สมถะมี ๗ เหล่านี้

สมถะ ๗ เหล่านี้ เป็นสมถะ ๑๐ ก็มี สมถะ ๑๐ เป็นสมถะ ๗ ก็มี มีโดย
อ้อมด้วยอำนาจวัตถุ
ถาม : พึงเป็นได้อย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๙๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมถเภท] ๗. สาธารณวาร
ตอบ : วิวาทาธิกรณ์มีสมถะ ๒ อนุวาทาธิกรณ์มีสมถะ ๔ อาปัตตาธิกรณ์
มีสมถะ ๓ กิจจาธิกรณ์มีสมถะ ๑ อย่างนี้ สมถะ ๗ เหล่านี้ เป็นสมถะ ๑๐
สมถะ ๑๐ จึงเป็นสมถะ ๗ โดยอ้อมด้วยอำนาจวัตถุ
อธิกรณปริยายวารที่ ๖ จบ

๗. สาธารณวาร
วาระว่าด้วยสมถะทั่วไป
[๒๙๗] ถาม : สมถะเท่าไร ทั่วไปแก่วิวาทาธิกรณ์ สมถะเท่าไร ไม่ทั่วไปแก่
วิวาทาธิกรณ์ สมถะเท่าไร ทั่วไปแก่อนุวาทาธิกรณ์ สมถะเท่าไร ไม่ทั่วไปแก่อนุวาทาธิ-
กรณ์ สมถะเท่าไร ทั่วไปแก่อาปัตตาธิกรณ์ สมถะเท่าไร ไม่ทั่วไปแก่อาปัตตาธิกรณ์
สมถะเท่าไร ทั่วไปแก่กิจจาธิกรณ์ สมถะเท่าไร ไม่ทั่วไปแก่กิจจาธิกรณ์
ตอบ : สมถะ ๒ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย (๒) เยภุยยสิกา ทั่วไป
แก่วิวาทาธิกรณ์ สมถะ ๕ อย่าง คือ (๑) สติวินัย (๒) อมูฬหวินัย (๓) ปฏิญญาต-
กรณะ (๔) ตัสสปาปิยสิกา (๕) ติณวัตถารกะ ไม่ทั่วไปแก่วิวาทาธิกรณ์
ตอบ : สมถะ ๔ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย (๒) สติวินัย (๓) อมูฬหวินัย
(๔) ตัสสปาปิยสิกา ทั่วไปแก่อนุวาทาธิกรณ์ สมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) เยภุยยสิกา
(๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) ติณวัตถารกะ ไม่ทั่วไปแก่อนุวาทาธิกรณ์
สมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย (๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) ติณวัตถารกะ
ทั่วไปแก่อาปัตตาธิกรณ์ สมถะ ๔ อย่าง คือ (๑) เยภุยยสิกา (๒) สติวินัย
(๓) อมูฬหวินัย (๔) ตัสสปาปิยสิกา ไม่ทั่วไปแก่อาปัตตาธิกรณ์
สมถะ ๑ อย่าง คือ สัมมุขาวินัย ทั่วไปแก่กิจจาธิกรณ์ สมถะ ๖ อย่าง
คือ (๑) เยภุยยสิกา (๒) สติวินัย (๓) อมูฬหวินัย (๔) ปฏิญญาตกรณะ
(๕) ตัสสปาปิยสิกา (๖) ติณวัตถารกะ ไม่ทั่วไปแก่กิจจาธิกรณ์
สาธารณวารที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๙๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมถเภท] ๘. ตัพภาคิยวาร
๘. ตัพภาคิยวาร
วาระว่าด้วยเป็นส่วนนั้น
[๒๙๘] ถาม : สมถะเท่าไร เป็นส่วนนั้นแห่งวิวาทาธิกรณ์ สมถะเท่าไร เป็น
ส่วนอื่นแห่งวิวาทาธิกรณ์ สมถะเท่าไร เป็นส่วนนั้นแห่งอนุวาทาธิกรณ์ สมถะเท่าไร
เป็นส่วนอื่นแห่งอนุวาทาธิกรณ์ สมถะเท่าไร เป็นส่วนนั้นแห่งอาปัตตาธิกรณ์ สมถะ
เท่าไร เป็นส่วนอื่นแห่งอาปัตตาธิกรณ์ สมถะเท่าไร เป็นส่วนนั้นแห่งกิจจาธิกรณ์
สมถะเท่าไร เป็นส่วนอื่นแห่งกิจจาธิกรณ์
ตอบ : สมถะ ๒ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย (๒) เยภุยยสิกา เป็นส่วนนั้น
แห่งวิวาทาธิกรณ์
สมถะ ๕ อย่าง คือ (๑) สติวินัย (๒) อมูฬหวินัย (๓) ปฏิญญาตกรณะ
(๔) ตัสสปาปิยสิกา (๕) ติณวัตถารกะ เป็นส่วนอื่นแห่งวิวาทาธิกรณ์
สมถะ ๔ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย (๒) สติวินัย (๓) อมูฬหวินัย
(๔) ตัสสปาปิยสิกา เป็นส่วนนั้นแห่งอนุวาทาธิกรณ์
สมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) เยภุยยสิกา (๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) ติณวัตถารกะ
เป็นส่วนอื่นแห่งอนุวาทาธิกรณ์
สมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย (๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) ติณวัตถารกะ
เป็นส่วนนั้นแห่งอาปัตตาธิกรณ์
สมถะ ๔ อย่าง คือ (๑) เยภุยยสิกา (๒) สติวินัย (๓) อมูฬหวินัย
(๔) ตัสสปาปิยสิกา เป็นส่วนอื่นแห่งอาปัตตาธิกรณ์
สมถะ ๑ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย เป็นส่วนนั้นแห่งกิจจาธิกรณ์
สมถะ ๖ สมุฏฐาน คือ (๑) เยภุยยสิกา (๒) สติวินัย (๓) อมูฬหวินัย
(๔) ปฏิญญาตกรณะ (๕) ตัสสปาปิยสิกา (๖) ติณวัตถารกะ เป็นส่วนอื่นแห่งกิจจาธิกรณ์
ตัพภาคิยวารที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๙๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมถเภท] ๑๐. สมถาสมถัสสตัพภาคิยวาร
๙. สมถาสมถัสสสาธารณวาร
วาระว่าด้วยสมถะทั่วไปและไม่ทั่วไปแก่สมถะ
[๒๙๙] สมถะทั่วไปแก่สมถะ สมถะไม่ทั่วไปแก่สมถะ สมถะที่ทั่วไปแก่สมถะก็มี
สมถะที่ไม่ทั่วไปแก่สมถะก็มี
ถาม : สมถะทั่วไปแก่สมถะอย่างไร สมถะไม่ทั่วไปแก่สมถะอย่างไร
ตอบ : เยภุยยสิกาทั่วไปแก่สัมมุขาวินัย ไม่ทั่วไปแก่สติวินัย อมูฬหวินัย ปฏิญญาต-
กรณะ ตัสสปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ
สติวินัยทั่วไปแก่สัมมุขาวินัย ไม่ทั่วไปแก่อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ ตัสส-
ปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ เยภุยยสิกา
อมูฬหวินัยทั่วไปแก่สัมมุขาวินัย ไม่ทั่วไปแก่ปฏิญญาตกรณะ ตัสสปาปิยสิกา
ติณวัตถารกะ เยภุยยสิกา สติวินัย
ปฏิญญาตกรณะทั่วไปแก่สัมมุขาวินัย ไม่ทั่วไปแก่ตัสสปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ
เยภุยยสิกา สติวินัย อมูฬหวินัย
ตัสสปาปิยสิกาทั่วไปแก่สัมมุขาวินัย ไม่ทั่วไปแก่ติณวัตถารกะ เยภุยยสิกา สติวินัย
อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ
ติณวัตถารกะทั่วไปแก่สัมมุขาวินัย ไม่ทั่วไปแก่เยภุยยสิกา สติวินัย อมูฬหวินัย
ปฏิญญาตกรณะ ตัสสปาปิยสิกา
สมถะทั่วไปแก่สมถะอย่างนี้ สมถะไม่ทั่วไปแก่สมถะอย่างนี้
สมถาสมถัสสสาธารณวาระที่ ๙ จบ

๑๐. สมถาสมถัสสตัพภาคิยวาร
วาระว่าด้วยสมถะเป็นส่วนนั้นแห่งสมถะ
[๓๐๐] สมถะเป็นส่วนนั้นแห่งสมถะ สมถะเป็นส่วนอื่นแห่งสมถะ สมถะที่เป็น
ส่วนนั้นแห่งสมถะก็มี สมถะที่เป็นส่วนอื่นแห่งสมถะก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๙๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมถเภท] ๑๑. สมถสัมมุขาวินยวาร
ถาม : สมถะเป็นส่วนนั้นแห่งสมถะอย่างไร สมถะเป็นส่วนอื่นแห่งสมถะอย่างไร
ตอบ : เยภุยยสิกาเป็นส่วนนั้นแห่งสัมมุขาวินัย เป็นส่วนอื่นแห่งสติวินัย อมูฬห
วินัย ปฏิญญาตกรณะ ตัสสปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ
สติวินัยเป็นส่วนนั้นแห่งสัมมุขาวินัย เป็นส่วนอื่นแห่งอมูฬหวินัย ปฏิญญาต-
กรณะ ตัสสปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ เยภุยยสิกา
อมูฬหวินัยเป็นส่วนนั้นแห่งสัมมุขาวินัย เป็นส่วนอื่นแห่งปฏิญญาตกรณะ
ตัสสปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ เยภุยยสิกา สติวินัย
ปฏิญญาตกรณะเป็นส่วนนั้นแห่งสัมมุขาวินัย เป็นส่วนอื่นแห่งตัสสปาปิยสิกา
ติณวัตถารกะ เยภุยยสิกา สติวินัย อมูฬหวินัย
ตัสสปาปิยสิกาเป็นส่วนนั้นแห่งสัมมุขาวินัย เป็นส่วนอื่นแห่งติณวัตถารกะ
เยภุยยสิกา สติวินัย อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ
ติณวัตถารกะเป็นส่วนนั้นแห่งสัมมุขาวินัย เป็นส่วนอื่นแห่งเยภุยยสิกา สติวินัย
อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ ตัสสปาปิยสิกา
สมถะเป็นส่วนนั้นแห่งสมถะอย่างนี้ สมถะเป็นส่วนอื่นแห่งสมถะอย่างนี้
สมถาสมถัสสตัพภาคิยวาระที่ ๑๐ จบ

๑๑. สมถสัมมุขาวินยวาร
วาระว่าด้วยสมถะคือสัมมุขาวินัย
[๓๐๑] สมถะคือสัมมุขาวินัย สัมมุขาวินัยคือสมถะ สมถะคือเยภุยยสิกา
เยภุยยสิกาคือสมถะ สมถะคือสติวินัย สติวินัยคือสมถะ สมถะคืออมูฬหวินัย
อมูฬหวินัยคือสมถะ สมถะคือปฏิญญาตกรณะ ปฏิญญาตกรณะคือสมถะ สมถะ
คือตัสสปาปิยสิกา ตัสสปาปิยสิกาคือสมถะ สมถะคือติณวัตถารกะ ติณวัตถารกะ
คือสมถะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๙๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมถเภท] ๑๑. สมถสัมมุขาวินยวาร
สมถะเหล่านี้ คือ เยภุยยสิกา สติวินัย อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ ตัสส-
ปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ เป็นสมถะ ไม่ใช่เป็นสัมมุขาวินัย สัมมุขาวินัยเป็นทั้งสมถะ
เป็นทั้งสัมมุขาวินัย
สมถะเหล่านี้ คือ สติวินัย อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ ตัสสปาปิยสิกา
ติณวัตถารกะ สัมมุขาวินัย เป็นสมถะ ไม่ใช่เป็นเยภุยยสิกา เยภุยยสิกาเป็นทั้งสมถะ
เป็นทั้งเยภุยยสิกา
สมถะเหล่านี้ คือ อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ ตัสสปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ
สัมมุขาวินัย เยภุยยสิกา เป็นสมถะ ไม่ใช่เป็นสติวินัย สติวินัยเป็นทั้งสมถะ เป็นทั้ง
สติวินัย
สมถะเหล่านี้ คือ ปฏิญญาตกรณะ ตัสสปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ สัมมุขาวินัย
เยภุยยสิกา สติวินัย เป็นสมถะ ไม่ใช่เป็นอมูฬหวินัย อมูฬหวินัยเป็นทั้งสมถะ เป็น
ทั้งอมูฬหวินัย
สมถะเหล่านี้ คือ ตัสสปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ สัมมุขาวินัย เยภุยยสิกา
สติวินัย อมูฬหวินัย เป็นสมถะ ไม่ใช่เป็นปฏิญญาตกรณะ ปฏิญญาตกรณะเป็นทั้ง
สมถะ เป็นทั้งปฏิญญาตกรณะ
สมถะเหล่านี้ คือ ติณวัตถารกะ สัมมุขาวินัย เยภุยยสิกา สติวินัย อมูฬหวินัย
ปฏิญญาตกรณะ เป็นสมถะ ไม่ใช่เป็นตัสสปาปิยสิกา ตัสสปาปิยสิกาเป็นทั้งสมถะ
เป็นทั้งตัสสปาปิยสิกา
สมถะเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัย เยภุยยสิกา สติวินัย อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ
ตัสสปาปิยสิกา เป็นสมถะ ไม่ใช่เป็นติณวัตถารกะ ติณวัตถารกะเป็นทั้งสมถะ เป็นทั้ง
ติณวัตถารกะ
สมถสัมมุขาวินยวารที่ ๑๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๐๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมถเภท] ๑๒. วินยวาร
๑๒. วินยวาร
วาระว่าด้วยวินัย
[๓๐๒] วินัยคือสัมมุขาวินัย สัมมุขาวินัยคือวินัย วินัยคือเยภุยยสิกา เยภุยยสิกา
คือวินัย วินัยคือสติวินัย สติวินัยคือวินัย วินัยคืออมูฬหวินัย อมูฬหวินัยคือวินัย
วินัยคือปฏิญญาตกรณะ ปฏิญญาตกรณะคือวินัย วินัยคือตัสสปาปิยสิกา ตัสส-
ปาปิยสิกาคือวินัย วินัยคือติณวัตถารกะ ติณวัตถารกะคือวินัย
วินัยเป็นสัมมุขาวินัยก็มี ไม่เป็นสัมมุขาวินัยก็มี แต่สัมมุขาวินัยเป็นทั้งวินัย
เป็นทั้งสัมมุขาวินัย
วินัยเป็นเยภุยยสิกาก็มี ไม่เป็นเยภุยยสิกาก็มี แต่เยภุยยสิกาเป็นทั้งวินัย
เป็นทั้งเยภุยยสิกา
วินัยเป็นสติวินัยก็มี ไม่เป็นสติวินัยก็มี แต่สติวินัยเป็นทั้งวินัย เป็นทั้งสติวินัย
วินัยเป็นอมูฬหวินัยก็มี ไม่เป็นอมูฬหวินัยก็มี แต่อมูฬหวินัยเป็นทั้งวินัย
เป็นทั้งอมูฬหวินัย
วินัยเป็นปฏิญญาตกรณะก็มี ไม่เป็นปฏิญญาตกรณะก็มี แต่ปฏิญญาตกรณะ
เป็นทั้งวินัย เป็นทั้งปฏิญญาตกรณะ
วินัยเป็นตัสสปาปิยสิกาก็มี ไม่เป็นตัสสปาปิยสิกาก็มี แต่ตัสสปาปิยสิกา
เป็นทั้งวินัย เป็นทั้งตัสสปาปิยสิกา
วินัยเป็นติณวัตถารกะก็มี ไม่เป็นติณวัตถารกะก็มี แต่ติณวัตถารกะเป็นทั้งวินัย
เป็นทั้งติณวัตถารกะ
วินยวารที่ ๑๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๐๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมถเภท] ๑๓. กุสลวาร
๑๓. กุสลวาร
วาระว่าด้วยเป็นกุศล
[๓๐๓] สัมมุขาวินัยเป็นกุศล อกุศล อัพยากฤต เยภุยยสิกาเป็นกุศล อกุศล
อัพยากฤต สติวินัยเป็นกุศล อกุศล อัพยากฤต อมูฬหวินัยเป็นกุศล อกุศล
อัพยากฤต ปฏิญญาตกรณะเป็นกุศล อกุศล อัพยากฤต ตัสสปาปิยสิกาเป็นกุศล
อกุศล อัพยากฤต ติณวัตถารกะเป็นกุศล อกุศล อัพยากฤต
สัมมุขาวินัย เป็นกุศลก็มี เป็นอัพยากฤตก็มี สัมมุขาวินัยเป็นอกุศลไม่มี
เยภุยยสิกา เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี เป็นอัพยากฤตก็มี
สติวินัย เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี เป็นอัพยากฤตก็มี
อมูฬหวินัย เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี เป็นอัพยากฤตก็มี
ปฏิญญาตกรณะ เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี เป็นอัพยากฤตก็มี
ตัสสปาปิยสิกา เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี เป็นอัพยากฤตก็มี
ติณวัตถารกะ เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี เป็นอัพยากฤตก็มี
วิวาทาธิกรณ์ เป็นกุศล อกุศล อัพยากฤต
อนุวาทาธิกรณ์ เป็นกุศล อกุศล อัพยากฤต
อาปัตตาธิกรณ์ เป็นกุศล อกุศล อัพยากฤต
กิจจาธิกรณ์ เป็นกุศล อกุศล อัพยากฤต
วิวาทาธิกรณ์ เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี เป็นอัพยากฤตก็มี
อนุวาทาธิกรณ์ เป็นอกุศลก็มี เป็นอัพยากฤตก็มี
อาปัตตาธิกรณ์ เป็นอกุศลก็มี เป็นอัพยากฤตก็มี อาปัตตาธิกรณ์ ที่เป็นกุศลไม่มี
กิจจาธิกรณ์ เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี เป็นอัพยากฤตก็มี
กุสลวารที่ ๑๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๐๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมถเภท] ๑๔. ยัตถวารปุจฉาวาร
๑๔. ยัตถวารปุจฉาวาร
วาระว่าด้วย ณ ที่ใดและวาระว่าด้วยการถาม
[๓๐๔] ได้เยภุยยสิกา ในที่ใด ก็จะได้สัมมุขาวินัย ในที่นั้น ได้สัมมุขาวินัย
ในที่ใด ก็จะได้เยภุยยสิกา ในที่นั้น แต่จะไม่ได้สติวินัย อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ
ตัสสปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ ในที่นั้น
ได้สติวินัย ในที่ใด ก็จะได้สัมมุขาวินัย ในที่นั้น ได้สัมมุขาวินัย ในที่ใด
ก็จะได้สติวินัย ในที่นั้น แต่จะไม่ได้อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ ตัสสปาปิยสิกา
ติณวัตถารกะ เยภุยยสิกา ในที่นั้น
ได้อมูฬหวินัย ในที่ใด ก็จะได้สัมมุขาวินัย ในที่นั้น ได้สัมมุขาวินัย ในที่ใด
ก็จะได้อมูฬหวินัย ในที่นั้น แต่จะไม่ได้ปฏิญญาตกรณะ ตัสสปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ
เยภุยยสิกา สติวินัย ในที่นั้น
ได้ปฏิญญาตกรณะ ในที่ใด ก็จะได้สัมมุขาวินัย ในที่นั้น ได้สัมมุขาวินัย ในที่ใด
ก็จะได้ปฏิญญาตกรณะ ในที่นั้น แต่จะไม่ได้ตัสสปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ เยภุยยสิกา
สติวินัย อมูฬหวินัย ในที่นั้น
ได้ตัสสปาปิยสิกา ในที่ใด ก็จะได้สัมมุขาวินัย ในที่นั้น ได้สัมมุขาวินัย ในที่ใด
ก็จะได้ตัสสปาปิยสิกา ในที่นั้น แต่จะไม่ได้ติณวัตถารกะ เยภุยยสิกา สติวินัย
อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ ในที่นั้น
ได้ติณวัตถารกะ ในที่ใด ก็จะได้สัมมุขาวินัย ในที่นั้น ได้สัมมุขาวินัย ในที่ใด
ก็จะได้ติณวัตถารกะ ในที่นั้น แต่จะไม่ได้เยภุยยสิกา สติวินัย อมูฬหวินัย ปฏิญญาต-
กรณะ ตัสสปาปิยสิกา ในที่นั้น
ได้เยภุยยสิกา ในที่ใด ก็จะได้สัมมุขาวินัย ในที่นั้น ได้สัมมุขาวินัย ในที่ใด
ก็จะได้เยภุยยสิกา ในที่นั้น แต่จะไม่ได้สติวินัย อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ ตัสส-
ปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ ในที่นั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๐๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมถเภท] ๑๕. สมถวารวิสัชชนาวาร
ได้สติวินัย ในที่ใด ก็จะได้สัมมุขาวินัย ในที่นั้น ได้สัมมุขาวินัย ในที่ใด ก็
จะได้สติวินัย ในที่นั้น แต่จะไม่ได้อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ ตัสสปาปิยสิกา
ติณวัตถารกะ เยภุยยสิกา ในที่นั้น จัดสัมมุขาวินัยเป็นมูล ฯลฯ
ได้ติณวัตถารกะ ในที่ใด ก็จะได้สัมมุขาวินัย ในที่นั้น ได้สัมมุขาวินัย ในที่ใด
ก็จะได้ติณวัตถารกะ ในที่นั้น แต่จะไม่ได้เยภุยยสิกา สติวินัย อมูฬหวินัย ปฏิญญาต-
กรณะ ตัสสปาปิยสิกา ในที่นั้น
จักกเปยยาล จบ
ยัตถวารที่ ๑๔ จบ

๑๕. สมถวารวิสัชชนาวาร
วาระว่าด้วยเรื่องสมถะและวาระว่าด้วยการตอบ
[๓๐๕] สมัยใด อธิกรณ์ระงับด้วยสัมมุขาวินัยและเยภุยยสิกา ได้เยภุยยสิกา
ในที่ใด ก็จะได้สัมมุขาวินัย ในที่นั้น ได้สัมมุขาวินัย ในที่ใด ก็จะได้เยภุยยสิกา
ในที่นั้น แต่จะไม่ได้สติวินัย อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ ตัสสปาปิยสิกา
ติณวัตถารกะ ในที่นั้น
สมัยใด อธิกรณ์ระงับด้วยสัมมุขาวินัยและสติวินัย ได้สติวินัย ในที่ใด ก็จะ
ได้สัมมุขาวินัย ในที่นั้น ได้สัมมุขาวินัย ในที่ใด ก็จะได้สติวินัย ในที่นั้น แต่จะ
ไม่ได้อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ ตัสสปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ เยภุยยสิกา
ในที่นั้น
สมัยใด อธิกรณ์ระงับด้วยสัมมุขาวินัยและอมูฬหวินัย ได้อมูฬหวินัย ในที่ใด
ก็จะได้สัมมุขาวินัย ในที่นั้น ได้สัมมุขาวินัย ในที่ใด ก็จะได้อมูฬหวินัย ในที่นั้น
แต่จะไม่ได้ปฏิญญาตกรณะ ตัสสปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ เยภุยยสิกา สติวินัย
ในที่นั้น
สมัยใด อธิกรณ์ระงับด้วยสัมมุขาวินัยและปฏิญญาตกรณะ ได้ปฏิญญาตกรณะ
ในที่ใด ก็จะได้สัมมุขาวินัย ในที่นั้น ได้สัมมุขาวินัย ในที่ใด ก็จะได้ปฏิญญาตกรณะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๐๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมถเภท] ๑๖. สังสัฏฐวาร
ในที่นั้น แต่จะไม่ได้ตัสสปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ เยภุยยสิกา สติวินัย อมูฬหวินัย
ในที่นั้น
สมัยใด อธิกรณ์ระงับด้วยสัมมุขาวินัยและตัสสปาปิยสิกา ได้ตัสสปาปิยสิกา
ในที่ใด ก็จะได้สัมมุขาวินัย ในที่นั้น ได้สัมมุขาวินัย ในที่ใด ก็จะได้ตัสสปาปิยสิกา
ในที่นั้น แต่จะไม่ได้ติณวัตถารกะ เยภุยยสิกา สติวินัย อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ
ในที่นั้น
สมัยใด อธิกรณ์ระงับด้วยสัมมุขาวินัยและติณวัตถารกะ ได้ติณวัตถารกะ ในที่ใด
ก็จะได้สัมมุขาวินัย ในที่นั้น ได้สัมมุขาวินัย ในที่ใด ก็จะได้ติณวัตถารกะ ในที่นั้น
แต่จะไม่ได้เยภุยยสิกา สติวินัย อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ ตัสสปาปิยสิกา ในที่นั้น
สมถวารที่ ๑๕ จบ

๑๖. สังสัฏฐวาร
วาระว่าด้วยอธิกรณ์กับสมถะรวมกัน
[๓๐๖] ถาม : ธรรมเหล่านี้ คือ อธิกรณ์ก็ดี สมถะก็ดี รวมกันหรือแยกกัน
พึงได้เพื่อที่จะบัญญัติแบ่งแยกธรรมเหล่านี้ให้เป็นต่าง ๆ กันไปได้หรือ
ตอบ : ธรรมเหล่านี้ คือ อธิกรณ์ก็ดี สมถะก็ดี แยกกันไม่รวมกัน ก็แล
พึงได้เพื่อที่จะบัญญัติแบ่งแยกธรรมเหล่านี้ให้เป็นต่าง ๆ ผู้วิสัชนานั้นพึงถูกท้วงว่า
“อย่ากล่าวอย่างนั้น” ธรรมเหล่านี้ คือ อธิกรณ์ก็ดี สมถะก็ดี รวมกันไม่แยกกัน
และไม่พึงได้เพื่อที่จะบัญญัติแบ่งแยกธรรมเหล่านี้ให้เป็นต่าง ๆ ข้อนั้น เพราะเหตุอะไร
เพราะพระผู้มีพระภาคตรัสไว้มิใช่หรือว่า ภิกษุทั้งหลาย อธิกรณ์เหล่านี้มี ๔ สมถะมี
๗ อธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ สมถะระงับด้วยอธิกรณ์อย่างนี้ ธรรมเหล่านี้ จึงรวมกัน
ไม่แยกกันและไม่พึงได้เพื่อที่จะบัญญัติแบ่งแยกธรรมเหล่านี้ให้เป็นต่าง ๆ
สังสัฏฐวารที่ ๑๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๐๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมถเภท] ๑๗. สัมมติวาร
๑๗. สัมมติวาร
วาระว่าด้วยอธิกรณ์ระงับ
[๓๐๗] ถาม : วิวาทาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะเท่าไร อนุวาทาธิกรณ์ระงับด้วย
สมถะเท่าไร อาปัตตาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะเท่าไร กิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : วิวาทาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๒ คือ
๑. สัมมุขาวินัย ๒. เยภุยยสิกา
อนุวาทาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๔ คือ
๑. สัมมุขาวินัย ๒. สติวินัย
๓. อมูฬหวินัย ๔. ตัสสปาปิยสิกา
อาปัตตาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๓ คือ
๑. สัมมุขาวินัย ๒. ปฏิญญาตกรณะ
๓. ติณวัตถารกะ
กิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๑ คือ สัมมุขาวินัย
ถาม : วิวาทาธิกรณ์และอนุวาทาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : วิวาทาธิกรณ์และอนุวาทาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๕ คือ

๑. สัมมุขาวินัย ๒. เยภุยยสิกา
๓. สติวินัย ๔. อมูฬหวินัย
๕. ตัสสปาปิยสิกา

ถาม : วิวาทาธิกรณ์และอาปัตตาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : วิวาทาธิกรณ์และอาปัตตาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๔ คือ

๑. สัมมุขาวินัย ๒. เยภุยยสิกา
๓. ปฏิญญาตกรณะ ๔. ติณวัตถารกะ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๐๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมถเภท] ๑๗. สัมมติวาร
ถาม : วิวาทาธิกรณ์และกิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : วิวาทาธิกรณ์และกิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๒ คือ
๑. สัมมุขาวินัย ๒. เยภุยยสิกา
ถาม : อนุวาทาธิกรณ์และอาปัตตาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : อนุวาทาธิกรณ์และอาปัตตาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๖ คือ
๑. สัมมุขาวินัย ๒. สติวินัย
๓. อมูฬหวินัย ๔. ปฏิญญาตกรณะ
๕. ตัสสปาปิยสิกา ๖. ติณวัตถารกะ
ถาม : อนุวาทาธิกรณ์และกิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : อนุวาทาธิกรณ์และกิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๔ คือ
๑. สัมมุขาวินัย ๒. สติวินัย
๓. อมูฬหวินัย ๔. ตัสสปาปิยสิกา
ถาม : อาปัตตาธิกรณ์และกิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : อาปัตตาธิกรณ์และกิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๓ คือ
๑. สัมมุขาวินัย ๒. ปฏิญญาตกรณะ
๓. ติณวัตถารกะ
ถาม : วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์และอาปัตตาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์และอาปัตตาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๗ คือ

๑. สัมมุขาวินัย ๒. เยภุยยสิกา
๓. สติวินัย ๔. อมูฬหวินัย
๕. ปฏิญญาตกรณะ ๖. ตัสสปาปิยสิกา
๗. ติณวัตถารกะ

ถาม : วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์และกิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์และกิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๕ คือ
๑. สัมมุขาวินัย ๒. เยภุยยสิกา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๐๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมถเภท] ๑๘. สัมมันตินสัมมันติวาร
๓. สติวินัย ๔. อมูฬหวินัย
๕. ตัสสปาปิยสิกา
ถาม : อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์และกิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์และกิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๖ คือ

๑. สัมมุขาวินัย ๒. สติวินัย
๓. อมูฬหวินัย ๔. ปฏิญญาตกรณะ
๕. ตัสสปาปิยสิกา ๖. ติณวัตถารกะ

ถาม : วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์และกิจจาธิกรณ์ระงับ
ด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์และกิจจาธิกรณ์ระงับ
ด้วยสมถะ ๗ คือ

๑. สัมมุขาวินัย ๒. เยภุยยสิกา
๓. สติวินัย ๔. อมูฬหวินัย
๕. ปฏิญญาตกรณะ ๖. ตัสสปาปิยสิกา
๗. ติณวัตถารกะ

สัมมติวารที่ ๑๗ จบ

๑๘. สัมมันตินสัมมันติวาร
วาระว่าด้วยอธิกรณ์ระงับและไม่ระงับ
[๓๐๘] ถาม : วิวาทาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะเท่าไร ไม่ระงับด้วยสมถะเท่าไร
อนุวาทาธิกรณ์ ฯลฯ อาปัตตาธิกรณ์ ฯลฯ กิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะเท่าไร ไม่
ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : วิวาทาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๒ คือ
๑. สัมมุขาวินัย ๒. เยภุยยสิกา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๐๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมถเภท] ๑๘. สัมมันตินสัมมันติวาร
ไม่ระงับด้วยสมถะ ๕ คือ

๑. สติวินัย ๒. อมูฬหวินัย
๓. ปฏิญญาตกรณะ ๔. ตัสสปาปิยสิกา
๕. ติณวัตถารกะ

อนุวาทาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๔ คือ
๑. สัมมุขาวินัย ๒. สติวินัย
๓. อมูฬหวินัย ๔. ตัสสปาปิยสิกา
ไม่ระงับด้วยสมถะ ๓ คือ
๑. เยภุยยสิกา ๒. ปฏิญญาตกรณะ
๓. ติณวัตถารกะ
อาปัตตาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๓ คือ
๑. สัมมุขาวินัย ๒. ปฏิญญาตกรณะ
๓. ติณวัตถารกะ
ไม่ระงับด้วยสมถะ ๔ คือ
๑. เยภุยยสิกา ๒. สติวินัย
๓. อมูฬหวินัย ๔. ตัสสปาปิยสิกา
กิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๑ คือ สัมมุขาวินัย
ไม่ระงับด้วยสมถะ ๖ คือ
๑. เยภุยยสิกา ๒. สติวินัย
๓. อมูฬหวินัย ๔. ปฏิญญาตกรณะ
๕. ตัสสปาปิยสิกา ๖. ติณวัตถารกะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๐๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมถเภท] ๑๘. สัมมันตินสัมมันติวาร
ถาม : วิวาทาธิกรณ์และอนุวาทาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะเท่าไร ไม่ระงับด้วยสมถะ
เท่าไร
ตอบ : วิวาทาธิกรณ์และอนุวาทาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๕ คือ

๑. สัมมุขาวินัย ๒. เยภุยยสิกา
๓. สติวินัย ๔. อมูฬหวินัย
๕. ตัสสปาปิยสิกา

ไม่ระงับด้วยสมถะ ๒ คือ
๑. ปฏิญญาตกรณะ ๒. ติณวัตถารกะ
ถาม : วิวาทาธิกรณ์และอาปัตตาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะเท่าไร ไม่ระงับด้วยสมถะ
เท่าไร
ตอบ : วิวาทาธิกรณ์และอาปัตตาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๔ คือ

๑. สัมมุขาวินัย ๒. เยภุยยสิกา
๓. ปฏิญญาตกรณะ ๔. ติณวัตถารกะ

ไม่ระงับด้วยสมถะ ๓ คือ
๑. สติวินัย ๒. อมูฬหวินัย
๓. ตัสสปาปิยสิกา
ถาม : วิวาทาธิกรณ์และกิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะเท่าไร ไม่ระงับด้วยสมถะ
เท่าไร
ตอบ : วิวาทาธิกรณ์และกิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๒ คือ
๑. สัมมุขาวินัย ๒. เยภุยยสิกา
ไม่ระงับด้วยสมถะ ๕ คือ

๑. สติวินัย ๒. อมูฬหวินัย
๓. ปฏิญญาตกรณะ ๔. ตัสสปาปิยสิกา
๕. ติณวัตถารกะ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๑๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมถเภท] ๑๘. สัมมันตินสัมมันติวาร
ถาม : อนุวาทาธิกรณ์และอาปัตตาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะเท่าไร ไม่ระงับด้วย
สมถะเท่าไร
ตอบ : อนุวาทาธิกรณ์และอาปัตตาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๖ คือ
๑. สัมมุขาวินัย ๒. สติวินัย
๓. อมูฬหวินัย ๔. ปฏิญญาตกรณะ
๕. ตัสสปาปิยสิกา ๖. ติณวัตถารกะ
ไม่ระงับด้วยสมถะ ๑ คือ เยภุยยสิกา
ถาม : อนุวาทาธิกรณ์และกิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะเท่าไร ไม่ระงับด้วยสมถะ
เท่าไร
ตอบ : อนุวาทาธิกรณ์และกิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๔ คือ
๑. สัมมุขาวินัย ๒. สติวินัย
๓. อมูฬหวินัย ๔. ตัสสปาปิยสิกา
ไม่ระงับด้วยสมถะ ๓ คือ
๑. เยภุยยสิกา ๒. ปฏิญญาตกรณะ
๓. ติณวัตถารกะ
ถาม : อาปัตตาธิกรณ์และกิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะเท่าไร ไม่ระงับด้วยสมถะ
เท่าไร
ตอบ : อาปัตตาธิกรณ์และกิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๓ คือ
๑. สัมมุขาวินัย ๒. ปฏิญญาตกรณะ
๓. ติณวัตถารกะ
ไม่ระงับด้วยสมถะ ๔ คือ

๑. เยภุยยสิกา ๒. สติวินัย
๓. อมูฬหวินัย ๔. ตัสสปาปิยสิกา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๑๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมถเภท] ๑๘. สัมมันตินสัมมันติวาร
ถาม : วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์และอาปัตตาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ไม่ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์และอาปัตตาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๗ คือ

๑. สัมมุขาวินัย ๒. เยภุยยสิกา
๓. สติวินัย ๔. อมูฬหวินัย
๕. ปฏิญญาตกรณะ ๖. ตัสสปาปิยสิกา
๗. ติณวัตถารกะ

ถาม : วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์และกิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะเท่าไร ไม่
ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์และกิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๕ คือ

๑. สัมมุขาวินัย ๒. เยภุยยสิกา
๓. สติวินัย ๔. อมูฬหวินัย
๕. ตัสสปาปิยสิกา

ไม่ระงับด้วยสมถะ ๒ คือ
๑. ปฏิญญาตกรณะ ๒. ติณวัตถารกะ
ถาม : อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์และกิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ไม่ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์และกิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๖ คือ

๑. สัมมุขาวินัย ๒. สติวินัย
๓. อมูฬหวินัย ๔. ปฏิญญาตกรณะ
๕. ตัสสปาปิยสิกา ๖. ติณวัตถารกะ

ไม่ระงับด้วยสมถะ ๑ คือ เยภุยยสิกา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๑๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมถเภท] ๑๙. สมถาธิกรณวาร
ถาม : วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ และกิจจาธิกรณ์
ระงับด้วยสมถะเท่าไร ไม่ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ และกิจจาธิกรณ์
ระงับด้วยสมถะ ๗ คือ

๑. สัมมุขาวินัย ๒. เยภุยยสิกา
๓. สติวินัย ๔. อมูฬหวินัย
๕. ปฏิญญาตกรณะ ๖. ตัสสปาปิยสิกา
๗. ติณวัตถารกะ

