ค้นว่าอยู่เล่มใด แล้วกด [ctrl]+f หรือใช้คำสั่งของเครื่องหาตำแหน่งในเล่มอีกทีนะครับ



จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อความสะดวก และสวยงาม
(เฉพาะหน้าจอใหญ่ เช่น คอมพิวเตอร์)
กรุณาคลิก จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อให้กรอบ
ค้นข้อความ ปรากฎที่ด้านซ้ายของหน้า

พระไตรปิฎกภาษาไทย
ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม (ปกสีฟ้า)
ทั้งออนไลน์และออฟไลน์
ที่มาของข้อมูล : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มจร.
MCUTRAI Version 1.0

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๒-๒ วินัยปิฎกที่ ๐๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒

พระวินัยปิฎก
มหาวิภังค์ ภาค ๒
___________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๑.มุสาวาทสิกขาบท นิทานวัตถุ
๕. ปาจิตติยกัณฑ์
ท่านทั้งหลาย ธรรมคือปาจิตตีย์ ๙๒ สิกขาบทเหล่านี้ มาถึงวาระที่จะยกขึ้น
แสดงเป็นข้อ ๆ ตามลำดับ

๑. มุสาวาทวรรค
หมวดว่าด้วยการกล่าวเท็จ

๑. มุสาวาทสิกขาบท
ว่าด้วยการกล่าวเท็จ

เรื่องพระหัตถกศากยบุตร
[๑] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น พระหัตถกศากยบุตรเป็นนักโต้
วาทะ๑ เมื่อท่านเจรจากับพวกเดียรถีย์ ปฏิเสธแล้วรับ รับแล้วปฏิเสธ เอาเรื่องหนึ่ง
มากล่าวกลบเกลื่อนอีกเรื่องหนึ่ง กล่าวเท็จทั้งที่รู้ นัดหมายแล้วทำให้คลาดเคลื่อน
พวกเดียรถีย์จึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระหัตถกศากยบุตร
เมื่อเจรจากับพวกเรา จึงปฏิเสธแล้วรับ รับแล้วปฏิเสธ เอาเรื่องหนึ่งมากล่าวกลบ
เกลื่อนอีกเรื่องหนึ่ง กล่าวเท็จทั้งที่รู้ นัดหมายแล้วทำให้คลาดเคลื่อนเล่า”
พวกภิกษุได้ยินพวกเดียรถีย์ตำหนิ ประณาม โพนทะนา จึงเข้าไปหาพระ
หัตถกศากยบุตรถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้วได้กล่าวกับพระหัตถกศากยบุตรดังนี้ว่า “ท่าน

เชิงอรรถ :
๑ วาทกฺขิตฺต ที่แปลว่า “เป็นนักโต้วาทะ” นั้น ตามอธิบายแห่งอรรถกถาว่า “วาทํ กริสฺสามี”ติ เอวํ
ปริวิตกฺกิเตน วาเทน ปรวาทีสนฺติกํ ขิตฺโต ปกฺขิตฺโต, ปหิโต เปสิโตติ อตฺโถ วาทมฺหิ วา สเกน จิตฺเตน
ขิตฺโต, ยตฺร ยตฺร วาโท ตตฺร ตตฺเรว สนฺทิสฺสตีติปิ วาทกฺขิตฺโต ถูกวาทะที่กำหนดไว้ว่า เราจักโต้วาทะ
เหวี่ยงไป ไสไป ส่งไปยังสำนักปรวาที อีกประการหนึ่ง คือถูกจิตของตนส่งไปในสถานที่โต้วาทะ คือในที่ใดๆ
มีการโต้วาทะกัน ย่อมไปปรากฏตัวในที่นั้นๆ (วิ.อ. ๒/๑/๒๕๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๘๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๑.มุสาวาทสิกขาบท พระบัญญัติ
หัตถกะ ได้ทราบว่า เมื่อท่านเจรจากับพวกเดียรถีย์ ปฏิเสธแล้วรับ รับแล้วปฏิเสธ
เอาเรื่องหนึ่งมากล่าวกลบเกลื่อนอีกเรื่องหนึ่ง กล่าวเท็จทั้งที่รู้ นัดหมายแล้วทำให้
คลาดเคลื่อน จริงหรือ”
พระหัตถกศากยบุตรตอบว่า “เราต้องเอาชนะพวกเดียรถีย์เหล่านั้นด้วยวิธีใด
วิธีหนึ่ง พวกเราไม่ควรให้ชัยชนะแก่พวกเดียรถีย์เหล่านั้น”
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
พระหัตถกศากยบุตรเมื่อเจรจากับพวกเดียรถีย์ จึงปฏิเสธแล้วรับ รับแล้วปฏิเสธ
เอาเรื่องหนึ่งมากล่าวกลบเกลื่อนอีกเรื่องหนึ่ง กล่าวเท็จทั้งที่รู้ นัดหมายแล้วทำให้
คลาดเคลื่อนเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิพระหัตถกศากยบุตรโดยประการต่าง ๆ
แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพระหัตถกศากยบุตรว่า “หัตถกะ ทราบว่า เมื่อเธอเจรจากับพวกเดียรถีย์
ปฏิเสธแล้วรับ รับแล้วปฏิเสธ เอาเรื่องหนึ่งมากล่าวกลบเกลื่อนอีกเรื่องหนึ่ง กล่าว
เท็จทั้งที่รู้ นัดหมายแล้วทำให้คลาดเคลื่อน จริงหรือ” พระหัตถกศากยบุตรทูลรับว่า
“จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษ ไฉนเธอ
เมื่อเจรจากับพวกเดียรถีย์ จึงปฏิเสธแล้วรับ รับแล้วปฏิเสธ เอาเรื่องหนึ่งมากล่าว
กลบเกลื่อนอีกเรื่องหนึ่ง กล่าวเท็จทั้งที่รู้ นัดหมายแล้วทำให้คลาดเคลื่อนเล่า โมฆ
บุรุษ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใส
อยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้
ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๒] ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะกล่าวเท็จทั้งที่รู้
เรื่องพระหัตถกศากยบุตร จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๘๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๑.มุสาวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
สิกขาบทวิภังค์
[๓] ที่ชื่อว่า กล่าวเท็จทั้งที่รู้ ได้แก่ วาจา เสียงที่เปล่งออก คำเป็นทาง
วจีเภท เจตนาที่ให้รู้ทางวาจาของผู้มุ่งจะกล่าวให้คลาดความจริง ได้แก่ ถ้อยคำ
ของอนารยชน ๘ อย่าง คือ

๑. ไม่ได้เห็น แต่กล่าวว่า ข้าพเจ้าได้เห็น
๒. ไม่ได้ยิน แต่กล่าวว่า ข้าพเจ้าได้ยิน
๓. ไม่ทราบ แต่กล่าวว่า ข้าพเจ้าทราบ
๔. ไม่รู้ แต่กล่าวว่า ข้าพเจ้ารู้
๕. ได้เห็น แต่กล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่ได้เห็น
๖. ได้ยิน แต่กล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่ได้ยิน
๗. ทราบ แต่กล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่ทราบ
๘. รู้ แต่กล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่รู้

บทภาชนีย์
๑. ที่ชื่อว่า ไม่ได้เห็น คือ ไม่ได้เห็นด้วยตา
๒. ที่ชื่อว่า ไม่ได้ยิน คือ ไม่ได้ยินด้วยหู
๓. ที่ชื่อว่า ไม่ทราบ คือ ไม่ได้สูดดมด้วยจมูก ไม่ได้ลิ้มด้วยลิ้น ไม่ได้
สัมผัสด้วยกาย
๔. ที่ชื่อว่า ไม่รู้ คือ ไม่รู้ด้วยใจ
๕. ที่ชื่อว่า ได้เห็น คือ ได้เห็นด้วยตา
๖. ที่ชื่อว่า ได้ยิน คือ ได้ยินด้วยหู
๗. ที่ชื่อว่า ทราบ คือ ได้สูดดมด้วยจมูก ได้ลิ้มด้วยลิ้น ได้สัมผัสด้วยกาย
๘. ที่ชื่อว่า รู้ คือ รู้ด้วยใจ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๘๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๑.มุสาวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
อาการกล่าวเท็จทั้งที่รู้
๑. ไม่ได้เห็น แต่กล่าวว่าได้เห็น
[๔] ไม่ได้เห็น ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้เห็นแล้ว” ด้วยอาการ ๓
อย่าง คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่าจักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าวก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ
(๓) ครั้นกล่าวแล้วก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ไม่ได้เห็น ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้เห็นแล้ว” ด้วยอาการ ๔ อย่าง
คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่าจักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าวก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ (๓) ครั้น
กล่าวแล้วก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (๔) อำพรางความเห็น ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ไม่ได้เห็น ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้เห็นแล้ว” ด้วยอาการ ๕ อย่าง
คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่าจักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าวก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ (๓) ครั้น
กล่าวแล้วก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (๔) อำพรางความเห็น (๕) อำพรางความเห็นชอบ
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ไม่ได้เห็น ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้เห็นแล้ว” ด้วยอาการ ๖ อย่าง
คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่าจักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าวก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ (๓)
ครั้นกล่าวแล้วก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (๔) อำพรางความเห็น (๕) อำพรางความ
เห็นชอบ (๖) อำพรางความพอใจ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ไม่ได้เห็น ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้เห็นแล้ว” ด้วยอาการ ๗ อย่าง
คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่าจักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าวก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ (๓)
ครั้นกล่าวแล้วก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (๔) อำพรางความเห็น (๕) อำพรางความเห็น
ชอบ (๖) อำพรางความพอใจ (๗) อำพรางความประสงค์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๒. ไม่ได้ยิน แต่กล่าวว่าได้ยิน
[๕] ไม่ได้ยิน ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้ยินแล้ว” ด้วยอาการ
๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๘๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๑.มุสาวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
๓. ไม่ทราบ แต่กล่าวว่าทราบ
ไม่ทราบ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าทราบแล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ...
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ

๔. ไม่รู้ แต่กล่าวว่ารู้
ไม่รู้ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้ารู้แล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง คือ
(๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่าจักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าวก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ (๓) ครั้น
กล่าวแล้วก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ไม่รู้ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้ารู้แล้ว” ด้วยอาการ ๔ อย่าง ฯลฯ
ด้วยอาการ ๕ อย่าง ฯลฯ ด้วยอาการ ๖ อย่าง ฯลฯ ด้วยอาการ ๗ อย่าง คือ
(๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่าจักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าวก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ (๓) ครั้น
กล่าวแล้วก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (๔) อำพรางความเห็น (๕) อำพรางความเห็นชอบ
(๖) อำพรางความพอใจ (๗) อำพรางความประสงค์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ไม่ได้เห็น แต่กล่าวว่าได้เห็นและได้ยิน
[๖] ไม่ได้เห็น ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้เห็นแล้วและได้ยินแล้ว”
ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ

ไม่ได้เห็น แต่กล่าวว่าได้เห็นและทราบ
ไม่ได้เห็น ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้เห็นแล้วและทราบแล้ว” ด้วย
อาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ

ไม่ได้เห็น แต่กล่าวว่าได้เห็นและรู้
ไม่ได้เห็น ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้เห็นแล้วและรู้แล้ว” ด้วย
อาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๘๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๑.มุสาวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
ไม่ได้เห็น แต่กล่าวว่าได้เห็น ได้ยิน และทราบ
ไม่ได้เห็น ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้เห็นแล้ว ได้ยินแล้ว และทราบ
แล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ

ไม่ได้เห็น แต่กล่าวว่าได้เห็น ได้ยิน และรู้
ไม่ได้เห็น ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้เห็นแล้ว ได้ยินแล้ว และรู้แล้ว”
ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ

ไม่ได้เห็น แต่กล่าวว่าได้เห็น ได้ยิน ทราบ และรู้
ไม่ได้เห็น ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้เห็นแล้ว ได้ยินแล้ว ทราบแล้ว
และรู้แล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ

ไม่ได้ยิน แต่กล่าวว่าได้ยินและทราบ
ไม่ได้ยิน ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้ยินแล้วและทราบแล้ว” ด้วย
อาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ

ไม่ได้ยิน แต่กล่าวว่าได้ยินและรู้
ไม่ได้ยิน ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้ยินแล้วและรู้แล้ว” ด้วยอาการ
๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
ไม่ได้ยิน แต่กล่าวว่าได้ยินและได้เห็น
ไม่ได้ยิน ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้ยินแล้วและได้เห็นแล้ว” ด้วย
อาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ

ไม่ได้ยิน แต่กล่าวว่าได้ยิน ทราบ และรู้
ไม่ได้ยิน ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้ยินแล้ว ทราบแล้ว และรู้แล้ว”
ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๙๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๑.มุสาวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
ไม่ได้ยิน แต่กล่าวว่าได้ยิน ทราบ และได้เห็น
ไม่ได้ยิน ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้ยินแล้ว ทราบแล้ว และได้
เห็นแล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ

ไม่ได้ยิน แต่กล่าวว่าได้ยิน ทราบ รู้ และได้เห็น
ไม่ได้ยิน ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้ยิน ทราบแล้ว รู้แล้ว และได้
เห็นแล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ

ไม่ทราบ แต่กล่าวว่าทราบและรู้
ไม่ทราบ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าทราบแล้วและรู้แล้ว” ด้วยอาการ
๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ

ไม่ทราบ แต่กล่าวว่าทราบและได้เห็น
ไม่ทราบ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าทราบแล้วและได้เห็นแล้ว” ด้วย
อาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ

ไม่ทราบ แต่กล่าวว่าทราบและได้ยิน
ไม่ทราบ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าทราบแล้วและได้ยินแล้ว” ด้วย
อาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ

ไม่ทราบ แต่กล่าวว่าทราบ รู้ และได้เห็น
ไม่ทราบ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าทราบแล้ว รู้แล้ว และได้เห็นแล้ว”
ด้วยอาการ ๓ อย่าง ฯลฯ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ

ไม่ทราบ แต่กล่าวว่าทราบ รู้ และได้ยิน
ไม่ทราบ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าทราบแล้ว รู้แล้ว และได้ยินแล้ว”
ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๙๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๑.มุสาวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
ไม่ทราบ แต่กล่าวว่าทราบ รู้ เห็น และได้ยิน
ไม่ทราบ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าทราบแล้ว รู้แล้ว ได้เห็นแล้ว และ
ได้ยินแล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ

ไม่รู้ แต่กล่าวว่ารู้และได้เห็น
ไม่รู้ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้ารู้แล้วและได้เห็นแล้ว” ด้วยอาการ
๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ

ไม่รู้ แต่กล่าวว่ารู้และได้ยิน
ไม่รู้ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้ารู้แล้วและได้ยินแล้ว” ด้วยอาการ
๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ

ไม่รู้ แต่กล่าวว่ารู้และทราบ
ไม่รู้ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้ารู้แล้วและทราบแล้ว” ด้วยอาการ
๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ

ไม่รู้ แต่กล่าวว่ารู้ ได้เห็น และได้ยิน
ไม่รู้ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้ารู้แล้ว ได้เห็นแล้ว และได้ยินแล้ว”
ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ

ไม่รู้ แต่กล่าวว่ารู้ ได้เห็น และทราบ
ไม่รู้ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้ารู้แล้ว ได้เห็นแล้ว และทราบแล้ว” ด้วย
อาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ

ไม่รู้ แต่กล่าวว่ารู้ ได้เห็น ได้ยินและทราบ
ไม่รู้ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้ารู้แล้ว ได้เห็นแล้ว ได้ยินแล้ว และทราบ
แล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๙๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๑.มุสาวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
๕. ได้เห็น แต่กล่าวว่าไม่ได้เห็น
[๗] ได้เห็น ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าไม่ได้เห็นแล้ว” ด้วยอาการ ๓
อย่าง คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่าจักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าวก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ
(๓) ครั้นกล่าวแล้วก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ได้เห็น ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าไม่ได้เห็นแล้ว” ด้วยอาการ ๔ อย่าง
ฯลฯ ด้วยอาการ ๕ อย่าง ฯลฯ ด้วยอาการ ๖ อย่าง ฯลฯ ด้วยอาการ ๗ อย่าง
คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่าจักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าวก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ (๓) ครั้น
กล่าวแล้วก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (๔) อำพรางความเห็น (๕) อำพรางความเห็นชอบ
(๖) อำพรางความพอใจ (๗) อำพรางความประสงค์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๖. ได้ยิน แต่กล่าวว่าไม่ได้ยิน
ได้ยิน ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าไม่ได้ยินแล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง
... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ

๗. ทราบ แต่กล่าวว่าไม่ทราบ
ทราบ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าไม่ทราบแล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ...
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ

๘. รู้ แต่กล่าวว่าไม่รู้
รู้ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าไม่รู้แล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง คือ
(๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่าจักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าวก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ (๓) ครั้น
กล่าวแล้วก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
รู้ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าไม่รู้แล้ว” ด้วยอาการ ๔ อย่าง ฯลฯ
ด้วยอาการ ๕ อย่าง ฯลฯ ด้วยอาการ ๖ อย่าง ฯลฯ ด้วยอาการ ๗ อย่าง คือ
(๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่าจักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าวก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ (๓) ครั้น
กล่าวแล้วก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (๔) อำพรางความเห็น (๕) อำพรางความเห็นชอบ
(๖) อำพรางความพอใจ (๗) อำพรางความประสงค์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๙๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๑.มุสาวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
ได้เห็น แต่กล่าวว่าได้ยิน
[๘] ได้เห็น ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้ยินแล้ว” ด้วยอาการ ๓
อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ

ได้เห็น แต่กล่าวว่าทราบ
ได้เห็น ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าทราบแล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ...
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ

ได้เห็น แต่กล่าวว่ารู้
ได้เห็น ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้ารู้แล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ

ได้เห็น แต่กล่าวว่าได้ยินและทราบ
ได้เห็น ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้ยินแล้วและทราบแล้ว” ด้วย
อาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ

ได้เห็น แต่กล่าวว่าได้ยินและรู้
ได้เห็น ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้ยินแล้วและรู้แล้ว” ด้วยอาการ
๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ

ได้เห็น แต่กล่าวว่าได้ยิน ทราบและรู้
ได้เห็น ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้ยินแล้ว” ทราบแล้วและรู้แล้ว
ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ

ได้ยิน แต่กล่าวว่าทราบ
ได้ยิน ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าทราบแล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง
... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๙๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๑.มุสาวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
ได้ยิน แต่กล่าวว่ารู้
ได้ยิน ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้ารู้แล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ

ได้ยิน แต่กล่าวว่าได้เห็น
ได้ยิน ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้เห็นแล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ...
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ

ได้ยิน แต่กล่าวว่าทราบและรู้
ได้ยิน ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าทราบแล้วและรู้แล้ว” ด้วยอาการ
๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ

ได้ยิน แต่กล่าวว่าทราบและได้เห็น
ได้ยิน ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าทราบแล้วและได้เห็นแล้ว” ด้วยอาการ
๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ

ได้ยิน แต่กล่าวว่าทราบ รู้ และได้เห็น
ได้ยิน ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าทราบแล้ว รู้แล้วและได้เห็นแล้ว”
ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ

ทราบ แต่กล่าวว่ารู้
ทราบ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้ารู้แล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ

ทราบ แต่กล่าวว่าได้เห็น
ทราบ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้เห็นแล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ...
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๙๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๑.มุสาวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
ทราบ แต่กล่าวว่าได้ยิน
ทราบ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้ยินแล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ...
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ

ทราบ แต่กล่าวว่ารู้และได้เห็น
ทราบ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้ารู้แล้วและได้เห็นแล้ว” ด้วยอาการ ๓
อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ

ทราบ แต่กล่าวว่ารู้และได้ยิน
ทราบ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้ารู้แล้วและได้ยินแล้ว” ด้วยอาการ ๓
อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ

ทราบ แต่กล่าวว่ารู้ ได้เห็น และได้ยิน
ทราบ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้ารู้แล้ว ได้เห็นแล้วและได้ยินแล้ว”
ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ

รู้ แต่กล่าวว่าได้เห็น
รู้ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้เห็นแล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ

รู้ แต่กล่าวว่าได้ยิน
รู้ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้ยินแล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ

รู้ แต่กล่าวว่าทราบ
รู้ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าทราบแล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๙๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๑.มุสาวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
รู้ แต่กล่าวว่าได้เห็นและได้ยิน
รู้ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้เห็นแล้วและได้ยินแล้ว” ด้วยอาการ
๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ

รู้ แต่กล่าวว่าได้เห็นและทราบ
รู้ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้เห็นแล้วและทราบแล้ว” ด้วยอาการ
๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ

รู้ แต่กล่าวว่าได้เห็น ได้ยินและทราบ
รู้ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้เห็นแล้ว ได้ยินแล้วและทราบแล้ว”
ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ

ได้เห็น - แต่ไม่แน่ใจ
[๙] ภิกษุไม่แน่ใจสิ่งที่ได้เห็น กำหนดสิ่งที่ได้เห็นไม่ได้ จำสิ่งที่ได้เห็นไม่ได้
หลงลืมสิ่งที่ได้เห็น กล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้เห็นแล้วและได้ยินแล้ว” ด้วย
อาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้เห็นแล้ว ได้ยินแล้ว ทราบแล้ว และรู้แล้ว”
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ

ได้ยิน - แต่ไม่แน่ใจ
ภิกษุไม่แน่ใจสิ่งที่ได้ยิน กำหนดสิ่งที่ได้ยินไม่ได้ จำสิ่งที่ได้ยินไม่ได้ หลงลืมสิ่ง
ที่ได้ยิน ฯลฯ

ทราบ - แต่ไม่แน่ใจ
ภิกษุไม่แน่ใจสิ่งที่ได้ทราบ กำหนดสิ่งที่ได้ทราบไม่ได้ จำสิ่งที่ได้ทราบไม่ได้
หลงลืมสิ่งที่ได้ทราบ ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๙๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๑.มุสาวาทสิกขาบท อนาปัตติวาร
รู้ - แต่ไม่แน่ใจ เป็นต้น
ภิกษุไม่แน่ใจสิ่งที่ได้รู้ กำหนดสิ่งที่ได้รู้ไม่ได้ จำสิ่งที่ได้รู้ไม่ได้ หลงลืมสิ่งที่ได้รู้
กล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้ารู้แล้วและได้เห็นแล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ฯลฯ หลง
ลืมสิ่งที่ได้รู้ กล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้ารู้แล้วและได้ยินแล้ว” ฯลฯ หลงลืมสิ่งที่ได้รู้
กล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้ารู้แล้วและทราบแล้ว” ฯลฯ หลงลืมสิ่งที่ได้รู้ กล่าวเท็จ
ทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้ารู้แล้ว ได้เห็นแล้ว และได้ยินแล้ว” ฯลฯ หลงลืมสิ่งที่ได้รู้ กล่าว
เท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้ารู้แล้ว ได้เห็นแล้ว และทราบแล้ว” ฯลฯ หลงลืมสิ่งที่ได้รู้
กล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้ารู้แล้ว ได้เห็นแล้ว ได้ยินแล้ว และทราบแล้ว” ด้วย
อาการ ๓ อย่าง คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่าจักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าวก็รู้ว่ากำลัง
กล่าวเท็จ (๓) ครั้นกล่าวแล้วก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
[๑๐] ภิกษุไม่แน่ใจสิ่งที่ได้รู้ กำหนดสิ่งที่ได้รู้ไม่ได้ จำสิ่งที่ได้รู้ไม่ได้ หลงลืม
สิ่งที่ได้รู้ กล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้ารู้แล้ว ได้เห็นแล้ว ได้ยินแล้ว และทราบแล้ว”
ด้วยอาการ ๔ อย่าง ฯลฯ ด้วยอาการ ๕ อย่าง ฯลฯ ด้วยอาการ ๖ อย่าง ฯลฯ
ด้วยอาการ ๗ อย่าง คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่าจักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าวก็รู้
ว่ากำลังกล่าวเท็จ (๓) ครั้นกล่าวแล้วก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (๔) อำพรางความเห็น
(๕) อำพรางความเห็นชอบ (๖) อำพรางความพอใจ (๗) อำพรางความประสงค์
ต้องอาบัติปาจิตตีย์

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๑] ๑. ภิกษุกล่าวพลั้ง
๒. ภิกษุกล่าวพลาด
๓. ภิกษุวิกลจริต
๔. ภิกษุต้นบัญญัติ

มุสาวาทสิกขาบทที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๙๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๒.โอมสวาทสิกขาบท นิทานวัตถุ
๑. มุสาวาทวรรค

๒. โอมสวาทสิกขาบท
ว่าด้วยการกล่าวเสียดสี

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๑๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทะเลาะ
กับพวกภิกษุผู้มีศีลดีงาม กล่าวเสียดสีภิกษุผู้มีศีลดีงาม ด่า สบประมาทด้วยชาติ
กำเนิดบ้าง ด้วยชื่อบ้าง ด้วยตระกูลบ้าง ด้วยหน้าที่การงานบ้าง ด้วยศิลปวิทยาบ้าง
ด้วยความเจ็บไข้บ้าง ด้วยรูปลักษณ์บ้าง ด้วยกิเลสบ้าง ด้วยอาบัติบ้าง ด้วยคำด่าที่
หยาบบ้าง บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ จึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์จึงทะเลาะกับพวกภิกษุผู้มีศีลดีงาม กล่าวเสียดสีภิกษุผู้มีศีลดีงาม
ด่า สบประมาทด้วยชาติกำเนิดบ้าง ด้วยชื่อบ้าง ด้วยตระกูลบ้าง ด้วยหน้าที่การงาน
บ้าง ด้วยศิลปวิทยาบ้าง ด้วยความเจ็บไข้บ้าง ด้วยรูปลักษณ์บ้าง ด้วยกิเลสบ้าง
ด้วยอาบัติบ้าง ด้วยคำด่าที่หยาบบ้างเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิพวกภิกษุ
ฉัพพัคคีย์โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรง
ทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอทะเลาะกับพวก
ภิกษุผู้มีศีลดีงาม กล่าวเสียดสีภิกษุผู้มีศีลดีงาม ด่า สบประมาทด้วยชาติกำเนิดบ้าง
ด้วยชื่อบ้าง ด้วยตระกูลบ้าง ด้วยหน้าที่การงานบ้าง ด้วยศิลปวิทยาบ้าง ด้วยความ
เจ็บไข้บ้าง ด้วยรูปลักษณ์บ้าง ด้วยกิเลสบ้าง ด้วยอาบัติบ้าง ด้วยคำด่าที่หยาบบ้าง
จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคทรง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๙๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๒.โอมสวาทสิกขาบท นิทานวัตถุ
ตำหนิว่า “โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงทะเลาะกับพวกภิกษุผู้มีศีลดีงาม
กล่าวเสียดสีภิกษุผู้มีศีลดีงาม ด่า สบประมาทด้วยชาติกำเนิดบ้าง ด้วยชื่อบ้าง ด้วย
ตระกูลบ้าง ด้วยหน้าที่การงานบ้าง ด้วยศิลปวิทยาบ้าง ด้วยความเจ็บไข้บ้าง ด้วย
รูปลักษณ์บ้าง ด้วยกิเลสบ้าง ด้วยอาบัติบ้าง ด้วยคำด่าที่หยาบบ้างเล่า โมฆบุรุษ
ทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อม
ใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” ครั้นทรงตำหนิแล้วทรงแสดงธรรมีกถารับ
สั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า

โคนันทิวิสาล
[๑๓] ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว พราหมณ์คนหนึ่งในเมืองตักกสิลา
มีโคถึกชื่อนันทิวิสาล ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล โคถึกชื่อนันทิวิสาลได้กล่าวกับ
พราหมณ์นั้นดังนี้ว่า “ท่านพราหมณ์ ท่านจงไปทำการพนันเอาทรัพย์ ๑,๐๐๐
กหาปณะกับเศรษฐีว่า โคถึกของเราจะลากเกวียน ๑๐๐ เล่มที่ผูกติดกันไปได้”
ภิกษุทั้งหลาย ทีนั้น พราหมณ์ได้ไปทำการพนันเอาทรัพย์ ๑,๐๐๐ กหาปณะ
กับเศรษฐีด้วยกล่าวว่า “โคถึกของเราจะลากเกวียน ๑๐๐ เล่มที่ผูกติดกันไปได้”
ภิกษุทั้งหลาย ครั้นแล้วพราหมณ์นั้นก็ผูกเกวียน ๑๐๐ เล่มเทียมโคถึกนันทิวิสาล
แล้วจึงได้กล่าวดังนี้ว่า “เจ้าโคโกง แกจงฉุด เจ้าโคโกง แกจงลากไป”
ครั้งนั้นแล โคถึกนันทิวิสาลได้ยืนนิ่งเฉยอยู่ ณ ที่นั้นเอง พราหมณ์นั้นแพ้พนัน
เสียทรัพย์ ๑,๐๐๐ กหาปณะ เศร้าซึมไป
ต่อมา โคถึกนันทิวิสาลได้กล่าวกับพราหมณ์นั้นดังนี้ว่า “ท่านพราหมณ์ เหตุ
ไรท่านจึงเศร้าซึม”
พราหมณ์ตอบว่า “ก็เพราะเจ้าทำให้เราต้องแพ้เสียทรัพย์ไปถึง ๑,๐๐๐
กหาปณะ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๐๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๒.โอมสวาทสิกขาบท พระบัญญัติ
โคถึกนันทิวิสาลกล่าวว่า “ท่านพราหมณ์ ท่านเรียกข้าพเจ้าผู้ไม่โกงด้วยคำว่า
โกงทำไมเล่า ท่านจงไปทำการพนันเอาทรัพย์ ๒,๐๐๐ กหาปณะกับเศรษฐีด้วย
กล่าวว่า ‘โคถึกของเราจะลากเกวียน ๑๐๐ เล่มที่ผูกติดกันไปได้’ แต่ท่านอย่าเรียก
ข้าพเจ้าผู้ไม่โกงด้วยคำว่าโกง”
พราหมณ์จึงไปพนันเอาทรัพย์ ๒,๐๐๐ กหาปณะกับเศรษฐีด้วยกล่าวว่า
“โคถึกของเราจะลากเกวียน ๑๐๐ เล่มที่ผูกติดกันไปได้” ภิกษุทั้งหลาย ครั้นแล้ว
พราหมณ์นั้นก็ผูกเกวียน ๑๐๐ เล่ม เทียมโคนันทิวิสาลแล้ว จึงได้กล่าวดังนี้ว่า
“พ่อมหาจำเริญ เชิญฉุดไป พ่อมหาจำเริญ เชิญลากไปเถิด” ครั้งนั้นแล โคถึก
นันทิวิสาลได้ลากเกวียน ๑๐๐ เล่มที่ผูกติดกันไปแล้ว
บุคคลพึงกล่าวคำไพเราะ
ไม่พึงกล่าวคำไม่ไพเราะ ไม่ว่าในกาลไหน ๆ
เมื่อพราหมณ์กล่าวคำไพเราะ
โคถึกโคนันทิวิสาลก็ลากเกวียนหนักไปได้
ทำให้พราหมณ์ได้ทรัพย์
ตนเองก็ดีใจที่พราหมณ์ได้ทรัพย์
เพราะการกระทำของตนนั้น๑
ภิกษุทั้งหลาย คำด่า คำสบประมาทไม่เป็นที่พอใจของเราแม้ในกาลนั้น
ไฉนบัดนี้ คำด่า คำสบประมาทจะเป็นที่พอใจเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้
มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบท
นี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๑๔] ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะกล่าวเสียดสี
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.ชา. ๒๗/๒๘/๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๐๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๒.โอมสวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
สิกขาบทวิภังค์
[๑๕] ที่ชื่อว่า กล่าวเสียดสี ได้แก่ ภิกษุกล่าวเสียดสีด้วยอาการ ๑๐ อย่าง
คือ (๑) ชาติกำเนิดบ้าง (๒) ชื่อบ้าง (๓) ตระกูลบ้าง (๔) หน้าที่การงานบ้าง
(๕) ศิลปวิทยาบ้าง (๖) ความเจ็บไข้บ้าง (๗) รูปลักษณ์บ้าง (๘) กิเลสบ้าง
(๙) อาบัติบ้าง (๑๐) คำด่าบ้าง

บทภาชนีย์
ที่ชื่อว่า ชาติกำเนิด ได้แก่ ชาติกำเนิด ๒ อย่าง คือ (๑) ชาติกำเนิดต่ำ
(๒) ชาติกำเนิดสูง
ที่ชื่อว่า ชาติกำเนิดต่ำ ได้แก่ ชาติกำเนิดคนจัณฑาล ชาติกำเนิดคนจักสาน
ชาติกำเนิดนายพราน ชาติกำเนิดช่างรถ ชาติกำเนิดคนเทขยะ๑ นี้จัดเป็นชาติกำเนิด
ต่ำ
ที่ชื่อว่า ชาติกำเนิดสูง ได้แก่ ชาติกำเนิดกษัตริย์ ชาติกำเนิดพราหมณ์ นี้
จัดเป็นชาติกำเนิดสูง
ที่ชื่อว่า ชื่อ ได้แก่ ชื่อ ๒ อย่าง คือ (๑) ชื่อที่เลว (๒) ชื่อที่ดี
ที่ชื่อว่า ชื่อที่เลว ได้แก่ ชื่ออวกัณณกะ ชื่อชวกัณณกะ ชื่อธนิฏฐกะ
ชื่อสวิฏฐกะ ชื่อกุลวัฑฒกะ๒ อีกอย่างหนึ่ง ชื่อที่เขาเย้ยหยัน เหยียดหยาม
เกลียดชัง ดูหมิ่น ไม่นับถือกันในท้องถิ่นนั้น ๆ นี้จัดเป็นชื่อที่เลว

เชิงอรรถ :
๑ ปุกฺกุส คนเทขยะ ในโยชนาว่า “คนเทอุจจาระ” (ปุ วุจฺจติ กรีสํ, ตํ กุสติ อปเนตีติ ปุกฺกุโส, ปุปฺผํ
วุจฺจติ กรีสํ, กุสุมํ วา, ตํ ฉฑฺเฑตีติ ปุปฺผฉฑฺฑโก อุจจาระท่านเรียกว่า “ปุ” ผู้ที่นำปุ คืออุจจาระนั้นไปทิ้ง
ชื่อว่า ปุกกุสะ อุจจาระท่านเรียกว่า ปุปผะ(ดอกไม้) ผู้ที่ขนดอกไม้คืออุจจาระนั้นทิ้ง ชื่อว่า ปุปผฉัฑฑกะ
(ปาจิตฺยาทิโยนา ๔ ม.)
ในที่นี้ ปุกกุสศัพท์เป็นไวพจน์ของปุปผฉัฑฑกศัพท์ (ปุกฺกุสชาตีติ ปุปฺผฉฑฺฑกชาติ - วิ.อ. ๒/๑๕/๒๕๗)
จะแปลว่า “คนเทอุจจาระ” ก็ได้
๒ ชื่อทั้ง ๕ นี้ คือ (๑) อวกัณณกะ (๒) ชวกัณณกะ (๓) ธนิฏฐกะ (๔) สวิฏฐกะ (๕) กุลวัฑฒกะ เป็นชื่อ
ของพวกทาสถือเป็นชื่อชั้นต่ำ เป็นชื่อที่เลว (วิ.อ. ๒/๑๕/๒๕๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๐๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๒.โอมสวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
ที่ชื่อว่า ชื่อที่ดี ได้แก่ ชื่อที่เกี่ยวกับพระพุทธ ที่เกี่ยวกับพระธรรม ที่เกี่ยวกับ
พระสงฆ์ อีกอย่างหนึ่ง ชื่อที่เขาไม่เย้ยหยัน ไม่เหยียดหยาม ไม่เกลียดชัง ไม่ดูหมิ่น
นับถือกันในท้องถิ่นนั้น ๆ นี้จัดเป็นชื่อที่ดี
ที่ชื่อว่า ตระกูล ได้แก่ ตระกูล ๒ อย่าง คือ (๑) ตระกูลชั้นต่ำ (๒) ตระกูลชั้นสูง
ที่ชื่อว่า ตระกูลชั้นต่ำ ได้แก่ ตระกูลโกสิยะ ตระกูลภารทวาชะ อีกอย่างหนึ่ง
ตระกูลที่เขาเย้ยหยัน เหยียดหยาม เกลียดชัง ดูหมิ่น ไม่นับถือกันในท้องถิ่นนั้น ๆ
นี้จัดเป็นตระกูลชั้นต่ำ
ที่ชื่อว่า ตระกูลชั้นสูง ได้แก่ ตระกูลโคตมะ ตระกูลโมคคัลลานะ ตระกูล
กัจจายนะ ตระกูลวาเสฏฐะ อีกอย่างหนึ่ง ตระกูลที่เขาไม่เย้ยหยัน ไม่เหยียดหยาม
ไม่เกลียดชัง ไม่ดูหมิ่น นับถือกันในท้องถิ่นนั้น ๆ นี้จัดเป็นตระกูลชั้นสูง
ที่ชื่อว่า หน้าที่การงาน ได้แก่ หน้าที่การงาน ๒ อย่าง คือ (๑) หน้าที่การงาน
ชั้นต่ำ (๒) หน้าที่การงานชั้นสูง
ที่ชื่อว่า หน้าที่การงานชั้นต่ำ ได้แก่ งานช่างถากไม้ งานเทขยะ๑ อีกอย่างหนึ่ง
การงานที่เขาเย้ยหยัน เหยียดหยาม เกลียดชัง ดูหมิ่น ไม่นับถือกันในท้องถิ่น
นั้น ๆ นี้จัดเป็นการงานชั้นต่ำ
ที่ชื่อว่า หน้าที่การงานชั้นสูง ได้แก่ ทำนา ค้าขาย เลี้ยงโค อีกอย่างหนึ่ง
การงานที่เขาไม่เย้ยหยัน ไม่เหยียดหยาม ไม่เกลียดชัง ไม่ดูหมิ่น นับถือกันใน
ท้องถิ่นนั้น ๆ นี้จัดเป็นการงานชั้นสูง
ที่ชื่อว่า ศิลปวิทยา ได้แก่ ศิลปวิทยา ๒ อย่าง คือ (๑) ศิลปวิทยาชั้นต่ำ
(๒) ศิลปวิทยาชั้นสูง
ที่ชื่อว่า ศิลปวิทยาชั้นต่ำ ได้แก่ วิชาช่างจักสาน วิชาช่างหม้อ วิชาช่างหูก
วิชาช่างหนัง วิชาช่างกัลบก อีกอย่างหนึ่ง ศิลปวิทยาที่เขาเย้ยหยัน เหยียดหยาม
เกลียดชัง ดูหมิ่น ไม่นับถือกันในท้องถิ่นนั้น ๆ นี้จัดเป็นศิลปวิทยาชั้นต่ำ

เชิงอรรถ :
๑ ปุปฺผฉฑฺฑกกมฺมํ งานเทขยะ หรือเทอุจจาระ (ดูเชิงอรรถ ข้อ ๑๕ หน้า ๒๐๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๐๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๒.โอมสวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
ที่ชื่อว่า ศิลปวิทยาชั้นสูง ได้แก่ วิชานับ วิชาคำนวณ วิชาเขียน อีกอย่างหนึ่ง
ศิลปวิทยาที่เขาไม่เย้ยหยัน ไม่เหยียดหยาม ไม่เกลียดชัง ไม่ดูหมิ่น นับถือกัน
ในท้องถิ่นนั้น ๆ นี้จัดเป็นศิลปวิทยาชั้นสูง
ความเจ็บไข้ ทุกชนิดจัดเป็นสิ่งที่เลว ส่วนโรคเบาหวาน๑ จัดเป็นโรคที่ดี
ที่ชื่อว่า รูปลักษณ์ ได้แก่ รูปลักษณ์ ๒ อย่าง คือ (๑) รูปลักษณ์ที่เลว
(๒) รูปลักษณ์ที่ดี
ที่ชื่อว่า รูปลักษณ์ที่เลว คือ สูงเกินไป เตี้ยเกินไป ดำเกินไป ขาวเกินไป นี้
จัดเป็นรูปลักษณ์ที่เลว
ที่ชื่อว่า รูปลักษณ์ที่ดี คือ ไม่สูงนัก ไม่เตี้ยนัก ไม่ดำนัก ไม่ขาวนัก นี้จัด
เป็นรูปลักษณ์ที่ดี
กิเลส ทั้งปวง ชื่อว่าเลว
อาบัติ (โทษทางพระวินัย) ทุกอย่างเป็นเรื่องที่เลว แต่โสดาบัติ (การเข้าถึง
กระแสธรรม) สมาบัติ (การเข้าฌาน) เป็นเรื่องที่ดี
ที่ชื่อว่า คำด่า ได้แก่ คำด่า ๒ อย่าง คือ (๑) คำด่าหยาบ (๒) คำด่าสุภาพ
ที่ชื่อว่า คำด่าหยาบ ได้แก่ คำด่าว่า ท่านเป็นอูฐ ท่านเป็นแพะ ท่านเป็นโค
ท่านเป็นลา ท่านเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ท่านเป็นสัตว์นรก ท่านไม่มีสุคติ หวังได้แต่ทุคติ
เท่านั้น คำด่าที่เกี่ยวกับการร่วมประเวณี๒ หรือคำด่าที่เกี่ยวกับอวัยวะของชายหญิง
นี้จัดเป็นคำด่าหยาบ
ที่ชื่อว่า คำด่าสุภาพ ได้แก่ คำด่าว่า ท่านเป็นบัณฑิต ท่านเป็นคนฉลาด
ท่านเป็นนักปราชญ์ ท่านเป็นพหูสูต ท่านเป็นธรรมกถึก ท่านไม่มีทุคติ หวังได้
แต่สุคติเท่านั้น นี้จัดเป็นคำด่าสุภาพ

เชิงอรรถ :
๑ มธุเมโห อาพาโธ โรคเบาหวาน บางอาจารย์ว่าโรคอ้วน (ถูลกายสฺส มํสูปจโยติ เอเก-วชิร.ฏีกา ๓๗๐)
๒ คำว่า “การร่วมประเวณี” แปลมาจากคำว่า ยกาเรน ภกาเรน (ยภ เมถุเน. มิถุนสฺส ชนทฺวยสฺส อิทํ
กมฺมํ เมถุนํ, ตสฺมึ เมถุเน ยภธาตุ วตฺตติ ยภ-ธาตุใช้ในความหมายว่าเมถุนธรรม คือด่าด้วยคำว่า
ยภ หมายถึงด่าถึงเรื่องของคน ๒ คน คือชายกับหญิงมีเพศสัมพันธ์กัน (นีติธาตุ ๑๖๙, วชิร. ฏีกา ๓๗๐,
สารตฺถ. ฏีกา ๓/๑๕/๔, วิมติ.ฏีกา ๒/๑๕/๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๐๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๒.โอมสวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
อุปสัมบันกล่าวเสียดสีอุปสัมบัน
๑. กล่าวเสียดสีด้วยชาติกำเนิดต่ำ
[๑๖] อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้
อุปสัมบันเก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันชาติกำเนิดต่ำด้วย(คำบ่งถึง)ชาติกำเนิดต่ำ คือ
กล่าวกับอุปสัมบันผู้เป็นคนจัณฑาล กับอุปสัมบันผู้เป็นคนจักสาน กับอุปสัมบันผู้
เป็นนายพราน กับอุปสัมบันผู้เป็นช่างรถ กับอุปสัมบันผู้เป็นคนเทขยะว่า “ท่าน
เป็นคนจัณฑาล ท่านเป็นคนจักสาน ท่านเป็นนายพราน ท่านเป็นช่างรถ ท่าน
เป็นคนเทขยะ” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันชาติกำเนิดสูงด้วย(คำบ่งถึง)ชาติกำเนิดต่ำ คือ กล่าว
กับอุปสัมบันผู้เป็นกษัตริย์ กับอุปสัมบันผู้เป็นพราหมณ์ว่า “ท่านเป็นคนจัณฑาล
ท่านเป็นคนจักสาน ท่านเป็นนายพราน ท่านเป็นช่างรถ ท่านเป็นคนเทขยะ” ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด

กล่าวเสียดสีด้วยชาติกำเนิดสูง
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันชาติกำเนิดต่ำด้วย(คำบ่งถึง)ชาติกำเนิดสูง คือ กล่าว
กับอุปสัมบันผู้เป็นจัณฑาล กับอุปสัมบันผู้เป็นคนจักสาน กับอุปสัมบันผู้เป็น
นายพราน กับอุปสัมบันผู้เป็นช่างรถ กับอุปสัมบันผู้เป็นคนเทขยะว่า “ท่านกษัตริย์
ท่านพราหมณ์” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันชาติกำเนิดสูงด้วย(คำบ่งถึง)ชาติกำเนิดสูง คือ กล่าวกับ
อุปสัมบันผู้เป็นกษัตริย์ กับอุปสัมบันผู้เป็นพราหมณ์ว่า “ท่านกษัตริย์ ท่าน
พราหมณ์” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๐๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๒.โอมสวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
๒. กล่าวเสียดสีด้วยชื่อที่เลว
[๑๗] อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้
อุปสัมบันเก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันมีชื่อเลวด้วยชื่อที่เลว คือ กล่าวกับอุปสัมบัน
ชื่ออวกัณณกะ กับอุปสัมบันชื่อชวกัณณกะ กับอุปสัมบันชื่อธนิฏฐกะ กับอุปสัมบัน
ชื่อสวิฏฐกะ กับอุปสัมบันชื่อกุลวัฑฒกะว่า “ท่านอวกัณณกะ ท่านชวกัณณกะ
ท่านธนิฏฐกะ ท่านสวิฏฐกะ ท่านกุลวัฑฒกะ” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันมีชื่อที่ดีด้วยชื่อที่เลว คือ กล่าวกับอุปสัมบันชื่อพุทธรักขิต
กับอุปสัมบันชื่อธัมมรักขิต กับอุปสัมบันชื่อสังฆรักขิตว่า “ท่านอวกัณณกะ ท่าน
ชวกัณณกะ ท่านธนิฏฐกะ ท่านสวิฏฐกะ ท่านกุลวัฑฒกะ” ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ทุก ๆ คำพูด

กล่าวเสียดสีด้วยชื่อที่ดี
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันมีชื่อที่เลวด้วยชื่อที่ดี คือ กล่าวกับอุปสัมบันชื่ออวกัณณกะ
กับอุปสัมบันชื่อชวกัณณกะ กับอุปสัมบันชื่อธนิฏฐกะ กับอุปสัมบันชื่อสวิฏฐกะ
กับอุปสัมบันชื่อกุลวัฑฒกะว่า “ท่านพุทธรักขิต ท่านธัมมรักขิต ท่านสังฆรักขิต”
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันมีชื่อที่ดีด้วยชื่อที่ดี คือ กล่าวกับอุปสัมบันชื่อพุทธรักขิต
กับอุปสัมบันชื่อธัมมรักขิต กับอุปสัมบันชื่อสังฆรักขิตว่า “ท่านพุทธรักขิต ท่าน
ธัมมรักขิต ท่านสังฆรักขิต” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด

๓. กล่าวเสียดสีด้วยตระกูลชั้นต่ำ
[๑๘] อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้
อุปสัมบันเก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันผู้มีตระกูลชั้นต่ำด้วย(คำบ่งถึง)ตระกูลชั้นต่ำ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๐๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๒.โอมสวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
คือ กล่าวกับอุปสัมบันตระกูลโกสิยะ กับอุปสัมบันตระกูลภารทวาชะว่า “ท่านเป็น
คนตระกูลโกสิยะ ท่านเป็นคนตระกูลภารทวาชะ” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันตระกูลชั้นสูงด้วย(คำบ่งถึง)ตระกูลชั้นต่ำ คือ กล่าวกับ
อุปสัมบันตระกูลโคตมะ กับอุปสัมบันตระกูลโมคคัลลานะ กับอุปสัมบันตระกูล
กัจจายนะ กับอุปสัมบันตระกูลวาเสฏฐะว่า “ท่านเป็นคนตระกูลโกสิยะ ท่านเป็นคน
ตระกูลภารทวาชะ” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด

กล่าวเสียดสีด้วยตระกูลชั้นสูง
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันผู้มีตระกูลชั้นต่ำด้วย(คำบ่งถึง)ตระกูลชั้นสูง คือ กล่าว
กับอุปสัมบันตระกูลโกสิยะ กับอุปสัมบันตระกูลภารทวาชะว่า “ท่านเป็นคนตระกูล
โคตมะ ท่านเป็นคนตระกูลโมคคัลลานะ ท่านเป็นคนตระกูลกัจจายนะ ท่านเป็นคน
ตระกูลวาเสฏฐะ” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันผู้มีตระกูลชั้นสูงด้วย(คำบ่งถึง)ตระกูลชั้นสูง คือ กล่าว
กับอุปสัมบันตระกูลโคตมะ กับอุปสัมบันตระกูลโมคคัลลานะ กับอุปสัมบันตระกูล
กัจจายนะ กับอุปสัมบันตระกูลวาเสฏฐะว่า “ท่านเป็นคนตระกูลโคตมะ ท่านเป็นคน
ตระกูลโมคคัลลานะ ท่านเป็นคนตระกูลกัจจายนะ ท่านเป็นคนตระกูลวาเสฏฐะ”
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด

๔. กล่าวเสียดสีด้วยหน้าที่การงานชั้นต่ำ
[๑๙] อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้
อุปสัมบันเก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันมีหน้าที่การงานชั้นต่ำด้วย(คำบ่งถึง)หน้าที่
การงานชั้นต่ำ คือ กล่าวกับอุปสัมบันผู้เป็นช่างถากไม้ กับอุปสัมบันผู้เป็นคนเทขยะ
ว่า “ท่านเป็นช่างถากไม้ ท่านเป็นคนเทขยะ” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๐๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๒.โอมสวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันมีหน้าที่การงานชั้นสูงด้วย(คำบ่งถึง)หน้าที่การงาน
ชั้นต่ำ คือ กล่าวกับอุปสัมบันผู้เป็นชาวนา กับอุปสัมบันผู้เป็นพ่อค้า กับอุปสัมบัน
ผู้เป็นคนเลี้ยงโคว่า “ท่านเป็นช่างถากไม้ ท่านเป็นคนเทขยะ” ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ทุก ๆ คำพูด

กล่าวเสียดสีด้วยหน้าที่การงานชั้นสูง
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันมีหน้าที่การงานชั้นต่ำด้วย(คำบ่งถึง)หน้าที่การงานชั้น
สูง คือ กล่าวกับอุปสัมบันผู้เป็นช่างถากไม้ กับอุปสัมบันผู้เป็นคนเทขยะว่า “ท่าน
เป็นชาวนา ท่านเป็นพ่อค้า ท่านเป็นคนเลี้ยงโค” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันมีหน้าที่การงานชั้นสูงด้วย(คำบ่งถึง)หน้าที่การงานชั้น
สูง คือ กล่าวกับอุปสัมบันผู้เป็นชาวนา กับอุปสัมบันผู้เป็นพ่อค้า กับอุปสัมบันผู้
เป็นคนเลี้ยงโคว่า “ท่านเป็นชาวนา ท่านเป็นพ่อค้า ท่านเป็นคนเลี้ยงโค” ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด

๕. กล่าวเสียดสีด้วยศิลปวิทยาชั้นต่ำ
[๒๐] อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้
อุปสัมบันเก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันมีศิลปวิทยาชั้นต่ำด้วย(คำบ่งถึง)ศิลปวิทยาชั้น
ต่ำ คือ กล่าวกับอุปสัมบันผู้เป็นช่างจักสาน กับอุปสัมบันผู้เป็นช่างหม้อ กับ
อุปสัมบันผู้เป็นช่างหูก กับอุปสัมบันผู้เป็นช่างหนัง กับอุปสัมบันผู้เป็นช่างกัลบกว่า
“ท่านเป็นช่างจักสาน ท่านเป็นช่างหม้อ ท่านเป็นช่างหูก ท่านเป็นช่างหนัง ท่านเป็น
ช่างกัลบก” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันมีศิลปวิทยาชั้นสูงด้วย(คำบ่งถึง)ศิลปวิทยาชั้นต่ำ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๐๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๒.โอมสวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
กล่าวกับอุปสัมบันผู้เป็นช่างนับ กับอุปสัมบันผู้เป็นนักคำนวณ กับอุปสัมบันผู้เป็น
นักเขียนว่า “ท่านเป็นช่างจักสาน ท่านเป็นช่างหม้อ ท่านเป็นช่างหูก ท่านเป็น
ช่างหนัง ท่านเป็นช่างกัลบก” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด

กล่าวเสียดสีด้วยศิลปวิทยาชั้นสูง
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันมีศิลปวิทยาชั้นต่ำด้วย(คำบ่งถึง)ศิลปวิทยาชั้นสูง คือ
กล่าวกับอุปสัมบันผู้เป็นช่างจักสาน กับอุปสัมบันผู้เป็นช่างหม้อ กับอุปสัมบันผู้เป็น
ช่างหูก กับอุปสัมบันผู้เป็นช่างหนัง กับอุปสัมบันผู้เป็นช่างกัลบกว่า “ท่านเป็นช่าง
นับ ท่านเป็นนักคำนวณ ท่านเป็นนักเขียน” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาทต้องการจะทำให้อุปสัมบันเก้อเขิน
กล่าวกับอุปสัมบันมีศิลปวิทยาชั้นสูงด้วย(คำบ่งถึง)ศิลปวิทยาชั้นสูง คือ กล่าวกับ
อุปสัมบันผู้เป็นช่างนับ กับอุปสัมบันผู้เป็นนักคำนวณ กับอุปสัมบันผู้เป็นนักเขียน
ว่า “ท่านเป็นช่างนับ ท่านเป็นนักคำนวณ ท่านเป็นนักเขียน” ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ทุก ๆ คำพูด

๖. กล่าวเสียดสีด้วยความเจ็บไข้
[๒๑] อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้
อุปสัมบันเก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันผู้เป็นโรคที่เลวด้วย(คำบ่งถึง)โรคที่เลว คือ
กล่าวกับอุปสัมบันผู้เป็นโรคเรื้อน กับอุปสัมบันผู้เป็นโรคฝี กับอุปสัมบันผู้เป็นโรค
กลาก กับอุปสัมบันผู้เป็นโรคมองคร่อ กับอุปสัมบันผู้เป็นโรคลมบ้าหมูว่า “ท่าน
เป็นโรคเรื้อน ท่านเป็นโรคฝี ท่านเป็นโรคกลาก ท่านเป็นโรคมองคร่อ ท่านเป็นโรค
ลมบ้าหมู” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบันเก้อ
เขิน กล่าวกับอุปสัมบันผู้เป็นโรคที่ดีด้วย(คำบ่งถึง)โรคที่เลว คือ กล่าวกับอุปสัมบัน
ผู้เป็นโรคเบาหวานว่า “ท่านเป็นโรคเรื้อน ท่านเป็นโรคฝี ท่านเป็นโรคกลาก ท่าน
เป็นโรคมองคร่อ ท่านเป็นโรคลมบ้าหมู” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๐๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๒.โอมสวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันผู้เป็นโรคที่เลวด้วย(คำบ่งถึง)โรคที่ดี คือ กล่าวกับ
อุปสัมบันผู้เป็นโรคเรื้อน กับอุปสัมบันผู้เป็นโรคฝี กับอุปสัมบันผู้เป็นโรคกลาก
กับอุปสัมบันผู้เป็นโรคมองคร่อ กับอุปสัมบันผู้เป็นโรคลมบ้าหมูว่า “ท่านเป็นโรค
เบาหวาน” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันผู้เป็นโรคที่ดีด้วย(คำบ่งถึง)โรคที่ดี คือ กล่าวกับ
อุปสัมบันผู้เป็นโรคเบาหวานว่า “ท่านเป็นโรคเบาหวาน” ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ทุก ๆ คำพูด

๗. กล่าวเสียดสีด้วยรูปลักษณ์ที่เลว
[๒๒] อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้
อุปสัมบันเก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันมีรูปลักษณ์ที่เลวด้วย(คำบ่งถึง)รูปลักษณ์ที่เลว
คือ กล่าวกับอุปสัมบันผู้สูงเกินไป กับอุปสัมบันผู้เตี้ยเกินไป กับอุปสัมบันผู้ดำเกินไป
กับอุปสัมบันผู้ขาวเกินไปว่า “ท่านเป็นคนสูงเกินไป ท่านเป็นคนเตี้ยเกินไป ท่านเป็น
คนดำเกินไป ท่านเป็นคนขาวเกินไป” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันมีรูปลักษณ์ที่ดีด้วย(คำบ่งถึง)รูปลักษณ์ที่เลว คือ กล่าว
กับอุปสัมบันผู้ไม่สูงนัก กับอุปสัมบันผู้ไม่เตี้ยนัก กับอุปสัมบันผู้ไม่ดำนัก กับ
อุปสัมบันผู้ไม่ขาวนักว่า “ท่านเป็นคนสูงเกินไป ท่านเป็นคนเตี้ยเกินไป ท่านเป็นคน
ดำเกินไป ท่านเป็นคนขาวเกินไป” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด

กล่าวเสียดสีด้วยรูปลักษณ์ที่ดี
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันมีรูปลักษณ์ที่เลวด้วย(คำบ่งถึง)รูปลักษณ์ที่ดี คือ กล่าว
กับอุปสัมบันผู้สูงเกินไป กับอุปสัมบันผู้เตี้ยเกินไป กับอุปสัมบันผู้ดำเกินไป กับ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๑๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๒.โอมสวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
อุปสัมบันผู้ขาวเกินไปว่า “ท่านเป็นคนไม่สูงนัก ท่านเป็นคนไม่เตี้ยนักท่านเป็นคนไม่ดำนัก
ท่านเป็นคนไม่ขาวนัก” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันมีรูปลักษณ์ที่ดีด้วย(คำบ่งถึง)รูปลักษณ์ที่ดี คือ กล่าวกับ
อุปสัมบันผู้ไม่สูงเกินไป กับอุปสัมบันผู้ไม่เตี้ยเกินไป กับอุปสัมบันผู้ไม่ดำเกินไป กับ
อุปสัมบันผู้ไม่ขาวเกินไปว่า “ท่านเป็นคนไม่สูงนัก ท่านเป็นคนไม่เตี้ยนัก ท่านเป็น
คนไม่ดำนัก ท่านเป็นคนไม่ขาวนัก” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด

๘. กล่าวเสียดสีด้วยกิเลส
[๒๓] อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้
อุปสัมบันเก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันผู้มีกิเลสที่เลวด้วย(คำบ่งถึง)กิเลสที่เลว คือ
กล่าวกับอุปสัมบันผู้ถูกราคะกลุ้มรุม กับอุปสัมบันผู้ถูกโทสะกลุ้มรุม กับอุปสัมบันผู้
ถูกโมหะกลุ้มรุมว่า “ท่านเป็นผู้ถูกราคะกลุ้มรุม ท่านเป็นผู้ถูกโทสะกลุ้มรุม ท่าน
เป็นผู้ถูกโมหะกลุ้มรุม” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันผู้มีภาวะไร้กิเลสด้วย(คำบ่งถึง)กิเลสที่เลว คือ กล่าวกับ
อุปสัมบันผู้ปราศจากราคะ กับอุปสัมบันผู้ปราศจากโทสะ กับอุปสัมบันผู้ปราศจาก
โมหะว่า “ท่านเป็นผู้ถูกราคะกลุ้มรุม ท่านเป็นผู้ถูกโทสะกลุ้มรุม ท่านเป็นผู้ถูกโมหะ
กลุ้มรุม” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันผู้มีกิเลสที่เลวด้วย(คำบ่งถึง)ภาวะไร้กิเลส คือ กล่าวกับ
อุปสัมบันผู้ถูกราคะกลุ้มรุม กับอุปสัมบันผู้ถูกโทสะกลุ้มรุม กับอุปสัมบันผู้ถูกโมหะ
กลุ้มรุมว่า “ท่านเป็นผู้ปราศจากราคะ ท่านเป็นผู้ปราศจากโทสะ ท่านเป็นผู้ปราศ
จากโมหะ” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันผู้มีภาวะไร้กิเลสด้วย(คำบ่งถึง)ภาวะไร้กิเลส คือ กล่าว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๑๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๒.โอมสวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
กับอุปสัมบันผู้ปราศจากราคะ กับอุปสัมบันผู้ปราศจากโทสะ กับอุปสัมบันผู้
ปราศจากโมหะว่า “ท่านเป็นผู้ปราศจากราคะ ท่านเป็นผู้ปราศจากโทสะ ท่านเป็น
ผู้ปราศจากโมหะ” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด

๙. กล่าวเสียดสีด้วยอาบัติ
[๒๔] อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้
อุปสัมบันเก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันที่เลวด้วยเรื่องที่เลว คือ กล่าวกับอุปสัมบันผู้
ต้องอาบัติปาราชิก กับอุปสัมบันผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส กับอุปสัมบันผู้ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย กับอุปสัมบันผู้ต้องอาบัติปาจิตตีย์ กับอุปสัมบันผู้ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ
กับอุปสัมบันผู้ต้องอาบัติทุกกฏ กับอุปสัมบันผู้ต้องอาบัติทุพภาสิตว่า “ท่านต้อง
อาบัติปาราชิก ท่านต้องอาบัติสังฆาทิเสส ท่านต้องอาบัติถุลลัจจัย ท่านต้อง
อาบัติปาจิตตีย์ ท่านต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ท่านต้องอาบัติทุกกฏ ท่านต้องอาบัติ
ทุพภาสิต” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันผู้มีคุณธรรมสูงด้วยเรื่องที่เลว คือ กล่าวกับอุปสัมบัน
ผู้เป็นโสดาบันว่า “ท่านต้องอาบัติปาราชิก ฯลฯ ท่านต้องอาบัติทุพภาสิต” ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันที่เลวด้วย(คำบ่งถึง)คุณธรรมสูง คือ กล่าวกับอุปสัมบัน
ผู้ต้องอาบัติปาราชิก ฯลฯ อุปสัมบันผู้ต้องอาบัติทุพภาสิตว่า “ท่านเป็นโสดาบัน”
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันผู้มีคุณธรรมชั้นสูงด้วย(คำบ่งถึง)คุณธรรมชั้นสูง คือ
กล่าวกับอุปสัมบันผู้เป็นโสดาบันว่า “ท่านเป็นโสดาบัน” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ
คำพูด


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๑๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๒.โอมสวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
๑๐. กล่าวเสียดสีด้วยคำด่าหยาบ
[๒๕] อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้
อุปสัมบันเก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันมีความประพฤติเลวด้วยคำด่าที่หยาบ คือ
กล่าวกับอุปสัมบันผู้มีความประพฤติดังอูฐ กับอุปสัมบันผู้มีความประพฤติดังแพะ
กับอุปสัมบันผู้มีความประพฤติดังโค กับอุปสัมบันผู้มีความประพฤติดังลา กับ
อุปสัมบันผู้มีความประพฤติดังสัตว์ดิรัจฉาน กับอุปสัมบันผู้มีความประพฤติดังสัตว์
นรกว่า “ท่านเป็นอูฐ ท่านเป็นแพะ ท่านเป็นโค ท่านเป็นลา ท่านเป็นสัตว์ดิรัจฉาน
ท่านเป็นสัตว์นรก ท่านไม่มีสุคติ หวังได้เพียงทุคติเท่านั้น” ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ทุก ๆ คำพูด
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันผู้มีคุณสมบัติชั้นสูงด้วยคำด่าที่หยาบ คือ กล่าวกับ
อุปสัมบันผู้เป็นบัณฑิต กับอุปสัมบันผู้ฉลาด กับอุปสัมบันผู้เป็นนักปราชญ์ กับ
อุปสัมบันผู้เป็นพหูสูต กับอุปสัมบันผู้เป็นธรรมกถึกว่า “ท่านเป็นอูฐ ท่านเป็นแพะ
ท่านเป็นโค ท่านเป็นลา ท่านเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ท่านเป็นสัตว์นรก ท่านไม่มีสุคติ
หวังได้เพียงทุคติเท่านั้น” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด

กล่าวเสียดสีประชดด้วยคำด่าสุภาพ
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันผู้มีความประพฤติเลวด้วยคำด่าสุภาพ คือ กล่าวกับ
อุปสัมบันผู้มีความประพฤติดังอูฐ กับอุปสัมบันผู้มีความประพฤติดังแพะ กับ
อุปสัมบันผู้มีความประพฤติดังโค กับอุปสัมบันผู้มีความประพฤติดังลา กับอุปสัมบัน
ผู้มีความประพฤติดังสัตว์ดิรัจฉาน กับอุปสัมบันผู้มีความประพฤติดังสัตว์นรกว่า
“ท่านเป็นบัณฑิต ท่านเป็นคนฉลาด ท่านเป็นนักปราชญ์ ท่านเป็นพหูสูต ท่านเป็น
ธรรมกถึก ท่านไม่มีทุคติ หวังได้แต่สุคติเท่านั้น” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันผู้มีคุณสมบัติสูงด้วยคำด่าสุภาพ คือ กล่าวกับอุปสัมบัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๑๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๒.โอมสวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
ผู้เป็นบัณฑิต กับอุปสัมบันผู้ฉลาด กับอุปสัมบันผู้เป็นนักปราชญ์ กับอุปสัมบันผู้
เป็นพหูสูต กับอุปสัมบันผู้เป็นธรรมกถึกว่า “ท่านเป็นบัณฑิต ท่านเป็นคนฉลาด
ท่านเป็นนักปราชญ์ ท่านเป็นพหูสูต ท่านเป็นธรรมกถึก ท่านไม่มีทุคติ หวังได้แต่
สุคติเท่านั้น” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด

๑. กล่าวเสียดสีด้วยชาติกำเนิดต่ำ
[๒๖] อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้
อุปสัมบันเก้อเขิน กล่าวอย่างนี้ว่า “ในพระธรรมวินัยนี้ มีภิกษุบางพวกเป็นคน
จัณฑาล เป็นคนจักสาน เป็นนายพราน เป็นช่างรถ เป็นคนเทขยะ” ต้องอาบัติ
ทุกกฏทุก ๆ คำพูด

กล่าวเสียดสีด้วยชาติกำเนิดสูง
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวอย่างนี้ว่า “ในพระธรรมวินัยนี้ มีภิกษุบางพวกเป็นกษัตริย์ เป็น
พราหมณ์” ต้องอาบัติทุกกฏทุก ๆ คำพูด

๒. กล่าวเสียดสีด้วยชื่อที่เลว
[๒๗] อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้
อุปสัมบันเก้อเขิน กล่าวอย่างนี้ว่า “ในพระธรรมวินัยนี้ มีภิกษุบางพวกชื่ออวกัณณกะ
ชื่อชวกัณณกะ ชื่อธนิฏฐกะ ชื่อสวิฏฐกะ ชื่อกุลวัฑฒกะ” ต้องอาบัติทุกกฏทุก ๆ
คำพูด ฯลฯ

กล่าวเสียดสีด้วยชื่อที่ดี
กล่าวอย่างนี้ว่า “ในพระธรรมวินัยนี้ มีภิกษุบางพวกชื่อพุทธรักขิต ชื่อธัมม
รักขิต ชื่อสังฆรักขิต” ต้องอาบัติทุกกฏทุก ๆ คำพูด ฯลฯ

๓. กล่าวเสียดสีด้วยตระกูลชั้นต่ำ
กล่าวอย่างนี้ว่า “ในพระธรรมวินัยนี้ มีภิกษุบางพวกตระกูลโกสิยะ ตระกูล
ภารทวาชะ ฯลฯ”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๑๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๒.โอมสวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
กล่าวเสียดสีด้วยตระกูลชั้นสูง
กล่าวอย่างนี้ว่า “ในพระธรรมวินัยนี้ มีภิกษุบางพวกตระกูลโคตมะ ตระกูล
โมคคัลลานะ ตระกูลกัจจายนะ ตระกูลวาเสฏฐะ ฯลฯ”

๔. กล่าวเสียดสีด้วยหน้าที่การงานชั้นต่ำ
กล่าวอย่างนี้ว่า “ในพระธรรมวินัยนี้ มีภิกษุบางพวกเป็นช่างถากไม้ เป็นคน
เทขยะ ฯลฯ”

กล่าวเสียดสีด้วยหน้าที่การงานชั้นสูง
กล่าวอย่างนี้ว่า “ในพระธรรมวินัยนี้ มีภิกษุบางพวกเป็นชาวนา เป็นพ่อค้า
เป็นคนเลี้ยงโค ฯลฯ”

๕. กล่าวเสียดสีด้วยศิลปวิทยาชั้นต่ำ
กล่าวอย่างนี้ว่า “ในพระธรรมวินัยนี้ มีภิกษุบางพวกเป็นช่างจักสาน เป็นช่าง
หม้อ เป็นช่างหูก เป็นช่างหนัง เป็นช่างกัลบก ฯลฯ”

กล่าวเสียดสีด้วยศิลปวิทยาชั้นสูง
กล่าวอย่างนี้ว่า “ในพระธรรมวินัยนี้ มีภิกษุบางพวกเป็นช่างนับ เป็นนัก
คำนวณ เป็นนักเขียน ฯลฯ”

๖. กล่าวเสียดสีด้วยความเจ็บไข้
กล่าวอย่างนี้ว่า “ในพระธรรมวินัยนี้ มีภิกษุบางพวกเป็นโรคเรื้อน เป็นโรคฝี
เป็นโรคกลาก เป็นโรคมองคร่อ เป็นโรคลมบ้าหมู ฯลฯ”
กล่าวอย่างนี้ว่า “ในพระธรรมวินัยนี้ มีภิกษุบางพวกเป็นโรคเบาหวาน
ฯลฯ”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๑๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๒.โอมสวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
๗. กล่าวเสียดสีด้วยรูปลักษณ์ที่เลว
กล่าวอย่างนี้ว่า “ในพระธรรมวินัยนี้ มีภิกษุบางพวกเป็นคนสูงเกินไป เป็นคน
เตี้ยเกินไป เป็นคนดำเกินไป เป็นคนขาวเกินไป ฯลฯ”

กล่าวเสียดสีด้วยรูปลักษณ์ที่ดี
กล่าวอย่างนี้ว่า “ในพระธรรมวินัยนี้ มีภิกษุบางพวกเป็นคนไม่สูงนัก เป็นคน
ไม่เตี้ยนัก เป็นคนไม่ดำนัก เป็นคนไม่ขาวนัก ฯลฯ”

๘. กล่าวเสียดสีด้วยกิเลส
กล่าวอย่างนี้ว่า “ในพระธรรมวินัยนี้ มีภิกษุบางพวกถูกราคะกลุ้มรุม ถูก
โทสะกลุ้มรุม ถูกโมหะกลุ้มรุม ฯลฯ”
กล่าวอย่างนี้ว่า “ในพระธรรมวินัยนี้ มีภิกษุบางพวกที่ปราศจากราคะ ปราศ
จากโทสะ ปราศจากโมหะ ฯลฯ”

๙. กล่าวเสียดสีด้วยอาบัติ
กล่าวอย่างนี้ว่า “ในพระธรรมวินัยนี้ มีภิกษุบางพวกต้องอาบัติปาราชิก ฯลฯ
ต้องอาบัติทุพภาสิต ฯลฯ”
กล่าวอย่างนี้ว่า “ในพระธรรมวินัยนี้ มีภิกษุบางพวกเป็นโสดาบัน ฯลฯ”

๑๐. กล่าวเสียดสีด้วยคำด่าที่หยาบ
กล่าวอย่างนี้ว่า “ในพระธรรมวินัยนี้ มีภิกษุบางพวกมีความประพฤติดังอูฐ
มีความประพฤติดังแพะ มีความประพฤติดังโค มีความประพฤติดังลา มีความ
ประพฤติดังสัตว์ดิรัจฉาน มีความประพฤติดังสัตว์นรก ภิกษุเหล่านั้นไม่มีสุคติ หวัง
ได้เพียงทุคติเท่านั้น” ต้องอาบัติทุกกฏทุก ๆ คำพูด


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๑๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๒.โอมสวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
กล่าวเสียดสีด้วยคำด่าที่สุภาพ
[๒๘] อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้
อุปสัมบันเก้อเขิน กล่าวอย่างนี้ว่า “ในพระธรรมวินัยนี้ มีภิกษุบางพวก เป็นบัณฑิต
เป็นคนฉลาด เป็นนักปราชญ์ เป็นพหูสูต เป็นธรรมกถึก ภิกษุเหล่านั้นไม่มีทุคติ
หวังได้แต่สุคติเท่านั้น” ต้องอาบัติทุกกฏทุก ๆ คำพูด

๑. กล่าวเสียดสีด้วยชาติกำเนิดต่ำ
[๒๙] อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้
อุปสัมบันเก้อเขิน กล่าวอย่างนี้ว่า “ภิกษุพวกใดกันแน่เป็นคนจัณฑาล เป็นคน
จักสาน เป็นนายพราน เป็นช่างรถ เป็นคนเทขยะ” ต้องอาบัติทุกกฏทุก ๆ
คำพูด ฯลฯ๑

๑๐. กล่าวเสียดสีด้วยคำด่าที่สุภาพ
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวอย่างนี้ว่า “ภิกษุพวกใดกันแน่เป็นบัณฑิต เป็นคนฉลาด เป็นนัก
ปราชญ์ เป็นพหูสูต เป็นธรรมกถึก ภิกษุเหล่านั้นไม่มีทุคติ หวังได้แต่สุคติเท่านั้น”
ต้องอาบัติทุกกฏทุก ๆ คำพูด

๑. กล่าวเสียดสีด้วยชาติกำเนิดต่ำ
[๓๐] อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้
อุปสัมบันเก้อเขิน กล่าวอย่างนี้ว่า “พวกเราไม่ใช่คนจัณฑาล คนจักสาน นายพราน
ช่างรถ คนเทขยะ ฯลฯ๑

๑๐. กล่าวเสียดสีด้วยคำด่าที่สุภาพ
“พวกเราไม่ใช่บัณฑิต คนฉลาด นักปราชญ์ พหูสูต ธรรมกถึก พวกเรา
ไม่มีทุคติ หวังได้แต่สุคติเท่านั้น” ต้องอาบัติทุกกฏทุก ๆ คำพูด

เชิงอรรถ :
๑ ดูความพิสดาร ข้อ ๑๖-๒๕ หน้า ๒๐๕-๒๑๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๑๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๒.โอมสวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
อุปสัมบันกล่าวเสียดสีอนุปสัมบัน๑
๑. กล่าวเสียดสีด้วยชาติกำเนิด
[๓๑] อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้
อนุปสัมบันเก้อเขิน กล่าวกับอนุปสัมบันชาติกำเนิดต่ำด้วย(คำบ่งถึง)ชาติกำเนิดต่ำ
ฯลฯ กล่าวกับอนุปสัมบันชาติกำเนิดสูงด้วย(คำบ่งถึง)ชาติกำเนิดต่ำ ฯลฯ กล่าวกับ
อนุปสัมบันชาติกำเนิดต่ำด้วย(คำบ่งถึง)ชาติกำเนิดสูง ฯลฯ

๑๐. กล่าวเสียดสีด้วยคำด่า
กล่าวกับอนุปสัมบันผู้มีคุณสมบัติสูงด้วยคำด่าสุภาพ คือ กล่าวกับอนุปสัมบัน
ผู้เป็นบัณฑิต กับอนุปสัมบันผู้ฉลาด กับอนุปสัมบันผู้เป็นนักปราชญ์ กับอนุปสัมบัน
ผู้เป็นพหูสูต กับอนุปสัมบันผู้เป็นธรรมกถึกว่า “ท่านเป็นบัณฑิต ท่านเป็นคนฉลาด
ท่านเป็นนักปราชญ์ ท่านเป็นพหูสูต ท่านเป็นธรรมกถึก ท่านไม่มีทุคติ หวังได้แต่
สุคติเท่านั้น” ต้องอาบัติทุกกฏทุก ๆ คำพูด

๑. กล่าวเสียดสีด้วยชาติกำเนิดต่ำ
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อนุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวอย่างนี้ว่า “ในพระธรรมวินัยนี้ มีอนุปสัมบันบางพวกเป็น คนจัณฑาล
เป็นคนจักสาน เป็นนายพราน เป็นช่างรถ เป็นคนเทขยะ ฯลฯ”

๑๐. กล่าวเสียดสีด้วยคำด่า
“ในพระธรรมวินัยนี้ มีอนุปสัมบันบางพวกเป็นบัณฑิต เป็นคนฉลาด เป็น
นักปราชญ์ เป็นพหูสูต เป็นธรรมกถึก พวกเขาไม่มีทุคติ หวังได้แต่สุคติเท่านั้น”
ต้องอาบัติทุกกฏทุก ๆ คำพูด

เชิงอรรถ :
๑ อนุปสัมบันของภิกษุ คือผู้มิได้อุปสมบทเป็นภิกษุ ได้แก่ ภิกษุณี สามเณร สามเณรี สิกขมานา
คฤหัสถ์ชาย-หญิง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๑๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๒.โอมสวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อนุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวอย่างนี้ว่า “อนุปสัมบันพวกใดกันแน่เป็นคนจัณฑาล เป็นคนจักสาน
เป็นนายพราน เป็นช่างรถ เป็นคนเทขยะ” ต้องอาบัติทุกกฏทุก ๆ คำพูด ฯลฯ
“อนุปสัมบันพวกใดกันแน่เป็นบัณฑิต เป็นคนฉลาด เป็นนักปราชญ์ เป็นพหูสูต
เป็นธรรมกถึก” ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อนุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวอย่างนี้ว่า “พวกเราไม่ใช่คนจัณฑาล คนจักสาน นายพราน ช่างรถ
คน เทขยะ ฯลฯ
พวกเราไม่ใช่บัณฑิต คนฉลาด นักปราชญ์ พหูสูต ธรรมกถึก พวกเราไม่มี
ทุคติ หวังได้แต่สุคติเท่านั้น” ต้องอาบัติทุกกฏทุก ๆ คำพูด

๑. กล่าวเสียดสีด้วยชาติกำเนิดต่ำ
[๓๒] อุปสัมบันไม่ต้องการจะด่า ไม่ต้องการจะสบประมาท ไม่ต้องการจะทำ
ให้อุปสัมบันเก้อเขิน แต่ต้องการจะเล่น กล่าวกับอุปสัมบันชาติกำเนิดต่ำด้วย
(คำบ่งถึง)ชาติกำเนิดต่ำ คือ กล่าวกับอุปสัมบันผู้เป็นคนจัณฑาล กับอุปสัมบันผู้เป็น
คนจักสาน กับอุปสัมบันผู้เป็นนายพราน กับอุปสัมบันผู้เป็นช่างรถ กับอุปสัมบัน
ผู้เป็นคนเทขยะว่า “ท่านเป็นคนจัณฑาล ท่านเป็นคนจักสาน ท่านเป็นนายพราน
ท่านเป็นช่างรถ ท่านเป็นคนเทขยะ” ต้องอาบัติทุพภาสิตทุก ๆ คำพูด
อุปสัมบันไม่ต้องการจะด่า ไม่ต้องการจะสบประมาท ไม่ต้องการจะทำให้
อุปสัมบันเก้อเขิน แต่ต้องการจะเล่น กล่าวกับอุปสัมบันชาติกำเนิดสูงด้วย(คำบ่ง
ถึง)ชาติกำเนิดต่ำ คือ กล่าวกับอุปสัมบันชาติกำเนิดกษัตริย์ ชาติกำเนิดพราหมณ์ว่า
“ท่านเป็นคนจัณฑาล ท่านเป็นคนจักสาน ท่านเป็นนายพราน ท่านเป็นช่างรถ ท่าน
เป็นคนเทขยะ” ต้องอาบัติทุพภาสิตทุก ๆ คำพูด

กล่าวเสียดสีด้วยชาติกำเนิดสูง
อุปสัมบันไม่ต้องการจะด่า ไม่ต้องการจะสบประมาท ไม่ต้องการจะทำให้
อุปสัมบันเก้อเขิน แต่ต้องการจะเล่น กล่าวกับอุปสัมบันชาติกำเนิดต่ำด้วย(คำบ่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๑๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๒.โอมสวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
ถึง)ชาติกำเนิดสูง คือ กล่าวกับอุปสัมบันผู้เป็นจัณฑาล กับอุปสัมบันผู้เป็นคนจัก
สาน กับอุปสัมบันผู้เป็นนายพราน กับอุปสัมบันผู้เป็นช่างรถ กับอุปสัมบันผู้เป็นคน
เทขยะว่า “ท่านเป็นกษัตริย์ ท่านเป็นพราหมณ์” ต้องอาบัติทุพภาสิตทุก ๆ คำพูด
อุปสัมบันไม่ต้องการจะด่า ไม่ต้องการจะสบประมาท ไม่ต้องการจะทำให้
อุปสัมบันเก้อเขิน แต่ต้องการจะเล่น กล่าวกับอุปสัมบันชาติกำเนิดสูงด้วย(คำบ่งถึง)
ชาติกำเนิดสูง คือ กล่าวกับอุปสัมบันผู้เป็นกษัตริย์ กับอุปสัมบันผู้เป็นพราหมณ์ว่า
“ท่านเป็นกษัตริย์ ท่านเป็นพราหมณ์” ต้องอาบัติทุพภาสิตทุก ๆ คำพูด

๒. กล่าวเสียดสีด้วยชื่อ
อุปสัมบันไม่ต้องการจะด่า ไม่ต้องการจะสบประมาท ไม่ต้องการจะทำให้
อุปสัมบันเก้อเขิน แต่ต้องการจะเล่น กล่าวกับอุปสัมบันมีชื่อเลวด้วยชื่อที่เลว ฯลฯ
กล่าวกับอุปสัมบันมีชื่อดีด้วยชื่อที่เลว ฯลฯ กล่าวกับอุปสัมบันมีชื่อที่เลวด้วยชื่อที่ดี
ฯลฯ กล่าวกับอุปสัมบันมีชื่อดีด้วยชื่อที่ดี ฯลฯ

๑๐. กล่าวเสียดสีด้วยคำด่า
กล่าวกับอุปสัมบันผู้เป็นบัณฑิต กับอุปสัมบันผู้ฉลาด กับอุปสัมบันผู้เป็นนัก
ปราชญ์ กับอุปสัมบันผู้เป็นพหูสูต กับอุปสัมบันผู้เป็นธรรมกถึกว่า “ท่านเป็น
บัณฑิต ท่านเป็นคนฉลาด ท่านเป็นนักปราชญ์ ท่านเป็นพหูสูต ท่านเป็นธรรมกถึก
ท่านไม่มีทุคติ หวังได้แต่สุคติเท่านั้น” ต้องอาบัติทุพภาสิตทุก ๆ คำพูด

๑. กล่าวเสียดสีด้วยชาติกำเนิดต่ำ
[๓๓] อุปสัมบันไม่ต้องการจะด่า ไม่ต้องการจะสบประมาท ไม่ต้องการจะทำ
ให้อุปสัมบันเก้อเขิน แต่ต้องการจะเล่น กล่าวอย่างนี้ว่า “ในพระธรรมวินัยนี้ มี
ภิกษุบางพวกเป็นคนจัณฑาล เป็นคนจักสาน เป็นนายพราน เป็นช่างรถ เป็นคน
เทขยะ” ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๒๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๒.โอมสวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
๑๐. กล่าวเสียดสีด้วยคำด่า
“ในพระธรรมวินัยนี้ มีภิกษุบางพวกเป็นบัณฑิต เป็นคนฉลาด เป็นนักปราชญ์
เป็นพหูสูต เป็นธรรมกถึก พวกเธอไม่มีทุคติ หวังได้แต่สุคติเท่านั้น” ต้องอาบัติ
ทุพภาสิตทุก ๆ คำพูด

๑. กล่าวเสียดสีด้วยชาติกำเนิดต่ำ
อุปสัมบันไม่ต้องการจะด่า ไม่ต้องการจะสบประมาท ไม่ต้องการจะทำให้
อุปสัมบันเก้อเขิน แต่ต้องการจะเล่น กล่าวอย่างนี้ว่า “ภิกษุพวกใดกันแน่เป็นคน
จัณฑาล เป็นคนจักสาน เป็นนายพราน เป็นช่างรถ เป็นคนเทขยะ” ฯลฯ

๑๐. กล่าวเสียดสีด้วยคำด่า
“ภิกษุพวกใดกันแน่เป็นบัณฑิต เป็นคนฉลาด เป็นนักปราชญ์ เป็นพหูสูต เป็น
ธรรมกถึก” ต้องอาบัติทุพภาสิตทุก ๆ คำพูด

๑. กล่าวเสียดสีด้วยชาติกำเนิด
อุปสัมบันไม่ต้องการจะด่า ไม่ต้องการจะสบประมาท ไม่ต้องการจะทำให้
อุปสัมบันเก้อเขิน แต่ต้องการจะเล่น กล่าวอย่างนี้ว่า “พวกเราไม่ใช่คนจัณฑาล
คนจักสาน นายพราน ช่างรถ คนเทขยะ” ฯลฯ

๑๐. กล่าวเสียดสีด้วยคำด่า
“พวกเราไม่ใช่บัณฑิต คนฉลาด นักปราชญ์ พหูสูต ธรรมกถึก พวกเรา
ไม่มีทุคติ หวังได้แต่สุคติเท่านั้น” ต้องอาบัติทุพภาสิตทุก ๆ คำพูด

อุปสัมบันกล่าวเสียดสีอนุปสัมบัน
๑. กล่าวเสียดสีด้วยชาติกำเนิด
[๓๔] อุปสัมบันไม่ต้องการจะด่า ไม่ต้องการจะสบประมาท ไม่ต้องการจะ
ทำให้อนุปสัมบันเก้อเขิน แต่ต้องการจะเล่น กล่าวกับอนุปสัมบันชาติกำเนิดต่ำด้วย
(คำบ่งถึง)ชาติกำเนิดต่ำ ฯลฯ กล่าวกับอนุปสัมบันชาติกำเนิดสูงด้วยชาติกำเนิดต่ำ
ฯลฯ กล่าวกับอนุปสัมบันชาติกำเนิดต่ำด้วยชาติกำเนิดสูง ฯลฯ กล่าวกับอนุปสัมบัน
ชาติกำเนิดสูงด้วยชาติกำเนิดสูง ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๒๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๒.โอมสวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
๑๐. กล่าวเสียดสีด้วยคำด่า
กล่าวกับอนุปสัมบันผู้มีคุณสมบัติสูงด้วยคำด่าสุภาพ คือ กล่าวกับอนุปสัมบัน
ผู้เป็นบัณฑิต กับอนุปสัมบันผู้เป็นคนฉลาด กับอนุปสัมบันผู้เป็นนักปราชญ์ กับ
อนุปสัมบันผู้เป็นพหูสูต กับอนุปสัมบันผู้เป็นธรรมกถึกว่า “ท่านเป็นบัณฑิต ท่าน
เป็นคนฉลาด ท่านเป็นนักปราชญ์ ท่านเป็นพหูสูต ท่านเป็นธรรมกถึก ท่านไม่มีทุคติ
หวังได้แต่สุคติเท่านั้น” ต้องอาบัติทุพภาสิตทุก ๆ คำพูด

๑. กล่าวเสียดสีด้วยชาติกำเนิด
อุปสัมบันไม่ต้องการจะด่า ไม่ต้องการจะสบประมาท ไม่ต้องการจะทำให้
อนุปสัมบันเก้อเขิน แต่ต้องการจะเล่น กล่าวอย่างนี้ว่า “ในพระธรรมวินัยนี้ มี
อนุปสัมบันบางพวกเป็นคนจัณฑาล เป็นคนจักสาน เป็นนายพราน เป็นช่างรถ
เป็นคนเทขยะ” ฯลฯ

๑๐. กล่าวเสียดสีด้วยคำด่า
“ในพระธรรมวินัยนี้ มีอนุปสัมบันบางพวกเป็นบัณฑิต เป็นคนฉลาด เป็นนัก
ปราชญ์ เป็นพหูสูต เป็นธรรมกถึก พวกเขาไม่มีทุคติ หวังได้แต่สุคติเท่านั้น” ต้อง
อาบัติทุพภาสิตทุก ๆ คำพูด

๑. กล่าวเสียดสีด้วยชาติกำเนิด
อุปสัมบันไม่ต้องการจะด่า ไม่ต้องการจะสบประมาท ไม่ต้องการจะทำให้
อนุปสัมบันเก้อเขิน แต่ต้องการจะเล่น กล่าวอย่างนี้ว่า “อนุปสัมบันพวกใดกันแน่
เป็นคนจัณฑาล เป็นคนจักสาน เป็นนายพราน เป็นช่างรถ เป็นคนเทขยะ” ฯลฯ

๑๐. กล่าวเสียดสีด้วยคำด่า
“อนุปสัมบันพวกใดกันแน่เป็นบัณฑิต เป็นคนฉลาด เป็นนักปราชญ์ เป็นพหูสูต
เป็นธรรมกถึก” ต้องอาบัติทุพภาสิตทุก ๆ คำพูด


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๒๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๒.โอมสวาทสิกขาบท อนาปัตติวาร
๑. กล่าวเสียดสีด้วยชาติกำเนิด
อุปสัมบันไม่ต้องการจะด่า ไม่ต้องการจะสบประมาท ไม่ต้องการจะทำให้
อนุปสัมบันเก้อเขิน แต่ต้องการจะเล่น กล่าวอย่างนี้ว่า “พวกเราไม่ใช่คนจัณฑาล
คนจักสาน นายพราน ช่างรถ คนเทขยะ” ฯลฯ

