ค้นว่าอยู่เล่มใด แล้วกด [ctrl]+f หรือใช้คำสั่งของเครื่องหาตำแหน่งในเล่มอีกทีนะครับ



จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อความสะดวก และสวยงาม
(เฉพาะหน้าจอใหญ่ เช่น คอมพิวเตอร์)
กรุณาคลิก จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อให้กรอบ
ค้นข้อความ ปรากฎที่ด้านซ้ายของหน้า

พระไตรปิฎกภาษาไทย
ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม (ปกสีฟ้า)
ทั้งออนไลน์และออฟไลน์
ที่มาของข้อมูล : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มจร.
MCUTRAI Version 1.0

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๗-๓ วินัยปิฎกที่ ๐๗ จุลวรรค ภาค ๒

พระวินัยปิฎก
จูฬวรรค ภาค ๒
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] ๒. มหาสมุทเทอัฎฐัจฉริยะ
ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่มหานทีทุกสาย คือ คงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี ไหลลง
สู่มหาสมุทรแล้ว ย่อมละชื่อและโคตรเดิมของตน รวมเรียกว่า มหาสมุทรทั้งสิ้น นี้
เป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์ไม่เคยปรากฏประการที่ ๔ ในมหาสมุทร ที่พวกอสูรพบเห็นแล้ว
ต่างพากันยินดีในมหาสมุทร
๕. แม่น้ำสายใดสายหนึ่งในโลกที่ไหลรวมลงสู่มหาสมุทร และสายฝน
ตกลงจากฟากฟ้า ก็ไม่ทำให้มหาสมุทรพร่องหรือเต็มได้
ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่แม่น้ำสายใดสายหนึ่งในโลกที่ไหลรวมลงสู่มหาสมุทรและ
สายฝนตกลงจากฟากฟ้า ก็ไม่ทำให้มหาสมุทรพร่องหรือเต็มได้ นี้เป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์
ไม่เคยปรากฏประการที่ ๕ ในมหาสมุทร ที่พวกอสูรพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีใน
มหาสมุทร
๖. มหาสมุทรมีรสเดียว คือ รสเค็ม
ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่มหาสมุทรมีรสเดียว คือ รสเค็ม นี้เป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์ไม่
เคยปรากฏประการที่ ๖ ในมหาสมุทร ที่พวกอสูรพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีใน
มหาสมุทร
๗. มหาสมุทรมีรัตนะมาก มีรัตนะหลายชนิด คือ แก้วมุกดา แก้วมณี
แก้ว ไพฑูรย์ สังข์ ศิลา ประพาฬ เงิน ทอง ทับทิม แก้วตาแมว
ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่มหาสมุทรมีรัตนะมาก มีรัตนะหลายชนิด คือ แก้วมุกดา
แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ สังข์ ศิลา ประพาฬ เงิน ทอง ทับทิม แก้วตาแมว นี้
เป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์ไม่เคยปรากฏประการที่ ๗ ในมหาสมุทร ที่พวกอสูรพบเห็น
แล้วต่างพากันยินดีในมหาสมุทร
๘. มหาสมุทรเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ขนาดใหญ่ คือ ปลาติมิ ปลาติ
มิงคละ ปลาติมิติมิงคละ ปลามหาติมิงคละ อสูร นาค คนธรรพ์
มีลำตัว ๑๐๐ โยชน์บ้าง ๒๐๐ โยชน์บ้าง ๓๐๐ โยชน์บ้าง ๔๐๐
โยชน์บ้าง ๕๐๐ โยชน์บ้าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๘๑ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] ๓. อิมัสมิงธัมมวินเยอัฎฐัจฉริยะ
ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่มหาสมุทรเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ขนาดใหญ่ คือ ปลาติมิ
ปลาติมิงคละ ปลาติมิติมิงคละ ปลามหาติมิงคละ อสูร นาค คนธรรพ์ มีลำตัว ๑๐๐
โยชน์บ้าง ๒๐๐ โยชน์บ้าง ๓๐๐ โยชน์บ้าง ๔๐๐ โยชน์บ้าง ๕๐๐ โยชน์บ้าง
นี้เป็นความอัศจรรย์ไม่เคยปรากฏประการที่ ๘ ในมหาสมุทร ที่พวกอสูรพบเห็นแล้ว
ต่างพากันยินดีในมหาสมุทร

๓. อิมัสมิงธัมมวินเยอัฏฐัจฉริยะ
ว่าด้วยความมหัศจรรย์ในพระธรรมวินัย ๘ ประการ
[๓๘๕] ภิกษุทั้งหลาย ในธรรมวินัยนี้ มีธรรมที่น่าอัศจรรย์ไม่เคยปรากฏ ๘
ประการ ที่พวกภิกษุพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในธรรมวินัยนี้เหมือนกัน
ธรรมที่น่าอัศจรรย์ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการ คือ
๑. ในธรรมวินัยนี้ มีการศึกษาไปตามลำดับ มีการบำเพ็ญไปตามลำดับ
มีการปฏิบัติไปตามลำดับ ไม่ใช่มีการบรรลุอรหัตตผลโดยทันที
เหมือนมหาสมุทรต่ำไปโดยลำดับ ลาดไปโดยลำดับ ลึกลงไปโดย
ลำดับ ไม่ลึกชันดิ่งไปทันที
ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ในธรรมวินัยนี้ มีการศึกษาไปตามลำดับ มีการบำเพ็ญไป
ตามลำดับ มีการปฏิบัติไปตามลำดับ ไม่ใช่มีการบรรลุอรหัตตผลโดยทันที นี้เป็น
ธรรมที่น่าอัศจรรย์ไม่เคยปรากฏประการที่ ๑ ในธรรมวินัยนี้ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็น
แล้วต่างพากันยินดีในธรรมวินัยนี้
๒. สาวกทั้งหลายของเราย่อมไม่ละเมิดสิกขาบทที่เราบัญญัติไว้ แม้
เพราะเหตุแห่งชีวิต เหมือน(น้ำใน)มหาสมุทรมีปกติคงที่ ไม่ล้นฝั่ง
ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่สาวกทั้งหลายของเราย่อมไม่ละเมิดสิกขาบทที่เราบัญญัติ
ไว้แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ไม่เคยปรากฏประการที่ ๒ ใน
ธรรมวินัยนี้ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในธรรมวินัยนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๘๒ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] ๓. อิมัสมิงธัมมวินเยอัฎฐัจฉริยะ
๓. บุคคลใดทุศีลมีบาปธรรม ประพฤติไม่สะอาด น่ารังเกียจ ปกปิด
พฤติกรรม ไม่ใช่สมณะแต่ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ ไม่ใช่พรหมจารี
แต่ปฏิญญาว่าเป็นพรหมจารี เน่าภายใน เปียกชุ่ม เป็นดุจหยากเยื่อ
สงฆ์ก็ไม่อยู่ร่วมกับบุคคลนั้น สงฆ์ย่อมประชุมกันนำบุคคลนั้นออก
ไปทันที แม้บุคคลนั้นจะนั่งอยู่ในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ก็ยังห่างไกล
จากสงฆ์ และสงฆ์ก็ห่างไกลจากบุคคลนั้น เหมือนมหาสมุทรไม่อยู่
ร่วมกับซากศพ ย่อมซัดซากศพขึ้นฝั่งจนถึงบนบก ทันที
ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลใดทุศีล มีบาปธรรม ประพฤติไม่สะอาด น่ารังเกียจ
ปกปิดพฤติกรรม ไม่ใช่สมณะแต่ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ ไม่ใช่พรหมจารีแต่ปฏิญญา
ว่าเป็นพรหมจารี เน่าภายใน เปียกชุ่ม เป็นดุจหยากเยื่อ สงฆ์ไม่อยู่ร่วมกับบุคคลนั้น
สงฆ์ย่อมประชุมกันนำบุคคลนั้นเธอออกไปทันที แม้บุคคลนั้นจะนั่งอยู่ในท่ามกลางภิกษุสงฆ์
ก็ยังห่างไกลจากสงฆ์ และสงฆ์ก็ห่างไกลจากบุคคลนั้น นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ไม่
เคยปรากฏประการที่ ๓ ในธรรมวินัยที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้วต่างพา กันยินดีใน
ธรรมวินัยนี้
๔. วรรณะ ๔ เหล่านี้คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร
ออกจากเรือนมาบวชในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ย่อมละชื่อและ
โคตรเดิม รวมเรียกว่าสมณะเชื้อสายศากยบุตรทั้งสิ้น เหมือนมหา
นทีทุกสาย คือ คงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี ไหลลงสู่มหา
สมุทรแล้ว ย่อมละชื่อและโคตรเดิม รวมเรียกว่า มหาสมุทรทั้งสิ้น
ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่วรรณะ ๔ เหล่านี้คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร
ออกจากเรือนมาบวชในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ย่อมละชื่อและโคตรเดิม
รวมเรียกว่า สมณะเชื้อสายศากยบุตร นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ไม่เคยปรากฏประการ
ที่ ๔ ในธรรมวินัยนี้ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในธรรมวินัยนี้
๕. แม้ถ้าภิกษุจำนวนมาก ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ก็
ไม่ทำให้นิพพานพร่องหรือเต็มได้ เหมือนแม่น้ำสายใดสายหนึ่งใน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๘๓ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] ๓. อิมัสมิงธัมมวินเยอัฎฐัจฉริยะ
โลกที่ไหลรวมลงสู่มหาสมุทร และสายฝนตกลงจากฟากฟ้า ก็ไม่ทำ
ให้มหาสมุทรพร่องหรือเต็มได้
ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่แม้ถ้าภิกษุจำนวนมาก ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพาน
ธาตุ ก็ไม่ทำให้นิพพานพร่องหรือเต็มได้ นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ไม่เคยปรากฏ
ประการที่ ๕ ในธรรมวินัยนี้ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีธรรมวินัยนี้
๖. ธรรมวินัยนี้มีรสเดียวคือวิมุตติรส(ความหลุดพ้น) เหมือนมหาสมุทร
มีรสเดียว คือ รสเค็ม
ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ธรรมวินัยนี้มีรสเดียวคือวิมุตติรส(ความหลุดพ้น) นี้เป็น
ธรรมที่น่าอัศจรรย์ไม่เคยปรากฏประการที่ ๖ ในธรรมวินัยที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็น
แล้วต่างพากันยินดีในธรรมวินัยนี้
๗. ธรรมวินัยนี้มีรัตนะมาก มีรัตนะหลายชนิดคือ สติปัฏฐาน ๔
สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗
อริยมรรคมีองค์ ๘ เหมือนมหาสมุทรมีรัตนะมาก มีรัตนะหลาย
ชนิด คือ แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ สังข์ ศิลา ประพาฬ
เงิน ทอง ทับทิม แก้วตาแมว
ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ธรรมวินัยนี้มีรัตนะมาก มีรัตนะหลายชนิด คือ สติปัฏฐาน
๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์
๘ นี้เป็นความอัศจรรย์ไม่เคยปรากฏประการที่ ๗ ในธรรมวินัยที่ภิกษุทั้งหลายพบ
เห็นแล้วต่างพากันยินดีในธรรมวินัยนี้
๘. ธรรมวินัยนี้เป็นที่อยู่ของผู้ใหญ่ คือ พระโสดาบัน บุคคลผู้ปฏิบัติ
เพื่อบรรลุโสดาปัตติผล พระสกิทาคามี บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุ
สกิทาคามิผล พระอนาคามี บุคคคลผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุอนาคามิผล
พระอรหันต์ บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุอรหัตตผล เหมือนมหาสมุทร
เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ขนาดใหญ่ คือ ปลาติมิ ปลาติมิงคละ ปลา
ติมิติมิงคละ ปลามหาติมิงคละ อสูร นาค คนธรรพ์ มีลำตัว ๑๐๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๘๔ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] ๔. ปาติโมกขสวนารหะ
โยชน์บ้าง ๒๐๐ โยชน์บ้าง ๓๐๐ โยชน์บ้าง ๔๐๐ โยชน์บ้าง ๕๐๐
โยชน์บ้าง
ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ธรรมวินัยนี้เป็นที่อยู่ของผู้ใหญ่ คือ พระโสดาบัน บุคคล
ผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุโสดาปัตติผล พระสกิทาคามี บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุสกิทาคามิ
ผล พระอนาคามี บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุอนาคามิผล พระอรหันต์ บุคคลผู้ปฏิบัติ
เพื่อบรรลุอรหัตตผล นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ไม่เคยปรากฏประการที่ ๘ ในธรรมวินัย
ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในธรรมวินัยนี้๑
ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้น จึงทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
ยิ่งปิด ยิ่งรั่ว เปิดแล้วไม่รั่ว เพราะฉะนั้น พึงเปิดสิ่งที่ปิด
เมื่อเป็นดังนี้ สิ่งที่เปิดนั้นก็จะไม่รั่ว๒

๔. ปาติโมกขสวนารหะ
ว่าด้วยผู้ควรฟังปาติโมกข์
เรื่องทรงให้ภิกษุสงฆ์ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงเอง
[๓๘๖] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ตั้งแต่
บัดนี้เป็นต้นไป เราจะไม่ทำอุโบสถ ไม่ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ภิกษุทั้งหลาย ตั้งแต่
นี้ไปพวกเธอพึงทำอุโบสถ พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงเอง
ภิกษุทั้งหลาย มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่เราจะทำอุโบสถ จะยกปาติโมกข์ขึ้น
แสดงในบริษัทที่ไม่บริสุทธิ์ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีอาบัติติดตัวไม่พึงฟังปาติโมกข์
รูปใดฟัง ต้องอาบัติทุกกฎ
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้งดปาฎิโมกข์แก่ภิกษุผู้มีอาบัติติดตัวนั้น

เชิงอรรถ :
๑ องฺ. อฏฺ00ก. (แปล) ๒๓/๒๐/๒๕๒-๒๕๖, ขุ.อุ. ๒๕/๔๕/๒๖๐
๒ ดูเทียบ ขุ.เถร. (แปล) ๒๖/๔๔๗/๔๑๕, ขุ.อุ. ๒๕/๔๕/๒๖๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๘๕ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] ๔. ปาติโมกขสวนารหะ
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงงดปาติโมกข์อย่างนี้ ในวันอุโบสถ ๑๔ ค่ำ หรือ ๑๕
ค่ำนั้น เมื่อบุคคลนั้นเข้าร่วมประชุมสงฆ์ พึงประกาศขึ้นในท่ามกลางสงฆ์ว่า
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บุคคลชื่อนี้มีอาบัติติดตัว ข้าพเจ้าจะงด
ปาติโมกข์แก่บุคคลนั้น เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้า สงฆ์ไม่พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง
ปาติโมกข์เป็นอันงดแล้ว”

เรื่องพวกภิกษุฉัพพัคคีย์งดยกปาติโมกข์
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ปรึกษากันว่า “ใคร ๆ ไม่รู้จักพวกเรา” มีอาบัติ
ติดตัว ฟังปาติโมกข์ ภิกษุผู้เถระทั้งหลายผู้รู้วาระจิตของผู้อื่น บอกภิกษุทั้งหลาย
ว่า “ท่านทั้งหลาย พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ชื่อนี้ ๆ ปรึกษากันว่า ‘ใคร ๆ ไม่รู้จักพวกเรา’
มีอาบัติติดตัว ฟังปาติโมกข์”
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ได้ฟังข่าวว่า “ภิกษผู้เถระทั้งหลายผู้รู้วาระจิตของผู้อื่นบอก
แก่ภิกษุทั้งหลายว่า ‘พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ชื่อนี้ ๆ ปรึกษากันว่า ‘ใคร ๆ ไม่รู้จักพวก
เรา’ มีอาบัติติดตัว ฟังปาติโมกข์”
ภิกษุฉัพพัคคีย์พวกนั้นปรึกษากันว่า “ภิกษุทั้งหลายผู้มีศีลดีงามจะงดปาติโมกข์
แก่พวกเราก่อน” จึงรีบงดปาติโมกข์แก่ภิกษุทั้งหลายผู้บริสุทธิ์ไม่มีอาบัติ เพราะเรื่อง
ไม่สมควร เพราะเหตุไม่สมควร
บรรดาภิกษุผู้มักน้อยตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
จึงงดปาติโมกข์แก่ภิกษุทั้งหลายผู้บริสุทธิ์ไม่มีอาบัติ เพราะเรื่องไม่สมควรเพราะเหตุ
ไม่สมควรเล่า”
ครั้งนั้นแล ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์งดปาติโมกข์แก่ภิกษุทั้งหลายผู้บริสุทธิ์ ไม่มีอาบัติ เพราะเรื่องไม่สมควร
เพราะเหตุไม่สมควร จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๘๖ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] ๕. ธัมมิกาธัมมิกปาติโมกขัฎฐปนะ
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิ ฯลฯ ครั้นทรงตำหนิแล้ว ฯลฯ ทรงแสดง
ธรรมีกถารับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงงดปาติโมกข์แก่ภิกษุ
ผู้บริสุทธิ์ไม่มีอาบัติ เพราะเรื่องไม่สมควร เพราะเหตุไม่สมควร รูปใดงด ต้องอาบัติ
ทุกกฏ”

๕. ธัมมิกาธัมมิกปาติโมกขัฏฐปนะ
ว่าด้วยการงดปาติโมกข์ชอบธรรมและไม่ชอบธรรม
[๓๘๗] ภิกษุทั้งหลาย การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๑ อย่าง การงด
ปาติโมกข์ชอบธรรม ๑ อย่าง การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๒ อย่าง การงด
ปาติโมกข์ชอบธรรม ๒ อย่าง การงดปาติโมกข์ ไม่ชอบธรรม ๓ อย่าง การงด
ปาติโมกข์ชอบธรรม ๓ อย่าง การ งดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๔ อย่าง การงด
ปาติโมกข์ชอบธรรม ๔ อย่าง การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๕ อย่าง การงด
ปาติโมกข์ชอบธรรม ๕ อย่าง การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๖ อย่าง การงด
ปาติโมกข์ชอบธรรม ๖ อย่าง การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๗ อย่าง การงด
ปาติโมกข์ชอบธรรม ๗ อย่าง การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๘ อย่าง การงด
ปาติโมกข์ชอบธรรม ๘ อย่าง การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๙ อย่าง การงด
ปาติโมกข์ชอบธรรม ๙ อย่าง การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๑๐ อย่าง การงด
ปาติโมกข์ชอบธรรม ๑๐ อย่าง
การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๑ อย่าง คือ
งดปาติโมกข์เพราะสีลวิบัติไม่มีมูล นี้เป็นการงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๑ อย่าง
การงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๑ อย่าง คือ
งดปาติโมกข์เพราะสีลวิบัติมีมูล นี้เป็นการงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๑ อย่าง
การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๒ อย่าง คือ
๑. งดปาติโมกข์เพราะสีลวิบัติไม่มีมูล
๒. งดปาติโมกข์เพราะอาจารวิบัติไม่มีมูล
นี้เป็นการงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๒ อย่าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๘๗ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] ๕. ธัมมิกาธัมมิกปาติโมกขัฎฐปนะ
การงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๒ อย่าง คือ
๑. งดปาติโมกข์เพราะสีลวิบัติมีมูล
๒. งดปาติโมกข์เพราะอาจารวิบัติมีมูล
นี้เป็นการงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๒ อย่าง
การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๓ อย่าง คือ
๑. งดปาติโมกข์เพราะสีลวิบัติไม่มีมูล
๒. งดปาติโมกข์เพราะอาจารวิบัติไม่มีมูล
๓. งดปาติโมกข์เพราะทิฏฐิวิบัติไม่มีมูล
นี้เป็นการงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๓ อย่าง
การงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๓ อย่าง คือ
๑. งดปาติโมกข์เพราะสีลวิบัติมีมูล
๒. งดปาติโมกข์เพราะอาจารวิบัติมีมูล
๓. งดปาติโมกข์เพราะทิฏฐิวิบัติมีมูล
นี้เป็นการงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๓ อย่าง
การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๔ อย่าง คือ
๑. งดปาติโมกข์เพราะสีลวิบัติไม่มีมูล
๒. งดปาติโมกข์เพราะอาจารวิบัติไม่มีมูล
๓. งดปาติโมกข์เพราะทิฏฐิวิบัติไม่มีมูล
๔. งดปาติโมกข์เพราะอาชีววิบัติไม่มีมูล
นี้เป็นการงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๔ อย่าง
การงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๔ อย่าง คือ
๑. งดปาติโมกข์เพราะสีลวิบัติมีมูล
๒. งดปาติโมกข์เพราะอาจารวิบัติมีมูล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๘๘ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] ๕. ธัมมิกาธัมมิกปาติโมกขัฎฐปนะ
๓. งดปาติโมกข์เพราะทิฏฐิวิบัติมีมูล
๔. งดปาติโมกข์เพราะอาชีววิบัติมีมูล
นี้เป็นการงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๔ อย่าง
การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๕ อย่าง คือ
๑. งดปาติโมกข์เพราะอาบัติปาราชิกไม่มีมูล
๒. งดปาติโมกข์เพราะอาบัติสังฆาทิเสสไม่มีมูล
๓. งดปาติโมกข์เพราะอาบัติปาจิตตีย์ไม่มีมูล
๔. งดปาติโมกข์เพราะอาบัติปาฏิเทสนียะไม่มีมูล
๕. งดปาติโมกข์เพราะอาบัติทุกกฏไม่มีมูล
นี้เป็นการงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๕ อย่าง
การงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๕ อย่าง คือ
๑. งดปาติโมกข์เพราะอาบัติปาราชิกมีมูล
๒. งดปาติโมกข์เพราะอาบัติสังฆาทิเสสมีมูล
๓. งดปาติโมกข์เพราะอาบัติปาจิตตีย์มีมูล
๔. งดปาติโมกข์เพราะอาบัติปาฏิเทสนียะมีมูล
๕. งดปาติโมกข์เพราะอาบัติทุกกฏมีมูล
นี้เป็นการงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๕ อย่าง
การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๖ อย่าง คือ
๑. งดปาติโมกข์เพราะสีลวิบัติไม่มีมูลที่ภิกษุไม่ได้ทำ
๒. งดปาติโมกข์เพราะสีลวิบัติไม่มีมูลที่ภิกษุทำ
๓. งดปาติโมกข์เพราะอาจารวิบัติไม่มีมูลที่ภิกษุไม่ได้ทำ
๔. งดปาติโมกข์เพราะอาจารวิบัติไม่มีมูลที่ภิกษุทำ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๘๙ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] ๕. ธัมมิกาธัมมิกปาติโมกขัฎฐปนะ
๕. งดปาติโมกข์เพราะทิฏฐิวิบัติไม่มีมูลที่ภิกษุไม่ได้ทำ
๖. งดปาติโมกข์เพราะทิฏฐิวิบัติไม่มีมูลที่ภิกษุทำ
นี้เป็นการงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๖ อย่าง
การงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๖ อย่าง คือ
๑. งดปาติโมกข์เพราะสีลวิบัติมีมูลที่ภิกษุไม่ได้ทำ
๒. งดปาติโมกข์เพราะสีลวิบัติมีมูลที่ภิกษุทำ
๓. งดปาติโมกข์เพราะอาจารวิบัติมีมูลที่ภิกษุไม่ได้ทำ
๔. งดปาติโมกข์เพราะอาจารวิบัติมีมูลที่ภิกษุทำ
๕. งดปาติโมกข์เพราะทิฏฐิวิบัติมีมูลที่ภิกษุไม่ได้ทำ
๖. งดปาติโมกข์เพราะทิฏฐิวิบัติมีมูลที่ภิกษุทำ
นี้เป็นการงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๖ อย่าง
การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๗ อย่าง คือ
๑. งดปาติโมกข์เพราะอาบัติปาราชิกไม่มีมูล
๒. งดปาติโมกข์เพราะอาบัติสังฆาทิเสสไม่มีมูล
๓. งดปาติโมกข์เพราะอาบัติถุลลัจจัยไม่มีมูล
๔. งดปาติโมกข์เพราะอาบัติปาจิตตีย์ไม่มีมูล
๕. งดปาติโมกข์เพราะอาบัติปาฏิเทสนียะไม่มีมูล
๖. งดปาติโมกข์เพราะอาบัติทุกกฏไม่มีมูล
๗. งดปาติโมกข์เพราะอาบัติทุพภาสิตไม่มีมูล
นี้เป็นการงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๗ อย่าง
การงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๗ อย่าง คือ
๑. งดปาติโมกข์เพราะอาบัติปาราชิกมีมูล
๒. งดปาติโมกข์เพราะอาบัติสังฆาทิเสสมีมูล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๙๐ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] ๕. ธัมมิกาธัมมิกปาติโมกขัฎฐปนะ
๓. งดปาติโมกข์เพราะอาบัติถุลลัจจัยมีมูล
๔. งดปาติโมกข์เพราะอาบัติปาจิตตีย์มีมูล
๕. งดปาติโมกข์เพราะอาบัติปาฏิเทสนียะมีมูล
๖. งดปาติโมกข์เพราะอาบัติทุกกฏมีมูล
๗. งดปาติโมกข์เพราะอาบัติทุพภาสิตมีมูล
นี้เป็นการงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๗ อย่าง
การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๘ อย่าง คือ
๑. งดปาติโมกข์เพราะสีลวิบัติไม่มีมูลที่ภิกษุไม่ได้ทำ
๒. งดปาติโมกข์เพราะสีลวิบัติไม่มีมูลที่ภิกษุทำ
๓. งดปาติโมกข์เพราะอาจารวิบัติไม่มีมูลที่ภิกษุไม่ได้ทำ
๔. งดปาติโมกข์เพราะอาจารวิบัติไม่มีมูลที่ภิกษุทำ
๕. งดปาติโมกข์เพราะทิฏฐิวิบัติไม่มีมูลที่ภิกษุไม่ได้ทำ
๖. งดปาติโมกข์เพราะทิฏฐิวิบัติไม่มีมูลที่ภิกษุทำ
๗. งดปาติโมกข์เพราะอาชีววิบัติไม่มีมูลที่ภิกษุไม่ได้ทำ
๘. งดปาติโมกข์เพราะอาชีววิบัติไม่มีมูลที่ภิกษุทำ
นี้เป็นการงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๘ อย่าง
การงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๘ อย่าง คือ
๑. งดปาติโมกข์เพราะสีลวิบัติมีมูลที่ภิกษุไม่ได้ทำ
๒. งดปาติโมกข์เพราะสีลวิบัติมีมูลที่ภิกษุทำ
๓. งดปาติโมกข์เพราะอาจารวิบัติมีมูลที่ภิกษุไม่ได้ทำ
๔. งดปาติโมกข์เพราะอาจารวิบัติมีมูลที่ภิกษุทำ
๕. งดปาติโมกข์เพราะทิฏฐิวิบัติมีมูลที่ภิกษุไม่ได้ทำ
๖. งดปาติโมกข์เพราะทิฏฐิวิบัติมีมูลที่ภิกษุทำ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๙๑ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] ๕. ธัมมิกาธัมมิกปาติโมกขัฎฐปนะ
๗. งดปาติโมกข์เพราะอาชีววิบัติมีมูลที่ภิกษุไม่ได้ทำ
๘. งดปาติโมกข์เพราะอาชีววิบัติมีมูลที่ภิกษุทำ
นี้เป็นการงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๘ อย่าง
การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๙ อย่าง คือ
๑. งดปาติโมกข์เพราะสีลวิบัติไม่มีมูลที่ภิกษุไม่ได้ทำ
๒. งดปาติโมกข์เพราะสีลวิบัติไม่มีมูลที่ภิกษุทำ
๓. งดปาติโมกข์เพราะสีลวิบัติไม่มีมูลที่ภิกษุทั้งทำและไม่ได้ทำ
๔. งดปาติโมกข์เพราะอาจารวิบัติไม่มีมูลที่ภิกษุไม่ได้ทำ
๕. งดปาติโมกข์เพราะอาจารวิบัติไม่มีมูลที่ภิกษุทำ
๖. งดปาติโมกข์เพราะอาจารวิบัติไม่มีมูลที่ภิกษุทั้งทำและไม่ได้ทำ
๗. งดปาติโมกข์เพราะทิฏฐิวิบัติไม่มีมูลที่ภิกษุไม่ได้ทำ
๘. งดปาติโมกข์เพราะทิฏฐิวิบัติไม่มีมูลที่ภิกษุทำ
๙. งดปาติโมกข์เพราะทิฏฐิวิบัติไม่มีมูลที่ภิกษุทั้งทำและไม่ได้ทำ
นี้เป็นการงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๙ อย่าง
การงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๙ อย่าง คือ
๑. งดปาติโมกข์เพราะสีลวิบัติมีมูลที่ภิกษุไม่ได้ทำ
๒. งดปาติโมกข์เพราะสีลวิบัติมีมูลที่ภิกษุทำ
๓. งดปาติโมกข์เพราะสีลวิบัติมีมูลที่ภิกษุทั้งทำและไม่ได้ทำ
๔. งดปาติโมกข์เพราะอาจารวิบัติมีมูลที่ภิกษุไม่ได้ทำ
๕. งดปาติโมกข์เพราะอาจารวิบัติมีมูลที่ภิกษุทำ
๖. งดปาติโมกข์เพราะอาจารวิบัติมีมูลที่ภิกษุทั้งทำและไม่ได้ทำ
๗. งดปาติโมกข์เพราะทิฏฐิวิบัติมีมูลที่ภิกษุไม่ได้ทำ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๙๒ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] ๕. ธัมมิกาธัมมิกปาติโมกขัฎฐปนะ
๘. งดปาติโมกข์เพราะทิฏฐิวิบัติมีมูลที่ภิกษุทำ
๙. งดปาติโมกข์เพราะทิฏฐิวิบัติมีมูลที่ภิกษุทั้งทำและไม่ได้ทำ
นี้เป็นการงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๙ อย่าง
การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๑๐ อย่าง คือ
๑. ภิกษุผู้เป็นปาราชิกไม่นั่งอยู่ในบริษัทนั้น
๒. ถ้อยคำปรารภผู้เป็นปาราชิกมิได้ค้างอยู่
๓. ภิกษุผู้บอกคืนสิกขาไม่นั่งอยู่ในบริษัทนั้น
๔. ถ้อยคำปรารภผู้บอกคืนสิกขามิได้ค้างอยู่
๕. ภิกษุร่วมสามัคคีที่ชอบธรรม
๖. ไม่ค้านสามัคคีที่ชอบธรรม
๗. ถ้อยคำปรารภการค้านสามัคคีที่ชอบธรรมไม่ค้างอยู่
๘. ภิกษุที่มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะสีลวิบัติ ไม่มีอยู่
๙. ภิกษุที่มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะอาจารวิบัติ ไม่มีอยู่
๑๐. ภิกษุที่มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะทิฏฐิวิบัติ ไม่มีอยู่
นี้เป็นการงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๑๐ อย่าง
การงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๑๐ อย่าง คือ
๑. ภิกษุผู้เป็นปาราชิกนั่งอยู่ในบริษัทนั้น
๒. ถ้อยคำปรารภผู้เป็นปาราชิกได้ค้างอยู่
๓. ภิกษุผู้บอกคืนสิกขานั่งอยู่ในบริษัทนั้น
๔. ถ้อยคำปรารภผู้บอกคืนสิกขาได้ค้างอยู่
๕. ภิกษุไม่เข้าร่วมสามัคคีที่ชอบธรรม
๖. ภิกษุค้านสามัคคีที่ชอบธรรม
๗. ถ้อยคำปรารภการค้านสามัคคีที่ชอบธรรมค้างอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๙๓ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] ๖. ธัมมิกปาติโมกขัฎฐปนะ
๘. ภิกษุที่มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะสีลวิบัติมีอยู่
๙. ภิกษุที่มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะอาจารวิบัติมีอยู่
๑๐. ภิกษุที่มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะทิฏฐิวิบัติมีอยู่
นี้เป็นการงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๑๐ อย่าง

๖. ธัมมิกปาติโมกขัฏฐปนะ
ว่าด้วยการงดปาติโมกข์ที่ชอบธรรม
[๓๘๘] ที่ชื่อว่า ภิกษุผู้เป็นปาราชิกนั่งอยู่ในบริษัทนั้น คือ
ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ ภิกษุเห็นภิกษุต้องธรรมคือปาราชิก ด้วยอาการ ด้วย
ลักษณะ ด้วยเครื่องหมายที่เป็นเหตุให้ต้องธรรมคือปาราชิก ภิกษุไม่เห็นภิกษุผู้ต้อง
ธรรมคือปาราชิกก็จริง แต่ภิกษุอื่นบอกภิกษุ(นั้น)ว่า “ภิกษุชื่อนี้ต้องธรรมคือ
ปาราชิก” ภิกษุไม่เห็นภิกษุผู้ต้องธรรมคือปาราชิก ทั้งภิกษุอื่นก็ไม่ได้บอกภิกษุ(นั้น)
ว่า “ภิกษุชื่อนี้ต้องธรรมชื่อปาราชิก” แต่ภิกษุ(ผู้ต้องธรรมคือปาราชิก)นั้นเองบอก
ภิกษุว่า “ผมต้องธรรมคือปาราชิก”
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหวังอยู่ ในวันอุโบสถ ๑๔ หรือ ๑๕ ค่ำนั้น เมื่อบุคคล
นั้นอยู่พร้อมหน้า พึงประกาศท่ามกลางสงฆ์ด้วยได้เห็นนั้น ด้วยได้ยินนั้น ด้วยนึก
สงสัยนั้นว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บุคคลนี้ต้องธรรมคือปาราชิก ข้าพเจ้างด
ปาติโมกข์แก่บุคคลนั้น เมื่อบุคคลนั้นยังอยู่พร้อมหน้า ไม่พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง”
ชื่อว่า การงดปาติโมกข์ชอบธรรม
[๓๘๙] เมื่องดปาติโมกข์แก่ภิกษุแล้ว บริษัทเลิกประชุมเพราะอันตรายอย่างใด
อย่างหนึ่ง ในอันตราย ๑๐ อย่าง คือ
๑. พระราชาเสด็จมา ๒. โจรมาปล้น
๓. ไฟไหม้ ๔. น้ำหลากมา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๙๔ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] ๖. ธัมมิกปาติโมกขัฎฐปนะ
๕. คนมามาก ๖. ผีเข้าสิงภิกษุ
๗. สัตว์ร้ายเข้ามา ๘. งูร้ายเลื้อยเข้ามา
๙. ภิกษุจะถึงแก่ชีวิต ๑๐. มีอันตรายแก่พรหมจรรย์
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหวังอยู่ เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้าในอาวาสนั้นหรือ
อาวาสอื่น พึงประกาศท่ามกลางสงฆ์ว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้อยคำปรารภปาราชิกของบุคคลชื่อนี้ยัง
ค้างอยู่ เรื่องนั้นยังไม่ได้วินิจฉัย ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วสงฆ์พึงวินิจฉัยเรื่องนั้น”
ถ้าพึงได้อย่างนั้น นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้ ในวันอุโบสถ ๑๔ หรือ ๑๕ ค่ำนั้น
เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้า พึงประกาศท่ามกลางสงฆ์ว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้อยคำปรารภปาราชิกของบุคคลชื่อนี้ยัง
ค้างอยู่ เรื่องนั้นยังไม่ได้วินิจฉัย ข้าพเจ้างดปาติโมกข์แก่บุคคลนั้น เมื่อบุคคลนั้น
ยังอยู่พร้อมหน้า ไม่พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง” ชื่อว่า การงดปาติโมกข์ชอบธรรม
[๓๙๐] ที่ชื่อว่า ภิกษุผู้บอกคืนสิกขานั่งอยู่ในบริษัทนั้น คือ
ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ ภิกษุเห็นภิกษุบอกคืนสิกขา ด้วยอาการ ด้วยลักษณะ
ด้วยเครื่องหมายที่เป็นเหตุให้บอกคืนสิกขา ภิกษุ(นั้น)ไม่เห็นภิกษุผู้บอกคืนสิกขา
ก็จริง แต่ภิกษุอื่นบอกภิกษุ(นั้น)ว่า “ภิกษุนี้บอกคืนสิกขา” ภิกษุ(นั้น)ไม่เห็นภิกษุ
ผู้บอกคืนสิกขา ทั้งภิกษุอื่นก็ไม่บอกภิกษุ(นั้น)ว่า “ภิกษุชื่อนี้บอกคืนสิกขา” แต่ภิกษุ
(ผู้บอกคืนสิกขา)นั้นเอง บอกภิกษุว่า “ผมบอกคืนสิกขา”
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหวังอยู่ ในวันอุโบสถ ๑๔ หรือ ๑๕ ค่ำนั้น เมื่อบุคคล
นั้นอยู่พร้อมหน้า พึงประกาศท่ามกลางสงฆ์ด้วยได้เห็นนั้น ด้วยได้ยินนั้น ด้วย
นึกสงสัยนั้นว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บุคคลนี้บอกคืนสิกขา ข้าพเจ้างดปาติโมกข์
แก่บุคคลนั้น เมื่อบุคคลนั้นยังอยู่พร้อมหน้า ไม่พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง” ชื่อว่า
การงดปาติโมกข์ชอบธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๙๕ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] ๖. ธัมมิกปาติโมกขัฎฐปนะ
[๓๙๑] เมื่องดปาติโมกข์แก่ภิกษุแล้ว บริษัทเลิกประชุมเพราะอันตรายอย่างใด
อย่างหนึ่งในอันตราย ๑๐ อย่าง คือ
๑. พระราชาเสด็จมา ฯลฯ ๑๐. มีอันตรายแก่พรหมจรรย์
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหวังอยู่ เมื่อผู้นั้นอยู่พร้อมหน้าในอาวาสนั้นหรืออาวาสอื่น
พึงประกาศท่ามกลางสงฆ์ว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้อยคำปรารภการบอกคืนสิกขาของบุคคล
ชื่อนี้ยังค้างอยู่ เรื่องนั้นยังไม่ได้วินิจฉัย ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงวินิจฉัยเรื่องนั้น”
ถ้าพึงได้อย่างนั้น นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้ ในวันอุโบสถ ๑๔ หรือ ๑๕ ค่ำนั้น
เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้า พึงประกาศท่ามกลางสงฆ์ว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้อยคำปรารภการบอกคืนสิกขาของบุคคล
ชื่อนี้ยังค้างอยู่ เรื่องนั้นยังไม่ได้วินิจฉัย ข้าพเจ้างดปาติโมกข์แก่บุคคลนั้น เมื่อบุคคล
นั้นยังอยู่พร้อมหน้า ไม่พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง” ชื่อว่า การงดปาติโมกข์ชอบธรรม
[๓๙๒] ที่ชื่อว่า ภิกษุไม่เข้าร่วมสามัคคีที่ชอบธรรม คือ
ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ภิกษุเห็นภิกษุไม่เข้าร่วมสามัคคีที่ชอบธรรมด้วย
อาการ ด้วยลักษณะ ด้วยเครื่องหมายที่เป็นเหตุให้ไม่เข้าร่วมสามัคคีที่ชอบธรรม
ภิกษุ(นั้น) ไม่เห็นภิกษุผู้ไม่เข้าร่วมสามัคคีที่ชอบธรรมก็จริง แต่ภิกษุอื่นบอกภิกษุ
(นั้น)ว่า “ภิกษุชื่อนี้ไม่เข้าร่วมสามัคคีที่ชอบธรรม” ภิกษุ(นั้น)ไม่เห็นภิกษุผู้ไม่เข้าร่วม
สามัคคีที่ชอบธรรม ทั้งภิกษุอื่นก็ไม่บอกภิกษุ(นั้น)ว่า “ภิกษุชื่อนี้ไม่เข้าร่วมสามัคคี
ที่ชอธรรม” แต่ภิกษุ(ผู้ไม่เข้าร่วมสามัคคีที่ชอบธรรม)นั้นเองบอกภิกษุว่า “ผมไม่
เข้าร่วมสามัคคีที่ชอบธรรม”
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหวังอยู่ ในวันอุโบสถ ๑๔ หรือ ๑๕ ค่ำนั้น เมื่อบุคคล
นั้นอยู่พร้อมหน้า พึงประกาศท่ามกลางสงฆ์ด้วยได้เห็นนั้น ด้วยได้ยินนั้น ด้วยนึก
สงสัยนั้นว่า