สัมมันตินสัมมันติวารที่ ๑๘ จบ

๑๙. สมถาธิกรณวาร
วาระว่าด้วยอธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ
[๓๐๙] ถาม : สมถะระงับด้วยสมถะหรือ สมถะระงับด้วยอธิกรณ์หรือ
อธิกรณ์ระงับด้วยสมถะหรือ อธิกรณ์ระงับด้วยอธิกรณ์หรือ
ตอบ : สมถะระงับด้วยสมถะก็มี สมถะไม่ระงับด้วยสมถะก็มี สมถะระงับด้วย
อธิกรณ์ก็มี สมถะไม่ระงับด้วยอธิกรณ์ก็มี อธิกรณ์ระงับด้วยสมถะก็มี อธิกรณ์ไม่
ระงับด้วยสมถะก็มี อธิกรณ์ระงับด้วยอธิกรณ์ก็มี อธิกรณ์ไม่ระงับด้วยอธิกรณ์ก็มี
[๓๑๐] ถาม : สมถะระงับด้วยสมถะได้อย่างไร สมถะไม่ระงับด้วยสมถะได้
อย่างไร
ตอบ : เยภุยยสิกา ระงับด้วยสัมมุขาวินัย ไม่ระงับด้วยสติวินัย อมูฬหวินัย
ปฏิญญาตกรณะ ตัสสปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ
สติวินัย ระงับด้วยสัมมุขาวินัย ไม่ระงับด้วยอมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ ตัสส-
ปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ เยภุยยสิกา
อมูฬหวินัย ระงับด้วยสัมมุขาวินัย ไม่ระงับด้วยปฏิญญาตกรณะ ตัสสปาปิยสิกา
ติณวัตถารกะ เยภุยยสิกา สติวินัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๑๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมถเภท] ๑๙. สมถาธิกรณวาร
ปฏิญญาตกรณะ ระงับด้วยสัมมุขาวินัย ไม่ระงับด้วยตัสสปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ
เยภุยยสิกา สติวินัย อมูฬหวินัย
ตัสสปาปิยสิกา ระงับด้วยสัมมุขาวินัย ไม่ระงับด้วยติณวัตถารกะ เยภุยยสิกา
สติวินัย อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ
ติณวัตถารกะ ระงับด้วยสัมมุขาวินัย ไม่ระงับด้วยเยภุยยสิกา สติวินัย อมูฬหวินัย
ปฏิญญาตกรณะ ตัสสปาปิยสิกา
สมถะระงับด้วยสมถะได้อย่างนี้ สมถะไม่ระงับด้วยสมถะได้อย่างนี้
[๓๑๑] ถาม : สมถะระงับด้วยอธิกรณ์ได้อย่างไร สมถะไม่ระงับด้วยอธิกรณ์
ได้อย่างไร
ตอบ : สัมมุขาวินัยไม่ระงับด้วยวิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์
แต่ระงับด้วยกิจจาธิกรณ์
เยภุยยสิกาไม่ระงับด้วยวิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ แต่ระงับ
ด้วยกิจจาธิกรณ์
สติวินัยไม่ระงับด้วยวิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ แต่ระงับด้วย
กิจจาธิกรณ์
อมูฬหวินัยไม่ระงับด้วยวิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ แต่ระงับ
ด้วยกิจจาธิกรณ์
ปฏิญญาตกรณะไม่ระงับด้วยวิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ แต่
ระงับด้วยกิจจาธิกรณ์
ตัสสปาปิยสิกาไม่ระงับด้วยวิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ แต่
ระงับด้วยกิจจาธิกรณ์
ติณวัตถารกะไม่ระงับด้วยวิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ แต่
ระงับด้วยกิจจาธิกรณ์
สมถะระงับด้วยอธิกรณ์ได้อย่างนี้ สมถะไม่ระงับด้วยอธิกรณ์ได้อย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๑๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมถเภท] ๑๙. สมถาธิกรณวาร
[๓๑๒] ถาม : อธิกรณ์ระงับด้วยสมถะได้อย่างไร อธิกรณ์ไม่ระงับด้วยสมถะ
ได้อย่างไร
ตอบ : วิวาทาธิกรณ์ระงับด้วยสัมมุขาวินัย และเยภุยยสิกา ไม่ระงับด้วยสติ
วินัย อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ ตัสสปาปิยสิกา และติณวัตถารกะ
อนุวาทาธิกรณ์ระงับด้วยสัมมุขาวินัย สติวินัย อมูฬหวินัย และตัสสปาปิยสิกา
ไม่ระงับด้วยเยภุยยสิกา ปฏิญญาตกรณะและติณวัตถารกะ
อาปัตตาธิกรณ์ระงับด้วยสัมมุขาวินัย ปฏิญญาตกรณะ และติณวัตถารกะ
ไม่ระงับด้วยเยภุยยสิกา สติวินัย อมูฬหวินัย และตัสสปาปิยสิกา
กิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสัมมุขาวินัย ไม่ระงับด้วยเยภุยยสิกา สติวินัย อมูฬหวินัย
ปฏิญญาตกรณะ ตัสสปาปิยสิกา และติณวัตถารกะ
อธิกรณ์ระงับด้วยสมถะได้อย่างนี้ อธิกรณ์ไม่ระงับด้วยสมถะได้อย่างนี้
[๓๑๓] ถาม : อธิกรณ์ระงับด้วยอธิกรณ์ได้อย่างไร อธิกรณ์ไม่ระงับด้วยอธิกรณ์
ได้อย่างไร
ตอบ : วิวาทาธิกรณ์ไม่ระงับด้วยวิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์
แต่ระงับด้วยกิจจาธิกรณ์
อนุวาทาธิกรณ์ไม่ระงับด้วยวิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ แต่
ระงับด้วยกิจจาธิกรณ์
อาปัตตาธิกรณ์ไม่ระงับด้วยวิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ แต่
ระงับด้วยกิจจาธิกรณ์
กิจจาธิกรณ์ไม่ระงับด้วยวิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ แต่ระงับ
ด้วยกิจจาธิกรณ์
อธิกรณ์ระงับด้วยอธิกรณ์ได้อย่างนี้ อธิกรณ์ไม่ระงับด้วยอธิกรณ์ได้อย่างนี้
สมถะทั้ง ๖ สมุฏฐาน อธิกรณ์ทั้ง ๔ อย่าง ระงับด้วยสัมมุขาวินัย แต่สัมมุขา
วินัยไม่ระงับด้วยอะไร
สมถาธิกรณวารที่ ๑๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๑๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมถเภท] ๒๐. สมุฏฐาเปติวาร
๒๐. สมุฏฐาเปติวาร
วาระว่าด้วยอธิกรณ์ยังอธิกรณ์ให้เกิดขึ้น
[๓๑๔] ถาม : วิวาทาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง ยังอธิกรณ์อย่างไหน
ให้เกิดขึ้น บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง วิวาทาธิกรณ์ไม่ยังอธิกรณ์อย่างไหนให้เกิด
ตอบ : อีกอย่าง เพราะวิวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย อธิกรณ์ทั้ง ๔ ย่อมเกิดได้
มีอุปมาเหมือนอะไร เหมือนภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ ย่อมวิวาทกันว่า
นี้เป็นธรรม นี้เป็นอธรรม นี้เป็นวินัย นี้มิใช่วินัย นี้พระตถาคตได้ภาษิตไว้
ได้ตรัสไว้ นี้พระตถาคตไม่ได้ภาษิตไว้ ไม่ได้ตรัสไว้ จริยาวัตรนี้พระตถาคตทรงประพฤติ
มา จริยาวัตรนี้พระตถาคตมิได้ทรงประพฤติมา นี้พระตถาคตทรงบัญญัติไว้ นี้พระ
ตถาคตมิได้ทรงบัญญัติไว้ นี้อาบัติ นี้เป็นอนาบัติ นี้เป็นอาบัติเบา นี้เป็นอาบัติหนัก
นี้เป็นอาบัติที่มีส่วนเหลือ นี้เป็นอาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือ นี้เป็นอาบัติชั่วหยาบ นี้เป็น
อาบัติไม่ชั่วหยาบ
ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง การทุ่มเถียง การกล่าวต่างกัน
การกล่าวโดยประการอื่น การพูดเพื่อความกลัดกลุ้ม ความหมายมั่นในเรื่องนั้น นี้เรียก
ว่า วิวาทาธิกรณ์ สงฆ์วิวาทกันในวิวาทาธิกรณ์ จัดเป็นวิวาทาธิกรณ์ เมื่อวิวาทกัน
ย่อมโจท จัดเป็นอนุวาทาธิกรณ์ เมื่อโจท ย่อมต้องอาบัติ จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์
สงฆ์ทำกรรมตามอาบัตินั้น จัดเป็นกิจจาธิกรณ์
เพราะวิวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย อธิกรณ์ทั้ง ๔ ย่อมเกิดได้อย่างนี้
[๓๑๕] ถาม : อนุวาทาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง ยังอธิกรณ์อย่างไหน
ให้เกิด อนุวาทาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง ไม่ยังอธิกรณ์อย่างไหนให้เกิด
ตอบ : อีกอย่าง เพราะอนุวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย อธิกรณ์ทั้ง ๔ ย่อมเกิดได้
มีอุปมาเหมือนอะไร เหมือนภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ ย่อมโจทภิกษุด้วยสีลวิบัติ
บ้าง อาจารวิบัติบ้าง ทิฏฐิวิบัติบ้าง อาชีววิบัติบ้าง การโจท การกล่าวหา การ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๑๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมถเภท] ๒๐. สมุฏฐาเปติวาร
ฟ้องร้อง การประท้วง ความคล้อยตาม การพยายามโจท การสนับสนุนในเรื่องนั้น
นี้เรียกว่า อนุวาทาธิกรณ์ สงฆ์ย่อมวิวาทกันในอนุวาทาธิกรณ์ จัดเป็นวิวาทาธิกรณ์
เมื่อวิวาทกัน ย่อมโจท จัดเป็นอนุวาทาธิกรณ์ เมื่อโจท ย่อมต้องอาบัติ จัดเป็น
อาปัตตาธิกรณ์ สงฆ์ทำกรรมตามอาบัตินั้น จัดเป็นกิจจาธิกรณ์
เพราะอนุวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย อธิกรณ์ทั้ง ๔ ย่อมเกิดได้อย่างนี้
[๓๑๖] ถาม : อาปัตตาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง ยังอธิกรณ์อย่างไหน
ให้เกิด อาปัตตาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง ไม่ยังอธิกรณ์อย่างไหนให้เกิด
ตอบ : อีกอย่าง เพราะอาปัตตาธิกรณ์เป็นปัจจัย อธิกรณ์ทั้ง ๔ ย่อมเกิดได้
มีอุปมาเหมือนอะไร เหมือนกองอาบัติทั้ง ๕ ชื่ออาปัตตาธิกรณ์ กองอาบัติทั้ง ๗
ก็ชื่ออาปัตตาธิกรณ์ นี้เรียกว่า อาปัตตาธิกรณ์ สงฆ์ย่อมวิวาทกันในอาปัตตาธิกรณ์
จัดเป็นวิวาทาธิกรณ์ เมื่อวิวาทกัน ย่อมโจท จัดเป็นอนุวาทาธิกรณ์ เมื่อโจท ย่อม
ต้องอาบัติ จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์ สงฆ์ทำกรรมตามอาบัตินั้น จัดเป็นกิจจาธิกรณ์
เพราะอาปัตตาธิกรณ์เป็นปัจจัย อธิกรณ์ทั้ง ๔ ย่อมเกิดได้อย่างนี้
[๓๑๗] ถาม : กิจจาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง ยังอธิกรณ์อย่างไหน
ให้เกิด กิจจาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง ไม่ยังอธิกรณ์อย่างไหนให้เกิด
ตอบ : อีกอย่าง เพราะกิจจาธิกรณ์ อธิกรณ์ทั้ง ๔ ย่อมเกิดได้ มีอุปมา
เหมือนอะไร เหมือนความที่สงฆ์มีกรรมที่จะพึงทำ ความที่สงฆ์มีกิจที่จะต้องทำ อปโลกน
กรรม ญัตติกรรม ญัตติทุติยกรรม ญัตติจตุตถกรรม นี้เรียกว่า กิจจาธิกรณ์ สงฆ์
ย่อมวิวาทกันในกิจจาธิกรณ์ จัดเป็นวิวาทาธิกรณ์ เมื่อวิวาทกัน ย่อมโจท จัดเป็น
อนุวาทาธิกรณ์ เมื่อโจท ย่อมต้องอาบัติ จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์ สงฆ์ทำกรรมตาม
อาบัตินั้น จัดเป็นกิจจาธิกรณ์
เพราะกิจจาธิกรณ์เป็นปัจจัย อธิกรณ์ทั้ง ๔ ย่อมเกิดได้อย่างนี้
สมุฏฐาเปติวารที่ ๒๐ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๑๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมถเภท] ๒๑. ภชติวาร
๒๑. ภชติวาร
วาระว่าด้วยจัดเป็นอธิกรณ์ไหน
[๓๑๘] ถาม : วิวาทาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอธิกรณ์อย่าง
ไหน อาศัยอธิกรณ์อย่างไหน นับเนื่องในอธิกรณ์อย่างไหน จัดเข้าอธิกรณ์อย่างไหน
อนุวาทาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอธิกรณ์อย่างไหน อาศัย
อธิกรณ์อย่างไหน นับเนื่องในอธิกรณ์อย่างไหน จัดเข้าอธิกรณ์อย่างไหน
อาปัตตาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอธิกรณ์อย่างไหน อาศัย
อธิกรณ์อย่างไหน นับเนื่องในอธิกรณ์อย่างไหน จัดเข้าอธิกรณ์อย่างไหน
กิจจาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอธิกรณ์อย่างไหน อาศัยอธิกรณ์
อย่างไหน นับเนื่องในอธิกรณ์อย่างไหน จัดเข้าอธิกรณ์อย่างไหน
ตอบ : วิวาทาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นวิวาทาธิกรณ์ อาศัย
วิวาทาธิกรณ์ นับเนื่องในวิวาทาธิกรณ์ จัดเข้าวิวาทาธิกรณ์
อนุวาทาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอนุวาทาธิกรณ์ อาศัย
อนุวาทาธิกรณ์ นับเนื่องในอนุวาทาธิกรณ์ จัดเข้าอนุวาทาธิกรณ์
อาปัตตาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์ อาศัย
อาปัตตาธิกรณ์ นับเนื่องในอาปัตตาธิกรณ์ จัดเข้าอาปัตตาธิกรณ์
กิจจาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นกิจจาธิกรณ์ อาศัย
กิจจาธิกรณ์ นับเนื่องในกิจจาธิกรณ์ จัดเข้ากิจจาธิกรณ์
[๓๑๙] ถาม : วิวาทาธิกรณ์ บรรดาสมถะ ๗ อย่าง บ่งถึงสมถะเท่าไร
อาศัยสมถะเท่าไร นับเนื่องในสมถะเท่าไร จัดเข้าสมถะเท่าไร ระงับด้วยสมถะเท่าไร
อนุวาทาธิกรณ์ ฯลฯ อาปัตตาธิกรณ์ ฯลฯ กิจจาธิกรณ์ บรรดาสมถะ ๗
บ่งถึงสมถะเท่าไร อาศัยสมถะเท่าไร นับเนื่องในสมถะเท่าไร จัดเข้าสมถะเท่าไร
ระงับด้วยสมถะเท่าไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๑๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมถเภท] รวมวาระที่มีในสมถเภท
ตอบ : วิวาทาธิกรณ์ บรรดาสมถะ ๗ บ่งถึงสมถะ ๒ อาศัยสมถะ ๒
นับเนื่องในสมถะ ๒ จัดเข้าสมถะ ๒ ระงับด้วยสมถะ ๒ คือ
๑. สัมมุขาวินัย ๒. เยภุยยสิกา
อนุวาทาธิกรณ์ บรรดาสมถะ ๗ บ่งถึงสมถะ ๔ อาศัยสมถะ ๔ นับเนื่องใน
สมถะ ๔ จัดเข้าสมถะ ๔ ระงับด้วยสมถะ ๔ คือ
๑. สัมมุขาวินัย ๒. สติวินัย
๓. อมูฬหวินัย ๔. ตัสสปาปิยสิกา
อาปัตตาธิกรณ์บรรดาสมถะ ๗ บ่งถึงสมถะ ๓ อาศัยสมถะ ๓ นับเนื่องใน
สมถะ ๓ จัดเข้าสมถะ ๓ ระงับด้วยสมถะ ๓ คือ
๑. สัมมุขาวินัย ๒. ปฏิญญาตกรณะ
๓. ติณวัตถารกะ
กิจจาธิกรณ์ บรรดาสมถะ ๗ บ่งถึงสมถะ ๑ อาศัยสมถะ ๑ นับเนื่องในสมถะ
๑ จัดเข้าสมถะ ๑ ระงับด้วยสมถะ ๑ คือ สัมมุขาวินัย
ภชติวารที่ ๒๑ จบ
สมถเภท จบ

รวมวาระที่มีในสมถเภท
อธิกรณปริยายวาร สาธารณวาร ตัพภาคิยวาร
สมถสาธารณวาร สมถตัพภาคิยวาร สมถสัมมุขาวินยวาร
วินยวาร กุสลวาร ยัตถวารปุจฉาวาร
สมถวิสัชชนาวาร สังสัฏฐวาร สัมมติวาร
สัมมันตินสัมมันติวาร สมถาธิกรณวาร
สมุฏฐาปนวาร ภชติวาร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๑๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ขันธกปุจฉาวาร] ขันธกปุจฉาวาร
ขันธกปุจฉาวาร
ว่าด้วยวาระคำถามและคำตอบถึงขันธกะ
[๓๒๐] ข้าพเจ้าจักถามถึงอุปสัมปทาขันธกะ๑ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร
ข้าพเจ้าจักตอบอุปสัมปทาขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติ ๒ อย่าง
ข้าพเจ้าจักถามถึงอุโปสถขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร
ข้าพเจ้าจักตอบอุโปสถขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติ ๓ อย่าง
ข้าพเจ้าจักถามถึงวัสสูปนายิกขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร
ข้าพเจ้าจักตอบวัสสูปนายิกขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติ ๑ อย่าง
ข้าพเจ้าจักถามถึงปวารณาขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร
ข้าพเจ้าจักตอบปวารณาขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติ ๓ อย่าง
ข้าพเจ้าจักถามถึงจัมมสัญญุตตขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร
ข้าพเจ้าจักตอบจัมมสัญญุตตขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติ ๓ อย่าง

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงมหาขันธกะ (วิ.ม. (แปล) ๔/๑-๑๓๑/๑-๒๐๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๒๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ขันธกปุจฉาวาร] ขันธกปุจฉาวาร
ข้าพเจ้าจักถามถึงเภสัชชขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร
ข้าพเจ้าจักตอบเภสัชชขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติ ๓ อย่าง
ข้าพเจ้าจักถามถึงกฐินขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร
ข้าพเจ้าจักตอบกฐินขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ในกฐินขันธกะ ไม่ปรับอาบัติ
ข้าพเจ้าจักถามถึงจีวรสัญญุตตขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร
ข้าพเจ้าจักตอบจีวรสัญญุตตขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติ ๓ อย่าง
ข้าพเจ้าจักถามถึงจัมเปยยขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร
ข้าพเจ้าจักตอบจัมเปยยขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติ ๑ อย่าง
ข้าพเจ้าจักถามถึงโกสัมพิกขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร
ข้าพเจ้าจักตอบโกสัมพิกขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติ ๑ อย่าง
ข้าพเจ้าจักถามถึงกัมมขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร
ข้าพเจ้าจักตอบกัมมขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติ ๑ อย่าง
ข้าพเจ้าจักถามถึงปาริวาสิกขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๒๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ขันธกปุจฉาวาร] ขันธกปุจฉาวาร
ข้าพเจ้าจักตอบปาริวาสิกขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติ ๑ อย่าง
ข้าพเจ้าจักถามถึงสมุจจยขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร
ข้าพเจ้าจักตอบสมุจจยขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติ ๑ อย่าง
ข้าพเจ้าจักถามถึงสมถขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร
ข้าพเจ้าจักตอบสมถขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติ ๒ อย่าง
ข้าพเจ้าจักถามถึงขุททกวัตถุขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร
ข้าพเจ้าจักตอบขุททกวัตถุขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติ ๓ อย่าง
ข้าพเจ้าจักถามถึงเสนาสนขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร
ข้าพเจ้าจักตอบเสนาสนขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติ ๓ อย่าง
ข้าพเจ้าจักถามถึงสังฆเภทขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร
ข้าพเจ้าจักตอบสังฆเภทขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติ ๒ อย่าง
ข้าพเจ้าจักถามถึงสมาจารขันธกะ๑ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงวัตตักขันธกะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๒๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ขันธกปุจฉาวาร] ขันธกปุจฉาวาร
ข้าพเจ้าจักตอบสมาจารขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติ ๑ อย่าง
ข้าพเจ้าจักถามถึงฐปนขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร
ข้าพเจ้าจักตอบฐปนขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติ ๑ อย่าง
ข้าพเจ้าจักถามถึงภิกขุนีขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร
ข้าพเจ้าจักตอบภิกขุนีขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติ ๒ อย่าง
ข้าพเจ้าจักถามถึงปัญจสติกขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร
ข้าพเจ้าจักตอบปัญจสติกขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด
ในปัญจสติกขันธกะไม่ปรับอาบัติ
ข้าพเจ้าจักถามถึงสัตตสติกขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร
ข้าพเจ้าจักตอบสัตตสติกขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด
ในสัตตสติกขันธกะไม่ปรับอาบัติ
ขันธกปุจฉาวารที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๒๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ขันธกปุจฉาวาร] หัวข้อประจำวาร
หัวข้อประจำวาร
อุปสัมปทาขันธกะ อุโปสถขันธกะ วัสสูปนายิกขันธกะ
ปวารณาขันธกะ จัมมขันธกะ เภสัชชขันธกะ กฐินขันธกะ
จีวรขันธกะ จัมเปยยขันธกะ โกสัมพิกขันธกะ
กัมมขันธกะ ปาริวาสิกขันธกะ สมุจจยขันธกะ
สมถขันธกะ ขุททกวัตถุขันธกะ เสนาสนขันธกะ
สังฆเภทขันธกะ สมาจารขันธกะ ฐปนขันธกะ
ภิกขุนีขันธกะ ปัญจสติกขันธกะ สัตตสติกขันธกะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๒๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๑. เอกกวาร
เอกุตตริกนัย
ว่าด้วยนัยเกินหนึ่ง
๑. เอกกวาร
ว่าด้วยหมวด ๑
[๓๒๑] พึงรู้ธรรมทั้งหลายที่ก่ออาบัติ พึงรู้ธรรมทั้งหลายที่ไม่ก่ออาบัติ พึงรู้
อาบัติ พึงรู้อนาบัติ พึงรู้อาบัติเบา พึงรู้อาบัติหนัก พึงรู้อาบัติที่มีส่วนเหลือ พึงรู้
อาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือ พึงรู้อาบัติชั่วหยาบ พึงรู้อาบัติไม่ชั่วหยาบ พึงรู้อาบัติที่ทำ
คืนได้ พึงรู้อาบัติที่ทำคืนไม่ได้ พึงรู้อาบัติที่เป็นเทสนาคามินี พึงรู้อาบัติที่เป็น
อเทสนาคามินี พึงรู้อาบัติที่ทำอันตราย พึงรู้อาบัติที่ไม่ทำอันตราย พึงรู้อาบัติที่มี
โทษทางพระบัญญัติ พึงรู้อาบัติที่ไม่มีโทษทางพระบัญญัติ พึงรู้อาบัติที่เกิดจากการ
กระทำ พึงรู้อาบัติที่เกิดจากการไม่ทำ พึงรู้อาบัติที่เกิดจากการกระทำและจากการไม่ทำ
พึงรู้อาบัติก่อน พึงรู้อาบัติหลัง พึงรู้อาบัติระหว่างอาบัติก่อน พึงรู้อาบัติระหว่าง
อาบัติหลัง พึงรู้อาบัตินับเข้าจำนวนที่แสดงแล้ว พึงรู้อาบัติไม่นับเข้าจำนวนที่แสดงแล้ว
พึงรู้บัญญัติ พึงรู้อนุบัญญัติ พึงรู้อนุปปันนบัญญัติ พึงรู้สัพพัตถบัญญัติ พึงรู้ปเทส
บัญญัติ พึงรู้สาธารณบัญญัติ พึงรู้อสาธารณบัญญัติ พึงรู้เอกโตบัญญัติ พึงรู้อุภโต
บัญญัติ พึงรู้อาบัติมีโทษหนัก พึงรู้อาบัติมีโทษเบา พึงรู้อาบัติที่เกี่ยวกับคฤหัสถ์
พึงรู้อาบัติที่ไม่เกี่ยวกับคฤหัสถ์ พึงรู้อาบัติที่แน่นอน พึงรู้อาบัติที่ไม่แน่นอน พึงรู้
บุคคลผู้เป็นต้นบัญญัติ พึงรู้บุคคลผู้ไม่เป็นต้นบัญญัติ พึงรู้บุคคลผู้ไม่ต้องอาบัติเป็นนิจ
พึงรู้บุคคลผู้ต้องอาบัติเนือง ๆ พึงรู้บุคคลผู้เป็นโจทก์ พึงรู้บุคคลผู้เป็นจำเลย พึงรู้
บุคคลผู้ฟ้องโดยไม่เป็นธรรม พึงรู้บุคคลผู้ถูกฟ้องโดยไม่เป็นธรรม พึงรู้บุคคลผู้ฟ้อง
โดยเป็นธรรม พึงรู้บุคคลผู้ถูกฟ้องโดยเป็นธรรม พึงรู้บุคคลผู้แน่นอน พึงรู้บุคคล
ผู้ไม่แน่นอน พึงรู้บุคคลผู้ควรต้องอาบัติ พึงรู้บุคคลผู้ไม่ควรต้องอาบัติ พึงรู้บุคคลผู้ถูก
สงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม พึงรู้บุคคลผู้ไม่ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม พึงรู้บุคคลผู้ถูกนาสนะ
พึงรู้บุคคลผู้ไม่ถูกนาสนะ พึงรู้บุคคลผู้เป็นสมานสังวาส พึงรู้บุคคลผู้เป็นนานาสังวาส
พึงรู้การงดปาติโมกข์แล
เอกกวาร จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๒๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] หัวข้อประจำวาร
หัวข้อประจำวาร
ธรรมที่ก่ออาบัติ และธรรมที่ไม่ก่ออาบัติ อาบัติ และอนาบัติ
อาบัติเบา และอาบัติหนัก อาบัติมีส่วนเหลือ และอาบัติไม่มีส่วนเหลือ
อาบัติชั่วหยาบ และอาบัติไม่ชั่วหยาบ
อาบัติที่ทำคืนได้ และอาบัติทำคืนไม่ได้
อาบัติที่เป็นเทสนาคามินี และอาบัติที่เป็นอเทสนาคามินี
อาบัติที่ทำอันตราย และอาบัติที่ไม่ทำอันตราย
อาบัติที่มีโทษ และอาบัติที่ไม่มีโทษ
อาบัติที่เกิดจากการกระทำ และอาบัติที่เกิดจากการไม่ทำ
อาบัติที่เกิดจากการกระทำ และไม่กระทำ อาบัติก่อน และอาบัติหลัง
อาบัติระหว่างอาบัติก่อน และอาบัติระหว่างอาบัติหลัง
อาบัติที่นับเข้าจำนวน และอาบัติที่ไม่นับเข้าจำนวน
บัญญัติ และอนุบัญญัติ อนุปปันนบัญญัติ สัพพัตถบัญญัติ
และปเทสบัญญัติ สาธารณบัญญัติ และอสาธารณบัญญัติ
เอกโตบัญญัติและอุภโตบัญญัติ
อาบัตมีโทษหนักและอาบัติที่มีโทษเบา
อาบัติที่เกี่ยวกับคฤหัสถ์ และอาบัติที่ไม่เกี่ยวกับคฤหัสถ์
อาบัติที่แน่นอน และอาบัติที่ไม่แน่นอน
บุคคลผู้เป็นต้นบัญญัติ และบุคคลผู้ไม่เป็นต้นบัญญัติ
บุคคลผู้ไม่ต้องอาบัติเป็นนิจ และบุคคลผู้ต้องอาบัติเนือง ๆ
บุคคลผู้เป็นโจทก์ และบุคคลผู้เป็นจำเลย
บุคคลผู้ฟ้องโดยไม่เป็นธรรม และบุคคลผู้ถูกฟ้องโดยไม่เป็นธรรม
บุคคลผู้ฟ้องโดยเป็นธรรม และบุคคลผู้ถูกฟ้องโดยเป็นธรรม
บุคคลผู้แน่นอน และบุคคลผู้ไม่แน่นอน
บุคคลผู้ควรต้องอาบัติ และบุคคลผู้ไม่ควรต้องอาบัติ
บุคคลผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม และบุคคลผู้ไม่ถูกสงฆ์ลงอุปเขปนียกรรม
บุคคลผู้ถูกนาสนะ และบุคคลผู้ไม่ถูกนาสนะ
บุคคลผู้มีสังวาสเสมอกัน และบุคคลมีสังวาสต่างกัน
การงดและหัวข้อดังกล่าวนี้ จัดรวมเข้าด้วยกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๒๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๒. ทุกวาร
๒. ทุกวาร
ว่าด้วยหมวด ๒
[๓๒๒] อาบัติเป็นสัญญาวิโมกข์มีอยู่ อาบัติไม่เป็นสัญญาวิโมกข์มีอยู่ อาบัติ
ของภิกษุผู้ได้สมาบัติมีอยู่ อาบัติของภิกษุผู้ไม่ได้สมาบัติมีอยู่ อาบัติเกี่ยวเนื่องด้วย
สัทธรรมมีอยู่ อาบัติไม่เกี่ยวเนื่องด้วยสัทธรรมมีอยู่ อาบัติเกี่ยวเนื่องด้วยบริขารของ
ตนมีอยู่ อาบัติเกี่ยวเนื่องด้วยบริขารของผู้อื่นมีอยู่ อาบัติเกี่ยวเนื่องด้วยบุคคลคือ
ตนเองมีอยู่ อาบัติเกี่ยวเนื่องด้วยบุคคลอื่นมีอยู่ อาบัติที่เมื่อภิกษุพูดจริง ย่อมต้อง
อาบัติหนักมีอยู่ อาบัติที่เมื่อภิกษุพูดเท็จ ย่อมต้องอาบัติเบามีอยู่ อาบัติที่เมื่อภิกษุ
พูดเท็จ ย่อมต้องอาบัติหนักมีอยู่ อาบัติที่เมื่อภิกษุพูดจริง ย่อมต้องอาบัติเบามีอยู่
อาบัติที่ภิกษุอยู่บนแผ่นดินแล้วต้อง อยู่ในอากาศแล้วไม่ต้องมีอยู่ อาบัติที่ภิกษุอยู่
ในอากาศแล้วต้อง อยู่บนแผ่นดินไม่ต้องมีอยู่ อาบัติที่เมื่อภิกษุออกไปต้อง เข้าไป
ไม่ต้องมีอยู่ อาบัติที่เมื่อภิกษุเข้าไปต้อง ออกไปไม่ต้องมีอยู่ อาบัติที่ภิกษุเมื่อถือ
เอาจึงต้องมีอยู่ อาบัติที่ภิกษุเมื่อไม่ถือเอาก็ต้องมีอยู่ อาบัติที่ภิกษุเมื่อสมาทานจึง
ต้องมีอยู่ อาบัติที่ภิกษุเมื่อไม่สมาทานก็ต้องมีอยู่ อาบัติที่ภิกษุเมื่อทำจึงต้องมีอยู่
อาบัติที่ภิกษุเมื่อไม่ทำก็ต้องมีอยู่ อาบัติที่ภิกษุเมื่อให้จึงต้องมีอยู่ อาบัติที่ภิกษุเมื่อ
ไม่ให้ก็ต้องมีอยู่ อาบัติที่ภิกษุเมื่อรับจึงต้องมีอยู่ อาบัติที่ภิกษุเมื่อไม่รับก็ต้องมีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องเพราะบริโภคมีอยู่ อาบัติที่ภิกษุต้องเพราะไม่บริโภคมีอยู่ อาบัติที่
ภิกษุต้องในเวลากลางคืน ไม่ต้องในเวลากลางวันมีอยู่ อาบัติที่ภิกษุต้องในเวลากลางวัน
ไม่ต้องในเวลากลางคืนมีอยู่ อาบัติที่ภิกษุต้องเพราะอรุณขึ้นมีอยู่ อาบัติที่ภิกษุต้อง
ไม่ใช่เพราะอรุณขึ้นมีอยู่ อาบัติที่ภิกษุเมื่อตัดจึงต้องมีอยู่ อาบัติที่ภิกษุเมื่อไม่ตัด
ก็ต้องมีอยู่ อาบัติที่ภิกษุเมื่อปิดไว้จึงต้องมีอยู่ อาบัติที่ภิกษุเมื่อไม่ปิดไว้ก็ต้องมีอยู่
อาบัติที่ภิกษุเมื่อทรงไว้จึงต้องมีอยู่ อาบัติที่ภิกษุเมื่อไม่ทรงไว้ก็ต้องมีอยู่

ว่าด้วยวันอุโบสถ เป็นต้น
วันอุโบสถมี ๒ วัน คือ
๑. วันอุโบสถในวัน ๑๔ ค่ำ ๒. วันอุโบสถในวัน ๑๕ ค่ำ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๒๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๒. ทุกวาร
วันปวารณามี ๒ วัน คือ
๑. วันปวารณาในวัน ๑๔ ค่ำ ๒. วันปวารณาในวัน ๑๕ ค่ำ
กรรมมี ๒ อย่าง คือ
๑. อปโลกนกรรม ๒. ญัตติกรรม
กรรมแม้อื่นอีกก็มี ๒ อย่าง คือ
๑. ญัตติทุติยกรรม ๒. ญัตติจตุตถกรรม
วัตถุแห่งกรรมมี ๒ อย่าง คือ
๑. วัตถุแห่งอปโลกนกรรม ๒. วัตถุแห่งญัตติกรรม
วัตถุแห่งกรรมแม้อื่นอีกก็มี ๒ อย่าง คือ
๑. วัตถุแห่งญัตติทุติยกรรม ๒. วัตถุแห่งญัตติจตุตถกรรม
โทษแห่งกรรมมี ๒ อย่าง คือ
๑. โทษแห่งอปโลกนกรรม ๒. โทษแห่งญัตติกรรม
โทษแห่งกรรมแม้อื่นอีกก็มี ๒ อย่าง คือ
๑. โทษแห่งญัตติทุติยกรรม ๒. โทษแห่งญัตติจตุตถกรรม
สมบัติแห่งกรรมมี ๒ อย่าง คือ
๑. สมบัติแห่งอปโลกนกรรม ๒. สมบัติแห่งญัตติกรรม
สมบัติแห่งกรรมแม้อื่นอีกก็มี ๒ อย่าง คือ
๑. สมบัติแห่งญัตติทุติยกรรม ๒. สมบัติแห่งญัตติจตุตถกรรม
นานาสังวาสกภูมิมี ๒ อย่าง คือ
๑. ภิกษุทำตนให้เป็นนานาสังวาสด้วยตนเอง
๒. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลงอุกเขปนียกรรมภิกษุรูปนั้น เพราะไม่เห็นว่า
เป็นอาบัติ เพราะไม่ทำคืนอาบัติ หรือเพราะไม่สละทิฏฐิบาป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๒๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๒. ทุกวาร
สมานสังวาสกภูมิมี ๒ อย่าง คือ
๑. ภิกษุทำตนให้เป็นสมานสังวาสด้วยตนเอง
๒. สงฆ์พร้อมเพรียงกันรับภิกษุผู้ถูกลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่า
เป็นอาบัติ เพราะไม่ทำคืนอาบัติ หรือเพราะไม่สละทิฏฐิบาปเข้าหมู่

ว่าด้วยปาราชิก เป็นต้น
ปาราชิกมี ๒ อย่าง คือ (๑) ของภิกษุ (๒) ของภิกษุณี
สังฆาทิเสสมี ๒ อย่าง คือ (๑) ของภิกษุ (๒) ของภิกษุณี
ถุลลัจจัยมี ๒ อย่าง คือ (๑) ของภิกษุ (๒) ของภิกษุณี
ปาจิตตีย์มี ๒ อย่าง คือ (๑) ของภิกษุ (๒) ของภิกษุณี
ปาฏิเทสนียะมี ๒ อย่าง คือ (๑) ของภิกษุ (๒) ของภิกษุณี
ทุกกฏมี ๒ อย่าง คือ (๑) ของภิกษุ (๒) ของภิกษุณี
ทุพภาสิตมี ๒ อย่าง คือ (๑) ของภิกษุ (๒) ของภิกษุณี
อาบัติของภิกษุมี ๗ อย่าง ของภิกษุณีก็มี ๗ อย่าง
กองอาบัติของภิกษุมี ๗ อย่าง ของภิกษุณีก็มี ๗ อย่าง
สงฆ์แตกกันด้วยอาการ ๒ อย่าง คือ (๑) ด้วยกรรม (๒) ด้วยการจับสลาก

ว่าด้วยบุคคล
บุคคล ๒ จำพวก สงฆ์ไม่พึงให้อุปสมบท คือ
๑. ผู้มีกาลบกพร่อง ๒. ผู้มีอวัยวะบกพร่อง
บุคคลแม้อีก ๒ จำพวก สงฆ์ไม่พึงให้อุปสมบท คือ
๑. ผู้มีวัตถุวิบัติ ๒. ผู้มีการกระทำเสียหาย
บุคคลแม้อีก ๒ จำพวก สงฆ์ไม่พึงให้อุปสมบท คือ
๑. ผู้ไม่บริบูรณ์ ๒. ผู้บริบูรณ์ แต่ไม่ขออุปสมบท

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๒๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๒. ทุกวาร
ไม่พึงอยู่อาศัยบุคคล ๒ จำพวก คือ
๑. ผู้อลัชชี ๒. ผู้โง่เขลา
ไม่พึงให้นิสัยแก่บุคคล ๒ จำพวก คือ
๑. ผู้อลัชชี ๒. ผู้ลัชชีแต่ไม่ขอ
พึงให้นิสัยแก่บุคคล ๒ จำพวก คือ
๑. ผู้โง่เขลา ๒. ผู้ลัชชีแต่ขอ
บุคคล ๒ จำพวก ไม่ควรต้องอาบัติ คือ
๑. พระพุทธเจ้า ๒. พระปัจเจกพุทธเจ้า
บุคคล ๒ จำพวก ควรต้องอาบัติ คือ
๑. ภิกษุ ๒. ภิกษุณี
บุคคล ๒ จำพวก ไม่จงใจต้องอาบัติ คือ
๑. ภิกษุชั้นอริยบุคคล ๒. ภิกษุณีชั้นอริยบุคคล
บุคคล ๒ จำพวก ควรจงใจต้องอาบัติ คือ
๑. ภิกษุปุถุชน ๒. ภิกษุณีปุถุชน
บุคคล ๒ จำพวก ไม่จงใจประพฤติล่วงวัตถุที่มีโทษแรง คือ
๑. ภิกษุชั้นอริยบุคคล ๒. ภิกษุณีชั้นอริยบุคคล
บุคคล ๒ จำพวก ควรจงใจประพฤติล่วงวัตถุที่มีโทษแรง คือ
๑. ภิกษุปุถุชน ๒. ภิกษุณีปุถุชน

ว่าด้วยปฏิกโกสนา เป็นต้น
ปฏิกโกสนา(การกล่าวคัดค้าน)มี ๒ อย่าง คือ
๑. คัดค้านด้วยกาย ๒. คัดค้านด้วยวาจา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๓๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๒. ทุกวาร
นิสสารณา(การขับออกจากหมู่)มี ๒ อย่าง คือ
๑. บุคคลที่ยังไม่ถูกขับออก ถ้าสงฆ์ขับบุคคลนั้นออกไป บางคนเป็นอัน
ถูกขับออกดีแล้ว
๒. บางคนเป็นอันถูกขับออกไม่ดี
โอสารณา(การเรียกเข้าหมู่)มี ๒ อย่าง คือ
๑. บุคคลที่ยังไม่รับเข้าหมู่ ถ้าสงฆ์รับบุคคลนั้นเข้าหมู่ บางคนเป็น
อันรับเข้าดี
๒. บางคนเป็นอันรับเข้าไม่ดี
ปฏิญญามี ๒ อย่าง คือ
๑. ปฏิญญาด้วยกาย ๒. ปฏิญญาด้วยวาจา
การรับประเคนมี ๒ อย่าง คือ
๑. การรับประเคนด้วยกาย ๒. การรับประเคนด้วยสิ่งที่เนื่อง
ด้วยกาย
การห้ามมี ๒ อย่าง คือ
๑. การห้ามด้วยกาย ๒. การห้ามด้วยวาจา
การทำลายมี ๒ อย่าง คือ
๑. การทำลายสิกขา ๒. การทำลายโภคะ๑
การโจทมี ๒ อย่าง คือ
๑. การโจทด้วยกาย ๒. การโจทด้วยวาจา

