ค้นว่าอยู่เล่มใด แล้วกด [ctrl]+f หรือใช้คำสั่งของเครื่องหาตำแหน่งในเล่มอีกทีนะครับ



จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อความสะดวก และสวยงาม
(เฉพาะหน้าจอใหญ่ เช่น คอมพิวเตอร์)
กรุณาคลิก จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อให้กรอบ
ค้นข้อความ ปรากฎที่ด้านซ้ายของหน้า

พระไตรปิฎกภาษาไทย
ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม (ปกสีฟ้า)
ทั้งออนไลน์และออฟไลน์
ที่มาของข้อมูล : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มจร.
MCUTRAI Version 1.0

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๔-๒ วินัยปิฎกที่ ๐๔ มหาวรรค ภาค ๑

พระวินัยปิฎก
มหาวรรค ภาค ๑
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๒๔. อุปสัมปาเทตัพพฉักกะ
๓. ตนเองไม่ประกอบด้วยปัญญาขันธ์อันเป็นอเสขะ และไม่ชักชวนผู้อื่น
ในปัญญาขันธ์อันเป็นอเสขะ
๔. ตนเองไม่ประกอบด้วยวิมุตติขันธ์อันเป็นอเสขะ และไม่ชักชวนผู้อื่น
ในวิมุตติขันธ์อันเป็นอเสขะ
๕. ตนเองไม่ประกอบด้วยวิมุตติญาณทัสสนขันธ์อันเป็นอเสขะ และไม่
ชักชวนผู้อื่นในวิมุตติญาณทัสสนขันธ์อันเป็นอเสขะ
๖. มีพรรษาหย่อน ๑๐
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ เหล่านี้แล ไม่พึงให้อุปสมบท
ไม่พึงให้นิสสัย ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก (๓)

สุกกปักษ์ ๒
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสสัย พึงใช้
สามเณรอุปัฏฐาก คือ
๑. ตนเองประกอบด้วยสีลขันธ์อันเป็นอเสขะ และชักชวนผู้อื่นใน
สีลขันธ์อันเป็นอเสขะ
๒. ตนเองประกอบด้วยสมาธิขันธ์อันเป็นอเสขะ และชักชวนผู้อื่นใน
สมาธิขันธ์อันเป็นอเสขะ
๓. ตนเองประกอบด้วยปัญญาขันธ์อันเป็นอเสขะ และชักชวนผู้อื่นใน
ปัญญาขันธ์อันเป็นอเสขะ
๔. ตนเองประกอบด้วยวิมุตติขันธ์อันเป็นอเสขะ และชักชวนผู้อื่นใน
วิมุตติขันธ์อันเป็นอเสขะ
๕. ตนเองประกอบด้วยวิมุตติญาณทัสสนขันธ์อันเป็นอเสขะ และชักชวน
ผู้อื่นในวิมุตติญาณทัสสนขันธ์อันเป็นอเสขะ
๖. มีพรรษาครบ ๑๐ หรือมีพรรษาเกิน ๑๐
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ เหล่านี้แล พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสสัย
พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก (๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๓๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๒๔. อุปสัมปาเทตัพพฉักกะ
กัณหปักษ์ ๓
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ แม้อื่นอีก ไม่พึงให้อุปสมบท
ไม่พึงให้นิสสัย ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก คือ
๑. เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๒. เป็นผู้ไม่มีหิริ
๓. เป็นผู้ไม่มีโอตตัปปะ ๔. เป็นผู้เกียจคร้าน
๕. เป็นผู้มีสติฟั่นเฟือน ๖. มีพรรษาหย่อน ๑๐
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ เหล่านี้แล ไม่พึงให้อุปสมบท
ไม่พึงให้นิสสัย ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก (๕)

สุกกปักษ์ ๓
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสสัย พึงใช้
สามเณรอุปัฏฐาก คือ
๑. เป็นผู้มีศรัทธา ๒. เป็นผู้มีหิริ
๓. เป็นผู้มีโอตตัปปะ ๔. เป็นผู้ปรารภความเพียร
๕. เป็นผู้มีสติตั้งมั่น ๖. มีพรรษาครบ ๑๐ หรือมีพรรษา
เกิน ๑๐
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ เหล่านี้แล พึงให้อุปสมบท พึงให้
นิสสัย พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก (๖)

กัณหปักษ์ ๔
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ แม้อื่นอีก ไม่พึงให้อุปสมบท
ไม่พึงให้นิสสัย ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก คือ

๑. เป็นผู้มีสีลวิบัติในอธิสีล ๒. เป็นผู้มีอาจารวิบัติในอัชฌาจาร
๓. เป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติในอติทิฏฐิ๑ ๔. เป็นผู้ได้ยินได้ฟังน้อย


เชิงอรรถ :
๑ มีสีลวิบัติในอธิสีล อาจารวิบัติในอัชฌาจาร ทิฏฐิวิบัติในอติทิฏฐิ ดูข้อ ๘๔ หน้า ๑๒๖ (เชิงอรรถ)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๓๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๒๔. อุปสัมปาเทตัพพฉักกะ
๕. เป็นผู้มีปัญญาทราม ๖. มีพรรษาหย่อน ๑๐
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ เหล่านี้แล ไม่พึงให้อุปสมบท
ไม่พึงให้นิสสัย ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก (๗)

สุกกปักษ์ ๔
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสสัย
พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก คือ

๑. เป็นผู้ไม่มีสีลวิบัติในอธิสีล ๒. เป็นผู้ไม่มีอาจารวิบัติในอัชฌาจาร
๓. เป็นผู้ไม่มีทิฏฐิวิบัติในอติทิฏฐิ ๔. เป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก
๕. เป็นผู้มีปัญญา ๖. มีพรรษาครบ ๑๐ หรือมีพรรษา
เกิน ๑๐

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ เหล่านี้แล พึงให้อุปสมบท
พึงให้นิสสัย พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก (๘)

กัณหปักษ์ ๕
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ แม้อื่นอีก ไม่พึงให้อุปสมบท
ไม่พึงให้นิสสัย ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก คือ
๑. ไม่สามารถพยาบาลเองหรือใช้ให้ผู้อื่นช่วยพยาบาลอันเตวาสิกหรือ
สัทธิวิหาริกผู้เป็นไข้
๒. ไม่สามารถระงับเองหรือใช้ให้ผู้อื่นช่วยระงับความกระสัน
๓. ไม่สามารถบรรเทาเองหรือใช้ให้ผู้อื่นช่วยบรรเทาความเบื่อหน่ายที่เกิด
ขึ้นโดยธรรม
๔. ไม่รู้จักอาบัติ
๕. ไม่รู้จักวิธีออกจากอาบัติ
๖. มีพรรษาหย่อน ๑๐
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ เหล่านี้แล ไม่พึงให้อุปสมบท
ไม่พึงให้นิสสัย ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก (๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๓๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๒๔. อุปสัมปาเทตัพพฉักกะ
สุกกปักษ์ ๕
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสสัย
พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก คือ
๑. สามารถพยาบาลเอง หรือใช้ให้ผู้อื่นช่วยพยาบาลอันเตวาสิกหรือ
สัทธิวิหาริกผู้เป็นไข้
๒. สามารถระงับเองหรือใช้ให้ผู้อื่นช่วยระงับความกระสัน
๓. สามารถบรรเทาเองหรือใช้ให้ผู้อื่นช่วยบรรเทาความเบื่อหน่ายที่เกิดขึ้น
โดยธรรม
๔. รู้จักอาบัติ
๕. รู้จักวิธีออกจากอาบัติ
๖. มีพรรษาครบ ๑๐ หรือมีพรรษาเกิน ๑๐
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ เหล่านี้แล พึงให้อุปสมบท
พึงให้นิสสัย พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก (๑๐)

กัณหปักษ์ ๖
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ แม้อื่นอีก ไม่พึงให้อุปสมบท
ไม่พึงให้นิสสัย ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก คือ
๑. ไม่สามารถฝึกปรืออันเตวาสิกหรือสัทธิวิหาริกในอภิสมาจาริกาสิกขา
๒. ไม่สามารถแนะนำในอาทิพรหมจาริกาสิกขา
๓. ไม่สามารถแนะนำในอภิธรรม
๔. ไม่สามารถแนะนำในอภิวินัย
๕. ไม่สามารถเปลื้องความเห็นผิดอันเกิดขึ้นได้โดยธรรม
๖. มีพรรษาหย่อน ๑๐
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ เหล่านี้แล ไม่พึงให้อุปสมบท
ไม่พึงให้นิสสัย ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก (๑๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๓๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๒๔. อุปสัมปาเทตัพพฉักกะ
สุกกปักษ์ ๖
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสสัย
พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก คือ
๑. สามารถฝึกปรืออันเตวาสิกหรือสัทธิวิหาริกในอภิสมาจาริกาสิกขา
๒. สามารถแนะนำในอาทิพรหมจาริกาสิกขา
๓. สามารถแนะนำในอภิธรรม
๔. สามารถแนะนำในอภิวินัย
๕. สามารถเปลื้องความเห็นผิดอันเกิดขึ้นได้โดยธรรม
๖. มีพรรษาครบ ๑๐ หรือมีพรรษาเกิน ๑๐
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ เหล่านี้แล พึงให้อุปสมบท
พึงให้นิสสัย พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก (๑๒)

กัณหปักษ์ ๗
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ แม้อื่นอีก ไม่พึงให้อุปสมบท
ไม่พึงให้นิสสัย ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก คือ
๑. ไม่รู้จักอาบัติ
๒. ไม่รู้จักอนาบัติ
๓. ไม่รู้จักอาบัติเบา
๔. ไม่รู้จักอาบัติหนัก
๕. จำปาติโมกข์ทั้งสอง๑โดยพิสดารไม่ได้ดี จำแนกไม่ได้ดี ไม่คล่องแคล่วดี
วินิจฉัยโดยสุตตะโดยอนุพยัญชนะไม่ได้ดี
๖. มีพรรษาหย่อน ๑๐
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ เหล่านี้แล ไม่พึงให้อุปสมบท
ไม่พึงให้นิสสัย ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก (๑๓)

เชิงอรรถ :
๑ ปาติโมกข์ทั้งสอง หมายถึงอุภโตวิภังค์ คือ ภิกขุปาติโมกข์และภิกขุนีปาติโมกข์ (วิ.อ. ๓/๘๕/๕๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๓๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๒๕. อัญญติตถิยปุพพกถา
สุกกปักษ์ ๗
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสสัย
พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก คือ
๑. รู้จักอาบัติ
๒. รู้จักอนาบัติ
๓. รู้จักอาบัติเบา
๔. รู้จักอาบัติหนัก
๕. จำปาติโมกข์ทั้งสองโดยพิสดารได้ดี จำแนกได้ดี คล่องแคล่วดี
วินิจฉัยโดยสุตตะโดยอนุพยัญชนะได้ดี
๖. มีพรรษาครบ ๑๐ หรือมีพรรษาเกิน ๑๐
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ เหล่านี้แล พึงให้อุปสมบท
พึงให้นิสสัย พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก (๑๔)
อุปสัมปาเทตัพพฉักกะ ๑๔ หมวด จบ

๒๕. อัญญติตถิยปุพพกถา
ว่าด้วยภิกษุผู้เคยเป็นอัญเดียรถีย์

ติตถิยปริวาส
[๘๖] สมัยนั้น ภิกษุผู้เคยเป็นอัญเดียรถีย์ถูกพระอุปัชฌาย์ว่ากล่าวโดยชอบธรรม
ได้โต้เถียงพระอุปัชฌาย์ ไปเข้ารีตเดียรถีย์ดังเดิมแล้วกลับมาขออุปสมบทกับภิกษุอีก
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เคยเป็นอัญเดียรถีย์ถูกพระ
อุปัชฌาย์ว่ากล่าวโดยชอบธรรม ได้โต้เถียงพระอุปัชฌาย์ ไปเข้ารีตเดียรถีย์ดังเดิม
มาแล้ว สงฆ์ไม่พึงให้อุปสมบท ภิกษุทั้งหลาย แม้ผู้อื่นที่เคยเป็นอัญเดียรถีย์ หวัง
บรรพชาอุปสมบทในพระธรรมวินัยนี้ พึงให้ผู้นั้นอยู่ปริวาส ๔ เดือน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๓๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๒๕. อัญญติตถิยปุพพกถา
วิธีให้ติตถิยปริวาส
ภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงให้ติตถิยปริวาสอย่างนี้ ก่อนอื่นพึงให้กุลบุตรที่เคย
เป็นอัญเดียรถีย์ปลงผมและหนวด ให้ครองผ้ากาสายะ ให้ห่มผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง
ให้กราบเท้าภิกษุทั้งหลาย ให้นั่งกระโหย่ง ให้ประนมมือแล้วสั่งว่า “เธอจงกล่าวอย่างนี้”
แล้วให้ว่าสรณคมน์ดังนี้

ไตรสรณคมน์
ว่าด้วยการถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ
ข้าพเจ้า ขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ
ข้าพเจ้า ขอถึงพระธรรมเป็นสรณะ
ข้าพเจ้า ขอถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ
ข้าพเจ้า ขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ แม้ครั้งที่ ๒
ข้าพเจ้า ขอถึงพระธรรมเป็นสรณะ แม้ครั้งที่ ๒
ข้าพเจ้า ขอถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ แม้ครั้งที่ ๒
ข้าพเจ้า ขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ แม้ครั้งที่ ๓
ข้าพเจ้า ขอถึงพระธรรมเป็นสรณะ แม้ครั้งที่ ๓
ข้าพเจ้า ขอถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ แม้ครั้งที่ ๓
ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรที่เคยเป็นอัญเดียรถีย์นั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าเฉวียง
บ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุทั้งหลาย นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวคำขอติตถิย
ปริวาสอย่างนี้ว่า

คำขอติตถิยปริวาสและกรรมวาจาให้ติตถิยปริวาส
ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้ามีชื่อนี้เคยเป็นอัญเดียรถีย์ หวังอุปสมบทในพระธรรม
วินัยนี้ ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้านั้นขอปริวาส ๔ เดือนต่อสงฆ์
พึงขอแม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
พึงขอแม้ครั้งที่ ๓ ฯลฯ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๓๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๒๕. อัญญติตถิยปุพพกถา
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้นี้มีชื่อนี้เคยเป็นอัญเดียรถีย์ หวัง
อุปสมบทในพระธรรมวินัยนี้ เธอขอปริวาส ๔ เดือนต่อสงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว
พึงให้ปริวาส ๔ เดือนแก่ผู้มีชื่อนี้ซึ่งเคยเป็นอัญเดียรถีย์ นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้นี้มีชื่อนี้เคยเป็นอัญเดียรถีร์ หวังอุปสมบท
ในพระธรรมวินัยนี้ เธอขอปริวาส ๔ เดือนต่อสงฆ์ สงฆ์ให้ปริวาส ๔ เดือนแก่ผู้มีชื่อ
นี้ซึ่งเคยเป็นอัญเดียรถีย์ ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการให้ปริวาส ๔ เดือนแก่ผู้มีชื่อนี้
ซึ่งเคยเป็นอัญเดียรถีย์ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
ปริวาส ๔ เดือน สงฆ์ให้แล้วแก่ผู้มีชื่อนี้ซึ่งเคยเป็นอัญเดียรถีย์ สงฆ์เห็นด้วย
เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
[๘๗] ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรผู้เคยเป็นอัญเดียรถีย์ เป็นผู้ปฏิบัติให้สงฆ์ยินดี
อย่างนี้ เป็นผู้ปฏิบัติมิให้สงฆ์ยินดีอย่างนี้

ข้อปฏิบัติที่มิให้สงฆ์ยินดี
ภิกษุทั้งหลาย ก็กุลบุตรผู้เคยเป็นอัญเดียรถีย์ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติมิให้สงฆ์ยินดี
อย่างไร
ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ กุลบุตรผู้เคยเป็นอัญเดียรถีย์ เข้าหมู่บ้านเช้าเกินไป
กลับสายเกินไป๑ แม้เช่นนี้ก็ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติมิให้สงฆ์ยินดี
ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง กุลบุตรผู้เคยเป็นอัญเดียรถีย์ เป็นผู้มีหญิง
แพศยาเป็นโคจร๒ มีหญิงม่ายเป็นโคจร มีสาวเทื้อเป็นโคจร มีบัณเฑาะก์เป็นโคจร
หรือมีภิกษุณีเป็นโคจร แม้เช่นนี้ก็ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติมิให้สงฆ์ยินดี

เชิงอรรถ :
๑ เข้าหมู่บ้านเช้าเกินไป หมายถึงเข้าไปบิณฑบาตยังหมู่บ้าน ในเวลาที่ภิกษุทั้งหลายทำวัตร
กลับสายเกินไป หมายถึงมัวแต่คุยเรื่องของชาวบ้านกับสตรี บุรุษ เด็กชาย และเด็กหญิงเป็นต้นในตระกูล
ทั้งหลาย ฉันในตระกูลเหล่านั้น เมื่อภิกษุทั้งหลายเก็บบาตรและจีวรแล้วเรียนบาลีและอรรถกถาอยู่ หรือ
หลีกเร้นอยู่ กุลบุตรผู้เคยเป็นอัญเดียรถีย์ผู้นั้นจึงกลับมาไม่ทำอุปัชฌายวัตร อาจริยวัตร เข้าไปที่พักแล้ว
นอน (วิ.อ. ๓/๘๗/๕๑)
๒ มีหญิงแพศยาเป็นโคจร หมายถึงไปมาหาสู่หญิงแพศยาด้วยปรารถนาความเป็นมิตร มีความคุ้นเคยกับ
หญิงแพศยา (วิ.อ. ๓/๘๗/๕๑, สารตฺถ.ฏีกา ๓/๘๗/๒๙๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๓๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๒๕. อัญญติตถิยปุพพกถา
ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง กุลบุตรผู้เคยเป็นอัญเดียรถีย์ เป็นผู้ไม่ขยัน
เกียจคร้านในการงานใหญ่น้อยของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ไม่ประกอบด้วยปัญญา
เครื่องพิจารณาอันเป็นอุบายในการงานเหล่านั้น ไม่อาจทำ ไม่อาจจัด แม้เช่นนี้
ก็ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติมิให้สงฆ์ยินดี
ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง กุลบุตรผู้เคยเป็นอัญเดียรถีย์ เป็นผู้ไม่มีฉันทะ
แรงกล้าในอุทเทส ในปริปุจฉา๑ ในอธิสีล อธิจิต อธิปัญญา แม้เช่นนี้ก็ชื่อว่าเป็น
ผู้ปฏิบัติมิให้สงฆ์ยินดี
ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง กุลบุตรผู้เคยเป็นอัญเดียรถีย์ออกจากลัทธิ
ของครูใด เมื่อมีผู้กล่าวติเตียนครูนั้น กล่าวติเตียนความเห็นของครูนั้น ความ
ชอบใจของครูนั้น ความพอใจของครูนั้น ความยึดถือของครูนั้น ก็โกรธ ไม่พอใจ
ไม่ชอบใจ เมื่อมีผู้กล่าวติเตียนพระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์ กลับพอใจ
ร่าเริง ชอบใจ ก็หรือออกจากลัทธิของครูใด เมื่อมีผู้กล่าวสรรเสริญครูนั้น กล่าว
สรรเสริญความเห็นของครูนั้น ความชอบใจของครูนั้น ความพอใจของครูนั้น
ความยึดถือของครูนั้น ย่อมพอใจ ร่าเริง ชอบใจ เมื่อกล่าวสรรเสริญพระพุทธ
พระธรรม หรือพระสงฆ์ กลับโกรธ ไม่พอใจ ไม่ชอบใจ ข้อนี้เป็นเครื่องสอบสวน
ในข้อปฏิบัติที่ไม่ชวนให้สงฆ์ยินดีของกุลบุตรผู้เคยเป็นอัญเดียรถีย์
ภิกษุทั้งหลาย ก็กุลบุตรผู้เคยเป็นอัญเดียรถีย์ ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติมิให้สงฆ์ยินดี
อย่างนี้ กุลบุตรผู้เคยเป็นอัญเดียรถีย์ผู้ปฏิบัติมิให้สงฆ์ยินดีอย่างนี้มาแล้ว ไม่พึงให้
อุปสมบท

ข้อปฏิบัติที่ให้สงฆ์ยินดี
ภิกษุทั้งหลาย ก็กุลบุตรผู้เคยเป็นอัญเดียรถีย์ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติให้สงฆ์ยินดีอย่างไร
ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ กุลบุตรผู้เคยเป็นอัญเดียรถีย์นี้ เข้าหมู่บ้านไม่เช้านัก
กลับไม่สายนัก แม้เช่นนี้ก็ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติให้สงฆ์ยินดี

เชิงอรรถ :
๑ อุทเทส หมายถึงการเรียนบาลี
ปริปุจฉา หมายถึงอรรถกถา (วิ.อ. ๓/๘๗/๕๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๔๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๒๕. อัญญติตถิยปุพพกถา
ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง กุลบุตรผู้เคยเป็นอัญเดียรถีย์ ไม่เป็นผู้มีหญิง
แพศยาเป็นโคจร ไม่มีหญิงม่ายเป็นโคจร ไม่มีสาวเทื้อเป็นโคจร ไม่มีบัณเฑาะก์
เป็นโคจร หรือไม่มีภิกษุณีเป็นโคจร แม้เช่นนี้ก็ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติให้สงฆ์ยินดี
ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง กุลบุตรผู้เคยเป็นอัญเดียรถีย์ เป็นผู้ขยัน
ไม่เกียจคร้านในการงานใหญ่น้อยของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ประกอบด้วยปัญญา
เครื่องพิจารณาอันเป็นอุบายในการงานเหล่านั้น อาจทำ อาจจัด แม้เช่นนี้ก็ชื่อว่า
เป็นผู้ปฏิบัติให้สงฆ์ยินดี
ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง กุลบุตรผู้เคยเป็นอัญเดียรถีย์ เป็นผู้มีฉันทะ
แรงกล้าในอุทเทส ในปริปุจฉา ในอธิสีล อธิจิต อธิปัญญา แม้เช่นนี้ก็ชื่อว่าเป็นผู้
ปฏิบัติให้สงฆ์ยินดี
ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง กุลบุตรผู้เคยเป็นอัญเดียรถีย์ออกจากลัทธิของ
ครูใด เมื่อมีผู้กล่าวติเตียนครูนั้น กล่าวติเตียนความเห็นของครูนั้น ความชอบใจ
ของครูนั้น ความพอใจของครูนั้น ความยึดถือของครูนั้น ย่อมพอใจ ร่าเริง ชอบใจ
เมื่อเขากล่าวติเตียนพระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์ กลับโกรธ ไม่พอใจ ไม่ชอบใจ
ก็หรือออกจากลัทธิของครูใด เมื่อเขากล่าวสรรเสริญครูนั้น กล่าวสรรเสริญความ
เห็นของครูนั้น ความชอบใจของครูนั้น ความพอใจของครูนั้น ความยึดถือของ
ครูนั้น ย่อมโกรธ ไม่พอใจ ไม่ชอบใจ เมื่อเขากล่าวสรรเสริญพระพุทธ พระธรรม
หรือพระสงฆ์ ย่อมพอใจ ร่าเริง ชอบใจ ข้อนี้เป็นเครื่องสอบสวนในข้อปฏิบัติที่ชวน
ให้สงฆ์ยินดีของกุลบุตรผู้เคยเป็นอัญเดียรถีย์
ภิกษุทั้งหลาย ก็กุลบุตรผู้เคยเป็นอัญเดียรถีย์ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติให้สงฆ์ยินดีอย่างนี้
กุลบุตรผู้เคยเป็นอัญเดียรถีย์ผู้ปฏิบัติให้สงฆ์ยินดีอย่างนี้ มาแล้ว พึงให้อุปสมบท

เรื่องอัญเดียรถีย์เปลือยไม่โกนผม
ภิกษุทั้งหลาย ถ้ากุลบุตรผู้เคยเป็นอัญเดียรถีย์เปลือยกายมา พึงแสวงหาจีวร
ซึ่งมีอุปัชฌาย์เป็นเจ้าของ ถ้ายังไม่ปลงผมมา สงฆ์พึงอปโลกน์เพื่อปลงผม


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๔๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๒๖. ปัญจาพาธวัตถุ
เรื่องชฎิลบูชาไฟ
ภิกษุทั้งหลาย พวกชฎิลบูชาไฟมาแล้ว พึงให้อุปสมบท ไม่ต้องให้ปริวาสแก่
พวกเธอ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะชฎิลเหล่านั้นเป็นกรรมวาที เป็นกิริยวาที๑

เรื่องอัญเดียรถีย์ศากยะ
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าศากยะโดยกำเนิดเคยเป็นอัญเดียรถีย์มา ศากยะนั้นมาแล้ว
พึงให้อุปสมบท ไม่ต้องให้ปริวาสแก่ศากยะนั้น เราให้สิทธิพิเศษส่วนนี้เฉพาะแก่หมู่
ญาติ
อัญญติตถิยปุพพกถา จบ
ภาณวารที่ ๗ จบ

๒๖. ปัญจาพาธวัตถุ
ว่าด้วยอาพาธ ๕ ชนิด

เรื่องอันตรายิกธรรม
[๘๘] สมัยนั้น ในแคว้นมคธเกิดโรคระบาดขึ้น ๕ ชนิด คือ (๑) โรคเรื้อน
(๒) โรคฝี (๓) โรคกลาก (๔) โรคมองคร่อ๒ (๕) โรคลมบ้าหมู พวกมนุษย์ถูกโรค ๕
ชนิดเบียดเบียน พากันไปหาหมอชีวกโกมารภัจ กล่าวว่า “ขอโอกาส คุณหมอ
ช่วยรักษาพวกข้าพเจ้าด้วยเถิด”
หมอชีวกโกมารภัจกล่าวว่า “ท่านทั้งหลาย ผมมีกิจมาก มีงานต้องทำมาก
พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐ พระสนมและภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข
ผมก็ต้องพยาบาล ผมไม่สามารถรักษาได้”
มนุษย์เหล่านั้นกล่าวว่า “คุณหมอ ทรัพย์สมบัติยกให้ท่านทั้งหมด ทั้งพวก
ข้าพเจ้ายอมเป็นทาสของท่าน ขอโอกาส ขอความกรุณารักษาพวกข้าพเจ้าด้วยเถิด”

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงผู้มีความเห็นอย่างนี้ว่า “กรรมมีอยู่ ผลของกรรมมีอยู่ ” (วิ.อ. ๓/๘๗/๕๕)
๒ โรคมองคร่อ คือโรคหลอดลมโป่งพอง มีเสมหะแห้งอยู่ในช่องหลอดลม ทำให้มีอาการไอเรื้อรัง ห้ามผู้ที่
เป็นโรคนี้บวชเป็นภิกษุ(พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๔๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๒๖. ปัญจาพาธวัตถุ
หมอชีวกโกมารภัจตอบว่า “ท่านทั้งหลาย ผมมีกิจมาก มีงานต้องทำมาก
พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐ นางสนมและภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข
ผมก็ต้องพยาบาล ผมไม่สามารถรักษา (พวกท่าน) ได้”
ขณะนั้น มนุษย์เหล่านั้นมีความคิดดังนี้ว่า “พระสมณะเชื้อสายศากยบุตร
เหล่านี้มีลักษณะนิสัยดี ประพฤติเรียบร้อย บริโภคอาหารดี นอนในห้องมิดชิด
ถ้ากระไรพวกเราพึงบรรพชาในพวกสมณะเชื้อสายศากยบุตร ในที่นั้นภิกษุทั้งหลาย
จักพยาบาลและหมอชีวกโกมารภัจจักรักษา” ต่อมา จึงเข้าไปขอบรรพชา ภิกษุ
ทั้งหลาย ได้ให้บรรพชาให้อุปสมบท
พวกภิกษุก็ต้องพยาบาลและหมอชีวกโกมารภัจก็ต้องรักษาพวกเขา
ครั้นต่อมา ภิกษุทั้งหลายพยาบาลภิกษุไข้เป็นอันมาก เป็นผู้มากด้วยการขอ
มากด้วยการออกปากขอว่า “จงให้อาหารสำหรับภิกษุผู้เป็นไข้ จงให้อาหารสำหรับ
ภิกษุพยาบาลไข้ จงให้ยาสำหรับภิกษุผู้เป็นไข้”
แม้หมอชีวกโกมารภัจมัวรักษาภิกษุไข้เป็นอันมาก ก็ปฏิบัติราชการบางอย่าง
บกพร่อง
[๘๙] ฝ่ายบุรุษคนหนึ่งถูกโรค ๕ ชนิดเบียดเบียน ก็เข้าไปหาหมอชีวก
โกมารภัจเรียนว่า “ขอโอกาส คุณหมอช่วยรักษากระผมด้วยเถิด”
หมอชีวกโกมารภัจกล่าวว่า “แน่ะนาย ผมมีกิจมาก มีงานต้องทำมาก พระ
เจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐ พระสนมและภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ผม
ก็ต้องพยาบาล ผมไม่สามารถรักษาได้”
“คุณหมอ ทรัพย์สมบัติยกให้ท่านทั้งหมด ทั้งกระผมยอมเป็นทาสของท่าน
ขอโอกาส โปรดรักษากระผมด้วยเถิด”
“แนะพนาย ผมมีกิจมาก มีงานต้องทำมาก พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐ
นางสนมและภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ผมก็ต้องพยาบาล ผมไม่สามารถ
รักษาได้”
ขณะนั้น บุรุษนั้นมีความคิดดังนี้ว่า “พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้
มีลักษณะนิสัยดี ประพฤติเรียบร้อย บริโภคอาหารดี นอนในห้องมิดชิด ถ้ากระไร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๔๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๒๖. ปัญจาพาธวัตถุ
พวกเราพึงบรรพชาในพวกสมณะเชื้อสายศากยบุตร ในที่นั้นภิกษุทั้งหลายจักพยาบาล
และหมอชีวกโกมารภัจจักรักษา เราหายโรคก็จะสึก” จึงเข้าไปขอการบรรพชา ภิกษุ
ทั้งหลายได้ให้บรรพชาให้อุปสมบท
พวกภิกษุก็ต้องพยาบาลและหมอชีวกโกมารภัจก็ต้องรักษา เขาหายโรคแล้วก็
สึก
หมอชีวกโกมารภัจเห็นบุรุษนั้นสึกจึงถามว่า “ท่านได้บรรพชาในหมู่ภิกษุมิใช่หรือ”
บุรุษนั้นตอบว่า “ใช่ ขอรับ”
“ท่านได้ทำเช่นนั้นเพื่ออะไร”
บุรุษนั้นได้บอกเรื่องนั้นให้หมอชีวกโกมารภัจทราบ
หมอชีวกโกมารภัจจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระคุณเจ้า
ทั้งหลาย จึงให้กุลบุตรผู้ถูกโรค ๕ ชนิดเบียดเบียนบรรพชาเล่า” แล้วเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้ว ได้ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง
ณ ที่สมควร กราบทูลว่า “ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายไม่พึง
ให้กุลบุตรผู้ถูกโรค ๕ ชนิดเบียดเบียนบรรพชา พระพุทธเจ้าข้า”
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้หมอชีวกโกมารภัจเห็นชัด ชวนให้อยาก
รับไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมี
กถาแล้ว
ลำดับนั้น หมอชีวกโกมารภัจซึ่งพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นชัด ชวนให้
อยากรับไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วย
ธรรมีกถาแล้วจึงลุกจากที่นั่งถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณจากไป

ทรงห้ามคนเป็นโรคติดต่อบรรพชา
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ แล้ว
รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรผู้ถูกโรค ๕ ชนิดเบียดเบียน
ไม่พึงให้บรรพชา รูปใดให้บรรพชา ต้องอาบัติทุกกฏ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๔๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๒๗. ราชภฏวัตถุ
๒๗. ราชภฏวัตถุ
ว่าด้วยราชภัฏบรรพชา๑

พระเจ้าพิมพิสารทูลขออนุญาต
[๙๐] สมัยนั้น เขตชายแดนของพระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐเกิดความ
วุ่นวายขึ้น ท้าวเธอทรงรับสั่งเหล่ามหาอมาตย์ผู้เป็นแม่ทัพนายกองว่า “ท่าน
ทั้งหลายจงไปปราบเขตชายแดนให้สงบ”
เหล่ามหาอมาตย์ ผู้เป็นแม่ทัพนายกอง ทูลรับสนองพระกระแสรับสั่งของ
พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐ
ขณะนั้น พวกทหารที่มีชื่อเสียงต่างมีความปริวิตกว่า พวกเรายินดีในการรบ
จะไปทำบาปกรรม และจะประสพสิ่งมิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วยอุบายอย่างไรหนอ
พวกเราจะพึงเว้นจากกรรมชั่ว และทำกรรมดีได้เล่า
ทหารเหล่านั้นก็มีความคิดว่า “พระสมณะเชื้อสายศากยบุตรเหล่านี้ประพฤติ
ธรรม ประพฤติสงบ ประพฤติพรหมจรรย์ กล่าววาจาสัตย์ มีศีล มีกัลยาณ
ธรรม ถ้าพวกเราจะพึงบรรพชาในพวกสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรไซร้ ด้วยอุบาย
อย่างนี้ พวกเราจะพึงเว้นจากกรรมชั่วและทำกรรมดีได้” จึงพากันเข้าไปขอการ
บรรพชา ภิกษุทั้งหลาย ได้ให้บรรพชาให้อุปสมบท
เหล่ามหาอมาตย์ผู้เป็นแม่ทัพนายกอง ถามพวกราชภัฏว่า “ทหารผู้มีชื่อนี้
และมีชื่อนี้หายไปไหน”
พวกราชภัฏเรียนว่า “ทหารผู้มีชื่อนี้และมีชื่อนี้ไปบรรพชาในหมู่ภิกษุแล้ว
ขอรับ”
เหล่ามหาอมาตย์ผู้เป็นแม่ทัพนายกอง พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนา
ว่า “ไฉนพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรทั้งหลายจึงได้ให้ราชภัฏบรรพชาเล่า” แล้ว
นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐให้ทรงทราบ

เชิงอรรถ :
๑ ราชภัฏ หมายถึงอมาตย์ มหาอมาตย์ หรือคนรับใช้ได้รับฐานันดรบางอย่างแล้วหรือยังไม่ได้รับ เป็นผู้ที่
พระราชาทรงเลี้ยงดูด้วยข้าวและเงินเดือน (วิ.อ. ๓/๙๐/๕๗-๕๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๔๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๒๗. ราชภฏวัตถุ
เรื่องพระเจ้าพิมพิสารทูลขอห้ามให้ราชภัฏบรรพชา
ลำดับนั้น พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐได้ตรัสถามคณะมหาอมาตย์ผู้
พิพากษาว่า “ท่าน ภิกษุรูปใด ให้ผู้ที่เป็นราชภัฏบรรพชา ภิกษุรูปนั้นต้องโทษสถานใด”
คณะมหาอมาตย์ผู้พิพากษากราบบังคมทูลว่า “ขอเดชะ พระอุปัชฌาย์ต้องถูก
ตัดศีรษะ พระอนุสาวนาจารย์ต้องถูกดึงลิ้น พระคณปูรกะ๑ต้องถูกหักซี่โครงไปแถบหนึ่ง
พระเจ้าข้า”
ต่อมา พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐ ได้เสด็จไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง
ที่ประทับ ครั้นถึงแล้ว ได้ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร
พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐ ผู้ประทับนั่ง ณ ที่สมควรแล้ว ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระราชาทั้งหลายผู้ไม่ทรงศรัทธา ไม่เลื่อมใสมีอยู่ พระราชา
เหล่านั้น จะพึงรบกวนเหล่าภิกษุด้วยเหตุเพียงเล็กน้อยได้ ขอประทานพระวโรกาส
ขอพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายไม่พึงให้ราชภัฏบรรพชา พระพุทธเจ้าข้า”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐเห็นชัด
ชวนให้อยากรับไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง
ด้วยธรรมีกถา
ครั้นพระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐ ผู้ซึ่งพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นชัด
ชวนให้อยากรับไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่น
ร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วกระทำประทักษิณเสด็จ
จากไป
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ แล้ว
รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ผู้เป็นราชภัฏภิกษุไม่พึงให้บรรพชา รูปใด
ให้บรรพชา ต้องอาบัติทุกกฏ”

เชิงอรรถ :
๑ คณปูรกะ คือ ภิกษุที่ทำให้องค์ประชุมครบจำนวน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๔๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๒๙. การเภทกโจรวัตถุ
๒๘. อังคุลิมาลโจรวัตถุ
ว่าด้วยโจรองคุลีมาลบรรพชา
[๙๑] สมัยนั้น โจรองคุลีมาลได้บรรพชาในหมู่ภิกษุ ชาวบ้านเห็นเข้าต่างหวาด
กลัวบ้าง ตกใจบ้าง หนีไปบ้าง ไปเสียทางอื่นบ้าง หลบหน้าไปบ้าง ปิดประตูบ้าง
คนทั้งหลาย พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระสมณะเชื้อสายศากย
บุตรทั้งหลายจึงให้โจรที่มีชื่อโด่งดังบรรพชาเล่า”

เรื่องห้ามโจรมีชื่อเสียงบรรพชา
ภิกษุทั้งหลายได้ยินคนเหล่านั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนา จึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย โจรที่มีชื่อโด่งดัง ไม่พึงให้บรรพชา
รูปใดให้บรรพชา ต้องอาบัติทุกกฏ”

