ค้นว่าอยู่เล่มใด แล้วกด [ctrl]+f หรือใช้คำสั่งของเครื่องหาตำแหน่งในเล่มอีกทีนะครับ



จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อความสะดวก และสวยงาม
(เฉพาะหน้าจอใหญ่ เช่น คอมพิวเตอร์)
กรุณาคลิก จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อให้กรอบ
ค้นข้อความ ปรากฎที่ด้านซ้ายของหน้า

พระไตรปิฎกภาษาไทย
ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม (ปกสีฟ้า)
ทั้งออนไลน์และออฟไลน์
ที่มาของข้อมูล : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มจร.
MCUTRAI Version 1.0

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๔-๓ วินัยปิฎกที่ ๐๔ มหาวรรค ภาค ๑

พระวินัยปิฎก
มหาวรรค ภาค ๑
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๙๕. อนาปัตติปัณณรสกะ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น มีภิกษุที่
อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้นไม่รู้ว่า
“ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่”
ภิกษุเหล่านั้นมีความสำคัญว่าเป็นธรรม เป็นวินัย ยังแบ่งพวกกันอยู่ แต่สำคัญ
ว่าเป็นผู้พร้อมเพรียง ทำอุโบสถ ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง พอภิกษุเหล่านั้นยก
ปาติโมกข์ขึ้นแสดงจบ ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวน
น้อยกว่า ปาติโมกข์ที่ภิกษุเหล่านั้นยกขึ้นแสดงแล้ว เป็นอันยกขึ้นแสดงดีแล้ว พวก
ภิกษุผู้มาทีหลังพึงบอกปาริสุทธิในสำนักของภิกษุเหล่านั้น พวกภิกษุผู้ยกขึ้นแสดง
ไม่ต้องอาบัติ (๖)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น มีภิกษุ
ที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้นไม่รู้ว่า
“ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่”
ภิกษุเหล่านั้นมีความสำคัญว่าเป็นธรรม เป็นวินัย ยังแบ่งพวกกันอยู่ แต่สำคัญ
ว่าเป็นผู้พร้อมเพรียง ทำอุโบสถ ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง พอภิกษุเหล่านั้นยก
ปาติโมกข์ขึ้นแสดงจบ บริษัทยังไม่ทันลุกขึ้น ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่น
มาถึง มีจำนวนมากกว่า ภิกษุเหล่านั้นพึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงใหม่ พวกภิกษุผู้
ยกขึ้นแสดง ไม่ต้องอาบัติ (๗)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น มีภิกษุ
ที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้นไม่รู้ว่า
“ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่”
ภิกษุเหล่านั้นมีความสำคัญว่าเป็นธรรม เป็นวินัย ยังแบ่งพวกกันอยู่ แต่สำคัญ
ว่าเป็นผู้พร้อมเพรียง ทำอุโบสถ ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง พอภิกษุเหล่านั้นยก
ปาติโมกข์ขึ้นแสดงจบ บริษัทยังไม่ทันลุกขึ้น ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาส
พวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน ปาติโมกข์ที่ภิกษุเหล่านั้นยกขึ้นแสดงแล้ว เป็นอัน
ยกขึ้นแสดงดีแล้ว พวกภิกษุผู้มาทีหลังพึงบอกปาริสุทธิในสำนักของภิกษุเหล่านั้น
พวกภิกษุผู้ยกขึ้นแสดงไม่ต้องอาบัติ (๘)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๖๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๙๕. อนาปัตติปัณณรสกะ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น มีภิกษุ
ที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้นไม่รู้ว่า
“ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่”
ภิกษุเหล่านั้นมีความสำคัญว่าเป็นธรรม เป็นวินัย ยังแบ่งพวกกันอยู่ แต่สำคัญ
ว่าเป็นผู้พร้อมเพรียง ทำอุโบสถ ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง พอภิกษุเหล่านั้นยก
ปาติโมกข์ขึ้นแสดงจบ บริษัทยังไม่ทันลุกขึ้น ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่น
มาถึง มีจำนวนน้อยกว่า ปาติโมกข์ที่ภิกษุเหล่านั้นยกขึ้นแสดงแล้ว เป็นอันยกขึ้น
แสดงดีแล้ว พวกภิกษุผู้มาทีหลังพึงบอกปาริสุทธิในสำนักของภิกษุเหล่านั้น พวก
ภิกษุผู้ยกขึ้นแสดงไม่ต้องอาบัติ (๙)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น มีภิกษุ
ที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้นไม่รู้ว่า
“ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่”
ภิกษุเหล่านั้นมีความสำคัญว่าเป็นธรรม เป็นวินัย ยังแบ่งพวกกันอยู่ แต่สำคัญ
ว่าเป็นผู้พร้อมเพรียง ทำอุโบสถ ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง พอภิกษุเหล่านั้นยก
ปาติโมกข์ขึ้นแสดงจบ บริษัทลุกขึ้นบางส่วน ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่น
มาถึง มีจำนวนมากกว่า ภิกษุเหล่านั้นพึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงใหม่ พวกภิกษุผู้
ยกขึ้นแสดง ไม่ต้องอาบัติ (๑๐)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น มีภิกษุ
ที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้นไม่รู้ว่า
“ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่”
ภิกษุเหล่านั้นมีความสำคัญว่าเป็นธรรม เป็นวินัย ยังแบ่งพวกกันอยู่ แต่สำคัญ
ว่าเป็นผู้พร้อมเพรียง ทำอุโบสถ ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง พอภิกษุเหล่านั้นยก
ปาติโมกข์ขึ้นแสดงจบ บริษัทลุกขึ้นบ้างบางส่วน ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาส
พวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน ปาติโมกข์ที่ภิกษุเหล่านั้นยกขึ้นแสดงแล้ว เป็นอันยก
ขึ้นแสดงดีแล้ว พวกภิกษุผู้มาทีหลังพึงบอกปาริสุทธิในสำนักของภิกษุเหล่านั้น พวก
ภิกษุผู้ยกขึ้นแสดงไม่ต้องอาบัติ (๑๑)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๖๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๙๕. อนาปัตติปัณณรสกะ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น มีภิกษุ
ที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้นไม่รู้ว่า
“ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่”
ภิกษุเหล่านั้นมีความสำคัญว่าเป็นธรรม เป็นวินัย ยังแบ่งพวกกันอยู่ แต่สำคัญ
ว่าเป็นผู้พร้อมเพรียง ทำอุโบสถ ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง พอภิกษุเหล่านั้นยก
ปาติโมกข์ขึ้นแสดงจบ บริษัทลุกขึ้นบ้างบางส่วน ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาส
พวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า ปาติโมกข์ที่ภิกษุเหล่านั้นยกขึ้นแสดงแล้ว เป็นอัน
ยกขึ้นแสดงดีแล้ว พวกภิกษุผู้มาทีหลังพึงบอกปาริสุทธิในสำนักของภิกษุเหล่านั้น
พวกภิกษุผู้ยกขึ้นแสดงไม่ต้องอาบัติ (๑๒)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น มีภิกษุ
ที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้นไม่รู้ว่า
“ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่”
ภิกษุเหล่านั้นมีความสำคัญว่าเป็นธรรม เป็นวินัย ยังแบ่งพวกกันอยู่ แต่สำคัญ
ว่าเป็นผู้พร้อมเพรียง ทำอุโบสถ ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง พอภิกษุเหล่านั้นยก
ปาติโมกข์ขึ้นแสดงจบ บริษัทลุกขึ้นทั้งหมด ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่น
มาถึง มีจำนวนมากกว่า ภิกษุเหล่านั้นพึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงใหม่ พวกภิกษุผู้ยก
ขึ้นแสดง ไม่ต้องอาบัติ (๑๓)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น มีภิกษุ
ที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้นไม่รู้ว่า
“ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่”
ภิกษุเหล่านั้นมีความสำคัญว่าเป็นธรรม เป็นวินัย ยังแบ่งพวกกันอยู่ แต่สำคัญ
ว่าเป็นผู้พร้อมเพรียง ทำอุโบสถ ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง พอภิกษุเหล่านั้นยก
ปาติโมกข์ขึ้นแสดงจบ บริษัทลุกขึ้นทั้งหมด ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่น
มาถึง มีจำนวนเท่ากัน ปาติโมกข์ที่ภิกษุเหล่านั้นยกขึ้นแสดงแล้ว เป็นอันยกขึ้นแสดง
ดีแล้ว พวกภิกษุผู้มาทีหลังพึงบอกปาริสุทธิในสำนักของภิกษุเหล่านั้น พวกภิกษุผู้
ยกขึ้นแสดงไม่ต้องอาบัติ (๑๔)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๖๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๙๖. วัคคาวัคคสัญญิปัณณรสกะ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น มีภิกษุ
ที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้นไม่รู้ว่า
“ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่”
ภิกษุเหล่านั้นมีความสำคัญว่าเป็นธรรม เป็นวินัย ยังแบ่งพวกกันอยู่ แต่สำคัญ
ว่าเป็นผู้พร้อมเพรียง ทำอุโบสถ ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง พอภิกษุเหล่านั้น ยก
ปาติโมกข์ขึ้นแสดงจบ บริษัทลุกขึ้นทั้งหมด ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่น
มาถึง มีจำนวนน้อยกว่า ปาติโมกข์ที่ภิกษุเหล่านั้นยกขึ้นแสดงแล้ว เป็นอันยกขึ้น
แสดงดีแล้ว พวกภิกษุผู้มาทีหลังพึงบอกปาริสุทธิในสำนักของภิกษุเหล่านั้น พวก
ภิกษุผู้ยกขึ้นแสดงไม่ต้องอาบัติ (๑๕)
อนาปัตติปัณณรสกะ จบ

๙๖. วัคคาวัคคสัญญิปัณณรสกะ
ว่าด้วยแบ่งพวกกันอยู่และสำคัญว่าแบ่งพวกกัน ๑๕ กรณี
[๑๗๓] ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น
มีภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้น
รู้อยู่ว่า “ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ยังไม่ได้มาอยู่”
ภิกษุเหล่านั้นมีความสำคัญว่าเป็นธรรม เป็นวินัย แบ่งพวกกันอยู่ และสำคัญว่า
เป็นผู้แบ่งพวกกัน ทำอุโบสถ ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง เมื่อภิกษุเหล่านั้นกำลังยก
ปาติโมกข์ขึ้นแสดง ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า
ภิกษุเหล่านั้นพึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงใหม่ พวกภิกษุผู้ยกขึ้นแสดง ต้องอาบัติ
ทุกกฏ (๑)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น มีภิกษุที่
อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้นรู้อยู่ว่า
“ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่”
ภิกษุเหล่านั้นมีความสำคัญว่าเป็นธรรม เป็นวินัย แบ่งพวกกันอยู่ และสำคัญ
ว่าเป็นผู้แบ่งพวกกัน ทำอุโบสถ ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง เมื่อภิกษุเหล่านั้นกำลังยก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๖๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๙๖. วัคคาวัคคสัญญิปัณณรสกะ
ปาติโมกข์ขึ้นแสดง ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน
ปาติโมกข์ที่ภิกษุเหล่านั้นยกขึ้นแสดงแล้ว เป็นอันยกขึ้นแสดงดีแล้ว พวกภิกษุผู้มา
ทีหลังพึงฟังอุทเทสที่เหลือ พวกภิกษุผู้ยกขึ้นแสดง ต้องอาบัติทุกกฏ (๒)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น มีภิกษุ
ที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้นรู้อยู่ว่า
“ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่”
ภิกษุเหล่านั้นมีความสำคัญว่าเป็นธรรม เป็นวินัย แบ่งพวกกันอยู่ และสำคัญ
ว่าเป็นผู้แบ่งพวกกัน ทำอุโบสถ ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง เมื่อภิกษุเหล่านั้นกำลังยก
ปาติโมกข์ขึ้นแสดง ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า
ปาติโมกข์ที่ภิกษุเหล่านั้นยกขึ้นแสดงแล้ว เป็นอันยกขึ้นแสดงดีแล้ว พวกภิกษุผู้มา
ทีหลังพึงฟังอุทเทสที่เหลือ พวกภิกษุผู้ยกขึ้นแสดง ต้องอาบัติทุกกฏ (๓)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น มีภิกษุที่
อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้นรู้อยู่ว่า
“ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ยังไม่ได้มาอยู่”
ภิกษุเหล่านั้นมีความสำคัญว่าเป็นธรรม เป็นวินัย แบ่งพวกกันอยู่ และสำคัญ
ว่าเป็นผู้แบ่งพวกกัน ทำอุโบสถ ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง พอภิกษุเหล่านั้นยก
ปาติโมกข์ขึ้นแสดงจบ ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า
ภิกษุเหล่านั้นพึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงใหม่ พวกภิกษุผู้ยกขึ้นแสดง ต้องอาบัติ
ทุกกฏ (๔)
... พอภิกษุเหล่านั้นยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงจบ ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาส
พวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน ปาติโมกข์ที่ภิกษุเหล่านั้นยกขึ้นแสดงแล้ว เป็นอันยก
ขึ้นแสดงดีแล้ว พวกภิกษุผู้มาทีหลังพึงบอกปาริสุทธิในสำนักของภิกษุเหล่านั้น
พวกภิกษุผู้ยกขึ้นแสดงต้องอาบัติทุกกฏ (๕)
... ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า ... (๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๖๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๙๗. เวมติกปัณณรสกะ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น มีภิกษุที่
อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้นรู้อยู่ว่า
“ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่”
ภิกษุเหล่านั้นมีความสำคัญว่าเป็นธรรม เป็นวินัย แบ่งพวกกันอยู่ และสำคัญ
ว่าเป็นผู้แบ่งพวกกัน ทำอุโบสถ ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง พอภิกษุเหล่านั้น
ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงจบ บริษัทยังไม่ทันลุกขึ้น ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวก
อื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ภิกษุเหล่านั้นพึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงใหม่ พวกภิกษุ
ผู้ยกขึ้นแสดง ต้องอาบัติทุกกฏ (๗)
... พอภิกษุเหล่านั้นยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงจบ บริษัทยังไม่ทันลุกขึ้น ขณะนั้น
ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน ปาติโมกข์ที่ภิกษุเหล่านั้นยกขึ้น
แสดงแล้ว เป็นอันยกขึ้นแสดงดีแล้ว พวกภิกษุผู้มาทีหลังพึงบอกปาริสุทธิในสำนัก
ของภิกษุเหล่านั้น พวกภิกษุผู้ยกขึ้นแสดง ต้องอาบัติทุกกฏ (๘)
... ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า ... (๙)
... พอภิกษุเหล่านั้นยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงจบ บริษัทลุกขึ้นบางส่วน ขณะนั้น
ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ภิกษุเหล่านั้นพึงยกปาติโมกข์
ขึ้นแสดงใหม่ ... (๑๐)
... ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน ปาติโมกข์ที่
ภิกษุเหล่านั้นยกขึ้นแสดงแล้ว เป็นอันยกขึ้นแสดงดีแล้ว พวกภิกษุผู้มาทีหลังพึงบอก
ปาริสุทธิในสำนักของภิกษุเหล่านั้น พวกภิกษุผู้ยกขึ้นแสดง ต้องอาบัติทุกกฏ (๑๑)
... ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า ... (๑๒)
... พอภิกษุเหล่านั้นยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงจบ บริษัทลุกขึ้นทั้งหมด ขณะนั้น
ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ... (๑๓)
... ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน ... (๑๔)
... ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า ... (๑๕)
วัคคาวัคคสัญญิปัณณรสกะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๖๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๙๗. เวมติกปัณณรสกะ
๙๗. เวมติกปัณณรสกะ
ว่าด้วยภิกษุไม่แน่ใจทำอุโบสถ ๑๕ กรณี
[๑๗๔] ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น
มีภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้น
รู้อยู่ว่า “ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่” แต่ไม่แน่ใจว่า “พวกเรา
ควรทำอุโบสถหรือไม่ควรทำ” ทำอุโบสถ ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง เมื่อภิกษุเหล่านั้น
กำลังยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวน
มากกว่า ภิกษุเหล่านั้นพึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงใหม่ พวกภิกษุผู้ยกขึ้นแสดงต้อง
อาบัติทุกกฏ (๑)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น มีภิกษุที่
อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้นรู้อยู่ว่า
“ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่” แต่ไม่แน่ใจว่า “พวกเราควรทำอุโบสถ
หรือไม่ควรทำ” ทำอุโบสถ ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง เมื่อภิกษุเหล่านั้นกำลังยก
ปาติโมกข์ขึ้นแสดง ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน
ปาติโมกข์ที่ภิกษุเหล่านั้นยกขึ้นแสดงแล้ว เป็นอันยกขึ้นแสดงดีแล้ว พวกภิกษุผู้มา
ทีหลังพึงฟังอุทเทสที่เหลือ พวกภิกษุผู้ยกขึ้นแสดง ต้องอาบัติทุกกฏ (๒)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น มีภิกษุที่
อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้นรู้อยู่ว่า
“ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่” แต่ไม่แน่ใจว่า “พวกเราควรทำอุโบสถ
หรือไม่ควรทำ” ทำอุโบสถ ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง เมื่อภิกษุเหล่านั้นกำลังยก
ปาติโมกข์ขึ้นแสดง ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า
ปาติโมกข์ที่ภิกษุเหล่านั้นยกขึ้นแสดงแล้ว เป็นอันยกขึ้นแสดงดีแล้ว พวกภิกษุผู้มา
ทีหลังพึงฟังอุทเทสที่เหลือ พวกภิกษุผู้ยกขึ้นแสดง ต้องอาบัติทุกกฏ (๓)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น มีภิกษุที่
อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้นรู้อยู่ว่า


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๖๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๙๗. เวมติกปัณณรสกะ
“ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่” แต่ไม่แน่ใจว่า “พวกเราควรทำอุโบสถ
หรือไม่ควรทำ” ทำอุโบสถ ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง พอภิกษุเหล่านั้นยกปาติโมกข์
ขึ้นแสดงจบ ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ภิกษุ
เหล่านั้นพึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงใหม่ พวกภิกษุผู้ยกขึ้นแสดง ต้องอาบัติทุกกฏ (๔)
... พอภิกษุเหล่านั้นยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงจบ ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาส
พวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน ปาติโมกข์ที่ภิกษุเหล่านั้นยกขึ้นแสดงแล้ว เป็นอันยก
ขึ้นแสดงดีแล้ว พวกภิกษุผู้มาทีหลังพึงบอกปาริสุทธิในสำนักของภิกษุเหล่านั้น
พวกภิกษุผู้ยกขึ้นแสดง ต้องอาบัติทุกกฏ (๕)
... ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า ... (๖)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น มีภิกษุที่
อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้นรู้อยู่ว่า
“ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่” แต่ไม่แน่ใจว่า “พวกเราควรทำอุโบสถ
หรือไม่ควรทำ” ทำอุโบสถ ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง พอภิกษุเหล่านั้นยกปาติโมกข์
ขึ้นแสดงจบ บริษัทยังไม่ทันลุกขึ้น ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง
มีจำนวนมากกว่า ภิกษุเหล่านั้น พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงใหม่ พวกภิกษุผู้ยกขึ้น
แสดง ต้องอาบัติทุกกฏ (๗)
... พอภิกษุเหล่านั้นยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงจบ บริษัทยังไม่ทันลุกขึ้น ขณะนั้น
ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน ปาติโมกข์ที่ภิกษุเหล่านั้นยกขึ้น
แสดงแล้ว เป็นอันยกขึ้นแสดงดีแล้ว พวกภิกษุผู้มาทีหลังพึงบอกปาริสุทธิในสำนัก
ของภิกษุเหล่านั้น พวกภิกษุผู้ยกขึ้นแสดง ต้องอาบัติทุกกฏ (๘)
... ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า ... (๙)
... พอภิกษุเหล่านั้นยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงจบ บริษัทลุกขึ้นบางส่วน ขณะนั้น
ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ... (๑๐)
... ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน ... (๑๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๗๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๙๘. กุกกุจจปกตปัณณรสกะ
... ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า ... (๑๒)
... พอภิกษุเหล่านั้นยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงจบ บริษัทลุกขึ้นทั้งหมด ขณะนั้น
ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ... (๑๓)
... ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน ... (๑๔)
... ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า ... (๑๕)
เวมติกปัณณรสกะ จบ

๙๘. กุกกุจจปกตปัณณรสกะ
ว่าด้วยภิกษุกังวลใจทำอุโบสถ ๑๕ กรณี
[๑๗๕] ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น
มีภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุ
เหล่านั้นรู้อยู่ว่า “ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่” แต่กังวลใจทำ
อุโบสถยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงด้วยคิดว่า “พวกเราควรทำอุโบสถแท้ ไม่ใช่ไม่
ควรทำ” เมื่อภิกษุเหล่านั้นกำลังยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่
ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ภิกษุเหล่านั้นพึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง
ใหม่ พวกภิกษุผู้ยกขึ้นแสดง ต้องอาบัติทุกกฏ (๑)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น มี
ภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุ
เหล่านั้นรู้อยู่ว่า “ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่” แต่กังวลใจทำ
อุโบสถ ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงด้วยคิดว่า “พวกเราควรทำอุโบสถแท้ ไม่ใช่ไม่
ควรทำ” เมื่อภิกษุเหล่านั้น กำลังยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ใน
อาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน ปาติโมกข์ที่ภิกษุเหล่านั้นยกขึ้นแสดงแล้ว เป็น
อันยกขึ้นแสดงดีแล้ว พวกภิกษุผู้มาทีหลังพึงฟังอุทเทสที่เหลือ พวกภิกษุผู้ยกขึ้น
แสดง ต้องอาบัติทุกกฏ (๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๗๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๙๘. กุกกุจจปกตปัณณรสกะ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น มี
ภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุ
เหล่านั้นรู้อยู่ว่า “ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่” แต่กังวลใจทำ
อุโบสถ ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงด้วยคิดว่า “พวกเราควรทำอุโบสถแท้ ไม่ใช่ไม่
ควรทำ” เมื่อภิกษุเหล่านั้น กำลังยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ใน
อาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า ปาติโมกข์ที่ภิกษุเหล่านั้นยกขึ้นแสดงแล้ว
เป็นอันยกขึ้นแสดงดีแล้ว พวกภิกษุผู้มาทีหลังพึงฟังอุทเทสที่เหลือ พวกภิกษุผู้ยก
ขึ้นแสดง ต้องอาบัติทุกกฏ (๓)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น มี
ภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุ
เหล่านั้นรู้อยู่ว่า “ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่” แต่กังวลใจทำ
อุโบสถ ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงด้วยคิดว่า “พวกเราควรทำอุโบสถแท้ ไม่ใช่ไม่
ควรทำ” พอภิกษุเหล่านั้นยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงจบ ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ใน
อาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ภิกษุเหล่านั้นพึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงใหม่
พวกภิกษุผู้ยกขึ้นแสดง ต้องอาบัติทุกกฏ (๔)
... พอภิกษุเหล่านั้นยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงจบ ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ใน
อาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน ปาติโมกข์ที่ภิกษุเหล่านั้นยกขึ้นแสดงแล้ว
เป็นอันยกขึ้นแสดงดีแล้ว พวกภิกษุผู้มาทีหลังพึงบอกปาริสุทธิในสำนักของภิกษุ
เหล่านั้น พวกภิกษุผู้ยกขึ้นแสดง ต้องอาบัติทุกกฏ (๕)
... ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า ... (๖)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น มี
ภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุ
เหล่านั้นรู้อยู่ว่า “ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่” แต่กังวลใจทำ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๗๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๙๘. กุกกุจจปกตปัณณรสกะ
อุโบสถ ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงด้วยคิดว่า “พวกเราควรทำอุโบสถแท้ ไม่ใช่ไม่
ควรทำ” พอภิกษุเหล่านั้นยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงจบ บริษัทยังไม่ทันลุกขึ้น ขณะนั้น
ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ภิกษุเหล่านั้นพึงยกปาติโมกข์
ขึ้นแสดงใหม่ พวกภิกษุผู้ยกขึ้นแสดง ต้องอาบัติทุกกฏ (๗)
... พอภิกษุเหล่านั้นยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงจบ บริษัทยังไม่ทันลุกขึ้น ขณะนั้น
ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน ปาติโมกข์ที่ภิกษุเหล่านั้นยกขึ้น
แสดงแล้ว เป็นอันยกขึ้นแสดงดีแล้ว พวกภิกษุผู้มาทีหลังพึงบอกปาริสุทธิใน
สำนักของภิกษุเหล่านั้น พวกภิกษุผู้ยกขึ้นแสดง ต้องอาบัติทุกกฏ (๘)
... ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า ... (๙)
... พอภิกษุเหล่านั้นยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงจบ บริษัทลุกขึ้นบางส่วน ขณะนั้น
ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ... (๑๐)
... ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน ... (๑๑)
... ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า ... (๑๒)
... พอภิกษุเหล่านั้นยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงจบ บริษัทลุกขึ้นทั้งหมด ขณะนั้น
ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ... (๑๓)
... ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน ... (๑๔)
... ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า ... (๑๕)
กุกกุจจปกตปัณณรสกะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๗๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๙๙. เภทปุเรกขารปัณณรสกะ
๙๙. เภทปุเรกขารปัณณรสกะ
ว่าด้วยมุ่งทำความแตกร้าวทำอุโบสถ ๑๕ กรณี
[๑๗๖] ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น
มีภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้น
รู้อยู่ว่า “ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่” แต่มุ่งความแตกร้าวว่า
“ขอภิกษุเหล่านั้นจงเสื่อมสูญ จงพินาศ ภิกษุเหล่านั้นจะมีประโยชน์อะไร” ทำอุโบสถ
ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง เมื่อภิกษุเหล่านั้นกำลังยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ขณะนั้น
ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ภิกษุเหล่านั้นพึงยกปาติโมกข์
ขึ้นแสดงใหม่ พวกภิกษุผู้ยกขึ้นแสดง ต้องอาบัติถุลลัจจัย (๑)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น มีภิกษุที่
อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้นรู้อยู่ว่า
“ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่” แต่มุ่งความแตกร้าวว่า “ขอภิกษุ
เหล่านั้นจงเสื่อมสูญ จงพินาศ ภิกษุเหล่านั้นจะมีประโยชน์อะไร” ทำอุโบสถ
ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง เมื่อภิกษุเหล่านั้นกำลังยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ขณะนั้น ภิกษุที่
อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน ปาติโมกข์ที่ภิกษุเหล่านั้นยกขึ้น
แสดงแล้ว เป็นอันยกขึ้นแสดงดีแล้ว พวกภิกษุผู้มาทีหลังพึงฟังอุทเทสที่เหลือ
พวกภิกษุผู้ยกขึ้นแสดง ต้องอาบัติถุลลัจจัย (๒)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น มีภิกษุที่
อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้นรู้อยู่ว่า
“ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่” แต่มุ่งความแตกร้าวว่า “ขอภิกษุ
เหล่านั้นจงเสื่อมสูญ จงพินาศ ภิกษุเหล่านั้นจะมีประโยชน์อะไร” ทำอุโบสถ
ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง เมื่อภิกษุเหล่านั้นกำลังยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ขณะนั้น ภิกษุที่
อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า ปาติโมกข์ที่ภิกษุเหล่านั้นยกขึ้น
แสดงแล้ว เป็นอันยกขึ้นแสดงดีแล้ว พวกภิกษุผู้มาทีหลังพึงฟังอุทเทสที่เหลือ
พวกภิกษุผู้ยกขึ้นแสดง ต้องอาบัติถุลลัจจัย (๓)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๗๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๙๙. เภทปุเรกขารปัณณรสกะ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น มีภิกษุที่
อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้นรู้อยู่ว่า
“ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่” แต่มุ่งความแตกร้าวว่า “ขอภิกษุ
เหล่านั้นจงเสื่อมสูญ จงพินาศ ภิกษุเหล่านั้นจะมีประโยชน์อะไร” ทำอุโบสถ
ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง พอภิกษุเหล่านั้นยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงจบ ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่
ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ภิกษุเหล่านั้นพึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงใหม่
พวกภิกษุผู้ยกขึ้นแสดง ต้องอาบัติถุลลัจจัย (๔)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น มีภิกษุที่
อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้นรู้อยู่ว่า
“ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่” แต่มุ่งความแตกร้าวว่า “ขอภิกษุ
เหล่านั้นจงเสื่อมสูญ จงพินาศ ภิกษุเหล่านั้นจะมีประโยชน์อะไร” ทำอุโบสถ
ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง พอภิกษุเหล่านั้นยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงจบ ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่
ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน ปาติโมกข์ที่ภิกษุเหล่านั้นยกขึ้นแสดงแล้ว
เป็นอันยกขึ้นแสดงดีแล้ว พวกภิกษุผู้มาทีหลังพึงบอกปาริสุทธิในสำนักของภิกษุ
เหล่านั้น พวกภิกษุผู้ยกขึ้นแสดง ต้องอาบัติถุลลัจจัย (๕)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น มี
ภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุ
เหล่านั้นรู้อยู่ว่า “ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่” แต่มุ่งความ
แตกร้าวว่า “ขอภิกษุเหล่านั้นจงเสื่อมสูญ จงพินาศ ภิกษุเหล่านั้นจะมีประโยชน์
อะไร” ทำอุโบสถ ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง พอภิกษุเหล่านั้นยกปาติโมกข์ขึ้น
แสดงจบ ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า ปาติโมกข์
ที่ภิกษุเหล่านั้นยกขึ้นแสดงแล้ว เป็นอันยกขึ้นแสดงดีแล้ว พวกภิกษุผู้มาทีหลัง
พึงบอกปาริสุทธิในสำนักของภิกษุเหล่านั้น พวกภิกษุผู้ยกขึ้นแสดง ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย (๖)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น มี
ภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุ
เหล่านั้นรู้อยู่ว่า “ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่” แต่มุ่งความแตก


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๗๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๙๙. เภทปุเรกขารปัณณรสกะ
ร้าวว่า “ภิกษุเหล่านั้นจงเสื่อมสูญ จงพินาศ ภิกษุเหล่านั้นจะมีประโยชน์อะไร”
ทำอุโบสถ ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง พอภิกษุเหล่านั้นยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงจบ
บริษัทยังไม่ทันลุกขึ้น ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า
ภิกษุเหล่านั้นพึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงใหม่ พวกภิกษุผู้ยกขึ้นแสดง ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย (๗)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น มีภิกษุที่
อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้นรู้อยู่ว่า
“ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่” แต่มุ่งความแตกร้าวว่า “ขอภิกษุ
เหล่านั้นจงเสื่อมสูญ จงพินาศ ภิกษุเหล่านั้นจะมีประโยชน์อะไร” ทำอุโบสถ
ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง พอภิกษุเหล่านั้นยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงจบ บริษัทยังไม่ทัน
ลุกขึ้น ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน ปาติโมกข์ที่ภิกษุ
เหล่านั้นยกขึ้นแสดงแล้ว เป็นอันยกขึ้นแสดงดีแล้ว พวกภิกษุผู้มาทีหลังพึงบอก
ปาริสุทธิในสำนักของภิกษุเหล่านั้น พวกภิกษุผู้ยกขึ้นแสดง ต้องอาบัติถุลลัจจัย (๘)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น มีภิกษุที่
อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้นรู้อยู่ว่า
“ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่” แต่มุ่งความแตกร้าวว่า “ขอภิกษุ
เหล่านั้นจงเสื่อมสูญ จงพินาศ ภิกษุเหล่านั้นจะมีประโยชน์อะไร” ทำอุโบสถ
ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง พอภิกษุเหล่านั้นยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงจบ บริษัทยังไม่ทัน
ลุกขึ้น ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า ปาติโมกข์ที่
ภิกษุเหล่านั้นยกขึ้นแสดงแล้ว เป็นอันยกขึ้นแสดงดีแล้ว พวกภิกษุผู้มาทีหลังพึง
บอกปาริสุทธิในสำนักของภิกษุเหล่านั้น พวกภิกษุผู้ยกขึ้นแสดง ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย (๙)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น มีภิกษุที่
อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้นรู้อยู่ว่า
“ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่” แต่มุ่งความแตกร้าวว่า “ขอภิกษุ
เหล่านั้นจงเสื่อมสูญ จงพินาศ ภิกษุเหล่านั้นจะมีประโยชน์อะไร” ทำอุโบสถ
ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง พอภิกษุเหล่านั้นยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงจบ บริษัทลุกขึ้น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๗๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๙๙. เภทปุเรกขารปัณณรสกะ
บางส่วน ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ภิกษุ
เหล่านั้น พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงใหม่ พวกภิกษุผู้ยกขึ้นแสดง ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย (๑๐)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น มีภิกษุ
ที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้นรู้อยู่ว่า
“ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่” แต่มุ่งความแตกร้าวว่า “ขอภิกษุ
เหล่านั้นจงเสื่อมสูญ จงพินาศ ภิกษุเหล่านั้นจะมีประโยชน์อะไร” ทำอุโบสถ
ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง พอภิกษุเหล่านั้นยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงจบ บริษัทลุกขึ้นบ้าง
บางส่วน ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน ปาติโมกข์ที่
ภิกษุเหล่านั้นยกขึ้นแสดงแล้ว เป็นอันยกขึ้นแสดงดีแล้ว พวกภิกษุผู้มาทีหลังพึงบอก
ปาริสุทธิในสำนักของภิกษุเหล่านั้น พวกภิกษุผู้ยกขึ้นแสดง ต้องอาบัติถุลลัจจัย (๑๑)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น มีภิกษุที่
อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้นรู้อยู่ว่า
“ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่” แต่มุ่งความแตกร้าวว่า “ขอภิกษุ
เหล่านั้นจงเสื่อมสูญ จงพินาศ ภิกษุเหล่านั้นจะมีประโยชน์อะไร” ทำอุโบสถ
ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง พอภิกษุเหล่านั้นยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงจบ บริษัทลุกขึ้นบ้าง
บางส่วน ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า
ปาติโมกข์ที่ภิกษุเหล่านั้นยกขึ้นแสดงแล้ว เป็นอันยกขึ้นแสดงดีแล้ว พวกภิกษุผู้มาที
หลังพึงบอกปาริสุทธิในสำนักของภิกษุเหล่านั้น พวกภิกษุผู้ยกขึ้นแสดง ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย (๑๒)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น มีภิกษุที่
อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้นรู้อยู่ว่า
“ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่” แต่มุ่งความแตกร้าวว่า “ขอภิกษุ
เหล่านั้นจงเสื่อมสูญ จงพินาศ ภิกษุเหล่านั้นจะมีประโยชน์อะไร” ทำอุโบสถ
ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง พอภิกษุเหล่านั้นยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงจบ บริษัทลุกขึ้นทั้งหมด
ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ภิกษุเหล่านั้นพึงยก
ปาติโมกข์ขึ้นแสดงใหม่ พวกภิกษุผู้ยกขึ้นแสดง ต้องอาบัติถุลลัจจัย (๑๓)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๗๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๙๙. เภทปุเรกขารปัณณรสกะ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น มี
ภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุ
เหล่านั้นรู้อยู่ว่า “ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่” แต่มุ่งความแตก
ร้าวว่า “ขอภิกษุเหล่านั้นจงเสื่อมสูญ จงพินาศ ภิกษุเหล่านั้นจะมีประโยชน์อะไร”
ทำอุโบสถ ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง พอภิกษุเหล่านั้นยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงจบ
บริษัทลุกขึ้นทั้งหมด ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน
ปาติโมกข์ที่ภิกษุเหล่านั้น ยกขึ้นแสดงแล้ว เป็นอันยกขึ้นแสดงดีแล้ว พวกภิกษุผู้
มาทีหลัง พึงบอกปาริสุทธิในสำนักของภิกษุเหล่านั้น พวกภิกษุผู้ยกขึ้นแสดง
ต้องอาบัติถุลลัจจัย (๑๔)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น มี
ภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุ
เหล่านั้นรู้อยู่ว่า “ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่” แต่มุ่งความแตก
ร้าวว่า “ขอภิกษุเหล่านั้นจงเสื่อมสูญ จงพินาศ ภิกษุเหล่านั้นจะมีประโยชน์อะไร”
ทำอุโบสถ ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง พอภิกษุเหล่านั้นยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงจบ เมื่อ
บริษัทลุกขึ้นทั้งหมด ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า
ปาติโมกข์ที่ภิกษุเหล่านั้นยกขึ้นแสดงแล้ว เป็นอันยกขึ้นแสดงดีแล้ว พวกภิกษุผู้
มาทีหลังพึงบอกปาริสุทธิในสำนักของภิกษุเหล่านั้น พวกภิกษุผู้ยกขึ้นแสดง ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย (๑๕)
เภทปุเรกขารปัณณรสกะ จบ
ปัญจวีสติติกะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๗๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๑๐๐. สีโมกกันติกเปยยาล
๑๐๐. สีโมกกันติกเปยยาล
ว่าด้วยการละข้อความเกี่ยวกับภิกษุเข้าสู่สีมา

เปยยาลมุข ๗๐๐ ติกะ
[๑๗๗] ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น มีภิกษุ
ที่อยู่ในอาวาสหลายรูป
๑. ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง
๒. ภิกษุเหล่านั้นไม่รู้ว่า “มีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นกำลังเข้ามาภาย
ในสีมา ...”
๓. ... ภิกษุเหล่านั้นไม่รู้ว่า “มีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นเข้ามาภายใน
สีมาแล้ว ...”
๔. ... ภิกษุเหล่านั้นไม่เห็นภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นกำลังเข้ามาภาย
ในสีมา ...
๕. ... ภิกษุเหล่านั้นไม่เห็นภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นเข้ามาภายในสีมา
แล้ว ...
๖. ... ภิกษุเหล่านั้นไม่ได้ยินว่า “ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นกำลังเข้ามา
ภายในสีมา ...”
๗. ... ภิกษุเหล่านั้นไม่ได้ยินว่า “ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นเข้ามาภาย
ในสีมาแล้ว ...”
โดยนัย ๑๗๕ ติกะ
๑. ภิกษุที่อยู่ในอาวาสกับภิกษุที่อยู่ในอาวาส
๒. ภิกษุอาคันตุกะกับภิกษุที่อยู่ในอาวาส
๓. ภิกษุที่อยู่ในอาวาสกับภิกษุอาคันตุกะ
๔. ภิกษุอาคันตุกะกับภิกษุอาคันตุกะ
รวมเป็น ๗๐๐ ติกะ โดยเปยยาลมุข๑