ว่าด้วยปลิโพธ เป็นต้น
กฐินมีปลิโพธ ๒ อย่าง คือ
๑. อาวาสปลิโพธ ๒. จีวรปลิโพธ

เชิงอรรถ :
๑ การทำลายสิกขา หมายถึงการไม่ศึกษาสิกขา ๓
การทำลายโภคะ หมายถึงการใช้สอยของสงฆ์หรือของส่วนบุคคลเสียหาย (วิ.อ. ๓/๓๒๒/๔๔๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๓๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๒. ทุกวาร
กฐินมีอปลิโพธ ๒ อย่าง คือ
๑. อาวาสอปลิโพธ ๒. จีวรอปลิโพธ
จีวรมี ๒ อย่าง คือ
๑. คหบดีจีวร ๒. บังสุกุลจีวร
บาตรมี ๒ อย่าง คือ
๑. บาตรเหล็ก ๒. บาตรดิน
เชิงบาตรมี ๒ อย่าง คือ
๑. เชิงบาตรทำด้วยดีบุก ๒. เชิงบาตรทำด้วยตะกั่ว
การอธิษฐานบาตรมี ๒ อย่าง คือ
๑. อธิษฐานด้วยกาย ๒. อธิษฐานด้วยวาจา
การอธิษฐานจีวรมี ๒ อย่าง คือ
๑. อธิษฐานด้วยกาย ๒. อธิษฐานด้วยวาจา
วิกัปมี ๒ อย่าง คือ
๑. วิกัปต่อหน้า ๒. วิกัปลับหลัง
วินัยมี ๒ อย่าง คือ
๑. วินัยของภิกษุ ๒. วินัยของภิกษุณี
เนื้อหาที่ปรากฏในวินัยมี ๒ อย่าง คือ
๑. พระบัญญัติ ๒. อนุโลมบัญญัติ
วินัยมีความขัดเกลา ๒ อย่าง คือ
๑. กำจัดสิ่งไม่ควรด้วยอริยมรรค ๒. ความทำพอประมาณในสิ่ง
ที่ควร

ว่าด้วยต้องอาบัติด้วยอาการ ๒ อย่าง เป็นต้น
ภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการ ๒ อย่าง คือ
๑. ต้องทางกาย ๒. ต้องทางวาจา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๓๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๒. ทุกวาร
ภิกษุออกจากอาบัติด้วยอาการ ๒ อย่าง คือ
๑. ออกด้วยกาย ๒. ออกด้วยวาจา
ปริวาสมี ๒ อย่าง คือ
๑. ปฏิจฉันนปริวาส ๒. อัปปฏิจฉันนปริวาส
ปริวาสแม้อีก ๒ อย่าง คือ
๑. สุทธันตปริวาส ๒. สโมธานปริวาส
มานัตมี ๒ อย่าง คือ
๑. ปฏิจฉันนมานัต ๒. อัปปฏิจฉันนมานัต
มานัตแม้อีก ๒ อย่าง คือ
๑. ปักขมานัต ๒. สโมธานมานัต
รัตติเฉทของบุคคล ๒ จำพวก คือ
๑. ภิกษุผู้อยู่ปริวาส ๒. ภิกษุผู้ประพฤติมานัต

ว่าด้วยไม่เอื้อเฟื้อ เป็นต้น
ความไม่เอื้อเฟื้อมี ๒ อย่าง คือ
๑. ไม่เอื้อเฟื้อต่อบุคคล ๒. ไม่เอื้อเฟื้อต่อธรรม
เกลือมี ๒ ชนิด คือ
๑. เกลือเกิดจากธรรมชาติ ๒. เกลือเกิดจากน้ำด่าง
เกลือแม้อื่นอีกก็มี ๒ ชนิด คือ
๑. เกลือสมุทร ๒. เกลือดำ
เกลือแม้อื่นอีกก็มี ๒ ชนิด คือ
๑. เกลือสินเธาว์ ๒. เกลือดินโปร่ง
เกลือแม้อื่นอีกก็มี ๒ ชนิด คือ
๑. เกลือโรมกะ ๒. เกลือปักขัลลกะ
การบริโภคมี ๒ อย่าง คือ
๑. การบริโภคภายใน ๒. การบริโภคภายนอก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๓๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๒. ทุกวาร
คำด่ามี ๒ อย่าง คือ
๑. คำด่าหยาบ ๒. คำด่าสุภาพ
คำส่อเสียดมีด้วยอาการ ๒ อย่าง คือ
๑. ต้องการให้ผู้อื่นชอบตน ๒. ต้องการให้ผู้อื่นแตกกัน
การฉันคณโภชนะมีด้วยอาการ ๒ อย่าง คือ
๑. เพราะทายกนิมนต์ ๒. เพราะภิกษุออกปากขอเขา
วันเข้าพรรษามี ๒ วัน คือ
๑. วันเข้าพรรษาต้น ๒. วันเข้าพรรษาหลัง
งดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรมมี ๒ อย่าง งดปาติโมกข์ชอบธรรมมี ๒ อย่าง

ว่าด้วยบุคคลโง่เขลาและบัณฑิต เป็นต้น
บุคคลโง่เขลามี ๒ จำพวก คือ
๑. ผู้รับภาระที่ยังมาไม่ถึง ๒. ผู้ไม่รับภาระที่มาถึงแล้ว
บุคคลบัณฑิตมี ๒ จำพวก คือ
๑. ผู้ไม่รับภาระที่ยังมาไม่ถึง ๒. ผู้รับภาระที่มาถึงแล้ว
บุคคลโง่เขลาแม้อื่นอีกก็มี ๒ จำพวก คือ
๑. ผู้สำคัญสิ่งที่ไม่ควรว่าควร ๒. ผู้สำคัญสิ่งที่ควรว่าไม่ควร
บุคคลบัณฑิตมี ๒ จำพวก คือ
๑. ผู้สำคัญสิ่งที่ไม่ควรว่าไม่ควร ๒. ผู้สำคัญสิ่งที่ควรว่าควร
บุคคลโง่เขลาแม้อื่นอีกก็มี ๒ จำพวก คือ
๑. ผู้สำคัญอนาบัติว่าเป็นอาบัติ ๒. ผู้สำคัญอาบัติว่าเป็นอนาบัติ
บุคคลบัณฑิตมี ๒ จำพวก คือ
๑. ผู้สำคัญอาบัติว่าเป็นอาบัติ ๒. ผู้สำคัญอนาบัติว่าเป็นอนาบัติ
บุคคลโง่เขลาแม้อื่นอีกก็มี ๒ จำพวก คือ
๑. ผู้สำคัญในอธรรมว่าเป็นธรรม ๒. ผู้สำคัญธรรมว่าเป็นอธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๓๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๒. ทุกวาร
บุคคลบัณฑิตมี ๒ จำพวก คือ
๑. ผู้สำคัญอธรรมว่าเป็นอธรรม ๒. ผู้สำคัญธรรมว่าเป็นธรรม
บุคคลโง่เขลาแม้อื่นอีกก็มี ๒ จำพวก คือ
๑. ผู้สำคัญสิ่งมิใช่วินัยว่าเป็นวินัย ๒. ผู้สำคัญวินัยว่าเป็นสิ่งมิใช่วินัย
บุคคลบัณฑิตมี ๒ จำพวก คือ
๑. ผู้สำคัญสิ่งมิใช่วินัยว่า ๒. ผู้สำคัญวินัยว่าเป็นวินัย
เป็นสิ่งมิใช่วินัย

ว่าด้วยอาสวะ
อาสวะทั้งหลายย่อมเจริญแก่บุคคล ๒ จำพวก คือ
๑. ผู้ประพฤติรังเกียจสิ่งที่ไม่ควรประพฤติรังเกียจ
๒. ผู้ไม่ประพฤติรังเกียจสิ่งที่ควรประพฤติรังเกียจ
อาสวะทั้งหลายย่อมไม่เจริญแก่บุคคล ๒ จำพวก คือ
๑. ผู้ไม่ประพฤติรังเกียจสิ่งที่ไม่ควรประพฤติรังเกียจ
๒. ผู้ประพฤติรังเกียจสิ่งที่ควรประพฤติรังเกียจ
อาสวะทั้งหลายย่อมเจริญแก่บุคคลแม้อื่นอีก ๒ จำพวก คือ
๑. ผู้สำคัญสิ่งไม่ควรว่าควร ๒. ผู้สำคัญสิ่งที่ควรว่าไม่ควร
อาสวะทั้งหลายย่อมไม่เจริญแก่บุคคล ๒ จำพวก คือ
๑. ผู้สำคัญสิ่งไม่ควรว่าไม่ควร ๒. ผู้สำคัญสิ่งที่ควรว่าควร
อาสวะทั้งหลายย่อมเจริญแก่บุคคลแม้อื่นอีก ๒ จำพวก คือ
๑. ผู้สำคัญอนาบัติว่าต้องอาบัติ ๒. ผู้สำคัญอาบัติว่าเป็นอนาบัติ
อาสวะทั้งหลายย่อมไม่เจริญแก่บุคคล ๒ จำพวก คือ
๑. ผู้สำคัญอนาบัติว่าเป็นอนาบัติ ๒. ผู้สำคัญอาบัติว่าเป็นอาบัติ
อาสวะทั้งหลายย่อมเจริญแก่บุคคลแม้อื่นอีก ๒ จำพวก คือ
๑. ผู้สำคัญอธรรมว่าเป็นธรรม ๒. ผู้สำคัญธรรมว่าเป็นอธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๓๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] หัวข้อประจำวาร
อาสวะทั้งหลายย่อมไม่เจริญแก่บุคคล ๒ พวก คือ
๑. ผู้สำคัญอธรรมว่าเป็นอธรรม ๒. ผู้สำคัญธรรมว่าเป็นธรรม
อาสวะทั้งหลายย่อมเจริญแก่บุคคลแม้อื่นอีก ๒ พวก คือ
๑. ผู้สำคัญสิ่งมิใช่วินัยว่าเป็นวินัย
๒. ผู้สำคัญวินัยว่าเป็นสิ่งมิใช่วินัย
อาสวะทั้งหลายย่อมไม่เจริญแก่บุคคล ๒ พวก คือ
๑. ผู้สำคัญสิ่งมิใช่วินัยว่าเป็นสิ่งมิใช่วินัย
๒. ผู้สำคัญวินัยว่าเป็นวินัย
ทุกวาร จบ

หัวข้อประจำวาร
อาบัติที่เป็นสัญญา อาบัติของผู้ได้สมาบัติ
อาบัติที่เกี่ยวด้วยสัทธรรม เกี่ยวด้วยบริขาร เกี่ยวด้วยบุคคล
อาบัติที่ต้องเพราะเรื่องจริง เพราะแผ่นดิน เพราะการออกไป
เพราะการถือเอา เพราะการสมาทาน เพราะการทำ เพราะการให้
เพราะการรับ เพราะการบริโภค อาบัติที่ต้องในกลางคืน
ที่ต้องเพราะอรุณขึ้น ที่ต้องเพราะการตัด
ที่ต้องเพราะการปกปิด ที่ต้องเพราะการทรงไว้
อุโบสถ ปวารณา กรรม กรรมอีกอย่าง วัตถุ วัตถุอีกอย่าง โทษ
โทษอีกอย่าง สมบัติ ๒ หมวด นานาสังวาส สมานสังวาส ปาราชิก
สังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต
อาบัติ ๗ กองอาบัติ ๗ สงฆ์แตกกัน อุปสมบท
อุปสมบทอีกสอง ไม่อาศัยอยู่ ไม่ให้นิสัย อภัพบุคคล ภัพบุคคล
จงใจ มีโทษ คัดค้าน ขับออกจากหมู่ เรียกเข้าหมู่ ปฏิญญา รับ
ห้าม ทำลาย การโจท กฐินปลิโพธ ๒ อย่าง จีวร บาตร เชิงบาตร
อธิษฐาน ๒ อย่าง วิกัป วินัย เนื้อหาที่ปรากฏในวินัย
ความขัดเกลา การต้องและการออกจากอาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๓๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๓. ติกวาร
ปริวาส ๒ อย่าง มานัต ๒ อย่าง
รัตติเฉท เอื้อเฟื้อ เกลือ ๒ ชนิด
เกลืออื่นอีก ๓ ชนิด บริโภค คำด่า คำส่อเสียด
คณโภชนะ วันจำพรรษา การงดปาติโมกข์ การรับภาระ
สิ่งที่สมควร อนาบัติ อธรรม วินัย อาสวะ

๓. ติกวาร
ว่าด้วยหมวด ๓
[๓๒๓] ๑. อาบัติที่เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงพระชนม์อยู่ ภิกษุจึงต้อง เมื่อ
ปรินิพพานแล้วไม่ต้อง มีอยู่
๒. อาบัติที่เมื่อพระผู้มีพระภาคปรินิพพานแล้ว ภิกษุจึงต้อง เมื่อทรง
พระชนม์อยู่ไม่ต้อง มีอยู่
๓. อาบัติที่เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงพระชนม์อยู่ก็ดี ปรินิพพานแล้วก็ดี
ภิกษุก็ต้อง มีอยู่
๑. อาบัติที่ภิกษุต้องในกาล ไม่ต้องในเวลาวิกาล มีอยู่
๒. อาบัติที่ภิกษุต้องในเวลาวิกาล ไม่ต้องในกาล มีอยู่
๓. อาบัติที่ภิกษุต้องทั้งในกาล ทั้งในเวลาวิกาล มีอยู่
๑. อาบัติที่ภิกษุต้องในกลางคืน ไม่ต้องในกลางวัน มีอยู่
๒. อาบัติที่ภิกษุต้องในกลางวัน ไม่ต้องในกลางคืน มีอยู่
๓. อาบัติที่ภิกษุต้องทั้งในกลางคืน ทั้งในกลางวัน มีอยู่
๑. อาบัติที่ภิกษุมีพรรษา ๑๐ จึงต้อง มีพรรษาหย่อน ๑๐ ไม่ต้อง มีอยู่
๒. อาบัติที่ภิกษุมีพรรษาหย่อน ๑๐ จึงต้อง มีพรรษา ๑๐ ไม่ต้อง มีอยู่
๓. อาบัติที่ภิกษุทั้งมีพรรษา ๑๐ ทั้งมีพรรษาหย่อน ๑๐ ก็ต้อง มีอยู่
๑. อาบัติที่ภิกษุมีพรรษา ๕ จึงต้อง มีพรรษาหย่อน ๕ ไม่ต้อง มีอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๓๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๓. ติกวาร
๒. อาบัติที่ภิกษุมีพรรษาหย่อน ๕ จึงต้อง มีพรรษา ๕ ไม่ต้อง มีอยู่
๓. อาบัติที่ภิกษุทั้งมีพรรษา ๕ ทั้งมีพรรษาหย่อน ๕ ก็ต้อง มีอยู่
๑. อาบัติที่ภิกษุมีจิตเป็นกุศลจึงต้อง มีจิตเป็นอกุศลไม่ต้อง มีอยู่
๒. อาบัติที่ภิกษุมีจิตเป็นอกุศลจึงต้อง มีจิตเป็นกุศลไม่ต้อง มีอยู่
๓. อาบัติที่ภิกษุมีจิตเป็นอัพยากฤตจึงต้อง มีอยู่
๑. อาบัติที่ภิกษุพรั่งพร้อมด้วยสุขเวทนาจึงต้อง มีอยู่
๒. อาบัติที่ภิกษุพรั่งพร้อมด้วยทุกขเวทนาจึงต้อง มีอยู่
๓. อาบัติที่ภิกษุพรั่งพร้อมด้วยอทุกขมสุขเวทนาจึงต้อง มีอยู่

ว่าด้วยวัตถุแห่งการโจท เป็นต้น
วัตถุแห่งการโจทมี ๓ อย่าง คือ
๑. เห็น ๒. ได้ยิน
๓. นึกสงสัย
การจับสลากมี ๓ อย่าง คือ
๑. ปกปิด ๒. เปิดเผย
๓. กระซิบที่หู
ข้อห้ามมี ๓ อย่าง คือ
๑. ความมักมาก ๒. ความไม่สันโดษ
๓. ความไม่ขัดเกลา
ข้ออนุญาตมี ๓ อย่าง คือ
๑. ความมักน้อย ๒. ความสันโดษ
๓. ความขัดเกลา
ข้อห้ามแม้อื่นอีกมี ๓ อย่าง คือ
๑. ความมักมาก ๒. ความไม่สันโดษ
๓. ความไม่รู้จักประมาณ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๓๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๓. ติกวาร
ข้ออนุญาตมี ๓ คือ
๑. ความมักน้อย ๒. ความสันโดษ
๓. ความรู้จักประมาณ
บัญญัติมี ๓ คือ
๑. บัญญัติ ๒. อนุบัญญัติ
๓. อนุปปันนบัญญัติ
บัญญัติแม้อื่นอีกมี ๓ คือ
๑. สัพพัตถบัญญัติ ๒. ปเทสบัญญัติ
๓. สาธารณบัญญัติ
บัญญัติแม้อื่นอีกมี ๓ คือ
๑. อสาธารณบัญญัติ ๒. เอกโตบัญญัติ
๓. อุภโตบัญญัติ

ว่าด้วยภิกษุโง่เขลาและฉลาด เป็นต้น
อาบัติที่ภิกษุผู้โง่เขลาจึงต้อง ผู้ฉลาดไม่ต้อง มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุผู้ฉลาดจึงต้อง ผู้โง่เขลาไม่ต้อง มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุทั้งผู้โง่เขลาทั้งผู้ฉลาดก็ต้อง มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องในกาฬปักษ์ ไม่ต้องในชุณหปักษ์ มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องในชุณหปักษ์ ไม่ต้องในกาฬปักษ์ มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องทั้งในกาฬปักษ์ ทั้งในชุณหปักษ์ มีอยู่
การเข้าพรรษาย่อมสำเร็จในกาฬปักษ์ ไม่สำเร็จในชุณหปักษ์ มีอยู่
ปวารณาในวันมหาปวารณาย่อมสำเร็จในชุณหปักษ์ ไม่สำเร็จในกาฬปักษ์ มีอยู่
สังฆกิจที่เหลือย่อมสำเร็จทั้งในกาฬปักษ์ ทั้งในชุณหปักษ์ มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องในฤดูหนาว ไม่ต้องทั้งในฤดูร้อน ทั้งในฤดูฝน มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องในฤดูร้อน ไม่ต้องทั้งในฤดูหนาว ทั้งในฤดูฝน มีอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๓๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๓. ติกวาร
อาบัติที่ภิกษุต้องในฤดูฝน ไม่ต้องทั้งในฤดูหนาว ทั้งในฤดูร้อน มีอยู่
อาบัติที่สงฆ์ต้อง คณะและบุคคลไม่ต้อง มีอยู่
อาบัติที่คณะต้อง สงฆ์และบุคคลไม่ต้อง มีอยู่
อาบัติที่บุคคลต้อง สงฆ์และคณะไม่ต้อง มีอยู่
สังฆอุโบสถและสังฆปวารณาย่อมสำเร็จแก่สงฆ์ ไม่สำเร็จแก่คณะและบุคคล มีอยู่
คณะอุโบสถและคณะปวารณาย่อมสำเร็จแก่คณะ ไม่สำเร็จแก่สงฆ์และบุคคล มีอยู่
อธิษฐานอุโบสถและอธิษฐานปวารณาย่อมสำเร็จแก่บุคคล ไม่สำเร็จแก่สงฆ์และ
คณะ มีอยู่

ว่าด้วยการปิด เป็นต้น
การปิดมี ๓ อย่าง คือ
๑. ปิดวัตถุ ไม่ปิดอาบัติ ๒. ปิดอาบัติ ไม่ปิดวัตถุ
๓. ปิดทั้งวัตถุ ทั้งอาบัติ
เครื่องปกปิดมี ๓ อย่าง คือ
๑. เครื่องปกปิดคือเรือนไฟ ๒. เครื่องปกปิดคือน้ำ
๓. เครื่องปกปิดคือผ้า
สิ่งที่ปิดบังไม่เปิดเผยไปมี ๓ อย่าง คือ
๑. มาตุคาม ปิดบังไม่เปิดเผยไป
๒. มนต์ของพวกพราหมณ์ ปิดบังไม่เปิดเผยไป
๓. มิจฉาทิฏฐิ ปิดบังไม่เปิดเผยไป
สิ่งที่เปิดเผยไม่ปิดบังจึงรุ่งเรืองมี ๓ อย่าง คือ
๑. ดวงจันทร์ เปิดเผยไม่ปิดบังจึงรุ่งเรือง
๒. ดวงอาทิตย์ เปิดเผยไม่ปิดบังจึงรุ่งเรือง
๓. ธรรมวินัย ที่พระตถาคตประกาศแล้ว เปิดเผยไม่ปิดบังจึงรุ่งเรือง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๔๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๓. ติกวาร
การให้ถือเสนาสนะมี ๓ อย่าง คือ
๑. ให้ถือในวันเข้าพรรษาต้น ๒. ให้ถือในวันเข้าพรรษาหลัง
๓. ให้ถือในช่วงพ้นจากระยะนั้น

ว่าด้วยอาพาธ เป็นต้น
อาบัติที่ภิกษุอาพาธจึงต้อง ไม่อาพาธไม่ต้อง มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุไม่อาพาธจึงต้อง อาพาธไม่ต้อง มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุทั้งอาพาธ ทั้งไม่อาพาธก็ต้อง มีอยู่

ว่าด้วยงดปาติโมกข์ เป็นต้น
การงดปาติโมกข์ที่ไม่ชอบธรรมมี ๓ การงดปาติโมกข์ที่ชอบธรรมมี ๓
ปริวาสมี ๓ อย่าง คือ
๑. ปฏิจฉันนปริวาส ๒. อัปปฏิจฉันนปริวาส
๓. สุทธันตปริวาส
มานัตมี ๓ อย่าง คือ
๑. ปฏิจฉันนมานัต ๒. อัปปฏิจฉันนมานัต
๓. ปักขมานัต
รัตติเฉทของภิกษุผู้อยู่ปริวาสมี ๓ อย่าง คือ
๑. สหวาสะ(การอยู่ร่วมกัน) ๒. วิปปวาสะ(การอยู่ปราศ)
๓. อนาโรจนา(การไม่บอก)

ว่าด้วยต้องอาบัติภายใน เป็นต้น
อาบัติที่ภิกษุต้องภายใน ไม่ต้องภายนอก มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องภายนอก ไม่ต้องภายใน มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องทั้งภายใน ทั้งภายนอก มีอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๔๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๓. ติกวาร
อาบัติที่ภิกษุต้องภายในสีมา ไม่ต้องภายนอกสีมา มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องภายนอกสีมา ไม่ต้องภายในสีมา มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องทั้งภายในสีมา ทั้งภายนอกสีมา มีอยู่

ว่าด้วยต้องอาบัติด้วยอาการ ๓ อย่าง เป็นต้น
ภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการ ๓ อย่าง คือ
๑. ต้องทางกาย ๒. ต้องทางวาจา
๓. ต้องทางกายกับวาจา
ภิกษุต้องอาบัติแม้อื่นอีกด้วยอาการ ๓ อย่าง คือ
๑. ต้องในท่ามกลางสงฆ์ ๒. ต้องในท่ามกลางคณะ
๓. ต้องในสำนักบุคคล
ภิกษุออกจากอาบัติด้วยอาการ ๓ อย่าง คือ
๑. ออกด้วยกาย ๒. ออกด้วยวาจา
๓. ออกด้วยกายกับวาจา
ภิกษุออกจากอาบัติแม้อื่นอีกด้วยอาการ ๓ อย่าง คือ
๑. ออกในท่ามกลางสงฆ์ ๒. ออกในท่ามกลางคณะ
๓. ออกในสำนักบุคคล
ให้อมูฬหวินัยที่ไม่ชอบธรรมมี ๓ ให้อมูฬหวินัยที่ชอบธรรมมี ๓

ว่าด้วยข้อที่สงฆ์มุ่งหวัง เป็นต้น
สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ คือ
๑. ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความ
อื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์
๒. โง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้
๓. อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๔๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๓. ติกวาร
สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงนิยสกรรมแก่ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ คือ
๑. ก่อความบาดหมาง ฯลฯ ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์
๒. โง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้
๓. อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร
สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ คือ
๑. ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อเรื่อง
อื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์
๒. โง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้
๓. ประทุษร้ายตระกูล ประพฤติเลวทราม ความประพฤติเลวทราม
เขาได้เห็นและได้ยินกันทั่ว๑
สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ คือ
๑. ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความ
อื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์
๒. โง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้
๓. ด่าบริภาษคฤหัสถ์
สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้
ประกอบด้วยองค์ ๓ คือ
๑. ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความ
อื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์
๒. โง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้
๓. ต้องอาบัติแล้วไม่ปรารถนาจะเห็นว่าเป็นอาบัติ

เชิงอรรถ :
๑ อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร (วิ.จู. (แปล) ๖/๒๗/๕๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๔๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๓. ติกวาร
สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุผู้
ประกอบด้วยองค์ ๓ คือ
๑. ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความ
อื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์
๒. โง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้
๓. ต้องอาบัติแล้วไม่ปรารถนาจะทำคืนอาบัติ
สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่สละทิฏฐิบาป แก่ภิกษุผู้ประกอบ
ด้วยองค์ ๓ คือ
๑. ก่อความบาดหมาง ฯลฯ ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์
๒. โง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้
๓. ไม่ปรารถนาจะสละทิฏฐิบาป
สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงตั้งใจมั่นลงอุกเขปนียกรรม แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓
คือ
๑. ก่อความบาดหมาง ฯลฯ ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์
๒. โง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้
๓. อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร
สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ คือ
๑. เป็นอลัชชี ๒. เป็นผู้โง่เขลา
๓. ไม่เป็นปกตัตตะ
สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อีกอย่าง คือ
๑. มีสีลวิบัติในอธิศีล ๒. มีอาจารวิบัติในอัชฌาจาร
๓. มีทิฏฐิวิบัติในอติทิฏฐิ
สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อีกอย่าง คือ
๑. เป็นผู้ประกอบด้วยการเล่นคะนองทางกาย
๒. เป็นผู้ประกอบด้วยการเล่นคะนองทางวาจา
๓. เป็นผู้ประกอบด้วยการเล่นคะนองทางกายและทางวาจา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๔๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๓. ติกวาร
สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก คือ
๑. เป็นผู้ประกอบด้วยความประพฤติที่ไม่สมควรทางกาย
๒. เป็นผู้ประกอบด้วยความประพฤติที่ไม่สมควรทางวาจา
๓. เป็นผู้ประกอบด้วยความประพฤติที่ไม่สมควรทางกายและทางวาจา
สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก คือ
๑. เป็นผู้ประกอบด้วยการทำลายทางกาย
๒. เป็นผู้ประกอบด้วยการทำลายทางวาจา
๓. เป็นผู้ประกอบด้วยการทำลายทางกายและทางวาจา
สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก คือ
๑. เป็นผู้ประกอบด้วยมิจฉาชีพทางกาย
๒. เป็นผู้ประกอบด้วยมิจฉาชีพทางวาจา
๓. เป็นผู้ประกอบด้วยมิจฉาชีพทางกายและทางวาจา
สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก คือ
๑. ต้องอาบัติถูกสงฆ์ลงโทษ ๒. ให้นิสัย
แล้วให้อุปสมบท
๓. ให้สามเณรอุปัฏฐาก
สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก คือ
๑. ต้องอาบัติที่สงฆ์ลงโทษ ๒. ต้องอาบัติอื่นเช่นนั้น
๓. ต้องอาบัติที่เลวทรามกว่านั้น
สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก คือ
๑. กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า ๒. กล่าวติเตียนพระธรรม
๓. กล่าวติเตียนพระสงฆ์
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ คือ
๑. เป็นอลัชชี ๒. โง่เขลา
๓. ไม่เป็นปกตัตตะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๔๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๓. ติกวาร
งดอุโบสถในท่ามกลางสงฆ์ สงฆ์พึงกล่าวห้ามว่า “พอทีภิกษุ อย่าก่อความ
บาดหมาง อย่าก่อความทะเลาะ อย่าก่อความแก่งแย่ง อย่าก่อความวิวาท” แล้ว
จึงทำอุโบสถ
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ คือ
๑. เป็นอลัชชี ๒. โง่เขลา
๓. ไม่เป็นปกตัตตะ
งดปวารณาในท่ามกลางสงฆ์ สงฆ์พึงกล่าวห้ามว่า “พอทีภิกษุ อย่าก่อความ
บาดหมาง อย่าก่อความทะเลาะ อย่าก่อความแก่งแย่ง อย่าก่อความวิวาท” แล้ว
พึงปวารณา
สงฆ์ไม่พึงให้สังฆสมมติอะไร ๆ แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ คือ
๑. เป็นอลัชชี ๒. โง่เขลา
๓. ไม่เป็นปกตัตตะ
สงฆ์ไม่พึงว่ากล่าวแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ คือ
๑. เป็นอลัชชี ๒. โง่เขลา
๓. ไม่เป็นปกตัตตะ
สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ ไว้ในตำแหน่งเฉพาะไร ๆ คือ
๑. เป็นอลัชชี ๒. โง่เขลา
๓. ไม่เป็นปกตัตตะ
ภิกษุทั้งหลายไม่พึงอาศัยภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ คือ
๑. เป็นอลัชชี ๒. โง่เขลา
๓. ไม่เป็นปกตัตตะ
ไม่พึงให้นิสัยแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ คือ
๑. เป็นอลัชชี ๒. โง่เขลา
๓. ไม่เป็นปกตัตตะ
ไม่พึงให้โอกาสภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ ที่ขอโอกาส คือ
๑. เป็นอลัชชี ๒. โง่เขลา
๓. มิใช่เป็นปกตัตตะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๔๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๓. ติกวาร
ไม่พึงเชื่อถือคำให้การของภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ คือ
๑. เป็นอลัชชี ๒. โง่เขลา
๓. ไม่เป็นปกตัตตะ
ไม่พึงถามวินัยภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ คือ
๑. เป็นอลัชชี ๒. โง่เขลา
๓. ไม่เป็นปกตัตตะ
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ ไม่พึงถามวินัย คือ
๑. เป็นอลัชชี ๒. โง่เขลา
๓. ไม่เป็นปกตัตตะ
ไม่พึงวิสัชนาวินัยแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ คือ
๑. เป็นอลัชชี ๒. โง่เขลา
๓. ไม่เป็นปกตัตตะ
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ ไม่พึงวิสัชนาวินัย คือ
๑. เป็นอลัชชี ๒. โง่เขลา
๓. ไม่เป็นปกตัตตะ
ไม่พึงให้คำซักถามแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ คือ
๑. เป็นอลัชชี ๒. โง่เขลา
๓. ไม่เป็นปกตัตตะ
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ ไม่พึงสนทนาวินัยด้วย คือ
๑. เป็นอลัชชี ๒. โง่เขลา
๓. ไม่เป็นปกตัตตะ
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ ไม่พึงให้กุลบุตรอุปสมบท ไม่พึงให้นิสัย ไม่พึง
ใช้สามเณรอุปัฏฐาก คือ
๑. เป็นอลัชชี ๒. โง่เขลา
๓. ไม่เป็นปกตัตตะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๔๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๓. ติกวาร
ว่าด้วยอุโบสถ เป็นต้น
อุโบสถมี ๓ อย่าง คือ
๑. อุโบสถในวัน ๑๔ ค่ำ ๒. อุโบสถในวัน ๑๕ ค่ำ
๓. อุโบสถสามัคคี
อุโบสถแม้อื่นอีกมี ๓ อย่าง คือ
๑. สังฆอุโบสถ ๒. คณอุโบสถ
๓. บุคคลอุโบสถ
อุโบสถแม้อื่นอีกมี ๓ อย่าง คือ
๑. สัตตุทเทสอุโบสถ ๒. ปาริสุทธิอุโบสถ
๓. อธิฐานอุโบสถ
ปวารณามี ๓ อย่าง คือ
๑. ปวารณาในวัน ๑๔ ค่ำ ๒. ปวารณาในวัน ๑๕ ค่ำ
๓. สามัคคีปวารณา
ปวารณาแม้อื่นอีกมี ๓ อย่าง คือ
๑. สังฆปวารณา ๒. คณปวารณา
๓. บุคคลปวารณา
ปวารณาแม้อื่นอีกมี ๓ อย่าง คือ
๑. ปวารณา ๓ หน ๒. ปวารณา ๒ หน
๓. ปวารณามีพรรษาเท่ากัน
บุคคลต้องไปเกิดในอบาย ต้องไปเกิดในนรกมี ๓ จำพวก คือ๑
๑. บุคคลที่ไม่เป็นพรหมจารี แต่ปฏิญญาว่าเป็นพรหมจารี
๒. บุคคลผู้ใส่ความพรหมจารีผู้บริสุทธิ์ ผู้ประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์
ด้วยอพรหมจรรย์ไม่มีมูล
๓. บุคคลผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า โทษในกามไม่มีแล้วถึง
ความเป็นผู้หมกมุ่นในกามทั้งหลาย

เชิงอรรถ :
๑ องฺ.ติก (แปล) ๒๐/๑๑๔/๓๕๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๔๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๓. ติกวาร
อกุศลมูลมี ๓ อย่าง คือ
๑. อกุศลมูลคือโลภะ ๒. อกุศลมูลคือโทสะ
๓. อกุศลมูลคือโมหะ
กุศลมูลมี ๓ อย่าง คือ
๑. กุศลมูลคืออโลภะ ๒. กุศลมูลคืออโทสะ
๓. กุศลมูลคืออโมหะ
ทุจริตมี ๓ อย่าง คือ
๑. กายทุจริต ๒. วจีทุจริต
๓. มโนทุจริต
สุจริตมี ๓ อย่าง คือ
๑. กายสุจริต ๒. วจีสุจริต
๓. มโนสุจริต
พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติติกโภชนะในตระกูล โดยอาศัยอำนาจประโยชน์ ๓
ประการ คือ
๑. เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก
๒. เพื่ออยู่ผาสุกแห่งเหล่าภิกษุผู้มีศีลดีงาม ด้วยประสงค์ว่า “พวกมัก
มากอย่าอาศัยฝักฝ่ายทำลายสงฆ์”
๓. เพื่อทรงอนุเคราะห์ตระกูล
พระเทวทัตมีจิตถูกอสัทธรรม ๓ อย่าง คือ
๑. ความปรารถนาชั่ว ๒. ความมีมิตรชั่ว
๓. การได้บรรลุคุณวิเศษขั้นต่ำแล้วเลิกเสียกลางคัน
ครอบงำย่ำยี จึงไปเกิดในอบาย ไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้
สมมติมี ๓ อย่าง คือ
๑. สมมติไม้เท้า ๒. สมมติสาแหรก
๓. สมมติไม้เท้าและสาแหรก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๔๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] หัวข้อประจำวาร
ฐานวางเท้า มี ๓ อย่าง คือ
๑. ฐานวางเท้าถ่ายอุจจาระ ๒. ฐานวางเท้าถ่ายปัสสาวะ
๓. ฐานวางเท้าชำระ
สิ่งของสำหรับถูเท้ามี ๓ อย่าง คือ
๑. ศิลา ๒. กรวด
๓. ศิลาฟองน้ำ
ติกวาร จบ

หัวข้อประจำวาร
อาบัติที่ต้องเมื่อพระผู้มีพระภาคทรงพระชนม์
อาบัติที่ต้องในกาล ในกลางคืน อาบัติที่ภิกษุมีพรรษา ๑๐ ต้อง
อาบัติที่ภิกษุมีพรรษา ๕ ต้อง อาบัติที่ภิกษุมีกุศลจิตต้อง
อาบัติที่ภิกษุมีเวทนาต้อง วัตถุแห่งการโจท การจับสลาก
ข้อห้าม ๒ เรื่อง ข้อบัญญัติ ข้อบัญญัติอื่นอีก ๒ เรื่อง
ภิกษุโง่เขลา การสำเร็จในกาฬปักษ์ การต้องอาบัติในฤดูหนาว
สังฆอุโบสถสำเร็จแก่สงฆ์ การปิด เครื่องปกปิด สิ่งปิดบัง
สิ่งเปิดเผย การให้ถือเสนาสนะ ภิกษุอาพาธ การงดปาติโมกข์
ปริวาส มานัต ปริวาสิกภิกษุ อาบัติที่ต้องภายใน
อาบัติที่ต้องภายในสีมา การต้องอาบัติด้วยอาการ ๓
การต้องอาบัติอื่นอีก ๓ การออกจากอาบัติ ๓
การออกจากอาบัติอื่นอีก ๓ อมูฬหวินัย ๒ อย่าง
ตัชชนียกรรม นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม ปฏิสารณียกรรม
อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นอาบัติ ไม่ทำคืนอาบัติ ไม่สละทิฏฐิ
การตั้งใจมั่นลงอุกเขปนียกรรม ผู้มีศีลวิบัติในอธิศีล ผู้คะนอง
การประพฤติไม่สมควร การทำลาย อาชีววิบัติ
ต้องอาบัติ ต้องอาบัติเช่นนั้น การกล่าวติเตียน การงดอุโบสถ
การงดปวารณา สมมติ ว่ากล่าว ตำแหน่งเฉพาะ ไม่อาศัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๕๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๔. จตุกกวาร
ไม่ให้นิสัย ไม่ให้โอกาส ไม่เชื่อถือคำให้การ ไม่ถาม ๒ เรื่อง
ไม่ตอบ ๒ เรื่อง
ไม่พึงให้ซักถาม ไม่สนทนา ไม่พึงอุปสมบท ไม่พึงให้นิสัย
ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก อุโบสถ ๓ หมวด ปวารณา ๓ หมวด
ผู้ไปเกิดในอบาย อกุศล กุศล ทุจริต สุจริต ติกโภชนะ
อสัทธรรม สมมติ ฐานวางเท้า สิ่งของถูเท้า
หัวข้อตามที่กล่าวมานี้ จัดเข้าในหมวด ๓

๔. จตุกกวาร
ว่าด้วยหมวด ๔
[๓๒๔] อาบัติที่ภิกษุต้องด้วยวาจาของตน ออกด้วยวาจาของผู้อื่น มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องด้วยวาจาของผู้อื่น ออกด้วยวาจาของตน มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องด้วยวาจาของตน ออกด้วยวาจาของตน มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องด้วยวาจาของผู้อื่น ออกด้วยวาจาของผู้อื่น มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องทางกาย ออกทางวาจา มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องทางวาจา ออกทางกาย มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องทางกาย ออกทางกาย มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องทางวาจา ออกทางวาจา มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุหลับแล้วจึงต้อง ตื่นแล้วจึงออก มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุตื่นแล้วจึงต้อง หลับแล้วจึงออก มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุหลับแล้วจึงต้อง หลับแล้วจึงออก มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุตื่นแล้วจึงต้อง ตื่นแล้วจึงออก มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุไม่ตั้งใจจึงต้อง ตั้งใจจึงออก มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุตั้งใจจึงต้อง ไม่ตั้งใจจึงออก มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุไม่ตั้งใจจึงต้อง ไม่ตั้งใจจึงออก มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุตั้งใจจึงต้อง ตั้งใจจึงออก มีอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๕๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๔. จตุกกวาร
อาบัติที่ภิกษุต้องอยู่จึงแสดง แสดงอยู่จึงต้อง มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องอยู่จึงออก ออกอยู่จึงต้อง มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องด้วยกรรม ออกด้วยสิ่งมิใช่กรรม มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องด้วยสิ่งมิใช่กรรม ออกด้วยกรรม มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องด้วยกรรม ออกด้วยกรรม มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องด้วยสิ่งมิใช่กรรม ออกด้วยสิ่งมิใช่กรรม มีอยู่

ว่าด้วยอนริยโวหาร เป็นต้น
โวหารของอนารยชนมี ๔ อย่าง คือ

๑. ไม่ได้เห็น กล่าวว่าได้เห็น ๒. ไม่ได้ยิน กล่าวว่าได้ยิน
๓. ไม่ทราบ กล่าวว่าทราบ ๔. ไม่รู้ กล่าวว่ารู้

