ค้นว่าอยู่เล่มใด แล้วกด [ctrl]+f หรือใช้คำสั่งของเครื่องหาตำแหน่งในเล่มอีกทีนะครับ



จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อความสะดวก และสวยงาม
(เฉพาะหน้าจอใหญ่ เช่น คอมพิวเตอร์)
กรุณาคลิก จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อให้กรอบ
ค้นข้อความ ปรากฎที่ด้านซ้ายของหน้า

พระไตรปิฎกภาษาไทย
ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม (ปกสีฟ้า)
ทั้งออนไลน์และออฟไลน์
ที่มาของข้อมูล : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มจร.
MCUTRAI Version 1.0

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๑-๓ วินัยปิฎกที่ ๐๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑

พระวินัยปิฎก
มหาวิภังค์ ภาค ๑
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น



พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๓. ทุฎฐุลลวาจาสิกขาบท บทภาชนีย์

(๑) เป็นหญิงและบัณเฑาะก์ (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คนและมี
ความกำหนัด (๓) ภิกษุพูดชมบ้าง พูดติบ้าง ฯลฯ ด่าบ้าง พาดพิงถึงอวัยวะเบื้อง
บนใต้รากขวัญลงมา อวัยวะเบื้องต่ำเหนือเข่าขึ้นไป เว้นทวารหนักและทวารเบาของทั้ง
๒ คน ต้องอาบัติทุกกฏกับถุลลัจจัย ฯลฯ

เหนือรากขวัญและใต้เข่า

(๑) เป็นหญิง (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงและมีความกำหนัด (๓) ภิกษุพูด
ชมบ้าง พูดติบ้าง ฯลฯ ด่าบ้าง พาดพิงถึงอวัยวะเบื้องบนเหนือรากขวัญขึ้นไป
อวัยวะเบื้องต่ำใต้เข่าลงมาของหญิง ต้องอาบัติทุกกฏ
(๑) เป็นบัณเฑาะก์ (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิง ฯลฯ (๑) เป็นชาย
(๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิง ฯลฯ (๑) สัตว์ดิรัจฉาน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิง ฯลฯ
ต้องอาบัติทุกกฏ
(๑) เป็นหญิง ๒ คน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คนและมีความ
กำหนัด (๓) ภิกษุพูดชมบ้าง พูดติบ้าง ฯลฯ ด่าบ้าง พาดพิงถึงอวัยวะเบื้องบน
เหนือรากขวัญขึ้นไป อวัยวะเบื้องต่ำใต้เข่าลงมาของหญิงทั้ง ๒ คน ต้องอาบัติทุกกฏ
๒ ตัว ฯลฯ
(๑) เป็นหญิงและบัณเฑาะก์ (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คนและมี
ความกำหนัด (๓) ภิกษุพูดชมบ้าง พูดติบ้าง ฯลฯ ด่าบ้าง พาดพิงถึงอวัยวะเบื้อง
บนเหนือรากขวัญขึ้นไป อวัยวะเบื้องต่ำใต้เข่าลงมาของทั้ง ๒ คน ต้องอาบัติทุกกฏ
๒ ตัว ฯลฯ

พูดพาดพิงถึงของที่เนื่องด้วยกาย

(๑) เป็นหญิง (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงและมีความกำหนัด (๓) ภิกษุพูด
ชมบ้าง พูดติบ้าง ฯลฯ ด่าบ้าง พาดพิงถึงของที่เนื่องด้วยกายของหญิง ต้องอาบัติ
ทุกกฏ


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๓. ทุฎฐุลลวาจาสิกขาบท คาถารวมวินีตวัตถุ

(๑) เป็นบัณเฑาะก์ ฯลฯ (๑) เป็นชาย ฯลฯ (๑) เป็นสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ
ต้องอาบัติทุกกฏ
(๑) เป็นหญิง ๒ คน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คนและมีความกำหนัด
(๓) ภิกษุพูดชมบ้าง พูดติบ้าง ฯลฯ ด่าบ้าง พาดพิงถึงของที่เนื่องด้วยกายของหญิงทั้ง
๒ คน ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว ฯลฯ
(๑) เป็นหญิงและบัณเฑาะก์ (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คนและมี
ความกำหนัด (๓) ภิกษุพูดชมบ้าง พูดติบ้าง ฯลฯ ด่าบ้าง พาดพิงถึงของที่เนื่อง
ด้วยกายของทั้ง ๒ ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว ฯลฯ

อนาปัตติวาร

ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๒๘๗] ๑. ภิกษุมุ่งอรรถะ
๒. ภิกษุมุ่งธรรม
๓. ภิกษุมุ่งพร่ำสอน
๔. ภิกษุวิกลจริต
๕. ภิกษุต้นบัญญัติ

คาถารวมวินีตวัตถุ
เรื่องที่ทรงวินิจฉัยแล้ว

เรื่องผ้ากัมพลสีแดง ๑ เรื่อง___เรื่องผ้ากำพลขนแข็ง ๑ เรื่อง
เรื่องผ้ากัมพลขนยุ่งเหยิง ๑ เรื่อง___เรื่องผ้ากัมพลขนหยาบ ๑ เรื่อง
เรื่องผ้าห่มขนยาว ๑ เรื่อง___เรื่องนาหว่าน ๑ เรื่อง
เรื่องหนทางราบเรียบ ๑ เรื่อง___เรื่องมีศรัทธา ๑ เรื่อง
เรื่องให้ทาน ๑ เรื่อง___เรื่องทำงาน ๓ เรื่อง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๓๒๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๓. ทุฎฐุลลวาจาสิกขาบท วินีตวัตถุ
วินีตวัตถุ

เรื่องผ้ากัมพลสีแดง ๑ เรื่อง

[๒๘๘] สมัยนั้น หญิงคนหนึ่งห่มผ้ากัมพลใหม่สีแดง ภิกษุรูปหนึ่งมีความ
กำหนัด ได้กล่าวกับเธอว่า “น้องหญิง เธอมีสีแดงแท้” แต่นางไม่เข้าใจความหมาย
จึงกล่าวว่า “ใช่เจ้าค่ะ พระคุณเจ้า ผ้ากัมพลใหม่สีแดง” ท่านเกิดความกังวลใจว่า
เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ ๑)

เรื่องผ้ากัมพลขนแข็ง ๑ เรื่อง

สมัยนั้น หญิงคนหนึ่งห่มผ้ากัมพลขนแข็ง ภิกษุรูปหนึ่งมีความกำหนัด ได้
กล่าวกับเธอว่า “น้องหญิง เธอมีขนแข็งแท้” แต่นางไม่เข้าใจความหมายจึงกล่าวว่า
“ใช่เจ้าค่ะ พระคุณเจ้า ผ้ากัมพลขนแข็ง” ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์
ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ ๒)

เรื่องผ้ากัมพลขนยุ่งเหยิง ๑ เรื่อง

สมัยนั้น หญิงคนหนึ่งห่มผ้ากัมพลซักใหม่ ภิกษุรูปหนึ่งมีความกำหนัด ได้
กล่าวกับเธอว่า “น้องหญิง เธอมีขนยุ่งเหยิง” แต่นางไม่เข้าใจความหมายจึงกล่าวว่า
“ใช่เจ้าค่ะ พระคุณเจ้า ผ้ากัมพลขนยุ่งเหยิง” ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์
ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ ๓)

เรื่องผ้ากัมพลขนหยาบ ๑ เรื่อง

สมัยนั้น หญิงคนหนึ่งห่มผ้ากัมพลขนหยาบ ภิกษุรูปหนึ่งมีความกำหนัด ได้
กล่าวกับเธอว่า “น้องหญิง เธอมีขนหยาบ” แต่นางไม่เข้าใจความหมายจึงกล่าวว่า
“ใช่เจ้าค่ะ พระคุณเจ้า ผ้ากัมพลขนหยาบ” ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติ


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๓. ทุฎฐุลลวาจาสิกขาบท วินีตวัตถุ

สังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์
ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ ๔)

เรื่องผ้าห่มขนยาว ๑ เรื่อง

สมัยนั้น หญิงคนหนึ่งห่มผ้าห่มขนยาว ภิกษุรูปหนึ่งมีความกำหนัด ได้กล่าว
กับเธอว่า “น้องหญิง เธอมีขนยาว” แต่นางไม่เข้าใจความหมายจึงกล่าวว่า “ใช่เจ้าค่ะ
พระคุณเจ้า ผ้าห่มขนยาว” ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือ
หนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ
เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ ๕)

เรื่องนาหว่าน ๑ เรื่อง

[๒๘๙] สมัยนั้น หญิงคนหนึ่งหว่านนาแล้วเดินมา ภิกษุรูปหนึ่งมีความ
กำหนัด ได้กล่าวกับเธอว่า “น้องหญิง เธอหว่านเสร็จแล้วหรือ” แต่นางไม่เข้าใจ
ความหมายจึงกล่าวว่า “ใช่เจ้าค่ะ พระคุณเจ้า หว่านเสร็จแล้วแต่ยังมิได้ไถกลบ”
ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
แต่ต้องอาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ ๖)

เรื่องหนทางราบเรียบ ๑ เรื่อง

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งพบนางปริพาชิกาเดินสวนทางมา มีความกำหนัด ได้
กล่าวกับเธอว่า “น้องหญิง ทางของเธอราบเรียบหรือ” แต่นางไม่เข้าใจความหมาย
จึงกล่าวว่า “เจ้าค่ะ นิมนต์พระคุณเจ้าเดินไปเถิด” ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้อง
อาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ ๗)

เรื่องมีศรัทธา ๑ เรื่อง

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความกำหนัด ได้กล่าวกับหญิงคนหนึ่งว่า “น้องหญิง
เธอเป็นคนมีศรัทธา จะถวายสิ่งที่เธอให้แก่สามีแก่พวกอาตมาบ้างไม่ได้หรือ” “อะไร


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๓. ทุฎฐุลลวาจาสิกขาบท วินีตวัตถุ

เจ้าค่ะ” ภิกษุนั้นตอบว่า“เมถุนธรรม” แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์
ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๘)

เรื่องให้ทาน ๑ เรื่อง

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความกำหนัด ได้กล่าวกับหญิงคนหนึ่งว่า “น้องหญิง
เธอเป็นคนมีศรัทธา จะถวายทานอันเลิศแก่พวกอาตมาบ้างไม่ได้หรือ” “อะไร
เจ้าค่ะ” ภิกษุนั้นตอบว่า “เมถุนธรรม” แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์
ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๙)

เรื่องทำงาน ๓ เรื่อง

สมัยนั้น หญิงคนหนึ่งกำลังทำงานอยู่ ภิกษุรูปหนึ่งมีความกำหนัด ได้กล่าว
กับเธอว่า “น้องหญิง หยุดเถิด อาตมาจักช่วยทำ” แต่นางไม่รู้ความหมาย ท่านเกิด
ความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้อง
อาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ ๑๐)
สมัยนั้น หญิงคนหนึ่งกำลังทำงานอยู่ ภิกษุรูปหนึ่งมีความกำหนัด ได้กล่าว
กับเธอว่า “น้องหญิง นั่งเถิด อาตมาจักช่วยทำ” แต่นางไม่รู้ความหมาย ท่านเกิด
ความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้อง
อาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ ๑๑)
สมัยนั้น หญิงคนหนึ่งกำลังทำงานอยู่ ภิกษุรูปหนึ่งมีความกำหนัด ได้กล่าว
กับเธอว่า “น้องหญิง นอนพักเถิด อาตมาจักช่วยทำ” แต่นางไม่รู้ความหมาย ท่าน
เกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระ
ผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่
ต้องอาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ ๑๒)

ทุฏฐุลลวาจาสิกขาบทที่ ๓ จบ


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๔. อัตตกามปาริจริยสิกขาบท นิทานวัตถุ

๔. อัตตกามปาริจริยสิกขาบท
ว่าด้วยการให้บำเรอความใคร่ของตน
เรื่องพระอุทายี

[๒๙๐] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระอุทายีเป็นพระที่ใกล้ชิด
ตระกูลในกรุงสาวัตถี ไปมาหาสู่ตระกูลเป็นอันมาก สมัยนั้น มีหญิงม่ายผัวตายคนหนึ่ง
รูปงาม น่าดู น่าชม ครั้นเวลาเช้า ท่านพระอุทายีครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร
เดินไปถึงเรือนหญิงม่ายนั้นครั้นถึงแล้วจึงนั่งบนอาสนะที่เขาจัดไว้ ครั้นแล้วหญิงม่าย
จึงเข้าไปหาถึงที่ท่านพระอุทายีนั่ง กราบแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ครั้นแล้วท่าน
พระอุทายีชี้แจงให้หญิงม่ายเห็นชัด ชวนให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญ
แกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา ครั้งนั้น หญิงม่ายได้กล่าว
ปวารณา๑ ท่านพระอุทายีว่า “พระคุณเจ้า โปรดบอกเถิด ท่านต้องการสิ่งใดที่ดิฉัน
สามารถจัดถวายได้ คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร”
“ปัจจัยเหล่านั้นหาได้ไม่ยาก เธอจงถวายสิ่งที่หาได้ยากแก่อาตมาเถิด”
“อะไรหรือ เจ้าค่ะ”
“เมถุนธรรม”
“ท่านต้องการหรือเจ้าค่ะ”
“อาตมาต้องการ”
หญิงม่ายจึงกล่าวว่า “นิมนต์ท่านมาเถิดเจ้าค่ะ” แล้วเดินเข้าห้องเปลื้องผ้า
นุ่งแล้วนอนหงายบนเตียง
ขณะนั้น ท่านพระอุทายีเดินตามนางเข้าไปถึงเตียงกล่าวว่า “ใครจักลูบคลำ
หญิงถ่อยมีกลิ่นเหม็นคนนี้ได้” ถ่มน้ำลายแล้วจากไป

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า “ปวารณา” ในที่นี้ หมายถึงยอมให้พระอุทายีขอหรือเรียกร้องเอาสิ่งที่ต้องการได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๓๒๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๔. อัตตกามปาริจริยสิกขาบท นิทานวัตถุ

หญิงม่ายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “พระสมณะเชื้อสายศากยบุตรเหล่านี้
ไม่มียางอาย ทุศีล ชอบพูดเท็จ แต่ก็ปฏิญญาว่า ประพฤติธรรม ประพฤติสงบ
ประพฤติพรหมจรรย์ พูดจริง มีศีล มีกัลยาณธรรม พวกเธอไม่มีความเป็นสมณะ
ไม่มีความเป็นพราหมณ์ ความเป็นสมณะ ความเป็นพราหมณ์ของพวกเธอเสื่อมสิ้น
ไปแล้ว พวกเธอจะเป็นสมณะ เป็นพราหมณ์ได้อย่างไร พวกเธอปราศจากความเป็น
สมณะ ปราศจากความเป็นพราหมณ์ ไฉนพระสมณอุทายีขอเมถุนธรรมกะเราแล้ว
กลับถ่มน้ำลายกล่าวว่า ‘ใครจักลูบคลำหญิงถ่อยมีกลิ่นเหม็นคนนี้ได้’ แล้วจากไปเล่า
เรามีอะไรชั่วนักหรือ มีอะไรที่มีกลิ่นเหม็นนักหรือ เราเลวกว่าหญิงคนอื่นอย่างไร”
แม้หญิงพวกอื่นก็พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “พระสมณะเชื้อสาย
ศากยบุตรเหล่านี้ ไม่มียางอาย ทุศีล ชอบกล่าวเท็จ ฯลฯ หญิงม่ายนี้มีอะไรชั่วนักหรือ
มีอะไรที่มีกลิ่นเหม็นนักหรือ นางเลวกว่าหญิงอื่นอย่างไร”
ภิกษุทั้งหลายได้ยินหญิงเหล่านั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้
มักน้อยสันโดษมีความละอาย มีความระมัดระวัง ใฝ่การศึกษา จึงพากันตำหนิ ประณาม
โพนทะนาว่า “ไฉนท่านพระอุทายีจึงพูดสรรเสริญการบำเรอความใคร่ของตนต่อหน้า
มาตุคามเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิท่านพระอุทายีโดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามท่านพระอุทายีว่า “อุทายี ทราบว่า เธอกล่าวสรรเสริญการบำเรอความ
ใคร่ของตนต่อหน้ามาตุคาม จริงหรือ” ท่านทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มี
พระภาคพุทธเจ้า ทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษ การกระทำของเธอ ไม่สมควร ไม่คล้อย
ตาม ไม่เหมาะสม ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ โมฆบุรุษ ไฉนเธอจึงได้
กล่าวสรรเสริญการให้บำเรอความใคร่ของตนต่อหน้ามาตุคามเล่า โมฆบุรุษ เรา
แสดงธรรมโดยประการต่าง ๆ เพื่อคลายกำหนัด มิใช่เพื่อความกำหนัด ฯลฯ เรา
บอกการระงับความกลัดกลุ้มเพราะกามไว้โดยประการต่าง ๆ มิใช่หรือ โมฆบุรุษ
การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุ
ทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๔. อัตตกามปาริจริยสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

พระบัญญัติ

[๒๙๑] ก็ ภิกษุใดถูกราคะครอบงำแล้ว มีจิตแปรปรวน กล่าวสรรเสริญ
การบำเรอความใคร่ของตนต่อหน้ามาตุคาม ด้วยคำที่พาดพิงเมถุนว่า “น้องหญิง
หญิงใดบำเรอผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ผู้มีศีลมีกัลยาณธรรมเช่นเราด้วยธรรมนั่น
การบำเรอนี้ของหญิง นั้นเป็นการบำเรอชั้นยอด” เป็นสังฆาทิเสส

เรื่องพระอุทายี จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๒๙๒] คำว่า ก็... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ที่ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ถูกราคะครอบงำแล้ว คือ มีความยินดี เพ่งเล็ง มีจิตรักใคร่
คำว่า แปรปรวน ความว่า จิตกำหนัดแล้วชื่อว่าแปรปรวนบ้าง จิตโกรธแล้ว
ชื่อว่าแปรปรวนบ้าง จิตหลงแล้วชื่อว่าแปรปรวนบ้าง แต่จิตกำหนัดแล้ว พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์ว่า แปรปรวน ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า มาตุคาม ได้แก่ หญิงมนุษย์ ไม่ใช่นางยักษ์ ไม่ใช่นางเปรต ไม่ใช่สัตว์
ดิรัจฉานตัวเมีย แต่เป็นหญิงที่รู้เดียงสา สามารถรับรู้ถ้อยคำสุภาษิต ทุพภาษิต คำ
หยาบและคำสุภาพ
คำว่า ต่อหน้ามาตุคาม คือ ที่ใกล้มาตุคาม ไม่ไกลจากมาตุคาม
คำว่า ความใคร่ของตน ได้แก่ ความใคร่ของตน เหตุของตน ความประสงค์
ของตน การบำเรอของตน
คำว่า นี้...ชั้นยอด คือ นี้เป็นยอด นี้ประเสริฐที่สุด นี้เป็นชั้นแนวหน้า นี้สูงสุด
นี้เป็นสิ่งเลิศ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๓๓๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๔. อัตตกามปาริจริยสิกขาบท บทภาชนีย์

คำว่า หญิงใด ได้แก่ หญิงวรรณะกษัตริย์ หรือวรรณะพราหมณ์ หญิงวรรณะ
แพศย์ หรือหญิงวรรณะศูทร
คำว่า เช่นเรา คือ เป็นกษัตริย์ หรือพราหมณ์ แพศย์ หรือศูทร
คำว่า มีศีล คือ ผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต เว้นขาดจากอทินนาทาน เว้น
ขาดจากมุสาวาท
คำว่า ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ คือ ผู้เว้นขาดจากเมถุนธรรม
ที่ชื่อว่า มีกัลยาณธรรม คือ ผู้ชื่อว่ามีธรรมงามเพราะศีลนั้นและพรหมจรรย์
นั้น
คำว่า ด้วยธรรมนั่น คือ ด้วยเมถุนธรรม
คำว่า บำเรอ คือ อภิรมย์
คำว่า ด้วยคำที่พาดพิงเมถุน คือ ด้วยถ้อยคำที่เกี่ยวด้วยเมถุนธรรม
คำว่า เป็นสังฆาทิเสส ความว่า สำหรับอาบัตินั้น สงฆ์เท่านั้นให้ปริวาส ฯลฯ
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า “เป็นสังฆาทิเสส”

บทภาชนีย์
หญิง

[๒๙๓] (๑) เป็นหญิง (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงและมีความกำหนัด
(๓) ภิกษุกล่าวสรรเสริญการบำเรอความใคร่ของตนต่อหน้าหญิง ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
(๑) เป็นหญิง (๒) ภิกษุไม่แน่ใจว่าเป็นหญิง ฯลฯ สำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ ฯลฯ
สำคัญว่าเป็นชาย ฯลฯ สำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉานและมีความกำหนัด (๓) ภิกษุ
กล่าวสรรเสริญการบำเรอความใคร่ของตนต่อหน้าหญิง ต้องอาบัติถุลลัจจัย

บัณเฑาะก์

(๑) เป็นบัณเฑาะก์ (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์และมีความกำหนัด
(๓) ภิกษุกล่าวสรรเสริญการบำเรอความใคร่ของตนต่อหน้าบัณเฑาะก์ ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๔. อัตตกามปาริจริยสิกขาบท บทภาชนีย์

(๑) เป็นบัณเฑาะก์ (๒) ภิกษุไม่แน่ใจว่าเป็นบัณเฑาะก์ ฯลฯ สำคัญว่าเป็น
ชาย ฯลฯ สำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ สำคัญว่าเป็นหญิงและมีความกำหนัด
(๓) ภิกษุกล่าวสรรเสริญการบำเรอความใคร่ของตนต่อหน้าบัณเฑาะก์ ต้องอาบัติ
ทุกกฏ

ชาย

(๑) เป็นชาย (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นชาย ฯลฯ ไม่แน่ใจว่าเป็นชาย ฯลฯ
สำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ สำคัญว่าเป็นหญิง ฯลฯ สำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์
และมีความกำหนัด (๓) ภิกษุกล่าวสรรเสริญการบำเรอความใคร่ของตนต่อหน้าชาย
ต้องอาบัติทุกกฏ

สัตว์ดิรัจฉาน

(๑) เป็นสัตว์ดิรัจฉาน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ ไม่แน่ใจว่า
เป็นสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ สำคัญว่าเป็นหญิง ฯลฯ สำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ ฯลฯ
สำคัญว่าเป็นชายและมีความกำหนัด (๓) ภิกษุกล่าวสรรเสริญการบำเรอความใคร่
ของตนต่อหน้าสัตว์ดิรัจฉาน ต้องอาบัติทุกกฏ

หญิง ๒ คน

(๑) เป็นหญิง ๒ คน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คนและมีความกำหนัด
(๓) ภิกษุกล่าวสรรเสริญการบำเรอความใคร่ของตนต่อหน้าหญิงทั้ง ๒ คน ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว
(๑) เป็นหญิง ๒ คน (๒) ภิกษุไม่แน่ใจว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คน ฯลฯ สำคัญว่า
เป็นบัณเฑาะก์ ฯลฯ สำคัญว่าเป็นชาย ฯลฯ สำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉานและมีความ
กำหนัด (๓) ภิกษุกล่าวสรรเสริญการบำเรอความใคร่ของตนต่อหน้าหญิงทั้ง ๒ คน
ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๒ ตัว


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๔. อัตตกามปาริจริยสิกขาบท บทภาชนีย์

บัณเฑาะก์ ๒ คน

(๑) เป็นบัณเฑาะก์ ๒ คน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ทั้ง ๒ คนและมี
ความกำหนัด (๓) ภิกษุกล่าวสรรเสริญการบำเรอความใคร่ของตนต่อหน้าบัณเฑาะก์
ทั้ง ๒ คน ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๒ ตัว
(๑) เป็นบัณเฑาะก์ ๒ คน (๒) ภิกษุไม่แน่ใจว่าเป็นบัณเฑาะก์ทั้ง ๒ คน ฯลฯ
สำคัญว่าเป็นชาย ฯลฯ สำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ สำคัญว่าเป็นหญิงและมี
ความกำหนัด (๓) ภิกษุกล่าวสรรเสริญการบำเรอความใคร่ของตนต่อหน้าบัณเฑาะก์
ทั้ง ๒ คน ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว

ชาย ๒ คน และสัตว์ดิรัจฉาน ๒ ตัว

(๑) เป็นชาย ๒ คน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นชายทั้ง ๒ คน ฯลฯ (๑) สัตว์ดิรัจฉาน
๒ ตัว (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉานทั้ง ๒ ตัว ฯลฯ ไม่แน่ใจ ฯลฯ สำคัญว่า
เป็นหญิง ฯลฯ สำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ ฯลฯ สำคัญว่าเป็นชายและมีความกำหนัด
(๓) ภิกษุกล่าวสรรเสริญการบำเรอความใคร่ของตนต่อหน้าสัตว์ดิรัจฉานทั้ง ๒ ต้อง
อาบัติทุกกฏ ๒ ตัว

หญิงและบัณเฑาะก์

(๑) เป็นหญิงและบัณเฑาะก์ (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คนและมี
ความกำหนัด (๓) ภิกษุกล่าวสรรเสริญการบำเรอความใคร่ของตนต่อหน้าหญิงและ
บัณเฑาะก์ทั้ง ๒ คน ต้องอาบัติทุกกฏกับสังฆาทิเสส
(๑) เป็นหญิงและบัณเฑาะก์ (๒) ภิกษุไม่แน่ใจว่าเป็นหญิงและบัณเฑาะก์ทั้ง ๒
คน ฯลฯ ต้องอาบัติทุกกฏกับถุลลัจจัย ฯลฯ สำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ ฯลฯ ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย ๒ ตัว ฯลฯ สำคัญว่าเป็นชาย ฯลฯ สำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉานและ
มีความกำหนัด (๓) ภิกษุกล่าวสรรเสริญการบำเรอความใคร่ของตนต่อหน้าหญิง
และบัณเฑาะก์ทั้ง ๒ คน ต้องอาบัติทุกกฏกับถุลลัจจัย


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๔. อัตตกามปาริจริยสิกขาบท บทภาชนีย์

(๑) เป็นหญิงและชาย (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คนและมีความ
กำหนัด (๓) ภิกษุกล่าวสรรเสริญการบำเรอความใคร่ของตนต่อหน้าหญิงและชาย
ทั้ง ๒ คน ต้องอาบัติทุกกฏกับสังฆาทิเสส
(๑) เป็นหญิงและชาย (๒) ภิกษุไม่แน่ใจว่าเป็นหญิงและชายทั้ง ๒ คน ฯลฯ
สำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ ฯลฯ สำคัญว่าเป็นชาย ฯลฯ สำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉาน
และมีความกำหนัด (๓) ภิกษุกล่าวสรรเสริญการบำเรอความใคร่ของตนต่อหน้า
หญิงและชายทั้ง ๒ คน ต้องอาบัติทุกกฏกับถุลลัจจัย

หญิงและสัตว์ดิรัจฉาน

(๑) เป็นหญิงและสัตว์ดิรัจฉาน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ และมี
ความกำหนัด (๓) ภิกษุกล่าวสรรเสริญการบำเรอความใคร่ของตนต่อหน้าหญิงและ
สัตว์ดิรัจฉานทั้ง ๒ ต้องอาบัติทุกกฏและสังฆาทิเสส
(๑) เป็นหญิงและสัตว์ดิรัจฉาน (๒) ภิกษุไม่แน่ใจว่าเป็นหญิงและสัตว์ดิรัจฉานทั้ง
๒ ฯลฯ สำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ ฯลฯ สำคัญว่าเป็นชาย ฯลฯ สำคัญว่าเป็นสัตว์
ดิรัจฉาน และมีความกำหนัด (๓) ภิกษุกล่าวสรรเสริญการบำเรอความใคร่ของตน
ต่อหน้าหญิงและสัตว์ดิรัจฉานทั้ง ๒ ต้องอาบัติทุกกฏกับถุลลัจจัย

บัณเฑาะก์และชาย

(๑) เป็นบัณเฑาะก์และชาย (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ทั้ง ๒ คนและ
มีความกำหนัด (๓) ภิกษุกล่าวสรรเสริญการบำเรอความใคร่ของตนต่อหน้า
บัณเฑาะก์และชายทั้ง ๒ คน ต้องอาบัติทุกกฏกับถุลลัจจัย
(๑) เป็นบัณเฑาะก์และชาย (๒) ภิกษุไม่แน่ใจว่าเป็นบัณเฑาะก์และชายทั้ง ๒
คน ฯลฯ สำคัญว่าเป็นชาย ฯลฯ สำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ สำคัญว่าเป็น
หญิงและมีความกำหนัด (๓) ภิกษุกล่าวสรรเสริญการบำเรอความใคร่ของตนต่อ
หน้าบัณเฑาะก์และชายทั้ง ๒ คน ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๓๓๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๔. อัตตกามปาริจริยสิกขาบท คาถารวมวินีตวัตถุ

บัณเฑาะก์และสัตว์ดิรัจฉาน

(๑) เป็นบัณเฑาะก์และสัตว์ดิรัจฉาน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ทั้ง ๒
และมีความกำหนัด (๓) ภิกษุกล่าวสรรเสริญการบำเรอความใคร่ของตนต่อหน้า
บัณเฑาะก์และสัตว์ดิรัจฉานทั้ง ๒ ต้องอาบัติทุกกฏกับถุลลัจจัย
(๑) เป็นบัณเฑาะก์และสัตว์ดิรัจฉาน (๒) ภิกษุไม่แน่ใจว่าเป็นบัณเฑาะก์และ
สัตว์ดิรัจฉานทั้ง ๒ ฯลฯ สำคัญว่าเป็นชาย ฯลฯ สำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ
สำคัญว่าเป็นหญิงและมีความกำหนัด (๓) ภิกษุกล่าวสรรเสริญการบำเรอความใคร่
ของตนต่อหน้าบัณเฑาะก์และสัตว์ดิรัจฉานทั้ง ๒ ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
(๑) เป็นชายและสัตว์ดิรัจฉาน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นชายทั้ง ๒ ฯลฯ ภิกษุ
ไม่แน่ใจว่าเป็นชายและสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ สำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ สำคัญ
ว่าเป็นหญิง ฯลฯ สำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์และมีความกำหนัด (๓) ภิกษุกล่าว
สรรเสริญการบำเรอความใคร่ของตนต่อหน้าชายและสัตว์ดิรัจฉานทั้ง ๒ ต้องอาบัติ
ทุกกฏ ๒ ตัว

อนาปัตติวาร

ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๒๙๔] ๑. ภิกษุผู้กล่าวว่า “จงบำรุงด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ
บริขารคือยารักษาโรค”
๒. ภิกษุวิกลจริต
๓. ภิกษุต้นบัญญัติ

คาถารวมวินีตวัตถุ
เรื่องที่ทรงวินิฉัยแล้ว

เรื่องหญิงหมันต้องการมีบุตร ๑ เรื่อง
เรื่องหญิงผู้มีบุตรถี่ไม่ต้องการมีบุตร ๑ เรื่อง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๓๓๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๔. อัตตกามปาริจริยสิกขาบท วินีตวัตถุ

เรื่องหญิงต้องการเป็นที่รักของสามี ๑ เรื่อง
เรื่องหญิงต้องการมีโชค ๑ เรื่อง
เรื่องหญิงต้องการถวายทานอันเลิศ ๑ เรื่อง
เรื่องหญิงต้องการอุปัฏฐากด้วยสิ่งที่เลิศ ๑ เรื่อง
เรื่องหญิงต้องการไปสุคติ ๑ เรื่อง

วินีตวัตถุ
เรื่องหญิงหมันต้องการมีบุตร ๑ เรื่อง

[๒๙๕] สมัยนั้น หญิงหมันคนหนึ่งถามภิกษุที่นางอุปถัมภ์ว่า “พระคุณเจ้า
ทำอย่างไรดิฉันจึงจะมีบุตร” ภิกษุตอบว่า “น้องหญิง ถ้าเช่นนั้นเธอจงถวายทาน
อันเลิศ” “พระคุณเจ้า อะไรที่ชื่อว่าทานอันเลิศ” “เมถุนธรรม” ท่านเกิดความกังวล
ใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค
ให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๑)

เรื่องหญิงผู้มีบุตรถี่ไม่ต้องการมีบุตร ๑ เรื่อง

สมัยนั้น หญิงคนหนึ่งมีบุตรถี่จึงถามภิกษุที่นางอุปถัมภ์ว่า “พระคุณเจ้า ทำ
อย่างไรดิฉันจึงจะไม่มีบุตร” “น้องหญิง ถ้าอย่างนั้นเธอจงถวายทานอันเลิศ” “พระ
คุณเจ้า อะไรชื่อว่าทานอันเลิศ” “เมถุนธรรม” ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้อง
อาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๒)

เรื่องหญิงต้องการเป็นที่รักของสามี ๑ เรื่อง

สมัยนั้น หญิงคนหนึ่งถามภิกษุที่นางอุปถัมภ์ว่า “พระคุณเจ้า ทำอย่างไร
ดิฉันจึงจะเป็นที่รักของสามี” “น้องหญิง ถ้าอย่างนั้นเธอจงถวายทานอันเลิศ” “พระ
คุณเจ้า อะไรชื่อว่าทานอันเลิศ” “เมถุนธรรม” ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้อง
อาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๓๓๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๔. อัตตกามปาริจริยสิกขาบท วินีตวัตถุ

เรื่องหญิงต้องการมีโชค ๑ เรื่อง

สมัยนั้น หญิงคนหนึ่งถามภิกษุที่นางอุปถัมภ์ว่า “พระคุณเจ้า ทำอย่างไร
ดิฉันจึงจะมีโชค” “น้องหญิง ถ้าอย่างนั้นเธอจงถวายทานอันเลิศ” “พระคุณเจ้า
อะไรชื่อว่าทานอันเลิศ” “เมถุนธรรม” ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์
ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๔)

เรื่องหญิงต้องการถวายทานอันเลิศ ๑ เรื่อง

สมัยนั้น หญิงคนหนึ่งถามภิกษุที่นางอุปถัมภ์ว่า “พระคุณเจ้า ดิฉันจะถวาย
อะไรดีแก่พระคุณเจ้า” “น้องหญิง ถ้าอย่างนั้นเธอจงถวายทานอันเลิศ” “พระคุณเจ้า
อะไรชื่อว่าทานอันเลิศ” “เมถุนธรรม” ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์
ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๕)

เรื่องหญิงต้องการอุปัฏฐากด้วยสิ่งที่เลิศ ๑ เรื่อง

สมัยนั้น หญิงคนหนึ่งถามภิกษุที่นางอุปถัมภ์ว่า “พระคุณเจ้า ดิฉันจะ
อุปัฏฐากพระคุณเจ้าด้วยอะไรดี” “น้องหญิง ด้วยทานอันเลิศ” “พระคุณเจ้า อะไร
ชื่อว่าทานอันเลิศ” “เมถุนธรรม” ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์
ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๖)

เรื่องหญิงต้องการไปสุคติ ๑ เรื่อง

สมัยนั้น หญิงคนหนึ่งถามภิกษุที่นางอุปถัมภ์ว่า “พระคุณเจ้า ดิฉันจะไปสุคติ
ได้อย่างไร” “น้องหญิง ถ้าอย่างนั้น เธอจงถวายทานอันเลิศ” “พระคุณเจ้า อะไรชื่อ
ว่าทานอันเลิศ” “เมถุนธรรม” ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสส
หรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ
เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๗)

อัตตกามปาริจริยสิกขาบทที่ ๔ จบ


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๕. สัญจริตตสิกขาบท นิทานวัตถุ

๕. สัญจริตตสิกขาบท
ว่าด้วยการชักสื่อ
เรื่องพระอุทายี

[๒๙๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระอุทายีเป็นพระที่ใกล้ชิด
ตระกูลในกรุงสาวัตถี ไปมาหาสู่ตระกูลเป็นอันมากที่ตนเห็นว่ามีเด็กหนุ่มที่ยังไม่มี
ภรรยาหรือเด็กสาวที่ยังไม่มีสามี กล่าวยกย่องคุณสมบัติของเด็กสาวให้มารดาบิดา
ของเด็กหนุ่มฟังว่า “สาวน้อยของตระกูลโน้น รูปงาม น่าดู น่าชม ฉลาดหลักแหลม
ไหวพริบดี ขยันไม่เกียจคร้าน สาวน้อยคนนั้นเหมาะสมกับชายหนุ่มคนนี้”
มารดาบิดาของเด็กหนุ่มก็กล่าวว่า “พระคุณเจ้า คนเหล่านั้นไม่รู้จักพวกเราว่า
‘เป็นใครหรือพวกพ้องของใคร’ ถ้าพระคุณเจ้าจะพูดทาบทามให้ พวกเราก็จะสู่ขอ
เด็กสาวนั้นมาให้เด็กหนุ่มคนนี้” พระอุทายีนั้นไปกล่าวยกย่องคุณสมบัติของเด็ก
หนุ่มให้มารดาบิดาของเด็กสาวฟังว่า “ชายหนุ่มของตระกูลโน้น รูปงาม น่าดู น่าชม
ฉลาดหลักแหลมไหวพริบดี ขยันไม่เกียจคร้าน ชายหนุ่มคนนั้นเหมาะสมกับสาว
น้อยคนนี้” ข้างมารดาบิดาของเด็กสาวก็กล่าวว่า “พระคุณเจ้า คนเหล่านั้นไม่รู้จัก
พวกเราว่า ‘เป็นใครหรือพวกพ้องของใคร’ การที่จะพูดยกสาวน้อยให้เขาก็ดูกระไรอยู่
ถ้าพระคุณเจ้าช่วยไปพูดให้เขามาสู่ขอ พวกข้าพเจ้าก็จะยกสาวน้อยคนนี้ให้ชายหนุ่ม
คนนั้น” ด้วยวิธีอย่างนี้ พระอุทายีจึงให้มารดาบิดาของหนุ่มสาวทำอาวาหมงคลบ้าง
วิวาหมงคลบ้าง หรือชักนำให้สู่ขอหมั้นหมายกันบ้าง
[๒๙๗] สมัยนั้น บุตรสาวของหญิงม่ายผู้เคยเป็นภรรยาโหร๑คนหนึ่ง
มีรูปงาม น่าดู น่าชม พวกสาวกอาชีวกจากหมู่บ้านอื่นมาบอกภรรยาโหรนั้นว่า
“แม่คุณ ท่านจงยกเด็กสาวคนนี้ ให้ชายหนุ่มของพวกเราเถิด”

เชิงอรรถ :
๑ คณยตีติ คณโก ผู้คำณวน, โหร, หมอดู (อภิธา.ฏี. คาถา ๓๔๗), ปุราณคณกิยาติ เอกสฺส คณกสฺส
ภริยา, สา ตสฺมึ ชีวมาเน คณกีติ ปญฺญายิตฺถ, มเต ปน ปุราณคณกีติ สงฺขํ คตา ภรรยาของโหรคนหนึ่ง
เมื่อสามียังมีชีวิตเรียกขานกันว่า “คณกี” พอสามีตายถูกเรียกว่า “ปุราณคณกี” (หญิงม่ายผู้เคยเป็นภรรยา
โหร) (วิ.อ. ๒/๒๙๗/๔๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๓๓๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๕. สัญจริตตสิกขาบท นิทานวัตถุ

ภรรยาโหรตอบว่า “ดิฉันไม่ทราบว่าพวกท่านเป็นใครหรือเป็นพวกพ้องของ
ใคร อีกประการหนึ่ง เด็กสาวคนนี้เป็นบุตรสาวคนเดียวของดิฉัน นางต้องไปอยู่บ้าน
อื่น ดิฉันยกให้ไม่ได้”
ชาวบ้านกล่าวกับพวกสาวกอาชีวกว่า “พระคุณเจ้า พวกท่านมาธุระอะไรกัน”
พวกสาวกอาชีวกตอบว่า “พวกเรามาขอบุตรสาวกะภรรยาโหรชื่อโน้นในที่นี้
ให้แก่เด็กหนุ่มของพวกเรา แต่นางปฏิเสธว่า ‘ดิฉันไม่ทราบว่าพวกท่านเป็นใคร ฯลฯ
ดิฉันยกให้ไม่ได้”
ชาวบ้านแนะนำว่า “พระคุณเจ้าไปขอหญิงสาวกะภรรยาโหรทำไมกัน ไปพูด
กับพระอุทายีไม่ดีกว่าหรือ พระอุทายีช่วยให้เขายินยอมยกให้ได้”
พวกสาวกอาชีวกไปหาท่านพระอุทายีถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้ว ได้กล่าวว่า “พระ
คุณท่าน พวกกระผมมาขอบุตรสาวกะภรรยาโหรชื่อโน้นในที่นี้ให้แก่เด็กหนุ่มของ
พวกกระผม แต่ถูกนางปฏิเสธว่า ‘ดิฉันไม่ทราบว่าพวกท่านเป็นใคร ฯลฯ ดิฉันยก
ให้ไม่ได้’ พระคุณท่านช่วยด้วยเถิดขอรับ ช่วยพูดให้ภรรยาโหรยอมยกบุตรสาวให้
แก่เด็กหนุ่มของพวกกระผมด้วย”
ลำดับนั้นท่านพระอุทายีจึงเข้าไปหาภรรยาโหรถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้ว ได้ถามว่า
“ทำไม เธอไม่ยกบุตรสาวให้คนเหล่านี้เล่า”
ภรรยาโหรตอบว่า “ดิฉันไม่ทราบว่าคนเหล่านี้เป็นใครหรือเป็นพวกพ้องของใคร
อีกประการหนึ่ง เด็กสาวนี้เป็นบุตรสาวคนเดียวของดิฉัน นางต้องไปอยู่บ้านอื่น
ดิฉันจึงไม่ยกให้เจ้าค่ะ”
“ท่านจงยกให้ไปเถอะ อาตมารู้จักคนพวกนี้ดี”
“ถ้าพระคุณเจ้ารู้จัก ดิฉันก็จะยกให้”
ต่อมา ภรรยาโหรจึงยกบุตรสาวให้สาวกอาชีวก ครั้นพวกเขาพาเด็กสาวไป
ได้เลี้ยงดูอย่างสะใภ้ เดือนเดียวเท่านั้น ต่อจากนั้นเลี้ยงดูอย่างทาสหญิง


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๕. สัญจริตตสิกขาบท นิทานวัถตุ

ต่อมา สาวน้อยส่งข่าวไปถึงมารดาว่า “ลูกตกระกำลำบาก หาความสุขไม่
ได้เลย พวกเขาเลี้ยงดูลูกในฐานะหญิงสะใภ้เดือนเดียวเท่านั้น ต่อจากนั้นเลี้ยงดู
อย่างทาสหญิง คุณแม่โปรดมารับลูกกลับไปเถิด”
ครั้นทราบข่าว ภรรยาโหรจึงไปหาพวกสาวกอาชีวกถึงที่อยู่ กล่าวว่า “พวก
ท่านอย่าเลี้ยงดูสาวน้อยอย่างทาสหญิง โปรดเลี้ยงดูอย่างสะใภ้เถิด”
พวกสาวกอาชีวกตอบว่า “พวกเราไม่ได้รับรองและตกลงไว้กับท่าน แต่รับ
รองและตกลงไว้กับพระต่างหาก หลีกไป พวกเราไม่รู้จักท่าน”
ครั้นภรรยาโหรถูกพวกสาวกอาชีวกพูดรุกรานจึงเดินทางกลับกรุงสาวัตถี
ฝ่ายสาวน้อยก็ยังส่งข่าวไปถึงมารดาอีกเป็นครั้งที่ ๒ ว่า “ลูกตกระกำลำบาก หา
ความสุขไม่ได้เลย ฯลฯ คุณแม่โปรดมารับลูกกลับไปเถิด”
ภรรยาโหรจึงไปหาพระอุทายีถึงที่อยู่แล้วกล่าวว่า “พระคุณเจ้า ทราบมาว่า
บุตรสาวของดิฉันตกระกำลำบาก ไม่ได้ความสุข ได้รับการเลี้ยงดูอย่างสะใภ้ เดือน
เดียวเท่านั้น จากนั้นถูกเลี้ยงดูอย่างทาสหญิง พระคุณเจ้าควรขอร้องว่า อย่าเลี้ยงดู
สาวน้อยอย่างทาสหญิง โปรดเลี้ยงดูอย่างสะใภ้”
ต่อมาพระอุทายีได้ไปหาพวกสาวกอาชีวกถึงที่อยู่ขอร้องว่า “พวกท่านอย่า
เลี้ยงดูสาวน้อยอย่างทาสหญิง โปรดเลี้ยงดูอย่างสะใภ้เถิด”
พวกสาวกอาชีวกตอบว่า “พวกเราไม่ได้รับรองและตกลงไว้กับท่าน แต่รับ
รองและตกลงไว้กับภรรยาโหรต่างหาก พระต้องไม่วุ่นวาย ต้องเป็นพระที่ดี หลีกไป
พวกเราไม่รู้จักท่าน”
ครั้นถูกพวกสาวกอาชีวกพูดรุกราน พระอุทายี จึงเดินทางกลับกรุงสาวัตถี
ฝ่ายสาวน้อยก็ยังส่งข่าวไปถึงมารดาอีกเป็นครั้งที่ ๓ ว่า “ลูกตกระกำลำบาก หา
ความสุขไม่ได้เลย ฯลฯ คุณแม่โปรดมารับลูกกลับไปเถิด”
ฝ่ายภรรยาโหรก็เข้าไปหาพระอุทายีถึงที่อยู่ แล้วพูดเป็นครั้งที่ ๒ ว่า “พระ
คุณเจ้า ทราบมาว่า บุตรสาวของดิฉันตกระกำลำบาก ฯลฯ โปรดเลี้ยงดูนางอย่าง
สะใภ้”


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๕. สัญจริตตสิกขาบท นิทานวัตถุ

ท่านพระอุทายีกล่าวว่า “อาตมาถูกพวกสาวกอาชีวกพูดรุกรานมาครั้งหนึ่งแล้ว
เธอไปเองเถิด อาตมาจะไม่ไป”

นินทาและสรรเสริญพระอุทายี

[๒๙๘] ครั้งนั้น ภรรยาโหรได้ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ขอให้พระ
อุทายีตกระกำลำบาก อย่าได้มีความสุขสบายเหมือนบุตรสาวของเราที่ต้องตกระกำ
ลำบากไม่ได้ความสุขสบายเพราะมีแม่ผัว พ่อผัว และสามีชั่ว”
แม้สาวน้อยก็ตำหนิ ประณาม โพนทะนาพระอุทายีว่า “ขอให้พระอุทายีตก
ระกำลำบาก อย่าได้มีความสุข เหมือนเราที่ต้องตกระกำลำบาก ไม่ได้ความสุขสบาย
เพราะมีแม่ผัว พ่อผัว และสามีชั่ว”
แม้หญิงสาวอื่นๆ ที่ไม่ชอบใจแม่ผัว พ่อผัว และสามี ต่างสาปแช่งพระอุทายี
ว่า “ขอให้พระอุทายีตกระกำลำบาก ฯลฯ เหมือนเราที่ตกระกำลำบาก เพราะมี
แม่ผัว พ่อผัว และสามีชั่ว”
ฝ่ายหญิงสาวที่ชอบใจแม่ผัว พ่อผัว และสามี ต่างให้พรว่า “ขอให้พระคุณ
เจ้าอุทายีจงมีความสุขความเจริญเหมือนพวกเราที่มีความสุขความเจริญเพราะมีแม่ผัว
พ่อผัว และสามีดี”
พวกภิกษุได้ยินหญิงบางพวกสาปแช่ง บางพวกให้พร บรรดาภิกษุผู้มักน้อย
สันโดษ ฯลฯ จึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนท่านพระอุทายีจึงชักสื่อ
เล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิท่านพระอุทายีโดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามท่านพระอุทายีว่า “อุทายี ทราบว่า เธอชักสื่อจริงหรือ” ท่านทูลรับว่า “จริง
พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้
ไม่สมควร ไม่คล้อยตาม ไม่เหมาะสม ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ โมฆบุรุษ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๓๔๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๕. สัญจริตตสิกขาบท นิทานวัตถุ

ไฉนเธอจึงชักสื่อเล่า การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ”
แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ

[๒๙๙] ก็ ภิกษุใดทำหน้าที่ชักสื่อ คือ บอกความประสงค์ของชายแก่
หญิงก็ดี บอกความประสงค์ของหญิงแก่ชายก็ดี เพื่อให้เป็นภรรยาหรือเป็นชู้รัก
เป็นสังฆาทิเสส
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้

เรื่องพระอุทายี จบ

เรื่องนักเลงหญิง

[๓๐๐] สมัยนั้น พวกนักเลงจำนวนมากพากันไปเที่ยวรื่นเริงในอุทยาน ส่ง
ชายสื่อไปสำนักหญิงแพศยาคนหนึ่งด้วยสั่งว่า “เชิญนางมาเถิด พวกเราจักไปเที่ยว
รื่นเริงในอุทยานด้วยกัน”
หญิงแพศยาตอบว่า “นายจ๋า ดิฉันไม่ทราบว่าพวกท่านเป็นใครหรือเป็นพวก
พ้องของใคร อีกประการหนึ่ง ดิฉันมีทรัพย์สมบัติมาก มีเครื่องประดับมาก ถ้าจะ
ต้องออกไปนอกเมือง ดิฉันไม่ไป”
ครั้นแล้วชายสื่อแจ้งเรื่องนั้นให้พวกนักเลงทราบ เมื่อชายสื่อพูดอย่างนั้น
ชายอีกคนหนึ่งบอกพวกนักเลงว่า “พวกท่านไปอ้อนวอนหญิงแพศยาทำไม ควร
บอกพระอุทายีมิดีกว่าหรือ ท่านจะส่งนางมาให้พวกเราเอง”
เมื่อเขาพูดอย่างนั้น อุบาสกคนหนึ่งพูดแย้งว่า “คุณอย่าพูดอย่างนั้น การทำ
อย่างนั้นไม่เหมาะแก่พระสมณะเชื้อสายศากยบุตร พระคุณเจ้าอุทายีจะไม่ทำเช่นนั้น”
เมื่ออุบาสกพูดอย่างนี้ พวกนักเลงจึงพนันกันว่า “พระคุณเจ้าอุทายีจะทำ
หรือไม่ทำ” นักเลงเหล่านั้นเข้าไปหาพระอุทายีถึงที่อยู่แล้วกราบเรียนท่านว่า “พระ
คุณเจ้า พวกกระผมเข้าไปเที่ยวรื่นเริงในอุทยาน ส่งชายสื่อไปหาหญิงแพศยาชื่อโน้น
ว่า ‘ขอให้นางมา พวกเราจะเที่ยวรื่นเริงในอุทยาน’ นางตอบว่า ‘นายจ๋า ดิฉันไม่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๓๔๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๕. สัญจริตตสิกขาบท นิทานวัตถุ