เชิงอรรถ :
๑ นำเลข ๗ คือ ภิกษุประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้างเป็นต้นไปคูณ ๒๕ ติกะ ในข้อ ๑๗๖ เท่ากับ
๑๗๕ ติกะ แล้วนำเลข ๔ คือ ภิกษุที่อยู่ในอาวาสกับภิกษุที่อยู่ในอาวาสเป็นต้นไปคูณ ๑๗๕ ติกะ เท่ากับ
๗๐๐ ติกะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๗๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๑๐๐. สีโมกกันติกเปยยาล
[๑๗๘] ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ วันอุโบสถของพวกภิกษุที่อยู่ในอาวาส
เป็นวัน ๑๔ ค่ำ ของพวกภิกษุอาคันตุกะเป็นวัน ๑๕ ค่ำ ถ้าพวกภิกษุที่อยู่ในอาวาส
มีจำนวนมากกว่า พวกภิกษุอาคันตุกะพึงอนุวัตตามพวกภิกษุที่อยู่ในอาวาส
ถ้ามีจำนวนเท่ากัน พวกภิกษุอาคันตุกะ พึงอนุวัตตามพวกภิกษุที่อยู่ในอาวาส
ถ้าพวกภิกษุอาคันตุกะมีจำนวนมากกว่า พวกภิกษุที่อยู่ในอาวาสพึงอนุวัตตามพวก
ภิกษุอาคันตุกะ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ วันอุโบสถของพวกภิกษุที่อยู่ในอาวาส
เป็นวัน ๑๕ ค่ำ ของพวกภิกษุอาคันตุกะเป็นวัน ๑๔ ค่ำ ถ้าพวกภิกษุที่อยู่ในอาวาส
มีจำนวนมากกว่า พวกภิกษุอาคันตุกะพึงอนุวัตตามพวกภิกษุที่อยู่ในอาวาส
ถ้ามีจำนวนเท่ากัน พวกภิกษุอาคันตุกะพึงอนุวัตตามพวกภิกษุที่อยู่ในอาวาส
ถ้าพวกภิกษุอาคันตุกะมีจำนวนมากกว่า พวกภิกษุที่อยู่ในอาวาสพึงอนุวัตตามพวก
ภิกษุอาคันตุกะ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ วันอุโบสถของพวกภิกษุที่อยู่ในอาวาส
เป็นวัน ๑ ค่ำ ของพวกภิกษุอาคันตุกะเป็นวัน ๑๕ ค่ำ ถ้าพวกภิกษุที่อยู่ในอาวาส
มีจำนวนมากกว่า พวกภิกษุที่อยู่ในอาวาสไม่ปรารถนา ก็ไม่พึงให้ความพร้อม
เพรียงแก่พวกภิกษุอาคันตุกะ พวกภิกษุอาคันตุกะพึงไปนอกสีมาทำอุโบสถเถิด
ถ้ามีจำนวนเท่ากัน พวกภิกษุที่อยู่ในอาวาสไม่ปรารถนาก็ไม่พึงให้ความพร้อม
เพรียงแก่พวกภิกษุอาคันตุกะ พวกภิกษุอาคันตุกะพึงไปนอกสีมาทำอุโบสถเถิด
ถ้าพวกภิกษุอาคันตุกะมีจำนวนมากกว่า พวกภิกษุที่อยู่ในอาวาสพึงให้ความพร้อม
เพรียงแก่พวกภิกษุอาคันตุกะหรือไปนอกสีมา
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ วันอุโบสถของพวกภิกษุที่อยู่ในอาวาส
เป็นวัน ๑๕ ค่ำ ของพวกภิกษุอาคันตุกะเป็นวัน ๑ ค่ำ ถ้าพวกภิกษุที่อยู่ในอาวาส
มีจำนวนมากกว่า พวกภิกษุอาคันตุกะ พึงให้ความพร้อมเพรียงแก่ภิกษุที่อยู่ใน
อาวาส หรือไปนอกสีมา ถ้ามีจำนวนเท่ากัน พวกภิกษุอาคันตุกะพึงให้ความ
พร้อมเพรียงแก่ภิกษุที่อยู่ในอาวาสหรือไปนอกสีมา ถ้าพวกภิกษุอาคันตุกะมีจำนวน
มากกว่า พวกภิกษุอาคันตุกะไม่ปรารถนาก็ไม่พึงให้ความพร้อมเพรียงแก่พวกภิกษุ
ที่อยู่ในอาวาส พวกภิกษุที่อยู่ในอาวาสพึงไปนอกสีมาทำอุโบสถเถิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๘๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๑๐๑. ลิงคาทิทัสสนะ
๑๐๑. ลิงคาทิทัสสนะ
ว่าด้วยการเห็นลักษณะเป็นต้น
[๑๗๙] ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ พวกภิกษุอาคันตุกะได้เห็นอาการของ
ภิกษุที่อยู่ในอาวาส๑ ลักษณะของภิกษุที่อยู่ในอาวาส๒ เครื่องหมายของภิกษุที่อยู่
ในอาวาส๓ สิ่งส่อแสดงภิกษุที่อยู่ในอาวาส๔ของพวกภิกษุที่อยู่ในอาวาส เตียง ตั่ง
ฟูก หมอน น้ำฉัน น้ำใช้ จัดไว้ดี บริเวณกวาดสะอาด ครั้นแล้ว ไม่แน่ใจว่า
“มีพวกภิกษุที่อยู่ในอาวาสอยู่หรือไม่มีหนอ”
ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจแต่ไม่ค้นหา ทำอุโบสถ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจจึงค้นหา แต่ไม่พบ ทำอุโบสถ ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจจึงค้นหาจนพบ ทำอุโบสถร่วมกัน ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจจึงค้นหาจนพบ แยกกันทำอุโบสถ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจจึงค้นหาจนพบ มุ่งความแตกร้าวว่า “ขอภิกษุเหล่านั้น
จงเสื่อมสูญ จงพินาศ ภิกษุเหล่านั้นจะมีประโยชน์อะไร” ทำอุโบสถ ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ พวกภิกษุอาคันตุกะได้ยินอาการของภิกษุที่
อยู่ในอาวาส ลักษณะของภิกษุที่อยู่ในอาวาส เครื่องหมายของภิกษุที่อยู่ในอาวาส
สิ่งส่อแสดงภิกษุที่อยู่ในอาวาสของพวกภิกษุที่อยู่ในอาวาส ได้ยินเสียงเท้าของพวก
ภิกษุที่อยู่ในอาวาสกำลังจงกรม เสียงสาธยาย เสียงไอ เสียงจาม ครั้นแล้ว ไม่
แน่ใจว่า “มีพวกภิกษุที่อยู่ในอาวาสอยู่หรือไม่มีหนอ”

เชิงอรรถ :
๑ อาการ หมายถึงอาจารสัณฐาน คือมีอาจาระ ซึ่งทำให้รู้ว่ามีข้อวัตรมั่นคง เช่นจัดเครื่องเสนาสนะมีเตียง
ตั่งเป็นต้นไว้เรียบร้อยดี
๒ ลิงค์ หมายถึงเครื่องเสนาสนะมีเตียงตั่งเป็นต้นที่จัดไว้เรียบร้อยดี ซึ่งทำให้รู้ว่า มีภิกษุหลีกเร้นอยู่ แม้จะ
ไม่ปรากฏกายให้เห็นก็ตาม
๓ นิมิต หมายถึงเครื่องเสนาสนะมีเตียงตั่งเป็นต้นที่จัดไว้เรียบร้อยดี ซึ่งพอเห็นแล้วเป็นเหตุให้กำหนดรู้ได้ว่า
“มีภิกษุทั้งหลายอยู่”
๔ อุทเทส หมายถึงเครื่องเสนาสนะมีเตียงตั่งเป็นต้นที่จัดไว้เรียบร้อยดี ซึ่งเป็นเหตุให้อ้างได้ว่า “ภิกษุเหล่านั้น
มีบริขารอย่างนี้” (วิ.อ. ๓/๑๗๙/๑๔๒, สารตฺถ.ฏีกา ๓/๑๗๙/๓๔๐, ปาจิตฺยาทิโยชนา ๑๗๙/๓๑๓ ม.)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๘๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๑๐๑. ลิงคาทิทัสสนะ
ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจแต่ไม่ค้นหา ทำอุโบสถ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจจึงค้นหา แต่ไม่พบ ทำอุโบสถ ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจจึงค้นหาจนพบ ทำอุโบสถร่วมกัน ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจจึงค้นหาจนพบ แยกกันทำอุโบสถ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจจึงค้นหาจนพบ มุ่งความแตกร้าวว่า “ขอภิกษุเหล่านั้น
จงเสื่อมสูญ จงพินาศ ภิกษุเหล่านั้นจะมีประโยชน์อะไร” ทำอุโบสถ ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ พวกภิกษุที่อยู่ในอาวาสได้เห็นอาการของ
พวกภิกษุอาคันตุกะ ลักษณะของพวกภิกษุอาคันตุกะ เครื่องหมายของพวกภิกษุ
อาคันตุกะ สิ่งส่อแสดงพวกภิกษุอาคันตุกะของพวกภิกษุอาคันตุกะ ได้เห็นบาตร
จีวร ผ้านิสีทนะ รอยน้ำล้างเท้าอันเป็นของภิกษุพวกอื่น ครั้นแล้ว ไม่แน่ใจว่า
“มีพวกภิกษุอาคันตุกะอยู่หรือไม่มีหนอ”
ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจแต่ไม่ค้นหา ทำอุโบสถ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจจึงค้นหา แต่ไม่พบ ทำอุโบสถ ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจจึงค้นหาจนพบ ทำอุโบสถร่วมกัน ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจจึงค้นหาจนพบ แยกกันทำอุโบสถ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจจึงค้นหาจนพบ มุ่งความแตกร้าวว่า “ขอภิกษุเหล่านั้น
จงเสื่อมสูญ จงพินาศ ภิกษุเหล่านั้นจะมีประโยชน์อะไร” ทำอุโบสถ ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ พวกภิกษุที่อยู่ในอาวาสได้ยินอาการของ
พวกภิกษุอาคันตุกะ ลักษณะของพวกภิกษุอาคันตุกะ เครื่องหมายของพวกภิกษุ
อาคันตุกะ สิ่งส่อแสดงพวกภิกษุอาคันตุกะของพวกภิกษุอาคันตุกะ ได้ยินเสียงเท้า
ของพวกภิกษุอาคันตุกะกำลังเดินมา เสียงรองเท้ากระทบพื้น เสียงไอ เสียงจาม
ครั้นแล้ว ไม่แน่ใจว่า “มีพวกภิกษุอาคันตุกะอยู่หรือไม่มีหนอ”
ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจแต่ไม่ค้นหา ทำอุโบสถ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจจึงค้นหา แต่ไม่พบ ทำอุโบสถ ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจจึงค้นหาจนพบ ทำอุโบสถร่วมกัน ไม่ต้องอาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๘๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๑๐๒. นานาสังวาสกาทิอุปสถกรณะ
ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจจึงค้นหาจนพบ แยกกันทำอุโบสถ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจจึงค้นหาจนพบ มุ่งความแตกร้าวว่า “ขอภิกษุเหล่านั้น
จงเสื่อมสูญ จงพินาศ ภิกษุเหล่านั้นจะมีประโยชน์อะไร” ทำอุโบสถ ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย

๑๐๒. นานาสังวาสกาทิอุโปสถกรณะ
ว่าด้วยภิกษุเป็นนานาสังวาสเป็นต้นทำอุโบสถ
[๑๘๐] ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ พวกภิกษุอาคันตุกะเห็นพวกภิกษุที่อยู่ใน
อาวาสผู้เป็นนานาสังวาส๑เข้าใจว่าเป็นสมานสังวาส ไม่ไต่ถาม ทำอุโบสถร่วมกัน
ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุอาคันตุกะเหล่านั้นไต่ถามแล้วไม่รังเกียจ ทำอุโบสถร่วมกัน ต้องอาบัติ
ทุกกฏ
ภิกษุอาคันตุกะเหล่านั้นไต่ถามแล้วไม่รังเกียจ แยกกันทำอุโบสถ ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ พวกภิกษุอาคันตุกะเห็นพวกภิกษุที่อยู่ใน
อาวาสผู้เป็นสมานสังวาส เข้าใจว่าเป็นนานาสังวาส ไม่ไต่ถาม ทำอุโบสถร่วมกัน
ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุอาคันตุกะเหล่านั้นไต่ถามแล้วรังเกียจ แยกกันทำอุโบสถ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุอาคันตุกะเหล่านั้นไต่ถามแล้วรังเกียจ ทำอุโบสถร่วมกัน ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ พวกภิกษุที่อยู่ในอาวาสเห็นพวกภิกษุอาคันตุกะ
ผู้เป็นนานาสังวาส เข้าใจว่าเป็นสมานสังวาส ไม่ไต่ถาม ทำอุโบสถร่วมกัน ไม่ต้อง
อาบัติ

เชิงอรรถ :
๑ ภิกษุผู้เป็นนานาสังวาสคือมีสังวาสต่างกันหรือต่างพวกกัน มี ๒ กลุ่ม คือ เป็นนานาสังวาสเพราะลัทธิ
เช่นประพฤติตามภิกษุที่ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมและเป็นนานาสังวาสเพราะกรรมเช่นถูกลงอุกเขปนียกรรม
เป็นต้น (วิ.อ. ๓/๔๒๙/๕๑๘, สารตฺถ.ฏีกา ๓/๓๘๐/๔๑๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๘๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๑๐๓. นคันตัพพวาร
ภิกษุที่อยู่ในอาวาสเหล่านั้นไต่ถามแล้วไม่รังเกียจ ทำอุโบสถร่วมกัน ต้อง
อาบัติทุกกฏ
ภิกษุที่อยู่ในอาวาสเหล่านั้นไต่ถามแล้วไม่รังเกียจ แยกกันทำอุโบสถ ไม่ต้อง
อาบัติ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ พวกภิกษุที่อยู่ในอาวาสเห็นพวกภิกษุ
อาคันตุกะผู้เป็นสมานสังวาส เข้าใจว่าเป็นนานาสังวาสไม่ไต่ถาม ทำอุโบสถร่วม
กัน ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุที่อยู่ในอาวาสเหล่านั้นไต่ถามแล้วรังเกียจ แยกกันทำอุโบสถ ต้องอาบัติ
ทุกกฏ
ภิกษุที่อยู่ในอาวาสเหล่านั้นไต่ถามแล้วรังเกียจ ทำอุโบสถร่วมกัน ไม่ต้องอาบัติ

๑๐๓. นคันตัพพวาร
ว่าด้วยสถานที่ไม่ควรไปในวันอุโบสถ
[๑๘๑] ภิกษุทั้งหลาย ในวันอุโบสถนั้น ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ๑ ไปสู่
อาวาสที่ไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับสงฆ์๒ เว้นแต่มีอันตราย
ภิกษุทั้งหลาย ในวันอุโบสถนั้น ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุไปสู่สถานที่
มิใช่อาวาส๓ซึ่งไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับสงฆ์ เว้นแต่มีอันตราย
ภิกษุทั้งหลาย ในวันอุโบสถนั้น ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุไปสู่อาวาส
หรือสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับสงฆ์ เว้นแต่มีอันตราย

เชิงอรรถ :
๑ อาวาสที่มีภิกษุ หมายถึงในอาวาสใด มีภิกษุพอที่จะทำอุโบสถอยู่ ไม่พึงออกจากอาวาสนั้นไปสู่อาวาส
ที่ไม่มีภิกษุพอที่จะทำอุโบสถ (วิ.อ. ๓/๑๘๑/๑๔๓)
๒ ไปกับสงฆ์ หมายถึงไปกับภิกษุทั้งหลายที่มีจำนวนครบองค์สงฆ์ คือ ไปกับภิกษุอื่น ๆ รวมกับตัวภิกษุ
นั้นเองเป็น ๔ รูปเป็นอย่างน้อย (วิ.อ. ๓/๑๘๑/๑๔๓)
๓ สถานที่มิใช่อาวาส หมายถึงสถานที่ไม่มีสิ่งก่อสร้างและศาลาเป็นต้น (วิ.อ. ๓/๑๘๑/๑๔๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๘๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๑๐๓. นคันตัพพวาร
ภิกษุทั้งหลาย ในวันอุโบสถนั้น ไม่พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ
ไปสู่อาวาสที่ไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับสงฆ์ เว้นแต่มีอันตราย
ภิกษุทั้งหลาย ในวันอุโบสถนั้น ไม่พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ
ไปสู่สถานที่มิใช่อาวาสซึ่งไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับสงฆ์ เว้นแต่มีอันตราย
ภิกษุทั้งหลาย ในวันอุโบสถนั้น ไม่พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ
ไปสู่อาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับสงฆ์ เว้นแต่มีอันตราย
ภิกษุทั้งหลาย ในวันอุโบสถนั้น ไม่พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาส
ซึ่งมีภิกษุไปสู่อาวาสที่ไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับสงฆ์ เว้นแต่มีอันตราย
ภิกษุทั้งหลาย ในวันอุโบสถนั้น ไม่พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาส
ซึ่งมีภิกษุไปสู่สถานที่มิใช่อาวาสซึ่งไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับสงฆ์ เว้นแต่มีอันตราย
ภิกษุทั้งหลาย ในวันอุโบสถนั้น ไม่พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาส
ซึ่งมีภิกษุไปสู่อาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับสงฆ์ เว้นแต่
มีอันตราย
ภิกษุทั้งหลาย ในวันอุโบสถนั้น ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุไปสู่อาวาสที่มี
ภิกษุ แต่เป็นที่อยู่ของพวกภิกษุผู้เป็นนานาสังวาส เว้นแต่ไปกับสงฆ์ เว้นแต่มี
อันตราย
ภิกษุทั้งหลาย ในวันอุโบสถนั้น ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุไปสู่สถานที่
มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ แต่เป็นที่อยู่ของพวกภิกษุผู้เป็นนานาสังวาส เว้นแต่ไปกับสงฆ์
เว้นแต่มีอันตราย
ภิกษุทั้งหลาย ในวันอุโบสถนั้น ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุไปสู่อาวาส
หรือสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ แต่เป็นที่อยู่ของพวกภิกษุผู้เป็นนานาสังวาส
เว้นแต่ไปกับสงฆ์ เว้นแต่มีอันตราย
ภิกษุทั้งหลาย ในวันอุโบสถนั้น ไม่พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ
ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นที่อยู่ของพวกภิกษุผู้เป็นนานาสังวาส เว้นแต่ไปกับสงฆ์
เว้นแต่มีอันตราย

 


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๘๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๑๐๔. คันตัพพวาร
ภิกษุทั้งหลาย ในวันอุโบสถนั้น ไม่พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ
ไปสู่สถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ แต่เป็นที่อยู่ของพวกภิกษุผู้เป็นนานาสังวาส
เว้นแต่ไปกับสงฆ์ เว้นแต่มีอันตราย
ภิกษุทั้งหลาย ในวันอุโบสถนั้น ไม่พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ
ไปสู่อาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ แต่เป็นที่อยู่ของพวกภิกษุผู้เป็นนานาสังวาส
เว้นแต่ไปกับสงฆ์ เว้นแต่มีอันตราย
ภิกษุทั้งหลาย ในวันอุโบสถนั้น ไม่พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาส
ซึ่งมีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นที่อยู่ของพวกภิกษุผู้เป็นนานาสังวาส
เว้นแต่ไปกับสงฆ์ เว้นแต่มีอันตราย
ภิกษุทั้งหลาย ในวันอุโบสถนั้น ไม่พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาส
ซึ่งมีภิกษุไปสู่สถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ แต่เป็นที่อยู่ของพวกภิกษุผู้เป็น
นานาสังวาส เว้นแต่ไปกับสงฆ์ เว้นแต่มีอันตราย
ภิกษุทั้งหลาย ในวันอุโบสถนั้น ไม่พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาส
ซึ่งมีภิกษุไปสู่อาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ แต่เป็นที่อยู่ของพวกภิกษุ
ผู้เป็นนานาสังวาส เว้นแต่ไปกับสงฆ์ เว้นแต่มีอันตราย

๑๐๔. คันตัพพวาร
ว่าด้วยสถานที่ควรไปในวันอุโบสถ
[๑๘๒] ภิกษุทั้งหลาย ในวันอุโบสถนั้น พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุไปสู่
อาวาสที่มีภิกษุ ซึ่งเป็นที่อยู่ของพวกภิกษุผู้เป็นสมานสังวาส ซึ่งตนเองรู้ว่า “เรา
สามารถไปถึงในวันนี้แหละ”
ภิกษุทั้งหลาย ในวันอุโบสถนั้น พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุไปสู่สถานที่มิใช่
อาวาสซึ่งมีภิกษุ ฯลฯ ไปสู่อาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ ซึ่งเป็นที่อยู่
ของพวกภิกษุผู้เป็นสมานสังวาส ซึ่งตนเองรู้ว่า “เราสามารถไปถึงในวันนี้แหละ”
ภิกษุทั้งหลาย ในวันอุโบสถนั้น พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุไปสู่
อาวาสที่มีภิกษุ ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๘๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๑๐๕. วัชชนียปุคคลสันทัสสนา
... ไปสู่สถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ ...
... ไปสู่อาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ ซึ่งเป็นที่อยู่ของพวกภิกษุผู้
เป็นสมานสังวาส ซึ่งตนเองรู้ว่า “เราสามารถไปถึงในวันนี้แหละ”
ภิกษุทั้งหลาย ในวันอุโบสถนั้น พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาส
ซึ่งมีภิกษุไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ ...
... ไปสู่สถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ ...
... ไปสู่อาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ ซึ่งเป็นที่อยู่ของพวกภิกษุผู้
เป็นสมานสังวาส ซึ่งตนเองรู้ว่า “เราสามารถไปถึงในวันนี้แหละ”

๑๐๕. วัชชนียปุคคลสันทัสสนา
ว่าด้วยการแสดงบุคคลที่ควรเว้นในอุโบสถกรรม
[๑๘๓] ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงในบริษัทที่มีภิกษุณีนั่ง
อยู่ด้วย รูปใดยกขึ้นแสดง ต้องอาบัติทุกกฏ
... ในบริษัทที่มีสิกขมานานั่งอยู่ด้วย ...
... ในบริษัทที่มีสามเณรนั่งอยู่ด้วย ...
... ในบริษัทที่มีสามเณรีนั่งอยู่ด้วย ...
... ในบริษัทที่มีภิกษุผู้บอกคืนสิกขานั่งอยู่ด้วย ...
ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงในบริษัทที่มีภิกษุต้องอันติมวัตถุ๑
นั่งอยู่ด้วย รูปใดยกขึ้นแสดง ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงในบริษัทที่มีภิกษุถูกสงฆ์ลงอุกเขปนีย
กรรมเพราะไม่เห็นอาบัตินั่งอยู่ด้วย รูปใดยกขึ้นแสดง พึงปรับอาบัติตามธรรม
... ในบริษัทที่มีภิกษุถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัตินั่งอยู่ด้วย ...
ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงในบริษัททที่มีภิกษุถูกสงฆ์ลงอุกเขปนีย
กรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาปนั่งอยู่ด้วย รูปใดยกขึ้นแสดง พึงปรับอาบัติตามธรรม

เชิงอรรถ :
๑ ภิกษุต้องอันติมวัตถุ หมายถึงภิกษุผู้ต้องอาบัติปาราชิก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๘๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๑๐๕. วัชชนียปุคคลสันทัสสนา
ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงในบริษัทที่มีบัณเฑาะก์นั่งอยู่ด้วย
รูปใดยกขึ้นแสดง ต้องอาบัติทุกกฏ
... ในบริษัทที่มีคนลักเพศนั่งอยู่ด้วย ...
... ในบริษัทที่มีภิกษุเข้ารีตเดียรถีย์นั่งอยู่ด้วย ...
... ในบริษัทที่มีสัตว์ดิรัจฉานอยู่ด้วย๑ ...
... ในบริษัทที่มีคนฆ่ามารดานั่งอยู่ด้วย ...
... ในบริษัทที่มีคนฆ่าบิดานั่งอยู่ด้วย ...
... ในบริษัทที่มีคนฆ่าพระอรหันต์นั่งอยู่ด้วย ...
... ในบริษัทที่มีคนประทุษร้ายภิกษุณีนั่งอยู่ด้วย ...
... ในบริษัทที่มีภิกษุผู้ทำลายสงฆ์นั่งอยู่ด้วย ...
... ในบริษัทที่มีคนทำร้ายพระศาสดาจนห้อพระโลหิตนั่งอยู่ด้วย ...
ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงในบริษัทที่มีอุภโตพยัญชนกนั่งอยู่
ด้วย รูปใดยกขึ้นแสดง ต้องอาบัติทุกกฏ

เรื่องปาริวาสิกปาริสุทธิ
ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงทำอุโบสถด้วยการให้ปาริวาสิกปาริสุทธิ๒ เว้นแต่บริษัท
ยังไม่ลุกขึ้น ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ไม่พึงทำอุโบสถในวันมิใช่วันอุโบสถ เว้นแต่วันที่
สงฆ์สามัคคี
ภาณวารที่ ๓ จบ
อุโปสถขันธกะ ที่ ๒ จบ
ในขันธกะนี้ มี ๘๖ เรื่อง

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงสัตว์ดิรัจฉานที่พระผู้มีพระภาคทรงห้ามอุปสมบท (วิ.สงฺคห.๒๔๕, กงฺขา.อ. ๑๑๖)
๒ ปาริวาสิกปาริสุทธิ ให้ปาริสุทธิค้าง หมายถึงภิกษุทั้งหลายนั่งประชุมกันด้วยประสงค์จะทำอุโบสถ ขณะ
นั้นเอง ได้มีภิกษุรูปหนึ่งกล่าวว่า “วันนี้ ไม่ควรทำอุโบสถ เพราะฤกษ์ไม่ดี” ดังนี้เป็นต้น ภิกษุทั้งหลาย
จึงสละเลิกปาริสุทธิแล้วลุกขึ้น มีภิกษุรูปหนึ่งกล่าวว่า “ประโยชน์ได้ล่วงเลยบุคคลผู้มัวแต่รอฤกษ์ ยามอยู่
พวกท่านจะได้ประโยชน์อะไรจากดวงดาว” ภิกษุทั้งหลายจึงตกลงจะทำสังฆกรรมต่อไป โดยไม่ต้อง นำ
ปาริสุทธิมาใหม่ อย่างนี้ไม่สมควร เพราะปาริสุทธิที่ให้ไว้ก่อน เป็น “ปาริวาสิกปาริสุทธิ” แปลว่า
ปาริสุทธิค้าง ปาริสุทธิที่ให้แล้วแต่งดไว้ก่อน (ดู กงฺขา.อ. ๔๐๓-๔๐๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๘๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๑๐๖. รวมเรื่องที่มีในอุโปสถขันธกะ
๑๐๖. รวมเรื่องที่มีในอุโปสถขันธกะ
เรื่องปริพาชกอัญเดียรถีย์ เรื่องพระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐ
เรื่องภิกษุประชุมนั่งนิ่ง เรื่องทรงอนุญาตให้กล่าวธรรมในวันประชุม
เรื่องพระผู้มีพระภาคทรงหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด
เรื่องยกพระปาติโมกข์ขึ้นแสดงทุกวัน
เรื่องทรงอนุญาตให้ยกพระปาติโมกข์ขึ้นแสดงปักษ์ละครั้ง
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ยกพระปาติโมกข์ขึ้นแสดงในบริษัทเท่าที่มี
เรื่องทรงอนุญาตให้ยกพระปาติโมกข์ขึ้นแสดงแก่ภิกษุผู้พร้อมเพรียงกัน
เรื่องทรงอนุญาตความพร้อมเพรียงกำหนดเขตอาวาสเดียว
เรื่องมัททกุจฉิมฤคทายวัน เรื่องทรงอนุญาตให้สมมติสีมาและนิมิตสีมา
เรื่องสมมติสีมาใหญ่เกินขนาด เรื่องสมมตินทีปารสีมา
เรื่องยกพระปาติโมกข์ขึ้นแสดงตามบริเวณวิหาร
เรื่องสมมติโรงอุโบสถ ๒ แห่งในอาวาสเดียวกัน
เรื่องสมมติโรงอุโบสถเล็กเกินไป
เรื่องภิกษุผู้นวกะลงประชุมก่อน เรื่องกรุงราชคฤห์
เรื่องสมมติแดนไม่อยู่ปราศจากไตรจีวร
เรื่องสมมติสมานสังวาสสีมาก่อน
เรื่องถอนสมานสังวาสสีมาภายหลัง
เรื่องคามสีมาที่ไม่ได้สมมติ เรื่องอุทกุกเขปสีมาในแม่น้ำ
เรื่องอุทกุกเขปสีมาในสมุทร เรื่องอุทกุกเขปสีมาในชาตสระ
เรื่องสีมาสังกระกัน เรื่องสมมติสีมาทับสีมา
เรื่องประเภทแห่งวันอุโบสถ เรื่องประเภทการทำอุโบสถ
เรื่องประเภทแห่งปาติโมกขุทเทส
เรื่องทรงอนุญาตให้ยกพระปาติโมกข์ขึ้นแสดงโดยย่อเมื่อ
ชาวป่ามาพลุกพล่าน
เรื่องอันตราย ๑๐ ประการ
เรื่องทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้เถระแสดงธรรมโดยไม่ต้องได้รับอาราธนา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๘๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๑๐๖. รวมเรื่องที่มีในอุโปสถขันธกะ
เรื่องถามพระวินัยท่ามกลางสงฆ์ต้องได้รับสมมติก่อน
เรื่องคุกคามจะฆ่า เรื่องพระฉัพพัคคีย์วิสัชนาพระวินัย
เรื่องโจทด้วยอาบัติ เรื่องขอโอกาสก่อนโจท
เรื่องทรงอนุญาตให้คัดค้านกรรมที่ไม่ชอบธรรม
เรื่องภิกษุ ๔-๕ รูปแสดงความเห็นแย้ง
เรื่องแกล้งยกพระปาติโมกข์ขึ้นแสดงไม่ให้ได้ยิน
เรื่องพยายามยกพระปาติโมกข์ขึ้นแสดง
เรื่องยกพระปาติโมกข์ขึ้นแสดงในบริษัทที่มีคฤหัสถ์
เรื่องยกพระปาติโมกข์ขึ้นแสดงโดยไม่ได้รับอาราธนา
เรื่องภิกษุชาวเมืองโจทนาวัตถุไม่รู้จักอุโบสถ
เรื่องภิกษุมากรูปไม่รู้จักอุโบสถ เรื่องส่งภิกษุไปเรียน
พระปาติโมกข์ยังอาวาสใกล้เคียงพอจะกลับมาทันในวันนั้น
เรื่องภิกษุผู้นวกะไม่ยอมไปเรียนพระปาติโมกข์
เรื่องวิธีการนับปักษ์ เรื่องทรงอนุญาตให้นับภิกษุในวันอุโบสถ
เรื่องไปบิณฑบาตยังบ้านไกล เรื่องนึกไม่ได้
เรื่องบุพพกรณ์และบุพพกิจในโรงอุโบสถ
เรื่องปูอาสนะและตามประทีปเป็นต้น เรื่องภิกษุจะไปไหนต้องบอกลาก่อน
เรื่องควรสงเคราะห์ภิกษุผู้เป็นพหูสูต
เรื่องส่งภิกษุไปเรียนพระปาติโมกข์ยังอาวาสใกล้เคียงพอจะกลับมา
ทันในวันนั้น เรื่องเข้าพรรษาในอาวาสที่มีภิกษุพอจะยก
พระปาติโมกข์ขึ้นแสดงได้
เรื่องการทำอุโบสถ
เรื่องมอบปาริสุทธิ เรื่องทำกรรมที่จะต้องทำ เรื่องพวกญาติ
เรื่องภิกษุคัคคะ เรื่องภิกษุ ๔ รูป ๓ รูป ๒ รูป และ ๑ รูป
ทำอุโบสถ ๓ อย่างตามลำดับ
เรื่องแสดงอาบัติก่อนทำอุโบสถ เรื่องแสดงสภาคาบัติ
เรื่องระลึกอาบัติได้เมื่อยกพระปาติโมกข์ขึ้นแสดง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๙๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๑๐๖. รวมเรื่องที่มีในอุโปสถขันธกะ
เรื่องสงฆ์ทั้งหมดต้องสภาคาบัติและไม่แน่ใจ
เรื่องไม่รู้ชื่อและโคตรอาบัติ เรื่องภิกษุพหูสูต
เรื่องภิกษุมามากกว่า มาเท่ากัน และมาน้อยกว่า
เรื่องบริษัทยังไม่ทันลุกขึ้น
เรื่องบริษัทลุกขึ้นบางส่วน เรื่องบริษัทลุกขึ้นทั้งหมด
เรื่องภิกษุรู้ว่ายังมีพวกภิกษุที่อยู่ในอาวาสที่ยังไม่มา
เรื่องภิกษุไม่แน่ใจว่าควรทำอุโบสถหรือไม่
เรื่องภิกษุกังวลใจทำอุโบสถ เรื่องภิกษุที่อยู่ในอาวาสรู้ เห็น
ได้ยินว่ายังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นอยู่
เรื่องภิกษุอาคันตุกะกับภิกษุที่อยู่ในอาวาสนับวันอุโบสถต่างกัน
เรื่องอาการของภิกษุที่อยู่ในอาวาสเป็นต้น
เรื่องภิกษุอาคันตุกะเข้าใจว่าภิกษุที่อยู่ในอาวาสมีสังวาสต่างกัน
เรื่องปาริวาสิกปาริสุทธิ เรื่องทำอุโบสถในวันมิใช่วันอุโบสถ
ยกเว้นแต่เป็นวันที่สงฆ์สามัคคี
หัวข้อที่จำแนกเหล่านี้เป็นหัวข้อที่บอกเรื่อง๑
อุโปสถขันธกะ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ชื่อเรื่องเหล่านี้ ในเนื้องเรื่อง มิได้ตั้งเป็นข้อไว้ทั้งหมด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๙๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ] ๑๐๗. วัสสูปนายิกานุชานนา
๓. วัสสูปนายิกขันธกะ

๑๐๗. วัสสูปนายิกานุชานนา
ว่าด้วยทรงอนุญาตการเข้าจำพรรษา
[๑๘๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน
สถานที่ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น พระพุทธองค์ยังมิได้ทรงบัญญัติ
การเข้าจำพรรษาแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นเที่ยวจาริกไปทั้งฤดูหนาว ฤดูร้อน
และฤดูฝน มนุษย์ทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระสมณะ
เชื้อสายศากยบุตรจึงได้เที่ยวจาริกไปทั้งฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน ย่ำติณชาติ
อันเขียวสด เบียดเบียนสิ่งมีชีวิตซึ่งมีอินทรีย์เดียว เหยียบสัตว์เล็ก ๆ จำนวนมาก
ให้ถึงความวอดวายเล่า พวกอัญเดียรถีย์เหล่านี้ผู้สอนธรรมไม่ดียังพักอยู่ประจำที่
ตลอดฤดูฝน อีกทั้งฝูงนกเหล่านี้เล่าก็ยังทำรวงรังบนยอดไม้พักอยู่ประจำที่ในฤดูฝน
ส่วนพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรเหล่านี้ เที่ยวจาริกไปทั้งฤดูหนาว ฤดูร้อน และ
ฤดูฝน ย่ำติณชาติอันเขียวสด เบียดเบียนสิ่งมีชีวิตซึ่งมีอินทรีย์เดียว เหยียบสัตว์
เล็ก ๆ จำนวนมากให้ถึงความวอดวายไป”
ภิกษุทั้งหลายได้ยินมนุษย์เหล่านั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนา จึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายเข้าจำพรรษา”

เรื่องทรงอนุญาตให้ภิกษุเข้าจำพรรษาในฤดูฝน
ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “พวกเราจะพึงเข้าจำพรรษาเมื่อไร
หนอ” จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เข้าจำพรรษาในฤดูฝน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๙๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ] ๑๐๘. วัสสานจาริกาปฏิกเขปาทิ
เรื่องประเภทแห่งวันเข้าพรรษา
ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “วันเข้าพรรษามีเท่าไรหนอ” จึงนำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย วันเข้าพรรษานี้มี ๒ วัน๑ คือ วันเข้า
พรรษาต้น ๑ วันเข้าพรรษาหลัง ๑ เมื่อพระจันทร์เพ็ญเสวยฤกษ์อาสาฬหะล่วงไป
แล้ววันหนึ่ง พึงเข้าจำพรรษาต้น เมื่อพระจันทร์เพ็ญเสวยฤกษ์อาสาฬหะล่วงไปแล้ว
เดือนหนึ่ง พึงเข้าจำพรรษาหลัง ภิกษุทั้งหลาย วันเข้าพรรษามี ๒ วันเหล่านี้แล”

๑๐๘. วัสสานจาริกาปฏิกเขปาทิ
ว่าด้วยทรงห้ามเที่ยวจาริกระหว่างพรรษาเป็นต้น

เรื่องพระฉัพพัคคีย์เที่ยวจาริกในระหว่างพรรษา
[๑๘๕] สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เข้าจำพรรษาแล้วก็ยังเที่ยวจาริกไป
ในระหว่างพรรษา มนุษย์ทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
พระสมณะเชื้อสายศากยบุตร จึงได้เที่ยวจาริกไปทั้งฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน
ย่ำติณชาติอันเขียวสด เบียดเบียนสิ่งมีชีวิตซึ่งมีอินทรีย์เดียว เหยียบสัตว์เล็ก ๆ
จำนวนมากให้ถึงความวอดวายเล่า พวกอัญเดียรถีย์เหล่านี้ผู้สอนธรรมไม่ดียังพักอยู่
ประจำที่ตลอดฤดูฝน อีกทั้งฝูงนกเหล่านี้เล่าก็ยังทำรวงรังบนยอดไม้พักอยู่ประจำที่
ในฤดูฝน ส่วนพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรเหล่านี้เที่ยวจาริกไปทั้งฤดูหนาว ฤดูร้อน
และฤดูฝน ย่ำติณชาติอันเขียวสด เบียดเบียนสิ่งมีชีวิตซึ่งมีอินทรีย์เดียว เหยียบ
สัตว์เล็ก ๆ จำนวนมากให้ถึงความวอดวาย”

เชิงอรรถ :
๑ องฺ.ทุก. (แปล) ๒๐/๑๐/๖๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๙๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ] ๑๐๘. วัสสานจาริกาปฏิกเขปาทิ
ภิกษุทั้งหลายได้ยินมนุษย์เหล่านั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุ
ผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
เข้าจำพรรษาแล้ว จึงได้เที่ยวจาริกไปในระหว่างพรรษาเล่า” แล้วนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่งกับ
ภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเข้าจำพรรษาแล้วไม่อยู่จำให้ตลอด ๓ เดือน
พรรษาต้น หรือ ๓ เดือนพรรษาหลัง ไม่พึงหลีกจาริกไป รูปใดหลีกไปต้องอาบัติ
ทุกกฏ”

เรื่องปรับอาบัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เข้าพรรษา
[๑๘๖] สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ไม่ต้องการจะเข้าจำพรรษา ภิกษุทั้งหลาย
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุจะไม่เข้าจำพรรษาไม่ได้ รูปใด
ไม่เข้าจำพรรษา ต้องอาบัติทุกกฏ”

เรื่องจงใจเดินผ่านอาวาส
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ไม่ต้องการจะเข้าจำพรรษาในวันเข้าพรรษานั้น จงใจ
เดินผ่านอาวาสไป ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่ต้องการจะเข้าจำพรรษาใน
วันเข้าพรรษานั้น ไม่พึงจงใจเดินผ่านอาวาสไป รูปใดเดินผ่านไป ต้องอาบัติทุกกฏ”

เรื่องการเลื่อนกาลฝน
สมัยนั้น พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐมีพระราชประสงค์จะทรงเลื่อน
วันเข้าพรรษาออกไป จึงทรงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “ถ้ากระไร ขอพระ
คุณเจ้าทั้งหลายพึงเข้าจำพรรษาในชุณหปักษ์๑ที่จะมาถึง”

เชิงอรรถ :
๑ ชุณหปักษ์ หมายถึงเดือนต่อไป (วิ.อ. ๓/๑๘๖/๑๔๖) ในที่นี้หมายถึงขึ้น ๑ ค่ำของอีกเดือนหนึ่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๙๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ] ๑๐๙. สัตตาหกรณียานุชานนา
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้คล้อยตามพระราชา”๑

๑๐๙. สัตตาหกรณียานุชานนา
ว่าด้วยทรงอนุญาตสัตตาหกรณียะเมื่อเขาสร้างวิหารถวายเป็นต้น

เรื่องอุบาสกสร้างวิหารเป็นต้นถวาย
[๑๘๗] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กรุงราชคฤห์ตามพระอัธยาศัย
แล้วได้เสด็จจาริกไปทางกรุงสาวัตถี เสด็จจาริกไปโดยลำดับ จนถึงกรุงสาวัตถี ทราบว่า
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี ในกรุง
สาวัตถีนั้น
สมัยนั้น อุบาสกชื่ออุเทนได้สร้างวิหารถวายอุทิศสงฆ์ ในแคว้นโกศลแล้วส่งทูต
ไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “ขออาราธนาพระคุณเจ้าทั้งหลายมา ข้าพเจ้าปรารถนา
จะถวายทาน ฟังธรรมและเห็นภิกษุทั้งหลาย”
ภิกษุทั้งหลายตอบไปว่า “คุณโยม พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า ภิกษุเข้า
จำพรรษาแล้วไม่อยู่ให้ตลอด ๓ เดือนพรรษาต้น หรือ ๓ เดือนพรรษาหลัง ไม่พึง
หลีกจาริกไป ขอโยมอุเทนจงรอจนกว่าภิกษุอยู่จำพรรษาจนออกพรรษาแล้วจักมา
แต่ถ้าโยมมีธุระจำเป็นรีบด่วน ก็ขอให้ถวายวิหารไว้ในสำนักภิกษุที่อยู่ในอาวาส ใน
แคว้นโกศลนั่นแหละ”
อุบาสกอุเทนจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนเมื่อเราส่งทูตไปแล้ว
พระคุณเจ้าทั้งหลายจึงไม่มาเล่า เราก็เป็นทายก เป็นผู้สร้าง เป็นผู้บำรุงพระสงฆ์”

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงให้คล้อยตามบ้านเมือง แม้ในเรื่องอื่นที่ชอบธรรม ก็พึงคล้อยตาม แต่ไม่พึงคล้อยตามใคร ๆ
ในเรื่องที่ไม่ชอบธรรม (วิ.อ. ๓/๑๘๕-๖/๑๔๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๙๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ] ๑๐๙. สัตตาหกรณียานุชานนา
ภิกษุทั้งหลายได้ยินอุบาสกอุเทนตำหนิ ประณาม โพนทะนา จึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่งกับ
ภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคล ๗ จำพวกคือ ภิกษุ ภิกษุณี สิกขมานา
สามเณร สามเณรี อุบาสก อุบาสิกา ส่งทูตมา เราอนุญาตให้ไปด้วย
สัตตาหกรณียะ๑ได้ แต่เมื่อพวกเขาไม่ส่งทูตมา เราไม่อนุญาตให้ไป ภิกษุทั้งหลาย
เมื่อบุคคล ๗ จำพวกเหล่านี้ส่งทูตมา เราอนุญาตให้ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้
แต่เมื่อพวกเขาไม่ส่งทูตมา เราไม่อนุญาต (เมื่อไปด้วยสัตตาหกรณียะ) พึงกลับใน
๗ วัน”๒
[๑๘๘] ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ อุบาสกได้สร้างวิหารถวายอุทิศสงฆ์
ถ้าเขาส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “ขออาราธนาพระคุณเจ้าทั้งหลายมา
ข้าพเจ้าปรารถนาจะถวายทาน ฟังธรรม และเห็นภิกษุทั้งหลาย” เมื่อเขาส่งทูตมา
พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ แต่เมื่อเขาไม่ส่งทูตมา ไม่พึงไป (เมื่อไปด้วยสัตตาห
กรณียะ) พึงกลับใน ๗ วัน
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ อุบาสกได้สร้างเรือนมุงแถบเดียวถวายอุทิศสงฆ์
ฯลฯ

... ได้สร้างปราสาท ... ... ได้สร้างเรือนโล้น ...
... ได้สร้างถ้ำ ... ... ได้สร้างบริเวณ ...
... ได้สร้างซุ้ม ... ... ได้สร้างโรงฉัน ...
... ได้สร้างโรงไฟ ... ... ได้สร้างกัปปิยกุฎี ...
... ได้สร้างวัจกุฎี ... ... ได้สร้างที่จงกรม ...
... ได้สร้างโรงจงกรม ... ... ได้สร้างบ่อน้ำ ...