โวหารของอารยชนมี ๔ อย่าง คือ

๑. ไม่ได้เห็น กล่าวว่าไม่ได้เห็น ๒. ไม่ได้ยิน กล่าวว่าได้ยิน
๓. ไม่ทราบ กล่าวว่าทราบ ๔. ไม่รู้ กล่าวว่ารู้

โวหารของอนารยชนแม้อีก ๔ อย่าง คือ

๑. ได้เห็น กล่าวว่าไม่ได้เห็น ๒. ได้ยิน กล่าวว่าไม่ได้ยิน
๓. ทราบ กล่าวว่าไม่ทราบ ๔. รู้ กล่าวว่าไม่รู้

โวหารของอารยชนมี ๔ อย่าง คือ

๑. ได้เห็น กล่าวว่าได้เห็น ๒. ได้ยิน กล่าวว่าไม่ได้ยิน
๓. ทราบ กล่าวว่าไม่ทราบ ๔. รู้ กล่าวว่าไม่รู้

ว่าด้วยอาบัติปาราชิก
ปาราชิกของภิกษุ ทั่วไปกับภิกษุณีมี ๔
ปาราชิกของภิกษุณี ไม่ทั่วไปกับภิกษุมี ๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๕๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๔. จตุกกวาร
ว่าด้วยบริขาร
บริขารมี ๔ อย่าง คือ
๑. มีบริขารที่ควรรักษา คุ้มครอง นับว่าเป็นสมบัติของเรา ควรใช้สอย
๒. มีบริขารที่ควรรักษา คุ้มครอง นับว่าเป็นสมบัติของเรา แต่ไม่ควร
ใช้สอย
๓. มีบริขารที่ควรรักษา คุ้มครอง แต่ไม่นับว่าเป็นสมบัติของเรา ไม่ควร
ใช้สอย
๔. มีบริขารที่ไม่ควรรักษา ไม่ควรคุ้มครอง ไม่นับว่าเป็นสมบัติของเรา
ไม่ควรใช้สอย

ว่าด้วยการต้องอาบัติและออกจากอาบัติ เป็นต้น
อาบัติที่ภิกษุต้องต่อหน้า ออกลับหลัง มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องลับหลัง ออกต่อหน้า มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องต่อหน้า ออกต่อหน้า มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องลับหลัง ออกลับหลัง มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุไม่รู้อยู่จึงต้อง รู้อยู่จึงออก มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุรู้อยู่จึงต้อง ไม่รู้อยู่จึงออก มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุไม่รู้อยู่จึงต้อง ไม่รู้อยู่จึงออก มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุรู้อยู่จึงต้อง รู้อยู่จึงออก มีอยู่

ว่าด้วยการต้องอาบัติ เป็นต้น
ภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการ ๔ อย่าง คือ

๑. ต้องทางกาย ๒. ต้องทางวาจา
๓. ต้องทางกายกับวาจา ๔. ต้องทางกรรมวาจา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๕๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๔. จตุกกวาร
ภิกษุต้องอาบัติแม้ด้วยอาการอื่นอีก ๔ อย่าง คือ

๑. ในท่ามกลางสงฆ์ ๒. ในท่ามกลางคณะ
๓. ในสำนักบุคคล ๔. เพราะเพศเปลี่ยนแปลง

ภิกษุออกจากอาบัติด้วยอาการ ๔ อย่าง คือ

๑. ออกทางกาย ๒. ออกทางวาจา
๓. ออกทางกายกับวาจา ๔. ออกด้วยกรรมวาจา

ภิกษุออกจากอาบัติแม้ด้วยอาการอื่นอีก ๔ อย่าง คือ

๑. ในท่ามกลางสงฆ์ ๒. ในท่ามกลางคณะ
๓. ในสำนักบุคคล ๔. เพราะเพศเปลี่ยนแปลง

ภิกษุละบุรุษเพศเดิม ดำรงอยู่ในสตรีเพศอันเกิดในภายหลัง พร้อมกับการได้
เพศใหม่ วิญญัติย่อมระงับไป บัญญัติย่อมดับไป
ภิกษุณีละสตรีเพศที่เกิดในภายหลัง กลับดำรงอยู่ในบุรุษเพศอันเดิม พร้อมกับ
การได้เพศใหม่ บัญญัติย่อมระงับไป บัญญัติย่อมดับไป

การโจทมี ๔ อย่าง คือ
๑. โจทด้วยสีลวิบัติ ๒. โจทด้วยอาจารวิบัติ
๓. โจทด้วยทิฏฐิวิบัติ ๔. โจทด้วยอาชีววิบัติ
ปริวาสมี ๔ อย่าง คือ
๑. ปฏิจฉันนปริวาส ๒. อัปปฏิจฉันนปริวาส
๓. สุทธันตปริวาส ๔. สโมธานปริวาส
มานัตมี ๔ อย่าง คือ
๑. ปฏิจฉันนมานัต ๒. อัปปฏิจฉันนมานัต
๓. ปักขมานัต ๔. สโมธานมานัต


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๕๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๔. จตุกกวาร
รัตติเฉทของภิกษุผู้ประพฤติมานัตมี ๔ อย่าง คือ

๑. สหวาสะ(การอยู่ร่วมกัน) ๒. วิปปวาสะ(การอยู่ปราศจาก)
๓. อนาโรจนา(การไม่บอก) ๔. อูเณคเณจรณะ(การประพฤติ
ในคณะสงฆ์อันพร่อง)

พระบัญญัติที่ทรงยกขึ้นแสดงเองมี ๔ อย่าง
กาลิกที่รับประเคนไว้ฉันมี ๔ อย่าง คือ

๑. ยาวกาลิก(เช้าถึงเที่ยง) ๒. ยามกาลิก (วันหนึ่งกับคืนหนึ่ง)
๓. สัตตาหกาลิก(๗ วัน) ๔. ยาวชีวิก(ไม่จำกัดเวลาวันตลอด
ชีวิต)

ยามหาวิกัฏ๑มี ๔ อย่าง คือ

๑. คูถ ๒. มูตร
๓. เถ้า ๔. ดิน

กรรมมี ๔ อย่าง คือ

๑. อปโลกนกรรม ๒. ญัตติกรรม
๓. ญัตติทุติยกรรม ๔. ญัตติจตุตถกรรม

กรรมแม้อื่นอีกมี ๔ อย่าง คือ

๑. กรรมเป็นวรรคโดยไม่ชอบธรรม ๒. กรรมพร้อมเพรียงโดยไม่ชอบ
ธรรม
๓. กรรมเป็นวรรคโดยชอบธรรม ๔. กรรมพร้อมเพรียงโดยชอบ
ธรรม

วิบัติมี ๔ อย่าง คือ

๑. สีลวิบัติ ๒. อาจารวิบัติ
๓. ทิฏฐิวิบัติ ๔. อาชีววิบัติ

อธิกรณ์มี ๔ อย่าง คือ

๑. วิวาทาธิกรณ์ ๒. อนุวาทาธิกรณ์
๓. อาปัตตาธิกรณ์ ๔. กิจจาธิกรณ์


เชิงอรรถ :
๑ ยา ๔ อย่างนี้ ภิกษุอาพาธฉันได้โดยไม่ต้องรับประเคน คือ ไม่ต้องอาบัติเพราะขาดประเคน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๕๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๔. จตุกกวาร
การประทุษร้ายบริษัทมี ๔ อย่าง คือ
๑. ภิกษุผู้ทุศีล มีธรรมทราม จัดเป็นผู้ประทุษร้ายบริษัท
๒. ภิกษุณีผู้ทุศีล มีธรรมทราม จัดเป็นผู้ประทุษร้ายบริษัท
๓. อุบาสกผู้ทุศีล มีธรรมทราม จัดเป็นผู้ประทุษร้ายบริษัท
๔. อุบาสิกาผู้ทุศีล มีธรรมทราม จัดเป็นผู้ประทุษร้ายบริษัท
ความงามในบริษัทมี ๔ อย่าง คือ
๑. ภิกษุผู้มีศีล มีธรรมงาม จัดเป็นผู้งามในบริษัท
๒. ภิกษุณีผู้มีศีล มีธรรมงาม จัดเป็นผู้งามในบริษัท
๓. อุบาสกผู้มีศีล มีธรรมงาม จัดเป็นผู้งามในบริษัท
๔. อุบาสิกาผู้มีศีล มีธรรมงาม จัดเป็นผู้งามในบริษัท

ว่าด้วยพระอาคันตุกะ เป็นต้น
อาบัติที่ภิกษุอาคันตุกะต้อง ภิกษุผู้อยู่ในอาวาสไม่ต้อง มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุผู้อยู่ในอาวาสต้อง ภิกษุอาคันตุกะไม่ต้อง มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุอาคันตุกะ และภิกษุผู้อยู่ในอาวาสต้อง มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุอาคันตุกะ และภิกษุผู้อยู่ในอาวาสไม่ต้อง มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุผู้เตรียมไปต้อง ภิกษุผู้อยู่ในอาวาสไม่ต้อง มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุเจ้าถิ่นต้อง ภิกษุผู้เตรียมไปไม่ต้อง มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุผู้เตรียมไป และภิกษุผู้อยู่ในอาวาสต้อง มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุผู้เตรียมไป และภิกษุผู้อยู่ในอาวาสไม่ต้อง มีอยู่

ว่าด้วยสิกขาบทมีวัตถุต่างกัน เป็นต้น
ความที่สิกขาบทมีวัตถุต่างกัน มีอยู่ ความที่สิกขาบทมีอาบัติต่างกัน ไม่มีอยู่
ความที่สิกขาบทมีอาบัติต่างกัน มีอยู่ ความที่สิกขาบทมีวัตถุต่างกัน ไม่มีอยู่
ความที่สิกขาบทมีวัตถุต่างกัน และมีอาบัติต่างกัน มีอยู่
ความที่สิกขาบททั้งมีวัตถุต่างกัน ทั้งมีอาบัติต่างกัน ไม่มีอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๕๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๔. จตุกกวาร
ความที่สิกขาบทมีวัตถุเสมอกัน มีอยู่ ความที่สิกขาบทมีอาบัติเสมอกัน ไม่มีอยู่
ความที่สิกขาบทมีอาบัติเสมอกัน มีอยู่ ความที่สิกขาบทมีวัตถุเสมอกัน ไม่มีอยู่
ความที่สิกขาบทมีวัตถุเสมอกัน และมีอาบัติเสมอกัน มีอยู่
ความที่สิกขาบททั้งมีวัตถุเสมอกัน ทั้งมีอาบัติเสมอกัน ไม่มีอยู่

ว่าด้วยพระอุปัชฌาย์ต้องอาบัติ เป็นต้น
อาบัติที่พระอุปัชฌาย์ต้อง แต่สัทธิวิหาริกไม่ต้อง มีอยู่
อาบัติที่สัทธิวิหาริกต้อง แต่พระอุปัชฌาย์ไม่ต้อง มีอยู่
อาบัติที่พระอุปัชฌาย์ และสัทธิวิหาริกต้อง มีอยู่
อาบัติที่ทั้งพระอุปัชฌาย์ ทั้งสัทธิวิหาริกไม่ต้อง มีอยู่
อาบัติที่พระอาจารย์ต้อง แต่อันเตวาสิกไม่ต้อง มีอยู่
อาบัติที่อันเตวาสิกต้อง แต่พระอาจารย์ไม่ต้อง มีอยู่
อาบัติที่พระอาจารย์ และอันเตวาสิกต้อง มีอยู่
อาบัติที่ทั้งพระอาจารย์ ทั้งอันเตวาสิกไม่ต้อง มีอยู่

ว่าด้วยปัจจัยแห่งการขาดพรรษา เป็นต้น
การขาดพรรษาที่ไม่ต้องอาบัติมีปัจจัย ๔ อย่าง คือ

๑. สงฆ์แตกกัน ๒. มีพวกภิกษุประสงค์จะทำลาย
สงฆ์
๓. มีอันตรายแก่ชีวิต ๔. มีอันตรายแก่พรหมจรรย์

วจีทุจริตมี ๔ อย่าง คือ

๑. พูดเท็จ ๒. พูดส่อเสียด
๓. พูดคำหยาบ ๔. พูดเพ้อเจ้อ

วจีสุจริตมี ๔ อย่าง คือ

๑. พูดจริง ๒. พูดไม่ส่อเสียด
๓. พูดคำสุภาพ ๔. พูดพอประมาณ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๕๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๔. จตุกกวาร
ว่าด้วยถือเอาทรัพย์ เป็นต้น
ภิกษุถือเอาเองต้องอาบัติหนัก ใช้ผู้อื่นต้องอาบัติเบา มีอยู่
ภิกษุถือเอาเองต้องอาบัติเบา ใช้ผู้อื่นต้องอาบัติหนัก มีอยู่
ภิกษุถือเอาเองก็ดี ใช้ผู้อื่นก็ดี ต้องอาบัติหนัก มีอยู่
ภิกษุถือเอาเองก็ดี ใช้ผู้อื่นก็ดี ต้องอาบัติเบา มีอยู่

ว่าด้วยบุคคลควรอภิวาท เป็นต้น
บุคคลควรอภิวาท แต่ไม่ควรลุกรับ มีอยู่
บุคคลควรลุกรับ แต่ไม่ควรอภิวาท มีอยู่
บุคคลควรอภิวาท และควรลุกรับ มีอยู่
บุคคลทั้งไม่ควรอภิวาท ทั้งไม่ควรลุกรับ มีอยู่
บุคคลควรแก่อาสนะ แต่ไม่ควรอภิวาท มีอยู่
บุคคลควรอภิวาท แต่ไม่ควรแก่อาสนะ มีอยู่
บุคคลควรแก่อาสนะ และควรอภิวาท มีอยู่
บุคคลทั้งไม่ควรแก่อาสนะ ทั้งไม่ควรอภิวาท มีอยู่

ว่าด้วยต้องอาบัติในกาล เป็นต้น
อาบัติที่ภิกษุต้องในกาล แต่ไม่ต้องในเวลาวิกาล มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องในเวลาวิกาล แต่ไม่ต้องในกาล มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องในกาล และในเวลาวิกาล มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุไม่ต้องทั้งในกาล ทั้งในเวลาวิกาล มีอยู่
กาลิกที่รับประเคนแล้ว ย่อมควรในกาล แต่ไม่ควรในเวลาวิกาล มีอยู่
กาลิกที่รับประเคนแล้ว ย่อมควรในเวลาวิกาล แต่ไม่ควรในกาล มีอยู่
กาลิกที่รับประเคนแล้ว ย่อมควรในกาล และในเวลาวิกาล มีอยู่


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๕๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๔. จตุกกวาร
กาลิกที่รับประเคนแล้ว ย่อมไม่ควรทั้งในกาล ทั้งในเวลาวิกาล มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องในปัจจันตชนบท แต่ไม่ต้องในมัชฌิมชนบท มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องในมัชฌิมชนบท แต่ไม่ต้องในปัจจันตชนบท มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องทั้งในปัจจันตชนบท และในมัชฌิมชนบท มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุไม่ต้องทั้งในปัจจันตชนบท ทั้งในมัชฌิมชนบท มีอยู่
วัตถุย่อมควรในปัจจันตชนบท แต่ไม่ควรในมัชฌิมชนบท มีอยู่
วัตถุย่อมควรในมัชฌิมชนบท แต่ไม่ควรในปัจจันตชนบท มีอยู่
วัตถุย่อมควรทั้งในปัจจันตชนบท และในมัชฌิมชนบท มีอยู่
วัตถุย่อมไม่ควรทั้งในปัจจันตชนบท ทั้งในมัชฌิมชนบท มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องในภายใน แต่ไม่ต้องในภายนอก มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องในภายนอก แต่ไม่ต้องในภายใน มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องทั้งในภายใน และในภายนอก มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุไม่ต้องทั้งในภายใน ทั้งในภายนอก มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องในภายในสีมา แต่ไม่ต้องในภายนอกสีมา มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องในภายนอกสีมา แต่ไม่ต้องในภายในสีมา มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องทั้งในภายในสีมา และในภายนอกสีมา มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุไม่ต้องทั้งในภายในสีมา ทั้งในภายนอกสีมา มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องในหมู่บ้าน แต่ไม่ต้องในป่า มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องในป่า แต่ไม่ต้องในหมู่บ้าน มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องทั้งในหมู่บ้าน และในป่า มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุไม่ต้องทั้งในหมู่บ้าน ทั้งในป่า มีอยู่


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๕๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๔. จตุกกวาร
ว่าด้วยการโจท เป็นต้น

การโจทมี ๔ อย่าง คือ
๑. โจทชี้วัตถุ ๒. โจทชี้อาบัติ
๓. โจทห้ามสังวาส ๔. โจทห้ามสามีจิกรรม
บุพพกิจมี ๔ อย่าง
ความพรั่งพร้อมมี ๔ อย่าง
อาบัติปาจิตตีย์ไม่มีอะไรอื่นมี ๔ สิกขาบท๑
ภิกษุสมมติมี ๔ สิกขาบท
การถึงอคติ(ความลำเอียง)มี ๔ อย่าง คือ
๑. ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ลำเอียงเพราะชัง
๓. ลำเอียงเพราะหลง ๔. ลำเอียงเพราะกลัว
การไม่ถึงอคติ(ความไม่ลำเอียง)มี ๔ คือ
๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง
๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว

ภิกษุอลัชชีประกอบด้วยองค์ ๔ ย่อมทำลายสงฆ์ คือ

๑. ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ลำเอียงเพราะชัง
๓. ลำเอียงเพราะหลง ๔. ลำเอียงเพราะกลัว

ภิกษุผู้มีศีลดีงามประกอบด้วยองค์ ๔ ย่อมสมานสงฆ์ที่แตกกันแล้วให้สามัคคี
กัน คือ

๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง
๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว


เชิงอรรถ :
๑ ได้แก่สิกขาบทที่ ๖ แห่งภูตคามวรรค สิกขาบทที่ ๒ แห่งอเจลกวรรค สิกขาบทที่ ๗-๘ แห่ง
สหธัมมิกวรรค

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๖๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๔. จตุกกวาร
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๔ อันภิกษุไม่ควรถามวินัย คือ

๑. ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ลำเอียงเพราะชัง
๓. ลำเอียงเพราะหลง ๔. ลำเอียงเพราะกลัว

วินัยอันภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๔ ไม่ควรถาม คือ

๑. ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ลำเอียงเพราะชัง
๓. ลำเอียงเพราะหลง ๔. ลำเอียงเพราะกลัว

ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๔ อันภิกษุไม่ควรตอบวินัย คือ

๑. ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ลำเอียงเพราะชัง
๓. ลำเอียงเพราะหลง ๔. ลำเอียงเพราะกลัว

วินัยอันภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๔ ไม่ควรตอบ คือ

๑. ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ลำเอียงเพราะชัง
๓. ลำเอียงเพราะหลง ๔. ลำเอียงเพราะกลัว

ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๔ อันภิกษุไม่พึงให้คำซักถาม คือ

๑. ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ลำเอียงเพราะชัง
๓. ลำเอียงเพราะหลง ๔. ลำเอียงเพราะกลัว

ภิกษุไม่ควรสนทนาวินัยร่วมกับภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๔ คือ

๑. ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ลำเอียงเพราะชัง
๓. ลำเอียงเพราะหลง ๔. ลำเอียงเพราะกลัว

ว่าด้วยภิกษุเป็นไข้ต้องอาบัติ เป็นต้น
อาบัติที่ภิกษุเป็นไข้ต้อง แต่ไม่เป็นไข้ไม่ต้อง มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุไม่เป็นไข้ต้อง แต่เป็นไข้ไม่ต้อง มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุเป็นไข้ และไม่เป็นไข้ต้อง มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุทั้งเป็นไข้ ทั้งไม่เป็นไข้ต้อง มีอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๖๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] หัวข้อประจำวาร
ว่าด้วยงดปาติโมกข์
การงดปาติโมกข์ที่ไม่ชอบธรรมมี ๔ อย่าง
การงดปาติโมกข์ที่ชอบธรรมมี ๔ อย่าง
จตุกกวาร จบ

หัวข้อประจำวาร
อาบัติที่ต้องด้วยวาจาของตน อาบัติที่ต้องด้วยกาย
อาบัติที่หลับแล้วต้อง อาบัติที่ไม่ตั้งใจต้อง
อาบัติที่ต้องด้วยกรรม โวหาร ๔ อย่าง ปาราชิกของภิกษุ
ปาราชิกของภิกษุณี บริขาร อาบัติที่ต้องต่อหน้า
อาบัติที่ไม่รู้จึงต้อง อาบัติที่ต้องทางกาย อาบัติที่ต้องในท่ามกลาง
การออกจากอาบัติ ๒ หมวด ได้เพศใหม่ การโจท ปริวาส มานัต
รัตติเฉทของภิกษุผู้ประพฤติมานัต พระบัญญัติที่ทรงยกขึ้นแสดงเอง
กาลิกที่รับประเคน ยามหาวิกัฏ กรรม ๒ หมวด วิบัติ อธิกรณ์
ภิกษุผู้ทุศีล ภิกษุผู้มีศีลดีงาม
อาบัติที่ภิกษุอาคันตุกะต้อง อาบัติที่ภิกษุผู้เตรียมไปต้อง
ความที่สิกขาบทมีวัตถุต่างกัน ความที่สิกขาบทมีวัตถุเสมอกัน
อาบัติที่อุปัชฌาย์และอาจารย์ต้อง
ปัจจัยแห่งการขาดพรรษา วจีทุจริต วจีสุจริต
การถือเอาทรัพย์ บุคคลควรอภิวาท บุคคลควรแก่อาสนะ
อาบัติที่ต้องในกาล ของที่ควร อาบัติที่ต้องในปัจจันตชนบท
ของที่ควรในปัจจันตชนบท อาบัติที่ต้องในภายใน
อาบัติที่ต้องในภายในสีมา อาบัติที่ต้องในหมู่บ้าน การโจท บุพพกิจ
ความพรั่งพร้อมที่ถึงแล้ว อาบัติปาจิตตีย์ไม่มีอะไรอื่น
การสมมติ การถึงอคติ การไม่ถึงอคติ ภิกษุอลัชชี ภิกษุมีศีลดีงาม
ภิกษุผู้ไม่ควรถาม ๒ หมวด ภิกษุที่ไม่ควรได้รับคำตอบ ๒ หมวด
ภิกษุที่ควรได้รับคำซักถาม ภิกษุที่ไม่ควรสนทนาด้วย
อาบัติที่ภิกษุเป็นไข้ต้อง การงดปาติโมกข์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๖๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๕. ปัญจกวาร
๕. ปัญจกวาร
ว่าด้วยหมวด ๕
[๓๒๕] อาบัติมี ๕ กองอาบัติมี ๕ วินีตวัตถุมี ๕ อนันตริยกรรมมี ๕ บุคคล
ที่แน่นอนมี ๕ อาบัติมีการตัดเป็นวินัยกรรมมี ๕ ต้องอาบัติด้วยอาการ ๕ อาบัติ
เพราะมุสาวาทเป็นปัจจัยมี ๕
ภิกษุไม่เข้ากรรมด้วยอาการ ๕ อย่าง คือ

๑. ตนเองไม่ทำกรรม ๒. ไม่เชิญภิกษุอื่น
๓. ไม่ให้ฉันทะหรือปาริสุทธิ ๔. เมื่อสงฆ์ทำกรรมย่อมคัดค้าน

๕. เมื่อสงฆ์ทำกรรมเสร็จแล้วกลับเห็นว่าไม่เป็นธรรม
ภิกษุเข้ากรรมด้วยอาการ ๕ อย่าง คือ

๑. ตนเองทำกรรม ๒. เชิญภิกษุอื่น
๓. ให้ฉันทะหรือปาริสุทธิ ๔. เมื่อสงฆ์ทำกรรมไม่คัดค้าน

๕. เมื่อสงฆ์ทำกรรมเสร็จแล้ว ก็เห็นว่าเป็นธรรม
กิจ ๕ อย่าง สมควรแก่ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาต คือ

๑. เที่ยวไปไม่ต้องบอกลา ๒. ฉันคณโภชนะได้
๓. ฉันปรัมปรโภชนะได้ ๔. การไม่ต้องอธิษฐาน
๕. การไม่ต้องวิกัป

ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ จะเป็นภิกษุเลวทรามก็ดี จะเป็นภิกษุมีธรรมอัน
ไม่กำเริบก็ดี ย่อมถูกระแวง ถูกรังเกียจ คือ

๑. มีหญิงแพศยาเป็นโคจร ๒. มีหญิงม่ายเป็นโคจร
๓. มีสาวเทื้อเป็นโคจร ๔. มีบัณเฑาะก์เป็นโคจร
๕. มีภิกษุณีเป็นโคจร

น้ำมันมี ๕ ชนิด คือ
๑. น้ำมันงา ๒. น้ำมันเมล็ดพันธุ์ผักกาด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๖๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๕. ปัญจกวาร
๓. น้ำมันมะซาง ๔. น้ำมันระหุ่ง
๕. น้ำมันเปลวสัตว์
มันเหลวสัตว์มี ๕ ชนิด คือ

๑. มันเหลวหมี ๒. มันเหลวปลา
๓. มันเหลวปลาฉลาม ๔. มันเหลวหมู
๕. มันเหลวลา

ความเสื่อมมี ๕ อย่าง คือ

๑. ความเสื่อมญาติ ๒. ความเสื่อมโภคสมบัติ
๓. ความเสื่อมคือโรค ๔. ความเสื่อมศีล
๕. ความเสื่อมทิฏฐิ

ความถึงพร้อมมี ๕ อย่าง คือ
๑. ญาติสัมปทา(ความถึงพร้อมแห่งญาติ)
๒. โภคสัมปทา(ความถึงพร้อมแห่งโภคสมบัติ)
๓. อาโรคยสัมปทา(ความถึงพร้อมแห่งความไม่มีโรค)
๔. สีลสัมปทา(ความถึงพร้อมแห่งศีล)
๕. ทิฏฐิสัมปทา(ความถึงพร้อมแห่งทิฏฐิ)
นิสัยระงับจากพระอุปัชฌาย์มี ๕ คือ

๑. พระอุปัชฌาย์หลีกไป ๒. พระอุปัชฌาย์สึก
๓. พระอุปัชฌาย์มรณภาพ ๔. พระอุปัชฌาย์ไปเข้ารีตเดียรถีย์
๕. พระอุปัชฌาย์สั่งบังคับ

บุคคล ๕ จำพวก ไม่ควรให้อุปสมบท คือ

๑. มีกาลบกพร่อง ๒. มีอวัยวะบกพร่อง
๓. มีวัตถุวิบัติ ๔. มีการกระทำอันเสียหาย
๕. ไม่บริบูรณ์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๖๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๕. ปัญจกวาร
ผ้าบังสุกุลมี ๕ อย่าง คือ

๑. ผ้าตกที่ป่าช้า ๒. ผ้าตกที่ตลาด
๓. ผ้าหนูกัด ๔. ผ้าปลวกกัด
๕. ผ้าถูกไฟไหม้

ผ้าบังสุกุลแม้อื่นอีก ๕ อย่าง คือ

๑. ผ้าที่โคกัด ๒. ผ้าที่แพะกัด
๓. ผ้าที่ห่มสถูป ๔. ผ้าที่เขาทิ้งในสถานที่อภิเษก
๕. ผ้าที่เขานำไปสู่ป่าช้าแล้วนำกลับมา

อวหารมี ๕ อย่าง คือ

๑. เถยยาวหาร ๒. ปสัยหาวหาร
๓. ปริกัปปาวหาร ๔. ปฏิจฉันนาวหาร
๕. กุสาวหาร

มหาโจรที่มีปรากฏอยู่ในโลกมี ๕ จำพวก
สิ่งของที่ไม่ควรจ่ายมี ๕ อย่าง
สิ่งของที่ไม่ควรแบ่งมี ๕ อย่าง
อาบัติที่เกิดทางกาย มิใช่เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทางจิตมี ๕ อย่าง
อาบัติที่เกิดทางกายกับวาจา มิใช่เกิดทางจิตมี ๕ อย่าง
อาบัติที่เป็นเทสนาคามินีมี ๕ อย่าง
สงฆ์มี ๕ จำพวก ปาติโมกขุทเทสมี ๕ อย่าง
ในปัจจันตชนบททุกแห่ง คณะมีพระวินัยธรครบ ๕ พึงให้กุลบุตรอุปสมบทได้
ในการกรานกฐินมีอานิสงส์ ๕ อย่าง กรรมมี ๕ อย่าง
อาบัติมี ๕ อย่าง จนกระทั่งสงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง
ภิกษุถือเอาทรัพย์ที่ผู้อื่นไม่ให้ด้วยอาการ ๕ อย่าง ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุถือเอาทรัพย์ที่ผู้อื่นไม่ให้ด้วยอาการ ๕ อย่าง ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ภิกษุถือเอาทรัพย์ที่ผู้อื่นไม่ให้ด้วยอาการ ๕ ต้องอาบัติทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๖๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๕. ปัญจกวาร
ภิกษุไม่ควรบริโภคอกัปปิยวัตถุ ๕ อย่าง คือ

๑. ของที่เขาไม่ให้ ๒. ไม่ทราบ
๓. เป็นอกัปปิยะ ๔. ยังไม่ได้รับประเคน
๕. ไม่ได้ทำให้เป็นเดน

ภิกษุควรบริโภคกัปปิยวัตถุ ๕ อย่าง คือ

๑. ของที่เขาให้ ๒. ทราบแล้ว
๓. เป็นกัปปิยะ ๔. รับประเคนแล้ว
๕. ทำให้เป็นเดนแล้ว

การให้ที่ไม่จัดเป็นบุญ แต่ชาวโลกสมมติว่าเป็นบุญ มี ๕ อย่าง คือ

๑. ให้น้ำเมา ๒. ให้มหรสพ
๓. ให้สตรี ๔. ให้โคผู้
๕. ให้รูปภาพ

สิ่งที่เกิดขึ้นแล้วบรรเทาได้ยากมี ๕ อย่าง คือ
๑. ราคะเกิดขึ้นแล้วบรรเทาได้ยาก ๒. โทสะเกิดขึ้นแล้วบรรเทาได้ยาก
๓. โมหะเกิดขึ้นแล้วบรรเทาได้ยาก ๔. ปฏิภาณเกิดขึ้นแล้วบรรเทาได้
ยาก
๕. จิตที่คิดจะไปเกิดขึ้นแล้วบรรเทาได้ยาก
การกวาดมีอานิสงส์ ๕ อย่าง คือ

๑. จิตของตนเลื่อมใส ๒. จิตของผู้อื่นเลื่อมใส
๓. เทวดาชื่นชม ๔. สั่งสมกรรมที่เป็นไปเพื่อให้เกิด
ความเลื่อมใส

๕. หลังจากตายแล้ว ย่อมไปบังเกิดในสุคติโลกสวรรค์
การกวาดแม้อื่นอีกก็มีอานิสงส์ ๕ อย่าง คือ
๑. จิตของตนเลื่อมใส ๒. จิตของผู้อื่นเลื่อมใส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๖๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๕. ปัญจกวาร

๓. เทวดาชื่นชม ๔. เป็นอันทำตามคำสั่งสอนของ
พระศาสนา
๕. ชนรุ่นหลังยึดถือเป็นแบบอย่าง

ว่าด้วยองค์คุณของพระวินัยธร
พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๕ นับว่าเป็นผู้โง่เขลา คือ
๑. ไม่กำหนดที่สุดถ้อยคำของตน
๒. ไม่กำหนดที่สุดถ้อยคำของผู้อื่น
๓. ไม่กำหนดที่สุดถ้อยคำของตนทั้งไม่กำหนดที่สุดถ้อยคำของผู้อื่น แล้ว
ปรับอาบัติ
๔. ปรับอาบัติโดยไม่ชอบธรรม
๕. ปรับอาบัติไม่ตามปฏิญญา
พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๕ นับว่าเป็นผู้ฉลาด คือ
๑. กำหนดที่สุดถ้อยคำของตน
๒. กำหนดที่สุดถ้อยคำของผู้อื่น
๓. กำหนดที่สุดถ้อยคำของตนทั้งกำหนดที่สุดถ้อยคำของผู้อื่น แล้วปรับ
อาบัติ
๔. ปรับอาบัติตามธรรม
๕. ปรับอาบัติตามปฏิญญา
พระวินัยธรประกอบแม้ด้วยองค์อื่นอีก ๕ นับว่าเป็นผู้โง่เขลา คือ

๑. ไม่รู้อาบัติ ๒. ไม่รู้มูลของอาบัติ
๓. ไม่รู้เหตุเกิดอาบัติ ๔. ไม่รู้การระงับอาบัติ
๕. ไม่รู้ข้อปฏิบัติอันให้ถึงการระงับอาบัติ

พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๕ นับว่าเป็นผู้ฉลาด คือ
๑. รู้อาบัติ ๒. รู้มูลของอาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๖๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๕. ปัญจกวาร

๓. รู้เหตุเกิดอาบัติ ๔. รู้การระงับอาบัติ
๕. รู้ข้อปฏิบัติ อันให้ถึงการระงับอาบัติ

พระวินัยธรประกอบแม้ด้วยองค์อื่นอีก ๕ นับว่าเป็นผู้โง่เขลา คือ

๑. ไม่รู้อธิกรณ์ ๒. ไม่รู้มูลของอธิกรณ์
๓. ไม่รู้เหตุเกิดอธิกรณ์ ๔. ไม่รู้การระงับอธิกรณ์

๕. ไม่รู้ข้อปฏิบัติอันให้ถึงการระงับอธิกรณ์
พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๕ นับว่าเป็นผู้ฉลาด คือ

๑. รู้อธิกรณ์ ๒. รู้มูลของอธิกรณ์
๓. รู้เหตุเกิดอธิกรณ์ ๔. รู้การระงับอธิกรณ์
๕. รู้ข้อปฏิบัติอันให้ถึงการระงับอธิกรณ์

พระวินัยธรประกอบแม้ด้วยองค์อื่นอีก ๕ นับว่าเป็นผู้โง่เขลา คือ

๑. ไม่รู้วัตถุ ๒. ไม่รู้เหตุเค้ามูล
๓. ไม่รู้บัญญัติ ๔. ไม่รู้อนุบัญญัติ
๕. ไม่รู้ถ้อยคำแห่งอนุสนธิ

พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๕ นับว่าเป็นผู้ฉลาด คือ

๑. รู้วัตถุ ๒. รู้เหตุเค้ามูล
๓. รู้บัญญัติ ๔. รู้อนุบัญญัติ
๕. รู้ถ้อยคำแห่งอนุสนธิ

พระวินัยธรประกอบแม้ด้วยองค์อื่นอีก ๕ นับว่าเป็นผู้โง่เขลา คือ

๑. ไม่รู้ญัตติ ๒. ไม่รู้ตั้งญัตติ
๓. ไม่ฉลาดในเบื้องต้น ๔. ไม่ฉลาดในเบื้องปลาย
๕. ไม่รู้กาล

พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๕ นับว่าเป็นผู้ฉลาด คือ
๑. รู้ญัตติ ๒. รู้ตั้งญัตติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๖๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๕. ปัญจกวาร
๓. ฉลาดในเบื้องต้น ๔. ฉลาดในเบื้องปลาย
๕. รู้กาล
พระวินัยธรประกอบแม้ด้วยองค์อื่นอีก ๕ นับว่าเป็นผู้โง่เขลา คือ
๑. ไม่รู้อาบัติและอนาบัติ
๒. ไม่รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก
๓. ไม่รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ
๔. ไม่รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ
๕. ไม่ยึดถือ ไม่ใส่ใจ ไม่ใคร่ครวญถ้อยคำที่สืบต่อจากอาจารย์ให้ดี
พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๕ นับว่าเป็นผู้ฉลาด คือ
๑. รู้อาบัติและอนาบัติ
๒. รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก
๓. รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ
๔. รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ
๕. ยึดถือ ใส่ใจ ใคร่ครวญถ้อยคำที่สืบต่อจากอาจารย์ด้วยดี
พระวินัยธรประกอบแม้ด้วยองค์อื่นอีก ๕ นับว่าเป็นผู้โง่เขลา คือ
๑. ไม่รู้อาบัติและอนาบัติ
๒. ไม่รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก
๓. ไม่รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ
๔. ไม่รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ
๕. จำปาติโมกข์ทั้ง ๒ โดยพิสดารไม่ดี จำแนกไม่ดี ไม่คล่องแคล่ว
วินิจฉัยโดยสุตตะ โดยอนุพยัญชนะไม่ดี
พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๕ นับว่าเป็นผู้ฉลาด คือ
๑. รู้อาบัติและอนาบัติ
๒. รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก
๓. รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๖๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๕. ปัญจกวาร
๔. รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ
๕. จำปาติโมกข์ทั้ง ๒ โดยพิสดารได้ดี จำแนกได้ดี คล่องแคล่วดี
วินิจฉัยโดยสุตตะ โดยอนุพยัญชนะได้ดี
พระวินัยธรประกอบแม้ด้วยองค์อื่นอีก ๕ นับว่าเป็นผู้โง่เขลา คือ
๑. ไม่รู้อาบัติและอนาบัติ
๒. ไม่รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก
๓. ไม่รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ
๔. ไม่รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ
๕. ไม่ฉลาดในการวินิจฉัยอธิกรณ์
พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๕ นับว่าเป็นผู้ฉลาด คือ
๑. รู้อาบัติและอนาบัติ
๒. รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก
๓. รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ
๔. รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ
๕. ฉลาดในการวินิจฉัยอธิกรณ์

ว่าด้วยภิกษุอยู่ป่า เป็นต้น
ภิกษุผู้ถืออยู่ป่ามี ๕ จำพวก คือ
๑. เพราะเป็นผู้โง่เขลา งมงาย จึงอยู่ป่า
๒. เป็นผู้ปรารถนาเลวทราม ถูกความอยากครอบงำ จึงอยู่ป่า
๓. เพราะมัวเมา จิตฟุ้งซ่าน จึงอยู่ป่า
๔. เพราะเข้าใจว่า พระพุทธเจ้า พระสาวกของพระพุทธเจ้าสรรเสริญ
จึงอยู่ป่า
๕. เพราะอาศัยความมักน้อยสันโดษ ขัดเกลา ความเงียบสงัด และ
เพราะอาศัยว่าการอยู่ป่ามีประโยชน์ด้วยการปฏิบัติอันงามนี้ จึงอยู่ป่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๗๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๕. ปัญจกวาร
ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตมี ๕ จำพวก ฯลฯ ภิกษุผู้ถือผ้าบังสุกุลมี ๕ จำพวก
ฯลฯ ภิกษุผู้ถืออยู่โคนไม้มี ๕ จำพวก ฯลฯ ภิกษุผู้ถืออยู่ป่าช้ามี ๕ จำพวก ฯลฯ
ภิกษุผู้ถืออยู่กลางแจ้งมี ๕ จำพวก ฯลฯ ภิกษุผู้ถือผ้า ๓ ผืนมี ๕ จำพวก ฯลฯ
ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตตามลำดับมี ๕ จำพวก ฯลฯ ภิกษุผู้ถือการนั่งมี ๕ จำพวก
ฯลฯ ภิกษุผู้ถืออยู่ในเสนาสนะตามที่จัดไว้มี ๕ จำพวก ฯลฯ ภิกษุผู้ถือนั่งฉัน ณ
อาสนะแห่งเดียวมี ๕ จำพวก ฯลฯ ภิกษุผู้ถือการห้ามภัตรที่เขานำมาถวายเมื่อ
ภายหลังมี ๕ จำพวก ฯลฯ
ภิกษุผู้ถือฉันเฉพาะในบาตรมี ๕ จำพวก คือ
๑. เพราะเป็นผู้โง่เขลา งมงาย จึงถือการฉันเฉพาะในบาตร
๒. เป็นผู้ปรารถนาเลวทราม ถูกความอยากครอบงำ จึงถือการฉัน
เฉพาะในบาตร
๓. เพราะมัวเมา จิตฟุ้งซ่าน จึงถือการฉันเฉพาะในบาตร
๔. เพราะเข้าใจว่า พระพุทธเจ้า พระสาวกของพระพุทธเจ้าสรรเสริญ
จึงถือการฉันเฉพาะในบาตร
๕. เพราะอาศัยความมักน้อยสันโดษ ขัดเกลา ความเงียบ สงัด และ
เพราะอาศัยว่าการฉันเฉพาะในบาตรมีประโยชน์ด้วยการปฏิบัติอัน
งามนี้ จึงถือการฉันเฉพาะในบาตร