ทราบว่าพวกท่านเป็นใครหรือเป็นพวกพ้องของใคร อีกประการหนึ่ง ดิฉันมีเครื่อง
ประดับมาก ถ้าจะต้องออกไปนอกเมือง ดิฉันไม่ไป’ ขอพระคุณเจ้าโปรดส่งหญิง
แพศยาคนนั้นมาให้พวกกระผมด้วยเถิด”
ลำดับนั้น พระอุทายีเข้าไปหาหญิงแพศยาถึงที่อยู่ถามว่า “ทำไมเธอไม่ไปหา
คนพวกนั้นเล่า”
นางตอบว่า “ดิฉันไม่ทราบว่า คนพวกนี้เป็นใครหรือเป็นพวกพ้องของใคร
อีกประการหนึ่งดิฉันมีทรัพย์สมบัติมาก มีเครื่องประดับมาก ถ้าจะต้องออกไปนอก
เมือง ดิฉันไม่ไป เจ้าค่ะ”
“เธอไปหาคนพวกนี้เถิด อาตมารู้จักพวกเขาดี”
“ถ้าพระคุณเจ้ารู้จัก ดิฉันก็จะไป เจ้าค่ะ”
ลำดับนั้น พวกนักเลงพาหญิงแพศยาคนนั้นไปเที่ยวในอุทยาน ต่อมา อุบาสก
ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระอุทายีจึงชักสื่อให้อยู่ร่วมกันชั่วคราวเล่า”
พวกภิกษุได้ยินอุบาสกตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มักน้อย
ฯลฯ จึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนท่านพระอุทายีจึงชักสื่อให้อยู่
ร่วมกับชั่วคราวเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิท่านพระอุทายีโดยประการต่าง ๆ แล้ว
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท

ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามท่านพระอุทายีว่า “อุทายี ทราบว่า เธอชักสื่อให้อยู่ร่วมกันชั่วคราว
จริงหรือ” พระอุทายีทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรง
ตำหนิว่า “โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ ไม่สมควร ฯลฯ โมฆบุรุษ ไฉนเธอจึงชักสื่อ
ให้อยู่ร่วมกันชั่วคราวเล่า โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใส
ให้เลื่อมใส ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๕. สัญจริตตสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

พระอนุบัญญัติ

[๓๐๑] อนึ่ง ภิกษุใดทำหน้าที่ชักสื่อ คือ บอกความประสงค์ของชายแก่
หญิงก็ดี บอกความประสงค์ของหญิงแก่ชายก็ดี เพื่อให้เป็นภรรยาหรือเป็นชู้รัก
โดยที่สุดแม้เพื่อให้อยู่ร่วมกันชั่วคราว เป็นสังฆาทิเสส

เรื่องนักเลงหญิง จบ
สิกขาบทวิภังค์

[๓๐๒] คำว่า อนึ่ง... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
อนึ่ง...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ที่ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
คำว่า ทำหน้าที่ชักสื่อ ความว่า ไปหาฝ่ายชายตามที่หญิงขอร้อง หรือไปหา
ฝ่ายหญิงตามที่ชายขอร้อง
คำว่า บอกความประสงค์ของชายแก่หญิงก็ดี คือ แจ้งความปรารถนาของ
ชายแก่หญิง
คำว่า บอกความประสงค์ของหญิงแก่ชายก็ดี คือ แจ้งความปรารถนาของ
หญิงแก่ชาย
คำว่า เพื่อให้เป็นภรรยา คือ บอกว่า เธอจักเป็นภรรยา
คำว่า เพื่อให้เป็นชู้รัก คือ บอกว่า เธอจักเป็นชู้รัก
คำว่า โดยที่สุดแม้เพื่อให้อยู่ร่วมกันชั่วคราว คือ บอกว่า เธอจักเป็นภรรยา
ชั่วคราว
คำว่า เป็นสังฆาทิเสส ความว่า สำหรับอาบัตินั้น สงฆ์เท่านั้นให้ปริวาส ฯลฯ
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกว่า “เป็นสังฆาทิเสส”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๓๔๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๕. สัญจริตตสิกขาบท บทภาชนีย์

บทภาชนีย์
มาติกา
หญิง ๑๐ จำพวก

[๓๐๓] หญิง ๑๐ จำพวก คือ
๑. หญิงที่ยังอยู่ในความปกครองของมารดา
๒. หญิงที่ยังอยู่ในความปกครองของบิดา
๓. หญิงที่ยังอยู่ในความปกครองของมารดาบิดา
๔. หญิงที่ยังอยู่ในความปกครองของพี่ชายน้องชาย
๕. หญิงที่ยังอยู่ในความปกครองของพี่สาวน้องสาว
๖. หญิงที่ยังอยู่ในความปกครองของญาติ
๗. หญิงที่ยังอยู่ในความปกครองของตระกูล
๘. หญิงที่มีธรรมคุ้มครอง
๙. หญิงที่มีคู่หมั้น
๑๐. หญิงที่มีกฎหมายคุ้มครอง

ภรรยา ๑๐ จำพวก

ภรรยา ๑๐ จำพวก คือ
๑. ภรรยาสินไถ่
๒. ภรรยาที่อยู่ด้วยความพอใจ
๓. ภรรยาที่อยู่เพราะสมบัติ
๔. ภรรยาที่อยู่เพราะแผ่นผ้า
๕. ภรรยาที่เข้าพิธีสมรส
๖. ภรรยาที่ถูกปลงเทริด
๗. ภรรยาที่เป็นทั้งคนรับใช้เป็นทั้งภรรยา
๘. ภรรยาที่เป็นทั้งลูกจ้างเป็นทั้งภรรยา
๙. ภรรยาที่เป็นเชลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๓๔๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๕. สัญจริตตสิกขาบท บทภาชนีย์

๑๐. ภรรยาชั่วคราว

[๓๐๔] ที่ชื่อว่า หญิงที่ยังอยู่ในความปกครองของมารดา ได้แก่ หญิงที่มี
มารดาคอยระวัง ควบคุม ห้ามปราม ให้อยู่ในอำนาจ
ที่ชื่อว่า หญิงที่ยังอยู่ในความปกครองของบิดา ได้แก่ หญิงที่มีบิดาคอยระวัง
ควบคุม ห้ามปราม ให้อยู่ในอำนาจ
ที่ชื่อว่า หญิงที่ยังอยู่ในความปกครองของมารดาบิดา ได้แก่ หญิงที่มี
มารดาบิดาคอยระวัง ควบคุม ห้ามปราม ให้อยู่ในอำนาจ
ที่ชื่อว่า หญิงที่ยังอยู่ในความปกครองของพี่ชายน้องชาย ได้แก่ หญิงที่มีพี่
ชายน้องชายคอยระวัง ควบคุม ห้ามปราม ให้อยู่ในอำนาจ
ที่ชื่อว่า หญิงที่ยังอยู่ในความปกครองของพี่สาวน้องสาว ได้แก่ หญิงที่มี
พี่สาวน้องสาวคอยระวัง ควบคุม ห้ามปราม ให้อยู่ในอำนาจ
ที่ชื่อว่า หญิงที่ยังอยู่ในความปกครองของญาติ ได้แก่ หญิงที่มีญาติคอยระวัง
ควบคุม ห้ามปราม ให้อยู่ในอำนาจ
ที่ชื่อว่า หญิงที่ยังอยู่ในความปกครองของตระกูล ได้แก่ หญิงที่มีบุคคล
ร่วมตระกูลคอยระวัง ควบคุม ห้ามปราม ให้อยู่ในอำนาจ
ที่ชื่อว่า หญิงที่มีธรรมคุ้มครอง ได้แก่ หญิงที่มีผู้ประพฤติธรรมร่วมกันคอย
ระวัง ควบคุม ห้ามปราม ให้อยู่ในอำนาจ
ที่ชื่อว่า หญิงที่มีคู่หมั้น ได้แก่ หญิงที่ถูกหมั้นหมายไว้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์โดย
ที่สุดกระทั่งหญิงที่ชายสวมพวงดอกไม้ให้ด้วยกล่าวว่า “หญิงนี้เป็นของเรา”
ที่ชื่อว่า หญิงที่มีกฎหมายคุ้มครอง ได้แก่ หญิงที่มีพระราชาบางองค์ทรง
กำหนดโทษไว้ว่า “ชายที่ล่วงเกินหญิงคนนี้ ต้องได้รับโทษเท่านี้”
ที่ชื่อว่า ภรรยาสินไถ่ ได้แก่ หญิงที่ชายเอาทรัพย์ซื้อมาอยู่ร่วมกัน
ที่ชื่อว่า ภรรยาที่อยู่ด้วยความพอใจ ได้แก่ หญิงอันเป็นที่รักซึ่งชายคู่รักรับ
ให้อยู่ร่วมกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๓๔๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๕. สัญจริตตสิกขาบท บทภาชนีย์

ที่ชื่อว่า ภรรยาที่อยู่เพราะสมบัติ ได้แก่หญิงที่ชายยกสมบัติให้แล้วอยู่ร่วมกัน
ที่ชื่อว่า ภรรยาที่อยู่เพราะแผ่นผ้า ได้แก่หญิงที่ชายมอบผ้าให้แล้วอยู่ร่วมกัน
ที่ชื่อว่า ภรรยาที่เข้าพิธีสมรส ได้แก่ หญิงที่ชายจับมือจุ่มลงในภาชนะน้ำ
ด้วยกันแล้วอยู่ร่วมกัน
ที่ชื่อว่า ภรรยาที่ถูกปลงเทริด ได้แก่ หญิงที่ชายถอดเทริดลงแล้วอยู่ร่วมกัน
ที่ชื่อว่า ภรรยาที่เป็นทั้งคนรับใช้เป็นทั้งภรรยา ได้แก่ หญิงที่เป็นทั้งทาส
เป็นทั้งภรรยา
ที่ชื่อว่า ภรรยาที่เป็นทั้งลูกจ้างเป็นทั้งภรรยา ได้แก่ หญิงที่เป็นทั้งลูกจ้าง
เป็นทั้งภรรยา
ที่ชื่อว่า ภรรยาที่เป็นเชลย ได้แก่ หญิงที่ถูกนำมาเป็นเชลย
ที่ชื่อว่า ภรรยาชั่วคราว ได้แก่ หญิงที่อยู่ร่วมกันเป็นครั้งคราว

ธนักกีตาจักร
นิกเขปบท

[๓๐๕] ชายขอร้องภิกษุว่า “พระคุณเจ้า ท่านช่วยไปบอกหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่
ในความปกครองของมารดาว่า ทราบว่า ขอให้เธอจงเป็นภรรยาสินไถ่ของชายชื่อนี้
เถิด” ภิกษุรับคำ ไปบอก กลับมาบอก๑ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ชายขอร้องภิกษุว่า “พระคุณเจ้า ท่านช่วยไปบอกหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความ
ปกครองของบิดา ฯลฯ บอกหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของมารดาบิดา ฯลฯ
บอกหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของพี่ชายน้องชาย ฯลฯ บอกหญิงชื่อนี้ที่ยัง
อยู่ในความปกครองของพี่สาวน้องสาว ฯลฯ บอกหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครอง

เชิงอรรถ :
๑ “ปฏิคฺคณฺหาติ” รับคำ คือ ภิกษุรับคำที่ชายขอร้องให้บอกกับหญิง วีมํสติ ไปบอก คือ ครั้นภิกษุรับ
คำแล้วก็ไปบอกให้หญิงทราบ ปจฺจาหรติ กลับมาบอก คือ เมื่อภิกษุบอกแล้ว หญิงนั้นจะรับคำก็ตาม จะ
ปฏิเสธก็ตาม หรือจะนิ่งเพราะเหนียมอายก็ตาม ภิกษุกลับมาแจ้งข่าวแก่ชายนั้น (วิ.อ. ๒/๓๐๕/๔๗-๔๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๓๔๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๕. สัญจริตตสิกขาบท บทภาชนีย์

ของญาติ ฯลฯ บอกหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของตระกูล ฯลฯ บอกหญิง
ชื่อนี้ที่มีธรรมคุ้มครอง ฯลฯ บอกหญิงชื่อนี้ที่มีคู่หมั้น ฯลฯ บอกหญิงชื่อนี้ที่มี
กฎหมายคุ้มครองว่า ทราบว่า เธอจงเป็นภรรยาสินไถ่ของชายชื่อนี้เถิด” ภิกษุรับคำ
ไปบอก กลับมาบอก ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

นิกเขปบท จบ

ขัณฑจักร
มีหญิงคนหนึ่งเป็นมูล

[๓๐๖] ชายขอร้องภิกษุว่า “พระคุณเจ้า ท่านช่วยไปบอกหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่
ในความปกครองของมารดาและหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของบิดาว่า “ทราบว่า
เธอทั้งหลายจงเป็นภรรยาสินไถ่ของชายชื่อนี้” ภิกษุรับคำ ไปบอก กลับมาบอก
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ชายขอร้องภิกษุว่า “พระคุณเจ้า ท่านช่วยไปบอกหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความ
ปกครองของมารดาและหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของมารดาบิดา ฯลฯ
หญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของมารดาและหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครอง
ของพี่ชายน้องชาย ฯลฯ หญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของมารดาและหญิงชื่อนี้
ที่ยังอยู่ในความปกครองของพี่สาวน้องสาว ฯลฯ หญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครอง
ของมารดาและหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของญาติ ฯลฯ หญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่
ในความปกครองของมารดาและหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในครองของตระกูล ฯลฯ หญิงชื่อ
นี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของมารดาและหญิงชื่อนี้ที่มีธรรมคุ้มครอง ฯลฯ หญิงชื่อ
นี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของมารดาและหญิงชื่อนี้ที่มีคู่หมั้น ฯลฯ หญิงชื่อนี้ที่ยัง
อยู่ในความปกครองของมารดาและหญิงชื่อนี้ที่มีกฎหมายคุ้มครองว่า ทราบว่า เธอ
ทั้งหลายจงเป็นภรรยาสินไถ่ของชายชื่อนี้” ภิกษุรับคำ ไปบอก กลับมาบอก ต้อง
อาบัติ สังฆาทิเสส

ขัณฑจักร จบ


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๕. สัญจริตตสิกขาบท บทภาชนีย์

พัทธจักร
มีหญิงคนหนึ่งเป็นมูล หมวดที่ ๑

[๓๐๗] ชายขอร้องภิกษุว่า “พระคุณเจ้า ท่านช่วยไปบอกหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่
ในความปกครองของบิดาและหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของมารดาบิดาว่า
“ทราบว่า เธอทั้งหลายจงเป็นภรรยาสินไถ่ของชายชื่อนี้” ภิกษุรับคำ ไปบอก กลับ
มาบอก ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ชายขอร้องภิกษุว่า “พระคุณเจ้า ท่านช่วยไปบอกหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความ
ปกครองของบิดาและหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของพี่ชายน้องชาย ฯลฯ
หญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของบิดาและหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครอง
ของพี่สาวน้องสาว ฯลฯ หญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของบิดาและหญิงชื่อนี้ที่
ยังอยู่ในความปกครองของญาติ ฯลฯ หญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของบิดา
และหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของตระกูล ฯลฯ หญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความ
ปกครองของบิดาและหญิงชื่อนี้ที่มีธรรมคุ้มครอง ฯลฯ หญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปก
ครองของบิดาและหญิงชื่อนี้ที่มีคู่หมั้น ฯลฯ หญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของ
บิดาและหญิงชื่อนี้ที่มีกฎหมายคุ้มครองว่า ทราบว่า เธอทั้งหลายจงเป็นภรรยาสิน
ไถ่ของชายชื่อนี้” ภิกษุรับคำ ไปบอก กลับมาบอก ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ชายขอร้องภิกษุว่า “พระคุณเจ้า ท่านช่วยไปบอกหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความ
ปกครองของมารดาและหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของมารดาบิดาว่า “ทราบ
ว่า ท่านจงเป็นภรรยาสินไถ่ของชายชื่อนี้” ภิกษุรับคำ ไปบอก กลับมาบอก ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส

พัทธจักรมีหญิงคนหนึ่งเป็นมูล หมวดที่ ๑ จบ

พัทธจักร มีหญิงคนหนึ่งเป็นมูล หมวดที่ ๒

[๓๐๘] ชายขอร้องภิกษุว่า “พระคุณเจ้า ท่านช่วยไปบอกหญิงชื่อนี้ที่ยัง
อยู่ในความปกครองของมารดาบิดาและหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของพี่ชาย
น้องชาย ฯลฯ หญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของมารดาบิดาและหญิงชื่อนี้ที่ยัง
อยู่ในความปกครองของพี่สาวน้องสาว ฯลฯ หญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของ


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๕. สัญจริตตสิกขาบท บทภาชนีย์

มารดาบิดาและหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของญาติ ฯลฯ หญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่
ในความปกครองของมารดาบิดาและหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในคุ้มครองของตระกูล ฯลฯ
หญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของมารดาบิดาและหญิงชื่อนี้ที่มีธรรมคุ้มครอง ฯลฯ
หญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของมารดาบิดาและหญิงชื่อนี้ที่มีคู่หมั้น ฯลฯ
หญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของมารดาบิดาและหญิงชื่อนี้ที่มีกฎหมายคุ้มครอง
ฯลฯ หญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของมารดาบิดาและหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ใน
ความปกครองของมารดา ฯลฯ หญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของมารดาบิดา
และหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของบิดาว่า ทราบว่า เธอทั้งหลายจงเป็น
ภรรยาสินไถ่ของชายชื่อนี้” ภิกษุรับคำ ไปบอก กลับมาบอก ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

พัทธจักรมีหญิงคนหนึ่งเป็นมูล หมวดที่ ๒ จบ

พัทธจักรมีหญิงคนหนึ่งเป็นมูล หมวดที่ ๓

ชายขอร้องภิกษุว่า “พระคุณเจ้า ท่านช่วยไปบอกหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความ
ปกครองของพี่ชายน้องชายและหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของพี่สาวน้องสาว
ฯลฯ หญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของพี่ชายน้องชายและหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ใน
ความปกครองของญาติ ฯลฯ หญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของพี่ชายน้องชาย
และหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของตระกูล ฯลฯ หญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความ
ปกครองของพี่ชายน้องชายและหญิงชื่อนี้ที่มีธรรมคุ้มครอง ฯลฯ หญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่
ในความปกครองของพี่ชายน้องชายและหญิงชื่อนี้ที่มีคู่หมั้น ฯลฯ หญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่
ในความปกครองของพี่ชายน้องชายและหญิงชื่อนี้ที่มีกฎหมายคุ้มครอง ฯลฯ หญิง
ชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของพี่ชายน้องชายและหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความ
ปกครองของมารดา ฯลฯ หญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของพี่ชายน้องชายและ
หญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของบิดา ฯลฯ หญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความ
ปกครองของพี่ชายน้องชายและหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของมารดาบิดาว่า
ทราบว่า เธอทั้งหลายจงเป็นภรรยาสินไถ่ของชายชื่อนี้” ภิกษุรับคำ ไปบอก กลับมา
บอก ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

พัทธจักรมีหญิงคนหนึ่งเป็นมูล หมวดที่ ๓ จบ


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๕. สัญจริตตสิกขาบท บทภาชนีย์

พัทธจักรมีหญิงคนหนึ่งเป็นมูล หมวดที่ ๔

ชายขอร้องภิกษุว่า “พระคุณเจ้า ท่านช่วยไปบอกหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความ
ปกครองของพี่สาวน้องสาวและหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของญาติ ฯลฯ
หญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของพี่สาวน้องสาวและหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความ
ปกครองของตระกูล ฯลฯ หญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของพี่สาวน้องสาวและ
หญิงชื่อนี้ที่มีธรรมคุ้มครอง ฯลฯ หญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของพี่สาวน้อง
สาวและหญิงชื่อนี้ที่มีคู่หมั้น ฯลฯ หญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของพี่สาวน้อง
สาวและหญิงชื่อนี้ที่มีกฎหมายคุ้มครอง ฯลฯ หญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของ
พี่สาวน้องสาวและหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของมารดา ฯลฯ หญิงชื่อนี้ที่ยัง
อยู่ในความปกครองของพี่สาวน้องสาวและหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของบิดา
ฯลฯ หญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของพี่สาวน้องสาวและหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ใน
ความปกครองของมารดาบิดา ฯลฯ หญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของพี่สาว
น้องสาวและหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของพี่ชายน้องชายว่า ทราบว่า เธอ
ทั้งหลายจงเป็นภรรยาสินไถ่ของชายชื่อนี้” ภิกษุรับคำ ไปบอก กลับมาบอก
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

พัทธจักรมีหญิงคนหนึ่งเป็นมูล หมวดที่ ๔ จบ

พัทธจักรมีหญิงคนหนึ่งเป็นมูล หมวดที่ ๕

ชายขอร้องภิกษุว่า “พระคุณเจ้า ท่านช่วยไปบอกหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความ
ปกครองของญาติและหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของตระกูล ฯลฯ หญิงชื่อนี้
ที่ยังอยู่ในความปกครองของญาติและหญิงชื่อนี้ที่มีธรรมคุ้มครอง ฯลฯ หญิงชื่อนี้ที่
ยังอยู่ในความปกครองของญาติและหญิงชื่อนี้ที่มีคู่หมั้น ฯลฯ หญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ใน
ความปกครองของญาติและหญิงชื่อนี้ที่มีกฎหมายคุ้มครอง ฯลฯ หญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่
ในความปกครองของญาติและหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของมารดา ฯลฯ


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๕. สัญจริตตสิกขาบท บทภาชนีย์

หญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของญาติและหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครอง
ของบิดา ฯลฯ หญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของญาติและหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ใน
ความปกครองของมารดาบิดา ฯลฯ หญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของญาติ
และหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของพี่ชายน้องชาย ฯลฯ หญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ใน
ความปกครองของญาติและหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของพี่สาวน้องสาวว่า
ทราบว่า ท่านจงเป็นภรรยาสินไถ่ของชายชื่อนี้” ภิกษุรับคำ ไปบอก กลับมาบอก
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

พัทธจักรมีหญิงคนหนึ่งเป็นมูล หมวดที่ ๕ จบ

พัทธจักรมีหญิงคนหนึ่งเป็นมูล หมวดที่ ๖

ชายขอร้องภิกษุว่า “พระคุณเจ้า ท่านช่วยไปบอกหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความ
ปกครองของตระกูลและหญิงชื่อนี้ที่มีธรรมคุ้มครอง ฯลฯ หญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความ
ปกครองของตระกูลและหญิงชื่อนี้ที่มีคู่หมั้น ฯลฯ หญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครอง
ของตระกูลและหญิงชื่อนี้ที่มีกฎหมายคุ้มครอง ฯลฯ หญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปก
ครองของตระกูลและหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของมารดา ฯลฯ หญิงชื่อนี้ที่
ยังอยู่ในความปกครองของตระกูลและหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของบิดา ฯลฯ
หญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของตระกูลและหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครอง
ของมารดาบิดา ฯลฯ หญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของตระกูลและหญิงชื่อนี้ที่
ยังอยู่ในความปกครองของพี่ชายน้องชาย ฯลฯ หญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครอง
ของตระกูลและหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของพี่สาวน้องสาว ฯลฯ หญิงชื่อนี้
ที่ยังอยู่ในความปกครองของตระกูลและหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของญาติว่า
ทราบว่า เธอทั้งหลายจงเป็นภรรยาสินไถ่ของชายชื่อนี้” ภิกษุรับคำ ไปบอก กลับมา
บอก ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

พัทธจักรมีหญิงคนหนึ่งเป็นมูล หมวดที่ ๖ จบ


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๕. สัญจริตตสิกขาบท บทภาชนีย์

พัทธจักรมีหญิงคนหนึ่งเป็นมูล หมวดที่ ๗

ชายขอร้องภิกษุว่า “พระคุณเจ้า ท่านช่วยไปบอกหญิงชื่อนี้ที่มีธรรมคุ้มครอง
และหญิงชื่อนี้ที่มีคู่หมั้น ฯลฯ หญิงชื่อนี้ที่มีธรรมคุ้มครองและหญิงชื่อนี้ที่มีกฎหมาย
คุ้มครอง ฯลฯ หญิงชื่อนี้ที่มีธรรมคุ้มครองและหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครอง
ของมารดา ฯลฯ หญิงชื่อนี้ที่มีธรรมคุ้มครองและหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครอง
ของบิดา ฯลฯ หญิงชื่อนี้ที่มีธรรมคุ้มครองและหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครอง
ของมารดาบิดา ฯลฯ หญิงชื่อนี้ที่มีธรรมคุ้มครองและหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปก
ครองของพี่ชายน้องชาย ฯลฯ หญิงชื่อนี้ที่มีธรรมคุ้มครองและหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ใน
ความปกครองของพี่สาวน้องสาว ฯลฯ หญิงชื่อนี้ที่มีธรรมคุ้มครองและหญิงชื่อนี้ที่
ยังอยู่ในความปกครองของญาติ ฯลฯ หญิงชื่อนี้ที่มีธรรมคุ้มครองและหญิงชื่อนี้ที่
ยังอยู่ในความปกครองของตระกูลว่า ทราบว่า เธอทั้งหลายจงเป็นภรรยาสินไถ่ของ
ชายชื่อนี้” ภิกษุรับคำ ไปบอก กลับมาบอก ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

พัทธจักรมีหญิงคนหนึ่งเป็นมูล หมวดที่ ๗ จบ

พัทธจักรมีหญิงคนหนึ่งเป็นมูล หมวดที่ ๘

ชายขอร้องภิกษุว่า “พระคุณเจ้า ท่านช่วยไปบอกหญิงชื่อนี้ที่มีคู่หมั้นและ
หญิงชื่อนี้ที่มีกฎหมายคุ้มครอง ฯลฯ หญิงชื่อนี้ที่มีคู่หมั้นและหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ใน
ความปกครองของมารดา ฯลฯ หญิงชื่อนี้ที่มีคู่หมั้นและหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความ
ปกครองของบิดา ฯลฯ หญิงชื่อนี้ที่มีคู่หมั้นและหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครอง
ของมารดาบิดา ฯลฯ หญิงชื่อนี้ที่มีคู่หมั้นและหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของ
พี่ชายน้องชาย ฯลฯ หญิงชื่อนี้ที่มีคู่หมั้นและหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของ
พี่สาวน้องสาว ฯลฯ หญิงชื่อนี้ที่มีคู่หมั้นและหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของ
ญาติ ฯลฯ หญิงชื่อนี้ที่มีคู่หมั้นและหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของตระกูล
ฯลฯ หญิงชื่อนี้ที่มีคู่หมั้นและหญิงชื่อนี้ที่มีธรรมคุ้มครองว่า ทราบว่า เธอทั้งหลาย
จงเป็นภรรยาสินไถ่ของชายชื่อนี้” ภิกษุรับคำ ไปบอก กลับมาบอก ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส

พัทธจักรมีหญิงคนหนึ่งเป็นมูล หมวดที่ ๘ จบ


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๕. สัญจริตตสิกขาบท บทภาชนีย์

พัทธจักรมีหญิงคนหนึ่งเป็นมูล หมวดที่ ๙

ชายขอร้องภิกษุว่า “พระคุณเจ้า ท่านช่วยไปบอกหญิงชื่อนี้ที่มีกฎหมาย
คุ้มครองและหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของมารดา ฯลฯ หญิงชื่อนี้ที่มี
กฎหมายคุ้มครองและหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของบิดา ฯลฯ หญิงชื่อนี้ที่
มีกฎหมายคุ้มครองและหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของมารดาบิดา ฯลฯ
หญิงชื่อนี้ที่มีกฎหมายคุ้มครองและหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของพี่ชายน้องชาย
ฯลฯ หญิงชื่อนี้ที่มีกฎหมายคุ้มครองและหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของ
พี่สาวน้องสาว ฯลฯ หญิงชื่อนี้ที่มีกฎหมายคุ้มครองและหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความ
ปกครองของญาติ ฯลฯ หญิงชื่อนี้ที่มีกฎหมายคุ้มครองและหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ใน
ความปกครองของตระกูล ฯลฯ หญิงชื่อนี้ที่มีกฎหมายคุ้มครองและหญิงชื่อนี้ที่มี
ธรรมคุ้มครอง ฯลฯ หญิงชื่อนี้ที่มีกฎหมายคุ้มครองและหญิงชื่อนี้ที่มีคู่หมั้นว่า ทราบ
ว่า เธอทั้งหลายจงเป็นภรรยาสินไถ่ของชายชื่อนี้” ภิกษุรับคำ ไปบอก กลับมาบอก
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

พัทธจักรมีหญิงคนหนึ่งเป็นมูล หมวดที่ ๙ จบ
ขัณฑจักรและพัทธจักรมีหญิงคนหนึ่งเป็นมูล จบ

ขัณฑจักรและพัทธจักรที่มีหญิง ๒ คนเป็นมูลก็ดี มีหญิง ๓ คนเป็นมูลก็ดี มี
หญิง ๔ คนเป็นมูลก็ดี มีหญิง ๕ คนเป็นมูลก็ดี มีหญิง ๖ คนเป็นมูลก็ดี มีหญิง ๗
คนเป็นมูลก็ดี มีหญิง ๘ คนเป็นมูลก็ดี มีหญิง ๙ คนเป็นมูลก็ดี ก็พึงขยายตาม
แบบนี้เหมือนกัน
ต่อไปนี้ คือขัณฑจักรและพัทธจักรที่มีหญิง ๑๐ คนเป็นมูล

ธนักกีตาจักร
พัทธจักรมีหญิง ๑๐ คนเป็นมูล

[๓๐๙] ชายขอร้องภิกษุว่า “พระคุณเจ้า ท่านช่วยไปบอกหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่
ในความปกครองของมารดา หญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของบิดา หญิงชื่อนี้ที่


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๕. สัญจริตตสิกขาบท บทภาชนีย์

ยังอยู่ในความปกครองของมารดาบิดา หญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของพี่ชาย
น้องชาย หญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของพี่สาวน้องสาว หญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ใน
ความปกครองของญาติ หญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของตระกูล หญิงชื่อนี้ที่มี
ธรรมคุ้มครอง หญิงชื่อนี้ที่มีคู่หมั้น หญิงชื่อนี้ที่มีกฎหมายคุ้มครองว่า ทราบว่า เธอ
ทั้งหลายจงเป็นภรรยาสินไถ่ของชายชื่อนี้” ภิกษุรับคำ ไปบอก กลับมาบอก ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสส

ธนักกีตาจักร จบ

ฉันทวาสินีจักร - มุหุตติกาจักร
นิกเขปบท

[๓๑๐] ชายขอร้องภิกษุว่า “พระคุณเจ้า ท่านช่วยไปบอกหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่
ในความปกครองของมารดาว่า ทราบว่า เธอจงเป็นภรรยาที่อยู่ด้วยความพอใจของ
ชายชื่อนี้ ฯลฯ เป็นภรรยาที่อยู่เพราะสมบัติ ฯลฯ เป็นภรรยาที่อยู่เพราะแผ่นผ้า ฯลฯ
เป็นภรรยาที่เข้าพิธีสมรส ฯลฯ เป็นภรรยาที่ถูกปลงเทริด ฯลฯ เป็นภรรยาที่เป็นทั้ง
คนรับใช้เป็นทั้งภรรยา ฯลฯ เป็นภรรยาที่เป็นทั้งลูกจ้างเป็นทั้งภรรยา ฯลฯ เป็น
ภรรยาที่เป็นเชลย ฯลฯ เป็นภรรยาชั่วคราวของชายชื่อนี้” ภิกษุรับคำ ไปบอก กลับ
มาบอก ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ชายขอร้องภิกษุว่า “พระคุณเจ้า ท่านช่วยไปบอกหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความ
ปกครองของบิดา ฯลฯ หญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของมารดาบิดา ฯลฯ
หญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของพี่ชายน้องชาย ฯลฯ หญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ใน
ความปกครองของพี่สาวน้องสาว ฯลฯ หญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของญาติ
ฯลฯ หญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของตระกูล ฯลฯ หญิงชื่อนี้ที่มีธรรมคุ้มครอง
ฯลฯ หญิงชื่อนี้ที่มีคู่หมั้น ฯลฯ หญิงชื่อนี้ที่มีกฎหมายคุ้มครองว่า ทราบว่า เธอทั้ง
หลายจงเป็นภรรยาสินไถ่ของชายชื่อนี้” ภิกษุรับคำ ไปบอก กลับมาบอก ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส

นิกเขปบท จบ


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๕. สัญจริตตสิกขาบท บทภาชนีย์

มุหุตติกาจักร
ขัณฑจักรที่มีหญิงคนหนึ่งเป็นมูล

[๓๑๑] ชายขอร้องภิกษุว่า “พระคุณเจ้า ท่านช่วยไปบอกหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่
ในความปกครองของมารดาและหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของบิดาว่า ทราบ
ว่า เธอทั้งหลายจงเป็นภรรยาชั่วคราวของชายชื่อนี้” ภิกษุรับคำ ไปบอก กลับมาบอก
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ชายขอร้องภิกษุว่า “พระคุณเจ้า ท่านช่วยไปบอกหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความ
ปกครองของมารดาและหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของมารดาบิดา ฯลฯ
หญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของมารดาและหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครอง
ของพี่ชายน้องชาย ฯลฯ หญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของมารดาและหญิงชื่อนี้
ที่ยังอยู่ในความปกครองของพี่สาวน้องสาว ฯลฯ หญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครอง
ของมารดาและหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของญาติ ฯลฯ หญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่
ในความปกครองของมารดาและหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของตระกูล ฯลฯ
หญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของมารดาและหญิงชื่อนี้ที่มีธรรมคุ้มครอง ฯลฯ
หญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของมารดาและหญิงชื่อนี้ที่มีคู่หมั้น ฯลฯ หญิงชื่อ
นี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของมารดาและหญิงชื่อนี้ที่มีกฎหมายคุ้มครองว่า ทราบว่า
เธอทั้งหลายจงเป็นภรรยาชั่วคราวของชายชื่อนี้” ภิกษุรับคำ ไปบอก กลับมาบอก
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

ขัณฑจักรที่มีหญิงคนหนึ่งเป็นมูล จบ

มุหุตติกาจักร
พัทธจักรที่มีหญิงคนหนึ่งเป็นมูล หมวดที่ ๑

[๓๑๒] ชายขอร้องภิกษุว่า “พระคุณเจ้า ท่านช่วยไปบอกหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่
ในความปกครองของบิดาและหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของมารดาบิดาว่า
ทราบว่า เธอทั้งหลายจงเป็นภรรยาชั่วคราวของชายชื่อนี้” ภิกษุรับคำ ไปบอก กลับ
มาบอก ต้องอาบัติสังฆาทิเสส


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๕. สัญจริตตสิกขาบท บทภาชนีย์

ชายขอร้องภิกษุว่า “พระคุณเจ้า ท่านช่วยไปบอกหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความ
ปกครองของบิดาและหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของพี่ชายน้องชาย ฯลฯ
หญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของบิดาและหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครอง
ของพี่สาวน้องสาว ฯลฯ หญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของบิดาและหญิงชื่อนี้ที่
ยังอยู่ในความปกครองของญาติ ฯลฯ หญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของบิดา
และหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของตระกูล ฯลฯ หญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความ
ปกครองของบิดาและหญิงชื่อนี้ที่มีธรรมคุ้มครอง ฯลฯ หญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปก
ครองของบิดาและหญิงชื่อนี้ที่มีคู่หมั้น ฯลฯ หญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของ
บิดาและหญิงชื่อนี้ที่มีกฎหมายคุ้มครองว่า ทราบว่า เธอทั้งหลายจงเป็นภรรยา
ชั่วคราวของชายชื่อนี้” ภิกษุรับคำ ไปบอก กลับมาบอก ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ชายขอร้องภิกษุว่า “พระคุณเจ้า ท่านช่วยไปบอกหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความ
ปกครองของบิดาและหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของมารดาว่า ทราบว่า เธอ
ทั้งหลายจงเป็นภรรยาชั่วคราวของชายชื่อนี้” ภิกษุรับคำ ไปบอก กลับมาบอก ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสส
พัทธจักรมีหญิงคนหนึ่งเป็นมูลหมวดที่ ๒ - ๘ ย่อไว้แล้ว

พัทธจักรที่มีหญิงคนหนึ่งเป็นมูล หมวดที่ ๙

[๓๑๓] ชายขอร้องภิกษุว่า “พระคุณเจ้า ท่านช่วยไปบอกหญิงชื่อนี้ที่มี
กฎหมายคุ้มครองและหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของมารดาว่า ทราบว่า เธอ
ทั้งหลายจงเป็นภรรยาชั่วคราวของชายชื่อนี้” ภิกษุรับคำ ไปบอก กลับมาบอก ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสส
ชายขอร้องภิกษุว่า “พระคุณเจ้า ท่านช่วยไปบอกหญิงชื่อนี้ที่มีกฎหมาย
คุ้มครองและหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของบิดา ฯลฯ หญิงชื่อนี้ที่มี
กฎหมายคุ้มครองและหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของมารดาบิดา ฯลฯ หญิง
ชื่อนี้ที่มีกฎหมายคุ้มครองและหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของพี่ชาย ฯลฯ หญิง
ชื่อนี้ที่มีกฎหมายคุ้มครองและหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของพี่สาว ฯลฯ


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๕. สัญจริตตสิกขาบท บทภาชนีย์

หญิงชื่อนี้ที่มีกฎหมายคุ้มครองและหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของญาติ ฯลฯ
หญิงชื่อนี้ที่มีกฎหมายคุ้มครองและหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของตระกูล ฯลฯ
หญิงชื่อนี้ที่มีกฎหมายคุ้มครองและหญิงชื่อนี้ที่มีธรรมคุ้มครอง ฯลฯ หญิงชื่อนี้ที่มี
กฎหมายคุ้มครองและหญิงชื่อนี้ที่มีคู่หมั้นว่า ทราบว่า เธอทั้งหลายจงเป็นภรรยา
ชั่วคราวของชายชื่อนี้” ภิกษุรับคำ ไปบอก กลับมาบอก ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

ขัณฑจักรและพัทธจักรแห่งมุหุตติกาจักรที่มีหญิงคนหนึ่งเป็นมูล จบ

ขัณฑจักรและพัทธจักรแห่งมุหุตติกาจักรที่มีหญิง ๒ คนเป็นมูลก็ดี มีหญิง ๓
คนเป็นมูลก็ดี มีหญิง ๔ คนเป็นมูลก็ดี มีหญิง ๕ คนเป็นมูลก็ดี มีหญิง ๖ คนเป็นมูลก็ดี
มีหญิง ๗ คนเป็นมูลก็ดี มีหญิง ๘ คนเป็นมูลก็ดี มีหญิง ๙ คนเป็นมูลก็ดี ก็พึง
ขยายตามแบบนี้เหมือนกัน
ต่อไปนี้คือพัทธจักรที่มีหญิง ๑๐ คนเป็นมูล

มุหุตติกาจักร
พัทธจักรที่มีหญิง ๑๐ คนเป็นมูล

[๓๑๔] ชายขอร้องภิกษุว่า “พระคุณเจ้า ท่านช่วยไปบอกหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่
ในความปกครองของมารดา หญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของบิดา หญิงชื่อนี้ที่
ยังอยู่ในความปกครองของมารดาบิดา หญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของพี่ชาย
น้องชาย หญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของพี่สาวน้องสาว หญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ใน
ความปกครองของญาติ หญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของตระกูล หญิงชื่อนี้ที่มี
ธรรมคุ้มครอง หญิงชื่อนี้ที่มีคู่หมั้น หญิงชื่อนี้ที่มีกฎหมายคุ้มครองว่า ‘ทราบว่า
เธอทั้งหลายจงเป็นภรรยาชั่วคราวของชายชื่อนี้” ภิกษุรับคำ ไปบอก กลับมาบอก
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

มุหุตติกาจักร จบ


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๕. สัญจริตตสิกขาบท บทภาชนีย์

มาตุรักขิตาจักร
นิกเขปบท

[๓๑๕] ชายขอร้องภิกษุว่า “พระคุณเจ้า ท่านช่วยไปบอกหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่
ในความปกครองของมารดาว่า ‘ทราบว่า เธอจงเป็นภรรยาสินไถ่ของชายชื่อนี้”
ภิกษุรับคำ ไปบอก กลับมาบอก ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ชายขอร้องภิกษุว่า “พระคุณเจ้า ท่านช่วยไปบอกหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความ
ปกครองของมารดาว่า ‘ทราบว่า เธอจงเป็นภรรยาที่อยู่ด้วยความพอใจของชายชื่อนี้
ฯลฯ เป็นภรรยาที่อยู่เพราะสมบัติ ฯลฯ เป็นภรรยาที่อยู่เพราะแผ่นผ้า ฯลฯ เป็น
ภรรยาที่เข้าพิธีสมรส ฯลฯ เป็นภรรยาที่ถูกปลงเทริด ฯลฯ เป็นภรรยาที่เป็นทั้งคน
รับใช้เป็นทั้งภรรยา ฯลฯ เป็นภรรยาที่เป็นทั้งลูกจ้างเป็นทั้งภรรยา ฯลฯ เป็น
ภรรยาที่เป็นเชลย ฯลฯ เป็นภรรยาชั่วคราวของชายชื่อนี้” ภิกษุรับคำ ไปบอก กลับ
มาบอก ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

นิกเขปบท จบ

มาตุรักขิตาจักร
ขัณฑจักรที่มีภรรยาคนหนึ่งเป็นมูล

[๓๑๖] ชายขอร้องภิกษุว่า “พระคุณเจ้า ท่านช่วยไปบอกหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ใน
ความปกครองของมารดาว่า “ทราบว่า เธอจงเป็นภรรยาสินไถ่และภรรยาที่อยู่
เพราะแผ่นผ้าของชายชื่อนี้” ภิกษุรับคำ ไปบอก กลับมาบอก ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ชายขอร้องภิกษุว่า “พระคุณเจ้า ท่านช่วยไปบอกหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความ
ปกครองของมารดาว่า ‘ทราบว่า เธอจงเป็นภรรยาสินไถ่และภรรยาที่อยู่เพราะสมบัติ
ฯลฯ เป็นภรรยาที่อยู่เพราะแผ่นผ้า ฯลฯ เป็นภรรยาที่เข้าพิธีสมรส ฯลฯ เป็น
ภรรยาที่ถูกปลงเทริด ฯลฯ เป็นภรรยาที่เป็นทั้งคนรับใช้เป็นทั้งภรรยา ฯลฯ เป็น
ภรรยาที่เป็นทั้งลูกจ้างเป็นทั้งภรรยา ฯลฯ เป็นภรรยาที่เป็นเชลย ฯลฯ เป็นภรรยา
ชั่วคราวของชายชื่อนี้” ภิกษุรับคำ ไปบอก กลับมาบอก ต้องอาบัติสังฆาทิเสส


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๕. สัญจริตตสิกขาบท บทภาชนีย์

ขัณฑจักร
พัทธจักรที่มีภรรยาคนหนึ่งเป็นมูล หมวดที่ ๑

[๓๑๗] ชายขอร้องภิกษุว่า “พระคุณเจ้า ท่านช่วยไปบอกหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่
ในความปกครองของมารดาว่า ‘ทราบว่า เธอจงเป็นภรรยาที่อยู่ด้วยความพอใจและ
ภรรยาที่อยู่เพราะสมบัติ ฯลฯ เป็นภรรยาที่อยู่ด้วยความพอใจและภรรยาชั่วคราว
ฯลฯ เป็นภรรยาที่อยู่ด้วยความพอใจและภรรยาสินไถ่ของชายชื่อนี้” ภิกษุรับคำ ไปบอก
กลับมาบอก ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

พัทธจักรที่มีภรรยาคนหนึ่งเป็นมูล หมวดที่ ๑ จบ

พัทธจักร มีภรรยาคนหนึ่งเป็นมูลหมวดที่ ๒ - ๘ ย่อไว้แล้ว

พัทธจักรที่มีภรรยาคนหนึ่งเป็นมูล หมวดที่ ๙

[๓๑๘] ชายขอร้องภิกษุว่า “พระคุณเจ้า ท่านช่วยไปบอกหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่
ในความปกครองของมารดาว่า ‘ทราบว่า เธอจงเป็นภรรยาชั่วคราวและเป็นภรรยา
สินไถ่ ฯลฯ เป็นภรรยาชั่วคราวและเป็นภรรยาที่อยู่ด้วยความพอใจ ฯลฯ เป็น
ภรรยาชั่วคราวและเป็นภรรยาที่เป็นเชลยของชายชื่อนี้” ภิกษุรับคำ ไปบอก กลับมา
บอก ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ขัณฑจักรและพัทธจักรแห่งมาตุรักขิตาจักรที่มีภรรยาคนหนึ่งเป็นมูล จบ
ขัณฑจักรและพัทธจักรแห่งมาตุรักขิตาจักรที่มีภรรยา ๒ คนเป็นมูลก็ดี
มีภรรยา ๓ คนเป็นมูลก็ดี มีภรรยา ๔ คนเป็นมูลก็ดี มีภรรยา ๕ คนเป็นมูลก็ดี
มีภรรยา ๖ คนเป็นมูลก็ดี มีภรรยา ๗ คนเป็นมูลก็ดี มีภรรยา ๘ คนเป็นมูลก็ดี
มีภรรยา ๙ คนเป็นมูลก็ดี ก็พึงขยายตามแบบนี้เหมือนกัน
ต่อไปนี้คือพัทธจักรที่มีภรรยา ๑๐ คนเป็นมูล

พัทธจักรที่มีภรรยา ๑๐ คนเป็นมูล

[๓๑๙] ชายขอร้องภิกษุว่า “พระคุณเจ้า ท่านช่วยไปบอกหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่
ในความปกครองของมารดาว่า ‘ทราบว่า เธอจงเป็นภรรยาสินไถ่ เป็นภรรยาที่อยู่


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๕. สัญจริตตสิกขาบท บทภาชนีย์

ด้วยความพอใจ เป็นภรรยาที่อยู่เพราะสมบัติ เป็นภรรยาที่อยู่เพราะแผ่นผ้า เป็น
ภรรยาที่เข้าพิธีสมรส เป็นภรรยาที่ถูกปลงเทริด เป็นภรรยาที่เป็นทั้งคนรับใช้
เป็นทั้งภรรยา เป็นภรรยาที่เป็นทั้งลูกจ้างเป็นทั้งภรรยา เป็นภรรยาที่เป็นเชลย เป็น
ภรรยาชั่วคราวของชายชื่อนี้” ภิกษุรับคำ ไปบอก กลับมาบอก ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

มาตุรักขิตาจักร จบ

ปิตุรักขิตาจักร
นิกเขปบท

ชายขอร้องภิกษุว่า “พระคุณเจ้า ท่านช่วยไปบอกหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความ
ปกครองของบิดา ฯลฯ บอกหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของมารดาบิดา ฯลฯ
บอกหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของพี่ชายน้องชาย ฯลฯ บอกหญิงชื่อนี้ที่ยัง
อยู่ในความปกครองของพี่สาวน้องสาว ฯลฯ บอกหญิงชื่อที่ยังอยู่ในความปกครอง
ของญาติ ฯลฯ บอกหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของตระกูล ฯลฯ บอกหญิง
ชื่อนี้ที่มีธรรมคุ้มครอง ฯลฯ บอกหญิงชื่อนี้ที่มีคู่หมั้น ฯลฯ บอกหญิงชื่อนี้ที่มี
กฎหมายคุ้มครองว่า ‘ทราบว่า เธอจงเป็นภรรยาสินไถ่ของชายชื่อนี้” ภิกษุรับคำ ไป
บอก กลับมาบอก ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ชายขอร้องภิกษุว่า “พระคุณเจ้า ท่านช่วยไปบอกหญิงชื่อนี้ที่มีกฎหมาย
คุ้มครองว่า ‘ทราบว่า เธอจงเป็นภรรยาที่อยู่ด้วยความพอใจ ฯลฯ เป็นภรรยาที่อยู่
เพราะสมบัติ ฯลฯ เป็นภรรยาที่อยู่เพราะแผ่นผ้า ฯลฯ เป็นภรรยาที่เข้าพิธีสมรส
ฯลฯ เป็นภรรยาที่ถูกปลงเทริด ฯลฯ เป็นภรรยาที่เป็นทั้งคนรับใช้เป็นทั้ง
ภรรยา ฯลฯ เป็นภรรยาที่เป็นทั้งลูกจ้างเป็นทั้งภรรยา ฯลฯ เป็นภรรยาที่เป็นเชลย
ฯลฯ เป็นภรรยาชั่วคราวของชายชื่อนี้” ภิกษุรับคำ ไปบอก กลับมาบอก ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส

นิกเขปบท จบ


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๕. สัญจริตตสิกขาบท บทภาชนีย์

สปริทัณฑาจักร
ขัณฑจักรที่มีภรรยาคนหนึ่งเป็นมูล

[๓๒๐] ชายขอร้องภิกษุว่า “พระคุณเจ้า ท่านช่วยไปบอกหญิงชื่อนี้ที่มี
กฎหมายคุ้มครองว่า “ทราบว่า เธอจงเป็นภรรยาสินไถ่และเป็นภรรยาที่อยู่ด้วย
ความพอใจของชายชื่อนี้” ภิกษุรับคำ ไปบอก กลับมาบอก ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ชายขอร้องภิกษุว่า “พระคุณเจ้าท่านช่วยไปบอกหญิงชื่อนี้ที่มีกฎหมาย
คุ้มครองว่า ‘ทราบว่า เธอจงเป็นภรรยาสินไถ่และภรรยาที่อยู่เพราะสมบัติ ฯลฯ
เป็นภรรยาสินไถ่และภรรยาที่อยู่เพราะแผ่นผ้า ฯลฯ เป็นภรรยาสินไถ่และภรรยาที่
เข้าพิธีสมรส ฯลฯ เป็นภรรยาสินไถ่และภรรยาที่ถูกปลงเทริด ฯลฯ เป็นภรรยาสิน
ไถ่และภรรยาที่เป็นทั้งคนรับใช้เป็นทั้งภรรยา ฯลฯ เป็นภรรยาสินไถ่และภรรยาที่
เป็นทั้งลูกจ้างเป็นทั้งภรรยา ฯลฯ เป็นภรรยาสินไถ่และภรรยาที่เป็นเชลย ฯลฯ เป็น
ภรรยาสินไถ่และภรรยาชั่วคราวของชายชื่อนี้” ภิกษุรับคำ ไปบอก กลับมาบอก
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

ขัณฑจักร มีภรรยาคนหนึ่งเป็นมูล จบ

สปริทัณฑาจักร
พัทธจักรที่มีภรรยาคนหนึ่งเป็นมูล หมวดที่ ๑

ชายขอร้องภิกษุว่า “พระคุณเจ้า ท่านช่วยไปบอกหญิงชื่อนี้ที่มีกฎหมาย
คุ้มครองว่า ‘ทราบว่า เธอจงเป็นภรรยาที่อยู่ด้วยความพอใจและภรรยาที่อยู่เพราะ
สมบัติ ฯลฯ เป็นภรรยาที่อยู่ด้วยความพอใจและภรรยาที่อยู่เพราะแผ่นผ้า ฯลฯ
เป็นภรรยาที่อยู่ด้วยความพอใจและภรรยาชั่วคราว ฯลฯ เป็นภรรยาที่อยู่ด้วยความ
พอใจและภรรยาสินไถ่ของชายชื่อนี้” ภิกษุรับคำ ไปบอก กลับมาบอก ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส

พัทธจักรที่มีภรรยาคนหนึ่งเป็นมูล หมวดที่ ๑ จบ

พัทธจักรที่มีภรรยาคนหนึ่งเป็นมูลหมวดที่ ๒-๘ ย่อไว้แล้ว


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๕. สัญจริตตสิกขาบท บทภาชนีย์

พัทธจักรที่มีภรรยาคนหนึ่งเป็นมูล หมวดที่ ๙

ชายขอร้องภิกษุว่า “พระคุณเจ้า ท่านช่วยไปบอกหญิงชื่อนี้ที่มีกฎหมาย
คุ้มครองว่า ‘ทราบว่าเธอจงเป็นภรรยาชั่วคราวและภรรยาสินไถ่ ฯลฯ เป็นภรรยา
ชั่วคราวและภรรยาที่อยู่ด้วยความพอใจฯลฯ เป็นภรรยาชั่วคราวและภรรยาที่เป็น
เชลยของชายชื่อนี้” ภิกษุรับคำ ไปบอก กลับมาบอก ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ขัณฑจักรและพัทธจักรแห่งสปริทัณฑาจักรที่มีภรรยาคนหนึ่งเป็นมูล จบ
ขัณฑจักรและพัทธจักรแห่งสปริทัณฑาจักรที่มีภรรยา ๒ คนเป็นมูลก็ดี
มีภรรยา ๓ คนเป็นมูลก็ดี มีภรรยา ๔ คนเป็นมูลก็ดี มีภรรยา ๕ คนเป็นมูลก็ดี
มีภรรยา ๖ คนเป็นมูลก็ดี มีภรรยา ๗ คนเป็นมูลก็ดี มีภรรยา ๘ คนเป็นมูลก็ดี
มีภรรยา ๙ คนเป็นมูลก็ดี ก็พึงขยายตามแบบนี้
ต่อไปนี้คือพัทธจักรที่มีภรรยา ๑๐ คนเป็นมูล

พัทธจักรที่มีภรรยา ๑๐ คนเป็นมูล

[๓๒๑] ชายขอร้องภิกษุว่า “พระคุณเจ้า ท่านช่วยไปบอกหญิงชื่อนี้ที่มี
กฎหมายคุ้มครองว่า ‘ทราบว่า เธอจงเป็นภรรยาสินไถ่ เป็นภรรยาที่อยู่ด้วยความพอใจ
เป็นภรรยาที่อยู่เพราะสมบัติ เป็นภรรยาที่อยู่เพราะแผ่นผ้า เป็นภรรยาที่เข้าพิธี
สมรส เป็นภรรยาที่ถูกปลงเทริด เป็นภรรยาที่เป็นทั้งคนรับใช้เป็นทั้งภรรยา เป็น
ภรรยาที่เป็นทั้งลูกจ้างเป็นทั้งภรรยา เป็นภรรยาที่เป็นเชลย และภรรยาชั่วคราวของ
ชายชื่อนี้” ภิกษุรับคำ ไปบอก กลับมาบอก ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

สปริฑัณฑาจักร จบ

อุภโตพัทธกจักร
มีหญิงและภรรยารวมกันข้างละ ๑

ชายขอร้องภิกษุว่า “พระคุณเจ้า ท่านช่วยไปบอกหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความ
ปกครองของมารดาว่า ‘ทราบว่า เธอจงเป็นภรรยาสินไถ่ของชายชื่อนี้” ภิกษุรับคำ
ไปบอก กลับมาบอก ต้องอาบัติสังฆาทิเสส


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๕. สัญจริตตสิกขาบท บทภาชนีย์

มีหญิงและภรรยารวมกันข้างละ ๒

ชายขอร้องภิกษุว่า “พระคุณเจ้า ท่านช่วยไปบอกหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความ
ปกครองของมารดาและหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของบิดาว่า ‘ทราบว่า เธอ
ทั้งหลายจงเป็นภรรยาสินไถ่และภรรยาที่อยู่ด้วยความพอใจของชายชื่อนี้” ภิกษุรับ
คำ ไปบอก กลับมาบอก ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

มีหญิงและภรรยารวมกันข้างละ ๓

ชายขอร้องภิกษุว่า “พระคุณเจ้า ท่านช่วยไปบอกหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความ
ปกครองของมารดา หญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของบิดาและหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่
ในความปกครองของมารดาบิดาว่า ‘ทราบว่า เธอทั้งหลายจงเป็นภรรยาสินไถ่ เป็น
ภรรยาที่อยู่ด้วยความพอใจ และภรรยาที่อยู่เพราะสมบัติของชายชื่อนี้” ภิกษุรับคำ
ไปบอก กลับมาบอก ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
อุภโตพัทธกจักร พึงขยายตามแบบนี้
ต่อไปนี้เป็นสัพพมูลกนัย

อุภโตพัทธกจักร
มีหญิงและภรรยารวมกันข้างละ ๑๐

ชายขอร้องภิกษุว่า “พระคุณเจ้า ท่านช่วยไปบอกหญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความ
ปกครองของมารดา หญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของบิดา หญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ใน
ความปกครองของมารดาบิดา หญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของพี่ชายน้องชาย
หญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของพี่สาวน้องสาว หญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปก
ครองของญาติ หญิงชื่อนี้ที่ยังอยู่ในความปกครองของตระกูล หญิงชื่อนี้ที่มีธรรม
คุ้มครอง หญิงชื่อนี้ที่มีคู่หมั้น หญิงชื่อนี้ที่มีกฎหมายคุ้มครองว่า ‘ทราบว่า เธอทั้ง
หลายจงเป็นภรรยาสินไถ่ เป็นภรรยาที่อยู่ด้วยความพอใจ เป็นภรรยาที่อยู่เพราะ
สมบัติ เป็นภรรยาที่อยู่เพราะแผ่นผ้า เป็นภรรยาที่เข้าพิธีสมรส เป็นภรรยาที่ถูก
ปลงเทริด เป็นภรรยาที่เป็นทั้งคนรับใช้เป็นทั้งภรรยา เป็นภรรยาที่เป็นทั้งลูกจ้าง


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๕. สัญจริตตสิกขาบท บทภาชนีย์

เป็นทั้งภรรยา เป็นภรรยาที่เป็นเชลย เป็นภรรยาชั่วคราว ของชายชื่อนี้” ภิกษุรับคำ
ไปบอก กลับมาบอก ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

อุภโตพัทธกจักร จบ

ปุริสเปยยาล

มารดาของชายขอร้องภิกษุ ฯลฯ บิดาของชายขอร้องภิกษุ ฯลฯ มารดาบิดา
ของชายขอร้องภิกษุ ฯลฯ พี่ชายน้องชายของชายขอร้องภิกษุ ฯลฯ พี่สาวน้องสาว
ของชายขอร้องภิกษุ ฯลฯ พวกญาติของชายขอร้องภิกษุ ฯลฯ ตระกูลของชายขอ
ร้องภิกษุ ฯลฯ ผู้ร่วมประพฤติธรรมของชายขอร้องภิกษุ ฯลฯ
ปุริสเปยยาลพึงขยายให้พิสดาร
อุภโตพัทธกจักรพึงขยายให้พิสดารดุจนัยที่มีมาข้างต้นนั่นแล

ปุริสเปยยาล จบ

อิตถีเปยยาล
นิกเขปบท

[๓๒๒] มารดาของหญิงที่ยังอยู่ในความปกครองของมารดาขอร้องภิกษุว่า
“พระคุณเจ้า ท่านช่วยไปบอกชายชื่อนี้ว่า หญิงนั้นขอเป็นภรรยาสินไถ่ของชายชื่อนี้”
ภิกษุรับคำ ไปบอก กลับมาบอก ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
มารดาของหญิงที่ยังอยู่ในความปกครองของมารดาขอร้องภิกษุว่า “พระคุณ
เจ้า ท่านช่วยไปบอกชายชื่อนี้ว่า หญิงนั้นขอเป็นภรรยาที่อยู่ด้วยความพอใจ ฯลฯ
เป็นภรรยาที่อยู่เพราะสมบัติ ฯลฯ เป็นภรรยาที่อยู่เพราะแผ่นผ้า ฯลฯ เป็นภรรยา
ที่เข้าพิธีสมรส ฯลฯ เป็นภรรยาที่ถูกปลงเทริด ฯลฯ เป็นภรรยาที่เป็นทั้งคนรับใช้
เป็นทั้งภรรยา ฯลฯ เป็นภรรยาที่เป็นทั้งลูกจ้างเป็นทั้งภรรยา ฯลฯ เป็นภรรยาที่
เป็นเชลย ฯลฯ เป็นภรรยาชั่วคราวของชายชื่อนี้” ภิกษุรับคำ ไปบอก กลับมาบอก
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

นิกเขปบท จบ


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๕. สัญจริตตสิกขาบท บทภาชนีย์

มาตุรักขิตาจักร
ขัณฑจักรที่มีภรรยาคนหนึ่งเป็นมูล

[๓๒๓] มารดาของหญิงที่ยังอยู่ในความปกครองของมารดาขอร้องภิกษุว่า
“พระคุณเจ้า ท่านช่วยไปบอกชายชื่อนี้ว่า หญิงนั้นขอเป็นภรรยาสินไถ่และภรรยาที่
อยู่ด้วยความพอใจของชายชื่อนี้” ภิกษุรับคำ ไปบอก กลับมาบอก ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส
มารดาของหญิงที่ยังอยู่ในความปกครองของมารดาขอร้องภิกษุว่า “พระคุณ
เจ้า ท่านช่วยไปบอกชายชื่อนี้ว่า หญิงนั้นขอเป็นภรรยาสินไถ่และภรรยาที่อยู่
เพราะสมบัติ ฯลฯ เป็นภรรยาสินไถ่และภรรยาที่อยู่เพราะแผ่นผ้า ฯลฯ เป็นภรรยา
สินไถ่และภรรยาที่เข้าพิธีสมรส ฯลฯ เป็นภรรยาสินไถ่และภรรยาที่ถูกปลงเทริด
ฯลฯ เป็นภรรยาสินไถ่และภรรยาที่เป็นทั้งคนรับใช้เป็นทั้งภรรยา ฯลฯ เป็นภรรยา
สินไถ่และภรรยาที่เป็นทั้งลูกจ้างเป็นทั้งภรรยา ฯลฯ เป็นภรรยาสินไถ่และภรรยาที่
เป็นเชลย ฯลฯ เป็นภรรยาสินไถ่และภรรยาชั่วคราวของชายชื่อนี้” ภิกษุรับคำ ไปบอก
กลับมาบอก ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

ขัณฑจักรที่มีภรรยาคนหนึ่งเป็นมูล จบ

พัทธจักรที่มีภรรยาคนหนึ่งเป็นมูล หมวดที่ ๑

[๓๒๔] มารดาของหญิงที่ยังอยู่ในความปกครองของมารดาขอร้องภิกษุว่า
“พระคุณเจ้า ท่านช่วยไปบอกชายชื่อนี้ว่า หญิงนั้นขอเป็นภรรยาที่อยู่ด้วยความ
พอใจและภรรยาที่อยู่เพราะสมบัติ ฯลฯ เป็นภรรยาที่อยู่ด้วยความพอใจและภรรยา
ชั่วคราว ฯลฯ เป็นภรรยาที่อยู่ด้วยความพอใจและภรรยาสินไถ่ของชายชื่อนี้” ภิกษุ
รับคำ ไปบอก กลับมาบอก ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

พัทธจักรที่มีภรรยาคนหนึ่งเป็นมูล หมวดที่ ๑ จบ

พัทธจักรที่มีภรรยาคนหนึ่งเป็นมูลหมวดที่ ๒-๘ ย่อไว้แล้ว


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๕. สัญจริตตสิกขาบท บทภาชนีย์

พัทธจักรที่มีภรรยาคนหนึ่งเป็นมูล หมวดที่ ๙

[๓๒๕] มารดาของหญิงที่ยังอยู่ในความปกครองของมารดาขอร้องภิกษุว่า
“พระคุณเจ้า ท่านช่วยไปบอกชายชื่อนี้ว่า หญิงนั้นขอเป็นภรรยาชั่วคราวและเป็น
ภรรยาสินไถ่ ฯลฯ เป็นภรรยาชั่วคราวและภรรยาที่เป็นเชลยของชายชื่อนี้” ภิกษุ
รับคำ ไปบอก กลับมาบอก ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ขัณฑจักรและพัทธจักรแห่งมาตุรักขิตาจักรมีภรรยาคนหนึ่งเป็นมูล จบ
แม้ขัณฑจักรและพัทธจักรแห่งมาตุรักขิตาจักรที่มีภรรยา ๒ คนเป็นมูล
ตลอดถึงขัณฑจักรและพัทธจักรแห่งมาตุรักขิตาจักรที่มีภรรยา ๙ คนเป็นมูลก็พึง
ขยายตามแบบนี้
ต่อไปนี้คือพัทธจักรที่มีภรรยา ๑๐ คนเป็นมูล

พัทธจักรที่มีภรรยา ๑๐ คนเป็นมูล

[๓๒๖] มารดาของหญิงที่ยังอยู่ในความปกครองของมารดาขอร้องภิกษุว่า
“พระคุณเจ้า ท่านช่วยไปบอกชายชื่อนี้ว่า หญิงนั้นขอเป็นภรรยาสินไถ่ เป็นภรรยาที่
อยู่ด้วยความพอใจ เป็นภรรยาที่อยู่เพราะสมบัติ เป็นภรรยาที่อยู่เพราะแผ่นผ้า
เป็นภรรยาที่เข้าพิธีสมรส เป็นภรรยาที่ถูกปลงเทริด เป็นภรรยาที่เป็นทั้งคนรับใช้
เป็นทั้งภรรยา เป็นภรรยาที่เป็นทั้งลูกจ้างเป็นทั้งภรรยา เป็นภรรยาที่เป็นเชลย และ
เป็นภรรยาชั่วคราวของชายชื่อนี้” ภิกษุรับคำ ไปบอก กลับมาบอก ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส

มาตุรักขิตาจักร จบ

ปิตุรักขิตาจักร - สปริทัณฑาจักร
นิเขปบท

บิดาของหญิงที่ยังอยู่ในความปกครองของบิดาขอร้องภิกษุ ฯลฯ มารดาบิดา
ของหญิงที่ยังอยู่ในความปกครองของมารดาบิดาขอร้องภิกษุ ฯลฯ พี่ชายน้องชาย


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๕. สัญจริตตสิกขาบท บทภาชนีย์

ของหญิงที่ยังอยู่ในความปกครองของพี่ชายน้องชายขอร้องภิกษุ ฯลฯ พี่สาวน้อง
สาวของหญิงที่ยังอยู่ในความปกครองของพี่สาวน้องสาวขอร้องภิกษุ ฯลฯ ญาติของ
หญิงที่ยังอยู่ในความปกครองของญาติขอร้องภิกษุ ฯลฯ ตระกูลของหญิงที่ยังอยู่ใน
ความปกครองของตระกูลขอร้องภิกษุ ฯลฯ ผู้ร่วมประพฤติธรรมของหญิงที่มีธรรม
คุ้มครองขอร้องภิกษุ ฯลฯ คู่หมั้นของหญิงที่มีคู่หมั้นขอร้องภิกษุ ฯลฯ พระราชา
ผู้ตรากฎหมายสำหรับหญิงที่มีกฎหมายคุ้มครองขอร้องภิกษุว่า “พระคุณเจ้า
ท่านช่วยไปบอกชายชื่อนี้ว่า หญิงนั้นขอเป็นภรรยาสินไถ่ของชายชื่อนี้” ภิกษุรับคำ
ไปบอก กลับมาบอก ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

นิกเขปบท จบ

สปริทัณฑาจักร
นิกเขปบท

พระราชาผู้ตรากฎหมายสำหรับหญิงที่มีกฎหมายคุ้มครองขอร้องภิกษุว่า
“พระคุณเจ้า ท่านช่วยไปบอกชายชื่อนี้ว่า หญิงนั้นขอเป็นภรรยาที่อยู่ด้วยความพอใจ
ฯลฯ เป็นภรรยาที่อยู่เพราะสมบัติ ฯลฯ เป็นภรรยาที่อยู่เพราะแผ่นผ้า ฯลฯ เป็น
ภรรยาที่เข้าพิธีสมรส ฯลฯ เป็นภรรยาที่ถูกปลงเทริด ฯลฯ เป็นภรรยาที่เป็นทั้งคน
รับใช้เป็นทั้งภรรยา ฯลฯ เป็นภรรยาที่เป็นทั้งลูกจ้างเป็นทั้งภรรยา ฯลฯ เป็น
ภรรยาที่เป็นเชลย ฯลฯ เป็นภรรยาชั่วคราวของชายชื่อนี้” ภิกษุรับคำ ไปบอก กลับ
มาบอก ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

นิกเขปบท จบ

ขัณฑจักรที่มีภรรยาคนหนึ่งเป็นมูล

[๓๒๗] พระราชาผู้ตรากฎหมายสำหรับหญิงที่มีกฎหมายคุ้มครองขอร้อง
ภิกษุว่า “พระคุณเจ้า ท่านช่วยไปบอกชายชื่อนี้ว่า หญิงนั้นขอเป็นภรรยาสินไถ่และ
ภรรยาที่อยู่ด้วยความพอใจ ฯลฯ เป็นภรรยาสินไถ่และภรรยาชั่วคราวของชายชื่อนี้”
ภิกษุรับคำ ไปบอก กลับมาบอก ต้องอาบัติสังฆาทิเสส


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๕. สัญจริตตสิกขาบท บทภาชนีย์

พัทธจักรที่มีภรรยาคนหนึ่งเป็นมูล หมวดที่ ๑

[๓๒๘] พระราชาผู้ตรากฎหมายสำหรับหญิงที่มีกฎหมายคุ้มครองขอร้อง
ภิกษุว่า “พระคุณเจ้า ท่านช่วยไปบอกชายชื่อนี้ว่า หญิงนั้นขอเป็นภรรยาที่อยู่ด้วย
ความพอใจและภรรยาที่อยู่เพราะสมบัติ ฯลฯ เป็นภรรยาที่อยู่ด้วยความพอใจและ
ภรรยาชั่วคราว ฯลฯ เป็นภรรยาที่อยู่ด้วยความพอใจและภรรยาสินไถ่ของชายชื่อนี้”
ภิกษุรับคำ ไปบอก กลับมาบอก ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

พัทธจักรที่มีภรรยาคนหนึ่งเป็นมูลหมวดที่ ๑ จบ

พัทธจักรที่มีภรรยาคนหนึ่งเป็นมูลหมวดที่ ๒-๘ ย่อไว้แล้ว

พัทธจักรที่มีภรรยาคนหนึ่งเป็นมูล หมวดที่ ๙

[๓๒๙] พระราชาผู้ตรากฎหมายสำหรับหญิงที่มีกฎหมายคุ้มครองขอร้อง
ภิกษุว่า “พระคุณเจ้า ท่านช่วยไปบอกชายชื่อนี้ว่า หญิงนั้นขอเป็นภรรยาชั่วคราว
และเป็นภรรยาสินไถ่ ฯลฯ เป็นภรรยาชั่วคราวและภรรยาที่เป็นเชลยของชายชื่อนี้”
ภิกษุรับคำ ไปบอก กลับมาบอก ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
พัทธจักรที่มีภรรยาหนึ่งคนเป็นมูล จบ
แม้ขัณฑจักรและพัทธจักรแห่งสปริทัณฑาจักรที่มีภรรยา ๒ คนเป็นมูล
ตลอดถึงขัณฑจักรและพัทธจักรแห่งสปริทัณฑาจักรที่มีภรรยา ๙ คนเป็นมูลก็พึง
ขยายตามแบบนี้
ต่อไปนี้คือพัทธจักรที่มีภรรยา ๑๐ คนเป็นมูล

พัทธจักรที่มีภรรยา ๑๐ คนเป็นมูล

[๓๓๐] พระราชาผู้ตรากฎหมายสำหรับหญิงที่มีกฎหมายคุ้มครองขอร้อง
ภิกษุว่า “พระคุณเจ้า ท่านช่วยไปบอกชายชื่อนี้ว่า หญิงนั้นขอเป็นภรรยาสินไถ่ เป็น
ภรรยาที่อยู่ด้วยความพอใจ เป็นภรรยาที่อยู่เพราะสมบัติ เป็นภรรยาที่อยู่เพราะ
แผ่นผ้า เป็นภรรยาที่เข้าพิธีสมรส เป็นภรรยาที่ถูกปลงเทริด เป็นภรรยาที่เป็น


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๕. สัญจริตตสิกขาบท บทภาชนีย์

ทั้งคนรับใช้เป็นทั้งภรรยา เป็นภรรยาที่เป็นทั้งลูกจ้างเป็นทั้งภรรยา เป็นภรรยาที่เป็นเชลย
และเป็นภรรยาชั่วคราวของชายชื่อนี้” ภิกษุรับคำ ไปบอก กลับมาบอก ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส

ทัณฑฐปิตจักร จบ

มาตุรักขิตาจักร
นิกเขปบท

หญิงที่ยังอยู่ในความปกครองของมารดาขอร้องภิกษุว่า “พระคุณเจ้า ท่าน
ช่วยไปบอกชายชื่อนี้ว่า ดิฉันขอเป็นภรรยาสินไถ่ของชายชื่อนี้” ภิกษุรับคำ ไปบอก
กลับมาบอก ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
หญิงที่ยังอยู่ในความปกครองของมารดาขอร้องภิกษุว่า “พระคุณเจ้า ท่าน
ช่วยไปบอกชายชื่อนี้ว่า ดิฉันขอเป็นภรรยาที่อยู่ด้วยความพอใจ ฯลฯ เป็นภรรยาที่
อยู่เพราะสมบัติ ฯลฯ เป็นภรรยาที่อยู่เพราะแผ่นผ้า ฯลฯ เป็นภรรยาที่เข้าพิธีสมรส
ฯลฯ เป็นภรรยาถูกปลงเทริด ฯลฯ เป็นภรรยาที่เป็นทั้งคนรับใช้เป็นทั้งภรรยา ฯลฯ
เป็นภรรยาที่เป็นทั้งลูกจ้างเป็นทั้งภรรยา ฯลฯ เป็นภรรยาที่เป็นเชลย ฯลฯ เป็น
ภรรยาชั่วคราวของชายชื่อนี้” ภิกษุรับคำ ไปบอก กลับมาบอก ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส

นิกเขปบท จบ

ขัณฑจักรที่มีภรรยาคนหนึ่งเป็นมูล

[๓๓๑] หญิงที่ยังอยู่ในความปกครองของมารดาขอร้องภิกษุว่า “พระคุณ
เจ้า ท่านช่วยไปบอกชายชื่อนี้ว่า ดิฉันขอเป็นภรรยาสินไถ่และภรรยาที่อยู่ด้วยความ
พอใจของชายชื่อนี้” ภิกษุรับคำ ไปบอก กลับมาบอก ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
หญิงที่ยังอยู่ในความปกครองของมารดาขอร้องภิกษุว่า “พระคุณเจ้า ท่าน
ช่วยไปบอกชายชื่อนี้ว่า ดิฉันขอเป็นภรรยาสินไถ่และภรรยาที่อยู่เพราะสมบัติ ฯลฯ


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๕. สัญจริตตสิกขาบท บทภาชนีย์

ขอเป็นภรรยาสินไถ่และภรรยาชั่วคราวของชายชื่อนี้” ภิกษุรับคำ ไปบอก กลับมา
บอก ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

พัทธจักรที่มีภรรยาคนหนึ่งเป็นมูล หมวดที่ ๑

[๓๓๒] หญิงที่ยังอยู่ในความปกครองของมารดาขอร้องภิกษุว่า “พระคุณ
เจ้า ท่านช่วยไปบอกชายชื่อนี้ว่า ดิฉันขอเป็นภรรยาที่อยู่ด้วยความพอใจและภรรยา
ที่อยู่เพราะสมบัติ ฯลฯ เป็นภรรยาที่อยู่ด้วยความพอใจและภรรยาชั่วคราว ฯลฯ
เป็นภรรยาที่อยู่ด้วยความพอใจและภรรยาสินไถ่ของชายชื่อนี้” ภิกษุรับคำ ไปบอก
กลับมาบอก ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

พัทธจักรที่มีภรรยาคนหนึ่งเป็นมูล หมวดที่ ๑ จบ

พัทธจักรที่มีภรรยาคนหนึ่งเป็นมูล หมวดที่ ๒-๘ ย่อไว้แล้ว

พัทธจักรที่มีภรรยาคนหนึ่งเป็นมูล หมวดที่ ๙

หญิงที่ยังอยู่ในความปกครองของมารดาขอร้องภิกษุว่า “พระคุณเจ้า ท่าน
ช่วยไปบอกชายชื่อนี้ว่า ดิฉันขอเป็นภรรยาชั่วคราวและเป็นภรรยาสินไถ่ ฯลฯ เป็น
ภรรยาชั่วคราวและภรรยาที่เป็นเชลยของชายชื่อนี้” ภิกษุรับคำ ไปบอก กลับมาบอก
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

ขัณฑจักรและพัทธจักรแห่งมาตุรักขิตาจักรที่มีภรรยาคนหนึ่งเป็นมูล จบ

ขัณฑจักรและพัทธจักรแห่งมาตุรักขิตาจักรที่มีภรรยา ๒ คนเป็นมูลเป็นต้น
ก็พึงขยายตามแบบนี้
ต่อไปนี้คือพัทธจักรที่มีภรรยา ๑๐ คนเป็นมูล

พัทธจักรที่มีภรรยา ๑๐ คน เป็นมูล

[๓๓๓] หญิงที่ยังอยู่ในความปกครองของมารดาขอร้องภิกษุว่า “พระคุณ
เจ้า ท่านช่วยไปบอกชายชื่อนี้ว่า ดิฉันขอเป็นภรรยาสินไถ่ เป็นภรรยาที่อยู่ด้วย


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๕. สัญจริตตสิกขาบท บทภาชนีย์

ความพอใจ เป็นภรรยาที่อยู่เพราะสมบัติ เป็นภรรยาที่อยู่เพราะแผ่นผ้า เป็น
ภรรยาที่เข้าพิธีสมรส เป็นภรรยาที่ถูกปลงเทริด เป็นภรรยาที่เป็นทั้งคนรับใช้เป็นทั้ง
ภรรยา เป็นภรรยาที่เป็นทั้งลูกจ้างเป็นทั้งภรรยา เป็นภรรยาที่เป็นเชลย และภรรยา
ชั่วคราวของชายชื่อนี้” ภิกษุรับคำ ไปบอก กลับมาบอก ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

มาตุรักขิตาจักรอีกนัยหนึ่ง จบ

นิกเขปบท

หญิงที่ยังอยู่ในความปกครองของบิดาขอร้องภิกษุ ฯลฯ หญิงที่ยังอยู่ใน
ความปกครองของมารดาบิดาขอร้องภิกษุ ฯลฯ หญิงที่ยังอยู่ในความปกครองของพี่
ชายน้องชายขอร้องภิกษุ ฯลฯ หญิงที่ยังอยู่ในความปกครองของพี่สาวน้องสาวขอ
ร้องภิกษุ ฯลฯ หญิงที่ยังอยู่ในความปกครองของญาติขอร้องภิกษุ ฯลฯ หญิงที่ยัง
อยู่ในความปกครองของตระกูลขอร้องภิกษุ ฯลฯ หญิงที่มีธรรมคุ้มครองขอร้องภิกษุ
ฯลฯ หญิงที่มีคู่หมั้นขอร้องภิกษุ ฯลฯ หญิงที่มีกฎหมายคุ้มครองขอร้องภิกษุว่า
“พระคุณเจ้า ท่านช่วยไปบอกชายชื่อนี้ว่า ดิฉันขอเป็นภรรยาสินไถ่ของชายชื่อนี้”
ภิกษุรับคำ ไปบอก กลับมาบอก ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
หญิงที่มีกฎหมายคุ้มครองขอร้องภิกษุว่า “พระคุณเจ้า ท่านช่วยไปบอกชาย
ชื่อนี้ว่า ดิฉันขอเป็นภรรยาที่อยู่ด้วยความพอใจ ฯลฯ เป็นภรรยาที่อยู่เพราะสมบัติ
ฯลฯ เป็นภรรยาที่อยู่เพราะแผ่นผ้า ฯลฯ เป็นภรรยาที่เข้าพิธีสมรส ฯลฯ เป็น
ภรรยาที่ถูกปลงเทริด ฯลฯ เป็นภรรยาที่เป็นทั้งคนรับใช้เป็นทั้งภรรยา ฯลฯ เป็น
ภรรยาที่เป็นทั้งลูกจ้าง เป็นทั้งภรรยา ฯลฯ เป็นภรรยาที่เป็นเชลย ฯลฯ เป็นภรรยา
ชั่วคราวของชายชื่อนี้” ภิกษุรับคำ ไปบอก กลับมาบอก ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

สปริทัณฑาจักร
ขัณฑจักรที่มีภรรยาคนหนึ่งเป็นมูล

[๓๓๔] หญิงที่มีกฎหมายคุ้มครองขอร้องภิกษุว่า “พระคุณเจ้า ท่านช่วยไป
บอกชายชื่อนี้ว่า ดิฉันขอเป็นภรรยาสินไถ่และภรรยาที่อยู่ด้วยความพอใจ ฯลฯ เป็น


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๕. สัญจริตตสิกขาบท บทภาชนีย์

ภรรยาสินไถ่และภรรยาชั่วคราวของชายชื่อนี้” ภิกษุรับคำ ไปบอก กลับมาบอก
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

พัทธจักรที่มีภรรยาคนหนึ่งเป็นมูล หมวดที่ ๑

[๓๓๕] หญิงที่มีกฎหมายคุ้มครองขอร้องภิกษุว่า “พระคุณเจ้า ท่านช่วยไป
บอกชายชื่อนี้ว่า ดิฉันขอเป็นภรรยาที่อยู่ด้วยความพอใจและภรรยาที่อยู่เพราะสมบัติ
ฯลฯ เป็นภรรยาที่อยู่ด้วยความพอใจและภรรยาชั่วคราว ฯลฯ เป็นภรรยาที่อยู่ด้วย
ความพอใจและภรรยาสินไถ่ของชายชื่อนี้” ภิกษุรับคำ ไปบอก กลับมาบอก ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสส

พัทธจักรที่มีภรรยาคนหนึ่งเป็นมูล หมวดที่ ๑ จบ

พัทธจักรที่มีภรรยาคนหนึ่งเป็นมูล หมวดที่ ๒-๘ ย่อไว้แล้ว

พัทธจักรที่มีภรรยาคนหนึ่งเป็นมูล หมวดที่ ๙

[๓๓๖] หญิงที่มีกฎหมายคุ้มครองขอร้องภิกษุว่า “พระคุณเจ้า ท่านช่วยไป
บอกชายชื่อนี้ว่า ดิฉันขอเป็นภรรยาชั่วคราวและภรรยาสินไถ่ ฯลฯ เป็นภรรยา
ชั่วคราวและภรรยาที่เป็นเชลยของชายชื่อนี้” ภิกษุรับคำ ไปบอก กลับมาบอก ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสส
ขัณฑจักรและพัทธจักรแห่งสปริทัณฑาจักรที่มีภรรยาคนหนึ่งเป็นมูล จบ
ขัณฑจักรและพัทธจักรแห่งสปริทัณฑาจักรที่มีภรรยา ๒ คนเป็นมูลเป็นต้น
ก็พึงขยายตามแบบนี้
ต่อไปนี้คือพัทธจักรที่มีภรรยา ๑๐ คนเป็นมูล

พัทธจักรที่มีภรรยา ๑๐ คนเป็นมูล

[๓๓๗] หญิงที่มีกฎหมายคุ้มครองขอร้องภิกษุว่า “พระคุณเจ้า ท่านช่วยไป
บอกชายชื่อนี้ว่า ดิฉันขอเป็นภรรยาสินไถ่ เป็นภรรยาที่อยู่ด้วยความพอใจ เป็น


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๕. สัญจริตตสิกขาบท บทภาชนีย์

ภรรยาที่อยู่เพราะสมบัติ เป็นภรรยาที่อยู่เพราะแผ่นผ้า เป็นภรรยาที่เข้าพิธีสมรส
เป็นภรรยาที่ถูกปลงเทริด เป็นภรรยาที่เป็นทั้งคนรับใช้เป็นทั้งภรรยา เป็นภรรยาที่
เป็นทั้งลูกจ้างเป็นทั้งภรรยา เป็นภรรยาที่เป็นเชลย และภรรยาชั่วคราวของชายชื่อนี้”
ภิกษุรับคำ ไปบอก กลับมาบอก ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

สปริทัณฑาจักรอีกนัยหนึ่ง จบ
จักรเปยยาลทั้งมวล จบ

ภิกษุรับคำ

[๓๓๘] ภิกษุรับคำ ไปบอก กลับมาบอก ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุรับคำ ไปบอก ไม่กลับมาบอก ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ภิกษุรับคำ ไม่ไปบอก กลับมาบอก ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ภิกษุรับคำ ไม่ไปบอก ไม่กลับมาบอก ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุไม่รับคำ ไปบอก กลับมาบอก ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ภิกษุไม่รับคำ ไปบอก ไม่กลับมาบอก ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุไม่รับคำ ไม่ไปบอก กลับมาบอก ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุไม่รับคำ ไม่ไปบอก ไม่กลับมาบอก ไม่ต้องอาบัติ

ชายสั่งภิกษุหลายรูป

ชายสั่งภิกษุหลายรูปว่า “พระคุณเจ้า ท่านช่วยไปบอกหญิงชื่อนี้” ภิกษุทุก
รูปรับคำ ไปบอก กลับมาบอก ต้องอาบัติสังฆาทิเสสทุกรูป
ชายสั่งภิกษุหลายรูปว่า “พระคุณเจ้า ท่านช่วยไปบอกหญิงชื่อนี้” ภิกษุทุก
รูปรับคำ ไปบอก ให้รูปหนึ่งกลับมาบอก ต้องอาบัติสังฆาทิเสสทุกรูป
ชายสั่งภิกษุหลายรูปว่า “พระคุณเจ้า ท่านช่วยไปบอกหญิงชื่อนี้” ภิกษุทุก
รูปรับคำ ให้รูปหนึ่งไปบอก แล้วทุกรูปกลับมาบอก ต้องอาบัติสังฆาทิเสสทุกรูป
ชายสั่งภิกษุหลายรูปว่า “พระคุณเจ้า ท่านช่วยไปบอกหญิงชื่อนี้” ภิกษุทุก
รูปรับคำ ให้รูปหนึ่งไปบอก แล้วให้รูปหนึ่งกลับมาบอก ต้องอาบัติสังฆาทิเสสทุกรูป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๓๗๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๕. สัญจริตตสิกขาบท อนาปัตติวาร

ชายสั่งภิกษุรูปเดียว

ชายสั่งภิกษุรูปเดียวว่า “พระคุณเจ้า ท่านช่วยไปบอกหญิงชื่อนี้” ภิกษุรับคำ
ไปบอก กลับมาบอก ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ชายสั่งภิกษุรูปเดียวว่า “พระคุณเจ้า ท่านช่วยไปบอกหญิงชื่อนี้” ภิกษุรับคำ
ไปบอก แต่ให้ภิกษุอันเตวาสิกกลับมาบอก ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ชายสั่งภิกษุรูปเดียวว่า “พระคุณเจ้า ท่านช่วยไปบอกหญิงชื่อนี้” ภิกษุรับคำ
ให้ภิกษุอันเตวาสิกไปบอก แต่กลับมาบอกด้วยตนเอง ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ชายสั่งภิกษุรูปเดียวว่า “พระคุณเจ้า ท่านช่วยไปบอกหญิงชื่อนี้” ภิกษุรับคำ
ให้ภิกษุอันเตวาสิกไปบอก ภิกษุอันเตวาสิกไปบอกแล้วกลับมาบอกนอกเรื่อง ต้อง
อาบัติถุลลัจจัยทั้งสองรูป

ภิกษุจัดการสำเร็จและบอกคลาดเคลื่อน

[๓๓๙] ภิกษุไปจัดการสำเร็จ กลับมาบอกคลาดเคลื่อน ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ภิกษุไปบอกคลาดเคลื่อน กลับมาบอก จัดการสำเร็จ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ภิกษุไปจัดการสำเร็จ กลับมาบอก จัดการสำเร็จ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุไปบอกคลาดเคลื่อน กลับมาบอกคลาดเคลื่อน ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร

ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๓๔๐] ๑. ภิกษุผู้ไปด้วยกิจของสงฆ์ ของเจดีย์ หรือของภิกษุอาพาธ
๒. ภิกษุวิกลจริต
๓. ภิกษุต้นบัญญัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๓๗๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๕. สัญจริตตสิกขาบท วินีตวัตถุ

คาถารวมวินีตวัตถุ
เรื่องที่ทรงวินิจฉัยแล้ว

เรื่องหญิงหลับ ๑ เรื่อง___เรื่องหญิงตาย ๑ เรื่อง
เรื่องหญิงย้ายบ้าน ๑ เรื่อง___เรื่องไม่ใช่หญิง ๑ เรื่อง
เรื่องหญิงบัณเฑาะก์ ๑ เรื่อง___เรื่องชักจูงสามีภรรยาผู้ทะเลาะให้คืนดีกัน ๑ เรื่อง
เรื่องการชักสื่อบัณเฑาะก์ ๑ เรื่อง

วินีตวัตถุ
เรื่องหญิงหลับ ๑ เรื่อง

[๓๔๑] สมัยนั้น ชายคนหนึ่งสั่งภิกษุรูปหนึ่งว่า “พระคุณเจ้า ท่านช่วยไป
บอกหญิงชื่อนี้” ภิกษุไปถามพวกชาวบ้านว่า “หญิงคนชื่อนี้ อยู่ไหน” “หลับอยู่
เจ้าข้า” ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ ๑)

เรื่องหญิงตาย ๑ เรื่อง

สมัยนั้น ชายคนหนึ่งสั่งภิกษุรูปหนึ่งว่า “พระคุณเจ้า ท่านช่วยไปบอกหญิง
ชื่อนี้” ภิกษุนั้นไปถามพวกชาวบ้านว่า “หญิงคนชื่อนี้อยู่ไหน” พวกเขาตอบว่า
“นางตายแล้ว เจ้าข้า” ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ ๒)

เรื่องหญิงย้ายบ้าน ๑ เรื่อง

สมัยนั้น ชายคนหนึ่งสั่งภิกษุรูปหนึ่งว่า “พระคุณเจ้า ท่านช่วยไปบอกหญิง
ชื่อนี้” ภิกษุนั้นไปถามพวกชาวบ้านว่า “หญิงคนชื่อนี้ อยู่ไหน” พวกเขาตอบว่า
“นางย้ายไปแล้ว เจ้าข้า” ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือ
หนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ
เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ ๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๓๗๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๕. สัญจริตตสิกขาบท วินีตวัตถุ

เรื่องไม่ใช่หญิง ๑ เรื่อง

สมัยนั้น ชายคนหนึ่งสั่งภิกษุรูปหนึ่งว่า “พระคุณเจ้า ท่านช่วยไปบอกหญิง
ชื่อนี้” ภิกษุนั้นไปถามพวกชาวบ้านว่า “หญิงคนชื่อนี้ อยู่ไหน” พวกเขาตอบว่า “ไม่
ใช่ผู้หญิง เจ้าข้า” ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึง
นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ ๔)

เรื่องหญิงบัณเฑาะก์ ๑ เรื่อง

สมัยนั้น ชายคนหนึ่งสั่งภิกษุรูปหนึ่งว่า “พระคุณเจ้า ท่านช่วยไปบอกหญิง
ชื่อนี้” ภิกษุนั้นไปถามพวกชาวบ้านว่า “หญิงคนชื่อนี้ อยู่ไหน” พวกเขาตอบว่า
“เป็นหญิงบัณเฑาะก์ เจ้าข้า” ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสส
หรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า
“ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ ๕ )

เรื่องชักจูงสามีภรรยาผู้ทะเลาะให้คืนดีกัน ๑ เรื่อง

สมัยนั้น หญิงคนหนึ่งทะเลาะกับสามีเดินไปบ้านมารดา ภิกษุที่ใกล้ชิดตระกูล
พูดชักจูงให้กลับคืนดีกัน แล้วท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือ
หนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า
“ภิกษุ เขาหย่ากันหรือ” “ยังไม่หย่ากัน พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติ
เพราะเขายังไม่หย่ากัน” (เรื่องที่ ๖)

เรื่องการชักสื่อบัณเฑาะก์ ๑ เรื่อง

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งทำหน้าที่ชักสื่อให้พวกบัณเฑาะก์ ท่านเกิดความกังวล
ใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๗)

สัญจริตตสิกขาบทที่ ๕ จบ


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๖. กุฏิการสิกขาบท นิทานวัตถุ

๖. กุฏิการสิกขาบท
ว่าด้วยการก่อสร้างกุฎี
เรื่องภิกษุชาวเมืองอาฬวี

[๓๔๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถาน
ที่ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวีสร้างกุฎีด้วย
เครื่องอุปกรณ์ที่ขอมาเอง ไม่มีเจ้าของสร้างให้ สร้างเป็นของส่วนตัว ไม่จำกัดขนาด
กุฎีสร้างไม่เสร็จ พวกท่านก็เป็นผู้มากไปด้วยการขอ มากไปด้วยการออกปากขอ
ด้วยกล่าวว่า “ท่านทั้งหลายจงให้คนงาน อุปกรณ์ก่อสร้างสำเร็จรูป โค เกวียน มีด
ขวาน ผึ่ง จอบ สิ่ว เถาวัลย์ ไม้ไผ่ หญ้ามุงกระต่าย หญ้าแฝก หญ้าสามัญ ดินเหนียว”
พวกชาวบ้านถูกรบกวนด้วยการขอ ด้วยการออกปากขอ พบเห็นภิกษุทั้ง
หลายต่างพากันหวาดสะดุ้งบ้าง หลบหนีไปที่อื่นบ้าง เดินเลี่ยงไปทางอื่นบ้าง เมิน
หน้าหนีบ้าง ปิดประตูบ้านบ้าง พบเห็นแม่โคเข้าก็วิ่งหนีเพราะเข้าใจว่าเป็นภิกษุบ้าง
ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสปะจำพรรษาในเขตกรุงราชคฤห์ ออกเดินทางไป
ทางเมืองอาฬวี จาริกไปโดยลำดับ จนถึงเมืองอาฬวี ข่าวว่าท่านพระมหากัสสปะพัก
อยู่ ณ อัคคาฬวเจดีย์ เขตเมืองอาฬวีนั้น ครั้นเวลาเช้า ท่านครองอันตรวาสก ถือ
บาตรและจีวรไปบิณฑบาตในเมืองอาฬวี พวกชาวบ้านพอเห็นท่านต่างหวาดสะดุ้งบ้าง
หลบหนีไปที่อื่นบ้าง เดินเลี่ยงไปทางอื่นบ้าง เมินหน้าหนีบ้าง ปิดประตูบ้านบ้าง
ครั้นท่านพระมหากัสสปะบิณฑบาตในเมืองอาฬวี กลับจากบิณฑบาตหลังจากฉันอาหาร
เรียกภิกษุทั้งหลายมาถามว่า “ท่านทั้งหลาย เมื่อก่อนเมืองอาฬวีมีอาหารบริบูรณ์
หาอาหารได้ง่าย ภิกษุสงฆ์บิณฑบาตหาเลี้ยงชีพได้ง่าย แต่บัดนี้ เมืองอาฬวีกลับมี
ข้าวยากหมากแพง อาหารหาได้ยาก ยากที่พระอริยะจะบิณฑบาตยังชีพได้ อะไรเป็นเหตุ
เป็นปัจจัยให้เมืองอาฬวีนี้มีข้าวยากหมากแพง หาอาหารได้ยาก ยากที่พระอริยะ
จะบิณฑบาตยังชีพได้” ภิกษุเหล่านั้นจึงกราบเรียนเรื่องนั้นให้ท่านทราบ
[๓๔๓] ครั้งนั้น ครั้นพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กรุงราชคฤห์ ตามพระ
พุทธาภิรมย์แล้วได้เสด็จไปทางเมืองอาฬวี เสด็จจาริกไปโดยลำดับ จนถึงเมืองอาฬวี
ข่าวว่าพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ อัคคาฬวเจดีย์ เขตเมืองอาฬวีนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๓๗๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๖. กุฎิการสิกขาบท นิทานวัตถุ

ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสปะได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคจนถึงที่ประทับ ครั้นถึง
แล้วได้ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่งลง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลเรื่องนั้นให้
ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ
ทรงสอบถามพวกภิกษุชาวเมืองอาฬวีว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอสร้างกุฎี
ด้วยเครื่องอุปกรณ์ที่ขอมาเอง ไม่มีเจ้าของสร้างให้ สร้างเป็นของส่วนตัว ไม่จำกัด
ขนาด กุฎีสร้างไม่เสร็จ พวกเธอเป็นผู้มากไปด้วยการขอ มากไปด้วยการออกปากขอ
ด้วยกล่าวว่า ‘ท่านทั้งหลายจงให้คนงาน อุปกรณ์ก่อสร้างสำเร็จรูป โค เกวียน มีด
ขวาน ผึ่ง จอบ สิ่ว เถาวัลย์ ไม้ไผ่ หญ้ามุงกระต่าย หญ้าแฝก หญ้าสามัญ ดินเหนียว’
พวกชาวบ้านถูกรบกวนด้วยการขอ ด้วยการออกปากขอ พบเห็นเธอทั้งหลายต่าง
พากันหวาดสะดุ้งบ้าง หลบหนีไปที่อื่นบ้าง เดินเลี่ยงไปทางอื่นบ้าง เมินหน้าหนีบ้าง
ปิดประตูบ้านบ้าง พบเห็นแม่โคเข้าก็วิ่งหนีเพราะเข้าใจว่าเป็นภิกษุบ้าง จริงหรือ”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า
“โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำของพวกเธอไม่สมควร ฯลฯ ไม่ควรทำ โมฆบุรุษทั้ง
หลาย ไฉนพวกเธอจึงสร้างกุฎีด้วยเครื่องอุปกรณ์ที่ขอมาเอง ไม่มีเจ้าของสร้างให้
สร้างเป็นของส่วนตัว ไม่จำกัดขนาด กุฎีสร้างไม่เสร็จ พวกเธอเป็นผู้มากไปด้วย
การขอ มากไปด้วยการออกปากขอ ด้วยกล่าวว่า ‘ท่านทั้งหลาย จงให้คนงาน
อุปกรณ์ก่อสร้างสำเร็จรูป โค เกวียน มีด ขวาน ผึ่ง จอบ สิ่ว เถาวัลย์ ไม้ไผ่ หญ้า
มุงกระต่าย หญ้าแฝก หญ้าสามัญ ดินเหนียว’ ดังนี้ โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำ
อย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค ครั้นทรงตำหนิพวกภิกษุชาวเมืองอาฬวีโดย
ประการต่าง ๆ แล้ว ฯลฯ ทรงแสดงธรรมีกถาแก่ภิกษุทั้งหลายให้เหมาะสมให้
คล้อยตามกับเรื่องนั้นแล้วจึงตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมารับสั่งว่า

เรื่องฤๅษี ๒ พี่น้อง

[๓๔๔] “ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว มีฤๅษีพี่น้อง ๒ คน อาศัยอยู่
ใกล้แม่น้ำคงคา ครั้งนั้น มณีกัณฐนาคราชขึ้นจากแม่น้ำคงคาเข้าไปหาฤๅษีผู้น้องถึงที่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๓๗๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๖. กุฎิการสิกขาบท นิทานวัตถุ

อยู่ ครั้นถึงแล้วได้พักวงขนดหางล้อมรอบฤๅษี ๗ รอบ แผ่พังพานใหญ่ปกเหนือศีรษะ
ฤๅษีผู้น้องกลับซูบผอม หมองคล้ำ ซีดเหลือง เส้นเอ็นขึ้นสะพรั่ง เพราะความหวาด
กลัวนาคราช
ฤๅษีผู้พี่เห็นฤๅษีผู้น้องซูบผอม หมองคล้ำ ซีดเหลือง เส้นเอ็นขึ้นสะพรั่ง จึง
ถามว่า “เพราะเหตุไร เธอจึงซูบผอม หมองคล้ำ ซีดเหลือง เส้นเอ็นขึ้นสะพรั่ง”
ฤๅษีผู้น้องตอบว่า “ที่นี้มีมณีกัณฐนาคราชขึ้นจากแม่น้ำคงคามาหากระผม
แล้วพักวงขนดหางล้อมรอบกระผม ๗ รอบ แผ่พังพานใหญ่ปกเหนือศีรษะ เพราะ
ความกลัวนาคราชนั้น กระผมจึงซูบผอม หมองคล้ำ ซีดเหลือง เส้นเอ็นขึ้นสะพรั่ง’
ฤๅษีผู้พี่ถามว่า “เธอต้องการไม่ให้นาคราชมาหาใช่ไหม”
ฤๅษีผู้น้องตอบว่า “กระผมต้องการไม่ให้นาคราชนั้นมาหา”
ฤๅษีผู้พี่ถามว่า “เธอเห็นนาคราชมีอะไรบ้าง”
ฤๅษีผู้น้องตอบว่า “กระผมเห็นแก้วมณีประดับที่คอ”
ฤๅษีผู้พี่กล่าวว่า “ถ้าเช่นนั้น เธอจงกล่าวขอแก้วมณีนาคราชว่า ท่านจงให้
แก้วมณีแก่อาตมาเถิด อาตมาอยากได้”
ภิกษุทั้งหลาย ครั้นมณีกัณฐนาคราชขึ้นจากแม่น้ำคงคาเข้าไปหาฤๅษีผู้น้อง
ถึงที่อยู่ พักอยู่ ณ ที่สมควร ฤๅษีผู้น้องกล่าวว่า “ท่านจงให้แก้วมณีแก่อาตมา
อาตมาอยากได้” นาคราชคิดว่า “ภิกษุขอแก้วมณี ภิกษุอยากได้แก้วมณี” แล้วรีบ
หลีกไปทันที
แม้ครั้งที่ ๒ มณีกัณฐกนาคราชขึ้นจากแม่น้ำคงคา เข้าไปหาฤๅษีผู้น้อง ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ ฤๅษีผู้น้องกล่าวว่า “ท่านจงให้แก้วมณีแก่อาตมา อาตมาอยากได้”
ลำดับนั้น มณีกัณฐนาคราชกล่าวกับฤๅษีผู้น้องเป็นคาถาว่า
“เพราะแก้วมณีดวงนี้เป็นเหตุ ทำให้ข้าวน้ำเกิดขึ้นแก่
ข้าพเจ้ามากมาย ข้าพเจ้าให้แก้วมณีท่านไม่ได้ ท่าน
เป็นคนขอเกินไป ข้าพเจ้าจะไม่มาอาศรมท่านอีกแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๓๘๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๖. กุฎิการสิกขาบท นิทานวัตถุ

