ค้นว่าอยู่เล่มใด แล้วกด [ctrl]+f หรือใช้คำสั่งของเครื่องหาตำแหน่งในเล่มอีกทีนะครับ



จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อความสะดวก และสวยงาม
(เฉพาะหน้าจอใหญ่ เช่น คอมพิวเตอร์)
กรุณาคลิก จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อให้กรอบ
ค้นข้อความ ปรากฎที่ด้านซ้ายของหน้า

พระไตรปิฎกภาษาไทย
ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม (ปกสีฟ้า)
ทั้งออนไลน์และออฟไลน์
ที่มาของข้อมูล : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มจร.
MCUTRAI Version 1.0

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๘-๔ วินัยปิฎกที่ ๐๘ ปริวาร

พระวินัยปิฎก
ปริวาร
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อปรคาถาสังคณิกะ] ๑. โจทนาทิปุจฉาวิสัชชนา
บุคคลผู้โจทก์ไม่เป็นธรรม
พระอุบาลีกราบทูลว่า
“จริง พระพุทธเจ้าข้า แม้ข้าพระพุทธเจ้าก็ทราบแล้วว่า
คนเช่นนี้ตรัสเรียกว่า ลัชชีบุคคล
ข้าพระพุทธเจ้าขอทูลถามพระองค์ถึงข้ออื่น
คนเช่นไร ตรัสเรียกว่า ผู้โจทก์ไม่เป็นธรรม”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
“ภิกษุโจทโดยกาลไม่ควร โจทด้วยเรื่องไม่เป็นจริง โจทด้วยคำหยาบ
โจทด้วยคำไม่ประกอบด้วยประโยชน์ มุ่งร้ายโจท ไม่มีเมตตาจิตโจท
คนเช่นนี้ เราเรียกว่า ผู้โจทก์ไม่เป็นธรรม”

บุคคลผู้โจทก์เป็นธรรม
พระอุบาลีกราบทูลว่า
“จริง พระพุทธเจ้าข้า แม้ข้าพระพุทธเจ้าก็ทราบแล้วว่า
คนเช่นนี้ตรัสเรียกว่า ผู้โจทก์ไม่เป็นธรรม
ข้าพระพุทธเจ้าขอทูลถามพระองค์ถึงข้ออื่น
คนเช่นไร ตรัสเรียกว่า ผู้โจทก์เป็นธรรม”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
“ภิกษุโจทโดยกาล โจทด้วยเรื่องจริง โจทด้วยคำสุภาพ
โจทด้วยคำประกอบด้วยประโยชน์ มีเมตตาจิต ไม่มุ่งร้ายโจท
คนเช่นนี้ เราเรียกว่า ผู้โจทก์เป็นธรรม”

คนโจทก์ผู้โง่เขลา
พระอุบาลีกราบทูลว่า
“จริง พระพุทธเจ้าข้า แม้ข้าพระพุทธเจ้าก็ทราบแล้วว่า
คนเช่นนี้ตรัสเรียกว่า ผู้โจทก์เป็นธรรม
ข้าพระพุทธเจ้าขอทูลถามพระองค์ถึงข้ออื่น
คนเช่นไร ตรัสเรียกว่า โจทก์ผู้โง่เขลา”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๔๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อปรคาถาสังคณิกะ] ๑. โจทนาทิปุจฉาวิสัชชนา
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
“บุคคลไม่รู้คำต้นและคำหลัง ไม่ฉลาดในคำต้นและคำหลัง
ไม่รู้ทางแห่งถ้อยคำสำนวน ไม่ฉลาดในถ้อยคำสำนวน
คนเช่นนี้ เราเรียกว่า โจทก์ผู้โง่เขลา”

คนโจทก์ผู้ฉลาด
พระอุบาลีกราบทูลว่า
“จริง พระพุทธเจ้าข้า แม้ข้าพระพุทธเจ้าก็ทราบแล้วว่า
คนเช่นนี้ตรัสเรียกว่า โจทก์ผู้เขลา
ข้าพระพุทธเจ้าขอทูลถามพระองค์ถึงข้ออื่น
คนเช่นไร ตรัสเรียกว่า โจทก์ผู้ฉลาด
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
“บุคคลรู้คำต้นและคำหลัง ฉลาดในคำต้นและคำหลัง
รู้ทางแห่งถ้อยคำสำนวน ฉลาดในถ้อยคำสำนวน
คนเช่นนี้ เราเรียกว่า โจทก์ผู้ฉลาด”

การโจท
พระอุบาลีกราบทูลว่า
“จริง พระพุทธเจ้าข้า แม้ข้าพระพุทธเจ้าก็ทราบแล้วว่า
คนเช่นนี้ตรัสเรียกว่า โจทก์ผู้ฉลาด
ข้าพระพุทธเจ้าขอทูลถามพระองค์ถึงข้ออื่น
กิริยาเช่นไร พระองค์ตรัสเรียกว่า การโจท”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
“กิริยาที่ถูกโจทด้วยสีลวิบัติ ด้วยอาจารวิบัติ ด้วยทิฏฐิวิบัติ
และแม้ด้วยอาชีววิบัติ ฉะนั้น เราจึงเรียกว่า การโจท”
อปรคาถาสังคณิกะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๔๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [โจทนากัณฑ์] ๑. อนุวิชชกอนุโยค
โจทนากัณฑ์
ว่าด้วยหมวดการโจท
๑. อนุวิชชกอนุโยค
ว่าด้วยข้อซักถามของภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์
[๓๖๐] ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ พึงถามโจทก์ว่า อาวุโส ข้อที่ท่านโจทภิกษุ
รูปนี้นั้น โจทเพราะเรื่องอะไร ท่านโจทด้วยสีลวิบัติ โจทด้วยอาจารวิบัติ หรือโจท
ด้วยทิฏฐิวิบัติ ถ้าโจทก์นั้นตอบอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าโจทด้วยสีลวิบัติ โจทด้วย
อาจารวิบัติ หรือโจทด้วยทิฏฐิวิบัติ ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์พึงซักถามโจทก์
อย่างนี้ว่า ท่านรู้สีลวิบัติ รู้อาจารวิบัติ รู้ทิฏฐิวิบัติหรือ
ถ้าโจทก์ตอบอย่างนี้ว่า อาวุโส ข้าพเจ้ารู้สีลวิบัติ รู้อาจารวิบัติ รู้ทิฏฐิวิบัติ
ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์พึงซักถามโจทก์อย่างนี้ว่า อาวุโส ก็ สีลวิบัติเป็นไฉน
อาจารวิบัติเป็นไฉน ทิฏฐิวิบัติเป็นไฉน
ถ้าโจทก์นั้นตอบอย่างนี้ว่า ปาราชิก ๔ สังฆาทิเสส ๑๓ นี้จัดเป็นสีลวิบัติ
ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต นี้จัดเป็นอาจารวิบัติ มิจฉาทิฏฐิ
อันตคาหิกทิฏฐิ นี้จัดเป็นทิฏฐิวิบัติ
ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์พึงซักถามโจทก์อย่างนี้ว่า อาวุโส ข้อที่ท่านโจทภิกษุ
รูปนี้นั้น ท่านโจทด้วยเรื่องที่ได้เห็น ด้วยเรื่องที่ได้ยิน หรือด้วยเรื่องที่นึกสงสัย
ถ้าโจทก์นั้นตอบอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าโจทด้วยเรื่องที่เห็น ด้วยเรื่องที่ได้ยิน หรือ
ด้วยเรื่องที่นึกสงสัย
ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์พึงซักถามโจทก์อย่างนี้ว่า อาวุโส ข้อที่ท่านโจทภิกษุ
รูปนี้ด้วยเรื่องที่ได้เห็นนั้น ท่านเห็นอะไร เห็นอย่างไร เห็นเมื่อไร เห็นที่ไหน ท่าน
เห็นภิกษุรูปนี้ต้องอาบัติปาราชิก หรือท่านเห็นภิกษุรูปนี้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๔๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [โจทนากัณฑ์] ๑. อนุวิชชกอนุโยค
ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิตหรือ อนึ่ง ท่านอยู่ที่ไหน และ
ภิกษุรูปนี้อยู่ที่ไหน ท่านทำอะไรอยู่ ภิกษุรูปนี้ทำอะไรอยู่
ถ้าโจทก์ตอบอย่างนี้ว่า อาวุโส ข้าพเจ้ามิได้โจทภิกษุรูปนี้ด้วยเรื่องที่ได้เห็น
แต่ข้าพเจ้าโจทด้วยเรื่องที่ได้ยิน
ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์พึงซักถามอย่างนี้ว่า อาวุโส ข้อที่ท่านโจทภิกษุรูปนี้
ด้วยเรื่องที่ได้ยินนั้น ท่านได้ยินอะไร ได้ยินอย่างไร ได้ยินเมื่อไร ได้ยินที่ไหน
ท่านได้ยินว่าภิกษุรูปนี้ต้องอาบัติปาราชิก หรือท่านได้ยินว่าภิกษุรูปนี้ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต หรือท่านได้ยินจาก
ภิกษุ หรือได้ยินจากภิกษุณี สิกขมานา สามเณร สามเณรี อุบาสก อุบาสิกา
พระราชา ราชมหาอมาตย์ เดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์ หรือ
ถ้าโจทก์ตอบอย่างนี้ว่า อาวุโส ข้าพเจ้ามิได้โจทภิกษุรูปนี้ด้วยเรื่องที่ได้ยิน
แต่ว่าโจทด้วยเรื่องที่นึกสงสัย
ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์พึงซักถามอย่างนี้ว่า อาวุโส ข้อที่ท่านโจทภิกษุรูปนี้
ด้วยเรื่องที่นึกสงสัยนั้น ท่านนึกสงสัยอะไร นึกสงสัยอย่างไร นึกสงสัยเมื่อไร
นึกสงสัยที่ไหน ท่านนึกสงสัยว่าภิกษุรูปนี้ต้องอาบัติปาราชิก หรือท่านนึกสงสัยว่า
ภิกษุรูปนี้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต
หรือท่านได้ยินจากภิกษุแล้วนึกสงสัย หรือได้ยินจากภิกษุณี สิกขมานา สามเณร
สามเณรี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา ราชมหาอมาตย์ เดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์
แล้วนึกสงสัยหรือ

เปรียบเทียบอธิกรณ์
[๓๖๑] เรื่องที่ได้เห็นสมด้วยเรื่องที่ได้เห็น
เรื่องที่ได้เห็นเทียบกันได้กับเรื่องที่ได้เห็น
แต่บุคคลนั้นไม่ยอมรับ เพราะอาศัยการเห็น
บุคคลนั้นถูกสงสัยว่าไม่บริสุทธิ์ พึงปรับอาบัติตามปฏิญญา
พึงทำอุโบสถกับบุคคลนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๔๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [โจทนากัณฑ์] ๑. อนุวิชชกอนุโยค
เรื่องที่ได้ยินสมด้วยเรื่องที่ได้ยิน
เรื่องที่ได้ยินเทียบกันได้กับเรื่องที่ได้ยิน
แต่บุคคลนั้นไม่ยอมรับ เพราะอาศัยการได้ยิน
บุคคลนั้นถูกสงสัยว่าไม่บริสุทธิ์ พึงปรับอาบัติตามปฏิญญา
พึงทำอุโบสถกับบุคคลนั้น
เรื่องที่ได้ทราบสมด้วยเรื่องที่ได้ทราบ
เรื่องที่ได้ทราบเทียบกันได้กับเรื่องที่ได้ทราบ
แต่บุคคลนั้นไม่ยอมรับ เพราะอาศัยการได้ทราบ
บุคคลนั้นถูกสงสัยว่าไม่บริสุทธิ์ พึงปรับอาบัติตามปฏิญญา
พึงทำอุโบสถกับบุคคลนั้นเถิด

ข้อซักถามของภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์
[๓๖๒] ถาม : การโจทมีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด
ตอบ : การโจทมีโอกาสเป็นเบื้องต้น มีการทำเป็นท่ามกลาง มีการระงับเป็นที่สุด
ถาม : การโจทมีมูลเท่าไร มีวัตถุเท่าไร มีภูมิเท่าไร โจทด้วยอาการเท่าไร
ตอบ : การโจทมีมูล ๒ มีวัตถุ ๓ มีภูมิ ๕ โจทด้วยอาการ ๒ อย่าง
ถาม : การโจทมีมูล ๒ เป็นไฉน
ตอบ : การโจทมีมูล การโจทไม่มีมูล นี้การโจทมีมูล ๒
ถาม : การโจทมีวัตถุ ๓ เป็นไฉน
ตอบ : เรื่องที่ได้เห็น เรื่องที่ได้ยิน เรื่องที่นึกสงสัย นี้การโจทมีวัตถุ ๓
ถาม : การโจทมีภูมิ ๕ เป็นไฉน
ตอบ : ๑. จักโจทโดยกาลที่สมควร จักไม่โจทโดยกาลไม่ควร
๒. จักโจทด้วยเรื่องจริง จักไม่โจทด้วยเรื่องไม่จริง
๓. จักโจทด้วยคำสุภาพ จักไม่โจทด้วยคำหยาบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๔๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [โจทนากัณฑ์] ๒. โจทกาทิปฏิปัตติ
๔. จักโจทด้วยเรื่องที่เป็นประโยชน์ จักไม่โจทด้วยเรื่องที่ไม่เป็นประโยชน์
๕. จักมีเมตตาจิตโจท จักไม่มุ่งร้ายโจท
นี้การโจทมีภูมิ ๕
ถาม : โจทด้วยอาการ ๒ อย่าง เป็นไฉน
ตอบ : โจทด้วยกาย โจทด้วยวาจา นี้โจทด้วยอาการ ๒ อย่าง

๒. โจทกาทิปฏิปัตติ
ว่าด้วยข้อปฏิบัติของโจทก์ เป็นต้น
[๓๖๓] โจทก์พึงปฏิบัติอย่างไร จำเลยพึงปฏิบัติอย่างไร สงฆ์พึงปฏิบัติ
อย่างไร ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์พึงปฏิบัติอย่างไร
ถาม : โจทก์พึงปฏิบัติอย่างไร
ตอบ : โจทก์พึงตั้งอยู่ในธรรม ๕ อย่าง แล้วจึงโจทผู้อื่น คือ
๑. จักโจทโดยกาลที่สมควร จักไม่โจทโดยกาลไม่ควร
๒. จักโจทด้วยเรื่องจริง จักไม่โจทด้วยเรื่องไม่จริง
๓. จักโจทด้วยคำสุภาพ จักไม่โจทด้วยคำหยาบ
๔. จักโจทด้วยเรื่องที่เป็นประโยชน์ จักไม่โจด้วยเรื่องที่ไม่เป็นประโยชน์
๕. จักมีเมตตาจิตโจท จักไม่มุ่งร้ายโจท
โจทก์พึงปฏิบัติอย่างนี้
ถาม : จำเลยพึงปฏิบัติอย่างไร
ตอบ : จำเลยพึงตั้งอยู่ในธรรม ๒ ประการ คือ
๑. ในความสัตย์ ๒. ในความไม่ขุ่นเคือง
จำเลยพึงปฏิบัติอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๔๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [โจทนากัณฑ์] ๒. โจทกาทิปฏิปัตติ
ถาม : สงฆ์พึงปฏิบัติอย่างไร
ตอบ : สงฆ์พึงรู้คำที่เข้าประเด็นและไม่เข้าประเด็น สงฆ์พึงปฏิบัติอย่างนี้
ถาม : ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ควรปฏิบัติอย่างไร
ตอบ : ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์พึงระงับอธิกรณ์นั้น โดยประการที่อธิกรณ์นั้นจะ
ระงับโดยธรรม โดยวินัย โดยสัตถุศาสน์ ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์พึงปฏิบัติอย่างนี้

ว่าด้วยอุโบสถ เป็นต้น
[๓๖๔] ถาม : อุโบสถเพื่อประโยชน์อะไร ปวารณาเพื่อเหตุอะไร
ปริวาสเพื่อประโยชน์อะไร การชักเข้าหาอาบัติเดิมเพื่อเหตุอะไร
มานัตเพื่อประโยชน์อะไร อัพภานเพื่อเหตุอะไร
ตอบ : อุโบสถเพื่อประโยชน์แก่ความพร้อมเพรียง
ปวารณาเพื่อประโยชน์แก่ความหมดจด
ปริวาสเพื่อประโยชน์แก่มานัต
การชักเข้าหาอาบัติเดิมเพื่อประโยชน์แก่นิคคหะ
มานัตเพื่อประโยชน์แก่อัพภาน
อัพภานเพื่อประโยชน์แก่ความหมดจด
ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์มีปัญญาทราม
โง่เขลา และไม่มีความเคารพในสิกขาบริภาษพระเถระ
ลำเอียงเพราะชอบ ลำเอียงเพราะชัง
ลำเอียงเพราะกลัว ลำเอียงเพราะหลง
เป็นผู้ขุดตนกำจัดอินทรีย์แล้ว เพราะกายแตกย่อมเข้านรก
ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ไม่พึงเห็นแก่อามิส
และไม่พึงเห็นแก่บุคคล ควรเว้นสองอย่างนั้นแล้ว
ทำตามที่เป็นธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๔๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [โจทนากัณฑ์] ๓. โจทกัสสอัตตฌาปนะ
๓. โจทกัสสอัตตฌาปนะ
ว่าด้วยการเผาตนของภิกษุผู้เป็นโจทก์
โจทก์เป็นผู้มักโกรธ มักถือโกรธ ดุร้าย มักกล่าวบริภาษ
ย่อมปลูกอนาบัติว่าเป็นอาบัติ โจทก์เช่นนั้นชื่อว่าย่อมเผาตน
โจทก์กระซิบใกล้หูคอยจับผิด ทำให้บกพร่อง
เสพทางผิด ย่อมปลูกอนาบัติว่าเป็นอาบัติ
โจทก์เช่นนั้นชื่อว่าย่อมเผาตน
โจทก์โจทโดยกาลอันไม่ควร โจทด้วยคำไม่จริง
โจทด้วยคำหยาบ โจทด้วยคำไม่ประกอบด้วยประโยชน์
มุ่งร้ายโจทไม่มีเมตตาจิตโจท ปลูกอนาบัติว่าเป็นอาบัติ
โจทก์เช่นนั้นชื่อว่าย่อมเผาตน
โจทก์ไม่รู้ธรรมและอธรรม ไม่ฉลาดในธรรมและอธรรม
ปลูกอนาบัติว่าเป็นอาบัติ โจทก์เช่นนั้นชื่อว่าย่อมเผาตน
โจทก์ไม่รู้วินัยและมิใช่วินัย ไม่ฉลาดในวินัยและมิใช่วินัย
ปลูกอนาบัติว่าอาบัติ โจทก์เช่นนั้นชื่อว่าย่อมเผาตน
โจทก์ไม่รู้สิ่งที่พระตถาคตภาษิตไว้และมิได้ภาษิตไว้
ไม่ฉลาดในสิ่งที่พระตถาคตภาษิตไว้และมิได้ภาษิตไว้
ปลูกอนาบัติว่าเป็นอาบัติ โจทก์เช่นนั้นชื่อว่าย่อมเผาตน
โจทก์ไม่รู้สิ่งที่พระตถาคตทรงประพฤติมาและมิได้ทรงประพฤติมา
ไม่ฉลาดในสิ่งที่พระตถาคตทรงประพฤติมาและมิได้ทรงประพฤติมา
ปลูกอนาบัติว่าเป็นอาบัติ โจทก์เช่นนั้นชื่อว่าย่อมเผาตน
โจทก์ไม่รู้สิ่งที่พระตถาคตทรงบัญญัติไว้และมิได้ทรงบัญญัติไว้
ไม่ฉลาดในสิ่งที่พระตถาคตทรงบัญญัติไว้และมิได้ทรงบัญญัติไว้
ปลูกอนาบัติว่าเป็นอาบัติ โจทก์เช่นนั้นชื่อว่าย่อมเผาตน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๔๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [โจทนากัณฑ์] หัวข้อประจำกัณฑ์
โจทก์ไม่รู้อาบัติและอนาบัติ ไม่ฉลาดในอาบัติและอนาบัติ
ปลูกอนาบัติว่าเป็นอาบัติ โจทก์เช่นนั้นชื่อว่าย่อมเผาตน
โจทก์ไม่รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก
ไม่ฉลาดในอาบัติเบาและอาบัติหนัก
ปลูกอนาบัติว่าเป็นอาบัติ โจทก์เช่นนั้นชื่อว่าย่อมเผาตน
โจทก์ไม่รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนหลือ
ไม่ฉลาดในอาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนหลือ
ปลูกอนาบัติว่าเป็นอาบัติ โจทก์เช่นนั้นชื่อว่าย่อมเผาตน
โจทก์ไม่รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ
ไม่ฉลาดในอาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ
ปลูกอนาบัติว่าเป็นอาบัติ โจทก์เช่นนั้นชื่อว่าย่อมเผาตน
โจทก์ไม่รู้คำต้นและคำหลัง ไม่ฉลาดในคำต้นและคำหลัง
ปลูกอนาบัติว่าเป็นอาบัติ โจทก์เช่นนั้นชื่อว่าย่อมเผาตน
โจทก์ไม่รู้ทางถ้อยคำอันต่อเนื่องกัน
ไม่ฉลาดต่อทางถ้อยคำอันต่อเนื่องกัน
ปลูกอนาบัติว่าเป็นอาบัติ โจทก์เช่นนั้นชื่อว่าย่อมเผาตน แล
โจทนากัณฑ์ จบ

หัวข้อประจำกัณฑ์
การโจท ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ เป็นเบื้องต้น มีมูล
อุโบสถ คติ เป็นคำสั่งสอนที่คงอยู่ในโจทนากัณฑ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๔๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [จูฬสงคราม] ๑. อนุวิชชกัสสปฏิปัตติ
จูฬสงคราม
ว่าด้วยภิกษุผู้เข้าสู่จูฬสงคราม
๑. อนุวิชชกัสสปฏิปัตติ
ว่าด้วยข้อปฏิบัติของภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์
[๓๖๕] อันภิกษุผู้เข้าสงครามเมื่อเข้าหาสงฆ์พึงเป็นผู้มีจิตยำเกรง มีจิตเสมอด้วย
ผ้าเช็ดธุลี เข้าหาสงฆ์ พึงเป็นผู้รู้จักที่นั่ง รู้จักการนั่งไม่เบียดภิกษุผู้เถระ ไม่เบียด
อาสนะภิกษุผู้อ่อนกว่า พึงนั่งอาสนะตามสมควร ไม่พึงพูดเรื่องต่าง ๆ ไม่พึงพูดเรื่อง
ดิรัจฉานกถา พึงกล่าวธรรมเอง หรือเชื้อเชิญภิกษุรูปอื่น ไม่พึงดูหมิ่นอริยดุษณีภาพ
อันภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ที่สงฆ์อนุมัติแล้ว มีประสงค์จะวินิจฉัยอธิกรณ์ ไม่พึง
ถามถึงอุปัชฌาย์ ไม่พึงถามถึงอาจารย์ ไม่พึงถามถึงสัทธิวิหาริก ไม่พึงถามถึงอันเตวาสิก
ไม่พึงถามถึงภิกษุปูนอุปัชฌาย์ ไม่พึงถามถึงภิกษุปูนอาจารย์ ไม่พึงถามถึงชาติ
ไม่พึงถามถึงชื่อ ไม่พึงถามถึงโคตร ไม่พึงถามถึงอาคม ไม่พึงถามถึงชั้นแห่งตระกูล
ไม่พึงถามถึงชาติภูมิ เพราะเหตุไร เพราะความรักหรือความชังจะพึงมีในบุคคลนั้น
เมื่อมีความรักหรือความชัง พึงลำเอียงเพราะความชอบบ้าง พึงลำเอียงเพราะความ
ชังบ้าง พึงลำเอียงเพราะความหลงบ้าง พึงลำเอียงเพราะความกลัวบ้าง
อันภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ที่สงฆ์อนุมัติแล้ว มีประสงค์จะวินิจฉัยอธิกรณ์ พึงเป็น
ผู้หนักในสงฆ์ ไม่พึงเป็นผู้หนักในบุคคล พึงเป็นผู้หนักในพระสัทธรรม ไม่พึงเป็นผู้
หนักในอามิส พึงเป็นผู้ไปตามอำนาจแห่งคดี ไม่พึงเป็นผู้เห็นแก่บริษัท พึงวินิจฉัย
โดยกาลอันควร ไม่พึงวินิจฉัยโดยกาลไม่ควร พึงวินิจฉัยด้วยคำจริง ไม่พึงวินิจฉัยด้วย
คำไม่จริง พึงวินิจฉัยด้วยคำสุภาพ ไม่พึงวินิจฉัยด้วยคำหยาบ พึงวินิจฉัยด้วยคำ
ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่พึงวินิจฉัยด้วยคำไม่ประกอบด้วยประโยชน์ พึงเป็นผู้มี
เมตตาจิตวินิจฉัย ไม่พึงเป็นผู้มุ่งร้ายวินิจฉัย ไม่พึงเป็นผู้กระซิบที่หู ไม่พึงคอยจับผิด
ไม่พึงขยิบตา ไม่พึงเลิกคิ้ว ไม่พึงชะเง้อศีรษะ ไม่พึงทำวิการแห่งมือ ไม่พึงใช้มือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๕๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [จูฬสงคราม] ๑. อนุวิชชกัสสปฏิปัตติ
แสดงท่าทาง พึงเป็นผู้รู้จักที่นั่ง พึงเป็นผู้รู้จักการนั่ง พึงนั่งบนอาสนะของตน
ทอดตาชั่วแอก เพ่งเนื้อความและไม่ลุกจากอาสนะไปข้างไหน ไม่พึงยังการวินิจฉัย
ให้บกพร่อง ไม่พึงเสพทางผิด ไม่พึงพูดสัดส่าย พึงเป็นผู้ไม่รีบด่วน ไม่ผลุนผลัน
ไม่ดุดัน เป็นผู้อดทนได้ต่อถ้อยคำ พึงเป็นผู้มีเมตตาจิต คิดเอ็นดูเพื่อประโยชน์ พึงเป็น
ผู้มีกรุณาขวนขวาย เพื่อประโยชน์ พึงเป็นผู้ไม่พูดพล่อย เป็นผู้พูดมีที่สุด พึงเป็นผู้
ไม่ผูกเวร ไม่ขัดเคือง พึงรู้จักตน พึงรู้จักผู้อื่น พึงสังเกตโจทก์ พึงสังเกตจำเลย
พึงกำหนดรู้ผู้โจทก์ไม่เป็นธรรม พึงกำหนดรู้ผู้ถูกโจทไม่เป็นธรรม พึงกำหนดรู้ผู้โจทก์
เป็นธรรม พึงกำหนดรู้ผู้ถูกโจทเป็นธรรม พึงกำหนดข้อความพึงเปิดเผยผู้ไม่สะอาด ที่
๒ ฝ่ายกล่าวมิให้ตกหล่น ไม่แซมข้อความอันเขาไม่ได้กล่าว พึงจำบทพยัญชนะอัน
เข้าประเด็นไว้เป็นอย่างดีสอบสวนจำเลย แล้วพึงปรับตามคำรับสารภาพ โจทก์หรือ
จำเลยประหม่าพึงพูดเอาใจ เป็นผู้ฉลาด พึงพูดปลอบ พึงเป็นผู้ดุห้ามเสีย พึงเป็นผู้
ตรงกับผู้ประพฤติอ่อนโยน ไม่พึงลำเอียงเพราะชอบ ไม่พึงลำเอียงเพราะชัง ไม่พึง
ลำเอียงเพราะหลง ไม่พึงลำเอียงเพราะกลัว พึงวางตนเป็นกลาง ทั้งในธรรม ทั้งใน
บุคคล
ก็แล ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ เมื่อวินิจฉัยอธิกรณ์ด้วยอาการอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้
ทำตามคำสอนของพระศาสดา เป็นที่รักที่ชอบใจที่เคารพ ที่สรรเสริญแห่งสพรหมจารี
ทั้งหลายผู้เป็นวิญญู

ว่าด้วยประโยชน์แห่งสูตร เป็นต้น
[๓๖๖] สูตรเพื่อประโยชน์แก่การเทียบเคียง ข้ออุปมาเพื่อประโยชน์แก่การชี้แจง
เนื้อความเพื่อประโยชน์ที่จะให้เขาเข้าใจ การย้อนถามเพื่อประโยชน์แก่ความดำรงอยู่
การขอโอกาสเพื่อประโยชน์แก่การโจท การโจทเพื่อประโยชน์แก่การให้จำเลยระลึก
การให้ระลึกเพื่อประโยชน์แก่ความเป็นผู้มีถ้อยคำอันจะพึงกล่าว ความเป็นผู้มี
ถ้อยคำอันจะพึงกล่าวเพื่อประโยชน์แก่ปลิโพธ ปลิโพธเพื่อประโยชน์แก่การวินิจฉัย
การวินิจฉัยเพื่อประโยชน์แก่การพิจารณา การพิจารณาเพื่อประโยชน์แก่การรู้ฐานะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๕๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [จูฬสงคราม] ๑. อนุวิชชกัสสปฏิปัตติ
และมิใช่ฐานะ การรู้ฐานะและมิใช่ฐานะเพื่อประโยชน์แก่การข่มบุคคลผู้เก้อยาก
เพื่อประโยชน์แก่การยกย่องเหล่าภิกษุมีศีลดีงาม สงฆ์เพื่อประโยชน์แก่การสอดส่อง
และรับรอง บุคคลที่สงฆ์อนุมัติแล้ว ตั้งอยู่ในตำแหน่งเฉพาะ ตั้งอยู่ในตำแหน่งผู้ไม่
กล่าวให้คลาดเคลื่อน

ประโยชน์แห่งวินัย เป็นต้น
วินัยเพื่อประโยชน์แก่ความสำรวม ความสำรวมเพื่อประโยชน์แก่ความไม่
เดือดร้อน ความไม่เดือดร้อนเพื่อประโยชน์แก่ความปราโมทย์ ความปราโมทย์เพื่อ
ประโยชน์แก่ความปีติ ความปีติ เพื่อประโยชน์แก่ปัสสัทธิ ปัสสัทธิเพื่อประโยชน์แก่
ความสุข ความสุขเพื่อประโยชน์แก่สมาธิ สมาธิเพื่อประโยชน์แก่ความรู้เห็นตาม
เป็นจริง ความรู้เห็นตามเป็นจริงเพื่อประโยชน์แก่ความเบื่อหน่าย ความเบื่อหน่าย
เพื่อประโยชน์แก่ความคลายกำหนัด ความคลายกำหนัด เพื่อประโยชน์แก่วิมุตติ
วิมุตติเพื่อประโยชน์แก่วิมุตติญาณทัสสนะ วิมุตติญาณทัสสนะเพื่อประโยชน์แก่
อนุปาทาปรินิพพาน การกล่าวมีอนุปาทานิพพานนั้นเป็นประโยชน์ การปรึกษามี
อนุปาทานิพพานนั้นเป็นประโยชน์ ความเป็นปัจจัยกันมีอนุปาทานิพพานนั้น
เป็นประโยชน์ ความเงี่ยโสตสดับมีอนุปาทานิพพานนั้นเป็นประโยชน์ คือ ความพ้น
วิเศษแห่งจิตเพราะไม่ยึดมั่น

อนุโยควัตร(วัตรในการซักถาม)
[๓๖๗] เธอจงพิจารณาวัตร ในการซักถาม อนุโลมแก่สิกขาบท
อันพระพุทธเจ้า ผู้ฉลาด มีพระปัญญาทรงวางไว้
ตรัสไว้ดีแล้ว อย่าให้เสียคติที่เป็นไปในสัมปรายภพ
ภิกษุใดไม่รู้วัตถุ วิบัติ อาบัติ นิทาน คำต้น คำหลัง
สิ่งที่ทำแล้วและยังไม่ได้ทำ โดยเสมอ และเป็นผู้ไม่เข้าใจอาการ
ภิกษุผู้เช่นนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสว่าไม่ควรเลือก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๕๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [จูฬสงคราม] หัวข้อประจำเรื่อง
อนึ่ง ภิกษุใดไม่รู้กรรม อธิกรณ์ และไม่เข้าใจสมถะ
เป็นผู้กำหนัดขัดเคือง และหลง ย่อมลำเอียงเพราะกลัว
เพราะหลง ไม่ฉลาดในสัญญัติ ไม่ฉลาดในการพินิจ
เป็นผู้ได้พรรคพวก ไม่มีความละอาย มีกรรมดำ ไม่เอื้อเฟื้อ
ภิกษุผู้เช่นนั้น ๆ แล พระผู้มีพระภาคตรัสว่าไม่ควรเลือก
ภิกษุใดรู้วัตถุ วิบัติ อาบัติ นิทาน คำต้น คำหลัง
สิ่งที่ทำแล้วและยังไม่ได้ทำโดยเสมอ และเป็นผู้เข้าใจอาการ
ภิกษุผู้เช่นนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสว่าควรเลือก
อนึ่ง ภิกษุใดรู้กรรม อธิกรณ์ และเข้าใจสมถะ เป็นผู้ไม่กำหนัด
ไม่ขัดเคืองและไม่หลง ไม่ลำเอียงเพราะกลัว เพราะหลง
ฉลาดในสัญญัติ ฉลาดในการพินิจ เป็นผู้ได้พรรคพวก
มีความละอาย มีกรรมขาว มีความเคารพ
ภิกษุผู้เช่นนั้น ๆ แล พระผู้มีพระภาคตรัสว่าควรเลือก
จูฬสงคราม จบ

หัวข้อประจำเรื่อง
ภิกษุผู้เข้าสงครามพึงมีจิตยำเกรงถาม หนักในสงฆ์
ไม่หนักในบุคคล สูตรเพื่อประโยชน์แก่การเทียบเคียง
วินัยเพื่ออนุเคราะห์ หัวข้อตามที่กล่าวนี้มีอุทเทสอย่างเดียวกัน
ท่านจัดไว้ในจูฬสงครามแล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๕๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [มหาสงคราม] ๑. โวหรันเตนชานิตัพพาทิ
มหาสงคราม
ว่าด้วยภิกษุผู้เข้าสู่มหาสงคราม
๑. โวหรันเตนชานิตัพพาทิ
ว่าด้วยข้อปฏิบัติที่ภิกษุผู้กล่าวพึงรู้ เป็นต้น
[๓๖๘] อันภิกษุผู้เข้าสงคราม เมื่อกล่าวในสงฆ์พึงรู้วัตถุ พึงรู้วิบัติ พึงรู้อาบัติ
พึงรู้นิทาน พึงรู้อาการ พึงรู้คำต้นและคำหลัง พึงรู้สิ่งที่ทำแล้วและยังไม่ได้ทำ พึงรู้กรรม
พึงรู้อธิกรณ์ พึงรู้สมถะ ไม่พึงลำเอียงเพราะชอบ ไม่พึงลำเอียงเพราะชัง ไม่พึง
ลำเอียงเพราะหลง ไม่พึงลำเอียงเพราะกลัว พึงชี้แจงในฐานะที่ควรชี้แจง พึงพิจารณา
ในฐานะที่ควรพิจารณา พึงเพ่งเล็งในฐานะที่ควรเพ่งเล็ง พึงเลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใส
ไม่พึงดูหมิ่นฝ่ายอื่นด้วยเข้าใจว่าเราได้พวกแล้ว ไม่พึงดูหมิ่นผู้มีสุตะน้อยด้วยเข้าใจว่า
เรามีสุตะมาก ไม่พึงดูหมิ่นภิกษุผู้อ่อนกว่าด้วยเข้าใจว่าเราเป็นผู้แก่กว่า ไม่พึงพูดเรื่อง
ที่ยังมาไม่ถึง ไม่พึงให้เรื่องที่มาถึงแล้วเสื่อมไปจากพระธรรมวินัย อธิกรณ์นั้นจะระงับ
ด้วยธรรมใด ด้วยวินัยใด ด้วยสัตถุศาสน์ใด พึงให้อธิกรณ์นั้นระงับด้วยวิธีนั้น

ว่าด้วยการรู้วัตถุ
[๓๖๙] คำว่า พึงรู้วัตถุ นั้น คือ พึงรู้วัตถุแห่งปาราชิก ๘ สิกขาบท พึงรู้วัตถุ
แห่งสังฆาทิเสส ๒๓ สิกขาบท พึงรู้วัตถุแห่งอนิยต ๒ สิกขาบท พึงรู้วัตถุแห่งนิสสัคคีย์
๔๒ สิกขาบท พึงรู้วัตถุแห่งปาจิตตีย์ ๑๘๘ สิกขาบท พึงรู้วัตถุแห่งปาฏิเทสนียะ
๑๒ สิกขาบท พึงรู้วัตถุแห่งทุกกฏ พึงรู้วัตถุแห่งทุพภาสิต

ว่าด้วยการรู้วิบัติ
[๓๗๐] คำว่า พึงรู้วิบัติ นั้น คือ พึงรู้สีลวิบัติ พึงรู้อาจารวิบัติ พึงรู้ทิฏฐิวิบัติ
พึงรู้อาชีววิบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๕๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [มหาสงคราม] ๑. โวหรันเตนชานิตัพพาทิ
ว่าด้วยการรู้อาบัติ
[๓๗๑] คำว่า พึงรู้อาบัติ นั้น คือ พึงรู้อาบัติปาราชิก พึงรู้อาบัติสังฆาทิเสส
พึงรู้อาบัติถุลลัจจัย พึงรู้อาบัติปาจิตตีย์ พึงรู้อาบัติปาฏิเทสนียะ พึงรู้อาบัติทุกกฏ
พึงรู้อาบัติทุพภาสิต

ว่าด้วยการรู้นิทาน
[๓๗๒] คำว่า พึงรู้นิทาน นั้น คือ พึงรู้นิทานแห่งปาราชิก ๘ สิกขาบท
พึงรู้นิทานแห่งสังฆาทิเสส ๒๓ สิกขาบท พึงรู้นิทานแห่งอนิยต ๒ สิกขาบท พึงรู้
นิทานแห่งนิสสัคคีย์ ๔๒ สิกขาบท พึงรู้นิทานแห่งปาจิตตีย์ ๑๘๘ สิกขาบท พึงรู้
นิทานแห่งปาฏิเทสนียะ ๑๒ สิกขาบท พึงรู้นิทานแห่งทุกกฏ พึงรู้นิทานแห่ง
ทุพภาสิต

ว่าด้วยการรู้อาการ
[๓๗๓] คำว่า พึงรู้อาการ นั้น คือ พึงรู้สงฆ์โดยอาการ พึงรู้คณะโดยอาการ
พึงรู้บุคคลโดยอาการ พึงรู้โจทก์โดยอาการ พึงรู้จำเลยโดยอาการ
ข้อว่า พึงรู้สงฆ์โดยอาการ นั้น คือ พึงรู้สงฆ์โดยอาการอย่างนี้ว่า สงฆ์หมู่นี้
จะสามารถระงับอธิกรณ์นี้ได้โดยธรรม โดยวินัย โดยสัตถุศาสน์ หรือไม่หนอ
ข้อว่า พึงรู้คณะโดยอาการ นั้น คือ พึงรู้คณะโดยอาการอย่างนี้ว่า คณะนี้จะ
สามารถระงับอธิกรณ์นี้ได้โดยธรรม โดยวินัย โดยสัตถุศาสน์ หรือไม่หนอ
ข้อว่า พึงรู้บุคคลโดยอาการ นั้น คือ พึงรู้บุคคลโดยอาการอย่างนี้ว่า
บุคคลนี้จะสามารถระงับอธิกรณ์นี้ได้โดยธรรม โดยวินัย โดยสัตถุศาสน์ หรือไม่หนอ
ข้อว่า พึงรู้โจทก์โดยอาการ นั้น คือ พึงรู้โจทก์โดยอาการอย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้
จะตั้งอยู่ในธรรม ๕ ประการ แล้วโจทผู้อื่น หรือไม่หนอ
ข้อว่า พึงรู้จำเลยโดยอาการ นั้น คือ พึงรู้จำเลยโดยอาการอย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้จะ
ตั้งอยู่ในธรรม ๒ ข้อ คือ ให้การตามจริงและไม่โกรธ หรือไม่หนอ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๕๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [มหาสงคราม] ๑. โวหรันเตนชานิตัพพาทิ
ว่าด้วยการรู้คำต้นและคำหลัง
[๓๗๔] คำว่า พึงรู้คำต้นและคำหลัง นั้น คือ พึงรู้คำต้นและคำหลังอย่างนี้ว่า
ท่านผู้นี้ย้ายวัตถุจากวัตถุ ย้ายวิบัติจากวิบัติ ย้ายอาบัติจากอาบัติ ปฏิเสธแล้วกลับ
ปฏิญาณ ปฏิญาณแล้วกลับปฏิเสธ หรือสับเรื่องอื่นด้วยเรื่องอื่น หรือไม่หนอ

ว่าด้วยการรู้สิ่งที่ทำแล้วและยังไม่ได้ทำ
[๓๗๕] คำว่า พึงรู้สิ่งที่ทำแล้วและยังไม่ได้ทำ นั้น คือ พึงรู้เมถุนธรรม พึง
รู้ข้ออนุโลมแก่เมถุนธรรม พึงรู้บุพพภาคแห่งเมถุนธรรม
ข้อว่า พึงรู้เมถุนธรรม นั้น คือ พึงรู้กิจที่กระทำกันสองต่อสอง
ข้อว่า พึงรู้ข้ออนุโลมแก่เมถุนธรรม นั้น คือ (พึงรู้เรื่อง)ภิกษุอมองคชาตของ
ภิกษุอื่นด้วยปากของตน
ข้อว่า พึงรู้บุพพภาคแห่งเมถุนธรรม นั้น คือ พึงรู้สีมิใช่สี๑ การถูกต้องกาย
วาจาชั่วหยาบ การบำเรอความใคร่ของตน การใช้คำชักชวน๒

ว่าด้วยการรู้กรรม
[๓๗๖] คำว่า พึงรู้กรรม นั้น คือ พึงรู้กรรม ๑๖ อย่าง คือ อปโลกนกรรม
๔ ญัตติกรรม ๔ ญัตติทุติยกรรม ๔ ญัตติจตุตถกรรม ๔

ว่าด้วยการรู้อธิกรณ์
[๓๗๗] คำว่า พึงรู้อธิกรณ์ นั้น คือ พึงรู้อธิกรณ์ ๔ คือ (๑) วิวาทาธิกรณ์
(๒) อนุวาทาธิกรณ์ (๓) อาปัตตาธิกรณ์ (๔) กิจจาธิกรณ์

เชิงอรรถ :
๑ พึงรู้สี คือพึงรู้สีของอสุจิ มิใช่สี คือพึงรู้ว่าไม่เกี่ยวกับสีอสุจิ แต่ภิกษุพยายามเพื่อความหายโรค น้ำอสุจิ
เคลื่อน (วิ.อ. ๓/๓๗๕/๕๐๗, สารตฺถ.ฏีกา. ๓/๓๗๕/๕๘๐. ดู วิ.มหา. (แปล) ๑/๒๔๐/๒๕๕-๒๕๖ ประกอบ)
๒ การใช้คำชักชวน หมายถึงการทำหน้าที่ชักสื่อ (วิ.อ. ๓/๓๗๕/๕๐๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๕๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [มหาสงคราม] ๒. อคติอคันตัพพะ
ว่าด้วยการรู้สมถะ
[๓๗๘] คำว่า พึงรู้สมถะ นั้น คือ พึงรู้สมถะ ๗ คือ (๑) สัมมุขาวินัย
(๒) เยภุยยสิกา (๓) สติวินัย (๔) อมูฬหวินัย (๕) ปฏิญญาตกรณะ
(๖) ตัสสปาปิยสิกา (๗) ติณวัตถารกะ

