ค้นว่าอยู่เล่มใด แล้วกด [ctrl]+f หรือใช้คำสั่งของเครื่องหาตำแหน่งในเล่มอีกทีนะครับ



จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อความสะดวก และสวยงาม
(เฉพาะหน้าจอใหญ่ เช่น คอมพิวเตอร์)
กรุณาคลิก จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อให้กรอบ
ค้นข้อความ ปรากฎที่ด้านซ้ายของหน้า

พระไตรปิฎกภาษาไทย
ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม (ปกสีฟ้า)
ทั้งออนไลน์และออฟไลน์
ที่มาของข้อมูล : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มจร.
MCUTRAI Version 1.0

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๑-๒ วินัยปิฎกที่ ๐๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑

พระวินัยปิฎก
มหาวิภังค์ ภาค ๑
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น



พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ วินีตวัตถุ

นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย
พวกเธอคิดอย่างไร” “พวกข้าพระพุทธเจ้าไม่มีความประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่มีความประสงค์จะฆ่า ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๓๙)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายมีความประสงค์จะฆ่าจึงช่วยกัน
นวดเฟ้นท่านจนถึงแก่มรณภาพ ภิกษุเหล่านั้นเกิดความกังวลใจว่า พวกเราต้อง
อาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระ
องค์ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร” “พวกข้าพระพุทธเจ้ามีความ
ประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติปาราชิก”
(เรื่องที่ ๔๐ )
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายมีความประสงค์จะฆ่า จึงช่วย
กันนวดเฟ้นท่าน แต่ท่านไม่ถึงแก่มรณภาพ ภิกษุเหล่านั้นเกิดความกังวลใจว่า พวก
เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร” “พวกข้าพระพุทธเจ้ามี
ความประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก
แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่อง ๔๑)

เรื่องให้อาบน้ำ ๓ เรื่อง

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายจึงช่วยกันอาบน้ำให้ท่าน ท่านถึง
แก่มรณภาพ ภิกษุเหล่านั้นเกิดความกังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร” “พวกข้าพระพุทธเจ้าไม่มีความประสงค์จะฆ่า
พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่มีความประสงค์จะฆ่า ไม่ต้องอาบัติ”
(เรื่องที่ ๔๒ )
สมัยนั้น ภิกษุหนึ่งรูปอาพาธ ภิกษุทั้งหลายมีความประสงค์จะฆ่า จึงช่วยกัน
อาบน้ำให้ท่าน ท่านถึงแก่มรณภาพ ภิกษุเหล่านั้นเกิดความกังวลใจว่า พวกเราต้อง
อาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลแก่พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ วินีตวัตถุ

พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร” “พวกข้าพระพุทธเจ้ามี
ความประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติปาราชิก”
(เรื่องที่ ๔๓)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายมีความประสงค์จะฆ่า จึงช่วยกัน
อาบน้ำให้ท่าน แต่ท่านไม่ถึงแก่มรณภาพ ภิกษุเหล่านั้นเกิดความกังวลใจว่า พวก
เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร” “พวกข้าพระพุทธเจ้ามี
ความประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก
แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๔๔)

เรื่องให้ทาน้ำมัน ๓ เรื่อง

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายช่วยกันเอาน้ำมันมาทาให้ท่าน
ท่านถึงแก่มรณภาพ ภิกษุเหล่านั้นเกิดความกังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิก
หรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า
“ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร” “พวกข้าพระพุทธเจ้าไม่มีความประสงค์จะฆ่า
พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่มีความประสงค์จะฆ่า ไม่ต้องอาบัติ”
(เรื่องที่ ๔๕ )
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายมีความประสงค์จะฆ่าจึงช่วยกัน
เอาน้ำมันมาทาให้ท่าน ท่านถึงแก่มรณภาพ ภิกษุเหล่านั้นเกิดความกังวลใจว่า
พวกเราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร” “พวกข้าพระพุทธเจ้ามี
ความประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติปาราชิก”
(เรื่องที่ ๔๖)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายมีความประสงค์จะฆ่าจึงช่วยกัน
เอาน้ำมันมาทาให้ท่าน แต่ท่านไม่ถึงแก่มรณภาพ ภิกษุเหล่านั้นเกิดความกังวลใจว่า
พวกเราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรง


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ วินีตวัตถุ

ทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า
ทั้งหลายมีความประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่ต้อง
อาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๔๗)

เรื่องให้ลุกขึ้น ๓ เรื่อง

[๑๘๕] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายจึงช่วยกันพยุงให้ท่าน
ลุกขึ้น ท่านถึงแก่มรณภาพ ภิกษุเหล่านั้นเกิดความกังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติ
ปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์
ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร” “พวกข้าพระพุทธเจ้าไม่มีความ
ประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่มีความประสงค์จะฆ่า
ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่๔๘)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายมีความประสงค์จะฆ่าจึงช่วยกัน
พยุงให้ท่านลุกขึ้น ท่านถึงแก่มรณภาพ ภิกษุเหล่านั้นเกิดความกังวลใจว่า พวกเรา
ต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร” “พวกข้าพระพุทธเจ้ามี
ความประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติปาราชิก”
(เรื่องที่ ๔๙)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายมีความประสงค์จะฆ่าจึงช่วยกัน
พยุงให้ท่านลุกขึ้น แต่ท่านไม่ถึงแก่มรณภาพ ภิกษุเหล่านั้นเกิดความกังวลใจว่า
พวกเราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรง
ทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร” “พวกข้า
พระพุทธเจ้ามีความประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่ต้อง
อาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๕๐)

เรื่องทำให้ล้ม ๓ เรื่อง

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายจึงช่วยกันทำให้ท่านล้มลง ท่าน
ถึงแก่มรณภาพ ภิกษุเหล่านั้นเกิดความกังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกหรือ
หนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ วินีตวัตถุ

“ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร” “พวกข้าพระพุทธเจ้าไม่มีความประสงค์จะฆ่า
พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่มีความประสงค์จะฆ่า ไม่ต้องอาบัติ”
(เรื่องที่ ๕๑)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายมีความประสงค์จะฆ่า จึงช่วยกัน
ทำให้ท่านล้มลง ท่านถึงแก่มรณภาพ ภิกษุเหล่านั้นเกิดความกังวลใจว่า พวกเรา
ต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร” “พวกข้าพระพุทธเจ้ามี
ความประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติปาราชิก”
(เรื่องที่ ๕๒)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายมีความประสงค์จะฆ่า จึงช่วยกัน
ทำให้ท่านล้มลง แต่ท่านไม่ถึงแก่มรณภาพ ภิกษุเหล่านั้นเกิดความกังวลใจว่า พวก
เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร” “พวกข้าพระพุทธเจ้ามี
ความประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก
แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๕๓)

เรื่องให้ตายด้วยข้าว ๓ เรื่อง

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายจึงช่วยกันให้ท่านฉันข้าว ท่านถึง
แก่มรณภาพ ภิกษุเหล่านั้นเกิดความกังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร” “พวกข้าพระพุทธเจ้าไม่มีความประสงค์จะฆ่า
พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่มีความประสงค์จะฆ่า ไม่ต้องอาบัติ”
(เรื่องที่ ๕๔)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายมีความประสงค์จะฆ่าจึงช่วยกัน
ให้ท่านฉันข้าว ท่านถึงแก่มรณภาพ ภิกษุเหล่านั้นเกิดความกังวลใจว่า พวกเรา
ต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ วินีตวัตถุ

พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร” “พวกข้าพระพุทธเจ้ามี
ความประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติปาราชิก”
(เรื่องที่ ๕๕)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายมีความประสงค์จะฆ่า จึงช่วยกัน
ให้ท่านฉันข้าว แต่ท่านไม่ถึงแก่มรณภาพ ภิกษุเหล่านั้นเกิดความกังวลใจว่า พวก
เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร” “พวกข้าพระพุทธเจ้ามี
ความประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก
แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๕๖)

เรื่องให้ตายด้วยน้ำฉัน ๓ เรื่อง

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายให้ท่านดื่มน้ำ ท่านถึงแก่
มรณภาพ ภิกษุเหล่านั้นเกิดความกังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึง
นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย
พวกเธอคิดอย่างไร” “พวกข้าพระพุทธเจ้าไม่มีความประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่มีความประสงค์จะฆ่า ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๕๗)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายมีความประสงค์จะฆ่า จึงให้ท่าน
ดื่มน้ำ ท่านถึงแก่มรณภาพ ภิกษุเหล่านั้นเกิดความกังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติ
ปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์
ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร” “พวกข้าพระพุทธเจ้ามีความ
ประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติปาราชิก”
(เรื่องที่ ๕๘)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายมีความประสงค์จะฆ่า จึงให้ท่าน
ดื่มน้ำ แต่ท่านไม่ถึงแก่มรณภาพ ภิกษุเหล่านั้นเกิดความกังวลใจว่า พวกเราต้อง
อาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระ
องค์ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร” “พวกข้าพระพุทธเจ้ามีความ
ประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่
ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๕๙)


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ วินีตวัตถุ

เรื่องหญิงมีครรภ์กับชายชู้ ๑ เรื่อง

[๑๘๖] สมัยนั้น หญิงคนหนึ่งเป็นแม่ม่ายผัวร้าง ได้มีครรภ์กับชายชู้ นาง
บอกภิกษุที่นางอุปถัมภ์ว่า “พระคุณเจ้าโปรดหายาทำแท้งให้ด้วยเถิด” ท่านรับคำแล้ว
ได้ให้ยาทำแท้งแก่หญิงนั้น ทารกถึงแก่ความตาย ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้อง
อาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระ
องค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๖๐)

เรื่องหญิงร่วมสามี ๒ เรื่อง

สมัยนั้น ชายคนหนึ่งมีภรรยา ๒ คน คนหนึ่งเป็นหมัน อีกคนหนึ่งไม่เป็นหมัน
หญิงหมันบอกภิกษุที่นางอุปถัมภ์ว่า “ถ้านางคนนั้นคลอดบุตร จักได้ครอบครอง
ทรัพย์สมบัติทั้งหมด พระคุณเจ้าโปรดหายาทำแท้งให้ด้วยเถิด” ท่านรับคำแล้ว ได้
ให้ยาทำแท้งแก่หญิงที่ไม่เป็นหมัน ทารกถึงแก่ความตาย แต่มารดาไม่ตาย ท่านเกิด
ความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๖๑)
สมัยนั้น ชายคนหนึ่งมีภรรยา ๒ คน คนหนึ่งเป็นหมัน อีกคนหนึ่งไม่เป็นหมัน
หญิงหมันบอกภิกษุที่นางอุปถัมภ์ว่า “ถ้านางคนนั้นคลอดบุตรจักได้ครอบครอง
ทรัพย์สมบัติทั้งหมด พระคุณเจ้าโปรดหายาทำแท้งให้ด้วยเถิด” ภิกษุนั้นรับคำแล้ว
ได้ให้ยาทำแท้งแก่หญิงที่ไม่เป็นหมัน มารดาถึงแก่ความตายแต่ทารกไม่ตาย ภิกษุ
นั้นเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระ
ผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๖๒)

เรื่องฆ่ามารดาและบุตรทั้ง ๒ คนตาย ๑ เรื่อง

สมัยนั้น ชายคนหนึ่งมีภรรยา ๒ คน คนหนึ่งเป็นหมัน อีกคนหนึ่งไม่เป็นหมัน
หญิงหมันบอกภิกษุที่นางอุปถัมภ์ว่า “ถ้านางคนนั้นคลอดบุตรจักได้ครอบครอง
ทรัพย์สมบัติทั้งหมด พระคุณเจ้าโปรดหายาทำแท้งให้ด้วยเถิด” ภิกษุนั้นรับคำแล้ว


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ วินีตวัตถุ

ได้ให้ยาทำแท้งแก่หญิงที่ไม่เป็นหมัน มารดาและบุตรถึงแก่ความตายทั้ง ๒ คน
ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก”
(เรื่องที่ ๖๓)

เรื่องฆ่ามารดาและบุตรทั้ง ๒ คนไม่ตาย ๑ เรื่อง

สมัยนั้น ชายคนหนึ่งมีภรรยา ๒ คน คนหนึ่งเป็นหมัน อีกคนหนึ่งไม่เป็นหมัน
หญิงหมันบอกภิกษุที่นางอุปถัมภ์ว่า “ถ้านางคนนั้นคลอดบุตรจักได้ครอบครอง
ทรัพย์สมบัติทั้งหมด พระคุณเจ้าโปรดหายาทำแท้งให้ด้วยเถิด” ภิกษุนั้นรับคำแล้ว
ได้ให้ยาทำแท้งแก่หญิงที่ไม่เป็นหมัน แต่มารดาและบุตรไม่ตาย ท่านเกิดความ
กังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค
ให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๖๔)

เรื่องให้รีด ๑ เรื่อง

[๑๘๗] สมัยนั้น หญิงมีครรภ์คนหนึ่งบอกภิกษุที่นางอุปถัมภ์ว่า “พระคุณ
เจ้าโปรดหายาทำแท้งให้ด้วยเถิด” ภิกษุนั้นตอบว่า “น้องหญิง เธอจงรีด” นางรีด
ครรภ์ทำให้แท้งบุตร ภิกษุนั้นเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอ
ต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๖๕)

เรื่องนาบครรภ์ให้ร้อน ๑ เรื่อง

สมัยนั้น หญิงมีครรภ์บอกภิกษุที่นางอุปถัมภ์ว่า “พระคุณเจ้าโปรดหายาทำ
แท้งให้ด้วยเถิด” ภิกษุนั้นตอบว่า “น้องหญิง เธอจงนาบครรภ์ให้ร้อน” นางนาบ
ครรภ์ให้ร้อนจนแท้งบุตร ภิกษุนั้นเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือ
หนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ
เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๖๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๑๖๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ วินีตวัตถุ

เรื่องหญิงหมัน ๑ เรื่อง

สมัยนั้น หญิงหมันคนหนึ่งบอกภิกษุที่นางอุปถัมภ์ว่า “พระคุณเจ้าโปรดหา
ยาที่ทำให้ดิฉันมีลูกได้ด้วยเถิด” ภิกษุนั้นรับคำแล้วได้ให้ยาแก่หญิงหมันนั้น นางถึง
แก่ความตาย ภิกษุนั้นเกิดกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้
ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติ
ปาราชิก แต่ต้องอาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ ๖๗)

เรื่องหญิงไม่เป็นหมัน ๑ เรื่อง

สมัยนั้น หญิงไม่เป็นหมันคนหนึ่งบอกภิกษุที่นางอุปถัมภ์ว่า “พระคุณเจ้า
โปรดหายาที่ทำให้ดิฉันหยุดมีลูกด้วยเถิด” ภิกษุนั้นรับคำแล้วได้ให้ยาแก่หญิงลูกดก
นั้น นางถึงแก่ความตาย ภิกษุนั้นเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือ
หนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ
เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ ๖๘)

เรื่องจี้ ๑ เรื่อง

สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้นิ้วมือจี้ภิกษุรูปหนึ่งในกลุ่มพวกภิกษุ
สัตตรสวัคคีย์ให้หัวเราะ เธอเหนื่อยหายใจไม่ทันถึงแก่มรณภาพ ภิกษุเหล่านั้นเกิด
ความกังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระ
ผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่ต้องอาบัติ
ปาราชิก” (เรื่องที่ ๖๙)

เรื่องทับ ๑ เรื่อง

สมัยนั้น พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์ช่วยกันทับภิกษุรูปหนึ่งในกลุ่มพวกภิกษุ
ฉัพพัคคีย์จนถึงแก่มรณภาพ ด้วยตั้งใจว่าจักลงโทษ พวกเธอเกิดความกังวลใจว่า
พวกเราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรง
ทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์” ๑ (เรื่องที่ ๗๐)

เชิงอรรถ :
๑ ยสฺมา ปน เต กมฺมาธิปฺปายา น มรณาธิปฺปายา, ตสฺมา ปาราชิกํ น วุตฺตํ เพราะภิกษุเหล่านั้นมีความ
ประสงค์จะทำกรรม ไม่มีความประสงค์จะฆ่า จึงไม่ต้องอาบัติปาราชิก (วิ.อ. ๑/๑๘๗/๕๑๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๑๖๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ วินีตวัตถุ

เรื่องฆ่ายักษ์ ๑ เรื่อง

สมัยนั้น ภิกษุหมอผีรูปหนึ่ง ฆ่ายักษ์ตาย ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้อง
อาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระ
องค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๗๑)

เรื่องส่งไปสู่ที่มีสัตว์ร้ายและยักษ์ดุ ๙ เรื่อง

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งส่งภิกษุอีกรูปหนึ่งไปยังวิหารมียักษ์ดุ พวกยักษ์ฆ่าภิกษุ
นั้นมรณภาพ ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้
ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่มีความ
ประสงค์จะฆ่า ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๗๒)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะฆ่า ส่งภิกษุอีกรูปหนึ่งไปยังวิหาร
มียักษ์ดุ พวกยักษ์ฆ่าภิกษุนั้นมรณภาพ ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติ
ปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัส
ว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๗๓)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะฆ่า ส่งภิกษุอีกรูปหนึ่งไปยังวิหารที่มี
ยักษ์ดุ พวกยักษ์ไม่ฆ่าเธอ ภิกษุนั้นเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือ
หนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ
เธอไม่ต้องปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๗๔)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งส่งภิกษุอีกรูปหนึ่งไปสู่ที่กันดารมีสัตว์ร้าย เหล่าสัตว์
ร้ายฆ่าท่านมรณภาพ ภิกษุนั้นเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่
มีความประสงค์จะฆ่า ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๗๕)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะฆ่า ส่งภิกษุอีกรูปหนึ่งไปสู่ที่กันดารมี
สัตว์ร้าย เหล่าสัตว์ร้ายฆ่าภิกษุนั้นมรณภาพ ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติ
ปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์
ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๗๖)


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ วินีตวัตถุ

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งส่งภิกษุอีกรูปหนึ่งไปยังที่กันดารมีสัตว์ร้าย เหล่าสัตว์
ร้ายไม่ฆ่าภิกษุนั้น ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้อง
ปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๗๗)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งส่งภิกษุอีกรูปหนึ่งไปสู่ที่กันดารมีโจร พวกโจรฆ่าท่าน
มรณภาพ ภิกษุนั้นเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้
ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่มีความ
ประสงค์จะฆ่า ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๗๘)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะฆ่า ส่งภิกษุอีกรูปหนึ่งไปสู่ที่กันดาร
มีโจร พวกโจรฆ่าภิกษุนั้นมรณภาพ ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิก
หรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า
“ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๗๙)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะฆ่า ส่งภิกษุอีกรูปหนึ่งไปสู่ที่กันดารมี
โจร พวกโจรไม่ฆ่าภิกษุนั้น ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่
ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๘๐)

เรื่องสำคัญว่าใช่ ๔ เรื่อง

[๑๘๘] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะฆ่าภิกษุที่จองเวรกัน สำคัญ
ภิกษุนั้นว่าเป็นภิกษุนั้น จึงฆ่าภิกษุนั้น ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติ
ปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์
ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๘๑)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะฆ่าภิกษุที่จองเวรกัน สำคัญภิกษุนั้น
ว่าเป็นภิกษุนั้นแต่ฆ่าภิกษุอื่น ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือ
หนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ
เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๘๒)


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ วินีตวัตถุ

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะฆ่าภิกษุที่จองเวรกัน สำคัญภิกษุที่
จองเวรกันว่าเป็นภิกษุอื่น แต่ฆ่าภิกษุผู้จองเวรนั้น ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้อง
อาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระ
องค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๘๓)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะฆ่าภิกษุที่จองเวรกัน สำคัญภิกษุที่
จองเวรกันว่าเป็นภิกษุอื่นและได้ฆ่าภิกษุอื่น ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติ
ปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์
ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๘๔)

เรื่องประหาร ๓ เรื่อง

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งถูกผีเข้า ภิกษุอีกรูปหนึ่งทุบตีท่านจนถึงแก่มรณภาพ
ภิกษุรูปที่ทุบตีนั้นเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้
ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่มีความ
ประสงค์จะฆ่า ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๘๕)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งถูกผีเข้า ภิกษุอีกรูปหนึ่งมีความประสงค์จะฆ่าจึงทุบตี
ท่านจนถึงแก่มรณภาพ ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอ
ต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๘๖)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งถูกผีเข้า ภิกษุอีกรูปหนึ่งมีความประสงค์จะฆ่าจึงทุบตี
ท่าน ภิกษุนั้นไม่ถึงแก่มรณภาพ ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิก
หรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า
“ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๘๗)

เรื่องพรรณนาสวรรค์ ๓ เรื่อง

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งพรรณนาเรื่องสวรรค์ให้บุคคลผู้ทำความดีฟัง เขาน้อม
ใจเชื่อแล้วถึงแก่ความตาย ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๑๗๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ วินีตวัตถุ

จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่
มีความประสงค์จะฆ่า ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๘๘)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะฆ่าจึงพรรณนาเรื่องสวรรค์ให้บุคคลผู้
ทำความดีฟัง เขาน้อมใจเชื่อแล้วถึงแก่ความตาย ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้อง
อาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระ
องค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๘๙)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะฆ่า จึงพรรณนาเรื่องสวรรค์ให้
บุคคลผู้ทำความดีฟัง เขาน้อมใจเชื่อแต่ไม่ตาย ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้อง
อาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระ
องค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๙๐)

เรื่องพรรณนานรก ๓ เรื่อง

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งพรรณนาเรื่องนรกให้ผู้ควรเกิดในนรกฟัง เขาตกใจถึง
แก่ความตาย ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้
ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่มีความประสงค์
จะฆ่า ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๙๑)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะฆ่าจึงพรรณนาเรื่องนรกให้ผู้ควรเกิด
ในนรกฟัง เขาตกใจถึงแก่ความตาย ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิก
หรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า
“ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๙๒)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะฆ่าจึงพรรณนาเรื่องนรกให้ผู้ควรเกิด
ในนรกฟัง เขาตกใจแต่ไม่ถึงตาย ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องปาราชิกหรือหนอ
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอ
ไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๙๓)

เรื่องต้นไม้ที่เมืองอาฬวี ๓ เรื่อง

[๑๘๙] สมัยนั้น พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวีจะทำการก่อสร้างจึงช่วยกันตัดตันไม้
ภิกษุรูปหนึ่งบอกภิกษุอีกรูปหนึ่งว่า “ท่านจงยืนตัดที่ตรงนี้” ภิกษุรูปนั้น จึงยืนตัดที่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๑๗๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ วินีตวัตถุ

ตรงนั้น ต้นไม้ล้มทับถึงแก่มรณภาพ ภิกษุรูปที่บอกเกิดความกังวลใจว่า เราต้อง
อาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระ
องค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่มีความประสงค์จะฆ่า ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๙๔)
สมัยนั้น พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวีจะทำการก่อสร้าง จึงช่วยกันตัดต้นไม้
ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะฆ่าจึงบอกภิกษุอีกรูปหนึ่งว่า “ท่านจงยืนตัดที่ตรงนี้”
ต้นไม้ล้มทับเธอผู้ยืนตัดอยู่ที่นั้นถึงแก่มรณภาพ ภิกษุรูปที่บอกเกิดความกังวลใจว่า
เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๙๕)
สมัยนั้น พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวีจะทำการก่อสร้าง จึงช่วยกันตัดต้นไม้
ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะฆ่าจึงบอกภิกษุอีกรูปหนึ่งว่า “ท่านจงยืนตัดที่ตรงนี้”
ต้นไม้ล้มทับเธอผู้ยืนตัดอยู่ที่นั้นแต่ไม่ถึงมรณภาพ ภิกษุรูปที่บอกเกิดความกังวลใจว่า
เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๙๖)

เรื่องเผาป่า ๓ เรื่อง

[๑๙๐] สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เผาป่า พวกชาวบ้านถูกไฟคลอกตาย
ภิกษุเหล่านั้นเกิดความกังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้
ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอ
ไม่มีความประสงค์จะฆ่า ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๙๗)
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์มีความประสงค์จะฆ่า จึงเผาป่า พวกชาวบ้าน
ถูกไฟคลอกตาย ภิกษุเหล่านั้นเกิดความกังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกหรือ
หนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๙๘)
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์มีความประสงค์จะฆ่า จึงเผาป่า พวกชาวบ้าน
ถูกไฟคลอก แต่ไม่ตาย ภิกษุเหล่านั้นเกิดความกังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิก
หรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๙๙)


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ วินีตวัตถุ

เรื่องไม่ให้ลำบาก ๑ เรื่อง

[๑๙๑] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งไปที่ตะแลงแกง๑ บอกนายเพชฌฆาตว่า
“ท่านอย่าทรมานนักโทษคนนี้เลย จงประหารชีวิตด้วยการฟันครั้งเดียว” เพชฌฆาต
รับคำแล้วประหารชีวิตด้วยการฟันครั้งเดียว ภิกษุนั้นเกิดความกังวลใจว่า เราต้อง
อาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๑๐๐)

เรื่องไม่ทำตามท่าน ๑ เรื่อง

สมัยนั้น ภิกษุรุปหนึ่งไปที่ตะแลงแกงบอกนายเพชฌฆาตว่า “ท่านอย่า
ทรมานนักโทษคนนี้เลย จงประหารชีวิตด้วยการฟันครั้งเดียว” เพชฌฆาตกล่าวว่า
“ข้าพเจ้าจะไม่ทำตามคำของท่าน” แล้วประหารชีวิตนักโทษนั้น ภิกษุนั้นเกิดความ
กังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค
ให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติทุกกฏ”
(เรื่องที่ ๑๐๑)

เรื่องให้ดื่มเปรียง ๑ เรื่อง

[๑๙๒] สมัยนั้น บุรุษมือเท้าด้วนคนหนึ่ง พวกหมู่ญาติช่วยกันดูแลอยู่ใน
เรือน ภิกษุรูปหนึ่งได้กล่าวกับพวกญาติของบุรุษนั้นว่า “ท่านทั้งหลาย พวกท่าน
อยากให้บุรุษคนนี้ตายไหม”
“พวกเราอยากให้เขาตาย เจ้าข้า”
“ถ้าเช่นนั้น จงให้เขาดื่มเปรียง”
หมู่ญาตินั้นจึงให้บุรุษนั้นดื่มเปรียงจนบุรุษนั้นถึงแก่ความตาย
ภิกษุรูปที่บอกวิธีฆ่าเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึง
นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้อง
อาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๑๐๒)

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า “ตะแลงแกง” หมายถึงสถานที่สำหรับฆ่านักโทษ ภาษาโบราณหมายถึงทางสี่แพร่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๑๗๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ วินีตวัตถุ

เรื่องให้ดื่มยาโลณโสวีรกะ ๑ เรื่อง

สมัยนั้น บุรุษมือเท้าด้วนคนหนึ่ง พวกหมู่ญาติช่วยกันดูแลอยู่ในเรือน
ภิกษุณีรูปหนึ่งได้กล่าวกับหมู่ญาติของบุรุษนั้นว่า “ท่านทั้งหลาย พวกท่านอยากให้
บุรุษคนนี้ตายไหม”
“พวกเราอยากให้เขาตาย เจ้าข้า”
“ถ้าเช่นนั้น จงให้เขาดื่มยาโลณโสวีรกะ”๑
หมู่ญาติจึงให้บุรุษนั้นดื่มยาโลณโสวีรกะจนบุรุษนั้นถึงแก่ความตาย
ภิกษุณีนั้นเกิดความกังวลใจ จึงเล่าเรื่องนั้นให้ภิกษุณีทั้งหลายทราบ พวก
ภิกษุณีแจ้งเรื่องนั้นให้ภิกษุทั้งหลายทราบ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีนั้นต้องอาบัติ
ปาราชิก” (เรื่องที่ ๑๐๓)

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ จบ


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔
เรื่องภิกษุชาวฝั่งแม่น้ำวัดคุมุทา

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔
ว่าด้วยการกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม
เรื่องภิกษุชาวฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา

[๑๙๓] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา
ป่ามหาวัน เขตกรุงเวสาลี ครั้งนั้น ภิกษุจำนวนมาก เป็นเพื่อนเคยเห็นเคยคบกันมา
จำพรรษาอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา คราวนั้น วัชชีชนบทเกิดข้าวยากหมากแพง
ประชาชนมีความเป็นอยู่แร้นแค้น ใช้สลากปันส่วนซื้ออาหาร ล้มตายกันกระดูกขาว
เกลื่อน ยากที่พระอริยะจะบิณฑบาตยังชีพได้ ภิกษุเหล่านั้นได้มีความคิดว่า “บัดนี้
วัชชีชนบทเกิดข้าวยากหมากแพง ประชาชนมีความเป็นอยู่แร้นแค้น ใช้สลากปัน
ส่วนซื้ออาหาร ล้มตายกันกระดูกขาวเกลื่อน ยากที่พระอริยะจะบิณฑบาตยังชีพได้
ทำอย่างไรหนอ พวกเราจึงจะพร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่ทะเลาะกัน อยู่จำ
พรรษาอย่างผาสุก และบิณฑบาตไม่ลำบาก”
ภิกษุบางพวกเสนอว่า “ท่านทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น พวกเรามาช่วยกันทำงาน
ของพวกคฤหัสถ์ เมื่อช่วยทำงาน พวกเขาก็คงจะพอใจถวายบิณฑบาตแก่พวกเรา
โดยวิธีนี้แหละ พวกเราก็จะพร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่ทะเลาะกันอยู่จำพรรษา
อย่างผาสุก และบิณฑบาตไม่ลำบาก”
ภิกษุอีกพวกเสนอว่า “อย่าเลย ท่านทั้งหลาย ทำไมพวกเราจะต้องไปช่วย
กันทำงานของพวกคฤหัสถ์ ขอให้พวกเรามาช่วยกันทำหน้าที่ทูตนำข่าวสารให้พวก
คฤหัสถ์จะดีกว่า เมื่อทำอย่างนี้ พวกคฤหัสถ์ก็คงจะพอใจถวายบิณฑบาตแก่พวกเรา
โดยวิธีนี้แหละพวกเราก็จะพร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่ทะเลาะกันอยู่จำพรรษา
อย่างผาสุกและบิณฑบาตไม่ลำบาก”
ภิกษุอีกพวกเสนอว่า “อย่าเลย ท่านทั้งหลาย ทำไมพวกเราจะต้องไปช่วย
กันทำงานหรือทำหน้าที่ทูตนำข่าวสารให้พวกคฤหัสถ์ ทางที่ดีพวกเรามากล่าวอวด
อุตตริมนุสสธรรมของกันและกันให้พวกคฤหัสถ์ฟังว่า ‘ภิกษุรูปโน้นได้ปฐมฌาน รูป
โน้นได้ทุติยฌาน รูปโน้นได้ตติยฌาน รูปโน้นได้จตุตถฌาน รูปโน้นเป็นพระโสดาบัน


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔
เรื่องภิกษุชาวฝั่งแม่น้ำวัดคุมุทา

รูปโน้นเป็นพระสกทาคามี รูปโน้นเป็นพระอนาคามี รูปโน้นเป็นพระอรหันต์ รูปโน้น
ได้วิชชา ๓ รูปโน้นได้อภิญญา ๖’ เมื่อพูดอย่างนี้ พวกคฤหัสถ์ก็คงจะพอใจถวาย
บิณฑบาตแก่พวกเรา โดยวิธีนี้พวกเราจะพร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่ทะเลาะกัน
อยู่จำพรรษาอย่างผาสุกและบิณฑบาตไม่ลำบาก”
ในที่สุด ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมดตกลงกันว่า “ท่านทั้งหลาย วิธีที่พวกเราพากัน
กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรมของกันและกันให้พวกคฤหัสถ์ฟังเป็นวิธีที่ดีกว่าวิธีอื่น”
[๑๙๔] ต่อมาภิกษุเหล่านั้นได้พากันกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรมของกัน
และกันให้พวกคฤหัสถ์ฟังว่า “ภิกษุรูปโน้นได้ปฐมฌาน ฯลฯ รูปโน้นได้จตุตถฌาน
รูปโน้นเป็นพระโสดาบัน ฯลฯ รูปโน้นได้อภิญญา ๖ ”
ครั้งนั้นแล ประชาชนก็พากันยินดีว่า “เป็นลาภของพวกเราหนอ พวกเราได้
ดีแล้วหนอที่มีภิกษุทั้งหลายเช่นนี้มาอยู่จำพรรษา เพราะแต่ก่อนนี้พวกเราไม่มีภิกษุ
ทั้งหลายที่มีคุณสมบัติ เหมือนอย่างภิกษุผู้มีศีลมีกัลยาณธรรมเหล่านี้มาอยู่จำ
พรรษาเลย” โภชนะ (อาหาร) ... ขาทนียะ (ของขบเคี้ยว) ... สายนียะ (ของลิ้ม) ...
ปานะ (เครื่องดื่ม) ชนิดที่พวกเขาจะถวายแก่ภิกษุเหล่านั้น พวกเขาไม่รับประทาน
ไม่ขบเคี้ยว ไม่ลิ้ม ไม่ดื่มด้วยตนเอง ทั้งไม่ให้แก่มารดาบิดา บุตร ภรรยา คนรับใช้
กรรมกร มิตร อมาตย์ ญาติสาโลหิต
ภิกษุเหล่านั้น จึงเป็นผู้มีน้ำมีนวล มีอินทรีย์ผ่องใส มีใบหน้าเอิบอิ่ม มีผิว
พรรณผุดผ่อง มีประเพณีอยู่ว่า เมื่อภิกษุทั้งหลายออกพรรษาแล้วจะไปเข้าเฝ้าพระผู้
มีพระภาค ครั้นภิกษุเหล่านั้นจำพรรษาครบ ๓ เดือนแล้วจึงเก็บเสนาสนะ ถือบาตร
และจีวรออกเดินทางมุ่งไปสู่กรุงเวสาลี จาริกไปโดยลำดับ ถึงกรุงเวสาลี ผ่านป่ามหา
วัน ไปถึงกูฏาคารศาลา แล้วเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วจึงถวาย
บังคม แล้วนั่งลงอยู่ ณ ที่สมควร

ภิกษุต่างทิศมาเข้าเฝ้า

สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายที่จำพรรษาอยู่ในทิศต่างๆ ดูซูบผอม ซอมซ่อ มีผิว
พรรณหมองคล้ำ ซีด เหลือง เส้นเอ็นขึ้นสะพรั่ง ส่วนภิกษุชาวฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทากลับ


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔
เรื่องภิกษุชาวฝั่งแม่น้ำวัดคุมุทา

มีน้ำมีนวล มีอินทรีย์ผ่องใส มีใบหน้าเอิบอิ่ม มีผิวพรรณผุดผ่อง อนึ่ง การที่พระผู้มี
พระภาคพุทธเจ้าทั้งหลายทรงปราศรัยกับพระอาคันตุกะทั้งหลายนั่นก็เป็นพุทธประเพณี
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสถามพวกภิกษุชาวฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทาว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายยังสบายดีหรือ ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ พวกเธอเป็นผู้พร้อม
เพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่ทะเลาะกัน อยู่จำพรรษาเป็นผาสุกหรือ และบิณฑบาตไม่
ลำบากหรือ”
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า “ยังสบายดีพระพุทธเจ้าข้า ยังพอเป็นอยู่ได้
พระพุทธเจ้าข้า อนึ่ง พวกข้าพระพุทธเจ้าเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่ทะเลาะกัน
อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก และบิณฑบาตไม่ลำบาก พระพุทธเจ้าข้า”

พุทธประเพณี

พระตถาคตเจ้าทั้งหลายทรงทราบเรื่อง ตรัสถามก็มี ไม่ตรัสถามก็มี ทรง
ทราบกาลอันควรตรัสถามก็มี ไม่ตรัสถามก็มี ตรัสถามเรื่องที่เป็นประโยชน์ ไม่ตรัส
ถามเรื่องที่ไม่เป็นประโยชน์ เพราะพระตถาคตเจ้าทั้งหลายทรงขจัดเรื่องที่ไม่เป็น
ประโยชน์เสียด้วยอริยมรรคแล้ว
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย สอบถามภิกษุทั้งหลายด้วยเหตุ ๒ ประการ
คือ จะทรงแสดงธรรมอย่างหนึ่ง จะทรงบัญญัติสิกขาบทแก่พระสาวกอย่างหนึ่ง
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสถามภิกษุชาวฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทาว่า “ทำ
อย่างไร เธอทั้งหลายจึงพร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่ทะเลาะกัน อยู่จำพรรษา
ผาสุกและบิณฑบาตไม่ลำบาก”
ลำดับนั้น ภิกษุเหล่านั้นจึงได้กราบทูลเรื่องนั้นให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอมีคุณวิเศษนั่นจริงหรือ”
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า “ไม่มีจริง พระพุทธเจ้าข้า”

ทรงตำหนิ

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำของ
พวกเธอไม่สมควร ไม่คล้อยตาม ไม่เหมาะสม ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔
เรื่องภิกษุชาวฝั่งแม่น้ำวัดคุมุทา

ไฉนพวกเธอจึงพากันกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรมของกันและกันให้พวกคฤหัสถ์ฟัง
เพราะเห็นแก่ปากแก่ท้องเล่า พวกเธอใช้มีดชำแหละโคอันคมคว้านท้องยังดีกว่า
การกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรมของกันและกันให้พวกคฤหัสถ์ฟัง เพราะอะไรเล่า
เพราะผู้ใช้มีดชำแหละโคอันคมคว้านท้องก็จะพึงถึงความตายหรือทุกข์ปางตาย
เพราะการกระทำนั้นเป็นเหตุ หลังจากตายแล้วก็ไม่ต้องไปบังเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต
นรก ส่วนผู้กล่าวอวดอุตริมนุสสธรรมของกันและกันให้พวกคฤหัสถ์ฟัง หลังจากตาย
แล้วก็จะต้องไปบังเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก โมฆบุรุษทั้งหลาย การทำอย่างนี้
มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้
เลย ที่จริง กลับจะทำให้คนที่ไม่เลื่อมใสก็ไม่เลื่อมใสไปเลย คนที่เลื่อมใสอยู่แล้วบาง
พวกก็จะกลายเป็นอื่นไป” ฯลฯ ครั้นทรงตำหนิแล้ว ได้ทรงกระทำธรรมีกถาตรัส
เรียกภิกษุทั้งหลายมารับสั่งว่า

มหาโจร ๕ จำพวก

[๑๙๕] ภิกษุทั้งหลาย มหาโจร ๕ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก คือ
๑. มหาโจรบางคนในโลกนี้ ปรารถนาว่า เมื่อไรหนอ เราจึงจักมีบริวารเป็น
ร้อยหรือเป็นพันห้อมล้อมแล้วท่องเที่ยวไปในคาม นิคม และราชธานี ทำการฆ่าเอง
สั่งให้ผู้อื่นฆ่า ตัด(มือเท้าผู้อื่น)เอง สั่งให้ผู้อื่นตัด เผา(บ้าน)เอง สั่งให้ผู้อื่นเผา ต่อมา
มหาโจรนั้น ก็ได้มีบริวารเป็นร้อยหรือเป็นพันห้อมล้อมแล้วท่องเที่ยวไปในคาม นิคม
และราชธานี ทำการฆ่าเอง สั่งให้ผู้อื่นฆ่า ตัดเอง สั่งให้ผู้อื่นตัด เผาเอง สั่งให้ผู้อื่นเผา
ฉันใด ภิกษุชั่วบางรูปในธรรมวินัยก็ฉันนั้นเหมือนกัน ปรารถนาว่า เมื่อไรหนอ เรา
จักมีภิกษุบริวารเป็นร้อยหรือเป็นพันห้อมล้อมแล้วท่องเที่ยวไปในคาม นิคม และราชธานี
อันคฤหัสถ์และบรรพชิตสักการะ เคารพ นับถือ บูชา นอบน้อม ได้จีวร บิณฑบาต
เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัช ต่อมา ภิกษุนั้นก็ได้มีภิกษุบริวารเป็นร้อยหรือเป็น
พันห้อมล้อมแล้วท่องเที่ยวไปในคาม นิคมและราชธานี อันคฤหัสถ์และบรรพชิตสัก
การะ เคารพ นับถือ บูชา ยำเกรง ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัช
บริขาร ภิกษุทั้งหลาย นี้คือมหาโจรจำพวกที่ ๑ ที่มีปรากฏอยู่ในโลก


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔
เรื่องภิกษุชาวฝั่งแม่น้ำวัดคุมุทา

๒. ภิกษุทั้งหลาย ยังมีภิกษุชั่วบางรูปในธรรมวินัยนี้ เล่าเรียนธรรมวินัยที่
ตถาคตประกาศแล้ว อวดอ้างว่าเป็นของตน ภิกษุทั้งหลาย นี้คือมหาโจรจำพวกที่ ๒
ที่มีปรากฏอยู่ในโลก
๓. ภิกษุทั้งหลาย ยังมีภิกษุชั่วบางรูปในธรรมวินัยนี้ โจทเพื่อนภิกษุผู้บริสุทธิ์
ผู้ประพฤติพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์ด้วยเรื่องที่ทำลายพรหมจรรย์อันไม่มีมูล ภิกษุ
ทั้งหลาย นี้คือมหาโจรจำพวกที่ ๓
๔. ภิกษุทั้งหลาย ยังมีภิกษุชั่วบางรูปในธรรมวินัยนี้ สงเคราะห์ประจบ
คฤหัสถ์ด้วยครุภัณฑ์ของสงฆ์คืออาราม พื้นที่อาราม วิหาร พื้นที่วิหาร เตียง ตั่ง ฟูก
หมอน หม้อ โลหะ อ่างโลหะ กระถางโลหะ กระทะโลหะ มีด ขวาน ผึ่ง จอบ สว่าน
เถาวัลย์ ไม้ไผ่ หญ้ามุงกระต่าย หญ้าแฝก หญ้าสามัญ ดินเหนียว เครื่องไม้ เครื่องดิน
ภิกษุทั้งหลาย นี้คือมหาโจรจำพวกที่ ๔
๕. ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรมอันไม่มีอยู่ ไม่เป็นจริง
จัดเป็นยอดมหาโจรในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้ง
สมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุนั้น ฉันอาหารของ
ชาวบ้านด้วยไถยจิต

นิคมคาถา

ภิกษุผู้ประกาศตนซึ่งมีภาวะเป็นอย่างหนึ่งให้
คนเข้าใจว่าเป็นอย่างอื่น ฉันอาหารด้วยไถยจิต
เหมือนพรานนกลวงจับนกมากินฉะนั้น ภิกษุชั่ว
จำนวนมากมีผ้ากาสายะพันที่คอ มีธรรมเลวทราม
ไม่สำรวม พวกเธอย่อมตกนรก เพราะบาปกรรม
ทั้งหลายที่เลวทราม ภิกษุทุศีลไม่สำรวม กินก้อน
เหล็กที่ร้อนเหมือนเปลวไฟยังดีกว่า บริโภค
อาหารของชาวบ้านไม่ดีเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๑๘๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ พระบัญญัติ

ทรงบัญญัติสิกขาบท

ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงตำหนิพวกภิกษุชาวฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทาโดยประการต่างๆ
แล้ว ได้ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยากบำรุงยาก ฯลฯ แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้ง
หลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ

[๑๙๖] ก็ ภิกษุใด ไม่รู้ยิ่ง กล่าวอวดอุตริมนุสสธรรมอันเป็นญาณทัสสนะ
ที่ประเสริฐอันสามารถ ให้น้อมเข้ามาในตนว่า “ข้าพเจ้ารู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้”
ครั้นสมัยต่อจากนั้น อันผู้ใดผู้หนึ่งโจทก็ตามไม่โจทก็ตาม เธอผู้ต้องอาบัติแล้ว
หวังความบริสุทธิ์ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้าไม่รู้อย่างนั้น ได้
กล่าวว่ารู้ ข้าพเจ้าไม่เห็นอย่างนั้น ได้กล่าวว่าเห็น ข้าพเจ้ากล่าวคำไร้ประโยชน์
เป็นคำเท็จ” แม้ภิกษุนี้เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้
สิกขาบทนี้ พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องภิกษุชาวฝั่งแม้น้ำวัคคุมุทา จบ

เรื่องภิกษุสำคัญว่าได้บรรลุ

[๑๙๗] สมัยนั้น ภิกษุจำนวนมาก เข้าใจมรรคผลที่ยังมิได้เห็นว่าได้เห็น
มิได้ถึงว่าได้ถึง มิได้บรรลุว่าได้บรรลุ มิได้ทำให้แจ้งว่าได้ทำให้แจ้ง พากันพยากรณ์
มรรคผลด้วยสำคัญว่าได้บรรลุ ครั้นต่อมา จิตของภิกษุเหล่านั้นเอนเอียงไปทางความ
กำหนัดบ้าง ทางความขัดเคืองบ้าง ทางความหลงบ้าง เกิดความกังวลใจว่า พระผู้มี
พระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว แต่พวกเราเข้าใจมรรคผลที่ยังมิได้เห็นว่าได้เห็น
มิได้ถึงว่าได้ถึง มิได้บรรลุว่าได้บรรลุ มิได้ทำให้แจ้งว่าได้ทำให้แจ้ง จึงอวดอ้างมรรค
ผลตามที่สำคัญว่าได้บรรลุ พวกเราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงแจ้งเรื่องนั้นให้
พระอานนท์ทราบ พระอานนท์จึงกราบทูลเรื่องนั้นให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มีอยู่เหมือนกัน อานนท์ ที่ภิกษุทั้งหลายเข้าใจ
มรรคผลที่ยังมิได้เห็นว่าได้เห็น มิได้ถึงว่าได้ถึง มิได้บรรลุว่าได้บรรลุ มิได้ทำให้แจ้ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๑๘๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ สิกขาบทวิภังค์

ว่าได้ทำให้แจ้ง จึงอวดอ้างมรรคผลตามที่สำคัญว่าได้บรรลุ แต่กรณีนี้ไม่ควรกล่าว
ว่ามี”๑
ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถา เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ แล้ว
ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ รับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระอนุบัญญัติ

อนึ่ง ภิกษุใดไม่รู้ยิ่ง กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรมอันเป็นญาณทัสสนะที่
ประเสริฐอันสามารถ ให้น้อมเข้ามาในตนว่า “ข้าพเจ้ารู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้”
ครั้นสมัยต่อจากนั้น อันผู้ใดผู้หนึ่งโจทก็ตามไม่โจทก็ตาม เธอผู้ต้องอาบัติแล้ว
หวังความบริสุทธิ์ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้าไม่รู้อย่างนั้น ได้
กล่าวว่ารู้ ข้าพเจ้าไม่เห็นอย่างนั้น ได้กล่าวว่าเห็น ข้าพเจ้ากล่าวคำไร้ประโยชน์
เป็นคำเท็จ” เว้นไว้แต่สำคัญว่าได้บรรลุ แม้ภิกษุนี้ก็เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้
เรื่องภิกษุสำคัญว่าได้บรรลุ จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๑๙๘] คำว่า อนึ่ง ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
อนึ่ง...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่า ภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
คำว่า ไม่รู้ยิ่ง คือ ภิกษุไม่รู้ไม่เห็นกุศลธรรมในตนซึ่งไม่มีอยู่ ไม่เป็นจริง หา
ไม่ได้ กล่าวว่า เรามีกุศลธรรม
ที่ชื่อว่า อุตตริมนุสสธรรม ได้แก่ ฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ ญาณทัสสนะ
มรรคภาวนา การทำผลให้แจ้ง การละกิเลส ภาวะที่จิตปลอดจากกิเลส ความยินดี
ในเรือนว่าง

เชิงอรรถ :
๑ ข้อความนี้ แปลมาจากบาลีว่า “อพฺโพหาริกํ” คือกล่าวไม่ได้ว่ามี มีเหมือนไม่มี มีแต่ไม่ปรากฏ จึงไม่
ได้โวหารว่ามี นำมากล่าวอ้างไม่ได้ ถือเป็นกรณีพิเศษที่ไม่สามารถนำมากล่าวอ้างได้ (ดู วิ.อ. ๑/๑๙๖/๕๒๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๑๘๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ สิกขาบทวิภังค์

คำว่า น้อมเข้ามาในตน ได้แก่ น้อมกุศลธรรมเหล่านั้นเข้าในตน หรือน้อม
ตนเข้าในกุศลธรรมเหล่านั้น
คำว่า ญาณ ได้แก่ วิชชา ๓
คำว่า ทัสสนะ ได้แก่ ญาณก็คือทัสสนะ ทัสสนะก็คือญาณ
คำว่า กล่าวอวด คือ บอกแก่ชายหรือแก่หญิง แก่บรรพชิตหรือแก่คฤหัสถ์
คำว่า ข้าพเจ้ารู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ ความว่า “ข้าพเจ้ารู้ธรรมเหล่านั้น เห็น
ธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้นมีอยู่ในข้าพเจ้า และข้าพเจ้าย่อมเห็นชัดธรรมเหล่านั้น”
คำว่า ครั้นสมัยต่อจากนั้น คือ ล่วงขณะ ลยะ ครู่ ที่กล่าวอวดนั้น๑
คำว่า อันผู้ใดผู้หนึ่งโจทก็ตาม คือ มีผู้โจทก์ในเรื่องที่เธอกล่าวอ้างว่า
“ท่านบรรลุอะไร บรรลุอย่างไร บรรลุเมื่อไร บรรลุที่ไหน ละกิเลสเหล่าไหนได้ ได้
ธรรมอะไร”
คำว่า ไม่โจท คือ ไม่มีใคร ๆ กล่าว
คำว่า ผู้ต้องอาบัติแล้ว ความว่า ภิกษุมีความปรารถนาชั่ว ถูกความอยาก
ครอบงำ กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรมที่ไม่มีจริงไม่เป็นจริง ต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
คำว่า หวังความบริสุทธิ์ คือ ประสงค์จะเป็นคฤหัสถ์ อุบาสก อารามิก (คนวัด)
หรือสามเณร
คำว่า ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้าไม่รู้อย่างนั้น ได้กล่าวว่ารู้ ข้าพเจ้าไม่เห็น
อย่างนั้น ได้กล่าวว่าเห็น ความว่า ภิกษุกล่าวว่า “ข้าพเจ้าไม่รู้ธรรมเหล่านั้น ไม่
เห็นธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้นไม่มี และข้าพเจ้าก็ไม่เห็นชัดธรรมเหล่านั้น”
คำว่า กล่าวคำไร้ประโยชน์ เป็นคำเท็จ ความว่า ข้าพเจ้ากล่าวคำไร้
ประโยชน์ กล่าวเท็จ กล่าวไม่จริง กล่าวสิ่งที่ไม่มี ข้าพเจ้าไม่รู้กล่าวไปแล้ว

เชิงอรรถ :
๑ ดีดนิ้วมือ ๑๐ ครั้งเป็น ๑ ขณะ, ๑๐ ขณะเป็น ๑ ลยะ, ๑๐ ลยะเป็น ๑ ขณลยะ, ๑๐ ขณลยะเป็น ๑ ครู่
(ดู อภิธา.ฏี. คาถา ๖๖-๖๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๑๘๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ บทภาชนีย์

คำว่า เว้นไว้แต่สำคัญว่าได้บรรลุ คือ ยกเว้นการสำคัญว่าได้บรรลุ
คำว่า แม้ภิกษุนี้ คือ ภิกษุที่พระผู้มีพระภาคตรัสเทียบกับภิกษุรูปก่อน ๆ
คำว่า เป็นปาราชิก ความว่า ภิกษุมีความปรารถนาชั่ว ถูกความอยาก
ครอบงำ กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรมที่ไม่มีอยู่ไม่เป็นจริง ย่อมไม่เป็นสมณะไม่เป็น
เชื้อสายศากยบุตร เปรียบเหมือนต้นตาลยอดด้วนที่ไม่อาจงอกได้ต่อไป ดังนั้น
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า “เป็นปาราชิก”
คำว่า หาสังวาสมิได้ อธิบายว่า ที่ชื่อว่า สังวาส ได้แก่กรรมที่ทำร่วมกัน
อุทเทศที่สวดร่วมกัน ความมีสิกขาเสมอกัน นี้ชื่อว่า สังวาส สังวาสนั้นไม่มีกับภิกษุ
รูปนั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า “หาสังวาสมิได้”

บทภาชนีย์

[๑๙๙] ที่ชื่อว่า อุตตริมนุสสธรรม ได้แก่ ฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ
ฌาณทัสสนะ มรรคภาวนา การทำผลให้แจ้ง การละกิเลส ภาวะที่จิตปลอดจาก
กิเลส ความยินดีในเรือนว่าง
คำว่า ฌาน ได้แก่ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน
คำว่า วิโมกข์ ได้แก่ สุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์
คำว่า สมาธิ ได้แก่ สุญญตสมาธิ อนิมิตตสมาธิ อัปปณิหิตสมาธิ
คำว่า สมาบัติ ได้แก่ สุญญตสมาบัติ อนิมิตตสมาบัติ อัปปณิหิตสมาบัติ
คำว่า ญาณ ได้แก่ วิชชา ๓
คำว่า มรรคภาวนา ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔
อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘
คำว่า การทำผลให้แจ้ง ได้แก่ การทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง การทำ
สกทาคามิผลให้แจ้ง การทำอนาคามิผลให้แจ้ง การทำอรหัตตผลให้แจ้ง
คำว่า การละกิเลส ได้แก่ การละราคะ การละโทสะ การละโมหะ
คำว่า ภาวะที่จิตปลอดจากกิเลส ได้แก่ ภาวะที่จิตปลอดจากราคะ ภาวะ
ที่จิตปลอดจากโทสะ ภาวะที่จิตปลอดจากโมหะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๑๘๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ บทภาชนีย์

คำว่า ความยินดีในเรือนว่าง ได้แก่ ความยินดีในเรือนว่างด้วยปฐมฌาน
ความยินดีในเรือนว่างด้วยทุติยฌาน ความยินดีในเรือนว่างด้วยตติยฌาน ความ
ยินดีในเรือนว่างด้วยจตุตถฌาน

สุทธิกวารกถา
สุทธิกฌาน
ปฐมฌาน

[๒๐๐] ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว” ด้วยอาการ ๓
อย่าง คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ
(๓) ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว” ด้วยอาการ ๔ อย่าง
คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ
(๓) ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (๔) อำพรางความเห็น ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว” ด้วยอาการ ๕ อย่าง
คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ
(๓) ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (๔) อำพรางความเห็น (๕) อำพราง
ความเห็นชอบ ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว” ด้วยอาการ ๖ อย่าง
คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ
(๓) ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (๔) อำพรางความเห็น (๕) อำพราง
ความเห็นชอบ (๖) อำพรางความพอใจ ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว” ด้วยอาการ ๗ อย่าง
คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ
(๓) ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (๔) อำพรางความเห็น (๕) อำพรางความเห็น
ชอบ (๖) อำพรางความพอใจ (๗) อำพรางความประสงค์ ต้องอาบัติปาราชิก


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ บทภาชนีย์

[๒๐๑] ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานอยู่” ด้วยอาการ ๓
อย่าง คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากำลังกล่าว
เท็จ (๓) ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานอยู่” ด้วยอาการ ๔ อย่าง คือ
(๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ (๓) ครั้น
กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (๔) อำพรางความเห็น ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานอยู่” ด้วยอาการ ๕ อย่าง
คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ
(๓) ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (๔) อำพรางความเห็น (๕) อำพรางความ
เห็นชอบ ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานอยู่” ด้วยอาการ ๖ อย่าง
คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ (๓)
ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (๔) อำพรางความเห็น (๕) อำพรางความ
เห็นชอบ (๖) อำพรางความพอใจ ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานอยู่” ด้วยอาการ ๗ อย่าง คือ
(๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ (๓) ครั้น
กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (๔) อำพรางความเห็น (๕) อำพรางความเห็นชอบ
(๖) อำพรางความพอใจ (๗) อำพรางความประสงค์ ต้องอาบัติปาราชิก
[๒๐๒] ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าปฐมฌานแล้ว” ด้วย
อาการ ๓ อย่าง คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าว ก็รู้ว่า
กำลังกล่าวเท็จ (๓) ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าปฐมฌานแล้ว” ด้วยอาการ ๔
อย่าง คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ
(๓) ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (๔) อำพรางความเห็น ต้องอาบัติปาราชิก


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ บทภาชนีย์

ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าปฐมฌานแล้ว” ด้วยอาการ ๕
อย่าง คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ
(๓) ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (๔) อำพรางความเห็น (๕) อำพรางความ
เห็นชอบ ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าปฐมฌานแล้ว” ด้วยอาการ ๖
อย่าง คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ
(๓) ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (๔) อำพรางความเห็น (๕) อำพราง
ความเห็นชอบ (๖) อำพรางความพอใจ ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าปฐมฌานแล้ว” ด้วยอาการ ๗
อย่าง คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ
(๓) ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (๔) อำพรางความเห็น (๕) อำพรางความ
เห็นชอบ (๖) อำพรางความพอใจ (๗) อำพรางความประสงค์ ต้องอาบัติปาราชิก
[๒๐๓] ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ปฐมฌาน” ด้วยอาการ ๓
อย่าง คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ
(๓) ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ปฐมฌาน” ด้วยอาการ ๔ อย่าง
คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ (๓)
ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (๔) อำพรางความเห็น ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ปฐมฌาน” ด้วยอาการ ๕ อย่าง
คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ (๓)
ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (๔) อำพรางความเห็น (๕) อำพรางความเห็น
ชอบ ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ปฐมฌาน” ด้วยอาการ ๖ อย่าง
คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ (๓) ครั้น
กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (๔) อำพรางความเห็น (๕) อำพรางความเห็นชอบ
(๖) อำพรางความพอใจ ต้องอาบัติปาราชิก


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ บทภาชนีย์

ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ปฐมฌาน” ด้วยอาการ ๗ อย่าง
คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ (๓) ครั้น
กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (๔) อำพรางความเห็น (๕) อำพรางความเห็นชอบ
(๖) อำพรางความพอใจ (๗) อำพรางความประสงค์ ต้องอาบัติปาราชิก
[๒๐๔] ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญในปฐมฌาน” ด้วย
อาการ ๓ อย่าง คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าว ก็รู้ว่า
กำลังกล่าวเท็จ (๓) ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญในปฐมฌาน” ด้วยอาการ ๔
อย่าง คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ
(๓) ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (๔) อำพรางความเห็น ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญในปฐมฌาน” ด้วยอาการ ๕
อย่าง คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ
(๓) ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (๔) อำพรางความเห็น (๕) อำพรางความ
เห็นชอบ ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญในปฐมฌาน” ด้วยอาการ ๖
อย่าง คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ
(๓) ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (๔) อำพรางความเห็น (๕) อำพรางความ
เห็นชอบ (๖) อำพรางความพอใจ ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญในปฐมฌาน” ด้วยอาการ ๗
อย่าง คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ
(๓) ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (๔) อำพรางความเห็น (๕) อำพรางความ
เห็นชอบ (๖) อำพรางความพอใจ (๗) อำพรางความประสงค์ ต้องอาบัติปาราชิก
[๒๐๕] ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าทำปฐมฌานให้แจ้งแล้ว” ด้วย
อาการ ๓ อย่าง คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าว ก็รู้ว่า
กำลังกล่าวเท็จ (๓) ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ต้องอาบัติปาราชิก


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ บทภาชนีย์

ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าทำปฐมฌานให้แจ้งแล้ว” ด้วยอาการ ๔
อย่าง คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ
(๓) ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (๔) อำพรางความเห็น ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าทำปฐมฌานให้แจ้งแล้ว” ด้วยอาการ ๕
อย่าง คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ
(๓) ครั้น กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (๔) อำพรางความเห็น (๕) อำพราง
ความเห็นชอบ ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าทำปฐมฌานให้แจ้งแล้ว” ด้วยอาการ ๖ อย่าง
คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ (๓)
ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (๔) อำพรางความเห็น (๕) อำพรางความ
เห็นชอบ (๖) อำพรางความพอใจ ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าทำปฐมฌานให้แจ้งแล้ว” ด้วยอาการ ๗
อย่าง คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ
(๓) ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (๔) อำพรางความเห็น (๕) อำพรางความ
เห็นชอบ (๖) อำพรางความพอใจ (๗) อำพรางความประสงค์ ต้องอาบัติปาราชิก
[ปฐมฌานนี้นักปราชญ์ให้พิสดารแล้ว ฉันใด แม้ฌานทั้งมวลก็พึงให้พิสดาร
ฉันนั้น]

ทุติยฌาน ตติยฌานและจตุตถฌาน

[๒๐๖] ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าเข้าทุติยฌานแล้ว” ด้วยอาการ ๓
อย่าง ฯลฯ ข้าพเจ้าเข้าตติยฌาน ฯลฯ จตุตถฌานแล้ว ... ข้าพเจ้าเข้าอยู่ ...
ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้จตุตถฌาน ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ ...
ข้าพเจ้าทำจตุตถฌานให้แจ้งแล้ว ด้วยอาการ ๗ อย่าง คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่า จัก
กล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ (๓) ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าว
เท็จแล้ว (๔) อำพรางความเห็น (๕) อำพรางความเห็นชอบ (๖) อำพรางความพอใจ
(๗) อำพรางความประสงค์ ต้องอาบัติปาราชิก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๑๙๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ บทภาชนีย์

สุทธิกวิโมกข์
สุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์และอัปปณิหิตวิโมกข์

[๒๐๗] ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าเข้าสุญญตวิโมกข์แล้ว” ด้วยอาการ
๓ อย่าง ฯลฯ ข้าพเจ้าเข้าอนิมิตตวิโมกข์ ฯลฯ อัปปณิหิตวิโมกข์แล้ว ... ข้าพเจ้าเข้าอยู่
... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้อัปปณิหิตวิโมกข์ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ
... ข้าพเจ้าทำอัปปณิหิตวิโมกข์ให้แจ้งแล้ว ... ต้องอาบัติปาราชิก ฯลฯ

สุทธิกสมาธิ

สุญญตสมาธิ อนิมิตตสมาธิและอัปปณิหิตสมาธิ
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าเข้าสุญญตสมาธิแล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง
ฯลฯ ข้าพเจ้าเข้าอนิมิตตสมาธิ ฯลฯ อัปปณิหิตสมาธิแล้ว ... ข้าพเจ้าเข้าอยู่ ...
ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้อัปปณิหิตสมาธิ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ ...
ข้าพเจ้าทำอัปปณิหิตสมาธิให้แจ้งแล้ว ... ต้องอาบัติปาราชิก ฯลฯ

สุทธิกสมาบัติ

สุญญตสมาบัติ อนิมิตตสมาบัติและอัปปณิหิตสมาบัติ
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าเข้าสุญญตสมาบัติแล้ว” ด้วยอาการ ๓
อย่าง ฯลฯ ข้าพเจ้าเข้าอนิมิตตสมาบัติ ฯลฯ อัปปณิหิตสมาบัติแล้ว ... ข้าพเจ้าเข้าอยู่
... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้อัปปณิหิตสมาบัติ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ
... ข้าพเจ้าทำอัปปณิหิตสมาบัติให้แจ้งแล้ว ... ต้องอาบัติปาราชิก ฯลฯ

สุทธิกญาณทัสสนะ
วิชชา ๓

ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าเข้าวิชชา ๓ แล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ...
ข้าพเจ้าเข้าอยู่ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้วิชชา ๓ ... ข้าพเจ้า
เป็นผู้ชำนาญ ... ข้าพเจ้าทำวิชชา ๓ ให้แจ้งแล้ว ... ต้องอาบัติปาราชิก ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๑๙๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ บทภาชนีย์

สุทธิกมัคคภาวนา
สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ และอิทธิบาท ๔

ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าเข้าสติปัฏฐาน ๔ แล้ว” ด้วยอาการ ๓
อย่าง ฯลฯ ข้าพเจ้าเข้าสัมมัปธาน ๔ ฯลฯ อิทธิบาท ๔ แล้ว ... ข้าพเจ้าเข้าอยู่ ...
ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้อิทธิบาท ๔ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ ...
ข้าพเจ้าทำอิทธิบาท ๔ ให้แจ้งแล้ว ... ต้องอาบัติปาราชิก ฯลฯ

อินทรีย์ ๕ และพละ ๕

ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าเข้าอินทรีย์ ๕ แล้ว” ด้วยอาการ ๓
อย่าง ฯลฯ ข้าพเจ้าเข้าพละ ๕ แล้ว ... ข้าพเจ้าเข้าอยู่ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว ...
ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้พละ ๕ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ ... ข้าพเจ้าทำพละ ๕ ให้แจ้งแล้ว ...
ต้องอาบัติปาราชิก ฯลฯ

โพชฌงค์ ๗

ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าเข้าโพชฌงค์ ๗ แล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง
... ข้าพเจ้าเข้าอยู่ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้โพชฌงค์ ๗ ...
ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ ... ข้าพเจ้าทำโพชฌงค์ ๗ ให้แจ้งแล้ว ... ต้องอาบัติปาราชิก
ฯลฯ

อริยมรรคมีองค์ ๘

ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าเข้าอริยมรรคมีองค์ ๘ แล้ว” ด้วยอาการ ๓
อย่าง ... ข้าพเจ้าเข้าอยู่ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้อริยมรรคมีองค์ ๘
... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ ... ข้าพเจ้าทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้แจ้งแล้ว ... ต้องอาบัติ
ปาราชิก ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๑๙๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ บทภาชนีย์

สุทธิกอริยผล
โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล และอรหัตตผล

ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าเข้าโสดาปัตติผลแล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง
ฯลฯ ข้าพเจ้าเข้าสกทาคามิผล ฯลฯ อนาคามิผล ฯลฯ อรหัตตผลแล้ว ... ข้าพเจ้า
เข้าอยู่ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้อรหัตตผล ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ
... ข้าพเจ้าทำอรหัตตผลให้แจ้งแล้ว ... ต้องอาบัติปาราชิก ฯลฯ

สุทธิกกิเลสปหาน
สละราคะ

ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าสละราคะแล้ว ข้าพเจ้าคายราคะแล้ว
ข้าพเจ้าพ้นราคะแล้ว ข้าพเจ้าละราคะแล้ว ข้าพเจ้าสลัดราคะแล้ว ข้าพเจ้าเพิกราคะ
แล้ว ข้าพเจ้าถอนราคะขึ้นแล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง คือ ... ต้องอาบัติปาราชิก ฯลฯ

สละโทสะ

ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า ข้าพเจ้าสละโทสะแล้ว ฯลฯ ถอนโทสะขึ้นแล้ว ด้วย
อาการ ๓ อย่าง คือ ... ต้องอาบัติปาราชิก ฯลฯ

สละโมหะ

ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า ข้าพเจ้าสละ คาย พ้น ละ สลัด เพิก ถอนโมหะขึ้น
แล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง คือ ... ต้องอาบัติปาราชิก ฯลฯ

สุทธิกจิตตวินีวรณะ
จิตปลอดจากราคะ โทสะและโมหะ

ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า จิตของข้าพเจ้าปลอดจากราคะ ด้วยอาการ ๓ อย่าง
คือ ... ต้องอาบัติปาราชิก ฯลฯ
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโทสะ ด้วยอาการ ๓ อย่าง
คือ ... ต้องอาบัติปาราชิก ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๑๙๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ บทภาชนีย์

ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ ด้วยอาการ ๓ อย่าง
ฯลฯ ด้วยอาการ ๗ อย่าง คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ (๒) กำลัง
กล่าว ก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ (๓) ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (๔) อำพราง
ความเห็น (๕) อำพรางความเห็นชอบ (๖) อำพรางความพอใจ (๗) อำพราง
ความประสงค์ ต้องอาบัติปาราชิก

สุทธิกะ จบ

ขัณฑจักร
ปฐมฌานและทุติยฌาน

[๒๐๘] ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและทุติยฌานแล้ว
ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ข้าพเจ้าเข้าอยู่ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้
ปฐมฌานและทุติยฌาน ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ ... ข้าพเจ้าทำปฐมฌานและ
ทุติยฌานให้แจ้งแล้ว ... ต้องอาบัติปาราชิก ฯลฯ

ปฐมฌานและตติยฌาน

ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและตติยฌานแล้ว ด้วยอาการ
๓ อย่าง ... ข้าพเจ้าเข้าอยู่ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ปฐมฌาน
และตติยฌาน ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ ... ข้าพเจ้าทำปฐมฌานและตติยฌานให้แจ้ง
แล้ว ... ต้องอาบัติปาราชิก ฯลฯ

ปฐมฌานและจตุตถฌาน

ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและจตุตถฌานแล้ว ด้วยอาการ
๓ อย่าง ... ข้าพเจ้าเข้าอยู่ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ปฐมฌาน
และจตุตถฌาน ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ ... ข้าพเจ้าทำปฐมฌานและจตุตถฌานให้
แจ้งแล้ว ... ต้องอาบัติปาราชิก ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๑๙๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ บทภาชนีย์

ปฐมฌานกับสุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์และอัปปณิหิตวิโมกข์

ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและสุญญตวิโมกข์แล้ว ด้วย
อาการ ๓ อย่าง ฯลฯ ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและอนิมิตตวิโมกข์ ฯลฯ ปฐมฌานและ
อัปปณิหิตวิโมกข์แล้ว ... ข้าพเจ้าเข้าอยู่ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว ... ข้าพเจ้าเป็นผู้
ได้ปฐมฌานและอัปปณิหิตวิโมกข์ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ ... ข้าพเจ้าทำปฐมฌาน
และอัปปณิหิตวิโมกข์ให้แจ้งแล้ว ... ต้องอาบัติปาราชิก ฯลฯ

ปฐมฌานกับสุญญตสมาธิ อนิมิตตสมาธิและอัปปณิหิตสมาธิ

ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและสุญญตสมาธิแล้ว ด้วย
อาการ ๓ อย่าง ฯลฯ ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและอนิมิตสมาธิ ฯลฯ ปฐมฌานและ
อัปปณิหิตสมาธิแล้ว ... ข้าพเจ้าเข้าอยู่ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้
ปฐมฌานและอัปปณิหิตสมาธิ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ ... ข้าพเจ้าทำปฐมฌานและ
อัปปณิหิตสมาธิให้แจ้งแล้ว ... ต้องอาบัติปาราชิก ฯลฯ

ปฐมฌานกับสุญญตสมาบัติ อนิมิตตสมาบัติและอัปปณิหิตสมาบัติ

ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและสุญญตสมาบัติแล้ว ด้วย
อาการ ๓ อย่าง ฯลฯ ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและอนิมิตตสมาบัติ ฯลฯ ปฐมฌาน
และอัปปณิหิตสมาบัติแล้ว ... ข้าพเจ้าเข้าอยู่ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว ... ข้าพเจ้า
เป็นผู้ได้ปฐมฌานและอัปปณิหิตสมาบัติ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ ... ข้าพเจ้าทำ
ปฐมฌานและอัปปณิหิตสมาบัติให้แจ้งแล้ว ... ต้องอาบัติปาราชิก ฯลฯ

ปฐมฌานและวิชชา ๓

ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและวิชชา ๓ แล้ว ด้วยอาการ ๓
อย่าง ... ข้าพเจ้าเข้าอยู่ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ปฐมฌานและ
วิชชา ๓ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ ... ข้าพเจ้าทำปฐมฌานและวิชชา ๓ ให้แจ้งแล้ว ...
ต้องอาบัติปาราชิก ฯลฯ


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ บทภาชนีย์

ปฐมฌานกับสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ และอิทธิบาท ๔

ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและสติปัฏฐาน ๔ แล้ว ด้วย
อาการ ๓ อย่าง ฯลฯ ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและสัมมัปปธาน ๔ ฯลฯ ปฐมฌาน
และอิทธิบาท ๔ แล้ว ... ข้าพเจ้าเข้าอยู่ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว ... ข้าพเจ้าเป็นผู้
ได้ปฐมฌานและอิทธิบาท ๔ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ ... ข้าพเจ้าทำปฐมฌานและ
อิทธิบาท ๔ ให้แจ้งแล้ว ... ต้องอาบัติปาราชิก ฯลฯ

ปฐมฌานกับอินทรีย์ ๕ และพละ ๕

ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและอินทรีย์ ๕ แล้ว ด้วยอาการ
๓ อย่าง ฯลฯ ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและพละ ๕ แล้ว ... ข้าพเจ้าเข้าอยู่ ... ข้าพเจ้า
เป็นผู้เข้าแล้ว ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ปฐมฌานและพละ ๕ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ ...
ข้าพเจ้าทำปฐมฌานและพละ ๕ ให้แจ้งแล้ว ... ต้องอาบัติปาราชิก ฯลฯ

ปฐมฌานกับโพชฌงค์ ๗

[๒๐๙] ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและโพชฌงค์ ๗ แล้ว
ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ข้าพเจ้าเข้าอยู่ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้
ปฐมฌานและโพชฌงค์ ๗ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ ... ข้าพเจ้าทำปฐมฌานและ
โพชฌงค์ ๗ ให้แจ้งแล้ว ... ต้องอาบัติปาราชิก ฯลฯ

ปฐมฌานกับอริยมรรคมีองค์ ๘

ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและอริยมรรคมีองค์ ๘ ...
ข้าพเจ้าเข้าอยู่ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ปฐมฌานและอริยมรรค
มีองค์ ๘ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ ... ข้าพเจ้าทำปฐมฌานและอริยมรรคมีองค์ ๘
ให้แจ้งแล้ว ... ต้องอาบัติปาราชิก ฯลฯ

ปฐมฌานกับโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผลและอรหัตตผล

ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและโสดาปัตติผลแล้ว ด้วยอาการ
๓ อย่าง ฯลฯ ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและสกทาคามิผล ฯลฯ ปฐมฌานและอนาคามิผล


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ บทภาชนีย์

ฯลฯ ปฐมฌานและอรหัตตผลแล้ว ... ข้าพเจ้าเข้าอยู่ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว ...
ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ปฐมฌานและอรหัตตผล ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ ... ข้าพเจ้าทำ
ปฐมฌานและอรหัตตผลให้แจ้งแล้ว ... ต้องอาบัติปาราชิก ฯลฯ

ปฐมฌานกับการสละราคะ โทสะและโมหะ

ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ...
ข้าพเจ้าเข้าอยู่ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ปฐมฌาน ... ข้าพเจ้า
เป็นผู้ชำนาญ ... ข้าพเจ้าทำปฐมฌานให้แจ้งแล้ว ... และข้าพเจ้าสละราคะแล้ว ฯลฯ
ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว ฯลฯ และข้าพเจ้าสละโทสะแล้ว ฯลฯ ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว
ฯลฯ และข้าพเจ้าสละ คาย พ้น ละ สลัด เพิก ถอนโมหะขึ้นแล้ว ... ต้องอาบัติปาราชิก
ฯลฯ

ปฐมฌานกับภาวะที่จิตปลอดจากราคะ โทสะและโมหะ

ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ...
ข้าพเจ้าเข้าอยู่ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ปฐมฌาน ... ข้าพเจ้า
เป็นผู้ชำนาญ ... ข้าพเจ้าทำปฐมฌานให้แจ้งแล้ว ... และจิตของข้าพเจ้าปลอดจาก
ราคะ ... จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโทสะ ... จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ ด้วย
อาการ ๓ อย่าง ฯลฯ ด้วยอาการ ๗ อย่าง คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ
(๒) กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ (๓) ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว
(๔) อำพรางความเห็น (๕) อำพรางความเห็นชอบ (๖) อำพรางความพอใจ
(๗) อำพรางความประสงค์ ต้องอาบัติปาราชิก

ขัณฑจักร จบ

พัทธจักร

[๒๑๐] ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า ข้าพเจ้าเข้าทุติยฌานและตติยฌานแล้ว
ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ข้าพเจ้าเข้าอยู่ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว ... ข้าพเจ้าเป็นผู้


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ บทภาชนีย์

ได้ทุติยฌานและตติยฌาน ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ ... ข้าพเจ้าทำทุติยฌานและ
ตติยฌานให้แจ้งแล้ว ... ต้องอาบัติปาราชิก ฯลฯ
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า ข้าพเจ้าเข้าทุติยฌานและจตุตถฌานแล้ว ด้วยอาการ
๓ อย่าง ...ข้าพเจ้าเข้าอยู่ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ทุติยฌาน
และจตุตถฌาน ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ ... ข้าพเจ้าทำทุติยฌานและจตุตถฌานให้
แจ้งแล้ว ... ต้องอาบัติปาราชิก ฯลฯ
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า ข้าพเจ้าเข้าทุติยฌานและสุญญตวิโมกข์แล้ว ด้วย
อาการ ๓ อย่าง ฯลฯ ข้าพเจ้าเข้าทุติยฌานและอนิมิตตวิโมกข์ ฯลฯ ทุติยฌานและ
อัปปณิหิตวิโมกข์ ฯลฯ ทุติยฌานและสุญญตสมาธิ ฯลฯ ทุติยฌานและอนิมิตตสมาธิ
ฯลฯ ทุติยฌานและอัปปณิหิตสมาธิ ฯลฯ ทุติยฌานและสุญญตสมาบัติ ฯลฯ ทุติย
ฌานและอนิมิตตสมาบัติ ฯลฯ ทุติยฌานและอัปปณิหิตสมาบัติ ฯลฯ ทุติยฌานและ
วิชชา ๓ ฯลฯ ทุติยฌานและสติปัฏฐาน ๔ ฯลฯ ทุติยฌานและสัมมัปปธาน ๔ ฯลฯ
ทุติยฌานและอิทธิบาท ๔ ฯลฯ ทุติยฌานและอินทรีย์ ๕ ฯลฯ ทุติยฌานและพละ ๕
ฯลฯ ทุติยฌานและโพชฌงค์ ๗ ฯลฯ ทุติยฌานและอริยมรรคมีองค์ ๘ ฯลฯ ทุติยฌาน
และโสดาปัตติผล ฯลฯ ทุติยฌานและสกทาคามิผล ฯลฯ ทุติยฌานและอนาคามิผล
ฯลฯ ทุติยฌานและอรหัตตผลแล้ว ... ข้าพเจ้าเข้าอยู่ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว ...
ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ทุติยฌานและอรหัตตผล ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ ... ข้าพเจ้าทำ
ทุติยฌานและอรหัตตผลให้แจ้งแล้ว...ต้องอาบัติปาราชิก ฯลฯ
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า ข้าพเจ้าเข้าทุติยฌานแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ...
ข้าพเจ้าเข้าอยู่ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ทุติยฌาน... ข้าพเจ้า
เป็นผู้ชำนาญ ... ข้าพเจ้าทำทุติยฌานให้แจ้งแล้ว ... ข้าพเจ้าสละราคะแล้ว ...
ข้าพเจ้าสละโทสะแล้ว ... ข้าพเจ้าสละ คาย พ้น ละ สลัด เพิก ถอนโมหะขึ้นแล้ว ฯลฯ
ข้าพเจ้าเข้าทุติยฌานแล้ว ฯลฯ จิตของข้าพเจ้าปลอดจากราคะ ฯลฯ ข้าพเจ้าเข้า
ทุติยฌานแล้ว ฯลฯ จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโทสะ ฯลฯ ข้าพเจ้าเข้าทุติยฌานแล้ว
ฯลฯ จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ ... ต้องอาบัติปาราชิก ฯลฯ


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ บทภาชนีย์

ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า ข้าพเจ้าเข้าทุติยฌานและปฐมฌานแล้ว ด้วยอาการ
๓ อย่าง ฯลฯ ด้วยอาการ ๗ อย่าง ... ข้าพเจ้าเข้าอยู่ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว ...
ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ทุติยฌานและปฐมฌาน ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ ... ข้าพเจ้าทำ
ทุติยฌานและปฐมฌานให้แจ้งแล้ว ด้วยอาการ ๗ อย่าง คือ ... (๗) อำพรางความ
ประสงค์ ต้องอาบัติปาราชิก.

พัทธจักร จบ

พึงตั้งอุตตริมนุสสธรรมข้อหนึ่งๆ หมุนเวียนไปจนครบด้วยวิธีนี้
คำที่จะกล่าวต่อไปนี้เป็นคำที่ท่านย่อไว้

พัทธจักร เอกมูลกนัย

[๒๑๑] ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า ข้าพเจ้าเข้าตติยฌานและจตุตถฌานแล้ว
ด้วยอาการ ๓ อย่าง ฯลฯ ข้าพเจ้าเข้าตติยฌานและอรหัตตผลแล้ว ... ข้าพเจ้าเข้า
อยู่ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ตติยฌานและอรหัตตผล ...
ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ ... ข้าพเจ้าทำตติยฌานและอรหัตตผลให้แจ้งแล้ว ... ต้อง
อาบัติปาราชิก ฯลฯ
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า ข้าพเจ้าเข้าตติยฌานแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ...
ข้าพเจ้าเข้าอยู่ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ตติยฌาน... ข้าพเจ้า
เป็นผู้ชำนาญ ... ข้าพเจ้าทำตติยฌานให้แจ้งแล้ว ... ข้าพเจ้าสละราคะแล้ว ฯลฯ
ข้าพเจ้าสละโทสะแล้ว ฯลฯ ข้าพเจ้าสละ คาย พ้น ละ สลัด เพิก ถอนโมหะขึ้นแล้ว ...
จิตของข้าพเจ้าปลอดจากราคะ ... จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโทสะ ... จิตของข้าพเจ้า
ปลอดจากโมหะ ... ต้องอาบัติปาราชิก ฯลฯ
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า ข้าพเจ้าเข้าตติยฌานและปฐมฌาน ด้วยอาการ ๓
อย่าง ... ข้าพเจ้าเข้าตติยฌานและทุติยฌานแล้ว ... ข้าพเจ้าเข้าอยู่ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้
เข้าแล้ว ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ตติยฌานและทุติยฌาน ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ ... ข้าพเจ้าทำ
ตติยฌานและทุติยฌานให้แจ้งแล้ว ... ต้องอาบัติปาราชิก ฯลฯ


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ บทภาชนีย์

ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ และข้าพเจ้าเข้า
ปฐมฌานแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ฯลฯ ข้าพเจ้าเข้าทุติยฌาน ฯลฯ ตติยฌาน
ฯลฯ และจตุตถ ... ข้าพเจ้าเข้าอยู่ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว ... จิตของข้าพเจ้า
ปลอดจากโมหะ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้จตุตถฌาน ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ ... จิตของ
ข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ และข้าพเจ้าทำจตุตถฌานให้แจ้งแล้ว ต้องอาบัติปาราชิก
[๒๑๒] ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะและข้าพเจ้า
เข้าสุญญตวิโมกข์แล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ข้าพเจ้าเข้าอนิมิตตวิโมกข์ ...
อัปปณิหิตวิโมกข์แล้ว ... ข้าพเจ้าเข้าอยู่ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว ... จิตของข้าพเจ้า
ปลอดจากโมหะ ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้อัปปณิหิตวิโมกข์ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ ... จิต
ของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ และข้าพเจ้าทำอัปปณิหิตวิโมกข์ให้แจ้งแล้ว ต้องอาบัติ
ปาราชิก ฯลฯ
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะและข้าพเจ้าเข้า
สุญญตสมาธิแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ข้าพเจ้าเข้าอนิมิตตสมาธิ ... อัปปณิหิตสมาธิ
แล้ว ... ข้าพเจ้าเข้าอยู่ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว ... จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ
ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้อัปปณิหิตสมาธิ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ ... จิตของข้าพเจ้าปลอด
จากโมหะ และข้าพเจ้าทำอัปปณิหิตสมาธิให้แจ้งแล้ว ต้องอาบัติปาราชิก ฯลฯ
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะและข้าพเจ้าเข้า
สุญญตสมาบัติแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ข้าพเจ้าเข้าอนิมิตตสมาบัติ ...
อัปปณิหิตสมาบัติแล้ว ... ข้าพเจ้าเข้าอยู่ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว ... จิตของ
ข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้อัปปณิหิตสมาบัติ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ
... จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ และข้าพเจ้าทำอัปปณิหิตสมาบัติให้แจ้งแล้ว ต้อง
อาบัติปาราชิก ฯลฯ
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะและข้าพเจ้าเข้า
วิชชา ๓ แล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ข้าพเจ้าเข้าอยู่ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว ...
จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ และข้าพเจ้าเป็นผู้ได้วิชชา ๓ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้
ชำนาญ ... จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะและข้าพเจ้าทำวิชชา ๓ ให้แจ้งแล้ว ...
ต้องอาบัติปาราชิก


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ บทภาชนีย์

ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะและข้าพเจ้าเข้า
สติปัฏฐาน ๔ แล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ข้าพเจ้าเข้าสัมมัปปธาน ๔ ...อิทธิบาท ๔
แล้ว ... ข้าพเจ้าเข้าอยู่ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว ...จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ
และข้าพเจ้าเป็นผู้ได้อิทธิบาท ๔ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ ... จิตของข้าพเจ้าปลอด
จากโมหะและข้าพเจ้าทำอิทธิบาท ๔ ให้แจ้งแล้ว ... ต้องอาบัติปาราชิก
[๒๑๓] ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ และ
ข้าพเจ้าเข้าอินทรีย์ ๕ แล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ฯลฯ ข้าพเจ้าเข้าพละ ๕ แล้ว ...
ข้าพเจ้าเข้าอยู่ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว ...จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ และ
ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้พละ ๕ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ ... จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ
และข้าพเจ้าทำพละ ๕ ให้แจ้งแล้ว ... ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ และข้าพเจ้าเข้า
โพชฌงค์ ๗ แล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ข้าพเจ้าเข้าอยู่ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว
จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ และข้าพเจ้าเป็นผู้ได้โพชฌงค์ ๗ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ
... จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ และข้าพเจ้าทำโพชฌงค์ ๗ ให้แจ้งแล้ว ... ต้อง
อาบัติปาราชิก
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ และข้าพเจ้าเข้า
อริยมรรคมีองค์ ๘ แล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ข้าพเจ้าเข้าอยู่ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้า
แล้ว จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้อริยมรรคมีองค์ ๘ ... ข้าพเจ้า
เป็นผู้ชำนาญ ... จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ และข้าพเจ้าทำอริยมรรคมีองค์ ๘
ให้แจ้งแล้ว ... ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ และข้าพเจ้าเข้า
โสดาปัตติผลแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ข้าพเจ้าเข้าสกทาคามิผล ฯลฯ อนาคามิผล
ฯลฯ อรหัตตผลแล้ว ... ข้าพเจ้าเข้าอยู่ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว ... จิตของข้าพเจ้า
ปลอดจากโมหะ และข้าพเจ้าเป็นผู้ได้อรหัตตผล ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ...จิตของ
ข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ และข้าพเจ้าทำอรหัตตผลให้แจ้งแล้ว ... ต้องอาบัติปาราชิก


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ บทภาชนีย์

ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ และข้าพเจ้าสละราคะ
แล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ฯลฯ ข้าพเจ้าสละโทสะแล้ว ฯลฯ ข้าพเจ้าสละ คาย
พ้น ละ สลัด เพิก ถอนโมหะขึ้นแล้ว ... ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ ฯลฯ จิตของ
ข้าพเจ้าปลอดจากราคะ ฯลฯ จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโทสะ ด้วยอาการ ๓ อย่าง
ฯลฯ ด้วยอาการ ๗ อย่าง คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ (๒) กำลัง
กล่าว ก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ (๓) ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (๔) อำพราง
ความเห็น (๕) อำพรางความเห็นชอบ (๖) อำพรางความพอใจ (๗) อำพราง
ความประสงค์ ต้องอาบัติปาราชิก