๒๙. การเภทกโจรวัตถุ
ว่าด้วยโจรแหกเรือนจำบรรพชา
[๙๒] สมัยนั้น พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐทรงมีพระบรมราชานุญาตไว้ว่า
“กุลบุตรเหล่าใดได้บรรพชาในพวกพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร กุลบุตรเหล่านั้น
ใคร ๆ จะทำอะไรมิได้ พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว จงประพฤติ
พรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด”
ครั้งนั้น บุรุษคนหนึ่งทำโจรกรรมแล้วถูกเจ้าหน้าที่จองจำไว้ในเรือนจำ เขาแหก
เรือนจำหนีไปบรรพชาในหมู่ภิกษุ มนุษย์ทั้งหลายพบเข้าแล้วจึงกล่าวอย่างนี้ว่า
“ภิกษุรูปนี้คือโจรแหกเรือนจำคนนั้น เอาเถอะ พวกเราจะจับภิกษุนั้นไป”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๔๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๓๐. ลิขิตกโจกวัตถุ
มนุษย์บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลายอย่าได้กล่าวอย่างนี้ พระเจ้า
พิมพิสารจอมทัพมคธรัฐได้ทรงมีพระบรมราชานุญาตไว้ว่า กุลบุตรเหล่าใดได้
บรรพชาในพวกสมณะเชื้อสายศากยบุตร กุลบุตรเหล่านั้นใคร ๆ จะทำอะไรมิได้
พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว จงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดทุกข์
โดยชอบเถิด”
มนุษย์ทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “พระสมณะเชื้อสาย
ศากยบุตรเหล่านี้มิใช่ผู้หลบหนีภัย ใคร ๆ จะทำอะไรมิได้ ไฉนพระสมณะเชื้อสาย
ศากยบุตรทั้งหลายจึงให้โจรแหกเรือนจำบรรพชาเล่า”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย โจรผู้แหกเรือนจำไม่พึงให้บรรพชา
รูปใดให้บรรพชา ต้องอาบัติทุกกฏ”

๓๐. ลิขิตกโจรวัตถุ
ว่าด้วยโจรถูกออกหมายจับบรรพชา
[๙๓] สมัยนั้น บุรุษคนหนึ่งทำโจรกรรมแล้วได้หนีไปบรรพชาในหมู่ภิกษุ และ
เขาถูกเจ้าหน้าที่ออกหมายจับทั่วราชอาณาจักรว่า “พบเข้าในที่ใด พึงฆ่าเสียในที่นั้น”
มนุษย์ทั้งหลายพบเข้าจึงกล่าวอย่างนี้ว่า “ภิกษุรูปนี้คือโจรผู้ถูกออกหมายจับคนนั้น
เอาเถอะ พวกเราจะฆ่าภิกษุนั้นเสีย”
มนุษย์บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลายอย่าได้กล่าวอย่างนี้ พระเจ้า
พิมพิสารจอมทัพมคธรัฐได้ทรงมีพระบรมราชานุญาตไว้ว่า ‘กุลบุตรเหล่าใดได้
บรรพชาในพวกสมณะเชื้อสายศากยบุตร กุลบุตรเหล่านั้นใคร ๆ จะทำอะไรมิได้
พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว จงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดทุกข์
โดยชอบเถิด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๔๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๓๒. ลักขณาหตวัตถุ
มนุษย์ทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “พระสมณะเชื้อสาย
พระศากยบุตรเหล่านี้ปลอดภัย ใคร ๆ จะทำอะไรมิได้ ไฉนพระสมณะเชื้อสาย
พระศากยบุตรจึงให้โจรผู้ถูกออกหมายจับบรรพชาเล่า”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย โจรผู้ถูกออกหมายจับไม่พึงให้
บรรพชา รูปใดให้บรรพชา ต้องอาบัติทุกกฏ”

๓๑. กสาหตวัตถุ
ว่าด้วยบุรุษผู้ถูกเฆี่ยนด้วยหวายบรรพชา
[๙๔] สมัยนั้น บุรุษคนหนึ่งถูกลงอาญาเฆี่ยนด้วยหวาย ได้บรรพชาในหมู่ภิกษุ
มนุษย์ทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระสมณะเชื้อสาย
พระศากยบุตรทั้งหลายจึงให้บุรุษผู้ถูกลงอาญาเฆี่ยนด้วยหวายบรรพชาเล่า”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้ถูกลงอาญาเฆี่ยนด้วยหวาย
ไม่พึงให้บรรพชา รูปใดให้บรรพชา ต้องอาบัติทุกกฏ”

๓๒. ลักขณาหตวัตถุ
ว่าด้วยบุรุษถูกสักหมายโทษบรรพชา
[๙๕] สมัยนั้น บุรุษคนหนึ่งถูกลงอาญาสักหมายโทษได้บรรพชาในหมู่ภิกษุ
มนุษย์ทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระสมณะเชื้อสาย
พระศากยบุตรทั้งหลายจึงให้บุรุษผู้ถูกลงอาญาสักหมายโทษบรรพชาเล่า”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๔๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๓๓. อิณายิกวัตถุ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้ถูกลงอาญาสักหมายโทษไม่พึง
ให้บรรพชา รูปใดให้บรรพชา ต้องอาบัติทุกกฏ”

๓๓. อิณายิกวัตถุ
ว่าด้วยลูกหนี้บรรพชา
[๙๖] สมัยนั้น ชายผู้เป็นลูกหนี้๑คนหนึ่งได้หนีไปบรรพชาในหมู่ภิกษุ พวกเจ้า
ทรัพย์พบเข้าจึงกล่าวอย่างนี้ว่า “ภิกษุรูปนี้คือลูกหนี้ของพวกเราคนนั้น เอาเถอะ
พวกเราจงจับภิกษุนั้นไว้”
มนุษย์บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลายอย่าได้กล่าวอย่างนี้ พระเจ้า
พิมพิสารจอมทัพมคธรัฐได้ทรงมีพระบรมราชานุญาตไว้ว่า ‘กุลบุตรเหล่าใดได้
บรรพชาในพวกพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร กุลบุตรเหล่านั้นใคร ๆ จะทำอะไร
มิได้ พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว จงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่สุด
ทุกข์โดยชอบเถิด”
มนุษย์ทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “พระสมณะเชื้อสาย
พระศากยบุตรเหล่านี้ปลอดภัย ใคร ๆ จะทำอะไรมิได้ ไฉนพระสมณะเชื้อสาย
พระศากยบุตรทั้งหลายจึงให้คนมีหนี้บรรพชาเล่า”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย คนมีหนี้ไม่พึงให้บรรพชา รูปใด
ให้บรรพชา ต้องอาบัติทุกกฏ”

เชิงอรรถ :
๑ หนี้ ในที่นี้หมายเอาทั้งหนี้ที่บุคคลนั้น ๆ ยืมมาเองและหนี้ที่บิดาและปู่ของบุคคลนั้นยืมไว้ก่อนแล้ว จะให้
บุคคลผู้มีหนี้เช่นนี้บรรพชาไม่ควร แต่ถ้ามีญาติและคนมีสายสัมพันธ์รับภาระหนี้แทน จะให้บุคคลเช่นนี้
บรรพชา ควรอยู่ (วิ.อ. ๓/๙๖/๖๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๕๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๓๕. กัมมารภัณฑวัตถุ
๓๔. ทาสวัตถุ
ว่าด้วยทาสบรรพชา
[๙๗] สมัยนั้น ทาสคนหนึ่งได้หนีไปบรรพชาในหมู่ภิกษุ พวกเจ้านายพบเข้า
จึงกล่าวอย่างนี้ว่า “ภิกษุรูปนี้คือทาสของพวกเราคนนั้น เอาเถอะ พวกเราจงจับ
ภิกษุนั้นไว้”
มนุษย์บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลายอย่าได้กล่าวอย่างนี้ เพราะพระ
เจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐได้ทรงมีพระบรมราชานุญาตไว้ว่า ‘กุลบุตรเหล่าใดได้
บรรพชาในพวกสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร กุลบุตรเหล่านั้นใคร ๆ จะทำอะไรมิได้
พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว จงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดทุกข์
โดยชอบเถิด”
มนุษย์ทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “พระสมณะเชื้อสาย
พระศากยบุตรเหล่านี้ปลอดภัย ใคร ๆ จะทำอะไรมิได้ ไฉนพระสมณะเชื้อสาย
พระศากยบุตรทั้งหลายจึงให้ทาสบรรพชาเล่า”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย คนเป็นทาสไม่พึงให้บรรพชา รูปใด
ให้บรรพชา ต้องอาบัติทุกกฏ”

๓๕. กัมมารภัณฑวัตถุ
ว่าด้วยบุตรช่างทองผมจุกห้าแหยมบรรพชา
[๙๘] สมัยนั้น บุตรช่างทองศีรษะโล้นคนหนึ่งทะเลาะกับมารดาบิดา ได้ไปยัง
อารามบรรพชาในหมู่ภิกษุ ต่อมา มารดาบิดาได้ออกตามหาบุตร ไปถึงอารามถาม
ภิกษุทั้งหลายว่า “ท่านได้พบเด็กชายมีรูปร่างเช่นนี้บ้างไหม เจ้าข้า”
พวกภิกษุที่ไม่รู้เลยก็กล่าวว่า “พวกอาตมาไม่รู้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๕๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๓๖. อุปาลิทารกวัตถุ
พวกภิกษุที่ไม่เห็นเลยก็กล่าวว่า “พวกอาตมาไม่เห็น”
ขณะมารดาบิดาตามหาได้พบบุตรบรรพชาในหมู่ภิกษุจึงพากันตำหนิ ประณาม
โพนทะนาว่า “พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้ไม่มีความละอาย ทุศีล
ชอบพูดเท็จ รู้อยู่แท้ ๆ ก็กล่าวว่า พวกอาตมาไม่รู้ เห็นอยู่ชัด ๆ ก็กล่าวว่า
พวกอาตมาไม่เห็น เด็กนี้ได้บรรพชาในหมู่ภิกษุเสียแล้ว”
ภิกษุทั้งหลายได้ยินมารดาบิดาของบุตรช่างทองผมจุกตำหนิ ประณาม
โพนทะนา จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้อปโลกน์๑ต่อสงฆ์เพื่อ
การปลงผม”

๓๖. อุปาลิทารกวัตถุ๒
ว่าด้วยเด็กชายอุบาลีบรรพชา
[๙๙] สมัยนั้น ในกรุงราชคฤห์มีเด็กชายผู้เป็นเพื่อนกัน ๑๗ คน เด็กชาย
อุบาลีเป็นหัวหน้าของเด็กเหล่านั้น ครั้งนั้น มารดาบิดาของเด็กชายอุบาลีได้
ปรึกษากันดังนี้ว่า “เมื่อพวกเราล่วงลับไป เจ้าอุบาลีจะอยู่สุขสบาย และไม่
ลำบากด้วยวิธีใดหนอ” ลำดับนั้นมารดาบิดาของเด็กชายอุบาลีได้ปรึกษากันอีกว่า
“ถ้าเจ้าอุบาลีเรียนเขียนหนังสือ ด้วยวิธีอย่างนี้ เมื่อพวกเราล่วงลับไป เจ้าอุบาลี
จะอยู่สุขสบาย และไม่ลำบาก” แต่ก็วิตกไปว่า “ถ้าเจ้าอุบาลีเรียนเขียนหนังสือ นิ้ว
มือจะระบม ถ้าเจ้าอุบาลีเรียนวิชาคำนวณ ด้วยวิธีอย่างนี้ เมื่อพวกเราล่วงลับไป
เจ้าอุบาลีจะอยู่สุขสบาย และไม่ลำบาก” และวิตกอีกว่า “ถ้าเจ้าอุบาลีจักเรียน
วิชาคำนวณก็จะแน่นหน้าอก ถ้าเจ้าอุบาลีเรียนวิชาเกี่ยวกับการเงิน ด้วยวิธีอย่างนี้
เมื่อพวกเราล่วงลับไป เจ้าอุบาลี จะอยู่สุขสบาย และไม่ลำบาก” แล้วก็วิตก

เชิงอรรถ :
๑ อปโลกน์ หมายถึงการบอกกล่าวแก่ที่ประชุมเพื่อให้รับทราบร่วมกัน หรือการสอบถามขอความเห็นชอบ
ร่วมกันในกิจของสงฆ์เช่นสอบถามการปลงผม การอุปสมบท การบรรพชา (วิ.อ. ๓/๙๘-๙/๖๕)
๒ วิ.มหา. (แปล) ๒/๔๐๒/๕๑๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๕๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๓๖. อุปาลิทารกวัตถุ
อีกว่า “ถ้าเจ้าอุบาลีเรียนวิชาเกี่ยวกับการเงิน นัยน์ตาเขาจะปวด พระสมณะ
เชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้มีลักษณะนิสัยดี ประพฤติเรียบร้อย บริโภคอาหารดี
นอนในห้องมิดชิด ถ้าเจ้าอุบาลีได้บวชในสำนักพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร
ด้วยวิธีอย่างนี้ เมื่อพวกเราล่วงลับไป เจ้าอุบาลีจะอยู่สุขสบาย และไม่ลำบาก”

เด็กชายอุบาลีออกบวช
เด็กชายอุบาลีได้ยินคำสนทนาของมารดาบิดา ครั้นแล้วเด็กชายอุบาลีจึงได้ไป
หาพวกเด็ก ๆ ถึงที่พัก ครั้นถึงแล้ว ได้กล่าวกับพวกเด็ก ๆ เหล่านั้น ดังนี้ว่า
“เพื่อนทั้งหลาย มาเถิด พวกเราจะไปบวชในสำนักพระสมณะเชื้อสายศากยบุตร”
เด็กเหล่านั้นกล่าวว่า “เพื่อนเอ๋ย ถ้าเจ้าบวช พวกเราก็จะบวชเช่นกัน”
ครั้นแล้วเด็ก ๆ เหล่านั้น ต่างคนต่างก็เข้าไปหามารดาบิดาของตน แล้วได้กล่าว
ขออนุญาตดังนี้ว่า “พ่อแม่โปรดอนุญาตให้พวกลูก ๆ ออกจากเรือนไปบวชเป็น
บรรพชิตเถิด”
มารดาบิดาของเด็กเหล่านั้นอนุญาตด้วยคิดว่า “เด็กพวกนี้ต่างพร้อมใจมีความ
ปรารถนาสิ่งที่ดีงามทุกคน”
พวกเด็กเหล่านั้นจึงเข้าไปหาภิกษุทั้งหลายขอบรรพชา ภิกษุทั้งหลายให้เด็ก
เหล่านั้นบรรพชาอุปสมบทแล้ว
ครั้นเวลาใกล้รุ่งแห่งราตรี ภิกษุใหม่เหล่านั้นลุกขึ้นร้องไห้ว่า “ท่านทั้งหลาย
โปรดให้ข้าวต้ม โปรดให้ข้าวสวย โปรดให้ของเคี้ยว”
ภิกษุทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ว่า “เธอทั้งหลาย รอให้สว่างเสียก่อน ถ้ามีข้าวต้ม
พวกเธอจะได้ฉัน ถ้ามีข้าวสวย พวกเธอจะได้ฉัน ถ้ามีของเคี้ยว พวกเธอจะได้เคี้ยว
แต่ถ้าข้าวต้มข้าวสวยหรือของเคี้ยวไม่มี พวกเธอต้องเที่ยวบิณฑบาตมาฉัน”
ภิกษุใหม่เหล่านั้นอันภิกษุทั้งหลายกล่าวอยู่อย่างนี้ ก็ยังพากันร้องไห้ว่า
“ท่านทั้งหลายโปรดให้ข้าวต้ม โปรดให้ข้าวสวย โปรดให้ของเคี้ยวเถิด” พากันถ่าย
อุจจาระบ้าง ถ่ายปัสสาวะบ้าง รดเสนาสนะ

 


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๕๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๓๖. อุปาลิทารกวัตถุ
พระผู้มีพระภาคทรงตื่นบรรทมเวลาใกล้รุ่งแห่งราตรี ได้ทรงสดับเสียงเด็ก
ครั้นได้ทรงสดับแล้วจึงตรัสกับท่านพระอานนท์ว่า “อานนท์ เสียงเด็กร้องไห้เพราะ
เหตุใดหรือ”
ทีนั้น ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลเรื่องนั้นให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ

เรื่องทรงห้ามกุลบุตรอายุหย่อนกว่า ๒๐ ปีอุปสมบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุทรงสอบ
ถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุรู้อยู่ ก็ยังให้บุคคลอายุ
หย่อนกว่า ๒๐ ปีอุปสมบทจริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษ
เหล่านั้นรู้อยู่แต่ก็ยังให้บุคคลอายุหย่อนกว่า ๒๐ ปีอุปสมบทเล่า ภิกษุทั้งหลาย
บุคคลผู้มีอายุหย่อนกว่า ๒๐ ปี ยังไม่อดทน ไม่อดกลั้นต่อความเย็น ความร้อน
ความหิว ความกระหาย สัมผัสจากเหลือบ ยุง ลม แดด สัตว์เลื้อยคลาน คำกล่าวร้าย
คำที่ฟังแล้วไม่ดี ความรู้สึกทางกายที่เกิดขึ้นเป็นทุกข์แสนสาหัส รุนแรง เผ็ดร้อน
ไม่น่ายินดี ไม่น่าพอใจ แทบจะคร่าชีวิต ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีอายุครบ ๒๐ ปี
จึงจะอดทน อดกลั้นต่อความเย็น ความร้อน ความหิว ความกระหาย สัมผัสจาก
เหลือบ ยุง ลม แดด สัตว์เลื้อยคลาน คำกล่าวร้าย คำที่ฟังแล้วไม่ดี ความรู้สึก
ทางกายที่เกิดขึ้นเป็นทุกข์แสนสาหัส รุนแรง เผ็ดร้อน ไม่น่ายินดี ไม่น่าพอใจ แทบ
จะคร่าชีวิต ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส
หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” ครั้นแล้วได้ทรงแสดง
ธรรมีกถาแล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่ไม่พึงให้บุคคลผู้มี
อายุหย่อนกว่า ๒๐ ปี อุปสมบท รูปใดให้อุปสมบท พึงปรับอาบัติตามธรรม๑”

เชิงอรรถ :
๑ ตามธรรม คือ ตามความผิด,ตามโทษานุโทษ ในที่นี้ ปรับอาบัติปาจิตตีย์ตามความแห่งสิกขาบทที่ ๕
แห่งสัปปาณกวรรค (วิ.มหา. (แปล) ๒/๔๐๓/๕๑๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๕๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๓๗. อหิวาตกโรควัตถุ
๓๗. อหิวาตกโรควัตถุ
ว่าด้วยอหิวาตกโรค

กำหนดอายุผู้บรรพชาเป็นสามเณร
[๑๐๐] สมัยนั้น ครอบครัวหนึ่งได้ถึงแก่กรรมด้วยอหิวาตกโรค เหลือเพียง
บิดากับบุตร คนทั้ง ๒ ได้บรรพชาในหมู่ภิกษุแล้วเที่ยวบิณฑบาตด้วยกัน ครั้งนั้น
เมื่อเขาถวายภิกษาแก่ภิกษุผู้บิดา สามเณรน้อยก็วิ่งไปหาแล้วได้กล่าวกับภิกษุผู้เป็น
บิดานั้นว่า “พ่อจ๋า ให้หนูบ้าง พ่อจ๋า ให้หนูบ้าง”
มนุษย์ทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “พระสมณะเชื้อสาย
พระศากยบุตรเหล่านี้มิใช่ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ สามเณรน้อยแม้รูปนี้คงจะเกิดจาก
ภิกษุณี”
ภิกษุทั้งหลายได้ยินมนุษย์เหล่านั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนา จึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เด็กชายมีอายุหย่อนกว่า ๑๕ ปี
ไม่พึงให้บรรพชา รูปใดให้บรรพชา ต้องอาบัติทุกกฏ”

เรื่องบรรพชาให้เด็กอายุหย่อนกว่า ๑๕ ปีของตระกูลมีศรัทธา
สมัยนั้น ตระกูลอุปัฏฐากของท่านพระอานนท์มีศรัทธาเลื่อมใส ได้ถึงแก่กรรม
ด้วยอหิวาตกโรค เหลือเพียงเด็กชาย ๒ คน เด็กชายทั้ง ๒ เห็นภิกษุทั้งหลายแล้ว
ก็วิ่งเข้าไปหาด้วยกิริยาที่คุ้นเคยกันมาแต่ก่อน ภิกษุทั้งหลายได้ไล่ไปเสีย เด็กทั้ง ๒
เมื่อถูกภิกษุไล่ก็ร้องไห้ ขณะนั้น ท่านพระอานนท์ได้มีความคิดดังนี้ว่า “พระผู้มี
พระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า เด็กชายมีอายุหย่อนกว่า ๑๕ ปี ไม่พึงให้บรรพชา ก็เด็ก
ทั้ง ๒ คนนี้มีอายุหย่อนกว่า ๑๕ ปี ด้วยอุบายอย่างไรหนอ เด็กทั้ง ๒ นี้จึงจะไม่
เสียโอกาส” ทีนั้นท่านพระอานนท์จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “อานนท์ ก็เด็กทั้ง ๒ นั้นสามารถไล่กาได้ไหม”
ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า “ได้ พระพุทธเจ้าข้า”

 


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๕๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๓๙. อาหุนทริกวัตถุ
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ แล้วรับ
สั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุให้เด็กชายมีอายุ
หย่อนกว่า ๑๕ ปี ซึ่งสามารถไล่กาได้บรรพชา”

๓๘. กัณฏกวัตถุ
ว่าด้วยสามเณรกัณฏกะ
[๑๐๑] สมัยนั้น ท่านพระอุปนันทศากยบุตรมีสามเณรอยู่ ๒ รูป คือ
สามเณรกัณฏกะและสามเณรมหกะ เธอทั้ง ๒ ชอบรังแกกันและกัน ภิกษุทั้งหลาย
จึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนสามเณรทั้งสองจึงได้ประพฤติไม่
สมควรเช่นนี้เล่า” แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปเดียวไม่ควรมีสามเณรรับใช้
๒ รูป รูปใดให้รับใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ”

๓๙. อาหุนทริกวัตถุ
ว่าด้วยทิศคับแคบ
[๑๐๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กรุงราชคฤห์เพียงแห่งเดียว
ทั้งฤดูฝน ฤดูหนาวและฤดูร้อน มนุษย์ทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนา
ว่า “ทิศทั้งหลายคับแคบ มืดมนสำหรับพวกพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร
พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้ จึงมองไม่เห็นทิศทาง”
ภิกษุทั้งหลายได้ยินคนเหล่านั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนา จึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคจึงรับสั่งกับพระอานนท์ว่า “อานนท์ เธอจงไป
ถอดดาลแจ้งภิกษุทั้งหลายในบริเวณวิหารว่า “อาวุโสทั้งหลาย พระผู้มีพระภาค
ทรงประสงค์จะเสด็จจาริกไปยังทักขิณาคิรีชนบท ท่านผู้ใดมีความประสงค์ ท่าน
ผู้นั้นจงมา”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๕๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๔๐. นิสสยมุจจนกกถา
ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระพุทธบัญชาแล้ว จึงถอดดาลแจ้งภิกษุทั้งหลาย
ในบริเวณวิหารว่า “อาวุโสทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคทรงประสงค์จะเสด็จจาริกไปยัง
ทักขิณาคิรีชนบท ท่านผู้ใดมีความประสงค์ ท่านผู้นั้นจงมา”
ภิกษุทั้งหลายเรียนชี้แจงว่า “ท่านพระอานนท์ พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติให้
ภิกษุถือนิสสัยอยู่ ๑๐ พรรษา และให้ภิกษุมีพรรษาครบ ๑๐ ให้นิสสัยได้ พวกผม
จะต้องไปในทักขิณาคิรีชนบทนั้น ก็ต้องถือนิสสัย พักอยู่เพียงเล็กน้อย ก็ต้องกลับ
มาอีก และต้องถือนิสสัยอีกด้วย ถ้าพระอุปัชฌาย์และพระอาจารย์ของพวกผมไป
พวกผมก็จะไปด้วย ถ้าพระอุปัชฌาย์และพระอาจารย์ของพวกผมไม่ไป พวกผมก็จะ
ไม่ไป ท่านพระอานนท์ ความที่พวกผมมีจิตใจโลเลจักปรากฏ”
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้เสด็จจาริกไปยังทักขิณาคิรีชนบทพร้อมด้วยภิกษุ
สงฆ์จำนวนน้อย

๔๐. นิสสยมุจจนกกถา
ว่าด้วยการถือนิสสัยและการพ้นนิสสัย
[๑๐๓] ครั้นพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ทักขิณาคิรีชนบทตามพระอัธยาศัยแล้ว
ก็เสด็จกลับมายังกรุงราชคฤห์ตามเดิมอีก ได้ตรัสเรียกท่านพระอานนท์มาสอบถามว่า
“อานนท์ ตถาคตได้จาริกไปยังทักขิณาคิรีชนบทพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์จำนวนน้อย
เพราะเหตุไร”
ท่านพระอานนท์จึงกราบทูลเรื่องนี้ให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ

ทรงอนุญาตให้ถือนิสสัย
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ แล้วรับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ฉลาดสามารถถือนิสสัยอยู่
๕ พรรษา ให้ภิกษุผู้ไม่ฉลาดถือนิสสัยอยู่จนตลอดชีวิต”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๕๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๔๐. นิสสยมุจจนกกถา
องค์ ๕ แห่งภิกษุผู้ต้องถือนิสสัย
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ จะพึงอยู่โดยไม่ต้องถือนิสสัยไม่ได้
คือ
๑. ไม่ประกอบด้วยสีลขันธ์อันเป็นอเสขะ
๒. ไม่ประกอบด้วยสมาธิขันธ์อันเป็นอเสขะ
๓. ไม่ประกอบด้วยปัญญาขันธ์อันเป็นอเสขะ
๔. ไม่ประกอบด้วยวิมุตติขันธ์อันเป็นอเสขะ
๕. ไม่ประกอบด้วยวิมุตติญาณทัสสนขันธ์อันเป็นอเสขะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล จะพึงอยู่โดยไม่ต้องถือ
นิสสัยไม่ได้ (๑)

องค์ ๕ แห่งภิกษุผู้ไม่ต้องถือนิสสัย
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ พึงอยู่โดยไม่ต้องถือนิสสัย คือ
๑. ประกอบด้วยสีลขันธ์อันเป็นอเสขะ
๒. ประกอบด้วยสมาธิขันธ์อันเป็นอเสขะ
๓. ประกอบด้วยปัญญาขันธ์อันเป็นอเสขะ
๔. ประกอบด้วยวิมุตติขันธ์อันเป็นอเสขะ
๕. ประกอบด้วยวิมุตติญาณทัสสนขันธ์อันเป็นอเสขะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล พึงอยู่โดยไม่ต้องถือ
นิสสัย (๒)

องค์ ๕ แห่งภิกษุผู้ต้องถือนิสสัย
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก จะพึงอยู่โดยไม่ต้องถือ
นิสสัยไม่ได้ คือ
๑. เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๒. เป็นผู้ไม่มีหิริ
๓. เป็นผู้ไม่มีโอตตัปปะ ๔. เป็นผู้เกียจคร้าน
๕. เป็นผู้มีสติฟั่นเฟือน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๕๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๔๐. นิสสยมุจจนกกถา
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล จะพึงอยู่โดยไม่ต้องถือ
นิสสัยไม่ได้ (๓)

องค์ ๕ แห่งภิกษุผู้ไม่ต้องถือนิสสัย
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ พึงอยู่โดยไม่ต้องถือนิสสัย คือ
๑. เป็นผู้มีศรัทธา ๒. เป็นผู้มีหิริ
๓. เป็นผู้มีโอตตัปปะ ๔. เป็นผู้ปรารภความเพียร
๕. เป็นผู้มีสติตั้งมั่น
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล พึงอยู่โดยไม่ต้องถือ
นิสสัย (๔)

องค์ ๕ แห่งภิกษุผู้ต้องถือนิสสัย
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก จะพึงอยู่โดยไม่ต้องถือ
นิสสัยไม่ได้ คือ
๑. เป็นผู้มีสีลวิบัติในอธิสีล ๒. เป็นผู้มีอาจารวิบัติในอัชฌาจาร
๓. เป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติในอติทิฏฐิ ๔. เป็นผู้ได้ยินได้ฟังน้อย
๕. เป็นผู้มีปัญญาทราม
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล จะพึงอยู่โดยไม่ต้องถือ
นิสสัยไม่ได้ (๕)

องค์ ๕ แห่งภิกษุผู้ไม่ต้องถือนิสสัย
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ พึงอยู่โดยไม่ต้องถือนิสสัย คือ
๑. เป็นผู้ไม่มีสีลวิบัติในอธิสีล ๒. เป็นผู้ไม่มีอาจารวิบัติในอัชฌาจาร
๓. เป็นผู้ไม่มีทิฏฐิวิบัติในอติทิฏฐิ ๔. เป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก
๕. เป็นผู้มีปัญญา
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล พึงอยู่โดยไม่ต้องถือ
นิสสัย (๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๕๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๔๐. นิสสยมุจจนกกถา
องค์ ๕ แห่งภิกษุผู้ต้องถือนิสสัย
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก จะพึงอยู่โดยไม่ต้องถือ
นิสสัยไม่ได้ คือ
๑. ไม่รู้จักอาบัติ ๒. ไม่รู้จักอนาบัติ
๓. ไม่รู้จักอาบัติเบา ๔. ไม่รู้จักอาบัติหนัก
๕. จำปาติโมกข์ทั้งสองโดยพิสดารไม่ได้ดี จำแนกไม่ได้ดี ไม่คล่องแคล่วดี
วินิจฉัยโดยสุตตะโดยอนุพยัญชนะไม่ได้ดี
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล จะพึงอยู่โดยไม่ต้องถือ
นิสสัยไม่ได้ (๗)

องค์ ๕ แห่งภิกษุผู้ไม่ต้องถือนิสสัย
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ พึงอยู่โดยไม่ต้องถือนิสสัย คือ
๑. รู้จักอาบัติ ๒. รู้จักอนาบัติ
๓. รู้จักอาบัติเบา ๔. รู้จักอาบัติหนัก
๕. จำปาติโมกข์ทั้งสองโดยพิสดารได้ดี จำแนกได้ดี คล่องแคล่วดี
วินิจฉัยโดยสุตตะโดยอนุพยัญชนะได้ดี
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล พึงอยู่โดยไม่ต้องถือ
นิสสัย (๘)

องค์ ๕ แห่งภิกษุผู้ต้องถือนิสสัย
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก จะพึงอยู่โดยไม่ต้องถือ
นิสสัยไม่ได้ คือ

๑. ไม่รู้จักอาบัติ ๒. ไม่รู้จักอนาบัติ
๓. ไม่รู้จักอาบัติเบา ๔. ไม่รู้จักอาบัติหนัก
๕. มีพรรษาหย่อน ๕

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล จะพึงอยู่โดยไม่ต้องถือ
นิสสัยไม่ได้ (๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๖๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๔๐. นิสสยมุจจนกกถา
องค์ ๕ แห่งภิกษุผู้ไม่ต้องถือนิสสัย
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ พึงอยู่โดยไม่ต้องถือนิสสัย คือ
๑. รู้จักอาบัติ ๒. รู้จักอนาบัติ
๓. รู้จักอาบัติเบา ๔. รู้จักอาบัติหนัก
๕. มีพรรษาครบ ๕ หรือมีพรรษาเกิน ๕
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล พึงอยู่โดยไม่ต้องถือ
นิสสัย (๑๐)
ปัญจกทสวาร จบ

องค์ ๖ แห่งภิกษุผู้ต้องถือนิสสัย
[๑๐๔] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ จะพึงอยู่โดยไม่ต้องถือ
นิสสัยไม่ได้ คือ
๑. ไม่ประกอบด้วยสีลขันธ์อันเป็นอเสขะ
๒. ไม่ประกอบด้วยสมาธิขันธ์อันเป็นอเสขะ
๓. ไม่ประกอบด้วยปัญญาขันธ์อันเป็นอเสขะ
๔. ไม่ประกอบด้วยวิมุตติขันธ์อันเป็นอเสขะ
๕. ไม่ประกอบด้วยวิมุตติญาณทัสสนขันธ์อันเป็นอเสขะ
๖. มีพรรษาหย่อน ๕
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ เหล่านี้แล จะพึงอยู่โดยไม่ต้องถือ
นิสสัยไม่ได้ (๑)

องค์ ๖ แห่งภิกษุผู้ไม่ต้องถือนิสสัย
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ พึงอยู่โดยไม่ต้องถือนิสสัย คือ
๑. ประกอบด้วยสีลขันธ์อันเป็นอเสขะ
๒. ประกอบด้วยสมาธิขันธ์อันเป็นอเสขะ
๓. ประกอบด้วยปัญญาขันธ์อันเป็นอเสขะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๖๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๔๐. นิสสยมุจจนกกถา
๔. ประกอบด้วยวิมุตติขันธ์อันเป็นอเสขะ
๕. ประกอบด้วยวิมุตติญาณทัสสนขันธ์อันเป็นอเสขะ
๖. มีพรรษาครบ ๕ หรือมีพรรษาเกิน ๕
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ เหล่านี้แล พึงอยู่โดยไม่ต้องถือ
นิสสัย (๒)

องค์ ๖ แห่งภิกษุผู้ต้องถือนิสสัย
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ แม้อื่นอีก จะพึงอยู่โดยไม่ต้องถือ
นิสสัยไม่ได้ คือ

๑. เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๒. เป็นผู้ไม่มีหิริ
๓. เป็นผู้ไม่มีโอตตัปปะ ๔. เป็นผู้เกียจคร้าน
๕. เป็นผู้มีสติฟั่นเฟือน ๖. มีพรรษาหย่อน ๕

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ เหล่านี้แล จะพึงอยู่โดยไม่ต้องถือ
นิสสัยไม่ได้ (๓)

องค์ ๖ แห่งภิกษุผู้ไม่ต้องถือนิสสัย
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ พึงอยู่โดยไม่ต้องถือนิสสัย คือ

๑. เป็นผู้มีศรัทธา ๒. เป็นผู้มีหิริ
๓. เป็นผู้มีโอตตัปปะ ๔. เป็นผู้ปรารภความเพียร
๕. เป็นผู้มีสติตั้งมั่น ๖. มีพรรษาครบ ๕ หรือมีพรรษาเกิน ๕

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ เหล่านี้แล พึงอยู่โดยไม่ต้องถือ
นิสสัย (๔)

องค์ ๖ แห่งภิกษุผู้ต้องถือนิสสัย
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ แม้อื่นอีก จะพึงอยู่โดยไม่ต้องถือ
นิสสัยไม่ได้ คือ

๑. เป็นผู้มีสีลวิบัติในอธิสีล ๒. เป็นผู้มีอาจารวิบัติในอัชฌาจาร
๓. เป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติในอติทิฏฐิ ๔. เป็นผู้ได้ยินได้ฟังน้อย


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๖๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๔๐. นิสสยมุจจนกกถา
๕. เป็นผู้มีปัญญาทราม ๖. มีพรรษาหย่อน ๕
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ เหล่านี้แล จะพึงอยู่โดยไม่ต้องถือ
นิสสัยไม่ได้ (๕)

องค์ ๖ แห่งภิกษุผู้ไม่ต้องถือนิสสัย
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ พึงอยู่โดยไม่ต้องถือนิสสัย คือ
๑. เป็นผู้ไม่มีสีลวิบัติในอธิสีล
๒. เป็นผู้ไม่มีอาจารวิบัติในอัชฌาจาร
๓. เป็นผู้ไม่มีทิฏฐิวิบัติในอติทิฏฐิ
๔. เป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก
๕. เป็นผู้มีปัญญา
๖. มีพรรษาครบ ๕ หรือมีพรรษาเกิน ๕
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ เหล่านี้แล พึงอยู่โดยไม่ต้องถือ
นิสสัย (๖)

องค์ ๖ แห่งภิกษุผู้ต้องถือนิสสัย
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ แม้อื่นอีก จะพึงอยู่โดยไม่ต้องถือ
นิสสัยไม่ได้ คือ
๑. ไม่รู้จักอาบัติ
๒. ไม่รู้จักอนาบัติ
๓. ไม่รู้จักอาบัติเบา
๔. ไม่รู้จักอาบัติหนัก
๕. จำปาติโมกข์ทั้งสองโดยพิสดารไม่ได้ดี จำแนกไม่ได้ดี ไม่คล่อง
แคล่วดี วินิจฉัยโดยสุตตะโดยอนุพยัญชนะไม่ได้ดี
๖. มีพรรษาหย่อน ๕
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ เหล่านี้แล จะพึงอยู่โดยไม่ต้องถือ
นิสสัยไม่ได้ (๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๖๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๔๑. ราหุลวัตถุ
องค์ ๖ แห่งภิกษุผู้ไม่ต้องถือนิสสัย
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ พึงอยู่โดยไม่ต้องถือนิสสัย คือ
๑. รู้จักอาบัติ
๒. รู้จักอนาบัติ
๓. รู้จักอาบัติเบา
๔. รู้จักอาบัติหนัก
๕. จำปาติโมกข์ทั้งสองโดยพิสดารได้ดี จำแนกได้ดี คล่องแคล่วดี
วินิจฉัยโดยสุตตะโดยอนุพยัญชนะได้ดี
๖. มีพรรษาครบ ๕ หรือมีพรรษาเกิน ๕
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ เหล่านี้แล พึงอยู่โดยไม่ต้องถือ
นิสสัย (๘)
นิสสัยมุจจนกกถา จบ
อภยูวรภาณวารที่ ๘ จบ

๔๑. ราหุลวัตถุ
ว่าด้วยพระราหุลกุมารบรรพชา

พระราหุลกุมารทรงผนวชเป็นสามเณร
[๑๐๕] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กรุงราชคฤห์ตามพระอัธยาศัย
แล้วได้เสด็จจาริกไปทางกรุงกบิลพัสดุ์ เสด็จจาริกไปโดยลำดับจนถึงกรุงกบิลพัสดุ์
ทราบว่าพระองค์ประทับอยู่ ณ นิโครธาราม กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ครั้น
เวลาเช้า ทรงอันตรวาสกแล้วถือบาตรและจีวรเสด็จไปยังพระนิเวศน์พระเจ้าสุทโธทน
ศากยะ ประทับนั่ง ณ พุทธอาสน์ที่ได้ปูลาดไว้
ขณะนั้น พระเทวีมารดาพระราหุลกุมารได้ทรงมีพระเสาวนีย์ว่า “แน่ะราหุล
สมณะนั้นเป็นบิดาของเจ้า เจ้าจงไปทูลขอทรัพย์มรดกเถิด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๖๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๔๑. ราหุลวัตถุ
พระราหุลกุมารจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ประทับยืน ณ เบื้องพระพักตร์
พลางกราบทูลว่า “ข้าแต่พระสมณะ พระฉายาของพระองค์เป็นสุข”
พระผู้มีพระภาคได้เสด็จลุกจากอาสนะแล้วเสด็จกลับไป พระกุมารก็เสด็จ
ติดตามไปเบื้องพระปฤษฎางค์ พลางกราบทูลขอว่า “พระสมณะได้โปรดประทาน
ทรัพย์มรดกแก่หม่อมฉัน พระสมณะได้โปรดประทานทรัพย์มรดกแก่หม่อมฉัน”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเรียกท่านพระสารีบุตรมารับสั่งว่า “สารีบุตร
ถ้าอย่างนั้นเธอจงให้ราหุลกุมารบรรพชาเถิด”
ท่านพระสารีบุตรทูลถามว่า “ข้าพระองค์จะให้ราหุลกุมารบรรพชาอย่างไร
พระพุทธเจ้าข้า”
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ แล้ว
รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการบรรพชาเป็นสามเณร
ด้วยไตรสรณคมน์”๑