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๙๖ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] ๖. ธัมมิกปาติโมกขัฎฐปนะ
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บุคคลชื่อนี้ไม่เข้าร่วมสามัคคีที่ชอบธรรม
ข้าพเจ้างดปาติโมกข์แก่บุคคลนั้น เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้า ไม่พึงยกปาติโมกข์
ขึ้นแสดง” ชื่อว่า การงดปาติโมกข์ชอบธรรม
[๓๙๓] ที่ชื่อว่า ภิกษุค้านสามัคคีที่ชอบธรรม คือ
ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ภิกษุเห็นภิกษุผู้ค้านสามัคคีที่ชอบธรรมด้วยอาการ
ด้วยลักษณะ ด้วยเครื่องหมายที่เป็นเหตุให้ค้านสามัคคีที่ชอบธรรม ภิกษุ(นั้น)ไม่เห็น
ภิกษุผู้ค้านสามัคคีที่ชอบธรรมก็จริง แต่ภิกษุอื่นบอกภิกษุ(นั้น)ว่า “ภิกษุชื่อนี้ค้าน
สามัคคีที่ชอบธรรม” ภิกษุ(นั้น)ไม่เห็นภิกษุผู้ค้านสามัคคีที่ชอบธรรม ภิกษุอื่นก็ไม่
บอกภิกษุ(นั้น)ว่า “ภิกษุชื่อนี้ค้านสามัคคีที่ชอบธรรม” แต่ภิกษุ(ผู้ค้านสามัคคีที่ชอบ
ธรรม)นั้นเองบอกภิกษุว่า “ผมค้านสามัคคีที่ชอบธรรม”
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหวังอยู่ ในวันอุโบสถ ๑๔ หรือ ๑๕ ค่ำนั้น เมื่อบุคคล
นั้นอยู่พร้อมหน้า พึงประกาศท่ามกลางสงฆ์ ด้วยได้เห็นนั้น ด้วยได้ยินนั้น ด้วย
นึกสงสัยนั้นว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บุคคลชื่อนี้ค้านสามัคคีที่ชอบธรรม ข้าพเจ้า
งดปาติโมกข์แก่บุคคลนั้น เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้า ไม่พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง”
ชื่อว่า การงดปาติโมกข์ชอบธรรม
[๓๙๔] เมื่องดปาติโมกข์แล้ว บริษัทเลิกประชุมเพราะอันตรายอย่างใดอย่างหนึ่ง
ในอันตราย ๑๐ อย่าง คือ
๑. พระราชาเสด็จมา ฯลฯ ๑๐. มีอันตรายแก่พรหมจรรย์
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหวังอยู่ เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้าในอาวาสนั้นหรืออาวาส
อื่น พึงประกาศท่ามกลางสงฆ์ว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้อยคำปรารภการค้านสามัคคีที่ชอบธรรม
ของบุคคลชื่อนี้ยังค้างอยู่ เรื่องนั้นยังไม่ได้วินิจฉัย ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วสงฆ์พึงวินิจฉัย
เรื่องนั้น”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๙๗ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] ๖. ธัมมิกปาติโมกขัฎฐปนะ
ถ้าพึงได้อย่างนั้น นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้ ในวันอุโบสถ ๑๔ หรือ ๑๕ ค่ำนั้น
เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้า พึงประกาศท่ามกลางสงฆ์ว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้อยคำปรารภการค้านสามัคคีที่ชอบธรรม
ของบุคคลชื่อนี้ยังค้างอยู่ เรื่องนั้นยังไม่ได้วินิจฉัย ข้าพเจ้างดปาติโมกข์แก่บุคคลนั้น
เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้า ไม่พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง” ชื่อว่า การงดปาติโมกข์
ชอบธรรม
[๓๙๕] ที่ชื่อว่า ภิกษุที่มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะสีลวิบัติ
มีอยู่ คือ
ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ภิกษุเห็นภิกษุที่มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัย
เพราะสีลวิบัติ ด้วยอาการ ด้วยลักษณะ ด้วยเครื่องหมายที่เป็นเหตุให้ภิกษุนั้นมีผู้
เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัย ภิกษุ(นั้น)ไม่เห็นภิกษุที่มีผู้เห็น มีผู้ได้ยินและมีผู้
นึกสงสัยเพราะสีลวิบัติก็จริง แต่ภิกษุอื่นบอกภิกษุ(นั้น)ว่า “ภิกษุชื่อนี้มีผู้เห็น มีผู้
ได้ยินและมีผู้นึกสงสัยเพราะสีลวิบัติ” ภิกษุ(นั้น)ไม่เห็นภิกษุที่มีผู้เห็น มีผู้ได้ยินและ
มีผู้นึกสงสัยเพราะสีลวิบัติ ทั้งภิกษุอื่นก็ไม่บอกภิกษุ(นั้น)ว่า “ภิกษุชื่อนี้ มีผู้เห็น มี
ผู้ได้ยินและมีผู้นึกสงสัย” แต่ภิกษุ(ที่มีผู้เห็น มีผู้ได้ยินและมีผู้นึกสงสัยเพราะสีลวิบัติ)
นั้นเองบอกภิกษุว่า “ผมมีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะสีลวิบัติ”
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหวังอยู่ ในวันอุโบสถ ๑๔ หรือ ๑๕ ค่ำนั้น เมื่อ
บุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้า พึงประกาศท่ามกลางสงฆ์ ด้วยได้เห็นนั้น ด้วยได้ยินนั้น
ด้วยนึกสงสัยนั้นว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บุคคลชื่อนี้มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึก
สงสัยเพราะสีลวิบัติ ข้าพเจ้างดปาติโมกข์แก่บุคคลนั้น เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้า
ไม่พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง” ชื่อว่า การงดปาติโมกข์ชอบธรรม
[๓๙๖] ที่ชื่อว่า ภิกษุที่มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะอาจาร
วิบัติมีอยู่ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๙๘ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] ๖. ธัมมิกปาติโมกขัฎฐปนะ
ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ภิกษุเห็นภิกษุที่มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึก
สงสัยเพราะอาจารวิบัติ ด้วยอาการ ด้วยลักษณะ ด้วยเครื่องหมายที่เป็นเหตุให้
ภิกษุนั้นมีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะอาจารวิบัติ ภิกษุ(นั้น)ไม่เห็นภิกษุ
ที่มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะอาจารวิบัติก็จริง แต่ภิกษุอื่นบอกภิกษุ
(นั้น)ว่า “ภิกษุชื่อนี้มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะอาจารวิบัติ” ภิกษุ
(นั้น)ไม่เห็นภิกษุที่มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะอาจารวิบัติ ทั้งภิกษุอื่น
ก็ไม่บอกภิกษุ(นั้น) ว่า “ภิกษุชื่อนี้ มีผู้เห้น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะ
อาจารวิบัติ แต่ภิกษุ(ที่มีผู้เห็น มีผู้ได้ยินและมีผู้นึกสงสัยเพราะอาจารวิบัติ)นั้นเอง
บอกภิกษุว่า “ผม มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะอาจารวิบัติ”
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหวังอยู่ ในวันอุโบสถ ๑๔ หรือ ๑๕ ค่ำนั้น เมื่อบุคคล
นั้นอยู่พร้อมหน้า พึงประกาศท่ามกลางสงฆ์ด้วยได้เห็นนั้น ด้วยได้ยินนั้น ด้วยนึก
สงสัยนั้นว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บุคคลชื่อนี้มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึก
สงสัยเพราะอาจารวิบัติ ข้าพเจ้างดปาติโมกข์แก่บุคคลนั้น เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อม
หน้า ไม่พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง” ชื่อว่า การงดปาติโมกข์ชอบธรรม
[๓๙๗] ที่ชื่อว่า ภิกษุที่มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะทิฏฐิวิบัติ
มีอยู่ คือ
ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ภิกษุเห็นภิกษุที่มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัย
เพราะทิฏฐิวิบัติด้วยอาการ ด้วยลักษณะ ด้วยเครื่องหมาย ที่เป็นเหตุให้ภิกษุนั้นมี
ผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะทิฏฐิวิบัติ ภิกษุ(นั้น)ไม่เห็นภิกษุที่มีผู้เห็น
มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะทิฏฐิวิบัติก็จริง แต่ภิกษุอื่นบอกภิกษุ(นั้น) ว่า “ภิกษุชื่อนี้
มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะทิฏฐิวิบัติ” ภิกษุ(นั้น)ไม่เห็นภิกษุที่มีผู้เห็น
มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะทิฏฐิวิบัติ ทั้งภิกษุอื่นก็ไม่บอกภิกษุ(นั้น) ว่า “ภิกษุชื่อนี้
มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะทิฏฐิวิบัติ” แต่ภิกษุ (ที่มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๙๙ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] ๗. อัตตาทานอังคะ
และมีผู้นึกสงสัยเพราะทิฏฐิวิบัติ)นั้นเองบอกภิกษุว่า “ผมมีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้
นึกสงสัยเพราะทิฏฐิวิบัติ”
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหวังอยู่ ในวันอุโบสถ ๑๔ หรือ ๑๕ ค่ำนั้น เมื่อบุคคล
นั้นอยู่พร้อมหน้า พึงประกาศท่ามกลางสงฆ์ด้วยได้เห็นนั้น ด้วยได้ยินนั้น ด้วยนึก
สงสัยนั้นว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บุคคลชื่อนี้มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้
นึกสงสัยเพราะทิฏฐิวิบัติ ข้าพเจ้างดปาติโมกข์แก่บุคคลนั้น เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อม
หน้าไม่พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง” ชื่อว่า การงดปาติโมกข์ชอบธรรม
การงดปาติโมกข์ชอบธรรม มี ๑๐ อย่างนี้แล
ปฐมภาณวาร จบ

๗. อัตตาทานอังคะ
ว่าด้วยองค์แห่งอธิกรณ์ที่ตนพึงรับ
[๓๙๘] ครั้งนั้น ท่านพระอุบาลีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ณ ที่ประทับ ครั้น
แล้ว ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ภิกษุ
ผู้ประสงค์จะรับ(ชำระ)อธิกรณ์ ควรรับอธิกรณ์ประกอบด้วยองค์เท่าไร พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ประสงค์จะรับอธิกรณ์ พึงรับอธิกรณ์
ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ
๑. ภิกษุผู้ประสงค์จะรับอธิกรณ์ พึงพิจารณาอย่างนี้ว่า “ข้อที่เราประสงค์
จะรับอธิกรณ์นี้ ถึงเวลาที่จะรับอธิกรณ์นี้หรือไม่ถึงหนอ” ถ้าภิกษุ
พิจารณารู้อย่างนี้ว่า “ยังไม่ใช่เวลาที่จะรับอธิกรณนี้ ถึงเวลาหา
มิได้” ก็ไม่ควรรับอธิกรณ์นั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๐๐ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] ๗. อัตตาทานอังคะ
๒. อนึ่ง ถ้าภิกษุพิจารณารู้อย่างนี้ว่า “ถึงเวลาที่จะรับอธิกรณ์นี้ ไม่
ใช่ยังไม่ถึงเวลา” ภิกษุนั้นพึงจารณายิ่งขึ้นอีกว่า “ข้อที่เรา
ประสงค์จะรับอธิกรณ์นี้ อธิกรณ์ที่เราจะรับนี้เป็นเรื่องจริงหรือไม่จริง”
ถ้าภิกษุพิจารณารู้อย่างนี้ว่า “อธิกรณ์ที่จะรับนี้ไม่จริง ไม่ใช่เรื่อง
จริง” ก็ไม่ควรรับอธิกรณ์นั้น
๓. อนึ่ง ถ้าภิกษุพิจารณารู้อย่างนี้ว่า “อธิกรณ์นี้เป็นเรื่องจริง ไม่ใช่
เรื่องไม่จริง” ภิกษุนั้นพึงพิจารณายิ่งขึ้นอีกว่า “ข้อที่เราประสงค์
จะรับอธิกรณ์นี้ อธิกรณ์นี้มีประโยชน์ หรือไม่มี” ถ้าภิกษุพิจารณา
รู้อย่างนี้ว่า “อธิกรณ์นี้ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ใช่ประกอบ
ด้วยประโยชน์” ก็ไม่ควรรับอธิกรณ์นั้น
๔. อนึ่ง ถ้าภิกษุพิจารณารู้อย่างนี้ว่า “อธิกรณ์นี้ประกอบด้วยประโยชน์
ไม่ใช่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์” ภิกษุนั้นพึงพิจารณายิ่งขึ้นอีกว่า
“เราเมื่อรับอธิกรณ์นี้จะได้ภิกษุผู้เคยพบเห็นเคยคบหากันมาเป็น
พวกโดยชอบธรรม โดยชอบด้วยวินัยหรือไม่” ถ้าภิกษุพิจารณารู้
อย่างนี้ว่า “เราเมื่อรับอธิกรณ์นี้ไว้เราจะไม่ได้ภิกษุผู้เคยพบเห็น
เคยคบหากันมาเป็นพวกโดยชอบธรรม โดยชอบด้วยวินัย” ก็ไม่
ควรรับอธิกรณ์นั้น
๕. อนึ่ง ถ้าภิกษุพิจารณารู้อย่างนี้ว่า “เราเมื่อรับอธิกรณ์นี้ไว้ เราจะ
ได้ภิกษุผู้เคยพบเห็นเคยคบหากันมาเป็นพวกโดยชอบธรรม โดยชอบ
ด้วยวินัย” ภิกษุนั้นพึงพิจารณายิ่งขึ้นอีกว่า “เราเมื่อรับอธิกรณ์นี้ไว้
อธิกรณ์นั้นจะเป็นเหตุให้สงฆ์บาดหมาง ทะเลาะแก่งแย่ง วิวาท
สงฆ์แตกกัน สงฆ์ร้าวราน สงฆ์แบ่งแยก สงฆ์เป็นต่าง ๆ กันหรือไม่”
ถ้าภิกษุ พิจารณารู้อย่างนี้ว่า “เราเมื่อรับอธิกรณ์นี้ไว้ อธิกรณ์นั้น
จะเป็นเหตุ ให้สงฆ์บาดหมาง ทะเลาะแก่งแย่ง วิวาทกัน สงฆ์แตกกัน
สงฆ์ร้าวราน สงฆ์แบ่งแยก สงฆ์เป็นต่าง ๆ กัน” ก็ไม่ควรรับอธิกรณ์นั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๐๑ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] ๘. โจนเกนปัจจเวกขิตัพพธัมมะ
อนึ่ง ถ้าภิกษุพิจารณารู้อย่างนี้ว่า “เราเมื่อรับอธิกรณ์นี้ไว้ อธิกรณ์นั้นจะไม่เป็น
เหตุให้สงฆ์บาดหมาง ทะเลาะแก่งแย่ง วิวาท สงฆ์แตกกัน สงฆ์ร้าวราน สงฆ์แบ่ง
แยกสงฆ์เป็นต่าง ๆ กัน” ควรรับอธิกรณ์นั้น
อุบาลี อธิกรณ์ซึ่งประกอบด้วยองค์ ๕ ที่ภิกษุรับแล้วจักไม่กระทำให้เดือดร้อน
ในภายหลัง ด้วยประการฉะนี้

๘. โจทเกนปัจจเวกขิตัพพธัมมะ
ว่าด้วยคุณสมบัติที่ผู้โจทก์พึงพิจารณา
[๓๙๙] ท่านพระอุบาลีกราบทูลถามว่า “ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงพิจารณา
คุณสมบัติภายในตนเท่าไร จึงจะโจทผู้อื่นได้ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงพิจารณา
คุณสมบัติภายในตน ๕ อย่าง แล้วจึงโจทผู้อื่น คือ
๑. ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาอย่างนี้ว่า “เรามีความ
ประพฤติทางกายบริสุทธิ์หรือหนอ เราประกอบด้วยความประพฤติ
ทางกายที่บริสุทธิ์ ไม่เสียหาย ไม่บกพร่อง คุณสมบัติข้อนี้เรามี
อยู่หรือไม่มีหนอ” ถ้าภิกษุไม่ใช่ผู้มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์
ประกอบด้วยความประพฤติทางกายที่บริสุทธิ์ ไม่เสียหาย ไม่บกพร่อง
ภิกษุผู้โจทก์นั้นย่อมถูกตอบโต้ว่า “เชิญท่านสำเหนียกความประพฤติ
ทางกายเสียก่อนเถิด” ภิกษุผู้โจทก์นั้นย่อมจะถูกตอบโต้อย่างนี้
๒. อนึ่ง ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาอย่างนี้ “เรามี
ความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์หรือหนอ เราประกอบด้วยความ
ประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ ไม่เสียหาย ไม่บกพร่อง คุณสมบัติ
ข้อนี้เรามีหรือไม่มีหนอ” ถ้าภิกษุไม่ใช่ผู้มีความประพฤติทางวาจา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๐๒ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] ๘. โจนเกนปัจจเวกขิตัพพธัมมะ
บริสุทธิ์ ประกอบด้วยความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ ไม่เสียหาย
ไม่บกพร่อง ภิกษุผู้โจทก์นั้นย่อมถูกตอบโต้ว่า “เชิญท่านสำเหนียก
ความประพฤติทางวาจาเสียก่อนเถิด” ภิกษุผู้โจทก์นั้นย่อมจะถูก
ตอบโต้อย่างนี้
๓. อนึ่ง ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาอย่างนี้ “เรามี
เมตตาจิต ไม่อาฆาตพยาบาทเพื่อนพรหมจารีหรือหนอ คุณสมบัติ
ข้อนี้เรามีหรือไม่มีหนอ” ถ้าภิกษุไม่ใช่ผู้มีเมตตาจิต ไม่อาฆาต
พยาบาทเพื่อนพรหมจารี ภิกษุผู้โจทก์นั้นย่อมถูกตอบโต้ว่า “เชิญ
ท่านมีเมตตาจิตในเพื่อนพรหมจารีเสียก่อนเถิด” ภิกษุผู้โจทก์นั้น
ย่อมจะถูกตอบโต้อย่างนี้
๔. อนึ่ง ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาอย่างนี้ “เรา
เป็นพหูสูต ทรงสุตะ มีการสั่งสมสุตะหรือหนอ เราได้สดับมาก
ทรงจำได้แม่นยำ คล่องปาก ขึ้นใจ รู้ชัดด้วยปัญญาซึ่งธรรมงาม
เบื้องต้น งามท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อม
ทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วนหรือไม่หนอ
คุณสมบัติข้อนี้เรามีหรือไม่มีหนอ” ถ้าภิกษุไม่ได้เป็นพหูสูต ทรง
สุตะ มีการสั่งสมสุตะ ได้สดับมาก ทรงจำได้แม่นยำ คล่องปาก
ขึ้นใจ รู้ชัดด้วยปัญญาซึ่งธรรมงามเบื้องต้น งามท่ามกลาง งามใน
ที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ
บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน ภิกษุผู้โจทก์นั้นนั้นย่อมจะถูกตอบโต้ว่า
“เชิญท่านศึกษาพระปริยัติเสียก่อนเถิด” ภิกษุผู้โจทก์นั้นนั้นย่อมจะถูก
ตอบโต้อย่างนี้
๕. อนึ่ง ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาอย่างนี้ “เรา
ทรงจำปาติโมกข์ทั้งสองได้แม่นยำโดยพิสดาร จำแนกถูกต้อง จัด
ระเบียบถูกต้อง วินิจฉัยถูกต้องโดยสุตตะโดยอนุพยัญชนะหรือหนอ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๐๓ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] ๙. โจทเกนอุปัฎฐาเปตัพพธัมมะ
คุณสมบัติข้อนี้เรามีหรือไม่มีหนอ” ถ้าภิกษุไม่ใช่ผู้ทรงจำปาติโมกข์
ทั้งสองได้แม่นยำโดยพิสดาร จำแนกถูกต้อง จัดระเบียบถูกต้อง
วินิจฉัยถูกต้องโดยสุตตะโดยอนุพยัญชนะ(ตามข้อ ตามอักษร) ภิกษุ
ผู้โจทก์นั้นย่อมจะถูกตอบโต้ว่า “เชิญท่านศึกษาพระวินัยให้ชำนาญ
เสียก่อนเถิด” ภิกษุผู้โจทก์นั้นย่อมจะถูกตอบโต้อย่างนี้
อุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาคุณสมบัติภายในตน ๕
อย่างนี้ จึงโจทผู้อื่น

๙. โจทเกนอุปัฏฐาเปตัพพธัมมะ
ว่าด้วยคุณสมบัติที่ผู้โจทก์พึงตั้งไว้ในตน
[๔๐๐] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงตั้ง
คุณสมบัติเท่าไรไว้ในตน พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงตั้ง
คุณสมบัติ ๕ อย่างไว้ในตน คือ
๑. เราจะกล่าวโดยกาลที่ควร จะไม่กล่าวโดยกาลไม่ควร
๒. เราจะกล่าวคำจริง จะไม่กล่าวคำเท็จ
๓. เราจะกล่าวคำสุภาพ จะไม่กล่าวคำหยาบ
๔. เราจะกล่าวคำมีประโยชน์ จะไม่กล่าวคำไร้ประโยชน์
๕. เราจะกล่าวด้วยเมตตาจิต จะไม่มุ่งร้าย
อุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงตั้งคุณสมบัติ ๕ อย่างนี้ไว้ในตน
จึงโจทผู้อื่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๐๔ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] ๑๐. โจทกจุทิตกปฎิสังยุตตกถา
๑๐. โจทกจุทิตกปฏิสังยุตตกถา
ว่าด้วยเรื่องของผู้โจทก์และผู้ถูกโจท
[๔๐๑] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้เป็นโจทก์โดยไม่ชอบธรรม พึงถึงความ
เดือดร้อนด้วยอาการเท่าไร พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อุบาลี ภิกษุผู้เป็นโจทก์โดยไม่ชอบธรรม พึงถึงความ
เดือดร้อนด้วยอาการ ๕ อย่าง คือ
๑. ท่านโจทโดยกาลไม่ควร ไม่โจทโดยกาลที่ควร จึงสมควรเดือดร้อน
๒. ท่านโจทด้วยเรื่องไม่จริง ไม่โจทด้วยเรื่องจริง จึงสมควรเดือดร้อน
๓. ท่านโจทด้วยคำหยาบ ไม่โจทด้วยคำสุภาพ จึงสมควรเดือดร้อน
๔. ท่านโจทด้วยเรื่องที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่โจทด้วยเรื่องที่
ประกอบด้วยประโยชน์ จึงสมควรเดือดร้อน
๕. ท่านมีจิตมุ่งร้าย๑โจท ไม่มีเมตตาจิต จึงสมควรเดือดร้อน
อุบาลี ภิกษุผู้โจทก์โดยไม่ชอบธรรม พึงถึงความเดือดร้อนด้วยอาการ ๕ อย่าง
เหล่านี้ ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุอะไร เพราะภิกษุแม้อื่นไม่พึงสำคัญบุคคลที่พึงโจทด้วย
เรื่องไม่จริง”

เรื่องผู้ถูกโจทโดยไม่ชอบธรรมไม่ต้องเดือดร้อน
ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้ถูกโจทโดยไม่ชอบธรรม ไม่พึงถึงความเดือด
ร้อนด้วยอาการเท่าไร พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ถูกโจทโดยไม่ชอบธรรม ไม่พึงถึง
ความเดือดร้อนด้วยอาการ ๕ อย่าง คือ

เชิงอรรถ :
๑ อนฺตร ใช้ในอรรถว่า จิตฺตโทสนฺตโร...ฯ ทุฏฺฐจิตฺโต หุตฺวา (วิ.อฏฺ. ๓/๔๐๐/๔๐๔) “โทสนฺตโร”ติ เอตฺถ
อนฺตรสทฺโท จิตฺตปริยาโย (สารตฺถ.ฏีกา ๓/๔๐๐/๕๑๙, วิมติ.ฏีกา ๒/๔๐๐/๓๔๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๐๕ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] ๑๐. โจทกจุทิตกปฎิสังยุตตกถา
๑. ท่านถูกโจทโดยกาลไม่ควร ไม่ถูกโจทโดยกาลที่ควร จึงไม่สมควร
เดือดร้อน
๒. ท่านถูกโจทด้วยเรื่องไม่จริง ไม่ใช่ถูกโจทด้วยเรื่องจริง จึงไม่สมควร
เดือดร้อน
๓. ท่านถูกโจทด้วยคำหยาบ ไม่ถูกโจทด้วยคำสุภาพ จึงไม่สมควร
เดือดร้อน
๔. ท่านถูกโจทด้วยเรื่องที่ไม่เป็นประโยชน์ ไม่ใช่ถูกโจทด้วยเรื่องที่
เป็นประโยชน์ จึงไม่สมควรเดือดร้อน
๕. ท่านถูกโจทเพราะความมุ่งร้าย ไม่ใช่ถูกโจทเพราะเมตตาจิต จึงไม่
สมควรเดือดร้อน
อุบาลี ภิกษุผู้ถูกโจทโดยไม่ชอบธรรม ไม่พึงถึงความเดือดร้อนด้วยอาการ ๕
อย่างเหล่านี้”

เรื่องผู้เป็นโจทก์โดยชอบธรรมไม่ต้องเดือดร้อน
ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้เป็นโจทก์โดยชอบธรรม ไม่พึงเดือดร้อนด้วย
อาการเท่าไร พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อุบาลี ภิกษุผู้เป็นโจทก์โดยชอบธรรม ไม่พึง
เดือดร้อนด้วยอาการ ๕ อย่าง คือ
๑. ท่านโจทโดยกาลที่ควร ไม่ใช่โจทโดยกาลไม่ควร จึงไม่สมควรเดือดร้อน
๒. ท่านโจทด้วยเรื่องจริง ไม่ใช่โจทด้วยเรื่องไม่จริง จึงไม่สมควรเดือดร้อน
๓. ท่านโจทด้วยคำสุภาพ ไม่ใช่โจทด้วยคำหยาบ จึงไม่สมควรเดือดร้อน
๔. ท่านโจทด้วยเรื่องที่เป็นประโยชน์ ไม่ใช่โจทด้วยเรื่องที่ไม่เป็นประโยชน์
จึงไม่สมควรเดือดร้อน
๕. ท่านมีเมตตาจิตโจท ไม่ได้มุ่งร้าย จึงไม่สมควรเดือดร้อน
อุบาลี ภิกษุผู้เป็นโจทก์โดยชอบธรรม ไม่พึงเดือดร้อนด้วยอาการ ๕ อย่างนี้
ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุอื่นก็พึงสำคัญบุคคลที่พึงโจทด้วยเรื่องจริง”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๐๖ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] ๑๐. โจทกจุทิตกปฎิสังยุตตกถา
ผู้ถูกโจทโดยชอบธรรมต้องเดือดร้อน
ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้ถูกโจทโดยชอบธรรม พึงเดือดร้อนด้วยอาการ
เท่าไร พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ถูกโจทโดยชอบธรรม พึงเดือด
ร้อนด้วยอาการ ๕ อย่าง คือ
๑. ท่านถูกโจทโดยกาลที่ควร ไม่ใช่กาลอันไม่ควร จึงสมควรเดือดร้อน
๒. ท่านถูกโจทด้วยเรื่องจริง ไม่ใช่เรื่องไม่จริง จึงสมควรเดือดร้อน
๓. ท่านถูกโจทด้วยคำสุภาพ ไม่ใช่คำหยาบ จึงสมควรเดือดร้อน
๔. ท่านถูกโจทด้วยเรื่องที่เป็นประโยชน์ ไม่ใช่ไม่เป็นประโยชน์ จึงสมควร
เดือดร้อน
๕. ท่านถูกโจทด้วยเมตตาจิต ไม่ใช่เพราะมุ่งร้าย จึงสมควรเดือดร้อน
อุบาลี ภิกษุผู้ถูกโจทโดยชอบธรรม พึงเดือดร้อนด้วยอาการ ๕ อย่างนี้”

คุณสมบัติของผู้เป็นโจทก์ ๕ อย่าง
ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้โจทก์ ประสงค์จะโจทคนอื่น พึงมนสิการ
คุณสมบัติภายในตนเท่าไรแล้วจึงโจทผู้อื่น พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ ประสงค์จะโจทคนอื่น พึง
มนสิการคุณสมบัติภายในตน ๕ อย่าง แล้วจึงโจทผู้อื่น คือ
๑. มีความการุญ ๒. มุ่งประโยชน์
๓. มีความเอ็นดู ๔. มุ่งออกจากอาบัติ
๕. ยึดวินัยไว้เป็นแนวทาง
อุบาลี ภิกษุผู้เป็นโจทก์ ประสงค์จะโจทคนอื่น พึงมนสิการคุณสมบัติภายในตน
๕ อย่างเหล่านี้ก่อน แล้วจึงโจทผู้อื่น”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๐๗ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในปาติโมกขัฎฐปนขันธกะ
ผู้ถูกโจทพึงตั้งอยู่ในธรรม ๒ อย่าง
ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้ถูกโจท พึงตั้งอยู่ในธรรมเท่าไร พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ถูกโจท พึงตั้งอยู่ในธรรม ๒
อย่าง คือ
๑. ความจริง ๒. ความไม่ขุ่นเคือง
ทุติยภาณวาร จบ
ปาติโมกขฐปนขันธกะที่ ๙ จบ
ในขันธกะนี้มี ๓๐ เรื่อง ๒ ภาณวาร

รวมเรื่องที่มีในปาติโมกขัฏฐปนขันธกะ
เรื่องในวันอุโบสถ ภิกษุผู้มีบาปถูกไล่ ๓ ครั้ง
ไม่ยอมออกไป ถูกพระโมคคัลลานะฉุดออกไป
เรื่องความอัศจรรย์ในพระธรรมวินัย
คือ มีการศึกษาไปตามลำดับ
เปรียบด้วยมหาสมุทรที่ต่ำลาดลึกลงตามลำดับ
พระสาวกไม่ละเมิดสิกขาบท
เปรียบด้วยมหาสมุทรมีปกติไม่ล้นฝั่ง
สงฆ์ย่อมขับไล่ผู้ทุศีลออก
เปรียบด้วยมหาสมุทรซัดซากศพขึ้นฝั่ง
วรรณะ ๔ มาบวชเป็นบรรพชิตแล้ว
ย่อมละชื่อและโคตรเดิม เปรียบด้วยแม่น้ำใหญ่
ไหลลงสู่มหาสมุทรแล้วย่อมละชื่อเดิม
ภิกษุจำนวนมากปรินิพพาน
เปรียบด้วยน้ำไหลลงมหาสมุทร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๐๘ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในปาติโมกขัฎฐปนขันธกะ
พระธรรมวินัยมีวิมุตติรสอย่างเดียว
เปรียบด้วยมหาสมุทรมีรสเค็มอย่างเดียว
พระธรรมวินัยมีรัตนะมาก
เป็นที่อยู่ของพระอริยบุคคล ๘ จำพวก
เปรียบด้วยมหาสมุทรเป็นที่อยู่ของสัตว์ขนาดใหญ่
แล้วยังคุณในพระศาสนาให้ดำรงอยู่
พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้งดปาติโมกข์
แก่ผู้มีอาบัติติดตัวในวันอุโบสถ
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ปรึกษากันว่าใคร ๆ ไม่รู้จักเรา
ทั้งที่มีอาบัติติดตัวก็ยังทำอุโบสถแล้วกลัวว่า
ภิกษุผู้มีศีลดีงามจะงดปาติโมกข์แก่ตน
จึงรีบกล่าวโทษผู้อื่นก่อน
การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๑ อย่าง
การงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๑ อย่าง
การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๒ อย่าง
การงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๒ อย่าง
การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๓ อย่าง
การงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๓ อย่าง
การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๔ อย่าง
การงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๔ อย่าง
การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๕ อย่าง
การงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๕ อย่าง
การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๖ อย่าง
การงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๖ อย่าง
การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๗ อย่าง
การงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๗ อย่าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๐๙ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในปาติโมกขัฎฐปนขันธกะ
การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๘ อย่าง
การงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๘ อย่าง
การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๙ อย่าง
การงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๙ อย่าง
การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๑๐ อย่าง
การงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๑๐ อย่าง
ภิกษุงดปาติโมกข์เพราะวิบัติ ๔ อย่าง คือ สีลวิบัติ
อาจารวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ และอาชีววิบัติ
(ที่ชอบธรรมและไม่ชอบธรรม)
ภิกษุงดปาติโมกข์เพราะอาบัติ ๕ กอง คือ ปาราชิก
สังฆาทิเสส ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ และทุกกฏ
(ที่ชอบธรรมและไม่ชอบธรรม)
ภิกษุงดปาติโมกข์เพราะวิบัติ ๖ คือ สีลวิบัติ
อาจารวิบัติและทิฏฐิวิบัติที่ภิกษุทำและไม่ได้ทำ
(ที่ชอบธรรมและไม่ชอบธรรม)
ภิกษุงดปาติโมกข์เพราะอาบัติ ๗ กอง คือ ปาราชิก
สังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏและ
ทุพภาสิต(ที่ชอบธรรมและไม่ชอบธรรม)
ภิกษุงดปาติโมกข์ เพราะวิบัติ ๘ คือ สีลวิบัติ
อาจารวิบัติ ทิฏฐิวิบัติและอาชีววิบัติ ที่ภิกษุทำและไม่ได้ทำ
(ที่ชอบธรรมและไม่ชอบธรรม)
ภิกษุงดปาติโมกข์เพราะวิบัติ ๙ วิธี คือ เพราะสีลวิบัติ
อาจารวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ ที่ภิกษุทำ ไม่ได้ทำ ทั้งที่ทำและไม่ได้ทำ
(ที่ชอบธรรมและไม่ชอบธรรม)
พระผู้มีพระภาคตรัสแก่ผู้รู้ตามความเป็นจริงอย่างนี้
ภิกษุงดปาติโมกข์มีลักษณะ ๑๐ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๑๐ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในปาติโมกขัฎฐปนขันธกะ
(๑) ภิกษุเป็นปาราชิก
(๒) ถ้อยคำปรารภผู้เป็นปาราชิกได้ค้างอยู่
(๓) ภิกษุบอกคืนสิกขา
(๔) ถ้อยคำปรารภผู้บอกคืนสิกขาได้ค้างอยู่
(๕) ภิกษุไม่ร่วมสามัคคี
(๖) พูดค้านสามัคคี
(๗) คำค้านสามัคคีค้างอยู่
(๘-๑๐) มีผู้ได้เห็นได้ยินและนึกสงสัยเพราะสีลวิบัติ
อาจารวิบัติและทิฏฐิวิบัติ
ภิกษุงดปาติโมกข์เพราะเห็นเอง ผู้อื่นบอกเธอหรือ
ผู้เป็นปาราชิกนั้นบอกความจริงแก่เธอ
บริษัทเลิกประชุม เพราะอันตราย ๑๐ อย่าง คือ
พระราชา โจร ไฟ น้ำ มนุษย์ อมนุษย์ สัตว์ร้าย
สัตว์เลื้อยคลาน ชีวิต และพรหมจรรย์ อธิบายความเรื่องงด
ปาติโมกข์ที่ชอบธรรมและไม่ชอบธรรมตามที่กำหนดไว้
ภิกษุผู้โจทก์พึงตั้งคุณสมบัติภายในตน คือ
กล่าวโดยกาลที่ควร กล่าวคำจริง คำที่มีประโยชน์
จะเป็นพรรคพวกมีทะเลาะกันเป็นต้น ผู้เป็นโจทก์มีกาย
วาจาบริสุทธิ์ มีเมตตาจิต เป็นพหูสูต
รู้ปาติโมกข์ทั้งสองฝ่าย
ภิกษุพึงโจทโดยกาลอันควร กล่าวด้วยเรื่องจริง
ด้วยคำสุภาพ ด้วยคำที่มีประโยชน์
ด้วยเมตตาจิตเพราะถูกโจทโดยไม่
ชอบธรรมภิกษุเดือดร้อน
ก็พึงบรรเทาความเดือดร้อน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๑๑ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในปาติโมกขัฎฐปนขันธกะ
ภิกษุผู้โจทก์และผู้ถูกโจทชอบธรรม
พึงบรรเทาความเดือดร้อน
พระผู้มีพระภาคทรงประกาศข้อปฎิบัติของภิกษุผู้จะโจทไว้
๕ อย่าง คือ ความการุณ มุ่งประโยชน์ มีความเอ็นดู
การออกจากอาบัติและยึดพระวินัยไว้เป็นแนวทาง
ผู้ถูกโจทพึงตั้งอยู่ในความจริงและไม่ขุ่นเคือง
ปาติโมกขัฎฐปนขันธกะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๑๒ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๑.ปฐมภาณวาร
๑๐. ภิกขุนีขันธกะ
๑. ปฐมภาณวาร
๑. มหาปชาปติโคตมีวัตถุ
ว่าด้วยเรื่องพระนางมหาปชาบดีโคตมี
[๔๐๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม กรุงกบิลพัสดุ์
แคว้นสักกะ ๑ครั้งนั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ครั้นถึงแล้วได้ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร พระ
นางประชาบดีโคตมีผู้ยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ขอประทานวโรกาส มาตุคามพึงได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในพระธรรมวินัยที่
พระตถาคตประกาศไว้ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสห้ามว่า “อย่าเลย โคตมี เธออย่าชอบใจการที่มาตุคาม
ได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้เลย”
แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ พระนางมหาปชาบดีโคตมีกราบทูลว่า “ขอประทานวโรกาส มาตุ-
คามพึงได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศไว้
พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสห้ามว่า “อย่าเลย โคตมี เธออย่าชอบใจการที่มาตุคาม
ได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศไว้แล้วเลย”
ลำดับนั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมีทรงดำริว่า “พระผู้มีพระภาคไม่ทรง
อนุญาตให้ มาตุคามออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรง

เชิงอรรถ :
๑ ดู องฺ.อฏฺฐก. (แปล) ๒๓/๕๑/๒๒๗/๓๓๑-๓๓๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๑๓ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๑.ปฐมภาณวาร
ประกาศไว้” ทรงเป็นทุกข์เสียพระทัย น้ำพระเนตรนองพระพักตร์ กันแสงอยู่พลาง
ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทรงทำประทักษิณแล้วเสด็จกลับไป
ครั้นพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในกรุงกบิลพัสดุ์ ตามพระอัธยาศัยแล้วเสด็จจาริก
ไปจากกรุงเวสาลี เสด็จจาริกไปโดยลำดับ จนถึงกรุงเวสาลี ทราบว่า พระผู้มีพระ
ภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน ในกรุงเวสาลีนั้น
คราวนั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมีปลงพระเกศา ทรงนุ่งผ้ากาสายะ
พร้อมด้วย นางศากิยานีจำนวนมาก เสด็จไปทางกรุงเวสาลี เสด็จเข้าไปยังกูฏาคาร
สาลา ป่ามหาวัน เขตกรุงเวสาลี โดยลำดับ เวลานั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมี
พระบาทระบม พระวรกายเปรอะเปื้อนฝุ่นธุลี เป็นทุกข์ เสียพระทัย น้ำพระเนตร
นองพระพักตร์ ประทับ ยืนกันแสงอยู่ที่ซุ้มประตูชั้นนอก
ท่านพระอานนท์เห็นพระนางมหาปชาบดีโคตมีพระบาทระบม พระวรกาย
เปรอะเปื้อนฝุ่นธุลี เป็นทุกข์เสียพระทัย น้ำพระเนตรนองพระพักตร์ ประทับยืน
กันแสงอยู่ที่ซุ้มประตูชั้นนอก จึงถามดังนี้ว่า “โคตมี เพราะเหตุไร พระองค์จึงมีพระ
บาทระบม พระวรกายเปรอะเปื้อนฝุ่นธุลี เป็นทุกข์เสียพระทัย น้ำพระเนตรนอง
พระพักตร์ ประทับยืนกันแสงอยู่ที่ซุ้มประตูชั้นนอก”
พระนางตรัสตอบว่า “ท่านอานนท์ พระผู้มีพระภาคไม่ทรงอนุญาตให้มาตุคาม
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศไว้”
ท่านพระอานนท์กล่าวว่า “โคตมี ถ้าเช่นนั้น ขอพระองค์จงรออยู่ที่นี่สักครู่ จน
กว่าอาตมาจะทูลขอพระผู้มีพระภาคให้มาตุคามได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
ในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศไว้”
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้ว
ได้ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ท่านพระอานนท์ผู้นั่งอยู่ ณ
ที่สมควรได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า พระนางมหาปชาบดี
โคตมีมีพระบาทระบม พระวรกายเปรอะเปื้อนฝุ่นธุลี เป็นทุกข์ เสียพระทัย น้ำพระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๑๔ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๑.ปฐมภาณวาร
เนตรนองพระพักตร์ ประทับยืนกันแสงอยู่ที่ซุ้มประตูชั้นนอกด้วยคิดว่า ‘พระผู้มีพระ
ภาคไม่ทรงอนุญาตให้มาตุคามออกบวชเป็นบรรพชิตในพระธรรมวินัยที่พระตถาคต
ทรงประกาศไว้’ ขอประทานวโรกาส ขอมาตุคามพึงได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
ในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศไว้ด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสห้ามว่า “อย่าเลย อานนท์ เธออย่าชอบใจการที่มาตุคาม
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้เลย”
แม้ครั้งที่ ๒ ท่านพระอานนท์ก็ได้กราบทูลกับพระผู้มีพระภาคว่า “ขอประทาน
วโรกาส ขอมาตุคามพึงได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในพระธรรมวินัยที่พระตถาคต
ทรงประกาศไว้ด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสห้ามว่า “อย่าเลย อานนท์ เธออย่าชอบใจการที่มาตุคาม
ได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยที่ตถาคตทรงประกาศไว้เลย”
แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระอานนท์ก็ได้กราบทูลกับพระผู้มีพระภาคว่า “ขอประทาน
วโรกาส ขอมาตุคามพึงได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในพระธรรมวินัยที่พระ
ตถาคตทรงประกาศไว้ด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสห้ามว่า “อย่าเลย อานนท์ เธออย่าชอบใจการที่มาตุคาม
ได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยที่ตถาคตทรงประกาศไว้เลย”
ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์คิดว่า “พระผู้มีพระภาคไม่ทรงอนุญาตให้มาตุคาม
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในพระธรรมวินัยที่พระองค์ทรงประกาศไว้ อย่า
กระนั้นเลย เราพึงทูลขอพระองค์ให้มาตุคามออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในพระ
ธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศไว้ด้วยอุบายบางอย่าง”
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “มาตุคามออกจาก
เรือนบวชเป็นบรรพชิต ในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศไว้ จะสามารถทำให้
แจ้งโสดาปัตติผล สกิทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผลได้หรือไม่ พระพุทธเจ้าข้า”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๑๕ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๑.ปฐมภาณวาร
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ มาตุคามออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
ในธรรมวินัยที่ตถาคตทรงประกาศไว้ สามารถทำให้แจ้งโสดาปัตติผล สกิทาคามิผล
อนาคามิผล หรืออรหัตตผลได้”
ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า “ถ้ามาตุคามออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตใน
พระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศไว้ สามารถทำให้แจ้งโสดาปัตติผล สกิทาคามิ
ผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผลได้ พระนางมหาปชาบดีโคตมีผู้เป็นพระมาตุจฉา
ของพระผู้มีพระภาค ทรงมีอุปการะมาก เคยประคับประคองดูแลถวายเกษียรธาร
(น้ำนม) เมื่อพระชนนีสวรรคต ได้ให้พระผู้มีพระภาคดื่มเกษียรธาร ขอประทานวโรกาส
ขอมาตุคาม พึงได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในพระธรรมวินัยที่พระตถาคต
ประกาศไว้แล้วด้วย เถิด พระพุทธเจ้าข้า”