ท่านขอแก้วมณีจนทำให้ข้าพเจ้าหวาดกลัว เหมือน
ชายหนุ่มถือดาบคมที่ลับด้วยหินทำให้ผู้อื่นสะดุ้งกลัว
ข้าพเจ้าให้แก้วมณีท่านไม่ได้ ท่านเป็นคนขอเกินไป
ข้าพเจ้าจะไม่มาอาศรมท่านอีกแล้ว”๑
ภิกษุทั้งหลาย ครั้นแล้ว มณีกัณฐนาคราชจากไปพร้อมกับรำพึงว่า “ภิกษุขอ
แก้วมณี ภิกษุอยากได้แก้วมณี” ไปแล้วไม่หวนกลับมาอีกเลย ต่อมาฤๅษีผู้น้อง
กลับซูบผอม หมองคล้ำ ซีดเหลือง เส้นเอ็นขึ้นสะพรั่งยิ่งกว่าแต่ก่อนเพราะไม่ได้พบ
นาคราชรูปงามน่าดู ฤๅษีผู้พี่เห็นฤๅษีผู้น้องซูบผอม ฯลฯ ถามว่า “เพราะเหตุไรเธอ
จึงซูบผอม หมองคล้ำ ซีดเหลือง เส้นเอ็นขึ้นสะพรั่งยิ่งกว่าแต่ก่อน” ฤๅษีผู้น้องตอบว่า
“กระผมซูบผอม ฯลฯ เพราะกระผมไม่เห็นนาคราชรูปงาม น่าดูนั้น”
ฤๅษีผู้พี่กล่าวเป็นคาถาว่า
“บุคคลไม่ควรขอสิ่งที่รู้ว่าเป็นที่รักของเขา อนึ่งเพราะ
ขอเกินไปย่อมเป็นที่เกลียดชัง นาคราชถูกฤๅษีขอ
แก้วมณี จึงไม่หวนกลับมาให้ฤๅษีเห็นอีกเลย”๒
ภิกษุทั้งหลาย การขอ การออกปากขอ ย่อมไม่เป็นที่พอใจแม้ของพวกสัตว์
ดิรัจฉานเหล่านั้น ไม่จำต้องกล่าวถึงพวกมนุษย์เลย

เรื่องนกฝูงใหญ่

[๓๔๕] ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ในราวป่าแห่งหนึ่ง
เชิงภูเขาหิมพานต์ ไม่ไกลจากที่นั้นมีหนองน้ำใหญ่ นกฝูงใหญ่เที่ยวหาอาหารที่
หนองน้ำตลอดทั้งวัน พอตกเย็นก็เข้าไปอาศัยราวป่า ภิกษุนั้นรำคาญเสียงนกจึง
เข้าไปหาเราถึงที่อยู่ กราบไหว้เราแล้วนั่งลง ณ ที่สมควร เราถามเธอว่า “ภิกษุ
เธอยังสบายดีหรือ ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ เธอเดินทางมาโดยไม่ลำบากหรือ เธอมา
จากไหน”

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.ชา. ๒๗/๗-๘/๗๕
๒ ขุ.ชา. ๒๗/๙/๗๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๓๘๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๖. กุฎิการสิกขาบท นิทานวัตถุ

ภิกษุนั้นกราบทูลว่า “สบายดี พระพุทธเจ้าข้า พอเป็นอยู่ได้ พระพุทธเจ้าข้า
ข้าพระพุทธเจ้าเดินทางมาโดยไม่ลำบาก พระพุทธเจ้าข้า แถบภูเขาหิมพานต์มีราว
ป่าใหญ่ ไม่ไกลจากที่นั้น มีหนองน้ำใหญ่ นกฝูงใหญ่เที่ยวหาอาหารที่หนองน้ำ
ตลอดทั้งวัน พอตกเย็นก็เข้าไปอาศัยราวป่า ข้าพระพุทธเจ้ารำคาญเสียงนกจึงหนี
มาจากที่นั้น”
“เธอต้องการไม่ให้ฝูงนกมาใช่ไหม”
“ข้าพระองค์ ต้องการไม่ให้ฝูงนกมา พระพุทธเจ้าข้า”
“ถ้าอย่างนั้น เธอจงกลับไปยังราวป่า แล้วเวลาปฐมยามแห่งราตรี ประกาศขึ้น
๓ ครั้งว่า ‘นกที่อาศัยราวป่านี้มีเท่าใด จงฟังเรา เราต้องการขน จงให้ขนแก่เราตัวละ ๑
อัน’ เวลามัชฌิมยามประกาศขึ้น ๓ ครั้งว่า ‘นกที่อาศัยราวป่านี้มีเท่าใด จงฟังเรา
เราต้องการขน จงให้ขนแก่เราตัวละ ๑ อัน’ เวลาปัจฉิมยามก็ประกาศขึ้น ๓ ครั้งว่า
‘นกที่อาศัยราวป่านี้มีเท่าใด จงฟังเรา เราต้องการขน จงให้ขนแก่เราตัวละ ๑ อัน’
ต่อมา ภิกษุนั้นกลับไปยังราวป่า เวลาปฐมยามแห่งราตรี ประกาศขึ้น ๓ ครั้งว่า
“นกที่อาศัยราวป่านี้มีเท่าใด จงฟังเรา เราต้องการขน จงให้ขนแก่เราตัวละ ๑ อัน”
เวลามัชฌิมยาม ฯลฯ ปัจฉิมยาม ก็ประกาศเช่นนั้น ๓ ครั้งว่า “นกที่อาศัยราวป่านี้
มีเท่าใด จงฟังข้าพเจ้า ฯลฯ จงให้ขนแก่เราตัวละ ๑ อัน” ครั้นฝูงนกรู้ว่า “ภิกษุขอขน
ภิกษุต้องการขน” ก็พากันบินหนีจากไปแล้วไม่หวนกลับมาอีกเลย
ภิกษุทั้งหลาย การขอ การออกปากขอ ย่อมไม่เป็นที่พอใจแม้ของพวกสัตว์
ดิรัจฉานเหล่านั้น ไม่จำต้องกล่าวถึงพวกมนุษย์เลย

เรื่องรัฐบาลกุลบุตร

[๓๔๖] ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว บิดาของรัฐบาลกุลบุตร กล่าวเป็น
คาถาว่า
“ลูกรัฐบาล คนจำนวนมากพากันมาขอพ่อทั้งที่พ่อก็
ไม่รู้จัก ไฉนลูกจึงไม่ขอพ่อบ้างเล่า”
รัฐบาลกุลบุตรกล่าวตอบบิดาว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๓๘๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๖. กุฎิการสิกขาบท พระบัญญัติ

“คนขอย่อมไม่เป็นที่ชอบใจของผู้ถูกขอ คนถูกขอ เมื่อ
ไม่ให้ ก็ไม่เป็นที่ชอบใจของผู้ขอ เพราะฉะนั้น ลูกจึง
ไม่ขอพ่อ อย่าให้ลูกเป็นคนน่าชังของพ่อเลย” ๑
ภิกษุทั้งหลาย รัฐบาลกุลบุตรยังกล่าวกับบิดาของตนอย่างนี้ ไม่จำต้องกล่าว
ถึงคนอื่นที่กล่าวกับคนอื่นเลย
[๓๔๗] ภิกษุทั้งหลาย ทรัพย์สมบัติของคฤหัสถ์รวบรวมไว้ได้ยาก เมื่อได้มา
ก็เก็บรกษาไว้ได้ยาก โมฆบุรุษทั้งหลาย เมื่อทรัพย์สมบัติที่พวกคฤหัสถ์รวบรวมไว้
ได้ยาก ทั้งเมื่อได้มาแล้วก็เก็บรักษาไว้ได้ยากเช่นนี้ เธอทั้งหลายกลับเป็นผู้มากไป
ด้วยการขอ เป็นผู้มากไปด้วยการออกปากขอด้วยการกล่าวว่า ‘ท่านทั้งหลายจงให้
คนงาน อุปกรณ์ก่อสร้างสำเร็จรูป โค เกวียน มีด ขวาน ผึ่ง จอบ สิ่ว เถาวัลย์ ไม้ไผ่
หญ้ามุงกระต่าย หญ้าแฝก หญ้าสามัญ ดินเหนียว’ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่
ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
ดังนี้

พระบัญญัติ

[๓๔๘] ก็ ภิกษุผู้จะสร้างกุฎีที่ไม่มีเจ้าของสร้างถวาย สร้างเป็นของส่วน
ตัว ด้วยการขอเอาเอง พึงสร้างให้ได้ขนาด ขนาดในการสร้างนั้น ดังนี้: ยาว ๑๒
คืบ กว้าง ๗ คืบ โดยคืบพระสุคต๒ ต้องพาภิกษุทั้งหลายไปแสดงพื้นที่ให้ ภิกษุ
เหล่านั้นพึงแสดงพื้นที่ไม่มีอันตราย๓ เป็นพื้นที่มีบริเวณโดยรอบ ถ้าภิกษุสร้าง
กุฎีด้วยการขอเอาเอง ในที่ที่มีอันตราย เป็นพื้นที่ไม่มีบริเวณโดยรอบ ไม่พา
ภิกษุทั้งหลายไปเพื่อแสดงพื้นที่ให้ หรือสร้างให้เกินขนาด เป็นสังฆาทิเสส๔

เรื่องภิกษุชาวเมืองอาฬวี จบ


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๖. กุฎิการสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

สิกขาบทวิภังค์

[๓๔๙] ที่ชื่อว่า การขอเอาเอง คือ ขอคนงานบ้าง อุปกรณ์ก่อสร้างสำเร็จ
รูปบ้าง โคบ้าง เกวียนบ้าง มีดบ้าง ขวานบ้าง ผึ่งบ้าง จอบบ้าง สิ่วบ้าง เถาวัลย์บ้าง
ไม้ไผ่บ้าง หญ้ามุงกระต่ายบ้าง หญ้าแฝกบ้าง หญ้าสามัญบ้าง ดินเหนียวบ้าง ด้วย
ตนเอง
ที่ชื่อว่า กุฎี ได้แก่ ที่อยู่ซึ่งโบกฉาบภายในหรือภายนอกหรือโบกฉาบทั้ง
ภายในภายนอก
คำว่า สร้าง คือ สร้างเองหรือใช้คนอื่นสร้าง
คำว่า ที่ไม่มีเจ้าของสร้างถวาย คือ ไม่มีใครอื่น ไม่ว่าจะเป็นหญิงหรือชาย
คฤหัสถ์หรือบรรพชิตเป็นเจ้าของสร้างถวาย
คำว่า สร้างเป็นของส่วนตัว คือ เพื่อประโยชน์ตน
คำว่า พึงสร้างให้ได้ขนาด ขนาดในการสร้างนั้น ดังนี้ : ยาว ๑๒ คืบ โดย
คืบพระสุคต คือ วัดด้านนอกกุฎี
คำว่า กว้าง ๗ คืบ คือ วัดด้านในฝาผนัง
คำว่า ต้องพาภิกษุทั้งหลายไปแสดงพื้นที่ให้ อธิบายว่า ภิกษุผู้จะสร้างกุฎี
นั้น พึงให้แผ้วถางพื้นที่สร้างกุฎี แล้วเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าเฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้
แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่ง ประนมมือกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ กระผม
ต้องการสร้างกุฎีที่ไม่มีเจ้าของสร้างถวาย สร้างเป็นของส่วนตัว ด้วยการขอเอาเอง
กระผมขอให้สงฆ์ตรวจดูพื้นที่สร้างกุฎี ขอรับ” พึงกล่าวขอภิกษุทั้งหลายดังนี้เป็นครั้งที่
๒ พึงกล่าวขอภิกษุทั้งหลายดังนี้เป็นครั้งที่ ๓ ถ้าสงฆ์ทั้งปวงสามารถไปตรวจดูพื้นที่
สร้างกุฎีได้ ก็ต้องไปตรวจดูด้วยกันทุกรูป ถ้าสงฆ์ไม่สามารถจะไปตรวจดูพื้นที่สร้าง
กุฎีได้หมดทุกรูป ก็ต้องขอพวกภิกษุที่ฉลาดสามารถรู้จักพื้นที่ว่า เป็นพื้นที่มีอันตราย
เป็นพื้นที่ไม่มีอันตราย เป็นพื้นที่มีบริเวณโดยรอบ เป็นพื้นที่ไม่มีบริเวณโดยรอบ
แล้วแต่งตั้ง

วิธีแต่งตั้ง และกรรมวาจาแต่งตั้ง

ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงแต่งตั้งอย่างนี้ คือ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถ พึงประกาศ
ให้สงฆ์ทราบว่า


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๖. กุฎิการสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

[๓๕๐] “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้ต้องการจะสร้างกุฎีที่
ไม่มีเจ้าของสร้างถวาย สร้างเป็นของส่วนตัว ด้วยการขอเอาเอง ภิกษุนั้นขอให้สงฆ์
ตรวจดูพื้นที่สร้างกุฎี ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงแต่งตั้งภิกษุชื่อนี้และชื่อนี้ให้ตรวจดู
พื้นที่สร้างกุฎีให้แก่ภิกษุชื่อนี้ นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้ต้องการจะสร้างกุฎีที่ไม่มีเจ้าของ
สร้างถวาย สร้างเป็นของส่วนตัว ด้วยการขอเอาเอง ภิกษุนั้นขอให้สงฆ์ตรวจดูพื้นที่
สร้างกุฎี สงฆ์แต่งตั้งภิกษุชื่อนี้และชื่อนี้ให้ตรวจดูพื้นที่สร้างกุฎีให้แก่ภิกษุชื่อนี้ ท่าน
รูปใดเห็นด้วยกับการแต่งตั้งภิกษุชื่อนี้และชื่อนี้ให้ตรวจดูพื้นที่สร้างกุฎีให้แก่ภิกษุชื่อนี้
ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
ภิกษุชื่อนี้และชื่อนี้ สงฆ์แต่งตั้งให้ตรวจดูพื้นที่สร้างกุฎีให้แก่ภิกษุชื่อนี้ สงฆ์
เห็นด้วย เพราะฉะนั้น จึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”

วิธีแสดงพื้นที่

[๓๕๑] ภิกษุทั้งหลายที่ได้รับแต่งตั้งเหล่านั้น ต้องไปที่นั้นแล้วพึงตรวจดู
พื้นที่สร้างกุฎี ให้รู้ว่า เป็นพื้นที่มีอันตรายเป็นพื้นที่ไม่มีอันตราย เป็นพื้นที่มีบริเวณ
โดยรอบ เป็นพื้นที่ไม่มีบริเวณโดยรอบ ถ้าเป็นพื้นที่มีอันตรายทั้งไม่มีบริเวณโดยรอบ
พึงบอกภิกษุรูปนั้นว่า “อย่าสร้างในที่นี้” ถ้าเป็นพื้นที่ไม่มีอันตรายทั้งมีบริเวณโดย
รอบพึงบอกสงฆ์ว่า “เป็นพื้นที่ไม่มีอันตราย ทั้งมีบริเวณโดยรอบ” ภิกษุผู้จะสร้างกุฎี
นั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าเฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้มีพรรษาแก่กว่า นั่งกระโหย่ง
ประนมมือกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมต้องการสร้างกุฎีที่ไม่มีเจ้าของสร้าง
ถวาย สร้างเป็นของส่วนตัวด้วยการขอเอาเอง กระผมขอให้สงฆ์แสดงพื้นที่สร้างกุฎี”
พึงกล่าวขอภิกษุทั้งหลายดังนี้เป็นครั้งที่ ๒ พึงกล่าวขอภิกษุทั้งหลายดังนี้เป็นครั้งที่ ๓

กรรมวาจาขอให้สงฆ์แสดงพื้นที่สร้างกุฎี

ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบ ดังนี้
[๓๕๒] “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้ต้องการจะสร้างกุฎีที่
ไม่มีเจ้าของสร้างถวายสร้างเป็นของส่วนตัว ด้วยการขอเอาเอง ภิกษุนั้นขอให้สงฆ์


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๖. กุฎิการสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

แสดงพื้นที่สร้างกุฎี ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว พึงไปแสดงพื้นที่สร้างกุฎีให้แก่ภิกษุชื่อนี้
นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้ต้องการจะสร้างกุฎีที่ไม่มีเจ้าของ
สร้างถวาย สร้างเป็นของส่วนตัว ด้วยการขอเอาเอง ภิกษุนั้นขอให้สงฆ์แสดงพื้นที่
สร้างกุฎี สงฆ์แสดงพื้นที่สร้างกุฎีให้แก่ภิกษุชื่อนี้ ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการแสดง
พื้นที่สร้างกุฎีให้แก่ภิกษุชื่อนี้ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึง
ทักท้วง
พื้นที่สร้างกุฎี สงฆ์แสดงให้แก่ภิกษุชื่อนี้แล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง
ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”
[๓๕๓] ที่ชื่อว่า เป็นพื้นที่มีอันตราย คือ เป็นที่อยู่ของมด เป็นที่อยู่ของปลวก
เป็นที่อยู่ของหนู เป็นที่อยู่ของงู เป็นที่อยู่ของแมลงป่อง เป็นที่อยู่ของตะขาบ เป็น
ที่อยู่ของช้าง เป็นที่อยู่ของม้า เป็นที่อยู่ของราชสีห์ เป็นที่อยู่ของเสือโคร่ง เป็นที่อยู่
ของเสือเหลือง เป็นที่อยู่ของหมี เป็นที่อยู่ของสุนัขป่า หรือเป็นที่อยู่ของสัตว์
ดิรัจฉานบางเหล่า อยู่ใกล้นา อยู่ใกล้สวน อยู่ใกล้ตะแลงแกง อยู่ใกล้ที่ทรมานนักโทษ
อยู่ใกล้สุสาน อยู่ใกล้อุทยาน อยู่ใกล้ที่หลวง อยู่ใกล้โรงช้าง อยู่ใกล้โรงม้า อยู่ใกล้
เรือนจำ อยู่ใกล้โรงสุรา อยู่ใกล้ร้านขายเนื้อ อยู่ใกล้ถนน อยู่ใกล้ทางสี่แยก อยู่ใกล้
ที่ประชุม หรืออยู่ใกล้ทางเดิน นี่ชื่อว่า พื้นที่มีอันตราย
ที่ชื่อว่า เป็นพื้นที่ไม่มีบริเวณโดยรอบ คือ เกวียนที่เขาเทียมวัวตามปกติไม่
สามารถวนไปได้ บันไดไม่สามารถจะทอดเวียนไปได้โดยรอบ นี่ชื่อว่า พื้นที่ไม่มี
บริเวณโดยรอบ
ที่ชื่อว่า เป็นพื้นที่ไม่มีอันตราย คือ ไม่ใช่ที่อยู่ของมด ไม่ใช่ที่อยู่ของปลวก
ไม่ใช่ที่อยู่ของหนู ไม่ใช่ที่อยู่ของงู ไม่ใช่ที่อยู่ของแมลงป่อง ไม่ใช่ที่อยู่ของตะขาบ ฯลฯ
ไม่ใกล้ทางเดิน นี่ชื่อว่า พื้นที่ไม่มีอันตราย
ที่ชื่อว่า เป็นพื้นที่มีบริเวณโดยรอบ คือ เกวียนที่เขาเทียมวัวตามปกติ
สามารถวนไปได้ บันไดสามารถทอดเวียนไปได้โดยรอบ นี่ชื่อว่า พื้นที่มีบริเวณ
โดยรอบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๓๘๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๖. กุฎิการสิกขาบท บทภาชนีย์

ที่ชื่อว่า การขอเอาเอง อธิบายว่า ขอคนงาน อุปกรณ์ก่อสร้างสำเร็จรูป
ฯลฯ ดินเหนียว
ที่ชื่อว่า กุฎี ได้แก่ ที่อยู่ซึ่งโบกฉาบเฉพาะภายในหรือภายนอก หรือโบกฉาบ
ทั้งภายในภายนอก
คำว่า สร้าง คือ สร้างเองหรือใช้คนอื่นสร้าง
คำว่า ไม่พาภิกษุทั้งหลายไปแสดงพื้นที่ให้ หรือสร้างให้เกินขนาด ความ
ว่า ไม่ขอให้สงฆ์แสดงพื้นที่สร้างกุฎีด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาก่อน สร้างเองหรือใช้
คนอื่นสร้างเกินกำหนดแม้เพียงเส้นผมเดียว จะยาวหรือกว้าง ต้องอาบัติทุกกฏ
เพราะความพยายามแต่ละครั้ง ยังเหลืออิฐอีกก้อนหนึ่งจึงจะเสร็จ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
อิฐก้อนสุดท้ายเสร็จแล้ว ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
คำว่า เป็นสังฆาทิเสส ความว่า สำหรับอาบัตินั้น สงฆ์เท่านั้นให้ปริวาส ฯลฯ
เพราะเหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า “เป็นสังฆาทิเสส”

บทภาชนีย์
สงฆ์ไม่ได้แสดงพื้นที่ให้

[๓๕๔] ภิกษุสร้างกุฎีที่สงฆ์ไม่ได้แสดงพื้นที่ให้ เป็นพื้นที่มีอันตราย เป็น
พื้นที่ไม่มีบริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว กับอาบัติสังฆาทิเสส ๑ ตัว
ภิกษุสร้างกุฎีที่สงฆ์ไม่ได้แสดงพื้นที่ให้ เป็นพื้นที่มีอันตราย เป็นพื้นที่มี
บริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติทุกกฏกับอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุสร้างกุฎีที่สงฆ์ไม่ได้แสดงพื้นที่ให้ เป็นพื้นที่ไม่มีอันตราย เป็นพื้นที่ไม่
มีบริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติทุกกฏกับอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุสร้างกุฎีที่สงฆ์ไม่ได้แสดงพื้นที่ให้ เป็นพื้นที่ไม่มีอันตราย เป็นพื้นที่มี
บริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๖. กุฎิการสิกขาบท บทภาชนีย์

สงฆ์แสดงพื้นที่ให้

[๓๕๕] ภิกษุสร้างกุฎีที่สงฆ์แสดงพื้นที่ให้ เป็นพื้นที่มีอันตราย เป็นพื้นที่
ไม่มีบริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
ภิกษุสร้างกุฎีที่สงฆ์แสดงพื้นที่ให้ เป็นพื้นที่มีอันตราย เป็นพื้นที่มีบริเวณ
โดยรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุสร้างกุฎีที่สงฆ์แสดงพื้นที่ให้ เป็นพื้นที่ไม่มีอันตราย เป็นพื้นที่ไม่มี
บริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุสร้างกุฎีที่สงฆ์แสดงพื้นที่ให้ เป็นพื้นที่ไม่มีอันตราย เป็นพื้นที่มีบริเวณ
โดยรอบ ไม่ต้องอาบัติ

สร้างเกินขนาด

ภิกษุสร้างกุฎีเกินขนาด เป็นพื้นที่มีอันตราย เป็นพื้นที่ไม่มีบริเวณโดยรอบ
ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว กับอาบัติสังฆาทิเสส ๑ ตัว
ภิกษุสร้างกุฎีเกินขนาด เป็นพื้นที่มีอันตราย เป็นพื้นที่มีบริเวณโดยรอบ
ต้องอาบัติทุกกฏ กับอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุสร้างกุฎีเกินขนาด เป็นพื้นที่ไม่มีอันตราย เป็นพื้นที่ไม่มีบริเวณโดยรอบ
ต้องอาบัติทุกกฏกับอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุสร้างกุฎีเกินขนาด เป็นพื้นที่ไม่มีอันตราย เป็นพื้นที่มีบริเวณโดยรอบ
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

สร้างได้ขนาด

ภิกษุสร้างกุฎีได้ขนาด เป็นพื้นที่มีอันตราย เป็นพื้นที่ไม่มีบริเวณโดยรอบ
ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
ภิกษุสร้างกุฎีได้ขนาด เป็นพื้นที่มีอันตราย เป็นพื้นที่มีบริเวณโดยรอบ
ต้องอาบัติทุกกฏ


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๖. กุฎิการสิกขาบท บทภาชนีย์

ภิกษุสร้างกุฎีได้ขนาด เป็นพื้นที่ไม่มีอันตราย เป็นพื้นที่ไม่มีบริเวณโดยรอบ
ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุสร้างกุฎีได้ขนาด เป็นพื้นที่ไม่มีอันตราย เป็นพื้นที่มีบริเวณโดยรอบ
ไม่ต้องอาบัติ

สงฆ์ไม่ได้แสดงพื้นที่ให้ สร้างเกินขนาด

ภิกษุสร้างกุฎีที่สงฆ์ไม่ได้แสดงพื้นที่ให้ สร้างเกินขนาด เป็นพื้นที่มีอันตราย
เป็นพื้นที่ไม่มีบริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัวกับอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว
ภิกษุสร้างกุฎีที่สงฆ์ไม่ได้แสดงพื้นที่ให้ สร้างเกินขนาด เป็นพื้นที่มีอันตราย
เป็นพื้นที่มีบริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ ตัวกับอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว
ภิกษุสร้างกุฎีที่สงฆ์ไม่ได้แสดงพื้นที่ให้ สร้างเกินขนาด เป็นพื้นที่ไม่มีอันตราย
เป็นพื้นที่ไม่มีบริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ ตัวกับอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว
ภิกษุสร้างกุฎีที่สงฆ์ไม่ได้แสดงพื้นที่ให้ สร้างเกินขนาด เป็นพื้นที่ไม่มีอันตราย
เป็นพื้นที่มีบริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว

สงฆ์แสดงพื้นที่ให้ สร้างได้ขนาด

ภิกษุสร้างกุฎีที่สงฆ์แสดงพื้นที่ให้ สร้างได้ขนาด เป็นพื้นที่มีอันตราย เป็น
พื้นที่ไม่มีบริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
ภิกษุสร้างกุฎีที่สงฆ์แสดงพื้นที่ให้ สร้างได้ขนาด เป็นพื้นที่มีอันตราย เป็น
พื้นที่มีบริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุสร้างกุฎีที่สงฆ์แสดงพื้นที่ให้ สร้างได้ขนาด เป็นพื้นที่ไม่มีอันตราย
เป็นพื้นที่ไม่มีบริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุสร้างกุฎีที่สงฆ์แสดงพื้นที่ให้ สร้างได้ขนาด เป็นพื้นที่ไม่มีอันตราย
เป็นพื้นที่มีบริเวณโดยรอบ ไม่ต้องอาบัติ


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๖. กุฎิการสิกขาบท บทภาชนีย์

สั่งสร้างกุฎีที่สงฆ์ไม่ได้แสดงพื้นที่ให้

[๓๕๖] ภิกษุสั่งว่า “จงสร้างกุฎีให้เรา” ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีที่สงฆ์ไม่ได้แสดง
พื้นที่ให้ เป็นพื้นที่มีอันตราย เป็นพื้นที่ไม่มีบริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ ๒
ตัวกับอาบัติสังฆาทิเสส ๑ ตัว ฯลฯ เป็นพื้นที่มีอันตราย เป็นพื้นที่มีบริเวณโดยรอบ
ต้องอาบัติทุกกฏกับอาบัติสังฆาทิเสส ฯลฯ เป็นพื้นที่ไม่มีอันตราย เป็นพื้นที่ไม่มี
บริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติทุกกฏกับอาบัติสังฆาทิเสส ฯลฯ เป็นพื้นที่ไม่มีอันตราย
เป็นพื้นที่มีบริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

สั่งสร้างกุฎีที่สงฆ์แสดงพื้นที่ให้

ภิกษุสั่งว่า “จงสร้างกุฎีให้เรา” ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีที่สงฆ์แสดงพื้นที่ให้
เป็นพื้นที่มีอันตราย เป็นพื้นที่ไม่มีบริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว ฯลฯ เป็น
พื้นที่มีอันตราย เป็นพื้นที่มีบริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ ฯลฯ เป็นพื้นที่ไม่มี
อันตราย เป็นพื้นที่ไม่มีบริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ ฯลฯ เป็นพื้นที่ไม่มีอันตราย
เป็นพื้นที่มีบริเวณโดยรอบ ไม่ต้องอาบัติ

สั่งสร้างกุฎี เขาสร้างเกินขนาด

ภิกษุสั่งว่า “จงสร้างกุฎีให้เรา” ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีเกินขนาด เป็นพื้นที่มี
อันตราย เป็นพื้นที่ไม่มีบริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว กับอาบัติสังฆาทิเสส
๑ ตัว ฯลฯ เป็นพื้นที่มีอันตราย เป็นพื้นที่มีบริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติทุกกฏกับ
อาบัติสังฆาทิเสส ฯลฯ เป็นพื้นที่ไม่มีอันตราย เป็นพื้นที่ไม่มีบริเวณโดยรอบ ต้อง
อาบัติทุกกฏกับสังฆาทิเสส ฯลฯ เป็นพื้นที่ไม่มีอันตราย เป็นพื้นที่มีบริเวณโดยรอบ
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

สั่งสร้างกุฎี เขาสร้างได้ขนาด

ภิกษุสั่งว่า “จงสร้างกุฎีให้เรา” ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีได้ขนาด เป็นพื้นที่มี
อันตราย เป็นพื้นที่ไม่มีบริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว ฯลฯ เป็นพื้นที่มี
อันตราย เป็นพื้นที่มีบริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ ฯลฯ เป็นพื้นที่ไม่มีอันตราย


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๖. กุฎิการสิกขาบท บทภาชนีย์

เป็นพื้นที่ไม่มีบริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ ฯลฯ เป็นพื้นที่ไม่มีอันตราย เป็น
พื้นที่มีบริเวณโดยรอบ ไม่ต้องอาบัติ

สั่งสร้างกุฎีที่สงฆ์ไม่ได้แสดงพื้นที่ให้ เขาสร้างเกินขนาด

ภิกษุสั่งว่า “จงสร้างกุฎีให้เรา” ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีที่สงฆ์ไม่ได้แสดงพื้นที่ให้
สร้างเกินขนาด เป็นพื้นที่มีอันตราย เป็นพื้นที่ไม่มีบริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ
๒ ตัวกับอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว ฯลฯ เป็นพื้นที่มีอันตราย เป็นพื้นที่มีบริเวณโดย
รอบ ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ ตัวกับอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว ฯลฯ เป็นพื้นที่ไม่มีอันตราย
เป็นพื้นที่ไม่มีบริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ ตัวกับอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว
ฯลฯ เป็นพื้นที่ไม่มีอันตราย เป็นพื้นที่มีบริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว

สั่งสร้างกุฎีที่สงฆ์แสดงพื้นที่ให้ เขาสร้างได้ขนาด

ภิกษุสั่งว่า “จงสร้างกุฎีให้เรา” ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีที่สงฆ์แสดงพื้นที่ให้ สร้าง
ได้ขนาด เป็นพื้นที่มีอันตราย เป็นพื้นที่ไม่มีบริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
ฯลฯ เป็นพื้นที่มีอันตราย เป็นพื้นที่มีบริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ ฯลฯ เป็น
พื้นที่ไม่มีอันตราย เป็นพื้นที่ไม่มีบริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ ฯลฯ เป็นพื้นที่
ไม่มีอันตราย เป็นพื้นที่มีบริเวณโดยรอบ ไม่ต้องอาบัติ

หลีกไปไม่ได้สั่ง สงฆ์ไม่ได้แสดงพื้นที่ให้

[๓๕๗] ภิกษุสั่งว่า “จงสร้างกุฎีให้เรา” แล้วหลีกไป แต่ไม่ได้สั่งว่า “กุฎีนั้น
สงฆ์ต้องแสดงพื้นที่ให้ ต้องเป็นพื้นที่ไม่มีอันตรายและต้องเป็นพื้นที่มีบริเวณโดยรอบ”
ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีที่สงฆ์ไม่ได้แสดงพื้นที่ให้ เป็นพื้นที่มีอันตราย เป็นพื้นที่ไม่มี
บริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัวกับอาบัติสังฆาทิเสส ๑ ตัว ฯลฯ เป็น
พื้นที่มีอันตราย เป็นพื้นที่มีบริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติทุกกฏกับอาบัติสังฆาทิเสส
ฯลฯ เป็นพื้นที่ไม่มีอันตราย เป็นพื้นที่ไม่มีบริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติทุกกฏกับ
อาบัติสังฆาทิเสส ฯลฯ เป็นพื้นที่ไม่มีอันตราย เป็นพื้นที่มีบริเวณโดยรอบ ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสส


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๖. กุฎิการสิกขาบท บทภาชนีย์

หลีกไปไม่ได้สั่ง สงฆ์แสดงพื้นที่ให้

ภิกษุสั่งว่า “จงสร้างกุฎีให้เรา” แล้วหลีกไป แต่ไม่ได้สั่งว่า “กุฎีนั้นสงฆ์ต้อง
แสดงพื้นที่ให้ ต้องเป็นพื้นที่ไม่มีอันตรายและต้องเป็นพื้นที่มีบริเวณโดยรอบ” ผู้รับ
คำสั่งสร้างกุฎีที่สงฆ์แสดงพื้นที่ให้ เป็นพื้นที่มีอันตราย เป็นพื้นที่ไม่มีบริเวณโดยรอบ
ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว ฯลฯ เป็นพื้นที่มีอันตราย เป็นพื้นที่มีบริเวณโดยรอบ ต้อง
อาบัติทุกกฏ ฯลฯ เป็นพื้นที่ไม่มีอันตราย เป็นพื้นที่ไม่มีบริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติ
ทุกกฏ ฯลฯ เป็นพื้นที่ไม่มีอันตราย เป็นพื้นที่มีบริเวณโดยรอบ ไม่ต้องอาบัติ

หลีกไปไม่ได้สั่ง เขาสร้างเกินขนาด

ภิกษุสั่งว่า “จงสร้างกุฎีให้เรา” แล้วหลีกไป แต่ไม่ได้สั่งว่า “กุฎีนั้นต้องได้
ขนาด ต้องเป็นพื้นที่ไม่มีอันตรายและต้องเป็นพื้นที่มีบริเวณโดยรอบ” ผู้รับคำสั่ง
สร้างกุฎีให้เกินขนาด เป็นพื้นที่มีอันตราย เป็นพื้นที่ไม่มีบริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติ
ทุกกฏ ๒ ตัวกับอาบัติสังฆาทิเสส ๑ ตัว ฯลฯ เป็นพื้นที่มีอันตราย เป็นพื้นที่มี
บริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติทุกกฏกับอาบัติสังฆาทิเสส ฯลฯ เป็นพื้นที่ไม่มีอันตราย
เป็นพื้นที่ไม่มีบริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติทุกกฏกับอาบัติสังฆาทิเสส ฯลฯ เป็นพื้นที่
ไม่มีอันตราย เป็นพื้นที่มีบริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

หลีกไปไม่ได้สั่ง เขาสร้างได้ขนาด

ภิกษุสั่งว่า “จงสร้างกุฎีให้เรา” แล้วหลีกไป แต่ไม่ได้สั่งว่า “กุฎีนั้นต้องสร้าง
ได้ขนาด ต้องเป็นพื้นที่ไม่มีอันตรายและต้องมีบริเวณโดยรอบ” ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎี
ได้ขนาด เป็นพื้นที่มีอันตราย เป็นพื้นที่ไม่มีบริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
ฯลฯ เป็นพื้นที่มีอันตราย เป็นพื้นที่มีบริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ ฯลฯ เป็น
พื้นที่ไม่มีอันตราย เป็นพื้นที่ไม่มีบริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ ฯลฯ เป็นพื้นที่
ไม่มีอันตราย เป็นพื้นที่มีบริเวณโดยรอบ ไม่ต้องอาบัติ

หลีกไปไม่ได้สั่ง สงฆ์ไม่ได้แสดงพื้นที่ให้ เขาสร้างเกินขนาด

ภิกษุสั่งว่า “จงสร้างกุฎีให้เรา” แล้วหลีกไป แต่ไม่ได้สั่งว่า “กุฎีนั้นสงฆ์ต้อง
แสดงพื้นที่ให้ ต้องสร้างให้ได้ขนาด ต้องเป็นพื้นที่ไม่มีอันตรายและต้องมีบริเวณโดย


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๖. กุฎิการสิกขาบท บทภาชนีย์

รอบ” ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีที่สงฆ์ไม่ได้แสดงพื้นที่ให้ สร้างเกินขนาด เป็นพื้นที่มี
อันตราย เป็นพื้นที่ไม่มีบริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัวกับอาบัติสังฆาทิเสส
๒ ตัว ฯลฯ เป็นพื้นที่มีอันตราย เป็นพื้นที่มีบริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ ๑
ตัวกับอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว ฯลฯ เป็นพื้นที่ไม่มีอันตราย เป็นพื้นที่ไม่มีบริเวณ
โดยรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ ตัวกับอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว ฯลฯ เป็นพื้นที่ไม่มี
อันตราย เป็นพื้นที่มีบริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว

หลีกไปไม่ได้สั่ง สงฆ์แสดงพื้นที่ให้ เขาสร้างได้ขนาด

ภิกษุสั่งว่า “จงสร้างกุฎีให้เรา” แล้วหลีกไปแต่ไม่ได้สั่งว่า “กุฎีนั้นสงฆ์ต้อง
แสดงพื้นที่ให้ ต้องสร้างให้ได้ขนาด ต้องเป็นพื้นที่ไม่มีอันตรายและต้องมีบริเวณโดย
รอบ” ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีที่สงฆ์แสดงพื้นที่ให้ สร้างได้ขนาด เป็นพื้นที่มีอันตราย
เป็นพื้นที่ไม่มีบริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว ฯลฯ เป็นพื้นที่มีอันตราย
เป็นพื้นที่มีบริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ ฯลฯ เป็นพื้นที่ไม่มีอันตราย เป็น
พื้นที่ไม่มีบริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ ฯลฯ เป็นพื้นที่ไม่มีอันตราย เป็นพื้นที่
มีบริเวณโดยรอบ ไม่ต้องอาบัติ

สร้างผิดคำสั่ง สงฆ์ไม่ได้แสดงพื้นที่ให้

[๓๕๘] ภิกษุสั่งว่า “จงสร้างกุฎีให้เรา” แล้วหลีกไปแต่ได้สั่งว่า “กุฎีนั้น
สงฆ์ต้องแสดงพื้นที่ให้ ต้องเป็นพื้นที่ไม่มีอันตรายและต้องมีบริเวณโดยรอบ” ผู้รับ
คำสั่งสร้างกุฎีที่สงฆ์ไม่ได้แสดงพื้นที่ให้ เป็นพื้นที่มีอันตราย เป็นพื้นที่ไม่มีบริเวณ
โดยรอบ ภิกษุนั้นทราบข่าวว่า “เขาสร้างกุฎีที่สงฆ์ไม่ได้แสดงพื้นที่ให้เรา เป็นพื้นที่มี
อันตราย เป็นพื้นที่ไม่มีบริเวณโดยรอบ” ภิกษุนั้นพึงไปเองหรือส่งทูตไปบอกว่า
“กุฎีนั้นสงฆ์ต้องแสดงพื้นที่ให้ ต้องเป็นพื้นที่ไม่มีอันตรายและต้องมีบริเวณโดยรอบ”
ถ้าเธอไม่ไปเอง หรือไม่ส่งทูตไปบอก ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุสั่งว่า “จงสร้างกุฎีให้เรา” แล้วหลีกไปและได้สั่งว่า “กุฎีนั้นสงฆ์ต้อง
แสดงพื้นที่ให้ ต้องเป็นพื้นที่ไม่มีอันตรายและต้องมีบริเวณโดยรอบ” ผู้รับคำสั่งสร้าง


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๖. กุฎิการสิกขาบท บทภาชนีย์

กุฎีที่สงฆ์ไม่ได้แสดงพื้นที่ให้ เป็นพื้นที่มีอันตราย เป็นพื้นที่มีบริเวณโดยรอบ ภิกษุ
นั้นทราบข่าวว่า “เขาสร้างกุฎีที่สงฆ์ไม่ได้แสดงพื้นที่ให้เรา เป็นพื้นที่มีอันตราย เป็น
พื้นที่มีบริเวณโดยรอบ” ภิกษุนั้นพึงไปเองหรือส่งทูตไปบอกว่า “สงฆ์ต้องแสดงพื้นที่
ให้และต้องเป็นพื้นที่ไม่มีอันตราย” ถ้าเธอไม่ไปเองหรือไม่ส่งทูตไปบอก ต้องอาบัติ
ทุกกฏ
ภิกษุสั่งว่า “จงสร้างกุฎีให้เรา” แล้วหลีกไปแต่ได้สั่งว่า “กุฎีนั้นสงฆ์ต้อง
แสดงพื้นที่ให้ ต้องเป็นพื้นที่ไม่มีอันตรายและต้องมีบริเวณโดยรอบ” ผู้รับคำสั่งสร้าง
กุฎีที่สงฆ์ไม่ได้แสดงพื้นที่ให้ เป็นพื้นที่ไม่มีอันตราย เป็นพื้นที่ไม่มีบริเวณโดยรอบ
ภิกษุนั้นทราบข่าวว่า ‘เขาสร้างกุฎีที่สงฆ์ไม่ได้แสดงพื้นที่ให้เรา เป็นพื้นที่ไม่มีอันตราย
เป็นพื้นที่ไม่มีบริเวณโดยรอบ’ ภิกษุนั้นพึงไปเองหรือส่งทูตไปบอกว่า “สงฆ์ต้อง
แสดงพื้นที่ให้และต้องมีบริเวณโดยรอบ” ถ้าเธอไม่ไปเองหรือไม่ส่งทูตไปบอก ต้อง
อาบัติทุกกฏ

สร้างผิดคำสั่ง สงฆ์ไม่ได้แสดงพื้นที่ให้

ภิกษุสั่งว่า “จงสร้างกุฎีให้เรา” แล้วหลีกไปแต่ได้สั่งว่า “กุฎีนั้นสงฆ์ต้อง
แสดงพื้นที่ให้ ต้องเป็นพื้นที่ไม่มีอันตรายและต้องมีบริเวณโดยรอบ” ผู้รับคำสั่งสร้าง
กุฎีที่สงฆ์ไม่ได้แสดงพื้นที่ให้ เป็นพื้นที่ไม่มีอันตราย เป็นพื้นที่มีบริเวณโดยรอบ
ภิกษุนั้นทราบข่าวว่า “เขาสร้างกุฎีที่สงฆ์ไม่ได้แสดงพื้นที่ให้เรา เป็นพื้นที่ไม่มีอันตราย
เป็นพื้นที่มีบริเวณโดยรอบ” ภิกษุนั้นพึงไปเองหรือส่งทูตไปบอกว่า “สงฆ์ต้องแสดง
พื้นที่ให้” ถ้าเธอไม่ไปเองหรือไม่ส่งทูตไปบอก ต้องอาบัติทุกกฏ

สร้างผิดคำสั่ง สงฆ์แสดงพื้นที่ให้

ภิกษุสั่งว่า “จงสร้างกุฎีให้เรา” แล้วหลีกไปแต่ได้สั่งว่า “กุฎีนั้นสงฆ์ต้อง
แสดงพื้นที่ให้ ต้องเป็นพื้นที่ไม่มีอันตรายและต้องมีบริเวณโดยรอบ” ผู้รับคำสั่งสร้าง
กุฎีที่สงฆ์แสดงพื้นที่ให้ เป็นพื้นที่มีอันตราย เป็นพื้นที่ไม่มีบริเวณโดยรอบ ภิกษุ
นั้นทราบข่าวว่า “เขาสร้างกุฎีที่สงฆ์แสดงพื้นที่ให้เรา เป็นพื้นที่มีอันตราย เป็น
พื้นที่ไม่มีบริเวณโดยรอบ” ภิกษุนั้นพึงไปเองหรือส่งทูตไปบอกว่า “ต้องเป็นพื้นที่ไม่มี


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๖. กุฎิการสิกขาบท บทภาชนีย์

อันตรายและต้องมีบริเวณโดยรอบ” ถ้าเธอไม่ไปเองหรือไม่ส่งทูตไปบอก ต้องอาบัติ
ทุกกฏ
ภิกษุสั่งว่า “จงสร้างกุฎีให้เรา” แล้วหลีกไปและได้สั่งว่า “กุฎีนั้นสงฆ์ต้อง
แสดงพื้นที่ให้ ต้องเป็นพื้นที่ไม่มีอันตรายและต้องมีบริเวณโดยรอบ” ผู้รับคำสั่งสร้าง
กุฎีที่สงฆ์แสดงพื้นที่ให้ เป็นพื้นที่มีอันตราย เป็นพื้นที่มีบริเวณโดยรอบ ภิกษุนั้น
ทราบข่าวว่า “เขาสร้างกุฎีที่สงฆ์แสดงพื้นที่ให้เรา เป็นพื้นที่มีอันตราย เป็นพื้นที่มี
บริเวณโดยรอบ” ภิกษุนั้นพึงไปเองหรือส่งทูตไปบอกว่า “ต้องเป็นพื้นที่ไม่มีอันตราย”
ถ้าเธอไม่ไปเองหรือไม่ส่งทูตไปบอก ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุสั่งว่า “จงสร้างกุฎีให้เรา” แล้วหลีกไปและได้สั่งว่า “กุฎีนั้นสงฆ์ต้อง
แสดงพื้นที่ให้ ต้องเป็นพื้นที่ไม่มีอันตรายและต้องมีบริเวณโดยรอบ” ผู้รับคำสั่ง
สร้างกุฎีที่สงฆ์แสดงพื้นที่ให้ เป็นพื้นที่ไม่มีอันตราย เป็นพื้นที่ไม่มีบริเวณโดยรอบ
ภิกษุนั้นทราบข่าวว่า “เขาสร้างกุฎีที่สงฆ์แสดงพื้นที่ให้เรา เป็นพื้นที่ไม่มีอันตราย
เป็นพื้นที่ไม่มีบริเวณโดยรอบ” ภิกษุนั้นพึงไปเองหรือส่งทูตไปบอกว่า “ต้องมีบริเวณ
โดยรอบ”ถ้าเธอไม่ไปเองหรือไม่ส่งทูตไปบอก ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุสั่งว่า “จงสร้างกุฎีให้เรา” แล้วหลีกไปและได้สั่งว่า “กุฎีนั้นสงฆ์ต้อง
แสดงพื้นที่ให้ ต้องเป็นพื้นที่ไม่มีอันตรายและต้องมีบริเวณโดยรอบ” ผู้รับคำสั่งสร้าง
กุฎีที่สงฆ์แสดงพื้นที่ให้ เป็นพื้นที่ไม่มีอันตราย เป็นพื้นที่มีบริเวณโดยรอบ ไม่ต้อง
อาบัติ

สั่งได้ขนาด เขาสร้างเกินขนาด

[๓๕๙] ภิกษุสั่งว่า “จงสร้างกุฎีให้เรา” แล้วหลีกไปและได้สั่งว่า “กุฎีนั้น
ต้องได้ขนาด ต้องเป็นพื้นที่ไม่มีอันตรายและต้องมีบริเวณโดยรอบ” ผู้รับคำสั่งสร้าง
กุฎีให้เกินขนาด เป็นพื้นที่มีอันตราย เป็นพื้นที่ไม่มีบริเวณโดยรอบ ภิกษุนั้นทราบ
ข่าวว่า “เขาสร้างกุฎีให้เราเกินขนาด เป็นพื้นที่มีอันตราย เป็นพื้นที่ไม่มีบริเวณโดย
รอบ” ภิกษุนั้นพึงไปเองหรือส่งทูตไปบอกว่า “ต้องได้ขนาด ต้องเป็นพื้นที่ไม่มี
อันตรายและต้องมีบริเวณโดยรอบ” ฯลฯ “ต้องได้ขนาดและต้องเป็นพื้นที่ไม่มีอันตราย”


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๖. กุฎิการสิกขาบท บทภาชนีย์

ฯลฯ “ต้องได้ขนาดและต้องมีบริเวณโดยรอบ” ฯลฯ “ต้องได้ขนาด” ถ้าเธอไม่ไป
เองหรือไม่ส่งทูตไปบอก ต้องอาบัติทุกกฏ

สั่งได้ขนาด เขาสร้างได้ขนาด

ภิกษุสั่งว่า “จงสร้างกุฎีให้เรา” แล้วหลีกไป และได้สั่งว่า “กุฎีนั้นต้องได้ขนาด
ต้องเป็นพื้นที่ไม่มีอันตรายและต้องมีบริเวณโดยรอบ” ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้ได้ขนาด
เป็นพื้นที่มีอันตราย เป็นพื้นที่ไม่มีบริเวณโดยรอบ ภิกษุนั้นทราบข่าวว่า “เขาสร้าง
กุฎีให้เราได้ขนาด เป็นพื้นที่มีอันตราย เป็นพื้นที่ไม่มีบริเวณโดยรอบ” ภิกษุนั้นพึง
ไปเองหรือส่งทูตไปบอกว่า “ต้องเป็นพื้นที่ไม่มีอันตรายและต้องมีบริเวณโดยรอบ”
ฯลฯ “ต้องเป็นพื้นที่ไม่มีอันตราย” ฯลฯ “ต้องเป็นพื้นที่มีบริเวณโดยรอบ” ฯลฯ
ไม่ต้องอาบัติ

สั่งสร้างกุฎี สงฆ์แสดงพื้นที่ให้ ได้ขนาด เขาไม่สร้างตามสั่ง

[๓๖๐] ภิกษุสั่งว่า “จงสร้างกุฎีให้เรา” แล้วหลีกไปและได้สั่งว่า “กุฎีนั้น
สงฆ์ต้องแสดงพื้นที่ให้ ต้องได้ขนาด ต้องเป็นพื้นที่ไม่มีอันตรายและต้องมีบริเวณโดย
รอบ” ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีที่สงฆ์ไม่ได้แสดงพื้นที่ให้ เกินขนาด เป็นพื้นที่มีอันตราย
เป็นพื้นที่ไม่มีบริเวณโดยรอบ ภิกษุนั้นทราบข่าวว่า “เขาสร้างกุฎีที่สงฆ์ไม่ได้แสดง
พื้นที่ให้เรา เกินขนาด เป็นพื้นที่มีอันตราย เป็นพื้นที่ไม่มีบริเวณโดยรอบ” เธอ
พึงไปเองหรือส่งทูตไปบอกว่า “สงฆ์ต้องแสดงพื้นที่ให้ ต้องได้ขนาด ต้องเป็นพื้นที่
ไม่มีอันตราย และต้องมีบริเวณโดยรอบ” ฯลฯ “สงฆ์ต้องแสดงพื้นที่ให้ ต้องได้
ขนาดและต้องเป็นพื้นที่ไม่มีอันตราย” ฯลฯ “สงฆ์ต้องแสดงพื้นที่ให้ ต้องได้ขนาด
และต้องมีบริเวณโดยรอบ” ฯลฯ “สงฆ์ต้องแสดงพื้นที่ให้และต้องได้ขนาด” ถ้าเธอ
ไม่ไปเองหรือไม่ส่งทูตไปบอก ต้องอาบัติทุกกฏ

สั่งสร้างกุฎี สงฆ์แสดงพื้นที่ให้ ได้ขนาด เขาสร้างตามสั่ง

ภิกษุสั่งว่า “จงสร้างกุฎีให้เรา” แล้วหลีกไป และได้สั่งว่า “กุฎีนั้นสงฆ์ต้อง
แสดงพื้นที่ให้ ต้องได้ขนาด ต้องเป็นพื้นที่ไม่มีอันตรายและต้องมีบริเวณโดยรอบ” ผู้


