ค้นว่าอยู่เล่มใด แล้วกด [ctrl]+f หรือใช้คำสั่งของเครื่องหาตำแหน่งในเล่มอีกทีนะครับ



จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อความสะดวก และสวยงาม
(เฉพาะหน้าจอใหญ่ เช่น คอมพิวเตอร์)
กรุณาคลิก จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อให้กรอบ
ค้นข้อความ ปรากฎที่ด้านซ้ายของหน้า

พระไตรปิฎกภาษาไทย
ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม (ปกสีฟ้า)
ทั้งออนไลน์และออฟไลน์
ที่มาของข้อมูล : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มจร.
MCUTRAI Version 1.0

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๗-๒ วินัยปิฎกที่ ๐๗ จุลวรรค ภาค ๒

พระวินัยปิฎก
จูฬวรรค ภาค ๒
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร

๑๓. เครื่องลาดขนแกะขนาดใหญ่ ๑๔. เครื่องลาดบนหลังช้าง
ที่นางฟ้อน ๑๖ คนร่ายรำ
๑๕. เครื่องลาดบนหลังม้า ๑๖. เครื่องลาดในรถ
๑๗. เครื่องลาดทำด้วยหนังเสือ ๑๘. เครื่องลาดหนังชะมด
๑๙. เครื่องลาดมีเพดาน ๒๐. เครื่องลาดมีหมอน ๒ ข้าง

ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ตัดเท้าเก้าอี้นอนแล้ว
ใช้สอยได้ ให้ทำลายรูปสัตว์ร้ายเตียงใหญ่แล้วใช้สอยได้ ให้รื้อฟูกที่ยัดนุ่นทำเป็นหมอน
แล้วใช้สอยได้ นอกจากนี้ให้ทำเป็นเครื่องลาดพื้น”

อวิสสัชชิยวัตถุ
ว่าด้วยของที่ไม่พึงสละ
[๓๒๑] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ประจำในอาวาสใกล้บ้านแห่งหนึ่ง ไม่ห่าง
จากกรุงสาวัตถี จัดแจงเสนาสนะแก่พวกภิกษุอาคันตุกะและภิกษุผู้เตรียมจะออกเดินทาง
ได้รับความลำบาก ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “เวลานี้พวกเราจัด
แจงเสนาสนะแก่พวกภิกษุอาคันตุกะและภิกษุผู้เตรียมจะออกเดินทางได้รับความลำบาก
ท่านทั้งหลาย เอาเถอะ พวกเราจะมอบเสนาสนะของสงฆ์ทั้งหมด แก่ภิกษุรูปหนึ่ง
จะใช้สอยเสนาสนะของเธอ” ภิกษุเหล่านั้นได้ให้เสนาสนะของสงฆ์ทั้งหมดแก่ภิกษุรูป
หนึ่ง ภิกษุอาคันตุกะทั้งหลายได้กล่าวกับภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ประจำในอาวาสเหล่านั้น
ดังนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย พวกท่านโปรดจัดเสนาสนะให้พวกกระผมเถิด”
ภิกษุผู้อยู่ประจำในอาวาสทั้งหลายตอบว่า “เสนาสนะของสงฆ์ไม่มีหรอกท่าน
เสนาสนะทั้งหมด พวกเรามอบให้ภิกษุรูปหนึ่งไปแล้ว”
ภิกษุอาคันตุกะทั้งหลายถามว่า “พวกท่านมอบเสนาสนะของสงฆ์ให้ภิกษุรูป
หนึ่งไปแล้วหรือ”
ภิกษุผู้อยู่ประจำในอาวาสทั้งหลายตอบว่า “ใช่แล้ว ท่านทั้งหลาย”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๔๑ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
บรรดาภิกษุผู้มักน้อยสันโดษ ฯลฯ ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุ
ทั้งหลายจึงสละเสนาสนะที่เป็นของสงฆ์เล่า”
ครั้งนั้นแล ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวก
ภิกษุสละเสนาสนะของสงฆ์ จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษเหล่านั้น
จึงสละเสนาสนะของสงฆ์เล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ไม่ได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใส
ให้เลื่อมใส ฯลฯ” ครั้นทรงตำหนิ ฯลฯ ทรงแสดงธรรมีกถารับสั่งกับภิกษุทั้งหลาย
ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ของที่สละไม่ได้ ๕ หมวด สงฆ์ คณะหรือบุคคลไม่พึงสละ แม้สละ
แล้วก็ไม่เป็นอันสละ รูปใดสละ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ของที่ไม่ควรสละ ๕ หมวด คืออะไรบ้าง คือ
๑. อาราม พื้นที่อาราม นี้เป็นของที่ไม่ควรสละอันดับที่ ๑ สงฆ์ คณะ
หรือบุคคลไม่พึงสละ แม้สละแล้วก็ไม่เป็นอันสละ รูปใดสละ ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย
๒. วิหาร พื้นที่วิหาร นี้เป็นของที่ไม่ควรสละอันดับที่ ๒ สงฆ์ คณะ
หรือบุคคลไม่พึงสละ แม้สละแล้วก็ไม่เป็นอันสละ รูปใดสละ ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย
๓. เตียง ตั่ง ฟูก หมอน นี้เป็นของที่ไม่ควรสละอันดับที่ ๓ สงฆ์ คณะ
หรือบุคคล ไม่พึงสละ แม้สละแล้วก็ไม่เป็นอันสละ รูปใดสละ ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย
๔. หม้อโลหะ อ่างโลหะ กระถางโลหะ กระทะโลหะ มีด ขวาน ผึ่ง
จอบ สว่าน นี้เป็นของที่ไม่ควรสละอันดับที่ ๔ สงฆ์ คณะหรือ
บุคคลไม่พึงสละ แม้สละแล้วก็ไม่เป็นอันสละ รูปใดสละ ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย
๕. เถาวัลย์ ไม้ไผ่ หญ้าปล้อง หญ้ามุงกระต่าย หญ้าสามัญ ดิน
เครื่องไม้และ เครื่องดินนี้เป็นของที่ไม่ควรสละอันดับที่ ๕ สงฆ์ คณะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๔๒ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
หรือบุคคลไม่พึงสละ แม้สละแล้วก็ไม่เป็นอันสละ รูปใดสละ
ต้อง อาบัติถุลลัจจัย
ภิกษุทั้งหลาย ของที่สละไม่ได้ ๕ หมวดเหล่านี้แล สงฆ์ คณะหรือบุคคล
ไม่พึงสละ แม้สละแล้วก็ไม่เป็นอันสละ รูปใดสละ ต้องอาบัติถุลลัจจัย”

อเวภังคิยวัตถุ
ว่าด้วยของที่ไม่พึงแบ่ง
เรื่องพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ
[๓๒๒] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กรุงสาวัตถี ตามพระอัธยาศัย
แล้ว ได้เสด็จจาริกไปกีฏาคิรีชนบท พร้อมกับภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป
รวมทั้งพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ
พระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะทราบข่าวแล้วปรึกษากันว่า “พระผู้มีพระภาค
กำลังเสด็จมากีฏาคิรีชนบท พร้อมกับภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป รวมทั้ง
พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ พวกเราจะแบ่งเสนาสนะของสงฆ์ทั้งหมด พระ
สารีบุตรและพระโมคคัลลานะมีความปรารถนาชั่ว ตกอยู่ในอำนาจความปรารถนาชั่ว
พวกเราจะไม่จัดเสนาสนะให้ท่านทั้ง ๒ นั้น” พระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะนั้น จึง
แบ่งเสนาสนะของสงฆ์ทั้งหมด
ต่อมา พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปโดยลำดับ จนถึงกีฏาคิรีชนบทแล้ว ครั้น
แล้วได้รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงไปหาภิกษุอัสสชิและภิกษุ
ปุนัพพสุกะแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘พระผู้มีพระภาคเสด็จมาพร้อมกับภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่
ประมาณ ๕๐๐ รูป รวมทั้งพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ ขอให้ท่านทั้งหลายจง
จัดเสนาสนะถวายพระผู้มีพระภาค ภิกษุสงฆ์ รวมทั้งพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ”
ภิกษุเหล่านั้นรับสนองพระพุทธดำรัสแล้วเข้าไปหาพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ
จนถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้วได้กล่าวกับพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะดังนี้ว่า “พระผู้มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๔๓ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
พระภาคเสด็จมาพร้อมกับภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป รวมทั้งพระสารีบุตร
และพระโมคคัลลานะ ขอให้ท่านทั้งหลายจงจัดเสนาสนะถวายพระผู้มีพระภาค
ภิกษุสงฆ์รวมทั้งพระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ”
พระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะตอบว่า “ท่านทั้งหลาย เสนาสนะของสงฆ์ไม่มี
พวกเราแบ่งกันหมดแล้ว พระผู้มีพระภาคเสด็จมาดีแล้ว โปรดประทับในวิหารที่ทรง
พระประสงค์เถิด พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะผู้มีความปรารถนาชั่ว ตกอยู่ใน
อำนาจความปรารถนาชั่ว พวกเราไม่จัดเสนาสนะให้ท่านทั้ง ๒ นั้น”
ภิกษุทั้งหลายถามว่า “พวกท่านแบ่งเสนาสนะของสงฆ์หรือ”
พระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะตอบว่า “ใช่แล้ว ท่านทั้งหลาย”
บรรดาภิกษุผู้มักน้อยสันโดษ ฯลฯ ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
พระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะจึงแบ่งเสนาสนะของสงฆ์เล่า”
ลำดับนั้นแล ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่าพระ
อัสสชิและภิกษุปุนัพพสุกะแบ่งเสนาสนะของสงฆ์จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษเหล่านั้นจึง
แบ่งเสนาสนะของสงฆ์เล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ไม่ได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้
เลื่อมใส ฯลฯ” ครั้นทรงตำหนิแล้ว ฯลฯ ทรงแสดงธรรมีกถารับสั่งกับภิกษุทั้งหลาย
ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ของที่ไม่ควรแบ่ง ๕ หมวด สงฆ์ คณะหรือบุคคลไม่พึงแบ่ง แม้
แบ่งแล้วก็ไม่เป็นอันแบ่ง รูปใดแบ่ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ของที่ไม่ควรแบ่ง ๕ หมวด คือ
๑. อาราม พื้นที่อาราม นี้เป็นของ ที่ไม่ควรแบ่งอันดับที่ ๑ สงฆ์ คณะ
หรือบุคคลไม่พึงแบ่ง แม้แบ่งแล้วก็ไม่เป็นอันแบ่ง รูปใดแบ่ง ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๔๔ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
๒. วิหาร พื้นที่วิหาร นี้เป็นของที่ไม่ควรแบ่งอันดับที่ ๒ สงฆ์ คณะ
หรือบุคคล ไม่พึงแบ่ง แม้แบ่งแล้วก็ไม่เป็นอันแบ่ง รูปใดแบ่ง ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย
๓. เตียง ตั่ง ฟูก หมอน นี้เป็นของที่ไม่ควรแบ่งอันดับที่ ๓ สงฆ์ คณะ
หรือบุคคลไม่พึงแบ่ง แม้แบ่งแล้วก็ไม่เป็นอันแบ่ง รูปใดแบ่ง ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย
๔. หม้อโลหะ อ่างโลหะ กระถางโลหะ กระทะโลหะ มีด ขวาน ผึ่ง
จอบ สว่าน นี้เป็นของที่ไม่ควรแบ่งอันดับที่ ๔ สงฆ์ คณะหรือ
บุคคลไม่พึงแบ่ง แม้แบ่งแล้วก็ไม่เป็นอันแบ่ง รูปใดแบ่ง ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย
๕. เถาวัลย์ ไม้ไผ่ หญ้าปล้อง หญ้ามุงกระต่าย หญ้าสามัญ ดิน
เครื่องไม้และ เครื่องดินนี้เป็นของที่ไม่ควรแบ่งอันดับที่ ๕ สงฆ์ คณะ
หรือบุคคลไม่พึงแบ่ง แม้แบ่ง แล้วก็ไม่เป็นอันแบ่ง รูปใดแบ่ง ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย
ภิกษุทั้งหลาย ของที่ไม่ควรแบ่ง ๕ หมวดเหล่านี้แล สงฆ์ คณะหรือบุคคลไม่
พึงแบ่ง แม้แบ่งแล้วก็ไม่เป็นอันแบ่ง รูปใดแบ่ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย”

นวกัมมทานกถา
ว่าด้วยวิธีการที่ภิกษุให้นวกรรม
เรื่องภิกษุชาวเมืองอาฬวีให้นวกรรม
[๓๒๓] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กีฏาคิรีชนบทตามพระอัธยาศัย
แล้ว ได้เสด็จจาริกไปทางเมืองอาฬวี เสด็จจาริกไปโดยลำดับ จนถึงเมืองอาฬวี ทราบว่า
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ อัคคาฬวเจดีย์ ในเมืองอาฬวีนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๔๕ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
สมัยนั้น พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวี ให้นวกรรมอย่างนี้ คือ ให้นวกรรม๑
ด้วยอาการเพียงวางก้อนดินบ้าง ให้นวกรรมด้วยอาการเพียงฉาบทาฝาบ้าง ให้นวกรรม
ด้วยอาการเพียงติดตั้งประตูบ้าง ให้นวกรรมด้วยอาการเพียงติดสายยูบ้าง ให้นวกรรม
ด้วยอาการเพียงติดตั้งกรอบเช็ดหน้าบ้าง ให้นวกรรมด้วยอาการเพียงทาสีขาวบ้าง
ให้นวกรรมด้วยอาการเพียงทาสีดำบ้าง ให้นวกรรมด้วยอาการเพียงทาสีเหลืองบ้าง
ให้นวกรรมด้วยอาการเพียงมุงหลังคาบ้าง ให้นวกรรมด้วยอาการเพียงผูกมัดหลังคาบ้าง
ให้นวกรรมด้วยอาการเพียงติดไม้หลบหลังคาบ้าง ให้นวกรรมด้วยอาการเพียง
ปฏิสังขรณ์เสนาสนะที่ทรุดโทรมบ้าง ให้นวกรรมด้วยอาการเพียงขัดถูบ้าง ให้นวกรรม
๒๐ ปีบ้าง ให้นวกรรม ๓๐ ปีบ้าง ให้นวกรรมตลอดชีวิตบ้าง ให้นวกรรมวิหาร
ที่สร้างเสร็จแล้ว ชั่วเวลาแห่งควันไฟบ้าง
บรรดาภิกษุผู้มักน้อยสันโดษ ฯลฯ ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก
ภิกษุชาวเมืองอาฬวีจึงมอบนวกรรมให้อย่างนี้ คือ ให้นวกรรมด้วยอาการเพียงวาง
ก้อนดินบ้าง ให้นวกรรมด้วยอาการเพียงฉาบทาฝาบ้าง ให้นวกรรมด้วยอาการเพียง
ติดตั้งประตูบ้าง ให้นวกรรมด้วยอาการเพียงติดสายยูให้บ้าง ให้นวกรรมด้วย
อาการเพียงติดกรอบเช็ดหน้าบ้าง ให้นวกรรมด้วยอาการเพียงทาสีขาวบ้าง ให้นวกรรม
ด้วยอาการเพียงทาสีดำบ้าง ให้นวกรรมด้วยอาการเพียงทาสีเหลืองบ้าง ให้นวกรรม
ด้วยอาการเพียงมุงหลังคาบ้าง ให้นวกรรมด้วยอาการเพียงผูกมัดหลังคาบ้าง ให้
นวกรรมด้วยอาการเพียงติดไม้หลบหลังคาบ้าง ให้นวกรรมด้วยอาการเพียงปฏิสังขรณ์
เสนาสนะที่ทรุดโทรมบ้าง ให้นวกรรมด้วยอาการเพียงขัดถูบ้าง ให้นวกรรม ๒๐
ปีบ้าง ให้นวกรรม ๓๐ ปีบ้าง ให้นวกรรมตลอดชีวิตบ้าง ให้นวกรรมวิหารที่สร้าง
เสร็จแล้ว ชั่วเวลาแห่งควันไฟบ้าง”
ครั้งนั้นแล ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

เชิงอรรถ :
๑ ให้นวกรรม หมายถึงให้นวกรรมสมมติ (วิมติ.ฏีกา ๒/๓๒๓/๓๒๑) คืออนุมัติการก่อสร้าง หรืออนุญาต
ให้ก่อสร้าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๔๖ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ฯลฯ
จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิ ฯลฯ ทรงแสดงธรรมีกถารับสั่งกับภิกษุทั้งหลาย
ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงให้นวกรรมด้วยอาการเพียงวางก้อนดิน ... ไม่พึงให้
นวกรรมด้วยอาการเพียงฉาบทาฝา ... ไม่พึงให้นวกรรมด้วยอาการเพียงติดตั้งประตู
... ไม่พึงให้นวกรรมด้วยอาการเพียงติดสายยู ... ไม่พึงให้นวกรรมด้วยอาการเพียงติด
ตั้งกรอบเช็ดหน้า ... ไม่พึงให้นวกรรมด้วยอาการเพียงทาสีขาว ... ไม่พึงให้นวกรรมด้วย
อาการเพียงทาสีดำ ... ไม่พึงให้นวกรรมด้วยอาการเพียงทาสีเหลือง ... ไม่พึงให้นวกรรม
ด้วยอาการเพียงมุงหลังคา ... ไม่พึงให้นวกรรมด้วยอาการเพียงผูกหลังคา ... ไม่
พึงให้นวกรรมด้วยอาการเพียงติดให้หลบหลังคา ... ไม่พึงให้นวกรรมด้วยอาการเพียง
ปฏิสังขรณ์เสนาสนะที่ทรุดโทรม ... ไม่พึงให้นวกรรมด้วยอาการเพียงขัดถู ... ไม่พึงให้
นวกรรม ๒๐ ปี ... ไม่พึงให้นวกรรม ๓๐ ปี ... ไม่พึงให้นวกรรมตลอดชีวิต ... ไม่พึง
ให้นวกรรมวิหารที่สร้างเสร็จแล้ว ชั่วเวลาแห่งควันไฟ รูปใดให้ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุให้นวกรรมวิหารที่ยังไม่ได้สร้าง หรือที่สร้าง
ค้างไว้ ให้ตรวจดูวิหารเล็กแล้วให้นวกรรม ๕-๖ ปี ให้ตรวจดูงานในเรือนมุงแถบ
เดียวแล้ว ให้นวกรรม ๗-๘ ปี ให้ตรวจดูงานในวิหารใหญ่หรือปราสาทแล้วให้
นวกรรม ๑๐-๑๒ ปี”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายให้นวกรรมวิหารทั้งหลัง ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงให้นวกรรมวิหารทั้งหลัง
รูปใดให้ ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายให้นวกรรมใน ๒ แห่งแก่ภิกษุรูปเดียว ภิกษุทั้งหลาย
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๔๗ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงให้นวกรรมวิหาร ๒ แห่ง
แก่ภิกษุรูปเดียว รูปใดให้ ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายรับนวกรรมแล้วมอบให้ภิกษุอื่น ภิกษุทั้งหลายจึงนำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงรับนวกรรมแล้วมอบให้
ผู้อื่น รูปใดรับนวกรรมแล้วมอบให้ผู้อื่น ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายรับนวกรรมแล้วกีดกันเสนาสนะของสงฆ์ ภิกษุทั้งหลาย
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงรับนวกรรมแล้วกีดกัน
เสนาสนะของสงฆ์ รูปใดกีดกัน ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถือ
เอาที่นอนอย่างดีแห่งหนึ่ง”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายให้นวกรรมแก่ภิกษุผู้อยู่นอกสีมา ภิกษุทั้งหลายจึง
นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ให้นวกรรมแก่ภิกษุผู้อยู่นอก
สีมา รูปใดให้ ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายรับนวกรรมแล้วกีดกันอยู่ตลอดเวลา ภิกษุทั้งหลายจึง
นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงรับนวกรรมแล้วกีดกัน
ตลอด เวลา รูปใดกีดกัน ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้กันไว้ชั่ว
๓ เดือน ฤดูฝน แต่ไม่ให้กีดกันไว้ตลอดฤดูกาล”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายรับนวกรรมแล้วหลีกไปบ้าง สึกบ้าง มรณภาพบ้าง
ปฏิญญาเป็นสามเณรบ้าง ปฏิญญาเป็นผู้บอกคืนสิกขาบ้าง ปฏิญญาเป็นผู้ต้องอันติม-
วัตถุบ้าง๑ ปฏิญญาเป็นผู้วิกลจริตบ้าง ปฏิญญาเป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่านบ้าง ปฏิญญาเป็นผู้

เชิงอรรถ :
๑ อันติมวัตถุ หมายถึง อาบัติปาราชิก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๔๘ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
กระสับกระส่ายเพราะเวทนาบ้าง ปฏิญญาเป็นผู้ถูกลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่า
เป็นอาบัติบ้าง ปฏิญญาเป็นผู้ถูกลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติบ้าง ปฏิญญา
เป็นผู้ถูกลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ยอมสละทิฏฐิบาปบ้าง ปฏิญญาเป็นบัณเฑาะก์บ้าง
ปฏิญญาเป็นคนลักเพศบ้าง ปฏิญญาเป็นผู้เข้ารีตเดียรถีย์บ้าง ปฏิญญาเป็นสัตว์
ดิรัจฉานบ้าง ปฏิญญาเป็นผู้ฆ่าบิดาบ้าง ปฏิญญาเป็นผู้ฆ่ามารดาบ้าง ปฏิญญาเป็น
ผู้ฆ่าพระอรหันต์บ้าง ปฏิญญาเป็นผู้ประทุษร้ายภิกษุณีบ้าง ปฏิญญาเป็นผู้ทำสงฆ์
ให้แตกกันบ้าง ปฏิญญาเป็นผู้ทำร้ายพระศาสดาจนห้อพระโลหิตบ้าง ปฏิญญาเป็น
อุภโตพยัญชนกบ้าง
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ก็ ในกรณีนี้ ภิกษุรับนวกรรมแล้ว
หลีกไป สงฆ์พึงให้นวกรรมแก่ภิกษุอื่นด้วยสั่งว่า “นวกรรมของสงฆ์อย่าได้เสียหาย”
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุรับนวกรรมแล้วสึก ฯลฯ มรณภาพ
ปฏิญญาเป็นสามเณร ปฏิญญาเป็นผู้บอกคืนสิกขา ปฏิญญาเป็นผู้ต้องอันติมวัตถุ
ปฏิญญาเป็นผู้วิกลจริต ปฏิญญาเป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่าน ปฏิญญาเป็นผู้กระสับกระส่าย
เพราะเวทนา ปฏิญญาเป็นผู้ถูกลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ปฏิญญา
เป็นผู้ถูกลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ปฏิญญาเป็นผู้ถูกลงอุกเขปนียกรรม
เพราะไม่สละทิฏฐิบาป ปฏิญญาเป็นบัณเฑาะก์ ปฏิญญาเป็นคนลักเพศ ปฏิญญา
เป็นผู้เข้ารีตเดียรถีย์ ปฏิญญาเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ปฏิญญาเป็นผู้ฆ่าบิดา ปฏิญญาเป็น
ผู้ฆ่ามารดา ปฏิญญาเป็นผู้ฆ่าพระอรหันต์ ปฏิญญาเป็นผู้ประทุษร้ายภิกษุณี ปฏิญญา
เป็นผู้ทำสงฆ์ให้แตกกัน ปฏิญญาเป็นผู้ทำร้ายพระศาสดาจนห้อพระโลหิต ปฏิญญา
เป็นอุภโตพยัญชนก สงฆ์พึงให้นวกรรมแก่ภิกษุอื่นด้วยสั่งว่า “นวกรรมของสงฆ์อย่า
ได้เสียหาย”
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุรับนวกรรมแล้วหลีกไปเมื่อยังทำไม่เสร็จ
สงฆ์พึงมอบนวกรรมให้ภิกษุอื่นด้วยสั่งว่า “นวกรรมของสงฆ์อย่าได้เสียหาย”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๔๙ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุรับนวกรรมแล้วสึกไปเมื่อยังทำไม่เสร็จ
ฯลฯ มรณภาพ ฯลฯ ปฏิญญาเป็นอุภโตพยัญชนก สงฆ์พึงมอบนวกรรมให้ภิกษุอื่น
ด้วยสั่งว่า “นวกรรมของสงฆ์อย่าได้เสียหาย”
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุรับนวกรรมแล้วหลีกไป เมื่อทำเสร็จแล้ว
นวกรรมนั้นตกเป็นของภิกษุนั้นเอง
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุรับนวกรรมแล้วสึกไปเมื่อทำเสร็จแล้ว ฯลฯ
มรณภาพ ปฏิญญาเป็นสามเณร ผู้บอกลาสิกขา ต้องอันติมวัตถุ สงฆ์เป็นเจ้าของ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุรับนวกรรมแล้ว พอทำเสร็จก็ปฏิญญา
เป็นผู้วิกลจริต ปฏิญญาเป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่าน ปฏิญญาเป็นผู้กระสับกระส่ายเพราะ
เวทนา ปฏิญญาเป็นผู้ถูกลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ปฏิญญาเป็น
ผู้ถูกลง อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ปฏิญญาเป็นผู้ถูกลงอุกเขปนียกรรม
เพราะไม่สละทิฏฐิบาป นวกรรมนั้นตกเป็นของภิกษุนั้นเอง
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุรับนวกรรมแล้ว พอทำเสร็จก็ปฏิญญา
เป็นบัณเฑาะก์ ปฏิญญาเป็นคนลักเพศ ปฏิญญาเป็นผู้เข้ารีตเดียรถีย์ ปฏิญญาเป็น
สัตว์ดิรัจฉาน ปฏิญญาเป็นคนฆ่าบิดา ปฏิญญาเป็นคนฆ่ามารดา ปฏิญญาเป็นคน
ฆ่าพระอรหันต์ ปฏิญญาเป็นผู้ประทุษร้ายภิกษุณี ปฏิญญาเป็นผู้ทำสงฆ์ให้แตกกัน
ปฏิญญาเป็นผู้ทำร้ายพระศาสดาจนห้อพระโลหิต ปฏิญญาเป็นอุภโตพยัญชนก
สงฆ์เป็นเจ้าของ

อัญญตรปริโภคปฏิกเขปาทิ
ว่าด้วยการห้ามใช้เสนาสนะผิดที่เป็นต้น
[๓๒๔] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายได้นำเสนาสนะเครื่องใช้สอยประจำในวิหารของ
อุบาสกคนหนึ่งไปใช้สอยที่อื่น อุบาสกนั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
ท่านพระคุณเจ้าทั้งหลาย จึงนำเครื่องใช้สอยในที่แห่งหนึ่งไปใช้สอยในที่แห่งหนึ่งเล่า”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๕๐ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เครื่องใช้สอยในที่แห่งหนึ่ง ไม่พึงนำ
ไปใช้สอยในที่อีกแห่งหนึ่ง รูปใดนำไปใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ”๑

เรื่องทรงอนุญาตให้ยืมเสนาสนะ
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายยำเกรงที่จะนำเสนาสนะเครื่องใช้สอยไปโรงอุโบสถบ้าง
ที่ประชุมบ้าง จึงนั่งบนพื้นดิน เนื้อตัวและจีวรจึงเปื้อนฝุ่น
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้นำไปใช้ได้ชั่วคราว”๑

เรื่องทรงอนุญาตให้เก็บรักษาเสนาสนะ
สมัยนั้น วิหารหลังใหญ่ของสงฆ์เกิดชำรุด ภิกษุทั้งหลายยำเกรงอยู่จึงไม่นำ
เสนาสนะออกไป ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้นำไปเก็บรักษาไว้”

เรื่องทรงอนุญาตให้แลกเปลี่ยน(เรื่องที่ ๑)
สมัยนั้น ผ้ากัมพลราคาแพงซึ่งเป็นบริขารประจำเสนาสนะเกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุ
ทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แลกเปลี่ยนเพื่อประโยชน์
แก่ผาติกรรม”๒

เชิงอรรถ :
๑ วิ.มหา. (แปล) ๑/๑๕๗/๑๓๐
๒ ผาติกรรม หมายถึงการทำให้เพิ่มพูนโดยนำไปแลกเปลี่ยนกับเตียงตั่งเป็นต้นที่มีราคาเท่ากันหรือมีราคา
มากกว่า ไม่ให้ต่ำว่าราคาของเดิม (วิ.อ. ๓/๓๒๔/๓๕๕, วิมติ.ฏีกา ๒/๓๒๔/๓๒๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๕๑ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
เรื่องทรงอนุญาตให้แลกเปลี่ยน(เรื่องที่ ๒)
สมัยนั้น ผ้าราคาแพงซึ่งเป็นบริขารประจำเสนาสนะเกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลาย
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แลกเปลี่ยนเพื่อประโยชน์
แก่ผาติกรรม”

เรื่องทรงอนุญาตผ้าเช็ดเท้า
สมัยนั้น หนังหมีเกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้
มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำเป็นเครื่องเช็ดเท้า”
สมัยนั้น เครื่องเช็ดเท้าทรงกลมเกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำเป็นเครื่องเช็ดเท้า”
สมัยนั้น ผ้าท่อนน้อยเกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำเป็นผ้าเช็ดเท้า”

เรื่องห้ามภิกษุเท้าเปื้อนเหยียบเสนาสนะ
สมัยนั้น ภิกษุไม่ล้างเท้าเหยียบเสนาสนะ เสนาสนะเสียหาย ภิกษุทั้งหลาย
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ล้างเท้าไม่พึงเหยียบเสนาสนะ
รูปใดเหยียบ ต้องอาบัติทุกกฏ”

เรื่องห้ามภิกษุเท้าเปียกเหยียบเสนาสนะ
สมัยนั้น ภิกษุเท้าเปียกเหยียบเสนาสนะ เสนาสนะเสียหาย ภิกษุทั้งหลาย
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๕๒ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเท้าเปียกไม่พึงเหยียบเสนาสนะ
รูปใดเหยียบ ต้องอาบัติทุกกฏ”

เรื่องห้ามภิกษุสวมรองเท้าเหยียบเสนาสนะ
สมัยนั้น ภิกษุสวมรองเท้าเหยียบเสนาสนะ เสนาสนะเสียหาย ภิกษุทั้งหลาย
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสวมรองเท้าเหยียบเสนาสนะ
ต้องอาบัติทุกกฏ”

เรื่องห้ามภิกษุถ่มน้ำลายบนพื้นที่ทำบริกรรม
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายถ่มน้ำลายบนพื้นที่ทำบริกรรม พื้นผิวเสียหาย ภิกษุ
ทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงถ่มน้ำลายบนพื้นที่ทำบริกรรม
รูปใดถ่ม ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้กระโถน”

เรื่องทรงอนุญาตผ้าพันเท้าเตียงและตั่ง
สมัยนั้น เท้าเตียงและตั่งครูดพื้นที่ทำบริกรรม ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้ผ้าพัน”
สมัยนั้น ภิกษุพิงฝาที่ทำบริกรรม๑ ความงดงามเสียไป ภิกษุทั้งหลายจึงนำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงพิงฝาที่ทำบริกรรม รูปใดพิง
ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตพนักพิง”

เชิงอรรถ :
๑ ฝาที่ทำบริกรรม หมายถึงฝาสีขาว หรือฝาที่มีลวดลายจิตรกรรม (วิ.อ. ๓/๓๒๔/๓๕๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๕๓ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
พนักพิงส่วนล่างครูดพื้น ส่วนบนครูดฝา ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้ผ้าพันทั้งข้างล่างและ
ข้างบน”

เรื่องทรงอนุญาตให้ปูผ้านอน
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายล้างเท้าแล้วยำเกรงที่จะนอน ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่อง
นี้ไปกราบทูล พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ปูผ้านอน”

สังฆภัตตาทิอนุชานนะ
ว่าด้วยทรงอนุญาตสังฆภัตเป็นต้น
[๓๒๕] ครั้นพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ เมืองอาฬวีตามพระอัธยาศัยแล้ว
เสด็จจาริกไปทางกรุงราชคฤห์ เสด็จจาริกไปโดยลำดับ จนถึงกรุงราชคฤห์ ทราบว่า
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต ในกรุงราชคฤห์นั้น
สมัยนั้น กรุงราชคฤห์เกิดข้าวยากหมากแพง ประชาชนไม่สามารถจะจัดสังฆภัต
แต่ปรารถนาจัดอุทเทสภัต นิมันตนภัต สลากภัต ปักขิกภัต อุโปสถิกภัต ปาฏิปทิกภัต
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตสังฆภัต อุทเทสภัต
นิมันตนภัต สลากภัต ปักขิกภัต อุโปสถิกภัต ปาฏิปทิกภัต”

ภัตตุทเทสกสมมติ
ว่าด้วยการแต่งตั้งพระภัตตุเทสก์
[๓๒๖] สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์รับภัตตาหารอันประณีตไว้เพื่อตัวเอง
ให้ภัตตาหารเลวแก่ภิกษุทั้งหลาย


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๕๔ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แต่งตั้งภิกษุผู้มีคุณสมบัติ
๕ อย่างเป็นพระภัตตุทเทสก์ คือ
๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง
๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว
๕. รู้จักอาหารที่แจกและอาหารที่ยังไม่ได้แจก

วิธีแต่งตั้งและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงแต่งตั้งอย่างนี้ เบื้องต้นพึงขอร้องภิกษุ ครั้นแล้วภิกษุ
ผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมแล้วพึงแต่งตั้งภิกษุชื่อนี้เป็น
ภัตตุทเทศก์ นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์แต่งตั้งภิกษุชื่อนี้เป็นภัตตุทเทสก์ ท่าน
รูปใดเห็นด้วยกับการแต่งตั้งภิกษุชื่อนี้เป็นภัตตุทเทสก์ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใด
ไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
ภิกษุชื่อนี้สงฆ์แต่งตั้งให้เป็นภัตตุทเทสก์แล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง
ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้

วิธีแจกภัต
ครั้งนั้น ภิกษุภัตตุทเทสก์ทั้งหลายได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “พวกเราพึงแจกภัต
อย่างไร” ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เขียนชื่อลงในสลากหรือ
แผ่นผ้ารวมกันแล้วแจกภัต”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๕๕ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
เสนาสนปัญญาปกาทิสมมติ
ว่าด้วยการแต่งตั้งภิกษุให้เป็นเสนาสนปัญญาปกะเป็นต้น
[๓๒๗] สมัยนั้น สงฆ์ยังไม่มีภิกษุผู้เป็นเสนาสนปัญญาปกะ ฯลฯ ไม่มีภิกษุผู้
รักษาเรือนคลัง ไม่มีภิกษุผู้รับจีวร ไม่มีภิกษุผู้แจกจีวร ไม่มีภิกษุผู้แจกข้าวต้ม ไม่มี
ภิกษุผู้แจกผลไม้ ไม่มีภิกษุผู้แจกของเคี้ยว ของเคี้ยวที่ยังไม่ได้แจกย่อมเสียหาย
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แต่งตั้งภิกษุผู้มีคุณสมบัติ
๕ อย่างเป็นผู้แจกของเคี้ยว คือ
๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง
๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว
๕. รู้จักของเคี้ยวที่แจกและของเคี้ยวที่ยังไม่ได้แจก

วิธีแต่งตั้งและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงแต่งตั้งอย่างนี้ คือ เบื้องต้นพึงขอร้องภิกษุ ครั้นแล้ว
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมแล้วก็พึงแต่งตั้งภิกษุชื่อนี้เป็น
ผู้แจกของเคี้ยว นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์แต่งตั้งภิกษุชื่อนี้เป็นผู้แจกของเคี้ยว
ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการแต่งตั้งภิกษุชื่อนี้เป็นผู้แจกของเคี้ยว ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่าน
รูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
ภิกษุชื่อนี้สงฆ์แต่งตั้งให้เป็นผู้แจกของเคี้ยว สงฆ์เห็นด้วย เพราะเหตุนั้นจึงนิ่ง
ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๕๖ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
อัปปมัตตกวิสสัชชกสมมติ
ว่าด้วยการแต่งตั้งภิกษุผู้แจกของเล็กน้อย
[๓๒๘] สมัยนั้น สงฆ์ได้บริขารเล็ก ๆ น้อย ๆ ในเรือนคลังเหลือเฟือ ภิกษุ
ทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แต่งตั้งภิกษุผู้มีคุณสมบัติ
๕ อย่างเป็นผู้แจกของเล็ก ๆ น้อย ๆ คือ
๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง
๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว
๕. รู้จักของเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่แจกและของเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ยังไม่ได้แจก

วิธีแต่งตั้งและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงแต่งตั้งอย่างนี้ เบื้องต้นพึงขอร้องภิกษุ ครั้นแล้วภิกษุ
ผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมแล้วพึงแต่งตั้งภิกษุชื่อนี้เป็น
ผู้แจกของเล็ก ๆ น้อย ๆ นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์แต่งตั้งภิกษุชื่อนี้เป็นผู้แจกของเล็ก ๆ
น้อย ๆ ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการแต่งตั้งภิกษุชื่อนี้เป็นผู้แจกของเล็ก ๆ น้อย ๆ ท่าน
รูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
ภิกษุชื่อนี้สงฆ์แต่งตั้งให้เป็นผู้แจกของเล็ก ๆ น้อย ๆ สงฆ์เห็นด้วย เพราะเหตุ
นั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้

เรื่องของเล็กน้อยที่ควรแจก
ภิกษุผู้แจกของเล็ก ๆ น้อย ๆ พึงให้เข็ม ๑ เล่ม พึงให้มีด พึงให้รองเท้า พึง
ให้ประคดเอว พึงให้สายโยกบาตร พึงให้ผ้ากรองน้ำ พึงให้ที่กรองน้ำ พึงให้ผ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๕๗ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
กุสิ๑ พึงให้ผ้าอัฑฒกุสิ๒ พึงให้ผ้ามณฑล๓ พึงให้ผ้าอัฑฒมณฑล๔ พึงให้ผ้าอนุวาต๕
พึงให้ผ้าปริภัณฑ์ ถ้าสงฆ์มีเนยใส น้ำมัน น้ำผึ้งหรือน้ำอ้อยก็ควรให้ลิ้มได้คราวหนึ่ง
ถ้าต้องการอีกก็ควรให้อีก

สาฏิยัคคาหาปกาทิสมมติ
ว่าด้วยการแต่งตั้งภิกษุผู้แจกผ้าเป็นต้น
สมัยนั้น สงฆ์ยังไม่มีภิกษุผู้แจกผ้า ฯลฯ ไม่มีภิกษุผู้แจกบาตร ฯลฯ
ไม่มีภิกษุผู้ใช้คนวัด ฯลฯ ไม่มีภิกษุผู้ใช้สามเณร สามเณรทั้งหลายที่ภิกษุไม่ใช้ ย่อม
ไม่ทำงาน
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แต่งตั้งภิกษุผู้มีคุณสมบัติ
๕ อย่างเป็นผู้ใช้สามเณร คือ
๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง
๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว
๕. รู้จักงานที่ควรใช้และงานที่ยังไม่ได้ใช้

วิธีแต่งตั้งและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงแต่งตั้งอย่างนี้ เบื้องต้นพึงขอร้องภิกษุ ครั้นแล้วภิกษุ
ผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมแล้วพึงแต่งตั้งภิกษุชื่อนี้เป็นผู้
ใช้สามเณร นี่เป็นญัตติ

เชิงอรรถ :
๑ กุสิ คือ ผ้ายาวที่ตั้งติดขอบจีวรทั้ง ๒ ด้าน คั่นระหว่างขัณฑ์กับขัณฑ์ของจีวร
๒ อัฑฒกุสิ คือ ผ้าสั้นที่แทรกอยู่เป็นตอน ๆ ในระหว่างผ้ายาว ดุจคันนาขวาง
๓ มณฑล คือ ผ้ามีบริเวณกว้างใหญ่ในแต่ละขัณฑ์ของจีวร ๕ ขัณฑ์
๔ อัฑฒมณฑล คือ ผ้าชิ้นส่วนของจีวรที่มีบริเวณเล็ก ๆ
๕ อนุวาต คือ ผ้าขอบจีวร (คำอธิบายศัพท์เหล่านี้ทั้งหมด ดู วิ.อ.๓/๓๔๕/๒๑๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๕๘ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในเสนาขันธกะ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์แต่งตั้งภิกษุชื่อนี้เป็นผู้ใช้สามเณร ท่าน
รูปใดเห็นด้วยกับการแต่งตั้งภิกษุชื่อนี้เป็นผู้ใช้สามเณร ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใด
ไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
ภิกษุชื่อนี้สงฆ์แต่งตั้งให้เป็นผู้ใช้สามเณร สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้า
ขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
ตติยภาณวาร จบ
เสนาสนขันธกะที่ ๖ จบ