ว่าด้วยองค์ของภิกษุผู้ต้องถือนิสัย
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ จะพึงอยู่โดยไม่ถือนิสัยไม่ได้ คือ

๑. ไม่รู้อุโบสถ ๒. ไม่รู้อุโบสถกรรม
๓. ไม่รู้ปาติโมกข์ ๔. ไม่รู้ปาติโมกขุทเทส
๕. มีพรรษาหย่อน ๕

ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ถือนิสัยแล้ว ควรอยู่ได้ คือ

๑. รู้อุโบสถ ๒. รู้อุโบสถกรรม
๓. รู้ปาติโมกข์ ๔. รู้ปาติโมกขุทเทส
๕. มีพรรษาครบ ๕ หรือมีพรรษาเกิน ๕


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๗๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๕. ปัญจกวาร
ภิกษุผู้ประกอบแม้ด้วยองค์อื่นอีก ๕ ไม่ถือนิสัยแล้ว ไม่ควรอยู่ คือ

๑. ไม่รู้ปวารณา ๒. ไม่รู้ปวารณากรรม
๓. ไม่รู้ปาติโมกข์ ๔. ไม่รู้ปาติโมกขุทเทส
๕. มีพรรษาหย่อน ๕

ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ถือนิสัยแล้ว ควรอยู่ได้ คือ

๑. รู้ปวารณา ๒. รู้ปวารณากรรม
๓. รู้ปาติโมกข์ ๔. รู้ปาติโมกขุทเทส
๕. มีพรรษาครบ ๕ หรือมีพรรษาเกิน ๕

ภิกษุผู้ประกอบแม้ด้วยองค์อื่นอีก ๕ ไม่ถือนิสัยแล้ว ไม่ควรอยู่ คือ
๑. ไม่รู้อาบัติและอนาบัติ
๒. ไม่รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก
๓. ไม่รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ
๔. ไม่รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ
๕. มีพรรษาหย่อน ๕
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ถือนิสัยแล้ว ควรอยู่ได้ คือ
๑. รู้อาบัติและอนาบัติ
๒. รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก
๓. รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ
๔. รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ
๕. มีพรรษาครบ ๕ หรือมีพรรษาเกิน ๕
ภิกษุณีประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ถือนิสัยแล้ว ไม่ควรอยู่ คือ

๑. ไม่รู้อุโบสถ ๒. ไม่รู้อุโบสถกรรม
๓. ไม่รู้ปาติโมกข์ ๔. ไม่รู้ปาติโมกขุทเทส
๕. มีพรรษาหย่อน ๕


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๗๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๕. ปัญจกวาร
ภิกษุณีประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ถือนิสัยแล้ว ควรอยู่ได้ คือ

๑. รู้อุโบสถ ๒. รู้อุโบสถกรรม
๓. รู้ปาติโมกข์ ๔. รู้ปาติโมกขุทเทส
๕. มีพรรษาครบ ๕ หรือมีพรรษาเกิน ๕

ภิกษุณีประกอบแม้ด้วยองค์อื่นอีก ๕ ไม่ถือนิสัยแล้ว ไม่ควรอยู่ คือ

๑. ไม่รู้ปวารณา ๒. ไม่รู้ปวารณากรรม
๓. ไม่รู้ปาติโมกข์ ๔. ไม่รู้ปาติโมกขุทเทส
๕. มีพรรษาหย่อน ๕

ภิกษุณีประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ถือนิสัยแล้ว ควรอยู่ได้ คือ

๑. รู้ปวารณา ๒. รู้ปวารณากรรม
๓. รู้ปาติโมกข์ ๔. รู้ปาติโมกขุทเทส
๕. มีพรรษาครบ ๕ หรือมีพรรษาเกิน ๕

ภิกษุณีประกอบแม้ด้วยองค์อื่นอีก ๕ ไม่ถือนิสัยแล้ว ไม่ควรอยู่ คือ
๑. ไม่รู้อาบัติและอนาบัติ
๒. ไม่รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก
๓. ไม่รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ
๔. ไม่รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ
๕. มีพรรษาหย่อน ๕
ภิกษุณีประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ถือนิสัยแล้ว ควรอยู่ได้ คือ
๑. รู้อาบัติและอนาบัติ
๒. รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก
๓. รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ
๔. รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ
๕. มีพรรษาครบ ๕ หรือมีพรรษาเกิน ๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๗๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๕. ปัญจกวาร
ว่าด้วยโทษในกรรมไม่น่าเลื่อมใส เป็นต้น
กรรมที่ไม่น่าเลื่อมใสมีโทษ ๕ อย่าง คือ
๑. ตนเองก็ติเตียนตน
๒. ผู้รู้ทั้งหลายใคร่ครวญแล้วก็ติเตียน
๓. กิตติศัพท์อันชั่วย่อมขจรไป
๔. หลงลืมสติตาย
๕. หลังจากตายแล้ว ย่อมไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
กรรมที่น่าเลื่อมใสมีอานิสงส์ ๕ อย่าง คือ
๑. ตนเองก็ไม่ติเตียนตน
๒. ผู้รู้ทั้งหลายใคร่ครวญแล้วก็สรรเสริญ
๓. กิตติศัพท์อันดีย่อมขจรไป
๔. ไม่หลงลืมสติตาย
๕. หลังจากตายแล้ว ย่อมไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
กรรมที่ไม่น่าเลื่อมใสมีโทษแม้อื่นอีก ๕ อย่าง คือ
๑. ผู้ที่ยังไม่เลื่อมใสย่อมไม่เลื่อมใส
๒. บางพวกที่เลื่อมใสแล้วกลับแปรเป็นอื่นไป
๓. ไม่เป็นอันทำตามคำสอนพระศาสดา
๔. ชนรุ่นหลังย่อมไม่ยึดถือเป็นแบบอย่าง
๕. จิตของเขาไม่เลื่อมใส
กรรมที่น่าเลื่อมใสมีอานิสงส์ ๕ อย่าง คือ
๑. ผู้ที่ยังไม่เลื่อมใสย่อมเลื่อมใส
๒. ผู้ที่เลื่อมใสแล้วย่อมเลื่อมใสยิ่งขึ้นไป
๓. เป็นอันทำตามคำสอนพระศาสดา
๔. ชนรุ่งหลัง ย่อมยึดถือเป็นแบบอย่าง
๕. จิตของเขาย่อมเลื่อมใส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๗๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๕. ปัญจกวาร
ภิกษุผู้เข้าไปสู่ตระกูลมีโทษ ๕ อย่าง คือ
๑. ต้องอาบัติเพราะเที่ยวไปไม่บอกลา
๒. ต้องอาบัติเพราะนั่งในที่ลับ
๓. ต้องอาบัติเพราะอาสนะกำบัง
๔. แสดงธรรมแก่มาตุคามเกิน ๕-๖ คำต้องอาบัติ
๕. เป็นผู้มากด้วยความดำริในกามอยู่
ภิกษุผู้เข้าไปสู่ตระกูล คลุกคลีอยู่ในตระกูลเกินเวลา มีโทษ ๕ อย่าง คือ
๑. พบมาตุคามเป็นประจำ
๒. เมื่อมีการพบก็มีการเกี่ยวข้อง
๓. เมื่อมีการเกี่ยวข้องก็มีความสนิทสนม
๔. เมื่อมีความสนิทสนมก็มีจิตกำหนัด
๕. เมื่อมีจิตกำหนัดก็เป็นอันหวังข้อนี้ได้ คือ เธอจักไม่ยินดีประพฤติ
พรหมจรรย์ จักต้องอาบัติที่เศร้าหมองอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือจัก
บอกลาสิกขาเพื่อเป็นคฤหัสถ์

ว่าด้วยพืชและผลไม้
พืชพันธุ์มี ๕ ชนิด คือ

๑. พืชพันธุ์เกิดจากเหง้า ๒. พืชพันธุ์เกิดจากลำต้น
๓. พืชพันธุ์เกิดจากตา ๔. พืชพันธุ์เกิดจากยอด
๕. พืชพันธุ์เกิดจากเมล็ด

ผลไม้ที่ควรบริโภคด้วยวิธีอันควรแก่สมณะ มี ๕ คือ

๑. ผลไม้ที่ลนไฟ ๒. ผลไม้ที่กรีดด้วยศัสตรา
๓. ผลไม้ที่จิกด้วยเล็บ ๔. ผลไม้ที่ไม่มีเมล็ด
๕. ผลไม้ที่ปล้อนเอาเมล็ดออกแล้ว


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๗๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๕. ปัญจกวาร
ว่าด้วยวิสุทธิ ๕
วิสุทธิมี ๕ แบบ คือ
๑. ยกนิทานขึ้นแสดงจบแล้ว พึงสวดอุทเทสที่เหลือด้วยสุตบท นี้เป็น
วิสุทธิแบบที่ ๑
๒. ยกนิทานขึ้นแสดง ยกปาราชิก ๔ ขึ้นแสดงจบแล้วพึงสวดอุทเทส
ที่เหลือด้วยสุตบท นี้เป็นวิสุทธิแบบที่ ๒
๓. ยกนิทานขึ้นแสดง ยกปาราชิก ๔ ขึ้นแสดง ยกสังฆาทิเสส ๑๓ ขึ้น
แสดงจบแล้วพึงสวดอุทเทสที่เหลือด้วยสุตบท นี้เป็นวิสุทธิแบบที่ ๓
๔. ยกนิทานขึ้นแสดง ยกปาราชิก ๔ ขึ้นแสดง ยกสังฆาทิเสส ๑๓
ขึ้นแสดง ยกอนิยต ๒ ขึ้นแสดงจบแล้ว พึงสวดอุทเทสที่เหลือ
ด้วยสุตบท นี้เป็นวิสุทธิแบบที่ ๔
๕. ยกขึ้นแสดงโดยพิสดารทั้งหมด เป็นวิสุทธิแบบที่ ๕
วิสุทธิแม้อื่นอีกมี ๕ แบบ คือ

๑. สุตตุทเทสอุโบสถ ๒. ปาริสุทธิอุโบสถ
๓. อธิษฐานอุโบสถ ๔. สามัคคีอุโบสถ
๕. ปวารณา

ว่าด้วยอานิสงส์การทรงวินัย เป็นต้น
การทรงวินัยมีอานิสงส์ ๕ อย่าง คือ
๑. เป็นอันคุ้มครองรักษากองศีลของตนไว้ดีแล้ว
๒. ผู้ที่ถูกความรังเกียจครอบงำย่อมหวนระลึกได้
๓. กล้าพูดในท่ามกลางสงฆ์
๔. ข่มด้วยดีซึ่งข้าศึกโดยสหธรรม
๕. เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม
การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรมมี ๕ อย่าง
การงดปาติโมกข์ชอบธรรมมี ๕ อย่าง
ปัญจกวาร จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๗๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] หัวข้อประจำวาร
หัวข้อประจำวาร
อาบัติ กองอาบัติ วินีตวัตถุ อนันตริยกรรม บุคคลที่แน่นอน
อาบัติมีการตัดเป็นวินัยกรรม ต้องอาบัติด้วยอาการ ๕
ต้องอาบัติเพราะมุสาวาทเป็นปัจจัย ภิกษุไม่เข้ากรรม
ภิกษุเข้ากรรม กิจที่ควร ภิกษุถูกระแวง น้ำมัน มันเหลว
ความเสื่อม ความถึงพร้อม นิสัยระงับ บุคคลไม่ควรให้อุปสมบท
ผ้าตกที่ป่าช้า ผ้าที่โคกัด การลัก โจร
สิ่งของไม่ควรจ่าย สิ่งของไม่ควรแบ่ง อาบัติที่เกิดทางกาย
เกิดทางกายกับวาจา อาบัติเป็นเทสนาคามินี สงฆ์
ปาติโมกขุทเทส ปัจจันตชนบท อานิสงส์กฐิน
กรรม อาบัติจนกระทั่งสงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง
ปาราชิก ถุลลัจจัย ทุกกฏ อกัปปิยวัตถุ กัปปิยวัตถุ
สิ่งที่ให้แล้วไม่เป็นบุญ สิ่งที่บรรเทาได้ยาก การกวาด
การกวาดอย่างอื่นอีก ถ้อยคำ อาบัติ อธิกรณ์ วัตถุ ญัตติ
อาบัติและอนาบัติ ปาติโมกข์ทั้ง ๒ อาบัติเบา
จงทราบฝ่ายดำและฝ่ายขาวดังข้างต้นนี้
ภิกษุถืออยู่ป่า ถือเที่ยวบิณฑบาต ถือผ้าบังสุกุล
ถืออยู่โคนไม้ ถืออยู่ป่าช้า ถืออยู่กลางแจ้ง ถือผ้า ๓ ผืน
ถือเที่ยวบิณฑบาตตามลำดับ ถือการนั่ง
ถืออยู่ในเสนาสนะตามที่จัดไว้ ถือนั่งฉัน ณ อาสนะแห่งเดียว
ถือการห้ามภัตรที่ถวายทีหลัง ถือฉันข้าวเฉพาะในบาตร
อุโบสถ ปวารณา อาบัติและอนาบัติ
บทฝ่ายดำและฝ่ายขาวดังข้างต้นนี้สำหรับภิกษุณีก็เหมือนกัน
กรรมที่ไม่น่าเลื่อมใส กรรมที่น่าเลื่อมใส
กรรมที่ไม่น่าเลื่อมใสและน่าเลื่อมใสอื่นอีก ๒ อย่าง
ภิกษุเข้าไปสู่สกุลคลุกคลีอยู่เกินเวลา พืชพันธุ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๗๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๖.ฉักกวาร
ผลไม้ควรแก่สมณะ วิสุทธิ วิสุทธิแม้อื่นอีก
อานิสงส์การทรงพระวินัย การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม
การงดปาติโมกข์ชอบธรรม
๕ หมวดล้วนที่กล่าวแล้ว จบ

๖. ฉักกวาร
ว่าด้วยหมวด ๖
[๓๒๖] อคารวะมี ๖ คารวะมี ๖ วินีตวัตถุมี ๖ สามีจิกรรมมี ๖ สมุฏฐาน
แห่งอาบัติมี ๖ อาบัติมีการตัดเป็นวินัยกรรมมี ๖ ภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการ ๖ การ
ทรงวินัยมีอานิสงส์ ๖ สิกขาบทที่ว่าด้วยอย่างยิ่งมี ๖ ภิกษุอยู่ปราศจากไตรจีวร ๖
ราตรี จีวรมี ๖ ชนิด น้ำย้อมมี ๖ ชนิด อาบัติเกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทาง
วาจามี ๖ อาบัติเกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกายมี ๖ อาบัติเกิดทางกายวาจา
กับจิตมี ๖ กรรมมี ๖ มูลเหตุแห่งวิวาทมี ๖ มูลเหตุแห่งอนุวาทมี ๖ สาราณียธรรม
มี ๖ ผ้าอาบน้ำฝนยาว ๖ คืบพระสุคต จีวรกว้าง ๖ คืบพระสุคต นิสัยระงับจาก
พระอาจารย์มี ๖ อนุบัญญัติในการอาบน้ำมี ๖ ภิกษุถือเอาจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป
เก็บเอาจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป

องค์ ๖ แห่งพระอุปัชฌาย์
ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๖ พึงให้กุลบุตรอุปสมบท พึงให้นิสัย พึงใช้สามเณร
อุปัฏฐาก คือ
๑. ประกอบด้วยสีลขันธ์อันเป็นอเสขะ
๒. ประกอบด้วยสมาธิขันธ์อันเป็นอเสขะ
๓. ประกอบด้วยปัญญาขันธ์อันเป็นอเสขะ
๔. ประกอบด้วยวิมุตติขันธ์อันเป็นอเสขะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๗๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๖.ฉักกวาร
๕. ประกอบด้วยวิมุตติญาณทัสสนขันธ์๑อันเป็นอเสขะ๒
๖. มีพรรษาครบ ๑๐ หรือมีพรรษาเกิน ๑๐
ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๖ แม้อีกอย่าง ก็พึงให้กุลบุตรอุปสมบท พึงให้นิสัย
พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก คือ
๑. ตนเองประกอบด้วยสีลขันธ์อันเป็นอเสขะ และชักชวนผู้อื่นในสีลขันธ์
อันเป็นอเสขะ
๒. ตนเองประกอบด้วยสมาธิขันธ์อันเป็นอเสขะ และชักชวนผู้อื่นใน
สมาธิขันธ์อันเป็นอเสขะ
๓. ตนเองประกอบด้วยปัญญาขันธ์อันเป็นอเสขะ และชักชวนผู้อื่นใน
ปัญญาขันธ์อันเป็นอเสขะ
๔. ตนเองประกอบด้วยวิมุตติขันธ์อันเป็นอเสขะ และชักชวนผู้อื่นในวิมุตติ
ขันธ์อันเป็นอเสขะ
๕. ตนเองประกอบด้วยวิมุตติญาณทัสสนขันธ์อันเป็นอเสขะ และชักชวน
ผู้อื่นในวิมุตติญาณทัสสนขันธ์อันเป็นอเสขะ
๖. เป็นผู้มีพรรษาครบ ๑๐ หรือมีพรรษาเกิน ๑๐
ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๖ แม้อีกอย่าง ก็พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสัย พึงใช้
สามเณรอุปัฏฐาก คือ

๑. เป็นผู้มีศรัทธา ๒. เป็นผู้มีหิริ
๓. เป็นผู้มีโอตตัปปะ ๔. เป็นผู้ปรารภความเพียร
๕. เป็นผู้มีสติตั้งมั่น ๖. เป็นผู้มีพรรษาครบ ๑๐ หรือมี
พรรษาเกิน ๑๐


เชิงอรรถ :
๑ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ ดูรายละเอียดใน องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๒๕๑/๓๙๒
๒ องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๒๕๑/๓๙๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๗๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๖.ฉักกวาร
ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๖ แม้อื่นอีก ก็พึงให้กุลบุตรอุปสมบท พึงให้นิสัย
พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก คือ

๑. เป็นผู้ไม่มีสีลวิบัติในอธิศีล ๒. เป็นผู้ไม่มีอาจารวิบัติในอัชฌาจาร
๓. เป็นผู้ไม่มีทิฏฐิวิบัติในอติทิฏฐิ ๔. เป็นพหูสูต
๕. เป็นผู้มีปัญญา ๖. เป็นผู้มีพรรษาครบ ๑๐ หรือมี
พรรษาเกิน ๑๐

ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๖ แม้อื่นอีก ก็พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสัย พึงใช้
สามเณรอุปัฏฐาก คือ
๑. สามารถพยาบาลเองหรือใช้ให้ผู้อื่นพยาบาลอันเตวาสิกหรือสัทธิวิหาริก
ผู้เป็นไข้
๒. สามารถระงับเองหรือใช้ให้ผู้อื่นช่วยระงับความกระสัน
๓. สามารถบรรเทาเองหรือใช้ให้ผู้อื่นช่วยบรรเทาความเบื่อหน่ายที่เกิดขึ้น
โดยธรรม
๔. รู้จักอาบัติ
๕. รู้จักวิธีออกจากอาบัติ
๖. มีพรรษาครบ ๑๐ หรือมีพรรษาเกิน ๑๐
ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๖ แม้อื่นอีก ก็พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสัย พึงใช้
สามเณรอุปัฏฐาก คือ
๑. สามารถฝึกปรืออันเตวาสิกหรือสัทธิวิหาริกในอภิสมาจาริกาสิกขา
๒. สามารถแนะนำในอาทิพรหมจาริกาสิกขา
๓. สามารถแนะนำในอภิธรรม
๔. สามารถแนะนำในอภิวินัย
๕. สามารถเปลื้องความเห็นผิดอันเกิดขึ้นโดยธรรม
๖. มีพรรษาครบ ๑๐ หรือมีพรรษาเกิน ๑๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๘๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] หัวข้อประจำวาร
ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๖ แม้อื่นอีก ก็พึงให้กุลบุตรอุปสมบท พึงให้นิสัย
พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก คือ
๑. รู้อาบัติ ๒. รู้อนาบัติ
๓. รู้อาบัติเบา ๔. รู้อาบัติหนัก
๕. จำปาติโมกข์ทั้ง ๒ โดยพิสดารได้ดี จำแนกได้ดี คล่องแคล่วดี
วินิจฉัยโดยสุตตะ โดยอนุพยัญชนะได้ดี
๖. เป็นผู้มีพรรษาครบ ๑๐ หรือมีพรรษาเกิน ๑๐

ว่าด้วยการงดปาติโมกข์
การงดพระปาติโมกข์ไม่ชอบธรรมมี ๖ อย่าง การงดพระปาติโมกข์ชอบธรรม
มี ๖ อย่าง
ฉักกวาร จบ

หัวข้อประจำวาร
อคารวะ คารวะ วินีตวัตถุ สามีจิกรรม สมุฏฐานแห่งอาบัติ
อาบัติมีการตัดเป็นวินัยกรรม อาการที่ต้องอาบัติ
อานิสงส์การทรงวินัย สิกขาบทที่ว่าด้วยอย่างยิ่ง
ภิกษุอยู่ปราศจากไตรจีวร ๖ ราตรี จีวร น้ำย้อม
อาบัติเกิดทางกายกับจิต ทางวาจากับจิต ทางกายวาจากับจิต
กรรม มูลเหตุแห่งวิวาท มูลเหตุแห่งการโจท ผ้าอาบน้ำฝนยาว จีวรกว้าง
นิสัยระงับ อนุบัญญัติในการอาบน้ำ ถือเอาจีวรที่ทำค้างหลีกไป
เก็บเอาจีวรที่ทำค้างหลีกไป ประกอบด้วยสีลขันธ์เป็นอเสขะ
ชักชวนผู้อื่นให้สมาทานในสีลขันธ์เป็นอเสขะ มีศรัทธา
ผู้มีสีลวิบัติในอธิศีล ภิกษุผู้สามารถพยาบาล ฝึกปรือในอภิสมาจาร
รู้อาบัติ การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม การงดปาติโมกข์ชอบธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๘๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๗. สัตตกวาร
๗. สัตตกวาร
ว่าด้วยหมวด ๗
[๓๒๗] อาบัติมี ๗ กองอาบัติมี ๗ วินีตวัตถุมี ๗ สามีจิกรรมมี ๗ ทำตาม
ปฏิญญาไม่ชอบธรรมมี ๗ ทำตามปฏิญญาชอบธรรมมี ๗ บุคคล ๗ จำพวก
ภิกษุไปด้วยสัตตาหกรณียะไม่ต้องอาบัติ ทรงวินัยมีอานิสงส์ ๗ สิกขาบทที่ว่าด้วย
อย่างยิ่งมี ๗ เพราะอรุณขึ้นไปสิ่งของเป็นนิสสัคคีย์มี ๗ สมถะมี ๗ กรรมมี ๗
ข้าวเปลือกดิบมี ๗ สร้างกุฎีด้านกว้างภายใน ๗ คืบ คณโภชนะมีอนุบัญญัติ ๗
ภิกษุรับประเคนเภสัชแล้วเก็บไว้ฉันได้ ๗ วันเป็นอย่างยิ่ง ภิกษุถือเอาจีวรที่ทำเสร็จ
แล้วหลบหนีไป เก็บจีวรที่ทำเสร็จแล้วหลบหนีไป ภิกษุไม่เห็นอาบัติ ภิกษุเห็นอาบัติ
ภิกษุทำคืนอาบัติ การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรมมี ๗ การงดปาติโมกข์ชอบธรรมมี ๗

ว่าด้วยองค์ของพระวินัยธร๑
ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๗ เป็นพระวินัยธรได้ คือ

๑. รู้อาบัติ ๒. รู้อนาบัติ
๓. รู้อาบัติเบา ๔. รู้อาบัติหนัก

๕. มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วยอาจาระ
และโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ใน
สิกขาบททั้งหลาย
๖. ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง ซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ตาม
ความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
๗. ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะ
สิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน

เชิงอรรถ :
๑ องฺ.สตฺตก. (แปล) ๒๓/๗๕-๘๒/๑๗๑-๑๗๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๘๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๗. สัตตกวาร
ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๗ แม้อื่นอีก เป็นพระวินัยธรได้ คือ

๑. รู้อาบัติ ๒. รู้อนาบัติ
๓. รู้อาบัติเบา ๔. รู้อาบัติหนัก

๕. เป็นพหูสูต ทรงสุตะ มีการสั่งสมสุตะ เธอได้สดับมาก ทรงจำได้
แม่นยำ คล่องปาก ขึ้นใจ รู้ชัดด้วยปัญญาซึ่งธรรมงามในเบื้องต้น
งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ
พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน
๖. ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง ซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ตาม
ความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
๗. ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะ
สิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๗ แม้อื่นอีก เป็นพระวินัยธรได้ คือ

๑. รู้อาบัติ ๒. รู้อนาบัติ
๓. รู้อาบัติเบา ๔. รู้อาบัติหนัก

๕. จำปาติโมกข์ทั้ง ๒ โดยพิสดารได้ดี จำแนกได้ดี คล่องแคล่วดี
วินิจฉัยโดยสุตตะ โดยอนุพยัญชนะได้ดี
๖. ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง ซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ตาม
ความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
๗. ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะ
สิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๗ แม้อื่นอีก เป็นพระวินัยธรได้ คือ

๑. รู้อาบัติ ๒. รู้อนาบัติ
๓. รู้อาบัติเบา ๔. รู้อาบัติหนัก

๕. ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ๓ ชาติ
บ้าง ๔ ชาติบ้าง ๕ ชาติบ้าง ๑๐ ชาติบ้าง ๒๐ ชาติบ้าง ๓๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๘๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๗. สัตตกวาร
ชาติบ้าง ๔๐ ชาติบ้าง ๕๐ ชาติบ้าง ๑๐๐ ชาติบ้าง ๑,๐๐๐
ชาติบ้าง ๑๐๐,๐๐๐ ชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปบ้าง ตลอดวิวัฏฏ
กัปบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปวิวัฏฏกัปบ้าง หลายกัปบ้าง ว่าในภพโน้น
เรามีชื่ออย่างนั้น มีตระกูลอย่างนี้ มีวรรณะอย่างนั้น ๆ มีอาหาร
เสวยสุขทุกข์ มีกำหนดอายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้นไปเกิดในภพ
โน้น มีชื่อ มีโคตร มีผิว มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ มีกำหนดอายุ
อย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้นมาเกิดในภพนี้ ย่อมระลึกถึงชาติก่อน
ได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะและชีวประวัติด้วยประการฉะนี้
๖. เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังอุบัติ ทั้งชั้นต่ำทั้งชั้นสูง งามและไม่งาม
เกิดดีและไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่ง
หมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์ที่ประกอบด้วยกายทุจริต วจี
ทุจริต มโนทุจริต กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นผิดและชักชวน
ผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นผิด สัตว์เหล่านั้นหลังจากตายแล้วไป
บังเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก แต่หมู่สัตว์ที่ประกอบด้วย
กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริตไม่กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็น
ชอบ ชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นชอบ สัตว์เหล่านั้นหลังจาก
ตายแล้วไปบังเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ย่อมเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ
กำลังอุบัติ ทั้งชั้นต่ำทั้งชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและไม่ดี ด้วย
ตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตาม
กรรมด้วยประการฉะนี้
๗. ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะ
สิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๗ ย่อมงาม คือ

๑. รู้อาบัติ ๒. รู้อนาบัติ
๓. รู้อาบัติเบา ๔. รู้อาบัติหนัก

๕. มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๘๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๗. สัตตกวาร
๖. ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง ซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ตาม
ความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
๗. ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะ
สิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๗ แม้อื่นอีก ย่อมงาม คือ

๑. รู้อาบัติ ๒. รู้อนาบัติ
๓. รู้อาบัติเบา ๔. รู้อาบัติหนัก

๕. เป็นพหูสูต ฯลฯ บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน
๖. ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง ซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ตาม
ความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
๗. ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะ
อาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๗ แม้อื่นอีก ย่อมงาม คือ

๑. รู้อาบัติ ๒. รู้อนาบัติ
๓. รู้อาบัติเบา ๔. รู้อาบัติหนัก

๕. จำปาติโมกข์ทั้ง ๒ โดยพิสดารได้ดี จำแนกได้ดี คล่องแคล่วดี
วินิจฉัยโดยสุตตะ โดยอนุพยัญชนะได้ดี
๖. ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง ซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ตาม
ความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
๗. ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะ
อาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๗ แม้อื่นอีก ย่อมงาม คือ

๑. รู้อาบัติ ๒. รู้อนาบัติ
๓. รู้อาบัติเบา ๔. รู้อาบัติหนัก


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๘๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๘. อัฏฐกวาร
๕. ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ ฯลฯ ย่อมเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลัง
อุบัติ ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและไม่ดีด้วยตาทิพย์
อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ฯลฯ
๖. ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง ซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
ตามความปรารถนาได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
๗. ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะ
สิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน

ว่าด้วยอสัทธรรมและสัทธรรม
อสัทธรรมมี ๗ ประการ คือ

๑. ไม่มีศรัทธา ๒. ไม่มีหิริ(ความละอายบาป)
๓. ไม่มีโอตตัปปะ ๔. ได้ยินได้ฟังมาน้อย
(ความเกรงกลัวบาป)
๕. เกียจคร้าน ๖. หลงลืมสติ
๗. มีปัญญาเขลา

สัทธรรมมี ๗ ประการ คือ

๑. มีศรัทธา ๒. มีหิริ
๓. มีโอตตัปปะ ๔. เป็นพหูสูต(ได้ยินได้ฟังมามาก)
๕. ปรารภความเพียร ๖. มีสติตั้งมั่น
๗. มีปัญญา

สัตตกวาร จบ

หัวข้อประจำวาร
อาบัติ กองอาบัติ วินีตวัตถุ สามีจิกรรม
ทำตามปฏิญญาไม่ชอบธรรม ทำตามปฏิญญาชอบธรรม
ไปด้วยสัตตาหกรณียะไม่ต้องอาบัติ อานิสงส์การทรงวินัย
สิกขาบทที่ว่าด้วยอย่างยิ่ง อรุณขึ้น สิ่งของเป็นนิสสัคคีย์
สมถะ กรรม ข้าวเปลือกดิบ สร้างกุฎีด้านกว้าง
คณโภชนะ เก็บเภสัชไว้ได้เจ็ดวันเป็นอย่างยิ่ง
ภิกษุถือเอาจีวรไป เก็บจีวรแล้วหลีกไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๘๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๘. อัฏฐกวาร
ภิกษุไม่เห็นอาบัติ เห็นอาบัติ ทำคืนอาบัติ การงดปาติโมกข์
ไม่ชอบธรรม การงดปาติโมกข์ชอบธรรม องค์ของวินัยธร ๔ หมวด
พระวินัยธรงาม ๔ หมวด อสัทธรรม ๗ อย่าง
สัทธรรม ๗ อย่าง พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้แล้วแล

๘. อัฏฐกวาร
ว่าด้วยหมวด ๘
[๓๒๘] ภิกษุเมื่อพิจารณาเห็นอานิสงส์ ๘ ไม่พึงลงอุกเขปนียกรรมภิกษุนั้น
เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ภิกษุเมื่อพิจารณาเห็นอานิสงส์ ๘ พึงแสดงอาบัตินั้น
เพราะเชื่อผู้อื่น อาบัติสังฆาทิเสส เป็นยาวตติยกะมี ๘ ประจบตระกูลด้วยอาการ ๘
จีวรเกิดขึ้นมีมาติกา ๘ กฐินเดาะมีมาติกา ๘ น้ำปานะมี ๘ ชนิด พระเทวทัตมีจิต
ถูกอสัทธรรม ๘ อย่างครอบงำย่ำยี จึงไปเกิดในอบาย ตกนรกชั่วกัป แก้ไขไม่ได้
โลกธรรมมี ๘ ครุธรรมมี ๘ อาบัติปาฏิเทสนียะมี ๘ มุสาวาทมี ๘ องค์อุโบสถมี
๘ องค์แห่งทูตมี ๘ วัตรแห่งเดียรถีย์มี ๘ อัจฉริยอัพภูตธรรมในมหาสมุทรมี ๘
อัจฉริยอัพภูตธรรมในพระธรรมวินัยนี้มี ๘ ภัตตาหารที่ไม่เป็นเดนมี ๘ ภัตตาหารที่
เป็นเดนมี ๘ เภสัชเป็นนิสสัคคีย์เมื่อรุ่งอรุณมี ๘ ปาราชิกมี ๘ ภิกษุณีทำวัตถุ
ครบทั้ง ๘ สงฆ์พึงให้นาสนะเสีย ภิกษุณีทำวัตถุครบทั้ง ๘ แม้แสดงอาบัติแล้วก็ไม่
เป็นอันแสดง อุปสมบทมีวาจา ๘ พึงลุกรับภิกษุณี ๘ จำพวก พึงให้อาสนะแก่ภิกษุณี
๘ จำพวก อุบาสิกาขอพร ๘ ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๘ สงฆ์พึงสมมติให้เป็นผู้
สอนภิกษุณี การทรงวินัยมีอานิสงส์ ๘ สิกขาบทที่ว่าด้วยอย่างยิ่งมี ๘ ภิกษุผู้ถูก
ลงตัสสปาปิยสิกากรรม พึงประพฤติชอบในธรรม ๘ ประการ การงดปาติโมกข์ไม่
ชอบธรรมมี ๘ การงดปาติโมกข์ชอบธรรมมี ๘
อัฏฐกวาร จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๘๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๙. นวกวาร
หัวข้อประจำวาร
เมื่อเห็นอานิสงส์ไม่ลงอุกเขปนียกรรมภิกษุนั้น
พึงแสดงอาบัติเพราะเชื่อผู้อื่น อาบัติสังฆาทิเสสเป็นยาวตติยกะ
การประจบตระกูล มาติกา กฐินเดาะ น้ำปานะ อสัทธรรมครอบงำ
โลกธรรม ครุธรรม อาบัติปาฏิเทสนียะ มุสาวาท อุโบสถ องค์แห่งทูต
วัตรแห่งเดียรถีย์ มหาสมุทร อัพภูตธรรมในพระธรรมวินัย
ภัตตาหารไม่เป็นเดน ภัตตาหารเป็นเดน เภสัชเป็นนิสสัคคีย์
ปาราชิก ภิกษุณีทำวัตถุครบทั้ง ๘ แสดงอาบัติแล้วไม่เป็นอันแสดง
อุปสมบท ลุกรับ ให้อาสนะ พร สมมติให้เป็นผู้สอน
อานิสงส์การทรงวินัย สิกขาบทที่ว่าด้วยอย่างยิ่ง
ประพฤติชอบในธรรม ๘ การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม
การงดปาติโมกข์ชอบธรรม
หมวด ๘ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศไว้ดีแล้ว

๙. นวกวาร
ว่าด้วยหมวด ๙
[๓๒๙] อาฆาตวัตถุมี ๙ อุบายกำจัดอาฆาตวัตถุมี ๙ วินีตวัตถุมี ๙ อาบัติ
สังฆาทิเสสเป็นปฐมาปัตติกะมี ๙ สงฆ์แตกกันเพราะภิกษุ ๙ รูป โภชนะอันประณีต
มี ๙ เป็นทุกกฏเพราะมังสะ ๙ ชนิด ปาติโมกขุทเทสมี ๙ สิกขาบทว่าด้วยอย่างยิ่ง
มี ๙ ธรรมมีตัณหาเป็นมูลมี ๙ มานะมี ๙ จีวรที่ควรอธิษฐานมี ๙ จีวรที่ไม่ควร
วิกัปมี ๙ จีวรขนาดพระสุคตยาว ๙ คืบ การให้ไม่ชอบธรรมมี ๙ การรับไม่ชอบ
ธรรมมี ๙ การบริโภคไม่ชอบธรรมมี ๙ การให้ที่ชอบธรรมมี ๙ การรับที่ชอบธรรม
มี ๙ การบริโภคที่ชอบธรรมมี ๙ ข้อตกลงที่ไม่ชอบธรรมมี ๙ ข้อตกลงที่ชอบธรรม
มี ๙ หลักธรรมหมวด ๙ ในกรรมที่ไม่ชอบธรรมมี ๒ หมวด หลักธรรมหมวด ๙
ในกรรมที่ชอบธรรมมี ๒ หมวด การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรมมี ๙ การงด
ปาติโมกข์ชอบธรรมมี ๙
นวกวาร จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๘๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๑๐. ทสกวาร
หัวข้อประจำวาร
อาฆาตวัตถุ อุบายกำจัด วินีตวัตถุ อาบัติเป็นปฐมาปัตติกะ
สงฆ์แตกกัน โภชนะอันประณีต มังสะ อุทเทส
สิกขาบทที่ว่าด้วยอย่างยิ่ง ตัณหา มานะ อธิษฐาน วิกัป
จีวรขนาดพระสุคต การให้ไม่ชอบธรรม การรับไม่ชอบธรรม
การบริโภคไม่ชอบธรรม การให้รับและบริโภคที่ชอบธรรมอย่างละ ๓
ข้อตกลงที่ไม่ชอบธรรม ข้อตกลงที่ชอบธรรม ๓
ธรรม ๙ หมวด กรรมที่ไม่ชอบธรรม ๒ หมวด
การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม การงดปาฏิโมกข์ชอบธรรม

๑๐. ทสกวาร
ว่าด้วยหมวด ๑๐
[๓๓๐] อาฆาตวัตถุมี ๑๐ อุบายกำจัดอาฆาตวัตถุมี ๑๐ วินีตวัตถุมี ๑๐
มิจฉาทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ สัมมาทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ อันตคาหิกทิฏฐิมี ๑๐ มิจฉัตตะ
มี ๑๐ สัมมัตตะมี ๑๐ อกุศลกรรมบถมี ๑๐ กุศลกรรมบถมี ๑๐ จับสลาก
ไม่ชอบธรรมมี ๑๐ จับสลากชอบธรรมมี ๑๐ สิกขาบทสำหรับสามเณรมี ๑๐
สามเณรประกอบด้วงองค์ ๑๐ พึงให้นาสนะ

ว่าด้วยองค์ของพระวินัยธร
พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๑๐ นับว่าเป็นผู้โง่เขลา คือ
๑. ไม่กำหนดที่สุดถ้อยคำของตน ๒. ไม่กำหนดที่สุดถ้อยคำของผู้อื่น
๓. ไม่กำหนดที่สุดถ้อยคำของตน ๔. ปรับอาบัติโดยไม่ชอบธรรม
ทั้งไม่กำหนดที่สุดถ้อยคำ
ของผู้อื่นแล้วปรับอาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๘๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๑๐. ทสกวาร

๕. ปรับอาบัติไม่ตามปฏิญญา ๖. ไม่รู้อาบัติ
๗. ไม่รู้มูลของอาบัติ ๘. ไม่รู้เหตุเกิดอาบัติ
๙. ไม่รู้การระงับอาบัติ ๑๐. ไม่รู้ข้อปฏิบัติอันให้ถึงการระงับ
อาบัติ

พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๑๐ นับว่าเป็นผู้ฉลาด คือ

๑. กำหนดที่สุดถ้อยคำของตน ๒. กำหนดที่สุดถ้อยคำของผู้อื่น
๓. กำหนดที่สุดถ้อยคำของตน ๔. ปรับอาบัติตามธรรม
ทั้งกำหนดที่สุดถ้อยคำ
ของผู้อื่น แล้วปรับอาบัติ
๕. ปรับอาบัติตามปฏิญญา ๖. รู้อาบัติ
๗. รู้มูลของอาบัติ ๘. รู้เหตุเกิดอาบัติ
๙. รู้การระงับอาบัติ ๑๐. รู้ข้อปฏิบัติอันให้ถึงการระงับ
อาบัติ

พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๑๐ แม้อีกอย่าง ก็นับว่าเป็นผู้โง่เขลา คือ

๑. ไม่รู้อธิกรณ์ ๒. ไม่รู้มูลของอธิกรณ์
๓. ไม่รู้เหตุเกิดอธิกรณ์ ๔. ไม่รู้การระงับอธิกรณ์
๕. ไม่รู้ข้อปฏิบัติอันให้ถึง ๖. ไม่รู้วัตถุ
การระงับอธิกรณ์
๗. ไม่รู้เหตุเค้ามูล ๘. ไม่รู้บัญญัติ
๙. ไม่รู้อนุบัญญัติ ๑๐. ไม่รู้ถ้อยคำแห่งอนุสนธิ

พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๑๐ นับว่าเป็นผู้ฉลาด คือ

๑. รู้อธิกรณ์ ๒. รู้มูลของอธิกรณ์
๓. รู้เหตุเกิดอธิกรณ์ ๔. รู้การระงับอธิกรณ์
๕. รู้ข้อปฏิบัติอันให้ถึง ๖. รู้วัตถุ
การระงับอธิกรณ์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๙๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๑๐. ทสกวาร
๗. รู้เหตุเค้ามูล ๘. รู้บัญญัติ
๙. รู้อนุบัญญัติ ๑๐. รู้ถ้อยคำแห่งอนุสนธิ
พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๑๐ ก็นับว่าเป็นผู้โง่เขลา คือ

๑. ไม่รู้ญัตติ ๒. ไม่รู้การตั้งญัตติ
๓. ไม่ฉลาดในเบื้องต้น ๔. ไม่ฉลาดในเบื้องปลาย
๕. ไม่รู้กาล ๖. ไม่รู้อาบัติและอนาบัติ
๗. ไม่รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก ๘. ไม่รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติ
ไม่มีส่วนเหลือ
๙. ไม่รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติ ๑๐. ไม่ยึดถือ ไม่ใส่ใจ ไม่ใคร่ครวญ
ไม่ชั่วหยาบ ถ้อยคำที่สืบต่อจากอาจารย์.
ด้วยดี

พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๑๐ นับว่าเป็นผู้ฉลาด คือ

๑. รู้ญัตติ ๒. รู้การตั้งญัตติ
๓. ฉลาดในเบื้องต้น ๔. ฉลาดในเบื้องปลาย
๕. รู้กาล ๖. รู้อาบัติและอนาบัติ
๗. รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก ๘. รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติ
ไม่มีส่วนเหลือ
๙. รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติ ๑๐. ยึดถือ ใส่ใจ ใคร่ครวญถ้อย
ไม่ชั่วหยาบ คำที่สืบต่อจากอาจารย์ด้วยดี

พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๑๐ ก็นับว่าเป็นผู้โง่เขลา คือ

๑. ไม่รู้อาบัติและอนาบัติ ๒. ไม่รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก
๓. ไม่รู้อาบัติมีส่วนเหลือและ ๔. ไม่รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติ
อาบัติไม่มีส่วนเหลือ ไม่ชั่วหยาบ
๕. จำปาติโมกข์ทั้ง ๒ ๖. ไม่รู้อาบัติและอนาบัติ
โดยพิสดารไม่ดี จำแนกไม่ดี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๙๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๑๐. ทสกวาร

ไม่คล่องแคล่ว วินิจฉัยโดยสุตตะ
โดยอนุพยัญชนะไม่ดี
๗. ไม่รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก ๘. ไม่รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติ
ไม่มีส่วนเหลือ
๙. ไม่รู้อาบัติชั่วหยาบ ๑๐. ไม่ฉลาดในการวินิจฉัยอธิกรณ์
และอาบัติไม่ชั่วหยาบ

พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๑๐ นับว่าเป็นผู้ฉลาด คือ

๑. รู้อาบัติและอนาบัติ ๒. รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก
๓. รู้อาบัติมีส่วนเหลือ ๔. รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติ
และอาบัติไม่มีส่วนเหลือ ไม่ชั่วหยาบ
๕. จำปาติโมกข์ทั้ง ๒ ๖. รู้อาบัติและอนาบัติ
โดยพิสดารได้ จำแนกได้ดี
คล่องแคล่วดี วินิจฉัยโดยสุตตะ
โดยอนุพยัญชนะได้ดี
๗. รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก ๘. รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติ
ไม่มีส่วนเหลือ
๙. รู้อาบัติชั่วหยาบ ๑๐. ฉลาดในการวินิจฉัยอธิกรณ์
และอาบัติไม่ชั่วหยาบ

ว่าด้วยอุพพาหิกาสมมติ๑เป็นต้น
ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๑๐ สงฆ์พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกาวิธี พระตถาคตทรง
อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ จึงทรงบัญญัติสิกขาบทแก่พระสาวกทั้งหลาย
การเข้าไปสู่ภายในพระราชฐานมีโทษ ๑๐ ทานวัตถุมี ๑๐ รัตนะมี ๑๐ ภิกษุสงฆ์มี

เชิงอรรถ :
๑ วิธีระงับวิวาทาธิกรณ์ในกรณีที่ประชุมสงฆ์มีความไม่สะดวก สงฆ์จึงเลือกภิกษุบางรูปในที่ประชุมนั้น ตั้งเป็น
คณะแล้วมอบเรื่องให้นำเอาไปวินิจฉัย (ทำนองตั้งคณะกรรมการพิเศษ)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๙๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] หัวข้อประจำวาร
พวก ๑๐ คณะสงฆ์มีพวก ๑๐ พึงให้อุปสมบท ผ้าบังสุกุลมี ๑๐ จีวรสำหรับใช้สอย
มี ๑๐ ทรงอติเรกจีวร ๑๐ วันเป็นอย่างยิ่ง น้ำอสุจิมี ๑๐ สตรีมี ๑๐ ภรรยามี ๑๐
ภิกษุในพระนครเวสาลีแสดงวัตถุ ๑๐ บุคคลไม่ควรไหว้มี ๑๐ เรื่องสำหรับด่ามี ๑๐
ส่อเสียดด้วยอาการ ๑๐ เสนาสนะมี ๑๐ ขอพร ๑๐ ประการ งดปาติโมกข์ไม่ชอบ
ธรรมมี ๑๐ งดปาติโมกข์ชอบธรรมมี ๑๐ ยาคูมีอานิสงส์ ๑๐ เนื้อที่ไม่ควรมี ๑๐
สิกขาบทว่าด้วยอย่างยิ่งมี ๑๐ ภิกษุมีพรรษาสิบ ฉลาด สามารถ ควรให้บรรพชา
อุปสมบท ควรให้นิสัย ควรใช้สามเณรอุปัฏฐาก ภิกษุณีมีพรรษาสิบ ฉลาด สามารถ
ควรให้บรรพชา อุปสมบท ควรให้นิสัย ควรใช้สามเณรีอุปัฏฐาก ภิกษุณีมีพรรษาสิบ
ฉลาด สามารถ พึงยินดีการสมมติการให้บวช ภิกษุณีมีพรรษาสิบ ควรให้สิกขาแก่
สตรีที่มีครอบครัว
ทสกวาร จบ

หัวข้อประจำวาร
อาฆาตวัตถุ อุบายกำจัด วินีตวัตถุ มิจฉาทิฏฐิ
สัมมาทิฏฐิ อันตคาหิกทิฏฐิ มิจฉัตตะ สัมมัตตะ
อกุศลกรรมบถ กุศลกรรมบถ จับสลากชอบธรรม
จับสลากไม่ชอบธรรม สิกขาบทของสามเณร
สามเณรที่พึงให้นาสนะ ถ้อยคำ อธิกรณ์ ญัตติ อาบัติเบา
อาบัติเบาอีก อาบัติหนัก จงรู้ฝ่ายดำฝ่ายขาวเหล่านี้ไว้
อุพพาหิกสมมติ สิกขาบทว่าด้วยการเข้าไปภายในพระราชฐาน
ทานวัตถุ รัตนะ คณะสงฆ์มีพวก ๑๐ คณะสงฆ์มีพวก ๑๐
ให้อุปสมบท ผ้าบังสุกุล จีวรสำหรับใช้สอย
ทรงอติเรก ๑๐ วัน น้ำอสุจิ สตรี ภรรยา วัตถุ ๑๐
บุคคลไม่ควรไหว้ เรื่องสำหรับด่า การส่อเสียด เสนาสนะ ขอพร
การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม การงดปาติโมกข์ชอบธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๙๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๑๑. เอกาทสกวาร
ยาคู มังสะ สิกขาบทที่ว่าด้วยอย่างยิ่ง ภิกษุ ภิกษุณี
ให้อุปสมบทสตรีที่มีครอบครัว
หมวดสิบ พระผู้มีพระภาคทรงประกาศไว้ดีแล้วแล

๑๑. เอกาทสกวาร
ว่าด้วยหมวด ๑๑
[๓๓๑] บุคคลที่ยังไม่ได้อุปสมบทไม่พึงให้อุปสมบทมี ๑๑ จำพวก ที่อุปสมบท
แล้วพึงให้สึกเสีย เขียงเท้าไม่ควรมี ๑๑ ชนิด บาตรไม่สมควรมี ๑๑ ชนิด จีวรไม่
สมควรมี ๑๑ ชนิด สิกขาบทเป็นยาวตติยกะมี ๑๑ พึงถามอันตรายิกธรรม ๑๑
อย่างของภิกษุณี จีวรควรอธิษฐานมี ๑๑ จีวรไม่ควรวิกัปมี ๑๑ จีวร ๑๑ ชนิด เป็น
นิสสัคคีย์เมื่ออรุณขึ้น ลูกดุมที่สมควรมี ๑๑ ชนิด ลูกถวินที่สมควรมี ๑๑ ชนิด
ดินไม่สมควรมี ๑๑ ดินที่สมควรมี ๑๑ การระงับนิสัยมี ๑๑ บุคคลไม่ควรไหว้มี ๑๑
สิกขาบทที่ว่าด้วยอย่างยิ่งมี ๑๑ ขอพร ๑๑ ประการ สีมามีโทษ ๑๑ อย่าง บุคคล
ผู้ด่าบริภาษต้องได้รับโทษ ๑๑ อย่าง
เมื่อเมตตาเจโตวิมุตติที่บุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็น
ดุจยานพาหนะแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว
พึงหวังอานิสงส์ ๑๑ ประการ คือ

๑. หลับเป็นสุข ๒. ตื่นเป็นสุข
๓. ไม่ฝันร้าย ๔. เป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย
๕. เป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลาย ๖. เทวดาทั้งหลายรักษา
๗. ไฟ ยาพิษ หรือศัสตรา ๘. จิตตั้งมั่นได้เร็ว
กล้ำกรายบุคคลนั้นไม่ได้
๙. สีหน้าสดใส ๑๐. ไม่หลงลืมสติตาย

๑๑. เมื่อยังไม่บรรลุคุณวิเศษ อันยิ่งขึ้นไป ย่อมเข้าถึงพรหมโลก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๙๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] หัวข้อลำดับหมวด
เมื่อเมตตาเจโตวิมุติที่บุคคลเสพแล้วเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็น
ดุจยานพาหนะแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว
พึงหวังอานิสงส์ ๑๑ ประการนี้แล๑
เอกาทสกวาร จบ

หัวข้อประจำวาร
ผู้ที่อุปสมบทแล้วพึงให้สึก เขียงเท้า บาตร จีวร
สิกขาบทเป็นยาวตติยกะ พึงถามอันตรายิกธรรม จีวรควรอธิษฐาน
จีวรไม่ควรวิกัป เป็นนิสสัคคีย์เมื่ออรุณขึ้น
ลูกดุม ลูกถวิน ดินไม่สมควร ดินสมควร การระงับนิสัย
บุคคลไม่ควรไหว้ สิกขาบทที่ว่าด้วยอย่างยิ่ง พร สีมามีโทษ
บุคคลผู้ด่า อานิสงส์เมตตา จัดเป็นหมวด ๑๑
เอกกุตริกะ จบ

หัวข้อลำดับหมวด
หมวดเอกกุตริกะ ไม่มีมลทิน คือ หมวด ๑
หมวด ๒ หมวด ๓ หมวด ๔ หมวด ๕ หมวด ๖
หมวด ๗ หมวด ๘ หมวด ๙ หมวด ๑๐
หมวด ๑๑ อันพระผู้มีพระภาคผู้มหาวีระ
มีพระธรรมอันปรากฏแล้ว ผู้คงที่ ทรงแสดงไว้แล้ว
เพื่อความเกื้อกูลแก่สรรพสัตว์แล
เอกกุตริกะ จบ

เชิงอรรถ :
๑ องฺ.เอกาทสก. (แปล) ๒๔/๑๕/๔๒๕, ขุ.ป. (แปล) ๓๑/๒๒/๔๖๐-๔๖๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๙๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุโปสถาทิปุจฉาวิสัชชนา] อาทิมัชฌันตปุจฉนะ
อุโปสถาทิปุจฉาวิสัชชนา
คำถาม - คำตอบเรื่องอุโบสถ เป็นต้น

อาทิมัชฌันตปุจฉนะ
ว่าด้วยคำถามถึงเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด
[๓๓๒] ถาม : อุโบสถกรรม มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไร
เป็นที่สุด ปวารณา มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด ตัชชนีย
กรรม มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด นิยสกรรม มีอะไร
เป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด ปัพพาชนียกรรม มีอะไรเป็นเบื้องต้น
มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด ปฏิสารณียกรรม มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไร
เป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด อุกเขปนียกรรม มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง
มีอะไรเป็นที่สุด การให้ปริวาส มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็น
ที่สุด การชักเข้าหาอาบัติเดิม มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็น
ที่สุด การให้มานัต มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด อัพภาน
มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด อุปสัมปทากรรม มีอะไร
เป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด การระงับตัชชนียกรรม มีอะไร
เป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด การระงับนิยสกรรม มีอะไรเป็น
เบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด การระงับปัพพาชนียกรรม มีอะไร
เป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด การระงับปฏิสารณียกรรม มี
อะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด การระงับอุกเขปนียกรรม มี
อะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด สติวินัย มีอะไรเป็นเบื้องต้น
มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด อมูฬหวินัย มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็น
ท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด ตัสสปาปิยสิกา มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง
มีอะไรเป็นที่สุด ติณวัตถารกะ มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๙๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุโปสถาทิปุจฉาวิสัชชนา] อาทิมัชฌันตวิสัชชนา
ที่สุด การสมมติให้เป็นผู้สอนภิกษุณี มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มี
อะไรเป็นที่สุด การสมมติไม่อยู่ปราศจากไตรจีวร มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็น
ท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด การสมมติสันถัต มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง
มีอะไรเป็นที่สุด การสมมติทิ้งรูปิยะ มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มี
อะไรเป็นที่สุด การสมมติให้รับผ้าสาฎก มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มี
อะไรเป็นที่สุด การสมมติให้รับบาตร มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มี
อะไรเป็นที่สุด การสมมติไม้เท้า มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด
การสมมติสาแหรก มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด การ
สมมติไม้เท้าและสาแหรก มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด

อาทิมัชฌันตวิสัชชนา
ว่าด้วยคำตอบถึงเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด
[๓๓๓] ถาม : อุโบสถกรรม มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไร
เป็นที่สุด
ตอบ : อุโบสถกรรม มีสามัคคีเป็นเบื้องต้น มีการกระทำเป็นท่ามกลาง
มีความสำเร็จเป็นที่สุด
ถาม : ปวารณา มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด
ตอบ : ปวารณา มีสามัคคีเป็นเบื้องต้น มีการกระทำเป็นท่ามกลาง มีความ
สำเร็จเป็นที่สุด
ถาม : ตัชชนียกรรม มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด
ตอบ : ตัชชนียกรรม มีวัตถุและบุคคลเป็นเบื้องต้น มีญัตติเป็นท่ามกลาง
มีกรรมวาจาเป็นที่สุด
ถาม : นิยสกรรม มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด
ตอบ : นิยสกรรม มีวัตถุและบุคคลเป็นเบื้องต้น มีญัตติเป็นท่ามกลาง
มีกรรมวาจาเป็นที่สุด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๙๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุโปสถาทิปุจฉาวิสัชชนา] อาทิมัชฌันตวิสัชชนา
ถาม : ปัพพาชนียกรรม มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไร
เป็นที่สุด
ตอบ : ปัพพาชนียกรรม มีวัตถุและบุคคลเป็นเบื้องต้น มีญัตติเป็นท่ามกลาง
มีกรรมวาจาเป็นที่สุด
ถาม : ปฏิสารณียกรรม มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไร
เป็นที่สุด
ตอบ : ปฏิสารณียกรรม มีวัตถุและบุคคลเป็นเบื้องต้น มีญัตติเป็นท่ามกลาง
มีกรรมวาจาเป็นที่สุด
ถาม : อุกเขปนียกรรม มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็น
ที่สุด
ตอบ : อุกเขปนียกรรม มีวัตถุและบุคคลเป็นเบื้องต้น มีญัตติเป็นท่ามกลาง
มีกรรมวาจาเป็นที่สุด
ถาม : การให้ปริวาส มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด
ตอบ : การให้ปริวาส มีวัตถุและบุคคลเป็นเบื้องต้น มีญัตติเป็นท่ามกลาง
มีกรรมวาจาเป็นที่สุด
ถาม : การชักเข้าหาอาบัติเดิม มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง
มีอะไรเป็นที่สุด
ตอบ : การชักเข้าหาอาบัติเดิม มีวัตถุและบุคคลเป็นเบื้องต้น มีญัตติเป็น
ท่ามกลาง มีกรรมวาจาเป็นที่สุด
ถาม : การให้มานัต มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด
ตอบ : การให้มานัต มีวัตถุและบุคคลเป็นเบื้องต้น มีญัตติเป็นท่ามกลาง
มีกรรมวาจาเป็นที่สุด
ถาม : อัพภาน มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด
ตอบ : อัพภาน มีวัตถุและบุคคลเป็นเบื้องต้น มีญัตติเป็นท่ามกลาง มีกรรม
วาจาเป็นที่สุด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๙๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุโปสถาทิปุจฉาวิสัชชนา] อาทิมัชฌันตวิสัชชนา
ถาม : อุปสัมปทากรรม มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไร
เป็นที่สุด
ตอบ : อุปสัมปทากรรม มีบุคคลเป็นเบื้องต้น มีญัตติเป็นท่ามกลาง มีกรรม
วาจาเป็นที่สุด
ถาม : การระงับตัชชนียกรรม มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง
มีอะไรเป็นที่สุด
ตอบ : การระงับตัชชนียกรรม มีความประพฤติชอบเป็นเบื้องต้น มีญัตติเป็น
ท่ามกลาง มีกรรมวาจาเป็นที่สุด
ถาม : การระงับนิยสกรรม มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไร
เป็นที่สุด
ตอบ : การระงับนิยสกรรม มีความประพฤติชอบเป็นเบื้องต้น มีญัตติเป็น
ท่ามกลาง มีกรรมวาจาเป็นที่สุด
ถาม : การระงับปัพพาชนียกรรม มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง
มีอะไรเป็นที่สุด
ตอบ : การระงับปัพพาชนียกรรม มีความประพฤติชอบเป็นเบื้องต้น มีญัตติ
เป็นท่ามกลาง มีกรรมวาจาเป็นที่สุด
ถาม : การระงับปฏิสารณียกรรม มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง
มีอะไรเป็นที่สุด
ตอบ : การระงับปฏิสารณียกรรม มีความประพฤติชอบเป็นเบื้องต้น มีญัตติ
เป็นท่ามกลางมีกรรมวาจาเป็นที่สุด
ถาม : การระงับอุกเขปนียกรรม มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง
มีอะไรเป็นที่สุด
ตอบ : การระงับอุกเขปนียกรรม มีความประพฤติชอบเป็นเบื้องต้น มีญัตติ
เป็นท่ามกลาง มีกรรมวาจาเป็นที่สุด
ถาม : สติวินัย มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๙๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุโปสถาทิปุจฉาวิสัชชนา] อาทิมัชฌันตวิสัชชนา
ตอบ : สติวินัย มีวัตถุและบุคคลเป็นเบื้องต้น มีญัตติเป็นท่ามกลาง มีกรรม
วาจาเป็นที่สุด
ถาม : อมูฬหวินัย มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด
ตอบ : อมูฬหวินัย มีวัตถุและบุคคลเป็นเบื้องต้น มีญัตติเป็นท่ามกลาง
มีกรรมวาจาเป็นที่สุด
ถาม : ตัสสปาปิยสิกา มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็น
ที่สุด
ตอบ : ตัสสปาปิยสิกา มีวัตถุและบุคคลเป็นเบื้องต้น มีญัตติเป็นท่ามกลาง
มีกรรมวาจาเป็นที่สุด
ถาม : ติณวัตถารกะ มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็น
ที่สุด
ตอบ : ติณวัตถารกะ มีวัตถุและบุคคลเป็นเบื้องต้น มีญัตติเป็นท่ามกลาง
มีกรรมวาจาเป็นที่สุด
ถาม : การสมมติให้เป็นผู้สอนภิกษุณี มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็น
ท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด
ตอบ : การสมมติให้เป็นผู้สอนภิกษุณี มีวัตถุและบุคคลเป็นเบื้องต้น มีญัตติ
เป็นท่ามกลาง มีกรรมวาจาเป็นที่สุด
ถาม : การสมมติไม่อยู่ปราศจากไตรจีวร มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็น
ท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด
ตอบ : การสมมติไม่อยู่ปราศจากไตรจีวร มีวัตถุและบุคคลเป็นเบื้องต้น
มีญัตติเป็นท่ามกลาง มีกรรมวาจาเป็นที่สุด
ถาม : การสมมติสันถัต มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไร
เป็นที่สุด
ตอบ : การสมมติสันถัต มีวัตถุและบุคคลเป็นเบื้องต้น มีญัตติเป็นท่ามกลาง
มีกรรมวาจาเป็นที่สุด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๐๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุโปสถาทิปุจฉาวิสัชชนา] อาทิมัชฌันตวิสัชชนา
ถาม : การสมมติทิ้งรูปิยะ มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไร
เป็นที่สุด
ตอบ : การสมมติทิ้งรูปิยะ มีวัตถุและบุคคลเป็นเบื้องต้น มีญัตติเป็นท่ามกลาง
มีกรรมวาจาเป็นที่สุด
ถาม : การสมมติให้รับผ้าสาฎก มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง
มีอะไรเป็นที่สุด
ตอบ : การสมมติให้รับผ้าสาฎก มีวัตถุและบุคคลเป็นเบื้องต้น มีญัตติเป็น
ท่ามกลาง มีกรรมวาจาเป็นที่สุด
ถาม : การสมมติให้รับบาตร มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง
มีอะไรเป็นที่สุด
ตอบ : การสมมติให้รับบาตร มีวัตถุและบุคคลเป็นเบื้องต้น มีญัตติเป็น
ท่ามกลาง มีกรรมวาจาเป็นที่สุด
ถาม : การสมมติไม้เท้า มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไร
เป็นที่สุด
ตอบ : การสมมติไม้เท้า มีวัตถุและบุคคลเป็นเบื้องต้น มีญัตติเป็นท่ามกลาง
มีกรรมวาจาเป็นที่สุด
ถาม : การสมมติสาแหรก มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไร
เป็นที่สุด
ตอบ : การสมมติสาแหรก มีวัตถุและบุคคลเป็นเบื้องต้น มีญัตติเป็นท่ามกลาง
มีกรรมวาจาเป็นที่สุด
ถาม : การสมมติไม้เท้าและสาแหรก มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง
มีอะไรเป็นที่สุด
ตอบ : การสมมติไม้เท้าและสาแหรก มีวัตถุและบุคคลเป็นเบื้องต้น มีญัตติ
เป็นท่ามกลาง มีกรรมวาจาเป็นที่สุด
อุโปสถาทิปุจฉาวิสัชชนา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๐๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อัตถวสปกรณ์] ว่าด้วยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ
อัตถวสปกรณ์
ว่าด้วยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ
[๓๓๔] พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่พระสาวกทั้งหลาย โดย
อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ
๑. เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์
๒. เพื่อความผาสุกแห่งสงฆ์
๓. เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก
๔. เพื่อความอยู่ผาสุกแห่งเหล่าภิกษุผู้มีศีลดีงาม
๕. เพื่อปิดกั้นอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน
๖. เพื่อกำจัดอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต
๗. เพื่อความเลื่อมใสของคนที่ยังไม่เลื่อมใส
๘. เพื่อความเลื่อมใสยิ่งขึ้นไปของคนที่เลื่อมใสแล้ว
๙. เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม
๑๐. เพื่อเอื้อเฟื้อพระวินัย
สิ่งใดเป็นความยอมรับว่าดีแห่งสงฆ์ สิ่งนั้นเป็นความผาสุกแห่งสงฆ์ สิ่งใด
เป็นความผาสุกแห่งสงฆ์ สิ่งนั้นเพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก สิ่งใดเพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก
สิ่งนั้นเพื่อความอยู่ผาสุกแห่งเหล่าภิกษุผู้มีศีลดีงาม สิ่งใดเพื่อความอยู่ผาสุกแห่ง
เหล่าภิกษุผู้มีศีลดีงาม สิ่งนั้นเพื่อปิดกั้นอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน สิ่งใด
เพื่อปิดกั้นอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน สิ่งนั้นเพื่อกำจัดอาสวะทั้งหลาย
อันจะบังเกิดในอนาคต สิ่งใดเพื่อกำจัดอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต สิ่งนั้น
เพื่อความเลื่อมใสของคนที่ยังไม่เลื่อมใส สิ่งใดเพื่อความเลื่อมใสของคนที่ยังไม่
เลื่อมใส สิ่งนั้นเพื่อความเลื่อมใสยิ่งขึ้นไปของคนที่เลื่อมใสแล้ว สิ่งใดเพื่อความ
เลื่อมใสยิ่งขึ้นไปของคนที่เลื่อมใสแล้ว สิ่งนั้นเพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม สิ่งใด
เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม สิ่งนั้นเพื่อเอื้อเฟื้อพระวินัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๐๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อัตถวสปกรณ์] ว่าด้วยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ
สิ่งใดเป็นความยอมรับว่าดีแห่งสงฆ์ สิ่งนั้นเป็นความผาสุกแห่งสงฆ์ สิ่งใดเป็น
ความยอมรับว่าดีแห่งสงฆ์ สิ่งนั้นเพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก สิ่งใดเป็นความยอมรับว่าดี
แห่งสงฆ์ สิ่งนั้นเพื่อความอยู่ผาสุกแห่งเหล่าภิกษุผู้มีศีลดีงาม สิ่งใดเป็นความยอม
รับว่าดีแห่งสงฆ์ สิ่งนั้นเพื่อปิดกั้นอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน สิ่งใดเป็น
ความยอมรับว่าดีแห่งสงฆ์ สิ่งนั้นเพื่อกำจัดอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต
สิ่งใดเป็นความยอมรับว่าดีแห่งสงฆ์ สิ่งนั้นเพื่อความเลื่อมใสของคนที่ยังไม่เลื่อมใส
สิ่งใดเป็นความยอมรับว่าดีแห่งสงฆ์ สิ่งนั้นเพื่อความเลื่อมใสยิ่งขึ้นไปของคนที่
เลื่อมใสแล้ว สิ่งใดเป็นความยอมรับว่าดีแห่งสงฆ์ สิ่งนั้นเพื่อความตั้งมั่นแห่งพระ
สัทธรรม สิ่งใดเป็นความยอมรับว่าดีแห่งสงฆ์ สิ่งนั้นเป็นไปเพื่อเอื้อเฟื้อพระวินัย
สิ่งใดเป็นความผาสุกแห่งสงฆ์ สิ่งนั้นเพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก สิ่งใดเป็นความ
ผาสุกแห่งสงฆ์ สิ่งนั้นเพื่อความอยู่ผาสุกแห่งเหล่าภิกษุผู้มีศีลดีงาม สิ่งใดเป็นความ
ผาสุกแห่งสงฆ์ สิ่งนั้นเพื่อปิดกั้นอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน สิ่งใดเป็น
ความผาสุกแห่งสงฆ์ สิ่งนั้นเพื่อกำจัดอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต สิ่งใด
เป็นความผาสุกแห่งสงฆ์ สิ่งนั้นเพื่อความเลื่อมใสของคนที่ยังไม่เลื่อมใส สิ่งใดเป็น
ความผาสุกแห่งสงฆ์ สิ่งนั้นเพื่อความเลื่อมใสยิ่งขึ้นไปของคนที่เลื่อมใสแล้ว สิ่งใด
เป็นความผาสุกแห่งสงฆ์ สิ่งนั้นเพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม สิ่งใดเป็นความ
ผาสุกแห่งสงฆ์ สิ่งนั้นเพื่อเอื้อเฟื้อพระวินัย
สิ่งใดเพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ฯลฯ สิ่งใดเพื่อความอยู่ผาสุกแห่งเหล่าภิกษุผู้มี
ศีลดีงาม ฯลฯ สิ่งใดเพื่อปิดกั้นอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ฯลฯ สิ่งใด
เพื่อกำจัดอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต ฯลฯ สิ่งใดเพื่อความเลื่อมใสของ
คนที่ยังไม่เลื่อมใส ฯลฯ สิ่งใดเพื่อความเลื่อมใสยิ่งขึ้นไปของคนที่เลื่อมใสแล้ว ฯลฯ
สิ่งใดเพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ฯลฯ สิ่งใดเพื่อเอื้อเฟื้อพระวินัย สิ่งนั้นเป็น
ความยอมรับว่าดีแห่งสงฆ์ สิ่งใดเพื่อเอื้อเฟื้อพระวินัย สิ่งนั้นเพื่อความผาสุกแห่งสงฆ์
สิ่งใดเพื่อเอื้อเฟื้อพระวินัย สิ่งนั้นเพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก สิ่งใดเพื่อเอื้อเฟื้อพระวินัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๐๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อัตถวสปกรณ์] ว่าด้วยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ
สิ่งนั้นเพื่อความอยู่ผาสุกแห่งเหล่าภิกษุผู้มีศีลดีงาม สิ่งใดเพื่อเอื้อเฟื้อพระวินัย
สิ่งนั้นเพื่อปิดกั้นอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน สิ่งใดเพื่อเอื้อเฟื้อพระวินัย
สิ่งนั้นเพื่อกำจัดอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต สิ่งใดเพื่อเอื้อเฟื้อพระวินัย
สิ่งนั้นเพื่อความเลื่อมใสของคนที่ยังไม่เลื่อมใส สิ่งใดเพื่อเอื้อเฟื้อพระวินัย สิ่งนั้นเพื่อ
ความเลื่อมใสยิ่งขึ้นไปของคนที่เลื่อมใสแล้ว สิ่งใดเพื่อเอื้อเฟื้อพระวินัย สิ่งนั้นเพื่อ
ความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม
อรรถหนึ่งร้อย ธรรมหนึ่งร้อย นิรุตติสองร้อย
ญาณสี่ร้อย มีในอัตถวสปกรณ์
อัตถวสปกรณ์ จบ
มหาวรรค จบ

ห้อข้อประจำเรื่อง
หมวดธรรมเหล่านี้ของภิกษุ ๑๖ ของภิกษุณี ๑๖ คือ
หมวด ๑ ถึงหมวด ๘ ในการถามและปัจจัย และหมวด ๑
ถึงหมวด ๘ ในคำถามและปัจจัยอีก เปยยาล อันตราเภท
และเอกุตตริกะ ปวารณา อัตถวสปกรณ์ สงเคราะห์เข้ามหาวรรค
อัตถวสปกรณ์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๐๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [คาถาสังคณิกะ] ๑. สัตตนคเรสุปัญญัตตสิกขาบท
คาถาสังคณิกะ
ว่าด้วยกลุ่มคาถา
๑. สัตตนคเรสุปัญญัตตสิกขาบท
ว่าด้วยสิกขาบทที่ทรงบัญญัติใน ๗ พระนคร

พระอุบาลีเข้าเฝ้าทูลถามปัญหา
[๓๓๕] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า
“เธอห่มผ้าเฉวียงบ่า ประณมมือ ดูเหมือนมีความมุ่งหวัง
มา ณ สถานที่นี้เพื่อประโยชน์อะไร”
ท่านพระอุบาลีกราบทูลว่า
“สิกขาบทที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้ในวินัยทั้งสอง
มาสู่อุทเทสทุกวันอุโบสถนั้นมีเท่าไร ทรงบัญญัติ ณ พระนครกี่นคร”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
“ปัญญาของเธอดี เธอสอบถามอย่างแยบคาย
เพราะฉะนั้น เราจักบอกเธอ สมกับที่เธอฉลาดถาม
สิกขาบทที่บัญญัติไว้ในวินัยทั้งสองมาสู่อุทเทสทุกวันอุโบสถนั้น
มี ๓๕๐ สิกขาบท เราบัญญัติ ณ พระนคร ๗ นคร”
พระอุบาลีกราบทูลว่า
“สิกขาบทที่ทรงบัญญัติ ณ พระนคร ๗ นคร
พระนครไหนบ้าง ขอพระองค์ได้โปรดชี้แจงพระนคร ๗ นครนั้น
แก่ข้าพระพุทธเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าได้ฟังถ้อยพระดำรัส
ของพระองค์แล้วจะปฏิบัติ
ข้อนั้นจะพึงมีเพื่อความเกื้อกูลแก่ข้าพระพุทธเจ้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
“สิกขาบทเหล่านั้น เราบัญญัติ ณ กรุงเวสาลี ณ กรุงราชคฤห์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๐๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [คาถาสังคณิกะ] ๑. สัตตนคเรสุปัญญัตตสิกขาบท
ณ กรุงสาวัตถี ณ เมืองอาฬวี ณ กรุงโกสัมพี
ณ แคว้นสักกะ ณ ภัคคชนบท”

สิกขาบทบัญญัติ
พระอุบาลีกราบทูลว่า
“สิกขาบทที่ทรงบัญญัติ ณ กรุงเวสาลีมีเท่าไร
ณ กรุงราชคฤห์มีเท่าไร ณ กรุงสาวัตถีมีเท่าไร
ณ เมืองอาฬวีมีเท่าไร ณ กรุงโกสัมพีมีเท่าไร
ณ แคว้นสักกะมีเท่าไร ณ ภัคคชนบทมีเท่าไร
พระองค์อันข้าพระพุทธเจ้าทูลถามแล้ว ขอได้โปรดตอบข้อนั้น
แก่ข้าพระพุทธเจ้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
“สิกขาบทที่บัญญัติ ณ กรุงเวสาลีมี ๑๐ สิกขาบท
ณ กรุงราชคฤห์มี ๒๑ สิกขาบท ณ กรุงสาวัตถี
รวมทั้งหมดมี ๒๙๔ สิกขาบท ณ เมืองอาฬวีมี ๖ สิกขาบท
ณ กรุงโกสัมพีมี ๘ สิกขาบท ณ แคว้นสักกะมี ๘ สิกขาบท
ณ ภัคคชนบทมี ๓ สิกขาบท
เธอจงฟังสิกขาบทที่เราบัญญัติไว้ ณ กรุงเวสาลี ตามลำดับต่อไป
สิกขาบทว่าด้วยการเสพเมถุนธรรม สิกขาบทว่าด้วยการพรากกายมนุษย์
สิกขาบทว่าด้วยการกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรมที่ไม่มีจริง
สิกขาบทว่าด้วยทรงอติเรกจีวร
สิกขาบทว่าด้วยการทำสันถัตโดยใช้ขนเจียมดำล้วน
สิกขาบทว่าด้วยการบอกอุตตริมนุสสธรรมที่มีจริง
สิกขาบทว่าด้วยการฉันปรัมปรโภชนะ
สิกขาบทว่าด้วยการรับประเคนอาหารนอกจากน้ำและไม้ชำระฟัน
สิกขาบทว่าด้วยการให้ของเคี้ยวของฉันแก่อเจลก
ในหมู่ภิกษุณี สิกขาบทว่าด้วยภิกษุณีด่า บริภาษภิกษุ
รวมสิกขาบทที่บัญญัติ ณ กรุงเวสาลี ๑๐ สิกขาบท