พัทธจักรเอกมูลกนัย จบ

แม้พัทธจักรทุมูลกนัยเป็นต้นก็พึงให้พิสดารเหมือนพัทธจักรเอกมูลกนัยที่ให้
พิสดารแล้ว
คำที่จะกล่าวต่อไปนี้เป็นพัทธจักรสัพพมูลกนัย

พัทธจักร สัพพมูลกนัย

[๒๑๔] ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน
จตุตถฌาน สุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์ สุญญตสมาธิ
อนิมิตตสมาธิ อัปปณิหิตสมาธิ สุญญตสมาบัติ อนิมิตตสมาบัติ อัปปณิหิตสมาบัติ
วิชชา ๓ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์
๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผลและอรหัตตผล ...
ข้าพเจ้าเข้าอยู่ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว ฯลฯ ข้าพเจ้าสละราคะแล้ว ฯลฯ ข้าพเจ้า
สละโทสะแล้ว ฯลฯ ข้าพเจ้าสละ คาย พ้น ละ สลัด เพิก ถอนโมหะขึ้นแล้ว ... จิต
ของข้าพเจ้าปลอดจากราคะ จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโทสะ จิตของข้าพเจ้าปลอด
จากโมหะ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ฯลฯ ด้วยอาการ ๗ อย่าง คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่า
จักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ (๓) ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าว


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ บทภาชนีย์

เท็จแล้ว (๔) อำพรางความเห็น (๕) อำพรางความเห็นชอบ (๖) อำพรางความ
พอใจ (๗) อำพรางความประสงค์ ต้องอาบัติปาราชิก

สัพพมูลกนัย จบ
สุทธิกวารกถา จบ

วัตตุกามวารกถา
ขัณฑจักรแห่งเอกมูลกนัย
วัตถุวิสารกะ

[๒๑๕] ภิกษุต้องการจะกล่าวว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว แต่กล่าวเท็จทั้ง
ที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าเข้าทุติยฌานแล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้อง
อาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ภิกษุต้องการจะกล่าวว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว แต่กล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า
ข้าพเจ้าเข้าตติยฌานแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก
เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ภิกษุต้องการจะกล่าวว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว แต่กล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า
ข้าพเจ้าเข้าจตุตถฌานแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติ
ปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ภิกษุต้องการจะกล่าวว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว แต่กล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า
ข้าพเจ้าเข้าสุญญตวิโมกข์ ฯลฯ อนิมิตตวิโมกข์ ฯลฯ อัปปณิหิตวิโมกข์ ฯลฯ
สุญญตสมาธิ ฯลฯ อนิมิตตสมาธิ ฯลฯ อัปปณิหิตสมาธิ ฯลฯ สุญญตสมาบัติ
ฯลฯ อนิมิตตสมาบัติ ฯลฯ อัปปณิหิตสมาบัติ ฯลฯ วิชชา ๓ ฯลฯ สติปัฏฐาน ๔
ฯลฯ สัมมัปปธาน ๔ ฯลฯ อิทธิบาท ๔ ฯลฯ อินทรีย์ ๕ ฯลฯ พละ ๕ ฯลฯ
โพชฌงค์ ๗ ฯลฯ อริยมรรคมีองค์ ๘ ฯลฯ โสดาปัตติผล ฯลฯ สกทาคามิผล
ฯลฯ อนาคามิผล ฯลฯ อรหัตตผลแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... เมื่อผู้อื่นเข้าใจ
ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๒๐๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ บทภาชนีย์

ภิกษุต้องการจะกล่าวว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว แต่กล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า
ข้าพเจ้าสละราคะแล้ว ฯลฯ ข้าพเจ้าสละโทสะแล้ว ฯลฯ ข้าพเจ้าสละ คาย พ้น
ละ สลัด เพิก ถอนโมหะขึ้นแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติ
ปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ฯลฯ
ภิกษุต้องการจะกล่าวว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว แต่กล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า จิต
ของข้าพเจ้าปลอดจากราคะ ฯลฯ จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโทสะ ฯลฯ จิตของ
ข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ ด้วยอาการ ๓ อย่าง คือ (๑) เบื้องต้น เธอรู้ว่าจักกล่าวเท็จ
(๒) กำลังกล่าวอยู่ ก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ (๓) ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว
(๔) อำพรางความเห็น (๕) อำพรางความเห็นชอบ (๖) อำพรางความพอใจ
(๗) อำพรางความประสงค์ เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ
ต้องอาบัติถุลลัจจัย

ขัณฑจักรแห่งเอกมูลกนัย วัตถุวิสารกะ จบ

พัทธจักร เอกมูลกนัย แห่งวัตถุวิสารกะ

[๒๑๖] ภิกษุต้องการจะกล่าวว่า ข้าพเจ้าเข้าทุติยฌานแล้ว แต่กล่าวเท็จทั้ง
ที่รู้ว่าข้าพเจ้าเข้าตติยฌานแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติ
ปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ฯลฯ
ภิกษุต้องการจะกล่าวว่า ข้าพเจ้าเข้าทุติยฌานแล้ว แต่กล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า
ข้าพเจ้าเข้าจตุตถฌานแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ฯลฯ จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ
เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ฯลฯ
ภิกษุต้องการจะกล่าวว่า ข้าพเจ้าเข้าทุติยฌานแล้ว แต่กล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า
ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ฯลฯ ด้วยอาการ ๗ อย่าง คือ
ฯลฯ (๗) อำพรางความประสงค์ เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ
ต้องอาบัติถุลลัจจัย ฯลฯ

พัทธจักร เอกมูลกนัยแห่งวัตถุวิสารกะ จบ


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ บทภาชนีย์

หัวข้อแห่งพัทธจักรที่ท่านย่อไว้

[๒๑๗] ภิกษุต้องการกล่าวว่า จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ แต่กล่าวเท็จ
ทั้งที่รู้ว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌาน ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติ
ปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ฯลฯ
ภิกษุต้องการจะกล่าวว่า จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ แต่กล่าวเท็จทั้งที่
รู้ว่า จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโทสะ ด้วยอาการ ๓ อย่าง คือ ฯลฯ ด้วยอาการ ๗
อย่าง ฯลฯ (๗) อำพรางความประสงค์ เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อ
เขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย

พัทธจักร เอกมูลกนัย แห่งวัตถุวิสารกะ ที่ท่านย่อไว้ จบ

ขัณฑจักรทุมูลกนัย แห่งวัตถุวิสารกะ

ภิกษุต้องการจะกล่าวว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและทุติยฌานแล้ว แต่กล่าว
เท็จทั้งที่รู้ว่า ข้าพเจ้าเข้าตติยฌานแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้อง
อาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ฯลฯ
ภิกษุต้องการจะกล่าวว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและทุติยฌานแล้ว แต่กล่าว
เท็จทั้งที่รู้ว่า จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ฯลฯ ด้วยอาการ
๗ อย่าง คือ ฯลฯ (๗) อำพรางความประสงค์ เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก
เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย

ขัณฑจักร ทุมูลกนัยแห่งวัตถุวิสารกะ จบ

พัทธจักร ทุมูลกนัยแห่งวัตถุวิสารกะ

ภิกษุต้องการจะกล่าวว่า ข้าพเจ้าเข้าทุติยฌานและตติยฌานแล้ว แต่กล่าว
เท็จทั้งที่รู้ว่า ข้าพเจ้าเข้าจตุตถฌานแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... เมื่อผู้อื่นเข้าใจ
ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ฯลฯ


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ บทภาชนีย์

ภิกษุต้องการจะกล่าวว่า ข้าพเจ้าเข้าทุติยฌานและตติยฌานแล้ว แต่กล่าว
เท็จทั้งที่รู้ว่า จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... เมื่อผู้อื่นเข้าใจ
ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ฯลฯ
ภิกษุต้องการจะกล่าวว่า ข้าพเจ้าเข้าทุติยฌานและตติยฌานแล้ว แต่กล่าว
เท็จทั้งที่รู้ว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ฯลฯ ด้วยอาการ ๗
อย่าง คือ ฯลฯ (๗) อำพรางความประสงค์ เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก
เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย

พัทธจักร ทุมูลกนัยแห่งวัตถุวิสารกะ จบ

พัทธจักร ทุมูลกนัยแห่งวัตถุวิสารกะ

ภิกษุต้องการจะกล่าวว่า จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโทสะ และจิตของข้าพเจ้า
ปลอดจากโมหะ แต่กล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง
... เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ฯลฯ
ภิกษุต้องการจะกล่าวว่า จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโทสะ และจิตของข้าพเจ้า
ปลอดจากโมหะ แต่กล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า จิตของข้าพเจ้าปลอดจากราคะ ด้วยอาการ ๓
อย่าง ฯลฯ ด้วยอาการ ๗ อย่าง คือ ฯลฯ (๗) อำพรางความประสงค์ เมื่อผู้อื่น
เข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย

พัทธจักร ทุมูลกนัย แห่งวัตถุวิสารกะที่ท่านย่อไว้ จบ

พัทธจักร ติมูลกนัยก็ดี จตุมูลกนัยก็ดี ปัญจมูลกนัยก็ดี ฉมูลกนัยก็ดี
สัตตมูลกนัยก็ดี อัฏฐมูลกนัยก็ดี นวมูลกนัยก็ดี ทสมูลกนัยก็ดี แห่งวัตถุวิสารกะ
บัณฑิตพึงตั้งขยายให้เหมือน พัทธจักรแม้ที่เป็นเอกมูลกนัยแห่งนิกเขปบทที่ขยายไว้แล้ว
พึงขยายให้พิสดารเหมือนพัทธจักรเอกมูลกนัยที่ท่านขยายให้พิสดารไว้แล้วเถิด
คำที่จะกล่าวต่อไปนี้เป็นพัทธจักร สัพพมูลกนัย
[๒๑๘] ภิกษุต้องการจะกล่าวว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน
จตุตถฌาน สุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์ สุญญตสมาธิ


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ บทภาชนีย์

อนิมิตตสมาธิ อัปปณิหิตสมาธิ สุญญตสมาบัติ อนิมิตตสมาบัติ อัปปณิหิตสมาบัติ
วิชชา ๓ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์
๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผลและอรหัตตผลแล้ว
ฯลฯ ข้าพเจ้าสละราคะแล้ว ฯลฯ ข้าพเจ้าสละโทสะแล้ว ฯลฯ ข้าพเจ้าสละ คาย
พ้น ละ สลัด เพิก ถอนโมหะขึ้นแล้ว จิตของข้าพเจ้าปลอดจากราคะและจิต
ของข้าพเจ้าปลอดจากโทสะ แต่กล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า จิตข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ ด้วย
อาการ ๓ อย่าง ฯลฯ ด้วยอาการ ๗ อย่าง ... เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก
เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ฯลฯ
[๒๑๙] ภิกษุต้องการจะกล่าวว่า ข้าพเจ้าเข้าทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน
สุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์ สุญญตสมาธิ อนิมิตตสมาธิ
อัปปณิหิตสมาธิ สุญญตสมาบัติ อนิมิตตสมาบัติ อัปปณิหิตสมาบัติ วิชชา ๓
สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗
อริยมรรคมีองค์ ๘ โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผลและอรหัตตผล ข้าพเจ้า
สละราคะแล้ว ... ข้าพเจ้าสละโทสะแล้ว ... ข้าพเจ้าสละ คาย พ้น ละ สลัด เพิก
ถอนโมหะขึ้นแล้ว ... จิตของข้าพเจ้าปลอดจากราคะ จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโทสะ
จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ แต่กล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว
ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย ฯลฯ
ภิกษุต้องการจะกล่าวว่า ข้าพเจ้าเข้าตติยฌานและจตุตถฌาน ฯลฯ และ
จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ และข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว แต่กล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า
ข้าพเจ้าเข้าทุติยฌานแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติ
ปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ฯลฯ
ภิกษุต้องการจะกล่าวว่า จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ ข้าพเจ้าเข้า
ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน ฯลฯ จิตของข้าพเจ้าปลอดจากราคะ
แต่กล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโทสะ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ฯลฯ
ด้วยอาการ ๗ อย่าง คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าว ก็รู้ว่า
กำลังกล่าวเท็จ (๓) ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (๔) อำพรางความเห็น


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ บทภาชนีย์

(๕) อำพรางความเห็นชอบ (๖) อำพรางความพอใจ (๗) อำพรางความประสงค์
เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย

พัทธจักร สัพพมูลกนัยแห่งวัตถุวิสารกะ จบ
จักรเปยยาลแห่งวัตถุวิสารกะ จบ
วัตตุกามวารกถา จบ

ปัจจยปฏิสังยุตตวารกถา
เปยยาล ๑๕ หมวด

[๒๒๐] ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า ภิกษุรูปใดอยู่ในวิหารของท่าน ภิกษุรูปนั้น
เข้าปฐมฌานแล้ว ... เข้าอยู่ ... เป็นผู้เข้าแล้ว ... ภิกษุรูปนั้นเป็นผู้ได้ปฐมฌาน
... เป็นผู้ชำนาญ ... ภิกษุรูปนั้นทำปฐมฌานให้แจ้งแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง คือ
(๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าวก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ (๓) ครั้น
กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ
ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า ภิกษุรูปใดอยู่ในวิหารของท่าน ภิกษุรูปนั้นเข้า
ปฐมฌานแล้ว ... เข้าอยู่ ... เป็นผู้เข้าแล้ว ... ภิกษุรูปนั้นเป็นผู้ได้ปฐมฌาน ... เป็น
ผู้ชำนาญ ... ภิกษุรูปนั้นทำปฐมฌานให้แจ้งแล้ว ด้วยอาการ ๔ อย่าง ฯลฯ ด้วย
อาการ ๕ อย่าง ฯลฯ ด้วยอาการ ๖ อย่าง ฯลฯ ด้วยอาการ ๗ อย่าง คือ (๑)
เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ (๓) ครั้น
กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (๔) อำพรางความเห็น (๕) อำพรางความเห็นชอบ
(๖) อำพรางความพอใจ (๗) อำพรางความประสงค์ เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า ภิกษุรูปใดอยู่ในวิหารของท่าน ภิกษุรูปนั้นเข้า
ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน สุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๒๐๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ บทภาชนีย์

สุญญตสมาธิ อนิมิตตสมาธิ อัปปณิหิตสมาธิ สุญญตสมาบัติ อนิมิตตสมาบัติ
อัปปณิหิตสมาบัติ วิชชา ๓ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕
พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล
และอรหัตตผล ... เข้าอยู่ ... เป็นผู้เข้าแล้ว ... ภิกษุรูปนั้นเป็นผู้ได้อรหัตตผล ...
เป็นผู้ชำนาญ ... ภิกษุรูปนั้นทำอรหัตตผลให้แจ้งแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... เมื่อผู้
อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ ฯลฯ
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า ภิกษุรูปใดอยู่ในวิหารของท่าน ภิกษุรูปนั้นสละราคะ
แล้ว ฯลฯ สละโมหะแล้ว ฯลฯ สละ คลาย พ้น ละ สลัด เพิก ถอนโมหะขึ้นแล้ว
ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้อง
อาบัติทุกกฏ ฯลฯ
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า ภิกษุรูปใดอยู่ในวิหารของท่าน จิตของภิกษุรูปนั้น
ปลอดจากราคะ ... จากโทสะ ... จิตปลอดจากโมหะ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ฯลฯ
ด้วยอาการ ๗ อย่าง คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าว ก็รู้ว่า
กำลังกล่าวเท็จ (๓) ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (๔) อำพรางความเห็น
(๕) อำพรางความเห็นชอบ (๖) อำพรางความพอใจ (๗) อำพรางความประสงค์
เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า ภิกษุรูปใดอยู่ในวิหารของท่าน ภิกษุรูปนั้นเข้า
ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน ในเรือนว่างแล้ว ... เข้าอยู่ ... เป็นผู้เข้า
แล้ว ... ภิกษุรูปนั้นเป็นผู้ได้จตุตถฌานในเรือนว่าง ... เป็นผู้ชำนาญ ... ภิกษุรูปนั้นทำ
จตุตถฌานให้แจ้งแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ฯลฯ ด้วยอาการ ๗ คือ (๑) เบื้องต้น
เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ (๓) ครั้นกล่าว
แล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (๔) อำพรางความเห็น (๕) อำพรางความเห็นชอบ
(๖) อำพรางความพอใจ (๗) อำพรางความประสงค์ เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
แม้ที่เหลือก็พึงขยายให้พิสดารเหมือนกับที่ได้ขยายมานี้


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ อนาปัตติวาร

[๒๒๑] ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า ภิกษุรูปใดใช้สอยจีวรของท่าน ภิกษุรูปใด
ฉันบิณฑบาตของท่าน ภิกษุรูปใดใช้สอยเสนาสนะของท่าน ภิกษุรูปใดบริโภค
คิลานปัจจัยเภสัชบริขารของท่าน วิหารของท่านภิกษุรูปใดใช้สอยแล้ว จีวรของท่าน
ภิกษุรูปใดใช้สอยแล้ว บิณฑบาตของท่านภิกษุรูปใดฉันแล้ว เสนาสนะของท่าน
ภิกษุรูปใดใช้สอยแล้ว คิลานปัจจัยเภสัชบริขารของท่านภิกษุรูปใดบริโภคแล้ว ท่าน
อาศัยภิกษุรูปใดแล้วได้ถวายวิหาร ได้ถวายจีวร ได้ถวายบิณฑบาต ได้ถวาย
เสนาสนะ ได้ถวายคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ภิกษุรูปนั้น เข้าปฐมฌาน ทุติยฌาน
ตติยฌาน จตุตถฌาน ในเรือนว่าง ... เข้าอยู่ ... เป็นผู้เข้าแล้ว ... ภิกษุรูปนั้นเป็นผู้ได้
จตุตถฌาน ในเรือนว่าง ... เป็นผู้ชำนาญ ... ภิกษุรูปนั้นทำจตุตถฌานให้แจ้งแล้ว
ในเรือนว่าง ฯลฯ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่า จัก
กล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ (๓) ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าว
เท็จแล้ว (๔) อำพรางความเห็น (๕) อำพรางความเห็นชอบ (๖) อำพรางความพอใจ
(๗) อำพรางความประสงค์ เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ
ต้องอาบัติทุกกฏ

เปยยาล ๑๕ หมวด จบ
ปัจจัยปฏิสังยุตตวารกถา จบ
อุตตริมนุสสธรรมจักรเปยยาล จบ

อนาปัตติวาร

ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๒๒๒] ๑. ภิกษุผู้สำคัญว่าได้บรรลุ
๒. ภิกษุผู้ไม่มีความประสงค์จะกล่าวอวด
๓. ภิกษุวิกลจริต
๔. ภิกษุผู้มีจิตฟุ้งซ่าน
๕. ภิกษุกระสับกระส่ายเพราะเวทนา
๖. ภิกษุผู้เป็นต้นบัญญัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๒๑๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ คาถารวมวินีตวัตถุ

คาถารวมวินีตวัตถุ
เรื่องที่ทรงวินิจฉัยแล้ว

เรื่องภิกษุสำคัญว่าได้บรรลุ ๑ เรื่อง___เรื่องอยู่ป่า ๑ เรื่อง
เรื่องเที่ยวบิณฑบาต ๑ เรื่อง___เรื่องพระอุปัชฌาย์ ๒ เรื่อง
เรื่องอิริยาบถ ๔ เรื่อง___เรื่องละสังโยชน์ ๑ เรื่อง
เรื่องธรรมในที่ลับ ๒ เรื่อง___เรื่องภิกษุผู้อยู่ในวิหาร ๑ เรื่อง
เรื่องภิกษุผู้ได้รับการบำรุง ๑ เรื่อง___เรื่องทำไม่ยาก ๑ เรื่อง
เรื่องความเพียร ๑ เรื่อง___เรื่องไม่กลัวความตาย ๑ เรื่อง
เรื่องความร้อนใจ ๑ เรื่อง___เรื่องความประกอบถูกต้อง ๑ เรื่อง
เรื่องปรารภความเพียร ๑ เรื่อง___เรื่องประกอบความเพียร ๑ เรื่อง
เรื่องอดกลั้นเวทนา ๒ เรื่อง___เรื่องพราหมณ์ ๕ เรื่อง
เรื่องพยากรณ์มรรคผล ๓ เรื่อง___เรื่องอยู่ครองเรือน ๑ เรื่อง
เรื่องห้ามกาม ๑ เรื่อง___เรื่องความยินดี ๑ เรื่อง
เรื่องหลีกไป ๑ เรื่อง___เรื่องอัฏฐิกสังขลิกเปรต ๑ เรื่อง
เรื่องมังสเปสิเปรต ๑ เรื่อง___เรื่องมังสปิณฑเปรต ๑ เรื่อง
เรื่องนิจฉวิเปรตเพศชาย ๑ เรื่อง___เรื่องอสิโลมเปรตเพศชาย ๑ เรื่อง
เรื่องสัตติโลมเปรตเพศชาย ๑ เรื่อง___เรื่องอุสุโลมเปรตเพศชาย ๑ เรื่อง
เรื่องสูจิโลมเปรตเพศชาย ๑ เรื่อง___เรื่องกุมภัณฑเปรต ๑ เรื่อง
เรื่องสูจกเปรตเพศชาย ๑ เรื่อง___เรื่องเปรตจมหลุมคูถเพศชาย ๑ เรื่อง
เรื่องเปรตกินคูถเพศชาย ๑ เรื่อง___เรื่องนิจฉวิเปรตเพศหญิง ๑ เรื่อง
เรื่องมังคุลิเปรตเพศหญิง ๑ เรื่อง___เรื่องโอกิรินีเปรตเพศหญิง ๑ เรื่อง
เรื่องกพันธเปรต ๑ เรื่อง
เรื่องนักบวชทำกรรมชั่วในศาสนาของพระพุทธเจ้ากัสสปะ ๕ เรื่อง คือ
เรื่องเปรตมีรูปเป็นภิกษุ ๑ เรื่อง___เรื่องเปรตมีรูปเป็นภิกษุณี ๑ เรื่อง
เรื่องเปรตมีรูปเป็นสิกขมานา ๑ เรื่อง ___เรื่องเปรตมีรูปเป็นสามเณร ๑ เรื่อง
เรื่องเปรตมีรูปเป็นสามเณรี ๑ เรื่อง___เรื่องแม่น้ำตโปทา ๑ เรื่อง
เรื่องการสู้รบในกรุงราชคฤห์ ๑ เรื่อง___เรื่องได้ยินเสียงช้างลงน้ำ ๑ เรื่อง
เรื่องพระอรหันต์โสภิตะระลึกชาติได้ ๕๐๐ กัป ๑ เรื่อง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๒๑๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ วินีตวัตถุ

วินีตวัตถุ
เรื่องภิกษุสำคัญว่าได้บรรลุ ๑ เรื่อง

[๒๒๓] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งประกาศว่าได้อรหัตตผลเพราะสำคัญว่าได้บรรลุ
ท่านเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติ
ปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์
ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติ เพราะสำคัญว่าได้บรรลุ” (เรื่องที่ ๑)

เรื่องอยู่ป่า ๑ เรื่อง

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งปรารถนาว่า ประชาชนจักยกย่องเราอย่างนี้จึงอยู่ป่า
ประชาชนก็ยกย่องท่าน ท่านเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขา
บทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค
ให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก อนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุไม่พึงอยู่ป่าด้วยปรารถนาว่าจะได้รับคำยกย่อง ภิกษุใดอยู่ป่าด้วยปรารถนา
อย่างนั้น ภิกษุนั้นต้องอาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ ๒)

เรื่องเที่ยวบิณฑบาต ๑ เรื่อง

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งปรารถนาว่า ประชาชนจักยกย่องเราอย่างนี้จึงเที่ยว
บิณฑบาต ประชาชนก็ยกย่องท่าน ท่านเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาคทรง
บัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระ
ผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก อนึ่ง
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงเที่ยวบิณฑบาตด้วยปรารถนาว่าจะได้รับคำยกย่อง ภิกษุใด
เที่ยวบิณฑบาตด้วยปรารถนาอย่างนั้น ภิกษุนั้นต้องอาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ ๓)

เรื่องพระอุปัชฌาย์ ๒ เรื่อง

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งบอกภิกษุอีกรูปหนึ่งว่า “พวกภิกษุสัทธิวิหาริกของพระ
อุปัชฌาย์ของพวกเรา ล้วนเป็นพระอรหันต์” ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติ


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ วินีตวัตถุ

ปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์
ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้ามีความประสงค์จะกล่าวอวด
พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๔)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งบอกภิกษุอีกรูปหนึ่งว่า “พวกภิกษุอันเตวาสิกของพระ
อุปัชฌาย์ของพวกเราล้วนมีฤทธานุภาพมาก” ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้อง
อาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระ
องค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้ามีความประสงค์จะกล่าว
อวด พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย”
(เรื่องที่ ๕)

เรื่องอิริยาบถ ๔ เรื่อง

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งปรารถนาว่า ประชาชนจักยกย่องเราอย่างนี้จึงเดิน
จงกรม ประชาชนก็ยกย่องท่าน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือ
หนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอ
ไม่ต้องอาบัติปาราชิก อนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงเดินจงกรมด้วยปรารถนาอย่าง
นั้น ภิกษุใดเดินจงกรมด้วยปรารถนาอย่างนั้น ภิกษุนั้นต้องอาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ ๖)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งปรารถนาว่า ประชาชนจักยกย่องเราอย่างนี้จึงยืน
ประชาชนก็ยกย่องท่าน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่
ต้องอาบัติปาราชิก อนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงยืนด้วยปรารถนาอย่างนั้น ภิกษุ
ใดยืนด้วยปรารถนาอย่างนั้น ภิกษุนั้นต้องอาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ ๗)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งปรารถนาว่า ประชาชนจักยกย่องเราอย่างนี้จึงนั่ง
ประชาชนก็ยกย่องท่าน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่
ต้องอาบัติปาราชิก อนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงนั่งด้วยปรารถนาอย่างนั้น ภิกษุใด
นั่งด้วยปรารถนาอย่างนั้น ภิกษุนั้นต้องอาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ ๘)


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ วินีตวัตถุ

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งปรารถนาว่า ประชาชนจักยกย่องเราอย่างนี้ จึงนอน
ประชาชนก็ยกย่องท่าน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่
ต้องอาบัติปาราชิก อนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงนอนด้วยปรารถนาอย่างนั้น
ภิกษุใดนอนด้วยปรารถนาอย่างนั้น ภิกษุนั้นต้องอาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ ๙)

เรื่องละสังโยชน์ ๑ เรื่อง

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรมแก่ภิกษุอีกรูปหนึ่ง แม้
ภิกษุรูปนั้นก็กล่าวอวดว่า “แม้กระผมก็ละสังโยชน์๑ ได้” ท่านเกิดความกังวลใจว่า
เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๑๐)

เรื่องธรรมในที่ลับ ๒ เรื่อง

[๒๒๔] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ในที่สงัด กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม
ภิกษุผู้รู้ความคิดของผู้อื่นรูปหนึ่งตักเตือนท่านว่า “ท่านอย่ากล่าวอย่างนั้น เพราะ
ท่านไม่มีธรรมเช่นนั้น” ภิกษุรูปนั้นเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่
ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ ๑๑)
สมัยนั้น ภิกษุอีกรูปหนึ่งอยู่ในที่สงัด กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม เทพดาตัก
เตือนท่านว่า “พระคุณเจ้า พระคุณเจ้าอย่ากล่าวอย่างนั้น เพราะพระคุณเจ้าไม่มี
ธรรมอย่างนั้น” ภิกษุรูปนั้นเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่
ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ ๑๒)

เชิงอรรถ :
๑ สังโยชน์ กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์ไว้กับทุกข์ มี ๑๐ อย่าง คือ (๑) สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นตัวของตน
(๒) วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย (๓) สีลัพพตปรามาส ความถือมั่นศีลพรต (๔) กามราคะ ความติดใจในกามคุณ
(๕) ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งในใจ (๖) รูปราคะ ความติดใจในรูปธรรม (๗) อรูปราคะ ความติดใจในอรูปธรรม
(๘) มานะ ความถือว่าตัวเป็นนั่นเป็นนี่ (๙) อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน (๑๐) อวิชชา ความไม่รู้จริง (ดู สํ.ม. ๑๙/
๑๘๐-๑๘๑/๕๖-๕๗, องฺ.ทสก. ๒๔/๑๓/๑๔, อภิ.วิ. ๓๕/๙๔๐/๔๖๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๒๑๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ วินีตวัตถุ

เรื่องภิกษุผู้อยู่ในวิหาร ๑ เรื่อง

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งบอกอุบาสกคนหนึ่งว่า “อุบาสก ภิกษุรูปที่อยู่ในวิหาร
ของท่านเป็นพระอรหันต์” และตัวท่านก็อยู่ในวิหารของอุบาสกนั้น ท่านเกิดความ
กังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค
ให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้ามีความ
ประสงค์จะกล่าวอวด พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๑๓)

เรื่องภิกษุผู้ได้รับการบำรุง ๑ เรื่อง

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งบอกอุบาสกคนหนึ่งว่า “อุบาสก ภิกษุรูปที่ท่านบำรุง
ด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขารนั้น เป็นพระอรหันต์”
และอุบาสก ก็บำรุงภิกษุนั้นอยู่ด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัช
บริขาร ภิกษุนั้นเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร”
“ข้าพระพุทธเจ้ามีความประสงค์จะกล่าวอวด พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่ต้อง
อาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๑๔)

เรื่องทำไม่ยาก ๑ เรื่อง

[๒๒๕] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายถามท่านว่า “ท่านมี
อุตตริมนุสสธรรมอยู่หรือ” ท่านตอบว่า “การบรรลุอรหัตตผลทำได้ไม่ยาก” ท่าน
เกิดความกังวลใจว่า เฉพาะพระอริยสาวกของพระผู้มีพระภาคเท่านั้นที่ควรกล่าวอย่างนั้น
แต่เราไม่ได้เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค๑ เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิด
อย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า ไม่มีความประสงค์จะกล่าวอวด พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ
เธอไม่มีความประสงค์จะกล่าวอวด ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๑๕)

เชิงอรรถ :
๑ ท่านมีความเห็นว่า พระอริยบุคคลเท่านั้นจึงจะชื่อว่าเป็นสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (วิ.อ. ๑/๒๒๕/
๕๔๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๒๑๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ วินีตวัตถุ

เรื่องความเพียร ๑ เรื่อง

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายถามท่านว่า “ท่านมีอุตตริ-
มนุสสธรรมหรือ” ท่านตอบว่า “ท่านทั้งหลาย ท่านผู้บำเพ็ญเพียรแล้วสามารถจะมี
ธรรมได้” ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่มีความ
ประสงค์จะกล่าวอวด ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๑๖)

เรื่องไม่กลัวความตาย ๑ เรื่อง

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายกล่าวกับท่านว่า “ท่านอย่ากลัว
เลย” ท่านตอบว่า “ท่านทั้งหลาย กระผมไม่กลัวตาย” ท่านเกิดความกังวลใจว่า เรา
ต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่มีความประสงค์จะกล่าวอวด ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๑๗)

เรื่องความร้อนใจ ๑ เรื่อง

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายกล่าวกับท่านว่า “ท่านอย่ากลัว
เลย” ท่านตอบว่า “ท่านทั้งหลาย ผู้มีความร้อนใจจะต้องกลัวแน่” ท่านเกิดความ
กังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค
ให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่มีความประสงค์จะกล่าวอวด ไม่ต้อง
อาบัติ” (เรื่องที่ ๑๘)

เรื่องความประกอบถูกต้อง ๑ เรื่อง

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายถามท่านว่า “ท่านมีอุตตริมนุสส
ธรรมหรือ” ท่านตอบว่า “ท่านทั้งหลาย ผู้ประกอบถูกต้อง สามารถจะมีธรรมได้”
ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่มีความประสงค์จะกล่าว
อวด ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๑๙)


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ วินีตวัตถุ

เรื่องปรารภความเพียร ๑ เรื่อง

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายถามท่านว่า “ท่านมีอุตตริ
มนุสสธรรมหรือ” ท่านตอบว่า “ท่านทั้งหลาย ผู้ปรารภความเพียรแล้ว สามารถ
จะมีธรรมได้” ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่อง
นี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่มีความ
ประสงค์จะกล่าวอวด ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๒๐)

เรื่องประกอบความเพียร ๑ เรื่อง

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายถามท่านว่า “ท่านมีอุตตริ
มนุสสธรรมหรือ” ท่านตอบว่า “ท่านทั้งหลาย ผู้ประกอบความเพียรแล้ว สามารถ
จะมีธรรมได้” ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้
ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบพระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่มีความ
ประสงค์จะกล่าวอวด ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๒๑)

เรื่องอดกลั้นเวทนา ๒ เรื่อง

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายถามท่านว่า “ท่านยังสบายดี
หรือ ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ” ท่านตอบว่า “คนทั่วไปไม่สามารถอดกลั้นได้” ท่านเกิด
ความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่มีความประสงค์จะกล่าวอวด
ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๒๒)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายถามท่านว่า “ท่านยังสบายดีหรือ
ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ” ท่านตอบว่า ปุถุชนไม่สามารถอดกลั้นได้ ท่านเกิดความกังวล
ใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้าไม่มีความ
ประสงค์จะกล่าวอวด พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๒๓)


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ วินีตวัตถุ

เรื่องพราหมณ์ ๕ เรื่อง

[๒๒๖] สมัยนั้น พราหมณ์คนหนึ่งนิมนต์ภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า “นิมนต์
พระอรหันต์ทั้งหลายมาเถิดเจ้าข้า” ภิกษุเหล่านั้นเกิดความกังวลใจว่า พวกเรามิใช่
พระอรหันต์ แต่พราหมณ์นี้เรียกพวกเราว่า พระอรหันต์ พวกเราพึงปฏิบัติอย่างไรดี
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย
พวกเธอไม่ต้องอาบัติ เพราะเขาเรียกด้วยความเลื่อมใส” (เรื่องที่ ๒๔)
สมัยนั้น พราหมณ์คนหนึ่งนิมนต์ภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า “นิมนต์
พระอรหันต์ทั้งหลายนั่งเถิดเจ้าข้า” ภิกษุเหล่านั้นเกิดความกังวลใจว่า พวกเรามิใช่
พระอรหันต์ แต่พราหมณ์เรียกพวกเราว่าพระอรหันต์ พวกเราพึงปฏิบัติอย่างไรดี
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย
พวกเธอไม่ต้องอาบัติ เพราะเขาเรียกด้วยความเลื่อมใส” (เรื่องที่ ๒๕)
สมัยนั้น พราหมณ์คนหนึ่งนิมนต์ภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า “นิมนต์
พระอรหันต์ทั้งหลายฉันเถิดเจ้าข้า” ภิกษุเหล่านั้นเกิดความกังวลใจว่า พวกเรามิใช่
พระอรหันต์แต่พราหมณ์เรียกพวกเราว่าพระอรหันต์ พวกเราพึงปฏิบัติอย่างไรดี
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย
พวกเธอไม่ต้องอาบัติ เพราะเขาเรียกด้วยความเลื่อมใส” (เรื่องที่ ๒๖)
สมัยนั้น พราหมณ์คนหนึ่งนิมนต์ภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า “นิมนต์
พระอรหันต์ทั้งหลายฉันให้อิ่มหนำเถิดเจ้าข้า” ภิกษุเหล่านั้นเกิดความกังวลใจว่า
พวกเรามิใช่พระอรหันต์ แต่พราหมณ์เรียกพวกเราว่าพระอรหันต์ พวกเราพึงปฏิบัติ
อย่างไรดี จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่ต้องอาบัติ เพราะเขาเรียกด้วยความเลื่อมใส” (เรื่องที่ ๒๗)
สมัยนั้น พราหมณ์คนหนึ่งนิมนต์ภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า “นิมนต์
พระอรหันต์ทั้งหลายกลับเถิดเจ้าข้า” ภิกษุเหล่านั้นเกิดความกังวลใจว่า พวกเรา
มิใช่พระอรหันต์ แต่พราหมณ์เรียกพวกเราว่าพระอรหันต์ พวกเราพึงปฏิบัติอย่างไรดี
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย
พวกเธอไม่ต้องอาบัติ เพราะเขาเรียกด้วยความเลื่อมใส” (เรื่องที่ ๒๘)


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ วินีตวัตถุ

เรื่องพยากรณ์มรรคผล ๓ เรื่อง

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรมแก่ภิกษุอีกรูปหนึ่ง แม้
ภิกษุรูปนั้นก็กล่าวอวดว่า “กระผมก็ละอาสวะได้” ท่านเกิดความกังวลใจว่า เรา
ต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๒๙)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรมแก่ภิกษุอีกรูปหนึ่ง แม้
ภิกษุรูปนั้นก็กล่าวอวดว่า “ธรรมเหล่านี้แม้กระผมก็มี” ท่านเกิดความกังวลใจว่า
เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๓๐)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรมแก่ภิกษุอีกรูปหนึ่ง แม้
ภิกษุรูปนั้นก็กล่าวอวดว่า “กระผมก็ปรากฏในธรรมเหล่านั้น” ท่านเกิดความกังวล
ใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๓๑)

เรื่องอยู่ครองเรือน ๑ เรื่อง

สมัยนั้น พวกญาติบอกภิกษุรูปหนึ่งว่า “นิมนต์ท่านมาอยู่ครองเรือนเถิด
ขอรับ” ภิกษุรูปนั้นตอบว่า “ท่านทั้งหลาย คนอย่างอาตมาไม่ควรจะอยู่ครองเรือน”
ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร”
“ข้าพระพุทธเจ้าไม่มีความประสงค์จะกล่าวอวด พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่มี
ความประสงค์จะกล่าวอวด ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๓๒)

เรื่องห้ามกาม ๑ เรื่อง

[๒๒๗] สมัยนั้น พวกญาติบอกภิกษุรูปหนึ่งว่า “นิมนต์ท่านมาบริโภคกาม
เถิด” ภิกษุนั้นตอบว่า “ท่านทั้งหลาย เราปฏิเสธกามทั้งหลายแล้ว” ท่านเกิดความ
กังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ วินีตวัตถุ

ให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร “ข้าพระพุทธเจ้าไม่มีความ
ประสงค์จะกล่าวอวด พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่มีความประสงค์จะกล่าวอวด
ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๓๓)

เรื่องความยินดี ๑ เรื่อง

สมัยนั้น พวกญาติถามภิกษุรูปหนึ่งว่า “ท่านยังยินดีอยู่หรือ” ภิกษุนั้น
ตอบว่า “อาตมายังยินดีอยู่ด้วยความยินดีเป็นอย่างยิ่ง”๑ ท่านเกิดความกังวลใจว่า
เฉพาะพระสาวกของพระผู้มีพระภาคเท่านั้นที่ควรกล่าวอย่างนั้น แต่เราไม่ได้เป็น
พระสาวกของพระผู้มีพระภาค เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบ
ทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร “ข้า
พระพุทธเจ้าไม่มีความประสงค์จะกล่าวอวด พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่มีความ
ประสงค์จะกล่าวอวด ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๓๔)

เรื่องหลีกไป ๑ เรื่อง

สมัยนั้น ภิกษุจำนวนมากจำพรรษาในอาวาสแห่งหนึ่ง ตั้งกติกากันว่า “ขอ
ให้พวกเรารู้กัน ภิกษุรูปใดหลีกไปจากอาวาสนี้ก่อน ภิกษุรูปนั้นเป็นพระอรหันต์”
ภิกษุรูปหนึ่งหลีกจากอาวาสนั้นไปก่อนด้วยต้องการให้ผู้อื่นรู้ว่าตนเป็นพระอรหันต์
ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่อง
ที่ ๓๕)

เรื่องอัฏฐิกสังขลิกเปรต ๑ เรื่อง
(เปรตมีแต่ร่างกระดูก)

[๒๒๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อ
กระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระลักขณะกับท่านพระมหาโมคคัลลานะพัก

เชิงอรรถ :
๑ ท่านยินดีในอุทเทสและปริปุจฉา (วิ.อ. ๑/๒๒๗/๕๔๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๒๒๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ วินีตวัตถุ

อยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ ครั้นเวลาเช้า พระมหาโมคคัลลานะครองอันตรวาสก ถือบาตร
และจีวรเข้าไปหาพระลักขณะจนถึงที่อยู่ เชิญชวนว่า “ท่านลักขณะมาเถิด พวกเรา
จะไปบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ด้วยกัน” พระลักขณะรับคำแล้ว
ขณะที่พระมหาโมคคัลลานะกำลังลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้
แสดงอาการแย้ม พระลักขณะถามว่า “ท่านโมคคัลลานะ อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้
ท่านแสดงอาการแย้ม”
พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า “ท่านลักขณะ ยังไม่ถึงเวลาตอบปัญหานี้ เมื่อ
เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค ค่อยถามปัญหานี้เถิด”
ครั้นท่านทั้ง ๒ เที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ กลับจากบิณฑบาตหลังจาก
ฉันอาหาร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่งลง ณ ที่สมควร
ครั้นแล้วพระลักขณะได้กล่าวขึ้นว่า “ท่านมหาโมคคัลลานะ เมื่อท่านลงจากภูเขา
คิชฌกูฏ ในกรุงราชคฤห์นี้ ถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้แสดงอาการแย้ม อะไรเป็นเหตุเป็น
ปัจจัยให้ท่านแสดงอาการแย้ม”
พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า “ท่าน เมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏได้เห็น
อัฏฐิสังขลิกเปรต ลอยขึ้นสู่กลางอากาศ ฝูงแร้ง นกกา นกเหยี่ยวพากันโฉบอยู่ขวักไขว่
จิกทึ้งยื้อแย่งเนื้อที่ติดอยู่ตามระหว่างซี่โครงสะบัดไปมาจนมันร้องครวญคราง กระ
ผมมีความรู้สึกว่า น่าอัศจรรย์จริงไม่เคยปรากฏ ที่มีสัตว์เช่นนี้ มียักษ์เช่นนี้ มีเปรต
เช่นนี้ มีการได้อัตภาพเช่นนี้อยู่”
ภิกษุทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทนาว่า “พระมหาโมคคัลลานะ
กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมารับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย
สาวกทั้งหลายที่มีจักษุญาณก็ยังมีอยู่ เพราะสาวกที่รู้ที่เห็นนี้เป็นพยานได้ เมื่อก่อน
เราก็เห็นอัฏฐิสังขลิกเปรตนั้นแต่ไม่พยากรณ์๑ เพราะการพยากรณ์นั้นจะไม่เป็น

เชิงอรรถ :
๑ พยากรณ์ หมายถึง เปิดเผยสู่สาธารณชน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๒๒๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ วินีตวัตถุ

ประโยชน์เกื้อกูลซ้ำจะเป็นทุกข์ยาวนาน แก่ผู้ที่ไม่เชื่อเรา ภิกษุทั้งหลาย เปรตนั้น
เคยเป็นคนฆ่าโคในกรุงราชคฤห์ เพราะผลกรรมนั้น จึงตกนรกหมกไหม้อยู่หลาย
ร้อยปี หลายพันปี หลายแสนปีแล้วได้มีอัตภาพเช่นนี้ เพราะเศษกรรมที่ยังเหลือ
โมคคัลลานะกล่าวจริงจึงไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๓๖)

เรื่องมังสเปสิเปรต ๑ เรื่อง
(เปรตมีแต่ร่างชิ้นเนื้อ)