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๖. กุฎิการสิกขาบท บทภาชนีย์

รับคำสั่งสร้างกุฎีที่สงฆ์แสดงพื้นที่ให้ได้ขนาด เป็นพื้นที่มีอันตราย เป็นพื้นที่ไม่มี
บริเวณโดยรอบ ภิกษุนั้นทราบข่าวว่า “เขาสร้างกุฎีที่สงฆ์แสดงพื้นที่ให้เราได้ขนาด
เป็นพื้นที่มีอันตราย เป็นพื้นที่ไม่มีบริเวณโดยรอบ” เธอพึงไปเองหรือส่งทูตไปบอกว่า
“ต้องเป็นพื้นที่ไม่มีอันตรายและต้องมีบริเวณโดยรอบ” ฯลฯ “ต้องเป็นพื้นที่ไม่มี
อันตราย” ฯลฯ “ต้องเป็นพื้นที่มีบริเวณโดยรอบ” ฯลฯ ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุสั่งว่า “จงสร้างกุฎีให้เรา” แล้วหลีกไป แต่ได้สั่งว่า “กุฎีนั้นสงฆ์ต้อง
แสดงพื้นที่ให้ ต้องเป็นพื้นที่ไม่มีอันตรายและต้องมีบริเวณโดยรอบ” ผู้รับคำสั่งสร้าง
กุฎีที่สงฆ์ไม่ได้แสดงพื้นที่ให้ เป็นพื้นที่มีอันตราย เป็นพื้นที่ไม่มีบริเวณโดยรอบ
ภิกษุผู้สร้างต้องอาบัติทุกกฏ ๓ ตัว ฯลฯ เป็นพื้นที่มีอันตราย เป็นพื้นที่มีบริเวณ
โดยรอบ ภิกษุผู้สร้างต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว ฯลฯ เป็นพื้นที่ไม่มีอันตราย เป็น
พื้นที่ไม่มีบริเวณโดยรอบ ภิกษุผู้สร้างต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว ฯลฯ เป็นพื้นที่ไม่มี
อันตราย เป็นพื้นที่มีบริเวณโดยรอบ ภิกษุผู้สร้างต้องอาบัติทุกกฏ

สร้างผิดคำสั่ง สงฆ์แสดงพื้นที่ให้

ภิกษุสั่งว่า “จงสร้างกุฎีให้เรา” แล้วหลีกไปแต่ได้สั่งว่า “กุฎีนั้นสงฆ์ต้อง
แสดงพื้นที่ให้ ต้องเป็นพื้นที่ไม่มีอันตรายและต้องมีบริเวณโดยรอบ” ผู้รับคำสั่ง
สร้างกุฎีที่สงฆ์แสดงพื้นที่ให้ เป็นพื้นที่มีอันตราย เป็นพื้นที่ไม่มีบริเวณโดยรอบ
ภิกษุผู้สร้างต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว ฯลฯ เป็นพื้นที่มีอันตราย เป็นพื้นที่มีบริเวณ
โดยรอบ ภิกษุผู้สร้างต้องอาบัติทุกกฏ ฯลฯ เป็นพื้นที่ไม่มีอันตราย เป็นพื้นที่ไม่มี
บริเวณโดยรอบ ภิกษุผู้สร้างต้องอาบัติทุกกฏ ฯลฯ เป็นพื้นที่ไม่มีอันตราย เป็นพื้นที่
มีบริเวณโดยรอบ ไม่ต้องอาบัติ

สร้างผิดคำสั่ง สร้างเกินขนาด

ภิกษุสั่งว่า “จงสร้างกฎีให้เรา” แล้วหลีกไปแต่ได้สั่งว่า “กุฎีนั้นต้องได้ขนาด
ต้องเป็นพื้นที่ไม่มีอันตรายและต้องมีบริเวณโดยรอบ” ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้เกินขนาด
เป็นพื้นที่มีอันตราย เป็นพื้นที่ไม่มีบริเวณโดยรอบ ภิกษุผู้สร้างต้องอาบัติทุกกฏ ๓
ตัว ฯลฯ เป็นพื้นที่มีอันตราย เป็นพื้นที่มีบริเวณโดยรอบ ภิกษุผู้สร้างต้องอาบัติ


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๖. กุฎิการสิกขาบท บทภาชนีย์

ทุกกฏ ๒ ตัว ฯลฯ เป็นพื้นที่ไม่มีอันตราย เป็นพื้นที่ไม่มีบริเวณโดยรอบ ภิกษุผู้
สร้างต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว ฯลฯ เป็นพื้นที่ไม่มีอันตราย เป็นพื้นที่มีบริเวณโดยรอบ
ภิกษุผู้สร้างต้องอาบัติทุกกฏ

สร้างผิดคำสั่ง สร้างได้ขนาด

ภิกษุสั่งว่า “จงสร้างกุฎีให้เรา” แล้วหลีกไปและได้สั่งว่า “กุฎีนั้นต้องได้ขนาด
ต้องเป็นพื้นที่ไม่มีอันตรายและต้องมีบริเวณโดยรอบ” ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้ได้ขนาด
เป็นพื้นที่มีอันตราย เป็นพื้นที่ไม่มีบริเวณโดยรอบ ภิกษุผู้สร้างต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
ฯลฯ เป็นพื้นที่มีอันตราย เป็นพื้นที่มีบริเวณโดยรอบ ภิกษุผู้สร้างต้องอาบัติทุกกฏ
ฯลฯ เป็นพื้นที่ไม่มีอันตราย เป็นพื้นที่ไม่มีบริเวณโดยรอบ ภิกษุผู้สร้างต้องอาบัติ
ทุกกฏ ฯลฯ เป็นพื้นที่ไม่มีอันตราย เป็นพื้นที่มีบริเวณโดยรอบ ไม่ต้องอาบัติ

สร้างผิดคำสั่ง สงฆ์ไม่ได้แสดงพื้นที่ให้ สร้างเกินขนาด

ภิกษุสั่งว่า “จงสร้างกุฎีให้เรา” แล้วหลีกไปและได้สั่งว่า “กุฎีนั้นสงฆ์ต้อง
แสดงพื้นที่ให้ต้องได้ขนาด ต้องเป็นพื้นที่ไม่มีอันตรายและต้องมีบริเวณโดยรอบ” ผู้
รับคำสั่งสร้างกุฎีที่สงฆ์ไม่ได้แสดงพื้นที่ให้เกินขนาด เป็นพื้นที่มีอันตราย เป็นพื้นที่
ไม่มีบริเวณโดยรอบ ภิกษุผู้สร้าง ต้องอาบัติทุกกฏ ๔ ตัว ฯลฯ เป็นพื้นที่มีอันตราย
เป็นพื้นที่มีบริเวณโดยรอบ ภิกษุผู้สร้างต้องอาบัติทุกกฏ ๓ ตัว ฯลฯ เป็นพื้นที่ไม่มี
อันตราย เป็นพื้นที่ไม่มีบริเวณโดยรอบ ภิกษุผู้สร้างต้องอาบัติทุกกฏ ๓ ตัว ฯลฯ
เป็นพื้นที่ไม่มีอันตรายเป็นพื้นที่มีบริเวณโดยรอบ ภิกษุผู้สร้างต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว

สร้างผิดคำสั่ง สงฆ์แสดงพื้นที่ให้ สร้างได้ขนาด

ภิกษุสั่งว่า “จงสร้างกุฎีให้เรา” แล้วหลีกไปและได้สั่งว่า “กุฎีนั้นสงฆ์ต้อง
แสดงพื้นที่ให้ต้องได้ขนาด ต้องเป็นพื้นที่ไม่มีอันตรายและต้องมีบริเวณโดยรอบ” ผู้
รับคำสั่งสร้างกุฎีที่สงฆ์แสดงพื้นที่ให้ได้ขนาด เป็นพื้นที่มีอันตราย เป็นพื้นที่ไม่มี
บริเวณโดยรอบ ภิกษุผู้สร้างต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว ฯลฯ เป็นพื้นที่มีอันตราย
เป็นพื้นที่มีบริเวณโดยรอบ ภิกษุผู้สร้างต้องอาบัติทุกกฏ ฯลฯ เป็นพื้นที่ไม่มีอันตราย


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๖. กุฎิการสิกขาบท บทภาชนีย์

เป็นพื้นที่ไม่มีบริเวณโดยรอบ ภิกษุผู้สร้างต้องอาบัติทุกกฏ ฯลฯ เป็นพื้นที่ไม่มี
อันตราย เป็นพื้นที่มีบริเวณโดยรอบ ไม่ต้องอาบัติ

สงฆ์ไม่ได้แสดงพื้นที่ให้ สร้างค้าง

[๓๖๑] ภิกษุสั่งว่า “จงสร้างกุฎีให้เรา” แล้วหลีกไป ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีที่
สงฆ์ไม่ได้แสดงพื้นที่ให้ เป็นพื้นที่มีอันตราย เป็นพื้นที่ไม่มีบริเวณโดยรอบ ถ้าเขา
สร้างค้างไว้ ภิกษุนั้นกลับมา พึงให้กุฎีนั้นแก่ภิกษุอื่น หรือรื้อสร้างใหม่ ถ้าไม่ให้แก่
ภิกษุอื่นหรือไม่รื้อสร้างใหม่ ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว กับอาบัติสังฆาทิเสส ๑ ตัว
ภิกษุสั่งว่า “จงสร้างกุฎีให้เรา” แล้วหลีกไป ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีที่สงฆ์ไม่ได้
แสดงพื้นที่ให้ เป็นพื้นที่มีอันตราย เป็นพื้นที่มีบริเวณโดยรอบ ถ้าเขาสร้างค้างไว้
ภิกษุนั้นกลับมา พึงให้กุฎีนั้นแก่ภิกษุอื่นหรือรื้อสร้างใหม่ ถ้าไม่ให้แก่ภิกษุอื่น หรือ
ไม่รื้อสร้างใหม่ ต้องอาบัติทุกกฏกับอาบัติสังฆาทิเสส ฯลฯ เป็นพื้นที่ไม่มีอันตราย
เป็นพื้นที่ไม่มีบริเวณโดยรอบ ฯลฯ ต้องอาบัติทุกกฏกับอาบัติสังฆาทิเสส ฯลฯ เป็น
พื้นที่ไม่มีอันตราย เป็นพื้นที่มีบริเวณโดยรอบ ฯลฯ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

สงฆ์ไม่ได้แสดงพื้นที่ให้ สร้างค้าง

ภิกษุสั่งว่า “จงสร้างกุฎีให้เรา” แล้วหลีกไป ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีที่สงฆ์แสดง
พื้นที่ให้ เป็นพื้นที่มีอันตราย เป็นพื้นที่ไม่มีบริเวณโดยรอบ ถ้าเขาสร้างค้างไว้ ภิกษุ
นั้นกลับมา พึงให้กุฎีนั้นแก่ภิกษุอื่นหรือรื้อสร้างใหม่ ถ้าไม่ให้ภิกษุอื่นหรือไม่รื้อสร้าง
ใหม่ ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว ฯลฯ เป็นพื้นที่มีอันตราย เป็นพื้นที่มีบริเวณโดยรอบ
ต้องอาบัติทุกกฏ ฯลฯ เป็นพื้นที่ไม่มีอันตราย เป็นพื้นที่ไม่มีบริเวณโดยรอบ ต้อง
อาบัติทุกกฏ ฯลฯ เป็นพื้นที่ไม่มีอันตราย เป็นพื้นที่มีบริเวณโดยรอบ ไม่ต้องอาบัติ

สร้างเกินขนาด สร้างค้าง

[๓๖๒] ภิกษุสั่งว่า “จงสร้างกุฎีให้เรา” แล้วหลีกไป ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้
เกินขนาด เป็นพื้นที่มีอันตราย เป็นพื้นที่ไม่มีบริเวณโดยรอบ ถ้าเขาสร้างค้างไว้
ภิกษุนั้นกลับมา พึงให้กุฎีนั้นแก่ภิกษุอื่นหรือรื้อสร้างใหม่ ถ้าไม่ให้ภิกษุอื่นหรือไม่รื้อ


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๖. กุฎิการสิกขาบท บทภาชนีย์

สร้างใหม่ ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัวกับอาบัติสังฆาทิเสส ๑ ตัว ฯลฯ เป็นพื้นที่มี
อันตราย เป็นพื้นที่มีบริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติทุกกฎกับอาบัติสังฆาทิเสส ฯลฯ
เป็นพื้นที่ไม่มีอันตราย เป็นพื้นที่ไม่มีบริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติทุกกฏกับอาบัติ
สังฆาทิเสส ฯลฯ เป็นพื้นที่มีอันตราย เป็นพื้นที่ไม่มีบริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติ
ทุกกฏ ๒ ตัว กับอาบัติสังฆาทิเสส ๑ ตัว ฯลฯ เป็นพื้นที่ไม่มีอันตราย เป็นพื้นที่มี
บริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

สร้างได้ขนาด สร้างค้าง

ภิกษุสั่งว่า “จงสร้างกุฎีให้เรา” แล้วหลีกไป ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้ได้ขนาด
เป็นพื้นที่มีอันตราย เป็นพื้นที่ไม่มีบริเวณโดยรอบ ถ้าเขาสร้างค้างไว้ ภิกษุนั้นกลับมา
พึงให้กุฎีนั้นแก่ภิกษุอื่นหรือรื้อสร้างใหม่ ถ้าไม่ให้ภิกษุอื่นหรือไม่รื้อสร้างใหม่ ต้อง
อาบัติทุกกฏ ๒ ตัว ฯลฯ เป็นพื้นที่มีอันตราย เป็นพื้นที่มีบริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติ
ทุกกฏ ฯลฯ เป็นพื้นที่ไม่มีอันตราย เป็นพื้นที่ไม่มีบริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ
ฯลฯ เป็นพื้นที่ไม่มีอันตราย เป็นพื้นที่มีบริเวณโดยรอบ ไม่ต้องอาบัติ

สงฆ์ไม่ได้แสดงพื้นที่ให้ สร้างเกินขนาด สร้างค้าง

ภิกษุสั่งว่า “จงสร้างกุฎีให้เรา” แล้วหลีกไป ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีที่สงฆ์ไม่ได้
แสดงพื้นที่ให้ เกินขนาด เป็นพื้นที่มีอันตราย เป็นพื้นที่ไม่มีบริเวณโดยรอบ ถ้า
เขาค้างไว้ ภิกษุนั้นกลับมา พึงให้กุฎีนั้นแก่ภิกษุอื่นหรือรื้อสร้างใหม่ ถ้าไม่ให้ภิกษุ
อื่นหรือไม่รื้อสร้างใหม่ ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัวกับอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว ฯลฯ
เป็นพื้นที่มีอันตราย เป็นพื้นที่มีบริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ ตัวกับอาบัติ
สังฆาทิเสส ๒ ตัว ฯลฯ เป็นพื้นที่ไม่มีอันตราย เป็นพื้นที่ไม่มีบริเวณโดยรอบ ต้อง
อาบัติทุกกฏ ๑ ตัวกับอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว ฯลฯ เป็นพื้นที่ไม่มีอันตราย เป็น
พื้นที่มีบริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว

สงฆ์แสดงพื้นที่ให้ สร้างได้ขนาด สร้างค้าง

ภิกษุสั่งว่า “จงสร้างกุฎีให้เรา” แล้วหลีกไป ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีที่สงฆ์แสดง
พื้นที่ให้ ได้ขนาด เป็นพื้นที่มีอันตราย เป็นพื้นที่ไม่มีบริเวณโดยรอบ ถ้าเขาสร้าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๔๐๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๖. กุฎิการสิกขาบท อนาปัตติวาร

ค้างไว้ ภิกษุนั้นกลับมา พึงให้กุฎีนั้นแก่ภิกษุอื่นหรือรื้อสร้างใหม่ ถ้าไม่ให้ภิกษุอื่น
หรือไม่รื้อสร้างใหม่ ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว ฯลฯ เป็นพื้นที่มีอันตราย เป็นพื้นที่มี
บริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ ฯลฯ เป็นพื้นที่ไม่มีอันตราย เป็นพื้นที่ไม่มี
บริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุสั่งว่า “จงสร้างกุฎีให้เรา” แล้วหลีกไป ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีที่สงฆ์แสดง
พื้นที่ให้ ได้ขนาด เป็นพื้นที่ไม่มีอันตราย เป็นพื้นที่มีบริเวณโดยรอบ ไม่ต้องอาบัติ

สร้างค้าง สร้างต่อ

[๓๖๓] กุฎีตนสร้างค้างไว้ ภิกษุสร้างต่อจนสำเร็จด้วยตนเอง ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส
กุฎีตนสร้างค้างไว้ ภิกษุใช้ผู้อื่นสร้างต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
กุฎีผู้อื่นสร้างค้างไว้ ภิกษุสร้างต่อจนสำเร็จด้วยตนเอง ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
กุฎีผู้อื่นสร้างค้างไว้ ภิกษุใช้ผู้อื่นสร้างต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

อนาปัตติวาร

ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๓๖๔] ๑. ภิกษุสร้างเงื้อมผามีประตู
๒. ภิกษุตบแต่งถ้ำ
๓. ภิกษุสร้างกุฎีหญ้า
๔. ภิกษุสร้างกุฎีเพื่อภิกษุอื่น
๕. ภิกษุสร้างอาคารนอกจากนั้น ยกเว้นอาคารที่พักของตน
๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

กุฏิการสิกขาบทที่ ๖ จบ


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๗. วิหารการสิกขาบท นิทานวัตถุ

๗. วิหารการสิกขาบท
ว่าด้วยการสร้างวิหาร
เรื่องพระฉันนะ

[๓๖๕] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม เขต
กรุงโกสัมพี ครั้งนั้น เศรษฐีผู้อุปัฏฐากท่านพระฉันนะ บอกท่านพระฉันนะว่า “ท่านผู้
เจริญ ท่านโปรดตรวจดูสถานที่สร้างวิหาร ข้าพเจ้าจักให้สร้างวิหารถวาย”
ต่อมา ท่านพระฉันนะให้แผ้วถางสถานที่สร้างวิหาร ใช้คนตัดต้นไม้รุกขเจดีย์
ต้นหนึ่งที่ชาวบ้านชาวนิคม ชาวเมือง ชาวชนบท ชาวแว่นแคว้นเคารพบูชา พวกชาว
บ้านจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรจึงใช้คนตัด
ต้นไม้รุกขเจดีย์ที่ชาวบ้าน ชาวนิคม ชาวเมือง ชาวชนบท ชาวแว่นแคว้นเคารพบูชาเล่า
พระสมณะเชื้อสายศากยบุตร เบียดเบียนต้นไม้ซึ่งมีอินทรีย์เดียว”
ภิกษุทั้งหลายได้ยินชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มัก
น้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน ท่านพระฉันนะจึงใช้คนตัดต้น
ไม้รุกขเจดีย์ที่ชาวบ้าน ฯลฯ ชาวแว่นแคว้นเคารพบูชาเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิ
ท่านพระฉันนะโดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ
ทรงสอบถามท่านพระฉันนะว่า “ฉันนะ ทราบว่า เธอใช้คนตัดต้นไม้รุกขเจดีย์ที่
ชาวบ้าน ชาวนิคม ชาวเมือง ชาวชนบท ชาวแว่นแคว้นเคารพบูชาจริงหรือ”
ท่านพระฉันนะทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิ
ว่า “โมฆบุรุษไฉนเธอจึงใช้คนตัดต้นไม้รุกขเจดีย์ที่ชาวบ้าน ชาวนิคม ชาวเมือง
ชาวชนบท ชาวแว่นแคว้นเคารพบูชาเล่า โมฆบุรุษ เพราะพวกชาวบ้านมีความ
สำคัญว่า ‘ต้นไม้มีชีวะ’ โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้
เลื่อมใส ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง ดังนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๔๐๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๗. วิหารการสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

พระบัญญัติ

[๓๖๖] ก็ ภิกษุจะสร้างวิหารใหญ่ ที่มีเจ้าของสร้างถวาย สร้างเป็นของ
ส่วนตัว ต้องพาภิกษุทั้งหลายไปแสดงพื้นที่ให้ ภิกษุเหล่านั้นพึงแสดงพื้นที่ให้
เป็นพื้นที่ไม่มีอันตราย เป็นพื้นที่มีบริเวณโดยรอบ ถ้าภิกษุให้สร้างวิหารใหญ่
เป็นพื้นที่มีอันตราย เป็นพื้นที่ไม่มีบริเวณโดยรอบ หรือไม่พาภิกษุทั้งหลายไป
แสดงพื้นที่ให้ เป็นสังฆาทิเสส

เรื่องพระฉันนะ จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๓๖๗] วิหารที่ชื่อว่า ใหญ่ ได้แก่ วิหารมีเจ้าของสร้างถวาย
ชื่อว่า วิหาร ได้แก่ ที่อยู่ซึ่งโบกฉาบภายในหรือภายนอกหรือโบกฉาบทั้ง
ภายในภายนอก
คำว่า สร้าง คือ สร้างเองหรือใช้คนอื่นสร้าง
คำว่า ที่มีเจ้าของสร้างถวาย คือ ที่มีหญิงหรือชาย คฤหัสถ์หรือบรรพชิต
เป็นเจ้าของสร้างถวาย
คำว่า สร้างเป็นของส่วนตัว คือ เพื่อประโยชน์ตน
คำว่า ต้องพาภิกษุทั้งหลายไปแสดงพื้นที่ให้ อธิบายว่า ภิกษุผู้จะสร้าง
วิหารนั้น พึงให้แผ้วถางพื้นที่สร้างวิหารแล้วเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าเฉวียงบ่า กราบเท้า
ภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ กระผม
ต้องการจะสร้างวิหารใหญ่ มีเจ้าของสร้างถวาย สร้างเป็นของส่วนตัว กระผมขอ
ให้สงฆ์ตรวจดูพื้นที่สร้างวิหาร ขอรับ” พึงกล่าวขอภิกษุทั้งหลายดังนี้เป็นครั้งที่ ๒
พึงกล่าวขอภิกษุทั้งหลายดังนี้เป็นที่ ๓ ถ้าสงฆ์ทั้งปวงสามารถไปตรวจดูพื้นที่สร้าง
วิหารได้ ก็ต้องไปตรวจดูด้วยกันทุกรูป ถ้าสงฆ์ทั้งปวงไม่สามารถจะไปตรวจดูพื้นที่
สร้างวิหารได้หมดทุกรูป ก็ต้องขอพวกภิกษุที่ฉลาดสามารถรู้จักพื้นที่ ว่าเป็นพื้นที่มี
อันตราย เป็นพื้นที่ไม่มีอันตราย เป็นพื้นที่มีบริเวณโดยรอบ เป็นพื้นที่ไม่มีบริเวณโดยรอบ
แล้วแต่งตั้ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๔๐๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๗. วิหารการสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

วิธีแต่งตั้ง และกรรมวาจาแต่งตั้ง

ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงแต่งตั้งอย่างนี้ คือ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้
สงฆ์ทราบว่า
[๓๖๘] ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้ต้องการจะสร้างวิหาร
ใหญ่ที่มีเจ้าของสร้างถวาย สร้างเป็นของส่วนตัว ภิกษุนั้นขอให้สงฆ์ตรวจดูพื้นที่
สร้างวิหาร ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว พึงแต่งตั้งภิกษุชื่อนี้และชื่อนี้ ให้ตรวจดูที่สร้าง
วิหารให้แก่ภิกษุชื่อนี้ นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้ต้องการจะสร้างวิหารใหญ่ ที่มี
เจ้าของสร้างถวาย สร้างเป็นของส่วนตัว ภิกษุนั้นขอให้สงฆ์ตรวจดูพื้นที่สร้างวิหาร
สงฆ์แต่งตั้งภิกษุชื่อนี้และชื่อนี้ ให้ตรวจดูพื้นที่สร้างวิหารให้แก่ภิกษุชื่อนี้ ท่านรูปใด
เห็นด้วยกับการแต่งตั้งภิกษุชื่อนี้และชื่อนี้ ให้ตรวจดูพื้นที่สร้างวิหารให้แก่ภิกษุชื่อนี้
ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
ภิกษุชื่อนี้และชื่อนี้สงฆ์แต่งตั้งให้เป็นผู้ตรวจดูพื้นที่สร้างวิหารให้แก่ภิกษุชื่อนี้
สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้

วิธีขอสงฆ์แสดงพื้นที่สร้างวิหาร

[๓๖๙] ภิกษุทั้งหลายที่ได้รับแต่งตั้งเหล่านั้น ต้องไปที่นั้นแล้วพึงตรวจดู
พื้นที่สร้างวิหาร ให้รู้ว่า เป็นพื้นที่มีอันตราย เป็นพื้นที่ไม่มีอันตราย เป็นพื้นที่มี
บริเวณโดยรอบ เป็นพื้นที่ไม่มีบริเวณโดยรอบ ถ้าเป็นพื้นที่มีอันตรายทั้งไม่มีบริเวณ
โดยรอบ พึงบอกภิกษุรูปนั้นว่า “อย่าสร้างในที่นี้” ถ้าเป็นพื้นที่ไม่มีอันตรายทั้งมี
บริเวณโดยรอบ พึงบอกสงฆ์ว่า “เป็นพื้นที่ไม่มีอันตรายทั้งมีบริเวณโดยรอบ”
ภิกษุผู้จะสร้างวิหารนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าเฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษา
กว่า นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมต้องการสร้าง
วิหารใหญ่ ที่มีเจ้าของสร้างถวาย สร้างเป็นของส่วนตัว กระผมขอให้สงฆ์แสดงพื้นที่
สร้างวิหาร” พึงกล่าวขอภิกษุทั้งหลายดังนี้เป็นครั้งที่ ๒ พึงกล่าวขอภิกษุทั้งหลาย
ดังนี้เป็นครั้งที่ ๓


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๗. วิหารการสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

กรรมวาจาขอให้สงฆ์แสดงพื้นที่สร้างวิหาร

ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบ ดังนี้
[๓๗๐] ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้ต้องการจะสร้างวิหาร
ใหญ่ที่มีเจ้าของสร้างถวาย สร้างเป็นของส่วนตัว ภิกษุนั้นขอให้สงฆ์แสดงพื้นที่สร้าง
วิหาร ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว พึงไปแสดงพื้นที่สร้างวิหารให้แก่ภิกษุชื่อนี้ นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้ต้องการจะสร้างวิหารใหญ่ที่มี
เจ้าของสร้างถวาย สร้างเป็นของส่วนตัว ภิกษุนั้นขอให้สงฆ์แสดงพื้นที่สร้างวิหาร
สงฆ์แสดงพื้นที่สร้างวิหารให้แก่ภิกษุชื่อนี้ ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการแสดงพื้นที่
สร้างวิหารให้แก่ภิกษุชื่อนี้ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
พื้นที่สร้างวิหารสงฆ์แสดงให้แก่ภิกษุชื่อนี้แล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้น
จึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
[๓๗๑] ที่ชื่อว่า เป็นพื้นที่มีอันตราย คือ เป็นที่อยู่ของมด เป็นที่อยู่ของ
ปลวก เป็นที่อยู่ของหนู เป็นที่อยู่ของงู เป็นที่อยู่ของแมลงป่อง เป็นที่อยู่ของตะขาบ
เป็นที่อยู่ของช้าง เป็นที่อยู่ของม้า เป็นที่อยู่ของราชสีห์ เป็นที่อยู่ของเสือโคร่ง เป็นที่
อยู่ของเสือเหลือง เป็นที่อยู่ของหมี เป็นที่อยู่ของสุนัขป่า หรือเป็นที่อยู่ของสัตว์
ดิรัจฉานบางเหล่า อยู่ใกล้นา อยู่ใกล้สวน อยู่ใกล้ตะแลงแกง อยู่ใกล้ที่ทรมาน
นักโทษ อยู่ใกล้สุสาน อยู่ใกล้อุทยาน อยู่ใกล้ที่หลวง อยู่ใกล้โรงช้าง อยู่ใกล้โรงม้า
อยู่ใกล้เรือนจำ อยู่ใกล้โรงสุรา อยู่ใกล้ร้านขายเนื้อ อยู่ใกล้ถนน อยู่ใกล้ทางสี่แยก
อยู่ใกล้ที่ประชุม หรืออยู่ใกล้ทางเดิน นี่ชื่อว่า พื้นที่มีอันตราย
ที่ชื่อว่า เป็นพื้นที่ไม่มีบริเวณโดยรอบ คือ เกวียนที่เขาเทียมวัวตามปกติไม่
สามารถวนไปได้ บันไดไม่สามารถจะทอดเวียนไปได้โดยรอบ นี้ชื่อว่า พื้นที่ไม่มี
บริเวณโดยรอบ
ที่ชื่อว่า เป็นพื้นที่ไม่มีอันตราย คือ ไม่ใช่ที่อยู่ของมด ฯลฯ ไม่ใกล้ทางเดิน
นี่ชื่อว่า พื้นที่ไม่มีอันตราย


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๗. วิหารการสิกขาบท บทภาชนีย์

ที่ชื่อว่า เป็นพื้นที่มีบริเวณโดยรอบ คือ เกวียนที่เขาเทียมวัวตามปกติ
สามารถวนไปได้ บันไดสามารถทอดเวียนไปได้โดยรอบ นี่ชื่อว่า พื้นที่มีบริเวณโดยรอบ
วิหารที่ชื่อว่า ใหญ่ คือ วิหารที่มีเจ้าของ
ที่ชื่อว่า วิหาร ได้แก่ ที่อยู่ซึ่งโบกฉาบเฉพาะภายในหรือภายนอก หรือโบก
ฉาบทั้งภายในภายนอก
คำว่า สร้าง คือ สร้างเองหรือใช้คนอื่นสร้าง
คำว่า ไม่พาภิกษุทั้งหลายไปแสดงพื้นที่ให้ คือ ไม่ขอให้สงฆ์แสดงพื้นที่
สร้างวิหารด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาก่อน สร้างเองหรือใช้คนอื่นสร้าง ต้องอาบัติ
ทุกกฏ เพราะความพยายามแต่ละครั้ง ยังเหลืออิฐอีกก้อนหนึ่งจึงจะเสร็จ ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย อิฐก้อนสุดท้ายเสร็จแล้ว ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
คำว่า เป็นสังฆาทิเสส ความว่า สำหรับอาบัตินั้น สงฆ์เท่านั้นให้ปริวาส ฯลฯ
เพราะเหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า “เป็นสังฆาทิเสส”

บทภาชนีย์
สงฆ์ไม่ได้แสดงพื้นที่ให้

[๓๗๒] ภิกษุสร้างวิหารที่สงฆ์ไม่ได้แสดงพื้นที่ให้ เป็นพื้นที่มีอันตราย
เป็นพื้นที่ไม่มีบริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัวกับอาบัติสังฆาทิเสส ๑ ตัว
ภิกษุสร้างวิหารที่สงฆ์ไม่ได้แสดงพื้นที่ให้ เป็นพื้นที่มีอันตราย เป็นพื้นที่มี
บริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติทุกกฏกับอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุสร้างวิหารที่สงฆ์ไม่ได้แสดงพื้นที่ให้ เป็นพื้นที่ไม่มีอันตราย เป็นพื้นที่
ไม่มีบริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติทุกกฏกับอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุสร้างวิหารที่สงฆ์ไม่ได้แสดงพื้นที่ให้ เป็นพื้นที่ไม่มีอันตราย เป็นพื้นที่มี
บริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๗. วิหารการสิกขาบท บทภาชนีย์

สงฆ์แสดงพื้นที่ให้

ภิกษุสร้างวิหารที่สงฆ์แสดงพื้นที่ให้ เป็นพื้นที่มีอันตราย เป็นพื้นที่ไม่มี
บริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
ภิกษุสร้างวิหารที่สงฆ์แสดงพื้นที่ให้ เป็นพื้นที่มีอันตราย เป็นพื้นที่มีบริเวณ
โดยรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุสร้างวิหารที่สงฆ์แสดงพื้นที่ให้ เป็นพื้นที่ไม่มีอันตราย เป็นพื้นที่ไม่มี
บริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุสร้างวิหารที่สงฆ์แสดงพื้นที่ให้ เป็นพื้นที่ไม่มีอันตราย เป็นพื้นที่มี
บริเวณโดยรอบ ไม่ต้องอาบัติ

สั่งสร้างวิหาร สงฆ์ไม่ได้แสดงพื้นที่ให้

[๓๗๓] ภิกษุสั่งว่า “จงสร้างวิหารให้เรา” ผู้รับคำสั่งสร้างวิหารที่สงฆ์ไม่ได้
แสดงพื้นที่ให้ เป็นพื้นที่มีอันตราย เป็นพื้นที่ไม่มีบริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ ๒
ตัวกับอาบัติสังฆาทิเสส ๑ ตัว ฯลฯ เป็นพื้นที่มีอันตราย เป็นพื้นที่มีบริเวณโดยรอบ
ต้องอาบัติทุกกฏกับอาบัติสังฆาทิเสส ฯลฯ เป็นพื้นที่ไม่มีอันตราย เป็นพื้นที่ไม่มี
บริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติทุกกฏกับอาบัติสังฆาทิเสส ฯลฯ เป็นพื้นที่ไม่มีอันตราย
เป็นพื้นที่มีบริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

สั่งสร้างวิหาร สงฆ์แสดงพื้นที่ให้

ภิกษุสั่งว่า “จงสร้างวิหารให้เรา” ผู้รับคำสั่งสร้างวิหารที่สงฆ์แสดงพื้นที่ให้
เป็นพื้นที่มีอันตราย เป็นพื้นที่ไม่มีบริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว ฯลฯ
เป็นพื้นที่มีอันตราย เป็นพื้นที่มีบริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ ฯลฯ เป็นพื้นที่ไม่
มีอันตราย เป็นพื้นที่ไม่มีบริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ ฯลฯ เป็นพื้นที่ไม่มีอันตราย
เป็นพื้นที่มีบริเวณโดยรอบ ไม่ต้องอาบัติ


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๗. วิหารการสิกขาบท บทภาชนีย์

หลีกไป ไม่ได้สั่ง สงฆ์ไม่ได้แสดงพื้นที่ให้

[๓๗๔] ภิกษุสั่งว่า “จงสร้างวิหารให้เรา” แล้วหลีกไป แต่ไม่ได้สั่งว่า
“วิหารนั้น สงฆ์ต้องแสดงพื้นที่ให้ ต้องเป็นพื้นที่ไม่มีอันตรายและต้องมีบริเวณโดย
รอบ” ผู้รับคำสั่งสร้างวิหารที่สงฆ์ไม่ได้แสดงพื้นที่ให้ เป็นพื้นที่มีอันตราย เป็นพื้นที่
ไม่มีบริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัวกับอาบัติสังฆาทิเสส ๑ ตัว ฯลฯ เป็น
พื้นที่มีอันตราย เป็นพื้นที่มีบริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติทุกกฏกับอาบัติสังฆาทิเสส
ฯลฯ เป็นพื้นที่ไม่มีอันตราย เป็นพื้นที่ไม่มีบริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติทุกกฏกับ
อาบัติสังฆาทิเสส ฯลฯ เป็นพื้นที่ไม่มีอันตราย เป็นพื้นที่มีบริเวณโดยรอบ ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสส

หลีกไป ไม่ได้สั่ง สงฆ์แสดงพื้นที่ให้

ภิกษุสั่งว่า “จงสร้างวิหารให้เรา” แล้วหลีกไปแต่ไม่ได้สั่งไว้ว่า “วิหารนั้นสงฆ์
ต้องแสดงพื้นที่ให้ ต้องเป็นพื้นที่ไม่มีอันตรายและต้องมีบริเวณโดยรอบ” ผู้รับคำสั่ง
สร้างวิหารที่สงฆ์แสดงพื้นที่ให้ เป็นพื้นที่มีอันตราย เป็นพื้นที่ไม่มีบริเวณโดยรอบ
ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว ฯลฯ เป็นพื้นที่มีอันตราย เป็นพื้นที่มีบริเวณโดยรอบ ต้อง
อาบัติทุกกฏ ฯลฯ เป็นพื้นที่ไม่มีอันตราย เป็นพื้นที่ไม่มีบริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติ
ทุกกฏ ฯลฯ เป็นพื้นที่ไม่มีอันตราย เป็นพื้นที่มีบริเวณโดยรอบ ไม่ต้องอาบัติ

สร้างผิดคำสั่ง สงฆ์ไม่ได้แสดงพื้นที่ให้

[๓๗๕] ภิกษุสั่งว่า “จงสร้างวิหารให้เรา” แล้วหลีกไป แต่ได้สั่งว่า “วิหาร
นั้นสงฆ์ต้องแสดงพื้นที่ให้ ต้องเป็นพื้นที่ไม่มีอันตรายและต้องมีบริเวณโดยรอบ”
ผู้รับคำสั่งสร้างวิหารที่สงฆ์ไม่ได้แสดงพื้นที่ให้ เป็นพื้นที่มีอันตราย เป็นพื้นที่ไม่มี
บริเวณโดยรอบ ภิกษุนั้นทราบข่าวว่า “เขาสร้างวิหารที่สงฆ์ไม่ได้แสดงพื้นที่ให้เรา
เป็นพื้นที่มีอันตราย เป็นพื้นที่ไม่มีบริเวณโดยรอบ” ภิกษุนั้นพึงไปเองหรือส่งทูตไป
บอกว่า “วิหารนั้นสงฆ์ต้องแสดงพื้นที่ให้ ต้องเป็นพื้นที่ไม่มีอันตรายและต้องมี
บริเวณโดยรอบ” ถ้าไม่ไปเองหรือไม่ส่งทูตไปบอก ต้องอาบัติทุกกฏ ฯลฯ วิหารนั้น
สงฆ์ต้องแสดงพื้นที่ให้และต้องเป็นพื้นที่ไม่มีอันตราย ฯลฯ วิหารนั้นสงฆ์ต้องแสดง


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๗. วิหารการสิกขาบท บทภาชนีย์

พื้นที่ให้และต้องมีบริเวณโดยรอบ ฯลฯ วิหารนั้นสงฆ์ต้องแสดงพื้นที่ให้ หากไม่ไป
เองหรือไม่ส่งทูตไปบอก ต้องอาบัติทุกกฏ

สร้างผิดคำสั่ง สงฆ์แสดงพื้นที่ให้

ภิกษุสั่งว่า “จงสร้างวิหารให้เรา” แล้วหลีกไป และได้สั่งว่า “วิหารนั้นสงฆ์
ต้องแสดงพื้นที่ให้ ต้องเป็นพื้นที่ไม่มีอันตรายและต้องมีบริเวณโดยรอบด้วย ผู้รับคำ
สั่งสร้างวิหารที่สงฆ์แสดงพื้นที่ให้ เป็นพื้นที่มีอันตราย เป็นพื้นที่ไม่มีบริเวณโดยรอบ
ภิกษุนั้นทราบข่าวว่า “เขาสร้างวิหารที่สงฆ์แสดงพื้นที่ให้เรา เป็นพื้นที่มีอันตราย
เป็นพื้นที่ไม่มีบริเวณโดยรอบ” ภิกษุนั้นพึงไปเองหรือพึงส่งทูตไปบอกว่า “วิหารนั้น
ต้องเป็นพื้นที่ไม่มีอันตรายและต้องมีบริเวณโดยรอบ” ฯลฯ “ต้องเป็นที่ไม่มีอันตราย”
ฯลฯ “ต้องมีบริเวณโดยรอบ” ฯลฯ ไม่ต้องอาบัติ

สร้างผิดคำสั่ง สงฆ์ไม่ได้แสดงพื้นที่ให้

[๓๗๖] ภิกษุสั่งว่า “จงสร้างวิหารให้เรา” แล้วหลีกไป แต่ได้สั่งว่า “วิหาร
นั้นสงฆ์ต้องแสดงพื้นที่ให้ ต้องเป็นพื้นที่ไม่มีอันตรายและต้องมีบริเวณโดยรอบ” ผู้
รับคำสั่งสร้างวิหารที่สงฆ์ไม่ได้แสดงพื้นที่ให้ เป็นพื้นที่มีอันตราย เป็นพื้นที่ไม่มี
บริเวณโดยรอบ ภิกษุผู้สร้างต้องอาบัติทุกกฏ ๓ ตัว ฯลฯ เป็นพื้นที่มีอันตราย
เป็นพื้นที่มีบริเวณโดยรอบ ภิกษุผู้สร้างต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว ฯลฯ เป็นพื้นที่ไม่มี
อันตราย เป็นพื้นที่ไม่มีบริเวณโดยรอบ ภิกษุผู้สร้างต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว ฯลฯ
เป็นพื้นที่ไม่มีอันตราย เป็นพื้นที่มีบริเวณโดยรอบ ภิกษุผู้สร้างต้องอาบัติทุกกฏ

สร้างผิดคำสั่ง สงฆ์แสดงพื้นที่ให้

ภิกษุสั่งว่า “จงสร้างวิหารให้เรา” แล้วหลีกไป แต่ได้สั่งว่า “วิหารนั้นสงฆ์
ต้องแสดงพื้นที่ให้ ต้องเป็นพื้นที่ไม่มีอันตรายและต้องมีบริเวณโดยรอบ” ผู้รับคำสั่ง
สร้างวิหารที่สงฆ์แสดงพื้นที่ให้ เป็นพื้นที่มีอันตราย เป็นพื้นที่ไม่มีบริเวณโดยรอบ
ภิกษุผู้สร้างต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว ฯลฯ เป็นพื้นที่มีอันตราย เป็นพื้นที่มีบริเวณ
โดยรอบ ภิกษุผู้สร้างต้องอาบัติทุกกฏ ฯลฯ เป็นพื้นที่ไม่มีอันตราย เป็นพื้นที่ไม่มี


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๗. วิหารการสิกขาบท บทภาชนีย์

บริเวณโดยรอบ ภิกษุผู้สร้างต้องอาบัติทุกกฏ เป็นพื้นที่ไม่มีอันตราย เป็นพื้นที่มี
บริเวณโดยรอบ ไม่ต้องอาบัติ

สงฆ์ไม่ได้แสดงพื้นที่ให้ สร้างค้าง

[๓๗๗] ภิกษุสั่งว่า “จงสร้างวิหารให้เรา” แล้วหลีกไป ผู้รับคำสั่งสร้างวิหาร
ที่สงฆ์ไม่ได้แสดงพื้นที่ให้ เป็นพื้นที่มีอันตราย เป็นพื้นที่ไม่มีบริเวณโดยรอบ ถ้า
เขาสร้างค้างไว้ ภิกษุนั้นกลับมา พึงให้วิหารนั้นแก่ภิกษุอื่นหรือรื้อสร้างใหม่ ถ้า
ไม่ให้ภิกษุอื่นหรือไม่รื้อสร้างใหม่ ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว กับอาบัติสังฆาทิเสส ๑ ตัว
ฯลฯ เป็นพื้นที่มีอันตราย เป็นพื้นที่มีบริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติทุกกฏกับอาบัติ
สังฆาทิเสส ฯลฯ เป็นพื้นที่ไม่มีอันตราย เป็นพื้นที่ไม่มีบริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติ
ทุกกฏกับอาบัติสังฆาทิเสส ฯลฯ เป็นพื้นที่ไม่มีอันตราย เป็นพื้นที่มีบริเวณโดยรอบ
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

สงฆ์แสดงพื้นที่ให้ สร้างค้าง

ภิกษุสั่งว่า “จงสร้างวิหารให้เรา” แล้วหลีกไป ผู้รับคำสั่งสร้างวิหารที่สงฆ์
แสดงพื้นที่ให้ เป็นพื้นที่มีอันตราย เป็นพื้นที่ไม่มีบริเวณโดยรอบ ถ้าเขาสร้างค้างไว้
ภิกษุนั้นกลับมา พึงให้วิหารนั้นแก่ภิกษุอื่นหรือรื้อสร้างใหม่ ถ้าไม่ให้ภิกษุอื่นหรือไม่
รื้อสร้างใหม่ ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว ฯลฯ เป็นพื้นที่มีอันตราย เป็นพื้นที่มีบริเวณ
โดยรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ ฯลฯ เป็นพื้นที่ไม่มีอันตราย เป็นพื้นที่ไม่มีบริเวณโดยรอบ
ต้องอาบัติทุกกฏ ฯลฯ เป็นพื้นที่ไม่มีอันตราย เป็นพื้นที่มีบริเวณโดยรอบ ไม่ต้อง
อาบัติ

สร้างค้าง สร้างต่อ

[๓๗๘] วิหารตนสร้างค้างไว้ ภิกษุสร้างต่อจนสำเร็จด้วยตนเอง ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส
วิหารตนสร้างค้างไว้ ภิกษุใช้ผู้อื่นสร้างต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๔๑๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๗. วิหารการสิกขาบท อนาปัตติวาร

วิหารผู้อื่นสร้างค้างไว้ ภิกษุสร้างต่อจนสำเร็จด้วยตนเอง ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
วิหารผู้อื่นสร้างค้างไว้ ภิกษุใช้ผู้อื่นสร้างต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

อนาปัตติวาร

ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๓๗๙] ๑. ภิกษุสร้างเงื้อมผามีประตู
๒. ภิกษุตบแต่งถ้ำ
๓. ภิกษุสร้างกุฎีหญ้า
๔. ภิกษุสร้างวิหารเพื่อภิกษุอื่น
๕. ภิกษุสร้างอาคารนอกจากนั้น ยกเว้นอาคารที่พักของตน
๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

วิหารการสิกขาบทที่ ๗ จบ


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๘. ปฐมทุฎฐโทสสิกขาบท นิทานวัตถุ

๘. ปฐมทุฏฐโทสสิกขาบท
ว่าด้วยภิกษุขัดเคืองมีโทสะ สิกขาบทที่ ๑
เรื่องพระทัพพมัลลบุตร

[๓๘๐] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถาน
ที่ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระทัพพมัลลบุตร บรรลุอรหัตตผล
เมื่ออายุ ๗ ขวบ คุณวิเศษอย่างใดอย่างหนึ่งที่พระสาวกพึงบรรลุ ท่านก็ได้บรรลุแล้ว
ทั้งหมด ไม่มีกิจอะไร ๆ ที่จะพึงทำยิ่งกว่านี้ หรือกิจที่ทำเสร็จแล้วซึ่งจะทำเพิ่มเติม
อีกก็ไม่มี
ต่อมา ท่านพระทัพพมัลลบุตรหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด เกิดความคิดคำนึง
อย่างนี้ว่า เราได้บรรลุอรหัตผลเมื่ออายุ ๗ ขวบ คุณวิเศษอย่างใดอย่างหนึ่งที่พระ
สาวกพึงบรรลุ เราก็ได้บรรลุแล้วทั้งหมด ไม่มีกิจอะไร ๆ ที่จะพึงทำยิ่งกว่านี้ หรือกิจ
ที่ทำเสร็จแล้วซึ่งจะทำเพิ่มเติมอีกก็ไม่มี เราควรช่วยอะไรสงฆ์ได้บ้าง
ลำดับนั้น ท่านตกลงใจว่า “ถ้ากระไร เราควรจัดแจงเสนาสนะและแจก
ภัตตาหารแก่สงฆ์” ครั้นออกจากที่หลีกเร้นในเวลาเย็น ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วได้ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่งลง ณ ที่สมควรแล้วได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้าหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด
มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราได้บรรลุอรหัตตผลเมื่ออายุ ๗ ขวบ ฯลฯ หรือกิจที่ทำ
เสร็จแล้วซึ่งจะทำเพิ่มเติมอีกก็ไม่มี เราควรช่วยอะไรสงฆ์ได้บ้าง’ พระพุทธเจ้าข้า
ถ้ากระไร ข้าพระพุทธเจ้า พึงจัดแจงเสนาสนะและแจกภัตตาหารแก่สงฆ์ ข้าพระ
พุทธเจ้าปรารถนาจะจัดแจงเสนาสนะและแจกภัตตาหารแก่สงฆ์”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีแล้ว ดีแล้ว ทัพพะ ถ้าอย่างนั้น เธอจงจัดแจง
เสนาสนะและแจกภัตตาหารแก่สงฆ์” พระทัพพมัลลบุตรกราบทูลรับสนองพระพุทธ
ดำรัสแล้ว


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๘. ปฐมทุฎฐโทสสิกขาบท นิทานวัตถุ

แต่งตั้งเสนาสนปัญญาปกะและภัตตุทเทสกะ๑

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ แล้ว
รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงแต่งตั้งทัพพมัลลบุตรให้
เป็นเสนาสนปัญญาปกะและภัตตุทเทสกะ

วิธีแต่งตั้ง และกรรมวาจาแต่งตั้ง

ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงแต่งตั้งอย่างนี้ คือ เบื้องต้นพึงขอให้ทัพพมัลลบุตรรับ
ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาดสามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบว่า
[๓๘๑] ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว พึงแต่งตั้ง
ท่านพระทัพพมัลลบุตรให้เป็นเสนาสนปัญญาปกะและภัตตุทเทสกะ นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์แต่งตั้งพระทัพพมัลลบุตรให้เป็น
เสนาสนปัญญาปกะและภัตตุทเทสกะ ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการแต่งตั้งพระทัพพมัลล
บุตรให้เป็นเสนาสนปัญญาปกะและภัตตุทเทสกะ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็น
ด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
พระทัพพมัลลบุตร สงฆ์แต่งตั้งให้เป็นเสนาสนปัญญาปกะและภัตตุทเทสกะแล้ว
สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”
[๓๘๒] ก็แล ท่านพระทัพพมัลลบุตร ได้รับแต่งตั้งแล้วย่อมจัดแจงเสนาสนะ
สำหรับหมู่ภิกษุผู้มีคุณสมบัติเสมอกันรวมไว้ที่เดียวกัน ดังนี้ คือ จัดแจงเสนาสนะ
สำหรับภิกษุผู้ทรงพระสูตรรวมกันไว้แห่งหนึ่ง ด้วยประสงค์ว่า ภิกษุเหล่านั้นจักซัก
ซ้อมพระสูตรกัน
จัดแจงเสนาสนะสำหรับภิกษุผู้ทรงพระวินัยรวมกันไว้แห่งหนึ่ง ด้วยประสงค์ว่า
ภิกษุเหล่านั้นจักวินิจฉัยพระวินัยกัน

เชิงอรรถ :
๑ เสนาสนปัญญาปกะ คือภิกษุผู้ได้รับแต่งตั้งจากสงฆ์ให้มีหน้าที่จัดเสนาสนะ ภัตตุทเทสกะ คือภิกษุผู้ได้
รับการแต่งตั้งจากสงฆ์ให้มีหน้าที่จัดภัตตาหารถวายสงฆ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๔๑๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๘. ปฐมทุฎฐโทสสิกขาบท นิทานวัตถุ