๒. อคติอคันตัพพะ
ว่าด้วยภิกษุไม่พึงลำเอียง
ไม่ลำเอียงเพราะชอบ
[๓๗๙] คำว่า ไม่พึงลำเอียงเพราะชอบ นั้น คือ ภิกษุผู้ลำเอียงเพราะชอบ
อย่างไรจึงชื่อว่าลำเอียงเพราะชอบ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ คิดว่า ท่านผู้นี้เป็น
อุปัชฌาย์ เป็นอาจารย์ เป็นสัทธิวิหาริก เป็นอันเตวาสิก เป็นผู้ร่วมอุปัชฌาย์
เป็นผู้ร่วมอาจารย์ เป็นผู้เคยเห็นกันมา เป็นผู้เคยร่วมคบกันมา หรือเป็นญาติ
สาโลหิตของเรา ดังนี้แล้ว เพื่ออนุเคราะห์ผู้นั้น เพื่อตามอารักขาท่านผู้นั้น จึง
๑. แสดงอธรรมว่า เป็นธรรม
๒. แสดงธรรมว่า เป็นอธรรม
๓. แสดงสิ่งที่มิใช่วินัยว่า เป็นวินัย
๔. แสดงวินัยว่า เป็นสิ่งที่มิใช่วินัย
๕. แสดงสิ่งที่พระตถาคตมิได้ภาษิตไว้ มิได้ตรัสไว้ว่า พระตถาคตได้
ภาษิตไว้ ได้ตรัสไว้
๖. แสดงสิ่งที่พระตถาคตได้ภาษิตไว้ ได้ตรัสไว้ว่า พระตถาคตมิได้ภาษิตไว้
มิได้ตรัสไว้
๗. แสดงจริยาวัตรที่พระตถาคตไม่ได้ทรงประพฤติมาว่า พระตถาคตได้
ทรงประพฤติมา
๘. แสดงจริยาวัตรที่พระตถาคตได้ทรงประพฤติมาว่า พระตถาคตไม่ได้
ทรงประพฤติมา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๕๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [มหาสงคราม] ๒. อคติอคันตัพพะ
๙. แสดงสิ่งที่พระตถาคตไม่ได้ทรงบัญญัติไว้ว่า พระตถาคตได้ทรงบัญญัติ
๑๐. แสดงสิ่งที่พระตถาคตได้ทรงบัญญัติไว้ว่า พระตถาคตไม่ได้ทรง
บัญญัติไว้
๑๑. แสดงอนาบัติว่า เป็นอาบัติ
๑๒. แสดงอาบัติว่า เป็นอนาบัติ
๑๓. แสดงอาบัติเบาว่า เป็นอาบัติหนัก
๑๔. แสดงอาบัติหนักว่า เป็นอาบัติเบา
๑๕. แสดงอาบัติที่มีส่วนเหลือว่า เป็นอาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือ
๑๖. แสดงอาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือว่า เป็นอาบัติที่มีส่วนเหลือ
๑๗. แสดงอาบัติชั่วหยาบว่า เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ
๑๘. แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า เป็นอาบัติชั่วหยาบ
ภิกษุผู้ลำเอียงเพราะชอบด้วยวัตถุ ๑๘ อย่างนี้ ย่อมปฏิบัติเพื่อไม่เกื้อกูลแก่
ชนหมู่มาก เพื่อความไม่เป็นสุขแก่ชนหมู่มาก เพื่อความพินาศแก่ชนหมู่มาก เพื่อ
ความไม่เกื้อกูล เพื่อความทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ภิกษุผู้ลำเอียงเพราะ
ชอบด้วยวัตถุ ๑๘ อย่างนี้ ย่อมบริหารตนให้เป็นผู้ถูกขุด ถูกกำจัด เป็นผู้ประกอบ
ด้วยโทษ อันวิญญูชนพึงตำหนิ และย่อมประสบสิ่งมิใช่บุญเป็นอันมาก ภิกษุผู้
ลำเอียงเพราะชอบ ย่อมลำเอียงเพราะชอบอย่างนี้

ว่าด้วยไม่ลำเอียงเพราะชัง๑
[๓๘๐] คำว่า ไม่พึงลำเอียงเพราะชัง นั้น คือ ภิกษุผู้ลำเอียงเพราะชัง
อย่างไรจึงชื่อว่าลำเอียงเพราะชัง ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ ผูกอาฆาตว่า
๑. ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา
๒. ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา
๓. ผู้นี้จักทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา

เชิงอรรถ :
๑ ที.ปา. (แปล) ๑๑/๓๔๐/๓๕๒, องฺ.นวก. (แปล) ๒๓/๒๙/๔๙๑, องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๗๙/๑๗๗, อภิ.วิ.
(แปล) ๓๕/๙๖๗/๖๑๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๕๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [มหาสงคราม] ๒. อคติอคันตัพพะ
๔. ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา
๕. ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา
๖. ผู้นี้จักทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา
๗. ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบพอของเรา
๘. ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบพอ
ของเรา
๙. ผู้นี้จักทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบพอของเรา
ภิกษุอาฆาต ปองร้าย ขุ่นเคือง ถูกความโกรธครอบงำด้วยวัตถุอาฆาต ๙ อย่างนี้
ย่อมแสดงอธรรมว่าเป็นธรรม แสดงธรรมว่าเป็นอธรรม ฯลฯ แสดงอาบัติชั่วหยาบ
ว่าต้องอาบัติไม่ชั่วหยาบ แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่าต้องอาบัติชั่วหยาบ
ภิกษุผู้ลำเอียงเพราะชังด้วยวัตถุ ๑๘ อย่างนี้ ย่อมปฏิบัติเพื่อไม่เกื้อกูลแก่ชน
หมู่มาก เพื่อความไม่เป็นสุขแก่ชนหมู่มาก เพื่อความพินาศแก่ชนหมู่มาก เพื่อความ
ไม่เกื้อกูล เพื่อความทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ภิกษุผู้ลำเอียงเพราะชังด้วย
วัตถุ ๑๘ อย่างนี้ ย่อมบริหารตนให้เป็นผู้ถูกขุด ถูกกำจัด เป็นผู้ประกอบด้วยโทษ
อันวิญญูชนพึงตำหนิ และย่อมประสบสิ่งมิใช่บุญเป็นอันมาก ภิกษุผู้ลำเอียงเพราะชัง
ย่อมลำเอียงเพราะชังอย่างนี้

ไม่ลำเอียงเพราะหลง
[๓๘๑] คำว่า ไม่พึงลำเอียงเพราะหลง นั้น คือ ภิกษุผู้ลำเอียงเพราะหลง
อย่างไรจึงชื่อว่าลำเอียงเพราะหลง ภิกษุเป็นผู้กำหนัดย่อมลำเอียงด้วยอำนาจความ
กำหนัด เป็นผู้ขุ่นเคืองย่อมลำเอียงด้วยอำนาจความขุ่นเคือง เป็นผู้หลงย่อมลำเอียง
ด้วยอำนาจความหลง เป็นผู้ถูกทิฏฐิลูบคลำย่อมลำเอียงด้วยอำนาจทิฏฐิ ภิกษุเป็นผู้
หลงงมงาย อันความหลงครอบงำ ย่อมแสดงอธรรมว่าเป็นธรรม แสดงธรรมว่าเป็น
อธรรม ฯลฯ แสดงอาบัติชั่วหยาบ ว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบ
ว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ ภิกษุผู้ลำเอียง เพราะหลงด้วยวัตถุ ๑๘ อย่างนี้ ย่อมปฏิบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๕๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [มหาสงคราม] ๒. อคติอคันตัพพะ
เพื่อไม่เกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก เพื่อความไม่เป็นสุขแก่ชนหมู่มาก เพื่อความพินาศแก่ชน
หมู่มาก เพื่อความไม่เกื้อกูล เพื่อความทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ภิกษุผู้ลำเอียงเพราะหลงด้วยวัตถุ ๑๘ อย่างนี้ ย่อมบริหารตนให้เป็นผู้ถูกขุด
ถูกกำจัด เป็นผู้ประกอบด้วยโทษ อันวิญญูชนพึงตำหนิ และย่อมประสบสิ่งมิใช่บุญ
เป็นอันมาก ภิกษุผู้ลำเอียงเพราะหลง ย่อมลำเอียงเพราะหลงอย่างนี้

ไม่ลำเอียงเพราะกลัว
[๓๘๒] คำว่า ไม่พึงลำเอียงเพราะกลัว นั้น คือ ภิกษุผู้ลำเอียงเพราะกลัว
อย่างไรจึงชื่อว่าลำเอียงเพราะกลัว ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ คิดว่า ผู้นี้อาศัยความ
ประพฤติไม่เรียบร้อย อาศัยความยึดถือ อาศัยพรรคพวกมีกำลัง เป็นผู้ร้ายกาจ
หยาบคาย จักทำอันตรายแก่ชีวิต หรืออันตรายแก่พรหมจรรย์ ดังนี้ จึงกลัวภัยจาก
ผู้นั้น ย่อมแสดงอธรรมว่าเป็นธรรม แสดงธรรมว่าเป็นอธรรม ฯลฯ แสดงอาบัติชั่ว
หยาบว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ
ภิกษุผู้ลำเอียงเพราะกลัวด้วยวัตถุ ๑๘ อย่างนี้ ย่อมปฏิบัติเพื่อไม่เกื้อกูลแก่ชน
หมู่มาก เพื่อความไม่เป็นสุขแก่ชนหมู่มาก เพื่อความพินาศแก่ชนหมู่มาก เพื่อความ
ไม่เกื้อกูล เพื่อความทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ภิกษุผู้ลำเอียงเพราะกลัวด้วย
วัตถุ ๑๘ อย่างนี้ ย่อมบริหารตนให้เป็นผู้ถูกขุด ถูกกำจัด เป็นผู้ประกอบด้วยโทษ
อันวิญญูชนพึงตำหนิและย่อมประสบสิ่งมิใช่บุญเป็นอันมาก ภิกษุผู้ลำเอียงเพราะกลัว
ย่อมลำเอียงเพราะกลัวอย่างนี้

นิคมคาถา
ผู้ใดประพฤติล่วงธรรมเพราะชอบ เพราะชัง
เพราะกลัว เพราะหลง ยศของผู้นั้น ย่อมเสื่อม
เหมือนดวงจันทร์ในวันข้างแรม ฉะนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๖๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [มหาสงคราม] ๓. อคติอคมนะ
๓. อคติอคมนะ
ว่าด้วยการไม่ลำเอียง

ไม่ลำเอียงเพราะชอบ
[๓๘๓] ถาม : อย่างไรชื่อว่า ไม่ลำเอียงเพราะชอบ
ตอบ : ภิกษุเมื่อแสดงอธรรมว่าเป็นอธรรม ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะชอบ
เมื่อแสดงธรรมว่าเป็นธรรม ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะชอบ
เมื่อแสดงสิ่งมิใช่วินัยว่ามิใช่วินัย ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะชอบ
เมื่อแสดงวินัยว่าเป็นวินัย ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะชอบ
เมื่อแสดงสิ่งที่พระตถาคตไม่ได้ภาษิตไว้ไม่ได้ตรัสไว้ว่า พระตถาคตไม่ได้ภาษิตไว้
ไม่ได้ตรัสไว้ ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะชอบ
เมื่อแสดงสิ่งที่พระตถาคตได้ภาษิตไว้ได้ตรัสไว้ว่า พระตถาคตได้ภาษิตไว้ ได้
ตรัสไว้ ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะชอบ
เมื่อแสดงจริยาวัตรที่พระตถาคตไม่ได้ทรงประพฤติว่า พระตถาคตไม่ได้ทรง
ประพฤติมา ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะชอบ
เมื่อแสดงจริยาวัตรที่พระตถาคตได้ทรงประพฤติว่า พระตถาคตได้ทรงประพฤติมา
ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะชอบ
เมื่อแสดงสิ่งที่พระตถาคตไม่ได้ทรงบัญญัติไว้ว่า พระตถาคตไม่ได้ทรงบัญญัติไว้
ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะชอบ
เมื่อแสดงสิ่งที่พระตถาคตได้ทรงบัญญัติไว้ว่า พระตถาคตได้ทรงบัญญัติไว้
ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะชอบ
เมื่อแสดงอนาบัติว่าเป็นอนาบัติ ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะชอบ
เมื่อแสดงอาบัติว่าเป็นอาบัติ ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะชอบ
เมื่อแสดงอาบัติเบาว่าเป็นอาบัติเบา ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะชอบ
แสดงอาบัติหนักว่าเป็นอาบัติหนัก ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะชอบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๖๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [มหาสงคราม] ๓. อคติอคมนะ
เมื่อแสดงอาบัติที่มีส่วนเหลือว่าเป็นอาบัติมีส่วนเหลือ ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะชอบ
เมื่อแสดงอาบัติไม่มีส่วนเหลือว่าเป็นอาบัติไม่มีส่วนเหลือ ชื่อว่าไม่ลำเอียง
เพราะชอบ
เมื่อแสดงอาบัติชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะชอบ
เมื่อแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะชอบ
ภิกษุชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะชอบ ด้วยอาการอย่างนี้

ไม่ลำเอียงเพราะชัง
[๓๘๔] ถาม : อย่างไรชื่อว่า ไม่ลำเอียงเพราะชัง
ตอบ : ภิกษุเมื่อแสดงอธรรมว่าเป็นอธรรม ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะชัง
เมื่อแสดงธรรมว่าเป็นธรรม ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะชัง ฯลฯ
เมื่อแสดงอาบัติชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะชัง
เมื่อแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะชัง
ภิกษุชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะชัง ด้วยอาการอย่างนี้

ไม่ลำเอียงเพราะหลง
[๓๘๕] ถาม : อย่างไรชื่อว่า ไม่ลำเอียงเพราะหลง
ตอบ : ภิกษุเมื่อแสดงอธรรมว่าเป็นอธรรม ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะหลง
เมื่อแสดงธรรมว่าเป็นธรรม ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะหลง ฯลฯ
เมื่อแสดงอาบัติชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะหลง
เมื่อแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะหลง
ภิกษุชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะหลง ด้วยอาการอย่างนี้

ไม่ลำเอียงเพราะกลัว
[๓๘๕] ถาม : อย่างไรชื่อว่า ไม่ลำเอียงเพราะกลัว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๖๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [มหาสงคราม] ๔. สัญญาปนียาทิ
ตอบ : ภิกษุเมื่อแสดงอธรรมว่าเป็นอธรรม ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะกลัว
เมื่อแสดงธรรมว่าเป็นธรรม ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะกลัว ฯลฯ
เมื่อแสดงอาบัติชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะกลัว
เมื่อแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะกลัว
ภิกษุชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะกลัว ด้วยอาการอย่างนี้

นิคมคาถา
ผู้ใดไม่ประพฤติล่วงธรรมเพราะชอบ เพราะชัง
เพราะกลัว เพราะหลง ยศของผู้นั้นย่อมเต็มเปี่ยม
เหมือนดวงจันทร์ในวันข้างขึ้น ฉะนั้น

๔. สัญญาปนียาทิ
ว่าด้วยการชี้แจง เป็นต้น
[๓๘๗] ถาม : อย่างไรชื่อว่า ชี้แจงในฐานะที่ควรชี้แจง
ตอบ : ภิกษุเมื่อแสดงอธรรมว่าเป็นอธรรม ชื่อว่าชี้แจงในฐานะที่ควรชี้แจง
เมื่อแสดงธรรมว่าเป็นธรรม ชื่อว่าชี้แจงในฐานะที่ควรชี้แจง ฯลฯ
เมื่อแสดงอาบัติชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ ชื่อว่าชี้แจงในฐานะที่ควรชี้แจง
เมื่อแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ ชื่อว่าชี้แจงในฐานะที่ควรชี้แจง
ภิกษุชื่อว่าชี้แจงในฐานะที่ควรชี้แจง ด้วยอาการอย่างนี้

ว่าด้วยการพิจารณา
[๓๘๘] ถาม : อย่างไรชื่อว่า พิจารณาในฐานะที่ควรพิจารณา
ตอบ : ภิกษุเมื่อแสดงอธรรมว่าเป็นอธรรม ชื่อว่าพิจารณาในฐานะที่ควรพิจารณา
เมื่อแสดงธรรมว่าเป็นธรรม ชื่อว่าพิจารณาในฐานะที่ควรพิจารณา ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๖๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [มหาสงคราม] ๔. สัญญาปนียาทิ
เมื่อแสดงอาบัติชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ ชื่อว่าพิจารณาในฐานะที่ควรพิจารณา
เมื่อแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ ชื่อว่าพิจารณาในฐานะที่
ควรพิจารณา
ภิกษุชื่อว่าพิจารณาในฐานะที่ควรพิจารณา ด้วยอาการอย่างนี้

ว่าด้วยการเพ่งเล็ง
[๓๘๙] ถาม : อย่างไรชื่อว่า เพ่งเล็งในฐานะที่ควรเพ่งเล็ง
ตอบ : ภิกษุเมื่อแสดงอธรรมว่าเป็นอธรรม ชื่อว่าเพ่งเล็งในฐานะที่ควรเพ่งเล็ง
เมื่อแสดงธรรมว่าเป็นธรรม ชื่อว่าเพ่งเล็งในฐานะที่ควรเพ่งเล็ง ฯลฯ
เมื่อแสดงอาบัติชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ ชื่อว่าเพ่งเล็งในฐานะที่ควรเพ่งเล็ง
เมื่อแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ ชื่อว่าเพ่งเล็งในฐานะที่ควร
เพ่งเล็ง
ภิกษุชื่อว่าเพ่งเล็งในฐานะที่ควรเพ่งเล็ง ด้วยอาการอย่างนี้

ว่าด้วยการเลื่อมใส
[๓๙๐] ถาม : อย่างไรชื่อว่า เลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใส
ตอบ : ภิกษุเมื่อแสดงอธรรมว่าเป็นอธรรม ชื่อว่าเลื่อมใสในฐานะที่ควร
เลื่อมใส
เมื่อแสดงธรรมว่าเป็นธรรม ชื่อว่าเลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใส ฯลฯ
เมื่อแสดงอาบัติชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ ชื่อว่าเลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใส
เมื่อแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ ชื่อว่าเลื่อมใสในฐานะที่ควร
เลื่อมใส
ภิกษุชื่อว่าเลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใส ด้วยอาการอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๖๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [มหาสงคราม] ๕. ปรปักขาทิอวชานนะ
๕. ปรปักขาทิอวชานนะ
ว่าด้วยการดูหมิ่นฝ่ายอื่น เป็นต้น
[๓๙๑] ถาม : อย่างไรชื่อว่า ดูหมิ่นฝ่ายอื่นด้วยเข้าใจว่า เราได้พวกแล้ว
ตอบ : ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ ได้พวก ได้บริวารแล้ว มีพวก มีญาติ
จึงคิดว่า ผู้นี้ไม่ได้พวก ไม่ได้บริวาร ไม่มีพวก ไม่มีญาติ ดังนี้ จึงดูหมิ่นภิกษุนั้น
ย่อมแสดงอธรรมว่าเป็นธรรม แสดงธรรมว่าเป็นอธรรม ฯลฯ แสดงอาบัติชั่วหยาบ
ว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ
ภิกษุชื่อว่าดูหมิ่นฝ่ายอื่นด้วยเข้าใจว่า เราได้พวกแล้ว ด้วยอาการอย่างนี้

ว่าด้วยดูหมิ่นภิกษุมีสุตะน้อย
[๓๙๒] ถาม : อย่างไรชื่อว่า ดูหมิ่นผู้มีสุตะน้อยด้วยเข้าใจว่า เรามีสุตะมาก
ตอบ : ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีสุตะมาก ทรงจำสุตะ สั่งสมสุตะ
ดูหมิ่นภิกษุนั้นว่า ท่านผู้นี้มีสุตะน้อย มีอาคมน้อย ทรงจำไว้ได้น้อย ย่อมแสดง
อธรรมว่าเป็นธรรม แสดงธรรมว่าเป็นอธรรม ฯลฯ แสดงอาบัติชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติ
ไม่ชั่วหยาบ แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ
ภิกษุชื่อว่าดูหมิ่นผู้มีสุตะน้อยด้วยเข้าใจว่า เรามีสุตะมาก ด้วยอาการอย่างนี้

ว่าด้วยดูหมิ่นภิกษุผู้อ่อนพรรษากว่า
[๓๙๓] ถาม : อย่างไรชื่อว่า ดูหมิ่นภิกษุผู้อ่อนกว่าด้วยเข้าใจว่า เราเป็นผู้แก่กว่า
ตอบ : ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ เป็นเถระรู้ราตรี บวชนาน ดูหมิ่นภิกษุ
นั้นว่า ท่านผู้นี้เป็นผู้อ่อนกว่า ไม่มีชื่อเสียง มีสุตะน้อย ไม่รู้สิ่งที่ทำไปแล้ว ถ้อยคำ
ของผู้นี้จักเป็นถ้อยคำที่ทำไม่ได้ ดังนี้ ย่อมแสดงอธรรมว่าเป็นธรรม แสดงธรรมว่า
เป็นอธรรม ฯลฯ แสดงอาบัติชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ แสดงอาบัติไม่ชั่ว
หยาบว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ
ภิกษุชื่อว่าดูหมิ่นภิกษุผู้อ่อนกว่าด้วยเข้าใจว่า เราเป็นผู้แก่กว่า ด้วยอาการอย่างนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๖๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [มหาสงคราม] ๖. อนุวิชชกัสสอนุโยคะ
ว่าด้วยไม่พึงพูดเรื่องที่ยังมาไม่ถึง
[๓๙๔] คำว่า ไม่พึงพูดเรื่องที่ยังมาไม่ถึง นั้น คือ ไม่นำคำพูดที่ไม่เข้า
ประเด็นมา
คำว่า ไม่พึงให้เรื่องที่มาถึงแล้วเสื่อมไปจากพระธรรมวินัย นั้น คือ ไม่พึง
ทำประโยชน์ที่สงฆ์ประชุมกันแล้วให้เสื่อมไปจากพระธรรม จากพระวินัย

ว่าด้วยธรรมวินัยสัตถุศาสน์
[๓๙๕] คำว่า ด้วยธรรมใด คือ ด้วยเรื่องจริง
คำว่า ด้วยวินัยใด คือ โจทแล้วให้จำเลยให้การ
คำว่า ด้วยสัตถุศาสน์ใด คือ ด้วยญัตติสัมปทา ด้วยอนุสาวนสัมปทา
อธิกรณ์นั้น ย่อมระงับด้วยธรรมใด ด้วยวินัยใด ด้วยสัตถุศาสน์ใด พึงให้
อธิกรณ์นั้นระงับด้วยวิธีนั้น

๖. อนุวิชชกัสสอนุโยคะ
ว่าด้วยข้อซักถามของภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์
[๓๙๖] อันภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์พึงถามโจทก์ว่า อาวุโส ข้อที่ท่านงดปวารณา
แก่ภิกษุรูปนี้นั้น ท่านงดเพราะเรื่องอะไร ท่านงดด้วยสีลวิบัติ ท่านงดด้วยอาจารวิบัติ
หรือท่านงดด้วยทิฏฐิวิบัติ
ถ้าโจทก์นั้นตอบอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้างดด้วยสีลวิบัติ งดด้วยอาจารวิบัติ หรืองด
ด้วยทิฏฐิวิบัติ
ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์นั้น พึงซักถามโจทก์อย่างนี้ว่า ท่านรู้สีลวิบัติ รู้อาจารวิบัติ
รู้ทิฏฐิวิบัติหรือ
ถ้าโจทก์นั้นตอบอย่างนี้ว่า อาวุโส ข้าพเจ้ารู้สีลวิบัติ รู้อาจารวิบัติ รู้ทิฏฐิวิบัติ
ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ พึงซักถามโจทก์อย่างนี้ว่า อาวุโส ก็สีลวิบัติเป็นไฉน
อาจารวิบัติเป็นไฉน ทิฏฐิวิบัติเป็นไฉน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๖๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [มหาสงคราม] ๖. อนุวิชชกัสสอนุโยคะ
ถ้าโจทก์นั้นตอบอย่างนี้ว่า ปาราชิก ๔ สังฆาทิเสส ๑๓ นี้จัดเป็นสีลวิบัติ
ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต นี้จัดเป็นอาจารวิบัติ มิจฉาทิฏฐิ
อันตคาหิกทิฏฐิ นี้จัดเป็นทิฏฐิวิบัติ
ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ พึงซักถามโจทก์อย่างนี้ว่า อาวุโส ข้อที่ท่านงดปวารณา
แก่ภิกษุรูปนี้นั้น ท่านงดด้วยเรื่องที่ได้เห็น ด้วยเรื่องที่ได้ยิน หรือด้วยเรื่องที่นึกสงสัย
ถ้าโจทก์นั้นตอบอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้างดด้วยเรื่องที่ได้เห็น ด้วยเรื่องที่ได้ยิน
หรือด้วยเรื่องที่นึกสงสัย
ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ พึงซักถามโจทก์อย่างนี้ว่า อาวุโส ข้อที่ท่านงดปวารณา
แก่ภิกษุรูปนี้ ท่านงดด้วยเรื่องที่ได้เห็นนั้น ท่านเห็นอะไร ท่านเห็นอย่างไร เห็นเมื่อไร
เห็นที่ไหน ท่านเห็นภิกษุรูปนี้ต้องอาบัติปาราชิก ท่านเห็นภิกษุรูปนี้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต หรือ อนึ่ง ท่านอยู่ที่ไหน และ
ภิกษุรูปนี้อยู่ที่ไหน ท่านทำอะไรอยู่ ภิกษุรูปนี้ทำอะไรอยู่
ถ้าโจทก์ตอบอย่างนี้ว่า อาวุโส ข้าพเจ้ามิได้งดปวารณาแก่ภิกษุรูปนี้ด้วยเรื่องที่
ได้เห็น แต่ข้าพเจ้างดปวารณาด้วยเรื่องที่ได้ยิน
ผู้วินิจฉัยอธิกรณ์พึงซักถามโจทก์อย่างนี้ว่า อาวุโส ข้อที่ท่านงดปวารณาแก่
ภิกษุรูปนี้ด้วยเรื่องที่ได้ยินนั้น ท่านได้ยินอะไร ได้ยินอย่างไร ได้ยินเมื่อไร ได้ยินที่ไหน
ท่านได้ยินว่า ภิกษุรูปนี้ต้องอาบัติปาราชิก หรือท่านได้ยินว่า ภิกษุรูปนี้ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต หรือท่านได้ยินจาก
ภิกษุ หรือได้ยินจากภิกษุณี สิกขมานา สามเณร สามเณรี อุบาสก อุบาสิกา
พระราชา ราชมหาอมาตย์ เดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์หรือ
ถ้าโจทก์ตอบอย่างนี้ว่า อาวุโส ข้าพเจ้าไม่ได้งดปวารณาแก่ภิกษุรูปนี้ด้วยเรื่อง
ที่ได้ยิน แต่ข้าพเจ้างดปวารณาด้วยเรื่องที่นึกสงสัยต่างหาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๖๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [มหาสงคราม] ๗. ปุจฉาวิภาค
ผู้วินิจฉัยอธิกรณ์พึงซักถามอย่างนี้ว่า อาวุโส ข้อที่ท่านงดปวารณาแก่ภิกษุ
รูปนี้ด้วยเรื่องที่นึกสงสัยนั้น ท่านนึกสงสัยอะไร นึกสงสัยอย่างไร นึกสงสัยเมื่อไร
นึกสงสัยที่ไหน ท่านนึกสงสัยว่าภิกษุรูปนี้ต้องอาบัติปาราชิก หรือท่านนึกสงสัยว่า
ภิกษุรูปนี้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต
หรือท่านได้ยินจากภิกษุ หรือได้ยินจากภิกษุณี สิกขมานา สามเณร สามเณรี อุบาสก
อุบาสิกา พระราชา ราชมหาอมาตย์ เดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์แล้วนึกสงสัยหรือ

เปรียบเทียบอธิกรณ์
[๓๙๗] เรื่องที่ได้เห็นสมด้วยเรื่องที่ได้เห็น
เรื่องที่ได้เห็นเทียบกับเรื่องที่ได้เห็น
แต่บุคคลนั้นไม่ยอมรับ เพราะอาศัยเรื่องที่ได้เห็น
บุคคลนั้นถูกสงสัยว่าไม่บริสุทธิ์ พึงปรับอาบัติตามปฏิญญา
พึงทำปวารณากับบุคคลนั้น
เรื่องที่ได้ยินสมด้วยเรื่องที่ได้ยิน เรื่องที่ได้ยินเทียบกับเรื่องที่ได้ยิน
แต่บุคคลนั้นไม่ยอมรับ เพราะอาศัยการได้ยิน
บุคคลนั้นถูกสงสัยว่าไม่บริสุทธิ์ พึงปรับอาบัติตามปฏิญญา
พึงทำปวารณากับบุคคลนั้น
เรื่องที่ได้ทราบสมด้วยเรื่องที่ได้ทราบ
เรื่องที่ได้ทราบเทียบกับเรื่องที่ได้ทราบ
แต่บุคคลนั้นไม่ยอมรับ เพราะอาศัยการได้ทราบ
บุคคลนั้นถูกสงสัยว่าไม่บริสุทธิ์
พึงปรับอาบัติตามปฏิญญา พึงทำปวารณากับบุคคลนั้น

๗. ปุจฉาวิภาค
ว่าด้วยการจำแนกคำถาม
[๓๙๘] คำว่า ท่านเห็นอะไร นั้น ถามถึงอะไร
คำว่า ท่านเห็นว่าอย่างไร นั้น ถามถึงอะไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๖๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [มหาสงคราม] ๗. ปุจฉาวิภาค
คำว่า ท่านเห็นเมื่อไร นั้น ถามถึงอะไร
คำว่า ท่านเห็นที่ไหน นั้น ถามถึงอะไร
[๓๙๙] คำว่า ท่านเห็นอะไร นั้น ได้แก่ ถามถึงวัตถุ ถามถึงวิบัติ ถามถึงอาบัติ
ถามถึงอัชฌาจาร
คำว่า ถามถึงวัตถุ นั้น ได้แก่ ถามถึงวัตถุแห่งปาราชิก ๘ ถามถึงวัตถุแห่ง
สังฆาทิเสส ๒๓ ถามถึงวัตถุแห่งอนิยต ๒ ถามถึงวัตถุแห่งนิสสัคคีย์ ๔๒ ถามถึง
วัตถุแห่งปาจิตตีย์ ๑๘๘ ถามถึงวัตถุแห่งปาฏิเทสนียะ ๑๒ ถามถึงวัตถุแห่งทุกกฏ
ถามถึงวัตถุแห่งทุพภาสิต
คำว่า ถามถึงวิบัติ นั้น ได้แก่ ถามถึงสีลวิบัติ ถามถึงอาจารวิบัติ ถามถึง
ทิฏฐิวิบัติ ถามถึงอาชีววิบัติ
คำว่า ถามถึงอาบัติ นั้น ได้แก่ ถามถึงอาบัติปาราชิก ถามถึงอาบัติสังฆาทิเสส
ถามถึงอาบัติถุลลัจจัย ถามถึงอาบัติปาจิตตีย์ ถามถึงอาบัติปาฏิเทสนียะ ถามถึง
อาบัติทุกกฏ ถามถึงอาบัติทุพพภาสิต
คำว่า ถามถึงอัชฌาจาร นั้น ได้แก่ ถามถึงกิจที่ทำกันสองต่อสอง
[๔๐๐] คำว่า ท่านเห็นว่าอย่างไร นั้น ได้แก่ ถามถึงเพศ ถามถึงอิริยาบถ
ถามถึงอาการ ถามถึงประการอันแปลก
คำว่า ถามถึงเพศ นั้น หมายถึง สูงหรือเตี้ย ดำหรือขาว
คำว่า ถามถึงอิริยาบถ นั้น หมายถึง เดินหรือยืน นั่งหรือนอน
คำว่า ถามอาการ นั้น หมายถึง เพศคฤหัสถ์ เพศเดียรถีย์ หรือเพศบรรพชิต
คำว่า ถามประการอันแปลก นั้น หมายถึง เดินหรือยืน นั่งหรือนอน
[๔๐๑] คำว่า ท่านเห็นเมื่อไร นั้น ได้แก่ ถามถึงกาล ถามถึงสมัย ถามถึงวัน
ถามถึงฤดู
คำว่า ถามถึงกาล นั้น หมายถึง เวลาเช้า เวลาเที่ยง หรือเวลาเย็น
คำว่า ถามถึงสมัย นั้น หมายถึง สมัยเช้า สมัยเที่ยง หรือสมัยเย็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๖๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [มหาสงคราม] หัวข้อประจำเรื่อง
คำว่า ถามถึงวัน นั้น หมายถึง ก่อนอาหารหรือหลังอาหาร กลางคืนหรือ
กลางวัน ข้างแรมหรือข้างขึ้น
คำว่า ถามถึงฤดู นั้น หมายถึง ฤดูหนาว ฤดูร้อน หรือฤดูฝน
[๔๐๒] คำว่า ท่านเห็นที่ไหน นั้น ได้แก่ ถามถึงสถานที่ ถามถึงพื้นที่ ถาม
ถึงโอกาส ถามถึงประเทศ
คำว่า ถามถึงสถานที่ นั้น หมายถึง พื้นที่หรือแผ่นดิน ธรณีหรือทางเดิน
คำว่า ถามถึงพื้นที่ นั้น หมายถึง พื้นที่ แผ่นดิน ภูเขา หิน หรือปราสาท
คำว่า ถามถึงโอกาส นั้น หมายถึง โอกาสด้านตะวันออกหรือโอกาสด้านตะวันตก
โอกาสด้านเหนือหรือโอกาสด้านใต้
คำว่า ถามถึงประเทศ นั้น หมายถึง ประเทศด้านตะวันออกหรือประเทศด้าน
ตะวันตก ประเทศด้านเหนือหรือประเทศด้านใต้
มหาสงคราม จบ

หัวข้อประจำเรื่อง
วัตถุ นิทาน อาการ คำต้นและคำหลัง
สิ่งที่ทำแล้วและสิ่งที่ยังไม่ได้ทำ กรรม อธิกรณ์ สมถะ
ลำเอียงเพราะชอบ ลำเอียงเพราะชัง ลำเอียงเพราะหลง
ลำเอียงเพราะกลัว ชี้แจงในฐานะที่ควรชี้แจง
พิจารณาในฐานะที่ควรพิจารณา เพ่งเล็งในฐานะที่ควรเพ่งเล็ง
เลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใส
ได้พรรคพวกแล้วดูหมิ่นฝ่ายอื่น มีสุตะแล้วดูหมิ่นฝ่ายอื่น
แก่กว่าแล้วดูหมิ่นฝ่ายอื่น
ไม่พูดเรื่องที่ยังมาไม่ถึง ไม่พึงให้เรื่องที่มาถึงแล้วเสื่อม
อธิกรณ์ระงับด้วยธรรม ด้วยวินัย ด้วยสัตถุศาสน์
เรื่องมหาสงคราม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๗๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [กฐินเภท] ๑. กฐินอัตถตาทิ
กฐินเภท
ว่าด้วยประเภทแห่งกฐิน
๑. กฐินอัตถตาทิ
ว่าด้วยกรานกฐิน เป็นต้น
[๔๐๓] ใครไม่ได้กรานกฐิน ใครได้กรานกฐิน อย่างไรกฐินไม่เป็นอันกราน
อย่างไรกฐินเป็นอันกราน

ไม่ได้กรานกฐิน
คำว่า ใครไม่ได้กรานกฐิน นั้น คือ บุคคล ๒ พวก ได้แก่ ภิกษุผู้ไม่ได้กราน
ภิกษุผู้ไม่ได้อนุโมทนา ไม่ได้กรานกฐิน บุคคล ๒ พวกนี้ ไม่ได้กรานกฐิน

ได้กรานกฐิน
คำว่า ใครได้กรานกฐิน นั้น คือ บุคคล ๒ พวก ได้แก่ ภิกษุผู้กราน ภิกษุ
ผู้อนุโมทนา ได้กรานกฐิน บุคคล ๒ พวกนี้ ได้กรานกฐิน

เหตุกฐินไม่เป็นอันกราน
คำว่า อย่างไรกฐินไม่เป็นอันกราน นั้น ได้แก่ กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยอาการ
๒๔ อย่าง คือ
๑. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยอาการเพียงมีรอยขีด
๒. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยอาการเพียงซักผ้า
๓. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยอาการเพียงกะผ้า
๔. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยอาการเพียงตัดผ้า
๕. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยอาการเพียงเนาผ้า
๖. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยอาการเพียงเย็บผ้า
๗. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยอาการเพียงทำลูกดุม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๗๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [กฐินเภท] ๑. กฐินอัตถตาทิ
๘. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยอาการเพียงทำรังดุม
๙. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยอาการเพียงติดผ้าอนุวาต
๑๐. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยอาการเพียงติดผ้าอนุวาตด้านหน้า
๑๑. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยอาการเพียงดามผ้า
๑๒. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยอาการเพียงย้อมผ้าเป็นสีหม่น
๑๓. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยผ้าที่ทำนิมิตได้มา
๑๔. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยผ้าที่พูดเลียบเคียงได้มา
๑๕. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยผ้าที่ยืมเขามา
๑๖. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยผ้าที่เก็บไว้ค้างคืน
๑๗. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยผ้าที่เป็นนิสสัคคีย์
๑๘. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยผ้าที่ไม่ได้ทำกัปปพินทุ
๑๙. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยผ้าเว้นจากสังฆาฏิ
๒๐. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยผ้าเว้นจากอุตตราสงค์
๒๑. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยผ้าเว้นจากอันตรวาสก
๒๒. กฐินไม่เป็นอันกรานเว้นจากจีวรมีขันธ์ ๕ หรือเกินกว่า ๕ ซึ่งตัด
ทำให้มีมณฑลเสร็จในวันนั้น
๒๓. กฐินไม่เป็นอันกรานเพราะเว้นจากบุคคลกราน
๒๔. กฐินไม่เป็นอันกรานโดยชอบ ถ้าภิกษุผู้อยู่นอกสีมาอนุโมทนากฐินนั้น
กฐินไม่เป็นอันกราน แม้ด้วยอาการอย่างนี้

อธิบายเหตุที่ไม่เป็นอันกรานบางข้อ
ที่ชื่อว่า ทำนิมิต คือ ภิกษุทำนิมิตว่า เราจักกรานกฐินด้วยผ้าผืนนี้
ที่ชื่อว่า พูดเลียบเคียง คือ ภิกษุพูดเลียบเคียงด้วยคิดว่า เราจักให้ผ้ากฐิน
เกิดด้วยการพูดเลียบเคียงนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๗๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [กฐินเภท] ๑. กฐินอัตถตาทิ
ผ้าที่ไม่ได้ยกให้ เรียกว่า ผ้ายืมเขามา
ที่ชื่อว่า ผ้าเก็บไว้ค้างคืน มี ๒ อย่าง คือ
๑. ผ้าทำค้างคืน ๒. ผ้าเก็บไว้ค้างคืน
ที่ชื่อว่า ผ้าเป็นนิสสัคคีย์ คือ เมื่อภิกษุกำลังทำอยู่ อรุณขึ้นมา
กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยอาการ ๒๔ อย่างนี้

เหตุกฐินเป็นอันกราน
คำว่า อย่างไรกฐินเป็นอันกราน นั้น ได้แก่ กฐินเป็นอันกรานด้วยอาการ
๑๗ อย่าง คือ
๑. กฐินเป็นอันกรานด้วยผ้าใหม่
๒. กฐินเป็นอันกรานด้วยผ้าเทียมใหม่
๓. กฐินเป็นอันกรานด้วยผ้าเก่า
๔. กฐินเป็นอันกรานด้วยผ้าบังสุกุล
๕. กฐินเป็นอันกรานด้วยผ้าตกตามร้าน
๖. กฐินเป็นอันกรานด้วยผ้าที่ไม่ได้ทำนิมิตได้มา
๗. กฐินเป็นอันกรานด้วยผ้าที่ไม่ได้พูดเลียบเคียงได้มา
๘. กฐินเป็นอันกรานด้วยผ้าที่ไม่ได้ยืมเขามา
๙. กฐินเป็นอันกรานด้วยผ้าที่ไม่ได้เก็บไว้ค้างคืน
๑๐. กฐินเป็นอันกรานด้วยผ้าที่ไม่เป็นนิสสัคคีย์
๑๑. กฐินเป็นอันกรานด้วยผ้าที่ทำกัปปพินทุ
๑๒. กฐินเป็นอันกรานด้วยผ้าสังฆาฏิ
๑๓. กฐินเป็นอันกรานด้วยผ้าอุตตราสงค์
๑๔. กฐินเป็นอันกรานด้วยผ้าอันตรวาสก
๑๕. กฐินเป็นอันกรานด้วยจีวรมีขันธ์ ๕ หรือเกินกว่า ๕ ที่ตัดดีแล้ว
ทำให้มีมณฑลเสร็จในวันนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๗๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [กฐินเภท] ๒. กฐินอนันตรปัจจยาทิ
๑๖. กฐินเป็นอันกราน เพราะมีบุคคลกราน
๑๗. กฐินเป็นอันกรานโดยชอบ ถ้าภิกษุอยู่ในสีมาอนุโมทนากฐินนั้น
กฐินเป็นอันกราน แม้ด้วยอาการอย่างนี้ กฐินเป็นอันกราน ด้วยอาการ ๑๗
อย่างนี้

ธรรมที่เกิดพร้อมกัน
ถาม : ธรรมเท่าไร ย่อมเกิดพร้อมกับการกรานกฐิน
ตอบ : ธรรม ๑๕ อย่าง ย่อมเกิดพร้อมกับการกรานกฐิน คือ มาติกา ๘
ปลิโพธ ๒ อานิสงส์ ๕
ธรรม ๑๕ อย่างนี้ ย่อมเกิดพร้อมกับการกรานกฐิน

๒. กฐินอนันตรปัจจยาทิ
ว่าด้วยอนันตรปัจจัยแห่งกฐิน เป็นต้น
[๔๐๔] ประโยคมีธรรมเหล่าไหน เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัย โดยสมนันตร
ปัจจัย โดยนิสสยปัจจัย โดยอุปนิสสยปัจจัย โดยปุเรชาตปัจจัย โดยปัจฉาชาต
ปัจจัย โดยสหชาตปัจจัย
บุพพกรณ์ ฯลฯ การถอนผ้า ฯลฯ การอธิษฐานผ้า ฯลฯ การกราน ฯลฯ
มาติกาและปลิโพธ ฯลฯ
วัตถุมีธรรมเหล่าไหน เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัย โดยสมนันตรปัจจัย โดยนิสสย
ปัจจัย โดยอุปนิสสยปัจจัย โดยปุเรชาตปัจจัย โดยปัจฉาชาตปัจจัย โดยสหชาตปัจจัย

บุพพกรณ์เป็นปัจจัย
ประโยคมีบุพพกรณ์เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัย โดยสมนันตรปัจจัย โดยนิสสย
ปัจจัย โดยอุปนิสสยปัจจัย บุพพกรณ์มีประโยคเป็นปัจจัย โดยปุเรชาตปัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๗๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [กฐินเภท] ๒. กฐินอนันตรปัจจยาทิ
ประโยคมีบุพพกรณ์เป็นปัจจัยโดยปัจฉาชาตปัจจัย ธรรม ๑๕ อย่างเป็นปัจจัย
โดยสหชาตปัจจัย

การถอนผ้าเป็นปัจจัย
บุพพกรณ์มีการถอนผ้าเป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัย โดยสมนันตรปัจจัย โดย
นิสสยปัจจัย โดยอุปนิสสยปัจจัย การถอนผ้ามีบุพพกรณ์เป็นปัจจัย โดยปุเรชาต
ปัจจัย บุพพกรณ์มีการถอนผ้าเป็นปัจจัยโดยปัจฉาชาตปัจจัย ธรรม ๑๕ อย่างเป็น
ปัจจัย โดยสหชาตปัจจัย

การอธิษฐานผ้าเป็นปัจจัย
การถอนผ้ามีการอธิษฐานผ้าเป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัย โดยสมนันตรปัจจัย
โดยนิสสยปัจจัย โดยอุปนิสสยปัจจัย การอธิษฐานผ้ามีการถอนผ้าเป็นปัจจัย โดย
ปุเรชาตปัจจัย การถอนผ้ามีการอธิษฐานผ้าเป็นปัจจัยโดยปัจฉาชาตปัจจัย ธรรม
๑๕ อย่างเป็นปัจจัย โดยสหชาตปัจจัย