วิธีให้บรรพชา
ภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงให้กุลบุตรบรรพชา อย่างนี้
ในเบื้องต้น พึงให้กุลบุตรผู้มุ่งบรรพชาปลงผมและหนวด ให้ครองผ้ากาสายะ
ให้ห่มผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ให้กราบเท้าภิกษุทั้งหลาย ให้นั่งกระโหย่ง ให้ประนม
มือแล้วสั่งว่า “เธอจงกล่าวอย่างนี้” แล้วให้ว่าสรณคมน์ ดังนี้

เชิงอรรถ :
๑ เดิมที พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตการบรรพชาและอุปสมบทด้วยไตรสรณคมน์ ต่อมาทรงห้ามอุปสมบทด้วย
ไตรสรณคมน์ ทรงอนุญาตวิธีอุปสมบทด้วยญัตติจตุตถกรรม แต่ไม่ได้ทรงห้ามการบรรพชา ทั้งไม่ได้ทรง
อนุญาตให้ภิกษุสงฆ์ใช้วิธีนี้ต่อไปอีก แต่มีพระประสงค์ที่จะอนุญาตให้บรรพชาสามเณรด้วยไตรสรณคมน์
พระสารีบุตรทราบพุทธอัธยาศัย จึงกราบทูลให้ทรงอนุญาตการบรรพชาอีก และใช้วิธีการบรรพชาด้วย
ไตรสรณคมน์ บวชราหุลกุมารเป็นสามเณรรูปแรก (วิ.อ. ๓/๑๐๕/๗๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๖๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๔๑. ราหุลวัตถุ
ไตรสรณคมน์
ว่าด้วยการถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ
ข้าพเจ้า ขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ
ข้าพเจ้า ขอถึงพระธรรมเป็นสรณะ
ข้าพเจ้า ขอถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ
ข้าพเจ้า ขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ แม้ครั้งที่ ๒
ข้าพเจ้า ขอถึงพระธรรมเป็นสรณะ แม้ครั้งที่ ๒
ข้าพเจ้า ขอถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ แม้ครั้งที่ ๒
ข้าพเจ้า ขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ แม้ครั้งที่ ๓
ข้าพเจ้า ขอถึงพระธรรมเป็นสรณะ แม้ครั้งที่ ๓
ข้าพเจ้า ขอถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ แม้ครั้งที่ ๓
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการบรรพชาเป็นสามเณรด้วยไตรสรณคมน์เหล่านี้”
ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรได้ให้พระราหุลบรรพชาแล้ว

เรื่องพระเจ้าสุทโธทนะทูลขอพร๑
ครั้งนั้น พระเจ้าสุทโธทนศากยะได้เสด็จไปเฝ้าพระผู้พระภาคถึงที่ประทับ
ครั้นถึงแล้วได้ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระเจ้าข้า หม่อมฉันทูลขอพรพระผู้มีพระภาคอย่างหนึ่ง”

เชิงอรรถ :
๑ ในวันที่ ๒ หลังจากที่เสด็จถึงกรุงกบิลพัสดุ์แล้ว พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าไปบิณฑบาตในกรุงกบิลพัสดุ์ในเวลาเช้า
พระเจ้าสุทโธทนะทรงทราบข่าว จึงเสด็จไปหา ตรัสว่า การที่พระพุทธองค์เสด็จเที่ยวบิณฑบาตนี้ ทำให้
ข้าพระองค์ละอายยิ่งนัก พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า การเที่ยวบิณฑบาตนี้เป็นวงศ์ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
แล้วตรัสพระคาถาว่า
ไม่ควรประมาทในบิณฑบาตที่พึงลุกรับ พึงประพฤติธรรมให้สุจริต
ผู้ประพฤติธรรม ย่อมอยู่เป็นสุขทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
เมื่อตรัสพระคาถานี้จบ พระเจ้าสุทโธทนะบรรลุโสดาปัตติผล ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคได้เสด็จเข้าพระ
นิเวศน์ตรัสพระคาถาว่า
พึงประพฤติธรรมให้สุจริต ไม่พึงประพฤติธรรมให้ทุจริต
ผู้ประพฤติธรรม ย่อมอยู่เป็นสุขทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
พระเจ้าสุทโธทนะทรงบรรลุสกทาคามิผล วันต่อมาได้ทรงสดับธรรมปาลชาดก ทรงบรรลุอนาคามิผล
ก่อนที่จะสวรรคตประทับบนแท่นบรรทมภายใต้เศวตฉัตร ทรงบรรลุอรหัตตผล (วิ.อ. ๓/๑๐๕/๗๑-๗๒,
สารตฺถ.ฏีกา ๓/๑๐๕/๓๐๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๖๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๔๑. ราหุลวัตถุ
พระผู้มีพระภาคถวายพระพรว่า “มหาบพิตรผู้โคดม ตถาคตทั้งหลายเลิก
พรเสียแล้ว”
พระเจ้าสุทโธทนศากยะทูลว่า “หม่อมฉันทูลขอพรที่สมควรและไม่มีโทษ
พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โปรดตรัสบอกพรนั้นเถิด มหาบพิตรผู้โคดม”
พระเจ้าสุทโธทนศากยะทูลว่า “เมื่อพระองค์ทรงผนวช หม่อมฉันมีทุกข์ไม่
น้อย เมื่อนันทะผนวชก็เช่นเดียวกัน ครั้นราหุลบรรพชา ยิ่งเกิดทุกข์เหลือ
ประมาณ พระพุทธเจ้าข้า ความรักในพระโอรสย่อมตัดผิว ตัดผิวแล้วก็ตัดหนัง
ตัดหนังแล้วก็ตัดเนื้อ ตัดเนื้อแล้วก็ตัดเอ็น ตัดเอ็นแล้วก็ตัดกระดูก ตัดกระดูก
แล้วก็จดเยื่อในกระดูก ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายไม่พึงให้
บุตรที่มารดาบิดายังไม่อนุญาตบรรพชา พระพุทธเจ้าข้า”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้พระเจ้าสุทโธทนศากยะทรงเห็นชัด
ชวนให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่น
ร่าเริงด้วยธรรมีกถา
ครั้นพระเจ้าสุทโธทนศากยะผู้ซึ่งพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นชัด ชวนให้
อยากรับไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วย
ธรรมีกถาแล้ว ก็เสด็จลุกขึ้นจากที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทรงทำ
ประทักษิณเสด็จกลับ
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นเหตุ แล้วรับสั่งกับ
ภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุตรที่มารดาบิดาไม่อนุญาตไม่พึงให้บรรพชา
รูปใดให้บรรพชา ต้องอาบัติทุกกฏ”
ครั้นพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กรุงกบิลพัสดุ์ตามพระอัธยาศัยแล้ว ได้
เสด็จจาริกไปทางกรุงสาวัตถี เสด็จจาริกไปโดยลำดับ จนถึงกรุงสาวัตถี ทราบว่า
พระองค์ประทับอยู่ ณ พระเชตวันอารามของอนาถบิณฑิกคหบดีเขตกรุงสาวัตถีนั้น

 


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๖๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๔๒. สิกขาปทกถา
ทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้ฉลาดมีสามเณรหลายรูปไว้อุปัฏฐาก
สมัยนั้น ตระกูลอุปัฏฐากของท่านพระสารีบุตรส่งเด็กชายไปยังสำนักของท่าน
ด้วยมอบหมายว่า “ขอพระเถระโปรดให้เด็กคนนี้บรรพชา”
ขณะนั้น ท่านพิจารณาเห็นว่า “พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า ภิกษุรูปเดียว
ไม่พึงใช้สามเณร ๒ รูปให้อุปัฏฐาก ก็เรามีสามเณรราหุลนี้อยู่แล้ว จะพึงปฏิบัติ
อย่างไรหนอ” จึงกราบทูลเรื่องนี้ให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุ
รูปเดียวซึ่งเป็นผู้ฉลาดสามารถ ใช้สามเณร ๒ รูปให้อุปัฏฐากได้ หรืออนุญาตให้ใช้
สามเณรเท่าที่สามารถจะตักเตือนพร่ำสอนให้อุปัฏฐากได้”

๔๒. สิกขาปทกถา
ว่าด้วยสิกขาบทของสามเณร
[๑๐๖] ครั้งนั้น สามเณรทั้งหลายได้มีความคิดคำนึงว่า “สิกขาบทของพวกเรา
มีเท่าไรหนอ และเราจะต้องศึกษาในสิกขาบทไหน”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตสิกขาบท ๑๐ แก่สามเณร
และให้สามเณรศึกษาในสิกขาบท ๑๐ นั้น คือ
๑. เจตนางดเว้นจากการฆ่าสัตว์
๒. เจตนางดเว้นจากการถือเอาของที่เจ้าของมิได้ให้
๓. เจตนางดเว้นจากพฤติกรรมอันมิใช่พรหมจรรย์
๔. เจตนางดเว้นจากการพูดเท็จ
๕. เจตนางดเว้นจากน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
๖. เจตนางดเว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๖๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๔๓. ทัณฑกัมมวัตถุ
๗. เจตนางดเว้นจากการฟ้อนรำ ขับร้อง บรรเลงดนตรีและดูการละเล่น
อันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์
๘. เจตนางดเว้นจากการทัดทรงดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้ซึ่งใช้
เป็นเครื่องประดับตกแต่ง
๙. เจตนางดเว้นจากที่นอนสูงและที่นอนใหญ่
๑๐. เจตนางดเว้นจากการรับทองและเงิน
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตสิกขาบท ๑๐ เหล่านี้แก่สามเณร และให้สามเณร
ศึกษาในสิกขาบท ๑๐ เหล่านี้”

๔๓. ทัณฑกัมมวัตถุ
ว่าด้วยการลงทัณฑกรรมสามเณร
[๑๐๗] สมัยนั้น สามเณรทั้งหลายไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง มีความ
ประพฤติไม่เข้ากันกับภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกสามเณรจึงได้
ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง มีความประพฤติไม่เข้ากันกับภิกษุทั้งหลายเล่า”
จึงกราบทูลเรื่องนี้ให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ลงทัณฑกรรมแก่
สามเณรผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ
๑. พยายามเพื่อความเสื่อมลาภแก่ภิกษุทั้งหลาย
๒. พยายามเพื่อความพินาศแก่ภิกษุทั้งหลาย
๓. พยายามเพื่อความอยู่ไม่ได้แก่ภิกษุทั้งหลาย
๔. ด่า บริภาษภิกษุทั้งหลาย
๕. ยุยงภิกษุกับภิกษุให้แตกกัน
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ลงทัณฑกรรมแก่สามเณรผู้ประกอบด้วยองค์ ๕
เหล่านี้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๖๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๔๓. ทัณฑกัมมวัตถุ
ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้มีความสงสัยว่า “จะพึงลงทัณฑกรรมอย่างไรหนอ”
จึงกราบทูลเรื่องนี้ให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ลงทัณฑกรรมคือการห้าม”

เรื่องวิธีลงทัณฑกรรม
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายได้ลงทัณฑกรรมคือห้ามสามเณรเข้าสังฆารามทุกแห่ง
พวกสามเณรเข้าอารามไม่ได้ จึงหลีกไปบ้าง สึกเสียบ้าง ไปเข้ารีตเดียรถีย์บ้าง
ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนี้ให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงลงทัณฑกรรมคือห้ามสังฆาราม
ทุกแห่ง รูปใดลง ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ลงทัณฑกรรม คือ
ห้ามเฉพาะที่อยู่ของตนหรือที่ที่ตนจะเข้าไป”

เรื่องห้ามฉันทางปาก
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายได้ลงทัณฑกรรม คือห้ามฉันอาหารทางปาก๑ มนุษย์
ทั้งหลายต้มน้ำยาคูบ้าง ทำสังฆภัตบ้าง นิมนต์พวกสามเณรว่า “จงมาดื่มยาคูเถิด
ขอรับ จงมาฉันภัตตาหารเถิด ขอรับ”
พวกสามเณรกล่าวว่า “พวกอาตมาทำอย่างนั้นไม่ได้ดอกโยม เพราะภิกษุ
ทั้งหลายได้ลงทัณฑกรรมห้ามไว้”
มนุษย์ทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระคุณเจ้าทั้งหลาย
จึงได้ลงทัณฑกรรรม ห้ามฉันอาหารทางปากเล่า”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงลงทัณฑกรรมห้ามฉันอาหาร
ทางปาก รูปใดลง ต้องอาบัติทุกกฏ”
ทัณฑกัมมวัตถุ จบ.

เชิงอรรถ :
๑ ห้ามฉันอาหารทางปาก หมายถึงห้ามอย่างนี้ว่า “วันนี้ เธออย่าเคี้ยว อย่าฉัน” (วิ.อ. ๓/๑๐๗/๗๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๗๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๔๕. อปลาฬนวัตถุ
๔๔. อนาปุจฉาวรณวัตถุ
ว่าด้วยการกักกันสามเณรโดยไม่บอกอุปัชฌาย์
[๑๐๘] สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ไม่ถามพระอุปัชฌาย์ก่อน ได้กักกัน
พวกสามเณรไว้ พระอุปัชฌาย์ตามหาด้วยนึกสงสัยว่า “ทำไมหนอ พวกสามเณร
ของเราจึงหายไป”
ภิกษุทั้งหลายได้เรียนว่า “พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ได้กักกันไว้ ขอรับ”
พระอุปัชฌาย์ทั้งหลายพากัน ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์จึงไม่ถามพวกเราก่อนกักกันสามเณรทั้งหลายของพวกเราไว้เล่า” จึง
กราบทูลเรื่องนี้ให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังไม่ขออนุญาตอุปัชฌาย์ก่อน
ไม่พึงทำการกักกันสามเณรไว้ รูปใดทำ ต้องอาบัติทุกกฏ”

๔๕. อปลาฬนวัตถุ
ว่าด้วยการเกลี้ยกล่อมสามเณร

ทรงห้ามเกลี้ยกล่อมสามเณร
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์พากันเกลี้ยกล่อมพวกสามเณรของภิกษุผู้เป็น
เถระทั้งหลาย พระเถระทั้งหลายต้องหยิบไม้ชำระฟันบ้าง ตักน้ำล้างหน้าบ้าง
ด้วยตนเอง ย่อมลำบาก จึงกราบทูลเรื่องนี้ให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงเกลี้ยกล่อมบริษัทของภิกษุอื่น
รูปใดเกลี้ยกล่อม ต้องอาบัติทุกกฏ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๗๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๔๖. กัณฏกสามเณรวัตถุ
๔๖. กัณฏกสามเณรวัตถุ
ว่าด้วยการนาสนะ๑สามเณรกัณฏกะ

องค์ ๑๐ สำหรับนาสนะสามเณร
สมัยนั้น สามเณรของท่านพระอุปนันทศากยบุตรชื่อกัณฏกะ ได้ประทุษร้าย
ภิกษุณีชื่อกัณฏกี
ภิกษุทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนสามเณร จึงได้
ประพฤติไม่สมควรเช่นนี้เล่า” จึงกราบทูลเรื่องนี้ให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้นาสนะสามเณรผู้ประกอบ
ด้วยองค์ ๑๐ คือ
๑. ฆ่าสัตว์
๒. ถือเอาของที่เจ้าของมิได้ให้
๓. ประพฤติกรรมอันมิใช่พรหมจรรย์
๔. พูดเท็จ
๕. ดื่มน้ำเมา
๖. กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า
๗. กล่าวติเตียนพระธรรม
๘. กล่าวติเตียนพระสงฆ์
๙. มีความเห็นผิด
๑๐. ประทุษร้ายภิกษุณี
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้นาสนะสามเณรผู้ประกอบด้วยองค์ ๑๐ เหล่านี้”

เชิงอรรถ :
๑ นาสนะ มี ๓ อย่าง คือ (๑) สังวาสนาสนะ ไล่ออกจากการร่วมกิจกรรม (๒) ลิงคนาสนะ ไล่สึก
(๓) ทัณฑกรรม ลงโทษไล่ให้พ้นจากสังกัด ในที่นี้ หมายเอาลิงคนาสนะ คือไล่สึก (วิ.อ. ๒/๔๒๘/๔๒๐
วิ.อ. ๓/๑๐๘/๗๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๗๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๔๗. ปัณฑกวัตถุ
๔๗. ปัณฑกวัตถุ
ว่าด้วยบัณเฑาะก์บรรพชา

ห้ามบัณเฑาะก์๑อุปสมบท
[๑๐๙] สมัยนั้น บัณเฑาะก์คนหนึ่งได้บรรพชาในหมู่ภิกษุ เขาเข้าไปหาภิกษุ
หนุ่ม ๆ พูดชวนว่า “นี้พวกท่านจงมาประทุษร้ายผมเถิด๒ ขอรับ”
พวกพระหนุ่มพูดไล่ว่า “เจ้าบัณเฑาะก์จงฉิบหาย เจ้าบัณเฑาะก์จงพินาศ
เจ้าจะมีประโยชน์อะไร”
เขาถูกพวกภิกษุไล่ จึงเข้าไปหาพวกสามเณรโค่งร่างใหญ่ กำยำ พูดชวนว่า
“พวกเธอจงมาประทุษร้ายผมเถิด ขอรับ”
พวกสามเณรก็พูดรุกรานว่า “เจ้าบัณเฑาะก์จงฉิบหาย เจ้าบัณเฑาะก์จงพินาศ
เจ้าจะมีประโยชน์อะไร”
เขาถูกพวกสามเณรพูดรุกราน จึงเข้าไปหาพวกคนเลี้ยงช้าง พวกคนเลี้ยงม้า
พูดชวนว่า “พวกคุณจงมาประทุษร้ายเราเถิด จ้ะ”
พวกคนเลี้ยงช้าง พวกคนเลี้ยงม้าชำเราแล้ว ก็พากันตำหนิ ประณาม
โพนทะนาว่า “พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้เป็นบัณเฑาะก์ บรรดาสมณะ

เชิงอรรถ :
๑ บัณเฑาะก์มี ๕ ประเภท คือ
๑. คนที่ดับความใคร่เร่าร้อน (เพราะกาม) ของตนโดยการใช้ปากอมองคชาตของผู้อื่นแล้วให้น้ำอสุจิราด
ตัวเอง ชื่อว่า อาสิตตบัณเฑาะก์
๒. คนที่เมื่อเห็นผู้อื่นประพฤติล่วงเกินทางเพศกัน เกิดความริษยาขึ้น ความเร่าร้อนจึงระงับไป
ชื่อว่า อุสูยบัณเฑาะก์
๓. คนที่ถูกตัดองคชาต ชื่อว่า โอปักกมิกบัณเฑาะก์
๔. คนที่เป็นบัณเฑาะก์ในเวลาข้างแรมด้วยอานุภาพอกุศลวิบาก แต่ในเวลาข้างขึ้น ความเร่าร้อน
ย่อมระงับไป ชื่อว่า ปักขบัณเฑาะก์
๕. คนที่เป็นบัณเฑาะก์โดยกำเนิด ชื่อว่า นปุงสกบัณเฑาะก์
ในบัณเฑาะก์ ๕ ประเภทนี้ อาสิตตบัณเฑาะก์ และอุสูยบัณเฑาะก์ ไม่ห้ามบรรพชา ส่วนบัณเฑาะก์อีก
๓ ประเภทที่เหลือ ห้ามบรรพชา อนึ่งในกุรุนทีกล่าวว่า ปักขบัณเฑาะก์ ห้ามบรรพชาเฉพาะในปักษ์ที่เป็น
บัณเฑาะก์ (ข้างแรม) (วิ.อ. ๓/๑๐๙/๘๑-๘๒)
๒ ประทุษร้าย ในที่นี้ หมายถึง ร่วมเพศ เสพสังวาสกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๗๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๔๘. เถยยสังวาสวัตถุ
เหล่านี้ แม้ที่มิใช่บัณเฑาะก์ก็ชำเราบัณเฑาะก์เหล่านี้ เมื่อเป็นเช่นนี้ สมณะเหล่านี้
จึงล้วนแต่มิใช่ผู้ประพฤติพรหมจรรย์”
ภิกษุทั้งหลายได้ยินคนเลี้ยงช้าง คนเลี้ยงม้าเหล่านั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนา
จึงกราบทูลเรื่องนี้ให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย อนุปสัมบันผู้เป็นบัณเฑาะก์ ไม่พึง
ให้อุปสมบท ที่อุปสมบทแล้ว พึงให้สึกเสีย” (๑)

๔๘. เถยยสังวาสวัตถุ
ว่าด้วยคนลักเพศ๑และคนเข้ารีตเดียรถีย์บรรพชา

ห้ามคนลักเพศและคนเข้ารีตอุปสมบท
[๑๑๐] สมัยนั้น บุตรของตระกูลเก่าแก่คนหนึ่ง เป็นคนบอบบาง มีหมู่ญาติใน
ตระกูลสิ้นไป เขามีความคิดว่า “เราเป็นคนบอบบาง ไม่สามารถจะหาโภคทรัพย์
ที่ยังไม่มี หรือจะทำโภคทรัพย์ที่มีอยู่ให้เพิ่มพูนขึ้นได้ ด้วยวิธีใดหนอ เราจะอยู่สุขสบาย
และไม่ลำบาก” คิดได้ว่า “พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้ มีลักษณะนิสัยดี
ประพฤติเรียบร้อย บริโภคอาหารดี ๆ นอนในห้องอันมิดชิด ถ้ากระไรเราพึงเตรียม

เชิงอรรถ :
๑ คนลักเพศ แปลมาจากคำว่า “เถยยสังวาสกะ” คนลักเพศมี ๓ จำพวก คือ (๑) คนลักเพศ
(๒) คนลักสังวาส (๓) คนลักทั้งเพศและสังวาส
คนที่บวชเองแล้วไปวัด ไม่คำนึงพรรษาของภิกษุ ไม่ยินดีการไหว้ตามลำดับพรรษา ไม่ห้ามอาสนะ
ไม่เข้าร่วมในอุโบสถและปวารณาเป็นต้น นี้ชื่อว่าคนลักเพศ
คนที่ภิกษุทั้งหลายบวชให้ ขณะยังเป็นสามเณร ไปต่างถิ่น พูดเท็จว่า “ผมบวชมาแล้ว ๑๐ พรรษา
หรือ ๒๐ พรรษา” คำนึงพรรษาของภิกษุ ยินดีการไหว้ตามลำดับพรรษา ห้ามอาสนะ เข้าร่วมในอุโบสถ
และปวารณาเป็นต้น เพราะเหตุเพียงลักสังวาสเท่านั้น นี้ชื่อว่า คนลักสังวาส ก็กิริยาทุกประเภทมีการนับ
พรรษาของภิกษุเป็นต้นพึงทราบว่า “สังวาส”
คนที่บวชเองแล้วไปวัด คำนึงถึงการนับพรรษาของภิกษุ ยินดีการไหว้ตามลำดับพรรษา ห้ามอาสนะ
เข้าร่วมในอุโบสถและปวารณาเป็นต้น เพราะลักเพศและสังวาส นี้ชื่อว่า คนลักทั้งเพศและสังวาส (วิ.อ.
๓/๑๑๐/๘๒-๘๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๗๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๔๙. ติรัจฉานคตวัตถุ
บาตรและจีวร ปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะเสียเอง แล้วไปยังอารามอยู่ร่วม
กับภิกษุทั้งหลาย”
ต่อมา เขาได้เตรียมบาตรและจีวร ปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะเอง
ไปยังอารามไหว้ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลายถามว่า “ท่านมีพรรษาได้เท่าไรล่ะ”
เขาย้อนถามว่า “ที่ชื่อว่ามีพรรษาเท่าไร นั่นคืออะไร ขอรับ”
“ท่าน ก็ใครเป็นพระอุปัชฌาย์ของท่านล่ะ”
“ที่ชื่อว่าพระอุปัชฌาย์ นั่นคือใคร ขอรับ”
ภิกษุทั้งหลายได้บอกเรื่องนี้แก่ท่านพระอุบาลีว่า “ท่านอุบาลี ขอนิมนต์ท่าน
สอบสวนบรรพชิตรูปนี้ดูเถิด”
ครั้นเขาถูกท่านพระอุบาลีสอบสวนจึงยอมบอกเรื่องนั้น ท่านพระอุบาลีได้บอก
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนี้ให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย อนุปสัมบันผู้เป็นคนลักเพศ ไม่พึง
ให้อุปสมบท ที่อุปสมบทแล้ว พึงให้สึกเสีย
ภิกษุทั้งหลาย อนุปสัมบันผู้ไปเข้ารีตเดียรถีย์ ไม่พึงให้อุปสมบท๑ ที่
อุปสมบทแล้ว พึงให้สึกเสีย” (๒-๓)

๔๙. ติรัจฉานคตวัตถุ
ว่าด้วยสัตว์ดิรัจฉานบรรพชา

นาคแปลงกายเป็นมนุษย์มาขอบรรพชา
[๑๑๑] สมัยนั้น นาคตัวหนึ่งอึดอัด ระอา รังเกียจกำเนิดนาค ต่อมา
นาคนั้นมีความดำริว่า “ด้วยอุบายอย่างไรหนอ เราจะพึงพ้นจากกำเนิดนาค

เชิงอรรถ :
๑ อนุปสัมบันที่ไปเข้ารีตเดียรถีย์นั้น ไม่เพียงแต่ไม่พึงให้อุปสมบทเท่านั้น ยังเป็นผู้ที่ไม่พึงบรรพชาให้อีกด้วย
(วิ.อ. ๓/๑๑๐/๘๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๗๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๔๙. ติรัจฉานคตวัตถุ
และพึงได้อัตภาพมนุษย์ฉับพลัน” คิดได้ว่า พระสมณะเชื้อสายศากยบุตรเหล่านี้เป็น
ผู้ประพฤติธรรม ประพฤติสงบ ประพฤติพรหมจรรย์ กล่าววาจาสัตย์ มีศีล
มีกัลยาณธรรม ถ้าเราจะพึงบรรพชาในพวกพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรไซร้
ด้วยอุบายอย่างนี้ เราก็จะพึงพ้นจากกำเนิดนาค และได้อัตภาพมนุษย์ฉับพลัน
จึงแปลงกายเป็นชายหนุ่มเข้าไปหาภิกษุทั้งหลายขอบรรพชา
ภิกษุทั้งหลาย ได้ให้บรรพชาให้อุปสมบท ต่อมา พระนาคอาศัยอยู่ในวิหาร
หลังสุดท้ายกับภิกษุรูปหนึ่ง ครั้นราตรีย่ำรุ่ง ภิกษุรูปนั้นตื่นขึ้นไปเดินจงกรมอยู่ในที่
แจ้ง เมื่อเธอออกไปแล้ว พระนาคก็วางใจก้าวลงสู่ความหลับ วิหารทั้งหลังเต็ม
ด้วยงู ขนดยื่นออกทางหน้าต่าง ครั้นภิกษุนั้นผลักบานประตูจะเข้าวิหาร ได้เห็น
วิหารทั้งหลังเต็มด้วยงู ขนดยื่นออกทางหน้าต่าง ก็ตกตะลึงร้องเสียงดัง
ภิกษุทั้งหลายวิ่งเข้าไปหาถามภิกษุนั้นว่า “อาวุโส ท่านร้องเสียงดังทำไม”
ภิกษุนั้นบอกว่า “ท่านทั้งหลาย วิหารทั้งหลังเต็มด้วยงู ขนดยื่นออกทาง
หน้าต่าง”
ทันใดนั้น พระนาคได้ตื่นขึ้นเพราะเสียงนั้น รีบนั่งบนอาสนะของตน
ภิกษุทั้งหลายถามว่า “อาวุโส ท่านเป็นใคร”
พระนาคตอบว่า “ผมเป็นนาค ขอรับ”
ภิกษุทั้งหลายถามว่า “อาวุโส ท่านได้ทำเช่นนี้เพื่ออะไร”
พระนาคได้บอกเรื่องนั้น ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ
ได้ตรัสกับพระนาคนั้นว่า “พวกเจ้าเป็นนาค ไม่มีความงอกงามในพระธรรมวินัยนี้
ไปเถิด นาค เจ้าจงเข้าจำอุโบสถในดิถีที่ ๑๔ ดิถีที่ ๑๕ และดิถีที่ ๘ แห่งปักษ์นั้น
แหละ ด้วยอุบายอย่างนี้ เจ้าจักพ้นจากกำเนิดนาค และได้อัตภาพมนุษย์ฉับพลัน”
นาคครั้นได้ทราบว่าตนไม่มีความงอกงามในพระธรรมวินัยนี้แน่นอน ก็มีทุกข์
เสียใจ หลั่งน้ำตาส่งเสียงดังหลีกไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๗๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๕๐. มาตุฆาตกวัตถุ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เหตุที่
ทำให้นาคปรากฏร่างเป็นนาค มี ๒ ประการเหล่านี้ คือ (๑) เวลาที่เสพเมถุนธรรม
กับนางนาคมีชาติเสมอกัน (๒) เวลาที่วางใจก้าวลงสู่ความหลับ ภิกษุทั้งหลาย
เหตุที่ทำให้นาคปรากฏร่างเป็นนาคมี ๒ ประการเหล่านี้
ภิกษุทั้งหลาย อนุปสัมบันผู้เป็นสัตว์ดิรัจฉาน ไม่พึงให้อุปสมบท ที่อุปสมบท
แล้วพึงให้สึกเสีย” (๔)

๕๐. มาตุฆาตกวัตถุ
ว่าด้วยคนฆ่ามารดาขอบรรพชา

ห้ามคนฆ่ามารดาอุปสมบท
[๑๑๒] สมัยนั้น มาณพผู้หนึ่งได้ปลงชีวิตมารดา เขาอึดอัด ระอา รังเกียจ
บาปกรรมนั้น ต่อมา เขามีความดำริว่า “ด้วยอุบายอย่างไรหนอ เราจะพึงทำการ
สะสางบาปกรรมนี้ได้” คิดได้ว่า “พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้เป็นผู้
ประพฤติธรรม ประพฤติสงบ ประพฤติพรหมจรรย์ กล่าววาจาสัตย์ มีศีล
มีกัลยาณธรรม ถ้าเราจะพึงบรรพชาในพวกพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร
ด้วยอุบายอย่างนี้ เราก็จะพึงทำการสะสางบาปกรรมนี้ได้” จึงเข้าไปหาภิกษุ
ทั้งหลายขอบรรพชา
ภิกษุทั้งหลายได้บอกเรื่องนี้แก่ท่านพระอุบาลีว่า “ท่านอุบาลี เมื่อก่อนนาคได้
แปลงกายเป็นชายหนุ่มเข้ามาบรรพชาในหมู่ภิกษุ ขอนิมนต์ท่านจงสอบสวนมาณพ
ผู้นี้ดูเถิด”
ครั้นมาณพนั้นถูกท่านพระอุบาลีสอบสวนจึงบอกเรื่องนั้นให้ทราบ ท่านพระ
อุบาลีได้บอกเรื่องนั้นให้ภิกษุทั้งหลายทราบ พวกภิกษุจึงกราบทูลเรื่องนี้ให้พระผู้
มีพระภาคทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย อนุปสัมบันผู้ฆ่ามารดา ไม่พึงให้
อุปสมบท ที่อุปสมบทแล้ว พึงให้สึกเสีย” (๕)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๗๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๕๒. อรหันตฆาตกวัตถุ
๕๑. ปิตุฆาตกวัตถุ
ว่าด้วยคนฆ่าบิดาขอบรรพชา

ห้ามคนฆ่าบิดาอุปสมบท
[๑๑๓] สมัยนั้น มาณพผู้หนึ่งได้ปลงชีวิตบิดา เขาอึดอัด ระอา รังเกียจ
บาปกรรมนั้น ต่อมา เขามีความดำริว่า “ด้วยอุบายอย่างไรหนอ เราจะพึงทำการ
สะสางบาปกรรมได้” คิดได้ว่า “พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้เป็นผู้
ประพฤติธรรม ประพฤติสงบ ประพฤติพรหมจรรย์ กล่าววาจาสัตย์ มีศีล
มีกัลยาณธรรม ถ้าเราจะพึงบรรพชาในพวกพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร ด้วย
อุบายอย่างนี้ เราก็จะพึงทำการสะสางบาปกรรมนี้ได้” จึงเข้าไปหาภิกษุทั้งหลาย
ขอบรรพชา
ภิกษุทั้งหลายได้บอกเรื่องนี้แก่ท่านพระอุบาลีว่า “ท่านอุบาลี เมื่อก่อนนาคได้
แปลงกายเป็นชายหนุ่มเข้ามาบรรพชาในหมู่ภิกษุ ขอนิมนต์ท่านสอบสวนมาณพ
ผู้นี้ดูเถิด”
ครั้นมาณพนั้นถูกท่านพระอุบาลีสอบสวนจึงบอกเรื่องนั้นให้ทราบ ท่านพระ
อุบาลีได้บอกเรื่องนั้นให้ภิกษุทั้งหลายทราบ พวกภิกษุจึงกราบทูลเรื่องนี้ให้พระผู้มี
พระภาคทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย อนุปสัมบันผู้ฆ่าบิดา ไม่พึงให้
อุปสมบท ที่อุปสมบทแล้ว พึงให้สึกเสีย” (๖)

๕๒. อรหันตฆาตกวัตถุ
ว่าด้วยคนฆ่าพระอรหันต์บรรพชา

ห้ามคนฆ่าพระอรหันต์อุปสมบท
[๑๑๔] สมัยนั้น ภิกษุจำนวนหลายรูปได้เดินทางไกลจากเมืองสาเกตไป
กรุงสาวัตถี ระหว่างทาง โจรยกพวกออกมาปล้นภิกษุบางพวก ฆ่าภิกษุบางพวก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๗๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๕๓. ภิกขุนีทูสกวัตถุ
เจ้าหน้าที่ยกกำลังจากกรุงสาวัตถีไปจับโจรบางพวกได้ บางพวกหลบหนีไป พวกที่
หนีไปได้บรรพชาในหมู่ภิกษุ พวกที่ถูกจับกำลังถูกเจ้าหน้าที่นำไปฆ่า พวกโจรที่
หนีไปบรรพชา ได้เห็นโจรเหล่านั้นกำลังถูกนำไปฆ่า ก็กล่าวขึ้นว่า “ดีแล้วที่พวก
เราหนีรอดมาได้ ถ้าวันนั้นถูกจับก็จะต้องถูกฆ่าเช่นนั้นด้วย”
ภิกษุทั้งหลายถามว่า “ท่านทั้งหลาย ก็พวกท่านได้ทำอะไร”
ภิกษุเหล่านั้นได้บอกเรื่องนี้ให้ภิกษุทั้งหลายทราบ พวกภิกษุจึงกราบทูลให้
พระผู้มีพระภาคทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกนั้นที่ถูกฆ่าเป็นพระอรหันต์
ภิกษุทั้งหลาย อนุปสัมบันผู้ฆ่าพระอรหันต์ ไม่พึงให้อุปสมบท ที่อุปสมบทแล้ว
พึงให้สึกเสีย” (๗)

๕๓. ภิกขุนีทูสกวัตถุ
ว่าด้วยคนประทุษร้ายภิกษุณีเป็นต้นบรรพชา

ห้ามคนประทุษร้ายภิกษุณีเป็นต้นอุปสมบท
[๑๑๕] สมัยนั้น ภิกษุณีหลายรูปได้เดินทางไกลจากเมืองสาเกตไปกรุงสาวัตถี
ระหว่างทาง โจรยกพวกออกมาปล้นภิกษุณีบางพวก ทำร้ายภิกษุณีบางพวก
เจ้าหน้าที่ยกกำลังออกจากกรุงสาวัตถีไปจับโจรบางพวกได้ บางพวกหลบหนีไป
พวกที่หนีไปได้บรรพชาในหมู่ภิกษุ พวกที่ถูกจับกำลังถูกเจ้าหน้าที่นำไปฆ่า พวก
โจรที่หนีไปบรรพชาได้เห็นโจรเหล่านั้นกำลังถูกนำไปฆ่า ก็กล่าวขึ้นว่า “ดีแล้วที่
พวกเราหนีรอดมาได้ ถ้าวันนั้นถูกจับ ก็จะต้องถูกฆ่าเช่นนั้นด้วย”
ภิกษุทั้งหลายถามว่า “ท่านทั้งหลาย ก็พวกท่านได้ทำอะไร”
ภิกษุเหล่านั้นได้บอกเรื่องนี้ให้ภิกษุทั้งหลายทราบ พวกภิกษุจึงกราบทูลให้
พระผู้มีพระภาคทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย อนุปสัมบันผู้ประทุษร้ายภิกษุณี
ไม่พึงให้อุปสมบท ที่อุปสมบทแล้ว พึงให้สึกเสีย” (๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๗๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๕๕. อนุปัชฌายกาทิวัตถุ
เรื่องคนทำลายสงฆ์
ภิกษุทั้งหลาย อนุปสัมบันผู้ทำลายสงฆ์ ไม่พึงให้อุปสมบท ที่อุปสมบทแล้ว
พึงให้สึกเสีย (๙)

เรื่องคนทำร้ายพระพุทธเจ้าจนห้อพระโลหิต
ภิกษุทั้งหลาย อนุปสัมบันผู้ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนห้อพระโลหิต ไม่พึงให้
อุปสมบท ที่อุปสมบทแล้ว พึงให้สึกเสีย (๑๐)