รวมเรื่องที่มีในเสนาสนขันธกะ
เรื่องที่พระผู้มีพระภาคยังไม่ได้ทรงบัญญัติเสนาสนะ
พระสาวกของพระองค์อยู่ตามป่าและโคนไม้เป็นต้นนั้น ๆ
ตอนเช้าตรู่ออกมาจากที่อยู่ เศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์เห็นแล้ว
ได้กล่าวแก่ภิกษุทั้งหลายดังนี้ว่า ข้าพเจ้าจะให้สร้างวิหาร
พระคุณเจ้าทั้งหลายจะอยู่หรือ
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลถามพระผู้มีพระภาค
พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตเสนาสนะ ๕ ชนิด คือ
วิหาร เรือนมุงแถบเดียว ปราสาท เรือนโล้น ถ้ำ
เศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์สร้างวิหารถวาย ๖๐ หลัง
เรื่องประชาชนสร้างวิหาร เรื่องวิหารไม่มีบานประตู
ภิกษุไม่ระวัง งู แมงป่อง ตะขาบจึงเข้าไป
เรื่องพระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตบานประตู
กรอบเช็ดหน้า รูครกที่รับเดือยประตู ห่วงข้างบน
ช่องสำหรับชัก เชือกสำหรับชัก สายยู ไม้หัวลิง ลิ่ม
กลอน ลูกดาลโลหะ ลูกดาลไม้ ลูกดาลเขาสัตว์ ลิ่มยนต์
ทรงอนุญาตหลังคาโบกฉาบดินทั้งภายในภายนอก
หน้าต่างมีลวดลายทำเป็นกะบัง(ชุกชี) หน้าต่างมีตาข่าย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๕๙ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในเสนาขันธกะ
หน้าต่างมีลูกกรง ผ้าผืนเล็กสำหรับกั้นหน้าต่าง
ม่านหน้าต่าง
ทรงอนุญาตหญ้ารองนั่ง ตั่งไม้ เตียงสาน
เตียงชนิดมีแม่แคร่สอดเข้าในเท้าที่ทิ้งไว้ในป่าช้า
ตั่งมีแม่แคร่สอดเข้าในเท้า เตียงมีแม่แคร่ติดกับเท้า
ตั่งมีแม่แคร่ติดกับเท้า เตียงมีเท้าดังก้ามปู ตั่งมีเท้าดังก้ามปู
เตียงมีเท้าจดแม่แคร่ ตั่งมีเท้าจดแม่แคร่ ม้านั่งสี่เหลี่ยม
ม้าสี่เหลี่ยมสูง ม้านั่งสี่เหลี่ยมสูงมีพนัก ๓ ด้าน
ม้านั่งสี่เหลี่ยมมีพนัก ๓ ด้านชนิดสูง
ทรงอนุญาตตั่งหวาย ตั่งหุ้มด้วยผ้า ตั่งขาทราย
ตั่งก้านมะขามป้อม แผ่นกระดาน เก้าอี้ ตั่งฟาง
เรื่องทรงห้ามนอนบนเตียงสูง เรื่องภิกษุนอนเตียงต่ำ
ถูกงูกัดจึงทรงอนุญาตไม้หนุนเท้าเตียง
พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตไม้หนุนเท้าเตียงสูง ๘ นิ้ว
เป็นอย่างมาก
ทรงอนุญาตด้ายถักเตียง ทรงอนุญาตให้เจาะตัวแม่แคร่แล้ว
ถักเป็นตาหมากรุก ทรงอนุญาตให้ทำท่อนผ้าผืนเล็ก ๆ
เป็นผ้าปูพื้น ทรงอนุญาตให้สางนุ่นแล้วทำเป็นหมอน
ทรงห้ามใช้หมอนยาวขนาดกึ่งกาย(หมอนข้าง)
เรื่องมหรสพบนยอดเขา ทรงอนุญาตฟูก ๕ ชนิด
ทรงอนุญาตผ้าสำหรับใช้สอยประจำเสนาสนะหุ้มฟูก
ทรงอนุญาตเตียงหุ้มฟูกและตั่งหุ้มฟูก
ฟูกย้อยลงข้างล่าง โจรลักเอาผ้าหุ้มฟูกไป
ทรงอนุญาตให้เขียนแต้มไว้ ให้ทำตำหนิด้วยรอยนิ้วมือไว้
เรื่องที่อยู่พวกเดียรถีย์มีสีขาวแต่พื้นสีดำ
พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตสีขาว สีดำ สีเหลืองในวิหาร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๖๐ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในเสนาขันธกะ
ทรงอนุญาตดินปนแกลบ ดินละเอียด ยางไม้
แป้งเปียก ดินปนแกลบ แป้งเมล็ดพันธุ์ผักกาด
ขี้ผึ้งเหลว แป้งหนาเกินไป ทรงอนุญาตให้ใช้ผ้าเช็ดออก
พื้นหยาบ สีดำไม่เกาะติด ทรงอนุญาตให้ใส่ดินปนแกลบ
ทำให้สีดำเกาะติด ทรงอนุญาตยางไม้ น้ำฝาด
เรื่องพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ให้ช่างเขียนภาพจิตรกรรม
เรื่องวิหารมีพื้นที่ต่ำ เรื่องดินที่ถมพังทะลาย
เรื่องภิกษุขึ้นลงลำบาก เรื่องภิกษุขึ้นลงพลัดตกลงมา
เรื่องวิหารมีพื้นเป็นลานโล่ง
ทรงอนุญาตกั้นฝาครึ่งหนึ่ง ทรงอนุญาตห้องภายใน ๓ ชนิด
ทรงอนุญาตให้กั้นห้องไว้ด้านหนึ่งในวิหารเล็ก
เรื่องเชิงฝาวิหารชำรุด ฝาผนังวิหารถูกฝนสาด
เรื่องงูตกจากหลังคามุ่งหญ้าลงมาที่คอของภิกษุ
ท่านตกใจร้องเสียงลั่น ทรงอนุญาตไม้เดือยติดฝา
ราวจีวร ระเบียงกับแผงเลื่อนฝาค้ำ
เรื่องทรงอนุญาตราวสำหรับยึดขึ้นหอฉัน
ผงหญ้าที่มุงหอฉันดังกล่าวในหนหลังตกเกลื่อน
ภิกษุปูจีวรบนพื้นดินกลางแจ้ง
น้ำดื่มถูกแดดจึงร้อน ทรงอนุญาตศาลาน้ำดื่ม
ไม่มีภาชนะสำหรับตักน้ำ
เรื่องวิหารไม่มีรั้วล้อม ซุ้มประตูไม่มี บริเวณเป็นโคลนตม
ทรงอนุญาตศาลาไฟ เรื่องอารามไม่มีรั้วล้อม
ซุ้มประตูดังกล่าวในหนหลังไม่มี ทรงอนุญาตปูนขาว
เรื่องอนาถบิณฑิกคหบดีมีศรัทธาไปป่าสีตวัน เห็นธรรมแล้ว
กราบทูลนิมนต์พระผู้มีพระภาคพร้อมกับภิกษุสงฆ์
ไปจำพรรษา ณ กรุงสาวัตถี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๖๑ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในเสนาขันธกะ
ระหว่างทางท่านอนาถบิณฑิกคหบดีได้ชักชวนประชาชนสร้างอาราม
พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตนวกรรมในกรุงเวสาลี
เรื่องพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ล่วงหน้ารีบไปจองเสนาสนะ
เรื่องใครควรได้ภัตอันเลิศ ทรงแสดงติตติริยพรหมจรรย์
ทรงแสดงบุคคลที่ไม่ควรไหว้ ๑๐ จำพวก
เรื่องพวกอันเตวาสิกของพวกภิกษุฉัพพัคคีย์จับจองเสนาสนะ
เรื่องประชาชนตกแต่งที่นั่งที่นอนสูงใหญ่ในละแวกบ้าน
ตกแต่งเตียงตั่งยัดนุ่น
พระผู้มีพระภาคเสด็จกรุงสาวัตถี
อนาถบิณฑิกคหบดีถวายอาราม
เกิดเหตุการณ์วุ่นวายในโรงอาหาร
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์บังคับภิกษุเป็นไข้ให้ย้ายที่
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ยึดเอาที่นอนดี ๆ
กีดกันอาสนะไว้โดยอ้างเลิศ
พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์ซ่อมแซมวิหารอยู่จำพรรษาในที่นั้น
ภิกษุปรึกษากันว่าใครจะพึงจัดแจงให้ภิกษุถือเสนาสนะ
ภิกษุเจ้าหน้าที่จัดแจงให้ถือเสนาสนะปรึกษากันว่า
ควรให้ถือเสนาสนะอย่างไร
พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้แจกตามจำนวนที่นอน
ตามจำนวนวิหาร ตามจำนวนบริเวณ
ทรงอนุญาตให้แจกส่วนเพิ่มอีก เมื่อไม่ปรารถนาก็อย่าให้
พวกภิกษุให้ภิกษุอยู่นอกสีมาถือเสนาสนะ
พวกภิกษุหวงเสนาสนะไว้ตลอดเวลา
ทรงแสดงการให้ถือเสนาสนะ ๓ อย่าง
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรจองเสนาสนะ
พระผู้มีพระภาคทรงพรรณนาคุณแห่งพระวินัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๖๒ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในเสนาขันธกะ
พวกภิกษุยืนเรียนพระวินัย ทรงอนุญาตให้นั่งบนอาสนะ
เสมอกันเรียนพระวินัย ภิกษุหลายรูปนั่งบนอาสนะระดับเดียวกัน
ทำให้เตียงหัก ทรงอนุญาตให้นั่งได้เตียงละ ๓ รูป ๒ รูป
ทรงอนุญาตให้นั่งบนอาสนะยาวร่วมกับผู้มีอาสนะต่างระดับ
ทรงอนุญาตให้ใช้สอยปราสาทมีระเบียง
สมเด็จพระอัยยิกาของพระเจ้าปเสนทิโกศลทิวงคต
เครื่องกัปปิยภัณฑ์เป็นจำนวนมากเกิดขึ้นแก่สงฆ์
ภิกษุจัดแจงเสนาสนะสงฆ์อยู่ไม่ไกลกรุงราชคฤห์
พระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะอยู่ที่กีฏาคิรีชนบท
แบ่งเสนาสนะสงฆ์
ภิกษุชาวเมืองอาฬวี ให้นวกรรมด้วยอาการเพียงวางก้อนดิน
ฉาบทาฝา ติดตั้งบานประตู ติดสายยู ติดตั้งกรอบเช็ดหน้า
ทาสีขาว ทาสีดำ ทาสีเหลือง มุงหลังคา ผูกมัดหลังคา
ติดไม้หลบหลังคา ปฏิสังขรณ์สิ่งชำรุดทรุดโทรม ขัดถู
ให้นวกรรม ๒๐-๓๐ ปี ให้ในวิหารที่สร้างเสร็จแล้ว
ชั่วเวลาควันไฟ
พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้ภิกษุให้นวกรรมวิหารที่ยังไม่ได้สร้าง
ที่สร้างค้างไว้ ให้ตรวจดูงานในวิหารเล็กแล้วให้นวกรรม
๕-๖ ปี ให้ตรวจดูงานในเรือนที่มุงแถบเดียว
แล้วให้นวกรรม ๗-๘ ปี ให้ตรวจดูงาน
ในวิหารหรือปราสาทใหญ่ แล้วให้นวกรรม ๑๐ ปี ๑๒ ปี
ภิกษุให้นวกรรมวิหารทั้งหลัง ภิกษุให้นวกรรม ๒ แห่ง
แก่ภิกษุรูปเดียว ภิกษุรับนวกรรมแล้วมอบให้ภิกษุอื่น
ภิกษุรับนวกรรมแล้วกีดกันเสนาสนะสงฆ์ไว้
ภิกษุให้นวกรรมแก่ภิกษุผู้อยู่นอกสีมา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๖๓ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในเสนาขันธกะ
ภิกษุรับเอานวกรรมแล้วหวงไว้ตลอดเวลา
ภิกษุรับเอานวกรรมแล้วหลีกไป สึก มรณภาพ
ปฏิญญาเป็นสามเณร ปฏิญญาเป็นผู้บอกคืนสิกขา
ปฏิญญาเป็นผู้ต้องอันติมวัตถุ ปฏิญญาเป็นผู้วิกลจริต
ปฏิญญาเป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่าน ปฏิญญาเป็นผู้กระสับกระส่ายเพราะเวทนา
ปฏิญญาเป็นผู้ถูกลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
ปฏิญญาเป็นผู้ถูกลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ
ปฏิญญาเป็นผู้ถูกลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป
ปฏิญญาเป็นบัณเฑาะก์ ปฏิญญาเป็นคนลักเพศ
ปฏิญญาเป็นผู้เข้ารีตเดียรถีย์ ปฏิญญาเป็นสัตว์ดิรัจฉาน
ปฏิญญาเป็นคนฆ่าบิดา ปฏิญญาเป็นคนฆ่ามารดา
ปฏิญญาเป็นคนฆ่าพระอรหันต์
ปฏิญญาเป็นผู้ประทุษร้ายภิกษุณี ปฏิญญาเป็นผู้ทำสงฆ์ให้แตกกัน
ปฏิญญาเป็นผู้ทำร้ายพระศาสดาจนห้อพระโลหิต
ปฏิญญาเป็นอุภโตพยัญชนก พึงมอบนวกรรมแก่ภิกษุอื่นด้วยสั่งว่า
ท่านอย่าให้ของสงฆ์เสียหาย เมื่อยังไม่เสร็จควรมอบให้ภิกษุอื่น
เมื่อทำเสร็จแล้วหลีกไป นวกรรมเป็นของภิกษุนั้นเอง
ภิกษุสึก มรณภาพ ปฏิญญาเป็นสามเณร ลาสิกขา
เป็นปาราชิก สงฆ์เป็นเจ้าของ ภิกษุวิกลจริต
มีจิตฟุ้งซ่าน กระสับกระส่ายเพราะเวทนา
ถูกสงฆ์อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
เพราะไม่ทำคืนอาบัติ เพราะไม่สละทิฏฐิบาป
นวกรรมนั้นเป็นของภิกษุนั้นเอง ภิกษุปฏิญญาเป็นบัณเฑาะก์
เป็นคนลักเพศ เข้ารีตเดียรถีย์ ปฏิญญาเป็นสัตว์ดิรัจฉาน
ปฏิญญาเป็นคนฆ่าบิดามารดา ปฏิญญาเป็นคนฆ่าพระอรหันต์
ปฏิญญาเป็นคนประทุษร้ายภิกษุณี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๖๔ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในเสนาขันธกะ
ปฏิญญาเป็นคนทำร้ายพระศาสดาจนห้อพระโลหิต
เป็นอุภโตพยัญชนก สงฆ์เป็นเจ้าของ
เรื่องภิกษุนำเสนาสนะเครื่องใช้สอยประจำวิหารไปใช้ที่อื่น
พวกภิกษุยำเกรงที่จะนำเสนาสนะไปใช้ในโรงอุโบสถ
มหาวิหารของสงฆ์ชำรุด ทรงอนุญาตให้แลกเปลี่ยนผ้ากัมพล
เพื่อประโยชน์แก่ผาติกรรม ทรงอนุญาตให้แลกเปลี่ยนผ้าราคาแพง
เพื่อประโยชน์แก่ผาติกรรม ทรงอนุญาตให้ทำหนังหมี
เป็นเครื่องเช็ดเท้า ทรงอนุญาตเครื่องเช็ดเท้าทรงกลม
ทรงอนุญาตให้ทำผ้าท่อนน้อยเป็นผ้าเช็ดเท้า
ภิกษุไม่ล้างเท้าเหยียบเสนาสนะ ภิกษุเท้าเปียก
เหยียบเสนาสนะ ภิกษุสวมรองเท้าเหยียบเสนาสนะ
ภิกษุถ่มน้ำลายบนพื้นที่ทำบริกรรม
เท้าเตียงและเท้าตั่งครูดพื้น ภิกษุพิงฝาที่ทำบริกรรม
พนักพิงครูดพื้น
ภิกษุล้างเท้าแล้วยำเกรงที่จะนอน
เรื่องประชาชนไม่สามารถจะจัดสังฆภัต
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ให้ภัตตาหารเลวแก่ภิกษุทั้งหลาย
พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้แต่งตั้งพระภัตตุทเทสก์
ภิกษุภัตตุทเทสก์ปรึกษากันว่า จะแจกภัตตาหารอย่างไร
ทรงอนุญาตให้แต่งตั้งภิกษุเป็นเสนาสนปัญญาปกะ
ภิกษุผู้เป็นเจ้าหน้าที่รักษาเรือนคลัง ภิกษุผู้รับจีวร
ภิกษุผู้แจกจีวร ภิกษุผู้แจกข้าวต้ม
ภิกษุผู้แจกผลไม้ ภิกษุผู้แจกของเคี้ยว
ภิกษุผู้แจกของเล็ก ๆ น้อย ๆ ภิกษุผู้แจกผ้า
ภิกษุผู้แจกบาตร ภิกษุผู้ใช้คนวัด ภิกษุผู้ใช้สามเณร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๖๕ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในเสนาขันธกะ
พระผู้มีพระภาคผู้ทรงครอบงำสรรพธรรม
ทรงรู้แจ้งโลก มีพระหทัยเกื้อกูล เป็นผู้นำยอดเยี่ยม
ทรงอนุญาตเสนาสนะไว้เพื่อหลีกเร้นอยู่ เพื่อความสุข
เพื่อเพ่งพินิจ และเพื่อเห็นแจ้ง ดังนี้แล
เสนาสนขันธกะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๖๖ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๑. ปฐมภาณวาร
๗. สังฆเภทขันธกะ
๑. ปฐมภาณวาร
ฉสักยปัพพัชชากถา
ว่าด้วยการบรรพชาของเจ้าศากยะ ๖ องค์
[๓๓๐] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ อนุปิยนิคมของพวกมัลล-
กษัตริย์ ครั้งนั้น พวกศากยกุมารที่มีชื่อเสียงออกผนวชตามพระผู้มีพระภาคผู้ทรง
ผนวชแล้ว
สมัยนั้น เจ้ามหานามศากยะและเจ้าอนุรุทธศากยะทั้งสองเป็นพี่น้องกัน
เจ้าอนุรุทธศากยะเป็นกษัตริย์ผู้สุขุมาลชาติ มีปราสาท ๓ หลัง คือ ปราสาทสำหรับ
อยู่ในฤดูหนาว ๑ หลัง ปราสาทสำหรับอยู่ในฤดูร้อน ๑ หลัง ปราสาทสำหรับอยู่
ในฤดูฝน ๑ หลัง เจ้าอนุรุทธศากยะนั้นได้รับการบำรุงบำเรอด้วยดนตรีที่มีเหล่าสตรี
ล้วนขับกล่อมตลอด ๔ เดือน ในปราสาทฤดูฝน ไม่ลงมาที่ปราสาทชั้นล่างเลย
ต่อมา เจ้ามหานามศากยะได้ทรงดำริดังนี้ว่า “เวลานี้พวกศากยกุมารที่มีชื่อ
เสียงต่างออกบวชตามเสด็จพระผู้มีพระภาคผู้ทรงผนวชแล้ว แต่ตระกูลของเรายังไม่
มีใครออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิต ถ้ากระไร เราหรืออนุรุทธะควรบวช”
ลำดับนั้น เจ้ามหานามศากยะเข้าไปหาเจ้าอนุรุทธศายกะถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้ว
ได้ตรัสกับเจ้าอนุรุทธศากยะดังนี้ว่า “เวลานี้พวกศากยกุมารที่มีชื่อเสียงต่างออกบวช
ตามพระผู้มีพระภาคผู้ทรงผนวชแล้ว แต่ตระกูลของเรายังไม่มีใครออกจากเรือน บวช
เป็นบรรพชิตเลย น้องจงบวชหรือว่าพี่จะบวช”
เจ้าอนุรุทธศากยะทูลว่า “หม่อมฉันเป็นสุขุมาลชาติ ไม่สามารถออกบวชได้
เจ้าพี่จงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเถิด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๖๗ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๑. ปฐมภาณวาร
เจ้ามหานามศากยะตรัสว่า “ดีแล้วน้องอนุรุทธะ พี่จะสั่งสอนวิธีการครองเรือน
แก่เธอเพื่อจะได้ครองเรือนต่อไป อันดับแรก ผู้ครองเรือนต้องให้ไถนา ครั้นแล้วให้
หว่านข้าว ครั้นแล้วให้ไขน้ำเข้า ครั้นแล้วให้ระบายน้ำออก ครั้นแล้วให้ถอนหญ้า ครั้น
แล้วให้เกี่ยวข้าว ครั้นแล้วให้ขนข้าว ครั้นแล้วให้ตั้งลอม ครั้นแล้วให้นวด ครั้นแล้ว
ให้สางฟางออก ครั้นแล้วฝัดข้าวลีบออก ครั้นแล้วฝัดละอองออก ครั้นแล้วให้ขนเก็บ
ในฉาง ครั้นพอถึงฤดูฝนก็ต้องทำอย่างนี้ต่อเรื่อยไป”
เจ้าอนุรุทธศากยะทูลถามว่า “การงานไม่มีที่จบสิ้น ที่สุดของการทำงานไม่ปรากฏ
การงานจะสิ้นไปเมื่อไร ที่สุดของการงานจักปรากฏเมื่อไร เมื่อไรเล่าที่พวกเราจักว่าง
จากการงาน เพียบพร้อมสมบูรณ์ด้วยกามคุณ ๕ บำรุงบำเรออยู่”
เจ้ามหานามศากยะตรัสตอบว่า “น้องอนุรุทธะ การงานไม่มีที่จบสิ้น ที่สุดของ
การงานไม่ปรากฏ ในเมื่อการงานยังไม่จบสิ้น มารดาบิดา ปู่ย่า ตายายก็พากันตาย
จากไป”
เจ้าอนุรุทธศากยะทูลว่า “ถ้าเช่นนั้น เจ้าพี่จงเรียนรู้ถึงวิธีครองเรือนจะดีกว่า
หม่อมฉันจะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต”
จากนั้น เจ้าอนุรุทธศากยะเข้าไปเฝ้าพระมารดาถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วได้
กราบทูลพระมารดาดังนี้ว่า “เสด็จแม่ หม่อมฉันอยากจะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
เสด็จแม่โปรดอนุญาตให้หม่อมฉันออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเถิด”
เมื่อเจ้าอนุรุทธศากยะกราบทูลอย่างนี้ พระมารดาตรัสตอบเจ้าอนุรุทธศากยะ
ดังนี้ว่า “ลูกอนุรุทธะ พวกเธอเป็นลูก ๒ คน เป็นที่รักที่ชอบใจของแม่เหลือเกิน
ถึงพวกเธอจะตายไป แม่ก็ไม่ปรารถนาจะจาก แล้วเหตุไฉนแม่จะยอมให้พวกเธอผู้
ยังมีชีวิตอยู่ออกจากเรือนไปบวชเป็นบรรพชิตเล่า”
แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ เจ้าอนุรุทธศากยะก็กราบทูลพระมารดาดังนี้ว่า “เสด็จแม่ หม่อม
ฉันอยากออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เสด็จแม่โปรดอนุญาตให้หม่อมฉันออกจาก
เรือนบวชเป็นบรรพชิตเถิด”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๖๘ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๑. ปฐมภาณวาร
เรื่องพระเจ้าภัททิยศากยะ
สมัยนั้น พระเจ้าภัททิยศากยะครองราชสมบัติของชาวศากยวงศ์ พระองค์ทรง
เป็นพระสหายของเจ้าอนุรุทธศากยะ
ครั้งนั้น พระมารดาของเจ้าอนุรุทธศากยะทรงดำริว่า “พระเจ้าภัททิยศากยะนี้
ครองราชสมบัติของชาวศากยวงศ์ ทรงเป็นพระสหายของลูกอนุรุทธะ พระองค์จะไม่
สามารถเสด็จออกจากเรือนผนวชเป็นบรรพชิตแน่” จึงตรัสกับเจ้าอนุรุทธศากยะดังนี้
ว่า “ลุกอนุรุทธะ ถ้าพระเจ้าภัททิยศากยะจะเสด็จออกจากเรือนผนวชเป็นบรรพชิตด้วย
ลูกก็จงบวชเถิด”
ต่อมา เจ้าอนุรุทธศากยะจึงเข้าไปเฝ้าพระเจ้าภัททิยศากยะถึงที่ประทับ ครั้น
ถึงแล้วได้ทูลพระเจ้าภัททิยศากยะดังนี้ว่า “เพื่อนรัก การบวชของเราเกี่ยวเนื่องกับ
ท่าน”
พระเจ้าภัททิยศากยะตรัสว่า “เพื่อนรัก การบวชของท่านจะเกี่ยวเนื่องกับเรา
หรือไม่เกี่ยวเนื่องกับเรา ก็ช่างเถิด เรากับท่าน ท่านจงบวชตามสบายเถิด”๑
เจ้าอนุรุทธศากยะทูลว่า “มาเถิด เพื่อนรัก เราทั้ง ๒ จะออกจากเรือนบวช
เป็นบรรพชิตด้วยกัน”
พระเจ้าภัททิยศากยะตรัสว่า “เพื่อนรัก เราออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วย
ไม่ได้ เพื่อนบวชคนเดียวเถิด เรายินดีช่วยเหลือเรื่องที่อาจช่วยได้”
เจ้าอนุรุทธศากยะทูลว่า “พระมารดาของเรารับสั่งว่า ‘ลูกอนุรุทธะ ถ้าพระเจ้า
ภัททิยศากยะจะเสด็จออกจากเรือนผนวชเป็นบรรพชิตด้วย ลูกก็จงบวชเถิด’ ก็เพื่อน
ได้กล่าววาจานี้ว่า ‘การบวชของท่านจะเกี่ยวเนื่องกับเรา หรือไม่เกี่ยวเนื่องกับเรา ก็
ช่างเถิด เรากับท่าน ท่านไปบวชตามสบายเถิด’ มาเถิด เพื่อนรัก เราทั้ง ๒ จะ
ออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิตด้วยกัน”

เชิงอรรถ :
๑ ด้วยความรักเพื่อน พระเจ้าภัททิยศากยะต้องการจะรับสั่งว่า “เราจะบวชกับท่าน” แต่ยังทรงห่วงราชสมบัติ
จึงรับสั่งได้เพียงว่า “อยํ ตยา : เรากับท่าน” แล้วรับสั่งไม่ออก (วิ.อ. ๓/๓๓๐/๓๘๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๖๙ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๑. ปฐมภาณวาร
สมัยนั้น ประชาชนพูดจริงทำจริง พระเจ้าภัททิยศากยะตรัสกับอนุรุทธศากยะ
ดังนี้ว่า “เพื่อนรัก ท่านโปรดรออยู่สัก ๗ ปีเถิด พอพ้น ๗ ปี เราทั้ง ๒ จะออก
จากเรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วยกัน”
เจ้าอนุรุทธศากยะทูลว่า “๗ ปี นานเกินไป เราไม่สามารถจะรอถึง ๗ ปีได้”
พระเจ้าภัททิยศากยะตรัสว่า “เพื่อนรัก โปรดรอสัก ๖ ปี ... ๕ ปี ... ๔ ปี
... ๓ ปี ... ๒ ปี ... ๑ ปี ... เมื่อล่วง ๑ ปี เราทั้ง ๒ จะออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิตด้วยกัน”
เจ้าอนุรุทธศากยะทูลว่า “๑ ปี ก็ยังนานเกินไป เราไม่สามารถรอถึง ๑ ปีได้”
พระเจ้าภัททิยศากยะตรัสว่า “เพื่อนรัก ท่านโปรดรอสัก ๗ เดือน พอพ้น ๗
เดือน เราทั้ง ๒ จะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วยกัน”
เจ้าอนุรุทธศากยะทูลว่า “๗ เดือนก็ยังนานเกินไป เราไม่สามารถรอถึง ๗ เดือน
ได้”
พระเจ้าภัททิยศากยะตรัสว่า “เพื่อนรัก ท่านโปรดรอสัก ๖ เดือน ... ๕
เดือน ... ๔ เดือน ... ๓ เดือน ... ๒ เดือน ... ๑ เดือน ... ครึ่งเดือน พอพ้น
ครึ่งเดือน เราทั้ง ๒ จะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วยกัน”
เจ้าอนุรุทธศากยะทูลว่า “ครึ่งเดือนก็ยังนานเกินไป เราไม่สามารถรอถึงครึ่ง
เดือนได้”
พระเจ้าภัททิยศากยะตรัสว่า “เพื่อนรัก ท่านโปรดรอสัก ๗ วันเถิด พอให้เรา
ได้มอบราชสมบัติแก่พวกลูก ๆ และญาติพี่น้อง”
เจ้าอนุรุทธศากยะทูลว่า “เพื่อนรัก ๗ วันไม่นานเกินไป เราจะรอ”

เรื่องเจ้าศากยะทรงผนวช
[๓๓๑] ครั้งนั้น พระเจ้าภัททิยศากยะ เจ้าอนุรุทธะ เจ้าอานนท์ เจ้าภคุ เจ้า
กิมพิละและเจ้าเทวทัต กับอุบาลีซึ่งเป็นช่างกัลบก รวมเป็น ๗ คน เสด็จออกพร้อม
ด้วยเสนา ๔ เหล่า เหมือนเสด็จประพาสราชอุทยานพร้อมเสนา ๔ เหล่าในครั้ง
ก่อน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๗๐ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๑. ปฐมภาณวาร
ทั้ง ๖ พระองค์นั้นเสด็จไปห่างไกลแล้วรับสั่งให้เสนากลับ เข้าพรมแดนของ
เจ้าเมืองอื่น ทรงเปลื้องเครื่องประดับเอาผ้าห่อแล้ว ได้ตรัสกับอุบาลีช่างกัลบกดังนี้
ว่า “อุบาลี เชิญท่านกลับเถิด ทรัพย์เหล่านี้พอเลี้ยงชีพได้”
ขณะเมื่ออุบาลีช่างกัลบกจะกลับได้มีความคิดดังนี้ว่า “พวกเจ้าศากยะทั้งหลาย
โหดร้ายนัก จะพึงให้ฆ่าเราด้วยเข้าพระทัยไปว่า ‘อุบาลีนี้ให้พระกุมารทั้งหลายหนีไป’
ก็พระศากยะกุมารเหล่านี้ยังออกจากเรือนทรงผนวชเป็นบรรพชิตได้ ไฉนเราจะบวช
บ้างไม่ได้” อุบาลีช่างกัลบกนั้นจึงแก้ห่อเครื่องประดับแล้วแขวนสิ่งของไว้บนต้นไม้แล้ว
กล่าวว่า “ผู้พบเห็นจงนำสิ่งของที่เราให้แล้วไปเถิด” แล้วเข้าไปเฝ้าศากยกุมาร เหล่านั้น
ถึงที่ประทับ ศากยกุมารเหล่านั้นได้ทอดพระเนตรเห็นอุบาลีกำลังเดินมาแต่ไกล
ครั้นแล้วได้รับสั่งกับอุบาลีช่างกัลบกดังนี้ว่า “นี่ อุบาลี ท่านกลับมาทำไม”
อุบาลีช่างกัลบกจึงกราบทูลว่า “พระลูกเจ้าทั้งหลาย เมื่อหม่อมฉันกำลังกลับ
ได้มีความคิดดังนี้ ว่า “พวกเจ้าศากยะทั้งหลายโหดร้ายนัก จะพึงให้ฆ่าเราด้วยเข้า
พระทัยไปว่า ‘อุบาลีนี้ให้พระกุมารทั้งหลายหนีไป’ ก็พระศากยกุมารเหล่านี้ยังออก
จากเรือนทรงผนวชเป็นบรรพชิตได้ ไฉนเราจะบวชบ้างไม่ได’ ข้าแต่พระลูกเจ้า
หม่อมฉันนั้นแก้ห่อเครื่องประดับแล้วแขวนสิ่งของไว้บนต้นไม้แล้วกล่าวว่า ‘ผู้พบเห็น
จงนำสิ่งของที่เราให้แล้วไปเถิด’ กลับจากที่นั้นแล้ว”
ศากยกุมารทั้งหลายตรัสว่า “ท่านทำดีแล้วที่ไม่ได้กลับไป เจ้าศากยะทั้งหลาย
ผู้โหดร้ายจะพึงให้ฆ่าท่าน ด้วยเข้าใจว่า ‘อุบาลีนี้ให้กุมารทั้งหลายหนีไป”
ต่อมา เหล่าศากยกุมารทั้งหลายพาอุบาลีผู้เป็นช่างกัลบกเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร
เจ้าศากยะทั้งหลายผู้ประทับนั่ง ณ ที่สมควรแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“พระพุทธเจ้าข้า พวกหม่อมฉันเป็นเจ้าศากยะยังมีความถือตัว อุบาลีผู้นี้เป็นช่าง
กัลบกรับใช้พวกข้าพระ พุทธเจ้ามานาน ขอพระองค์ทรงโปรดให้เขาบวชก่อน พวกข้า
พระพุทธเจ้าจะอภิวาท ลุกต้อนรับ ทำอัญชลีกรรม สามีจิกรรมแก่เขา เมื่อเป็นเช่นนี้
ความถือตัวว่าเป็นศากยะของพวกหม่อมฉันจักบรรเทาไป”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๗๑ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๑. ปฐมภาณวาร
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคจึงโปรดให้อุบาลีผู้เป็นช่างกัลบกบวชก่อน แล้วให้
ศากยกุมารบวชภายหลัง ต่อมา ในระหว่างพรรษานั้นเอง ท่านพระภัททิยะได้บรรลุ
วิชชา ๓ ท่าน พระอนุรุทธะได้บรรลุทิพยจักษุ ท่านพระอานนท์ได้บรรลุโสดาปัตติผล
พระเทวทัตได้ฤทธิ์ชั้นปุถุชน

เรื่องพระภัททิยะเปล่งอุทานว่า “สุขหนอ”๑
[๓๓๒] สมัยนั้น ท่านพระภัททิยะจะไปในป่าก็ดี จะไปที่ควงไม้ก็ดี จะไปใน
สุญญาคารก็ดี ย่อมเปล่งอุทานเนือง ๆ ว่า “สุขหนอ สุขหนอ” ครั้งนั้น ภิกษุ
หลายรูปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วอภิวาทพระผู้มีพระภาค
นั่ง ณ ที่สมควร ภิกษุเหล่านั้นผู้นั่ง ณ ที่สมควรแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ท่านพระภัททิยะ ไม่ว่าจะไปในป่าก็ดี จะไปที่ควงไม้ก็ดี จะไปในเรือนว่างก็ดี ก็เปล่ง
อุทานเนือง ๆ ว่า ‘สุขหนอ สุขหนอ’ ท่านพระภัททิยะไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์
แน่ ๆ หรือคงหวนระลึกถึงสุขในราชสมบัติครั้งก่อน ไม่ว่าจะไปในป่าก็ดี จะไปที่
ควงไม้ก็ดี จะไปในสุญญาคารก็ดี จึงเปล่งอุทานอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกับภิกษุรูปหนึ่งว่า “ภิกษุ เธอจงไปบอก
ภัททิยะว่าพระศาสดารับสั่งหาท่าน”
ภิกษุนั้นทูลรับสนองพระพุทธดำรัสแล้วเข้าไปหาท่านพระภัททิยะถึงที่อยู่ ครั้น
ถึงแล้วได้กล่าวกับท่านพระภัททิยะดังนี้ว่า “พระศาสดารับสั่งหาท่าน”
ท่านพระภัททิยะรับคำภิกษุนั้นแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ครั้นถึงแล้ว ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค แล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาค
ได้ตรัสกับท่านพระภัททิยะผู้นั่งแล้ว ณ ที่สมควรดังนี้ว่า “ภัททิยะ ทราบว่า เธอ
ไม่ว่าจะไปในป่าก็ดี จะไปที่ควงไม้ก็ดี จะไปในสุญญาคารก็ดี ก็เปล่งอุทานเนือง ๆ ว่า
“สุขหนอ สุขหนอ’ จริงหรือ”
ท่านพระภัททิยะทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.อุ. ๒๕/๒๐/๒๐๖-๒๐๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๗๒ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๑. ปฐมภาณวาร
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภัททิยะ เธอเห็นประโยชน์อะไร ไม่ว่าจะไปใน
ป่าก็ดี จะไปที่ควงไม้ก็ดี จะไปในสุญญาคารก็ดี จึงเปล่งอุทานเนือง ๆ ว่า ‘สุขหนอ
สุขหนอ”
ท่านพระภัททิยะกราบทูลว่า “สมัยเมื่อข้าพระพุทธเจ้าเป็นพระราชา ได้รับการ
อารักขาคุ้มครองอย่างดีทั้งภายในวัง ได้รับการอารักขาคุ้มครองอย่างดีทั้งภายนอกวัง
ได้รับการอารักขาคุ้มครองอย่างดีทั้งภายในเมือง ได้รับการอารักขาคุ้มครองอย่างดี
ทั้งภายนอกเมือง ได้รับการอารักษาคุ้มครองอย่างดีทั้งในชนบท ได้รับการอารักขา
คุ้มครองอย่างดีทั้งนอกชนบท ข้าพระพุทธเจ้าถึงจะได้รับการอารักขาคุ้มครองอย่าง
ดีเช่นนี้ ก็ยังกลัว ยังหวาดหวั่นอยู่ สะดุ้ง ตกใจ แต่เวลานี้ข้าพระพุทธเจ้าไม่ว่า
จะไปในป่าก็ดี จะไปที่ควงไม้ก็ดี จะไปในสุญญาคารก็ดีเพียงผู้เดียวก็ไม่กลัวหวาดหวั่น
ไม่สะดุ้งตกใจแต่อย่างใดเลย มีความโปร่งเบากายยิ่ง ครองชีวิตด้วยปัจจัยที่ผู้อื่นให้
มีจิตอิสระ ดุจมฤค ข้าพระพุทธเจ้าเห็นประโยชน์อย่างนี้ ไม่ว่าจะไปในป่าก็ดี จะไป
ที่ควงไม้ก็ดี จะไปในสุญญาคารก็ดี ฯลฯ จึงมักจะเปล่งอุทานเนือง ๆ ว่า ‘สุขหนอ
สุขหนอ’ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้วจึงทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
ผู้ใดไม่มีกิเลสเป็นเหตุให้กำเริบภายในจิต
และล่วงพ้นความเป็นภพและอภพต่าง ๆ ได้แล้ว
ทวยเทพไม่สามารถมองเห็นผู้นั้น
ผู้ปราศจากภัย มีความสุข ไม่เศร้าโศก

เทวทัตตวัตถุ
ว่าด้วยเรื่องของพระเทวทัต
[๓๓๓] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ อนุปิยนิคมตามพระอัธยาศัยแล้ว
เสด็จจาริกไปทางกรุงโกสัมพี เสด็จจาริกไปโดยลำดับ จนถึงกรุงโกสัมพี ทราบว่า
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม ในกรุงโกสัมพีนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๗๓ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๑. ปฐมภาณวาร
ครั้งนั้น พระเทวทัตหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด ได้เกิดความคิดคำนึงขึ้นในใจว่า “เรา
จะพึงยังใครหนอให้เลื่อมใส ซึ่งเมื่อเขาเลื่อมใสเราแล้ว ลาภสักการะเป็นอันมาก
พึงเกิดขึ้น” ลำดับนั้น พระเทวทัตได้มีความคิดดังนี้ว่า “อชาตสัตตุกุมารนี้ยังเป็น
หนุ่มจะมีความเจริญรุ่งเรืองต่อไป ถ้ากระไร เราพึงยังอชาตศัตรูกุมารนี้ให้เลื่อมใส
เมื่อเขาเลื่อมใสแล้ว ลาภสักการะเป็นอันมากจะเกิดขึ้น”
ลำดับนั้น พระเทวทัตเก็บเสนาสนะ ถือบาตรและจีวรจาริกไปทางกรุงราชคฤห์
จนถึงกรุงราชคฤห์โดยลำดับ ครั้งนั้น พระเทวทัตได้แปลงเพศเนรมิตตนเป็นกุมาร
น้อยเอางูพันเอวปรากฏบนพระเพลา(ตัก)ของอชาตศัตรูกุมาร
ครั้งนั้น อชาตศัตรูกุมารทรงกลัว หวาดหวั่น สะดุ้ง ตกพระทัย พระเทวทัต
จึงได้ถามดังนี้ว่า “กุมาร ท่านกลัวฉันหรือ”
พระกุมารตรัสว่า “ใช่ เรากลัว ท่านเป็นใคร”
พระเทวทัตตอบว่า “ฉันคือพระเทวทัต”
พระกุมารตรัสว่า “ถ้าท่านเป็นพระคุณเจ้าเทวทัตก็กลับเป็นตามเพศเดิมเถิด”
ครั้งนั้น พระเทวทัตเปลี่ยนเพศกุมารน้อย(กลับเป็นภิกษุ) ทรงสังฆาฏิ บาตร
และจีวร ยืนอยู่ข้างหน้าพระกุมาร ลำดับนั้น พระกุมารเลื่อมใสยิ่งนักเพราะอิทธิ
ปาฏิหาริย์นี้ ได้เสด็จไปที่อุปัฏฐากทั้งเวลาเย็นและเวลาเช้า พร้อมด้วยรถ ๕๐๐
คัน ได้นำภัตตาหาร ๕๐๐ สำรับไปด้วย
ต่อมา พระเทวทัตถูกลาภสักการะและความสรรเสริญครอบงำ เกิดความต้อง
การดังนี้ว่า “เราจะปกครองภิกษุสงฆ์” พระเทวทัตจึงเสื่อมจากฤทธิ์พร้อมกับเกิด
ความคิดเช่นนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๗๔ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๑. ปฐมภาณวาร
เรื่องกกุธโกฬิยบุตร๑
สมัยนั้น บุตรเจ้าโกฬิยะนามว่ากกุธะเป็นอุปัฏฐากของท่านพระมหาโมคคัลลานะ
สิ้นชีพิตักษัยได้ไม่นาน เข้าถึงชั้นกายมโนมัย๒ ชั้นใดชั้นหนึ่ง เป็นผู้ได้อัตภาพใหญ่
เหมือนคามเขตในแคว้นมคธ ๒-๓ หมู่ แต่เขาก็ไม่ทำตนและผู้อื่นให้เดือดร้อนเพราะ
การได้อัตภาพนั้น
ครั้งนั้น กกุธเทพบุตรได้เข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ครั้นถึง
แล้วไหว้ท่านพระมหาโมคคัลลานะแล้วยืน ณ ที่สมควร กกุธเทพบุตรผู้ยืนอยู่ ณ ที่
สมควรได้กล่าวกับท่านพระมหาโมคคัลลานะดังนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ พระเทวทัตถูก
ลาภสักการะและความสรรเสริญครอบงำ เกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘เราจะ
ปกครองภิกษุสงฆ์’ ท่านผู้เจริญ พร้อมกับจิตตุปบาท พระเทวทัตจึงเสื่อมจากฤทธิ์”
กกุธเทพบุตรครั้นกล่าวดังนี้แล้ว ได้ไหว้ท่านพระมหาโมคคัลลานะ กระทำประทักษิณ
แล้วหายไป ณ ที่นั้นเอง
ลำดับนั้น พระมหาโมคคัลลานะได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้น
ถึงแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคนั่ง ณ ที่สมควร ท่านพระมหาโมคคัลลานะผู้นั่ง
ณ ที่สมควรแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า บุตรของเจ้า
โกฬิยะนามว่ากกุธะเป็นอุปัฏฐากของข้าพระองค์ สิ้นชีพิตักษัยได้ไม่นาน เข้าถึงชั้น
กายมโนมัยชั้นใดชั้นหนึ่ง เป็นผู้ได้อัตภาพใหญ่เหมือนคามเขตของแคว้นมคธ ๒-๓
หมู่ แต่เขาไม่ทำตนและผู้อื่นให้เดือดร้อนเพราะการได้อัตภาพนั้น ต่อมา กกุธเทพบุตร
เข้าไปหาข้าพระองค์ถึงที่อยู่ไหว้แล้วยืน ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับข้าพระองค์ดังนี้ว่า
“ท่านผู้เจริญ พระเทวทัตถูกลาภสักการะและความสรรเสริญครอบงำ เกิดความ
ปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘เราจะปกครองภิกษุสงฆ์’ พร้อมกับจิตตุปบาท พระเทวทัตจึง
เสื่อมจากฤทธิ์’ พระพุทธเจ้าข้า กกุธเทพบุตรครั้นกล่าวดังนี้แล้ว ไหว้ข้าพระองค์
กระทำประทักษิณ แล้วหายไป ณ ที่นั้นเอง”

เชิงอรรถ :
๑ องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๑๐๐/๑๗๐-๑๗๑
๒ กายมโนมัย คือ กายแห่งพรหมที่บังเกิดด้วยฌาน (สารตฺถ. ฏีกา ๓/๓๓๓/๔๙๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๗๕ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๑. ปฐมภาณวาร
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “โมคคัลลานะ เธอกำหนดรู้จิตของกกุธเทพบุตร
แล้วหรือว่า กกุธเทพบุตรกล่าวเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เรื่องนั้นทั้งหมดย่อมเป็นจริงตามนั้น
ไม่เป็นอย่างอื่น”
ท่านพระมหาโมคคัลลานะกราบทูลว่า “ข้าพระองค์กำหนดรู้จิตของกกุธเทพบุตร
ด้วยจิตแล้วเชื่อว่า กกุธเทพบุตรกล่าวเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เรื่องนั้นทั้งหมดย่อมเป็นจริง
ตามนั้น ไม่เป็นอย่างอื่น พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โมคคัลลานะ เธอจงรักษาวาจานั้น โมคคัลลานะ
เธอจงรักษาวาจานั้น บัดนี้โมฆบุรุษนั้นจะเปิดเผยตนด้วยตนเองออกมา”

ปัญจสัตถุกถา
ว่าด้วยพระศาสดา ๕ จำพวก
[๓๓๔] โมคคัลลานะ ศาสดา ๕ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก คือ
๑. ศาสดาบางท่านในโลกนี้มีศีลไม่บริสุทธิ์ แต่ปฏิญญาว่า “เราเป็นผู้มี
ศีลบริสุทธิ์ ศีลของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง” พวกสาวก
รู้จักเขาอย่างนี้ว่า “ศาสดาท่านนี้เป็นผู้มีศีลไม่บริสุทธิ์ แต่ปฏิญญา
ว่าเราเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ ศีลของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง
แต่ถ้าพวกเราพึงบอกแก่พวกคฤหัสถ์ ก็จะไม่เป็นที่พอใจของท่าน
พวกเราจะกล่าวถ้อยคำที่ท่านไม่พอใจได้อย่างไร อนึ่ง ศาสดานั้น
ยกย่องพวกเราด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัช
บริขาร ท่านทำกรรมใดไว้ ก็จะปรากฏตัวออกมาด้วยกรรมนั้น”
โมคคัลานะ พวกสาวกย่อมรักษาศาสดาเช่นนี้โดยศีล และศาสดาเช่นนี้ก็หวัง
การรักษาโดยศีลจากพวกสาวก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๗๖ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๑. ปฐมภาณวาร
๒. ศาสดาบางท่านในโลกนี้มีอาชีพไม่บริสุทธิ์ แต่ปฏิญญาว่า “เราเป็น
ผู้มีอาชีพบริสุทธิ์ อาชีพของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง”
พวกสาวกรู้จักเขาอย่างนี้ว่า “ศาสดาท่านนี้มีอาชีพไม่บริสุทธิ์ แต่
ปฏิญญาว่าเราเป็นผู้มีอาชีพบริสุทธิ์ อาชีพของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว
ไม่เศร้าหมอง แต่ถ้าพวกเราพึงบอกแก่พวกคฤหัสถ์ ก็จะไม่เป็นที่
พอใจของท่าน พวกเราจะกล่าวถ้อยคำที่ท่านไม่พอใจได้อย่างไร อนึ่ง
ศาสดานั้นยกย่องพวกเราด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลาน
ปัจจัยเภสัชบริขาร ท่านทำกรรมใดไว้ ก็จะปรากฏตัวออกมาด้วย
กรรมนั้น”
โมคคัลลานะ พวกสาวกย่อมรักษาศาสดาเช่นนี้ไว้โดยอาชีพ ศาสดาเช่นนี้ก็
หวังการรักษาโดยอาชีพจากพวกสาวก
๓. ศาสดาบางท่านในโลกนี้เป็นผู้มีธรรมเทศนาไม่บริสุทธิ์ แต่ปฏิญญาว่า
“เราเป็นผู้มีธรรมเทศนาบริสุทธิ์ ธรรมเทศนาของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว
ไม่เศร้าหมอง” พวกสาวกรู้จักเขาอย่างนี้ว่า “ศาสดาท่านนี้เป็นผู้มี
ธรรมเทศนาไม่บริสุทธิ์ แต่ปฏิญญาว่าธรรมเทศนาของตนบริสุทธิ์
ธรรมเทศนาของตนบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง แต่ถ้าพวก
เราพึงบอกแก่พวกคฤหัสถ์ ก็จะไม่เป็นที่พอใจของท่าน พวกเรา
จะกล่าวถ้อยคำที่ท่านไม่พอใจได้อย่างไร อนึ่ง ศาสดานั้นยกย่อง
พวกเราด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร
ท่านทำกรรมใดไว้ ก็จะปรากฏตัวออกมาด้วยกรรมนั้น”
โมคคัลลานะ พวกสาวกย่อมรักษาศาสดาเช่นนี้ไว้โดยธรรมเทศนา ศาสดา
เช่นนี้ก็หวังการรักษาโดยธรรมเทศนาจากพวกสาวก
๔. ศาสดาบางท่านในโลกนี้มีเวยยากรณะไม่บริสุทธิ์ แต่ปฏิญญาว่า “เรา
เป็นผู้มีเวยยากรณะบริสุทธิ์ เวยยากรณะของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว
ไม่เศร้าหมอง” พวกสาวกรู้จักเขาอย่างนี้ว่า “ศาสดาท่านนี้เป็นผู้
มีเวยยากรณะไม่บริสุทธิ์ แต่ปฏิญญาว่าเราเป็นผู้มีเวยยากรณะบริสุทธิ์
เวยยากรณะของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง แต่ถ้าพวก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๗๗ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๑. ปฐมภาณวาร
เราพึงบอกแก่พวกคฤหัสถ์ ก็จะไม่เป็นที่พอใจของท่าน พวกเรา
จะกล่าวถ้อยคำที่ท่านไม่พอใจได้อย่างไร อนึ่ง ศาสดานั้นยกย่อง
พวกเราด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร
ท่านทำกรรมใดไว้ ก็จะปรากฏตัวออกมา ด้วยกรรมนั้น”
โมคคัลลานะ พวกสาวกย่อมรักษาศาสดาเช่นนี้ไว้โดยเวยยากรณะ ศาสดา
เช่นนี้ก็หวังการรักษาโดยเวยยากรณะจากพวกสาวก
๕. ศาสดาบางท่านในโลกนี้มีญาณทัสสนะไม่บริสุทธิ์ แต่ปฏิญญาว่า “เรา
เป็นผู้มีญาณทัสสนะบริสุทธิ์ ญาณทัสสนะของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว
ไม่เศร้าหมอง” สาวกรู้จักเขาอย่างนี้ว่า “ศาสดาท่านนี้เป็นผู้มีญาณ-
ทัสสนะไม่บริสุทธิ์ แต่ปฏิญญาว่าเราเป็นผู้มีญาณทัสสนะบริสุทธิ์
ญาณทัสสนะของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง แต่ถ้าพวก
เราพึงบอกแก่พวกคฤหัสถ์ ก็จะไม่เป็นที่พอใจของท่าน พวกเราจะ
กล่าวถ้อยคำที่ท่านไม่พอใจได้อย่างไร อนึ่ง ศาสดานั้นยกย่อง
พวกเราด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร
ท่านทำกรรมใดไว้ ก็จะปรากฏตัวออกมา ด้วยกรรมนั้น”
โมคคัลลานะ พวกสาวกย่อมรักษาศาสดาเช่นนี้ไว้โดยญาณทัสสนะ และศาสดา
เช่นนี้ ก็หวังการรักษาโดยญาณทัสสนะจากพวกสาวก
โมคคัลลานะ ศาสดา ๕ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก
โมคคัลลานะ เรามีศีลบริสุทธิ์ จึงปฏิญญาว่า “เราเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ ศีลของ
เราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง” พวกสาวกย่อมไม่รักษาเราโดยศีล และเราก็
ไม่หวังการรักษาโดยศีลจากพวกสาวก
โมคคัลลานะ เรามีอาชีพบริสุทธิ์ ฯลฯ เรามีธรรมเทศนาบริสุทธิ์ ฯลฯ เรา
มีเวยยากรณะบริสุทธิ์ ฯลฯ เรามีญาณทัสสนะบริสุทธิ์ จึงปฏิญญาว่า “เราเป็นผู้มี
ญาณทัสสนะบริสุทธิ์ ญาณทัสสนะของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง” พวก
สาวกไม่รักษาเราไว้โดยญาณทัสสนะ และเราก็ไม่หวังการรักษาโดยญาณทัสสนะ
จาก พวกสาวก”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๗๘ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๑. ปฐมภาณวาร
เรื่องลาภสักการะย่อมฆ่าคนชั่ว
[๓๓๕] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กรุงโกสัมพีตามพระอัธยาศัยแล้ว เสด็จ
จาริกไปโดยลำดับ จนถึงกรุงราชคฤห์ ทราบว่า พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระ
เวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต ในกรุงราชคฤห์นั้น
ครั้งนั้น ภิกษุจำนวนมากเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้ว
ได้ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ สมควร ภิกษุเหล่านั้นผู้นั่ง ณ ที่สมควร
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อชาตศัตรูกุมารเสด็จ
โดยราชรถ ๕๐๐ คัน ไปบำรุงพระเทวทัต ทั้งเวลาเย็นเวลาเช้า และรับสั่งให้นำ
ภัตตาหารที่สมควรไปพระราชทาน ๕๐๐ สำรับ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายอย่ายินดีลาภสักการะ
และความสรรเสริญของเทวทัตเลย แม้อชาตศัตรูกุมารจักเสด็จโดยราชรถ ๕๐๐ คัน
ไปบำรุงเทวทัต ทั้งเวลาเย็นเวลาเช้า และจักรับสั่งให้นำภัตตาหารที่สมควรไปพระ
ราชทาน ๕๐๐ สำรับเพียงใด เทวทัตก็พึงหวังความเสื่อมในกุศลธรรมทั้งหลาย
เพียงนั้น หวังความเจริญไม่ได้๑
ภิกษุทั้งหลาย อชาตศัตรูกุมารจะไปบำรุงพระเทวทัตในเวลาเย็นเวลาเช้า พร้อม
ด้วยราชรถ ๕๐๐ คัน จะนำภัตตาหาร ๕๐๐ สำรับไปได้สักกี่วัน ภิกษุทั้งหลาย
ความเสื่อมจากกุศลธรรมเป็นอันเทวทัตหวังได้ ความเจริญอย่าได้หวัง ลาภสักการะ
และสรรเสริญเกิดขึ้นแก่เทวทัตก็เพื่อฆ่าตนเอง ลาภสักการะและการสรรเสริญเกิด
ขึ้นแก่เทวทัต เพื่อความเสื่อม เหมือนคนเอาดีหมีทาที่จมูกลูกสุนัขดุ ลูกสุนัขก็จะเพิ่ม
ความดุยิ่งขึ้น
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและการสรรเสริญเกิดขึ้นแก่เทวทัตเพื่อฆ่าตนเอง
ลาภสักการะและการสรรเสริญเกิดขึ้นแก่เทวทัตเพื่อความเสื่อม เหมือนต้นกล้วย
ออกปลีเพื่อฆ่าตนเอง ออกปลีเพื่อความเสื่อม๒