การกรานผ้าเป็นปัจจัย
การอธิษฐานผ้ามีการกรานเป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัย โดยสมนันตรปัจจัย
โดยนิสสยปัจจัย โดยอุปนิสสยปัจจัย การกรานมีการอธิษฐานผ้าเป็นปัจจัย โดย
ปุเรชาตปัจจัย การอธิษฐานผ้ามีการกรานเป็นปัจจัยโดยปัจฉาชาตปัจจัย ธรรม ๑๕
อย่างเป็นปัจจัย โดยสหชาตปัจจัย

มาติกาและปลิโพธเป็นปัจจัย
การกรานมีมาติกาและปลิโพธเป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัย โดยสมนันตรปัจจัย
โดยนิสสยปัจจัย โดยอุปนิสสยปัจจัย มาติกาและปลิโพธ มีการกรานเป็นปัจจัย โดย
ปุเรชาตปัจจัย การกรานมีมาติกาและปลิโพธเป็นปัจจัย โดยปัจฉาชาตปัจจัย ธรรม
๑๕ อย่างเป็นปัจจัย โดยสหชาตปัจจัย
วัตถุมีความหวังและสิ้นหวังเป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัย โดยสมนันตรปัจจัย
โดยนิสสยปัจจัย โดยอุปนิสสยปัจจัย ความหวังและสิ้นหวังมีวัตถุเป็นปัจจัย โดย


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๗๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [กฐินเภท] ๓. ปุพพกรณนิทานาทิวิภาค
ปุเรชาตปัจจัย วัตถุมีความหวังและสิ้นหวังเป็นปัจจัยโดยปัจฉาชาตปัจจัย ธรรม ๑๕
อย่างเป็นปัจจัย โดยสหชาตปัจจัย

๓. ปุพพกรณนิทานาทิวิภาค
ว่าด้วยการจำแนกนิทานแห่งบุพพกรณ์ เป็นต้น
[๔๐๕] ถาม : บุพพกรณ์มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ
มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน
การถอนผ้ามีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดน
เกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน
การอธิษฐานผ้ามีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็น
แดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน
การกรานมีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดน
เกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน
มาติกาและปลิโพธมีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไร
เป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน
ความหวังและความสิ้นหวังมีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ
มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน
ตอบ : บุพพกรณ์มีประโยคเป็นนิทาน มีประโยคเป็นสมุทัย มีประโยคเป็นชาติ
มีประโยคเป็นแดนเกิดก่อน มีประโยคเป็นองค์ มีประโยคเป็นสมุฏฐาน
การถอนผ้ามีบุพพกรณ์เป็นนิทาน มีบุพพกรณ์เป็นสมุทัย มีบุพพกรณ์เป็นชาติ
มีบุพพกรณ์เป็นแดนเกิดก่อน มีบุพพกรณ์เป็นองค์ มีบุพพกรณ์เป็นสมุฏฐาน
การอธิษฐานผ้ามีการถอนผ้าเป็นนิทาน มีการถอนผ้าเป็นสมุทัย มีการถอนผ้า
เป็นชาติ มีการถอนผ้าเป็นแดนเกิดก่อน มีการถอนผ้าเป็นองค์ มีการถอนผ้าเป็น
สมุฏฐาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๗๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [กฐินเภท] ๓. ปุพพกรณนิทานาทิวิภาค
การกรานมีการอธิษฐานผ้าเป็นนิทาน มีการอธิษฐานผ้าเป็นสมุทัย มีการ
อธิษฐานผ้าเป็นชาติ มีการอธิษฐานผ้าเป็นแดนเกิดก่อน มีการอธิษฐานผ้าเป็นองค์
มีการอธิษฐานผ้าเป็นสมุฏฐาน
มาติกาและปลิโพธมีการกรานเป็นนิทาน มีการกรานเป็นสมุทัย มีการกราน
เป็นชาติ มีการกรานเป็นแดนเกิดก่อน มีการกรานเป็นองค์ มีการกรานเป็นสมุฏฐาน
ความหวังและความสิ้นหวังมีวัตถุเป็นนิทาน มีวัตถุเป็นสมุทัย มีวัตถุเป็นชาติ
มีวัตถุเป็นแดนเกิดก่อน มีวัตถุเป็นองค์ มีวัตถุเป็นสมุฏฐาน
[๔๐๖] ถาม : ประโยคมีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ
มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน
บุพพกรณ์ ฯลฯ การถอนผ้า ฯลฯ การอธิษฐานผ้า ฯลฯ การกราน ฯลฯ
มาติกาและปลิโพธ ฯลฯ วัตถุ ฯลฯ
ความหวังและความสิ้นหวังมีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ
มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน
ตอบ : ประโยคมีเหตุเป็นนิทาน มีเหตุเป็นสมุทัย มีเหตุเป็นชาติ มีเหตุเป็น
แดนเกิดก่อน มีเหตุเป็นองค์ มีเหตุเป็นสมุฏฐาน
บุพพกรณ์ ฯลฯ การถอนผ้า ฯลฯ การอธิษฐานผ้า ฯลฯ การกราน ฯลฯ
มาติกาและปลิโพธ ฯลฯ วัตถุ ฯลฯ
ความหวังและความสิ้นหวังมีเหตุเป็นนิทาน มีเหตุเป็นสมุทัย มีเหตุเป็นชาติ
มีเหตุเป็นแดนเกิดก่อน มีเหตุเป็นองค์ มีเหตุเป็นสมุฏฐาน
[๔๐๗] ถาม : ประโยคมีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ
มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน
บุพพกรณ์ ฯลฯ การถอนผ้า ฯลฯ การอธิษฐานผ้า ฯลฯ การกราน ฯลฯ
มาติกาและปลิโพธ ฯลฯ วัตถุ ฯลฯ
ความหวังและความสิ้นหวังมีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ
มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๗๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [กฐินเภท] ๓. ปุพพกรณนิทานาทิวิภาค
ตอบ : ประโยคมีปัจจัยเป็นนิทาน มีปัจจัยเป็นสมุทัย มีปัจจัยเป็นชาติ มีปัจจัย
เป็นแดนเกิดก่อน มีปัจจัยเป็นองค์ มีปัจจัยเป็นสมุฏฐาน
บุพพกรณ์ ฯลฯ การถอนผ้า ฯลฯ การอธิษฐานผ้า ฯลฯ การกราน ฯลฯ
มาติกาและปลิโพธ ฯลฯ วัตถุ ฯลฯ
ความหวังและความสิ้นหวังมีปัจจัยเป็นนิทาน มีปัจจัยเป็นสมุทัย มีปัจจัยเป็น
ชาติ มีปัจจัยเป็นแดนเกิดก่อน มีปัจจัยเป็นองค์ มีปัจจัยเป็นสมุฏฐาน

สงเคราะห์ธรรม
[๔๐๘] ถาม : บุพพกรณ์สงเคราะห์ด้วยธรรมเท่าไร
ตอบ : บุพพกรณ์สงเคราะห์ด้วยธรรม ๗ อย่าง คือ

๑. ซักผ้า ๒. กะผ้า
๓. ตัดผ้า ๔. ผูกผ้า
๕. เย็บผ้า ๖. ย้อมผ้า
๗. ทำกัปปพินทุ

บุพพกรณ์สงเคราะห์ด้วยธรรม ๗ อย่างนี้
ถาม : การถอนผ้าจัดเข้าธรรมเท่าไร
ตอบ : การถอนผ้าจัดเข้าธรรม ๓ อย่าง คือ
๑. ผ้าสังฆาฏิ ๒. ผ้าอุตตราสงค์
๓. ผ้าอันตรวาสก
ถาม : การอธิษฐานผ้าสงเคราะห์ด้วยธรรมเท่าไร
ตอบ : การอธิษฐานผ้าสงเคราะห์ด้วยธรรม ๓ อย่าง คือ
๑. ผ้าสังฆาฏิ ๒. ผ้าอุตตราสงค์
๓. ผ้าอันตรวาสก
ถาม : การกรานสงเคราะห์ด้วยธรรมเท่าไร
ตอบ : การกรานสงเคราะห์ด้วยธรรมอย่างเดียว คือ เปล่งวาจา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๗๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [กฐินเภท] ๓. ปุพพกรณนิทานาทิวิภาค
มูลเหตุแห่งกฐิน เป็นต้น
ถาม : กฐินมีมูลเหตุเท่าไร มีวัตถุเท่าไร มีภูมิเท่าไร
ตอบ : กฐินมีมูลเหตุอย่างเดียว คือ สงฆ์ มีวัตถุ ๓ คือ
๑. ผ้าสังฆาฏิ ๒. ผ้าอุตตราสงค์
๓. ผ้าอันตรวาสก
มีภูมิ ๖ คือ

๑. ผ้าทำด้วยเปลือกไม้ ๒. ผ้าทำด้วยฝ้าย
๓. ผ้าทำด้วยไหม ๔. ผ้าทำด้วยขนสัตว์
๕. ผ้าทำด้วยป่าน ๖. ผ้าทำด้วยสัมภาระเจือกัน

เบื้องต้นแห่งกฐิน
ถาม : กฐินมีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด
ตอบ : กฐินมีบุพพกรณ์เป็นเบื้องต้น มีการกระทำเป็นท่ามกลาง มีการกราน
เป็นที่สุด

องค์ของภิกษุผู้กรานกฐิน
[๔๐๙] ถาม : ภิกษุประกอบด้วยองค์เท่าไรไม่ควรกรานกฐิน ภิกษุประกอบ
ด้วยองค์เท่าไรควรกรานกฐิน
ตอบ : ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๘ ไม่ควรกรานกฐิน ภิกษุประกอบด้วยองค์
๘ ควรกรานกฐิน
ถาม : ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๘ เป็นไฉน ไม่ควรกรานกฐิน
ตอบ :

๑. ภิกษุไม่รู้บุพพกรณ์ ๒. ไม่รู้การถอนผ้า
๓. ไม่รู้การอธิษฐาน ๔. ไม่รู้การกราน
๕. ไม่รู้มาติกา ๖. ไม่รู้ปลิโพธ
๗. ไม่รู้การเดาะกฐิน ๘. ไม่รู้อานิสงส์

ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ ไม่ควรกรานกฐิน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๗๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [กฐินเภท] ๓. ปุพพกรณนิทานาทิวิภาค
ถาม : ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๘ เป็นไฉน ควรกรานกฐิน
ตอบ :

๑. ภิกษุรู้บุพพกรณ์ ๒. รู้การถอนผ้า
๓. รู้การอธิษฐาน ๔. รู้การกราน
๕. รู้มาติกา ๖. รู้ปลิโพธ
๗. รู้การเดาะกฐิน ๘. รู้อานิสงส์

ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ ควรกรานกฐิน

การกรานกฐิน
[๔๑๐] ถาม : ภิกษุพวกไหนกรานกฐินไม่ขึ้น ภิกษุพวกไหนกรานกฐินขึ้น
ตอบ : ภิกษุ ๓ พวกกรานกฐินไม่ขึ้น ภิกษุ ๓ พวกกรานกฐินขึ้น
ถาม : ภิกษุ ๓ พวกไหนกรานกฐินไม่ขึ้น
ตอบ :
๑. ภิกษุผู้อยู่นอกสีมาอนุโมทนา
๒. เมื่ออนุโมทนากลับไม่เปล่งวาจา
๓. เมื่อเปล่งวาจากลับไม่ยอมให้ผู้อื่นรู้
ภิกษุ ๓ พวกนี้กรานกฐินไม่ขึ้น
ถาม : ภิกษุ ๓ พวกไหนกรานกฐินขึ้น
ตอบ :
๑. ภิกษุผู้อยู่ในสีมาอนุโมทนา
๒. เมื่ออนุโมทนาก็เปล่งวาจา
๓. เมื่อเปล่งวาจาก็ให้ผู้อื่นรู้
ภิกษุ ๓ พวกนี้กรานกฐินขึ้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๘๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [กฐินเภท] ๔. กฐินาทิชานิตัพพวิภาค
วัตถุวิบัติ เป็นต้น
[๔๑๑] ถาม : การกรานกฐินเท่าไรไม่ขึ้น การกรานกฐินเท่าไรขึ้น
ตอบ : การกรานกฐิน ๓ อย่าง ไม่ขึ้น การกรานกฐิน ๓ อย่าง ขึ้น
ถาม : การกรานกฐิน ๓ อย่างไหน ไม่ขึ้น
ตอบ :
๑. ผ้าวิบัติโดยวัตถุ ๒. วิบัติโดยกาล
๓. วิบัติโดยการกระทำ
การกรานกฐิน ๓ อย่างนี้ ไม่ขึ้น
ถาม : การกรานกฐิน ๓ อย่างไหน ขึ้น
ตอบ :
๑. ผ้าถึงพร้อมด้วยวัตถุ ๒. ผ้าถึงพร้อมด้วยกาล
๓. ผ้าถึงพร้อมด้วยการกระทำ
การกรานกฐิน ๓ อย่างนี้ ขึ้น

๔. กฐินาทิชานิตัพพวิภาค
ว่าด้วยการจำแนกข้อควรรู้มีกฐิน เป็นต้น
[๔๑๒] พึงรู้กฐิน พึงรู้การกรานกฐิน พึงรู้เดือนที่กรานกฐิน พึงรู้วิบัติแห่งการ
กรานกฐิน พึงรู้สมบัติแห่งการกรานกฐิน พึงรู้การทำนิมิต พึงรู้การพูดเลียบเคียง
พึงรู้ผ้าที่ยืมเขามา พึงรู้ผ้าที่เก็บไว้ค้างคืน พึงรู้ผ้าที่เป็นนิสสัคคีย์

ควรรู้กฐิน เป็นต้น
คำว่า พึงรู้กฐิน นั้น คือ การรวบรวม การประชุม ชื่อ การตั้งชื่อ การเรียกชื่อ
ภาษา พยัญชนะ การกล่าวธรรมเหล่านั้นแล รวมเรียกว่า กฐิน
คำว่า พึงรู้เดือนที่กรานกฐิน นั้น คือ รู้จักเดือนสุดท้ายแห่งฤดูฝน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๘๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [กฐินเภท] ๔. กฐินาทิชานิตัพพวิภาค
คำว่า พึงรู้วิบัติแห่งการกรานกฐิน ได้แก่ พึงรู้จักวิบัติแห่งการกรานกฐินด้วย
อาการ ๒๔ อย่าง
คำว่า พึงรู้สมบัติแห่งการกรานกฐิน ได้แก่ พึงรู้จักสมบัติแห่งการกรานกฐิน
ด้วยอาการ ๑๗ อย่าง
คำว่า พึงรู้การทำนิมิต คือ ทำนิมิตว่า เราจักกรานกฐินด้วยผ้าผืนนี้
คำว่า พึงรู้การพูดเลียบเคียง คือ ทำการพูดเลียบเคียงด้วยคิดว่า เราจักให้
ผ้ากฐินเกิดด้วยการพูดเลียบเคียงนี้
คำว่า พึงรู้ผ้าที่ยืมเขามา คือ รู้ผ้าที่ไม่ได้ยกให้
คำว่า พึงรู้ผ้าที่เก็บไว้ค้างคืน คือ พึงรู้ผ้าที่เก็บไว้ค้างคืน ๒ อย่าง คือ
๑. ทำค้างคืน ๒. เก็บไว้ค้างคืน
คำว่า พึงรู้ผ้าที่เป็นนิสสัคคีย์ คือ เมื่อภิกษุกำลังตัดเย็บผ้าอยู่ อรุณขึ้นมา
คำว่า พึงรู้การกรานกฐิน ความว่า ถ้าผ้ากฐินเกิดขึ้นแก่สงฆ์ สงฆ์ควรปฏิบัติ
อย่างไร ภิกษุผู้กรานควรปฏิบัติอย่างไร ภิกษุผู้อนุโมทนาควรปฏิบัติอย่างไร

อธิบายการกรานกฐิน
[๔๑๓] สงฆ์พึงให้ผ้ากฐินแก่ภิกษุผู้กรานกฐิน ด้วยญัตติทุติยกรรม
ภิกษุผู้กรานกฐินนั้น ควรซักขยี้ให้สะอาดแล้วกะ ตัด เย็บ ย้อม ทำกัปปะ
พินทุ แล้วกรานกฐินในวันนั้นเลย ถ้าประสงค์จะกรานกฐินด้วยผ้าสังฆาฏิ ควรถอน
ผ้าสังฆาฏิผืนเก่าเสีย ควรอธิษฐานผ้าสังฆาฏิผืนใหม่ เปล่งวาจาว่า ข้าพเจ้าจะกราน
กฐินด้วยผ้าสังฆาฏิผืนนี้ ถ้าประสงค์จะกรานกฐินด้วยผ้าอุตตราสงค์ ควรถอนผ้า
อุตตราสงค์ผืนเก่าเสีย ควรอธิษฐานผ้าอุตตราสงค์ผืนใหม่ เปล่งวาจาว่า ข้าพเจ้า
จะกรานกฐินด้วยผ้าอุตตราสงค์ผืนนี้ ถ้าประสงค์จะกรานกฐินด้วยผ้าอันตรวาสก
ควรถอน ผ้าอันตรวาสกผืนเก่าเสีย ควรอธิษฐานผ้าอันตรวาสกผืนใหม่ เปล่งวาจาว่า
ข้าพเจ้าจะกรานกฐินด้วยผ้าอันตรวาสกผืนนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๘๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [กฐินเภท] ๕. ปุคคลัสเสวกฐินัตถาร
ภิกษุผู้กรานกฐินนั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตตราสงค์เฉวียงบ่า ประคองอัญชลี
แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า กฐินของสงฆ์กรานเสร็จแล้ว การกรานกฐิน
เป็นธรรม ขอท่านทั้งหลายอนุโมทนาเถิด
ภิกษุผู้อนุโมทนาเหล่านั้น ห่มผ้าอุตตราสงค์เฉวียงบ่า ประคองอัญชลี แล้ว
กล่าวอย่างนี้ว่า ผู้มีอายุ กฐินของสงฆ์กรานเสร็จแล้ว การกรานกฐินเป็นธรรม เรา
ทั้งหลายอนุโมทนา
ภิกษุผู้กรานกฐินนั้น พึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตตราสงค์เฉวียงบ่า
ประคองอัญชลี แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า กฐินของสงฆ์กรานเสร็จแล้ว การ
กรานกฐินเป็นธรรม ขอท่านทั้งหลายอนุโมทนาเถิด
ภิกษุผู้อนุโมทนาเหล่านั้น ห่มผ้าอุตตราสงค์เฉวียงบ่า ประคองอัญชลี แล้ว
กล่าวอย่างนี้ว่า ผู้มีอายุ กฐินของสงฆ์กรานเสร็จแล้ว การกรานกฐินเป็นธรรม เรา
ทั้งหลายอนุโมทนา
ภิกษุผู้กรานกฐินนั้น พึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตตราสงค์เฉวียงบ่า
ประคองอัญชลี แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า กฐินของสงฆ์กรานเสร็จแล้ว การ
กรานกฐินเป็นธรรม ขอท่านอนุโมทนาเถิด
ภิกษุผู้อนุโมทนานั้น ห่มผ้าอุตตราสงค์เฉวียงบ่า ประคองอัญชลี แล้วกล่าวอย่างนี้
ว่า ผู้มีอายุ กฐินของสงฆ์กรานเสร็จแล้ว การกรานกฐินเป็นธรรม ข้าพเจ้าอนุโมทนา

๕. ปุคคลัสเสวกฐินัตถาร
ว่าด้วยบุคคลกรานกฐินเท่านั้น
[๔๑๔] ถาม : สงฆ์กรานกฐิน คณะกรานกฐิน บุคคลกรานกฐิน หรือ
ตอบ : สงฆ์หาได้กรานกฐินไม่ คณะหาได้กรานกฐินไม่ แต่บุคคลกรานกฐิน
หากสงฆ์หาได้กรานกฐินไม่ คณะหาได้กรานกฐินไม่ แต่บุคคลกรานกฐิน จึงชื่อว่า
สงฆ์ไม่ได้กรานกฐิน คณะไม่ได้กรานกฐิน แต่บุคคลกรานกฐิน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๘๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [กฐินเภท] ๖. ปลิโพธปัญหาพยากรณ์
ถาม : สงฆ์สวดปาติโมกข์ คณะสวดปาติโมกข์ บุคคลสวดปาติโมกข์ หรือ
ตอบ : สงฆ์หาได้สวดปาติโมกข์ไม่ คณะหาได้สวดปาติโมกข์ไม่ แต่บุคคลสวด
ปาติโมกข์ หากสงฆ์หาได้สวดปาติโมกข์ไม่ คณะหาได้สวดปาติโมกข์ไม่ แต่บุคคล
สวดปาติโมกข์ จึงชื่อว่า สงฆ์ไม่ได้สวดปาติโมกข์ คณะไม่สวดปาติโมกข์ แต่บุคคล
สวดปาติโมกข์ เพราะความสามัคคีแห่งสงฆ์ เพราะความสามัคคีแห่งคณะ เพราะ
บุคคลสวด จึงชื่อว่า สงฆ์สวดปาติโมกข์ คณะสวดปาติโมกข์ บุคคลสวดปาติโมกข์
สงฆ์จึงหาได้กรานกฐินไม่ คณะหาได้กรานกฐินไม่ แต่บุคคลกรานกฐิน ด้วยอาการ
อย่างนี้แล เพราะสงฆ์อนุโมทนา เพราะคณะอนุโมทนา เพราะบุคคลกราน จึงชื่อว่า
สงฆ์กรานกฐิน คณะกรานกฐิน บุคคลกรานกฐิน

๖. ปลิโพธปัญหาพยากรณ์
ว่าด้วยการแก้ปัญหาปลิโพธ
[๔๑๕] ท่านมหากัสสปะถามว่า “การเดาะกฐินกำหนดด้วยการหลีกไป
อันพระผู้มีพระภาคผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว
ก็ข้าพเจ้าขอถามท่านถึงการเดาะกฐินนั้น ปลิโพธอย่างไหนขาดก่อน”
ท่านพระอุบาลีตอบว่า “การเดาะกฐินกำหนดด้วยการหลีกไป
อันพระผู้มีพระภาคผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว
ก็เมื่อภิกษุหลีกไปด้วยคิดว่า จักทิ้งอาวาสนี้เสีย
ปลิโพธในจีวรขาดก่อน ปลิโพธในอาวาสขาดพร้อมกับภิกษุนั้น
ไปนอกสีมา” (๑)
ท่านมหากัสสปะถามว่า “การเดาะกฐินกำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ
อันพระผู้มีพระภาคผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว
ก็ข้าพเจ้าขอถามท่านถึงการเดาะกฐินนั้น ปลิโพธอย่างไหนขาดก่อน”
ท่านพระอุบาลีตอบว่า “การเดาะกฐินกำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ
อันพระผู้มีพระภาคผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๘๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [กฐินเภท] ๖. ปลิโพธปัญหาพยากรณ์
ก็เมื่อภิกษุหลีกไปด้วยคิดว่า จักทิ้งอาวาสนี้เสีย
ปลิโพธในอาวาสขาดก่อน เมื่อทำจีวรสำเร็จ ปลิโพธในจีวรขาด” (๒)
ท่านมหากัสสปะถามว่า “การเดาะกฐินกำหนดด้วยการตกลงใจ
อันพระผู้มีพระภาคผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว
ก็ข้าพเจ้าขอถามท่านถึงการเดาะกฐินนั้น ปลิโพธอย่างไหนขาดก่อน”
ท่านพระอุบาลีตอบว่า “การเดาะกฐินกำหนดด้วยตกลงใจ
อันพระผู้มีพระภาคผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว
ก็เมื่อภิกษุหลีกไปด้วยคิดว่า จักทิ้งอาวาสนี้เสีย
ปลิโพธทั้ง ๒ ขาดพร้อมกัน” (๓)
ท่านมหากัสสปะถามว่า “การเดาะกฐินกำหนดด้วยผ้าเสียหาย
อันพระผู้มีพระภาคผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว
ก็ข้าพเจ้าขอถามท่านถึงการเดาะกฐินนั้น ปลิโพธอย่างไหนขาดก่อน”
ท่านพระอุบาลีตอบว่า “การเดาะกฐินกำหนดด้วยผ้าเสียหาย
อันพระผู้มีพระภาคผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว
ก็เมื่อภิกษุหลีกไปด้วยคิดว่า จักทิ้งอาวาสนี้เสีย
ปลิโพธในอาวาสขาดก่อน ปลิโพธในจีวรขาดเมื่อผ้าเสียหาย” (๔)
ท่านมหากัสสปะถามว่า “การเดาะกฐินกำหนดด้วยได้ทราบข่าว
อันพระผู้มีพระภาคผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว
ก็ข้าพเจ้าขอถามท่านถึงการเดาะกฐินนั้น ปลิโพธอย่างไหนขาดก่อน”
ท่านพระอุบาลีตอบว่า “การเดาะกฐินกำหนดด้วยได้ทราบข่าว
อันพระผู้มีพระภาคผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว
ก็เมื่อภิกษุหลีกไปด้วยคิดว่า จักทิ้งอาวาสนี้เสีย
ปลิโพธในจีวรขาดก่อน
ปลิโพธในอาวาสขาดพร้อมกับการได้ทราบข่าวของภิกษุนั้น” (๕)
ท่านมหากัสสปะถามว่า “การเดาะกฐินกำหนดด้วยสิ้นหวัง
อันพระผู้มีพระภาคผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว
ก็ข้าพเจ้าขอถามท่านถึงการเดาะกฐินนั้น ปลิโพธอย่างไหนขาดก่อน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๘๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [กฐินเภท] ๖. ปลิโพธปัญหาพยากรณ์
ท่านพระอุบาลีตอบว่า “การเดาะกฐินกำหนดด้วยสิ้นหวัง
อันพระผู้มีพระภาคผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว
ก็เมื่อภิกษุหลีกไปด้วยคิดว่า จักทิ้งอาวาสนี้เสีย
ปลิโพธในอาวาสขาดก่อน ปลิโพธในจีวรขาดต่อเมื่อสิ้นหวังในผ้านั้น” (๖)
ท่านมหากัสสปะถามว่า “การเดาะกฐินกำหนดด้วยล่วงเขต
อันพระผู้มีพระภาคผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว
ก็ข้าพเจ้าขอถามท่านถึงการเดาะกฐินนั้น ปลิโพธอย่างไหนขาดก่อน”
ท่านพระอุบาลีตอบว่า “การเดาะกฐินกำหนดด้วยล่วงเขต
อันพระผู้มีพระภาคผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว
ก็เมื่อภิกษุหลีกไปด้วยคิดว่า จักทิ้งอาวาสนี้เสีย
ปลิโพธในจีวรขาดก่อน ปลิโพธในอาวาสขาดเมื่อภิกษุนั้นไปนอกสีมา” (๗)
ท่านมหากัสสปะถามว่า “การเดาะกฐินกำหนดด้วยเดาะพร้อมกัน
อันพระผู้มีพระภาคผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว
ก็ข้าพเจ้าขอถามท่านถึงการเดาะกฐินนั้น ปลิโพธอย่างไหนขาดก่อน”
ท่านพระอุบาลีตอบว่า “การเดาะกฐินกำหนดด้วยเดาะพร้อมกัน
อันพระผู้มีพระภาคผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว
ก็เมื่อภิกษุหลีกไปด้วยคิดว่า จักทิ้งอาวาสนี้เสีย
ปลิโพธทั้ง ๒ อย่าง ขาดพร้อมกัน” (๘)

การเดาะกฐิน
[๔๑๖] ถาม : การเดาะกฐินที่สงฆ์เป็นใหญ่มีเท่าไร การเดาะกฐินที่บุคคลเป็น
ใหญ่มีเท่าไร การเดาะกฐินที่สงฆ์ไม่เป็นใหญ่ บุคคลไม่เป็นใหญ่มีเท่าไร
ตอบ : การเดาะกฐินที่สงฆ์เป็นใหญ่มีอย่างเดียว คือ การเดาะในระหว่าง
การเดาะกฐินที่บุคคลเป็นใหญ่มี ๔ อย่าง คือ การเดาะกฐินกำหนดด้วยการ
หลีกไป การเดาะกฐินกำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ การเดาะกฐินกำหนดด้วยตกลงใจ
การเดาะกฐินกำหนดด้วยล่วงเขต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๘๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [กฐินเภท] ๖. ปลิโพธปัญหาพยากรณ์
การเดาะกฐินที่สงฆ์ไม่เป็นใหญ่ บุคคลไม่เป็นใหญ่มี ๔ อย่าง คือ การเดาะ
กฐินกำหนดด้วยผ้าเสียหาย การเดาะกฐินกำหนดด้วยทราบข่าว การเดาะกฐิน
กำหนดด้วยสิ้นหวัง การเดาะกฐินกำหนดด้วยเดาะพร้อมกัน

การเดาะกฐินภายในสีมา เป็นต้น
ถาม : การเดาะกฐินเท่าไร เดาะภายในสีมา การเดาะกฐินเท่าไร เดาะภาย
นอกสีมา การเดาะกฐินมีเท่าไร เดาะภายในสีมาก็มี เดาะภายนอกสีมาก็มี
ตอบ : การเดาะกฐิน ๒ อย่าง เดาะภายในสีมา คือ
๑. เดาะในระหว่าง ๒. เดาะพร้อมกัน
การเดาะกฐิน ๓ อย่าง เดาะภายนอกสีมา คือ
๑. เดาะกฐินกำหนดด้วยหลีกไป ๒. กำหนดด้วยได้ทราบข่าว
๓. กำหนดด้วยล่วงเขต
การเดาะกฐิน ๔ อย่าง เดาะภายในสีมาก็มี เดาะภายนอกสีมาก็มี คือ
๑. เดาะกฐินกำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ
๒. กำหนดด้วยตกลงใจเป็นที่สุด
๓. เดาะกฐินกำหนดด้วยจีวรเสียหาย
๔. กำหนดด้วยสิ้นหวัง

การเดาะกฐินเกิดขึ้นพร้อมกัน เป็นต้น
ถาม : การเดาะกฐินเท่าไร เกิดด้วยกัน ดับด้วยกัน การเดาะกฐินเท่าไร
เกิดด้วยกัน ดับต่างกัน
ตอบ : การเดาะกฐิน ๒ อย่าง เกิดด้วยกัน ดับด้วยกัน คือ
๑. เดาะในระหว่าง ๒. เดาะพร้อมกัน
การเดาะกฐินนอกนั้น เกิดด้วยกัน ดับต่างกัน
กฐินเภท จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๘๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [กฐินเภท] หัวข้อประจำเรื่อง
หัวข้อประจำเรื่อง
ใครไม่ได้กรานกฐิน ได้กรานกฐิน อย่างไรกฐินไม่เป็นอันกราน
ธรรม ๑๕ อย่าง เกิดพร้อมกับการกรานกฐิน
บุพพกรณ์มีอะไรเป็นนิทาน ประโยคมีเหตุเป็นนิทาน
มีปัจจัยเป็นนิทาน บุพพกรณ์สงเคราะห์ด้วยธรรมเท่าไร
กฐินมีมูลเท่าไร กฐินมีอะไรเป็นเบื้องต้น
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ ควรกรานกฐินและไม่ควรกรานกฐิน
ภิกษุ ๓ จำพวกกรานกฐินไม่ขึ้นและกรานกฐินขึ้น
การกรานกฐิน ๓ อย่างไม่ขึ้น
พึงรู้การกรานกฐินกับการสวด พึงรู้ปลิโพธ
พึงรู้การเดาะกฐินที่มีสงฆ์เป็นใหญ่
พึงรู้การเดาะกฐินภายในสีมา
พึงรู้การเดาะกฐินที่เกิดขึ้นด้วยกันที่ดับด้วยกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๘๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๑. อนิสสิตวรรค
อุปาลิปัญจกะ
ว่าด้วยเรื่องพระอุบาลี ๕ หมวด
๑. อนิสสิตวรรค
หมวดว่าด้วยการไม่ถือนิสัย
[๔๑๗] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน
อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระอุบาลีเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ
ที่สมควรแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ภิกษุประกอบด้วยองค์เท่าไร
หนอแล จะพึงอยู่โดยไม่ถือนิสัยตลอดชีวิตไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า”

องค์ของภิกษุผู้ต้องถือนิสัย
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ จะพึงอยู่โดยไม่ถือ
นิสัยตลอดชีวิตไม่ได้ องค์ ๕ คือ

๑. ไม่รู้อุโบสถ ๒. ไม่รู้อุโบสถกรรม
๓. ไม่รู้ปาติโมกข์ ๔. ไม่รู้ปาติโมกขุทเทส
๕. มีพรรษาหย่อน ๕

อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล จะพึงอยู่โดยไม่ถือนิสัยตลอดชีวิตไม่ได้

องค์ของภิกษุผู้ไม่ต้องถือนิสัย
อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ พึงอยู่โดยไม่ต้องถือนิสัยตลอดชีวิตได้ องค์ ๕ คือ

๑. รู้อุโบสถ ๒. รู้อุโบสถกรรม
๓. รู้ปาติโมกข์ ๔. รู้ปาติโมกขุทเทส
๕. มีพรรษาครบ ๕ หรือมีพรรษาเกิน ๕

อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล พึงอยู่โดยไม่ต้องถือนิสัยตลอดชีวิตได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๘๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๑. อนิสสิตวรรค
องค์ของภิกษุผู้ต้องถือนิสัยอีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง จะพึงอยู่โดยไม่ถือนิสัยตลอด
ชีวิตไม่ได้ องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ

๑. ไม่รู้ปวารณา ๒. ไม่รู้ปวารณากรรม
๓. ไม่รู้ปาติโมกข์ ๔. ไม่รู้ปาติโมกขุทเทส
๕. มีพรรษาหย่อน ๕

อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล จะพึงอยู่โดยไม่ถือนิสัยตลอดชีวิตไม่ได้

องค์ของภิกษุผู้ไม่ต้องถือนิสัย
อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ พึงอยู่โดยไม่ต้องถือนิสัยตลอดชีวิตได้
องค์ ๕ คือ

๑. รู้ปวารณา ๒. รู้ปวารณากรรม
๓. รู้ปาติโมกข์ ๔. รู้ปาติโมกขุทเทส
๕. มีพรรษาครบ ๕ หรือมีพรรษาเกิน ๕

อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล พึงอยู่โดยไม่ต้องถือนิสัยตลอดชีวิตได้

องค์ของภิกษุผู้ต้องถือนิสัยอีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง จะพึงอยู่โดยไม่ถือนิสัยตลอด
ชีวิตไม่ได้ องค์ ๕ คือ

๑. ไม่รู้อาบัติและอนาบัติ ๒. ไม่รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก
๓. ไม่รู้อาบัติมีส่วนเหลือและ ๔. ไม่รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติ
อาบัติไม่มีส่วนเหลือ ไม่ชั่วหยาบ
๕. มีพรรษาหย่อน ๕

อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล จะพึงอยู่โดยไม่ถือนิสัยตลอดชีวิตไม่ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๙๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๑. อนิสสิตวรรค
องค์ของภิกษุผู้ไม่ต้องถือนิสัย
อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ พึงอยู่โดยไม่ต้องถือนิสัยตลอดชีวิตได้ องค์
๕ คือ
๑. รู้อาบัติและอนาบัติ
๒. รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก
๓. รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ
๔. รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ
๕. มีพรรษาครบ ๕ หรือมีพรรษาเกิน ๕
อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล พึงอยู่โดยไม่ต้องถือนิสัยตลอดชีวิตได้”

ภิกษุที่ไม่พึงให้อุปสมบท เป็นต้น
[๔๑๘] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล ไม่พึง
ให้อุปสมบท ไม่พึงให้นิสัย ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่พึงให้อุปสมบท
ไม่พึงให้นิสัย ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก องค์ ๕ คือ
๑. ไม่สามารถพยาบาลเองหรือใช้ให้ผู้อื่นพยาบาลอันเตวาสิกหรือ
สัทธิวิหาริกผู้เป็นไข้
๒. ไม่สามารถระงับเองหรือใช้ให้ผู้อื่นช่วยระงับความกระสัน
๓. ไม่สามารถบรรเทาเองหรือใช้ให้ผู้อื่นช่วยบรรเทาความเบื่อหน่ายที่
เกิดขึ้นโดยธรรม
๔. ไม่สามารถแนะนำในอภิธรรม
๕. ไม่สามารถแนะนำในอภิวินัย
อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึงให้นิสัย
ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๙๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๑. อนิสสิตวรรค
ภิกษุที่พึงให้อุปสมบท เป็นต้น
อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสัย พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก
องค์ ๕ คือ
๑. สามารถพยาบาลเองหรือใช้ให้ผู้อื่นพยาบาลอันเตวาสิกหรือสัทธิ-
วิหาริกผู้เป็นไข้
๒. สามารถระงับเองหรือใช้ให้ผู้อื่นช่วยระงับความกระสัน
๓. สามารถบรรเทาเองหรือใช้ให้ผู้อื่นช่วยบรรเทาความเบื่อหน่ายอัน
เกิดขึ้นโดยธรรม
๔. สามารถแนะนำในอภิธรรม
๕. สามารถแนะนำในอภิวินัย
อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสัย พึงใช้
สามเณรอุปัฏฐาก

ภิกษุที่ไม่พึงให้อุปสมบท เป็นต้น อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึงให้นิสัย
ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก องค์ ๕ คือ
๑. ไม่สามารถฝึกปรืออันเตวาสิกหรือสัทธิวิหาริกในอภิสมาจาริกาสิกขา
๒. ไม่สามารถแนะนำในอาทิพรหมจาริยกาสิกขา
๓. ไม่สามารถแนะนำในอธิศีล
๔. ไม่สามารถแนะนำในอธิจิต
๕. ไม่สามารถแนะนำในอธิปัญญา
อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึงให้นิสัย
ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๙๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๑. อนิสสิตวรรค
ภิกษุที่พึงให้อุปสมบท เป็นต้น
อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสัย พึงใช้
สามเณรอุปัฏฐาก องค์ ๕ คือ
๑. สามารถฝึกปรืออันเตวาสิกหรือสัทธิวิหาริกในอภิสมาจาริกาสิกขา
๒. สามารถแนะนำในอาทิพรหมจาริยกาสิกขา
๓. สามารถแนะนำในอธิศีล
๔. สามารถแนะนำในอธิจิต
๕. สามารถแนะนำในอธิปัญญา
อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสัย พึงใช้
สามเณรอุปัฏฐาก

องค์ ๕ ของภิกษุผู้ถูกลงโทษ
[๔๑๙] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์
เท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ

๑. เป็นอลัชชี ๒. เป็นคนโง่เขลา
๓. ไม่ใช่เป็นปกตัตตะ ๔. เป็นมิจฉาทิฏฐิ
๕. มีอาชีววิบัติ

อุบาลี สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล
อุบาลี สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง องค์ ๕ คือ

๑. เป็นผู้มีสีลวิบัติในอธิศีล ๒. เป็นผู้มีอาจารวิบัติในอัชฌาจาร
๓. เป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติในอติทิฏฐิ ๔. เป็นมิจฉาทิฏฐิ
๕. มีอาชีววิบัติ

อุบาลี สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๙๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๑. อนิสสิตวรรค
อุบาลี สงฆ์พึงลงโทษภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง องค์ ๕ คือ

๑. เล่นคะนองกาย ๒. เล่นคะนองวาจา
๓. เล่นคะนองทั้งกายและวาจา ๔. เป็นมิจฉาทิฏฐิ
๕. มีอาชีววิบัติ

อุบาลี สงฆ์พึงลงโทษภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล
อุบาลี สงฆ์พึงลงโทษภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง องค์ ๕ คือ

๑. ประพฤติไม่สมควรทางกาย ๒. ประพฤติไม่สมควรทางวาจา
๓. ประพฤติไม่สมควรทั้งกาย ๔. เป็นมิจฉาทิฏฐิ
และทางวาจา
๕. มีอาชีววิบัติ

อุบาลี สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล
อุบาลี สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง องค์ ๕ คือ

๑. ทำลายพระบัญญัติทางกาย ๒. ทำลายพระบัญญัติทางวาจา
๓. ทำลายพระบัญญัติทั้งทางกาย ๔. เป็นมิจฉาทิฏฐิ
และทางวาจา
๕. มีอาชีววิบัติ

อุบาลี สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล
อุบาลี สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง องค์ ๕ คือ

๑. ประกอบมิจฉาชีพทางกาย ๒. ประกอบมิจฉาชีพทางวาจา
๓. ประกอบมิจฉาชีพทางกาย ๔. เป็นมิจฉาทิฏฐิ
และทางวาจา
๕. มีอาชีววิบัติ

อุบาลี สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๙๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] หัวข้อประจำวรรค
อุบาลี สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง องค์ ๕ คือ
๑. ต้องอาบัติแล้วถูกลงโทษ ๒. ให้นิสัย
แต่ยังให้อุปสมบท
๓. ใช้สามเณรอุปัฏฐาก ๔. รับแต่งตั้งเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
๕. แม้ได้รับแต่งตั้งแล้ว ก็ยังสั่งสอนภิกษุณี
อุบาลี สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล
อุบาลี สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง องค์ ๕ คือ

๑. ต้องอาบัติที่เป็นเหตุ ๒. ต้องอาบัติอื่นทำนองเดียวกัน
ให้ถูกสงฆ์ลงโทษ
๓. ต้องอาบัติที่เลวทรามกว่านั้น ๔. ตำหนิกรรม
๕. ตำหนิภิกษุผู้ทำกรรม

อุบาลี สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล
อุบาลี สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง องค์ ๕ คือ
๑. กล่าวติเตียนพระพุทธ ๒. กล่าวติเตียนพระธรรม
๓. กล่าวติเตียนพระสงฆ์ ๔. เป็นมิจฉาทิฏฐิ
๕. มีอาชีววิบัติ
อุบาลี สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล”
อนิสสิตวรรคที่ ๑ จบ

หัวข้อประจำวรรค
ไม่รู้อุโบสถ ไม่รู้ปวารณา ไม่รู้อาบัติ
ไม่สามารถพยาบาลภิกษุไข้ ไม่สามารถฝึกในอภิสมาจาร
สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้เป็นอลัชชี มีสีลวิบัติในอธิศีล เล่นคะนอง
ประพฤติไม่สมควร ทำลายพระบัญญัติ เป็นมิจฉาทิฏฐิ
ต้องอาบัติที่เป็นเหตุให้ถูกลงโทษ ตำหนิพระพุทธเจ้า
รวมเป็นวรรคที่ ๑ แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๙๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๒. นัปปฏิปัสสัมภนวรรค
๒. นัปปฏิปัสสัมภนวรรค
หมวดว่าด้วยการไม่ระงับกรรม
[๔๒๐] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล สงฆ์ไม่
ควรระงับกรรม พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ สงฆ์ไม่ควรระงับ
กรรม องค์ ๕ คือ

๑. ต้องอาบัติแล้วถูกลงโทษ ๒. ให้นิสัย
แต่ยังให้อุปสมบท
๓. ใช้สามเณรอุปัฏฐาก ๔. รับแต่งตั้งเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี

๕. แม้ได้รับแต่งตั้งแล้ว ก็ยังสั่งสอนภิกษุณี
อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่ควรระงับกรรม
อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง สงฆ์ไม่ควรระงับกรรม องค์ ๕
คือ

๑. ต้องอาบัติที่เป็นเหตุ ๒. ต้องอาบัติอื่นทำนองเดียวกัน
ให้ถูกสงฆ์ลงโทษ
๓. ต้องอาบัติที่เลวทรามกว่านั้น ๔. ตำหนิกรรม
๕. ตำหนิภิกษุผู้ทำกรรม

อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่ควรระงับกรรม
อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง สงฆ์ไม่ควรระงับกรรม องค์ ๕
คือ