จัดแจงเสนาสนะสำหรับภิกษุผู้ทรงพระอภิธรรมรวมกันไว้แห่งหนึ่ง ด้วย
ประสงค์ว่า ภิกษุเหล่านั้นจักสนทนาพระอภิธรรมกัน
จัดแจงเสนาสนะสำหรับภิกษุผู้ได้ฌานรวมกันไว้แห่งหนึ่ง ด้วยประสงค์ว่า
ภิกษุเหล่านั้นจักไม่รบกวนกัน
จัดแจงเสนาสนะสำหรับภิกษุผู้ชอบกล่าวติรัจฉานกถา ผู้มากไปด้วยการ
บำรุงร่างกายรวมกันไว้แห่งหนึ่ง ด้วยประสงค์ว่า ภิกษุเหล่านี้จะอยู่ตามความพอใจ
ท่านพระทัพพมัลลบุตรนั้นเข้าเตโชกสิณ แล้วจัดแจงเสนาสนะด้วยแสงสว่างนั้น
สำหรับภิกษุที่มาในเวลาค่ำคืน
ภิกษุทั้งหลายจงใจมาในเวลาค่ำคืน ด้วยประสงค์ว่า “พวกเราจะชมอิทธิ
ปาฏิหาริย์ของท่านพระทัพพมัลลบุตร” ก็มี พวกเธอพากันเข้าไปหาท่านพระ
ทัพพมัลลบุตร กล่าวว่า “ท่านจงจัดแจงเสนาสนะให้พวกกระผม”
ท่านพระทัพพมัลลบุตรกล่าวว่า “ท่านทั้งหลายต้องการพักที่ไหนเล่า
ข้าพเจ้าจะจัดแจงในที่ไหน”
ภิกษุเหล่านั้นจงใจอ้างที่ไกลๆ ว่า “ท่านจงจัดแจงเสนาสนะให้พวกกระผมที่
ภูเขาคิชฌกูฏ...ที่เหวสำหรับทิ้งโจร...ที่กาฬสิลาข้างภูเขาอิสิคิลิ...ที่ถ้ำสัตตบรรณ
คูหาข้างภูเขาเวภาระ...ที่เงื้อมเขาสัปปโสณฑิกะใกล้สีตวัน...ที่ซอกเขาโคตมกะ...ที่
ซอกเขาตินทุกะ...ที่ซอกเขาตโปทกะ...ที่ตโปทาราม...ที่ชีวกัมพวัน...ท่านจงจัดแจง
เสนาสนะ ให้พวกกระผมที่มัททกุจฉิมฤคทายวัน”
ท่านพระทัพพมัลลบุตรเข้าเตโชกสิณ ใช้องคุลีส่องแสงสว่างเดินนำหน้าภิกษุ
เหล่านั้น ท่านเหล่านั้นเดินตามพระทัพพมัลลบุตรไปด้วยแสงสว่างนั้น ท่านได้จัด
แจงเสนาสนะสำหรับภิกษุเหล่านั้น ชี้แจงว่า “นี่เตียง นี่ตั่ง นี่ฟูก นี่หมอน นี่ที่ถ่าย
อุจจาระ นี่ที่ถ่ายปัสสาวะ นี่น้ำฉัน นี่น้ำใช้ นี่ไม้เท้า นี่ระเบียบกติกาสงฆ์ ควรเข้า
เวลานี้ ควรออกเวลานี้” ครั้นจัดแจงเสร็จแล้วจึงกลับมาพระเวฬุวันวิหารตามเดิม

เรื่องพระทัพพมัลลบุตร จบ


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๘. ปฐมทุฎฐโทสสิกขาบท นิทานวัตถุ

เรื่องพระเมตติยะและพระภุมมชกะ

[๓๘๓] ก็สมัยนั้น พระเมตติยะและพระภุมมชกะ เป็นพระบวชใหม่และมี
บุญน้อย เสนาสนะของสงฆ์ชั้นเลว อาหารก็ชั้นเลว ตกถึงท่านทั้งสอง ชาวกรุง
ราชคฤห์ต้องการจะถวายบิณฑบาตแก่พระเถระทั้งหลายก็ถวายเนยใสบ้าง น้ำมันบ้าง
แกงอ่อมบ้าง จัดปรุงพิเศษ แต่พวกเขาถวายอาหารธรรมดาแก่พระเมตติยะและ
พระภุมมชกะ ตามแต่จะหาได้ คือปลายข้าวกับน้ำผักดอง
วันหนึ่ง ท่านทั้งสองกลับจากบิณฑบาตหลังจากฉันเสร็จแล้ว เที่ยวถามภิกษุ
เถระว่า “มีอาหารอะไรบ้าง ในโรงฉันสำหรับพวกท่าน”
พระเถระบางพวกตอบว่า “คุณทั้งสอง พวกเรามีเนยใส น้ำมัน แกงอ่อม”
พระเมตติยะและพระภุมมชกะ กล่าวว่า “พวกกระผมไม่มีอะไรเลย ขอรับ มี
แต่อาหารธรรมดา ตามแต่จะหาได้ คือปลายข้าวกับน้ำผักดอง”
สมัยต่อมา คหบดีผู้ชอบถวายอาหารอย่างดี ถวายอาหารแก่สงฆ์วันละ ๔ ที่
เป็นนิตยภัต คหบดีพร้อมบุตรภรรยาอังคาส๑ อยู่ใกล้ๆ ในโรงฉัน คนอื่นๆ ถาม
ถึงความต้องการข้าวสุก ถามถึงความต้องการกับข้าว ถามถึงความต้องการน้ำมัน
ถามถึงความต้องการแกงอ่อม
วันต่อมา ท่านพระทัพพมัลลบุตรผู้เป็นภัตตุทเทสก์นิมนต์พระเมตติยะและ
พระภุมมชกะไปฉันภัตตาหารของคหบดีในวันรุ่งขึ้น วันเดียวกันนั้น คหบดีเดินทางไป
อารามด้วยธุระบางอย่าง ได้เข้าไปหาท่านพระทัพพมัลลบุตรถึงสำนัก ครั้นถึงแล้วได้
ไหว้ท่านพระทัพพมัลลบุตรแล้ว นั่งลง ณ ที่สมควร ท่านทัพพมัลลบุตร ชี้แจงคหบดี
ผู้ชอบถวายอาหารอย่างดีให้เห็นชัด ชวนให้อยากรับไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า
ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา ครั้นแล้ว คหบดีผู้ชอบถวายอาหารอย่างดี
ถามว่า “ภัตตาหารที่จะถวายในวันพรุ่งนี้ที่เรือนของข้าพเจ้า ท่านนิมนต์ภิกษุรูปไหน
ไปฉันขอรับ”
ท่านพระทัพพมัลลบุตรตอบว่า “อาตมาจัดให้พระเมตติยะและพระภุมมชกะ
ไปฉัน”

เชิงอรรถ :
๑ “อังคาส” หมายถึงประเคน หรือถวายอาหารแก่พระภิกษุสามเณร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๔๑๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๘. ปฐมทุฎฐโทสสิกขาบท นิทานวัตถุ

เขาไม่พอใจว่า “ทำไมจึงนิมนต์ภิกษุชั่วไปฉันภัตตาหารในบ้านเราเล่า” กลับ
ไปบ้านแล้วสั่งหญิงรับใช้ว่า “แม่สาวใช้ พรุ่งนี้ เจ้าจงจัดอาสนะไว้ที่ซุ้มประตูแล้วเอา
ปลายข้าวกับน้ำผักดองถวายภิกษุผู้มาฉันภัตตาหารนะ”
หญิงรับใช้รับคำว่า “ได้เจ้าค่ะ”
วันเดียวกันนั้น พระเมตติยะและพระภุมมชกะกล่าวกันว่า “คุณ เมื่อวานนี้
เราได้รับนิมนต์ไปฉันภัตตาหารในเรือนคหบดี พรุ่งนี้ คหบดีพร้อมด้วยบุตรภรรยา
ก็จักมายืนอังคาสเราอยู่ใกล้ ๆ คนอื่นถามถึงความต้องการข้าวสุก ถามถึงความ
ต้องการกับข้าว ถามถึงความต้องการน้ำมัน ถามถึงความต้องการแกงอ่อม” เพราะ
ความดีใจนั้น พอตกกลางคืน ท่านทั้งสองจึงจำวัดหลับไม่เต็มที่ ครั้นเวลาเช้า ครอง
อันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเดินไปถึงนิเวศน์ของคหบดี
หญิงรับใช้มองเห็นพระเมตติยะและพระภุมมชกะเดินมาแต่ไกล จึงจัดอาสนะ
ไว้ที่ซุ้มประตูนิมนต์ว่า “พระคุณเจ้า นิมนต์นั่งเถิด เจ้าค่ะ”
พระเมตติยะและพระภุมมชกะคิดว่า “เขาคงนิมนต์ให้พวกเรานั่งรอที่ซุ้ม
ประตูจนกว่าภัตตาหารจะเสร็จ” ขณะนั้นหญิงรับใช้นำปลายข้าวกับน้ำผักดองไปถวาย
กล่าวว่า “พระคุณเจ้า นิมนต์ฉันเถิด เจ้าค่ะ”
ท่านทั้งสองกล่าวว่า “น้องหญิง พวกอาตมารับนิมนต์มาฉันนิตยภัต”
หญิงรับใช้ตอบว่า “ทราบเจ้าค่ะว่าท่านเป็นพระรับนิมนต์มาฉันนิตยภัต แต่
เมื่อวานนี้ คหบดีสั่งไว้ว่า ‘แม่สาวใช้ พรุ่งนี้ เจ้าจงจัดอาสนะไว้ที่ซุ้มประตู แล้วเอา
ปลายข้าวกับน้ำผักดองถวายภิกษุผู้มาฉันภัตตาหารนะ’ นิมนต์ฉันเถิด เจ้าค่ะ”
พระเมตติยะและพระภุมมชกะ ปรึกษากันว่า “เมื่อวานนี้เอง คหบดีไปหา
พระทัพพมัลลบุตรถึงอาราม สงสัยพวกเราคงถูกพระทัพพมัลลบุตรทำลายต่อหน้า
คหบดีเป็นแน่” เพราะความเสียใจ ท่านทั้งสองจึงฉันภัตตาหารไม่ได้สมใจ ครั้นกลับ
จากบิณฑบาตหลังจากฉันเสร็จแล้ว ถึงอาราม เก็บบาตรและจีวรแล้วใช้ผ้าสังฆาฏิ
รัดเข่า นั่งภายนอกซุ้มประตูอาราม นิ่งอั้น เก้อเขิน คอตก ก้มหน้า ซบเซา ไม่พูดจา


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๘. ปฐมทุฎฐโทสสิกขาบท นิทานวัตถุ

ภิกษุณีเมตติยาใส่ความพระทัพพมัลลบุตร

ครั้งนั้น ภิกษุณีเมตติยาเข้าไปหาพระเมตติยะและพระภุมมชกะถึงที่พัก ครั้น
ถึงแล้วได้กล่าวกับพระเมตติยะและพระภุมมชกะ ดังนี้ว่า “พระคุณเจ้า ดิฉันไหว้
เจ้าค่ะ”
เมื่อเธอกล่าวอย่างนั้น พระเมตติยะและภุมมชกะก็ไม่พูดด้วย เธอจึงกล่าวว่า
“ดิฉันไหว้ เจ้าค่ะ” แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓ พระเมตติยะและพระภุมมชกะก็ไม่
ยอมพูดด้วย
ภิกษุณีเมตติยากล่าวต่อไปว่า “ดิฉันทำผิดอย่างไรต่อพระคุณเจ้า ทำไม
พระคุณเจ้าจึงไม่ยอมพูดกับดิฉัน”
ภิกษุทั้งสองตอบว่า “จริงอย่างนั้นแหละ น้องหญิง พวกเราถูกพระทัพพมัลล
บุตรเบียดเบียน เธอยังเพิกเฉยอยู่ได้”
ภิกษุณีเมตติยาถามว่า “ดิฉันจะช่วยได้อย่างไร เจ้าค่ะ”
ภิกษุทั้งสองตอบว่า “ถ้าเธอเต็มใจช่วย วันนี้แหละพระผู้มีพระภาคต้องให้
พระทัพพมัลลบุตรสึก”
ภิกษุณีเมตติยาถามว่า “พระคุณเจ้า ดิฉันจะทำอย่างไร จะช่วยได้ด้วยวิธีไหน”
ภิกษุทั้งสองตอบว่า “มาเถิด น้องหญิง เธอจงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ครั้นถึงแล้ว จงกราบทูลพระผู้มีพระภาค อย่างนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า
เรื่องนี้ไม่สมควร ไม่เหมาะสม ทิศที่เคยปลอดภัยก็กลับมีภัย ที่ที่ไม่เคยมีเสนียดจัญ
ไรก็กลับมีเสนียดจัญไร ทิศที่ไม่เคยมีอุปัททวะก็กลับมีอุปัททวะ ในที่ที่ไม่เคยมีลม ก็
กลับมีลมแรง น้ำก็ดูเป็นเหมือนน้ำร้อนขึ้นมา หม่อมฉันถูกพระทัพพมัลลบุตรข่มขืน”
ภิกษุณีเมตติยารับคำของพระเมตติยะและพระภุมมชกะแล้วจึงเข้าไปเฝ้าพระ
ผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้ว ได้ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วยืนอยู่ ณ ที่
สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่า “เรื่องนี้ไม่สมควร ฯลฯ หม่อมฉันถูก
พระทัพพมัลลบุตรข่มขืน”

ทรงประชุมสงฆ์สอบถาม

[๓๘๔] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ
ทรงสอบถามท่านพระทัพพมัลลบุตรว่า “ทัพพะ เธอจำได้ไหมว่าได้ทำตามที่ภิกษุณี
นี่กล่าวหา”


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๘. ปฐมทุฎฐโทสสิกขาบท นิทานวัตถุ

ท่านพระทัพพมัลลบุตรกราบทูลว่า “พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคย่อม
ทรงทราบว่า ข้าพระพุทธเจ้าเป็นอย่างไร” แม้ครั้งที่ ๒ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถาม
ท่านพระทัพพมัลลบุตร ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓ ตรัสถามท่านพระทัพพมัลลบุตรว่า
“ทัพพะ เธอจำได้ไหมว่าได้ทำตามที่ภิกษุณีนี่กล่าวหา” พระทัพพมัลลบุตรก็กราบทูลว่า
“พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคย่อมทรงทราบว่า ข้าพระพุทธเจ้าเป็นอย่างไร”
“ทัพพะ บัณฑิตย่อมไม่แก้คำกล่าวหาอย่างนี้ ถ้าเธอทำก็จงบอกว่าทำ ถ้า
เธอไม่ได้ทำ ก็จงบอกว่าไม่ได้ทำ”
“พระพุทธเจ้าข้า ตั้งแต่เกิดมา ข้าพระพุทธเจ้าไม่รู้จักการเสพเมถุนธรรมแม้
ในความฝัน ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อตอนตื่นอยู่”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมารับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย
ถ้าอย่างนั้น เธอทั้งหลายจงให้นางภิกษุณีเมตติยาสึก จงสอบถามภิกษุเหล่านี้” แล้ว
เสด็จจากที่ประทับเข้าพระวิหาร
หลังจากนั้น ภิกษุทั้งหลายจึงให้นางภิกษุณีเมตติยาสึก แต่พระเมตติยะและ
พระภุมมชกะได้แจ้งภิกษุทั้งหลายว่า “ท่านทั้งหลายอย่าให้นางภิกษุณีเมตติยาสึก
เลย นางไม่มีความผิด พวกกระผมโกรธ ไม่พอใจ ต้องการให้พระทัพพมัลลบุตรพ้น
จากพรหมจรรย์ จึงชักจูงนาง”
ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า “ท่านทั้งหลาย พวกท่านใส่ความพระทัพพมัลลบุตร
ด้วยอาบัติปาราชิก ที่ไม่มีมูลหรือ”

พระเมตติยะและพระภุมมชกะยอมรับสารภาพ

บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระ
เมตติยะและพระภุมมชกะจึงใส่ความท่านพระทัพพมัลลบุตรด้วยอาบัติปาราชิกที่ไม่
มีมูลเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิพระเมตติยะและพระภุมมชกะโดยประการต่าง ๆ
แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๔๑๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๘. ปฐมทุฎฐโทสสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพระเมตติยะและพระภุมมชกะว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า เธอทั้งสองใส่
ความทัพพมัลลบุตร ด้วยอาบัติปาราชิกที่ไม่มีมูลจริงหรือ” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับว่า
“จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษทั้งหลาย
ไฉนพวกเธอ จึงใส่ความทัพพมัลลบุตรด้วยอาบัติปาราชิกที่ไม่มีมูลเล่า โมฆบุรุษ
ทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” แล้วจึงรับ
สั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง ดังนี้

พระบัญญัติ

[๓๘๕] ก็ ภิกษุใด ขัดเคือง มีโทสะ ไม่แช่มชื่น ใส่ความภิกษุด้วย
อาบัติปาราชิกที่ไม่มีมูล โดยมุ่งหมายว่า “ทำอย่างไรจึงจะให้ภิกษุนั้นพ้นจาก
พรหมจรรย์นี้ได้” ครั้นสมัยต่อจากนั้น อันผู้ใดผู้หนึ่งโจทก็ตามไม่โจทก็ตาม
อธิกรณ์นั้นเป็นเรื่องไม่มีมูล และภิกษุยอมรับผิด เป็นสังฆาทิเสส

เรื่องพระเมตติยะและพระภุมมชกะ จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๓๘๖] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ที่ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระ
ผู้มีพระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
คำว่า ภิกษุ หมายถึง ภิกษุอื่น
คำว่า ขัดเคือง มีโทสะ คือ โกรธ ไม่พอใจ ไม่ชอบใจ แค้นใจ เจ็บใจ
คำว่า ไม่แช่มชื่น คือ ไม่แช่มชื่นเพราะความโกรธนั้น เพราะมีโทสะนั้น
เพราะไม่พอใจนั้น และเพราะไม่ชอบใจนั้น


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๘. ปฐมทุฎฐโทสสิกขาบท บทภาชนีย์

ชื่อว่า ที่ไม่มีมูล คือไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้นึกสงสัย
คำว่า ด้วยอาบัติปาราชิก คือ ด้วยอาบัติปาราชิก ๔ ข้อใดข้อหนึ่ง
คำว่า ใส่ความ ได้แก่ โจทเอง หรือสั่งให้ผู้อื่นโจท
คำว่า ทำอย่างไรจึงจะให้ภิกษุนั้นพ้นจากพรหมจรรย์นี้ได้ ความว่า ให้พ้น
จากความเป็นภิกษุ ให้พ้นจากสมณธรรม ให้พ้นจากศีลขันธ์ ให้พ้นจากคุณคือตบะ
คำว่า ครั้นสมัยต่อจากนั้น ความว่า ล่วงขณะ ลยะ ครู่ที่ภิกษุถูกใส่ความไป
แล้ว
คำว่า อันผู้ใดผู้หนึ่งโจทก็ตาม คือ จะมีผู้เชื่อถือตามเรื่องที่ทำให้ภิกษุนั้นถูก
ใส่ความก็ตาม
คำว่า ไม่โจทก็ตาม คือ ไม่มีใครๆ กล่าวถึงภิกษุนั้น
ชื่อว่า อธิกรณ์ ได้แก่ อธิกรณ์ ๔ อย่าง คือ วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์
อาปัตตาธิกรณ์ และกิจจาธิกรณ์
คำว่า และภิกษุยอมรับผิด ความว่า ภิกษุนั้นยอมรับว่า “ข้าพเจ้าพูดคำไร้
ประโยชน์ พูดเท็จ พูดไม่จริง ไม่รู้จึงพูด”
คำว่า เป็นสังฆาทิเสส ความว่า สำหรับอาบัตินั้น สงฆ์เท่านั้นให้ปริวาส ฯลฯ
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกว่า “เป็นสังฆาทิเสส”

บทภาชนีย์
ไม่เห็น โจทว่าได้เห็น

[๓๘๗] ภิกษุผู้โจทก์ไม่ได้เห็นภิกษุต้องอาบัติปาราชิก ถ้าโจทภิกษุนั้นว่า
“ข้าพเจ้าเห็นท่านต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ท่านไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายศากยบุตร
ท่านร่วมอุโบสถ ปวารณาหรือสังฆกรรมไม่ได้” ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด

ไม่ได้ยิน โจทว่าได้ยิน

ภิกษุผู้โจทก์ไม่ได้ยินว่า ภิกษุต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ถ้าโจทภิกษุนั้นว่า
“ข้าพเจ้าได้ยินว่าท่านต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ท่านไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสาย


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๘. ปฐมทุฎฐโทสสิกขาบท บทภาชนีย์

ศากยบุตร ท่านร่วมอุโบสถ ปวารณาหรือสังฆกรรมไม่ได้” ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ทุกๆ คำพูด

ไม่นึกสงสัย โจทว่านึกสงสัย

ภิกษุผู้โจทก์ไม่ได้นึกสงสัยว่า ภิกษุต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ถ้าโจทภิกษุนั้น
ว่า “ข้าพเจ้านึกสงสัยว่าท่านต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ท่านไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อ
สายศากยบุตร ท่านร่วมอุโบสถ ปวารณาหรือสังฆกรรมไม่ได้” ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสทุกๆ คำพูด

ไม่เห็น โจทว่าได้เห็นและได้ยิน

ภิกษุผู้โจทก์ไม่ได้เห็นภิกษุต้องอาบัติปาราชิก ถ้าโจทภิกษุนั้นว่า “ข้าพเจ้า
เห็นและได้ยินว่าท่านต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ท่านไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสาย
ศากยบุตร ท่านร่วมอุโบสถ ปวารณาหรือสังฆกรรมไม่ได้” ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ทุกๆ คำพูด

ไม่เห็น โจทว่าได้เห็นและนึกสงสัย

ภิกษุผู้โจทก์ไม่ได้เห็นภิกษุต้องอาบัติปาราชิก ถ้าโจทภิกษุนั้นว่า “ข้าพเจ้าได้
เห็นและนึกสงสัยว่าท่านต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ท่านไม่เป็นสมณะ ฯลฯ” ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสทุกๆ คำพูด

ไม่เห็น โจทว่าได้เห็น ได้ยิน และนึกสงสัย

ภิกษุผู้โจทก์ไม่ได้เห็นภิกษุต้องอาบัติปาราชิก ถ้าโจทภิกษุนั้นว่า “ข้าพเจ้าได้
เห็น ได้ยินและนึกสงสัยว่าท่านต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ท่านไม่เป็นสมณะ ฯลฯ”
ต้องอาบัติสังฆาทิเสสทุกๆ คำพูด

ไม่ได้ยิน โจทว่าได้ยินและนึกสงสัย

ภิกษุผู้โจทก์ไม่ได้ยินว่าภิกษุต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ถ้าโจทภิกษุนั้นว่า
“ข้าพเจ้าได้ยิน และนึกสงสัยว่าท่านต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ท่านไม่เป็นสมณะ ฯลฯ”
ต้องอาบัติสังฆาทิเสสทุกๆ คำพูด


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๘. ปฐมทุฎฐโทสสิกขาบท บทภาชนีย์

ไม่ได้ยิน โจทว่าได้ยินและได้เห็น

ภิกษุผู้โจทก์ไม่ได้ยินว่าภิกษุต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ถ้าโจทภิกษุนั้นว่า “ข้าพเจ้า
ได้ยินและได้เห็น ท่านต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ท่านไม่เป็นสมณะ ฯลฯ” ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสทุกๆ คำพูด

ไม่ได้ยิน โจทว่าได้ยิน นึกสงสัย และได้เห็น

ภิกษุผู้โจทก์ไม่ได้ยินว่าภิกษุต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ถ้าโจทภิกษุนั้นว่า
“ข้าพเจ้าได้ยิน นึกสงสัยและได้เห็น ท่านต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ท่านไม่เป็นสมณะ
ฯลฯ” ต้องอาบัติ สังฆาทิเสสทุกๆ คำพูด

ไม่นึกสงสัย โจทว่านึกสงสัยและได้เห็น

ภิกษุผู้โจทก์ไม่ได้นึกสงสัยว่า ภิกษุต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ถ้าโจทภิกษุนั้นว่า
“ข้าพเจ้านึกสงสัยและได้เห็น ท่านต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ท่านไม่เป็นสมณะ ฯลฯ”
ต้องอาบัติสังฆาทิเสสทุกๆ คำพูด

ไม่นึกสงสัย โจทว่านึกสงสัยและได้ยิน

ภิกษุผู้โจทก์ไม่ได้นึกสงสัยว่า ภิกษุต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ถ้าโจทภิกษุนั้นว่า
“ข้าพเจ้านึกสงสัยและได้ยินว่าท่านต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ท่านไม่เป็นสมณะ ฯลฯ”
ต้องอาบัติสังฆาทิเสสทุกๆ คำพูด

ไม่นึกสงสัย โจทว่านึกสงสัย ได้เห็นและได้ยิน

ภิกษุผู้โจทก์ไม่ได้นึกสงสัยว่า ภิกษุต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ถ้าโจทภิกษุนั้นว่า
“ข้าพเจ้านึกสงสัย ได้เห็นและได้ยินว่า ท่านต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ท่านไม่เป็นสมณะ
ฯลฯ” ต้องอาบัติสังฆาทิเสสทุกๆ คำพูด

ได้เห็น โจทว่าได้ยิน

ภิกษุผู้โจทก์ได้เห็นภิกษุต้องอาบัติปาราชิก ถ้าโจทภิกษุนั้นว่า “ข้าพเจ้าได้ยิน
ว่า ท่านต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ฯลฯ” ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๘. ปฐมทุฎฐโทสสิกขาบท บทภาชนีย์

ได้เห็น โจทว่านึกสงสัย...ได้ยินและนึกสงสัย

ภิกษุผู้โจทก์ได้เห็นภิกษุต้องอาบัติปาราชิก ถ้าโจทภิกษุนั้นว่า “ข้าพเจ้า
นึกสงสัยว่าท่านต้องอาบัติปาราชิก ฯลฯ” ถ้าโจทภิกษุนั้นว่า “ข้าพเจ้าได้ยินและนึก
สงสัยว่า ท่านต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ฯลฯ” ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด

ได้ยิน โจทว่านึกสงสัย...ได้เห็น...นึกสงสัยและได้เห็น

ภิกษุผู้โจทก์ได้ยินว่า ภิกษุต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ถ้าโจทภิกษุนั้นว่า “ข้าพเจ้า
นึกสงสัยว่า ท่านต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ฯลฯ” ถ้าโจทภิกษุนั้นว่า “ข้าพเจ้าได้เห็น
ท่านต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ฯลฯ” ถ้าโจทภิกษุนั้นว่า “ข้าพเจ้านึกสงสัยและได้เห็น
ท่านต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ฯลฯ” ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด

นึกสงสัย โจทว่าได้เห็น...ได้ยิน...ได้เห็นและได้ยิน

ภิกษุผู้โจทก์นึกสงสัยว่า ภิกษุต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ถ้าโจทภิกษุนั้นว่า “ข้าพเจ้า
ได้เห็นท่านต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ฯลฯ” ถ้าโจทภิกษุนั้นว่า “ข้าพเจ้าได้ยินว่า
ท่านต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ฯลฯ” ถ้าโจทภิกษุนั้นว่า “ข้าพเจ้าได้เห็นและได้ยินว่า
ท่านต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ท่านไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายศากยบุตร ท่านร่วม
อุโบสถ ปวารณาหรือสังฆกรรมไม่ได้” ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด

ได้เห็น ไม่แนใจ

ภิกษุผู้โจทก์ได้เห็นภิกษุต้องอาบัติปาราชิก ไม่แน่ใจในเรื่องที่ได้เห็น คือ
กำหนดสิ่งที่ได้เห็นไม่ได้ จำสิ่งที่ได้เห็นไม่ได้ ลืมสิ่งที่ได้เห็น ถ้าโจทภิกษุนั้นว่า
“ข้าพเจ้าได้เห็นและได้ยิน ฯลฯ ข้าพเจ้าได้เห็นและนึกสงสัย ฯลฯ ข้าพเจ้าได้เห็น
ได้ยินและนึกสงสัยว่า ท่านต้องอาบัติปาราชิก ฯลฯ”

ได้ยิน ไม่แน่ใจ

ภิกษุผู้โจทก์ได้ยินว่า ภิกษุต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ไม่แน่ใจในเรื่องที่ได้ยิน คือ
กำหนดเรื่องที่ได้ยินไม่ได้ จำเรื่องที่ได้ยินไม่ได้ ลืมเรื่องที่ได้ยิน ถ้าโจทภิกษุนั้นว่า


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๘. ปฐมทุฎฐโทสสิกขาบท บทภาชนีย์

“ข้าพเจ้าได้ยินและนึกสงสัย ฯลฯ ข้าพเจ้าได้ยินและได้เห็น ฯลฯ ข้าพเจ้าได้ยิน
นึกสงสัยและได้เห็น ท่านต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ฯลฯ”

นึกสงสัย ไม่แน่ใจ

ภิกษุผู้โจทก์นึกสงสัยว่า ภิกษุต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ไม่แน่ใจในเรื่องที่นึกสงสัย
คือกำหนดเรื่องที่นึกสงสัยไม่ได้ จำเรื่องที่นึกสงสัยไม่ได้ ลืมเรื่องที่นึกสงสัย ถ้า
โจทภิกษุนั้นว่า “ข้าพเจ้านึกสงสัยและเห็น ฯลฯ ข้าพเจ้านึกสงสัยและได้ยิน ฯลฯ
ข้าพเจ้านึกสงสัย ได้เห็นและได้ยินว่า ท่านต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ท่านไม่เป็นสมณะ
ไม่เป็นเชื้อสายศากยบุตร ท่านร่วมอุโบสถ ปวารณาหรือสังฆกรรมไม่ได้” ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด

ไม่เห็น สั่งให้โจทว่าเห็น

[๓๘๘] ภิกษุผู้โจทก์ไม่ได้เห็นภิกษุต้องอาบัติปาราชิก ถ้าสั่งให้โจทภิกษุนั้นว่า
“ข้าพเจ้าได้เห็นท่านต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ท่านไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายศากย
บุตร ท่านร่วมอุโบสถ ปวารณาหรือสังฆกรรมไม่ได้” ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ
คำพูด

ไม่ได้ยิน สั่งให้โจทว่าได้ยิน

ภิกษุผู้โจทก์ไม่ได้ยินว่า ภิกษุต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ถ้าสั่งให้โจทภิกษุนั้นว่า
“ข้าพเจ้าได้ยินว่า ท่านต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ฯลฯ” ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด

ไม่ได้นึกสงสัย สั่งให้โจทว่าได้สงสัย

ภิกษุผู้โจทก์ไม่ได้นึกสงสัยว่า ภิกษุต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ถ้าสั่งให้โจทภิกษุ
นั้นว่า “ข้าพเจ้านึกสงสัยว่า ท่านต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ฯลฯ” ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ทุกๆ คำพูด


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๘. ปฐมทุฎฐโทสสิกขาบท บทภาชนีย์

ไม่ได้เห็น สั่งให้โจทว่าได้เห็น...

ภิกษุผู้โจทก์ไม่ได้เห็นภิกษุต้องอาบัติปาราชิก ถ้าสั่งให้โจทภิกษุนั้นว่า
“ข้าพเจ้า ได้เห็น ได้ยิน ฯลฯ ข้าพเจ้าได้เห็น ได้นึกสงสัย ฯลฯ ข้าพเจ้าได้เห็น
ได้ยิน ได้นึกสงสัยว่า ท่านต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ฯลฯ” ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ
คำพูด

ไม่ได้ยิน สั่งให้โจทว่าได้ยิน...

ภิกษุผู้โจทก์ไม่ได้ยินว่า ภิกษุต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ถ้าสั่งให้โจทภิกษุนั้นว่า
“ข้าพเจ้าได้ยิน ได้นึกสงสัย ฯลฯ ข้าพเจ้าได้ยิน ได้เห็น ฯลฯ ข้าพเจ้าได้ยิน ได้นึกสงสัย
ได้เห็นว่า ท่านต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ฯลฯ” ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด

ไม่นึกสงสัย สั่งให้โจทว่าได้นึกสงสัย...

ภิกษุผู้โจทก์ไม่ได้นึกสงสัยว่า ภิกษุต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ถ้าสั่งให้โจทภิกษุ
นั้นว่า “ข้าพเจ้าได้นึกสงสัย ได้เห็น ฯลฯ ข้าพเจ้าได้นึกสงสัย ได้ยิน ฯลฯ ข้าพเจ้า
ได้นึกสงสัย ได้เห็นได้ยินว่า ท่านต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ฯลฯ” ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ทุกๆ คำพูด

ได้เห็น สั่งให้โจทว่าได้ยิน...

ภิกษุผู้โจทก์ได้เห็นภิกษุต้องอาบัติปาราชิก ถ้าสั่งให้โจทภิกษุนั้นว่า “ข้าพเจ้า
ได้ยินว่า ท่านต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ฯลฯ ข้าพเจ้าได้นึกสงสัยว่า ท่านต้องอาบัติ
ปาราชิกแล้ว ฯลฯ ข้าพเจ้าได้ยิน ได้นึกสงสัยว่า ท่านต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ฯลฯ”
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุก ๆ คำพูด

ได้ยิน สั่งให้โจทว่านึกสงสัย...

ภิกษุผู้โจทก์ได้ยินว่า ภิกษุต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ถ้าสั่งให้โจทภิกษุนั้นว่า
“ข้าพเจ้าได้นึกสงสัย ฯลฯ” ถ้าสั่งให้โจทว่า “ข้าพเจ้าได้เห็น ฯลฯ” ถ้าสั่งให้โจทว่า
“ข้าพเจ้าได้นึกสงสัย ได้เห็น ท่านต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ฯลฯ” ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ทุกๆ คำพูด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๔๒๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๘. ปฐมทุฎฐโทสสิกขาบท บทภาชนีย์

นึกสงสัย สั่งให้โจทว่าได้เห็น...

ภิกษุผู้โจทก์นึกสงสัยว่า ภิกษุต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ถ้าสั่งให้โจทภิกษุนั้นว่า
“ข้าพเจ้าได้เห็น ท่านต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ฯลฯ” ถ้าสั่งให้โจทภิกษุนั้นว่า
“ข้าพเจ้าได้ยิน ฯลฯ” ถ้าสั่งให้โจทภิกษุนั้นว่า “ข้าพเจ้าได้เห็น ได้ยินว่า ท่านต้อง
อาบัติปาราชิกแล้ว ฯลฯ” ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด

ได้เห็น ไม่แน่ใจ สั่งให้โจท

ภิกษุผู้โจทก์ได้เห็นภิกษุต้องอาบัติปาราชิก ไม่แน่ใจในเรื่องที่ได้เห็น คือ
กำหนดสิ่งที่ได้เห็นไม่ได้ จำสิ่งที่ได้เห็นไม่ได้ ลืมสิ่งที่ได้เห็น ฯลฯ

ได้ยิน ไม่แน่ใจ สั่งให้โจท

ภิกษุผู้โจทก์ไม่แน่ใจในเรื่องที่ได้ยิน คือ กำหนดเรื่องที่ได้ยินไม่ได้ จำเรื่องที่
ได้ยินไม่ได้ ลืมเรื่องที่ได้ยิน ฯลฯ

ไม่แน่ใจ นึกสงสัย สั่งให้โจท

ภิกษุผู้โจทก์ไม่แน่ใจในเรื่องที่นึกสงสัย คือ กำหนดเรื่องที่นึกสงสัยไม่ได้ จำ
เรื่องที่นึกสงสัยไม่ได้ ลืมเรื่องที่นึกสงสัย ถ้าสั่งให้โจทภิกษุนั้นว่า “ข้าพเจ้าได้นึกสงสัย
ได้เห็น ฯลฯ” ลืมเรื่องที่นึกสงสัย ถ้าสั่งให้โจทภิกษุนั้นว่า “ข้าพเจ้าได้นึกสงสัย ได้ยิน
ฯลฯ” ลืมเรื่องที่นึกสงสัย ถ้าสั่งให้โจทภิกษุนั้นว่า “ข้าพเจ้าได้นึกสงสัย ได้เห็น ได้
ยินว่าท่านต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ท่านไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายศากยบุตร ท่าน
ร่วมอุโบสถ ปวารณาหรือสังฆกรรมไม่ได้” ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด

ความเห็น ๔ อย่าง

[๓๘๙] จำเลยไม่บริสุทธิ์ โจทก์มีความเห็นว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ ๑ จำเลย
บริสุทธิ์ โจทก์มีความเห็นว่าเป็นผู้ไม่บริสุทธิ์ ๑ จำเลยไม่บริสุทธิ์ โจทก์มีความเห็น
ว่าเป็นผู้ไม่บริสุทธิ์ ๑ จำเลยบริสุทธิ์ โจทก์มีความเห็นว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ ๑
ภิกษุต้องอาบัติปาราชิกข้อใดข้อหนึ่งแล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่บริสุทธิ์ ถ้าภิกษุผู้
โจทก์มีความเห็นว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ ไม่ขอโอกาสก่อน มีความประสงค์จะให้พ้นจาก
พรหมจรรย์จึงโจทภิกษุนั้น ต้องอาบัติทุกกฏกับอาบัติสังฆาทิเสส


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๘. ปฐมทุฎฐโทสสิกขาบท บทภาชนีย์

ภิกษุต้องอาบัติปาราชิกข้อใดข้อหนึ่งแล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่บริสุทธิ์ ถ้าภิกษุผู้
โจทก์มีความเห็นว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ ขอโอกาสก่อน มีความประสงค์จะให้พ้นจาก
พรหมจรรย์จึงโจทภิกษุนั้น ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุต้องอาบัติปาราชิกข้อใดข้อหนึ่งแล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่บริสุทธิ์ ถ้าภิกษุผู้
โจทก์มีความเห็นว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ ไม่ขอโอกาสก่อน มีความประสงค์จะด่าจึงโจท
ภิกษุนั้น ต้องอาบัติทุกกฏกับอาบัติปาจิตตีย์ เพราะกล่าวเสียดสี
ภิกษุต้องอาบัติปาราชิกข้อใดข้อหนึ่งแล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่บริสุทธิ์ ถ้าภิกษุผู้
โจทก์มีความเห็นว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ ขอโอกาสก่อน มีความประสงค์จะด่าจึงโจทภิกษุ
นั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะกล่าวเสียดสี
ภิกษุไม่ต้องอาบัติปาราชิกข้อใดข้อหนึ่ง ย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์ ถ้าภิกษุผู้โจทก์มี
ความเห็นว่าเป็นผู้ไม่บริสุทธิ์ ไม่ขอโอกาสก่อน มีความประสงค์จะให้พ้นจากพรหม
จรรย์จึงโจทภิกษุนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุไม่ต้องอาบัติปาราชิกข้อใดข้อหนึ่ง ย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์ ถ้าภิกษุผู้โจทก์มี
ความเห็นว่าเป็นผู้ไม่บริสุทธิ์ ขอโอกาสก่อน มีความประสงค์จะให้พ้นจากพรหม
จรรย์จึงโจทภิกษุนั้น ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุไม่ต้องอาบัติปาราชิกข้อใดข้อหนึ่ง ย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์ ถ้าภิกษุผู้โจทก์มี
ความเห็นว่าเป็นผู้ไม่บริสุทธิ์ ไม่ขอโอกาสก่อน มีความประสงค์จะด่าจึงโจทภิกษุนั้น
ต้องอาบัติทุกกฏกับอาบัติปาจิตตีย์ เพราะกล่าวเสียดสี
ภิกษุไม่ต้องอาบัติปาราชิกข้อใดข้อหนึ่ง ย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์ ถ้าภิกษุผู้โจทก์มี
ความเห็นว่าเป็นผู้ไม่บริสุทธิ์ ขอโอกาสก่อน มีความประสงค์จะด่าจึงโจทภิกษุนั้น
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะกล่าวเสียดสี
ภิกษุต้องอาบัติปาราชิกข้อใดข้อหนึ่งแล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่บริสุทธิ์ ถ้าภิกษุผู้
โจทก์มีความเห็นว่าเป็นผู้ไม่บริสุทธิ์ ไม่ขอโอกาสก่อน มีความประสงค์จะให้พ้นจาก
พรหมจรรย์จึงโจทภิกษุนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๘. ปฐมทุฎฐโทสสิกขาบท อนาปัตติวาร

ภิกษุต้องอาบัติปาราชิกข้อใดข้อหนึ่งแล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่บริสุทธิ์ ถ้าภิกษุผู้
โจทก์มีความเห็นว่าเป็นผู้ไม่บริสุทธิ์ ขอโอกาสก่อน มีความประสงค์จะให้พ้นจาก
พรหมจรรย์จึงโจทภิกษุนั้น ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุต้องอาบัติปาราชิกข้อใดข้อหนึ่งแล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่บริสุทธิ์ ถ้าภิกษุผู้
โจทก์มีความเห็นว่าเป็นผู้ไม่บริสุทธิ์ ไม่ขอโอกาสก่อน มีความประสงค์จะด่าจึง
โจทภิกษุนั้น ต้องอาบัติทุกกฏกับอาบัติปาจิตตีย์ เพราะกล่าวเสียดสี
ภิกษุต้องอาบัติปาราชิกข้อใดข้อหนึ่งแล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่บริสุทธิ์ ถ้าภิกษุผู้
โจทก์มีความเห็นว่าเป็นผู้ไม่บริสุทธิ์ ขอโอกาสก่อน มีความประสงค์จะด่าจึงโจท
ภิกษุนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะกล่าวเสียดสี
ภิกษุไม่ต้องอาบัติปาราชิกข้อใดข้อหนึ่ง ย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์ ถ้าภิกษุผู้โจทก์
มีความเห็นว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ ไม่ขอโอกาสก่อน มีความประสงค์จะให้พ้นจากพรหม
จรรย์จึงโจทภิกษุนั้น ต้องอาบัติทุกกฏกับอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุไม่ต้องอาบัติปาราชิกข้อใดข้อหนึ่ง ย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์ ถ้าภิกษุผู้โจทก์
มีความเห็นว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ ขอโอกาสก่อน มีความประสงค์จะให้พ้นจากพรหม
จรรย์จึงโจทภิกษุนั้น ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุไม่ต้องอาบัติปาราชิกข้อใดข้อหนึ่ง ย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์ ถ้าภิกษุผู้โจทก์
มีความเห็นว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ ไม่ขอโอกาสก่อน มีความประสงค์จะด่าจึงโจทภิกษุนั้น
ต้องอาบัติทุกกฏกับอาบัติปาจิตตีย์ เพราะกล่าวเสียดสี
ภิกษุไม่ต้องอาบัติปาราชิกข้อใดข้อหนึ่ง ย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์ ถ้าภิกษุผู้โจทก์
มีความเห็นว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ ขอโอกาสก่อน มีความประสงค์จะด่าจึงโจทภิกษุนั้น
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะกล่าวเสียดสี

อนาปัตติวาร

ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๘. ปฐมทุฎฐโทสสิกขาบท อนาปัตติวาร

[๓๙๐] ๑. ภิกษุจำเลยเป็นผู้บริสุทธิ์ ภิกษุผู้โจทก์มีความเห็นว่าเป็นผู้ไม่
บริสุทธิ์
๒. ภิกษุจำเลยเป็นผู้ไม่บริสุทธิ์ ภิกษุผู้โจทก์มีความเห็นว่าเป็นผู้ไม่
บริสุทธิ์
๓. ภิกษุวิกลจริต
๔. ภิกษุต้นบัญญัติ

ปฐมทุฏฐโทสสิกขาบทที่ ๘ จบ


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๙. ทุติยทุฎฐโทสสิกขาบท นิทานวัตถุ

๙. ทุติยทุฏฐโทสสิกขาบท
ว่าด้วยภิกษุขัดเคืองมีโทสะ สิกขาบทที่ ๒
เรื่องพระเมตติยะและพระภุมมชกะ

[๓๙๑] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถาน
ที่ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น พระเมตติยะและพระภุมมชกะ กำลังลง
จากภูเขาคิชฌกูฏ มองเห็นแพะตัวผู้กับตัวเมียกำลังสืบพันธุ์กัน จึงกล่าวว่า “เอาเถิด
พวกเราจะสมมติแพะตัวผู้เป็นพระทัพพมัลลบุตร สมมติแพะตัวเมียเป็นภิกษุณีเมตติยา
จักกล่าวว่า “ครั้งก่อนพวกเรากล่าวหาพระทัพพมัลลบุตร ด้วยได้ยินมา แต่บัดนี้
พวกเราได้เห็นพระทัพพมุลลบุตรเสพเมถุนกับภิกษุณีเมตติยา ด้วยตนเอง” ท่าน
ทั้งสองได้สมมติพระทัพพมัลลบุตรเป็นแพะตัวผู้ สมมติภิกษุณีเมตติยาเป็นแพะตัว
เมีย แล้วแจ้งให้ภิกษุทั้งหลายทราบว่า “ครั้งก่อน ฯลฯ แต่บัดนี้ พวกเราได้เห็นพระ
ทัพพมัลลบุตรเสพเมถุนกับภิกษุณีเมตติยา ด้วยตนเอง”
ภิกษุทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย พวกท่านอย่ากล่าวอย่างนี้
ท่านพระทัพพมัลลบุตรจะไม่ทำกรรมเช่นนั้น” แล้วนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์สอบถาม

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามท่านพระทัพพมัลลบุตรว่า “ทัพพะ เธอจำได้ไหมว่าเคยทำตามที่ภิกษุ
เหล่านี้กล่าวหา”
ท่านพระทัพพมัลลบุตรกราบทูลว่า “พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคย่อม
ทรงทราบว่า ข้าพระพุทธเจ้าเป็นอย่างไร” แม้ครั้งที่ ๒ พระผู้มีพระภาคตรัสถามท่าน
พระทัพพมัลลบุตร ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓ ตรัสถามท่านพระทัพพมัลลบุตรว่า “ทัพพะ
เธอจำได้ไหมว่าได้ทำตามที่ภิกษุเหล่านี้กล่าวหา” พระทัพพมัลลบุตรกราบทูลว่า
“พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคย่อมทรงทราบว่า ข้าพระพุทธเจ้าเป็นอย่างไร”


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๙. ทุติยทุฎฐโทสสิกขาบท นิทานวัตถุ

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ทัพพะ บัณฑิตย่อมไม่แก้คำกล่าวหาอย่างนี้ ถ้าเธอ
ทำก็จงบอกว่าทำ ถ้าเธอไม่ได้ทำ ก็จงบอกว่าไม่ได้ทำ”
ท่านพระทัพพมัลลบุตรกราบทูลว่า “พระพุทธเจ้าข้า ตั้งแต่เกิดมา ข้า
พระพุทธเจ้า ไม่รู้จักการเสพเมถุนแม้ในความฝัน ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อตอนตื่นอยู่”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้า
อย่างนั้น เธอทั้งหลายจงสอบถามภิกษุเหล่านี้” แล้วเสด็จจากที่ประทับเข้าพระวิหาร
หลังจากนั้น ภิกษุทั้งหลายสอบถามพระเมตติยะและพระภุมมชกะ เมื่อถูก
สอบถามจึงได้รับสารภาพเรื่องนั้น
ภิกษุทั้งหลายถามว่า “พวกท่านอ้างเอาบางส่วนแห่งอธิกรณ์เรื่องอื่นเป็นเลศ๑
ใส่ความพระทัพพมัลลบุตรด้วยอาบัติปาราชิกหรือ”
ท่านทั้งสองยอมรับ บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม
โพนทะนาว่า “ไฉนพระเมตติยะและพระกุมมชกะจึงอ้างเอาบางส่วนแห่งอธิกรณ์เรื่อง
อื่นเป็นเลศใส่ความพระทัพพมัลลบุตรด้วยอาบัติปาราชิกเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้น
ตำหนิท่านทั้งสองโดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพระเมตติยะและพระภุมมชกะว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่าพวกเธออ้างเอา
บางส่วนแห่งอธิกรณ์เรื่องอื่นเป็นเลศใส่ความทัพพมัลลบุตรด้วยอาบัติปาราชิกจริงหรือ”
พวกเธอทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษ
ทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงอ้างเอาบางส่วนแห่งอธิกรณ์เรื่องอื่นเป็นเลศใส่ความทัพพ
มัลลบุตรด้วยอาบัติปาราชิกเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่
ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” แล้วรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง ดังนี้

เชิงอรรถ :
๑ “เลศ” คือ ข้ออ้าง, เรื่องเล็กๆ น้อยๆ, เลศนัย กิริยาอาการที่จะยกขึ้นเป็นข้ออ้างใส่ความได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๔๓๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๙. ทุติยทุฎฐโทสสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

พระบัญญัติ

[๓๙๒] ก็ ภิกษุใด ขัดเคือง มีโทสะ ไม่แช่มชื่น อ้างเอาบางส่วนแห่ง
อธิกรณ์๑ เรื่องอื่นเป็นเลศใส่ความภิกษุด้วยอาบัติปาราชิก โดยมุ่งหมายว่า “ทำ
อย่างไรจึงจะให้ภิกษุนั้นพ้นจากพรหมจรรย์นี้ได้” ครั้นสมัยต่อจากนั้น อันผู้ใด
ผู้หนึ่งโจทก็ตามไม่โจทก็ตาม อธิกรณ์นั้นเป็นอธิกรณ์เรื่องอื่น อ้างเอาบางส่วน
เป็นเลศ และภิกษุยอมรับผิด เป็นสังฆาทิเสส

เรื่องพระเมตติยะและพระภุมมชกะ จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๓๙๓] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ที่ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
คำว่า ภิกษุ หมายถึง ภิกษุอื่น
คำว่า ขัดเคือง มีโทสะ คือ โกรธ ไม่พอใจ ไม่ชอบใจ แค้นใจ เจ็บใจ
คำว่า ไม่แช่มชื่น คือ ไม่แช่มชื่นเพราะความโกรธนั้น เพราะมีโทสะนั้น
เพราะไม่พอใจนั้น และเพราะไม่ชอบใจนั้น
คำว่า แห่งอธิกรณ์เรื่องอื่น คือ เป็นอาบัติส่วนอื่น หรือเป็นอธิกรณ์ส่วนอื่น

อธิกรณ์ที่ชื่อว่าเป็นเรื่องอื่นจากอธิกรณ์

อธิกรณ์ชื่อว่าเป็นเรื่องอื่นจากอธิกรณ์อย่างไร
๑. วิวาทาธิกรณ์ เป็นเรื่องอื่นจากอนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์และ
กิจจาธิกรณ์

เชิงอรรถ :
๑ เรื่องที่สงฆ์จะต้องจัดต้องทำให้เรียบร้อย, คดีความ ปัญหา หรือกิจธุระของสงฆ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๔๓๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๙. ทุติยทุฎฐโทสสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

๒. อนุวาทาธิกรณ์ เป็นเรื่องอื่นจากอาปัตตาธิกรณ์ กิจจาธิกรณ์ และ
วิวาทาธิกรณ์
๓. อาปัตตาธิกรณ์ เป็นเรื่องอื่นจากกิจจาธิกรณ์ วิวาทาธิกรณ์ และ
อนุวาทาธิกรณ์
๔. กิจจาธิกรณ์ เป็นเรื่องอื่นจากวิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ และ
อาปัตตาธิกรณ์
อธิกรณ์ชื่อว่าเป็นเรื่องอื่นจากอธิกรณ์ อย่างนี้

อธิกรณ์ชื่อว่าเป็นเรื่องเดียวกับอธิกรณ์

อธิกรณ์ชื่อว่าเป็นเรื่องเดียวกับอธิกรณ์อย่างไร
๑. วิวาทาธิกรณ์ เป็นเรื่องเดียวกับวิวาทาธิกรณ์
๒. อนุวาทาธิกรณ์ เป็นเรื่องเดียวกับอนุวาทาธิกรณ์
๓. อาปัตตาธิกรณ์ เป็นเรื่องเดียวกับอาปัตตาธิกรณ์ก็มี เป็นเรื่องอื่นจาก
อาปัตตาธิกรณ์ก็มี