๒.อัฏฐครุธัมมะ
ว่าด้วยครุธรรม ๘ ข้อ๑
[๔๐๓] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ ถ้าพระนางมหาปชาบดีโคตมี
รับครุธรรม ๘ ข้อ (การรับครุธรรม)นั้นแหละจงเป็นการอุปสมบทของพระนางมหา
ปชาบดีโคตมีนั้น คือ
๑. ภิกษุณีถึงจะบวชได้ ๑๐๐ พรรษา ก็ต้องทำการกราบไหว้ ต้อนรับ
ทำอัญชลีกรรม ทำสามีจิกรรมแก่ภิกษุผู้บวชแม้ในวันนั้น ธรรมข้อ
นี้ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจนตลอด
ชีวิต

เชิงอรรถ :
๑ องฺ. อฏฺฐก. (แปล) ๒๓/๕๑/๓๓๔-๓๓๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๑๖ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๑.ปฐมภาณวาร
๒. ภิกษุณีไม่พึงอยู่จำพรรษาในอาวาสที่ไม่มีภิกษุ๑ ธรรมข้อนี้ภิกษุณีพึง
สักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจนตลอดชีวิต
๓. ภิกษุณีพึงหวังธรรม ๒ อย่าง คือ ถามอุโบสถและไปรับโอวาทจาก
ภิกษุสงฆ์ทุกกึ่งเดือน ธรรมข้อนี้ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ
บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจนตลอดชีวิต
๔. ภิกษุณีจำพรรษาแล้วพึงปวารณาในสงฆ์ ๒ ฝ่าย โดยสถาน ๓ คือ
ได้เห็น ได้ฟัง หรือได้นึกสงสัย ธรรมข้อนี้ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ
นับถือ บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจนตลอดชีวิต
๕. ภิกษุณีต้องครุธรรมแล้วพึงประพฤติปักขมานัตในสงฆ์ ๒ ฝ่าย ธรรม
ข้อนี้ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจน
ตลอดชีวิต
๖. ภิกษุณีพึงแสวงหาการอุปสมบทในสงฆ์ ๒ ฝ่ายให้แก่สิกขมานาที่
ศึกษาธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปีแล้ว ธรรมข้อนี้ภิกษุณีพึงสักการะ
เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจนตลอดชีวิต
๗. ภิกษุณีไม่พึงด่า ไม่พึงบริภาษภิกษุ ไม่ว่ากรณีใด ๆ ธรรมข้อนี้
ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจนตลอด
ชีวิต
๘. ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ห้ามภิกษุณีสั่งสอนภิกษุ แต่ไม่ห้ามภิกษุสั่ง
สอนภิกษุณี ธรรมข้อนี้ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่
พึงล่วงละเมิดจนตลอดชีวิต
อานนท์ ถ้าพระนางมหาปชาบดีโคตมีรับครุธรรม ๘ ข้อนี้ (การรับครุธรรม)
นั้นแหละจงเป็นการอุปสมบทของพระนางมหาปชาบดีโคตมีนั้น

เชิงอรรถ :
๑ อาวาสที่ไม่มีภิกษุ หมายถึงสำนักของภิกษุณีที่ไม่มีภิกษุผู้จะให้โอวาทอยู่ภายในระยะ ๑ โยชน์ หรือมี
ภิกษุผู้จะให้โอวาทอยู่ภายในระยะ ๑ โยชน์ แต่เส้นทางที่จะไปยังสำนักภิกษุณีนั้นไม่ปลอดภัย (ดู วิ.ภิกฺขุนี.
(แปล) ๓/๑๐๔๘/๒๘๐, กงฺขา.อ. ๓๙๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๑๗ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๑.ปฐมภาณวาร
ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์เรียนครุธรรม ๘ จากพระผู้มีพระภาคแล้วเข้าไป
หาพระนางมหาปชาบดีโคตมีถึงที่พัก ครั้นถึงแล้วได้กล่าวกับพระนางมหาปชาบดี
โคตมีดังนี้ว่า “โคตมี ถ้าพระนางรับครุธรรม ๘ (การรับครุธรรม)นั้นแหละจะเป็น
การอุปสมบทของพระนาง คือ
๑. ภิกษุณีถึงจะบวชได้ ๑๐๐ พรรษา ก็ต้องทำการกราบไหว้ ต้อนรับ
ทำอัญชลีกรรม ทำสามีจิกรรมแก่ภิกษุผู้บวชแม้ในวันนั้น ธรรมข้อ
นี้ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจนตลอด
ชีวิต
๒. ภิกษุณีไม่พึงอยู่จำพรรษาในอาวาสที่ไม่มีภิกษุทั้งหลาย ธรรมข้อนี้
ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจนตลอด
ชีวิต
๓. ภิกษุณีพึงหวังธรรม ๒ อย่าง คือ ถามอุโบสถและไปรับโอวาทจาก
ภิกษุสงฆ์ทุกกึ่งเดือน ธรรมข้อนี้ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ
บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจนตลอดชีวิต
๔. ภิกษุณีจำพรรษาแล้วพึงปวารณาในสงฆ์ ๒ ฝ่าย โดยสถาน ๓ คือ
ได้เห็น ได้ฟัง หรือได้นึกสงสัย ธรรมข้อนี้ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ
นับถือ บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจนตลอดชีวิต
๕. ภิกษุณีต้องครุธรรมแล้วพึงประพฤติปักขมานัตในสงฆ์ ๒ ฝ่าย ธรรม
ข้อนี้ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจน
ตลอดชีวิต
๖. ภิกษุณีพึงแสวงหาการอุปสมบทในสงฆ์ ๒ ฝ่ายให้แก่สิกขมานาที่
ศึกษาธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปีแล้ว ธรรมข้อนี้ภิกษุณีพึงสักการะ
เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจนตลอดชีวิต
๗. ภิกษุณีไม่พึงด่า ไม่พึงบริภาษภิกษุ ไม่ว่ากรณีใด ๆ ธรรมข้อนี้
ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจนตลอดชีวิต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๑๘ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๑.ปฐมภาณวาร
๘. ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ห้ามภิกษุณีสั่งสอนภิกษุ แต่ไม่ห้ามภิกษุสั่ง
สอนภิกษุณี ธรรมข้อนี้ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา
ไม่พึงล่วงละเมิดจนตลอดชีวิต
โคตมี ถ้าพระองค์รับครุธรรม ๘ นี้ (การรับครุธรรม)นั้นแหละจะเป็นการ
อุปสมบทของพระองค์”
พระนางมหาปชาบดีโคตมีกล่าวว่า “ท่านอานนท์ ดิฉันยอมรับครุธรรม ๘ ข้อนี้
ปฏิบัติไม่ละเมิดไปจนตลอดชีวิตทีเดียว เปรียบเหมือนหญิงสาวหรือชายหนุ่มผู้ชอบ
แต่งกาย เมื่อสรงน้ำดำเกล้าแล้วได้พวงอุบล พวงมะลิ หรือพวงลำดวน ก็ใช้มือทั้ง
สองประคองรับไว้เหนือศีรษะฉะนั้น”
ต่อมา ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ณ ที่ประทับ ครั้นแล้ว
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระนางมหา
ปชาบดีโคตมียอมรับครุธรรม ๘ ข้อแล้ว พระมาตุจฉาของพระองค์อุปสมบทแล้ว
พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ ถ้ามาตุคามจะไม่ออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิตในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้แล้ว พรหมจรรย์จะดำรงอยู่ได้นาน สัทธรรม
จะดำรงอยู่ถึง ๑,๐๐๐ ปี แต่เพราะมาตุคามออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัย
ที่ตถาคต ประกาศไว้แล้ว บัดนี้พรหมจรรย์จะดำรงอยู่ได้ไม่นาน สัทธรรมจะตั้งอยู่ได้
เพียง ๕๐๐ ปีเท่านั้น๑

เชิงอรรถ :
๑ สัทธรรมจะตั้งอยู่ได้เพียง ๕๐๐ ปี หมายความว่า ถ้าให้สตรีบวชโดยไม่ได้บัญญัติครุธรรมไว้ก่อน เวลา
ผ่านไป ๕๐๐ ปีก็จะไม่มีพระอรหันต์ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา แต่เมื่อบัญญัติครุธรรมไว้ก่อนที่สตรีจะบวช ใน
ระยะเวลา ๑,๐๐๐ ปีก็ยังมีพระอรหันต์ผู้บรรลุปฏิสัมภิทาอยู่ ผ่านไปอีก ๑,๐๐๐ ปีก็ยังมีพระอรหันต์
สุกขวิปัสสกอยู่ ผ่านไปอีก ๑,๐๐๐ ปีก็ยังมีพระอนาคามีอยู่ ผ่านไปอีก ๑,๐๐๐ ปีก็ยังมีพระสกทาคามีอยู่
ผ่านไปอีก ๑,๐๐๐ ปีก็ยังมีพระโสดาบันอยู่ สรุปว่าปฏิเวธสัทธรรมจะดำรงอยู่ได้ ๕,๐๐๐ ปี แม้ปริยัติธรรม
ก็ดำรงอยู่ได้ ๕,๐๐๐ ปี เพราะปริยัติกับปฏิเวธต่างเกื้อกูลกัน (วิ.อ.๓/๔๐๓/๔๐๖-๔๐๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๑๙ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๑.ปฐมภาณวาร
อานนท์ ธรรมวินัยที่มีมาตุคามออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตจะไม่ตั้งอยู่ได้นาน
เปรียบเหมือนตระกูลหนึ่งที่มีสตรีมาก มีบุรุษน้อยจะถูกโจรปล้นทรัพย์ทำร้ายได้ง่าย
อานนท์ ธรรมวินัยที่มีมาตุคามออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตจะไม่ตั้งอยู่ได้นาน
เหมือนหนอนขยอกที่ลงในนาข้าวสาลี ซึ่งอุดมสมบูรณ์ก็ทำให้นาข้าวนั้นไม่ตั้งอยู่ได้นาน
อานนท์ ธรรมวินัยที่มีมาตุคามออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตจะไม่ตั้งอยู่ได้นาน
เหมือนเพลี้ยที่ลงในไร่อ้อยที่อุดมสมบูรณ์ก็ทำให้ไร่อ้อยนั้นไม่ตั้งอยู่ได้นาน
อานนท์ เราบัญญัติครุธรรม ๘ แก่ภิกษุณีทั้งหลาย ซึ่งภิกษุณีทั้งหลายไม่พึง
ละเมิดไปจนตลอดชีวิต ก็เหมือนคนกั้นทำนบที่สระใหญ่ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำไหล
(เข้า)ออกไปฉะนั้น
อัฏฐครุธัมมะ จบ

๓. ภิกขุนีอุปสัมปทานุชานนะ
ว่าด้วยการอนุญาตให้อุปสมบทภิกษุณี
[๔๐๔] ครั้งนั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมี เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ครั้นถึงแล้วถวายอภิวาท ได้ยืนอยู่ ณ ที่สมควร พระนางปชาบดีโคตมี
ผู้ยืนอยู่ ณ ที่สมควรได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “หม่อมฉันจะปฏิบัติอย่างไร
กับนางสากิยานีพวกนี้ พระพุทธเจ้าข้า”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้พระนางมหาปชาบดีโคตมีเห็นชัด ชวน
ใจให้อยากรับไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วย
ธรรมีกถา
ลำดับนั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมีผู้ซึ่งพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นชัด
ชวนใจให้อยากรับไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง
ด้วยธรรมีกถา ได้ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วเสด็จกลับ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๒๐ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๑.ปฐมภาณวาร
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายอุปสมบทภิกษุณี
ทั้งหลาย”
ต่อมา ภิกษุณีเหล่านั้น กล่าวกับพระนางมหาปชาบดีโคตมีดังนี้ว่า “แม่เจ้ายัง
ไม่ได้อุปสมบท แต่พวกดิฉันอุปสมบทแล้ว เพราะพระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า
‘ภิกษุทั้งหลายพึงให้อุปสมบทภิกษุณีทั้งหลาย”
ครั้งนั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมีเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่พัก ครั้นแล้ว
อภิวาทได้ยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบเรียนท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “ท่านอานนท์
ภิกษุณีเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ‘แม่เจ้ายังไม่ได้อุปสมบท แต่พวกดิฉันอุปสมบทแล้ว
เพราะพระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า ภิกษุทั้งหลายพึงให้อุปสมบทภิกษุณีทั้งหลาย”
ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ณ ที่ประทับ ครั้นแล้ว
ถวายอภิวาท นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า
พระนางมหาปชาบดีโคตมีได้กล่าวกับข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ‘ท่านอานนท์ ภิกษุณี
ทั้งหลายกล่าวกับดิฉันอย่างนี้ว่า แม่เจ้ายังไม่ได้อุปสมบท แต่พวกดิฉันอุปสมบทแล้ว
เพราะพระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า ภิกษุทั้งหลายพึงให้อุปสมบทภิกษุณีทั้งหลาย”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ ในเวลาที่พระนางมหาปชาบดีโคตมีรับครุธรรม
๘ ก็ชื่อว่าได้อุปสมบทแล้ว”

พระนางมหาปชาบดีโคตมีกราบทูลขอพร
[๔๐๕] ครั้งนั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมีเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่พัก
ครั้นแล้วอภิวาท ได้ยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “ท่าน
อานนท์ ดิฉันจะทูลขอพรอย่างหนึ่งจากพระผู้มีพระภาคว่า ‘ขอประทานวโรกาส
พระผู้มีพระภาคพึงอนุญาตการกราบ การลุกรับ การไหว้ สามีจิกรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย
และภิกษุณีทั้งหลายตามลำดับพรรษาเถิด พระพุทธเจ้าข้า”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๒๑ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๑.ปฐมภาณวาร
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ณ ที่ประทับ ครั้นแล้ว
ถวายอภิวาท นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า
พระนางมหาปชาบดีโคตมีได้กล่าวกับข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ‘ท่านอานนท์ ดิฉันจะทูล
ขอพรอย่างหนึ่งจากพระผู้มีพระภาคว่า ขอประทานวโรกาส พระผู้มีพระภาคพึง
อนุญาตการกราบ การลุกรับ การไหว้ สามีจิกรรมแก่ภิกษุทั้งหลายและภิกษุณี
ทั้งหลายตามลำดับพรรษาเถิด พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ ไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาสที่ตถาคตจะอนุญาต
การกราบ การลุกรับ การไหว้ สามีจิกรรมแก่มาตุคาม อานนท์ เพราะพวกเดียรถีย์
เหล่านี้ผู้กล่าวธรรมไว้ไม่ดีก็ยังไม่กราบ ไม่ลุกรับ ไม่ไหว้ ไม่ทำสามีจิกรรมแก่มาตุคาม
ไฉนตถาคตจะอนุญาตการกราบ การลุกรับ การไหว้ สามีจิกรรมแก่มาตุคามเล่า”
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่งกับ
ภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงกราบ ไม่พึงลุกรับ ไม่พึงไหว้ ไม่พึง
ทำสามีจิกรรมแก่มาตุคาม รูปใดทำ ต้องอาบัติทุกกฏ”

พระนางมหาปชาบดีโคตมีกราบทูลถามถึงสิกขาบท
ครั้งนั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้น
ถึงแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่สมควร พระนางมหาปชาบดี
โคตมีผู้ยืนอยู่ ณ ที่สมควรได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า พวก
หม่อมฉันจะปฏิบัติในสิกขาบทของภิกษุณีทั้งหลายที่เป็นสาธารณบัญญัติ๑กับภิกษุ
ทั้งหลายอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โคตมี พวกเธอจงศึกษาสิกขาบทของภิกษุณีทั้งหลาย
ที่เป็นสาธารณบัญญัติกับภิกษุทั้งหลาย เหมือนที่ภิกษุทั้งหลายศึกษากันฉะนั้น”

เชิงอรรถ :
๑ สาธารณบัญญัติ ได้แก่ บทบัญญัติที่พระผู้มีพระภาคทรงปรารภภิกษุสงฆ์บัญญัติไว้ เป็นข้อปฎิบัติสำหรับ
ภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์พึงรักษาด้วย จำนวน ๑๗๔ สิกขาบท ดังที่แสดงไว้แล้วในพระวินัยปิฎก
มหาวิภังค์ ภาค ๑ และภาค ๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๒๒ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๑.ปฐมภาณวาร
พระนางทูลถามว่า “พระพุทธเจ้าข้า พวกหม่อมฉันจะปฏิบัติในสิกขาบทของ
ภิกษุณีทั้งหลายที่เป็นอสาธารณบัญญัติ๑ กับภิกษุทั้งหลายอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โคตมี พวกเธอจงศึกษาสิกขาบทของภิกษุณีทั้งหลาย
ที่เป็นอสาธารณบัญญัติ กับภิกษุทั้งหลายตามที่เราบัญญัติไว้”

ลักษณะตัดสินพระธรรมวินัย ๘ ประการ๒
[๔๐๖] ครั้งนั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมี เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ณ
ที่ประทับ ครั้นแล้วถวายอภิวาท ได้ยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรม
โดยย่อ ที่เมื่อหม่อมฉันฟังแล้ว จะพึงหลีกเร้นอยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร
อุทิศกายใจอยู่เถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โคตมี ท่านรู้ธรรมเหล่าใดว่า
๑. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อคลายความกำหนัด
๒. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความประกอบไว้ ไม่เป็นไปเพื่อความพราก
๓. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อการสะสม ไม่เป็นไปเพื่อการไม่สะสม
๔. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความมักมาก ไม่เป็นไปเพื่อความมักน้อย
๕. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความไม่สันโดษ ไม่เป็นไปเพื่อความสันโดษ
๖. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความคลุกคลีหมู่คณะ ไม่เป็นไปเพื่อความสงัด
๗. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน ไม่เป็นไปเพื่อปรารภความ
เพียร
๘. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงยาก ไม่เป็นไปเพื่อความ
เป็นคนเลี้ยงง่าย

เชิงอรรถ :
๑ อสาธารณบัญญัติ ได้แก่ บทบัญญัติที่พระผู้มีพระภาคทรงปรารภภิกษุณีสงฆ์บัญญัติไว้ภิกษุณีสงฆ์ไม่ต้อง
รักษาจำนวน ๔๖ สิกขาบทและที่ทรงปรารภภิกษุณีสงฆ์บัญญัติไว้เฉพาะสำหรับภิกษุณีสงฆ์บัญญัติฝ่ายเดียว
จำนวน ๑๓๐ สิกขาบท ตามที่แสดงไว้แล้วในพระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓
๒ องฺ.อฏฺฐก. (แปล) ๒๒/๕๓/๓๓๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๒๓ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๑.ปฐมภาณวาร
โคตมี ท่านพึงจำไว้โดยส่วนเดียวว่า ‘นั่นไม่ใช่ธรรม นั่นไม่ใช่วินัย นั่นไม่ใช่
สัตถุศาสน์’
โคตมี ท่านรู้ธรรมเหล่าใดว่า
๑. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความคลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อความ
กำหนัด
๒. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความพราก ไม่เป็นไปเพื่อความประกอบไว้
๓. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อการไม่สะสม ไม่เป็นไปเพื่อความสะสม
๔. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความมักน้อย ไม่เป็นไปเพื่อความมักมาก
๕. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความสันโดษ ไม่เป็นไปเพื่อความไม่สันโดษ
๖. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความสงัด ไม่เป็นไปเพื่อความคลุกคลีหมู่คณะ
๗. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร ไม่เป็นไปเพื่อความ
เกียจคร้าน
๘. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงง่าย ไม่เป็นไปเพื่อความ
เป็นคนเลี้ยงยาก
โคตมี ท่านจงจำไว้โดยส่วนเดียวว่า “นั่นเป็นธรรม นั่นเป็นวินัย นั่นเป็น
สัตถุศาสน์”

ทรงอนุญาตให้ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง
[๔๐๗] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายไม่ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงแก่ภิกษุณีทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง
แก่ภิกษุณีทั้งหลาย” ต่อมา ภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “ใครหนอควรยก
ปาติโมกข์ขึ้นแสดงแก่ภิกษุณีทั้งหลาย”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีภาคให้ทรงทราบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๒๔ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๑.ปฐมภาณวาร
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายยก
ปาติโมกข์ขึ้นแสดงแก่ภิกษุณีทั้งหลาย”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเข้าไปถึงสำนักของภิกษุณีทั้งหลายแล้วยกปาติโมกข์ขึ้น
แสดง
คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ภิกษุณีเหล่านี้เป็นภรรยาของภิกษุ
เหล่านี้ ภิกษุณีเหล่านี้เป็นชู้ของภิกษุเหล่านี้ บัดนี้ ภิกษุเหล่านี้จะอภิรมย์กับภิกษุณี
เหล่านี้”
บรรดาภิกษุผู้มักน้อยได้ยินคนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนา จึงนำเรื่อง
นี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้ารับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายไม่พึงยก
ปาติโมกข์ขึ้นแสดงแก่ภิกษุณีทั้งหลาย รูปใดยกขึ้นแสดง ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตให้ภิกษุณีทั้งหลายยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงแก่ภิกษุณีทั้งหลายด้วยกัน”
ภิกษุณีทั้งหลายไม่ทราบว่า “จะยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงอย่างไร”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายอธิบาย
ให้ภิกษุณีทั้งหลายทราบว่า พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงอย่างนี้”

ทรงอนุญาตให้ภิกษุณีรับอาบัติของกันและกัน
[๔๐๘] สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายไม่ทำคืนอาบัติ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่ทำคืนอาบัติไม่ได้ รูปใดไม่
กระทำคืน ต้องอาบัติทุกกฏ”
ภิกษุณีทั้งหลายไม่รู้ว่า “พึงทำคืนอาบัติอย่างนี้” ภิกษุทั้งหลายจึงไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๒๕ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๑.ปฐมภาณวาร
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายบอกภิกษุณี
ทั้งหลายว่า พวกเธอพึงทำคืนอาบัติอย่างนี้”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “ใครหนอพึงรับอาบัติของภิกษุณี
ทั้งหลาย” จึงไปนำเรื่องนี้กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายรับอาบัติ
ของภิกษุณีทั้งหลาย”
สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายพบภิกษุที่ถนนบ้าง ตรอกบ้าง ทางสามแพร่งบ้าง
ได้วางบาตรไว้บนพื้น ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่งกระโหย่งประนมมือ ทำ
คืนอาบัติ
คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ภิกษุณีเหล่านี้เป็นภรรยาของภิกษุ
เหล่านี้ ภิกษุณีเหล่านี้เป็นชู้ของภิกษุเหล่านี้ ภิกษุและภิกษุณีล่วงเกินกันตอนกลางคืน
เวลานี้กำลังขอขมา”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายไม่พึงรับอาบัติของ
ภิกษุณีทั้งหลาย รูปใดรับ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุณี
ทั้งหลายรับอาบัติของภิกษุณีทั้งหลาย”
ภิกษุณีทั้งหลายไม่รู้ว่า “จะพึงรับอาบัติอย่างนี้” จึงไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค
ให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายบอกภิกษุณี
ทั้งหลายว่า พวกเธอพึงรับอาบัติอย่างนี้”

ทรงอนุญาตให้ทำกรรมเป็นต้น
[๔๐๙] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายไม่ทำกรรม๑ แก่ภิกษุณีทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีภาคให้ทรงทราบ

เชิงอรรถ :
๑ กรรม ในที่นี้ หมายถึงการลงโทษทางพระวินัย เช่นตัชชนียกรรมเป็นต้น (วิ.อ.๓/๔๐๙/๔๐๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๒๖ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๑.ปฐมภาณวาร
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำกรรมแก่ภิกษุณี
ทั้งหลาย”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “ใครหนอพึงทำกรรมแก่ภิกษุณี
ทั้งหลาย” จึงไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายทำกรรม
แก่ภิกษุณีทั้งหลาย”
สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายที่ถูกทำกรรมแล้ว พบภิกษุที่ถนนบ้าง ตรอกบ้าง
ทางสามแพร่งบ้าง ได้วางบาตรไว้บนพื้น ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่งกระโหย่ง
ประนมมือ ขอขมาว่า “จะไม่ทำอย่างนี้อีก”
คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ภิกษุณีเหล่านี้เป็นภรรยาของภิกษุ
เหล่านี้ ภิกษุณีเหล่านี้เป็นชู้ของภิกษุเหล่านี้ ภิกษุและภิกษุณีเหล่านี้ล่วงเกินกันตอน
กลางคืน เวลานี้กำลังขอขมา”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายไม่พึงทำกรรมแก่ภิกษุณี
ทั้งหลาย รูปใดทำ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุณีทั้งหลาย
ทำกรรมแก่ภิกษุณีทั้งหลาย”
ภิกษุณีทั้งหลายไม่รู้ว่า “จะพึงทำกรรมอย่างนี้” ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายบอกภิกษุณี
ทั้งหลายว่า พวกเธอพึงทำกรรมอย่างนี้”
[๔๑๐] สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายบาดหมาง ทะเลาะวิวาทกัน ใช้หอกคือปาก
ทิ่มแทงกัน ท่ามกลางสงฆ์ ไม่อาจจะระงับอธิกรณ์นั้นได้
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายระงับอธิกรณ์
ของภิกษุณีทั้งหลาย”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๒๗ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๑.ปฐมภาณวาร
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายกำลังระงับอธิกรณ์ของภิกษุณีทั้งหลาย เมื่อภิกษุทั้งหลาย
กำลังวินิจฉัยอธิกรณ์อยู่ ปรากฏมีภิกษุณีทั้งหลายที่เข้ากรรม๑บ้าง ต้องอาบัติบ้าง
ภิกษุณีทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ว่า “ดีแล้วท่านผู้เจริญ ขอพระคุณเจ้าทั้งหลายจงทำกรรม
แก่ภิกษุณีทั้งหลาย ขอพระคุณเจ้าทั้งหลายจงรับอาบัติของภิกษุณีทั้งหลาย เพราะ
พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า ภิกษุทั้งหลายพึงระงับอธิกรณ์ของภิกษุณีทั้งหลาย”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายมอบการ
ลงโทษภิกษุณีทั้งหลายให้แก่ภิกษุณีทั้งหลาย เพื่อให้ภิกษุณีทั้งหลายลงโทษภิกษุณี
ทั้งหลายกันเอง ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายมอบการปลงอาบัติของ
ภิกษุณีทั้งหลายให้แก่ภิกษุณีทั้งหลาย เพื่อให้ภิกษุณีทั้งหลายรับอาบัติกับภิกษุณี
ทั้งหลายด้วยกัน”
สมัยนั้น ภิกษุณีอันเตวาสินีของภิกษุณีอุบลวรรณา ติดตามพระผู้มีพระภาค
เรียนพระวินัยอยู่ ๗ ปี นางกลับมีสติฟั่นเฟือน พระวินัยที่เรียนไว้ก็เลอะเลือน นาง
ทราบว่า “พระผู้มีพระภาคประสงค์จะเสด็จไปกรุงสาวัตถี จึงคิดว่า “เราติดตาม
พระผู้มีพระภาค เรียนพระวินัยอยู่ ๗ ปี จนสติฟั่นเฟือน พระวินัยที่เคยเรียนไว้ ก็
เลอะเลือน การที่มาตุคามจะติดตามพระผู้มีพระภาคไปจนตลอดชีวิตเป็นเรื่องยาก เรา
จะพึงปฏิบัติอย่างไรเล่า” จึงบอกเรื่องนั้นให้ภิกษุณีทั้งหลายทราบ
ภิกษุณีทั้งหลายจึงบอกความนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายสอนวินัย
แก่ภิกษุณีทั้งหลายได้”
ปฐมภาณวาร จบ

เชิงอรรถ :
๑ ผู้เข้ากรรม ในที่นี้ หมายถึงผู้ควรแก่กรรมคือควรถูกลงโทษ (กมฺมปฺปตฺตาโยปีติ กมฺมารหาปิ-สารตฺถ ๓/
๕๓๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๒๘ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
๒. ทุติยภาณวาร
[๔๑๑] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กรุงเวสาลีตามพระอัธยาศัย
แล้วเสด็จจาริกไปทางกรุงสาวัตถี เสด็จจาริกไปโดยลำดับ จนถึงกรุงสาวัตถี ทราบว่า
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถปิณฑิกคหบดี ในกรุง
สาวัตถีนั้น
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้น้ำโคลนรดภิกษุณีทั้งหลาย ด้วยคิดว่า “บางที
ภิกษุณีทั้งหลายจะรักพวกเราบ้าง”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้น้ำโคลนรดภิกษุณี
ทั้งหลาย รูปใดรด ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ลงทัณฑกรรม
ภิกษุผู้ประพฤติเช่นนั้น”
สมัยนั้น ภิกษุเหล่านั้นได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “พวกเราจะพึงลงทัณฑกรรมอย่างไร”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีสงฆ์พึงประกาศให้ทราบว่า
ภิกษุ นั้นไม่ควรไหว้”๑

ภิกษุแสดงอวัยวะอวดภิกษุณี
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เปิดกายแสดงแก่ภิกษุณีทั้งหลาย เปิดขาอ่อน
แสดงแก่ภิกษุณีทั้งหลาย เปิดองคชาตแสดงแก่ภิกษุณีทั้งหลาย พูดเกี้ยวภิกษุณี
ทั้งหลาย ชักชวนบุรุษให้มาคบหารักกับภิกษุณีทั้งหลาย ด้วยคิดว่า “ภิกษุณีทั้งหลาย
จะรักพวกเราบ้าง”

เชิงอรรถ :
๑ ภิกษุณีสงฆ์พึงประชุมกันในสำนักภิกษุณี ประกาศว่า “พระคุณเจ้ารูปโน้น แสดงอาการที่ไม่น่าเลื่อมใสต่อ
ภิกษุณีทั้งหลาย ภิกษุณีสงฆ์พอใจที่จะไม่กราบไหว้พระคุณเจ้ารูปนั้น” ๓ ครั้ง (วิ.อ. ๓/๔๑๑/๔๐๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๒๙ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงเปิดกายแสดงแก่ภิกษุณี
ทั้งหลาย ไม่พึงเปิดขาอ่อนแสดงแก่ภิกษุณีทั้งหลาย ... ไม่พึงเปิดองคชาตแสดงแก่
ภิกษุณีทั้งหลาย ... ไม่พึงพูดเกี้ยวภิกษุณีทั้งหลาย ... ไม่พึงชักชวนบุรุษให้มาคบหา
รักกับภิกษุณีทั้งหลาย รูปใดพึงชักชวน ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
ให้ลงทัณฑกรรมภิกษุผู้ประพฤติเช่นนั้น”
ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “พวกเราพึงลงทัณฑกรรมอย่างไร”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีสงฆ์พึงประกาศให้ทราบว่า ภิกษุ
นั้นไม่ควรไหว้”
ต่อมา พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ใช้น้ำโคลนรดภิกษุทั้งหลาย ด้วยคิดว่า “ภิกษุ
ทั้งหลายจะรักพวกเราบ้าง”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงใช้น้ำโคลนรดภิกษุ
ทั้งหลาย รูปใดรด ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ลงทัณฑกรรมแก่
ภิกษุณีผู้ประพฤติเช่นนี้”
ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “พวกเราจะลงทัณฑกรรมอย่างไร”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ห้ามปราม”
เมื่อภิกษุทั้งหลายห้ามปรามแล้ว ภิกษุณีทั้งหลายก็ยังไม่ยอมเชื่อ
ภิกษุทั้งหลาย จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้งดการให้โอวาท”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๓๐ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
ภิกษุณีแสดงอวัยวะอวดภิกษุ
สมัยนั้น พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์เปิดกายแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย เปิดถันแสดง
แก่ภิกษุทั้งหลาย เปิดขาอ่อนแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย เปิดองค์กำเนิดแสดงแก่ภิกษุ
ทั้งหลาย พูดเกี้ยวภิกษุทั้งหลาย ชักชวนสตรีให้มาคบหารักกับภิกษุทั้งหลาย ด้วย
คิดว่า “ภิกษุทั้งหลายจะรักพวกเราบ้าง”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงเปิดกายแสดงแก่ภิกษุ
ทั้งหลาย ... ไม่พึงเปิดถันแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ... ไม่พึงเปิดขาอ่อนแสดงแก่ภิกษุ
ทั้งหลาย ... ไม่พึงเปิดองค์กำเนิดแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ... ไม่พึงพูดเกี้ยวภิกษุทั้งหลาย
... ไม่พึงชักชวนสตรีให้มาคบหารักกับภิกษุทั้งหลาย รูปใดชักชวน ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ลงทัณฑกรรมแก่ภิกษุณีผู้ประพฤติเช่นนั้น”
ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “พวกเราพึงลงทัณฑกรรมอย่างไร”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ห้ามปราม”
เมื่อภิกษุทั้งหลายห้ามปรามแล้ว ภิกษุณีทั้งหลายก็ยังไม่ยอมเชื่อ
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้งดโอวาท”
ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “การทำอุโบสถร่วมกับภิกษุณีที่ถูก
งดโอวาทแล้ว ควรหรือไม่หนอ”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีทั้งหลายไม่พึงทำอุโบสถร่วม
กับภิกษุณีที่ถูกงดโอวาท จนกว่าอธิกรณ์นั้นจะระงับไป”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๓๑ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
เรื่องงดโอวาท
[๔๑๒] สมัยนั้น ท่านพระอุทายีงดโอวาทแล้วหลีกจาริกไป ภิกษุณีทั้งหลาย
ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระคุณเจ้าอุทายี จึงงดโอวาทแล้วหลีกจาริก
ไปเล่า”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายไม่พึงงดโอวาทแล้ว
จาริกไป รูปใดเที่ยวจาริกไป ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายผู้โง่เขลาไม่ฉลาด งดโอวาท ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้
ไป กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้โง่เขลาไม่ฉลาด ไม่พึงงดโอวาท
รูปใดงด ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายงดโอวาท เพราะเรื่องไม่สมควร เพราะเหตุไม่สมควร
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงงดโอวาท เพราะเรื่องไม่
สมควร เพราะเหตุไม่สมควร รูปใดงด ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายงดโอวาทแล้วไม่ให้คำวินิจฉัย ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุงดโอวาทแล้วจะไม่ให้คำวินิจฉัย
ไม่ได้ รูปใดไม่ให้ ต้องอาบัติทุกกฏ”
[๔๑๓] สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายไม่ยอมไปรับโอวาท ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่อง
นี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๓๒ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่ไปรับโอวาทไม่ได้ รูปใด
ไม่ไป พึงปรับอาบัติตามธรรม”๑
สมัยนั้น ภิกษุณีสงฆ์พากันไปรับโอวาท(พร้อมกัน)ทั้งหมด คนทั้งหลายจึงตำหนิ
ประณาม โพนทะนาว่า “ภิกษุณีเหล่านี้เป็นภรรยาของภิกษุเหล่านี้ ภิกษุณีเหล่านี้เป็น
ชู้ของภิกษุเหล่านี้ บัดนี้ภิกษุและภิกษุณีเหล่านี้จะอภิรมย์กัน”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีสงฆ์ไม่พึงไปรับโอวาท(พร้อม
กัน)ทั้งหมด ถ้าไป(พร้อมกัน)ทั้งหมด ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
ให้ภิกษุณี ๔-๕ รูป ไปรับโอวาท”
สมัยนั้น ภิกษุณี ๔-๕ รูปไปรับโอวาท คนทั้งหลายจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนา
ว่า “ภิกษุณีเหล่านี้เป็นภรรยาของภิกษุทั้งหลายเหล่านี้ ภิกษุณีเหล่านี้เป็นชู้ของภิกษุ
เหล่านี้ บัดนี้ภิกษุและภิกษุณีเหล่านี้จะอภิรมย์กัน”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงไปรับโอวาท ๔-๕ รูป
ถ้าพวกเธอไป ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุณี ๒-๓ รูป
ไปรับโอวาท”

วิธีรับโอวาทของภิกษุณี
ภิกษุณีทั้งหลายพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่งกราบเท้า
นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “พระคุณเจ้า ภิกษุณีสงฆ์กราบเท้าภิกษุสงฆ์
และขอเข้ารับโอวาท นัยว่า ภิกษุณีสงฆ์จงได้การเข้ารับโอวาท”