[๒๒๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อ
กระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระลักขณะกับพระมหาโมคคัลลานะพักอยู่ที่
เขาคิชฌกูฏ ครั้นเวลาเช้า พระมหาโมคคัลลานะครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร
เข้าไปหาพระลักขณะจนถึงที่อยู่ เชิญชวนว่า “ท่านลักขณะ มาเถิด พวกเราจะไป
บิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ด้วยกัน” พระลักขณะรับคำแล้ว
ขณะที่พระมหาโมคคัลลานะกำลังลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้
แสดงอาการแย้ม พระลักขณะถามว่า “ท่านโมคคัลลานะ อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้
ท่านแสดงอาการแย้ม” พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า “ท่านลักขณะ ยังไม่ถึงเวลา
ตอบปัญหานี้ เมื่อเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคค่อยถามปัญหานี้เถิด”
ครั้นท่านทั้ง ๒ เที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ กลับจากบิณฑบาต หลังจาก
ฉันอาหาร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่งลง ณ ที่สมควร
ครั้นแล้วพระลักขณะได้กล่าวขึ้นว่า “ท่านมหาโมคคัลลานะ เมื่อท่านลงจากภูเขา
คิชฌกูฏ ในกรุงราชคฤห์นี้ ถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้แสดงอาการแย้ม อะไรเป็นเหตุ
เป็นปัจจัยให้ท่านแสดงอาการแย้ม”
พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า “ท่าน เมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็น
มังสเปสิเปรต ลอยขึ้นสู่กลางอากาศ ฝูงแร้ง นกกา นกเหยี่ยวพากันโฉบอยู่ขวักไขว่
จิกทึ้งยื้อแย่งเปรตนั้นสะบัดไปมาจนมันร้องครวญคราง กระผมมีความรู้สึกว่า น่า
อัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ที่มีสัตว์เช่นนี้ มียักษ์เช่นนี้ มีเปรตเช่นนี้ มีการได้
อัตภาพเช่นนี้อยู่


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ วินีตวัตถุ

ภิกษุทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทนาว่า “พระมหาโมคคัลลานะ
กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมารับสั่งว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย สาวกทั้งหลายที่มีจักษุญาณก็ยังมีอยู่ เพราะสาวกที่รู้ที่เห็นนี้เป็นพยาน
ได้ เมื่อก่อนเราก็เห็นมังสเปสิเปรตนั้นแต่ไม่พยากรณ์ เพราะการพยากรณ์นั้นจะไม่
เป็นประโยชน์เกื้อกูลซ้ำจะเป็นทุกข์ยาวนาน แก่ผู้ที่ไม่เชื่อเรา ภิกษุทั้งหลาย เปรต
นั้นเคยเป็นคนฆ่าโคอยู่ในกรุงราชคฤห์ เพราะผลกรรมนั้น จึงตกนรกหมกไหม้อยู่
หลายร้อยปี หลายพันปี หลายแสนปีแล้วได้มีอัตภาพเช่นนี้ เพราะเศษกรรมที่ยัง
เหลือ โมคคัลลานะกล่าวจริงจึงไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๓๗)

เรื่องมังสปิณฑเปรต ๑ เรื่อง
(เปรตร่างก้อนเนื้อ)

สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต
เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระลักขณะกับพระมหาโมคคัลลานะพักอยู่ที่เขา
คิชฌกูฏ ครั้นเวลาเช้า พระมหาโมคคัลลานะครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร
เข้าไปหาพระลักขณะจนถึงที่อยู่ เชิญชวนว่า “ท่านลักขณะ มาเถิด พวกเราจะไป
บิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ด้วยกัน” พระลักขณะรับคำแล้ว
ขณะที่พระมหาโมคคัลลานะกำลังลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้
แสดงอาการแย้ม พระลักขณะถามว่า “ท่านโมคคัลลานะ อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้
ท่านแสดงอาการแย้ม” พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า “ท่านลักขณะ ยังไม่ถึงเวลา
ตอบปัญหานี้ เมื่อเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคค่อยถามปัญหานี้เถิด”
ครั้นท่านทั้ง ๒ เที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ กลับจากบิณฑบาต หลัง
จากฉันอาหาร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่งลง ณ ที่
สมควร ครั้นแล้วพระลักขณะได้กล่าวขึ้นว่า “ท่านมหาโมคคัลลานะ เมื่อท่านลง
จากภูเขาคิชฌกูฏ ในกรุงราชคฤห์นี้ ถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้แสดงอาการแย้ม อะไร
เป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้ท่านแสดงอาการแย้ม”


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ วินีตวัตถุ

พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า “ท่าน เมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏได้เห็น
มังสปิณฑเปรต ลอยในอากาศ ฝูงแร้ง นกกา นกเหยี่ยวพากันโฉบอยู่ขวักไขว่จิกทึ้ง
ยื้อแย่งเปรตนั้นสะบัดไปมาจนมันร้องครวญคราง กระผมมีความรู้สึกว่า น่าอัศจรรย์
จริงไม่เคยปรากฏ ที่มีสัตว์เช่นนี้ มียักษ์เช่นนี้ มีเปรตเช่นนี้ มีการได้อัตภาพเช่นนี้อยู่”
ภิกษุทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทนาว่า “พระมหาโมคคัลลานะ
กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมารับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย
สาวกทั้งหลายที่มีจักษุญาณก็ยังมีอยู่ เพราะสาวกที่รู้ที่เห็นนี้เป็นพยานได้ เมื่อก่อน
เราก็เห็นมังสปิณฑเปรตนั้นแต่ไม่พยากรณ์ เพราะการพยากรณ์นั้นจะไม่เป็น
ประโยชน์เกื้อกูลซ้ำจะเป็นทุกข์ยาวนาน แก่ผู้ที่ไม่เชื่อเรา ภิกษุทั้งหลาย เปรตนั้น
เคยเป็นคนฆ่านกในกรุงราชคฤห์ เพราะผลกรรมนั้น จึงตกนรกหมกไหม้อยู่หลาย
ร้อยปี หลายพันปี หลายแสนปีแล้วได้มีอัตภาพเช่นนี้ เพราะเศษกรรมที่ยังเหลือ
โมคคัลลานะกล่าวจริงจึงไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๓๘)

เรื่องนิจฉวิเปรตเพศชาย ๑ เรื่อง
(เปรตร่างไม่มีผิวหนังเพศชาย)

สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต เขต
กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระลักขณะกับพระมหาโมคคัลลานะพักอยู่ที่เขาคิชฌกูฏ
ครั้นเวลาเช้า พระมหาโมคคัลลานะครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรเข้าไปหาพระ
ลักขณะจนถึงที่อยู่ เชิญชวนว่า “ท่านลักขณะ มาเถิด พวกเราจะไปบิณฑบาตในกรุง
ราชคฤห์ด้วยกัน” พระลักขณะรับคำแล้ว
ขณะที่พระมหาโมคคัลลานะกำลังลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้
แสดงอาการแย้ม พระลักขณะถามว่า “ท่านโมคคัลลานะ อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้
ท่านแสดงอาการแย้ม” พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า “ท่านลักขณะ ยังไม่ถึงเวลา
ตอบปัญหานี้ เมื่อเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคค่อยถามปัญหานี้เถิด”


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ วินีตวัตถุ

ครั้นท่านทั้ง ๒ เที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ กลับจากบิณฑบาต หลังจาก
ฉันอาหาร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่งลง ณ ที่สมควร
ครั้นแล้วพระลักขณะได้กล่าวขึ้นว่า “ท่านมหาโมคคัลลานะ เมื่อท่านลงจากภูเขา
คิชฌกูฏ ในกรุงราชคฤห์นี้ ถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้แสดงอาการแย้ม อะไรเป็นเหตุ
เป็นปัจจัยให้ท่านแสดงอาการแย้ม”
พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า “ท่านเมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏได้เห็น
นิจฉวิเปรตเพศชายลอยในอากาศ ฝูงแร้ง นกกา นกเหยี่ยวพากันโฉบอยู่ขวักไขว่จิก
ทึ้งยื้อแย่งเปรตนั้นสะบัดไปมาจนมันร้องครวญคราง กระผมมีความรู้สึกว่า น่า
อัศจรรย์จริงไม่เคยปรากฏ ที่มีสัตว์เช่นนี้ มียักษ์เช่นนี้ มีเปรตเช่นนี้ มีการได้อัตภาพ
เช่นนี้อยู่”
ภิกษุทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทนาว่า “พระมหาโมคคัลลานะ
กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมารับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย
สาวกทั้งหลายที่มีจักษุญาณก็ยังมีอยู่ เพราะสาวกที่รู้ที่เห็นนี้เป็นพยานได้ เมื่อก่อน
เราก็เห็นนิจฉวิเปรตเพศชายนั้นแต่ไม่พยากรณ์ เพราะการพยากรณ์นั้นจะไม่เป็น
ประโยชน์เกื้อกูลซ้ำจะเป็นทุกข์ยาวนานแก่ผู้ที่ไม่เชื่อเรา ภิกษุทั้งหลาย เปรตนั้นเคย
เป็นคนฆ่าแกะในกรุงราชคฤห์ เพราะผลกรรมนั้น จึงตกนรกหมกไหม้อยู่หลายร้อยปี
หลายพันปี หลายแสนปีแล้วได้มีอัตภาพเช่นนี้ เพราะเศษกรรมที่ยังเหลือ โมคคัลลา
นะกล่าวจริงจึงไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๓๙)

เรื่องอสิโลมเปรตเพศชาย ๑ เรื่อง
(เปรตร่างมีขนเป็นดาบเพศชาย)

สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต เขต
กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระลักขณะกับพระมหาโมคคัลลานะพักอยู่ที่เขาคิชฌกูฏ
ครั้นเวลาเช้า พระมหาโมคคัลลานะครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรเข้าไปหาพระ
ลักขณะจนถึงที่อยู่ เชิญชวนว่า “ท่านลักขณะ มาเถิด พวกเราจะไปบิณฑบาตในกรุง
ราชคฤห์ด้วยกัน” พระลักขณะรับคำแล้ว


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ วินีตวัตถุ

ขณะที่พระมหาโมคคัลลานะกำลังลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้
แสดงอาการแย้ม พระลักขณะถามว่า “ท่านโมคคัลลานะ อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้
ท่านแสดงอาการแย้ม” พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า “ท่านลักขณะ ยังไม่ถึงเวลา
ตอบปัญหานี้ เมื่อเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคค่อยถามปัญหานี้เถิด”
ครั้นท่านทั้ง ๒ เที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ กลับจากบิณฑบาต หลังจาก
ฉันอาหาร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่งลง ณ ที่สมควร
ครั้นแล้วพระลักขณะได้กล่าวขึ้นว่า “ท่านมหาโมคคัลลานะ เมื่อท่านลงจากภูเขา
คิชฌกูฏ ในกรุงราชคฤห์นี้ ถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้แสดงอาการแย้ม อะไรเป็นเหตุ
เป็นปัจจัยให้ท่านแสดงอาการแย้ม”
พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า “ท่านเมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏได้เห็น
อสิโลมเปรตเพศชาย ลอยในอากาศ (ขน) ดาบเหล่านั้นของมันหลุดลอยขึ้นไปแล้ว
กลับตกลงที่ร่างของมันเองจนมันร้องครวญคราง กระผมมีความรู้สึกว่า น่าอัศจรรย์
จริง ไม่เคยปรากฏ ที่มีสัตว์เช่นนี้ มียักษ์เช่นนี้ มีเปรตเช่นนี้ มีการได้อัตภาพเช่นนี้อยู่”
ภิกษุทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทนาว่า “พระมหาโมคคัลลานะ
กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมารับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย
สาวกทั้งหลายที่มีจักษุญาณก็ยังมีอยู่ เพราะสาวกที่รู้ที่เห็นนี้เป็นพยานได้ เมื่อก่อน
เราก็เห็นอสิโลมเปรตเพศชายนั้นแต่ไม่พยากรณ์ เพราะการพยากรณ์นั้นจะไม่เป็น
ประโยชน์เกื้อกูลซ้ำจะเป็นทุกข์ยาวนานแก่ผู้ที่ไม่เชื่อเรา ภิกษุทั้งหลาย เปรตนั้นเคย
เป็นคนฆ่าหมูในกรุงราชคฤห์ เพราะผลกรรมนั้น จึงตกนรกหมกไหม้อยู่หลาย
ร้อยปี หลายพันปี หลายแสนปีแล้วได้มีอัตภาพเช่นนี้ เพราะเศษกรรมที่ยังเหลือ
โมคคัลลานะกล่าวจริงจึงไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๔๐)

เรื่องสัตติโลมเปรตเพศชาย ๑ เรื่อง
(เปรตร่างมีขนเป็นหอกเพศชาย)

สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต เขต
กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระลักขณะกับพระมหาโมคคัลลานะพักอยู่ที่เขาคิชฌกูฏ


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ วินีตวัตถุ

ครั้นเวลาเช้า พระมหาโมคคัลลานะครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรเข้าไปหาพระ
ลักขณะจนถึงที่อยู่ เชิญชวนว่า “ท่านลักขณะ มาเถิด พวกเราจะไปบิณฑบาตในกรุง
ราชคฤห์ด้วยกัน” พระลักขณะรับคำแล้ว
ขณะที่พระมหาโมคคัลลานะกำลังลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้
แสดงอาการแย้ม พระลักขณะถามว่า “ท่านโมคคัลลานะ อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้
ท่านแสดงอาการแย้ม” พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า “ท่านลักขณะ ยังไม่ถึงเวลา
ตอบปัญหานี้ เมื่อเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคค่อยถามปัญหานี้เถิด”
ครั้นท่านทั้ง ๒ เที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ กลับจากบิณฑบาต หลังจาก
ฉันอาหาร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่งลง ณ ที่สมควร
ครั้นแล้วพระลักขณะได้กล่าวขึ้นว่า “ท่านมหาโมคคัลลานะ เมื่อท่านลงจากภูเขา
คิชฌกูฏ ในกรุงราชคฤห์นี้ ถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้แสดงอาการแย้ม อะไรเป็นเหตุ
เป็นปัจจัยให้ท่านแสดงอาการแย้ม”
พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า “ท่าน เมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏได้เห็น
สัตติโลมเปรตเพศชายลอยในอากาศ (ขน)หอกเหล่านั้นของมันหลุดลอยขึ้นไปแล้ว
กลับตกลงที่ร่างของมันเองจนมันร้องครวญคราง กระผมมีความรู้สึกว่า น่า
อัศจรรย์จริงไม่เคยปรากฏ ที่มีสัตว์เช่นนี้ มียักษ์เช่นนี้ มีเปรตเช่นนี้ มีการได้อัตภาพ
เช่นนี้อยู่”
ภิกษุทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทนาว่า “พระมหาโมคคัลลานะ
กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมารับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย
สาวกทั้งหลายที่มีจักษุญาณก็ยังมีอยู่ เพราะสาวกที่รู้ที่เห็นนี้เป็นพยานได้ เมื่อก่อน
เราก็เห็นสัตติโลมเปรตเพศชายนั้นแต่ไม่พยากรณ์ เพราะการพยากรณ์นั้นจะไม่เป็น
ประโยชน์เกื้อกูลซ้ำจะเป็นทุกข์ยาวนาน แก่ผู้ที่ไม่เชื่อเรา ภิกษุทั้งหลาย เปรตนั้นเคย
เป็นพรานล่าเนื้อในกรุงราชคฤห์ เพราะผลกรรมนั้น จึงตกนรกหมกไหม้อยู่หลายร้อยปี
หลายพันปี หลายแสนปีแล้วได้มีอัตภาพเช่นนี้ เพราะเศษกรรมที่ยังเหลือ
โมคคัลลานะกล่าวจริงจึงไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๔๑)


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ วินีตวัตถุ

เรื่องอุสุโลมเปรตเพศชาย ๑ เรื่อง
(เปรตร่างมีขนเป็นลูกศรเพศชาย)

สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต เขต
กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระลักขณะกับพระมหาโมคคัลลานะพักอยู่ที่เขาคิชฌกูฏ
ครั้นเวลาเช้า พระมหาโมคคัลลานะครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรเข้าไปหาพระ
ลักขณะจนถึงที่อยู่ เชิญชวนว่า “ท่านลักขณะ มาเถิด พวกเราจะไปบิณฑบาตในกรุง
ราชคฤห์ด้วยกัน” พระลักขณะรับคำแล้ว
ขณะที่พระมหาโมคคัลลานะกำลังลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้
แสดงอาการแย้ม พระลักขณะถามว่า “ท่านโมคคัลลานะ อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้
ท่านแสดงอาการแย้ม” พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า “ท่านลักขณะ ยังไม่ถึงเวลา
ตอบปัญหานี้ เมื่อเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคค่อยถามปัญหานี้เถิด”
ครั้นท่านทั้ง ๒ เที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ กลับจากบิณฑบาต หลังจาก
ฉันอาหาร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่งลง ณ ที่สมควร
ครั้นแล้วพระลักขณะได้กล่าวขึ้นว่า “ท่านมหาโมคคัลลานะ เมื่อท่านลงจากภูเขา
คิชฌกูฏ ในกรุงราชคฤห์นี้ ถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้แสดงอาการแย้ม อะไรเป็นเหตุ
เป็นปัจจัยให้ท่านแสดงอาการแย้ม”
พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า “ท่าน เมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏได้เห็น
อุสุโลมเปรตเพศชาย ลอยในอากาศ (ขน)ลูกศรเหล่านั้นของมันหลุดลอยขึ้นไปแล้ว
กลับตกลงที่ร่างของมันเองจนมันร้องครวญคราง กระผมมีความรู้สึกว่า น่าอัศจรรย์
จริงไม่เคยปรากฏ ที่มีสัตว์เช่นนี้ มียักษ์เช่นนี้ มีเปรตเช่นนี้ มีการได้อัตภาพเช่นนี้อยู่”
ภิกษุทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทนาว่า “พระมหาโมคคัลลานะ
กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมารับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย
สาวกทั้งหลายที่มีจักษุญาณก็ยังมีอยู่ เพราะสาวกที่รู้ที่เห็นนี้เป็นพยานได้ เมื่อก่อน


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ วินีตวัตถุ

เราก็เห็นอุสุโลมเปรตเพศชายนั้นแต่ไม่พยากรณ์ เพราะการพยากรณ์นั้นจะไม่เป็น
ประโยชน์เกื้อกูลซ้ำจะเป็นทุกข์ยาวนานแก่ผู้ที่ไม่เชื่อเรา ภิกษุทั้งหลาย เปรตนั้นเคย
เป็นเพชฌฆาตอยู่ในกรุงราชคฤห์ เพราะผลกรรมนั้น จึงตกนรกหมกไหม้อยู่หลาย
ร้อยปี หลายพันปี หลายแสนปีแล้วได้มีอัตภาพเช่นนี้ เพราะเศษกรรมที่ยังเหลือ
โมคคัลลานะกล่าวจริงจึงไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๔๒)

เรื่องสูจิโลมเปรตเพศชาย ๑ เรื่อง
(เปรตร่างมีขนเป็นเข็มเพศชาย)

สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต เขต
กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระลักขณะกับพระมหาโมคคัลลานะพักอยู่ที่เขาคิชฌกูฏ
ครั้นเวลาเช้า พระมหาโมคคัลลานะครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรเข้าไปหาพระ
ลักขณะจนถึงที่อยู่ เชิญชวนว่า “ท่านลักขณะ มาเถิด พวกเราจะไปบิณฑบาตในกรุง
ราชคฤห์ด้วยกัน” พระลักขณะรับคำแล้ว
ขณะที่พระมหาโมคคัลลานะกำลังลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้
แสดงอาการแย้ม พระลักขณะถามว่า “ท่านโมคคัลลานะ อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้
ท่านแสดงอาการแย้ม” พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า “ท่านลักขณะ ยังไม่ถึงเวลา
ตอบปัญหานี้ เมื่อเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคค่อยถามปัญหานี้เถิด”
ครั้นท่านทั้ง ๒ เที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ กลับจากบิณฑบาต หลังจาก
ฉันอาหาร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่งลง ณ ที่สมควร
ครั้นแล้วพระลักขณะได้กล่าวขึ้นว่า “ท่านมหาโมคคัลลานะ เมื่อท่านลงจากภูเขา
คิชฌกูฏ ในกรุงราชคฤห์นี้ ถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้แสดงอาการแย้ม อะไรเป็นเหตุ
เป็นปัจจัยให้ท่านแสดงอาการแย้ม”
พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า “ท่าน เมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏได้เห็น
สูจิโลมเปรตเพศชาย ลอยในอากาศ (ขน)เข็มเหล่านั้นของมันหลุดลอยขึ้นไปแล้ว
กลับตกลงที่ร่างของมันเองจนมันร้องครวญคราง กระผมมีความรู้สึกว่า น่าอัศจรรย์
จริง ไม่เคยปรากฏ ที่มีสัตว์เช่นนี้ มียักษ์เช่นนี้ มีเปรตเช่นนี้ มีการได้อัตภาพเช่นนี้อยู่”


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ วินีตวัตถุ

ภิกษุทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทนาว่า “พระมหาโมคคัลลานะ
กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมารับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย
สาวกทั้งหลายที่มีจักษุญาณก็ยังมีอยู่ เพราะสาวกที่รู้ที่เห็นนี้เป็นพยานได้ เมื่อก่อน
เราก็เห็นสูจิโลมเปรตเพศชายนั้นแต่ไม่พยากรณ์ เพราะการพยากรณ์นั้นจะไม่เป็น
ประโยชน์เกื้อกูลซ้ำจะเป็นทุกข์ยาวนานแก่ผู้ที่ไม่เชื่อเรา ภิกษุทั้งหลาย เปรตนั้นเคย
เป็นนายสารถีอยู่ในกรุงราชคฤห์ เพราะผลกรรมนั้น จึงตกนรกหมกไหม้อยู่หลายร้อยปี
หลายพันปี หลายแสนปีแล้วได้มีอัตภาพเช่นนี้ เพราะเศษกรรมที่ยังเหลือ
โมคคัลลานะกล่าวจริงจึงไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๔๓)

เรื่องสูจกเปรตเพศชาย ๑ เรื่อง
(เปรตมีร่างถูกเข็มหมุดทิ่มแทงเพศชาย)

สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต เขต
กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระลักขณะกับพระมหาโมคคัลลานะพักอยู่ที่เขาคิชฌกูฏ
ครั้นเวลาเช้า พระมหาโมคคัลลานะครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรเข้าไปหาพระ
ลักขณะจนถึงที่อยู่ เชิญชวนว่า “ท่านลักขณะ มาเถิด พวกเราจะไปบิณฑบาตในกรุง
ราชคฤห์ด้วยกัน” พระลักขณะรับคำแล้ว
ขณะที่พระมหาโมคคัลลานะกำลังลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้
แสดงอาการแย้ม พระลักขณะถามว่า “ท่านโมคคัลลานะ อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้
ท่านแสดงอาการแย้ม” พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า “ท่านลักขณะ ยังไม่ถึงเวลา
ตอบปัญหานี้ เมื่อเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคค่อยถามปัญหานี้เถิด”
ครั้นท่านทั้ง ๒ เที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ กลับจากบิณฑบาต หลังจาก
ฉันอาหาร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่งลง ณ ที่สมควร
ครั้นแล้วพระลักขณะได้กล่าวขึ้นว่า “ท่านมหาโมคคัลลานะ เมื่อท่านลงจากภูเขา
คิชฌกูฏ ในกรุงราชคฤห์นี้ ถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้แสดงอาการแย้ม อะไรเป็นเหตุ
เป็นปัจจัยให้ท่านแสดงอาการแย้ม”


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ วินีตวัตถุ

พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า “ท่าน เมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏได้เห็น
สูจกเปรตเพศชาย ลอยในอากาศ เข็มหมุดเหล่านั้นแทงเข้าในศีรษะของมันทะลุออก
ทางปาก แทงเข้าไปในปากทะลุออกทางอก แทงเข้าในอกทะลุออกทางท้อง แทงเข้า
ในท้องทะลุออกทางขาอ่อนทั้ง ๒ แทงเข้าในขาอ่อนทะลุออกทางแข้งทั้ง ๒ แทง
เข้าในแข้งทะลุออกทางเท้าทั้ง ๒ จนมันร้องครวญคราง กระผมมีความรู้สึกว่า น่า
อัศจรรย์จริงไม่เคยปรากฏ ที่มีสัตว์เช่นนี้ มียักษ์เช่นนี้ มีเปรตเช่นนี้ มีการได้อัตภาพ
เช่นนี้อยู่”
ภิกษุทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทนาว่า “พระมหาโมคคัลลานะ
กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมารับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย
สาวกทั้งหลายที่มีจักษุญาณก็ยังมีอยู่ เพราะสาวกที่รู้ที่เห็นนี้เป็นพยานได้ เมื่อก่อน
เราก็เห็นสูจกเปรตเพศชายนั้นแต่ไม่พยากรณ์ เพราะการพยากรณ์นั้นจะไม่เป็น
ประโยชน์เกื้อกูลซ้ำจะเป็นทุกข์ยาวนานแก่ผู้ที่ไม่เชื่อเรา ภิกษุทั้งหลาย เปรตนั้นเคย
เป็นคนพูดส่อเสียดอยู่ในกรุงราชคฤห์ เพราะผลกรรมนั้น จึงตกนรกหมกไหม้อยู่
หลายร้อยปี หลายพันปี หลายแสนปีแล้วได้มีอัตภาพเช่นนี้ เพราะเศษกรรมที่ยังเหลือ
โมคคัลลานะกล่าวจริงจึงไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๔๔)

เรื่องกุมภัณฑเปรต ๑ เรื่อง
(เปรตมีอัณฑะโตเท่าหม้อ)

สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต เขต
กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระลักขณะกับพระมหาโมคคัลลานะพักอยู่ที่เขาคิชฌกูฏ
ครั้นเวลาเช้า พระมหาโมคคัลลานะครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรเข้าไปหาพระ
ลักขณะจนถึงที่อยู่ เชิญชวนว่า “ท่านลักขณะ มาเถิด พวกเราจะไปบิณฑบาตในกรุง
ราชคฤห์ด้วยกัน” พระลักขณะรับคำแล้ว
ขณะที่พระมหาโมคคัลลานะกำลังลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้
แสดงอาการแย้ม พระลักขณะถามว่า “ท่านโมคคัลลานะ อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้
ท่านแสดงอาการแย้ม” พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า “ท่านลักขณะ ยังไม่ถึงเวลา
ตอบปัญหานี้ เมื่อเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคค่อยถามปัญหานี้เถิด”


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ วินีตวัตถุ

ครั้นท่านทั้ง ๒ เที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ กลับจากบิณฑบาต หลังจาก
ฉันอาหาร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่งลง ณ ที่สมควร
ครั้นแล้วพระลักขณะได้กล่าวขึ้นว่า “ท่านมหาโมคคัลลานะ เมื่อท่านลงจากภูเขา
คิชฌกูฏ ในกรุงราชคฤห์นี้ ถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้แสดงอาการแย้ม อะไรเป็นเหตุ
เป็นปัจจัยให้ท่านแสดงอาการแย้ม”
พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า “ท่าน เมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏได้เห็น
กุมภัณฑเปรตเพศชาย ลอยในอากาศ เมื่อเปรตนั้นเดินก็ยกอัณฑะเหล่านั้นขึ้นพาด
ไว้บนบ่าไป เมื่อนั่งก็นั่งทับอัณฑะเหล่านั้น ฝูงแร้ง นกกา นกเหยี่ยวพากันโฉบอยู่
ขวักไขว่จิกทึ้งยื้อแย่งเปรตนั้นสะบัดไปมาจนมันร้องครวญคราง กระผมมีความรู้สึกว่า
น่าอัศจรรย์จริงไม่เคยปรากฏ ที่มีสัตว์เช่นนี้ มียักษ์เช่นนี้ มีเปรตเช่นนี้ มีการได้
อัตภาพเช่นนี้อยู่”
ภิกษุทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทนาว่า “พระมหาโมคคัลลานะ
กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมารับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย
สาวกทั้งหลายที่มีจักษุญาณก็ยังมีอยู่ เพราะสาวกที่รู้ที่เห็นนี้เป็นพยานได้ เมื่อก่อน
เราก็เห็นกุมภัณฑเปรตเพศชายนั้นแต่ไม่พยากรณ์ เพราะการพยากรณ์นั้นจะไม่เป็น
ประโยชน์เกื้อกูลซ้ำจะเป็นทุกข์ยาวนานแก่ผู้ที่ไม่เชื่อเรา ภิกษุทั้งหลาย เปรตนั้นเคย
เป็นผู้พิพากษาโกงชาวบ้านอยู่ในกรุงราชคฤห์ เพราะผลกรรมนั้น จึงตกนรกหมก
ไหม้อยู่หลายร้อยปี หลายพันปี หลายแสนปีแล้วได้มีอัตภาพเช่นนี้ เพราะเศษกรรม
ที่ยังเหลือ โมคคัลลานะกล่าวจริงจึงไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๔๕)

เรื่องเปรตจมหลุมคูถเพศชาย ๑ เรื่อง

สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต เขต
กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระลักขณะกับพระมหาโมคคัลลานะพักอยู่ที่เขาคิชฌกูฏ
ครั้นเวลาเช้า พระมหาโมคคัลลานะครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรเข้าไปหาพระ
ลักขณะจนถึงที่อยู่ เชิญชวนว่า “ท่านลักขณะ มาเถิด พวกเราจะไปบิณฑบาตในกรุง
ราชคฤห์ด้วยกัน” พระลักขณะรับคำแล้ว


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ วินีตวัตถุ

ขณะที่พระมหาโมคคัลลานะกำลังลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้
แสดงอาการแย้ม พระลักขณะถามว่า “ท่านโมคคัลลานะ อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้
ท่านแสดงอาการแย้ม” พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า “ท่านลักขณะ ยังไม่ถึงเวลา
ตอบปัญหานี้ เมื่อเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคค่อยถามปัญหานี้เถิด”
ครั้นท่านทั้ง ๒ เที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ กลับจากบิณฑบาต หลังจาก
ฉันอาหาร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่งลง ณ ที่สมควร
ครั้นแล้วพระลักขณะได้กล่าวขึ้นว่า “ท่านมหาโมคคัลลานะ เมื่อท่านลงจากภูเขา
คิชฌกูฏ ในกรุงราชคฤห์นี้ ถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้แสดงอาการแย้ม อะไรเป็นเหตุ
เป็นปัจจัยให้ท่านแสดงอาการแย้ม”
พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า “ท่าน เมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็น
เปรตจมหลุมคูถจนมิดศีรษะ เพศชาย ลอยในอากาศ ฝูงแร้ง นกกา นกเหยี่ยวพา
กันโฉบอยู่ขวักไขว่จิกทึ้งยื้อแย่งเปรตนั้นสะบัดไปมาจนมันร้องครวญคราง กระผมมี
ความรู้สึกว่า น่าอัศจรรย์จริงไม่เคยปรากฏ ที่มีสัตว์เช่นนี้ มียักษ์เช่นนี้ มีเปรตเช่นนี้
มีการได้อัตภาพเช่นนี้อยู่”
ภิกษุทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทนาว่า “พระมหาโมคคัลลานะ
กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมารับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย
สาวกทั้งหลายที่มีจักษุญาณก็ยังมีอยู่ เพราะสาวกที่รู้ที่เห็นนี้เป็นพยานได้ เมื่อก่อน
เราก็เห็นเปรตจมหลุมคูถเพศชายนั้นแต่ไม่พยากรณ์ เพราะการพยากรณ์นั้นจะไม่
เป็นประโยชน์เกื้อกูลซ้ำจะเป็นทุกข์ยาวนานแก่ผู้ที่ไม่เชื่อเรา ภิกษุทั้งหลาย เปรตนั้น
เคยเป็นชู้กับภรรยาของชายอื่นอยู่ในกรุงราชคฤห์ เพราะผลกรรมนั้น จึงตกนรก
หมกไหม้อยู่หลายร้อยปี หลายพันปี หลายแสนปีแล้วได้มีอัตภาพเช่นนี้ เพราะเศษ
กรรมที่ยังเหลือ โมคคัลลานะกล่าวจริงจึงไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๔๖)

เรื่องเปรตกินคูถเพศชาย ๑ เรื่อง

สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต เขต
กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระลักขณะกับพระมหาโมคคัลลานะพักอยู่ที่เขาคิชฌกูฏ


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ วินีตวัตถุ

ครั้นเวลาเช้า พระมหาโมคคัลลานะครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรเข้าไปหาพระ
ลักขณะจนถึงที่อยู่ เชิญชวนว่า “ท่านลักขณะ มาเถิด พวกเราจะไปบิณฑบาตในกรุง
ราชคฤห์ด้วยกัน” พระลักขณะรับคำแล้ว
ขณะที่พระมหาโมคคัลลานะกำลังลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้
แสดงอาการแย้ม พระลักขณะถามว่า “ท่านโมคคัลลานะ อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้
ท่านแสดงอาการแย้ม” พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า “ท่านลักขณะ ยังไม่ถึงเวลา
ตอบปัญหานี้ เมื่อเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคค่อยถามปัญหานี้เถิด”
ครั้นท่านทั้ง ๒ เที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ กลับจากบิณฑบาต หลังจาก
ฉันอาหาร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่งลง ณ ที่สมควร
ครั้นแล้วพระลักขณะได้กล่าวขึ้นว่า “ท่านมหาโมคคัลลานะ เมื่อท่านลงจากภูเขา
คิชฌกูฏ ในกรุงราชคฤห์นี้ ถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้แสดงอาการแย้ม อะไรเป็นเหตุ
เป็นปัจจัยให้ท่านแสดงอาการแย้ม”
พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า “ท่าน เมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็น
เปรตผู้จมหลุมคูถท่วมศีรษะ กำลังใช้มือทั้ง ๒ กอบคูถกินเพศชาย ลอยในอากาศ
ฝูงแร้ง นกกา นกเหยี่ยวพากันโฉบอยู่ขวักไขว่จิกทึ้งยื้อแย่งเปรตนั้นสะบัดไปมาจน
มันร้องครวญคราง กระผมมีความรู้สึกว่า น่าอัศจรรย์จริงไม่เคยปรากฏ ที่มีสัตว์
เช่นนี้ มียักษ์เช่นนี้ มีเปรตเช่นนี้ มีการได้อัตภาพเช่นนี้อยู่”
ภิกษุทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทนาว่า “พระมหาโมคคัลลานะ
กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมารับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย
สาวกทั้งหลายที่มีจักษุญาณก็ยังมีอยู่ เพราะสาวกที่รู้ที่เห็นนี้เป็นพยานได้ เมื่อก่อน
เราก็เห็นเปรตกินคูถเพศชายนั้นแต่ไม่พยากรณ์ เพราะการพยากรณ์นั้นจะไม่เป็น
ประโยชน์เกื้อกูลซ้ำจะเป็นทุกข์ยาวนานแก่ผู้ที่ไม่เชื่อเรา ภิกษุทั้งหลาย เปรตนั้นเคย
เป็นพราหมณ์ชั่วร้ายอยู่ในกรุงราชคฤห์
ครั้งศาสนาพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า พราหมณ์นั้นนิมนต์ภิกษุสงฆ์ฉัน
ภัตตาหารแล้วเทคูถลงใส่รางจนเต็ม สั่งให้บอกเวลาอาหารว่า ขอท่านผู้เจริญ


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ วินีตวัตถุ

ทั้งหลายจงฉันอาหารและนำไปให้พอแก่ความต้องการจากที่นี้ เพราะผลกรรมนั้นจึง
ตกนรกหมกไหม้อยู่หลายร้อยปี หลายพันปี หลายแสนปี แล้วได้รับอัตภาพเช่นนี้
เพราะเศษกรรมนั้น โมคคัลลานะกล่าวจริงจึงไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๔๗)

เรื่องนิจฉวิเปรตเพศหญิง ๑ เรื่อง
(เปรตร่างไม่มีผิวหนังเพศหญิง)

[๒๓๐] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อ
กระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระลักขณะกับพระมหาโมคคัลลานะพักอยู่ที่
เขาคิชฌกูฏ ครั้นเวลาเช้า พระมหาโมคคัลลานะครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร
เข้าไปหาพระลักขณะจนถึงที่อยู่ เชิญชวนว่า “ท่านลักขณะ มาเถิด พวกเราจะไป
บิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ด้วยกัน” พระลักขณะรับคำแล้ว
ขณะที่พระมหาโมคคัลลานะกำลังลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้
แสดงอาการแย้ม พระลักขณะถามว่า “ท่านโมคคัลลานะ อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้
ท่านแสดงอาการแย้ม” พระมหาโมคคัลลานะ ตอบว่า “ท่านลักขณะ ยังไม่ถึงเวลา
ตอบปัญหานี้ เมื่อเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคค่อยถามปัญหานี้เถิด”
ครั้นท่านทั้ง ๒ เที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ กลับจากบิณฑบาต หลังจาก
ฉันอาหาร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่งลง ณ ที่สมควร
ครั้นแล้วพระลักขณะได้กล่าวขึ้นว่า “ท่านมหาโมคคัลลานะ เมื่อท่านลงจากภูเขา
คิชฌกูฏ ในกรุงราชคฤห์นี้ ถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้แสดงอาการแย้ม อะไรเป็นเหตุเป็น
ปัจจัยให้ท่านแสดงอาการแย้ม”
พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า “ท่านเมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏได้เห็น
นิจฉวิเปรตเพศหญิง ลอยในอากาศ ฝูงแร้ง นกกา นกเหยี่ยวพากันโฉบอยู่ขวักไขว่
จิกทึ้งยื้อแย่งเปรตนั้นสะบัดไปมาจนมันร้องครวญคราง กระผมมีความรู้สึกว่า น่า
อัศจรรย์จริงไม่เคยปรากฏ ที่มีสัตว์เช่นนี้ มียักษ์เช่นนี้ มีเปรตเช่นนี้ มีการได้อัตภาพ
เช่นนี้อยู่”
ภิกษุทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทนาว่า “พระมหาโมคคัลลานะ
กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม”


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ วินีตวัตถุ

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมารับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย
สาวกทั้งหลายที่มีจักษุญาณก็ยังมีอยู่ เพราะสาวกที่รู้ที่เห็นนี้เป็นพยานได้ เมื่อก่อน
เราก็เห็นนิจฉวิเปรตเพศหญิงนั้นแต่ไม่พยากรณ์ เพราะการพยากรณ์นั้นจะไม่เป็น
ประโยชน์เกื้อกูลซ้ำจะเป็นทุกข์ยาวนานแก่ผู้ที่ไม่เชื่อเรา ภิกษุทั้งหลาย เปรตหญิงตน
นั้นเคยประพฤตินอกใจสามีอยู่ในกรุงราชคฤห์ เพราะผลกรรมนั้น จึงตกนรกหมก
ไหม้อยู่หลายร้อยปี หลายพันปี หลายแสนปีแล้วได้มีอัตภาพเช่นนี้ เพราะเศษกรรม
ที่ยังเหลือ โมคคัลลานะกล่าวจริงจึงไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๔๘)

เรื่องมังคุลิเปรตเพศหญิง ๑ เรื่อง
(เปรตรูปร่างน่าเกลียดเพศหญิง)

สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต เขต
กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระลักขณะกับพระมหาโมคคัลลานะพักอยู่ที่เขาคิชฌกูฏ
ครั้นเวลาเช้า พระมหาโมคคัลลานะครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรเข้าไปหาพระ
ลักขณะจนถึงที่อยู่ เชิญชวนว่า “ท่านลักขณะ มาเถิด พวกเราจะไปบิณฑบาตในกรุง
ราชคฤห์ด้วยกัน” พระลักขณะรับคำแล้ว
ขณะที่พระมหาโมคคัลลานะกำลังลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้
แสดงอาการแย้ม พระลักขณะถามว่า “ท่านโมคคัลลานะ อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้
ท่านแสดงอาการแย้ม” พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า “ท่านลักขณะ ยังไม่ถึงเวลา
ตอบปัญหานี้ เมื่อเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคค่อยถามปัญหานี้เถิด”
ครั้นท่านทั้ง ๒ เที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ กลับจากบิณฑบาต หลังจาก
ฉันอาหาร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่งลง ณ ที่สมควร
ครั้นแล้วพระลักขณะได้กล่าวขึ้นว่า “ท่านมหาโมคคัลลานะ เมื่อท่านลงจากภูเขา
คิชฌกูฏ ในกรุงราชคฤห์นี้ ถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้แสดงอาการแย้ม อะไรเป็นเหตุเป็น
ปัจจัยให้ท่านแสดงอาการแย้ม”
พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า “ท่าน เมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏได้เห็น
มังคุลิเปรต กลิ่นเหม็น เพศหญิง ลอยในอากาศ ฝูงแร้ง นกกา นกเหยี่ยว พากัน


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ วินีตวัตถุ

โฉบอยู่ขวักไขว่จิกทึ้งยื้อแย่งเปรตนั้นสะบัดไปมาจนมันร้องครวญคราง กระผมมี
ความรู้สึกว่า น่าอัศจรรย์จริงไม่เคยปรากฏ ที่มีสัตว์เช่นนี้ มียักษ์เช่นนี้ มีเปรตเช่น
นี้ มีการได้อัตภาพเช่นนี้อยู่”
ภิกษุทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทนาว่า “พระมหาโมคคัลลานะ
กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมารับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย
สาวกทั้งหลายที่มีจักษุญาณก็ยังมีอยู่ เพราะสาวกที่รู้ที่เห็นนี้เป็นพยานได้ เมื่อก่อน
เราก็เห็นมังคุลิเปรตเพศหญิงนั้นแต่ไม่พยากรณ์ เพราะการพยากรณ์นั้นจะไม่เป็น
ประโยชน์เกื้อกูลซ้ำจะเป็นทุกข์ยาวนานแก่ผู้ที่ไม่เชื่อเรา ภิกษุทั้งหลาย เปรตหญิงตน
นั้นเคยเป็นแม่มดอยู่ในกรุงราชคฤห์ เพราะผลกรรมนั้น จึงตกนรกหมกไหม้อยู่
หลายร้อยปี หลายพันปี หลายแสนปีแล้วได้มีอัตภาพเช่นนี้ เพราะเศษกรรมที่ยัง
เหลือ โมคคัลลานะกล่าวจริงจึงไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๔๙)

เรื่องโอกิรินีเปรตเพศหญิง ๑ เรื่อง
(เปรตร่างถูกไฟลวกเพศหญิง)

สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต เขต
กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระลักขณะกับพระมหาโมคคัลลานะพักอยู่ที่เขาคิชฌกูฏ
ครั้นเวลาเช้า พระมหาโมคคัลลานะครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรเข้าไปหาพระ
ลักขณะจนถึงที่อยู่ เชิญชวนว่า “ท่านลักขณะ มาเถิด พวกเราจะไปบิณฑบาตในกรุง
ราชคฤห์ด้วยกัน” พระลักขณะรับคำแล้ว
ขณะที่พระมหาโมคคัลลานะกำลังลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้
แสดงอาการแย้ม พระลักขณะถามว่า “ท่านโมคคัลลานะ อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้
ท่านแสดงอาการแย้ม” พระมหาโมคคัลลานะ ตอบว่า “ท่านลักขณะ ยังไม่ถึงเวลา
ตอบปัญหานี้ เมื่อเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคค่อยถามปัญหานี้เถิด”
ครั้นท่านทั้ง ๒ เที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ กลับจากบิณฑบาต หลังจาก
ฉันอาหาร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่งลง ณ ที่สมควร