๑. กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า ๒. กล่าวติเตียนพระธรรม
๓. กล่าวติเตียนพระสงฆ์ ๔. เป็นมิจฉาทิฏฐิ
๕. มีอาชีววิบัติ

อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่ควรระงับกรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๙๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๒. นัปปฏิปัสสัมภนวรรค
อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง สงฆ์ไม่ควรระงับกรรม องค์
๕ คือ

๑. เป็นอลัชชี ๒. เป็นคนโง่เขลา
๓. ไม่ใช่เป็นปกตัตตะ ๔. ทำการย่ำยีข้อปฏิบัติ
๕. ไม่ทำข้อวัตรและสิกขาให้บริบูรณ์

อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่ควรระงับกรรม”

คุณสมบัติของภิกษุผู้เข้าสงคราม
[๔๒๑] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้เข้าสงคราม เมื่อเข้าหาสงฆ์พึงตั้ง
ธรรมเท่าไรไว้ในตน แล้วเข้าหาสงฆ์ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้เข้าสงคราม เมื่อเข้าหาสงฆ์พึงตั้งธรรม
๕ ประการไว้ในตน แล้วเข้าหาสงฆ์ ธรรม ๕ ประการ คือ
ภิกษุผู้เข้าสงคราม เมื่อเข้าหาสงฆ์
๑. พึงมีจิตยำเกรง มีจิตเสมอด้วยผ้าเช็ดธุลี เข้าหาสงฆ์
๒. พึงเป็นผู้รู้จักที่นั่ง รู้จักการนั่ง
๓. ไม่เบียดภิกษุผู้เถระ ไม่ห้ามภิกษุผู้อ่อนกว่าด้วยอาสนะ พึงนั่ง
อาสนะตามสมควร
๔. ไม่พึงพูดเรื่องต่าง ๆ ไม่พึงพูดดิรัจฉานกถา
๕. พึงกล่าวธรรมเองหรือเชื้อเชิญภิกษุรูปอื่น ไม่พึงดูหมิ่นอริยดุษณีภาพ
อุบาลี ถ้าสงฆ์ทำกรรมที่ควรพร้อมเพรียงกันทำ หากภิกษุไม่ชอบใจในกรรมนั้น
จะทำความคิดเห็นขัดแย้งกันก็ได้ แต่ควรควบคุมความสามัคคีไว้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเธอคิดว่า เราไม่ควรแตกต่างจากสงฆ์เลย
อุบาลี ภิกษุผู้เข้าสู่สงคราม เมื่อเข้าหาสงฆ์ พึงตั้งธรรม ๕ ประการนี้ไว้ในตน
แล้วเข้าหาสงฆ์”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๙๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๒. นัปปฏิปัสสัมภนวรรค
องค์ของภิกษุผู้พูดในสงฆ์
[๔๒๒] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล เมื่อ
พูดในสงฆ์ย่อมไม่เป็นที่ปรารถนา ไม่เป็นที่พอใจ และไม่เป็นที่ชอบใจของชนหมู่มาก
พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ เมื่อพูดในสงฆ์
ย่อมไม่เป็นที่ปรารถนา ไม่เป็นที่พอใจ และไม่เป็นที่ชอบใจของชนหมู่มาก องค์ ๕
คือ

๑. เป็นผู้มีความคิดมืดมน ๒. กล่าวอ้างผู้อื่น
๓. ไม่ฉลาดในถ้อยคำที่เชื่อมถึงกัน ๔. ไม่โจทตามอาบัติในธรรมและ
วินัยอันสมควร

๕. ไม่ปรับตามอาบัติในธรรมและวินัยอันสมควร
อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เมื่อพูดในสงฆ์ย่อมไม่เป็นที่ปรารถนา
ไม่เป็นที่พอใจ และไม่เป็นที่ชอบใจของชนหมู่มาก
อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ เมื่อพูดในสงฆ์ย่อมเป็นที่ปรารถนา เป็นที่พอใจ
และเป็นที่ชอบใจของชนหมู่มาก องค์ ๕ คือ

๑. ไม่เป็นผู้มีความคิดมืดมน ๒. ไม่กล่าวอ้างผู้อื่น
๓. ฉลาดในถ้อยคำที่เชื่อมถึงกัน ๔. โจทตามอาบัติในธรรมและ
วินัยอันสมควร

๕. ปรับตามอาบัติในธรรมและวินัยอันสมควร
อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เมื่อพูดในสงฆ์ย่อมเป็นที่ปรารถนา
เป็นที่พอใจ และเป็นที่ชอบใจของชนหมู่มาก

องค์ของภิกษุผู้พูดในสงฆ์ อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง เมื่อพูดในสงฆ์ย่อมไม่เป็นที่ปรารถนา
ไม่เป็นที่พอใจ และไม่เป็นที่ชอบใจของชนหมู่มาก องค์ ๕ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๙๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๒. นัปปฏิปัสสัมภนวรรค

๑. เป็นผู้อวดอ้าง ๒. เป็นผู้รุกราน
๓. ยึดถืออธรรม ๔. ค้านธรรม

๕. กล่าวถ้อยคำที่ไร้ประโยชน์มากมาย
อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เมื่อพูดในสงฆ์ย่อมไม่เป็นที่ปรารถนา
ไม่เป็นที่พอใจ และไม่เป็นที่ชอบใจของชนหมู่มาก
อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ เมื่อพูดในสงฆ์ย่อมเป็นที่ปรารถนา เป็นที่พอใจ
และเป็นที่ชอบใจของชนหมู่มาก องค์ ๕ คือ

๑. ไม่เป็นผู้อวดอ้าง ๒. ไม่เป็นผู้รุกราน
๓. ยึดถือธรรม ๔. ค้านอธรรม

๕. ไม่กล่าวถ้อยคำที่ไร้ประโยชน์มากมาย
อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เมื่อพูดในสงฆ์ย่อมเป็นที่ปรารถนา
เป็นที่พอใจ และเป็นที่ชอบใจของชนหมู่มาก

องค์ของภิกษุผู้พูดในสงฆ์ อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง เมื่อพูดในสงฆ์ย่อมไม่เป็นที่
ปรารถนา ไม่เป็นที่พอใจ และไม่เป็นที่ชอบใจของชนหมู่มาก องค์ ๕ คือ

๑. กล่าวข่มขู่ ๒. กล่าวไม่ให้โอกาสผู้อื่น
๓. ไม่โจทตามอาบัติ ในธรรม ๔. ไม่ปรับตามอาบัติในธรรมและ
และวินัยอันสมควร วินัยอันสมควร
๕. ไม่ชี้แจงตามความเห็น

อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เมื่อพูดในสงฆ์ย่อมไม่เป็นที่ปรารถนา
ไม่เป็นที่พอใจ และไม่เป็นที่ชอบใจของชนหมู่มาก
อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ เมื่อพูดในสงฆ์ย่อมเป็นที่ปรารถนา เป็นที่พอใจ
และเป็นที่ชอบใจของชนหมู่มาก องค์ ๕ คือ
๑. ไม่กล่าวข่มขู่ ๒. กล่าวให้โอกาสผู้อื่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๙๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] หัวข้อประจำวรรค
๓. โจทตามอาบัติ ในธรรมและวินัยอันสมควร
๔. ปรับตามอาบัติ ในธรรมและวินัยอันสมควร
๕. ชี้แจงตามความเห็น
อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เมื่อพูดในสงฆ์ย่อมเป็นที่ปรารถนา
เป็นที่พอใจ และเป็นที่ชอบใจของชนหมู่มาก”

อานิสงส์ในการเรียนวินัย
[๔๒๓] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ในการเรียนวินัย มีอานิสงส์เท่าไรหนอแล
พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ในการเรียนวินัย มีอานิสงส์ ๕ ประการนี้ คือ
๑. เป็นอันคุ้มครองรักษากองศีลของตนไว้ดีแล้ว
๒. ผู้ที่ถูกความรังเกียจครอบงำย่อมหวนระลึกได้
๓. กล้าพูดในท่ามกลางสงฆ์
๔. ข่มด้วยดีซึ่งข้าศึกโดยสหธรรม
๕. เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม
อุบาลี ในการเรียนวินัย มีอานิสงส์ ๕ ประการนี้แล”
นัปปฏิปัสสัมภนวรรคที่ ๒ จบ

หัวข้อประจำวรรค
ภิกษุต้องอาบัติที่เป็นเหตุให้ถูกลงโทษกล่าวตำหนิกรรม
สงฆ์ไม่ควรระงับกรรมภิกษุผู้เป็นอลัชชี
ภิกษุผู้เข้าสงคราม ภิกษุผู้มีความคิดมืดมน
เป็นผู้อวดอ้าง กล่าวข่มขู่ ย่อมไม่เป็นที่ปรารถนา
อานิสงส์การเรียนวินัย
พระบัญญัติคู่ที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๐๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๓. โวหารวรรค
๓. โวหารวรรค
หมวดว่าด้วยการใช้โวหาร

ภิกษุไม่ควรพูดในสงฆ์
[๔๒๔] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล ไม่ควร
พูดในสงฆ์ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ควรพูดในสงฆ์
องค์ ๕ คือ

๑. ไม่รู้อาบัติ ๒. ไม่รู้สมุฏฐานอาบัติ
๓. ไม่รู้ประโยคอาบัติ๑ ๔. ไม่รู้ความระงับอาบัติ
๕. ไม่ฉลาดในการวินิจฉัยอาบัติ

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรพูดในสงฆ์

ภิกษุควรพูดในสงฆ์
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรพูดในสงฆ์ องค์ ๕ คือ

๑. รู้อาบัติ ๒. รู้สมุฏฐานอาบัติ
๓. รู้ประโยคอาบัติ ๔. รู้ความระงับอาบัติ
๕. ฉลาดในการวินิจฉัยอาบัติ

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรพูดในสงฆ์

ภิกษุไม่ควรพูดในสงฆ์ อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง ไม่ควรพูดในสงฆ์ องค์ ๕ คือ
๑. ไม่รู้อธิกรณ์ ๒. ไม่รู้สมุฏฐานอธิกรณ์

เชิงอรรถ :
๑ ไม่รู้ประโยคอาบัติ คือไม่รู้ว่า อาบัตินี้เกิดจากความพยายามทางกาย อาบัตินี้เกิดจากความพยายามทาง
วาจา (วิ.อ. ๓/๔๒๔/๕๑๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๐๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๓. โวหารวรรค
๓. ไม่รู้ประโยคอธิกรณ์ ๔. ไม่รู้ความระงับอธิกรณ์
๕. ไม่ฉลาดในการวินิจฉัยอธิกรณ์
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรพูดในสงฆ์

ภิกษุควรพูดในสงฆ์
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรพูดในสงฆ์ องค์ ๕ คือ

๑. รู้อธิกรณ์ ๒. รู้สมุฏฐานอธิกรณ์
๓. รู้ประโยคอธิกรณ์ ๔. รู้ความระงับอธิกรณ์
๕. ฉลาดในการวินิจฉัยอธิกรณ์

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรพูดในสงฆ์

ภิกษุไม่ควรพูดในสงฆ์ อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง ไม่ควรพูดในสงฆ์ องค์ ๕ คือ
๑. กล่าวข่มขู่
๒. กล่าวไม่ให้โอกาสผู้อื่น
๓. ไม่โจทตามอาบัติ ในธรรมและวินัยอันสมควร
๔. ไม่ปรับตามอาบัติ ในธรรมและวินัยอันสมควร
๕. ไม่ชี้แจงตามความเห็น
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรพูดในสงฆ์

ภิกษุควรพูดในสงฆ์
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรพูดในสงฆ์ องค์ ๕ คือ
๑. ไม่กล่าวข่มขู่
๒. กล่าวให้โอกาสผู้อื่น
๓. โจทตามอาบัติ ในธรรมและวินัยอันสมควร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๐๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๓. โวหารวรรค
๔. ปรับตามอาบัติ ในธรรมและวินัยอันสมควร
๕. ชี้แจงตามความเห็น
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรพูดในสงฆ์

ภิกษุไม่ควรพูดในสงฆ์ อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง ไม่ควรพูดในสงฆ์ องค์ ๕ คือ
๑. ไม่รู้อาบัติและอนาบัติ
๒. ไม่รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก
๓. ไม่รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ
๔. ไม่รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ
๕. ไม่รู้อาบัติที่ทำคืนได้และทำคืนไม่ได้
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรพูดในสงฆ์

ภิกษุควรพูดในสงฆ์
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรพูดในสงฆ์ องค์ ๕ คือ
๑. รู้อาบัติและอนาบัติ
๒. รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก
๓. รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ
๔. รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ
๕. รู้อาบัติที่ทำคืนได้และทำคืนไม่ได้
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรพูดในสงฆ์

ภิกษุไม่ควรพูดในสงฆ์ อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง ไม่ควรพูดในสงฆ์ องค์ ๕ คือ
๑. ไม่รู้กรรม ๒. ไม่รู้การทำกรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๐๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๓. โวหารวรรค
๓. ไม่รู้วัตถุของกรรม ๔. ไม่รู้วัตรของกรรม
๕. ไม่รู้ความระงับกรรม
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรพูดในสงฆ์

ภิกษุควรพูดในสงฆ์
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรพูดในสงฆ์ องค์ ๕ คือ

๑. รู้กรรม ๒. รู้การทำกรรม
๓. รู้วัตถุของกรรม ๔. รู้วัตรของกรรม
๕. รู้ความระงับกรรม

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรพูดในสงฆ์

ภิกษุไม่ควรพูดในสงฆ์ อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง ไม่ควรพูดในสงฆ์ องค์ ๕ คือ

๑. ไม่รู้วัตถุ ๒. ไม่รู้นิทาน
๓. ไม่รู้บัญญัติ ๔. ไม่รู้บทที่ตกหล่นในภายหลัง
๕. ไม่รู้ถ้อยคำอันเกี่ยวเนื่องกัน

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรพูดในสงฆ์

ภิกษุควรพูดในสงฆ์
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรพูดในสงฆ์ องค์ ๕ คือ

๑. รู้วัตถุ ๒. รู้นิทาน
๓. รู้บัญญัติ ๔. รู้บทที่ตกหล่นในภายหลัง
๕. รู้ถ้อยคำอันเกี่ยวเนื่องกัน

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรพูดในสงฆ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๐๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๓. โวหารวรรค
ภิกษุไม่ควรพูดในสงฆ์ อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง ไม่ควรพูดในสงฆ์ องค์ ๕ คือ

๑. ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ลำเอียงเพราะชัง
๓. ลำเอียงเพราะหลง ๔. ลำเอียงเพราะกลัว
๕. เป็นอลัชชี

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรพูดในสงฆ์

ภิกษุควรพูดในสงฆ์
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรพูดในสงฆ์ องค์ ๕ คือ

๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง
๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว
๕. เป็นลัชชี

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรพูดในสงฆ์

ภิกษุไม่ควรพูดในสงฆ์ อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง ไม่ควรพูดในสงฆ์ องค์ ๕ คือ

๑. ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ลำเอียงเพราะชัง
๓. ลำเอียงเพราะหลง ๔. ลำเอียงเพราะกลัว
๕. ไม่ฉลาดในพระวินัย

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรพูดในสงฆ์

ภิกษุควรพูดในสงฆ์
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรพูดในสงฆ์ องค์ ๕ คือ

๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง
๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว
๕. ฉลาดในพระวินัย

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรพูดในสงฆ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๐๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๓. โวหารวรรค
ภิกษุไม่ควรพูดในสงฆ์ อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง ไม่ควรพูดในสงฆ์ องค์ ๕ คือ

๑. ไม่รู้ญัตติ ๒. ไม่รู้การทำญัตติ
๓. ไม่รู้อนุสาวนาแห่งญัตติ ๔. ไม่รู้สมถะแห่งญัตติ
๕. ไม่รู้ความระงับแห่งญัตติ

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรพูดในสงฆ์

ภิกษุควรพูดในสงฆ์
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรพูดในสงฆ์ องค์ ๕ คือ

๑. รู้ญัตติ ๒. รู้การทำญัตติ
๓. รู้อนุสาวนาแห่งญัตติ ๔. รู้สมถะแห่งญัตติ
๕. รู้ความระงับแห่งญัตติ

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรพูดในสงฆ์

ภิกษุไม่ควรพูดในสงฆ์ อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง ไม่ควรพูดในสงฆ์ องค์ ๕ คือ

๑. ไม่รู้พระสูตร ๒. ไม่รู้ข้ออนุโลมพระสูตร
๓. ไม่รู้พระวินัย ๔. ไม่รู้ข้ออนุโลมพระวินัย

๕. ไม่ฉลาดในฐานะอันควรและฐานะอันไม่ควร
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรพูดในสงฆ์

ภิกษุควรพูดในสงฆ์
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรพูดในสงฆ์ องค์ ๕ คือ

๑. รู้พระสูตร ๒. รู้ข้ออนุโลมพระสูตร
๓. รู้พระวินัย ๔. รู้ข้ออนุโลมพระวินัย

๕. ฉลาดในฐานะอันควรและฐานะอันไม่ควร
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรพูดในสงฆ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๐๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] หัวข้อประจำวรรค
ภิกษุไม่ควรพูดในสงฆ์ อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง ไม่ควรพูดในสงฆ์ องค์ ๕ คือ

๑. ไม่รู้พระธรรม ๒. ไม่รู้ข้ออนุโลมพระธรรม
๓. ไม่รู้พระวินัย ๔. ไม่รู้ข้ออนุโลมพระวินัย
๕. ไม่ฉลาดในคำต้นและคำหลัง

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรพูดในสงฆ์

ภิกษุควรพูดในสงฆ์
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรพูดในสงฆ์ องค์ ๕ คือ

๑. รู้พระธรรม ๒. รู้ข้ออนุโลมพระธรรม
๓. รู้พระวินัย ๔. รู้ข้ออนุโลมพระวินัย
๕. ฉลาดในคำต้นและคำหลัง

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรพูดในสงฆ์”
โวหารวรรคที่ ๓ จบ

หัวข้อประจำวรรค
ภิกษุไม่รู้อาบัติ ไม่รู้อธิกรณ์ กล่าวข่มขู่ ไม่ควรพูดในสงฆ์
ภิกษุรู้อาบัติ กรรม วัตถุ ควรพูดในสงฆ์
ภิกษุเป็นอลัชชี ไม่ฉลาดในญัตติ ไม่รู้พระสูตร
ไม่รู้พระธรรมไม่ควรพูดในสงฆ์
จัดเป็นวรรคที่ ๓ แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๐๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๔. ทิฏฐาวิกัมมวรรค
๔. ทิฏฐาวิกัมมวรรค
หมวดว่าด้วยการเปิดเผยความเห็น

ความเห็นที่ไม่ชอบธรรม
[๔๒๕] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “การเปิดเผยความเห็นที่ไม่ชอบธรรมมีเท่าไร
หนอแล พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี การเปิดเผยความเห็นที่ไม่ชอบธรรมมี ๕
อย่าง คือ
๑. การเปิดเผยความเห็นในอนาบัติ
๒. การเปิดเผยความเห็นในอาบัติที่เป็นอเทสนาคามินี
๓. การเปิดเผยความเห็นในอาบัติที่แสดงแล้ว
๔. การเปิดเผยความเห็นพร้อมกัน ๔-๕ รูป
๕. การเปิดเผยความเห็นด้วยนึกในใจ
อุบาลี การเปิดเผยความเห็น ๕ อย่างนี้แล ที่ไม่ชอบธรรม

ความเห็นที่ชอบธรรม
อุบาลี การเปิดเผยความเห็นที่ชอบธรรมมี ๕ อย่าง คือ
๑. การเปิดเผยความเห็นในอาบัติ
๒. การเปิดเผยความเห็นในอาบัติที่เป็นเทสนาคามินี
๓. การเปิดเผยความเห็นในอาบัติที่ยังไม่ได้แสดง
๔. การไม่เปิดเผยความเห็นพร้อมกัน ๔-๕ รูป
๕. การไม่เปิดเผยความเห็นด้วยนึกในใจ
อุบาลี การเปิดเผยความเห็น ๕ อย่างนี้แล ที่ชอบธรรม

ความเห็นที่ไม่ชอบธรรม อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี การเปิดเผยความเห็นที่ไม่ชอบธรรมแม้อื่นอีก ๕ อย่าง คือ
๑. การเปิดเผยความเห็นในสำนักภิกษุนานาสังวาส
๒. การเปิดเผยความเห็นในสำนักภิกษุผู้อยู่ในสีมาต่างกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๐๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๔. ทิฏฐาวิกัมมวรรค
๓. การเปิดเผยความเห็นในสำนักภิกษุมิใช่ปกตัตตะ
๔. การเปิดเผยความเห็นพร้อมกัน ๔-๕ รูป
๕. การเปิดเผยความเห็นด้วยนึกในใจ
อุบาลี การเปิดเผยความเห็น ๕ อย่างนี้แล ที่ไม่ชอบธรรม

ความเห็นที่ชอบธรรม
อุบาลี การเปิดเผยความเห็นที่ชอบธรรมนี้มี ๕ อย่าง คือ
๑. การเปิดเผยความเห็นในสำนักภิกษุสมานสังวาส
๒. การเปิดเผยความเห็นในสำนักภิกษุผู้อยู่ในสีมาเดียวกัน
๓. การเปิดเผยความเห็นในสำนักภิกษุผู้เป็นปกตัตตะ
๔. การไม่เปิดเผยความเห็นพร้อมกัน ๔-๕ รูป
๕. การไม่เปิดเผยความเห็นด้วยนึกในใจ
อุบาลี การเปิดเผยความเห็น ๕ อย่างนี้แล ที่ชอบธรรม”

การรับประเคนที่ใช้ไม่ได้
[๔๒๖] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “การรับประเคนที่ไม่ถูกต้อง มีเท่าไรหนอ
แล พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี การรับประเคนที่ใช้ไม่ได้มี ๕ อย่าง คือ
๑. ของเขาให้ด้วยกาย ไม่รับประเคนด้วยกาย
๒. ของเขาให้ด้วยกาย ไม่รับประเคนด้วยของเนื่องด้วยกาย
๓. ของเขาให้ด้วยของเนื่องด้วยกาย ไม่รับประเคนด้วยกาย
๔. ของเขาให้ด้วยของเนื่องด้วยกาย ไม่รับประเคนด้วยของเนื่องด้วยกาย
๕. ของเขาให้ด้วยการโยนให้ ไม่รับประเคนด้วยกายหรือด้วยของเนื่อง
ด้วยกาย
อุบาลี การรับประเคน ๕ อย่างนี้แล ใช้ไม่ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๐๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๔. ทิฏฐาวิกัมมวรรค
การรับประเคนที่ใช้ได้
อุบาลี การรับประเคนที่ใช้ได้นี้มี ๕ อย่าง คือ
๑. ของเขาให้ด้วยกาย รับประเคนด้วยกาย
๒. ของเขาให้ด้วยกาย รับประเคนด้วยของเนื่องด้วยกาย
๓. ของเขาให้ด้วยของเนื่องด้วยกาย รับประเคนด้วยกาย
๔. ของเขาให้ด้วยของเนื่องด้วยกาย รับประเคนด้วยของเนื่องด้วยกาย
๕. ของเขาให้ด้วยการโยนให้ รับประเคนด้วยกายหรือด้วยของเนื่องด้วยกาย
อุบาลี การรับประเคน ๕ อย่างนี้แล ใช้ได้”

ของที่ไม่เป็นเดน
[๔๒๗] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ของที่ไม่เป็นเดนมีเท่าไรหนอแล พระพุทธ-
เจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ของที่ไม่เป็นเดนมี ๕ อย่าง คือ
๑. ของที่ภิกษุยังมิได้ทำให้เป็น ๒. ของที่ภิกษุยังมิได้รับประเคน
กัปปิยะ
๓. ของที่ภิกษุยังมิได้ยกขึ้นส่งให้ ๔. ของที่อยู่นอกหัตถบาส
๕. ของที่ภิกษุยังมิได้กล่าวว่า ‘ทั้งหมดนั่นพอแล้ว’
อุบาลี ของที่ไม่เป็นเดนนี้มี ๕ อย่างแล

ของที่เป็นเดน
อุบาลี ของที่เป็นเดนมี ๕ อย่าง คือ

๑. ของที่ภิกษุทำให้เป็นกัปปิยะแล้ว ๒. ของที่ภิกษุรับประเคนแล้ว
๓. ของที่ภิกษุยกขึ้นส่งให้แล้ว ๔. ของที่อยู่ในหัตถบาส

๕. ของที่ภิกษุกล่าวว่า ‘ทั้งหมดนั่นพอแล้ว’
อุบาลี ของที่เป็นเดนนี้มี ๕ อย่างแล”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๑๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๔. ทิฏฐาวิกัมมวรรค
การห้ามภัตร
[๔๒๘] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “การห้ามภัตรย่อมปรากฏด้วยอาการเท่าไร
หนอแล พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี การห้ามภัตรย่อมปรากฏด้วยอาการ ๕
อย่าง คือ

๑. ภิกษุกำลังฉัน ๒. ทายกนำโภชนะมาถวาย
๓. ทายกอยู่ในหัตถบาส ๔. ทายกน้อมของถวาย
๕. ภิกษุบอกห้าม

อุบาลี การห้ามภัตรย่อมปรากฏด้วยอาการ ๕ อย่างนี้แล”

ปฏิญญาตกรณะที่ไม่ชอบธรรม
[๔๒๙] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ปฏิญญาตกรณะที่ไม่ชอบธรรมมีเท่าไร
หนอแล พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ปฏิญญาตกรณะที่ไม่ชอบธรรมนี้มี ๕ อย่าง คือ
๑. ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก ถูกโจทด้วยอาบัติปาราชิก แต่ปฏิญญา
ว่าต้องอาบัติสังฆาทิเสส สงฆ์ปรับอาบัติสังฆาทิเสสภิกษุนั้น ชื่อว่า
ปฏิญญาตกรณะไม่ชอบธรรม
๒. ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก ถูกโจทด้วยอาบัติปาราชิก แต่ปฏิญญา
ว่าต้องอาบัติปาจิตตีย์ สงฆ์ปรับอาบัติปาจิตตีย์ภิกษุนั้น ชื่อว่า
ปฏิญญาตกรณะไม่ชอบธรรม
๓. ภิกษุต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ถูกโจทด้วยอาบัติปาฏิเทสนียะ แต่
ปฏิญญาว่าต้องอาบัติทุกกฏ สงฆ์ปรับอาบัติทุกกฏภิกษุนั้น ชื่อว่า
ปฏิญญาตกรณะไม่ชอบธรรม
๔. ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสส ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ถูก
โจทด้วยอาบัติทุกกฏ แต่ปฏิญญาว่าต้องอาบัติปาราชิก สงฆ์ปรับ
อาบัติปาราชิกภิกษุนั้น ชื่อว่าปฏิญญาตกรณะไม่ชอบธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๑๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๔. ทิฏฐาวิกัมมวรรค
๕. ภิกษุต้องอาบัติทุกกฏ ถูกโจทด้วยอาบัติทุกกฏ แต่ปฏิญญาว่า
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ สงฆ์ปรับอาบัติ
ปาฏิเทสนียะภิกษุนั้น ชื่อว่าปฏิญญาตกรณะไม่ชอบธรรม
อุบาลี ปฏิญญาตกรณะ ๕ อย่างนี้แล ไม่ชอบธรรม

ปฏิญญาตกรณะที่ชอบธรรม
อุบาลี ปฏิญญาตกรณะที่ชอบธรรมนี้มี ๕ อย่าง คือ
๑. ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก ถูกโจทด้วยอาบัติปาราชิก ปฏิญญาว่า
ต้องอาบัติปาราชิก สงฆ์ปรับอาบัติปาราชิกภิกษุนั้น ชื่อว่า
ปฏิญญาตกรณะที่ชอบธรรม
๒. ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสส ถูกโจทด้วยอาบัติสังฆาทิเสส ปฏิญญา
ว่าต้องอาบัติสังฆาทิเสส สงฆ์ปรับอาบัติสังฆาทิเสสภิกษุนั้น ชื่อว่า
ปฏิญญาตกรณะที่ชอบธรรม
๓. ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ ถูกโจทด้วยอาบัติปาจิตตีย์ ปฏิญญาว่า
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ สงฆ์ปรับอาบัติปาจิตตีย์ภิกษุนั้น ชื่อว่า
ปฏิญญาตกรณะที่ชอบธรรม
๔. ภิกษุต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ถูกโจทด้วยอาบัติปาฏิเทสนียะ
ปฏิญญาว่าต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ สงฆ์ปรับอาบัติปาฏิเทสนียะ
ภิกษุนั้น ชื่อว่าปฏิญญาตกรณะที่ชอบธรรม
๕. ภิกษุต้องอาบัติทุกกฏ ถูกโจทด้วยอาบัติทุกกฏ ปฏิญญาว่าต้อง
อาบัติทุกกฏ สงฆ์ปรับอาบัติทุกกฏภิกษุนั้น ชื่อว่าปฏิญญาต-
กรณะที่ชอบธรรม
อุบาลี ปฏิญญาตกรณะ ๕ อย่างนี้แล ที่ชอบธรรม”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๑๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๔. ทิฏฐาวิกัมมวรรค
ไม่ควรทำโอกาส
[๔๓๐] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล ขอ
ให้ทำโอกาส สงฆ์ไม่ควรทำโอกาส พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ขอให้ทำโอกาส
สงฆ์ไม่ควรทำโอกาส องค์ ๕ คือ

๑. เป็นอลัชชี ๒. เป็นคนโง่เขลา
๓. ไม่ใช่ปกตัตตะ ๔. เป็นผู้กล่าวประสงค์จะให้เคลื่อน
จากศาสนา

๕. ไม่เป็นผู้กล่าวประสงค์จะให้ออกจากอาบัติ
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ขอให้ทำโอกาส สงฆ์ไม่ควรทำโอกาส

ควรทำโอกาส
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ขอให้ทำโอกาส สงฆ์ควรทำโอกาส องค์
๕ คือ

๑. เป็นลัชชี ๒. เป็นบัณฑิต
๓. เป็นปกตัตตะ ๔. เป็นผู้กล่าวประสงค์จะให้ออก
จากอาบัติ

๕. ไม่เป็นผู้กล่าวประสงค์จะให้เคลื่อนจากศาสนา
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ขอให้ทำโอกาส สงฆ์ควรทำโอกาส”

ไม่ควรสนทนาวินัย
[๔๓๑] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุทั้งหลายไม่ควรสนทนาวินัยกับภิกษุ
ผู้ประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุทั้งหลายไม่ควรสนทนาวินัยกับผู้ประกอบ
ด้วยองค์ ๕ องค์ ๕ คือ
๑. ไม่รู้วัตถุ ๒. ไม่รู้นิทาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๑๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๔. ทิฏฐาวิกัมมวรรค
๓. ไม่รู้พระบัญญัติ ๔. ไม่รู้บทที่ตกหล่นในภายหลัง
๕. ไม่รู้ถ้อยคำอันเกี่ยวเนื่องกัน
อุบาลี ภิกษุทั้งหลายไม่ควรสนทนาวินัยกับภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล

ควรสนทนาวินัย
อุบาลี ภิกษุทั้งหลายควรสนทนาวินัยกับภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ องค์ ๕
คือ

๑. รู้วัตถุ ๒. รู้นิทาน
๓. รู้บัญญัติ ๔. รู้บทที่ตกหล่นในภายหลัง
๕. รู้ถ้อยคำอันเกี่ยวเนื่องกัน

อุบาลี ภิกษุทั้งหลายควรสนทนาวินัยกับภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล”

เหตุที่ถามปัญหา ๕ อย่าง
[๔๓๒] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “การถามปัญหามีเท่าไรหนอแล พระ
พุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี การถามปัญหานี้มี ๕ อย่าง คือ
๑. ภิกษุถามปัญหาเพราะความเป็นผู้โง่เขลา งมงาย
๒. เป็นผู้ปรารถนาเลวทราม ถูกความอยากครอบงำ จึงถามปัญหา
๓. ถามปัญหาเพราะดูหมิ่น
๔. เป็นผู้ไม่ประสงค์จะรู้จึงถามปัญหา
๕. ถามปัญหาด้วยคำนึงว่า ถ้าเราถามปัญหาแล้ว ภิกษุจักพยากรณ์
ได้ถูกต้อง การพยากรณ์ดังนี้นั้นเป็นสิ่งดี แต่ถ้าเราถามปัญหาแล้ว
เธอจักพยากรณ์ไม่ถูกต้อง เราก็จักพยากรณ์แก่เธออย่างถูกต้อง
อุบาลี การถามปัญหามี ๕ อย่างนี้แล”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๑๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๔. ทิฏฐาวิกัมมวรรค
การอวดอ้างมรรคผล
[๔๓๓] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “การอวดอ้างมรรคผลมีเท่าไรหนอแล พระ
พุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี การอวดอ้างมรรคผลมี ๕ อย่าง คือ
๑. ภิกษุอวดอ้างมรรคผลเพราะความเป็นผู้โง่เขลา งมงาย
๒. เป็นผู้ปรารถนาเลวทราม ถูกความอยากครอบงำ จึงอวดอ้าง
มรรคผล
๓. อวดอ้างมรรคผลเพราะวิกลจริต มีจิตฟุ้งซ่าน
๔. อวดอ้างมรรคผลเพราะสำคัญว่าได้บรรลุ
๕. อวดอ้างมรรคผลที่เป็นจริง
อุบาลี การอวดอ้างมรรคผลมี ๕ อย่างนี้แล”

วิสุทธิ
[๔๓๔] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “วิสุทธิมีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี วิสุทธินี้มี ๕ แบบ คือ
๑. ยกนิทานขึ้นแสดงจบแล้ว พึงสวดอุทเทสที่เหลือด้วยสุตบท นี้จัด
เป็นวิสุทธิแบบที่ ๑
๒. ยกนิทานขึ้นแสดง ยกปาราชิก ๔ ขึ้นแสดงจบแล้วพึงสวดอุทเทส
ที่เหลือด้วยสุตบท นี้เป็นวิสุทธิแบบที่ ๒
๓. ยกนิทานขึ้นแสดง ยกปาราชิก ๔ ขึ้นแสดง ยกสังฆาทิเสส ๑๓
ขึ้นแสดงจบแล้ว พึงสวดอุทเทสที่เหลือด้วยสุตบท นี้เป็นวิสุทธิแบบที่ ๓
๔. ยกนิทานขึ้นแสดง ยกปาราชิก ๔ ขึ้นแสดง ยกสังฆาทิเสส ๑๓
ขึ้นแสดง ยกอนิยต ๒ ขึ้นแสดงจบแล้ว พึงสวดอุทเทสที่เหลือ
ด้วยสุตบท นี้เป็นวิสุทธิแบบที่ ๔
๕. ยกขึ้นแสดงโดยพิสดารทั้งหมด เป็นวิสุทธิแบบที่ ๕
อุบาลี วิสุทธิมี ๕ แบบนี้แล”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๑๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๕. อัตตาทานวรรค
โภชนะ ๕
[๔๓๕] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “โภชนะมีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี โภชนะนี้มี ๕ อย่าง คือ
๑. ข้าวสุก ๒. ขนมสด
๓. ขนมแห้ง ๔. ปลา
๕. เนื้อ
อุบาลี โภชนะมี ๕ อย่างนี้แล”
ทิฏฐาวิกัมมวรรคที่ ๔ จบ

หัวข้อประจำวรรค
การเปิดเผยความเห็นในอนาบัติ การเปิดเผยความเห็นในอาบัติ
การรับประเคน ของที่เป็นเดน การห้ามภัตร ปฏิญญาตกรณะ
การขอโอกาส การสนทนา การถามปัญหา
การอวดอ้างมรรคผล วิสุทธิ โภชนะ

๕. อัตตาทานวรรค
หมวดว่าด้วยการรับหน้าที่เป็นโจทก์

คุณสมบัติที่ผู้โจทก์พึงพิจารณา๑
[๔๓๖] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงพิจารณา
คุณสมบัติภายในตนเท่าไร จึงจะโจทผู้อื่นได้ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงพิจารณา
คุณสมบัติภายในตน ๕ อย่างแล้วจึงจะโจทผู้อื่น ธรรม ๕ อย่าง คือ

เชิงอรรถ :
๑ วิ.จู. (แปล) ๗/๓๙๙/๒๒๔, องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๔๔/๖๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๑๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๕. อัตตาทานวรรค
๑. ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาอย่างนี้ว่า ‘เรามีความ
ประพฤติทางกายบริสุทธิ์หรือหนอ เราประกอบด้วยความประพฤติ
ทางกายที่บริสุทธิ์ ไม่เสียหาย ไม่บกพร่อง คุณสมบัติข้อนี้เรามี
อยู่หรือไม่มีหนอ’ ถ้าภิกษุไม่ใช่ผู้มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์
ประกอบด้วยความประพฤติทางกายที่บริสุทธิ์ ไม่เสียหาย ไม่บกพร่อง
ภิกษุผู้โจทก์นั้นย่อมถูกตอบโต้ว่า ‘เชิญท่านสำเหนียกความประพฤติ
ทางกายเสียก่อนเถิด’ ภิกษุผู้โจทก์นั้นย่อมจะถูกตอบโต้อย่างนี้
๒. อนึ่ง ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาอย่างนี้ ‘เรามี
ความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์หรือหนอ เราประกอบด้วยความ
ประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ ไม่เสียหาย ไม่บกพร่อง คุณสมบัติ
ข้อนี้เรามีหรือไม่มีหนอ’ ถ้าภิกษุไม่ใช่ผู้มีความประพฤติทางวาจา
บริสุทธิ์ ประกอบด้วยความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ ไม่เสียหาย
ไม่บกพร่อง ภิกษุผู้โจทก์นั้นย่อมถูกตอบโต้ว่า ‘เชิญท่านสำเหนียก
ความประพฤติทางวาจาเสียก่อนเถิด’ ภิกษุผู้โจทก์นั้นย่อมจะถูกตอบ
โต้อย่างนี้
๓. อนึ่ง ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาอย่างนี้ ‘เรามี
เมตตาจิต ไม่อาฆาตพยาบาทเพื่อนพรหมจารีหรือหนอ คุณสมบัติ
ข้อนี้เรามีหรือไม่มีหนอ’ ถ้าภิกษุไม่ใช่ผู้มีเมตตาจิต ไม่อาฆาต
พยาบาทเพื่อนพรหมจารี ภิกษุผู้โจทก์นั้นย่อมถูกตอบโต้ว่า ‘เชิญ
ท่านมีเมตตาจิตในเพื่อนพรหมจารีเสียก่อนเถิด’ ภิกษุผู้โจทก์นั้น
ย่อมจะถูกตอบโต้อย่างนี้
๔. อนึ่ง ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาอย่างนี้ ‘เรา
เป็นพหูสูต ทรงสุตะ มีการสั่งสมสุตะหรือหนอ เราได้สดับมาก
ทรงจำได้แม่นยำ คล่องปาก ขึ้นใจ รู้ชัดด้วยปัญญาซึ่งธรรมงาม
เบื้องต้น งามท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๑๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๕. อัตตาทานวรรค
อรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วนหรือไม่หนอ
คุณสมบัติข้อนี้เรามีหรือไม่มีหนอ’ ถ้าภิกษุไม่ได้เป็นพหูสูต ทรงสุตะ
มีการสั่งสมสุตะ ได้สดับมาก ทรงจำได้แม่นยำ คล่องปาก ขึ้นใจ
รู้ชัดด้วยปัญญาซึ่งธรรมงามเบื้องต้น งามท่ามกลาง งามในที่สุด
ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์
บริบูรณ์ครบถ้วน ภิกษุผู้โจทก์นั้นย่อมจะถูกตอบโต้ว่า ‘เชิญท่าน
ศึกษาพระปริยัติเสียก่อนเถิด’ ภิกษุผู้โจทก์นั้นย่อมจะถูกตอบโต้อย่างนี้
๕. อนึ่ง ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาอย่างนี้ ‘เรา
ทรงจำปาติโมกข์ทั้งสองได้แม่นยำโดยพิสดาร จำแนกถูกต้อง จัด
ระเบียบถูกต้อง วินิจฉัยถูกต้องโดยสุตตะโดยอนุพยัญชนะหรือหนอ
คุณสมบัติข้อนี้เรามีหรือไม่มีหนอ’ ถ้าภิกษุไม่ใช่ผู้ทรงจำปาติโมกข์
ทั้งสองได้แม่นยำโดยพิสดาร จำแนกถูกต้อง จัดระเบียบถูกต้อง
วินิจฉัยถูกต้องโดยสุตตะโดยอนุพยัญชนะ(ตามข้อ ตามอักษร) ภิกษุ
ผู้โจทก์นั้นย่อมจะถูกตอบโต้ว่า ‘เชิญท่านศึกษาพระวินัยให้ชำนาญ
เสียก่อนเถิด’ ภิกษุผู้โจทก์นั้นย่อมจะถูกตอบโต้อย่างนี้
อุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาคุณสมบัติภายในตน ๕
อย่างนี้ จึงโจทผู้อื่น”

คุณสมบัติที่โจทก์พึงตั้งไว้ในตน๑
[๔๓๗] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงตั้ง
คุณสมบัติเท่าไรไว้ในตน พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงตั้ง
คุณสมบัติ ๕ อย่างไว้ในตน คุณสมบัติ ๕ อย่าง คือ

เชิงอรรถ :
๑ วิ.จู. (แปล) ๗/๔๐๐/๓๐๔, ที.ปา. (แปล) ๑๑/๓๑๖/๓๐๖, องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๑๖๗/๒๗๗, องฺ.ทสก.
(แปล) ๒๔/๔๔/๙๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๑๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๕. อัตตาทานวรรค
๑. เราจักโจทโดยกาลที่ควร จักไม่โจทโดยกาลไม่ควร
๒. เราจักโจทด้วยเรื่องจริง จักไม่โจทด้วยเรื่องไม่จริง
๓. เราจักโจทด้วยคำสุภาพ จักไม่โจทด้วยคำหยาบ
๔. เราจักโจทด้วยเรื่องที่เป็นประโยชน์ จักไม่โจทด้วยเรื่องที่ไม่เป็น
ประโยชน์
๕. เราจักมีเมตตาจิตโจท จักไม่มุ่งร้ายโจท
อุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น ควรตั้งคุณสมบัติ ๕ ประการนี้
ไว้ในตนจึงโจทผู้อื่น”

โจทก์ควรใฝ่ใจถึงธรรม
[๔๓๘] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจท ผู้อื่นควรใฝ่ใจ
ธรรมเท่าไรไว้ในตนแล้วโจทผู้อื่น พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น ควรใฝ่ใจ
ธรรม ๕ อย่าง ไว้ในตนแล้วโจทผู้อื่น ธรรม ๕ อย่าง คือ
๑. มีความการุญ ๒. มุ่งประโยชน์
๓. มีความเอ็นดู ๔. มุ่งออกจากอาบัติ
๕. ยึดพระวินัยไว้เป็นแนวทาง
อุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น ควรใฝ่ใจธรรม ๕ อย่างนี้ไว้ในตนแล้ว
โจทผู้อื่น”

องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรให้ทำโอกาส
[๔๓๙] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล
ขอให้ทำโอกาส สงฆ์ไม่ควรทำโอกาส พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ขอให้ทำโอกาส
สงฆ์ไม่ควรทำโอกาส องค์ ๕ คือ
๑. เป็นผู้มีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์
๒. เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์
๓. เป็นผู้มีอาชีวะไม่บริสุทธิ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๑๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๕. อัตตาทานวรรค
๔. เป็นผู้โง่เขลา ไม่ฉลาด
๕. ถูกซักถาม ไม่อาจตอบข้อซักถาม
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ขอให้ทำโอกาส สงฆ์ไม่ควรทำโอกาส