เชิงอรรถ :
๑ พึงปรับอาบัติตามธรรม หมายถึงปรับอาบัติปาจิตตีย์ ตามความแห่งสิกขาบทที่ ๙ แห่งอารามวรรค ที่
กำหนดให้ภิกษุณีทั้งหลายต้องเข้าไปถามอุโบสถและฟังโอวาทจากภิกษุทั้งหลายสงฆ์ทุกครึ่งเดือน (ดู วิ.ภิกฺขุนี. แปล
๓/๑๐๕๘/๒๘๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๓๓ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุผู้ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ
ภิกษุณีสงฆ์กราบเท้าภิกษุสงฆ์ และขอการเข้ารับโอวาท นัยว่า ภิกษุณีสงฆ์จงได้การ
เข้ารับโอวาท”
ภิกษุผู้ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงพึงถามว่า “ภิกษุบางรูปที่สงฆ์แต่งตั้งให้สอนภิกษุณี
มีอยู่หรือ”
ถ้าภิกษุบางรูปที่สงฆ์แต่งตั้งให้เป็นผู้สอนภิกษุณี มีอยู่ ภิกษุผู้ยกปาติโมกข์ขึ้น
แสดงพึงกล่าวว่า “ภิกษุชื่อนี้สงฆ์แต่งตั้งให้สอนภิกษุณี ภิกษุณีสงฆ์จงเข้าไปหาภิกษุนั้น”
ถ้าภิกษุบางรูปที่สงฆ์แต่งตั้งให้สอนภิกษุณีไม่มีอยู่ ภิกษุผู้ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง
พึงถามว่า “ท่านรูปใดสามารถสอนภิกษุณีได้เล่า” ถ้าภิกษุบางรูปสามารถกล่าวสอน
ภิกษุณีได้และมีคุณสมบัติ ๘ อย่าง ภิกษุผู้ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงพึงสวดแต่งตั้งแล้ว
ประกาศว่า “ภิกษุชื่อนี้สงฆ์แต่งตั้งให้เป็นผู้สอนภิกษุณี ภิกษุณีสงฆ์จงเข้าไปหาภิกษุนั้น”
ถ้าไม่มีใครสามารถจะสอนภิกษุณีได้ ภิกษุผู้ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง พึงบอกว่า
“ไม่มีรูปใดที่สงฆ์แต่งตั้งให้สอนภิกษุณี ภิกษุณีสงฆ์จงเป็นอยู่ด้วยอาการที่น่าเลื่อมใสเถิด”
[๔๑๔] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายไม่ยอมรับให้โอวาท ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้
ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายจะไม่รับให้โอวาทไม่ได้
รูปใดไม่รับ ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเป็นคนโง่เขลา ภิกษุณีทั้งหลายพากันไปหาภิกษุนั้น ได้
กล่าวดังนี้ว่า “พระคุณเจ้า ท่านโปรดรับให้โอวาท”
ภิกษุนั้นตอบว่า “น้องหญิงทั้งหลาย อาตมาเป็นคนโง่เขลา จะรับให้โอวาทได้
อย่างไรกัน”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๓๔ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
ภิกษุณีทั้งหลายกล่าวว่า “พระคุณเจ้า ท่านโปรดรับให้โอวาทเถิด เพราะพระ
ผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้อย่างนี้ว่า ภิกษุทั้งหลายพึงรับให้โอวาทแก่ภิกษุณีทั้งหลาย”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ยกเว้นภิกษุผู้โง่เขลา เราอนุญาตให้
ภิกษุทั้งหลายที่เหลือรับให้โอวาท”
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเป็นไข้ ภิกษุณีทั้งหลายพากันเข้าไปหาภิกษุนั้นแล้วได้
กล่าวดังนี้ว่า “พระคุณเจ้า ท่านโปรดรับให้โอวาท”
ภิกษุนั้นตอบว่า “น้องหญิงทั้งหลาย อาตมาเป็นไข้ จะรับให้โอวาทได้อย่างไรกัน”
ภิกษุณีทั้งหลายกล่าวว่า “พระคุณเจ้า ท่านโปรดรับให้โอวาทเถิด เพราะพระ
ผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า ยกเว้นภิกษุผู้โง่เขลา ภิกษุทั้งหลายที่เหลือพึงรับให้โอวาท”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ยกเว้นภิกษุผู้โง่เขลาและภิกษุเป็นไข้
เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายที่เหลือพึงรับให้โอวาท”
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งกำลังเตรียมจะเดินทาง ภิกษุณีทั้งหลายพากันเข้าไปหา
ภิกษุนั้นได้กล่าวดังนี้ว่า “พระคุณเจ้า ท่านโปรดรับให้โอวาท”
ภิกษุนั้นตอบว่า “น้องหญิงทั้งหลาย อาตมากำลังจะเดินทาง จะรับให้โอวาท
ได้อย่างไรกัน”
ภิกษุณีทั้งหลายกล่าวว่า “พระคุณเจ้า ท่านโปรดรับให้โอวาทเถิด เพราะพระ
ผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้อย่างนี้ว่า ยกเว้นภิกษุผู้โง่เขลาและภิกษุเป็นไข้ ภิกษุทั้งหลาย
ที่เหลือพึงรับให้โอวาท”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ยกเว้นภิกษุผู้โง่เขลา ภิกษุเป็นไข้และ
ภิกษุกำลังจะเดินทาง เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายที่เหลือรับให้โอวาท”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๓๕ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ในป่า ภิกษุณีทั้งหลายพากันเข้าไปหาภิกษุนั้น ได้
กล่าวดังนี้ว่า “พระคุณเจ้า ท่านโปรดรับให้โอวาท”
ภิกษุนั้นตอบว่า “น้องหญิงทั้งหลาย อาตมาอยู่ในป่า จะรับให้โอวาทได้อย่างไร
กัน”
ภิกษุณีทั้งหลายกล่าวว่า “พระคุณเจ้า ท่านโปรดรับให้โอวาทเถิด เพราะพระ
ผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้อย่างนี้ว่า ยกเว้นภิกษุโง่เขลา ภิกษุเป็นไข้และภิกษุผู้กำลัง
จะเดินทาง ภิกษุทั้งหลายที่เหลือพึงรับให้โอวาท”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้อยู่ป่ารับให้โอวาท
และนัดหมายว่า เราจะกลับมาในที่นั้น”
[๔๑๕] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายรับให้โอวาทแล้วไม่บอก(โอวาท) ภิกษุทั้งหลาย
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่บอกโอวาทไม่ได้ รูปใดไม่บอก
ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายรับให้โอวาทแล้วไม่ยอมกลับมาบอก(โอวาท) ภิกษุ
ทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่กลับมาบอกโอวาทไม่ได้ รูปใด
ไม่กลับมาบอก ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายไม่ไปที่นัดหมาย ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่ไปที่นัดหมายไม่ได้ รูปใด
ไม่ไป ต้องอาบัติทุกกฏ”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๓๖ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
เรื่องภิกษุณีรัดสีข้าง
[๔๑๖] สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายใช้ประคดเอวผืนยาว ภิกษุณีเหล่านั้นใช้ผ้านั้น
รัดสีข้าง คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ฯลฯ เหมือนหญิงคฤหัสถ์ผู้
บริโภคกาม”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงใช้ประคดเอวผืนยาว รูป
ใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตประคดเอวที่รัดได้รอบเดียวแก่
ภิกษุณี ภิกษุณีไม่พึงใช้ประคดเอวนั้นรัดสีข้าง รูปใดรัด ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายใช้แผ่นไม้สานรัดสีข้าง ใช้แผ่นหนังรัดสีข้าง ใช้แผ่นผ้า
ขาวรัดสีข้าง ใช้ช้องผ้ารัดสีข้าง ใช้เกลียวผ้ารัดสีข้าง ใช้ผ้าผืนเล็กรัดสีข้าง ใช้ช้อง
ผ้าผืนเล็กรัดสีข้าง ใช้เกลียวผ้าผืนเล็กรัดสีข้าง ใช้ช้องถักด้วยด้ายรัดสีข้าง ใช้เกลียว
ด้ายรัดสีข้าง
คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ฯลฯ เหมือนหญิงคฤหัสถ์ผู้บริโภค
กาม”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงใช้แผ่นไม้สานรัดสีข้าง ...
ไม่พึงใช้แผ่นหนังรัดสีข้าง ... ไม่พึงใช้แผ่นผ้าขาวรัดสีข้าง ... ไม่พึงใช้ช้องผ้ารัดสีข้าง ...
ไม่พึงใช้เกลียวผ้ารัดสีข้าง .... ไม่พึงใช้ผ้าผืนเล็กรัดสีข้าง ... ไม่พึงใช้ช้องผ้าผืนเล็กรัด
สีข้าง ... ไม่พึงใช้เกลียวผ้าผืนเล็กรัดสีข้าง ... ไม่พึงใช้ช้องถักด้วยด้ายรัดสีข้าง ... ไม่พึง
ใช้เกลียวด้ายรัดสีข้าง รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ”

เรื่องภิกษุณีนวดกาย
สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายใช้กระดูกแข้งโคขัดสีตะโพก ใช้ไม้มีสัณฐานดุจคางโค
นวดตะโพก นวดมือ นวดหลังมือ นวดเท้า นวดหลังเท้า นวดขาอ่อน นวดหน้า นวด


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๓๗ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
ริมฝีปาก คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ฯลฯ เหมือนหญิงคฤหัสถ์
ผู้บริโภคกาม”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงใช้กระดูกแข้งโคสีตะโพก
... ไม่พึงใช้ไม้มีสัณฐานดุจคางโคนวดตะโพก ... ไม่พึงนวดมือ ... ไม่พึงนวดหลังมือ ...
ไม่พึงนวดเท้า ... ไม่พึงนวดหลังเท้า ... ไม่พึงนวดขาอ่อน ... ไม่พึงนวดหน้า ... ไม่
พึงนวดริมฝีปาก รูปใดนวด ต้องอาบัติทุกกฏ”

เรื่องภิกษุณีทาหน้า
[๔๑๗] สมัยนั้น พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ทาหน้า ... ถูหน้า ... ผัดหน้า ... เจิมหน้า
ด้วยมโนศิลา ... ย้อมตัว ... ย้อมหน้า ... ย้อมทั้งตัวและหน้า
คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ฯลฯ เหมือนหญิงคฤหัสถ์ผู้
บริโภคกาม”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงทาหน้า ... ไม่พึงถูหน้า
... ไม่พึงผัดหน้า ... ไม่เจิมหน้าด้วยมโนศิลา ... ไม่พึงย้อมตัว ... ไม่พึงย้อมหน้า
... ไม่พึงย้อมทั้งตัวและหน้า รูปใดทำ ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายแต้มหน้า ... ทาแก้ม .... เล่นหูเล่นตา ... ยืนแอบที่
ประตู .... ให้ผู้อื่นฟ้อนรำ ... ตั้งสำนักหญิงแพศยา ... ตั้งร้านขายสุรา ... ตั้งร้านขายเนื้อ
ออกร้านขายของเบ็ดเตล็ด ... ประกอบการค้ากำไร ... ประกอบการค้าขาย ... ใช้ทาส
ให้ปรนนิบัติ ... ใช้ทาสีให้ปรนนิบัติ ... ใช้กรรมกรชายให้ปรนนิบัติ... ใช้กรรมกรหญิง
ให้ปรนนิบัติ... ใช้สัตว์ดิรัจฉานให้ปรนนิบัติ... ขายของสดและของสุก ... ใช้สันถัต
ขนเจียมหล่อ
คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ฯลฯ เหมือนหญิงคฤหัสถ์ผู้
บริโภคกาม”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๓๘ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีทั้งหลายไม่พึงแต้มหน้า ... ไม่
พึงทาแก้ม ... ไม่พึงเล่นหูเล่นตา ... ไม่พึงยืนแอบที่ประตู ... ไม่พึงให้ผู้อื่นฟ้อนรำ ...
ไม่พึงตั้งสำนักหญิงแพศยา ... ไม่พึงตั้งร้านขายสุรา ... ไม่พึงตั้งร้านขายเนื้อ ... ไม่พึง
ออกร้านขายของเบ็ดเตล็ด ... ไม่พึงประกอบการค้ากำไร ... ไม่พึงประกอบการค้าขาย
... ไม่พึงใช้ทาสให้ปรนนิบัติ ... ไม่พึงใช้ทาสีให้ปรนนิบัติ ... ไม่พึงใช้กรรมกรชายให้
ปรนนิบัติ ... ไม่พึงใช้กรรมกรหญิงให้ปรนนิบัติ ... ไม่พึงใช้สัตว์ดิรัจฉานให้ปรนนิบัติ ...
ไม่พึงขายของสดและของสุก ... ไม่พึงใช้สันถัตขนเจียมหล่อ รูปใดใช้ ต้องอาบัติ
ทุกกฏ”

เรื่องภิกษุณีใช้จีวรสีเขียวล้วน
[๔๑๘] สมัยนั้น พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ห่มจีวรสีเขียวล้วน ... ห่มจีวรสีเหลือง
ล้วน ... ห่มจีวรสีแดงล้วน ... ห่มจีวรสีบานเย็นล้วน ... ห่มจีวรสีดำล้วน ... ห่มจีวร
สีแสด ... ห่มจีวรสีชมพู ... ห่มจีวรไม่ตัดชาย ... ห่มจีวรมีชายยาว ... ห่มจีวรมีชาย
เป็นลายดอกไม้ ...ห่มจีวรมีชายเป็นแผ่น ... สวมเสื้อ ... สวมหมวก
คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ฯลฯ เหมือนหญิงคฤหัสถ์ผู้
บริโภคกาม”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงห่มจีวรสีเขียวล้วน ... ไม่
พึงห่มจีวรสีเหลืองล้วน ... ไม่พึงห่มจีวรสีแดงล้วน ... ไม่พึงจีวรสีบานเย็นล้วน
... ไม่พึงห่มจีวรสีดำล้วน ... ไม่พึงห่มจีวรสีแสดล้วน ... ไม่พึงห่มจีวรสีชมพูล้วน ...
ไม่พึงห่มจีวรไม่ตัดชาย ... ไม่พึงห่มจีวรมีชายยาว ... ไม่พึงห่มจีวรมีชายเป็นลาย ดอกไม้
... ไม่พึงห่มจีวรมีชายเป็นแผ่น ... ไม่พึงสวมเสื้อ ... ไม่พึงสวมหมวก รูปใดสวม
ต้องอาบัติทุกกฏ”

เรื่องพินัยกรรมของภิกษุณีสงฆ์
[๔๑๙] สมัยนั้น ภิกษุณีรูปหนึ่ง กำลังจะมรณภาพ สั่งอย่างนี้ว่า “เมื่อดิฉัน
ล่วงลับไป บริขารของดิฉันจงเป็นของสงฆ์” บรรดาสหธรรมิกเหล่านั้น ภิกษุทั้งหลาย


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๓๙ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
กับภิกษุณีทั้งหลายโต้เถียงกันว่า “บริขารต้องเป็นของพวกเรา บริขารต้องเป็นของ
พวกเรา”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุณีกำลังจะมรณภาพสั่งอย่าง
นี้ว่า ‘เมื่อดิฉันล่วงลับไป บริขารของดิฉันจงเป็นของสงฆ์’ ภิกษุสงฆ์ไม่เป็นใหญ่ใน
บริขารนั้น บริขารนั้นตกเป็นของภิกษุณีสงฆ์ฝ่ายเดียว
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าสิกขมานากำลังจะมรณภาพ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าสามเณรีกำลังจะมรณภาพ สั่งอย่างนี้ว่า ‘‘เมื่อดิฉันล่วงลับไป
บริขารของดิฉันจงเป็นของสงฆ์’ ภิกษุสงฆ์ไม่เป็นใหญ่ในบริขารนั้น บริขารนั้นตกเป็น
ของภิกษุณีสงฆ์ฝ่ายเดียว
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุกำลังจะมรณภาพ สั่งอย่างนี้ว่า ‘เมื่อเราล่วงลับไป
บริขารของเราจงเป็นของสงฆ์’ ภิกษุณีสงฆ์ไม่เป็นใหญ่ในบริขารนั้น บริขารนั้นตกเป็น
ของภิกษุสงฆ์ฝายเดียว
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าสามเณรกำลังจะมรณภาพ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอุบาสกกำลังจะตาย ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอุบาสิกากำลังจะตาย ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าผู้อื่น(นอกเหนือจากนี้)กำลังจะตาย สั่งอย่างนี้ว่า ‘เมื่อเรา
ล่วงลับไป บริขารของเราจงเป็นของสงฆ์’ ภิกษุณีสงฆ์ไม่เป็นใหญ่ในบริขารนั้น บริขาร
ตกเป็นของภิกษุสงฆ์ฝ่ายเดียว”

เรื่องภิกษุณีใช้ไหล่กระแทกภิกษุ
[๔๒๐] สมัยนั้น สตรีคนหนึ่งเป็นอดีตภรรยาของนักมวย บวชในสำนักภิกษุณี
นางเห็นภิกษุทุพพลภาพที่ถนน จึงใช้ไหล่กระแทกให้เซ ภิกษุทั้งหลายตำหนิ ประณาม
โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุณีเห็นภิกษุทุพพลภาพที่ถนน จึงใช้ไหล่กระแทกให้เซเล่า”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๔๐ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงใช้ไหล่กระแทกภิกษุ รูป
ใดใช้ไหล่กระแทก ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตภิกษุณีเห็นภิกษุแล้ว
หลีกทางให้แต่ไกล”

เรื่องภิกษุณีใช้บาตรใส่ทารก
สมัยนั้น หญิงคนหนึ่งเป็นแม่ม่ายผัวร้าง ได้มีครรภ์กับชายชู้ นางทำแท้งแล้ว
ใช้ภิกษุณีผู้ที่ตนอุปถัมภ์ว่า “แม่เจ้า ท่านโปรดใช้บาตรใส่ทารกนี้ไป” ภิกษุณีวางทารก
ในบาตรแล้วใช้สังฆาฏิปิดเดินไป
สมัยนั้น ภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาตรูปหนึ่ง ตั้งใจสมาทานว่า “เรายังไม่ให้อาหาร
ที่ได้มาแก่ภิกษุหรือภิกษุณีก่อนแล้วจะไม่ยอมฉัน”
ลำดับนั้น ภิกษุนั้นได้พบภิกษุณีรูปนั้นจึงกล่าวว่า “น้องหญิงเชิญท่านรับอาหารเถิด”
นางปฏิเสธว่า “อย่าเลย พระคุณเจ้า”
แม้ครั้งที่ ๒ ภิกษุรูปนั้นก็ยังกล่าวกับภิกษุณีนั้นดังนี้ว่า “น้องหญิง เชิญท่าน
รับอาหารเถิด” นางปฏิเสธว่า “อย่าเลย พระคุณเจ้า”
แม้ครั้งที่ ๓ ภิกษุรูปนั้นก็ยังกล่าวกับภิกษุณีนั้นดังนี้ว่า “น้องหญิง เชิญท่าน
รับอาหารเถิด” นางปฏิเสธว่า “อย่าเลย พระคุณเจ้า”
ภิกษุนั้นบอกว่า “อาตมาตั้งใจสมาทานว่า ‘ยังไม่ให้อาหารที่ได้มาแก่ภิกษุหรือ
ภิกษุณีก่อนแล้วเราจะไม่ยอมฉัน’ เชิญท่านรับเถิด”
ครั้งนั้น ภิกษุณีนั้นถูกภิกษุนั้นรบเร้าจึงนำบาตรออกให้ดู บอกว่า “พระคุณเจ้า
ท่านจงดูทารกในบาตร ท่านอย่าบอกใครนะ”
ภิกษุจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุณีใช้บาตรใส่ทารกนำออกไป
เล่า” แล้วนำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ
บรรดาภิกษุผู้มักน้อยตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุณีใช้บาตรใส่
ทารกนำออกไปเล่า”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๔๑ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงใช้บาตรใส่ทารกนำไป
รูปใดใส่ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตภิกษุณีพบภิกษุแล้วให้นำบาตร
ออกแสดง”

เรื่องภิกษุณีแสดงก้นบาตร
สมัยนั้น พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์พบภิกษุแล้วพลิกให้ดูก้นบาตร ภิกษุทั้งหลาย
ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์พบภิกษุแล้วพลิกให้ดูก้น
บาตรเล่า”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีพบภิกษุแล้วไม่พึงพลิกให้ดูก้น
บาตร รูปใดแสดง ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตภิกษุณีเมื่อพบภิกษุ
แล้วหงายบาตรแสดง และนิมนต์ภิกษุรับอาหารที่มีในบาตรนั้น”

เรื่องภิกษุณีเพ่งดูอวัยวะเพศบุรุษ
สมัยนั้น เขาทิ้งองคชาตของบุรุษไว้ที่ถนนในกรุงสาวัตถี ภิกษุณีทั้งหลายเพ่งดู
อวัยวะเพศของบุรุษนั้น คนทั้งหลายพากันโห่ ภิกษุณีเหล่านั้นเก้อเขิน ครั้นภิกษุณี
เหล่านั้นกลับถึงสำนัก ได้บอกเรื่องนั้นให้ภิกษุณีทั้งหลายอื่นทราบ บรรดาภิกษุณี
ผู้มักน้อยตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงเพ่งดูอวัยวะเพศของ
บุรุษเล่า”
ครั้งนั้นแล ภิกษุณีทั้งหลายเหล่านั้นบอกเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงเพ่งดูอวัยวะเพศของบุรุษ
รูปใดเพ่งดู ต้องอาบัติทุกกฏ”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๔๒ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
เรื่องภิกษุให้อามิส
[๔๒๑] สมัยนั้น คนทั้งหลายถวายอามิสแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายให้
อามิสแก่ภิกษุณีทั้งหลาย คนทั้งหลายจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนอามิส
ที่เขาถวายให้ตนฉัน พวกพระคุณเจ้าจึงให้แก่ผู้อื่นเล่า พวกเราไม่รู้จักให้ทานเองหรือ”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย อามิสที่เขาให้ตนฉัน ภิกษุไม่พึงให้
แก่ ผู้อื่น รูปใดให้ ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายมีอามิสมาก ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระ
ผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถวายแก่สงฆ์”
อามิสก็ยังมีเหลือเฟือ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถวายเป็นของส่วนบุคคล
ได้”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเก็บอามิสไว้มาก ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุณีทั้งหลายรับ
อามิสที่ภิกษุทั้งหลายเก็บไว้มาบริโภคได้”
สมัยนั้น ชาวบ้านถวายอามิสแก่ภิกษุณีทั้งหลาย ภิกษุณีทั้งหลายจึงถวายแก่
ภิกษุทั้งหลาย
คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนอามิสที่เขาถวายให้ตนฉัน
ภิกษุณีทั้งหลายจึงให้แก่ผู้อื่นเล่า พวกเราไม่รู้จักให้ทานเองหรือ”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๔๓ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย อามิสที่เขาให้ตนฉัน ภิกษุณีไม่พึงให้
แก่ผู้อื่น รูปใดให้ ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายมีอามิสมาก ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถวายสงฆ์”
อามิสก็ยังมีเหลือเฟือ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถวายเป็นของส่วนบุคคล
ได้”
สมัยนั้น อามิสที่ภิกษุณีทั้งหลายเก็บไว้มีมาก ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายรับอามิส
ที่ภิกษุณีทั้งหลายเก็บไว้มาฉันได้”

เรื่องภิกษุณียืมเสนาสนะ
[๔๒๒] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายมีเสนาสนะจำนวนมาก แต่ภิกษุณีทั้งหลายไม่มี
ภิกษุณีทั้งหลายจึงส่งทูตไปขอว่า “ท่านผู้เจริญ ขอโอกาสเถิด ขอพระคุณเจ้าทั้งหลาย
จงให้พวกดิฉันยืมเสนาสนะ”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุณีทั้งหลายนำ
เสนาสนะไปใช้ได้ชั่วคราว”

เรื่องผ้านุ่งของภิกษุณี
สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายมีระดู นั่งบ้าง นอนบ้างบนเตียงที่บุไว้ บนตั่งที่บุไว้
เสนาสนะเปื้อนโลหิต


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๔๔ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงนั่ง ไม่พึงนอนบนเตียง
ที่บุไว้ รูปใดนั่งหรือนอน ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้าผลัด
เปลี่ยน”
ผ้าผลัดเปลี่ยนเปื้อนโลหิต ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค
ให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้าซับใน”
ผ้าซับในหลุด ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้เชือกผูกไว้ที่ขาอ่อน”
เชือกขาด ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเชือกฟั่นผูกสะเอว”
สมัยนั้น พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ใช้เชือกฟั่นผูกสะเอวตลอดเวลา คนทั้งหลายตำหนิ
ประณาม โพนทะนาว่า “เหมือนหญิงคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงใช้เชือกผูกสะเอว
ตลอดเวลา รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเชือกฟั่นผูกสะเอว
แก่ภิกษุณี ที่มีระดู”
ทุติยภาณวาร จบ

๓. ตติยภาณวาร
เรื่องอันตรายิกธรรมของภิกษุณี
[๔๒๓] สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายที่อุปสมบทแล้วปรากฏว่าไม่มีเครื่องหมาย
เพศบ้าง สักแต่ว่ามีเครื่องหมายเพศบ้าง ไม่มีประจำเดือนบ้าง มีประจำเดือนไม่


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๔๕ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
หยุดบ้าง ใช้ผ้าซับเสมอบ้าง เป็นคนไหลซึมบ้าง มีเดือยบ้าง เป็นบัณเฑาะก์หญิงบ้าง
มีลักษณะคล้ายชายบ้าง มีทวารหนักทวารเบาติดกันบ้าง มีสองเพศ(อุภโตพยัญชนก)
บ้าง ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สอบถามอันตรายิกธรรม
๒๔ ประการกับสตรีผู้จะอุปสมบท
ภิกษุทั้งหลาย พึงสอบถามอย่างนี้

วิธีสอบถามอันตรายิกธรรม
เธอไม่ใช่ผู้ไม่มีเครื่องหมายเพศหรือ ไม่ใช่สักแต่ว่ามีเครื่องหมายเพศหรือ ไม่ใช่
ผู้ไม่มีประจำเดือนหรือ ไม่ใช่ผู้มีประจำเดือนไม่หยุดหรือ ไม่ใช่ผู้ใช้ผ้าซับเสมอหรือ
ไม่ใช่คนไหลซึมหรือ ไม่ใช่ผู้มีเดือยหรือ ไม่ใช่เป็นบัณเฑาะก์หญิงหรือ ไม่ใช่ผู้มี
ลักษณะคล้ายชายหรือ ไม่ใช่ผู้มีทวารหนักทวารเบาติดกันหรือ ไม่ใช่คนสองเพศหรือ
เธอมีโรคเหล่านี้หรือไม่ คือ โรคเรื้อน โรคฝี โรคกลาก โรคมองคร่อ โรคลมบ้าหมู
เธอเป็นมนุษย์หรือ เธอเป็นหญิงหรือ เธอเป็นไทหรือ เธอไม่มีหนี้สินหรือ เธอไม่เป็น
ราชภัฏหรือ มารดาบิดาหรือสามีอนุญาตแล้วหรือ มีอายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์แล้ว
หรือ เธอมีบาตรและจีวรครบแล้วหรือ เธอชื่ออะไร ปวัตตินี๑ของเธอชื่ออะไร
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายกำลังถามอันตรายิกธรรมของภิกษุณีทั้งหลาย สตรี
อุปสัมปทาเปกขา(ผู้มุ่งจะอุปสมบท)ย่อมกระดากอายเก้อเขิน ไม่สามารถตอบได้
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สตรีอุปสัมปทาเปกขา
ผู้อุปสมบทแล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์ในภิกษุณีสงฆ์แล้ว ไปอุปสมบทในฝ่าย
ภิกษุสงฆ์ได้”๒

เชิงอรรถ :
๑ ปวัตตินี คือ ภิกษุณีทั้งหลายผู้เป็นอุปัชฌาย์
๒ ผู้จะเป็นภิกษุณีทั้งหลายต้องบวชจากสงฆ์ ๒ ฝ่าย คือ ฝ่ายภิกษุณีสงฆ์และฝ่ายภิกษุสงฆ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๔๖ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายสอบถามอันตรายิกธรรมสตรีอุปสัมปทาเปกขาผู้ยัง
ไม่ได้รับการสอนซ้อม พวกเธอย่อมกระดากอายเก้อเขินไม่สามารถตอบได้
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สอนซ้อมก่อนแล้วสอบ
ถามอันตรายิกธรรมภายหลัง
ภิกษุณีทั้งหลายได้สอนซ้อมท่ามกลางสงฆ์นั่นเอง สตรีอุปสัมปทาเปกขาก็ยัง
กระดากอายเก้อเขิน ไม่สามารถตอบได้เหมือนเดิม
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สอนซ้อมกันได้ในที่สมควร
แล้วจึงสอบถามอันตรายิกธรรมท่ามกลางสงฆ์
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีทั้งหลายพึงสอนซ้อมอย่างนี้

คำบอกบาตรและจีวร
[๔๒๔] ในเบื้องต้น พึงให้อุปสัมปทาเปกขาถืออุปัชฌาย์ ครั้นให้ถืออุปัชฌาย์
แล้วพึงบอกบาตรและจีวรว่า “นี้บาตร นี้สังฆาฏิ นี้อุตตราสงค์ นี้อันตรวาสก นี้ผ้า
รัดถัน นี้ผ้าอาบน้ำของเธอ เธอจงออกไปยืนที่โน้น”

เรื่องภิกษุณีโง่เขลาสอนซ้อม
ภิกษุณีทั้งหลายผู้โง่เขลาไม่ฉลาดสอนซ้อม สตรีอุปสัมปทาเปกขาได้รับการสอน
ซ้อมไม่ดีจึงสะทกสะท้านเก้อเขิน ไม่สามารถตอบได้
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีผู้โง่เขลาไม่ฉลาดไม่พึงสอนซ้อม
รูปใดสอนซ้อม ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุณีผู้ฉลาดสามารถ
สอนซ้อม”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๔๗ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
เรื่องภิกษุณียังไม่ได้รับการแต่งตั้งสอนซ้อม
ภิกษุณีทั้งหลายยังไม่ได้รับแต่งตั้งก็สอนซ้อม ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณียังไม่ได้รับแต่งตั้งไม่พึงสอนซ้อม
รูปใดสอนซ้อม ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุณีผู้ได้รับแต่งตั้ง
แล้วสอนซ้อม

วิธีแต่งตั้งตนและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีสงฆ์พึงแต่งตั้งอย่างนี้ ตนเองแต่งตั้งตนเองก็ได้ ภิกษุณี
อีกรูปหนึ่งแต่งตั้งภิกษุณีอีกรูปหนึ่งก็ได้
อย่างไรเล่า ชื่อว่าตนเองแต่งตั้งตนเอง คือ ภิกษุณีผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศ
ให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจาว่า
แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขาของแม่เจ้าชื่อนี้ ถ้า
สงฆ์พร้อมกันแล้ว ข้าพเจ้าชื่อนี้จะสอนซ้อมผู้มีชื่อนี้ อย่างนี้ ชื่อว่าตนเองแต่งตั้ง
ตนเอง

วิธีแต่งตั้งผู้อื่นและกรรมวาจา
อย่างไรเล่า ชื่อว่าภิกษุณีรูปหนึ่งแต่งตั้งภิกษุณีอีกรูปหนึ่ง คือ ภิกษุณีผู้ฉลาด
สามารถพึง ประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจาว่า
แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขาของแม่เจ้าชื่อนี้ ถ้า
สงฆ์พร้อมแล้ว ภิกษุณีทั้งหลายชื่อนี้พึงสอนซ้อมผู้มีชื่อนี้ อย่างนี้ ชื่อว่าภิกษุณีอื่น
แต่งตั้งภิกษุณีอื่น
ภิกษุณีผู้ได้รับแต่งตั้งแล้วนั้นพึงเข้าไปหาอุปสัมปทาเปกขาแล้ว กล่าวอย่างนี้
ว่า แน่ะผู้มีชื่อนี้ เธอฟังนะ นี้เป็นกาลสัตย์ กาลจริงของเธอ เมื่อภิกษุณีผู้สอน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๔๘ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
ซ้อมถามในท่ามกลางสงฆ์ถึงสิ่งที่เกิด สิ่งที่มี พึงบอกว่า “มี” ไม่มีก็พึงบอกว่า “ไม่มี”
เธออย่าสะทกสะท้าน อย่าเก้อเขิน ภิกษุณีผู้สอนซ้อมจักถามเจ้าอย่างนี้ว่า เธอไม่ใช่
ผู้ไม่มีเครื่องหมายเพศหรือ ไม่ใช่สักแต่ว่ามีเครื่องหมายเพศหรือ ไม่ใช่ผู้ไม่มีประจำ
เดือนหรือ ไม่ใช่ผู้มีประจำเดือนไม่หยุดหรือ ไม่ใช่ผู้ใช้ซับเสมอหรือ ไม่ใช่คนไหลซึม
หรือ ไม่ใช่ผู้มีเดือยหรือ ไม่ใช่เป็นบัณเฑาะก์หญิงหรือ ไม่ใช่ผู้มีลักษณะคล้ายชาย
หรือ ไม่ใช่ผู้มีทวารหนักทวารเบาติดกันหรือ ไม่ใช่คนสองเพศหรือ อาพาธเหล่านี้ ของ
เธอมีอยู่หรือ คือ โรคเรื้อน โรคฝี โรคกลาก โรคมองคร่อ โรคลมบ้าหมู เธอเป็น
มนุษย์หรือ เธอเป็นหญิงหรือ เธอเป็นไทหรือ เธอไม่มีหนี้สินหรือ เธอไม่เป็นราชภัฏ
หรือ บิดามารดาหรือสามีอนุญาตเธอแล้วหรือ เธอมีอายุครบ ๒๐ ปีแล้วหรือ เธอ
มีบาตรจีวรครบแล้วหรือ เธอชื่ออะไร ปวัตตินีของเธอชื่ออะไร

เรื่องห้ามผู้สอนซ้อมกับอุปสัมปทาเปกขาเดินมาพร้อมกัน
ภิกษุณีผู้สอนซ้อมกับสิกขมานาอุปสัมปทาเปกขาเดินมาพร้อมกัน พระผู้มี
พระภาครับสั่งว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีผู้สอนซ้อมกับอุปสัมปทาเปกขา ไม่พึงเดิน
มาพร้อมกัน ภิกษุณีผู้สอนซ้อมพึงเดินมาก่อน แล้วประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติ
กรรมวาจาว่า
แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขาของแม่เจ้าชื่อนี้ ดิฉัน
สอนซ้อมเธอแล้ว ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว ผู้มีชื่อนี้พึงเข้ามาได้
พึงเรียกอุปสัมปทาเปกขาว่า “เธอจงเข้ามาเถิด”

คำขออุปสมบทต่อภิกษุณีสงฆ์
พึงให้อุปสัมปทาเปกขาห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุณีทั้งหลาย
นั่งกระโหย่งประนมมือ ขออุปสมบทว่า
แม่เจ้า ดิฉันขออุปสมบทต่อสงฆ์ สงฆ์โปรดช่วยอนุเคราะห์ยกดิฉันขึ้นเถิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๔๙ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
แม่เจ้า ดิฉันขออุปสมบทต่อสงฆ์ เป็นครั้งที่ ๒ สงฆ์โปรดช่วยอนุเคราะห์ยก
ดิฉันขึ้นเถิด
แม่เจ้า ดิฉันขออุปสมบทต่อสงฆ์ เป็นครั้งที่ ๓ สงฆ์โปรดช่วยอนุเคราะห์ยก
ดิฉันขึ้นเถิด

คำแต่งตั้งตนเพื่อถามอันตรายิกธรรม
ภิกษุณีผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจาว่า
แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขาของแม่เจ้าชื่อนี้ ถ้า
สงฆ์พร้อมกันแล้ว ข้าพเจ้าพึงถามอันตรายิกธรรมกับผู้มีชื่อนี้ดังนี้
แน่ะผู้มีชื่อนี้ เธอฟังนะ นี้เป็นกาลสัตย์ กาลจริงของเธอ เราจะถามถึงสิ่งที่เกิด
สิ่งที่มี พึงบอกว่า “มี” ไม่มีก็พึงบอกว่า “ไม่มี” เธอไม่ใช่ผู้ไม่มีเครื่องหมายเพศหรือ
เธอไม่ใช่สักแต่ว่ามีเครื่องหมายเพศหรือ ฯลฯ เธอชื่ออะไร ปวัตตินีของเธอชื่ออะไร

ญัตติจตุตถกรรมอุปสัมปทา
ภิกษุณีผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า
[๔๒๕] แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขาของแม่เจ้า
ชื่อนี้ บริสุทธิ์จากอันตรายิกธรรม เธอมีบาตรและจีวรครบแล้ว ผู้มีชื่อนี้ขออุปสมบท
ต่อสงฆ์ มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว สงฆ์พึงให้ผู้มีชื่อนี้อุปสมบทมี
แม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี นี่เป็นญัตติ
แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขาของแม่เจ้าชื่อนี้บริสุทธิ์
จากอันตรายิกธรรมทั้งหลาย เธอมีบาตรและจีวรครบแล้ว ผู้มีชื่อนี้ขออุปสมบทต่อ
สงฆ์มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี สงฆ์ให้ผู้มีชื่อนี้อุปสมบทมีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี
แม่เจ้ารูปใด เห็นด้วยกับการให้ผู้มีชื่อนี้อุปสมบทมีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี แม่เจ้ารูป
นั้นพึงนิ่ง แม่เจ้ารูปใดไม่เห็นด้วย แม่เจ้ารูปนั้นพึงทักท้วง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๕๐ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้าก็กล่าวความนี้ ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้าก็กล่าวความนี้ แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้
เป็นอุปสัมปทาเปกขาของแม่เจ้าชื่อนี้ บริสุทธิ์จากอันตรายิกธรรมทั้งหลาย เธอมีบาตร
และจีวรครบแล้ว ผู้มีชื่อนี้ขออุปสมบทต่อสงฆ์มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี สงฆ์ให้ผู้มี
ชื่อนี้อุปสมบทมีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี แม่เจ้ารูปใดเห็นด้วยกับการให้ผู้มีชื่อนี้อุปสมบท
มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี แม่เจ้ารูปนั้นพึงนิ่ง แม่เจ้ารูปใดไม่เห็นด้วย แม่เจ้ารูปนั้น
พึงทักท้วง
ผู้มีชื่อนี้ สงฆ์ให้อุปสมบทแล้วมีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี สงฆ์เห็นด้วย เพราะ
ฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
หลังจากนั้น ภิกษุณีพึงพาเธอเข้าไปหาภิกษุสงฆ์ ให้ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่า
ข้างหนึ่งให้กราบเท้าภิกษุทั้งหลาย แล้วให้นั่งกระโหย่ง ประนมมือ ให้กล่าวคำขอ
อุปสมบทว่า

คำขออุปสมบทต่อภิกษุสงฆ์
พระคุณเจ้าทั้งหลาย ดิฉันชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขาของแม่เจ้าชื่อนี้ อุปสมบท
แล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์แล้วในภิกษุณีสงฆ์ พระคุณเจ้าทั้งหลาย ดิฉันขอ
อุปสมบทต่อสงฆ์ สงฆ์โปรดอนุเคราะห์ยกดิฉันขึ้นด้วยเถิด
พระคุณเจ้าทั้งหลาย ดิฉันชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขาของแม่เจ้าชื่อนี้ อุปสมบท
แล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์แล้วในภิกษุณีสงฆ์ พระคุณเจ้าทั้งหลาย ดิฉันขอ
อุปสมบทต่อสงฆ์ เป็นครั้งที่ ๒ ขอสงฆ์โปรดอนุเคราะห์ยกดิฉันขึ้นเถิด
พระคุณเจ้าทั้งหลาย ดิฉันชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขาของแม่เจ้าชื่อนี้ อุปสมบท
แล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์แล้วในภิกษุณีสงฆ์ พระคุณเจ้าทั้งหลาย ดิฉันขอ
อุปสมบทต่อสงฆ์ เป็นครั้งที่ ๓ ขอสงฆ์โปรดอนุเคราะห์ยกดิฉันขึ้นเถิด


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๕๑ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
ญัตติจตุตถกรรมอุปสัมปทา
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขาของแม่เจ้าชื่อนี้
อุปสมบทแล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์ในภิกษุณีสงฆ์ ผู้มีชื่อนี้ขออุปสมบทต่อสงฆ์
มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงให้ผู้มีชื่อนี้อุปสมบทมีแม่เจ้าชื่อนี้
เป็นปวัตตินี นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขาของแม่เจ้าชื่อนี้
อุปสมบทแล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์ในภิกษุณีสงฆ์ ผู้มีชื่อนี้ขออุปสมบทต่อสงฆ์
มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี สงฆ์ให้ผู้มีชื่อนี้อุปสมบทมีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี ท่าน
รูปใดเห็นด้วยกับการให้ผู้มีชื่อนี้อุปสมบทมีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง
ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้าก็กล่าวความนี้ ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้าก็กล่าวความนี้ ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มี
ชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขาของแม่เจ้าชื่อนี้ อุปสมบทแล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์ใน
ภิกษุณีสงฆ์ ผู้มีชื่อนี้ขออุปสมบทต่อสงฆ์มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี สงฆ์ให้ผู้มีชื่อนี้
อุปสมบทมีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการให้ผู้มีชื่อนี้อุปสมบทมี
แม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
ผู้มีชื่อนี้ สงฆ์ให้อุปสมบทแล้วมีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี สงฆ์เห็นด้วย เพราะ
ฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๕๒ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
เรื่องการวัดเงาเป็นต้น
ขณะนั้นแหละ พึงวัดเงาแดด บอกประมาณแห่งฤดู บอกส่วนแห่งวัน บอก
สังคีติ๑ สั่งภิกษุณีทั้งหลายว่า “พวกเธอพึง บอกนิสสัย ๓ และอกรณียกิจ ๘ แก่
ภิกษุณีนี้”๒
อุปสมบทวิธี จบ
[๔๒๖] สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายโยกย้ายที่นั่งในโรงฉันจนล่วงเวลา ภิกษุ
ทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตตามลำดับพรรษาสำหรับ
ภิกษุณี ๘ รูป ภิกษุณีที่เหลืออนุญาตตามลำดับที่มา”
สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายปรึกษากันว่า พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตตาม
ลำดับพรรษาสำหรับภิกษุณีทั้งหลาย ๘ รูป ภิกษุณีที่เหลืออนุญาตตามลำดับที่มา”
จึงกัน ที่ตามลำดับพรรษาไว้เฉพาะภิกษุณี ๘ รูปเท่านั้น ภิกษุณีที่เหลือกันไว้ตาม
ลำดับที่มาในที่ทุกแห่ง
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ในโรงฉัน เราอนุญาตตามลำดับพรรษา
สำหรับภิกษุณี ๘ รูป ภิกษุณีที่เหลืออนุญาตตามลำดับที่มา ภิกษุณีไม่พึงห้ามตาม
ลำดับพรรษาในที่อื่น รูปใดห้าม ต้องอาบัติทุกกฏ”

เชิงอรรถ :
๑ บอกสังคีติ หมายถึง บอกประชุมสงฆ์
๒ นิสสัย ๓ คือ (๑) เที่ยวบิณฑบาต (๒) ถือผ้าบังสุกุล (๓) ฉันยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า พระผู้มีพระภาค
ทรงห้ามภิกษุณีอยู่ป่า ภิกษุณีจึงไม่ต้องถือนิสสัยข้อว่า “อยู่โคนไม้” (ดูข้อ ๔๓๑ หน้า ๓๖๐-๓๖๑
ในเล่มนี้ )
อกรณียกิจ ๘ คือ ข้อที่ทรงห้ามไว้ ตามความในปาราชิกของภิกษุณีสงฆ์ ๘ สิกขาบท

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๕๓ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
เรื่องปวารณา
[๔๒๗] สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายไม่ปวารณากัน ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีจะไม่ปวารณาไม่ได้ รูปใดไม่
ปวารณา พึงปรับอาบัติตามธรรม”
สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายปวารณากันแล้วไม่ปวารณากับภิกษุสงฆ์ ภิกษุ
ทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีจะปวารณาด้วยตนเองแล้วไม่
ปวารณากับภิกษุสงฆ์ไม่ได้ รูปใดไม่ปวารณา พึงปรับอาบัติตามธรรม”
สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายปวารณาพร้อมกับภิกษุทั้งหลาย จึงเกิดชุลมุนขึ้น
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงปวารณาพร้อมกับภิกษุ
ทั้งหลาย รูปใดปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายปวารณาในเวลาก่อนภัตตาหาร ให้เวลาผ่านไป ภิกษุ
ทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุณีปวารณาในเวลา
หลังภัตตาหาร”
ภิกษุณีทั้งหลายเมื่อปวารณาในเวลาหลังภัตตาหาร ได้อยู่ในเวลาวิกาล ภิกษุ
ทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุณีปวารณากับภิกษุณี
สงฆ์ในวันนี้ พอวันรุ่งขึ้นปวารณากับภิกษุสงฆ์”
สมัยนั้น ภิกษุณีสงฆ์กำลังปวารณา เกิดชุลมุน ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูล พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๕๔ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แต่งตั้งภิกษุณีผู้ฉลาด
สามารถรูปหนึ่งเป็นตัวแทนภิกษุณีสงฆ์ให้ปวารณากับภิกษุสงฆ์”