๕๔. อุภโตพยัญชนก
ว่าด้วยอุภโตพยัญชนกบรรพชา

ห้ามอุภโตพยัญชนกอุปสมบท
[๑๑๖] สมัยนั้น อุภโตพยัญชนก๑บางคนได้บรรพชาในหมู่ภิกษุ เธอเสพ
เมถุนธรรมในสตรีทั้งหลายด้วยปุริสนิมิตของตนบ้าง ให้บุรุษอื่นเสพเมถุนธรรมใน
อิตถีนิมิตของตนบ้าง ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนี้ให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย อนุปสัมบันผู้เป็นอุภโตพยัญชนก
ไม่พึงให้อุปสมบท ที่อุปสมบทแล้ว พึงให้สึกเสีย” (๑๑)

๕๕. อนุปัชฌายกาทิวัตถุ
ว่าด้วยคนไม่มีอุปัชฌาย์อุปสมบทเป็นต้น
[๑๑๗] สมัยนั้น พวกภิกษุให้กุลบุตรผู้ไม่มีอุปัชฌาย์อุปสมบท ภิกษุทั้งหลาย
จึงกราบทูลเรื่องนี้ให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ

เชิงอรรถ :
๑ อุภโตพยัญชนก หมายถึงคนมี ๒ เพศ คือสัญลักษณ์เพศหญิง และสัญลักษณ์เพศชาย เพราะผลกรรม
ที่ทำไว้ (วิ.อ. ๓/๑๑๖/๙๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๘๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๕๕. อนุปัชฌายกาทิวัตถุ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรผู้ไม่มีอุปัชฌาย์ ไม่พึงให้
อุปสมบท รูปใดให้อุปสมบท ต้องอาบัติทุกกฏ” (๑๒)

เรื่องคนมีสงฆ์เป็นอุปัชฌาย์
สมัยนั้น พวกภิกษุให้กุลบุตรมีสงฆ์เป็นอุปัชฌาย์อุปสมบท ภิกษุทั้งหลาย
จึงกราบทูลเรื่องนี้ให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรมีสงฆ์เป็นอุปัชฌาย์ ไม่พึง
ให้อุปสมบท รูปใดให้อุปสมบท ต้องอาบัติทุกกฏ” (๑๓)

เรื่องคนมีคณะเป็นอุปัชฌาย์
สมัยนั้น พวกภิกษุให้กุลบุตรมีคณะเป็นอุปัชฌาย์อุปสมบท ภิกษุทั้งหลาย
จึงกราบทูลเรื่องนี้ให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรมีคณะเป็นอุปัชฌาย์ ไม่พึงให้
อุปสมบท รูปใดให้อุปสมบท ต้องอาบัติทุกกฏ” (๑๔)

เรื่องคนมีบัณเฑาะก์เป็นอุปัชฌาย์เป็นต้น
สมัยต่อมา พวกภิกษุให้กุลบุตรมีบัณเฑาะก์เป็นอุปัชฌาย์อุปสมบท...
... ให้กุลบุตรมีคนลักเพศเป็นอุปัชฌาย์อุปสมบท...
... ให้กุลบุตรมีภิกษุไปเข้ารีตเดียรถีย์เป็นอุปัชฌาย์อุปสมบท...
... ให้กุลบุตรมีสัตว์ดิรัจฉานเป็นอุปัชฌาย์อุปสมบท...
... ให้กุลบุตรมีคนฆ่ามารดาเป็นอุปัชฌาย์อุปสมบท...
... ให้กุลบุตรมีคนฆ่าบิดาเป็นอุปัชฌาย์อุปสมบท...
... ให้กุลบุตรมีคนฆ่าพระอรหันต์เป็นอุปัชฌาย์อุปสมบท...
... ให้กุลบุตรมีคนประทุษร้ายภิกษุณีเป็นอุปัชฌาย์อุปสมบท...
... ให้กุลบุตรมีคนทำลายสงฆ์เป็นอุปัชฌาย์อุปสมบท...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๘๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๕๖. อปัตตกาทิวัตถุ
... ให้กุลบุตรมีคนทำร้ายพระพุทธเจ้าจนห้อพระโลหิตเป็นอุปัชฌาย์อุปสมบท...
... ให้กุลบุตรมีอุภโตพยัญชนกเป็นอุปัชฌาย์อุปสมบท
ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนี้ให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรมีบัณเฑาะก์
เป็นอุปัชฌาย์ ไม่พึงให้อุปสมบท รูปใดให้อุปสมบท ต้องอาบัติทุกกฏ”
... กุลบุตรมีคนลักเพศเป็นอุปัชฌาย์ ไม่พึงให้อุปสมบท...
... กุลบุตรมีภิกษุไปเข้ารีตเดียรถีย์เป็นอุปัชฌาย์ ไม่พึงให้อุปสมบท...
... กุลบุตรมีสัตว์เดรัจฉานเป็นอุปัชฌาย์ ไม่พึงให้อุปสมบท...
... กุลบุตรมีคนฆ่ามารดาเป็นอุปัชฌาย์ ไม่พึงให้อุปสมบท...
... กุลบุตรมีคนฆ่าบิดาเป็นอุปัชฌาย์ ไม่พึงให้อุปสมบท...
... กุลบุตรมีคนฆ่าพระอรหันต์เป็นอุปัชฌาย์ ไม่พึงให้อุปสมบท...
... กุลบุตรมีคนประทุษร้ายภิกษุณีเป็นอุปัชฌาย์ ไม่พึงให้อุปสมบท...
... กุลบุตรมีคนทำลายสงฆ์เป็นอุปัชฌาย์ ไม่พึงให้อุปสมบท...
... กุลบุตรมีคนทำร้ายพระพุทธเจ้าจนห้อพระโลหิตเป็นอุปัชฌาย์ ไม่พึงให้
อุปสมบท...
... กุลบุตรมีอุภโตพยัญชนกเป็นอุปัชฌาย์ ไม่พึงให้อุปสมบท รูปใดให้อุปสมบท
ต้องอาบัติทุกกฏ (๑๕)

๕๖. อปัตตกาทิวัตถุ
ว่าด้วยคนไม่มีบาตรอุปสมบทเป็นต้น

ห้ามคนไม่มีบาตรอุปสมบท
[๑๑๘] สมัยนั้น พวกภิกษุให้กุลบุตรผู้ไม่มีบาตรอุปสมบท พวกเธออุปสมบท
แล้วก็เที่ยวบิณฑบาตด้วยมือ มนุษย์ทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า
“เที่ยวบิณฑบาตเหมือนพวกเดียรถีย์”
ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนี้ให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๘๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๕๖. อปัตตกาทิวัตถุ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรผู้ไม่มีบาตร ไม่พึงให้
อุปสมบท รูปใดให้อุปสมบท ต้องอาบัติทุกกฏ” (๑๖)

เรื่องคนไม่มีจีวร
สมัยนั้น พวกภิกษุให้กุลบุตรผู้ไม่มีจีวรอุปสมบท พวกเธออุปสมบทแล้วก็เปลือย
กายเที่ยวบิณฑบาต มนุษย์ทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนา ว่า “เที่ยว
บิณฑบาตเหมือนพวกเดียรถีย์”
ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนี้ให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรผู้ไม่มีจีวร ไม่พึงให้อุปสมบท
รูปใดให้อุปสมบท ต้องอาบัติทุกกฏ” (๑๗)

เรื่องคนไม่มีทั้งบาตรและจีวร
สมัยนั้น พวกภิกษุให้กุลบุตรผู้ไม่มีทั้งบาตรและจีวรอุปสมบท พวกเธอ
อุปสมบทแล้วก็เปลือยกายเที่ยวบิณฑบาตด้วยมือ มนุษย์ทั้งหลายพากันตำหนิ
ประณาม โพนทะนาว่า “เที่ยวบิณฑบาตเหมือนพวกเดียรถีย์”
ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนี้ให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรผู้ไม่มีทั้งบาตรและจีวร ไม่พึง
ให้อุปสมบท รูปใดให้อุปสมบท ต้องอาบัติทุกกฏ” (๑๘)

เรื่องคนยืมบาตร
สมัยนั้น พวกภิกษุให้กุลบุตรผู้ยืมบาตรเขามาอุปสมบท เมื่ออุปสมบทแล้ว
เจ้าของก็ขอเอาบาตรคืน พวกเธอเที่ยวบิณฑบาตด้วยมือ มนุษย์ทั้งหลายพากันตำหนิ
ประณาม โพนทะนาว่า “เที่ยวบิณฑบาตเหมือนพวกเดียรถีย์”
ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนี้ให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลายกุลบุตรผู้ยืมบาตรเขามา ไม่พึงให้
อุปสมบท รูปใดให้อุปสมบท ต้องอาบัติทุกกฏ” (๑๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๘๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๕๗. ปัพพาเชตัพพทวัตติงสวาร
เรื่องคนยืมจีวร
สมัยนั้น พวกภิกษุให้กุลบุตรผู้ยืมจีวรเขามาอุปสมบท เมื่ออุปสมบทแล้ว
เจ้าของก็ขอเอาจีวรคืน พวกเธอเปลือยกายเที่ยวบิณฑบาตด้วยมือ มนุษย์ทั้งหลาย
พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “เที่ยวบิณฑบาตเหมือนพวกเดียรถีย์”
ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนี้ให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรผู้ยืมจีวรเขามา ไม่พึงให้
อุปสมบท รูปใดให้อุปสมบท ต้องอาบัติทุกกฏ” (๒๐)

เรื่องคนยืมบาตรและจีวร
สมัยนั้น พวกภิกษุให้กุลบุตรผู้ยืมบาตรและจีวรเขามาอุปสมบท เมื่ออุปสมบท
แล้วเจ้าของก็ขอเอาบาตรและจีวรคืน พวกเธอเปลือยกายเที่ยวบิณฑบาตด้วยมือ
มนุษย์ทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนานว่า “เที่ยวบิณฑบาตเหมือนพวก
เดียรถีย์”
ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนี้ให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรผู้ยืมบาตรและจีวรเขามา
ไม่พึงให้อุปสมบท รูปใดให้อุปสมบท ต้องอาบัติทุกกฏ” (๒๑)
นอุปสัมปาเทตัพพกวีสติวาร จบ

๕๗. ปัพพาเชตัพพทวัตติงสวาร
ว่าด้วยบุคคลไม่ควรให้บรรพชา ๓๒ จำพวก
[๑๑๙] สมัยนั้น พวกภิกษุให้คนมือด้วนบรรพชา ...
... ให้คนเท้าด้วนบรรพชา ...
... ให้คนทั้งมือทั้งเท้าด้วนบรรพชา ...
... ให้คนหูวิ่นบรรพชา ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๘๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๕๗. ปัพพาเชตัพพทวัตติงสวาร
... ให้คนจมูกแหว่งบรรพชา ...
... ให้คนทั้งหูวิ่นทั้งจมูกแหว่งบรรพชา ...
... ให้คนนิ้วมือนิ้วเท้าขาดบรรพชา ...
... ให้คนง่ามมือง่ามเท้าขาดบรรพชา ...
... ให้คนเอ็นขาดบรรพชา ...
... ให้คนมือเป็นแผ่นบรรพชา ...
... ให้คนค่อมบรรพชา ...
... ให้คนเตี้ยบรรพชา ...
... ให้คนคอพอกบรรพชา ...
... ให้คนถูกสักหมายโทษบรรพชา ...
... ให้คนมีรอยเฆี่ยนด้วยหวายบรรพชา ...
... ให้คนมีหมายจับบรรพชา ...
... ให้คนเท้าปุกบรรพชา ...
... ให้คนมีโรคเรื้อรังบรรพชา ...
... ให้คนมีรูปร่างไม่สมประกอบบรรพชา๑ ...
... ให้คนตาบอดข้างเดียวบรรพชา ...
... ให้คนง่อยบรรพชา ...
... ให้คนกระจอกบรรพชา ...
... ให้คนเป็นโรคอัมพาตบรรพชา ...
... ให้คนเคลื่อนไหวเองไม่ได้บรรพชา ...
... ให้คนชราทุพพลภาพบรรพชา ...
... ให้คนตาบอดสองข้างบรรพชา ...
... ให้คนใบ้บรรพชา ...
... ให้คนหูหนวกบรรพชา ...

เชิงอรรถ :
๑ คนมีรูปร่างไม่สมประกอบ เรียกว่า “คนประทุษร้ายบริษัท” คือ คนมีรูปร่างผิดปกติ เช่น สูงเกินไป
เตี้ยเกินไป ดำเกินไป ขาวเกินไป จมูกใหญ่เกินไป จมูกเล็กเกินไป (วิ.อ. ๓/๑๑๙/๙๖-๙๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๘๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๕๗. ปัพพาเชตัพพทวัตติงสวาร
... ให้คนทั้งบอดทั้งใบ้บรรพชา ...
... ให้คนทั้งบอดทั้งหนวกบรรพชา ...
... ให้คนทั้งใบ้ทั้งหนวกบรรพชา ...
... ให้คนทั้งบอดทั้งใบ้ทั้งหนวกบรรพชา ...
ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนี้ให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ

เรื่องทรงห้ามให้คนมือด้วนเป็นต้นบรรพชา
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงให้คนมือด้วนบรรพชา ...
... ไม่พึงให้คนเท้าด้วนบรรพชา ...
... ไม่พึงให้คนทั้งมือทั้งเท้าด้วนบรรพชา ...
... ไม่พึงให้คนหูวิ่นบรรพชา ...
... ไม่พึงให้คนจมูกแหว่งบรรพชา ...
... ไม่พึงให้คนทั้งหูวิ่นทั้งจมูกแหว่งบรรพชา ...
... ไม่พึงให้คนนิ้วมือนิ้วเท้าขาดบรรพชา ...
... ไม่พึงให้คนง่ามมือง่ามเท้าขาดบรรพชา ...
... ไม่พึงให้คนเอ็นขาดบรรพชา ...
... ไม่พึงให้คนมือเป็นแผ่นบรรพชา ...
... ไม่พึงให้คนค่อมบรรพชา ...
... ไม่พึงให้คนเตี้ยบรรพชา ...
... ไม่พึงให้คนคอพอกบรรพชา ...
... ไม่พึงให้คนถูกสักหมายโทษบรรพชา ...
... ไม่พึงให้คนมีรอยเฆี่ยนด้วยหวายบรรพชา ...
... ไม่พึงให้คนมีหมายจับบรรพชา ...
... ไม่พึงให้คนเท้าปุกบรรพชา ...
... ไม่พึงให้คนมีโรคเรื้อรังบรรพชา ...
... ไม่พึงให้คนมีรูปร่างไม่สมประกอบบรรพชา ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๘๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๕๘. อลัชชีนิสสยวัตถุ
... ไม่พึงให้คนตาบอดข้างเดียวบรรพชา ...
... ไม่พึงให้คนง่อยบรรพชา ...
... ไม่พึงให้คนกระจอกบรรพชา ...
... ไม่พึงให้คนเป็นโรคอัมพาตบรรพชา ...
... ไม่พึงให้คนเคลื่อนไหวเองไม่ได้บรรพชา ...
... ไม่พึงให้คนชราทุพพลภาพบรรพชา ...
... ไม่พึงให้คนตาบอดสองข้างบรรพชา ...
... ไม่พึงให้คนใบ้บรรพชา ...
... ไม่พึงให้คนหูหนวกบรรพชา ...
... ไม่พึงให้คนทั้งบอดทั้งใบ้บรรพชา ...
... ไม่พึงให้คนทั้งบอดทั้งหนวกบรรพชา ...
... ไม่พึงให้คนทั้งใบ้ทั้งหนวกบรรพชา ...
... ไม่พึงให้คนทั้งบอดทั้งใบ้ทั้งหนวกบรรพชา รูปใดให้บรรพชา ต้องอาบัติ
ทุกกฏ”
นปัพพาเชตัพพทวัตติงสวาร จบ
ทายัชชภาณวารที่ ๙ จบ

๕๘. อลัชชีนิสสยวัตถุ
ว่าด้วยการให้นิสสัยแก่ภิกษุอลัชชี

เรื่องทรงห้ามการให้นิสสัยแก่ภิกษุอลัชชี
[๑๒๐] สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ให้นิสสัยแก่พวกภิกษุอลัชชี ภิกษุทั้งหลาย
จึงกราบทูลเรื่องนี้ให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงให้นิสสัยแก่พวกภิกษุอลัชชี
รูปใดให้ ต้องอาบัติทุกกฏ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๘๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๕๙. คมิกาทินิสสยวัตถุ
เรื่องทรงห้ามการถือนิสสัยภิกษุอลัชชี
สมัยนั้น พวกภิกษุอยู่อาศัยพวกภิกษุอลัชชี ไม่นานนักแม้ภิกษุพวกนั้นก็กลาย
เป็นภิกษุอลัชชี เป็นภิกษุเลวทราม
ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนี้ให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงอยู่อาศัยพวกภิกษุอลัชชี
รูปใดอยู่ ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายมีความดำริว่า “พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า ‘ไม่พึง
ให้นิสสัยแก่พวกภิกษุอลัชชี ไม่พึงอยู่อาศัยพวกภิกษุอลัชชี’ ทำอย่างไรหนอ พวกเรา
จึงจะรู้ว่าภิกษุเป็นลัชชีหรืออลัชชี” จึงกราบทูลเรื่องนี้ให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รอ ๔-๕ วัน พอจะรู้
ว่าภิกษุผู้ให้นิสสัยเป็นสภาคกัน”

๕๙. คมิกาทินิสสยวัตถุ
ว่าด้วยการถือนิสสัยของภิกษุผู้เดินทางเป็นต้น

เรื่องภิกษุผู้เดินทางไกลไม่ต้องถือนิสสัย
[๑๒๑] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเดินทางไกลไปในแคว้นโกศล เธอมีความดำริว่า
“พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า ภิกษุจะอยู่โดยไม่ถือนิสสัยไม่ได้ ก็เราจำต้องถือ
นิสสัย แต่ต้องเดินทางไกล เราจะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ”
ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนี้ให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้เดินทางไกล
เมื่อไม่ได้ผู้ให้นิสสัย ให้อยู่โดยไม่ต้องถือนิสสัย”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๘๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๕๙. คมิกาทินิสสยวัตถุ
เรื่องภิกษุไข้ไม่ต้องถือนิสัย
สมัยนั้น ภิกษุ ๒ รูป เดินทางไกลไปในแคว้นโกศล ท่านทั้ง ๒ เข้าพัก ณ
อาวาสแห่งหนึ่ง ในภิกษุ ๒ รูปนั้น รูปหนึ่งเป็นไข้ ท่านมีความดำริว่า “พระผู้มี
พระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า ‘ภิกษุจะพึงอยู่โดยไม่ต้องถือนิสสัยไม่ได้’ ก็เราจำต้องถือ
นิสสัย แต่กำลังเป็นไข้ เราจะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ”
ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนี้ให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้เป็นไข้
เมื่อไม่ได้ผู้ให้นิสสัย พึงอยู่โดยไม่ต้องถือนิสสัย”
ต่อมา ภิกษุผู้พยาบาลภิกษุไข้มีความดำริว่า “พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติ
ไว้ว่า ‘ภิกษุจะพึงอยู่โดยไม่ต้องถือนิสสัยไม่ได้’ ก็เราจำต้องถือนิสสัย แต่ภิกษุนี้
กำลังเป็นไข้ เราจะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ”
ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนี้ให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ

เรื่องภิกษุผู้พยาบาลไข้ไม่ต้องถือนิสสัย
พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้พยาบาล
ภิกษุไข้ เมื่อไม่ได้ผู้ให้นิสสัย ทั้งถูกภิกษุผู้เป็นไข้ขอร้อง พึงอยู่โดยไม่ต้องถือนิสสัย”
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ในป่า และเธอมีความผาสุกในเสนาสนะนั้น ต่อมา
ท่านมีความดำริว่า “พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า ‘ภิกษุจะพึงอยู่โดยไม่ต้องถือ
นิสสัยไม่ได้’ ก็เราจำต้องถือนิสสัย แต่ยังอยู่ในป่าและมีความผาสุกในเสนาสนะนี้
เราจะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ”
ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนี้ให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ

เรื่องไม่ต้องถือนิสสัยเพราะหาผู้ให้นิสสัยไม่ได้
พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้อยู่ป่า
เป็นวัตร กำหนดเอาความผาสุก เมื่อไม่ได้ผู้ให้นิสสัย พึงอยู่โดยไม่ต้องถือนิสสัย
ด้วยผูกใจว่า เราจักถือนิสสัยอยู่ในเมื่อภิกษุผู้ให้นิสสัยผู้สมควรมาถึง”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๘๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๖๑. เทฺวอุปสัมปทาเปกขาทิวัตถุ
๖๐. โคตเตนอนุสสาวนานุชานนา
ว่าด้วยทรงอนุญาตอุปสมบทกรรมโดยสวดระบุโคตรของอุปัชฌาย์

เรื่องพระมหากัสสปะนิมนต์พระอานนท์มาสวดนาค
[๑๒๒] สมัยนั้น ท่านพระมหากัสสปะมีอุปสัมปทาเปกขะ ท่านจึงส่งทูตไปใน
สำนักพระอานนท์ให้นิมนต์ว่า “ท่านอานนท์จงมาสวดอุปสัมปทาเปกขะ๑นี้”
พระอานนท์ตอบไปว่า “กระผมไม่สามารถจะระบุนามของพระเถระ๒ได้ เพราะ
พระเถระเป็นที่เคารพของกระผม”
ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนี้ให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สวดระบุโคตรได้”

๖๑. เทฺวอุปสัมปทาเปกขาทิวัตถุ
ว่าด้วยอุปสมบทอุปสัมปทาเปกขะ ๒ คนเป็นต้น

เรื่องแย่งกันอุปสมบทก่อน
[๑๒๓] สมัยนั้น ท่านพระมหากัสสปะมีอุปสัมปทาเปกขะ ๒ คน อุปสัมปทา
เปกขะทั้ง ๒ เถียงกันว่า “ผมจักอุปสมบทก่อน ผมจักอุปสมบทก่อน”
ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนี้ให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สวดอุปสัมปทาเปกขะ
๒ คน ในอนุสาวนาเดียวกันได้”

เชิงอรรถ :
๑ อุปสัมปทาเปกขะ คือ ผู้มุ่งจะบวชเป็นภิกษุ ผู้ประสงค์จะบวช
๒ หมายถึงไม่สามารถระบุชื่อของพระมหากัสสปะ ที่จะปรากฏอยู่ในคำสวดว่า “อายสฺมโต ปิปฺผลิสฺส
อุปสมฺปทาเปกฺโข (อุปสัมปทาเปกขะของท่านปิปผลิ) (สารตฺถ.ฏีกา ๓/๑๒๒/๓๒๓) เพราะการระบุชื่อและ
โคตรถือเป็นการแสดงความไม่เคารพ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๙๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๖๒. คัพภวีสูปสัมปทานุชานนา
เรื่องอุปสมบทครั้งละ ๓ คน มีอุปัชฌาย์รูปเดียว
สมัยต่อมา พระเถระหลายรูปต่างก็มีอุปสัมปทาเปกขะหลายคน อุปสัมปทา
เปกขะ เหล่านั้นต่างเถียงกันว่า “ผมจักอุปสมบทก่อน ผมจักอุปสมบทก่อน”
พระเถระทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนี้ให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สวดอุปสัมปทาเปกขะ
ในอนุสาวนาเดียวกันครั้งละ ๒ คน ๓ คนได้ แต่การสวดนั้น เราอนุญาตให้มี
อุปัชฌาย์รูปเดียวกัน ไม่อนุญาตให้มีอุปัชฌาย์ต่างรูปกัน”

๖๒. คัพภวีสูปสัมปทานุชานนา
ว่าด้วยทรงอนุญาต
อุปสมบทให้กุลบุตรโดยนับอายุ ๒๐ ปีทั้งอยู่ในครรภ์

เรื่องพระกุมารกัสสปะ
[๑๒๔] สมัยนั้น ท่านพระกุมารกัสสปะมีอายุครบ ๒๐ ปีนับทั้งอยู่ในครรภ์
ได้อุปสมบทแล้ว ต่อมา ท่านมีความดำริว่า “พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า
‘บุคคลมีอายุหย่อนกว่า ๒๐ ปี สงฆ์ไม่พึงให้อุปสมบท’ แต่เรามีอายุครบ ๒๐ ปี
นับทั้งอยู่ในครรภ์อุปสมบทแล้ว จะเป็นอันได้อุปสมบทหรือไม่หนอ”
ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนี้ให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย สัตว์เกิดนับตั้งแต่จิตดวงแรก
วิญญาณดวงแรกเกิดปรากฏขึ้นในครรภ์ของมารดา ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
อุปสมบทให้กุลบุตรมีอายุครบ ๒๐ นับทั้งอยู่ในครรภ์ได้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๙๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๖๓. อุปสัมปทาวิธิ
๖๓. อุปสัมปทาวิธิ
ว่าด้วยอุปสมบทวิธี

เรื่องอุปสัมบันถูกโรคเบียดเบียน
[๑๒๕] สมัยนั้น กุลบุตรทั้งหลายที่อุปสมบทแล้ว ปรากฏเป็นโรคเรื้อนก็มี
โรคฝีก็มี โรคกลากก็มี โรคมองคร่อก็มี โรคลมบ้าหมูก็มี
ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนี้ให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สงฆ์ผู้จะให้อุปสมบท
ถามอันตรายิกธรรม ๑๓ ข้อได้”

เรื่องถามอันตรายิกธรรมกับอุปสัมปทาเปกขะ
ภิกษุทั้งหลาย ก็แลพึงถามอุปสัมปทาเปกขะอย่างนี้
อาพาธเช่นนี้ของเจ้ามีอยู่หรือ คือ โรคเรื้อน โรคฝี โรคกลาก โรคมองคร่อ
โรคลมบ้าหมู เจ้าเป็นมนุษย์หรือ เจ้าเป็นชายหรือ เจ้าเป็นไทหรือ เจ้าไม่มีหนี้หรือ
เจ้าไม่ใช่ราชภัฏหรือ มารดาบิดาอนุญาตเจ้าแล้วหรือ เจ้ามีอายุครบ ๒๐ ปีหรือ
บาตรและจีวรของเจ้ามีครบแล้วหรือ เจ้าชื่ออะไร อุปัชฌาย์ของเจ้าชื่ออะไร

เรื่องสอนซ้อมก่อนถามอันตรายิกธรรม
สมัยนั้น พวกภิกษุถามอันตรายิกธรรมกับพวกอุปสัมปทาเปกขะผู้ยังมิได้สอน
ซ้อม พวกอุปสัมปทาเปกขะย่อมสะทกสะท้าน เก้อเขิน ไม่อาจตอบได้
ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนี้ให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สอนซ้อมจึงถาม
อันตรายิกธรรมภายหลัง”
พวกภิกษุ ก็สอนซ้อมในท่ามกลางสงฆ์นั่นแหละ พวกอุปสัมปทาเปกขะก็สะทก
สะท้าน เก้อเขิน ไม่อาจตอบเช่นเดิม


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๙๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๖๓. อุปสัมปทาวิธิ
ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนี้ให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สอนซ้อม ณ ที่สมควร
จึงถามอันตรายิกธรรมในท่ามกลางสงฆ์”
ภิกษุทั้งหลาย ก็แลพึงสอนซ้อมอุปสัมปทาเปกขะอย่างนี้

คำบอกบาตรและจีวร
[๑๒๖] ในเบื้องต้น พึงให้อุปสัมปทาเปกขะถืออุปัชฌาย์ ครั้นให้ถืออุปัชฌาย์
แล้วพึงบอกบาตรและจีวรว่า “นี้บาตร นี้สังฆาฏิ นี้อุตตราสงค์ นี้อันตรวาสก
ของเจ้า เจ้าจงออกไปยืนที่โน้น”

เรื่องภิกษุโง่เขลาสอนซ้อม
พวกภิกษุผู้โง่เขลาไม่ฉลาด สอนซ้อม พวกอุปสัมปทาเปกขะถูกสอนซ้อมไม่ดี
ก็สะทกสะท้าน เก้อเขิน ไม่สามารถตอบได้
ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนี้ให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้โง่เขลาไม่ฉลาด ไม่พึงสอนซ้อม
รูปใดสอนซ้อม ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ฉลาด
สามารถสอนซ้อม”

เรื่องภิกษุยังไม่ได้รับแต่งตั้งสอนซ้อม
พวกภิกษุผู้ยังไม่ได้รับแต่งตั้งสอนซ้อม ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนี้ให้พระ
ผู้มีพระภาคทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังไม่ได้รับแต่งตั้งไม่พึงสอนซ้อม
รูปใดสอนซ้อม ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ได้รับแต่งตั้ง
สอนซ้อม”
ภิกษุทั้งหลาย พึงแต่งตั้งอย่างนี้ ตนเองแต่งตั้งตนเองก็ได้ ภิกษุรูปหนึ่ง
แต่งตั้งภิกษุอีกรูปหนึ่งก็ได้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๙๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๖๓. อุปสัมปทาวิธิ
วิธีแต่งตั้งตนและกรรมวาจา
อย่างไรเล่า ชื่อว่าตนเองแต่งตั้งตนเอง คือ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้
สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจาว่า
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขะของท่านผู้มี
ชื่อนี้ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว ข้าพเจ้าชื่อนี้ จะสอนซ้อมผู้มีชื่อนี้
อย่างนี้ ชื่อว่าตนเองแต่งตั้งตนเอง

วิธีแต่งตั้งผู้อื่นและกรรมวาจา
อย่างไรเล่า ชื่อว่าภิกษุรูปหนึ่งแต่งตั้งภิกษุอีกรูปหนึ่ง คือ ภิกษุผู้ฉลาด
สามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจาว่า
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขะของท่านผู้มี
ชื่อนี้ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว ท่านผู้มีชื่อนี้พึงสอนซ้อมผู้มีชื่อนี้
อย่างนี้ ชื่อว่าภิกษุรูปหนึ่งแต่งตั้งภิกษุอีกรูปหนึ่ง
ภิกษุผู้ได้รับแต่งตั้งนั้น พึงเข้าไปหาอุปสัมปทาเปกขะกล่าวแล้วอย่างนี้ว่า
แน่ะผู้มีชื่อนี้ เจ้าฟังนะ นี้เป็นกาลสัตย์ กาลจริงของเจ้า เมื่อภิกษุผู้สอนซ้อม
ถามในท่ามกลางสงฆ์ถึงสิ่งที่เกิด สิ่งที่มี พึงบอกว่า “มี” ไม่มีก็พึงบอกว่า “ไม่มี”
เจ้าอย่าสะทกสะท้าน อย่าเก้อเขิน ภิกษุผู้สอนซ้อมจักถามเจ้าอย่างนี้ว่า ‘อาพาธ
เช่นนี้ของเจ้ามีอยู่หรือ คือ โรคเรื้อน โรคฝี โรคกลาก โรคมองคร่อ โรคลมบ้าหมู
เจ้าเป็นมนุษย์หรือ เจ้าเป็นชายหรือ เจ้าเป็นไทหรือ เจ้าไม่มีหนี้หรือ เจ้าไม่ใช่
ราชภัฏหรือ มารดาบิดาอนุญาตเจ้าแล้วหรือ เจ้ามีอายุครบ ๒๐ ปีแล้วหรือ
เจ้ามีบาตรและจีวรครบแล้วหรือ เจ้าชื่ออะไร อุปัชฌาย์ของเจ้าชื่ออะไร’

เรื่องห้ามผู้สอนซ้อมกับอุปสัมปทาเปกขะเดินมาพร้อมกัน
ภิกษุผู้สอนซ้อมกับอุปสัมปทาเปกขะเดินมาพร้อมกัน พระผู้มีพระภาครับ
สั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สอนซ้อมกับอุปสัมปทาเปกขะ ไม่พึงเดินมาพร้อมกัน
ภิกษุผู้สอนซ้อมพึงเดินมาก่อน แล้วประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจาว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๙๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๖๓. อุปสัมปทาวิธิ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขะของท่านผู้มี
ชื่อนี้ ข้าพเจ้าสอนซ้อมเขาแล้ว ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว ผู้มีชื่อนี้พึงมาได้
พึงเรียกอุปสัมปทาเปกขะว่า “เจ้าจงเข้ามาเถิด”

คำขออุปสมบท
พึงให้อุปสัมปทาเปกขะห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุทั้งหลาย
นั่งกระโหย่ง ประนมมือ ขออุปสมบทว่า
ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าขออุปสมบทต่อสงฆ์ สงฆ์โปรดช่วยอนุเคราะห์ยก
ข้าพเจ้าขึ้นเถิด
ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าขออุปสมบทต่อสงฆ์ เป็นครั้งที่ ๒ สงฆ์โปรดช่วย
อนุเคราะห์ยกข้าพเจ้าขึ้นเถิด
ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าขออุปสมบทต่อสงฆ์ เป็นครั้งที่ ๓ สงฆ์โปรดช่วย
อนุเคราะห์ยกข้าพเจ้าขึ้นเถิด

คำแต่งตั้งตนเพื่อถามอันตรายิกธรรม
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจาว่า
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขะของท่านผู้
มีชื่อนี้ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว ข้าพเจ้าพึงถามอันตรายิกธรรมกับผู้มีชื่อนี้ ดังนี้
แน่ะผู้มีชื่อนี้ เจ้าฟังนะ นี้เป็นกาลสัตย์ กาลจริงของเจ้า เราจะถามสิ่งที่เกิด
สิ่งที่มี พึงบอกว่า “มี” ไม่มีก็พึงบอกว่า “ไม่มี” อาพาธเช่นนี้ของเจ้ามีอยู่หรือ
คือ โรคเรื้อน โรคฝี โรคกลาก โรคมองคร่อ โรคลมบ้าหมู เจ้าเป็นมนุษย์หรือ
เจ้าเป็นชายหรือ เจ้าเป็นไทหรือ เจ้าไม่มีหนี้หรือ เจ้าไม่ใช่ราชภัฏหรือ มารดาบิดา
อนุญาตเจ้าแล้วหรือ เจ้ามีอายุครบ ๒๐ ปีหรือ บาตรและจีวรของเจ้ามีครบแล้วหรือ
เจ้าชื่ออะไร อุปัชฌาย์ของเจ้าชื่ออะไร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๙๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๖๓. อุปสัมปทาวิธี
ญัตติจตุตถกรรมอุปสัมปทา
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า
[๑๒๗] ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขะของ
ท่านผู้มีชื่อนี้ บริสุทธิ์จากอันตรายิกธรรมทั้งหลาย เขามีบาตรและจีวรครบแล้ว
ผู้มีชื่อนี้ขออุปสมบทต่อสงฆ์ มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌาย์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว
สงฆ์พึงให้ผู้มีชื่อนี้อุปสมบท มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌาย์ นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขะของท่านผู้มี
ชื่อนี้ บริสุทธิ์จากอันตรายิกธรรมทั้งหลาย เขามีบาตรและจีวรครบแล้ว ผู้มีชื่อนี้ขอ
อุปสมบทต่อสงฆ์ มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌาย์ สงฆ์ให้ผู้มีชื่อนี้อุปสมบท มีท่าน
ผู้มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌาย์ ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการให้ผู้มีชื่อนี้อุปสมบท มีท่านผู้มีชื่อนี้
เป็นอุปัชฌาย์ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้
เป็นอุปสัมปทาเปกขะของท่านผู้มีชื่อนี้ บริสุทธิ์จากอันตรายิกธรรมทั้งหลาย เขามี
บาตรและจีวรครบแล้ว ผู้มีชื่อนี้ขออุปสมบทต่อสงฆ์ มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌาย์
สงฆ์ให้ผู้มีชื่อนี้อุปสมบท มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌาย์ ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการให้ผู้
มีชื่อนี้อุปสมบท มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌาย์ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย
ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้
เป็นอุปสัมปทาเปกขะของท่านผู้มีชื่อนี้ บริสุทธิ์จากอันตรายิกธรรมทั้งหลาย เขามี
บาตรและจีวรครบแล้ว ผู้มีชื่อนี้ขออุปสมบทต่อสงฆ์ มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌาย์
สงฆ์ให้ผู้มีชื่อนี้อุปสมบท มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌาย์ ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการให้ผู้
มีชื่อนี้อุปสมบท มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌาย์ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย
ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
ท่านผู้มีชื่อนี้ สงฆ์ให้อุปสมบทแล้ว มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌาย์ สงฆ์เห็นด้วย
เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้น เป็นมติอย่างนี้
อุปสัมปทาวิธิ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๙๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๖๕. จัตตาริอกรณียะ
๖๔. จัตตารินิสสยะ
ว่าด้วยนิสสัย ๔

เรื่องทรงอนุญาตให้บอกนิสสัย ๔
[๑๒๘] ขณะนั้นแหละ พึงวัดเงาแดด บอกประมาณแห่งฤดู บอกส่วนแห่งวัน
บอกสังคีติ๑ บอกนิสสัย ๔ ว่า
๑. บรรพชาอาศัยโภชนะคือคำข้าวที่พึงได้ด้วยปลีแข้ง เธอพึงทำอุตสาหะใน
โภชนะคือคำข้าวที่พึงได้ด้วยปลีแข้งจนตลอดชีวิต อติเรกลาภ คือ๒ สังฆภัต อุทเทสภัต
นิมันตนภัต สลากภัต ปักขิกภัต อุโปสถิกภัต ปาฏิปทิกภัต
๒. บรรพชาอาศัยผ้าบังสุกุล เธอพึงทำอุตสาหะในผ้าบังสุกุลนั้นจนตลอดชีวิต
อติเรกลาภ คือ ผ้าเปลือกไม้ ผ้าฝ้าย ผ้าไหม ผ้าขนสัตว์ ผ้าป่าน ผ้าเจือกัน
๓. บรรพชาอาศัยเสนาสนะคือควงไม้ เธอพึงทำอุตสาหะในเสนาสนะคือควงไม้
นั้นจนตลอดชีวิต อติเรกลาภ คือ วิหาร เรือนมุงแถบเดียว ปราสาท เรือนโล้น ถ้ำ
๔. บรรพชาอาศัยยาคือน้ำมูตรเน่า เธอพึงทำอุตสาหะในยาคือน้ำมูตรเน่านั้น
จนตลอดชีวิต อติเรกลาภ คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย
จัตตารินิสสยะ จบ