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ วินีตวัตถุ

ครั้นแล้วพระลักขณะได้กล่าวขึ้นว่า “ท่านมหาโมคคัลลานะ เมื่อท่านลงจากภูเขา
คิชฌกูฏ ในกรุงราชคฤห์นี้ ถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้แสดงอาการแย้ม อะไรเป็นเหตุเป็น
ปัจจัยให้ท่านแสดงอาการแย้ม”
พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า “ท่านเมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็น
โอกิรินีเปรตเพศหญิง ถูกถ่านเพลิงเผารอบตัวจนสุกเยิ้ม หยาดน้ำไหลหยดลง ลอย
ในอากาศ มันร้องครวญคราง ฝูงแร้ง นกกา นกเหยี่ยวพากันโฉบอยู่ขวักไขว่จิกทึ้ง
ยื้อแย่งเปรตนั้นสะบัดไปมาจนมันร้องครวญคราง กระผมมีความรู้สึกว่า น่า
อัศจรรย์จริงไม่เคยปรากฏ ที่มีสัตว์เช่นนี้ มียักษ์เช่นนี้ มีเปรตเช่นนี้ มีการได้
อัตภาพเช่นนี้อยู่”
ภิกษุทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทนาว่า “พระมหาโมคคัลลานะ
กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมารับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย
สาวกทั้งหลายที่มีจักษุญาณก็ยังมีอยู่ เพราะสาวกที่รู้ที่เห็นนี้เป็นพยานได้ เมื่อก่อน
เราก็เห็นโอกิรินีเปรตเพศหญิงนั้นแต่ไม่พยากรณ์ เพราะการพยากรณ์นั้นจะไม่เป็น
ประโยชน์เกื้อกูลซ้ำจะเป็นทุกข์ยาวนานแก่ผู้ที่ไม่เชื่อเรา ภิกษุทั้งหลาย เปรตหญิงตน
นั้นเคยเป็นพระอัครมเหสีของพระเจ้ากาลิงคะ นางขี้หึงเอากระทะมีถ่านไฟคลอก
หญิงคู่แข่ง เพราะผลกรรมนั้น จึงตกนรกหมกไหม้อยู่หลายร้อยปี หลายพันปี หลาย
แสนปีแล้วได้มีอัตภาพเช่นนี้ เพราะเศษกรรมที่ยังเหลือ โมคคัลลานะกล่าวจริงจึงไม่
ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๕๐)

เรื่องกพันธเปรต ๑ เรื่อง
(เปรตศีรษะขาด)

สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต เขต
กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระลักขณะกับพระมหาโมคคัลลานะพักอยู่ที่เขาคิชฌกูฏ
ครั้นเวลาเช้า พระมหาโมคคัลลานะครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรเข้าไปหาพระ
ลักขณะจนถึงที่อยู่ เชิญชวนว่า “ท่านลักขณะ มาเถิด พวกเราจะไปบิณฑบาตในกรุง
ราชคฤห์ด้วยกัน” พระลักขณะรับคำแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๒๓๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ วินีตวัตถุ

ขณะที่พระมหาโมคคัลลานะกำลังลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้
แสดงอาการแย้ม พระลักขณะถามว่า “ท่านโมคคัลลานะ อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้
ท่านแสดงอาการแย้ม” พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า “ท่านลักขณะ ยังไม่ถึงเวลา
ตอบปัญหานี้ เมื่อเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคค่อยถามปัญหานี้เถิด”
ครั้นท่านทั้ง ๒ เที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ กลับจากบิณฑบาต หลังจาก
ฉันอาหาร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่งลง ณ ที่สมควร
ครั้นแล้วพระลักขณะได้กล่าวขึ้นว่า “ท่านมหาโมคคัลลานะ เมื่อท่านลงจากภูเขา
คิชฌกูฏ ในกรุงราชคฤห์นี้ ถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้แสดงอาการแย้ม อะไรเป็นเหตุ
เป็นปัจจัยให้ท่านแสดงอาการแย้ม”
พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า “ท่าน เมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏได้เห็น
กพันธเปรตลอยในอากาศ ตาและปากของมันอยู่ที่อก ฝูงแร้ง นกกา นกเหยี่ยวพา
กันโฉบอยู่ขวักไขว่จิกทึ้งยื้อแย่งเปรตนั้นสะบัดไปมาจนมันร้องครวญคราง กระผมมี
ความรู้สึกว่า น่าอัศจรรย์จริงไม่เคยปรากฏ ที่มีสัตว์เช่นนี้ มียักษ์เช่นนี้ มีเปรตเช่นนี้
มีการได้อัตภาพเช่นนี้อยู่”
ภิกษุทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทนาว่า “พระมหาโมคคัลลานะ
กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมารับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย
สาวกทั้งหลายที่มีจักษุญาณก็ยังมีอยู่ เพราะสาวกที่รู้ที่เห็นนี้เป็นพยานได้ เมื่อก่อน
เราก็เห็นกพันธเปรตนั้นแต่ไม่พยากรณ์ เพราะการพยากรณ์นั้นจะไม่เป็นประโยชน์
เกื้อกูลซ้ำจะเป็นทุกข์ยาวนานแก่ผู้ที่ไม่เชื่อเรา ภิกษุทั้งหลาย เปรตนั้นเคยเป็น
เพชฌฆาตฆ่าโจรชื่อทามริกะอยู่ในกรุงราชคฤห์ เพราะผลกรรมนั้น จึงตกนรกหมก
ไหม้อยู่หลายร้อยปี หลายพันปี หลายแสนปีแล้วได้มีอัตภาพเช่นนี้ เพราะเศษกรรม
ที่ยังเหลือ โมคคัลลานะกล่าวจริงจึงไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๕๑)


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ วินีตวัตถุ

เรื่องนักบวชทำกรรมชั่วในศาสนาของพระพุทธเจ้ากัสสปะ ๕ เรื่อง คือ
เรื่องเปรตมีรูปเป็นภิกษุ ๑ เรื่อง

สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต เขต
กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระลักขณะกับพระมหาโมคคัลลานะพักอยู่ที่เขาคิชฌกูฏ
ครั้นเวลาเช้า พระมหาโมคคัลลานะครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรเข้าไปหาพระ
ลักขณะจนถึงที่อยู่ เชิญชวนว่า “ท่านลักขณะ มาเถิด พวกเราจะไปบิณฑบาตในกรุง
ราชคฤห์ด้วยกัน” พระลักขณะรับคำแล้ว
ขณะที่พระมหาโมคคัลลานะกำลังลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้
แสดงอาการแย้ม พระลักขณะถามว่า “ท่านโมคคัลลานะ อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้
ท่านแสดงอาการแย้ม” พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า “ท่านลักขณะ ยังไม่ถึงเวลา
ตอบปัญหานี้ เมื่อเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคค่อยถามปัญหานี้เถิด”
ครั้นท่านทั้ง ๒ เที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ กลับจากบิณฑบาต หลังจาก
ฉันอาหาร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่งลง ณ ที่สมควร
ครั้นแล้วพระลักขณะได้กล่าวขึ้นว่า “ท่านมหาโมคคัลลานะ เมื่อท่านลงจากภูเขา
คิชฌกูฏ ในกรุงราชคฤห์นี้ ถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้แสดงอาการแย้ม อะไรเป็นเหตุเป็น
ปัจจัยให้ท่านแสดงอาการแย้ม”
พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า “ท่าน เมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็น
ภิกษุเปรตลอยในอากาศ สังฆาฏิ บาตร ประคตเอว และร่างกายของมันถูกไฟติดลุก
โชนจนมันร้องครวญคราง กระผมมีความรู้สึกว่า น่าอัศจรรย์จริงไม่เคยปรากฏ ที่มี
สัตว์เช่นนี้ มียักษ์เช่นนี้ มีเปรตเช่นนี้ มีการได้อัตภาพเช่นนี้อยู่”
ภิกษุทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทนาว่า “พระมหาโมคคัลลานะ
กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมารับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย
สาวกทั้งหลายที่มีจักษุญาณก็ยังมีอยู่ เพราะสาวกที่รู้ที่เห็นนี้เป็นพยานได้ เมื่อก่อน
เราก็เห็นภิกษุเปรตนั้นแต่ไม่พยากรณ์ เพราะการพยากรณ์นั้นจะไม่เป็นประโยชน์


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ วินีตวัตถุ

เกื้อกูลซ้ำจะเป็นทุกข์ยาวนาน แก่ผู้ที่ไม่เชื่อเรา ภิกษุทั้งหลาย เปรตนั้นเคยเป็นภิกษุ
ชั่วในศาสนาพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะผลกรรมนั้น จึงตกนรกหมกไหม้อยู่
หลายร้อยปี หลายพันปี หลายแสนปีแล้วได้มีอัตภาพเช่นนี้ เพราะเศษกรรมที่ยังเหลือ
โมคคัลลานะกล่าวจริงจึงไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๕๒)

เรื่องเปรตมีรูปเป็นภิกษุณี ๑ เรื่อง

สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต เขต
กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระลักขณะกับพระมหาโมคคัลลานะพักอยู่ที่เขาคิชฌกูฏ
ครั้นเวลาเช้า พระมหาโมคคัลลานะครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรเข้าไปหาพระ
ลักขณะจนถึงที่อยู่ เชิญชวนว่า “ท่านลักขณะ มาเถิด พวกเราจะไปบิณฑบาตในกรุง
ราชคฤห์ด้วยกัน” พระลักขณะรับคำแล้ว
ขณะที่พระมหาโมคคัลลานะกำลังลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้
แสดงอาการแย้ม พระลักขณะถามว่า “ท่านโมคคัลลานะ อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้
ท่านแสดงอาการแย้ม” พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า “ท่านลักขณะ ยังไม่ถึงเวลา
ตอบปัญหานี้ เมื่อเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคค่อยถามปัญหานี้เถิด”
ครั้นท่านทั้ง ๒ เที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ กลับจากบิณฑบาต หลังจาก
ฉันอาหาร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่งลง ณ ที่สมควร
ครั้นแล้วพระลักขณะได้กล่าวขึ้นว่า “ท่านมหาโมคคัลลานะ เมื่อท่านลงจากภูเขา
คิชฌกูฏ ในกรุงราชคฤห์นี้ ถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้แสดงอาการแย้ม อะไรเป็นเหตุเป็น
ปัจจัยให้ท่านแสดงอาการแย้ม”
พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า “ท่าน เมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็น
ภิกษุณีเปรตลอยในอากาศ สังฆาฏิ บาตร ประคตเอว และร่างกายของมันถูกไฟติด
ลุกโชน จนมันร้องครวญคราง กระผมมีความรู้สึกว่า น่าอัศจรรย์จริงไม่เคยปรากฏ
ที่มีสัตว์เช่นนี้ มียักษ์เช่นนี้ มีเปรตเช่นนี้ มีการได้อัตภาพเช่นนี้อยู่”
ภิกษุทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทนาว่า “พระมหาโมคคัลลานะ
กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม”


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ วินีตวัตถุ

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมารับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย
สาวกทั้งหลายที่มีจักษุญาณก็ยังมีอยู่ เพราะสาวกที่รู้ที่เห็นนี้เป็นพยานได้ เมื่อก่อน
เราก็เห็นภิกษุณีเปรตนั้นแต่ไม่พยากรณ์ เพราะการพยากรณ์นั้นจะไม่เป็นประโยชน์
เกื้อกูลซ้ำจะเป็นทุกข์ยาวนานแก่ผู้ที่ไม่เชื่อเรา ภิกษุทั้งหลาย เปรตนั้นเคยเป็น
ภิกษุณีชั่วในศาสนาพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะผลกรรมนั้นจึงตกนรกหมก
ไหม้อยู่หลายร้อยปี หลายพันปี หลายแสนปีแล้วได้รับอัตภาพเช่นนี้เพราะเศษกรรม
ที่ยังเหลือ โมคคัลลานะกล่าวจริงจึงไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๕๓)

เรื่องเปรตมีรูปเป็นสิกขมานา ๑ เรื่อง

สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต เขต
กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระลักขณะกับพระมหาโมคคัลลานะพักอยู่ที่เขาคิชฌกูฏ
ครั้นเวลาเช้า พระมหาโมคคัลลานะครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรเข้าไปหาพระ
ลักขณะจนถึงที่อยู่ เชิญชวนว่า “ท่านลักขณะ มาเถิด พวกเราจะไปบิณฑบาตในกรุง
ราชคฤห์ด้วยกัน” พระลักขณะรับคำแล้ว
ขณะที่พระมหาโมคคัลลานะกำลังลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้
แสดงอาการแย้ม พระลักขณะถามว่า “ท่านโมคคัลลานะ อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้
ท่านแสดงอาการแย้ม” พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า “ท่านลักขณะ ยังไม่ถึงเวลา
ตอบปัญหานี้ เมื่อเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคค่อยถามปัญหานี้เถิด”
ครั้นท่านทั้ง ๒ เที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ กลับจากบิณฑบาต หลังจาก
ฉันอาหาร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่งลง ณ ที่สมควร
ครั้นแล้วพระลักขณะได้กล่าวขึ้นว่า “ท่านมหาโมคคัลลานะ เมื่อท่านลงจากภูเขา
คิชฌกูฏ ในกรุงราชคฤห์นี้ ถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้แสดงอาการแย้ม อะไรเป็นเหตุ
เป็นปัจจัยให้ท่านแสดงอาการแย้ม”
พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า “ท่าน เมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็น
สิกขมานาเปรต ลอยในอากาศ สังฆาฏิ บาตร ประคตเอว และร่างกายของมันถูกไฟ
ติดลุกโชน จนมันร้องครวญคราง กระผมมีความรู้สึกว่า น่าอัศจรรย์จริงไม่เคยปรากฏ
ที่มีสัตว์เช่นนี้ มียักษ์เช่นนี้ มีเปรตเช่นนี้ มีการได้อัตภาพเช่นนี้อยู่”


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ วินีตวัตถุ

ภิกษุทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทนาว่า “พระมหาโมคคัลลานะ
กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมารับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย
สาวกทั้งหลายที่มีจักษุญาณก็ยังมีอยู่ เพราะสาวกที่รู้ที่เห็นนี้เป็นพยานได้ เมื่อก่อน
เราก็เห็นสิกขมานาเปรตนั้นแต่ไม่พยากรณ์ เพราะการพยากรณ์นั้นจะไม่เป็น
ประโยชน์เกื้อกูลซ้ำจะเป็นทุกข์ยาวนานแก่ผู้ที่ไม่เชื่อเรา ภิกษุทั้งหลาย เปรตนั้นเคย
เป็นสิกขมานาชั่วในศาสนาพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะผลกรรมนั้นจึงตก
นรกหมกไหม้อยู่หลายร้อยปี หลายพันปี หลายแสนปีแล้วได้รับอัตภาพเช่นนี้เพราะ
เศษกรรมที่ยังเหลือ โมคคัลลานะกล่าวจริงจึงไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๕๔)

เรื่องเปรตมีรูปเป็นสามเณร ๑ เรื่อง

สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต เขต
กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระลักขณะกับพระมหาโมคคัลลานะพักอยู่ที่เขาคิชฌกูฏ
ครั้นเวลาเช้า พระมหาโมคคัลลานะครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรเข้าไปหาพระ
ลักขณะจนถึงที่อยู่ เชิญชวนว่า “ท่านลักขณะ มาเถิด พวกเราจะไปบิณฑบาตในกรุง
ราชคฤห์ด้วยกัน” พระลักขณะรับคำแล้ว
ขณะที่พระมหาโมคคัลลานะกำลังลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้
แสดงอาการแย้ม พระลักขณะถามว่า “ท่านโมคคัลลานะ อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้
ท่านแสดงอาการแย้ม” พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า “ท่านลักขณะ ยังไม่ถึงเวลา
ตอบปัญหานี้ เมื่อเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคค่อยถามปัญหานี้เถิด”
ครั้นท่านทั้ง ๒ เที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ กลับจากบิณฑบาต หลัง
จากฉันอาหาร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่งลง ณ ที่
สมควร ครั้นแล้วพระลักขณะได้กล่าวขึ้นว่า “ท่านมหาโมคคัลลานะ เมื่อท่านลง
จากภูเขาคิชฌกูฏ ในกรุงราชคฤห์นี้ ถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้แสดงอาการแย้ม อะไร
เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ท่านแสดงอาการแย้ม”
พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า “ท่าน เมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏได้เห็น
สามเณรเปรต ลอยในอากาศ สังฆาฏิ บาตร ประคตเอว และร่างกายของมันถูกไฟ


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ วินีตวัตถุ

ติดลุกโชน จนมันร้องครวญคราง กระผมมีความรู้สึกว่า น่าอัศจรรย์จริงไม่เคยปรากฏ
ที่มีสัตว์เช่นนี้ มียักษ์เช่นนี้ มีเปรตเช่นนี้ มีการได้อัตภาพเช่นนี้อยู่”
ภิกษุทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทนาว่า “พระมหาโมคคัลลานะ
กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมารับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย
สาวกทั้งหลายที่มีจักษุญาณก็ยังมีอยู่ เพราะสาวกที่รู้ที่เห็นนี้เป็นพยานได้ เมื่อก่อน
เราก็เห็นสามเณรเปรตนั้นแต่ไม่พยากรณ์ เพราะการพยากรณ์นั้นจะไม่เป็นประโยชน์
เกื้อกูลซ้ำจะเป็นทุกข์ยาวนานแก่ผู้ที่ไม่เชื่อเรา ภิกษุทั้งหลาย เปรตนั้นเคยเป็น
สามเณรชั่วในศาสนาพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะผลกรรมนั้นจึงตกนรกหมก
ไหม้อยู่หลายร้อยปี หลายพันปี หลายแสนปีแล้วได้รับอัตภาพเช่นนี้เพราะเศษกรรม
ที่ยังเหลือ โมคคัลลานะกล่าวจริงจึงไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๕๕)

เรื่องเปรตมีรูปเป็นสามเณรี ๑ เรื่อง

สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต เขต
กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระลักขณะกับพระมหาโมคคัลลานะพักอยู่ที่เขาคิชฌกูฏ
ครั้นเวลาเช้า พระมหาโมคคัลลานะครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรเข้าไปหาพระ
ลักขณะจนถึงที่อยู่ เชิญชวนว่า “ท่านลักขณะ มาเถิด พวกเราจะไปบิณฑบาตในกรุง
ราชคฤห์ด้วยกัน” พระลักขณะรับคำแล้ว
ขณะที่พระมหาโมคคัลลานะกำลังลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้
แสดงอาการแย้ม พระลักขณะถามว่า “ท่านโมคคัลลานะ อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้
ท่านแสดงอาการแย้ม” พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า “ท่านลักขณะ ยังไม่ถึงเวลา
ตอบปัญหานี้ เมื่อเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคค่อยถามปัญหานี้เถิด”
ครั้นท่านทั้ง ๒ เที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ กลับจากบิณฑบาต หลังจาก
ฉันอาหาร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่งลง ณ ที่สมควร
ครั้นแล้วพระลักขณะได้กล่าวขึ้นว่า “ท่านมหาโมคคัลลานะ เมื่อท่านลงจากภูเขา
คิชฌกูฏ ในกรุงราชคฤห์นี้ ถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้แสดงอาการแย้ม อะไรเป็นเหตุ
เป็นปัจจัยให้ท่านแสดงอาการแย้ม”


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ วินีตวัตถุ

พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า “ท่าน เมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏได้เห็น
สามเณรีเปรต ลอยในอากาศ สังฆาฏิ บาตร ประคตเอว และร่างกายของมันถูกไฟ
ติดลุกโชน จนมันร้องครวญคราง กระผมมีความรู้สึกว่า น่าอัศจรรย์จริงไม่เคยปรากฏ
ที่มีสัตว์เช่นนี้ มียักษ์เช่นนี้ มีเปรตเช่นนี้ มีการได้อัตภาพเช่นนี้อยู่”
ภิกษุทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทนาว่า “พระมหาโมคคัลลานะ
กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมารับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย
สาวกทั้งหลายที่มีจักษุญาณก็ยังมีอยู่ เพราะสาวกที่รู้ที่เห็นนี้เป็นพยานได้ เมื่อก่อน
เราก็เห็นสามเณรีเปรตนั้นแต่ไม่พยากรณ์ เพราะการพยากรณ์นั้นจะไม่เป็นประโยชน์
เกื้อกูลซ้ำจะเป็นทุกข์ยาวนาน แก่ผู้ที่ไม่เชื่อเรา ภิกษุทั้งหลาย เปรตนั้นเคยเป็น
สามเณรีชั่วในศาสนาพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะผลกรรมนั้นจึงตกนรกหมก
ไหม้อยู่หลายร้อยปี หลายพันปี หลายแสนปีแล้วได้รับอัตภาพเช่นนี้เพราะเศษกรรม
ที่ยังเหลือ โมคคัลลานะกล่าวจริงจึงไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๕๖)

เรื่องแม่น้ำตโปทา ๑ เรื่อง

[๒๓๑] สมัยนั้น พระมหาโมคคัลลานะเรียกภิกษุทั้งหลายมาบอกว่า “ท่าน
ทั้งหลาย แม่น้ำตโปทานี้ไหลมาจากสระน้ำที่ใสเย็นจืดสนิทสะอาดมีท่าเรียบ น่า
รื่นรมย์ มีฝูงปลาและเต่าอาศัยอยู่มาก มีดอกบัวขนาดเท่าวงล้อบานอยู่ แต่กระนั้น
แม่น้ำตโปทาก็ยังคงร้อนเดือดพล่านไหลไป”
ภิกษุทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทนาว่า “ไฉนพระมหาโมคคัลลานะ
พูดอย่างนั้นเล่า ท่านกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม” แล้วนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำตโปทาไหลผ่านมาระหว่าง
มหานรก ๒ ขุม ดังนั้นจึงคงเดือดพล่านไหลไป โมคคัลลานะกล่าวจริง ไม่ต้องอาบัติ”
(เรื่องที่ ๕๗)


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ วินีตวัตถุ

เรื่องการสู้รบในกรุงราชคฤห์ ๑ เรื่อง

สมัยนั้น พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐ ทำสงครามกับพวกเจ้าลิจฉวีแล้ว
พ่ายแพ้ ภายหลังท้าวเธอทรงระดมพลยกไปรบจนได้ชัยชนะ ให้ตีกลองประกาศชัย
ชนะในการสงครามว่า “พระราชาทรงชนะพวกเจ้าลิจฉวี”
ลำดับนั้นพระมหาโมคคัลลานะเรียกภิกษุทั้งหลายมาบอกว่า “ท่านทั้งหลาย
พระเจ้าแผ่นดินทรงพ่ายแพ้พวกเจ้าลิจฉวี แต่เขาตีกลองประกาศชัยชนะในการ
สงครามว่า ‘พระราชาทรงชนะพวกเจ้าลิจฉวี”
ภิกษุพากันตำหนิ ประณาม โพนทนาว่า “ไฉนพระมหาโมคคัลลานะกล่าว
อย่างนั้นเล่า ท่านกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม” แล้วนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ครั้งแรกพระเจ้าแผ่นดินทรงพ่าย
แพ้พวกเจ้าลิจฉวี ภายหลังท้าวเธอทรงระดมพลยกไปรบจนได้ชัยชนะ โมคคัลลานะ
กล่าวจริง ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๕๘)

เรื่องได้ยินเสียงช้างลงน้ำ ๑ เรื่อง

[๒๓๒] สมัยนั้น พระมหาโมคคัลลานะเรียกภิกษุทั้งหลายมาบอกว่า “ท่าน
ทั้งหลาย กระผมเข้าอาเนญชสมาธิที่ฝั่งแม่น้ำสัปปินิกาในตำบลนี้ ได้ยินเสียงโขลง
ช้างลงน้ำแล้วขึ้นจากน้ำส่งเสียงดังเหมือนนกกระเรียน”
ภิกษุทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทนาว่า “ไฉนพระมหาโมคคัลลานะ
กล่าวอย่างนั้นเล่า ท่านกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม” แล้วนำเรื่องนี้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย สมาธินั้นมีอยู่จริง แต่ยังไม่บริสุทธิ์
โมคคัลลานะกล่าวจริง จึงไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๕๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๒๔๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ บทสรุป

เรื่องพระอรหันต์โสภิตะระลึกชาติได้ ๕๐๐ กัป ๑ เรื่อง

ครั้งนั้น พระโสภิตะบอกเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า “กระผมระลึกชาติได้
๕๐๐ กัป” ๑
ภิกษุทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทนาว่า “ไฉนพระโสภิตะ
กล่าวอย่างนั้นเล่า ท่านกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม” แล้วนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระ
ผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ชาติในอดีตของโสภิตภิกษุนั้นมีอยู่
แต่มีเพียงชาติเดียวเท่านั้น โสภิตะกล่าวจริง จึงไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๖๐)

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ จบ

บทสรุป

[๒๓๓] ท่านทั้งหลาย ธรรม๒ คือปาราชิก ๔ สิกขาบทข้าพเจ้ายกขึ้นแสดง
แล้ว แต่ละข้อ ๆ ซึ่งภิกษุต้องเข้าแล้ว ย่อมอยู่ร่วมกับภิกษุทั้งหลายไม่ได้ เป็น
ปาราชิก หาสังวาสมิได้ เหมือนก่อนบวช
ข้าพเจ้าขอถามท่านทั้งหลายในธรรม คือ ปาราชิก ๔ สิกขาบทนั้นว่า
“ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ”
ข้าพเจ้าขอถามเป็นครั้งที่ ๒ ว่า “ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ”
ข้าพเจ้าขอถามเป็นครั้งที่ ๓ ว่า “ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ”

เชิงอรรถ :
๑ กัป ระยะเวลายาวนานมาก โลกประลัยครั้งหนึ่งเป็นกัปหนึ่ง ท่านให้เข้าใจด้วยอุปมาว่า เปรียบ
เหมือนมีภูเขาศิลาล้วน กว้าง ยาว สูง ด้านละ ๑ โยชน์ ทุก ๑๐๐ ปี มีผู้นำผ้าเนื้อละเอียดอย่างดีมาลูบครั้งหนึ่ง
จนกว่าภูเขานั้นจะสึกหรอสิ้นไป กัปหนึ่งยาวนานกว่านั้น
๒ คำว่า “ธรรม” ในที่นี้หมายถึงอาบัติ (ปาราชิกาติ เอวํนามกา. ธมฺมาติ อาปตฺติโย คำว่า “ธรรมคือ
ปาราชิก” หมายถึงอาบัติที่มีชื่ออย่างนี้ กงฺขา.อ. ๑๒๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๒๔๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔

รวมสิกขาบทที่มีในปาราชิกกัณฑ์

ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วในธรรม คือปาราชิก ๔ สิกขาบทนี้ เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง
ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้

ปาราชิก จบ

รวมสิกขาบทที่มีในปาราชิกกัณฑ์

ปาราชิกกัณฑ์มี ๔ สิกขาบท คือ
๑. ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ ว่าด้วยการเสพเมถุนธรรม
๒. ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ ว่าด้วยการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้
๓. ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ ว่าด้วยการพรากกายมนุษย์
๔. ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ ว่าด้วยการกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม
สิกขาบทเหล่านี้เป็นที่ตั้งแห่งการตัดรากเหง้า อย่างไม่ต้องสงสัย

ปาราชิกกัณฑ์ จบ


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท นิทานวัตถุ

๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์

ท่านทั้งหลาย ธรรมคือสังฆาทิเสส ๑๓ สิกขาบทเหล่านี้ มาถึงวาระที่จะยก
ขึ้นแสดงเป็นข้อ ๆ ตามลำดับ

๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท
ว่าด้วยการจงใจทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน
เรื่องพระเสยยสกะ

[๒๓๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระเสยยสกะไม่ยินดีที่จะ
ประพฤติพรหมจรรย์ เพราะความไม่ยินดีนั้น ท่านจึงซูบผอม หมองคล้ำ ซีดเหลือง
เส้นเอ็นขึ้นสะพรั่ง
ท่านพระอุทายีเห็นท่านพระเสยยสกะซูบผอม หมองคล้ำ ซีดเหลือง เส้นเอ็น
ขึ้นสะพรั่ง จึงได้กล่าวกับท่านว่า “คุณเสยยสกะ ทำไม คุณจึงซูบผอม หมองคล้ำ
ซีดเหลือง เส้นเอ็นขึ้นสะพรั่งเล่า คงไม่ยินดีที่จะประพฤติพรหมจรรย์กระมัง”
ท่านพระเสยยสกะรับว่าเป็นอย่างนั้น
ท่านพระอุทายีแนะนำว่า “ถ้าเป็นอย่างนั้น คุณจงฉันอาหารตามต้องการ จำ
วัด สรงน้ำตามต้องการเถิด เสร็จแล้วเมื่อคุณเกิดความกระสันถูกราคะรบกวนจิตขึ้น
มา ก็จงใช้มือพยายามทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน”
“ทำเช่นนี้จะควรหรือ ขอรับ”
“คุณ ทำเช่นนี้ควร ผมเองก็ทำเช่นนี้”
ครั้นเมื่อท่านพระเสยยสกะฉันอาหาร จำวัด สรงน้ำตามต้องการแล้ว เมื่อ
เกิดความกระสันถูกราคะรบกวนจิตขึ้นมาก็ใช้มือพยายามทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน
เวลาต่อมา ท่านมีผิวพรรณผ่องใส แลดูอิ่มเอิบ เพื่อนภิกษุถามท่านว่า “ท่านเสยยสกะ
เมื่อก่อน ท่านซูบผอม หมองคล้ำ ซีดเหลือง เส้นเอ็นขึ้นสะพรั่ง แต่เวลานี้ กลับมีผิว
พรรณผ่องใส แลดูอิ่มเอิบ ท่านใช้ยาอะไรหรือ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๒๔๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท นิทานวัตถุ

พระเสยยสกะตอบว่า “ไม่ได้ใช้ยาอะไร แต่ผมฉันอาหารตามต้องการ จำวัด
สรงน้ำตามต้องการ เมื่อเกิดความกระสันถูกราคะรบกวนจิตขึ้นมา ก็ใช้มือพยายาม
ทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน”
“ท่านใช้มือที่เปิบข้าวที่เขาถวายด้วยศรัทธาพยายามทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน
ออกมากระนั้นหรือ”
พระเสยยสกะรับว่า “ใช่ ขอรับ”
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนท่าน
พระเสยยสกะจึงใช้มือพยายามทำน้ำอสุจิให้เคลื่อนเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิ
พระเสยยสกะโดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพระเสยยสกะว่า “เธอใช้มือพยายามทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน จริงหรือ” พระ
เสยยสกะทูลรับว่า “จริงพระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า
“โมฆบุรุษ การกระทำของเธอไม่สมควร ไม่คล้อยตาม ไม่เหมาะสม ไม่ใช่กิจของ
สมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำเลย ไฉนเธอจึงใช้มือพยายามทำน้ำอสุจิให้เคลื่อนเล่า เรา
แสดงธรรมโดยประการต่าง ๆ เพื่อคลายความกำหนัด มิใช่เพื่อความกำหนัด เพื่อ
ความพราก มิใช่เพื่อความประกอบไว้ เพื่อความไม่ถือมั่น มิใช่เพื่อความถือมั่น มิใช่
หรือ เมื่อเราแสดงธรรมเพื่อคลายความกำหนัด เธอก็ยังจะคิดเพื่อความกำหนัด เรา
แสดงธรรมเพื่อความพราก เธอก็ยังคิดเพื่อความประกอบไว้ เราแสดงธรรมเพื่อ
ความไม่ถือมั่น เธอก็ยังจะคิดเพื่อความถือมั่น โมฆบุรุษ เราแสดงธรรมโดยประการ
ต่าง ๆ เพื่อสำรอกราคะ เพื่อสร่างความเมา เพื่อดับความกระหาย เพื่อถอนความ
อาลัย เพื่อตัดวัฏฏะ เพื่อความสิ้นตัณหา เพื่อคลายความกำหนัด เพื่อดับทุกข์ เพื่อ
นิพพาน มิใช่หรือ โมฆบุรุษ เราบอกการละกาม การกำหนดรู้ความสำคัญในกาม
การกำจัดความกระหายในกาม การเพิกถอนความตรึกในกาม การระงับความ
กลัดกลุ้มเพราะกามไว้โดยประการต่าง ๆ มิใช่หรือ การกระทำอย่างนี้มิได้ทำคนที่ยัง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๒๕๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท พระบัญญัติ

ไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ที่จริง
กลับจะทำให้คนที่ไม่เลื่อมใสก็ไม่เลื่อมใสไปเลย คนที่เลื่อมใสอยู่แล้วบางพวกก็จะ
กลายเป็นอื่นไป”
ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงตำหนิพระเสยยสกะโดยประการต่าง ๆ แล้ว ได้ตรัส
โทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก บำรุงยาก ฯลฯ ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย
บำรุงง่าย ฯลฯ ทรงแสดงธรรมีกถาให้เหมาะสมให้คล้อยตามกับเรื่องนั้น แล้วจึงรับ
สั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง ดังนี้

พระบัญญัติ

ภิกษุจงใจทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน เป็นสังฆาทิเสส

สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้

เรื่องพระเสยยสกะ จบ

เรื่องภิกษุหลายรูป

[๒๓๕] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายฉันอาหารอันประณีต จำวัดหลับ ขาดสติ
สัมปชัญญะ น้ำอสุจิออกมาเพราะความฝัน พวกท่านเกิดความกังวลใจว่า “พระผู้มี
พระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้ว่า ‘ภิกษุจงใจทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน เป็นสังฆาทิเสส’
แต่พวกเรามีน้ำอสุจิออกมาเพราะความฝัน ในความฝันนั้นมีเจตนา พวกเราต้อง
อาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ” จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เจตนานั้นมีอยู่ แต่ไม่ควรกล่าวว่ามี”๑
(ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ แล้ว
ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมา) ฯลฯ รับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

เชิงอรรถ :
๑ เจตนาที่จะยินดีนั้นมีอยู่ แต่กล่าวไม่ได้ว่ามี (อัพโพหาริก) เพราะเกิดขึ้นนอกเหนือขอบเขต เจตนาใน
ความฝัน เป็นเจตนานอกเหนือขอบเขต (วิ.อ. ๒/๒๓๕/๒-๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๒๕๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท บทภาชนีย์

พระอนุบัญญัติ

[๒๓๖] ภิกษุจงใจทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน เป็นสังฆาทิเสส ยกเว้นไว้แต่ฝัน

เรื่องภิกษุหลายรูป จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๒๓๗] คำว่า จงใจ ความว่า รู้อยู่ รู้ดีอยู่ จงใจ ฝ่าฝืนล่วงละเมิด
คำว่า น้ำอสุจิ อธิบายว่า น้ำอสุจิมี ๑๐ ชนิด คือ (๑) อสุจิสีเขียว (๒) อสุจิ
สีเหลือง (๓) อสุจิสีแดง (๔) อสุจิสีขาว (๕) อสุจิสีเหมือนเปรียง (๖) อสุจิสี
เหมือนน้ำท่า (๗) อสุจิสีเหมือนน้ำมัน (๘) อสุจิสีเหมือนนมสด (๙) อสุจิสี
เหมือนนมส้ม (๑๐) อสุจิสีเหมือนเนยใส
คำว่า ทำให้เคลื่อน คือ กิริยาที่ทำให้เคลื่อนจากฐาน ตรัสเรียกว่า ทำให้เคลื่อน
คำว่า ยกเว้นไว้แต่ฝัน คือ ยกเว้นความฝัน
คำว่า เป็นสังฆาทิเสส ความว่า สำหรับอาบัตินั้น สงฆ์เท่านั้นให้ปริวาส ชัก
เข้าหาอาบัติเดิม ให้มานัตและเรียกเข้าหมู่ คณะก็ทำไม่ได้ ภิกษุรูปเดียวก็ทำไม่ได้
ฉะนั้นจึงตรัสว่า “เป็นสังฆาทิเสส”
คำว่า “เป็นสังฆาทิเสส” นี้ เป็นการขนานนาม เป็นคำเรียกหมวดอาบัตินั้น
นั่นเองโดยอ้อม๑ เพราะเหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า “เป็นสังฆาทิเสส”

บทภาชนีย์
อุบาย ๔ ประการ

(๑) ภิกษุทำน้ำอสุจิให้เคลื่อนในรูปภายใน (๒) ภิกษุทำน้ำอสุจิให้เคลื่อนใน
รูปภายนอก (๓) ภิกษุทำน้ำอสุจิให้เคลื่อนในรูปภายในและภายนอก (๔) ภิกษุทำน้ำ
อสุจิให้เคลื่อนเมื่อส่ายสะเอวในอากาศ

เชิงอรรถ :
๑ สังฆาทิเสสนี้ เป็นชื่อเรียกกองอาบัติ แปลว่า “หมู่อาบัติที่ต้องการสงฆ์ทั้งในระยะเบื้องต้นและในระยะที่
เหลือ” หมายความว่า ภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส จะออกจากอาบัตินั้นได้ต้องอาศัยสงฆ์ให้ปริวาส ให้มานัต
ชักกลับเข้าหาอาบัติเดิม และอัพภาน ในกรรมทั้งหมดนี้ขาดสงฆ์เสียแล้ว ก็ทำไม่สำเร็จ (วิ.อ. ๒/๒๓๗/๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๒๕๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท บทภาชนีย์

กาล ๕

(๑) ภิกษุทำน้ำอสุจิให้เคลื่อนเมื่อเกิดความกำหนัด (๒) ภิกษุทำน้ำอสุจิให้
เคลื่อนเมื่อปวดอุจจาระ (๓) ภิกษุทำน้ำอสุจิให้เคลื่อนเมื่อปวดปัสสาวะ (๔) ภิกษุทำ
น้ำอสุจิให้เคลื่อนเมื่อต้องลม (๕) ภิกษุทำน้ำอสุจิให้เคลื่อนเมื่อถูกบุ้งขน

เจตนา ๑๐ ประการ

(๑) ภิกษุทำน้ำอสุจิให้เคลื่อนเพื่อความหายโรค (๒) ภิกษุทำน้ำอสุจิให้
เคลื่อนเพื่อความสุข (๓) ภิกษุทำน้ำอสุจิให้เคลื่อนเพื่อเป็นยา (๔) ภิกษุทำน้ำอสุจิ
ให้เคลื่อนเพื่อเป็นทาน (๕) ภิกษุทำน้ำอสุจิให้เคลื่อนเพื่อเป็นบุญ (๖) ภิกษุทำ
น้ำอสุจิให้เคลื่อนเพื่อบูชายัญ (๗) ภิกษุทำน้ำอสุจิให้เคลื่อนเพื่อจะไปสวรรค์
(๘) ภิกษุทำน้ำอสุจิให้เคลื่อนเพื่อสืบพันธุ์ (๙) ภิกษุทำน้ำอสุจิให้เคลื่อนเพื่อทดลอง
(๑๐) ภิกษุทำน้ำอสุจิให้เคลื่อนเพื่อความสนุก

วัตถุที่ประสงค์ ๑๐ ประการ

(๑) ภิกษุทำน้ำอสุจิสีเขียวให้เคลื่อน (๒) ภิกษุทำน้ำอสุจิสีเหลืองให้เคลื่อน
(๓) ภิกษุทำน้ำอสุจิสีแดงให้เคลื่อน (๔) ภิกษุทำน้ำอสุจิสีขาวให้เคลื่อน (๕) ภิกษุ
ทำน้ำอสุจิสีเหมือนเปรียงให้เคลื่อน (๖) ภิกษุทำน้ำอสุจิสีเหมือนน้ำท่าให้เคลื่อน
(๗) ภิกษุทำน้ำอสุจิสีเหมือนน้ำมันให้เคลื่อน (๘) ภิกษุทำน้ำอสุจิสีเหมือนนมสดให้
เคลื่อน (๙) ภิกษุทำน้ำอสุจิสีเหมือนนมส้มให้เคลื่อน (๑๐) ภิกษุทำน้ำอสุจิสีเหมือน
เนยใสให้เคลื่อน
[๒๓๘] คำว่า ในรูปภายใน ได้แก่ รูปที่มีวิญญาณครองในตัว๑
คำว่า ในรูปภายนอก ได้แก่ รูปที่มีวิญญาณครองหรือที่ไม่มีวิญญาณครอง
นอกตัว๒

เชิงอรรถ :
๑ “รูปที่มีวิญญาณครองในตัว” หมายถึง มือของตนเป็นต้น(วิ.อ. ๒/๒๓๘/๘)
๒ “รูปที่มีวิญญาณครองหรือที่ไม่มีวิญญาณครองนอกตัว” หมายถึง มือของผู้อื่นเป็นต้น (วิ.อ. ๒/๒๓๘/๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๒๕๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท บทภาชนีย์

คำว่า ในรูปภายในและภายนอก ได้แก่ รูปทั้ง ๒ นั้น
คำว่า เมื่อส่ายสะเอวในอากาศ หมายความว่า เมื่อภิกษุพยายามในอากาศ
องคชาตใช้การได้
คำว่า เมื่อเกิดความกำหนัด คือ เมื่อถูกความกำหนัดรบกวน องคชาตใช้การ
ได้
คำว่า เมื่อปวดอุจจาระ คือ เมื่อปวดอุจจาระ องคชาตใช้การได้
คำว่า เมื่อปวดปัสสาวะ คือ เมื่อปวดปัสสาวะ องคชาตใช้การได้
คำว่า เมื่อต้องลม คือ เมื่อถูกลมรำเพย องคชาตใช้การได้
คำว่า เมื่อถูกบุ้งขน คือ เมื่อถูกบุ้งขนเบียดเบียนแล้ว องคชาตใช้การได้
[๒๓๙] คำว่า เพื่อความหายโรค คือ มุ่งว่าจะเป็นผู้ไม่มีโรค
คำว่า เพื่อความสุข คือ มุ่งว่าจะให้เกิดสุขเวทนา
คำว่า เพื่อเป็นยา คือ มุ่งว่าจะเป็นยา
คำว่า เพื่อเป็นทาน คือ มุ่งว่าจะให้ทาน
คำว่า เพื่อเป็นบุญ คือ มุ่งว่าจะเป็นบุญ
คำว่า เพื่อบูชายัญ คือ มุ่งว่าจะบูชายัญ
คำว่า เพื่อจะไปสวรรค์ คือ มุ่งว่าจะได้ไปสวรรค์
คำว่า เพื่อสืบพันธุ์ คือ มุ่งว่าจักสืบพันธุ์
คำว่า เพื่อทดลอง คือ ทดลองว่า น้ำอสุจิจักเป็นสีเขียว น้ำอสุจิจักเป็นสี
เหลือง น้ำอสุจิจักเป็นสีแดง น้ำอสุจิจักเป็นสีขาว น้ำอสุจิจักเป็นสีเหมือนเปรียง น้ำ
อสุจิจักเป็นสีเหมือนน้ำท่า น้ำอสุจิจักเป็นสีเหมือนน้ำมัน น้ำอสุจิจักเป็นสีเหมือน
นมสด น้ำอสุจิจักเป็นสีเหมือนนมส้ม น้ำอสุจิจักเป็นสีเหมือนเนยใส
คำว่า เพื่อความสนุก คือ มีความประสงค์จะเล่น


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท บทภาชนีย์

สุทธิกสังฆาทิเสส
อุบายทำให้น้ำอสุจิเคลื่อน ๔ อย่าง

[๒๔๐] (๑) ภิกษุจงใจพยายามในรูปภายใน น้ำอสุจิเคลื่อน ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส
(๒) ภิกษุจงใจพยายามในรูปภายนอก น้ำอสุจิเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
(๓) ภิกษุจงใจพยายามในรูปภายในและภายนอก น้ำอสุจิเคลื่อน ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส
(๔) ภิกษุจงใจพยายามส่ายสะเอวในอากาศ น้ำอสุจิเคลื่อน ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส

น้ำอสุจิเคลื่อน ๕ กาล

(๑) ภิกษุจงใจพยายามเมื่อเกิดความกำหนัด น้ำอสุจิเคลื่อน ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส
(๒) ภิกษุจงใจพยายามเมื่อปวดอุจจาระ น้ำอสุจิเคลื่อน ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส
(๓) ภิกษุจงใจพยายามเมื่อปวดปัสสาวะ น้ำอสุจิเคลื่อน ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส
(๔) ภิกษุจงใจพยายามเมื่อต้องลม น้ำอสุจิเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
(๕) ภิกษุจงใจพยายามเมื่อถูกบุ้งขน น้ำอสุจิเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

เจตนา ๑๐ อย่าง๑

(๑) ภิกษุจงใจพยายาม เพื่อความหายโรค น้ำอสุจิเคลื่อน ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส

เชิงอรรถ :
๑ ในเจตนา ๑๐ อย่างนี้ ปรับอาบัติสังฆาทิเสส ๑๐ ตัวตามจำนวนเจตนา แต่ในที่นี่ แปลละข้อความไว้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๒๕๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท บทภาชนีย์

(๒) ภิกษุจงใจพยายามเพื่อความสุข (๓) ...เพื่อเป็นยา (๔) ...เพื่อเป็นทาน
(๕) ...เพื่อเป็นบุญ (๖) ...เพื่อบูชายัญ (๗) ...เพื่อจะไปสวรรค์ (๘) ...เพื่อสืบพันธุ์
(๙) ...เพื่อทดลอง (๑๐) ...เพื่อความสนุก น้ำอสุจิเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

วัตถุประสงค์ ๑๐ อย่าง

(๑) ภิกษุจงใจพยายาม น้ำอสุจิสีเขียวเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
(๒) ภิกษุจงใจพยายาม น้ำอสุจิสีเหลือง (๓) ...น้ำอสุจิสีแดง (๔) ...น้ำอสุจิ
สีขาว (๕) ...น้ำอสุจิสีเหมือนเปรียง (๖) ...น้ำอสุจิสีเหมือนน้ำท่า (๗) ...น้ำอสุจิ
สีเหมือนน้ำมัน (๘) ...น้ำอสุจิสีเหมือนนมสด (๙) ...น้ำอสุจิสีเหมือนนมส้ม
(๑๐) ...น้ำอสุจิสีเหมือนเนยใสเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

สุทธิก จบ

ขัณฑจักร๑
มีเจตนาอย่างเดียวเป็นมูล

ภิกษุจงใจพยายาม เพื่อความหายโรคและเพื่อความสุข น้ำอสุจิเคลื่อน ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจพยายาม เพื่อความหายโรคและเพื่อเป็นยา ฯลฯ เพื่อความหาย
โรคและเพื่อเป็นทาน ฯลฯ เพื่อความหายโรคและเพื่อเป็นบุญ ฯลฯ เพื่อความหาย
โรคและเพื่อบูชายัญ ฯลฯ เพื่อความหายโรคและเพื่อจะไปสวรรค์ ฯลฯ เพื่อความ
หายโรคและเพื่อสืบพันธุ์ ฯลฯ เพื่อความหายโรคและเพื่อทดลอง ฯลฯ ภิกษุจงใจ
พยายามเพื่อความหายโรคและเพื่อความสนุก น้ำอสุจิเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

ขัณฑจักรมีเจตนาอย่างเดียวเป็นมูล จบ


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท บทภาชนีย์

พัทธจักร๑
มีเจตนาอย่างเดียวเป็นมูล หมวดที่ ๑

[๒๔๑] ภิกษุจงใจพยายาม เพื่อความสุขและเพื่อเป็นยา น้ำอสุจิเคลื่อน
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจพยายาม เพื่อความสุขและเพื่อเป็นทาน ฯลฯ เพื่อความสุขและเพื่อ
เป็นบุญ ฯลฯ เพื่อความสุขและเพื่อบูชายัญ ฯลฯ เพื่อความสุขและเพื่อจะไปสวรรค์
ฯลฯ เพื่อความสุขและเพื่อสืบพันธุ์ ฯลฯ เพื่อความสุขและเพื่อทดลอง ฯลฯ ภิกษุ
จงใจพยายามเพื่อความสุขและเพื่อความสนุก น้ำอสุจิเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจพยายามเพื่อความสุขและเพื่อความหายโรค น้ำอสุจิเคลื่อน ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสส

มีเจตนาอย่างเดียวเป็นมูล หมวดที่ ๒

[๒๔๒] ภิกษุจงใจพยายาม เพื่อเป็นยาและเพื่อเป็นทาน น้ำอสุจิเคลื่อน
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจพยายาม เพื่อเป็นยาและเพื่อเป็นบุญ ฯลฯ เพื่อเป็นยาและเพื่อบูชายัญ
ฯลฯ เพื่อเป็นยาและเพื่อจะไปสวรรค์ ฯลฯ เพื่อเป็นยาและเพื่อสืบพันธุ์ ฯลฯ เพื่อ
เป็นยาและเพื่อทดลอง ฯลฯ ภิกษุจงใจพยายามเพื่อเป็นยาและเพื่อความสนุก น้ำ
อสุจิเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจพยายาม เพื่อเป็นยาและเพื่อความหายโรค ฯลฯ ภิกษุจงใจ
พยายามเพื่อเป็นยาและเพื่อความสุข น้ำอสุจิเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

มีเจตนาอย่างเดียวเป็นมูล หมวดที่ ๓

ภิกษุจงใจพยายาม เพื่อเป็นทานและเพื่อเป็นบุญ น้ำอสุจิเคลื่อน ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส

เชิงอรรถ :
๑ พัทธจักร แปลว่า เวียน หรือหมุนเนื่องถึงกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๒๕๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท บทภาชนีย์

ภิกษุจงใจพยายาม เพื่อเป็นทานและเพื่อบูชายัญ ฯลฯ เพื่อเป็นทานและ
เพื่อจะไปสวรรค์ ฯลฯ เพื่อเป็นทานและเพื่อสืบพันธุ์ ฯลฯ เพื่อเป็นทานและเพื่อทดลอง
ฯลฯ ภิกษุจงใจพยายามเพื่อเป็นทานและเพื่อความสนุก น้ำอสุจิเคลื่อน ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจพยายาม เพื่อเป็นทานและเพื่อความหายโรค ฯลฯ ภิกษุจงใจ
พยายามเพื่อเป็นทานและเพื่อความสุข ฯลฯ เพื่อเป็นทานและเพื่อเป็นยา น้ำอสุจิ
เคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

มีเจตนาอย่างเดียวเป็นมูล หมวดที่ ๔

ภิกษุจงใจพยายาม เพื่อเป็นบุญและเพื่อบูชายัญ น้ำอสุจิเคลื่อน ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจพยายาม เพื่อเป็นบุญและเพื่อจะไปสวรรค์ ฯลฯ เพื่อเป็นบุญและ
เพื่อสืบพันธุ์ ฯลฯ เพื่อเป็นบุญและเพื่อทดลอง ฯลฯ ภิกษุจงใจพยายามเพื่อเป็น
บุญและเพื่อความสนุก น้ำอสุจิเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจพยายาม เพื่อเป็นบุญและเพื่อความหายโรค ฯลฯ เพื่อเป็นบุญ
และเพื่อความสุข ฯลฯ เพื่อเป็นบุญและเพื่อเป็นยา ฯลฯ ภิกษุจงใจพยายามเพื่อ
เป็นบุญและเพื่อเป็นทาน น้ำอสุจิเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

มีเจตนาอย่างเดียวเป็นมูล หมวดที่ ๕

ภิกษุจงใจพยายาม เพื่อบูชายัญและเพื่อจะไปสวรรค์ น้ำอสุจิเคลื่อน ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจพยายาม เพื่อบูชายัญและเพื่อสืบพันธุ์ ฯลฯ เพื่อบูชายัญและเพื่อ
ทดลอง ฯลฯ ภิกษุจงใจพยายามเพื่อบูชายัญและเพื่อความสนุก น้ำอสุจิเคลื่อน
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจพยายาม เพื่อบูชายัญและเพื่อความหายโรค ฯลฯ เพื่อบูชายัญ
และเพื่อความสุข ฯลฯ เพื่อบูชายัญและเพื่อเป็นยา ฯลฯ เพื่อบูชายัญและเพื่อเป็น
ทาน.. ภิกษุจงใจพยายามเพื่อบูชายัญและเพื่อเป็นบุญ น้ำอสุจิเคลื่อน ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๒๕๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท บทภาชนีย์

มีเจตนาอย่างเดียวเป็นมูล หมวดที่ ๖

ภิกษุจงใจพยายาม เพื่อจะไปสวรรค์และเพื่อสืบพันธุ์ ฯลฯ เพื่อจะไปสวรรค์
และเพื่อทดลอง ฯลฯ ภิกษุจงใจพยายามเพื่อจะไปสวรรค์และเพื่อความสนุก น้ำ
อสุจิเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจพยายาม เพื่อจะไปสวรรค์และเพื่อความหายโรค ฯลฯ เพื่อจะไป
สวรรค์และเพื่อความสุข ฯลฯ เพื่อจะไปสวรรค์และเพื่อเป็นยา ฯลฯ เพื่อจะไปสวรรค์
และเพื่อเป็นทาน ฯลฯ เพื่อจะไปสวรรค์และเพื่อเป็นบุญ ฯลฯ ภิกษุจงใจพยายาม
เพื่อจะไปสวรรค์และเพื่อบูชายัญ น้ำอสุจิเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

มีเจตนาอย่างเดียวเป็นมูล หมวดที่ ๗

ภิกษุจงใจพยายาม เพื่อสืบพันธุ์และเพื่อทดลอง ฯลฯ เพื่อสืบพันธุ์และเพื่อ
ความสนุก น้ำอสุจิเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจพยายาม เพื่อสืบพันธุ์และเพื่อความหายโรค ฯลฯ เพื่อสืบพันธุ์
และเพื่อความสุข ฯลฯ เพื่อสืบพันธุ์และเพื่อเป็นยา ฯลฯ เพื่อสืบพันธุ์และเพื่อเป็น
ทาน ฯลฯ เพื่อสืบพันธุ์และเพื่อเป็นบุญ ฯลฯ เพื่อสืบพันธุ์และเพื่อบูชายัญ ฯลฯ ภิกษุ
จงใจพยายามเพื่อสืบพันธุ์และเพื่อจะไปสวรรค์ น้ำอสุจิเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

มีเจตนาอย่างเดียวเป็นมูล หมวดที่ ๘

ภิกษุจงใจพยายาม เพื่อทดลองและเพื่อความสนุก น้ำอสุจิเคลื่อน ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจพยายาม เพื่อทดลองและเพื่อความหายโรค ฯลฯ เพื่อทดลองและ
เพื่อความสุข ฯลฯ เพื่อทดลองและเพื่อเป็นยา ฯลฯ เพื่อทดลองและเพื่อเป็นทาน
ฯลฯ เพื่อทดลองและเพื่อเป็นบุญ ฯลฯ เพื่อทดลองและเพื่อบูชายัญ ฯลฯ เพื่อ
ทดลองและเพื่อจะไปสวรรค์ ฯลฯ ภิกษุจงใจพยายามเพื่อทดลองและเพื่อสืบพันธุ์
น้ำอสุจิเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท บทภาชนีย์

มีเจตนาอย่างเดียวเป็นมูล หมวดที่ ๙

ภิกษุจงใจพยายาม เพื่อความสนุกและเพื่อความหายโรค น้ำอสุจิเคลื่อน
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจพยายาม เพื่อความสนุกและเพื่อความสุข ฯลฯ เพื่อความสนุก
และเพื่อเป็นยา ฯลฯ เพื่อความสนุกและเพื่อเป็นทาน ฯลฯ เพื่อความสนุกและเพื่อ
เป็นบุญ ฯลฯ เพื่อความสนุกและเพื่อบูชายัญ ฯลฯ เพื่อความสนุกและเพื่อจะไป
สวรรค์ ฯลฯ เพื่อความสนุกและเพื่อสืบพันธุ์ ฯลฯ ภิกษุจงใจพยายามเพื่อความ
สนุกและเพื่อทดลอง น้ำอสุจิเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

พัทธจักรมีเจตนาอย่างเดียวเป็นมูล จบ

ขัณฑจักร
มีเจตนา ๒ อย่างเป็นมูล

ภิกษุจงใจพยายาม เพื่อความหายโรค เพื่อความสุขและเพื่อเป็นยา น้ำอสุจิ
เคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ฯลฯ ภิกษุจงใจพยายามเพื่อความหายโรค เพื่อความ
สุขและเพื่อความสนุก น้ำอสุจิเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

ขัณฑจักรมีเจตนา ๒ อย่างเป็นมูล จบ

พัทธจักร
มีเจตนา ๒ อย่างเป็นมูล หมวดที่ ๑

ภิกษุจงใจพยายาม เพื่อความสุข เพื่อเป็นยาและเพื่อเป็นทาน น้ำอสุจิเคลื่อน
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจพยายาม เพื่อความสุข เพื่อเป็นยาและเพื่อความสนุก ฯลฯ
ภิกษุจงใจพยายามเพื่อความสุข เพื่อเป็นยาและเพื่อความหายโรค น้ำอสุจิเคลื่อน
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

พัทธจักรมีเจตนา ๒ อย่างเป็นมูล ย่อไว้แล้ว


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท บทภาชนีย์

มีเจตนา ๒ อย่างเป็นมูล

ภิกษุจงใจพยายาม เพื่อทดลอง เพื่อความสนุกและเพื่อความหายโรค น้ำ
อสุจิเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ฯลฯ ภิกษุจงใจพยายามเพื่อทดลอง เพื่อความ
สนุกและเพื่อสืบพันธุ์ น้ำอสุจิเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
พัทธจักรมีเจตนา ๒ อย่างเป็นมูล จบ
พัทธจักร ติมูลกนัยก็ดี จตุมูลกนัยก็ดี ปัญจมูลกนัยก็ดี ฉมูลกนัยก็ดี สัตต
มูลกนัยก็ดี อัฏฐมูลกนัยก็ดี นวมูลกนัยก็ดี บัณฑิตพึงตั้งขยายให้เหมือนกัน
คำที่จะกล่าวต่อไปนี้เป็นพัทธจักรสัพพมูลกนัย

สัพพมูลกนัย

[๒๔๓] ภิกษุจงใจพยายาม เพื่อความหายโรค เพื่อความสุข เพื่อเป็นยา
เพื่อเป็นทาน เพื่อเป็นบุญ เพื่อบูชายัญ เพื่อจะไปสวรรค์ เพื่อสืบพันธุ์ เพื่อทดลอง
และเพื่อความสนุก น้ำอสุจิเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

สัพพมูลกนัย จบ

ขัณฑจักร
มีวัตถุประสงค์อย่างเดียวเป็นมูล

[๒๔๔] ภิกษุจงใจพยายาม น้ำอสุจิสีเขียวและสีเหลืองเคลื่อน ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจพยายาม น้ำอสุจิสีเขียวและสีแดง ฯลฯ น้ำอสุจิสีเขียวและสีขาว
ฯลฯ น้ำอสุจิสีเขียวและสีเหมือนเปรียง ฯลฯ น้ำอสุจิสีเขียวและสีเหมือนน้ำท่า ฯลฯ
น้ำอสุจิสีเขียวและสีเหมือนน้ำมัน ฯลฯ น้ำอสุจิสีเขียวและสีเหมือนนมสด ฯลฯ น้ำ
อสุจิสีเขียวและสีเหมือนนมส้ม ฯลฯ ภิกษุจงใจพยายาม น้ำอสุจิสีเขียวและสี
เหมือนเนยใสเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

ขัณฑจักรมีวัตถุประสงค์อย่างเดียวเป็นมูล จบ


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท บทภาชนีย์

พัทธจักรแห่งเอกมูลกนัย

[๒๔๕] ภิกษุจงใจพยายาม น้ำอสุจิสีเหลืองและสีแดงเคลื่อน ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจพยายาม น้ำอสุจิสีเหลืองและสีขาว ฯลฯ น้ำอสุจิสีเหลืองและสี
เหมือนเปรียง ฯลฯ น้ำอสุจิสีเหลืองและสีเหมือนน้ำท่า ฯลฯ น้ำอสุจิสีเหลืองและสี
เหมือนน้ำมัน ฯลฯ น้ำอสุจิสีเหลืองและสีเหมือนนมสด ฯลฯ น้ำอสุจิสีเหลืองและสี
เหมือนนมส้ม ฯลฯ ภิกษุจงใจพยายาม น้ำอสุจิสีเหลืองและสีเหมือนเนยใสเคลื่อน
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจพยายาม น้ำอสุจิสีเหลืองและสีเขียวเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

พัทธจักรแห่งเอกมูลกนัย จบ

พัทธจักร
มีวัตถุประสงค์อย่างเดียวเป็นมูล หมวดที่ ๑

[๒๔๖] ภิกษุจงใจพยายาม น้ำอสุจิสีแดงและสีขาวเคลื่อน ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจพยายาม น้ำอสุจิสีแดงและสีเหมือนเปรียง ฯลฯ น้ำอสุจิสีแดงและ
สีเหมือนน้ำท่า ฯลฯ น้ำอสุจิสีแดงและสีเหมือนน้ำมัน ฯลฯ น้ำอสุจิสีแดงและสี
เหมือนนมสด ฯลฯ น้ำอสุจิสีแดงและสีเหมือนนมส้ม ฯลฯ ภิกษุจงใจพยายาม น้ำ
อสุจิสีแดงและสีเหมือนเนยใสเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจพยายาม น้ำอสุจิสีแดงและสีเขียว ฯลฯ ภิกษุจงใจพยายาม น้ำ
อสุจิสีแดงและสีเหลืองเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

มีวัตถุประสงค์อย่างเดียวเป็นมูล หมวดที่ ๒

ภิกษุจงใจพยายาม น้ำอสุจิสีขาวและสีเหมือนเปรียง ฯลฯ น้ำอสุจิสีขาวและ
สีเหมือนน้ำท่า ฯลฯ น้ำอสุจิสีขาวและสีเหมือนน้ำมัน ฯลฯ น้ำอสุจิสีขาวและสี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๒๖๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท บทภาชนีย์

เหมือนนมสด ฯลฯ น้ำอสุจิสีขาวและสีเหมือนนมส้ม ฯลฯ ภิกษุจงใจพยายาม น้ำ
อสุจิสีขาวและสีเหมือนเนยใสเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจพยายาม น้ำอสุจิสีขาวและสีเขียว ฯลฯ น้ำอสุจิสีขาวและสีเหลือง
ฯลฯ ภิกษุจงใจพยายาม น้ำอสุจิสีขาวและสีแดงเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

มีวัตถุประสงค์อย่างเดียวเป็นมูล หมวดที่ ๓

ภิกษุจงใจพยายาม น้ำอสุจิสีเหมือนเปรียงและสีเหมือนน้ำท่า ฯลฯ น้ำอสุจิ
สีเหมือนเปรียงและสีเหมือนน้ำมัน ฯลฯ น้ำอสุจิสีเหมือนเปรียงและสีเหมือนนมสด
ฯลฯ น้ำอสุจิสีเหมือนเปรียงและสีเหมือนนมส้ม ฯลฯ ภิกษุจงใจพยายาม น้ำอสุจิสี
เหมือนเปรียงและสีเหมือนเนยใสเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจพยายาม น้ำอสุจิสีเหมือนเปรียงและสีเขียว ฯลฯ น้ำอสุจิสีเหมือน
เปรียงและสีเหลือง ฯลฯ น้ำอสุจิสีเหมือนเปรียงและสีแดง ฯลฯ ภิกษุจงใจพยายาม
น้ำอสุจิสีเหมือนเปรียงและสีขาวเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

มีวัตถุประสงค์อย่างเดียวเป็นมูล หมวดที่ ๔

ภิกษุจงใจพยายาม น้ำอสุจิสีเหมือนน้ำท่าและสีเหมือนน้ำมัน ฯลฯ น้ำอสุจิ
สีเหมือนน้ำท่าและสีเหมือนนมสด ฯลฯ น้ำอสุจิสีเหมือนน้ำท่าและสีเหมือนนมส้ม
ฯลฯ ภิกษุจงใจพยายาม น้ำอสุจิสีเหมือนน้ำท่าและสีเหมือนเนยใสเคลื่อน ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจพยายาม น้ำอสุจิสีเหมือนน้ำท่าและสีเขียว ฯลฯ น้ำอสุจิสีเหมือน
น้ำท่าและสีเหลือง...น้ำอสุจิสีเหมือนน้ำท่าและสีแดง ฯลฯ น้ำอสุจิสีเหมือนน้ำท่า
และสีขาว ฯลฯ ภิกษุจงใจพยายาม น้ำอสุจิสีเหมือนน้ำท่าและสีเหมือนเปรียงเคลื่อน
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

มีวัตถุประสงค์อย่างเดียวเป็นมูล หมวดที่ ๕

ภิกษุจงใจพยายาม น้ำอสุจิสีเหมือนน้ำมันและสีเหมือนนมสด ฯลฯ น้ำอสุจิ
สีเหมือนน้ำมันและสีเหมือนนมส้ม ฯลฯ ภิกษุจงใจพยายาม น้ำอสุจิสีเหมือนน้ำมัน
และสีเหมือนเนยใสเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท บทภาชนีย์

ภิกษุจงใจพยายาม น้ำอสุจิสีเหมือนน้ำมันและสีเขียว ฯลฯ น้ำอสุจิสีเหมือน
น้ำมันและสีเหลือง...น้ำอสุจิสีเหมือนน้ำมันและสีแดง ฯลฯ น้ำอสุจิสีเหมือนน้ำมัน
และสีขาว ฯลฯ น้ำอสุจิสีเหมือนน้ำมันและสีเหมือนเปรียง ฯลฯ ภิกษุจงใจพยายาม
น้ำอสุจิสีเหมือนน้ำมันและสีเหมือนน้ำท่าเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

มีวัตถุประสงค์อย่างเดียวเป็นมูล หมวดที่ ๖

ภิกษุจงใจพยายาม น้ำอสุจิสีเหมือนนมสดและสีเหมือนนมส้ม ฯลฯ น้ำอสุจิ
สีเหมือนนมสดและสีเหมือนเนยใสเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจพยายาม น้ำอสุจิสีเหมือนนมสดและสีเขียว ฯลฯ น้ำอสุจิสีเหมือน
นมสดและสีเหลือง ฯลฯ น้ำอสุจิสีเหมือนนมสดและสีแดง ฯลฯ น้ำอสุจิสีเหมือน
นมสดและสีขาว ฯลฯ น้ำอสุจิสีเหมือนนมสดและสีเหมือนเปรียง ฯลฯ น้ำอสุจิสี
เหมือนนมสดและสีเหมือนน้ำท่า ฯลฯ ภิกษุจงใจพยายาม น้ำอสุจิสีเหมือนนมสด
และสีเหมือนน้ำมันเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

มีวัตถุประสงค์อย่างเดียวเป็นมูล หมวดที่ ๗

ภิกษุจงใจพยายาม น้ำอสุจิสีเหมือนนมส้มและสีเหมือนเนยใสเคลื่อน ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจพยายาม น้ำอสุจิสีเหมือนนมส้มและสีเขียว ฯลฯ น้ำอสุจิสีเหมือน
นมส้มและสีเหลือง ฯลฯ น้ำอสุจิสีเหมือนนมส้มและสีแดง ฯลฯ อสุจิสีเหมือนนม
ส้มและสีขาว ฯลฯ น้ำอสุจิสีเหมือนนมส้มและสีเหมือนเปรียง ฯลฯ น้ำอสุจิ
สีเหมือนนมส้มและสีเหมือนน้ำท่า ฯลฯ น้ำอสุจิสีเหมือนนมส้มและสีเหมือนน้ำมัน
ฯลฯ ภิกษุจงใจพยายาม น้ำอสุจิสีเหมือนนมส้มและสีเหมือนนมสดเคลื่อน ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสส

มีวัตถุประสงค์อย่างเดียวเป็นมูล หมวดที่ ๘

ภิกษุจงใจพยายาม น้ำอสุจิสีเหมือนเนยใสและสีเขียวเคลื่อน ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๒๖๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท บทภาชนีย์

ภิกษุจงใจพยายาม น้ำอสุจิสีเหมือนเนยใสและสีเหลือง ฯลฯ น้ำอสุจิสี
เหมือนเนยใสและสีแดง ฯลฯ น้ำอสุจิสีเหมือนเนยใสและสีขาว ฯลฯ อสุจิสีเหมือน
เนยใสและสีเหมือนเปรียง ฯลฯ น้ำอสุจิสีเหมือนเนยใสและสีเหมือนน้ำท่า ฯลฯ น้ำ
อสุจิสีเหมือนเนยใสและสีเหมือนน้ำมัน ฯลฯ น้ำอสุจิสีเหมือนเนยใสและสีเหมือนนมสด
ฯลฯ ภิกษุจงใจพยายาม น้ำอสุจิสีเหมือนเนยใสและสีเหมือนนมส้มเคลื่อน ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสส

พัทธจักรมีวัตถุประสงค์อย่างเดียวเป็นมูล จบ

ขัณฑจักร
มีวัตถุประสงค์ ๒ อย่างเป็นมูล

ภิกษุจงใจพยายาม น้ำอสุจิสีเขียว สีเหลืองและสีแดงเคลื่อน ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจพยายาม น้ำอสุจิสีเขียว สีเหลืองและสีขาวเคลื่อน ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส ฯลฯ ภิกษุจงใจพยายาม น้ำอสุจิสีเขียว สีเหลืองและสีเหมือนเนย
ใสเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

ขัณฑจักรมีวัตถุประสงค์ ๒ อย่างเป็นมูล จบ

พัทธจักร
มีวัตถุประสงค์ ๒ อย่างเป็นมูล

ภิกษุจงใจพยายาม น้ำอสุจิสีเหลือง สีแดงและสีขาวเคลื่อน ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส ฯลฯ น้ำอสุจิสีเหลือง สีแดง และสีเหมือนเนยใส ฯลฯ ภิกษุจงใจพยายาม
น้ำอสุจิสีเหลือง สีแดงและสีเขียวเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

พัทธจักรมีวัตถุประสงค์ ๒ อย่างเป็นมูล ย่อไว้แล้ว


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท บทภาชนีย์

พัทธจักร
มีวัตถุประสงค์ ๒ อย่างเป็นมูล

ภิกษุจงใจพยายาม น้ำอสุจิสีเหมือนนมส้ม สีเหมือนเนยใสและสีเขียวเคลื่อน
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ฯลฯ ภิกษุจงใจพยายาม น้ำอสุจิสีเหมือนนมส้ม สีเหมือน
เนยใสและสีเหมือนนมสดเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

พัทธจักรมีวัตถุประสงค์ ๒ อย่างเป็นมูล จบ

พัทธจักร ติมูลกนัยก็ดี จตุมูลกนัยก็ดี ปัญจมูลกนัยก็ดี ฉมูลกนัยก็ดี สัตต
มูลกนัยก็ดี อัฏฐมูลกนัยก็ดี นวมูลกนัยก็ดี บัณฑิตพึงตั้งขยายให้เหมือนกัน
คำที่จะกล่าวต่อไปนี้เป็นพัทธจักรสัพพมูลกนัย

สัพพมูลกนัย

[๒๔๗] ภิกษุจงใจพยายาม น้ำอสุจิสีเขียว สีเหลือง สีแดง สีขาว สีเหมือน
เปรียง สีเหมือนน้ำท่า สีเหมือนน้ำมัน สีเหมือนนมสด สีเหมือนนมส้มและสีเหมือน
เนยใสเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

สัพพมูลกนัย จบ

อุภโตพัทธมิสสกจักร

[๒๔๘] ภิกษุจงใจพยายามเพื่อความหายโรค น้ำอสุจิสีเขียวเคลื่อน ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจพยายาม เพื่อความหายโรคและเพื่อความสุข น้ำอสุจิสีเขียวและสี
เหลืองเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจพยายาม เพื่อความหายโรค เพื่อความสุขและเพื่อเป็นยา น้ำอสุจิ
สีเขียว สีเหลืองและสีแดงเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท บทภาชนีย์

ภิกษุจงใจพยายาม เพื่อความหายโรค เพื่อความสุข เพื่อเป็นยาและเพื่อเป็น
ทาน น้ำอสุจิสีเขียว สีเหลือง สีแดงและสีขาวเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจพยายาม เพื่อความหายโรค เพื่อความสุข เพื่อเป็นยา เพื่อเป็น
ทานและเพื่อเป็นบุญ น้ำอสุจิสีเขียว สีเหลือง สีแดงและสีเหมือนเปรียงเคลื่อน ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจพยายาม เพื่อความหายโรค เพื่อความสุข เพื่อเป็นยา เพื่อเป็นทาน
เพื่อเป็นบุญ และเพื่อบูชายัญ น้ำอสุจิสีเขียว สีเหลือง สีแดง สีขาว สีเหมือนเปรียง
และสีเหมือนน้ำท่าเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจพยายาม เพื่อความหายโรค เพื่อความสุข เพื่อเป็นยา เพื่อเป็นทาน
เพื่อเป็นบุญ เพื่อบูชายัญ และเพื่อจะไปสวรรค์ น้ำอสุจิสีเขียว สีเหลือง สีแดง สีขาว
สีเหมือนเปรียง สีเหมือนน้ำท่าและสีเหมือนน้ำมันเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจพยายาม เพื่อความหายโรค เพื่อความสุข เพื่อเป็นยา เพื่อเป็นทาน
เพื่อเป็นบุญ เพื่อบูชายัญ เพื่อจะไปสวรรค์ และเพื่อสืบพันธุ์ น้ำอสุจิสีเขียว สีเหลือง
สีแดง สีขาว สีเหมือนเปรียง สีเหมือนน้ำท่า สีเหมือนน้ำมัน และสีเหมือนนมสด
เคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจพยายาม เพื่อความหายโรค เพื่อความสุข เพื่อเป็นยา เพื่อเป็นทาน
เพื่อเป็นบุญ เพื่อบูชายัญ เพื่อจะไปสวรรค์ เพื่อสืบพันธุ์และเพื่อทดลอง น้ำอสุจิสีเขียว
สีเหลือง สีแดง สีขาว สีเหมือนเปรียง สีเหมือนน้ำท่า สีเหมือนน้ำมัน สีเหมือนนมสด
และสีเหมือนนมส้มเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจพยายาม เพื่อความหายโรค เพื่อความสุข เพื่อเป็นยา เพื่อเป็นทาน
เพื่อเป็นบุญ เพื่อบูชายัญ เพื่อจะไปสวรรค์ เพื่อสืบพันธุ์ เพื่อทดลอง และเพื่อความ
สนุก น้ำอสุจิสีเขียว สีเหลือง สีแดง สีขาว สีเหมือนเปรียง สีเหมือนน้ำท่า สีเหมือน
น้ำมัน สีเหมือนนมสด สีเหมือนนมส้ม และสีเหมือนเนยใสเคลื่อน ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส

อุภโตพัทธมิสสกจักร จบ


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท บทภาชนีย์

ขัณฑจักร

[๒๔๙] ภิกษุจงใจจะทำน้ำอสุจิสีเขียวให้เคลื่อน พยายามอยู่ แต่น้ำอสุจิสี
เหลืองเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจจะทำน้ำอสุจิสีเขียวให้เคลื่อน พยายามอยู่ แต่น้ำอสุจิสีแดงเคลื่อน
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจจะทำน้ำอสุจิสีเขียวให้เคลื่อน พยายามอยู่ แต่น้ำอสุจิสีขาวเคลื่อน
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจจะทำน้ำอสุจิสีเขียวให้เคลื่อน พยายามอยู่ แต่น้ำอสุจิสีเหมือน
เปรียงเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจจะทำน้ำอสุจิสีเขียวให้เคลื่อน พยายามอยู่ แต่น้ำอสุจิสีเหมือน
น้ำท่าเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจจะทำน้ำอสุจิสีเขียวให้เคลื่อน พยายามอยู่ แต่น้ำอสุจิสีเหมือน
น้ำมันเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจจะทำน้ำอสุจิสีเขียวให้เคลื่อน พยายามอยู่ แต่น้ำอสุจิสีเหมือน
นมสดเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจจะทำน้ำอสุจิสีเขียวให้เคลื่อน พยายามอยู่ แต่น้ำอสุจิสีเหมือน
นมส้มเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจจะทำน้ำอสุจิสีเขียวให้เคลื่อน พยายามอยู่ แต่น้ำอสุจิสีเหมือน
เนยใสเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

ขัณฑจักร จบ

พัทธจักร

[๒๕๐] ภิกษุจงใจจะทำน้ำอสุจิสีเหลืองให้เคลื่อน พยายามอยู่ แต่น้ำอสุจิ
สีแดงเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจจะทำน้ำอสุจิสีเหลืองให้เคลื่อน พยายามอยู่ แต่น้ำอสุจิสีขาวเคลื่อน
ฯลฯ น้ำอสุจิสีเหมือนเปรียงเคลื่อน ฯลฯ น้ำอสุจิสีเหมือนน้ำท่าเคลื่อน ฯลฯ น้ำ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๒๖๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท บทภาชนีย์

อสุจิสีเหมือนน้ำมันเคลื่อน ฯลฯ น้ำอสุจิสีเหมือนนมสดเคลื่อน ฯลฯ น้ำอสุจิสี
เหมือนนมส้มเคลื่อน ฯลฯ น้ำอสุจิสีเหมือนเนยใสเคลื่อน ฯลฯ น้ำอสุจิสีเขียวเคลื่อน
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจจะทำน้ำอสุจิสีแดงให้เคลื่อน พยายามอยู่ แต่น้ำอสุจิสีขาวเคลื่อน
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจจะทำน้ำอสุจิสีแดงให้เคลื่อน พยายามอยู่ แต่น้ำอสุจิสีเหมือน
เปรียงเคลื่อน ฯลฯ น้ำอสุจิสีเหมือนน้ำท่าเคลื่อน ฯลฯ น้ำอสุจิสีเหมือนน้ำมันเคลื่อน
ฯลฯ น้ำอสุจิสีเหมือนนมสดเคลื่อน ฯลฯ น้ำอสุจิสีเหมือนนมส้มเคลื่อน ฯลฯ น้ำ
อสุจิสีเหมือนเนยใสเคลื่อน ฯลฯ น้ำอสุจิสีเขียวเคลื่อน ฯลฯ น้ำอสุจิสีเหลืองเคลื่อน
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจจะทำน้ำอสุจิสีขาวให้เคลื่อน พยายามอยู่ แต่น้ำอสุจิสีเหมือนเปรียง
เคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ฯลฯ น้ำอสุจิสีแดงเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
พึงทราบจักรทั้งหลายอย่างนี้

พัทธจักร จบ

กุจฉิจักร
หมุนไปข้างหน้า

[๒๕๑] ภิกษุจงใจจะทำน้ำอสุจิสีเหมือนเนยใสให้เคลื่อน พยายามอยู่ แต่
น้ำอสุจิสีเขียวเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจจะทำน้ำอสุจิสีเหมือนเนยใสให้เคลื่อน พยายามอยู่ แต่น้ำอสุจิสี
เหลืองเคลื่อน ฯลฯ น้ำอสุจิสีแดงเคลื่อน ฯลฯ น้ำอสุจิสีขาวเคลื่อน ฯลฯ น้ำอสุจิสี
เหมือนเปรียงเคลื่อน ฯลฯ น้ำอสุจิสีหมือนน้ำท่าเคลื่อน ฯลฯ น้ำอสุจิสีเหมือน
น้ำมันเคลื่อน ฯลฯ น้ำอสุจิสีเหมือนนมสดเคลื่อน ฯลฯ น้ำอสุจิสีเหมือนนมส้ม
เคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

กุจฉิจักร จบ


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท บทภาชนีย์

ปิฏฐิจักร
หมุนไปข้างหลัง

[๒๕๒] ภิกษุจงใจจะทำน้ำอสุจิสีเหลืองให้เคลื่อน พยายามอยู่ แต่น้ำอสุจิสี
เขียวเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจจะทำน้ำอสุจิสีแดงให้เคลื่อน พยายามอยู่ แต่น้ำอสุจิสีเขียวเคลื่อน
ฯลฯ จงใจจะทำน้ำอสุจิสีขาวให้เคลื่อน พยายามอยู่ แต่น้ำอสุจิสีเขียวเคลื่อน ฯลฯ
จงใจจะทำน้ำอสุจิสีเหมือนเปรียงให้เคลื่อน พยายามอยู่ แต่น้ำอสุจิสีเขียวเคลื่อน ฯลฯ
จงใจจะทำอสุจิสีเหมือนน้ำท่าให้เคลื่อน พยายามอยู่ แต่น้ำอสุจิสีเขียวเคลื่อน ฯลฯ
จงใจจะทำน้ำอสุจิสีเหมือนน้ำมันให้เคลื่อน พยายามอยู่ แต่น้ำอสุจิสีเขียวเคลื่อน ฯลฯ
จงใจจะทำน้ำอสุจิสีเหมือนนมสดให้เคลื่อน พยายามอยู่ แต่น้ำอสุจิสีเขียวเคลื่อน ฯลฯ
จงใจจะทำน้ำอสุจิสีเหมือนนมส้มให้เคลื่อน พยายามอยู่ แต่น้ำอสุจิสีเขียวเคลื่อน ฯลฯ
จงใจจะทำน้ำอสุจิสีเหมือนเนยใสให้เคลื่อน พยายามอยู่ แต่น้ำอสุจิสีเขียวเคลื่อน
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

พระบาลีรอบที่ ๑ แห่งปิฏฐิจักร จบ

[๒๕๓] ภิกษุจงใจจะทำน้ำอสุจิสีแดงให้เคลื่อน พยายามอยู่ แต่น้ำอสุจิสี
เหลืองเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจจะทำน้ำอสุจิสีขาว ฯลฯ น้ำอสุจิสีเหมือนเปรียง...น้ำอสุจิสีเหมือน
น้ำท่า...น้ำอสุจิสีเหมือนน้ำมัน...น้ำอสุจิสีเหมือนนมสด...น้ำอสุจิสีเหมือนนม
ส้ม...น้ำอสุจิสีเหมือนเนยใส...ภิกษุจงใจจะทำน้ำอสุจิสีเขียวให้เคลื่อน พยายามอยู่
แต่น้ำอสุจิสีเหลืองเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
พระบาลีรอบที่ ๒ แห่งปิฏฐิจักร จบ
[๒๕๔] ภิกษุจงใจจะทำน้ำอสุจิสีขาวให้เคลื่อน พยายามอยู่ แต่น้ำอสุจิสี
แดงเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจจะทำน้ำอสุจิสีเหมือนเปรียง ฯลฯ น้ำอสุจิสีเหมือนน้ำท่า...น้ำอสุจิ
สีเหมือนน้ำมัน...น้ำอสุจิสีเหมือนนมสด...น้ำอสุจิสีเหมือนนมส้ม...น้ำอสุจิสีเหมือน


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท บทภาชนีย์

เนยใส...น้ำอสุจิสีเขียว...จงใจจะทำน้ำอสุจิสีเหลืองให้เคลื่อน พยายามอยู่ แต่น้ำ
อสุจิสีแดงเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

พระบาลีรอบที่ ๓ แห่งปิฏฐิจักร จบ

[๒๕๕] ภิกษุจงใจจะทำน้ำอสุจิสีเหมือนเปรียงให้เคลื่อน พยายามอยู่ แต่
น้ำอสุจิสีขาวเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจจะทำน้ำอสุจิสีเหมือนน้ำท่า ฯลฯ น้ำอสุจิสีเหมือนน้ำมัน...น้ำอสุจิ
สีเหมือนนมสด...น้ำอสุจิสีเหมือนนมส้ม...น้ำอสุจิสีเหมือนเนยใส...น้ำอสุจิสี
เขียว...น้ำอสุจิสีเหลือง...จงใจจะทำน้ำอสุจิสีแดงให้เคลื่อน พยายามอยู่ แต่น้ำอสุจิสี
ขาวเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

พระบาลีรอบที่ ๔ แห่งปิฏฐิจักร จบ

[๒๕๖] ภิกษุจงใจจะทำน้ำอสุจิสีเหมือนน้ำท่าให้เคลื่อน พยายามอยู่ แต่น้ำ
อสุจิสีเหมือนเปรียงเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจจะทำน้ำอสุจิสีเหมือนน้ำมัน ฯลฯ น้ำอสุจิสีเหมือนนมสด...น้ำ
อสุจิสีเหมือนนมส้ม...น้ำอสุจิสีเหมือนเนยใส...น้ำอสุจิสีเขียว...น้ำอสุจิสีเหลือง...น้ำ
อสุจิสีแดง...จงใจจะทำน้ำอสุจิสีขาวให้เคลื่อน พยายามอยู่ แต่น้ำอสุจิสีเหมือนเปรียง
เคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

พระบาลีรอบที่ ๕ แห่งปิฏฐิจักร จบ

[๒๕๗] ภิกษุจงใจจะทำน้ำอสุจิสีเหมือนน้ำมันให้เคลื่อน พยายามอยู่ แต่
น้ำอสุจิสีเหมือนน้ำท่าเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจจะทำน้ำอสุจิสีเหมือนนมสด ฯลฯ น้ำอสุจิสีเหมือนนมส้ม...น้ำ
อสุจิสีเหมือนเนยใส...น้ำอสุจิสีเขียว...น้ำอสุจิสีเหลือง...น้ำอสุจิสีแดง...น้ำอสุจิสี
ขาว...จงใจจะทำน้ำอสุจิสีเหมือนเปรียงให้เคลื่อน พยายามอยู่ แต่น้ำอสุจิสีเหมือน
น้ำท่าเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

พระบาลีรอบที่ ๖ แห่งปิฏฐิจักร จบ


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท บทภาชนีย์

[๒๕๘] ภิกษุจงใจจะทำน้ำอสุจิสีเหมือนนมสดให้เคลื่อน พยายามอยู่ แต่
น้ำอสุจิสีเหมือนน้ำมันเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจจะทำน้ำอสุจิสีเหมือนนมส้ม ฯลฯ สีเหมือนเนยใส...สีเขียว...สี
เหลือง...สีแดง...สีขาว สีเหมือนเปรียง...สีเหมือนน้ำท่าให้เคลื่อน พยายามอยู่ แต่
น้ำอสุจิสีเหมือนน้ำมันเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

พระบาลีรอบที่ ๗ แห่งปิฏฐิจักร จบ

[๒๕๙] ภิกษุจงใจจะทำน้ำอสุจิสีเหมือนนมส้มให้เคลื่อน พยายามอยู่ แต่
น้ำอสุจิสีเหมือนนมสดเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจจะทำน้ำอสุจิสีเหมือนเนยใส ฯลฯ น้ำอสุจิสีเขียว...น้ำอสุจิสี
เหลือง...น้ำอสุจิสีแดง...น้ำอสุจิสีขาว...น้ำอสุจิสีเหมือนเปรียง...น้ำอสุจิสีเหมือนน้ำ
ท่า...จงใจจะทำน้ำอสุจิสีเหมือนน้ำมันให้เคลื่อน พยายามอยู่ แต่น้ำอสุจิสีเหมือน
นมสดเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