เชิงอรรถ :
๑ สัตตาหกรณียะ แปลว่า ธุระที่จะพึงทำให้เสร็จได้ภายใน ๗ วัน หมายถึงธุระเป็นเหตุให้ภิกษุออกจาก
วัดไปค้างแรมที่อื่นได้ในระหว่างพรรษา เป็นเวลา ๗ วัน (วิ.อ. ๓/๑๘๗/๑๔๖)
๒ พึงกลับใน ๗ วัน คือ ต้องกลับมารับอรุณที่ ๗ ในวัดที่ตนเข้าพรรษา จะไปพักแรมครบ ๗ วันแล้ว
กลับมารับอรุณที่ ๘ ไม่ได้ (วิ.อ. ๓/๑๘๗/๑๔๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๙๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ] ๑๐๙. สัตตาหกรณียานุชานนา

... ได้สร้างโรงบ่อน้ำ ... ... ได้สร้างเรือนไฟ ...
... ได้สร้างโรงเรืองไฟ ... ... ได้สร้างสระโบกขรณี ...
... ได้สร้างมณฑป ... ... ได้สร้างอาราม ...
... ได้สร้างอารามวัตถุ๑

ถ้าเขาส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “ขออาราธนาพระคุณเจ้าทั้งหลายมา
ข้าพเจ้าปรารถนาจะถวายทาน ฟังธรรม และเห็นภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุทั้งหลาย
เมื่อเขาส่งทูตมา พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ แต่เมื่อเขาไม่ส่งทูตมา ไม่พึงไป(เมื่อไป
ด้วยสัตตาหกรณียะ) พึงกลับใน ๗ วัน
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ อุบาสกได้สร้างวิหารถวายอุทิศภิกษุมากรูป
ได้สร้างวิหารอุทิศภิกษุรูปหนึ่ง ...

... ได้สร้างเรืองมุงแถบเดียว ... ... ได้สร้างปราสาท ...
... ได้สร้างเรืองโล้น ... ... ได้สร้างถ้ำ ...
... ได้สร้างบริเวณ ... ... ได้สร้างซุ้ม ...
... ได้สร้างโรงฉัน ... ... ได้สร้างโรงไฟ ...
... ได้สร้างกัปปิยกุฎี ... ... ได้สร้างวัจกุฎี ...
... ได้สร้างที่จงกรม ... ... ได้สร้างโรงจงกรม ...
... ได้สร้างบ่อน้ำ ... ... ได้สร้างโรงบ่อน้ำ ...
... ได้สร้างเรืองไฟ ... ... ได้สร้างโรงเรือนไฟ ...
... ได้สร้างสระโบกขรณี ... ... ได้สร้างมณฑป ...
... ได้สร้างอาราม ... ... ได้สร้างอารามวัตถุ

ถ้าเขาส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “ขออาราธนาพระคุณเจ้าทั้งหลายมา
ข้าพเจ้าปรารถนาจะถวายทาน ฟังธรรม และเห็นภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุทั้งหลาย
เมื่อเขาส่งทูตมา พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ แต่เมื่อเขาไม่ส่งทูตมา ไม่พึงไป (เมื่อไป
ด้วยสัตตาหกรณียะ) พึงกลับใน ๗ วัน

เชิงอรรถ :
๑ อารามวัตถุ หมายถึงพื้นที่ที่มิได้ปลูกพืชหรือไม้กอ แต่ปรับเป็นพื้นที่ไว้ อาจล้อมรั้วไว้หรือมิได้ล้อม
กำหนดไว้เป็นสถานที่สวนดอกไม้เป็นต้น (วิ.อ. ๑/๑๐๕/๓๗๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๙๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ] ๑๐๙. สัตตาหกรณียานุชานนา
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ อุบาสกได้สร้างวิหารถวายอุทิศภิกษุณีสงฆ์
ฯลฯ อุทิศภิกษุณีมากรูป ฯลฯ อุทิศภิกษุณีรูปเดียว ฯลฯ อุทิศสิกขมานามากรูป
ฯลฯ อุทิศสิกขมานารูปเดียว ฯลฯ อุทิศสามเณรมากรูป ฯลฯ อุทิศสามเณรรูปเดียว
ฯลฯ อุทิศสามเณรีมากรูป ฯลฯ อุทิศสามเณรีรูปเดียว ฯลฯ

... ได้สร้างเรืองมุงแถบเดียว ... ... ได้สร้างปราสาท ...
... ได้สร้างเรืองโล้น ... ... ได้สร้างถ้ำ ...
... ได้สร้างบริเวณ ... ... ได้สร้างซุ้ม ...
... ได้สร้างโรงฉัน ... ... ได้สร้างโรงไฟ ...
... ได้สร้างกัปปิยกุฎี ... ... ได้สร้างวัจกุฎี ...
... ได้สร้างที่จงกรม ... ... ได้สร้างโรงจงกรม ...
... ได้สร้างบ่อน้ำ ... ... ได้สร้างโรงบ่อน้ำ ...
... ได้สร้างเรืองไฟ ... ... ได้สร้างโรงเรือนไฟ ...
... ได้สร้างสระโบกขรณี ... ... ได้สร้างมณฑป ...
... ได้สร้างอาราม ... ... ได้สร้างอารามวัตถุ

ถ้าเขาส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “ขออาราธนาพระคุณเจ้าทั้งหลายมา
ข้าพเจ้าปรารถนาจะถวายทาน ฟังธรรม และเห็นภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุทั้งหลาย
เมื่อเขาส่งทูตมา พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ แต่เมื่อเขาไม่ส่งทูตมา ไม่พึงไป (เมื่อไป
ด้วยสัตตาหกรณียะ) พึงกลับใน ๗ วัน
[๑๘๙] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ อุบาสกได้สร้างที่อยู่อาศัยเพื่อ
ประโยชน์แก่ตน...

... ได้สร้างเรือนนอน ... ... ได้สร้างโรงเก็บของ ...
... ได้สร้างร้าน ... ... ได้สร้างโรงกลม ...
... ได้สร้างร้านค้า ... ... ได้สร้างโรงร้านค้า ...
... ได้สร้างปราสาท ... ... ได้สร้างเรือนโล้น ...
... ได้สร้างถ้ำ ... ... ได้สร้างบริเวณ ...
... ได้สร้างซุ้ม ... ... ได้สร้างโรงฉัน ...


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๙๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ] ๑๐๙. สัตตาหกรณียานุชานนา

... ได้สร้างโรงไฟ ... ... ได้สร้างโรงครัว ...
... ได้สร้างที่จงกรม ... ... ได้สร้างโรงจงกรม ...
... ได้สร้างบ่อน้ำ ... ... ได้สร้างโรงบ่อน้ำ ...
... ได้สร้างเรือนไฟ ... ... ได้สร้างสระโบกขรณี ...
... ได้สร้างมณฑป ... ... ได้สร้างอาราม ...
... ได้สร้างอารามวัตถุ

เขามีงานมงคลสมรสของบุตรหรือธิดา เขาเป็นไข้หรือจะกล่าวพระสูตรซึ่ง
เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปก็ดี ถ้าเขาส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “ขออาราธนา
พระคุณเจ้าทั้งหลายมา จะได้เล่าเรียนพระสูตรนี้ก่อนที่พระสูตรจะเลือนไป” ก็หรือว่า
เขามีกิจหรือธุระจำเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้าเขาส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า
“ขออาราธนาพระคุณเจ้าทั้งหลายมา ข้าพเจ้าปรารถนาจะถวายทาน ฟังธรรม
และเห็นภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเขาส่งทูตมา พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้
แต่เมื่อเขาไม่ส่งทูตมา ไม่พึงไป (เมื่อไปด้วยสัตตาหกรณียะ) พึงกลับใน ๗ วัน
[๑๙๐] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ อุบาสิกาได้สร้างวิหารถวายอุทิศสงฆ์
ถ้านางส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “ขออาราธนาพระคุณเจ้าทั้งหลายมา
ดิฉันปรารถนาจะถวายทาน ฟังธรรม และเห็นภิกษุทั้งหลาย” เมื่อนางส่งทูตมา
พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ แต่เมื่อนางไม่ส่งทูตมา ไม่พึงไป (เมื่อไปด้วยสัตตาห
กรณียะ) พึงกลับใน ๗ วัน
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ อุบาสิกาได้สร้างเรือนมุงแถบเดียวถวายอุทิศ
สงฆ์ ฯลฯ

... ได้สร้างปราสาท ... ... ได้สร้างเรือนโล้น ...
... ได้สร้างถ้ำ ... ... ได้สร้างบริเวณ ...
... ได้สร้างซุ้ม ... ... ได้สร้างโรงฉัน ...
... ได้สร้างโรงไฟ ... ... ได้สร้างกัปปิยกุฎี ...
... ได้สร้างวัจกุฎี ... ... ได้สร้างที่จงกรม ...
... ได้สร้างโรงจงกรม ... ... ได้สร้างบ่อน้ำ ...
... ได้สร้างโรงบ่อน้ำ ... ... ได้สร้างเรือนไฟ ...


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๙๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ] ๑๐๙. สัตตาหกรณียานุชานนา

... ได้สร้างโรงเรือนไฟ ... ... ได้สร้างสระโบกขรณี ...
... ได้สร้างมณฑป ... ... ได้สร้างอาราม ...
... ได้สร้างอารามวัตถุ

ถ้านางส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “ขออาราธนาพระคุณเจ้าทั้งหลายมา
ดิฉันปรารถนาจะถวายทาน ฟังธรรม และเห็นภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุทั้งหลาย
เมื่อนางส่งทูตมา พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ แต่เมื่อนางไม่ส่งทูตมา ไม่พึงไป
(เมื่อไปด้วยสัตตาหกรณียะ) พึงกลับใน ๗ วัน
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ อุบาสิกาได้สร้างวิหารถวายอุทิศภิกษุมากรูป ...

... อุทิศภิกษุรูปเดียว... ... อุทิศภิกษุณีสงฆ์ ...
... อุทิศภิกษุณีมากรูป ... ... อุทิศภิกษุณีรูปเดียว ...
... อุทิศสิกขมานามากรูป ... ... อุทิศสิกขมานารูปเดียว ...
... อุทิศสามเณรมากรูป ... ... อุทิศสามเณรรูปเดียว...
... อุทิศสามเณรีมากรูป ... ... อุทิศสามเณรีรูปเดียว... ฯลฯ

[๑๙๑] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ อุบาสิกาได้สร้างที่อยู่อาศัยเพื่อ
ประโยชน์แก่ตน...

... ได้สร้างเรือนนอน ... ... ได้สร้างโรงเก็บของ ...
... ได้สร้างร้าน ... ... ได้สร้างโรงกลม ...
... ได้สร้างร้านค้า ... ... ได้สร้างโรงร้านค้า ...
... ได้สร้างปราสาท ... ... ได้สร้างเรือนโล้น ...
... ได้สร้างถ้ำ ... ... ได้สร้างบริเวณ ...
... ได้สร้างซุ้ม ... ... ได้สร้างโรงฉัน ...
... ได้สร้างโรงไฟ ... ... ได้สร้างโรงครัว ...
... ได้สร้างวัจกุฎี ... ... ได้สร้างที่จงกรม ...
... ได้สร้างโรงจงกรม ... ... ได้สร้างบ่อน้ำ ...
... ได้สร้างโรงบ่อน้ำ ... ... ได้สร้างสระโบกขรณี ...
... ได้สร้างมณฑป ... ... ได้สร้างอาราม ...
... ได้สร้างอารามวัตถุ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๐๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ] ๑๐๙. สัตตาหกรณียานุชานนา
นางมีงานมงคลสมรสของบุตรหรือธิดา นางเป็นไข้หรือจะกล่าวพระสูตร
ซึ่งเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปก็ดี ถ้านางส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “ขออาราธนา
พระคุณเจ้าทั้งหลายมา จะได้เล่าเรียนพระสูตรนี้ก่อนที่พระสูตรจะเลือนไป” ก็หรือ
ว่านางมีกิจหรือธุระจำเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้านางส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลาย
ว่า “ขออาราธนาพระคุณเจ้าทั้งหลายมา ดิฉันปรารถนาจะถวายทาน ฟังธรรมและ
เห็นภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุทั้งหลาย เมื่อนางส่งทูตมา พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้
แต่เมื่อนางไม่ส่งทูตมา ไม่พึงไป (เมื่อไปด้วยสัตตาหกรณียะ) พึงกลับใน ๗ วัน
[๑๙๒] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้สร้างวิหาร
ถวายอุทิศสงฆ์ ฯลฯ ภิกษุณีได้สร้างวิหารถวายอุทิศสงฆ์ ฯลฯ สิกขมานาได้สร้าง
วิหารถวายอุทิศสงฆ์ ฯลฯ สามเณรได้สร้างวิหารถวายอุทิศสงฆ์ ฯลฯ สามเณรี
ได้สร้างวิหารถวายอุทิศสงฆ์ ฯลฯ

... อุทิศภิกษุมากรูป ... ... อุทิศภิกษุรูปเดียว ...
... อุทิศภิกษุณีสงฆ์ ... ... อุทิศภิกษุณีมากรูป ...
... อุทิศภิกษุณีรูปเดียว... ... อุทิศสิกขมานามากรูป ...
... อุทิศสิกขมานารูปเดียว... ... อุทิศสามเณรมากรูป ...
... อุทิศสามเณรรูปเดียว ... ... อุทิศสามเณรีมากรูป ...
... อุทิศสามเณรีรูปเดียว ...

ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุ ฯลฯ สามเณรีได้สร้างวิหารเพื่อ
ประโยชน์แก่ตน ...

... ได้สร้างเรือนมุงแถบเดียว ... ... ได้สร้างปราสาท ...
... ได้สร้างเรือนโล้น ... ... ได้สร้างถ้ำ ...
... ได้สร้างบริเวณ ... ... ได้สร้างซุ้ม ...
... ได้สร้างโรงฉัน ... ... ได้สร้างโรงไฟ ...
... ได้สร้างกัปปิยกุฎี ... ... ได้สร้างวัจกุฎี ...
... ได้สร้างที่จงกรม ... ... ได้สร้างโรงจงกรม ...
... ได้สร้างบ่อน้ำ ... ... ได้สร้างโรงบ่อน้ำ ...
... ได้สร้างสระโบกขรณี ... ... ได้สร้างมณฑป ...
... ได้สร้างอาราม ... ... ได้สร้างอารามวัตถุ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๐๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ] ๑๑๐. ปัญจอัปปหิตานุชานนา
ถ้าภิกษุ ฯลฯ สามเณรีส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “ขออาราธนา
พระคุณเจ้าทั้งหลายมา กระผม ฯลฯ ดิฉันปรารถนาจะถวายทาน ฟังธรรม และ
เห็นภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุ ฯลฯ สามเณรีส่งทูตมา พึงไปด้วย
สัตตาหกรณียะได้ แต่เมื่อภิกษุฯลฯ สามเณรีไม่ส่งทูตมา ไม่พึงไป (เมื่อไปด้วย
สัตตาหกรณียะ) พึงกลับใน ๗ วัน

๑๑๐. ปัญจอัปปหิตานุชานนา
ว่าด้วยทรงอนุญาตสัตตาหกรณียะเมื่อสหธรรมิกทั้ง ๕ จะไม่ส่งทูตมา

เรื่องภิกษุเป็นไข้เป็นต้น
[๑๙๓] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเป็นไข้ ได้ส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า
“กระผมเป็นไข้ ขออาราธนาภิกษุทั้งหลายมา กระผมประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้ง
หลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย แม้สหธรรมิกทั้ง ๕ คือ ภิกษุ
ภิกษุณี สิกขมานา สามเณร สามเณรี จะไม่ส่งทูตมา เราอนุญาตให้ไปด้วย
สัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อสหธรรมิกทั้ง ๕ ส่งทูตมา ภิกษุทั้งหลาย
เมื่อสหธรรมิกทั้ง ๕ เหล่านี้ แม้มิได้ส่งทูตมา เราอนุญาตให้ไปด้วยสัตตาห
กรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อสหธรรมิกทั้ง ๕ ส่งทูตมา แต่พึงกลับใน ๗ วัน

สัตตาหกรณียะเนื่องด้วยภิกษุ ๑๐ กรณี
๑. ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ภิกษุเป็นไข้ ถ้าภิกษุนั้นจะพึงส่งทูตไปในสำนัก
ภิกษุทั้งหลายว่า “กระผมเป็นไข้ ขออาราธนาภิกษุทั้งหลายมา กระผมประสงค์
ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุนั้นจะไม่ส่งทูตมา ก็ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ ไม่จำ
ต้องกล่าวถึงเมื่อภิกษุนั้นส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า “เราจักแสวงหาคิลานภัต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๐๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ] ๑๑๐. ปัญจอัปปหิตานุชานนา
คิลานุปัฏฐากภัต หรือคิลานเภสัช จักถามอาการหรือจักพยาบาล” แต่พึงกลับ
ใน ๗ วัน
๒. ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ความไม่ยินดีเกิดขึ้นแก่ภิกษุ ถ้าภิกษุนั้น
จะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “ความไม่ยินดีเกิดขึ้นแก่กระผมแล้ว
ขออาราธนาภิกษุทั้งหลายมา กระผมประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุนั้น
จะไม่ส่งทูตมา ก็ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อภิกษุนั้นส่งทูตมา
พึงไปด้วยตั้งใจว่า “เราจักระงับความไม่ยินดีเอง หรือจักใช้ภิกษุอื่นให้ช่วยระงับ
หรือจักแสดงธรรมกถาแก่ภิกษุนั้น” แต่พึงกลับใน ๗ วัน
๓. ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ความรำคาญเกิดขึ้นแก่ภิกษุ ถ้าภิกษุนั้น
จะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “ความรำคาญเกิดขึ้นแก่กระผมแล้ว
ขออาราธนาภิกษุทั้งหลายมา กระผมประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุนั้น
จะไม่ส่งทูตมา ก็ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อภิกษุนั้นส่งทูตมา
พึงไปด้วยตั้งใจว่า “เราจักบรรเทาความรำคาญเอง หรือจักใช้ภิกษุอื่นให้ช่วยบรรเทา
หรือจักแสดงธรรมกถาแก่ภิกษุนั้น” แต่พึงกลับใน ๗ วัน
๔. ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ความเห็นผิดเกิดขึ้นแก่ภิกษุ ถ้าภิกษุนั้น
จะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “ความเห็นผิดเกิดขึ้นแก่กระผมแล้ว
ขออาราธนาภิกษุทั้งหลายมา กระผมประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุนั้น
จะไม่ส่งทูตมา ก็ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อภิกษุนั้นส่งทูตมา
พึงไปด้วยตั้งใจว่า “เราจักเปลื้องความเห็นผิดเอง หรือจักใช้ภิกษุอื่นให้ช่วยเปลื้อง
หรือจักแสดงธรรมกถาแก่ภิกษุนั้น” แต่พึงกลับใน ๗ วัน
๕. ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุเป็นผู้ต้องครุธรรม๑ ควรอยู่ปริวาส
ถ้าภิกษุนั้นจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “กระผมต้องครุธรรม ควรอยู่
ปริวาส ขออาราธนาภิกษุทั้งหลายมา กระผมประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุ
นั้นจะไม่ส่งทูตมา ก็ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อภิกษุนั้นส่งทูตมา

เชิงอรรถ :
๑ ครุธรรม ในที่นี้หมายถึงอาบัติสังฆาทิเสส (ดู องฺ.อฏฺฐก. อ. ๓/๕๑/๒๖๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๐๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ] ๑๑๐. ปัญจอัปปหิตานุชานนา
พึงไปด้วยตั้งใจว่า “เราจักทำความขวนขวายให้ปริวาส หรือจักช่วยสวดกรรมวาจา
หรือจักเป็นคณปูรกะ๑” แต่พึงกลับใน ๗ วัน
๖. ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุเป็นผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม
ถ้าภิกษุนั้นจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “กระผมเป็นผู้ควรชักเข้าหา
อาบัติเดิม ขออาราธนาภิกษุทั้งหลายมา กระผมประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย
แม้ภิกษุนั้นจะไม่ส่งทูตมา ก็ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อภิกษุนั้น
ส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า “เราจักทำความขวนขวายชักเข้าหาอาบัติเดิม หรือ
จักช่วยสวดกรรมวาจา หรือจักเป็นคณปูรกะ” แต่พึงกลับใน ๗ วัน
๗. ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุเป็นผู้ควรมานัต ถ้าภิกษุนั้นจะพึง
ส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “กระผมเป็นผู้ควรมานัต ขออาราธนาภิกษุ
ทั้งหลายมา กระผมประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุนั้นจะไม่ส่งทูตมา ก็ไป
ด้วยสัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อภิกษุนั้นส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า
“เราจักทำความขวนขวายให้มานัต หรือจักช่วยสวดกรรมวาจา หรือจักเป็น
คณปูรกะ” แต่พึงกลับใน ๗ วัน
๘. ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุเป็นผู้ควรอัพภาน ถ้าภิกษุนั้นจะ
พึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “กระผมเป็นผู้ควรอัพภาน ขออาราธนาภิกษุ
ทั้งหลายมา กระผมประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุนั้นจะไม่ส่งทูตมา
ก็ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อภิกษุนั้นส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า
“เราจักทำความขวนขวายให้อัพภาน หรือจักช่วยสวดกรรมวาจา หรือจักเป็น
คณปูรกะ” แต่พึงกลับใน ๗ วัน
๙. ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ สงฆ์ต้องการจะทำกรรม คือ ตัชชนียกรรม
นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม ปฏิสารณียกรรม หรืออุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุ
ถ้าภิกษุนั้นจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “สงฆ์เป็นผู้ต้องการจะทำกรรม
แก่กระผม ขออาราธนาภิกษุทั้งหลายมา กระผมประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย

เชิงอรรถ :
๑ เข้าร่วมสังฆกรรมเพื่อให้ครบองค์สงฆ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๐๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ] ๑๑๐. ปัญจอัปปหิตานุชานนา
แม้ภิกษุนั้นจะไม่ส่งทูตมา ก็ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อภิกษุนั้น
ส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า “ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์จะไม่พึงทำกรรม หรือ
พึงเปลี่ยนไปเป็นโทษเบา” แต่พึงกลับใน ๗ วัน
๑๐. ก็หรือว่า ภิกษุนั้นถูกสงฆ์ทำกรรม คือ ตัชชนียกรรม นิยสกรรม
ปัพพาชนียกรรม ปฏิสารณียกรรม หรืออุกเขปนียกรรมแล้ว ถ้าภิกษุนั้น จะพึง
ส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “สงฆ์ทำกรรมแก่กระผมแล้ว ขออาราธนาภิกษุ
ทั้งหลายมา กระผมประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุนั้นจะไม่ส่งทูตมา
ก็ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อภิกษุนั้นส่งทูตมา พึงไปด้วย
ตั้งใจว่า “ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ภิกษุนั้นจะพึงประพฤติชอบ พึงหายเย่อหยิ่ง
พึงกลับตัวได้ สงฆ์พึงระงับกรรมนั้นเสีย” แต่พึงกลับใน ๗ วัน

สัตตาหกรณียะเนื่องด้วยภิกษุณี ๙ กรณี
[๑๙๔] ๑. ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ภิกษุณีเป็นไข้ ถ้าภิกษุณีนั้นจะพึง
ส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “ดิฉันเป็นไข้ ขออาราธนาพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายมา
ดิฉันประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุณีนั้นจะไม่ส่งทูตมา ก็ไปด้วย
สัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อภิกษุณีนั้นส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า
“เราจักแสวงหาคิลานภัต คิลานุปัฏฐากภัต หรือคิลานเภสัช จักถามอาการ หรือ
จักพยาบาล” แต่พึงกลับใน ๗ วัน
๒. ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ความไม่ยินดีเกิดขึ้นแก่ภิกษุณี ถ้า
ภิกษุณีนั้นจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “ความไม่ยินดีเกิดขึ้นแก่ดิฉันแล้ว
ขออาราธนาพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายมา ดิฉันประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย แม้
ภิกษุณีนั้นจะไม่ส่งทูตมา ก็ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อภิกษุณี
นั้นส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า “เราจักระงับความไม่ยินดีเอง หรือจักใช้ภิกษุอื่น
ให้ช่วยระงับ หรือจักแสดงธรรมกถาแก่ภิกษุณีนั้น” แต่พึงกลับใน ๗ วัน
๓. ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ความรำคาญเกิดขึ้นแก่ภิกษุณี ถ้า
ภิกษุณีนั้นจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “ความรำคาญเกิดขึ้นแก่ดิฉัน
แล้ว ขออาราธนาพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายมา ดิฉันประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๐๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ] ๑๑๐. ปัญจอัปปหิตานุชานนา
แม้ภิกษุณีนั้น จะไม่ส่งทูตมา ก็ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อ
ภิกษุณีนั้นส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า “เราจักบรรเทาความรำคาญเอง หรือจักใช้
ภิกษุอื่นให้ช่วยบรรเทา หรือจักแสดงธรรมกถาแก่ภิกษุณีนั้น” แต่พึงกลับใน ๗ วัน
๔. ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ความเห็นผิดเกิดขึ้นแก่ภิกษุณี ถ้าภิกษุณี
นั้นจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “ความเห็นผิดเกิดขึ้นแก่ดิฉันแล้ว ขอ
อาราธนาพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายมา ดิฉันประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุณี
นั้นจะไม่ส่งทูตมา ก็ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อภิกษุณีส่งทูตมา
พึงไปด้วยตั้งใจว่า “เราจักเปลื้องความเห็นผิดเอง หรือจักใช้ภิกษุอื่นให้ช่วยเปลื้อง
หรือจักแสดงธรรมกถาแก่ภิกษุณีนั้น” แต่พึงกลับใน ๗ วัน
๕. ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุณีเป็นผู้ต้องครุธรรม ควรแก่มานัต
ถ้าภิกษุณีนั้นจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “ดิฉันเองต้องครุธรรม ควรแก่
มานัต ขออาราธนาพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายมา ดิฉันประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย
แม้ภิกษุณีนั้นจะไม่ส่งทูตมา ก็ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อ
ภิกษุณีนั้นส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า “เราจักทำความขวนขวายให้มานัต” แต่พึง
กลับใน ๗ วัน
๖. ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุณีเป็นผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม
ถ้าภิกษุณีนั้นจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “ดิฉันเป็นผู้ควรชักเข้าหา
อาบัติเดิม ขออาราธนาพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายมา ดิฉันประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย
แม้ภิกษุณีนั้นจะไม่ส่งทูตมา ก็ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อภิกษุณี
นั้นส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า “เราจักทำความขวนขวายชักเข้าหาอาบัติเดิม” แต่พึง
กลับใน ๗ วัน
๗. ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุณีในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ควรอัพภาน
ถ้าภิกษุณีนั้นจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “ดิฉันเป็นผู้ควรอัพภาน ขอ
อาราธนาพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายมา ดิฉันประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุณี
นั้นจะไม่ส่งทูตมา ก็ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อภิกษุณีนั้นส่ง
ทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า “เราจักทำความขวนขวายให้อัพภาน” แต่พึงกลับใน ๗ วัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๐๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ] ๑๑๐. ปัญจอัปปหิตานุชานนา
๘. ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ สงฆ์ต้องการจะทำกรรม คือ ตัชชนียกรรม
นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม ปฏิสารณียกรรม หรืออุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุณี
ถ้าภิกษุณีนั้นจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “สงฆ์เป็นผู้ต้องการจะทำกรรม
แก่ดิฉัน ขออาราธนาพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายมา ดิฉันประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย
แม้ภิกษุณีนั้นจะไม่ส่งทูตมา ก็ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อภิกษุณี
นั้นส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า “ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์จะไม่พึงทำกรรม
หรือพึงเปลี่ยนไปเป็นโทษเบา” แต่พึงกลับใน ๗ วัน
๙. ก็หรือว่า ภิกษุณีนั้นถูกสงฆ์ทำกรรม คือ ตัชชนียกรรม นิยสกรรม
ปัพพาชนียกรรม ปฏิสารณียกรรม หรืออุกเขปนียกรรมแล้ว ถ้าภิกษุณีนั้นจะพึง
ส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “สงฆ์ทำกรรมแก่ดิฉันแล้ว ขออาราธนาพระผู้
เป็นเจ้าทั้งหลายมา ดิฉันประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุณีนั้นจะไม่ส่งทูตมา
ก็ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อภิกษุณีนั้นส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้ง
ใจว่า “ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ภิกษุณีนั้นจะพึงประพฤติชอบ พึงหายเย่อหยิ่ง
พึงกลับตัวได้ สงฆ์พึงระงับกรรมนั้นเสีย” แต่พึงกลับใน ๗ วัน

สัตตาหกรณียะเนื่องด้วยสิกขมานา ๖ กรณี
[๑๙๕] ๑. ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ สิกขมานาเป็นไข้ ถ้าสิกขมานานั้น
จะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “ดิฉันเป็นไข้ ขออาราธนาพระผู้เป็นเจ้า
ทั้งหลายมา ดิฉันประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย แม้สิกขมานานั้นจะไม่ส่งทูตมา
ก็ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อสิกขมานานั้นส่งทูตมา พึงไปด้วย
ตั้งใจว่า “เราจักแสวงหาคิลานภัต คิลานุปัฏฐากภัต หรือคิลานเภสัช จักถามอาการ
หรือจักพยาบาล” แต่พึงกลับใน ๗ วัน
๒. ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ความไม่ยินดีเกิดขึ้นแก่สิกขมานา...
๓. ความรำคาญเกิดขึ้นแก่สิกขมานา...
๔. ความเห็นผิดเกิดขึ้นแก่สิกขมานา..
๕. สิกขาของสิกขมานากำเริบ ถ้าสิกขมานานั้นจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุ
ทั้งหลายว่า “สิกขาของดิฉันกำเริบแล้ว ขออาราธนาพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายมา ดิฉัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๐๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ] ๑๑๐. ปัญจอัปปหิตานุชานนา
ประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย แม้สิกขมานานั้นจะไม่ส่งทูตมา ก็ไปด้วยสัตตาห
กรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อสิกขมานานั้นส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า “เราจักทำ
ความขวนขวายให้สมาทานสิกขา” แต่พึงกลับใน ๗ วัน
๖. ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ สิกขมานาต้องการจะอุปสมบท
ถ้าสิกขมานานั้นจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “ดิฉันต้องการจะอุปสมบท
ขออาราธนาพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายมา ดิฉันประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย แม้สิกขมานา
นั้นจะไม่ส่งทูตมา ก็ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อสิกขมานานั้น
ส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า “เราจักทำความขวนขวายให้อุปสมบท หรือจักช่วย
สวดกรรมวาจา หรือจักเป็นคณปูรกะ” แต่พึงกลับใน ๗ วัน

สัตตาหกรณียะเนื่องด้วยสามเณร ๖ กรณี
[๑๙๖] ๑. ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ สามเณรเป็นไข้ ถ้าสามเณรนั้นจะ
พึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “กระผมเป็นไข้ ขออาราธนาพระคุณเจ้า
ทั้งหลายมา กระผมประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย แม้สามเณรนั้นจะไม่ส่งทูตมา
ก็ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อสามเณรนั้นส่งทูตมา พึงไปด้วย
ตั้งใจว่า “เราจักแสวงหาคิลานภัต คิลานุปัฏฐากภัต หรือคิลานเภสัช จักถามอาการ
หรือจักพยาบาล” แต่พึงกลับใน ๗ วัน
๒. ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ความไม่ยินดีเกิดขึ้นแก่สามเณร...
๓. ความรำคาญเกิดขึ้นแก่สามเณร...
๔. ความเห็นผิดเกิดขึ้นแก่สามเณร...
๕. สามเณรต้องการจะถามปี ถ้าสามเณรนั้นจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุ
ทั้งหลายว่า “กระผมเองต้องการจะถามปี ขออาราธนาภิกษุทั้งหลายมา กระผม
ประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย แม้สามเณรนั้นจะไม่ส่งทูตมา ก็ไปด้วยสัตตาห
กรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อสามเณรนั้นส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า “เราจัก
ถามหรือจักบอก” แต่พึงกลับใน ๗ วัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๐๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ] ๑๑๐. ปัญจอัปปหิตานุชานนา
๖. ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ สามเณรต้องการจะอุปสมบท ถ้าสามเณร
นั้นจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “กระผมเองต้องการจะอุปสมบท ขอ
อาราธนาภิกษุทั้งหลายมา กระผมประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย แม้สามเณรนั้น
จะไม่ส่งทูตมา ก็ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อสามเณรนั้นส่งทูต
มา พึงไปด้วยตั้งใจว่า “เราจักทำความขวนขวายให้อุปสมบท หรือจักช่วยสวด
กรรมวาจา หรือจักเป็นคณปูรกะ” แต่พึงกลับใน ๗ วัน

สัตตาหกรณียะเนื่องด้วยสามเณรี ๖ กรณี
[๑๙๗] ๑. ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ สามเณรีเป็นไข้ ถ้าสามเณรีนั้นจะ
พึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “ดิฉันเป็นไข้ ขออาราธนาพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายมา
ดิฉันประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย แม้สามเณรีนั้นจะไม่ส่งทูตมา ก็ไปด้วย
สัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อสามเณรีนั้นส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า
“เราจักแสวงหาคิลานภัต คิลานุปัฏฐากภัต หรือคิลานเภสัช จักถามอาการ หรือ
จักพยาบาล” แต่พึงกลับใน ๗ วัน
๒. ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ความไม่ยินดีเกิดขึ้นแก่สามเณรี ...
๓. ความรำคาญเกิดขึ้นแก่สามเณรี ...
๔. ความเห็นผิดเกิดขึ้นแก่สามเณรี ...
๕. สามเณรีต้องการจะถามปี ถ้าสามเณรีนั้นจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุ
ทั้งหลายว่า “ดิฉันต้องการจะถามปี ขออาราธนาพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายมา ดิฉัน
ประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย แม้สามเณรีนั้นจะไม่ส่งทูตมา ก็ไปด้วยสัตตาห
กรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อสามเณรีนั้นส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า “เราจักถาม
หรือจักบอก” แต่พึงกลับใน ๗ วัน
๖. ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ สามเณรีต้องการจะสมาทานสิกขา
ถ้าสามเณรีนั้นจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “ดิฉันต้องการจะสมาทาน
สิกขา ขออาราธนาพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายมา ดิฉันประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย
แม้สามเณรีนั้นจะไม่ส่งทูตมา ก็ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อ
สามเณรีนั้นส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า “เราจักทำความขวนขวายให้สมาทานสิกขา”
แต่พึงกลับใน ๗ วัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๐๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ] ๑๑๑. สัตตอัปปหิตานุชานนา
๑๑๑. สัตตอัปปหิตานุชานนา
ว่าด้วยทรงอนุญาตสัตตาหกรณียะเมื่อบุคคล ๗ จำพวกจะไม่ส่งทูตมา

เรื่องมารดาบิดาเป็นไข้
[๑๙๘] สมัยนั้น มารดาของภิกษุรูปหนึ่งเป็นไข้ มารดานั้นส่งทูตไปในสำนัก
ภิกษุผู้เป็นบุตรว่า “ดิฉันเป็นไข้ ขอบุตรของดิฉันจงมา ดิฉันประสงค์ให้มา”
ลำดับนั้น ภิกษุนั้นคิดว่า “พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า เมื่อบุคคล ๗
จำพวกส่งทูตมา ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ แต่เมื่อไม่ส่งทูตมา จะไปไม่ได้ สำหรับ
สหธรรมิกทั้ง ๕ แม้ไม่ส่งทูตมา ก็ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อ
สหธรรมิกทั้ง ๕ นั้น ส่งทูตมา อนึ่ง มารดาของเรานี้เป็นไข้ แต่มารดานั้นไม่ได้เป็น
อุบาสิกา เราจะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย แม้เมื่อบุคคล ๗ จำพวก คือ ภิกษุ
ภิกษุณี สิกขมานา สามเณร สามเณรี มารดา และบิดา จะไม่ส่งทูตมา เราอนุญาต
ให้ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อบุคคล ๗ จำพวกนั้นส่งทูตมา
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคล ๗ จำพวกเหล่านี้ แม้มิได้ส่งทูตมา เราอนุญาตให้ไป
ด้วยสัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อบุคคล ๗ จำพวกนั้น ส่งทูตมา
แต่พึงกลับใน ๗ วัน
ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ มารดาของภิกษุเป็นไข้ ถ้ามารดานั้นจะพึงส่งทูตไป
ในสำนักของภิกษุผู้เป็นบุตรว่า “ดิฉันเป็นไข้ ขอบุตรของดิฉันจงมา ดิฉันประสงค์
ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย แม้มารดานั้นจะไม่ส่งทูตมา ก็ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ ไม่จำ
ต้องกล่าวถึงเมื่อมารดานั้นส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า “เราจักแสวงหาคิลานภัต
คิลานุปัฏฐากภัต หรือคิลานเภสัช จักถามอาการ หรือจักพยาบาล” แต่พึงกลับ
ใน ๗ วัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๑๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ] ๑๑๒. ปหิตานุชานนา
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ บิดาของภิกษุเป็นไข้ ถ้าบิดานั้นจะพึงส่งทูตไป
ในสำนักของภิกษุผู้เป็นบุตรว่า “ผมเป็นไข้ ขอบุตรของผมจงมา ผมประสงค์ให้มา”
ภิกษุทั้งหลาย แม้บิดานั้นจะไม่ส่งทูตมา ก็ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าว
ถึงเมื่อบิดานั้นส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า “เราจักแสวงหาคิลานภัต คิลานุปัฏฐากภัต
หรือคิลานเภสัช จักถามอาการ หรือจักพยาบาล” แต่พึงกลับใน ๗ วัน