เชิงอรรถ :
๑ สํ.นิ. ๑๖/๑๘๕/๒๓๐-๒๓๑
๒ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๖๘/๑๑๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๗๙ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและการสรรเสริญเกิดขึ้นแก่เทวทัตเพื่อฆ่าตนเอง
ลาภสักการะและการสรรเสริญเกิดขึ้นแก่เทวทัตเพื่อความเสื่อม เหมือนต้นไผ่ตกขุย
เพื่อฆ่าตนเอง ตกขุยเพื่อความเสื่อม
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและการสรรเสริญเกิดขึ้นแก่เทวทัตเพื่อฆ่าตนเอง
ลาภสักการะและการสรรเสริญเกิดขึ้นแก่เทวทัตเพื่อความเสื่อม เหมือนไม้อ้อตกขุย
เพื่อฆ่าตนเอง ตกขุยเพื่อความเสื่อม
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและการสรรเสริญเกิดขึ้นแก่เทวทัตเพื่อฆ่าตนเอง
ลาภสักการะและความสรรเสริญเกิดขึ้นแก่เทวทัตเพื่อความเสื่อม เหมือนแม่ม้า
อัสดรตั้งครรภ์เพื่อฆ่าตนเอง ตั้งครรภ์เพื่อความเสื่อม
พระผู้มีพระภาคครั้นตรัสดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถาประพันธ์ว่า
“ผลกล้วยฆ่าต้นกล้วย ขุยไผ่ฆ่าต้นไผ่
ดอกอ้อฆ่าต้นอ้อ ลูกม้าอัสดรฆ่าแม่ม้า ฉันใด
สักการะย่อมฆ่าคนชั่ว ฉันนั้น”๑
ปฐมภาณวารที่ ๑ จบ

๒. ทุติยภาณวาร
ปกาสนียกัมมะ
ว่าด้วยสงฆ์ทำปกาสนียกรรมแก่พระเทวทัต
[๓๓๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคแวดล้อมด้วยบริษัทหมู่ใหญ่ ประทับนั่งแสดง
ธรรมแก่บริษัทซึ่งมีพระราชาประทับอยู่ด้วย ครั้งนั้น พระเทวทัตลุกจากอาสนะ ห่ม
อุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมมือไปทางพระผู้มีพระภาคแล้วได้กราบทูลพระ

เชิงอรรถ :
๑ สํ.ส.(แปล) ๑๕/๑๘๓/๑๘๕, สํ.นิ.(แปล) ๑๖/๑๘๔/๒๘๕ และดูเทียบ อง.ฺจตุกฺก. (แปล) ๒๑/๖๘/๑๑๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๘๐ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
ผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า เวลานี้พระผู้มีพระภาคทรงพระชราภาพ เป็นผู้
เฒ่าสูงอายุ ล่วงกาลผ่านวัยไปโดยลำดับแล้ว พระพุทธเจ้าข้า บัดนี้ ขอพระผู้มี
พระภาคโปรดปล่อยวาง ประกอบตนอยู่ในธรรมสำหรับอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน โปรด
มอบภิกษุสงฆ์ให้ข้าพระพุทธเจ้าเถิด ข้าพระพุทธเจ้าจะปกครองภิกษุสงฆ์”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อย่าเลยเทวทัต เธออย่าชอบใจที่จะปกครองภิกษุสงฆ์
เลย”
แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ พระเทวทัตก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า
เวลานี้พระผู้มีพระภาคทรงพระชราภาพ เป็นผู้เฒ่าสูงอายุ ล่วงกาลผ่านวัยไปโดย
ลำดับแล้ว พระพุทธเจ้าข้า บัดนี้ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดปล่อยวาง ประกอบตน
อยู่ในธรรมสำหรับอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน โปรดมอบภิกษุสงฆ์ให้ข้าพระพุทธเจ้าเถิด
ข้าพระพุทธเจ้าจะปกครองภิกษุสงฆ์”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เทวทัต แม้แต่สารีบุตรและโมคคัลลานะเรายังไม่มอบ
ภิกษุสงฆ์ให้ เราจะมอบภิกษุสงฆ์ให้เธอซึ่งเป็นคนต่ำช้า บริโภคปัจจัยดุจกลืนน้ำลาย
ได้อย่างไรเล่า”
ขณะนั้น พระเทวทัตคิดว่า “พระผู้มีพระภาคทรงรุกรานเราท่ามกลางบริษัทที่มี
พระราชาประทับอยู่ด้วย ด้วยพระดำรัสว่าเป็นผู้บริโภคปัจจัยดุจกลืนน้ำลาย ทรง
ยกย่องแต่พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ” จึงโกรธ ไม่พอใจ ถวายอภิวาทพระ
ผู้มีพระภาคแล้วทำประทักษิณจากไป นี้เป็นการผูกอาฆาตครั้งแรกในพระผู้มีพระภาค
ของพระเทวทัต

ปกาสนียกรรม
ต่อมา พระผู้มีพระภาครับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น
สงฆ์จงลงปกาสนียกรรมในกรุงราชคฤห์แก่เทวทัตโดยประกาศว่า ‘เมื่อก่อน พฤติกรรม


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๘๑ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
ของพระเทวทัตเป็นอย่างหนึ่ง เวลานี้เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระเทวทัตประพฤติสิ่งใด
ด้วยกายวาจา ไม่พึงเห็นว่าพระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์เป็นอย่างนั้น พึงเห็นว่า
สิ่งนั้นเป็นเรื่องส่วนตัวของพระเทวทัต

วิธีทำปกาสนียกรรมและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงทำปกาสนียกรรมอย่างนี้ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศ
ให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
[๓๓๗] ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมแล้วพึงทำปกาสนีย-
กรรมในกรุงราชคฤห์แก่พระเทวทัต โดยประกาศว่า เมื่อก่อนพฤติกรรมของพระ
เทวทัตเป็นอย่างหนึ่ง เวลานี้เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระเทวทัตประพฤติสิ่งใดด้วยกาย
วาจา ไม่พึงเห็นว่าพระพุทธ พระธรรมหรือพระสงฆ์เป็นอย่างนั้น พึงเห็นว่าสิ่งนั้น
เป็นเรื่องส่วนตัวของพระเทวทัต นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์ทำปกาสนียกรรมในกรุงราชคฤห์แก่พระ
เทวทัต โดยประกาศว่า เมื่อก่อนพฤติกรรมของพระเทวทัตเป็นอย่างหนึ่ง เวลานี้
เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระเทวทัตประพฤติสิ่งใดด้วยกายวาจา ไม่พึงเห็นว่าพระพุทธ
พระธรรม หรือพระสงฆ์เป็นอย่างนั้น พึงเห็นว่า สิ่งนั้นเป็นเรื่องส่วนตัวของพระ
เทวทัต ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการทำปกาสนียกรรมแก่พระเทวทัต โดยประกาศ
ว่า เมื่อก่อนพฤติกรรมของพระเทวทัตเป็นอย่างหนึ่ง เวลานี้เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระ
เทวทัตประพฤติสิ่งใดด้วยกายวาจา ไม่พึงเห็นว่าพระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์
เป็นอย่างนั้น พึงเห็นว่า สิ่งนั้นเป็นเรื่องส่วนตัวของพระเทวทัต ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง
ท่านรูปใด ไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้น พึงทักท้วง
สงฆ์ทำปกาสนียกรรมในกรุงราชคฤห์แก่พระเทวทัตแล้ว โดยประกาศว่า เมื่อ
ก่อนพฤติกรรมของพระเทวทัตเป็นอย่างหนึ่ง เวลานี้เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระเทวทัต
ประพฤติสิ่งใดด้วยกายวาจา ไม่พึงเห็นว่าพระพุทธ พระธรรมและพระสงฆ์เป็นอย่างนั้น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๘๒ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
พึงเห็นว่า สิ่งนั้นเป็นเรื่องส่วนตัวของพระเทวทัต สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง
ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
[๓๓๘] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกับท่านพระสารีบุตรว่า “สารีบุตร
ถ้าอย่างนั้น เธอจงทำปกาสนียกรรมเทวทัตในกรุงราชคฤห์เถิด”
พระสารีบุตรกราบทูลว่า “เมื่อก่อนข้าพระพุทธเจ้ากล่าวยกย่องพระเทวทัตใน
กรุงราชคฤห์ว่า ‘โคธิบุตรมีฤทธิ์มาก โคธิบุตรมีอานุภาพมาก’ ข้าพระพุทธเจ้าจะ
ทำปกาสนียกรรมพระเทวทัตในกรุงราชคฤห์อย่างไร พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สารีบุตร เธอกล่าวยกย่องเทวทัตตามความเป็นจริง
มิใช่หรือว่า ‘โคธิบุตรมีฤทธิ์มาก โคธิบุตรมีอานุภาพมาก”
ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า “จริงอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สารีบุตร เธอก็จงทำปกาสนียกรรมในกรุงราชคฤห์
แก่เทวทัต ตามความเป็นจริงอย่างนั้นเหมือนกัน” ท่านพระสารีบุตรทูลรับสนอง
พระพุทธดำรัสแล้ว
ต่อมา พระผู้มีพระภาครับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น
สงฆ์จงแต่งตั้งสารีบุตรเพื่อทำปกาสนียกรรมในกรุงราชคฤห์แก่เทวทัต โดยประกาศ
ว่า ‘เมื่อก่อนพฤติกรรมของ พระเทวทัตเป็นอย่างหนึ่ง เวลานี้เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระ
เทวทัตประพฤติสิ่งใดด้วยกาย วาจา ไม่พึงเห็นว่าพระพุทธ พระธรรม หรือพระ
สงฆ์เป็นอย่างนั้น พึงเห็นว่าสิ่งนั้นเป็นเรื่องส่วนตัวของพระเทวทัต’

วิธีแต่งตั้งและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงแต่งตั้งอย่างนี้ เบื้องต้น พึงขอร้องพระสารีบุตร ครั้น
แล้วภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมแล้วพึงแต่งตั้งท่านพระสารีบุตร
เพื่อทำปกาสนียกรรมพระเทวทัตในกรุงราชคฤห์ โดยประกาศว่า “เมื่อก่อน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๘๓ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
พฤติกรรมของพระเทวทัตเป็นอย่างหนึ่ง เวลานี้เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระเทวทัต
ประพฤติสิ่งใดด้วยกายวาจา ไม่พึงเห็นว่าพระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์เป็น
อย่างนั้น พึงเห็นว่าสิ่งนั้นเป็นเรื่องส่วนตัวของพระเทวทัต” นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์แต่งตั้งพระสารีบุตรเพื่อทำปกาศนีย-
กรรมในกรุงราชคฤห์แก่เทวทัต โดยประกาศว่า “เมื่อก่อนพฤติกรรมของพระเทวทัต
เป็นอย่างหนึ่ง เวลานี้เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระเทวทัตประพฤติสิ่งใดด้วยกายวาจา
ไม่พึงเห็นว่าพระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์เป็นอย่างนั้น พึงเห็นว่าสิ่งนั้นเป็น
เรื่องส่วนตัวของพระเทวทัต” ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการแต่งตั้งพระสารีบุตรเพื่อทำ
ปกาศนียกรรมในกรุงราชคฤห์แก่เทวทัต โดยประกาศว่า “เมื่อก่อนพฤติกรรม
ของพระเทวทัตเป็นอย่างหนึ่ง เวลานี้เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระเทวทัตประพฤติสิ่งใด
ด้วยกายวาจา ไม่พึงเห็นว่าพระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์ เป็นอย่างนั้น พึงเห็น
ว่า สิ่งนั้นเป็นเรื่องส่วนตัวของพระเทวทัต” ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย
ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
สงฆ์แต่งตั้งท่านพระสารีบุตรแล้ว เพื่อทำปกาสนียกรรมในกรุงราชคฤห์แก่
พระเทวทัต โดยประกาศว่า “เมื่อก่อนพฤติกรรมของพระเทวทัตเป็นอย่างหนึ่ง
เวลานี้เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระเทวทัตประพฤติสิ่งใดด้วยกายวาจา ไม่พึงเห็นว่า
พระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์เป็นอย่างนั้น พึงเห็นว่าสิ่งนั้นเป็นเรื่องส่วนตัว
ของพระเทวทัต” สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็น
มติอย่างนี้
ครั้นพระสารีบุตรได้รับแต่งตั้งแล้วจึงเข้าไปกรุงราชคฤห์ พร้อมด้วยภิกษุหลายรูป
ทำปกาสนียกรรมพระเทวทัต โดยประกาศว่า “เมื่อก่อนพฤติกรรมของพระเทวทัต
เป็นอย่างหนึ่ง เวลานี้เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระเทวทัตประพฤติสิ่งใดด้วยกายวาจา
ไม่พึงเห็นว่าพระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์เป็นอย่างนั้น พึงเห็นว่าสิ่งนั้นเป็น
เรื่องส่วนตัวของพระเทวทัตเอง”
คนทั้งหลายในกรุงราชคฤห์ที่ไม่ศรัทธา ไม่เลื่อมใส มีความรู้ไม่ดี กล่าวอย่างนี้
ว่า “พระสมณะเชื้อสายศากยบุตรเหล่านี้เป็นคนริษยา ริษยาลาภสักการะของ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๘๔ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
พระเทวทัต” ส่วนพวกที่มีศรัทธา มีความเลื่อมใส มีความรู้ดี ก็กล่าวอย่างนี้ว่า
“เรื่องนี้คงไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย เพราะพระผู้มีพระภาครับสั่งให้ทำปกาสนียกรรมใน
กรุงราชคฤห์ แก่พระเทวทัต”

อชาตสัตตุกุมารวัตถุ
ว่าด้วยเรื่องอชาตศัตรูกุมาร
[๓๓๙] ครั้งนั้น พระเทวทัตเข้าไปหาอชาตศัตรูกุมารถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้วได้
กล่าวกับอชาตศัตรูกุมารดังนี้ว่า “พระกุมาร เมื่อก่อนมนุษย์ทั้งหลายมีอายุยืน บัดนี้
มีอายุสั้น การที่พระองค์จะพึงสิ้นพระชนม์เมื่อยังเป็นพระกุมาร เป็นเรื่องที่เป็นไปได้
ถ้าเช่นนั้น พระองค์จงปลงพระชนม์พระชนกแล้วเป็นพระราชา อาตมาก็จะปลง
พระชนม์พระผู้มีพระภาคแล้วเป็นพระพุทธเจ้า”
ครั้งนั้น อชาตศัตรูกุมารดำริว่า “พระคุณเจ้าเทวทัตมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก
พระคุณเจ้าเทวทัตจะต้องรู้” วันหนึ่งได้เหน็บกฤชแนบพระเพลา ทรงกลัว หวาดหวั่น
สะดุ้ง ตกพระทัย เสด็จเข้าไปในพระราชวังอย่างเร่งร้อนช่วงเวลากลางวัน
พวกมหาอมาตย์ที่เฝ้าประตูพระราชวังแลเห็นอชาตศัตรูกุมารมีอาการกลัว หวาด
หวั่น สะดุ้ง ตกพระทัยเสด็จเข้าไปในราชวังอย่างเร่งรีบช่วงเวลากลางวันจึงได้จับไว้
มหาอมาตย์เหล่านั้นตรวจพบกฤชเหน็บอยู่ที่พระเพลา จึงทูลถามอชาตศัตรูกุมารดังนี้ว่า
“พระองค์มีประสงค์จะทำอะไร พระเจ้าข้า”
อชาตศัตรูกุมารตรัสตอบว่า “เราประสงค์จะปลงพระชนม์พระชนก”
พวกมหาอมาตย์ทูลถามว่า “พระองค์ถูกใครยุยง”
อชาตศัตรูกุมารตรัสตอบว่า “พระคุณเจ้าเทวทัต”
มหาอมาตย์บางพวกลงมติอย่างนี้ว่า “ควรปลงพระชนม์พระกุมาร ฆ่าพระ
เทวทัต และฆ่าภิกษุทั้งหมด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๘๕ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
มหาอมาตย์บางพวกลงมติอย่างนี้ว่า “ไม่ควรฆ่าภิกษุทั้งหลาย เพราะพวก
ภิกษุไม่มีความผิดอะไร ควรปลงประชนม์พระกุมารและฆ่าพระเทวทัตเท่านั้น”
มหาอมาตย์บางพวกลงมติอย่างนี้ว่า “ไม่ควรปลงพระชนม์พระกุมาร และไม่
ควรฆ่าพระเทวทัต ทั้งไม่ควรฆ่าภิกษุทั้งหลาย แต่ควรนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระราชา
ให้ทรงทราบ พวกเราจะปฏิบัติตามที่พระราชารับสั่ง”
ลำดับนั้น มหาอมาตย์เหล่านั้นคุมอชาตศัตรูกุมารไปเฝ้าพระเจ้าพิมพิสารจอมทัพ
มคธรัฐถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วกราบทูลเรื่องนั้นให้พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐ
ทรงทราบ
พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐตรัสถามว่า “ท่านทั้งหลาย พวกมหาอมาตย์
ลงมติกันอย่างไร”
พวกมหาอมาตย์กราบทูลว่า “พระเจ้าข้า มหาอมาตย์บางพวกลงมติอย่างนี้ว่า
‘ควรปลงพระชนม์พระกุมาร ฆ่าพระเทวทัต และฆ่าภิกษุทั้งหมด’ มหาอมาตย์
บางพวกลงมติอย่างนี้ว่า ‘ไม่ควรฆ่าภิกษุทั้งหลาย เพราะพวกภิกษุไม่มีความผิดอะไร
ควรปลงพระชนม์พระกุมารและฆ่าพระเทวทัตเท่านั้น’ มหาอมาตย์บางพวกลงมติ
อย่างนี้ว่า ‘ไม่ควรปลงพระชนม์พระกุมาร และไม่ควรฆ่าพระเทวทัต ทั้งไม่ควรฆ่า
ภิกษุทั้งหลาย แต่ควรนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระราชาให้ทรงทราบ พวกเราจะปฏิบัติ
ตามที่พระราชารับสั่ง”
พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐตรัสว่า “ท่านทั้งหลาย พระพุทธ พระธรรม
หรือพระสงฆ์จะเกี่ยวอะไร พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ลงปกาสนียกรรมในกรุงราชคฤห์
แก่พระเทวทัตโดยประกาศว่า ‘เมื่อก่อนพฤติกรรมของพระเทวทัตเป็นอย่างหนึ่ง เวลานี้
เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระเทวทัตประพฤติสิ่งใดด้วยกายวาจา ไม่ควรเห็นว่าพระพุทธ
พระธรรม หรือพระสงฆ์เป็นอย่างนั้น พึงเห็นว่านั่นเป็นเรื่องส่วนตัวของพระเทวทัต
ก่อนแล้วมิใช่หรือ”
บรรดาอมาตย์เหล่านั้น พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐรับสั่งให้ถอดยศพวก
ที่ลงมติอย่างนี้ว่า “ควรปลงพระชนม์พระกุมาร ฆ่าพระเทวทัต และฆ่าภิกษุทั้งหมด”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๘๖ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
ทรงลดตำแหน่งพวกที่ลงมติอย่างนี้ว่า “ไม่ควรฆ่าภิกษุทั้งหลาย เพราะพวกภิกษุ
ไม่มีความผิดอะไร ควรปลงพระชนม์พระกุมารและฆ่าพระเทวทัตเท่านั้น” ทรงเลื่อน
ตำแหน่งพวกที่ลงมติอย่างนี้ว่า “ไม่ควรปลงพระชนม์พระกุมาร ไม่ควรฆ่าพระเทวทัต
ทั้งไม่ควรฆ่าภิกษุทั้งหลาย แต่ควรนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระราชาให้ทรงทราบ พวก
เราจะปฏิบัติตามที่พระราชารับสั่ง”
ต่อมา พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐรับสั่งถามอชาตศัตรูกุมารว่า “ลูกต้อง
การฆ่าพ่อเพื่ออะไร”
อชาตศัตรูกุมารกราบทูลว่า “หม่อมฉันต้องการราชสมบัติ พระเจ้าข้า”
พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐตรัสว่า “ถ้าลูกต้องการราชสมบัติ ราชสมบัติ
ก็เป็นของลูก” แล้วทรงมอบราชสมบัติแก่อชาตศัตรูกุมาร

อภิมารเปสนะ
ว่าด้วยพระเทวทัตส่งคนไปลอบปลงพระชนม์พระผู้มีพระภาค
[๓๔๐] ครั้งนั้น พระเทวทัตเข้าไปเฝ้าอชาตศัตรูกุมารถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้ว
ได้ถวายพระพรอชาตศัตรูกุมารดังนี้ว่า “ขอถวายพระพร ขอพระองค์โปรดสั่งใช้
ราชบุรุษปลงพระชนม์พระสมณโคดม”
ครั้งนั้น อชาตศัตรูกุมารสั่งราชบุรุษทั้งหลายว่า “พวกท่านจงปฏิบัติตามคำสั่ง
ของพระคุณเจ้าเทวทัต”
ต่อมา พระเทวทัตสั่งบุรุษคนหนึ่งว่า “พระสมณโคดมประทับอยู่ที่โน้น ท่าน
จงไปปลงพระชนม์พระองค์แล้วกลับมาทางนี้” แล้วซุ่มบุรุษไว้ริมทาง ๒ คนด้วยสั่ง
ว่า “พวกท่านจงฆ่าคนที่เดินมาทางนี้เพียงลำพัง แล้วมาทางนี้” ซุ่มบุรุษไว้ริมทาง
อีก ๔ คนด้วยสั่งว่า “พวกท่านจงฆ่าคน ๒ คนที่เดินมาทางนี้ แล้วมาทางนี้” ซุ่ม
บุรุษไว้ริมทางอีก ๘ คนด้วยสั่งว่า “พวกท่านจงฆ่าคน ๔ คนที่เดินมาทางนี้แล้ว


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๘๗ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
มาทางนี้” ซุ่มบุรุษไว้ริมทางอีก ๑๖ คนด้วยสั่งว่า “พวกท่านจงฆ่าคน ๘ คนที่เดิน
มาทางนี้ แล้วมาทางนี้”

พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอนุปุพพิกถา
ครั้งนั้น บุรุษคนหนึ่งนั้นถือดาบและโล่ห์สะพายธนู เข้าไปหาพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ครั้นแล้วได้ยืนกลัว หวาดหวั่น สะดุ้ง ตกใจจนตัวแข็งทื่อไม่ห่างจาก
พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาครับสั่งกับบุรุษนั้นผู้ยืนกลัว หวาดหวั่น สะดุ้ง ตกใจ
จนตัวแข็งทื่อว่า “มาเถิด ท่านอย่ากลัวเลย”
ลำดับนั้น บุรุษนั้นวางดาบและโล่ห์ ปลดธนูวางไว้ ณ ส่วนข้างหนึ่งแล้วเข้าไป
หาพระผู้มีพระภาค แล้วซบศีรษะแทบพระยุคลบาท ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้าได้กระทำความผิด เพราะความโง่เขลา
เบาปัญญา ที่มีจิตคิดประทุษร้าย คิดจะปลงพระชนม์ จึงเข้ามาที่นี้ ขอพระองค์โปรด
ประทานอภัยโทษแก่ข้าพระพุทธเจ้า เพื่อสำรวมต่อไปเถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เอาเถิด การที่ท่านได้ทำความผิดเพราะความโง่เขลา
เบาปัญญา ที่มีจิตคิดประทุษร้ายคิดจะปลงพระชนม์จึงเข้ามาที่นี้ เพราะเหตุที่ท่าน
เห็นความผิดเป็นความผิดแล้วแก้ไขให้ถูกต้อง ข้อนั้นเรายอมรับ เพราะการที่บุคคล
เห็นความผิดเป็นความผิดแล้วแก้ไขให้ถูกต้องและสำรวมต่อไป นี้เป็นความเจริญในวินัย
ของพระอริยะ” จากนั้นทรงแสดงอนุปุพพิกถา คือ ทรงประกาศ
๑. ทานกถา (เรื่องทาน)
๒. สีลกถา (เรื่องศีล)
๓. สัคคกถา (เรื่องสวรรค์)
๔. กามาทีนวกถา (เรื่องโทษ ความต่ำทราม ความเศร้าหมองแห่งกาม)๑
๕. เนกขัมมานิสังสกถา (เรื่องอานิสงส์แห่งการออกจากกาม)แก่บุรุษนั้น

เชิงอรรถ :
๑ แปลมาจากคำว่า กามานํ อาทีนวํ โอการํ สํกิเลสํ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๘๘ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
เมื่อทรงทราบว่าบุรุษนั้นมีจิตควร อ่อน ปราศจากนิวรณ์ เบิกบาน ผ่องใส
จึงทรงประกาศสามุกกังสิกธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย คือ ทุกข์ สมุทัย
นิโรธ มรรค ธรรมจักษุอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดแก่บุรุษนั้น ณ
ที่นั้นแลว่า “สิ่งใด สิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไปเป็น
ธรรมดา” เปรียบเหมือนผ้าขาวสะอาดปราศจากมลทินควรได้รับน้ำย้อมได้เป็นอย่างดี
ครั้นบุรุษนั้นได้เห็นธรรมแล้ว บรรลุธรรรมแล้ว รู้แจ้งธรรมแล้ว หยั่งลงสู่
ธรรมแล้ว ข้ามความสงสัยแล้ว ปราศจากความแคลงใจ ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า
ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระ
องค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของ
พระองค์ชัดเจน ไพเราะยิ่งนัก พระผู้มีพระภาคประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการ
ต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือ
ตามประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า คนมีตาดีจักเห็นรูป พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้
ขอถึงพระผู้มีพระภาค พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาค
จงทรงจำข้าพระพุทธเจ้าว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับบุรุษนั้นดังนี้ว่า “ท่านอย่าไปทางนั้น จงไป
ทางนี้” แล้วส่งเขาไปทางอื่น
ครั้งนั้น บุรุษอีก ๒ คนนั้นปรึกษากันว่า “ทำไมหนอบุรุษคนหนึ่งนั้นจึงมาช้า”
แล้วเดินสวนทางไป ได้พบพระผู้มีพระภาคประทับนั่ง ณ ควงไม้แห่งหนึ่ง ครั้นแล้ว
จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค
แลัวนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอนุปุพพิกถาแก่เขาทั้งสอง ฯลฯ
ครั้งนั้น บุรุษ ๒ คนนั้นเห็นธรรมแล้ว ฯลฯ ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำของสอนพระ
ศาสดา ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์
ไพเราะชัดเจนยิ่งนัก ฯลฯ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำพวกข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก
ผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๘๙ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับบุรุษเหล่านั้นดังนี้ว่า “พวกท่านอย่าไปทางนั้น
จงไปทางนี้” แล้วทรงส่งพวกเขาไปทางอื่น
ครั้งนั้น บุรุษอีก ๔ คน ฯลฯ ครั้งนั้น บุรุษอีก ๘ คน ฯลฯ
ครั้งนั้น บุรุษอีก ๑๖ คนปรึกษากันว่า “ทำไมหนอ บุรุษ ๘ คนนั้นจึงมาช้า”
แล้วเดินสวนทางไป ได้พบพระผู้มีพระภาคประทับนั่ง ณ ควงไม้แห่งหนึ่ง ครั้นแล้ว
จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้ว ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอนุปุพพิกถาแก่บุรุษเหล่านั้น คือ
ทรงประกาศ
๑. ทานกถา (เรื่องทาน)
๒. สีลกถา (เรื่องศีล) ฯลฯ
ครั้งนั้น บุรุษ ๑๖ คนนั้นเห็นธรรมแล้ว ฯลฯ ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำสอนของ
พระศาสดา ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์
ไพเราะชัดเจนยิ่งนัก ฯลฯ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำพวกข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก
ผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับบุรุษเหล่านั้นดังนี้ว่า “พวกท่านอย่าไปทางนั้น
จงไปทางนี้” แล้วทรงส่งพวกเขาไปทางอื่น
ต่อมา บุรุษคนหนึ่งนั้นเข้าไปหาพระเทวทัตถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้กล่าวกับพระ
เทวทัตดังนี้ว่า “กระผมไม่สามารถปลงพระชนม์พระผู้มีพระภาคได้ พระผู้มีพระภาค
พระองค์นั้นเป็นผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก”
พระเทวทัตตอบว่า “อย่าเลยท่าน ท่านอย่าปลงพระชนม์พระสมณโคดมเลย
เราจะลงมือปลงพระชนม์พระสมณโคดมเอง”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๙๐ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
โลหิตุปปาทกกัมมะ
ว่าด้วยพระเทวทัตทำร้ายพระศาสดาจนห้อพระโลหิต
[๓๔๑] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จจงกรมอยู่ ณ ที่ร่มเงาภูเขาคิชฌกูฏ
ครั้งนั้น พระเทวทัตขึ้นภูเขาคิชฌกูฏกลิ้งศิลาก้อนใหญ่ ด้วยหมายใจว่า “เราจะปลง
พระชนม์พระผู้มีพระภาคด้วยก้อนศิลานี้” ยอดภูเขา ๒ ข้างมาบรรจบกันรับศิลา
ก้อนนั้นไว้ สะเก็ดศิลากระเด็นจากก้อนศิลานั้นไปกระทบพระบาทของพระผู้มีพระภาค
จนพระโลหิตห้อ
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแหงนพระพักตร์ ได้ตรัสกับพระเทวทัตดังนี้ว่า
“โมฆบุรุษ เธอสั่งสมสิ่งที่มิใช่บุญไว้มากที่มีจิตคิดร้าย คิดฆ่า ทำโลหิตของตถาคต
ให้ห้อ” ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่
เทวทัตผู้มีจิตคิดร้าย คิดฆ่า ทำโลหิตของตถาคตให้ห้อ นี้เป็นอนันตริยกรรมข้อที่ ๑
ที่เทวทัตสั่งสมไว้”
ภิกษุทั้งหลายได้สดับข่าวว่า “พระเทวทัตวางแผนปลงพระชนม์พระผู้มีพระภาค”
จึงพากันเดินจงกรมอยู่รอบ ๆ วิหารของพระผู้มีพระภาค กระทำการสาธยายเสียง
ดังอึกทึกกึกก้องเพื่ออารักขาป้องกันคุ้มครองพระผู้มีพระภาค
พระผู้มีพระภาคทรงสดับเสียงสาธยายเสียงดังอึกทึกกึกก้อง จึงรับสั่งถามท่าน
พระอานนท์ว่า “อานนท์ เพราะเหตุไร เสียงสาธยายนั้นจึงดังอึกทึกกึกก้อง” ท่าน
พระอานนท์จึงกราบทูลว่า “พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุทั้งหลายได้สดับข่าวว่า พระเทวทัต
วางแผนปลงพระชนม์พระผู้มีพระภาค จึงพากันเดินจงกรมอยู่รอบ ๆ วิหารของ
พระผู้มีพระภาคกระทำการสาธยายเสียงดังอึกทึกกึกก้องเพื่ออารักขาป้องกันคุ้มครอง
พระผู้มีพระภาค เสียงสาธยายนั้นจึงดังอึกทึกกึกก้อง”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ ถ้าเช่นนั้น เธอจงไปบอกภิกษุเหล่านั้นว่า
พระศาสดารับสั่งหาพวกท่าน”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๙๑ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้วเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นถึงที่อยู่ ครั้น
แล้วแจ้งให้ทราบว่า “พระศาสดารับสั่งหาท่านทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นรับคำของท่าน
พระอานนท์แล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้ว ถวายอภิวาท
พระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับภิกษุเหล่านั้นดังนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่
โอกาส ที่จะปลงชีวิตตถาคตด้วยความพยายามของผู้อื่น พระตถาคตทั้งหลายย่อม
ไม่ปรินิพพานด้วยความพยายามของผู้อื่น”

เรื่องศาสดา ๕ จำพวก๑
ภิกษุทั้งหลาย ศาสดา ๕ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก คือ
๑. ศาสดาบางท่านในโลกนี้มีศีลไม่บริสุทธิ์ แต่ปฏิญญาว่า “เราเป็นผู้มี
ศีลบริสุทธิ์ ศีลของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง” พวกสาวก
รู้จักเขาอย่างนี้ว่า “ศาสดาท่านนี้เป็นผู้มีศีลไม่บริสุทธิ์ แต่ปฏิญญา
ว่าเราเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ ศีลของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง
แต่ถ้าพวกเราพึงบอกแก่พวกคฤหัสถ์ ก็จะไม่เป็นที่พอใจของท่าน
พวกเราจะกล่าวถ้อยคำที่ท่านไม่พอใจได้อย่างไร อนึ่ง ศาสดานั้น
ยกย่องพวกเราด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัช
บริขาร ท่านทำกรรมใดไว้ ก็จะปรากฏตัวออกมาด้วยกรรมนั้น”
ภิกษุทั้งหลาย พวกสาวกย่อมรักษาศาสดาเช่นนี้นี้โดยศีล และศาสดาเช่นนี้ก็หวัง
การรักษาโดยศีลจากพวกสาวก
๒. ศาสดาบางท่านในโลกนี้มีอาชีพไม่บริสุทธิ์ แต่ปฏิญญาว่า “เราเป็น
ผู้มีอาชีพบริสุทธิ์ อาชีพของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง”
พวกสาวกรู้จักเขาอย่างนี้ว่า “ศาสดาท่านนี้มีอาชีพไม่บริสุทธิ์ แต่

เชิงอรรถ :
๑ อ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๑๐๐/๑๗๑-๑๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๙๒ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
ปฏิญญาว่าเราเป็นผู้มีอาชีพบริสุทธิ์ อาชีพของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว
ไม่เศร้าหมอง แต่ถ้าพวกเราพึงบอกแก่พวกคฤหัสถ์ ก็จะไม่เป็นที่
พอใจของท่าน พวกเราจะกล่าวถ้อยคำที่ท่านไม่พอใจได้อย่างไร อนึ่ง
ศาสดานั้นยกย่องพวกเราด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลาน
ปัจจัยเภสัชบริขาร ท่านทำกรรมใดไว้ ก็จะปรากฏตัวออกมาด้วย
กรรมนั้น”
ภิกษุทั้งหลาย พวกสาวกย่อมรักษาศาสดาเช่นนี้ไว้โดยอาชีพ ศาสดาเช่นนี้ก็หวัง
การรักษาโดยอาชีพจากพวกสาวก
๓. ศาสดาบางท่านในโลกนี้เป็นผู้มีธรรมเทศนาไม่บริสุทธิ์ แต่ปฏิญญาว่า
“เราเป็นผู้มีธรรมเทศนาบริสุทธิ์ ธรรมเทศนาของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว
ไม่เศร้าหมอง” พวกสาวกรู้จักเขาอย่างนี้ว่า “ศาสดาท่านนี้เป็นผู้มี
ธรรมเทศนาไม่บริสุทธิ์ แต่ปฏิญญาว่าธรรมเทศนาของตนบริสุทธิ์
ธรรมเทศนาของตนบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง แต่ถ้าพวกเรา
พึงบอกแก่พวกคฤหัสถ์ ก็จะไม่เป็นที่พอใจของท่าน พวกเรา
จะกล่าวถ้อยคำที่ท่านไม่พอใจได้อย่างไร อนึ่ง ศาสดานั้นยกย่อง
พวกเราด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร
ท่านทำกรรมใดไว้ ก็จะปรากฏตัวออกมาด้วยกรรมนั้น”
ภิกษุทั้งหลาย พวกสาวกย่อมรักษาศาสดาเช่นนี้ไว้โดยธรรมเทศนา ศาสดา
เช่นนี้ก็หวังการรักษาโดยธรรมเทศนาจากพวกสาวก
๔. ศาสดาบางท่านในโลกนี้มีเวยยากรณะไม่บริสุทธิ์ แต่ปฏิญญาว่า “เรา
เป็นผู้มีเวยยากรณะบริสุทธิ์ เวยยากรณะของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว
ไม่เศร้าหมอง” พวกสาวกรู้จักเขาอย่างนี้ว่า “ศาสดาท่านนี้เป็นผู้
มีเวยยากรณะไม่บริสุทธิ์ แต่ปฏิญญาว่าเราเป็นผู้มี เวยยากรณะบริสุทธิ์
เวยยากรณะของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง แต่ถ้าพวกเราพึงบอก
แก่พวกคฤหัสถ์ ก็จะไม่เป็นที่พอใจของท่าน พวกเรา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๙๓ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
จะกล่าวถ้อยคำที่ท่านไม่พอใจได้อย่างไร อนึ่ง ศาสดานั้นยกย่อง
พวกเราด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร
ท่านทำกรรมใดไว้ ก็จะปรากฏตัวออกมาด้วยกรรมนั้น”
ภิกษุทั้งหลาย พวกสาวกย่อมรักษาศาสดาเช่นนี้ไว้โดยเวยยากรณะ ศาสดา
เช่นนี้ก็หวังการรักษาโดยเวยยากรณะจากพวกสาวก
๕. ศาสดาบางท่านในโลกนี้มีญาณทัสสนะไม่บริสุทธิ์ แต่ปฏิญญาว่า
“เราเป็นผู้มีญาณทัสสนะบริสุทธิ์ ญาณทัสสนะของเราบริสุทธิ์
ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง” สาวกรู้จักเขาอย่างนี้ว่า “ศาสดาท่านนี้
เป็นผู้มีญาณสสนะไม่บริสุทธิ์ แต่ปฏิญญาว่าเราเป็นผู้มีญาณ-
ทัสสนะบริสุทธิ์ ญาณทัสสนะของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง
แต่ถ้าพวกเราพึงบอกแก่พวกคฤหัสถ์ ก็จะไม่เป็นที่พอใจของท่าน
พวกเราจะกล่าวถ้อยคำที่ท่านไม่พอใจได้อย่างไร อนึ่ง ศาสดานั้น
ยกย่องพวกเราด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัช
บริขาร ท่านทำกรรมใดไว้ ก็จะปรากฏตัวออกมาด้วยกรรมนั้น”
ภิกษุทั้งหลาย พวกสาวกย่อมรักษาศาสดาเช่นนี้ไว้โดยญาณทัสสนะ และ
ศาสดาเช่นนี้ก็หวังการรักษาโดยญาณทัสสนะจากพวกสาวก
ภิกษุทั้งหลาย ศาสดา ๕ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก
ภิกษุทั้งหลาย เรามีศีลบริสุทธิ์ จึงปฏิญญาว่า “เราเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ ศีลของ
เราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง” พวกสาวกย่อมไม่รักษาเราโดยศีล และเราก็
ไม่หวังการรักษาโดยศีลจากพวกสาวก
ภิกษุทั้งหลาย เรามีอาชีพบริสุทธิ์ ฯลฯ เรามีธรรมเทศนาบริสุทธิ์ ฯลฯ เรา
มีเวยยากรณะบริสุทธิ์ ฯลฯ เรามีญาณทัสสนะบริสุทธิ์ จึงปฏิญญาว่า “เราเป็นผู้มี
ญาณทัสสนะบริสุทธิ์ ญาณทัสสนะของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง” พวก
สาวกย่อมไม่รักษาเราไว้โดยญาณทัสสนะ และเราก็ไม่หวังการรักษาโดยญาณทัสสนะ
จากพวกสาวก”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๙๔ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
ภิกษุทั้งหลาย ไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส ที่จะปลงชีวิตตถาคตด้วยความพยายาม
ของผู้อื่น พระตถาคตทั้งหลายย่อมไม่ปรินิพพานด้วยความพยายามของผู้อื่น ภิกษุ
ทั้งหลาย พวกเธอจงไปอยู่ตามที่เดิม พระตถาคตทั้งหลายเป็นผู้ที่ไม่ต้องอารักขา”