๑๐. กล่าวเสียดสีด้วยคำด่า
“พวกเราไม่ใช่บัณฑิต เป็นคนฉลาด เป็นนักปราชญ์ เป็นพหูสูต เป็นธรรมกถึก
พวกเราไม่มีทุคติ หวังได้แต่สุคติเท่านั้น” ต้องอาบัติทุพภาสิตทุก ๆ คำพูด

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๓๕] ๑. ภิกษุมุ่งอรรถ
๒. ภิกษุมุ่งธรรม
๓. ภิกษุมุ่งพร่ำสอน
๔. ภิกษุวิกลจริต
๕. ภิกษุผู้มีจิตฟุ้งซ่าน
๖. ภิกษุผู้กระสับกระส่ายเพราะเวทนา
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

โอมสวาทสิกขาบทที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๒๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๓.เปสุญญสิกขาบท นิทานวัตถุ
๑. มุสาวาทวรรค

๓. เปสุญญสิกขาบท
ว่าด้วยการกล่าวส่อเสียด

เรื่องพระฉัพพัคคีย์

[๓๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ไปยุแหย่พวก
ภิกษุผู้บาดหมางกัน ทะเลาะกัน วิวาทกัน คือฟังเรื่องข้างนี้แล้วไปบอกข้างโน้น
เพื่อทำลายข้างนี้ ฟังเรื่องข้างโน้นแล้วมาบอกข้างนี้เพื่อทำลายข้างโน้น ด้วยเหตุ
นั้น ความบาดหมางที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น และความบาดหมางที่เกิดขึ้นแล้วก็รุนแรง
ยิ่งขึ้น
ภิกษุผู้มักน้อยสันโดษ ฯลฯ จึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์จึงไปยุแหย่พวกภิกษุผู้บาดหมางกัน ทะเลาะกัน วิวาทกัน คือฟัง
เรื่องข้างนี้แล้วไปบอกข้างโน้นเพื่อทำลายข้างนี้ ฟังเรื่องข้างโน้นแล้วมาบอกข้างนี้
เพื่อทำลายข้างโน้น ด้วยเหตุนั้น ความบาดหมางที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น และความ
บาดหมางที่เกิดขึ้นแล้วก็รุนแรงยิ่งขึ้น” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอไปยุแหย่พวก
ภิกษุผู้บาดหมางกัน ทะเลาะกัน วิวาทกัน คือฟังเรื่องข้างนี้แล้วไปบอกข้างโน้นเพื่อ
ทำลายข้างนี้ ฟังเรื่องข้างโน้นแล้วมาบอกข้างนี้เพื่อทำลายข้างโน้น ด้วยเหตุนั้น
ความบาดหมางที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น และความบาดหมางที่เกิดขึ้นแล้วก็รุนแรงยิ่งขึ้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๒๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๓.เปสุญญสิกขาบท บทภาชนีย์
จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธ
เจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงไปยุแหย่พวกภิกษุผู้
บาดหมางกัน ทะเลาะกัน วิวาทกัน คือฟังเรื่องข้างนี้แล้วไปบอกข้างโน้นเพื่อทำลาย
ข้างนี้ ฟังเรื่องข้างโน้นแล้วมาบอกข้างนี้เพื่อทำลายข้างโน้น ด้วยเหตุนั้น ความ
บาดหมางที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น และความบาดหมางที่เกิดขึ้นแล้วก็รุนแรงยิ่งขึ้น
โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำ
คนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยก
สิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๓๗] ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะส่อเสียดภิกษุ
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๓๘] ที่ชื่อว่า ส่อเสียด ได้แก่ คำส่อสียดด้วยอาการ ๒ อย่าง คือ (๑) ต้อง
การให้ผู้อื่นชอบตน (๒) ต้องการให้ผู้อื่นแตกกัน
ภิกษุกล่าวส่อเสียดด้วยอาการ ๑๐ อย่าง คือ (๑) ชาติกำเนิดบ้าง (๒) ชื่อบ้าง
(๓) ตระกูลบ้าง (๔) หน้าที่การงานบ้าง (๕) ศิลปวิทยาบ้าง (๖) ความเจ็บไข้บ้าง
(๗) รูปลักษณ์บ้าง (๘) กิเลสบ้าง (๙) อาบัติบ้าง (๑๐) คำด่าบ้าง

บทภาชนีย์
ที่ชื่อว่า ชาติกำเนิด ได้แก่ ชาติกำเนิด ๒ อย่าง คือ (๑) ชาติกำเนิดต่ำ
(๒) ชาติกำเนิดสูง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๒๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๓.เปสุญญสิกขาบท บทภาชนีย์
ที่ชื่อว่า ชาติกำเนิดต่ำ ได้แก่ ชาติกำเนิดคนจัณฑาล ชาติกำเนิดคนจักสาน
ชาติกำเนิดนายพราน ชาติกำเนิดช่างรถ ชาติกำเนิดคนเทขยะ๑ นี้จัดเป็นชาติ
กำเนิดต่ำ
ที่ชื่อว่า ชาติกำเนิดสูง ได้แก่ ชาติกำเนิดกษัตริย์ ชาติกำเนิดพราหมณ์ นี้จัด
เป็นชาติกำเนิดสูง ฯลฯ๒
ที่ชื่อว่า คำด่า ได้แก่ คำด่า ๒ อย่าง คือ (๑) คำด่าหยาบ (๒) คำด่าสุภาพ
ที่ชื่อว่า คำด่าหยาบ ได้แก่ คำด่าว่า ท่านเป็นอูฐ ท่านเป็นแพะ ท่านเป็นโค
ท่านเป็นลา ท่านเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ท่านเป็นสัตว์นรก ท่านไม่มีสุคติ หวังได้แต่ทุคติ
เท่านั้น คำด่าที่เกี่ยวกับการร่วมประเวณี หรือคำด่าที่เกี่ยวกับอวัยวะของชายหญิง
นี้จัดเป็นคำด่าหยาบ
ที่ชื่อว่า คำด่าสุภาพ ได้แก่ คำด่าว่า ท่านเป็นบัณฑิต ท่านเป็นคนฉลาด
ท่านเป็นนักปราชญ์ ท่านเป็นพหูสูต ท่านเป็นธรรมกถึก ท่านไม่มีทุคติ หวังได้แต่
สุคติเท่านั้น นี้จัดเป็นคำด่าสุภาพ

อุปสัมบันกล่าวส่อเสียดอุปสัมบัน
๑. กล่าวส่อเสียดด้วยชาติกำเนิดต่ำ
[๓๙] อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุ
ชื่อนี้กล่าวถึงท่านว่า คนจัณฑาล คนจักสาน นายพราน ช่างรถ คนเทขยะ” ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด

กล่าวส่อเสียดด้วยชาติกำเนิดสูง
อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า ภิกษุชื่อนี้กล่าว
ถึงท่านว่า “ท่านกษัตริย์ ท่านพราหมณ์” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด

เชิงอรรถ :
๑ คนเทขยะ หรือคนเทอุจจาระ ดูเชิงอรรถ ข้อ ๑๕ หน้า ๒๐๒
๒ ดูความพิสดาร ข้อ ๑๕ หน้า ๒๐๒-๒๐๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๒๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๓.เปสุญญสิกขาบท บทภาชนีย์
๒. กล่าวส่อเสียดด้วยชื่อที่เลว
อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุชื่อนี้
กล่าวถึงท่านว่า ท่านอวกัณณกะ ท่านชวกัณณกะ ท่านธนิฏฐกะ ท่านสวิฏฐกะ
ท่านกุลวัฑฒกะ” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด

กล่าวส่อเสียดด้วยชื่อที่ดี
อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุชื่อนี้
กล่าวถึงท่านว่า ท่านพุทธรักขิต ท่านธัมมรักขิต ท่านสังฆรักขิต” ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด

๓. กล่าวส่อเสียดด้วยตระกูลชั้นต่ำ
อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุชื่อนี้
กล่าวถึงท่านว่า ท่านเป็นคนตระกูลโกสิยะ ท่านเป็นคนตระกูลภารทวาชะ” ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด

กล่าวส่อเสียดด้วยตระกูลชั้นสูง
อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุชื่อนี้
กล่าวถึงท่านว่า ท่านเป็นคนตระกูลโคตมะ ท่านเป็นคนตระกูลโมคคัลลานะ ท่าน
เป็นคนตระกูลกัจจายนะ ท่านเป็นคนตระกูลวาเสฏฐะ” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ
คำพูด

๔. กล่าวส่อเสียดด้วยหน้าที่การงานชั้นต่ำ
อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุชื่อนี้
กล่าวถึงท่านว่า ท่านเป็นช่างถากไม้ ท่านเป็นคนเทขยะ” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ
คำพูด


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๒๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๓.เปสุญญสิกขาบท บทภาชนีย์
กล่าวส่อเสียดด้วยหน้าที่การงานชั้นสูง
อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุชื่อนี้
กล่าวถึงท่านว่า ท่านเป็นชาวนา ท่านเป็นพ่อค้า ท่านเป็นคนเลี้ยงโค” ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด

๕. กล่าวส่อเสียดด้วยศิลปวิทยาชั้นต่ำ
อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุชื่อนี้
กล่าวถึงท่านว่า ท่านเป็นช่างจักสาน ท่านเป็นช่างหม้อ ท่านเป็นช่างหูก ท่านเป็น
ช่างหนัง ท่านเป็นช่างกัลบก” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด

กล่าวส่อเสียดด้วยศิลปวิทยาชั้นสูง
อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุชื่อนี้
กล่าวถึงท่านว่า ท่านเป็นช่างนับ ท่านเป็นนักคำนวณ ท่านเป็นนักเขียน” ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด

๖. กล่าวส่อเสียดด้วยความเจ็บไข้
[๔๐] อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุ
ชื่อนี้กล่าวถึงท่านว่า ท่านเป็นโรคเรื้อน ท่านเป็นโรคฝี ท่านเป็นโรคกลาก ท่านเป็น
โรคมองคร่อ ท่านเป็นโรคลมบ้าหมู” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุชื่อนี้
กล่าวถึงท่านว่า ท่านเป็นโรคเบาหวาน” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด

๗. กล่าวส่อเสียดด้วยรูปลักษณ์ที่เลว
อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุชื่อนี้
กล่าวถึงท่านว่า ท่านเป็นคนสูงเกินไป ท่านเป็นคนเตี้ยเกินไป ท่านเป็นคนดำเกินไป
ท่านเป็นคนขาวเกินไป” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๒๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๓.เปสุญญสิกขาบท บทภาชนีย์
กล่าวส่อเสียดด้วยรูปลักษณ์ที่ดี
อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุชื่อนี้
กล่าวถึงท่านว่า ท่านเป็นคนไม่สูงนัก ท่านเป็นคนไม่เตี้ยนัก ท่านเป็นคนไม่ดำนัก
ท่านเป็นคนไม่ขาวนัก” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด

๘. กล่าวส่อเสียดด้วยกิเลส
อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุชื่อนี้
กล่าวถึงท่านว่า ท่านเป็นผู้ถูกราคะกลุ้มรุม ท่านเป็นผู้ถูกโทสะกลุ้มรุม ท่านเป็นผู้ถูก
โมหะกลุ้มรุม” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุชื่อนี้
กล่าวถึงท่านว่า ท่านเป็นผู้ปราศจากราคะ ท่านเป็นผู้ปราศจากโทสะ ท่านเป็น
ผู้ปราศจากโมหะ” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด

๙. กล่าวส่อเสียดด้วยอาบัติ
อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุชื่อนี้
กล่าวถึงท่านว่า ท่านต้องอาบัติปาราชิก ท่านต้องอาบัติสังฆาทิเสส ท่านต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย ท่านต้องอาบัติปาจิตตีย์ ท่านต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ท่านต้องอาบัติ
ทุกกฏ ท่านต้องอาบัติทุพภาสิต” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุชื่อนี้
กล่าวถึงท่านว่า ท่านเป็นโสดาบัน” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด

๑๐. กล่าวส่อเสียดด้วยคำด่าหยาบ
อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุชื่อนี้
กล่าวถึงท่านว่า ท่านเป็นอูฐ ท่านเป็นแพะ ท่านเป็นโค ท่านเป็นลา ท่านเป็น
สัตว์ดิรัจฉาน ท่านเป็นสัตว์นรก ท่านไม่มีสุคติ หวังได้แต่ทุคติเท่านั้น” ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๒๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๓.เปสุญญสิกขาบท บทภาชนีย์
กล่าวส่อเสียดด้วยคำด่าสุภาพ
อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุชื่อนี้
กล่าวถึงท่านว่า ท่านเป็นบัณฑิต ท่านเป็นคนฉลาด ท่านเป็นนักปราชญ์ ท่านเป็น
พหูสูต ท่านเป็นธรรมกถึก ท่านไม่มีทุคติ หวังได้แต่สุคติเท่านั้น” ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ทุก ๆ คำพูด

๑. กล่าวส่อเสียดด้วยชาติกำเนิดชั้นต่ำ
[๔๑] อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุ
ชื่อนี้กล่าวว่า ในพระธรรมวินัย มีภิกษุบางพวกเป็นคนจัณฑาล เป็นคนจักสาน
เป็นนายพราน เป็นช่างรถ เป็นคนเทขยะ ภิกษุนั้นไม่กล่าวถึงคนอื่นแต่กล่าวถึง
ท่าน” ต้องอาบัติทุกกฏทุก ๆ คำพูด

กล่าวส่อเสียดด้วยชาติกำเนิดชั้นสูง
อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุชื่อนี้
กล่าวว่า ในพระธรรมวินัย มีภิกษุบางพวกเป็นกษัตริย์ เป็นพราหมณ์ ภิกษุนั้นไม่
กล่าวถึงคนอื่นแต่กล่าวถึงท่าน” ต้องอาบัติทุกกฏทุก ๆ คำพูด ฯลฯ๑

๑๐. กล่าวส่อเสียดด้วยคำด่าสุภาพ
อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุชื่อนี้
กล่าวว่า ในพระธรรมวินัย มีภิกษุบางพวกเป็นบัณฑิต เป็นคนฉลาด เป็นนักปราชญ์
เป็นพหูสูต เป็นธรรมกถึก ภิกษุเหล่านั้นไม่มีทุคติ หวังสุคติแน่นอน ภิกษุนั้นไม่
กล่าวถึงคนอื่นแต่กล่าวถึงท่าน” ต้องอาบัติทุกกฏทุก ๆ คำพูด

๑. กล่าวส่อเสียดด้วยชาติกำเนิดต่ำ
อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุชื่อ
นี้กล่าวว่า ภิกษุพวกใดกันแน่เป็นคนจัณฑาล เป็นคนจักสาน เป็นนายพราน

เชิงอรรถ :
๑ ดูความพิสดาร ข้อ ๓๙-๔๐ หน้า ๒๒๖-๒๓๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๓๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๓.เปสุญญสิกขาบท บทภาชนีย์
เป็นช่างรถ เป็นคนเทขยะ ภิกษุนั้นไม่กล่าวถึงคนอื่นแต่กล่าวถึงท่าน” ต้องอาบัติ
ทุกกฏทุก ๆ คำพูด ฯลฯ

๑๐. กล่าวส่อเสียดด้วยคำด่าสุภาพ
อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุชื่อนี้
กล่าวว่า ภิกษุพวกใดกันแน่เป็นบัณฑิต เป็นคนฉลาด เป็นนักปราชญ์ เป็นพหูสูต
เป็นธรรมกถึก พวกเธอไม่มีทุคติ หวังสุคติได้แน่นอน ภิกษุนั้นไม่กล่าวถึงคนอื่น
แต่กล่าวถึงท่าน” ต้องอาบัติทุกกฏทุก ๆ คำพูด

๑. กล่าวส่อเสียดด้วยชาติกำเนิดชั้นต่ำ
อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุชื่อนี้
กล่าวว่า พวกเราไม่ใช่คนจัณฑาล คนจักสาน นายพราน ช่างรถ คนเทขยะ ภิกษุ
นั้นไม่กล่าวถึงคนอื่นแต่กล่าวถึงท่าน” ต้องอาบัติทุกกฏทุก ๆ คำพูด ฯลฯ

๑๐. กล่าวส่อเสียดด้วยคำด่าสุภาพ
อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุชื่อนี้
กล่าวว่า พวกเราไม่ใช่บัณฑิต คนฉลาด นักปราชญ์ เป็นพหูสูต เป็นธรรมกถึก
พวกเราไม่มีทุคติ หวังได้แต่สุคติเท่านั้น ภิกษุนั้นไม่กล่าวถึงคนอื่นแต่กล่าวถึงท่าน”
ต้องอาบัติทุกกฏทุก ๆ คำพูด

เป็นอาบัติตามวัตถุ
[๔๒] อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบัน ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ
อุปสัมบันฟังคำของอนุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ
อุปสัมบันฟังคำของอนุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๓๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๓.เปสุญญสิกขาบท อนาปัตติวาร
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๔๓] ๑. ภิกษุไม่ต้องการให้ผู้อื่นชอบตน
๒. ภิกษุไม่ต้องการให้ผู้อื่นแตกกัน
๓. ภิกษุวิกลจริต
๔. ภิกษุต้นบัญญัติ

เปสุญญสิกขาบทที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๓๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๔.ปทโสธัมมสิกขาบท นิทานวัตถุ
๑. มุสาวาทวรรค

๔. ปทโสธัมมสิกขาบท
ว่าด้วยการให้กล่าวธรรมเป็นบท ๆ

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๔๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์สอนอุบาสก
ให้กล่าวธรรมแข่งกันเป็นบท ๆ พวกอุบาสกจึงไม่เคารพ ไม่ยำเกรง ไม่ปฏิบัติให้
เหมาะสมในภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุผู้มักน้อยสันโดษ ฯลฯ จึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์จึงสอนอุบาสกให้กล่าวธรรมแข่งกันเป็นบท ๆ เล่า พวกอุบาสก
จึงไม่เคารพ ไม่ยำเกรง ไม่ปฏิบัติให้เหมาะสมในภิกษุทั้งหลาย” ครั้นภิกษุเหล่านั้น
ตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอสอนอุบาสกให้
กล่าวธรรมแข่งกันเป็นบท ๆ พวกอุบาสกจึงไม่เคารพ ไม่ยำเกรง ไม่ปฏิบัติให้เหมาะ
สมในภิกษุทั้งหลาย จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงสอน
อุบาสกให้กล่าวธรรมแข่งกันเป็นบท ๆ เล่า พวกอุบาสกจึงไม่เคารพ ไม่ยำเกรง
ไม่ปฏิบัติให้เหมาะสมในภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำ
คนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้น
แสดงดังนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๓๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๔.ปทโสธัมมสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
พระบัญญัติ
[๔๕] ก็ ภิกษุใดสอนอนุปสัมบันให้กล่าวธรรมเป็นบท ๆ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๔๖] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า อนุปสัมบัน คือ ยกเว้นภิกษุและภิกษุณี นอกนั้นชื่อว่าอนุปสัมบัน
ที่ชื่อว่า เป็นบท ๆ ได้แก่ กล่าวเป็นบท กล่าวเป็นอนุบท กล่าวเป็นอนุอักขระ
กล่าวเป็นอนุพยัญชนะ
ที่ชื่อว่า กล่าวเป็นบท คือ ภิกษุกับอนุปสัมบันเริ่มสวดพร้อมกัน จบลง
พร้อมกัน
ที่ชื่อว่า กล่าวเป็นอนุบท คือ เริ่มสวดแยกกัน แต่จบลงพร้อมกัน
ที่ชื่อว่า กล่าวเป็นอนุอักขระ คือ เมื่อภิกษุสอนว่า “รูปํ อนิจฺจํ” แต่
อนุปสัมบันสวดพร้อมกันว่า๑ “รู” แล้วหยุด
ที่ชื่อว่า กล่าวเป็นอนุพยัญชนะ คือ ภิกษุสอนให้ว่า “รูปํ อนิจฺจํ” แต่
อนุปสัมบันเปล่งเสียงรับพร้อมกัน๑ว่า “เวทนา อนิจฺจา”
บท อนุบท อนุอักขระ อนุพยัญชนะ ทั้งหมดนี้ชื่อว่าธรรมเป็นบท ๆ
ที่ชื่อว่า ธรรม ได้แก่ พุทธภาษิต สาวกภาษิต ฤๅษีภาษิต เทวดาภาษิต ที่
ประกอบด้วยอรรถ ที่ประกอบด้วยธรรม

เชิงอรรถ :
๑ คือเปล่งเสียงรับพร้อมกันกับภิกษุผู้สอน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๓๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๔.ปทโสธัมมสิกขาบท อนาปัตติวาร
คำว่า สอนให้กล่าว คือ สอนให้กล่าวเป็นบท ๆ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ
บท สอนให้กล่าวเป็นอักษร ๆ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ อักษร

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๔๗] อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน สอนให้กล่าวธรรมเป็น
บท ๆ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
อนุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ สอนให้กล่าวธรรมเป็นบท ๆ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน สอนให้กล่าวธรรมเป็นบท ๆ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์

ทุกทุกกฏ
อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน สอนให้กล่าวธรรมเป็นบท ๆ ต้อง
อาบัติทุกกฏ
อุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ สอนให้กล่าวธรรมเป็นบท ๆ ต้องอาบัติทุกกฏ
อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน สอนให้กล่าวธรรมเป็นบท ๆ ไม่ต้อง
อาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๔๘] ๑. ภิกษุผู้เรียนพระพุทธพจนะที่อาจารย์สอนให้ว่าพระพุทธวจนะพร้อม
กันกับอนุปสัมบัน
๒. ภิกษุผู้สาธยายพร้อมกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๓๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๔.ปทโสธัมมสิกขาบท อนาปัตติวาร
๓. ภิกษุผู้ช่วยอนุปสัมบันผู้สวดคัมภีร์ที่คล่องส่วนมาก๑ สวด(ส่วนที่
ไม่คล่อง)พร้อมกันกับตน
๔. ภิกษุผู้ให้อนุปสัมบันที่สวดคลาดเคลื่อนไปสวดใหม่พร้อมกันกับตน
๕. ภิกษุวิกลจริต
๖. ภิกษุต้นบัญญติ
ปทโสธัมมสิกขาบทที่ ๔ จบ

เชิงอรรถ :
๑ เยภุยฺเยน ปคุณํ คนฺถํ คัมภีร์ที่คล่องส่วนมาก หมายถึงว่า “ถ้าคาถา ๑ คาถา จำไม่ได้เสีย ๑ บาท
ส่วนบาทที่เหลือจำได้” (สเจ เอกคาถาย เอโก ปาโท นาคจฺฉติ, อวเสสา อาคจฺฉนฺติ, อยํ เยภุยฺเยน
ปคุณคนฺโถ นาม - กงฺขา. ฏีกา ๓๗๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๓๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๕.สหเสยยสิกขาบท นิทานวัตถุ
๑.มุสาวาทวรรค

๕. สหเสยยสิกขาบท
ว่าด้วยการนอนร่วมกัน

เรื่องภิกษุบวชใหม่
[๔๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ อัคคาฬวเจดีย์ เขต
เมืองอาฬวี สมัยนั้น พวกอุบาสกมาฟังธรรมที่อาราม เมื่อพระธรรมกถึกแสดง
ธรรมแล้ว พระภิกษุเถระทั้งหลายกลับไปที่อยู่ พวกภิกษุบวชใหม่นอนร่วมกันกับ
อุบาสกในโรงฉัน ขาดสติสัมปชัญญะเปลือยกายละเมอ กรน พวกอุบาสกพากัน
ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระคุณเจ้าทั้งหลายจึงนอนขาดสติสัมปชัญญะ
เปลือยกายละเมอ กรน เล่า”
ภิกษุทั้งหลายได้ยินพวกอุบาสกตำหนิ ประณาม โพนทะนาแล้ว บรรดาภิกษุ
ผู้มักน้อยสันโดษ ฯลฯ จึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุ
จึงนอนขาดสติสัมปชัญญะเปลือยกายละเมอ กรน เล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิ
พวกภิกษุบวชใหม่โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุนอนร่วมกันกับอนุปสัมบัน
จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคทรง
ตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษเหล่านั้นจึงนอนร่วมกับอนุปสัมบันเล่า
ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” แล้ว
จึงรับสั่ง ให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๓๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๕.สหเสยยสิกขาบท พระบัญญัติ
พระบัญญัติ
ก็ ภิกษุใดนอนร่วมกันกับอนุปสัมบัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องภิกษุบวชใหม่ จบ

เรื่องสามเณรราหุล
[๕๐] ครั้นพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ เมืองอาฬวี ตามพระอัธยาศัยแล้ว
ได้เสด็จจาริกไปทางกรุงโกสัมพี เสด็จจาริกไปโดยลำดับจนถึงกรุงโกสัมพี ทราบว่า
พระองค์ประทับอยู่ ณ พทริการาม เขตกรุงโกสัมพีนั้น
ภิกษุทั้งหลายได้กล่าวกับท่านราหุล๑ ดังนี้ว่า “ท่าน พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติ
สิกขาบทไว้ว่า ภิกษุไม่พึงนอนร่วมกันกับอนุปสัมบัน ท่านราหุล ท่านจงหาที่นอน”
คืนนั้น ท่านราหุลหาที่นอนไม่ได้จึงไปนอนในวัจกุฎี๒
ครั้นเวลาใกล้รุ่ง พระผู้มีพระภาคทรงตื่นบรรทมเสด็จไปวัจกุฎี ครั้นถึงแล้วจึง
ทรงพระกาสะ แม้ท่านราหุลก็กระแอมรับ
“ใครอยู่ในที่นี่”
“ข้าพระพุทธเจ้าราหุล พระพุทธเจ้าข้า”
“ราหุล เธอมานอนที่นี่ทำไม”
ทีนั้น ท่านราหุลจึงกราบทูลเรื่องนั้นให้ทรงทราบ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุนอนร่วมกันกับอนุปสัมบัน
ได้ ๒-๓ คืน” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

เชิงอรรถ :
๑ พระราหุลยังบวชเป็นสามเณรอยู่
๒ “วัจกุฎี” คือห้องสุขา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๓๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๕.สหเสยยสิกขาบท บทภาชนีย์
พระอนุบัญญัติ
[๕๑] อนึ่ง ภิกษุใดนอนร่วมกันกับอนุปสัมบันเกิน ๒-๓ คืน ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
เรื่องสามเณรราหุล จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๕๒] คำว่า อนึ่ง...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
อนึ่ง...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า อนุปสัมบัน คือ ยกเว้นภิกษุ นอกนั้นชื่อว่าอนุปสัมบัน
คำว่า เกิน ๒-๓ คืน คือ มากกว่า ๒-๓ คืน
คำว่า ร่วมกัน คือ ด้วยกัน
ที่ชื่อว่า ที่นอน ได้แก่ ที่นอนมีเครื่องมุงทั้งหมด มีเครื่องบังทั้งหมด หรือ
มีเครื่องมุงส่วนมาก มีเครื่องบังส่วนมาก
คำว่า นอน ความว่า เมื่อดวงอาทิตย์อัสดงในวันที่ ๔ เมื่ออนุปสัมบันนอน
ภิกษุก็นอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เมื่อภิกษุนอนอนุปสัมบันก็นอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
หรือทั้งภิกษุและอนุปสัมบันนอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ภิกษุลุกขึ้นแล้วกลับไปนอน
อีก ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๕๓] อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน นอนร่วมกันเกิน ๒-๓
คืน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
อนุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ นอนร่วมกันเกิน ๒-๓ คืน ต้องอาบัติปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๓๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๕.สหเสยยสิกขาบท อนาปัตติวาร
อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน นอนร่วมกันเกิน ๒-๓ คืน ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์
ติกทุกกฏ
ที่นอนมีเครื่องมุงครึ่งเดียว มีเครื่องบังครึ่งเดียว ต้องอาบัติทุกกฏ
อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ
อุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ นอนร่วมกันเกิน ๒-๓ คืน ต้องอาบัติทุกกฏ
อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน นอนร่วมกันเกิน ๒-๓ คืน ไม่ต้อง
อาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๕๔] ๑. ภิกษุนอนพัก ๒-๓ คืน
๒. ภิกษุพักต่ำกว่า ๒-๓ คืน
๓. ภิกษุพัก ๒ คืน พอคืนที่ ๓ ออกไปก่อนอรุณขึ้นแล้วกลับเข้ามา
๔. ภิกษุนอนร่วมกันในที่นอนมีเครื่องมุงทั้งหมด แต่ไม่มีเครื่องบัง
ทั้งหมด
๕. ภิกษุนอนร่วมกันในที่นอนมีเครื่องบังทั้งหมด แต่ไม่มีเครื่องมุง
ทั้งหมด
๖. ภิกษุนอนร่วมกันในที่นอนไม่มีเครื่องมุงส่วนมาก ไม่มีเครื่องบัง
ส่วนมาก
๗. ภิกษุนั่งในเมื่ออนุปสัมบันนอน
๘. ภิกษุนอน อนุปสัมบันนั่ง
๙. ภิกษุนั่งและอนุปสัมบันก็นั่ง
๑๐. ภิกษุวิกลจริต
๑๑. ภิกษุต้นบัญญัติ
สหเสยยสิกขาบทที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๔๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๖.ทุติยสหเสยยสิกขาบท นิทานวัตถุ
๑. มุสาวาทวรรค

๖. ทุติยสหเสยยสิกขาบท
ว่าด้วยการนอนร่วมกันข้อที่ ๒

เรื่องพระอนุรุทธะ
[๕๕] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ท่านพระอนุรุทธะเดินทางไปกรุงสาวัตถี
แคว้นโกศล ถึงหมู่บ้านตำบลหนึ่งในเวลาเย็น สมัยนั้น มีหญิงคนหนึ่งจัดสร้างเรือน
พักแรมไว้ในหมู่บ้านนั้น ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทธะเข้าไปหาหญิงนั้นถึงที่อยู่ ครั้นถึง
แล้วได้กล่าวกับหญิงนั้นดังนี้ว่า “น้องหญิง ถ้าเธอไม่ลำบากใจ อาตมาขอพักใน
เรือนพักแรมสัก ๑ คืน”
นางกล่าวว่า “นิมนต์ท่านพักเถิด เจ้าข้า”
ฝ่ายพวกคนเดินทางเหล่าอื่นก็ได้เข้าไปหาหญิงนั้นถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้วได้กล่าว
กับหญิงนั้นดังนี้ว่า “คุณนายขอรับ หากคุณนายไม่ลำบากใจ พวกเราขอพักในเรือน
พักแรมสัก ๑ คืน”
นางกล่าวว่า “หากพระคุณเจ้าผู้เข้ามาก่อนอนุญาต ก็เชิญพวกท่านพักแรมได้”
พวกคนเดินทางจึงเข้าไปหาท่านพระอนุรุทธะถึงที่พัก ครั้นถึงแล้วจึงกล่าวกับ
ท่านพระอนุรุทธะดังนี้ว่า “ท่านขอรับ ถ้าท่านไม่ลำบากใจ พวกกระผมขอพักใน
เรือนพักแรมสัก ๑ คืน”
ท่านพระอนุรุทธะกล่าวว่า “เชิญท่านทั้งหลายพักเถิด”
ครั้งนั้นแล หญิงนั้นมีจิตรักใคร่ในท่านพระอนุรุทธะตั้งแต่แรกเห็น ดังนั้น นาง
จึงเข้าไปหาพระเถระถึงที่พัก ครั้นถึงแล้วจึงกล่าวกับท่านว่า “พระคุณเจ้าอยู่ปะปน
กับคนพวกนี้ไม่สะดวก ทางที่ดี ดิฉันควรจัดเตียงข้างในห้องถวายพระคุณเจ้า”
ท่านพระอนุรุทธะรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๔๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๖.ทุติยสหเสยยสิกขาบท นิทานวัตถุ
ครั้นแล้ว นางจึงจัดเตียงข้างในห้องถวายด้วยตนเอง แล้วแต่งตัว ประพรม
เครื่องหอม เข้าไปหาพระเถระถึงที่พัก ครั้นถึงแล้วจึงกล่าวกับท่านพระอนุรุทธะนั้น
ดังนี้ว่า “พระคุณเจ้า พระคุณเจ้ารูปงาม น่าดู น่าชม ส่วนดิฉันก็รูปงาม น่าดู
น่าชม ทางที่ดี ดิฉันควรเป็นภรรยาของพระคุณเจ้า” เมื่อนางกล่าวอย่างนี้ ท่าน
พระอนุรุทธะได้นิ่งเสีย แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓ หญิงนั้นก็กล่าวกับท่าน
พระอนุรุทธะนั้นดังนี้ว่า “พระคุณเจ้า พระคุณเจ้ารูปงาม น่าดู น่าชม ส่วนดิฉัน
ก็รูปงาม น่าดู น่าชม ทางที่ดี ขอให้พระคุณเจ้ารับตัวดิฉันและสมบัติทั้งปวงเถิด”
แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระอนุรุทธะก็ได้นิ่งเสีย
ลำดับนั้น นางจึงเปลื้องผ้าออก เดินบ้าง ยืนบ้าง นั่งบ้าง นอนบ้างต่อหน้า
พระเถระ
ทีนั้น พระเถระสำรวมอินทรีย์ ไม่แลดู ไม่พูดกับนาง
หญิงนั้นคิดว่า น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมี คนส่วนมากส่งทรัพย์มาให้เรา ๑๐๐
กหาปณะบ้าง ๑,๐๐๐ กหาปณะบ้าง แต่พระสมณะรูปนี้เราอ้อนวอน ก็ยังไม่
ปรารถนาที่จะรับตัวเราและสมบัติทั้งปวง จึงนุ่งผ้าแล้วน้อมศีรษะลงแทบเท้าท่าน
พระอนุรุทธะขอขมาว่า “พระคุณเจ้า ดิฉันได้กระทำความผิดเพราะความโง่เขลาเบา
ปัญญา ที่ได้กระทำอย่างนี้ ขอพระคุณเจ้าจงให้อภัยโทษแก่ดิฉันเพื่อสำรวมต่อไป”
พระเถระกล่าวว่า “น้องหญิง เอาเถิด การที่เธอได้ทำความผิดไปเพราะความโง่
เขลาเบาปัญญา ที่ได้กระทำอย่างนี้เพราะเหตุที่เห็นความผิดเป็นความผิด แล้วแก้ไข
ให้ถูกต้อง ข้อนั้นอาตมายอมรับ เพราะการที่บุคคลเห็นความผิดเป็นความผิดแล้ว
แก้ไขให้ถูกต้องและสำรวมต่อไป นี้เป็นความเจริญในวินัยของพระอริยะ”
ครั้นราตรีนั้นผ่านพ้นไป หญิงนั้นได้เอาของเคี้ยวของฉันอย่างดีประเคนท่าน
พระอนุรุทธะด้วยตนเอง กระทั่งท่านพระอนุรุทธะฉันเสร็จ ละมือจากบาตร จึง
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ท่านพระอนุรุทธะได้ชี้แจงให้หญิงนั้นผู้นั่งอยู่ ณ ที่สมควร
เห็นชัด ชวนให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๔๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๖.ทุติยสหเสยยสิกขาบท พระบัญญัติ
ให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา ลำดับนั้น หญิงนั้นซึ่งท่านพระอนุรุทธะได้ชี้แจงให้เห็น
ชัด ชวนให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้
สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว ได้กล่าวกับท่านพระอนุรุทธะว่า “พระคุณเจ้า ภาษิต
ของท่านชัดเจนไพเราะยิ่งนัก พระคุณเจ้า ภาษิตของท่านชัดเจนไพเราะยิ่งนัก พระ
คุณเจ้าประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ
เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า คนมีตาดี
จักเห็นรูป พระคุณเจ้า ดิฉันนี้ขอถึงพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นพร้อมทั้งพระธรรม
และพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอพระคุณเจ้าจงทรงจำดิฉันว่าเป็นอุบาสิกาผู้ถึงสรณะ ตั้ง
แต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
จากนั้นพระเถระเดินทางไปกรุงสาวัตถีแล้วแจ้งเรื่องนั้นให้ภิกษุทั้งหลายทราบ
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนท่าน
พระอนุรุทธะจึงนอนร่วมกับมาตุคามเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิท่านพระอนุรุทธะ
โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามท่านพระอนุรุทธะว่า “อนุรุทธะ ทราบว่า เธอนอนร่วมกับมาตุคาม จริง
หรือ” ท่านพระอนุรุทธะทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า
ทรงตำหนิว่า “ฯลฯ อนุรุทธะ ไฉนเธอจึงนอนร่วมกับมาตุคามเล่า อนุรุทธะ การ
กระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุ
ทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๕๖] ก็ ภิกษุใดนอนร่วมกันกับมาตุคาม ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องพระอนุรุทธะ จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๔๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๖.ทุติยสหเสยยสิกขาบท บทภาชนีย์
สิกขาบทวิภังค์
[๕๗] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า มาตุคาม ได้แก่ หญิงมนุษย์ ไม่ใช่นางยักษ์ ไม่ใช่นางเปรต ไม่ใช่
สัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย หญิงมนุษน์นั้นโดยที่สุดกระทั่งเด็กหญิงซึ่งเกิดในวันนั้น หญิง
โตกว่านี้ไม่ต้องกล่าวถึง
คำว่า ร่วมกัน คือ ด้วยกัน
ที่ชื่อว่า ที่นอน ได้แก่ ที่นอนมีเครื่องมุงทั้งหมด มีเครื่องบังทั้งหมด หรือมี
เครื่องมุงส่วนมาก มีเครื่องบังส่วนมาก
คำว่า นอน ความว่า เมื่อดวงอาทิตย์อัสดง เมื่อมาตุคามนอน ภิกษุก็นอน
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เมื่อภิกษุนอน มาตุคามก็นอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ หรือทั้ง
ภิกษุและมาตุคามนอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ภิกษุลุกขึ้นแล้วกลับไปนอนอีก ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๕๘] มาตุคาม ภิกษุสำคัญว่าเป็นมาตุคาม นอนร่วมกัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
มาตุคาม ภิกษุไม่แน่ใจ นอนร่วมกัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
มาตุคาม ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่มาตุคาม นอนร่วมกัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ทุกกฏ
ที่นอนมีเครื่องมุงครึ่งเดียว มีเครื่องบังครึ่งเดียว ภิกษุนอนร่วมกัน ต้องอาบัติ
ทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๔๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๖.ทุติยสหเสยยสิกขาบท อนาปัตติวาร
ภิกษุนอนร่วมกันกับนางยักษ์ นางเปรต บัณเฑาะก์ หรือสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย
ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ใช่มาตุคาม ภิกษุสำคัญว่าเป็นมาตุคาม ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ใช่มาตุคาม ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ใช่มาตุคาม ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่มาตุคาม ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๕๙] ๑. ภิกษุนอนร่วมกันในที่นอนมีเครื่องมุงทั้งหมด แต่ไม่มีเครื่องบัง
ทั้งหมด
๒. ภิกษุนอนร่วมกันในที่นอนมีเครื่องบังทั้งหมด แต่ไม่มีเครื่องมุง
ทั้งหมด
๓. ภิกษุนอนร่วมกันในที่นอนไม่มีเครื่องมุงส่วนมาก ไม่มีเครื่องบัง
ส่วนมาก
๔. ภิกษุนั่ง ในเมื่อมาตุคามนอน
๕. ภิกษุนอน มาตุคามนั่ง
๖. ภิกษุนั่งและมาตุคามก็นั่ง
๗. ภิกษุวิกลจริต
๘. ภิกษุต้นบัญญัติ

ทุติยสหเสยยสิกขาบทที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๔๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๗.ธัมมเทสนาสิกขาบท นิทานวัตถุ
๑. มุสาวาทวรรค

๗. ธัมมเทสนาสิกขาบท
ว่าด้วยการแสดงธรรม

เรื่องพระอุทายี
[๖๐] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ท่านพระอุทายีเป็นพระประจำ
ตระกูลในกรุงสาวัตถีเข้าไปหาตระกูลหลายตระกูล เช้าวันหนึ่ง ท่านครองอันตรวาสก
ถือบาตรจีวรเข้าไปยังตระกูลหนึ่ง
สมัยนั้น หญิงแม่เรือนนั่งอยู่ที่ประตูเรือน ลูกสะใภ้นั่งอยู่ที่ประตูห้องนอน
ท่านพระอุทายีเข้าไปหาหญิงแม่เรือนนั้นถึงตัว ครั้นถึงแล้วได้แสดงธรรมใกล้
หูนาง
ขณะนั้นลูกสะใภ้เกิดความคิดขึ้นมาว่า สมณะรูปนี้เป็นชายชู้ของแม่ผัว หรือ
พูดเกี้ยวแม่ผัว
ครั้นท่านพระอุทายีแสดงธรรมใกล้หูหญิงแม่เรือนแล้ว จึงเข้าไปหาหญิงสะใภ้
ถึงตัว ครั้นถึงแล้วจึงแสดงธรรมใกล้หูนาง
ขณะนั้น หญิงแม่เรือนเกิดความคิดขึ้นมาว่า สมณะรูปนี้เป็นชายชู้ของลูกสะใภ้
หรือพูดเกี้ยวลูกสะใภ้
ครั้นท่านพระอุทายีแสดงธรรมใกล้หูลูกสะใภ้แล้วก็จากไป
ทีนั้น หญิงแม่เรือนได้กล่าวกับลูกสะใภ้ว่า “นี่แน่นางตัวดี สมณะรูปนั้นกล่าว
อะไรกับแก”
หญิงสะใภ้ตอบว่า “ท่านแสดงธรรม เจ้าค่ะ แล้วคุณแม่ล่ะ พระคุณเจ้าพูดอะไร”
หญิงแม่เรือนตอบว่า “ท่านก็แสดงธรรมแก่แม่เหมือนกัน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๔๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๗.ธัมมเทสนาสิกขาบท พระบัญญัติ
หญิงแม่เรือนกับลูกสะใภ้นั้นจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระ
คุณเจ้าอุทายีจึงแสดงธรรมใกล้หูมาตุคามเล่า พระธรรมกถึกควรแสดงธรรมเสียง
ชัดเจนเปิดเผย มิใช่หรือ”
พวกภิกษุได้ยินหญิงทั้งสองตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มักน้อย
ฯลฯ จึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนท่านพระอุทายีจึงแสดงธรรมแก่
มาตุคามเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิท่านพระอุทายีโดยประการต่าง ๆ แล้วจึง
นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามท่านพระอุทายีว่า “อุทายี ทราบว่า เธอแสดงธรรมแก่มาตุคาม จริงหรือ”
ท่านพระอุทายีทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิ
ว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษ ไฉนเธอจึงแสดงธรรมแก่มาตุคามเล่า การกระทำอย่างนี้ มิได้
ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้
ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
ก็ ภิกษุใดแสดงธรรมแก่มาตุคาม ต้องอาบัติปาจิตตีย์
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องพระอุทายี จบ

เรื่องอุบาสิกา
[๖๑] สมัยนั้น พวกอุบาสิกาพบภิกษุแล้วนิมนต์ว่า “พระคุณเจ้า ขอนิมนต์
พระคุณเจ้าแสดงธรรมเถิด”
ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า “น้องหญิง การแสดงธรรมแก่มาตุคามไม่เหมาะ”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๔๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๗.ธัมมเทสนาสิกขาบท พระอนุบัญญัติ
พวกอุบาสิกากล่าวว่า “ขอนิมนต์พระคุณเจ้าทั้งหลายโปรดแสดงธรรมสัก
๕-๖ คำก็ได้ แม้เพียงเท่านี้พวกดิฉันอาจเข้าใจธรรมได้”
พวกภิกษุก็ยังปฏิเสธว่า “น้องหญิง การแสดงธรรมแก่มาตุคามไม่เหมาะ”
พากันยำเกรงอยู่จึงไม่ยอมแสดงธรรม
พวกอุบาสิกาจึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระคุณเจ้า
ทั้งหลายพวกเราอาราธนาอยู่ยังไม่ยอมแสดงธรรม”
พวกภิกษุได้ยินอุบาสิกาตำหนิ ประณาม โพนทะนา จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ แล้ว
รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แสดงธรรมแก่มาตุคามได้
๕-๖ คำ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระอนุบัญญัติ
อนึ่ง ภิกษุใดแสดงธรรมแก่มาตุคามเกิน ๕-๖ คำ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องอุบาสิกา จบ