๑๑๒. ปหิตานุชานนา
ว่าด้วยทรงอนุญาตสัตตาหกรณียะเมื่อพี่ชายน้องชายเป็นต้นส่งทูตมา
[๑๙๙] ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ พี่ชายน้องชายของภิกษุเป็นไข้ ถ้าพี่ชาย
น้องชายนั้นจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุผู้เป็นพี่ชายน้องชายว่า “กระผมเป็นไข้ ขอพี่ชาย
น้องชายของกระผมจงมา กระผมประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย เมื่อพี่ชายน้องชาย
นั้นส่งทูตมา พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ แต่เมื่อพี่ชายน้องชายนั้นไม่ส่งทูตมา
ไม่พึงไป (เมื่อไปด้วยสัตตาหกรณียะ) พึงกลับใน ๗ วัน
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ พี่สาวน้องสาวของภิกษุเป็นไข้ ถ้าพี่สาว
น้องสาวนั้นจะพึงส่งทูตไปในสำนักของภิกษุผู้เป็นพี่ชายน้องชายว่า “ดิฉันเป็นไข้ ขอพี่ชาย
น้องชายของดิฉันจงมา ดิฉันประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย เมื่อพี่สาวน้องสาวนั้น
ส่งทูตมา พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ แต่เมื่อพี่สาวน้องสาวนั้นไม่ส่งทูตมา ไม่พึงไป
(เมื่อไปด้วยสัตตาหกรณียะ) พึงกลับใน ๗ วัน
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ญาติของภิกษุเป็นไข้ ถ้าญาตินั้นจะพึงส่งทูตไป
ในสำนักภิกษุว่า “กระผมเป็นไข้ ขอพระคุณเจ้าจงมา กระผมประสงค์ให้มา”
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อญาตินั้นส่งทูตมา พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ แต่เมื่อญาตินั้น
ไม่ส่งทูตมา ไม่พึงไป (เมื่อไปด้วยสัตตาหกรณียะ) พึงกลับใน ๗ วัน
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ บุรุษผู้อาศัยอยู่กับภิกษุเป็นไข้ ถ้าบุรุษนั้น
จะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุว่า “กระผมเป็นไข้ ขออาราธนาพระคุณเจ้าทั้งหลายมา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๑๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ] ๑๑๓. อันตรายอนาปัตติวัสสเฉทวาร
กระผมประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุรุษนั้นส่งทูตมา พึงไปด้วยสัตตาห
กรณียะได้ แต่เมื่อบุรุษนั้นไม่ส่งทูตมา ไม่พึงไป (เมื่อไปด้วยสัตตาหกรณียะ) พึงกลับ
ใน ๗ วัน

ทรงอนุญาตสัตตาหกรณียะเฉพาะกิจของสงฆ์
สมัยนั้น วิหารของสงฆ์หักพัง อุบาสกคนหนึ่งได้ตัดเครื่องทัพพสัมภาระทิ้งไว้
ในป่า อุบาสกนั้นได้ส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “ถ้าพระคุณเจ้าทั้งหลาย
จะพึงขนเครื่องทัพพสัมภาระนั้นมาได้ กระผมขอถวายเครื่องทัพพสัมภาระนั้น”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้
แต่พึงกลับใน ๗ วัน”

๑๑๓. อันตรายอนาปัตติวัสสเฉทวาร
ว่าด้วยการขาดพรรษาโดยไม่ต้องอาบัติในเมื่อมีอันตราย

เรื่องสัตว์ร้ายเบียดเบียน
[๒๐๐] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเข้าจำพรรษา ณ อาวาสแห่งหนึ่งในแคว้นโกศล
ถูกสัตว์ร้ายเบียดเบียน มันจับเอาไว้บ้าง วิ่งไล่ไปรอบ ๆ บ้าง
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ภิกษุทั้งหลายเข้าจำ
พรรษาถูกสัตว์ร้ายเบียดเบียน มันจับเอาไว้บ้าง วิ่งไล่ไปรอบ ๆ บ้าง ภิกษุเหล่านั้น
พึงหลีกไปด้วยสำคัญว่า “นั่นแลอันตราย” ไม่ต้องอาบัติเนื่องจากขาดพรรษา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๑๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ] ๑๑๓. อันตรายอนาปัตติวัสสเฉทวาร
เรื่องงูเบียดเบียน
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุทั้งหลายเข้าจำพรรษา ถูกงูเบียดเบียน
มันขบกัดเอาบ้าง เลื้อยไล่ไปรอบ ๆ บ้าง ภิกษุเหล่านั้นพึงหลีกไปด้วยสำคัญว่า
“นั่นแลอันตราย” ไม่ต้องอาบัติเนื่องจากขาดพรรษา

เรื่องพวกโจรเบียดเบียน
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุทั้งหลายเข้าจำพรรษา ถูกพวกโจร
เบียดเบียน มันปล้นบ้าง รุมตีบ้าง ภิกษุเหล่านั้นพึงหลีกไปด้วยสำคัญว่า
“นั่นแลอันตราย” ไม่ต้องอาบัติเนื่องจากขาดพรรษา

เรื่องปีศาจรบกวน
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุทั้งหลายเข้าจำพรรษา ถูกพวกปีศาจ
รบกวน มันเข้าสิงบ้าง ฆ่าเอาบ้าง ภิกษุเหล่านั้นพึงหลีกไปด้วยสำคัญว่า “นั่นแล
อันตราย” ไม่ต้องอาบัติเนื่องจากขาดพรรษา

เรื่องหมู่บ้านถูกไฟไหม้
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ เมื่อภิกษุทั้งหลายเข้าจำพรรษา หมู่บ้าน
ถูกไฟไหม้ ภิกษุทั้งหลายลำบากด้วยบิณฑบาต ภิกษุเหล่านั้นพึงหลีกไปด้วยสำคัญว่า
“นั่นแลอันตราย” ไม่ต้องอาบัติเนื่องจากขาดพรรษา

เรื่องเสนาสนะถูกไฟไหม้
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ เมื่อภิกษุทั้งหลายเข้าจำพรรษา เสนาสนะถูก
ไฟไหม้ ภิกษุทั้งหลายเดือดร้อนด้วยเสนาสนะ ภิกษุเหล่านั้นพึงหลีกไปด้วยสำคัญ
ว่า “นั่นแลอันตราย” ไม่ต้องอาบัติเนื่องจากขาดพรรษา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๑๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ] ๑๑๓. อันตรายอนาปัตติวัสสเฉทวาร
เรื่องหมู่บ้านถูกน้ำท่วม
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ เมื่อภิกษุทั้งหลายเข้าจำพรรษา หมู่บ้าน
ถูกน้ำท่วม ภิกษุทั้งหลายลำบากด้วยบิณฑบาต ภิกษุเหล่านั้นพึงหลีกไปด้วย
สำคัญว่า “นั่นแลอันตราย” ไม่ต้องอาบัติเนื่องจากขาดพรรษา

เรื่องเสนาสนะถูกน้ำท่วม
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ เมื่อภิกษุทั้งหลายเข้าจำพรรษา เสนาสนะ
ถูกน้ำท่วม ภิกษุทั้งหลายเดือดร้อนด้วยเสนาสนะ ภิกษุเหล่านั้นพึงหลีกไปด้วย
สำคัญว่า “นั่นแลอันตราย” ไม่ต้องอาบัติเนื่องจากขาดพรรษา

เรื่องชาวบ้านอพยพไปเพราะโจรภัย
[๒๐๑] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเข้าจำพรรษาในอาวาสแห่งหนึ่ง ชาวบ้าน
อพยพไปเพราะโจรภัย
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ตามชาวบ้านไป”

เรื่องทรงอนุญาตให้ตามทายกมีจำนวนมากกว่า
ชาวบ้านแตกแยกเป็นสองพวก
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ตามชาวบ้านที่มาก
กว่าไป”
ชาวบ้านที่มากกว่าไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใส
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ตามชาวบ้านที่มี
ศรัทธาเลื่อมใสไป”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๑๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ] ๑๑๓. อันตรายอนาปัตติวัสสเฉทวาร
เรื่องไม่ได้โภชนะธรรมดาหรือประณีตเป็นต้น
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเข้าจำพรรษา ณ อาวาสแห่งหนึ่งในแคว้นโกศล ไม่ได้
โภชนาหารธรรมดาหรือประณีตบริบูรณ์ตามต้องการ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ภิกษุทั้งหลายเข้า
จำพรรษา ไม่ได้โภชนาหารธรรมดาหรือประณีตบริบูรณ์ตามต้องการ ภิกษุเหล่านั้น
พึงหลีกไปด้วยสำคัญว่า “นั่นแลอันตราย” ไม่ต้องอาบัติเนื่องจากขาดพรรษา
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุทั้งหลายเข้าจำพรรษา ได้โภชนาหาร
ธรรมดาหรือประณีตบริบูรณ์ตามต้องการ แต่ไม่ได้โภชนาหารที่สบาย ภิกษุเหล่านั้น
พึงหลีกไปด้วยสำคัญว่า “นั่นแลอันตราย” ไม่ต้องอาบัติเนื่องจากขาดพรรษา
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุทั้งหลายเข้าจำพรรษา ได้โภชนาหาร
ธรรมดาหรือประณีตบริบูรณ์ตามต้องการและได้โภชนาหารที่สบาย แต่ไม่ได้เภสัช
ที่สบาย ภิกษุเหล่านั้นพึงหลีกไปด้วยสำคัญว่า “นั่นแลอันตราย” ไม่ต้องอาบัติ
เนื่องจากขาดพรรษา
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุทั้งหลายเข้าจำพรรษา ได้โภชนาหาร
ธรรมดาหรือประณีตบริบูรณ์ตามต้องการ ได้โภชนาหารที่สบาย ได้เภสัชที่สบาย
แต่ไม่ได้อุปัฏฐากผู้สมควร ภิกษุเหล่านั้นพึงหลีกไปด้วยสำคัญว่า “นั่นแลอันตราย”
ไม่ต้องอาบัติเนื่องจากขาดพรรษา

เรื่องสตรีนิมนต์
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ สตรีนิมนต์ภิกษุผู้เข้าจำพรรษาว่า “ท่านจง
มาเถิดเจ้าข้า ดิฉันจะถวายเงิน ทอง นา สวน พ่อโค แม่โค ทาส ทาสีแก่ท่าน
หรือจะยกลูกสาวให้เป็นภรรยาของท่าน ดิฉันจะเป็นภรรยาของท่าน หรือจะนำสตรี
อื่นมาให้เป็นภรรยาของท่าน” ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุคิดอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาค
ตรัสว่า จิตกลับกลอกเร็วนัก สักหน่อยจะเป็นอันตรายแก่พรหมจรรย์ของเราก็ได้
พึงหลีกไปเสีย ไม่ต้องอาบัติเนื่องจากขาดพรรษา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๑๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ] ๑๑๔. สังฆเภทอนาปัตติวัสสเฉทวาร
เรื่องหญิงแพศยานิมนต์
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ หญิงแพศยานิมนต์ภิกษุผู้เข้าจำพรรษา
... หญิงสาวเทื้อนิมนต์ ... ... บัณเฑาะก์นิมนต์...
... พวกญาตินิมนต์ ... ... พระราชาทั้งหลายนิมนต์...
... พวกโจรนิมนต์ ...
... พวกนักเลงนิมนต์ภิกษุผู้เข้าจำพรรษาว่า “ท่านจงมาเถิดขอรับ พวกผม
จะถวายเงิน ทอง นา สวน พ่อโค แม่โค ทาส ทาสีแก่ท่าน หรือจะยกลูกสาว
ให้เป็นภรรยาของท่าน หรือจะนำสตรีอื่นมาให้เป็นภรรยาของท่าน” ในเรื่องนั้น
ถ้าภิกษุคิดอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า จิตกลับกลอกเร็วนัก สักหน่อยจะ
เป็นอันตรายแก่พรหมจรรย์ของเราก็ได้ พึงหลีกไปเสีย ไม่ต้องอาบัติเนื่องจากขาดพรรษา

เรื่องพบขุมทรัพย์
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุเข้าจำพรรษา พบขุมทรัพย์ไม่มีเจ้าของ
ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุคิดอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า จิตกลับกลอกเร็วนัก
อีกหน่อยจะเป็นอันตรายแก่พรหมจรรย์ของเราก็ได้ พึงหลีกไปเสีย ไม่ต้องอาบัติ
เนื่องจากขาดพรรษา

๑๑๔. สังฆเภทอนาปัตติวัสสเฉทวาร
ว่าด้วยการขาดพรรษาโดยไม่ต้องอาบัติในเมื่อมีผู้พยายามทำลายสงฆ์

เรื่องทำลายสงฆ์ ๘ กรณี
[๒๐๒] ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ภิกษุเข้าจำพรรษา เห็นภิกษุมากรูป
กำลังเพียรพยายามทำลายสงฆ์ ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุคิดอย่างนี้ว่า “พระผู้มีพระภาค
ตรัสว่า การทำลายสงฆ์เป็นกรรมหนักนัก เมื่อเรายังอยู่พร้อมหน้า สงฆ์อย่าแตก
กันเลย” พึงหลีกไปเสีย ไม่ต้องอาบัติเนื่องจากขาดพรรษา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๑๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ] ๑๑๔. สังฆเภทอนาปัตติวัสสเฉทวาร
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุทั้งหลายเข้าจำพรรษาได้ยินข่าวว่า
ภิกษุมากรูปในอาวาสโน้นกำลังเพียรพยายามทำลายสงฆ์ ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุคิด
อย่างนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคตรัสว่า การทำลายสงฆ์เป็นกรรมหนักนัก เมื่อเรายังอยู่
พร้อมหน้า สงฆ์อย่าแตกกันเลย” พึงหลีกไปเสีย ไม่ต้องอาบัติเนื่องจากขาดพรรษา
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุเข้าจำพรรษาได้ยินข่าวว่า ภิกษุมากรูป
ในอาวาสโน้นกำลังเพียรพยายามทำลายสงฆ์ ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุคิดอย่างนี้ว่า
“ภิกษุเหล่านั้นล้วนเป็นมิตรของเรา เราจักว่ากล่าวภิกษุเหล่านั้นว่า ท่านทั้งหลาย
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า การทำลายสงฆ์เป็นกรรมหนักนัก พวกท่านอย่าชอบใจ
การทำลายสงฆ์เลย ภิกษุเหล่านั้นจักทำตามคำของเรา จักเชื่อฟัง จักเงี่ยโสต”
พึงหลีกไปเสีย ไม่ต้องอาบัติเนื่องจากขาดพรรษา
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุเข้าจำพรรษาได้ยินข่าวว่า ภิกษุมากรูป
ในอาวาสโน้นกำลังเพียรพยายามทำลายสงฆ์ ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุคิดอย่างนี้ว่า
“ภิกษุเหล่านั้นไม่ใช่มิตรของเรา แต่ภิกษุทั้งหลายที่เป็นมิตรกับภิกษุเหล่านั้นเป็น
มิตรของเรา เราจักบอกภิกษุเหล่านั้น ภิกษุเหล่านั้นที่เราบอก ก็จักว่ากล่าวภิกษุ
เหล่านั้นว่า ท่านทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคตรัสว่า การทำลายสงฆ์เป็นกรรมหนักนัก
พวกท่านอย่าชอบใจการทำลายสงฆ์เลย ภิกษุเหล่านั้นจักทำตามคำของภิกษุเหล่านั้น
จักเชื่อฟัง จักเงี่ยโสต” พึงหลีกไปเสีย ไม่ต้องอาบัติเนื่องจากขาดพรรษา
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุเข้าจำพรรษาได้ยินข่าวว่า ภิกษุมากรูป
ในอาวาสโน้นจะทำลายสงฆ์ ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุคิดอย่างนี้ว่า “ภิกษุเหล่านั้นล้วน
เป็นมิตรของเรา เราจักว่ากล่าวภิกษุเหล่านั้นว่า ท่านทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคตรัส
ว่า การทำลายสงฆ์เป็นกรรมหนักนัก พวกท่านอย่าชอบใจการทำลายสงฆ์เลย
ภิกษุเหล่านั้นจักทำตามคำของเรา จักเชื่อฟัง จักเงี่ยโสต” พึงหลีกไปเสีย ไม่ต้อง
อาบัติเนื่องจากขาดพรรษา
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุเข้าจำพรรษาได้ยินข่าวว่า ภิกษุมากรูป
ในอาวาสโน้นได้ทำลายสงฆ์แล้ว ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุคิดอย่างนี้ว่า “ภิกษุเหล่านั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๑๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ] ๑๑๔ สังฆเภทอนาปัตติวัสสเฉทวา
ไม่ใช่มิตรของเราเลย แต่ภิกษุทั้งหลายที่เป็นมิตรกับภิกษุเหล่านั้นเป็นมิตรของเรา
เราจักบอกภิกษุเหล่านั้น ภิกษุเหล่านั้นที่เราบอก ก็จักว่ากล่าวภิกษุเหล่านั้นว่า
ท่านทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคตรัสว่า การทำลายสงฆ์เป็นกรรมหนักนัก พวกท่าน
อย่าชอบใจการทำลายสงฆ์เลย ภิกษุเหล่านั้นจักทำตามคำของภิกษุเหล่านั้น
จักเชื่อฟัง จักเงี่ยโสต” พึงหลีกไปเสีย ไม่ต้องอาบัติเนื่องจากขาดพรรษา
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุเข้าจำพรรษาได้ยินข่าวว่า ภิกษุณีมากรูป
ในอาวาสโน้นกำลังเพียรพยายามทำลายสงฆ์ ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุคิดอย่างนี้ว่า
“ภิกษุณีเหล่านั้นล้วนเป็นมิตรของเรา เราจักว่ากล่าวภิกษุณีเหล่านั้นว่า น้องหญิง
ทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคตรัสว่า การทำลายสงฆ์เป็นกรรมหนักนัก พวกน้องหญิง
อย่าชอบใจการทำลายสงฆ์เลย ภิกษุณีเหล่านั้นจักทำตามคำของเรา จักเชื่อฟัง
จักเงี่ยโสต” พึงหลีกไปเสีย ไม่ต้องอาบัติเนื่องจากขาดพรรษา
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุเข้าจำพรรษาได้ยินข่าวว่า ภิกษุณีมาก
รูปในอาวาสโน้นกำลังเพียรพยายามทำลายสงฆ์ ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุคิดอย่างนี้ว่า
“ภิกษุณีเหล่านั้นไม่ใช่มิตรของเรา แต่ภิกษุณีทั้งหลายที่เป็นมิตรกับภิกษุณีเหล่านั้น
เป็นมิตรของเรา เราจักบอกภิกษุณีเหล่านั้น ภิกษุณีเหล่านั้นที่เราบอก ก็จักว่ากล่าว
ภิกษุณีที่เพียรพยายามทำลายสงฆ์เหล่านั้นว่า น้องหญิงทั้งหลาย พระผู้มีพระภาค
ตรัสว่า การทำลายสงฆ์เป็นกรรมหนักนัก พวกน้องหญิงอย่าชอบใจการทำลายสงฆ์เลย
ภิกษุณีเหล่านั้นจักทำตามคำของภิกษุณีเหล่านั้น จักเชื่อฟัง จักเงี่ยโสต” พึงหลีก
ไปเสีย ไม่ต้องอาบัติเนื่องจากขาดพรรษา
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุเข้าจำพรรษาได้ยินข่าวว่า ภิกษุณีมากรูป
ในอาวาสโน้นจะทำลายสงฆ์ ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุคิดอย่างนี้ว่า “ภิกษุณีเหล่านั้น
ล้วนเป็นมิตรของเรา เราจักว่ากล่าวภิกษุณีเหล่านั้นว่า น้องหญิงทั้งหลาย พระผู้มี
พระภาคตรัสว่า การทำลายสงฆ์เป็นกรรมหนักนัก พวกน้องหญิงอย่าชอบใจการทำลาย
สงฆ์เลย ภิกษุณีเหล่านั้นจักทำตามคำของเรา จักเชื่อฟัง จักเงี่ยโสต” พึงหลีกไปเสีย
ไม่ต้องอาบัติเนื่องจากขาดพรรษา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๑๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ] ๑๑๕. วชาทิวัสสูปคมนะ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุเข้าจำพรรษาได้ยินข่าวว่า ภิกษุณี
มากรูป ในอาวาสโน้นได้ทำลายสงฆ์แล้ว ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุคิดอย่างนี้ว่า
“ภิกษุณีเหล่านั้น ไม่ใช่มิตรของเรา แต่ภิกษุณีทั้งหลายที่เป็นมิตรกับภิกษุณีเหล่า
นั้นเป็นมิตรของเรา เราจักบอกภิกษุณีเหล่านั้น ภิกษุณีเหล่านั้นที่เราบอก ก็จักว่า
กล่าวภิกษุณีที่ทำลายสงฆ์เหล่านั้นว่า น้องหญิงทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
การทำลายสงฆ์เป็นกรรมหนักนัก พวกน้องหญิงอย่าชอบใจการทำลายสงฆ์เลย
ภิกษุณีเหล่านั้น จักทำตามคำของภิกษุณีเหล่านั้น จักเชื่อฟัง จักเงี่ยโสต” พึงหลีก
ไปเสีย ไม่ต้องอาบัติเนื่องจากขาดพรรษา

๑๑๕. วชาทิวัสสูปคมนะ
ว่าด้วยการเข้าจำพรรษาในคอกโคเป็นต้น

เรื่องเข้าจำพรรษาในคอกโค
[๒๐๓] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งต้องการจะเข้าจำพรรษาในคอกโค๑
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เข้าจำพรรษาใน
คอกโคได้” คอกโคย้ายไป
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เดินทางไปกับคอกโคได้”

เรื่องเข้าจำพรรษาในหมู่เกวียน
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเมื่อใกล้วันเข้าพรรษาต้องการจะไปกับหมู่เกวียน
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

เชิงอรรถ :
๑ คอกโค ในที่นี้หมายถึงสถานที่ซึ่งคนเลี้ยงโคพักอาศัย ในขณะที่ต้อนโคไปเลี้ยง ณ ที่แห่งใดแห่งหนึ่ง
ไม่ได้หมายถึงคอกโคที่ประจำอยู่ตามหมู่บ้าน (วิ.อ. ๓/๒๐๓/๑๕๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๑๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ] ๑๑๖. วัสสานุปคันตัพพัฏฐาน
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เข้าจำพรรษาในหมู่
เกวียนได้”

เรื่องเข้าจำพรรษาในเรือ
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเมื่อใกล้วันเข้าพรรษาต้องการจะเดินทางไปกับเรือ
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เข้าจำพรรษาในเรือได้”

๑๑๖. วัสสานุปคันตัพพัฏฐาน
ว่าด้วยสถานที่ไม่ควรเข้าจำพรรษา

เรื่องเข้าจำพรรษาในโพรงไม้
[๒๐๔] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเข้าจำพรรษาในโพรงไม้ มนุษย์ทั้งหลายพากัน
ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “เหมือนพวกปีศาจ”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงเข้าจำพรรษาในโพรงไม้
รูปใดเข้าจำ ต้องอาบัติทุกกฏ”

เรื่องเข้าจำพรรษาบนค่าคบไม้
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเข้าจำพรรษาบนค่าคบไม้ มนุษย์ทั้งหลายพากันตำหนิ
ประณาม โพนทะนาว่า “เหมือนพวกพรานเนื้อ”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงเข้าจำพรรษาบนค่าคบไม้
รูปใดเข้าจำ ต้องอาบัติทุกกฏ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๒๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ] ๑๑๖. วัสสานุปคันตัพพัฏฐาน
เรื่องเข้าจำพรรษาในที่แจ้ง
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเข้าจำพรรษาในที่แจ้ง เมื่อฝนตก พากันวิ่งเข้า
โคนไม้บ้าง ชายคาบ้าง
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงเข้าจำพรรษาในที่แจ้ง
รูปใดเข้าจำ ต้องอาบัติทุกกฏ”

เรื่องภิกษุไม่มีเสนาสนะจำพรรษา
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายไม่มีเสนาสนะเป็นที่เข้าจำพรรษา เดือดร้อนเพราะ
ความหนาวบ้าง ความร้อนบ้าง
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่มีเสนาสนะ ไม่พึงเข้าจำ
พรรษา รูปใดเข้าจำ ต้องอาบัติทุกกฏ”

เรื่องเข้าจำพรรษาในกระท่อมผี
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเข้าจำพรรษาในกระท่อมผี๑ มนุษย์ทั้งหลายพากันตำหนิ
ประณาม โพนทะนาว่า “เหมือนพวกสัปเหร่อ”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงเข้าจำพรรษาในกระท่อมผี
รูปใดเข้าจำ ต้องอาบัติทุกกฏ”

เชิงอรรถ :
๑ กระท่อมผี หมายถึงกระท่อมที่เขาสร้างไว้ในป่าช้าเป็นที่เก็บศพ (ปาจิตฺยาทิโยชนา ๓๒๑ ม.) หรือเตียง
ตั่งที่เขาตั้งไว้ในป่าช้าและเทวสถาน และเรือนที่สร้างก่อแผ่นศิลา ๔ ด้าน และวางแผ่นศิลาทับไว้ข้างบน
(โกดังเก็บศพ) ทรงห้ามเข้าจำพรรษาในสถานที่ดังกล่าวนี้ แต่จะสร้างกุฎีหรือกระท่อมอื่นในป่าช้าแล้ว
เข้าจำพรรษาได้ ไม่ทรงห้าม (วิ.อ. ๓/๒๐๔/๑๕๑-๑๕๒, สารตฺถ.ฏีกา ๓/๒๐๔/๓๔๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๒๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ] ๑๑๗. อธัมมิกกติกา
เรื่องเข้าจำพรรษาในร่ม
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเข้าจำพรรษาในร่ม มนุษย์ทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม
โพนทะนาว่า “เหมือนพวกคนเลี้ยงโค”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงเข้าจำพรรษาในร่ม
รูปใดเข้าจำ ต้องอาบัติทุกกฏ”

เรื่องเข้าจำพรรษาในตุ่ม
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเข้าจำพรรษาในตุ่ม มนุษย์ทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม
โพนทะนาว่า “เหมือนพวกเดียรถีย์”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงเข้าจำพรรษาในตุ่ม
รูปใดเข้าจำ ต้องอาบัติทุกกฏ”

๑๑๗. อธัมมิกกติกา
ว่าด้วยการตั้งกติกาไม่ชอบธรรม

เรื่องตั้งกติกาไม่ชอบธรรม
[๒๐๕] สมัยนั้น พระสงฆ์ในกรุงสาวัตถีได้ตั้งกติกาเช่นนี้ว่า ในระหว่างพรรษา
ไม่พึงให้บรรพชา
หลานชายของนางวิสาขามิคารมาตาเข้าไปหาภิกษุทั้งหลายแล้วขอบรรพชา
ภิกษุทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ว่า “คุณ พระสงฆ์ได้ตั้งกติกาเช่นนี้ว่า ในระหว่าง
พรรษา ไม่พึงให้บรรพชา คุณจงรอจนกว่าภิกษุทั้งหลายเข้าจำพรรษา ออกพรรษา
แล้วจึงบวชได้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๒๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ] ๑๑๘. ปฏิสสวทุกกฏาปัตติ
ต่อมา ภิกษุเหล่านั้นออกพรรษาแล้ว ได้กล่าวกับหลานชายของนางวิสาขา
มิคารมาตาดังนี้ว่า “บัดนี้ คุณจงมาบวชเถิด”
หลานชายของนางวิสาขามิคารมาตานั้น กล่าวอย่างนี้ว่า “พระคุณเจ้าทั้งหลาย
ถ้ากระผมพึงบรรพชาแล้วไซร้ ก็พึงยินดียิ่ง บัดนี้กระผมจักไม่บรรพชาละ ขอรับ”
นางวิสาขามิคารมาตาจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน พระคุณเจ้า
ทั้งหลายจึงได้ตั้งกติกาเช่นนี้ว่า ในระหว่างพรรษา ไม่พึงให้บรรพชา กาลเช่นไรเล่า
ไม่พึงประพฤติธรรม”
ภิกษุทั้งหลายได้ยินนางวิสาขามิคารมาตาตำหนิ ประณาม โพนทะนา จึงนำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงตั้งกติกาเช่นนี้ว่า ในระหว่าง
พรรษา ไม่พึงให้บรรพชา สงฆ์หมู่ใดตั้ง ต้องอาบัติทุกกฏ”

๑๑๘. ปฏิสสวทุกกฏาปัตติ
ว่าด้วยการต้องอาบัติทุกกฏเพราะรับคำ

เรื่องพระอุปนันทะเข้าจำพรรษาในอาวาส ๒ แห่ง
[๒๐๖] สมัยนั้น ท่านพระอุปนันทศากยบุตรได้รับคำกับพระเจ้าปเสนทิโกศล
ว่าจะเข้าจำพรรษาในวันเข้าพรรษาต้น ท่านกำลังไปอาวาสนั้น ระหว่างทางได้เห็น
อาวาส ๒ แห่ง มีจีวรมาก แล้วได้มีความคิดดังนี้ว่า “ถ้ากระไร เราพึงเข้า
จำพรรษาในอาวาส ๒ แห่งนี้ เมื่อเป็นเช่นนี้ จีวรเป็นอันมากจักเกิดขึ้นแก่เรา”
จึงเข้าจำพรรษาในอาวาส ๒ แห่งนั้น
พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน พระคุณเจ้า
อุปนันทศากยบุตรได้รับคำต่อเราว่าจะเข้าจำพรรษาแล้ว จึงได้ทำให้คลาดจากคำ
พูดเสียเล่า พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิการกล่าวเท็จ ทรงสรรเสริญการงดเว้นจาก
การกล่าวเท็จ โดยประการต่าง ๆ มิใช่หรือ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๒๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ] ๑๑๘. ปฏิสสวทุกกฏาปัตติ
ภิกษุทั้งหลายได้ยินพระเจ้าปเสนทิโกศลตำหนิ ประณาม โพนทะนาอยู่
บรรดาภิกษุผู้มักน้อยจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน ท่านพระอุปนันท
ศากยบุตรได้รับคำกับพระเจ้าปเสนทิโกศลว่าจะเข้าจำพรรษา แล้วจึงได้ทำให้คลาด
จากคำพูดเสียเล่า พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิการกล่าวเท็จ ทรงสรรเสริญการงดเว้น
จากการกล่าวเท็จ โดยประการต่าง ๆ มิใช่หรือ” จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ
ทรงสอบถามท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า “อุปนันทะ ทราบว่าเธอได้ถวายปฏิญญา
ต่อพระเจ้าปเสนทิโกศลว่าจะเข้าจำพรรษา แล้วทำให้คลาดจากคำพูดเสีย จริงหรือ”
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษ ไฉนเธอได้ถวายปฏิญญา
ต่อพระเจ้าปเสนทิโกศลว่าจะเข้าจำพรรษา แล้วทำให้คลาดจากคำพูดเสียเล่า
เราตำหนิการกล่าวเท็จ สรรเสริญการงดเว้นจากการกล่าวเท็จ โดยประการต่าง ๆ
มิใช่หรือ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” ครั้นทรง
ตำหนิแล้วทรงแสดงธรรมีกถารับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า
[๒๐๗] ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ภิกษุรับคำไว้ว่าจะเข้าจำพรรษาในวันเข้า
พรรษาต้น ภิกษุนั้นกำลังไปอาวาสนั้น ระหว่างทางได้เห็นอาวาส ๒ แห่ง มีจีวรมาก
แล้วได้มีความคิดดังนี้ว่า “ถ้ากระไร เราพึงเข้าจำพรรษาในอาวาส ๒ แห่งนี้
เมื่อเป็นเช่นนี้ จีวรเป็นอันมากจักเกิดขึ้นแก่เรา” แล้วเข้าจำพรรษาในอาวาส ๒ แห่ง
ภิกษุทั้งหลาย วันเข้าพรรษาต้นของภิกษุนั้นไม่ปรากฏ และเธอต้องอาบัติทุกกฏ
เพราะรับคำ๑
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุรับคำไว้ว่าจะเข้าจำพรรษาในวันเข้า
พรรษาต้น ภิกษุนั้นไปอาวาสนั้นทำอุโบสถกรรมภายนอก ถึงวันแรม ๑ ค่ำ

เชิงอรรถ :
๑ อาบัติทุกกฏที่ต้องเพราะรับคำ เรียกว่า ปฏิสสวทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๒๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ] ๑๑๘. ปฏิสสวทุกกฏาปัตติ
จึงเข้าวิหาร จัดเสนาสนะ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ กวาดบริเวณ ไม่มีกิจจำต้องทำหลีกไป
ในวันนั้นทีเดียว ภิกษุทั้งหลาย วันเข้าพรรษาต้นของภิกษุนั้นไม่ปรากฏ และภิกษุนั้น
ต้องอาบัติทุกกฏเพราะรับคำ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุรับคำไว้ว่าจะเข้าจำพรรษาในวันเข้า
พรรษาต้น ภิกษุนั้นไปอาวาสนั้นทำอุโบสถกรรมภายนอก ถึงวันแรม ๑ ค่ำ
จึงเข้าวิหาร จัดเสนาสนะ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ กวาดบริเวณ มีกิจจำต้องทำหลีกไปใน
วันนั้นทีเดียว ภิกษุทั้งหลาย วันเข้าพรรษาต้นของภิกษุนั้นไม่ปรากฏ และภิกษุนั้น
ต้องอาบัติทุกกฏเพราะรับคำ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุรับคำไว้ว่าจะเข้าจำพรรษาในวันเข้า
พรรษาต้น ภิกษุนั้นไปอาวาสนั้นทำอุโบสถกรรมภายนอก ถึงวันแรม ๑ ค่ำ
จึงเข้าวิหาร จัดเสนาสนะ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ กวาดบริเวณ พักอยู่ ๒-๓ วัน ไม่มีกิจจำ
ต้องทำหลีกไป ภิกษุทั้งหลาย วันเข้าพรรษาต้นของภิกษุนั้นไม่ปรากฏ และภิกษุนั้น
ต้องอาบัติทุกกฏเพราะรับคำ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุรับคำไว้ว่าจะเข้าจำพรรษาในวันเข้า
พรรษาต้น ภิกษุนั้นไปอาวาสนั้นทำอุโบสถกรรมภายนอก ถึงวันแรม ๑ ค่ำ
จึงเข้าวิหาร จัดเสนาสนะ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ กวาดบริเวณ พักอยู่ ๒-๓ วัน มีกิจจำต้อง
ทำหลีกไป ภิกษุทั้งหลาย วันเข้าพรรษาต้นของภิกษุนั้นไม่ปรากฏ และภิกษุนั้น
ต้องอาบัติทุกกฏเพราะรับคำ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุรับคำไว้ว่าจะเข้าจำพรรษาในวันเข้า
พรรษาต้น ภิกษุนั้นไปอาวาสนั้นทำอุโบสถกรรมภายนอก ถึงวันแรม ๑ ค่ำ
จึงเข้าวิหาร จัดเสนาสนะ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ กวาดบริเวณ พักอยู่ ๒-๓ วัน หลีกไปด้วย
สัตตาหกรณียะ อยู่ภายนอกพ้น ๗ วัน ภิกษุทั้งหลาย วันเข้าพรรษาต้นของ
ภิกษุนั้นไม่ปรากฏ และภิกษุนั้นต้องอาบัติทุกกฏเพราะรับคำ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุรับคำไว้ว่าจะเข้าจำพรรษาในวันเข้า
พรรษาต้น ภิกษุนั้นไปอาวาสนั้นทำอุโบสถกรรมภายนอก ถึงวันแรม ๑ ค่ำ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๒๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ] ๑๑๘. ปฏิสสวทุกกฏาปัตติ
จึงเข้าวิหาร จัดเสนาสนะ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ กวาดบริเวณ พักอยู่ ๒-๓ วัน หลีกไปด้วย
สัตตาหกรณียะ กลับมาภายใน ๗ วัน ภิกษุทั้งหลาย วันเข้าพรรษาต้นของภิกษุ
นั้นปรากฏและภิกษุนั้นไม่ต้องอาบัติเพราะรับคำ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุรับคำไว้ว่าจะเข้าจำพรรษาในวันเข้า
พรรษาต้น ภิกษุนั้นไปอาวาสนั้นทำอุโบสถกรรมภายนอก ถึงวันแรม ๑ ค่ำ จึงเข้า
วิหาร จัดเสนาสนะ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ กวาดบริเวณ อีก ๗ วัน จะถึงวันปวารณา
มีกิจจำต้องทำหลีกไป ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้น จะกลับอาวาสนั้น หรือไม่กลับมา
ก็ตาม ภิกษุทั้งหลาย วันเข้าพรรษาต้นของภิกษุนั้นปรากฏ และภิกษุนั้นไม่ต้องอาบัติ
เพราะรับคำ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุรับคำไว้ว่าจะเข้าจำพรรษาในวันเข้า
พรรษาต้น ภิกษุนั้นไปอาวาสนั้นทำอุโบสถกรรมภายนอก ถึงวันแรม ๑ ค่ำ
จึงเข้าวิหาร จัดเสนาสนะ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ กวาดบริเวณ ไม่มีกิจจำต้องทำหลีกไป
ในวันนั้นทีเดียว ภิกษุทั้งหลาย วันเข้าพรรษาต้นของภิกษุนั้นไม่ปรากฏและภิกษุ
นั้นต้องอาบัติทุกกฏเพราะรับคำ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุรับคำไว้ว่าจะเข้าจำพรรษาในวันเข้า
พรรษาต้น ภิกษุนั้นไปอาวาสนั้นแล้วทำอุโบสถ ถึงวันแรม ๑ ค่ำจึงเข้าวิหาร
จัดอาสนะ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ กวาดบริเวณ มีกิจจำต้องทำหลีกไป ...
... พักอยู่ ๒-๓ วัน ไม่มีกิจจำต้องทำ หลีกไป...
... พักอยู่ ๒-๓ วัน มีกิจจำต้องทำหลีกไป ...
... พักอยู่ ๒-๓ วัน หลีกไปด้วยสัตตาหกรณียะ อยู่ภายนอกพ้น ๗ วัน
ภิกษุทั้งหลาย วันเข้าพรรษาต้นของภิกษุนั้นไม่ปรากฏ และภิกษุนั้นต้องอาบัติ
ทุกกฏเพราะรับคำ
... พักอยู่ ๒-๓ วัน หลีกไปด้วยสัตตาหกรณียะ กลับมาใน ๗ วัน
ภิกษุทั้งหลาย วันเข้าพรรษาต้นของภิกษุนั้นปรากฏ และภิกษุนั้นไม่ต้องอาบัติ
เพราะรับคำ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๒๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ] ๑๑๘. ปฏิสสวทุกกฏาปัตติ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุรับคำไว้ว่าจะเข้าจำพรรษาในวันเข้า
พรรษาต้น ภิกษุนั้นไปอาวาสนั้นทำอุโบสถกรรม ถึงวันแรม ๑ ค่ำ จึงเข้าวิหาร
จัดเสนาสนะ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ กวาดบริเวณ อีก ๗ วัน จะเป็นวันปวารณา มีกิจจำต้อง
ทำหลีกไป ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นจะกลับมาอาวาสนั้นหรือไม่กลับมาก็ตาม วันเข้า
พรรษาต้นของภิกษุนั้นปรากฏ และภิกษุนั้นไม่ต้องอาบัติเพราะรับคำ