๖๕. จัตตาริอกรณียะ
ว่าด้วยอกรณียกิจ ๔

เรื่องทิ้งภิกษุบวชใหม่ไว้ตามลำพัง
[๑๒๙] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายได้ให้ภิกษุรูปหนึ่งอุปสมบทแล้ว ทิ้งไว้ตาม
ลำพังหลีกไป ภิกษุรูปนั้นเดินมาทีหลังเพียงรูปเดียว ได้พบภรรยาเก่าระหว่างทาง

เชิงอรรถ :
๑ วัดเงา คือวัดเงาคนว่า ๑ ชั่วคน หรือ ๒ ชั่วคน บอกประมาณแห่งฤดู คือบอกว่าเป็นฤดูฝน เป็นฤดูหนาว
เป็นฤดูร้อน บอกส่วนแห่งวัน คือบอกว่าเป็นเวลาเช้า หรือเป็นเวลาเย็น บอกสังคีติ คือ บอกทั้งหมด
พร้อมกันว่าถ้าท่านถูกถามว่าได้ฤดูอะไร ได้ฉายาอะไร ได้เวลาในช่วงไหนของวัน พึงบอกว่า ได้ฤดูนี้
ฉายานี้ เวลาในช่วงนี้ของวัน (วิ.อ. ๓/๑๒๘/๑๐๔)
๒ ดูข้อ ๗๓ หน้า ๑๐๑ ในเล่มนี้(เชิงอรรถ)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๙๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๖๕. จัตตาริอกรณียะ
นางได้ถามว่า “เวลานี้ท่านบรรพชาแล้วหรือ”
ภิกษุรูปนั้นตอบว่า “จ้ะ ฉันบรรพชาแล้ว”
นางจึงพูดชวนว่า “เมถุนธรรมสำหรับพวกบรรพชิตหาได้ยาก ขอท่านมาเสพ
เมถุนธรรมกันเถิด”
ภิกษุรูปนั้นได้เสพเมถุนธรรมกับภรรยาเก่าแล้ว จึงมาถึงล่าช้า
ภิกษุทั้งหลายถามว่า “ท่าน ทำไมท่านจึงมาถึงช้าเช่นนี้”
ภิกษุรูปนั้นได้บอกเรื่องนั้น ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค
ให้ทรงทราบ

ทรงอนุญาตให้บอกอกรณียกิจ ๔
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ”ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้อุปสมบทแล้วให้มีภิกษุ
เป็นเพื่อน และให้บอกอกรณียกิจ ๔ ดังนี้
๑. ภิกษุผู้อุปสมบทแล้ว ไม่พึงเสพเมถุนธรรมโดยที่สุดแม้กับสัตว์ดิรัจฉาน
ตัวเมีย ภิกษุใดเสพเมถุนธรรม ย่อมไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร
ภิกษุเสพเมถุนธรรมแล้ว ย่อมไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร เปรียบเหมือน
คนถูกตัดศีรษะ ไม่อาจมีชีวิตอยู่ได้ โดยการต่อศีรษะเข้ากับร่างกายนั้น การเสพ
เมถุนธรรมนั้น อันเธอไม่พึงกระทำจนตลอดชีวิต
๒. ภิกษุผู้อุปสมบทแล้ว ไม่พึงถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ โดยส่วนแห่งจิต
คิดจะลัก โดยที่สุดกระทั่งหญ้าเส้นเดียว ภิกษุใดถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้
โดยส่วนแห่งจิตคิดจะลัก ๑ บาทบ้าง ควรแก่ ๑ บาทบ้าง เกินกว่า ๑ บาทบ้าง
ย่อมไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร ภิกษุถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้
โดยส่วนแห่งจิตคิดจะลัก ๑ บาทบ้าง ควรแก่ ๑ บาทบ้าง เกินกว่า ๑ บาทบ้าง
ย่อมไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร เปรียบเหมือน ใบไม้เหี่ยวเหลือง
หลุดจากขั้วแล้ว ไม่อาจเป็นของเขียวสดต่อไปได้ การถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้
นั้น อันเธอไม่พึงกระทำจนตลอดชีวิต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๙๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๖๖. อาปัตติอทัสสนอุกขิตตวัตถุ
๓. ภิกษุผู้อุปสมบทแล้ว ไม่พึงจงใจพรากสัตว์เสียจากชีวิตโดยที่สุดกระทั่งมด
ดำ มดแดง ภิกษุใดจงใจพรากกายมนุษย์จากชีวิตโดยที่สุดกระทั่งยังครรภ์ให้ตกไป
ย่อมไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร ภิกษุจงใจพรากกายมนุษย์เสียจาก
ชีวิต ย่อมไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร เปรียบเหมือนแผ่นศิลาหนา
แตกออกเป็น ๒ เสี่ยง จะประสานให้สนิทเป็นแผ่นเดียวกันอีกไม่ได้ การจงใจพราก
กายมนุษย์เสียจากชีวิตนั้น อันเธอไม่พึงกระทำจนตลอดชีวิต
๔. ภิกษุผู้อุปสมบทแล้ว ไม่พึงกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรมโดยที่สุดพูดว่า
ข้าพเจ้ายินดีในเรือนว่าง ภิกษุใดมีความปรารถนาชั่ว ถูกความอยากครอบงำ
กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรมที่ไม่มีอยู่ ไม่เป็นจริง คือ ฌานก็ดี วิโมกข์ก็ดี สมาธิก็ดี
สมาบัติก็ดี มรรคก็ดี ผลก็ดี ย่อมไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร ภิกษุ
มีความปรารถนาชั่ว ถูกความอยากครอบงำ กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรมที่ไม่มีอยู่
ไม่เป็นจริง ย่อมไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร เปรียบเหมือนต้นตาล
ยอดด้วนที่ไม่อาจงอกได้ต่อไป การกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรมนั้น อันเธอไม่พึง
กระทำจนตลอดชีวิต”
จัตตาริอกรณียะ จบ

๖๖. อาปัตติอทัสสนอุกขิตตวัตถุ
ว่าด้วยภิกษุถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นอาบัติ
[๑๓๐] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นอาบัติ
ได้สึกไป เขากลับมาขออุปสมบทกับภิกษุทั้งหลายอีก ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคทรงแสดงวิธีปฏิบัติดังนี้
“ภิกษุทั้งหลาย ก็ ในกรณีนี้ ภิกษุถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นอาบัติ
ได้สึกไป เขากลับมาขออุปสมบทกับภิกษุทั้งหลายอีก พึงถามเขาว่า ‘เจ้าเห็นอาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๙๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๖๖. อาปัตติอทัสสนอุกขิตตวัตถุ
นั้นหรือ’ ถ้าเขาตอบว่า ‘กระผมเห็น ขอรับ’ พึงให้บรรพชา ถ้าเขาตอบว่า ‘กระผม
ไม่เห็น ขอรับ’ ไม่พึงให้บรรพชา ครั้นให้บรรพชาแล้วพึงถามว่า ‘เจ้าเห็นอาบัตินั้น
หรือ’ ถ้าเขาตอบว่า ‘กระผมเห็น ขอรับ’ พึงให้อุปสมบท ถ้าเขาตอบว่า ‘กระผมไม่
เห็นขอรับ’ ไม่พึงให้อุปสมบท ครั้นให้อุปสมบทแล้วพึงถามว่า ‘ท่านเห็นอาบัตินั้น
หรือ’ ถ้าเขาตอบว่า ‘กระผมเห็น ขอรับ’ พึงเรียกเข้าหมู่ ถ้าเขาตอบว่า ‘กระผมไม่
เห็นขอรับ’ ไม่พึงเรียกเข้าหมู่ ครั้นเรียกเข้าหมู่แล้วพึงถามว่า ‘ท่านเห็นอาบัตินั้นหรือ’
ถ้าเขาเห็นเอง นั่นเป็นการดี ถ้าไม่เห็น เมื่อได้สามัคคี พึงลงอุกเขปนียกรรมอีก
เมื่อไม่ได้สามัคคี ไม่ต้องอาบัติเพราะกินร่วมและอยู่ร่วม

เรื่องภิกษุถูกลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืน
อาบัติ ได้สึกไป เขากลับมาขออุปสมบทกับภิกษุทั้งหลายอีก พึงถามเขาว่า
‘เจ้าจักทำคืนอาบัตินั้นหรือ’ ถ้าเขาตอบว่า ‘กระผมจักทำคืน ขอรับ’ พึงให้บรรพชา
ถ้าเขาตอบว่า ‘กระผมจักไม่ทำคืน ขอรับ’ ไม่พึงให้บรรพชา ครั้นให้บรรพชาแล้ว
พึงถามว่า ‘เจ้าจักทำคืนอาบัตินั้นหรือ’ ถ้าเขาตอบว่า ‘กระผมจักทำคืน ขอรับ’
พึงให้อุปสมบท ถ้าเขาตอบว่า ‘กระผมจะไม่กระทำคืน’ ไม่พึงให้อุปสมบท ครั้นให้
อุปสมบทแล้วพึงถามว่า ‘ท่านจักทำคืนอาบัตินั้นหรือ’ ถ้าเขาตอบว่า ‘กระผม
จักทำคืน ขอรับ’ พึงเรียกเข้าหมู่ ถ้าเขาตอบว่า ‘กระผมจะไม่กระทำคืน’ ไม่พึง
เรียกเข้าหมู่ ครั้นเรียกเข้าหมู่แล้วพึงกล่าวว่า ‘จงทำคืนอาบัตินั้นเสีย’ ถ้าเขา
ทำคืน นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ทำคืน เมื่อได้สามัคคี พึงลงอุกเขปนียกรรมอีก
เมื่อไม่ได้สามัคคี ไม่ต้องอาบัติเพราะกินร่วมและอยู่ร่วม

เรื่องภิกษุถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละ
ทิฏฐิบาปสึกไป เขากลับมาขออุปสมบทกับภิกษุทั้งหลายอีก พึงถามเขาว่า ‘เจ้าจัก
สละทิฏฐิบาปนั้นหรือ’ ถ้าเขาตอบว่า ‘กระผมจักสละ ขอรับ’ พึงให้บรรพชา ถ้าเขา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๐๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๖๗. รวมเรื่องที่มีในมหาขันธกะ
ตอบว่า ‘กระผมจักไม่สละ ขอรับ’ ไม่พึงให้บรรพชา ครั้นให้บรรพชาแล้วพึงถามว่า
‘เจ้าจักสละทิฏฐิบาปนั้นหรือ’ ถ้าเขาตอบว่า ‘กระผมจักสละ ขอรับ’ พึงให้
อุปสมบท ถ้าเขาตอบว่า ‘กระผมจักไม่สละ’ ไม่พึงให้อุปสมบท ครั้นให้อุปสมบท
แล้วพึงถามว่า ‘ท่านจักสละทิฏฐิบาปนั้นหรือ’ ถ้าเขาตอบว่า ‘กระผมจักสละ
ขอรับ’ พึงเรียกเข้าหมู่ ถ้าเขาตอบว่า ‘กระผมจักไม่สละ’ ไม่พึงเรียกเข้าหมู่
ครั้นเรียกเข้าหมู่แล้วพึงกล่าวว่า ‘จงสละทิฏฐิบาปนั้นเสีย’ ถ้าเขาสละ นั่นเป็นการดี
ถ้าไม่สละ เมื่อได้สามัคคี พึงลงอุกเขปนียกรรมอีก เมื่อไม่ได้สามัคคี ไม่ต้อง
อาบัติเพราะกินร่วมและอยู่ร่วม”
เรื่องภิกษุถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นอาบัติ จบ
มหาขันธกะที่ ๑ จบ

๖๗. รวมเรื่องที่มีในมหาขันธกะ
[๑๓๑] เพราะภิกษุผู้ฉลาดในพระวินัย อันมีประโยชน์มาก
อันนำความสุขมาให้ภิกษุผู้มีศีลดีงาม ในการข่มภิกษุ
ผู้ปรารถนาต่ำทราม ในการยกย่องภิกษุผู้มีความละอาย
ในมหาวรรคขันธกะและจูฬวรรคขันธกะ ในภิกขุวิภังค์
และภิกขุนีวิภังค์ในคัมภีร์บริวาร ในภิกขุปาติโมกข์
และภิกขุนีปาติโมกข์ อันทรงไว้ซึ่งพระศาสนา
อันเป็นพุทธวิสัยแห่งพระสัพพัญญู
มิใช่วิสัยของบุคคลทั่วไป อันเกษม
ที่ทรงบัญญัติไว้แล้ว และปราศจากข้อสงสัย
ย่อมปฏิบัติโดยแยบคาย นับว่าเป็นผู้กระทำประโยชน์
ผู้ใดไม่รู้จักโค ผู้นั้นย่อมรักษาฝูงโคไว้ไม่ได้ ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้น เมื่อไม่รู้จักศีล ไฉนจะพึงรักษาสังวรได้เล่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๐๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๖๗. รวมเรื่องที่มีในมหาขันธกะ
เมื่อพระสูตรและพระอภิธรรมเลอะเลือนไปแล้ว
พระวินัยยังไม่เสื่อมสูญ พระศาสนาย่อมดำรงอยู่ได้
เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจักกล่าวหัวข้อเหตุแห่งการสังคายนา
ตามความรู้โดยลำดับ ขอท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้ากล่าว
การที่จะแสดง วัตถุ นิทาน อาบัติ นัย และเปยยาล
ให้สิ้นเชิงนั้น ทำได้ยาก ท่านทั้งหลายจงทราบข้อนั้นโดยนัยเถิด

ในขันธกะมี ๑๗๒ เรื่องคือ
เรื่องเหตุการณ์แรกตรัสรู้ ณ ควงต้นโพธิพฤกษ์
เรื่องเหตุการณ์ขณะประทับอยู่ ณ ควงต้นอชปาลนิโครธ
เรื่องเหตุการณ์ขณะประทับอยู่ ณ ควงต้นมุจลินท์
เรื่องเหตุการณ์ขณะประทับอยู่ ณ ควงต้นราชายตนะ
เรื่องท้าวสหัมบดีพรหมอาราธนาให้ทรงแสดงธรรม
เรื่องอาฬารดาบส กาลามโคตร
เรื่องอุททกดาบส รามบุตร เรื่องอุปกาชีวก
เรื่องทรงแสดงธรรมแก่พระปัญจวัคคีย์ คือ
โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ อัสสชิ
เรื่องยสกุลบุตร เรื่องสหาย ๔ คนของพระยสะ
เรื่องสหาย ๕๐ คนของพระยสะ
เรื่องส่งพระอรหันต์ ๖๐ รูปไปทุกทิศ
เรื่องมาร เรื่องทรงแสดงธรรมโปรดภัททวัคคีย์ ๓๐ คน
เรื่องปาฏิหาริย์ที่ตำบลอุรุเวลา เรื่องชฎิล ๓ พี่น้อง
เรื่องโรงบูชาไฟ เรื่องท้าวมหาราชทั้ง ๔ เรื่องท้าวสักกะ
เรื่องท้าวสหัมบดีพรหม เรื่องชาวอังคะและมคธ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๐๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๖๗. รวมเรื่องที่มีในมหาขันธกะ
เรื่องผ้าบังสุกุล เรื่องสระโบกขรณี เรื่องขยำผ้าบังสุกุลบนศิลา
เรื่องพาดผ้าบังสุกุลบนต้นกุ่ม เรื่องผึ่งผ้าบังสุกุลบนแผ่นศิลา
เรื่องต้นหว้า เรื่องต้นมะม่วง เรื่องต้นมะขามป้อม
เรื่องดอกปาริฉัตร
เรื่องพวกชฎิลผ่าฟืน เรื่องพวกชฎิลก่อไฟ
เรื่องพวกชฎิลดับไฟ เรื่องพวกชฎิลดำน้ำ เรื่องภาชนะใส่ไฟ
เรื่องฝนตกน้ำท่วม เรื่องทรงแสดงอาทิตตปริยายสูตรใกล้แม่น้ำคยา
เรื่องประทับ ณ สวนตาลหนุ่ม เรื่องพระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐ
เรื่องสารีบุตรและโมคคัลลานะบรรพชา
เรื่องกุลบุตรมีชื่อเสียงบรรพชา
เรื่องภิกษุนุ่งห่มไม่เรียบร้อย เรื่องการประณาม
เรื่องพราหมณ์ซูบผอมเพราะไม่ได้บวช
เรื่องภิกษุประพฤติไม่สมควร
เรื่องพราหมณ์บวชเพราะเห็นแก่ท้อง
เรื่องการบอกนิสสัยแก่มาณพก่อนบวช เรื่องให้อุปสมบทด้วยคณะ
เรื่องอุปัชฌาย์มีพรรษาเดียวให้กุลบุตรอุปสมบท
เรื่องอุปัชฌาย์โง่เขลา เรื่องอุปัชฌาย์หลีกไป
เรื่องถือนิสสัยอยู่ ๑๐ พรรษา
เรื่องอันเตวาสิกไม่ประพฤติชอบ
เรื่องทรงอนุญาตให้ประณาม เรื่องอาจารย์โง่เขลา
เรื่องนิสสัยระงับจากอุปัชฌาย์และอาจารย์
เรื่องภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ เรื่องภิกษุประกอบด้วยองค์ ๖
เรื่องให้ผู้เคยเป็นอัญเดียรถีย์อุปสมบท
เรื่องผู้เคยเป็นอัญเดียรถีย์เปลือยกาย
เรื่องผู้เคยเป็นเดียรถีย์เปลือยกายไม่ปลงผม
เรื่องให้ชฎิลบูชาไฟอุปสมบท เรื่องอัญเดียรถีย์ศากยะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๐๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๖๗. รวมเรื่องที่มีในมหาขันธกะ
เรื่องอาพาธ ๕ ที่กรุงราชคฤห์ เรื่องราชภัฏบรรพชา
เรื่องโจรองคุลีมาลบรรพชา เรื่องพระเจ้าพิมพิสารทรงอนุญาต
เรื่องโจรแหกเรือนจำบรรพชา เรื่องโจรถูกออกหมายจับบรรพชา
เรื่องบุรุษถูกเฆี่ยนด้วยหวายบรรพชา
เรื่องบุรุษถูกสักหมายโทษบรรพชา เรื่องลูกหนี้บรรพชา
เรื่องทาสบรรพชา เรื่องบุตรช่างทองผมจุก ๕ แหยมบรรพชา
เรื่องเด็กชายอุบาลีบรรพชา
เรื่องให้เด็กอายุหย่อนกว่า ๑๕ ปีของตระกูลมีศรัทธาบรรพชา
เรื่องสามเณรกัณฏกะ เรื่องทิศทั้งหลายคับแคบ
เรื่องการอยู่ถือนิสสัย เรื่องราหุลกุมาร
เรื่องสิกขาบทของสามเณร เรื่องสามเณรอยู่อย่างไม่เคารพ
เรื่องการลงทัณฑกรรมสามเณร
เรื่องลงทัณฑกรรมห้ามสามเณรเข้าสังฆารามทุกแห่ง
เรื่องลงทัณฑกรรมห้ามฉันทางปาก
เรื่องการกักกันสามเณรโดยไม่บอกพระอุปัชฌาย์
เรื่องการเกลี้ยกล่อมสามเณร เรื่องนาสนะสามเณรกัณฏกะ
เรื่องบัณเฑาะก์บรรพชา เรื่องคนลักเพศบรรพชา
เรื่องคนเข้ารีตเดียรถีย์บรรพชา เรื่องนาคแปลงกายมาบวช
เรื่องคนฆ่ามารดามาขอบวช เรื่องคนฆ่าบิดามาขอบวช
เรื่องคนฆ่าพระอรหันต์มาขอบวช
เรื่องคนประทุษร้ายภิกษุณีมาขอบวช
เรื่องคนทำลายสงฆ์มาขอบวช
เรื่องคนทำร้ายพระพุทธเจ้าจนห้อพระโลหิตมาขอบวช
เรื่องอุภโตพยัญชนกบรรพชา
เรื่องคนไม่มีอุปัชฌาย์บรรพชา
เรื่องให้คนมีสงฆ์เป็นอุปัชฌาย์อุปสมบท
เรื่องให้คนมีคณะเป็นอุปัชฌาย์อุปสมบท

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๐๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๖๗. รวมเรื่องที่มีในมหาขันธกะ
เรื่องให้คนมีบัณเฑาะก์เป็นอุปัชฌาย์เป็นต้นอุปสมบท
เรื่องให้คนไม่มีบาตรอุปสมบท เรื่องให้คนไม่มีจีวรอุปสมบท
เรื่องให้คนไม่มีทั้งบาตรและจีวรอุปสมบท
เรื่องให้คนยืมบาตรเขามาอุปสมบท
เรื่องให้คนยืมจีวรเขามาอุปสมบท
เรื่องให้คนยืมบาตรและจีวรเขามาอุปสมบท
เรื่องให้คนมือด้วนบรรพชา เรื่องให้คนเท้าด้วนบรรพชา
เรื่องให้คนมือและเท้าด้วนบรรพชา เรื่องให้คนหูวิ่นบรรพชา
เรื่องให้คนจมูกแหว่งบรรพชา เรื่องให้คนหูวิ่นและจมูกแหว่งบรรพชา
เรื่องให้คนนิ้วมือนิ้วเท้าขาดบรรพชา
เรื่องให้คนง่ามมือง่ามเท้าขาดบรรพชา เรื่องให้คนเอ็นขาดบรรพชา
เรื่องให้คนมีมือเป็นแผ่นบรรพชา เรื่องให้คนค่อมบรรพชา
เรื่องให้คนเตี้ยบรรพชา
เรื่องให้คนคอพอกบรรพชา เรื่องให้คนถูกสักหมายโทษบรรพชา
เรื่องให้คนมีรอยเฆี่ยนด้วยหวายบรรพชา
เรื่องให้คนมีหมายจับบรรพชา เรื่องให้คนเท้าปุกบรรพชา
เรื่องให้คนมีโรคเรื้อรังบรรพชา
เรื่องให้คนมีรูปร่างไม่สมประกอบบรรพชา
เรื่องให้คนตาบอดข้างเดียวบรรพชา
เรื่องให้คนง่อยบรรพชา เรื่องให้คนกระจอกบรรพชา
เรื่องให้คนเป็นโรคอัมพาตบรรพชา
เรื่องให้คนเคลื่อนไหวไม่ได้บรรพชา
เรื่องให้คนชราทุพพลภาพบรรพชา
เรื่องให้คนตาบอด ๒ ข้างบรรพชา เรื่องให้คนใบ้บรรพชา
เรื่องให้คนหูหนวกบรรพชา เรื่องให้คนทั้งบอดทั้งใบ้บรรพชา
เรื่องให้คนทั้งบอดทั้งหนวกบรรพชา
เรื่องให้คนทั้งใบ้ทั้งหนวกบรรพชา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๐๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๖๗. รวมเรื่องที่มีในมหาขันธกะ
เรื่องให้คนทั้งบอดทั้งใบทั้งหนวกบรรพชา
เรื่องให้นิสสัยแก่อลัชชี เรื่องถือนิสสัยอลัชชี
เรื่องภิกษุผู้เดินทางไกลไม่ต้องถือนิสสัย
เรื่องภิกษุไข้ไม่ต้องถือนิสสัย
เรื่องภิกษุอยู่ป่าไม่ต้องถือนิสสัยจนกว่าอาจารย์ผู้ให้นิสสัยจะมา
เรื่องพระมหากัสสปะนิมนต์พระอานนท์มาสวดอนุสาวนา
เรื่องแย่งกันอุปสมบทก่อน
เรื่องอุปสมบทครั้งละ ๓ คนโดยมีอุปัชฌาย์รูปเดียว
เรื่องพระกุมารกัสสปะอายุไม่ครบ ๒๐ ปีอุปสมบท
เรื่องผู้ถูกโรคเบียดเบียนอุปสมบท
เรื่องถามอันตรายิกธรรมกับอุปสัมปทาเปกขะ
เรื่องสอนซ้อมก่อนถามอันตรายิกธรรม
เรื่องสอนซ้อมในท่ามกลางสงฆ์ เรื่องภิกษุโง่เขลาสอนซ้อม
เรื่องภิกษุยังไม่ได้รับสมมติสอนซ้อม
เรื่องวิธีสมมติภิกษุเป็นผู้สอนซ้อม
เรื่องห้ามผู้สอนซ้อมกับอุปสัมปทาเปกขะเดินมาพร้อมกัน
เรื่องคำขออุปสมบทเพื่อยกขึ้นเป็นภิกษุ
เรื่องญัตติจตุตถกรรมอุปสัมปทา เรื่องทรงอนุญาตให้บอกนิสสัย ๔
เรื่องทิ้งอุปสัมบันไว้ตามลำพัง
เรื่องภิกษุถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นอาบัติ
เรื่องภิกษุถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ
เรื่องภิกษุถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป๑
มหาขันธกะ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ชื่อเรื่องเหล่านี้ พระสังคีติกาจารย์ได้เก็บข้อความมากกล่าวเป็นคาถารวม ๑๗๒ เรื่อง แต่ในข้อความนั้น ๆ
ในฉบับภาษาบาลีและฉบับภาษาไทยนี้ ไม่ได้ตั้งข้อไว้ทั้ง ๑๗๒ เรื่อง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๐๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๖๘. สันนิปาตานุชานนา
๒. อุโปสถขันธกะ

๖๘. สันนิปาตานุชานนา
ว่าด้วยทรงอนุญาตให้สงฆ์ประชุมกัน

เรื่องปริพาชกอัญเดียรถีย์
[๑๓๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ
เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น พวกปริพาชกอัญเดียรถีย์๑ ประชุมกันกล่าวธรรม
ประชาชนพากันเข้าไปหาเพื่อฟังธรรม ประชาชนเหล่านั้นได้ความรักความเลื่อมใส
ในพวกปริพาชกอัญเดียรถีย์ พวกปริพาชกอัญเดียรถีย์ก็ได้พรรคพวก

เรื่องพระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐ
สมัยนั้น พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐเสด็จหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด ทรงเกิด
ความคิดคำนึงขึ้นในพระทัยอย่างนี้ว่า “เดี๋ยวนี้ พวกปริพาชกอัญเดียรถีย์ ประชุม
กันกล่าวธรรมในวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำ แห่งปักษ์ มนุษย์ทั้งหลาย
พากันเข้าไปหาเพื่อฟังธรรม คนเหล่านั้นได้ความรักความเลื่อมใสในพวกปริพาชก
อัญเดียรถีย์ พวกปริพาชกอัญเดียรถีย์ก็ได้พรรคพวก ไฉนหนอแม้พระคุณเจ้า
ทั้งหลายจะพึงประชุมกันในวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำ แห่งปักษ์บ้าง” จึง
เสด็จไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ณ ที่ประทับ ครั้นถึงแล้ว ได้ถวายอภิวาทพระผู้มี
พระภาคแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐผู้ประทับนั่ง
ณ ที่สมควรได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉัน
หลีกเร้นอยู่ในที่สงัด เกิดความคิดคำนึงขึ้นในใจอย่างนี้ว่า ‘เดี๋ยวนี้พวกปริพาชก
อัญเดียรถีย์ ประชุมกันกล่าวธรรม ในวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำ แห่งปักษ์

เชิงอรรถ :
๑ อัญเดียรถีย์ หมายถึงผู้เป็นเจ้าลัทธิอื่นนอกจากพระพุทธศาสนา (วิ.อ. ๓/๑๓๒/๑๐๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๐๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๖๘. สันนิปาตานุชานนา
ประชาชนพากันเข้าไปหาเพื่อฟังธรรม ประชาชนเหล่านั้นได้ความรักความเลื่อมใส
ในพวกปริพาชกอัญเดียรถีย์ พวกปริพาชกอัญเดียรถีย์ก็ได้พรรคพวก ไฉนหนอ
พระคุณเจ้าทั้งหลายจะพึงประชุมกันในวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำ แห่ง
ปักษ์บ้าง’ หม่อมฉันขอประทานพระวโรกาส ขอให้พระคุณเจ้าทั้งหลายพึง
ประชุมกันในวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำ แห่งปักษ์ด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า”

ทรงแสดงธรรมีกถา
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐเห็นชัด
ชวนให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าพระทัยให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมพระทัยให้
สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา ครั้นท้าวเธอผู้ซึ่งพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นชัด
ชวนให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าพระทัยให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมพระทัยให้สด
ชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา ก็เสด็จลุกจากอาสนะถวายบังคม ทรงทำประทักษิณเสด็จหลีกไป

ทรงอนุญาตวันประชุม
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ แล้ว
รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ประชุมกันในวัน ๑๔ ค่ำ
๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำ แห่งปักษ์”

เรื่องภิกษุประชุมนั่งนิ่ง
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายคิดกันว่า “พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้ประชุมกันใน
วัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำ แห่งปักษ์” จึงประชุมกันในวัน ๑๔ ค่ำ
๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำ แห่งปักษ์ แล้วนั่งนิ่ง
ประชาชนเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นเพื่อฟังธรรม ประชาชนเหล่านั้นพากันตำหนิ
ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระศากบุตรทั้งหลายประชุมกันใน
วัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำ แห่งปักษ์แล้ว จึงนั่งนิ่งเหมือนสุกรใบ้เล่า๑
ธรรมดาว่าผู้ประชุมกันก็ควรกล่าวธรรมมิใช่หรือ”

เชิงอรรถ :
๑ เหมือนสุกรอ้วน (วิ.อ. ๓/๑๓๒/๑๐๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๐๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๖๙. ปาติโมกขุทเทสานุชานนา
ภิกษุทั้งหลายได้ยินประชาชนเหล่านั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนาอยู่ จึงนำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

เรื่องทรงอนุญาตให้กล่าวธรรมในวันประชุม
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ แล้วรับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ประชุมกันกล่าวธรรมในวัน ๑๔ ค่ำ
๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำ แห่งปักษ์”

๖๙. ปาติโมกขุทเทสานุชานนา
ว่าด้วยการทรงอนุญาตปาติโมกขุทเทส

เรื่องพระผู้มีพระภาคทรงหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด
[๑๓๓] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด ได้ทรงเกิดความ
ดำริขึ้นในพระทัยอย่างนี้ว่า “ถ้ากระไร เราพึงอนุญาตสิกขาบทที่ได้บัญญัติไว้แก่ภิกษุ
ทั้งหลายให้เป็นปาติโมกขุทเทสของพวกเธอ ปาติโมกขุทเทสนั้นก็จักเป็นอุโบสถกรรม
ของพวกเธอ”
ครั้นเวลาเย็น พระองค์เสด็จออกจากที่เร้น ทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้
เป็นต้นเหตุ แล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราหลีกเร้นอยู่ในที่
สงัด ณ ที่นี้ได้เกิดความคิดขึ้นในใจอย่างนี้ว่า ‘ถ้ากระไร เราพึงอนุญาตสิกขาบทที่ได้
บัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายให้เป็นปาติโมกขุทเทสของพวกเธอ ปาติโมกขุทเทสนั้นก็จัก
เป็นอุโบสถกรรมของพวกเธอ’ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง”
ภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกขึ้นแสดงอย่างนี้
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจาว่า
[๑๓๔] ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว สงฆ์พึงทำ
อุโบสถพึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง อะไรเป็นบุพพกิจของสงฆ์ ท่านทั้งหลายพึงบอก
ปาริสุทธิ ข้าพเจ้าจักยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง พวกเราบรรดาที่มีอยู่ทั้งหมดจงฟังให้ดี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๐๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๖๙. ปาติโมกขุทเทสานุชานนา
จงใส่ใจปาติโมกข์นั้น ท่านรูปใดมีอาบัติ ท่านรูปนั้นพึงเปิดเผย เมื่อไม่มีอาบัติ
พึงนิ่ง ด้วยความเป็นผู้นิ่ง ข้าพเจ้าจักทราบว่าท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์ ก็การ
สวดประกาศถึง ๓ ครั้ง ในบริษัทเช่นนี้เป็นเหมือนการเปิดเผยอาบัติของภิกษุแต่ละ
รูปที่ถูกถาม ก็เมื่อกำลังสวดประกาศถึงครั้งที่ ๓ ภิกษุใดระลึกได้ ยังไม่ยอมเปิดเผย
อาบัติที่มีอยู่ สัมปชานมุสาวาทย่อมมีแก่ภิกษุรูปนั้น ท่านทั้งหลาย ก็สัมปชาน
มุสาวาท๑ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เป็นธรรมที่ทำอันตราย เพราะฉะนั้น ภิกษุ
ต้องอาบัติแล้วระลึกได้ หวังความบริสุทธิ์ ก็พึงเปิดเผยอาบัติที่มีอยู่ เพราะเปิด
เผยอาบัติแล้ว ความผาสุกย่อมมีแก่ภิกษุรูปนั้น

นิทานุทเทสวิภังค์
[๑๓๕] คำว่า ปาติโมกข์ นี้เป็นเบื้องต้น นี้เป็นประธาน นี้เป็นประมุขแห่ง
กุศลธรรมทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกว่า ปาติโมกข์
คำว่า ท่านทั้งหลาย นี้เป็นคำกล่าวด้วยความรัก นี้เป็นคำกล่าวด้วยความ
เคารพ นี้เป็นคำเรียกบุคคลผู้มีความเคารพและมีความยำเกรง เพราะเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ท่านทั้งหลาย
คำว่า จักยกขึ้นแสดง คือ จักบอก จักแสดง จักบัญญัติ จักเริ่มตั้ง จักเปิดเผย
จักจำแนก จักทำให้กระจ่าง จักประกาศ
คำว่า นั้น ตรัสหมายถึงปาติโมกข์
คำว่า บรรดาที่มีอยู่ทั้งหมด ความว่า ภิกษุในบริษัทนั้นเป็นเถระก็ตาม เป็น
นวกะก็ตาม เป็นมัชฌิมะก็ตาม มีจำนวนเท่าใด ภิกษุเหล่านั้น พระผู้มีพระภาค
ตรัสหมายถึงภิกษุที่มีอยู่ทั้งหมด
คำว่า จงฟังให้ดี ความว่า จงทำให้เป็นประโยชน์ ทำไว้ในใจ รวบรวมเรื่อง
ทั้งหมดด้วยใจ
คำว่า จงใส่ใจ ความว่า จงมีจิตแน่วแน่ มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตไม่ซัดส่าย ตั้งใจฟัง

เชิงอรรถ :
๑ สัมปชานมุสาวาท คือ กล่าวเท็จทั้งที่รู้ (ดู วิ.มหา. (แปล) ๒/๒-๓/๑๘๖-๑๘๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๑๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๖๙. ปาติโมกขุทเทสานุชานนา
คำว่า ท่านรูปใดมีอาบัติ ความว่า ภิกษุผู้เป็นเถระก็ตาม เป็นนวกะก็ตาม
เป็นมัชฌิมะก็ตาม มีอาบัติตัวใดตัวหนึ่ง บรรดาอาบัติ ๕ กอง หรือ มีอาบัติตัวใด
ตัวหนึ่ง บรรดาอาบัติ ๗ กอง
คำว่า ท่านรูปนั้นพึงเปิดเผย ความว่า ภิกษุรูปนั้นพึงแสดง ภิกษุรูปนั้นพึง
เปิดเผย ภิกษุรูปนั้นพึงทำให้กระจ่าง ภิกษุรูปนั้นพึงประกาศในท่ามกลางสงฆ์
ในท่ามกลางคณะ หรือในบุคคลผู้หนึ่ง
อาบัติที่ชื่อว่าไม่มี ได้แก่ อาบัติที่ภิกษุมิได้ล่วงละเมิด หรือว่าต้องแต่ออกแล้ว
คำว่า พึงนิ่ง คือ พึงอยู่เฉย ไม่พึงกล่าว
คำว่า ข้าพเจ้าจักทราบว่า....เป็นผู้บริสุทธิ์ คือ จักรู้ จักจำไว้
คำว่า เป็นเหมือนการเปิดเผยอาบัติของภิกษุแต่ละรูปที่ถูกถาม ความว่า
บริษัทนั้นพึงรู้ว่า จะถามเรา ดังนี้ เหมือนภิกษุรูปหนึ่งได้ถูกภิกษุอีกรูปหนึ่งถาม
ก็พึงตอบ
บริษัทเช่นนี้ ตรัสหมายถึงภิกษุบริษัท
คำว่า การสวดประกาศถึง ๓ ครั้ง ความว่า สวดประกาศแม้ครั้งที่ ๑ สวด
ประกาศแม้ครั้งที่ ๒ สวดประกาศแม้ครั้งที่ ๓
คำว่า ระลึกได้ คือ รู้อยู่ จำได้อยู่
อาบัติที่ชื่อว่ามีอยู่ ได้แก่ อาบัติที่ภิกษุล่วงละเมิดแล้ว หรือที่ต้องแล้ว
ยังมิได้ออก
คำว่า ยังไม่ยอมเปิดเผย ความว่า ไม่ยอมแสดง ไม่ยอมเปิดเผย ไม่ยอมทำ
ให้ตื้น ไม่ยอมประกาศในท่ามกลางสงฆ์ ในท่ามกลางคณะ หรือในบุคคลผู้หนึ่ง
คำว่า สัมปชานมุสาวาทย่อมมีแก่ภิกษุรูปนั้น คือ เป็นอาบัติอะไรเพราะ
สัมปชานมุสาวาท เป็นอาบัติทุกกฏ
คำว่า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เป็นธรรมที่ทำอันตราย ความว่า เป็นธรรมที่
ทำอันตรายต่ออะไร เป็นธรรมที่ทำอันตรายต่อการบรรลุปฐมฌาน เป็นธรรมที่ทำ
อันตรายต่อการบรรลุทุติยฌาน เป็นธรรมที่ทำอันตรายต่อการบรรลุตติยฌาน เป็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๑๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๖๙. ปาติโมกขุทเทสานุชานนา
ธรรมที่ทำอันตรายต่อการบรรลุจตุตถฌาน เป็นธรรมที่ทำอันตรายต่อการบรรลุฌาน
วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ เนกขัมมะ นิสสรณะ ปวิเวก กุศลธรรม
คำว่า เพราะฉะนั้น คือ เพราะเหตุนั้น
คำว่า ระลึกได้ คือ รู้อยู่ จำได้อยู่
คำว่า หวังความบริสุทธิ์ คือ ประสงค์ออกจากอาบัติ ต้องการความหมดจด
อาบัติที่ชื่อว่ามีอยู่ ได้แก่ อาบัติที่ภิกษุล่วงละเมิด หรือที่ต้องแล้วยังมิได้ออก
คำว่า พึงเปิดเผย ความว่า พึงทำให้แจ้งในท่ามกลางสงฆ์ ในท่ามกลางคณะ
หรือในบุคคลผู้หนึ่ง
คำว่า เพราะเปิดเผยอาบัติแล้ว ความผาสุกย่อมมีแก่ภิกษุรูปนั้น ความว่า
ความผาสุกย่อมมีเพื่ออะไร ความผาสุกย่อมมีเพื่อบรรลุปฐมฌาน ความผาสุกย่อมมี
เพื่อบรรลุทุติยฌาน ความผาสุกย่อมมีเพื่อบรรลุตติยฌาน ความผาสุกย่อมมีเพื่อ
บรรลุจตุตถฌาน ความผาสุกย่อมมีเพื่อบรรลุฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ เนกขัมมะ
นิสสรณะ ปวิเวก กุศลธรรม