นาฬาคิริเปสนะ
ว่าด้วยพระเทวทัตปล่อยช้างนาฬาคิรี
[๓๔๒] สมัยนั้น ในกรุงราชคฤห์มีช้างชื่อนาฬาคิรีดุร้าย ชอบฆ่าคน ครั้งนั้น
พระเทวทัตเข้าไปในกรุงราชคฤห์แล้วไปที่โรงช้าง ได้กล่าวกับพวกนายควาญช้างดังนี้
ว่า “พวกเราเป็นพระญาติของพระราชา สามารถจะแต่งตั้งผู้อยู่ในตำแหน่งต่ำไว้ใน
ตำแหน่งสูง สามารถเพิ่มเบี้ยเลี้ยงบ้าง เงินเดือนบ้าง ท่านทั้งหลาย เอาอย่างนี้
เวลาพระสมณโคดมเสด็จมาทางตรอกนี้ พวกท่านจงปล่อยช้างนาฬาคิรีนี้เข้าไป”
พวกนายควาญช้างรับคำพระเทวทัตแล้ว
ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ทรงถือบาตรและจีวรเสด็จ
เข้าไปในกรุงราชคฤห์พร้อมภิกษุหลายรูป เสด็จดำเนินถึงตรอกนั้น พวกควาญช้าง
แลเห็นพระผู้มีพระภาคทรงดำเนินถึงตรอกนั้น ครั้นแล้วจึงปล่อยช้างนาฬาคิรีเข้าไป
ช้างนาฬาคิรีมองเห็นพระผู้มีพระภาคทรงดำเนินมาแต่ไกล ครั้นแล้วจึงชูงวง
หูชัน หางชี้ วิ่งตรงไปที่พระผู้มีพระภาค ภิกษุเหล่านั้นเห็นช้างนาฬาคิรีวิ่งมาแต่ไกล
จึงได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ช้างนาฬาคิรีนี้ดุร้ายหยาบคายนัก ชอบฆ่าคน
กำลังตรงมาทางตรอกนี้ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดเสด็จกลับเถิด พระพุทธเจ้าข้า
ขอพระสุคตโปรดเสด็จกลับเถิด”
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย มาเถิด พวกเธออย่ากลัวไปเลย ภิกษุ
ทั้งหลาย ไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาสที่จะปลงชีวิตตถาคตด้วยความพยายามของผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตทั้งหลายจะไม่ปรินิพพานด้วยความพยายามของผู้อื่น”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๙๕ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
แม้ครั้งที่ ๒ ภิกษุเหล่านั้นได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ ภิกษุเหล่านั้นได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ช้างนาฬาคิรีนี้
ดุร้ายหยาบคายนัก ชอบฆ่าคน กำลังตรงมาทางตรอกนี้ ขอพระผู้มีพระภาคเสด็จ
กลับเถิด พระพุทธเจ้าข้า ขอพระสุคตโปรดเสด็จกลับเถิด”
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย มาเถิด พวกเธออย่ากลัวไปเลย ภิกษุ
ทั้งหลาย ไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาสที่จะปลงชีวิตตถาคตด้วยความพยายามของผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตทั้งหลายจะไม่ปรินิพพานด้วยความพยายามของผู้อื่น”
เวลานั้น คนทั้งหลายหนีขึ้นไปบนปราสาทบ้าง เรือนโล้นบ้าง บนหลังคาบ้าง
ในกลุ่มคนพวกนั้น บรรดาคนที่ไม่ศรัทธา ไม่เลื่อมใส มีความรู้ไม่ดี กล่าวอย่างนี้ว่า
“พวกเราเอ๋ย พระมหาสมณโคดมรูปงามจะถูกช้างฆ่า” ส่วนบรรดาคนที่มีศรัทธา เลื่อมใส
เป็นบัณฑิต มีความรู้ กล่าวอย่างนี้ว่า “พวกเราเอ๋ย ประเดี๋ยวคอยดูสงครามระหว่าง
พระพุทธเจ้ากับช้าง”
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแผ่เมตตาจิตไปที่ช้างนาฬาคิรี ลำดับนั้น ช้าง
นาฬาคิรีได้สัมผัสกระแสเมตตาจิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงลดงวงลงแล้วเข้าไปหา
พระผู้มีพระภาค ยืนอยู่ตรงพระพักตร์ พระผู้มีพระภาคทรงยกพระหัตถ์ขวาลูบ
กระพองช้างนาฬาคิรี พลางตรัสสอนช้างนาฬาคิรีด้วยพระคาถาทั้งหลายว่า
กุญชรเอ๋ย เจ้าอย่าคิดเข้ามาทำร้ายพระพุทธเจ้า
กุญชรเอ๋ย การคิดเข้ามาทำร้ายพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
เป็นเหตุแห่งความทุกข์
กุญชรเอ๋ย ผู้ฆ่าพระพุทธเจ้า
จากชาตินี้ไปสู่ชาติหน้าจะไม่มีสุคติภูมิเลย
เจ้าอย่ามัวเมา อย่าประมาท
เพราะคนผู้ประมาทแล้วย่อมไม่ไปสุคติ
เจ้านี่แหละจักกระทำเหตุให้เจ้าเดินทางไปสุคติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๙๖ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
ทันใดนั้น ช้างนาฬาคิรีเอางวงสูบละอองธุลีที่ใกล้พระบาทของพระผู้มีพระภาค
แล้วพ่นลงบนกระหม่อม(ของตน) ย่อตัวถอยออกไปชั่วระยะเห็นพระองค์ ลำดับนั้น
ช้างนาฬาคิรีได้กลับไปที่โรงช้างยืนอยู่ที่เดิม ก็ช้างนาฬาคิรีได้รับการฝึกแล้วอย่างนั้น
สมัยนั้น คนทั้งหลายพากันขับร้องคาถานี้ว่า
คนฝึกช้างและคนฝึกม้าบางพวก
มีท่อนไม้ ขอและแส้จึงจะฝึกได้
พระพุทธเจ้าผู้ประสบพระคุณยิ่งใหญ่
ไม่ต้องใช้ท่อนไม้ ไม่ต้องใช้ศัสตราทรงฝึกช้างได้เลย๑
คนทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “พระเทวทัตนี้เป็นคนบาป
เป็นคนไม่มีบุญ เพราะได้พยายามปลงพระชนม์พระสมณโคดมผู้มีฤทธิ์มากอย่างนี้
มีอานุภาพมากอย่างนี้” ลาภสักการะของพระเทวทัตจึงเสื่อมสิ้นไป ส่วนลาภสักการะ
ของพระผู้มีพระภาคกลับเจริญยิ่งขึ้น

ปัญจวัตถุยาจนกา๒
ว่าด้วยพระเทวทัตกราบทูลขอวัตถุ ๕ ประการ
[๓๔๓] สมัยนั้น พระเทวทัตพร้อมกับบริษัทเสื่อมลาภสักการะ จึงพากันออก
ปากขอภัตตาหารในตระกูลทั้งหลายมาฉัน
คนทั้งหลายจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกพระสมณะเชื้อสาย
ศากยบุตรจึงเที่ยวออกปากขอภัตตาหารในตระกูลทั้งหลายมาฉันเล่า ภัตตาหารที่ดี
ใครจะไม่พอใจ ภัตตาหารอร่อยใครจะไม่ชอบเล่า”
ภิกษุทั้งหลายได้ยินคนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนา

เชิงอรรถ :
๑ ม.ม. (แปล) ๑๓/๓๕๒/๔๓๑, ขุ.เถร. (แปล) ๒๖/๘๗๘/๔๘๔
๒ วิ.มหา. (แปล) ๑/๔๐๙/๔๔๑-๔๔๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๙๗ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ จึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระเทวทัต
พร้อมกับบริษัทจึงเที่ยวออกปากขอภัตตาหารในตระกูลทั้งหลายมาฉันเล่า” จึงนำเรื่อง
นี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ ฯลฯ
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามพระเทวทัตว่า “เทวทัต ทราบว่า เธอพร้อมกับ
บริษัทเที่ยวออกปากขอภัตตาหารในตระกูลทั้งหลายมาฉันจริงหรือ”
พระเทวทัตทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตำหนิ ฯลฯ ครั้นทรงตำหนิแล้ว ฯลฯ ทรงแสดงธรรมีกถา
รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เราจะบัญญัติโภชนะที่คน ๓ คน
พึงบริโภคในตระกูลทั้งหลายแก่ภิกษุทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์ ๓ ประการ
คือ
๑. เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก
๒. เพื่อความอยู่ผาสุกแห่งเหล่าภิกษุผู้มีศีลดีงาม
๓. เพื่ออนุเคราะห์ตระกูล
ด้วยหวังว่า ‘ภิกษุที่ปรารถนาชั่วอย่าอาศัยพรรคพวกทำสงฆ์ให้แตกกัน’ (ภิกษุ)
ฉันคณโภชนะ พึงปรับอาบัติตามธรรม”๑
ครั้งนั้น พระเทวทัตเข้าไปหาพระโกกาลิกะ พระกฏโมรกติสสกะ พระขัณฑเทวี
บุตร พระสมุททัตตะ ถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้วได้กล่าวกับท่านเหล่านั้นดังนี้ว่า “มาเถิด
ท่านทั้งหลาย พวกเราจะทำลายสงฆ์ ทำลายจักร๒ของพระสมณโคดม”
เมื่อพระเทวทัตกล่าวอย่างนี้ พระโกกาลิกะได้กล่าวกับพระเทวทัตดังนี้ว่า
“ท่าน พระสมณโคดมมีฤทธานุภาพมาก พวกเราจะทำลายสงฆ์ ทำลายจักรของ
พระสมณโคดม ได้อย่างไร”

เชิงอรรถ :
๑ พึงปรับอาบัติตามธรรม คือ พึงปรับอาบัติปาจิตตีย์ เพราะฉันคณโภชนะ ตามความแห่งสิกขาบทที่ ๒
แห่งโภชนวรรคที่ ๔ (ดู วิ.มหา. (แปล) ๒/๒๐๙-๒๑๗/๓๗๐-๓๗๖)
๒ ทำลายสงฆ์ คือทำสงฆ์ให้แตกจากกัน
ทำลายจักร คือทำลายหลักคำสอน (วิ.อ. ๒/๔๑๐/๑๐๘, วชิร.ฏีกา ๓๔๓/๖๘๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๙๘ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
พระเทวทัตกล่าวว่า “มาเถิดท่านทั้งหลาย พวกเราจะเข้าไปเฝ้าพระสมณโคดม
แล้วทูลขอวัตถุ ๕ ประการว่า ‘พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคตรัสสรรเสริญความ
มักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการน่าเลื่อมใส การไม่สะสม
การปรารภความเพียร โดยประการต่าง ๆ วัตถุ ๕ ประการเหล่านี้ก็เป็นไป เพื่อความ
มักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการน่าเลื่อมใส การไม่สะสม
การปรารภความเพียร โดยประการต่าง ๆ ข้าพระพุทธเจ้าขอประทาน วโรกาสดังนี้
๑. ภิกษุทั้งหลายควรอยู่ป่าตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดเข้าบ้าน ภิกษุรูปนั้น
มีโทษ
๒. ภิกษุทั้งหลายควรเที่ยวบิณฑบาตตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดยินดีกิจนิมนต์
ภิกษุรูปนั้นมีโทษ
๓. ภิกษุทั้งหลายควรถือผ้าบังสุกุลตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดยินดีผ้าคหบดี
ภิกษุรูปนั้นมีโทษ
๔. ภิกษุทั้งหลายควรอยู่โคนไม้ตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดอาศัยที่มุงที่บัง ภิกษุ
รูปนั้นมีโทษ
๕. ภิกษุทั้งหลายไม่ควรฉันปลาและเนื้อตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดฉันปลา
และเนื้อ ภิกษุรูปนั้นมีโทษ”
พระสมณโคดมจะไม่ทรงอนุญาตวัตถุ ๕ ประการนี้แน่ พวกเราจะใช้วัตถุ ๕
ประการนี้ชักชวนให้ประชาชนเชื่อถือ” ท่านเหล่านั้นปรึกษากันว่า “พวกเราสามารถ
ที่จะใช้วัตถุ ๕ ประการเหล่านั้นทำลายสงฆ์ ทำลายจักรของพระสมณโคดมได้ เพราะ
ยังมีพวกมนุษย์ที่เลื่อมใสในการปฏิบัติปอน ๆ”
ครั้งนั้น พระเทวทัตพร้อมกับบริษัทได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้น
แล้วได้ถวายอภิวาทแล้วนั่งลง ณ ที่สมควร กราบทูลว่า “พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มี
พระภาคตรัสสรรเสริญความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด
อาการน่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียรโดยประการต่าง ๆ วัตถุ ๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๙๙ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
ประการเหล่านี้ก็เป็นไปเพื่อความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด
อาการน่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียรโดยประการต่าง ๆ ข้าพระพุทธเจ้า
ขอประทานวโรกาส ดังนี้
๑. ภิกษุทั้งหลายควรอยู่ป่าตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดเข้าบ้าน ภิกษุรูปนั้น
มีโทษ
๒. ภิกษุทั้งหลายควรเที่ยวบิณฑบาตตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดยินดีกิจนิมนต์
ภิกษุรูปนั้นมีโทษ
๓. ภิกษุทั้งหลายควรถือผ้าบังสุกุลตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดยินดีผ้าคหบดี
ภิกษุรูปนั้นมีโทษ
๔. ภิกษุทั้งหลายควรอยู่โคนไม้ตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดอาศัยที่มุงที่บัง
ภิกษุรูปนั้นมีโทษ
๕. ภิกษุทั้งหลายไม่ควรฉันปลาและเนื้อตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดฉันปลา
และเนื้อ ภิกษุรูปนั้นมีโทษ”
พระผู้มีพระภาคตรัสห้ามว่า “อย่าเลยเทวทัต ภิกษุรูปใดปรารถนาก็จงอยู่ป่าเถิด
ภิกษุรูปใดปรารถนาก็จงอยู่ในละแวกบ้านเถิด ภิกษุรูปใดปรารถนาก็จงเที่ยวบิณฑ-
บาตเถิด ภิกษุรูปใดปรารถนาก็จงยินดีกิจนิมนต์เถิด ภิกษุรูปใดปรารถนาก็จงถือผ้า
บังสุกุลเถิด ภิกษุรูปใดปรารถนาก็จงยินดีผ้าคหบดีเถิด เทวทัต เราอนุญาตถือ
เสนาสนะตามโคนไม้ ๘ เดือนเท่านั้น เราอนุญาตปลาและเนื้อที่บริสุทธิ์ด้วยอาการ
๓ อย่าง คือ
๑. ไม่ได้เห็น ๒. ไม่ได้ยิน
๓. ไม่ได้นึกสงสัย”
ครั้งนั้น พระเทวทัตร่าเริงดีใจว่า “พระผู้มีพระภาคไม่ทรงอนุญาตวัตถุ ๕ ประการ
เหล่านี้” พร้อมกับบริษัทลุกขึ้นจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคทำประทักษิณ
แล้วจากไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๐๐ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
พระเทวทัตโฆษณาวัตถุ ๕ ประการ
สมัยนั้น พระเทวทัตพร้อมกับบริษัทเข้าไปยังกรุงราชคฤห์ ใช้วัตถุ ๕ ประการ
ชักชวนให้ประชาชนเชื่อถือด้วยกล่าวว่า “พวกเราเข้าไปเฝ้าพระสมณโคดม ทูลขอวัตถุ
๕ อย่างนี้ว่า ‘พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสรรเสริญความมักน้อย ความ
สันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการน่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภ
ความเพียร โดยประการต่าง ๆ วัตถุ ๕ ประการเหล่านี้ ก็เป็นไปเพื่อความมักน้อย
ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการน่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภ
ความเพียร โดยประการต่าง ๆ ข้าพระพุทธเจ้าขอประทานวโรกาส ดังนี้
๑. ภิกษุทั้งหลายควรอยู่ป่าตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดเข้าบ้าน ภิกษุรูปนั้น
มีโทษ
๒. ภิกษุทั้งหลายควรเที่ยวบิณฑบาตตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดยินดีกิจนิมนต์
ภิกษุรูปนั้นมีโทษ
๓. ภิกษุทั้งหลายควรถือผ้าบังสุกุลตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดยินดีผ้าคหบดี
ภิกษุรูปนั้นมีโทษ
๔. ภิกษุทั้งหลายควรอยู่โคนไม้ตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดอาศัยที่มุงที่บัง ภิกษุ
รูปนั้นมีโทษ
๕. ภิกษุทั้งหลายไม่ควรฉันปลาและเนื้อตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดฉันปลา
และเนื้อ ภิกษุรูปนั้นมีโทษ”
แต่พระสมณโคดมไม่ทรงอนุญาตวัตถุ ๕ ประการเหล่านั้น พวกเราจงสมาทาน
ประพฤติตามวัตถุ ๕ ประการเหล่านี้เถิด”
บรรดาประชาชนเหล่านั้น พวกที่ไม่ศรัทธา ไม่เลื่อมใส มีความรู้ไม่ดี กล่าวว่า
“พระสมณะเชื้อสายศากยบุตรเหล่านี้ ประพฤติกำจัดกิเลส ประพฤติเคร่งครัด ส่วน
พระสมณโคดมมักมาก ดำริเพื่อความมักมาก”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๐๑ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
ส่วนพวกมีศรัทธา เลื่อมใส เป็นบัณฑิต เฉลียวฉลาด มีความรู้ดี ก็ตำหนิ
ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระเทวทัตจึงเพียรพยายามเพื่อทำลายสงฆ์ เพื่อทำลาย
จักรของพระผู้มีพระภาคเล่า”
ภิกษุทั้งหลายได้ยินคนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มัก
น้อยฯลฯ จึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระเทวทัตจึงเพียรพยายาม
เพื่อทำลายสงฆ์ เพื่อทำลายจักรเล่า”
ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามพระเทวทัตว่า “เทวทัต ทราบว่า เธอ
เพียรพยายามเพื่อทำลายสงฆ์ เพื่อทำลายจักรจริงหรือ”
พระเทวทัตทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิว่า “อย่าเลยเทวทัต เธออย่าพอใจการทำลายสงฆ์
เพราะการทำลายสงฆ์ มีโทษหนัก รูปใดทำลายสงฆ์ที่พร้อมเพรียงกัน ผู้นั้นจะประสบ
โทษนานตลอดกัป ถูกไฟไหม้ในนรกนานตลอดกัป ส่วนรูปใดทำสงฆ์ผู้แตกกันแล้ว
ให้พร้อมเพรียงกัน ย่อมประสบบุญอันประเสริฐ ย่อมบันเทิงในสวรรค์ตลอดกัป อย่า
เลยเทวทัต เธออย่าชอบใจการทำลายสงฆ์ เพราะการทำลายสงฆ์ มีโทษหนัก”
ต่อมาเวลาเช้า ท่านพระอานนท์ครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร เข้าไป
บิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ พระเทวทัตพบท่านพระอานนท์กำลังเที่ยวบิณฑบาตจึงเข้า
ไปหา ครั้นแล้วได้กล่าวกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “ท่านอานนท์ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
เราจะทำอุโบสถ จะทำสังฆกรรม แยกจากพระผู้มีพระภาค แยกจากภิกษุสงฆ์”
ครั้นพระอานนท์เที่ยวบิณฑบาตฉันเสร็จแล้ว กลับจากบิณฑบาต หลังจากฉัน
ภัตตาหารแล้วจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้ว ถวายอภิวาท
พระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลดังนี้ว่า “พระองค์ผู้เจริญ ขอ
ประทานวโรกาส ในเวลาเช้า ข้าพระองค์ครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไป
บิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ พระเทวทัตพบข้าพระองค์กำลังเที่ยวบิณฑบาตจึงเข้ามา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๐๒ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
หาข้าพระองค์ ครั้นแล้วได้กล่าวดังนี้ว่า ‘ท่านอานนท์ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป เราจะทำ
อุโบสถ จะทำสังฆกรรม แยกจากพระผู้มีพระภาค แยกจากภิกษุสงฆ์’ วันนี้พระ
เทวทัตจะทำลายสงฆ์ พระพุทธเจ้าข้า”
ครั้นพระผู้มีพระภาคเมื่อทรงทราบเรื่องนั้น จึงทรงเปล่งพระอุทานในเวลานั้นว่า
“กรรมดี คนดีทำได้ง่าย
กรรมดี คนชั่วทำได้ยาก
กรรมชั่ว คนชั่วทำได้ง่าย
กรรมชั่ว พระอริยะทั้งหลายทำได้ยาก๑
ทุติยภาณวาร จบ

๓. ตติยภาณวาร
สังฆเภทกถา
ว่าด้วยการทำลายสงฆ์

พระเทวทัตชักชวนพระวัชชีบุตร ๕๐๐ รูป
เข้าเป็นพรรคพวก
[๓๔๔] ครั้นถึงวันอุโบสถ พระเทวทัตลุกจากอาสนะ ประกาศให้ภิกษุจับสลาก
ด้วยกล่าวว่า “ท่านทั้งหลาย พวกเราเข้าไปเฝ้าพระสมณโคดม ทูลขอวัตถุ ๕ ประการ
ว่า ‘พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสรรเสริญความมักน้อย ฯลฯ การ ปรารภ
ความเพียรโดยประการต่าง ๆ พระองค์ผู้เจริญ วัตถุ ๕ ประการเหล่านี้ ก็เป็นไป

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.ธ. (แปล) ๒๕/๔๘/๒๗๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๐๓ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
เพื่อความมักน้อย ฯลฯ การปรารภความเพียร พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้า
ขอประทานวโรกาส ดังนี้
๑. ภิกษุทั้งหลายควรอยู่ป่าตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดเข้าบ้าน ภิกษุรูปนั้น
มีโทษ
๒. ภิกษุทั้งหลายควรเที่ยวบิณฑบาตตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดยินดีกิจนิมนต์
ภิกษุรูปนั้นมีโทษ
๓. ภิกษุทั้งหลายควรถือผ้าบังสุกุลตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดยินดีผ้าคหบดี
ภิกษุรูปนั้นมีโทษ
๔. ภิกษุทั้งหลายควรอยู่โคนไม้ตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดอาศัยที่มุงที่บัง ภิกษุ
รูปนั้นมีโทษ
๕. ภิกษุทั้งหลายไม่ควรฉันปลาและเนื้อตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดฉันปลา
และเนื้อ ภิกษุรูปนั้นมีโทษ’
แต่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงอนุญาตวัตถุ ๕ ประการเหล่านั้น ก็พวกเราจง
สมาทานประพฤติตามวัตถุ ๕ ประการเหล่านั้น ท่านรูปใดเห็นด้วยกับวัตถุ ๕
ประการเหล่านี้ ท่านรูปนั้นจงจับสลาก”
สมัยนั้น พวกภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลีประมาณ ๕๐๐ รูป เป็นพระบวชใหม่
ไม่รอบรู้พระธรรมวินัย ภิกษุเหล่านั้นจับสลากเพราะเข้าใจว่า “นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย
นี้เป็นสัตถุศาสน์” ครั้งนั้นแล พระเทวทัตทำลายสงฆ์แล้วพาภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป
เดินทางไปทางคยาสีสประเทศ
ต่อมา พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ครั้นถึงแล้ว ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ครั้นแล้วท่าน
พระสารีบุตรได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า พระเทวทัตทำลายสงฆ์
พาภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูปเดินทางไปทางคยาสีสประเทศแล้ว”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สารีบุตรโมคคัลลานะ พวกเธอจะต้องมีความกรุณา
ภิกษุผู้บวชใหม่เหล่านั้นบ้างมิใช่หรือ พวกเธอจงไปเถิดก่อนที่ภิกษุเหล่านั้นจะเสื่อมเสีย”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๐๔ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
ภิกษุผู้เถระทั้งสองทูลรับสนองพระพุทธดำรัสแล้ว ลุกจากอาสนะถวายอภิวาท
พระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้วเดินทางไปคยาสีสประเทศ

เรื่องภิกษุรูปหนึ่งเข้าใจผิด
ขณะนั้น ภิกษุรูปหนึ่งยืนร้องไห้อยู่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุนั้นดังนี้ว่า “ภิกษุ เธอร้องไห้ทำไม”
ภิกษุนั้นกราบทูลว่า “พระพุทธเจ้าข้า พระสารีบุตรกับพระโมคคัลลานะผู้เป็น
พระอัครสาวกของพระองค์ไปสำนักพระเทวทัต ชอบใจคำสอนของพระเทวทัต”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ ไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส ที่สารีบุตรและโมคคัลลานะ
จะชอบใจคำสอนของเทวทัต สารีบุตรและโมคคัลลานะนั้นไปเพื่อแนะนำภิกษุทั้งหลาย
ให้เข้าใจ”

พระอัครสาวกพาภิกษุ ๕๐๐ รูปกลับ
[๓๔๕] ครั้งนั้น พระเทวทัตมีบริษัทหมู่ใหญ่แวดล้อมนั่งแสดงธรรมอยู่ มอง
เห็นพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะมาแต่ไกล ครั้นแล้วจึงกล่าวกับภิกษุทั้งหลาย
ว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกท่านเห็นไหม ธรรมอันเรากล่าวดีแล้วถึงขนาดพระสารีบุตร
และพระโมคคัลลานะอัครสาวกของพระสมณโคดมยังพากันมาหาเรา ชอบใจธรรม
ของเรา”
เมื่อพระเทวทัตกล่าวอย่างนี้ พระโกกาลิกะได้กล่าวดังนี้ว่า “ท่านเทวทัต ท่าน
อย่าเพิ่งวางใจพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ
มีความปรารถนาชั่ว ตกอยู่ในอำนาจความปรารถนาชั่ว”
พระเทวทัตกล่าวว่า “ท่านอย่าคิดเช่นนั้น พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ
นั้นมาดี เพราะชอบใจธรรมของเรา”
ทีนั้น พระเทวทัตเชื้อเชิญท่านพระสารีบุตรด้วยอาสนะครึ่งหนึ่งว่า “มาเถิด ท่าน
สารีบุตร นิมนต์ท่านนั่งบนอาสนะนี้”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๐๕ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
ท่านพระสารีบุตรห้ามว่า “อย่าเลย ท่าน” แล้วถือเอาอาสนะหนึ่งนั่ง ณ ที่
สมควร แม้ท่านพระมหาโมคคัลลานะก็ถือเอาอาสนะหนึ่งนั่ง ณ ที่สมควร
ครั้งนั้น พระเทวทัตชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายเห็นชัด ชวนให้อยากรับไปปฏิบัติ
เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นรื่นเริงด้วยธรรมีกถาสิ้นราตรีไป
เป็นอันมาก ได้เชื้อเชิญท่านพระสารีบุตรว่า “ท่านสารีบุตร ภิกษุสงฆ์ยังไม่ง่วง
ท่านสารีบุตร ธรรมีกถาของท่านภิกษุทั้งหลายเข้าใจง่าย แต่เราเมื่อยหลัง เราจัก
เอนพัก”
ท่านพระสารีบุตรรับคำพระเทวทัต จากนั้นพระเทวทัตปูสังฆาฏิ ๔ ชั้น จำวัด
โดยข้างเบื้องขวา พระเทวทัตนั้นเหน็ดเหนื่อยจนเผลอสติไม่รู้สึกตัว ครู่เดียวก็หลับไป
ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรกล่าวตักเตือนพร่ำสอนภิกษุทั้งหลายด้วยธรรมีกถา
ที่เป็นอนุศาสนีประกอบด้วยอาเทสนาปาฏิหาริย์๑ ท่านพระโมคคัลลานะกล่าวตักเตือน
พร่ำสอนด้วยธรรมีกถาที่เป็นอนุศาสนีประกอบด้วยอิทธิปาฏิหาริย์
ครั้งนั้นแล ธรรมจักษุอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดแก่ภิกษุ
ทั้งหลายผู้ได้รับการกล่าวตักเตือนพร่ำสอนด้วยธรรมีกถาที่เป็นอนุศาสนีประกอบด้วย
อาเทสนาปาฏิหาริย์จากพระสารีบุตรและด้วยธรรมีกถาที่เป็นอนุศาสนีประกอบด้วย
อิทธิปาฏิหาริย์จากพระโมคคัลลานะว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา”
ต่อมา ท่านพระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า “ท่านทั้งหลาย พวก
เราจะไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ผู้ชอบใจธรรมของพระผู้มีพระภาคนั้นจงมา”
ลำดับนั้น พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะพาภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูปไป
พระเวฬุวัน
เวลานั้น พระโกกาลิกะปลุกพระเทวทัตให้ลุกขึ้นด้วยคำว่า “ท่านเทวทัต ลุกขึ้น
เถอะ พระสารีบุตรกับพระโมคคัลลานะพาภิกษุไปหมดแล้ว ท่านเทวทัต เราบอก

เชิงอรรถ :
๑ คือรู้ว่า ภิกษุรูปนี้มีความคิดอย่างไร ภิกษุรูปนั้นมีความคิดอย่างนั้นแล้วแสดงธรรมให้เหมาะแก่ความคิด
ของภิกษุนั้น ๆ (วิ.อ. ๓/๓๔๕/๓๘๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๐๖ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
ท่านแล้วมิใช่หรือว่า อย่าไว้ใจพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ พระสารีบุตรและ
พระโมคคัลลานะมีความปรารถนาชั่ว ตกอยู่ในอำนาจความปรารถนาชั่ว”
ขณะนั้นโลหิตอุ่น ๆ ก็พุ่งออกจากปากพระเทวทัตในที่นั้นเอง
ต่อมา พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ครั้นถึงแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคนั่ง ณ ที่สมควร ท่านพระสารีบุตรได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า ขอประทานพระวโรกาส พวก
ภิกษุผู้ประพฤติตามภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ พึงอุปสมบทใหม่”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อย่าเลย สารีบุตร เธออย่าพอใจให้ภิกษุที่ประพฤติ
ตามภิกษุผู้ทำลายสงฆ์อุปสมบทใหม่เลย สารีบุตร ถ้าเช่นนั้น เธอจงให้ภิกษุที่
ประพฤติตามภิกษุผู้ทำลายสงฆ์แสดงอาบัติถุลลัจจัย สารีบุตร ก็เทวทัตปฏิบัติต่อ
เธออย่างไร”
ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า “พระพุทธเจ้าข้า พระเทวทัตปฏิบัติเหมือนพระผู้มี
พระภาค คือ ชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายเห็นชัด ชวนให้อยากรับไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญ
แกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นรื่นเริงด้วยธรรมีกถาสิ้นราตรีเป็นอันมากแล้ว ได้
เชื้อเชิญข้าพระองค์ว่า ‘ท่านสารีบุตร ภิกษุสงฆ์ยังไม่ง่วง ท่านสารีบุตร ธรรมีกถา
ของท่านภิกษุทั้งหลายเข้าใจง่าย แต่เราเมื่อยหลัง เราจักเอนพัก”
[๓๔๖] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรื่อง
เคยมีมาแล้ว มีสระใหญ่แห่งหนึ่งอยู่ชายป่า โขลงช้างอาศัยอยู่ใกล้ ๆ สระนั้น ช้าง
เหล่านั้นลงไปในสระเอางวงถอนเหง้าและรากบัว ล้างให้สะอาดจนไม่มีโคลนตมแล้ว
เคี้ยวกินเหง้าและรากบัว เหง้าและรากบัวเป็นอาหารบำรุงพรรณและกำลังของ
ช้างเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น ช้างเหล่านั้นจึงไม่ล้มหรือไม่ได้รับทุกข์ปางตาย ภิกษุ
ทั้งหลาย ส่วนลูกช้างทั้งหลายเอาอย่างช้างใหญ่พากันลงสระนั้น เอางวงถอนเหง้า
และรากบัวแล้วไม่ล้างให้สะอาดเคี้ยวกินทั้งที่มีโคลนตม เหง้าและรากบัวจึงไม่บำรุง
ผิวพรรณและกำลังของลูกช้างเหล่านั้น ลูกช้างเหล่านั้นจึงล้มและได้รับทุกข์ปางตาย
ภิกษุทั้งหลาย เทวทัตทำเลียนแบบเรา จะเสียชีวิตอย่างน่าสมเพช” แล้วได้ตรัส
ประพันธ์คาถาว่า


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๐๗ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
“เทวทัตทำเลียนแบบเราจะเสียชีวิต อย่างน่าสมเพช
เหมือนลูกช้างเคี้ยวกินเหง้าบัวเปื้อนโคลนตมแล้วจึงล้มไป
เพราะทำเลียนแบบช้างใหญ่ที่ขุดดินเคี้ยวกินเหง้าบัว
เล่นอยู่ในสระใหญ่ ฉะนั้น

คุณสมบัติของทูต๑
[๓๔๗] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยคุณสมบัติ ๘ อย่าง ควรทำ
หน้าที่ทูตได้ คุณสมบัติ ๘ อย่าง คือ

๑. รู้จักฟัง ๒. สามารถพูดให้ผู้อื่นฟังได้
๓. ใฝ่ศึกษา ๔. ทรงจำได้ดี
๕. เป็นผู้รู้ได้เข้าใจชัด ๖. สามารถพูดให้ผู้อื่นเข้าใจได้
๗. ฉลาดในสิ่งที่เป็นประโยชน์และ ๘. ไม่ก่อความทะเลาะวิวาท
ไม่เป็นประโยชน์

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยคุณสมบัติ ๘ อย่าง ควรทำหน้าที่ทูตได้
ภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรประกอบด้วยคุณสมบัติ ๘ อย่าง คือ

๑. รู้จักฟัง ๒. สามารถพูดให้ผู้อื่นฟังได้
๓. ใฝ่ศึกษา ๔. ทรงจำได้ดี
๕. เป็นผู้รู้ได้เข้าใจชัด ๖. สามารถพูดให้ผู้อื่นเข้าใจได้
๗. ฉลาดในสิ่งที่เป็นประโยชน์และ ๘. ไม่ก่อความทะเลาะวิวาท
ไม่เป็นประโยชน์

ภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรประกอบด้วยคุณสมบัติ ๘ อย่าง ควรทำหน้าที่ทูตได้
ภิกษุผู้เข้าสู่ชุมชนที่โต้เถียงกันอย่างรุนแรงก็ไม่สะทกสะท้าน
ไม่ทำคำพูดให้เสียหาย ไม่ปกปิดข่าวสาส์น

เชิงอรรถ :
๑ องฺ.อฏฺฐก. (แปล) ๒๓/๑๖/๒๔๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๐๘ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
ชี้แจงอย่างไม่มีข้อสงสัย ถูกย้อนถามก็ไม่โกรธ
ภิกษุผู้มีลักษณะเช่นนั้นแลควรทำหน้าที่ทูตได้

พระเทวทัตถูกอสัทธรรม ๘ อย่างครอบงำ๑
[๓๔๘] ภิกษุทั้งหลาย เทวทัตถูกอสัทธรรม ๘ อย่างครอบงำย่ำยีจิต ต้องไป
เกิดในอบาย ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้ อสัทธรรม ๘ อย่าง คือ
๑. เทวทัตถูกลาภครอบงำย่ำยีจิต ต้องไปเกิดในอบาย ต้องไปเกิดในนรก
ดำรงชั่วกัป แก้ไขไม่ได้
๒. เทวทัตถูกความเสื่อมลาภครอบงำย่ำยีจิต ต้องไปเกิดในอบาย ต้อง
ไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้
๓. เทวทัตถูกยศครอบงำย่ำยีจิต ต้องไปเกิดในอบาย ต้องไปเกิดในนรก
ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้
๔. เทวทัตถูกความเสื่อมยศครอบงำย่ำยีจิต ต้องไปเกิดในอบาย ต้อง
ไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้
๕. เทวทัตถูกสักการะครอบงำย่ำยีจิต ต้องไปเกิดในอบาย ต้องไปเกิด
ในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้
๖. เทวทัตถูกความเสื่อมสักการะครอบงำย่ำยีจิต จักไปเกิดในอบาย จัก
ไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้
๗. เทวทัตถูกความปรารถนาชั่วครอบงำย่ำยีจิต จักไปเกิดในอบาย จัก
ไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้
๘. เทวทัตถูกความที่มีมิตรชั่วครอบงำย่ำยีจิต ต้องไปเกิดในอบาย ต้อง
ไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้
ภิกษุทั้งหลาย เทวทัตถูกอสัทธรรม ๘ อย่างเหล่านี้แลครอบงำย่ำยีจิต ต้องไป
เกิดในอบาย ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้

เชิงอรรถ :
๑ องฺ.อฏฺฐก. (แปล) ๒๓/๗/๒๐๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๐๙ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
[๓๔๙] ภิกษุทั้งหลาย ทางที่ดี ภิกษุพึงครอบงำลาภที่เกิดขึ้นอยู่ พึงครอบงำ
ความเลื่อมลาภที่เกิดขึ้นอยู่ ... ยศที่เกิดขึ้น ... ความเสื่อมยศที่เกิดขึ้น ... สักการะ
ที่เกิดขึ้น ... ความเสื่อมสักการะที่เกิดขึ้น ... ความปรารถนาชั่วที่เกิดขึ้น ... ความ
ที่มีมิตรชั่วที่เกิดขึ้นอยู่
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร จึงพึงครอบงำลาภที่เกิดขึ้นอยู่
พึงครอบงำความเสื่อมลาภที่เกิดขึ้น ... ยศที่เกิดขึ้น ... ความเสื่อมยศที่เกิดขึ้น ...
สักการะที่เกิดขึ้น ... ความเสื่อมสักการะที่เกิดขึ้น ... ความปรารถนาชั่วที่เกิดขึ้น ...
ความมีมิตรชั่วที่เกิดขึ้นอยู่
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเมื่อภิกษุไม่ครอบงำลาภที่เกิดขึ้นอยู่ อาสวะและความ
เร่าร้อนที่ก่อความคับแค้นทั้งหลายพึงเกิดขึ้น แต่เมื่อภิกษุนั้นครอบงำลาภที่เกิดขึ้น
อยู่ อาสวะและความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้นทั้งหลายย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเมื่อภิกษุไม่ครอบงำความเสื่อมลาภที่เกิดขึ้นอยู่ ... ยศที่
เกิดขึ้น ... ความเสื่อมยศที่เกิดขึ้น .... สักการะที่เกิดขึ้น ... ความเสื่อมสักการะ
ที่เกิดขึ้น ... ความปรารถนาชั่วที่เกิดขึ้น ... ความมีมิตรชั่วที่เกิดขึ้นอยู่ อาสวะและ
ความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้นทั้งหลายพึงเกิดขึ้น แต่เมื่อภิกษุนั้นครอบงำความที่
มีมิตรชั่วที่เกิดขึ้นอยู่ อาสวะและความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้นทั้งหลายย่อมไม่มี
แก่ภิกษุนั้น
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แล จึงพึงครอบงำลาภที่เกิดขึ้นอยู่
... ความเสื่อมลาภที่เกิดขึ้น ... ยศที่เกิดขึ้น ... ความเสื่อมยศที่เกิดขึ้น ... สักการะ
ที่เกิดขึ้น ...ความเสื่อมสักการะที่เกิดขึ้น ... ความปรารถนาชั่วที่เกิดขึ้น ... ความที่
มีมิตรชั่วที่เกิดขึ้นอยู่

เชิงอรรถ :
๑ อาสวะทั้งหลาย ใรที่นี้หมายถึงอาสวะทั้ง ๔ คือ กามาสวะ ภวาสวะ ทิฎฐาสวะ อวิชชาสวะ
ความเร่าร้อนที่ก่อให้เกิดความคับแค้นทั้งหลาย หมายถึงความเร่าร้อนคือกิเลส ความเร่าร้อนคือวิบาก
ซึ่วก่อความทุกข์ทางกายและใจ เป็นผลที่เกิดจากอาสวะ (สํ.สฬา.อ. ๓/๕๓-๖๒/๑๔, องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/
๕๘/๑๔๐, องฺ.ฉกฺก.ฏีกา. ๓/๕๘/๑๕๔-๑๖๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๑๐ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
ภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นพวกเธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า พวกเราจะครอบงำลาภ
ที่เกิดขึ้นอยู่ ความเสื่อมลาภที่เกิดขึ้น ... ยศที่เกิดขึ้น ... ความเสื่อมยศที่เกิดขึ้น
... สักการะที่เกิดขึ้น ... ความเสื่อมสักการะที่เกิดขึ้น ... ความปรารถนาชั่วที่เกิดขึ้น
... ความที่มีมิตรชั่วที่เกิดขึ้นอยู่ ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงศึกษาอย่างนี้แล

พระเทวทัตถูกอสัทธรรม ๓ อย่างครอบงำ
[๓๕๐] ๑ภิกษุทั้งหลาย เทวทัตถูกอสัทธรรม ๓ อย่างครอบงำย่ำยีจิต ต้อง
ไปเกิดในอบาย ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้
อสัทธรรม ๓ อย่าง คือ
๑. ความปรารถนาชั่ว ๒. ความมีมิตรชั่ว
๓. การได้บรรลุคุณวิเศษขั้นต่ำแล้วเลิกเสียกลางคัน

นิคมคาถา
ใคร ๆ อย่าได้เกิดเป็นคนปรารถนาชั่ว
ไม่ว่าในกาลไหน ๆ ในโลก
เธอทั้งหลายจงรู้จักเทวทัตว่ามีคติเหมือนกับคนปรารถนาชั่ว
เทวทัตเป็นที่ยกย่องกันว่าเป็นบัณฑิต
เป็นที่รู้กันว่า ได้อบรมตนแล้ว เราได้ฟังมาว่า
เทวทัตดุจรุ่งเรืองอยู่ด้วยยศ เทวทัตนั้นสั่งสมความประมาท
เบียดเบียนตถาคตนั้น จึงต้องไปเกิดในนรกอเวจี
มีประตู ๔ ด้าน น่ากลัว
ผู้ใดประทุษร้ายต่อผู้ไม่ประทุษร้ายตอบ
ผู้ไม่ทำกรรมชั่ว บาปย่อมถูกต้องเฉพาะผู้นั้นเท่านั้น

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.อิติ. (แปล) ๒๕/๘๙/๔๕๘-๔๖๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๑๑ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
ผู้มีจิตประทุษร้าย ไม่มีความเอื้อเฟื้อ
รูปใดเบียดเบียนตถาคตผู้เสด็จไปดี มีพระทัยสงบ
ด้วยการกล่าวตำหนิ การตำหนิพระองค์ย่อมฟังไม่ขึ้น
เปรียบเหมือนผู้ที่ตั้งใจประทุษร้ายมหาสมุทร
ด้วยยาพิษจำนวนเป็นหม้อ เขาไม่อาจประทุษร้ายได้
เพราะมหาสมุทรน่ากลัว
ภิกษุผู้ดำเนินตามมรรคาของพระพุทธเจ้า
หรือพระสาวกพึงถึงความสิ้นทุกข์ได้
บัณฑิตทำพระพุทธเจ้าหรือพระสาวก
ให้เป็นกัลยาณมิตรและคบหาท่านเหล่านั้น”

อุปาลิปัญหา
ว่าด้วยปัญหาของพระอุบาลี
สังฆราชี
[๓๕๑] ครั้งนั้น ท่านพระอุบาลีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว
ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า
ที่เรียกว่า ‘สังฆราชี สังฆราชี(ความร้าวรานแห่งสงฆ์)’ ด้วยอาการเพียงไรจึงเป็น
สังฆราชี แต่ไม่เป็นสังฆเภท(ความแตกแยกแห่งสงฆ์)ก็และด้วยอาการเพียงไร จึงเป็นทั้ง
สังฆราชีและสังฆเภท”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
๑. อุบาลี ฝ่ายหนึ่ง มีภิกษุ ๑ รูป อีกฝ่ายหนึ่ง มีภิกษุ ๒ รูป
รูปที่ ๔ ประกาศให้จับสลากว่า ‘นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๑๒ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
สัตถุศาสน์ พวกท่านจงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้’ อย่างนี้
จัดเป็นสังฆราชี แต่ไม่เป็นสังฆเภท
๒. อุบาลี ฝ่ายหนึ่ง มีภิกษุ ๒ รูป อีกฝ่ายหนึ่ง ก็มี ๒ รูป รูปที่
๕ ประกาศให้จับสลากว่า ‘นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุศาสน์
พวกท่านจงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้’ อย่างนี้ก็จัดเป็นสังฆราชี
แต่ไม่เป็นสังฆเภท
๓. อุบาลี ฝ่ายหนึ่ง มีภิกษุ ๒ รูป อีกฝ่ายหนึ่งมี ๓ รูป รูปที่ ๖
ประกาศให้จับสลากว่า ‘นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุศาสน์
พวกท่านจงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้’ อย่างนี้ก็จัดเป็นสังฆราชี
แต่ไม่เป็นสังฆเภท
๔. อุบาลี ฝ่ายหนึ่ง มีภิกษุ ๓ รูป อีกฝ่ายหนึ่งก็มี ๓ รูป รูปที่ ๗
ประกาศให้จับสลากว่า ‘นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุศาสน์
พวกท่านจงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้’ อย่างนี้ก็จัดเป็นสังฆราชี
แต่ไม่เป็นสังฆเภท
๕. อุบาลี ฝ่ายหนึ่ง มีภิกษุ ๓ รูป อีกฝ่ายหนึ่งมี ๔ รูป รูปที่ ๘
ประกาศให้จับสลากว่า ‘นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุศาสน์
พวกท่านจงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้’ อย่างนี้ก็จัดเป็นสังฆราชี
แต่ไม่เป็นสังฆเภท
๖. อุบาลี ฝ่ายหนึ่ง มีภิกษุ ๔ รูป อีกฝ่ายหนึ่งก็มี ๔ รูป รูปที่ ๙
ประกาศให้จับสลากว่า ‘นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุศาสน์
พวกท่านจงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้’ อย่างนี้จัดเป็นทั้งสังฆราชี
และสังฆเภท
๗. ภิกษุ ๙ รูป หรือมากกว่า ๙ รูป จัดเป็นทั้งสังฆราชีและสังฆเภท
อุบาลี ภิกษุณีทำลายสงฆ์ไม่ได้ ได้แต่พยายามทำลาย สิกขมานา
ทำลายสงฆ์ไม่ได้ ... สามเณรทำลายสงฆ์ไม่ได้ ... สามเณรี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๑๓ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
ทำลายสงฆ์ไม่ได้ ... อุบาสกทำลายสงฆ์ไม่ได้ ... อุบาสิกาก็ทำลาย
สงฆ์ไม่ได้ ได้แต่พยายามทำลาย
อุบาลี ปกตัตตภิกษุผู้มีสังวาสเสมอกัน อยู่ในสมานสีมาย่อมทำลายสงฆ์ได้

สังฆเภท
เรื่องที่ทำให้สงฆ์แตกกัน ๑๘ ประการ๑
[๓๕๒] พระอุบาลีทูลถามว่า “ที่พระองค์ตรัสว่า ‘สังฆเภท สังฆเภท’ สงฆ์
จะเป็นผู้แตกกันด้วยเหตุเท่าไรหนอ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อุบาลี ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้
๑. แสดงอธรรมว่า เป็นธรรม
๒. แสดงธรรมว่า เป็นอธรรม
๓. แสดงสิ่งที่มิใช่วินัยว่า เป็นวินัย
๔. แสดงวินัยว่า มิใช่วินัย
๕. แสดงสิ่งที่ตถาคตไม่ได้ภาษิตไว้ไม่ได้ตรัสไว้ว่า ตถาคตได้ภาษิตไว้
ได้ตรัสไว้
๖. แสดงสิ่งที่ตถาคตได้ภาษิตไว้ได้ตรัสไว้ว่า ตถาคตไม่ได้ภาษิตไว้ไม่ได้
ตรัสไว้
๗. แสดงจริยาวัตรที่ตถาคตไม่ได้ประพฤติมาว่า ตถาคตได้ประพฤติมา
๘. แสดงจริยาวัตรที่ตถาคตได้ประพฤติมาว่า ตถาคตไม่ได้ประพฤติมา
๙. แสดงสิ่งที่ตถาคตไม่ได้บัญญัติไว้ว่า ตถาคตได้บัญญัติไว้
๑๐. แสดงสิ่งที่ตถาคตได้บัญญัติไว้ว่า ตถาคตไม่ได้บัญญัติไว้
๑๑. แสดงอนาบัติว่า เป็นอาบัติ
๑๒. แสดงอาบัติว่า เป็นอนาบัติ
๑๓. แสดงอาบัติเบาว่า เป็นอาบัติหนัก