เรื่องรับคำที่จะเข้าจำพรรษาหลัง
[๒๐๘] ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ภิกษุรับคำไว้ว่าจะเข้าจำพรรษาในวันเข้า
พรรษาหลัง ภิกษุนั้นไปอาวาสนั้นทำอุโบสถกรรมภายนอก ถึงวันแรม ๑ ค่ำ
จึงเข้าวิหาร จัดเสนาสนะ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ กวาดบริเวณ ไม่มีกิจจำต้องทำหลีกไปในวัน
นั้นทีเดียว ภิกษุทั้งหลาย วันเข้าพรรษาหลังของภิกษุนั้นไม่ปรากฏ และภิกษุนั้น
ต้องอาบัติทุกกฏเพราะรับคำ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุรับคำไว้ว่าจะเข้าจำพรรษาในวันเข้า
พรรษาหลัง ภิกษุนั้นไปอาวาสนั้นทำอุโบสถกรรมภายนอก ถึงวันแรม ๑ ค่ำ จึงเข้า
วิหาร จัดเสนาสนะ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ กวาดบริเวณ มีกิจจำต้องทำหลีกไปในวันนั้น
ทีเดียว ภิกษุทั้งหลาย วันเข้าพรรษาหลังของภิกษุนั้นไม่ปรากฏ และภิกษุนั้นต้อง
อาบัติทุกกฏเพราะรับคำ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุรับคำไว้ว่าจะเข้าจำพรรษาในวันเข้า
พรรษาหลัง ภิกษุนั้นไปอาวาสนั้นทำอุโบสถกรรมภายนอก ถึงวันแรม ๑ ค่ำ จึง
เข้าวิหาร จัดเสนาสนะ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ กวาดบริเวณ พักอยู่ ๒-๓ วัน ไม่มีกิจ
จำต้องทำหลีกไป ภิกษุทั้งหลาย วันเข้าพรรษาหลังของภิกษุนั้นไม่ปรากฏ และ
ภิกษุนั้นต้องอาบัติเพราะรับคำ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุรับคำไว้ว่าจะเข้าจำพรรษาในวันเข้า
พรรษาหลัง ... พักอยู่ ๒-๓ วัน มีกิจจำต้องทำหลีกไป ... วันเข้าพรรษาหลัง
ของภิกษุนั้นไม่ปรากฏ และภิกษุนั้นต้องอาบัติทุกกฏเพราะรับคำ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุรับคำไว้ว่าจะเข้าจำพรรษาในวันเข้าพรรษา
หลัง ... พักอยู่ ๒-๓ วัน หลีกไปด้วยสัตตาหกรณียะ อยู่ภายนอกพ้น ๗ วัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๒๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ] ๑๑๘. ปฏิสสวทุกกฏาปัตติ
ภิกษุทั้งหลาย วันเข้าพรรษาหลังของภิกษุนั้นไม่ปรากฏ และภิกษุนั้นต้องอาบัติ
ทุกกฏเพราะรับคำ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุรับคำไว้ว่าจะเข้าจำพรรษาในวันเข้า
พรรษาหลัง ภิกษุนั้นไปอาวาสนั้นทำอุโบสถกรรมภายนอก ถึงวันแรม ๑ ค่ำ จึง
เข้าวิหาร จัดเสนาสนะ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ กวาดบริเวณ พักอยู่ ๒-๓ วัน หลีกไปด้วย
สัตตาหกรณียะ กลับมาภายใน ๗ วัน ภิกษุทั้งหลาย วันเข้าพรรษาหลังของ
ภิกษุนั้นปรากฏ และภิกษุนั้นไม่ต้องอาบัติเพราะรับคำ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุรับคำไว้ว่าจะเข้าจำพรรษาในวันเข้าพรรษา
หลัง ... อีก ๗ วัน จะครบ ๔ เดือน อันเป็นวันที่ดอกโกมุทบานมีกิจจำต้องทำ
หลีกไป ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นจะกลับมาอาวาสนั้นหรือไม่กลับมาก็ตาม ภิกษุ
ทั้งหลาย วันเข้าพรรษาหลังของภิกษุนั้นปรากฏ และภิกษุนั้นไม่ต้องอาบัติเพราะ
รับคำ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุรับคำไว้ว่าจะเข้าจำพรรษาในวันเข้า
พรรษาหลัง ภิกษุนั้นไปอาวาสนั้นทำอุโบสถกรรม ถึงวันแรม ๑ ค่ำ จึงเข้าวิหาร
จัดเสนาสนะ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ กวาดบริเวณ ไม่มีกิจจำต้องทำหลีกไปในวันนั้นทีเดียว
ภิกษุทั้งหลาย วันเข้าพรรษาหลังของภิกษุนั้นไม่ปรากฏ และภิกษุนั้นต้องอาบัติ
ทุกกฏเพราะรับคำ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุรับคำไว้ว่าจะเข้าจำพรรษาในวันเข้าพรรษา
หลัง ... มีกิจจำต้องทำหลีกไป ...
... พักอยู่ ๒-๓ วัน ไม่มีกิจจำต้องทำหลีกไป ...
... พักอยู่ ๒-๓ วัน มีกิจจำต้องทำหลีกไป ...
... พักอยู่ ๒-๓ วัน หลีกไปด้วยสัตตาหกรณียะ อยู่ภายนอกพ้น ๗ วัน
ภิกษุทั้งหลาย วันเข้าพรรษาหลังของภิกษุนั้นไม่ปรากฏ และภิกษุนั้นต้องอาบัติเพราะ
รับคำ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๒๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ] ๑๑๙. รวมเรื่องที่มีในวัสสูปนายิกขันธกะ
... พักอยู่ ๒-๓ วัน หลีกไปด้วยสัตตาหกรณียะ กลับมาภายใน ๗ วัน
ภิกษุทั้งหลาย วันเข้าพรรษาหลังของภิกษุนั้นปรากฏ และภิกษุนั้นไม่ต้องอาบัติเพราะ
รับคำ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุรับคำไว้ว่าจะเข้าจำพรรษาในวันเข้า
พรรษาหลัง ภิกษุนั้นไปอาวาสนั้นทำอุโบสถกรรม ถึงวันแรม ๑ ค่ำ จึงเข้าวิหาร
จัดเสนาสนะ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ กวาดบริเวณ อีก ๗ วัน จะครบ ๔ เดือน อันเป็นวัน
ที่ดอกโกมุทบาน มีกิจจำต้องทำหลีกไป ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นจะกลับมาอาวาสนั้น
หรือไม่กลับมาก็ตาม วันเข้าพรรษาหลังของภิกษุนั้นปรากฏ และภิกษุนั้นไม่ต้อง
อาบัติเพราะรับคำ
วัสสูปนายิกขันธกะที่ ๓ จบ

๑๑๙. รวมเรื่องที่มีในวัสสูปนายิกขันธกะ
วัสสูปนายิกขันธกะ มี ๕๒ เรื่อง คือ
เรื่องทรงอนุญาตให้ภิกษุเข้าจำพรรษา
เรื่องทรงอนุญาตให้ภิกษุเข้าพรรษาในฤดูฝน
เรื่องประเภทแห่งวันเข้าพรรษา
เรื่องพระฉัพพัคคีย์เที่ยวจาริกในระหว่างพรรษา
เรื่องปรับอาบัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เข้าพรรษา
เรื่องจงใจเดินผ่านอาวาส เรื่องการเลื่อนกาลฝน
เรื่องอุบาสกสร้างวิหารเป็นต้นถวาย
เรื่องภิกษุเป็นไข้เป็นต้น เรื่องมารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย
พี่สาวน้องสาว ญาติ และบุรุษผู้อาศัยอยู่กับภิกษุเป็นไข้
เรื่องวิหารทรุดโทรม เรื่องสัตว์ร้ายเบียดเบียน เรื่องงูเบียดเบียน
เรื่องพวกโจรเบียดเบียน เรื่องปีศาจรบกวน
เรื่องหมู่บ้านถูกไฟไหม้ เรื่องเสนาสนะถูกไฟไหม้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๒๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ] ๑๑๙. รวมเรื่องที่มีในวัสสูปนายิกขันธกะ
เรื่องหมู่บ้านถูกน้ำท่วม เรื่องเสนาสนะถูกน้ำท่วม
เรื่องชาวบ้านพากันอพยพไปเพราะโจรภัย
เรื่องทรงอนุญาตให้ตามทายกมีจำนวนมากกว่า
เรื่องไม่ได้โภชนาหารธรรมดาหรือประณีตเป็นต้น
เรื่องสตรีนิมนต์ เรื่องหญิงแพศยานิมนต์ เรื่องสาวเทื้อนิมนต์
เรื่องบัณเฑาะก์นิมนต์ เรื่องพวกญาตินิมนต์
เรื่องพระราชานิมนต์ เรื่องพวกโจรนิมนต์
เรื่องพวกนักเลงนิมนต์ เรื่องพบขุมทรัพย์
เรื่องทำลายสงฆ์ ๘ วิธี เรื่องเข้าจำพรรษาในคอกโค
เรื่องเข้าจำพรรษาในหมู่เกวียน เรื่องเข้าจำพรรษาในเรือ
เรื่องเข้าจำพรรษาในโพรงไม้ เรื่องเข้าจำพรรษาบนค่าคบไม้
เรื่องเข้าจำพรรษาในที่แจ้ง เรื่องภิกษุไม่มีเสนาสนะจำพรรษา
เรื่องเข้าจำพรรษาในกระท่อมผี เรื่องเข้าจำพรรษาในร่ม
เรื่องเข้าจำพรรษาในตุ่มน้ำ
เรื่องตั้งกติกาไม่เป็นธรรม เรื่องรับคำจะจำพรรษา
เรื่องทำอุโบสถนอกวิหาร เรื่องรับคำที่จะเข้าจำพรรษาต้น
เรื่องรับคำที่จะเข้าจำพรรษาหลัง
เรื่องไม่มีกิจจำต้องทำหลีกไป เรื่องมีกิจจำต้องทำหลีกไป
เรื่องพักอยู่ ๒ - ๓ วันแล้วหลีกไปด้วยสัตตาหะกรณียะ
เรื่องอีก ๗ วันจะครบ ๔ เดือน เรื่องภิกษุกลับมาไม่กลับมา
พึงพิจารณาตามแนวทางตามลำดับหัวข้อเรื่อง
วัสสูปนายิกขันธกะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๓๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๒๐. อผาสุวิหาร
๔. ปวารณาขันธกะ

๑๒๐. อผาสุวิหาร
ว่าด้วยการอยู่จำพรรษาไม่ผาสุก

เรื่องภิกษุหลายรูปเข้าจำพรรษาในแคว้นโกศลมาเฝ้าพระศาสดา
[๒๐๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันอาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุหลายรูปซึ่งเคยเห็นเคยคบกัน
เข้าจำพรรษาอยู่ในอาวาสแห่งหนึ่งในแคว้นโกศล ได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “ด้วยอุบาย
อย่างไรหนอ พวกเราจะพึงเป็นผู้พร้อมเพรียง ร่วมใจกัน ไม่ทะเลาะกัน อยู่จำพรรษา
อย่างผาสุก และไม่ลำบากด้วยบิณฑบาต” แล้วปรึกษากันต่อไปว่า “ถ้าพวกเราจะไม่
ทักทายไม่ปราศรัยกันและกัน รูปใดบิณฑบาตกลับจากหมู่บ้านก่อน รูปนั้นพึง
ปูอาสนะ จัดน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า ล้างถาดสำหรับใส่อาหาร
ที่เหลือ๑ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ รูปใดบิณฑบาตกลับจากหมู่บ้านทีหลัง ถ้ามีอาหารที่รูป
ก่อนฉันเหลือ ถ้าต้องการพึงฉัน ถ้าไม่ต้องการ พึงเททิ้งยังที่อันปราศจากของ
เขียวสด หรือเทลงน้ำที่ไม่มีตัวสัตว์ รูปนั้นพึงเก็บอาสนะ น้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า
กระเบื้องเช็ดเท้า ล้างถาดสำหรับใส่อาหารที่เหลือ แล้วเก็บน้ำดื่มน้ำใช้ กวาดหอฉัน
รูปใดเห็นหม้อน้ำฉัน หม้อน้ำใช้ หม้อชำระว่างเปล่า รูปนั้นพึงตักใส่ ถ้าไม่สามารถ
พึงกวักมือเรียกเพื่อนมาช่วยยก ไม่พึงเอ่ยวาจาเพราะเหตุนั้นเลย ด้วยอุบาย
อย่างนี้แล พวกเราจะพึงเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่ทะเลาะกัน อยู่จำพรรษา
เป็นผาสุก และไม่ลำบากด้วยบิณฑบาต”
ต่อมา ภิกษุเหล่านั้นก็ไม่ทักทายไม่ปราศรัยกันและกัน รูปใดบิณฑบาตกลับ
จากหมู่บ้านก่อน รูปนั้นก็ปูอาสนะ จัดน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า

เชิงอรรถ :
๑ ภาชนะสำหรับใส่อาหารส่วนที่เหลือซึ่งนำออกจากบาตร (สารตฺถ.ฏีกา ๓/๔๖๖/๔๓๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๓๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๒๐. อผาสุวิหาร
ล้างถาดสำหรับใส่อาหารที่เหลือ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ รูปใดบิณฑบาตกลับจากหมู่บ้าน
ทีหลัง ถ้ามีอาหารที่รูปก่อนฉันเหลือ ถ้าต้องการก็ฉัน หากไม่ต้องการ ก็เททิ้งยังที่
อันปราศจากของเขียวสด หรือเทลงน้ำที่ไม่มีตัวสัตว์ รูปนั้นก็เก็บอาสนะ น้ำล้างเท้า
ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า ล้างถาดสำหรับใส่อาหารที่เหลือ แล้วเก็บน้ำดื่มน้ำใช้
กวาดหอฉัน รูปใดเห็นหม้อน้ำฉัน หม้อน้ำใช้ หม้อชำระว่างเปล่า รูปนั้นก็ตักใส่
ถ้าไม่สามารถก็กวักมือเรียกเพื่อนมาช่วยยก ย่อมไม่เอ่ยวาจาเพราะเหตุนั้นเลย

ภิกษุมาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า
มีประเพณีอยู่ว่า เมื่อภิกษุทั้งหลายออกพรรษาแล้วจะไปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ครั้นภิกษุเหล่านั้นจำพรรษาครบ ๓ เดือน แล้วจึงเก็บเสนาสนะถือบาตรและจีวร
หลีกไปทางกรุงสาวัตถี จาริกไปโดยลำดับ ถึงกรุงสาวัตถี ไปถึงพระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี โดยลำดับแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายอภิวาทแล้ว
นั่ง ณ ที่สมควร

พุทธประเพณี
อันการที่พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลายทรงปราศรัยกับพระอาคันตุกะทั้งหลาย
นั่นเป็นพุทธประเพณี
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามภิกษุเหล่านั้นว่า “ภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายยังสบายดีอยู่หรือ ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ พวกเธอเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน
ร่วมใจกัน ไม่ทะเลาะกัน อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก และบิณฑบาตไม่ลำบากหรือ”
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า “ยังสบายดี พระพุทธเจ้าข้า ยังพอเป็นอยู่ได้
พระพุทธเจ้าข้า อนึ่ง พวกข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน
ไม่ทะเลาะกัน อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก และบิณฑบาตไม่ลำบาก พระพุทธเจ้าข้า”
พระตถาคตเจ้าทั้งหลายทรงทราบเรื่องตรัสถามก็มี ไม่ตรัสถามก็มี ทรงทราบกาล
อันควรตรัสถามก็มี ไม่ตรัสถามก็มี ตรัสถามเรื่องที่เป็นประโยชน์ ไม่ตรัสถามเรื่อง
ที่ไม่เป็นประโยชน์ เพราะพระตถาคตเจ้าทั้งหลาย ทรงขจัดเรื่องที่ไม่เป็นประโยชน์
เสียด้วยอริยมรรคแล้ว พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงสอบถามภิกษุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๓๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๒๐. อผาสุวิหาร
ทั้งหลายด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ จะทรงแสดงธรรมอย่างหนึ่ง จะทรงบัญญัติ
สิกขาบทแก่พระสาวกอย่างหนึ่ง
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุเหล่านั้นว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทำ
อย่างไร พวกเธอจึงเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่ทะเลาะกัน อยู่จำพรรษา
เป็นผาสุก และบิณฑบาตไม่ลำบาก”
ภิกษุเหล่านั้นได้กราบทูลว่า “พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายบรรดา
ที่นั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่นี้ เป็นภิกษุที่เคยเห็นเคยคบกันมาจำนวนหลายรูป ได้เข้าจำพรรษา
อยู่ในอาวาสแห่งหนึ่งในแคว้นโกศล ได้ปรึกษากันว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ
พวกเราจะพึงเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่ทะเลาะกัน อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก
และบิณฑบาตไม่ลำบาก แล้วปรึกษากันต่อไปว่า ถ้าพวกเราจะไม่ทักทายไม่ปราศรัยกัน
และกัน รูปใดบิณฑบาตกลับจากหมู่บ้านก่อน รูปนั้นพึงปูอาสนะ จัดน้ำล้างเท้า
ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า ล้างถาดสำหรับใส่อาหารที่เหลือ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ รูปใด
บิณฑบาตกลับจากหมู่บ้านทีหลัง ถ้ามีอาหารที่รูปก่อนฉันเหลือ ถ้าต้องการพึงฉัน
ถ้าไม่ต้องการ พึงเททิ้งยังที่อันปราศจากของเขียวสด หรือเทลงน้ำที่ไม่มีตัวสัตว์
รูปนั้นพึงเก็บอาสนะ น้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า ล้างถาดสำหรับใส่
อาหารที่เหลือ แล้วเก็บน้ำดื่มน้ำใช้ กวาดหอฉัน รูปใดเห็นหม้อน้ำฉัน หม้อน้ำใช้
หม้อชำระว่างเปล่า รูปนั้นพึงตักใส่ถ้าไม่สามารถพึงกวักมือเรียกเพื่อนมาช่วยยก
ไม่พึงเอ่ยวาจาเพราะเหตุนั้นเลย ด้วยอุบายอย่างนี้แล พวกเราจะพึงเป็นผู้พร้อม
เพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่ทะเลาะกัน อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก และบิณฑบาตไม่ลำบาก
พระองค์ผู้เจริญ ต่อมา ข้าพระองค์ทั้งหลายก็ไม่ทักทายไม่ปราศรัยกันและกัน รูปใด
บิณฑบาตกลับจากหมู่บ้านก่อน รูปนั้นก็ปูอาสนะ จัดน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า
กระเบื้องเช็ดเท้า ล้างถาดสำหรับใส่อาหารที่เหลือ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ รูปใดบิณฑบาต
กลับจากหมู่บ้านทีหลัง ถ้ามีอาหารที่รูปก่อนฉันเหลือ ถ้าต้องการก็ฉัน ถ้าไม่
ต้องการ ก็เททิ้งยังที่อันปราศจากของเขียวสด หรือเทลงน้ำที่ไม่มีตัวสัตว์ รูปนั้นก็
เก็บอาสนะ น้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า ล้างถาดสำหรับใส่อาหารที่เหลือ
แล้วเก็บน้ำดื่มน้ำใช้ กวาดหอฉัน รูปใดเห็นหม้อน้ำฉัน หม้อน้ำใช้ หม้อชำระว่างเปล่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๓๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๒๐. อผาสุวิหาร
รูปนั้นก็ตักใส่ ถ้าไม่สามารถก็กวักมือเรียกเพื่อนมาช่วยยก ย่อมไม่เอ่ยวาจาเพราะ
เหตุนั้นเลย ด้วยอุบายอย่างนี้แล ข้าพระองค์ทั้งหลายจึงเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน
ไม่ทะเลาะกัน อยู่จำพรรษา เป็นผาสุก และบิณฑบาตไม่ลำบาก พระพุทธเจ้าข้า”

เรื่องเข้าจำพรรษาไม่ผาสุกดังปศุสัตว์อยู่ร่วมกัน
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า
โมฆบุรุษพวกนี้เป็นผู้อยู่ไม่ผาสุกเลย ยังยืนยันว่า อยู่เป็นผาสุก ทราบว่า โมฆบุรุษ
พวกนี้เป็นผู้อยู่ร่วมกันอย่างปศุสัตว์๑ ยังยืนยันว่า อยู่เป็นผาสุก ทราบว่า โมฆบุรุษ
พวกนี้เป็นผู้อยู่ร่วมกันอย่างแพะ ยังยืนยันว่า อยู่เป็นผาสุก ทราบว่า โมฆบุรุษ
พวกนี้เป็นผู้อยู่ร่วมกันอย่างศัตรู ยังยืนยันว่า อยู่เป็นผาสุก”

ทรงห้ามมูควัตรตามแบบอย่างเดียรถีย์
ภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษพวกนี้จึงได้สมาทานมูควัตรที่พวกเดียรถีย์ถือ
ปฏิบัติกัน การกระทำอย่างนี้มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ ครั้นทรง
ตำหนิแล้วทรงแสดงธรรมีกถารับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึง
สมาทานมูควัตรที่พวกเดียรถีย์ถือปฏิบัติกัน รูปใดสมาทานปฏิบัติ ต้องอาบัติ
ทุกกฏ”

เรื่องทรงอนุญาตพิธีปวารณาเพื่อว่ากล่าวซึ่งกันและกัน
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้จำพรรษาแล้ว ปวารณาด้วยเหตุ ๓ สถาน
คือ ด้วยได้เห็น ด้วยได้ยิน ด้วยนึกสงสัย การปวารณานั้น จักเป็นวิธีที่เหมาะสม
เพื่อว่ากล่าวซึ่งกันและกัน เป็นวิธีออกจากอาบัติ เป็นวิธีเคารพพระวินัยของภิกษุ
เหล่านั้น

เชิงอรรถ :
๑ อยู่ร่วมกันอย่างปศุสัตว์ หมายถึง อยู่ร่วมกันโดยไม่มีการถามสุขทุกข์ของกันและกัน เพราะปศุสัตว์ทั้งหลาย
ย่อมไม่บอกสุขทุกข์ที่เกิดขึ้นแก่ตนให้ใครทราบ และไม่ทำปฏิสันถารต่อกัน (วิ.อ. ๓/๒๐๙/๑๕๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๓๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๒๐. อผาสุวิหาร
วิธีปวารณา
ภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุเหล่านั้นพึงปวารณาอย่างนี้
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจาว่า

สัพพสังคาหิกาญัตติ
[๒๑๐] ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า วันนี้เป็นวันปวารณา ถ้าสงฆ์พร้อม
กันแล้ว สงฆ์พึงปวารณา
ภิกษุผู้เถระพึงห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวกับ
สงฆ์อย่างนี้ว่า

เตวาจิกาปวารณา
ท่านทั้งหลาย กระผมขอปวารณาต่อสงฆ์ ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ยินก็ดี
ด้วยนึกสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายได้ช่วยอนุเคราะห์ว่ากล่าวตักเตือนกระผม เมื่อ
กระผมทราบจักได้แก้ไขต่อไป
ท่านทั้งหลาย แม้ครั้งที่ ๒ กระผมขอปวารณาต่อสงฆ์ ด้วยได้เห็นก็ดี
ด้วยได้ยินก็ดี ด้วยนึกสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายได้ช่วยอนุเคราะห์ว่ากล่าวตักเตือน
กระผม เมื่อกระผมทราบจักได้แก้ไขต่อไป
ท่านทั้งหลาย แม้ครั้งที่ ๓ กระผมขอปวารณาต่อสงฆ์ ด้วยได้เห็นก็ดี
ด้วยได้ยินก็ดี ด้วยนึกสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายได้ช่วยอนุเคราะห์ว่ากล่าวตักเตือน
กระผม เมื่อกระผมทราบจักได้แก้ไขต่อไป
ภิกษุผู้นวกะพึงห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวกับ
สงฆ์อย่างนี้ว่า
ท่านผู้เจริญ กระผมขอปวารณาต่อสงฆ์ ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ยินก็ดี
ด้วยนึกสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายได้ช่วยอนุเคราะห์ว่ากล่าวตักเตือนกระผม เมื่อ
กระผมทราบจักได้แก้ไขต่อไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๓๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๒๐. อผาสุวิหาร
ท่านผู้เจริญ แม้ครั้งที่ ๒ กระผมขอปวารณาต่อสงฆ์ ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วย
ได้ยินก็ดี ด้วยนึกสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายได้ช่วยอนุเคราะห์ว่ากล่าวตักเตือน
กระผม เมื่อกระผมทราบจักได้แก้ไขต่อไป
ท่านผู้เจริญ แม้ครั้งที่ ๓ กระผมขอปวารณาต่อสงฆ์ ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วย
ได้ยินก็ดี ด้วยนึกสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายได้ช่วยอนุเคราะห์ว่ากล่าวตักเตือน
กระผม เมื่อกระผมทราบจักได้แก้ไขต่อไป

เรื่องพระฉัพพัคคีย์นั่งราบบนอาสนะปวารณา
ทรงอนุญาตให้นั่งกระโหย่งปวารณา
[๒๑๑] สมัยนั้น เมื่อภิกษุผู้เถระทั้งหลายนั่งกระโหย่งปวารณา พวกภิกษุ
ฉัพพัคคีย์อยู่บนอาสนะ บรรดาพวกภิกษุผู้มีความมักน้อย ฯลฯ พาตำหนิ ประณาม
โพนทะนาว่า “ไฉนเมื่อภิกษุผู้เถระทั้งหลายนั่งกระโหย่งปวารณา พวกภิกษุ ฉัพพัคคีย์
จึงอยู่บนอาสนะเล่า” แล้วนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า เมื่อภิกษุ
ผู้เถระทั้งหลายนั่งกระโหย่งปวารณา ภิกษุฉัพพัคคีย์อยู่บนอาสนะ จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ภิกษุทั้งหลาย ไฉนเมื่อภิกษุผู้เถระ
ทั้งหลายนั่งกระโหย่งปวารณา โมฆบุรุษพวกนั้นจึงอยู่บนอาสนะเล่า การกระทำ
อย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” ครั้นทรงตำหนิแล้วทรงแสดง
ธรรมีกถารับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อบรรดาภิกษุผู้เถระทั้งหลาย
นั่งกระโหย่งปวารณา ไม่พึงอยู่บนอาสนะ รูปใดอยู่ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตให้ภิกษุทุกรูปนั่งกระโหย่งปวารณา”
สมัยต่อมา พระเถระรูปหนึ่งชราทุพพลภาพ นั่งกระโหย่งรอจนกว่าภิกษุทุกรูป
จะปวารณาเสร็จ ได้เป็นลมล้มลง
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้นั่งกระโหย่งชั่วเวลา
ปวารณา และอนุญาตให้ภิกษุปวารณาเสร็จแล้วนั่งบนอาสนะ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๓๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๒๑. ปวารณาเภท
๑๒๑. ปวารณาเภท
ว่าด้วยประเภทแห่งวันปวารณา

เรื่องวันปวารณามี ๒ วัน
[๒๑๒] ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้มีการสนทนากันดังนี้ว่า “วันปวารณามีเท่าไร
หนอ” จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย วันปวารณานี้มี ๒ วัน คือ วัน ๑๔
ค่ำ และวัน ๑๕ ค่ำ ภิกษุทั้งหลาย วันปวารณามี ๒ วันเหล่านี้แล”

เรื่องอาการที่ทำปวารณามี ๔ อย่าง
ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้มีการสนทนากันดังนี้ว่า “การทำปวารณามีเท่าไร
หนอ” จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย การทำปวารณามี ๔ อย่างเหล่านี้๑ คือ
๑. การทำปวารณาแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม
๒. การทำปวารณาพร้อมเพรียงโดยไม่ชอบธรรม

เชิงอรรถ :
๑ การทำปวารณาแต่ละอย่างมีคำอธิบายเพิ่มเติมดังนี้
๑. ถ้าในวัดหนึ่ง มีภิกษุอยู่ ๕ รูป ภิกษุ ๔ รูปนำปวารณาของรูปหนึ่งมา ตั้งคณญัตติแล้วปวารณา
หรือมีภิกษุอยู่ ๔ รูป ภิกษุ ๓ รูป นำปวารณาของรูปหนึ่งมา ตั้งสังฆญัตติแล้วปวารณา
หรือมีภิกษุ ๓ รูป ภิกษุ ๒ รูป นำปวารณาของรูปหนึ่งมาตั้งสังฆญัตติแล้วปวารณา นี้ชื่อ
ว่าการทำปวารณาแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม
๒. ถ้าภิกษุทั้งหมด ๕ รูป ประชุมร่วมกัน ตั้งคณญัตติแล้วปวารณา ภิกษุ ๔ รูป ๓ รูป หรือ
๒ รูป อยู่ประชุมร่วมกันตั้งสังฆญัตติแล้วปวารณา นี้ชื่อว่าการทำปวารณาพร้อมเพรียงโดยไม่ชอบธรรม
๓. ถ้ามีภิกษุ ๕ รูป ภิกษุ ๔ รูป นำปวารณาของรูปหนึ่งมาตั้งสังฆญัตติแล้วปวารณา
หรือมีภิกษุอยู่ ๔ รูป ภิกษุ ๓ รูป นำปวารณาของรูปหนึ่งมา ตั้งคณบัญญัติแล้วปวารณา
หรือมีภิกษุอยู่ ๓ รูป ภิกษุ ๒ รูป นำปวารณาของรูปหนึ่งมา ตั้งคณบัญญัติแล้วปวารณา
นี้ชื่อว่าการทำปวารณาแบ่งพวกโดยชอบธรรม
๔. ถ้าภิกษุทั้งหมด ๕ รูป ประชุมร่วมกัน ตั้งสังฆญัตติแล้วปวารณา ภิกษุ ๔ รูป หรือ ๓ รูป
ประชุมร่วมกันตั้งคณญัตติแล้วปวารณา หรือภิกษุ ๒ รูป ปวารณาต่อกัน ภิกษุ ๑ รูป ทำอธิษฐาน
ปวารณา นี้ชื่อว่า การทำปวารณาพร้อมเพรียงโดยชอบธรรม (วิ.อ. ๓/๒๑๒/๑๕๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๓๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๒๒. ปวารณาทานานุชานนา
๓. การทำปวารณาแบ่งพวกโดยชอบธรรม
๔. การทำปวารณาพร้อมเพรียงกันโดยชอบธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ในการทำปวารณา ๔ อย่างนั้น การทำปวารณาใดแบ่งพวก
โดย ไม่ชอบธรรม การทำปวารณาเช่นนั้น ไม่พึงทำ และเราไม่อนุญาตการทำ
ปวารณาเช่นนั้น
การทำปวารณาใดพร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม การทำปวารณาเช่นนั้น
ไม่พึงทำ และเราไม่อนุญาตการทำปวารณาเช่นนั้น
การทำปวารณาใดแบ่งพวกโดยชอบธรรม การทำปวารณาเช่นนั้น ไม่พึงทำ
และเราไม่อนุญาตการทำปวารณาเช่นนั้น
การทำปวารณาใดพร้อมเพรียงกันโดยชอบธรรม การทำปวารณาเช่นนั้น
พึงทำ และเราอนุญาตการทำปวารณาเช่นนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล พวกเธอพึงทำในใจว่า จักทำปวารณาชนิด
ที่พร้อมเพรียงกันโดยชอบธรรม ดังนี้ พวกเธอพึงศึกษาอย่างนี้แล

๑๒๒. ปวารณาทานานุชานนา
ว่าด้วยทรงอนุญาตให้ภิกษุเป็นไข้มอบปวารณา

เรื่องภิกษุเป็นไข้มอบปวารณา
[๒๑๓] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย
พวกเธอจงประชุมกัน สงฆ์จักปวารณา”
เมื่อพระองค์ตรัสอย่างนี้ ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “มี
ภิกษุเป็นไข้อยู่ พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุผู้เป็นไข้นั้นมาไม่ได้”
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้เป็นไข้มอบปวารณา”
ภิกษุทั้งหลาย ก็แล ภิกษุผู้เป็นไข้พึงมอบปวารณาอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๓๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๒๒. ปวารณาทานานุชานนา
ภิกษุผู้เป็นไข้นั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่งกระ
โหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ข้าพเจ้าขอมอบปวารณา ท่านจงนำ
ปวารณาของข้าพเจ้าไป จงบอกปวารณาของข้าพเจ้า จงปวารณาแทนข้าพเจ้า”
ภิกษุผู้มอบปวารณา ให้ภิกษุผู้รับมอบปวารณารู้ด้วยกาย ให้รู้ด้วยวาจา หรือ
ให้รู้ด้วยกายและวาจา ปวารณาเป็นอันภิกษุไข้มอบให้แล้ว ภิกษุผู้รับมอบ ไม่ให้
ภิกษุผู้รับมอบปวารณารู้ด้วยกาย หรือไม่ให้รู้ด้วยวาจา ไม่ให้รู้ด้วยกายและวาจา
ปวารณาเป็นอันภิกษุไข้ยังมิได้มอบ ถ้าได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้ ภิกษุทั้งหลาย
พึงใช้เตียงหรือตั่งหามภิกษุไข้มาในท่ามกลางสงฆ์แล้วปวารณา
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกภิกษุผู้พยาบาลภิกษุไข้ได้ปรึกษากันดังนี้ว่า ถ้าพวก
เราจักย้ายภิกษุไข้ อาการไข้จักกำเริบหนักขึ้นหรือภิกษุไข้จักถึงแก่มรณภาพ ไม่พึง
ย้ายภิกษุไข้ สงฆ์พึงไปปวารณาในสำนักภิกษุไข้นั้น แต่สงฆ์ไม่พึงแบ่งพวกกันทำ
ปวารณา ถ้าแบ่งพวกปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไข้ได้มอบปวารณาแล้ว ถ้าภิกษุผู้นำปวารณาหลบไป
เสียจากที่นั้น ภิกษุไข้พึงมอบปวารณาแก่ภิกษุรูปอื่น
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไข้ได้มอบปวารณาแล้ว ถ้าภิกษุผู้นำปวารณาสึกเสีย
ณ ที่นั้นแหละ ... มรณภาพ ... ปฏิญญาเป็นสามเณร ... ปฏิญญาเป็นผู้บอก
คืนสิกขา ... ปฏิญญาเป็นผู้ต้องอันติมวัตถุ ... ปฏิญญาเป็นผู้วิกลจริต ... ปฏิญญา
เป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่าน ... ปฏิญญาเป็นผู้กระสับกระส่ายเพราะเวทนา ... ปฏิญญาเป็นผู้
ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นอาบัติ ... ปฏิญญาเป็นผู้ถูกสงฆ์ลง
อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ... ปฏิญญาเป็นผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม
เพราะไม่สละทิฏฐิบาป... ปฏิญญาเป็นบัณเฑาะก์ ... ปฏิญญาเป็นไถยสังวาส...
ปฏิญญาเป็นผู้เข้ารีตเดียรถีย์ ... ปฏิญญาเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ... ปฏิญญาเป็นผู้ฆ่า
มารดา ... ปฏิญญาเป็นผู้ฆ่าบิดา ... ปฏิญญาเป็นผู้ฆ่าพระอรหันต์ ... ปฏิญญาเป็นผู้
ประทุษร้ายภิกษุณี ... ปฏิญญาเป็นผู้ทำลายสงฆ์ ... ปฏิญญาเป็นผู้ทำร้ายพระศาสดา
จนห้อพระโลหิต ... ปฏิญญาเป็นอุภโตพยัญชนก ภิกษุไข้พึงมอบปวารณาแก่ภิกษุรูปอื่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๓๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๒๒. ปวารณาทานานุชานนา
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไข้ได้มอบปวารณาแล้ว ถ้าภิกษุผู้นำปวารณาหลบไป
เสียในระหว่างทาง ปวารณาเป็นอันยังมิได้นำมา
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไข้ได้มอบปวารณาแล้ว ถ้าภิกษุผู้นำปวารณาสึกเสีย
ในระหว่างทาง ฯลฯ ปฏิญญาเป็นอุภโตพยัญชนก ปวารณาเป็นอันยังมิได้นำมา
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไข้ได้มอบปวารณาแล้ว ถ้าภิกษุผู้นำปวารณาเข้าที่
ประชุมสงฆ์แล้วหลบไปเสีย ปวารณาเป็นอันนำมาแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไข้ได้มอบปวารณาแล้ว ถ้าภิกษุผู้นำปวารณาเข้าที่
ประชุมสงฆ์แล้วสึกเสีย ฯลฯ ปฏิญญาเป็นอุภโตพยัญชนก ปวารณาเป็นอันนำ
มาแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไข้ได้มอบปวารณาแล้ว ถ้าภิกษุผู้นำปวารณาเข้าที่
ประชุมสงฆ์แล้วหลับเสียมิได้บอก ปวารณาเป็นอันนำมาแล้ว ภิกษุผู้นำปวารณา
ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไข้ได้มอบปวารณาแล้ว ถ้าภิกษุผู้นำปวารณาเข้าที่
ประชุมสงฆ์แล้วเผลอไปไม่ได้บอก ปวารณาเป็นอันนำมาแล้ว ภิกษุผู้นำปวารณา
ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเป็นไข้ได้มอบปวารณาแล้ว ถ้าภิกษุผู้นำปวารณาเข้า
ที่ประชุมสงฆ์แล้วเข้าสมาบัติไม่ได้บอก ปวารณาเป็นอันนำมาแล้ว ภิกษุผู้นำปวารณา
ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไข้ได้มอบปวารณาแล้ว ถ้าภิกษุผู้นำปวารณาเข้าที่
ประชุมสงฆ์แล้วจงใจไม่บอก ปวารณาเป็นอันนำมาแล้ว แต่ภิกษุผู้นำปวารณาต้อง
อาบัติทุกกฏ
ภิกษุทั้งหลาย ในวันปวารณานั้น เราอนุญาตให้ภิกษุผู้มอบปวารณามอบ
ฉันทะด้วย เมื่อสงฆ์มีกิจธุระจำเป็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๔๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๒๓. ญาตกาทิคหณกถา
๑๒๓. ญาตกาทิคหณกถา
ว่าด้วยหมู่ญาติเป็นต้นจับภิกษุ

เรื่องภิกษุถูกพวกญาติเป็นต้นจับไว้
[๒๑๔] สมัยนั้น ในวันปวารณานั้น หมู่ญาติได้จับภิกษุรูปหนึ่งไว้
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ในวันปวารณานั้น
หมู่ญาติจับภิกษุไว้ ภิกษุทั้งหลายพึงกล่าวกับหมู่ญาตินั้นอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย
กรุณาปล่อยภิกษุนี้ไว้สักครู่จนกว่าภิกษุนี้จะมอบปวารณาเสร็จเถิด” ถ้าได้อย่างนั้น นั่น
เป็นการดี ถ้าไม่ได้ ภิกษุทั้งหลายพึงกล่าวกับญาติเหล่านั้นอย่างนี้ว่า “ท่าน
ทั้งหลายกรุณารอ ณ ที่อันควรสักครู่จนกว่าภิกษุนี้จะมอบปวารณาเสร็จเถิด”
ถ้าได้อย่างนั้น นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้ ภิกษุทั้งหลายพึงกล่าวกับญาติเหล่านั้น
อย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลายกรุณานำภิกษุนี้ไปไว้นอกสีมาสักครู่จนกว่าสงฆ์จะปวารณา
เสร็จเถิด” ถ้าได้อย่างนั้น นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้ สงฆ์ไม่พึงแบ่งพวกปวารณา
ถ้าแบ่งพวกปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในวันปวารณานั้น พระราชาทั้งหลายทรงจับ
ภิกษุไว้... พวกโจรจับไว้... พวกนักเลงจับไว้... พวกภิกษุที่เป็นศัตรูกันจับไว้
ภิกษุทั้งหลายพึงกล่าวกับพวกภิกษุที่เป็นศัตรกันเหล่านั้นอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย
กรุณาปล่อยภิกษุนี้ไว้สักครู่จนกว่าภิกษุนี้จะมอบปวารณาเสร็จเถิด” ถ้าได้อย่างนั้น นั่น
เป็นการดี ถ้าไม่ได้ ภิกษุทั้งหลาย พึงกล่าวกับพวกภิกษุผู้เป็นศัตรูนั้นอย่างนี้ว่า
“ท่านทั้งหลายกรุณารอ ณ ที่สมควรสักครู่จนกว่าภิกษุนี้จะมอบปวารณาเสร็จเถิด”
ถ้าได้อย่างนั้น นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้ ภิกษุทั้งหลายพึงกล่าวกับพวกภิกษุผู้เป็น
ศัตรูนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย กรุณานำภิกษุนี้ไปไว้นอกสีมาสักครู่จนกว่าสงฆ์
จะปวารณาเสร็จเถิด” ถ้าได้อย่างนั้น นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้ สงฆ์ไม่พึงแบ่งพวก
กันปวารณา ถ้าแบ่งพวกกันปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๔๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๒๔. สังฆปวารณาทิปเภท
๑๒๔. สังฆปวารณาทิปเภท
ว่าด้วยประเภทปวารณามีปวารณาเป็นการสงฆ์เป็นต้น

เรื่องภิกษุ ๕ รูป ปวารณาเป็นการสงฆ์
[๒๑๕] สมัยนั้น ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น มีภิกษุอยู่ด้วยกัน ๕
รูป ภิกษุเหล่านั้นมีการสนทนากันดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า สงฆ์
พึงปวารณา ก็พวกเรามี ๕ รูป จะพึงปวารณาอย่างไรหนอ” จึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุ ๕ รูป ปวารณา
เป็นการสงฆ์”

เรื่องภิกษุ ๔ รูปปวารณาเป็นการคณะ
[๒๑๖] สมัยนั้น ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น มีภิกษุอยู่ด้วยกัน
๔ รูป ภิกษุเหล่านั้นได้มีการสนทนากันดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้ภิกษุ
๕ รูป ปวารณาเป็นการสงฆ์ ก็พวกเรามีเพียง ๔ รูป จะพึงปวารณาอย่างไรหนอ”
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุ ๔ รูป ปวารณา
ต่อกัน”

วิธีทำปวารณาเป็นการคณะ
ภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุ ๔ รูปนั้นพึงปวารณาอย่างนี้
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้ภิกษุเหล่านั้นทราบว่า
ท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า วันนี้เป็นวันปวารณา ถ้าท่านทั้งหลายพร้อม
กันแล้ว เราทั้งหลายพึงปวารณาต่อกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๔๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๒๔. สังฆปวารณาทิปเภท
ภิกษุผู้เถระพึงห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าว
คำปวารณาต่อภิกษุ(ผู้นวกะ)เหล่านั้นอย่างนี้ว่า