วิธีแต่งตั้งและญัตติกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีสงฆ์พึงแต่งตั้งอย่างนี้ คือ ในเบื้องต้นพึงขอร้องภิกษุณี
จากนั้นภิกษุณีผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจาว่า
แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมแล้วพึงแต่งตั้งภิกษุณีชื่อนี้เป็นตัว
แทนภิกษุณีสงฆ์ให้ไปปวารณากับภิกษุสงฆ์ นี่เป็นญัตติ
แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์แต่งตั้งภิกษุณีชื่อนี้ให้ปวารณากับภิกษุสงฆ์
แทนภิกษุณีสงฆ์ แม่เจ้ารูปใดเห็นด้วยกับการแต่งตั้งภิกษุชื่อนี้เป็นตัวแทนภิกษุณีสงฆ์
ให้ไปปวารณากับภิกษุสงฆ์ แม่เจ้ารูปนั้นพึงนิ่ง แม่เจ้ารูปใดไม่เห็นด้วย แม่เจ้ารูปนั้น
พึงทักท้วง
ภิกษุณีชื่อนี้ สงฆ์แต่งตั้งเป็นตัวแทนภิกษุณีสงฆ์ให้ไปปวารณากับภิกษุสงฆ์ สงฆ์
เห็นด้วย เพราะเหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
ภิกษุณีผู้ได้รับแต่งตั้งแล้ว พึงพาภิกษุณีสงฆ์เข้าไปหาภิกษุสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์
เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุแล้วนั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า

คำปวารณา
พระคุณเจ้าทั้งหลาย ภิกษุณีสงฆ์ปวารณาต่อภิกษุสงฆ์ ด้วยได้เห็น ด้วยได้ยิน
หรือด้วยนึกสงสัย ขอพระคุณเจ้าทั้งหลายอาศัยความกรุณาตักเตือนภิกษุณีสงฆ์เถิด
ภิกษุณีสงฆ์เมื่อเห็น(โทษ)ก็จะแก้ไข
แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๕๕ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
แม้ครั้งที่ ๓ พระคุณเจ้าทั้งหลาย ภิกษุณีสงฆ์ปวารณาต่อภิกษุสงฆ์ ด้วยได้เห็น
ด้วยได้ยินหรือด้วยนึกสงสัย ขอพระคุณเจ้าทั้งหลายอาศัยความกรุณาตักเตือนภิกษุณี
สงฆ์เถิด ภิกษุณีสงฆ์เมื่อเห็น(โทษ)ก็จะแก้ไข

เรื่องการงดอุโบสถ
[๔๒๘] สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายงดอุโบสถ งดปวารณาแก่ภิกษุทั้งหลาย ทำการ
สอบถาม เริ่มอนุวาทาธิกรณ์ ขอโอกาส โจท ให้ภิกษุทั้งหลายให้การ
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงงดอุโบสถแก่ภิกษุ แม้
งดแล้วก็ไม่เป็นอันงด รูปที่งดต้องอาบัติทุกกฏ ไม่พึงงดปวารณาแก่ภิกษุ แม้งด
แล้วก็ไม่เป็นอันงด รูปที่งดต้องอาบัติทุกกฏ ไม่พึงทำการสอบถาม แม้ทำก็ไม่เป็น
อันทำ รูปที่ทำต้องอาบัติทุกกฏ ไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์แก่ภิกษุ แม้เริ่มก็ไม่เป็น
อันเริ่ม รูปที่เริ่มต้องอาบัติทุกกฏ ไม่พึงขอโอกาสภิกษุ แม้ขอแล้วก็ไม่เป็นอันขอ
รูปที่ขอต้องอาบัติทุกกฏ ไม่พึงโจทภิกษุ แม้โจทก็ไม่เป็นอันโจท รูปที่โจทต้องอาบัติ
ทุกกฏ ไม่พึงให้ภิกษุให้การ แม้ให้ภิกษุให้การแล้วก็ไม่เป็นอันให้การ รูปที่ให้ภิกษุ
ให้การ ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายงดอุโบสถ งดปวารณาแก่ภิกษุณีทั้งหลาย ทำการ
สอบถาม เริ่มอนุวาทาธิกรณ์ ขอโอกาส โจท ให้ภิกษุณีให้การ
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุงดอุโบสถแก่ภิกษุณี
แม้งดแล้วก็เป็นอันงด รูปที่งดไม่ต้องอาบัติ ให้งดปวารณาแก่ภิกษุณี แม้งดแล้วก็
เป็นอันงดดีแล้ว รูปที่งดไม่ต้องอาบัติ ให้ทำการสอบถาม แม้ทำแล้วก็เป็นอันทำดี
แล้ว รูปที่ทำไม่ต้องอาบัติ ให้เริ่มอนุวาทาธิกรณ์แก่ภิกษุณี แม้เริ่มแล้วก็เป็นอัน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๕๖ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
เริ่มดีแล้ว รูปที่เริ่มไม่ต้องอาบัติ ให้ขอโอกาสภิกษุณี แม้ขอแล้วก็เป็นอันขอดีแล้ว
รูปที่ขอก็ไม่ต้องอาบัติ ให้โจทภิกษุณี แม้โจทแล้วก็เป็นอันโจทดีแล้ว รูปที่โจทไม่ต้อง
อาบัติ ให้ภิกษุณีให้การ แม้ให้ภิกษุณีให้การแล้วก็เป็นอันทำดีแล้ว รูปที่ให้ภิกษุณี
ให้การก็ไม่ต้องอาบัติ

เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์โดยสารยานพาหนะ
[๔๒๙] สมัยนั้น พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ โดยสารยานพาหนะเทียมด้วยโค
เพศเมียมีบุรุษเป็นสารถีบ้าง เทียมด้วยโคเพศผู้มีสตรีเป็นสารถีบ้าง
คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “เหมือนชายหนุ่มหญิงสาวโดยสาร
ยานพาหนะไปเล่นน้ำในแม่น้ำคงคาและแม่น้ำมหี” ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงโดยสารยานพาหนะ
รูปใดโดยสาร พึงปรับอาบัติตามธรรม”
สมัยนั้น ภิกษุณีรูปหนึ่งเป็นไข้ไม่สามารถเดินได้ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุณีเป็นไข้ โดยสาร
ยานพาหนะได้”
สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายได้มีการสนทนากันดังนี้ว่า “ยานพาหนะที่ทรงอนุญาต
นั้น เทียมด้วยโคเพศเมียหรือเพศผู้” ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตยานพาหนะที่เทียมด้วย
โคเพศเมีย ยานพาหนะที่เทียมด้วยโคเพศผู้ ยานพาหนะที่ใช้มือลาก”๑

เชิงอรรถ :
๑ คนที่ลากยานพาหนะ จะเป็นบุรุษหรือสตรีก็ได้ (วิ.อ. ๓/๒๕๓/๑๖๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๕๗ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
เรื่องคานหาม
สมัยนั้น ภิกษุณีรูปหนึ่งไม่สบายอย่างหนัก เพราะยานพาหนะกระเทือน ภิกษุ
ทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตวอ(และ)เปลหาม”

เรื่องหญิงแพศยาชื่ออัฑฒกาสี
[๔๓๐] สมัยนั้น หญิงแพศยาชื่ออัฑฒกาสีบวชในสำนักภิกษุณี นางต้องการไป
กรุงสาวัตถี ด้วยคิดว่า “จะอุปสมบทในสำนักพระผู้มีพระภาค”
พวกนักเลงพอได้ฟังข่าวว่า “หญิงแพศยาชื่ออัฑฒกาสีจะเดินทางไปกรุงสาวัตถี”
จึงคอยดักแอบซุ่มอยู่ใกล้หนทาง
หญิงแพศยาอัฑฒกาสีได้ทราบว่า “มีพวกนักเลงแอบซุ่มอยู่ใกล้หนทาง” จึง
ส่งข่าวไปถึงพระผู้มีพระภาคว่า “ดิฉันต้องการจะอุปสมบท จะพึงปฏิบัติอย่างไร”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้อุปสมบทได้แม้โดยทูต”
ภิกษุทั้งหลายจึงให้ภิกษุณีอุปสมบทโดยมีภิกษุเป็นทูต ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่อง
นี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงให้ภิกษุณีอุปสมบทโดยมี
ภิกษุเป็นทูต รูปใดให้อุปสมบท ต้องอาบัติทุกกฏ”
ภิกษุทั้งหลายให้ภิกษุณีอุปสมบทโดยมีสิกขมานาเป็นทูต ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย
ให้ภิกษุณีอุปสมบทโดยมีสามเณรเป็นทูต ฯลฯ ภิกษุทั้งหลายใหัภิกษุณีอุปสมบทโดย
มีสามเณรีเป็นทูต ฯลฯ ภิกษุทั้งหลายให้ภิกษุณีอุปสมบทโดยมีภิกษุณีโง่เขลาไม่ฉลาด
เป็นทูต ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงให้ภิกษุณีอุปสมบท

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๕๘ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
โดยมีภิกษุณีโง่เขลาไม่ฉลาดเป็นทูต รูปใดให้อุปสมบท ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตให้ภิกษุณีอุปสมบทโดยมีภิกษุณีผู้ฉลาดสามารถเป็นทูต”
ภิกษุณีผู้เป็นทูตพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้า
ภิกษุทั้งหลายแล้วนั่งกระโหย่ง ประนมมือกล่าวว่า “พระคุณเจ้าทั้งหลาย ผู้มีชื่อนี้
เป็นอุปสัมปทาเปกขาของแม่เจ้าชื่อนี้ อุปสมบทแล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์ใน
ภิกษุณีสงฆ์ เธอมาไม่ได้เพราะมีอันตรายบางอย่าง พระคุณเจ้าทั้งหลาย ผู้มีชื่อนี้ขอ
อุปสมบทต่อสงฆ์ พระคุณเจ้าทั้งหลาย ขอสงฆ์โปรดอนุเคราะห์ยกเธอขึ้นเถิด
พระคุณเจ้าทั้งหลาย ผู้มีชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขาของแม่เจ้าชื่อนี้ อุปสมบท
แล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์ในภิกษุณีสงฆ์ เธอมาไม่ได้เพราะมีอันตรายบางอย่าง
พระคุณเจ้าทั้งหลาย แม้ครั้งที่ ๒ ผู้มีชื่อนี้จึงขออุปสมบทต่อสงฆ์ พระคุณเจ้าทั้งหลาย
ขอสงฆ์โปรดอนุเคราะห์ยกเธอขึ้นเถิด
พระคุณเจ้าทั้งหลาย ผู้มีชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขาของแม่เจ้าชื่อนี้ อุปสมบท
แล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์ในภิกษุณีสงฆ์ เธอมาไม่ได้เพราะมีอันตรายบางอย่าง
พระคุณเจ้าทั้งหลาย แม้ครั้งที่ ๓ ผู้มีชื่อนี้อุปสมบทต่อสงฆ์ พระคุณเจ้าทั้งหลาย
ขอสงฆ์โปรดอนุเคราะห์ยกเธอขึ้นเถิด

กรรมวาจาให้อุปสมบทด้วยทูต
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขาของแม่เจ้าชื่อนี้
อุปสมบทแล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์ในภิกษุณีสงฆ์ เธอมาไม่ได้เพราะมีอันตราย
บางอย่าง ผู้มีชื่อนี้ขออุปสมบทต่อสงฆ์มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี ถ้าสงฆ์พร้อมแล้ว
พึงให้ผู้มีชื่อนี้อุปสมบทมีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขาของแม่เจ้าชื่อนี้
อุปสมบทแล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์ในภิกษุณีสงฆ์ เธอมาไม่ได้เพราะมีอันตราย


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๕๙ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
บางอย่าง ผู้มีชื่อนี้จึงขออุปสมบทต่อสงฆ์มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี สงฆ์ให้ผู้มีชื่อนี้
อุปสมบทมีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการอุปสมบทของผู้มีชื่อนี้มี
แม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้าก็กล่าวความนี้ ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้าก็กล่าวความนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มี
ชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขาของแม่เจ้าชื่อนี้ อุปสมบทแล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์ใน
ภิกษุณีสงฆ์ เธอมาไม่ได้เพราะมีอันตรายบางอย่าง ผู้มีชื่อนี้จึงขออุปสมบทต่อสงฆ์มี
แม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี สงฆ์ให้ผู้มีชื่อนี้อุปสมบทมีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี ท่านรูปใด
เห็นด้วยกับการอุปสมบทของผู้มีชื่อนี้มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่าน
รูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
ผู้มีชื่อนี้ สงฆ์ให้อุปสมบทแล้วมีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี สงฆ์เห็นด้วย เพราะ
เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
ขณะนั้นแหละพึงวัดเงาแดด บอกประมาณฤดู ส่วนแห่งวัน บอกสังคีติ สั่ง
ภิกษุณีทั้งหลายว่า “พวกเธอพึงบอกนิสัย ๓ และอกรณียกิจ ๘ แก่ภิกษุณีนั้น”

เรื่องภิกษุณีทั้งหลายอยู่ป่า
[๔๓๑] สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายอยู่ในป่า ถูกพวกนักเลงทำมิดีมิร้าย ภิกษุ
ทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงอยู่ในป่า รูปใดอยู่ ต้อง
อาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น อุบาสกคนหนึ่งถวายโรงเก็บของแก่ภิกษุณีสงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึงนำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตโรงเก็บของ”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๖๐ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
โรงเก็บของไม่เพียงพอ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตที่อยู่”
ที่อยู่ไม่เพียงพอ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตนวกรรม”
นวกรรมไม่เพียงพอ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำเป็นของส่วนตัวได้”

เรื่องแต่งตั้งภิกษุณีให้เป็นเพื่อนภิกษุณีลูกอ่อน
[๔๓๒] สมัยนั้น สตรีคนหนึ่งมีครรภ์แล้วบวชในสำนักภิกษุณี เมื่อนางบวช
แล้วจึงคลอดบุตร ลำดับนั้น ภิกษุณีนั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า “เราจะปฏิบัติต่อเด็กนี้
อย่างไรดี”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เลี้ยงดูจนกว่าเด็กจะ
รู้เดียงสา”๑
ต่อมา ภิกษุณีนั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า “เราจะอยู่เพียงลำพังไม่ได้ ภิกษุณีอื่น
จะอยู่กับเด็กนี้ก็ไม่ได้ เราจะปฏิบัติอย่างไร”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แต่งตั้งภิกษุณีรูปหนึ่ง
แล้วมอบให้เป็นเพื่อนของภิกษุณีนั้น”

เชิงอรรถ :
๑ คือจนกว่า จะเคี้ยว จะกิน จะอาบน้ำ จะแต่งตัวได้ด้วยตนเอง (วิ.อ. ๓/๔๓๒/๔๑๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๖๑ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
วิธีแต่งตั้งและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีสงฆ์พึงแต่งตั้งอย่างนี้ คือ ในเบื้องต้น ต้องขอร้อง
ภิกษุณี จากนั้นภิกษุณีผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรม
วาจาว่า
แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมแล้วพึงแต่งตั้งภิกษุณีชื่อนี้ให้เป็น
เพื่อนของภิกษุณีชื่อนี้ นี่เป็นญัตติ
แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์แต่งตั้งภิกษุณีชื่อนี้ให้เป็นเพื่อนของภิกษุณี
ชื่อนี้ แม่เจ้ารูปใดเห็นด้วยกับการแต่งตั้งภิกษุณีชื่อนี้ให้เป็นเพื่อนของภิกษุณีชื่อนี้
แม่เจ้ารูปนั้นพึงนิ่ง แม่เจ้ารูปใดไม่เห็นด้วย แม่เจ้ารูปนั้นพึงทักท้วง
ภิกษุณีชื่อนี้สงฆ์แต่งตั้งให้เป็นเพื่อนของภิกษุณีผู้มีชื่อนี้แล้ว สงฆ์เห็นด้วย
เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
ต่อมา ภิกษุณีเพื่อนของนางได้มีความคิดกันดังนี้ว่า “เราจะปฏิบัติต่อเด็กนี้อย่างไรดี”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ปฏิบัติต่อเด็กนั้นเหมือน
ปฏิบัติต่อบุรุษอื่น โดยเว้นการนอนร่วมเรือน”
[๔๓๓] สมัยนั้น ภิกษุณีรูปหนึ่งต้องอาบัติหนัก กำลังประพฤติมานัต ลำดับ
นั้น ภิกษุณีนั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า “เราจะอยู่เพียงลำพังไม่ได้ ภิกษุณีอื่นจะอยู่กับ
เราก็ไม่ได้ เราจะพึงปฏิบัติอย่างไร”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แต่งตั้งภิกษุณีรูปหนึ่ง
แล้วมอบให้เป็นเพื่อนของภิกษุณีนั้น”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๖๒ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
วิธีแต่งตั้งและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีสงฆ์พึงแต่งตั้งอย่างนี้ ในเบื้องต้น ต้องขอร้องภิกษุณี
จากนั้นภิกษุณีผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมแล้วพึงแต่งตั้งภิกษุณีชื่อนี้ให้เป็น
เพื่อนของภิกษุณีผู้มีชื่อนี้ นี่เป็นญัตติ
แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์แต่งตั้งภิกษุณีชื่อนี้ให้เป็นเพื่อนของภิกษุณี
ผู้มีชื่อนี้ แม่เจ้ารูปใดเห็นด้วยกับการแต่งตั้งภิกษุณีชื่อนี้ให้เป็นเพื่อนของภิกษุณีชื่อนี้
แม่เจ้ารูปนั้นพึงนิ่ง แม่เจ้ารูปใดไม่เห็นด้วย แม่เจ้ารูปนั้นพึงทักท้วง
ภิกษุณีชื่อนี้ สงฆ์แต่งตั้งให้เป็นเพื่อนของภิกษุณีผู้มีชื่อนี้แล้ว สงฆ์เห็นด้วย
เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้

เรื่องภิกษุณีไม่บอกคืนสิกขา
[๔๓๔] สมัยนั้น ภิกษุณีรูปหนึ่งไม่บอกคืนสิกขา สึกออกไปแล้ว นางกลับมา
ขออุปสมบทกับภิกษุณีทั้งหลายอีก
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่จำเป็นต้องบอกคืนสิกขา
พอสึกก็ไม่เป็นภิกษุณีแล้ว”

เรื่องภิกษุณีเข้ารีตเดียรถีย์
สมัยนั้น ภิกษุณีรูปหนึ่งครองผ้ากาสายะไปเข้ารีตเดียรถีย์ นางกลับมาขอ
อุปสมบทกับภิกษุณีทั้งหลายอีก
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีรูปใดครองผ้ากาสายะไปเข้า
รีตเดียรถีย์ ภิกษุณีรูปนั้นมาแล้ว ไม่พึงให้อุปสมบท”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๖๓ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายยำเกรงอยู่ จึงไม่ยินดีการกราบ การปลงผม การ
ตัดเล็บ การรักษาแผลจากพวกบุรุษ
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ยินดีได้”

เรื่องภิกษุณีนั่งขัดสมาธิยินดีการสัมผัสส้นเท้า
[๔๓๕] สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายนั่งขัดสมาธิ ยินดีสัมผัสส้นเท้า ภิกษุทั้งหลาย
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงนั่งขัดสมาธิ รูปใดนั่ง
ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น ภิกษุณีรูปหนึ่งเป็นไข้ ไม่นั่งขัดสมาธิจะไม่สบาย ภิกษุทั้งหลายจึงนำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุณีนั่งกึ่งขัดสมาธิ”๑

เรื่องภิกษุณีถ่ายอุจจาระ
สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายถ่ายอุจจาระในวัจกุฎี พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ให้ครรภ์ตก
ไปในวัจกุฎีนั้น
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ภิกษุทั้งหลาย “ภิกษุณีไม่พึงถ่ายอุจจาระในวัจกุฎี
รูปใดถ่าย ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถ่ายอุจจาระในที่เปิดข้าง
ล่างปิดข้างบน”

เชิงอรรถ :
๑ นั่งกึ่งขัดสมาธิ คือ นั่งขัดสมาธิคู้ขาเข้าข้างเดียว (วิ.อ.๓/๔๓๔/๔๑๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๖๔ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
เรื่องภิกษุณีใช้จุรณสรงน้ำ
[๔๓๖] สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายใช้จุรณสรงน้ำ คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม
โพนทะนาว่า “ฯลฯ เหมือนหญิงคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงใช้จุรณสรงน้ำ รูปใดใช้
ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้รำข้าวและดินเหนียว”
สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายใช้ดินเหนียวอบกลิ่นสรงน้ำ คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม
โพนทะนาว่า “ฯลฯ เหมือนหญิงคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงใช้ดินเหนียวที่อบกลิ่น
สรงน้ำ รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตดินเหนียวธรรมดา”
สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายสรงน้ำในเรือนไฟ เกิดชุลมุน ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่อง
นี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงสรงน้ำในเรือนไฟ รูปใด
สรง ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายสรงน้ำทวนกระแส ยินดีสัมผัสแห่งสายน้ำ ภิกษุทั้งหลาย
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงสรงน้ำทวนกระแส รูปใด
สรง ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายสรงน้ำในที่ไม่ใช่ท่าน้ำ ถูกพวกนักเลงทำมิดีมิร้าย
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงสรงน้ำในที่ไม่ใช่ท่าน้ำ
รูปใดสรง ต้องอาบัติทุกกฏ”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๖๕ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในภิกขุนีขันธกะ
สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายสรงน้ำที่ท่าอาบน้ำของผู้ชาย คนทั้งหลายตำหนิ
ประณาม โพนทะนาว่า “ฯลฯ ทำเหมือนหญิงคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงสรงน้ำที่ท่าอาบน้ำของ
ผู้ชาย รูปใดสรง ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้อาบน้ำที่ท่าอาบ
น้ำสตรี”
ตติยภาณวาร จบ
ภิกขุนีขันธกะที่ ๑๐ จบ
ในขันธกะนี้มี ๑๐๑ เรื่อง

รวมเรื่องที่มีในภิกขุนีขันธกะ
พระนางมหาปชาบดีโคตมีทูลขอบรรพชา
พระผู้มีพระภาคไม่ทรงอนุญาต
ทรงโปรดเวไนยแล้วเสด็จจากกรุงกบิลพัสดุ์ไปกรุงเวสาลี
พระนางมหาปชาบดีโคตมีออกเดินทางไปกรุงเวสาลี
มีพระวรกายเปรอะเปื้อนฝุ่นธุลี ชี้แจงความประสงค์
ต่อท่านพระอานนท์ที่ซุ้มประตู(กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน)
พระอานนท์กราบทูลแจ้งต่อพระผู้มีพระภาคว่า
มาตุคามเป็นภัพพบุคคล พระนางมหาปชาบดีโคตมี
เป็นพระมาตุจฉา เป็นผู้เลี้ยงดู
พระผู้มีพระภาคทรงกำหนดครุธรรม ๘ อย่าง
ที่ภิกษุณีพึงประพฤติตลอดชีวิต คือ
๑. ภิกษุณีบวชได้ ๑๐๐ พรรษา ต้องกราบไหว้ภิกษุแม้ที่บวชในวันนั้น
๒. ไม่พึงจำพรรษาในอาวาสที่ไม่มีภิกษุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๖๖ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในภิกขุนีขันธกะ
๓. หวังธรรม ๒ อย่าง
๔. ปวารณาในสงฆ์ ๒ ฝ่าย
๕. ต้องครุธรรมพึงประพฤติปักขมานัตในสงฆ์ ๒ ฝ่าย
๖. พึงแสวงหาอุปสมบทเพื่อสิกขมานาผู้ได้ศึกษาครบ ๒ ปี
๗. ไม่ด่าภิกษุ
๘. เปิดโอกาสให้ภิกษุว่ากล่าวตักเตือน
การรับครุธรรม ๘ อย่างนั้นเป็นการอุปสัมปทาของ
พระนางมหาปชาบดีโคตมี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ถ้ามาตุคามไม่ออกบวช
สัทธรรมจะตั้งอยู่ได้ ๑,๐๐๐ ปี แต่เพราะมาตุคามออกบวช
สัทธรรมจะตั้งอยู่ได้เพียง ๕๐๐ ปี
ความเสื่อมแห่งพระสัทธรรม
เปรียบเหมือนโจรลักทรัพย์ หนอนขยอก เพลี้ย
การกำหนดให้มาตุคามผู้จะออกบวชต้องรับครุธรรม ๘ อย่าง
เปรียบเหมือนการกั้นทำนบที่ขอบสระใหญ่
เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำไหลออกไป
พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้อุปสมบทภิกษุณี
ต่อมา ภิกษุณีศากิยานีทั้งหลายกล่าวว่า
พระนางมหาปชาบดีโคตมียังไม่ได้อุปสมบท
เพราะรับแต่ครุธรรม พระนางมหาปชาบดีโคตมีกราบทูล
ขอให้ภิกษุและภิกษุณีอภิวาทกันตามลำดับพรรษา
พระผู้มีพระภาคไม่ทรงอนุญาตให้ภิกษุทำอภิวาทมาตุคาม
ตรัสวิธีปฏิบัติในสิกขาบทที่เป็นสาธารณบัญญัติ
และไม่เป็นสาธารณบัญญัติ
ทรงแสดงหลักตัดสินพระธรรมวินัย ตรัสเรื่องปาติโมกข์
และบุคคลที่ควรยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงแก่ภิกษุณี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๖๗ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในภิกขุนีขันธกะ
ต่อมา ภิกษุทั้งหลายเข้าไปที่สำนักภิกษุณี
ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง พระผู้มีพระภาคทรงห้าม
ต่อมาภิกษุณีทั้งหลายไม่รู้วิธีทำคืนอาบัติ
ทรงอนุญาตให้ภิกษุอธิบายให้ภิกษุณีทราบได้
ต่อมา ภิกษุณีไม่ทำ ทรงอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลาย
บอกภิกษุณีเกี่ยวกับวิธีทำคืนอาบัติ วิธีรับอาบัติ
ทรงอนุญาตให้ภิกษุทำกรรมแก่ภิกษุณี
คนทั้งหลายตำหนิ ทรงอนุญาตให้ภิกษุณีทำแก่ภิกษุณีด้วยกัน
ต่อมา ภิกษุณีทั้งหลายทะเลาะวิวาทกัน
พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้ภิกษุมอบการลงโทษ
ของภิกษุณีให้แก่ภิกษุณี ภิกษุณีอันเตวาสินีของ
ภิกษุณีอุบลวรรณาเรียนวินัยจนสติฟั่นเฟือน
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้น้ำโคลนรดภิกษุณีทั้งหลาย
พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ใช้น้ำโคลนรดภิกษุทั้งหลายในกรุงสาวัตถี
ด้วยหวังจะให้ฝ่ายตรงข้ามรัก
พระผู้มีพระภาคทรงให้ภิกษุณีประกาศว่าภิกษุนั้นไม่ควรไหว้
ต่อมา พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เปิดกาย เปิดขาอ่อน
เปิดองคชาตอวดภิกษุณี พูดเกี้ยวภิกษุณี
พูดชักชวนบุรุษมาคบหาภิกษุณี ภิกษุนั้นภิกษุณีไม่ควรไหว้
พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ก็ทำเช่นเดียวกัน
พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้ลงทัณฑกรรม
โดยการห้ามปรามภิกษุและภิกษุณีผู้ทำเช่นนั้น
เมื่อห้ามปรามไม่เชื่อ พึงงดโอวาท ไม่ควรทำอุโบสถกับภิกษุ
ภิกษุณีผู้ถูกงดโอวาท
ต่อมา พระอุทายีงดโอวาทแล้วหลีกไป
พระผู้มีพระภาคทรงห้ามทำเช่นนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๖๘ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในภิกขุนีขันธกะ
ทรงห้ามภิกษุโง่เขลางดโอวาท
ทรงห้ามงดโอวาทด้วยเรื่องที่ไม่สมควร
ทรงห้ามงดโอวาทโดยไม่ให้คำวินิจฉัย
ทรงกำหนดให้ภิกษุณีสงฆ์ต้องไปรับโอวาท
ทรงห้ามภิกษุณี ๕ รูปไปรับโอวาท
ทรงอนุญาตให้ภิกษุณี ๒-๓ รูปไปรับโอวาท
ต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งไม่รับให้โอวาท
พระผู้มีพระภาคทรงกำหนดให้ภิกษุต้องรับให้โอวาท
ทรงกำหนดข้อยกเว้นไว้ว่า ภิกษุโง่เขลา
ภิกษุอาพาธ ภิกษุผู้เตรียมจะเดินทาง
ไม่ต้องรับให้โอวาท แต่ภิกษุผู้อยู่ป่าตัองรับให้โอวาท
ทรงกำหนดว่า ภิกษุทั้งหลายให้โอวาทแล้วต้องบอก
รับให้โอวาทแล้วต้องกลับมาบอก
ต่อมา ภิกษุณีใช้ประคดเอวผืนยาวรัดสีข้าง
ใช้แผ่นไม้สานแผ่นหนัง ผ้าขาว ช้องผ้า เกลียวผ้า
ผ้าผืนเล็ก ช้องผ้าผืนเล็ก เกลียวผ้าผืนเล็ก ช้องถักด้วยด้าย
เกลียวด้ายรัดสีข้าง ใช้กระดูกแข้งโค สีตะโพก
ใช้ไม้มีสัณฐานดุจคางโคนวดตะโพก นวดมือ
นวดหลังมือนวดเท้า นวดหลังเท้า นวดขาอ่อน
นวดหน้า นวดริมฝีปาก
ต่อมา พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ทาหน้า ถูหน้า
ผัดหน้า ใช้มโนศิลาเจิมหน้า ย้อมตัว ย้อมหน้า
ย้อมทั้งตัวทั้งหน้า ทั้งสองอย่าง แต้มหน้า ทาแก้ม
เล่นหูเล่นตา ยืนแอบที่ประตู ให้ผู้อื่นฟ้อนรำ
ตั้งสำนักหญิงแพศยา ตั้งร้านขายสุรา ขายเนื้อ
ออกร้านขายของเบ็ดเตล็ด ประกอบการค้ากำไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๖๙ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในภิกขุนีขันธกะ
ประกอบการค้าขาย ใช้ทาสทาสี
กรรมกรชายหญิงให้ปรนนิบัติ
ให้สัตว์ดิรัจฉานปรนนิบัติ ขายของสดและของสุก
ใช้สันถัตขนเจียมหล่อ
ต่อมา ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ห่มจีวรสีเขียว
สีเหลือง สีแดง สีบานเย็น สีดำ สีแสด
สีชมพู จีวรไม้ตัดชาย มีชายยาว
มีชายเป็นลายดอกไม้ มีชายเป็นแผ่น สวมเสื้อ สวมหมวก
ต่อมา เมื่อภิกษุณี สิกขมานา สามเณรีถึงแก่มรณภาพ
ภิกษุณีสงฆ์เป็นใหญ่ในบริขารที่ภิกษุณีเป็นต้นนั้นมอบให้
เมื่อภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา
และใครอื่นปลงบริขารให้ ภิกษุสงฆ์เป็นใหญ่
ภิกษุณีอดีตภรรยานักมวยใช้ไหล่กระแทกภิกษุทุพพลภาพรูปหนึ่ง
ภิกษุณีรูปหนึ่งใช้บาตรใส่ทารกของหญิงคนหนึ่งที่แท้งออกมา
พระผู้มีพระภาคทรงกำหนดให้ภิกษุณีเมื่อพบภิกษุ
ต้องแสดงบาตรให้ดู ภิกษุณีรูปหนึ่งแสดงก้นบาตร
ภิกษุณีทั้งหลายเพ่งดูองคชาตของบุรุษที่เขาทิ้งไว้กลางถนน
ภิกษุทั้งหลายให้อามิสมากมายแก่ภิกษุณี
ภิกษุณีทั้งหลายมีอามิสเหลือเฟือ
ทรงอนุญาตให้ถวายเป็นของส่วนบุคคล
ทรงอนุญาตให้ภิกษุณีรับอามิสที่ภิกษุเก็บไว้มาบริโภคได้
และทรงอนุญาตให้ภิกษุรับอามิสที่ภิกษุณีทั้งหลาย
เก็บไว้มาบริโภคได้เช่นกัน
ภิกษุณีรูปหนึ่งมีระดู นั่งบ้าง นอนบ้าง ทำให้เสนาสนะ
เปื้อนโลหิต พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตผ้าผลัดเปลี่ยน
ทรงอนุญาตผ้าซับใน ทรงอนุญาตให้ใช้เชือกฟั่นผูกสะเอว
ในเวลาที่มีระดู ไม่ควรผูกไว้ตลอดเวลา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๗๐ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในภิกขุนีขันธกะ
ภิกษุณีบางพวกเมื่ออุปสมบทแล้ว ปรากฏว่าไม่มีเครื่องหมาย
เพศบ้าง สักแต่ว่ามีเครื่องหมายเพศบ้าง ไม่มีประจำเดือนบ้าง
มีประจำเดือนไม่หยุดบ้าง ใช้ผ้าซับเสมอบ้าง เป็นคนไหลซึมบ้าง
มีเดือยบ้าง เป็นบัณเฑาะก์หญิงบ้าง มีลักษณะคล้ายชายบ้าง
มีทวารหนักทวารเบาติดกันบ้าง มี ๒ เพศบ้าง
พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้สอบถามอันตรายิกธรรมว่า
เธอไม่มีเครื่องหมายเพศหรือจนถึงคำว่า
เธอเป็นคน ๒ เพศหรือ
แล้วถามว่าเป็นโรคเรื้อน โรคฝี โรคกลาก โรคมองคร่อ
โรคลมบ้าหมู เป็นมนุษย์หรือ เป็นหญิงหรือ เป็นไทหรือ
ไม่มีหนี้สินหรือ ไม่เป็นราชภัฏหรือ บิดามารดาหรือ
สามีอนุญาตแล้วหรือ มีอายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์แล้วหรือ
มีบาตรจีวรครบแล้วหรือ ชื่ออะไร
ปวัตตินีของเธอชื่ออะไร รวม ๒๔ อย่าง แล้วให้อุปสมบท
ต่อมา อุปสัมปทาเปกขายังไม่ได้สอนซ้อม
เกิดความละอายท่ามกลางสงฆ์ ทรงอนุญาตให้ภิกษุณี
สอนซ้อมสตรีอุปสัมปทาเปกขาก่อน
ทรงอนุญาตให้ถืออุปัชฌาย์ในเบื้องต้น
ต่อจากนั้นจึงบอกสังฆาฏิ อุตตราสงค์
อันตราวาสก ผ้ารัดถัน ผ้าอาบน้ำแล้ว
บอกให้ยืน ณ มุมหนึ่งที่ห่างออกไป
ต่อมา ภิกษุณีโง่เขลารูปหนึ่งทำหน้าที่สอนซ้อม
พระผู้มีพระภาคทรงกำหนดว่าภิกษุณีไม่ได้รับแต่งตั้ง
ไม่ควรสอนซ้อมถามอันตรายิกธรรม
ภิกษุณีอุปสมบทในภิกษุสงฆ์ฝ่ายเดียว
ต้องอุปสมบทในภิกษุสงฆ์อื่นอีก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๗๑ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในภิกขุนีขันธกะ
หลังจากที่อุปสมบทในฝ่ายภิกษุสงฆ์แล้ว
พึงวัดเงาแดด บอกประมาณฤดู บอกส่วนแห่งวัน
บอกสังคีติ(ประชุมสงฆ์) บอกนิสัย ๓ อกรณียกิจ ๘
ต่อมา ภิกษุณีโยกย้ายที่นั่งจนล่วงเวลา
พระผู้มีพระภาคทรงให้นั่งตามลำดับพรรษา
สำหรับภิกษุณี ๘ รูป ที่เหลือ
อนุญาตตามลำดับที่มาในที่ทุกแห่ง
ต่อมา ภิกษุณีไม่ปวารณากัน
ทรงกำหนดให้ภิกษุณีปวารณา
เมื่อปวารณาก็ไม่ปวารณากับภิกษุสงฆ์
ทรงกำหนดให้ปวารณาในภิกษุสงฆ์ด้วย
เกิดความชุลมุนในขณะปวารณาพร้อมกับภิกษุ
ไม่ทรงอนุญาตให้ภิกษุณีปวารณาพร้อมกับภิกษุ
ไม่ทรงอนุญาตให้ภิกษุณีปวารณากันในเวลาก่อนภัตตาหาร
ต่อมา ภิกษุณีทั้งหลายปวารณาในเวลาวิกาล
ทรงอนุญาตให้ปวารณากันเองวันหนึ่ง
วันรุ่งขึ้นจึงปวารณาในภิกษุสงฆ์
เมื่อภิกษุณีปวารณาเกิดชุลมุน ทรงอนุญาตให้แต่งตั้งภิกษุณี
รูปหนึ่งเป็นตัวแทนปวารณาในภิกษุสงฆ์
พระผู้มีพระภาคทรงห้ามไม่ให้ภิกษุณีงดอุโบสถ
ปวารณา สอบถาม เริ่มอนุวาทาธิกรณ์ ขอโอกาส
โจทและให้การ แต่ทรงอนุญาตให้ภิกษุทำอย่างนั้นแก่ภิกษุณีได้
ทรงห้ามภิกษุณีโดยสารยานพาหนะ
ยกเว้นภิกษุณีผู้เป็นไข้ ทรงอนุญาตยานพาหนะที่เทียมด้วยโคเพศเมีย
ยานพาหนะที่เทียมด้วยโคเพศผู้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๗๒ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในภิกขุนีขันธกะ
ยานพาหนะที่ใช้มือลากไปภิกษุณีรูปหนึ่งไม่สบายอย่างหนัก
เพราะยานพาหนะกระเทือน ทรงอนุญาตวอและเปลหาม
หญิงแพศยาชื่ออัฑฒกาสีบวชในสำนักภิกษุณี ต้องการจะไป
กรุงสาวัตถีเพื่ออุปสมบทในสำนักพระผู้มีพระภาค
แต่มีโจรแอบซุ่มอยู่ในหนทาง
พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตการอุปสมบทด้วยทูต
โดยมีภิกษุณีเป็นทูต ทรงห้ามอุปสมบทภิกษุณีโดยมีภิกษุ
สิกขมานา สามเณร สามเณรี
หรือภิกษุณีผู้โง่เขลาเป็นทูต
ต่อมา ภิกษุณีรูปหนึ่งอยู่ในป่า ถูกโจรประทุษร้าย
พระผู้มีพระภาคทรงห้ามภิกษุณีอยู่ป่า
ทรงอนุญาตโรงเก็บของ ที่อยู่ นวกรรม
และเมื่อนวกรรมไม่เพียงพอก็สามารถทำเป็นของส่วนตัวได้
ต่อมา สตรีคนหนึ่งมีครรภ์ บวชในสำนักภิกษุณี คลอดบุตร
พระผู้มีพระภาคทรงห้ามอยู่เพียงลำพัง ทรงห้ามภิกษุณีนอนใน
ที่มุงบังเดียวกันกับเด็ก ทรงอนุญาตให้แต่งตั้งภิกษุณีเป็นเพื่อน
ของภิกษุณีผู้ต้องอาบัติหนัก กำลังประพฤติมานัต
ทรงวางข้อกำหนดว่า ภิกษุณีสึกออกไป
โดยไม่บอกคืนสิกขาถือว่าได้สึกไปแล้ว
ไม่ทรงอนุญาตให้บวชภิกษุณีทั้งหลายผู้ไปเข้ารีตเดียรถีย์
ภิกษุณีบางพวกไม่ยินดีการกราบ การปลงผม
การตัดเล็บ การรักษาแผลจากพวกบุรุษ
พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้ยินดีได้
ไม่ทรงอนุญาตให้ภิกษุณีนั่งขัดสมาธิ
ทรงอนุญาตให้ภิกษุณีเป็นไข้นั่งกึ่งขัดสมาธิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๗๓ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในภิกขุนีขันธกะ
ไม่ทรงอนุญาตให้ภิกษุณีถ่ายอุจจาระในวัจกุฎี
ใช้จุรณสรงน้ำ ใช้ดินเหนียวอบกลิ่นสรงน้ำในเรือนไฟ
สรงน้ำทวนกระแส สรงน้ำในที่ไม่ใช่ท่าน้ำ
สรงน้ำที่ท่าของผู้ชาย
พระนางมหาปชาบดีโคตมีและท่านพระอานนท์กราบทูลขอ
อย่างระมัดระวัง พุทธบริษัท ๔ บรรพชาในพระศาสนา
ของพระผู้มีพระภาค พระองค์ทรงแสดงขันธกะนี้ไว้
เพื่อให้เกิดความสังเวช และความเจริญแห่งพระสัทธรรม
เหมือนเภสัชสำหรับระงับความกระวนกระวาย
สตรีเหล่าอื่นที่ได้ฝึกฝนดีแล้วในพระสัทธรรมอย่างนี้
ย่อมไปสู่สถานที่อันไม่จุติซึ่งไปแล้วจะไม่เศร้าโศก
ภิกขุนีขันธกะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๗๔ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๑. ปัญจสติก ขันธกะ] ๑. สังคีตินิทาน
๑๑. ปัญจกสติกขันธกะ
๑. สังคีตินิทาน
ว่าด้วยมูลเหตุการทำสังคายนาครั้งที่ ๑
[๔๓๗] ๑ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสปะเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า “ท่าน
ทั้งหลาย คราวหนึ่งผมพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูปเดินทางไกล
จากกรุงปาวาไปกรุงกุสินารา ขณะที่ผมแวะลงข้างทาง นั่งพักที่ ณ ควงไม้แห่งหนึ่ง
สมัยนั้น อาชีวกคนหนึ่งถือดอกมณฑารพจากกรุงกุสินารา เดินสวนทางจะไป
กรุงปาวา ท่านทั้งหลาย ผมได้เห็นอาชีวกนั้นเดินมาแต่ไกล ครั้นแล้วจึงถามอาชีวก
นั้นดังนี้ว่า “ท่านทราบข่าวพระศาสดาของเราบ้างไหม”
อาชีวกตอบว่า “เราทราบ พระสมณะโคดมปรินิพพานได้ ๗ วันเข้าวันนี้ เรา
ถือดอกมณฑารพดอกนี้มาจากที่ปรินิพพานนั้น”
ท่านทั้งหลาย บรรดาภิกษุผู้ยังไม่ปราศจากราคะ บางรูปประคองแขนคร่ำครวญ
ล้มลงกลิ้งเกลือกไปมาเหมือนคนเท้าขาดเพ้อรำพันว่า “พระผู้มีพระภาคปรินิพพาน
เร็วนัก พระสุคตปรินิพพานเร็วนัก ดวงตาในโลกอันตรธานไปเสียแล้ว” ส่วนภิกษุ
ทั้งหลายที่ปราศจากราคะ มีสติสัมปชัญญะ ก็อดกลั้นไว้ว่า “สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยง
จะหาความเที่ยงแท้ในสังขารนี้แต่ที่ไหนเล่า”
ท่านทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ผมได้กล่าวกับภิกษุทั้งหลายดังนี้ว่า “พอเถิด พวก
ท่านอย่าโศกเศร้า อย่าคร่ำครวญไปเลย พระผู้มีพระภาคตรัสบอกไว้ก่อนแล้วมิใช่
หรือว่า ความเป็นต่าง ๆ กัน ความพลัดพราก ความผันแปรเป็นอื่นจากสิ่งที่รักใคร่
ชอบใจทุกอย่างมีอยู่เสมอ สิ่งที่เกิดแล้ว เป็นแล้ว ถูกปรุงแต่งแล้ว มีความแตกสลาย
เป็นธรรมดา อย่าได้เสื่อมสลายไปเลยนั้น จะหาได้แต่ที่ไหนในฐานะนี้ นั่นไม่ใช่ฐานะ
ที่จะมีได้”