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๐๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [คาถาสังคณิกะ] ๑. สัตตนคเรสุปัญญัตตสิกขาบท
เธอจงฟังสิกขาบทที่เราบัญญัติ ณ กรุงราชคฤห์ตามลำดับต่อไป
สิกขาบทว่าด้วยการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ในกรุงราชคฤห์
สิกขาบทว่าด้วยใส่ความภิกษุ ๒ สิกขาบท
สิกขาบทว่าด้วยทำลายสงฆ์และประพฤติตาม ๒ สิกขาบท
สิกขาบทว่าด้วยการรับอันตรวาสก(จีวร)
สิกขาบทว่าด้วยแลกเปลี่ยนรูปิยะ
สิกขาบทว่าด้วยการออกปากขอด้าย
สิกขาบทว่าด้วยการกล่าวให้เพ่งโทษ
สิกขาบทว่าด้วยฉันบิณฑบาตที่ภิกษุณีแนะนำให้จัดเตรียม
สิกขาบทว่าด้วยการฉันภัตตาหารในที่พักแรม
สิกขาบทว่าด้วยการฉันคณโภชนะ
สิกขาบทว่าด้วยการฉันโภชนะในเวลาวิกาล
สิกขาบทว่าด้วยการเที่ยวสัญจรไป
สิกขาบทว่าด้วยการสรงน้ำนอกสมัย
สิกขาบทว่าด้วยการอุปสมบทให้บุคคลมีอายุหย่อนกว่า ๒๐ ปี
สิกขาบทว่าด้วยการให้จีวร
สิกขาบทว่าด้วยการไม่ห้ามภิกษุณีผู้คอยบงการ
สิกขาบทว่าด้วยการเที่ยวดูมหรสพบนยอดเขา
สิกขาบทว่าด้วยการไม่หลีกจาริกไป(๒ สิกขาบท)
สิกขาบทว่าด้วยการบวชให้สิกขมานาโดยให้ปริวาสิกฉันทะ
สิกขาบทเหล่านี้บัญญัติ ณ กรุงราชคฤห์
รวม ๒๑ สิกขาบท
เธอจงฟังสิกขาบทที่เราบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี ตามลำดับต่อไป
ปาราชิก ๔ สังฆาทิเสส ๑๖ อนิยต ๒
นิสสัคคีย์ ๒๔ สิกขาบทที่เรียกว่าขุททกสิกขาบทมี ๑๕๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๐๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [คาถาสังคณิกะ] ๑. สัตตนคเรสุปัญญัตตสิกขาบท
สิกขาบทว่าด้วยการกระทำที่น่าตำหนิ ๑๐ สิกขาบท๑
เสขิยวัตร ๗๒ สิกขาบท
รวมสิกขาบททั้งหมดที่เราบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี ๒๙๔ สิกขาบท
เธอจงฟังสิกขาบทที่เราบัญญัติ ณ เมืองอาฬวี ตามลำดับต่อไป
สิกขาบทว่าด้วยการก่อสร้างกุฎี
สิกขาบทว่าด้วยการทำสันถัตผสมใยไหม
สิกขาบทว่าด้วยนอนร่วมกับอนุปสัมบัน
สิกขาบทว่าด้วยการขุดดิน
สิกขาบทว่าด้วยการพรากภูตคาม
สิกขาบทว่าด้วยการเอาน้ำมีสิ่งมีชีวิตรดหญ้าหรือดิน
รวมสิกขาบทที่เราบัญญัติ ณ เมืองอาฬวี ๖ สิกขาบท
เธอจงฟังสิกขาบทที่เราบัญญัติ ณ กรุงโกสัมพี ตามลำดับต่อไป
สิกขาบทว่าด้วยการสร้างวิหารใหญ่
สิกขาบทว่าด้วยภิกษุเป็นคนว่ายากสอนยาก
สิกขาบทว่าด้วยการกล่าวกลบเกลื่อน
สิกขาบทว่าด้วยการติดตั้งบานประตู
สิกขาบทว่าด้วยการดื่มสุราและเมรัย
สิกขาบทว่าด้วยไม่เอื้อเฟื้อ ต่อคำตักเตือน
สิกขาบทว่าด้วยกล่าวตักเตือนโดยชอบธรรม
สิกขาบทว่าด้วยการฉันน้ำนมเสียงดังซู้ด ๆ รวม ๘ สิกขาบท
เธอจงฟังสิกขาบทที่เราบัญญัติ ณ กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ
(๘ สิกขาบท)ตามลำดับต่อไป
สิกขาบทว่าด้วยการให้ซักขนเจียม
สิกขาบทว่าด้วยบาตรมีรอยซ่อม ๕ แห่ง
สิกขาบทว่าด้วยเข้าไปสั่งสอนภิกษุณีถึงที่อยู่
สิกขาบทว่าด้วยขอเภสัช

เชิงอรรถ :
๑ สิกขาบทว่าด้วยการกระทำที่น่าตำหนิ หมายถึงปาฏิเทสนียะ ๑๐ สิกขาบท คือ ปาฏิเทสนียะ สิกขาบท
ที่ ๑ ที่ ๓ ของภิกษุ (วิ.มหา. (แปล) ๒/๕๕๒/๖๒๗,๕๖๒/๖๓๕) และปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่ ๑-๘
ของภิกษุณี (วิ.ภิกฺขุนี. (แปล) ๓/๑๒๒๘/๓๘๕,๑๒๓๔/๓๘๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๐๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [คาถาสังคณิกะ] ๒. จตุวิบัติ
สิกขาบทว่าด้วยการทำกล่องเข็ม
สิกขาบทว่าด้วยการอยู่ในเสนาสนะป่า
สิกขาบทว่าด้วยการใช้น้ำชำระ
สิกขาบทว่าด้วยการไม่ไปรับโอวาท เรากล่าวไว้ในหมู่ภิกษุณี
เธอจงฟังสิกขาบทที่เราบัญญัติ ณ ภัคคชนบท ตามลำดับต่อไป
สิกขาบทว่าด้วยก่อไฟผิง
สิกขาบทว่าด้วยการจับภาชนะน้ำดื่มด้วยมือเปื้อนอามิส
สิกขาบทว่าด้วยการเทน้ำล้างบาตรมีเมล็ดข้าวสุกในละแวกบ้าน
สิกขาบททั้งหลาย คือ ปาราชิก ๔ สังฆาทิเสส ๗
นิสสัคคีย์ ๘ ขุททกะ ๓๒ สิกขาบทที่น่าตำหนิ(ปาฏิเทสนียะ) ๒
เสขิยวัตร ๓ อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์
บัญญัติ ณ ๖ พระนคร รวม ๕๖ สิกขาบท
พระโคดมผู้มีพระยศทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
รวมทั้งหมด ๒๙๔ สิกขาบท”

๒. จตุวิบัติ
ว่าด้วยวิบัติ ๔
ทรงพยากรณ์อาบัติหนัก และอาบัติเบา เป็นต้น
[๓๓๖] พระอุบาลีกราบทูลว่า
“ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายได้ทูลถามปัญหาข้อใดกับพระองค์
พระองค์ได้ตรัสแก้ปัญหาข้อนั้นแก่ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ทูลถามเรื่องใด ๆ พระองค์ก็ได้ทรงแก้เฉพาะเรื่องนั้น ๆ
โดยมิได้ทรงแก้โดยประการอื่น
ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายขอทูลถามปัญหาข้ออื่นกับพระองค์
ขอพระองค์โปรดตอบปัญหาข้อนั้นต่อไป
คือ อาบัติหนัก อาบัติเบา อาบัติที่มีส่วนเหลือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๐๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [คาถาสังคณิกะ] ๒. จตุวิบัติ
อาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือ อาบัติชั่วหยาบ อาบัติที่ไม่ชั่วหยาบ
สิกขาบทเป็นยาวตติยกะ สิกขาบททั่วไป สิกขาบทไม่ทั่วไป
สิกขาบทที่จำแนกไว้ระงับด้วยสมถะ ๑
ขอพระองค์ได้โปรดชี้แจงเรื่องนั้นแม้ทั้งหมดเถิด
ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายจะฟังพระดำรัสของพระองค์”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
“อาบัติหนักมี ๓๑ ในอาบัติหนักเหล่านั้น
อาบัติไม่มีส่วนเหลือมี ๘ อาบัติหนักจัดเป็นอาบัติชั่วหยาบ
อาบัติชั่วหยาบจัดเป็นสีลวิบัติ

สีลวิบัติ และอาจารวิบัติ
ปาราชิก สังฆาทิเสส เรียกว่า สีลวิบัติ ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์
ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต คือ ด่าด้วยประสงค์จะล้อเล่น
อาบัตินี้นั้น รวมเรียกว่า อาจารวิบัติ

ทิฏฐิวิบัติ
บุคคลมีปัญญาเขลาทั้งหลาย ถูกโมหะครอบงำ
ถูกอสัทธรรมรุมล้อม ยึดถือความเห็นวิปริต
กล่าวตู่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า นี้นั้น รวมเรียกว่า ทิฏฐิวิบัติ

อาชีววิบัติ
ภิกษุมีความปรารถนาชั่ว ถูกความอยากครอบงำ กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม
ที่ไม่มีอยู่ ไม่เป็นจริง เพราะเหตุแห่งอาชีวะ๑ เพราะการณ์แห่งอาชีวะ ภิกษุทำหน้าที่
ชักสื่อ เพราะเหตุแห่งอาชีวะ เพราะการณ์แห่งอาชีวะ ภิกษุกล่าวว่า ภิกษุรูปใด

เชิงอรรถ :
๑ เพราะเหตุแห่งอาชีวะ คือมุ่งเลี้ยงชีวิต (วิสุทฺธิ.มหา.ฏีกา ๑/๑๑๖/๖๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๑๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [คาถาสังคณิกะ] ๓. เฉทนกาทิ
อยู่ในวิหารของท่าน ภิกษุรูปนั้น เป็นพระอรหันต์ เพราะเหตุแห่งอาชีวะ เพราะ
การณ์แห่งอาชีวะ ภิกษุออกปากขอโภชนะอันประณีตมาเพื่อตนแล้วฉัน เพราะเหตุ
แห่งอาชีวะ เพราะการณ์แห่งอาชีวะ ภิกษุณีออกปากขอโภชนะอันประณีตมาเพื่อตน
แล้วฉัน เพราะเหตุแห่งอาชีวะ ภิกษุไม่อาพาธออกปากขอแกงหรือข้าวสุกมาเพื่อตน
แล้วฉัน เพราะเหตุแห่งอาชีวะ เพราะการณ์แห่งอาชีวะนี้นั้น รวมเรียกว่า อาชีววิบัติ

ยาวตติยกสิกขาบท
ยาวตติยกะ ๑๑ สิกขาบทนั้น
เธอจงฟังตามลำดับต่อไป อุกขิตตานุวัตติกาสิกขาบท๑
ยาวตติยกสังฆาทิเสส ๘ สิกขาบท๒
อริฏฐสิกขาบท จัณฑกาลีสิกขาบท๓
สิกขาบทเหล่านี้นั้น ชื่อว่า ยาวตติยกสิกขาบท”

๓. เฉทนกาทิ
ว่าด้วยเฉทนกสิกขาบท เป็นต้น
ทรงพยากรณ์เฉทนกสิกขาบท และเภทนกสิกขาบท เป็นต้น
[๓๓๗] พระอุบาลีกราบทูลว่า
“สิกขาบทว่าด้วยการตัดมีเท่าไร สิกขาบทว่าด้วยการทำลายมีเท่าไร สิกขาบท
ว่าด้วยการรื้อมีเท่าไร สิกขาบทในปาจิตตีย์ว่าด้วยไม่มีอะไรอื่นมีเท่าไร สิกขาบทว่า
ด้วยการสมมติภิกษุมีเท่าไร สิกขาบทว่าด้วยการทำที่สมควรมีเท่าไร สิกขาบทที่ว่า
ด้วยอย่างยิ่งมีเท่าไร สิกขาบทที่พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์
ทรงบัญญัติว่า ‘รู้อยู่’ มีเท่าไร”

เชิงอรรถ :
๑ ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ วิ.ภิกฺขุนี. (แปล) ๓/๖๖๘/๑๔
๒ สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑๐-๑๑-๑๒-๑๓ ของภิกษุและสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๗-๘-๙-๑๐ ของภิกษุณี
๓ สิกขาบทที่ ๖ แห่งตุวัฏฏวรรค วิ.ภิกฺขุนี. (แปล) ๓/๙๕๕/๒๒๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๑๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [คาถาสังคณิกะ] ๔. อสาธารณาทิ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
“สิกขาบทว่าด้วยการตัดมี ๖ สิกขาบทว่าด้วยการทำลายมี ๑ สิกขาบทว่า
ด้วยการรื้อมี ๑ สิกขาบทในปาจิตตีย์ว่าด้วยไม่มีอะไรอื่นมี ๔ สิกขาบทว่าด้วยการ
สมมติภิกษุมี ๔ สิกขาบทว่าด้วยการกระทำที่สมควรมี ๗ สิกขาบทที่ว่าด้วยอย่าง
ยิ่งมี ๑๔ สิกขาบทที่พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ทรงบัญญัติว่า
‘รู้อยู่’ มี ๑๖ สิกขาบท”

๔. อสาธารณาทิ
ว่าด้วยอสาธารณสิกขาบท เป็นต้น
จำนวนสิกขาบทของภิกษุ เป็นต้น
[๓๓๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
“สิกขาบทของภิกษุมาสู่อุทเทสทุกวันอุโบสถ(ยกขึ้นสวดทุกวันอุโบสถ)
รวม ๒๒๐ สิกขาบท ของภิกษุณีมาสู่อุทเทสทุกวันอุโบสถ
รวม ๓๐๔ สิกขาบท
สิกขาบทของภิกษุที่ไม่ทั่วไปกับภิกษุณี มี ๔๖ สิกขาบท
สิกขาบทของภิกษุณีที่ไม่ทั่วไปกับภิกษุ มี ๑๓๐ สิกขาบท
สิกขาบทของทั้งสองฝ่ายที่ไม่ทั่วไป มี ๑๗๖ สิกขาบท
สิกขาบทของทั้งสองฝ่ายที่ศึกษาร่วมกัน มี ๑๗๔ สิกขาบท๑

ประเภทสิกขาบทของภิกษุ
สิกขาบทของภิกษุ ๒๒๐ สิกขาบท มาสู่อุทเทสทุกวันอุโบสถ
เธอจงฟังสิกขาบทเหล่านั้น ตามลำดับต่อไป

เชิงอรรถ :
๑ พระผู้มีพระภาคทรงวิสัชนาปัญหาที่พระอุบาลีทูลถามในข้อ ๓๓๖ (สาธารณํ อสาธารณํ : สิกขาบททั่วไป
สิกขาบทที่ไม่ทั่วไป วิ.อ. ๓/๓๓๘/๔๘๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๑๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [คาถาสังคณิกะ] ๔. อสาธารณาทิ
ปาราชิก ๔ สังฆาทิเสส ๑๓ อนิยต ๒ นิสสัคคีย์ ๓๐
ขุททกะ ๙๒ ปาฏิเทสนียะ ๔ เสขิยะ ๗๕
สิกขาบทของภิกษุ ๒๒๐ สิกขาบทเหล่านี้
มาสู่อุทเทสทุกวันอุโบสถ

ประเภทสิกขาบทของภิกษุณี
สิกขาบทของภิกษุณี ๓๐๔ สิกขาบท มาสู่อุทเทสทุกวันอุโบสถ
เธอจงฟังสิกขาบทเหล่านั้น ตามลำดับต่อไป
ปาราชิก ๘ สังฆาทิเสส ๑๗ นิสสัคคีย์ ๓๐
ขุททกะ ๑๖๖ ปาฏิเทสนียะ ๘ เสขิยะ ๗๕
สิกขาบทของภิกษุณี ๓๐๔ สิกขาบทเหล่านี้
มาสู่อุทเทสทุกวันอุโบสถ

อสาธารณสิกขาบทของภิกษุ
สิกขาบทของภิกษุที่ไม่ทั่วไปกับภิกษุณี มี ๔๖ สิกขาบท
เธอจงฟังสิกขาบทเหล่านั้น ตามลำดับต่อไป
สังฆาทิเสส ๖ รวมกับอนิยต ๒ สิกขาบท เป็น ๘
นิสสัคคีย์ ๑๒ รวมกันเป็น ๒๐ ขุททกะ ๒๒
ปาฏิเทสนียะ ๔ สิกขาบทของภิกษุที่ไม่ทั่วไปกับภิกษุณีนี้
รวม ๔๖ สิกขาบท๑

เชิงอรรถ :
๑ คือ สังฆาทิเสส ๖ สิกขาบท คือสิกขาบทที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ที่ ๖ ที่ ๗ อนิยต ๒ สิกขาบท
นิสสัคคีย์ ๑๒ สิกขาบท คือ สิกขาบทที่ ๔ ที่ ๕ แห่งจีวรวรรค สิกขาบทที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔
ที่ ๕ ที่ ๖ ที่ ๗ แห่งโกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๑ ที่ ๔ ที่ ๙ แห่งปัตตวรรค ปาจิตตีย์ ๒๒ คือ โอวาทวรรค
๑๐ สิกขาบท สิกขาบทที่ ๓ ที่ ๕ ที่ ๖ ที่ ๙ แห่งโภชนวรรค สิกขาบทที่ ๑ แห่งอเจลกวรรค สิกขาบท
ที่ ๔ ที่ ๕ ที่ ๗ แห่งสัปปาณกวรรค สิกขาบทที่ ๑ ที่ ๓ ที่ ๗ ที่ ๙ แห่งรตนวรรค และ ปาฏิเทสนียะ
๔ สิกขาบท (วิ.อ. ๓/๓๓๘/๔๘๑-๔๘๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๑๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [คาถาสังคณิกะ] ๔. อสาธารณาทิ
อสาธารณสิกขาบทของภิกษุณี
สิกขาบทของภิกษุณีที่ไม่ทั่วไปกับภิกษุ มี ๑๓๐ สิกขาบท
เธอจงฟังสิกขาบทเหล่านั้น ตามลำดับต่อไป
ปาราชิก ๔ สังฆาทิเสสที่ทำให้ถูกขับออกจากหมู่ ๑๐
นิสสัคคีย์ ๑๒ ขุททกะ ๙๖ ปาฏิเทสนียะ ๘
สิกขาบทของภิกษุณีที่ไม่ทั่วไปกับภิกษุนี้ รวม ๑๓๐ สิกขาบท

สิกขาบทที่ไม่ทั่วไปแก่สองฝ่าย
สิกขาบทของทั้ง ๒ ฝ่ายที่ไม่ทั่วไป มี ๑๗๖ สิกขาบท
เธอจงฟังสิกขาบทเหล่านั้น ตามลำดับต่อไป
ปาราชิก ๔ สังฆาทิเสส ๑๖ อนิยต ๒ นิสสัคคีย์ ๒๔
ขุททกะ ๑๑๘ ปาฏิเทสนียะ ๑๒
สิกขาบทของทั้ง ๒ ฝ่ายที่ไม่ทั่วไปนี้ รวม ๑๗๖ สิกขาบท

สิกขาบทของทั้งสองฝ่ายที่ศึกษาร่วมกัน
สิกขาบทของทั้ง ๒ ฝ่ายที่ศึกษาร่วมกัน มี ๑๗๔ สิกขาบท
เธอจงฟังสิกขาบทเหล่านั้น ตามลำดับต่อไป
ปาราชิก ๔ สังฆาทิเสส ๗ นิสสัคคีย์ ๑๘
ขุททกะ ๗๐ ถ้วน เสขิยะ ๗๕
สิกขาบทของทั้ง ๒ ฝ่ายที่ศึกษาร่วมกันนี้ รวม ๑๗๔ สิกขาบท

อาบัติที่ระงับไม่ได้
บุคคลผู้เป็นปาราชิก ๘ จำพวก เข้าใกล้ได้ยาก
เปรียบเหมือนต้นตาลเหลือแต่พื้นที่ บุคคลผู้เป็นปาราชิกเหล่านั้น
ย่อมเป็นผู้ไม่งอกงาม เปรียบเหมือนใบไม้เหี่ยวเหลือง แผ่นศิลาหนา
คนถูกตัดศีรษะ ต้นตาลยอดด้วน ฉะนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๑๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [คาถาสังคณิกะ] ๕. ปาราชิกาทิอาปัตติ
อาบัติที่ระงับได้
สังฆาทิเสส ๒๓ อนิยต ๒ นิสสัคคีย์ ๔๒
ปาจิตตีย์ ๑๘๘ ปาฏิเทสนียะ ๑๒
เสขิยะ ๗๕ ระงับด้วยสมถะ ๓ คือ
(๑) สัมมุขาวินัย (๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) ติณวัตถารกะ

ส่วนที่ทรงจำแนก
อุโบสถ ๒ ปวารณา ๒ กรรม ๔
อันพระชินเจ้าทรงแสดงแล้ว
อุทเทส ๕ และอุทเทส ๔
ย่อมไม่มีโดยประการอื่น และกองอาบัติ มี ๗

อธิกรณ์
อธิกรณ์ ๔ ระงับด้วยสมถะ ๗ คือ ระงับด้วยสมถะ ๒
สมถะ ๔ สมถะ ๓ แต่กิจจาธิกรณ์ ระงับด้วยสมถะ ๑”

๕. ปาราชิกาทิอาปัตติ
ว่าด้วยอาบัติปาราชิก เป็นต้น

วิเคราะห์ปาราชิก
[๓๓๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
“เธอจงฟังอาบัติที่เราเรียกว่าปาราชิก ตามลำดับ
บุคคลเป็นผู้เคลื่อน ผิด พลาด และเหินห่างจากสัทธรรมทั้งหลาย
อนึ่ง แม้สังวาสก็ไม่มีในบุคคลนั้น
เพราะเหตุนั้น เราจึงเรียกอาบัตินั้นว่า อาบัติปาราชิก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๑๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [คาถาสังคณิกะ] ๕. ปาราชิกาทิอาปัตติ
วิเคราะห์สังฆาทิเสส
เธอจงฟังอาบัติที่เราเรียกว่าสังฆาทิเสส ตามลำดับ
สงฆ์เท่านั้นให้ปริวาส ชักเข้าหาอาบัติเดิม ให้มานัต อัพภาน
เพราะเหตุนั้น เราจึงเรียกอาบัตินั้นว่า อาบัติสังฆาทิเสส

วิเคราะห์อนิยต
เธอจงฟังอาบัติที่เราเรียกว่าอนิยต ตามลำดับ
กองอาบัติชื่อว่าอนิยต เพราะไม่แน่
ข้อที่เราบัญญัติไว้แล้วโดยมิใช่ส่วนเดียว
ในฐานะทั้ง ๓ ฐานะอย่างใดอย่างหนึ่ง เรียกว่า อนิยต

วิเคราะห์ถุลลัจจัย
เธอจงฟังอาบัติที่เราเรียกว่าถุลลัจจัย ตามลำดับ
ภิกษุใดแสดงในภิกษุรูปเดียว
และภิกษุรูปใดรับโทษนั้น โทษเสมอด้วยโทษนั้นไม่มี
เพราะเหตุนั้น เราจึงเรียกโทษนั้นว่า ถุลลัจจัย

วิเคราะห์นิสสัคคีย์
เธอจงฟังอาบัติที่เราเรียกว่านิสสัคคีย์ ตามลำดับ
ภิกษุยอมสละและแสดงข้อละเมิดใดพร้อมกันในท่ามกลางสงฆ์
ท่ามกลางคณะ และในสำนักภิกษุหนึ่ง
เพราะเหตุนั้น เราจึงเรียกข้อละเมิดนั้นว่า นิสสัคคีย์

วิเคราะห์ปาจิตตีย์
เธอจงฟังอาบัติที่เราเรียกว่าปาจิตตีย์ ตามลำดับ
ความละเมิดยังกุศลธรรมให้ตกไป ทำอริยมรรคให้เสียไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๑๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [คาถาสังคณิกะ] ๕. ปาราชิกาทิอาปัตติ
เป็นเหตุทำให้จิตลุ่มหลง
เพราะเหตุนั้น เราจึงเรียกความละเมิดนั้นว่า ปาจิตตีย์

วิเคราะห์ปาฏิเทสนียะ
เธอจงฟังอาบัติที่เราเรียกว่าปาฏิเทสนียะ ตามลำดับ
ภิกษุไม่มีญาติ หาโภชนะมาได้ยาก
รับมาเองแล้วฉัน เรียกว่า ต้องธรรมที่น่าติเตียน
ภิกษุฉันอยู่ในที่นิมนต์ ภิกษุณีบงการอยู่ในสถานที่นิมนต์นั้น
ตามความพอใจ ภิกษุไม่ห้ามแต่กลับฉันอยู่ในที่นั้น
เรียกว่า ต้องธรรมที่น่าติเตียน
ภิกษุไม่อาพาธ ไปสู่ตระกูลที่มีจิตศรัทธา แต่มีโภคทรัพย์น้อย
ผู้ไม่ร่ำรวยแล้วฉันในที่นั้น เรียกว่า ต้องธรรมที่น่าติเตียน
ภิกษุอยู่ในป่าที่น่าหวาดระแวงมีภัยน่ากลัว ฉันอาหารที่เขา
ไม่ได้รับแจ้งไว้ก่อน ในที่นั้น เรียกว่า ต้องธรรมที่น่าติเตียน
ภิกษุณีไม่มีญาติ ขอโภชนะที่ผู้อื่นยึดถือว่าเป็นของเรา คือ
เนยใส น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ปลา เนื้อ นมสด และนมเปรี้ยว
ด้วยตนเอง ชื่อว่า ต้องธรรมที่น่าติเตียนในศาสนาของพระสุคต

วิเคราะห์ทุกกฏ
เธอจงฟังอาบัติที่เราเรียกว่าทุกกฏ ตามลำดับ
กรรมที่ผิด พลั้งพลาด จัดเป็นกรรมที่ทำไม่ดี
คนทำความชั่วอันใดไว้ในที่แจ้งหรือในที่ลับ
บัณฑิตทั้งหลายย่อมประกาศความชั่วนั้นว่า ทำชั่ว
เพราะเหตุนั้น เราจึงเรียกอาบัตินั้นว่า ทุกกฏ

วิเคราะห์ทุพภาสิต
เธอจงฟังอาบัติที่เราเรียกว่าทุพภาสิต ตามลำดับ
บทใดอันภิกษุกล่าวไม่ดี พูดไม่ดี และเสื่อมเสีย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๑๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [คาถาสังคณิกะ] ๕. ปาราชิกาทิอาปัตติ
ทั้งวิญญูชนทั้งหลายย่อมติเตียนบทใด
เพราะเหตุนั้น เราจึงเรียกข้อนั้นว่า ทุพภาสิต

วิเคราะห์เสขิยะ
เธอจงฟังอาบัติที่เราเรียกว่าเสขิยะ ตามลำดับ
ข้อนั้นเป็นเบื้องต้น เป็นข้อประพฤติ เป็นทาง
และเป็นข้อสังวรระวังของพระเสขะ ผู้กำลังศึกษา
ผู้ดำเนินไปสู่เส้นทางตรง สิกขาทั้งหลายเช่นนี้ไม่มี
เพราะเหตุนั้น เราจึงเรียกข้อนั้นว่า เสขิยะ

อุปมาอาบัติ และอนาบัติ
ยิ่งปิดยิ่งรั่ว เปิดแล้วไม่รั่ว
เพราะฉะนั้น พึงเปิดสิ่งที่ปิด
เมื่อเป็นดังนี้ สิ่งที่เปิดนั้นก็จะไม่รั่ว๑
ป่าใหญ่เป็นที่พึ่งของหมู่มฤค อากาศเป็นทางไปของหมู่ปักษี
ความเสื่อมเป็นคติของธรรมทั้งหลาย๒
พระนิพพานเป็นภูมิที่ไปของพระอรหันต์
คาถาสังคณิกะ จบ

หัวข้อประจำวาร
สิกขาบทที่ทรงบัญญัติ ณ ๗ พระนคร วิบัติ ๔ อย่าง
สิกขาบทของภิกษุและภิกษุณีที่ทั่วไป ที่ไม่ทั่วไป
นี้เป็นถ้อยคำที่ประมวลไว้ด้วยคาถา เพื่ออนุเคราะห์พระศาสนา”
คาถาสังคณิกะ จบ

เชิงอรรถ :
๑ วิ.จู. (แปล) ๗/๓๘๕/๒๘๕, ขุ.อุ. (แปล) ๒๕/๔๕/๒๖๘, ขุ.เถร. (แปล) ๒๖/๔๔๗/๔๑๕
๒ หมายถึงสังขตธรรมทั้งหลายมีความเสื่อมความพินาศ (วิ.อ. ๓/๓๓๙/๔๘๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๑๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อธิกรณเภท] ๑. อุกโกฏนเภทาทิ
อธิกรณเภท
ว่าด้วยประเภทแห่งอธิกรณ์
๑. อุกโกฏนเภทาทิ
ว่าด้วยประเภทการรื้อฟื้น เป็นต้น
[๓๔๐] อธิกรณ์มี ๔ อย่าง คือ
๑. วิวาทาธิกรณ์ ๒. อนุวาทาธิกรณ์
๓. อาปัตตาธิกรณ์ ๔. กิจจาธิกรณ์
อธิกรณ์มี ๔ อย่างเหล่านี้
ถาม : การรื้อฟื้นอธิกรณ์ ๔ อย่างนี้ มีเท่าไร
ตอบ : การรื้อฟื้นอธิกรณ์ ๔ อย่างนี้ มี ๑๐ อย่าง คือ รื้อฟื้นวิวาทาธิกรณ์
มี ๒ รื้อฟื้นอนุวาทาธิกรณ์มี ๔ รื้อฟื้นอาปัตตาธิกรณ์มี ๓ รื้อฟื้นกิจจาธิกรณ์มี ๑
การรื้อฟื้นอธิกรณ์ ๔ อย่างนี้ มี ๑๐ อย่างเหล่านี้
ถาม : เมื่อรื้อฟื้นวิวาทาธิกรณ์ ย่อมรื้อฟื้นสมถะเท่าไร เมื่อรื้อฟื้นอนุวาทาธิกรณ์
ย่อมรื้อฟื้นสมถะเท่าไร เมื่อรื้อฟื้นอาปัตตาธิกรณ์ ย่อมรื้อฟื้นสมถะเท่าไร เมื่อ
รื้อฟื้นกิจจาธิกรณ์ ย่อมรื้อฟื้นสมถะเท่าไร
ตอบ : เมื่อรื้อฟื้นวิวาทาธิกรณ์ ย่อมรื้อฟื้นสมถะ ๒ อย่าง เมื่อรื้อฟื้น
อนุวาทาธิกรณ์ ย่อมรื้อฟื้นสมถะ ๔ อย่าง เมื่อรื้อฟื้นอาปัตตาธิกรณ์ ย่อมรื้อฟื้น
สมถะ ๓ อย่าง เมื่อรื้อฟื้นกิจจาธิกรณ์ ย่อมรื้อฟื้นสมถะอย่างเดียว

ว่าด้วยการรื้อฟื้นอธิกรณ์ เป็นต้น
[๓๔๑] ถาม : การรื้อฟื้นมีเท่าไร ด้วยอาการเท่าไร จึงนับว่ารื้อฟื้น บุคคล
ประกอบด้วยองค์เท่าไร จึงรื้อฟื้นอธิกรณ์ได้ บุคคลกี่จำพวก เมื่อรื้อฟื้นอธิกรณ์
ย่อมต้องอาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๑๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อธิกรณเภท] ๑. อุกโกฏนเภทาทิ
ตอบ : การรื้อฟื้นมี ๑๒ อย่าง ด้วยอาการ ๑๐ จึงนับว่ารื้อฟื้น บุคคล
ประกอบด้วยองค์ ๔ จึงรื้อฟื้นอธิกรณ์ได้ บุคคล ๔ จำพวก เมื่อรื้อฟื้นอธิกรณ์
ย่อมต้องอาบัติ
การรื้อฟื้นมี ๑๒ อย่าง คือ

๑. รื้อฟื้นกรรมที่สงฆ์ยังไม่ได้ทำ ๒. รื้อฟื้นกรรมที่สงฆ์ทำไม่ดี
๓. รื้อฟื้นกรรมที่สงฆ์ควรทำใหม่ ๔. รื้อฟื้นกรรมที่สงฆ์ยังทำไม่เสร็จ
๕. รื้อฟื้นกรรมที่สงฆ์ทำเสร็จแล้วไม่ดี ๖. รื้อฟื้นกรรมที่สงฆ์ควรทำอีก
๗. รื้อฟื้นกรรมที่สงฆ์ยังไม่ได้วินิจฉัย ๘. รื้อฟื้นกรรมที่สงฆ์วินิจฉัยไม่ถูกต้อง
๙. รื้อฟื้นกรรมที่สงฆ์ควรวินิจฉัยใหม่ ๑๐. รื้อฟื้นกรรมที่ยังไม่ระงับ
๑๑. รื้อฟื้นกรรมที่ระงับแล้วไม่ดี ๑๒. รื้อฟื้นกรรมที่ควรระงับใหม่
การรื้อฟื้นมี ๑๒ อย่างเหล่านี้

ด้วยอาการ ๑๐ อย่าง จึงนับว่ารื้อฟื้น คือ

๑. รื้อฟื้นอธิกรณ์ที่เกิดในที่นั้น ๒. รื้อฟื้นอธิกรณ์ที่เกิดในที่นั้นแต่
ระงับแล้ว
๓. รื้อฟื้นอธิกรณ์ในระหว่างทาง ๔. รื้อฟื้นอธิกรณ์ที่ระงับแล้วในระหว่างทาง
๕. รื้อฟื้นอธิกรณ์อันไปแล้วในที่นั้น ๖. รื้อฟื้นอธิกรณ์อันไปแล้วแต่ระงับแล้ว
๗. รื้อฟื้นสติวินัย ๘. รื้อฟื้นอมูฬหวินัย
๙. รื้อฟื้นตัสสปาปิยสิกา ๑๐. รื้อฟื้นติณวัตถารกะ

ด้วยอาการ ๑๐ อย่างนี้ จึงนับว่ารื้อฟื้น
บุคคลประกอบด้วยองค์ ๔ จึงรื้อฟื้นอธิกรณ์ได้ คือ
๑. ลำเอียงเพราะชอบจึงรื้อฟื้นอธิกรณ์ได้
๒. ลำเอียงเพราะชังจึงรื้อฟื้นอธิกรณ์ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๒๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อธิกรณเภท] ๒. อธิกรณนิทานาทิ
๓. ลำเอียงเพราะหลงจึงรื้อฟื้นอธิกรณ์ได้
๔. ลำเอียงเพราะกลัวจึงรื้อฟื้นอธิกรณ์ได้
บุคคลประกอบด้วยองค์ ๔ นี้ จึงรื้อฟื้นอธิกรณ์ได้
บุคคล ๔ จำพวก เมื่อรื้อฟื้นอธิกรณ์ ย่อมต้องอาบัติ คือ
๑. ภิกษุผู้อุปสมบทในวันนั้นแล้วรื้อฟื้นอธิกรณ์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ที่
รื้อฟื้น
๒. ภิกษุเป็นอาคันตุกะรื้อฟื้นอธิกรณ์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ที่รื้อฟื้น
๓. ภิกษุผู้กระทำรื้อฟื้นอธิกรณ์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ที่รื้อฟื้น
๔. ภิกษุผู้ให้ฉันทะรื้อฟื้นอธิกรณ์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ที่รื้อฟื้น
บุคคล ๔ จำพวกนี้ เมื่อรื้อฟื้นอธิกรณ์ ย่อมต้องอาบัติ

๒. อธิกรณนิทานาทิ
ว่าด้วยนิทานแห่งอธิกรณ์ เป็นต้น
[๓๔๒] ถาม : วิวาทาธิกรณ์ มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็น
ชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน
อนุวาทาธิกรณ์ มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไร
เป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน
อาปัตตาธิกรณ์ มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไร
เป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน
กิจจาธิกรณ์ มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็น
แดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน
ตอบ : วิวาทาธิกรณ์ มีวิวาทเป็นนิทาน มีวิวาทเป็นสมุทัย มีวิวาทเป็นชาติ
มีวิวาทเป็นแดนเกิดก่อน มีวิวาทเป็นองค์ มีวิวาทเป็นสมุฏฐาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๒๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อธิกรณเภท] ๓. อธิกรณมูลาทิ
อนุวาทาธิกรณ์ มีอนุวาทเป็นนิทาน มีอนุวาทเป็นสมุทัย มีอนุวาทเป็นชาติ
มีอนุวาทเป็นแดนเกิดก่อน มีอนุวาทเป็นองค์ มีอนุวาทเป็นสมุฏฐาน
อาปัตตาธิกรณ์ มีอาบัติเป็นนิทาน มีอาบัติเป็นสมุทัย มีอาบัติเป็นชาติ
มีอาบัติเป็นแดนเกิดก่อน มีอาบัติเป็นองค์ มีอาบัติเป็นสมุฏฐาน
กิจจาธิกรณ์ มีกิจเป็นนิทาน มีกิจเป็นสมุทัย มีกิจเป็นชาติ มีกิจเป็นแดน
เกิดก่อน มีกิจเป็นองค์ มีกิจเป็นสมุฏฐาน
ถาม : วิวาทาธิกรณ์ มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ
มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน
อนุวาทาธิกรณ์ ฯลฯ อาปัตตาธิกรณ์ ฯลฯ กิจจาธิกรณ์ ฯลฯ
ตอบ : วิวาทาธิกรณ์ มีเหตุเป็นนิทาน มีเหตุเป็นสมุทัย มีเหตุเป็นชาติ
มีเหตุเป็นแดนเกิดก่อน มีเหตุเป็นองค์ มีเหตุเป็นสมุฏฐาน
อนุวาทาธิกรณ์ ฯลฯ อาปัตตาธิกรณ์ ฯลฯ กิจจาธิกรณ์ ฯลฯ
ถาม : วิวาทาธิกรณ์ มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ
มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน
อนุวาทาธิกรณ์ ฯลฯ อาปัตตาธิกรณ์ ฯลฯ กิจจาธิกรณ์ ฯลฯ
ตอบ : วิวาทาธิกรณ์ มีปัจจัยเป็นนิทาน มีปัจจัยเป็นสมุทัย มีปัจจัยเป็นชาติ
มีปัจจัยเป็นแดนเกิดก่อน มีปัจจัยเป็นองค์ มีปัจจัยเป็นสมุฏฐาน
อนุวาทาธิกรณ์ ฯลฯ อาปัตตาธิกรณ์ ฯลฯ กิจจาธิกรณ์ ฯลฯ

๓. อธิกรณมูลาทิ
ว่าด้วยมูลเหตุอธิกรณ์ เป็นต้น
[๓๔๓] ถาม : อธิกรณ์ ๔ มีมูลเหตุเท่าไร มีสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : อธิกรณ์ ๔ มีมูลเหตุ ๓๓ มีสมุฏฐาน ๓๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๒๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อธิกรณเภท] ๔. อธิกรณปัจจยาทิปัตติ
ถาม : อธิกรณ์ ๔ มีมูลเหตุ ๓๓ อย่างไร
ตอบ : วิวาทาธิกรณ์ มีมูลเหตุ ๑๒ อนุวาทาธิกรณ์ มีมูลเหตุ ๑๔
อาปัตตาธิกรณ์ มีมูลเหตุ ๖ กิจจาธิกรณ์ มีมูลเหตุเดียวคือสงฆ์ รวมอธิกรณ์ ๔
มีมูลเหตุ ๓๓ นี้
ถาม : อธิกรณ์ ๔ มีสมุฏฐาน ๓๓ อย่างไร
ตอบ : วิวาทาธิกรณ์ มีเรื่องทำความแตกกัน ๑๘ เรื่อง เป็นสมุฏฐาน
อนุวาทาธิกรณ์ มีวิบัติ ๔ เป็นสมุฏฐาน อาปัตตาธิกรณ์ มีอาบัติ ๗ กอง เป็น
สมุฏฐาน กิจจาธิกรณ์ มีกรรม ๔ เป็นสมุฏฐาน รวมอธิกรณ์ ๔ มีสมุฏฐาน ๓๓ นี้

๔. อธิกรณปัจจยาปัตติ
ว่าด้วยอาบัติมีอธิกรณ์เป็นปัจจัย
[๓๔๔] ถาม : วิวาทาธิกรณ์ เป็นอาบัติหรืออนาบัติ
ตอบ : วิวาทาธิกรณ์ เป็นอนาบัติ
ถาม : ก็เพราะวิวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุจึงต้องอาบัติหรือ
ตอบ : ถูกแล้ว เพราะวิวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุจึงต้องอาบัติ
ถาม : เพราะวิวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุจึงต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : เพราะวิวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุจึงต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. ด่าอุปสัมบันต้องอาบัติปาจิตตีย์
๒. ด่าอนุปสัมบันต้องอาบัติทุกกฏ
เพราะวิวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุจึงต้องอาบัติ ๒ อย่างนี้
ถาม : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติอย่างไหน บรรดา
อธิกรณ์ ๔ อย่าง เป็นอธิกรณ์อย่างไหน บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากอง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๒๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อธิกรณเภท] ๔. อธิกรณปัจจยาทิปัตติ
อาบัติไหน บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐานเกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร ระงับ
ด้วยอธิกรณ์เท่าไร ในฐานะเท่าไร ด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติ ๑ อย่าง คือ
อาจารวิบัติ บรรดาอธิกรณ์ ๔ เป็นอาปัตตาธิกรณ์ บรรดากองอาบัติ ๗ กอง
จัดเข้ากองอาบัติ ๒ กอง คือ (๑) กองอาบัติปาจิตตีย์ (๒) กองอาบัติทุกกฏ
บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ระงับด้วย
อธิกรณ์ ๑ คือ กิจจาธิกรณ์ ระงับใน ๓ ฐานะ คือ ท่ามกลางสงฆ์ ท่ามกลางคณะ
สำนักบุคคล ระงับด้วยสมถะ ๓ คือ (๑) สัมมุขาวินัย (๒) ปฏิญญาตกรณะ
(๓) สัมมุขาวินัยและติณวัตถารกะ