เชิงอรรถ :
๑ วิ.ม. (แปล) ๕/๔๖๘/๓๖๒-๓๖๓, วิ.ป. (แปล) ๘/๒๗๕/๒๑๐, ๓๗๙/๕๕๗, องฺทสก. (แปล) ๒๔/๓๘/๘๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๑๔ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
๑๔. แสดงอาบัติหนักว่า เป็นอาบัติเบา
๑๕. แสดงอาบัติที่มีส่วนเหลือว่า เป็นอาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือ
๑๖. แสดงอาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือว่า เป็นอาบัติที่มีส่วนเหลือ
๑๗. แสดงอาบัติชั่วหยาบว่า เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ
๑๘. แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า เป็นอาบัติชั่วหยาบ๑
ภิกษุเหล่านั้นย่อมแยกพวกออกมา ประกาศตัวด้วยเหตุ ๑๘ อย่างนี้ แยก
กันทำอุโบสถ แยกกันทำปวารณา แยกกันทำสังฆกรรม
อุบาลี สงฆ์จะเป็นผู้แตกกันด้วยเหตุเท่านี้แล

สังฆสามัคคี
[๓๕๓] พระอุบาลีทูลถามว่า “พระพุทธเจ้าข้า ที่พระองค์ตรัสว่า ‘สังฆสามัคคี
สังฆสามัคคี’ สงฆ์จะเป็นผู้สามัคคีกันด้วยเหตุเท่าไรหนอ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้
๑. แสดงอธรรมว่า เป็นอธรรม
๒. แสดงธรรมว่า เป็นธรรม
๓. แสดงสิ่งที่ไม่ใช่วินัยว่า มิใช่วินัย
๔. แสดงวินัยว่า เป็นวินัย
๕. แสดงสิ่งที่ตถาคตไม่ได้ภาษิตไว้ไม่ได้ตรัสไว้ว่า ตถาคตไม่ได้ภาษิตไว้
ไม่ได้กล่าวไว้
๖. แสดงสิ่งที่ตถาคตได้ภาษิตไว้ได้ตรัสไว้ว่า ตถาคตได้ภาษิตไว้ได้ตรัสไว้
๗. แสดงจริยาวัตรที่ตถาคตไม่ได้ประพฤติมาว่า ตถาคตไม่ได้ประพฤติมา
๘. แสดงจริยาวัตรที่ตถาคตได้ประพฤติมาว่า ตถาคตได้ประพฤติมา
๙. แสดงสิ่งที่ตถาคตไม่ได้บัญญัติไว้ว่า ตถาคตไม่ได้บัญญัติไว้
๑๐. แสดงสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้ว่า ตถาคตได้บัญญัติไว้

เชิงอรรถ :
๑ อาบัติชั่วหยาบ คืออาบัติปาราชิกและอาบัติสังฆาทิเสส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๑๕ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
๑๑. แสดงอนาบัติว่า เป็นอนาบัติ
๑๒. แสดงอาบัติว่า เป็นอาบัติ
๑๓. แสดงอาบัติเบาว่า เป็นอาบัติเบา
๑๔. แสดงอาบัติหนักว่า เป็นอาบัติหนัก
๑๕. แสดงอาบัติมีส่วนเหลือว่า เป็นอาบัติมีส่วนเหลือ
๑๖. แสดงอาบัติไม่มีส่วนเหลือว่า เป็นอาบัติไม่มีส่วนเหลือ
๑๗. แสดงอาบัติชั่วหยาบว่า เป็นอาบัติชั่วหยาบ
๑๘. แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ
ภิกษุเหล่านั้นย่อมไม่แยกพวกออกมาประกาศตัวด้วยเหตุ ๑๘ อย่างนี้ ไม่
แยกกัน ทำอุโบสถ ไม่แยกกันทำปวารณา ไม่แยกกันทำสังฆกรรม
อุบาลี สงฆ์จะเป็นผู้สามัคคีกันด้วยเหตุเท่านี้แล”
[๓๕๔] ๑พระอุบาลีกราบทูลถามว่า “พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ผู้พร้อม
เพรียงกัน จะประสบผลอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันนั้น ย่อม
ประสบผลชั่วร้าย ชั่วกัป ถูกไฟไหม้ในนรกตลอดกัป”

นิคมคาถา
ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน ยินดีการแตกกัน
ไม่ตั้งอยู่ในธรรม เป็นผู้เข้าถึงอบาย อยู่ในนรกตลอดกัป
พลาดจากนิพพานอันเป็นแดนเกษมจากโยคะ เสวยผลกรรม
อยู่ในนรกตลอดกัป เพราะทำลายสงฆ์ที่สามัคคีกันให้แตกแยกกัน
พระอุบาลีทูลถามว่า “พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุทำสงฆ์ที่แตกกันให้พร้อมเพรียงกัน
จะประสบผลอย่างไร”

เชิงอรรถ :
๑ องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๓๙/๙๐, อภิ.ก. ๓๗/๖๕๗/๓๙๕-๓๙๖,๘๖๒/๔๙๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๑๖ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุทำสงฆ์ที่แตกกันให้พร้อมเพรียงกัน ย่อม
ประสบบุญอันประเสริฐ บันเทิงในสวรรค์ตลอดกัป

นิคมคาถา
ความพร้อมเพรียงของสงฆ์ เป็นเหตุให้เกิดสุข
และบุคคลผู้อนุเคราะห์สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันแล้ว
ผู้ยินดีในความพร้อมเพรียงกัน ตั้งอยู่ในธรรม
ย่อมไม่พลาดจากธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะ
ย่อมบันเทิงในสวรรค์ตลอดกัป เพราะสมานสงฆ์ให้สามัคคีกัน”

ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ต้องไปเกิดในอบาย
[๓๕๕] พระอุบาลีทูลถามว่า “พระพุทธเจ้าข้า มีอยู่หรือที่ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์
ต้องไปเกิดในอบาย ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อุบาลี มีอยู่ที่ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ต้องไปเกิดในอบาย
ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้”
พระอุบาลีทูลถามว่า “พระพุทธเจ้าข้า มีอยู่หรือที่ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ไม่ต้องไป
เกิดในอบาย ไม่ต้องไปเกิดในนรก ไม่ต้องดำรงอยู่ชั่วกัป ไม่ใช่แก้ไขไม่ได้”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อุบาลี มีอยู่ที่ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ไม่ต้องไปเกิดใน
อบาย ไม่ต้องไปเกิดในนรก ไม่ต้องดำรงอยู่ชั่วกัป ไม่ใช่แก้ไขไม่ได้”
พระอุบาลีทูลถามว่า “พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ต้องไปเกิดในอบาย
ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้ เป็นอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม
มีความเห็นอธรรมนั้นว่าเป็นอธรรม มีความเห็นในความแตกกันว่าเป็นอธรรม อำพราง
ความเห็น อำพรางความเห็นชอบ อำพรางความพอใจ อำพรางความประสงค์
ประกาศให้จับสลากว่า ‘นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุศาสน์ พวกท่านจงจับ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๑๗ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
สลากนี้ จงชอบใจสลากนี้’ อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์นี้ ต้องไปเกิดในอบาย ต้อง
ไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้
อุบาลี อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุแสดงอธรรมว่า เป็นธรรม มีความเห็นธรรมนั้นว่า
เป็นอธรรม มีความเห็นในความแตกกันว่าเป็นธรรม อำพรางความเห็น อำพราง
ความเห็นชอบ อำพรางความพอใจ อำพรางความประสงค์ ประกาศให้จับสลากว่า
‘นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุศาสน์ พวกท่านจงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้’
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์นี้ ต้องไปเกิดในอบาย ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป
แก้ไขไม่ได้
อุบาลี อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุแสดงอธรรมว่า เป็นธรรม มีความเห็นอธรรมนั้น
ว่าเป็นอธรรม ไม่แน่ใจความแตกกัน อำพรางความเห็น อำพรางความเห็นชอบ
อำพรางความพอใจ อำพรางความประสงค์ ประกาศให้จับสลากว่า ‘นี้เป็นธรรม
นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุศาสน์ พวกท่านจงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้’ อุบาลี
ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์นี้ ต้องไปเกิดในอบาย ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้
อุบาลี อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุแสดงอธรรมว่าเป็นธรรม มีความเห็นอธรรมนั้น
ว่าเป็นธรรม มีความเห็นความแตกกันว่าเป็นอธรรม ... มีความเห็นอธรรมนั้นว่า
เป็นธรรม ไม่แน่ใจในความแตกกัน ... ไม่แน่ใจในอธรรมนั้น มีความเห็นความ
แตกกันว่าเป็นอธรรม ... ไม่แน่ใจในอธรรมนั้น มีความเห็นความแตกกันว่าเป็น
ธรรม ... ไม่แน่ใจในอธรรมนั้น ไม่แน่ใจในความแตกกัน อำพรางความเห็น อำพราง
ความเห็นชอบ อำพรางความพอใจ อำพรางความประสงค์ ประกาศให้จับสลากว่า
‘นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุศาสน์ พวกท่านจงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์นี้ ต้องไปเกิดในอบาย ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป
แก้ไขไม่ได้
อุบาลี อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุแสดงธรรมว่า เป็นอธรรม ... แสดงสิ่งที่มิใช่วินัยว่า
เป็นวินัย แสดงวินัยว่า มิใช่วินัย แสดงสิ่งที่ตถาคตไม่ได้ภาษิตไว้ ไม่ได้ตรัสไว้ว่า
ตถาคตได้ภาษิตไว้ ได้ตรัสไว้ แสดงจริยาวัตรที่ตถาคตไม่ประพฤติมาว่า ตถาคต


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๑๘ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
ได้ประพฤติมา ... แสดงจริยาวัตรที่ตถาคตประพฤติมาว่า ตถาคตไม่ได้ประพฤติมา
แสดงสิ่งที่ตถาคตไม่ได้บัญญัติไว้ว่า ตถาคตได้บัญญัติไว้ แสดงสิ่งที่ตถาคต บัญญัติไว้
ว่า ตถาคตไม่ได้บัญญัติไว้ แสดงอนาบัติว่า เป็นอาบัติ แสดงอาบัติว่า เป็นอนาบัติ
แสดงอาบัติเบาว่า เป็นอาบัติหนัก แสดงอาบัติหนักว่า เป็นอาบัติเบา แสดงอาบัติ
มีส่วนเหลือว่า เป็นอาบัติไม่มีส่วนเหลือ แสดงอาบัติไม่มีส่วนเหลือว่า เป็นอาบัติ
มีส่วนเหลือ แสดงอาบัติชั่วหยาบว่า เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบ
ว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ มีความเห็นในธรรมนั้นว่าเป็นอธรรม มีความเห็นความแตก
กันว่าเป็นอธรรม ... มีความเห็นธรรมนั้นว่าเป็นอธรรม มีความเห็นความแตกกันว่า
เป็นธรรม มีความเห็นในธรรมนั้นว่า เป็นอธรรม ไม่แน่ใจความแตกกัน มีความเห็น
ในอธรรมนั้นว่าเป็นธรรม มีความเห็นความแตกกันว่า เป็นอธรรม มีความเห็นธรรม
นั้นว่าเป็นอธรรม ไม่แน่ใจความแตกกัน ไม่แน่ใจ ธรรมนั้น มีความเห็น ความแตก
กันว่าเป็นอธรรม ไม่แน่ใจอธรรมนั้น มีความเห็นความแตกกันว่า เป็นอธรรม ไม่
แน่ใจในอธรรมนั้น ไม่แน่ใจความแตกกัน อำพรางความเห็น อำพรางความเห็นชอบ
อำพรางความพอใจ อำพรางความประสงค์ ประกาศให้จับสลากว่า ‘นี้เป็นธรรม
นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุศาสน์ พวกท่านจงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้’ อุบาลี
ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์นี้ ต้องไปเกิดในอบาย ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไข
ไม่ได้”

ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ไม่ต้องไปเกิดในอบาย
พระอุบาลีกราบทูลถามว่า “พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ไม่ต้องไปเกิด
ในอบาย ไม่ต้องไปเกิดในนรก ไม่ต้องดำรงอยู่ชั่วกัป ไม่ใช่แก้ไขไม่ได้ เป็นอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ แสดงอธรรมว่าเป็น
ธรรมมีความเห็นในอธรรมนั้นว่าเป็นธรรม มีความเห็นความแตกกันว่าเป็นธรรม ไม่
อำพรางความเห็น ไม่อำพรางความเห็นชอบ ไม่อำพรางความพอใจ ไม่อำพราง
ความประสงค์ ประกาศให้จับสลากว่า ‘นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุศาสน์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๑๙ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในสังฆเภทขันธกะ
พวกท่านจงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้’ อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์นี้ไม่ต้องไป
เกิดในอบาย ไม่ต้องไปเกิดในนรก ไม่ต้องดำรงอยู่ชั่วกัป ไม่ใช่แก้ไขไม่ได้
อุบาลี อีกประการหนึ่ง ภิกษุแสดงธรรมว่าเป็นอธรรม ฯลฯ อาบัติชั่วหยาบ
ว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ มีความเห็นธรรมนั้นว่าเป็นธรรม มีความเห็นความแตก
กันว่าเป็นธรรม ไม่อำพรางความเห็น ไม่อำพรางความเห็นชอบ ไม่อำพรางความ
พอใจ ไม่อำพรางความประสงค์ ประกาศให้จับสลากว่า ‘นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย
นี้เป็นสัตถุศาสน์ พวกท่านจงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้’
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์อย่างนี้ ไม่ต้องไปเกิดในอบาย ไม่ต้องไปเกิดในนรก
ไม่ต้องดำรงอยู่ชั่วกัป ไม่ใช่แก้ไขไม่ได้”
ตติยภาณวาร จบ
สังฆเภทขันธกะที่ ๗ จบ

รวมเรื่องที่มีในสังฆเภทขันธกะ
เรื่องเจ้าศากยะผู้มีชื่อเสียงออกบวชขณะที่พระผู้มีพระภาค
ประทับที่อนุปิยนิคม เจ้าอนุรุทธศากยะผู้สุขุมาลชาติ
ไม่ปรารถนาจะทรงผนวช เจ้ามหานามะผู้พี่จึงสอนวิธีไถนา
หว่านข้าว ไขน้ำเข้า ระบายน้ำออก ถอนหญ้า
เกี่ยวข้าว ขนข้าว ตั้งลอม นวดข้าว สางฟาง
ฝัดข้าวลีบ ฝัดละอองออก ขนขึ้นฉาง
เจ้าอนุรุทธะจึงตัดสินใจออกบวช เพราะทรงเห็นการงาน
ไม่มีที่จบสิ้น แม้มารดาบิดา ปู่ย่าตายายจะตายไปหมด
พระเจ้าภัททิยศากยะ เจ้าอนุรุทธศากยะ เจ้าอานนท์
เจ้าภคุ เจ้ากิมพิละ ถือตัวว่าเป็นศากยวงศ์
เพื่อจะตัดมานะจึงยอมให้อุบาลีบวชก่อน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๒๐ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในสังฆเภทขันธกะ
พระผู้มีพระภาคประทับที่เมืองโกสัมพี
พระเทวทัตทำกรรมเลวทราม เสื่อมจากฤทธิ์
กกุธโกฬิยเทพบุตรเข้าไปแจ้งข่าวแก่พระมหาโมคคัลลานะ
สงฆ์ลงปกาสนียกรรมพระเทวทัต
อชาตศัตรูกุมารถูกพระเทวทัตยุยงให้ปลงพระชนม์พระชนก
พระเทวทัตส่งบุรุษไปลอบปลงพระชนม์พระผู้มีพระภาคแต่ไม่สำเร็จ
พระเทวทัตกลิ้งศิลาหวังจะปลงพระชนม์พระผู้มีพระภาคด้วยตนเอง
สั่งให้คนปล่อยช้างนาฬาคิรีเพื่อทำร้ายพระผู้มีพระภาค
พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติโภชนะที่คน ๓ คนพึงบริโภค
เพราะอำนาจประโยชน์ ๓ อย่าง
ต่อจากนั้น พระเทวทัตทูลขอวัตถุ ๕ ประการ
พยายามทำลายสงฆ์ การทำลายสงฆ์มีโทษหนัก
พระเทวทัตทำลายสงฆ์ ชักชวนภิกษุ ๕๐๐ รูปเข้าเป็นพรรค
พวกพาหนีไปอยู่ที่คยาสีสประเทศ พระผู้มีพระภาครับสั่งให้
พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะไปตามภิกษุ ๕๐๐ รูปกลับ
ให้พวกภิกษุผู้ประพฤติตามภิกษุผู้ทำลายสงฆ์แสดงอาบัติถุลลัจจัย
เรื่ององค์ ๘ มี ๓ เรื่อง คือ
๑. ภิกษุผู้ควรเป็นทูตมีคุณสมบัติ ๘ อย่าง
๒. พระสารีบุตรประกอบด้วยคุณสมบัติของทูต ๘ อย่าง
๓. พระเทวทัตถูกอสัทธรรม ๘ อย่างครอบงำ
พระเทวทัตถูกอสัทธรรม ๓ อย่างครอบงำ
เรื่องอาการที่เรียกว่า “สังฆราชี” “สังฆเภท”
สังฆเภทขันธกะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๒๑ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๑. อาคันตุกวัตตกถา
๘. วัตตขันธกะ

๑. อาคันตุกวัตตกถา
ว่าด้วยวัตรปฏิบัติของภิกษุผู้จรมา
[๓๕๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกคหบดี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุอาคันตุกะสวมรองเท้าเข้าสู่
อารามบ้าง กั้นร่มเข้าสู่อารามบ้าง คลุมศีรษะเข้าสู่อารามบ้าง พาดจีวรบนศีรษะเข้า
สู่อารามบ้าง ใช้น้ำดื่มล้างเท้าบ้าง ไม่ยอมไหว้ภิกษุผู้อยู่ประจำในอาวาสผู้แก่พรรษา
กว่าบ้าง ไม่ต้อนรับด้วยเสนาสนะบ้าง
ภิกษุอาคันตุกะรูปหนึ่ง ถอดลิ่มวิหารที่ไม่มีคนอยู่แล้วผลักบานประตูเข้าไปอย่าง
รวดเร็ว งูตกจากเบื้องบนลงมาที่คอของภิกษุนั้น ท่านตกใจกลัวร้องขึ้นสุดเสียง ภิกษุ
ทั้งหลายรีบเข้าไปถามภิกษุนั้นดังนี้ว่า “ท่าน ท่านร้องทำไม”
ภิกษุนั้นจึงบอกเรื่องนั้นให้ภิกษุทั้งหลายทราบ
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุ
อาคันตุกะทั้งหลายจึงสวมรองเท้าเข้าสู่อารามบ้าง กั้นร่มเข้าสู่อารามบ้าง คลุมศีรษะเข้า
สู่อารามบ้าง พาดจีวรบนศีรษะเข้าสู่อารามบ้าง ใช้น้ำดื่มล้างเท้าบ้าง ไม่ยอมไหว้
ภิกษุผู้อยู่ประจำในอาวาสผู้แก่พรรษากว่าบ้าง ไม่ต้อนรับด้วยเสนาสนะบ้างเล่า”
ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่าภิกษุ
อาคันตุกะทั้งหลายสวมรองเท้าเข้าสู่อารามบ้าง กั้นร่มเข้าสู่อารามบ้าง คลุมศีรษะเข้า
สู่อารามบ้าง พาดจีวรบนศีรษะเข้าสู่อารามบ้าง ใช้น้ำดื่มล้างเท้าบ้าง ไม่ยอมไหว้ภิกษุ
ผู้อยู่ประจำในอาวาสผู้แก่พรรษากว่าบ้าง ไม่ถามถึงเสนาสนะบ้าง จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๒๒ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๑. อาคันตุกวัตตกถา
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุอาคันตุกะ
ทั้งหลายจึงสวมรองเท้าเข้าสู่อารามบ้าง กั้นร่มเข้าสู่อารามบ้าง คลุมศีรษะเข้าสู่อาราม
บ้าง พาดจีวรบนศีรษะเข้าสู่อารามบ้าง ใช้น้ำดื่มล้างเท้าบ้าง ไม่ยอมไหว้ภิกษุผู้อยู่
ประจำในอาวาสผู้แก่พรรษากว่าบ้าง ไม่ถามถึงเสนาสนะบ้างเล่า ภิกษุทั้งหลาย การ
กระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” ครั้นทรงตำหนิแล้ว ฯลฯ
ทรงแสดงธรรมีกถารับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า
[๓๕๗] ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เราจะบัญญัติวัตรแก่ภิกษุอาคันตุกะทั้งหลาย
โดยที่ภิกษุอาคันตุกะทั้งหลายจะต้องประพฤติชอบ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาคันตุกะคิดว่า “เราจะเข้าไปสู่อารามเดี๋ยวนี้” พึงถอด
รองเท้าเคาะแล้วถือไปอย่างระมัดระวัง ลดร่ม เปิดศีรษะ ลดจีวรบนศีรษะลงบนบ่า
ไม่ต้องรีบร้อนเข้าสู่อารามตามปกติ เมื่อเข้าสู่อารามก็พึงสังเกตว่า “ภิกษุผู้อยู่ประจำ
ในอาวาสทั้งหลายประชุมกันที่ไหน” พึงไปที่ที่ภิกษุผู้อยู่ประจำในอาวาสประชุมกัน
ไม่ว่าจะเป็นโรงฉัน มณฑปหรือโคนไม้ แล้วเก็บบาตรไว้ ณ ที่สมควร เก็บจีวรไว้ ณ
ที่สมควร จองอาสนะที่เหมาะสมแล้วนั่ง ถามถึงน้ำดื่มน้ำใช้ว่า “อย่างไหนน้ำดื่ม
อย่างไหนน้ำใช้” ถ้าต้องการน้ำดื่มก็ตักมาดื่ม ถ้าต้องการน้ำใช้ก็ตักมาล้างเท้า เมื่อ
จะล้างเท้า ควรใช้มือข้างหนึ่งรดน้ำ มืออีกข้างหนึ่งล้างเท้า ไม่พึงใช้มือข้างที่รดน้ำล้าง
เท้า ถามถึงผ้าเช็ดรองเท้าแล้วเช็ดรองเท้า เมื่อจะเช็ดรองเท้า พึงใช้ผ้าแห้งเช็ดก่อน
ใช้ผ้าเปียกเช็ดทีหลัง พึงซักผ้าเช็ดรองเท้าบิดแล้วผึ่งไว้ ณ ที่สมควร
ถ้าภิกษุผู้อยู่ประจำในอาวาสแก่พรรษา พึงอภิวาท ถ้าเป็นพระนวกะ พึงให้
ท่านอภิวาท ถามถึงเสนาสนะว่า “ผมได้เสนาสนะแห่งไหน” ถามถึงเสนาสนะที่มีภิกษุ
หรือที่ไม่มีภิกษุอยู่ ถามถึงโคจรคามและอโคจรคาม ถามถึงตระกูลที่เป็นเสกขสมมติ๑

เชิงอรรถ :
๑ ตระกูลเสกขสมมติ คือ ตระกูลที่มีศรัทธามาก ให้ทานวัตถุมากจนหมดทุนทรัพย์ เพื่อไม่ให้ตระกูลเช่นนี้
เดือดร้อนจากการถวายสิ่งของแก่ภิกษุสงฆ์ หรือเพื่อไม่ให้ภิกษุสงฆ์รบกวนตระกูลเช่นนี้ สงฆ์จึงประกาศ
สมมติ(แต่งตั้ง)ตระกูลเช่นนี้ให้เป็น “เสกขสมมติ” (ดู วิ.อ.๒/๕๖๒/๔๔๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๒๓ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๑. อาคันตุกวัตตกถา
ถามถึงวัจกุฎี ถามถึงน้ำดื่มและน้ำใช้ ถามถึงไม้เท้า ถามถึงกติกาสงฆ์ที่ตั้งไว้ว่า
“ควรเข้าเวลาไหน ควรออกเวลาไหน” ถ้าวิหารไม่มีภิกษุอยู่ก็พึงเคาะประตูรอสัก
ครู่หนึ่งแล้วถอดลิ่มผลักบานประตู ยืนอยู่ข้างนอกมองดูให้ทั่ว
ถ้าวิหารรก มีเตียงวางซ้อนเตียงหรือตั่งวางซ้อนตั่ง เสนาสนะมีละอองจับเบื้องบน
ถ้าสามารถ ก็พึงชำระให้สะอาด เมื่อจะชำระวิหารให้สะอาด พึงขนเครื่องลาดพื้น
ออกไปวางไว้ ณ ที่สมควร เขียงรองเตียง ฟูก หมอน ผ้ารองนั่งและผ้าปูนอน พึงขน
ออกไปวางไว้ ณ ที่สมควร เตียง ตั่ง พึงยกอย่างระมัดระวัง ไม่ให้ครูด ไม่ให้กระทบ
บานประตูและกรอบประตู ขนออกไปตั้งไว้ ณ ที่สมควร เขียงรองเตียง กระโถน
พนักพิง พึงขนออกมาวางไว้ ณ ที่สมควร พรมปูพื้น พึงสังเกตที่ปูไว้เดิม ค่อยขน
ออกมาวาง ณ ที่สมควร
ถ้าในวิหารมีหยากเยื่อ พึงกวาดเพดานลงมาก่อน กรอบหน้าต่างและมุมห้อง
พึงเช็ด
ถ้าฝาที่ทาสีเหลืองหรือพื้นทาสีดำขึ้นรา พึงใช้ผ้าชุบน้ำบิดแล้วเช็ด
ถ้าเป็นพื้นไม่ได้ทา พึงใช้น้ำประพรมแล้วเช็ด อย่าให้วิหารคลาคล่ำด้วยฝุ่นละออง
พึงเก็บหยากเยื่อไปทิ้ง ณ ที่สมควร
พรมปูพื้น พึงผึ่งแดด ชำระ ตบ ขนกลับปูไว้ตามเดิม เขียงรองเตียง พึงผึ่ง
แดด เช็ด ขนกลับวางไว้ตามเดิม
เตียง ตั่ง พึงผึ่งแดด ชำระ ปัด ยกอย่างระมัดระวัง ไม่ให้ครูด ไม่ให้กระทบ
บานประตูและกรอบประตู ขนกลับตั้งไว้ตามเดิม ฟูก หมอน ผ้าปูนั่ง ผ้าปูนอน
พึงผึ่งแดด ชำระ ตบ ขนกลับวางปูไว้ตามเดิม กระโถน พนักพิง พึงผึ่งแดด เช็ดถู
ขนกลับวางไว้ตามเดิม
พึงเก็บบาตรและจีวร เมื่อจะเก็บบาตร พึงใช้มือข้างหนึ่งถือบาตร ใช้มือข้าง
หนึ่งคลำใต้เตียงหรือใต้ตั่ง จึงเก็บบาตร ไม่พึงเก็บบาตรไว้บนพื้นที่ไม่มีสิ่งใดรอง เมื่อ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๒๔ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๒. อาวาสิกวัตตกถา
จะเก็บจีวร พึงใช้มือข้างหนึ่งถือจีวร ใช้มือข้างหนึ่งลูบราวจีวรหรือสายระเดียง เอา
ชายไว้นอก เอาขนดไว้ใน จึงเก็บจีวร
ถ้าลมเจือฝุ่นละอองพัดมาทางทิศตะวันออก พึงปิดหน้าต่างด้านตะวันออก
ถ้าพัดมาทางทิศตะวันตก พึงปิดหน้าต่างด้านตะวันตก
ถ้าพัดมาทางทิศเหนือ พึงปิดหน้าต่างด้านเหนือ
ถ้าพัดมาทางทิศใต้ พึงปิดหน้าต่างด้านใต้
ถ้าเป็นฤดูหนาว พึงเปิดหน้าต่างกลางวัน ปิดกลางคืน
ถ้าเป็นฤดูร้อน พึงปิดหน้าต่างกลางวัน เปิดกลางคืน
ถ้าบริเวณ ซุ้ม โรงฉัน โรงไฟ วัจกุฎี รก พึงปัดกวาด ถ้าน้ำฉันน้ำใช้ไม่มี
พึงจัดเตรียมไว้ ถ้าหม้อชำระไม่มีน้ำ พึงตักน้ำใส่หม้อชำระ
ภิกษุทั้งหลาย นี้คือวัตรของภิกษุอาคันตุกะทั้งหลาย โดยที่ภิกษุอาคันตุกะทั้งหลาย
จะต้องประพฤติชอบ

๒. อาวาสิกวัตตกถา
ว่าด้วยวัตรปฏิบัติของภิกษุผู้อยู่ในอาวาส
[๓๕๘] สมัยนั้น ภิกษุผู้อยู่ประจำในอาวาสเห็นภิกษุอาคันตุกะทั้งหลายแล้วไม่
ปูอาสนะ ไม่ตั้งน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า ไม่ลุกรับบาตรและจีวร ไม่
นำน้ำดื่มมาต้อนรับ ไม่นำน้ำใช้มาต้อนรับ ไม่ไหว้ภิกษุอาคันตุกะผู้แก่พรรษากว่า ไม่จัด
เสนาสนะให้
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุ
ผู้อยู่ประจำในอาวาสทั้งหลายเห็นภิกษุอาคันตุกะทั้งหลายแล้วไม่ปูอาสนะ ไม่ตั้งน้ำล้างเท้า
ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า ไม่ลุกรับบาตรและจีวร ไม่นำน้ำดื่มมาต้อนรับ ไม่นำ
น้ำใช้มาต้อนรับ ไม่ไหว้ภิกษุอาคันตุกะผู้แก่พรรษากว่า ไม่จัดเสนาสนะให้เล่า”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๒๕ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๒. อาวาสิกวัตตกถา
ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่าภิกษุทั้งหลาย
ผู้อยู่ประจำในอาวาสเห็นภิกษุอาคันตุกะทั้งหลายแล้วไม่ปูอาสนะ ฯลฯ จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตำหนิ ฯลฯ ครั้นทรงตำหนิแล้ว ฯลฯ ทรงแสดงธรรมีกถา
รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า
[๓๕๙] ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เราจะบัญญัติวัตรแก่ภิกษุผู้อยู่ประจำใน
อาวาสทั้งหลาย โดยที่ภิกษุผู้อยู่ประจำในอาวาสทั้งหลายจะต้องประพฤติชอบ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ประจำในอาวาสเห็นภิกษุอาคันตุกะผู้แก่พรรษากว่า
พึงปูอาสนะ ตั้งน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า ลุกรับบาตรและจีวร นำ
น้ำดื่มต้อนรับ นำน้ำใช้มาต้อนรับ ถ้าสามารถก็พึงเช็ดรองเท้า เมื่อจะเช็ดรองเท้า
ใช้ผ้าแห้งเช็ดก่อนแล้วใช้ผ้าเปียกเช็ดทีหลัง พึงซักผ้าเช็ดรองเท้าบิดแล้วผึ่งไว้ ณ ที่
สมควร
ภิกษุผู้อยู่ประจำในอาวาสพึงอภิวาทภิกษุอาคันตุกะผู้แก่พรรษากว่าจัดเสนาสนะ
ถวายว่า “เสนาสนะนั่นถึงแก่ท่าน” บอกเสนาสนะที่มีภิกษุอยู่หรือไม่มีภิกษุอยู่ บอก
โคจรคามและอโคจรคาม บอกตระกูลที่เป็นเสกขสมมติ บอกวัจกุฎี บอกน้ำดื่มน้ำใช้
บอกไม้เท้า บอกกติกาสงฆ์ที่ตั้งไว้ว่า “พึงเข้าเวลานี้ พึงออกเวลานี้”
ถ้าภิกษุอาคันตุกะเป็นพระนวกะ ภิกษุผู้อยู่ประจำในอาวาสพึงนั่งลงบอกว่า “ท่าน
จงวางบาตรที่นั่น วางจีวรที่นั่น นั่งบนอาสนะนี้” พึงบอกน้ำดื่ม พึงบอกน้ำใช้
บอกผ้าเช็ดรองเท้า พึงให้ภิกษุอาคันตุกะที่เป็นพระนวกะให้อภิวาท บอกเสนาสนะว่า
“เสนาสนะนั่นถึงแก่ท่าน” บอกเสนาสนะที่มีภิกษุอยู่หรือไม่มีภิกษุอยู่ บอกโคจรคาม
และอโคจรคาม บอกตระกูลที่เป็นเสกขสมมติ บอกวัจกุฎี บอกน้ำดื่ม บอกน้ำใช้
บอกไม้เท้า บอกกติกาที่สงฆ์ตั้งไว้ว่า “พึงเข้าเวลานี้ พึงออกเวลานี้”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๒๖ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๓. คมิกวัตตกถา
ภิกษุทั้งหลาย นี้คือวัตรของภิกษุผู้อยู่ประจำในอาวาสทั้งหลาย โดยที่ภิกษุผู้
อยู่ประจำในอาวาสทั้งหลายต้องประพฤติชอบ

๓. คมิกวัตตกถา
ว่าด้วยวัตรปฏิบัติของภิกษุผู้ออกเดินทาง
[๓๖๐] สมัยนั้น ภิกษุผู้เตรียมจะเดินทางทั้งหลายไม่เก็บเครื่องใช้ไม้ เครื่องใช้ดิน
เปิดประตูหน้าต่างทิ้งไว้ ไม่บอกมอบหมายเสนาสนะแล้วพากันจากไป เครื่องใช้ไม้
เครื่องใช้ดินเสียหาย ไม่มีใครดูแลรักษาเสนาสนะ
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุ
ผู้เตรียมจะเดินทางทั้งหลายจึงไม่เก็บเครื่องใช้ไม้ เครื่องใช้ดิน เปิดประตูหน้าต่างทิ้งไว้
ไม่บอกมอบหมายเสนาสนะแล้วพากันจากไปเล่า เครื่องใช้ไม้ เครื่องใช้ดินเสียหาย
ไม่มีใครดูแลรักษาเสนาสนะ”
ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่าภิกษุ
ผู้เตรียมจะเดินทางทั้งหลายไม่เก็บเครื่องใช้ไม้ ฯลฯ จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิ ฯลฯ ครั้นทรงตำหนิแล้วทรงแสดงธรรมีกถารับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า
[๓๖๑] ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เราจะบัญญัติวัตรแก่ภิกษุผู้เตรียมจะเดิน
ทางทั้งหลาย โดยที่ภิกษุผู้เตรียมจะเดินทางทั้งหลายต้องประพฤติชอบ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เตรียมจะเดินทาง พึงเก็บเครื่องใช้ไม้ เครื่องใช้ดิน ปิด
ประตูหน้าต่าง บอกมอบหมายเสนาสนะแล้วพากันจากไป ถ้าไม่มีภิกษุ พึงบอก


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๒๗ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๔. อนุโมทนาวัตตกถา
มอบหมายแก่สามเณร ถ้าไม่มีสามเณร พึงบอกมอบหมายแก่คนวัด ถ้าไม่มีคนวัด
พึงบอกมอบหมายแก่อุบาสก ถ้าไม่มีภิกษุสามเณร คนวัดหรืออุบาสก พึงยกเตียง
ขึ้นวางไว้บนศิลา ๔ แผ่น ยกเตียงซ้อนเตียง ยกตั่งซ้อนตั่ง กองเครื่องเสนาสนะ
ไว้ข้างบนแล้วเก็บเครื่องใช้ไม้ เครื่องใช้ดิน ปิดประตูหน้าต่าง แล้วจึงพากันจากไป
ถ้าวิหารฝนรั่ว ถ้าสามารถก็ควรมุงหรือขวนขวายว่า “จะมุงวิหารได้อย่างไร” ถ้าทำ
ได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี ถ้าทำไม่ได้พึงยกเตียงขึ้น วางไว้บนศิลา ๔ แผ่นในที่ที่
ฝนไม่รั่ว ยกเตียงซ้อนเตียง ตั่งซ้อนตั่ง กองเครื่องเสนาสนะไว้ข้างบน เก็บเครื่อง
ใช้ไม้ เครื่องใช้ดิน ปิดประตูหน้าต่างแล้วจึงพากันจากไป ถ้าวิหารฝนรั่วทุกแห่ง ถ้า
สามารถก็พึงขนเครื่องเสนาสนะเข้าบ้านหรือขวนขวายว่า “จะขนเครื่องเสนาสนะเข้า
หมู่บ้านได้อย่างไร” ถ้าทำได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี ถ้าทำไม่ได้ พึงยกเตียงขึ้นวาง
ไว้บนศิลา ๔ แผ่นในที่แจ้ง ยกเตียงซ้อนเตียง ตั่งซ้อนตั่ง กองเครื่องเสนาสนะไว้
ข้างบน เก็บเครื่องใช้ไม้เครื่องใช้ดิน แล้วใช้หญ้าหรือใบไม้คลุม พากันจากไปด้วยคิด
ว่า “อย่างไรเสีย ส่วนของเตียงตั่งคงจะเหลืออยู่บ้าง”
ภิกษุทั้งหลาย นี้ คือ วัตรของภิกษุผู้เตรียมจะเดินทางทั้งหลาย โดยที่ภิกษุ
ผู้เตรียมจะเดินทางทั้งหลายต้องประพฤติชอบ