คำปวารณาสำหรับภิกษุมีพรรษแก่กว่า
ท่านทั้งหลาย ผมขอปวารณาต่อท่านทั้งหลาย ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ยินก็ดี
ด้วยนึกสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายได้ช่วยอนุเคราะห์ว่ากล่าวตักเตือนผม เมื่อผมทราบ
จักได้แก้ไขต่อไป
ท่านทั้งหลาย แม้ครั้งที่ ๒ ผมขอปวารณาต่อท่านทั้งหลาย ด้วยได้เห็นก็ดี
ด้วยได้ยินก็ดี ด้วยนึกสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายได้ช่วยอนุเคราะห์ว่ากล่าวตักเตือน
ผม เมื่อผมทราบ จักได้แก้ไขต่อไป
ท่านทั้งหลาย แม้ครั้งที่ ๓ ผมขอปวารณาต่อท่านทั้งหลาย ด้วยได้เห็นก็ดี
ด้วยได้ยินก็ดี ด้วยนึกสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายได้ช่วยอนุเคราะห์ว่ากล่าวตักเตือน
ผม เมื่อผมทราบ จักได้แก้ไขต่อไป

คำปวารณาสำหรับภิกษุพรรษาอ่อนกว่า
ภิกษุผู้นวกะพึงห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่งกระโหย่ง ประนมมือ
กล่าวคำปวารณาต่อภิกษุ(ผู้เถระ)เหล่านั้นอย่างนี้ว่า
ท่านผู้เจริญทั้งหลาย กระผมขอปวารณาต่อท่านทั้งหลาย ด้วยได้เห็นก็ดี
ด้วยได้ยินก็ดี ด้วยนึกสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายได้ช่วยอนุเคราะห์ว่ากล่าวตักเตือน
กระผม เมื่อกระผมทราบ จักได้แก้ไขต่อไป
ท่านผู้เจริญทั้งหลาย แม้ครั้งที่ ๒ กระผมขอปวารณาต่อท่านทั้งหลาย
ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ยินก็ดี ด้วยนึกสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายได้ช่วยอนุเคราะห์
ว่ากล่าวตักเตือนกระผม เมื่อกระผมทราบ จักได้แก้ไขต่อไป
ท่านผู้เจริญทั้งหลาย แม้ครั้งที่ ๓ กระผมขอปวารณาต่อท่านทั้งหลาย
ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ยินก็ดี ด้วยนึกสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายได้ช่วยอนุเคราะห์
ว่ากล่าวตักเตือนกระผม เมื่อกระผมทราบ จักได้แก้ไขต่อไป”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๔๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๒๔. สังฆปวารณาทิปเภท
เรื่องภิกษุ ๓ รูป ปวารณาเป็นการคณะ
สมัยนั้น ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น มีภิกษุอยู่ด้วยกัน ๓ รูป
ภิกษุเหล่านั้นได้มีการสนทนากันดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้ภิกษุ ๕ รูป
ปวารณาเป็นการสงฆ์ ให้ภิกษุ ๔ รูป ปวารณาต่อกัน ก็พวกเรามีเพียง ๓ รูป
จะพึงปวารณาอย่างไรหนอ” จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุ ๓ รูป ปวารณา
ต่อกัน”

วิธีทำปวารณาเป็นการคณะ
ภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุ ๓ รูปนั้นพึงปวารณาอย่างนี้
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้ภิกษุเหล่านั้นทราบว่า
ท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า วันนี้เป็นวันปวารณา ถ้าท่านทั้งหลายพร้อม
กันแล้ว เราทั้งหลายพึงปวารณาต่อกัน
ภิกษุผู้เถระพึงห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่งกระโหย่ง ประนมมือ
กล่าวคำปวารณาต่อภิกษุเหล่านั้นอย่างนี้ว่า

คำปวารณา
ท่านทั้งหลาย ผมขอปวารณาต่อท่านทั้งหลาย ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ยินก็ดี
ด้วยนึกสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายได้ช่วยอนุเคราะห์ว่ากล่าวตักเตือนผม เมื่อ
ผมทราบ จักได้แก้ไขต่อไป
ท่านทั้งหลาย แม้ครั้งที่ ๒ ผมขอปวารณาต่อท่านทั้งหลาย ด้วยได้เห็นก็ดี
ด้วยได้ยินก็ดี ด้วยนึกสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายได้ช่วยอนุเคราะห์ว่ากล่าวตัก
เตือนผม เมื่อผมทราบ จักได้แก้ไขต่อไป
ท่านทั้งหลาย แม้ครั้งที่ ๓ ผมขอปวารณาต่อท่านทั้งหลาย ด้วยได้เห็นก็ดี
ด้วยได้ยินก็ดี ด้วยนึกสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายได้ช่วยอนุเคราะห์ว่ากล่าวตัก
เตือนผม เมื่อผมทราบ จักได้แก้ไขต่อไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๔๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๒๔. สังฆปวารณาทิปเภท
ภิกษุผู้นวกะพึงห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่งกระโหย่ง ประนมมือ
กล่าว คำปวารณาต่อภิกษุเหล่านั้นอย่างนี้ว่า

คำปวารณา
ท่านผู้เจริญทั้งหลาย กระผมขอปวารณาต่อท่านทั้งหลาย ด้วยได้เห็นก็ดี
ด้วยได้ยินก็ดี ด้วยนึกสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายได้ช่วยอนุเคราะห์ว่ากล่าวตักเตือน
กระผม เมื่อกระผมทราบ จักได้แก้ไขต่อไป
ท่านผู้เจริญทั้งหลาย แม้ครั้งที่ ๒ กระผมขอปวารณาต่อท่านทั้งหลาย
ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ยินก็ดี ด้วยนึกสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายได้ช่วยอนุเคราะห์
ว่ากล่าวตักเตือนกระผม เมื่อกระผมทราบ จักได้แก้ไขต่อไป
ท่านผู้เจริญทั้งหลาย แม้ครั้งที่ ๓ กระผมขอปวารณาต่อท่านทั้งหลาย
ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ยินก็ดี ด้วยนึกสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายได้ช่วยอนุเคราะห์
ว่ากล่าวตักเตือนกระผม เมื่อกระผมทราบ จักได้แก้ไขต่อไป

เรื่องภิกษุ ๒ รูป ปวารณาต่อกัน
[๒๑๗] สมัยนั้น ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น มีภิกษุอยู่ด้วยกัน ๒
รูป ภิกษุเหล่านั้นได้มีการสนทนากันดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้ภิกษุ
๕ รูป ปวารณาเป็นการสงฆ์ ให้ภิกษุ ๔ รูป ปวารณาต่อกัน ให้ภิกษุ ๓
รูป ปวารณา ต่อกัน ก็พวกเรามีเพียง ๒ รูป จะพึงปวารณาอย่างไรหนอ”
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุ ๒ รูป ปวารณา
ต่อกัน”

วิธีทำปวารณาเป็นการคณะ
ภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุ ๒ รูปนั้นพึงปวารณาอย่างนี้
ภิกษุผู้เถระ พึงห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่งกระโหย่ง ประนมมือ
กล่าวกับภิกษุนวกะอย่างนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๔๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๒๔. สังฆปวารณาทิปเภท
ท่าน ผมขอปวารณาต่อท่าน ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ยินก็ดี ด้วยนึกสงสัยก็ดี
ขอท่านได้ช่วยอนุเคราะห์ว่ากล่าวตักเตือนผม เมื่อผมทราบ จักได้แก้ไขต่อไป
ท่าน แม้ครั้งที่ ๒ ผมขอปวารณาต่อท่าน ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ยินก็ดี
ด้วยนึกสงสัยก็ดี ขอท่านได้ช่วยอนุเคราะห์ว่ากล่าวตักเตือนผม เมื่อผมทราบ
จักได้แก้ไขต่อไป
ท่าน แม้ครั้งที่ ๓ ผมขอปวารณาต่อท่าน ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ยินก็ดี
ด้วยนึกสงสัยก็ดี ขอท่านได้ช่วยอนุเคราะห์ว่ากล่าวตักเตือนผม เมื่อผมทราบ
จักได้แก้ไขต่อไป
ภิกษุผู้นวกะพึงห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าว
กับภิกษุผู้เถระอย่างนี้ว่า
ท่านผู้เจริญ กระผมขอปวารณาต่อท่าน ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ยินก็ดี
ด้วยนึกสงสัยก็ดี ขอท่านได้ช่วยอนุเคราะห์ว่ากล่าวตักเตือนกระผม เมื่อกระผมทราบ
จักได้แก้ไขต่อไป
ท่านผู้เจริญ แม้ครั้งที่ ๒ กระผมขอปวารณาต่อท่าน ด้วยได้เห็นก็ดี
ด้วยได้ยินก็ดี ด้วยนึกสงสัยก็ดี ขอท่านได้ช่วยอนุเคราะห์ว่ากล่าวตักเตือนกระผม
เมื่อกระผมทราบ จักได้แก้ไขต่อไป
ท่านผู้เจริญ แม้ครั้งที่ ๓ กระผมขอปวารณาต่อท่าน ด้วยได้เห็นก็ดี
ด้วยได้ยินก็ดี ด้วยนึกสงสัยก็ดี ขอท่านได้ช่วยอนุเคราะห์ว่ากล่าวตักเตือนกระผม
เมื่อกระผมทราบ จักได้แก้ไขต่อไป

เรื่องภิกษุรูปเดียวทำอธิษฐานปวารณา
[๒๑๘] สมัยนั้น ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น มีภิกษุอยู่รูปเดียว
ภิกษุนั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้ภิกษุ ๕ รูป ปวารณา
เป็นการสงฆ์ ให้ภิกษุ ๔ รูป ปวารณาต่อกัน ให้ภิกษุ ๓ รูป ปวารณาต่อกัน ให้ภิกษุ
๒ รูป ปวารณาต่อกัน ก็เราอยู่เพียงรูปเดียว จะพึงปวารณาอย่างไรหนอ”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๔๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๒๕. อาปัตติปฏิกัมมวิธิ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น
มีภิกษุอยู่รูปเดียว ภิกษุนั้นพึงกวาดสถานที่ที่ภิกษุทั้งหลายต้องกลับมา คือโรงฉัน
หรือมณฑป หรือโคนไม้ก็ตาม แล้วตั้งน้ำฉันน้ำใช้ ปูอาสนะ ตามประทีปแล้วนั่งอยู่
ถ้ามีภิกษุเหล่าอื่นมา พึงปวารณากับภิกษุเหล่านั้น ถ้าไม่มีมา พึงอธิษฐานว่า วันนี้
เป็นวันปวารณาของเรา ถ้าไม่อธิษฐาน ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุทั้งหลาย ในอาวาสที่มีภิกษุอยู่ ๕ รูป ไม่พึงนำปวารณาของภิกษุรูป
หนึ่งมาแล้ว อีก ๔ รูปปวารณาเป็นการสงฆ์ ถ้าปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุทั้งหลาย ในอาวาสที่มีภิกษุอยู่ ๔ รูป ไม่พึงนำปวารณาของภิกษุรูป
หนึ่งมาแล้ว อีก ๓ รูปปวารณาต่อกัน ถ้าปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุทั้งหลาย ในอาวาสที่มีภิกษุอยู่ ๓ รูป ไม่พึงนำปวารณาของภิกษุรูป
หนึ่งมาแล้ว อีก ๒ รูปปวารณาต่อกัน ถ้าปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุทั้งหลาย ในอาวาสที่มีภิกษุอยู่ ๒ รูป ไม่พึงนำปวารณาของภิกษุรูป
หนึ่งมาแล้ว อีกรูปหนึ่งอธิษฐาน ถ้าอธิษฐาน ต้องอาบัติทุกกฏ”

๑๒๕. อาปัตติปฏิกัมมวิธิ
ว่าด้วยวิธีแก้ไขอาบัติ

เรื่องภิกษุต้องอาบัติในวันปวารณา
[๒๑๙] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งต้องอาบัติ ในวันปวารณานั้น ภิกษุนั้นได้มี
ความคิดดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า ภิกษุมีอาบัติติดตัวไม่พึงปวารณา
ดังนี้ ก็เราต้องอาบัติแล้ว จะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ในวันปวารณานั้น
ภิกษุต้องอาบัติ ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงฆ์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง
นั่งกระโหย่ง ประนมมือกล่าวอย่างนี้ว่า ผมต้องอาบัติชื่อนี้ ขอแสดงคืนอาบัตินั้น ขอรับ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๔๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๒๖. อาปัตติอาวิกรณวิธิ
ภิกษุผู้รับพึงกล่าวว่า “ท่านเห็นหรือ”
ภิกษุผู้แสดงพึงตอบว่า “ขอรับ ผมเห็น”
ภิกษุผู้รับพึงกล่าวว่า “ท่านพึงสำรวมต่อไป”

เรื่องภิกษุไม่แน่ใจในอาบัติ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในวันปวารณานั้น ภิกษุมีความไม่แน่ใจใน
อาบัติ ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงฆ์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่ง
กระโหย่ง ประนม มือกล่าวอย่างนี้ว่า “ผมมีความไม่แน่ใจในอาบัติชื่อนี้ ขอรับ
เมื่อผมหมดความไม่แน่ใจ จักทำคืนอาบัตินั้น” แล้วปวารณา แต่ต้องไม่ทำ
อันตรายต่อปวารณา เพราะข้อนั้นเป็นปัจจัย

๑๒๖. อาปัตติอาวิกรณวิธิ
ว่าด้วยวิธีเปิดเผยอาบัติ

เรื่องภิกษุระลึกอาบัติได้
[๒๒๐] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งกำลังปวารณา ระลึกอาบัติได้ ภิกษุนั้นได้มี
ความคิดดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า ภิกษุมีอาบัติติดตัวไม่พึง
ปวารณา ดังนี้ ก็เราต้องอาบัติแล้ว จะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ เมื่อภิกษุกำลัง
ปวารณา ระลึกอาบัติได้ ภิกษุนั้นพึงบอกภิกษุใกล้เคียงอย่างนี้ว่า “ผมต้องอาบัติ
ชื่อนี้ ขอรับ ผมลุกจากที่นี่แล้วจักทำคืนอาบัตินั้น” แล้วปวารณา แต่ต้องไม่ทำ
อันตรายต่อปวารณา เพราะข้อนั้นเป็นปัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๔๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๒๗. สภาคาปัตติปฏิกัมมวิธิ
กำลังปวารณาไม่แน่ใจในอาบัติ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ เมื่อภิกษุกำลังปวารณา มีความไม่แน่ใจใน
อาบัติ ภิกษุนั้นพึงบอกภิกษุใกล้เคียงอย่างนี้ว่า “ผมมีความไม่แน่ใจในอาบัติชื่อนี้
ขอรับ ผมเมื่อหมดความไม่แน่ใจจักทำคืนอาบัตินั้น” แล้วปวารณา แต่ต้องไม่ทำ
อันตรายต่อปวารณา เพราะข้อนั้นเป็นปัจจัย

๑๒๗. สภาคาปัตติปฏิกัมมวิธิ
ว่าด้วยวิธีแก้ไขสภาคาบัติ

เรื่องสงฆ์ทั้งหมดต้องสภาคาบัติ
[๒๒๑] สมัยนั้น ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น สงฆ์ทั้งหมดต้อง
สภาคาบัติ๑ ภิกษุเหล่านั้นได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า
ภิกษุไม่พึงแสดงสภาคาบัติ ไม่พึงรับการแสดงสภาคาบัติ ก็สงฆ์ทั้งหมดนี้ต้อง
สภาคาบัติแล้ว พวกเราจะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ” จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวัน
ปวารณานั้น สงฆ์ทั้งหมดต้องสภาคาบัติ ภิกษุเหล่านั้นพึงส่งภิกษุรูปหนึ่งไปยัง
อาวาสใกล้เคียงพอจะกลับมาทันในวันนั้นด้วยสั่งว่า ท่าน ท่านจงไปทำคืนอาบัติ
นั้นมาเถิด พวกเราจักทำคืนอาบัตินั้นในสำนักของท่าน ถ้าได้อย่างนี้ นั่นเป็น
การดี ถ้าไม่ได้ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรม
วาจาว่า

เชิงอรรถ :
๑ ดูข้อ ๑๖๓ หน้า ๒๕๖ (เชิงอรรถ)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๔๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๒๘. อนาปัตติปัณณรสกะ
ญัตติกรรมวาจา
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์ทั้งหมดนี้ต้องสภาคาบัติแล้ว เมื่อพบ
ภิกษุรูปอื่นผู้บริสุทธิ์ไม่มีอาบัติ ก็จักทำคืนอาบัตินั้นในสำนักของภิกษุรูปนั้น ดังนี้
แล้วปวารณา แต่ต้องไม่ทำอันตรายต่อปวารณา เพราะข้อนั้นเป็นปัจจัย

สงฆ์ทั้งหมดไม่แน่ใจในสภาคาบัติ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น สงฆ์
ทั้งหมดมีความไม่แน่ใจในสภาคาบัติ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบ
ด้วยญัตติกรรมวาจาว่า

ญัตติกรรมวาจา
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์ทั้งหมดนี้มีความไม่แน่ใจในสภาคาบัติ
เมื่อหมดความไม่แน่ใจ ก็จักทำคืนอาบัตินั้น ดังนี้ แล้วปวารณา แต่ต้องไม่ทำ
อันตรายต่อปวารณา เพราะข้อนั้นเป็นปัจจัย
ปฐมภาณวารที่ ๑ จบ

๑๒๘. อนาปัตติปัณณรสกะ
ว่าด้วยการปวารณาโดยไม่ต้องอาบัติ ๑๕ กรณี
[๒๒๒] สมัยนั้น ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น มีภิกษุที่อยู่ในอาวาส
หลายรูป แต่ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้นไม่รู้ว่า “ยังมีภิกษุที่อยู่
ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่”
ภิกษุเหล่านั้นมีความสำคัญว่าเป็นธรรม เป็นวินัย ยังแบ่งพวกกันอยู่ แต่สำคัญ
ว่าเป็นผู้พร้อมเพรียง ปวารณา เมื่อภิกษุเหล่านั้นกำลังปวารณา ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่
ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๕๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๒๘. อนาปัตติปัณณรสกะ
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง
ในวันปวารณานั้น มีภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง
เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้นไม่รู้ว่า “ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่”
ภิกษุเหล่านั้นมีความสำคัญว่าเป็นธรรม เป็นวินัย ยังแบ่งพวกกันอยู่ แต่สำคัญ
ว่าเป็นผู้พร้อมเพรียง ปวารณา เมื่อภิกษุเหล่านั้นกำลังปวารณา ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่
ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ภิกษุเหล่านั้นพึงปวารณาใหม่
พวกภิกษุที่ปวารณาแล้วไม่ต้องอาบัติ (๑)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น
มีภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้น
ไม่รู้ว่า “ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่”
ภิกษุเหล่านั้นมีความสำคัญว่าเป็นธรรม เป็นวินัย ยังแบ่งพวกกันอยู่ แต่สำคัญ
ว่าเป็นผู้พร้อมเพรียง ปวารณา เมื่อภิกษุเหล่านั้นกำลังปวารณา ขณะนั้น ภิกษุที่
อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน พวกภิกษุที่ปวารณาแล้ว เป็นอัน
ปวารณาดีแล้ว ภิกษุที่เหลือพึงปวารณา พวกภิกษุที่ปวารณาแล้วไม่ต้องอาบัติ (๒)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น
มีภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้น
ไม่รู้ว่า “ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่”
ภิกษุเหล่านั้นมีความสำคัญว่าเป็นธรรม เป็นวินัย ยังแบ่งพวกกันอยู่ แต่สำคัญ
ว่าเป็นผู้พร้อมเพรียง ปวารณา เมื่อภิกษุเหล่านั้นกำลังปวารณา ขณะนั้น ภิกษุที่
อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า พวกภิกษุที่ปวารณาแล้ว เป็นอัน
ปวารณาดีแล้ว ภิกษุที่เหลือพึงปวารณา พวกภิกษุที่ปวารณาแล้วไม่ต้องอาบัติ (๓)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น
มีภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้น
ไม่รู้ว่า “ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๕๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๒๘. อนาปัตติปัณณรสกะ
ภิกษุเหล่านั้นมีความสำคัญว่าเป็นธรรม เป็นวินัย ยังแบ่งพวกกันอยู่ แต่สำคัญ
ว่าเป็นผู้พร้อมเพรียง ปวารณา พอภิกษุเหล่านั้นปวารณาเสร็จ ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่
ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ภิกษุเหล่านั้นพึงปวารณาใหม่ พวก
ภิกษุที่ปวารณาแล้วไม่ต้องอาบัติ (๔)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น
มีภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป ... พอภิกษุเหล่านั้นปวารณาเสร็จ ขณะนั้น ภิกษุ
ที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน พวกภิกษุที่ปวารณาแล้ว เป็นอัน
ปวารณาดีแล้ว พวกภิกษุผู้มาทีหลังพึงปวารณาในสำนักของภิกษุเหล่านั้น พวก
ภิกษุที่ปวารณาแล้วไม่ต้องอาบัติ (๕)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น
มีภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป ... พอภิกษุเหล่านั้นปวารณาเสร็จ ขณะนั้น ภิกษุ
ที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า พวกภิกษุที่ปวารณาแล้ว เป็นอัน
ปวารณาดีแล้ว พวกภิกษุผู้มาทีหลังพึงปวารณาในสำนักของภิกษุเหล่านั้น พวก
ภิกษุที่ปวารณาแล้วไม่ต้องอาบัติ (๖)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น
มีภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้น
ไม่รู้ว่า “ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่”
ภิกษุเหล่านั้นมีความสำคัญว่าเป็นธรรม เป็นวินัย ยังแบ่งพวกกันอยู่ แต่สำคัญ
ว่าเป็นผู้พร้อมเพรียง ปวารณา พอภิกษุเหล่านั้นปวารณาเสร็จ บริษัทยังไม่ทัน
ลุกขึ้น ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่าภิกษุเหล่านั้น
พึงปวารณาใหม่ พวกภิกษุที่ปวารณาแล้วไม่ต้องอาบัติ (๗)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น
มีภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป ... ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง
มีจำนวนเท่ากัน พวกภิกษุที่ปวารณาแล้ว เป็นอันปวารณาดีแล้ว ที่มาทีหลังพึง
ปวารณา ในสำนักของภิกษุเหล่านั้น พวกภิกษุที่ปวารณาแล้วไม่ต้องอาบัติ (๘)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น
มีภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป ... ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๕๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๒๘. อนาปัตติปัณณรสกะ
มีจำนวนน้อยกว่า พวกภิกษุที่ปวารณาแล้ว เป็นอันปวารณาดีแล้ว ที่มาทีหลังพึง
ปวารณาในสำนักของภิกษุเหล่านั้น พวกภิกษุที่ปวารณาแล้วไม่ต้องอาบัติ (๙)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น
มีภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้น
ไม่รู้ว่า “ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่”
ภิกษุเหล่านั้นมีความสำคัญว่าเป็นธรรม เป็นวินัย ยังแบ่งพวกกันอยู่ แต่สำคัญ
ว่าเป็นผู้พร้อมเพรียง ปวารณา พอภิกษุเหล่านั้นปวารณาเสร็จ บริษัทลุกขึ้นบางส่วน
ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ภิกษุเหล่านั้นพึง
ปวารณาใหม่ พวกภิกษุที่ปวารณาแล้วไม่ต้องอาบัติ (๑๐)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น
มีภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป ... ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง
มีจำนวนเท่ากัน พวกภิกษุที่ปวารณาแล้ว เป็นอันปวารณาดีแล้ว ที่มาทีหลังพึง
ปวารณาในสำนักของภิกษุเหล่านั้น พวกภิกษุที่ปวารณาแล้วไม่ต้องอาบัติ (๑๑)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น
มีภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป ... ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง
มีจำนวนน้อยกว่า พวกภิกษุที่ปวารณาแล้ว เป็นอันปวารณาดีแล้ว ที่มาทีหลังพึง
ปวารณาในสำนักของภิกษุเหล่านั้น พวกภิกษุที่ปวารณาแล้วไม่ต้องอาบัติ (๑๒)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น
มีภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้น
ไม่รู้ว่า “ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่”
ภิกษุเหล่านั้นมีความสำคัญว่าเป็นธรรม เป็นวินัย ยังแบ่งพวกกันอยู่ แต่สำคัญ
ว่าเป็นผู้พร้อมเพรียง ปวารณา พอภิกษุเหล่านั้นปวารณาเสร็จ บริษัทลุกขึ้นทั้งหมด
ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ภิกษุเหล่านั้นพึง
ปวารณาใหม่ พวกภิกษุที่ปวารณาแล้วไม่ต้องอาบัติ (๑๓)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น
มีภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป ... ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๕๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๒๙. วัคคาวัคคสัญญิปัณณรสกะ
จำนวนเท่ากัน ภิกษุที่ปวารณาแล้ว เป็นอันปวารณาดีแล้ว ที่มาทีหลังพึง
ปวารณาในสำนักของภิกษุเหล่านั้น พวกภิกษุที่ปวารณาแล้วไม่ต้องอาบัติ (๑๔)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น
มีภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป ... ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง
มีจำนวนน้อยกว่า ภิกษุที่ปวารณาแล้ว เป็นอันปวารณาดีแล้ว ที่มาทีหลังพึง
ปวารณาในสำนักของภิกษุเหล่านั้น พวกภิกษุที่ปวารณาแล้วไม่ต้องอาบัติ (๑๕)
อนาปัตติปัณณรสกะ จบ

๑๒๙. วัคคาวัคคสัญญิปัณณรสกะ
ว่าด้วยแบ่งพวกกันอยู่สำคัญว่าพร้อมเพรียง ๑๕ กรณี
[๒๒๓] ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น
มีภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้น
รู้อยู่ว่า “ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่”
ภิกษุเหล่านั้นมีความสำคัญว่าเป็นธรรม เป็นวินัย ยังแบ่งพวกกันอยู่ แต่สำคัญ
ว่าเป็นผู้พร้อมเพรียง ปวารณา เมื่อภิกษุเหล่านั้นกำลังปวารณา ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่
ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ภิกษุเหล่านั้นพึงปวารณาใหม่
พวกภิกษุที่ปวารณาแล้วต้องอาบัติทุกกฏ (๑)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น
มีภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป ... ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง
มีจำนวนเท่ากัน ภิกษุที่ปวารณาแล้ว เป็นอันปวารณาดีแล้ว ภิกษุที่เหลือ
พึงปวารณา พวกภิกษุที่ปวารณาแล้วต้องอาบัติทุกกฏ (๒)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น
มีภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป ฯลฯ ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง
มีจำนวนน้อยกว่า พวกภิกษุที่ปวารณาแล้ว เป็นอันปวารณาดีแล้ว ภิกษุที่เหลือ
พึงปวารณา พวกภิกษุที่ปวารณาแล้วต้องอาบัติทุกกฏ (๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๕๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๒๙. วัคคาวัคคสัญญิปัณณรสกะ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น
มีภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุ
เหล่านั้น รู้อยู่ว่า “ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่”
ภิกษุเหล่านั้นมีความสำคัญว่าเป็นธรรม เป็นวินัย ยังแบ่งพวกกันอยู่ แต่
สำคัญว่าเป็นผู้พร้อมเพรียง ปวารณา พอภิกษุเหล่านั้นปวารณาเสร็จ ขณะนั้น
ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ภิกษุเหล่านั้นพึงปวารณาใหม่
พวกภิกษุที่ปวารณาแล้วต้องอาบัติทุกกฏ (๔)
... พอภิกษุเหล่านั้นปวารณาเสร็จ ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง
มีจำนวนเท่ากัน พวกภิกษุที่ปวารณาแล้ว เป็นอันปวารณาดีแล้ว พวกภิกษุผู้
มาทีหลังพึงปวารณาในสำนักของภิกษุเหล่านั้น พวกภิกษุที่ปวารณาแล้วต้องอาบัติ
ทุกกฏ (๕)
... ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า ... (๖)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น
มีภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้น
รู้อยู่ว่า “ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่”
ภิกษุเหล่านั้นมีความสำคัญว่าเป็นธรรม เป็นวินัย ยังแบ่งพวกกันอยู่ แต่สำคัญว่า
เป็นผู้พร้อมเพรียง ปวารณา พอภิกษุเหล่านั้นปวารณาเสร็จ บริษัทยังไม่ทันลุกขึ้น
ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ภิกษุเหล่านั้นพึง
ปวารณาใหม่ พวกภิกษุที่ปวารณาแล้วต้องอาบัติทุกกฏ (๗)
... พอภิกษุเหล่านั้นปวารณาเสร็จ บริษัทยังไม่ทันลุกขึ้น ขณะนั้น ภิกษุที่
อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน พวกภิกษุที่ปวารณาแล้ว เป็นอัน
ปวารณาดีแล้ว ที่มาทีหลัง พึงปวารณาในสำนักของภิกษุเหล่านั้น พวกภิกษุที่
ปวารณาแล้วต้องอาบัติทุกกฏ (๘)
... ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า ... (๙)
... พอภิกษุเหล่านั้น ปวารณาเสร็จ บริษัทลุกขึ้นบางส่วน ขณะนั้น ภิกษุที่
อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ... (๑๐)
... ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน ... (๑๑)
... ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า ... (๑๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๕๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๓๐. เวมติกปัณณรสกะ
... พอภิกษุเหล่านั้น ปวารณาเสร็จ บริษัทลุกขึ้นทั้งหมด ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่
ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ... (๑๓)
... ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน ... (๑๔)
... ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า ... (๑๕)
วัคคาวัคคสัญญิปัณณรสกะ จบ

๑๓๐. เวมติกปัณณรสกะ
ว่าด้วยภิกษุไม่แน่ใจปวารณา ๑๕ กรณี
[๒๒๔] ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น
มีภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้น
รู้อยู่ว่า “ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่” แต่ไม่แน่ใจว่า “พวกเรา
ควรปวารณาหรือไม่ควร” ปวารณา เมื่อภิกษุเหล่านั้นกำลังปวารณา ขณะนั้นภิกษุ
ที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ภิกษุเหล่านั้นพึงปวารณาใหม่
พวกภิกษุที่ปวารณาแล้วต้องอาบัติทุกกฏ (๑)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น
มีภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป ... เมื่อภิกษุเหล่านั้นกำลังปวารณา ขณะนั้น ภิกษุที่
อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน พวกภิกษุที่ปวารณาแล้ว เป็นอัน
ปวารณาดีแล้ว ภิกษุที่เหลือพึงปวารณา พวกภิกษุที่ปวารณาแล้วต้องอาบัติ
ทุกกฏ (๒)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น
มีภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป ... เมื่อภิกษุเหล่านั้นกำลังปวารณา ขณะนั้น ภิกษุที่
อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า ภิกษุที่ปวารณาแล้ว เป็นอันปวารณา
ดีแล้ว ภิกษุที่เหลือพึงปวารณา พวกภิกษุที่ปวารณาแล้วต้องอาบัติทุกกฏ (๓)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น มี
ภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้น
รู้อยู่ว่า “ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่” แต่ไม่แน่ใจว่า “พวกเราควร
ปวารณาหรือไม่ควร” ปวารณา พอภิกษุเหล่านั้นปวารณาเสร็จ ขณะนั้น ภิกษุที่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๕๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๓๐. เวมติกปัณณรสกะ
อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ภิกษุเหล่านั้นพึงปวารณาใหม่ พวก
ภิกษุที่ปวารณาแล้วต้องอาบัติทุกกฏ (๔)
... พอภิกษุเหล่านั้นปวารณาเสร็จ ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง
มีจำนวนเท่ากัน พวกภิกษุที่ปวารณาแล้ว เป็นอันปวารณาดีแล้ว ที่มาทีหลังพึง
ปวารณาในสำนักของภิกษุเหล่านั้น พวกภิกษุที่ปวารณาแล้วต้องอาบัติทุกกฏ (๕)
... ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า ... (๖)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น มีภิกษุ
ที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้นรู้อยู่ว่า
“ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่” แต่ไม่แน่ใจว่า “พวกเราควร
ปวารณาหรือไม่ควร” ปวารณา พอภิกษุเหล่านั้นปวารณาเสร็จ บริษัทยังไม่ทัน
ลุกขึ้น ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ภิกษุเหล่านั้น
พึงปวารณาใหม่ พวกภิกษุที่ปวารณาแล้วต้องอาบัติทุกกฏ (๗)
... พอภิกษุเหล่านั้นปวารณาเสร็จ บริษัทยังไม่ทันลุกขึ้น ขณะนั้น ภิกษุที่
อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน พวกภิกษุที่ปวารณาแล้ว เป็นอัน
ปวารณาดีแล้ว ที่มาทีหลังพึงปวารณาในสำนักของภิกษุเหล่านั้น พวกภิกษุที่
ปวารณาแล้วต้องอาบัติทุกกฏ (๘)
... ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า ... (๙)
... พอภิกษุเหล่านั้นปวารณาเสร็จ บริษัทลุกขึ้นบางส่วน ขณะนั้น ภิกษุที่
อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ... (๑๐)
... ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน ... (๑๑)
... ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า ... (๑๒)
... พอภิกษุเหล่านั้นปวารณาเสร็จ บริษัทลุกขึ้นทั้งหมด ขณะนั้น ภิกษุที่
อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ... (๑๓)
... ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน ... (๑๔)
... ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า ... (๑๕)
เวมติกปัณณรสกะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๕๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๓๑. กุกกุจจปกตปัณณรสกะ
๑๓๑. กุกกุจจปกตปัณณรสกะ
ว่าด้วยภิกษุกังวลใจทำปวารณา ๑๕ กรณี
[๒๒๕] ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น
มีภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้น
รู้อยู่ว่า “ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่” แต่กังวลใจปวารณาด้วย
คิดว่า “พวกเรา ควรปวารณาแท้ ไม่ใช่ไม่ควร” เมื่อภิกษุเหล่านั้นกำลังปวารณา
ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ภิกษุเหล่านั้น
พึงปวารณาใหม่ พวกภิกษุที่ปวารณาแล้วต้องอาบัติทุกกฏ (๑)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น มีภิกษุ
ที่อยู่ในอาวาสหลายรูป ... เมื่อภิกษุเหล่านั้นกำลังปวารณา ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่
ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน พวกภิกษุที่ปวารณาแล้ว เป็นอัน
ปวารณาดีแล้ว ภิกษุที่เหลือพึงปวารณา พวกภิกษุที่ปวารณาแล้วต้องอาบัติ
ทุกกฏ (๒)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น มีภิกษุ
ที่อยู่ในอาวาสหลายรูป ... ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวน
น้อยกว่า พวกภิกษุที่ปวารณาแล้ว เป็นอันปวารณาดีแล้ว ภิกษุที่เหลือพึงปวารณา
พวกภิกษุที่ปวารณาแล้วต้องอาบัติทุกกฏ (๓)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น มีภิกษุ
ที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้นรู้อยู่ว่า
“ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่” แต่กังวลใจปวารณาด้วยคิดว่า
“พวกเราควรปวารณาแท้ ไม่ใช่ไม่ควร” พอภิกษุเหล่านั้นปวารณาเสร็จ ขณะนั้น
ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ภิกษุเหล่านั้นพึงปวารณาใหม่
พวกภิกษุที่ปวารณาแล้วต้องอาบัติทุกกฏ (๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๕๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๓๑. กุกกุจจปกตปัณณรสกะ
... พอภิกษุเหล่านั้นปวารณาเสร็จ ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง
มีจำนวนเท่ากัน พวกภิกษุที่ปวารณาแล้ว เป็นอันปวารณาดีแล้ว ที่มาทีหลังพึง
ปวารณาในสำนักของภิกษุเหล่านั้น พวกภิกษุที่ปวารณาแล้วต้องอาบัติทุกกฏ (๕)
... ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า ... (๖)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น
มีภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้น
รู้อยู่ว่า “ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่” แต่กังวลใจปวารณาด้วย
คิดว่า “พวกเรา ควรปวารณาแท้ ไม่ใช่ไม่ควร” พอภิกษุเหล่านั้น ปวารณาเสร็จ
บริษัทยังไม่ทันลุกขึ้น ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า
ภิกษุเหล่านั้นพึงปวารณาใหม่ พวกภิกษุที่ปวารณาแล้วต้องอาบัติทุกกฏ (๗)
... พอภิกษุเหล่านั้นปวารณาเสร็จ บริษัทยังไม่ทันลุกขึ้น ขณะนั้น ภิกษุที่
อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน พวกภิกษุที่ปวารณาแล้ว เป็นอัน
ปวารณาดีแล้ว ที่มาทีหลังพึงปวารณาในสำนักของภิกษุเหล่านั้น พวกภิกษุที่
ปวารณาแล้วต้องอาบัติทุกกฏ (๘)
... ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า ... (๙)
... พอภิกษุเหล่านั้นปวารณาเสร็จ บริษัทลุกขึ้นบางส่วน ขณะนั้น ภิกษุที่
อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ... (๑๐)
... ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน ... (๑๑)
... ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า ... (๑๒)
... พอภิกษุเหล่านั้นปวารณาเสร็จ บริษัทลุกขึ้นทั้งหมด ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ใน
อาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ... (๑๓)
... ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน ... (๑๔)
... ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า ... (๑๕)
กุกกุจจปกตปัณณรสกะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๕๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๓๒. เภทปุเรกขารปัณณรสกะ
๑๓๒. เภทปุเรกขารปัณณสรกะ
ว่าด้วยมุ่งทำความแตกร้าวทำปวารณา ๑๕ กรณี
[๒๒๖] ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น
มีภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้น
รู้อยู่ว่า “ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่” แต่มุ่งความแตกร้าวว่า
“ขอภิกษุเหล่านั้นจงเสื่อมสูญ จงพินาศ ภิกษุเหล่านั้นจะมีประโยชน์อะไร” ปวารณา
เมื่อภิกษุเหล่านั้นกำลังปวารณา ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง
มีจำนวนมากกว่า ภิกษุเหล่านั้นพึงปวารณาใหม่ พวกภิกษุที่ปวารณาแล้วต้อง
อาบัติถุลลัจจัย (๑)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น
มีภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้น
รู้อยู่ว่า “ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่” แต่มุ่งความแตกร้าวว่า
“ขอภิกษุเหล่านั้นจงเสื่อมสูญ จงพินาศ ภิกษุเหล่านั้นจะมีประโยชน์อะไร” ปวารณา
เมื่อภิกษุเหล่านั้นกำลังปวารณา ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง
มีจำนวนเท่ากัน พวกภิกษุที่ปวารณาแล้ว เป็นอันปวารณาดีแล้ว ภิกษุที่เหลือ
พึงปวารณา พวกภิกษุที่ปวารณาแล้วต้องอาบัติถุลลัจจัย (๒)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น
มีภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้น
รู้อยู่ว่า “ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่” แต่มุ่งความแตกร้าวว่า
“ขอภิกษุเหล่านั้นจงเสื่อมสูญ จงพินาศ ภิกษุเหล่านั้นจะมีประโยชน์อะไร” ปวารณา
เมื่อภิกษุเหล่านั้นกำลังปวารณา ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง
มีจำนวนน้อยกว่า พวกภิกษุที่ปวารณาแล้ว เป็นอันปวารณาดีแล้ว ภิกษุที่เหลือ
พึงปวารณา พวกภิกษุที่ปวารณาแล้วต้องอาบัติถุลลัจจัย (๓)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น
มีภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้น
รู้อยู่ว่า “ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่” แต่มุ่งความแตกร้าวว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๖๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๓๒. เภทปุเรกขารปัณณรสกะ
“ขอภิกษุเหล่านั้นจงเสื่อมสูญ จงพินาศ ภิกษุเหล่านั้นจะมีประโยชน์อะไร” ปวารณา
พอภิกษุเหล่านั้นปวารณาเสร็จ ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง
มีจำนวนมากกว่า พวกภิกษุเหล่านั้นพึงปวารณาใหม่ พวกภิกษุที่ปวารณาแล้วต้อง
อาบัติถุลลัจจัย (๔)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น
มีภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้น
รู้อยู่ว่า “ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่” แต่มุ่งความแตกร้าวว่า
“ขอภิกษุเหล่านั้นจงเสื่อมสูญ จงพินาศ ภิกษุเหล่านั้นจะมีประโยชน์อะไร” ปวารณา
พอภิกษุเหล่านั้นปวารณาเสร็จ ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง
มีจำนวนเท่ากัน พวกภิกษุที่ปวารณาแล้ว เป็นอันปวารณาดีแล้ว ที่มาทีหลังพึง
ปวารณาในสำนักของภิกษุเหล่านั้น พวกภิกษุที่ปวารณาแล้วต้องอาบัติถุลลัจจัย (๕)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น
มีภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้น
รู้อยู่ว่า“ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่” แต่มุ่งความแตกร้าวว่า
“ขอภิกษุเหล่านั้นจงเสื่อมสูญ จงพินาศ ภิกษุเหล่านั้นจะมีประโยชน์อะไร” ปวารณา
พอภิกษุเหล่านั้นปวารณาเสร็จ ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง
มีจำนวนน้อยกว่า พวกภิกษุที่ปวารณาแล้ว เป็นอันปวารณาดีแล้ว ที่มาทีหลังพึง
ปวารณาในสำนักของภิกษุเหล่านั้น พวกภิกษุที่ปวารณาแล้วต้องอาบัติถุลลัจจัย (๖)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น
มีภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้น
รู้อยู่ว่า “ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่” แต่มุ่งความแตกร้าวว่า
“ขอภิกษุเหล่านั้นจงเสื่อมสูญ จงพินาศ ภิกษุเหล่านั้นจะมีประโยชน์อะไร” ปวารณา
พอภิกษุเหล่านั้นปวารณาเสร็จ บริษัทยังไม่ทันลุกขึ้น ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ใน
อาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ภิกษุเหล่านั้นพึงปวารณาใหม่ พวกภิกษุ
ที่ปวารณาแล้วต้องอาบัติถุลลัจจัย (๗)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น
มีภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๖๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๓๒. เภทปุเรกขารปัณณรสกะ
รู้อยู่ว่า “ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่” แต่มุ่งความแตกร้าวว่า “ขอ
ภิกษุเหล่านั้นจงเสื่อมสูญ จงพินาศ ภิกษุเหล่านั้นจะมีประโยชน์อะไร” ปวารณา
พอภิกษุเหล่านั้นปวารณาเสร็จ บริษัทยังไม่ทันลุกขึ้น ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ใน
อาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน พวกภิกษุที่ปวารณาแล้ว เป็นอันปวารณาดี
แล้ว ที่มาทีหลังพึงปวารณาในสำนักของภิกษุเหล่านั้น พวกภิกษุที่ปวารณาแล้วต้อง
อาบัติถุลลัจจัย (๘)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น
มีภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้น
รู้อยู่ว่า “ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่” แต่มุ่งความแตกร้าวว่า
“ขอภิกษุเหล่านั้นจงเสื่อมสูญ จงพินาศ ภิกษุเหล่านั้นจะมีประโยชน์อะไร” ปวารณา
พอภิกษุเหล่านั้นปวารณาเสร็จ บริษัทยังไม่ทันลุกขึ้น ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ใน
อาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า พวกภิกษุที่ปวารณาแล้ว เป็นอัน
ปวารณาดีแล้ว ที่มาทีหลังพึงปวารณาในสำนักของภิกษุเหล่านั้น พวกภิกษุที่
ปวารณาแล้วต้องอาบัติถุลลัจจัย (๙)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น
มีภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้น
รู้อยู่ว่า “ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่” แต่มุ่งความแตกร้าวว่า
“ขอภิกษุเหล่านั้นจงเสื่อมสูญ จงพินาศ ภิกษุเหล่านั้นจะมีประโยชน์อะไร” ปวารณา
พอภิกษุเหล่านั้นปวารณาเสร็จ บริษัทลุกขึ้นบางส่วน ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาส
พวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ภิกษุเหล่านั้นพึงปวารณาใหม่ พวกภิกษุที่ปวารณา
แล้วต้องอาบัติถุลลัจจัย (๑๐)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น
มีภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้น
รู้อยู่ว่า “ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่” แต่มุ่งความแตกร้าวว่า
“ขอภิกษุเหล่านั้นจงเสื่อมสูญ จงพินาศ ภิกษุเหล่านั้นจะมีประโยชน์อะไร” ปวารณา
พอภิกษุเหล่านั้นปวารณาเสร็จ บริษัทลุกขึ้นบางส่วน ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ใน
อาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน พวกภิกษุที่ปวารณาแล้ว เป็นอันปวารณา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๖๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๓๒. เภทปุเรกขารปัณณรสกะ
ดีแล้ว ที่มาทีหลังพึงปวารณาในสำนักของภิกษุเหล่านั้น พวกภิกษุที่ปวารณาแล้ว
ต้องอาบัติถุลลัจจัย (๑๑)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น
มีภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้น
รู้อยู่ว่า “ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่” แต่มุ่งความแตกร้าวว่า
“ขอภิกษุเหล่านั้นจงเสื่อมสูญ จงพินาศ ภิกษุเหล่านั้นจะมีประโยชน์อะไร” ปวารณา
พอภิกษุเหล่านั้นปวารณาเสร็จ บริษัทลุกขึ้นบางส่วน ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ใน
อาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า พวกภิกษุที่ปวารณาแล้ว เป็นอัน
ปวารณาดีแล้ว ที่มาทีหลังพึงปวารณาในสำนักของภิกษุเหล่านั้น พวกภิกษุที่
ปวารณาแล้วต้องอาบัติถุลลัจจัย (๑๒)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น
มีภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้น
รู้อยู่ว่า “ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่” แต่มุ่งความแตกร้าวว่า
“ขอภิกษุเหล่านั้นจงเสื่อมสูญ จงพินาศ ภิกษุเหล่านั้นจะมีประโยชน์อะไร” ปวารณา
พอภิกษุเหล่านั้นปวารณาเสร็จ บริษัทลุกขึ้นทั้งหมด ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ใน
อาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ภิกษุเหล่านั้นพึงปวารณาใหม่ พวกภิกษุ
ที่ปวารณาแล้วต้องอาบัติถุลลัจจัย (๑๓)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น
มีภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้น
รู้อยู่ว่า “ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่” แต่มุ่งความแตกร้าวว่า
“ขอภิกษุเหล่านั้นจงเสื่อมสูญ จงพินาศ ภิกษุเหล่านั้นจะมีประโยชน์อะไร” ปวารณา
พอภิกษุเหล่านั้นปวารณาเสร็จ บริษัทลุกขึ้นทั้งหมด ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ใน
อาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน พวกภิกษุที่ปวารณาแล้ว เป็นอันปวารณาดี
แล้ว ที่มาทีหลังพึงปวารณาในสำนักของภิกษุเหล่านั้น พวกภิกษุที่ปวารณาแล้ว
ต้องอาบัติถุลลัจจัย (๑๔)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น
มีภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๖๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๓๓. สีโมกกันติกเปยยาล
รู้อยู่ว่า “ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่” แต่มุ่งความแตกร้าวว่า
“ขอภิกษุเหล่านั้นจงเสื่อมสูญ จงพินาศ ภิกษุเหล่านั้นจะมีประโยชน์อะไร” ปวารณา
พอภิกษุเหล่านั้นปวารณาเสร็จ บริษัทลุกขึ้นทั้งหมด ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาส
พวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า พวกภิกษุที่ปวารณาแล้ว เป็นอันปวารณาดีแล้ว
ที่มาทีหลังพึงปวารณาในสำนักของภิกษุเหล่านั้น พวกภิกษุที่ปวารณาแล้วต้อง
อาบัติถุลลัจจัย (๑๕)
เภทปุเรกขารปัณณรสกะ จบ
ปัญจวีสติติกะ ๑ จบ