องค์ของภิกษุผู้ควรให้ทำโอกาส
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ขอให้ทำโอกาส สงฆ์ควรทำโอกาส องค์
๕ คือ
๑. เป็นผู้มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์
๒. เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์
๓. เป็นผู้มีอาชีวะบริสุทธิ์
๔. เป็นบัณฑิต ฉลาด
๕. ถูกซักถามเข้า อาจตอบข้อซักถาม
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ขอให้ทำโอกาส สงฆ์ควรทำโอกาส”

องค์แห่งอธิกรณ์ที่ตนพึงรับ๑
[๔๔๐] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้ประสงค์จะรับอธิกรณ์ พึงรับ
อธิกรณ์ประกอบด้วยองค์เท่าไร พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ประสงค์จะรับอธิกรณ์ พึงรับอธิกรณ์
ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ
๑. ภิกษุผู้ประสงค์จะรับอธิกรณ์ พึงพิจารณาอย่างนี้ว่า ‘ข้อที่เราประสงค์
จะรับอธิกรณ์นี้ ถึงเวลาที่จะรับอธิกรณ์นี้หรือไม่ถึงหนอ’ ถ้าภิกษุ
พิจารณารู้อย่างนี้ว่า ‘ยังไม่ใช่เวลาที่จะรับอธิกรณนี้ ถึงเวลาหา
มิได้’ ก็ไม่ควรรับอธิกรณ์นั้น

เชิงอรรถ :
๑ วิ.จู. (แปล) ๗/๓๙๘/๓๐๐-๓๐๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๒๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๕. อัตตาทานวรรค
๒. อนึ่ง ถ้าภิกษุพิจารณารู้อย่างนี้ว่า ‘ถึงเวลาที่จะรับอธิกรณ์นี้ ไม่
ใช่ยังไม่ถึงเวลา’ ภิกษุนั้นพึงพิจารณายิ่งขึ้นอีกว่า ‘ข้อที่เราประสงค์
จะรับอธิกรณ์นี้ อธิกรณ์ที่เราจะรับนี้เป็นเรื่องจริงหรือไม่จริง’ ถ้า
ภิกษุพิจารณารู้อย่างนี้ว่า ‘อธิกรณ์ที่จะรับนี้ไม่จริง ไม่ใช่เรื่องจริง’
ก็ไม่ควรรับอธิกรณ์นั้น
๓. อนึ่ง ถ้าภิกษุพิจารณารู้อย่างนี้ว่า ‘อธิกรณ์นี้เป็นเรื่องจริง ไม่ใช่
เรื่องไม่จริง’ ภิกษุนั้นพึงพิจารณายิ่งขึ้นอีกว่า ‘ข้อที่เราประสงค์จะ
รับอธิกรณ์นี้ อธิกรณ์นี้มีประโยชน์หรือไม่มี’ ถ้าภิกษุพิจารณารู้
อย่างนี้ว่า ‘อธิกรณ์นี้ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ใช่ประกอบด้วย
ประโยชน์’ ก็ไม่ควรรับอธิกรณ์นั้น
๔. อนึ่ง ถ้าภิกษุพิจารณารู้อย่างนี้ว่า ‘อธิกรณ์นี้ประกอบด้วยประโยชน์
ไม่ใช่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์’ ภิกษุนั้นพึงพิจารณายิ่งขึ้นอีกว่า
‘เราเมื่อรับอธิกรณ์นี้จะได้ภิกษุผู้เคยพบเห็น เคยคบหากันมาเป็น
พวกโดยชอบธรรม โดยชอบด้วยวินัยหรือไม่’ ถ้าภิกษุพิจารณารู้
อย่างนี้ว่า ‘เราเมื่อรับอธิกรณ์นี้ไว้เราจะไม่ได้ภิกษุผู้เคยพบเห็นเคย
คบหากันมาเป็นพวกโดยชอบธรรม โดยชอบด้วยวินัย’ ก็ไม่ควร
รับอธิกรณ์นั้น
๕. อนึ่ง ถ้าภิกษุพิจารณารู้อย่างนี้ว่า ‘เราเมื่อรับอธิกรณ์นี้ไว้ เราจะ
ได้ภิกษุผู้เคยพบเห็นเคยคบหากันมาเป็นพวกโดยชอบธรรม โดยชอบ
ด้วยวินัย’ ภิกษุนั้นพึงพิจารณายิ่งขึ้นอีกว่า ‘เราเมื่อรับอธิกรณ์นี้ไว้
อธิกรณ์นั้นจะเป็นเหตุให้สงฆ์บาดหมาง ทะเลาะแก่งแย่ง วิวาท
สงฆ์แตกกัน สงฆ์ร้าวราน สงฆ์แบ่งแยก สงฆ์เป็นต่าง ๆ กันหรือไม่’
ถ้าภิกษุพิจารณารู้อย่างนี้ว่า ‘เราเมื่อรับอธิกรณ์นี้ไว้ อธิกรณ์นั้น
จะเป็นเหตุให้สงฆ์บาดหมาง ทะเลาะแก่งแย่ง วิวาทกัน สงฆ์แตกกัน
สงฆ์ร้าวราน สงฆ์แบ่งแยก สงฆ์เป็นต่าง ๆ กัน’ ก็ไม่ควรรับอธิกรณ์นั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๒๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๕. อัตตาทานวรรค
อนึ่ง ถ้าภิกษุพิจารณารู้อย่างนี้ว่า ‘เราเมื่อรับอธิกรณ์นี้ไว้ อธิกรณ์นั้นจะไม่
เป็นเหตุให้สงฆ์บาดหมาง ทะเลาะแก่งแย่ง วิวาท สงฆ์แตกกัน สงฆ์ร้าวราน สงฆ์
แบ่งแยกสงฆ์เป็นต่าง ๆ กัน’ ควรรับอธิกรณ์นั้น
อุบาลี อธิกรณ์ซึ่งประกอบด้วยองค์ ๕ ที่ภิกษุรับแล้วจักไม่กระทำให้เดือดร้อน
ในภายหลัง ด้วยประการฉะนี้”

องค์ของภิกษุผู้มีอุปการะมาก
[๔๔๑] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล
เป็นผู้มีอุปการะมากแก่พวกภิกษุก่ออธิกรณ์ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เป็นผู้มีอุปการะ
มากแก่พวกภิกษุก่ออธิกรณ์ องค์ ๕ คือ
๑. เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วย
อาจาระและโคจรอยู่ มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทาน
ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
๒. เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ ธรรมเหล่านั้นใดที่งามในเบื้องต้น
งามในท่ามกลาง และงามในที่สุด ย่อมสรรเสริญพรหมจรรย์พร้อม
ทั้งอรรถพร้อมทั้งพยัญชนะ ธรรมทั้งหลายเห็นปานนี้ ย่อมเป็นอัน
เธอสดับมาก ทรงไว้ สั่งสมด้วยวาจาเข้าไปเพ่งด้วยใจ ประจักษ์ชัดดี
แล้วด้วยทิฏฐิ
๓. จำปาติโมกข์ทั้ง ๒ โดยพิสดารได้ดี จำแนกได้ดี คล่องแคล่วดี
วินิจฉัยโดยสุตตะ โดยอนุพยัญชนะได้ดี
๔. เป็นผู้ตั้งมั่นในพระวินัย ไม่คลอนแคลน
๕. เป็นผู้อาจชี้แจงให้คู่ต่อสู้ในอธิกรณ์ยินยอมเข้าใจ เพ่ง เห็น เลื่อมใส
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เป็นผู้มีอุปการะมากแก่ภิกษุพวกก่อ
อธิกรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๒๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๕. อัตตาทานวรรค
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง เป็นผู้มีอุปการะมากแก่
พวกภิกษุก่ออธิกรณ์ องค์ ๕ คือ
๑. เป็นผู้มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์
๒. เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์
๓. เป็นผู้มีอาชีวะบริสุทธิ์
๔. เป็นบัณฑิต ฉลาด
๕. ถูกซักถาม อาจให้คำตอบข้อซักถาม
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เป็นผู้มีอุปการะมากแก่พวกภิกษุก่อ
อธิกรณ์
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง เป็นผู้มีอุปการะมากแก่พวก
ภิกษุก่ออธิกรณ์ องค์ ๕ คือ

๑. รู้วัตถุ ๒. รู้นิทาน
๓. รู้พระบัญญัติ ๔. รู้บทที่ตกหล่นในภายหลัง
๕. รู้ถ้อยคำอันเกี่ยวเนื่องกันได้

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เป็นผู้มีอุปการะมากแก่พวกภิกษุ
ก่ออธิกรณ์”

องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรซักถาม
[๔๔๒] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล
ไม่ควรซักถาม พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ควรซักถาม
องค์ ๕ คือ

๑. ไม่รู้พระสูตร ๒. ไม่รู้ข้ออนุโลมพระสูตร
๓. ไม่รู้พระวินัย ๔. ไม่รู้ข้ออนุโลมพระวินัย

๕. ไม่ฉลาดในฐานะอันควรและฐานะอันไม่ควร
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรซักถาม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๒๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๕. อัตตาทานวรรค
องค์ของภิกษุผู้ควรซักถาม
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรซักถาม องค์ ๕ คือ
๑. รู้พระสูตร ๒. รู้ข้ออนุโลมพระสูตร
๓. รู้พระวินัย ๔. รู้ข้ออนุโลมพระวินัย
๕. ฉลาดในฐานะอันควรและฐานะอันไม่ควร
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรซักถาม

องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรซักถาม อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง ไม่ควรซักถาม องค์ ๕ คือ
๑. ไม่รู้พระธรรม ๒. ไม่รู้ข้ออนุโลมพระธรรม
๓. ไม่รู้พระวินัย ๔. ไม่รู้ข้ออนุโลมพระวินัย
๕. ไม่ฉลาดในคำต้นและคำหลัง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรซักถาม

องค์ของภิกษุผู้ควรซักถาม
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรซักถาม องค์ ๕ คือ
๑. รู้พระธรรม ๒. รู้ข้ออนุโลมพระธรรม
๓. รู้พระวินัย ๔. รู้ข้ออนุโลมพระวินัย
๕. ฉลาดในคำต้นและคำหลัง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรซักถาม

องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรซักถาม อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง ไม่ควรซักถาม องค์ ๕ คือ

๑. ไม่รู้วัตถุ ๒. ไม่รู้นิทาน
๓. ไม่รู้พระบัญญัติ ๔. ไม่รู้บทที่ตกหล่นในภายหลัง
๕. ไม่รู้ถ้อยคำอันเกี่ยวเนื่องกันได้

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรซักถาม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๒๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๕. อัตตาทานวรรค
องค์ของภิกษุผู้ควรซักถาม
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรซักถาม องค์ ๕ คือ
๑. รู้วัตถุ ๒. รู้นิทาน
๓. รู้บัญญัติ ๔. รู้บทที่ตกหล่นในภายหลัง
๕. รู้ถ้อยคำอันเกี่ยวเนื่องกันได้
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรซักถาม

องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรซักถาม อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง ไม่ควรซักถาม องค์ ๕ คือ

๑. ไม่รู้อาบัติ ๒. ไม่รู้สมุฏฐานแห่งอาบัติ
๓. ไม่รู้ประโยคแห่งอาบัติ ๔. ไม่รู้ความระงับอาบัติ
๕. ไม่ฉลาดในการวินิจฉัยอาบัติ

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรซักถาม

องค์ของภิกษุผู้ควรซักถาม
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรซักถาม องค์ ๕ คือ

๑. รู้อาบัติ ๒. รู้สมุฏฐานแห่งอาบัติ
๓. รู้ประโยคแห่งอาบัติ ๔. รู้ความระงับอาบัติ
๕. ฉลาดในการวินิจฉัยอาบัติ

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรซักถาม

องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรซักถาม อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง ไม่ควรซักถาม องค์ ๕ คือ

๑. ไม่รู้อธิกรณ์ ๒. ไม่รู้สมุฏฐานแห่งอธิกรณ์
๓. ไม่รู้ประโยคแห่งอธิกรณ์ ๔. ไม่รู้ความระงับอธิกรณ์
๕. ไม่ฉลาดในการวินิจฉัยอธิกรณ์

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรซักถาม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๒๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๖. ธุดงควรรค
องค์ของภิกษุผู้ควรซักถาม
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรซักถาม องค์ ๕ คือ

๑. รู้อธิกรณ์ ๒. รู้สมุฏฐานแห่งอธิกรณ์
๓. รู้ประโยคแห่งอธิกรณ์ ๔. รู้ความระงับอธิกรณ์
๕. ฉลาดในการวินิจฉัยอธิกรณ์

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรซักถาม”
อัตตาทานวรรคที่ ๕ จบ

หัวข้อประจำวรรค
ภิกษุผู้มีความประพฤติทางกาย วาจาบริสุทธิ์
ภิกษุผู้กล่าวโดยกาล มีความการุญ ควรเป็นผู้โจทก์
การทำโอกาส การรับอธิกรณ์ อธิกรณ์และการรับอธิกรณ์อีกนัยหนึ่ง
ภิกษุผู้รู้วัตถุ รู้พระสูตร รู้ธรรม รู้วัตถุอีกนัยหนึ่ง รู้อาบัติ รู้อธิกรณ์

๖. ธุดงควรรค
หมวดว่าด้วยธุดงค์

ถืออยู่ป่า เป็นต้น
[๔๔๓] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้ถืออยู่ป่ามีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ถืออยู่ป่านี้มี ๕ จำพวก คือ
๑. เพราะเป็นผู้โง่เขลางมงาย จึงอยู่ป่า
๒. เป็นผู้มีความปรารถนาเลวทราม ถูกความอยากครอบงำ จึงอยู่ป่า
๓. เพราะมัวเมา จิตฟุ้งซ่าน จึงอยู่ป่า
๔. เพราะเข้าใจว่า พระพุทธเจ้า พระสาวกพระพุทธเจ้าสรรเสริญ จึงอยู่ป่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๒๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๖. ธุดงควรรค
๕. เพราะอาศัยความมักน้อย สันโดษ ขัดเกลา ความเงียบสงัดและ
เพราะอาศัยว่า การอยู่ป่ามีประโยชน์ด้วยการปฏิบัติอันงามนี้ จึงอยู่ป่า
อุบาลี ภิกษุผู้ถืออยู่ป่ามี ๕ จำพวก นี้แล
ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตมีเท่าไรหนอแล พระ
พุทธเจ้าข้า ฯลฯ ภิกษุผู้ถือผ้าบังสุกุลมีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า ฯลฯ ภิกษุ
ผู้ถืออยู่โคนไม้มีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า ฯลฯ ภิกษุผู้ถืออยู่ป่าช้ามีเท่าไรหนอแล
พระพุทธเจ้าข้า ฯลฯ ภิกษุผู้ถืออยู่กลางแจ้งมีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า ฯลฯ
ภิกษุผู้ถือทรงผ้า ๓ ผืนมีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า ฯลฯ ภิกษุผู้ถือเที่ยวตาม
แถวมีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า ฯลฯ ภิกษุผู้ถือการนั่งมีเท่าไรหนอแล พระ
พุทธเจ้าข้า ฯลฯ ภิกษุผู้ถืออยู่ในอาสนะตามที่จัดไว้มีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า
ฯลฯ ภิกษุผู้ถือนั่งฉัน ณ อาสนะแห่งเดียวมีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า ฯลฯ
ภิกษุผู้ถือการห้ามภัตรที่เขานำมาถวายเมื่อภายหลังมีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า
ฯลฯ ภิกษุผู้ถือการฉันเฉพาะในบาตรมีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ถือการฉันเฉพาะในบาตรนี้มี ๕ จำพวก
๕ จำพวก คือ
๑. เพราะเป็นผู้โง่เขลา งมงาย จึงถือการฉันเฉพาะในบาตร
๒. เป็นผู้มีความปรารถนาเลวทราม ถูกความอยากครอบงำ จึงถือ
การฉันเฉพาะในบาตร
๓. เพราะมัวเมา จิตฟุ้งซ่าน จึงถือการฉันเฉพาะในบาตร
๔. เพราะเข้าใจว่า พระพุทธเจ้า พระสาวกของพระพุทธเจ้าสรรเสริญ
จึงถือการฉันเฉพาะในบาตร
๕. เพราะอาศัยความมักน้อย สันโดษ ขัดเกลา ความเงียบสงัดและ
เพราะอาศัยว่า การฉันเฉพาะในบาตร มีประโยชน์อันงามนี้ จึงถือ
การฉันเฉพาะในบาตร
อุบาลี ภิกษุผู้ถือการฉันเฉพาะในบาตรมี ๕ จำพวก นี้แล”
ธุดงควรรคที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๒๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๗. มุสาวาทวรรค
หัวข้อประจำวรรค
ภิกษุถืออยู่ป่า ถือเที่ยวบิณฑบาต ถือผ้าบังสุกุล ถืออยู่โคนไม้
ถืออยู่ป่าช้า ถืออยู่ในที่กลางแจ้ง ถือทรงผ้า ๓ ผืน
ถือเที่ยวตามแถว ถือการนั่ง ถืออยู่ในอาสนะตามที่จัดไว้
ถือนั่งฉัน ณ อาสนะแห่งเดียว ถือการห้ามภัตรที่เขานำมาถวาย
เมื่อภายหลัง ถือฉันเฉพาะในบาตร

๗. มุสาวาทวรรค
หมวดว่าด้วยมุสาวาท
[๔๔๔] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “มุสาวาทมีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี มุสาวาทนี้มี ๕ อย่าง คือ
๑. มุสาวาทที่ถึงขั้นอาบัติปาราชิกมีอยู่
๒. มุสาวาทที่ถึงขั้นอาบัติสังฆาทิเสสมีอยู่
๓. มุสาวาทที่ถึงขั้นอาบัติถุลลัจจัยมีอยู่
๔. มุสาวาทที่ถึงขั้นอาบัติปาจิตตีย์มีอยู่
๕. มุสาวาทที่ถึงขั้นอาบัติทุกกฏมีอยู่
อุบาลี มุสาวาทมี ๕ อย่าง นี้แล”

งดอุโบสถหรือปวารณา
[๔๔๕] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล
งดอุโบสถหรือปวารณาในท่ามกลางสงฆ์ สงฆ์พึงกล่าวห้ามว่า ‘พอที ภิกษุ อย่า
ทุ่มเถียงกัน อย่าทะเลาะกัน อย่าแก่งแย่งกัน อย่าวิวาทกัน’ ดังนี้ แล้วจึงทำ
อุโบสถหรือปวารณา พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ งดอุโบสถหรือ
ปวารณาในท่ามกลางสงฆ์ สงฆ์พึงกล่าวห้ามว่า ‘พอที ภิกษุ อย่าทุ่มเถียงกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๒๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๗. มุสาวาทวรรค
อย่าทะเลาะกัน อย่าแก่งแย่งกัน อย่าวิวาทกัน’ ดังนี้ แล้วทำอุโบสถหรือปวารณา
องค์ ๕ คือ

๑. เป็นอลัชชี ๒. เป็นคนโง่เขลา
๓. ไม่ใช่เป็นปกตัตตะ ๔. เป็นผู้กล่าวประสงค์จะให้เคลื่อน
จากศาสนา

๕. ไม่เป็นผู้กล่าวประสงค์จะให้ออกจากอาบัติ
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล งดอุโบสถหรือปวารณาในท่ามกลางสงฆ์
สงฆ์พึงกล่าวห้ามว่า ‘พอที ภิกษุ อย่าทุ่มเถียงกัน อย่าทะเลาะกัน อย่าแก่งแย่งกัน
อย่าวิวาทกัน’ ดังนี้ แล้วทำอุโบสถหรือปวารณา
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง งดอุโบสถหรือปวารณาในท่าม
กลางสงฆ์ สงฆ์พึงกล่าวห้ามว่า ‘พอที ภิกษุ อย่าทุ่มเถียงกัน อย่าทะเลาะกัน
อย่าแก่งแย่งกัน อย่าวิวาทกัน’ ดังนี้ แล้วทำอุโบสถหรือปวารณา องค์ ๕ คือ
๑. เป็นผู้มีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์
๒. เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์
๓. เป็นผู้มีอาชีวะไม่บริสุทธิ์
๔. เป็นคนโง่เขลา ไม่ฉลาด
๕. เป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล งดอุโบสถหรือปวารณาในท่ามกลางสงฆ์
สงฆ์พึงกล่าวห้ามว่า ‘พอที ภิกษุ อย่าทุ่มเถียงกัน อย่าทะเลาะกัน อย่าแก่งแย่งกัน
อย่าวิวาทกัน’ ดังนี้ แล้วทำอุโบสถหรือปวารณา”

องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรให้คำซักถาม
[๔๔๖] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล สงฆ์
ไม่ควรให้คำซักถาม พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ สงฆ์ไม่ควรให้
คำซักถาม องค์ ๕ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๒๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๗. มุสาวาทวรรค
๑. ไม่รู้อาบัติและอนาบัติ
๒. ไม่รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก
๓. ไม่รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ
๔. ไม่รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ
๕. ไม่รู้อาบัติที่ทำคืนได้และทำคืนไม่ได้
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่ควรให้คำซักถาม

องค์ของภิกษุผู้ควรให้คำซักถาม
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ สงฆ์ควรให้คำซักถาม องค์ ๕ คือ
๑. รู้อาบัติและอนาบัติ
๒. รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก
๓. รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ
๔. รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ
๕. รู้อาบัติที่ทำคืนได้และทำคืนไม่ได้
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ควรให้คำซักถาม”

ภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการ ๕ อย่าง
[๔๔๗] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการเท่าไรหนอแล
พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการ ๕ อย่าง คือ

๑. เพราะไม่ละอาย ๒. เพราะไม่รู้
๓. เพราะสงสัยแล้วขืนทำ ๔. เพราะสำคัญในของที่ไม่ควร
ว่าควร
๕. เพราะสำคัญในของที่ควรว่าไม่ควร

อุบาลี ภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการ ๕ นี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๓๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๗. มุสาวาทวรรค
อุบาลี ภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการแม้อื่นอีก ๕ อย่าง คือ

๑. ไม่ได้เห็น ๒. ไม่ได้ฟัง
๓. หลับ ๔. เข้าใจว่าเป็นเช่นนั้น
๕. ลืมสติ

อุบาลี ภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการ ๕ นี้แล”

เวร ๕๑
[๔๔๘] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “เวรมีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี เวรนี้มี ๕ อย่าง คือ

๑. ฆ่าสัตว์มีชีวิต ๒. ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ให้
๓. ประพฤติผิดในกาม ๔. พูดเท็จ

๕. ดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท
อุบาลี เวร ๕ นี้แล”

งดเว้นเวร ๕๒
ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “เจตนางดเว้นจากเวรมีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี เจตนางดเว้นจากเวรนี้มี ๕ คือ
๑. เจตนางดเว้นจากฆ่าสัตว์มีชีวิต
๒. เจตนางดเว้นจากถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ให้
๓. เจตนางดเว้นจากประพฤติผิดในกาม
๔. เจตนางดเว้นจากพูดเท็จ
๕. เจตนางดเว้นจากเหตุเป็นที่ตั้งความประมาท เพราะดื่มน้ำเมาคือสุรา
และเมรัย
อุบาลี เจตนางดเว้นจากเวร ๕ นี้แล”

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๑๗๔/๒๙๐
๒ ที.ปา. (แปล) ๑๑/๓๑๕/๓๐๒-๓๐๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๓๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] หัวข้อประจำวรรค
ความเสื่อม ๕
[๔๔๙] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ความเสื่อมมีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ความเสื่อมนี้มี ๕ อย่าง คือ

๑. ความเสื่อมญาติ ๒. ความเสื่อมโภคสมบัติ
๓. ความเสื่อมคือโรค ๔. ความเสื่อมศีล
๕. ความเสื่อมทิฏฐิ

อุบาลี ความเสื่อมมี ๕ อย่างนี้แล”

สัมปทา ๕
ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ความถึงพร้อมมีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ความถึงพร้อมนี้มี ๕ อย่าง คือ
๑. ญาติสัมปทา(ความถึงพร้อมแห่งญาติ)
๒. โภคสัมปทา(ความถึงพร้อมแห่งโภคะ)
๓. อาโรคยสัมปทา(ความถึงพร้อมแห่งความไม่มีโรค)
๔. สีลสัมปทา(ความถึงพร้อมแห่งศีล)
๕. ทิฏฐิสัมปทา(ความถึงพร้อมแห่งความเห็น)
อุบาลี ความถึงพร้อมมี ๕ อย่างนี้แล”
มุสาวาทวรรคที่ ๗ จบ

หัวข้อประจำวรรค
การกล่าวมุสาวาท การกล่าวห้าม การกล่าวห้าม
อีกนัยหนึ่ง คำซักถาม อาบัติ อาบัติอีกนัยหนึ่ง
เวร เจตนางดเว้นจากเวร ความเสื่อม สัมปทา
จัดเป็นวรรคที่ ๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๓๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๘. ภิกขุโนวาทวรรค
๘. ภิกขุโนวาทวรรค
หมวดว่าด้วยการให้โอวาทภิกษุณี

องค์สำหรับลงโทษ
[๔๕๐] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล
ภิกษุณีสงฆ์ฝ่ายเดียวพึงลงโทษได้ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ภิกษุณีสงฆ์ฝ่าย
เดียวพึงลงโทษ คือภิกษุณีสงฆ์ไม่พึงไหว้ภิกษุนั้น องค์ ๕ คือ
๑. เปิดกายแสดงแก่ภิกษุณีทั้งหลาย
๒. เปิดขาอ่อนแสดงแก่ภิกษุณีทั้งหลาย
๓. เปิดองคชาตแสดงแก่ภิกษุณีทั้งหลาย
๔. เปิดไหล่ทั้งสองแสดงแก่ภิกษุณีทั้งหลาย
๕. ชักชวนคฤหัสถ์ให้มาคบหารักกับภิกษุณี
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ภิกษุณีสงฆ์ฝ่ายเดียวพึงลงโทษ
คือภิกษุณีสงฆ์ไม่พึงไหว้ภิกษุนั้น
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ภิกษุณีสงฆ์ฝ่ายเดียวพึงลงโทษ
คือภิกษุณีสงฆ์ไม่พึงไหว้ภิกษุนั้น องค์ ๕ คือ
๑. ขวนขวายเพื่อไม่ใช่ลาภของภิกษุณีทั้งหลาย
๒. ขวนขวายเพื่อไม่ใช่ประโยชน์ของภิกษุณีทั้งหลาย
๓. ขวนขวายเพื่อความอยู่ไม่ได้ของภิกษุณีทั้งหลาย
๔. ด่าบริภาษภิกษุณีทั้งหลาย
๕. ยุยงภิกษุณีทั้งหลายให้แตกกัน
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ภิกษุณีสงฆ์ฝ่ายเดียวพึงลงโทษ คือ
ภิกษุณีสงฆ์ไม่พึงไหว้ภิกษุนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๓๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๘. ภิกขุโนวาทวรรค
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ภิกษุณีสงฆ์ฝ่ายเดียวพึงลงโทษ
คือภิกษุณีสงฆ์ไม่พึงไหว้ภิกษุนั้น องค์ ๕ คือ
๑. ขวนขวายเพื่อไม่ใช่ลาภของภิกษุณีทั้งหลาย
๒. ขวนขวายเพื่อไม่ใช่ประโยชน์ของภิกษุณีทั้งหลาย
๓. ขวนขวายเพื่อความอยู่ไม่ได้ของภิกษุณีทั้งหลาย
๔. ด่าบริภาษภิกษุณีทั้งหลาย
๕. ชักชวนภิกษุให้มาคบหารักกับภิกษุณี
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ภิกษุณีสงฆ์ฝ่ายเดียวพึงลงโทษ คือ
ภิกษุณีสงฆ์ไม่พึงไหว้ภิกษุนั้น”

องค์สำหรับลงโทษภิกษุณี
[๔๕๑] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุณีประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล สงฆ์
พึงลงโทษได้ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุณีประกอบด้วยองค์ ๕ สงฆ์พึงลงโทษ
องค์ ๕ คือ
๑. เปิดกายแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย
๒. เปิดขาอ่อนแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย
๓. เปิดองค์กำเนิดแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย
๔. เปิดไหล่ทั้งสองแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย
๕. ชักชวนสตรีคฤหัสถ์ให้มาคบหารักกับภิกษุ
อุบาลี สงฆ์พึงลงโทษภิกษุณีประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล
อุบาลี สงฆ์พึงลงโทษภิกษุณีประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก องค์ ๕ คือ
๑. ขวนขวายเพื่อไม่ใช่ลาภของภิกษุทั้งหลาย
๒. ขวนขวายเพื่อไม่ใช่ประโยชน์ของภิกษุทั้งหลาย
๓. ขวนขวายเพื่อความอยู่ไม่ได้ของภิกษุทั้งหลาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๓๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๘. ภิกขุโนวาทวรรค
๔. ด่าบริภาษภิกษุทั้งหลาย
๕. ยุยงภิกษุทั้งหลายให้แตกกัน
อุบาลี สงฆ์พึงลงโทษภิกษุณีประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล
อุบาลี สงฆ์พึงลงโทษภิกษุณีประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก คือ
๑. ขวนขวายเพื่อไม่ใช่ลาภของภิกษุทั้งหลาย
๒. ขวนขวายเพื่อไม่ใช่ประโยชน์ของภิกษุทั้งหลาย
๓. ขวนขวายเพื่อความอยู่ไม่ได้ของภิกษุทั้งหลาย
๔. ด่าบริภาษภิกษุทั้งหลาย
๕. ชักชวนภิกษุณีให้มาคบหารักกับภิกษุ
อุบาลี สงฆ์พึงลงโทษภิกษุณีประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล”

องค์ของภิกษุไม่ควรให้โอวาท
[๔๕๒] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล ไม่ควร
ให้โอวาทแก่ภิกษุณีทั้งหลาย พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ควรให้โอวาท
แก่ภิกษุณีทั้งหลาย องค์ ๕ คือ

๑. เป็นอลัชชี ๒. เป็นคนโง่เขลา
๓. ไม่ใช่เป็นปกตัตตะ ๔. เป็นผู้กล่าวประสงค์จะให้เคลื่อน
จากศาสนา

๕. ไม่เป็นผู้กล่าวประสงค์จะให้ออกจากอาบัติ
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรให้โอวาทแก่ภิกษุณีทั้งหลาย
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่ควรให้โอวาทแก่ภิกษุณีทั้งหลาย
องค์ ๕ คือ
๑. เป็นผู้มีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์
๒. เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๓๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๘. ภิกขุโนวาทวรรค
๓. เป็นผู้มีอาชีวะไม่บริสุทธิ์
๔. เป็นคนโง่เขลา ไม่ฉลาด
๕. ถูกซักถาม ไม่อาจตอบข้อซักถาม
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรให้โอวาทแก่ภิกษุณีทั้งหลาย
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่ควรให้โอวาทแก่ภิกษุณีทั้งหลาย
องค์ ๕ คือ

๑. ประพฤติไม่สมควรทางกาย ๒. ประพฤติไม่สมควรทางวาจา
๓. ประพฤติไม่สมควรทั้งทางกาย ๔. ด่าบริภาษภิกษุณีทั้งหลาย
และวาจา

๕. เป็นผู้อยู่คลุกคลีกับภิกษุณีทั้งหลายด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควร
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรให้โอวาทแก่ภิกษุณีทั้งหลาย
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่ควรให้โอวาทแก่ภิกษุณีทั้งหลาย
องค์ ๕ คือ

๑. เป็นอลัชชี ๒. เป็นคนโง่เขลา
๓. ไม่ใช่เป็นปกตัตตะ ๔. เป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อ
ความทะเลาะ
๕. เป็นผู้ไม่ทำสิกขาให้บริบูรณ์

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรให้โอวาทแก่ภิกษุณีทั้งหลาย

องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรรับให้โอวาท
[๔๕๓] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล ไม่
ควรรับให้โอวาทแก่ภิกษุณทั้งหลาย พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ควรรับให้
โอวาทแก่ภิกษุณีทั้งหลาย องค์ ๕ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๓๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๘. ภิกขุโนวาทวรรค

๑. ประพฤติไม่สมควรทางกาย ๒. ประพฤติไม่สมควรทางวาจา
๓. ประพฤติไม่สมควรทั้งทางกาย ๔. ด่าบริภาษภิกษุณีทั้งหลาย
และวาจา

๕. เป็นผู้อยู่คลุกคลีกับภิกษุณีทั้งหลายด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควร
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรรับให้โอวาทแก่ภิกษุณีทั้งหลาย
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่ควรรับให้โอวาทแก่ภิกษุณี
ทั้งหลาย องค์ ๕ คือ

๑. เป็นอลัชชี ๒. เป็นคนโง่เขลา
๓. ไม่ใช่เป็นปกตัตตะ ๔. เป็นผู้กำลังจะเดินทาง
๕. เป็นไข้

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรรับให้โอวาทแก่ภิกษุณีทั้งหลาย

องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรสนทนาด้วย
[๔๕๔] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุทั้งหลายไม่ควรสนทนากับภิกษุผู้
ประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุทั้งหลายไม่ควรสนทนากับภิกษุผู้ประกอบ
ด้วยองค์ ๕ องค์ ๕ คือ
๑. ไม่ประกอบด้วยสีลขันธ์อันเป็นอเสขะ
๒. ไม่ประกอบด้วยสมาธิขันธ์อันเป็นอเสขะ
๓. ไม่ประกอบด้วยปัญญาขันธ์อันเป็นอเสขะ
๔. ไม่ประกอบด้วยวิมุตติขันธ์อันเป็นอเสขะ
๕. ไม่ประกอบด้วยวิมุตติญาณทัสสนขันธ์อันเป็นอเสขะ
อุบาลี ภิกษุทั้งหลายไม่ควรสนทนากับภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๓๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๘. ภิกขุโนวาทวรรค
องค์ของภิกษุผู้ควรสนทนาด้วย
ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุทั้งหลายควรสนทนากับภิกษุผู้ประกอบด้วย
องค์เท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุทั้งหลายควรสนทนากับภิกษุผู้ประกอบ
ด้วยองค์ ๕ องค์ ๕ คือ
๑. ประกอบด้วยสีลขันธ์อันเป็นอเสขะ
๒. ประกอบด้วยสมาธิขันธ์อันเป็นอเสขะ
๓. ประกอบด้วยปัญญาขันธ์อันเป็นอเสขะ
๔. ประกอบด้วยวิมุตติขันธ์อันเป็นอเสขะ
๕. ประกอบด้วยวิมุตติญาณทัสสนขันธ์อันเป็นอเสขะ
อุบาลี ภิกษุทั้งหลายควรสนทนากับภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล

องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรสนทนาด้วย อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุทั้งหลายไม่ควรสนทนากับภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง
องค์ ๕ คือ
๑. ไม่เป็นผู้บรรลุอัตถปฏิสัมภิทา(ปัญญาแตกฉานในอรรถ)
๒. ไม่เป็นผู้บรรลุธัมมปฏิสัมภิทา(ปัญญาแตกฉานในธรรม)
๓. ไม่เป็นผู้บรรลุนิรุตติปฏิสัมภิทา(ปัญญาแตกฉานในนิรุกติ)
๔. ไม่เป็นผู้บรรลุปฏิภาณปฏิสัมภิทา(ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ)
๕. ไม่พิจารณาจิตตามที่หลุดพ้นแล้ว
อุบาลี ภิกษุทั้งหลายไม่ควรสนทนากับภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล

องค์ของภิกษุผู้ควรสนทนาด้วย
อุบาลี ภิกษุทั้งหลายควรสนทนากับภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ องค์ ๕ คือ
๑. เป็นผู้บรรลุอัตถปฏิสัมภิทา
๒. เป็นผู้บรรลุธัมมปฏิสัมภิทา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๓๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๙. อุพพาหิกวรรค
๓. เป็นผู้บรรลุนิรุตติปฏิสัมภิทา
๔. เป็นผู้บรรลุปฏิภาณปฏิสัมภิทา
๕. พิจารณาจิตตามที่หลุดพ้นแล้ว
อุบาลี ภิกษุทั้งหลายควรสนทนากับภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล”
ภิกขุโนวาทวรรคที่ ๘ จบ

หัวข้อประจำวรรค
ภิกษุณีสงฆ์ฝ่ายเดียวพึงลงโทษ ภิกษุณีพึงลงโทษอีก ๒ นัย
ลงโทษภิกษุณี ๓ นัย ไม่ให้โอวาท
ไม่ให้โอวาทอีก ๒ นัย ไม่รับให้โอวาทที่ตรัสไว้ ๒ นัย
ภิกษุผู้ควรสนทนาที่ตรัสไว้ ๒ นัย

๙. อุพพาหิกวรรค
หมวดว่าด้วยอุพพาหิกสมมติ

ไม่แต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา
[๔๕๕] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล
สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้ง
ด้วยอุพพาหิกา องค์ ๕ คือ

๑. ไม่ฉลาดในอรรถ ๒. ไม่ฉลาดในธรรม
๓. ไม่ฉลาดในการกล่าวด้วยภาษา ๔. ไม่ฉลาดในกระบวนอักษร
๕. ไม่ฉลาดในคำต้นและคำหลัง

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๓๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๙. อุพพาหิกวรรค
แต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ สงฆ์พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา องค์ ๕ คือ

๑. ฉลาดในอรรถ ๒. ฉลาดในธรรม
๓. ฉลาดในการกล่าวด้วยภาษา ๔. ฉลาดในกระบวนอักษร
๕. ฉลาดในคำต้นและคำหลัง

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา

ไม่แต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา องค์ ๕ คือ
๑. เป็นผู้มักโกรธ ถูกความโกรธครอบงำ
๒. เป็นผู้ลบหลู่ ถูกความลบหลู่ครอบงำ
๓. เป็นผู้ตีเสมอ ถูกความตีเสมอครอบงำ
๔. เป็นผู้มีปกติริษยา ถูกความริษยาครอบงำ
๕. เป็นผู้ยึดมั่นทิฏฐิของตน มีความถือรั้น สละสิ่งที่ตนยึดมั่นได้ยาก
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา

แต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ สงฆ์พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา องค์ ๕ คือ
๑. ไม่เป็นผู้มักโกรธ ไม่ถูกความโกรธครอบงำ
๒. ไม่เป็นผู้ลบหลู่ ไม่ถูกความลบหลู่ครอบงำ
๓. ไม่เป็นผู้ตีเสมอ ไม่ถูกความตีเสมอครอบงำ
๔. ไม่เป็นผู้มีปกติริษยา ไม่ถูกความริษยาครอบงำ
๕. ไม่เป็นผู้ยึดมั่นทิฏฐิของตน ไม่มีความถือรั้น สละสิ่งที่ตนยึดมั่น
ได้ง่าย
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๔๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๙. อุพพาหิกวรรค
ไม่แต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งด้วย
อุพพาหิกา องค์ ๕ คือ

๑. โกรธ ๒. พยาบาท
๓. เบียดเบียน ๔. ยั่วให้โกรธ
๕. ไม่อดทน ไม่รับอนุสาสนีโดยเคารพ

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา

แต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ สงฆ์พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา องค์ ๕ คือ

๑. ไม่โกรธ ๒. ไม่พยาบาท
๓. ไม่เบียดเบียน ๔. ไม่ยั่วให้โกรธ
๕. อดทน ไม่รับอนุสาสนีโดยเคารพ

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา

ไม่แต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา
องค์ ๕ คือ
๑. เป็นผู้ให้หลงงมงาย ระลึกไม่ได้
๒. เป็นผู้พูดไม่เปิดโอกาส
๓. ไม่เป็นผู้โจทก์ตามอาบัติในธรรมและวินัยที่สมควร
๔. ไม่เป็นผู้ปรับตามอาบัติในธรรมและวินัยที่สมควร
๕. ไม่ชี้แจงตามความเห็น
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๔๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๙. อุพพาหิกวรรค
แต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ สงฆ์พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา องค์ ๕ คือ
๑. เป็นผู้เตือนให้ระลึก ไม่ให้หลงงมงาย
๒. เป็นผู้พูดเปิดโอกาส
๓. เป็นผู้โจทก์ตามอาบัติในธรรมและวินัยที่สมควร
๔. เป็นผู้ปรับตามอาบัติในธรรมและวินัยที่สมควร
๕. ชี้แจงตามความเห็น
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา

ไม่แต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา
องค์ ๕ คือ

๑. ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ลำเอียงเพราะชัง
๓. ลำเอียงเพราะหลง ๔. ลำเอียงเพราะกลัว
๕. เป็นอลัชชี

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา

แต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ สงฆ์พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา องค์ ๕ คือ

๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง
๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว
๕. เป็นลัชชี

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา

ไม่แต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา
องค์ ๕ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๔๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๙. อุพพาหิกวรรค
๑. ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ลำเอียงเพราะชัง
๓. ลำเอียงเพราะหลง ๔. ลำเอียงเพราะกลัว
๕. ไม่ฉลาดในพระวินัย
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา

แต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ สงฆ์พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา องค์ ๕ คือ
๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง
๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว
๕. ฉลาดในพระวินัย
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา”

องค์ของภิกษุผู้โง่เขลา
[๔๕๖] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล นับ
ว่าเป็นผู้โง่เขลาโดยแท้ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นับว่าเป็นผู้โง่
เขลาโดยแท้ องค์ ๕ คือ
๑. ไม่รู้พระสูตร ๒. ไม่รู้ข้ออนุโลมพระสูตร
๓. ไม่รู้พระวินัย ๔. ไม่รู้ข้ออนุโลมพระวินัย
๕. ไม่ฉลาดในฐานะอันควรและฐานะอันไม่ควร
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล นับว่าโง่เขลาโดยแท้

องค์ของภิกษุผู้ฉลาด
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นับว่าฉลาดโดยแท้ องค์ ๕ คือ
๑. รู้พระสูตร ๒. รู้ข้ออนุโลมพระสูตร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๔๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๙. อุพพาหิกวรรค
๓. รู้พระวินัย ๔. รู้ข้ออนุโลมพระวินัย
๕. ฉลาดในฐานะอันควรและฐานะอันไม่ควร
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล นับว่าฉลาดโดยแท้

องค์ของภิกษุผู้โง่เขลา อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก นับว่าโง่เขลาโดยแท้ องค์ ๕ คือ
๑. ไม่รู้พระธรรม ๒. ไม่รู้ข้ออนุโลมพระธรรม
๓. ไม่รู้พระวินัย ๔. ไม่รู้ข้ออนุโลมพระวินัย
๕. ไม่ฉลาดในคำต้นและคำหลัง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล นับว่าโง่เขลาโดยแท้

องค์ของภิกษุผู้ฉลาด
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นับว่าฉลาดโดยแท้ องค์ ๕ คือ
๑. รู้พระธรรม ๒. รู้ข้ออนุโลมพระธรรม
๓. รู้พระวินัย ๔. รู้ข้ออนุโลมพระวินัย
๕. ฉลาดในคำต้นและคำหลัง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล นับว่าฉลาดโดยแท้

องค์ของภิกษุผู้โง่เขลา อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก นับว่าโง่เขลาโดยแท้ องค์ ๕ คือ

๑. ไม่รู้วัตถุ ๒. ไม่รู้นิทาน
๓. ไม่รู้พระบัญญัติ ๔. ไม่รู้บทที่ตกหล่นในภายหลัง
๕. ไม่รู้ถ้อยคำอันเกี่ยวเนื่องกันได้

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล นับว่าโง่เขลาโดยแท้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๔๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๙. อุพพาหิกวรรค
องค์ของภิกษุผู้ฉลาด
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นับว่าฉลาดโดยแท้ องค์ ๕ คือ

๑. รู้วัตถุ ๒. รู้นิทาน
๓. รู้พระบัญญัติ ๔. รู้บทที่ตกหล่นในภายหลัง
๕. รู้ถ้อยคำอันเกี่ยวเนื่องกันได้

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล นับว่าฉลาดโดยแท้

องค์ของภิกษุผู้โง่เขลา อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก นับว่าโง่เขลาโดยแท้ องค์ ๕ คือ

๑. ไม่รู้อาบัติ ๒. ไม่รู้สมุฏฐานแห่งอาบัติ
๓. ไม่รู้ประโยคแห่งอาบัติ ๔. ไม่รู้ความระงับอาบัติ
๕. ไม่ฉลาดในการวินิจฉัยอาบัติ