๔. อนุโมทนาวัตตกถา
ว่าด้วยวัตรปฏิบัติในการอนุโมทนา
[๓๖๒] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายไม่กล่าวอนุโมทนาในโรงอาหาร คนทั้งหลาย
ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรทั้งหลายจึงไม่
กล่าวอนุโมทนาเล่า”
ภิกษุทั้งหลายได้ยินคนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนา ฯลฯ
ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๒๘ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๔. อนุโมทนาวัตตกถา
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุรับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุกล่าวอนุโมทนาในโรงอาหาร”
ต่อมา ภิกษุเหล่านั้นได้สนทนากันดังนี้ว่า “ใครควรกล่าวอนุโมทนาในโรงอาหาร”
แล้วนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้เถระกล่าวอนุโมทนาในโรง
อาหาร”
ต่อมา สมาคมหนึ่งถวายสังฆภัต ท่านพระสารีบุตรเป็นพระสังฆเถระ ภิกษุ
ทั้งหลายคิดว่า “พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้เถระกล่าวอนุโมทนาในโรงอาหาร”
จึงปล่อยให้ท่านพระสารีบุตรอยู่รูปเดียว แล้วพากันจากไป
ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรกล่าวสัมโมทนียกถาแก่คนเหล่านั้น แล้วตามไป
ทีหลังเพียงรูปเดียว
พระผู้มีพระภาคทอดพระเนตรเห็นท่านพระสารีบุตรกำลังเดินมาแต่ไกลรูปเดียว
ครั้นแล้วรับสั่งถามดังนี้ว่า “สารีบุตร อาหารคงมีมากกระมัง”
ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า “พระพุทธเจ้าข้า อาหารมีมากจริง แต่ภิกษุ
ทั้งหลายปล่อยข้าพระพุทธเจ้าไว้ผู้เดียวแล้วพากันกลับ”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้พระเถรานุเถระ ๔-๕ รูปรออยู่
ในโรงฉัน”
ต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งปวดอุจจาระอยู่ในโรงฉัน กลั้นอุจจาระไว้จนสลบล้มลง
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีธุระ เราอนุญาตให้บอกลาภิกษุ
ผู้อยู่ถัดไปแล้วไปได้”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๒๙ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๕. ภัตตัคควัตตกถา
๕. ภัตตัคควัตตกถา
ว่าด้วยวัตรปฏิบัติในโรงฉัน
[๓๖๓] สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์นุ่งไม่เรียบร้อย ห่มไม่เรียบร้อย ไม่มี
มารยาท ไปโรงฉัน เดินแซงไปข้างหน้าภิกษุผู้เถระบ้าง นั่งเบียดภิกษุผู้เถระ
ทั้งหลายบ้าง กีดกันอาสนะภิกษุนวกะทั้งหลายบ้าง นั่งทับสังฆาฏิในละแวกบ้านบ้าง
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์นุ่งไม่เรียบร้อย ห่มไม่เรียบร้อย ไม่มีมารยาท ไปโรงฉัน เดินแซงไป
ข้างหน้าภิกษุผู้เถระทั้งหลายบ้าง นั่งเบียดภิกษุผู้เถระทั้งหลายบ้าง กีดกันอาสนะ
ภิกษุนวกะทั้งหลายบ้าง นั่งทับสังฆาฏิในละแวกบ้านบ้างเล่า”
ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์นุ่งไม่เรียบร้อย ห่มไม่เรียบร้อย ไม่มีมารยาท ไปโรงฉัน เดินแซงไป
ข้างหน้าภิกษุผู้เถระทั้งหลายบ้าง นั่งเบียดภิกษุผู้เถระทั้งหลายบ้าง กีดกันอาสนะ
ภิกษุนวกะทั้งหลายบ้าง นั่งทับสังฆาฏิในละแวกบ้านบ้าง จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิ ฯลฯ ครั้นทรงตำหนิแล้ว ฯลฯ ทรงแสดง
ธรรมีกถา รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า
[๓๖๔] ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เราจะบัญญัติวัตรในโรงฉันแก่ภิกษุทั้งหลาย
โดยที่ภิกษุทั้งหลายจะต้องประพฤติชอบในโรงฉัน
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภัตตุทเทสก์บอกเวลาในอาราม ภิกษุพึงนุ่งปิดมณฑล ๓ ให้
เรียบร้อย คาดประคดเอว ห่มผ้าสังฆาฏิที่พับซ้อนกันไว้ กลัดลูกดุม ล้างบาตรแล้ว
ถือไปไม่ต้องรีบร้อนเข้าหมู่บ้าน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๓๐ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๕. ภัตตัคควัตตกถา
ไม่พึงเดินแซงไปข้างหน้าภิกษุผู้เถระทั้งหลาย พึงปกปิดกายให้ดีไปในละแวกบ้าน
พึงสำรวมดีไปในละแวกบ้าน พึงทอดจักษุลงไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเวิกผ้าไปในละแวก
บ้าน ไม่พึงหัวเราะดังไปในละแวกบ้าน พึงพูดเสียงเบาไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเดิน
โคลงกายไปในละแวกบ้าน ไม่พึงแกว่งแขนไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเดินโคลงศีรษะไป
ในละแวกบ้าน ไม่พึงเดินเท้าสะเอวไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเดินคลุมศีรษะไปในละแวกบ้าน
ไม่พึงเดินกระโหย่งไปในละแวกบ้าน
พึงปกปิดกายให้ดีนั่งในละแวกบ้าน พึงสำรวมดีนั่งในละแวกบ้าน พึงทอดจักษุ
ลงนั่งในละแวกบ้าน ไม่พึงนั่งเวิกผ้าในละแวกบ้าน ไม่พึงนั่งหัวเราะดังในละแวกบ้าน
พึงนั่งพูดเสียงเบาในละแวกบ้าน ไม่พึงนั่งโคลงกายในละแวกบ้าน ไม่พึงนั่งแกว่งแขน
ในละแวกบ้าน ไม่พึงนั่งโคลงศีรษะในละแวกบ้าน ไม่พึงนั่งเท้าสะเอวในละแวกบ้าน
ไม่พึงนั่งคลุมศีรษะในละแวกบ้าน ไม่พึงนั่งรัดเข่าในละแวกบ้าน ไม่พึงนั่งเบียดภิกษุ
ผู้เถระทั้งหลาย ไม่พึงกีดกันอาสนะภิกษุนวกะทั้งหลาย ไม่พึงนั่งทับสังฆาฏิ
เมื่อเขาถวายน้ำ พึงใช้มือทั้ง ๒ ประคองบาตรรับน้ำ พึงถือบาตรล้างอย่าง
ไม่ให้ครูด ถ้ามีกระโถน พึงเทน้ำลงกระโถนอย่างระมัดระวัง ด้วยคิดว่า
“กระโถนอย่าเลอะน้ำ ภิกษุทั้งหลายที่อยู่ใกล้อย่าถูกน้ำกระเซ็น สังฆาฏิอย่าถูกน้ำ”
ถ้าไม่มีกระโถน พึงเทน้ำลงพื้นดินอย่างระมัดระวัง ด้วยคิดว่า “ภิกษุทั้งหลายที่อยู่
ใกล้ อย่าถูกน้ำกระเซ็น สังฆาฏิอย่าถูกน้ำ”
เมื่อเขาถวายข้าวสุก พึงใช้มือทั้ง ๒ ประคองบาตรรับข้าวสุก เว้นที่ว่างไว้
สำหรับแกง ถ้ามีเนยใส น้ำมัน หรือแกงอ่อม ภิกษุผู้เถระพึงบอกว่า “ท่านจงจัดถวาย
ภิกษุเท่ากันทุกรูป” พึงรับบิณฑบาตโดยเคารพ พึงให้ความสำคัญในบาตรขณะรับ
บิณฑบาต พึงรับบิณฑบาตพอเหมาะกับแกง พึงรับบิณฑบาตเสมอขอบปากบาตร
ภิกษุผู้เถระไม่พึงฉันก่อนจนกว่าข้าวสุกจะทั่วถึงภิกษุทุกรูป พึงฉันบิณฑบาต
โดยเคารพ พึงให้ความสำคัญในบาตรขณะฉันบิณฑบาต พึงฉันบิณฑบาตไปตาม
ลำดับ พึงฉันบิณฑบาตพอเหมาะกับแกง ไม่พึงฉันบิณฑบาตขยุ้มลงแต่ยอด ไม่พึง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๓๑ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๕. ภัตตัคควัตตกถา
ใช้ข้าวสุกกลบแกงหรือกับข้าวเพราะอยากได้มาก ไม่เป็นไข้ไม่พึงออกปากขอแกงหรือ
ข้าวสุกมาฉันส่วนตัว ไม่พึงมุ่งตำหนิมองดูบาตรของภิกษุเหล่าอื่น ไม่พึงทำคำข้าว
ให้ใหญ่เกิน พึงทำคำข้าวให้กลมกล่อม ไม่พึงอ้าปากรอคำข้าวที่ยังไม่ถึงปาก ขณะ
กำลังฉัน ไม่พึงสอดมือทั้งหมดเข้าในปาก ขณะที่ในปากมีคำข้าว ไม่พึงพูดคุย ไม่
พึงฉันโยนคำข้าว ไม่พึงฉันกัดคำข้าว ไม่พึงฉันทำกระพุ้งแก้มตุ่ย ไม่พึงฉันสลัดมือ
ไม่พึงฉันโปรยเมล็ดข้าว ไม่พึงฉันแลบลิ้น ไม่พึงฉันทำเสียงดังจั๊บ ๆ ไม่พึงฉันทำ
เสียงดังซู้ด ๆ ไม่ พึงฉันเลียมือ ไม่พึงฉันขอดบาตร ไม่พึงฉันเลียริมฝีปาก ไม่พึงจับ
ภาชนะน้ำดื่มด้วยมือเปื้อนอาหาร
ภิกษุผู้เถระไม่พึงรับน้ำก่อนจนกว่าภิกษุทั้งหมดฉันเสร็จ เมื่อเขาถวายน้ำ พึงใช้
มือทั้ง ๒ ประคองบาตรรับน้ำ พึงถือล้างอย่างระมัดระวัง ไม่ให้ครูด ถ้ามีกระโถน
พึงเทน้ำลงกระโถนอย่างระมัดระวัง ด้วยคิดว่า “กระโถนอย่าเลอะน้ำ ภิกษุทั้งหลาย
ที่อยู่ใกล้ อย่าถูกน้ำกระเซ็น สังฆาฏิอย่าถูกน้ำ” ถ้าไม่มีกระโถน พึงเทน้ำลงบน
พื้นดินอย่างระมัดระวัง ด้วยคิดว่า “ภิกษุทั้งหลายที่อยู่ใกล้ อย่าถูกน้ำกระเซ็น
สังฆาฏิอย่าถูกน้ำ” ไม่พึงเทน้ำล้างบาตรมีเมล็ดข้าวในละแวกบ้าน
เมื่อจะกลับ ภิกษุนวกะทั้งหลายพึงกลับก่อน ภิกษุผู้เถระทั้งหลายกลับทีหลัง
พึงปกปิดกายให้ดีไปในละแวกบ้าน พึงสำรวมดีไปในละแวกบ้าน พึงทอดจักษุลงไป
ในละแวกบ้าน ไม่พึงเวิกผ้าไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเดินหัวเราะดังไปในละแวกบ้าน
พึงพูดเสียงเบา ไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเดินโคลงกายไปในละแวกบ้าน ไม่พึงแกว่ง
แขนไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเดินโคลงศีรษะไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเดินเท้าสะเอว
ไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเดินคลุมศีรษะไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเดินกระโหย่งไปใน
ละแวกบ้าน
ภิกษุทั้งหลาย นี้ คือวัตรในโรงฉัน โดยที่ภิกษุทั้งหลายพึงประพฤติชอบในโรงฉัน
ปฐมภาณวาร จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๓๒ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๖. ปิณฑจาริกวัตตกถา
๖. ปิณฑจาริกวัตตกถา
ว่าด้วยวัตรปฏิบัติของภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาต
[๓๖๕] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายผู้เที่ยวบิณฑบาตทั้งหลายนุ่งไม่เรียบร้อย ห่มไม่เรียบร้อย
ไม่มีมารยาท เที่ยวบิณฑบาต ไม่สังเกตเข้าบ้านบ้าง ไม่สังเกตออกไปบ้าง รีบร้อน
เข้าไปบ้าง รีบร้อนออกไปบ้าง ยืนไกลเกินไปบ้าง ยืนใกล้เกินไปบ้าง ยืนนานเกินไปบ้าง
กลับเร็วเกินไปบ้าง
ภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรรูปหนึ่ง ไม่ทันสังเกตเข้าไปบ้าน สำคัญว่าประตูบ้าน
เข้าไปยังห้องหนึ่งซึ่งมีหญิงเปลือยกายนอนหงายอยู่ ภิกษุนั้นได้เห็นหญิงเปลือยกาย
นอนหงายอยู่นั้น จึงรู้ว่า “นี้ไม่ใช่ประตู แต่เป็นห้องนอน” จึงออกจากห้องนั้นไป
สามีของหญิงนั้นเห็นนางเปลือยกายนอนหงายก็เข้าใจว่า “ภิกษุรูปนี้ทำมิดีมิร้าย
ภรรยาของเรา” จึงจับภิกษุนั้นทำร้าย
ลำดับนั้น หญิงนั้นตื่นขึ้นเพราะเสียงนั้น ได้ถามสามีดังนี้ว่า “พี่ ท่านทำร้าย
ภิกษุทำไม”
เขาตอบว่า “ภิกษุนี้ทำมิดีมิร้ายเธอ”
นางพูดว่า “ภิกษุนี้ไม่ได้ทำมิดีมิร้ายฉัน ภิกษุนั้นไม่ได้ทำอะไรเลย” แล้วให้
ปล่อยภิกษุนั้นไป
ภิกษุนั้นกลับไปอารามแล้วบอกเรื่องนั้นให้ภิกษุอื่นทราบ
บรรดาภิกษุผู้มักน้อยตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุทั้งหลายผู้เที่ยว
บิณฑบาตเป็นวัตรจึงนุ่งไม่เรียบร้อย ห่มไม่เรียบร้อย ไม่มีมารยาท เที่ยวบิณฑบาตเล่า
ไม่สังเกตเข้าบ้านบ้าง ไม่สังเกตออกไปบ้าง รีบร้อนเข้าไปบ้าง รีบร้อนออกไปบ้าง
ยืนไกลเกินไปบ้าง ยืนใกล้เกินไปบ้าง ยืนนานเกินไปบ้าง กลับเร็วเกินไปบ้าง”
ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุนั้นว่า “ภิกษุ ทราบว่า ฯลฯ จริงหรือ”
ภิกษุนั้นทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๓๓ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๖. ปิณฑจาริกวัตตกถา
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตำหนิ ฯลฯ ครั้นทรงตำหนิแล้ว ทรงแสดงธรรมีกถา
รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า
[๓๖๖] ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เราจะบัญญัติวัตรแก่ภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาต
ทั้งหลาย โดยที่ภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาตทั้งหลายต้องประพฤติชอบ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร คิดว่า “เวลานี้ เราจักเข้าบ้าน”
พึงนุ่งปกปิดมณฑล ๓ ให้เรียบร้อย คาดประคดเอว ห่มผ้าสังฆาฏิที่พับซ้อนกันไว้
กลัดลูกดุมล้างบาตรแล้วถืออย่างสำรวมเข้าบ้าน โดยไม่รีบร้อน
พึงปกปิดกายให้ดีไปในละแวกบ้าน พึงสำรวมดีไปในละแวกบ้าน พึงทอดจักษุ
ลงไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเวิกผ้าไปในละแวกบ้าน ไม่พึงหัวเราะดังไปในละแวกบ้าน
พึงพูดเสียงเบาไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเดินโคลงกายไปในละแวกบ้าน ไม่พึงแกว่งแขน
ไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเดินโคลงศีรษะไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเดินเท้าสะเอวไปใน
ละแวกบ้าน ไม่พึงเดินคลุมศีรษะไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเดินกระโหย่งไปในละแวกบ้าน
เมื่อเข้าบ้านก็พึงสังเกตว่า “เราจะเข้าทางนี้ ออกทางนี้” ไม่พึงรีบร้อนเข้า ไม่
พึงรีบร้อนออกไป ไม่พึงยืนไกลนัก ไม่พึงยืนใกล้นัก ไม่พึงยืนนานนัก ไม่พึงกลับเร็วนัก
พึงยืนสังเกตว่า “เขาประสงค์จะถวายอาหารหรือไม่ประสงค์จะถวาย” ถ้าเขาหยุด
ทำงาน หรือลุกจากที่นั่ง หรือจับทัพพีหรือจับภาชนะ หรือตั้งภาชนะไว้ พึงยืน
กำหนดว่า “เขาประสงค์จะถวายหรือ“” เมื่อเขาถวายอาหารพึงใช้มือข้างซ้ายแหวก
ผ้าสังฆาฏิแล้วน้อมบาตรเข้าไปด้วยมือข้างขวา ใช้มือทั้ง ๒ ประคองบาตรรับอาหาร
ไม่มองดูหน้าผู้ถวายอาหาร พึงสังเกตว่า “เขาประสงค์จะถวายแกงหรือไม่ประสงค์
จะถวาย” ถ้าเขาจับทัพพี หรือจับภาชนะ หรือตั้งภาชนะไว้ พึงยืนกำหนดว่า “เขา
ประสงค์จะถวายหรือ” เมื่อเขาถวายแล้วใช้ผ้าสังฆาฏิคลุมบาตร ไม่ต้องรีบร้อน กลับ
อย่างสำรวม
พึงปกปิดกายให้ดีไปในละแวกบ้าน พึงสำรวมดีไปในละแวกบ้าน พึงทอดจักษุ
ลงไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเวิกผ้าไปในละแวกบ้าน ไม่พึงหัวเราะดังไปในละแวกบ้าน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๓๔ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๗. อารัญญิกวัตตกถา
พึงพูดเสียงเบาไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเดินโคลงกายไปในละแวกบ้าน ไม่พึงแกว่งแขน
ไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเดินโคลงศีรษะไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเดินเท้าสะเอวไปใน
ละแวกบ้าน ไม่พึงเดินคลุมศีรษะไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเดินกระโหย่งไปในละแวกบ้าน
ผู้กลับจากบิณฑบาตมาถึงก่อน พึงปูอาสนะไว้ ตั้งน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้ากระเบื้อง
เช็ดเท้า ล้างภาชนะที่ใส่ของฉันตั้งไว้ ตั้งน้ำดื่มน้ำใช้ไว้ ผู้กลับจากบิณฑบาตถึงทีหลัง
ถ้าอาหารที่ฉันแล้วยังเหลืออยู่ ถ้าต้องการก็พึงฉัน ไม่ต้องการก็เททิ้งในที่ปราศจาก
ของเขียวสด หรือเทลงในน้ำที่ไม่มีตัวสัตว์ พึงรื้อขนอาสนะเก็บน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า
กระเบื้องเช็ดเท้า ล้างภาชนะที่ใส่ของฉัน เก็บไว้ เก็บน้ำดื่มน้ำใช้ กวาดโรงฉัน
ภิกษุผู้เห็นหม้อน้ำฉัน หม้อน้ำใช้หรือหม้อน้ำชำระว่างเปล่า ก็พึงจัดหาไปตั้งไว้ ถ้า
เป็นเรื่องสุดวิสัยก็กวักมือเรียกเพื่อนมาให้ช่วยกันจัด แต่ไม่พึงออกคำสั่งเพราะเรื่องนี้
ภิกษุทั้งหลาย นี้ คือ วัตรของภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาตทั้งหลาย โดยที่ภิกษุผู้
เที่ยวบิณฑบาตทั้งหลายต้องประพฤติชอบ

๗. อารัญญิกวัตตกถา
ว่าด้วยวัตรปฎิบัติของภิกษุผู้อยู่ป่า
[๓๖๗] สมัยนั้น ภิกษุหลายรูปอยู่ในป่า ไม่ตั้งน้ำดื่ม ไม่ตั้งน้ำใช้ ไม่ติดไฟ
ไม่เตรียมไม้สีไฟ ไม่รู้เรื่องนักษัตร ไม่รู้จักทิศ พวกโจรพากันไปที่นั้นแล้วถามภิกษุ
เหล่านั้นดังนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย มีน้ำดื่มหรือ”
ภิกษุทั้งหลายตอบว่า “โยมทั้งหลาย น้ำดื่มไม่มี”
โจรทั้งหลายถามว่า “ท่านทั้งหลาย มีน้ำใช้หรือ”
ภิกษุทั้งหลายตอบว่า “โยมทั้งหลาย น้ำใช้ก็ไม่มี”
โจรทั้งหลายถามว่า “ท่านทั้งหลาย มีไฟหรือ”
ภิกษุทั้งหลายตอบว่า “โยมทั้งหลาย ไฟก็ไม่มี”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๓๕ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๗. อารัญญิกวัตตกถา
โจรทั้งหลายถามว่า “ท่านทั้งหลาย มีไม้สีไฟหรือ”
ภิกษุทั้งหลายตอบว่า “โยมทั้งหลาย ไม้สีไฟก็ไม่มี”
โจรทั้งหลายถามว่า “ท่านทั้งหลาย วันนี้เป็นฤกษ์อะไร”
ภิกษุทั้งหลายตอบว่า “โยมทั้งหลาย พวกอาตมาไม่ทราบ”
โจรทั้งหลายถามว่า “ท่านทั้งหลาย นี้ทิศอะไร”
ภิกษุทั้งหลายตอบว่า “โยมทั้งหลาย พวกอาตมาไม่ทราบ”
ลำดับนั้น โจรเหล่านั้นคิดว่า “คนพวกนี้ไม่มีน้ำดื่ม ไม่มีน้ำใช้ ไม่มีไฟ ไม่มี
ไม้สีไฟ ไม่รู้นักษัตร ไม่รู้ทิศ คนพวกนี้น่าจะเป็นโจร คนพวกนี้ไม่ใช่ภิกษุ” จึงทำร้าย
แล้วจากไป
ต่อมา ภิกษุเหล่านั้นบอกเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่อง
นี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่งกับภิกษุ
ทั้งหลายว่า
[๓๖๘] ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เราจะบัญญัติวัตรแก่ภิกษุผู้อยู่ป่าทั้งหลาย
โดยที่ภิกษุผู้อยู่ป่าทั้งหลายต้องประพฤติชอบ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ป่า ควรลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ สวมถุงบาตรคล้องบ่า พาด
จีวรบนไหล่ สวมรองเท้า เก็บเครื่องใช้ไม้ เครื่องใช้ดิน ปิดประตูหน้าต่างแล้วลงจาก
เสนาสนะ กำหนดว่า “เวลานี้เราจะเข้าบ้าน” ควรถอดรองเท้าเคาะอย่างระมัดระวัง
ใส่ถุงคล้องบ่า นุ่งปกปิดมณฑล ๓ ให้เรียบร้อย คาดประคดเอว ห่มผ้าสังฆาฏิ
ที่พับซ้อนกันไว้ กลัดลูกดุม ล้างบาตรแล้วไม่ต้องรีบร้อน ถือเข้าบ้านโดยเรียบร้อย
พึงปกปิดกายด้วยดีไปในละแวกบ้าน พึงสำรวมด้วยดีไปในละแวกบ้าน ฯลฯ ไม่พึง
เดินกระโหย่งไปในละแวกบ้าน
เมื่อเข้าบ้านก็พึงกำหนดว่า “เราจะเข้าทางนี้ ออกทางนี้” ไม่พึงรีบร้อนเข้าไป
ไม่พึงรีบร้อนออกไป ไม่พึงยืนไกลนัก ไม่พึงยืนใกล้นัก ไม่พึงยืนนานนัก ไม่พึงกลับเร็วนัก


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๓๖ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๘. เสนาสนวัตตกถา
พึงยืนสังเกตว่า “เขาประสงค์จะถวายอาหารหรือไม่ประสงค์จะถวาย” ถ้าเขาหยุด
ทำงาน หรือลุกจากที่นั่ง หรือจับทัพพีหรือภาชนะ หรือตั้งภาชนะไว้ พึงยืนกำหนดว่า
“เขาประสงค์จะถวายหรือ” เมื่อเขาถวายอาหาร พึงใช้มือข้างซ้ายแหวกผ้าสังฆาฏิ
แล้วน้อมบาตรเข้าไปด้วยมือข้างขวา ใช้มือทั้ง ๒ ประคองบาตรรับอาหาร ไม่มอง
หน้าผู้ถวายอาหาร พึงสังเกตว่า “เขาประสงค์จะถวายแกงหรือไม่ประสงค์จะถวาย”
ถ้าเขาจับทัพพี หรือจับภาชนะ หรือตั้งภาชนะไว้ พึงยืนกำหนดว่า “เขาประสงค์
จะถวายหรือ” เมื่อเขาถวายแล้ว ใช้ผ้าสังฆาฏิคลุมบาตรแล้ว ไม่ต้องรีบร้อน กลับ
อย่างสำรวม
พึงปกปิดกายด้วยดีไปในละแวกบ้าน ฯลฯ ไม่พึงเดินกระโหย่งไปในละแวกบ้าน
ออกจากหมู่บ้าน แล้วสวมถุงบาตร คล้องบ่า พับจีวรวางไว้บนศีรษะสวมรองเท้าเดินไป
ภิกษุผู้อยู่ป่า พึงตั้งน้ำดื่ม พึงตั้งน้ำใช้ พึงติดไฟ พึงเตรียมไม้สีไฟไว้ พึงเตรียม
ไม้เท้า พึงเรียนรู้เรื่องนักษัตรทุกประเภทหรือเรียนบางส่วน พึงเป็นผู้ฉลาดในทิศ
ภิกษุทั้งหลาย นี้คือ วัตรของภิกษุผู้อยู่ป่าทั้งหลาย โดยที่ภิกษุผู้อยู่ป่าทั้งหลาย
ต้องประพฤติชอบ

๘. เสนาสนวัตตกถา
ว่าด้วยวัตรปฏิบัติในเสนาสนะ
[๓๖๙] สมัยนั้น ภิกษุหลายรูปทำจีวรอยู่ที่กลางแจ้ง พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เคาะ
เสนาสนะบนที่สูงเหนือลม ฝุ่นธุลีฟุ้งกลบภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุผู้มักน้อยตำหนิ
ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์จึงเคาะเสนาสนะบนที่สูงเหนือลมเล่า
ภิกษุทั้งหลายถูกฝุ่นธุลีฟุ้งกลบ”
ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์เคาะเสนาสนะบนที่สูงเหนือลม ฝุ่นธุลีฟุ้งกลบภิกษุทั้งหลาย จริงหรือ”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๓๗ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๘. เสนาสนวัตตกถา
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิ ฯลฯ แสดงธรรมีกถารับสั่งกับภิกษุ
ทั้งหลายว่า
[๓๗๐] ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เราจะบัญญัติเสนาสนวัตรแก่ภิกษุทั้งหลาย
โดยที่ภิกษุทั้งหลายต้องประพฤติชอบ
ภิกษุทั้งหลาย ตนอยู่ในวิหารใด ถ้าวิหารนั้นสกปรก ถ้าสามารถพึงชำระให้
สะอาด เมื่อจะชำระวิหารให้สะอาด พึงขนบาตรและจีวรออกก่อนวางไว้ ณ ที่
สมควร พึงขนผ้าปูนั่ง ผ้าปูนอน ฟูก หมอนออกไปวางไว้ ณ ที่สมควร
เตียง ตั่ง พึงยกอย่างระมัดระวัง ไม่ให้ครูด ไม่ให้กระทบบานประตูและกรอบ
ประตู ขนออกไปตั้งไว้ ณ ที่สมควร เขียงรองเตียง กระโถน พนักพิง พึงขนออก
มาวางไว้ ณ ที่สมควร พรมปูพื้น พึงสังเกตที่ปูไว้เดิม ค่อยขนออกมาวาง ณ ที่
สมควร
ถ้าในวิหารมีหยากเยื่อ พึงกวาดเพดานลงมาก่อน กรอบหน้าต่างและมุมห้อง
พึงเช็ด
ถ้าฝาที่ทาน้ำมันหรือพื้นทาสีดำขึ้นรา พึงใช้ผ้าชุบน้ำบิดแล้วเช็ด
ถ้าเป็นพื้นไม่ได้ทา พึงใช้น้ำประพรมแล้วเช็ด อย่าให้วิหารคลาคล่ำด้วยฝุ่นละออง
พึงเก็บหยากเยื่อไปทิ้ง ณ ที่สมควร ไม่พึงเคาะเสนาสนะใกล้ภิกษุ ใกล้วิหาร ใกล้
น้ำดื่ม น้ำใช้ บนเนินเหนือลม พึงเคาะเสนาสนะใต้ลม
พรมปูพื้น พึงผึ่งแดด ชำระ ตบ ขนกลับปูไว้ตามเดิม เขียงรองเตียง พึงผึ่ง
แดด เช็ด ขนกลับวางไว้ตามเดิม
เตียง ตั่ง พึงผึ่งแดด ชำระ ปัด ยกอย่างระมัดระวัง ไม่ให้ครูด ไม่ให้กระทบ
บานประตูและกรอบประตู ขนกลับตั้งไว้ตามเดิม ฟูก หมอน ผ้าปูนั่ง ผ้าปูนอน
พึงผึ่งแดด ชำระ ตบ ขนกลับวางปูไว้ตามเดิม กระโถน พนักพิง พึงผึ่งแดด เช็ดถู
ขนกลับวางไว้ตามเดิม


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๓๘ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๙. ชันตาฆรวัตตกถา
พึงเก็บบาตรและจีวร เมื่อจะเก็บบาตร พึงใช้มือข้างหนึ่งถือบาตร ใช้มือข้าง
หนึ่งคลำใต้เตียงหรือใต้ตั่ง จึงเก็บบาตร ไม่พึงเก็บบาตรไว้บนพื้นที่ไม่มีสิ่งใดรอง เมื่อ
จะเก็บจีวร พึงใช้มือข้างหนึ่งถือจีวร ใช้มือข้างหนึ่งลูบราวจีวรหรือสายระเดียง เอา
ชายไว้นอก เอาขนดไว้ใน จึงเก็บจีวร
ถ้าลมเจือฝุ่นละอองพัดมาทางทิศตะวันออก พึงปิดหน้าต่างด้านตะวันออก
ถ้าพัดมาทางทิศตะวันตก พึงปิดหน้าต่างด้านตะวันตก
ถ้าพัดมาทางทิศเหนือ พึงปิดหน้าต่างด้านเหนือ
ถ้าพัดมาทางทิศใต้ พึงปิดหน้าต่างด้านใต้
ถ้าเป็นฤดูหนาว พึงเปิดหน้าต่างกลางวัน ปิดกลางคืน
ถ้าเป็นฤดูร้อน พึงปิดหน้าต่างกลางวัน เปิดกลางคืน
ถ้าบริเวณ ซุ้ม โรงฉัน โรงไฟ วัจกุฎี รก พึงปัดกวาด ถ้าน้ำฉันน้ำใช้ไม่มี
พึงจัดเตรียมไว้ ถ้าหม้อชำระไม่มีน้ำ พึงตักน้ำใส่หม้อชำระ
ถ้าอยู่ในวิหารหลังเดียวกับภิกษุผู้แก่กว่า ยังไม่สอบถามก็ไม่ควรให้อุทเทส
ปริปุจฉา การสาธยาย แสดงธรรม ไม่พึงตามหรือดับประทีป ไม่พึงเปิดหน้าต่าง
ไม่พึงปิดหน้าต่าง ถ้าเดินจงกรมในที่จงกรมเดียวกันกับภิกษุผู้แก่กว่า พึงเดินตาม
หลังท่าน และไม่กระทบท่านด้วยชายสังฆาฏิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้คือ วัตรในเสนาสนะของภิกษุทั้งหลาย โดยที่ภิกษุทั้งหลาย
ต้องประพฤติชอบ

๙. ชันตาฆรวัตตกถา
ว่าด้วยวัตรปฏิบัติในเรือนไฟ
[๓๗๑] สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ถูกภิกษุผู้เถระทั้งหลายห้ามในเรือนไฟ
ไม่ เกรงใจใส่ฟืนมาก ติดไฟ ปิดประตูแล้วนั่งที่ประตู ฝ่ายภิกษุผู้เถระถูกความร้อน
แผดเผา จะออกก็ออกไม่ได้ จึงเป็นลมสลบล้มลง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๓๙ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๙. ชันตาฆรวัตตกถา
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย จึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถูกภิกษุผู้เถระทั้งหลายห้ามในเรือนไฟ จึงไม่เกรงใจใส่ฟืนมาก ติดไฟ ปิดประตูแล้ว
นั่งที่ประตูเล่า ฝ่ายภิกษุผู้เถระถูกความร้อนแผดเผา จะออกก็ออกไม่ได้ จึงเป็นลม
สลบล้มลง”
ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ ถูกภิกษุผู้เถระทั้งหลายห้ามในเรือนไฟ ไม่เกรงใจ ใส่ฟืนมาก
ติดไฟ ปิดประตูแล้วนั่งเฝ้าที่ประตู ภิกษุถูกความร้อนแผดเผาออกประตูไม่ได้จึงเป็น
ลมสลบล้มลง จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตำหนิ ฯลฯ ทรงแสดงธรรมีกถา รับสั่งกับภิกษุทั้งหลาย
ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุถูกภิกษุผู้เถระห้ามในเรือนไฟ จะใส่ฟืนมากติดไฟโดยไม่
เกรงใจไม่ได้ รูปใดใส่ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุไม่พึงปิดประตู
แล้วนั่งที่ประตู รูปใดนั่งต้องอาบัติทุกกฏ”
[๓๗๒] ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เราจะบัญญัติวัตรในเรือนไฟแก่ภิกษุทั้งหลาย
โดยที่พวกเธอต้องประพฤติชอบในเรือนไฟ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไปเรือนไฟก่อน ถ้ามีเถ้ามากพึงนำไปเททิ้ง ถ้าเรือนไฟรก
พึงกวาด ถ้าชานภายนอกรกก็พึงกวาด ถ้าบริเวณรกก็พึงกวาด ถ้าซุ้มประตูรกก็
พึงกวาด ถ้าศาลาเรือนไฟรก ก็พึงกวาด
พึงบดจุรณไว้ พึงแช่ดิน พึงตักน้ำใส่ไว้ในราง เมื่อจะเข้าไปเรือนไฟพึงเอาดิน
เหนียวทาหน้า ปิดหน้าและหลังจึงเข้าเรือนไฟ ไม่พึงนั่งเบียดภิกษุผู้เถระทั้งหลาย
ไม่กีดกันอาสนะภิกษุผู้นวกะทั้งหลาย ถ้าสามารถก็พึงบริกรรมภิกษุผู้เถระทั้งหลาย
ในเรือนไฟ เมื่อออกจาก เรือนไฟ พึงถือตั่งสำหรับเรือนไฟปิดหน้าและหลังจึงออกจาก
เรือนไฟ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๔๐ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๑๐. วัจจกุฎิวัตตกถา
ถ้าสามารถ พึงทำบริกรรม ภิกษุผู้เถระทั้งหลายในน้ำ ไม่พึงสรงน้ำข้างหน้า
ภิกษุผู้เถระทั้งหลาย แม้เหนือน้ำก็ไม่พึงสรง เมื่อสรงน้ำเสร็จกำลังจะขึ้นพึงให้ทาง
ภิกษุทั้งหลายผู้จะลงสรง ภิกษุผู้ออกจากเรือนไฟภายหลัง ถ้าเรือนไฟเปรอะเปื้อน
พึงล้างให้สะอาด ล้างรางแช่ดิน เก็บตั่งในเรือนไฟ ดับไฟ ปิดประตูแล้วจึงพา
กันจากไป
ภิกษุทั้งหลาย นี้คือวัตรในเรือนไฟสำหรับภิกษุทั้งหลาย โดยที่ภิกษุทั้งหลาย
ต้องประพฤติชอบในเรือนไฟ

๑๐. วัจจกุฏิวัตตกถา
ว่าด้วยวัตรปฏิบัติในวัจกุฎี
[๓๗๓] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีกำเนิดจากวรรณะพราหมณ์ ถ่ายอุจจาระ ไม่
ยอมชำระ เพราะรังเกียจว่า “ใครจะจับต้องของสกปรกมีกลิ่นเหม็นนี้ได้เล่า” ในทวาร
หนักของภิกษุนั้นจึงมีหนอนอยู่ ภิกษุนั้นจึงบอกให้ภิกษุทราบ
ภิกษุทั้งหลายถามว่า “ท่าน ท่านถ่ายอุจจาระแล้วไม่ล้างหรือ”
ภิกษุนั้นตอบว่า “ใช่ ขอรับ”
บรรดาภิกษุมักน้อยจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุถ่ายอุจจาระ
แล้วไม่ล้างเล่า”
ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุนั้นว่า “ภิกษุ ทราบว่าเธอถ่ายอุจจาระแล้ว
ไม่ล้าง จริงหรือ”
ภิกษุนั้นทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตำหนิ ฯลฯ ทรงแสดงธรรมีกถา รับสั่งกับภิกษุทั้งหลาย
ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุถ่ายอุจจาระแล้ว เมื่อมีน้ำอยู่จะไม่ล้างไม่ได้ รูปใดไม่ล้าง
ต้องอาบัติทุกกฏ”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๔๑ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๑๐. วัจจกุฎิวัตตกถา
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายถ่ายอุจจาระในวัจกุฎีตามลำดับพรรษา ภิกษุผู้นวกะทั้งหลาย
ถึงก่อนปวดอุจจาระก็ต้องรอ กลั้นอุจจาระจนเป็นลมสลบล้มลง
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุ
ทั้งหลายถ่ายอุจจาระในวัจกุฎีตามลำดับพรรษา ภิกษุผู้นวกะทั้งหลายถึงก่อน
ปวดอุจจาระ ก็ต้องรอ กลั้นอุจจาระจนเป็นลมสลบล้มลง จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งกับ
ภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงทำการถ่ายอุจจาระตามลำดับพรรษา
รูปใดทำ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถ่ายอุจจาระตามลำดับผู้
มาถึง”
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เข้าวัจกุฎีเร็วเกินไปบ้าง เวิกผ้าเข้าไปบ้าง ถอน
หายใจพลางถ่ายอุจจาระบ้าง เคี้ยวไม้ชำระฟันพลางถ่ายอุจจาระบ้าง ถ่ายอุจจาระ
นอกรางอุจจาระบ้าง ถ่ายปัสสาวะนอกรางปัสสาวะบ้าง บ้วนน้ำลายลงในรางปัสสาวะ
บ้าง ชำระด้วยไม้แข็งบ้าง ทิ้งไม้ชำระในช่องถ่ายอุจจาระบ้าง ออกมาเร็วเกินไปบ้าง
เวิกผ้าออกมาบ้าง ชำระมีเสียงดังโจ๊กโจ๊กบ้าง เหลือน้ำไว้ในกระบวยชำระบ้าง
บรรดาภิกษุผู้มักน้อยจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
จึงเข้าวัจกุฎีเร็วเกินไปบ้าง เวิกผ้าเข้าไปบ้าง ถอนหายใจพลางถ่ายอุจจาระบ้าง เคี้ยว
ไม้ชำระฟันพลางถ่ายอุจจาระบ้าง ถ่ายอุจจาระนอกรางอุจจาระบ้าง ถ่ายปัสสาวะ
นอกรางปัสสาวะบ้าง บ้วนน้ำลายลงในรางปัสสาวะบ้าง ชำระด้วยไม้แข็งบ้าง ทิ้งไม้
ชำระในช่องถ่ายอุจจาระบ้าง ออกมาเร็วเกินไปบ้าง เวิกผ้าออกมาบ้าง ชำระมีเสียง
ดังโจ๊กโจ๊กบ้าง เหลือน้ำไว้ในกระบอกชำระบ้างเล่า”
ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ฯลฯ
จริงหรือ”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๔๒ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๑๐. วัจจกุฎิวัตตกถา
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิ ฯลฯ แสดงธรรมีกถารับสั่งกับภิกษุทั้งหลาย
ว่า
[๓๗๔] ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เราจะบัญญัติวัตรในวัจกุฎีแก่ภิกษุทั้งหลาย
โดยที่ภิกษุทั้งหลายต้องประพฤติชอบในวัจกุฎี
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไปวัจกุฎีพึงยืนกระแอมข้างนอก แม้ภิกษุผู้นั่งอยู่ข้างในก็
ควรกระแอมรับ พึงพาดจีวรไว้บนราวจีวรหรือบนสายระเดียงแล้วไม่ต้องรีบเข้าวัจกุฎี
ไม่ต้องเข้าไปเร็วนัก ไม่พึงเวิกผ้าเข้าไป พึงยืนบนเขียงถ่ายอุจจาระแล้วค่อยเวิกผ้า
ไม่พึงถอนใจดังพลางถ่ายอุจจาระ ไม่พึงเคี้ยวไม้ชำระฟันพลางถ่ายอุจจาระ ไม่พึง
ถ่ายอุจจาระนอกรางอุจจาระ ไม่พึงถ่ายปัสสาวะนอกรางปัสสาวะ ไม่พึงบ้วนน้ำลาย
ลงในรางปัสสาวะ ไม่พึงชำระด้วยไม้เนื้อแข็ง ไม่พึงทิ้งไม้ชำระลงในช่องถ่าย อุจจาระ
พึงยืนบนเขียงถ่ายแล้วจึงปิดผ้า ไม่ควรออกมาเร็ว ไม่พึงเวิกผ้าออกมา พึงยืนบน
เขียงชำระแล้วจึงเวิกผ้า ไม่พึงชำระให้มีเสียงดังโจ๊กโจ๊ก ไม่พึงเหลือน้ำไว้ในกระบอกชำระ
พึงยืนบนเขียงชำระแล้วปิดผ้า
ถ้าภิกษุถ่ายไว้เลอะเทอะวัจกุฎี ต้องล้างให้สะอาด ถ้าตระกร้าใส่ไม้ชำระเต็ม
พึงนำไปทิ้ง ถ้าวัจกุฎีสกปรกพึงกวาด ถ้าชานภายนอกรกก็พึงกวาด บริเวณรก
ก็พึงกวาด ซุ้มประตูรกก็พึงกวาด ถ้าไม่มีน้ำในหม้อชำระ พึงตักน้ำมาไว้
ภิกษุทั้งหลาย นี้คือวัตรในวัจกุฎีสำหรับภิกษุทั้งหลาย โดยที่ภิกษุทั้งหลาย
ต้องประพฤติชอบในวัจกุฎี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๔๓ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๑๑. อุปชฌายวัตตกถา
๑๑. อุปัชฌายวัตตกถา๑
ว่าด้วยวัตรปฏิบัติในพระอุปัชฌาย์
[๓๗๕] สมัยนั้น สัทธิวิหาริกทั้งหลายไม่ประพฤติชอบในพระอุปัชฌาย์ บรรดา
ภิกษุผู้มักน้อยจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนสัทธิวิหาริกทั้งหลายไม่ประพฤติ
ชอบในอุปัชฌาย์ทั้งหลายเล่า”
ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า สัทธิ-
วิหาริกทั้งหลายไม่ประพฤติชอบในอุปัชฌาย์ทั้งหลาย จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ภิกษุทั้งหลาย ไฉนสัทธิวิหาริกทั้งหลาย
จึงไม่ประพฤติชอบต่อพระอุปัชฌาย์ทั้งหลายเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้มิได้
ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” ครั้นทรงตำหนิแล้ว ฯลฯ ทรงแสดงธรรมีกถา
รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า
[๓๗๖] ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เราจะบัญญัติวัตรในอุปัชฌาย์ทั้งหลายแก่
สัทธิวิหาริกทั้งหลาย โดยที่สัทธิวิหาริกทั้งหลายต้องประพฤติชอบในอุปัชฌาย์ทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลาย สัทธิวิหาริกพึงประพฤติโดยชอบในอุปัชฌาย์ วิธีประพฤติโดยชอบ
ในอุปัชฌาย์นั้นมีดังนี้
สัทธิวิหาริกพึงลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ ถอดรองเท้า ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง
ถวายไม้ชำระฟัน น้ำล้างหน้า ปูอาสนะ
ถ้าข้าวต้มมี พึงล้างภาชนะใส่ข้าวต้มเข้าไปถวาย เมื่ออุปัชฌาย์ฉันข้าวต้มเสร็จแล้ว
พึงถวายน้ำ รับภาชนะมา ถืออย่างระมัดระวัง อย่าให้ครูด๒ ล้างแล้วเก็บงำไว้ เมื่อ
อุปัชฌาย์ลุกขึ้นแล้ว พึงยกอาสนะเก็บ ถ้าที่นั้นรก พึงกวาด

เชิงอรรถ :
๑ วิ.ม. (แปล) ๔/๖๔-๖๖/๗๙-๘๗
๒ อย่าให้ครูดพื้น (วิ.อ. ๓/๖๖/๓๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๔๔ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๑๑. อุปชฌายวัตตกถา
ถ้าอุปัชฌาย์ต้องการจะเข้าหมู่บ้าน พึงถวายผ้านุ่ง รับผ้านุ่งอาศัย ถวายประคด
เอว ถวายสังฆาฏิที่พับซ้อนกัน ล้างบาตรแล้วถวายพร้อมทั้งน้ำ
ถ้าอุปัชฌาย์หวังจะให้เป็นปัจฉาสมณะ พึงนุ่งให้เรียบร้อยปกปิดได้มณฑล ๓๑
คาดประคดเอว ห่มสังฆาฏิที่พับซ้อนกัน กลัดลูกดุม ล้างบาตรถือไป เป็นปัจฉาสมณะ
ของอุปัชฌาย์ พึงเดินไม่ให้ห่างนัก ไม่ให้ชิดนัก พึงรับบาตรที่มีของบรรจุอยู่
เมื่ออุปัชฌาย์กำลังกล่าว ไม่พึงกล่าวสอดขึ้นในระหว่าง อุปัชฌาย์กล่าวถ้อยคำ
ใกล้ต่ออาบัติ พึงห้ามเสีย
เมื่ออุปัชฌาย์จะกลับ พึงมาก่อนแล้วปูอาสนะไว้ พึงเตรียมน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า
กระเบื้องเช็ดเท้าไว้ พึงลุกขึ้นรับบาตรและจีวร พึงถวายผ้านุ่งอาศัย รับผ้านุ่งมา
ถ้าจีวรชุ่มเหงื่อ พึงผึ่งแดดครู่หนึ่ง ไม่พึงผึ่งทิ้งไว้ที่แดด พึงพับจีวร เมื่อจะ
พับจีวร พึงพับจีวรให้เหลื่อมมุมกัน ๔ นิ้ว ตั้งใจว่า ตรงกลางจะได้ไม่มีรอยพับ
พึงม้วนประคดเอวใส่ขนดจีวร
ถ้าบิณฑบาตมี และอุปัชฌาย์ต้องการจะฉัน พึงถวายน้ำแล้วน้อมบิณฑบาต
เข้าไปถวาย นำน้ำฉันมาถวาย เมื่ออุปัชฌาย์ฉันเสร็จแล้ว พึงถวายน้ำ รับบาตรมา
ถืออย่างระมัดระวัง ไม่ให้ครูด ล้างแล้วเช็ดให้สะเด็ดน้ำผึ่งแดดครู่หนึ่ง ไม่พึงผึ่งทิ้งไว้
ที่แดด
พึงเก็บบาตรและจีวร เมื่อจะเก็บบาตร พึงใช้มือข้างหนึ่งถือบาตร ใช้มือข้าง
หนึ่งคลำใต้เตียงหรือใต้ตั่ง จึงเก็บบาตร ไม่พึงเก็บบาตรไว้บนพื้นที่ไม่มีสิ่งใดรอง เมื่อ
จะเก็บจีวร พึงใช้มือข้างหนึ่งถือจีวร ใช้มือข้างหนึ่งลูบราวจีวรหรือสายระเดียง เอา
ชายไว้นอก เอาขนดไว้ใน จึงเก็บจีวร

เชิงอรรถ :
๑ มณฑล ๓ คือ ถ้าเป็นผ้าอุตตราสงค์(ผ้าห่ม) ต้องห่มปิดหลุ่มคอ และทำชายจีวรทั้ง ๒ ข้างให้เสมอกัน
ถ้าเป็นอันตรวาสก (ผ้านุ่ง)ต้องนุ่งปิดสะดือ แบะปิดเข่าทั้ง ๒ ข้าง (ดู วินัยปิฎกมหาวิภังค์แปล ๒/๕๗๖-๕๗๗/
๖๕๐-๖๕๑, และ วิ.อ. ๒/๕๗๖-๕๗๗/๔๔๗-๔๔๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๔๕ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๑๑. อุปชฌายวัตตกถา
เมื่ออุปัชฌาย์ลุกขึ้นแล้ว พึงยกอาสนะเก็บ พึงเก็บน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า
กระเบื้องเช็ดเท้า ถ้าที่นั้นรก พึงกวาด
ถ้าอุปัชฌาย์ต้องการจะสรงน้ำ พึงจัดน้ำสรงถวาย ถ้าท่านต้องการน้ำเย็น พึง
จัดน้ำเย็นถวาย ถ้าท่านต้องการน้ำอุ่น พึงจัดน้ำอุ่นถวาย
ถ้าอุปัชฌาย์ต้องการจะเข้าเรือนไฟ พึงบดจุรณ พึงแช่ดิน ถือตั่งสำหรับเรือนไฟ
เดินตามหลังอุปัชฌาย์ไป ถวายตั่งสำหรับเรือนไฟแล้วรับจีวรมาวาง ณ ที่สมควร
พึงถวายจุรณและดิน
ถ้าสามารถ พึงเข้าเรือนไฟ เมื่อจะเข้าเรือนไฟ พึงเอาดินทาหน้าปิดหน้าและ
หลัง จึงเข้าเรือนไฟ ไม่พึงนั่งเบียดภิกษุเถระทั้งหลาย ไม่พึงกีดกันอาสนะพระนวกะ
ทั้งหลาย พึงทำบริกรรม๑แก่อุปัชฌาย์ในเรือนไฟ เมื่อจะออกจากเรือนไฟ พึงถือ
ตั่งสำหรับเรือนไฟปิดหน้าและหลัง จึงออกจากเรือนไฟ
พึงทำบริกรรม๒แก่อุปัชฌาย์แม้ในน้ำ ตนสรงน้ำเสร็จแล้ว พึงขึ้นก่อนเช็ดตัว
ให้แห้งแล้วผลัดผ้า พึงเช็ดน้ำจากตัวอุปัชฌาย์ ถวายผ้านุ่ง สังฆาฏิ ถือตั่งสำหรับ
เรือนไฟมาก่อน ปูอาสนะ เตรียมน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้าไว้ นำน้ำฉัน
มาถวายอุปัชฌาย์
ถ้าอุปัชฌาย์ต้องการจะให้เรียน พึงเรียน
ถ้าอุปัชฌาย์ต้องการจะให้สอบถาม พึงสอบถาม
อุปัชฌาย์อยู่ในวิหารใด ถ้าวิหารนั้นสกปรก ถ้าสามารถพึงชำระให้สะอาด เมื่อ
จะชำระวิหารให้สะอาด พึงขนบาตรและจีวรออกก่อนวางไว้ ณ ที่สมควร พึงขนผ้า
ปูนั่ง ผ้าปูนอน ฟูก หมอน ออกมาวางไว้ ณ ที่สมควร
เตียง ตั่ง สัทธิวิหาริกพึงยกอย่างระมัดระวัง ไม่ให้ครูด ไม่ให้กระทบบาน
ประตูและกรอบประตู ขนออกไปตั้งไว้ ณ ที่สมควร เขียงรองเตียง กระโถน พนักพิง

เชิงอรรถ :
๑ ทำบริกรรมในเรือนไฟ หมายถึงการถวายขี้เถ้า ดินเหนียว และน้ำร้อนเป็นต้น (วิ.สงฺคห. ๑๘๓/๒๕๘)
๒ ทำบริกรรมในน้ำ หมายถึงการขัดถูร่างกาย (วิ.สงฺคห. ๑๘๓/๒๕๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๔๖ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๑๑. อุปชฌายวัตตกถา
พึงขนออกมาวางไว้ ณ ที่สมควร พรมปูพื้น พึงสังเกตที่ปูไว้เดิม ค่อยขนออกมาวาง
ณ ที่สมควร
ถ้าในวิหารมีหยากเยื่อ พึงกวาดเพดานลงมาก่อน กรอบหน้าต่างและมุมห้อง
พึงเช็ด
ถ้าฝาที่ทาน้ำมันหรือพื้นทาสีดำขึ้นรา พึงใช้ผ้าชุบน้ำบิดแล้วเช็ด
ถ้าเป็นพื้นไม่ได้ทา พึงใช้น้ำประพรมแล้วเช็ด อย่าให้วิหารคลาคล่ำด้วยฝุ่นละออง
พึงเก็บหยากเยื่อไปทิ้ง ณ ที่สมควร
พรมปูพื้น พึงผึ่งแดด ชำระ ตบ ขนกลับปูไว้ตามเดิม เขียงรองเตียง พึงผึ่ง
แดด เช็ด ขนกลับวางไว้ตามเดิม
เตียง ตั่ง พึงผึ่งแดด ชำระ ปัด ยกอย่างระมัดระวัง ไม่ให้ครูด ไม่ให้กระทบบาน
ประตูและกรอบประตู ขนกลับตั้งไว้ตามเดิม ฟูก หมอน ผ้าปูนั่ง ผ้าปูนอน พึงผึ่ง
แดด ชำระ ตบ ขนกลับวางปูไว้ตามเดิม กระโถน พนักพิง พึงผึ่งแดด เช็ดถู
ขนกลับวางไว้ตามเดิม
พึงเก็บบาตรและจีวร เมื่อจะเก็บบาตร พึงใช้มือข้างหนึ่งถือบาตร ใช้มือข้าง
หนึ่งคลำใต้เตียงหรือใต้ตั่ง จึงเก็บบาตร ไม่พึงเก็บบาตรไว้บนพื้นที่ไม่มีสิ่งใดรอง เมื่อ
จะเก็บจีวร พึงใช้มือข้างหนึ่งถือจีวร ใช้มือข้างหนึ่งลูบราวจีวรหรือสายระเดียง เอา
ชายไว้นอก เอาขนดไว้ใน จึงเก็บจีวร
ถ้าลมเจือฝุ่นละอองพัดมาทางทิศตะวันออก พึงปิดหน้าต่างด้านตะวันออก
ถ้าพัดมาทางทิศตะวันตก พึงปิดหน้าต่างด้านตะวันตก
ถ้าพัดมาทางทิศเหนือ พึงปิดหน้าต่างด้านเหนือ
ถ้าพัดมาทางทิศใต้ พึงปิดหน้าต่างด้านใต้
ถ้าเป็นฤดูหนาว พึงเปิดหน้าต่างกลางวัน ปิดกลางคืน
ถ้าเป็นฤดูร้อน พึงปิดหน้าต่างกลางวัน เปิดกลางคืน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๔๗ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๑๑. อุปชฌายวัตตกถา
ถ้าบริเวณ ซุ้ม โรงฉัน โรงไฟ วัจกุฎี รก พึงปัดกวาด ถ้าน้ำฉันน้ำใช้ไม่มี
พึงจัดเตรียมไว้ ถ้าหม้อชำระไม่มีน้ำ พึงตักน้ำใส่หม้อชำระ
ถ้าอุปัชฌาย์เกิดความไม่ยินดี สัทธิวิหาริกพึงช่วยระงับ หรือพึงบอกภิกษุอื่น
ให้ช่วยระงับ หรือพึงแสดงธรรมกถาแก่อุปัชฌาย์
ถ้าอุปัชฌาย์เกิดความรำคาญ สัทธิวิหาริกพึงช่วยบรรเทา หรือพึงบอกภิกษุอื่น
ให้ช่วยบรรเทา หรือพึงแสดงธรรมกถาแก่อุปัชฌาย์
ถ้าอุปัชฌาย์เกิดความเห็นผิด สัทธิวิหาริกพึงให้สละเสีย หรือพึงบอกภิกษุอื่น
ให้ช่วยให้สละเสีย หรือพึงแสดงธรรมกถาแก่อุปัชฌาย์
ถ้าอุปัชฌาย์ต้องอาบัติหนัก๑ ควรแก่ปริวาส สัทธิวิหาริกพึงทำการขวนขวายว่า
“ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงให้ปริวาสแก่อุปัชฌาย์”
ถ้าอุปัชฌาย์ควรแก่การชักเข้าหาอาบัติเดิม สัทธิวิหาริกพึงทำการขวนขวายว่า
“ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงชักอุปัชฌาย์เข้าหาอาบัติเดิม”
ถ้าอุปัชฌาย์ควรแก่มานัต๒ สัทธิวิหาริกพึงทำการขวนขวายว่า “ด้วยอุบาย
อย่างไรหนอ สงฆ์พึงให้มานัตแก่อุปัชฌาย์”
ถ้าอุปัชฌาย์ควรแก่อัพภาน๓ สัทธิวิหาริกพึงทำการขวนขวายว่า “ด้วยอุบาย
อย่างไรหนอ สงฆ์พึงอัพภานอุปัชฌาย์”