อาปัตตาธิกรณ์ชื่อว่าเป็นเรื่องอื่นจากอาปัตตาธิกรณ์

อาปัตตาธิกรณ์ชื่อว่าเป็นเรื่องอื่นจากอาปัตตาธิกรณ์อย่างไร
๑. เมถุนธรรมปาราชิกาบัติ เป็นเรื่องอื่นจากอทินนาทานปาราชิกาบัติ
มนุสสวิคคหปาราชิกาบัติ และอุตตริมนุสสธรรมปาราชิกาบัติ
๒. อทินนาทานปาราชิกาบัติ เป็นเรื่องอื่นจากมนุสสวิคคหปาราชิกาบัติ
อุตตริมนุสสธรรมปาราชิกาบัติ และเมถุนธรรมปาราชิกาบัติ
๓. มนุสสวิคคหปาราชิกาบัติ เป็นเรื่องอื่นจากอุตตริมนุสสธรรมปาราชิกาบัติ
เมถุนธรรมปาราชิกาบัติ และอทินนาทานปาราชิกาบัติ
๔. อุตตริมนุสสธรรมปาราชิกาบัติ เป็นเรื่องอื่นจากเมถุนธรรมปาราชิกาบัติ
อทินนาทานปาราชิกาบัติ และมนุสสวิคคหปาราชิกาบัติ
อาปัตตาธิกรณ์ชื่อว่าเป็นเรื่องอื่นจากอาปัตตาธิกรณ์ อย่างนี้


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๙. ทุติยทุฎฐโทสสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

อาปัตตาธิกรณ์ชื่อว่าเป็นเรื่องเดียวกับอาปัตตาธิกรณ์

อาปัตตาธิกรณ์ชื่อว่าเป็นเรื่องเดียวกับอาปัตตาธิกรณ์อย่างไร
๑. เมถุนธรรมปาราชิกาบัติ เป็นเรื่องเดียวกับเมถุนธรรมปาราชิกาบัติ
๒. อทินนาทานปาราชิกาบัติ เป็นเรื่องเดียวกับอทินนาทานปาราชิกาบัติ
๓. มนุสสวิคคหปาราชิกาบัติ เป็นเรื่องเดียวกันกับมนุสสวิคคหปาราชิกาบัติ
๔. อุตตริมนุสสธรรมปาราชิกาบัติ เป็นเรื่องเดียวกับอุตตริมนุสสธรรม
ปาราชิกาบัติ
อาบัตตาธิกรณ์ชื่อว่าเป็นเรื่องเดียวกับอาปัตตาธิกรณ์ อย่างนี้
กิจจาธิกรณ์เป็นเรื่องเดียวกับกิจจาธิกรณ์
อธิกรณ์ชื่อว่าเป็นเรื่องเดียวกับอธิกรณ์ อย่างนี้

เลศ ๑๐ อย่าง

[๓๙๔] ชื่อว่า เลศ ในคำว่า อ้างเอาบางส่วน...เป็นเลศ อธิบายว่า
เลศมี ๑๐ อย่างได้แก่ เลศคือชาติกำเนิด ๑ เลศคือชื่อ ๑ เลศคือตระกูล ๑ เลศคือ
รูปลักษณ์ ๑ เลศคืออาบัติ ๑ เลศคือบาตร ๑ เลศคือจีวร ๑ เลศคือพระอุปัชฌาย์ ๑
เลศคือพระอาจารย์ ๑ เลศคือเสนาสนะ ๑

อธิบายเลศ ๑๐ อย่าง

[๓๙๕] ชื่อว่า เลศคือชาติกำเนิด อธิบายว่า ภิกษุผู้โจทก์ได้เห็นภิกษุผู้เป็น
วรรณะกษัตริย์ ต้องอาบัติปาราชิก ครั้นเห็นภิกษุอีกรูปหนึ่งผู้เป็นวรรณะกษัตริย์จึง
โจทว่า “ข้าพเจ้าเห็นภิกษุผู้เป็นวรรณะกษัตริย์ต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ท่านไม่เป็น
สมณะ ไม่เป็นเชื้อสายศากยบุตร ท่านร่วมอุโบสถ ปวารณาหรือสังฆกรรมไม่ได้”
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
ภิกษุผู้โจทก์ได้เห็นภิกษุผู้เป็นวรรณะพราหมณ์ ฯลฯ เห็นภิกษุผู้เป็นวรรณะ
แพศย์ ฯลฯ เห็นภิกษุผู้เป็นวรรณะศูทรต้องอาบัติปาราชิก ครั้นเห็นภิกษุอีกรูปหนึ่ง


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๙. ทุติยทุฎฐโทสสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

ผู้เป็นวรรณะศูทรจึงโจทว่า “ข้าพเจ้าเห็นภิกษุผู้เป็นวรรณะศูทรต้องอาบัติปาราชิก
ท่านไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายศากยบุตร ฯลฯ” ต้องอาบัติสังฆาทิเสสทุก ๆ
คำพูด
[๓๙๖] ชื่อว่า เลศคือชื่อ อธิบายว่า ภิกษุผู้โจทก์ได้เห็นพระพุทธรักขิต ฯลฯ
ได้เห็นพระธัมมรักขิต ฯลฯ ได้เห็นพระสังฆรักขิตต้องอาบัติปาราชิก ครั้นเห็นภิกษุ
อีกรูปหนึ่งผู้ชื่อว่าสังฆรักขิตจึงโจทว่า “ข้าพเจ้าเห็นพระสังฆรักขิตต้องอาบัติปาราชิก
แล้ว ท่านไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายศากยบุตร ฯลฯ” ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ
คำพูด
[๓๙๗] ชื่อว่า เลศคือตระกูล อธิบายว่า ภิกษุผู้โจทก์ ได้เห็นภิกษุในตระกูล
โคตมะ ฯลฯ ได้เห็นภิกษุในตระกูลโมคคัลลานะ ฯลฯ ได้เห็นภิกษุในตระกูลกัจจายนะ
ฯลฯ ได้เห็นภิกษุในตระกูลวาสิฏฐะต้องอาบัติปาราชิก ครั้นเห็นภิกษุอีกรูปหนึ่งใน
ตระกูลวาสิฏฐะจึงโจทว่า ข้าพเจ้าเห็นภิกษุในตระกูลวาสิฏฐะต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
ท่านไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายศากยบุตร ฯลฯ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
[๓๙๘] ชื่อว่า เลศคือรูปลักษณ์ อธิบายว่า ภิกษุผู้โจทก์ ได้เห็นภิกษุสูง ฯลฯ
ได้เห็นภิกษุต่ำ ฯลฯ ได้เห็นภิกษุผิวดำ ฯลฯ ได้เห็นภิกษุผิวขาวต้องปาราชิก ครั้น
เห็นภิกษุอีกรูปหนึ่งผู้มีผิวขาวจึงโจทว่า “ข้าพเจ้าเห็นภิกษุผิวขาวต้องอาบัติปาราชิก
แล้ว ท่านไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายศากยบุตร ฯลฯ” ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ
คำพูด
[๓๙๙] ชื่อว่า เลศคืออาบัติ อธิบายว่า ภิกษุผู้โจทก์ เห็นภิกษุต้องอาบัติเบา
ถ้าโจทภิกษุนั้นด้วยอาบัติปาราชิกว่า ข้าพเจ้าเห็นท่านต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ท่าน
ไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายศากยบุตร ฯลฯ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
[๔๐๐] ชื่อว่า เลศคือบาตร อธิบายว่า ภิกษุผู้โจทก์ได้เห็นภิกษุใช้บาตรโลหะ
ฯลฯ ได้เห็นภิกษุใช้บาตรดินเหนียว ฯลฯ ได้เห็นภิกษุใช้บาตรเคลือบ ฯลฯ ได้เห็น
ภิกษุใช้บาตรดินธรรมดา ต้องอาบัติปาราชิก ครั้นเห็นภิกษุอีกรูปหนึ่งใช้บาตรดินธรรมดา
จึงโจทว่า ข้าพเจ้าเห็นภิกษุใช้บาตรดินธรรมดาต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ท่านไม่เป็น
สมณะ ไม่เป็นเชื้อสายศากยบุตร ฯลฯ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๙. ทุติยทุฎฐโทสสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

[๔๐๑] ชื่อว่า เลศคือจีวร อธิบายว่า ภิกษุผู้โจทก์ ได้เห็นภิกษุผู้ใช้ผ้า
บังสุกุล ฯลฯ เห็นภิกษุผู้ใช้ผ้าคหบดี ต้องอาบัติปาราชิก ครั้นได้เห็นภิกษุอีกรูปหนึ่ง
ผู้ใช้ผ้าคหบดีจึงโจทว่า ข้าพเจ้าได้เห็นภิกษุผู้ใช้ผ้าของคหบดีต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
ท่านไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายศากยบุตร ฯลฯ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
[๔๐๒] ชื่อว่า เลศคือพระอุปัชฌาย์ อธิบายว่า ภิกษุผู้โจทก์ได้เห็นภิกษุผู้
เป็นสัทธิวิหาริกของพระอุปัชฌาย์ชื่อนี้ ต้องอาบัติปาราชิก ครั้นเห็นภิกษุอีกรูปหนึ่ง
ผู้เป็นสัทธิวิหาริกของพระอุปัชฌาย์ชื่อนี้จึงโจทว่า ข้าพเจ้าเห็นภิกษุผู้เป็นสัทธิวิหาริก
ของพระอุปัชฌาย์ชื่อนี้ต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ท่านไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสาย
ศากยบุตร ฯลฯ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
[๔๐๓] ชื่อว่า เลศคืออาจารย์ อธิบายว่า ภิกษุผู้โจทก์ได้เห็นภิกษุผู้เป็น
อันเตวาสิกของพระอาจารย์ชื่อนี้ต้องอาบัติปาราชิก ครั้นเห็นภิกษุอีกรูปหนึ่งผู้เป็น
อันเตวาสิกของพระอาจารย์ชื่อนี้ จึงโจทว่า ข้าพเจ้าเห็นภิกษุผู้เป็นอันเตวาสิกของ
พระอาจารย์ชื่อนี้ต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ท่านไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายศากยบุตร
ฯลฯ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
[๔๐๔] ชื่อว่า เลศคือเสนาสนะ อธิบายว่า ภิกษุผู้โจทก์ได้เห็นภิกษุอยู่ใน
เสนาสนะชื่อนี้ ต้องอาบัติปาราชิก ครั้นเห็นภิกษุอีกรูปหนึ่งอยู่ในเสนาสนะชื่อนี้จึง
โจทว่า “ข้าพเจ้าเห็นภิกษุผู้อยู่ในเสนาสนะชื่อนี้ต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ท่านไม่เป็น
สมณะ ไม่เป็นเชื้อสายศากยบุตร ท่านร่วมอุโบสถ ปวารณาหรือสังฆกรรมไม่ได้”
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด

สิกขาบทวิภังค์

[๔๐๕] คำว่า ด้วยอาบัติปาราชิก คือ ด้วยอาบัติปาราชิก ๔ ข้อใดข้อหนึ่ง
คำว่า ใส่ความ ได้แก่ โจทเอง หรือสั่งให้ผู้อื่นโจท
คำว่า ทำอย่างไรจึงจะให้ภิกษุนั้นพ้นจากพรหมจรรย์นี้ได้ ความว่า ให้พ้น
จากความเป็นภิกษุ ให้พ้นจากสมณธรรม ให้พ้นจากศีลขันธ์ ให้พ้นจากคุณคือตบะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๔๓๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๙. ทุติยทุฎฐโทสสิกขาบท บทภาชนีย์

คำว่า ครั้นสมัยต่อจากนั้น ความว่า ล่วงขณะ ลยะ ครู่ที่ภิกษุถูกใส่ความไป
แล้ว
คำว่า อันผู้ใดผู้หนึ่งโจทก็ตาม คือ จะมีผู้เชื่อถือตามเรื่องที่ทำให้ภิกษุนั้นถูก
ใส่ความก็ตาม
คำว่า ไม่โจทก็ตาม คือ ไม่มีใครๆ กล่าวถึงภิกษุนั้น
ชื่อว่า อธิกรณ์ ได้แก่ อธิกรณ์ ๔ อย่างคือ วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์
อาปัตตาธิกรณ์ และกิจจาธิกรณ์
คำว่า อ้างเอาบางส่วน...เป็นเลศ คือ ถือเอาเลศ ๑๐ อย่างนั้น อย่างใด
อย่างหนึ่ง
คำว่า และภิกษุยอมรับผิด ความว่า ภิกษุนั้นยอมรับว่า “ข้าพเจ้าพูดคำไร้
ประโยชน์ พูดเท็จ พูดไม่จริง ไม่รู้จึงพูด”
คำว่า สังฆาทิเสส ความว่า สำหรับอาบัตินั้น สงฆ์เท่านั้นให้ปริวาส ฯลฯ
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกว่า “เป็นสังฆาทิเสส”

บทภาชนีย์
เอเกกมูลจักร
โจทภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

[๔๐๖] ภิกษุผู้โจทก์ได้เห็นภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสส มีความเห็นอาบัติ
สังฆาทิเสสว่าเป็นอาบัติสังฆาทิเสส ถ้าเธอโจทภิกษุนั้นด้วยอาบัติปาราชิกว่า “ท่าน
ไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายศากยบุตร ท่านร่วมอุโบสถ ปวารณาหรือสังฆกรรม
ไม่ได้” แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็นข้ออื่น และเธออ้างเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส ทุก ๆ คำพูด
ภิกษุผู้โจทก์ได้เห็นภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่มีความเห็นอาบัติ
สังฆาทิเสสว่าเป็นอาบัติถุลลัจจัย ถ้าเธอโจทภิกษุนั้นด้วยอาบัติปาราชิกว่า “ท่านไม่
เป็นสมณะ ฯลฯ” แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็นอาบัติข้ออื่นและเธออ้างเอาเป็นเลศ
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุก ๆ คำพูด


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๙. ทุติยทุฎฐโทสสิกขาบท บทภาชนีย์

ภิกษุผู้โจทก์ได้เห็นภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่มีความเห็นอาบัติ
สังฆาทิเสสว่าเป็นอาบัติปาจิตตีย์ ถ้าเธอโจทภิกษุนั้นด้วยอาบัติปาราชิกว่า “ท่านไม่
เป็นสมณะ” ฯลฯ แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็นอาบัติข้ออื่นและเธออ้างเอาเป็นเลศ
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
ภิกษุผู้โจทก์ได้เห็นภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่มีความเห็นอาบัติ
สังฆาทิเสสว่าเป็นอาบัติปาฏิเทสนียะ ฯลฯ มีความเห็นอาบัติสังฆาทิเสสว่าเป็น
อาบัติทุกกฏ ฯลฯ มีความเห็นอาบัติสังฆาทิเสสว่าเป็นอาบัติทุพภาสิต ถ้าเธอ
โจทภิกษุนั้นด้วยอาบัติปาราชิกว่า “ท่านไม่เป็นสมณะ ฯลฯ” แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้น
ย่อมเป็นอาบัติข้ออื่นและเธออ้างเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด

โจทภิกษุผู้ต้องอาบัติถุลลัจจัย

ภิกษุผู้โจทก์ได้เห็นภิกษุต้องอาบัติถุลลัจจัย มีความเห็นอาบัติถุลลัจจัยว่า
เป็นอาบัติถุลลัจจัย ฯลฯ มีความเห็นอาบัติถุลลัจจัยว่าเป็นอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ มี
ความเห็นอาบัติถุลลัจจัยว่าเป็นอาบัติปาฏิเทสนียะ ฯลฯ มีความเห็นอาบัติถุลลัจจัย
ว่าเป็นอาบัติทุกกฏ ฯลฯ มีความเห็นอาบัติถุลลัจจัยว่าเป็นอาบัติทุพภาสิต ฯลฯ มี
ความเห็นอาบัติถุลลัจจัยว่าเป็นอาบัติสงฆาทิเสส ถ้าโจทภิกษุนั้นด้วยอาบัติปาราชิก
ว่า “ท่านไม่เป็นสมณะ ฯลฯ” แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็นอาบัติข้ออื่นและเธอ
อ้างเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด

โจทภิกษุผู้ต้องปาจิตตีย์...ปาฏิเทสนียะ...ทุกกฏ...ทุพภาสิต

ภิกษุผู้โจทก์ได้เห็นภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ ภิกษุผู้โจทก์ได้เห็นภิกษุ
ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ฯลฯ ภิกษุผู้โจทก์ได้เห็นภิกษุต้องอาบัติทุกกฏ ฯลฯ ภิกษุผู้
โจทก์ได้เห็นภิกษุต้องอาบัติทุพภาสิต มีความเห็นอาบัติทุพภาสิตว่าเป็นอาบัติทุพภาสิต
ฯลฯ มีความเห็นอาบัติทุพภาสิตว่าเป็นอาบัติสังฆาทิเสส ฯลฯ มีความเห็นอาบัติ
ทุพภาสิตว่าเป็นอาบัติถุลลัจจัย ฯลฯ มีความเห็นอาบัติทุพภาสิตว่าเป็นอาบัติ
ปาจิตตีย์ ฯลฯ มีความเห็นอาบัติทุพภาสิตว่าเป็นอาบัติปาฏิเทสนียะ ฯลฯ มีความ
เห็นอาบัติทุพภาสิตว่าเป็นอาบัติทุกกฏ ถ้าโจทภิกษุนั้นด้วยอาบัติปาราชิกว่า


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๙. ทุติยทุฎฐโทสสิกขาบท บทภาชนีย์

“ท่านไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายศากยบุตร ท่านร่วมอุโบสถ ปวารณาหรือสังฆ
กรรมไม่ได้” แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็นอาบัติข้ออื่นและเธออ้างเอาเป็นเลศ
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
พึงรวมอาบัติแต่ละอย่าง ๆ ให้เป็นมูลแล้วผูกเป็นจักร

สั่งให้โจทภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

[๔๐๗] ภิกษุผู้โจทก์ได้เห็นภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสส มีความเห็นอาบัติ
สังฆาทิเสสว่าเป็นอาบัติสังฆาทิเสส ถ้าสั่งให้โจทภิกษุนั้นด้วยอาบัติปาราชิกว่า
“ท่านไม่เป็นสมณะ ฯลฯ” แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็นอาบัติข้ออื่นและเธออ้าง
เอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
ภิกษุผู้โจทก์ได้เห็นภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่มีความเห็นอาบัติ
สังฆาทิเสสว่าเป็นอาบัติถุลลัจจัย ฯลฯ มีความเห็นอาบัติสังฆาทิเสสว่าเป็นอาบัติ
ปาจิตตีย์ ฯลฯ มีความเห็นอาบัติสังฆาทิเสสว่าเป็นอาบัติปาฏิเทสนียะ ฯลฯ มี
ความเห็นอาบัติสังฆาทิเสสว่าเป็นอาบัติทุกกฏ ฯลฯ มีความเห็นอาบัติสังฆาทิเสส
ว่าเป็นอาบัติทุพภาสิต ถ้าสั่งให้โจทภิกษุนั้นด้วยอาบัติปาราชิกว่า “ท่านไม่เป็นสมณะ
ฯลฯ” แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็นอาบัติข้ออื่นและเธออ้างเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส ทุก ๆ คำพูด

สั่งให้โจทภิกษุผู้ต้องอาบัติถุลลัจจัย

ภิกษุผู้โจทก์ได้เห็นภิกษุต้องอาบัติถุลลัจจัย มีความเห็นอาบัติถุลลัจจัยว่า
เป็นอาบัติถุลลัจจัย ฯลฯ มีความเห็นอาบัติถุลลัจจัยว่าเป็นอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ มี
ความเห็นอาบัติถุลลัจจัยว่าเป็นอาบัติปาฏิเทสนียะ ฯลฯ มีความเห็นอาบัติถุลลัจจัย
ว่าเป็นอาบัติทุกกฏ ฯลฯ มีความเห็นอาบัติถุลลัจจัยว่าเป็นอาบัติทุพภาสิต ฯลฯ มี
ความเห็นอาบัติถุลลัจจัยว่าเป็นอาบัติสังฆาทิเสส ถ้าสั่งให้โจทภิกษุนั้นด้วยอาบัติ
ปาราชิกว่า “ท่านไม่เป็นสมณะ ฯลฯ” แม้อย่างนี้ อธิกรณ์ย่อมเป็นอาบัติข้ออื่น
และเธออ้างเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุก ๆ คำพูด

สั่งให้โจทภิกษุผู้ต้องอาบัติปาจิตตีย์...ปาฏิเทสนียะ...ทุกกฏ ...ทุพภาสิต


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๙. ทุติยทุฎฐโทสสิกขาบท อนาปัตติวาร

ภิกษุผู้โจทก์ได้เห็นภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ ภิกษุผู้โจทก์ได้เห็นภิกษุ
ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ฯลฯ ภิกษุผู้โจทก์ได้เห็นภิกษุต้องอาบัติทุกกฏ ฯลฯ ภิกษุผู้
โจทก์ได้เห็นภิกษุต้องอาบัติทุพภาสิต มีความเห็นอาบัติทุพภาสิตว่าเป็นอาบัติ ทุพภาสิต
ฯลฯ มีความเห็นอาบัติทุพภาสิตว่าเป็นอาบัติสังฆาทิเสส ฯลฯ มีความเห็นอาบัติ
ทุพภาสิตว่าเป็นอาบัติถุลลัจจัย ฯลฯ มีความเห็นอาบัติทุพภาสิตว่าเป็นอาบัติ
ปาจิตตีย์ ฯลฯ มีความเห็นอาบัติทุพภาสิตว่าเป็นอาบัติปาฏิเทสนียะ ฯลฯ มีความ
เห็นอาบัติทุพภาสิตว่าเป็นอาบัติทุกกฏ ถ้าสั่งให้โจทภิกษุนั้นด้วยอาบัติปาราชิกว่า
“ท่านไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายศากยบุตร ท่านร่วมอุโบสถ ปวารณาหรือ
สังฆกรรมไม่ได้” แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็นอาบัติข้ออื่นและเธออ้างเอาเป็นเลศ
ต้องอาบัติ สังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด

อนาปัตติวาร

ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๔๐๘] ๑. ภิกษุผู้สำคัญว่าเป็นอย่างนั้น โจทเองหรือสั่งให้ผู้อื่นโจท
๒. ภิกษุวิกลจริต
๓. ภิกษุต้นบัญญัติ

ทุติยทุฏฐโทสสิกขาบทที่ ๙ จบ


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑๐. สังฆเภทสิกขาบท นิทานวัตถุ

๑๐. สังฆเภทสิกขาบท
ว่าด้วยการทำสงฆ์ให้แตกกัน
เรื่องพระเทวทัต

[๔๐๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน
สถานที่ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น พระเทวทัตเข้าไปหาพระโกกาลิกะ
พระกฏโมรกติสสกะ พระขัณฑเทวีบุตร และพระสมุทททัตถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้ว
ได้กล่าวกับท่านเหล่านั้นดังนี้ว่า “มาเถิด ท่านทั้งหลาย พวกเราจะทำลายสงฆ์
ทำลายจักร๑ ของพระสมณโคดม”
เมื่อพระเทวทัตกล่าวอย่างนี้ พระโกกาลิกะได้กล่าวกับพระเทวทัตดังนี้ว่า
“พระสมณโคดม มีฤทธานุภาพมาก ทำอย่างไร พวกเราจึงจะทำลายสงฆ์ ทำลาย
จักรของพระสมณโคดมได้เล่า”

วัตถุ ๕ ประการ

พระเทวทัตกล่าวว่า “มาเถิดท่านทั้งกลาย พวกเราจะเข้าไปเฝ้าพระ
สมณโคดมแล้วทูลขอวัตถุ ๕ ประการ ว่า ‘พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคตรัส
สรรเสริญความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการน่า
เลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยประการต่าง ๆ วัตถุ ๕ ประการ
เหล่านี้ก็เป็นไปเพื่อความมักน้อยความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการ
น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยประการต่าง ๆ ข้าพระพุทธเจ้า
ขอประทานวโรกาส ดังนี้
๑. ภิกษุทั้งหลายควรอยู่ป่าตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดเข้าบ้าน ภิกษุรูปนั้นมีโทษ
๒. ภิกษุทั้งหลายควรเที่ยวบิณฑบาตตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดยินดีกิจนิมนต์
ภิกษุรูปนั้นมีโทษ

เชิงอรรถ :
๑ ทำลายสงฆ์ คือ ทำสงฆ์ให้แตกจากกัน ทำลายจักร คือ ทำลายหลักคำสอน (จกฺกเภทายาติ อาณา-
เภทาย, วิ.อ. ๒/๔๑๐/๑๐๘, จกฺกเภทนฺติ สาสนเภทํ วชิร. ฏีกา ๓๔๓/๖๘๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๔๔๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑๐. สังฆเภทสิกขาบท นิทานวัตถุ

๓. ภิกษุทั้งหลายควรถือผ้าบังสุกุลตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดยินดีผ้าคหบดี
ภิกษุรูปนั้นมีโทษ
๔. ภิกษุทั้งหลายควรอยู่โคนไม้ตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดอาศัยที่มุงที่บัง ภิกษุ
รูปนั้นมีโทษ
๕. ภิกษุทั้งหลายไม่ควรฉันปลาและเนื้อตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดฉันปลาและเนื้อ
ภิกษุรูปนั้นมีโทษ’
พระสมณโคดมจะไม่ทรงอนุญาตวัตถุ ๕ ประการนี้แน่ พวกเราจักใช้วัตถุ ๕
ประการนี้ชักชวนให้ประชาชนเชื่อถือ” ท่านเหล่านั้นปรึกษากันว่า “พวกเราสามารถ
ที่จะใช้วัตถุ ๕ ประการเหล่านั้นทำลายสงฆ์ ทำลายจักรของพระสมณโคดมได้
เพราะยังมีพวกมนุษย์ที่เลื่อมใสในการปฏิบัติปอน ๆ”
ครั้งนั้น พระเทวทัตพร้อมด้วยบริษัทได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ครั้นถึงแล้วจึงถวายบังคมแล้วนั่งลง ณ ที่สมควร กราบทูลว่า “พระองค์ผู้เจริญ พระ
ผู้มีพระภาคตรัสสรรเสริญความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด
อาการน่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยประการต่าง ๆ วัตถุ ๕
ประการเหล่านี้ก็เป็นไปเพื่อความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด
อาการน่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยประการต่าง ๆ ข้า
พระพุทธเจ้าขอประทานวโรกาส ดังนี้
๑. ภิกษุทั้งหลายควรอยู่ป่าตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดเข้าบ้าน ภิกษุรูปนั้นมีโทษ
๒. ภิกษุทั้งหลายควรเที่ยวบิณฑบาตตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดยินดีกิจนิมนต์
ภิกษุรูปนั้นมีโทษ
๓. ภิกษุทั้งหลายควรถือผ้าบังสุกุลตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดยินดีผ้าคหบดี
ภิกษุรูปนั้นมีโทษ
๔. ภิกษุทั้งหลายควรอยู่โคนไม้ตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดอาศัยที่มุงที่บัง ภิกษุ
รูปนั้นมีโทษ
๕. ภิกษุทั้งหลายไม่ควรฉันปลาและเนื้อตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดฉันปลาและ
เนื้อ ภิกษุรูปนั้นมีโทษ”


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑๐. สังฆเภทสิกขาบท นิทานวัตถุ

พระผู้มีพระภาคตรัสห้ามว่า “อย่าเลยเทวทัต ภิกษุรูปใดปรารถนาก็จงอยู่ป่า
เถิด ภิกษุรูปใดปรารถนาก็จงอยู่ในละแวกบ้านเถิด ภิกษุรูปใดปรารถนาก็จงเที่ยว
บิณฑบาตเถิด ภิกษุรูปใดปรารถนาก็จงยินดีกิจนิมนต์เถิด ภิกษุรูปใดปรารถนาก็จง
ถือผ้าบังสุกุลเถิด ภิกษุรูปใดปรารถนาก็จงยินดีผ้าคหบดีเถิด เราอนุญาตถือ
เสนาสนะตามโคนไม้ ๘ เดือนเท่านั้น เราอนุญาตปลาและเนื้อที่บริสุทธิ์ด้วยอาการ
๓ อย่าง คือ (๑) ไม่ได้เห็น (๒) ไม่ได้ยิน (๓) ไม่ได้นึกสงสัย”
ครั้งนั้น พระเทวทัตร่าเริงดีใจว่า พระผู้มีพระภาคไม่ทรงอนุญาตวัตถุ ๕
ประการเหล่านี้ พร้อมกับบริษัท ลุกขึ้นจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ทำ
ประทักษิณแล้วจากไป
[๔๑๐] สมัยนั้น พระเทวทัตพร้อมกับบริษัทเข้าไปยังกรุงราชคฤห์ ใช้วัตถุ ๕
ประการชักชวนให้ประชาชนเชื่อถือด้วยกล่าวว่า “พวกเราเข้าไปเฝ้าพระสมณโคดม
ทูลขอวัตถุ ๕ ประการว่า ‘พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคตรัสสรรเสริญความมัก
น้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการน่าเลื่อมใส การไม่สะสม การ
ปรารภความเพียร โดยประการต่าง ๆ วัตถุ ๕ ประการเหล่านี้ก็เป็นไปเพื่อความมัก
น้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการน่าเลื่อมใส การไม่สะสม
การปรารภความเพียร โดยประการต่าง ๆ ข้าพระพุทธเจ้าขอประทานวโรกาส ดังนี้
๑. ภิกษุทั้งหลายควรอยู่ป่าตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดเข้าบ้าน ภิกษุรูปนั้นมีโทษ
๒. ภิกษุทั้งหลายควรเที่ยวบิณฑบาตตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดยินดีกิจนิมนต์
ภิกษุรูปนั้นมีโทษ
๓. ภิกษุทั้งหลายควรถือผ้าบังสุกุลตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดยินดีผ้าคหบดี
ภิกษุรูปนั้นมีโทษ
๔. ภิกษุทั้งหลายควรอยู่โคนไม้ตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดอาศัยที่มุงที่บัง ภิกษุ
รูปนั้นมีโทษ
๕. ภิกษุทั้งหลายไม่ควรฉันปลาและเนื้อตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดฉันปลาและ
เนื้อ ภิกษุรูปนั้นมีโทษ’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๔๔๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑๐. สังฆเภทสิกขาบท พระบัญญัติ

แต่พระสมณโคดมไม่ทรงอนุญาตวัตถุ ๕ ประการเหล่านั้น พวกเราจง
สมาทานประพฤติตามวัตถุ ๕ ประการเหล่านี้เถิด”
บรรดาประชาชนเหล่านั้น พวกที่ไม่ศรัทธา ไม่เลื่อมใส มีความรู้ไม่ดี กล่าวว่า
“พระสมณะเชื้อสายศากยบุตรเหล่านี้ ประพฤติกำจัดกิเลส ประพฤติเคร่งครัด ส่วน
พระสมณโคดมมักมาก ดำริเพื่อความมักมาก”
ส่วนพวกมีศรัทธา เลื่อมใส เป็นบัณฑิต เฉลียวฉลาด มีความรู้ดี ก็ตำหนิ
ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระเทวทัตจึงเพียรพยายามเพื่อทำลายสงฆ์ เพื่อ
ทำลายจักรของพระผู้มีพระภาคเล่า”
ภิกษุทั้งหลายได้ยินประชาชนตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มัก
น้อย ฯลฯ จึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระเทวทัตจึงเพียร
พยายามเพื่อทำลายสงฆ์ เพื่อทำลายจักรเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิพระเทวทัต
โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพระเทวทัตว่า “เทวทัต ทราบว่าเธอเพียรพยายามเพื่อทำลายสงฆ์ เพื่อ
ทำลายจักร จริงหรือ” พระเทวทัตทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาค
พุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั้นไม่สมควร ฯลฯ โมฆบุรุษ
ไฉนเธอจึงเพียรพยายามเพื่อทำลายสงฆ์ เพื่อทำลายจักรเล่า โมฆบุรุษ การกระทำ
อย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยก
สิกขาบทนี้ขึ้นแสดง ดังนี้

พระบัญญัติ

[๔๑๑] ก็ ภิกษุใดเพียรพยายามเพื่อทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง หรือถือ
ยกย่องยืนยันอธิกรณ์อันเป็นเหตุทำให้แตกแยกกัน ภิกษุนั้นอันภิกษุทั้งหลาย
พึงว่ากล่าวตักเตือนอย่างนี้ว่า “ท่านอย่าเพียรพยายามเพื่อทำลายสงฆ์ผู้พร้อม
เพรียง หรือถือยกย่องยืนยันอธิกรณ์อันเป็นเหตุทำให้แตกแยกกัน ท่าน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๔๔๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑๐. สังฆเภทสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

จงพร้อมเพรียงกับสงฆ์ เพราะสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง ปรองดอง ไม่วิวาท มีอุทเทส
เดียวกัน ย่อมอยู่ผาสุก” และภิกษุนั้นอันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวตักเตือนอย่างนี้
ยังยกย่องอยู่อย่างนั้น ภิกษุนั้นอันภิกษุทั้งหลายพึงสวดสมนุภาสน์จนครบ ๓
ครั้งเพื่อให้สละเรื่องนั้น ถ้าเธอกำลังถูกสวดสมนุภาสน์กว่าจะครบ ๓ ครั้ง สละ
เรื่องนั้นได้ นั่นเป็นการดี ถ้าเธอไม่สละ เป็นสังฆาทิเสส

เรื่องพระเทวทัต จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๔๑๒] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ที่ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ชื่อว่า ผู้พร้อมเพรียง คือ สงฆ์ผู้มีสังวาสเสมอกัน อยู่ในสีมาเดียวกัน
คำว่า เพียรพยายามเพื่อทำลาย คือ แสวงหาพวก รวมกันเป็นหมู่ โดยมุ่ง
หมายว่า ทำอย่างไร ภิกษุเหล่านี้จะแตกกันแยกกัน แบ่งเป็นพวก
คำว่า หรือ...อธิกรณ์อันเป็นเหตุทำให้แตกแยกกัน ได้แก่ เรื่องทำให้แตกกัน
๑๘ อย่าง๑

เชิงอรรถ :
๑ เรื่องทำให้แตกกัน ๑๘ อย่าง คือ (๑) แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม (๒) แสดงธรรมว่าเป็นอธรรม
(๓) แสดงอวินัยว่าเป็นวินัย (๔) แสดงวินัยว่าเป็นอวินัย (๕) แสดงสิ่งที่พระตถาคตไม่ได้ตรัสไว้
(๖) แสดงสิ่งที่พระตถาคตได้ตรัสไว้ว่าไม่ได้ตรัสไว้ (๗) แสดงสิ่งที่พระตถาคตไม่ทรงประพฤติมา
(๘) แสดงสิ่งที่พระตถาคตทรงประพฤติมาว่าไม่ทรงประพฤติมา (๙) แสดงสิ่งที่พระตถาคตไม่ทรงบัญญัติไว้
ว่าทรงบัญญัติไว้ (๑๐) แสดงสิ่งที่พระตถาคตทรงบัญญัติไว้ว่าไม่ทรงบัญญัติไว้ (๑๑) แสดงอาบัติว่าไม่ใช่อาบัติ
(๑๒) แสดงสิ่งที่ไม่ใช่อาบัติว่าเป็นอาบัติ (๑๓) แสดงอาบัติเบาว่าเป็นอาบัติหนัก (๑๔) แสดงอาบัติหนักว่า
เป็นอาบัติเบา (๑๕) แสดงอาบัติมีส่วนเหลือว่าเป็นอาบัติไม่มีส่วนเหลือ (๑๖) แสดงอาบัติไม่มีส่วนเหลือว่า
เป็นอาบัติมีส่วนเหลือ (๑๗) แสดงอาบัติชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ (๑๘) แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า
เป็นอาบัติชั่วหยาบ (วิ.ป. ๘/๓๑๔/๒๔๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๔๔๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑๐. สังฆเภทสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

คำว่า ถือ คือ ยึดเอา
คำว่า ยกย่อง คือ แสดง
คำว่า ยืนยัน คือ ไม่กลับคำ
คำว่า ภิกษุนั้น ได้แก่ ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์
คำว่า อันภิกษุทั้งหลาย ได้แก่ อันภิกษุเหล่าอื่น
อธิบายว่า ภิกษุผู้ได้เห็น ผู้ได้ยินพึงว่ากล่าวตักเตือนภิกษุผู้เพียรพยายาม
เพื่อทำลายสงฆ์นั้นว่า “ท่านอย่าเพียรพยายามเพื่อทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง หรือ
อย่าถือยกย่องยืนยันอธิกรณ์อันเป็นเหตุทำให้แตกแยกกัน ท่านจงพร้อมเพรียง
กับสงฆ์ เพราะสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง ปรองดอง ไม่วิวาท มีอุทเทสเดียวกัน ย่อมอยู่
ผาสุก” พึงว่ากล่าวตักเตือนเธอแม้ครั้งที่ ๒ พึงว่ากล่าวตักเตือนเธอแม้ครั้งที่ ๓ ถ้า
เธอสละได้ นั่นเป็นการดี ถ้าเธอไม่สละ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลายทราบแล้วไม่
ว่ากล่าวตักเตือน ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุนั้นอันภิกษุทั้งหลายพึงคุมตัวมาสู่ท่ามกลาง
สงฆ์ ว่ากล่าวตักเตือนว่า “ท่านอย่าเพียรพยายามเพื่อทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง
หรืออย่าถือยกย่องยืนยันอธิกรณ์อันเป็นเหตุทำให้แตกแยกกัน ท่านจงพร้อมเพรียง
กับสงฆ์ เพราะสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง ปรองดอง ไม่วิวาท มีอุทเทสเดียวกัน ย่อมอยู่
ผาสุก” พึงว่ากล่าวตักเตือนเธอแม้ครั้งที่ ๒ พึงว่ากล่าวตักเตือนเธอแม้ครั้งที่ ๓ ถ้า
เธอสละได้ นั่นเป็นการดี ถ้าเธอไม่สละ ต้องอาบัติทุกกฏ สงฆ์พึงสวดสมนุภาสน์เธอ

วิธีสวดสมนุภาสน์ และกรรมวาจาสวดสมนุภาสน์๑

ภิกษุทั้งหลายพึงสวดสมนุภาสน์ภิกษุนั้นอย่างนี้ คือ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึง
ประกาศให้สงฆ์ทราบว่า
[๔๑๓] ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้เพียรพยายามเพื่อ
ทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง ภิกษุนั้นไม่ยอมสละเรื่องนั้น ถ้าสงฆ์พร้อมแล้วก็พึงสวด
สมนุภาสน์ภิกษุชื่อนี้เพื่อให้สละเรื่องนั้น นี่เป็นญัตติ

เชิงอรรถ :
๑ การสวดสมนุภาสน์ คือ สงฆ์ตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไปสวดประกาศห้ามภิกษุไม่ให้ถือรั้นการอันมิชอบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๔๔๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑๐. สังฆเภทสิกขาบท บทภาชนีย์

ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้เพียรพยายามเพื่อทำลายสงฆ์ผู้
พร้อมเพรียง ภิกษุนั้นไม่สละเรื่องนั้น สงฆ์สวดสมนุภาสน์เธอเพื่อให้สละเรื่องนั้น
ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการสวดสมนุภาสน์ภิกษุชื่อนี้ เพื่อให้สละเรื่องนั้นเสีย ท่านรูป
นั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓
ข้าพเจ้าก็กล่าวความนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้เพียรพยายาม
เพื่อทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง ภิกษุนั้นไม่สละเรื่องนั้น สงฆ์สวดสมนุภาสน์เธอเพื่อ
ให้สละเรื่องนั้น ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการสวดสมนุภาสน์ภิกษุชื่อนี้เพื่อให้สละ
เรื่องนั้นเสีย ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
ภิกษุชื่อนี้ สงฆ์สวดสมนุภาสน์เพื่อให้สละเรื่องนั้นแล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะ
ฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งเป็นมติอย่างนี้
[๔๑๔] จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ต้องอาบัติสังฆาทิเสส เมื่อเธอต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส อาบัติทุกกฏ(ที่ต้อง) เพราะญัตติ อาบัติถุลลัจจัย(ที่ต้อง) เพราะกรรม
วาจา ๒ ครั้ง ย่อมระงับไป
คำว่า เป็นสังฆาทิเสส ความว่า สำหรับอาบัตินั้น สงฆ์เท่านั้นให้ปริวาส ฯลฯ
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกว่า “เป็นสังฆาทิเสส”

บทภาชนีย์

[๔๑๕] กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ไม่สละ ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสส
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ ไม่สละ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ไม่สละ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๔๔๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑๐. สังฆเภทสิกขาบท อนาปัตติวาร

กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ต้องอาบัติ
ทุกกฏ

อนาปัตติวาร

ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๔๑๖] ๑. ภิกษุผู้ยังไม่ถูกสวดสมนุภาสน์
๒. ภิกษุผู้ยอมสละ
๓. ภิกษุวิกลจริต
๔. ภิกษุผู้มีจิตฟุ้งซ่าน
๕. ภิกษุผู้กระสับกระส่ายเพราะเวทนา
๖. ภิกษุต้นบัญญัติ

สังฆเภทสิกขาบทที่ ๑๐ จบ


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑๑. สังฆเภทานุวัตตกสิกขาบท นิทานวัตถุ

๑๑. สังฆเภทานุวัตตกสิกขาบท
ว่าด้วยภิกษุผู้ประพฤติตาม กล่าวสนับสนุนภิกษุผู้ทำลายสงฆ์
เรื่องพระโกกาลิกะและพวกประพฤติตาม กล่าวสนับสนุนพระเทวทัต

[๔๑๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถาน
ที่ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น พระเทวทัตเพียรพยายามเพื่อทำลายสงฆ์
เพื่อทำลายจักร
ภิกษุทั้งหลายกล่าวกันอย่างนี้ว่า “พระเทวทัตกล่าวสิ่งที่ไม่เป็นธรรม กล่าว
สิ่งที่ไม่เป็นวินัย ไฉนพระเทวทัตจึงเพียรพยายามเพื่อทำลายสงฆ์ เพื่อทำลายจักรเล่า”
เมื่อภิกษุทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ พระโกกาลิกะ พระกฏโมรกติสสกะ พระ
ขัณฑเทวีบุตร และพระสมุทททัต ได้กล่าวกับภิกษุเหล่านั้นดังนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย
พวกท่านอย่ากล่าวอย่างนั้น พระเทวทัตกล่าวสิ่งที่เป็นธรรม กล่าวสิ่งที่เป็นวินัย
ท่านกล่าวตามความพอใจและความชอบใจของพวกเรา ท่านทราบความพอใจและ
ความชอบใจของพวกเราจึงกล่าว พวกเราเห็นด้วยกับคำของท่าน”
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ จึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
ภิกษุทั้งหลายจึงประพฤติตาม กล่าวสนับสนุนพระเทวทัตผู้เพียรพยายามเพื่อ
ทำลายสงฆ์เล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิภิกษุพวกพระโกกาลิกะเหล่านั้นโดย
ประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า มีภิกษุประพฤติตาม กล่าว
สนับสนุนเทวทัตผู้เพียรพยายามเพื่อทำลายสงฆ์ จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า
“จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ภิกษุทั้งหลาย การ
กระทำของโมฆบุรุษเหล่านั้นไม่สมควร ฯลฯ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่
เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง ดังนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๔๔๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑๑. สังฆเภทานุวัตตกสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

พระบัญญัติ

[๔๑๘] ก็ ภิกษุมีจำนวน ๑ รูป ๒ รูป หรือ ๓ รูปประพฤติตาม กล่าว
สนับสนุนภิกษุนั้น พวกเธอกล่าวอย่างนี้ว่า “พวกท่านอย่าว่ากล่าวอะไรภิกษุนั้น
ภิกษุนั้นกล่าวสิ่งที่เป็นธรรม ภิกษุนั้นกล่าวสิ่งที่เป็นวินัย ภิกษุนั้นกล่าวตามความ
พอใจและความชอบใจของพวกเรา เธอทราบความพอใจและความชอบใจของ
พวกเราจึงกล่าว พวกเราเห็นด้วยกับคำนั้น” ภิกษุเหล่านั้นอันภิกษุทั้งหลายพึง
ว่ากล่าวตักเตือนอย่างนี้ว่า “พวกท่านอย่าพูดอย่างนั้น ภิกษุนั้นไม่ใช่ผู้กล่าวสิ่ง
ที่เป็นธรรม ภิกษุนั้นไม่ใช่ผู้กล่าวสิ่งที่เป็นวินัย พวกท่านอย่าชอบใจการทำลาย
สงฆ์ พวกท่านจงพร้อมเพรียงกับสงฆ์ เพราะสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง ปรองดอง ไม่
วิวาท มีอุทเทสเดียวกัน ย่อมอยู่ผาสุก” ภิกษุเหล่านั้นอันพวกภิกษุว่ากล่าว
ตักเตือนอยู่อย่างนี้ ยังยกย่องอยู่อย่างนั้น ภิกษุเหล่านั้นอันภิกษุทั้งหลายพึง
สวดสมนุภาสน์จนครบ ๓ ครั้งเพื่อให้สละเรื่องนั้น ถ้าพวกเธอกำลังถูกสวด
สมนุภาสน์กว่าจะครบ ๓ ครั้ง สละเรื่องนั้นได้ นั่นเป็นการดี ถ้าพวกเธอไม่สละ
เป็นสังฆาทิเสส

เรื่องพระโกกาลิกะและพวกประพฤติตาม กล่าวสนับสนุนพระเทวทัต จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๔๑๙] คำว่า ก็...ภิกษุนั้น คือ ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์นั้น
คำว่า ภิกษุ คือ มีภิกษุเหล่าอื่น
คำว่า ประพฤติตาม ความว่า ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์เห็นอย่างไร พอใจอย่างไร
และชอบใจอย่างไร แม้ภิกษุเหล่านั้นก็เห็นอย่างนั้น พอใจอย่างนั้นและชอบใจ
อย่างนั้น
คำว่า กล่าวสนับสนุน คือ ดำรงอยู่ในพวก ในฝ่ายของภิกษุผู้ทำลายสงฆ์นั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๔๕๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑๑. สังฆเภทานุวัตตกสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

คำว่า ๑ รูป ๒ รูป หรือ ๓ รูป ความว่า มีภิกษุ ๑ รูป ๒ รูป หรือ ๓ รูป
ภิกษุเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “พวกท่านอย่าว่ากล่าวอะไรภิกษุนั้น ภิกษุนั้นกล่าว
สิ่งที่เป็นธรรม ภิกษุนั้นกล่าวสิ่งที่เป็นวินัย ภิกษุนั้นกล่าวตามความพอใจและชอบใจ
ของพวกเรา เธอทราบความพอใจและความชอบใจของพวกเราจึงกล่าว พวกเรา
เห็นด้วยกับคำนั้น”
คำว่า ภิกษุเหล่านั้น ได้แก่ ภิกษุผู้ประพฤติตามเหล่านั้น
คำว่า อันภิกษุทั้งหลาย ได้แก่ อันภิกษุเหล่าอื่น
อธิบายว่า ภิกษุผู้ได้เห็น ผู้ได้ยินพึงว่ากล่าวตักเตือนภิกษุผู้ประพฤติตาม
เหล่านั้นว่า “พวกท่านอย่ากล่าวอย่างนั้น ภิกษุนั้นไม่ใช่ผู้กล่าวสิ่งที่เป็นธรรม ภิกษุ
นั้นไม่ใช่ผู้กล่าวสิ่งที่เป็นวินัย พวกท่านอย่าชอบใจการทำลายสงฆ์ พวกท่านจง
พร้อมเพรียงกับสงฆ์ เพราะสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง ปรองดอง ไม่วิวาท มีอุทเทสเดียวกัน
ย่อมอยู่ผาสุก” พึงว่ากล่าวตักเตือนพวกเธอแม้ครั้งที่ ๒ พึงว่ากล่าวตักเตือนพวก
เธอแม้ครั้งที่ ๓ ถ้าภิกษุเหล่านั้นสละได้ นั่นเป็นการดี ถ้าไม่สละ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุทั้งหลายทราบแล้วไม่ว่ากล่าวตักเตือน ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุเหล่านั้นอันภิกษุ
ทั้งหลายพึงคุมตัวมาสู่ท่ามกลางสงฆ์ ว่ากล่าวตักเตือนว่า “พวกท่านอย่ากล่าวอย่าง
นั้น ภิกษุนั้นไม่ใช่ผู้กล่าวสิ่งที่เป็นธรรม ภิกษุนั้นไม่ใช่ผู้กล่าวสิ่งที่เป็นวินัย พวกท่าน
อย่าชอบใจการทำลายสงฆ์ พวกท่านจงพร้อมเพรียงกับสงฆ์ เพราะสงฆ์ผู้พร้อม
เพรียง ปรองดอง ไม่วิวาท มีอุทเทสเดียวกัน ย่อมอยู่ผาสุก” พึงว่ากล่าวตักเตือน
พวกเธอแม้ครั้งที่ ๒ พึงว่ากล่าวตักเตือนพวกเธอแม้ครั้งที่ ๓ ถ้าภิกษุเหล่านั้นสละได้
นั่นเป็นการดี ถ้าไม่สละ ต้องอาบัติทุกกฏ สงฆ์พึงสวดสมนุภาสน์ภิกษุเหล่านั้น

วิธีสวดสมนุภาสน์ และกรรมวาจาสวดสมนุภาสน์

ภิกษุเหล่านั้นอันภิกษุทั้งหลายพึงสวดสมนุภาสน์อย่างนี้ คือ ภิกษุผู้ฉลาด
สามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบว่า
[๔๒๐] ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุทั้งหลายชื่อนี้และชื่อนี้
ประพฤติตาม กล่าวสนับสนุนภิกษุชื่อนี้ผู้เพียรพยายามเพื่อทำลายสงฆ์ ภิกษุเหล่า


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑๑. สังฆเภทานุวัตตกสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