๑๓๓. สีโมกกันติกเปยยาล
ว่าด้วยการละข้อความเกี่ยวกับภิกษุเข้าสู่สีมา

เปยยาลมุข ๗๐๐ ติกะ
[๒๒๗] ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น
มีภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป
๑. ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง
๒. ภิกษุเหล่านั้นไม่รู้ว่า “มีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นกำลังเข้ามาในสีมา...”
๓. ... ภิกษุเหล่านั้นไม่รู้ว่า “ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นเข้ามาภายในสีมา
แล้ว ...”
๔. ... ภิกษุเหล่านั้นไม่เห็นภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นกำลังเข้ามาภายใน
สีมา ...
๕. ... ภิกษุเหล่านั้นไม่เห็นภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นเข้ามาภายในสีมา
แล้ว ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๖๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๓๔. ทิวสนานัตตะ
๖. ... ภิกษุเหล่านั้นไม่ได้ยินว่า “ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นกำลังเข้ามา
ภายในสีมา ...”
๗. ... ภิกษุเหล่านั้นไม่ได้ยินว่า “ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นเข้ามาภายใน
สีมาแล้ว ...”
โดยนัย ๑๗๕ ติกะ
๑. ภิกษุที่อยู่ในอาวาสกับภิกษุที่อยู่ในอาวาส
๒. ภิกษุอาคันตุกะกับภิกษุที่อยู่ในอาวาส
๓. ภิกษุที่อยู่ในอาวาสกับภิกษุอาคันตุกะ
๔. ภิกษุอาคันตุกะกับภิกษุอาคันตุกะ
รวมเป็น ๗๐๐ ติกะ โดยเปยยาลมุข๑

๑๓๔. ทิวสนานัตตะ
ว่าด้วยการนับวันปวารณาต่างกัน
[๒๒๘] ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ วันปวารณาของภิกษุที่อยู่ในอาวาส เป็นวัน
๑๔ ค่ำ ของภิกษุอาคันตุกะเป็นวัน ๑๕ ค่ำ ถ้าพวกภิกษุที่อยู่ในอาวาสมีจำนวน
มากกว่า พวกภิกษุอาคันตุกะพึงอนุวัตรตามพวกภิกษุที่อยู่ในอาวาส ถ้ามีจำนวน
เท่ากัน พวกภิกษุอาคันตุกะพึงอนุวัตรตามพวกภิกษุที่อยู่ในอาวาส ถ้าพวกภิกษุ
อาคันตุกะมีจำนวนมากกว่า พวกภิกษุที่อยู่ในอาวาสพึงอนุวัตรตามพวกภิกษุอาคันตุกะ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ วันปวารณาของภิกษุที่อยู่ในอาวาส เป็นวัน
๑๕ ค่ำ ของพวกภิกษุอาคันตุกะเป็นวัน ๑๔ ค่ำ ถ้าพวกภิกษุที่อยู่ในอาวาสมี
จำนวนมากกว่า พวกภิกษุอาคันตุกะ พึงอนุวัตรตามพวกภิกษุที่อยู่ในอาวาส
ถ้ามีจำนวนเท่ากัน พวกภิกษุอาคันตุกะ พึงอนุวัตรตามภิกษุที่อยู่ในอาวาส ถ้าพวก

เชิงอรรถ :
๑ ดูข้อ ๑๗๗ หน้า ๒๗๙ (เชิงอรรถ)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๖๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๓๕. ลิงคาทิทัสสนะ
ภิกษุอาคันตุกะ มีจำนวนมากกว่า พวกภิกษุที่อยู่ในอาวาส พึงอนุวัตรตามพวกภิกษุ
อาคันตุกะ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ วันปวารณาของภิกษุที่อยู่ในอาวาส เป็นวันแรม
๑ ค่ำ ของภิกษุอาคันตุกะเป็นวัน ๑๕ ค่ำ ถ้าพวกภิกษุที่อยู่ในอาวาส มีจำนวน
มากกว่า พวกภิกษุที่อยู่ในอาวาสไม่ปรารถนา ก็ไม่พึงให้ความพร้อมเพรียงแก่
พวกภิกษุอาคันตุกะ พวกภิกษุอาคันตุกะ พึงไปนอกสีมาปวารณาเถิด ถ้ามีจำนวน
เท่ากัน พวกภิกษุที่อยู่ในอาวาสไม่ปรารถนา ก็ไม่พึงให้ความพร้อมเพรียงแก่พวก
ภิกษุอาคันตุกะ พวกภิกษุอาคันตุกะ พึงไปนอกสีมาปวารณาเถิด ถ้าพวกภิกษุ
อาคันตุกะ มีจำนวนมากกว่า พวกภิกษุที่อยู่ในอาวาสพึงให้ความพร้อมเพรียงแก่
พวกภิกษุอาคันตุกะ หรือไปนอกสีมา
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ วันปวารณาของพวกภิกษุที่อยู่ในอาวาส เป็นวัน
๑๕ ค่ำ ของพวกภิกษุอาคันตุกะเป็นวันแรม ๑ ค่ำ ถ้าพวกภิกษุที่อยู่ในอาวาส
มีจำนวนมากกว่า พวกภิกษุอาคันตุกะพึงให้ความพร้อมเพรียงแก่พวกภิกษุที่อยู่ใน
อาวาส หรือไปนอกสีมา ถ้ามีจำนวนเท่ากัน พวกภิกษุอาคันตุกะพึงให้ความพร้อมเพรียง
แก่พวกภิกษุที่อยู่ในอาวาส หรือไปนอกสีมา ถ้าพวกภิกษุอาคันตุกะ มีจำนวน
มากกว่า พวกภิกษุอาคันตุกะไม่ปรารถนา ก็ไม่พึงให้ความพร้อมเพรียงแก่พวกภิกษุ
ที่อยู่ในอาวาส พวกภิกษุที่อยู่ในอาวาสพึงไปนอกสีมาปวารณาเถิด

๑๓๕. ลิงคาทิทัสสนะ
ว่าด้วยการเห็นลักษณะเป็นต้น

เรื่องลักษณะของภิกษุที่อยู่ในอาวาส
[๒๒๙] ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ พวกภิกษุอาคันตุกะได้เห็นอาการของ
ภิกษุที่อยู่ในอาวาส ลักษณะของภิกษุที่อยู่ในอาวาส เครื่องหมายของภิกษุที่อยู่ใน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๖๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๓๕. ลิงคาทิทัสสนะ
อาวาส สิ่งส่อแสดงภิกษุที่อยู่ในอาวาสของพวกภิกษุที่อยู่ในอาวาส เตียง ตั่ง ฟูก
หมอน น้ำฉัน น้ำใช้ จัดไว้ดี บริเวณกวาดสะอาด ครั้นแล้ว ไม่แน่ใจว่า “มีพวก
ภิกษุที่อยู่ในอาวาสอยู่หรือไม่มีหนอ”
ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจแต่ไม่ค้นหา ปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจจึงค้นหา แต่ไม่พบ ปวารณา ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจจึงค้นหาจนพบ ปวารณาร่วมกัน ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจจึงค้นหาจนพบ แยกกันปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจจึงค้นหาจนพบ มุ่งความแตกร้าวว่า “ขอภิกษุเหล่านั้น
จงเสื่อมสูญ จงพินาศ ภิกษุเหล่านั้นจะมีประโยชน์อะไร” ปวารณา ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ พวกภิกษุอาคันตุกะได้ยินอาการของภิกษุที่
อยู่ในอาวาส ลักษณะของภิกษุที่อยู่ในอาวาส เครื่องหมายของภิกษุที่อยู่ในอาวาส
สิ่งส่อแสดงภิกษุที่อยู่ในอาวาสของพวกภิกษุที่อยู่ในอาวาส ได้ยินเสียงเท้าของพวก
ภิกษุที่อยู่ในอาวาสกำลังจงกรม เสียงสาธยาย เสียงไอ เสียงจาม ครั้นแล้ว
ไม่แน่ใจว่า “มีพวกภิกษุที่อยู่ในอาวาสอยู่หรือไม่มีหนอ”
ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจ แต่ไม่ค้นหา ปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจจึงค้นหา แต่ไม่พบ ปวารณา ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจจึงค้นหาจนพบ ปวารณาร่วมกัน ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจจึงค้นหาจนพบ แยกกันปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจจึงค้นหาจนพบ มุ่งความแตกร้าวว่า “ขอภิกษุเหล่านั้น
จงเสื่อมสูญ จงพินาศ ภิกษุเหล่านั้นจะมีประโยชน์อะไร” ปวารณา ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ พวกภิกษุที่อยู่ในอาวาสได้เห็นอาการของ
พวกภิกษุอาคันตุกะ ลักษณะของพวกภิกษุอาคันตุกะ เครื่องหมายของพวกภิกษุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๖๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๓๕. ลิงคาทิทัสสนะ
อาคันตุกะ สิ่งส่อแสดงพวกภิกษุอาคันตุกะของพวกภิกษุอาคันตุกะ ได้เห็นบาตร
จีวร ผ้านิสีทนะ รอยน้ำล้างเท้า อันเป็นของพวกภิกษุพวกอื่น ครั้นแล้ว ไม่แน่ใจว่า
“มีพวกภิกษุอาคันตุกะอยู่หรือไม่มีหนอ”
ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจ แต่ไม่ค้นหา ปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจจึงค้นหา แต่ไม่พบ ปวารณา ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจจึงค้นหาจนพบ ปวารณาร่วมกัน ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจจึงค้นหาจนพบ แยกกันปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจจึงค้นหาจนพบ มุ่งความแตกร้าวว่า “ขอภิกษุเหล่านั้น
จงเสื่อมสูญ จงพินาศ ภิกษุเหล่านั้นจะมีประโยชน์อะไร” ปวารณา ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ พวกภิกษุที่อยู่ในอาวาสได้ยินอาการของ
อาคันตุกะ ลักษณะของพวกภิกษุอาคันตุกะ เครื่องหมายของพวกภิกษุอาคันตุกะ
สิ่งส่อแสดงพวกภิกษุอาคันตุกะของพวกภิกษุอาคันตุกะ ได้ยินเสียงเท้าของพวก
ภิกษุอาคันตุกะกำลังเดินมา เสียงรองเท้ากระทบพื้น เสียงไอ เสียงจาม ครั้นแล้ว
ไม่แน่ใจว่า “มีพวกภิกษุอาคันตุกะอยู่หรือไม่มีหนอ”
ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจ แต่ไม่ค้นหา ปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจจึงค้นหา แต่ไม่พบ ปวารณา ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจจึงค้นหาจนพบ ปวารณาร่วมกัน ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจจึงค้นหาจนพบ แยกกันปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจจึงค้นหาจนพบ มุ่งความแตกร้าวว่า “ขอภิกษุเหล่านั้น
จงเสื่อมสูญ จงพินาศ ภิกษุเหล่านั้นจะมีประโยชน์อะไร” ปวารณา ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๖๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๓๖. นานาสังวาสกาทิปวารณา
๑๓๖. นานาสังวาสกาทิปวารณา
ว่าด้วยภิกษุผู้เป็นนานาสังวาสเป็นต้นปวารณา

เรื่องภิกษุ ๒ สังวาสปวารณา
[๒๓๐] ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ พวกภิกษุอาคันตุกะเห็นพวกภิกษุที่อยู่ใน
อาวาสผู้เป็นนานาสังวาส๑เข้าใจว่าเป็นสมานสังวาส ไม่ไต่ถาม ปวารณาร่วมกัน
ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุอาคันตุกะเหล่านั้นไต่ถามแล้วไม่รังเกียจ ปวารณาร่วมกัน ต้องอาบัติ
ทุกกฏ
ภิกษุอาคันตุกะเหล่านั้นไต่ถามแล้วไม่รังเกียจ แยกกันปวารณา ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ พวกภิกษุอาคันตุกะเห็นพวกภิกษุที่อยู่ใน
อาวาสผู้เป็นสมานสังวาส เข้าใจว่าเป็นนานาสังวาส ไม่ไต่ถาม ปวารณาร่วมกัน
ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุอาคันตุกะเหล่านั้นไต่ถามแล้วรังเกียจ แยกกันปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุอาคันตุกะเหล่านั้นไต่ถามแล้วรังเกียจ ปวารณาร่วมกัน ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ พวกภิกษุที่อยู่ในอาวาสเห็นพวกภิกษุ
อาคันตุกะผู้เป็นนานาสังวาส เข้าใจว่าเป็นสมานสังวาส ไม่ไต่ถาม ปวารณาร่วมกัน
ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุอาคันตุกะเหล่านั้นไต่ถามแล้วไม่รังเกียจ ปวารณาร่วมกัน ต้องอาบัติ
ทุกกฏ
ภิกษุอาคันตุกะเหล่านั้นไต่ถามแล้วไม่รังเกียจ แยกกันปวารณา ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ พวกภิกษุที่อยู่ในอาวาสเห็นพวกภิกษุ
อาคันตุกะผู้เป็นสมานสังวาส เข้าใจว่าเป็นนานาสังวาส ไม่ไต่ถาม ปวารณาร่วมกัน
ต้องอาบัติทุกกฏ

เชิงอรรถ :
๑ นานาสังวาส ดูข้อ ๑๘๐ หน้า ๒๘๓ (เชิงอรรถ)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๖๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๓๗. นคันตัพพวาร
ภิกษุที่อยู่ในอาวาสเหล่านั้นไต่ถามแล้วรังเกียจ แยกกันปวารณา ต้องอาบัติ
ทุกกฏ
ภิกษุที่อยู่ในอาวาสเหล่านั้นไต่ถามแล้วรังเกียจ ปวารณาร่วมกัน ไม่ต้องอาบัติ

๑๓๗. นคันตัพพวาร
ว่าด้วยไม่ควรไปไหนในวันปวารณา
[๒๓๑] ภิกษุทั้งหลาย ในวันปวารณานั้น ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ๑ไป
สู่อาวาสที่ไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับสงฆ์ เว้นแต่มีอันตราย
ภิกษุทั้งหลาย ในวันปวารณานั้น ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุไปสู่สถานที่
มิใช่อาวาสซึ่งไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับสงฆ์ เว้นแต่มีอันตราย
ภิกษุทั้งหลาย ในวันปวารณานั้น ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุไปสู่อาวาส
หรือสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับสงฆ์ เว้นแต่มีอันตราย
ภิกษุทั้งหลาย ในวันปวารณานั้น ไม่พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ
ไปสู่อาวาสที่ไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับสงฆ์ เว้นแต่มีอันตราย
ภิกษุทั้งหลาย ในวันปวารณานั้น ไม่พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ
ไปสู่สถานที่มิใช่อาวาสซึ่งไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับสงฆ์ เว้นแต่มีอันตราย
ภิกษุทั้งหลาย ในวันปวารณานั้น ไม่พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ
ไปสู่อาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับสงฆ์ เว้นแต่มีอันตราย
ภิกษุทั้งหลาย ในวันปวารณานั้น ไม่พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาส
ซึ่งมีภิกษุไปสู่อาวาสที่ไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับสงฆ์ เว้นแต่มีอันตราย
ภิกษุทั้งหลาย ในวันปวารณานั้น ไม่พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่
อาวาสซึ่งมีภิกษุไปสู่สถานที่มิใช่อาวาสซึ่งไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับสงฆ์ เว้นแต่มีอันตราย

เชิงอรรถ :
๑ อาวาสที่มีภิกขุ ดูข้อ ๑๘๑ หน้า ๒๘๔ (เชิงอรรถ)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๗๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๓๗. นคันตัพพวาร
ภิกษุทั้งหลาย ในวันปวารณานั้น ไม่พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่
อาวาสซึ่งมีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับสงฆ์
เว้นแต่มีอันตราย
ภิกษุทั้งหลาย ในวันปวารณานั้น ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุไปสู่อาวาสที่มี
ภิกษุแต่เป็นที่อยู่ของพวกภิกษุผู้เป็นนานาสังวาส เว้นแต่ไปกับสงฆ์ เว้นแต่มีอันตราย
ภิกษุทั้งหลาย ในวันปวารณานั้น ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุไปสู่สถานที่
มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุแต่เป็นที่อยู่ของพวกภิกษุผู้เป็นนานาสังวาส เว้นแต่ไปกับสงฆ์
เว้นแต่มีอันตราย
ภิกษุทั้งหลาย ในวันปวารณานั้น ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุไปสู่อาวาส
หรือสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุแต่เป็นที่อยู่ของพวกภิกษุผู้เป็นนานาสังวาส เว้นแต่ไป
กับสงฆ์ เว้นแต่มีอันตราย
ภิกษุทั้งหลาย ในวันปวารณานั้น ไม่พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ
ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุแต่เป็นที่อยู่ของพวกภิกษุผู้เป็นนานาสังวาส เว้นแต่ไปกับสงฆ์
เว้นแต่มีอันตราย
ภิกษุทั้งหลาย ในวันปวารณานั้น ไม่พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ
ไปสู่สถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุแต่เป็นที่อยู่ของพวกภิกษุผู้เป็นนานาสังวาส เว้นแต่ไป
กับสงฆ์ เว้นแต่มีอันตราย
ภิกษุทั้งหลาย ในวันปวารณานั้น ไม่พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ
ไปสู่อาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุแต่เป็นที่อยู่ของพวกภิกษุผู้เป็นนานาสังวาส
เว้นแต่ไปกับสงฆ์ เว้นแต่มีอันตราย
ภิกษุทั้งหลาย ในวันปวารณานั้น ไม่พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาส
ซึ่งมีภิกษุไปสู่อาวาสที่มีภิกษุแต่เป็นที่อยู่ของพวกภิกษุผู้เป็นนานาสังวาส เว้นแต่ไป
กับสงฆ์ เว้นแต่มีอันตราย
ภิกษุทั้งหลาย ในวันปวารณานั้น ไม่พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาส
ซึ่งมีภิกษุไปสู่สถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุแต่เป็นที่อยู่ของพวกภิกษุผู้เป็นนานาสังวาส
เว้นแต่ไปกับสงฆ์ เว้นแต่มีอันตราย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๗๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๓๘. คันตัพพวาร
ภิกษุทั้งหลาย ในวันปวารณานั้น ไม่พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาส
ซึ่งมีภิกษุไปสู่อาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุแต่เป็นที่อยู่ของพวกภิกษุผู้เป็น
นานาสังวาส เว้นไว้แต่ไปกับสงฆ์ เว้นแต่มีอันตราย

๑๓๘. คันตัพพวาร
ว่าด้วยสถานที่ควรไปในวันปวารณา
[๒๓๒] ภิกษุทั้งหลาย ในวันปวารณานั้น พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุไปสู่
อาวาสที่มีภิกษุซึ่งเป็นที่อยู่ของพวกภิกษุผู้เป็นสมานสังวาส ซึ่งรู้ว่า “เราสามารถไป
ถึงในวันนี้แหละ”
ภิกษุทั้งหลาย ในวันปวารณานั้น พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุไปสู่สถานที่มิใช่
อาวาสซึ่งมีภิกษุ ฯลฯ ไปสู่อาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุซึ่งเป็นที่อยู่ของ
พวกภิกษุผู้เป็นสมานสังวาส ซึ่งรู้ว่า “เราสามารถไปถึงในวันนี้แหละ”
ภิกษุทั้งหลาย ในวันปวารณานั้น พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุไป
สู่อาวาสที่มีภิกษุ...
... ไปสู่สถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ ...
... ไปสู่อาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ ซึ่งเป็นที่อยู่ของพวกภิกษุผู้เป็น
สมานสังวาส ซึ่งรู้ว่า “เราสามารถไปถึงในวันนี้แหละ”
ภิกษุทั้งหลาย ในวันปวารณานั้น พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาส
ซึ่งมีภิกษุไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ ...
... ไปสู่สถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ ...
... ไปสู่อาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ ซึ่งเป็นที่อยู่ของพวกภิกษุผู้เป็น
สมานสังวาส ซึ่งรู้ว่า “เราสามารถไปถึงในวันนี้แหละ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๗๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๓๙. วัชชนียปุคคลสันทัสสนา
๑๓๙. วัชชนียปุคคลสันทัสสนา
ว่าด้วยการแสดงบุคคลควรเว้นในปวารณากรรม
[๒๓๓] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงปวารณาในบริษัทที่มีภิกษุณีนั่งอยู่ด้วย รูปใด
ปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ
... ในบริษัทที่มีสิกขมานานั่งอยู่ด้วย ...
... ในบริษัทที่มีสามเณรนั่งอยู่ด้วย ...
... ในบริษัทที่มีสามเณรีนั่งอยู่ด้วย ...
... ในบริษัทที่มีภิกษุผู้บอกคืนสิกขานั่งอยู่ด้วย ...
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงปวารณาในบริษัทที่มีภิกษุต้องอันติมวัตถุนั่งอยู่ด้วย
รูปใดปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงปวารณาในบริษัทที่มีภิกษุถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม
เพราะไม่เห็นอาบัตินั่งอยู่ด้วย รูปใดปวารณา พึงปรับอาบัติตามธรรม
... ในบริษัทที่มีภิกษุถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัตินั่งอยู่ด้วย
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงปวารณาในบริษัทที่มีภิกษุถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม
เพราะไม่สละทิฏฐิบาปนั่งอยู่ด้วย รูปใดปวารณา พึงปรับอาบัติตามธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงปวารณาในบริษัทที่มีบัณเฑาะก์นั่งอยู่ด้วย รูปใด
ปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ
... ในบริษัทที่มีคนลักเพศนั่งอยู่ด้วย ...
... ในบริษัทที่มีภิกษุเข้ารีตเดียรถีย์นั่งอยู่ด้วย ...
... ในบริษัทที่มีสัตว์ดิรัจฉานอยู่ด้วย ...
... ในบริษัทที่มีคนฆ่ามารดานั่งอยู่ด้วย ...
... ในบริษัทที่มีคนฆ่าบิดานั่งอยู่ด้วย ...
... ในบริษัทที่มีคนฆ่าพระอรหันต์นั่งอยู่ด้วย ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๗๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๔๐. เทฺววาจิกาทิปวารณา
... ในบริษัทที่มีคนประทุษร้ายภิกษุณีนั่งอยู่ด้วย ...
... ในบริษัทที่มีภิกษุผู้ทำลายสงฆ์นั่งอยู่ด้วย ...
... ในบริษัทที่มีคนทำร้ายพระศาสดาจนห้อพระโลหิตนั่งอยู่ด้วย ...
ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงปวารณาในบริษัทที่มีอุภโตพยัญชนกนั่งอยู่ด้วย รูปใด
ปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ

เรื่องห้ามปวารณาในวันมิใช่วันปวารณา
ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงปวารณาด้วยการให้ปาริวาสิกปวารณา๑ เว้นแต่บริษัทยัง
ไม่ลุกขึ้น ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ไม่พึงปวารณาในวันมิใช่วันปวารณา เว้นแต่วันที่
สงฆ์สามัคคี๒
ภาณวารที่ ๒ จบ

๑๔๐. เทฺววาจิกาทิปวารณา
ว่าด้วยสงฆ์ปวารณา ๒ หนเป็นต้น

เรื่องชาวป่า
[๒๓๔] สมัยนั้น ณ อาวาสแห่งหนึ่ง ในแคว้นโกศล ในวันปวารณานั้น
มีชาวป่ามาพลุกพล่าน ภิกษุทั้งหลายไม่อาจปวารณา ๓ หน จึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ปวารณา ๒ หน”
ชาวป่าได้มาพลุกพล่านมากขึ้น ภิกษุทั้งหลายไม่อาจปวารณา ๒ หน
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูข้อ ๑๘๓ หน้า ๒๘๘ (เชิงอรรถ)
๒ ดูนัยใน วิ.ม. ๕/๔๗๕/๒๕๖-๒๕๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๗๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๔๐. เทฺววาจิกาทิปวารณา
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ปวารณาหนเดียว”
ชาวป่าได้มาพลุกพล่านมากยิ่งขึ้น ภิกษุทั้งหลายไม่อาจปวารณาหนเดียว
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ปวารณามีพรรษา
เท่ากัน”๑

เรื่องปวารณาเมื่อราตรีจวนสว่าง
สมัยนั้น ณ อาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น ชาวบ้านมัวให้ทานจน
ราตรีจวนสว่าง ครั้นแล้ว ภิกษุเหล่านั้นได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “ชาวบ้านมัวให้ทาน
จนราตรีจวนสว่าง ถ้าสงฆ์จักปวารณา ๓ หนไซร้ สงฆ์จักปวารณาไม่ทัน เมื่อ
เป็นเช่นนี้ ราตรีก็จักสว่าง พวกเราจะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ” จึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง
ในวันปวารณานั้น ชาวบ้านให้ทานจนราตรีจวนสว่าง ถ้าภิกษุทั้งหลายในอาวาส
นั้นได้ปรึกษากันดังนี้ว่า ”ชาวบ้านมัวให้ทานจนราตรีจวนสว่าง ถ้าสงฆ์จักปวารณา
๓ หนไซร้ สงฆ์จักปวารณาไม่ทัน เมื่อเป็นเช่นนี้ ราตรีก็จักสว่าง”
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจาว่า
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ชาวบ้านให้ทานอยู่จนราตรีจวนสว่าง
ถ้าสงฆ์จักปวารณา ๓ หนไซร้ สงฆ์จักปวารณาไม่ทัน เมื่อเป็นเช่นนี้ ราตรีก็จักสว่าง
ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว สงฆ์พึงปวารณา ๒ หน ปวารณาหนเดียว ปวารณามี
พรรษาเท่ากัน
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น ภิกษุ
ทั้งหลายกล่าวธรรมกัน ฯลฯ
... ภิกษุผู้ชำนาญพระสูตรก็สาธยายพระสูตรกัน...
... พระวินัยธรก็วินิจฉัยพระวินัยกัน...

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึง ให้ภิกษุที่มีพรรษาเท่ากัน ปวารณาพร้อมกัน (วิ.อ. ๓/๒๓๔/๑๕๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๗๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๔๐. เทฺววาจิกาทิปวารณา
... พระธรรมกถึกก็สนทนาธรรมกัน...
... ภิกษุทั้งหลายทะเลาะกันจนราตรีจวนสว่าง ถ้าภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษากัน
ดังนี้ว่า ภิกษุทั้งหลายทะเลาะกันจนราตรีจวนสว่าง ถ้าสงฆ์จักปวารณา ๓ หนไซร้
สงฆ์จักปวารณาไม่ทัน เมื่อเป็นเช่นนี้ ราตรีก็จักสว่าง
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบว่า
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุทั้งหลายทะเลาะกันจนราตรีจวนสว่าง
ถ้าสงฆ์จักปวารณา ๓ หนไซร้ สงฆ์จักปวารณาไม่ทัน เมื่อเป็นเช่นนี้ ราตรีก็จักสว่าง
ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว สงฆ์พึงปวารณา ๒ หน ปวารณาหนเดียว ปวารณามี
พรรษาเท่ากัน”

เรื่องปวารณาขณะที่ฝนตั้งเค้า
สมัยนั้น ณ อาวาสแห่งหนึ่งในแคว้นโกศล ในวันปวารณานั้น ภิกษุสงฆ์มา
ประชุมกันมาก ที่ประชุมจึงคับแคบ คุ้มฝนไม่ได้ และฝนก็ตั้งเค้าใหญ่ ภิกษุเหล่านั้น
ได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “ภิกษุสงฆ์มาประชุมกันมาก ที่ประชุมจึงคับแคบ คุ้มฝนไม่ได้
และฝนก็ตั้งเค้าใหญ่ ถ้าสงฆ์จักปวารณา ๓ หนไซร้ สงฆ์จักปวารณาไม่ทัน
เมื่อเป็นเช่นนี้ ฝนก็จักตกเสียก่อน พวกเราจะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ” จึงนำเรื่อง
นี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง
ในวันปวารณานั้น ภิกษุสงฆ์มาประชุมกันมาก ที่ประชุมจึงคับแคบ คุ้มฝนไม่ได้ และ
ฝนก็ตั้งเค้าใหญ่ ถ้าภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษากันดังนี้ว่า ภิกษุสงฆ์มาประชุมกันมาก
ที่ประชุมจึงคับแคบ คุ้มฝนไม่ได้ และฝนก็ตั้งเค้าใหญ่ ถ้าสงฆ์จักปวารณา ๓ หนไซร้
สงฆ์จักปวารณาไม่ทัน เมื่อเป็นเช่นนี้ ฝนก็จักตกเสียก่อน
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบว่า
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุสงฆ์มาประชุมกันมาก ที่ประชุม
ก็คับแคบ คุ้มฝนไม่ได้ ทั้งฝนก็ตั้งเค้าใหญ่ ถ้าสงฆ์จักปวารณา ๓ หนไซร้
สงฆ์จักปวารณาไม่ทัน เมื่อเป็นเช่นนี้ ฝนก็จักตกเสียก่อน ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว
สงฆ์พึงปวารณา ๒ หน ปวารณาหนเดียว ปวารณามีพรรษาเท่ากัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๗๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๔๑. ปวารณาฐปนะ
เรื่องปวารณาเมื่อมีอันตราย ๑๐ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น

๑. พระราชาเสด็จมา ๒. โจรมาปล้น
๓. ไฟไหม้ ๔. น้ำหลากมา
๕. คนมามาก ๖. ผีเข้าสิงภิกษุ
๗. สัตว์ร้ายเข้ามา ๘. งูร้ายเลื้อยเข้ามา
๙. ภิกษุจะถึงแก่ชีวิต ๑๐. มีอันตรายต่อพรหมจรรย์

ในอันตรายนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษากันดังนี้ว่า เหตุนี้แหละ คืออันตราย
ต่อพรหมจรรย์ ถ้าสงฆ์จักปวารณา ๓ หนไซร้ สงฆ์จักปวารณาไม่ทัน เมื่อ
เป็นเช่นนี้ อันตรายต่อพรหมจรรย์ก็จักเกิดเสียก่อน
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบว่า
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เหตุนี้แหละ คืออันตรายต่อพรหมจรรย์
ถ้าสงฆ์จักปวารณา ๓ หนไซร้สงฆ์จักปวารณาไม่ทัน เมื่อเป็นเช่นนี้ อันตราย
ต่อพรหมจรรย์ก็จักเกิดเสียก่อน ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว สงฆ์พึงปวารณา ๒ หน
ปวารณาหนเดียว ปวารณามีพรรษาเท่ากัน

๑๔๑. ปวารณาฐปนะ
ว่าด้วยการงดปวารณา

เรื่องพระฉัพพัคคีย์มีอาบัติติดตัวปวารณา
[๒๓๕] สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์มีอาบัติติดตัวปวารณา
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีอาบัติติดตัว ไม่พึงปวารณา
รูปใดปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดมีอาบัติติดตัวปวารณา
เราอนุญาตให้ขอโอกาสแล้วโจทภิกษุนั้นด้วยอาบัติ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๗๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๔๑. ปวารณาฐปนะ
เรื่องไม่ยอมให้โอกาส
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ถูกสงฆ์ขอโอกาสก็ไม่ปรารถนาจะให้โอกาส
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้งดปวารณาแก่ภิกษุ
ผู้ไม่ยอมให้โอกาส”

วิธีงดปวารณา
ภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงงดปวารณาอย่างนี้
ในวันปวารณา ๑๔ ค่ำ หรือ ๑๕ ค่ำนั้น เมื่อภิกษุนั้นอยู่พร้อมหน้า
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศในท่ามกลางสงฆ์ว่า
ท่านผู้เจริญ ภิกษุชื่อนี้มีอาบัติติดตัว ข้าพเจ้าของดปวารณาของภิกษุนั้นเสีย
เมื่อภิกษุนั้นยังอยู่พร้อมหน้า สงฆ์ไม่พึงปวารณา เท่านี้ เป็นอันได้งดปวารณาแล้ว

เรื่องพระฉัพพัคคีย์งดปวารณาของภิกษุบริสุทธิ์
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ปรึกษากันว่า “ภิกษุทั้งหลายผู้มีศีลดีงามจะงด
ปวารณาแก่พวกเราก่อน” จึงชิงงดปวารณาแก่ภิกษุทั้งหลายผู้บริสุทธิ์ไม่มีอาบัติเพราะ
เรื่องอันไม่ควร เพราะเหตุอันไม่ควรเสียก่อน ทั้งงดปวารณาแก่ภิกษุทั้งหลายที่
ปวารณาเสร็จแล้วด้วย
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงงดปวารณาแก่ภิกษุทั้งหลาย
ผู้บริสุทธิ์ไม่มีอาบัติเพราะเรื่องอันไม่ควร เพราะเหตุอันไม่ควร รูปใดงด ต้องอาบัติ
ทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงงดปวารณาแก่ภิกษุทั้งหลายที่ปวารณาเสร็จแล้ว
รูปใดงด ต้องอาบัติทุกกฏ”