เชิงอรรถ :
๑ ที.ม. (แปล) ๑๐/๒๓๑/๑๔๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๗๕ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๑. ปัญจสติก ขันธกะ] ๑. สังคีตินิทาน
ท่านทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ภิกษุผู้บวชตอนแก่ชื่อสุภัททะ๑นั่งอยู่ในที่ประชุมนั้น
ได้กล่าวกับภิกษุทั้งหลายดังนี้ว่า “พอทีเถิด พวกท่านอย่าโศกเศร้า อย่าคร่ำครวญ
เลย พวกเรารอดพ้นดีแล้วจากพระมหาสมณะรูปนั้นที่คอยจ้ำจี้จ้ำไชพวกเราอยู่ว่า
‘สิ่งนี้ควรแก่พวกเธอ สิ่งนี้ไม่ควรแก่พวกเธอ’ บัดนี้ พวกเราปรารถนาสิ่งใด ก็จักทำ
สิ่งนั้น ไม่ปรารถนาสิ่งใด ก็จักไม่ทำสิ่งนั้น”
ท่านทั้งหลาย เอาเถิด พวกเราจะสังคายนาพระธรรมและพระวินัยกัน ก่อนที่
อธรรมจะรุ่งเรือง ธรรมจะถูกคัดค้าน สิ่งมิใช่วินัยจะรุ่งเรือง วินัยจะถูกคัดค้าน ก่อน
ที่พวกอธรรมวาทีจะมีกำลัง พวกธรรมวาทีจะอ่อนกำลัง พวกอวินยวาทีจะมีกำลัง
พวกวินยวาทีจะอ่อนกำลัง

พระมหากัสสปะคัดเลือกภิกษุทำสังคายนา
ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ ถ้าเช่นนั้น ขอพระเถระโปรดเลือกภิกษุ
ทั้งหลายเถิด”
ลำดับนั้น ท่านพระมหากัสสปะจึงคัดเลือกพระอรหันต์ได้ ๔๙๙ รูป
ภิกษุทั้งหลายได้กราบเรียนท่านพระมหากัสสปะดังนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ท่านพระ
อานนท์นี้ยังเป็นเสขบุคคลก็จริง แต่ไม่ลำเอียงเพราะความชอบ เพราะความชัง เพราะ
ความหลง เพราะความกลัว อนึ่ง ท่านพระอานนท์นั้นได้ศึกษาพระธรรมและวินัย
เป็นอันมากในสำนักของพระผู้มีพระภาค ถ้าเช่นนั้น ขอพระเถระโปรดเลือกท่านพระ
อานนท์ด้วย”
ท่านพระมหากัสสปะจึงเลือกท่านพระอานนท์

กำหนดเขตการอยู่จำพรรษา
ต่อมา ภิกษุผู้เถระทั้งหลายปรึกษากันดังนี้ว่า “พวกเราจะสังคายนาพระธรรม
และวินัยที่ไหนหนอ” ลำดับนั้น เห็นพร้อมกันว่า “กรุงราชคฤห์มีโคจรคามมาก

เชิงอรรถ :
๑ ดู วิ.ม. (แปล) ๕/๓๐๓/๑๓๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๗๖ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๑. ปัญจสติก ขันธกะ] ๑. สังคีตินิทาน
เสนาสนะมีเพียงพอ ทางที่ดีพวกเราพึงอยู่จำพรรษาในกรุงราชคฤห์ สังคายนาพระ
ธรรมและวินัย ภิกษุเหล่าอื่นไม่พึงอยู่จำพรรษาในกรุงราชคฤห์”
ต่อมา ท่านพระมหากัสสปะประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
[๔๓๘] ท่านทั้งหลาย ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงแต่งตั้ง
ภิกษุ ๕๐๐ รูปนี้ให้จำพรรษาในกรุงราชคฤห์ เพื่อสังคายนาพระธรรมและวินัย ภิกษุ
เหล่าอื่นไม่พึงจำพรรษาในกรุงราชคฤห์ นี่เป็นญัตติ
ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์แต่งตั้งภิกษุ ๕๐๐ รูปนี้ให้จำพรรษาในกรุงราชคฤห์
เพื่อสังคายนาพระธรรมและวินัย ภิกษุเหล่าอื่นไม่พึงจำพรรษาในกรุงราชคฤห์ ท่าน
รูปใดเห็นด้วยกับการแต่งตั้งภิกษุ ๕๐๐ รูปนี้ให้จำพรรษาในกรุงราชคฤห์ เพื่อ
สังคายนาพระธรรมและวินัย ภิกษุเหล่าอื่นไม่พึงจำพรรษาในกรุงราชคฤห์ ท่านรูป
นั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
สงฆ์แต่งตั้งภิกษุ ๕๐๐ รูปนี้ให้จำพรรษาในกรุงราชคฤห์ เพื่อสังคายนาพระ
ธรรมและวินัยแล้ว ภิกษุเหล่าอื่นไม่พึงจำพรรษาในกรุงราชคฤห์ สงฆ์เห็นด้วย เพราะ
ฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้

ปฏิสังขรณ์เสนาสนะที่ทรุดโทรม
ต่อมา ภิกษุผู้เถระทั้งหลายได้เดินทางไปกรุงราชคฤห์เพื่อสังคายนาพระธรรม
และวินัย ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลายผู้เถระได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาค
ทรงสรรเสริญการปฏิสังขรณ์เสนาสนะที่ทรุดโทรม ถ้ากระไร พวกเราจะปฏิสังขรณ์
เสนาสนะที่ทรุดโทรมในเดือนแรก จะประชุมสังคายนาพระธรรมและวินัยตอนกลาง
เดือน”

ท่านพระอานนท์บรรลุอรหัตตผล
ครั้งนั้น ภิกษุผู้เถระทั้งหลายได้ปฏิสังขรณ์เสนาสนะที่ทรุดโทรมในเดือนแรก ลำดับนั้น
ท่านพระอานนท์คิดว่า “พรุ่งนี้เป็นวันประชุม การที่เราผู้ยังเป็นเสขบุคคลอยู่จะไป


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๗๗ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๑. ปัญจสติก ขันธกะ] ๑. สังคีตินิทาน
ร่วมประชุมด้วย ไม่สมควรเลย” จึงให้เวลากลางคืนเป็นส่วนมากล่วงไปด้วย
กายคตาสติ๑ พอถึงเวลาใกล้รุ่งก็เอนกาย ด้วยตั้งใจว่า “จะนอนพัก” แต่ศีรษะ
ยังไม่ทันถึงหมอน เท้ายังไม่ทันยกขึ้นจากพื้น ในระหว่างนี้จิตได้หลุดพ้นจากกิเลส
อาสวะทั้งหลาย เพราะไม่มีความยึดมั่นถือมั่น

เรื่องท่านพระอุบาลีตอบคำถามเกี่ยวกับพระวินัย
[๔๓๙] ครั้นท่านพระอานนท์เป็นพระอรหันต์ได้ไปสู่ที่ประชุม ลำดับนั้น ท่าน
พระมหากัสสปะประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจาว่า
“ท่านทั้งหลาย ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว ข้าพเจ้าจะสอบ
ถามพระวินัยกับท่านพระอุบาลี”
ท่านพระอุบาลีจึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจาว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมแล้ว ข้าพเจ้าอันท่านพระมหา
กัสสปะถามพระวินัย จะได้ตอบต่อไป”

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑
ลำดับนั้น ท่านพระมหากัสสปะได้ถามท่านท่านพระอุบาลีว่า “ท่านอุบาลี พระ
ผู้มีพระภาคทรงบัญญัติ ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ ณ ที่ไหน”
ท่านพระอุบาลีตอบว่า “ณ กรุงเวสาลี ขอรับ”
ท่านพระมหากัสสปะถามว่า “ทรงปรารภใคร”
ท่านพระอุบาลีตอบว่า “ทรงปรารภพระสุทินกลันทบุตร”
ท่านพระมหากัสสปะถามว่า “เพราะเรื่องอะไร”
ท่านพระอุบาลีตอบว่า “เพราะเสพเมถุนธรรม”

เชิงอรรถ :
๑ กายคตาสติ คือ สติอันไปในกาย กำหนดพิจารณากายนี้ให้เห็นว่า ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ไม่สะอาด
ไม่งาม น่ารังเกียจ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๗๘ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๑. ปัญจสติก ขันธกะ] ๑. สังคีตินิทาน
จากนั้น ท่านพระมหากัสสปะได้ถามถึงวัตถุบ้าง ถามถึงนิทานบ้าง ถามถึง
บุคคลบ้าง ถามถึงพระบัญญัติบ้าง ถามถึงพระอนุบัญญัติบ้าง ถามถึงอาบัติบ้าง
ถามถึงอนาบัติบ้างแห่งปาราชิกสิกขาบทที่ ๑

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒
ท่านพระมหากัสสปะถามต่อไปว่า “ท่านอุบาลี พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติ
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ ณ ที่ไหน”
ท่านพระอุบาลีตอบว่า “ณ กรุงราชคฤห์ ขอรับ”
ท่านพระมหากัสสปะถามว่า “ทรงปรารภใคร”
ท่านพระอุบาลีตอบว่า “ทรงปรารภพระธนิยกุมภการบุตร”
ท่านพระมหากัสสปะถามว่า “เพราะเรื่องอะไร”
ท่านพระอุบาลีตอบว่า “เพราะเรื่องการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้”
จากนั้น ท่านพระมหากัสสปะได้ถามถึงวัตถุบ้าง ถามถึงนิทานบ้าง ถามถึง
บุคคลบ้าง ถามถึงพระบัญญัติบ้าง ถามถึงพระอนุบัญญัติบ้าง ถามถึงอาบัติบ้าง
ถามถึงอนาบัติบ้างแห่งปาราชิกสิกขาบทที่ ๒

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓
ท่านพระมหากัสสปะถามต่อไปว่า “ท่านอุบาลี พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติ
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ ณ ที่ไหน”
ท่านพระอุบาลีตอบว่า “ณ กรุงเวสาลี ขอรับ”
ท่านพระมหากัสสปะถามว่า “ทรงปรารภใคร”
ท่านพระอุบาลีตอบว่า “ทรงปรารภภิกษุหลายรูป”
ท่านพระมหากัสสปะถามว่า “เพราะเรื่องอะไร”
ท่านพระอุบาลีตอบว่า “เพราะพรากกายมนุษย์”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๗๙ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๑. ปัญจสติก ขันธกะ] ๑. สังคีตินิทาน
จากนั้น ท่านพระมหากัสสปะได้ถามถึงวัตถุบ้าง ถามถึงนิทานบ้าง ถามถึง
บุคคลบ้าง ถามถึงพระบัญญัติบ้าง ถามถึงพระอนุบัญญัติบ้าง ถามถึงอาบัติบ้าง
ถามถึงอนาบัติบ้างแห่งปาราชิกสิกขาบทที่ ๓

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔
ท่านพระมหากัสสปะถามต่อไปว่า “ท่านอุบาลี พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติ
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ ไว้ ณ ที่ไหน”
ท่านพระอุบาลีตอบว่า “ณ กรุงเวสาลี ขอรับ”
ท่านพระมหากัสสปะถามว่า “ทรงปรารภใคร”
ท่านพระอุบาลีตอบว่า “ทรงปรารภภิกษุชาวฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทาทั้งหลาย”
ท่านพระมหากัสสปะถามว่า “เพราะเรื่องอะไร”
ท่านพระอุบาลีตอบว่า “เพราะกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม”
จากนั้น ท่านพระมหากัสสปะได้ถามถึงวัตถุบ้าง ถามถึงนิทานบ้าง ถามถึง
บุคคลบ้าง ถามถึงพระบัญญัติบ้าง ถามถึงพระอนุบัญญัติบ้าง ถามถึงอาบัติบ้าง
อนาบัติบ้างแห่งปาราชิกสิกขาบทที่ ๔
ท่านพระมหากัสสปะถามพระวินัยของสงฆ์ทั้ง ๒ ฝ่าย๑โดยอุบายนี้เหมือนกัน
ท่านพระมหากัสสปะเป็นผู้ถาม ท่านพระอุบาลีเป็นผู้ตอบ

เรื่องท่านพระอานนท์ตอบคำถามเกี่ยวกับพระธรรม
[๔๔๐] ลำดับนั้น ท่านพระมหากัสสปะประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรม
วาจาว่า “ท่านทั้งหลาย ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมแล้ว ข้าพเจ้าจะสอบ
ถามพระธรรมกับท่านพระอานนท์”

เชิงอรรถ :
๑ สงฆ์ทั้ง ๒ ฝ่าย คือภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๘๐ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๑. ปัญจสติก ขันธกะ] ๑. สังคีตินิทาน
ท่านพระอานนท์จึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจาว่า “ท่านผู้เจริญ
ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมแล้ว ข้าพเจ้าอันท่านพระมหากัสสปะถามพระ
ธรรมจะได้ตอบต่อไป”
ลำดับนั้น ท่านพระมหากัสสปะจึงถามท่านพระอานนท์ว่า “ท่านอานนท์ พระ
ผู้มีพระภาคตรัสพรหมชาลสูตร ณ ที่ไหน”
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “ณ ที่พระตำหนักในราชอุทยานอัมพลัฏฐิกา ระหว่าง
กรุงราชคฤห์และเมืองนาลันทา ขอรับ”
ท่านพระมหากัสสปะถามว่า “ทรงปรารภใคร”
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “ทรงปรารภสุปปิยปริพาชกและพรหมทัตมาณพ”
จากนั้น ท่านพระมหากัสสปะได้ถามถึงนิทานบ้าง ถามถึงบุคคลบ้างในพรหม
ชาลสูตร
ท่านพระมหากัสสปะถามต่อไปว่า “ท่านอานนท์ พระผู้มีพระภาคตรัสสามัญญ
ผลสูตรที่ไหน”
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “ณ ที่วิหารชีวกัมพวัน กรุงราชคฤห์ ขอรับ”
ท่านพระมหากัสสปะถามว่า “ตรัสกับใคร”
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “ตรัสกับพระเจ้าอชาตศัตรูเวเทหิบุตร”
จากนั้น ท่านพระมหากัสสปะได้ถามถึงนิทานบ้าง ถามถึงบุคคลบ้าง ในสามัญญ
ผลสูตร แล้วถามจนครบทั้ง ๕ นิกาย๑
ท่านพระมหากัสสปะเป็นผู้ถาม ท่านพระอานนท์เป็นผู้ตอบ

เชิงอรรถ :
๑ นิกาย ๕ ได้แก่ ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย อังคุตตรนิกาย ขุททกนิกาย พระอภิธรรมปิฎก
ก็จัดเป็นขุททกนิกาย (วิ.อ. ๑/๒๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๘๑ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๑. ปัญจสติก ขันธกะ] ๒. ขุททานุขุททกสิกขาปทกถา
๒. ขุททานุขุททกสิกขาปทกถา
ว่าด้วยสิกขาบทเล็กน้อย
[๔๔๑] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ได้กล่าวกับภิกษุผู้เถระทั้งหลายดังนี้ว่า “ท่าน
ผู้เจริญ ในเวลาจะปรินิพพาน พระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ว่า ‘อานนท์ เมื่อเราล่วงไป
สงฆ์หวังอยู่ก็พึงถอนสิกขาบทเล็กน้อยได้”
ภิกษุผู้เถระทั้งหลายถามว่า “ท่านอานนท์ ท่านทูลถามพระผู้มีพระภาคหรือ
ว่า ‘พระพุทธเจ้าข้า สิกขาบทข้อไหนที่จัดว่าเป็นสิกขาบทเล็กน้อย”
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมไม่ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
‘พระพุทธเจ้าข้า สิกขาบทข้อไหน ที่จัดว่าเป็นสิกขาบทเล็กน้อย”
ภิกษุผู้เถระบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า “ยกเว้นปาราชิก ๔ สิกขาบท ที่เหลือจัด
เป็นสิกขาบทเล็กน้อย”
ภิกษุผู้เถระบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า “ยกเว้นปาราชิก ๔ สิกขาบท สังฆาทิเสส
๑๓ สิกขาบท ที่เหลือจัดเป็นสิกขาบทเล็กน้อย”
ภิกษุผู้เถระบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า “ยกเว้นปาราชิก ๔ สิกขาบท สังฆาทิเสส
๑๓ สิกขาบท อนิยต ๒ ที่เหลือจัดเป็นสิกขาบทเล็กน้อย”
ภิกษุผู้เถระบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า “ยกเว้นปาราชิก ๔ สิกขาบท สังฆาทิเสส
๑๓ สิกขาบท อนิยต ๒ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ สิกขาบท ปาจิตตีย์ ๙๒ สิกขาบท
ที่เหลือจัดเป็นสิกขาบทเล็กน้อย”
ภิกษุผู้เถระบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า “ยกเว้นปาราชิก ๔ สิกขาบท สังฆาทิเสส
๑๓ สิกขาบท อนิยต ๒ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ สิกขาบท ปาจิตตีย์ ๙๒ สิกขาบท
ปาฏิเทสนียะ ๔ สิกขาบท ที่เหลือจัดเป็นสิกขาบทเล็กน้อย”

เรื่องไม่บัญญัติเพิ่มเติมและไม่ถอนพระบัญญัติเดิม
[๔๔๒] ครั้งนั้น ท่านพระมหากัปปสะประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรม
วาจาว่า


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๘๒ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๑. ปัญจสติก ขันธกะ] ๒. ขุททานุขุททกสิกขาปทกถา
ท่านทั้งหลาย ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สิกขาบทของพวกเราที่รู้กันในหมู่คฤหัสถ์๑
มีอยู่ แม้พวกคฤหัสถ์ก็รู้อยู่ว่า “สิ่งนี้ควรแก่พวกพระสมณะเชื้อสายศากยบุตร สิ่งนี้
ไม่ควร” ถ้าพวกเราจะถอนสิกขาบทเล็กน้อย ก็จะมีผู้กล่าวว่า “พระสมณะโคดม
บัญญัติสิกขาบทแก่พวกสาวกชั่วกาลแห่งควันไฟ” สาวกพวกนี้ศึกษาสิกขาบทอยู่ตลอด
เวลาที่พระศาสดาของตนยังมีชีวิตอยู่ พอพระศาสดาของพวกเธอปรินิพพานไปแล้ว บัดนี้
พวกเธอก็ไม่ศึกษาสิกขาบท” ถ้าสงฆ์พร้อมแล้วก็ไม่พึงบัญญัติสิ่งที่ไม่ได้ทรงบัญญัติ
ไม่พึงถอนพระบัญญัติที่ทรงบัญญัติไว้ พึงสมาทานประพฤติตามสิกขาบทที่ทรง
บัญญัติไว้แล้ว นี่เป็นญัตติ
ท่านทั้งหลาย ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สิกขาบทของพวกเราที่รู้กันในหมู่คฤหัสถ์
มีอยู่ แม้พวกคฤหัสถ์ก็รู้อยู่ว่า “สิ่งนี้ควรแก่พวกพระสมณะเชื้อสายศากยบุตร สิ่งนี้
ไม่ควร” ถ้าพวกเราจะถอนสิกขาบทเล็กน้อย ก็จะมีผู้กล่าวว่า “พระสมณะโคดม
บัญญัติสิกขาบทแก่พวกสาวกชั่วกาลแห่งควันไฟ สาวกพวกนี้ศึกษาสิกขาบทอยู่
ตลอดเวลาที่พระศาสดาของตนยังมีชีวิตอยู่ พอพระศาสดาของพวกเธอปรินิพพานไป
แล้ว บัดนี้พวกเธอก็ไม่ศึกษาสิกขาบท” ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็ไม่พึงบัญญัติสิ่งที่ไม่
ได้ทรงบัญญัติ ไม่พึงถอนพระบัญญัติที่ทรงบัญญัติไว้ พึงสมาทานประพฤติตาม
สิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้แล้ว ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่ทรงบัญญัติ
ไม่ถอนพระบัญญัติตามที่ทรงบัญญัติไว้ สมาทานประพฤติตามสิกขาบทที่ทรง
บัญญัติไว้แล้ว ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
สงฆ์ไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่ทรงบัญญัติ ไม่ถอนพระบัญญัติตามที่ทรงบัญญัติไว้
สมาทานประพฤติสิกขาบทตามที่ทรงบัญญัติไว้แล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะเหตุนั้นจึงนิ่ง
ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้

เชิงอรรถ :
๑ คือที่เกี่ยวข้องกับพวกคฤหัสถ์, พวกคฤหัสถ์รู้กันอยู่ (ที.ม.อ. ๒/๑๓๖/๑๕๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๘๓ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๑. ปัญจสติก ขันธกะ] ๒. ขุททานุขุททกสิกขาปทกถา
เรื่องปรับอาบัติท่านพระอานนท์ ๕ กรณี
[๔๔๓] ๑.ครั้งนั้น ภิกษุผู้เถระทั้งหลายกล่าวกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “ท่าน
อานนท์การที่ท่านไม่ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ‘พระพุทธเจ้าข้า
สิกขาบทข้อไหนจัดเป็นสิกขาบทเล็กน้อย’ เรื่องนี้ปรับอาบัติทุกกฏ
แก่ท่าน ท่านจงแสดงอาบัตินั้น
ท่านพระอานนท์ชี้แจงว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมไม่ได้กราบทูลถามพระผู้มีพระภาค
ว่า ‘พระพุทธเจ้าข้า สิกขาบทข้อไหนที่จัดเป็นสิกขาบทเล็กน้อย’ เพราะระลึกไม่ได้
กระผมไม่เห็นอาบัติทุกกฏนั้น แต่เพราะเชื่อฟังท่านทั้งหลาย กระผมจะแสดงอาบัติ
ทุกกฏ”
๒. ภิกษุผู้เถระทั้งหลายกล่าวต่อไปว่า “ท่านอานนท์ การที่ท่านเหยียบ
ผ้าวัสสิกสาฏกของพระผู้มีพระภาคแล้วปะชุน เรื่องนี้ปรับอาบัติทุกกฏ
แก่ท่าน ท่านจงแสดงอาบัติทุกกฏนั้น”
ท่านพระอานนท์ชี้แจงว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมเหยียบผ้าวัสสิกสาฏกของพระผู้มี
พระภาคไม่ใช่เพราะความไม่เคารพ กระผมไม่เห็นอาบัติทุกกฏนั้น แต่เพราะเชื่อฟัง
ท่านทั้งหลาย กระผมจะแสดงอาบัติทุกกฏ”
๓. ภิกษุผู้เถระทั้งหลายกล่าวต่อไปว่า “ท่านอานนท์ การที่ท่านให้มาตุคาม
ถวายอภิวาทพระสรีระของพระผู้มีพระภาคก่อน พระสรีระจึงเปียก
เปื้อนน้ำตาของมาตุคามเหล่านั้นผู้ร้องไห้ เรื่องนี้ปรับอาบัติทุกกฏ
แก่ท่าน ท่านจงแสดงอาบัติทุกกฏนั้น”
ท่านพระอานนท์ชี้แจงว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมตระหนักว่า มาตุคามเหล่านี้
อย่ารออยู่จนถึงเวลาวิกาล จึงให้พวกเธอถวายอภิวาทพระสรีระของพระผู้มีพระภาค
ก่อน กระผมไม่เห็นอาบัติทุกกฏนั้น แต่เพราะเชื่อฟังท่านทั้งหลาย กระผมจะแสดง
อาบัติ ทุกกฏ”
๔. ภิกษุผู้เถระทั้งหลายกล่าวต่อไปว่า “ท่านอานนท์ การที่พระผู้มี
พระภาคทรงทำนิมิตโอภาสอย่างหยาบ ๆ ท่านกลับไม่กราบทูลอ้อน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๘๔ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๑. ปัญจสติก ขันธกะ] ๒. ขุททานุขุททกสิกขาปทกถา
วอนพระองค์ว่า ‘ขอพระผู้มีพระภาคโปรดดำรงพระชนม์ชีพอยู่ตลอด
กัป ขอพระสุคตโปรดดำรงพระชนม์ชีพอยู่ตลอดกัป เพื่อเกื้อกูลแก่
พหูชน เพื่อความสุขแก่พหูชน เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์
เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย’ เรื่องนี้ปรับ
อาบัติทุกกฏแก่ท่าน ท่านจงแสดงอาบัติทุกกฏนั้น”
ท่านพระอานนท์ชี้แจงว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมถูกมารดลใจจึงไม่ได้กราบทูล
อ้อนวอนพระผู้มีพระภาคไว้ว่า ‘ขอพระผู้มีพระภาคโปรดดำรงพระชนม์ชีพอยู่ตลอด
กัป ขอพระสุคตโปรดดำรงพระชนม์ชีพอยู่ตลอดกัป เพื่อเกื้อกูลแก่พหูชน เพื่อความ
สุขแก่พหูชน เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย’ กระผมไม่เห็นอาบัติทุกกฏนั้น แต่เพราะเชื่อฟังท่านทั้งหลาย
กระผมจะแสดงอาบัติทุกกฏนั้น”
๕. ภิกษุผู้เถระทั้งหลายกล่าวต่อไปว่า “ท่านอานนท์ การที่ท่านขวน
ขวายให้มาตุคามบวชในพระธรรมวินัยอันพระตถาคตประกาศไว้แล้ว
เรื่องนี้ปรับอาบัติทุกกฏแก่ท่าน ท่านจงแสดงอาบัติทุกกฏนั้น”
ท่านพระอานนท์ชี้แจงว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมขวนขวายให้มาตุคามบวชใน
พระธรรมวินัยอันพระตถาคตประกาศไว้แล้ว เพราะคิดว่า ‘พระนางมหาปชาบดีโคตมี
ผู้นี้เป็นพระมาตุฉาของพระผู้มีพระภาค เคยประคับประคองดูแล ถวายเกษียรธาร
เมื่อพระชนนีสวรรคต’ กระผมไม่เห็นอาบัติทุกกฏนั้น แต่เพราะเชื่อฟังท่านทั้งหลาย
กระผมจะแสดงอาบัติทุกกฏนั้น”

เรื่องพระปุราณะ
[๔๔๔] สมัยนั้น ท่านพระปุราณะเที่ยวจาริกอยู่ในทักขิณาคิรีชนบท พร้อม
ด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป ครั้นเมื่อภิกษุผู้เถระทั้งหลายสังคายนา
พระธรรมและวินัยเสร็จแล้ว ท่านพระปุราณะพักอยู่ที่ทักขิณาคิรีชนบทตามอัยธาศัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๘๕ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๑. ปัญจสติก ขันธกะ] ๓. พรหมทัณฑกถา
เข้าไปหาภิกษุผู้เถระทั้งหลาย ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต เขตกรุง
ราชคฤห์ ครั้นแล้วได้นั่งสนทนาอย่างบันเทิงใจกับภิกษุผู้เถระอยู่ ณ ที่สมควร
ภิกษุผู้เถระทั้งหลายได้กล่าวกับท่านพระปุราณะดังนี้ว่า “ท่านปุราณะ ภิกษุผู้
เถระทั้งหลายได้สังคายนาพระธรรมและวินัยแล้ว ท่านจงรับทราบเรื่องที่สังคายนานั้น”
ท่านพระปุราณะกล่าวว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระทั้งหลายสังคายนา
พระธรรมและวินัยดีแล้ว แต่ผมจะทรงจำไว้ตามที่ได้ยินเฉพาะพระพักตร์ ตามที่ได้
รับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาค”

๓. พรหมทัณฑกถา
ว่าด้วยการลงพรหมทัณฑ์
[๔๔๕] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ได้กล่าวกับภิกษุผู้เถระทั้งหลายดังนี้ว่า “ท่าน
ผู้เจริญ ในเวลาจะเสด็จปรินิพพาน พระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย
เมื่อเราล่วงไป สงฆ์จงลงพรหมทัณฑ์แก่ภิกษุฉันนะ”
ภิกษุผู้เถระทั้งหลายถามว่า “ท่านอานนท์ ท่านทูลถามพระผู้มีพระภาคหรือว่า
‘พระพุทธเจ้าข้า พรหมทัณฑ์เป็นอย่างไร”
๑ท่านพระอานนท์ตอบว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมทูลถามพระผู้มีพระภาคแล้ว
ว่า ‘พระพุทธเจ้าข้า พรหมทัณฑ์เป็นอย่างไร’ พระองค์รับสั่งว่า ‘อานนท์ ภิกษุฉันนะ
พึงพูดได้ตามที่ปรารถนา ภิกษุทั้งหลายไม่พึงว่ากล่าว ไม่พึงตักเตือน ไม่พึงพร่ำสอน
ภิกษุฉันนะ”
ภิกษุผู้เถระทั้งหลายกล่าวว่า “ท่านอานนท์ ถ้าอย่างนั้น ท่านนั่นแลจงลง
พรหมทัณฑ์แก่ภิกษุฉันนะ”

เชิงอรรถ :
๑ ที.ม. ๑๐/๒๑๖/๑๓๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๘๖ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๑. ปัญจสติก ขันธกะ] ๓. พรหมทัณฑกถา
ท่านพระอานนท์ถามว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมจะลงพรหมทัณฑ์แก่พระฉันนะ
ได้อย่างไรกัน เพราะเธอเป็นคนดุร้าย เป็นคนหยาบคาย”
ภิกษุผู้เถระทั้งหลายตอบว่า “ท่านอานนท์ ถ้าเช่นนั้น ท่านจงไปพร้อมกับภิกษุ
ทั้งหลายจำนวนมาก”
ท่านพระอานนท์รับบัญชาภิกษุผู้เถระทั้งหลายแล้ว โดยสารเรือไปพร้อมกับภิกษุ
สงฆ์หมู่ใหญ่ ประมาณ ๕๐๐ รูป ถึงกรุงโกสัมพี ขึ้นจากเรือแล้วนั่งที่โคนไม้แห่งหนึ่ง
ใกล้ราชอุทยานของพระเจ้าอุเทน

เรื่องพระเจ้าอุเทน
สมัยนั้น พระเจ้าอุเทนกับพระมเหสีประทับอยู่ในราชอุทยานพร้อมข้าราชบริพาร
พระมเหสีของพระเจ้าอุเทนได้สดับว่า “พระคุณเจ้าพระอานนท์ผู้เป็นอาจารย์ของพวกเรา
นั่งอยู่ที่โคนไม้แห่งหนึ่งใกล้ราชอุทยาน”
ลำดับนั้น พระมเหสีได้กราบทูลพระจ้าอุเทนดังนี้ว่า “ขอเดชะ ทราบว่า พระ
คุณเจ้าพระอานนท์ผู้เป็นอาจารย์ของหม่อมฉัน นั่งอยู่ที่โคนไม้แห่งหนึ่งใกล้ราชอุทยาน
ขอเดชะ หม่อมฉันปรารถนาจะเยี่ยมพระคุณเจ้าพระอานนท์”
พระเจ้าอุเทนตรัสว่า “ถ้าอย่างนั้น เธอไปเยี่ยมท่านพระอานนท์เถิด”
ต่อมา พระมเหสีของพระเจ้าอุเทนเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ครั้นแล้ว
อภิวาท นั่ง ณ ที่สมควร ท่านพระอานนท์ชี้แจงพระมเหสีให้เห็นชัด ชวนให้อยาก
รับไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา
ลำดับนั้น พระมเหสีของพระเจ้าอุเทนผู้ซึ่งท่านพระอานนท์ชี้แจงให้เห็นชัด
ชวนให้อยากรับไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง
ด้วยธรรมีกถาแล้ว ได้ถวายผ้าห่ม ๕๐๐ ผืน ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของท่านพระ
อานนท์ลุกจากอาสนะ อภิวาทแล้วทำประทักษิณกลับไป เข้าไปเฝ้าพระเจ้าอุเทน ณ
ที่ประทับ พระเจ้าอุเทนทอดพระเนตรเห็นพระนางเสด็จมาแต่ไกล ครั้นแล้วได้ตรัส
ถามพระมเหสีดังนี้ว่า “เธอเยี่ยมพระคุณเจ้าพระอานนท์แล้วหรือ”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๘๗ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๑. ปัญจสติก ขันธกะ] ๓. พรหมทัณฑกถา
พระนางกราบทูลว่า “ขอเดชะ เยี่ยมแล้ว”
พระเจ้าอุเทนตรัสถามว่า “เธอถวายอะไรแก่สมณะอานนท์บ้าง”
พระนางกราบทูลว่า “ขอเดชะ พวกหม่อมฉันถวายผ้าห่ม ๕๐๐ ผืนแก่พระ
คุณเจ้าพระอานนท์”
พระเจ้าอุเทนทรงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนสมณะอานนท์จึงรับผ้า
มากมายอย่างนั้นเล่า สมณะอานนท์จะทำการค้าขายผ้าหรือตั้งร้านค้ากระมัง”
ต่อมา พระเจ้าอุเทนเสด็จไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่พัก ครั้นแล้วทรงปราศรัย
กับท่านพระอานนท์ ครั้นทรงปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว
ประทับนั่ง ณ ที่สมควรตรัสถามท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “ท่านอานนท์ มเหสีของ
ข้าพเจ้ามาแล้วหรือ”
ท่านพระอานนท์ถวายพระพรว่า “พระมเหสีของพระองค์มาแล้ว มหาบพิตร”
พระเจ้าอุเทนตรัสถามว่า “พระนางได้ถวายอะไรแก่ท่านอานนท์บ้าง”
ท่านพระอานนท์ถวายพระพรว่า“มหาบพิตร พระนางถวายผ้าห่มอาตมา ๕๐๐
ผืน”
พระเจ้าอุเทนตรัสถามว่า “ท่านอานนท์ ผ้ามากมายอย่างนั้น ท่านจะเอาไปทำ
อะไร”
ท่านพระอานนท์ถวายพระพรว่า“มหาบพิตร อาตมาจะแจกภิกษุทั้งหลายผู้มี
จีวรเก่า”
พระเจ้าอุเทนตรัสถามว่า “ท่านอานนท์ ท่านจะเอาจีวรเก่าที่มีอยู่เดิมไปทำอะไร”
ท่านพระอานนท์ถวายพระพรว่า “มหาบพิตร อาตมาจะทำจีวรเก่าที่มีอยู่เดิม
นั้นให้เป็นผ้าเพดาน”
พระเจ้าอุเทนตรัสถามว่า “ท่านอานนท์ ท่านจะเอาผ้าเพดานเก่าไปทำอะไร”
ท่านพระอานนท์ถวายพระพรว่า “มหาบพิตร อาตมาจะทำผ้าเพดานเก่านั้นให้
เป็นปลอกฟูก”
พระเจ้าอุเทนตรัสถามว่า “ท่านอานนท์ ท่านจะเอาผ้าปลอกฟูกเก่าไปทำอะไร”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๘๘ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๑. ปัญจสติก ขันธกะ] ๓. พรหมทัณฑกถา
ท่านพระอานนท์ถวายพระพรว่า “มหาบพิตร อาตมาจะทำผ้าปลอกฟูกเก่านั้น
ให้เป็นผ้าปูพื้น”
พระเจ้าอุเทนตรัสถามว่า “ท่านอานนท์ ท่านจะเอาผ้าปูพื้นเก่าไปทำอะไร”
ท่านพระอานนท์ถวายพระพรว่า “มหาบพิตร อาตมาจะทำผ้าปูพื้นเก่าให้เป็น
ผ้าเช็ดเท้า”
พระเจ้าอุเทนตรัสถามว่า “ท่านอานนท์ ท่านจะเอาผ้าเช็ดเท้าเก่าไปทำอะไร”
ท่านพระอานนท์ถวายพระพรว่า “มหาบพิตร อาตมาจะเอาผ้าเช็ดเท้าเก่าไป
เช็ดธุลี”
พระเจ้าอุเทนตรัสถามว่า “ท่านอานนท์ ท่านจะเอาผ้าเช็ดธุลีเก่าไปทำอะไร”
ท่านพระอานนท์ถวายพระพรว่า “มหาบพิตร อาตมาจะโขลกผ้าเหล่านั้นขยำ
กับโคลนแล้วฉาบทาฝา”
ลำดับนั้น พระเจ้าอุเทนทรงดำริว่า “พระสมณะเชื้อสายศากยบุตรทั้งหมดนี้
นำผ้าไปใช้คุ้มค่า ไม่ใช่เก็บเข้าคลัง” จึงได้ถวายผ้าอีกจำนวน ๕๐๐ ผืนแก่ท่าน
พระอานนท์
อนึ่ง เวลานั้น บริขารคือจีวร ๑,๐๐๐ ผืน เกิดขึ้นแก่ท่านพระอานนท์เป็น
ครั้งแรก

เรื่องท่านพระอานนท์แจ้งพรหมทัณฑ์แก่พระฉันนะ
ต่อมา ท่านพระอานนท์เข้าไปที่โฆสิตาราม ครั้นแล้วนั่งบนอาสนะที่ปูไว้ ลำดับนั้น
ท่านพระฉันนะได้เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่พัก ครั้นแล้วอภิวาท นั่ง ณ ที่สมควร
ท่านพระอานนท์ได้กล่าวกับท่านพระฉันนะดังนี้ว่า “ท่านฉันนะ สงฆ์ได้ลงพรหมทัณฑ์
แก่ท่านแล้ว”
ท่านพระฉันนะถามว่า “ท่านอานนท์ พรหมทัณฑ์ที่สงฆ์ลงแล้วเป็นอย่างไร ขอรับ”
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “ท่านฉันนะ ท่านพึงพูดได้ตามที่ปรารถนา ภิกษุ
ทั้งหลายจะไม่ว่ากล่าว ไม่ตักเตือน ไม่พร่ำสอนท่าน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๘๙ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๑. ปัญจสติก ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในปัญจสติกขันธกะ
ท่านพระฉันนะถามว่า “ท่านอานนท์ เพราะเหตุที่ภิกษุทั้งหลายไม่ว่ากล่าว ไม่
ตักเตือน ไม่พร่ำสอนผม เพียงแค่นี้ผมชื่อว่าถูกกำจัดแล้ว” แล้วสลบล้มลงที่นั้นเอง