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๒] สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ ทราบว่า พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้
แสดงธรรมแก่มาตุคามได้ ๕-๖ คำ จึงให้บุรุษไม่รู้เดียงสานั่งใกล้ ๆ แล้วแสดงธรรม
แก่มาตุคามเกิน ๕-๖ คำ
พวกภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์จึงให้บุรุษไม่รู้เดียงสานั่งใกล้ ๆ แล้วแสดงธรรมแก่มาตุคามเกิน ๕-๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๔๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๗.ธัมมเทสนาสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
คำเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุพระฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอให้บุรุษไม่
รู้เดียงสานั่งใกล้ ๆ แล้วแสดงธรรมแก่มาตุคามเกิน ๕-๖ คำ จริงหรือ” พวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิ
ว่า “โมฆบุรษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงให้บุรุษไม่รู้เดียงสานั่งใกล้ ๆ แล้วแสดงธรรม
แก่มาตุคามเกิน ๕-๖ คำเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยัง
ไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
ดังนี้

พระอนุบัญญัติ
[๖๓] อนึ่ง ภิกษุใดแสดงธรรมแก่มาตุคามเกิน ๕-๖ คำ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่มีบุรุษรู้เดียงสาอยู่
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๖๔] คำว่า อนึ่ง...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
อนึ่ง...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า มาตุคาม ได้แก่ หญิงมนุษย์ ไม่ใช่นางยักษ์ ไม่ใช่นางเปรต ไม่ใช่
สัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย แต่เป็นหญิงที่รู้เดียงสา สามารถรับรู้ถ้อยคำสุภาษิตและคำ
ทุพภาษิต คำหยาบและคำสุภาพ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๔๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๗.ธัมมเทสนาสิกขาบท บทภาชนีย์
ที่ชื่อว่า เกิน ๕-๖ คำ ได้แก่ เกินกว่า ๕-๖ คำ
ที่ชื่อว่า ธรรม ได้แก่ พุทธภาษิต สาวกภาษิต ฤๅษีภาษิต เทวดาภาษิต
ที่ประกอบด้วยอรรถ ที่ประกอบด้วยธรรม
คำว่า แสดง คือ แสดงเป็นบท ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ บท แสดงเป็น
อักษร ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ อักษร
คำว่า เว้นไว้แต่มีบุรุษรู้เดียงสาอยู่ คือ ยกเว้นไว้แต่มีบุรุษผู้รู้ความอยู่ด้วย
บุรุษที่ชื่อว่า เป็นผู้รู้เดียงสา คือ สามารถรับรู้ถ้อยคำสุภาษิต ทุพภาษิต
คำหยาบและคำสุภาพ

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๖๕] มาตุคาม ภิกษุสำคัญว่าเป็นมาตุคาม แสดงธรรมเกิน ๕-๖ คำ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่มีบุรุษรู้เดียงสาอยู่
มาตุคาม ภิกษุไม่แน่ใจ แสดงธรรมเกิน ๕-๖ คำ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เว้นไว้แต่มีบุรุษรู้เดียงสาอยู่
มาตุคาม ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่มาตุคาม แสดงธรรมเกิน ๕-๖ คำ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่มีบุรุษรู้เดียงสาอยู่

ติกทุกกฏ
ภิกษุแสดงธรรมแก่นางยักษ์ นางเปรต บัณเฑาะก์ หรือสัตว์ดิรัจฉานตัวเมียซึ่ง
แปลงร่างเป็นหญิงมากกว่า ๕-๖ คำ ต้องอาบัติทุกกฏ เว้นไว้แต่มีบุรุษรู้เดียงสาอยู่
ไม่ใช่มาตุคาม ภิกษุสำคัญว่ามาตุคาม ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ใช่มาตุคาม ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ใช่มาตุคาม ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่มาตุคาม ไม่ต้องอาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๕๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๗.ธัมมเทสนาสิกขาบท อนาปัตติวาร
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๖๖] ๑. ภิกษุที่แสดงธรรมโดยมีบุรุษรู้เดียงสาอยู่ด้วย
๒. ภิกษุแสดงธรรมเพียง ๕-๖ คำ
๓. ภิกษุแสดงธรรมต่ำกว่า ๕-๖ คำ
๔. ภิกษุลุกขึ้นแล้วมานั่งแสดงธรรมต่อไปอีก
๕. ภิกษุแสดงธรรมในที่ที่มาตุคามลุกขึ้นแล้วนั่งลงอีก
๖. ภิกษุแสดงธรรมแก่มาตุคามอื่นต่อ
๗. ภิกษุถูกถามปัญหาแล้วแสดงธรรมแก่มาตุคามผู้ถาม
๘. ภิกษุแสดงธรรมเพื่อคนอื่นแต่มีมาตุคามฟังอยู่ด้วย
๙. ภิกษุวิกลจริต
๑๐. ภิกษุต้นบัญญัติ

ธัมมเทสนาสิกขาบทที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๕๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๘.ภูตาโรจนสิกขาบท นิทานวัตถุ
๑. มุสาวาทวรรค

๘. ภูตาโรจนสิกขาบท
ว่าด้วยการบอกอุตตริมนุสสธรรมที่มีจริง

เรื่องภิกษุชาวฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา๑
[๖๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา
ป่ามหาวัน เขตเมืองเวสาลี ครั้งนั้น ภิกษุจำนวนมากเป็นเพื่อนเคยเห็นเคยคบกันมา
จำพรรษาอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา คราวนั้น แคว้นวัชชีเกิดข้าวยากหมากแพง
ประชาชนมีความเป็นอยู่แร้นแค้น ใช้สลากปันส่วนซื้ออาหาร ล้มตายกันกระดูกขาว
เกลื่อน ยากที่พระอริยะจะบิณฑบาตยังชีพได้ ภิกษุเหล่านั้นได้มีความคิดว่า “บัดนี้
แคว้นวัชชีเกิดข้าวยากหมากแพง ประชาชนมีความเป็นอยู่แร้นแค้น ใช้สลากปันส่วน
ซื้ออาหาร ล้มตายกันกระดูกขาวเกลื่อน ยากที่พระอริยะจะบิณฑบาตยังชีพได้ ทำ
อย่างไรหนอ พวกเราจึงจะพร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่ทะเลาะกัน อยู่จำพรรษา
อย่างผาสุก และบิณฑบาตไม่ลำบาก”
ภิกษุบางพวกเสนอว่า “ท่านทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น พวกเรามาช่วยกันทำงาน
ของพวกคฤหัสถ์ เมื่อช่วยทำงาน พวกเขาก็คงจะพอใจถวายบิณฑบาตแก่พวกเรา
โดยวิธีนี้แหละ พวกเราก็จะพร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่ทะเลาะกัน อยู่จำพรรษา
อย่างผาสุก และบิณฑบาตไม่ลำบาก”
ภิกษุอีกพวกเสนอว่า “อย่าเลย ท่านทั้งหลาย ทำไมพวกเราจะต้องไปช่วยกัน
ทำงานของพวกคฤหัสถ์ ขอให้พวกเรามาช่วยกันทำหน้าที่ทูตนำข่าวสารให้พวก
คฤหัสถ์จะดีกว่า เมื่อทำอย่างนี้ พวกคฤหัสถ์ก็คงจะพอใจถวายบิณฑบาตแก่พวก
เรา โดยวิธีนี้แหละพวกเราก็จะพร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่ทะเลาะกัน อยู่จำ
พรรษาอย่างผาสุก และบิณฑบาตไม่ลำบาก”

เชิงอรรถ :
๑ พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์แปล เล่ม ๑ ข้อ ๑๙๓ หน้า ๑๗๗ ว่าด้วยการอวดอุตตริมนุสสธรรมที่ไม่มีในตน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๕๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๘.ภูตาโรจนสิกขาบท นิทานวัตถุ
ภิกษุอีกพวกเสนอว่า “อย่าเลย ท่านทั้งหลาย ทำไมพวกเราจะต้องไปช่วยกัน
ทำงานหรือทำหน้าที่ทูตนำข่าวสารให้พวกคฤหัสถ์ ทางที่ดี พวกเรามากล่าวอวด
อุตตริมนุสสธรรมของกันและกันให้พวกคฤหัสถ์ฟังว่า ‘ภิกษุรูปโน้นได้ปฐมฌาน รูป
โน้นได้ทุติยฌาน รูปโน้นได้ตติยฌาน รูปโน้นได้จตุตถฌาน รูปโน้นเป็นพระโสดาบัน
รูปโน้นเป็นพระสกทาคามี รูปโน้นเป็นพระอนาคามี รูปโน้นเป็นพระอรหันต์ รูปโน้น
ได้วิชชา ๓ รูปโน้นได้อภิญญา ๖’ เมื่อพูดอย่างนี้ พวกคฤหัสถ์ก็คงจะพอใจถวาย
บิณฑบาตแก่พวกเรา โดยวิธีนี้พวกเราจะพร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่ทะเลาะกัน
อยู่จำพรรษาอย่างผาสุก และบิณฑบาตไม่ลำบาก”
ในที่สุด ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมดตกลงกันว่า “ท่านทั้งหลาย วิธีที่พวกเราพากัน
กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรมของกันและกันให้พวกคฤหัสถ์ฟังเป็นวิธีที่ดีกว่าวิธีอื่น”
ต่อมา ภิกษุเหล่านั้นได้พากันกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรมของกันและกันให้
พวกคฤหัสถ์ฟังว่า “ภิกษุรูปโน้นได้ปฐมฌาน ฯลฯ รูปโน้นได้จตุตถฌาน รูปโน้นเป็น
พระโสดาบัน ฯลฯ รูปโน้นได้อภิญญา ๖”
ครั้งนั้นแล ประชาชนก็พากันยินดีว่า “เป็นลาภของพวกเราหนอ พวกเราได้ดี
แล้วหนอที่มีภิกษุทั้งหลายเช่นนี้มาอยู่จำพรรษา เพราะแต่ก่อนนี้พวกเราไม่มีภิกษุ
ทั้งหลายที่มีคุณสมบัติเหมือนอย่างภิกษุผู้มีศีลมีกัลยาณธรรมเหล่านี้มาอยู่จำพรรษา
เลย” โภชนะ (อาหาร) ... ขาทนียะ (ของเคี้ยว) ... สายนียะ (ของลิ้ม) ... ปานะ
(เครื่องดื่ม) ชนิดที่พวกเขาจะถวายแก่ภิกษุเหล่านั้น พวกเขาไม่รับประทาน ไม่ขบ
เคี้ยว ไม่ลิ้ม ไม่ดื่มด้วยตนเอง ทั้งไม่ให้แก่มารดาบิดา บุตร ภรรยา คนรับใช้ กรรมกร
มิตร อมาตย์ ญาติสาโลหิต ภิกษุเหล่านั้นจึงเป็นผู้มีน้ำมีนวล มีอินทรีย์ผ่องใส มีใบ
หน้าเอิบอิ่ม มีผิวพรรณผุดผ่อง
[๖๘] มีประเพณีอยู่ว่า เมื่อภิกษุทั้งหลายออกพรรษาแล้วจะไปเข้าเฝ้าพระผู้
มีพระภาค ครั้นภิกษุเหล่านั้นจำพรรษาครบ ๓ เดือนแล้วจึงเก็บเสนาสนะ ถือบาตร
และจีวรออกเดินทางมุ่งไปสู่กรุงเวสาลี จาริกไปโดยลำดับ ถึงกรุงเวสาลี ผ่านป่า


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๕๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๘.ภูตาโรจนสิกขาบท นิทานวัตถุ
มหาวัน ไปถึงกูฏาคารศาลา แล้วเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วจึง
ถวายอภิวาท แล้วนั่งลงอยู่ ณ ที่สมควร

ภิกษุต่างทิศมาเข้าเฝ้า
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายที่จำพรรษาอยู่ในทิศต่าง ๆ ดูซูบผอม ซอมซ่อ มี
ผิวพรรณหมองคล้ำ ซีด เหลือง เส้นเอ็นขึ้นสะพรั่ง ส่วนภิกษุชาวฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา
กลับมีน้ำมีนวล มีอินทรีย์ผ่องใส มีใบหน้าเอิบอิ่ม มีผิวพรรณผุดผ่อง อนึ่ง การที่
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลายทรงปราศรัยกับพระอาคันตุกะทั้งหลาย นั่นก็เป็น
พุทธประเพณี
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสถามพวกภิกษุชาวฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทาว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายยังสบายดีหรือ ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ พวกเธอเป็นผู้พร้อม
เพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่ทะเลาะกัน อยู่จำพรรษาเป็นผาสุกหรือ และบิณฑบาตไม่
ลำบากหรือ”
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า “ยังสบายดี พระพุทธเจ้าข้า ยังพอเป็นอยู่ได้
พระพุทธเจ้าข้า อนึ่ง พวกข้าพระพุทธเจ้าเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่ทะเลาะ
กัน อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก และบิณฑบาตไม่ลำบาก พระพุทธเจ้าข้า”

พุทธประเพณี
พระตถาคตเจ้าทั้งหลายทรงทราบเรื่อง ตรัสถามก็มี ไม่ตรัสถามก็มี ทรงทราบ
กาลอันควร ตรัสถามก็มี ไม่ตรัสถามก็มี ตรัสถามเรื่องที่เป็นประโยชน์ ไม่ตรัสถาม
เรื่องที่ไม่เป็นประโยชน์ เพราะพระตถาคตเจ้าทั้งหลายทรงขจัดเรื่องที่ไม่เป็น
ประโยชน์เสียด้วยอริยมรรคแล้ว
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลายสอบถามภิกษุทั้งหลายด้วยเหตุ ๒ ประการ
คือ จะทรงแสดงธรรมอย่างหนึ่ง จะทรงบัญญัติสิกขาบทแก่พระสาวกอย่างหนึ่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๕๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๘.ภูตาโรจนสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสถามภิกษุชาวฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทาว่า “ทำ
อย่างไร เธอทั้งหลายจึงพร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่ทะเลาะกัน อยู่จำพรรษาผาสุก
และบิณฑบาตไม่ลำบาก”
ลำดับนั้น ภิกษุเหล่านั้นจึงได้กราบทูลเรื่องนั้นให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอมีคุณวิเศษนั่น จริงหรือ” ภิกษุ
เหล่านั้นกราบทูลว่า “มีจริง พระพุทธเจ้าข้า”

ทรงบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึง
พากันกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรมของกันและกันให้พวกคฤหัสถ์ฟังเพราะเห็นแก่ปาก
แก่ท้องเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส
ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๖๙] ก็ ภิกษุใดบอกอุตตริมนุสสธรรมที่มีจริงแก่อนุปสัมบัน ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุชาวฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๗๐] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า อนุปสัมบัน ได้แก่ ยกเว้นภิกษุ ภิกษุณี นอกนั้นชื่อว่าอนุปสัมบัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๕๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๘.ภูตาโรจนสิกขาบท บทภาชนีย์
บทภาชนีย์
ที่ชื่อว่า อุตตริมนุสสธรรม ได้แก่ ฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ ญาณทัสสนะ
มรรคภาวนา การทำผลให้แจ้ง การละกิเลส ภาวะที่จิตปลอดจากกิเลส ความยินดี
ในเรือนว่าง
คำว่า ฌาน ได้แก่ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน
คำว่า วิโมกข์ ได้แก่ สุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์
คำว่า สมาธิ ได้แก่ สุญญตสมาธิ อนิมิตตสมาธิ อัปปณิหิตสมาธิ
คำว่า สมาบัติ ได้แก่ สุญญตสมาบัติ อนิมิตตสมาบัติ อัปปณิหิตสมาบัติ
คำว่า ญาณทัสสนะ ได้แก่ วิชชา ๓
คำว่า มรรคภาวนา ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔
อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘
คำว่า การทำผลให้แจ้ง ได้แก่ การทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง การทำ
สกทาคามิผลให้แจ้ง การทำอนาคามิผลให้แจ้ง การทำอรหัตตผลให้แจ้ง
คำว่า การละกิเลส ได้แก่ การละราคะ การละโทสะ การละโมหะ
คำว่า ภาวะที่จิตปลอดจากกิเลส ได้แก่ ภาวะที่จิตปลอดจากราคะ ภาวะ
ที่จิตปลอดจากโทสะ ภาวะที่จิตปลอดจากโมหะ
คำว่า ความยินดีในเรือนว่าง ได้แก่ ความยินดีในเรือนว่างด้วยปฐมฌาน
ความยินดีในเรือนว่างด้วยทุติยฌาน ความยินดีในเรือนว่างด้วยตติยฌาน ความ
ยินดีในเรือนว่างด้วยจตุตถฌาน

กล่าวอวดปฐมฌาน
[๗๑] คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌาน
แล้ว” ต้องอาบัติปาจิตตีย์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๕๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๘.ภูตาโรจนสิกขาบท บทภาชนีย์
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานอยู่”
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าปฐมฌาน
แล้ว” ต้องอาบัติปาจิตตีย์
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ปฐมฌาน”
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญใน
ปฐมฌาน” ต้องอาบัติปาจิตตีย์
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าทำปฐมฌานให้แจ้ง
แล้ว” ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บอกทุติยฌาน - จตุตถฌาน
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าทุติยฌานแล้ว
ฯลฯ ข้าพเจ้าเข้าตติยฌาน...จตุตถฌานแล้ว... ข้าพเจ้าเข้าอยู่... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้า
แล้ว... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้จตุตถฌาน ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ... ข้าพเจ้าทำจตุตถฌานให้
แจ้งแล้ว” ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บอกสุญญตวิโมกข์ - อัปปณิหิตสมาธิ
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าสุญญตวิโมกข์แล้ว
ฯลฯ ข้าพเจ้าเข้าอนิมิตตวิโมกข์ ...อัปปณิหิตวิโมกข์ ...สุญญตสมาธิ ...อนิมิตตสมาธิ
...อัปปณิหิตสมาธิแล้ว... ข้าพเจ้าเข้าอยู่... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้
อัปปณิหิตสมาธิ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ... ข้าพเจ้าทำอัปปณิหิตสมาธิให้แจ้งแล้ว”
ต้องอาบัติปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๕๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๘.ภูตาโรจนสิกขาบท บทภาชนีย์
บอกสุญญตสมาบัติ - อัปปณิหิตสมาบัติ
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าสุญญตสมาบัติ
...อนิมิตตสมาบัติ ...อัปปณิหิตสมาบัติแล้ว... ข้าพเจ้าเข้าอยู่... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว...
ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้อัปปณิหิตสมาบัติ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ... ข้าพเจ้าทำอัปปณิหิต
สมาบัติให้แจ้งแล้ว” ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บอกวิชชา ๓
คำว่า บอก คือภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าวิชชา ๓ แล้ว...
ข้าพเจ้าเข้าอยู่... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้วิชชา ๓ ... ข้าพเจ้าเป็น
ผู้ชำนาญ... ข้าพเจ้าทำวิชชา ๓ ให้แจ้งแล้ว” ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บอกสติปัฏฐาน ๔ - อิทธิบาท ๔
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าสติปัฏฐาน ๔ ฯลฯ
...สัมมัปปธาน ๔ ...อิทธิบาท ๔ แล้ว... ข้าพเจ้าเข้าอยู่... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว...
ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้อิทธิบาท ๔ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ... ข้าพเจ้าทำอิทธิบาท ๔ ให้
แจ้งแล้ว” ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บอกอินทรีย์ ๕ - พละ ๕
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าอินทรีย์ ๕ ฯลฯ
พละ ๕ แล้ว... ข้าพเจ้าเข้าอยู่... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้พละ ๕ ...
ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ... ข้าพเจ้าทำพละ ๕ ให้แจ้งแล้ว” ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บอกโพชฌงค์ ๗
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าโพชฌงค์ ๗
แล้ว... ข้าพเจ้าเข้าอยู่... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้โพชฌงค์ ๗ ...
ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ... ข้าพเจ้าทำโพชฌงค์ ๗ ให้แจ้งแล้ว” ต้องอาบัติปาจิตตีย์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๕๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๘.ภูตาโรจนสิกขาบท บทภาชนีย์
บอกอริยมรรคมีองค์ ๘
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าอริยมรรคมี
องค์ ๘ แล้ว... ข้าพเจ้าเข้าอยู่... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้อริยมรรค
มีองค์ ๘ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ... ข้าพเจ้าทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้แจ้งแล้ว”
ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บอกโสดาปัตติผล - อรหัตตผล
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าโสดาปัตติผล...
สกทาคามิผล... อนาคามิผล... อรหัตตผลแล้ว... ข้าพเจ้าเข้าอยู่... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้า
แล้ว... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้อรหัตตผล... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ... ข้าพเจ้าทำอรหัตตผล
ให้แจ้งแล้ว” ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บอกการสละราคะ โทสะ และโมหะ
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าสละราคะแล้ว ฯลฯ
ข้าพเจ้าสละโทสะแล้ว ข้าพเจ้าสละ คาย พ้น ละ สลัด เพิก ถอนโมหะขึ้นแล้ว”
ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บอกว่าจิตปลอดจากราคะ โทสะ และโมหะ
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “จิตของข้าพเจ้าปลอดจากราคะ
ฯลฯ จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโทสะ จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ” ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์

บอกปฐมฌาน - จตุตถฌานในเรือนว่าง
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌาน ฯลฯ
ทุติยฌาน... ตติยฌาน... จตุตถฌานในเรือนว่างแล้ว... ข้าพเจ้าเข้าอยู่... ข้าพเจ้า
เป็นผู้เข้าแล้ว... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้จตุตถฌาน ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ... ข้าพเจ้าทำ
จตุตถฌานให้แจ้งแล้ว” ต้องอาบัติปาจิตตีย์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๕๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๘.ภูตาโรจนสิกขาบท บทภาชนีย์
บอกปฐมฌานและทุติยฌาน
[๗๒] คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌาน
และทุติยฌานแล้ว ... ข้าพเจ้าเข้าอยู่... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้
ปฐมฌานและทุติยฌาน... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ... ข้าพเจ้าทำปฐมฌานและ
ทุติยฌานให้แจ้งแล้ว” ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บอกปฐมฌานและตติยฌาน - จตุตถฌาน
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและ
ตติยฌาน ฯลฯ ปฐมฌานและจตุตถฌานแล้ว ... ข้าพเจ้าเข้าอยู่... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้า
แล้ว... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ปฐมฌานและจตุตถฌาน... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ... ข้าพเจ้า
ทำปฐมฌานและจตุตถฌานให้แจ้งแล้ว” ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บอกปฐมฌานและสุญญตวิโมกข์ - อัปปณิหิตสมาธิ
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและ
สุญญตวิโมกข์ ฯลฯ อนิมิตตวิโมกข์... อัปปณิหิตวิโมกข์... สุญญตสมาธิ...
อนิมิตตสมาธิ... อัปปณิหิตสมาธิแล้ว... ข้าพเจ้าเข้าอยู่... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว...
ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ปฐมฌานและอัปปณิหิตสมาธิ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ... ข้าพเจ้าทำ
ปฐมฌานและอัปปณิหิตสมาธิให้แจ้งแล้ว” ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บอกปฐมฌานและสุญญตสมาบัติ - อัปปณิหิตสมาบัติ
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและ
สุญญตสมาบัติ ฯลฯ อนิมิตตสมาบัติ... อัปปณิหิตสมาบัติแล้ว... ข้าพเจ้าเข้าอยู่...
ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ปฐมฌานและอัปปณิหิตสมาบัติ... ข้าพเจ้า
เป็นผู้ชำนาญ... ข้าพเจ้าทำปฐมฌานและอัปปณิหิตสมาบัติให้แจ้งแล้ว” ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๖๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๘.ภูตาโรจนสิกขาบท บทภาชนีย์
บอกปฐมฌานและวิชชา ๓
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและวิชชา
๓ แล้ว... ข้าพเจ้าเข้าอยู่... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ปฐมฌานและ
วิชชา ๓ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ... ข้าพเจ้าทำปฐมฌานและวิชชา ๓ ให้แจ้งแล้ว”
ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บอกปฐมฌานและสติปัฏฐาน ๔ - อิทธิบาท ๔
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและ
สติปัฏฐาน ๔ ...สัมมัปปธาน ๔ ...อิทธิบาท ๔ แล้ว... ข้าพเจ้าเข้าอยู่... ข้าพเจ้า
เป็นผู้เข้าแล้ว... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ปฐมฌานและอิทธิบาท ๔ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ...
ข้าพเจ้าทำปฐมฌานและอิทธิบาท ๔ ให้แจ้งแล้ว” ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บอกปฐมฌานและอินทรีย์ ๕ - พละ ๕
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและ
อินทรีย์ ๕ ฯลฯ พละ ๕ แล้ว... ข้าพเจ้าเข้าอยู่... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว... ข้าพเจ้า
เป็นผู้ได้ปฐมฌานและพละ ๕ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ... ข้าพเจ้าทำปฐมฌานและ
พละ ๕ ให้แจ้งแล้ว” ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บอกปฐมฌานและโพชฌงค์ ๗
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและ
โพชฌงค์ ๗ แล้ว... ข้าพเจ้าเข้าอยู่... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้
ปฐมฌานและโพชฌงค์ ๗ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ... ข้าพเจ้าทำปฐมฌานและ
โพชฌงค์ ๗ ให้แจ้งแล้ว” ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บอกปฐมฌานและอริยมรรคมีองค์ ๘
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและ
อริยมรรคมีองค์ ๘ แล้ว... ข้าพเจ้าเข้าอยู่... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว... ข้าพเจ้าเป็น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๖๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๘.ภูตาโรจนสิกขาบท บทภาชนีย์
ผู้ได้ปฐมฌานและอริยมรรคมีองค์ ๘ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ... ข้าพเจ้าทำ
ปฐมฌานและอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้แจ้งแล้ว” ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บอกปฐมฌานและโสดาปัตติผล - อรหัตตผล
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและ
โสดาปัตติผล ฯลฯ สกทาคามิผล... อนาคามิผล... อรหัตผลแล้ว... ข้าพเจ้าเข้าอยู่...
ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ปฐมฌานและอรหัตตผล... ข้าพเจ้าเป็นผู้
ชำนาญ... ข้าพเจ้าทำปฐมฌานและอรหัตตผลให้แจ้งแล้ว” ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บอกปฐมฌาน - สละราคะ โทสะ และโมหะ
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌาน ข้าพเจ้า
สละราคะ ข้าพเจ้าสละโทสะแล้ว ข้าพเจ้าสละ คาย พ้น ละ สลัด เพิก ถอนโมหะ
ขึ้นแล้ว” ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บอกปฐมฌาน-จิตปลอดจากราคะ โทสะ และโมหะ
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว...
ข้าพเจ้าเข้าอยู่... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว... จิตของข้าพเจ้าปลอดจากราคะ จิตของ
ข้าพเจ้าปลอดจากโทสะ จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ” ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บอกทุติยฌานและจตุตถฌาน
[๗๓] คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าทุติยฌาน
และตติยฌาน ทุติยฌานและจตุตถฌานแล้ว... ข้าพเจ้าเข้าอยู่... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว...
ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ทุติยฌานและจตุตถฌาน... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ... ข้าพเจ้าทำ
ทุติยฌานและจตุตถฌานให้แจ้งแล้ว” ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บอกทุติยฌานและสุญญตวิโมกข์
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าทุติยฌานและ
สุญญตวิโมกข์แล้ว ฯลฯ และจิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ” ต้องอาบัติปาจิตตีย์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๖๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๘.ภูตาโรจนสิกขาบท บทภาชนีย์
บอกทุติยฌานและปฐมฌาน
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าทุติยฌานและ
ปฐมฌานแล้ว... ข้าพเจ้าเข้าอยู่... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้
ทุติยฌานและปฐมฌาน... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ... ข้าพเจ้าทำทุติยฌานและ
ปฐมฌานให้แจ้งแล้ว” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
(มูลนัยท่านย่อไว้แล้ว)

บอกว่าจิตปลอดจากโมหะและปฐมฌาน
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ
และข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว... ข้าพเจ้าเข้าอยู่... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว... จิตของ
ข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ และข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ปฐมฌาน ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ
จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ และข้าพเจ้าทำปฐมฌานให้แจ้งแล้ว” ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์ ฯลฯ

บอกว่าจิตปลอดจากโมหะและโทสะ
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “จิตของข้าพเจ้าปลอดจาก
โมหะและจิตของข้าพเจ้าปลอดจากโทสะ” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ

บอกปฐมฌาน - จิตปลอดจากราคะ โทสะ และโมหะ
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌาน ทุติย
ฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน สุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์
สุญญตสมาธิ อนิมิตตสมาธิ อัปปณิหิตสมาธิ สุญญตสมาบัติ อนิมิตตสมาบัติ
อัปปณิหิตสมาบัติ วิชชา ๓ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕
พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล
และอรหัตตผล ฯลฯ ข้าพเจ้าสละราคะแล้ว ข้าพเจ้าสละโทสะแล้ว และสละ คาย
พ้น ละ สลัด เพิก ถอนโมหะขึ้นแล้ว” ต้องอาบัติปาจิตตีย์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๖๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๘.ภูตาโรจนสิกขาบท บทภาชนีย์
วัตตุกามวารกถา
ประสงค์จะบอกปฐมฌาน
[๗๔] คำว่า บอก คือ ภิกษุประสงค์จะกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้า
เข้าปฐมฌานแล้ว” แต่กล่าวว่า “ข้าพเจ้าเข้าทุติยฌานแล้ว” เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์ เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ

ประสงค์จะบอกปฐมฌาน - จิตปลอดจากราคะ โทสะ และโมหะ
คำว่า บอก คือ ภิกษุประสงค์จะกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌาน
แล้ว” แต่กล่าวว่า “ข้าพเจ้าเข้าตติยฌาน ฯลฯ จตุตถฌาน สุญญตวิโมกข์
อนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์ สุญญตสมาธิ อนิมิตตสมาธิ อัปปณิหิตสมาธิ
สุญญตสมาบัติ อนิมิตตสมาบัติ อัปปณิหิตสมาบัติ วิชชา ๓ สติปัฏฐาน ๔
สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘
โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล และอรหัตตผลแล้ว ฯลฯ ข้าพเจ้าสละ
ราคะแล้ว ข้าพเจ้าสละโทสะแล้ว และข้าพเจ้าสละ คาย พ้น ละ สลัด เพิก ถอนโมหะ
ขึ้นแล้ว” เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ

ประสงค์จะบอกทุติยฌาน - จิตปลอดจากโมหะ
คำว่า บอก คือ ภิกษุประสงค์จะกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าทุติย
ฌานแล้ว” แต่กล่าวว่า จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ” เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์ เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ

ประสงค์จะบอกทุติยฌาน
คำว่า บอก คือ ภิกษุต้องการจะกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าทุติย
ฌานแล้ว” แต่กล่าวว่า “ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว” เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์ เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
(มูลนัยท่านย่อไว้แล้ว)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๖๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๘.ภูตาโรจนสิกขาบท บทภาชนีย์
ประสงค์จะบอกว่าจิตปลอดจากโมหะ
คำว่า บอก คือ ภิกษุประสงค์จะกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “จิตของข้าพเจ้า
ปลอดจากโมหะ” แต่กล่าวว่า “ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว” เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์ เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
คำว่า บอก คือ ภิกษุต้องการจะกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “จิตของข้าพเจ้า
ปลอดจากโมหะ” แต่กล่าวว่า “จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโทสะ” เมื่อผู้อื่นเข้าใจ
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ

ประสงค์จะบอกปฐมฌาน ฯลฯ
คำว่า บอก คือ ภิกษุประสงค์จะกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌาน
ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌานแล้ว ฯลฯ จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ”
แต่กล่าวว่า “ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว” เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เมื่อ
เขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ

ประสงค์จะบอกทุติยฌาน ฯลฯ
คำว่า บอก คือ ภิกษุประสงค์จะกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าทุติย
ฌาน ตติยฌาน จตุตถฌานแล้ว ฯลฯ จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ” แต่กล่าวว่า
“ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว” เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เมื่อเขาไม่เข้าใจ
ต้องอาบัติทุกกฏ

บอกว่าภิกษุอื่นเข้าปฐมฌาน
[๗๕] คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ภิกษุรูปใดอยู่ในวิหาร
ของท่าน ภิกษุรูปนั้นเข้าปฐมฌานแล้ว... ภิกษุรูปนั้นเข้าอยู่... ภิกษุรูปนั้นเป็น
ผู้เข้าแล้ว... ภิกษุรูปนั้นเป็นผู้ได้ปฐมฌาน... ภิกษุรูปนั้นเป็นผู้ชำนาญ... ภิกษุรูปนั้น
ทำปฐมฌานให้แจ้งแล้ว” ต้องอาบัติทุกกฏ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๖๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๘.ภูตาโรจนสิกขาบท บทภาชนีย์
บอกว่าภิกษุอื่นเข้าทุติยฌาน ฯลฯ
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ภิกษุรูปใดอยู่ในวิหารของ
ท่าน ภิกษุรูปนั้นเข้าทุติยฌาน ฯลฯ ตติยฌาน... จตุตถฌานแล้ว... ภิกษุรูปนั้น
เข้าอยู่... ภิกษุรูปนั้นเป็นผู้เข้าแล้ว... ภิกษุรูปนั้นเป็นผู้ได้ทุติยฌาน... ภิกษุรูปนั้น
เป็นผู้ชำนาญ... ภิกษุรูปนั้นทำจตุตถฌานให้แจ้งแล้ว” ต้องอาบัติทุกกฏ

บอกว่าภิกษุอื่นเข้าสุญญตวิโมกข์ ฯลฯ
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ภิกษุรูปใดอยู่ในวิหารของท่าน
ภิกษุรูปนั้นเข้าสุญญตวิโมกข์ ฯลฯ อนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์ สุญญตสมาธิ
อนิมิตตสมาธิ อัปปณิหิตสมาธิแล้ว ...ภิกษุรูปนั้นเข้าอยู่... ภิกษุรูปนั้นเป็นผู้เข้าแล้ว...
ภิกษุรูปนั้นเป็นผู้ได้อัปปณิหิตสมาธิ... ภิกษุรูปนั้นเป็นผู้ชำนาญ... ภิกษุรูปนั้นทำ
อัปปณิหิตสมาธิให้แจ้งแล้ว” ต้องอาบัติทุกกฏ

บอกว่าภิกษุอื่นเข้าสุญญตสมาบัติ ฯลฯ
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ภิกษุรูปใดอยู่ในวิหารของ
ท่าน ภิกษุรูปนั้นเข้าสุญญตสมาบัติ ฯลฯ อนิมิตตสมาบัติ อัปปณิหิตสมาบัติแล้ว...
ภิกษุรูปนั้นเข้าอยู่... ภิกษุรูปนั้นเป็นผู้เข้าแล้ว... ภิกษุรูปนั้นเป็นผู้ได้อัปปณิหิตสมาบัติ
... ภิกษุรูปนั้นเป็นผู้ชำนาญ... ภิกษุรูปนั้นทำอัปปณิหิตสมาบัติให้แจ้งแล้ว” ต้อง
อาบัติทุกกฏ

บอกว่าภิกษุอื่นเข้าวิชชา ๓ ฯลฯ
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวอวดอนุปสัมบันว่า “ภิกษุรูปใดอยู่ในวิหารของ
ท่าน ภิกษุรูปนั้นเข้าวิชชา ๓ ฯลฯ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔
อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ โสดาปัตติผล สกทาคามิผล
อนาคามิผล และอรหัตตผลแล้ว... ภิกษุรูปนั้นเข้าอยู่... ภิกษุรูปนั้นเป็นผู้เข้าแล้ว...
ภิกษุรูปนั้นสละราคะแล้ว ภิกษุรูปนั้นสละโทสะแล้ว ภิกษุรูปนั้นสละ คาย พ้น ละ
สลัด เพิก ถอนโมหะขึ้นแล้ว จิตของภิกษุรูปนั้นปลอดจากราคะ จิตของภิกษุรูปนั้น
ปลอดจากโทสะ จิตของภิกษุรูปนั้นปลอดจากโมหะ” ต้องอาบัติทุกกฏ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๖๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๘.ภูตาโรจนสิกขาบท บทภาชนีย์
บอกว่าภิกษุอื่นเข้าปฐมฌานในเรือนว่าง ฯลฯ
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ภิกษุรูปใดอยู่ในวิหารของท่าน
ภิกษุรูปนั้นเข้าปฐมฌาน ฯลฯ ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌานในเรือนว่างแล้ว
ฯลฯ ภิกษุรูปนั้นเข้าอยู่... ภิกษุรูปนั้นเป็นผู้เข้าแล้ว... ภิกษุรูปนั้นเป็นผู้ได้... ภิกษุรูป
นั้นเป็นผู้ชำนาญ...ภิกษุรูปนั้นทำจตุตถฌานให้แจ้งในเรือนว่างแล้ว” ต้องอาบัติทุกกฏ

บอกว่าภิกษุอื่นเข้าจตุตถฌานในเรือนว่าง
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ภิกษุรูปใดใช้สอยจีวรของท่าน
ภิกษุรูปใดฉันบิณฑบาตของท่าน ภิกษุรูปใดใช้สอยเสนาสนะของท่าน ภิกษุรูปใด
บริโภคคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร๑ของท่าน ภิกษุรูปนั้นเข้าจตุตถฌานในเรือนว่าง
แล้ว... ภิกษุรูปนั้นเข้าอยู่... ภิกษุรูปนั้นเป็นผู้เข้าแล้ว... ภิกษุรูปนั้นเป็นผู้ได้... ภิกษุ
รูปนั้นเป็นผู้ชำนาญ... ภิกษุรูปนั้นทำจตุตถฌานให้แจ้งในเรือนว่างแล้ว” ต้องอาบัติ
ทุกกฏ
[๗๖] คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “วิหารของท่านภิกษุรูปใด
ใช้สอยแล้ว จีวรของท่านภิกษุรูปใดใช้สอยแล้ว บิณฑบาตของท่านภิกษุรูปใดฉันแล้ว
เสนาสนะของท่านภิกษุรูปใดใช้สอยแล้ว คิลานปัจจัยเภสัชบริขารของท่านภิกษุรูปใด
บริโภคแล้ว ภิกษุรูปนั้นเข้าจตุตถฌานในเรือนว่างแล้ว... ภิกษุรูปนั้นเข้าอยู่... ภิกษุ
รูปนั้นเป็นผู้เข้าแล้ว... ภิกษุรูปนั้นเป็นผู้ได้... ภิกษุรูปนั้นเป็นผู้ชำนาญ... ภิกษุรูปนั้น
ทำจตุตถฌานให้แจ้งในเรือนว่างแล้ว” ต้องอาบัติทุกกฏ

เชิงอรรถ :
๑ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร คือเภสัชทั้ง ๕ ได้แก่ เนยใส เนยข้น นํ้ามัน นํ้าผึ้ง นํ้าอ้อย (วิ.อ. ๒/๒๙๐/๔๐,
สารตฺถ. ฏีกา ๒/๒๙๐/๓๙๓) เป็นสิ่งสัปปายะสำหรับภิกษุผู้เจ็บไข้ จัดว่าเป็นบริขาร คือบริวารของชีวิต
ดุจกำแพงล้อมพระนคร เพราะคอยป้องกันรักษาไม่ให้อาพาธที่จะบั่นรอนชีวิตได้ช่องเกิดขึ้น และเป็น
สัมภาระของชีวิต คอยประคับประคองชีวิตให้ดำรงอยู่นาน (วิ.อ. ๒/๒๙๐/๔๐-๔๑, ม.มู.อ. ๑/๑๙๑/๓๙๗,
ม.มู ฏีกา ๑/๒๓/๒๑๓)
เป็นเครื่องป้องกันโรค บำบัดโรคที่ให้เกิดทุกขเวทนา เนื่องจากธาตุกำเริบให้หายไป (สารตฺถ. ฏีกา ๒/
๒๙๐/๓๙๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๖๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๘.ภูตาโรจนสิกขาบท อนาปัตติวาร
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ท่านอาศัยภิกษุรูปใดแล้วได้
ถวายวิหาร ได้ถวายจีวร ได้ถวายบิณฑบาต ได้ถวายเสนาสนะ ได้ถวายคิลานปัจจัย
เภสัชบริขาร ภิกษุรูปนั้นเข้าแล้ว กำลังเข้า เป็นผู้เข้าจตุตถฌานในเรือนว่าง ภิกษุรูป
นั้นเป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้งจตุตถฌานในเรือนว่างแล้ว” ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๗๗] ๑. ภิกษุบอกอุตตริมนุสสธรรมที่มีจริงแก่อุปสัมบัน
๒. ภิกษุต้นบัญญัติ

ภูตาโรจนสิกขาบทที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๖๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๙.ทุฏฐุลลาโรจนสิกขาบท นิทานวัตถุ
๑. มุสาวาทวรรค

๙. ทุฏฐุลลาโรจนสิกขาบท
ว่าด้วยการบอกอาบัติชั่วหยาบ

เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร
[๗๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ท่านพระอุปนันทศากยบุตรทะเลาะกับ
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ ท่านต้องอาบัติสังฆาทิเสสข้อจงใจทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน จึงขอ
สงฆ์อยู่ปริวาสเพื่อออกจากอาบัตินั้น สงฆ์ให้ท่านอยู่ปริวาสเพื่อออกจากอาบัตินั้น
สมัยนั้น ในกรุงสาวัตถีมีสังฆภัตของสมาคมหนึ่งเกิดขึ้น ท่านพระอุปนันท
ศากยบุตรกำลังอยู่ปริวาส จึงนั่ง ณ อาสนะสุดท้ายในโรงอาหาร
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์กล่าวกับอุบาสกเหล่านั้นว่า “ท่านพระอุปนันทศากยบุตร
เป็นพระประจำตระกูลที่พวกท่านยกย่อง ใช้มือที่เปิบข้าวที่เขาถวายด้วยศรัทธา
พยายามทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน ท่านต้องอาบัติข้อจงใจทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน จึงขอสงฆ์
อยู่ปริวาสเพื่อออกจากอาบัตินั้น สงฆ์ให้ท่านอยู่ปริวาสเพื่อออกจากอาบัตินั้น ท่าน
กำลังอยู่ปริวาสจึงนั่ง ณ อาสนะสุดท้าย”
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ จึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์จึงบอกอาบัติชั่วหยาบของภิกษุแก่อนุปสัมบันเล่า” ครั้นภิกษุ
เหล่านั้นตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอบอกอาบัติชั่ว


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๖๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๙.ทุฏฐุลลาโรจนสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
หยาบของภิกษุแก่อนุปสัมบัน จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระ
พุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน
พวกเธอจึงบอกอาบัติชั่วหยาบของภิกษุแก่อนุปสัมบันเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การ
กระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้
เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
ดังนี้

พระบัญญัติ
[๗๙] ก็ ภิกษุใดบอกอาบัติชั่วหยาบของภิกษุแก่อนุปสัมบัน ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ภิกษุได้รับสมมติ
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๘๐] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
คำว่า ของภิกษุ คือ ของภิกษุรูปอื่น
อาบัติที่ชื่อว่า ชั่วหยาบ ได้แก่ อาบัติปาราชิก ๔ สิกขาบท และอาบัติ
สังฆาทิเสส ๑๓ สิกขาบท
ที่ชื่อว่า อนุปสัมบัน คือ ยกเว้นภิกษุและภิกษุณี นอกนั้นชื่อว่าอนุปสัมบัน
คำว่า บอก คือ บอกแก่สตรีหรือแก่บุรุษ แก่คฤหัสถ์หรือแก่บรรพชิต
คำว่า เว้นไว้แต่ภิกษุได้รับสมมติ คือ ยกเว้นภิกษุที่ได้รับมอบหมายจาก
สงฆ์๑

เชิงอรรถ :
๑ คือมอบหมายให้เป็นผู้บอกอาบัติ (ดู หน้า ๒๗๑-๒๗๒ ประกอบ)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๗๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๙.ทุฏฐุลลาโรจนสิกขาบท บทภาชนีย์
บทภาชนีย์
ภิกษุที่ได้รับสมมติให้บอก กำหนดอาบัติ ไม่กำหนดตระกูลก็มี
ภิกษุที่ได้รับสมมติให้บอก กำหนดตระกูล ไม่กำหนดอาบัติก็มี
ภิกษุที่ได้รับสมมติให้บอก กำหนดอาบัติและกำหนดตระกูลก็มี
ภิกษุที่ได้รับสมมติให้บอก ไม่กำหนดอาบัติและไม่กำหนดตระกูลก็มี
ที่ชื่อว่า กำหนดอาบัติ คือ สงฆ์กำหนดอาบัติว่า พึงบอกตามจำนวนอาบัติเท่านี้
ที่ชื่อว่า กำหนดตระกูล คือ สงฆ์กำหนดตระกูลว่า พึงบอกในตระกูลมี
ประมาณเท่านี้
ที่ชื่อว่า กำหนดอาบัติและกำหนดตระกูล คือ สงฆ์กำหนดอาบัติและ
กำหนดตระกูลไว้ว่า พึงบอกตามจำนวนอาบัติเท่านี้ ในตระกูลมีประมาณเท่านี้
ที่ชื่อว่า ไม่กำหนดอาบัติและไม่กำหนดตระกูล คือ สงฆ์ไม่กำหนดอาบัติและ
ไม่กำหนดตระกูลไว้ว่า พึงบอกตามจำนวนอาบัติเท่านี้ ในตระกูลมีประมาณเท่านี้
[๘๑] ในการกำหนดอาบัติ ภิกษุบอกอาบัติอื่นนอกจากอาบัติที่สงฆ์กำหนด
ไว้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ในการกำหนดตระกูล ภิกษุบอกในตระกูลอื่นนอกจากตระกูลที่สงฆ์กำหนดไว้
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ในการกำหนดอาบัติและในการกำหนดตระกูล ภิกษุบอกอาบัติอื่น นอกจาก
อาบัติที่สงฆ์กำหนดไว้ และในตระกูลอื่นนอกจากตระกูลที่สงฆ์กำหนดไว้ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
ในกรณีที่ไม่ได้กำหนดอาบัติและในกรณีที่ไม่ได้กำหนดตระกูล ไม่ต้องอาบัติ