เรื่องภิกษุยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงทุกวัน
[๑๓๖] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายทราบว่า พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตการยก
ปาติโมกข์ขึ้นแสดงในวันอุโบสถแล้ว จึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงทุกวัน
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงทุกวัน
รูปใดยกขึ้นแสดง ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ยกปาติโมกข์ขึ้น
แสดงในวันอุโบสถ”
ต่อมา ภิกษุทั้งหลายทราบว่า พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตการยกปาติโมกข์ขึ้น
แสดงในวันอุโบสถแล้ว จึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงปักษ์ละ ๓ ครั้ง คือ ในวัน ๑๔ ค่ำ
วัน ๑๕ ค่ำ และวัน ๘ ค่ำ
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

 


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๑๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๖๙. ปาติโมกขุทเทสานุชานนา
เรื่องทรงอนุญาตให้ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงปักษ์ละครั้ง
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงปักษ์
ละ ๓ ครั้ง รูปใดยกขึ้นแสดง ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ยก
ปาติโมกข์ขึ้นแสดงปักษ์ละ ๑ ครั้ง คือ ในวัน ๑๔ ค่ำ หรือวัน ๑๕ ค่ำ”๑

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงแก่บริษัทเท่าที่มี
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงแก่บริษัทเท่าที่มี คือเฉพาะ
บริษัทของตน ๆ
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

เรื่องทรงอนุญาตให้ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงแก่ภิกษุผู้พร้อมเพรียง
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงแก่บริษัท
เท่าที่มีคือเฉพาะบริษัทของตน ๆ รูปใดยกขึ้นแสดง ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตให้ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงแก่ภิกษุบริษัททั้งหลายผู้พร้อมเพรียงกัน”

เรื่องทรงอนุญาตความพร้อมเพรียงกำหนดอาวาสเดียว
ต่อมา ภิกษุทั้งหลายมีความคิดคำนึงว่า “พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติอุโบสถ
กรรมแก่ภิกษุทั้งหลายผู้พร้อมเพรียงกัน” แล้วดำริว่า “ความพร้อมเพรียงกันมี
กำหนดเพียงไรหนอ มีเพียงอาวาสหนึ่ง หรือมีทั้งแผ่นดิน” จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตความพร้อมเพรียงมี
กำหนดเขตเพียงอาวาสเดียวเท่านั้น”

เชิงอรรถ :
๑ ปักษ์หนึ่งมี ๑๔ วันบ้าง ๑๕ วันบ้าง : ๑ ปีมี ๓ ฤดูคือ (๑) ฤดูร้อน ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำเดือน ๔
ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๘ (๒) ฤดูฝน ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำเดือน ๘ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒
(๓) ฤดูหนาว ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำเดือน ๑๒ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๔
๑ ฤดูมี ๘ ปักษ์ ปักษ์ ๑๔ วัน มี ๒ ครั้ง คือปักษ์ที่ ๓ และปักษ์ที่ ๗ ปักษ์ ๑๕ วัน มี ๖ ครั้ง
(วิ.อ. ๓/๓๖/๑๐๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๑๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๗๐. มหากัปปินวัตถุ
๗๐. มหากัปปินวัตถุ
ว่าด้วยพระมหากัปปินเถระ

เรื่องมัททกุจฉิมฤคทายวัน
[๑๓๗] สมัยนั้น ท่านพระมหากัปปินะอยู่ ณ มัททกุจฉิมฤคทายวัน
เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด ได้เกิดความคิดคำนึงขึ้นในใจอย่างนี้ว่า
“เราควรไปทำอุโบสถหรือไม่ ควรไปทำสังฆกรรมหรือไม่ ที่จริงเราเป็นผู้บริสุทธิ์ด้วย
ความบริสุทธิ์อย่างยิ่ง”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบความคิดคำนึงในใจของท่านพระมหา
กัปปินะด้วยพระทัยของพระองค์ ทรงหายไป ณ ภูเขาคิชฌกูฏมาปรากฏตรงหน้า
ท่านพระมหากัปปินะที่มัททกุจฉิมฤคทายวัน เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขน
ออกหรือคู้แขนเข้าฉะนั้น ประทับนั่งบนอาสนะที่ได้ปูลาดไว้
ฝ่ายท่านพระมหากัปปินะถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านพระมหากัปปินะผู้นั่ง ณ ที่สมควรว่า “กัปปินะ
เธอหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด ได้เกิดความคิดคำนึงขึ้นในใจอย่างนี้ว่า เราควรไปทำอุโบสถ
หรือไม่ ควรไปทำสังฆกรรมหรือไม่ ที่จริงเราเป็นผู้บริสุทธิ์ด้วยความบริสุทธิ์อย่างยิ่ง
อย่างนี้มิใช่หรือ”
ท่านพระมหากัปปินะทูลรับว่า “ใช่ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ทั้งหลาย๑ พวกเธอไม่สักการะ ไม่เคารพ
ไม่นับถือ ไม่บูชาซึ่งอุโบสถ เมื่อเป็นเช่นนี้ ใครเล่าจักสักการะ เคารพ นับถือ บูชา
ซึ่งอุโบสถ พราหมณ์ เธอจงไปทำอุโบสถ จะไม่ไปไม่ได้ เธอจงไปทำสังฆกรรม จะไม่
ไปไม่ได้”
ท่านพระมหากัปปินะทูลรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคว่า “ไป พระพุทธเจ้าข้า”

เชิงอรรถ :
๑ พราหมณ์ทั้งหลาย ในที่นี้หมายถึงภิกษุขีณาสพ (ดู วิ.อ. ๓/๑/๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๑๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๗๑. สีมานุชานนา
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้ท่านพระมหากัปปินะเห็นชัด ชวนให้
อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง
ด้วยธรรมีกถา แล้วทรงหายไปตรงหน้าท่านพระมหากัปปินะ ณ มัททกุจฉิมฤค
ทายวัน มาปรากฏที่ภูเขาคิชฌกูฏ เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขนออกหรือคู้
แขนเข้า ฉะนั้น

๗๑. สีมานุชานนา
ว่าด้วยทรงอนุญาตสีมา

สมมติสีมาและนิมิตแห่งสีมา
[๑๓๘] ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้มีความคิดดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคทรง
บัญญัติไว้ว่า ความพร้อมเพรียงมีกำหนดเขตเพียงอาวาสเดียวเท่านั้น” แล้วดำริ
ว่า “อาวาสหนึ่งมีการกำหนดเขตเท่าไร” จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติสีมา ภิกษุ
ทั้งหลาย พึงสมมติสีมาอย่างนี้

วิธีสมมติสีมา
ในเบื้องต้นพึงทักนิมิต คือ

ปัพพตนิมิต (นิมิตคือภูเขา) ปาสาณนิมิต (นิมิตคือแผ่นหิน)
วนนิมิต (นิมิตคือป่า) รุกขนิมิต (นิมิตคือต้นไม้)
มัคคนิมิต (นิมิตคือหนทาง) วัมมิกนิมิต (นิมิตคือจอมปลวก)
นทีนิมิต (นิมิตคือแม่น้ำ) อุทกนิมิต (นิมิตคือน้ำ)

ครั้นทักนิมิตแล้ว ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติ
ทุติยกรรมวาจาว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๑๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๗๑. สีมานุชานนา
กรรมวาจาสมมติสีมา
[๑๓๙] ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า นิมิตได้ระบุไว้โดยรอบเพียงใด
ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว พึงสมมติสมานสังวาสสีมา มีอุโบสถเดียวกัน๑ ด้วยนิมิต
เหล่านั้น นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า นิมิตได้ระบุไว้โดยรอบเพียงใด สงฆ์สมมติ
สมานสังวาสสีมา มีอุโบสถเดียวกัน ด้วยนิมิตเหล่านั้น ท่านรูปใดเห็นด้วยกับ
การสมมติสมานสังวาสสีมา มีอุโบสถเดียวกัน ด้วยนิมิตเหล่านั้น ท่านรูปนั้น
พึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
สมานสังวาสสีมา มีอุโบสถเดียวกัน สงฆ์สมมติแล้ว ด้วยนิมิตเหล่านั้น
สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้

เรื่องสมมติสีมาใหญ่เกินขนาด
[๑๔๐] สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์คิดว่า “พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตการ
สมมติสีมาแล้ว” จึงสมมติสีมาใหญ่เกินไป ๔ โยชน์บ้าง ๕ โยชน์บ้าง ๖ โยชน์บ้าง
ภิกษุทั้งหลายมาทำอุโบสถ มาถึงเมื่อกำลังยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงก็มี มาถึงเมื่อ
ยกขึ้นแสดงจบแล้วก็มี รอนแรมอยู่ระหว่างทางก็มี
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงสมมติสีมาใหญ่เกินไป ๔ โยชน์
บ้าง ๕ โยชน์บ้าง ๖ โยชน์บ้าง รูปใดสมมติ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตให้สมมติสีมาประมาณ ๓ โยชน์เป็นอย่างยิ่ง”

เรื่องสมมตินทีปารสีมา (สีมาคร่อมแม่น้ำ)
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์สมมตินทีปารสีมา ภิกษุทั้งหลายมาทำอุโบสถ
ถูกน้ำพัดไปก็มี บาตรถูกน้ำพัดไปก็มี จีวรถูกน้ำพัดไปก็มี
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

เชิงอรรถ :
๑ สมานสังวาส หมายถึงเขตแดนที่สงฆ์สมมติเพื่อเข้าร่วมอุโบสถปวารณาและสังฆกรรมอื่นด้วยกัน (ดู วิ.อ.
๑/๕๕/๒๗๘, กงฺขา.ฏีกา ๑๕๒,๑๕๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๑๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๗๒. อุโปสถาคารกถา
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงสมมตินทีปารสีมา รูปใด
สมมติ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมตินทีปารสีมาที่มีเรือจอด
ประจำหรือมีสะพานถาวร”

๗๒. อุโปสถาคารกถา
ว่าด้วยโรงอุโบสถ

เรื่องยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงตามบริเวณวิหาร
[๑๔๑] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงตามบริเวณวิหารโดยไม่
กำหนดที่ พระอาคันตุกะทั้งหลายไม่รู้ว่า “วันนี้สงฆ์จะทำอุโบสถ ณ ที่ไหน”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงตาม
บริเวณวิหารโดยไม่กำหนดที่ รูปใดยกขึ้นแสดง ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตให้สมมติวิหาร เรือนมุงแถบเดียว ปราสาท เรือนโล้น หรือถ้ำ ที่สงฆ์
ต้องการให้เป็นโรงอุโบสถแล้วจึงทำอุโบสถ”
ภิกษุทั้งหลาย ก็แลพึงสมมติโรงอุโบสถอย่างนี้
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า

วิธีสมมติโรงอุโบสถและกรรมวาจาสมมติโรงอุโบสถ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว สงฆ์สมมติวิหารมีชื่อนี้
ให้เป็นโรงอุโบสถ นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติวิหารมีชื่อนี้ให้เป็นโรงอุโบสถ
ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการสมมติวิหารมีชื่อนี้ให้เป็นโรงอุโบสถ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง
ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๑๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๗๒. อุโปสถาคารกถา
วิหารมีชื่อนี้สงฆ์สมมติให้เป็นโรงอุโบสถแล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง
ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้

เรื่องสมมติโรงอุโบสถ ๒ แห่งในอาวาสเดียวกัน
สมัยนั้น ในอาวาสแห่งหนึ่ง สงฆ์สมมติโรงอุโบสถ ๒ แห่ง ภิกษุทั้งหลาย
ประชุมกันในโรงอุโบสถทั้ง ๒ แห่งด้วยตั้งใจว่า “สงฆ์จักทำอุโบสถ ณ ที่นี้ สงฆ์จัก
ทำอุโบสถ ณ ที่นี้”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ในอาวาสแห่งหนึ่ง สงฆ์ไม่พึงสมมติ
โรงอุโบสถ ๒ แห่ง ภิกษุสงฆ์หมู่ใดสมมติ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตให้ถอนโรงอุโบสถแห่งหนึ่งแล้ว จึงทำอุโบสถในโรงอุโบสถอีกแห่งหนึ่ง”

วิธีถอนโรงอุโบสถและกรรมวาจาถอนโรงอุโบสถ
ภิกษุทั้งหลาย พึงถอนโรงอุโบสถอย่างนี้
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว สงฆ์พึงถอนโรง
อุโบสถมีชื่อนี้ นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์ถอนโรงอุโบสถมีชื่อนี้ ท่านรูปใดเห็นด้วย
กับการถอนโรงอุโบสถมีชื่อนี้ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้น
พึงทักท้วง
โรงอุโบสถมีชื่อนี้สงฆ์ถอนแล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือ
ความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๑๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๗๓. อุโปสถปมุขานุชานนา
๗๓. อุโปสถปมุขานุชานนา
ว่าด้วยทรงอนุญาตพื้นที่ด้านหน้าโรงอุโบสถ

เรื่องสมมติโรงอุโบสถเล็กเกินไป
[๑๔๒] สมัยนั้น ในอาวาสแห่งหนึ่ง สงฆ์สมมติโรงอุโบสถเล็กเกินไป ถึงวัน
อุโบสถ ภิกษุสงฆ์ลงประชุมกันมาก ภิกษุทั้งหลายต้องนั่งฟังปาติโมกข์ ณ พื้นที่
ที่มิได้สมมติ
ภิกษุทั้งหลายจึงได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า ‘พึง
สมมติโรงอุโบสถแล้วจึงทำอุโบสถ’ ก็พวกเรานั่งฟังปาติโมกข์ ณ พื้นที่ที่มิได้สมมติ
อุโบสถเป็นอันพวกเราทำแล้วหรือไม่หนอ”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่ภิกษุนั่งในพื้นที่ที่สมมติ
แล้วก็ตาม ยังมิได้สมมติแล้วก็ตามฟังปาติโมกข์อยู่ อุโบสถย่อมเป็นอันเธอได้ทำแล้ว
ทีเดียว ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงสมมติพื้นที่ด้านหน้าโรงอุโบสถให้ใหญ่
เท่าที่จำนงเถิด”

วิธีสมมติและกรรมวาจาสมมติพื้นที่ด้านหน้าในโรงอุโบสถ
ภิกษุทั้งหลาย พึงสมมติพื้นที่ด้านหน้าโรงอุโบสถอย่างนี้
ในเบื้องต้นพึงทักนิมิต ครั้นทักนิมิตแล้ว ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้
สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า นิมิตระบุไว้โดยรอบเพียงใด ถ้าสงฆ์พร้อม
กันแล้ว สงฆ์พึงสมมติพื้นที่ด้านหน้าโรงอุโบสถด้วยนิมิตเหล่านั้น นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า นิมิตระบุไว้โดยรอบเพียงใด สงฆ์สมมติพื้นที่
ด้านหน้าโรงอุโบสถด้วยนิมิตเหล่านั้น ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการสมมติพื้นที่ด้าน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๑๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๗๓. อุโปสถปมุขานุชานนา
หน้าโรงอุโบสถด้วยนิมิตเหล่านั้น ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้น
พึงทักท้วง
พื้นที่ด้านหน้าโรงอุโบสถสงฆ์ได้สมมติด้วยนิมิตเหล่านั้นแล้ว สงฆ์เห็นด้วย
เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้

เรื่องภิกษุนวกะลงประชุมก่อน
สมัยนั้น ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันอุโบสถ ภิกษุผู้นวกะทั้งหลายลงประชุมกัน
ก่อนแล้วหลีกไปด้วยคิดว่า “ภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายยังไม่มาเลย”
อุโบสถมีในเวลาวิกาล ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ในวันอุโบสถ เราอนุญาตให้ภิกษุ
ผู้เถระทั้งหลายลงประชุมก่อน”

ทรงอนุญาตให้ภิกษุหลายวัดทำอุโบสถร่วมกัน
สมัยนั้น ในกรุงราชคฤห์ อาวาสหลายแห่งมีสีมาร่วมกัน ภิกษุทั้งหลาย
ในอาวาสเหล่านั้น กล่าวแย้งกันว่า “ขอสงฆ์จงทำอุโบสถในอาวาสของพวกเรา ขอสงฆ์
จงทำอุโบสถในอาวาสของพวกเรา”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ในกรุงราชคฤห์นี้ อาวาสหลายแห่ง
มีสีมาร่วมกัน ภิกษุทั้งหลายในอาวาสเหล่านั้น กล่าวแย้งกันว่า ‘ขอสงฆ์จงทำอุโบสถ
ในอาวาสของพวกเรา ขอสงฆ์จงทำอุโบสถในอาวาสของพวกเรา’ ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุเหล่านั้นทุกรูปต้องประชุมทำอุโบสถในที่แห่งเดียวเท่านั้น หรือภิกษุผู้เถระอยู่
ในอาวาสใดก็ต้องประชุมทำอุโบสถในอาวาสนั้น สงฆ์ไม่พึงแบ่งพวกกันทำอุโบสถ
ภิกษุสงฆ์หมู่ใดพึงทำ ต้องอาบัติทุกกฏ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๒๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๗๔. อวิปปวาสสีมานุชานนา
๗๔. อวิปปวาสสีมานุชานนา
ว่าด้วยทรงอนุญาตแดนไม่อยู่ปราศจากไตรจีวร

เรื่องกรุงราชคฤห์
[๑๔๓] สมัยนั้น ท่านพระมหากัสสปะเดินทางจากอันธกวินทวิหารมายัง
กรุงราชคฤห์เพื่อทำอุโบสถ ระหว่างทางขณะข้ามแม่น้ำ ถูกน้ำพัดไปหน่อยหนึ่ง
จีวรของท่านเปียก ภิกษุทั้งหลายได้กล่าวกับท่านพระมหากัสสปะดังนี้ว่า “อาวุโส
ทำไม จีวรของท่านจึงเปียกเล่า”
ท่านพระมหากัสสปะกล่าวตอบว่า “ท่านทั้งหลาย ผมเดินทางจากอันธกวินท
วิหารมายังกรุงราชคฤห์เพื่อทำอุโบสถ ณ ที่นี้ ระหว่างทางขณะข้ามแม่น้ำ ถูกน้ำพัด
ไปหน่อยหนึ่ง เพราะฉะนั้น จีวรของผมจึงเปียก”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย สมานสังวาสสีมา๑ มีอุโบสถเดียวกัน
แห่งใดที่สงฆ์สมมติแล้ว สงฆ์ก็จงสมมติสีมานั้นให้เป็นแดนไม่อยู่ปราศจากไตรจีวร”๒

วิธีสมมติและกรรมวาจาสมมติแดนไม่อยู่ปราศจากไตรจีวร
ภิกษุทั้งหลาย พึงสมมติแดนไม่อยู่ปราศจากไตรจีวรอย่างนี้
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สมานสังวาสสีมา มีอุโบสถเดียวกันแห่งใด
สงฆ์สมมติแล้ว สงฆ์พึงสมมติสมานสังวาสสีมามีอุโบสถเดียวกันนั้นให้เป็นแดน
ไม่อยู่ปราศจากไตรจีวร นี่เป็นญัตติ

เชิงอรรถ :
๑ สมานสังวาสสีมา ดู ข้อ ๑๓๙ หน้า ๒๑๕ (เชิงอรรถ)
๒ แดนไม่อยู่ปราศจากไตรจีวร แปลมาจากภาษาบาลีว่า “ติจีวราวิปปวาส” หมายถึงสถานที่ที่สงฆ์กำหนด
เป็นเขตอยู่ปราศจากไตรจีวรโดยไม่ต้องอาบัติ (ดู วิ.มหา. (แปล) ๒/๔๗๓-๔๗/๑๐-๑๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๒๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๗๔. อวิปปวาสสีมานุชานนา
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สมานสังวาสสีมา มีอุโบสถเดียวกันแห่งใด
ที่สงฆ์สมมติแล้ว สงฆ์พึงสมมติสมานสังวาสสีมามีอุโบสถเดียวกันนั้นให้เป็นแดน
ไม่อยู่ปราศจากไตรจีวร ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการสมมติสมานสังวาสสีมามีอุโบสถ
เดียวกันนั้นให้เป็นแดนไม่อยู่ปราศจากไตรจีวร ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย
ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
สมานสังวาสสีมามีอุโบสถเดียวกันนั้นสงฆ์ได้สมมติให้เป็นแดนไม่อยู่ปราศจาก
ไตรจีวรแล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้น จึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายทราบว่า พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตการสมมติแดนไม่
อยู่ปราศจากไตรจีวรแล้ว จึงเก็บจีวรทั้งหลายไว้ในละแวกหมู่บ้าน
จีวรเหล่านั้นสูญหายบ้าง ถูกไฟไหม้บ้าง ถูกหนูกัดบ้าง
ภิกษุทั้งหลายจึงมีผ้าที่ไม่ดี มีแต่จีวรเก่า ๆ ภิกษุทั้งหลาย กล่าวอย่างนี้ว่า
“ท่านทั้งหลาย เหตุใด พวกท่านจึงมีแต่ผ้าไม่ดี มีแต่จีวรเก่า ๆ”
ภิกษุทั้งหลายจึงตอบว่า “ท่านทั้งหลาย พวกผมทราบว่า ‘พระผู้มีพระภาค
ทรงอนุญาตการสมมติแดนไม่อยู่ปราศจากไตรจีวรแล้ว’ จึงเก็บจีวรทั้งหลายไว้ใน
ละแวกหมู่บ้านอย่างนี้ จีวรเหล่านั้นเสียหายบ้าง ถูกไฟไหม้บ้าง ถูกหนูกัดบ้าง
เพราะเหตุนั้น พวกผมจึงมีผ้าไม่ดี มีแต่จีวรเก่า ๆ”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

เรื่องสมมติแดนไม่อยู่ปราศจากไตรจีวร
(ติจีวราวิปปวาส)
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย สมานสังวาสสีมามีอุโบสถเดียวกัน
แห่งใดที่สงฆ์สมมติแล้ว สงฆ์จงสมมติสีมานั้นให้เป็นแดนไม่อยู่ปราศจากไตรจีวร
เว้นหมู่บ้านและอุปจารแห่งหมู่บ้าน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๒๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๗๕. สีมาสมูหนนา
วิธีสมมติและกรรมวาจาสมมติ
ติจีวราวิปปวาสสีมาเว้นบ้านและอุปจารบ้าน
ภิกษุทั้งหลาย พึงสมมติแดนไม่อยู่ปราศจากไตรจีวร เว้นหมู่บ้านและอุปจาร
หมู่บ้านอย่างนี้
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
[๑๔๔] ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สมานสังวาสสีมามีอุโบสถเดียวกัน
แห่งใดที่สงฆ์สมมติแล้ว ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว พึงสมมติสีมานั้นให้เป็นแดนไม่อยู่
ปราศจากไตรจีวร เว้นหมู่บ้านและอุปจารหมู่บ้าน นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สมานสังวาสสีมามีอุโบสถเดียวกันแห่งใด
ที่สงฆ์สมมติแล้ว สงฆ์สมมติสีมานั้นให้เป็นแดนไม่อยู่ปราศจากไตรจีวร เว้นหมู่บ้าน
และอุปจารหมู่บ้าน ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการสมมติสีมานั้นให้เป็นแดนไม่อยู่ปราศ
จากไตรจีวร ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
สีมานั้นสงฆ์ได้สมมติให้เป็นแดนไม่อยู่ปราศจากไตรจีวร เว้นหมู่บ้านและอุปจาร
หมู่บ้านแล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้

๗๕. สีมาสมูหนนา
ว่าด้วยการถอนสีมา

เรื่องสมมติสมานสังวาสสีมาก่อน
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อจะสมมติสีมา พึงสมมติ
สมานสังวาสสีมาก่อน พึงสมมติแดนไม่อยู่ปราศจากไตรจีวรในภายหลัง ภิกษุทั้งหลาย
เมื่อจะถอนสีมา พึงถอนแดนไม่อยู่ปราศจากไตรจีวรก่อน พึงถอนสมานสังวาสสีมา
ในภายหลัง”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๒๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๗๕. สีมาสมูหนนา
วิธีถอนและกรรมวาจาถอนแดนไม่อยู่ปราศจากไตรจีวร
ภิกษุทั้งหลายพึงถอนแดนไม่อยู่ปราศจากไตรจีวรอย่างนี้
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
[๑๔๕] ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า แดนไม่อยู่ปราศจากไตรจีวรแห่งใด
ที่สงฆ์สมมติไว้แล้ว ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว สงฆ์พึงถอนแดนไม่อยู่ปราศจากไตร
จีวรนั้น นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า แดนไม่อยู่ปราศจากไตรจีวรแห่งใดที่
สงฆ์สมมติไว้แล้ว สงฆ์ถอนแดนไม่อยู่ปราศจากไตรจีวรแห่งนั้น ท่านรูปใดเห็นด้วย
กับการถอนแดนไม่อยู่ปราศจากไตรจีวรนั้น ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย
ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
แดนไม่อยู่ปราศจากไตรจีวรแห่งนั้นสงฆ์ถอนแล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้น
จึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้

เรื่องถอนสมานสังวาสสีมาภายหลัง
วิธีถอนและกรรมวาจาถอนสมานสังวาสสีมา
ภิกษุทั้งหลายพึงถอนสมานสังวาสสีมาอย่างนี้
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
[๑๔๖] ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สมานสังวาสสีมามีอุโบสถเดียวกัน
แห่งใดที่สงฆ์สมมติแล้ว ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว พึงถอนสมานสังวาสสีมามีอุโบสถ
เดียวกันนั้น นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สมานสังวาสสีมามีอุโบสถเดียวกันแห่งใดที่
สงฆ์สมมติแล้ว สงฆ์ถอนสมานสังวาสสีมามีอุโบสถเดียวกันนั้น ท่านรูปใดเห็นด้วย
กับการถอนสมานสังวาสสีมามีอุโบสถเดียวกันนั้น ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่
เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๒๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๗๖. คามสีมาทิ
สมานสังวาสสีมามีอุโบสถเดียวกันนั้น สงฆ์ถอนแล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะ
ฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้

๗๖. คามสีมาทิ
ว่าด้วยคามสีมาเป็นต้น

อพัทธสีมา
[๑๔๗] พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อสีมาที่สงฆ์ยังไม่ได้
สมมติ ยังไม่ได้กำหนดสีมา ภิกษุสงฆ์อยู่อาศัยหมู่บ้านหรือนิคมใด เขตของหมู่บ้าน
นั้นเป็นคามสีมาบ้าง เขตของนิคมนั้นเป็นนิคมสีมาบ้าง สีมานี้ในหมู่บ้านหรือนิคม
ทั้งสองนั้นเป็นสมานสังวาส มีอุโบสถเดียวกัน
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าในป่าไม่มีหมู่บ้านชั่ว ๗ อัพภันดรโดยรอบ สีมานี้ในป่านั้น
เป็นสมานสังวาส มีอุโบสถเดียวกัน

เรื่องอุทกุกเขปสีมาในแม่น้ำเป็นต้น
ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำทั้งหมดไม่จัดเป็นสีมา สมุทรทั้งหมดไม่จัดเป็นสีมา
ชาตสระ๑ทั้งหมดไม่จัดเป็นสีมา
ภิกษุทั้งหลาย ในแม่น้ำ ในสมุทร หรือในชาตสระ ชั่วระยะชายมีสัณฐาน
ปานกลาง วักน้ำสาดไปโดยรอบเป็นอุทกุกเขปสีมา สีมานี้ในน่านน้ำเหล่านั้น เป็น
สมานสังวาส มีอุโบสถเดียวกัน

เรื่องสีมาคาบเกี่ยว
[๑๔๘] สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์สมมติสีมาคาบเกี่ยวสีมา ภิกษุทั้งหลาย
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

เชิงอรรถ :
๑ ชาตสระ หมายถึงสระที่เกิดเอง ไม่มีใครขุดไว้ น้ำไหลมาจากรอบข้างขังอยู่จนเต็ม (วิ.อ. ๓/๑๔๗/๑๒๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๒๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๗๗. อุโปสถาเภทาทิ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย สีมาที่ภิกษุเหล่าใดสมมติไว้ก่อนแล้ว
กรรมนั้นของภิกษุเหล่านั้นเป็นกรรมที่ถูกต้อง ไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ สีมาที่ภิกษุ
เหล่าใดสมมติในภายหลัง กรรมนั้นของภิกษุเหล่านั้นไม่ถูกต้อง กำเริบได้ ไม่ควร
แก่ฐานะ ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงสมมติสีมาคาบเกี่ยวสีมา ภิกษุสงฆ์หมู่ใดสมมติ
คาบเกี่ยวกัน ต้องอาบัติทุกกฏ”

สมมติสีมาทับสีมา
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์สมมติสีมาทับสีมา ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย สีมาที่ภิกษุเหล่าใดสมมติไว้ก่อนแล้ว
กรรมนั้นของภิกษุเหล่านั้นเป็นกรรมที่ถูกต้อง ไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ สีมาที่ภิกษุ
เหล่าใดสมมติในภายหลัง กรรมนั้นของภิกษุเหล่านั้นไม่ถูกต้อง กำเริบได้ ไม่ควร
แก่ฐานะ ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงสมมติสีมาทับสีมา ภิกษุสงฆ์หมู่ใดสมมติทับ
ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุสงฆ์จะสมมติสีมา เว้นช่องว่าง
ในระหว่างสีมาแล้วจึงสมมติสีมา”

๗๗. อุโปสถเภทาทิ
ว่าด้วยประเภทแห่งวันอุโบสถเป็นต้น

เรื่องประเภทแห่งวันอุโบสถ
[๑๔๙] ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้มีการสนทนากันดังนี้ว่า “วันอุโบสถมี
เท่าไร” จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย วันอุโบสถนี้มี ๒ วัน คือ วัน
๑๔ ค่ำ และวัน ๑๕ ค่ำ ภิกษุทั้งหลาย วันอุโบสถมี ๒ วันเหล่านี้แล”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๒๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๗๗. อุโปสถาเภทาทิ
เรื่องอาการที่ทำอุโบสถ
ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้มีการสนทนากันดังนี้ว่า “การทำอุโบสถมีเท่าไรหนอ”
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย การทำอุโบสถนี้มี ๔ อย่าง๑ คือ
๑. การทำอุโบสถแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม
๒. การทำอุโบสถพร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม
๓. การทำอุโบสถแบ่งพวกโดยชอบธรรม
๔. การทำอุโบสถพร้อมเพรียงกันโดยชอบธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ในการทำอุโบสถ ๔ อย่างนั้น การทำอุโบสถใดแบ่งพวกโดย
ไม่ชอบธรรม การทำอุโบสถเช่นนั้น ไม่พึงทำและเราไม่อนุญาตการทำอุโบสถเช่นนั้น
การทำอุโบสถใดพร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม การทำอุโบสถเช่นนั้น ไม่พึง
ทำและเราไม่อนุญาตการทำอุโบสถเช่นนั้น
การทำอุโบสถใดแบ่งพวกโดยชอบธรรม การทำอุโบสถเช่นนั้น ไม่พึงทำและเรา
ไม่อนุญาตการทำอุโบสถเช่นนั้น
การทำอุโบสถใดพร้อมเพรียงกัน โดยชอบธรรม การทำอุโบสถเช่นนั้น พึงทำ
และเราอนุญาตการทำอุโบสถเช่นนั้น

เชิงอรรถ :
๑ เช่น ถ้าในวัดหนึ่ง มีภิกษุ ๔ รูป ภิกษุ ๓ รูปนำฉันทะและปาริสุทธิของภิกษุรูปหนึ่งมาทำปาริสุทธิอุโบสถ
หรือมีภิกษุอยู่ ๓ รูป ภิกษุ ๒ รูปนำฉันทะและปาริสุทธิของภิกษุรูปหนึ่งมายกปาติโมกข์ขึ้นแสดง นี้ชื่อ
ว่า การทำอุโบสถแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม
ภิกษุ ๔ รูป ประชุมกันทำปาริสุทธิอุโบสถ ภิกษุ ๓ หรือ ๒ รูป ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง นี้ชื่อว่า
การทำอุโบสถพร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม
มีภิกษุ ๔ รูป ภิกษุ ๓ รูปนำปาริสุทธิของภิกษุรูปหนึ่งมายกปาติโมกข์ขึ้นแสดง หรือมีภิกษุ
๓ รูป ภิกษุ ๒ รูปนำปาริสุทธิของภิกษุรูปหนึ่งมา ทำปาริสุทธิอุโบสถ นี้ชื่อว่า การทำอุโบสถแบ่ง
พวกโดยชอบธรรม
ภิกษุ ๔ รูป อยู่ในวัดหนึ่ง ทั้งหมดประชุมกันยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ภิกษุ ๓ รูปทำปาริสุทธิอุโบสถ
ภิกษุ ๒ รูปทำปาริสุทธิอุโบสถต่อกันและกัน นี้ชื่อว่า การทำอุโบสถพร้อมเพรียงกันโดยชอบธรรม
(วิ.อ. ๓/๑๔๙/๑๓๐-๑๓๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๒๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๗๘. สังขิตตปาติโมกขุทเทสาทิ
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล พวกเธอพึงสำเหนียกไว้ว่า จักทำอุโบสถ
กรรมชนิดที่พร้อมเพรียงกันโดยชอบธรรม ดังนี้ พวกเธอพึงสำเหนียกไว้อย่างนี้แล

๗๘. สังขิตตปาติโมกขุทเทสาทิ
ว่าด้วยการยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงโดยย่อเป็นต้น

เรื่องประเภทแห่งปาติโมกขุทเทส
[๑๕๐] ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้มีความสงสัยว่า “การยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง
มีเท่าไรหนอ” จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย การยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงนี้มี
๕ แบบ คือ
๑. ภิกษุยกนิทานขึ้นแสดงจบแล้ว พึงสวดอุทเทสที่เหลือด้วยสุตบท๑นี้
เป็นการยกปาติโมกข์แบบที่ ๑
๒. ยกนิทานขึ้นแสดง ยกปาราชิก ๔ ขึ้นแสดงจบแล้ว พึงสวดอุทเทส
ที่เหลือด้วยสุตบท นี้เป็นการยกปาติโมกข์แบบที่ ๒
๓. ยกนิทานขึ้นแสดง ยกปาราชิก ๔ ขึ้นแสดง ยกสังฆาทิเสส ๑๓ ขึ้น
แสดงจบแล้ว พึงสวดอุทเทสที่เหลือด้วยสุตบท นี้เป็นการยก
ปาติโมกข์แบบที่ ๓

เชิงอรรถ :
๑ การประกาศ สุตบท คือ การยกนิทานขึ้นแสดงสอบถามย้ำถึงความบริสุทธิ์ของแต่ละท่าน ในธรรม
เหล่านั้น ๆ แล้วประกาศอุทเทสที่เหลือโดยสุตบทอย่างนั้นว่า “ธรรม คือ ปาราชิก ๔ ธรรมคือสังฆาทิเสส
๑๓ ธรรมคืออนิยต ๒ ธรรมคือนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ ธรรมคือปาจิตตีย์ ๙๒ ธรรมคือปาฏิเทสนียะ
๔ ธรรมคือเสขิยะ ๗๕ ธรรมคืออธิกรณสมถะ ๗ ท่านทั้งหลายได้ฟังแล้ว สิกขาบทของพระผู้มีพระภาค
นั้นมีเท่านี้ มาในสูตร นับเนื่องในสูตร มาสู่วาระที่จะยกขึ้นแสดงเป็นข้อ ๆ ตามลำดับทุกกึ่งเดือน
พวกเราทั้งหมด พึงพร้อมเพรียงกันร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาในพระสูตรนั้นเทอญ” (วิ.อ. ๓/๑๕๐/๑๓๑)
สุตบทในอีก ๔ วิธีที่เหลือ มีนัยเหมือนกับวิธีที่ ๑ เพียงแต่ยกขึ้นแสดงจบตอนใดแล้ว ก็ไม่ต้องประกาศ
ตอนนั้นไว้ในสุตบทอีก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๒๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๗๘. สังขิตตปาติโมกขุทเทสาทิ
๔. ยกนิทานขึ้นแสดง ยกปาราชิก ๔ ขึ้นแสดง ยกสังฆาทิเสส ๑๓
ขึ้นแสดง ยกอนิยต ๒ ขึ้นแสดงจบแล้ว พึงสวดอุทเทสที่เหลือ
ด้วยสุตบท นี้เป็นการยกปาติโมกข์แบบที่ ๔
๕. ยกขึ้นแสดงโดยพิสดารทั้งหมด นี้เป็นการยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง
แบบที่ ๕
ภิกษุทั้งหลาย การยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงมี ๕ แบบเหล่านี้แล”๑

ทรงห้ามยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงโดยย่อ
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายทราบว่า “พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตการยกปาติโมกข์
ขึ้นแสดงโดยย่อ” จึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงโดยย่อทุกครั้ง
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงโดยย่อ
ภิกษุสงฆ์หมู่ใดยกขึ้นแสดง ต้องอาบัติทุกกฏ”

เรื่องทรงอนุญาตให้ยกปกติโมกข์ขึ้นแสดงโดยย่อ
เมื่อชาวป่ามาพลุกพล่าน
สมัยนั้น ณ อาวาสแห่งหนึ่งในแคว้นโกศล ในวันอุโบสถนั้น มีชาวป่ามาพลุกพล่าน
ภิกษุทั้งหลายไม่อาจยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงโดยพิสดาร จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ

เชิงอรรถ :
๑ การยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงทั้ง ๕ แบบนี้ สรุปเรียกชื่อเป็นภาษาเฉพาะว่า
๑. แบบที่ ๑ เรียกว่า นิทานุทเทส
๒. แบบที่ ๒ เรียกว่า ปาราชิกุทเทส
๓. แบบที่ ๓ เรียกว่า สังฆาทิเสสุทเทส
๔. แบบที่ ๔ เรียกว่า อนิยตุทเทส
๕. แบบที่ ๕ เรียกว่า วิตถารุทเทส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๒๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๗๘. สังขิตตปาติโมกขุทเทสาทิ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง
โดยย่อเมื่อมีอันตราย”

เรื่องอันตราย ๑๐ ประการ
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงโดยย่อเมื่อไม่มีอันตราย
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อไม่มีอันตราย ไม่พึงยกปาติโมกข์
ขึ้นแสดงโดยย่อ ภิกษุสงฆ์หมู่ใดยกขึ้นแสดง ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมี
อันตราย เราอนุญาตให้ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงโดยย่อ”
ในเรื่องยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงโดยย่อนั้น อันตรายทั้งหลาย มีดังต่อไปนี้

๑. พระราชาเสด็จมา ๒. โจรมาปล้น
๓. ไฟไหม้ ๔. น้ำหลากมา
๕. คนมามาก ๖. ผีเข้าสิงภิกษุ
๗. สัตว์ร้ายเข้ามา ๘. งูเลื้อยเข้ามา
๙. ภิกษุจะถึงแก่ชีวิต๑ ๑๐. มีอันตรายแก่พรหมจรรย์๒

ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงโดยย่อในเมื่อมีอันตรายอย่างนี้
เมื่อไม่มีอันตราย ให้ยกขึ้นแสดงโดยพิสดาร”

เรื่องทรงอนุญาตภิกษุเถระแสดงธรรมโดยไม่ต้องได้รับอาราธนา
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ไม่ได้รับอาราธนาก็แสดงธรรมในท่ามกลางสงฆ์
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ได้รับอาราธนาไม่พึงแสดงธรรม
ในท่ามกลางสงฆ์ รูปใดแสดง ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้
เถระแสดงธรรมเองหรือให้อาราธนาภิกษุอื่นแสดง”

เชิงอรรถ :
๑ ภิกษุเป็นไข้ หรือ จะมรณภาพ หรือคนมีเวรกัน ประสงค์จะฆ่า จึงจับภิกษุนั้น (วิ.อ. ๓/๑๕๐/๑๓๑)
๒ มนุษย์ทั้งหลาย ประสงค์จะให้ภิกษุรูปเดียว หรือหลายรูป เคลื่อนจากพรหมจรรย์ (จะให้สึก) จึงจับภิกษุ
เหล่านั้นไว้ (วิ.อ. ๓/๑๕๐/๑๓๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๓๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๗๙. วินยปุจฉนกถา
๗๙. วินยปุจฉนกถา
ว่าด้วยการถามพระวินัย

เรื่องถามพระวินัยท่ามกลางสงฆ์ต้องได้รับแต่งตั้งก่อน
[๑๕๑] สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ยังไม่ได้รับแต่งตั้งก็ถามพระวินัยในท่ามกลาง
สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังไม่ได้รับแต่งตั้งไม่พึงถาม
วินัยในท่ามกลางสงฆ์ รูปใดถาม ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้
ภิกษุผู้ได้รับแต่งตั้งถามวินัยในท่ามกลางสงฆ์ได้”

วิธีแต่งตั้งเป็นผู้ถาม
ภิกษุทั้งหลาย พึงแต่งตั้งอย่างนี้
ตนเองแต่งตั้งตนเองก็ได้ ภิกษุรูปหนึ่งแต่งตั้งภิกษุอีกรูปหนึ่งก็ได้
อย่างไรเล่า ชื่อว่าตนเองแต่งตั้งตนเอง
คือ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจาว่า

กรรมวาจาแต่งตั้งตนเอง
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว ข้าพเจ้าขอถาม
พระวินัยกับท่านผู้มีชื่อนี้ อย่างนี้ชื่อว่าตนเองแต่งตั้งตนเอง
อย่างไรเล่า ชื่อว่าภิกษุรูปหนึ่งแต่งตั้งภิกษุอีกรูปหนึ่ง
คือ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจาว่า

กรรมวาจาแต่งตั้งผู้อื่น
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว ขอผู้มีชื่อนี้ถาม
พระวินัยกับท่านผู้มีชื่อนี้ อย่างนี้ชื่อว่าภิกษุรูปหนึ่งแต่งตั้งภิกษุอีกรูปหนึ่ง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๓๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๘๐. วินยวิสัชชนกถา
เรื่องคุกคามจะฆ่า
สมัยนั้น พวกภิกษุผู้มีศีลดีงาม ได้รับแต่งตั้งแล้ว จึงถามพระวินัยใน
ท่ามกลางสงฆ์ พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ได้อาฆาต แค้นเคือง คุกคามจะฆ่า ภิกษุ
ทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุแม้ได้รับ
แต่งตั้งแล้ว ตรวจดูบริษัท พิจารณาบุคคลแล้วจึงถามพระวินัยในท่ามกลางสงฆ์”

๘๐. วินยวิสัชชนกถา
ว่าด้วยการวิสัชนาพระวินัย

เรื่องพวกภิกษุฉัพพัคคีย์วิสัชนาพระวินัย
[๑๕๒] สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ยังไม่ได้รับแต่งตั้ง ก็วิสัชนาพระวินัย
ในท่ามกลางสงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่ได้รับแต่งตั้ง ไม่พึง
วิสัชนาพระวินัยในท่ามกลางสงฆ์ รูปใดวิสัชนา ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ได้รับแต่งตั้ง วิสัชนาพระวินัยในท่ามกลางสงฆ์ได้”

วิธีแต่งตั้งเป็นผู้วิสัชนา
ภิกษุทั้งหลาย พึงแต่งตั้งอย่างนี้
ตนเองแต่งตั้งตนเองก็ได้ ภิกษุรูปหนึ่งแต่งตั้งภิกษุอีกรูปหนึ่งก็ได้
อย่างไรเล่า ชื่อว่าตนเองแต่งตั้งตนเอง
คือ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจาว่า

กรรมวาจาแต่งตั้งตน
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว ข้าพเจ้าอันผู้มีชื่อนี้
ถามพระวินัยแล้วขอวิสัชนา อย่างนี้ชื่อว่าตนเองแต่งตั้งตนเอง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๓๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๘๑. โจทนากถา
อย่างไรเล่า ชื่อว่าภิกษุรูปหนึ่งแต่งตั้งภิกษุอีกรูปหนึ่ง
คือ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจาว่า

กรรมวาจาแต่งตั้งผู้อื่น
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว ผู้มีชื่อนี้อันผู้มีชื่อนี้
ถามพระวินัยพึงวิสัชนา อย่างนี้ชื่อว่าภิกษุรูปหนึ่งแต่งตั้งภิกษุอีกรูปหนึ่ง

เรื่องคุกคามจะฆ่าเรื่องที่ ๒
สมัยนั้น พวกภิกษุผู้มีศีลดีงามได้รับแต่งตั้งแล้ว วิสัชนาพระวินัยในท่ามกลาง
สงฆ์ พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ได้อาฆาต แค้นเคือง คุกคามจะฆ่า ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุแม้ได้รับแต่งตั้ง
แล้วตรวจดูบริษัท พิจารณาบุคคลแล้วจึงวิสัชนาพระวินัยในท่ามกลางสงฆ์”

๘๑. โจทนากถา
ว่าด้วยการฟ้องร้อง

เรื่องโจทด้วยอาบัติ
[๑๕๓] สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์โจทภิกษุผู้ยังไม่ให้โอกาสด้วยอาบัติ ภิกษุ
ทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงโจทภิกษุผู้ยังไม่ได้ให้โอกาสด้วย
อาบัติ รูปใดโจท ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้โจทก์ขอโอกาส
ด้วยคำว่า ขอท่านจงให้โอกาส ผมใคร่จะพูดกับท่าน ดังนี้แล้วจึงโจทด้วยอาบัติ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๓๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๘๒. อธัมมกัมมปฏิกโกสนาทิ
เรื่องขอโอกาสก่อนโจท
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายผู้มีศีลดีงาม ได้ขอให้พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ให้โอกาสแล้ว
โจทด้วยอาบัติ พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ได้อาฆาต แค้นเคือง คุกคามจะฆ่า
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้โจทก์แม้เมื่อขอโอกาส
แล้ว พิจารณาดูบุคคลก่อน จึงโจทด้วยอาบัติ”

ก่อนขอโอกาสต้องพิจารณาดูบุคคล
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์คิดว่า “ภิกษุทั้งหลายผู้มีศีลดีงาม ขอให้พวกเรา
ให้โอกาสก่อน” แล้วรีบขอโอกาสในเรื่องที่ไม่เป็นเรื่อง ไม่มีเหตุอันควร ต่อภิกษุ
ทั้งหลายผู้บริสุทธิ์ไม่มีอาบัติ
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงขอโอกาสในเรื่องที่ไม่เป็นเรื่อง
ไม่มีเหตุอันควร ต่อภิกษุทั้งหลายผู้บริสุทธิ์ไม่มีอาบัติ รูปใดขอ ต้องอาบัติ
ทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้พิจารณาดูบุคคลก่อนจึงขอโอกาส”

๘๒. อธัมมกัมมปฏิกโกสนาทิ
ว่าด้วยการคัดค้านทำกรรมที่ไม่ชอบด้วยธรรมเป็นต้น

เรื่องทรงอนุญาตคัดค้านกรรมที่ไม่ชอบด้วยธรรม
[๑๕๔] สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทำสังฆกรรมที่ไม่ชอบด้วยธรรมใน
ท่ามกลางสงฆ์
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงทำกรรมที่ไม่ชอบด้วยธรรมใน
ท่ามกลางสงฆ์ รูปใดทำ ต้องอาบัติทุกกฏ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๓๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๘๒. ธัมมกัมมปฏิกโกสนาทิ
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ยังทำกรรมที่ไม่ชอบด้วยธรรมอยู่เช่นเดิม ภิกษุทั้งหลายจึง
นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้คัดค้านในเมื่อภิกษุ
ทำกรรมที่ไม่ชอบด้วยธรรม”
สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายผู้มีศีลดีงาม พากันคัดค้านในเมื่อพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ทำกรรมที่ไม่ชอบด้วยธรรม พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ได้อาฆาต แค้นเคือง คุกคามจะฆ่า
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

เรื่องภิกษุ ๔-๕ รูปแสดงความเห็น
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แสดงความเห็นได้”
ภิกษุทั้งหลายแสดงความเห็นในสำนักของพวกภิกษุฉัพพัคคีย์เหล่านั้นแหละ
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ได้อาฆาต แค้นเคือง คุกคามจะฆ่า ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุ ๔-๕ รูป
คัดค้าน ให้ภิกษุ ๒-๓ รูปแสดงความเห็น ให้ภิกษุรูปเดียวอธิษฐานใจเสียว่า
เราไม่เห็นด้วยกับกรรมนั้น”

เรื่องจงใจยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงไม่ให้ได้ยิน
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เมื่อยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงจงใจไม่สวดให้ได้ยินในท่าม
กลางสงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เมื่อจะยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง
ไม่พึงจงใจสวดไม่ให้ได้ยิน รูปใดสวดไม่ให้ได้ยิน ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยต่อมา ท่านพระอุทายีเป็นผู้ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงในท่ามกลางสงฆ์ มีเสียง
เครือดุจเสียงกา จึงมีความคิดดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า ภิกษุผู้ยก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๓๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๘๒. อธัมมกัมมปฏิกโกสนาทิ
ปาติโมกข์ขึ้นแสดงต้องสวดให้ได้ยินทั่วกัน ส่วนเรามีเสียงเครือดุจเสียงกา เราจะพึง
ปฏิบัติอย่างไรหนอ”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

เรื่องพยายามยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ยกปาติโมกข์
ขึ้นแสดงพยายามด้วยตั้งใจว่า ‘จะสวดให้ได้ยินชัดถ้อยชัดคำ’ เมื่อพยายาม ไม่ต้อง
อาบัติ”

เรื่องยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงในบริษัทที่มีคฤหัสถ์
สมัยนั้น พระเทวทัตยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงในบริษัทที่มีคฤหัสถ์อยู่ด้วย
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงในบริษัท
ที่มีคฤหัสถ์อยู่ด้วย รูปใดยกขึ้นแสดง ต้องอาบัติทุกกฏ”

เรื่องยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงโดยไม่ได้รับอาราธนา
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ไม่ได้รับอาราธนา ก็ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงใน
ท่ามกลางสงฆ์
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ได้รับอาราธนา ไม่พึงยก
ปาติโมกข์ขึ้นแสดงในท่ามกลางสงฆ์ รูปใดยกขึ้นแสดง ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตปาติโมกข์ให้เป็นหน้าที่ของพระเถระ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๓๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๘๓. ปาติโมกขุทเทสกอัชเฌสนาทิ
๘๓. ปาติโมกขุทเทสกอัชเฌสนาทิ
ว่าด้วยการอาราธนาผู้ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงเป็นต้น

เรื่องภิกษุชาวเมืองโจทนาวัตถุไม่รู้จักอุโบสถ
[๑๕๕] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กรุงราชคฤห์ตามพระประสงค์
แล้วได้เสด็จจาริกไปทางเมืองโจทนาวัตถุ เสด็จจาริกไปโดยลำดับจนถึงเมืองโจทนาวัตถุ
สมัยนั้น ในอาวาสแห่งหนึ่ง มีภิกษุอยู่หลายรูป บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุผู้
เถระเป็นผู้โง่เขลา ไม่ฉลาด ไม่รู้จักอุโบสถ หรือวิธีทำอุโบสถ หรือปาติโมกข์ หรือ
วิธีการยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง
สมัยนั้น ภิกษุเหล่านั้น มีความคิดดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาค ทรงบัญญัติไว้ว่า
‘ปาติโมกข์เป็นหน้าที่ของพระเถระ’ ก็พระเถระของพวกเรารูปนี้เป็นผู้โง่เขลา ไม่ฉลาด
ไม่รู้จักอุโบสถ หรือวิธีทำอุโบสถ หรือปาติโมกข์ หรือวิธียกปาติโมกข์ขึ้นแสดง
พวกเราจะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ” จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุรูปใดเป็น
ผู้ฉลาดสามารถ เราอนุญาตปาติโมกข์ให้เป็นหน้าที่ของภิกษุรูปนั้น”

เรื่องภิกษุมากรูปไม่รู้จักอุโบสถ
สมัยนั้น ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น มีภิกษุอยู่ด้วยกันหลายรูป
ล้วนเป็นผู้โง่เขลา ไม่ฉลาด ภิกษุเหล่านั้นไม่รู้จักอุโบสถ หรือวิธีทำอุโบสถ หรือ
ปาติโมกข์ หรือวิธียกปาติโมกข์ขึ้นแสดง จึงอาราธนาพระเถระว่า “นิมนต์พระเถระ
ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงเถิด ขอรับ”
พระเถระนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย เรายกปาติโมกข์ขึ้นแสดงไม่ได้”
ภิกษุเหล่านั้นจึงอาราธนาพระเถระรูปที่ ๒ ว่า “นิมนต์พระเถระยกปาติโมกข์
ขึ้นแสดงเถิด ขอรับ” แม้ท่านก็ตอบอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย เรายกปาติโมกข์ขึ้น
แสดงไม่ได้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๓๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๘๓. ปาติโมกขุทเทสกอัชเณสนาทิ
ภิกษุเหล่านั้นจึงอาราธนาพระเถระรูปที่ ๓ ว่า “นิมนต์ท่านยกปาติโมกข์ขึ้น
แสดงเถิด ขอรับ” แม้ท่านก็ตอบอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย เรายกปาติโมกข์ขึ้น
แสดงไม่ได้”
ภิกษุเหล่านั้นได้อาราธนาจนถึงพระผู้เป็นนวกะในสงฆ์โดยอุบายนั้นแหละว่า
“ท่านจงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงเถิด” แม้พระนวกะนั้นก็ตอบอย่างนี้ว่า “กระผมยก
ปาติโมกข์ขึ้นแสดงไม่ได้ ขอรับ”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวัน
อุโบสถนั้น มีภิกษุอยู่ด้วยกันหลายรูป ล้วนเป็นผู้โง่เขลา ไม่ฉลาด ภิกษุเหล่านั้นไม่
รู้จักอุโบสถ หรือวิธีทำอุโบสถ หรือปาติโมกข์ หรือวิธียกปาติโมกข์ขึ้นแสดง
จึงอาราธนาพระเถระว่า นิมนต์พระเถระยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงเถิด ขอรับ พระเถระ
นั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย เรายกปาติโมกข์ขึ้นแสดงไม่ได้ ภิกษุเหล่านั้นจึง
อาราธนาพระเถระรูปที่ ๒ ว่า นิมนต์พระเถระยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงเถิด ขอรับ
แม้พระเถระรูปที่ ๒ นั้นก็กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย เรายกปาติโมกข์ขึ้น
แสดงไม่ได้ ภิกษุเหล่านั้นจึงอาราธนาพระเถระรูปที่ ๓ ว่า นิมนต์พระเถระยก
ปาติโมกข์ขึ้นแสดงเถิด ขอรับ แม้พระเถระรูปที่ ๓ ก็กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย
เรายกปาติโมกข์ขึ้นแสดงไม่ได้ ภิกษุเหล่านั้นได้อาราธนาจนถึงพระผู้เป็นนวกะ
ในสงฆ์โดยอุบายนั้นแหละว่า ท่านจงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงเถิด แม้พระนวกะนั้น
ก็ตอบอย่างนี้ว่า กระผมยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงไม่ได้ ขอรับ

เรื่องส่งภิกษุไปเรียนปาติโมกข์พอจะกลับมาทันในวันนั้น
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นพึงส่งภิกษุรูปหนึ่งไปยังอาวาสใกล้เคียง พอจะ
กลับมาทันในวันนั้น ด้วยสั่งว่า “ท่าน ท่านจงไปเรียนปาติโมกข์โดยย่อหรือโดย
พิสดารมาเถิด”
ต่อมา ภิกษุทั้งหลายได้มีความคิดดังนี้ว่า “จะส่งภิกษุรูปไหนไปหนอ” จึงนำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๓๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๘๔. ปักขคณนาทิอุคคหณานุชานนา
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้เถระบัญชา
ภิกษุผู้นวกะไป”
ภิกษุนวกะทั้งหลายถูกภิกษุเถระบัญชาแล้วไม่ยอมไป
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่เป็นไข้ถูกพระเถระบัญชาแล้ว
จะไม่ไปไม่ได้ รูปใดไม่ไป ต้องอาบัติทุกกฏ”

๘๔. ปักขคณนาทิอุคคหณานุชานนา
ว่าด้วยทรงอนุญาตให้เรียนวิธีนับปักษ์เป็นต้น

เรื่องวิธีการนับปักษ์
[๑๕๖] ครั้นพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ เมืองโจทนาวัตถุตามพระอัธยาศัยแล้ว
ก็เสด็จกลับมายังกรุงราชคฤห์อีกเช่นเดิม
สมัยนั้น พวกชาวบ้านถามภิกษุทั้งหลายที่กำลังเที่ยวบิณฑบาตว่า “พระคุณเจ้า
วันนี้กี่ค่ำ”
ภิกษุทั้งหลายตอบอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย พวกอาตมาไม่รู้”
พวกชาวบ้านพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “แม้เพียงการนับปักษ์
พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้ยังไม่รู้ ไฉนจะรู้ความดีอะไร ๆ อย่างอื่นเล่า”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เรียนวิธีการนับปักษ์”
ต่อมา ภิกษุทั้งหลายได้มีความคิดดังนี้ว่า “ภิกษุรูปไหนหนอ ควรเรียนวิธีการ
นับปักษ์ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทุก ๆ รูป เรียนวิธี
การนับปักษ์”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๓๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๘๔. ปักขคณนาทิอุคคหณานุชานนา
เรื่องทรงอนุญาตให้นับภิกษุในวันอุโบสถ
[๑๕๗] สมัยนั้น พวกชาวบ้านถามภิกษุทั้งหลายที่กำลังเที่ยวบิณฑบาตว่า
“ภิกษุมีจำนวนเท่าไร เจ้าข้า”
ภิกษุทั้งหลายตอบอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย พวกอาตมาไม่รู้”
พวกชาวบ้านพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “แม้พวกกันเอง พระสมณะ
เชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้ยังไม่รู้ ไฉนจะรู้ความดีอะไร ๆ อย่างอื่นเล่า”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้นับภิกษุ”
ต่อมา ภิกษุทั้งหลายได้มีความคิดดังนี้ว่า “เมื่อไรหนอ เราควรนับภิกษุ” จึงนำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ในวันอุโบสถ เราอนุญาตให้นับภิกษุ
ด้วยการเรียกชื่อหรือให้จับสลาก”

เรื่องไปบิณฑบาตยังหมู่บ้านไกล
[๑๕๘] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายไม่ทราบว่า “วันนี้เป็นวันอุโบสถ” ไปบิณฑบาต
ยังหมู่บ้านไกล มาถึงเมื่อสงฆ์กำลังยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงบ้าง เมื่อใกล้จะยกขึ้นแสดง
จบบ้าง
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้บอกว่า วันนี้เป็นวัน
อุโบสถ”
ต่อมา ภิกษุทั้งหลายได้มีความคิดดังนี้ว่า “ภิกษุรูปไหนหนอควรบอก” จึงนำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้เถระบอกแต่
เช้าตรู่”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๔๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๘๕. ปุพพกรณานุชานนา
เรื่องนึกไม่ได้
สมัยต่อมา พระเถระรูปหนึ่ง เวลาเช้าตรู่ ก็นึกไม่ได้
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้บอกแม้ในเวลาภัตกาล”
แม้ในเวลาภัตกาล พระเถระก็นึกไม่ได้
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้บอกในเวลาที่นึกขึ้นได้”

๘๕. ปุพพกรณานุชานนา
ว่าด้วยทรงอนุญาตบุพพกรณ์

เรื่องบุพพกรณ์และบุพพกิจในโรงอุโบสถ๑
[๑๕๙] สมัยนั้น ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในโรงอุโบสถ พวกภิกษุอาคันตุกะพากัน
ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ทำไมภิกษุทั้งหลายจึงไม่กวาดโรงอุโบสถกันเล่า”

เชิงอรรถ :
๑ บุพพกรณ์ หมายถึงการเตรียมการก่อนที่จะมีการประชุมสงฆ์
บุพพกรณ์ของการทำอุโบสถ คือ
๑. กวาดโรงอุโบสถ ๒. จุดประทีปเตรียมแสงสว่าง
๓. จัดเตรียมน้ำฉันน้ำใช้ไว้ ๔. ปูอาสนะ
บุพพกิจ หมายถึง กิจเบื้องต้น
บุพพกิจของการทำอุโบสถ คือ
๑. นำฉันทะและปาริสุทธิของภิกษุผู้เป็นไข้ คือ ถ้ามีภิกษุผู้เป็นไข้อยู่ในสีมาเดียวกัน ต้องนำความ
ยินยอมและคำปฏิญญาว่าตัวเองเป็นผู้บริสุทธิ์จากอาบัติของภิกษุผู้เป็นไข้นั้นมาแจ้งให้สงฆ์ทราบ
๒. บอกฤดู
๓. บอกจำนวนภิกษุที่เข้าร่วมประชุม
๔. แจ้งการให้โอวาทภิกษุณี (วิ.อ. ๓/๑๖๘/๑๓๙, กงฺขา.อ. ๑๑๘-๑๒๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๔๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๘๕. ปุพพกรณานุชานนา
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้กวาดโรงอุโบสถ”
ต่อมา ภิกษุทั้งหลายได้มีความคิดดังนี้ว่า “ภิกษุรูปไหนหนอ ควรกวาดโรงอุโบสถ”
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุเถระใช้ภิกษุ
นวกะ”
ภิกษุนวกะทั้งหลายถูกภิกษุเถระใช้แล้ว ก็ไม่ยอมกวาด
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่เป็นไข้ถูกภิกษุเถระใช้แล้ว
จะไม่กวาดไม่ได้ รูปใดไม่กวาด ต้องอาบัติทุกกฏ”

เรื่องปูอาสนะและตามประทีปเป็นต้น
[๑๖๐] สมัยนั้น ในโรงอุโบสถ ไม่มีใครปูอาสนะไว้ ภิกษุทั้งหลายพากันนั่งที่พื้น
ทั้งตัวทั้งจีวรเปื้อนฝุ่น
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ปูอาสนะในโรงอุโบสถ”
ต่อมา ภิกษุทั้งหลายได้มีความปริวิตกว่า ภิกษุรูปไหนหนอ ควรปูอาสนะใน
โรงอุโบสถ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุเถระใช้ภิกษุ
นวกะ”
ภิกษุนวกะทั้งหลายถูกภิกษุเถระใช้แล้ว ก็ไม่ยอมปู
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่เป็นไข้ถูกภิกษุเถระใช้แล้ว
จะไม่ปูไม่ได้ รูปใดไม่ปู ต้องอาบัติทุกกฏ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๔๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๘๕. ปุพพกรณานุชานนา
[๑๖๑] สมัยนั้น ในโรงอุโบสถ ไม่ตามประทีปไว้ ภิกษุทั้งหลายเหยียบกายกัน
บ้าง จีวรบ้าง ในที่มืด
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตให้ตามประทีปในโรงอุโบสถ”
ต่อมา ภิกษุทั้งหลายได้มีความคิดดังนี้ว่า “ภิกษุรูปไหนหนอ พึงตามประทีป
ในโรงอุโบสถ” จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุเถระใช้ภิกษุ
นวกะ”
ภิกษุนวกะทั้งหลายถูกภิกษุเถระใช้แล้ว ก็ไม่ยอมตามประทีป
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่เป็นไข้ถูกภิกษุเถระใช้แล้ว
จะไม่ตามประทีปไม่ได้ รูปใดไม่ตามประทีป ต้องอาบัติทุกกฏ”
[๑๖๒] สมัยนั้น ในอาวาสแห่งหนึ่ง พวกภิกษุที่อยู่ในอาวาสไม่จัดน้ำฉัน
น้ำใช้ไว้ พระอาคันตุกะพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุที่อยู่ใน
อาวาสจึงไม่จัดน้ำฉันน้ำใช้ไว้เล่า”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้จัดน้ำฉันน้ำใช้ไว้”
ต่อมา ภิกษุทั้งหลายได้มีความคิดดังนี้ว่า “ภิกษุรูปไหนหนอ พึงจัดน้ำฉัน
น้ำใช้ไว้” จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุเถระใช้ภิกษุ
นวกะ”
ภิกษุนวกะทั้งหลายถูกภิกษุเถระใช้แล้ว ไม่ยอมจัดน้ำฉันน้ำใช้ไว้
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่เป็นไข้ถูกภิกษุเถระใช้แล้ว
จะไม่จัดไม่ได้ รูปใดไม่จัด ต้องอาบัติทุกกฏ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๔๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๘๖. ทิสังคมิกาทิวัตถุ
๘๖. ทิสังคมิกาทิวัตถุ
ว่าด้วยภิกษุไปสู่ทิศเป็นต้น

เรื่องภิกษุจะไปไหนต้องบอกลาก่อน
[๑๖๓] สมัยนั้น พวกภิกษุหลายรูปด้วยกันเป็นผู้โง่เขลา ไม่ฉลาด ไปสู่ทิศ
บอกลาพระอุปัชฌาย์อาจารย์
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ภิกษุหลายรูปเป็นผู้โง่
เขลา ไม่ฉลาด ไปสู่ทิศ ย่อมบอกลาอุปัชฌาย์อาจารย์ ภิกษุทั้งหลาย อุปัชฌาย์
อาจารย์ พึงถามภิกษุเหล่านั้นว่า พวกท่านจะไปไหนกัน ไปกับใคร”
ถ้าภิกษุเหล่านั้นเป็นผู้โง่เขลา ไม่ฉลาด อ้างถึงภิกษุเหล่าอื่นที่โง่เขลาไม่ฉลาด
เช่นกัน พระอุปัชฌาย์อาจารย์ไม่พึงอนุญาต ถ้าอนุญาต ต้องอาบัติทุกกฏ
อนึ่ง ถ้าพวกเธอเป็นผู้โง่เขลา ไม่ฉลาด พระอุปัชฌาย์อาจารย์ยังไม่อนุญาต
ถ้ายังขืนไป ต้องอาบัติทุกกฏ

เรื่องควรสงเคราะห์ภิกษุผู้เป็นพหูสูต
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ในอาวาสแห่งหนึ่ง ภิกษุหลายรูปเป็นผู้โง่เขลา
ไม่ฉลาด ไม่รู้จักอุโบสถ หรือวิธีทำอุโบสถ หรือปาติโมกข์หรือวิธียกปาติโมกข์
ขึ้นแสดง ภิกษุรูปอื่นเป็นพหูสูต เชี่ยวชาญปริยัติ(อาคตาคม) ทรงธรรม ทรงวินัย
ทรงมาติกา เป็นบัณฑิต ฉลาด มีปัญญา มีความละอาย มีความระมัดระวัง
ใฝ่การศึกษา มาในอาวาสนั้น ภิกษุพหูสูตรนั้นอันภิกษุเหล่านั้นพึงสงเคราะห์
อนุเคราะห์ โอภาปราศรัย บำรุงด้วยจุรณ ดินเหนียว ไม้ชำระฟัน น้ำบ้วนปาก
ถ้าไม่สงเคราะห์ อนุเคราะห์ โอภาปราศรัย บำรุงด้วยจุรณ ดินเหนียว ไม้ชำระฟัน
น้ำบ้วนปาก ต้องอาบัติทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๔๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๘๗. ปาริสุทธิทานกถา
เรื่องส่งภิกษุไปพอจะกลับมาทันในวันนั้น
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น ภิกษุอยู่
ด้วยกันหลายรูป เป็นผู้โง่เขลา ไม่ฉลาด ไม่รู้จักอุโบสถหรือวิธีทำอุโบสถ หรือปาติโมกข์
หรือวิธียกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ภิกษุเหล่านั้นพึงส่งภิกษุรูปหนึ่งไปยังอาวาสใกล้เคียง
พอจะกลับมาทันในวันนั้น ด้วยสั่งว่า ‘ท่าน ท่านจงไปเรียนปาติโมกข์โดยย่อหรือโดย
พิสดารมาเถิด’ ถ้าได้อย่างนั้น นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้ ภิกษุเหล่านั้นทุกรูป
พึงไปสู่อาวาสที่มีภิกษุรู้อุโบสถหรือวิธีทำอุโบสถ หรือปาติโมกข์หรือวิธีขึ้นแสดงปาติโมกข์
ถ้าไม่ไป ต้องอาบัติทุกกฏ

เรื่องจำพรรษาในอาวาสที่มีผู้ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงได้
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ภิกษุอยู่จำพรรษาหลายรูป
เป็นผู้โง่เขลา ไม่ฉลาด ไม่รู้จักอุโบสถหรือวิธีทำอุโบสถ หรือปาติโมกข์หรือวิธียก
ปาติโมกข์ขึ้นแสดง ภิกษุเหล่านั้นพึงส่งภิกษุรูปหนึ่งไปยังอาวาสใกล้เคียง พอจะกลับ
มาทันในวันนั้น ด้วยสั่งว่า “ท่าน ท่านจงไปเรียนปาติโมกข์โดยย่อหรือโดยพิสดาร
มาเถิด” ถ้าได้อย่างนั้น นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้ พึงส่งภิกษุรูปหนึ่งไปชั่วเวลา
๗ วัน ด้วยสั่งว่า “ท่าน ท่านจงไปเรียนปาติโมกข์โดยย่อหรือโดยพิสดารมาเถิด”
ถ้าได้อย่างนั้น นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้ ภิกษุเหล่านั้น ไม่พึงจำพรรษาอยู่ใน
อาวาสนั้น ถ้าจำพรรษาอยู่ ต้องอาบัติทุกกฏ

๘๗. ปาริสุทธิทานกถา
ว่าด้วยการมอบปาริสุทธิ

เรื่องภิกษุไข้มอบปาริสุทธิ
[๑๖๔] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย
พวกเธอจงประชุมกัน สงฆ์จักทำอุโบสถ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๔๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๘๗. ปาริสุทธิทานกถา
เมื่อพระองค์ตรัสอย่างนี้ ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่า
“มีภิกษุเป็นไข้อยู่ พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุไข้นั้นมาไม่ได้”
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุไข้มอบปาริสุทธิ”
ภิกษุทั้งหลาย ก็แล ภิกษุไข้พึงมอบปาริสุทธิอย่างนี้
ภิกษุไข้นั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่ง
กระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ข้าพเจ้าขอมอบปาริสุทธิ ท่านจงนำ
ปาริสุทธิของข้าพเจ้าไป จงบอกปาริสุทธิของข้าพเจ้า”
ภิกษุผู้มอบปาริสุทธิให้ภิกษุผู้นำปาริสุทธิรู้ด้วยกาย ให้รู้ด้วยวาจา หรือให้รู้
ด้วยกายและวาจา ปาริสุทธิเป็นอันมอบให้แล้ว ภิกษุผู้มอบปาริสุทธิไม่ให้ภิกษุผู้นำ
ปาริสุทธิรู้ด้วยกาย ไม่ให้รู้ด้วยวาจา หรือไม่ให้รู้ด้วยกายและวาจา ปาริสุทธิ
เป็นอันยังมิได้มอบ ถ้าได้อย่างนั้น นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้ ภิกษุทั้งหลายพึงใช้
เตียงหรือตั่งหามภิกษุไข้มาในท่ามกลางสงฆ์แล้วทำอุโบสถ
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกภิกษุผู้พยาบาลภิกษุไข้ได้ปรึกษากัน ดังนี้ว่า ถ้าพวก
เราจักย้ายภิกษุไข้ อาการไข้จักกำเริบหนักขึ้นหรือภิกษุไข้จักถึงแก่มรณภาพ ไม่พึง
ย้ายภิกษุไข้ สงฆ์พึงไปทำอุโบสถในสำนักภิกษุไข้นั้น แต่สงฆ์ไม่พึงแบ่งพวกกันทำ
อุโบสถ ถ้าแบ่งพวกกันทำ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไข้ได้มอบปาริสุทธิแล้ว ถ้าภิกษุผู้นำปาริสุทธิหลบไป
เสียจากที่นั้น ภิกษุไข้พึงมอบปาริสุทธิแก่ภิกษุรูปอื่น
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไข้ได้มอบปาริสุทธิแล้ว ถ้าภิกษุผู้นำปาริสุทธิสึกเสีย
ณ ที่นั้นแหละ ... มรณภาพ ... ปฏิญญาเป็นสามเณร ... ปฏิญญาเป็นผู้บอก
คืนสิกขา ... ปฏิญญาเป็นผู้ต้องอันติมวัตถุ๑ ... ปฏิญญาเป็นผู้วิกลจริต ... ปฏิญญา
เป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่าน ... ปฏิญญาเป็นผู้กระสับกระส่ายเพราะเวทนา ... ปฏิญญาเป็นผู้
ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ... ปฏิญญาเป็นผู้ถูกสงฆ์ลง

เชิงอรรถ :
๑ อันติมวัตถุ หมายถึงอาบัติปาราชิก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๔๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๘๗. ปาริสุทธิทานกถา
อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ... ปฏิญญาเป็นผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม
เพราะไม่สละทิฏฐิบาป ... ปฏิญญาเป็นบัณเฑาะก์ ... ปฏิญญาเป็นไถยสังวาส๑ ...
ปฏิญญาเป็นผู้เข้ารีตเดียรถีย์ ... ปฏิญญาเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ... ปฏิญญาเป็นผู้ฆ่า
มารดา ... ปฏิญญาเป็นผู้ฆ่าบิดา ... ปฏิญญาเป็นผู้ฆ่าพระอรหันต์ ... ปฏิญญา
เป็นผู้ประทุษร้ายภิกษุณี ... ปฏิญญาเป็นผู้ทำลายสงฆ์ ... ปฏิญญาเป็นผู้ทำร้ายพระ
ศาสดาจนห้อพระโลหิต ... ปฏิญญาเป็นอุภโตพยัญชนก๒ ภิกษุไข้พึงมอบปาริสุทธิแก่
ภิกษุรูปอื่น
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไข้ได้มอบปาริสุทธิแล้ว ถ้าภิกษุผู้นำปาริสุทธิหลบไป
เสียในระหว่างทาง ปาริสุทธิเป็นอันยังมิได้นำมา
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไข้ได้มอบปาริสุทธิแล้ว ถ้าภิกษุผู้นำปาริสุทธิสึกเสียใน
ระหว่างทาง ฯลฯ ปฏิญาณเป็นอุภโตพยัญชนก ปาริสุทธิเป็นอันยังมิได้นำมา
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไข้ได้มอบปาริสุทธิแล้ว ถ้าภิกษุผู้นำปาริสุทธิเข้าที่
ประชุมสงฆ์แล้วหลบไป ปาริสุทธิเป็นอันนำมาแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไข้ได้มอบปาริสุทธิแล้ว ถ้าภิกษุผู้นำปาริสุทธิเข้าที่
ประชุมสงฆ์แล้วสึกเสีย ฯลฯ ปฏิญาณเป็นอุภโตพยัญชนก ปาริสุทธิเป็นอันนำมาแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไข้ได้มอบปาริสุทธิแล้ว ถ้าภิกษุผู้นำปาริสุทธิเข้า
ที่ประชุมสงฆ์แล้วหลับเสียไม่ได้บอก เผลอไปไม่ได้บอก เข้าสมาบัติไม่ได้บอก
ปาริสุทธิเป็นอันนำมาแล้ว ภิกษุผู้นำปาริสุทธิไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไข้ได้มอบปาริสุทธิแล้ว ถ้าภิกษุผู้นำปาริสุทธิเข้าที่
ประชุมสงฆ์แล้ว จงใจไม่บอก ปาริสุทธิเป็นอันนำมาแล้ว แต่ภิกษุผู้นำปาริสุทธิต้อง
อาบัติทุกกฏ”