พระฉันนะบรรลุอรหัตตผล
ต่อมา ท่านพระฉันนะอึดอัด เบื่อระอา รังเกียจด้วยพรหมทัณฑ์ จึงหลีกเร้น
อยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายใจ ไม่นานนัก ก็ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์
ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
โดยชอบต้องการ ด้วยปัญญายิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบันแน่แท้ รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีก
ต่อไป”
จึงเป็นอันว่าท่านพระฉันนะได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่งในจำนวนพระอรหันต์
ทั้งหลาย
ครั้งนั้น ท่านฉันนะได้บรรลุอรหัตตผลแล้วจึงเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่พัก
ครั้นแล้วได้กล่าวกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “ท่านอานนท์ เวลานี้ ท่านโปรด
ระงับพรหมทัณฑ์แก่ผมเถิด”
ท่านพระอานนท์กล่าวว่า “ท่านฉันนะ เมื่อท่านบรรลุอรหัตตผลแล้ว พรหม
ทัณฑ์ของท่านก็เป็นอันระงับไป”
ก็ในการสังคายนาพระ(ธรรม)วินัยครั้งนี้ มีภิกษุ ๕๐๐ รูป ไม่หย่อนไม่ยิ่ง
ดังนั้น การสังคายนาพระ(ธรรม)วินัยครั้งนี้ จึงเรียกว่า “ปัญจสติกา”
ปัญจสติกขันธกะที่ ๑๑ จบ
ในขันธกะนี้มี ๒๓ เรื่อง

รวมเรื่องที่มีในปัญจสติกขันธกะ
เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จปรินิพพาน ท่านพระมหากัสสปะ
ผู้รักษาพระสัทธรรม ชี้แจงต่อหมู่สงฆ์ถึงถ้อยคำที่พระสุภัททะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๙๐ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๑. ปัญจสติก ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในปัญจสติกขันธกะ
กล่าวดูหมิ่นพระธรรมวินัย เมื่อเดินทางจากเมืองปาวา
พระมหากัสสปะจึงกล่าวว่า พวกเราจะสังคายนาพระสัทธรรม
ก่อนที่อธรรมจะรุ่งเรือง
พระมหากัสสปะคัดเลือกภิกษุทำสังคายนา ๔๙๙ รูป
ต่อมา สงฆ์แนะนำให้เลือกท่านพระอานนท์ด้วย
ภิกษุสงฆ์จำพรรษาอยู่ในถ้ำอันเหมาะที่จะทำสังคายนา
พระธรรมวินัย เมื่อคราวสังคายนา
พระมหากัสสปะถามพระวินัยกับท่านพระอุบาลี
ถามพระสูตรกับท่านพระอานนท์ผู้ชาญฉลาด
สาวกของพระชินเจ้าได้สังคายนาพระไตรปิฎก
สงฆ์ได้สอบถามเกี่ยวกับพุทธดำรัสที่ว่าด้วยอาบัติเล็กน้อย
ต่อจากนั้น จึงลงมติว่าจะปฏิบัติตามที่ทรงบัญญัติ
ต่อจากนั้น สงฆ์ปรับอาบัติท่านพระอานนท์เพราะไม่กราบทูล
ถามเกี่ยวกับอาบัติเล็กน้อย เพราะเหยียบผ้าของพระพุทธองค์
เพราะอนุญาตให้มาตุคามให้ไหว้พระพุทธสรีระจนน้ำตาเปียก
พระพุทธสรีระ เพราะไม่กราบทูลขอให้พระพุทธองค์
ดำรงพระชนม์ชีพอยู่ตลอดกัป เพราะกราบทูลขออนุญาตให้
มาตุคามออกบวช
ท่านพระอานนท์ยอมรับอาบัติทุกกฏเพราะเชื่อฟังภิกษุ
ผู้เถระทั้งหลาย ต่อมา ท่านพระปุราณะเดินทางมาจาก
ทักขิณาคิรีชนบท ไม่ยอมรับผลการสังคายนา
สงฆ์ลงพรหมทัณฑ์แก่พระฉันนะ พระมเหสีของ
พระเจ้าอุเทนถวายลาภสักการะแก่ท่านพระอานนท์ ผ้าได้เกิดขึ้น
เป็นจำนวนมาก ท่านพระอานนท์เอาผ้าจีวรเก่าทำเป็นเพดาน
ทำเป็นปลอกฟูก เป็นผ้าปูพื้น เป็นผ้าเช็ดเท้า เป็นผ้าเช็ดธุลี
ต่อจากนั้นขยำกับโคลนฉาบทาฝา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๙๑ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๑. ปัญจสติก ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในปัญจสติกขันธกะ
จีวร ๑,๐๐๐ ผืนเกิดแก่ท่านพระอานนท์เป็นครั้งแรก
พระฉันนะถูกลงพรหมทัณฑ์ได้บรรลุสัจธรรม
ภิกษุผู้เถระผู้เชี่ยวชาญ ๕๐๐ รูปสังคายนา
จึงเรียกว่า ปัญจสติกะ
ปัญจสติกขันธกะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๙๒ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๒. สัตตสติก ขันธกะ] ๑. ปฐมภาณวาร
๑๒. สัตตสติกขันธกะ
๑. ปฐมภาณวาร
เรื่องภิกษุวัชชีบุตรแสดงวัตถุ ๑๐ ประการ
[๔๔๖] สมัยนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จดับขันธปรินิพพานล่วงไปได้ ๑๐๐
ปี ภิกษุวัชชีบุตรทั้งหลายชาวกรุงเวสาลี แสดงวัตถุ ๑๐ ประการในกรุงเวสาลี คือ

๑. สิงคิโลณกัปปะ (เก็บเกลือไว้ในเขนง๑ แล้วฉันกับอาหารรสไม่เค็มได้)
๒. ทวังคุลกัปปะ (ฉันอาหารเมื่อเงาเลยเวลาเที่ยงไป ๒ องคุลีได้)
๓. คามันตรกัปปะ (เข้าบ้านฉันอาหารที่ไม่เป็นเดนได้)
๔. อาวาสกัปปะ (ทำอุโบสถแยกกันในอาวาสที่มีสีมาเดียวกันได้)
๕. อนุมติกัปปะ (ทำสังฆกรรม ในเมื่อภิกษุทั้งหลายยังมาไม่พร้อม
แล้วขออนุมัติภายหลังได้)
๖. อาจิณณกัปปะ (ประพฤติตามแบบที่พระอุปัชฌาย์อาจารย์เคย
ประพฤติมาได้)
๗. อมถิตกัปปะ (ฉันนมสดที่แปรไปแล้ว แต่ยังไม่เป็นนมเปรี้ยวได้)
๘. ชโลคิ (ดื่มสุราอ่อน ๆ ได้)
๙. อทสกนิสีทนะ (ใช้ผ้ารองนั่งไม่มีชายได้)
๑๐. ชาตรูปรชตะ (รับทองรับเงินได้)

เรื่องพระยสกากัณฑกบุตร
สมัยนั้น ท่านพระยสกากัณฑกบุตรเที่ยวจาริกอยู่ในแคว้นวัชชี ไปถึงกรุงเวสาลี
ทราบว่า ท่านพระยสกากัณฑกบุตรพักอยู่ที่กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขตกรุงเวสาลี

เชิงอรรถ :
๑ เขนง คือ เขาสัตว์, กลักหรือกระบอกเขาควายที่นิยมใช้บรรจุดินปืน หรือสิ่งของอื่น บางทีใช้เป่าบอก
อาณัติสัญญาณ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๙๓ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๒. สัตตสติก ขันธกะ] ๑. ปฐมภาณวาร
สมัยนั้น ภิกษุวัชชีบุตรทั้งหลายชาวกรุงเวสาลี ในวันอุโบสถนั้น ใช้ถาดทอง
สำริดตักน้ำไว้จนเต็มท่ามกลางภิกษุสงฆ์ แล้วแนะนำพวกอุบาสกอุบาสิกาชาวกรุง
เวสาลี ผู้ผ่านมาผ่านไปว่า “ท่านทั้งหลาย พวกท่านจงถวายรูปิยะแก่สงฆ์ หนึ่ง
กหาปณะบ้าง กึ่งกหาปณะบ้าง หนึ่งบาทบ้าง หนึ่งมาสกบ้าง สงฆ์มีธุระที่ต้องทำ
ด้วยบริขาร”
เมื่อพวกภิกษุวัชชีบุตรกล่าวอย่างนี้ ท่านพระยสกากัณฑกบุตรจึงบอกพวก
อุบาสกอุบาสิกาชาวกรุงเวสาลีดังนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย พวกท่านอย่าถวายรูปิยะแก่
สงฆ์ หนึ่งกหาปณะบ้าง กึ่งกหาปณะบ้าง หนึ่งบาทบ้าง หนึ่งมาสกบ้าง ทองและเงิน
ไม่สมควรแก่พวกพระสมณะเชื้อสายศากยบุตร พระสมณะเชื้อสายศากยบุตรไม่ยินดี
ทองและเงิน ไม่รับทองและเงิน พระสมณะเชื้อสายศากยบุตรทั้งหลายปล่อยวาง
แก้วมณีและทอง ปราศจากทองและเงิน”
พวกอุบาสกอุบาสิกาชาวกรุงเวสาลีแม้อันท่านพระยสกากัณฑกบุตรกล่าวเตือน
อย่างนี้ ก็ยังขืนถวายรูปิยะแก่สงฆ์ หนึ่งกหาปณะบ้าง กึ่งกหาปณะบ้าง หนึ่งบาทบ้าง
หนึ่งมาสกบ้างอยู่นั่นเอง
เมื่อผ่านคืนนั้นไป พวกภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลี ได้แบ่งเงินนั้นตามจำนวน
ภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น พวกภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลีได้กล่าวกับท่านพระยส-
กากัณฑกบุตรดังนี้ว่า “ท่านยสะ เงินจำนวนนี้เป็นส่วนแบ่งของท่าน”
ท่านพระยสกากัณฑกบุตรตอบว่า “ท่านทั้งหลาย ผมไม่มีส่วนแบ่งเงิน ผมไม่
ยินดีเงิน”
ครั้งนั้น ภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลีกล่าวว่า “ท่านทั้งหลาย ท่านพระยสกา-
กัณฑกบุตรรูปนี้ด่าบริภาษพวกอุบาสกอุบาสิกาผู้มีศรัทธาเลื่อมใส ทำให้เขาไม่มีศรัทธา
เอาเถอะ พวกเราจะลงปฏิสารณียกรรม๑แก่เธอ” แล้วได้ลงปฏิสารณียกรรมแก่ท่าน
พระยสกากัณฑกบุตร

เชิงอรรถ :
๑ ปฏิสารณียกรรม หมายถึงการที่สงฆ์ลงโทษให้ภิกษุทั้งหลายไปขอขมาคฤหัสถ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๙๔ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๒. สัตตสติก ขันธกะ] ๑. ปฐมภาณวาร
ลงปฏิสารณียกรรมโดยไม่ชอบธรรม
ลำดับนั้น ท่านพระยสกากัณฑกบุตรบอกพวกภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลีดังนี้
ว่า “ท่านทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า ‘สงฆ์พึงให้อนุทูตแก่ภิกษุผู้ถูก
ลงปฏิสารณียกรรม’ พวกท่านจงให้อนุทูตแก่เรา”
ครั้งนั้น พวกภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลีจึงแต่งตั้งภิกษุรูปหนึ่งให้เป็นอนุทูต
แก่ท่านพระยสกากัณฑกบุตร ต่อมา ท่านพระยสกากัณฑกบุตรพร้อมพระอนุทูตพา
กันเข้าไปกรุงเวสาลี แล้วชี้แจงพวกอุบาสกอุบาสิกาชาวกรุงเวสาลีดังนี้ว่า “อาตมา
กล่าวอธรรมว่าเป็นอธรรม กล่าวธรรมว่าเป็นธรรม กล่าวสิ่งมิใช่วินัยว่าเป็นสิ่งมิใข่
วินัย กล่าววินัยว่าเป็นวินัย แต่กลับถูกกล่าวหาว่า ด่าบริภาษอุบาสกอุบาสิกาผู้มี
ศรัทธาเลื่อมใส ทำให้เขาหมดศรัทธา

เครื่องเศร้าหมองของสมณพราหมณ์ ๔ ประการ
[๔๔๗] (ท่านพระยสกากัณฑกบุตรกล่าวต่อไปว่า) ท่านทั้งหลาย สมัยหนึ่ง
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตกรุง
สาวัตถี
พระผู้มีพระภาครับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งมัวหมองที่เป็น
เหตุให้ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์มัวหมอง ไม่ส่องแสง ไม่สว่าง ไม่รุ่งเรือง ๔ ประการ
สิ่งมัวหมอง ๔ ประการคือ
๑. เมฆเป็นสิ่งมัวหมองที่เป็นเหตุให้ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ มัวหมอง
ไม่ส่องแสง ไม่สว่าง ไม่รุ่งเรือง
๒. หมอกเป็นสิ่งมัวหมองที่เป็นเหตุให้ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ มัวหมอง
ไม่ส่องแสง ไม่สว่าง ไม่รุ่งเรือง
๓. ควันและฝุ่นละอองเป็นสิ่งมัวหมองที่เป็นเหตุให้ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์
มัวหมอง ไม่ส่องแสง ไม่สว่าง ไม่รุ่งเรือง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๙๕ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๒. สัตตสติก ขันธกะ] ๑. ปฐมภาณวาร
๔. ราหูผู้เป็นจอมอสูรเป็นสิ่งมัวหมองที่เป็นเหตุให้ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์
มัวหมอง ไม่ส่องแสง ไม่สว่าง ไม่รุ่งเรือง
ภิกษุทั้งหลาย สิ่งมัวหมองที่เป็นเหตุให้ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์มัวหมอง ไม่ส่อง
แสง ไม่สว่าง ไม่รุ่งเรือง ๔ ประการเหล่านี้แล
เช่นเดียวกัน ภิกษุทั้งหลาย อุปกิเลสเป็นเหตุให้สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมัว
หมอง ไม่สง่า ไม่ผ่องใส ไม่รุ่งเรือง ๔ ประการนี้
อุปกิเลส ๔ ประการคือ
๑. ภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่งดื่มสุรา และเมรัย ไม่เว้น
ขาดจากการดื่มสุราและเมรัย
ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นอุปกิเลสที่เป็นเหตุให้สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมัวหมอง ไม่
สง่า ไม่ผ่องใส ไม่รุ่งเรือง ประการที่ ๑
๒. ภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่งเสพเมถุนธรรม ไม่เว้นขาด
จากการเสพเมถุนธรรม
ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นอุปกิเลสที่เป็นเหตุให้สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมัวหมอง ไม่
สง่า ไม่ผ่องใส ไม่รุ่งเรือง ประการที่ ๒
๓. ภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่งยินดีทองและเงิน ไม่เว้น
ขาดจากการยินดีทองและเงิน
ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นอุปกิเลสที่เป็นเหตุให้สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมัวหมอง ไม่
สง่า ไม่ผ่องใส ไม่รุ่งเรือง ประการที่ ๓
๔. ภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่งดำเนินชีวิตด้วยมิจฉาชีพ ไม่
เว้นขาดจากมิจฉาชีพ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นอุปกิเลสที่เป็นเหตุให้สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมัวหมอง ไม่
สง่า ไม่ผ่องใส ไม่รุ่งเรือง ประการที่ ๔”
ท่านทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคตรัสพระดำรัสนี้แล้ว พระสุคตครั้นตรัสพระดำรัส
นี้แล้ว พระศาสดาได้ตรัสประพันธ์คาถาว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๙๖ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๒. สัตตสติก ขันธกะ] ๑. ปฐมภาณวาร
สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ถูกราคะและโทสะปกคลุม
ถูกอวิชชาหุ้มห่อยินดีรูปที่น่ารัก ดื่มสุราและเมรัย
เสพเมถุน โง่เขลา ยินดีเงินและทอง
สมณพราหมณ์พวกหนึ่งดำเนินชีวิตด้วยมิจฉาชีพ
พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธ์พระอาทิตย์
ตรัสอุปกิเลสที่ทำให้สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมัวหมอง ไม่สง่า
ไม่ผ่องใส เป็นที่รู้กัน ไม่บริสุทธิ์ มีธุลี ถูกความมืดปกคลุม
เป็นทาสแห่งตัณหา ถูกตัณหาชักนำให้อัตภาพหยาบ
เจริญเติบโต ย่อมยินดีการเกิดใหม่๑
อาตมามีวาทะอย่างนี้ กล่าวอธรรมว่าเป็นอธรรม กล่าวธรรมว่าเป็นธรรม
กล่าวสิ่งมิใช่วินัยว่าเป็นสิ่งมิใช่วินัย กล่าววินัยว่าเป็นวินัย แต่กลับถูกกล่าวหาว่า ด่า
บริภาษอุบาสกอุบาสิกาผู้มีศรัทธาเลื่อมใส ทำให้เขาหมดศรัทธา

เรื่องผู้ใหญ่บ้านชื่อมณีจูฬกะ
[๔๔๘] (ท่านพระยสกากัณฑกบุตรกล่าวต่อไปว่า) ท่านทั้งหลาย สมัยหนึ่ง
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์
ครั้งนั้น พวกข้าราชบริพารนั่งประชุมกันในราชบริษัท ภายในพระราชวังได้
สนทนากันดังนี้ว่า “ทองและเงินย่อมสมควรแก่พวกพระสมณะเชื้อสายศากยบุตร
หรือพวกพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรยินดีทองและเงินได้หรือ พวกพระสมณะเชื้อ
สายศากยบุตรรับทองและเงินได้หรือ”
ท่านทั้งหลาย สมัยนั้น ผู้ใหญ่บ้านชื่อมณีจูฬกะนั่งอยู่ในบริษัทนั้นด้วย ลำดับนั้น
ผู้ใหญ่บ้านชื่อมณีจูฬกะได้กล่าวกับบริษัทนั้นดังนี้ว่า “นายท่านทั้งหลาย พวกท่าน
อย่าได้กล่าวอย่างนี้ ทองและเงินไม่สมควรแก่พวกพระสมณะเชื้อสายศากยบุตร พวก

เชิงอรรถ :
๑ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๕๐/๘๑-๘๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๙๗ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๒. สัตตสติก ขันธกะ] ๑. ปฐมภาณวาร
พระสมณะเชื้อสายศากยบุตรไม่ยินดีทองและเงิน ไม่รับทองและเงิน พวกพระสมณะ
เชื้อสายศากยบุตรปล่อยวางแก้วมณีและทอง ปราศจากทองและเงิน”
ท่านทั้งหลาย ผู้ใหญ่บ้านชื่อมณีจูฬกะสามารถชี้แจงให้บริษัทนั้นเข้าใจ
ครั้นผู้ใหญ่บ้านชื่อมณีจูฬกะชี้แจงให้บริษัทนั้นเข้าใจแล้ว จึงได้เข้าไปเฝ้าพระผู้
มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้
มีพระภาคดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระองค์ขอพระวโรกาส พวกข้าราชบริพาร
นั่งประชุมกันในราชบริษัท ภายในพระราชวังได้สนทนากันดังนี้ว่า ‘ทองและเงิน
สมควรแก่พวกพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรหรือ พวกพระสมณะเชื้อสายศากยบุตร
ยินดีทอง และเงินได้หรือ รับทองและเงินได้หรือ’
พระพุทธเจ้าข้า เมื่อบริษัทนั้นกล่าวอย่างนี้ ข้าพระองค์ได้กล่าวกับบริษัทนั้น
ดังนี้ว่า ‘นายท่านทั้งหลาย พวกท่านอย่ากล่าวอย่างนี้ ทองและเงินไม่สมควรแก่
พวกพระสมณะเชื้อสายศากยบุตร พวกพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรไม่ยินดีทอง
และเงิน ไม่รับทองและเงิน พวกพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรปล่อยวางแก้วมณีและ
ทอง ปราศจากทองและเงิน
พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระองค์สามารถชี้แจงให้บริษัทนั้นเข้าใจได้ เมื่อชี้แจง
อย่างนี้ ชื่อว่าชี้แจงตามพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ไม่กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำเท็จ
แต่ชี้แจง ตามสมเหตุสมผล และคำกล่าวที่เหมาะแก่วาทะ๑ของพระองค์จะไม่ถูก
ตำหนิบ้างหรือแม้น้อยหนึ่ง”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ผู้ใหญ่บ้าน เอาเถอะ ท่านเมื่อชี้แจงอย่างนี้ชื่อว่าชี้แจง
ตามเรา ไม่กล่าวตู่เราด้วยคำเท็จ แต่ชี้แจงตามสมเหตุสมผล และคำกล่าวที่เหมาะ
แก่วาทะของเราจะไม่ถูกตำหนิบ้างหรือแม้น้อยหนึ่ง ผู้ใหญ่บ้าน ทองและเงินไม่สมควร
แก่พวกพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรโดยแท้ พวกพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรไม่ยินดี

เชิงอรรถ :
๑ คำกล่าวที่เหมาะแก่วาทะ คือคำเดิมของพระองค์สมเหตุสมผลกับเหตุที่ผู้อื่นกล่าว หรือคำกล่าวตามคำ
ของพระองค์นั้นต่อ ๆ กัน แม้ มีประมาณน้อยจะไม่ถูกวิญญูชนตำหนิได้หรือ (วิ.อ. ๓/๒๙๐/๑๘๐, สารตฺถ.ฏีกา
๓/๒๙๐/๓๙๔, วิมติ.ฏีกา ๒/๒๙๐/๒๔๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๙๘ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๒. สัตตสติก ขันธกะ] ๑. ปฐมภาณวาร
ทองและเงิน ไม่รับทองและเงิน พวกพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรปล่อยวางแก้วมณี
และทอง พวกพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรปราศจากทองและเงิน ผู้ใหญ่บ้าน ทอง
และเงินควรแก่รูปใด แม้กามคุณ ๕ ก็ควรแก่ผู้นั้น กามคุณ ๕ ควรแก่รูปใด ท่านพึง
ทรงจำผู้นั้นโดยส่วนเดียวว่า ไม่มีสมณธรรม ไม่มีธรรมของเชื้อสายศากยบุตร อนึ่ง
เรากล่าวเปรียบเทียบอย่างนี้ว่า ผู้ต้องการหญ้าพึงแสวงหาหญ้า ผู้ต้องการไม้พึง
แสวงหาไม้ ผู้ต้องการเกวียนพึงแสวงหาเกวียน ผู้ต้องการรู้จักตนเองพึงแสวงหา
ตนเอง แต่เราไม่เคยกล่าวถึงทองและเงินว่า ‘เป็นสิ่งที่ควรยินดี ควรแสวงหา’ ไม่ว่า
กรณีใด ๆ”๑
อาตมาผู้มีวาทะอย่างนี้ กล่าวอธรรมว่าเป็นอธรรม กล่าวธรรมว่าเป็นธรรม
กล่าวสิ่งมิใช่วินัยว่าเป็นสิ่งมิใช่วินัย กล่าววินัยว่าเป็นวินัย แต่กลับถูกกล่าวหาว่า ด่า
บริภาษอุบาสกอุบาสิกาผู้มีศรัทธาเลื่อมใส ทำให้เขาหมดศรัทธา

เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร
[๔๔๙] (ท่านพระยสกากัณฑกบุตรกล่าวต่อไปว่า) “ท่านทั้งหลาย สมัยหนึ่ง
พระผู้มีพระภาคทรงปรารภท่านพระอุปนันทศากยบุตร ทรงห้ามทองและเงิน และ
ทรงบัญญัติสิกขาบทในกรุงราชคฤห์ อาตมาผู้มีวาทะอย่างนี้ กล่าวอธรรมว่าเป็น
อธรรม กล่าวธรรมว่าเป็นธรรม กล่าวสิ่งมิใช่วินัยว่าเป็นสิ่งมิใช่วินัย กล่าววินัยว่า
เป็นวินัย แต่กลับถูกกล่าวหาว่า ด่าบริภาษอุบาสกอุบาสิกาผู้มีศรัทธาเลื่อมใส
ทำให้เขาหมดศรัทธา”
เมื่อท่านพระยสกากัณฑกบุตรกล่าวอย่างนี้ พวกอุบาสกอุบาสิกาชาวกรุงเวสาลี
ได้กล่าวดังนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ท่านพระยสกากัณฑกบุตรรูปเดียวเท่านั้นที่เป็นพระ
สมณะเชื้อสายศากยบุตร พวกท่านทั้งหมดนี้ไม่ใช่พระสมณะเชื้อสายศากยบุตร ขอ
ท่านพระยสกากัณฑกบุตรจงอยู่กรุงเวสาลี พวกเราจะอุปัฏฐากท่านพระยสกากัณฑก
บุตรด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร”

เชิงอรรถ :
๑ สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๓๖๒/๔๑๕-๔๑๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๙๙ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๒. สัตตสติก ขันธกะ] ๑. ปฐมภาณวาร
ครั้นท่านพระยสกากัณฑกบุตรชี้แจงแก่พวกอุบาสกอุบาสิกาชาวกรุงเวสาลีให้
เข้าใจดีแล้ว จึงเดินทางไปอารามพร้อมกับภิกษุอนุทูต

ลงอุกเขปนียกรรมโดยไม่ชอบธรรม
ครั้งนั้น พวกภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลี ถามภิกษุอนุทูตว่า “ท่านพระยส-
กากัณฑกบุตรขอโทษพวกอุบาสกอุบาสิกาชาวกรุงเวสาลีแล้วหรือ”
ภิกษุอนุทูตตอบว่า “ท่านทั้งหลาย พวกอุบาสกอุบาสิกาทำพวกเราให้เป็นคน
เลว ยกย่องท่านพระยสกากัณฑกบุตรผู้เดียวให้เป็นพระสมณะเชื้อสายศากยบุตร ทำ
พวกเราไม่ให้เป็นพระสมณะเชื้อสายศากยบุตร”
ลำดับนั้น พวกภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลี ปรึกษากันว่า “ท่านทั้งหลาย
พระยสกากัณฑกบุตรซึ่งพวกเรายังไม่ได้แต่งตั้งเลยก็ประกาศตัวแก่พวกชาวบ้าน
เอาเถอะ พวกเราจะลงอุกเขปนียกรรมแก่ท่าน” พวกภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลี
เหล่านั้นประสงค์จะลงอุกเขปนียกรรมแก่ท่านพระยสกากัณฑกบุตรนั้น จึงประชุม
ปรึกษากัน
สมัยนั้น ท่านพระยสกากัณฑกบุตรเหาะไปปรากฏที่กรุงโกสัมพี
[๔๕๐] ต่อมา ท่านพระยสกากัณฑกบุตรส่งทูตไปหาภิกษุทั้งหลายชาวเมือง
ปาเฐยยะและภิกษุทั้งหลายชาวอวันตีและทักขิณาบถ โดยกล่าวว่า “ท่านทั้งหลาย
พวกเราจงมาช่วยกันวินิจฉัยอธิกรณ์นี้ ก่อนที่อธรรมจะรุ่งเรือง ธรรมจะถูกคัดค้าน
สิ่งมิใช่วินัยจะรุ่งเรือง วินัยจะถูกคัดค้าน ก่อนที่พวกอธรรมวาทีจะมีกำลัง พวก
ธรรมวาทีจะอ่อนกำลัง พวกอวินยวาทีจะมีกำลัง พวกวินยวาทีจะอ่อนกำลัง”

เรื่องพระสัมภูตสาณวาสี
สมัยนั้น ท่านพระสัมภูตสาณวาสีอยู่ที่อโหคังคบรรพต ต่อมา ท่านพระยส
กากัณฑกบุตรเข้าไปหาท่านพระสัมภูตสาณวาสี ณ ที่อโหคังคบรรพต๑ ครั้นแล้วอภิวาท

เชิงอรรถ :
๑ อโหคังคบรรพต อยู่ในอินเดียตอนเหนือ บริเวณแม่น้ำคงคาตอนบน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๔๐๐ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๒. สัตตสติก ขันธกะ] ๑. ปฐมภาณวาร
นั่ง ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับท่านพระสัมภูตสาณวาสีดังนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ พวกภิกษุ
วัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลีเหล่านี้แสดงวัตถุ ๑๐ ประการในกรุงเวสาลี คือ

๑. สิงคิโลณกัปปะ (เก็บเกลือไว้ในเขนง๑ แล้วฉันกับอาหารรสไม่เค็มได้)
๒. ทวังคุลกัปปะ (ฉันอาหารเมื่อเงาเลยเวลาเที่ยงไป ๒ องคุลีได้)
๓. คามันตรกัปปะ (เข้าบ้านฉันอาหารที่ไม่เป็นเดนได้)
๔. อาวาสกัปปะ (ทำอุโบสถแยกกันในอาวาสที่มีสีมาเดียวกันได้)
๕. อนุมติกัปปะ (ทำสังฆกรรม ในเมื่อภิกษุทั้งหลายยังมาไม่พร้อม
แล้วขออนุมัติภายหลังได้)
๖. อาจิณณกัปปะ (ประพฤติตามแบบที่พระอุปัชฌาย์อาจารย์เคย
ประพฤติมาได้)
๗. อมถิตกัปปะ (ฉันนมสดที่แปรไปแล้ว แต่ยังไม่เป็นนมเปรี้ยวได้)
๘. ชโลคิ (ดื่มสุราอ่อน ๆ ได้)
๙. อทสกนิสีทนะ (ใช้ผ้ารองนั่งไม่มีชายได้)
๑๐. ชาตรูปรชตะ (รับทองรับเงินได้)

ท่านผู้เจริญ เอาเถอะ พวกเราจงช่วยกันวินิจฉัยอธิกรณ์นี้ ก่อนที่อธรรมจะ
รุ่งเรือง ธรรมจะถูกคัดค้าน สิ่งมิใช่วินัยจะรุ่งเรือง วินัยจะถูกคัดค้าน ก่อนที่พวก
อธรรมวาทีจะมีกำลัง พวกธรรมวาทีจะอ่อนกำลัง พวกอวินยวาทีจะมีกำลัง พวก
วินยวาที จะอ่อนกำลัง
ท่านพระสัมภูตสาณวาสีรับคำของท่านพระยสกากัณฑกบุตรแล้ว

เรื่องภิกษุทั้งหลายชาวเมืองปาเฐยยะและทักขิณาบถ
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายชาวเมืองปาเฐยยะประมาณ ๖๐ รูป ทั้งหมดถือธุดงค์
คือ อยู่ป่าเป็นวัตร ทั้งหมดเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ทั้งหมดทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร
ทั้งหมดมีไตรจีวรเป็นวัตร ทั้งหมดเป็นพระอรหันต์ ประชุมปรึกษาหารือกันที่อโหคังค
บรรพต ภิกษุทั้งหลายชาวอวันตีทักขิณาบถประมาณ ๘๐ รูป บางพวกถือธุดงค์ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๔๐๑ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๒. สัตตสติก ขันธกะ] ๑. ปฐมภาณวาร
อยู่ป่าเป็นวัตร บางพวกเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร บางพวกทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร
บางพวกมีไตรจีวรเป็นวัตร ทั้งหมดเป็นพระอรหันต์ ประชุมปรึกษาหารือกันที่อโหคังค
บรรพต
ครั้งนั้น ภิกษุผู้เถระทั้งหลายกำลังปรึกษากัน ได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “อธิกรณ์
นี้หยาบช้ารุนแรง ทำอย่างไรพวกเราจึงจะได้พรรคพวกที่ทำให้พวกเราเข้มแข็งมากกว่า
นี้เล่า”

เรื่องพระเรวตะ
[๔๕๑] ครั้งนั้น ท่านพระเรวตะผู้เป็นพหูสูต เชี่ยวชาญปริยัติ ทรงธรรม ทรง
วินัย ทรงมาติกา เป็นบัณฑิต เฉลียวฉลาด มีปัญญา มีความละอาย มีความ
ระมัดระวัง ใฝ่การศึกษา พักอยู่ที่เมืองโสเรยยะ
ครั้งนั้น ภิกษุผู้เถระทั้งหลายได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “ท่าน
พระเรวตะผู้เป็นพหูสูต เชี่ยวชาญปริยัติ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา เป็นบัณฑิต
เฉลียวฉลาด มีปัญญา มีความละอาย มีความระมัดระวัง ใฝ่การศึกษา พักอยู่ที่
เมืองโสเรยยะ ถ้าพวกเรา ได้ท่านพระเรวตะมาเป็นพรรคพวก ก็จะเข้มแข็งยิ่งกว่านี้”
ท่านพระเรวตะได้ยินภิกษุผู้เถระทั้งหลายกำลังปรึกษากันด้วยทิพยโสตธาตุอัน
บริสุทธิ์เหนือมนุษย์ ครั้นแล้วได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “อธิกรณ์นี้หยาบช้ารุนแรง การที่
เราจะดูดายต่ออธิกรณ์นี้ไม่สมควร เวลานี้ภิกษุเหล่านั้นกำลังมาหาเรา เรานั้นคลุกคลี
กับภิกษุเหล่านั้นจะอยู่ไม่ผาสุก ถ้ากระไรเราควรไปเสียก่อน”
ลำดับนั้น ท่านพระเรวตะจึงเดินทางจากเมืองโสเรยยะไปเมืองสังกัสสะ
ต่อมา ภิกษุผู้เถระทั้งหลายเดินทางไปเมืองโสเรยยะ ถามว่า “ท่านพระเรวตะ
พักอยู่ที่ไหน”
พวกเขาตอบว่า “ท่านพระเรวตะเดินทางไปเมืองสังกัสสะ”
ต่อมา ท่านพระเรวตะเดินทางจากเมืองสังกัสสะไปเมืองกัณณกุชชะ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๔๐๒ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๒. สัตตสติก ขันธกะ] ๑. ปฐมภาณวาร
ภิกษุผู้เถระทั้งหลายพากันเดินทางไปเมืองสังกัสสะ ถามว่า “ท่านพระเรวตะพัก
อยู่ที่ไหน”
พวกเขาตอบว่า “ท่านพระเรวตะเดินทางไปเมืองกัณณกุชชะ”
ต่อมา ท่านพระเรวตะเดินทางจากเมืองกัณณกุชชะไปเมืองอุทุมพระ
ภิกษุผู้เถระทั้งหลายพากันเดินทางไปเมืองกัณณกุชชะ ถามว่า “พระเรวตะพัก
อยู่ที่ไหน”
พวกเขาตอบว่า “ท่านพระเรวตะเดินทางไปเมืองอุทุมพระ”
ต่อมา ท่านพระเรวตะเดินทางจากเมืองอุทุมพระไปเมืองอัคคฬปุระ
ภิกษุผู้เถระทั้งหลายพากันเดินทางไปเมืองอุทุมพระ ถามว่า “ท่านพระเรวตะ
พักอยู่ที่ไหน”
พวกเขาตอบว่า “ท่านพระเรวตะเดินทางไปเมืองอัคคฬปุระ”
ต่อมา ท่านพระเรวตะเดินทางจากเมืองอัคคฬปุระไปสู่สหชาตินคร๑
ภิกษุผู้เถระทั้งหลายพากันเดินทางไปเมืองอัคคฬปุระ ถามว่า “ท่านพระเรวตะ
พักอยู่ที่ไหน”
พวกเขาตอบว่า “ท่านพระเรวตะเดินทางไปสหชาตินคร”
ภิกษุผู้เถระทั้งหลายเดินตามไปพบท่านพระเรวตะที่สหชาตินคร

คำถาม-คำตอบเกี่ยวกับวัตถุ ๑๐ ประการ
[๔๕๒] ครั้งนั้น ท่านพระสัมภูตสาณวาสี บอกท่านพระยสกากัณฑกบุตรว่า
“ท่าน ท่านพระเรวตะรูปนี้ เป็นพหูสูต เชี่ยวชาญปริยัติ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรง
มาติกา เป็นบัณฑิต เฉลียวฉลาด มีปัญญา มีความละอาย มีความระมัดระวัง ใฝ่
การศึกษา ถ้าพวกเราจะถามปัญหา ท่านสามารถจะแก้ปัญหาข้อเดียวได้ตลอดทั้งคืน
แต่เวลานี้ท่านพระเรวตะจะเชิญภิกษุอันเตวาสิกให้สวดสรภัญญะ เมื่อภิกษุรูปนั้นสวด
สรภัญญะจบ ท่านควรเข้าไปหาท่านพระเรวตะถามวัตถุ ๑๐ ประการเหล่านี้”
ท่านพระยสกากัณฑกบุตรรับคำท่านพระสัมภูตสาณวาสีแล้ว

เชิงอรรถ :
๑ สหชาตินคร เป็นเมืองเล็ก ๆ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่(น้ำคง) เป็นนิคมหนึ่งแห่งแคว้นเจตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๔๐๓ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๒. สัตตสติก ขันธกะ] ๑. ปฐมภาณวาร
ครั้งนั้น ท่านพระเรวตะเชิญภิกษุอันเตวาสิกให้สวดสรภัญญะ เมื่อภิกษุรูปนั้น
สวดสรภัญญะจบ ท่านพระยสกากัณฑกบุตรจึงเข้าไปหาท่านพระเรวตะ ครั้นแล้ว
อภิวาท นั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามท่านพระเรวตะดังนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ สิงคิโลณกัปปะ
ควรหรือ”
ท่านพระเรวตะย้อนถามว่า “ท่าน สิงคิโลณกัปปะนั้นคืออะไร”
ท่านพระยสกากัณฑกบุตรตอบว่า “ท่านผู้เจริญ การเก็บเกลือไว้ในเขนงด้วย
ตั้งใจว่า ‘จะฉันกับอาหารรสไม่เค็ม’ ควรหรือ”
ท่านพระเรวตะตอบว่า “ท่าน ไม่ควร”
ท่านพระยสกากัณฑกบุตรถามว่า “ท่านผู้เจริญ ทวังคุลกัปปะควรหรือ”
ท่านพระเรวตะย้อนถามว่า “ท่าน ทวังคุลกัปปะนั้นคืออะไร”
ท่านพระยสกากัณฑกบุตรตอบว่า “ท่านผู้เจริญ การฉันโภชนะในเวลาวิกาล
เมื่อเงา(ของดวงอาทิตย์)เลย(เวลาเที่ยง)ไป ๒ องคุลี ควรหรือ”
ท่านพระเรวตะตอบว่า “ท่าน ไม่ควร”
ท่านพระยสกากัณฑกบุตรถามว่า “ท่านผู้เจริญ คามันตรกัปปะควรหรือ”
ท่านพระเรวตะย้อนถามว่า “ท่าน คามันตรกัปปะนั้นคืออะไร”
ท่านพระยสกากัณฑกบุตรตอบว่า “ท่านผู้เจริญ ภิกษุฉันเสร็จแล้ว ห้าม
ภัตตาหารแล้วคิดว่า ‘จะเข้าไปละแวกหมู่บ้านในบัดนี้’ แล้วฉันโภชนะที่ไม่เป็นเดน
ควรหรือ”
ท่านพระเรวตะตอบว่า “ท่าน ไม่ควร”
ท่านพระยสกากัณฑกบุตรถามว่า “ท่านผู้เจริญ อาวาสกัปปะควรหรือ”
ท่านพระเรวตะย้อนถามว่า “ท่าน อาวาสกัปปะนั้นคืออะไร”
ท่านพระยสกากัณฑกบุตรตอบว่า “ท่านผู้เจริญ อาวาสหลายแห่งที่มีสีมาเสมอกัน
จะแยกกันทำอุโบสถ ควรหรือ”
ท่านพระเรวตะตอบว่า “ท่าน ไม่ควร”
ท่านพระยสกากัณฑกบุตรถามว่า “ท่านผู้เจริญ อนุมติกัปปะควรหรือ”
ท่านพระเรวตะย้อนถามว่า “ท่าน อนุมติกัปปะคืออะไร”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๔๐๔ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๒. สัตตสติก ขันธกะ] ๑. ปฐมภาณวาร
ท่านพระยสกากัณฑกบุตรตอบว่า “ท่านผู้เจริญ สงฆ์แบ่งพวกกันทำกรรมด้วย
ตั้งใจว่า ‘พวกเราจะให้ผู้มาแล้วอนุมัติ’ ควรหรือ”
ท่านพระเรวตะตอบว่า “ท่าน ไม่ควร”
ท่านพระยสกากัณฑกบุตรถามว่า “ท่านผู้เจริญ อาจิณณกัปปะควรหรือ”
ท่านพระเรวตะย้อนถามว่า “ท่าน อาจิณณกัปปะนั้นคืออะไร”
ท่านพระยสกากัณฑกบุตรตอบว่า “ท่านผู้เจริญ การประพฤติตามด้วยเข้าใจ
ว่า ‘สิ่งนี้พระอุปัชฌาย์ของเราประพฤติมา สิ่งนี้พระอาจารย์ของเราประพฤติมา’
ควรหรือ”
ท่านพระเรวตะตอบว่า “ท่าน สิ่งที่พระอุปัชฌาย์อาจารย์ประพฤติมา บางอย่าง
ควร บางอย่างไม่ควร”
ท่านพระยสกากัณฑกบุตรถามว่า “อมถิตกัปปะควรหรือ”
ท่านพระเรวตะย้อนถามว่า “ท่าน อมถิตกัปปะนั้นคืออะไร”
ท่านพระยสกากัณฑกบุตรตอบว่า “ท่านผู้เจริญ นมสดที่ละความเป็นนมสด
แล้วแต่ยังไม่ถึงกับเป็นนมเปรี้ยว ภิกษุทั้งหลายฉันเสร็จแล้ว ห้ามภัตตาหารแล้ว จะ
ดื่มนมนั้นที่ไม่เป็นเดน ควรหรือ”
ท่านพระเรวตะตอบว่า “ท่าน ไม่ควร”
ท่านพระยสกากัณฑกบุตรถามว่า “ท่านผู้เจริญการดื่มชโลคิควรหรือ”
พระเรวตะย้อมถามว่า “ท่าน ชโลคินั้นคืออะไร”
ท่านพระยสกากัณฑกบุตรตอบว่า “ท่านผู้เจริญ การดื่มสุราชนิดอ่อนที่ยังไม่
แปรเป็นน้ำเมา ควรหรือ”
ท่านพระเรวตะตอบว่า “ท่าน ไม่ควร”
ท่านพระยสกากัณฑกบุตรถามว่า “ท่านผู้เจริญ ผ้าปูนั่งไม่มีชาย ควรหรือ”
ท่านพระเรวตะตอบว่า “ท่าน ไม่ควร”
ท่านพระยสกากัณฑกบุตรถามว่า “ท่านผู้เจริญ ทองและเงิน ควรหรือ”
ท่านพระเรวตะตอบว่า “ท่าน ไม่ควร”
ท่านพระยสกากัณฑกบุตรกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ พวกภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลี
แสดงวัตถุ ๑๐ ประการนี้ในกรุงเวสาลี ท่านผู้เจริญ เอาเถอะ พวกเรา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๔๐๕ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๒. สัตตสติก ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
จงช่วยกันวินิจฉัยอธิกรณ์นี้ ก่อนที่อธรรมจะรุ่งเรือง ธรรมจะถูกคัดค้าน สิ่งมิใช่วินัย
จะรุ่งเรือง วินัยจะถูกคัดค้าน ก่อนที่พวกอธรรมวาทีจะมีกำลัง พวกธรรมวาทีจะอ่อน
กำลัง พวกอวินยวาทีจะมีกำลัง พวกวินยวาทีจะอ่อนกำลัง
ท่านพระเรวตะรับคำของท่านพระยสกากัณฑกบุตรแล้ว
ปฐมภาณวาร จบ