เชิงอรรถ :
๑ อาบัติหนัก ในที่นี้หมายถึงอาบัติสังฆาทิเสส
๒ มานัต เป็นชื่อวุฏฐานวิธี คือระเบียบการปฏิบัติในการออกจากอาบัติสังฆาทิเสส แปลว่า นับ หมายถึง
นับราตรี ๖ ราตรี ภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ถ้าปกปิดไว้ ต้องอยู่ปริวาสเท่ากับวันที่ปกปิดก่อน
จึงจะขอมานัตได้ แต่ถ้าไม่ได้ปกปิดไว้ สามารถขอมานัตได้ แล้วประพฤติมานัต ๖ ราตรี (กงฺขา.อ. ๑๗๘)
๓ อัพภาน เป็นชื่อวุฏฐานวิธีที่เป็นขั้นตอนสุดท้าย ภิกษุผู้ประพฤติมานัตครบ ๖ ราตรีแล้ว ขออัพภานจาก
สงฆ์ ๒๐ รูป เมื่อสงฆ์สวดอัพภานแล้ว ถือว่าภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสนั้นบริสุทธิ์ สมควรอยู่ร่วมกับ
ภิกษุสงฆ์ต่อไป (กงฺขา.อ. ๑๗๘-๑๗๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๔๘ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๑๑. อุปชฌายวัตตกถา
ถ้าสงฆ์ต้องการจะทำกรรม๑ คือ ตัชชนียกรรม นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม
ปฏิสารณียกรรม หรืออุกเขปนียกรรม๒แก่อุปัชฌาย์ สัทธิวิหาริกพึงทำการขวนขวาย
ว่า “ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์ไม่พึงทำกรรมแก่อุปัชฌาย์หรือพึงเปลี่ยนไปเป็น
โทษเบา” หรือว่าอุปัชฌาย์ได้ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรม นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม
ปฏิสารณียกรรม หรืออุกเขปนียกรรมแล้ว สัทธิวิหาริกพึงทำการขวนขวายว่า “ด้วย
อุบายอย่างไรหนอ อุปัชฌาย์พึงกลับประพฤติชอบ พึงหายเย่อหยิ่ง พึงกลับตัวได้
สงฆ์พึงระงับกรรมนั้นเสีย”
ถ้าจีวรของอุปัชฌาย์จะต้องซัก สัทธิวิหาริกพึงซัก หรือพึงทำการขวนขวายว่า
“ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใคร ๆ พึงซักจีวรของอุปัชฌาย์”
ถ้าจีวรของอุปัชฌาย์จะต้องตัดเย็บ สัทธิวิหาริกพึงตัดเย็บ หรือพึงทำการขวน
ขวายว่า “ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใคร ๆ พึงตัดเย็บจีวรของอุปัชฌาย์”
ถ้าน้ำย้อมของอุปัชฌาย์จะต้องต้ม สัทธิวิหาริกพึงต้ม หรือพึงทำการขวนขวายว่า
“ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใคร ๆ พึงต้มน้ำย้อมของอุปัชฌาย์”
ถ้าจีวรของอุปัชฌาย์จะต้องย้อม สัทธิวิหาริกพึงย้อม หรือพึงทำการขวนขวายว่า
“ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใคร ๆ พึงย้อมจีวรของอุปัชฌาย์” เมื่อจะย้อมจีวร พึงย้อม
พลิกกลับไปกลับมาดี ๆ เมื่อหยาดน้ำย้อมยังหยดไม่ขาดสาย ไม่พึงพากันจากไป
สัทธิวิหาริกไม่บอกอุปัชฌาย์ ไม่พึงให้บาตรแก่ภิกษุบางรูป ไม่พึงรับบาตรของ
ภิกษุบางรูป ไม่พึงให้จีวรแก่ภิกษุบางรูป ไม่พึงรับจีวรของภิกษุบางรูป ไม่พึงให้

เชิงอรรถ :
๑ ทำกรรม หมายถึงลงโทษ
๒ ตัชชนียกรรม คือการขู่,การปราม (วิ.ม. (แปล) ๕/๔๐๗-๔๑๑/๒๙๗-๓๐๑)
นิยสกรรม คือการถอดยศ,การปลดออกจากตำแหน่ง (วิ.ม. (แปล) ๕/๔๑๒/๓๐๑-๓๐๒,๔๒๓/๓๐๘)
ปัพพาชนียกรรม คือการไล่ออกจากหมู่,การไล่ออกจากวัด (วิ.ม. (แปล) ๕/๔๑๓/๓๐๒-๓๐๓)
ปฏิสารณียกรรม คือการให้ระลึกความผิด (วิ.ม. (แปล) ๕/๔๑๔/๓๐๓)
อุกเขปนียกรรม คือการกันออกจากหมู่,การยกออกจากหมู่(วิ.ม. (แปล) ๕/๔๑๕/๓๐๓-๓๐๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๔๙ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๑๒. สัทธิวิหาริกวัตตกถา
บริขารแก่ภิกษุบางรูป ไม่พึงรับบริขารของภิกษุบางรูป ไม่พึงปลงผมให้ภิกษุบางรูป
ไม่พึงให้ภิกษุบางรูปปลงผมให้ ไม่พึงทำบริกรรมแก่ภิกษุบางรูป ไม่พึงให้ภิกษุบาง
รูปทำบริกรรมให้ ไม่พึงทำการขวนขวายแก่ภิกษุบางรูป ไม่พึงสั่งภิกษุบางรูปให้ทำ
การขวนขวาย ไม่พึงเป็นปัจฉาสมณะของภิกษุบางรูป ไม่พึงพาภิกษุบางรูปไปเป็น
ปัจฉาสมณะ ไม่พึงนำบิณฑบาตไปถวายภิกษุบางรูป ไม่พึงสั่งภิกษุบางรูปให้นำ
บิณฑบาตไปถวาย
สัทธิวิหาริกไม่บอกลาอุปัชฌาย์ ไม่พึงเข้าหมู่บ้าน ไม่พึงไปป่าช้า ไม่พึงออกไป
ต่างถิ่น๑ ถ้าอุปัชฌาย์เป็นไข้ พึงพยาบาลจนตลอดชีวิต พึงรอจนกว่าอุปัชฌาย์นั้น
จะหาย
ภิกษุทั้งหลาย นี้คือวัตรในอุปัชฌาย์ทั้งหลายสำหรับพวกสัทธิวิหาริกทั้งหลาย
โดยที่สัทธิวิหาริกทั้งหลายต้องประพฤติชอบในอุปัชฌาย์ทั้งหลาย

๑๒. สัทธิวิหาริกวัตตกถา๒
ว่าด้วยวัตรปฏิบัติในสัทธิวิหาริก
[๓๗๗] สมัยนั้น พระอุปัชฌาย์ทั้งหลายไม่ประพฤติชอบในสัทธิวิหาริกทั้งหลาย
บรรดาภิกษุผู้มักน้อยจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระอุปัชฌาย์ทั้งหลาย
จึงไม่ประพฤติชอบในสัทธิวิหาริกทั้งหลายเล่า”
ครั้งนั้นแล ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า อุปัชฌาย์
ทั้งหลายไม่ประพฤติชอบในสัทธิวิหาริกทั้งหลาย จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”

เชิงอรรถ :
๑ ไปต่างถิ่น หมายถึงไปอยู่ที่อื่น (สารตฺถ.ฏีกา ๓/๘๓/๒๙๐)
๒ วิ.ม. (แปล) ๔/๖๗/๘๘-๙๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๕๐ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๑๒. สัทธิวิหาริกวัตตกถา
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิแล้ว ฯลฯ ทรงแสดงธรรมีกถาแก่ภิกษุ
ทั้งหลายว่า
[๓๗๘] ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เราจะบัญญัติวัตรในสัทธิวิหาริกทั้งหลายแก่
อุปัชฌาย์ทั้งหลาย โดยที่อุปัชฌาย์ทั้งหลายพึงประพฤติชอบในสัทธิวิหาริกทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลาย อุปัชฌาย์พึงประพฤติชอบในสัทธิวิหาริก วิธีประพฤติชอบใน
สัทธิวิหาริกนั้นมีดังนี้
ภิกษุทั้งหลาย อุปัชฌาย์พึงสงเคราะห์อนุเคราะห์สัทธิวิหาริก ด้วยอุทเทส
ปริปุจฉา โอวาท และอนุศาสน์
ถ้าอุปัชฌาย์มีบาตร สัทธิวิหาริกไม่มีบาตร อุปัชฌาย์พึงถวายบาตรแก่สัทธิ-
วิหาริก หรือพึงทำการขวนขวายว่า “ด้วยอุบายอย่างไรหนอ บาตรพึงเกิดขึ้นแก่
สัทธิวิหาริก”
ถ้าอุปัชฌาย์มีจีวร สัทธิวิหาริกไม่มีจีวร อุปัชฌาย์พึงถวายจีวรแก่สัทธิวิหาริก
หรือพึงทำการขวนขวายว่า “ด้วยอุบายอย่างไรหนอ จีวรพึงเกิดขึ้นแก่สัทธิวิหาริก”
ถ้าอุปัชฌาย์มีบริขาร สัทธิวิหาริกไม่มีบริขาร อุปัชฌาย์พึงถวายบริขารแก่
สัทธิวิหาริก หรือพึงทำการขวนขวายว่า “ด้วยอุบายอย่างไรหนอ บริขารพึงเกิดขึ้น
แก่สัทธิวิหาริก”
ถ้าสัทธิวิหาริกเป็นไข้ อุปัชฌาย์พึงลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ถวายไม้ชำระฟัน น้ำล้างหน้า
ปูอาสนะ
ถ้าข้าวต้มมี พึงล้างภาชนะใส่ข้าวต้มเข้าไปถวาย เมื่อสัทธิวิหาริกฉันข้าวต้ม
เสร็จแล้ว พึงถวายน้ำ รับภาชนะมาถืออย่างระมัดระวัง ไม่ให้ครูด ล้างแล้วเก็บงำไว้
เมื่อสัทธิวิหาริกลุกขึ้นแล้ว พึงยกอาสนะเก็บ ถ้าที่นั้นรก พึงกวาด
ถ้าสัทธิวิหาริก ต้องการจะเข้าหมู่บ้าน พึงถวายผ้านุ่ง รับผ้านุ่งอาศัย ถวาย
ประคดเอว ถวายสังฆาฏิที่พับซ้อนกัน ล้างบาตรแล้วถวายพร้อมทั้งน้ำ ปูอาสนะไว้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๕๑ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๑๒. สัทธิวิหาริกวัตตกถา
โดยกำหนดว่า “เวลาเพียงเท่านี้ สัทธิวิหาริกจักกลับมา” พึงเตรียมน้ำล้างเท้า ตั่ง
รองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้าไว้ พึงลุกขึ้นรับบาตรและจีวร พึงถวายผ้านุ่งอาศัย รับ
ผ้านุ่งมา
ถ้าจีวรชุ่มเหงื่อ พึงผึ่งแดดครู่หนึ่ง ไม่พึงผึ่งทิ้งไว้ที่แดด พึงพับจีวร เมื่อจะ
พับจีวร พึงพับจีวรให้เหลื่อมมุมกัน ๔ นิ้ว ตั้งใจว่า ตรงกลางจะได้ไม่มีรอยพับ พึง
ม้วนประคดเอวใส่ขนดจีวร
ถ้าบิณฑบาตมี และสัทธิวิหาริกต้องการจะฉัน พึงถวายน้ำแล้วน้อมบิณบาต
เข้าไปถวาย นำน้ำฉันมาถวาย เมื่อสัทธิวิหาริกฉันเสร็จแล้ว พึงถวายน้ำ รับบาตรมา
ถืออย่างระมัดระวัง ไม่ให้ครูด ล้างแล้วเช็ดให้สะเด็ดน้ำผึ่งแดดครู่หนึ่ง ไม่พึงผึ่งทิ้ง
ไว้ที่แดด
พึงเก็บบาตรและจีวร เมื่อจะเก็บบาตร พึงใช้มือข้างหนึ่งถือบาตร ใช้มือข้าง
หนึ่งคลำใต้เตียงหรือใต้ตั่ง จึงเก็บบาตร ไม่พึงเก็บบาตรไว้บนพื้นที่ไม่มีสิ่งใดรอง
เมื่อจะเก็บจีวร พึงใช้มือข้างหนึ่งถือจีวร ใช้มือข้างหนึ่งลูบราวจีวรหรือสายระเดียง
เอาชายไว้นอก เอาขนดไว้ใน จึงเก็บจีวร
เมื่อสัทธิวิหาริกลุกขึ้นแล้ว พึงยกอาสนะเก็บ พึงเก็บน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า
กระเบื้องเช็ดเท้า ถ้าที่นั้นรก พึงกวาด
ถ้าสัทธิวิหาริกต้องการจะสรงน้ำ พึงจัดน้ำสรงถวาย ถ้าเธอต้องการน้ำเย็น
พึงจัดน้ำเย็นให้ ถ้าเธอต้องการน้ำอุ่น พึงจัดน้ำอุ่นถวาย
ถ้าสัทธิวิหาริกต้องการจะเข้าเรือนไฟ พึงบดจุรณ พึงแช่ดิน ถือตั่งสำหรับเรือน
ไฟเดินไป ถวายตั่งสำหรับเรือนไฟแล้วรับจีวรมาวาง ณ ที่สมควร พึงถวายจุรณและ
ดิน
ถ้าสามารถ พึงเข้าเรือนไฟ เมื่อจะเข้าเรือนไฟ พึงเอาดินทาหน้าปิดหน้าและ
หลัง จึงเข้าเรือนไฟ ไม่พึงนั่งเบียดพระเถระ ไม่พึงกีดกันอาสนะพระนวกะ พึงทำ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๕๒ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๑๒. สัทธิวิหาริกวัตตกถา
บริกรรมแก่สัทธิวิหาริกในเรือนไฟ เมื่อจะออกจากเรือนไฟ พึงถือตั่งสำหรับเรือนไฟ
ปิดหน้าและหลัง จึงออกจากเรือนไฟ
พึงทำบริกรรมแก่สัทธิวิหาริกแม้ในน้ำ ตนสรงเสร็จแล้ว พึงขึ้นก่อนเช็ดตัวให้
แห้งแล้วผลัดผ้า พึงเช็ดน้ำจากตัวสัทธิวิหาริก ถวายผ้านุ่ง สังฆาฏิ ถือตั่งสำหรับ
เรือนไฟมาก่อน ปูอาสนะ เตรียมน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้าไว้ นำน้ำฉัน
มาถวายสัทธิวิหาริก
สัทธิวิหาริกอยู่ในวิหารใด ถ้าวิหารนั้นสกปรก ถ้าสามารถ พึงชำระให้สะอาด
เมื่อจะชำระวิหารให้สะอาด พึงขนบาตรและจีวรออกก่อน วางไว้ ณ ที่สมควร พึงขน
ผ้าปูนั่ง ผ้าปูนอน ฟูก หมอน ออกมาวางไว้ ณ ที่สมควร
เตียง ตั่ง อุปัชฌาย์พึงยกอย่างระมัดระวัง ไม่ให้ครูด ไม่ให้กระทบบานประตู
และกรอบประตู ขนออกไปตั้งไว้ ณ ที่ สมควร เขียงรองเตียง กระโถน พนักพิง
พึงขนออกมาวางไว้ ณ ที่สมควร พรมปูพื้น พึงสังเกตที่ปูไว้เดิม ค่อยขนออกมา
วางไว้ ณ ที่สมควร
ถ้าในวิหารมีหยากเยื่อ พึงกวาดเพดานลงมาก่อน กรอบหน้าต่างและมุมห้อง
พึงเช็ด
ถ้าฝาที่ทาน้ำมันหรือพื้นทาสีดำขึ้นรา พึงใช้ผ้าชุบน้ำบิดแล้วเช็ด
ถ้าเป็นพื้นไม่ได้ทา พึงใช้น้ำประพรมแล้วเช็ด อย่าให้วิหารคลาคล่ำด้วยฝุ่นละออง
พึงเก็บหยากเยื่อไปทิ้ง ณ ที่สมควร
พรมปูพื้น พึงผึ่งแดด ชำระ ตบ ขนกลับปูไว้ตามเดิม เขียงรองเตียง พึงผึ่งแดด
เช็ด ขนกลับวางไว้ตามเดิม
เตียง ตั่ง พึงผึ่งแดด ชำระ ปัด ยกอย่างระมัดระวัง ไม่ให้ครูด ไม่ให้กระทบ
บานประตูและกรอบประตู ขนกลับตั้งไว้ตามเดิม ฟูก หมอน ผ้าปูนั่ง ผ้าปูนอน
พึงผึ่งแดด ชำระ ตบ ขนกลับวางปูไว้ตามเดิม กระโถน พนักพิง พึงผึ่งแดด เช็ดถู
ขนกลับวางไว้ตามเดิม


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๕๓ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๑๒. สัทธิวิหาริกวัตตกถา
พึงเก็บบาตรและจีวร เมื่อจะเก็บบาตร พึงใช้มือข้างหนึ่งถือบาตร ใช้มือข้าง
หนึ่งคลำใต้เตียงหรือใต้ตั่ง จึงเก็บบาตร ไม่พึงเก็บบาตรไว้บนพื้นที่ไม่มีสิ่งใดรอง
เมื่อจะเก็บจีวร พึงใช้มือข้างหนึ่งถือจีวร ใช้มือข้างหนึ่งลูบราวจีวรหรือสายระเดียง
เอาชายไว้นอก เอาขนดไว้ใน จึงเก็บจีวร
ถ้าลมเจือฝุ่นละอองพัดมาทางทิศตะวันออก พึงปิดหน้าต่างด้านตะวันออก
ถ้าพัดมาทางทิศตะวันตก พึงปิดหน้าต่างด้านตะวันตก
ถ้าพัดมาทางทิศเหนือ พึงปิดหน้าต่างด้านเหนือ
ถ้าพัดมาทางทิศใต้ พึงปิดหน้าต่างด้านใต้
ถ้าเป็นฤดูหนาว พึงเปิดหน้าต่างกลางวัน ปิดกลางคืน
ถ้าเป็นฤดูร้อน พึงปิดหน้าต่างกลางวัน เปิดกลางคืน
ถ้าบริเวณ ซุ้ม โรงฉัน โรงไฟ วัจกุฎีรก พึงปัดกวาด ถ้าน้ำฉันน้ำใช้ไม่มี
พึงจัดเตรียมไว้ ถ้าหม้อน้ำชำระไม่มีน้ำ พึงตักน้ำใส่หม้อชำระ
ถ้าสัทธิวิหาริกเกิดความไม่ยินดี อุปัชฌาย์พึงช่วยระงับ หรือพึงบอกภิกษุอื่น
ให้ช่วยระงับ หรือพึงแสดงธรรมกถาแก่สัทธิวิหาริก
ถ้าสัทธิวิหาริกเกิดความรำคาญ อุปัชฌาย์พึงช่วยบรรเทา หรือพึงบอกภิกษุอื่น
ให้ช่วยบรรเทา หรือพึงแสดงธรรมกถาแก่สัทธิวิหาริก
ถ้าสัทธิวิหาริกเกิดความเห็นผิด อุปัชฌาย์พึงให้สละเสีย หรือพึงบอกภิกษุอื่น
ให้ช่วยให้สละเสีย หรือพึงแสดงธรรมกถาแก่สัทธิวิหาริก
ถ้าสัทธิวิหาริกต้องอาบัติหนัก ควรแก่ปริวาส อุปัชฌาย์พึงทำการขวนขวายว่า
“ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงให้ปริวาสแก่สัทธิวิหาริก”
ถ้าสัทธิวิหาริกควรแก่การชักเข้าหาอาบัติเดิม อุปัชฌาย์พึงทำการขวนขวายว่า
“ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงชักสัทธิวิหาริกเข้าหาอาบัติเดิม”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๕๔ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๑๒. สัทธิวิหาริกวัตตกถา
ถ้าสัทธิวิหาริกควรแก่มานัต อุปัชฌาย์พึงทำการขวนขวายว่า “ด้วยอุบายอย่างไร
หนอ สงฆ์พึงให้มานัตแก่สัทธิวิหาริก”
ถ้าสัทธิวิหาริกควรแก่อัพภาน อุปัชฌาย์พึงทำการขวนขวายว่า “ด้วยอุบาย
อย่างไรหนอ สงฆ์พึงอัพภานสัทธิวิหาริก”
ถ้าสงฆ์ต้องการจะทำกรรม คือ ตัชชนียกรรม นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม
ปฏิสารณียกรรม หรืออุกเขปนียกรรมแก่สัทธิวิหาริก อุปัชฌาย์พึงทำการขวนขวาย
ว่า “ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์ไม่พึงทำกรรมแก่สัทธิวิหาริกหรือพึงเปลี่ยนไปเป็น
โทษเบา” หรือว่าสัทธิวิหาริกได้ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรม นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม
ปฏิสารณียกรรม หรืออุกเขปนียกรรมแล้ว อุปัชฌาย์พึงทำการขวนขวายว่า “ด้วย
อุบายอย่างไรหนอ สัทธิวิหาริกพึงกลับประพฤติชอบ พึงหายเย่อหยิ่ง พึงกลับตัวได้
สงฆ์พึงระงับกรรมนั้นเสีย”
ถ้าจีวรของสัทธิวิหาริกจะต้องซัก อุปัชฌาย์พึงบอกว่า “พึงซักอย่างนี้” หรือพึง
ทำการขวนขวายว่า “ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใคร ๆ พึงซักจีวรของสัทธิวิหาริก”
ถ้าจีวรของสัทธิวิหาริกจะต้องตัดเย็บ อุปัชฌาย์พึงบอกว่า “พึงตัดเย็บอย่างนี้”
หรือพึงทำการขวนขวายว่า “ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใคร ๆ พึงตัดเย็บจีวรของสัทธิ-
วิหาริก”
ถ้าน้ำย้อมของสัทธิวิหาริกจะต้องต้ม อุปัชฌาย์พึงบอกว่า “พึงต้มอย่างนี้” หรือ
พึงทำการขวนขวายว่า“ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใคร ๆ พึงต้มน้ำย้อมของสัทธิวิหาริก”
ถ้าจีวรของสัทธิวิหาริกจะต้องย้อม อุปัชฌาย์พึงบอกว่า “พึงย้อมอย่างนี้” หรือ
พึงทำการขวนขวายว่า “ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใคร ๆ พึงย้อมจีวรของสัทธิวิหาริก”
เมื่อจะย้อมจีวร พึงย้อมพลิกกลับไปกลับมาดี ๆ เมื่อหยาดน้ำย้อมยังหยดไม่ขาดสาย
ไม่พึงหลีกไป
ถ้าสัทธิวิหาริกเป็นไข้ พึงพยาบาลจนตลอดชีวิต พึงรอจนกว่าสัทธิวิหาริกนั้น
จะหาย


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๕๕ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๑๓. อาจริยวัตตกถา
ภิกษุทั้งหลาย นี้คือวัตรในสัทธิวิหาริกสำหรับอุปัชฌาย์ทั้งหลาย โดยที่
อุปัชฌาย์ทั้งหลายพึงประพฤติชอบในสัทธิวิหาริกทั้งหลาย
ทุติยภาณวาร จบ

๑๓. อาจริยวัตตกถา๑
ว่าด้วยอาจริยวัตร
[๓๗๙] สมัยนั้น อันเตวาสิกทั้งหลายไม่ประพฤติชอบในพระอาจารย์ทั้งหลาย
บรรดาภิกษุผู้มักน้อยจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนอันเตวาสิกทั้งหลายไม่
ประพฤติชอบในพระอาจารย์ทั้งหลายเล่า”
ครั้งนั้นแล ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า
อันเตวาสิกทั้งหลายไม่ประพฤติชอบในอาจารย์ทั้งหลาย จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิแล้ว ฯลฯ ทรงแสดงธรรมีกถาแก่ภิกษุ
ทั้งหลายว่า
[๓๘๐] ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เราจะบัญญัติวัตรในอาจารย์ทั้งหลายแก่
อันเตวาสิกทั้งหลาย โดยที่อันเตวาสิกทั้งหลายต้องประพฤติชอบในอาจารย์ทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลาย อันเตวาสิกพึงประพฤติชอบในอาจารย์ วิธีประพฤติชอบในอาจารย์
นั้นมีดังนี้
อันเตวาสิกพึงลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ ถอดรองเท้า ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง
ถวายไม้ชำระฟัน น้ำล้างหน้า ปูอาสนะ

เชิงอรรถ :
๑ วิ.ม. (แปล) ๔/๗๔-๗๘/๑๐๒-๑๑๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๕๖ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๑๓. อาจริยวัตตกถา
ถ้าข้าวต้มมี พึงล้างภาชนะใส่ข้าวต้มเข้าไปถวาย เมื่ออาจารย์ฉันข้าวต้มเสร็จแล้ว
พึงถวายน้ำรับภาชนะมา ถืออย่างระมัดระวัง ไม่ให้ครูด ล้างแล้วเก็บงำไว้ เมื่อ
อาจารย์ลุกขึ้นแล้ว พึงยกอาสนะเก็บ ถ้าที่นั้นรก พึงกวาด
ถ้าอาจารย์ต้องการจะเข้าหมู่บ้าน พึงถวายผ้านุ่ง รับผ้านุ่งอาศัย ถวายประคตเอว
ถวายสังฆาฏิที่พับซ้อนกัน ล้างบาตรแล้วถวายพร้อมทั้งน้ำ
ถ้าอาจารย์หวังจะให้เป็นปัจฉาสมณะ พึงนุ่งให้เรียบร้อยปกปิดได้มณฑล ๓
คาดประคดเอว ห่มสังฆาฏิที่พับซ้อนกัน กลัดลูกดุม ล้างบาตรถือไป เป็นปัจฉา
สมณะของอาจารย์ พึงเดินไม่ให้ห่างนัก ไม่ให้ชิดนัก พึงรับบาตรที่มีของบรรจุอยู่
เมื่ออาจารย์กำลังกล่าว ไม่พึงกล่าวสอดขึ้นในระหว่าง อาจารย์กล่าวถ้อยคำ
ใกล้ต่ออาบัติ พึงห้ามเสีย
เมื่ออาจารย์จะกลับ พึงมาก่อนแล้วปูอาสนะไว้ พึงเตรียมน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า
กระเบื้องเช็ดเท้าไว้ พึงลุกขึ้นรับบาตรและจีวร พึงถวายผ้านุ่งอาศัย รับผ้านุ่งมา
ถ้าจีวรชุ่มเหงื่อ พึงผึ่งแดดครู่หนึ่ง ไม่พึงผึ่งทิ้งไว้ที่แดด พึงพับจีวร เมื่อจะพับ
จีวร พึงพับจีวรให้เหลื่อมมุมกัน ๔ นิ้ว ตั้งใจว่า ตรงกลางจะได้ไม่มีรอยพับ พึงม้วน
ประคดเอวใส่ขนดจีวร
ถ้าบิณฑบาตมี และอาจารย์ต้องการจะฉัน พึงถวายน้ำแล้วน้อมบิณฑบาตเข้า
ไปถวาย นำน้ำฉันมาถวาย เมื่ออาจารย์ฉันเสร็จแล้ว พึงถวายน้ำ รับบาตรมาถือ
อย่างระมัดระวัง ไม่ให้ครูด ล้างแล้วเช็ดให้สะเด็ดน้ำผึ่งแดดครู่หนึ่ง ไม่พึงผึ่งทิ้งไว้ที่แดด
พึงเก็บบาตรและจีวร เมื่อจะเก็บบาตร พึงใช้มือข้างหนึ่งจับบาตร ใช้มือข้าง
หนึ่งคลำใต้เตียงหรือใต้ตั่ง จึงเก็บบาตร ไม่พึงเก็บบาตรไว้บนพื้นที่ไม่มีสิ่งใดรอง
เมื่อจะเก็บจีวร พึงใช้มือข้างหนึ่งถือจีวร ใช้มือข้างหนึ่งลูบราวจีวรหรือสายระเดียง
เอาชายไว้นอก เอาขนดไว้ใน จึงเก็บจีวร
เมื่ออาจารย์ลุกขึ้นแล้ว พึงยกอาสนะเก็บ พึงเก็บน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้อง
เช็ดเท้า ถ้าที่นั้นรก พึงกวาด


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๕๗ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๑๓. อาจริยวัตตกถา
ถ้าอาจารย์ต้องการจะสรงน้ำ พึงจัดน้ำสรงถวาย ถ้าท่านต้องการน้ำเย็น พึงจัด
น้ำเย็นถวาย ถ้าท่านต้องการน้ำอุ่น พึงจัดน้ำอุ่นถวาย
ถ้าอาจารย์ต้องการจะเข้าเรือนไฟ พึงบดจุรณ พึงแช่ดิน ถือตั่งสำหรับเรือน
ไฟเดินตามหลังอาจารย์ไป ถวายตั่งสำหรับเรือนไฟแล้วรับจีวรมาวาง ณ ที่สมควร
จึงถวายจุรณและดิน
ถ้าสามารถ พึงเข้าเรือนไฟ เมื่อจะเข้าเรือนไฟ พึงเอาดินทาหน้าปิดหน้าและหลัง
จึงเข้าเรือนไฟ ไม่พึงนั่งเบียดพระเถระ ไม่พึงกีดกันอาสนะพระนวกะ พึงทำบริกรรม
แก่อาจารย์ในเรือนไฟ เมื่อจะออกจากเรือนไฟ พึงถือตั่งสำหรับเรือนไฟปิดหน้าและหลัง
จึงออกจากเรือนไฟ
พึงทำบริกรรมแก่อาจารย์แม้ในน้ำ ตนสรงน้ำเสร็จแล้ว พึงขึ้นก่อนเช็ดตัวให้
แห้งแล้วผลัดผ้า พึงเช็ดน้ำจากตัวอาจารย์ ถวายผ้านุ่ง สังฆาฏิ ถือตั่งสำหรับเรือนไฟ
มาก่อน ปูอาสนะ เตรียมน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้าไว้ นำน้ำฉันมา
ถวายอาจารย์
ถ้าอาจารย์ต้องการจะให้เรียน พึงเรียน
ถ้าอาจารย์ต้องการจะให้สอบถามอรรถ พึงสอบถาม
อาจารย์อยู่ในวิหารใด ถ้าวิหารนั้นสกปรก ถ้าสามารถ พึงชำระให้สะอาด เมื่อ
จะชำระวิหารให้สะอาด พึงขนบาตรและจีวรออกก่อน วางไว้ ณ ที่สมควร พึงขนผ้า
ปูนั่ง ผ้าปูนอน ฟูก หมอน ออกมาวาง ณ ที่สมควร
เตียง ตั่ง อันเตวาสิกพึงยกอย่างระมัดระวัง ไม่ให้ครูด ไม่ให้กระทบบานประตู
และกรอบประตู ขนออกไปตั้งไว้ ณ ที่สมควร เขียงรองเตียง กระโถน พนักพิง
พึงขนออกมาวางไว้ ณ ที่สมควร พรมปูพื้น พึงสังเกตที่ปูไว้เดิม ค่อยขนออกมาวาง
ณ ที่สมควร
ถ้าในวิหารมีหยากเยื่อ พึงกวาดเพดานลงมาก่อน กรอบหน้าต่างและมุมห้อง
พึงเช็ด
ถ้าฝาที่เขาทาน้ำมันหรือพื้นทาสีดำขึ้นรา ควรใช้ผ้าชุบน้ำบิดแล้วเช็ด


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๕๘ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๑๓. อาจริยวัตตกถา
ถ้าเป็นพื้นไม่ได้ทา พึงเอาน้ำประพรมแล้วเช็ด อย่าให้วิหารคลาคล่ำด้วย
ฝุ่นละออง พึงเก็บหยากเยื่อไปทิ้ง ณ ที่สมควร
พรมปูพื้น พึงผึ่งแดด ชำระ ตบ ขนกลับปูไว้ตามเดิม เขียงรองเตียง พึงผึ่งแดด
เช็ด ขนกลับวางไว้ตามเดิม
เตียง ตั่ง พึงผึ่งแดด ชำระ ปัด ยกอย่างระมัดระวัง ไม่ให้ครูด ไม่ให้กระทบ
บานประตูและกรอบประตู ขนกลับตั้งไว้ตามเดิม ฟูก หมอน ผ้าปูนั่ง ผ้าปูนอน
พึงผึ่งแดด ชำระ ตบ ขนกลับวางปูไว้ตามเดิม กระโถน พนักพิง พึงผึ่งแดด เช็ดถู
ขนกลับวางไว้ตามเดิม
พึงเก็บบาตรและจีวร เมื่อจะเก็บบาตร พึงใช้มือข้างหนึ่งถือบาตร ใช้มือข้างหนึ่ง
คลำใต้เตียงหรือใต้ตั่ง จึงเก็บบาตร ไม่พึงเก็บบาตรไว้บนพื้นที่ไม่มีสิ่งใดรอง เมื่อ
จะเก็บจีวร พึงใช้มือข้างหนึ่งถือจีวร ใช้มือข้างหนึ่งลูบราวจีวรหรือสายระเดียง เอา
ชายไว้นอก เอาขนดไว้ใน จึงเก็บจีวร
ถ้าลมเจือฝุ่นละอองพัดมาทางทิศตะวันออก พึงปิดหน้าต่างด้านตะวันออก
ถ้าพัดมาทางทิศตะวันตก พึงปิดหน้าต่างด้านตะวันตก
ถ้าพัดมาทางทิศเหนือ พึงปิดหน้าต่างด้านเหนือ
ถ้าพัดมาทางทิศใต้ พึงปิดหน้าต่างด้านใต้
ถ้าเป็นฤดูหนาว พึงเปิดหน้าต่างกลางวัน ปิดกลางคืน
ถ้าเป็นฤดูร้อน พึงปิดหน้าต่างกลางวัน เปิดกลางคืน
ถ้าบริเวณ ซุ้ม โรงฉัน โรงไฟ วัจกุฎีรก พึงปัดกวาด ถ้าน้ำฉันน้ำใช้ไม่มี
พึงจัดเตรียมไว้ ถ้าหม้อชำระไม่มีน้ำ พึงตักน้ำใส่หม้อชำระ
ถ้าอาจารย์เกิดความไม่ยินดี อันเตวาสิกพึงช่วยระงับ หรือพึงบอกภิกษุอื่นให้
ช่วยระงับ หรือพึงแสดงธรรมีกถาแก่อาจารย์
ถ้าอาจารย์เกิดความรำคาญ อันเตวาสิกพึงช่วยบรรเทา หรือพึงบอกภิกษุอื่น
ให้ช่วยบรรเทา หรือพึงแสดงธรรมีกถาแก่อาจารย์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๕๙ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๑๓. อาจริยวัตตกถา
ถ้าอาจารย์เกิดความเห็นผิด อันเตวาสิกพึงให้สละเสีย หรือพึงบอกภิกษุอื่น
ให้ช่วยให้สละเสีย หรือพึงแสดงธรรมีกถาแก่อาจารย์
ถ้าอาจารย์ต้องอาบัติหนัก ควรแก่ปริวาส อันเตวาสิกพึงทำการขวนขวายว่า
“ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงให้ปริวาสแก่อาจารย์”
ถ้าอาจารย์ควรแก่การชักเข้าหาอาบัติเดิม อันเตวาสิกพึงทำการขวนขวายว่า
“ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงชักอาจารย์เข้าหาอาบัติเดิม”
ถ้าอาจารย์ควรแก่มานัต อันเตวาสิกพึงทำการขวนขวายว่า “ด้วยอุบายอย่างไร
หนอ สงฆ์พึงให้มานัตแก่อาจารย์”
ถ้าอาจารย์ควรแก่อัพภาน อันเตวาสิกพึงทำการขวนขวายว่า “ด้วยอุบาย
อย่างไรหนอ สงฆ์พึงอัพภานอาจารย์”
ถ้าสงฆ์ต้องการจะทำกรรม คือ ตัชชนียกรรม นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม
ปฏิสารณียกรรม หรืออุกเขปนียกรรมแก่อาจารย์ อันเตวาสิกพึงทำการขวนขวาย
ว่า “ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์ไม่พึงทำกรรมแก่อาจารย์หรือพึงเปลี่ยนไปเป็น
โทษเบา” หรือว่าอาจารย์ได้ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรม นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม
ปฏิสารณียกรรม หรืออุกเขปนียกรรมแล้ว อันเตวาสิกพึงทำการขวนขวายว่า “ด้วย
อุบายอย่างไรหนอ อาจารย์พึงกลับประพฤติชอบ พึงหายเย่อหยิ่ง พึงกลับตัวได้
สงฆ์พึงระงับกรรมนั้นเสีย”
ถ้าจีวรของอาจารย์จะต้องซัก อันเตวาสิกพึงซัก หรือพึงทำการขวนขวายว่า
“ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใคร ๆ พึงซักจีวรของอาจารย์”
ถ้าจีวรของอาจารย์จะต้องตัดเย็บ อันเตวาสิกพึงตัดเย็บ หรือพึงทำการขวน
ขวายว่า “ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใคร ๆ พึงตัดเย็บจีวรของอาจารย์”
ถ้าน้ำย้อมของอาจารย์จะต้องต้ม อันเตวาสิกพึงต้ม หรือพึงทำการขวนขวาย
ว่า “ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใคร ๆ พึงต้มน้ำย้อมของอาจารย์”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๖๐ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๑๔. อันเตวาสิกวัตตกถา
ถ้าจีวรของอาจารย์จะต้องย้อม อันเตวาสิกพึงย้อม หรือพึงทำการขวนขวายว่า
“ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใคร ๆ พึงย้อมจีวรของอาจารย์” เมื่อจะย้อมจีวร พึงย้อม
พลิกกลับไปกลับมาดี ๆ เมื่อหยาดน้ำย้อมยังหยดไม่ขาดสาย ไม่พึงหลีกไป
อันเตวาสิกไม่บอกอาจารย์ ไม่พึงให้บาตรแก่ภิกษุบางรูป ไม่พึงรับบาตรของ
ภิกษุบางรูป ไม่พึงให้จีวรแก่ภิกษุบางรูป ไม่พึงรับจีวรของภิกษุบางรูป ไม่พึงให้
บริขารแก่ภิกษุบางรูป ไม่พึงรับบริขารของภิกษุบางรูป ไม่พึงโกนผมให้ภิกษุบางรูป
ไม่พึงให้ภิกษุบางรูปโกนผมให้ ไม่พึงทำบริกรรมแก่ภิกษุบางรูป ไม่พึงให้ภิกษุบางรูป
ทำบริกรรมให้ ไม่พึงทำการขวนขวายแก่ภิกษุบางรูป ไม่พึงสั่งภิกษุบางรูปให้ทำการ
ขวนขวาย ไม่พึงเป็นปัจฉาสมณะของภิกษุบางรูป ไม่พึงพาภิกษุบางรูปไปเป็น
ปัจฉาสมณะ ไม่พึงนำบิณฑบาตไปถวายภิกษุบางรูป ไม่พึงสั่งภิกษุบางรูปให้นำ
บิณฑบาตไปถวาย
อันเตวาสิกไม่บอกลาอาจารย์ ไม่พึงเข้าหมู่บ้าน ไม่พึงไปป่าช้า ไม่พึงออกไป
ต่างถิ่น ถ้าอาจารย์เป็นไข้ พึงพยาบาลจนตลอดชีวิต พึงรอจนกว่าอาจารย์นั้นจะหาย
ภิกษุทั้งหลาย นี้คือวัตรในอาจารย์ทั้งหลายสำหรับอันเตวาสิกทั้งหลาย โดย
ที่อันเตวาสิกทั้งหลายต้องประพฤติชอบในอาจารย์ทั้งหลาย

๑๔. อันเตวาสิกวัตตกถา๑
ว่าด้วยวัตรปฏิบัติในอันเตวาสิก
[๓๘๑] สมัยนั้น พระอาจารย์ทั้งหลายไม่ประพฤติชอบในอันเตวาสิกทั้งหลาย
บรรดาภิกษุผู้มักน้อยจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระอาจารย์ทั้งหลาย
จึงไม่ประพฤติชอบในอันเตวาสิกเล่า”

เชิงอรรถ :
๑ วิ.ม. (แปล) ๔/๗๙/๑๑๒-๑๑๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๖๑ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๑๔. อันเตวาสิกวัตตกถา
ครั้งนั้นแล ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า อาจารย์ทั้งหลายไม่ประพฤติ
ชอบในอันเตวาสิกทั้งหลาย จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิ ฯลฯ ทรงแสดงธรรมีกถาแก่ภิกษุทั้งหลายว่า
[๓๘๒] ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เราจะบัญญัติวัตรในอันเตวาสิกทั้งหลายแก่
อาจารย์ทั้งหลาย โดยที่อาจารย์ทั้งหลายต้องประพฤติชอบในอันเตวาสิกทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลาย อาจารย์พึงประพฤติชอบในอันเตวาสิก วิธีประพฤติชอบใน
อันเตวาสิกนั้นมีดังนี้
ภิกษุทั้งหลาย อาจารย์พึงสงเคราะห์อนุเคราะห์อันเตวาสิกด้วยอุทเทส ปริปุจฉา
โอวาท และอนุศาสน์
ถ้าอาจารย์มีบาตร อันเตวาสิกไม่มีบาตร อาจารย์พึงถวายบาตรแก่อันเตวาสิก
หรือพึงทำการขวนขวายว่า “ด้วยอุบายอย่างไรหนอ บาตรพึงเกิดขึ้นแก่อันเตวาสิก”
ถ้าอาจารย์มีจีวร อันเตวาสิกไม่มีจีวร อาจารย์พึงถวายจีวรแก่อันเตวาสิก หรือ
พึงทำการขวนขวายว่า “ด้วยอุบายอย่างไรหนอ จีวรพึงเกิดขึ้นแก่อันเตวาสิก”
ถ้าอาจารย์มีบริขาร อันเตวาสิกไม่มีบริขาร อาจารย์พึงถวายบริขารแก่
อันเตวาสิก หรือพึงทำการขวนขวายว่า “ด้วยอุบายอย่างไรหนอ บริขารพึงเกิดขึ้นแก่
อันเตวาสิก”
ถ้าอันเตวาสิกเป็นไข้ อาจารย์พึงลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ ถวายไม้ชำระฟัน น้ำล้างหน้า
ปูอาสนะ
ถ้าข้าวต้มมี พึงล้างภาชนะใส่ข้าวต้มเข้าไปถวาย เมื่ออันเตวาสิกฉันข้าวต้ม
เสร็จแล้ว พึงถวายน้ำ รับภาชนะมาถืออย่างระมัดระวัง ไม่ให้ครูด ล้างแล้วเก็บงำไว้
เมื่ออันเตวาสิกลุกขึ้นแล้ว พึงยกอาสนะเก็บ ถ้าที่นั้นรก พึงกวาด