พระบาลีรอบที่ ๘ แห่งปิฏฐิจักร จบ

[๒๖๐] ภิกษุจงใจจะทำน้ำอสุจิสีเหมือนเนยใสให้เคลื่อน พยายามอยู่ แต่
น้ำอสุจิสีเหมือนนมส้มเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจจะทำน้ำอสุจิสีเขียว ฯลฯ น้ำอสุจิสีเหลือง...น้ำอสุจิสีแดง...น้ำอสุจิ
สีขาว...น้ำอสุจิสีเหมือนเปรียง...น้ำอสุจิสีเหมือนน้ำท่า...น้ำอสุจิสีเหมือนน้ำมัน...
จงใจจะทำน้ำอสุจิสีเหมือนนมสดให้เคลื่อน พยายามอยู่ แต่น้ำอสุจิสีเหมือนนม
ส้มเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

พระบาลีรอบที่ ๙ แห่งปิฏฐิจักร จบ

[๒๖๑] ภิกษุจงใจจะทำน้ำอสุจิสีเขียวให้เคลื่อน พยายามอยู่ แต่น้ำอสุจิสี
เหมือนเนยใสเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท อนาปัตติวาร

ภิกษุจงใจจะทำน้ำอสุจิสีเหลือง ฯลฯ น้ำอสุจิสีแดง...น้ำอสุจิสีขาว...น้ำอสุจิ
สีเหมือนเปรียง...น้ำอสุจิสีเหมือนน้ำท่า...น้ำอสุจิสีเหมือนน้ำมัน...น้ำอสุจิสีเหมือน
นมสด...จงใจจะทำน้ำอสุจิสีเหมือนนมส้มให้เคลื่อน พยายามอยู่ แต่น้ำอสุจิสี
เหมือนเนยใสเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

ปิฏฐิจักรรอบที่ ๑๐ จบ
ปิฏฐิจักร จบ

[๒๖๒] ภิกษุจงใจ พยายาม น้ำอสุจิเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจ พยายาม น้ำอสุจิไม่เคลื่อน ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ภิกษุจงใจ ไม่พยายาม น้ำอสุจิเคลื่อน ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุจงใจ ไม่พยายาม น้ำอสุจิไม่เคลื่อน ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุไม่จงใจ พยายาม น้ำอสุจิเคลื่อน ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุไม่จงใจ พยายาม น้ำอสุจิไม่เคลื่อน ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุไม่จงใจ ไม่พยายาม น้ำอสุจิเคลื่อน ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุไม่จงใจ ไม่พยายาม น้ำอสุจิไม่เคลื่อน ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร

ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
๑. ภิกษุที่มีน้ำอสุจิเคลื่อนเพราะความฝัน
๒. ภิกษุไม่มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน
๓. ภิกษุวิกลจริต
๔. ภิกษุมีจิตฟุ้งซ่าน
๕. ภิกษุกระสับกระส่ายเพราะเวทนา
๖. ภิกษุต้นบัญญัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๒๗๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท วินีตวัตถุ

คาถารวมวินีตวัตถุ
เรื่องที่ทรงวินิจฉัยแล้ว

เรื่องภิกษุฝัน ๑ เรื่อง___เรื่องภิกษุถ่ายอุจจาระ ๑ เรื่อง
เรื่องภิกษุถ่ายปัสสาวะ ๑ เรื่อง___เรื่องภิกษุตรึกถึงกาม ๑ เรื่อง
เรื่องภิกษุอาบน้ำร้อน ๓ เรื่อง___เรื่องภิกษุทายา ๓ เรื่อง
เรื่องภิกษุเกาอัณฑะ ๓ เรื่อง___เรื่องภิกษุเดินทาง ๓ เรื่อง
เรื่องภิกษุบีบหนังหุ้มปลายองคชาต ๓ เรื่อง___เรื่องเรือนไฟ ๖ เรื่อง
เรื่องภิกษุใช้องคชาตเสียดสีขาอ่อน ๓ เรื่อง___เรื่องใช้สามเณร ๑ เรื่อง
เรื่องสามเณรนอนหลับ ๑ เรื่อง___เรื่องภิกษุใช้ขาหนีบองคชาต ๒ เรื่อง
เรื่องภิกษุใช้มือบีบองคชาต ๒ เรื่อง___เรื่องภิกษุส่ายสะเอวในอากาศ ๒ เรื่อง
เรื่องภิกษุบิดกาย ๓ เรื่อง___เรื่องภิกษุเพ่งองค์กำเนิด ๑ เรื่อง
เรื่องภิกษุสอดองคชาตเข้าช่องดาล ๒ เรื่อง___เรื่องภิกษุเสียดสีองคชาตกับไม้ ๒ เรื่อง
เรื่องภิกษุอาบน้ำทวนกระแส ๓ เรื่อง___เรื่องภิกษุเล่นน้ำโคลน ๓ เรื่อง
เรื่องภิกษุเดินลุยน้ำ ๓ เรื่อง___เรื่องภิกษุเล่นไถลก้น ๓ เรื่อง
เรื่องภิกษุเดินลุยสระบัว ๓ เรื่อง___เรื่องภิกษุสอดองคชาตเข้าในทราย ๒ เรื่อง
เรื่องภิกษุสอดองคชาตเข้าในตม ๒ เรื่อง___เรื่องภิกษุตักน้ำรดองคชาต ๓ เรื่อง
เรื่องภิกษุเสียดสีองคชาตบนที่นอน ๒ เรื่อง
เรื่องภิกษุเสียดสีองคชาตกับนิ้วหัวแม่มือ ๒ เรื่อง

วินีตวัตถุ
เรื่องภิกษุฝัน ๑ เรื่อง

[๒๖๓] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งน้ำอสุจิเคลื่อนเพราะความฝัน ท่านเกิดความ
กังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระ
ภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ น้ำอสุจิเคลื่อนเพราะความฝัน ไม่ต้องอาบัติ”
(เรื่องที่ ๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๒๗๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท วินีตวัตถุ

เรื่องภิกษุถ่ายอุจจาระ ๑ เรื่อง

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งกำลังถ่ายอุจจาระ น้ำอสุจิเคลื่อน ท่านเกิดความกังวล
ใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า ไม่มีความ
ประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่มีความประสงค์จะทำ
น้ำอสุจิให้เคลื่อน ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๒)

เรื่องภิกษุถ่ายปัสสาวะ ๑ เรื่อง

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งกำลังถ่ายปัสสาวะ น้ำอสุจิเคลื่อน ท่านเกิดความกังวล
ใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า ไม่มีความ
ประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่มีความประสงค์จะทำ
น้ำอสุจิให้เคลื่อน ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๓)

เรื่องภิกษุตรึกถึงกาม ๑ เรื่อง

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งกำลังครุ่นคิดถึงกามารมณ์ น้ำอสุจิเคลื่อน ท่านเกิด
ความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอครุ่นคิดถึงกามารมณ์ ไม่ต้องอาบัติ”
(เรื่องที่ ๔)

เรื่องภิกษุอาบน้ำร้อน ๓ เรื่อง

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งกำลังอาบน้ำร้อน น้ำอสุจิเคลื่อน ท่านเกิดความกังวล
ใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า ไม่มีความ
ประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่มีความประสงค์จะทำ
น้ำอสุจิให้เคลื่อน ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๕)


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท วินีตวัตถุ

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน กำลังอาบน้ำร้อน
น้ำอสุจิเคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิด
อย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้ามีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๖)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะทำให้อสุจิเคลื่อน กำลังอาบน้ำร้อน
แต่น้ำอสุจิไม่เคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึง
นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิด
อย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๗)

เรื่องภิกษุทายา ๓ เรื่อง

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเป็นแผลที่องคชาต กำลังทายา น้ำอสุจิเคลื่อน ท่าน
เกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระ
ผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระ
พุทธเจ้า ไม่มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่
มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๘)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเป็นแผลที่องคชาต ท่านมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิ
ให้เคลื่อน กำลังทายา น้ำอสุจิเคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์
ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิ
ให้เคลื่อน พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๙)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเป็นแผลที่องคชาต ท่านมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิ
ให้เคลื่อน กำลังทายา น้ำอสุจิไม่เคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์
ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิ


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท วินีตวัตถุ

ให้เคลื่อน พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๑๐)

เรื่องภิกษุเกาอัณฑะ ๓ เรื่อง

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งกำลังเกาลูกอัณฑะ น้ำอสุจิเคลื่อน ท่านเกิดความกังวล
ใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า ไม่มีความ
ประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่มีความประสงค์จะทำ
น้ำอสุจิให้เคลื่อน ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๑๑)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน กำลังเกาลูก
อัณฑะ น้ำอสุจิเคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ
เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน
พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๑๒)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน กำลังเกาลูก
อัณฑะ น้ำอสุจิไม่เคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอ
คิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้ามีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๑๓)

เรื่องภิกษุเดินทาง ๓ เรื่อง

[๒๖๔] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งกำลังเดินทาง น้ำอสุจิเคลื่อน ท่านเกิดความ
กังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระ
ภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า ไม่
มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่มีความ
ประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๑๔)


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท วินีตวัตถุ

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน กำลังเดินทาง
น้ำอสุจิเคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิด
อย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๑๕)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน กำลังเดินทาง
น้ำอสุจิไม่เคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิด
อย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๑๖)

เรื่องภิกษุบีบหนังหุ้มปลายองคชาต ๓ เรื่อง

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งกำลังถ่ายปัสสาวะ บีบหนังหุ้มปลายองคชาต น้ำอสุจิ
เคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร”
“ข้าพระพุทธเจ้า ไม่มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ
เธอไม่มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๑๗)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน กำลังถ่าย
ปัสสาวะ บีบหนังหุ้มปลายองคชาต น้ำอสุจิเคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เรา
ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะทำ
น้ำอสุจิให้เคลื่อน พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๑๘)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน กำลังถ่าย
ปัสสาวะ บีบหนังหุ้มปลายองคชาต น้ำอสุจิไม่เคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า
เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะทำ


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท วินีตวัตถุ

น้ำอสุจิให้เคลื่อน พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๑๙)

เรื่องเรือนไฟ ๖ เรื่อง

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอบหน้าท้องอยู่ในเรือนไฟ น้ำอสุจิเคลื่อน ท่านเกิด
ความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า
ไม่มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่มีความ
ประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๒๐)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน อบหน้าท้อง
อยู่ในเรือนไฟ น้ำอสุจิเคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสส
หรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า
“ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน
พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๒๑)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน อบหน้าท้อง
อยู่ในเรือนไฟ น้ำอสุจิไม่เคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสส
หรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า
“ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน
พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่อง
ที่ ๒๒)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งนวดหลังให้พระอุปัชฌาย์ในเรือนไฟ น้ำอสุจิเคลื่อน
ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้า
พระพุทธเจ้า ไม่มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอ
ไม่มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๒๓)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน นวดหลังให้
พระอุปัชฌาย์ในเรือนไฟ น้ำอสุจิเคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติ


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท วินีตวัตถุ

สังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์
ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิ
ให้เคลื่อน พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๒๔)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน นวดหลังให้พระ
อุปัชฌาย์ในเรือนไฟ น้ำอสุจิไม่เคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์
ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะทำน้ำ
อสุจิให้เคลื่อน พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๒๕)

เรื่องภิกษุใช้องคชาตเสียดสีขาอ่อน ๓ เรื่อง

[๒๖๕] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งใช้องคชาตเสียดสีขาอ่อน น้ำอสุจิเคลื่อน ท่าน
เกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระ
ผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า
ไม่มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่มีความ
ประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๒๖)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน จึงใช้องคชาต
เสียดสีขาอ่อน น้ำอสุจิเคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสส
หรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า
“ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน
พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๒๗)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน จึงใช้องคชาต
เสียดสีขาอ่อน น้ำอสุจิไม่เคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสส
หรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า
“ภิกษุ เธอ คิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน
พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย”
(เรื่อง ที่ ๒๘)


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท วินีตวัตถุ

เรื่องใช้สามเณร ๑ เรื่อง

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน ได้กล่าวกับ
สามเณรว่า “สามเณรมานี่ จงจับองคชาตของเรา” สามเณรจึงจับองคชาตของภิกษุ
นั้น ท่านน้ำอสุจิเคลื่อนแล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอ
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๒๙)

เรื่องสามเณรนอนหลับ ๑ เรื่อง

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งจับองคชาตของสามเณรซึ่งนอนหลับ แล้วท่านน้ำอสุจิ
เคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ ๓๐)

เรื่องภิกษุใช้ขาหนีบองคชาต ๒ เรื่อง

[สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งใช้ขาหนีบองคชาต น้ำอสุจิเคลื่อน ท่านเกิดความกังวล
ใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน ไม่
ต้องอาบัติ”]๑
[๒๖๖] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน จึงใช้
ขาหนีบองคชาต น้ำอสุจิเคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสส
หรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า
“ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน
พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๓๑)

เชิงอรรถ :
๑ [ ] ไม่มีเลขบอกลำดับเรื่อง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๒๘๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท วินีตวัตถุ

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน จึงใช้ขาหนีบ
องคชาตแต่น้ำอสุจิไม่เคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือ
หนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ
เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน พระพุทธ
เจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๓๒)

เรื่องภิกษุใช้มือบีบองคชาต ๒ เรื่อง

[สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งใช้มือบีบองคชาต น้ำอสุจิเคลื่อน ท่านเกิดความกังวล
ใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน ไม่
ต้องอาบัติ”]๑
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน จึงใช้มือบีบองค
ชาต น้ำอสุจิเคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ
เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน
พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสส ” (เรื่องที่ ๓๓)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน จึงใช้มือบีบองค
ชาต แต่น้ำอสุจิไม่เคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือ
หนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ
เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน พระ
พุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๓๔)

เรื่องภิกษุส่ายสะเอวในอากาศ ๒ เรื่อง

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน จึงส่ายสะเอวใน
อากาศ น้ำอสุจิเคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ

เชิงอรรถ :
๑ [ ] ไม่มีเลขบอกลำดับเรื่อง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๒๘๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท วินีตวัตถุ

จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ
เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน
พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๓๕)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน จึงส่ายสะเอวใน
อากาศแต่น้ำอสุจิไม่เคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือ
หนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า
“ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน
พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย”
(เรื่องที่ ๓๖)

เรื่องภิกษุบิดกาย ๓ เรื่อง

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งบิดกาย น้ำอสุจิเคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เรา
ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน ไม่ต้องอาบัติ”
(เรื่องที่ ๓๗)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน บิดกาย น้ำอสุจิ
เคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร”
“ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ
เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสส ” (เรื่องที่ ๓๘)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน บิดกาย แต่น้ำ
อสุจิไม่เคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิด
อย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๓๙)


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท วินีตวัตถุ

เรื่องภิกษุเพ่งองค์กำเนิด ๑ เรื่อง

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความกำหนัด เพ่งดูองค์กำเนิดมาตุคาม น้ำอสุจิเคลื่อน
ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
อนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงเพ่งดูองค์กำเนิดมาตุคาม ภิกษุใดเพ่งดู ภิกษุนั้น ต้อง
อาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ ๔๐)

เรื่องภิกษุสอดองคชาตเข้าช่องดาล ๒ เรื่อง

[๒๖๗] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน จึง
สอดองคชาตเข้าช่องดาล๑ น้ำอสุจิเคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์
ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิ
ให้เคลื่อน พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๔๑)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน จึงสอดองคชาต
เข้าช่องดาล แต่น้ำอสุจิไม่เคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสส
หรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า
“ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน
พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย”
(เรื่องที่ ๔๒)

เรื่องภิกษุเสียดสีองคชาตกับไม้ ๒ เรื่อง

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน จึงเอาไม้มา
เสียดสีองคชาต น้ำอสุจิเคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสส

เชิงอรรถ :
๑ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕, (กรุงเทพฯ : รพ.อักษรเจริญทัศน์, ๒๕๓๖) หน้า
๒๙๘ “ช่องดาล” คือ รูสำหรับเขี่ยลูกดาล ช่องสำหรับไขดาล ส่วนเหล็กสำหรับไขดาลมีรูปเป็นมุมฉาก ๒
ทบอย่างคันฉัตรหลังพระพุทธรูป เรียกว่า “ลูกดาล” คำว่า “ดาล” เป็นชื่อกลอนประตูที่ทำด้วยไม้สำหรับขัด
บานประตู เช่น ประตูโบสถ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๒๘๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท วินีตวัตถุ

หรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า
“ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน
พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๔๓)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน จึงเอาไม้มา
เสียดสีองคชาต แต่น้ำอสุจิไม่เคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์
ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิ
ให้เคลื่อน พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๔๔)

เรื่องภิกษุอาบน้ำทวนกระแส ๓ เรื่อง

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งลงอาบน้ำทวนกระแส น้ำอสุจิเคลื่อน ท่านเกิดความ
กังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระ
ภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้
เคลื่อน ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๔๕)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน จึงอาบน้ำทวน
กระแส น้ำอสุจิเคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ
เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน
พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๔๖)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน จึงอาบน้ำทวน
กระแส แต่น้ำอสุจิไม่เคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือ
หนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า
“ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน
พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่อง
ที่ ๔๗)


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท วินีตวัตถุ

เรื่องภิกษุเล่นน้ำโคลน ๓ เรื่อง

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งลงเล่นน้ำโคลน น้ำอสุจิเคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจ
ว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน
ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๔๘)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน จึงลงเล่นน้ำโคลน
น้ำอสุจิเคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิด
อย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๔๙)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน จึงลงเล่นน้ำ
โคลนแต่น้ำอสุจิไม่เคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ
เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน
พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย”
(เรื่องที่ ๕๐)

เรื่องภิกษุเดินลุยน้ำ ๓ เรื่อง

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเดินลุยน้ำ น้ำอสุจิเคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เรา
ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน ไม่ต้องอาบัติ”
(เรื่องที่ ๕๑)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน จึงเดินลุยน้ำ
น้ำอสุจิเคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้
ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร”
“ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ
เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๕๒)


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท วินีตวัตถุ

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน จึงเดินลุยน้ำ
แต่น้ำอสุจิไม่เคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึง
นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอ
คิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๕๓)

เรื่องภิกษุเล่นไถลก้น ๓ เรื่อง

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเล่นไถลก้น น้ำอสุจิเคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า
เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน ไม่ต้องอาบัติ”
(เรื่องที่ ๕๔)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน จึงเล่นไถลก้น
น้ำอสุจิเคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิด
อย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๕๕)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน จึงเล่นไถลก้น
แต่น้ำอสุจิไม่เคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึง
นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอ
คิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน พระพุทธเจ้า
ข้า” “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๕๖)

เรื่องภิกษุเดินลุยสระบัว ๓ เรื่อง

[๒๖๘] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเดินลุยในสระบัว น้ำอสุจิเคลื่อน ท่านเกิด
ความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้
เคลื่อน ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๕๗)


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท วินีตวัตถุ

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน จึงเดินลุย
ในสระบัว น้ำอสุจิเคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือ
หนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า
“ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน
พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๕๘)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน จึงเดินลุย
ในสระบัว แต่น้ำอสุจิไม่เคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสส
หรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า
“ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน
พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย”
(เรื่องที่ ๕๙)

เรื่องภิกษุสอดองคชาตเข้าในทราย ๒ เรื่อง

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน จึงสอดองคชาต
เข้าในทราย น้ำอสุจิเคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือ
หนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า
“ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน
พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสส ” (เรื่องที่ ๖๐)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน จึงสอดองคชาต
เข้าในทรายแต่น้ำอสุจิไม่เคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสส
หรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า
“ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน
พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย”
(เรื่องที่ ๖๑)

เรื่องภิกษุสอดองคชาตเข้าในตม ๒ เรื่อง

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน จึงสอดองคชาต
เข้าในตม น้ำอสุจิเคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท วินีตวัตถุ

จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ
เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน
พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๖๒)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน จึงสอดองคชาต
เข้าในตม แต่น้ำอสุจิไม่เคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสส
หรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า
“ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน
พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่อง
ที่ ๖๓)

เรื่องภิกษุเอาน้ำรดองคชาต ๓ เรื่อง

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเอาน้ำรดองคชาต น้ำอสุจิเคลื่อน ท่านเกิดความกังวล
ใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน ไม่
ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๖๔)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน จึงเอาน้ำรด
องคชาต น้ำอสุจิเคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ
เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน
พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๖๕)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน จึงเอาน้ำรด
องคชาต แต่น้ำอสุจิไม่เคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือ
หนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า
“ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน
พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่อง
ที่ ๖๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๒๘๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท วินีตวัตถุ

เรื่องภิกษุเสียดสีองคชาตบนที่นอน ๒ เรื่อง

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน จึงเสียดสี
องคชาตบนที่นอน น้ำอสุจิเคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสส
หรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า
“ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน
พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๖๗)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน จึงเสียดสี
องคชาตบนที่นอน แต่น้ำอสุจิไม่เคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์
ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิ
ให้เคลื่อน พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๖๘)

เรื่องภิกษุเสียดสีองชาตกับนิ้วหัวแม่มือ ๒ เรื่อง

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน จึงเสียดสี
องคชาตกับนิ้วหัวแม่มือ น้ำอสุจิเคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์
ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๖๙)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน จึงเสียดสี
องคชาตกับนิ้วหัวแม่มือ แต่น้ำอสุจิไม่เคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้อง
อาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๗๐)

สุกกวิสัฏฐิสิกขาบทที่ ๑ จบ


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๒. กายสังสัคคสิกขาบท นิทานวัตถุ

๒. กายสังสัคคสิกขาบท
ว่าด้วยการถูกต้องกายกับมาตุคาม
เรื่องพระอุทายี

[๒๖๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระอุทายีอยู่ในป่า วิหารของ
ท่านสวยงาม น่าดู น่าชม ห้องกลางมีระเบียงรอบด้าน จัดเตียง ตั่ง ฟูก หมอนไว้
เรียบร้อย ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ไว้พร้อม บริเวณวิหารเตียนสะอาด ชาวบ้านจำนวนมากพา
กันมาชม วิหารของท่าน พราหมณ์คนหนึ่งกับภรรยาเข้าไปหาท่านพระอุทายีถึงที่อยู่
กราบเรียนว่า “พวกข้าพเจ้าอยากชมวิหารของพระคุณเจ้า” ท่านพระอุทายีตอบว่า
“พราหมณ์ ถ้าเช่นนั้นเชิญชมเถิด” แล้วถือลูกกุญแจไขลิ่มผลักบานประตูเข้าไปยังวิหาร
พราหมณ์เดินตามหลังท่านพระอุทายีเข้าไป ส่วนภรรยาก็เดินตามหลัง
พราหมณ์เข้าไป
ขณะนั้นท่านพระอุทายีเดินไปเปิดปิดหน้าต่างบางตอน เวียนรอบห้องแล้ว
ย้อนมาข้างหลัง ได้จับต้องอวัยวะน้อยใหญ่ของนางพราหมณี
ครั้งนั้น พราหมณ์นั้นได้ชื่นชมยินดีกับท่านพระอุทายีแล้วกลับไป เมื่อกลับไป
แล้ว พราหมณ์ได้เปล่งวาจาออกมาด้วยความดีใจว่า “พระสมณะเชื้อสายศากยบุตร
ที่อยู่ในป่าเช่นนี้มีอัธยาศัยกว้างขวาง แม้พระอุทายีผู้เจริญที่อยู่ในป่าเช่นนี้ก็มี
อัธยาศัยกว้างขวาง”
เมื่อพราหมณ์กล่าวอย่างนี้ นางพราหมณีจึงบอกกับพราหมณ์ว่า “พระอุทายี
นั้นจะมีอัธยาศัยกว้างขวางที่ไหนกัน พระสมณอุทายีจับต้องอวัยวะน้อยใหญ่ของ
ดิฉันเหมือนที่ท่านจับนั่นแหละ”
พอได้ทราบเช่นนั้น พราหมณ์จึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “พระสมณะ
เชื้อสายศากยบุตรเหล่านี้ ไม่มียางอาย ทุศีล ชอบกล่าวเท็จ แต่ก็ปฏิญญาว่า


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๒. กายสังสัคคสิกขาบท นิทานวัตถุ

ประพฤติธรรม ประพฤติสงบ ประพฤติพรหมจรรย์ พูดจริง มีศีล มีกัลยาณธรรม
พวกเธอไม่มีความเป็นสมณะ ไม่มีความเป็นพราหมณ์ ความเป็นสมณะความเป็น
พราหมณ์ของพวกเธอเสื่อมสิ้นไปแล้ว พวกเธอจะเป็นสมณะเป็นพราหมณ์ได้อย่างไร
พวกเธอปราศจากความเป็นสมณะ ปราศจากความเป็นพราหมณ์ ไฉนพระสมณ
อุทายี จับต้องอวัยวะน้อยใหญ่ของภรรยาเราเล่า ต่อไปหญิงผู้มีตระกูล ลูกสาวผู้มีตระกูล
หญิงสาวผู้มีตระกูล หญิงสะใภ้ผู้มีตระกูล สาวใช้ประจำตระกูลจะไม่กล้าไปอาราม
หรือวิหารเป็นแน่ เพราะถ้าพวกเธอไปก็จะต้องถูกพระสมณะเชื้อสายศากยบุตร
ประทุษร้ายเอา”
ภิกษุทั้งหลายได้ยินพราหมณ์ตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มัก
น้อยสันโดษ มีความละอาย มีความระมัดระวัง ใฝ่การศึกษา จึงตำหนิ ประณาม
โพนทะนาว่า “ไฉนท่านพระอุทายีจึงถูกต้องกายกับมาตุคามเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลาย
ตำหนิพระอุทายีโดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุแล้ว
ทรงสอบถามท่านพระอุทายีว่า “อุทายี ทราบว่าเธอถูกต้องกายกับมาตุคามจริงหรือ”
ท่านพระอุทายีกราบทูลว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิว่า
“โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ไม่สมควร ไม่คล้อยตาม ไม่เหมาะสม ไม่ใช่กิจของ
สมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนเธอจึงถูกต้องกายกับมาตุคามเล่า เราแสดงธรรม
โดยประการต่าง ๆ เพื่อคลายความกำหนัด มิใช่เพื่อความกำหนัด ฯลฯ เราบอก
การระงับความกลัดกลุ้มเพราะกามไว้โดยประการต่าง ๆ มิใช่หรือ การกระทำอย่างนี้
มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้น ได้เลย
ที่จริง กลับจะทำให้คนที่ไม่เลื่อมใสก็ไม่เลื่อมใสไปเลย คนที่เลื่อมใสอยู่แล้วบางพวก
ก็จะกลายเป็นอื่นไป” ตรัสโทษแห่งความเป็นผู้เลี้ยงยาก ฯลฯ คุณแห่งการปรารภ
ความเพียร แล้วทรงแสดงธรรมีกถาแก่ภิกษุทั้งหลายให้เหมาะสมกับเรื่องนั้นแล้ว
จึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๒๙๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๒. กายสังสัคคสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

พระบัญญัติ

[๒๗๐] ก็ภิกษุใดถูกราคะครอบงำแล้ว มีจิตแปรปรวน ถูกต้องกายกับ
มาตุคาม คือ จับมือ จับช้องผมหรือลูบคลำอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่ง เป็นสังฆาทิเสส

เรื่องพระอุทายี จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๒๗๑] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ที่ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ถูกราคะครอบงำแล้ว คือ มีความยินดี เพ่งเล็ง มีจิตรักใคร่
คำว่า แปรปรวน ความว่า จิตกำหนัดแล้วชื่อว่าแปรปรวนบ้าง จิตโกรธแล้ว
ชื่อว่าแปรปรวนบ้าง จิตหลงแล้วชื่อว่าแปรปรวนบ้าง แต่จิตกำหนัดแล้ว พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์ว่า แปรปรวน ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า มาตุคาม ได้แก่ หญิงมนุษย์ ไม่ใช่นางยักษ์ ไม่ใช่นางเปรต ไม่ใช่สัตว์
ดิรัจฉานตัวเมีย หญิงมนุษย์นั้นโดยที่สุดกระทั่งเด็กหญิงซึ่งเกิดในวันนั้น หญิงโตกว่า
นี้ไม่ต้องกล่าวถึง
คำว่า กับ คือ โดยความเป็นอันเดียวกัน
คำว่า ถูกต้อง คือ ท่านกล่าวถึงความประพฤติล่วงเกิน
ที่ชื่อว่า มือ หมายเอาตั้งแต่ข้อศอกถึงปลายเล็บ
ที่ชื่อว่า ช้องผม ได้แก่ เส้นผมล้วนๆ หรือแซมด้าย แซมดอกไม้ แซมเงิน
แซมทอง แซมแก้วมุกดา หรือแซมแก้วมณี
ที่ชื่อว่า อวัยวะ คือ ยกเว้นมือและช้องผม นอกนั้นชื่อว่าอวัยวะ


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๒. กายสังสัคคสิกขาบท บทภาชนีย์

บทภาชนีย์
มาติกา

[๒๗๒] จับต้อง ลูบคลำ ลูบลง ลูบขึ้น จับกดลง จับให้เงยขึ้น ฉุดมา ผลักไป
นวด บีบ จับ ต้อง
ที่ชื่อว่า จับต้อง คือ กิริยาเพียงแต่ลูบคลำ
ที่ชื่อว่า ลูบคลำ คือ ลูบคลำไปทางโน้นทางนี้
ที่ชื่อว่า ลูบลง คือ ลูบลงเบื้องล่าง
ที่ชื่อว่า ลูบขึ้น คือ ลูบขึ้นเบื้องบน
ที่ชื่อว่า จับกดลง คือ จับโน้มลงข้างล่าง
ที่ชื่อว่า จับให้เงยขึ้น คือ จับให้เงยขึ้นข้างบน
ที่ชื่อว่า ฉุดมา คือ รั้งมา
ที่ชื่อว่า ผลักไป คือ ผลักออกไป
ที่ชื่อว่า นวด คือ จับอวัยวะแล้วบีบนวด
ที่ชื่อว่า บีบ คือ บีบรัดกับผ้าหรืออาภรณ์บางอย่าง
ที่ชื่อว่า จับ คือ ลักษณะเพียงแต่จับ
ที่ชื่อว่า ต้อง คือ ลักษณะเพียงสัมผัส
คำว่า เป็นสังฆาทิเสส ความว่า สำหรับอาบัตินั้น สงฆ์เท่านั้นให้ปริวาส
ชักเข้าหาอาบัติเดิม ให้มานัตและเรียกเข้าหมู่ คณะก็ทำไม่ได้ ภิกษุรูปเดียวก็ทำไม่ได้
ฉะนั้น จึงตรัสว่า เป็นสังฆาทิเสส
คำว่า “เป็นสังฆาทิเสส” นี้ เป็นการขนานนาม เป็นชื่อของหมวดอาบัตินั้น
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า “เป็นสังฆาทิเสส”


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๒. กายสังสัคคสิกขาบท บทภาชนีย์

ภิกขุเปยยาล
หญิง

[๒๗๓] (๑) เป็นหญิง (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงและมีความกำหนัด
(๓) ภิกษุใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ลูบลง ลูบขึ้น จับกดลง จับให้เงยขึ้น ฉุดมา ผลักไป
นวด บีบ จับ ต้องกายของหญิง ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
(๑) เป็นหญิง (๒) ภิกษุไม่แน่ใจว่าเป็นหญิงและมีความกำหนัด (๓) ภิกษุ
ใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของหญิง ต้องอาบัติถุลลัจจัย
(๑) เป็นหญิง (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์และมีความกำหนัด
(๓) ภิกษุใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของหญิง ต้องอาบัติถุลลัจจัย
(๑) เป็นหญิง (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นชายและมีความกำหนัด (๓) ภิกษุใช้
กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของหญิง ต้องอาบัติถุลลัจจัย
(๑) เป็นหญิง (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉานและมีความกำหนัด
(๓) ภิกษุใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของหญิง ต้องอาบัติถุลลัจจัย

บัณเฑาะก์

(๑) เป็นบัณเฑาะก์ (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์และมีความกำหนัด
(๓) ภิกษุใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของบัณเฑาะก์ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
(๑) เป็นบัณเฑาะก์ (๒) ภิกษุไม่แน่ใจว่าเป็นบัณเฑาะก์และมีความกำหนัด
(๓) ภิกษุใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของบัณเฑาะก์ ต้องอาบัติทุกกฏ
(๑) เป็นบัณเฑาะก์ (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นชายและมีความกำหนัด (๓) ภิกษุ
ใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของบัณเฑาะก์ ต้องอาบัติทุกกฏ
(๑) เป็นบัณเฑาะก์ (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉานและมีความกำหนัด
(๓) ภิกษุใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของบัณเฑาะก์ ต้องอาบัติทุกกฏ
(๑) เป็นบัณเฑาะก์ (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงและมีความกำหนัด (๓) ภิกษุ
ใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของบัณเฑาะก์ ต้องอาบัติทุกกฏ


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๒. กายสังสัคคสิกขาบท บทภาชนีย์

ชาย

(๑) เป็นชาย (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นชายและมีความกำหนัด (๓) ภิกษุใช้
กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของชาย ต้องอาบัติทุกกฏ
(๑) เป็นชาย (๒) ภิกษุไม่แน่ใจว่าเป็นชายและมีความกำหนัด (๓) ภิกษุ
ใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของชาย ต้องอาบัติทุกกฏ
(๑) เป็นชาย (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉานและมีความกำหนัด
(๓) ภิกษุใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของชาย ต้องอาบัติทุกกฏ
(๑) เป็นชาย (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงและมีความกำหนัด (๓) ภิกษุใช้
กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของชาย ต้องอาบัติทุกกฏ
(๑) เป็นชาย (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์และมีความกำหนัด (๓) ภิกษุ
ใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของชาย ต้องอาบัติทุกกฏ

สัตว์ดิรัจฉาน

(๑) เป็นสัตว์ดิรัจฉาน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉานและมีความกำหนัด
(๓) ภิกษุใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของสัตว์ดิรัจฉาน ต้องอาบัติ
ทุกกฏ
(๑) เป็นสัตว์ดิรัจฉาน (๒) ภิกษุไม่แน่ใจว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉานและมีความ
กำหนั์ด (๓) ภิกษุใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของสัตว์ดิรัจฉาน ต้อง
อาบัติทุกกฏ
(๑) เป็นสัตว์ดิรัจฉาน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงและมีความกำหนัด
(๓) ภิกษุใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของสัตว์ดิรัจฉาน ต้องอาบัติ
ทุกกฏ
(๑) เป็นสัตว์ดิรัจฉาน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์และมีความกำหนัด
(๓) ภิกษุใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของสัตว์ดิรัจฉาน ต้องอาบัติ
ทุกกฏ
(๑) เป็นสัตว์ดิรัจฉาน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นชายและมีความกำหนัด
(๓) ภิกษุใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของสัตว์ดิรัจฉาน ต้องอาบัติ
ทุกกฏ

เอกมูลกนัย จบ


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๒. กายสังสัคคสิกขาบท บทภาชนีย์

หญิง ๒ คน

[๒๗๔] (๑) เป็นหญิง ๒ คน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คนและมี
ความกำหนัด (๓) ภิกษุใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของหญิงทั้ง ๒ คน
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว
(๑) เป็นหญิง ๒ คน (๒) ภิกษุไม่แน่ใจว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คนและมีความ
กำหนัด (๓) ภิกษุใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของหญิงทั้ง ๒ คน ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย ๒ ตัว
(๑) เป็นหญิง ๒ คน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ทั้ง ๒ คน ฯลฯ
(๑) เป็นหญิง ๒ คน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นชายทั้ง ๒ คน ฯลฯ
(๑) เป็นหญิง ๒ คน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉานทั้ง ๒ คนและ
มีความกำหนัด (๓) ภิกษุใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของหญิงทั้ง ๒ คน
ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๒ ตัว

บัณเฑาะก์ ๒ คน

(๑) เป็นบัณเฑาะก์ ๒ คน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ทั้ง ๒ คนและ
มีความกำหนัด (๓) ภิกษุใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของบัณเฑาะก์ ๒
คน ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๒ ตัว
(๑) เป็นบัณเฑาะก์ ๒ คน (๒) ภิกษุไม่แน่ใจว่าเป็นบัณเฑาะก์ทั้ง ๒ คน ฯลฯ
(๑) เป็นบัณเฑาะก์ ๒ คน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นชายทั้ง ๒ คน ฯลฯ
(๑) เป็นบัณเฑาะก์ ๒ คน (๒) สำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉานทั้ง ๒ คน ฯลฯ
(๑) เป็นบัณเฑาะก์ ๒ คน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คนและมีความ
กำหนัด (๓) ภิกษุใช้กายจับต้อง ลูบคลำฯลฯ จับ ต้องกายของบัณเฑาะก์ทั้ง ๒ คน
ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๒. กายสังสัคคสิกขาบท บทภาชนีย์

ชาย ๒ คน

(๑) เป็นชาย ๒ คน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นชายทั้ง ๒ คนและมีความ
กำหนัดจัด (๓) ภิกษุใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของชายทั้ง ๒ คน ต้อง
อาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
(๑) เป็นชาย ๒ คน (๒) ภิกษุไม่แน่ใจว่าเป็นชายทั้ง ๒ คน ฯลฯ
(๑) เป็นชาย ๒ คน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉานทั้ง ๒ คน ฯลฯ
(๑) เป็นชาย ๒ คน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คน ฯลฯ
(๑) เป็นชาย ๒ คน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ทั้ง ๒ คนและมีความ
กำหนัด (๓) ภิกษุใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของชายทั้ง ๒ คน ต้อง
อาบัติทุกกฏ ๒ ตัว

สัตว์ดิรัจฉาน ๒ ตัว

(๑) เป็นสัตว์ดิรัจฉาน ๒ ตัว (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉานทั้ง ๒ ตัว
และมีความกำหนัด (๓) ภิกษุใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของสัตว์
ดิรัจฉานทั้ง ๒ ตัว ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
(๑) เป็นสัตว์ดิรัจฉาน ๒ ตัว (๒) ภิกษุไม่แน่ใจว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉานทั้ง ๒ ตัว
ฯลฯ
(๑) เป็นสัตว์ดิรัจฉาน ๒ ตัว (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ ตัว ฯลฯ
(๑) เป็นสัตว์ดิรัจฉาน ๒ ตัว (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ทั้ง ๒ ตัว ฯลฯ
(๑) เป็นสัตว์ดิรัจฉาน ๒ ตัว (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นชายทั้ง ๒ ตัวและ
มีความกำหนัด (๓) ภิกษุใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของสัตว์ดิรัจฉาน
ทั้ง ๒ ตัว ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๒. กายสังสัคคสิกขาบท บทภาชนีย์

หญิงและบัณเฑาะก์

[๒๗๕] (๑) เป็นหญิงและบัณเฑาะก์ (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คน
และมีความกำหนัด (๓) ภิกษุใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของคนทั้ง ๒
ต้องอาบัติทุกกฏกับอาบัติสังฆาทิเสส
(๑) เป็นหญิงและบัณเฑาะก์ (๒) ภิกษุไม่แน่ใจว่าเป็นหญิงและบัณเฑาะก์
ทั้ง ๒ คนและมีความกำหนัด (๓) ภิกษุใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของ
คนทั้ง ๒ ต้องอาบัติทุกกฏกับอาบัติถุลลัจจัย
(๑) เป็นหญิงและบัณเฑาะก์ (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ทั้ง ๒ คนและ
มีความกำหนัด(๓) ภิกษุใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของคนทั้ง ๒
ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๒ ตัว
(๑) เป็นหญิงและบัณเฑาะก์ (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นชายทั้ง ๒ คนและมี
ความกำหนัด (๓) ภิกษุใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของคนทั้ง ๒
ต้องอาบัติทุกกฏกับอาบัติถุลลัจจัย
(๑) เป็นหญิงและบัณเฑาะก์ (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉานทั้ง ๒ คน
และมีความกำหนัด (๓) ภิกษุใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของคนทั้ง ๒
ต้องอาบัติทุกกฏกับอาบัติถุลลัจจัย

หญิงและชาย

(๑) เป็นหญิงและชาย (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คน และมีความ
กำหนัด (๓) ภิกษุใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของคนทั้ง ๒ คน ต้อง
อาบัติทุกกฏกับอาบัติสังฆาทิเสส
(๑) เป็นหญิงและชาย (๒) ภิกษุไม่แน่ใจว่าเป็นหญิงและชายทั้ง ๒ คนและ
มีความกำหนัด (๓) ภิกษุใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของคนทั้ง ๒
ต้องอาบัติทุกกฏกับอาบัติถุลลัจจัย


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๒. กายสังสัคคสิกขาบท บทภาชนีย์

(๑) เป็นหญิงและชาย (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ทั้ง ๒ คนและมี
ความกำหนัด (๓) ภิกษุใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของคนทั้ง ๒
ต้องอาบัติทุกกฏกับอาบัติถุลลัจจัย
(๑) เป็นหญิงและชาย (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นชายทั้ง ๒ คนและมีความ
กำหนัด (๓) ภิกษุใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของคนทั้ง ๒ ต้องอาบัติ
ทุกกฏ กับอาบัติถุลลัจจัย
(๑) เป็นหญิงและชาย (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉานทั้ง ๒ คนและมี
ความกำหนัด (๓) ภิกษุใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของคนทั้ง ๒
ต้องอาบัติทุกกฏกับอาบัติถุลลัจจัย

หญิงและสัตว์ดิรัจฉาน

(๑) เป็นหญิงและสัตว์ดิรัจฉาน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ และมี
ความกำหนัด (๓) ภิกษุใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของทั้ง ๒ ต้อง
อาบัติทุกกฏกับอาบัติสังฆาทิเสส
(๑) เป็นหญิงและสัตว์ดิรัจฉาน (๒) ภิกษุไม่แน่ใจว่าเป็นหญิงและสัตว์
ดิรัจฉานทั้ง ๒ และมีความกำหนัด (๓) ภิกษุใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ
ต้องกายของทั้ง ๒ ต้องอาบัติทุกกฏกับอาบัติถุลลัจจัย
(๑) เป็นหญิงและสัตว์ดิรัจฉาน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ทั้ง ๒ และ
มีความกำหนัด (๓) ภิกษุใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของทั้ง ๒ ต้อง
อาบัติทุกกฏกับอาบัติถุลลัจจัย
(๑) เป็นหญิงและสัตว์ดิรัจฉาน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นชายทั้ง ๒ และมีความ
กำหนัด (๓) ภิกษุใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของทั้ง ๒ ต้องอาบัติ
ทุกกฏกับอาบัติถุลลัจจัย
(๑) เป็นหญิงและสัตว์ดิรัจฉาน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉานทั้ง ๒
และมีความกำหนัด (๓) ภิกษุใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จ้บต้องกายของทั้ง ๒
ต้องอาบัติทุกกฏกับอาบัติถุลลัจจัย


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๒. กายสังสัคคสิกขาบท บทภาชนีย์

บัณเฑาะก์และชาย

(๑) เป็นบัณเฑาะก์และชาย (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ทั้ง ๒ คนและ
มีความกำหนัด (๓) ภิกษุใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับต้องกายของคนทั้ง ๒
ต้องอาบัติทุกกฏกับอาบัติถุลลัจจัย
(๑) เป็นบัณเฑาะก์และชาย (๒) ภิกษุไม่แน่ใจว่าเป็นบัณเฑาะก์และชายทั้ง ๒
คน ฯลฯ ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
(๑) เป็นบัณเฑาะก์และชาย (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นชายทั้ง ๒ คน ฯลฯ
(๑) เป็นบัณเฑาะก์และชาย (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉานทั้ง ๒ คน
ฯลฯ
(๑) เป็นบัณเฑาะก์และชาย (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คนและมี
ความกำหนัด (๓) ภิกษุใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของทั้ง ๒ คน
ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว

บัณเฑาะก์และสัตว์ดิรัจฉาน

(๑) เป็นบัณเฑาะก์และสัตว์ดิรัจฉาน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ทั้ง ๒
และมีความกำหนัด (๓) ภิกษุใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของทั้ง ๒
ต้องอาบัติทุกกฏกับอาบัติถุลลัจจัย
(๑) เป็นบัณเฑาะก์และสัตว์ดิรัจฉาน (๒) ภิกษุไม่แน่ใจว่าเป็นบัณเฑาะก์และ
สัตว์ดิรัจฉานทั้ง ๒ ฯลฯ
(๑) เป็นบัณเฑาะก์และสัตว์ดิรัจฉาน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นชายทั้ง ๒ ฯลฯ
(๑) เป็นบัณเฑาะก์และสัตว์ดิรัจฉาน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉาน
ทั้ง ๒ ฯลฯ
(๑) เป็นบัณเฑาะก์และสัตว์ดิรัจฉาน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ และ
มีความกำหนัด(๓) ภิกษุใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของทั้ง ๒ ต้องอาบัติ
ทุกกฏ ๒ ตัว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๓๐๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๒. กายสังสัคคสิกขาบท บทภาชนีย์

ชายและสัตว์ดิรัจฉาน

(๑) เป็นชายและสัตว์ดิรัจฉาน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นชายทั้ง ๒ และมีความ
กำหนัด (๓) ภิกษุใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของทั้ง ๒ ต้องอาบัติ
ทุกกฏ ๒ ตัว
(๑) เป็นชายและสัตว์ดิรัจฉาน (๒) ภิกษุไม่แน่ใจว่าเป็นชายและสัตว์ดิรัจฉาน
ทั้ง ๒ ฯลฯ
(๑) เป็นชายและสัตว์ดิรัจฉาน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉานทั้ง ๒ ฯลฯ
(๑) เป็นชายและสัตว์ดิรัจฉาน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ ฯลฯ
(๑) เป็นชายและสัตว์ดิรัจฉาน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ทั้ง ๒ และมี
ความกำหนัด (๓) ภิกษุใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของทั้ง ๒ ต้องอาบัติ
ทุกกฏ ๒ ตัว

ทุมูลกนัย จบ

ของที่เนื่องด้วยกายของหญิง

[๒๗๖] (๑) เป็นหญิง (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงและมีความกำหนัด
(๓) ภิกษุใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องของที่เนื่องด้วยกายของหญิง ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย ฯลฯ
(๑) เป็นหญิง ๒ คน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คนและมีความกำหนัด
(๓) ภิกษุใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องของที่เนื่องด้วยกายของหญิงทั้ง ๒ คน
ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๒ ตัว ฯลฯ
(๑) เป็นหญิงและบัณเฑาะก์ (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คนและมี
ความกำหนัด (๓) ภิกษุใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องของที่เนื่องด้วยกาย
ของทั้ง ๒ คน ต้องอาบัติทุกกฏกับอาบัติถุลลัจจัย ฯลฯ


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๒. กายสังสัคคสิกขาบท บทภาชนีย์

ของที่เนื่องด้วยกายถูกต้องกายของหญิง

(๑) เป็นหญิง (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงและมีความกำหนัด (๓) ภิกษุใช้
ของที่เนื่องด้วยกายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของหญิง ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ฯลฯ
(๑) เป็นหญิง ๒ คน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คนและมีความกำหนัด
(๓) ภิกษุใช้ของที่เนื่องด้วยกายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของหญิงทั้ง ๒
ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๒ ตัว ฯลฯ
(๑) เป็นหญิงและบัณเฑาะก์ (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คนและมี
ความกำหนัด (๓) ภิกษุใช้ของที่เนื่องด้วยกายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกาย
ของทั้ง ๒ ต้องอาบัติทุกกฏกับอาบัติถุลลัจจัย ฯลฯ

ของที่เนื่องด้วยกายถูกต้องของที่เนื่องด้วยกายของหญิง

(๑) เป็นหญิง (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงและมีความกำหนัด (๓) ภิกษุใช้
ของที่เนื่องด้วยกายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องของที่เนื่องด้วยกายของหญิง ต้อง
อาบัติทุกกฏ ฯลฯ
(๑) เป็นหญิง ๒ คน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คนและมีความกำหนัด
(๓) ภิกษุใช้ของที่เนื่องด้วยกายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องของที่เนื่องด้วยกาย
ของหญิงทั้ง ๒ ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว ฯลฯ
(๑) เป็นหญิงและบัณเฑาะก์ (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คนและมี
ความกำหนัด (๓) ภิกษุใช้ของที่เนื่องด้วยกายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องของที่
เนื่องด้วยกายของทั้ง ๒ ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว ฯลฯ

ของที่โยนไปถูกต้องกายของหญิง

(๑) เป็นหญิง (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงและมีความกำหนัด (๓) ภิกษุใช้
ของโยนไปถูกต้องกายของหญิง ต้องอาบัติทุกกฎ ฯลฯ
(๑) เป็นหญิง ๒ คน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คนและมีความกำหนัด
(๓) ภิกษุใช้ของโยนไปถูกต้องกายของหญิงทั้ง ๒ คน ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว ฯลฯ


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๒. กายสังสัคคสิกขาบท บทภาชนีย์

(๑) เป็นหญิงและบัณเฑาะก์ (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คนและ
มีความกำหนัด (๓) ภิกษุใช้ของโยนไปถูกต้องกายของคนทั้ง ๒ ต้องอาบัติทุกกฏ ๒
ตัว ฯลฯ

ของที่โยนไปถูกต้องของที่เนื่องด้วยกายของหญิง

(๑) เป็นหญิง (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงและมีความกำหนัด (๓) ภิกษุใช้
ของโยนไปถูกต้องของที่เนื่องด้วยกายของหญิง ต้องอาบัติทุกกฏ ฯลฯ
(๑) เป็นหญิง ๒ คน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คนและมีความกำหนัด
(๓) ภิกษุใช้ของโยนไปถูกต้องของที่เนื่องด้วยกายของทั้ง ๒ คน ต้องอาบัติทุกกฏ ๒
ตัว ฯลฯ
(๑) เป็นหญิงและบัณเฑาะก์ (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คนและมี
ความกำหนัด (๓) ภิกษุใช้ของโยนไปถูกต้องของที่เนื่องด้วยกายของทั้ง ๒ คน ต้อง
อาบัติทุกกฏ ๒ ตัว ฯลฯ
(๑) เป็นหญิง (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงและมีความกำหนัด (๓) ภิกษุใช้
ของโยนไปถูกต้องของที่โยนมาของหญิง ต้องอาบัติทุกกฏ ฯลฯ
(๑) เป็นหญิง ๒ คน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คนและมีความกำหนัด
(๓) ภิกษุใช้ของโยนไปถูกต้องของที่โยนมาของหญิงทั้ง ๒ คน ต้องอาบัติทุกกฏ ๒
ตัว ฯลฯ
(๑) เป็นหญิงและบัณเฑาะก์ (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คนและมี
ความกำหนัด (๓) ภิกษุใช้ของโยนไปถูกต้องของที่โยนมาของทั้ง ๒ คน ต้องอาบัติ
ทุกกฏ ๒ ตัว ฯลฯ

ภิกขุเปยยาล จบ


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๒. กายสังสัคคสิกขาบท บทภาชนีย์

อิตถีเปยยาล
หญิงถูกต้องกายของภิกษุ

[๒๗๗] (๑) เป็นหญิง (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงและมีความกำหนัด
(๓) หญิงใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ลูบลง ลูบขึ้น จับกดลง จับให้เงยขึ้น ฉุดมา ผลักไป
นวด บีบ จับ ต้องกายของภิกษุ ภิกษุมีความประสงค์จะเสพ พยายามด้วยกาย รับรู้
สัมผัส ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ฯลฯ
(๑) เป็นหญิง ๒ คน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คนและมีความกำหนัด
(๓) หญิงทั้ง ๒ ใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ลูบลง ลูบขึ้น จับกดลง จับให้เงยขึ้น ฉุดมา
ผลักไป นวด บีบ จับ ต้องกายของภิกษุ ภิกษุมีความประสงค์จะเสพ พยายามด้วยกาย
รับรู้สัมผัส ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว ฯลฯ
(๑) เป็นหญิงและบัณเฑาะก์ (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คนและมี
ความกำหนัด (๓) ทั้ง ๒ ใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของภิกษุ ภิกษุมี
ความประสงค์จะเสพ พยายามด้วยกาย รับรู้สัมผัส ต้องทุกกฏกับอาบัติสังฆาทิเสส
ฯลฯ

หญิงถูกต้องของที่เนื่องด้วยกายของภิกษุ

(๑) เป็นหญิง (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงและมีความกำหนัด (๓) หญิงใช้
กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องของที่เนื่องด้วยกายของภิกษุ ภิกษุมีความ
ประสงค์จะเสพ พยายามด้วยกาย รับรู้สัมผัส ต้องอาบัติถุลลัจจัย ฯลฯ
(๑) เป็นหญิง ๒ คน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คนและมีความกำหนัด
(๓) หญิงทั้ง ๒ ใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องของที่เนื่องด้วยกายของภิกษุ
ภิกษุมีความประสงค์จะเสพ พยายามด้วยกาย รับรู้สัมผัส ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๒ ตัว
ฯลฯ
(๑) เป็นหญิงและบัณเฑาะก์ (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คนและมี
ความกำหนัด (๓) ทั้ง ๒ คนใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องของที่เนื่องด้วย
กายของภิกษุ ภิกษุมีความประสงค์จะเสพ พยายามด้วยกาย รับผู้สัมผัส ต้องอาบัติ
ทุกกฏกับอาบัติถุลลัจจัย ฯลฯ


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๒. กายสังสัคคสิกขาบท บทภาชนีย์

หญิงใช้ของที่เนื่องด้วยกายถูกต้องกายของภิกษุ

(๑) เป็นหญิง (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงและมีความกำหนัด (๓) หญิงใช้
ของที่เนื่องด้วยกายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของภิกษุ ภิกษุมีความ
ประสงค์จะเสพ พยายามด้วยกาย รับรู้สัมผัส ต้องอาบัติถุลลัจจัย ฯลฯ
(๑) เป็นหญิง ๒ คน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คนและมีความกำหนัด
(๓) หญิงทั้ง ๒ คนใช้ของที่เนื่องด้วยกายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของภิกษุ
ภิกษุมีความประสงค์จะเสพ พยายามด้วยกาย รับรู้สัมผัส ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๒ ตัว
ฯลฯ
(๑) เป็นหญิงและบัณเฑาะก์ (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คนและมี
ความกำหนัด (๓) ทั้ง ๒ ใช้ของที่เนื่องด้วยกายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกาย
ของภิกษุ ภิกษุมีความประสงค์จะเสพ พยายามด้วยกาย รับรู้สัมผัส ต้องอาบัติ
ทุกกฏกับอาบัติถุลลัจจัย ฯลฯ
[๒๗๘] (๑) เป็นหญิง (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงและมีความกำหนัด
(๓) หญิงใช้ของที่เนื่องด้วยกายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องของที่เนื่องด้วยกาย
ของภิกษุ ภิกษุมีความประสงค์จะเสพ พยายามด้วยกาย รับรู้สัมผัส ต้องอาบัติทุกกฏ
ฯลฯ
(๑) เป็นหญิง ๒ คน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คนและมีความกำหนัด
(๓) หญิงทั้ง ๒ ใช้ของที่เนื่องด้วยกายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องของที่เนื่องด้วย
กายของภิกษุ ภิกษุมีความประสงค์จะเสพ พยายามด้วยกาย รับรู้สัมผัส ต้องอาบัติ
ทุกกฏ ๒ ตัว ฯลฯ
(๑) เป็นหญิงและบัณเฑาะก์ (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คนและมี
ความกำหนัด (๓) ทั้ง ๒ ใช้ของที่เนื่องด้วยกายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องของที่
เนื่องด้วยกายของภิกษุ ภิกษุมีความประสงค์จะเสพ พยายามด้วยกาย รับรู้สัมผัส
ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว ฯลฯ


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๒. กายสังสัคคสิกขาบท บทภาชนีย์

หญิงใช้ของที่โยนถูกต้องกายของภิกษุ

(๑) เป็นหญิง (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงและมีความกำหนัด (๓) หญิงใช้
ของโยนมาถูกต้องกายของภิกษุ ภิกษุมีความประสงค์จะเสพ พยายามด้วยกาย รับ
รู้สัมผัส ต้องอาบัติทุกกฏ ฯลฯ
(๑) เป็นหญิง ๒ คน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คนและมีความกำหนัด
(๓) หญิงทั้ง ๒ ใช้ของโยนมาถูกต้องกายของภิกษุ ภิกษุมีความประสงค์จะเสพ
พยายามด้วยกาย รับรู้สัมผัส ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว ฯลฯ
(๑) เป็นหญิงและบัณเฑาะก์ (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คนและมี
ความกำหนัด (๓) ทั้ง ๒ ใช้ของโยนมาถูกต้องกายของภิกษุ ภิกษุมีความประสงค์
จะเสพ พยายามด้วยกาย รับรู้สัมผัส ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว ฯลฯ

หญิงใช้ของที่โยนถูกต้องของที่เนื่องด้วยกายของภิกษุ

(๑) เป็นหญิง (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงและมีความกำหนัด (๓) หญิงใช้
ของโยนมาถูกต้องของที่เนื่องด้วยกายของภิกษุ ภิกษุมีความประสงค์จะเสพ
พยายามด้วยกาย รับรู้สัมผัส ต้องอาบัติทุกกฏ ฯลฯ
(๑) เป็นหญิง ๒ คน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คนและมีความกำหนัด
(๓) ทั้ง ๒ เอาของโยนมาถูกต้องของที่เนื่องด้วยกายของภิกษุ ภิกษุมีความประสงค์
จะเสพ พยายามด้วยกาย รับรู้สัมผัส ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว ฯลฯ
(๑) เป็นหญิงและบัณเฑาะก์ (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คนและมี
ความกำหนัด (๓) ทั้ง ๒ เอาของโยนมาถูกต้องของที่เนื่องด้วยกายของภิกษุ ภิกษุมี
ความประสงค์จะเสพ พยายามด้วยกาย รับรู้สัมผัส ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว ฯลฯ

หญิงใช้ของที่โยนถูกต้องของที่โยนของภิกษุ

(๑) เป็นหญิง (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงและมีความกำหนัด (๓) หญิงใช้
ของโยนมาถูกต้องของที่ภิกษุโยนไป ภิกษุมีความประสงค์จะเสพ พยายามด้วยกาย
แต่ไม่รับรู้สัมผัส ต้องอาบัติทุกกฏ ฯลฯ


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๒. กายสังสัคคสิกขาบท อนาปัตติวาร

(๑) เป็นหญิง ๒ คน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คนและมีความ
กำหนัด (๓) ทั้ง ๒ ใช้ของโยนมาถูกต้องของที่ภิกษุโยนไป ภิกษุมีความประสงค์
จะเสพ พยายามด้วยกาย แต่ไม่รับรู้สัมผัส ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว ฯลฯ
(๑) เป็นหญิงและบัณเฑาะก์ (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คนและมี
ความกำหนัด (๓) ทั้ง ๒ ใช้ของโยนมาถูกต้องของที่ภิกษุโยนไป ภิกษุมีความ
ประสงค์จะเสพ พยายามด้วยกาย แต่ไม่รับรู้สัมผัส ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว ฯลฯ

อิตถีเปยยาล จบ

[๒๗๙] ภิกษุมีความประสงค์จะเสพ พยายามด้วยกาย รับรู้สัมผัส ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุมีความประสงค์จะเสพ พยายามด้วยกาย แต่ไม่รับรู้สัมผัส ต้องอาบัติ
ทุกกฏ
ภิกษุมีความประสงค์จะเสพ แต่ไม่พยายามด้วยกาย รับรู้สัมผัส ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุมีความประสงค์จะเสพ ไม่พยายามด้วยกาย และไม่รับรู้สัมผัส ไม่ต้อง
อาบัติ
ภิกษุมีความประสงค์จะให้พ้น พยายามด้วยกาย รับรู้สัมผัส ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุมีความประสงค์จะให้พ้น พยายามด้วยกาย แต่ไม่รับรู้สัมผัส ไม่ต้อง
อาบัติ
ภิกษุมีความประสงค์จะให้พ้น แต่ไม่พยายามด้วยกาย รับรู้สัมผัส ไม่ต้อง
อาบัติ
ภิกษุมีความประสงค์จะให้พ้น ไม่พยายามด้วยกาย และไม่รับรู้สัมผัส ไม่
ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร

ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๓๐๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๒. กายสังสัคคสิกขาบท วินีตวัตถุ

[๒๘๐] ๑. ภิกษุไม่จงใจ
๒. ภิกษุถูกต้องเพราะไม่มีสติ
๓. ภิกษุไม่รู้
๔. ภิกษุไม่ยินดี
๕. ภิกษุวิกลจริต
๖. ภิกษุมีจิตฟุ้งซ่าน
๗. ภิกษุกระสับกระส่ายเพราะเวทนา
๘. ภิกษุต้นบัญญัติ

คาถารวมวินีตวัตถุ
เรื่องที่ทรงวินิจฉัยแล้ว

เรื่องมารดา ๑ เรื่อง___เรื่องธิดา ๑ เรื่อง
เรื่องน้องสาว ๑ เรื่อง___เรื่องอดีตภรรยา ๑ เรื่อง
เรื่องนางยักษ์ ๑ เรื่อง___เรื่องบัณเฑาะก์ ๑ เรื่อง
เรื่องหญิงนอนหลับ ๑ เรื่อง___เรื่องหญิงที่ตายแล้ว ๑ เรื่อง
เรื่องสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย ๑ เรื่อง___เรื่องตุ๊กตาไม้ ๑ เรื่อง
เรื่องหญิงร่วมกันฉุด ๑ เรื่อง___เรื่องสะพาน ๑ เรื่อง
เรื่องหนทาง ๑ เรื่อง___เรื่องต้นไม้ ๑ เรื่อง
เรื่องเรือ ๑ เรื่อง___เรื่องเชือก ๑ เรื่อง
เรื่องท่อนไม้ ๑ เรื่อง___เรื่องใช้บาตรดัน ๑ เรื่อง
เรื่องไหว้ ๑ เรื่อง___เรื่องพยายามแต่มิได้จับต้อง ๑ เรื่อง

วินีตวัตถุ
เรื่องมารดา ๑ เรื่อง

[๒๘๑] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งจับต้องมารดาด้วยความรักฉันแม่ลูก ท่าน
เกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๓๐๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๒. กายสังสัคคสิกขาบท วินีตวัตถุ

ผู้มีพระภาคเจ้าให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่
ต้องอาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ ๑)

เรื่องธิดา ๑ เรื่อง

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งจับต้องธิดาด้วยความรักฉันพ่อลูก ท่านเกิดความกังวล
ใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติทุกกฏ”
(เรื่องที่ ๒)

เรื่องน้องสาว ๑ เรื่อง

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งจับต้องน้องสาวด้วยความรักฉันน้องสาว ท่านเกิด
ความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้อง
อาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ ๓)

เรื่องอดีตภรรยา ๑ เรื่อง

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งถูกต้องกายกับอดีตภรรยา ท่านเกิดความกังวลใจว่า
เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๔)

เรื่องนางยักษ์ ๑ เรื่อง

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งถูกต้องกายกับนางยักษ์ ท่านเกิดความกังวลใจว่า เรา
ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่อง
ที่ ๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๓๑๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๒. กายสังสัคคสิกขาบท วินีตวัตถุ

เรื่องบัณเฑาะก์ ๑ เรื่อง

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งถูกต้องกายกับบัณเฑาะก์ ท่านเกิดความกังวลใจว่า
เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่งนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่อง
ที่ ๖)

เรื่องหญิงนอนหลับ ๑ เรื่อง

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งถูกต้องกายกับหญิงนอนหลับ ท่านเกิดความกังวลใจว่า
เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๗)

เรื่องหญิงที่ตายแล้ว ๑ เรื่อง

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งถูกต้องกายกับหญิงที่ตายแล้ว ท่านเกิดความกังวลใจว่า
เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่อง
ที่ ๘)

เรื่องสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย ๑ เรื่อง

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งถูกต้องกายกับสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย ท่านเกิดความ
กังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระ
ภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติ
ทุกกฏ” (เรื่องที่ ๙)

เรื่องตุ๊กตาไม้ ๑ เรื่อง

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งถูกต้องกายกับตุ๊กตาไม้ ท่านเกิดความกังวลใจว่า เรา
ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ ๑๐)


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๒. กายสังสัคคสิกขาบท วินีตวัตถุ

เรื่องหญิงร่วมกันฉุด ๑ เรื่อง

[๒๘๒] สมัยนั้น หญิงจำนวนมากจับแขนต่อ ๆ กันโอบภิกษุรูปหนึ่งพาไป
ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอยินดีหรือ” “ไม่ยินดี
พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่ยินดี ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๑๑)

เรื่องสะพาน ๑ เรื่อง

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความกำหนัด จึงเขย่าสะพานไม้ที่หญิงเดินขึ้นไป
ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
แต่ต้องอาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ ๑๒)

เรื่องหนทาง ๑ เรื่อง

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งพบหญิงเดินสวนทางมา มีความกำหนัดจึงกระทบไหล่
ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสส”
(เรื่องที่ ๑๓)

เรื่องต้นไม้ ๑ เรื่อง

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความกำหนัด จึงเขย่าต้นไม้ที่หญิงขึ้นไป ท่านเกิด
ความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้อง
อาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ ๑๔)

เรื่องเรือ ๑ เรื่อง

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความกำหนัด จึงโคลงเรือที่หญิงนั่ง ท่านเกิดความ
กังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๒. กายสังสัคคสิกขาบท วินีตวัตถุ

พระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้อง
อาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ ๑๕)

เรื่องเชือก ๑ เรื่อง

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความกำหนัด จึงดึงเชือกที่หญิงจับไว้ ท่านเกิดความ
กังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระ
ภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๑๖)

เรื่องท่อนไม้ ๑ เรื่อง

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความกำหนัด จึงฉุดท่อนไม้ที่หญิงถือไว้ ท่านเกิดความ
กังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระ
ภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๑๗)

เรื่องใช้บาตรดัน ๑ เรื่อง

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความกำหนัด ใช้บาตรดันหญิง ท่านเกิดความกังวล
ใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย”
(เรื่องที่ ๑๘)

เรื่องไหว้ ๑ เรื่อง

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความกำหนัด ยกเท้าถูกหญิงผู้กำลังไหว้ ท่านเกิด
ความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระ
ผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่อง
ที่ ๑๙)


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๓. ทุฎฐุลลวาจาสิกขาบท วินีตวัตถุ

เรื่องพยายามแต่มิได้จับต้อง ๑ เรื่อง

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งพยายามจะจับหญิงแต่ไม่ได้ถูกตัว ท่านเกิดความกังวล
ใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติทุกกฏ”
(เรื่องที่ ๒๐)

กายสังสัคคสิกขาบทที่ ๒ จบ


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๓. ทุฎฐุลลวาจาสิกขาบท นิทานวัตถุ

๓. ทุฏฐุลลวาจาสิกขาบท
ว่าด้วยการพูดเกี้ยวหญิง
เรื่องพระอุทายี

[๒๘๓] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระอุทายีอยู่ในป่า วิหารของ
ท่านสวยงาม น่าดู น่าชม หญิงจำนวนมากพากันไปที่วัดเพื่อชมวิหาร พากันเข้าไป
หาท่านพระอุทายีถึงที่อยู่ ครั้นเข้าไปหาแล้ว กล่าวว่า “พวกดิฉันต้องการชมวิหาร
ของพระคุณเจ้า เจ้าค่ะ”
ท่านพระอุทายีพาหญิงเหล่านั้นชมวิหาร พูดชมบ้าง พูดติบ้าง ขอบ้าง
อ้อนวอนบ้าง ถามบ้าง ถามซ้ำบ้าง บอกบ้าง สอนบ้าง ด่าบ้าง พาดพิงทวารหนัก
ทวารเบาของหญิงเหล่านั้น
พวกหญิงที่ไม่กลัวบาป ใจถึง ไม่มียางอาย บ้างก็ยิ้มพราย บ้างก็พูดยั่ว บ้าง
ก็กระซิกกระซี้ บ้างก็กระเซ้ากับท่านพระอุทายี ส่วนพวกหญิงที่มีความละอายใจ
ก็เลี่ยงออกไปแล้วฟ้องภิกษุทั้งหลายว่า “ท่านเจ้าข้า คำเช่นนี้ไม่เหมาะ ไม่ควร สามี
พูดเช่นนี้พวกเราก็ยังไม่ชอบ นี่พระคุณเจ้าอุทายีมาพูดได้อย่างไร”
บรรดาภิกษุผู้มักน้อยสันโดษ มีความละอาย มีความระมัดระวัง ใฝ่การศึกษา
จึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนท่านพระอุทายี จึงพูดเกี้ยวมาตุคาม
ด้วยวาจาชั่วหยาบเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิท่านพระอุทายีโดยประการต่าง ๆ
แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามท่านพระอุทายีว่า “อุทายี ทราบว่า เธอพูดเกี้ยวมาตุคามด้วยวาจาชั่ว
หยาบจริงหรือ” ท่านทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิว่า
“โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ไม่สมควร ไม่คล้อยตาม ไม่เหมาะสม ไม่ใช่กิจของสมณะ


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๓. ทุฎฐุลลวาจาสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนเธอจึงพูดเกี้ยวมาตุคามด้วยวาจาชั่วหยาบเล่า โมฆบุรุษ เรา
แสดงธรรมโดยประการต่าง ๆ เพื่อคลายความกำหนัด มิใช่เพื่อความกำหนัด ฯลฯ
เราบอกการระงับความกลัดกลุ้มเพราะกามไว้โดยประการต่าง ๆ มิใช่หรือ โมฆบุรุษ
การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” แล้ว จึงรับสั่งให้
ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ

[๒๘๔] ก็ภิกษุใดถูกราคะครอบงำแล้ว มีจิตแปรปรวน พูดเกี้ยวมาตุคาม
ด้วยวาจาชั่วหยาบ พาดพิงเมถุน เหมือนชายหนุ่มพูดเกี้ยวหญิงสาว เป็น
สังฆาทิเสส

เรื่องพระอุทายี จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๒๘๕] คำว่า ก็...ใด คือผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ที่ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ถูกราคะครอบงำแล้ว คือ มีความยินดี เพ่งเล็ง มีจิตรักใคร่
คำว่า แปรปรวน ความว่า จิตกำหนัดแล้วชื่อว่าแปรปรวนบ้าง จิตโกรธแล้ว
ชื่อว่าแปรปรวนบ้าง จิตหลงแล้วชื่อว่าแปรปรวนบ้าง แต่จิตกำหนัดแล้ว พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์ว่า แปรปรวน ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า มาตุคาม ได้แก่ หญิงมนุษย์ ไม่ใช่นางยักษ์ ไม่ใช่นางเปรต ไม่ใช่สัตว์
ดิรัจฉานตัวเมีย แต่เป็นหญิงที่รู้เดียงสา สามารถรับรู้ถ้อยคำสุภาษิต ทุพภาษิต คำ
หยาบและคำสุภาพ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๓๑๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๓. ทุฎฐุลลวาจาสิกขาบท บทภาชนีย์

วาจาที่ชื่อว่า ชั่วหยาบ ได้แก่ ถ้อยคำที่พาดพิงเมถุนธรรมทางทวารหนัก
ทวารเบา
คำว่า พูดเกี้ยว นี้ ท่านเรียกความประพฤติล่วงเกิน
คำว่า เหมือนชายหนุ่มพูดเกี้ยวหญิงสาว ได้แก่ หนุ่มพูดเกี้ยวสาว ชายวัย
รุ่นพูดเกี้ยวหญิงวัยรุ่น คือ ชายผู้บริโภคกามพูดเกี้ยวหญิงผู้บริโภคกาม
คำว่า พาดพิงเมถุน ได้แก่ ถ้อยคำเกี่ยวกับเมถุนธรรม
คำว่า เป็นสังฆาทิเสส ความว่า สำหรับอาบัตินี้ สงฆ์เท่านั้นให้ปริวาส ฯลฯ
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า “เป็นสังฆาทิเสส”

บทภาชนีย์
มาติกา

ภิกษุพูดชมบ้าง พูดติบ้าง ขอบ้าง อ้อนวอนบ้าง ถามบ้าง ถามซ้ำบ้าง บอกบ้าง
สอนบ้าง ด่าบ้าง พาดพิงทวารทั้งสอง
ที่ชื่อว่า พูดชม คือ พูดชมเชย พรรณนา พูดสรรเสริญทวารทั้งสอง
ที่ชื่อว่า พูดติ คือ พูดข่ม พูดเสียดสี พูดติเตียนทวารทั้งสอง
ที่ชื่อว่า ขอ คือ พูดว่า “จงให้แก่เรา ควรให้แก่เรา”
ที่ชื่อว่า อ้อนวอน คือ พูดว่า “เมื่อไรมารดาของเธอจักเลื่อมใส เมื่อไรบิดา
ของเธอจักเลื่อมใส เมื่อไรเทวดาของเธอจักเลื่อมใส เมื่อไรเธอจะมีขณะดี มีลยะดี มี
ครู่ดี เมื่อไรเราจะได้เสพเมถุนธรรมกับเธอ”
ที่ชื่อว่า ถาม คือ ถามว่า “เธอให้แก่สามีอย่างไรหรือให้แก่ชายชู้อย่างไร”
ที่ชื่อว่า ถามซ้ำ คือ สอบถามว่า “ทราบว่า เธอให้แก่สามีอย่างนี้ ให้แก่ชายชู้
อย่างนี้หรือ”
ที่ชื่อว่า บอก คือ พอถูกถามจึงบอกว่า “เธอจงให้อย่างนี้ เมื่อให้อย่างนี้
จะเป็นที่รักใคร่พอใจของสามี”


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๓. ทุฎฐุลลวาจาสิกขาบท บทภาชนีย์

ที่ชื่อว่า สอน คือ เขาไม่ถามก็สอนว่า “เธอจงให้อย่างนี้ เมื่อให้อย่างนี้
จะเป็นที่รักใคร่พอใจของสามี”
ที่ชื่อว่า ด่า คือ ด่าว่า “เธอไม่มีเครื่องหมายเพศ เธอสักแต่ว่ามีเครื่องหมาย
เพศ เธอไม่มีประจำเดือน เธอมีประจำเดือนไม่หยุด เธอใช้ผ้าซับเสมอ เธอเป็นคน
ไหลซึม เธอมีเดือย เธอเป็นบัณเฑาะก์หญิง เธอมีลักษณะคล้ายชาย เธอมีทวาร
หนักทวารเบาติดกัน เธอมีสองเพศ”

หญิง

[๒๘๖] (๑) เป็นหญิง (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงและมีความกำหนัด
(๓) ภิกษุพูดชมบ้าง พูดติบ้าง ขอบ้าง อ้อนวอนบ้าง ถามบ้าง ถามซ้ำบ้าง บอกบ้าง
สอนบ้าง ด่าบ้าง พาดพิงทวารหนักทวารเบาของหญิง ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
(๑) เป็นหญิง (๒) ภิกษุไม่แน่ใจหญิงว่าเป็นหญิง ฯลฯ สำคัญว่าเป็น
บัณเฑาะก์ ฯลฯ สำคัญว่าเป็นชาย ฯลฯ สำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉานและมีความ
กำหนัด (๓) ภิกษุพูดชมบ้าง พูดติบ้าง ฯลฯ ด่าบ้าง พาดพิงทวารหนักทวารเบา
ของหญิง ต้องอาบัติถุลลัจจัย

บัณเฑาะก์

(๑) เป็นบัณเฑาะก์ (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์และมีความกำหนัด
(๓) ภิกษุพูดชมบ้าง พูดติบ้าง ฯลฯ ด่าบ้าง พาดพิงทวารหนักทวารเบาของ
บัณเฑาะก์ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
(๑) เป็นบัณเฑาะก์ (๒) ภิกษุไม่แน่ใจว่าเป็นบัณเฑาะก์ ฯลฯ สำคัญว่าเป็น
ชาย ฯลฯ สำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ สำคัญว่าเป็นหญิงและมีความกำหนัด
(๓) ภิกษุพูดชมบ้าง พูดติบ้าง ฯลฯ ด่าบ้าง พาดพิงทวารหนักทวารเบาของ
บัณเฑาะก์ ต้องอาบัติทุกกฏ


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๓. ทุฎฐุลลวาจาสิกขาบท บทภาชนีย์

ชาย

(๑) เป็นชาย (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นชาย ฯลฯ ไม่แน่ใจว่าเป็นชาย ฯลฯ
สำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ สำคัญว่าเป็นหญิง ฯลฯ สำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์
และมีความกำหนัด (๓) ภิกษุพูดชมบ้าง พูดติบ้าง ฯลฯ ด่าบ้าง พาดพิงทวารหนัก
ทวารเบาของชาย ต้องอาบัติทุกกฏ

สัตว์ดิรัจฉาน

(๑) เป็นสัตว์ดิรัจฉาน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ ไม่แน่ใจว่า
เป็นสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ สำคัญว่าเป็นหญิง ฯลฯ สำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ ฯลฯ
สำคัญว่าเป็นชายและมีความกำหนัด (๓) ภิกษุพูดชมบ้าง พูดติบ้าง ฯลฯ ด่าบ้าง
พาดพิงทวารหนักทวารเบาของสัตว์ดิรัจฉาน ต้องอาบัติทุกกฏ

หญิง ๒ คน

(๑) เป็นหญิง ๒ คน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คนและมีความกำหนัด
(๓) ภิกษุพูดชมบ้าง พูดติบ้าง ฯลฯ ด่าบ้าง พาดพิงทวารหนักทวารเบาของหญิงทั้ง ๒
คน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว
(๑) เป็นหญิง ๒ คน (๒) ภิกษุไม่แน่ใจว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คน ฯลฯ สำคัญว่า
เป็นบัณเฑาะก์ ฯลฯ สำคัญว่าเป็นชาย ฯลฯ สำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉานและมีความ
กำหนัด (๓) ภิกษุพูดชมบ้าง พูดติบ้าง ฯลฯ ด่าบ้าง พาดพิงทวารหนักทวารเบา
ของหญิงทั้ง ๒ คน ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๒ ตัว

บัณเฑาะก์ ๒ คน

(๑) เป็นบัณเฑาะก์ ๒ คน (๒) ภิกษุสำคัญก์ว่าเป็นบัณเฑาะก์ทั้ง ๒ คนและ
มีความกำหนัด (๓) ภิกษุพูดชมบ้าง พูดติบ้าง ฯลฯ ด่าบ้าง พาดพิงทวารหนักทวาร
เบาของบัณเฑาะก์ทั้ง ๒ คน ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๒ ตัว


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๓. ทุฎฐุลลวาจาสิกขาบท บทภาชนีย์

(๑) เป็นบัณเฑาะก์ ๒ คน (๒) ภิกษุไม่แน่ใจว่าเป็นบัณเฑาะก์ทั้ง ๒ คน
ฯลฯ สำคัญว่าเป็นชาย ฯลฯ สำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ สำคัญว่าเป็นหญิง
และมีความกำหนัด (๓) ภิกษุพูดชมบ้าง พูดติบ้าง ฯลฯ ด่าบ้าง พาดพิงทวารหนัก
ทวารเบาของบัณเฑาะก์ทั้ง ๒ คน ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว

ชาย ๒ คน

(๑) เป็นชาย ๒ คน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นชายทั้ง ๒ คน ฯลฯ ไม่แน่ใจว่า
เป็นชาย ฯลฯ สำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ สำคัญว่าเป็นหญิง ฯลฯ สำคัญว่า
เป็นบัณเฑาะก์และมีความกำหนัด (๓) ภิกษุพูดชมบ้าง พูดติบ้าง ฯลฯ ด่าบ้าง
พาดพิงทวารหนักทวารเบาของชายทั้ง ๒ คน ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว

สัตว์ดิรัจฉาน ๒ ตัว

(๑) เป็นสัตว์ดิรัจฉาน ๒ ตัว (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉานทั้ง ๒ ตัว ฯลฯ
ไม่แน่ใจว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ สำคัญว่าเป็นหญิง ฯลฯ สำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์
ฯลฯ สำคัญว่าเป็นชายและมีความกำหนัด (๓) ภิกษุพูดชมบ้าง พูดติบ้าง ฯลฯ ด่า
บ้าง พาดพิงทวารหนักทวารเบาของสัตว์ดิรัจฉานทั้ง ๒ ตัว ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว

หญิงและบัณเฑาะก์

(๑) เป็นหญิงและบัณเฑาะก์ (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คนและมี
ความกำหนัด (๓) ภิกษุพูดชมบ้าง พูดติบ้าง ฯลฯ ด่าบ้าง พาดพิงทวารหนักทวาร
เบาของทั้ง ๒ คน ต้องอาบัติทุกกฏกับสังฆาทิเสส
(๑) เป็นหญิงและบัณเฑาะก์ (๒) ภิกษุไม่แน่ใจว่าเป็นหญิงและบัณเฑาะก์
ทั้ง ๒ คน ฯลฯ ต้องอาบัติทุกกฏกับถุลลัจจัย ฯลฯ สำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ ฯลฯ
ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๒ ตัว ฯลฯ สำคัญว่าเป็นชาย ฯลฯ ต้องอาบัติทุกกฏกับถุลลัจจัย
ฯลฯ สำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉานและมีความกำหนัด (๓) ภิกษุพูดชมบ้าง พูดติบ้าง
ฯลฯ ด่าบ้าง พาดพิงทวารหนักทวารเบาของทั้ง ๒ คน ต้องอาบัติทุกกฏกับ
ถุลลัจจัย


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๓. ทุฎฐุลลวาจาสิกขาบท บทภาชนีย์

หญิงและชาย

(๑) เป็นหญิงและชาย (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คนและมีความ
กำหนัด (๓) ภิกษุพูดชมบ้าง พูดติบ้าง ฯลฯ ด่าบ้าง พาดพิงทวารหนักทวารเบาของ
ทั้ง ๒ คน ต้องอาบัติทุกกฏกับสังฆาทิเสส
(๑) เป็นหญิงและชาย (๒) ภิกษุไม่แน่ใจว่าเป็นหญิงและชายทั้ง ๒ คน ฯลฯ
สำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ ฯลฯ สำคัญว่าเป็นชาย ฯลฯ สำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉาน
และมีความกำหนัด (๓) ภิกษุพูดชมบ้าง พูดติบ้าง ฯลฯ ด่าบ้าง พาดพิงทวารหนัก
ทวารเบาของทั้ง ๒ คน ต้องอาบัติทุกกฏกับถุลลัจจัย

หญิงและสัตว์ดิรัจฉาน

(๑) เป็นหญิงและสัตว์ดิรัจฉาน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ และมี
ความกำหนัด (๓) ภิกษุพูดชมบ้าง พูดติบ้าง ฯลฯ ด่าบ้าง พาดพิงทวารหนักทวาร
เบาของทั้ง ๒ คน ต้องอาบัติทุกกฏกับสังฆาทิเสส
(๑) เป็นหญิงและสัตว์ดิรัจฉาน (๒) ภิกษุไม่แน่ใจว่าเป็นหญิงและสัตว์ดิรัจฉาน
ทั้ง ๒ ฯลฯ สำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ ฯลฯ สำคัญว่าเป็นชาย ฯลฯ สำคัญว่าเป็น
สัตว์ดิรัจฉานและมีความกำหนัด (๓) ภิกษุพูดชมบ้าง พูดติบ้าง ฯลฯ ด่าบ้าง พาดพิง
ทวารหนักทวารเบาของทั้ง ๒ ต้องอาบัติทุกกฏกับถุลลัจจัย

บัณเฑาะก์และชาย

(๑) เป็นบัณเฑาะก์และชาย (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ทั้ง ๒ คนและ
มีความกำหนัด (๓) ภิกษุพูดชมบ้าง พูดติบ้าง ฯลฯ ด่าบ้าง พาดพิงทวารหนักทวาร
เบาของทั้ง ๒ คน ต้องอาบัติทุกกฏกับถุลลัจจัย
(๑) เป็นบัณเฑาะก์และชาย (๒) ภิกษุไม่แน่ใจว่าเป็นบัณเฑาะก์และชายทั้ง ๒
คน ฯลฯ สำคัญว่าเป็นชาย ฯลฯ สำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ สำคัญว่าเป็น
หญิงและมีความกำหนัด (๓) ภิกษุพูดชมบ้าง พูดติบ้าง ฯลฯ ด่าบ้าง พาดพิงทวาร
หนักทวารเบาของทั้ง ๒ คน ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๓. ทุฎฐุลลวาจาสิกขาบท บทภาชนีย์

บัณเฑาะก์และสัตว์ดิรัจฉาน

(๑) เป็นบัณเฑาะก์และสัตว์ดิรัจฉาน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ทั้ง ๒
และมีความกำหนัด (๓) ภิกษุพูดชมบ้าง พูดติบ้าง ฯลฯ ด่าบ้าง พาดพิงทวารหนัก
ทวารเบาของทั้ง ๒ ต้องอาบัติทุกกฏกับถุลลัจจัย
(๑) เป็นบัณเฑาะก์และสัตว์ดิรัจฉาน (๒) ภิกษุไม่แน่ใจว่าเป็นบัณเฑาะก์และ
สัตว์ดิรัจฉานทั้ง ๒ ฯลฯ สำคัญว่าเป็นชาย ฯลฯ สำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ
สำคัญว่าเป็นหญิงและมีความกำหนัด (๓) ภิกษุพูดชมบ้าง พูดติบ้าง ฯลฯ ด่าบ้าง
พาดพิงทวารหนักทวารเบาของทั้ง ๒ ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว

ชายและสัตว์ดิรัจฉาน

(๑) เป็นชายและสัตว์ดิรัจฉาน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นชายทั้ง ๒ ฯลฯ ไม่แน่
ใจว่าเป็นชายและสัตว์ดิรัจฉานทั้ง ๒ ฯลฯ สำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ สำคัญ
ว่าเป็นหญิง ฯลฯ สำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์และมีความกำหนัด (๓) ภิกษุพูดชมบ้าง
พูดติบ้าง ฯลฯ ด่าบ้าง พาดพิงทวารหนักทวารเบาของทั้ง ๒ ต้องอาบัติทุกกฏ
๒ ตัว

ใต้รากขวัญและเหนือเข่า

(๑) เป็นหญิง (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงและมีความกำหนัด (๓) ภิกษุ
พูดชมบ้าง พูดติบ้าง ฯลฯ ด่าบ้าง พาดพิงถึงอวัยวะเบื้องบนใต้รากขวัญลงมา
อวัยวะเบื้องต่ำเหนือเข่าขึ้นไป เว้นทวารหนักและทวารเบาของหญิง ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย ฯลฯ
(๑) เป็นสัตว์ดิรัจฉาน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิง ฯลฯ ต้องอาบัติทุกกฏ
(๑) เป็นหญิง ๒ คน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คนและมีความกำหนัด
(๓) ภิกษุพูดชมบ้าง พูดติบ้าง ฯลฯ ด่าบ้าง พาดพิงถึงอวัยวะเบื้องบนใต้รากขวัญลงมา
อวัยวะเบื้องต่ำเหนือเข่าขึ้นไป เว้นทวารหนักและทวารเบาของหญิงทั้ง ๒ ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย ๒ ตัว ฯลฯ


>>>>> หน้าต่อไป >>>>>





eXTReMe Tracker