๒. ทุติยภาณวาร
[๔๕๓] พวกภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลีพอได้ทราบข่าวว่า “ท่านพระยส-
กากัณฑกบุตรประสงค์จะรับหน้าที่วินิจฉัยอธิกรณ์นี้ กำลังหาพรรคพวก และได้
พรรคพวกแล้ว”
ครั้งนั้นแล พวกภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลี ได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “อธิกรณ์
เรื่องนี้หยาบคายรุนแรง ทำอย่างไรพวกเราจึงจะได้พรรคพวกที่ทำให้เข้มแข็งมากกว่า
นี้เล่า”
ลำดับนั้น พวกภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลีได้ปรึกษากันต่อไปดังนี้ว่า “ท่าน
พระเรวตะรูปนี้เป็นพหูสูต เชี่ยวชาญปริยัติ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา เป็น
บัณฑิต เฉลียวฉลาด มีปัญญา มีความละอาย มีความระมัดระวัง ใฝ่การศึกษา
ถ้าพวกเราได้ท่านพระเรวตะมาร่วมเป็นพรรคพวก ก็จะเข้มแข็งยิ่งกว่านี้”
ต่อมา พวกภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลีจัดเตรียมสมณบริขารอย่างเพียงพอ คือ
บาตรบ้าง จีวรบ้าง ผ้าปูนั่งบ้าง กล่องเข็มบ้าง ประคดเอวบ้าง ผ้ากรองน้ำบ้าง
กระบอกกรองน้ำบ้าง
ลำดับนั้น พวกภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลีขนสมณบริขารนั้นโดยสารเรือไป
สหชาตินคร ขึ้นจากเรือ หยุดพักผ่อนฉันอาหารร่วมกันที่โคนไม้แห่งหนึ่ง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๔๐๖ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๒. สัตตสติก ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
เรื่องพระสาฬหะ
เวลานั้น ท่านพระสาฬหะหลีกเร้นอยู่ที่สงัด เกิดความคิดคำนึงขึ้นในจิตอย่าง
นี้ว่า “ภิกษุพวกไหนที่เป็นฝ่ายธรรมวาที ภิกษุชาวปราจีนหรือชาวเมืองปาเฐยยะ”
ครั้งนั้น ขณะที่กำลังพิจารณาพระธรรมวินัย ท่านพระสาฬหะได้ปรึกษากัน
ต่อไปอีกว่า “ภิกษุชาวปราจีนเป็นฝ่ายอธรรมวาที ภิกษุชาวเมืองปาเฐยยะเป็นฝ่าย
ธรรมวาที”
ขณะนั้น เทวดาชั้นสุทธาวาสตนหนึ่ง ทราบความคิดคำนึงในจิตของท่านด้วย
จิต(ของตน) จึงหายไปจากเทวโลกชั้นสุทธาวาสแล้วมาปรากฏต่อหน้าท่านพระสาฬหะ
เหมือนคนมีกำลังเหยียดแขนที่คู้หรือคู้แขนที่เหยียด ได้กล่าวกับท่านพระสาฬหะดัง
นี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ดีแล้ว ดีแล้ว ภิกษุชาวปราจีนเป็นฝ่ายอธรรมวาที ภิกษุชาว
เมืองปาเฐยยะเป็นฝ่ายธรรมวาที ท่านโปรดวางตนตามความถูกต้องเถิด”
ท่านพระสาฬหะกล่าวว่า “เทวดา ทั้งในกาลก่อนและเวลานี้ อาตมาก็วางตน
ตามความถูกต้อง แต่อาตมาจะยังไม่เปิดเผยความเห็น ถ้ากระไร สงฆ์น่าจะแต่งตั้ง
อาตมา(ให้เข้าร่วมวินิจฉัย)ในอธิกรณ์นี้บ้าง”

เรื่องพระอุตตระ
[๔๕๔] ต่อมา พวกภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลี ถือสมณบริขารนั้นเข้าไป
หาท่านพระเรวตะถึงที่พัก ครั้นแล้วได้กล่าวกับท่านพระเรวตะดังนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ
ขอพระเถระโปรดรับสมณบริขาร คือ บาตรบ้าง จีวรบ้าง ผ้าปูนั่งบ้าง กล่องเข็มบ้าง
ประคดเอวบ้าง ผ้ากรองน้ำบ้าง กระบอกกรองน้ำบ้าง”
ท่านพระเรวตะกล่าวว่า “ไม่ละคุณ เรามีไตรจีวรครบบริบูรณ์แล้ว” ไม่ปรารถนา
จะรับ
สมัยนั้น พระอุตตระมีพรรษา ๒๐ เป็นอุปัฏฐากของท่านพระเรวตะ ครั้งนั้น
พวกภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลีได้เข้าไปหาท่านพระอุตตระถึงที่พัก ครั้นแล้วได้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๔๐๗ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๒. สัตตสติก ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
กล่าวกับท่านพระอุตตระดังนี้ว่า “ขอท่านพระอุตตระจงรับสมณบริขาร คือ บาตรบ้าง
จีวรบ้าง ผ้าปูนั่งบ้าง กล่องเข็มบ้าง ประคดเอวบ้าง ผ้ากรองน้ำบ้าง กระบอกกรอง
น้ำบ้าง”
ท่านพระอุตตระกล่าวว่า “ไม่ละคุณ เรามีไตรจีวรครบบริบูรณ์แล้ว” ไม่ปรารถนา
จะรับ
พวกภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลีกล่าวว่า “ท่านอุตตระ คนทั้งหลายน้อม
ถวายสมณบริขารแด่พระผู้มีพระภาค ถ้าพระผู้มีพระภาคทรงรับ พวกเขาก็ดีใจ ถ้า
พระผู้มีพระภาคไม่ทรงรับ พวกเขาก็จะน้อมถวายท่านพระอานนท์ โดยกราบเรียนว่า
‘ท่านผู้เจริญ ขอพระเถระโปรดรับสมณบริขาร สิ่งที่พระเถระรับก็เป็นเหมือนกับที่
พระผู้มีพระภาคทรงรับ’ ขอท่านพระอุตตระโปรดรับสมณบริขารเถิด สิ่งที่ท่านพระ
อุตตระรับก็จะเป็นเหมือนกับสิ่งที่พระเถระรับเหมือนกัน”
ครั้งนั้น ท่านพระอุตตระถูกพวกภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลีบีบคั้น จึงรับ
จีวรผืนหนึ่งแล้วกล่าวว่า “พวกท่านพึงแจ้งความประสงค์”
พวกภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลีกล่าวว่า “ขอท่านพระอุตตระจงบอกพระ เถระ
ว่า ‘ท่านผู้เจริญ ขอพระเถระพูดเพียงเท่านี้ในท่ามกลางสงฆ์ว่า พระผู้มีพระภาค
พุทธเจ้าทั้งหลายเสด็จอุบัติในปุรัตถิมชนบท ภิกษุทั้งหลายชาวปราจีนเป็นฝ่ายธรรมวาที
ภิกษุทั้งหลายชาวเมืองปาเฐยยะเป็นฝ่ายอธรรมวาที”
พระอุตตระรับคำของพวกภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลีแล้วเข้าไปหาท่านพระ
เรวตะถึงที่พัก ครั้นแล้วได้กราบเรียนดังนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ขอพระเถระโปรดพูด
เพียงเท่านี้ในท่ามกลางสงฆ์ว่า “พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลายเสด็จอุบัติขึ้นใน
ปุรัตถิมชนบท ภิกษุชาวปราจีนเป็นฝ่ายธรรมวาที ภิกษุชาวเมืองปาเฐยยะเป็นฝ่าย
อธรรมวาที”
ท่านพระเรวตะถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย ท่านชักชวนเราในสิ่งที่ไม่ชอบธรรมหรือ” แล้ว
กล่าวประณามท่านพระอุตตระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๔๐๘ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๒. สัตตสติก ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
ต่อมา พวกภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลีถามท่านพระอุตตระดังนี้ว่า “ท่าน
อุตตระ พระเรวตะพูดอย่างไรบ้าง”
ท่านพระอุตตระตอบว่า “ท่านทั้งหลาย พวกเราทำบาปเสียแล้ว พระเรวตะพูด
ว่า ‘ภิกษุ ท่านชักชวนเราในสิ่งที่ไม่ชอบธรรมหรือ’ แล้วประณามเรา”
พวกภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลีถามว่า “ท่านอุตตระ ท่านเป็นผู้ใหญ่มีพรรษา
๒๐ แล้วมิใช่หรือ”
ท่านพระอุตตระตอบว่า “ใช่แล้วท่านทั้งหลาย แต่กระผมถือนิสัยอยู่ในท่านพระ
เรวตะผู้เป็นครู”

เรื่องสงฆ์มุ่งจะวินิจฉัยอธิกรณ์
[๔๕๕] ครั้งนั้น สงฆ์ประสงค์จะวินิจฉัยอธิกรณ์นั้น จึงได้ประชุมกัน ลำดับนั้น
ท่านพระเรวตะประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจาว่า
“ท่านทั้งหลาย ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าพวกเราจะระงับอธิกรณ์นี้ บางทีจะ
มีภิกษุผู้ถือว่าอธิกรณ์มีมูลรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่ ถ้าสงฆ์พร้อมแล้วพึงระงับอธิกรณ์นี้ในที่
ที่อธิกรณ์นี้เกิดขึ้น”
ต่อมา ภิกษุผู้เถระทั้งหลายพากันเดินทางไปกรุงเวสาลีเพื่อวินิจฉัยอธิกรณ์นั้น
ครั้งนั้น ท่านพระสัพพกามีเป็นพระสังฆเถระทั่วสังฆมณฑล มีพรรษา ๑๒๐
นับแต่อุปสมบทมา เป็นสัทธิวิหาริกของท่านพระอานนท์ พักอยู่ในกรุงเวสาลี
ครั้งนั้น ท่านพระเรวตะบอกท่านพระสัมภูตสาณวาสีดังนี้ว่า “ท่าน ผมจะไป
วิหารที่ท่านพระสัพพกามีอยู่ ท่านเข้าไปหาท่านพระสัพพกามีก่อน แล้วเรียนถาม
วัตถุ ๑๐ ประการ”
พระสัมภูตสาณวาสีรับเถระบัญชาแล้ว ต่อมา ท่านพระเรวตะเข้าไปยังวิหารที่
ท่านพระสัพพกามีอยู่ เสนาสนะของท่านพระสัพพกามีเขาจัดเตรียมไว้ในห้อง
ส่วนเสนาสนะของท่านพระเรวตะเขาจัดเตรียมไว้ที่หน้ามุขห้อง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๔๐๙ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๒. สัตตสติก ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
ขณะนั้น ท่านพระเรวตะคิดว่า “พระผู้เฒ่ารูปนี้ยังไม่จำวัด” จึงไม่จำวัด
ท่านพระสัพพกามีคิดว่า “ภิกษุอาคันตุกะรูปนี้เหนื่อยมาแต่ยังไม่จำวัด” จึงไม่
เข้าจำวัดเหมือนกัน
ครั้นพอใกล้สว่าง ท่านพระสัพพกามีลุกขึ้น ได้กล่าวกับท่านพระเรวตะดังนี้ว่า
“ท่านเรวตะ เวลานี้คุณอยู่ด้วยวิหารธรรมอะไรเป็นส่วนมาก”
ท่านพระเรวตะตอบว่า “พระคุณท่าน เวลานี้ผมอยู่ด้วยเมตตาวิหารธรรมเป็น
ส่วนมาก”
ท่านพระสัพพกามีกล่าวว่า “ท่านเรวตะ ทราบว่า เวลานี้คุณอยู่ด้วยวิหารธรรม
ที่เรียบง่าย นั่นก็คือเมตตา”
ท่านพระเรวตะตอบว่า “ท่านผู้เจริญ เมื่อก่อนคราวเป็นคฤหัสถ์ ผมได้ประพฤติ
สั่งสมเมตตา ฉะนั้นเวลานี้ผมก็ยังอยู่ด้วยเมตตาวิหารธรรมเป็นส่วนมาก แต่ผมบรรลุ
อรหัตตผลนานแล้ว ท่านผู้เจริญ เวลานี้พระเถระอยู่ด้วยวิหารธรรมอะไรเล่าเป็นส่วน
มาก”
ท่านพระสัพพกามีตอบว่า “ท่านเรวตะ เวลานี้ผมอยู่ด้วยสุญญตวิหารธรรม
เป็นส่วนมาก”
ท่านพระเรวตะกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ ทราบว่า เวลานี้ พระเถระอยู่ด้วยวิหาร
ธรรมของพระมหาบุรุษ นั่นก็คือ สุญญตสมาบัติ”
ท่านพระสัพพกามีกล่าวว่า “ท่านเรวตะ เมื่อก่อนคราวเป็นคฤหัสถ์ ผมได้ประพฤติ
สั่งสมสุญญตสมาบัติ ฉะนั้นเวลานี้ ผมก็ยังอยู่ด้วยสุญญตวิหารธรรมเป็นส่วนมาก
แต่ผมบรรลุอรหัตตผลนานแล้ว”

พระสัมภูตสาณวาสีถามวัตถุ ๑๐ ประการ
ภิกษุผู้เถระทั้งสองสนทนาค้างอยู่เพียงเท่านี้ ลำดับนั้น พระสัมภูตสาณวาสี
มาถึง จึงเข้าไปหาท่านพระสัพพกามีถึงที่พัก ครั้นแล้วอภิวาท นั่ง ณ ที่สมควรได้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๔๑๐ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๒. สัตตสติก ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
กล่าวกับท่านพระสัพพกามีดังนี้ว่า “พวกภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลีแสดงวัตถุ ๑๐
ประการในกรุงเวสาลี คือ

๑. สิงคิโลณกัปปะ (เก็บเกลือไว้ในเขนง๑ แล้วฉันกับอาหารรสไม่เค็มได้)
๒. ทวังคุลกัปปะ (ฉันอาหารเมื่อเงาเลยเวลาเที่ยงไป ๒ องคุลีได้)
๓. คามันตรกัปปะ (เข้าบ้านฉันอาหารที่ไม่เป็นเดนได้)
๔. อาวาสกัปปะ (ทำอุโบสถแยกกันในอาวาสที่มีสีมาเดียวกันได้)
๕. อนุมติกัปปะ (ทำสังฆกรรม ในเมื่อภิกษุทั้งหลายยังมาไม่พร้อม
แล้วขออนุมัติภายหลังได้)
๖. อาจิณณกัปปะ (ประพฤติตามแบบที่พระอุปัชฌาย์อาจารย์เคย
ประพฤติมาได้)
๗. อมถิตกัปปะ (ฉันนมสดที่แปรไปแล้ว แต่ยังไม่เป็นนมเปรี้ยวได้)
๘. ชโลคิ (ดื่มสุราอ่อน ๆ ได้)
๙. อทสกนิสีทนะ (ใช้ผ้ารองนั่งไม่มีชายได้)
๑๐. ชาตรูปรชตะ (รับทองรับเงินได้)

ท่านพระสัพพกามีถามว่า “ท่านผู้เจริญ พระเถระศึกษาพระธรรมและวินัยไว้
เป็นอันมากจากพระอุปัชฌาย์ ท่านผู้เจริญ เมื่อพระเถระพิจารณาพระธรรมและวินัย
อยู่ เห็นอย่างไรว่า ‘ภิกษุพวกไหนเป็นฝ่ายธรรมวาที คือ ภิกษุชาวปราจีนหรือชาว
เมืองปาเฐยยะ”
ท่านพระสัมภูตสาณวาสีตอบว่า “ท่านผู้เจริญ เมื่อผมพิจารณาพระธรรมและ
วินัยอยู่ ก็เห็นอย่างนี้ว่า ‘ภิกษุชาวปราจีนเป็นฝ่ายอธรรมวาที ภิกษุชาวเมืองปาเฐยยะ
เป็นฝ่ายธรรมวาที’ แต่ยังชี้ขาดไม่ได้ สงฆ์น่าจะแต่งตั้งผมเข้าวินิจฉัยอธิกรณ์นี้บ้าง”
ท่านพระสัพพกามีกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ เมื่อผมพิจารณาพระธรรมและวินัย
อยู่ก็เห็นอย่างนั้นว่า ‘ภิกษุชาวปราจีนเป็นฝ่ายอธรรมวาที ภิกษุชาวเมืองปาเฐยยะ
เป็นฝ่ายธรรมวาที’ แต่ยังชี้ขาดไม่ได้ สงฆ์น่าจะแต่งตั้งผมเข้าวินิจฉัยอธิกรณ์นี้บ้าง”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๔๑๑ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๒. สัตตสติก ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
พระเรวตะประกาศระงับอธิกรณ์ด้วยอุพพาหิกวิธี๑
[๔๕๖] ครั้งนั้น สงฆ์ประสงค์จะวินิจฉัยอธิกรณ์นี้ จึงประชุมกัน และเมื่อกำลัง
วินิจฉัยอธิกรณ์นั้นอยู่ มีเสียงเซ็งแซ่เกิดขึ้นไม่มีที่สิ้นสุด ไม่มีใครทราบความหมาย
แห่งถ้อยคำที่กล่าวแล้วได้
ลำดับนั้น ท่านพระเรวตะจึงประกาศให้สงฆ์ทราบว่า

ญัตติกรรมวาจา
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เมื่อพวกเรากำลังวินิจฉัยอธิกรณ์นี้ มีเสียง
เซ็งแซ่เกิดขึ้นไม่มีที่สิ้นสุด และไม่มีใครทราบความหมายแห่งถ้อยคำที่กล่าวแล้วได้
แม้แต่เรื่องเดียว ถ้าสงฆ์พร้อมแล้วพึงระงับอธิกรณ์เรื่องนี้ด้วยอุพพาหิกวิธี
สงฆ์จึงคัดเลือกภิกษุชาวปราจีน ๔ รูป คือ ท่านพระสัพพกามี ท่านพระ
สาฬหะ ท่านพระอุชชโสภิตะ และท่านพระวาสภคามิกะ และภิกษุชาวเมืองปาเฐยยะ
อีก ๔ รูป คือ ท่านพระเรวตะ ท่านพระสัมภูตสาณวาสี ท่านพระยสกากัณฑกบุตร
และท่านพระสุมนะ
ต่อมา ท่านพระเรวตะประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
ท่านผู้เจริญ เมื่อพวกเรากำลังวินิจฉัยอธิกรณ์นี้อยู่มีเสียงเซ็งแซ่เกิดขึ้นไม่มีที่สิ้นสุด
และไม่มีใครทราบความหมายแห่งถ้อยคำที่กล่าวแล้วนั้น ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว พึง
แต่งตั้งภิกษุชาวปราจีน ๔ รูป ภิกษุชาวเมืองปาเฐยยะอีก ๔ รูป เพื่อระงับอธิกรณ์นี้
ด้วยอุพพาหิกวิธี นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เมื่อพวกเรากำลังวินิจฉัยอธิกรณ์นี้อยู่มีเสียง
เซ็งแซ่เกิดขึ้นไม่มีที่สิ้นสุด และไม่มีใครทราบความหมายแห่งถ้อยคำที่กล่าวแล้วนั้น

เชิงอรรถ :
๑ อุพพาหิกวิธี คือ วิธีระงับอธิกรณ์ ในกรณีที่ประชุมสงฆ์มีความไม่สะดวกด้วยเหตุบางอย่าง สงฆ์จึงเลือก
ภิกษุบางรูปในที่ประชุมนั้น ตั้งเป็นคณะทำงานแล้วมอบเรื่องให้นำไปวินิจฉัย (วิ.อ. ๓/๒๓๑/๒๙๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๔๑๒ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๒. สัตตสติก ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
สงฆ์แต่งตั้งภิกษุชาวปราจีน ๔ รูป ภิกษุชาวเมืองปาเฐยยะอีก ๔ รูป เพื่อระงับ
อธิกรณ์นี้ด้วยอุพพาหิกวิธี ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการแต่งตั้งภิกษุชาวปราจีน ๔ รูป
ภิกษุชาวเมืองปาเฐยยะอีก ๔ รูป เพื่อระงับอธิกรณ์นี้ด้วยอุพพาหิกวิธี ท่านรูปนั้น
พึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
ภิกษุชาวปราจีน ๔ รูป ภิกษุชาวเมืองปาเฐยยะอีก ๔ รูป สงฆ์แต่งตั้งเพื่อ
ระงับอธิกรณ์ด้วยอุพพาหิกวิธี สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความ
นิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้

เรื่องพระอชิตะ
สมัยนั้น ภิกษุอชิตะ มีพรรษา ๑๐ เป็นผู้ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงแก่สงฆ์ ต่อมา
สงฆ์แต่งตั้งท่านพระอชิตะให้เป็นผู้ปูอาสนะเพื่อภิกษุผู้เถระทั้งหลาย
ภิกษุผู้เถระทั้งหลายคิดว่า “พวกเราจะระงับอธิกรณ์นี้ที่ไหนเล่า” ลำดับนั้น
ภิกษุผู้เถระทั้งหลายได้ปรึกษากันต่อไปดังนี้ว่า “วาลิการามเป็นที่น่ารื่นรมย์ เงียบสงบ
ไม่อึกทึก พวกเราน่าจะระงับอธิกรณ์นี้ที่วาลิการาม”
[๔๕๗] ครั้งนั้น ภิกษุผู้เถระทั้งหลาย ประสงค์จะวินิจฉัยอธิกรณ์นั้นพากันเดิน
ทางไปวาลิการาม
ลำดับนั้น ท่านพระเรวตะประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจาว่า

ญัตติกรรมวาจา
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมแล้ว ข้าพเจ้าพึงถามพระวินัย
กับท่านพระสัพพกามี”
ท่านพระสัพพกามีจึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจาว่า

ญัตติกรรมวาจา
“ท่านทั้งหลาย ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว ข้าพเจ้าอันท่าน
พระเรวตะถามพระวินัย จะได้ตอบต่อไป”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๔๑๓ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๒. สัตตสติก ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
คำถาม-คำตอบเกี่ยวกับวัตถุ ๑๐ ประการ
ลำดับนั้น ท่านพระเรวตะถามท่านพระสัพพกามีว่า “ท่านผู้เจริญ สิงคิโลณ
กัปปะควรหรือ”
ท่านพระสัพพกามีย้อนถามว่า “ท่าน สิงคิโลณกัปปะนั้นคืออะไร”
ท่านพระเรวตะตอบว่า “ท่านผู้เจริญ การเก็บเกลือไว้ในเขนงเพราะตั้งใจว่า ‘จะ
ฉันกับอาหารรสไม่เค็ม’ ควรหรือ”
ท่านพระสัพพกามีตอบว่า “ท่าน ไม่ควร”
ท่านพระเรวตะถามว่า “พระผู้มีพระภาคทรงห้ามไว้ที่ไหน”
ท่านพระสัพพกามีตอบว่า “กรุงสาวัตถี ปรากฏในสุตตวิภังค์”
ท่านพระเรวตะถามว่า “ต้องอาบัติอะไร”
ท่านพระสัพพกามีตอบว่า “ต้องปาจิตตีย์ เพราะสะสมโภชนะ”
ท่านพระเรวตะประกาศว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เรื่องที่ ๑ นี้
สงฆ์วินิจฉัยแล้วว่า เรื่องนี้นอกธรรม นอกวินัย เลี่ยงสัตถุศาสน์ ผมขอจักสลาก
ที่ ๑ นี้” (๑)
ท่านพระเรวตะถามว่า “ท่านผู้เจริญ ทวังคุลกัปปะควรหรือ”
ท่านพระสัพพกามีย้อนถามว่า “ท่าน ทวังคุลกัปปะนั้นคืออะไร”
ท่านพระเรวตะตอบว่า “ท่านผู้เจริญ การฉันโภชนะในเวลาวิกาล เมื่อเงา (ของ
ดวงอาทิตย์)เลย(เวลาเที่ยง)ไป ๒ องคุลี ควรหรือ”
ท่านพระสัพพกามีตอบว่า “ท่าน ไม่ควร”
ท่านพระเรวตะถามว่า “พระผู้มีพระภาคทรงห้ามไว้ที่ไหน”
ท่านพระสัพพกามีตอบว่า “กรุงราชคฤห์ ปรากฏในสุตตวิภังค์”
ท่านพระเรวตะถามว่า “ต้องอาบัติอะไร”
ท่านพระสัพพกามีตอบว่า “ต้องปาจิตตีย์ เพราะฉันโภชนะในเวลาวิกาล”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๔๑๔ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๒. สัตตสติก ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
ท่านพระเรวตะประกาศว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เรื่องที่ ๒ นี้
สงฆ์วินิจฉัยแล้วว่า เรื่องนี้นอกธรรม นอกวินัย เลี่ยงสัตถุศาสน์ ผมขอจับสลาก
ที่ ๒ นี้” (๒)
ท่านพระเรวตะถามว่า “ท่านผู้เจริญ คามันตรกัปปะควรหรือ”
ท่านพระสัพพกามีย้อนถามว่า “ท่าน คามันตรกัปปะนั้นคืออะไร”
ท่านพระเรวตะตอบว่า “ท่านผู้เจริญ ภิกษุฉันเสร็จแล้ว ห้ามภัตตาหารแล้ว
คิดว่า ‘จะเข้าละแวกหมู่บ้าน ในบัดนี้’ แล้วฉันโภชนะที่ไม่เป็นเดน ควรหรือ”
ท่านพระสัพพกามีตอบว่า “ท่าน ไม่ควร”
ท่านพระเรวตะถามว่า “พระผู้มีพระภาคทรงห้ามไว้ ณ ที่ไหน”
ท่านพระสัพพกามีตอบว่า “ณ กรุงสาวัตถี ปรากฏในสุตตวิภังค์”
ท่านพระเรวตะถามว่า “ต้องอาบัติอะไร”
ท่านพระสัพพกามีตอบว่า “ต้องปาจิตตีย์ เพราะฉันโภชนะที่ไม่เป็นเดน”
ท่านพระเรวตะประกาศว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เรื่องที่ ๓ นี้
สงฆ์วินิจฉัยแล้วว่า เรื่องนี้นอกธรรม นอกวินัย เลี่ยงสัตถุศาสน์ ผมขอจับสลาก
ที่ ๓ นี้” (๓)
ท่านพระเรวตะถามว่า “ท่านผู้เจริญ อาวาสกัปปะควรหรือ”
ท่านพระสัพพกามีย้อนถามว่า “ท่าน อาวาสกัปปะนั้นคืออะไร”
ท่านพระเรวตะตอบว่า “ท่านผู้เจริญ อาวาสหลายแห่งที่มีสีมาเดียวกัน จะแยก
กันทำอุโบสถ ควรหรือ”
ท่านพระสัพพกามีตอบว่า “ท่าน ไม่ควร”
ท่านพระเรวตะถามว่า “พระผู้มีพระภาคทรงห้ามไว้ที่ไหน”
ท่านพระสัพพกามีตอบว่า “กรุงราชคฤห์ ปรากฏในอุโบสถสังยุต”
ท่านพระเรวตะถามว่า “ต้องอาบัติอะไร”
ท่านพระสัพพกามีตอบว่า “ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะล่วงพระวินัย”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๔๑๕ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๒. สัตตสติก ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
ท่านพระเรวตะประกาศว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เรื่องที่ ๔ นี้
สงฆ์วินิจฉัยแล้วว่า เรื่องนี้นอกธรรม นอกวินัย เลี่ยงสัตถุศาสน์ ผมขอจับสลากที่
๔ นี้” (๔)
ท่านพระเรวตะถามว่า “ท่านผู้เจริญ อนุมติกัปปะควรหรือ”
ท่านพระสัพพกามีย้อนถามว่า “ท่าน อนุมติกัปปะนั้นคืออะไร”
ท่านพระเรวตะตอบว่า “ท่านผู้เจริญ สงฆ์แบ่งเป็นพวกกันทำกรรมด้วยตั้งใจว่า
‘จะให้ผู้มาแล้วอนุมัติ’ ควรหรือ”
ท่านพระสัพพกามีตอบว่า “ท่าน ไม่ควร”
ท่านพระเรวตะถามว่า “พระผู้มีพระภาคทรงห้ามไว้ที่ไหน”
ท่านพระสัพพกามีตอบว่า “ปรากฏในเรื่องพระวินัย ในจัมเปยยขันธกะ”
ท่านพระเรวตะถามว่า “ต้องอาบัติอะไร”
ท่านพระสัพพกามีตอบว่า “ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะละเมิดพระวินัย”
ท่านพระเรวตะประกาศว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เรื่องที่ ๕ นี้
สงฆ์วินิจฉัยแล้วว่า เรื่องนี้นอกธรรม นอกวินัย เลี่ยงสัตถุศาสน์ ผมขอจับสลากที่
๕ นี้” (๕)
ท่านพระเรวตะถามว่า “ท่านผู้เจริญ อาจิณณกัปปะควรหรือ”
ท่านพระสัพพกามีย้อนถามว่า “ท่าน อาจิณณกัปปะนั้นคืออะไร”
ท่านพระเรวตะตอบว่า “ท่านผู้เจริญ การประพฤติล่วงเกินด้วยเข้าใจว่า ‘สิ่งนี้
พระอุปัชฌาย์ของเราประพฤติมา สิ่งนี้พระอาจารย์ของเราประพฤติมา’ ควรหรือ”
ท่านพระสัพพกามีตอบว่า “ท่าน สิ่งที่พระอุปัชฌาย์อาจารย์ประพฤติมาบาง
อย่างควร บางอย่างไม่ควร”
ท่านพระเรวตะประกาศว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เรื่องที่ ๖ นี้
สงฆ์วินิจฉัยแล้วว่า เรื่องนี้นอกธรรม นอกวินัย เลี่ยงสัตถุศาสน์ ข้าพเจ้าขอลงคะแนน
ที่ ๖ นี้” (๖)
ท่านพระเรวตะถามว่า “ท่านผู้เจริญ อมถิตกัปปะควรหรือ”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๔๑๖ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๒. สัตตสติก ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
ท่านพระสัพพกามีย้อนถามว่า “ท่าน อมถิตกัปปะนั้นคืออะไร”
ท่านพระเรวตะตอบว่า “ท่านผู้เจริญ นมสดที่ละความเป็นนมสดแล้วแต่ยังไม่
ถึงกับเป็นนมเปรี้ยว ภิกษุฉันเสร็จแล้ว ห้ามภัตตาหารแล้ว จะดื่มนมสดที่ไม่เป็นเดน
ควรหรือ”
ท่านพระสัพพกามีตอบว่า “ท่าน ไม่ควร”
ท่านพระเรวตะถามว่า “พระผู้มีพระภาคทรงห้ามไว้ ณ ที่ไหน”
ท่านพระสัพพกามีตอบว่า “ณ กรุงสาวัตถี ปรากฏในสุตตวิภังค์”
ท่านพระเรวตะถามว่า “ต้องอาบัติอะไร”
ท่านพระสัพพกามีตอบว่า “ต้องปาจิตตีย์ เพราะฉันโภชนะที่ไม่เป็นเดน”
ท่านพระเรวตะประกาศว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เรื่องที่ ๗ นี้
สงฆ์วินิจฉัยแล้วว่า เรื่องนี้นอกธรรม นอกวินัย เลี่ยงสัตถุศาสน์ ผมขอจับสลากที่
๗ นี้” (๗)
ท่านพระเรวตะถามว่า “ท่านผู้เจริญ การดื่มชโลคิ ควรหรือไม่”
ท่านพระสัพพกามีย้อนถามว่า “ท่าน ชโลคินั้นคืออะไร”
ท่านพระเรวตะตอบว่า “ท่านผู้เจริญ การดื่มสุราชนิดอ่อนที่ยังไม่แปรเป็นน้ำเมา (ชื่อว่าชโลคิ)
ควรหรือ”
ท่านพระสัพพกามี “ท่าน ไม่ควร”
ท่านพระเรวตะถามว่า “พระผู้มีพระภาคทรงห้ามไว้ ณ ที่ไหน”
ท่านพระสัพพกามีตอบว่า “ณ เมืองโกสัมพี ปรากฏในสุตตวิภังค์”
ท่านพระเรวตะถามว่า “ต้องอาบัติอะไร”
ท่านพระสัพพกามีตอบว่า “ต้องปาจิตตีย์ เพราะดื่มสุราและเมรัย”
ท่านพระเรวตะประกาศว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เรื่องที่ ๘ นี้
สงฆ์วินิจฉัยแล้วว่า เรื่องนี้นอกธรรม นอกวินัย เลี่ยงสัตถุศาสน์ ผมขอจับสลากที่
๘ นี้” (๘)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๔๑๗ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๒. สัตตสติก ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
ท่านพระเรวตะถามว่า “ท่านผู้เจริญ ผ้าปูนั่งไม่มีชาย ควรหรือ”
ท่านพระสัพพกามีตอบว่า “ท่าน ไม่ควร”
ท่านพระเรวตะถามว่า “พระผู้มีพระภาคทรงห้ามไว้ ณ ที่ไหน”
ท่านพระสัพพกามีตอบว่า “ณ กรุงสาวัตถี ปรากฏในสุตตวิภังค์”
ท่านพระเรวตะถามว่า “ต้องอาบัติอะไร”
ท่านพระสัพพกามีตอบว่า “ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ที่ชื่อว่าเฉทนกะ”๑
ท่านพระเรวตะประกาศว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เรื่องที่ ๙ นี้
สงฆ์วินิจฉัยแล้วว่า เรื่องนี้นอกธรรม นอกวินัย เลี่ยงสัตถุศาสน์ ผมขอจับสลากที่
๙ นี้” (๙)
ท่านพระเรวตะถามว่า “ท่านผู้เจริญ ทองและเงิน ควรหรือ”
ท่านพระสัพพกามีตอบว่า “ท่าน ไม่ควร”
ท่านพระเรวตะถามว่า “พระผู้มีพระภาคทรงห้ามไว้ที่ไหน”
ท่านพระสัพพกามีตอบว่า “กรุงราชคฤห์ ปรากฏในสุตตวิภังค์”
ท่านพระเรวตะถามว่า “ต้องอาบัติอะไร”
ท่านพระสัพพกามีตอบว่า “ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะรับทองและเงิน”
ท่านพระเรวตะประกาศว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เรื่องที่ ๑๐ นี้
สงฆ์วินิจฉัยแล้วว่า เรื่องนี้นอกธรรม นอกวินัย เลี่ยงสัตถุศาสน์ ผมขอจับสลากที่
๑๐ นี้ (๑๐)
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์วินิจฉัยวัตถุทั้ง ๑๐ ประการนี้แล้วว่า
เรื่องเหล่านี้นอกธรรม นอกวินัย เลี่ยงสัตถุศาสน์ เพราะเหตุอย่างนี้

เชิงอรรถ :
๑ เฉทนกะ แปลว่า มีการตัดออก เป็นชื่อเฉพาะอาบัติปาจิตตีย์สิกขาบทที่ ๕, ๗-๙ แห่งรตนวรรค ที่
ว่าด้วยการทำของใช้สอยเกินขนาด ภิกษุทั้งหลายทำเตียงตั่ง ผ้ารองนั่ง ผ้าปิดฝี หรือผ้าอาบน้ำฝนเกิน
ขนาด ต้องอาบัติปาจิตตีย์ที่ชื่อว่า เฉทนกะ (ดู วิ.มหา. (แปล) ๒/๕๒๒/๖๐๘,๕๓๓,๕๓๘,๕๔๓/๖๑๕,๖๑๘,
๖๒๑) ต้องตัดวัตถุนั้นให้ได้ขนาดก่อน จึงแสดงอาบัติตก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๔๑๘ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๒. สัตตสติก ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในสัตตสติกขันธกะ
[๔๕๘] ท่านพระสัพพกามีกล่าวต่อไปว่า “ท่านทั้งหลาย สงฆ์วินิจฉัยอธิกรณ์
นั่นสำเร็จเรียบร้อยดีแล้ว อนึ่ง ท่านพึงถามถึงวัตถุทั้ง ๑๐ ประการนี้กับข้าพเจ้า
ท่ามกลางสงฆ์ เพื่อให้ภิกษุเหล่านั้นยอมรับทั่วกัน”
ต่อมา ท่านพระเรวตะได้สอบถามวัตถุ ๑๐ ประการนี้กับท่านพระสัพพกามี ใน
ท่ามกลางสงฆ์ ท่านพระสัพพกามีเมื่อถูกถามได้ตอบแล้ว
ในคราวสังคายนาพระวินัยครั้งนี้ มีภิกษุ ๗๐๐ รูปพอดี ดังนั้น บัณฑิตจึงเรียก
การสังคายนาพระวินัยครั้งนี้ว่า “สัตตสติกา”
สัตตสติกขันธกะที่ ๑๒ จบ
ในขันธกะนี้มี ๒๕ เรื่อง

รวมเรื่องที่มีในสัตตสติกขันธกะ
พวกภิกษุวัชชีบุตรแสดงวัตถุ ๑๐ ประการ
บรรจุน้ำให้เต็มถาดสำริดวางไว้ในโรงอุโบสถ
แนะนำให้อุบาสกอุบาสิกาถวายรูปิยะ
เมื่อพระยสกากัณฑกบุตรไม่เห็นด้วยก็ลงปฏิสารณียกรรม
ท่านพระยสกากัณฑกบุตรพร้อมด้วยอนุทูตเข้าไปกรุงเวสาลี
ท่านพระยสกากัณฑกบุตรกล่าวว่า
พระผู้มีพระภาคตรัสเครื่องมัวหมอง ๔ อย่างของสมณพราหมณ์
เปรียบเหมือนเครื่องมัวหมองของดวงจันทร์ดวงอาทิตย์
สมณพราหมณ์รับทองและเงินย่อมเศร้าหมอง
ต่อมา ท่านพระยสกากัณฑกบุตรไปปรากฏตัวที่กรุงโกสัมพี
ภิกษุชาวเมืองปาเฐยยะ ชาวอวันตีและทักขิณาบถปรึกษากัน
แสวงหาพรรคพวก ในขณะที่ท่านพระเรวตะพักอยู่ที่เมืองโสเรยยะ
ต่อไปเมืองสังกัสสะ เมืองกัณณกุชชะ เมืองอุทุมพระ สหชาตินคร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๔๑๙ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๒. สัตตสติก ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในสัตตสติกขันธกะ
ท่านพระสัมภูตสาณวาสีบอกท่านพระยสกากัณฑกบุตร
ให้ไปถามปัญหากับท่านพระเรวตะในขณะที่ท่านเชิญภิกษุ
อันเตวาสิกให้สวดสรภัญญะจบ
พวกภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลีได้ทราบข่าวว่า
พระยสกากัณฑกบุตรจะวินิจฉัยอธิกรณ์
จึงแสวงหาพรรคพวก
จัดเตรียมสมณบริขารมีบาตรเป็นต้นโดยสารเรือไปสหชาตินคร
พระอุตตระรับคำของพวกภิกษุวัชชีบุตร
ถูกท่านพระเรวตะตำหนิร้ายแรง
สงฆ์มุ่งจะวินิจฉัยอธิกรณ์ไปกรุงเวสาลี
ในขณะที่ท่านพระเรวตะตอบท่านพระสัพพกามีว่า
ตัวท่านเองอยู่ด้วยเมตตาวิหารธรรม
เมื่อจะวินิจฉัยอธิกรณ์ ได้ประกาศให้สงฆ์ทราบทั่วกันว่า
จะระงับอธิกรณ์ด้วยอุพพาหิกวิธี
สัตตสติกขันธกะ จบ
จูฬวรรค จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๔๒๐ }


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๗ วินัยปิฎกที่ ๐๗ จุลวรรค ภาค ๒ จบ





eXTReMe Tracker