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล นับว่าโง่เขลาโดยแท้

องค์ของภิกษุผู้ฉลาด
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นับว่าฉลาดโดยแท้ องค์ ๕ คือ

๑. รู้อาบัติ ๒. รู้สมุฏฐานแห่งอาบัติ
๓. รู้ประโยคแห่งอาบัติ ๔. รู้ความระงับอาบัติ
๕. ฉลาดในการวินิจฉัยอาบัติ

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล นับว่าฉลาดโดยแท้

องค์ของภิกษุผู้โง่เขลา อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก นับว่าโง่เขลาโดยแท้ องค์ ๕ คือ
๑. ไม่รู้อธิกรณ์ ๒. ไม่รู้สมุฏฐานแห่งอธิกรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๔๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๑๐. อธิกรณวูปสมวรรค
๓. ไม่รู้ประโยคแห่งอธิกรณ์ ๔. ไม่รู้ความระงับอธิกรณ์
๕. ไม่ฉลาดในการวินิจฉัยอธิกรณ์
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล นับว่าโง่เขลาโดยแท้

องค์ของภิกษุผู้ฉลาด
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นับว่าฉลาดโดยแท้ องค์ ๕ คือ

๑. รู้อธิกรณ์ ๒. รู้สมุฏฐานแห่งอธิกรณ์
๓. รู้ประโยคแห่งอธิกรณ์ ๔. รู้ความระงับอธิกรณ์
๕. ฉลาดในการวินิจฉัยอธิกรณ์

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล นับว่าฉลาดโดยแท้”
อุพพาหิกวรรคที่ ๙ จบ

หัวข้อประจำวรรค
ภิกษุไม่ฉลาดในอรรถ มักโกรธ ยั่วให้โกรธ ไม่หลงงมงาย
ลำเอียงเพราะชอบ ไม่ฉลาด ไม่ฉลาดอีก สุตะ ธรรม
วัตถุ อาบัติ อธิกรณ์ ทั้งสองฝ่ายท่านประกาศไว้หมดแล้ว
ขอท่านทั้งหลายจงเข้าใจทั้งฝ่ายดำ และฝ่ายขาว เทอญ

๑๐. อธิกรณวูปสมวรรค
หมวดว่าด้วยการระงับอธิกรณ์

องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรระงับอธิกรณ์
[๔๕๗] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล ไม่
ควรระงับอธิกรณ์ พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๔๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๑๐. อธิกรณวูปสมวรรค
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ควรระงับอธิกรณ์
องค์ ๕ คือ

๑. ไม่รู้อาบัติ ๒. ไม่รู้สมุฏฐานแห่งอาบัติ
๓. ไม่รู้ประโยคแห่งอาบัติ ๔. ไม่รู้ความระงับอาบัติ
๕. ไม่ฉลาดในการวินิจฉัยอาบัติ

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรระงับอธิกรณ์

องค์ของภิกษุผู้ควรระงับอธิกรณ์
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรระงับอธิกรณ์ องค์ ๕ คือ

๑. รู้อาบัติ ๒. รู้สมุฏฐานแห่งอาบัติ
๓. รู้ประโยคแห่งอาบัติ ๔. รู้ความระงับอาบัติ
๕. ฉลาดในการวินิจฉัยอาบัติ

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรระงับอธิกรณ์

องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรระงับอธิกรณ์ อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่ควรระงับอธิกรณ์ องค์ ๕ คือ

๑. ไม่รู้อธิกรณ์ ๒. ไม่รู้สมุฏฐานแห่งอธิกรณ์
๓. ไม่รู้ประโยคแห่งอธิกรณ์ ๔. ไม่รู้ความระงับอธิกรณ์
๕. ไม่ฉลาดในการวินิจฉัยอธิกรณ์

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรระงับอธิกรณ์

องค์ของภิกษุผู้ควรระงับอธิกรณ์
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรระงับอธิกรณ์ องค์ ๕ คือ
๑. รู้อธิกรณ์ ๒. รู้สมุฏฐานแห่งอธิกรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๔๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๑๐. อธิกรณวูปสมวรรค
๓. รู้ประโยคแห่งอธิกรณ์ ๔. รู้ความระงับอธิกรณ์
๕. ฉลาดในการวินิจฉัยอธิกรณ์
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรระงับอธิกรณ์

องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรระงับอธิกรณ์ อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่ควรระงับอธิกรณ์ องค์ ๕ คือ

๑. ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ลำเอียงเพราะชัง
๓. ลำเอียงเพราะหลง ๔. ลำเอียงเพราะกลัว
๕. เป็นอลัชชี

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรระงับอธิกรณ์

องค์ของภิกษุผู้ควรระงับอธิกรณ์
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรระงับอธิกรณ์ องค์ ๕ คือ
๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง
๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว
๕. เป็นลัชชี
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรระงับอธิกรณ์

องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรระงับอธิกรณ์ อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่ควรระงับอธิกรณ์ องค์ ๕ คือ

๑. ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ลำเอียงเพราะชัง
๓. ลำเอียงเพราะหลง ๔. ลำเอียงเพราะกลัว
๕. ได้ยินได้ฟังน้อย

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรระงับอธิกรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๔๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๑๐. อธิกรณวูปสมวรรค
องค์ของภิกษุผู้ควรระงับอธิกรณ์
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรระงับอธิกรณ์ องค์ ๕ คือ
๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง
๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว
๕. เป็นพหูสูต
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรระงับอธิกรณ์

องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรระงับอธิกรณ์ อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่ควรระงับอธิกรณ์ องค์ ๕ คือ

๑. ไม่รู้วัตถุ ๒. ไม่รู้นิทาน
๓. ไม่รู้พระบัญญัติ ๔. ไม่รู้บทที่ตกหล่นในภายหลัง
๕. ไม่รู้ถ้อยคำอันเกี่ยวเนื่องกันได้

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรระงับอธิกรณ์

องค์ของภิกษุผู้ควรระงับอธิกรณ์
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรระงับอธิกรณ์ องค์ ๕ คือ
๑. รู้วัตถุ ๒. รู้นิทาน
๓. รู้พระบัญญัติ ๔. รู้บทที่ตกหล่นในภายหลัง
๕. รู้ถ้อยคำอันเกี่ยวเนื่องกันได้
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรระงับอธิกรณ์

องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรระงับอธิกรณ์ อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่ควรระงับอธิกรณ์ องค์ ๕ คือ
๑. ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ลำเอียงเพราะชัง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๔๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๑๐. อธิกรณวูปสมวรรค
๓. ลำเอียงเพราะหลง ๔. ลำเอียงเพราะกลัว
๕. ไม่ฉลาดในพระวินัย
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรระงับอธิกรณ์

องค์ของภิกษุผู้ควรระงับอธิกรณ์
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรระงับอธิกรณ์ องค์ ๕ คือ
๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง
๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว
๕. ฉลาดในพระวินัย
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรระงับอธิกรณ์

องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรระงับอธิกรณ์ อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่ควรระงับอธิกรณ์ องค์ ๕ คือ
๑. ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ลำเอียงเพราะชัง
๓. ลำเอียงเพราะหลง ๔. ลำเอียงเพราะกลัว
๕. หนักในบุคคล ไม่หนักในสงฆ์
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรระงับอธิกรณ์

องค์ของภิกษุผู้ควรระงับอธิกรณ์
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรระงับอธิกรณ์ องค์ ๕ คือ
๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง
๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว
๕. หนักในสงฆ์ ไม่หนักในบุคคล
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรระงับอธิกรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๕๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๑๐. อธิกรณวูปสมวรรค
องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรระงับอธิกรณ์ อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่ควรระงับอธิกรณ์ องค์ ๕ คือ
๑. ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ลำเอียงเพราะชัง
๓. ลำเอียงเพราะหลง ๔. ลำเอียงเพราะกลัว
๕. หนักในอามิส ไม่หนักในสัทธรรม
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรระงับอธิกรณ์

องค์ของภิกษุผู้ควรระงับอธิกรณ์
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรระงับอธิกรณ์ องค์ ๕ คือ
๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง
๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว
๕. หนักในสัทธรรม ไม่หนักในอามิส
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรระงับอธิกรณ์”

สงฆ์แตกกัน
[๔๕๘] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “สงฆ์แตกกันด้วยอาการเท่าไรหนอแล
พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี สงฆ์แตกกันด้วยอาการ ๕ อย่าง อาการ
๕ อย่าง คือ
๑. กรรม ๒. อุทเทส
๓. ชี้แจง ๔. สวดประกาศ
๕. ให้จับสลาก
อุบาลี สงฆ์แตกกันด้วยอาการ ๕ นี้แล”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๕๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๑๐. อธิกรณวูปสมวรรค
สังฆราชี และสังฆเภท
ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ที่เรียกว่า ‘สังฆราชี สังฆราชี’ ด้วยอาการเพียง
ไรจึงเป็นสังฆราชี แต่ไม่เป็นสังฆเภท และก็ด้วยอาการเพียงไร เป็นทั้งสังฆราชี
และสังฆเภท พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี อาคันตุกวัตรนั้นเราบัญญัติไว้แล้วสำหรับภิกษุ
อาคันตุกะทั้งหลาย เมื่อสิกขาบทอันเราบัญญัติไว้เรียบร้อยอย่างนี้แล้ว ภิกษุอาคันตุกะ
ทั้งหลายก็ยังไม่ประพฤติในอาคันตุกวัตร อุบาลี แม้อย่างนี้แลเป็นสังฆราชี แต่ไม่
เป็นสังฆเภท
อุบาลี อาวาสิกวัตรนั้นเราบัญญัติไว้แล้วสำหรับภิกษุผู้อยู่ประจำในอาวาส
ทั้งหลาย เมื่อสิกขาบทอันเราบัญญัติไว้เรียบร้อยอย่างนี้แล้ว ภิกษุผู้อยู่ประจำใน
อาวาสทั้งหลาย ก็ยังไม่ประพฤติในอาวาสิกวัตร อุบาลี แม้อย่างนี้แลเป็นสังฆราชี
แต่ไม่เป็นสังฆเภท
อุบาลี ภัตตัคควัตรนั้นเราบัญญัติไว้แล้วสำหรับภิกษุทั้งหลายตามลำดับผู้แก่กว่า
ตามลำดับราตรี ตามสมควร คือ อาสนะอันเลิศ น้ำอันเลิศ บิณฑบาตอันเลิศ
เมื่อสิกขาบทอันเราบัญญัติไว้เรียบร้อยอย่างนี้แล้ว ภิกษุนวกะทั้งหลายก็ยังพากัน
กีดกันอาสนะในโรงภัตรสำหรับพระเถระเสีย อุบาลี แม้อย่างนี้แลเป็นสังฆราชี
แต่ไม่เป็นสังฆเภท
อุบาลี เสนาสนวัตรในเสนาสนะนั้นเราบัญญัติไว้แล้วสำหรับภิกษุทั้งหลายตาม
ลำดับผู้แก่กว่า ตามลำดับราตรี ตามสมควร เมื่อสิกขาบทอันเราบัญญัติไว้เรียบร้อย
อย่างนี้แล้ว ภิกษุนวกะทั้งหลายก็ยังพากันกีดกันเสนาสนะสำหรับพระเถระเสีย อุบาลี
แม้อย่างนี้แลเป็นสังฆราชี แต่ไม่เป็นสังฆเภท
อุบาลี อุโบสถอย่างเดียวกัน ปวารณาอย่างเดียวกัน สังฆกรรมอย่างเดียวกัน
กรรมน้อยใหญ่อย่างเดียวกัน ภายในสีมานั้น เราบัญญัติไว้แล้วแก่ภิกษุทั้งหลาย
เมื่อสิกขาบทอันเราบัญญัติไว้เรียบร้อยอย่างนี้แล้ว ภิกษุทั้งหลายทำความแตกแยก
กันแล้ว แบ่งเป็นกลุ่มแยกกันทำอุโบสถ แยกกันทำปวารณา แยกกันทำสังฆกรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๕๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๑๑. สังฆเภทกวรรค
แยกกันทำกรรมใหญ่น้อย ภายในสีมานั้นเอง อุบาลี แม้อย่างนี้แลเป็นทั้งสังฆราชี
และสังฆเภท”
อธิกรณวูปสมวรรคที่ ๑๐ จบ

หัวข้อประจำวรรค
ภิกษุรู้อาบัติ อธิกรณ์ ภิกษุลำเอียงเพราะชอบ
ภิกษุได้ยินได้ฟังน้อย ภิกษุไม่รู้วัตถุ ไม่ฉลาด
ภิกษุไม่หนักในบุคคล ภิกษุไม่หนักในอามิส สงฆ์แตกกัน
สังฆราชี และสังฆเภท

๑๑. สังฆเภทกวรรค
หมวดว่าด้วยภิกษุผู้ทำลายสงฆ์

องค์ของภิกษุผู้ทำลายสงฆ์มีโทษ
[๔๕๙] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล
ต้องไปเกิดในอบาย ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ ต้อง
ไปเกิดในอบาย ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้ องค์ ๕ คือ
๑. แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม
๒. แสดงธรรมว่าเป็นอธรรม
๓. แสดงสิ่งที่มิใช่วินัยว่าเป็นวินัย
๔. แสดงวินัยว่าเป็นสิ่งที่มิใช่วินัย
๕. อำพรางความเห็นด้วยกรรม
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ต้องไปเกิดในอบาย
ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๕๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๑๑. สังฆเภทกวรรค
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ต้องไปเกิดในอบาย
ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้ องค์ ๕ คือ
๑. แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม
๒. แสดงธรรมว่าเป็นอธรรม
๓. แสดงสิ่งมิใช่วินัยว่าเป็นวินัย
๔. แสดงวินัยว่าเป็นสิ่งมิใช่วินัย
๕. อำพรางความเห็นด้วยอุทเทส
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ต้องไปเกิดในอบาย
ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ต้องไปเกิดในอบาย
ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้ องค์ ๕ คือ
๑. แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม
๒. แสดงธรรมว่าเป็นอธรรม
๓. แสดงสิ่งมิใช่วินัยว่าเป็นวินัย
๔. แสดงวินัยว่าเป็นสิ่งมิใช่วินัย
๕. ชี้แจงอำพรางความเห็น
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ต้องไปเกิดในอบาย
ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ต้องไปเกิดในอบาย
ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้ องค์ ๕ คือ
๑. แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม
๒. แสดงธรรมว่าเป็นอธรรม
๓. แสดงสิ่งที่มิใช่วินัยว่าเป็นวินัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๕๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๑๑. สังฆเภทกวรรค
๔. แสดงวินัยว่าเป็นสิ่งที่มิใช่วินัย
๕. อำพรางความเห็นด้วยสวดประกาศ
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ต้องไปเกิดในอบาย
ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ต้องไปเกิดใน
อบาย ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้ องค์ ๕ คือ
๑. แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม
๒. แสดงธรรมว่าเป็นอธรรม
๓. แสดงสิ่งมิใช่วินัยว่าเป็นวินัย
๔. แสดงวินัยว่าเป็นสิ่งมิใช่วินัย
๕. อำพรางความเห็นด้วยการให้จับสลาก
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ต้องไปเกิดในอบาย
ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ต้องไปเกิดในอบาย
ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้ องค์ ๕ คือ
๑. แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม
๒. แสดงธรรมว่าเป็นอธรรม
๓. แสดงสิ่งที่มิใช่วินัยว่าเป็นวินัย
๔. แสดงวินัยว่าเป็นสิ่งที่มิใช่วินัย
๕. อำพรางความเห็นชอบด้วยกรรม
ฯลฯ อำพรางความเห็นชอบด้วยอุทเทส ฯลฯ ชี้แจงอำพรางความเห็นชอบ
ฯลฯ อำพรางความเห็นชอบด้วยสวดประกาศ ฯลฯ อำพรางความเห็นชอบด้วย
การให้จับสลาก
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ต้องไปเกิดในอบาย
ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๕๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๑๑. สังฆเภทกวรรค
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ต้องไปเกิดในอบาย
ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้ องค์ ๕ คือ
๑. แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม
๒. แสดงธรรมว่าเป็นอธรรม
๓. แสดงสิ่งที่มิใชวินัยว่าเป็นวินัย
๔. แสดงวินัยว่าเป็นสิ่งที่มิใชวินัย
๕. อำพรางความพอใจด้วยกรรม
ฯลฯ อำพรางความพอใจด้วยอุทเทส ฯลฯ ชี้แจงอำพรางความพอใจ ฯลฯ
อำพรางความพอใจด้วยสวดประกาศ ฯลฯ อำพรางความพอใจด้วยการให้จับสลาก
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ต้องไปเกิดในอบาย
ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ต้องไปเกิดในอบาย
ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้ องค์ ๕ คือ
๑. แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม
๒. แสดงธรรมว่าเป็นอธรรม
๓. แสดงสิ่งที่มิใชวินัยว่าเป็นวินัย
๔. แสดงวินัยว่าเป็นสิ่งที่มิใช่วินัย
๕. อำพรางสัญญาด้วยกรรม
ฯลฯ อำพรางสัญญาด้วยอุทเทส ฯลฯ ชี้แจงอำพรางสัญญา ฯลฯ อำพราง
สัญญาด้วยสวดประกาศ ฯลฯ อำพรางสัญญาด้วยการให้จับสลาก
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ต้องไปเกิดในอบาย
ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้”
สังฆเภทกวรรคที่ ๑๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๕๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๑๒. ทุติยสังฆเภทกวรรค
หัวข้อประจำวรรค
ภิกษุอำพรางความเห็นด้วยกรรม ด้วยอุทเทส
ด้วยการชี้แจง ด้วยการสวดประกาศ ด้วยการให้จับสลาก นี้ รวมเป็น ๕
อิงความเห็น ความเห็นชอบ ความพอใจ
และสัญญา ๓ อย่างนั้น มีนัย แยกเป็น ๕ นัยแล

๑๒. ทุติยสังฆเภทกวรรค
หมวดว่าด้วยภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ หมวดที่ ๒

องค์ของภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ไม่มีโทษ
[๔๖๐] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์เท่าไร
หนอแล ไม่ต้องไปเกิดในอบาย ไม่ต้องไปเกิดในนรก ไม่ต้องดำรงอยู่ชั่วกัป มิใช่
แก้ไขไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕
ไม่ต้องไปเกิดในอบาย ไม่ต้องไปเกิดในนรก ไม่ต้องดำรงอยู่ชั่วกัป มิใช่แก้ไขไม่ได้
องค์ ๕ คือ
๑. แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม
๒. แสดงธรรมว่าเป็นอธรรม
๓. แสดงสิ่งที่มิใช่วินัยว่าเป็นวินัย
๔. แสดงวินัยว่าเป็นสิ่งที่มิใช่วินัย
๕. ไม่อำพรางความเห็นด้วยกรรม
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ต้องไปเกิดในอบาย
ไม่ต้องไปเกิดในนรก ไม่ต้องดำรงอยู่ชั่วกัป มิใช่แก้ไขไม่ได้
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง ไม่ต้องไปเกิดใน
อบาย ไม่ต้องไปเกิดในนรก ไม่ต้องดำรงอยู่ชั่วกัป มิใช่แก้ไขไม่ได้ องค์ ๕ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๕๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๑๒. ทุติยสังฆเภทกวรรค
๑. แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม
๒. แสดงธรรมว่าเป็นอธรรม
๓. แสดงสิ่งที่มิใช่วินัยว่าเป็นวินัย
๔. แสดงวินัยว่าเป็นสิ่งที่มิใช่วินัย
๕. ไม่อำพรางความเห็นด้วยอุทเทส
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ต้องไปเกิดในอบาย
ไม่ต้องไปเกิดในนรก ไม่ต้องดำรงอยู่ชั่วกัป มิใช่แก้ไขไม่ได้
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่ต้องไปเกิดในอบาย
ไม่ต้องไปเกิดในนรก ไม่ต้องดำรงอยู่ชั่วกัป มิใช่แก้ไขไม่ได้ องค์ ๕ คือ
๑. แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม
๒. แสดงธรรมว่าเป็นอธรรม
๓. แสดงสิ่งที่มิใช่วินัยว่าเป็นวินัย
๔. แสดงวินัยว่าเป็นสิ่งที่มิใช่วินัย
๕. ชี้แจงไม่อำพรางความเห็น
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ต้องไปเกิดในอบาย
ไม่ต้องไปเกิดในนรก ไม่ต้องดำรงอยู่ชั่วกัป มิใช่แก้ไขไม่ได้
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่ต้องไปเกิดในอบาย
ไม่ต้องไปเกิดในนรก ไม่ต้องดำรงอยู่ชั่วกัป มิใช่แก้ไขไม่ได้ องค์ ๕ คือ
๑. แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม
๒. แสดงธรรมว่าเป็นอธรรม
๓. แสดงสิ่งที่มิใช่วินัยว่าเป็นวินัย
๔. แสดงวินัยว่าเป็นสิ่งที่มิใช่วินัย
๕. ไม่อำพรางความเห็นด้วยสวดประกาศ
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ต้องไปเกิดในอบาย
ไม่ต้องไปเกิดในนรก ไม่ต้องดำรงอยู่ชั่วกัป มิใช่แก้ไขไม่ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๕๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๑๒. ทุติยสังฆเภทกวรรค
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่ต้องไปเกิดในอบาย
ไม่ต้องไปเกิดในนรก ไม่ต้องดำรงอยู่ชั่วกัป มิใช่แก้ไขไม่ได้ องค์ ๕ คือ
๑. แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม
๒. แสดงธรรมว่าเป็นอธรรม
๓. แสดงสิ่งที่มิใช่วินัยว่าเป็นวินัย
๔. แสดงวินัยว่าเป็นสิ่งที่มิใช่วินัย
๕. ไม่อำพรางความเห็นด้วยการให้จับสลาก
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ต้องไปเกิดในอบาย
ไม่ต้องไปเกิดในนรก ไม่ต้องดำรงอยู่ชั่วกัป มิใช่แก้ไขไม่ได้
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่ต้องไปเกิดในอบาย
ไม่ต้องไปเกิดในนรก ไม่ต้องดำรงอยู่ชั่วกัป มิใช่แก้ไขไม่ได้ องค์ ๕ คือ
๑. แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม
๒. แสดงธรรมว่าเป็นอธรรม
๓. แสดงสิ่งที่มิใช่วินัยว่าเป็นวินัย
๔. แสดงวินัยว่าเป็นสิ่งที่มิใช่วินัย
๕. ไม่อำพรางความเห็นชอบด้วยกรรม
ฯลฯ ไม่อำพรางความเห็นชอบด้วยอุทเทส ฯลฯ ไม่ชี้แจงอำพรางความเห็น
ชอบ ฯลฯ ไม่อำพรางความเห็นชอบด้วยสวดประกาศ ฯลฯ ไม่อำพรางความเห็น
ชอบด้วยการให้จับสลาก
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ต้องไปเกิดในอบาย
ไม่ต้องไปเกิดในนรก ไม่ต้องดำรงอยู่ชั่วกัป มิใช่แก้ไขไม่ได้
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่ต้องไปเกิดในอบาย
ไม่ต้องไปเกิดในนรก ไม่ต้องดำรงอยู่ชั่วกัป มิใช่แก้ไขไม่ได้ องค์ ๕ คือ
๑. แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม
๒. แสดงธรรมว่าเป็นอธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๕๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๑๒. ทุติยสังฆเถทกวรรค
๓. แสดงสิ่งที่มิใช่วินัยว่าเป็นวินัย
๔. แสดงวินัยว่าเป็นสิ่งที่มิใช่วินัย
๕. ไม่อำพรางความพอใจด้วยกรรม
ฯลฯ ไม่อำพรางความพอใจด้วยอุทเทส ฯลฯ ไม่ชี้แจงอำพรางความพอใจ
ฯลฯ ไม่อำพรางความพอใจด้วยสวดประกาศ ฯลฯ ไม่อำพรางความพอใจด้วยการ
ให้จับสลาก
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ต้องไปเกิดในอบาย
ไม่ต้องไปเกิดในนรก ไม่ต้องดำรงอยู่ชั่วกัป มิใช่แก้ไขไม่ได้
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่ต้องไปเกิดในอบาย
ไม่ต้องไปเกิดในนรก ไม่ต้องดำรงอยู่ชั่วกัป มิใช่แก้ไขไม่ได้ องค์ ๕ คือ
๑. แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม
๒. แสดงธรรมว่าเป็นอธรรม
๓. แสดงสิ่งที่มิใช่วินัยว่าเป็นวินัย
๔. แสดงวินัยว่าเป็นสิ่งที่มิใช่วินัย
๕. ไม่อำพรางสัญญาด้วยกรรม
ฯลฯ ไม่อำพรางสัญญาด้วยอุทเทส ฯลฯ ไม่ชี้แจงไม่อำพรางสัญญา ฯลฯ ไม่
อำพรางสัญญาด้วยสวดประกาศ ฯลฯ ไม่อำพรางสัญญาด้วยการให้จับสลาก
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ต้องไปเกิดในอบาย
ไม่ต้องไปเกิดในนรก ไม่ต้องดำรงอยู่ชั่วกัป มิใช่แก้ไขไม่ได้”
ทุติยสังฆเภทกวรรคที่ ๑๒ จบ

หัวข้อประจำวรรค
ภิกษุไม่อำพรางความเห็นด้วยกรรม ด้วยอุทเทส ด้วยการชี้แจง
ด้วยการสวดประกาศ ด้วยการให้จับสลาก นี้รวมเป็น ๕ อิงความเห็น
ความเห็นชอบ ความพอใจ และสัญญา ๓ อย่างนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๖๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๑๓. อาวาสิกวรรค
มีนัยแยกเป็น ๕ นัยแล ขอท่านทั้งหลายจงรู้ ๒๐ วิธีถ้วน
ในฝ่ายขาว เหมือน ๒๐ วิธีถ้วนในฝ่ายดำข้างหลัง เทอญ

๑๓. อาวาสิกวรรค
หมวดว่าด้วยภิกษุผู้อยู่ในอาวาส

องค์ของภิกษุผู้อยู่ในอาวาส
[๔๖๑] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้อยู่ประจำในอาวาสประกอบด้วย
องค์เท่าไรหนอแล เก็บของสงฆ์ตามที่นำมาเก็บไว้ เหมือนถูกโยนลงนรก พระ
พุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้อยู่ประจำในอาวาสประกอบด้วยองค์
๕ เก็บของสงฆ์ตามที่นำมาเก็บไว้ เหมือนถูกโยนลงนรก องค์ ๕ คือ

๑. ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ลำเอียงเพราะชัง
๓. ลำเอียงเพราะหลง ๔. ลำเอียงเพราะกลัว
๕. ใช้สอยของสงฆ์ดุจของส่วนตัว

อุบาลี ภิกษุผู้อยู่ในอาวาสประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เก็บของสงฆ์ตามที่นำ
มาเก็บไว้ เหมือนถูกโยนลงนรก
อุบาลี ภิกษุผู้อยู่ในอาวาสประกอบด้วยองค์ ๕ เก็บของสงฆ์ตามที่นำมาเก็บไว้
เหมือนถูกส่งขึ้นสวรรค์ องค์ ๕ คือ

๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง
๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว
๕. ไม่ใช้สอยของสงฆ์ดุจของส่วนตัว

อุบาลี ภิกษุผู้อยู่ในอาวาสประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เก็บของสงฆ์ตามที่นำ
มาเก็บไว้ เหมือนถูกส่งขึ้นสวรรค์”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๖๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๑๓. อาวาสิกวรรค
การชี้แจงพระวินัยไม่ชอบธรรม
[๔๖๒] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “การชี้แจงพระวินัยที่ไม่ชอบธรรมมีเท่าไร
หนอแล พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี การชี้แจงพระวินัยที่ไม่ชอบธรรมมี ๕ อย่าง คือ
อุบาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. กำหนดอธรรมว่าเป็นธรรม
๒. กำหนดธรรมว่าเป็นอธรรม
๓. กำหนดสิ่งที่มิใช่วินัยว่าเป็นวินัย
๔. กำหนดวินัยว่าเป็นสิ่งที่มิใช่วินัย
๕. บัญญัติสิ่งที่ไม่ได้ทรงบัญญัติ ถอนข้อที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้
อุบาลี การชี้แจงพระวินัย ๕ อย่างนี้แล ไม่ชอบธรรม
อุบาลี การชี้แจงพระวินัยที่ชอบธรรมมี ๕ อย่าง ๕ อย่าง มีอะไรบ้าง คือ
อุบาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. กำหนดอธรรมว่าเป็นอธรรม
๒. กำหนดธรรมว่าเป็นธรรม
๓. กำหนดสิ่งที่มิใช่วินัยว่าเป็นสิ่งที่มิใช่วินัย
๔. กำหนดวินัยว่าเป็นวินัย
๕. ไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่ได้ทรงบัญญัติ ไม่ถอนพระบัญญัติที่พระพุทธเจ้า
ทรงบัญญัติไว้
อุบาลี การชี้แจงพระวินัย ๕ อย่างนี้แล ชอบธรรม”

องค์ของภิกษุผู้แจกภัตร
[๔๖๓] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้แจกภัตรประกอบด้วยองค์เท่าไร
หนอแล เก็บของสงฆ์ตามที่นำมาเก็บไว้ เหมือนถูกโยนลงนรก พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๖๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๑๓. อาวาสิกวรรค
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้แจกภัตรประกอบด้วยองค์ ๕ เก็บของ
สงฆ์ตามที่นำมาเก็บไว้ เหมือนถูกโยนลงนรก องค์ ๕ คือ
๑. ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ลำเอียงเพราะชัง
๓. ลำเอียงเพราะหลง ๔. ลำเอียงเพราะกลัว
๕. ไม่รู้จักอาหารที่แจกและอาหารที่ยังไม่ได้แจก
อุบาลี ภิกษุผู้แจกภัตรประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เก็บของสงฆ์ตามที่นำมา
เก็บไว้ เหมือนถูกโยนลงนรก
อุบาลี ภิกษุผู้แจกภัตรประกอบด้วยองค์ ๕ เก็บของสงฆ์ตามที่นำมาเก็บไว้
เหมือนถูกส่งขึ้นสวรรค์ องค์ ๕ คือ
๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง
๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว
๕. รู้จักอาหารที่แจกและอาหารที่ยังไม่ได้แจก
อุบาลี ภิกษุผู้แจกภัตรประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เก็บของสงฆ์ตามที่นำมา
เก็บไว้ เหมือนถูกส่งขึ้นสวรรค์”

องค์ของภิกษุผู้แต่งตั้งเสนาสนะ เป็นต้น
[๔๖๔] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้แต่งตั้งเสนาสนะประกอบด้วยองค์เท่าไร
หนอแล พระพุทธเจ้าข้า
ภิกษุผู้รักษาคลังเก็บพัสดุ ฯลฯ ภิกษุผู้รับจีวร ฯลฯ ภิกษุผู้แจกจีวร ฯลฯ
ภิกษุผู้แจกยาคู ฯลฯ ภิกษุผู้แจกผลไม้ ฯลฯ ภิกษุผู้แจกของเคี้ยว ฯลฯ ภิกษุ
ผู้แจกของเล็กน้อย ฯลฯ ภิกษุผู้ให้รับผ้าสาฎก ฯลฯ ภิกษุผู้ให้รับบาตร ฯลฯ
ภิกษุผู้ใช้คนทำงานวัด ฯลฯ
ภิกษุผู้ใช้สามเณรประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล เก็บของสงฆ์ตามที่นำมาเก็บไว้
เหมือนถูกโยนลงนรก”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๖๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] หัวข้อประจำวรรค
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ใช้สามเณรประกอบด้วยองค์ ๕
เก็บของสงฆ์ตามที่นำมาเก็บไว้ เหมือนถูกโยนลงนรก องค์ ๕ คือ
๑. ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ลำเอียงเพราะชัง
๓. ลำเอียงเพราะหลง ๔. ลำเอียงเพราะกลัว
๕. ไม่รู้จักงานที่ควรใช้และงานที่ยังไม่ได้ใช้
อุบาลี ภิกษุผู้ใช้สามเณรประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เก็บของสงฆ์ตามที่นำมา
เก็บไว้ เหมือนถูกโยนลงนรก
อุบาลี ภิกษุผู้ใช้สามเณรประกอบด้วยองค์ ๕ เก็บของสงฆ์ตามที่นำมาเก็บไว้
เหมือนถูกส่งขึ้นสวรรค์ องค์ ๕ คือ
๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง
๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว
๕. รู้จักงานที่ควรใช้และงานที่ยังไม่ได้ใช้
อุบาลี ภิกษุผู้ใช้สามเณรประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เก็บของสงฆ์ตามที่นำมา
เก็บไว้ เหมือนถูกส่งขึ้นสวรรค์”
อาวาสิกวรรคที่ ๑๓ จบ

หัวข้อประจำวรรค
ภิกษุผู้อยู่ในอาวาส ชี้แจงพระวินัย ภิกษุผู้แจกภัตร
ภิกษุผู้แต่งตั้งเสนาสนะ ภิกษุผู้รักษาคลังเก็บพัสดุ
ภิกษุผู้รับจีวร ภิกษุผู้แจกจีวร ภิกษุผู้แจกยาคู
ผู้แจกผลไม้ ผู้แจกของเคี้ยว ผู้แจกของเล็กน้อย
ภิกษุผู้ให้รับผ้าสาฎก ภิกษุผู้ให้รับบาตร
ภิกษุผู้ใช้คนทำงานวัด ภิกษุผู้ใช้สามเณร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๖๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๑๔. กฐินัตถารวรรค
๑๔. กฐินัตถารวรรค
หมวดว่าด้วยการกรานกฐิน

อานิสงส์กรานกฐิน
[๔๖๕] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “การกรานกฐินมีอานิสงส์เท่าไรหนอแล
พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี การกรานกฐินมีอานิสงส์ ๕ อย่างนี้ คือ

๑. เที่ยวไปไม่ต้องบอกลา ๒. ไม่ต้องถือไตรจีวรไปครบสำรับ
๓. ฉันคณโภชนะได้ ๔. ทรงอติเรกจีวรไว้ได้ตามต้องการ

๕. พวกเธอจะได้จีวรที่เกิดขึ้นในที่นั้น
อุบาลี การกรานกฐินมีอานิสงส์ ๕ อย่างนี้แล”

โทษของการนอนลืมสติ
[๔๖๖] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “บุคคลผู้นอนหลับลืมสติไม่รู้ตัวมีโทษเท่าไร
หนอแล พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี บุคคลผู้นอนหลับลืมสติไม่รู้ตัวมีโทษ ๕
อย่างนี้ คือ

๑. หลับเป็นทุกข์ ๒. ตื่นเป็นทุกข์
๓. เห็นความฝันเลวทราม ๔. เทวดาไม่รักษา
๕. น้ำอสุจิเคลื่อน

อุบาลี บุคคลผู้นอนหลับลืมสติไม่รู้ตัวมีโทษ ๕ อย่างนี้แล

อานิสงส์ของการนอนมีสติ
อุบาลี บุคคลผู้นอนหลับมีสติรู้สึกตัว มีอานิสงส์ ๕ อย่างนี้ คือ
๑. หลับเป็นสุข ๒. ตื่นเป็นสุข

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๖๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๑๔. กฐินัตถารวรรค
๓. ไม่เห็นความฝันเลวทราม ๔. เทวดารักษา
๕. น้ำอสุจิไม่เคลื่อน
อุบาลี บุคคลผู้นอนหลับมีสติรู้สึกตัว มีอานิสงส์ ๕ อย่างนี้แล”

บุคคลไม่ควรไหว้
[๔๖๗] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุที่ไม่ควรไหว้มีเท่าไรหนอแล พระ
พุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุที่ไม่ควรไหว้นี้มี ๕ จำพวก คือ

๑. ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้เข้าไป ๒. ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้เข้าไปสู่ถนน
สู่ละแวกบ้าน
๓. ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้อยู่ในที่มืด ๔. ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้ไม่ได้สนใจ
๕. ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้หลับอยู่

อุบาลี ภิกษุ ๕ จำพวกนี้แล ที่ไม่ควรไหว้
อุบาลี ภิกษุที่ไม่ควรไหว้แม้อื่นอีก ๕ จำพวก คือ

๑. ไม่ควรไหว้ภิกษุในเวลาที่ดื่มยาคู ๒. ไม่ควรไหว้ภิกษุในโรงภัตร
๓. ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้เป็นศัตรู ๔. ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้กำลังคิด
เรื่องอื่น
๕. ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้กำลังเปลือยกาย

อุบาลี ภิกษุ ๕ จำพวกนี้แล ที่ไม่ควรไหว้
อุบาลี ภิกษุที่ไม่ควรไหว้แม้อื่นอีก ๕ จำพวก คือ

๑. ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้กำลังเคี้ยวอยู่ ๒. ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้กำลังฉันอยู่
๓. ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้กำลัง ๔. ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้กำลังถ่าย
ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ
๕. ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกวัตร

อุบาลี ภิกษุ ๕ จำพวกนี้แล ที่ไม่ควรไหว้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๖๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๑๔. กฐินัตถารวรรค
อุบาลี บุคคลที่ไม่ควรไหว้แม้อื่นอีก ๕ จำพวก คือ
๑. ผู้อุปสมบทก่อนไม่ควรไหว้ผู้อุปสมบททีหลัง
๒. ไม่ควรไหว้อนุปสัมบัน
๓. ไม่ควรไหว้ภิกษุนานาสังวาส มีพรรษาแก่กว่า เป็นอธรรมวาที
๔. ไม่ควรไหว้มาตุคาม
๕. ไม่ควรไหว้บัณเฑาะก์
อุบาลี บุคคล ๕ จำพวกนี้แล ที่ไม่ควรไหว้
อุบาลี ภิกษุที่ไม่ควรไหว้แม้อื่นอีก ๕ จำพวก คือ
๑. ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้กำลังอยู่ปริวาส
๒. ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม
๓. ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้ควรแก่มานัต
๔. ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้กำลังประพฤติมานัต
๕. ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้ควรแก่อัพภาน
อุบาลี ภิกษุ ๕ จำพวกนี้แล ที่ไม่ควรไหว้”

บุคคลควรไหว้
[๔๖๘] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุที่ควรไหว้มีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุที่ควรไหว้นี้มี ๕ จำพวก คือ
๑. ผู้อุปสมบทหลังควรไหว้ผู้อุปสมบทก่อน
๒. ควรไหว้ภิกษุนานาสังวาส ผู้มีพรรษาแก่กว่า เป็นธรรมวาที
๓. ควรไหว้พระอาจารย์
๔. ควรไหว้พระอุปัชฌาย์
๕. ควรไหว้พระตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบในโลก
พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะ
พราหมณ์เทวดาและมนุษย์
อุบาลี ภิกษุ ๕ จำพวกนี้แล ที่ควรไหว้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๖๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] หัวข้อบอกวรรค
ข้อปฏิบัติของภิกษุผู้อ่อนกว่า
[๔๖๙] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้อ่อนกว่า เมื่อไหว้เท้าของภิกษุผู้
แก่กว่า ควรตั้งธรรมเท่าไรไว้ในตน แล้วจึงไหว้เท้า พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้อ่อนกว่า เมื่อไหว้เท้าของภิกษุผู้แก่กว่า
ควรตั้งธรรม ๕ อย่าง ไว้ในตน แล้วจึงไหว้เท้า ธรรม ๕ อย่าง คือ
อุบาลี ภิกษุผู้อ่อนกว่า เมื่อไหว้เท้าของภิกษุผู้แก่กว่า

๑. ควรห่มผ้าเฉวียงบ่า ๒. ประคองอัญชลี
๓. นวดเท้าด้วยฝ่ามือทั้งสอง ๔. มีความรัก
๕. มีความเคารพ แล้วจึงไหว้เท้า

อุบาลี ภิกษุผู้อ่อนกว่า เมื่อไหว้เท้าของภิกษุผู้แก่กว่า ควรตั้งธรรม ๕ อย่างนี้แล
ไว้ในตน แล้วจึงไหว้เท้า”
กฐินัตถารวรรคที่ ๑๔ จบ

หัวข้อประจำวรรค
การกรานกฐิน การหลับเป็นสุข
ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้เข้าสู่ละแวกบ้าน
ดื่มยาคู เคี้ยว อุปสมบทก่อน อยู่ปริวาส
บุคคลควรไหว้ ภิกษุอ่อนกว่าไหว้ภิกษุแก่กว่า
อุปาลิปัญจกะ จบ

หัวข้อบอกวรรค
อนิสสิตวรรค กัมมวรรค๑ โวหารวรรค
ทิฏฐาวิกัมมวรรค โจทนาวรรค๒ ธุดงควรรค

เชิงอรรถ :
๑ นัปปฏิปัสสัมภนวรรค (๔๒๐/๕๙๕)
๒ อัตตาทานวรรค (๔๓๖/๖๑๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๖๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] หัวข้อบอกวรรค
มุสาวาทวรรค ภิกขุโนวาทวรรค อุพพาหิกวรรค
อธิกรณวูปสมวรรค สังฆเภทกวรรค
สังฆเภท ๕ อย่างเหมือนก่อน๑
อาวาสิกวรรค กฐินัตถารวรรค
รวม ๑๔ วรรค ท่านประกาศไว้ดีแล้วแล

เชิงอรรถ :
๑ ทุติยสังฆเภทกวรรค (๔๖๐/๖๕๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๖๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อัตถาปัตติสมุฏฐาน] ๑. ปาราชิก
อัตถาปัตติสมุฏฐาน
ว่าด้วยสมุฏฐานอาบัติที่มีอยู่
๑. ปาราชิก
ว่าด้วยอาบัติปาราชิก
[๔๗๐] อาบัติที่ภิกษุไม่จงใจต้อง แต่จงใจออก มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุจงใจต้อง แต่ไม่จงใจออก มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุไม่จงใจต้อง ไม่จงใจออก มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุจงใจต้อง จงใจออก มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุมีจิตเป็นกุศลต้อง มีจิตเป็นกุศลออก มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุมีจิตเป็นกุศลต้อง แต่มีจิตเป็นอกุศลออก มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุมีจิตเป็นกุศลต้อง แต่มีจิตเป็นอัพยากฤตออก มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุมีจิตเป็นอกุศลต้อง แต่มีจิตเป็นกุศลออก มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุมีจิตเป็นอกุศลต้อง มีจิตเป็นอกุศลออก มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุมีจิตเป็นอกุศลต้อง แต่มีจิตเป็นอัพยากฤตออก มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุมีจิตเป็นอัพยากฤตต้อง มีจิตเป็นกุศลออก มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุมีจิตเป็นอัพยากฤตต้อง แต่มีจิตเป็นอกุศลออก มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุมีจิตเป็นอัพยากฤตต้อง แต่มีจิตเป็นอัพยากฤตออก มีอยู่

สิกขาบทที่ ๑
ถาม : ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิด
ทางกายกับวาจา มิใช่เกิดทางจิต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๗๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อัตถาปัตติสมุฏฐาน] ๒. สังฆาทิเลส
สิกขาบทที่ ๒
ถาม : ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิด
ทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา (๒) เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย (๓) เกิด
ทางกายวาจากับจิต

สิกขาบทที่ ๓
ถาม : ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิด
ทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา (๒) เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย
(๓) เกิดทางกายวาจากับจิต

สิกขาบทที่ ๔
ถาม : ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิด
ทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา (๒) เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย
(๓) เกิดทางกายวาจากับจิต
ปาราชิก ๔ สิกขาบท จบ

๒. สังฆาทิเสส
ว่าด้วยอาบัติสังฆาทิเสส

สิกขาบทที่ ๑
[๔๗๑] ถาม : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้จงใจทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน เกิดด้วยสมุฏฐาน
เท่าไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๗๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อัตถาปัตติสมุฏฐาน] ๒. สังฆาทิเลส
ตอบ : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้จงใจทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑
สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา

สิกขาบทที่ ๒
ถาม : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้ถูกต้องกายกับมาตุคาม เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้ถูกต้องกายกับมาตุคาม เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑
สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา

สิกขาบทที่ ๓
ถาม : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้พูดเกี้ยวมาตุคามด้วยวาจาชั่วหยาบ เกิดด้วย
สมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้พูดเกี้ยวมาตุคามด้วยวาจาชั่วหยาบ เกิดด้วย
สมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิดทางกายกับจิต แต่มิใช่เกิดทางวาจา (๒) เกิด
ทางวาจากับจิต แต่มิใช่เกิดทางกาย (๓) เกิดทางกายวาจากับจิต

สิกขาบทที่ ๔
ถาม : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้กล่าวสรรเสริญการบำเรอความใคร่ของตนต่อ
หน้ามาตุคาม เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้กล่าวสรรเสริญการบำเรอความใคร่ของตนต่อ
หน้ามาตุคาม เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๕
ถาม : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้ทำหน้าที่ชักสื่อ เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้ทำหน้าที่ชักสื่อ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน
คือ (๑) เกิดทางกาย มิใช่เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทางจิต (๒) เกิดทางวาจา มิใช่
เกิดทางกาย มิใช่เกิดทางจิต (๓) เกิดทางกายกับวาจา มิใช่เกิดทางจิต (๔) เกิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๗๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อัตถาปัตติสมุฏฐาน] ๒. สังฆาทิเลส
ทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา (๕) เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย
(๖) เกิดทางกายวาจากับจิต

สิกขาบทที่ ๖
ถาม : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้ให้สร้างกุฎีด้วยการขอเอาเอง เกิดด้วยสมุฏฐาน
เท่าไร
ตอบ : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้ให้สร้างกุฎีด้วยการขอเอาเอง เกิดด้วยสมุฏฐาน
๖ สมุฏฐาน ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๗
ถาม : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้ให้สร้างวิหารใหญ่ เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้ให้สร้างวิหารใหญ่ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน
ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๘
ถาม : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้ใส่ความภิกษุด้วยอาบัติปาราชิกที่ไม่มีมูล เกิด
ด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้ใส่ความภิกษุด้วยอาบัติปาราชิกที่ไม่มีมูล เกิด
ด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๙
ถาม : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้อ้างเอาบางส่วนแห่งอธิกรณ์เรื่องอื่นเป็นเลศใส่
ความภิกษุด้วยอาบัติปาราชิก เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้อ้างเอาบางส่วนแห่งอธิกรณ์เรื่องอื่นเป็นเลศ
แล้วใส่ความภิกษุด้วยอาบัติปาราชิก เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๑๐
ถาม : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ไม่ยอมสละกรรม กระทั่งสงฆ์สวด
สมนุภาสน์ ครบ ๓ ครั้งเกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๗๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อัตถาปัตติสมุฏฐาน] ๒. สังฆาทิเสส
ตอบ : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ไม่ยอมสละกรรม กระทั่งสงฆ์สวด
สมนุภาสน์ ครบ ๓ ครั้ง เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายวาจา
กับจิต

สิกขาบทที่ ๑๑
ถาม : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้ประพฤติตามภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ไม่ยอมสละกรรม
กระทั่งสงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้ประพฤติตามภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ไม่ยอมสละกรรม
กระทั่งสงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิด
ทางกายวาจากับจิต

สิกขาบทที่ ๑๒
ถาม : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้ว่ายาก ไม่ยอมสละกรรม จนกระทั่งสงฆ์สวด
สมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้ว่ายาก ไม่ยอมสละกรรม จนกระทั่งสงฆ์สวด
สมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายวาจากับจิต

สิกขาบทที่ ๑๓
ถาม : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้ประทุษร้ายสกุล ไม่ยอมสละกรรม จนกระทั่ง
สงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้ประทุษร้ายสกุล ไม่ยอมสละกรรม จนกระทั่ง
สงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกาย
วาจากับจิต
สังฆาทิเสส ๑๓ สิกขาบท จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๗๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อัตถาปัตติสมุฏฐาน] ๓. ปาราชิกาทิ
เสขิยวัตร
ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๑๕
[๔๗๒] ถาม : ทุกกฏของภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ
หรือบ้วนน้ำลายลงในน้ำ เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : ทุกกฏของภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือ
บ้วนน้ำลายลงในน้ำ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต
มิใช่เกิดทางวาจา
เสขิยวัตร จบ

๓. ปาราชิกาทิ
ว่าด้วยอาบัติปาราชิก เป็นต้น
ปาราชิก ๔
[๔๗๓] ถาม : ปาราชิก ๔ สิกขาบท เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : ปาราชิก ๔ สิกขาบท เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิด
ทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา (๒) เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย
(๓) เกิดทางกายวาจากับจิต

สังฆาทิเสส ๑๓
ถาม : สังฆาทิเสส ๑๓ สิกขาบท เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : สังฆาทิเสส ๑๓ สิกขาบท เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน คือ
(๑) เกิดทางกาย มิใช่เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทางจิต (๒) เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทาง
กาย มิใช่เกิดทางจิต (๓) เกิดทางกายกับวาจา มิใช่เกิดทางจิต (๔) เกิดทางกาย
กับจิต มิใช่เกิดทางวาจา (๕) เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย (๖) เกิดทางกาย
วาจากับจิต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๗๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อัตถาปัตติสมุฏฐาน] ๓. ปาราชิกาทิ
อนิยต ๒
ถาม : อนิยต ๒ สิกขาบท เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : อนิยต ๒ สิกขาบท เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิดทาง
กายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา (๒) เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย (๓) เกิด
ทางกายวาจากับจิต

นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐
ถาม : นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ สิกขาบท เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ สิกขาบท เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน คือ
(๑) เกิดทางกาย มิใช่เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทางจิต (๒) เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทาง
กาย มิใช่เกิดทางจิต (๓) เกิดทางกายกับวาจา มิใช่เกิดทางจิต (๔) เกิดทาง
กายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา (๕) เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย (๖) เกิด
ทางกายวาจากับจิต

ปาจิตตีย์ ๙๒
ถาม : ปาจิตตีย์ ๙๒ สิกขาบท เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : ปาจิตตีย์ ๙๒ สิกขาบท เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน คือ
(๑) เกิดทางกาย มิใช่เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทางจิต (๒) เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทาง
กาย มิใช่เกิดทางจิต (๓) เกิดทางกายกับวาจา มิใช่เกิดทางจิต (๔) เกิดทาง
กายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา (๕) เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย (๖) เกิด
ทางกายวาจากับจิต

ปาฏิเทสนียะ ๔
ถาม : ปาฏิเทสนียะ ๔ สิกขาบท เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : ปาฏิเทสนียะ ๔ สิกขาบท เกิดด้วยสมุฏฐาน ๔ สมุฏฐาน คือ
(๑) เกิดทางกาย มิใช่เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทางจิต (๒) เกิดทางกายกับวาจา มิใช่
เกิดทางจิต (๓) เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา (๔) เกิดทางกายวาจากับจิต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๗๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อัตถาปัตติสมุฏฐาน] หัวข้อประจำเรื่อง
เสขิยะ ๗๕
ถาม : เสขิยะ ๗๕ สิกขาบท เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : เสขิยะ ๗๕ สิกขาบท เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิด
ทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา (๒) เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย
(๓) เกิดทางกายวาจากับจิต
สมุฏฐาน จบ

หัวข้อประจำเรื่อง
ภิกษุไม่จงใจ มีจิตเป็นกุศล สมุฏฐานทุกสิกขาบท
ขอท่านทั้งหลาย จงเข้าใจสมุฏฐานโดยรู้ตามธรรมเทอญ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๗๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ทุติยคาถาสังคณิกะ] ๑. กายิกาทิอาปัตติ
ทุติยคาถาสังคณิกะ
ว่าด้วยกลุ่มคาถา กลุ่มที่ ๒
๑. กายิกาทิอาปัตติ
ว่าด้วยอาบัติทางกาย เป็นต้น
[๔๗๔] ถาม : อาบัติทางกายจัดไว้เท่าไร ทางวาจาจัดไว้เท่าไร
เมื่อปกปิดต้องอาบัติเท่าไร อาบัติที่มีการเคล้าคลึงเป็นปัจจัยมีเท่าไร
ตอบ : อาบัติทางกายจัดไว้ ๖ ทางวาจาจัดไว้ ๖
เมื่อปกปิดต้องอาบัติ ๓ อย่าง อาบัติที่มีการเคล้าคลึง
เป็นปัจจัยมี ๕

ต้องอาบัติเมื่ออรุณขึ้น เป็นต้น
ถาม : ต้องอาบัติเมื่ออรุณขึ้นมีเท่าไร อาบัติชื่อยาวตติยกา
มีเท่าไร อาบัติชื่ออัฏฐวัตถุกาในศาสนานี้มีเท่าไร
จัดสิกขาบทและปาติโมกขุทเทสทั้งมวล เข้าในอุทเทสเท่าไร
ตอบ : ต้องอาบัติเมื่ออรุณขึ้นมี ๓ อาบัติชื่อยาวตติยกามี ๒
อาบัติชื่ออัฏฐวัตถุกาในศาสนานี้มี ๑
จัดสิกขาบทและปาติโมกขุทเทสทั้งมวลเข้าในนิทานุทเทสอย่างเดียว

มูลแห่งพระวินัย เป็นต้น
ถาม : มูลแห่งพระวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้มีเท่าไร
อาบัติหนักในฝ่ายพระวินัยที่ตรัสไว้มีเท่าไร
อาบัติเพราะปิดโทษชั่วหยาบมีเท่าไร
ตอบ : มูลแห่งพระวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้มี ๒
อาบัติหนักในฝ่ายพระวินัยที่ตรัสไว้มี ๒
อาบัติเพราะปิดโทษชั่วหยาบมี ๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๗๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ทุติยคาถาสังคณิกะ] ๒. เทสนาคามินิยาทิอาปัตติ
ต้องอาบัติในละแวกบ้าน เป็นต้น
ถาม : อาบัติในละแวกบ้านมีเท่าไร
อาบัติมีฝั่งนทีเป็นปัจจัยมีเท่าไร ต้องอาบัติถุลลัจจัย
เพราะเนื้อกี่ชนิด ต้องอาบัติทุกกฏเพราะเนื้อกี่ชนิด
ตอบ : อาบัติในละแวกบ้านมี ๔ อาบัติมีฝั่งนทีเป็นปัจจัยมี ๔
ต้องอาบัติถุลลัจจัยเพราะเนื้อชนิดเดียว
ต้องอาบัติทุกกฏเพราะเนื้อ ๙ ชนิด

ต้องอาบัติทางวาจาในกลางคืน เป็นต้น
ถาม : อาบัติทางวาจาในกลางคืนมีเท่าไร อาบัติทางวาจา
ในกลางวันมีเท่าไร เมื่อให้ต้องอาบัติเท่าไร เมื่อรับต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : อาบัติทางวาจาในกลางคืนมี ๒
อาบัติทางวาจาในกลางวันมี ๒ เมื่อให้ต้องอาบัติ ๓
เมื่อรับต้องอาบัติ ๔

๒. เทสนาคามินิยาทิอาปัตติ
ว่าด้วยอาบัติเป็นเทสนาคามินี เป็นต้น
[๔๗๕] ถาม : อาบัติเป็นเทสนาคามินีมีเท่าไร
อาบัติที่แก้ไขได้จัดไว้เท่าไร อาบัติที่ทำคืนไม่ได้ในศาสนานี้พระพุทธเจ้า
ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้เท่าไร
ตอบ : อาบัติเป็นเทสนาคามินีมี ๕
อาบัติที่ทำคืนได้จัดไว้ ๖ อาบัติที่ทำคืนไม่ได้ในศาสนานี้พระพุทธเจ้า
ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้อย่างเดียว

ต้องอาบัติหนักในฝ่ายพระวินัย เป็นต้น
ถาม : อาบัติหนักในฝ่ายพระวินัยเป็นไปทางกายและวาจา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๗๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ทุติยคาถาสังคณิกะ] ๒. เทสนาคามินิยาทิอาปัตติ
ตรัสไว้เท่าไร ธัญญรสในเวลาวิกาลมีเท่าไร
สมมติด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจามีเท่าไร
ตอบ : อาบัติหนักในฝ่ายพระวินัยเป็นไปทางกายและวาจาตรัสไว้ ๒
ธัญญรสในเวลาวิกาลมีอย่างเดียว
สมมติด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจามีอย่างเดียว

อาบัติปาราชิกทางกาย เป็นต้น
ถาม : อาบัติปาราชิกทางกายมีเท่าไร ภูมิของภิกษุผู้มีสังวาส
มีเท่าไร รัตติเฉทของภิกษุกี่พวก และพระบัญญัติเรื่อง ๒ นิ้วมีเท่าไร
ตอบ : อาบัติปาราชิกทางกายมี ๒
ภูมิของภิกษุผู้มีสังวาสมี ๒ รัตติเฉทของภิกษุมี ๒ พวก
และพระบัญญัติเรื่อง ๒ นิ้วมี ๒

ต้องอาบัติเพราะทำร้ายตัวเอง เป็นต้น
ถาม : เพราะทำร้ายตัวเองต้องอาบัติเท่าไร
สงฆ์แตกกันด้วยอาการเท่าไร อาบัติชื่อปฐมาปัตติกา
ในศาสนานี้มีเท่าไร การทำญัตติมีเท่าไร
ตอบ : เพราะทำร้ายตัวเองต้องอาบัติมี ๒
สงฆ์แตกกันด้วยอาการ ๒
อาบัติชื่อปฐมาปัตติกาในศาสนานี้มี ๒ ทำญัตติมี ๒

ต้องอาบัติเพราะปาณาติบาต เป็นต้น
ถาม : อาบัติเพราะปาณาติบาตมีเท่าไร อาบัติปาราชิก
เนื่องด้วยวาจามีเท่าไร อาบัติเกี่ยวด้วยพูดเชิญชวนตรัสไว้เท่าไร
อาบัติเกี่ยวด้วยเที่ยวเป็นพ่อสื่อตรัสไว้เท่าไร
ตอบ : อาบัติเพราะปาณาติบาตมี ๓
อาบัติปาราชิกเนื่องด้วยวาจามี ๓ อาบัติเกี่ยวด้วยพูดเชิญชวนตรัสไว้ ๓
และอาบัติเกี่ยวด้วยเที่ยวเป็นพ่อสื่อตรัสไว้ ๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๘๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ทุติยคาถาสังคณิกะ] ๒. เทสนาคามินิยาทิอาปัตติ
บุคคลไม่ควรให้อุปสมบท เป็นต้น
ถาม : บุคคลไม่ควรให้อุปสมบทมีเท่าไร
กรรมสังคหะมีเท่าไร บุคคลถูกนาสนะตรัสไว้เท่าไร
อนุสาวนาเดียวกันสำหรับบุคคลจำนวนเท่าไร
ตอบ : บุคคลไม่ควรให้อุปสมบทมี ๓ พวก
กรรมสังคหะมี ๓ อย่าง บุคคลที่ถูกนาสนะตรัสไว้ ๓ พวก
อนุสาวนาเดียวกันสำหรับบุคคลจำนวน ๓ คน

ต้องอาบัติเพราะอทินนาทาน เป็นต้น
ถาม : ต้องอาบัติเพราะอทินนาทานมีเท่าไร
อาบัติเพราะเสพเมถุนธรรมเป็นปัจจัยมีเท่าไร
เมื่อตัด(ต้นไม้)ต้องอาบัติเท่าไร อาบัติเพราะวัตถุที่ทิ้งเป็นปัจจัยมีเท่าไร
ตอบ : ต้องอาบัติเพราะอทินนาทานมี ๓
อาบัติเพราะเสพเมถุนธรรมเป็นปัจจัยมี ๔
เมื่อตัดต้องอาบัติ ๓ อาบัติเพราะวัตถุที่ทิ้งเป็นปัจจัยมี ๕

ปรับอาบัติควบกัน เป็นต้น
ถาม : ในภิกขุโนวาทกวรรค อาบัติทุกกฏกับปาจิตตีย์
ที่ตรัสไว้หมวดที่ ๙ ในสิกขาบทที่ ๑ นั้นมีเท่าไร
ภิกษุณีกี่จำพวกเป็นเหตุให้ภิกษุต้องอาบัติ เพราะจีวรเป็นเหตุ
ตอบ : ในภิกขุโนวาทกวรรค อาบัติทุกกฏกับปาจิตตีย์
ที่ตรัสไว้หมวดที่ ๙ ในสิกขาบทที่ ๑ นั้นมี ๔
ภิกษุณี ๒ พวกเป็นเหตุให้ภิกษุต้องอาบัติ
เพราะจีวรเป็นเหตุ

ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ เป็นต้น
ถาม : อาบัติปาฏิเทสนียะที่ตรัสไว้แก่ภิกษุณีมีเท่าไร
เพราะขอข้าวเปลือกมาฉัน ปรับอาบัติทุกกฏกับปาจิตตีย์หรือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๘๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ทุติยคาถาสังคณิกะ] ๓. ปาจิตติยะ
ตอบ : อาบัติปาฏิเทสนียะที่ตรัสไว้แก่ภิกษุณี
ปรับอาบัติไว้ ๘ เพราะขอข้าวเปลือกมาฉัน
ปรับอาบัติทุกกฏกับปาจิตตีย์

ต้องอาบัติเพราะเดิน เป็นต้น
ถาม : ผู้เดินต้องอาบัติเท่าไร ผู้ยืนต้องอาบัติเท่าไร
ผู้นั่งต้องอาบัติเท่าไร และผู้นอนต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : ผู้เดินต้องอาบัติ ๔ ผู้ยืนต้องอาบัติ ๔ เท่ากัน
ผู้นั่งต้องอาบัติ ๔ และผู้นอนต้องอาบัติ ๔ เท่ากัน

๓. ปาจิตติยะ
ว่าด้วยอาบัติปาจิตตีย์ต้องอาบัติในเขตเดียวกัน
[๔๗๖] ถาม : อาบัติปาจิตตีย์ทั้งหมดที่มีวัตถุต่างกัน มีเท่าไร
ภิกษุพึงต้องในขณะเดียวกัน ไม่ก่อน ไม่หลัง
ตอบ : อาบัติปาจิตตีย์ทั้งหมดที่มีวัตถุต่างกัน
มี ๕ ภิกษุพึงต้องในขณะเดียวกัน ไม่ก่อน ไม่หลัง
ถาม : อาบัติปาจิตตีย์ทั้งหมดที่มีวัตถุต่างกัน มีเท่าไร
ภิกษุพึงต้องในขณะเดียวกัน ไม่ก่อน ไม่หลัง
ตอบ : อาบัติปาจิตตีย์ทั้งหมดที่มีวัตถุต่างกัน มี ๙
ภิกษุพึงต้องในขณะเดียวกัน ไม่ก่อน ไม่หลัง

วิธีแสดงอาบัติ
ถาม : อาบัติปาจิตตีย์ทั้งหมดที่มีวัตถุต่างกัน มีเท่าไร
อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว
ภิกษุพึงแสดงด้วยวาจาเท่าไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๘๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ทุติยคาถาสังคณิกะ] ๓. ปาจิตติยะ
ตอบ : อาบัติปาจิตตีย์ทั้งหมดที่มีวัตถุต่างกัน มี ๕
อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว
ภิกษุพึงแสดงด้วยวาจาอย่างเดียว
ถาม : อาบัติปาจิตตีย์ทั้งหมดที่มีวัตถุต่างกัน มีเท่าไร
อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว
ภิกษุพึงแสดงด้วยวาจาเท่าไร
ตอบ : อาบัติปาจิตตีย์ทั้งหมดที่มีวัตถุต่างกัน มี ๙
อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว
ภิกษุพึงแสดงด้วยวาจาอย่างเดียว
ถาม : อาบัติปาจิตตีย์ทั้งหมดที่มีวัตถุต่างกัน มีเท่าไร
อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว
ภิกษุพึงแสดงระบุอะไร
ตอบ : อาบัติปาจิตตีย์ทั้งหมดที่มีวัตถุต่างกัน มี ๕
อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว
ภิกษุพึงแสดงระบุวัตถุ
ถาม : อาบัติปาจิตตีย์ทั้งหมดที่มีวัตถุต่างกัน มีเท่าไร
อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว
ภิกษุพึงแสดงระบุอะไร
ตอบ : อาบัติปาจิตตีย์ทั้งหมดที่มีวัตถุต่างกัน มี ๙
อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว
ภิกษุพึงแสดงระบุวัตถุ

ยาวตติยกาบัติ เป็นต้น
ถาม : เพราะสวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง ต้องอาบัติเท่าไร
เพราะการกล่าวเป็นปัจจัย ต้องอาบัติเท่าไร
ภิกษุเคี้ยวต้องอาบัติเท่าไร เพราะโภชนะเป็นปัจจัย ต้องอาบัติเท่าไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๘๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ทุติยคาถาสังคณิกะ] ๓. ปาจิตติยะ
ตอบ : เพราะสวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง ต้องอาบัติ ๓
เพราะการกล่าวเป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๖
ภิกษุเคี้ยวต้องอาบัติ ๓ เพราะโภชนะเป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๕

ฐานะแห่งยาวตติยกาบัติ เป็นต้น
ถาม : ยาวตติยกาบัติทั้งหมดย่อมถึงฐานะเท่าไร
อาบัติมีแก่คนกี่พวก และอธิกรณ์มีแก่คนกี่พวก
ตอบ : ยาวตติยกาบัติทั้งหมดย่อมถึงฐานะ ๕
อาบัติมีแก่สหธรรมิก ๕ และอธิกรณ์มีแก่สหธรรมิก ๕

วินิจฉัย เป็นต้น
ถาม : วินิจฉัยมีแก่คนกี่พวก การระงับมีแก่คนกี่พวก
บุคคลกี่พวกไม่ต้องอาบัติ และภิกษุย่อมงามด้วยฐานะเท่าไร
ตอบ : วินิจฉัยมีแก่สหธรรมิก ๕ การระงับมีแก่
สหธรรมิก ๕ ไม่ต้องอาบัติ และภิกษุย่อมงามด้วย ๓ ฐานะ

อาบัติทางกายในราตรี เป็นต้น
ถาม : อาบัติทางกายในกลางคืนมีเท่าไร อาบัติทางกาย
ในกลางวันมีเท่าไร ภิกษุเพ่งดูต้องอาบัติเท่าไร
เพราะบิณฑบาตเป็นปัจจัย ต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : อาบัติทางกายในกลางคืนมี ๒ อาบัติทางกาย
ในกลางวันมี ๒ ภิกษุเพ่งดูต้องอาบัติกองเดียว
เพราะบิณฑบาตเป็นปัจจัย ต้องอาบัติกองเดียว

ภิกษุที่สงฆ์ยกวัตร เป็นต้น
ถาม : ภิกษุเห็นอานิสงส์เท่าไรจึงแสดงเพราะเชื่อคนอื่น
ภิกษุถูกยกวัตรตรัสไว้เท่าไร ความประพฤติชอบมีเท่าไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๘๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ทุติยคาถาสังคณิกะ] ๓. ปาจิตติยะ
ตอบ : ภิกษุเห็นอานิสงส์ ๘ อย่างจึงแสดง
เพราะเชื่อคนอื่น ภิกษุถูกยกวัตรตรัสไว้ ๓ พวก
ความประพฤติชอบมี ๔๓ ข้อ

มุสาวาท เป็นต้น
ถาม : มุสาวาทถึงฐานะเท่าไร ที่ตรัสว่าอย่างยิ่งมีเท่าไร
ปาฏิเทสนียะมีกี่สิกขาบท และการแสดงโทษของบุคคลกี่พวก
ตอบ : มุสาวาทถึงฐานะ ๕ ที่ตรัสว่าอย่างยิ่งมี ๑๔ สิกขาบท
ปาฏิเทสนียะมี ๑๒ สิกขาบท
และการแสดงโทษของบุคคล ๔ พวก

องค์ของมุสาวาท เป็นต้น
ถาม : มุสาวาทมีองค์เท่าไร องค์อุโบสถมีเท่าไร
องค์ที่เอื้อต่อการเป็นทูตมีเท่าไร ติตถิยวัตรมีเท่าไร
ตอบ : มุสาวาทมีองค์ ๘ องค์อุโบสถมี ๘ องค์
ที่เอื้อต่อการเป็นทูตมี ๘ ติตถิยวัตรมี ๘

อุปสัมปทา เป็นต้น
ถาม : อุปสัมปทามีวาจาเท่าไร ภิกษุณีพึงลุกรับภิกษุณี
กี่พวก พึงให้อาสนะแก่ภิกษุณีกี่พวก
ภิกษุผู้สั่งสอนภิกษุณีประกอบด้วยคุณสมบัติเท่าไร
ตอบ : อุปสัมปทามีวาจา ๘ ภิกษุณีพึงลุกรับภิกษุณี ๘ พวก
พึงให้อาสนะแก่ภิกษุณี ๘ พวก
ภิกษุผู้สั่งสอนภิกษุณีประกอบด้วยคุณสมบัติ ๘ ข้อ

ความขาด เป็นต้น
ถาม : ความขาดมีแก่บุคคลเท่าไร อาบัติถุลลัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๘๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ทุติยคาถาสังคณิกะ] ๔. อวันทนียปุคคลาทิ
มีแก่บุคคลเท่าไร บุคคลเท่าไรไม่ต้องอาบัติ
อาบัติและอนาบัติของคนทั้งหมดมีวัตถุอย่างเดียวกันหรือ
ตอบ : ความขาดมีแก่บุคคลผู้เดียว อาบัติถุลลัจจัย
มีแก่บุคคล ๔ พวก บุคคล ๔ พวกไม่ต้องอาบัติ
อาบัติและอนาบัติของคนทั้งหมดมีวัตถุอย่างเดียวกัน

กรรมเนื่องด้วยญัตติ เป็นต้น
ถาม : อาฆาตวัตถุมีเท่าไร สงฆ์แตกกันด้วยเหตุเท่าไร
อาบัติชื่อปฐมาปัตติกา ในศาสนานี้มีเท่าไร การทำด้วยญัตติมีเท่าไร
ตอบ : อาฆาตวัตถุมี ๙ สงฆ์แตกกันด้วยเหตุ ๙ อย่าง
อาบัติชื่อปฐมาปัตติกาในศาสนานี้มี ๙ อย่าง
การทำด้วยญัตติมี ๙ อย่าง

๔. อวันทนียปุคคลาทิ
ว่าด้วยบุคคลไม่ควรไหว้ เป็นต้น
[๔๗๗] ถาม : บุคคลเท่าไรอันภิกษุไม่ควรกราบไหว้
ไม่ควรทำอัญชลีกรรมและสามีจิกรรม ทำแก่บุคคลกี่พวก
ต้องอาบัติทุกกฏ การทรงจีวรมีกำหนดเท่าไร
ตอบ : บุคคล ๑๐ จำพวก อันภิกษุไม่ควรกราบไหว้
ไม่ควรทำอัญชลีกรรม และสามีจิกรรม
ทำแก่บุคคล ๑๐ จำพวก ต้องอาบัติทุกกฏ
การทรงจีวรมีกำหนด ๑๐ วัน

ให้จีวร เป็นต้น
ถาม : จีวรควรให้แก่บุคคลในศาสนานี้ผู้อยู่จำพรรษาแล้ว
กี่พวก เมื่อมีผู้รับแทน ควรให้แก่บุคคลกี่พวก
และไม่ควรให้แก่บุคคลกี่พวก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๘๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ทุติยคาถาสังคณิกะ] ๔. อวันทนียปุคคลาทิ
ตอบ : จีวรควรให้แก่สหธรรมิก ๕ ในศาสนานี้ผู้อยู่จำพรรษาแล้ว
เมื่อมีผู้รับแทน ควรให้แก่บุคคล ๗ จำพวก
และไม่ควรให้แก่บุคคล ๑๖ จำพวก

ภิกษุอยู่ปริวาส
ถาม : ชั่ว ๑๐๐ ราตรี ภิกษุอยู่ปริวาสปิดอาบัติไว้กี่ร้อย
ต้องอยู่ปริวาสกี่ราตรีจึงจะพ้น
ตอบ : ชั่ว ๑๐๐ ราตรี ภิกษุอยู่ปริวาสปิดอาบัติไว้ ๑,๐๐๐ ราตรี
ต้องอยู่ปริวาส ๑๐ ราตรีจึงจะพ้น

โทษแห่งกรรม
ถาม : โทษแห่งกรรมอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้เท่าไร กรรมที่ไม่ชอบธรรมทั้งหมด
ที่ตรัสไว้ในเรื่องพระวินัยในพระนครจัมปามีเท่าไร
ตอบ : โทษแห่งกรรมอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้มี ๑๒ กรรม
กรรมที่ตรัสไว้ในเรื่องพระวินัยในพระนครจัมปาล้วนไม่ชอบธรรม

กรรมสมบัติ
ถาม : กรรมสมบัติอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้เท่าไร กรรมที่ชอบธรรมทั้งหมด
ที่ตรัสไว้ในเรื่องพระวินัยในพระนครจัมปามีเท่าไร
ตอบ : กรรมสมบัติอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้มี ๔ ประการ
กรรมที่ตรัสไว้ในเรื่องพระวินัยในพระนครจัมปาล้วนชอบธรรม

กรรม ๖ อย่าง
ถาม : กรรมอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๘๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ทุติยคาถาสังคณิกะ] ๔. อวันทนียปุคคลาทิ
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้เท่าไร
กรรมที่ตรัสไว้ในเรื่องพระวินัยในพระนครจัมปา
ที่ชอบธรรมมีเท่าไร ที่ไม่ชอบธรรมมีเท่าไร
ตอบ : กรรมอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้มี ๖ อย่าง ในกรรม ๖ อย่างนี้
กรรมอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์
ตรัสไว้ในเรื่องพระวินัยในพระนครจัมปา ที่ชอบธรรมมีอย่างเดียว
ที่ไม่ชอบธรรมมี ๕ อย่าง

กรรม ๔ อย่าง
ถาม : กรรมอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้เท่าไร กรรมที่ตรัสไว้ในเรื่องพระวินัย
ในพระนครจัมปา ที่ชอบธรรมมีเท่าไร ที่ไม่ชอบธรรมมีเท่าไร
ตอบ : กรรมอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้มี ๔ อย่าง
ในกรรม ๔ อย่างนี้ กรรมอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้ในเรื่องพระวินัยในพระนครจัมปา
ที่ชอบธรรมมีอย่างเดียว ที่ไม่ชอบธรรมมี ๓ อย่าง

อาบัติระงับ และไม่ระงับ
ถาม : ในกองอาบัติที่พระอนันตชินเจ้าผู้คงที่
ผู้ทรงเห็นวิเวก ทรงแสดงแล้วนั้น กองอาบัติกี่กอง
เว้นสมถะเสียก็ระงับได้ ท่านผู้ฉลาดในวิภังค์
ข้าพเจ้าถามข้อนั้น ขอท่านจงบอก
ตอบ : ในกองอาบัติที่พระอนันตชินเจ้าผู้คงที่
ผู้ทรงเห็นวิเวก ทรงแสดงแล้วนั้น กองอาบัติกองเดียว
เว้นสมถะเสียก็ระงับได้ ท่านผู้ฉลาดในวิภังค์
ข้าพเจ้าขอบอกข้อนั้นแก่ท่าน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๘๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ทุติยคาถาสังคณิกะ] ๔. อวันทนียปุคคลาทิ
ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ไปสู่อบาย
ถาม : ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ไปสู่อบาย อันพระพุทธเจ้า
ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้เท่าไร
ข้าพเจ้าทั้งหลายขอฟังวิสัยของท่านผู้รู้แจ้งพระวินัย
ตอบ : ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ไปสู่อบาย ตกนรกอยู่ชั่วกัป
อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชา
ผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้ ๑๔๔ พวก
ขอท่านจงฟังวิสัยของข้าพเจ้าผู้รู้แจ้งพระวินัย

ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ไม่ไปสู่อบาย
ถาม : ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ไม่ไปสู่อบาย
อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้เท่าไร
ข้าพเจ้าทั้งหลายขอฟังวิสัยของท่านผู้รู้แจ้งพระวินัย
ตอบ : ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ไม่ไปสู่อบาย
อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่ง
พระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้ ๑๘ พวก
ขอท่านจงฟังวิสัยของข้าพเจ้าผู้รู้แจ้งพระวินัย

หมวด ๘
ถาม : หมวด ๘ อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้เท่าไร
ข้าพเจ้าทั้งหลายขอฟังวิสัยของท่านผู้รู้แจ้งพระวินัย
ตอบ : หมวด ๘ อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้ ๑๘ หมวด
ขอท่านจงฟังวิสัยของข้าพเจ้าผู้รู้แจ้งพระวินัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๘๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ทุติยคาถาสังคณิกะ] ๕. โสฬสกัมมาทิ
๕. โสฬสกัมมาทิ
ว่าด้วยกรรม ๑๖ อย่าง เป็นต้น
[๔๗๘] ถาม : กรรมอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้เท่าไร
ข้าพเจ้าทั้งหลายขอฟังวิสัยของท่านผู้รู้แจ้งพระวินัย
ตอบ : กรรมอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้ ๑๖ อย่าง
ขอท่านจงฟังวิสัยของข้าพเจ้าผู้รู้แจ้งพระวินัย

โทษแห่งกรรม
ถาม : โทษแห่งกรรมอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้เท่าไร
ข้าพเจ้าทั้งหลายขอฟังวิสัยของท่านผู้รู้แจ้งพระวินัย
ตอบ : โทษแห่งกรรมอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้ ๑๒ อย่าง
ขอท่านจงฟังวิสัยของข้าพเจ้าผู้รู้แจ้งพระวินัย

กรรมสมบัติ
ถาม : กรรมสมบัติอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้เท่าไร
ข้าพเจ้าทั้งหลายขอฟังวิสัยของท่านผู้รู้แจ้งพระวินัย
ตอบ : กรรมสมบัติอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้ ๔ อย่าง
ขอท่านจงฟังวิสัยของข้าพเจ้าผู้รู้แจ้งพระวินัย

กรรม ๖
ถาม : กรรมอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๙๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ทุติยคาถาสังคณิกะ] ๕. โสฬสกัมมาทิ
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้เท่าไร
ข้าพเจ้าทั้งหลายขอฟังวิสัยของท่านผู้รู้แจ้งพระวินัย
ตอบ : กรรมอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้ ๖ อย่าง
ขอท่านจงฟังวิสัยของข้าพเจ้าผู้รู้แจ้งพระวินัย

กรรม ๔
ถาม : กรรมอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้เท่าไร
ข้าพเจ้าทั้งหลายขอฟังวิสัยของท่านผู้รู้แจ้งพระวินัย
ตอบ : กรรมอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้ ๔ อย่าง
ขอท่านจงฟังวิสัยของข้าพเจ้าผู้รู้แจ้งพระวินัย

ปาราชิก ๘
ถาม : ปาราชิกอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้เท่าไร
ข้าพเจ้าทั้งหลายขอฟังวิสัยของท่านผู้รู้แจ้งพระวินัย
ตอบ : ปาราชิกอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้ ๘ อย่าง
ขอท่านจงฟังวิสัยของข้าพเจ้าผู้รู้แจ้งพระวินัย

สังฆาทิเสส ๒๓
ถาม : สังฆาทิเสสอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้เท่าไร
ข้าพเจ้าทั้งหลายขอฟังวิสัยของท่านผู้รู้แจ้งพระวินัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๙๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ทุติยคาถาสังคณิกะ] ๕. โสฬสกัมมาทิ
ตอบ : สังฆาทิเสสอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้ ๒๓ อย่าง
ขอท่านจงฟังวิสัยของข้าพเจ้าผู้รู้แจ้งพระวินัย

อนิยต ๒
ถาม : อนิยตอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้เท่าไร
ข้าพเจ้าทั้งหลายขอฟังวิสัยของท่านผู้รู้แจ้งพระวินัย
ตอบ : อนิยตอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้ ๒ สิกขาบท
ขอท่านจงฟังวิสัยของข้าพเจ้าผู้รู้แจ้งพระวินัย

นิสสัคคีย์ ๔๒
ถาม : นิสสัคคีย์อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้เท่าไร
ข้าพเจ้าทั้งหลายขอฟังวิสัยของท่านผู้รู้แจ้งพระวินัย
ตอบ : นิสสัคคีย์อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้ ๔๒ สิกขาบท
ขอท่านจงฟังวิสัยของข้าพเจ้าผู้รู้แจ้งพระวินัย

ปาจิตตีย์ ๑๘๘
ถาม : ปาจิตตีย์อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้เท่าไร
ข้าพเจ้าทั้งหลายขอฟังวิสัยของท่านผู้รู้แจ้งพระวินัย
ตอบ : ปาจิตตีย์อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้ ๑๘๘ สิกขาบท
ขอท่านจงฟังวิสัยของข้าพเจ้าผู้รู้แจ้งพระวินัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๙๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ทุติยคาถาสังคณิกะ] ๕. โสฬสกัมมาทิ
ปาฏิเทสนียะ ๑๒
ถาม : ปาฏิเทสนียะอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้เท่าไร
ข้าพเจ้าทั้งหลายขอฟังวิสัยของท่านผู้รู้แจ้งพระวินัย
ตอบ : ปาฏิเทสนียะอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้ ๑๒ สิกขาบท
ขอท่านจงฟังวิสัยของข้าพเจ้าผู้รู้แจ้งพระวินัย

เสขิยะ ๗๕
ถาม : เสขิยะอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้เท่าไร
ข้าพเจ้าทั้งหลายขอฟังวิสัยของท่านผู้รู้แจ้งพระวินัย
ตอบ : เสขิยะอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้ ๗๕ สิกขาบท
ขอท่านจงฟังวิสัยของข้าพเจ้าผู้รู้แจ้งพระวินัย
ปัญหาข้อใด ท่านถามแล้วด้วยดีเพียงใด
ปัญหาข้อนั้นข้าพเจ้าก็ตอบแล้วด้วยดี เพียงนั้น
อนึ่ง ในคำถามและคำตอบจะไม่อ้างถึงสูตรอะไร ไม่มีแล
ทุติยคาถาสังคณิกะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๙๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เสทโมจนคาถา] ๑. อวิปปวาสปัญหา
เสทโมจนคาถา
ว่าด้วยคาถาที่ทำให้เหงื่อแตก
๑. อวิปปวาสปัญหา
ปัญหาว่าด้วยการไม่อยู่ปราศ
[๔๗๙] ภิกษุทั้งหลายไม่อยู่ร่วมกับภิกษุณีทั้งหลาย
ความสนิทชิดเชื้อบางอย่างในบุคคลนั้นทำไม่ได้
เพราะไม่อยู่ปราศไม่ต้องอาบัติ
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
ครุภัณฑ์ที่ไม่พึงสละ ไม่พึงแจก อันพระผู้มีพระภาค
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ตรัสไว้ ๕ หมวด
ภิกษุผู้สละใช้สอยไม่ต้องอาบัติ
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
ข้าพเจ้าไม่กล่าวถึงบุคคล ๑๐ จำพวก
บุคคลที่พึงเว้น ๑๑ จำพวก
ภิกษุไหว้ผู้แก่กว่าต้องอาบัติ
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
ภิกษุไม่ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม และมิได้อยู่ปริวาส
ไม่เป็นผู้ทำลายสงฆ์ และไม่เป็นผู้ไปเข้ารีด
ดำรงอยู่ในภูมิของภิกษุผู้มีสังวาสเสมอกัน
ไฉนหนอจึงไม่ทั่วไปแก่สิกขา
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
บุคคลเข้าถึงธรรม สอบถามถึงกุศลที่ประกอบด้วยประโยชน์
มิใช่ผู้มีชีวิต มิใช่ผู้ตาย มิใช่ผู้ดับ
ท่านผู้รู้ทั้งหลายเรียกบุคคลนั้นว่าอย่างไร
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๙๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เสทโมจนคาถา] ๑. อวิปปวาสปัญหา
ข้าพเจ้าไม่กล่าวถึงอวัยวะเหนือบริเวณรากขวัญขึ้นไป
เว้นอวัยวะบริเวณใต้สะดือลงมา ภิกษุพึงเป็นปาราชิก
เพราะเมถุนธรรมเป็นปัจจัยได้อย่างไร
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
ภิกษุสร้างกุฎีด้วยการขอเอาเอง ไม่ได้ให้สงฆ์แสดงพื้นที่
เกินขนาด ซึ่งเป็นพื้นที่มีอันตราย
เป็นพื้นที่ไม่มีบริเวณโดยรอบ ไม่ต้องอาบัติ
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
ภิกษุสร้างกุฎีด้วยการขอเอาเอง ให้สงฆ์แสดงพื้นที่ ได้ขนาด
เป็นพื้นที่ไม่มีอันตราย เป็นพื้นที่ไม่มีบริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติ
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
ภิกษุไม่พยายามอะไรทางกาย และไม่พูดกับผู้อื่นทางวาจา
แต่ต้องอาบัติหนักซึ่งเป็นมูลแห่งการตัดขาด
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
สัตบุรุษไม่ทำความชั่วอะไรทางกาย ทางวาจา
และแม้ทางใจ ถูกสงฆ์นาสนะแล้ว ชื่อว่าถูกนาสนะด้วยดี
เพราะเหตุไร ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
ภิกษุไม่เจรจากับมนุษย์ไร ๆ ด้วยวาจา
และไม่กล่าวถ้อยคำกับผู้อื่น
ต้องอาบัติทางวาจา ไม่ต้องอาบัติทางกาย
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
สิกขาบททั้งหลาย อันพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ
พรรณาไว้แล้ว สังฆาทิเสส ๔ สิกขาบท
ภิกษุณีต้องทั้งหมด ด้วยความพยายามครั้งเดียวกัน
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
ภิกษุณี ๒ รูป อุปสมบทแต่สงฆ์ฝ่ายเดียว
ภิกษุรับจีวรจากมือของภิกษุณี ๒ รูป ต้องอาบัติต่างกัน
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๙๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เสทโมจนคาถา] ๒. ปาราชิกาทิปัญหา
ภิกษุ ๔ รูป ชวนกันไปลักครุภัณฑ์ ๓ รูป ต้องอาบัติปาราชิก
อีก ๑ รูป ไม่ต้องอาบัติปาราชิก
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว

๒. ปาราชิกาทิปัญหา
ปัญหาว่าด้วยอาบัติปาราชิก เป็นต้น
[๔๘๐] สตรีอยู่ข้างในและภิกษุอยู่ข้างนอก ช่องในเรือนนั้นก็ไม่มี
ภิกษุจะพึงต้องอาบัติปาราชิกเพราะเมถุนธรรมเป็นปัจจัยได้อย่างไร
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
เมื่อภิกษุรับประเคนน้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อยและเนยใส
ด้วยตนเองแล้วเก็บไว้ เมื่อยังไม่ล่วง ๗ วัน
เมื่อปัจจัยมีอยู่จึงฉัน ต้องอาบัติ
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
อาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ อาบัติสุทธิกปาจิตตีย์
ภิกษุต้องพร้อมกัน
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
ภิกษุ ๒๐ รูป มาประชุมกัน สำคัญว่าพร้อมเพรียงจึงทำกรรม
ภิกษุอยู่ไกล ๑๒ โยชน์ พึงยังกรรมนั้นให้เสียได้
เพราะการแบ่งพวกเป็นปัจจัย
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
ภิกษุต้องครุกาบัติที่ทำคืนได้ทั้งหมด ๖๔ คราวเดียวกัน
ด้วยอาการเพียงย่างเท้า และด้วยกล่าววาจา
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
ภิกษุนุ่งผ้าอันตรวาสก ห่มผ้าสังฆาฏิ ๒ ชั้น
ผ้าทั้งหมดนั้นเป็นนิสสัคคีย์
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๙๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เสทโมจนคาถา] ๒. ปาราชิกาทิปัญหา
ญัตติก็ไม่ได้สวด กรรมวาจาก็ไม่ได้สวด
พระชินเจ้าก็มิได้รับสั่งว่า เธอจงมาเป็นภิกษุเถิด
ไตรสรณคมณ์เขาก็ไม่ได้รับ
แต่อุปสัมปทกรรมของบุคคลนั้นไม่เสีย
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
บุคคลผู้โง่เขลาฆ่าสตรีซึ่งมิใช่มารดา และฆ่าบุรุษซึ่งมิใช่บิดา
ฆ่าบุคคลผู้มิใช่อริยะ แต่ต้องอนันตริยกรรมเพราะโทษนั้น
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
บุคคลผู้โง่เขลาฆ่าสตรีผู้เป็นมารดา และฆ่าบุรุษผู้เป็นบิดา
ครั้นฆ่ามารดาบิดาแล้ว ไม่ต้องอนันตริยกรรมเพราะโทษนั้น
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
ภิกษุไม่โจท ไม่สอบสวน แล้วทำกรรมแก่บุคคลผู้อยู่ลับหลัง
และกรรมที่ทำแล้ว เป็นอันทำชอบแล้ว
ทั้งการกสงฆ์ก็ไม่ต้องอาบัติ
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
ภิกษุโจท สอบสวนแล้ว พึงทำกรรมแก่บุคคลผู้อยู่ต่อหน้า
และกรรมที่ทำแล้ว ไม่เป็นอันทำ ทั้งการกสงฆ์ก็ต้องอาบัติ
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
ภิกษุตัดต้องอาบัติก็มี ไม่ต้องอาบัติก็มี
ภิกษุปกปิดต้องอาบัติก็มี ไม่ต้องอาบัติก็มี
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
ภิกษุพูดจริงต้องอาบัติหนัก พูดเท็จต้องอาบัติเบา
พูดเท็จต้องอาบัติหนัก และพูดจริงต้องอาบัติเบา
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๙๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เสทโมจนคาถา] ๓. ปาจิตติยาทิปัญหา
๓. ปาจิตติยาทิปัญหา
ปัญหาว่าด้วยอาบัติปาจิตตีย์ เป็นต้น
[๔๘๑] ภิกษุใช้สอยจีวรที่อธิษฐานแล้ว ย้อมด้วยน้ำย้อม
แม้กัปปะก็ทำแล้ว ยังต้องอาบัติ
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
เมื่อพระอาทิตย์อัสดงแล้ว ภิกษุฉันเนื้อ ไม่ใช่ผู้วิกลจริต
ไม่ใช่ผู้มีจิตฟุ้งซ่าน และไม่ใช่ผู้กระสับกระส่ายเพราะเวทนา
แต่ไม่ต้องอาบัติ และธรรมข้อนั้นพระสุคตทรงแสดงไว้แล้ว
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
ภิกษุไม่ใช่ผู้มีจิตกำหนัด ไม่ใช่ผู้มีจิตคิดลัก
และแม้ผู้อื่นภิกษุนั้นก็ไม่ได้คิดจะฆ่า ความขาดย่อมมีแก่ภิกษุนั้นผู้ให้สลาก
เมื่อภิกษุจับต้องอาบัติถุลลัจจัย
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
ไม่ใช่เสนาสนะป่าที่รู้กันว่าน่าหวาดระแวง
และไม่ใช่สงฆ์ให้สมมติ ทั้งกฐินภิกษุนั้นก็ไม่ได้กราน
ภิกษุนั้นเก็บจีวรไว้ ณ ที่นั้นเอง แล้วไปไกลถึงครึ่งโยชน์
เมื่ออรุณขึ้น ไม่ต้องอาบัติในเรื่องนั้นนั่นเล
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
อาบัติทั้งมวลที่เกิดทางกาย มิใช่เกิดทางวาจา
มีวัตถุต่างกัน ภิกษุต้องในขณะเดียวกัน ไม่ก่อนไม่หลัง
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
อาบัติทั้งมวลที่เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทางกาย
มีวัตถุต่างกัน ภิกษุต้องในขณะเดียวกัน ไม่ก่อนไม่หลัง
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
ไม่มีการเสพเมถุนธรรมในสตรี ๓ จำพวก บุรุษ ๓ จำพวก
คนไม่ประเสริฐ ๓ จำพวก และบัณเฑาะก์ ๓ จำพวก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๙๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เสทโมจนคาถา] ๓. ปาจิตติยาทิปัญหา
และไม่มีการเสพเมถุนธรรมในอวัยวะที่ปรากฏ แต่มีมูลแห่งการตัดขาด
เพราะเมถุนธรรมเป็นปัจจัย
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
ภิกษุขอจีวรกับมารดา และไม่ได้น้อมลาภไปเพื่อสงฆ์
เพราะเหตุไร ภิกษุนั้นจึงต้องอาบัติ
แต่ไม่ต้องอาบัติเพราะบุคคลผู้เป็นญาติ
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
ผู้โกรธย่อมให้สงฆ์ยินดี ผู้โกรธย่อมถูกสงฆ์ติเตียน
ก็ธรรมที่เป็นเหตุให้สงฆ์สรรเสริญผู้โกรธนั้น ชื่ออะไร
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
ผู้แช่มชื่นย่อมให้สงฆ์ยินดี ผู้แช่มชื่นย่อมถูกสงฆ์ติเตียน
ก็ธรรมที่เป็นเหตุให้สงฆ์ติเตียนผู้แช่มชื่นนั้น ชื่ออะไร
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์
ปาฏิเทสนียะ และทุกกฏในขณะเดียวกัน
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
ทั้ง ๒ มีอายุครบ ๒๐ ปี ทั้ง ๒ มีพระอุปัชฌาย์รูปเดียวกัน
มีอาจารย์รูปเดียวกัน สวดกรรมวาจาเดียวกัน
คนหนึ่งเป็นอุปสัมบัน คนหนึ่งเป็นอนุปสัมบัน
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
ผ้าที่ไม่ได้ทำกัปปะและไม่ได้ย้อมด้วยน้ำย้อม
ภิกษุนุ่งห่มเดินทางไปตามปรารถนา และภิกษุนั้นไม่ต้องอาบัติ
ธรรมนั้นพระสุคตทรงแสดงแล้ว
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
ภิกษุณีไม่ให้ ไม่รับ การรับไม่มีด้วยเหตุนั้น
แต่ต้องอาบัติหนัก ไม่ต้องอาบัติเบา และต้องอาบัตินั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๙๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เสทโมจนคาถา] ๓. ปาจิตติยาทิปัญหา
เพราะการใช้สอยเป็นปัจจัย
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
ภิกษุณีไม่ให้ ไม่รับ การรับไม่มีด้วยเหตุนั้น
แต่ต้องอาบัติเบา ไม่ต้องอาบัติหนัก และต้องอาบัตินั้น
เพราะการใช้สอยเป็นปัจจัย
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
ภิกษุณีต้องอาบัติหนักมีส่วนเหลือ ปกปิดไว้
เพราะอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ
ผู้ไม่ใช่ภิกษุณีก็ไม่ต้องโทษ
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
เสทโมจนคาถา จบ

หัวข้อประจำเรื่อง
ไม่อยู่ร่วมกัน ไม่สละ บุคคล ๑๐ จำพวก
ไม่ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม เข้าถึงธรรม อวัยวะเหนือบริเวณรากขวัญ
จากนั้นสร้างกุฎีด้วยการขอเอาเอง ๒ สิกขาบท
ไม่พยายามทางกาย แต่ต้องอาบัติหนัก ไม่ทำความชั่วทางกาย
แต่ถูกสงฆ์นาสนะชอบแล้ว ไม่เจรจา สิกขาบท
ชน ๒ คน และชน ๔ คน
สตรี น้ำมัน นิสสัคคีย์ ภิกษุ ก้าวเท้าเดิน
นุ่งผ้า ไม่สวดญัตติ ฆ่าสตรีมิใช่มารดา ฆ่าบุรุษมิใช่บิดา
ไม่โจท โจท ตัด พูดจริง ผ้าที่อธิษฐาน
พระอาทิตย์อัสดงคตแล้ว ไม่กำหนัด มิใช่เสนาสนะป่า
อาบัติทางกาย ทางวาจา สตรี ๓ พวก มารดา
โกรธแล้วให้ยินดี แช่มชื่น ต้องสังฆาทิเสส
สองคน ผ้าไม่ได้ทำกัปปะ ไม่ให้ ต้องอาบัติหนัก
คาถาที่คิดจนเหงื่อไหล เป็นปัญหาที่ท่านผู้รู้ได้ชี้แจงไว้แล้วแล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๗๐๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ปัญจวรรค] ๑. กรรมวรรค
ปัญจวรรค
ว่าด้วยหมวด ๕ หมวด
๑. กรรมวรรค
หมวดว่าด้วยเรื่องกรรม
กรรม ๔
[๔๘๒] กรรม(สังฆกรรม) ๔ อย่าง คือ

๑. อปโลกนกรรม ๒. ญัตติกรรม
๓. ญัตติทุติยกรรม ๔. ญัตติจตุตถกรรม

ถาม : กรรม ๔ อย่างนี้ ย่อมวิบัติโดยอาการเท่าไร
ตอบ : กรรม ๔ อย่างนี้ ย่อมวิบัติโดยอาการ ๕ อย่าง คือ

๑. โดยวัตถุ ๒. โดยญัตติ
๓. โดยอนุสาวนา ๔. โดยสีมา
๕. โดยบริษัท

วัตถุวิบัติ
[๔๘๓] ถาม : กรรมย่อมชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุอย่างไร
ตอบ : กรรมย่อมชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุอย่างนี้ คือ กรรมที่ควรทำพร้อมหน้า
แต่สงฆ์ทำลับหลัง กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุ
กรรมที่ควรสอบถามก่อนทำ แต่สงฆ์ไม่สอบถามก่อนทำ กรรมไม่ชอบธรรม
ชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุ
กรรมที่ควรทำตามปฏิญญา แต่สงฆ์ไม่ทำตามปฏิญญา กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่า
วิบัติโดยวัตถุ
สงฆ์ให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุผู้ควรสติวินัย กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๗๐๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ปัญจวรรค] ๑. กรรมวรรค
สงฆ์ทำตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อ
ว่าวิบัติโดยวัตถุ
สงฆ์ทำตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัสสปาปิยสิกากรรม กรรมไม่ชอบธรรม
ชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุ
สงฆ์ทำนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัชชนียกรรม กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่าวิบัติ
โดยวัตถุ
สงฆ์ทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรนิยสกรรม กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่าวิบัติ
โดยวัตถุ
สงฆ์ทำปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปัพพาชนียกรรม กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่า
วิบัติโดยวัตถุ
สงฆ์ทำอุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปฏิสารณียกรรม กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่า
วิบัติโดยวัตถุ
สงฆ์ให้ปริวาสแก่ภิกษุผู้ควรอุกเขปนียกรรม กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุ
สงฆ์ชักภิกษุผู้ควรปริวาสเข้าหาอาบัติเดิม กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุ
สงฆ์ให้มานัตแก่ภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่าวิบัติ
โดยวัตถุ
สงฆ์อัพภานภิกษุผู้ควรมานัต กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุ
สงฆ์ให้ภิกษุผู้ควรอัพภานอุปสมบท กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุ
สงฆ์ทำอุโบสถในวันมิใช่วันอุโบสถ กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุ
สงฆ์ปวารณาในวันมิใช่วันปวารณา กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุ
อย่างนี้ กรรมย่อมชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุ

ญัตติวิบัติ
[๔๘๔] ถาม : กรรมย่อมวิบัติโดยญัตติอย่างไร
ตอบ : กรรมย่อมวิบัติโดยญัตติด้วยอาการ ๕ อย่าง คือ
๑. ไม่ระบุวัตถุ ๒. ไม่ระบุสงฆ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๗๐๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ปัญจวรรค] ๑. กรรมวรรค
๓. ไม่ระบุบุคคล ๔. ไม่ระบุญัตติ
๕. ตั้งญัตติภายหลัง
กรรมย่อมวิบัติโดยญัตติด้วยอาการ ๕ อย่างนี้

อนุสาวนาวิบัติ
[๔๘๕] ถาม : กรรมย่อมวิบัติโดยอนุสาวนาอย่างไร
ตอบ : กรรมย่อมวิบัติโดยอนุสาวนาด้วยอาการ ๕ อย่าง คือ

๑. ไม่ระบุวัตถุ ๒. ไม่ระบุสงฆ์
๓. ไม่ระบุบุคคล ๔. ทิ้งวาจาประกาศ
๕. สวดในกาลไม่ควร

กรรมย่อมวิบัติโดยอนุสาวนาด้วยอาการ ๕ อย่างนี้

สีมาวิบัติ
[๔๘๖] ถาม : กรรมย่อมวิบัติโดยสีมาอย่างไร
ตอบ : กรรมย่อมวิบัติโดยสีมาด้วยอาการ ๑๑ อย่าง คือ

๑. สมมติสีมาเล็กเกิน ๒. สมมติสีมาใหญ่เกิน
๓. สมมติสีมามีนิมิตขาด ๔. สมมติสีมาใช้เงาเป็นนิมิต
๕. สมมติสีมาไม่มีนิมิต ๖. ภิกษุอยู่ภายนอกสีมาสมมติ
สีมา
๗. สมมติสีมาในแม่น้ำ ๘. สมมติสีมาในทะเล
๙. สมมติสีมาในสระเกิดเอง ๑๐. คาบเกี่ยวสีมาด้วยสีมา
๑๑. ทับสีมาด้วยสีมา

กรรมย่อมวิบัติโดยสีมาด้วยอาการ ๑๑ อย่างนี้
บริษัทวิบัติ
[๔๘๗] ถาม : กรรมย่อมวิบัติโดยบริษัทอย่างไร
ตอบ : กรรมย่อมวิบัติโดยบริษัทด้วยอาการ ๑๒ อย่าง คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๗๐๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ปัญจวรรค] ๑. กรรมวรรค
๑. ในกรรมที่สงฆ์จตุวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้ากรรมมีจำนวนเท่าไร
ที่ยังไม่มา ไม่นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา ภิกษุพร้อมเพรียงกัน
คัดค้าน
๒. ในกรรมที่สงฆ์จตุวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้ากรรมมีจำนวนเท่าไร
ที่มาแล้ว แต่ไม่นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา ภิกษุพร้อมเพรียง
กันคัดค้าน
๓. ในกรรมที่สงฆ์จตุวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้ากรรมมีจำนวนเท่าไร
ที่มาแล้ว นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา แต่ภิกษุพร้อมเพรียงกัน
คัดค้าน
๔. ในกรรมที่สงฆ์ปัญจวรรคพึงทำ ฯลฯ
๕. ในกรรมที่สงฆ์ปัญจวรรคพึงทำ ฯลฯ
๖. ในกรรมที่สงฆ์ปัญจวรรคพึงทำ ฯลฯ
๗. ในกรรมที่สงฆ์ทสวรรคพึงทำ ฯลฯ
๘. ในกรรมที่สงฆ์ทสวรรคพึงทำ ฯลฯ
๙. ในกรรมที่สงฆ์ทสวรรคพึงทำ ฯลฯ
๑๐. ในกรรมที่สงฆ์วีสติวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้ากรรมมีจำนวน
เท่าไร ที่ยังไม่มา ไม่นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา ภิกษุพร้อม
เพรียงกันคัดค้าน
๑๑. ในกรรมที่สงฆ์วีสติวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้ากรรมมีจำนวน
เท่าไร ที่มาแล้ว แต่ไม่นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา ภิกษุ
พร้อมเพรียงกันคัดค้าน
๑๒. ในกรรมที่สงฆ์วีสติวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้ากรรมมีจำนวน
เท่าไร ที่มาแล้ว นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา แต่ภิกษุพร้อม
เพรียงกันคัดค้าน
กรรมย่อมวิบัติโดยบริษัทด้วยอาการ ๑๒ อย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๗๐๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ปัญจวรรค] ๑. กรรมวรรค
กรรมอันสงฆ์จตุวรรคพึงทำ เป็นต้น
[๔๘๘] ในกรรมที่สงฆ์จตุวรรคพึงทำ ภิกษุปกตัตตะ ๔ รูป เป็นผู้เข้ากรรม
ปกตัตตะที่เหลือเป็นผู้ควรฉันทะ ภิกษุรูปที่สงฆ์ทำกรรมนั้น ไม่ใช่เป็นผู้เข้ากรรมและ
ไม่ควรฉันทะ แต่เป็นผู้ควรแก่กรรม
ในกรรมที่สงฆ์ปัญจวรรคพึงทำ ภิกษุปกตัตตะ ๕ รูป เป็นผู้เข้ากรรม ปกตัตตะ
ที่เหลือเป็นผู้ควรฉันทะ ภิกษุรูปที่สงฆ์ทำกรรมนั้น ไม่ใช่เป็นผู้เข้ากรรมและไม่ควรฉันทะ
แต่เป็นผู้ควรแก่กรรม
ในกรรมที่สงฆ์ทสวรรคพึงทำ ภิกษุปกตัตตะ ๑๐ รูป เป็นผู้เข้ากรรม ปกตัตตะ
ที่เหลือเป็นผู้ควรฉันทะ ภิกษุรูปที่สงฆ์ทำกรรมนั้น ไม่ใช่เป็นผู้เข้ากรรมและไม่ควรฉันทะ
แต่เป็นผู้ควรแก่กรรม
ในกรรมที่สงฆ์วีสติวรรคพึงทำ ภิกษุปกตัตตะ ๒๐ รูป เป็นผู้เข้ากรรม
ปกตัตตะที่เหลือเป็นผู้ควรฉันทะ ภิกษุรูปที่สงฆ์ทำกรรมนั้น ไม่ใช่เป็นผู้เข้ากรรม
และไม่ควรฉันทะ แต่เป็นผู้ควรแก่กรรม

กรรม ๔
[๔๘๙] กรรม ๔ อย่าง คือ (๑) อปโลกนกรรม (๒) ญัตติกรรม
(๓) ญัตติทุติยกรรม (๔) ญัตติจตุตถกรรม
ถาม : กรรม ๔ อย่างนี้ ย่อมวิบัติโดยอาการเท่าไร
ตอบ : กรรม ๔ อย่างนี้ ย่อมวิบัติโดยอาการ ๕ อย่าง คือ

๑. โดยวัตถุ ๒. โดยญัตติ
๓. โดยอนุสาวนา ๔. โดยสีมา
๕. โดยบริษัท

วัตถุวิบัติ
[๔๙๐] ถาม : กรรมย่อมชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุอย่างไร
ตอบ : กรรมย่อมชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุอย่างนี้ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๗๐๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ปัญจวรรค] ๑. กรรมวรรค
สงฆ์ให้บัณเฑาะก์อุปสมบท กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุ
สงฆ์ให้คนไถยสังวาสอุปสมบท กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุ
สงฆ์ให้คนผู้เข้ารีดเดียรถีย์อุปสมบท กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุ
สงฆ์ให้สัตว์ดิรัจฉานอุปสมบท กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุ
สงฆ์ให้คนผู้ฆ่ามารดาอุปสมบท กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุ
สงฆ์ให้คนผู้ฆ่าบิดาอุปสมบท กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุ
สงฆ์ให้คนผู้ฆ่าพระอรหันต์อุปสมบท กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุ
สงฆ์ให้คนผู้ประทุษร้ายภิกษุณีอุปสมบท กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุ
สงฆ์ให้คนผู้ทำลายสงฆ์อุปสมบท กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุ
สงฆ์ให้คนผู้ยังพระโลหิตห้ออุปสมบท กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุ
สงฆ์ให้คนสองเพศอุปสมบท กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุ
สงฆ์ให้คนมีอายุไม่ถึง ๒๐ ปี อุปสมบท กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุ
อย่างนี้ กรรมชื่อว่าย่อมวิบัติโดยวัตถุ

ญัตติวิบัติ
[๔๙๑] ถาม : กรรมย่อมวิบัติโดยญัตติอย่างไร
ตอบ : กรรมย่อมวิบัติโดยญัตติด้วยอาการ ๕ อย่าง คือ

๑. ไม่ระบุวัตถุ ๒. ไม่ระบุสงฆ์
๓. ไม่ระบุบุคคล ๔. ไม่ระบุญัตติ
๕. ตั้งญัตติภายหลัง

กรรมย่อมวิบัติโดยญัตติด้วยอาการ ๕ อย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๗๐๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ปัญจวรรค] ๑. กรรมวรรค
อนุสาวนาวิบัติ
[๔๙๒] ถาม : กรรมย่อมวิบัติโดยอนุสาวนาอย่างไร
ตอบ : กรรมย่อมวิบัติโดยอนุสาวนาด้วยอาการ ๕ อย่าง คือ

๑. ไม่ระบุวัตถุ ๒. ไม่ระบุสงฆ์
๓. ไม่ระบุบุคคล ๔. ไม่ระบุญัตติ
๕. ตั้งญัตติภายหลัง

กรรมย่อมวิบัติโดยอนุสาวนาด้วยอาการ ๕ อย่างนี้

สีมาวิบัติ
[๔๙๓] ถาม : กรรมย่อมวิบัติโดยสีมาอย่างไร
ตอบ : กรรมย่อมวิบัติโดยสีมาด้วยอาการ ๑๑ อย่าง คือ

๑. สมมติสีมาเล็กเกิน ๒. สมมติสีมาใหญ่เกิน
๓. สมมติสีมามีนิมิตขาด ๔. สมมติสีมาใช้เงาเป็นนิมิต
๕. สมมติสีมาไม่มีนิมิต ๖. ภิกษุอยู่ภายนอกสีมาสมมติ
สีมา
๗. สมมติสีมาในแม่น้ำ ๘. สมมติสีมาในทะเล
๙. สมมติสีมาในสระเกิดเอง ๑๐. คาบเกี่ยวสีมาด้วยสีมา
๑๑. ทับสีมาด้วยสีมา

กรรมย่อมวิบัติโดยสีมาด้วยอาการ ๑๑ อย่างนี้

บริษัทวิบัติ
[๔๙๔] ถาม : กรรมย่อมวิบัติโดยบริษัท อย่างไร
ตอบ : กรรมย่อมวิบัติโดยบริษัทด้วยอาการ ๑๒ อย่าง คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๗๐๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ปัญจวรรค] ๑. กรรมวรรค
๑. ในกรรมที่สงฆ์จตุวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้าร่วมกรรมมีจำนวน
เท่าไร ที่ยังไม่มา ไม่นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา ภิกษุพร้อม
เพรียงกันคัดค้าน
๒. ในกรรมที่สงฆ์จตุวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้าร่วมกรรมมีจำนวน
เท่าไร ที่มาแล้ว แต่ไม่นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา ภิกษุพร้อม
เพรียงกันคัดค้าน
๓. ในกรรมที่สงฆ์จตุวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้าร่วมกรรมมีจำนวน
เท่าไร ที่มาแล้ว นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา แต่ภิกษุพร้อม
เพรียงกันคัดค้าน
๔. ในกรรมที่สงฆ์ปัญจวรรคพึงทำ ฯลฯ
๕. ในกรรมที่สงฆ์ปัญจวรรคพึงทำ ฯลฯ
๖. ในกรรมที่สงฆ์ปัญจวรรคพึงทำ ฯลฯ
๗. ในกรรมที่สงฆ์ทสวรรคพึงทำ ฯลฯ
๘. ในกรรมที่สงฆ์ทสวรรคพึงทำ ฯลฯ
๙. ในกรรมที่สงฆ์ทสวรรคพึงทำ ฯลฯ
๑๐. ในกรรมที่สงฆ์วีสติวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้าร่วมกรรมมี
จำนวนเท่าไร ที่ยังไม่มา ไม่นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา ภิกษุ
พร้อมเพรียงกันคัดค้าน
๑๑. ในกรรมที่สงฆ์วีสติวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้าร่วมกรรมมี
จำนวนเท่าไร ที่มาแล้ว แต่ไม่นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา
ภิกษุพร้อมเพรียงกันคัดค้าน
๑๒. ในกรรมที่สงฆ์วีสติวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้าร่วมกรรมมี
จำนวนเท่าไร ที่มาแล้ว นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา แต่
ภิกษุพร้อมเพรียงกันคัดค้าน
กรรมย่อมวิบัติโดยบริษัทด้วยอาการ ๑๒ อย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๗๐๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ปัญจวรรค] ๑. กรรมวรรค
อปโลกนกรรม เป็นต้น
[๔๙๕] ถาม : อปโลกนกรรมย่อมถึงฐานะเท่าไร ญัตติกรรมย่อมถึงฐานะเท่าไร
ญัตติทุติยกรรมย่อมถึงฐานะเท่าไร ญัตติจตุตถกรรมย่อมถึงฐานะเท่าไร
ตอบ : อปโลกนกรรมย่อมถึงฐานะ ๕ อย่าง ญัตติกรรมย่อมถึงฐานะ ๙ อย่าง
ญัตติทุติยกรรมย่อมถึงฐานะ ๗ อย่าง ญัตติจตุตถกรรมย่อมถึงฐานะ ๗ อย่าง

ฐานะแห่งอปโลกนกรรม
[๔๙๖] ถาม : อปโลกนกรรมย่อมถึงฐานะ ๕ เหล่าไหน
ตอบ : ฐานะ ๕ เหล่านี้ คือ โอสารณา นิสสารณา ภัณฑุกรรม พรหมทัณฑ์
ทั้งกรรมลักษณะเป็นคำรบ ๕
อปโลกนกรรมย่อมถึงฐานะ ๕ เหล่านี้

ฐานะแห่งญัตติกรรม
ถาม : ญัตติกรรมย่อมถึงฐานะ ๙ เหล่าไหน
ตอบ : ฐานะ ๙ เหล่านี้ คือ โอสารณา นิสสารณา อุโบสถ ปวารณา
สมมติ การให้ การรับ การเลื่อนปวารณาออกไป ทั้งกรรมลักษณะเป็นคำรบ ๙
ญัตติกรรมย่อมถึงฐานะ ๙ เหล่านี้

ฐานะแห่งญัตติทุติยกรรม
ถาม : ญัตติทุติยกรรมย่อมถึงฐานะ ๗ เหล่าไหน
ตอบ : ฐานะ ๗ เหล่านี้ คือ โอสารณา นิสสารณา สมมติ การให้ การถอน
การแสดง ทั้งกรรมลักษณะเป็นคำรบ ๗
ญัตติทุติยกรรมย่อมถึงฐานะ ๗ เหล่านี้

ฐานะแห่งญัตติจตุตถกรรม
ถาม : ญัตติจตุตถกรรมย่อมถึงฐานะ ๗ เหล่าไหน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๗๐๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ปัญจวรรค] ๒. อัตถวสมวรรค
ตอบ : ฐานะ ๗ เหล่านี้ คือ โอสารณา นิสสารณา สมมติ การให้ นิคคหะ
สมนุภาสน์ ทั้งกรรมลักษณะเป็นคำรบ ๗
ญัตติจตุตถกรรมย่อมถึงฐานะ ๗ เหล่านี้

กรรมอันสงฆ์จตุวรรคพึงทำ เป็นต้น
[๔๙๗] ในกรรมที่สงฆ์จตุวรรคพึงทำ ภิกษุปกตัตตะ ๔ รูป เป็นผู้เข้ากรรม
ปกตัตตะที่เหลือเป็นผู้ควรฉันทะ ภิกษุรูปที่สงฆ์ทำกรรมนั้น ไม่ใช่เป็นผู้เข้ากรรมและ
ไม่ใช่เป็นผู้ควรฉันทะ แต่เป็นผู้ควรแก่กรรม
ในกรรมที่สงฆ์ปัญจวรรคพึงทำ ฯลฯ ในกรรมที่สงฆ์ทสวรรคพึงทำ ฯลฯ
ในกรรมที่สงฆ์วีสติวรรคพึงทำ ภิกษุปกตัตตะ ๒๐ รูป เป็นผู้เข้ากรรม
ปกตัตตะที่เหลือเป็นผู้ควรฉันทะ ภิกษุรูปที่สงฆ์ทำกรรมนั้น ไม่ใช่เป็นผู้เข้ากรรม
และไม่ใช่เป็นผู้ควรฉันทะ แต่เป็นผู้ควรแก่กรรม
กรรมวรรคที่ ๑ จบ

๒. อัตถวสวรรค
หมวดว่าด้วยอำนาจประโยชน์ทรงบัญญัติสิกขาบท
[๔๙๘] พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจ
ประโยชน์ ๒ ประการ คือ
๑. เพื่อการยอมรับว่าดีแห่งพระสงฆ์
๒. เพื่อความผาสุกแห่งพระสงฆ์
พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๗๑๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ปัญจวรรค] ๒. อัตถวสมวรรค
พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการ คือ
๑. เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก
๒. เพื่อความอยู่ผาสุกแห่งเหล่าภิกษุผู้มีศีลดีงาม
พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการนี้
พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการ คือ
๑. เพื่อปิดกั้นอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน
๒. เพื่อกำจัดอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต
พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการนี้
พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการ คือ
๑. เพื่อปิดกั้นเวรทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน
๒. เพื่อกำจัดเวรทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต
พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการนี้
พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการ คือ
๑. เพื่อปิดกั้นโทษทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน
๒. เพื่อกำจัดโทษทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต
พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๗๑๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ปัญจวรรค] ๒. อัตถวสวรรค
พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการ คือ
๑. เพื่อปิดกั้นภัยทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน
๒. เพื่อกำจัดภัยทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต
พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการนี้
พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการ คือ
๑. เพื่อปิดกั้นอกุศลธรรมทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน
๒. เพื่อกำจัดอกุศลธรรมทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต
พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการนี้
พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการ คือ
๑. เพื่ออนุเคราะห์คฤหัสถ์ทั้งหลาย
๒. เพื่อทำลายการแบ่งเป็นพรรคเป็นพวก ของภิกษุผู้มีความปรารถนา
เลวทรามทั้งหลาย
พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการนี้
พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการ คือ
๑. เพื่อความเลื่อมใสของเหล่าชนที่ยังไม่เลื่อมใส
๒. เพื่อความเลื่อมใสยิ่งขึ้นไปของเหล่าชนที่เลื่อมใสแล้ว
พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๗๑๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ปัญจวรรค] ๓. ปัญญัตตวรรค
พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจ
ประโยชน์ ๒ ประการ คือ
๑. เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม
๒. เพื่อเอื้อเฟื้อพระวินัย
พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจ
ประโยชน์ ๒ ประการนี้
อัตถวสวรรคที่ ๒ จบ

๓. ปัญญัตตวรรค
หมวดว่าด้วยเรื่องที่ทรงบัญญัติ

ทรงบัญญัติปาติโมกข์ เป็นต้น
[๔๙๙] พระตถาคตทรงบัญญัติปาติโมกข์แก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจ
ประโยชน์ ๒ ประการ ฯลฯ ทรงบัญญัติปาติโมกขุทเทส ฯลฯ ทรงบัญญัติการงด
ปาติโมกข์ ฯลฯ ทรงบัญญัติปวารณา ฯลฯ ทรงบัญญัติการงดปวารณา ฯลฯ
ทรงบัญญัติตัชชนียกรรม ฯลฯ ทรงบัญญัตินิยสกรรม ฯลฯ ทรงบัญญัติปัพพาชนีย
กรรม ฯลฯ ทรงบัญญัติปฏิสารณียกรรม ฯลฯ ทรงบัญญัติอุกเขปนียกรรม ฯลฯ
ทรงบัญญัติการให้ปริวาส ฯลฯ ทรงบัญญัติการชักเข้าหาอาบัติเดิม ฯลฯ ทรง
บัญญัติการให้มานัต ฯลฯ ทรงบัญญัติอัพภาน ฯลฯ ทรงบัญญัติโอสารณียกรรม
ฯลฯ ทรงบัญญัตินิสสารณียกรรม ฯลฯ ทรงบัญญัติการอุปสมบท ฯลฯ ทรงบัญญัติ
อปโลกนกรรม ฯลฯ ทรงบัญญัติญัตติกรรม ฯลฯ ทรงบัญญัติญัตติทุติยกรรม ฯลฯ
ทรงบัญญัติญัตติจตุตถกรรม ฯลฯ
ปัญญัตตวรรคที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๗๑๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ปัญจวรรค] ๔. อปัญญัตเตปัญญัตตวรรค
๔. อปัญญัตเตปัญญัตตวรรค
หมวดว่าด้วยทรงบัญญัติในเมื่อยังมิได้บัญญัติ
[๕๐๐] ฯลฯ พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทที่ยังมิได้บัญญัติ ทรงบัญญัติ
เพิ่มเติมสิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้แล้ว ฯลฯ ทรงบัญญัติสัมมุขาวินัย ฯลฯ ทรงบัญญัติ
สติวินัย ฯลฯ ทรงบัญญัติอมูฬหวินัย ฯลฯ ทรงบัญญัติปฏิญญาตกรณะ ฯลฯ ทรง
บัญญัติเยภุยยสิกา ฯลฯ ทรงบัญญัติตัสสปาปิยสิกา ฯลฯ ทรงบัญญัติติณวัตถารกะ
แก่สาวกทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ ประการ คือ
๑. เพื่อความยอมรับว่าดีแห่งพระสงฆ์
๒. เพื่อความผาสุกแห่งพระสงฆ์
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการนี้
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการ คือ
๑. เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก
๒. เพื่อความอยู่ผาสุกแห่งเหล่าภิกษุผู้มีศีลดีงาม
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการนี้
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการ คือ
๑. เพื่อปิดกั้นอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน
๒. เพื่อกำจัดอาสวะอันจะบังเกิดในอนาคต
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๗๑๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ปัญจวรรค] ๔. อปัญญัตเตปัญญัตตวรรค
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการ คือ
๑. เพื่อปิดกั้นเวรทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน
๒. เพื่อกำจัดเวรทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการนี้
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการ คือ
๑. เพื่อปิดกั้นโทษทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน
๒. เพื่อกำจัดโทษทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการนี้
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการ คือ
๑. เพื่อปิดกั้นภัยทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน
๒. เพื่อกำจัดภัยทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการนี้
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการ คือ
๑. เพื่อปิดกั้นอกุศลธรรมทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน
๒. เพื่อกำจัดอกุศลธรรมทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๗๑๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ปัญจวรรค] ๔. อปัญญัตเตปัญญัตตวรรค
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการ คือ
๑. เพื่ออนุเคราะห์คฤหัสถ์ทั้งหลาย
๒. เพื่อทำลายการแบ่งเป็นพรรคเป็นพวกของภิกษุผู้มีความปรารถนา
เลวทรามทั้งหลาย
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการนี้
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการ คือ
๑. เพื่อความเลื่อมใสของเหล่าชนที่ยังไม่เลื่อมใส
๒. เพื่อความเลื่อมใสยิ่งขึ้นไปของเหล่าชนที่เลื่อมใสแล้ว
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการนี้
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการ คือ
๑. เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม
๒. เพื่อเอื้อเฟื้อพระวินัย
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการนี้
อปัญญัตเตปัญญัตตวรรคที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๗๑๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ปัญจวรรค] ๕. นวสังคหวรรค
๕. นวสังคหวรรค
หมวดว่าด้วยสังคหะ ๙

สังคหะ ๙ อย่าง
[๕๐๑] สังคหะ มี ๙ อย่าง คือ

๑. วัตถุสังคหะ ๒. วิบัติสังคหะ
๓. อาบัติสังคหะ ๔. นิทานสังคหะ
๕. บุคคลสังคหะ ๖. ขันธสังคหะ
๗. สมุฏฐานสังคหะ ๘. อธิกรณสังคหะ
๙. สมถสังคหะ

ให้บอกเรื่อง
เมื่ออธิกรณ์เกิดขึ้นแล้ว ถ้าคู่ความทั้งสองมาถึง สงฆ์พึงให้ทั้งสองบอกเรื่อง
ครั้นให้ทั้งสองบอกเรื่องแล้ว พึงฟังปฏิญญาของทั้งสอง ครั้นฟังปฏิญญาของทั้งสองแล้ว
พึงพูดกับคู่ความทั้งสองว่า เมื่อพวกเราระงับอธิกรณ์นี้แล้ว ท่านทั้งสองจักยินดีหรือ
ถ้าทั้งสองรับว่า ข้าพเจ้าทั้งสองจักยินดี สงฆ์พึงรับอธิกรณ์นั้นไว้ ถ้าบริษัทมีอลัชชีมาก
สงฆ์พึงระงับด้วยอุพพาหิกา ถ้าบริษัทมีคนเลวมาก สงฆ์พึงแสวงหาพระวินัยธร
อธิกรณ์นั้นจะระงับโดยธรรม โดยวินัย โดยสัตถุศาสน์ใด สงฆ์พึงระงับอธิกรณ์นั้น
โดยอย่างนั้น

พึงรู้วัตถุ เป็นต้น
พึงรู้วัตถุ พึงรู้โคตร พึงรู้ชื่อ พึงรู้อาบัติ
คำว่า เมถุนธรรม เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร
คำว่า ปาราชิก เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ
คำว่า อทินนาทาน เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร
คำว่า ปาราชิก เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๗๑๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ปัญจวรรค] ๕. นวสังคหวรรค
คำว่า มนุสสวิคคหะ เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร
คำว่า ปาราชิก เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ
คำว่า อุตตริมนุสสธรรม เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร
คำว่า ปาราชิก เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ
คำว่า สุกกวิสัฏฐิ เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร
คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ
คำว่า กายสังสัคคะ เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร
คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ
คำว่า ทุฏฐุลลวาจา เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร
คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ
คำว่า อัตตกาม เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร
คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ
คำว่า สัญจริตตะ เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร
คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ
คำว่า ให้สร้างกุฎีด้วยการขอเอาเอง เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร
คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ
คำว่า ให้สร้างวิหารใหญ่ เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร
คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ
คำว่า ตามกำจัดภิกษุด้วยธรรมมีโทษถึงปาราชิกอันไม่มีมูล เป็นทั้งวัตถุ
เป็นทั้งโคตร
คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ
คำว่า อ้างเลสบางอย่างแห่งอธิกรณ์เรื่องอื่นแล้ว ตามกำจัดภิกษุด้วยธรรมมี
โทษถึงปาราชิก เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๗๑๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ปัญจวรรค] หัวข้อประจำวรรค
คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ
คำว่า ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ไม่ยอมสละกรรม เพราะการสวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง
เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร
คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ
คำว่า ภิกษุผู้ประพฤติตามภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ไม่ยอมสละกรรม เพราะการสวด
สมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร
คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ
คำว่า ภิกษุผู้ว่ายากไม่ยอมสละกรรม เพราะการสวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง
เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร
คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ
คำว่า ภิกษุผู้ประทุษร้ายสกุลไม่ยอมสละกรรม เพราะการสวดสมนุภาสน์ครบ
๓ ครั้ง เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร
คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ ฯลฯ
คำว่า อาศัยความไม่สนใจถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงในน้ำ
เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร
คำว่า ทุกกฏ เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ
นวสังคหวรรคที่ ๕ จบ

หัวข้อประจำวรรค
อปโลกนกรรม ญัตติกรรม ญัตติทุติยกรรม
ญัตติจตุตถกรรม วัตถุ ญัตติ อนุสาวนา สีมา บริษัท
พร้อมเพรียง สอบถาม ปฏิญญา ควรสติวินัย
วัตถุ สงฆ์ บุคคล ญัตติ ตั้งญัตติภายหลัง
วัตถุ สงฆ์ บุคคล สวดประกาศ
สวดในกาลไม่ควร สีมาเล็กเกิน สีมาใหญ่เกิน
สีมามีนิมิตขาด สีมาใช้เงาเป็นนิมิต สีมาไม่มีนิมิต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๗๑๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ปัญจวรรค] หัวข้อประจำวรรค
อยู่นอกสีมาสมมติสีมา สมมติสีมาในแม่น้ำ
ในทะเล ในสระเกิดเอง คาบเกี่ยวสีมา
ทับสีมาด้วยสีมา กรรมที่สงฆ์จตุวรรคพึงทำ
กรรมที่สงฆ์ปัญจวรรคพึงทำ
กรรมที่สงฆ์ทสวรรคพึงทำ กรรมที่สงฆ์วีสติวรรคพึงทำ
ไม่นำฉันทะมา นำฉันทะมา ผู้เข้ากรรม
ผู้ควรฉันทะ ผู้ควรแก่กรรม
อปโลกนกรรม ๕ ฐานะ ญัตติกรรม ๙ ฐานะ
ญัตติทุติยกรรม ๗ ฐานะ ญัตติจตุตถกรรม ๗ ฐานะ
ยอมรับว่าดี ความผาสุก บุคคลผู้หน้าด้าน
ภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก อาสวะ
เวร โทษ ภัย อกุศลธรรม คฤหัสถ์
ผู้ปรารถนาเลวทราม ชุมชนผู้ยังไม่เลื่อมใส
ชุมชนผู้เลื่อมใสแล้ว ความตั้งอยู่แห่งพระสัทธรรม
เอื้อเฟื้อพระวินัย ปาติโมกขุทเทส
งดปาติโมกข์ งดปวารณา ตัชชนียกรรม นิยสกรรม
ปัพพาชนียกรรม ปฏิสารณียกรรม อุกเขปนียกรรม ปริวาส
อาบัติเดิม มานัต อัพภาน โอสารณา นิสสารณา อุปสมบท
อปโลกนกรรม ญัตติกรรม ญัตติทุติยกรรม ญัตติจตุตถกรรม
ยังมิได้ทรงบัญญัติ ทรงบัญญัติซ้ำ สัมมุขาวินัย สติวินัย
อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ เยภุยยสิกา
ตัสสปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ วัตถุ
วิบัติ อาบัติ นิทาน บุคคล
ขันธ์ สมุฏฐาน อธิกรณ์ สมถะ
สังคหะ ชื่อ อาบัติ ดังนี้แล
คัมภีร์ปริวาร จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๗๒๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ปัญจวรรค] ปริโยสานคาถา
ปริโยสานคาถา
ก็พระวินัยธร ผู้เรืองนาม มีปัญญามาก ทรงสุตะ
มีวิจารณญาณ ถามแนวทางของท่านบูรพาจารย์ในที่นั้น ๆ
คิดแล้วให้เขียนข้อพิสดารและสังเขปนี้ไว้ในสายกลาง
ตามแนวทางที่วางไว้ ซึ่งจะนำความสะดวกมาให้แก่เหล่าศิษย์
คัมภีร์นี้เรียกว่า “ปริวาร” มีทุกเรื่องพร้อมทั้งลักษณะ
มีอรรถโดยอรรถในสัทธรรม มีธรรมโดยธรรมในบัญญัติ
ห้อมล้อมพระศาสนา ดุจสาครล้อมรอบชมพูทวีป ฉะนั้น
พระวินัยธรเมื่อไม่รู้คัมภีร์ปริวาร ไฉนจะวินิจฉัยธรรมได้
ความเคลือบแคลงของพระวินัยธรที่เกิดในวิบัติ วัตถุ บัญญัติ
อนุบัญญัติ บุคคล เอกโตบัญญัติ อุภโตบัญญัติ โลกวัชชะ
และปัณณัตติวัชชะ ย่อมขาดสิ้นไปด้วยคัมภีร์ปริวาร
พระเจ้าจักรพรรดิสง่างามในกองทัพ ฉันใด
ไกรสรสง่างามในท่ามกลางฝูงมฤค ฉันใด
พระอาทิตย์แผ่สร้านด้วยรัศมีเจิดจ้า ฉันใด
พระจันทร์ส่องสว่างงดงามในหมู่ดาว ฉันใด
พระพรหมสง่างามในหมู่พรหม ฉันใด
ท่านผู้นำสง่างามในท่ามกลางหมู่ชน ฉันใด
พระสัทธรรมและพระวินัยย่อมสง่างามด้วยคัมภีร์ปริวาร ฉันนั้นแล
จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๗๒๑ }


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๘ วินัยปิฎกที่ ๐๘ ปริวาร จบ





eXTReMe Tracker