ติกปาจิตตีย์
[๘๒] อาบัติชั่วหยาบ ภิกษุสำคัญว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ บอกแก่อนุปสัมบัน
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ภิกษุได้รับสมมติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๗๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๙.ทุฏฐุลลาโรจนสิกขาบท อนาปัตติวาร
อาบัติชั่วหยาบ ภิกษุไม่แน่ใจ บอกแก่อนุปสัมบัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้น
ไว้แต่ภิกษุได้รับสมมติ
อาบัติชั่วหยาบ ภิกษุสำคัญว่าไม่เป็นอาบัติชั่วหยาบ บอกแก่อนุปสัมบัน
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ภิกษุได้รับสมมติ

ทุกกฏ
ภิกษุบอกอาบัติไม่ชั่วหยาบ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุบอกความประพฤติชั่วหยาบหรือไม่ชั่วหยาบแก่อนุปสัมบัน ต้องอาบัติ
ทุกกฏ
อาบัติไม่ชั่วหยาบ ภิกษุสำคัญว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ ต้องอาบัติทุกกฏ
อาบัติไม่ชั่วหยาบ ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
อาบัติไม่ชั่วหยาบ ภิกษุสำคัญว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๘๓] ๑. ภิกษุบอกเรื่องที่เกิดแต่ไม่บอกอาบัติ
๒. ภิกษุบอกอาบัติแต่ไม่บอกเรื่องที่เกิด
๓. ภิกษุผู้ได้รับสมมติ
๔. ภิกษุวิกลจริต
๕. ภิกษุต้นบัญญัติ

ทุฏฐุลลาโรจนสิกขาบทที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๗๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๑๐.ปฐวีขณนสิกขาบท นิทานวัตถุ
๑. มุสาวาทวรรค

๑๐. ปฐวีขณนสิกขาบท
ว่าด้วยการขุดดิน

เรื่องภิกษุชาวเมืองอาฬวี
[๘๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ อัคคาฬวเจดีย์ เขต
เมืองอาฬวี สมัยนั้น พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวีช่วยกันก่อสร้าง ขุดบ้าง ใช้ให้ขุดบ้าง
ซึ่งดิน พวกชาวบ้านจึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระสมณะเชื้อสาย
ศากยบุตรจึงขุดบ้าง ใช้ให้ขุดบ้างซึ่งดินเล่า พระสมณะเชื้อสายศากยบุตรเบียดเบียน
ชีวะซึ่งมีอินทรีย์เดียว”
พวกภิกษุได้ยินพวกชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มักน้อย
ฯลฯ จึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุชาวเมืองอาฬวี จึงขุดบ้าง
ใช้ให้ขุดบ้างซึ่งดินเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิพวกภิกษุชาวเมืองอาฬวีโดยประการ
ต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอขุดบ้าง ใช้ให้ขุดบ้างซึ่ง
ดินจริงหรือ” ภิกษุชาวเมืองอาฬวีทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาค
พุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงขุดบ้าง ใช้ให้ขุดบ้าง
ซึ่งดินเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย พวกชาวบ้านสำคัญว่าดินมีชีวะ โมฆบุรุษทั้งหลาย
การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้ว
ให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
ดังนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๗๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๑๐.ปฐวีขณนสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
พระบัญญัติ
[๘๕] ก็ ภิกษุใดขุด หรือใช้ให้ขุดซึ่งดิน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุชาวเมืองอาฬวี จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๘๖] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ดิน ได้แก่ ดิน ๒ ชนิด คือ (๑) ดินแท้ (๒) ดินไม่แท้
ที่ชื่อว่า ดินแท้ คือ ดินร่วนล้วน ดินเหนียวล้วน ดินมีหินผสมนิดหน่อย
ดินมีกรวดผสมนิดหน่อย ดินมีกระเบื้องผสมนิดหน่อย ดินมีแร่ผสมนิดหน่อย ดิน
มีทรายผสมนิดหน่อย ดินร่วนเป็นส่วนมาก ดินเหนียวเป็นส่วนมาก แม้ดินที่ยังไม่
เผาไฟก็เรียกว่า ดินแท้
กองดินร่วนหรือดินเหนียวที่ฝนตกรดเกิน ๔ เดือนก็เรียกว่า ดินแท้
ที่ชื่อว่า ดินไม่แท้ คือ หินล้วน ดินมีกรวดล้วน ดินมีกระเบื้องล้วน ดินมี
แร่ล้วน ดินมีทรายล้วน ดินมีดินร่วนผสมนิดหน่อย ดินมีดินเหนียวผสมนิดหน่อย
ดินมีหินมาก ดินมีกรวดมาก ดินมีกระเบื้องมาก ดินมีแร่มาก ดินมีทรายมาก
แม้ดินที่เผาไฟแล้วก็เรียกว่า ดินไม่แท้
กองดินร่วนหรือดินเหนียวที่ฝนตกรดยังไม่ถึง ๔ เดือนก็เรียกว่า ดินไม่แท้
คำว่า ขุด คือ ภิกษุขุดเอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์
คำว่า ใช้ให้ขุด คือ ภิกษุใช้ผู้อื่นให้ขุด ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุสั่งครั้งเดียว เขาขุดหลายครั้ง ต้องอาบัติปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๗๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๑๐.ปฐวีขณนสิกขาบท อนาปัตติวาร
บทภาชนีย์
[๘๗] ดิน ภิกษุสำคัญว่าเป็นดิน ขุดหรือใช้ให้ขุด ทำลายหรือใช้ให้ทำลาย
เผาหรือใช้ให้เผา ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ดิน ภิกษุไม่แน่ใจ ขุดหรือใช้ให้ขุด ทำลายหรือใช้ให้ทำลาย เผาหรือใช้ให้เผา
ต้องอาบัติทุกกฏ
ดิน ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ดิน ขุดหรือใช้ให้ขุด ทำลายหรือใช้ให้ทำลาย เผา
หรือใช้ให้เผา ไม่ต้องอาบัติ
ไม่ใช่ดิน ภิกษุสำคัญว่าเป็นดิน ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ใช่ดิน ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ใช่ดิน ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ดิน ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๘๘] ๑. ภิกษุกล่าวว่า “ท่านจงรู้ จงให้ จงนำสิ่งนี้มา เราต้องการสิ่งนี้
ท่านจงทำสิ่งนี้ให้เป็นกัปปิยะ”๑
๒. ภิกษุไม่จงใจ
๓. ภิกษุไม่มีสติ
๔. ภิกษุไม่รู้
๕. ภิกษุวิกลจริต
๖. ภิกษุต้นบัญญัติ
ปฐวีขณนสิกขาบทที่ ๑๐ จบ
มุสาวาทวรรคที่ ๑ จบ

เชิงอรรถ :
๑ คือ ใช้ให้ผู้อื่นทำด้วยกล่าวว่า ท่านจงรู้หลุมเสา จงรู้ดินเหนียวมาก จงรู้ดินเหนียวผสมแกลบ ท่านจง
ให้ดินเหนียวมาก จงให้ดินเหนียวผสมแกลบ ท่านจงนำดินเหนียวมา จงนำฝุ่นมา ต้องการดินเหนียว
ต้องการฝุ่น ท่านจงทำหลุมเสานี้ให้เป็นกัปปิยะ จงทำดินเหนียวนี้ให้เป็นกัปปิยะ จงทำฝุ่นนี้ให้เป็นกัปปิยะ
คือให้เป็นของที่ควรใช้ (วิ.อ. ๒/๘๘/๒๘๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๗๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค รวมสิกขาบทที่มีในมุสาวาทวรรค
รวมสิกขาบทที่มีในมุสาวาทวรรค
มุสาวาทวรรคมี ๑๐ สิกขาบท คือ

๑. มุสาวาทสิกขาบท ว่าด้วยการกล่าวเท็จ
๒. โอมสวาทสิกขาบท ว่าด้วยการกล่าวเสียดสี
๓. เปสุญญสิกขาบท ว่าด้วยการกล่าวส่อเสียด
๔. ปทโสธัมมสิกขาบท ว่าด้วยการให้กล่าวธรรมเป็นบท ๆ
๕. สหเสยยสิกขาบท ว่าด้วยการนอนร่วมกัน
๖. ทุติยสหเสยยสิกขาบท ว่าด้วยการนอนร่วมกันข้อที่ ๒
๗. ธัมมเทสนาสิกขาบท ว่าด้วยการแสดงธรรม
๘. ภูตาโรจนสิกขาบท ว่าด้วยการบอกอุตตริมนุสสธรรมที่มีจริง
๙. ทุฏฐุลลาโรจนสิกขาบท ว่าด้วยการบอกอาบัติชั่วหยาบ
๑๐. ปฐวีขณนสิกขาบท ว่าด้วยการการขุดดิน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๗๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๒.ภูตคามวรรค ๑.ภูตคามสิกขาบท นิทานวัตถุ
๒. ภูตคามวรรค
หมวดว่าด้วยภูตคาม

๑. ภูตคามสิกขาบท
ว่าด้วยการพรากภูตคาม

เรื่องภิกษุชาวเมืองอาฬวี
[๘๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ อัคคาฬวเจดีย์ เขต
เมืองอาฬวี ครั้งนั้น พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวีทำการก่อสร้าง ตัดบ้าง ใช้ให้ตัดบ้างซึ่ง
ต้นไม้ ภิกษุชาวเมืองอาฬวีรูปหนึ่งกำลังตัดต้นไม้ เทวดาผู้สิงอยู่ที่ต้นไม้ได้กล่าวกับ
ภิกษุนั้นว่า “ท่านผู้เจริญ ท่านต้องการจะสร้างที่อยู่ของท่านก็โปรดอย่าตัดต้นไม้ที่
เป็นที่อยู่ของข้าพเจ้าเลย” ภิกษุนั้นไม่เชื่อฟังยังขืนตัด ได้ฟันถูกแขนลูกของเทวดา
ทีนั้น เทวดาได้มีความคิดว่า “เราฆ่าภิกษุนี้ในที่นี้จะดีไหม” แต่แล้วได้มีความ
คิดว่า “การที่เราจะฆ่าภิกษุในที่นี้ไม่สมควร ทางที่ดี เราควรนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาค” จึงไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วได้กราบทูลเรื่อง
นั้นให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคประทานสาธุการว่า “เทวดา ดีแล้ว ดีนักหนาที่ท่านไม่ฆ่าภิกษุ
ถ้าท่านฆ่าภิกษุในวันนี้ ท่านจะประสบบาปมาก เทวดา ไปเถิด ท่านจงไปอยู่ที่
ต้นไม้ว่างในที่โน้น”
พวกชาวบ้านพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระสมณะเชื้อสาย
ศากยบุตรจึงตัดบ้าง ใช้ให้ตัดบ้างซึ่งต้นไม้เล่า พระสมณะเชื้อสายศากยบุตร
เบียดเบียนชีวะซึ่งมีอินทรีย์เดียว”
พวกภิกษุได้ยินชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มักน้อย
ฯลฯ จึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุชาวเมืองอาฬวีจึงตัดบ้าง ใช้ให้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๗๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๒.ภูตคามวรรค ๑.ภูตคามสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
ตัดบ้างซึ่งต้นไม้เล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิพวกภิกษุชาวเมืองอาฬวีโดยประการ
ต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุชาวเมืองอาฬวีว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอตัดบ้าง ใช้ให้
ตัดบ้าง ซึ่งต้นไม้ จริงหรือ” พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวีทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงตัด
บ้าง ใช้ให้ตัดบ้างซึ่งต้นไม้เล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย เพราะพวกชาวบ้านมีความสำคัญ
ว่าต้นไม้มีชีวะ โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้
เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้
ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๙๐] ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะพรากภูตคาม๑
เรื่องภิกษุชาวเมืองอาฬวี จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๙๑] ที่ชื่อว่า ภูตคาม ได้แก่ พืชพันธุ์ ๕ ชนิด คือ (๑) พืชพันธุ์เกิดจากเหง้า
(๒) พืชพันธุ์เกิดจากลำต้น (๓) พืชพันธุ์เกิดจากตา (๔) พืชพันธุ์เกิดจากยอด
(๕) พืชพันธุ์เกิดจากเมล็ด

เชิงอรรถ :
๑ ภูตคาม กลุ่มแห่งพืชพันธุ์ที่จะงอกได้ ที่เจริญเติบโตแล้ว เป็นชื่อเรียกต้นไม้ยืนต้นและหญ้าเขียวสด (วิ.อ.
๒/๙๐-๙๑/๒๘๓-๒๘๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๗๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๒.ภูตคามวรรค ๑.ภูตคามสิกขาบท บทภาชนีย์
ที่ชื่อว่า พืชพันธุ์เกิดจากเหง้า ได้แก่ ขมิ้น ขิง ว่านน้ำ ว่านเปราะ อุตพิด
ข่า แฝก แห้วหมู หรือพืชพันธุ์อย่างอื่นซึ่งเกิดที่เหง้า งอกที่เหง้า นี้ชื่อว่าพืชพันธุ์เกิด
จากเหง้า
ที่ชื่อว่า พืชพันธุ์เกิดจากลำต้น ได้แก่ ต้นโพ ต้นไทร ต้นดีปลี ต้นมะเดื่อ
ต้นเต่าร้าง ต้นมะขวิด หรือพืชพันธุ์อย่างอื่นซึ่งเกิดที่ลำต้น งอกที่ลำต้น นี้ชื่อว่า
พืชพันธุ์เกิดจากลำต้น
ที่ชื่อว่า พืชพันธุ์เกิดจากตา ได้แก่ อ้อย ไม้ไผ่ ไม้อ้อ หรือพืชพันธุ์อย่างอื่น
ซึ่งเกิดที่ตา งอกที่ตา นี้ชื่อว่าพืชพันธุ์เกิดจากตา
ที่ชื่อว่า พืชพันธุ์เกิดจากยอด ได้แก่ ผักบุ้งล้อม แมงลัก เถาหญ้านาง หรือ
พืชพันธุ์อย่างอื่นซึ่งเกิดที่ยอด งอกที่ยอด นี้ชื่อว่าพืชพันธุ์เกิดจากยอด
ที่ชื่อว่า พืชพันธุ์เกิดจากเมล็ด ได้แก่ ข้าว ถั่ว งา หรือพืชพันธุ์อย่างอื่นซึ่ง
เกิดที่เมล็ด งอกที่เมล็ด นี้ชื่อว่าพืชพันธุ์เกิดจากเมล็ด

บทภาชนีย์
[๙๒] พืชพันธุ์ ภิกษุสำคัญว่าเป็นพืชพันธุ์ ตัด หรือใช้ให้ตัด ทำลาย หรือ
ใช้ให้ทำลาย ต้ม หรือใช้ให้ต้ม ต้องอาบัติปาจิตตีย์
พืชพันธุ์ ภิกษุไม่แน่ใจ ตัด หรือใช้ให้ตัด ทำลาย หรือใช้ให้ทำลาย ต้ม หรือ
ใช้ให้ต้ม ต้องอาบัติทุกกฏ
พืชพันธุ์ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่พืชพันธุ์ ตัด หรือใช้ให้ตัด ทำลาย หรือใช้ให้
ทำลาย ต้ม หรือใช้ให้ต้ม ไม่ต้องอาบัติ
ไม่ใช่พืชพันธุ์ ภิกษุสำคัญว่าเป็นพืชพันธุ์ ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ใช่พืชพันธุ์ ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ใช่พืชพันธุ์ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่พืชพันธุ์ ไม่ต้องอาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๗๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๒.ภูตคามวรรค ๑.ภูตคามสิกขาบท อนาปัตติวาร
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๙๓] ๑. ภิกษุกล่าวว่า “ท่านจงรู้ จงให้ จงนำสิ่งนี้มา เราต้องการสิ่งนี้
ท่านจงทำสิ่งนี้ให้เป็นกัปปิยะ”๑
๒. ภิกษุไม่จงใจ
๓. ภิกษุไม่มีสติ
๔. ภิกษุผู้ไม่รู้
๕. ภิกษุวิกลจริต
๖. ภิกษุต้นบัญญัติ

ภูตคามสิกขาบทที่ ๑ จบ

เชิงอรรถ :
๑ คือ ใช้ให้ผู้อื่นทำด้วยกล่าวว่า ท่านจงรู้พืชพันธุ์เกิดจากเหง้านี้ ท่านจงให้เหง้า หรือใบไม้นี้ ท่านจงนำต้น
ไม้หรือเถาวัลย์นี้มา ต้องการดอกไม้ ผลไม้ หรือใบไม้นี้ ท่านจงทำต้นไม้ เถาวัลย์ หรือผลไม้นี้ให้เป็นกัปปิยะ
คือให้เป็นของที่ควรใช้ (วิ.อ. ๒/๙๓/๒๙๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๘๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๒.ภูตคามวรรค ๒.อัญญวาทกสิกขาบท นิทานวัตถุ
๒. ภูตคามวรรค
๒. อัญญวาทกสิกขาบท
ว่าด้วยการกล่าวกลบเกลื่อน

เรื่องพระฉันนะ
[๙๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุง
โกสัมพี สมัยนั้น ท่านพระฉันนะประพฤติไม่เหมาะสม ถูกพระวินัยธรไต่สวนอาบัติ
ท่ามกลางสงฆ์ กลับนำเอาเรื่องอื่นมากล่าวกลบเกลื่อนอีกเรื่องหนึ่งว่า “ใครต้อง
ต้องอะไร ต้องในเรื่องอะไร ต้องอย่างไร พวกท่านกล่าวถึงใคร กล่าวเรื่องอะไร”
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนท่านพระ
ฉันนะถูกพระวินัยธรไต่สวนอาบัติท่ามกลางสงฆ์ กลับนำเอาเรื่องอื่นมากล่าวกลบ
เกลื่อนอีกเรื่องหนึ่งว่า “ใครต้อง ต้องอะไร ต้องในเรื่องอะไร ต้องอย่างไร พวกท่าน
กล่าวถึงใคร กล่าวเรื่องอะไร” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิท่านพระฉันนะโดยประการ
ต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงสอบถามพระฉันนะ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามท่านพระฉันนะว่า “ฉันนะ ทราบว่า
เมื่อเธอถูกไต่สวนอาบัติท่ามกลางสงฆ์ กลับนำเอาเรื่องอื่นมากล่าวกลบเกลื่อนอีก
เรื่องหนึ่งว่า ‘ใครต้อง ต้องอะไร ต้องในเรื่องอะไร ต้องอย่างไร พวกท่านกล่าวถึงใคร
กล่าวเรื่องอะไร’ จริงหรือ” ท่านพระฉันนะทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มี
พระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษ ไฉนเธอ เมื่อถูกไต่สวนอาบัติท่าม
กลางสงฆ์ กลับนำเอาเรื่องอื่นมากล่าวกลบเกลื่อนอีกเรื่องหนึ่งว่า ใครต้อง ฯลฯ
พวกท่านกล่าวเรื่องอะไรเล่า โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใส


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๘๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๒.ภูตคามวรรค ๒.อัญญวาทกสิกขาบท นิทานวัตถุ
ให้เลื่อมใส ฯลฯ” ครั้นทรงตำหนิแล้วได้ทรงแสดงธรรมีกถารับสั่งกับภิกษุทั้งหลาย
ว่า ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงลงอัญญวาทกกรรม๑ แก่ภิกษุฉันนะ
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงลงอัญญวาทกกรรมอย่างนี้ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึง
ประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า

กรรมวาจา
[๙๕] ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อฉันนะนี้ถูกไต่สวนอาบัติ
ท่ามกลางสงฆ์ กลับนำเอาเรื่องอื่นมากล่าวกลบเกลื่อนอีกเรื่องหนึ่ง ถ้าสงฆ์พร้อม
กันแล้ว พึงลงอัญญวาทกกรรมแก่ภิกษุชื่อฉันนะ นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อฉันนะนี้ถูกไต่สวนอาบัติท่ามกลาง
สงฆ์ กลับนำเอาเรื่องอื่นมากล่าวกลบเกลื่อนอีกเรื่องหนึ่ง สงฆ์จึงลงอัญญวาทกกรรม
แก่ภิกษุชื่อฉันนะ ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการลงอัญญวาทกกรรมแก่ภิกษุชื่อฉันนะ
ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
อัญญวาทกกรรมสงฆ์ลงแก่ภิกษุชื่อฉันนะแล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง
ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้

ทรงบัญญัติสิกขาบท
ทีนั้น ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงตำหนิท่านพระฉันนะโดยประการต่าง ๆ แล้วได้
ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ฯลฯ แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้
ขึ้นแสดงดังนี้

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า “อัญญวาทกกรรม” ได้แก่ การลงโทษภิกษุที่แกล้งยกเรื่องอื่น ๆ มาพูดกลบเกลื่อนข้อหาที่ถูก
โจทไม่ให้การตามตรงเมื่อถูกสงฆ์สอบสวน เช่น ถูกพระวินัยธรถามว่า “ท่านต้องอาบัตินี้หรือ” ก็กล่าวว่า
“กระผมไปกรุงปาฏลีบุตรมา” เมื่อพระวินัยธรกล่าวอีกว่า “ไม่ได้ถามท่านเรื่องไปกรุงปาฏลีบุตร แต่ถาม
เรื่องอาบัติ” ก็กล่าวว่า “ต่อจากกรุงปาฏลีบุตร กระผมก็ไปกรุงราชคฤห์” (วิ.อ. ๒/๙๔/๒๙๓, สารตฺถ.
ฏีกา ๓/๙๔-๙๘/๒๘-๒๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๘๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๒.ภูตคามวรรค ๒.อัญญวาทกสิกขาบท พระบัญญัติ
พระบัญญัติ
ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะนำเอาเรื่องอื่นมากล่าวกลบเกลื่อน
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
[๙๖] สมัยนั้น ท่านพระฉันนะถูกไต่สวนอาบัติท่ามกลางสงฆ์ คิดว่า “เมื่อเรา
นำเอาเรื่องอื่นมากล่าวกลบเกลื่อนอีกเรื่องหนึ่งต้องอาบัติ” จึงนิ่งเฉย ทำสงฆ์ให้
ลำบาก
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนท่าน
พระฉันนะเมื่อถูกไต่สวนอาบัติท่ามกลางสงฆ์ จึงนิ่งเสีย ทำสงฆ์ให้ลำบากเล่า” ครั้น
ภิกษุเหล่านั้นตำหนิท่านพระฉันนะโดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงสอบถามพระฉันนะ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามท่านพระฉันนะว่า “ฉันนะ ทราบว่า
เธอเมื่อถูกไต่สวนอาบัติท่ามกลางสงฆ์ กลับนิ่งเฉย ทำสงฆ์ให้ลำบากจริงหรือ” ท่าน
พระฉันนะทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า
“ฯลฯ โมฆบุรุษ ไฉนเธอเมื่อถูกไต่สวนอาบัติท่ามกลางสงฆ์ จึงนิ่ง ทำสงฆ์ให้ลำบาก
เล่า โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” ครั้น
ทรงตำหนิแล้วได้ทรงแสดงธรรมีกถารับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย ถ้า
เช่นนั้น สงฆ์จงลงวิเหสกกรรม๑ แก่ภิกษุฉันนะ
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงลงวิเหสกกรรมอย่างนี้ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศ
ให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า “วิเหสกกรรม” ได้แก่ การลงโทษภิกษุผู้ทำสงฆ์ให้ลำบาก คือภิกษุประพฤติไม่สมควร สงฆ์เรียกตัว
มาถามกลับนิ่งเฉยไม่ตอบ สงฆ์จึงสวดประกาศการที่เธอทำตัวเช่นนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๘๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๒.ภูตคามวรรค ๒.อัญญวาทกสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
กรรมวาจา
[๙๗] ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อฉันนะนี้ถูกไต่สวนอาบัติ
ท่ามกลางสงฆ์ ได้นิ่งเฉย ทำสงฆ์ให้ลำบาก ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงลงวิเหสกกรรม
แก่ภิกษุชื่อฉันนะ นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อฉันนะนี้ถูกไต่สวนอาบัติท่ามกลาง
สงฆ์ ได้นิ่งเฉย ทำสงฆ์ให้ลำบาก สงฆ์จึงลงวิเหสกกรรมแก่ภิกษุชื่อฉันนะ ท่านรูป
ใดเห็นด้วยกับการลงวิเหสกกรรมแก่ภิกษุชื่อฉันนะ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่
เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
วิเหสกกรรมสงฆ์ลงแก่ภิกษุชื่อฉันนะแล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง
ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้

ทรงบัญญัติสิกขาบท
ทีนั้น ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงตำหนิท่านพระฉันนะโดยประการต่าง ๆ แล้วได้
ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ฯลฯ แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบท
นี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระอนุบัญญัติ
[๙๘] ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะนำเอาเรื่องอื่นมากล่าวกลบเกลื่อน
เพราะทำสงฆ์ให้ลำบาก
เรื่องพระฉันนะ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๙๙] ที่ชื่อว่า นำเอาเรื่องอื่นมากล่าวกลบเกลื่อน คือ ภิกษุเมื่อถูกไต่สวน
วัตถุ๑ หรืออาบัติท่ามกลางสงฆ์ ไม่ต้องการจะบอก ไม่ต้องการจะเปิดเผยเรื่องนั้น

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า “วัตถุ” ในที่นี้หมายถึงเรื่องที่ถูกสงฆ์นำมาสอบสวน กรณีที่สงฆ์ยกขึ้นมาสอบสวน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๘๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๒.ภูตคามวรรค ๒.อัญญวาทกสิกขาบท บทภาชนีย์
กลับนำเอาเรื่องอื่นมากล่าวกลบเกลื่อนอีกเรื่องหนึ่งว่า “ใครต้อง ต้องอะไร ต้อง
ในเรื่องอะไร ต้องอย่างไร พวกท่านกล่าวถึงใคร กล่าวเรื่องอะไร” นี้ชื่อว่านำเอา
เรื่องอื่นมากล่าวกลบเกลื่อน
ที่ชื่อว่า ทำสงฆ์ให้ลำบาก คือ ภิกษุเมื่อถูกไต่สวนวัตถุหรืออาบัติท่ามกลาง
สงฆ์ ไม่ต้องการจะบอก ไม่ต้องการจะเปิดเผยเรื่องนั้น จึงนิ่งเฉย นี้ชื่อว่าทำสงฆ์ให้
ลำบาก

บทภาชนีย์
[๑๐๐] เมื่อสงฆ์ยังไม่ลงอัญญวาทกกรรม ภิกษุถูกไต่สวนวัตถุหรืออาบัติท่าม
กลางสงฆ์ ไม่ต้องการจะบอก ไม่ต้องการจะเปิดเผยเรื่องนั้น กลับนำเอาเรื่องอื่นมา
กล่าวกลบเกลื่อนอีกเรื่องหนึ่งว่า “ใครต้อง ต้องอะไร ต้องในเรื่องอะไร ต้อง
อย่างไร พวกท่านกล่าวถึงใคร กล่าวเรื่องอะไร” ต้องอาบัติทุกกฏ
เมื่อสงฆ์ยังไม่ลงวิเหสกกรรม ภิกษุถูกไต่สวนวัตถุหรืออาบัติท่ามกลางสงฆ์
ไม่ต้องการจะบอก ไม่ต้องการจะเปิดเผยเรื่องนั้น จึงนิ่งเฉยทำสงฆ์ให้ลำบาก ต้อง
อาบัติทุกกฏ
เมื่อสงฆ์ลงอัญญวาทกกรรม ภิกษุถูกไต่สวนวัตถุหรืออาบัติท่ามกลางสงฆ์
ไม่ต้องการจะบอก ไม่ต้องการจะเปิดเผยเรื่องนั้น กลับนำเอาเรื่องอื่นมากล่าวกลบ
เกลื่อนอีกเรื่องหนึ่งว่า “ใครต้อง ฯลฯ พวกท่านกล่าวเรื่องอะไร” ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เมื่อสงฆ์ลงวิเหสกกรรม ภิกษุถูกไต่สวนวัตถุหรืออาบัติท่ามกลางสงฆ์ ไม่
ต้องการจะบอก ไม่ต้องการจะเปิดเผยเรื่องนั้น จึงนิ่งเฉย ทำสงฆ์ให้ลำบาก ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์

ติกปาจิตตีย์
[๑๐๑] กรรมที่ทำถูกต้อง๑ ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์ เพราะนำเอาเรื่องอื่นมากล่าวกลบเกลื่อน เพราะทำสงฆ์ให้ลำบาก

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงอัญญวาทกกรรมและวิเหสกกรรม (วิ.อ. ๒/๑๐๑/๒๙๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๘๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๒.ภูตคามวรรค ๒.อัญญวาทกสิกขาบท อนาปัตติวาร
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะนำเอาเรื่องอื่นมา
กล่าวกลบเกลื่อน เพราะทำสงฆ์ให้ลำบาก
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เพราะนำเอาเรื่องอื่นมากล่าวกลบเกลื่อน เพราะทำสงฆ์ให้ลำบาก

ติกทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๐๒] ๑. ภิกษุไม่เข้าใจจึงถาม
๒. ภิกษุเป็นไข้ให้การไม่ได้
๓. ภิกษุไม่ยอมกล่าวเพราะคิดว่า สงฆ์จะมีความบาดหมางกัน
ทะเลาะกัน ขัดแย้งกัน หรือวิวาทกัน
๔. ภิกษุไม่ยอมกล่าวเพราะคิดว่า สงฆ์จักแตกแยก หรือสงฆ์จะ
ร้าวฉาน
๕. ภิกษุไม่ยอมกล่าวเพราะคิดว่า สงฆ์จักทำกรรมที่ไม่ถูกต้อง จะ
แยกพวกกันทำ หรือจะลงโทษภิกษุผู้ไม่ควรลงโทษ
๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

อัญญวาทกสิกขาบทที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๘๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๒.ภูตคามวรรค ๓.อุชฌาปนกสิกขาบท นิทานวัตถุ
๒. ภูตคามวรรค
๓. อุชฌาปนกสิกขาบท
ว่าด้วยการกล่าวให้เพ่งโทษ

เรื่องพระทัพพมัลลบุตร
[๑๐๓] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่
ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระทัพพมัลลบุตรจัดแจงเสนาสนะ
และแจกภัตตาหารสงฆ์
สมัยนั้น พระเมตติยะและพระภุมมชกะ๑ เป็นพระบวชใหม่ มีบุญน้อย
เสนาสนะของสงฆ์ชั้นเลว ภัตตาหารก็ชั้นเลว ตกถึงท่านทั้งสอง ท่านเหล่านั้นจึงกล่าว
ให้ภิกษุทั้งหลายเพ่งโทษ๒ท่านพระทัพพมัลลบุตรว่า “พระทัพพมัลลบุตรจัดแจง
เสนาสนะด้วยความชอบพอกัน๓ และแจกภัตตาหารด้วยความชอบพอกัน”
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ จึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระเมตติยะ
และพระภุมมชกะจึงกล่าวให้ภิกษุทั้งหลายเพ่งโทษท่านพระทัพพมัลลบุตรเล่า” ครั้น
ภิกษุเหล่านั้นตำหนิพระเมตติยะและพระภุมมชกะโดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่อง
นี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพระเมตติยะและพระภุมมชกะว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอกล่าว

เชิงอรรถ :
๑ อยู่ในกลุ่มพระ ๖ รูป ซึ่งเรียกว่า “ภิกษุฉัพพัคคีย์” ได้แก่ (๑) พระปัณฑุกะ (๒) พระโลหิตกะ (๓) พระ
เมตติยะ (๔) พระภุมมชกะ (๕) พระอัสสชิ (๖) พระปุนัพพสุกะ (ม.ม.อ ๑๗๕/๑๓๘)
๒ กล่าวให้ผู้อื่นเพ่งโทษ คือกล่าวให้ภิกษุทั้งหลายดูหมิ่นพระทัพพมัลลบุตร มองดูพระทัพพมัลลบุตร
อย่างดูหมิ่น หรือกล่าวให้คิดในทางไม่ดีในพระทัพพมัลลบุตร (วิ.อ. ๒/๑๐๓/๒๙๕)
๓ คือจัดเสนาสนะที่ประณีตเพื่อเพื่อนภิกษุที่คบหาสนิทสนมกับตน (วิ.อ. ๒/๑๐๓/๒๙๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๘๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๒.ภูตคามวรรค ๓.อุชฌาปนกสิกขาบท พระบัญญัติ
ให้ภิกษุทั้งหลายเพ่งโทษทัพพมัลลบุตร จริงหรือ” พระเมตติยะและพระภุมมชกะ
ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ
โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงกล่าวให้ภิกษุทั้งหลายเพ่งโทษทัพพมัลลบุตรเล่า
โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ”
แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะกล่าวให้ผู้อื่นเพ่งโทษ
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้

[๑๐๔] สมัยนั้น พระเมตติยะและพระภุมมชกะคิดว่า ภิกษุทั้งหลายเชื่อฟัง
พระบัญญัติว่า พระผู้มีพระภาคทรงห้ามการกล่าวให้ผู้อื่นเพ่งโทษ จึงบ่นว่าท่านพระ
ทัพพมัลลบุตรใกล้ ๆ ภิกษุทั้งหลายว่า “พระทัพพมัลลบุตรจัดแจงเสนาสนะด้วย
ความชอบพอกัน และแจกภัตตาหารด้วยความชอบพอกัน”
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ จึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระ
เมตติยะและพระภุมมชกะจึงบ่นว่าท่านพระทัพพมัลลบุตรเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้น
ตำหนิพระเมตติยะและพระภุมมชกะโดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงบัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามพระเมตติยะและพระภุมมชกะว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอบ่นว่าทัพพมัลลบุตร จริงหรือ” ท่านทั้ง ๒ ทูลรับ
ว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษ
ทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงบ่นว่าทัพพมัลลบุตรเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำ
อย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยก
สิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๘๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๒.ภูตคามวรรค ๓.อุชฌาปนกสิกขาบท บทภาชนีย์
พระอนุบัญญัติ
[๑๐๕] ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะกล่าวให้ผู้อื่นเพ่งโทษ เพราะ
บ่นว่า
เรื่องพระทัพพมัลลบุตร จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๑๐๖] ที่ชื่อว่า กล่าวให้ผู้อื่นเพ่งโทษ คือ ภิกษุต้องการจะทำให้เสียชื่อ
ต้องการจะทำให้อัปยศ ต้องการจะทำให้เก้อเขิน จึงกล่าวให้ภิกษุทั้งหลายเพ่งโทษ
หรือบ่นว่าอุปสัมบันที่สงฆ์แต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่จัดแจงเสนาสนะ แจกภัตตาหาร
แจกข้าวต้ม แจกผลไม้ แจกของเคี้ยวหรือแจกของเล็กน้อย ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
กรรมที่ทำถูกต้อง๑ ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เพราะกล่าวให้ผู้อื่นเพ่งโทษ เพราะบ่นว่า
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะกล่าวให้ผู้อื่นเพ่ง
โทษ เพราะบ่นว่า
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เพราะกล่าวให้ผู้อื่นเพ่งโทษ เพราะบ่นว่า

ทุกกฏ
ภิกษุกล่าวให้ผู้อื่นเพ่งโทษหรือบ่นว่าอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ

เชิงอรรถ :
๑ กรรม คือการสมมติภิกษุให้ทำหน้าที่เป็นผู้จัดแจงเสนาสนะเป็นต้น (วิ.อ. ๒/๑๐๖/๒๙๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๘๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๒.ภูตคามวรรค ๓.อุชฌาปนกสิกขาบท อนาปัตติวาร
ภิกษุต้องการจะทำให้เสียชื่อ ต้องการจะทำให้อัปยศ ต้องการจะทำอุปสัมบัน
ที่สงฆ์ไม่ได้แต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่จัดแจงเสนาสนะ แจกภัตตาหาร แจกข้าวต้ม แจก
ผลไม้ แจกของเคี้ยว หรือแจกของเล็กน้อย ให้เก้อเขิน จึงกล่าวให้ภิกษุทั้งหลาย
เพ่งโทษหรือบ่นว่าอุปสัมบันหรืออนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุต้องการจะทำให้เสียชื่อ ต้องการจะทำให้อัปยศ ต้องการจะทำอนุปสัมบัน
ที่สงฆ์แต่งตั้งก็ตาม ไม่ได้แต่งตั้งก็ตาม ให้เป็นเจ้าหน้าที่จัดแจงเสนาสนะ แจก
ภัตตาหาร แจกข้าวต้ม แจกผลไม้ แจกของเคี้ยวหรือแจกของเล็กน้อย ให้เก้อเขิน
จึงกล่าวให้ภิกษุทั้งหลายเพ่งโทษหรือบ่นว่าอุปสัมบันหรืออนุปสัมบัน ต้องอาบัติ
ทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกกต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๐๗] ๑. ภิกษุผู้กล่าวให้ผู้อื่นเพ่งโทษ หรือบ่นว่าภิกษุผู้มักทำด้วยความชอบ
ด้วยความชัง ด้วยความหลง ด้วยความกลัว
๒. ภิกษุวิกลจริต
๓. ภิกษุต้นบัญญัติ

อุชฌาปนกสิกขาบทที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๙๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๒.ภูตคามวรรค ๔.ปฐมเสนาสนสิกขาบท นิทานวัตถุ
๒. ภูตคามวรรค

๔. ปฐมเสนาสนสิกขาบท
ว่าด้วยเสนาสนะข้อที่ ๑

เรื่องภิกษุหลายรูป
[๑๐๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ในฤดูหนาว ภิกษุทั้งหลาย
จัดตั้งเสนาสนะในที่กลางแจ้งผึ่งกายกัน ครั้นเขาบอกเวลาภัตตาหาร เมื่อจะจากไป
ไม่เก็บ ไม่ใช้ให้เก็บเสนาสนะนั้น ไม่บอกมอบหมายพากันจากไปแล้ว เสนาสนะจึง
ถูกนํ้าค้างและฝนตกรด
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ จึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุ
ทั้งหลายจัดตั้งเสนาสนะในที่กลางแจ้ง เมื่อจะจากไปจึงไม่เก็บ ไม่ใช้ให้เก็บเสนาสนะ
นั้น ไม่บอกมอบหมายพากันจากไปเล่า เสนาสนะถูกนํ้าค้างและฝนตกรด” ครั้น
ภิกษุทั้งหลายตำหนิภิกษุเหล่านั้นโดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุทั้งหลายจัดตั้งเสนาสนะใน
ที่กลางแจ้ง เมื่อจะจากไปไม่เก็บ ไม่ใช้ให้เก็บเสนาสนะนั้น ไม่บอกมอบหมายพากัน
จากไป เสนาสนะถูกนํ้าค้างและฝนตกรด จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง
พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉน
โมฆบุรุษเหล่านั้น จัดตั้งเสนาสนะไว้ในที่กลางแจ้งแล้ว เมื่อจะจากไป จึงไม่เก็บเอง
ไม่ใช้ให้เก็บเสนาสนะนั้น ไม่บอกมอบหมาย พากันจากไป จนเสนาสนะถูกนํ้าค้าง
และฝนตกรดเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้
เลื่อมใส ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๙๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๒.ภูตคามวรรค ๔.ปฐมเสนาสนสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
พระบัญญัติ
[๑๐๙] ก็ ภิกษุใดวางไว้ หรือใช้ให้วางไว้ซึ่งเสนาสนะ คือ เตียง ตั่ง ฟูก
หรือเก้าอี้ของสงฆ์ในที่กลางแจ้ง เมื่อจะจากไป ไม่เก็บ หรือไม่ใช้ให้เก็บ
เสนาสนะนั้น หรือไม่บอกมอบหมาย ไปเสีย ต้องอาบัติปาจิตตีย์
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องภิกษุหลายรูป จบ

ทรงอนุญาตให้เก็บเสนาสนะ
[๑๑๐] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายอยู่ในที่กลางแจ้ง รีบเก็บเสนาสนะก่อนเวลา
อันสมควร พระผู้มีพระภาคทอดพระเนตรเห็นภิกษุเหล่านั้นรีบเก็บเสนาสนะก่อน
เวลาอันสมควร ครั้นแล้วทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่งกับภิกษุ
ทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เก็บเสนาสนะไว้ในมณฑป โคนไม้ หรือใน
ที่ซึ่งกาหรือเหยี่ยวจะไม่ถ่ายมูลรดได้ตลอด ๘ เดือนที่ไม่ใช่ฤดูฝน”

สิกขาบทวิภังค์
[๑๑๑] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ของสงฆ์ ได้แก่ ของที่มีผู้ถวาย บริจาคแก่สงฆ์
ที่ชื่อว่า เตียง ได้แก่ เตียง ๔ ชนิด คือ (๑) เตียงมีแม่แคร่สอดเข้าในขา
(๒) เตียงมีแคร่ติดกับขา (๓) เตียงมีขาดังก้ามปู (๔) เตียงมีขาจดแม่แคร่
ที่ชื่อว่า ตั่ง ได้แก่ตั่ง ๔ ชนิด คือ (๑) ตั่งมีแม่แคร่สอดเข้าในขา (๒) ตั่งมี
แม่แคร่ติดกับขา (๓) ตั่งมีขาดังก้ามปู (๔) ตั่งมีขาจดแม่แคร่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๙๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๒.ภูตคามวรรค ๔.ปฐมเสนาสนสิกขาบท บทภาชนีย์
ที่ชื่อว่า ฟูก ได้แก่ ฟูก ๕ ชนิด คือ (๑) ฟูกขนสัตว์ (๒) ฟูกเศษผ้า
(๓) ฟูกเปลือกไม้ (๔) ฟูกหญ้า (๕) ฟูกใบไม้
ที่ชื่อว่า เก้าอี้ ได้แก่ เก้าอี้ที่เขาถักพื้นสำหรับนั่งภายใน ทำด้วยเปลือกไม้ก็มี
ทำด้วยหญ้าแฝกก็มี ทำด้วยหญ้ามุงกระต่ายก็มี ทำด้วยหญ้าปล้องก็มี
คำว่า วางไว้ คือ วางไว้ด้วยตนเอง
คำว่า ใช้ให้วางไว้ คือ ใช้ให้ผู้อื่นให้วางไว้
ภิกษุใช้อนุปสัมบันให้วางไว้ เป็นภาระของภิกษุนั้น ใช้อุปสัมบันให้วางไว้ เป็น
ภาระของผู้วางไว้
คำว่า เมื่อจะจากไปไม่เก็บ...เสนาสนะนั้น คือ ไม่เก็บด้วยตนเอง
คำว่า ไม่ใช้ให้เก็บ คือ ไม่ใช้ให้ผู้อื่นเก็บ
คำว่า หรือไม่บอกมอบหมาย ไปเสีย ความว่า ภิกษุไม่บอกมอบหมาย
ภิกษุ สามเณรหรือคนวัด เดินล่วงเลฑฑุบาต๑ ของบุรุษมีกำลังปานกลางไป ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๑๑๒] เสนาสนะของสงฆ์ ภิกษุสำคัญว่าเป็นของสงฆ์ วางไว้หรือใช้ให้วางไว้
ในที่กลางแจ้ง เมื่อจะจากไป ไม่เก็บ หรือไม่ใช้ให้เก็บเสนาสนะนั้น หรือไม่บอก
มอบหมาย ไปเสีย ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เสนาสนะของสงฆ์ ภิกษุไม่แน่ใจ วางไว้ หรือใช้ให้วางไว้ในที่กลางแจ้ง เมื่อ
จะจากไป ไม่เก็บ หรือไม่ใช้ให้เก็บเสนาสนะนั้น หรือไม่บอกมอบหมาย ไปเสีย
ต้องอาบัติปาจิตตีย์