ว่าด้วยอนุวาทาธิกรณ์เป็นอาบัติหรืออนาบัติ เป็นต้น
[๓๔๕] ถาม : อนุวาทาธิกรณ์ เป็นอาบัติหรืออนาบัติ
ตอบ : อนุวาทาธิกรณ์ เป็นอนาบัติ
ถาม : ก็เพราะอนุวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุจึงต้องอาบัติหรือ
ตอบ : ถูกแล้ว เพราะอนุวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุจึงต้องอาบัติ
ถาม : เพราะอนุวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุจึงต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : เพราะอนุวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุจึงต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ
๑. ใส่ความภิกษุด้วยอาบัติปาราชิกที่ไม่มีมูล ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
๒. ใส่ความภิกษุด้วยอาบัติสังฆาทิเสสที่ไม่มีมูล ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๓. ใส่ความภิกษุด้วยอาบัติปาจิตตีย์ที่ไม่มีมูล ต้องอาบัติทุกกฏ
เพราะอนุวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุจึงต้องอาบัติ ๓ อย่างนี้
ถาม : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติเท่าไร บรรดาอธิกรณ์
๔ อย่าง เป็นอธิกรณ์อย่างไหน บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติเท่าไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๒๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อธิกรณเภท] ๔. อธิกรณปัจจยาทิปัตติ
บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐานเกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร ระงับด้วยอธิกรณ์เท่าไร
ในฐานะเท่าไร ด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่างจัดเป็นวิบัติ ๒ อย่าง คือ
(๑) สีลวิบัติ (๒) อาจารวิบัติ บรรดาอธิกรณ์ ๔ เป็นอาปัตตาธิกรณ์ บรรดา
กองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติ ๓ กอง คือ (๑) กองอาบัติสังฆาทิเสส
(๒) กองอาบัติปาจิตตีย์ (๓) กองอาบัติทุกกฏ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน อาบัติหนักระงับด้วยอธิกรณ์ ๑ คือ
กิจจาธิกรณ์ ระงับใน ๑ ฐานะ คือ ท่ามกลางสงฆ์ ระงับด้วยสมถะ ๒ คือ
(๑) สัมมุขาวินัย (๒) ปฏิญญาตกรณะ อาบัติเบาระงับด้วยอธิกรณ์ ๑ คือ
กิจจาธิกรณ์ ระงับใน ๓ ฐานะ คือ ในท่ามกลางสงฆ์ ในท่ามกลางคณะ ในสำนัก
บุคคล ระงับด้วยสมถะ ๓ คือ (๑) สัมมุขาวินัย (๒) ปฏิญญาตกรณะ
(๓) สัมมุขาวินัยและติณวัตถารกะ

ว่าด้วยอาปัตตาธิกรณ์เป็นอาบัติหรืออนาบัติ เป็นต้น
[๓๔๖] ถาม : อาปัตตาธิกรณ์ เป็นอาบัติหรืออนาบัติ
ตอบ : อาปัตตาธิกรณ์ เป็นอนาบัติ
ถาม : ก็เพราะอาปัตตาธิกรณ์เป็นปัจจัย จึงต้องอาบัติหรือ
ตอบ : ถูกแล้ว เพราะอาปัตตาธิกรณ์เป็นปัจจัย จึงต้องอาบัติ
ถาม : เพราะอาปัตตาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุจึงต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : เพราะอาปัตตาธิกรณ์เป็นปัจจัย จึงต้องอาบัติ ๔ อย่าง คือ
๑. ภิกษุณี รู้อยู่ ปกปิดภิกษุณีผู้ต้องอาบัติปาราชิก ต้องอาบัติปาราชิก
๒. สงสัยปกปิดไว้ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. ภิกษุปกปิดอาบัติสังฆาทิเสส ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๔. ปกปิดอาจารวิบัติ ต้องอาบัติทุกกฏ
เพราะอาปัตตาธิกรณ์เป็นปัจจัย จึงต้องอาบัติ ๔ อย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๒๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อธิกรณเภท] ๔. อธิกรณปัจจยาทิปัตติ
ถาม : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติเท่าไร บรรดา
อธิกรณ์ ๔ อย่าง เป็นอธิกรณ์อย่างไหน บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากอง
อาบัติเท่าไร บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ระงับด้วยอธิกรณ์เท่าไร ในฐานะเท่าไร ด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติ ๒ อย่าง คือ
(๑) สีลวิบัติ (๒) อาจารวิบัติ บรรดาอธิกรณ์ ๔ เป็นอาปัตตาธิกรณ์ บรรดา
กองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้าอาบัติ ๔ กอง คือ (๑) กองอาบัติปาราชิก
(๒) กองอาบัติถุลลัจจัย (๓) กองอาบัติปาจิตตีย์ (๔) กองอาบัติทุกกฏ บรรดา
สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทาง
กายวาจากับจิต อาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือระงับด้วยอธิกรณ์ไหนไม่ได้ ระงับในฐานะไหน
ไม่ได้ ระงับด้วยสมถะไหนไม่ได้ อาบัติเบาระงับด้วยอธิกรณ์ ๑ คือ กิจจาธิกรณ์ ระงับ
ใน ๓ ฐานะ คือ ในท่ามกลางสงฆ์ ในท่ามกลางคณะ ในสำนักบุคคล ระงับด้วยสมถะ
๓ คือ (๑) สัมมุขาวินัย (๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) สัมมุขาวินัยและติณวัตถารกะ

ว่าด้วยกิจจาธิกรณ์เป็นอาบัติหรืออนาบัติ เป็นต้น
[๓๔๗] ถาม : กิจจาธิกรณ์ เป็นอาบัติหรืออนาบัติ
ตอบ : กิจจาธิกรณ์ เป็นอนาบัติ
ถาม : ก็เพราะกิจจาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุจึงต้องอาบัติหรือ
ตอบ : ถูกแล้ว เพราะกิจจาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุจึงต้องอาบัติ
ถาม : เพราะกิจจาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุจึงต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : เพราะกิจจาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุจึงต้องอาบัติ ๕ อย่าง คือ
๑. ภิกษุณีผู้ประพฤติตามภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ไม่ยอมสละ
กรรมจนกระทั่งสงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง จบญัตติต้องอาบัติ
ทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๒๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อธิกรณเภท] ๔. อธิกรณปัจจยาทิปัตติ
๒. จบกรรมวาจา ๒ ครั้งต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. จบกรรมวาจาครั้งสุดท้ายต้องอาบัติปาราชิก
๔. ภิกษุประพฤติตามภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ไม่ยอมสละกรรม จนกระทั่ง
สงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
๕. ภิกษุไม่ละทิฏฐิบาป จนกระทั่งสงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เพราะกิจจาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุจึงต้องอาบัติ ๕ อย่างนี้
ถาม : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติเท่าไร บรรดา
อธิกรณ์ ๔ อย่าง เป็นอธิกรณ์อย่างไหน บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้า
กองอาบัติเท่าไร บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐานเกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ระงับด้วยอธิกรณ์เท่าไร ในฐานะเท่าไร ด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติ ๒ อย่าง คือ
(๑) สีลวิบัติ (๒) อาจารวิบัติ บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง เป็นอาปัตตาธิกรณ์ บรรดา
กองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติ ๕ กอง คือ (๑) กองอาบัติปาราชิก
(๒) กองอาบัติสังฆาทิเสส (๓) กองอาบัติถุลลัจจัย (๔) กองอาบัติปาจิตตีย์
(๕) กองอาบัติทุกกฏ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑
สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายวาจากับจิต อาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือ ระงับด้วยอธิกรณ์ไหน
ไม่ได้ ระงับในฐานะไหนไม่ได้ ระงับด้วยสมถะไหนไม่ได้ อาบัติหนักระงับด้วย
อธิกรณ์เดียว คือ กิจจาธิกรณ์ ระงับในฐานะเดียว คือ ท่ามกลางสงฆ์ ระงับ
ด้วยสมถะ ๒ คือ (๑) สัมมุขาวินัย (๒) ปฏิญญาตกรณะ อาบัติเบาระงับด้วย
อธิกรณ์เดียว คือ กิจจาธิกรณ์ ระงับใน ๓ ฐานะ คือ ในท่ามกลางสงฆ์
ในท่ามกลางคณะ ในสำนักบุคคล ระงับด้วยสมถะ ๓ คือ (๑) สัมมุขาวินัย
(๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) สัมมุขาวินัยและติณวัตถารกะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๒๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อธิกรณเภท] ๕. อธิกรณาธิปปายะ
๕. อธิกรณาธิปปายะ
ว่าด้วยอธิบายอธิกรณ์

วิวาทาธิกรณ์
[๓๔๘] ถาม : วิวาทาธิกรณ์ เป็นอนุวาทาธิกรณ์ เป็นอาปัตตาธิกรณ์
เป็นกิจจาธิกรณ์หรือ
ตอบ : วิวาทาธิกรณ์ ไม่เป็นอนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ กิจจาธิกรณ์
แต่เพราะวิวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ กิจจาธิกรณ์
ย่อมมีได้ เปรียบเหมือนอะไร เปรียบเหมือนภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้วิวาทกันว่า
นี้เป็นธรรม นี้เป็นอธรรม ฯลฯ
นี้อาบัติชั่วหยาบ นี้อาบัติไม่ชั่วหยาบ
ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาท การกล่าวต่างกัน
การกล่าวโดยประการอื่น การพูดเพื่อความกลัดกลุ้ม ความหมายมั่นในเรื่องนั้น
นี้เรียกว่า วิวาทาธิกรณ์ สงฆ์วิวาทกันในเพราะวิวาทาธิกรณ์ จัดเป็นวิวาทาธิกรณ์
เมื่อวิวาทกัน ย่อมโจท จัดเป็นอนุวาทาธิกรณ์ เมื่อโจทย่อมต้องอาบัติ จัดเป็น
อาปัตตาธิกรณ์ สงฆ์ทำกรรมตามอาบัตินั้น จัดเป็นกิจจาธิกรณ์ เพราะวิวาทาธิกรณ์
เป็นปัจจัย อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ กิจจาธิกรณ์ ย่อมมีอย่างนี้

อนุวาทาธิกรณ์
ถาม : อนุวาทาธิกรณ์ เป็นอาปัตตาธิกรณ์ เป็นกิจจาธิกรณ์ เป็นวิวาทาธิ-
กรณ์หรือ
ตอบ : อนุวาทาธิกรณ์ ไม่เป็นอาปัตตาธิกรณ์ กิจจาธิกรณ์ วิวาทาธิกรณ์ แต่
เพราะอนุวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย อาปัตตาธิกรณ์ กิจจาธิกรณ์ วิวาทาธิกรณ์ ย่อม
มีได้ เปรียบเหมือนอะไร เปรียบเหมือนภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ โจทภิกษุด้วย
สีลวิบัติ อาจารวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ หรืออาชีววิบัติ การโจท การกล่าวหา การฟ้องร้อง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๒๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อธิกรณเภท] ๕. อธิกรณาธิปปายะ
การประท้วง ความเป็นผู้คล้อยตาม การทำความพยายามโจท การให้กำลัง
สนับสนุนในเรื่องนั้น นี้เรียกว่า อนุวาทาธิกรณ์ สงฆ์วิวาทกันในเพราะอนุวาทาธิกรณ์
จัดเป็นวิวาทาธิกรณ์ เมื่อวิวาทกัน ย่อมโจท จัดเป็นอนุวาทาธิกรณ์ เมื่อโจทย่อม
ต้องอาบัติ จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์ สงฆ์ทำกรรมตามอาบัตินั้น จัดเป็นกิจจาธิกรณ์
เพราะอนุวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย อาปัตตาธิกรณ์ กิจจาธิกรณ์ วิวาทาธิกรณ์ ย่อมมี
อย่างนี้

อาปัตตาธิกรณ์
ถาม : อาปัตตาธิกรณ์ เป็นกิจจาธิกรณ์ เป็นวิวาทาธิกรณ์ เป็นอนุวาทา-
ธิกรณ์หรือ
ตอบ : อาปัตตาธิกรณ์ ไม่เป็นกิจจาธิกรณ์ วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์
แต่เพราะอาปัตตาธิกรณ์เป็นปัจจัย กิจจาธิกรณ์ วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์
ย่อมมีได้ เปรียบเหมือนอะไร เปรียบเหมือนอาบัติทั้ง ๕ กอง ชื่ออาปัตตาธิกรณ์
อาบัติทั้ง ๗ กอง ชื่ออาปัตตาธิกรณ์ นี้เรียกว่าอาปัตตาธิกรณ์ สงฆ์วิวาทกันใน
เพราะอนุวาทาธิกรณ์ จัดเป็นวิวาทาธิกรณ์ เมื่อวิวาทกัน ย่อมโจท จัดเป็น
อนุวาทาธิกรณ์ เมื่อโจทย่อมต้องอาบัติ จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์ สงฆ์ทำกรรม
ตามอาบัตินั้น จัดเป็นกิจจาธิกรณ์ เพราะอาปัตตาธิกรณ์เป็นปัจจัย กิจจาธิกรณ์
วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ ย่อมมีอย่างนี้

กิจจาธิกรณ์
ถาม : กิจจาธิกรณ์ เป็นวิวาทาธิกรณ์ เป็นอนุวาทาธิกรณ์ เป็นอาปัตตา-
ธิกรณ์หรือ
ตอบ : กิจจาธิกรณ์ ไม่เป็นวิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์
แต่เพราะกิจจาธิกรณ์เป็นปัจจัย วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์
ย่อมมีได้ เปรียบเหมือนอะไร เปรียบเหมือนความมีแห่งกิจ ความมีกิจอันจะพึงทำ
ของสงฆ์ คือ อปโลกนกรรม ญัตติกรรม ญัตติทุติยกรรม ญัตติจตุตถกรรม นี้เรียกว่า
กิจจาธิกรณ์ สงฆ์วิวาทกันในเพราะอนุวาทาธิกรณ์ จัดเป็นวิวาทาธิกรณ์ เมื่อวิวาทกัน
ย่อมโจท จัดเป็นอนุวาทาธิกรณ์ เมื่อโจทย่อมต้องอาบัติ จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๒๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อธิกรณเภท] ๗. วิสัชชนาวาร
สงฆ์ทำกรรมตามอาบัตินั้น จัดเป็นกิจจาธิกรณ์ เพราะกิจจาธิกรณ์เป็นปัจจัย
วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ย่อมมีอย่างนี้

๖. ปุจฉาวาร
ว่าด้วยวาระแห่งการถาม
อธิบายสมถะ
[๓๔๙] สติวินัยมีในที่ใด สัมมุขาวินัยมีในที่นั้น สัมมุขาวินัยมีในที่ใด สติวินัยมี
ในที่นั้น อมูฬหวินัยมีในที่ใด สัมมุขาวินัยมีในที่นั้น สัมมุขาวินัยมีในที่ใด อมูฬห-
วินัยมีในที่นั้น ปฏิญญาตกรณะมีในที่ใด สัมมุขาวินัยมีในที่นั้น สัมมุขาวินัยมีในที่ใด
ปฏิญญาตกรณะมีในที่นั้น เยภุยยสิกามีในที่ใด สัมมุขาวินัยมีในที่นั้น สัมมุขาวินัย
มีในที่ใด เยภุยยสิกามีในที่นั้น ตัสสปาปิยสิกามีในที่ใด สัมมุขาวินัยมีในที่นั้น
สัมมุขาวินัยมีในที่ใด ตัสสปาปิยสิกามีในที่นั้น ติณวัตถารกะมีในที่ใด สัมมุขาวินัย
มีในที่นั้น สัมมุขาวินัยมีในที่ใด ติณวัตถารกะมีในที่นั้น

๗. วิสัชชนาวาร
ว่าด้วยวาระแห่งการตอบ
อธิกรณ์ระงับ
[๓๕๐] สมัยใด อธิกรณ์ระงับด้วยสัมมุขาวินัยและสติวินัย สมัยนั้น สติวินัยมี
ในที่ใด สัมมุขาวินัยมีในที่นั้น สัมมุขาวินัยมีในที่ใด สติวินัยมีในที่นั้น แต่ในที่นั้นไม่
มีอมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ เยภุยยสิกา ตัสสปาปิยสิกา และติณวัตถารกะ
สมัยใด อธิกรณ์ระงับด้วยสัมมุขาวินัยและอมูฬหวินัย ฯลฯ
สมัยใด อธิกรณ์ระงับด้วยสัมมุขาวินัยและปฏิญญาตกรณะ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๓๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อธิกรณเภท] ๘. สังสัฏฐวาร
สมัยใด อธิกรณ์ระงับด้วยสัมมุขาวินัยและเยภุยยสิกา ฯลฯ
สมัยใด อธิกรณ์ระงับด้วยสัมมุขาวินัยและตัสสปาปิยสิกา ฯลฯ
สมัยใด อธิกรณ์ระงับด้วยสัมมุขาวินัยและติณวัตถารกะ สมัยนั้น ติณวัตถารกะ
มีในที่ใด สัมมุขาวินัยมีในที่นั้น สัมมุขาวินัยมีในที่ใด ติณวัตถารกะมีในที่นั้น แต่ไม่มี
สติวินัย อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ เยภุยยสิกา และตัสสปาปิยสิกา

๘. สังสัฏฐวาร
ว่าด้วยวาระที่ว่าด้วยการรวมกัน
[๓๕๑] ถาม : ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี สติวินัยก็ดี รวมกันหรือแยกกัน
ก็แลนักปราชญ์ยักย้ายบัญญัติธรรมเหล่านี้ให้แยกออกจากกันได้หรือ
ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี อมูฬหวินัยก็ดี ฯลฯ
ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี ปฏิญญาตกรณะก็ดี ฯลฯ
ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี เยภุยยสิกาก็ดี ฯลฯ
ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี ตัสสปาปิยสิกาก็ดี ฯลฯ
ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี ติณวัตถารกะก็ดี รวมกันหรือแยกกัน
ก็แลนักปราชญ์ยักย้ายบัญญัติธรรมเหล่านี้ให้แยกออกจากกันได้หรือ
ตอบ : ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี สติวินัยก็ดี รวมกันไม่แยกจากกัน
ก็แลนักปราชญ์ยักย้ายบัญญัติธรรมเหล่านี้ให้แยกออกจากกันไม่ได้
ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี อมูฬหวินัยก็ดี ฯลฯ
ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี ปฏิญญาตกรณะก็ดี ฯลฯ
ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี เยภุยยสิกาก็ดี ฯลฯ
ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี ตัสสปาปิยสิกาก็ดี ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๓๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อธิกรณเภท] ๙. สัตตสมถนิทาน
ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี ติณวัตถารกะก็ดี รวมกัน ไม่แยกจากกัน
ก็แลนักปราชญ์ยักย้ายบัญญัติธรรมเหล่านี้ให้แยกออกจากกันไม่ได้

๙. สัตตสมถนิทาน
ว่าด้วยนิทานแห่งสมถะ ๗
[๓๕๒] ถาม : สัมมุขาวินัย มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ
มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน
สติวินัย ฯลฯ อมูฬหวินัย ฯลฯ ปฏิญญาตกรณะ ฯลฯ เยภุยยสิกา ฯลฯ
ตัสสปาปิยสิกา ฯลฯ
ติณวัตถารกะ มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็น
แดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน
ตอบ : สัมมุขาวินัยมีนิทานเป็นนิทาน มีนิทานเป็นสมุทัย มีนิทานเป็นชาติ
มีนิทานเป็นแดนเกิดก่อน มีนิทานเป็นองค์ มีนิทานเป็นสมุฏฐาน
สติวินัย ฯลฯ อมูฬหวินัย ฯลฯ ปฏิญญาตกรณะ ฯลฯ เยภุยยสิกา ฯลฯ
ตัสสปาปิยสิกา ฯลฯ
ติณวัตถารกะ มีนิทานเป็นนิทาน มีนิทานเป็นสมุทัย มีนิทานเป็นชาติ มีนิทาน
เป็นแดนเกิดก่อน มีนิทานเป็นองค์ มีนิทานเป็นสมุฏฐาน
ถาม : สัมมุขาวินัย มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไร
เป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน
สติวินัย ฯลฯ อมูฬหวินัย ฯลฯ ปฏิญญาตกรณะ ฯลฯ เยภุยยสิกา ฯลฯ
ตัสสปาปิยสิกา ฯลฯ
ติณวัตถารกะ มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็น
แดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๓๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อธิกรณเภท] ๙. สัตตสมถนิทาน
ตอบ : สัมมุขาวินัย มีเหตุเป็นนิทาน มีเหตุเป็นสมุทัย มีเหตุเป็นชาติ มีเหตุ
เป็นแดนเกิดก่อน มีเหตุเป็นองค์ มีเหตุเป็นสมุฏฐาน
สติวินัย ฯลฯ อมูฬหวินัย ฯลฯ ปฏิญญาตกรณะ ฯลฯ เยภุยยสิกา ฯลฯ
ตัสสปาปิยสิกา ฯลฯ
ติณวัตถารกะ มีเหตุเป็นนิทาน มีเหตุเป็นสมุทัย มีเหตุเป็นชาติ มีเหตุเป็นแดน
เกิดก่อน มีเหตุเป็นองค์ มีเหตุเป็นสมุฏฐาน
ถาม : สัมมุขาวินัย มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ
มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน
สติวินัย ฯลฯ อมูฬหวินัย ฯลฯ ปฏิญญาตกรณะ ฯลฯ เยภุยยสิกา ฯลฯ
ตัสสปาปิยสิกา ฯลฯ
ติณวัตถารกะ มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็น
แดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน
ตอบ : สัมมุขาวินัย มีปัจจัยเป็นนิทาน มีปัจจัยเป็นสมุทัย มีปัจจัยเป็นชาติ
มีปัจจัยเป็นแดนเกิดก่อน มีปัจจัยเป็นองค์ มีปัจจัยเป็นสมุฏฐาน
สติวินัย ฯลฯ อมูฬหวินัย ฯลฯ ปฏิญญาตกรณะ ฯลฯ เยภุยยสิกา ฯลฯ
ตัสสปาปิยสิกา ฯลฯ
ติณวัตถารกะ มีปัจจัยเป็นนิทาน มีปัจจัยเป็นสมุทัย มีปัจจัยเป็นชาติ มีปัจจัย
เป็นแดนเกิดก่อน มีปัจจัยเป็นองค์ มีปัจจัยเป็นสมุฏฐาน

ว่าด้วยมูลเหตุ และสมุฏฐานแห่งสมถะ
[๓๕๓] ถาม : สมถะ ๗ มีมูลเหตุเท่าไร มีสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : สมถะ ๗ มีมูลเหตุ ๒๖ มีสมุฏฐาน ๓๖
ถาม : สมถะ ๗ มีมูลเหตุ ๒๖ อะไรบ้าง
ตอบ : สัมมุขาวินัย มีมูลเหตุ ๔ คือ ความพร้อมหน้าสงฆ์ ๑ ความพร้อม
หน้าธรรม ๑ ความพร้อมหน้าวินัย ๑ ความพร้อมหน้าบุคคล ๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๓๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อธิกรณเภท] ๑๐. สัตตสมถนานัตถาทิ
สติวินัย มีมูลเหตุ ๔ อมูฬหวินัย มีมูลเหตุ ๔ ปฏิญญาตกรณะ มีมูลเหตุ ๒
คือ (๑) ผู้แสดง (๒) ผู้รับ เยภุยยสิกา มีมูลเหตุ ๔ ตัสสปาปิยสิกา มีมูลเหตุ ๔
ติณวัตถารกะ มีมูลเหตุ ๔ คือ (๑) ความพร้อมหน้าสงฆ์ (๒) ความพร้อมหน้าธรรม
(๓) ความพร้อมหน้าวินัย (๔) ความพร้อมหน้าบุคคล
สมถะ ๗ มีมูลเหตุ ๒๖ นี้
ถาม : สมถะ ๗ มีสมุฏฐาน ๓๖ อะไรบ้าง
ตอบ : การประกอบ การกระทำ การเข้าถึง การขอร้อง กิริยาที่ยอมรับ ไม่
คัดค้าน กรรม คือ สติวินัย
การประกอบ การกระทำ การเข้าถึง การขอร้อง กิริยาที่ยอมรับ ไม่คัดค้าน
กรรม คือ อมูฬหวินัย
การประกอบ การกระทำ การเข้าถึง การขอร้อง กิริยาที่ยอมรับ ไม่คัดค้าน
กรรม คือ ปฏิญญาตกรณะ
การประกอบ การกระทำ การเข้าถึง การขอร้อง กิริยาที่ยอมรับ ไม่คัดค้าน
กรรม คือ เยภุยยสิกา
การประกอบ การกระทำ การเข้าถึง การขอร้อง กิริยาที่ยอมรับ ไม่คัดค้าน
กรรม คือ ตัสสปาปิยสิกา
การประกอบ การกระทำ การเข้าถึง การขอร้อง กิริยาที่ยอมรับ ไม่คัดค้าน
กรรม คือ ติณวัตถารกะ
สมถะ ๗ มีสมุฏฐาน ๓๖ นี้

๑๐. สัตตสมถนานัตถาทิ
ว่าด้วยสมถะ ๗ มีอรรถต่างกัน เป็นต้น
[๓๕๔] ถาม : ธรรมเหล่านี้คือ สัมมุขาวินัยก็ดี สติวินัยก็ดี มีอรรถต่างกัน มี
พยัญชนะต่างกัน หรือมีอรรถอย่างเดียวกัน แต่พยัญชนะต่างกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๓๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อธิกรณเภท] ๑๐. สัตตสมถนานัตถาทิ
ธรรมเหล่านี้คือ สัมมุขาวินัยก็ดี อมูฬหวินัยก็ดี ฯลฯ
ธรรมเหล่านี้คือ สัมมุขาวินัยก็ดี ปฏิญญาตกรณะก็ดี ฯลฯ
ธรรมเหล่านี้คือ สัมมุขาวินัยก็ดี เยภุยยสิกาก็ดี ฯลฯ
ธรรมเหล่านี้คือ สัมมุขาวินัยก็ดี ตัสสปาปิยสิกาก็ดี ฯลฯ
ธรรมเหล่านี้คือ สัมมุขาวินัยก็ดี ติณวัตถารกะก็ดี มีอรรถต่างกัน มีพยัญชนะ
ต่างกัน หรือมีอรรถอย่างเดียวกัน แต่พยัญชนะต่างกัน
ตอบ : ธรรมเหล่านี้คือ สัมมุขาวินัยก็ดี สติวินัยก็ดี มีอรรถต่างกัน มีพยัญชนะ
ต่างกัน หรือมีอรรถอย่างเดียวกัน แต่พยัญชนะต่างกัน
ธรรมเหล่านี้คือ สัมมุขาวินัยก็ดี อมูฬหวินัยก็ดี ฯลฯ
ธรรมเหล่านี้คือ สัมมุขาวินัยก็ดี ปฏิญญาตกรณะก็ดี ฯลฯ
ธรรมเหล่านี้คือ สัมมุขาวินัยก็ดี เยภุยยสิกาก็ดี ฯลฯ
ธรรมเหล่านี้คือ สัมมุขาวินัยก็ดี ตัสสปาปิยสิกาก็ดี ฯลฯ
ธรรมเหล่านี้คือ สัมมุขาวินัยก็ดี ติณวัตถารกะก็ดี ก็มีอรรถต่างกัน มีพยัญชนะ
ต่างกัน

วิวาทาธิกรณ์
[๓๕๕] วิวาทเป็นวิวาทาธิกรณ์ วิวาทไม่เป็นอธิกรณ์ อธิกรณ์ไม่เป็นวิวาท เป็น
อธิกรณ์ด้วย เป็นวิวาทด้วย วิวาทเป็นวิวาทาธิกรณ์ก็มี วิวาทไม่เป็นอธิกรณ์ก็มี อธิกรณ์
ไม่เป็นวิวาทก็มี เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นวิวาทด้วยก็มี
ในข้อนั้น วิวาทอย่างไรเป็นวิวาทาธิกรณ์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้วิวาทกันว่า นี้เป็น
ธรรม นี้ไม่เป็นธรรม ฯลฯ
นี้อาบัติชั่วหยาบ นี้อาบัติไม่ชั่วหยาบ
ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาท การกล่าวต่างกัน
การกล่าวโดยประการอื่น การพูดเพื่อความกลัดกลุ้ม ความหมายมั่นในเรื่องนั้น วิวาท
นี้เป็นวิวาทาธิกรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๓๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อธิกรณเภท] ๑๐. สัตตสมถนานัตถาทิ
ในข้อนั้น วิวาทอย่างไรไม่จัดเป็นอธิกรณ์ มารดาทะเลาะกับบุตรบ้าง บุตร
ทะเลาะกับมารดาบ้าง บิดาทะเลาะกับบุตรบ้าง บุตรทะเลาะกับบิดาบ้าง พี่ชายทะเลาะ
กับน้องชายบ้าง น้องชายทะเลาะกับพี่สาวบ้าง พี่สาวทะเลาะกับน้องสาวบ้าง เพื่อน
ทะเลาะกับเพื่อนบ้าง วิวาทนี้ไม่เป็นอธิกรณ์
ในข้อนั้น อธิกรณ์อย่างไหนไม่เป็นวิวาท อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์
กิจจาธิกรณ์ อธิกรณ์นี้ไม่เป็นวิวาท
ในข้อนั้น อย่างไหนเป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นวิวาทด้วย วิวาทาธิกรณ์
เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นวิวาทด้วย

อนุวาทาธิกรณ์
[๓๕๖] การโจทเป็นอนุวาทาธิกรณ์ การโจทไม่เป็นอธิกรณ์ อธิกรณ์ไม่เป็น
การโจท เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นการโจทด้วย การโจทเป็นอนุวาทาธิกรณ์ก็มี การโจท
ไม่เป็นอธิกรณ์ก็มี อธิกรณ์ไม่เป็นการโจทก็มี เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นการโจทด้วยก็มี
ในข้อนั้น การโจทอย่างไรเป็นอนุวาทาธิกรณ์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมโจทภิกษุ
ด้วยสีลวิบัติหรืออาจารวิบัติ ทิฏฐิวิบัติหรืออาชีววิบัติ การโจท การกล่าวหา
การฟ้องร้อง การประท้วง ความเป็นผู้คล้อยตาม การทำความพยายามโจท
การให้กำลังสนับสนุนในเรื่องนั้น การโจทนี้เป็นอนุวาทาธิกรณ์
ในข้อนั้น การโจทอย่างไรไม่เป็นอธิกรณ์ มารดาฟ้องบุตรบ้าง บุตรฟ้องมารดาบ้าง
บิดาฟ้องบุตรบ้าง บุตรฟ้องบิดาบ้าง พี่ชายฟ้องน้องชายบ้าง น้องชายฟ้องพี่สาวบ้าง
พี่สาวฟ้องน้องชายบ้าง เพื่อนฟ้องเพื่อนบ้าง การโจทนี้ไม่เป็นอธิกรณ์
ในข้อนั้น อธิกรณ์อย่างไหนไม่เป็นการโจท อาปัตตาธิกรณ์ กิจจาธิกรณ์
วิวาทาธิกรณ์ อธิกรณ์นี้ไม่เป็นการโจท
ในข้อนั้น อย่างไหนเป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นการโจทด้วย อนุวาทาธิกรณ์ เป็น
อธิกรณ์ด้วย เป็นการโจทด้วย


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๓๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อธิกรณเภท] ๑๐. สัตตสมถนานัตถาทิ
อาปัตตาธิกรณ์
[๓๕๗] อาบัติเป็นอาปัตตาธิกรณ์ อาบัติไม่เป็นอธิกรณ์ อธิกรณ์ไม่เป็นอาบัติ
เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นอาบัติด้วย อาบัติเป็นอาปัตตาธิกรณ์ก็มี อาบัติไม่เป็นอธิกรณ์ก็มี
อธิกรณ์ไม่เป็นอาบัติก็มี เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นอาบัติด้วยก็มี
ในข้อนั้น อาบัติอย่างไหนเป็นอาปัตตาธิกรณ์ อาบัติทั้ง ๕ กอง เป็นอาปัตตา-
ธิกรณ์ อาบัติทั้ง ๗ กอง เป็นอาปัตตาธิกรณ์ อาบัตินี้เป็นอาปัตตาธิกรณ์
ในข้อนั้น อาบัติอย่างไหนไม่เป็นอธิกรณ์
โสดาบัติ สมาบัติ อาบัตินี้ไม่เป็นอธิกรณ์
ในข้อนั้น อธิกรณ์อย่างไหนไม่เป็นอาบัติ
กิจจาธิกรณ์ วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ อธิกรณ์นี้ไม่เป็น
อาบัติ
ในข้อนั้น อย่างไหนเป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นอาบัติด้วย อาปัตตาธิกรณ์เป็น
อธิกรณ์ด้วย เป็นอาบัติด้วย

กิจจาธิกรณ์
[๓๕๘] กิจเป็นกิจจาธิกรณ์ กิจไม่เป็นอธิกรณ์ อธิกรณ์ไม่เป็นกิจ เป็นอธิกรณ์ด้วย
เป็นกิจด้วย กิจเป็นกิจจาธิกรณ์ก็มี กิจไม่เป็นอธิกรณ์ก็มี อธิกรณ์ไม่เป็นกิจก็มี เป็น
อธิกรณ์ด้วย เป็นกิจด้วยก็มี
ในข้อนั้น กิจอย่างไหนเป็นกิจจาธิกรณ์
ความที่สงฆ์มีกิจ ความที่สงฆ์มีกิจอันจะพึงทำ คือ อปโลกนกรรม ญัตติกรรม
ญัตติทุติยกรรม ญัตติจตุตถกรรม กิจนี้เป็นกิจจาธิกรณ์
ในข้อนั้น กิจอย่างไหนไม่เป็นอธิกรณ์
กิจที่พึงทำแก่พระอาจารย์ กิจที่พึงทำแก่พระอุปัชฌาย์ กิจที่พึงทำแก่ภิกษุ
ปูนอุปัชฌาย์ กิจที่พึงทำแก่ภิกษุปูนอาจารย์ กิจนี้ไม่เป็นอธิกรณ์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๓๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อธิกรณเภท] หัวข้อประจำเรื่อง
ในข้อนั้น อธิกรณ์อย่างไหน ไม่เป็นกิจ
วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ อธิกรณ์นี้ไม่เป็นกิจ
ในข้อนั้น กิจอย่างไหนเป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นกิจด้วย
กิจจาธิกรณ์เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นกิจด้วย
อธิกรณเภท จบ

หัวข้อประจำเรื่อง
การรื้อฟื้น อธิกรณ์ รื้อฟื้นด้วยอาการเท่าไร
บุคคลรื้อฟื้น มีอะไรเป็นนิทาน
เหตุ ปัจจัย มูล สมุฏฐาน เป็นอาบัติ
มีอธิกรณ์ ในที่ใด แยกจากกัน มีนิทาน เหตุ ปัจจัย
มูล สมุฏฐาน มีพยัญชนะ วิวาท อธิกรณ์
ดังที่กล่าวมานี้ จัดลงในประเภทอธิกรณ์ ด้วยประการฉะนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๓๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อปรคาถาสังคณิกะ] ๑. โจทนาทิปุจฉาวิสัชชนา
อปรคาถาสังคณิกะ
ว่าด้วยกลุ่มคาถาอีกกลุ่มหนึ่ง
๑. โจทนาทิปุจฉาวิสัชชนา
ว่าด้วยคำถาม และคำตอบการโจท เป็นต้น
[๓๕๙] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า
“การโจทเพื่อประโยชน์อะไร การสอบสวนเพื่อเหตุอะไร
สงฆ์เพื่อประโยชน์อะไร ส่วนการลงมติเพื่อเหตุอะไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
“การโจทเพื่อประโยชน์ให้ระลึก การสอบสวนเพื่อประโยชน์จะข่ม
สงฆ์เพื่อประโยชน์จะช่วยกันพิจารณา
ส่วนการลงมติเพื่อช่วยกันวินิจฉัยแต่ละเรื่อง
ถ้าเธอเป็นผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ อย่าด่วนพูด
อย่าพูดด้วยความเกรี้ยวกราด
อย่ายั่วความโกรธ อย่าพูดโดยผลุนผลัน
อย่ากล่าวถ้อยคำชวนวิวาทไม่ประกอบด้วยประโยชน์
วัตรคือการซักถามอันอนุโลมแก่สิกขาบท
ที่พระพุทธเจ้าผู้เฉียบแหลมมีพระปัญญาทรงวางไว้
ตรัสไว้ดีแล้วในพระสูตร ในพระวินัย
ในอนุโลม ในพระบัญญัติ และอนุโลมิกะ๑
เธอจงพิจารณาวัตรคือการซักถามนั้น
อย่าให้เสียคติที่เป็นไปในสัมปรายภพ เป็นผู้ไฝ่หาประโยชน์
จงซักถามถ้อยคำที่ประกอบด้วยประโยชน์โดยกาล

เชิงอรรถ :
๑ พระสูตร คืออุภโตวิภังค์ พระวินัย คือขันธกะ อนุโลม คือปริวาร พระบัญญัติ คือพระวินัยปิฎก
อนุโลมิกะ คือมหาปเทส (วิ.อ. ๓/๓๕๙/๔๙๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๓๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อปรคาถาสังคณิกะ] ๑. โจทนาทิปุจฉาวิสัชชนา
สำนวนที่กล่าวโดยผลุนผลันของจำเลยและโจทก์
เธออย่าเชื่อถือ โจทก็ฟ้องว่าต้องอาบัติ
แต่จำเลยปฏิเสธว่าไม่ได้ต้องอาบัติ เธอต้องสอบสวนทั้งสองฝ่าย
พึงปรับตามคำรับสารภาพ และถ้อยคำสำนวน
คำรับสารภาพ เรากล่าวไว้ในหมู่ลัชชี
แต่ข้อนั้น ไม่มีในหมู่อลัชชี อนึ่ง ภิกษุอลัชชีพูดมาก
เธอพึงปรับตามถ้อยคำสำนวนดังกล่าวแล้ว”

อลัชชีบุคคล
พระอุบาลีกราบทูลว่า
“อลัชชี เป็นคนเช่นไร คำรับสารภาพของผู้ใดฟังไม่ขึ้น
ข้าพระพุทธเจ้าทูลถามพระองค์ถึงข้อนั้น
คนเช่นไร พระพุทธองค์ตรัสเรียกว่า อลัชชีบุคคล”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
“ผู้ที่จงใจต้องอาบัติ ปกปิดอาบัติ และถึงความลำเอียง
คนเช่นนี้ เราเรียกว่า อลัชชีบุคคล”

ลัชชีบุคคล
พระอุบาลีกราบทูลว่า
“จริง พระพุทธเจ้าข้า แม้ข้าพระพุทธเจ้าก็ทราบแล้วว่า
คนเช่นนี้เป็นอลัชชีบุคคล
ข้าพระพุทธเจ้าขอทูลถามพระองค์ถึงข้ออื่น
คนเช่นไร พระพุทธองค์ตรัสเรียกว่า ลัชชีบุคคล”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
“ผู้ที่ไม่จงใจต้องอาบัติ ไม่ปกปิดอาบัติ ไม่ถึงความลำเอียง
คนเช่นนี้ เราเรียกว่า ลัชชีบุคคล”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๔๐ }


>>>>> หน้าต่อไป >>>>>





eXTReMe Tracker