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๖๒ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๑๔. อันเตวาสิกวัตตกถา
ถ้าอันเตวาสิกต้องการจะเข้าหมู่บ้าน พึงถวายผ้านุ่ง รับผ้านุ่งอาศัย ถวาย
ประคดเอว ถวายสังฆาฏิที่พับซ้อนกัน ล้างบาตรแล้วถวายพร้อมทั้งน้ำ ปูอาสนะไว้
โดยกำหนดว่า “เวลาเพียงเท่านี้ อันเตวาสิกจักกลับมา” พึงเตรียมน้ำล้างเท้า ตั่ง
รองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้าไว้ พึงลุกขึ้นรับบาตรและจีวร พึงถวายผ้านุ่งอาศัย รับผ้า
นุ่งมา
ถ้าจีวรชุ่มเหงื่อ พึงผึ่งแดดครู่หนึ่ง ไม่พึงผึ่งทิ้งไว้ที่แดด พึงพับจีวร เมื่อจะพับ
จีวร พึงพับจีวรให้เหลื่อมมุมกัน ๔ นิ้ว ตั้งใจว่า ตรงกลางจะได้ไม่มีรอยพับ พึงม้วน
ประคดเอวใส่ขนดจีวร
ถ้าบิณฑบาตมี และอันเตวาสิกต้องการจะฉัน พึงถวายน้ำแล้วน้อมบิณฑบาต
เข้าไปถวาย นำน้ำฉันมาถวาย เมื่ออันเตวาสิกฉันเสร็จแล้ว พึงถวายน้ำรับบาตร
มาถืออย่างระมัดระวัง ไม่ให้ครูด ล้างแล้วเช็ดให้สะเด็ดน้ำผึ่งแดดครู่หนึ่ง ไม่พึงผึ่ง
ทิ้งไว้ที่แดด
พึงเก็บบาตรและจีวร เมื่อจะเก็บบาตร พึงใช้มือข้างหนึ่งถือบาตร ใช้มือ
ข้างหนึ่งคลำใต้เตียงหรือใต้ตั่ง จึงเก็บบาตร ไม่พึงเก็บบาตรไว้บนพื้นที่ไม่มีสิ่งใดรอง
เมื่อจะเก็บจีวร พึงใช้มือข้างหนึ่งถือจีวร ใช้มือข้างหนึ่งลูบราวจีวรหรือสายระเดียง
เอาชายไว้นอก เอาขนดไว้ในจึงเก็บจีวร
เมื่ออันเตวาสิกลุกขึ้นแล้ว พึงยกอาสนะเก็บ พึงเก็บน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า
กระเบื้องเช็ดเท้า ถ้าที่นั้นรก พึงกวาด
ถ้าอันเตวาสิกต้องการจะสรงน้ำ พึงจัดน้ำสรงถวาย ถ้าเธอต้องการน้ำเย็น
พึงจัดน้ำเย็นถวาย ถ้าเธอต้องการน้ำอุ่น พึงจัดน้ำอุ่นถวาย
ถ้าอันเตวาสิกต้องการจะเข้าเรือนไฟ พึงบดจุรณ พึงแช่ดิน ถือตั่งสำหรับเรือน
ไฟเดินไป ถวายตั่งสำหรับเรือนไฟ แล้วรับจีวรมาวาง ณ ที่สมควร พึงถวายจุรณ
และดิน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๖๓ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๑๔. อันเตวาสิกวัตตกถา
ถ้าสามารถ พึงเข้าเรือนไฟ เมื่อจะเข้าเรือนไฟ พึงเอาดินทาหน้าปิดหน้าและหลัง
จึงเข้าเรือนไฟ ไม่พึงนั่งเบียดพระเถระ ไม่พึงกีดกันอาสนะพระนวกะ พึงทำบริกรรม
แก่อันเตวาสิกในเรือนไฟ เมื่อจะออกจากเรือนไฟ พึงถือตั่งสำหรับเรือนไฟปิดหน้า
และหลัง จึงออกจากเรือนไฟ
พึงทำบริกรรมแก่อันเตวาสิกแม้ในน้ำ ตนสรงเสร็จแล้ว พึงขึ้นก่อนเช็ดตัวให้
แห้งแล้วผลัดผ้า พึงเช็ดน้ำจากตัวอันเตวาสิก ถวายผ้านุ่ง สังฆาฏิ ถือตั่งสำหรับ
เรือนไฟมาก่อน ปูอาสนะเตรียมน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้าไว้ นำน้ำ
ฉันมาถวายอันเตวาสิก
อันเตวาสิกอยู่ในวิหารใด ถ้าวิหารนั้นสกปรก ถ้าสามารถ พึงชำระให้สะอาด
เมื่อจะชำระวิหารให้สะอาด พึงขนบาตรและจีวรออกก่อน วางไว้ ณ ที่สมควร พึงขน
ผ้าปูนั่ง ผ้าปูนอน ฟูก หมอน ออกมาวางไว้ ณ ที่สมควร
เตียง ตั่ง อาจารย์พึงยกอย่างระมัดระวัง ไม่ให้ครูด ไม่ให้กระทบบานประตู
และกรอบประตู ขนออกไปตั้งไว้ ณ ที่สมควร เขียงรองเตียง กระโถน พนักพิง
พึงขนออกมาวางไว้ ณ ที่สมควร พรมปูพื้น พึงสังเกตที่ปูไว้เดิม ค่อยขนออกมา
วางไว้ ณ ที่สมควร
ถ้าในวิหารมีหยากเยื่อ พึงกวาดเพดานลงมาก่อน กรอบหน้าต่างและมุมห้อง
พึงเช็ด
ถ้าฝาที่ทาน้ำมันหรือพื้นทาสีดำขึ้นรา พึงใช้ผ้าชุบน้ำบิดแล้วเช็ด
ถ้าเป็นพื้นไม่ได้ทา พึงใช้น้ำประพรมแล้วเช็ด อย่าให้วิหารคลาคล่ำด้วยฝุ่นละออง
พึงเก็บหยากเยื่อไปทิ้ง ณ ที่สมควร
พรมปูพื้น พึงผึ่งแดด ชำระ ตบ ขนกลับปูไว้ตามเดิม เขียงรองเตียง พึงผึ่งแดด
เช็ด ขนกลับวางไว้ตามเดิม
เตียง ตั่ง พึงผึ่งแดด ชำระ ปัด ยกอย่างระมัดระวัง ไม่ให้ครูด ไม่ให้กระทบ
บานประตูและกรอบประตู ขนกลับตั้งไว้ตามเดิม ฟูก หมอน ผ้าปูนั่ง ผ้าปูนอน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๖๔ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๑๔. อันเตวาสิกวัตตกถา
พึงผึ่งแดด ชำระ ตบ ขนกลับวางปูไว้ตามเดิม กระโถน พนักพิง พึงผึ่งแดด เช็ดถู
ขนกลับวางไว้ตามเดิม
พึงเก็บบาตรและจีวร เมื่อจะเก็บบาตร พึงใช้มือข้างหนึ่งถือบาตร ใช้มือข้าง
หนึ่งคลำใต้เตียงหรือใต้ตั่ง จึงเก็บบาตร ไม่พึงเก็บบาตรไว้บนพื้นที่ไม่มีสิ่งใดรอง เมื่อ
จะเก็บจีวร พึงใช้มือข้างหนึ่งถือจีวร ใช้มือข้างหนึ่งลูบราวจีวรหรือสายระเดียง เอา
ชายไว้นอก เอาขนดไว้ใน จึงเก็บจีวร
ถ้าลมเจือฝุ่นละอองพัดมาทางทิศตะวันออก พึงปิดหน้าต่างด้านตะวันออก
ถ้าพัดมาทางทิศตะวันตก พึงปิดหน้าต่างด้านตะวันตก
ถ้าพัดมาทางทิศเหนือ พึงปิดหน้าต่างด้านเหนือ
ถ้าพัดมาทางทิศใต้ พึงปิดหน้าต่างด้านใต้
ถ้าเป็นฤดูหนาว พึงเปิดหน้าต่างกลางวัน ปิดกลางคืน
ถ้าเป็นฤดูร้อน พึงปิดหน้าต่างกลางวัน เปิดกลางคืน
ถ้าบริเวณ ซุ้ม โรงฉัน โรงไฟ วัจกุฎี รก พึงปัดกวาด ถ้าน้ำฉันน้ำใช้ไม่มี
พึงจัดเตรียมไว้ ถ้าหม้อชำระไม่มีน้ำ พึงตักน้ำใส่หม้อชำระ
ถ้าอันเตวาสิกเกิดความไม่ยินดี อาจารย์พึงช่วยระงับ หรือพึงบอกภิกษุอื่นให้
ช่วยระงับ หรือพึงแสดงธรรมกถาแก่อันเตวาสิก
ถ้าอันเตวาสิกเกิดความรำคาญ อาจารย์พึงช่วยบรรเทา หรือพึงบอกภิกษุอื่น
ให้ช่วยบรรเทา หรือพึงแสดงธรรมกถาแก่อันเตวาสิก
ถ้าอันเตวาสิกเกิดความเห็นผิด อาจารย์พึงให้สละเสีย หรือพึงบอกภิกษุอื่น
ให้ช่วยสละเสีย หรือพึงแสดงธรรมกถาแก่อันเตวาสิก
ถ้าอันเตวาสิกต้องอาบัติหนัก ควรแก่ปริวาส อาจารย์พึงทำการขวนขวายว่า
“ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงให้ปริวาสแก่อันเตวาสิก”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๖๕ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๑๔. อันเตวาสิกวัตตกถา
ถ้าอันเตวาสิกควรแก่การชักเข้าหาอาบัติเดิม อาจารย์พึงทำการขวนขวายว่า
“ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงชักอันเตวาสิกเข้าหาอาบัติเดิม”
ถ้าอันเตวาสิกควรแก่มานัต อาจารย์พึงทำการขวนขวายว่า “ด้วยอุบายอย่างไร
หนอ สงฆ์พึงให้มานัตแก่อันเตวาสิก”
ถ้าอันเตวาสิกควรแก่อัพภาน อาจารย์พึงทำการขวนขวายว่า “ด้วยอุบายอย่างไร
หนอ สงฆ์พึงอัพภานอันเตวาสิก”
ถ้าสงฆ์ต้องการจะทำกรรม คือ ตัชชนียกรรม นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม
ปฏิสารณียกรรม หรืออุกเขปนียกรรมแก่อันเตวาสิก อาจารย์พึงทำการขวนขวาย
ว่า “ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์ไม่พึงทำกรรมแก่อันเตวาสิกหรือพึงเปลี่ยนไปเป็น
โทษเบา” หรือว่าอันเตวาสิกถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรม นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม
ปฏิสารณียกรรม หรืออุเขปนียกรรมแล้ว อาจารย์พึงทำการขวนขวายว่า “ด้วยอุบาย
อย่างไรหนอ อันเตวาสิกพึงกลับประพฤติชอบ พึงหายเย่อหยิ่ง พึงกลับตัวได้ สงฆ์
พึงระงับกรรมนั้นเสีย”
ถ้าจีวรของอันเตวาสิกจะต้องซัก อาจารย์พึงบอกว่า “พึงซักอย่างนี้” หรือพึง
ทำการขวนขวายว่า “ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใคร ๆ พึงซักจีวรของอันเตวาสิก”
ถ้าจีวรของอันเตวาสิก จะต้องตัดเย็บ อาจารย์พึงบอกว่า “พึงตัดเย็บอย่าง
นี้” หรือพึงทำการขวนขวายว่า “ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใคร ๆ พึงตัดเย็บจีวรของ
อันเตวาสิก”
ถ้าน้ำย้อมของอันเตวาสิกจะต้องต้ม อาจารย์พึงบอกว่า “พึงต้มอย่างนี้” หรือ
พึงทำการขวนขวายว่า “ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใคร ๆ พึงต้มน้ำย้อมของอันเตวาสิก”
ถ้าจีวรของอันเตวาสิกจะต้องย้อม อาจารย์พึงบอกว่า “พึงย้อมอย่างนี้” หรือ
พึงทำการขวนขวายว่า “ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใคร ๆ พึงย้อมจีวรของอันเตวาสิก”
เมื่อจะย้อมจีวร พึงย้อมพลิกกลับไปกลับมาดี ๆ เมื่อหยาดน้ำย้อมยังหยดไม่ขาดสาย
ไม่พึงหลีกไป


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๖๖ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในวัตตขันธกะ
ถ้าอันเตวาสิกเป็นไข้ พึงพยาบาลจนตลอดชีวิต พึงรอจนกว่าอันเตวาสิกนั้น
จะหาย
ภิกษุทั้งหลาย นี้คือวัตรในพวกอันเตวาสิกทั้งหลายสำหรับอาจารย์ทั้งหลาย
โดยที่อาจารย์ทั้งหลายต้องประพฤติชอบในพวกอันเตวาสิกทั้งหลาย
วัตตขันธกะที่ ๘ จบ
ในขันธกะนี้มี ๑๙ เรื่อง ๑๔ วัตร

รวมเรื่องที่มีในวัตตขันธกะ
ภิกษุอาคันตุกะสวมรองเท้า กั้นร่ม คลุมศีรษะ
พาดจีวรบนศีรษะเข้าไปอาราม ใช้น้ำดื่มล้างเท้า
ไม่ไหว้ภิกษุผู้อยู่ประจำในอาวาสผู้แก่พรรษา
ไม่ต้อนรับด้วยเสนาสนะ งูตกลงมา ภิกษุผู้มีศีลตำหนิ
พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติว่า ภิกษุอาคันตุกะจะเข้าอาราม
พึงถอดรองเท้า ลดร่ม ลดจีวรลงบ่า ไม่ต้องรีบเข้าอาราม
พึงสังเกตว่า ผู้อยู่ประจำในอาวาสประชุมกันที่ไหน
เก็บบาตรจีวรไว้ด้านหนึ่ง ถืออาสนะที่เหมาะสม
ถามถึงน้ำดื่ม น้ำใช้ พึงล้างเท้า
เช็ดรองเท้าด้วยผ้าแห้งก่อนแล้วเช็ดด้วยผ้าเปียกทีหลัง
อภิวาทภิกษุผู้อยู่ประจำในอาวาสผู้มีพรรษามากกว่า
ให้ภิกษุผู้อยู่ประจำในอาวาสผู้มีพรรษาน้อยกว่าอภิวาท
ถามเสนาสนะทั้งที่มีและไม่มีภิกษุ
ถามถึงโคจรคามและอโคจรคาม ตระกูลเสกขสมมติ
ที่ถ่ายอุจจาระปัสสาวะ น้ำดื่มน้ำใช้ ไม้เท้า
กติกาสงฆ์ที่ตั้งไว้ว่า ควรเข้าออกเวลาไหน
พึงรอสักครู่ วิหารรกพึงชำระให้สะอาด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๖๗ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในวัตตขันธกะ
พึงขนเครื่องลาดพื้นไปไว้ที่สมควร เขียงรองเตียง
ฟูก หมอนเตียง ตั่ง กระโถน พนักพิง
พึงกวาดหยากไย่ตั้งแต่เพดานลงมาก่อน
เช็ดกรอบหน้าต่างและมุมห้อง ฝาที่ทาสีเหลืองหรือพื้นทาสีดำขึ้นรา
ใช้ผ้าชุบน้ำบิดแล้วเช็ด พื้นไม่ได้ทา ใช้น้ำพรมแล้วเช็ด
เก็บหยากเยื้อทิ้ง พรหมปูพื้น เขียงรองเตียง เตียง ตั่ง
ฟูก หมอน ผ้าปูนั่ง กระโถน พนักพิง
ควรผึ่งแดด แล้วเก็บไว้ที่เดิม เก็บบาตรจีวร
อย่าวางบาตรไว้บนพื้นไม่มีเครื่องรอง
เก็บจีวรเอาชายไว้นอกเอกขนดไว้ใน
มีลมเจือฝุ่นละอองพัดมาทางทิศตะวันออก ตะวันตก
ทิศเหนือหรือทิศใต้ พึงปิดหน้าต่าง
ทางทิศนั้น ๆ ฤดูหนาว กลางวันเปิดหน้าต่าง
ปิดกลางคืน หน้าร้อนตอนกลางวันปิดหน้าต่าง
เปิดตอนกลางคืน กวาดบริเวณ
ซุ้มน้ำ โรงฉัน โรงไฟและวัจกุฎี
จัดเตรียมน้ำดื่มน้ำใช้และน้ำในหม้อชำระ
วัตรของภิกษุผู้จรมาดังกล่าวนี้ พระผู้มีพระภาคผู้ทรงพระคุณ
อย่างไม่มีที่เปรียบทรงบัญญัติไว้แล้ว
ภิกษุผู้อยู่ประจำในอาวาส ไม่ปูอาสนะ ไม่ตั้งน้ำล้างเท้า
ไม่ลุกรับไม่ต้อนรับด้วยน้ำดื่มน้ำใช้ ไม่ไหว้ ไม่จัดเสนาสนะให้
ภิกษุผู้มีศีลตำหนิภิกษุผู้อยู่ประจำในอาวาสเห็นภิกษุอาคันตุกะ
ผู้แก่พรรษากว่า ควรปูอาสนะ ตั้งน้ำล้างเท้า
ลุกรับ นำน้ำดื่มน้ำใช้ต้อนรับ เช็ดรองเท้าให้
ซักผ้าเช็ดรองเท้าผึ่งไว้ด้านหนึ่ง
อภิวาทภิกษุอาคันตุกะผู้แก่พรรษากว่า
จัดเสนาสนะถวาย บอกเสนาสนะที่มีและไม่มีภิกษุอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๖๘ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในวัตตขันธกะ
บอกโคจรคามและอโคจรคาม ตระกูลเสกขสมมติ
วัจกุฎี น้ำดื่มน้ำใช้ ไม้เท้า กติกาสงฆ์ที่ตั้งไว้ว่า
เวลานี้ควรเข้าออก ภิกษุอาคันตุกะพรรษาน้อย
กว่าพึงนั่ง บอกแนะนำภิกษุอาคันตุกะพรรษาน้อยกว่าให้ไหว้
บอกเสนาสนะ นอกจากนั้น เหมือนในนัยตามที่กล่าวไว้แล้ว
วัตรของภิกษุผู้อยู่ในอาวาสดังกล่าวนี้ พระผู้มีพระภาคผู้ทรงเป็น
ผู้นำหมู่ได้ทรงแสดงไว้แล้ว
ภิกษุผู้เตรียมจะออกเดินทาง ไม่เก็บเครื่องใช้ไม้
เครื่องใช้ดินเปิดประตูหน้าต่างทิ้งไว้ ไม่บอกมอบหมายเสนาสนะ
เครื่องใช้ไม้ เครื่องใช้ดินเสียหาย เสนาสนะ ไม่มีใครรักษา
ภิกษุผู้มีศีลตำหนิ ภิกษุผู้จะเดินทางพึงเก็บเครื่องใช้ไม้
เครื่องใช้ดิน ปิดประตูหน้าต่าง
มอบหมายเสนาสนะแล้วหลีกไป พึงมอบหมายภิกษุสามเณร
คนวัดหรืออุบาสกยกเตียงขึ้นวางไว้บนศิลา
กองเครื่องเสนาสนะไว้ข้างบน เก็บเครื่องใช้ไม้
เครื่องใช้ดิน ปิดประตูหน้าต่าง
หากวิหารฝนรั่ว ถ้าสามารถพึงมุงบัง
หรือขวนขวาย ในวิหารที่ฝนไม่รั่วก็เหมือนกัน
ถ้าวิหารฝนรั่วทุกแห่งพึงขนเครื่องเสนาสนะเข้าบ้าน
ในที่แจ้งก็เหมือนกัน คิดว่าอย่างไรเสียส่วนของเตียงตั่ง
ก็คงเหลืออยู่บ้างนี้คือวัตรของภิกษุผู้ออกเดินทาง
ภิกษุไม่อนุโมทนาในโรงอาหารทำให้คนทั้งหลายตำหนิ
พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้เถระอนุโมทนา
ภิกษุปล่อยภิกษุผู้เถระไว้ให้อนุโมทนารูปเดียว
พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้พระเถรานุเถระอยู่ ๔-๕ รูป
ภิกษุรูปหนึ่งปวดอุจจาระกลั้นไว้จนสลบ
นี้คือวัตรในการอนุโมทนา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๖๙ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในวัตตขันธกะ
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์นุ่งห่มไม่เรียบร้อย ไม่มีมารยาท
เดินแซง นั่งเบียดภิกษุผู้เถระ กีดกันอาสนะภิกษุนวกะ
นั่งทับสังฆาฏิ ภิกษุผู้มีศีลตำหนิ
ภิกษุพึงนุ่งห่มปิดมณฑล ๓ คาดประคดเอว
ห่มผ้าสังฆาฏิที่พับซ้อนกัน
กลัดลูกดุม ไม่เดินแซง ปกปิดกายให้ดี
มีจักษุทอดลง ไม่เวิกผ้า ไม่หัวเราะดัง มีเสียงเบา
ไม่โคลงกาย ไม่แกว่งแขน ไม่โคลงศีรษะ
ไม่เท้าสะเอว ไม่คลุมศีรษะ ไม่เดินกระโหย่ง
ปกปิดกายให้ดี สำรวมดี มีจักษุทอดลง ไม่เวิกผ้า
ไม่หัวเราะดัง มีเสียงเบา ไม่โคลงกาย
ไม่แกว่งแขน ไม่โคลงศีรษะ ไม่เท้าสะเอว
ไม่คลุมศีรษะ ไม่นั่งรัดเข่า ไม่นั่งเบียดภิกษุผู้เถระ
ไม่เกียดกันอาสนะภิกษุนวกะ ไม่นั่งทับสังฆาฏิ
เมื่อเขาถวายน้ำพึงรับไปล้างบาตร
ถืออย่างระมัดระวัง เทน้ำลงกระโถนด้วยคิดว่า
กระโถนอย่าเลอะเทอะ ผู้นั่งใกล้อย่าถูกน้ำกระเซ็นเปียก
สังฆาฏิอย่าถูกน้ำกระเซ็น เมื่อเขาถวายข้าวสุก
พึงประคองบาตรรับ เว้นที่สำหรับแกง
จัดถวายแกงอ่อมเท่ากันทุกรูป รับบิณฑบาตโดยเคารพ
มีความสำคัญในบาตร รับบิณฑบาตพอเหมาะสมกับแกง
รับเสมอขอบปากบาตร ภิกษุผู้เถระไม่พึงฉันก่อน
จนกว่าข้าวสุกจะทั่วถึง ภิกษุทุกรูปฉันบิณฑบาตโดยเคารพ
มีความสำคัญในบาตรขณะฉัน ฉันตามลำดับ
ฉันพอเหมาะสมกับแกง ไม่ฉันขยุ้มแต่ยอดลงไป
ไม่ฉันกลบแกงหรือกับข้าว ไม่ขอแกงหรือกับข้าวมาฉัน
ไม่แลดูบาตรของภิกษุอื่นด้วยมุ่งตำหนิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๗๐ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในวัตตขันธกะ
ไม่ทำคำข้าวให้ใหญ่ ทำคำข้าวให้กลมกล่อม
ไม่อ้าปากไว้รอท่า ไม่สอดนิ้วมือเข้าปาก
ไม่พูดทั้งในปากมีคำข้าว ไม่ฉันโยนคำข้าว
ไม่ฉันกัดคำข้าว ไม่ฉันทำแก้มให้ตุ่ย ไม่ฉันสลัดมือ
ไม่ฉันโปรยเมล็ดข้าว ไม่ฉันแลบลิ้น ไม่ฉันทำเสียงดังจั๊บ ๆ
ไม่ฉันทำเสียงดังซู้ด ๆ ไม่ฉันเลียมือ ไม่ฉันขอดบาตร
ไม่ฉันเลียริมฝีปาก มือเปื้อนไม่ควรรับขันน้ำ
ภิกษุผู้เถระไม่รับน้ำก่อนที่ภิกษุทุกรูปยังฉันไม่เสร็จ
ล้างบาตรอย่างระมัดระวัง เทน้ำลงกระโถนอย่างระมัดระวัง
กระโถนอย่าเลอะน้ำ ภิกษุใกล้เคียงอย่าถูกน้ำกระเซ็น
สังฆาฏิอย่าถูกน้ำ เทน้ำลงบนพื้นดินอย่างระมัดระวัง
ไม่เทน้ำล้างบาตรมีเมล็ดข้าว
เมื่อกลับภิกษุนวกะพึงกลับก่อน ภิกษุผู้เถระกลับทีหลัง
ปกปิดกายด้วยดี ไม่เดินกระโหย่ง วัตรในโรงฉันนี้
พระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระธรรมราชาทรงบัญญัติไว้แล้ว
ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตนุ่งห่มไม่เรียบร้อย ไม่มีมารยาทเข้าบ้าน
ออกจากบ้านโดยไม่สังเกต เข้าออกรีบร้อนเกินไป
ยืนไกลเกินไป ใกล้เกินไป นานเกินไป กลับเร็วเกินไป
อีกรูปหนึ่งก็เช่นเดียวกัน ภิกษุถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร
จะเข้าบ้านพึงปกปิดกายด้วยดี สำรวมด้วยดี
มีจักษุทอดลง ไม่เวิกผ้า ไม่หัวเราะดัง พูดเสียงเบา
ไม่โคลงกาย ไม่แกว่งแขน ไม่โคลงศีรษะ ไม่เท้าสะเอว
ไม่คลุมศีรษะ ไม่เดินกระโหย่ง พึงสังเกตก่อน อย่ารีบเข้าออก
อย่ายืนไกลนัก ใกล้นัก นานนัก อย่ากลับเร็วนัก
พึงยืนกำหนดว่า เขาจะหยุดงานลุกจากที่นั่งจับทัพพี
ภาชนะตั้งไว้หรือไม่ แหวกผ้าสังฆาฏิน้อมบาตรเข้าไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๗๑ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในวัตตขันธกะ
ประคองบาตรรับอาหาร ขณะรับ ไม่มองดูหน้าผู้ถวาย
แม้ในแกงก็กำหนดเช่นเดียวกัน เมื่อเขาถวายอาหารแล้ว
ใช้สังฆาฏิคลุมบาตรกลับไป ปกปิดกายด้วยดีเดินไป
สำรวมด้วยดี มีจักษุทอดลง ไม่เวิกผ้า ไม่หัวเราะดัง
มีเสียงค่อย ไม่โคลงกาย ไม่แกว่งแขน ไม่โคลงศีรษะ
ไม่เท้าสะเอว ไม่คลุมศีรษะ ไม่เดินกระโหย่ง
รูปที่กลับมาก่อนปูอาสนะไว้รอ
ล้างภาชนะที่ใส่ของฉัน เตรียมน้ำดื่มน้ำใช้
รูปที่กลับทีหลังจะฉันก็พึงฉัน ถ้าไม่ฉันก็เททิ้ง
รื้อขนอาสนะ เก็บน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า
เก็บน้ำฉันน้ำใช้ กวาดโรงฉัน รูปใดเห็นหม้อน้ำฉัน
หม้อน้ำใช้หรือหม้อน้ำชำระว่างเปล่า พึงจัดหาตั้งไว้
ถ้าเป็นเรื่องสุดวิสัยพึงกวักมือเรียกเพื่อนมาช่วย
แต่ไม่ควรออกคำสั่ง นี้คือวัตรของภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาต
ภิกษุอยู่ป่า ไม่เตรียมน้ำดื่ม น้ำใช้ ไฟ ไม้สีไฟ
ไม่รู้นักษัตรไม่รู้จักทิศ พวกโจรถามก็ตอบว่าไม่มี
ไม่รู้ทุกอย่าง จึงถูกทำร้าย ภิกษุผู้อยู่ป่า
พึงสวมถุงบาตร คล้องบ่า พาดจีวรบนไหล่
ครั้นจะเข้าบ้านควรถอดรองเท้าใส่ถุง
คล้องบ่า ปกปิดมณฑล ๓ ให้เรียบร้อย
แม้ในอารัญญิกวัตรก็มีนัยเหมือนในบิณฑจาริกวัตร
ออกจากบ้านแล้ว สวมถุงบาตรคล้องบ่า
พับจีวรวางบนศีรษะ สวมรองเท้าเดินไป
เตรียมน้ำฉัน น้ำใช้ ไฟ ไม้สีไฟ ไม้เท้า
เรียนนักษัตรทุกประเภทหรือเพียงบางส่วน รู้จักทิศ
วัตรของภิกษุผู้อยู่ป่านี้ พระผู้มีพระภาคผู้ ทรงเป็นผู้สูงสุดกว่า
สรรพสัตว์ทรงบัญญัติไว้แล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๗๒ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในวัตตขันธกะ
ภิกษุหลายรูปทำจีวรในที่แจ้ง ถูกฝุ่นธุลีฟุ้งกลบ
ภิกษุผู้มีศีลตำหนิ ถ้าวิหารรก เมื่อจะปัดกวาด
เริ่มต้นควรขนบาตรจีวรออกไป ขนฟูก หมอน
เตียง ตั่ง กระโถน พนักพิงออกไป
กวาดหยากเยื่อลงจากเพดาน เช็ดกรอบประตูหน้าต่างและมุมห้อง
ฝาทาน้ำมัน พื้นทาสีดำขึ้นรา ถ้าพื้นไม่ได้ทา
พึงเช็ดทำให้สะอาด ปัดกวาดหยากเยื่อทิ้ง
ไม่เคาะเสนาสนะใกล้ภิกษุ วิหาร น้ำดื่ม น้ำใช้
ไม่เคาะในที่สูง เหนือลม ใต้ลม พรหมปูพื้น เขียงรองเตียง
เตียง ตั่ง ฟูก หมอน ผ้าปูนั่ง กระโถน พนักพิง
ตากทำความสะอาดแล้วเก็บไว้ตามเดิม เก็บบาตรจีวร
อย่าวางบาตรไว้บนพื้นที่ไม่มีเครื่องรอง
จีวรต้องพาดชายไว้ด้านนอกขนดไว้ด้านใน
หากลมทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศเหนือหรือทิศใต้
พัดมาปิดหน้าต่างด้านทิศนั้น ๆ
หน้าหนาวตอนกลางวันเปิดหน้าต่าง
กลางคืนปิด หน้าร้อน กลางวันเปิดหน้าต่าง กลางคืนปิด
ปัดกวาดบริเวณ ซุ้ม โรงฉัน โรงไฟ วัจกุฎี
ตักน้ำดื่มน้ำใช้มาตั้งไว้ ตักน้ำใส่หม้อชำระไว้
อยู่กับภิกษุผู้มีพรรษามากกว่า ถ้ายังไม่ได้บอก
อย่าให้อุทเทส ปริปุจฉา อย่าสาธยาย
อย่าแสดงธรรม อย่าตามประทีป อย่าเปิดหน้าต่าง
อย่าปิดหน้าต่าง ควรเดินตามภิกษุแก่พรรษากว่า
อย่ากระทบแม้ด้วยชายสังฆาฏิ วัตรในเสนาสนะ
พระผู้มีพระภาคผู้ทรงเป็นพระมหาวีระทรงบัญญัติไว้แล้ว
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ถูกภิกษุผู้เถระห้าม ปิดประตู
ภิกษุผู้เถระสลบ ภิกษุผู้มีศีลตำหนิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๗๓ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในวัตตขันธกะ
ภิกษุควรนำเถ้าไปเททิ้ง ปัดกวาดเรือนไฟชาน
ภายนอกบริเวณซุ้มประตู ศาลาเรือนไฟ บดจุรณ
แช่ดินเหนียว ตักน้ำไว้ในราง เอาดินเหนียว
ทาหน้าปิดทั้งข้างหน้าข้างหลัง
ไม่นั่งเบียดภิกษุผู้เถระ ไม่เกียดกันอาสนะภิกษุนวกะ
ถ้ามีความอุตสาหะควรทำบริกรรมแก่ภิกษุผู้เถระในเรือนไฟ
อย่าสรงน้ำข้างหน้า เหนือน้ำ ให้หนทาง
เรือนไฟเปรอะเปื้อน ล้างรางแช่ดินเหนียว
เก็บตั่ง ดับไฟ ปิดประตูนี้คือวัตรในเรือนไฟ
ภิกษุถ่ายอุจจาระแล้วไม่ชำระ ถ่ายอุจจาระตามลำดับพรรษา
ทรงอนุญาตให้ถ่ายตามลำดับผู้มาถึง
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เข้าวัจกุฎีเร็ว เวิกผ้านุ่งเข้าไป
ถอนหายใจพลางถ่ายอุจจาระ เคี้ยวไม้ชำระฟัน
พลางถ่ายอุจจาระ ถ่ายอุจจาระปัสสาวะออกนอกราง
บ้วนน้ำลายลงในราง ใช้ไม้ชำระเนื้อแข็ง
ทิ้งไม้ชำระลงในช่องถ่ายอุจจาระออกมาเร็วเกิน
เวิกผ้าออกมา ชำระมีเสียงดังโจ๊กโจ๊ก
เหลือน้ำไว้ในกระบอกชำระ ภิกษุผู้อยู่ข้างนอกพึงกระแอม
ภิกษุผู้อยู่ข้างในกระแอมรับ พาดจีวรไว้บนราว
สายระเดียง อย่ารีบเข้าไป อย่าเวิกผ้าเข้าไป ยืนบนเขียง
อย่าถอนหายใจดัง อย่าเคี้ยวไม้ชำระฟัน
อย่าถ่ายอุจจาระปัสสาวะออกนอกราง
อย่าบ้วนน้ำลายลงในราง อย่าใช้ไม้ชำระเนื้อแข็ง
อย่าทิ้งไม้ชำระลงในช่องถ่าย ยืนบนเขียงถ่ายแล้ว
ปิดผ้า อย่าออกมาเร็วนัก อย่าเวิกผ้าออกมา
ยืนบนเขียงถ่ายแล้วจึงปิด อย่าชำระมีเสียงดังจะปุจะปุ
อย่าเหลือน้ำชำระไว้ ยืนบนเขียงชำระแล้วปิดผ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๗๔ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในวัตตขันธกะ
วัจกุฎีเลอะเทอะต้องทำความสะอาด
ตะกร้าไม้ชำระเต็มควรนำไปเท
วัจกุฎีชานภายนอกบริเวณซุ้มประตูรกก็ควรกวาด
ตักน้ำใส่หม้อชำระ นี้คือวัตรในวัจกุฏี
สัทธิวิหาริก ถอดรองเท้า ถวายไม้ชำระฟัน
น้ำล้างหน้า ปูอาสนะ ถวายข้าวต้ม ล้างภาชนะเก็บไว้
เก็บอาสนะ ที่รกพึงกวาด เข้าบ้าน ถวายผ้านุ่ง
ประคดเอว สังฆาฏิที่ซ้อน ๒ ชั้น บาตรพร้อมทั้งน้ำ
ปัจฉาสมณะ นุ่งปิดมณฑล ๓ ให้เรียบร้อย
คาดประคดเอว ห่มสังฆาฏิที่ซ้อน ล้างบาตร
เป็นปัจฉาสมณะ เดินไม่ห่างนัก ไม่ชิดนักรับของในบาตร
พระอุปัชฌาย์กำลังกล่าวถ้อยคำใกล้ต่ออาบัติ
กลับมาก่อนปูอาสนะไว้รอ ตั้งน้ำล้างเท้า
ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า ลุกไปรับ
ถวายผ้านุ่ง ผลัด ผึ่งที่แดด ผึ่งทิ้งไว้ครู่หนึ่ง
อย่าให้มีรอยพับ ม้วนประคดเอวไว้ในขนด
พระอุปัชฌาย์ต้องการจะฉัน น้อมถวายปิณฑบาต
ถามถึงน้ำดื่ม ถวายน้ำ รับบาตรถือมาอย่างระมัดระวัง
ผึ่งแดดไว้ครู่หนึ่ง อย่าผึ่งทิ้งไว้ พึงเก็บบาตรและจีวร
อย่าเก็บบาตรไว้บนพื้น ไม่มีเครื่องลาด
พาดชายจีวรไว้ข้างนอก ขนดไว้ข้างใน
เก็บอาสนะและน้ำล้างเท้า ปัดกวาดที่รก
พระอุปัชฌาย์จะสรงน้ำ ถวายน้ำเย็น น้ำร้อน เรือนไฟ
บดจุรณ แช่ดิน ตามหลังเข้าไปถวายตั่ง รับจีวร
ถวายจุรณและดิน ถ้ามีความสามารถก็ใช้ดินทา
หน้าปิดทั้งข้างหน้าข้างหลัง ไม่นั่งเบียดภิกษุผู้เถระ
ไม่กีดกันอาสนะภิกษุนวกะ ทำบริกรรม ออกจากเรือนไฟ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๗๕ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในวัตตขันธกะ
ปิดทั้งข้างหน้าข้างหลัง ทำบริกรรมในน้ำ
สรงน้ำแล้วขึ้นมาก่อน นุ่งผ้า เช็ดตัวให้แห้ง
เช็ดน้ำจากตัวพระอุปัชฌาย์ถวายผ้านุ่ง สังฆาฏิ
ถือตั่งเรือนไฟ ปูอาสนะไว้ ตั้งน้ำล้างเท้า
ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า ถามถึงน้ำดื่ม
พึงเรียนพึงสอบถาม
ถ้ามีความอุตสาหะก็ควรปัดกวาดวิหารที่รก
ก่อนปัดกวาด ควรขนบาตรจีวร ผ้าปูนั่ง
ผ้าปูนอน ฟูก หมอน เตียง ตั่ง เขียงรองเตียง
กระโถน พนักพิงและเครื่องลาดพื้นออกไป
ปัดกวาดหยากเยื่อตั้งแต่เพดานลงมา เช็ดกรอบหน้าต่าง
ฝาทาน้ำมัน พื้นทาสีดำ พื้นไม่ได้ทำ พรหมปูพื้นผึ่งแดด
เขียงรองเตียง เตียง ตั่ง ฟูก หมอน ผ้าปูนั่ง
ผ้าปูนอน กระโถน พนักพิง เก็บบาตรจีวร
ลมเจือฝุ่นละอองพัดมาทางทิศตะวันออก ทิศตะวันตก
ทิศเหนือหรือทิศใต้ ควรปิดหน้าต่างด้านนั้น ๆ
หน้าหนาว หน้าร้อน กลางวัน กลางคืน บริเวณ ซุ้ม
โรงฉัน โรงไฟ วัจกุฎี ตักน้ำดื่มน้ำใช้ หม้อชำระ
พระอุปัชฌาย์เกิดความไม่ยอนดี รำคาญ เห็นผิด
ต้องอาบัติหนัก ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม
มานัต อัพภาน ถ้าถูกลงตัชชนียกรรม
นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม
ปฏิสารณียกรรมและอุกเขปนียกรรม
จีวรของพระอุปัชฌาย์ควรซัก ทำย้อม
ย้อมให้พลิกกลับไปมา รับบาตรจีวรและบริขาร ปลงผม
ไม่ทำบริกรรมหรือ ขวนขวาย เป็นปัจฉาสมณะ
ให้บิณฑบาต เข้าบ้าน อย่าไปป่าช้า อย่าไปสู่ทิศ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๗๖ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในวัตตขันธกะ
พระอุปัชฌาย์อาพาธ ควรพยาบาลตลอดชีวิต
ภิกษุทั้งหลาย นี้คืออุปัชฌายวัตร อันสัทธิวิหาริกพึงประพฤติชอบ
พระอุปัชฌาย์สงเคราะห์ด้วยอุทเทส ปริปุจฉา โอวาท
และอนุศาสน์ ให้บาตร จีวรและบริขาร คราวอาพาธ
ไม่พึงเป็นปัจฉาสมณะ แม้อาจริยวัตรก็เหมือนกับอุปัชฌายวัตร
อันเตวาสิกวัตรก็เหมือนกับสัทธิวิหาริกวัตร
อาวาสิกวัตรก็เหมือนกับอาคันตุกวัตร คมิกวัตร
อนุโมทนาวัตร ภัตตัคควัตร ปิณฑจาริกวัตร
อารัญญิกวัตร เสนาสนวัตร ชันตาฆรวัตร วัจกุฎีวัตร
อุปัชฌายวัตร สัทธิวิหาริกวัตร อาจริยวัตร
อันเตวาสิกวัตรก็เหมือนกัน
ในขันธกะนี้มี ๑๙ เรื่อง ๑๔ วัตร
ภิกษุผู้ไม่บำเพ็ญวัตร ชื่อว่าไม่บำเพ็ญศีล
ผู้มีศีลไม่บริสุทธิ์ ทรามปัญญา
ย่อมไม่ประสบเอกัคคตาจิต ผู้มีจิตฟุ้งซ่าน อารมณ์มาก
ย่อมไม่เห็นธรรมโดยชอบ เมื่อไม่เห็นพระสัทธรรม
ย่อมไม่พ้นไปจากทุกข์ ภิกษุผู้บำเพ็ญวัตร ชื่อว่าบำเพ็ญศีล
ผู้มีศีลบริสุทธิ์ มีปัญญา ย่อมได้รับเอกัคคตาจิต
ผู้ไม่ฟุ้งซ่าน อารมณ์เดียว ย่อมเห็นธรรมโดยธรรม
เมื่อเห็นพระสัทธรรม ย่อมพ้นจากทุกข์ได้
เพราะเหตุนั้น ภิกษุผู้เป็นพุทธชิโนรส มีปัญญาเห็นประจักษ์
พึงบำเพ็ญวัตร อันเป็นพระโอวาทของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ
แต่นั้นจะถึงพระนิพพานได้ดังนี้แล
วัตตขันธกะ จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๗๗ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] ๑. ปาติโมกขุทเทสยาจนะ
๙. ปาติโมกขัฏฐปนขันธกะ
๑. ปาติโมกขุทเทสยาจนะ
ว่าด้วยการขอให้ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง
[๓๘๓] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปราสาทในปุพพารามของ
นางวิสาขามิคารมาตา ครั้งนั้น ในวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำนั้น พระผู้มีพระภาคประทับนั่ง
มีภิกษุสงฆ์ห้อมล้อม
ครั้งนั้น เมื่อราตรีผ่านไปแล้ว ปฐมยามผ่านไปแล้ว ท่านพระอานนท์ลุกจาก
อาสนะ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมมือไปทางพระผู้มีพระภาค ได้กราบ
ทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า ราตรีผ่านไปแล้ว ปฐมยามผ่านไปแล้ว
ภิกษุสงฆ์นั่งนานแล้วพระผู้มีพระภาคโปรดยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงแก่ภิกษุทั้งหลายเถิด”
เมื่อท่านพระอานนท์กราบทูลอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคทรงนิ่ง
แม้ครั้งที่ ๒ เมื่อราตรีผ่านไปแล้ว เมื่อมัชฌิมยามผ่านไปแล้ว ท่านพระอานนท์
ลุกจากอาสนะ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมมือไปทางพระผู้มีพระภาค
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า ราตรีผ่านไปแล้ว มัชฌิมยาม
ผ่านไปแล้ว ภิกษุสงฆ์นั่งนานแล้ว พระผู้มีพระภาคโปรดยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงแก่
ภิกษุทั้งหลายเถิด”
แม้ครั้งที่ ๒ พระผู้มีพระภาคก็ทรงนิ่ง ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ เมื่อราตรีผ่านไปแล้ว เมื่อปัจฉิมยามผ่านไปแล้ว ยามรุ่งอรุณ ท่าน
พระอานนท์ลุกจากอาสนะ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่งประนมมือไปทางพระผู้
มีพระภาค ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า ราตรีผ่านไปแล้ว
ปัจฉิมยามผ่านไป ภิกษุสงฆ์นั่งนานแล้ว พระผู้มีพระภาคโปรดยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง
แก่ภิกษุทั้งหลายเถิด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๗๘ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] ๑. ปาติโมกขุทเทสยาจนะ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ บริษัทไม่บริสุทธิ์”
ลำดับนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้มีความคิดดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาค
ตรัสว่า บริษัทไม่บริสุทธิ์ ทรงหมายถึงใครกัน” ลำดับนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะ
มนสิการกำหนดจิตภิกษุสงฆ์ที่มีทั้งหมดด้วยจิต(ของตน) ได้เห็นบุคคลนั้นผู้ทุศีล มี
บาปธรรม ประพฤติไม่เรียบร้อย น่ารังเกียจ ปกปิดพฤติกรรม ไม่ใช่สมณะแต่
ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ ไม่ใช่พรหมจารีแต่ปฏิญญาว่าเป็นพรหมจารี เน่าใน เปียกชุ่ม
เป็นดุจหยากเยื่อ นั่งอยู่ท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ครั้นแล้วจึงเข้าไปหาบุคคลนั้น แล้วได้
กล่าวกับบุคคลนั้นดังนี้ว่า “ท่านจงลุกขึ้น พระผู้มีพระภาคทรงเห็นท่านแล้ว ท่าน
ไม่มีสังวาสกับภิกษุทั้งหลาย” เมื่อท่านพระมหาโมคคัลลานะแม้กล่าวอย่างนี้ บุคคลนั้น
ก็ยังนิ่ง
แม้ครั้งที่ ๒ ท่านพระมหาโมคคัลลานะก็ได้กล่าวกับบุคคลนั้นดังนี้ว่า “ท่าน
จงลุกขึ้น พระผู้มีพระภาคทรงเห็นท่าน ท่านไม่มีสังวาสกับภิกษุทั้งหลาย”
แม้ครั้งที่ ๒ บุคคลนั้นก็ยังนิ่ง
แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระมหาโมคคัลลานะก็ได้กล่าวกับบุคคลนั้นดังนี้ว่า “ท่าน
จงลุกขึ้น พระผู้มีพระภาคทรงเห็นท่าน ท่านไม่มีสังวาสกับภิกษุทั้งหลาย”
แม้ครั้งที่ ๓ บุคคลนั้นก็ยังนิ่ง
ลำดับนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะจับแขนบุคคลนั้นฉุดให้ออกไปนอกซุ้มประตู
ใส่กลอนแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า “ข้าพระพุทธเจ้าให้ผู้นั้นออกไปพ้นแล้ว บริษัทบริสุทธิ์แล้ว ขอพระ
ผู้มีพระภาคโปรดยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงแก่ภิกษุทั้งหลายเถิด พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โมคคัลลานะ น่าอัศจรรย์จริง โมคคัลลานะ เป็นเรื่อง
ยังไม่เคยปรากฏ โมฆบุรุษรอจนกระทั่งถูกฉุดแขนออกไป”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๗๙ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] ๒. มหาสมุทเทอัฎฐัจฉริยะ
๒. มหาสมุทเทอัฏฐัจฉริยะ
ว่าด้วยความอัศจรรย์ของมหาสมุทร ๘ ประการ๑
[๓๘๔] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย
ในมหาสมุทร มีสิ่งที่น่าอัศจรรย์ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการ ที่พวกอสูรพบเห็นแล้ว
ต่างพากันยินดีในมหาสมุทร
สิ่งที่น่าอัศจรรย์ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการ คือ
๑. มหาสมุทรต่ำไปโดยลำดับ ลาดไปโดยลำดับ ลึกลงไปโดยลำดับ
ไม่ลึกชันดิ่งไปทันที
ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่มหาสมุทรต่ำไปโดยลำดับ ลาดไปโดยลำดับ ลึกลงไปโดย
ลำดับ ไม่ลึกชันดิ่งไปทันที นี้เป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์ไม่เคยปรากฏประการที่ ๑ ในมหา
สมุทร ที่พวกอสูรพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในมหาสมุทร
๒. (น้ำใน)มหาสมุทรมีปกติคงที่ ไม่ล้นฝั่ง
ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่(น้ำใน)มหาสมุทรมีปกติคงที่ ไม่ล้นฝั่ง นี้เป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์
ไม่เคยปรากฏประการที่ ๒ ในมหาสมุทร ที่พวกอสูรพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีใน
มหาสมุทร
๓. มหาสมุทรไม่อยู่ร่วมกับซากศพ ย่อมซัดซากศพขึ้นฝั่งจนถึงบนบก
ทันที
ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่มหาสมุทรไม่อยู่ร่วมกับซากศพ ย่อมซัดซากศพขึ้นฝั่งจนถึง
บนบกทันที นี้เป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์ไม่เคยปรากฏประการที่ ๓ ในมหาสมุทร ที่พวก
อสูรพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในมหาสมุทร
๔. มหานทีทุกสาย คือ คงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี ไหลลงสู่
มหาสมุทรแล้ว ย่อมละชื่อและโคตรเดิมของตน รวมเรียกว่า มหา
สมุทรทั้งสิ้น

เชิงอรรถ :
๑ องฺ.อฏฺฐก. (แปล) ๒๓/๑๙/๒๔๖, ขุ.อุ. (แปล) ๒๕/๔๕/๒๖๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๘๐ }


>>>>> หน้าต่อไป >>>>>





eXTReMe Tracker