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า “เลฑฑุบาต” ได้แก่ ระยะโยนหรือขว้างก้อนดินไปตก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๙๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๒.ภูตคามวรรค ๔.ปฐมเสนาสนสิกขาบท อนาปัตติวาร
เสนาสนะของสงฆ์ ภิกษุสำคัญว่าเป็นของส่วนบุคคล วางไว้ หรือใช้ให้วางไว้
ในที่กลางแจ้ง เมื่อจะจากไป ไม่เก็บ หรือไม่ใช้ให้เก็บเสนาสนะนั้น หรือไม่บอก
มอบหมาย ไปเสีย ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ทุกกฏ
ภิกษุวางไว้ หรือใช้ให้วางผ้าปูรักษาผิวพื้น ผ้าปูเตียง ผ้าปูพื้น เสื่ออ่อน
ท่อนหนัง ที่เช็ดเท้า ตั่งกระดานไว้ในที่กลางแจ้ง เมื่อจะจากไป ไม่เก็บ หรือไม่ใช้
ให้เก็บผ้าปูรักษาผิวเป็นต้นนั้น หรือไม่บอกมอบหมาย ไปเสีย ต้องอาบัติทุกกฏ
เสนาสนะส่วนบุคคล ภิกษุสำคัญว่าเป็นของสงฆ์ ต้องอาบัติทุกกฏ
เสนาสนะส่วนบุคคล ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
เสนาสนะส่วนบุคคล ภิกษุสำคัญว่าเป็นของส่วนบุคคล ต้องอาบัติทุกกฏ
เพราะเป็นของส่วนบุคคลของผู้อื่น เสนาสนะเป็นของส่วนบุคคลของตน ไม่
ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๑๓] ๑. ภิกษุเก็บไว้แล้วจึงไป
๒. ภิกษุใช้ให้เก็บไว้แล้วจึงไป
๓. ภิกษุบอกมอบหมายไว้แล้วจึงไป
๔. ภิกษุนำออกผึ่งแดดไว้ จากไปด้วยคิดว่าจะกลับมาเก็บ
๕. ภิกษุผู้มีเหตุบางอย่างขัดขวาง
๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๗. ภิกษุวิกลจริต
๘. ภิกษุต้นบัญญัติ

ปฐมเสนาสนสิกขาบทที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๙๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๒.ภูตคามวรรค ๕.ทุติยเสนาสนสิกขาบท นิทานวัตถุ
๒. ภูตคามวรรค

๕. ทุติยเสนาสนสิกขาบท
ว่าด้วยเสนาสนะข้อที่ ๒

เรื่องพระสัตตรสวัคคีย์
[๑๑๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์เป็นสหาย
กัน ภิกษุเหล่านั้นเมื่อจะอยู่ก็อยู่ด้วยกัน เมื่อจะจากไปก็จากไปพร้อมกัน พวกท่านปู
ที่นอนในวิหารของสงฆ์แห่งหนึ่ง เมื่อจะจากไป ไม่เก็บ ไม่ใช้ให้เก็บที่นอนนั้น ไม่
บอกมอบหมาย พากันจากไป เสนาสนะถูกตัวปลวกกัด บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ
จึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์ปูที่นอนในวิหารของ
สงฆ์แล้ว เมื่อจะจากไปไม่เก็บ ไม่ใช้ให้เก็บที่นอนนั้น ไม่บอกมอบหมาย พากันจาก
ไปจนเสนาสนะถูกตัวปลวกกัดเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิพวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์
โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนั้นไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์ปูที่นอน
ในวิหารของสงฆ์แล้วเมื่อจะจากไป ไม่เก็บ ไม่ใช้ให้เก็บที่นอนนั้น ไม่บอกมอบหมาย
พากันจากไป จนเสนาสนะถูกตัวปลวกกัด จริงหรือ” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับว่า “จริง
พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉน
โมฆบุรุษเหล่านั้นปูที่นอนในวิหารของสงฆ์แล้ว เมื่อจะจากไป จึงไม่เก็บ ไม่ใช้ให้เก็บ
ไม่บอกมอบหมาย พากันจากไปจนเสนาสนะถูกตัวปลวกกัดเล่า ภิกษุทั้งหลาย การ
กระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุ
ทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๙๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๒.ภูตคามวรรค ๕.ทุติยเสนาสนสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
พระบัญญัติ
[๑๑๕] ก็ ภิกษุใดปูหรือใช้ให้ปูที่นอนในวิหารของสงฆ์ เมื่อจะจากไป
ไม่เก็บ หรือไม่ใช้ให้เก็บที่นอนนั้น หรือไม่บอกมอบหมาย ไปเสีย ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
เรื่องพระสัตตรสวัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๑๑๖] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
วิหารที่ชื่อว่า ของสงฆ์ ได้แก่ วิหารที่มีผู้ถวาย บริจาคแก่สงฆ์
ที่ชื่อว่า ที่นอน ได้แก่ ฟูก ผ้าปูรักษาผิวพื้น ผ้าปูเตียง ผ้าปูพื้น เสื่ออ่อน
ท่อนหนัง ผ้าปูนั่ง ผ้าปูนอน เครื่องปูทำด้วยหญ้า เครื่องปูทำด้วยใบไม้
คำว่า ปู คือ ปูด้วยตนเอง
คำว่า ใช้ให้ปู คือ ใช้ผู้อื่นให้ปู
คำว่า เมื่อจะจากไปไม่เก็บ...ที่นอนนั้น คือ ไม่เก็บด้วยตนเอง
คำว่า ไม่ใช้ให้เก็บ คือ ไม่ใช้ผู้อื่นให้เก็บ
คำว่า หรือไม่บอกมอบหมาย ไปเสีย ความว่า ภิกษุไม่บอกมอบหมาย
ภิกษุ สามเณรหรือคนวัด เดินล่วงเลยเครื่องล้อมอารามที่มีรั้วล้อมไว้ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์ เดินล่วงเลยอุปจารอารามที่ไม่มีรั้วล้อมไว้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๙๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๒.ภูตคามวรรค ๕.ทุติยเสนาสนสิกขาบท บทภาชนีย์
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
วิหารของสงฆ์ ภิกษุสำคัญว่าเป็นของสงฆ์ ปูหรือใช้ให้ปูที่นอน เมื่อจะจาก
ไป ไม่เก็บ หรือไม่ใช้ให้เก็บที่นอนนั้น หรือไม่บอกมอบหมาย ไปเสีย ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
วิหารของสงฆ์ ภิกษุไม่แน่ใจ ปูหรือใช้ให้ปูที่นอน เมื่อจะจากไป ไม่เก็บ หรือ
ไม่ใช้ให้เก็บที่นอนนั้น หรือไม่บอกมอบหมาย ไปเสีย ต้องอาบัติปาจิตตีย์
วิหารของสงฆ์ ภิกษุสำคัญว่าเป็นของส่วนบุคคล ปูหรือใช้ให้ปูที่นอน เมื่อจะ
จากไป ไม่เก็บ หรือไม่ใช้ให้เก็บที่นอนนั้น หรือไม่บอกมอบหมาย ไปเสีย ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์

ทุกกฏ
[๑๑๗] ภิกษุปูหรือใช้ให้ปูที่นอนไว้ ในอุปจารวิหาร ในโรงฉัน ในมณฑป
หรือที่โคนไม้ เมื่อจะจากไป ไม่เก็บ หรือไม่ใช้ให้เก็บที่นอนนั้น หรือไม่บอกมอบ
หมาย ไปเสีย ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุจัดตั้งไว้ หรือใช้ให้จัดตั้งเตียงหรือตั่งไว้ในวิหาร ในอุปจารวิหาร ในโรงฉัน
ในมณฑป หรือที่โคนไม้ เมื่อจะจากไป ไม่เก็บ หรือไม่ใช้ให้เก็บเตียงหรือตั่งนั้น
หรือไม่บอกมอบหมาย ไปเสีย ต้องอาบัติทุกกฏ
วิหารส่วนบุคคล ภิกษุสำคัญว่าเป็นของสงฆ์ ต้องอาบัติทุกกฏ
วิหารส่วนบุคคล ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
วิหารส่วนบุคคล ภิกษุสำคัญว่าเป็นของส่วนบุคคล ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะ
เป็นของส่วนบุคคลของผู้อื่น วิหารเป็นของส่วนบุคคลของตน ไม่ต้องอาบัติ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๙๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๒.ภูตคามวรรค ๕.ทุติยเสนาสนสิกขาบท อนาปัตติวาร
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๑๘] ๑. ภิกษุเก็บไว้แล้วจึงไป
๒. ภิกษุใช้ให้เก็บไว้แล้วจึงไป
๓. ภิกษุบอกมอบหมายไว้แล้วจึงไป
๔. ภิกษุผู้ไม่เก็บเสนาสนะที่มีเหตุบางอย่างขัดขวาง
๕. ภิกษุเกิดห่วงใยไปยืนในที่นั้นบอกมอบหมาย
๖. ภิกษุผู้มีเหตุบางอย่างขัดขวาง
๗. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๘. ภิกษุวิกลจริต
๙. ภิกษุต้นบัญญัติ

ทุติยเสนาสนสิกขาบทที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๙๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๒.ภูตคามวรรค ๖.อนุปขัชชสิกขาบท นิทานวัตถุ
๒. ภูตคามวรรค

๖. อนุปขัชชสิกขาบท
ว่าด้วยการเข้าไปแทรกแซง

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๑๑๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์กีดกันที่นอน
ดี ๆ เอาไว้ ให้ย้ายภิกษุผู้เป็นเถระออกไป ทีนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ได้มีความคิด
ว่า “พวกเราจะจำพรรษาในที่นี้ด้วยอุบายอย่างไรหนอ” ลำดับนั้น พวกภิกษุ
ฉัพพัคคีย์จึงเข้าไปนอนแทรกแซงภิกษุผู้เป็นเถระด้วยตั้งใจว่า เมื่อท่านมีความคับใจ
ก็จักจากไปเอง
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ จึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์จึงเข้าไปนอนแทรกแซงภิกษุผู้เป็นเถระเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิ
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค
ให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอเข้าไปนอนแทรก
แซงภิกษุผู้เป็นเถระจริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึง
เข้าไปนอนแทรกแซงภิกษุผู้เป็นเถระเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้
ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้น
แสดงดังนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๙๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๒.ภูตคามวรรค ๖.อนุปขัชชสิกขาบท บทภาชนีย์
พระบัญญัติ
[๑๒๐] ก็ ภิกษุใดรู้อยู่ เข้าไปนอนแทรกแซงภิกษุผู้เข้าไปอยู่ในวิหาร
ของสงฆ์ก่อนด้วยประสงค์ว่า “ท่านมีความคับใจก็จักจากไปเอง” ประสงค์เพียง
เท่านี้ไม่มีอะไรอื่น ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๑๒๑] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
วิหารที่ชื่อว่า ของสงฆ์ ได้แก่ วิหารที่มีผู้ถวาย บริจาคแก่สงฆ์
ที่ชื่อว่า รู้ คือ รู้ว่า “เป็นภิกษุผู้เฒ่า” รู้ว่า “เป็นภิกษุผู้เป็นไข้” หรือรู้ว่า
“เป็นภิกษุที่สงฆ์มอบวิหารให้”
คำว่า เข้าไปแทรกแซง คือ เข้าไปเบียดเสียด
คำว่า นอน ความว่า ภิกษุปูไว้หรือใช้ให้ปูที่นอนไว้ในอุปจารเตียง ตั่งหรือ
ประตูเข้าออก ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุนั่งหรือนอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
คำว่า ประสงค์เพียงเท่านี้ ความว่า ไม่มีเหตุผลอย่างอื่นในการเข้าไปนอน
แทรกแซง

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๑๒๒] วิหารของสงฆ์ ภิกษุสำคัญว่าเป็นของสงฆ์ เข้าไปนอนแทรกแซง
ต้องอาบัติปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๐๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๒.ภูตคามวรรค ๖.อนุปขัชชสิกขาบท อนาปัตติวาร
วิหารของสงฆ์ ภิกษุไม่แน่ใจ เข้าไปนอนแทรกแซง ต้องอาบัติปาจิตตีย์
วิหารของสงฆ์ ภิกษุสำคัญว่าเป็นของส่วนบุคคล เข้าไปนอนแทรกแซง ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์

ทุกกฏ
ภิกษุปูหรือใช้ให้ปูที่นอน เว้นอุปจารเตียง ตั่งหรือประตูเข้าออก ต้องอาบัติ
ทุกกฏ ภิกษุนั่งหรือนอน ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุปูหรือใช้ให้ปูที่นอนในอุปจารวิหาร ในโรงฉัน ในมณฑป ที่โคนไม้หรือ
ในที่กลางแจ้ง ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุนั่งหรือนอน ต้องอาบัติทุกกฏ
วิหารส่วนบุคคล ภิกษุสำคัญว่าเป็นของสงฆ์ ต้องอาบัติทุกกฏ
วิหารส่วนบุคคล ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
วิหารส่วนบุคคล ภิกษุสำคัญว่าเป็นของส่วนบุคคล ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะ
เป็นของส่วนบุคคลของผู้อื่น วิหารเป็นส่วนบุคคลของตน ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๒๓] ๑. ภิกษุผู้เป็นไข้เข้าไปอยู่
๒. ภิกษุถูกความหนาวหรือความร้อนเบียดเบียนแล้วเข้าไปอยู่
๓. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๔. ภิกษุวิกลจริต
๕. ภิกษุต้นบัญญัติ

อนุปขัชชสิกขาบทที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๐๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๒.ภูตคามวรรค ๗.นิกกัฑฒนสิกขาบท นิทานวัตถุ
๒. ภูตคามวรรค

๗. นิกกัฑฒนสิกขาบท
ว่าด้วยการฉุดลากออก

เรื่องพระสัตตรสวัคคีย์
[๑๒๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์ซ่อมแซม
วิหารหลังใหญ่แห่งหนึ่งอยู่สุดเขตอารามด้วยหมายใจว่า พวกเราจักจำพรรษาในที่นี้
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เห็นพวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์ซ่อมแซมวิหาร ครั้นเห็นแล้ว
จึงกล่าวกันอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์เหล่านี้ซ่อมแซมวิหาร
กัน มาเถิด พวกเราจักขับไล่ภิกษุเหล่านั้นออกไป”
ภิกษุบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย โปรดรอให้ภิกษุเหล่านั้นซ่อม
แซมวิหารเถิด เมื่อซ่อมแซมเสร็จแล้ว พวกเราจึงขับไล่ออกไป”
เมื่อพวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์ซ่อมแซมวิหารเสร็จ พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ได้กล่าว
กับพวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์ดังนี้ว่า “พวกท่านจงย้ายออกไป วิหารเป็นของพวกเรา”
พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์กล่าวว่า “ท่านทั้งหลาย พวกท่านน่าจะบอกก่อน
พวกเราจะได้ซ่อมแซมวิหารหลังอื่น”
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์กล่าวว่า “ท่านทั้งหลาย วิหารเป็นของสงฆ์มิใช่หรือ”
พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์ตอบว่า “ใช่ ท่านทั้งหลาย วิหารเป็นของสงฆ์”
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์กล่าวว่า “พวกท่านจงย้ายออกไป วิหารเป็นของพวกเรา”
พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์กล่าวว่า “วิหารหลังใหญ่ พวกท่านก็อยู่ได้ พวกเรา
ก็อยู่ได้”
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์กล่าวว่า “พวกท่านจงย้ายออกไป วิหารเป็นของพวกเรา”
แล้วโกรธ ไม่พอใจ จับคอลากออกไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๐๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๒.ภูตคามวรรค ๗.นิกกัฑฒนสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์เหล่านั้นเมื่อถูกลากออกไป ก็ร้องไห้ ภิกษุทั้งหลาย
กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย พวกท่านร้องไห้ทำไม”
พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์กล่าวว่า “ท่านทั้งหลาย พวกภิกษุฉัพพัคคีย์โกรธ ไม่
พอใจ ฉุดลากพวกกระผมออกจากวิหารของสงฆ์”
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ จึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์จึงโกรธ ไม่พอใจ ฉุดลากภิกษุทั้งหลายออกจากวิหารของสงฆ์เล่า”
ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงบัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย
ทราบว่า พวกเธอโกรธ ไม่พอใจ ฉุดลากภิกษุทั้งหลายออกจากวิหารของสงฆ์ จริง
หรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า
ทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงโกรธ ไม่พอใจ ฉุดลากภิกษุ
ทั้งหลายออกจากวิหารของสงฆ์เล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำ
คนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้น
แสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๑๒๕] ก็ ภิกษุใดโกรธ ไม่พอใจ ฉุดลาก หรือใช้ให้ฉุดลากภิกษุออกจาก
วิหารของสงฆ์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องพระสัตตรสวัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๑๒๖] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๐๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๒.ภูตคามวรรค ๗.นิกกัฑฒนสิกขาบท บทภาชนีย์
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
คำว่า ภิกษุ ได้แก่ ภิกษุอื่น
คำว่า โกรธ ไม่พอใจ คือ ไม่ชอบใจ แค้นใจ เจ็บใจ
วิหารที่ชื่อว่า ของสงฆ์ ได้แก่ วิหารที่มีผู้ถวาย บริจาคแก่สงฆ์
คำว่า ฉุดลาก คือ จับในห้องฉุดลากออกไปไว้หน้าห้อง ต้องอาบัติปาจิตตีย์
จับที่หน้าห้องฉุดลากออกไปข้างนอก ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ภิกษุฉุดลากพ้นประตู
หลายประตูด้วยความพยายามครั้งเดียว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
คำว่า ใช้ให้ฉุดลาก ความว่า ภิกษุสั่งผู้อื่น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ผู้รับคำสั่ง
ครั้งเดียว แต่ฉุดลากออกไปพ้นหลายประตู ภิกษุผู้สั่ง ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๑๒๗] วิหารของสงฆ์ ภิกษุสำคัญว่าเป็นของสงฆ์ โกรธ ไม่พอใจ ฉุดลาก
หรือใช้ให้ฉุดลาก ต้องอาบัติปาจิตตีย์
วิหารของสงฆ์ ภิกษุไม่แน่ใจ โกรธ ไม่พอใจ ฉุดลาก หรือใช้ให้ฉุดลาก
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
วิหารของสงฆ์ ภิกษุสำคัญว่าเป็นของส่วนบุคคล โกรธ ไม่พอใจ ฉุดลาก
หรือใช้ให้ฉุดลาก ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ทุกกฏ
ภิกษุฉุดลาก หรือใช้ให้ฉุดลากบริขารของภิกษุนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุฉุดลาก หรือใช้ให้ฉุดลากออกจากอุปจารวิหาร จากโรงฉัน จากมณฑป
จากโคนไม้ หรือจากที่กลางแจ้ง ต้องอาบัติทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๐๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๒.ภูตคามวรรค ๗.นิกกัฑฒนสิกขาบท อนาปัตติวาร
ภิกษุฉุดลาก หรือใช้ให้ฉุดลากบริขารของภิกษุนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุฉุดลาก หรือใช้ให้ฉุดลากอนุปสัมบันออกจากวิหาร จากอุปจารวิหาร
จากโรงฉัน จากมณฑป จากโคนไม้ หรือจากที่กลางแจ้ง ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุฉุดลาก หรือใช้ให้ฉุดลากบริขารของอนุปสัมบันนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ
วิหารของส่วนบุคคล ภิกษุสำคัญว่าเป็นของสงฆ์ ต้องอาบัติทุกกฏ
วิหารของส่วนบุคคล ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
วิหารของส่วนบุคคล ภิกษุสำคัญว่าเป็นของส่วนบุคคล ต้องอาบัติทุกกฏ
เพราะเป็นของส่วนบุคคลของผู้อื่น วิหารส่วนบุคคลของตน ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๒๘] ๑. ภิกษุฉุดลาก หรือใช้ให้ฉุดลากภิกษุอลัชชี
๒. ภิกษุฉุดลาก หรือใช้ให้ฉุดลากบริขารของภิกษุอลัชชี
๓. ภิกษุฉุดลาก หรือใช้ให้ฉุดลากภิกษุวิกลจริต
๔. ภิกษุฉุดลาก หรือใช้ให้ฉุดลากบริขารของภิกษุวิกลจริต
๕. ภิกษุฉุดลาก หรือใช้ให้ฉุดลากภิกษุผู้ก่อความบาดหมาง ก่อ
ความทะเลาะ ก่อการวิวาท ก่อให้เกิดการทุ่มเถียง หรือก่อ
อธิกรณ์ในสงฆ์
๖. ภิกษุฉุดลาก หรือใช้ให้ฉุดลากบริขารของภิกษุผู้ก่อเหตุเหล่านั้น
๗. ภิกษุฉุดลาก หรือใช้ให้ฉุดลากอันเตวาสิกหรือสัทธิวิหาริกผู้ไม่
ประพฤติโดยชอบ
๘. ภิกษุฉุดลาก หรือใช้ให้ฉุดลากบริขารของอันเตวาสิกหรือ
สัทธิวิหาริกผู้เช่นนั้น
๙. ภิกษุวิกลจริต
๑๐. ภิกษุต้นบัญญัติ

นิกกัฑฒนสิกขาบทที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๐๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๒.ภูตคามวรรค ๘.เวหาสกุฏิสิกขาบท นิทานวัตถุ
๒. ภูตคามวรรค

๘. เวหาสกุฏิสิกขาบท
ว่าด้วยกุฎีชั้นลอย

เรื่องภิกษุ ๒ รูป
[๑๒๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุ ๒ รูปอยู่บนกุฎีชั้นลอย๑ ใน
วิหารของสงฆ์ รูปหนึ่งอยู่ชั้นล่าง อีกรูปหนึ่งอยู่ชั้นบน รูปที่อยู่ชั้นบนนั่งอย่างแรงบน
เตียงชนิดที่มีเท้าเสียบ(ไม่มีลิ่มสลัก) เท้าเตียงตกโดนศีรษะรูปที่นั่งอยู่ชั้นล่างจนท่าน
ร้องลั่น ภิกษุทั้งหลายวิ่งเข้าไปหาแล้วได้กล่าวดังนี้ว่า “ท่าน ท่านส่งเสียงทำไม”
ภิกษุรูปที่นั่งอยู่ชั้นล่างจึงบอกเรื่องนั้นให้ภิกษุทั้งหลายทราบ
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ จึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุจึงนั่ง
อย่างแรงบนเตียงมีเท้าเสียบบนกุฎีชั้นลอยในวิหารของสงฆ์เล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลาย
ตำหนิภิกษุนั้นโดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ

ทรงบัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุนั้นว่า “ภิกษุ ทราบว่า เธอนั่ง
อย่างแรงบนเตียงมีเท้าเสียบบนกุฎีชั้นลอยในวิหารของสงฆ์จริงหรือ” ภิกษุนั้นทูลรับ
ว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษ
ไฉนเธอจึงนั่งอย่างแรงบนเตียงมีเท้าเสียบบนกุฎีชั้นลอยในวิหารของสงฆ์เล่า โมฆบุรุษ
การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุ
ทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

เชิงอรรถ :
๑ กุฎีชั้นลอย คือกุฎีมีพื้น ๒ ชั้นหรือ ๓ ชั้น แต่มิได้ปูพื้นชั้นบน รอดที่คานสูงพอพ้นศีรษะ (วิ.อ. ๒/
๑๒๙-๑๓๑/๓๐๙-๓๑๐), ภิกษุเอาเตียงซึ่งมิได้ใส่เดือยสลักเท้าเตียงวางพาด เมื่อนั่งอย่างแรง เท้าเตียง
จึงหลุดใส่ศีรษะภิกษุที่อยู่ชั้นล่าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๐๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๒.ภูตคามวรรค ๘.เวหาสกุฏิสิกขาบท บทภาชนีย์
พระบัญญัติ
[๑๓๐] ก็ ภิกษุใดนั่ง หรือนอนบนเตียง หรือบนตั่งอันมีเท้าเสียบ บนกุฎี
ชั้นลอยในวิหารของสงฆ์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุ ๒ รูป จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๑๓๑] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
วิหารที่ชื่อว่า ของสงฆ์ ได้แก่ วิหารที่มีผู้ถวาย บริจาคแก่สงฆ์
ที่ชื่อว่า กุฎีชั้นลอย ได้แก่ กุฎีชั้นลอยสูงจนศีรษะบุรุษกลางคนไม่กระทบ
เตียงที่ชื่อว่า มีเท้าเสียบ คือ สอดเท้าเสียบติดไว้ในตัวเตียง
ตั่งที่ชื่อว่า มีเท้าเสียบ คือ สอดเท้าเสียบติดไว้ในตัวตั่ง
คำว่า นั่ง คือ ภิกษุนั่งบนเตียงหรือบนตั่งนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์
คำว่า นอน คือ ภิกษุนอนบนเตียงหรือบนตั่งนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๑๓๒] วิหารของสงฆ์ ภิกษุสำคัญว่าเป็นของสงฆ์ นั่ง หรือนอนบนเตียงหรือ
บนตั่งมีเท้าเสียบบนกุฎีชั้นลอย ต้องอาบัติปาจิตตีย์
วิหารของสงฆ์ ภิกษุไม่แน่ใจ นั่ง หรือนอนบนเตียงหรือบนตั่งมีเท้าเสียบบนกุฎี
ชั้นลอย ต้องอาบัติปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๐๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๒.ภูตคามวรรค ๘.เวหาสกุฏิสิกขาบท อนาปัตติวาร
วิหารของสงฆ์ ภิกษุสำคัญว่าเป็นของส่วนบุคคล นั่ง หรือนอนบนเตียงหรือ
บนตั่งมีเท้าเสียบบนกุฎีชั้นลอย ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ติกทุกกฏ
วิหารส่วนบุคคล ภิกษุสำคัญว่าเป็นของสงฆ์ ต้องอาบัติทุกกฏ
วิหารส่วนบุคคล ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
วิหารส่วนบุคคล ภิกษุสำคัญว่าเป็นของส่วนบุคคล ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะ
เป็นของส่วนบุคคลของผู้อื่น วิหารส่วนบุคคลของตน ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๓๓] ๑. ภิกษุนั่งบนที่ที่ไม่ใช่กุฎีชั้นลอย
๒. ภิกษุนั่งบนกุฎีชั้นลอยสูงพอกระทบศีรษะ
๓. ภิกษุนั่งบนที่ที่ข้างล่างไม่เป็นที่อยู่
๔. ภิกษุนั่งบนกุฎีชั้นลอยปูพื้นไว้
๕. ภิกษุนั่งบนกุฎีชั้นลอยมีเท้าเตียงหรือเท้าตั่งตรึงสลักกับตัว
๖. ภิกษุยืนบนเตียงหรือตั่งหยิบหรือพาดจีวรได้
๗. ภิกษุวิกลจริต
๘. ภิกษุต้นบัญญัติ

เวหาสกุฏิสิกขาบทที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๐๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๒.ภูตคามวรรค ๙.มหัลลกวิหารสิกขาบท นิทานวัตถุ
๒. ภูตคามวรรค

๙. มหัลลกวิหารสิกขาบท
ว่าด้วยการสร้างวิหารใหญ่

เรื่องพระฉันนะ
[๑๓๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม เขต
กรุงโกสัมพี ครั้งนั้น มหาอมาตย์ผู้เป็นอุปัฏฐากของท่านพระฉันนะ สร้างวิหารถวาย
ท่านพระฉันนะ ทีนั้น ท่านพระฉันนะสั่งให้มุงให้ฉาบทาวิหารที่สร้างเสร็จแล้วหลาย ๆ
ครั้ง วิหารมีน้ำหนักมากจึงพังลงมา ต่อมา ท่านพระฉันนะจึงหาเก็บหญ้าและไม้ ทำ
ให้นาข้าวเหนียวของพราหมณ์คนหนึ่งเสียหาย พราหมณ์นั้นตำหนิ ประณาม
โพนทะนาว่า “ไฉนพระคุณเจ้าทั้งหลายจึงทำนาข้าวเหนียวของเราให้เสียหายเล่า”
ภิกษุทั้งหลาย ได้ยินพราหมณ์ตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้
มักน้อย ฯลฯ จึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนท่านพระฉันนะจึงให้มุง
ให้ฉาบทาวิหารที่สร้างเสร็จแล้วหลาย ๆ ครั้งเล่า วิหารมีน้ำหนักมาก จึงพังลงมา”
ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิท่านพระฉันนะโดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบ
ทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามท่านพระฉันนะว่า “ฉันนะ ทราบว่า เธอให้มุงให้ฉาบทาวิหารที่สร้างเสร็จ
แล้วหลาย ๆ ครั้ง วิหารมีน้ำหนักมาก จึงพังลงมา จริงหรือ” ท่านพระฉันนะทูลรับว่า
“จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษ ไฉน
เธอจึงให้มุงให้ฉาบทาวิหารที่สร้างเสร็จแล้วหลาย ๆ ครั้ง จนวิหารรับน้ำหนักมาก
พังลงมาเล่า โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ”
แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๐๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๒.ภูตคามวรรค ๙.มหัลลกวิหารสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
พระบัญญัติ
[๑๓๕] ก็ ภิกษุจะสร้างวิหารหลังใหญ่ จะติดตั้งบานประตูใกล้วงกบประตู
และตบแต่งบานหน้าต่าง๑ ควรยืนในที่ที่ปราศจากของเขียว ดำเนินการมุง
หลังคาได้ ๒-๓ ชั้น๒ ถ้าเธอดำเนินการเกินกว่านั้น แม้จะยืนในที่ที่ปราศจาก
ของเขียว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องพระฉันนะ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๑๓๖] วิหารที่ชื่อว่า หลังใหญ่ ท่านกล่าวถึงวิหารที่มีเจ้าของ
ที่ชื่อว่า วิหาร ได้แก่ ที่อยู่ซึ่งโบกฉาบภายในหรือภายนอก หรือโบกฉาบ
ทั้งภายในภายนอก
คำว่า สร้าง คือ สร้างเอง หรือใช้คนอื่นสร้าง
คำว่า ใกล้วงกบประตู คือ ชั่วระยะหัตถบาสรอบวงกบ
คำว่า จะติดตั้งบานประตู คือ วางบานประตู
คำว่า ตบแต่งบานหน้าต่าง คือ ฉาบทาบานหน้าต่างให้มีสีขาว ให้มีสีดำ
ให้มีสียางไม้ เขียนลวดลายดอกไม้ เขียนลวดลายเถาวัลย์ จักเป็นฟันมังกร หรือ
เขียนลวดลายดอกจอก

เชิงอรรถ :
๑ บานประตูและบานหน้าต่างวิหาร ต้องเปิด-ปิด เมื่อเปิดจะกระทบฝาผนังวิหาร เมื่อปิดจะกระทบวงกบ ทำ
ให้ฝาผนังสั่นสะเทือนจนดินเหนียวที่พอกฝาผนังกะเทาะตกลงมา พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้ฉาบทา
พอกฝาผนังบริเวณใกล้ ๆ บานประตู บานหน้าต่างวิหารได้ เพื่อทำให้คงทนถาวร (วิ.อ. ๒/๑๓/๓๑๑-๓๑๒,
กงฺขา.อ. ๒๔๔) เมื่อภิกษุพอกฝาผนังนอกจากบริเวณใกล้ ๆ บานประตูและบานหน้าต่างซ้ำเกิน ๓ ครั้ง
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ (สารตฺถ.ฏีกา ๓/๑๓๕/๔๐, วิมติ.ฏีกา ๒/๑๓๕/๒๓, กงฺขา.ฏีกา ๓๙๒)
๒ ในการมุงหลังคาก็เช่นกัน ภิกษุเข้าใจว่า เมื่อมุงหลายครั้ง จะป้องกันฝนรั่วรดได้นาน จึงใช้อิฐ ศิลา
ปูนขาว หญ้า หรือใบไม้มุงหลังคา แต่จะมุงได้ไม่เกิน ๓ ชั้น (วิ.อ. ๒/๑๓๕-๑๓๖/๓๑๒-๓๑๓, สารตฺถ.
ฏีกา ๓/๑๓๕-๑๓๖/๔๐-๔๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๑๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๒.ภูตคามวรรค ๙.มหัลลกวิหารสิกขาบท บทภาชนีย์
คำว่า ยืนในที่ที่ปราศจากของเขียวดำเนินการมุงหลังคาได้ ๒-๓ ชั้น
ความว่า ที่ชื่อว่าของเขียว ได้แก่ บุพพัณชาติและอปรัณชาติ๑
ถ้าภิกษุยืนดำเนินการในที่ที่มีของเขียว ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุเมื่อจะมุงตามแนว พึงดำเนินการ ๒ แนว สั่งแนวที่ ๓ แล้วจากไป
ภิกษุเมื่อจะมุงเป็นชั้น พึงดำเนินการ ๒ รอบ สั่งรอบที่ ๓ แล้วจากไป
[๑๓๗] คำว่า ถ้าเธอดำเนินการเกินว่านั้น แม้จะยืนในที่ที่ปราศจากของ
เขียว ความว่า ภิกษุเมื่อมุงด้วยอิฐ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ ก้อน เมื่อมุง
ด้วยแผ่นศิลา ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ ก้อน เมื่อมุงด้วยปูนขาว ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์ทุก ๆ ก้อน เมื่อมุงด้วยหญ้า ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ กำหญ้า เมื่อ
มุงด้วยใบไม้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ ใบ

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
เกิน ๒-๓ ชั้น ภิกษุสำคัญว่าเกิน ดำเนินการ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เกิน ๒-๓ ชั้น ภิกษุไม่แน่ใจ ดำเนินการ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เกิน ๒-๓ ชั้น ภิกษุสำคัญว่าหย่อนกว่า ดำเนินการ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ทุกทุกกฏ
หย่อนกว่า ๒-๓ ชั้น ภิกษุสำคัญว่าเกิน ต้องอาบัติทุกกฏ
หย่อนกว่า ๒-๓ ชั้น ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
หย่อนกว่า ๒-๓ ชั้น ภิกษุสำคัญว่าหย่อนกว่า ไม่ต้องอาบัติ

เชิงอรรถ :
๑ บุพพัณชาติ ได้แก่ ธัญชาติ ๗ อย่าง คือ ข้าวสาลี ข้าวเจ้า หญ้ากับแก้ ข้าวละมาน ลูกเดือย ข้าวเหนียว
และข้าวฟ่าง อปรัณชาติ ได้แก่ ถั่วเขียว ถั่วราชมาส งา พืชผักที่กินหลังอาหาร (วิ.อ. ๑/๑๐๔/๓๖๘,
สารตฺถ.ฏีกา ๒/๑๐๔/๑๗๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๑๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๒.ภูตคามวรรค ๙.มหัลลกวิหารสิกขาบท อนาปปัตติวาร
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๓๘] ๑. ภิกษุมุงเพียง ๒-๓ ชั้น
๒. ภิกษุมุงหย่อนกว่า ๒-๓ ชั้น
๓. ภิกษุมุงเงื้อมผามีประตู
๔. ภิกษุตบแต่งถ้ำ
๕. ภิกษุมุงกุฎีหญ้า
๖. ภิกษุมุงกุฎีเพื่อภิกษุอื่น
๗. ภิกษุมุงด้วยทรัพย์ตนเอง
๘. ภิกษุมุงอาคารนอกจากนั้น๑ ยกเว้นอาคารที่พักของตน
๙. ภิกษุวิกลจริต
๑๐. ภิกษุต้นบัญญัติ

มหัลลกวิหารสิกขาบทที่ ๙ จบ

เชิงอรรถ :
๑ อาคารนอกจากนั้น คือ โรงอุโบสถ เรือนไผ โรงฉัน โรงไฟ (วิ.อ. ๒/๓๖๔/๖๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๑๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๒.ภูตคามวรรค ๑๐.สัปปาณกสิกขาบท นิทานวัตถุ
๒. ภูตคามวรรค

๑๐. สัปปาณกสิกขาบท
ว่าด้วยสิ่งมีชีวิต

เรื่องภิกษุชาวเมืองอาฬวี
[๑๓๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ อัคคาฬวเจดีย์ เขต
เมืองอาฬาวี ครั้งนั้น พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวีกำลังช่วยกันก่อสร้าง รู้อยู่ว่าน้ำมีสิ่ง
มีชีวิต รดหญ้าบ้าง ดินบ้าง ใช้ให้รดหญ้าบ้าง ดินบ้าง
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ จึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุ
ชาวเมืองอาฬวีรู้อยู่ว่าน้ำมีสิ่งมีชีวิต รดหญ้าบ้าง ดินบ้าง ใช้ให้รดหญ้าบ้าง ดินบ้าง
เล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิพวกภิกษุชาวเมืองอาฬวีโดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุชาวเมืองอาฬวีว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอรู้อยู่ว่าน้ำมี
สิ่งมีชีวิต รดหญ้าบ้าง ดินบ้าง ใช้ให้รดหญ้าบ้าง ดินบ้าง จริงหรือ” ภิกษุเหล่านั้น
ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ
โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอรู้อยู่ว่าน้ำมีสิ่งมีชีวิต จึงรดหญ้าบ้าง ดินบ้าง ใช้ให้
รดหญ้าบ้าง ดินบ้างเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่
เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้ว
จึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๑๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๒.ภูตคามวรรค ๑๐. สัปปาณกสิกขาบท บชภาชนีย์
พระบัญญัติ
[๑๔๐] ก็ ภิกษุใดรู้อยู่ว่าน้ำมีสิ่งมีชีวิต รด หรือใช้ให้รดหญ้าหรือดิน
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุชาวเมืองอาฬวี จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๑๔๑] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า รู้อยู่ ได้แก่ ภิกษุนั้นรู้เอง หรือผู้อื่นบอกให้ภิกษุนั้นรู้
คำว่า รด คือ ภิกษุรดเอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์
คำว่า ใช้ให้รด คือ ภิกษุใช้ผู้อื่นให้รด ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ผู้รับคำสั่งครั้งเดียวแต่รดหลายครั้ง ภิกษุผู้สั่งต้องอาบัติปาจิตตีย์

บทภาชนีย์
[๑๔๒] น้ำมีสิ่งมีชีวิต ภิกษุสำคัญว่ามีสิ่งมีชีวิต รด หรือใช้ให้รดหญ้าหรือดิน
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
น้ำมีสิ่งมีชีวิต ภิกษุไม่แน่ใจ รด หรือใช้ให้รดหญ้าหรือดิน ต้องอาบัติทุกกฏ
น้ำมีสิ่งมีชีวิต ภิกษุสำคัญว่าไม่มีสิ่งมีชีวิต รด หรือใช้ให้รดหญ้าหรือดิน ไม่
ต้องอาบัติ
น้ำไม่มีสิ่งมีชีวิต ภิกษุสำคัญว่ามีสิ่งมีชีวิต ต้องอาบัติทุกกฏ
น้ำไม่มีสิ่งมีชีวิต ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
น้ำไม่มีสิ่งมีชีวิต ภิกษุสำคัญว่าไม่มีสิ่งมีชีวิต ไม่ต้องอาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๑๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๒.ภูตคามวรรค รวมสิกขาบทที่มีในภูตคามวรรค
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๔๓] ๑. ภิกษุไม่จงใจ
๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้
๔. ภิกษุวิกลจริต
๕. ภิกษุต้นบัญญัติ

สัปปาณกสิกขาบทที่ ๑๐ จบ
ภูตคามวรรคที่ ๒ จบ

รวมสิกขาบทที่มีในภูตคามวรรค
ภูตคามวรรคมี ๑๐ สิกขาบท คือ

๑. ภูตคามสิกขาบท ว่าด้วยการพรากภูตคาม
๒. อัญญวาทกสิกขาบท ว่าด้วยการกล่าวกลบเกลื่อน
๓. อุชฌาปนกสิกขาบท ว่าด้วยการกล่าวให้เพ่งโทษ
๔. ปฐมเสนาสนสิกขาบท ว่าด้วยเสนาสนะข้อที่ ๑
๕. ทุติยเสนาสนสิกขาบท ว่าด้วยเสนาสนะข้อที่ ๒
๖. อนุปขัชชสิกขาบท ว่าด้วยการเข้าไปแทรกแซง
๗. นิกกัฑฒนสิกขาบท ว่าด้วยการฉุดลากออก
๘. เวหาสกุฏิสิกขาบท ว่าด้วยกุฎีชั้นลอย
๙. มหัลลกวิหารสิกขาบท ว่าด้วยการสร้างวิหารใหญ่
๑๐. สัปปาณกสิกขาบท ว่าด้วยสิ่งมีชีวิต


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๑๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๑.โอวาทสิกขาบท นิทานวัตถุ
๓. โอวาทวรรค
หมวดว่าด้วยโอวาท

๑. โอวาทสิกขาบท
ว่าด้วยการสั่งสอนภิกษุณี

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๑๔๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายสั่งสอน
พวกภิกษุณี ย่อมได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร
ทีนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ได้มีการปรึกษากันดังนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย บัดนี้ภิกษุ
ผู้เป็นเถระทั้งหลายสั่งสอนพวกภิกษุณี ย่อมได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ
คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ท่านทั้งหลาย มาเถิด แม้พวกเราก็จะสั่งสอนพวกภิกษุณี
บ้าง” ครั้นแล้วพวกภิกษุฉัพพัคคีย์จึงได้เข้าไปหาพวกภิกษุณี แล้วได้กล่าวดังนี้ว่า
“มาเถิด น้องหญิงทั้งหลาย พวกเธอจงเข้าไปหาพวกอาตมาบ้าง พวกอาตมาจักสั่ง
สอนให้บ้าง”
หลังจากนั้น พวกภิกษุณีเหล่านั้นได้พากันเข้าไปหาพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ถึงที่อยู่
ครั้นถึงแล้วได้ไหว้พวกภิกษุฉัพพัคคีย์แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ทีนั้นพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ได้แสดงธรรมีกถาเพียงเล็กน้อยแก่พวกภิกษุณี แล้วให้วันเวลาผ่านไปด้วยการ
สนทนาเกี่ยวกับดิรัจฉานกถา๑ แล้วส่งกลับด้วยกล่าวว่า “พวกเธอกลับไปเถิด น้อง
หญิงทั้งหลาย”

เชิงอรรถ :
๑ ดิรัจฉานกถา คือถ้อยคำที่ขัดขวางทางไปสู่สวรรค์นิพพาน ภิกษุไม่ควรนำมาเป็นข้อถกเถียงสนทนากัน
(วิ.อ. ๒/๑๔๔/๓๑๕, สารตฺถ.ฏีกา ๓/๑๔๔/๔๓) มี ๒๘ อย่าง (วิ.ม. ๕/๒๕๐/๑๓-๑๔, ที.สี. ๙/๑๗/๘,
ที.ปา. ๑๑/๕๐/๓๐, ม.ม. ๑๓/๒๒๓/๑๙๗, สํ.ม. ๑๙/๑๐๘๐/๓๖๕-๓๖๖, องฺ. ทสก. ๒๔/๖๙/๑๐๒, ขุ.ม.
๒๙/๑๕๗/๓๐๖) ดู รตนวรรค สิกขาบทที่ ๓ ข้อ ๕๐๘ หน้า ๕๙๙ (ในเล่มนี้)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๑๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๑.โอวาทสิกขาบท นิทานวัตถุ
ต่อมา พวกภิกษุณีเหล่านั้นเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้ว
ได้ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วได้ยืน ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับ
พวกภิกษุณีผู้ยืนอยู่ ณ ที่สมควรเหล่านั้นดังนี้ว่า “การสั่งสอนพวกภิกษุณีสัมฤทธิผล
ดีหรือ”
พวกภิกษุณีกราบทูลว่า “การสั่งสอนจะสัมฤทธิผลได้แต่ที่ไหนกัน พระพุทธ
เจ้าข้า พระคุณเจ้าฉัพพัคคีย์แสดงธรรมีกถาเพียงเล็กน้อย แล้วให้วันเวลาผ่านไป
ด้วยการสนทนาเกี่ยวกับดิรัจฉานกถา แล้วส่งให้กลับ”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้พวกภิกษุณีเหล่านั้นเห็นชัด ชวนให้
อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง
ด้วยธรรมีกถา ภิกษุณีเหล่านั้นครั้นพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นชัด ชวน
ให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง
ด้วยธรรมีกถา แล้วจึงลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วทำประทักษิณ
จากไป