เรื่องลักษณะปวารณาที่ไม่เป็นอันงด
[๒๓๖] ภิกษุทั้งหลาย ปวารณาเป็นอันงดอย่างนี้ ไม่เป็นอันงดอย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย ปวารณาไม่เป็นอันงดอย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๗๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๔๑. ปวารณาฐปนะ
ภิกษุทั้งหลาย ในการปวารณา ๓ หน ถ้าภิกษุกล่าวเปล่งคำปวารณาออกมา
จนจบเสร็จสิ้นแล้ว จึงงดปวารณา ปวารณาไม่เป็นอันงด
ภิกษุทั้งหลาย ในการปวารณา ๒ หน ถ้าภิกษุกล่าวเปล่งคำปวารณาออกมา
จนจบเสร็จสิ้นแล้ว จึงงดปวารณา ปวารณาไม่เป็นอันงด
ภิกษุทั้งหลาย ในการปวารณาหนเดียว ถ้าภิกษุกล่าวเปล่งคำปวารณาออกมา
แต่ยังไม่จบเสร็จสิ้นแล้ว จึงงดปวารณา ปวารณาไม่เป็นอันงด
ภิกษุทั้งหลาย ในการปวารณามีพรรษาเท่ากัน ถ้าภิกษุกล่าวเปล่งคำปวารณา
ออกมา จนจบเสร็จสิ้นแล้ว จึงงดปวารณา ปวารณาไม่เป็นอันงด
ภิกษุทั้งหลาย ปวารณาไม่เป็นอันงดอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ปวารณาเป็นอันงดอย่างไร
ภิกษุทั้งหลาย ในการปวารณา ๓ หน ถ้าภิกษุกล่าวเปล่งคำปวารณาออกมา
แต่ยังไม่จบเสร็จสิ้น งดปวารณา ปวารณาเป็นอันงด
ภิกษุทั้งหลาย ในการปวารณา ๒ หน ถ้าภิกษุกล่าวเปล่งคำปวารณาออกมา
แต่ยังไม่จบเสร็จสิ้น งดปวารณา ปวารณาเป็นอันงด
ภิกษุทั้งหลาย ในการปวารณาหนเดียว ถ้าภิกษุกล่าวเปล่งคำปวารณาออกมา
แต่ยังไม่จบเสร็จสิ้น งดปวารณา ปวารณาเป็นอันงด
ภิกษุทั้งหลาย ในการปวารณามีพรรษาเท่ากัน ถ้าภิกษุกล่าวเปล่งคำปวารณา
ออกมา แต่ยังไม่จบเสร็จสิ้น งดปวารณา ปวารณาเป็นอันงด
ภิกษุทั้งหลาย ปวารณาเป็นอันงดอย่างนี้แล

เรื่องงดปวารณาของภิกษุ
[๒๓๗] ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ในวันปวารณานั้น ภิกษุงดปวารณาของ
ภิกษุเสีย ถ้าภิกษุเหล่าอื่นรู้จักภิกษุนั้นว่า “ท่านรูปนี้มีความประพฤติทางกาย
ไม่บริสุทธิ์ มีความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์ มีอาชีวะไม่บริสุทธิ์ เป็นผู้เขลา
ไม่ฉลาด เมื่อถูกซักถาม ไม่อาจตอบข้อซักถาม” สงฆ์พึงกล่าวห้ามว่า “พอทีภิกษุ
อย่าทุ่มเถียงกัน อย่าทะเลาะกัน อย่าแก่งแย่งกัน อย่าวิวาทกันเลย” แล้วจึงปวารณา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๗๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๔๑. ปวารณาฐปนะ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในวันปวารณานั้น ภิกษุงดปวารณาของภิกษุเสีย
ถ้าภิกษุเหล่าอื่นรู้จักภิกษุนั้นว่า “ท่านรูปนี้มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ มี
ความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์ มีอาชีวะไม่บริสุทธิ์ เป็นผู้เขลา ไม่ฉลาด เมื่อถูก
ซักถาม ไม่อาจตอบข้อซักถาม” สงฆ์พึงกล่าวห้ามว่า “พอทีภิกษุ อย่าทุ่มเถียงกัน
อย่าทะเลาะกัน อย่าแก่งแย่งกัน อย่าวิวาทกันเลย” แล้วจึงปวารณา
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในวันปวารณานั้น ภิกษุงดปวารณาของภิกษุเสีย
ถ้าภิกษุเหล่าอื่นรู้จักภิกษุนั้นว่า “ท่านรูปนี้มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ มี
ความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ แต่มีอาชีวะไม่บริสุทธิ์ เป็นผู้เขลา ไม่ฉลาด เมื่อถูก
ซักถาม ไม่อาจตอบข้อซักถาม” สงฆ์พึงกล่าวห้ามว่า “พอทีภิกษุ อย่าทุ่มเถียงกัน
อย่าทะเลาะกัน อย่าแก่งแย่งกัน อย่าวิวาทกันเลย” แล้วจึงปวารณา
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในวันปวารณานั้น ภิกษุงดปวารณาของภิกษุเสีย
ถ้าภิกษุเหล่าอื่นรู้จักภิกษุนั้นว่า “ท่านรูปนี้มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ มี
ความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ มีอาชีวะบริสุทธิ์ แต่เป็นผู้เขลา ไม่ฉลาด เมื่อถูก
ซักถาม ไม่อาจตอบข้อซักถาม” สงฆ์พึงกล่าวห้ามว่า “พอทีภิกษุ อย่าทุ่มเถียงกัน
อย่าทะเลาะกัน อย่าแก่งแย่งกัน อย่าวิวาทกันเลย” แล้วจึงปวารณา

เรื่องเหตุผลในการงดปวารณา
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในวันปวารณานั้น ภิกษุงดปวารณาของภิกษุเสีย
ถ้าภิกษุเหล่าอื่นรู้จักภิกษุนั้นว่า “ท่านรูปนี้มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ มี
ความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ มีอาชีวะบริสุทธิ์ เป็นบัณฑิต เป็นผู้ฉลาด เมื่อถูก
ซักถาม สามารถตอบข้อซักถามได้” สงฆ์พึงถามภิกษุนั้นว่า “ท่าน ท่านงดปวารณา
ของภิกษุนี้ทำไม งดเพราะเรื่องอะไร งดเพราะสีลวิบัติ หรืองดเพราะอาจารวิบัติ หรือ
งดเพราะทิฏฐิวิบัติ”
ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ผมงดเพราะสีลวิบัติบ้าง งดเพราะอาจารวิบัติบ้าง
งดเพราะทิฏฐิวิบัติบ้าง”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๘๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๔๑. ปวารณาฐปนะ
สงฆ์พึงถามภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า “คุณรู้สีลวิบัติหรือ รู้อาจารวิบัติหรือ รู้ทิฏฐิ
วิบัติหรือ”
ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ผมรู้สีลวิบัติ รู้อาจารวิบัติ รู้ทิฏฐิ
วิบัติ”
สงฆ์พึงถามภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า “ท่าน ก็สีลวิบัติเป็นอย่างไร อาจารวิบัติเป็น
อย่างไร ทิฏฐิวิบัติเป็นอย่างไร”
ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ปาราชิก ๔ สังฆาทิเสส ๑๓ นี้ชื่อว่าสีลวิบัติ
ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต นี้ชื่อว่าอาจารวิบัติ มิจฉาทิฏฐิ
อันตคาหิกทิฏฐิ นี้ชื่อว่าทิฏฐิวิบัติ” สงฆ์พึงถามภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า “ท่าน ท่านงด
ปวารณาของภิกษุนี้ทำไม งดด้วยได้เห็นหรือ งดด้วยได้ยินหรือ งดด้วยนึกสงสัยหรือ”
ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “งดด้วยได้เห็นบ้าง งดด้วยได้ยินบ้าง งดด้วยนึก
สงสัยบ้าง”
สงฆ์พึงถามภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า “ท่าน ท่านงดปวารณาของภิกษุนี้ด้วยได้เห็น
อย่างใด ท่านเห็นอะไร ท่านเห็นว่าอย่างไร ท่านเห็นเมื่อไร ท่านเห็นที่ไหน
ภิกษุนี้ต้องอาบัติปาราชิก ท่านเห็นหรือ ภิกษุนี้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ท่านเห็นหรือ
ภิกษุนี้ ต้องอาบัติถุลลัจจัย... อาบัติปาจิตตีย์... อาบัติปาฏิเทสนียะ... อาบัติทุกกฏ...
อาบัติทุพภาสิต ท่านเห็นหรือ ท่านอยู่ที่ไหน ภิกษุนี้อยู่ที่ไหน ท่านทำอะไร
ภิกษุนี้ทำอะไร”
ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ผมมิได้งดปวารณาของภิกษุนี้
ด้วยได้เห็นดอก แต่ผมงดปวารณาด้วยได้ยินต่างหาก”
สงฆ์พึงถามภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า “ท่าน ท่านงดปวารณาของภิกษุนี้ด้วยได้ยิน
อย่างใด ท่านได้ยินอะไร ท่านได้ยินว่าอย่างไร ท่านได้ยินเมื่อไร ท่านได้ยินที่ไหน
ท่านได้ยินว่า ภิกษุนี้ต้องอาบัติปาราชิกหรือ ได้ยินว่า ภิกษุนี้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือ
ได้ยินว่า ภิกษุนี้ต้องอาบัติถุลลัจจัย... อาบัติปาจิตตีย์... อาบัติปาฏิเทสนียะ...
อาบัติทุกกฏ... อาบัติทุพภาสิตหรือ ได้ยินจากภิกษุหรือ ได้ยินจากภิกษุณีหรือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๘๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๔๑. ปวารณาฐปนะ
ได้ยินจากสิกขมานาหรือ ได้ยินจากสามเเณรหรือ ได้ยินจากสามเณรีหรือ ได้ยิน
จากอุบาสกหรือ ได้ยินจากอุบาสิกาหรือ ได้ยินจากพระราชาทั้งหลายหรือ ได้ยิน
จากราชมหาอมาตย์ทั้งหลายหรือ ได้ยินจากพวกเดียรถีย์หรือ ได้ยินจากพวกสาวก
เดียรถีย์หรือ”
ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ผมมิได้งดปวารณาของภิกษุนี้
ด้วยได้ยินดอก แต่ผมงดปวารณาด้วยนึกสงสัยต่างหาก”
สงฆ์พึงถามภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า “ท่าน ท่านงดปวารณาของภิกษุนี้ด้วยนึก
สงสัยอย่างใด ท่านนึกสงสัยอะไร ท่านนึกสงสัยว่าอย่างไร ท่านนึกสงสัยเมื่อไร
ท่านนึกสงสัยที่ไหน ท่านนึกสงสัยว่า ภิกษุนี้ต้องอาบัติปาราชิกหรือ นึกสงสัยว่า
ภิกษุนี้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือ นึกสงสัยว่า ภิกษุนี้ต้องอาบัติถุลลัจจัย... อาบัติ
ปาจิตตีย์... อาบัติปาฏิเทสนียะ... อาบัติทุกกฏ... อาบัติทุพภาสิตหรือ ท่านได้
ยินจากภิกษุแล้วนึกสงสัยหรือ ได้ยินจากภิกษุณีแล้วนึกสงสัยหรือ ได้ยินจากสิก
ขมานาแล้วนึกสงสัยหรือ ได้ยินจากสามเณรแล้วนึกสงสัยหรือ ได้ยินจากสาม
เณรีแล้วนึกสงสัยหรือ ได้ยินจากอุบาสกแล้วนึกสงสัยหรือ ได้ยินจากอุบาสิกาแล้ว
นึกสงสัยหรือ ได้ยินจากพระราชาทั้งหลายแล้วนึกสงสัยหรือ ได้ยินจากราชมหา
อำมาตย์ทั้งหลายแล้วนึกสงสัยหรือ ได้ยินจากพวกเดียรถีย์แล้วนึกสงสัยหรือ ได้ยิน
จากพวกสาวกเดียรถีย์แล้วนึกสงสัยหรือ”
ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ผมมิได้งดปวารณาของภิกษุนี้
ด้วยนึกสงสัย อีกทั้งผมก็ไม่ทราบว่า ผมงดปวารณาของภิกษุนี้ด้วยเหตุอะไร”

ฟังคำปฏิญญาของโจทก์และจำเลย
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุผู้เป็นโจทก์นั้นตอบข้อซักถามไม่เป็นที่พอใจของเพื่อน
พรหมจารีผู้รู้ทั้งหลาย สงฆ์พึงบอกว่า ท่านไม่ควรฟ้องภิกษุจำเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๘๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๔๑. ปวารณาฐปนะ
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุผู้เป็นโจทก์นั้นตอบข้อซักถามเป็นที่พอใจของเพื่อน
พรหมจารีผู้รู้ทั้งหลาย สงฆ์พึงบอกว่า ท่านควรฟ้องภิกษุจำเลย
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุผู้เป็นโจทก์นั้นปฏิญญาว่า ภิกษุนั้นถูกตนใส่ความ
ด้วยอาบัติปาราชิกอันไม่มีมูล สงฆ์พึงปรับอาบัติสังฆาทิเสสแล้วจึงปวารณา๑
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุผู้เป็นโจทก์นั้นปฏิญญาว่า ภิกษุนั้นถูกตนใส่ความ
ด้วยอาบัติสังฆาทิเสสอันไม่มีมูล สงฆ์พึงปรับอาบัติตามธรรมแล้วจึงปวารณา๒
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุผู้เป็นโจทก์นั้นปฏิญญาว่า ภิกษุนั้นถูกตนใส่ความ
ด้วยอาบัติถุลลัจจัยอันไม่มีมูล... ด้วยอาบัติปาจิตตีย์... ด้วยอาบัติปาฏิเทสนียะ...
ด้วยอาบัติทุกกฏ... ด้วยอาบัติทุพภาสิตอันไม่มีมูล สงฆ์พึงปรับอาบัติตามธรรม
แล้วจึงปวารณา
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจำเลยนั้นปฏิญญาว่า ข้าพเจ้าต้องอาบัติปาราชิก
สงฆ์พึงนาสนะเสีย๓ แล้วจึงปวารณา
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจำเลยนั้นปฏิญญาว่า ข้าพเจ้าต้องอาบัติสังฆาทิเสส
สงฆ์พึงปรับอาบัติสังฆาทิเสส แล้วจึงปวารณา
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจำเลยนั้นปฏิญญาว่า ข้าพเจ้าต้องอาบัติถุลลัจจัย...
อาบัติปาจิตตีย์... อาบัติปาฏิเทสนียะ... อาบัติทุกกฏ... อาบัติทุพภาสิต สงฆ์พึงปรับ
อาบัติตามธรรม แล้วจึงปวารณา

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึง ภิกษุผู้เป็นโจทก์นั้นยอมรับว่า ตนใส่ความภิกษุอื่นด้วยอาบัตปาราชิกไม่มีมูล ในกรณีเช่นนี้สงฆ์
ปรับภิกษุผู้เป็นโจทก์ด้วยสังฆาทิเสส (วิ.อ. ๓/๒๓๗/๑๕๙)
๒ หมายถึง พึงปรับอาบัติปาจิตตีย์ เพราะใส่ความ (โจท) ภิกษุอื่นด้วยอาบัติสังฆาทิเสสที่ไม่มีมูล พึงปรับอาบัติ
ทุกกฏ เพราะใส่ความภิกษุอื่นด้วยอาบัติถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ หรือทุพภาสิต
ที่ไม่มีมูล (วิ.อ. ๓/๒๓๗/๑๕๙)
๓ นาสนะ ในที่นี้หมายถึง ให้สึกจากความเป็นภิกษุ (วิ.อ. ๓/๒๓๗/๑๕๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๘๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๔๒. ถุลลัจจยวัตถุกาทิ
๑๔๒. ถุลลัจจยวัตถุกาทิ
ว่าด้วยการต้องอาบัติถุลลัจจัยเป็นต้น

เรื่องต้องอาบัติถุลลัจจัยเป็นต้น
[๒๓๘] ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ในวันปวารณานั้น ภิกษุต้องอาบัติถุลลัจจัย
ภิกษุบางพวกมีความเห็นว่าต้องอาบัติถุลลัจจัย บางพวกมีความเห็นว่าต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส
ภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุที่มีความเห็นว่าต้องอาบัติถุลลัจจัย พึงนำภิกษุนั้นไป
ณ ที่อันควร ปรับอาบัติตามธรรม แล้วเข้าไปหาสงฆ์กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย
อาบัติที่ภิกษุนั้นต้อง ภิกษุนั้นได้ทำคืนตามธรรมแล้ว ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว สงฆ์พึง
ปวารณา
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในวันปวารณานั้น ภิกษุต้องอาบัติถุลลัจจัย
ภิกษุบางพวกมีความเห็นว่าต้องอาบัติถุลลัจจัย บางพวกมีความเห็นว่า ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์...
บางพวกมีความเห็นว่าต้องอาบัติถุลลัจจัย บางพวกมีความเห็นว่าต้องอาบัติ
ปาฏิเทสนียะ... บางพวกมีความเห็นว่าต้องอาบัติถุลลัจจัย บางพวกมีความเห็นว่า
ต้องอาบัติทุกกฏ...
บางพวกมีความเห็นว่า ต้องอาบัติถุลลัจจัย บางพวกมีความเห็นว่าต้องอาบัติ
ทุพภาสิต
ภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุที่มีความเห็นว่า ต้องอาบัติถุลลัจจัย พึงนำภิกษุนั้นไป
ณ ที่อันควร ปรับอาบัติตามธรรม แล้วเข้าไปหาสงฆ์กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย
อาบัติที่ภิกษุนั้นต้อง ภิกษุนั้นได้ทำคืนตามธรรมแล้ว ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว สงฆ์พึง
ปวารณา
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในปวารณานั้น ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์...
ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ... ต้องอาบัติทุกกฏ... ต้องอาบัติทุพภาสิต ภิกษุบางพวก
มีความเห็นว่าต้องอาบัติทุพภาสิต บางพวกมีความเห็นว่าต้องอาบัติสังฆาทิเสส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๘๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๔๓. วัตถุฐปนาทิ
ภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุที่มีความเห็นว่าต้องอาบัติทุพภาสิต พึงนำภิกษุนั้นไป
ณ ที่อันควร ปรับอาบัติตามธรรม แล้วเข้าไปหาสงฆ์กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย
อาบัติที่ภิกษุนั้นต้อง ภิกษุนั้นได้ทำคืนตามธรรมแล้ว ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว สงฆ์
พึงปวารณา
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในวันปวารณานั้น ภิกษุต้องอาบัติทุพภาสิต
ภิกษุบางพวกมีความเห็นว่าต้องอาบัติทุพภาสิต บางพวกมีความเห็นว่าต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย...
บางพวกมีความเห็นว่าต้องอาบัติทุพภาสิต บางพวกมีความเห็นว่าต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์...
บางพวกมีความเห็นว่าต้องอาบัติทุพภาสิต บางพวกมีความเห็นว่าต้องอาบัติ
ปาฏิเทสนียะ...
บางพวกมีความเห็นว่าต้องอาบัติทุพภาสิต บางพวกมีความเห็นว่าต้องอาบัติ
ทุกกฏ
ภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุที่มีความเห็นว่าต้องอาบัติทุพภาสิต พึงนำภิกษุนั้นไป
ณ ที่อันควร ปรับอาบัติตามธรรม แล้วเข้าไปหาสงฆ์กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย
อาบัติที่ภิกษุนั้นต้อง ภิกษุนั้นได้ทำคืนตามธรรมแล้ว ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว สงฆ์
พึงปวารณา

๑๔๓. วัตถุฐปนาทิ
ว่าด้วยการงดวัตถุเป็นต้น

เรื่องวัตถุและบุคคลปรากฏ
[๒๓๙] ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ในวันปวารณานั้น ภิกษุจะพึงประกาศ ณ
ท่ามกลางสงฆ์ว่า
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า วัตถุนี้ปรากฏ บุคคลไม่ปรากฏ ถ้าสงฆ์
พร้อมกันแล้ว สงฆ์พึงงดวัตถุ แล้วปวารณาเถิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๘๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๔๔. ภัณฑนการกวัตถุ
สงฆ์พึงกล่าวกับภิกษุนั้นว่า ท่าน พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติปวารณาไว้
สำหรับภิกษุทั้งหลายผู้บริสุทธิ์ ถ้าวัตถุปรากฏ บุคคลไม่ปรากฏ ท่าน จงระบุ
บุคคลนั้นเดี๋ยวนี้เถิด
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ในวันปวารณานั้น ภิกษุจะพึงประกาศ ณ ท่าม
กลางสงฆ์ว่า
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บุคคลนี้ปรากฏ วัตถุไม่ปรากฏ ถ้าสงฆ์
พร้อมกันแล้ว สงฆ์พึงงดบุคคล แล้วปวารณาเถิด
สงฆ์พึงกล่าวกับภิกษุนั้นว่า ท่าน พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติปวารณาไว้
สำหรับภิกษุทั้งหลายผู้พร้อมเพรียงกัน ถ้าบุคคลปรากฏ วัตถุไม่ปรากฏ ท่านจงระบุ
วัตถุนั้นเดี๋ยวนี้เถิด
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในวันปวารณานั้น ภิกษุจะพึงประกาศ ณ ท่าม
กลางสงฆ์ว่า
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ทั้งวัตถุและบุคคลนี้ปรากฏ ถ้าสงฆ์พร้อม
กันแล้ว สงฆ์พึงงดทั้งวัตถุและบุคคล แล้วปวารณาเถิด
สงฆ์พึงกล่าวกับภิกษุนั้นว่า ท่าน พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติปวารณาไว้
สำหรับภิกษุทั้งหลายผู้บริสุทธิ์และพร้อมเพรียงกัน ถ้าวัตถุและบุคคลปรากฏ ท่าน
จงระบุวัตถุและบุคคลนั้นเดี๋ยวนี้เถิด
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าวัตถุปรากฏก่อนปวารณา บุคคลปรากฏภายหลัง ควร
กล่าวขึ้น ถ้าบุคคลปรากฏก่อนปวารณา วัตถุปรากฏภายหลัง ก็ควรกล่าวขึ้น
ถ้าทั้งวัตถุและบุคคลปรากฏก่อนปวารณา ถ้าทำปวารณาเสร็จแล้ว รื้อฟื้นเรื่องขึ้น
ต้องอาบัติปาจิตตีย์เพราะรื้อฟื้นเรื่องนั้น

๑๔๔. ภัณฑนการกวัตถุ
ว่าด้วยการก่อความบาดหมาง
[๒๔๐] สมัยนั้น ภิกษุหลายรูปเคยเห็นเคยคบกันมา เข้าจำพรรษา ณ
อาวาสแห่งหนึ่งในแคว้นโกศล ภิกษุเหล่าอื่นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๘๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๔๔. ภัณฑนการกวัตถุ
ก่อความวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ก็เข้าจำพรรษา ณ ที่ใกล้
เคียงกับภิกษุเหล่านั้นด้วยประสงค์ว่า “ในวันปวารณาพวกเราจักงดปวารณาของ
พวกภิกษุที่เข้าจำพรรษาเหล่านั้นเสีย”
ภิกษุเหล่านั้นได้ทราบข่าวว่า “ภิกษุเหล่าอื่นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อความ
ทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ก็เข้าจำพรรษา ณ
ที่ใกล้เคียงกับภิกษุเหล่านั้นด้วยประสงค์ว่า ในวันปวารณาพวกเราจักงดปวารณา
ของพวกภิกษุที่เข้าจำพรรษาเหล่านั้นเสีย ดังนี้ พวกเราจะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ”
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ภิกษุหลายรูปเคยเห็น
เคยคบกันมา เข้าจำพรรษาในอาวาสแห่งหนึ่ง ภิกษุเหล่าอื่นผู้ก่อความบาดหมาง
ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ก็เข้าจำพรรษา
ณ ที่ใกล้เคียงกับภิกษุเหล่านั้นด้วยประสงค์ว่า ในวันปวารณาพวกเราจักงด
ปวารณาของพวกภิกษุที่เข้าจำพรรษาเหล่านั้นเสีย ดังนี้ ภิกษุทั้งหลาย เรา
อนุญาตให้ภิกษุเหล่านั้นทำ ๒ (และ) ๓ อุโบสถ ให้เป็นอุโบสถวัน ๑๔ ค่ำ๑
ด้วยประสงค์ว่า ไฉนพวกเราพึงปวารณาก่อนภิกษุพวกนั้น
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุผู้ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท
ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์พวกนั้นพากันมาสู่อาวาสนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาส
เหล่านั้นพึงรีบประชุมปวารณากันโดยเร็ว ครั้นแล้วพึงบอกว่า ท่านทั้งหลาย
พวกเราปวารณาเสร็จแล้ว ท่านทั้งหลายสำคัญอย่างใด จงทำอย่างนั้นเถิด
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุผู้ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท
ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ พวกนั้นไม่แจ้งให้ทราบก่อน มาสู่อาวาสนั้น
ภิกษุที่อยู่ในอาวาสเหล่านั้นพึงปูอาสนะ จัดหาน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้าไว้

เชิงอรรถ :
๑ ๒ อุโบสถ คือ อุโบสถที่ ๓ และที่ ๔
๓ อุโบสถ คือ อุโบสถที่ ๓, ที่ ๔ และที่ ๕ (วิ.อ. ๓/๒๔๐/๑๖๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๘๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๔๔. ภัณฑนการกวัตถุ
พึงลุกขึ้นรับบาตรและจีวร ต้อนรับด้วยน้ำดื่ม ทำภิกษุพวกนั้นให้ตายใจแล้วไป
ปวารณานอกสีมา ครั้นแล้วพึงบอกว่า ท่านทั้งหลาย พวกเราปวารณาเสร็จแล้ว
ท่านทั้งหลายสำคัญอย่างใด จงทำอย่างนั้นเถิด ถ้าได้อย่างนั้น นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้
ภิกษุที่อยู่ในอาวาสผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้ภิกษุที่อยู่ในอาวาสทั้งหลายทราบว่า
ขอภิกษุที่อยู่ในอาวาสทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้ว
บัดนี้พวกเราพึงทำอุโบสถ พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง พึงปวารณาในกาฬปักษ์
ที่จะมาถึงเถิด
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุผู้ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท
ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์นั้นจะพึงกล่าวกับภิกษุเหล่านั้นว่า ดีละ ท่าน
ทั้งหลาย ขอจงปวารณาต่อพวกเราในบัดนี้เถิด
ภิกษุเหล่านั้นพึงถูกว่ากล่าวว่า ท่านทั้งหลาย พวกท่านไม่เป็นใหญ่ ใน
ปวารณาของพวกเรา พวกเราจะยังปวารณา
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุผู้ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท
ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์พวกนั้นจะพึงอยู่จนถึงกาฬปักษ์นั้นไซร้ ภิกษุที่อยู่
ในอาวาสผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้ภิกษุที่อยู่ในอาวาสทั้งหลายทราบว่า
ขอภิกษุที่อยู่ในอาวาสทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้ว
บัดนี้พวกเราพึงทำอุโบสถ พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง พึงปวารณาในชุณหปักษ์ที่จะ
มาถึงเถิด
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุผู้ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท
ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์นั้น จะพึงกล่าวกับภิกษุเหล่านั้นว่า ดีละ ท่าน
ทั้งหลาย ขอจงปวารณาต่อพวกเราในบัดนี้เถิด
ภิกษุเหล่านั้นพึงถูกว่ากล่าวว่า ท่านทั้งหลาย พวกท่านไม่เป็นใหญ่ ใน
ปวารณาของพวกเรา พวกเรายังไม่ปวารณาก่อน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๘๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๔๔. ภัณฑนการกวัตถุ
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุผู้ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความ
วิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์นั้นจะพึงอยู่จนถึงชุณหปักษ์แม้นั้นไซร้
ภิกษุเหล่านั้น ทั้งหมดไม่ประสงค์จะปวารณา ก็ต้องปวารณาในวันเพ็ญเดือน
๑๒ อันเป็นวันที่ครบ ๔ เดือน ที่จะมาถึงเท่านั้น
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุเหล่านั้นกำลังปวารณาอยู่ ภิกษุไข้งดปวารณาของ
ภิกษุผู้ไม่เป็นไข้ ภิกษุนั้นพึงถูกว่ากล่าวว่า ท่านกำลังเป็นไข้ ภิกษุไข้พระผู้มี
พระภาคตรัสว่าไม่อดทนในการซักถาม ท่าน ขอท่านจงรอจนกว่าจะหายเป็นไข้
ท่านหายไข้แล้ว เมื่อจำนงจึงค่อยโจท ดังนี้ ถ้าภิกษุนั้นถูกว่ากล่าวอย่างนี้ ยังขืน
โจท ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะไม่เอื้อเฟื้อ
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุเหล่านั้นกำลังปวารณาอยู่ ภิกษุผู้ไม่เป็นไข้งด
ปวารณาของภิกษุไข้ ภิกษุนั้นพึงถูกว่ากล่าวว่า ท่าน ภิกษุนี้กำลังเป็นไข้ อันผู้
เป็นไข้พระผู้มีพระภาคตรัสว่าไม่อดทนในการซักถาม ท่าน ขอท่านจงรอจนกว่า
ภิกษุนี้จะหายเป็นไข้ ท่านจำนงจึงค่อยโจทภิกษุผู้หายไข้แล้วนั้น ดังนี้ ถ้าภิกษุนั้น
ถูกว่ากล่าวอย่างนี้ ยังขืนโจท ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะไม่เอื้อเฟื้อ
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุเหล่านั้นกำลังปวารณาอยู่ ภิกษุไข้งดปวารณาของ
ภิกษุไข้ ภิกษุไข้นั้นถูกว่ากล่าวว่า พวกท่านกำลังเป็นไข้ ภิกษุไข้พระผู้มีพระภาค
ตรัสว่า ไม่อดทนในการซักถาม ท่าน ขอท่านจงรอจนกว่าจะหายเป็นไข้
ท่านหายไข้แล้ว เมื่อจำนงจึงค่อยโจทภิกษุนั้นผู้หายไข้แล้ว ดังนี้ ถ้าภิกษุไข้นั้น
ถูกว่ากล่าวอย่างนี้ ยังขืนโจท ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะไม่เอื้อเฟื้อ
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุเหล่านั้นกำลังปวารณาอยู่ ภิกษุผู้ไม่เป็นไข้งด
ปวารณาของภิกษุผู้ไม่เป็นไข้ สงฆ์พึงสอบสวนสืบสวนทั้ง ๒ ฝ่ายแล้ว ปรับอาบัติ
ตามธรรม ปวารณาเถิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๘๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๔๕. ปวารณาสังคหะ
๑๔๕. ปวารณาสังคหะ
ว่าด้วยการสงเคราะห์กันด้วยปวารณา
[๒๔๑] สมัยนั้น ภิกษุหลายรูปเคยเห็นเคยคบกันมา เข้าจำพรรษา ณ
อาวาสแห่งหนึ่งในแคว้นโกศล เมื่อภิกษุเหล่านั้นพร้อมเพรียงร่วมใจกันไม่ทะเลาะกันอยู่
ย่อมบรรลุผาสุวิหารธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ต่อมา ได้มีการสนทนาดังนี้ว่า เมื่อ
พวกเราพร้อมเพรียงร่วมใจกัน ไม่ทะเลาะกันอยู่ ได้บรรลุผาสุวิหารธรรมอย่างใด
อย่างหนึ่งแล้ว ถ้าพวกเราจักปวารณาในบัดนี้ บางทีภิกษุทั้งหลายปวารณาแล้ว
จะพึงหลีกไปสู่ที่จาริก เมื่อเป็นเช่นนี้ พวกเราก็จักเป็นผู้เหินห่างผาสุวิหารธรรมนี้
พวกเราจะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอจึงนำเรื้องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงอนุญาตให้สงเคราะห์กันด้วยปวารณา
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ภิกษุหลายรูปเคยเห็น
เคยคบกันมา เข้าจำพรรษา ณ อาวาสแห่งหนึ่ง เมื่อภิกษุเหล่านั้นพร้อมเพรียง
ร่วมใจกันไม่ทะเลาะกันอยู่ ย่อมบรรลุผาสุวิหารธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้าภิกษุ
ทั้งหลายในที่นั้น สนทนากันว่า เมื่อพวกเราพร้อมเพรียงร่วมใจกันไม่ทะเลาะกันอยู่
ได้บรรลุผาสุวิหารธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ถ้าพวกเราจักปวารณาในบัดนี้ บาง
ทีภิกษุทั้งหลายปวารณาแล้ว จะพึงหลีกไปสู่ที่จาริก จะมีบ้าง เมื่อเป็นเช่นนี้
พวกเราก็จักเป็นผู้เหินห่างผาสุวิหารธรรมนี้ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุเหล่า
นั้นทำการสงเคราะห์กันด้วยปวารณา

วิธีสงเคราะห์กันด้วยปวารณาและกรรมวาจาสงเคราะห์กันด้วยปวารณา
ภิกษุทั้งหลาย ก็แลพึงทำการสงเคราะห์กันปวารณาอย่างนี้
ภิกษุทุกรูปต้องประชุมในที่เดียวกัน ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศ
ให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๙๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๔๕. ปวารณาสังคหะ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เมื่อภิกษุเหล่านั้นพร้อมเพรียงร่วมใจกัน
ไม่ทะเลาะกันอยู่ ได้บรรลุผาสุวิหารธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ถ้าพวกเราจัก
ปวารณาในบัดนี้ บางทีภิกษุทั้งหลายปวารณาแล้ว จะพึงหลีกไปสู่ที่จาริก จะมีบ้าง
เมื่อเป็นเช่นนี้ พวกเราก็จักเป็นผู้เหินห่างผาสุวิหารธรรมนี้ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว
สงฆ์พึงทำการสงเคราะห์กันด้วยปวารณา บัดนี้สงฆ์พึงทำอุโบสถ พึงยกปาฏิโมกข์
ขึ้นแสดง พึงปวารณาในวันเพ็ญเดือน ๑๒ อันเป็นวันที่ครบ ๔ เดือน ที่จะมา
ถึงเถิด นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เมื่อภิกษุเหล่านั้นพร้อมเพรียงร่วมใจกัน
ไม่ทะเลาะกันอยู่ ได้บรรลุผาสุวิหารธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ถ้าพวกเราจัก
ปวารณาในบัดนี้ บางทีภิกษุทั้งหลายปวารณาแล้ว จะพึงหลีกไปสู่ที่จาริก จะมีบ้าง
เมื่อเป็นเช่นนี้ พวกเราก็จักเป็นผู้เหินห่างผาสุวิหารธรรมนี้ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว
สงฆ์พึงทำการสงเคราะห์กันด้วยปวารณา บัดนี้สงฆ์จักทำอุโบสถ จักยกปาติโมกข์
ขึ้นแสดง จักปวารณาในวันเพ็ญเดือน ๑๒ อันเป็นวันที่ครบ ๔ เดือน ที่จะ
มาถึง ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการที่ทำการสงเคราะห์กันด้วยปวารณา บัดนี้สงฆ์จักทำ
อุโบสถ จักยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง จักปวารณาในวันเพ็ญเดือน ๑๒ อันเป็นวันที่ครบ
๔ เดือน ที่จะมาถึง ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
การเลื่อนปวารณาสงฆ์ได้ทำแล้ว บัดนี้สงฆ์จักทำอุโบสถ จักยกปาติโมกข์
ขึ้นแสดง จักปวารณาในวันเพ็ญเดือน ๑๒ อันเป็นวันที่ครบ ๔ เดือน ที่จะมาถึง
สงฆ์เห็นด้วย เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้

เรื่องไม่มีใครเป็นใหญ่ในปวารณา
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเหล่านั้นทำการสงเคราะห์กันด้วยปวารณาแล้ว ถ้ามี
ภิกษุสักรูปหนึ่งกล่าวว่า ท่านทั้งหลาย ผมปรารถนาจะหลีกจาริกไปยังชนบท
เพราะผมมีธุระในชนบท
ภิกษุทั้งหลายพึงกล่าวกับภิกษุนั้นว่า ดีแล้ว ท่าน ท่านจงปรารถนาแล้วไปเถิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๙๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๔๖. รวมเรื่องที่มีในปวารณาขันธกะ
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุนั้นปวารณาอยู่ งดปวาณาของภิกษุรูปหนึ่งเสีย
ภิกษุผู้ถูกงดปวารณาพึงกล่าวกับภิกษุผู้งดปวารณาว่า “ท่าน ท่านไม่เป็นใหญ่ใน
ปวารณาของผม ผมจะยังไม่ปวารณาก่อน”
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุนั้นปวารณาอยู่ ภิกษุรูปหนึ่งงดปวาณาของภิกษุ
นั้นเสีย สงฆ์พึงสอบสวนสืบสวนทั้ง ๒ ฝ่ายแล้ว ปรับอาบัติตามธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุนั้นทำธุระจำเป็นในชนบทเสร็จแล้ว กลับมายังอาวาส
นั้นอีกภายในวันเพ็ญเดือน ๑๒ อันเป็นวันที่ครบ ๔ เดือน ถ้าเมื่อภิกษุเหล่านั้น
ปวารณาอยู่ ภิกษุรูปหนึ่งงดปวาณาของภิกษุนั้นเสีย ภิกษุผู้ถูกห้ามปวารณาพึง
กล่าวกับภิกษุผู้งดปวารณาว่า “ท่าน ท่านไม่เป็นใหญ่ในปวารณาของผม เพราะ
ผมปวารณา เสร็จแล้ว”
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุเหล่านั้นปวารณาอยู่ ภิกษุนั้นงดปวารณาของภิกษุ
รูปหนึ่ง สงฆ์พึงสอบสวนสืบสวนทั้ง ๒ ฝ่ายแล้ว ปรับอาบัติตามธรรมปวารณาเถิด
ปวารณาขันธกะที่ ๔ จบ

๑๔๖. รวมเรื่องที่มีในปวารณาขันธกะ
ปวารณาขันธกะ มี ๔๖ เรื่อง คือ
เรื่องภิกษุหลายรูปเข้าจำพรรษาในแคว้นโกศลมาเฝ้าพระศาสดา
เรื่องเข้าพรรษาไม่ผาสุกดังปศุสัตว์อยู่ร่วมกัน
เรื่องทรงอนุญาตพิธีปวารณาเพื่อว่ากล่าวซึ่งกันและกัน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์นั่งราบบนอาสนะปวารณา
เรื่องวันปวารณามี ๒ วัน เรื่องอาการที่ทำปวารณามี ๔ อย่าง
เรื่องภิกษุเป็นไข้มอบปวารณา เรื่องภิกษุถูกพวกญาติจับไว้
เรื่องภิกษุถูกพระราชา พวกโจร พวกนักเลง พวกภิกษุผู้เป็น
ข้าศึกจับไว้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๙๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๔๖. รวมเรื่องที่มีในปวารณาขันธกะ
เรื่องภิกษุ ๕ รูป ปวารณาเป็นการสงฆ์
เรื่องภิกษุ ๔ รูป ปวารณาเป็นการคณะ
เรื่องภิกษุ ๓ รูป ปวารณาเป็นการคณะ
เรื่องภิกษุ ๒ รูป ปวารณาต่อกัน
เรื่องภิกษุรูปเดียวทำอธิษฐานปวารณา
เรื่องภิกษุต้องอาบัติในวันปวารณา
เรื่องภิกษุไม่แน่ใจในอาบัติ เรื่องภิกษุระลึกอาบัติได้
เรื่องสงฆ์ทั้งหมดต้องสภาคาบัติ
เรื่องสงฆ์ทั้งหมดไม่แน่ใจสภาคาบัติ
เรื่องภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมามากกว่า มาเท่ากัน มาน้อยกว่า
เรื่องวันปวารณาของภิกษุที่อยู่ในอาวาสเป็น ๑๔ ค่ำ
เรื่องลักษณะของภิกษุที่อยู่ในอาวาส เรื่องภิกษุ ๒ สังวาสปวารณา
เรื่องไม่ควรไปไหนในวันปวารณา
เรื่องไม่พึงปวารณาในบริษัทที่มีภิกษุณีนั่งอยู่ด้วย เรื่องให้ฉันทะ
เรื่องห้ามปวารณาในวันมิใช่วันปวารณา
เรื่องชาวป่า เรื่องปวารณาเมื่อราตรีจวนสว่าง
เรื่องปวารณาขณะที่ฝนตั้งเค้า เรื่องปวารณาเมื่อมีอันตราย ๑๐ อย่าง
เรื่องพระฉัพพัคคีย์มีอาบัติติดตัวปวารณา
เรื่องไม่ยอมให้โอกาส เรื่องพระฉัพพัคคีย์งดปวารณา
ของภิกษุผู้บริสุทธิ์ เรื่องปวารณาที่ไม่เป็นอันงด
เรื่องเหตุผลในการงดปวารณา คือ
(๑) งดปวารณาเพราะเหตุไร (๒) งดปวารณาเพราะเรื่องอะไร
(๓) งดปวารณาด้วยได้เห็น ด้วยได้ยิน หรือด้วยนึกสงสัย
เรื่องต้องอาบัติถุลลัจจัยเป็นต้น เรื่องวัตถุและบุคคลปรากฏ
เรื่องการก่อความบาดหมาง เรื่องการสงเคราะห์กันด้วยปวารณา
เรื่องไม่มีใครเป็นใหญ่ในปวารณา
ปวารณาขันธกะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๙๓ }


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๔ วินัยปิฎกที่ ๐๔ มหาวรรค ภาค ๑ จบ





eXTReMe Tracker