เชิงอรรถ :
๑ ไถยสังวาส แปลว่า คนลักเพศ คือ ไม่ใช่ภิกษุ แต่ปลอมบวชเป็นภิกษุ (วิ.อ. ๓/๑๑๐/๘๒ ดูรายละเอียดใน
เล่มนี้ข้อ ๑๑๐ หน้า ๑๗๔-๑๗๕)
๒ อุภโตพยัญชนก แปลว่า คน ๒ เพศ คือ มีสัญลักษณ์เพศชาย และเพศหญิง (วิ.อ. ๒/๒๘๕/๓๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๔๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๘๘. ฉันททานกถา
๘๘. ฉันททานกถา
ว่าด้วยการมอบฉันทะ

เรื่องทำกรรมที่จะต้องทำ
[๑๖๕] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย
พวกเธอจงประชุมกัน สงฆ์จักทำกรรม”
เมื่อพระองค์ตรัสอย่างนี้ ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่า
“มีภิกษุเป็นไข้อยู่ พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุไข้นั้นมาไม่ได้”
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุไข้มอบฉันทะ

วิธีมอบฉันทะ
ภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุไข้พึงมอบฉันทะอย่างนี้
ภิกษุไข้นั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่ง
กระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าขอมอบฉันทะ ท่านจงนำฉันทะของ
ข้าพเจ้าไป จงบอกฉันทะของข้าพเจ้า
ภิกษุผู้มอบฉันทะให้ภิกษุผู้นำฉันทะรู้ด้วยกาย ให้รู้ด้วยวาจา หรือให้รู้ด้วย
กายและวาจา ฉันทะเป็นอันมอบให้แล้ว ภิกษุผู้มอบฉันทะไม่ให้ภิกษุผู้นำฉันทะ
รู้ด้วยกาย ไม่ให้รู้ด้วยวาจา หรือไม่ให้รู้ด้วยกายและวาจา ฉันทะเป็นอันยัง
มิได้มอบ ถ้าได้อย่างนั้น นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้ ภิกษุทั้งหลายพึงใช้เตียงหรือ
ตั่งหามภิกษุไข้มาในท่ามกลางสงฆ์แล้วทำกรรม
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกภิกษุผู้พยาบาลภิกษุไข้ได้ปรึกษากัน ดังนี้ว่า ถ้าพวก
เราจักย้ายภิกษุไข้ อาการไข้จักกำเริบหนักขึ้นหรือภิกษุไข้จักถึงแก่มรณภาพ ไม่พึง
ย้ายภิกษุไข้ สงฆ์พึงไปทำกรรมในสำนักภิกษุไข้นั้น แต่สงฆ์ไม่พึงแบ่งพวกกันทำ
กรรม ถ้าแบ่งพวกกันทำ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไข้ได้มอบฉันทะแล้ว ถ้าภิกษุผู้นำฉันทะหลบไปเสีย
จากที่นั้น ภิกษุไข้พึงมอบฉันทะแก่ภิกษุรูปอื่น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๔๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๘๘. ฉันททานกถา
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไข้ได้มอบฉันทะแล้ว ถ้าภิกษุผู้นำฉันทะสึกเสีย ณ
ที่นั้นแหละ ... มรณภาพ ... ปฏิญญาเป็นสามเณร ... ปฏิญญาเป็นผู้บอกลาสิกขา
... ปฏิญญาเป็นผู้ต้องอันติมวัตถุ ... ปฏิญญาเป็นผู้วิกลจริต ... ปฏิญญาเป็นผู้มี
จิตฟุ้งซ่าน ... ปฏิญญาเป็นผู้กระสับกระส่ายเพราะเวทนา ... ปฏิญญาเป็นผู้ถูก
สงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นอาบัติ ... ปฏิญญาเป็นผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม
เพราะไม่ทำคืนอาบัติ ... ปฏิญญาเป็นผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละ
ทิฏฐิบาป ... ปฏิญญาเป็นบัณเฑาะก์ ... ปฏิญญาเป็นไถยสังวาส ... ปฏิญญาเป็น
ผู้เข้ารีตเดียรถีย์ ... ปฏิญญาเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ... ปฏิญญาเป็นผู้ฆ่ามารดา ...
ปฏิญญาเป็นผู้ฆ่าบิดา ... ปฏิญญาเป็นผู้ฆ่าพระอรหันต์ ... ปฏิญญาเป็นผู้ประทุษ
ร้ายภิกษุณี ... ปฏิญญาเป็นผู้ทำลายสงฆ์ ... ปฏิญญาเป็นผู้ทำร้ายพระศาสดาจน
ห้อพระโลหิต ... ปฏิญญาเป็นอุภโตพยัญชนก ภิกษุไข้พึงมอบฉันทะแก่ภิกษุรูปอื่น
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไข้ได้มอบฉันทะแล้ว ถ้าภิกษุผู้นำฉันทะหลบไปเสียใน
ระหว่างทาง ฉันทะเป็นอันยังมิได้นำมา
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไข้ได้มอบฉันทะแล้ว ถ้าภิกษุผู้นำฉันทะสึกเสียใน
ระหว่างทาง ฯลฯ ปฏิญาณเป็นอุภโตพยัญชนก ฉันทะเป็นอันยังมิได้นำมา
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไข้ได้มอบฉันทะแล้ว ถ้าภิกษุผู้นำฉันทะเข้าที่ประชุม
สงฆ์แล้วหลบไป ฉันทะเป็นอันนำมาแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไข้ได้มอบฉันทะแล้ว ถ้าภิกษุผู้นำฉันทะเข้าที่ประชุม
สงฆ์แล้วสึกเสีย ฯลฯ ปฏิญาณเป็นอุภโตพยัญชนก ฉันทะเป็นอันนำมาแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไข้ได้มอบฉันทะแล้ว ถ้าภิกษุผู้นำฉันทะเข้าที่ประชุม
สงฆ์แล้วหลับเสียไม่ได้บอก เผลอไปไม่ได้บอก เข้าสมาบัติไม่ได้บอก ฉันทะเป็น
อันนำมาแล้ว ภิกษุผู้นำฉันทะไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไข้ได้มอบฉันทะแล้ว ถ้าภิกษุผู้นำฉันทะเข้าที่ประชุม
สงฆ์แล้ว จงใจไม่บอก ฉันทะเป็นอันนำมาแล้ว แต่ภิกษุผู้นำฉันทะต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุทั้งหลาย ในวันอุโบสถ เราอนุญาตให้ภิกษุผู้มอบปาริสุทธิให้มอบฉันทะ
ด้วย เรื่องเหล่านี้เป็นกิจที่สงฆ์ต้องทำ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๔๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๘๙. ญาตกาทิคหณกถา
๘๙. ญาตกาทิคหณกถา
ว่าด้วยพวกญาติเป็นต้นจับภิกษุ

เรื่องภิกษุถูกพวกญาติเป็นต้นจับไว้
[๑๖๖] สมัยนั้น ในวันอุโบสถนั้น หมู่ญาติได้จับภิกษุรูปหนึ่งไว้
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ในวันอุโบสถนั้น
หมู่ญาติ ได้จับภิกษุไว้ ภิกษุทั้งหลายพึงกล่าวกับหมู่ญาตินั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่าน
ทั้งหลาย กรุณาปล่อยภิกษุนี้ไว้สักครู่ จนกว่าภิกษุนี้จะทำอุโบสถเสร็จเถิด’ ถ้าได้
อย่างนั้น นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้ ภิกษุทั้งหลายพึงกล่าวกับญาติเหล่านั้นอย่างนี้ว่า
‘ท่านทั้งหลาย กรุณารอ ณ ที่สมควรสักครู่จนกว่าภิกษุนี้จะมอบปาริสุทธิ
เสร็จเถิด’ ถ้าได้อย่างนั้น นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้ ภิกษุทั้งหลายพึงกล่าวกับญาติ
เหล่านั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย กรุณานำภิกษุนี้ไปไว้นอกสีมาสักครู่จนกว่า
สงฆ์จะทำอุโบสถเสร็จเถิด’ ถ้าได้อย่างนั้น นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้อย่างนั้น
สงฆ์ไม่พึงแบ่งพวกกันทำอุโบสถ ถ้าแบ่งพวกกันทำ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในวันอุโบสถนั้น พระราชาทั้งหลายทรงจับ
ภิกษุไว้ ... พวกโจรจับไว้ ... พวกนักเลงจับไว้ ... พวกภิกษุที่เป็นศัตรูกันจับไว้
ภิกษุทั้งหลาย พึงกล่าวกับพวกภิกษุที่เป็นศัตรูกันนั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย
กรุณาปล่อยภิกษุนี้ไว้สักครู่จนกว่าภิกษุนี้จะทำอุโบสถเสร็จเถิด ถ้าได้อย่างนั้น
นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้ ภิกษุทั้งหลายพึงกล่าวกับพวกภิกษุที่เป็นศัตรูกันนั้น
อย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย กรุณารอ ณ ที่สมควรสักครู่จนกว่าภิกษุนี้จะมอบ
ปาริสุทธิเสร็จเถิด’ ถ้าได้อย่างนั้น นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้ ภิกษุทั้งหลายพึงกล่าว
กับพวกภิกษุที่เป็นศัตรูกันนั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย กรุณานำภิกษุนี้ไปไว้นอกสี
มาสักครู่จนกว่าสงฆ์จะทำอุโบสถเสร็จเถิด’ ถ้าได้อย่างนั้น นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้
อย่างนั้น สงฆ์ไม่พึงแบ่งพวกกันทำอุโบสถ ถ้าแบ่งพวกกันทำ ต้องอาบัติทุกกฏ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๕๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๙๐. อุมมัตตกสมมติ
๙๐. อุมมัตตกสมมติ
ว่าด้วยการสมมติภิกษุวิกลจริต
[๑๖๗] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย
พวกเธอจงประชุมกัน สงฆ์มีกิจต้องทำ”
เมื่อพระองค์ตรัสอย่างนี้ ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่า
“มีภิกษุวิกลจริตชื่อว่าคัคคะอยู่ พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุคัคคะนั้นมาไม่ได้”
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุวิกลจริตนี้มี ๒ ประเภท คือ
๑. ภิกษุวิกลจริต ระลึกอุโบสถได้บ้าง ระลึกไม่ได้บ้าง ระลึกสังฆกรรม
ได้บ้าง ระลึกไม่ได้บ้าง ระลึกไม่ได้เลยบ้าง
๒. ภิกษุวิกลจริตมาอุโบสถบ้าง ไม่มาบ้าง มาสังฆกรรมบ้าง ไม่มาบ้าง
ไม่มาเลยบ้าง
ภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุวิกลจริต ๒ ประเภทนั้น รูปใดที่ยังระลึก
อุโบสถได้บ้าง ระลึกไม่ได้บ้าง ระลึกสังฆกรรมได้บ้าง ระลึกไม่ได้บ้าง มาอุโบสถบ้าง
ไม่มาบ้าง มาสังฆกรรมบ้าง ไม่มาบ้าง ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้อุมมัตตก
สมมติแก่ภิกษุวิกลจริตเห็นปานนั้น

วิธีให้อุมมัตตกสมมติและกรรมวาจาให้อุมมัตตกสมมติ
ภิกษุทั้งหลาย ก็แลพึงให้อุมมัตตกสมมติอย่างนี้
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุคัคคะเป็นผู้วิกลจริต ระลึกอุโบสถได้บ้าง
ระลึกไม่ได้บ้าง ระลึกสังฆกรรมได้บ้าง ระลึกไม่ได้บ้าง มาอุโบสถบ้าง ไม่มาบ้าง
มาสังฆกรรมบ้าง ไม่มาบ้าง ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว สงฆ์พึงให้อุมมัตตกสมมติแก่
ภิกษุคัคคะ ผู้วิกลจริต คือ ภิกษุคัคคะระลึกอุโบสถได้บ้าง ระลึกไม่ได้บ้าง ระลึก
สังฆกรรมได้บ้าง ระลึกไม่ได้บ้าง มาอุโบสถบ้าง ไม่มาบ้าง มาสังฆกรรมบ้าง
ไม่มาบ้าง สงฆ์พร้อมภิกษุคัคคะหรือเว้นภิกษุคัคคะ ทำอุโบสถก็ได้ ทำสังฆกรรม
ก็ได้ นี้เป็นญัตติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๕๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๙๑. สังฆุโปสถาทิปเภท
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุคัคคะเป็นผู้วิกลจริต ระลึกอุโบสถ
ได้บ้าง ระลึกไม่ได้บ้าง ระลึกสังฆกรรมได้บ้าง ระลึกไม่ได้บ้าง มาอุโบสถบ้าง ไม่มา
บ้าง มาสังฆกรรมบ้าง ไม่มาบ้าง ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว สงฆ์พึงให้อุมมัตตก
สมมติแก่ภิกษุคัคคะผู้วิกลจริต คือ ภิกษุคัคคะระลึกอุโบสถได้บ้าง ระลึกไม่ได้
บ้าง ระลึกสังฆกรรมได้บ้าง ระลึกไม่ได้บ้าง มาอุโบสถบ้าง ไม่มาบ้าง มาสังฆ
กรรมบ้าง ไม่มาบ้าง สงฆ์พร้อมภิกษุคัคคะหรือเว้นภิกษุคัคคะ ทำอุโบสถก็ได้
ทำสังฆกรรมก็ได้ ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการให้อุมมัตตกสมมติแก่ภิกษุคัคคะ
ผู้วิกลจริต ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
อุมมัตตกสมมติสงฆ์ได้ให้แล้วแก่ภิกษุคัคคะผู้วิกลจริต คือ ภิกษุคัคคะระลึก
อุโบสถได้บ้าง ระลึกไม่ได้บ้าง ระลึกสังฆกรรมได้บ้าง ระลึกไม่ได้บ้าง มาอุโบสถบ้าง
ไม่มาบ้าง มาสังฆกรรมบ้าง ไม่มาบ้าง สงฆ์พร้อมภิกษุคัคคะหรือเว้นภิกษุคัคคะ
ทำอุโบสถก็ได้ ทำสังฆกรรมก็ได้ สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือ
ความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้

๙๑. สังฆุโปสถาทิปเภท
ว่าด้วยประเภทแห่งอุโบสถมีอุโบสถเป็นการสงฆ์เป็นต้น

เรื่องภิกษุ ๔ รูป ๓ รูป ๒ รูป และ ๑ รูป
ทำอุโบสถ ๓ อย่าง ตามลำดับ

เรื่องภิกษุ ๔ รูป ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง
[๑๖๘] สมัยนั้น ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น มีภิกษุอยู่ด้วยกัน ๔ รูป
ภิกษุเหล่านั้นได้มีการสนทนากันดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า ‘ภิกษุพึง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๕๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๙๑. สังฆุโปสถาทิปเภท
ทำอุโบสถ’ ดังนี้ ก็พวกเรามีเพียง ๔ รูป จะพึงทำอุโบสถอย่างไรหนอ” จึงนำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุ ๔ รูป ยก
ปาติโมกข์ขึ้นแสดง”

เรื่องภิกษุ ๓ รูป ทำปาริสุทธิอุโบสถ
สมัยนั้น ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น มีภิกษุอยู่ด้วยกัน ๓ รูป
ภิกษุเหล่านั้นได้มีการสนทนากันดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้ภิกษุ
๔ รูป ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ก็พวกเรามีเพียง ๓ รูป จะพึงทำอุโบสถอย่างไรหนอ”
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุ ๓ รูป ทำ
ปาริสุทธิอุโบสถ

วิธีทำปาริสุทธิอุโบสถสำหรับภิกษุ ๓ รูปและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย ก็แลพึงทำปาริสุทธิอุโบสถอย่างนี้
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้ภิกษุทั้งหลายทราบว่า
ท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า วันนี้เป็นวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ ถ้าท่านทั้งหลายพร้อม
กันแล้ว เราทั้งหลายพึงทำปาริสุทธิอุโบสถแก่กันและกัน
ภิกษุผู้เถระพึงห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่งกระโหย่ง ประนมมือ บอก
ภิกษุเหล่านั้นอย่างนี้ว่า

คำบอกปาริสุทธิสำหรับภิกษุมีพรรษาแก่กว่า
ท่านทั้งหลาย ผมเป็นผู้บริสุทธิ์ ขอท่านทั้งหลายจงจำผมว่า เป็นผู้บริสุทธิ์
ท่านทั้งหลาย ผมเป็นผู้บริสุทธิ์ ขอท่านทั้งหลายจงจำผมว่า เป็นผู้บริสุทธิ์
ท่านทั้งหลาย ผมเป็นผู้บริสุทธิ์ ขอท่านทั้งหลายจงจำผมว่า เป็นผู้บริสุทธิ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๕๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๙๑. สังฆุโปสถาทิปเภท
ภิกษุผู้นวกะพึงห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่งกระโหย่ง ประนมมือ
บอกภิกษุเหล่านั้นอย่างนี้ว่า

คำบอกปาริสุทธิสำหรับภิกษุมีพรรษาอ่อนกว่า
ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ผมเป็นผู้บริสุทธิ์ ขอรับ ขอท่านทั้งหลายจงจำผมว่า
เป็นผู้บริสุทธิ์
ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ผมเป็นผู้บริสุทธิ์ ขอรับ ขอท่านทั้งหลายจงจำผมว่า
เป็นผู้บริสุทธิ์
ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ผมเป็นผู้บริสุทธิ์ ขอรับ ขอท่านทั้งหลายจงจำผมว่า
เป็นผู้บริสุทธิ์”
สมัยนั้น ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น มีภิกษุอยู่ด้วยกัน ๒ รูป ภิกษุ
เหล่านั้นได้มีการสนทนากันดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้ภิกษุ ๔ รูป
ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ให้ภิกษุ ๓ รูปทำปาริสุทธิอุโบสถ ก็พวกเรามีเพียง ๒ รูป
จะพึงทำอุโบสถ อย่างไรหนอ” จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุ ๒ รูป ทำปาริสุทธิ
อุโบสถ”

วิธีทำปาริสุทธิอุโบสถสำหรับภิกษุ ๒ รูป
ภิกษุทั้งหลาย ก็แลพึงทำปาริสุทธิอุโบสถอย่างนี้
ภิกษุผู้เถระพึงห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่งกระโหย่ง ประนมมือ
บอกภิกษุผู้นวกะอย่างนี้ว่า

คำบอกปาริสุทธิสำหรับภิกษุมีพรรษาแก่กว่า
ท่าน ผมเป็นผู้บริสุทธิ์ ขอท่านจงจำผมว่า เป็นผู้บริสุทธิ์
ท่าน ผมเป็นผู้บริสุทธิ์ ขอท่านจงจำผมว่า เป็นผู้บริสุทธิ์
ท่าน ผมเป็นผู้บริสุทธิ์ ขอท่านจงจำผมว่า เป็นผู้บริสุทธิ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๕๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๙๑. สังฆุโปสถาทิปเภท
ภิกษุผู้นวกะพึงห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่งกระโหย่ง ประนมมือ
บอกภิกษุผู้เถระอย่างนี้ว่า

คำบอกปาริสุทธิสำหรับภิกษุมีพรรษาอ่อนกว่า
ท่านผู้เจริญ ผมเป็นผู้บริสุทธิ์ ขอท่านจงจำผมว่า เป็นผู้บริสุทธิ์
ท่านผู้เจริญ ผมเป็นผู้บริสุทธิ์ ขอท่านจงจำผมว่า เป็นผู้บริสุทธิ์
ท่านผู้เจริญ ผมเป็นผู้บริสุทธิ์ ขอท่านจงจำผมว่า เป็นผู้บริสุทธิ์”

เรื่องภิกษุรูปเดียวอธิษฐานอุโบสถ
สมัยนั้น ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น มีภิกษุอยู่รูปเดียว ภิกษุนั้นมี
ความคิดดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้ภิกษุ ๔ รูป ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง
ให้ภิกษุ ๓ รูปทำปาริสุทธิอุโบสถ ให้ภิกษุ ๒ รูปทำปาริสุทธิอุโบสถ ก็เราอยู่เพียง
รูปเดียว จะพึงทำอุโบสถอย่างไรหนอ”
ภิกษุนั้นจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น
มีภิกษุอยู่รูปเดียว ภิกษุนั้นพึงกวาดสถานที่ที่ภิกษุทั้งหลายต้องกลับมา คือโรงฉัน
หรือมณฑป หรือโคนไม้ก็ตาม แล้วตั้งน้ำฉันน้ำใช้ ปูอาสนะ ตามประทีป แล้วนั่งอยู่
ถ้ามีภิกษุเหล่าอื่นมา พึงทำอุโบสถกับภิกษุเหล่านั้น ถ้าไม่มีมา พึงอธิษฐานว่า วันนี้
เป็นวันอุโบสถของเรา ถ้าไม่อธิษฐาน ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุทั้งหลาย ในอาวาสที่มีภิกษุอยู่ ๔ รูป ไม่พึงนำปาริสุทธิของภิกษุรูปหนึ่ง
มาแล้ว อีก ๓ รูปยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ถ้ายกขึ้นแสดง ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุทั้งหลาย ในอาวาสที่มีภิกษุอยู่ ๓ รูป ไม่พึงนำปาริสุทธิของภิกษุรูปหนึ่ง
มาแล้ว อีก ๒ รูปทำปาริสุทธิอุโบสถ ถ้าทำ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุทั้งหลาย ในอาวาสที่มีภิกษุอยู่ ๒ รูป ไม่พึงนำปาริสุทธิของภิกษุรูปหนึ่ง
มาแล้ว อีกรูปหนึ่งอธิษฐาน ถ้าอธิษฐาน ต้องอาบัติทุกกฏ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๕๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๙๒. อาปัตติปฏิกัมมวิธี
๙๒. อาปัตติปฏิกัมมวิธิ
ว่าด้วยวิธีแก้ไขอาบัติ

เรื่องภิกษุต้องอาบัติในวันอุโบสถ
[๑๖๙] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งต้องอาบัติในวันอุโบสถนั้น ภิกษุนั้นได้มี
ความคิดดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า ภิกษุมีอาบัติติดตัวไม่พึงทำ
อุโบสถ ดังนี้ ก็เราต้องอาบัติแล้ว จะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ในวันอุโบสถนั้น ภิกษุ
ต้องอาบัติ ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่ง
กระโหย่ง ประนมมือกล่าวอย่างนี้ว่า ผมต้องอาบัติชื่อนี้ ขอแสดงคืนอาบัตินั้น ขอรับ
ภิกษุผู้รับพึงถามว่า “ท่านเห็นหรือ”
ภิกษุผู้แสดงพึงตอบว่า “ขอรับ ผมเห็น”
ภิกษุผู้รับพึงถามว่า “ท่านพึงสำรวมต่อไป”

ไม่แน่ใจในอาบัติ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในวันอุโบสถนั้น ภิกษุมีความไม่แน่ใจ
ในอาบัติ ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่ง
กระโหย่งประนมมือกล่าวอย่างนี้ว่า “ผมมีความไม่แน่ใจในอาบัติมีชื่อนี้ ขอรับ
เมื่อผมหมดความไม่แน่ใจ จักทำคืนอาบัตินั้น” แล้วทำอุโบสถ ฟังปาติโมกข์
แต่ต้องไม่ทำอันตรายต่ออุโบสถ เพราะข้อนั้นเป็นปัจจัย

เรื่องแสดงสภาคาบัติ
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์แสดงสภาคาบัติ๑
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

เชิงอรรถ :
๑ สภาคาบัติ แปลว่า อาบัติที่มีวัตถุเสมอกัน เช่นภิกษุ ๒ รูปต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะฉันโภชนาหารในเวลา
วิกาลเหมือนกัน อาบัติที่ภิกษุต้องเพราะความผิดเดียวกันอย่างนี้ เรียกว่า สภาคาบัติ (วิ.อ. ๓/๑๖๙/๑๔๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๕๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๙๓. อาปัตติอาวิกรณวิธิ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงแสดงสภาคาบัติ รูปใดแสดง
ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยต่อมา พวกภิกษุฉัพพัคคีย์รับการแสดงสภาคาบัติ
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงรับการแสดงสภาคาบัติ รูปใด
รับ ต้องอาบัติทุกกฏ”

๙๓. อาปัตติอาวิกรณวิธิ
ว่าด้วยวิธีเปิดเผยอาบัติ

เรื่องระลึกอาบัติได้เมื่อจะยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง
[๑๗๐] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งระลึกอาบัติได้ เมื่อกำลังยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง
ภิกษุนั้นมีความคิดดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า ภิกษุมีอาบัติติดตัวไม่
พึงทำอุโบสถ ดังนี้ ก็เราต้องอาบัติแล้ว จะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ เมื่อกำลังยกปาติโมกข์
ขึ้นแสดง ภิกษุระลึกอาบัติได้ ภิกษุนั้นพึงบอกภิกษุใกล้เคียงอย่างนี้ว่า ผมต้อง
อาบัติชื่อนี้ ขอรับ ผมลุกจากที่นี้แล้วจักทำคืนอาบัตินั้น แล้วทำอุโบสถ ฟัง
ปาติโมกข์ แต่ต้องไม่ทำอันตรายต่ออุโบสถ เพราะข้อนั้นเป็นปัจจัย

เมื่อกำลังยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงไม่แน่ใจในอาบัติ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุมีความไม่แน่ใจในอาบัติ เมื่อกำลังยก
ปาติโมกข์ขึ้นแสดง ภิกษุนั้นพึงบอกภิกษุใกล้เคียง๑อย่างนี้ว่า “ผมมีความไม่แน่ใจใน
อาบัติมีชื่อนี้ ขอรับ เมื่อผมหมดความไม่แน่ใจจักทำคืนอาบัตินั้น” แล้วทำอุโบสถ
ฟังปาติโมกข์ แต่ต้องไม่ทำอันตรายต่ออุโบสถ เพราะข้อนั้นเป็นปัจจัย

เชิงอรรถ :
๑ ภิกษุใกล้เคียง หมายถึงภิกษุที่ชอบพอกัน (วิ.อ. ๓/๑๗๐/๑๔๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๕๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๙๔. สภาคาปัตติปฏิกัมมวิธิ
๙๔. สภาคาปัตติปฏิกัมมวิธิ
ว่าด้วยวิธีแก้ไขสภาคาบัติ

เรื่องสงฆ์ทั้งหมดต้องสภาคาบัติ
[๑๗๑] สมัยนั้น ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น สงฆ์ทั้งหมดต้อง
สภาคาบัติ ภิกษุเหล่านั้นปรึกษากันดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า
ภิกษุไม่พึงแสดงสภาคาบัติ ไม่พึงรับการแสดงสภาคาบัติ ก็สงฆ์ทั้งหมดนี้ต้อง
สภาคาบัติแล้ว พวกเราจะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ” จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง
ในวันอุโบสถนั้น สงฆ์ทั้งหมดต้องสภาคาบัติ ภิกษุเหล่านั้นพึงส่งภิกษุรูปหนึ่งไปยัง
อาวาสใกล้เคียงพอจะกลับมาทันในวันนั้น ด้วยสั่งว่า ท่าน ท่านจงไปทำคืนอาบัติ
นั้นมาเถิด พวกเราจักทำคืนอาบัติในสำนักของท่าน” ถ้าได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี
ถ้าไม่ได้ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจาว่า

ญัตติกรรมวาจา
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์ทั้งหมดนี้ต้องสภาคาบัติแล้ว เมื่อพบ
ภิกษุรูปอื่นผู้บริสุทธิ์ไม่มีอาบัติ ก็จักทำคืนอาบัตินั้นในสำนักของภิกษุรูปนั้นดังนี้
แล้วทำอุโบสถ ยกพระปาติโมกข์ขึ้นแสดง แต่ต้องไม่ทำอันตรายต่ออุโบสถ เพราะ
ข้อนั้นเป็นปัจจัย

สงฆ์ทั้งหมดไม่แน่ใจในสภาคาบัติ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น สงฆ์
ทั้งหมดไม่แน่ใจในสภาคาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจาว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๕๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๙๔. สภาคาปัตติปฏิกัมมวิธิ
ญัตติกรรมวาจา
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์ทั้งหมดนี้มีความไม่แน่ใจในสภาคาบัติ
เมื่อหมดความไม่แน่ใจ ก็จักทำคืนอาบัตินั้น ดังนี้ แล้วทำอุโบสถ ยกพระปาติโมกข์
ขึ้นแสดง แต่ต้องไม่ทำอันตรายต่ออุโบสถ เพราะข้อนั้นเป็นปัจจัย
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ สงฆ์เข้าจำพรรษาในอาวาสแห่งหนึ่งต้อง
สภาคาบัติ ภิกษุเหล่านั้นพึงส่งภิกษุรูปหนึ่งไปยังอาวาสใกล้เคียงพอจะกลับมาทัน
ในวันนั้น ด้วยสั่งว่า ท่าน ท่านจงไปทำคืนอาบัตินั้นมาเถิด พวกเราจักทำคืนอาบัติ
นั้นในสำนักของท่าน ถ้าได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้ พึงส่งภิกษุรูปหนึ่ง ไปชั่ว
เวลา ๗ วัน ด้วยสั่งว่า ท่าน ท่านจงไปทำคืนอาบัตินั้นมาเถิด พวกเรา จักทำคืน
อาบัตินั้นในสำนักของท่าน”

เรื่องไม่รู้จักชื่อและโคตรอาบัติ
สมัยนั้น ในอาวาสแห่งหนึ่ง สงฆ์ทั้งหมดต้องสภาคาบัติ สงฆ์หมู่นั้นไม่รู้จัก
ชื่อและโคตร๑ของอาบัตินั้น ภิกษุรูปอื่นเป็นพหูสูต ชำนาญปริยัติ ทรงธรรม
ทรงวินัย ทรงมาติกา เป็นบัณฑิต ฉลาด มีปัญญา มีความละอาย มีความระมัด
ระวัง ใฝ่การศึกษา มาในอาวาสนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปหาภิกษุพหูสูตรูปนั้นเรียน
ถามว่า “ภิกษุรูปใดทำอย่างนี้และอย่างนี้ ภิกษุรูปนั้นต้องอาบัติชื่ออะไร ขอรับ”
ภิกษุพหูสูตตอบว่า “ท่าน ภิกษุรูปใดทำอย่างนี้และอย่างนี้ ภิกษุรูปนั้นต้อง
อาบัติชื่อนี้ ท่านต้องอาบัติชื่อนี้แล้ว จงทำคืนอาบัตินั้นเสีย”
ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “มิใช่แต่ผมรูปเดียวเท่านั้นที่ต้องอาบัตินี้ ขอรับ
สงฆ์หมู่นี้ทั้งหมดต้องอาบัตินี้”
ภิกษุพหูสูตนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่าน ภิกษุรูปอื่นต้องอาบัติก็ตาม ไม่ต้อง
อาบัติก็ตาม จะช่วยอะไรท่านได้ ท่านจงออกจากอาบัติของตนเถิด”

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงกลุ่มหรือหมวดของอาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๕๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๙๔. สภาคาปัตติปฏิกัมมวิธี
ต่อมา ภิกษุนั้นก็ได้ทำคืนอาบัตินั้นตามคำของภิกษุพหูสูตรูปนั้น แล้วเข้าไป
หาภิกษุเหล่านั้นเรียนชี้แจงว่า “ท่านทั้งหลาย ทราบมาว่า ภิกษุรูปใดทำอย่างนี้
และอย่างนี้ ภิกษุรูปนั้นต้องอาบัติชื่อนี้ ท่านทั้งหลายต้องอาบัติชื่อนี้แล้ว ขอรับ
จงทำคืนอาบัตินั้นเสีย”
ภิกษุเหล่านั้นไม่ปรารถนาจะทำคืนอาบัตินั้นตามคำของภิกษุรูปนั้น
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง
สงฆ์ทั้งหมดต้องสภาคาบัติ สงฆ์หมู่นั้นไม่รู้จักชื่อและโคตรของอาบัตินั้น ภิกษุรูป
อื่นเป็นพหูสูต ชำนาญในปริยัติ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา เป็นบัณฑิต ฉลาด
มีปัญญา มีความละอาย มีความระมัดระวัง ใฝ่การศึกษา มาในอาวาสนั้น
ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปหาภิกษุพหูสูตรูปนั้นเรียนถามว่า ภิกษุรูปใดทำอย่างนี้และอย่างนี้
ภิกษุรูปนั้นต้องอาบัติชื่ออะไร ขอรับ”
ภิกษุพหูสูตกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่าน ภิกษุรูปใดทำอย่างนี้และอย่างนี้ ภิกษุรูป
นั้นต้องอาบัติชื่อนี้ ท่านต้องอาบัติชื่อนี้แล้ว จงทำคืนอาบัตินั้นเสีย”
ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “มิใช่แต่ผมรูปเดียวเท่านั้นที่ต้องอาบัตินี้ ขอรับ สงฆ์หมู่นี้
ทั้งหมดต้องอาบัตินี้”
ภิกษุพหูสูตนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่าน ภิกษุรูปอื่นต้องอาบัติก็ตาม ไม่ต้อง
อาบัติก็ตาม จะช่วยอะไรท่านได้ ท่านจงออกจากอาบัติของตนเถิด”
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุรูปนั้นได้ทำคืนอาบัตินั้นตามคำของภิกษุพหูสูตรูปนั้น
แล้วเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นเรียนชี้แจงว่า “ท่านทั้งหลาย ทราบมาว่า ภิกษุรูปใด
ทำอย่างนี้และอย่างนี้ ภิกษุรูปนั้นต้องอาบัติชื่อนี้ ท่านทั้งหลายต้องอาบัติชื่อนี้แล้ว
ขอรับ จงทำคืนอาบัตินั้นเสีย”
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุเหล่านั้นจะพึงทำคืนอาบัตินั้นตามคำของภิกษุรูปนั้น
อย่างนี้ นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ทำคืน ภิกษุรูปนั้น ไม่พึงว่ากล่าวภิกษุเหล่านั้นผู้ไม่
ปรารถนาจะทำคืน
โจทนาวัตถุภาณวาร จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๖๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๙๕. อนาปัตติปัณณรสกะ
๙๕. อนาปัตติปัณณรสกะ
ว่าด้วยการทำอุโบสถโดยไม่ต้องอาบัติ ๑๕ กรณี
[๑๗๒] สมัยนั้น ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น มีภิกษุที่อยู่ในอาวาส
หลายรูป แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้นไม่รู้ว่า “ยังมีภิกษุ
ที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่”
ภิกษุเหล่านั้นมีความสำคัญว่าเป็นธรรม เป็นวินัย ยังแบ่งพวกกันอยู่ แต่สำคัญ
ว่าเป็นผู้พร้อมเพรียง ได้ทำอุโบสถ ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง เมื่อภิกษุเหล่านั้นกำลัง
ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า
ภิกษุเหล่านั้นจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวัน
อุโบสถนั้น มีภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง
ภิกษุเหล่านั้นไม่รู้ว่า “ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่”
ภิกษุเหล่านั้นมีความสำคัญว่าเป็นธรรม เป็นวินัย ยังแบ่งพวกกันอยู่ แต่สำคัญ
ว่าเป็นผู้พร้อมเพรียง ทำอุโบสถ ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง เมื่อภิกษุเหล่านั้นกำลัง
ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า
ภิกษุเหล่านั้นพึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงใหม่ พวกภิกษุผู้ยกขึ้นแสดง ไม่ต้องอาบัติ (๑)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น มีภิกษุ
ที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้นไม่รู้ว่า
“ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่”
ภิกษุเหล่านั้นมีความสำคัญว่าเป็นธรรม เป็นวินัย ยังแบ่งพวกกันอยู่ แต่สำคัญ
ว่าเป็นผู้พร้อมเพรียง ทำอุโบสถ ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง เมื่อภิกษุเหล่านั้นกำลัง
ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน
ปาติโมกข์ที่ภิกษุเหล่านั้นยกขึ้นแสดงแล้ว เป็นอันยกขึ้นแสดงดีแล้ว พวกภิกษุผู้มา
ทีหลังพึงฟังอุทเทสที่เหลือ พวกภิกษุผู้ยกขึ้นแสดง ไม่ต้องอาบัติ (๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๖๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๙๕. อนาปัตติปัณณรสกะ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น มีภิกษุ
ที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้นไม่รู้ว่า
“ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่”
ภิกษุเหล่านั้นมีความสำคัญว่าเป็นธรรม เป็นวินัย ยังแบ่งพวกกันอยู่ แต่สำคัญ
ว่าเป็นผู้พร้อมเพรียงทำอุโบสถ ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง เมื่อภิกษุเหล่านั้นกำลังยก
ปาติโมกข์ขึ้นแสดง ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า
ปาติโมกข์ที่ภิกษุเหล่านั้นยกขึ้นแสดงแล้ว เป็นอันยกขึ้นแสดงดีแล้ว พวกภิกษุผู้มา
ทีหลังพึงฟังอุทเทสที่เหลือ พวกภิกษุผู้ยกขึ้นแสดง ไม่ต้องอาบัติ (๓)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น มีภิกษุที่
อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้นไม่รู้ว่า
“ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่”
ภิกษุเหล่านั้นมีความสำคัญว่าเป็นธรรม เป็นวินัย ยังแบ่งพวกกันอยู่ แต่สำคัญ
ว่าเป็นผู้พร้อมเพรียง ทำอุโบสถ ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง พอภิกษุเหล่านั้นยก
ปาติโมกข์ขึ้นแสดงจบ ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า
ภิกษุเหล่านั้นพึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงใหม่ พวกภิกษุผู้ยกขึ้นแสดง ไม่ต้องอาบัติ (๔)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น มีภิกษุที่
อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้นไม่รู้ว่า
“ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่”
ภิกษุเหล่านั้นมีความสำคัญว่าเป็นธรรม เป็นวินัย ยังแบ่งพวกกันอยู่ แต่สำคัญ
ว่าเป็นผู้พร้อมเพรียง ทำอุโบสถ ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง พอภิกษุเหล่านั้นยก
ปาติโมกข์ ขึ้นแสดงจบ ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน
ปาติโมกข์ที่ภิกษุเหล่านั้นยกขึ้นแสดงแล้ว เป็นอันยกขึ้นแสดงดีแล้ว พวกภิกษุผู้มา
ทีหลังพึงบอกปาริสุทธิในสำนักของภิกษุเหล่านั้น พวกภิกษุผู้ยกขึ้นแสดงไม่ต้อง
อาบัติ (๕)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๖๒ }


>>>>> หน้าต่อไป >>>>>





eXTReMe Tracker