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอแสดงธรรมีกถา
เพียงเล็กน้อยแก่พวกภิกษุณี แล้วให้วันเวลาผ่านไปด้วยการสนทนาเกี่ยวกับ
ดิรัจฉานกถาแล้วส่งให้กลับ จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธ
เจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวก
เธอจึงแสดงธรรมีกถาเพียงเล็กน้อยแก่พวกภิกษุณี แล้วให้วันเวลาผ่านไปด้วยการ
สนทนาเกี่ยวกับดิรัจฉานกถาแล้วส่งให้กลับเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้
มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้
เลย ฯลฯ” ครั้นทรงตำหนิแล้วได้ทรงแสดงธรรมีกถา แล้วจึงรับสั่งกับภิกษุทั้งหลาย
ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แต่งตั้งภิกษุเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี”
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงแต่งตั้งภิกษุเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณีอย่างนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๑๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๑.โอวาทสิกขาบท พระบัญญัติ
วิธีแต่งตั้งและกรรมวาจาแต่งตั้งภิกษุสั่งสอนภิกษุณี
เบื้องต้นพึงขอให้ภิกษุรับ ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์
ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า
[๑๔๕] ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงแต่งตั้ง
ภิกษุชื่อนี้ให้เป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์แต่งตั้งภิกษุชื่อนี้ให้เป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการแต่งตั้งภิกษุชื่อนี้ให้เป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง
ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้เป็นครั้งที่ ๒ ฯลฯ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้เป็นครั้งที่ ๓
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์แต่งตั้งภิกษุชื่อนี้ให้เป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการแต่งตั้งภิกษุชื่อนี้ให้เป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง
ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
ภิกษุชื่อนี้สงฆ์แต่งตั้งให้เป็นผู้สั่งสอนภิกษุณีแล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้น
จึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่าง ๆ แล้วจึง
ตรัสโทษความเป็นคนเลี้ยงยาก ฯลฯ แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้น
แสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๑๔๖] ก็ ภิกษุใดไม่ได้รับแต่งตั้ง พึงสั่งสอนภิกษุณีทั้งหลาย ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๑๔๗] สมัยนั้น ภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายผู้ได้รับแต่งตั้งแล้วสั่งสอนพวก
ภิกษุณียังได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารอยู่เหมือนเดิม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๑๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๑.โอวาทสิกขาบท พระบัญญัติ
ครั้งนั้นพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ได้มีการปรึกษากันดังนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย บัดนี้ ภิกษุ
ผู้เป็นเถระทั้งหลายผู้ได้รับแต่งตั้งแล้วสั่งสอนพวกภิกษุณียังได้จีวร บิณฑบาต
เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขารอยู่เหมือนเดิม ท่านทั้งหลาย มาเถิด แม้
พวกเราก็จะไปนอกสีมา แต่งตั้งกันและกันให้เป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี แล้วสั่งสอนพวก
ภิกษุณีบ้าง” ครั้นแล้วพวกภิกษุฉัพพัคคีย์จึงได้พากันไปนอกสีมา ได้แต่งตั้งกันและ
กันให้เป็นผู้สั่งสอนภิกษุณีแล้วเข้าไปหาภิกษุณีทั้งหลาย ได้กล่าวดังนี้ว่า “น้องหญิง
ทั้งหลาย พวกอาตมาได้รับแต่งตั้งแล้ว พวกเธอจงเข้าไปหาพวกอาตมาบ้าง พวก
อาตมาจักสั่งสอนให้บ้าง”
ต่อมา พวกภิกษุณีเหล่านั้นได้พากันเข้าไปหาพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ถึงที่อยู่ ครั้น
ถึงแล้วได้ไหว้พวกภิกษุฉัพพัคคีย์แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ทีนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ได้
แสดงธรรมีกถาเพียงเล็กน้อยแก่พวกภิกษุณี แล้วให้วันเวลาผ่านไปด้วยการสนทนา
เกี่ยวกับดิรัจฉานกถา แล้วส่งกลับด้วยกล่าวว่า “พวกเธอกลับไปเถิด น้องหญิง
ทั้งหลาย”
ต่อมา พวกภิกษุณีเหล่านั้นได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึง
แล้วได้ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วได้ยืน ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัส
กับพวกภิกษุณีผู้ยืนอยู่ ณ ที่สมควรเหล่านั้นดังนี้ว่า “การสั่งสอนพวกภิกษุณีสัมฤทธิผล
ดีหรือ”
พวกภิกษุณีกราบทูลว่า “การสั่งสอนจะสัมฤทธิผลได้แต่ที่ไหนกัน พระ
พุทธเจ้าข้า พระคุณเจ้าฉัพพัคคีย์แสดงธรรมีกถาเพียงเล็กน้อย แล้วให้วันเวลาผ่าน
ไปด้วยการสนทนาเกี่ยวกับดิรัจฉานกถา แล้วส่งให้กลับ”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้พวกภิกษุณีเหล่านั้นเห็นชัด ชวนให้
อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง
ด้วยธรรมีกถา ภิกษุณีเหล่านั้นครั้นพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นชัด ชวน
ให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง
ด้วยธรรมีกถาแล้วจึงลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วทำประทักษิณ
จากไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๑๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๑.โอวาทสิกขาบท พระบัญญัติ
ทรงประชุมสงฆ์แต่งตั้งภิกษุสั่งสอนภิกษุณี
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอแสดงธรรมีกถา
เพียงเล็กน้อยแก่พวกภิกษุณี แล้วให้วันเวลาผ่านไปด้วยการสนทนาเกี่ยวกับดิรัจฉาน
กถา แล้วส่งให้กลับ จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึง
แสดงธรรมีกถาเพียงเล็กน้อยแก่พวกภิกษุณี แล้วให้วันเวลาผ่านไปด้วยการสนทนา
เกี่ยวกับดิรัจฉานกถา แล้วส่งให้กลับเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้
ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย
ฯลฯ” ครั้นทรงตำหนิแล้วได้ทรงแสดงธรรมีกถาแล้วจึงรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย เราอนุญาตให้แต่งตั้งภิกษุผู้มีคุณสมบัติ ๘ อย่าง เป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี คือ

คุณสมบัติของภิกษุผู้สั่งสอนภิกษุณี ๘ อย่าง
๑. เป็นผู้มีศีล สำรวมในปาติโมกขสังวรศีล ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร
เห็นภัยในความผิดแม้เพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาสิกขาบททั้งหลาย
๒. เป็นพหูสูต เป็นผู้ทรงสุตะ (จำสิ่งที่ได้เล่าเรียนมา) สั่งสมสุตะ (สั่งสมสิ่งที่ได้
เล่าเรียนมา) เธอได้ยินได้ฟังธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งาม
ในที่สุด อันประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถะ พร้อมทั้งพยัญชนะ ครบ
ถ้วน บริบูรณ์มาก ทรงจำได้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดแล้วด้วยทิฏฐิ
๓. เป็นผู้ชำนาญปาติโมกข์ทั้งสอง แจกแจงได้ถูกต้อง คล่องแคล่ว วินิจฉัยได้
เรียบร้อยทั้งโดยสูตรและโดยอนุพยัญชนะ๑
๔. เป็นผู้มีวาจาสละสลวย มีเสียงไพเราะ

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า “โดยสูตร” ในที่นี้หมายถึงคัมภีร์ขันธกะและบริวารแห่งพระวินัยปิฎก คำว่า “อนุพยัญชนะ” คือ
บทอักษรบริบูรณ์ไม่ตกหล่น (วิ.อ. ๒/๑๕๔-๗/๓๑๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๒๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๑.โอวาทสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
๕. เป็นที่นิยมชมชอบของพวกภิกษุณีโดยส่วนมาก
๖. เป็นผู้สามารถสั่งสอนพวกภิกษุณีได้
๗. เป็นผู้ไม่เคยประพฤติล่วงครุธรรมในสตรีผู้นุ่งห่มผ้ากาสายะบวชอุทิศพระ
ผู้มีพระภาคพระองค์นั้น๑
๘. เป็นผู้มีพรรษา ๒๐ หรือเกินกว่า ๒๐
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แต่งตั้งภิกษุผู้มีคุณสมบัติ ๘ อย่างนี้ เป็นผู้สั่ง
สอนภิกษุณี”

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๑๔๘] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ไม่ได้รับแต่งตั้ง คือ สงฆ์ยังไม่ได้แต่งตั้งด้วยญัตติจตุตถกรรม
ที่ชื่อว่า ภิกษุณีทั้งหลาย ได้แก่ มาตุคามที่อุปสมบทในสงฆ์ ๒ ฝ่าย
คำว่า สั่งสอน ความว่า ภิกษุสั่งสอนครุธรรม ๘ อย่าง ต้องอาบัติปาจิตตีย์
สั่งสอนธรรมอย่างอื่น ต้องอาบัติทุกกฏ สั่งสอนภิกษุณีที่อุปสมบทในสงฆ์ฝ่ายเดียว
ต้องอาบัติทุกกฏ
[๑๔๙] ภิกษุผู้ได้รับแต่งตั้งแล้วนั้นพึงกวาดบริเวณ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ ปูอาสนะ
ไว้ ชวนเพื่อนภิกษุไปนั่งด้วย
ภิกษุณีทั้งหลายพึงไปที่นั้น แล้วไหว้ภิกษุนั้น แล้วนั่ง ณ ที่สมควร

เชิงอรรถ :
๑ ในสมัยที่เป็นคฤหัสถ์ก่อนบวช ไม่เคยจับต้องกายกับภิกษุณี ไม่เคยประพฤติผิดทางประเวณีกับสิกขมานา
หรือสามเณรี (วิ.อ. ๒/๑๔๕-๑๔๗/๓๑๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๒๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๑.โอวาทสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุผู้ได้รับแต่งตั้งแล้วนั้นพึงถามภิกษุณีทั้งหลายว่า “น้องหญิงทั้งหลาย
พวกเธอพร้อมเพรียงกันแล้วหรือ”
ถ้าพวกภิกษุณีตอบว่า “พวกดิฉันพร้อมเพรียงกันแล้ว เจ้าข้า”
พึงถามว่า “น้องหญิงทั้งหลาย ครุธรรม ๘ ข้อยังจำกันได้อยู่หรือ”
ถ้าพวกภิกษุณีตอบว่า “ยังจำกันได้อยู่ เจ้าข้า”
พึงกล่าวว่า “น้องหญิงทั้งหลาย ธรรมนี่เป็นโอวาท” แล้วพึงมอบหมาย
ถ้าพวกภิกษุณีตอบว่า “จำกันไม่ได้ เจ้าข้า”
พึงสวดครุธรรมดังนี้ว่า

ครุธรรม ๘ ข้อ
๑. ภิกษุณีถึงจะบวชได้ ๑๐๐ พรรษา ก็ต้องทำการกราบไหว้ ต้อนรับ ทำ
อัญชลีกรรม ทำสามีจิกรรมแก่ภิกษุผู้บวชแม้ในวันนั้น ธรรมข้อนี้ภิกษุณี
พึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจนตลอดชีวิต
๒. ภิกษุณีไม่พึงอยู่จำพรรษาในอาวาสที่ไม่มีภิกษุ ธรรมข้อนี้ภิกษุณีพึง
สักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจนตลอดชีวิต
๓. ภิกษุณีพึงหวังธรรม ๒ อย่าง คือ ถามอุโบสถและไปรับโอวาทจากภิกษุ
สงฆ์ทุกกึ่งเดือน ธรรมข้อนี้ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่
พึงล่วงละเมิดจนตลอดชีวิต
๔. ภิกษุณีจำพรรษาแล้วพึงปวารณาในสงฆ์ ๒ ฝ่าย โดยสถาน ๓ คือ ได้เห็น
ได้ฟัง หรือได้นึกสงสัย ธรรมข้อนี้ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา
ไม่พึงล่วงละเมิดจนตลอดชีวิต
๕. ภิกษุณีต้องครุธรรมแล้วพึงประพฤติปักขมานัตในสงฆ์ ๒ ฝ่าย ธรรมข้อนี้
ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจนตลอดชีวิต
๖. ภิกษุณีพึงแสวงหาการอุปสมบทในสงฆ์ ๒ ฝ่ายให้แก่สิกขมานาที่ศึกษา
ธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปีแล้ว ธรรมข้อนี้ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ
บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจนตลอดชีวิต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๒๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๑.โอวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
๗. ภิกษุณีไม่พึงด่า ไม่พึงบริภาษภิกษุ ไม่ว่ากรณีใดๆ ธรรมข้อนี้ภิกษุณี
พึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจนตลอดชีวิต
๘. ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ห้ามภิกษุณีสั่งสอนภิกษุ แต่ไม่ห้ามภิกษุสั่งสอน
ภิกษุณี ธรรมข้อนี้ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงล่วง
ละเมิดจนตลอดชีวิต
ถ้าพวกภิกษุณีตอบว่า “พวกดิฉันพร้อมเพรียงกันแล้ว เจ้าข้า” ภิกษุผู้ได้รับ
แต่งตั้งแล้ว สั่งสอนธรรมอื่น ต้องอาบัติทุกกฏ
ถ้าพวกภิกษุณีตอบว่า “พวกดิฉันยังไม่พร้อมเพรียงกัน เจ้าข้า” ภิกษุผู้ได้รับ
แต่งตั้งแล้ว สั่งสอนครุธรรม ๘ ข้อ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุไม่ให้โอวาท สั่งสอนธรรม
อื่น ต้องอาบัติทุกกฏ

บทภาชนีย์
[๑๕๐] กรรม๑ ที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง
ภิกษุณีสงฆ์ยังไม่พร้อมเพรียงกัน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่พร้อมเพรียงกัน สั่งสอน ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีสงฆ์ยังไม่
พร้อมเพรียงกัน ภิกษุไม่แน่ใจ สั่งสอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีสงฆ์ยังไม่
พร้อมเพรียงกัน ภิกษุสำคัญว่าพร้อมเพรียงกันแล้ว สั่งสอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ ภิกษุณีสงฆ์ยังไม่พร้อมเพรียงกัน ภิกษุ
สำคัญว่ายังไม่พร้อมเพรียงกัน สั่งสอน ฯลฯ ภิกษุไม่แน่ใจ สั่งสอน ฯลฯ ภิกษุ
สำคัญว่าพร้อมเพรียงกันแล้ว สั่งสอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์

เชิงอรรถ :
๑ กรรม คือการแต่งตั้งภิกษุสั่งสอนภิกษุณี (วิ.อ. ๒/๑๕๐/๓๓๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๒๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๑.โอวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีสงฆ์ยังไม่
พร้อมเพรียงกัน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่พร้อมเพรียงกัน สั่งสอน ฯลฯ ภิกษุไม่แน่ใจ
สั่งสอน ฯลฯ ภิกษุสำคัญว่าพร้อมเพรียงกันแล้ว สั่งสอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีสงฆ์พร้อม
เพรียงกันแล้ว ภิกษุสำคัญว่ายังไม่พร้อมเพรียงกัน สั่งสอน ฯลฯ ภิกษุไม่แน่ใจ
สั่งสอน ฯลฯ ภิกษุสำคัญว่าพร้อมเพรียงกันแล้ว สั่งสอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ ภิกษุณีสงฆ์พร้อมเพรียงกันแล้ว ภิกษุ
สำคัญว่ายังไม่พร้อมเพรียงกัน สั่งสอน ฯลฯ ภิกษุไม่แน่ใจ สั่งสอน ฯลฯ ภิกษุ
สำคัญว่าพร้อมเพรียงกันแล้วสั่งสอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีสงฆ์พร้อม
เพรียงกันแล้ว ภิกษุสำคัญว่ายังไม่พร้อมเพรียงกัน สั่งสอน ฯลฯ ภิกษุไม่แน่ใจ
สั่งสอน ฯลฯ ภิกษุสำคัญว่าพร้อมเพรียงกันแล้ว สั่งสอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
[๑๕๑] กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณี
สงฆ์ยังไม่พร้อมเพรียงกัน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่พร้อมเพรียงกัน สั่งสอน ต้องอาบัติ
ทุกกฏ
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีสงฆ์ยังไม่
พร้อมเพรียงกัน ภิกษุไม่แน่ใจ สั่งสอน ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีสงฆ์ยังไม่
พร้อมเพรียงกัน ภิกษุสำคัญว่าพร้อมเพรียงกันแล้ว สั่งสอน ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ ภิกษุณีสงฆ์ยังไม่พร้อมเพรียงกัน ภิกษุสำคัญ
ว่ายังไม่พร้อมเพรียงกัน สั่งสอน ฯลฯ ภิกษุไม่แน่ใจ สั่งสอน ฯลฯ ภิกษุสำคัญว่า
พร้อมเพรียงกันแล้ว สั่งสอน ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีสงฆ์ยังไม่
พร้อมเพรียงกัน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่พร้อมเพรียงกัน สั่งสอน ฯลฯ ภิกษุไม่แน่ใจ
สั่งสอน ฯลฯ ภิกษุสำคัญว่าพร้อมเพรียงกันแล้ว สั่งสอน ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีสงฆ์พร้อม
เพรียงกันแล้ว ภิกษุสำคัญว่ายังไม่พร้อมเพรียงกัน สั่งสอน ฯลฯ ภิกษุไม่แน่ใจ
สั่งสอน ฯลฯ ภิกษุสำคัญว่าพร้อมเพรียงกันแล้ว สั่งสอน ต้องอาบัติทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๒๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๑.โอวาทสิกขาบท อนาปัตติวาร
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ ภิกษุณีสงฆ์พร้อมเพรียงกันแล้ว ภิกษุสำคัญ
ว่ายังไม่พร้อมเพรียงกัน สั่งสอน ฯลฯ ภิกษุไม่แน่ใจ สั่งสอน ฯลฯ ภิกษุสำคัญว่า
พร้อมเพรียงกันแล้ว สั่งสอน ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีสงฆ์พร้อม
เพรียงกันแล้ว ภิกษุสำคัญว่ายังไม่พร้อมเพรียงกัน สั่งสอน ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีสงฆ์พร้อม
เพรียงกันแล้ว ภิกษุไม่แน่ใจ สั่งสอน ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีสงฆ์พร้อม
เพรียงกันแล้ว ภิกษุสำคัญว่าพร้อมเพรียงกันแล้ว สั่งสอน ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๕๒] ๑. ภิกษุให้อุทเทส
๒. ภิกษุให้ปริปุจฉา๑
๓. ภิกษุที่ภิกษุณีกล่าวขอว่า “นิมนต์พระคุณเจ้าสวดเถิด” สวดอยู่
๔. ภิกษุถามปัญหา
๕. ภิกษุถูกถามปัญหาแล้วตอบปัญหา
๖. ภิกษุสั่งสอนผู้อื่นแต่มีภิกษุณีฟังอยู่ด้วย
๗. ภิกษุสั่งสอนสิกขมานา
๘. ภิกษุสั่งสอนสามเณรี
๙. ภิกษุวิกลจริต
๑๐. ภิกษุต้นบัญญัติ
โอวาทสิกขาบทที่ ๑ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ให้อุทเทส คือ สอนพระบาลีครุธรรม ๘ ให้ปริปุจฉา คือ สอนคำอธิบายพระบาลีครุธรรม ๘ (วิ.อ.
๒/๑๕๒/๓๓๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๒๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๒.อัตถังคตสิกขาบท นิทานวัตถุ
๓. โอวาทวรรค

๒. อัตถังคตสิกขาบท
ว่าด้วยการสั่งสอนภิกษุณีในเวลาที่ดวงอาทิตย์อัสดงแล้ว

เรื่องพระจูฬปันถก
[๑๕๓] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุผู้เป็นเถระผลัดเปลี่ยนกัน
สั่งสอนพวกภิกษุณี
ครั้งนั้น ถึงวาระที่ท่านพระจูฬปันถกจะสั่งสอนพวกภิกษุณี พวกภิกษุณี
กล่าวกันอย่างนี้ว่า “วันนี้เห็นทีการสั่งสอนจะไม่สัมฤทธิผล ประเดี๋ยวพระคุณเจ้า
จูฬปันถกก็คงจะเปล่งอุทานซ้ำซากเหมือนเดิม” ครั้นแล้วพวกภิกษุณีได้พากันไปหา
พระจูฬปันถกถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้วได้ไหว้ท่านพระจูฬบันถกแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
ท่านพระจูฬปันถกได้กล่าวกับพวกภิกษุณีผู้นั่ง ณ ที่สมควรแล้วดังนี้ว่า
“น้องหญิงทั้งหลาย พวกเธอพร้อมเพรียงกันแล้วหรือ”
พวกภิกษุณีตอบว่า “พวกดิฉันพร้อมเพรียงกันแล้ว เจ้าข้า”
พระจูฬปันถกถามว่า “น้องหญิงทั้งหลาย ครุธรรม ๘ ข้อ ยังจำกันได้อยู่หรือ”
พวกภิกษุณีตอบว่า “ยังจำกันได้อยู่ เจ้าข้า”
พระจูฬปันถกมอบหมายว่า “น้องหญิงทั้งหลาย ธรรมนี่เป็นโอวาท” แล้ว
เปล่งอุทานซ้ำว่า
“มุนีผู้มีจิตมั่นคง ไม่ประมาท ศึกษาทางแห่งความเป็นมุนี๑
ผู้คงที่ สงบ มีสติทุกขณะ ย่อมเป็นผู้ไม่เศร้าโศก”๒

เชิงอรรถ :
๑ ทางแห่งความเป็นมุนี หมายถึงโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ หรือไตรสิกขา (วิ.อ. ๒/๑๕๓/๓๓๒)
๒ ขุ.ธ. ๒๕/๓๗/๑๕๒, ขุ.เถร. ๒๖/๖๘/๒๗๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๒๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๒.อัตถังคตสิกขาบท นิทานวัตถุ
พวกภิกษุณีกล่าวอย่างนี้ว่า “พวกเราได้กล่าวแล้วมิใช่หรือว่า วันนี้เห็นทีการ
สั่งสอนจะไม่สัมฤทธิผล ประเดี๋ยวพระคุณเจ้าจูฬปันถกก็คงจะเปล่งอุทานซ้ำซาก
เหมือนเดิม”
ท่านพระจูฬปันถกได้ยินคำสนทนานี้ของพวกภิกษุณีเหล่านั้นแล้ว จึงเหาะขึ้น
ไปสู่อากาศ จงกรมบ้าง ยืนบ้าง นั่งบ้าง นอนบ้าง บันดาลให้ควันฟุ้งตลบบ้าง
บันดาลให้ไฟโพลงบ้าง หายตัวบ้าง ในอากาศ เปล่งอุทานนั้นนั่นแหละ และกล่าว
พระพุทธพจน์อื่น ๆ เป็นอันมาก
พวกภิกษุณีพากันกล่าวอย่างนี้ว่า “น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมี การสั่งสอนก่อนหน้า
นี้ไม่เคยสัมฤทธิผลแก่พวกเราเหมือนการสั่งสอนของพระคุณเจ้าจูฬปันถกเลย”
คราวนั้น ท่านพระจูฬปันถกสั่งสอนพวกภิกษุณีอยู่จนพลบค่ำแล้วส่งกลับด้วย
กล่าวว่า “พวกเธอกลับไปเถิด น้องหญิงทั้งหลาย”
ครั้งนั้น เมื่อเจ้าหน้าที่ปิดประตูเมืองแล้ว พวกภิกษุณีได้พักแรมอยู่นอกเมือง
รุ่งเช้าจึงพากันเข้าเมือง
พวกชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ภิกษุณีพวกนี้เป็นผู้ไม่ประพฤติ
พรหมจรรย์ พักแรมกับพวกภิกษุในอารามเพิ่งจะกลับเข้าเมืองเดี๋ยวนี้เอง”
พวกภิกษุได้ยินพวกชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มักน้อย
ฯลฯ จึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “เมื่อดวงอาทิตย์อัสดงแล้ว ไฉนท่านพระ
จูฬปันถกยังสั่งสอนพวกภิกษุณีอยู่เล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิท่านพระจูฬบันถก
โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามท่านพระจูฬปันถกว่า “จูฬปันถก ทราบว่า เมื่อดวงอาทิตย์อัสดงแล้ว เธอ
ยังสั่งสอนพวกภิกษุณีอยู่ จริงหรือ” ท่านพระจูฬปันถกทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้า
ข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ จูฬปันถก ไฉนเมื่อดวงอาทิตย์
อัสดงแล้ว เธอจึงยังสั่งสอนพวกภิกษุณีอยู่เล่า จูฬปันถก การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๒๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๒.อัตถังคตสิกขาบท บทภาชนีย์
คนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้น
แสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๑๕๔] ถ้าภิกษุแม้ได้รับการแต่งตั้งแล้ว เมื่อดวงอาทิตย์อัสดงแล้ว ยัง
สั่งสอนภิกษุณีทั้งหลายอยู่ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องพระจูฬปันถก จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๑๕๕] ภิกษุที่ชื่อว่า ได้รับการแต่งตั้งแล้ว คือได้รับการแต่งตั้งด้วยญัตติ
จตุตถกรรมวาจาแล้ว
คำว่า เมื่อดวงอาทิตย์อัสดงแล้ว คือ เมื่อดวงอาทิตย์ตกแล้ว
ที่ชื่อว่า ภิกษุณีทั้งหลาย ได้แก่ มาตุคามผู้ที่อุปสมบทในสงฆ์ ๒ ฝ่าย
คำว่า สั่งสอน ความว่า ภิกษุสั่งสอนครุธรรม ๘ อย่าง หรือธรรมอย่างอื่น
ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๑๕๖] ดวงอาทิตย์อัสดงแล้ว ภิกษุสำคัญว่าอัสดงแล้ว สั่งสอน ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
ดวงอาทิตย์อัสดงแล้ว ภิกษุไม่แน่ใจ สั่งสอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ดวงอาทิตย์อัสดงแล้ว ภิกษุสำคัญว่ายังไม่อัสดง สั่งสอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๒๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๒.อัตถังคตสิกขาบท อนาปัตติวาร
ติกทุกกฏ
ภิกษุสั่งสอนภิกษุณีที่อุปสมบทในสงฆ์ฝ่ายเดียว ต้องอาบัติทุกกฏ
ดวงอาทิตย์ยังไม่อัสดง ภิกษุสำคัญว่าอัสดงแล้ว สั่งสอน ต้องอาบัติทุกกฏ
ดวงอาทิตย์ยังไม่อัสดง ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
ดวงอาทิตย์ยังไม่อัสดง ภิกษุสำคัญว่ายังไม่อัสดง ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๕๗] ๑. ภิกษุให้อุทเทส
๒. ภิกษุให้ปริปุจฉา
๓. ภิกษุที่ภิกษุณีกล่าวขอว่า “นิมนต์พระคุณเจ้าสวดเถิด” สวดอยู่
๔. ภิกษุถามปัญหา
๕. ภิกษุถูกถามปัญหาแล้วตอบปัญหา
๖. ภิกษุสั่งสอนผู้อื่นแต่มีภิกษุณีฟังอยู่ด้วย
๗. ภิกษุสั่งสอนสิกขมานา
๘. ภิกษุสั่งสอนสามเณรี
๙. ภิกษุวิกลจริต
๑๐. ภิกษุต้นบัญญัติ

อัตถังคตสิกขาบทที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๒๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๓.ภิกขุนูปัสสยสิกขาบท นิทานวัตถุ
๓. โอวาทวรรค

๓. ภิกขุนูปัสสยสิกขาบท
ว่าด้วยการไปสั่งสอนภิกษุณีถึงที่สำนัก

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๑๕๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขต
กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เข้าไปที่สำนักของภิกษุณี
สั่งสอนพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์
พวกภิกษุณีได้กล่าวกับพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ดังนี้ว่า “มาเถิด แม่คุณทั้งหลาย
พวกเราจะไปรับโอวาทกัน”
พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์กล่าวว่า “ทำไมพวกเราจะต้องไปรับโอวาท พวกพระ
คุณเจ้าฉัพพัคคีย์มาสั่งสอนพวกเราถึงที่นี่ทีเดียว”
พวกภิกษุณีจึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
จึงเข้าไปที่สำนักภิกษุณีแล้วสั่งสอนภิกษุณีทั้งหลายเล่า” แล้วแจ้งเรื่องนี้ให้ภิกษุ
ทั้งหลายทราบ
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์จึงเข้าไปที่สำนักภิกษุณีแล้วสั่งสอนภิกษุณีทั้งหลายเล่า” ครั้นภิกษุ
เหล่านั้นตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอเข้าไปที่สำนัก
ภิกษุณีแล้วสั่งสอนภิกษุณีทั้งหลาย จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง
พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๓๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๓.ภิกขุนูปัสสยสิกขาบท พระบัญญัติ
ไฉนพวกเธอจึงเข้าไปที่สำนักภิกษุณีแล้วสั่งสอนภิกษุณีทั้งหลายเล่า โมฆบุรุษ
ทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” แล้วจึง
รับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
ก็ ภิกษุใดเข้าไปที่สำนักภิกษุณีแล้วสั่งสอนภิกษุณีทั้งหลาย ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

เรื่องพระนางมหาปชาบดีโคตมีเป็นไข้
[๑๕๙] สมัยนั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมีเป็นไข้ ภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลาย
เข้าไปเยี่ยมถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้วได้กล่าวกับพระนางมหาปชาบดีโคตมีดังนี้ว่า “ท่าน
ยังสบายดีหรือ ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ”
พระนางมหาปชาบดีโคตมีตอบว่า “พระคุณเจ้าทั้งหลาย ดิฉันกำลังไม่สบาย
จะเป็นอยู่ไม่ได้แล้ว ขอนิมนต์พระคุณเจ้าทั้งหลายแสดงธรรมเถิดเจ้าข้า”
พระเถระทั้งหลายกล่าวว่า “การเข้ามาที่สำนักภิกษุณีแล้วแสดงธรรมแก่
ภิกษุณีไม่สมควร” พากันมีความยำเกรงอยู่ไม่แสดงธรรม
ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเสด็จ
เข้าไปเยี่ยมพระนางมหาปชาบดีถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้วได้ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาจัด
ไว้แล้ว ครั้นพระผู้มีพระภาคประทับนั่งแล้ว ได้ตรัสกับพระนางมหาปชาบดีโคตมีนั้น
ดังนี้ว่า “โคตมี ท่านสบายดีหรือ ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ”
พระนางมหาปชาบดีโคตมีกราบทูลว่า “เมื่อก่อน ภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายมา
แสดงธรรม หม่อมฉันจึงมีความผาสุก แต่บัดนี้ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า ‘พระองค์
ทรงห้าม’ มีความยำเกรงอยู่ไม่แสดงธรรม เหตุนั้นหม่อมฉันจึงไม่มีความผาสุก
พระพุทธเจ้าข้า”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๓๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๓.ภิกขุนูปัสสยสิกขาบท พระอนุบัญญัติ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้พระนางมหาปชาบดีโคตมีเห็นชัด ชวน
ให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง
ด้วยธรรมีกถา แล้วทรงลุกจากอาสนะเสด็จไป
ต่อมาพระผู้มีพระภาค ทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ แล้วรับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เข้าไปที่สำนักภิกษุณีแล้วสั่งสอน
ภิกษุณีเป็นไข้ได้” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระอนุบัญญัติ
[๑๖๐] อนึ่ง ภิกษุใดเข้าไปที่สำนักภิกษุณีแล้วสั่งสอนภิกษุณีทั้งหลาย
นอกสมัย ต้องอาบัติปาจิตตีย์ สมัยในข้อนั้น คือ ภิกษุณีเป็นไข้ นี้เป็นสมัย
ในข้อนั้น
เรื่องพระนางมหาปชาบดีโคตมี จบ

[๑๖๑] คำว่า อนึ่ง...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
อนึ่ง...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ที่สำนักภิกษุณี ได้แก่ สถานที่ที่ภิกษุณีพักแม้คืนเดียว
คำว่า เข้าไป คือ ไปในที่นั้น
ที่ชื่อว่า ภิกษุณีทั้งหลาย ได้แก่ มาตุคามที่อุปสมบทในสงฆ์ ๒ ฝ่าย
คำว่า สั่งสอน ความว่า ภิกษุสั่งสอนครุธรรม ๘ อย่าง ต้องอาบัติปาจิตตีย์
คำว่า นอกสมัย คือ ยกเว้นสมัย
ที่ชื่อว่า ภิกษุณีเป็นไข้ ได้แก่ ภิกษุณีไม่สามารถไปรับโอวาทหรือร่วม
ประชุมได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๓๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๓.ภิกขุนูปัสสยสิกขาบท อนาปัตติวาร
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๑๖๒] อุปสัมบัน๑ ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน เข้าไปที่สำนักภิกษุณีแล้ว
สั่งสอนนอกสมัย ต้องอาบัติปาจิตตีย์
อุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ เข้าไปที่สำนักภิกษุณีแล้วสั่งสอนนอกสมัย ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอนุปสัมบัน๒ เข้าไปที่สำนักภิกษุณีแล้ว สั่งสอนนอก
สมัย ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ทุกกฏ
ภิกษุสั่งสอนธรรมอย่างอื่น ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุสั่งสอนภิกษุณีที่อุปสมบทในสงฆ์ฝ่ายเดียว ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๖๓] ๑. ภิกษุสอนในสมัย
๒. ภิกษุให้อุทเทส
๓. ภิกษุให้ปริปุจฉา

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า “อุปสัมบัน” ในที่นี้หมายถึงภิกษุณี
๒ คือสำคัญว่ามิใช่ภิกษุณี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๓๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค อนาปัตติวาร
๔. ภิกษุที่ภิกษุณีกล่าวขอว่า “นิมนต์พระคุณเจ้าสวดเถิด” สวดอยู่
๕. ภิกษุถามปัญหา
๖. ภิกษุถูกถามปัญหาแล้วตอบปัญหา
๗. ภิกษุสั่งสอนผู้อื่นแต่มีภิกษุณีฟังอยู่ด้วย
๘. ภิกษุสั่งสอนสิกขมานา
๙. ภิกษุสั่งสอนสามเณรี
๑๐. ภิกษุวิกลจริต
๑๑. ภิกษุต้นบัญญัติ

ภิกขุนูปัสสยสิกขาบทที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๓๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๔.อามิสสิกขาบท นิทานวัตถุ
๓. โอวาทวรรค

๔. อามิสสิกขาบท
ว่าด้วยการสั่งสอนภิกษุณีเพราะเห็นแก่อามิส

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๑๖๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายสั่งสอน
พวกภิกษุณี ย่อมได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์กล่าวอย่างนี้ว่า “ภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายไม่ตั้งใจสั่งสอน
ภิกษุณีทั้งหลาย ภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายสั่งสอนภิกษุณีทั้งหลายก็เพราะเห็นแก่
อามิส”
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์จึงกล่าวอย่างนี้ว่า ภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายไม่ตั้งใจสั่งสอนภิกษุณี
ทั้งหลาย ภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายสั่งสอนภิกษุณีทั้งหลายก็เพราะเห็นแก่อามิสเล่า”
ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอกล่าวอย่างนี้ว่า
ภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายไม่ตั้งใจสั่งสอนภิกษุณีทั้งหลาย ภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลาย
สั่งสอนภิกษุณีทั้งหลายก็เพราะเห็นแก่อามิส จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับ
ว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษ
ทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงกล่าวอย่างนี้ว่า ภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายไม่ตั้งใจสั่งสอน
ภิกษุณีทั้งหลาย ภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายสั่งสอนภิกษุณีทั้งหลายก็เพราะเห็นแก่


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๓๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๔.อามิสสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
อามิสเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส
ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๑๖๕] ก็ ภิกษุใดกล่าวอย่างนี้ว่า ภิกษุ(ผู้เป็นเถระ)ทั้งหลายสั่งสอน
ภิกษุณีทั้งหลายเพราะเห็นแก่อามิส ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๑๖๖] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
คำว่า เพราะเห็นแก่อามิส คือ เพราะเห็นแก่จีวร เพราะเห็นแก่บิณฑบาต
เพราะเห็นแก่เสนาสนะ เพราะเห็นแก่คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เพราะเห็นแก่สักการะ
เพราะเห็นแก่ความเคารพ เพราะเห็นแก่ความนับถือ เพราะเห็นแก่การกราบไหว้
เพราะเห็นแก่การบูชา
คำว่า กล่าวอย่างนี้ ความว่า ภิกษุต้องการจะทำให้เสียชื่อ ต้องการจะทำให้
อัปยศ ต้องการจะทำอุปสัมบันที่สงฆ์แต่งตั้งให้เป็นผู้สั่งสอนภิกษุณีให้เก้อเขิน จึง
กล่าวหาอย่างนี้ว่า “ภิกษุนั้นสั่งสอนเพราะเห็นแก่จีวร เพราะเห็นแก่บิณฑบาต
เพราะเห็นแก่เสนาสนะ เพราะเห็นแก่คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เพราะเห็นแก่
สักการะ เพราะเห็นแก่ความเคารพ เพราะเห็นแก่ความนับถือ เพราะเห็นแก่การ
กราบไหว้ เพราะเห็นแก่การบูชา” ต้องอาบัติปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๓๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๔.อามิสสิกขาบท บทภาชนีย์
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๑๖๗] กรรม๑ ที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง กล่าวอย่าง
นี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ กล่าวอย่างนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง กล่าวอย่างนี้ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์

ทุกทุกกฏ
ภิกษุต้องการจะทำให้เสียชื่อ ต้องการจะทำให้อัปยศ ต้องการจะทำอุปสัมบันที่
สงฆ์ไม่ได้แต่งตั้งให้เป็นผู้สั่งสอนภิกษุณีให้เก้อเขิน จึงกล่าวหาอย่างนี้ว่า “ภิกษุ
นั้นสั่งสอนเพราะเห็นแก่จีวร เพราะเห็นแก่บิณฑบาต เพราะเห็นแก่เสนาสนะ เพราะ
เห็นแก่คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เพราะเห็นแก่สักการะ เพราะเห็นแก่ความเคารพ
เพราะเห็นแก่ความนับถือ เพราะเห็นแก่การกราบไหว้ เพราะเห็นแก่การบูชา” ต้อง
อาบัติทุกกฏ
ภิกษุต้องการจะทำให้เสียชื่อ ต้องการจะทำให้อัปยศ ต้องการจะทำ
อนุปสัมบันที่สงฆ์แต่งตั้งหรือไม่ได้แต่งตั้งให้เป็นผู้สั่งสอนภิกษุณีให้เก้อเขิน จึงกล่าว
หาอย่างนี้ว่า “อนุปสัมบันนั้นสั่งสอนเพราะเห็นแก่จีวร เพราะเห็นแก่บิณฑบาต
เพราะเห็นแก่เสนาสนะ เพราะเห็นแก่คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เพราะเห็นแก่สักการะ
เพราะเห็นแก่ความเคารพ เพราะเห็นแก่ความนับถือ เพราะเห็นแก่การกราบไหว้
เพราะเห็นแก่การบูชา” ต้องอาบัติทุกกฏ

เชิงอรรถ :
๑ กรรม คือการแต่งตั้งภิกษุสั่งสอนพวกภิกษุณี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๓๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๔.อามิสสิกขาบท อนาปัตติวาร
ติกทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง กล่าวอย่างนี้ ต้อง
อาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ กล่าวอย่างนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง กล่าวอย่างนี้
ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๖๘] ๑. ภิกษุกล่าวหาภิกษุผู้สั่งสอนเพราะเห็นแก่จีวร เพราะเห็นแก่
บิณฑบาต เพราะเห็นแก่เสนาสนะ เพราะเห็นแก่คิลานปัจจัย
เภสัชบริขาร เพราะเห็นแก่สักการะ เพราะเห็นแก่ความเคารพ
เพราะเห็นแก่ความนับถือ เพราะเห็นแก่การกราบไหว้ เพราะ
เห็นแก่การบูชาตามปกติ
๒. ภิกษุวิกลจริต
๓. ภิกษุต้นบัญญัติ

อามิสสิกขาบทที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๓๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๕.จีวรทานสิกขาบท นิทานวัตถุ
๓. โอวาทวรรค

๕. จีวรทานสิกขาบท
ว่าด้วยการถวายจีวร

เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง
[๑๖๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเที่ยวบิณฑบาตไป
ตามถนนสายหนึ่ง ภิกษุณีรูปหนึ่งก็เที่ยวบิณฑบาตไปตามถนนสายเดียวกันนั้น
ทีนั้น ภิกษุได้กล่าวกับภิกษุณีรูปนั้นดังนี้ว่า “ไปเถิด น้องหญิง ที่โน้นมีผู้ถวาย
ภิกษา” ภิกษุณีก็กล่าวอย่างนี้ว่า “ไปเถิด พระคุณเจ้า ที่โน้นมีผู้ถวายภิกษา” ภิกษุ
และภิกษุณีทั้ง ๒ รูปนั้นจึงเป็นเพื่อนกัน เพราะพบกันอยู่เนือง ๆ
ต่อมา ภิกษุผู้เป็นเจ้าหน้าที่แจกจีวรกำลังแจกจีวรของสงฆ์ ภิกษุณีรูปนั้นไปรับ
โอวาท แล้วเข้าไปหาภิกษุรูปนั้นถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้วได้ไหว้ภิกษุรูปนั้น แล้วยืน ณ
ที่สมควร
ภิกษุผู้เป็นเพื่อนรูปนั้นได้กล่าวกับภิกษุณีรูปนั้นผู้ยืนอยู่ ณ ที่สมควรว่า “น้อง
หญิง นี้จีวรส่วนแบ่งของเรา เธอจะรับหรือไม่”
ภิกษุณีตอบว่า “รับ เจ้าข้า เพราะดิฉันมีจีวรเก่า”
ทีนั้น ภิกษุนั้นจึงได้ให้จีวรแก่ภิกษุณีรูปนั้น ส่วนตนเองก็ยังคงใช้จีวรเก่า
ภิกษุทั้งหลายได้กล่าวกับภิกษุนั้นดังนี้ว่า “ท่าน บัดนี้ท่านจงตัดเย็บจีวรของ
ท่าน”
ลำดับนั้น ภิกษุรูปนั้นจึงบอกเรื่องนั้นให้ภิกษุทั้งหลายทราบ
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุ
จึงให้จีวรแก่ภิกษุณีเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิภิกษุนั้นโดยประการต่าง ๆ แล้ว
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๓๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๕.จีวรทานสิกขาบท พระบัญญัติ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุนั้นว่า “ภิกษุ ทราบว่า เธอให้จีวรแก่ภิกษุณีจริงหรือ” ภิกษุนั้นทูล
รับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุ ภิกษุณีนั้นเป็น
ญาติของเธอหรือไม่ใช่ญาติ” ภิกษุนั้นทูลรับว่า “ไม่ใช่ญาติ พระพุทธเจ้าข้า” พระ
ผู้มีพระภาคทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษ ภิกษุผู้ไม่ใช่ญาติย่อมไม่รู้ความเหมาะสมหรือ
ไม่เหมาะสม ความน่าเลื่อมใสหรือไม่น่าเลื่อมใส ของที่มีอยู่หรือไม่มีอยู่ของภิกษุณี
ผู้ไม่ใช่ญาติ โมฆบุรุษ ไฉนเธอจึงให้จีวรแก่ภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติเล่า โมฆบุรุษ การ
กระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุ
ทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
ก็ ภิกษุใดให้จีวรแก่ภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง จบ

เรื่องภิกษุหลายรูป
[๑๗๐] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายพากันมีความยำเกรง จึงไม่ยอมให้จีวรแลก
เปลี่ยนกับภิกษุณีทั้งหลาย ภิกษุณีทั้งหลายจึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า
“ไฉนภิกษุทั้งหลายจึงไม่ยอมให้จีวรแลกเปลี่ยนกับพวกเราเล่า”
ภิกษุทั้งหลายได้ยินภิกษุณีทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนา จึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงอนุญาตให้แลกเปลี่ยนจีวรได้
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สหธรรมิก ๕ คือ ภิกษุ ภิกษุณี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๔๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๕.จีวรทานสิกขาบท บทภาชนีย์
สิกขมานา สามเณร สามเณรี ให้จีวรแลกเปลี่ยนกันได้ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
ให้สหธรรมิก ๕ เหล่านี้ ให้จีวรแลกเปลี่ยนกันได้” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยก
สิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระอนุบัญญัติ
[๑๗๑] อนึ่ง ภิกษุใดให้จีวรแก่ภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เว้นไว้แต่แลกเปลี่ยนกัน
เรื่องภิกษุหลายรูป จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๑๗๒] คำว่า อนึ่ง...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัส
ว่า อนึ่ง...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ผู้ไม่ใช่ญาติ คือ ไม่ใช่คนที่เกี่ยวเนื่องกันทางมารดาหรือทางบิดา
ตลอดเจ็ดชั่วคน
ที่ชื่อว่า ภิกษุณี ได้แก่ มาตุคามที่อุปสมบทในสงฆ์ ๒ ฝ่าย
ที่ชื่อว่า จีวร ได้แก่ จีวร ๖ ชนิด อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งมีขนาดพอที่จะทำ
วิกัปได้เป็นอย่างต่ำ
คำว่า เว้นไว้แต่แลกเปลี่ยนกัน คือ ภิกษุให้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ยกเว้น
แลกเปลี่ยนกัน

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๑๗๓] ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ให้จีวร ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่แลกเปลี่ยนกัน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๔๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๕.จีวรทานสิกขาบท อนาปัตติวาร
ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุไม่แน่ใจ ให้จีวร ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่แลก
เปลี่ยนกัน
ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ให้จีวร ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้น
ไว้แต่แลกเปลี่ยนกัน

ติกทุกกฏ
ภิกษุณีที่อุปสมบทในสงฆ์ฝ่ายเดียว ภิกษุให้จีวร ต้องอาบัติทุกกฏ เว้นไว้แต่
แลกเปลี่ยนกัน
ภิกษุณีที่เป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ให้จีวร ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุณีที่เป็นญาติ ภิกษุไม่แน่ใจ ให้จีวร ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุณีที่เป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ให้จีวร ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๗๔] ๑. ภิกษุผู้ให้แก่ภิกษุณีที่เป็นญาติ
๒. ภิกษุแลก คือ เอาจีวรราคาถูกแลกจีวรราคาแพง หรือจีวรราคา
แพงแลกจีวรราคาถูก
๓. ภิกษุเจ้าของจีวรที่ภิกษุณีถือวิสาสะเอาไป
๔. ภิกษุเจ้าของจีวรที่ภิกษุณีขอยืมไป
๕. ภิกษุให้บริขารอื่น นอกจากจีวร
๖. ภิกษุให้แก่สิกขมานา
๗. ภิกษุให้แก่สามเณรี
๘. ภิกษุวิกลจริต
๙. ภิกษุต้นบัญญัติ

จีวรทานสิกขาบทที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๔๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๖.จีวรสิพพนสิกขาบท นิทานวัตถุ
๓. โอวาทวรรค

๖. จีวรสิพพนสิกขาบท
ว่าด้วยการเย็บจีวรให้ภิกษุณี

เรื่องพระอุทายี
[๑๗๕] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระอุทายีเป็นผู้ชำนาญ
การตัดเย็บจีวร ภิกษุณีรูปหนึ่งเข้าไปหาท่านพระอุทายีถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้วได้กล่าว
กับท่านพระอุทายีดังนี้ว่า “พระคุณเจ้า ดิฉันขอโอกาส พระคุณเจ้า ช่วยเย็บจีวร
ให้ด้วยเถิด เจ้าข้า”
ทีนั้น ท่านพระอุทายีจึงได้เย็บจีวรให้นางภิกษุณีนั้น ย้อมอย่างดี เรียบร้อยดี
เขียนภาพตามจินตนาการตรงกลางแล้วพับเก็บไว้
ครั้งนั้น ภิกษุณีรูปนั้นได้เข้าไปหาท่านพระอุทายีถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้วได้กล่าว
กับท่านพระอุทายีดังนี้ว่า “พระคุณเจ้า จีวรนั้นอยู่ที่ไหน เจ้าค่ะ”
ท่านพระอุทายีตอบว่า “น้องหญิง มาเถิด เธอนำจีวรผืนนี้ไปตามที่พับเก็บไว้
แล้ว จงห่มจีวรผืนนี้เดินตามหลังภิกษุณีสงฆ์มาในเวลาที่ภิกษุณีสงฆ์มารับโอวาท”
ครั้งนั้น ภิกษุณีรูปนั้นได้นำจีวรไปเก็บไว้ตามที่พับ แล้วได้ห่มจีวรผืนนั้นเดิน
ตามหลังภิกษุณีสงฆ์มาในเวลาที่ภิกษุณีสงฆ์มารับโอวาท
พวกชาวบ้านพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “พวกภิกษุณีไม่กลัวบาป
ใจถึง ไร้ยางอาย จนถึงกับได้เขียนภาพตามจินตนาการไว้ที่จีวร”
ภิกษุณีทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ว่า “ภาพนี้ใครเขียน”
ภิกษุณีนั้นตอบว่า “พระคุณเจ้าอุทายี”
ภิกษุณีทั้งหลายกล่าวว่า “ภาพตามจินตนาการประเภทนี้ ถึงพวกนักเลง
ตัดช่องย่องเบา ไม่กลัวบาป ก็ยังไม่เห็นว่างาม ไฉนพระคุณเจ้าอุทายีจึงเห็นว่างาม
เล่า” ครั้นแล้วภิกษุณีเหล่านั้นจึงบอกเรื่องนี้ให้ภิกษุทั้งหลายทราบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๔๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๖.จีวรสิพพนสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนท่าน
พระอุทายีจึงเย็บจีวรให้ภิกษุณีเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิท่านพระอุทายีโดย
ประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามท่านพระอุทายีว่า “อุทายี ทราบว่า เธอเย็บจีวรให้ภิกษุณี จริงหรือ” ท่าน
พระอุทายีทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “อุทายี
ภิกษุณีนั้นเป็นญาติของเธอหรือไม่ใช่ญาติ” ท่านพระอุทายีกราบทูลว่า “ไม่ใช่ญาติ
พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษ ภิกษุผู้ไม่ใช่ญาติย่อมไม่รู้
ความเหมาะสมหรือไม่เหมาะสม ความน่าเลื่อมใสหรือไม่น่าเลื่อมใสของภิกษุณีผู้
ไม่ใช่ญาติ โมฆบุรุษ ไฉนเธอจึงเย็บจีวรให้แก่ภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติเล่า โมฆบุรุษ การ
กระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุ
ทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๑๗๖] ก็ ภิกษุใดเย็บหรือใช้ให้เย็บจีวรให้ภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
เรื่องพระอุทายี จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๑๗๗] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ที่ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๔๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๖.จีวรสิพพนสิกขาบท บทภาชนีย์
ที่ชื่อว่า ผู้ไม่ใช่ญาติ คือ ไม่ใช่คนที่เกี่ยวเนื่องกันทางมารดาหรือทางบิดา
ตลอดเจ็ดชั่วคน
ที่ชื่อว่า ภิกษุณี ได้แก่ มาตุคามที่อุปสมบทในสงฆ์ ๒ ฝ่าย
ที่ชื่อว่า จีวร ได้แก่ จีวร ๖ ชนิด อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งมีขนาดพอที่จะทำ
วิกัปได้เป็นอย่างต่ำ
คำว่า เย็บ คือ ภิกษุเย็บให้เอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ รอยเข็ม
คำว่า ใช้ให้เย็บ คือ ภิกษุใช้ให้ผู้อื่นเย็บให้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ผู้รับคำสั่ง
ครั้งเดียว แต่เย็บมากครั้ง ภิกษุผู้สั่งต้องอาบัติปาจิตตีย์

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๑๗๘] ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ เย็บหรือใช้ให้เย็บจีวร
ให้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุไม่แน่ใจ เย็บหรือใช้ให้เย็บจีวรให้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ เย็บหรือใช้ให้เย็บจีวรให้ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์

ติกทุกกฏ
ภิกษุณีที่อุปสมบทในสงฆ์ฝ่ายเดียว ภิกษุเย็บหรือใช้ให้เย็บจีวรให้ ต้องอาบัติ
ทุกกฏ
ภิกษุณีที่เป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ เย็บหรือให้เย็บจีวรให้ ต้องอาบัติ
ทุกกฏ
ภิกษุณีที่เป็นญาติ ภิกษุไม่แน่ใจ เย็บหรือใช้ให้เย็บจีวรให้ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุณีที่เป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ เย็บหรือใช้ให้เย็บจีวร ไม่ต้องอาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๔๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๖.จีวรสิพพนสิกขาบท อนาปัตติวาร
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๗๙] ๑. ภิกษุเย็บจีวรให้ภิกษุณีผู้เป็นญาติ
๒. ภิกษุเย็บหรือใช้ให้เย็บบริขารอื่นให้ นอกจากจีวร
๓. ภิกษุเย็บจีวรให้สิกขมานา
๔. ภิกษุเย็บจีวรให้สามเณรี
๕. ภิกษุวิกลจริต
๖. ภิกษุต้นบัญญัติ

จีวรสิพพนสิกขาบทที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๔๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๗.สังวิธานสิกขาบท นิทานวัตถุ
๓. โอวาทวรรค

๗. สังวิธานสิกขาบท
ว่าด้วยการชักชวนเดินทางร่วมกัน

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๑๘๐] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ชักชวนกันเดิน
ทางไกลร่วมกันกับภิกษุณีทั้งหลาย พวกชาวบ้านพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนา
ว่า “พระสมณะเชื้อสายศากยบุตรเที่ยวไปกับภิกษุณีทั้งหลาย เหมือนพวกเรากับ
ภรรยาเที่ยวไปด้วยกัน”
พวกภิกษุได้ยินชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มักน้อย
ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์จึงชักชวนกันเดิน
ทางไกลร่วมกันกับภิกษุณีทั้งหลายเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอชักชวนกันเดินทาง
ไกลร่วมกันกับภิกษุณีทั้งหลาย จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระ
พุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน
พวกเธอจึงชักชวนกันเดินทางไกลร่วมกันกับภิกษุณีทั้งหลายเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย
การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุ
ทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๔๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๗.สังวิธานสิกขาบท พระบัญญัติ
พระบัญญัติ
ก็ ภิกษุใดชักชวนกันเดินทางไกลร่วมกันกับภิกษุณี โดยที่สุดแม้ชั่วละแวก
หมู่บ้านหนึ่ง ต้องอาบัติปาจิตตีย์
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

เรื่องภิกษุและภิกษุณีหลายรูป
[๑๘๑] สมัยนั้น พวกภิกษุและพวกภิกษุณีหลายรูปจะเดินทางไกลจากเมือง
สาเกตไปกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีเหล่านั้นได้กล่าวกับภิกษุเหล่านั้นดังนี้ว่า
“พวกดิฉันจะขอเดินทางไปกับพระคุณเจ้าทั้งหลาย”
ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า “น้องหญิงทั้งหลาย การชักชวนกันเดินทางไกลร่วมกัน
กับภิกษุณีไม่สมควร พวกเธอจักไปก่อน หรือพวกเราจักไปก่อน”
ภิกษุณีทั้งหลายตอบว่า “พระคุณเจ้าทั้งหลายเป็นบุรุษผู้ล้ำเลิศ นิมนต์ล่วง
หน้าไปก่อนเถิด เจ้าข้า”
ครั้งนั้น เมื่อภิกษุณีเหล่านั้นเดินทางไปภายหลัง พวกโจรจึงปล้นและทำร้ายใน
ระหว่างทาง ทีนั้น ครั้นภิกษุณีเหล่านั้นเดินทางถึงกรุงสาวัตถีจึงบอกเรื่องนั้นแก่
ภิกษุณีทั้งหลาย ภิกษุณีเหล่านั้นจึงบอกเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นได้
นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงอนุญาตให้เดินทางร่วมกัน
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ แล้ว
รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย หนทางที่จะพึงไปด้วยกองเกวียน ที่รู้กัน
ว่าน่าหวาดระแวง มีภัยน่ากลัว เราอนุญาตให้ชักชวนกันเดินทางไกลร่วมกันกับ
ภิกษุณีได้” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๔๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๗.สังวิธานสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
พระอนุบัญญัติ
[๑๘๒] อนึ่ง ภิกษุใดชักชวนกันเดินทางไกลร่วมกันกับภิกษุณี โดยที่สุด
แม้ชั่วละแวกหมู่บ้านหนึ่ง นอกสมัย ต้องอาบัติปาจิตตีย์ สมัยในข้อนั้น คือ
เป็นหนทางที่จะพึงไปด้วยกองเกวียน ที่รู้กันว่าน่าหวาดระแวง มีภัยน่ากลัว นี้
เป็นสมัยในข้อนั้น
เรื่องภิกษุและนางภิกษุณีหลายรูป จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๑๘๓] คำว่า อนึ่ง...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัส
ว่า อนึ่ง...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ภิกษุณี ได้แก่ มาตุคามที่อุปสมบทในสงฆ์ ๒ ฝ่าย
คำว่า กับ คือ โดยความเป็นอันเดียวกัน
คำว่า ชักชวนกัน คือ ชักชวนกันว่า พวกเราไปกันเถิด น้องหญิง พวกเรา
ไปกันเถิด พระคุณเจ้า ไปกันเถิด พระคุณเจ้า พวกเราไปกันเถิด น้องหญิง พวก
เราจะไปวันนี้ พรุ่งนี้ หรือวันมะรืนนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ
คำว่า โดยที่สุดแม้ชั่วละแวกหมู่บ้านหนึ่ง คือ หมู่บ้านหนึ่งกำหนดชั่วไก่บิน
ตก ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ ละแวกหมู่บ้าน ในป่าที่ไม่มีหมู่บ้าน ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์ทุก ๆ กึ่งโยชน์
คำว่า นอกสมัย คือ ยกเว้นสมัย
ที่ชื่อว่า หนทางที่จะพึงไปด้วยกองเกวียน คือ ไม่สามารถจะไปได้ เว้นไว้
แต่ไปด้วยกองเกวียน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๔๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๗.สังวิธานสิกขาบท บทภาชนีย์
ที่ชื่อว่า น่าหวาดระแวง คือ ในหนทางนั้น ปรากฏที่อยู่ ปรากฏที่กิน
ปรากฏที่ยืน ปรากฏที่นั่ง ปรากฏที่นอนของพวกโจร
ที่ชื่อว่า มีภัยน่ากลัว คือ ในหนทางนั้น ปรากฏมีมนุษย์ถูกพวกโจรฆ่า
ปรากฏมีมนุษย์ถูกปล้น ปรากฏมีมนุษย์ถูกทุบตี
ภิกษุพาไปตลอดทางที่มีภัยน่ากลัว พอเห็นที่ปลอดภัยพึงส่งภิกษุณีทั้งหลาย
ไปด้วยกล่าวว่า “พวกเธอจงไปเถิด”

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๑๘๔] ชักชวนกันแล้ว ภิกษุสำคัญว่าชักชวนกันแล้ว เดินทางไกลด้วยกัน
โดยที่สุดแม้ชั่วระยะหมู่บ้านหนึ่ง นอกสมัย ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ชักชวนกันแล้ว ภิกษุไม่แน่ใจ เดินทางไกลด้วยกันโดยที่สุดแม้ชั่วระยะหมู่บ้าน
หนึ่ง นอกสมัย ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ชักชวนกันแล้ว ภิกษุสำคัญว่าไม่ได้ชักชวน เดินทางไกลด้วยกันโดยที่สุดแม้
ชั่วระยะหมู่บ้านหนึ่ง นอกสมัย ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ติกทุกกฏ
ภิกษุชักชวน ภิกษุณีไม่ได้ชักชวน ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ได้ชักชวน ภิกษุสำคัญว่าชักชวน ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ได้ชักชวน ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ได้ชักชวน ภิกษุสำคัญว่าไม่ได้ชักชวน ไม่ต้องอาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๕๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๗.สังวิธานสิกขาบท อนาปัตติวาร
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๘๕] ๑. ภิกษุและภิกษุณีไปในสมัยที่ทรงอนุญาต
๒. ภิกษุและภิกษุณีไม่ได้ชักชวนกันไป
๓. ภิกษุไม่ได้ชักชวนแต่ภิกษุณีชักชวน
๔. ภิกษุและภิกษุณีไปด้วยกันโดยมิได้นัดหมายกัน
๕. ภิกษุและภิกษุณีไปในคราวมีเหตุขัดข้อง
๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สังวิธานสิกขาบทที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๕๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๘.นาวาภิรูหนสิกขาบท นิทานวัตถุ
๓. โอวาทวรรค

๘. นาวาภิรูหนสิกขาบท
ว่าด้วยการโดยสารเรือลำเดียวกัน

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๑๘๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ชักชวนภิกษุณี
ทั้งหลายโดยสารเรือลำเดียวกัน
พวกชาวบ้านพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “พระสมณะเชื้อสายศากย
บุตรเหล่านี้ชักชวนภิกษุณีทั้งหลายเล่นเรือลำเดียวกัน เหมือนพวกเรากับภรรยาเล่น
เรือลำเดียวกัน”
พวกภิกษุได้ยินชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มักน้อย
ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์จึงชักชวน
ภิกษุณีทั้งหลายโดยสารเรือลำเดียวกันเล่า” ครั้นแล้วภิกษุเหล่านั้นจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงบัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย
ทราบว่า พวกเธอชักชวนภิกษุณีทั้งหลายโดยสารเรือลำเดียวกัน จริงหรือ” พวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิ
ว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงชักชวนภิกษุณีทั้งหลายโดยสารเรือ
ลำเดียวกันเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้
เลื่อมใส ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๕๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๘.นาวาภิรูหนสิกขาบท พระบัญญัติ
พระบัญญัติ
ก็ ภิกษุใดชักชวนภิกษุณีโดยสารเรือลำเดียวกัน ไปทวนน้ำก็ตาม ไปตาม
น้ำก็ตาม ต้องอาบัติปาจิตตีย์
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

เรื่องภิกษุและภิกษุณีหลายรูป
[๑๘๗] สมัยนั้น พวกภิกษุและพวกภิกษุณีหลายรูปจะเดินทางไกลจากเมือง
สาเกตไปกรุงสาวัตถี ระหว่างทางมีแม่น้ำที่ต้องข้าม ครั้งนั้น ภิกษุณีเหล่านั้นได้กล่าว
กับภิกษุเหล่านั้นดังนี้ว่า “พวกดิฉันจะขอข้ามไปพร้อมกับพระคุณเจ้าทั้งหลาย”
ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า “น้องหญิงทั้งหลาย การชักชวนภิกษุณีโดยสารเรือ
ลำเดียวกันไม่สมควร พวกเธอจักข้ามไปก่อน หรือพวกเราจักข้ามไปก่อน”
ภิกษุณีทั้งหลายตอบว่า “พระคุณเจ้าทั้งหลายเป็นบุรุษผู้ล้ำเลิศ นิมนต์ข้ามไป
ก่อนเถิด เจ้าข้า”
ครั้งนั้น เมื่อภิกษุณีเหล่านั้นข้ามไปภายหลัง พวกโจรจึงปล้นและทำร้าย
ในระหว่างทาง ทีนั้น ครั้นภิกษุณีเหล่านั้นเดินทางถึงกรุงสาวัตถีจึงบอกเรื่องนั้น
แก่ภิกษุณีทั้งหลาย ภิกษุณีเหล่านั้นจึงบอกเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้น
ได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงอนุญาตให้โดยสารเรือลำเดียวกันข้ามฟาก
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ แล้ว
รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ในการข้ามฟาก เราอนุญาตให้ชักชวน
ภิกษุณีโดยสารเรือลำเดียวกันได้” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้น
แสดงดังนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๕๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๘.นาวาภิรูหนสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
พระอนุบัญญัติ
[๑๘๘] อนึ่ง ภิกษุใดชักชวนภิกษุณีโดยสารเรือลำเดียวกัน ไปทวนน้ำ
ก็ตาม ไปตามน้ำก็ตาม ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ข้ามฟาก
เรื่องภิกษุและภิกษุณีหลายรูป จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๑๘๙] คำว่า อนึ่ง...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัส
ว่า อนึ่ง...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ภิกษุณี ได้แก่ มาตุคามที่อุปสมบทในสงฆ์ ๒ ฝ่าย
คำว่า กับ คือ รวมกันโดยความเป็นอันเดียวกัน
คำว่า ชักชวนกัน คือ ชักชวนกันว่า ไปโดยสารเรือกันเถิด น้องหญิง ไปโดย
สารเรือกันเถิด พระคุณเจ้า ไปโดยสารเรือกันเถิด เจ้าค่ะ ไปโดยสารเรือกันเถิดจ้ะ
พวกเราจะไปโดยสารเรือกันวันนี้ พรุ่งนี้ หรือวันมะรืนนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ
เมื่อภิกษุณีโดยสาร ภิกษุโดยสาร ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เมื่อภิกษุโดยสาร ภิกษุณีโดยสาร ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุและภิกษุณีทั้งสองโดยสาร ต้องอาบัติปาจิตตีย์
คำว่า ไปทวนน้ำ คือ แล่นทวนกระแสน้ำ
คำว่า ไปตามน้ำ คือ แล่นตามกระแสน้ำ
คำว่า เว้นไว้แต่ข้ามฟาก คือ ยกเว้นแต่ข้ามฝั่งน้ำ
หมู่บ้านหนึ่งกำหนดชั่วไก่บินตก ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ ละแวกหมู่บ้าน ใน
ป่าที่ไม่มีหมู่บ้าน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ กึ่งโยชน์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๕๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๘.นาวาภิรูหนสิกขาบท อนาปัตติวาร
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๑๙๐] ชักชวนกันแล้ว ภิกษุสำคัญว่าชักชวนกันแล้ว โดยสารเรือลำเดียวกัน
ไปทวนน้ำก็ตาม ไปตามน้ำก็ตาม ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ข้ามฟาก
ชักชวนกันแล้ว ภิกษุไม่แน่ใจ โดยสารเรือลำเดียวกัน ไปทวนน้ำก็ตาม
ไปตามน้ำก็ตาม ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ข้ามฟาก
ชักชวนกันแล้ว ภิกษุสำคัญว่าไม่ได้ชักชวน โดยสารเรือลำเดียวกัน ไปทวนน้ำ
ก็ตาม ไปตามน้ำก็ตาม ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ข้ามฟาก

ติกทุกกฏ
ภิกษุชักชวน ภิกษุณีไม่ได้ชักชวน ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ได้ชักชวน ภิกษุสำคัญว่าชักชวนกันแล้ว ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ได้ชักชวน ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ได้ชักชวน ภิกษุสำคัญว่าไม่ได้ชักชวน ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๙๑] ๑. ภิกษุและภิกษุณีโดยสารเรือข้ามฟาก
๒. ภิกษุและภิกษุณีไม่ได้ชักชวนกันโดยสารเรือ
๓. ภิกษุไม่ได้ชักชวน แต่ภิกษุณีชักชวน
๔. ภิกษุและภิกษุณีโดยสารเรือโดยมิได้นัดหมายกัน
๕. ภิกษุและภิกษุณีไปในคราวมีเหตุขัดข้อง
๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

นาวาภิรูหนสิกขาบทที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๕๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๙.ปริปาจิตสิกขาบท นิทานวัตถุ
๓. โอวาทวรรค

๙. ปริปาจิตสิกขาบท
ว่าด้วยการฉันบิณฑบาตที่ภิกษุณีแนะนำให้จัดเตรียม

เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
[๑๙๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่
ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ภิกษุณีชื่อถุลลนันทาเป็นผู้ใกล้ชิดตระกูล
ของตระกูลหนึ่งรับภัตตาหารประจำ คหบดีนั้นนิมนต์ภิกษุผู้เป็นเถระหลายรูปไว้
ครั้งนั้น ในเวลาเช้า ภิกษุณีชื่อถุลลนันทาครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร
เข้าไปถึงตระกูลนั้น ครั้นถึงแล้วได้กล่าวกับคหบดีนั้นดังนี้ว่า “คหบดี ทำไมท่าน
จึงเตรียมของเคี้ยวของฉันไว้มากมาย”
คหบดีตอบว่า “แม่เจ้า กระผมนิมนต์พระเถระทั้งหลายไว้ ขอรับ”
ภิกษุณีชื่อถุลลนันทาถามว่า “คหบดี พระเถระเหล่านั้น ใครบ้าง”
คหบดีตอบว่า “คือ พระคุณเจ้าสารีบุตร พระคุณเจ้ามหาโมคคัลลานะ พระ
คุณเจ้ามหากัจจายนะ พระคุณเจ้ามหาโกฏฐิตะ พระคุณเจ้ามหากัปปินะ พระคุณเจ้า
มหาจุนทะ พระคุณเจ้าอนุรุทธะ พระคุณเจ้าเรวตะ พระคุณเจ้าอุบาลี พระคุณเจ้า
อานนท์ พระคุณเจ้าราหุล”
ภิกษุณีถุลลนันทาถามว่า “คหบดี เมื่อมีพระเถระผู้ใหญ่ ทำไมท่านจึงนิมนต์
พระผู้น้อยเล่า”
“พระเถระผู้ใหญ่ของท่าน มีใครบ้าง ขอรับ”
“พระคุณเจ้าเทวทัต พระคุณเจ้าโกกาลิกะ พระคุณเจ้ากตโมรกติสสกะ๑ พระ
คุณเจ้าขัณฑเทวีบุตร พระคุณเจ้าสมุทททัต”

เชิงอรรถ :
๑ วินัยปิฎกเล่ม ๑ เป็น กฏโมรกติสสกะ (วิ.มหา. ๑/๔๐๙/๓๐๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๕๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๙.ปริปาจิตสิกขาบท พระบัญญัติ
ในขณะที่ภิกษุณีชื่อถุลลนันทากล่าวค้างอยู่นี้ พอดีกับที่พระเถระเหล่านั้นเข้า
มา นางกลับพูดว่า “ถูกแล้ว คหบดี ท่านนิมนต์พระเถระผู้ใหญ่ทั้งนั้น”
คหบดีกล่าวว่า “เมื่อสักครู่นี่เอง ท่านกล่าวว่าพระคุณเจ้าทั้งหลายเป็นพระ
ผู้น้อย แต่เดี๋ยวนี้กลับกล่าวว่าเป็นพระเถระผู้ใหญ่” จึงขับนางออกจากเรือนและงด
ภัตตาหารที่ถวายประจำ
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ จึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
พระเทวทัตรู้อยู่จึงฉันบิณฑบาตที่ภิกษุณีแนะนำให้จัดเตรียมเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้น
ตำหนิพระเทวทัตโดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพระเทวทัตว่า “เทวทัต ทราบว่า เธอรู้อยู่ฉันบิณฑบาตที่ภิกษุณีแนะ
นำให้จัดเตรียม จริงหรือ” พระเทวทัตทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มี
พระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษ ไฉนเธอรู้อยู่จึงฉันบิณฑบาตที่
ภิกษุณีแนะนำให้จัดเตรียมเล่า โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่
เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
ก็ ภิกษุใดรู้อยู่ ฉันบิณฑบาตที่ภิกษุณีแนะนำให้จัดเตรียม ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๕๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๙.ปริปาจิตสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง
[๑๙๓] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งบวชจากกรุงราชคฤห์ ได้เดินทางไปตระกูลญาติ
พวกชาวบ้านถวายภัตตาหารด้วยความดีใจว่า นาน ๆ พระคุณเจ้าจึงมา ภิกษุณีผู้
ใกล้ชิดตระกูลของตระกูลนั้นได้กล่าวกับพวกชาวบ้านดังนี้ว่า “ท่านทั้งหลายจงถวาย
ภัตตาหารแก่พระคุณเจ้า”
ทีนั้น ภิกษุนั้นมีความยำเกรงว่า พระผู้มีพระภาคทรงห้ามภิกษุผู้รู้อยู่ฉัน
บิณฑบาตที่ภิกษุณีแนะนำให้จัดเตรียม จึงไม่ยอมรับประเคน ไม่สามารถไปเที่ยว
บิณฑบาต ได้อดอาหาร ครั้นไปอารามจึงบอกเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้น
จึงได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงอนุญาตให้ฉันบิณฑบาตที่คฤหัสถ์ปรารภไว้ก่อน
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อคฤหัสถ์ปรารภไว้ก่อน เราอนุญาตให้ภิกษุ
ผู้รู้อยู่ฉันบิณฑบาตที่ภิกษุณีแนะนำให้จัดเตรียมได้” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลาย
ยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระอนุบัญญัติ
[๑๙๔] อนึ่ง ภิกษุใดรู้อยู่ ฉันบิณฑบาตที่ภิกษุณีแนะนำให้จัดเตรียม
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ภัตตาหารที่คฤหัสถ์ปรารภไว้ก่อน
เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๑๙๕] คำว่า อนึ่ง...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
อนึ่ง...ใด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๕๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๙.ปริปาจิตสิกขาบท บทภาชนีย์
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า รู้อยู่ คือ รู้เอง ผู้อื่นบอกให้ภิกษุนั้นรู้ หรือภิกษุณีบอก
ที่ชื่อว่า ภิกษุณี ได้แก่ มาตุคามที่อุปสมบทในสงฆ์ ๒ ฝ่าย
ที่ชื่อว่า แนะนำให้จัดเตรียม คือ เขาไม่ประสงค์จะถวาย หรือไม่ประสงค์
จะกระทำแต่แรก ภิกษุณีกล่าวว่า “พระคุณเจ้าเป็นนักสวด พระคุณเจ้าเป็นพหูสูต
พระคุณเจ้าเป็นผู้ชำนาญพระสูตร พระคุณเจ้าเป็นผู้ทรงวินัย พระคุณเจ้าเป็น
ธรรมกถึก ท่านทั้งหลายจงถวายแก่พระคุณเจ้า จงทำถวายแก่พระคุณเจ้า” อย่างนี้
ชื่อว่าแนะนำให้จัดเตรียม
ที่ชื่อว่า บิณฑบาต ได้แก่ โภชนะ ๕ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง
คำว่า เว้นไว้แต่ภัตตาหารที่คฤหัสถ์ปรารภไว้ก่อน คือ ยกเว้นที่คฤหัสถ์
ริเริ่มไว้
ที่ชื่อว่า คฤหัสถ์ปรารภไว้ คือ เขาเป็นญาติ เป็นผู้ปวารณาภิกษุไว้ หรือ
ของเขาจัดแจงไว้ตามปกติ
[๑๙๖] ภิกษุรับประเคนด้วยตั้งใจว่าจะฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุฉัน
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำกลืน เว้นไว้แต่ภัตตาหารที่คฤหัสถ์ปรารภไว้ก่อน

บทภาชนีย์
บิณฑบาตที่ภิกษุณีแนะนำให้จัดเตรียม ภิกษุสำคัญว่าภิกษุณีแนะนำให้จัด
เตรียม ฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ภัตตาหารที่คฤหัสถ์ปรารภไว้ก่อน
บิณฑบาตที่ภิกษุณีแนะนำให้จัดเตรียม ภิกษุไม่แน่ใจ ฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ
เว้นไว้แต่ภัตตาหารที่คฤหัสถ์ปรารภไว้ก่อน
บิณฑบาตที่ภิกษุณีแนะนำให้จัดเตรียม ภิกษุสำคัญว่าไม่ได้แนะนำให้จัดเตรียม
ฉัน ไม่ต้องอาบัติ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๕๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๙.ปริปาจิตสิกขาบท อนาปัตติวาร
ภิกษุฉันบิณฑบาตที่ภิกษุณีผู้อุปสมบทในสงฆ์ฝ่ายเดียวแนะนำให้จัดเตรียม
ต้องอาบัติทุกกฏ เว้นไว้แต่ภัตตาหารที่คฤหัสถ์ปรารภไว้ก่อน
บิณฑบาตที่ภิกษุณีไม่ได้แนะนำให้จัดเตรียม ภิกษุสำคัญว่าภิกษุณีแนะนำให้
จัดเตรียม ฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ
บิณฑบาตที่ภิกษุณีไม่ได้แนะนำให้จัดเตรียม ภิกษุไม่แน่ใจ ฉัน ต้องอาบัติ
ทุกกฏ
บิณฑบาตที่ภิกษุณีไม่ได้แนะนำให้จัดเตรียม ภิกษุสำคัญว่าไม่ได้แนะนำให้จัดเตรียม
ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๙๗] ๑. ภิกษุฉันบิณฑบาตที่คฤหัสถ์ปรารภไว้ก่อน
๒. ภิกษุฉันบิณฑบาตที่สิกขมานาแนะนำให้จัดเตรียม
๓. ภิกษุฉันบิณฑบาตที่สามเณรีแนะนำให้จัดเตรียม
๔. ภิกษุฉันอาหารทุกชนิด ยกเว้นโภชนะ ๕๑
๕. ภิกษุวิกลจริต
๖. ภิกษุต้นบัญญัติ

ปริปาจิตสิกขาบทที่ ๙ จบ

เชิงอรรถ :
๑ โภชนะ ๕ คือ ข้าวสุก ขนมสด ข้าวตู ปลา เนื้อ (ดู ข้อ ๒๓๙ หน้า ๓๙๗ ในเล่มนี้)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๖๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๑๐.รโหนิสัชชสิกขาบท นิทานวัตถุ
๓. โอวาทวรรค

๑๐. รโหนิสัชชสิกขาบท
ว่าด้วยการนั่งในที่ลับ

เรื่องพระอุทายี
[๑๙๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น อดีตภรรยาของท่านพระอุทายี
บวชในสำนักภิกษุณีทั้งหลาย ภิกษุณีนั้นมาที่สำนักท่านพระอุทายีเป็นประจำ ท่าน
พระอุทายีก็ไปสำนักของภิกษุณีนั้นเป็นประจำ สมัยนั้น ท่านพระอุทายีนั่งในที่ลับ
กับภิกษุณีนั้นสองต่อสอง
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนท่าน
พระอุทายีจึงนั่งในที่ลับกับภิกษุณีสองต่อสองเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิท่านพระ
อุทายีโดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามท่านพระอุทายีว่า “อุทายี ทราบว่า เธอนั่งในที่ลับกับภิกษุณีสองต่อสอง
จริงหรือ” ท่านพระอุทายีทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า
ทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษ ไฉนเธอจึงนั่งอยู่ในที่ลับกับภิกษุณีสองต่อสองเล่า
โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่
เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบท
นี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๑๙๙] ก็ ภิกษุใดนั่งในที่ลับกับภิกษุณีสองต่อสอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องพระอุทายี จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๖๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๑๐.รโหนิสัชชสิกขาบท บทภาชนีย์
สิกขาบทวิภังค์
[๒๐๐] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ภิกษุณี ได้แก่ มาตุคามที่อุปสมบทในสงฆ์ ๒ ฝ่าย
คำว่า กับ คือ โดยความเป็นอันเดียวกัน
คำว่า สองต่อสอง ได้แก่ ภิกษุกับภิกษุณี
ที่ชื่อว่า ที่ลับ ได้แก่ ที่ลับตา ที่ลับหู
ที่ชื่อว่า ที่ลับตา หมายถึง ที่ซึ่งเมื่อบุคคลขยิบตา ยักคิ้ว หรือผงกศีรษะขึ้น
ใคร ๆ ก็ไม่สามารถแลเห็นได้
ที่ชื่อว่า ที่ลับหู หมายถึง ที่ซึ่งไม่มีใครสามารถจะได้ยินถ้อยคำที่พูดกันตาม
ปกติ
คำว่า นั่ง หมายความว่า เมื่อภิกษุณีนั่ง ภิกษุนั่งใกล้ หรือนอนใกล้กัน
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
[๒๐๑] เมื่อภิกษุนั่ง ภิกษุณีนั่งใกล้หรือนอนใกล้ ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุและภิกษุณีทั้งสองนั่งใกล้หรือนอนใกล้กัน ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
ที่ลับ ภิกษุสำคัญว่าเป็นที่ลับ นั่งสองต่อสอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ที่ลับ ภิกษุไม่แน่ใจ นั่งสองต่อสอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ที่ลับ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ที่ลับ นั่งสองต่อสอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๖๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๑๐.รโหนิสัชชสิกขาบท อนาปัตติวาร
ทุกทุกกฏ
ไม่ใช่ที่ลับ ภิกษุสำคัญว่าเป็นที่ลับ นั่งสองต่อสอง ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ใช่ที่ลับ ภิกษุไม่แน่ใจ นั่งสองต่อสอง ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ใช่ที่ลับ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ที่ลับ ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๒๐๒] ๑. ภิกษุมีบุรุษรู้เดียงสาอยู่เป็นเพื่อน
๒. ภิกษุยืน ไม่ได้นั่ง
๓. ภิกษุไม่ได้มุ่งว่าเป็นที่ลับ
๔. ภิกษุนั่งคิดเรื่องอื่น
๕. ภิกษุวิกลจริต
๖. ภิกษุต้นบัญญัติ

รโหนิสัชชสิกขาบทที่ ๑๐ จบ

โอวาทวรรคที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๖๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค รวมสิกขาบทที่มีในโอวาสวรรค
รวมสิกขาบทที่มีในโอวาทวรรค
โอวาทวรรคมี ๑๐ สิกขาบท คือ

๑. โอวาทสิกขาบท ว่าด้วยการสั่งสอนภิกษุณี
๒. อัตถังคตสิกขาบท ว่าด้วยการสั่งสอนภิกษุณีในเวลาที่ดวง
อาทิตย์อัสดงแล้ว
๓. ภิกขุนูปัสสยสิกขาบท ว่าด้วยการไปสั่งสอนภิกษุณีถึงที่สำนัก
๔. อามิสสิกขาบท ว่าด้วยการสั่งสอนภิกษุณีเพราะเห็นแก่อามิส
๕. จีวรทานสิกขาบท ว่าด้วยการถวายจีวร
๖. จีวรสิพพนสิกขาบท ว่าด้วยการเย็บจีวรให้ภิกษุณี
๗. สังวิธานสิกขาบท ว่าด้วยการชักชวนเดินทางร่วมกัน
๘. นาวาภิรูหนสิกขาบท ว่าด้วยการโดยสารเรือลำเดียวกัน
๙. ปริปาจิตสิกขาบท ว่าด้วยการฉันบิณฑบาตที่ภิกษุณีแนะนำ
ให้จัดเตรียม
๑๐. รโหนิสัชชสิกขาบท ว่าด้วยการนั่งในที่ลับ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๖๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๔.โภชนวรรค ๑.อาวสถปิณฑสิกขาบท นิทานวัตถุ
๔. โภชนวรรค
หมวดว่าด้วยโภชนะ

๑. อาวสถปิณฑสิกขาบท๑
ว่าด้วยการฉันภัตตาหารในที่พักแรม

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๒๐๓] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ในที่ไม่ไกลกรุงสาวัตถี มีสมาคม
หนึ่งจัดตั้งภัตตาหารไว้ในที่พักแรม ในเวลาเช้า พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ครองอันตรวาสก
แล้วถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตในกรุงสาวัตถี เมื่อไม่ได้ภัตตาหารจึงได้ไปยังที่
พักแรม
พวกชาวบ้านถวายภัตตาหารด้วยความดีใจว่า นาน ๆ พระคุณเจ้าจึงมา
ครั้งนั้น แม้ในวันที่ ๒ พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ ฯลฯ แม้ในวันที่ ๓ พวกภิกษุ
ฉัพพัคคีย์ครองอันตรวาสก แล้วถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตในกรุงสาวัตถี เมื่อ
ไม่ได้ภัตตาหารจึงได้ไปยังที่พักแรม แล้วฉันภัตตาหาร ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “พวกเราจะกลับไปอารามทำไมกัน พรุ่งนี้ก็ต้องมาที่นี่อีก” จึง
อยู่ฉันภัตตาหารในที่พักแรมเป็นประจำ พวกเดียรถีย์จึงพากันจากไป
พวกชาวบ้านพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระสมณะเชื้อสาย
ศากยบุตรจึงอยู่ฉันภัตตาหารในที่พักแรมเป็นประจำเล่า ภัตตาหารในที่พักแรมเขา
ไม่ได้จัดไว้เพื่อท่านเหล่านี้เท่านั้น แต่ภัตตาหารในที่พักแรมเขาจัดไว้เพื่อสาธารณชน
ต่างหาก”

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า “อาวสถ” ท่านอธิบายไว้ว่า “อาคนฺตฺวา วสนฺติ เอตฺถ อาคนฺตุกาติ อาวสโถ คือสถานที่สำหรับ
คนจรมาพักอาศัย (สารตฺถ.ฏีกา ๓/๒๘๕/๓๖๙), อาวสโถ นาม กวาฏพทฺโธ วุจฺจติ ท่านหมายเอาที่พัก
อาศัยติดบานประตู (วิ.ภิกฺขุนี. ๓/๑๐๑๐/๑๔๙), อาวสถนฺติ กวาฏพทฺธวิหารํ ที่พักอาศัย คือที่พักอาศัย
ติดบานประตู (กงฺขา.อ. ๓๘๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๖๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๔.โภชนวรรค ๑.อาวสถปิณฑสิกขาบท พระบัญญัติ
พวกภิกษุได้ยินพวกชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มักน้อย
ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์จึงอยู่ฉัน
ภัตตาหารในที่พักแรมเป็นประจำเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธออยู่ฉันภัตตาหาร
ในที่พักแรมเป็นประจำ จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธ
เจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวก
เธอจึงอยู่ฉันภัตตาหารในที่พักแรมเป็นประจำเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำ
อย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใส
ยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
ภิกษุฉันภัตตาหารในที่พักแรม๑ ได้มื้อเดียว ถ้าฉันเกินกว่านั้น ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

เรื่องพระสารีบุตร
[๒๐๔] สมัยนั้น ท่านพระสารีบุตรเดินทางไปกรุงสาวัตถี ในแคว้นโกศล
เข้าไปยังที่พักแรมแห่งหนึ่ง พวกชาวบ้านถวายภัตตาหารด้วยความดีใจว่า นานๆ
พระคุณเจ้าจึงมา

เชิงอรรถ :
๑ อาวสถปิณฺฑ ภัตตาหารในที่พักแรมคืออาหารที่ทายกผู้ต้องการบุญจัดไว้ในที่พักแรมซึ่งสร้างไว้มีรั้วล้อมรอบ
มีห้องหลายห้องมีหน้ามุข ตั้งเตียงตั่งไว้สำหรับคนเดินทาง คนไข้ หญิงมีครรภ์ และบรรพชิต (วิ.อ.๒/๒๐๓/๓๔๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๖๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๔.โภชนวรรค ๑.อาวสถปิณฑสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
ครั้นพระสารีบุตรฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว เกิดเป็นไข้อย่างหนักจนไม่สามารถ
จะออกไปจากที่พักแรมนั้นได้ ครั้นในวันที่ ๒ พวกชาวบ้านได้กราบเรียนท่าน
พระสารีบุตรดังนี้ว่า “นิมนต์ฉันเถิด พระคุณเจ้า”
ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรมีความยำเกรงอยู่ว่า “พระผู้มีพระภาคทรงห้ามการ
อยู่ฉันภัตตาหารในที่พักแรมเป็นประจำ” จึงไม่รับ ยอมอดอาหาร ครั้นท่านพระ
สารีบุตรเดินทางถึงกรุงสาวัตถี ได้เล่าเรื่องนั้นให้ภิกษุทั้งหลายทราบ ภิกษุเหล่านั้น
ได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงอนุญาตภิกษุเป็นไข้ให้ฉันอาหารในที่พักแรมได้
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุเป็นไข้พักอยู่ฉันภัตตาหาร
ในที่พักแรมเป็นประจำได้” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระอนุบัญญัติ
[๒๐๕] ภิกษุไม่เป็นไข้ พึงอยู่ฉันภัตตาหารในที่พักแรมได้มื้อเดียว๑ ถ้า
ฉันเกินกว่านั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องพระสารีบุตร จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๒๐๖] ที่ชื่อว่า ภิกษุไม่เป็นไข้ คือ ภิกษุที่สามารถจะหลีกออกไปจากที่
พักแรมนั้นได้

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า “มื้อเดียว” ท่านอธิบายไว้ว่า “เอโกติ เอกทิวสิโก มื้อเดียว คือเพียงวันเดียว (กงฺขา.อ. ๒๕๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๖๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๔.โภชนวรรค ๑.อาวสถปิณฑสิกขาบท บทภาชนีย์
ที่ชื่อว่า เป็นไข้ คือ ภิกษุที่ไม่สามารถจะหลีกออกไปจากที่พักแรมนั้นได้
ที่ชื่อว่า ภัตตาหารในที่พักแรม ได้แก่ โภชนะ ๕ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง
ที่เขาจัดไว้ที่ศาลา ที่มณฑป ที่โคนไม้ หรือที่กลางแจ้ง อย่างเพียงพอ มิได้เจาะจง
ผู้ใด
ภิกษุไม่เป็นไข้พึงฉันได้มื้อเดียว หากรับประเคนเกินกว่านั้นด้วยคิดว่า จะฉัน
ต้องอาบัติทุกกฏ ฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำกลืน

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๒๐๗] ไม่เป็นไข้ ภิกษุสำคัญว่าไม่เป็นไข้ ฉันภัตตาหารในที่พักแรมเกินกว่า
นั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ไม่เป็นไข้ ภิกษุไม่แน่ใจ ฉันภัตตาหารในที่พักแรมเกินกว่านั้น ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
ไม่เป็นไข้ ภิกษุสำคัญว่าเป็นไข้ ฉันภัตตาหารในที่พักแรมเกินกว่านั้น ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์

ทุกทุกกฏ
เป็นไข้ ภิกษุสำคัญว่าไม่เป็นไข้ ฉันภัตตาหารในที่พักแรมเกินกว่านั้น ต้อง
อาบัติทุกกฏ
เป็นไข้ ภิกษุไม่แน่ใจ ฉันภัตตาหารในที่พักแรมเกินกว่านั้น ต้องอาบัติทุกกฏ
เป็นไข้ ภิกษุสำคัญว่าเป็นไข้ ฉันภัตตาหารในที่พักแรมเกินกว่านั้น ไม่ต้อง
อาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๖๘ }


>>>>> หน้าต่อไป >>>>>







eXTReMe Tracker