นั้นยังไม่สละเรื่องนั้น ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงสวดสมนุภาสน์ ภิกษุทั้งหลายชื่อนี้และ
ชื่อนี้ เพื่อให้สละเรื่องนั้น นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุทั้งหลายชื่อนี้และชื่อนี้ ประพฤติตาม
กล่าวสนับสนุนภิกษุชื่อนี้ผู้เพียรพยายามเพื่อทำลายสงฆ์ ภิกษุเหล่านั้นยังไม่สละเรื่อง
นั้น สงฆ์สวดสมนุภาสน์ภิกษุทั้งหลายชื่อนี้และชื่อนี้เพื่อให้สละเรื่องนั้น ท่านรูปใด
เห็นด้วยกับการสวดสมนุภาสน์ภิกษุทั้งหลายชื่อนี้และชื่อนี้เพื่อให้สละเรื่องนั้น ท่าน
รูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้าก็กล่าวความนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอ
สงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุทั้งหลายชื่อนี้และชื่อนี้ ประพฤติตาม กล่าวสนับสนุนภิกษุชื่อ
นี้ผู้เพียรพยายามเพื่อทำลายสงฆ์ ภิกษุเหล่านั้นยังไม่สละเรื่องนั้น สงฆ์สวด
สมนุภาสน์ภิกษุทั้งหลายชื่อนี้และชื่อนี้เพื่อให้สละเรื่องนั้น ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการ
สวดสมนุภาสน์ภิกษุทั้งหลายชื่อนี้และชื่อนี้เพื่อให้สละเรื่องนั้น ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง
ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
ภิกษุทั้งหลายชื่อนี้และชื่อนี้ สงฆ์สวดสมนุภาสน์เพื่อให้สละเรื่องนั้น สงฆ์เห็น
ด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
[๔๒๑] จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ต้องอาบัติสังฆาทิเสส เมื่อพวกเธอต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส อาบัติทุกกฏ(ที่ต้อง) เพราะญัตติ อาบัติถุลลัจจัย(ที่ต้อง) เพราะกรรมวาจา
๒ ครั้ง ย่อมระงับไป
สงฆ์พึงสวดสมนุภาสน์ภิกษุ ๒-๓ รูปคราวเดียวกัน ไม่พึงสวดสมนุภาสน์
ภิกษุมากกว่านั้นคราวเดียวกัน
คำว่า เป็นสังฆาทิเสส ความว่า สำหรับอาบัตินั้น สงฆ์เท่านั้นให้ปริวาส ฯลฯ
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกว่า “เป็นสังฆาทิเสส”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๔๕๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑๑. สังฆเภทานุวัตตกสิกขาบท อนาปัตติวาร

บทภาชนีย์

[๔๒๒] กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ไม่สละ ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสส
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ ไม่สละ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ไม่สละ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร

ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๔๒๓] ๑. ภิกษุยังไม่ถูกสวดสมนุภาสน์
๒. ภิกษุผู้ยอมสละ
๓. ภิกษุวิกลจริต
๔. ภิกษุมีจิตฟุ้งซ่าน
๕. ภิกษุกระสับกระส่ายเพราะเวทนา
๖. ภิกษุต้นบัญญัติ

สังฆเภทานุวัตตกสิกขาบทที่ ๑๑ จบ


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑๒. ทุพพจสิกขาบท นิทานวัตถุ

๑๒. ทุพพจสิกขาบท
ว่าด้วยภิกษุเป็นคนว่ายาก
เรื่องพระฉันนะ

[๔๒๔] สมัยนั้นพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุง
โกสัมพี ครั้งนั้น ท่านพระฉันนะ๑ ประพฤติไม่สมควร ภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวตักเตือน
อย่างนี้ว่า “ท่านฉันนะ ท่านอย่าได้กระทำอย่างนี้ การกระทำอย่างนั้นไม่สมควร”
ท่านพระฉันนะกล่าวอย่างนี้ว่า “พวกท่านสำคัญว่าผมเป็นผู้ที่พวกท่านควร
ว่ากล่าวตักเตือนหรือ ผมต่างหากสมควรว่ากล่าวตักเตือนพวกท่าน พระพุทธเจ้า
เป็นของผม พระธรรมเป็นของผม พระธรรมอันพระลูกเจ้าของผมเป็นผู้ตรัสรู้แล้ว
พวกท่านต่างชื่อ ต่างโคตร ต่างชาติ ต่างตระกูล มาบวชรวมกัน ดุจลมพายุพัดหญ้า ไม้
และใบไม้แห้งมารวมกัน หรือดุจแม่น้ำไหลจากภูเขาพัดจอกแหนมารวมกันไว้ พวก
ท่านสำคัญว่าผมเป็นผู้ที่พวกท่านควรว่ากล่าวตักเตือนหรือ ผมต่างหากสมควรว่า
กล่าวตักเตือนพวกท่าน พระพุทธเจ้าเป็นของผม พระธรรมเป็นของผม พระธรรม
อันพระลูกเจ้าของผมเป็นผู้ตรัสรู้แล้ว”
บรรดาภิกษุผู้มักน้อยสันโดษ มีความละอาย มีความระมัดระวัง ใฝ่การศึกษา
พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนท่านพระฉันนะเมื่อภิกษุทั้งหลายว่ากล่าว
ตักเตือนโดยชอบธรรมจึงทำตัวให้เป็นคนที่ว่ากล่าวตักเตือนไม่ได้เล่า” ครั้นภิกษุ
ทั้งหลายตำหนิท่านพระฉันนะโดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระ
ผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามท่านพระฉันนะว่า “ฉันนะ ทราบว่า เธออันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวตักเตือน

เชิงอรรถ :
๑ พระฉันนะ เคยเป็นสารถีของเจ้าชายสิทธัตถะในวันเสด็จออกบรรพชา ต่อมาเมื่อบวชเป็นภิกษุถือตัวว่า
เป็นคนใกล้ชิดพระพุทธเจ้า ใครว่ากล่าวก็ไม่ยอมเชื่อฟัง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๔๕๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑๒. ทุพพจสิกขาบท พระบัญญัติ

โดยชอบธรรมกลับทำตัวให้เป็นคนที่ว่ากล่าวตักเตือนไม่ได้ จริงหรือ” ท่านพระฉันนะ
ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษ
การกระทำอย่างนี้ไม่สมควร ฯลฯ ไม่ควรทำ โมฆบุรุษ ไฉนเธออันภิกษุทั้งหลายว่า
กล่าวตักเตือนโดยชอบธรรมจึงทำตัวให้เป็นคนที่ว่ากล่าวตักเตือนไม่ได้ โมฆบุรุษ
การกระทำอย่างนี้มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุ
ทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง ดังนี้

พระบัญญัติ

[๔๒๕] ก็ ภิกษุเป็นคนว่ายาก อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวตักเตือนโดย
ชอบธรรม ในสิกขาบทที่มาในอุทเทศ กลับทำตัวให้เป็นคนที่ว่ากล่าวตักเตือน
ไม่ได้ โดยกล่าวว่า “พวกท่านอย่าว่ากล่าวอะไรผม ไม่ว่าดีหรือเลว ถึงผมก็จะ
ไม่ว่ากล่าวอะไรพวกท่าน ไม่ว่าดีหรือเลวเหมือนกัน พวกท่านงดเว้นว่ากล่าวผม
เถิด” ภิกษุนั้นอันภิกษุทั้งหลายพึงว่ากล่าวตักเตือนอย่างนี้ว่า “ท่านอย่าทำตัว
ให้เป็นคนที่ว่ากล่าวตักเตือนไม่ได้ จงทำตัวให้เป็นคนที่เขาว่ากล่าวตักเตือนได้
แม้ท่านก็จงว่ากล่าวตักเตือนภิกษุทั้งหลายโดยชอบธรรม แม้ภิกษุทั้งหลายก็จะ
ว่ากล่าวตักเตือนท่านโดยชอบธรรม เพราะว่าบริษัทของพระผู้มีพระภาคเจริญ
แล้วด้วยอาการอย่างนี้ คือด้วยการว่ากล่าวตักเตือนกันและกัน ด้วยการช่วย
เหลือกันและกันให้ออกจากอาบัติ” ภิกษุนั้นอันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวตักเตือน
อยู่อย่างนี้ ก็ยังยกย่องอยู่อย่างนั้น ภิกษุนั้นอันภิกษุทั้งหลายพึงสวดสมนุภาสน์
จนครบ ๓ ครั้งเพื่อให้สละเรื่องนั้น ถ้าเธอกำลังถูกสวดสมนุภาสน์กว่าจะครบ ๓
ครั้ง สละเรื่องนั้นได้ นั่นเป็นการดี ถ้าเธอไม่สละ เป็นสังฆาทิเสส

เรื่องพระฉันนะ จบ


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑๒. ทุพพจสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

สิกขาบทวิภังค์

[๔๒๖] คำว่า ก็...ภิกษุเป็นคนว่ายาก ความว่า เป็นผู้ว่ายาก ประกอบ
ด้วยธรรมที่ทำให้เป็นคนว่ายาก ไม่อดทนรับคำสอนโดยเคารพ
คำว่า ในสิกขาบทที่มาในอุทเทศ ได้แก่ ในสิกขาบทที่มาในพระปาติโมกข์
คำว่า ภิกษุทั้งหลาย ได้แก่ ภิกษุเหล่าอื่น
ชื่อว่า โดยชอบธรรม คือ สิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัตติแล้ว นั่น
ชื่อว่า โดยชอบธรรม
ภิกษุนั้นอันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวตักเตือนอยู่โดยสิกขาบทชอบธรรมนั้น
กลับทำตัวให้เป็นคนที่ว่ากล่าวตักเตือนไม่ได้โดยกล่าวว่า “พวกท่านอย่าว่ากล่าว
อะไรผมไม่ว่าดีหรือเลว ถึงผมก็จะไม่ว่ากล่าวอะไรพวกท่าน ไม่ว่าดีหรือเลว พวก
ท่านจงเว้นว่ากล่าวผมเถิด”
คำว่า ภิกษุนั้น ได้แก่ ภิกษุผู้ว่ายากนั้น
คำว่า อันภิกษุทั้งหลาย ได้แก่ อันภิกษุเหล่าอื่น
อธิบายว่า ภิกษุผู้ได้เห็น ผู้ได้ยินพึงว่ากล่าวตักเตือนภิกษุเป็นคนว่ายากนั้นว่า
“ท่านอย่าทำตัวให้เป็นคนที่ว่ากล่าวตักเตือนไม่ได้ จงทำตัวให้เป็นคนที่ว่ากล่าวตัก
เตือนได้ แม้ท่านจงว่ากล่าวตักเตือนภิกษุทั้งหลายโดยชอบธรรม แม้ภิกษุทั้งหลายก็
จะว่ากล่าวตักเตือนท่านโดยชอบธรรม เพราะว่าบริษัทของพระผู้มีพระภาคเจริญแล้ว
ด้วยอาการอย่างนี้ คือ ด้วยการว่ากล่าวตักเตือนกันและกัน ด้วยการช่วยเหลือกัน
และกันให้ออกจากอาบัติ” ควรว่ากล่าวตักเตือนเธอแม้ครั้งที่ ๒ ควรว่ากล่าวตัก
เตือนเธอแม้ครั้งที่ ๓ ถ้าเธอสละได้ นั่นเป็นการดี ถ้าเธอไม่สละ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุทั้งหลายได้ยินแล้วไม่ว่ากล่าวตักเตือน ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุนั้นอันภิกษุทั้ง
หลายพึงคุมตัวมาสู่ท่ามกลางสงฆ์ ว่ากล่าวตักเตือนว่า “ท่านอย่าทำตัวให้เป็นคนที่
ว่ากล่าวตักเตือนไม่ได้ จงทำตัวให้เป็นคนที่เขาว่ากล่าวตักเตือนได้ แม้ท่านจงว่า
กล่าวตักเตือนภิกษุทั้งหลายโดยชอบธรรม แม้ภิกษุทั้งหลายก็จะว่ากล่าวตักเตือน
ท่านโดยชอบธรรม เพราะบริษัทของพระผู้มีพระภาคเจริญแล้วด้วยอาการอย่างนี้ คือ


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑๒. ทุพพจสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

ด้วยการว่ากล่าวตักเตือนกันและกัน ด้วยการช่วยเหลือกันและกันให้ออกจากอาบัติ”
ควรว่ากล่าวตักเตือนเธอแม้ครั้งที่ ๒ ควรว่ากล่าวตักเตือนเธอแม้ครั้งที่ ๓ ถ้าเธอ
สละได้ นั่นเป็นการดี ถ้าเธอไม่สละ ต้องอาบัติทุกกฏ สงฆ์พึงสวดสมนุภาสน์เธอ

วิธีสวดสมนุภาสน์ และกรรมวาจาสวดสมนุภาสน์

ภิกษุทั้งหลายพึงสวดสมนุภาสน์ภิกษุนั้นอย่างนี้ คือ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึง
ประกาศให้สงฆ์ทราบว่า
[๔๒๗] ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้อันภิกษุทั้งหลายว่า
กล่าวตักเตือนโดยชอบธรรม กลับทำตัวให้เป็นคนที่ว่ากล่าวตักเตือนไม่ได้ ภิกษุนั้น
ไม่ยอมสละเรื่องนั้น ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงสวดสมนุภาสน์ภิกษุชื่อนี้เพื่อให้สละ
เรื่องนั้น นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวตัก
เตือนโดยชอบธรรม กลับทำตัวให้เป็นคนที่ว่ากล่าวตักเตือนไม่ได้ ภิกษุนั้นไม่ยอม
สละเรื่องนั้น สงฆ์สวดสมนุภาสน์ภิกษุชื่อนี้เพื่อให้สละเรื่องนั้น ท่านรูปใดเห็นด้วย
กับการสวดสมนุภาสน์ภิกษุชื่อนี้เพื่อให้สละเรื่องนั้น ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่
เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้าก็กล่าวความนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์
จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวตักเตือนโดยชอบธรรม กลับทำตัว
ให้เป็นคนที่ว่ากล่าวตักเตือนไม่ได้ ภิกษุนั้นไม่ยอมสละเรื่องนั้น สงฆ์สวดสมนุภาสน์
ภิกษุชื่อนี้เพื่อให้สละเรื่องนั้น ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการสวดสมนุภาสน์ภิกษุชื่อนี้
เพื่อให้สละเรื่องนั้น ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
ภิกษุชื่อนี้สงฆ์สวดสมนุภาสน์ เพื่อให้สละเรื่องนั้น สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้น
จึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
[๔๒๘] จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย
จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ต้องอาบัติสังฆาทิเสส เมื่อเธอต้องอาบัติสังฆาทิเสส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๔๕๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑๒. ทุพพจสิกขาบท อนาปัตติวาร

อาบัติทุกกฏ(ที่ต้อง) เพราะญัตติ อาบัติถุลลัจจัย(ที่ต้อง) เพราะกรรมวาจา ๒ ครั้ง
ย่อมระงับไป
คำว่า เป็นสังฆาทิเสส ความว่า สำหรับอาบัตินั้น สงฆ์เท่านั้นให้ปริวาส
ฯลฯ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกว่า “เป็นสังฆาทิเสส”

บทภาชนีย์

[๔๒๙] กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ไม่สละ
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ ไม่สละ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ไม่สละ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร

ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๔๓๐] ๑. ภิกษุยังไม่ถูกสวดสมนุภาสน์
๒. ภิกษุผู้ยอมสละ
๓. ภิกษุวิกลจริต
๔. ภิกษุต้นบัญญัติ

ทุพพจสิกขาบทที่ ๑๒ จบ


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑๓. กุลทูสกสิกขาบท นิทานวัตถุ

๑๓. กุลทูสกสิกขาบท
ว่าด้วยภิกษุผู้ประทุษร้ายตระกูล
เรื่องภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ

[๔๓๑] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุชื่อว่าอัสสชิและปุนัพพสุกะ
เป็นเจ้าถิ่น เป็นอลัชชีเลวทราม อยู่ในกีฏาคิรีชนบท
ภิกษุพวกนั้น๑ ประพฤติไม่เหมาะสมเห็นปานนี้ คือ ปลูกไม้ดอกเองบ้าง ใช้ผู้
อื่นปลูกบ้าง รดน้ำเองบ้าง ใช้ผู้อื่นรดบ้าง เก็บดอกไม้เองบ้าง ใช้ผู้อื่นเก็บบ้าง ร้อย
ดอกไม้เองบ้าง ใช้ผู้อื่นร้อยบ้าง ทำมาลัยต่อก้านเองบ้าง ใช้ผู้อื่นทำบ้าง ทำมาลัย
เรียงก้านเองบ้าง ใช้ผู้อื่นทำบ้าง จัดดอกไม้ช่อเองบ้าง ใช้ผู้อื่นจัดบ้าง ทำดอกไม้พุ่ม
เองบ้าง ใช้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้เทริดเองบ้าง ใช้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้พวงเองบ้าง
ใช้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้แผงประดับอกเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง
ภิกษุพวกนั้นนำไปเองบ้าง ใช้ผู้อื่นนำไปบ้างซึ่งมาลัยต่อก้าน มาลัยเรียงก้าน
ดอกไม้ช่อ ดอกไม้พุ่ม ดอกไม้เทริด ดอกไม้พวง ดอกไม้แผงประดับอก เพื่อกุลสตรี
เพื่อกุลธิดา เพื่อกุลกุมารี เพื่อสะใภ้ของตระกูล เพื่อทาสหญิงในตระกูล
ภิกษุพวกนั้นฉันอาหารในภาชนะเดียวกันบ้าง ดื่มน้ำในขันใบเดียวกันบ้าง
นั่งบนอาสนะเดียวกันบ้าง นอนบนเตียงเดียวกันบ้าง นอนร่วมเครื่องลาดเดียวกันบ้าง
นอนคลุมผ้าห่มผืนเดียวกันบ้าง นอนร่วมเครื่องลาดและคลุมผ้าห่มร่วมกันบ้างกับ
กุลสตรี กุลธิดา กุลกุมารี สะใภ้ของตระกูล ทาสหญิงในตระกูล
ภิกษุพวกนั้นฉันอาหารในเวลาวิกาลบ้าง ดื่มน้ำเมาบ้าง ทัดทรงดอกไม้ของ
หอมและเครื่องลูบไล้บ้าง ฟ้อนรำบ้าง ขับร้องบ้าง ประโคมบ้าง เต้นรำบ้าง ฟ้อนรำ
กับหญิงฟ้อนรำบ้าง ขับร้องกับหญิงฟ้อนรำบ้าง ประโคมกับหญิงฟ้อนรำบ้าง เต้นรำ
กับหญิงฟ้อนรำบ้าง ฟ้อนรำกับหญิงขับร้องบ้าง ขับร้องกับหญิงขับร้องบ้าง ประโคม

เชิงอรรถ :
๑ วิ.จู. ๗/๒๙๓/๕๑๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๔๕๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑๓. กุลทูสกสิกขาบท นิทานวัตถุ

กับหญิงขับร้องบ้าง เต้นรำกับหญิงขับร้องบ้าง ฟ้อนรำกับหญิงประโคมบ้าง ขับร้อง
กับหญิงประโคมบ้าง ประโคมกับหญิงประโคมบ้าง เต้นรำกับหญิงประโคมบ้าง
ฟ้อนรำกับหญิงเต้นรำบ้าง ขับร้องกับหญิงเต้นรำบ้าง ประโคมกับหญิงเต้นรำบ้าง
เต้นรำกับหญิงเต้นรำบ้าง เล่นหมากรุกแถวละ ๘ ตาบ้าง แถวละ ๑๐ ตาบ้าง เล่น
หมากเก็บบ้าง เล่นชิงนางบ้าง เล่นหมากไหวบ้าง เล่นโยนห่วงบ้าง เล่นไม้หึ่งบ้าง
เล่นฟาดให้เป็นรูปต่างๆ บ้าง เล่นสกาบ้าง เล่นเป่าใบไม้บ้าง เล่นไถน้อยๆ บ้าง
เล่นหกคะเมน บ้าง เล่นไม้กังหันบ้าง เล่นตวงทรายด้วยใบไม้บ้าง เล่นรถน้อยๆ บ้าง
เล่นธนูน้อยๆ บ้าง เล่นเขียนทายบ้าง เล่นทายใจบ้าง เล่นเลียนคนพิการบ้าง หัดขี่
ช้างบ้าง หัดขี่ม้าบ้าง หัดขี่รถบ้าง หัดยิงธนูบ้าง หัดเพลงอาวุธบ้าง วิ่งผลัดช้างบ้าง
วิ่งผลัดม้าบ้าง วิ่งผลัดรถบ้าง วิ่งขับกันบ้าง วิ่งเปี้ยวบ้าง ผิวปากบ้าง ปรบมือบ้าง
ปล้ำกันบ้าง ชกมวยบ้าง ปูลาดผ้าสังฆาฏิท่ามกลางเวทีเต้นรำแล้วพูดกับหญิงฟ้อน
รำอย่างนี้ว่า “น้องหญิง เธอจงฟ้อนรำในที่นี้”ดังนี้แล้ว ให้การคำนับบ้าง
ประพฤติไม่เหมาะสมต่าง ๆ บ้าง
[๔๓๒] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งจำพรรษาในแคว้นกาสีแล้ว เดินทางไปกรุง
สาวัตถีเพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาค เดินทางไปจนถึงกีฏาคิรีชนบท ครั้นเวลาเช้า ท่าน
ครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรไปบิณฑบาตที่กีฏาคิรีชนบท มีการก้าวไป การ
ถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู การคู้เข้า การเหยียดออก ที่น่าเลื่อมใส สายตา
มองทอดลง สมบูรณ์ด้วยอิริยาบถ
พวกชาวบ้านเห็นภิกษุนั้นแล้วพากันกล่าวอย่างนี้ว่า “ภิกษุนี้เป็นใคร ดูคล้าย
ไม่ค่อยมีกำลัง เหมือนคนอ่อนแอ เหมือนคนขมวดคิ้วก้มหน้า เมื่อท่านรูปนี้เข้าไป
บิณฑบาต ใครเล่าจะถวายอาหารบิณฑบาต ส่วนพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะของ
พวกเรา เป็นคนอ่อนโยน พูดไพเราะ อ่อนหวาน ยิ้มแย้มก่อน มักกล่าวว่ามาเถิด
และมาดีแล้ว ไม่ก้มหน้า หน้าตาชื่นบาน ทักทายก่อน ใคร ๆ ก็อยากจะถวาย
อาหารท่านเหล่านั้น”
อุบาสกคนหนึ่งเห็นภิกษุนั้นกำลังบิณฑบาตในกีฏาคิรีชนบท ครั้นแล้วได้
เข้าไปหาภิกษุนั้นไหว้แล้วกล่าวกับท่านว่า “พระคุณเจ้าได้อาหารบิณฑบาตบ้างไหม
ขอรับ”


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑๓. กุลทูสกสิกขาบท นิทานวัตถุ

ภิกษุนั้นตอบว่า “อาตมายังไม่ได้อาหารเลย”
อุบาสกกล่าวนิมนต์ว่า “นิมนต์ไปเรือนกระผมเถิด ขอรับ” แล้วพาภิกษุนั้น
ไปเรือน นิมนต์ให้ฉันแล้วถามว่า “พระคุณเจ้า ท่านจะไปที่ไหน ขอรับ”
ภิกษุนั้นตอบว่า “เจริญพร อาตมาจะไปกรุงสาวัตถี เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาค”
อุบาสกกล่าวว่า “ถ้าเช่นนั้น ท่านจงถวายบังคมพระบาทของพระผู้มีพระ
ภาคด้วยเศียรเกล้า และขอจงกราบทูลตามถ้อยคำของกระผมอย่างนี้ด้วยว่า
‘พระพุทธเจ้าข้า วัดในกีฏาคิรีชนบททรุดโทรม ภิกษุชื่อว่าอัสสชิและปุนัพพสุกะเป็น
เจ้าถิ่น อยู่ในกีฏาคิรีชนบท เป็นภิกษุอลัชชีเลวทราม พวกเธอประพฤติไม่เหมาะสม
เห็นปานนี้ คือ ปลูกไม้ดอกเองบ้าง ใช้ผู้อื่นปลูกบ้าง ฯลฯ ประพฤติไม่เหมาะสมต่าง ๆ
แม้พวกชาวบ้านที่เคยศรัทธาเลื่อมใสแต่เดี๋ยวนี้ไม่ศรัทธาไม่เลื่อมใส ทานที่เคย
ถวายประจำแก่สงฆ์ บัดนี้ทายกทายิกาเลิกถวายแล้ว ภิกษุผู้มีศีลพากันจากไป ภิกษุ
ผู้เลวทรามอยู่ครอบครอง ขอประทานวโรกาสเถิดพระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระ
ภาคโปรดส่งภิกษุทั้งหลายไปกีฏาคิรีชนบทเพื่อวัดจะได้ตั้งมั่นอยู่สืบไปในที่นั้น”
ภิกษุนั้นรับคำของของอุบาสกแล้วเดินทางไปทางกรุงสาวัตถี ไปถึงกรุงสาวัตถี
ถึงพระเชตวันอารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐีโดยลำดับ เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ แล้วถวายบังคมพระผู้มีพระภาคนั่งลง ณ ที่สมควร

พุทธประเพณี

อันการที่พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงปราศรัยกับพระอาคันตุกะ
ทั้งหลาย นั่นเป็นพุทธประเพณี
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุนั้นว่า “ภิกษุ เธอยังสบายดีหรือ
ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ เธอเดินทางมาโดยไม่ลำบากหรือ เธอมาจากไหน”
ภิกษุนั้นกราบทูลว่า “สบายดี พระพุทธเจ้าข้า พอเป็นอยู่ได้ พระพุทธเจ้าข้า
ข้าพระพุทธเจ้าเดินทางมาโดยไม่ลำบาก พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้าจำพรรษา
ในแคว้นกาสี เมื่อจะมาเฝ้าพระองค์ที่เมืองนี้ เดินทางผ่านกีฏาคิรีชนบท เวลาเช้า


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑๓. กุลทูสกสิกขาบท นิทานวัตถุ

ครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตในกีฏาคิรีชนบท อุบาสกคนหนึ่ง
เห็นข้าพระพุทธเจ้ากำลังเที่ยวบิณฑบาต เข้ามาหา ไหว้แล้วถามว่า ‘พระคุณเจ้าได้
อาหารบิณฑบาตบ้างไหม ขอรับ’ ฯลฯ เขากล่าวว่า ‘ท่านขอรับ ถ้าเช่นนั้น ขอท่าน
จงถวายบังคมพระบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า และขอจงกราบทูลตาม
ถ้อยคำของกระผมอย่างนี้ว่า ‘พระพุทธเจ้าข้า วัดในกีฏาคิรีชนบททรุดโทรม ภิกษุชื่อ
ว่าอัสสชิและปุนัพพสุกะเป็นเจ้าถิ่น อยู่ในกีฏาคิรีชนบท เป็นภิกษุอลัชชีเลวทราม
พวกเธอประพฤติไม่เหมาะสมเห็นปานนี้ คือ ปลูกไม้ดอกเองบ้าง ใช้ผู้อื่นปลูกบ้าง ฯลฯ
ประพฤติไม่เหมาะสมต่าง ๆ แม้พวกชาวบ้านที่เคยศรัทธาเลื่อมใส แต่เดี๋ยวนี้ไม่
ศรัทธาไม่เลื่อมใส ทานที่เคยถวายประจำแก่สงฆ์ บัดนี้ทายกทายิกาเลิกถวายแล้ว
ภิกษุผู้มีศีลพากันจากไป ภิกษุผู้เลวทรามอยู่ครอบครอง ขอประทานวโรกาสเถิด
พระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาคโปรดส่งภิกษุทั้งหลายไปสู่กีฏาคิรีชนบทเพื่อวัดจะ
ได้ตั้งมั่นอยู่สืบไปในที่นั้น’ ข้าพระพุทธเจ้ามาจากกีฏาคิรีชนบทนั้น พระพุทธเจ้าข้า”

ทรงสอบถามแล้วตำหนิ

[๔๓๓] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้น
เหตุ ทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุชื่อว่าอัสสชิและ
ปุนัพพสุกะ เป็นเจ้าถิ่น เป็นภิกษุอลัชชี เลวทราม อยู่ในกีฏาคิรีชนบท ประพฤติไม่
เหมาะสมเห็นปานนี้ คือ ปลูกไม้ดอกเองบ้าง ใช้ผู้อื่นปลูกบ้าง รดน้ำเองบ้าง ให้ผู้อื่น
รดบ้าง เก็บดอกไม้เองบ้าง ใช้ผู้อื่นเก็บบ้าง ร้อยดอกไม้เองบ้าง ใช้ผู้อื่นร้อยบ้าง ทำ
มาลัยต่อก้านเองบ้าง ใช้ผู้อื่นทำบ้าง ทำมาลัยเรียงก้านเองบ้าง ใช้ผู้อื่นทำบ้าง จัด
ดอกไม้ช่อเองบ้าง ใช้ผู้อื่นจัดบ้าง ทำดอกไม้พุ่มเองบ้าง ใช้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้
เทริดเองบ้าง ใช้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้พวงเองบ้าง ใช้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้แผง
ประดับอกเองบ้าง ใช้ผู้อื่นทำบ้าง ฯลฯ ประพฤติไม่เหมาะสมต่าง ๆ แม้พวกชาว
บ้านที่เคยศรัทธาเลื่อมใส แต่เดี๋ยวนี้ไม่ศรัทธาไม่เลื่อมใส ทานที่เคยถวายประจำแก่
สงฆ์ บัดนี้ ทายกทายิกาได้เลิกถวายแล้ว ภิกษุผู้มีศีลพากันจากไป ภิกษุผู้เลวทราม
อยู่ครอบครอง จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มี
พระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ภิกษุทั้งหลาย การกระทำของโมฆบุรุษเหล่านั้นไม่


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑๓. กุลทูสกสิกขาบท นิทานวัตถุ

สมควร ฯลฯ ไม่ควรทำ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษเหล่านั้นจึงประพฤติไม่เหมาะ
สมอย่างนี้ คือ ปลูกไม้ดอกเองบ้าง ใช้ผู้อื่นปลูกบ้าง รดน้ำเองบ้าง ให้ผู้อื่นรดบ้าง
เก็บดอกไม้เองบ้าง ใช้ผู้อื่นเก็บบ้าง ร้อยดอกไม้เองบ้าง ใช้ผู้อื่นร้อยบ้าง ทำมาลัย
ต่อก้านเองบ้าง ใช้ผู้อื่นทำบ้าง ทำมาลัยเรียงก้านเองบ้าง ใช้ผู้อื่นทำบ้าง จัดดอกไม้
ช่อเองบ้าง ใช้ผู้อื่นจัดบ้าง ทำดอกไม้พุ่มเองบ้าง ใช้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้เทริด
เองบ้าง ใช้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้พวงเองบ้าง ใช้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้แผงประดับ
อกเองบ้าง ใช้ผู้อื่นทำบ้าง ภิกษุพวกนั้นนำไปเองบ้าง ใช้ผู้อื่นนำไปบ้างซึ่งมาลัยต่อ
ก้าน มาลัยเรียงก้าน ดอกไม้ช่อ ดอกไม่พุ่ม ดอกไม้เทริด ดอกไม้พวง ดอกไม้แผง
ประดับอก เพื่อกุลสตรี เพื่อกุลธิดา เพื่อกุลกุมารี เพื่อสะใภ้ของตระกูล เพื่อทาส
หญิงในตระกูล
ภิกษุพวกนั้นฉันอาหารในภาชนะเดียวกันบ้าง ดื่มน้ำในขันใบเดียวกันบ้าง
นั่งบนอาสนะเดียวกันบ้าง นอนบนเตียงเดียวกันบ้าง นอนร่วมเครื่องลาดเดียวกันบ้าง
นอนคลุมผ้าห่มผืนเดียวกันบ้าง นอนร่วมเครื่องลาดและคลุมผ้าห่มร่วมกันบ้างกับ
กุลสตรี กุลธิดา กุลกุมารี สะใภ้ของตระกูล ทาสหญิงในตระกูล
ภิกษุพวกนั้นฉันอาหารในเวลาวิกาลบ้าง ดื่มน้ำเมาบ้าง ทัดทรงดอกไม้ของ
หอมและเครื่องลูบไล้บ้าง ฟ้อนรำบ้าง ขับร้องบ้าง ประโคมบ้าง เต้นรำบ้าง ฟ้อนรำ
กับหญิงฟ้อนรำบ้าง ขับร้องกับหญิงฟ้อนรำบ้าง ประโคมกับหญิงฟ้อนรำบ้าง เต้นรำ
กับหญิงฟ้อนรำบ้าง ฟ้อนรำกับหญิงขับร้องบ้าง ขับร้องกับหญิงขับร้องบ้าง ประโคม
กับหญิงขับร้องบ้าง เต้นรำกับหญิงขับร้องบ้าง ฟ้อนรำกับหญิงประโคมบ้าง ขับร้อง
กับหญิงประโคมบ้าง ประโคมกับหญิงประโคมบ้าง เต้นรำกับหญิงประโคมบ้าง ฟ้อน
รำกับหญิงเต้นรำบ้าง ขับร้องกับหญิงเต้นรำบ้าง ประโคมกับหญิงเต้นรำบ้าง เต้นรำ
กับหญิงเต้นรำบ้าง เล่นหมากรุกแถวละ ๘ ตาบ้าง แถวละ ๑๐ ตาบ้าง เล่นหมาก
เก็บบ้าง เล่นชิงนางบ้าง เล่นหมากไหวบ้าง เล่นโยนห่วงบ้าง เล่นไม้หึ่งบ้าง เล่นฟาด
ให้เป็นรูปต่างๆ บ้าง เล่นสกาบ้าง เล่นเป่าใบไม้บ้าง เล่นไถน้อยๆ บ้าง เล่นหกคะเมน
บ้าง เล่นไม้กังหันบ้าง เล่นตวงทรายด้วยใบไม้บ้าง เล่นรถน้อยๆ บ้าง เล่นธนูน้อยๆ
บ้าง เล่นเขียนทายบ้าง เล่นทายใจบ้าง เล่นเลียนคนพิการบ้าง หัดขี่ช้างบ้าง หัดขี่ม้า


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑๓. กุลทูสกสิกขาบท นิทานวัตถุ

บ้าง หัดขี่รถบ้าง หัดยิงธนูบ้าง หัดเพลงอาวุธบ้าง วิ่งผลัดช้างบ้าง วิ่งผลัดม้าบ้าง วิ่ง
ผลัดรถบ้าง วิ่งขับกันบ้าง วิ่งเปี้ยวบ้าง ผิวปากบ้าง ปรบมือบ้าง ปล้ำกันบ้าง ชก
มวยบ้าง ปูลาดผ้าสังฆาฏิท่ามกลางเวทีเต้นรำแล้วพูดกับหญิงฟ้อนรำอย่างนี้ว่า
“น้องหญิง เธอจงฟ้อนรำในที่นี้”ดังนี้แล้ว ให้การคำนับบ้าง ประพฤติไม่เหมาะสม
ต่าง ๆ บ้าง ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส
ฯลฯ คนที่เลื่อมใสอยู่แล้วบางพวกก็จะกลายเป็นอื่นไป”

รับสั่งให้ทำปัพพาชนียกรรม

พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิภิกษุชื่อว่าอัสสชิและปุนัพพสุกะโดยประการต่าง ๆ
แล้วรับสั่งเรียกพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะมาตรัสว่า “ไปเถิด สารีบุตร
โมคคัลลานะ เธอทั้งสองจงไปกีฏาคิรีชนบท จงทำปัพพาชนียกรรม๑ ภิกษุชื่อว่า
อัสสชิและปุนัพพสุกะไปจากกีฏาคีรีชนบท เพราะภิกษุพวกนั้นเป็นสัทธิวิหาริกของ
เธอทั้งสอง”
พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะกราบทูลถามว่า “พระพุทธเจ้าข้า ข้า
พระพุทธเจ้าจะทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุชื่อว่าอัสสชิและปุนัพพสุกะได้อย่างไร
เพราะพวกเธอดุร้าย หยาบคาย”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ถ้าอย่างนั้น เธอจงไปกับภิกษุหลายๆ รูป”
พระเถระทั้งสอง ทูลรับสนองพระพุทธดำรัสแล้ว

วิธีทำปัพพาชนียกรรม และกรรมวาจาทำปัพพาชนียกรรม

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย พึงทำปัพพาชนียกรรมอย่างนี้ เริ่ม
ด้วยพึงโจทภิกษุชื่อว่าอัสสชิและปุนัพพสุกะ ครั้นแล้วให้พวกเธอให้การ เมื่อพวกเธอ
ให้การแล้วจึงปรับอาบัติ ครั้นปรับอาบัติแล้ว ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้
สงฆ์ทราบว่า

เชิงอรรถ :
๑ ปัพพาชนียกรรม หมายถึง การขับออกจากหมู่, การไล่ออกจากวัด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๔๖๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑๓. กุลทูสกสิกขาบท นิทานวัตถุ

[๔๓๔] ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อว่าอัสสชิและปุนัพพสุกะ
๒ รูปนี้ ประทุษร้ายตระกูล๑ ประพฤติเลวทราม ความประพฤติเลวทรามของพวกเธอ
เขาได้เห็นและได้ยินกันทั่ว และตระกูลทั้งหลายที่ถูกพวกเธอประทุษร้าย เขาก็ได้เห็น
และได้ยินกันทั่ว ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงทำปัพพาชนียกรรมภิกษุชื่อว่าอัสสชิและ
ปุนัพพสุกะไปจากกีฏาคิรีชนบทโดยประกาศว่า ‘ภิกษุชื่ออัสสชิและปุนัพพสุกะไม่พึง
อยู่ในกีฏาคิรีชนบท’ นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อว่าอัสสชิและปุนัพพสุกะประทุษ
ร้ายตระกูล ประพฤติเลวทราม ความประพฤติของพวกเธอ เขาได้เห็นและได้ยินกันทั่ว
และตระกูลทั้งหลายที่ถูกพวกเธอประทุษร้าย เขาก็ได้เห็นและได้ยินกันทั่ว สงฆ์ทำ
ปัพพาชนียกรรมพวกเธอไปจากกีฏาคิรีชนบทโดยประกาศว่า ‘ภิกษุชื่อว่าอัสสชิและ
ปุนัพพสุกะ ไม่พึงอยู่ในกีฏาคิรีชนบท’ ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการทำปัพพาชนียกรรม
ภิกษุชื่อว่าอัสสชิและปุนัพพสุกะไปจากกีฏาคิรีชนบทโดยประกาศว่า ‘ภิกษุชื่อว่า
อัสสชิและปุนัพพสุกะไม่พึงอยู่ในกีฏาคิรีชนบท’ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็น
ด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง”
แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้าก็กล่าวความนี้ว่า ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์
จงฟังข้าพเจ้า ฯลฯ ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
ปัพพาชนียกรรม ไปจากกีฏาคิรีชนบท สงฆ์ทำแล้วแก่ภิกษุชื่อว่าอัสสชิและ
ปุนัพพสุกะโดยประกาศว่า ‘ภิกษุชื่อว่าอัสสชิและปุนัพพสุกะไม่พึงอยู่ในกีฏาคิรีชนบท’
สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”
[๔๓๕] ลำดับนั้น ภิกษุสงฆ์มีพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเป็นประธาน
เดินทางไปกีฏาคิรีชนบท ได้ทำปัพพาชนียกรรมภิกษุชื่อว่าอัสสชิและปุนัพพสุกะไป
จากกีฏาคิรีชนบทโดยประกาศว่า “ภิกษุชื่อว่าอัสสชิและปุนัพพสุกะไม่พึงอยู่ใน
กีฏาคิรีชนบท”

เชิงอรรถ :
๑ การประทุษร้ายตระกูลในที่นี้ หมายถึงการที่ภิกษุประจบคฤหัสถ์เอาใจคฤหัสถ์ ด้วยการกระทำที่ผิดวินัย
มุ่งให้เขาชอบตนเป็นส่วนตัว เป็นเหตุให้คฤหัสถ์คลายศรัทธาในพระศาสนาและเสื่อมจากกุศลธรรม เช่น ให้
ของกำนัลเหมือนที่พวกคฤหัสถ์เขาทำกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๔๖๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑๓. กุลทูสกสิกขาบท พระบัญญัติ

ภิกษุพวกนั้นถูกสงฆ์ทำปัพพาชนียกรรมแล้วก็ยังไม่ประพฤติชอบ ไม่หายเย่อ
หยิ่ง ไม่ประพฤติกลับตัว ไม่ขอขมาภิกษุทั้งหลาย ยังด่ายังบริภาษการกสงฆ์ เที่ยว
ใส่ความว่าการกสงฆ์ลำเอียงเพราะความพอใจ ลำเอียงเพราะความขัดเคือง ลำเอียง
เพราะความหลง ลำเอียงเพราะความกลัว บรรดาบริวารของภิกษุชื่อว่าอัสสชิและ
ปุนัพพสุกะ บางพวกหลีกไปเสียก็มี สึกเสียก็มี
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุ
ชื่อว่าอัสสชิและปุนัพพสุกะถูกสงฆ์ทำปัพพาชนียกรรมแล้วจึงไม่ยอมประพฤติชอบ
ไม่หายเย่อหยิ่ง ไม่ประพฤติกลับตัว ไม่ขอขมาภิกษุทั้งหลาย ยังด่ายังบริภาษการก
สงฆ์ เที่ยวใส่ความว่าการกสงฆ์ลำเอียงเพราะความพอใจ ลำเอียงเพราะความขัดเคือง
ลำเอียงเพราะความหลง ลำเอียงเพราะความกลัว บรรดาบริวารของภิกษุชื่อว่า
อัสสชิและปุนัพพสุกะ บางพวกหลีกไปเสียก็มี สึกเสียก็มีเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้น
ตำหนิภิกษุชื่อว่าอัสสชิและปุนัพพสุกะโดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบ
ทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุชื่อว่าอัสสชิและปุนัพพสุกะ
ถูกสงฆ์ทำปัพพาชนียกรรมแล้ว ยังไม่ประพฤติชอบ ฯลฯ สึกไปก็มี จริงหรือ” ภิกษุ
เหล่านั้นทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า
“ภิกษุทั้งหลาย การกระทำของโมฆบุรุษเหล่านั้นไม่สมควร ฯลฯ ไม่ควรทำ ภิกษุทั้ง
หลาย ไฉนโมฆบุรุษเหล่านั้นถูกสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมแล้ว ยังไม่ประพฤติชอบ ฯลฯ
สึกไปก็มีเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส
ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง ดังนี้

พระบัญญัติ

[๔๓๖] ก็ ภิกษุอยู่อาศัยหมู่บ้านหรือนิคมแห่งใดแห่งหนึ่ง ประทุษร้าย
ตระกูล มีความประพฤติเลวทราม ความประพฤติเลวทรามของเธอ เขาได้เห็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๔๖๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑๓. กุลทูสกสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

และได้ยินกันทั่ว ตระกูลทั้งหลายที่เธอประทุษร้าย เขาก็ได้เห็นและได้ยินกันทั่ว
ภิกษุนั้นอันภิกษุทั้งหลายพึงว่ากล่าวตักเตือนอย่างนี้ว่า “ท่านประทุษร้ายตระกูล
ประพฤติเลวทราม ความประพฤติเลวทรามของท่าน เขาได้เห็นและได้ยินกันทั่ว
ตระกูลทั้งหลายที่ท่านประทุษร้าย เขาก็ได้เห็นและได้ยินกันทั่ว ท่านจงออก
จากอาวาสนี้ อย่าอยู่ที่นี้” และภิกษุนั้นอันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวตักเตือนอยู่อย่างนี้
ก็โต้ตอบภิกษุทั้งหลายว่า “พวกภิกษุลำเอียงเพราะความพอใจ ลำเอียงเพราะ
ความขัดเคือง ลำเอียงเพราะความหลง และลำเอียงเพราะความกลัว ขับภิกษุ
บางรูป ไม่ขับบางรูป เพราะอาบัติอย่างเดียวกัน” ภิกษุนั้นอันภิกษุทั้งหลายว่า
กล่าวตักเตือนอย่างนี้ว่า “ท่านอย่าพูดอย่างนั้น ภิกษุทั้งหลายไม่ลำเอียงเพราะ
ความพอใจ ไม่ลำเอียงเพราะความขัดเคือง ไม่ลำเอียงเพราะความหลง และ
ไม่ลำเอียงเพราะความกลัว ท่านประทุษร้ายตระกูล ประพฤติเลวทราม ความ
ประพฤติเลวทรามของท่าน เขาได้เห็นและได้ยินกันทั่ว ตระกูลทั้งหลายที่ท่าน
ประทุษร้าย เขาก็ได้เห็นและได้ยินกันทั่ว ท่านจงออกจากอาวาสนี้ อย่าอยู่
ที่นี้” ภิกษุนั้นอันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวตักเตือนอยู่อย่างนี้ ก็ยังยกย่องอยู่
อย่างนั้น ภิกษุนั้นอันภิกษุทั้งหลายพึงสวดสมนุภาสน์จนครบ ๓ ครั้งเพื่อให้
สละเรื่องนั้น ถ้าเธอกำลังถูกสวดสมนุภาสน์กว่าจะครบ ๓ ครั้ง สละเรื่องนั้นได้
นั่นเป็นการดี ถ้าเธอไม่สละ เป็นสังฆาทิเสส

เรื่องภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๔๓๗] คำว่า ก็ภิกษุ...หมู่บ้านหรือนิคมแห่งใดแห่งหนึ่ง ความว่า หมู่
บ้านก็ดี นิคมก็ดี เมืองก็ดี ชื่อว่าหมู่บ้านและนิคม
คำว่า อยู่อาศัย คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร
เนื่องในหมู่บ้านและนิคมนั้น
ชื่อว่า ตระกูล หมายถึงตระกูล ๔ ได้แก่ ตระกูลกษัตริย์ ตระกูลพราหมณ์
ตระกูลแพศย์และตระกูลศูทร


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑๓. กุลทูสกสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

คำว่า ประทุษร้ายตระกูล คือ ประทุษร้ายตระกูลด้วยดอกไม้ ผลไม้ แป้ง ดิน
เหนียว ไม้สีฟัน ไม้ไผ่ การแพทย์หรือการสื่อสาร
คำว่า มีความประพฤติเลวทราม คือ ปลูกไม้ดอกเองบ้าง ใช้ผู้อื่นปลูกบ้าง
รดน้ำเองบ้าง ใช้ผู้อื่นรดบ้าง เก็บดอกไม้เองบ้าง ใช้ผู้อื่นเก็บบ้าง ร้อยดอกไม้เองบ้าง
ใช้ผู้อื่นร้อยบ้าง
คำว่า เขาได้เห็นและได้ยินกันทั่ว คือ กลุ่มชนที่อยู่เฉพาะหน้าชื่อว่า ได้เห็น
กลุ่มชนที่อยู่ลับหลัง ชื่อว่าได้ยิน
คำว่า ตระกูลทั้งหลายที่เธอประทุษร้าย คือ เมื่อก่อนชาวบ้านมีศรัทธา
กลับกลายเป็นผู้ไม่มีศรัทธา เมื่อก่อนเลื่อมใสกลับกลายเป็นผู้ไม่เลื่อมใส เพราะภิกษุนั้น
คำว่า เขาได้เห็นและได้ยินกันทั่ว คือ กลุ่มชนที่อยู่เฉพาะหน้าชื่อว่าได้เห็น
กลุ่มชนที่อยู่ลับหลังชื่อว่าได้ยิน
คำว่า ภิกษุนั้น ได้แก่ ภิกษุผู้ประทุษร้ายตระกูล
คำว่า อันภิกษุทั้งหลาย ได้แก่ อันภิกษุเหล่าอื่น
อธิบายว่า ภิกษุผู้ได้เห็น ผู้ได้ยินพึงว่ากล่าวตักเตือนภิกษุผู้ประทุษร้ายตระกูลว่า
“ท่านประทุษร้ายตระกูล ประพฤติเลวทราม ความประพฤติเลวทรามของท่าน เขา
ได้เห็นและได้ยินกันทั่ว ตระกูลทั้งหลายที่ท่านประทุษร้าย เขาก็ได้เห็นและได้ยินกันทั่ว
ท่านจงออกจากอาวาสนี้ อย่าอยู่ที่นี้”
ภิกษุนั้นอันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวตักเตือน ก็โต้ตอบภิกษุทั้งหลายว่า “พวก
ภิกษุลำเอียงเพราะความพอใจ ลำเอียงเพราะความขัดเคือง ลำเอียงเพราะความหลง
ลำเอียงเพราะความกลัว ขับภิกษุบางรูป ไม่ขับบางรูป เพราะอาบัติอย่างเดียวกัน”
คำว่า ภิกษุนั้น ได้แก่ ภิกษุผู้ที่ถูกลงโทษนั้น
คำว่า อันภิกษุทั้งหลาย ได้แก่ อันภิกษุเหล่าอื่น
อธิบายว่า ภิกษุผู้ได้เห็น ผู้ได้ยินพึงว่ากล่าวตักเตือนภิกษุผู้ประทุษร้ายตระกูลว่า
“ท่านอย่าพูดอย่างนั้น ภิกษุทั้งหลายไม่ลำเอียงเพราะความพอใจ ไม่ลำเอียงเพราะ


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑๓. กุลทูสกสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

ความขัดเคือง ไม่ลำเอียงเพราะความหลง ไม่ลำเอียงเพราะความกลัว ท่านประทุษ
ร้ายตระกูล ประพฤติเลวทราม ความประพฤติเลวทรามของท่าน เขาได้เห็นและได้
ยินกันทั่ว ตระกูลทั้งหลายที่ท่านประทุษร้าย เขาก็ได้เห็นและได้ยินกันทั่ว ท่านจง
ออกจากอาวาสนี้ อย่าอยู่ที่นี้” พึงว่ากล่าวตักเตือนแม้ครั้งที่ ๒ พึงว่ากล่าวตักเตือน
เธอแม้ครั้งที่ ๓ ถ้าเธอสละได้ นั่นเป็นการดี ถ้าไม่สละ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้ง
หลายได้ยินแล้วไม่ว่ากล่าวตักเตือน ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุนั้นอันภิกษุทั้งหลายพึง
คุมตัวมาสู่ท่ามกลางสงฆ์ว่ากล่าวตักเตือนว่า “ท่านอย่าพูดอย่างนั้น ภิกษุทั้งหลาย
ไม่ลำเอียงเพราะความพอใจ ไม่ลำเอียงเพราะความขัดเคือง ไม่ลำเอียงเพราะ
ความหลง ไม่ลำเอียงเพราะความกลัว ท่านประทุษร้ายตระกูล ประพฤติเลวทราม
ความประพฤติเลวทรามของท่าน เขาได้เห็นและได้ยินกันทั่ว ตระกูลทั้งหลายที่ท่าน
ประทุษร้าย เขาก็ได้เห็นและได้ยินกันทั่ว ท่านจงออกจากอาวาสนี้ อย่าอยู่ที่นี้”
พึงว่ากล่าวตักเตือนเธอแม้ครั้งที่ ๒ พึงว่ากล่าวตักเตือนเธอแม้ครั้งที่ ๓ ถ้าเธอ
สละได้ นั่นเป็นการดี ถ้าไม่สละ ต้องอาบัติทุกกฏ สงฆ์พึงสวดสมนุภาสน์เธอ

วิธีสวดสมนุภาสน์ และกรรมวาจาสวดสมนุภาสน์

สงฆ์พึงสวดสมนุภาสน์ภิกษุนั้นอย่างนี้ คือ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศ
ให้สงฆ์ทราบว่า
[๔๓๘] ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้ ถูกสงฆ์ทำปัพพาชนีย
กรรมแล้วใส่ความภิกษุทั้งหลายว่ามีความลำเอียงเพราะความพอใจ มีความลำเอียง
เพราะความขัดเคือง มีความลำเอียงเพราะความหลง มีความลำเอียงเพราะความกลัว
ภิกษุนั้นไม่ยอมสละเรื่องนั้น ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงสวดสมนุภาสน์ภิกษุชื่อนี้ เพื่อ
ให้สละเรื่องนั้น นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้ถูกสงฆ์ทำปัพพาชนียกรรมแล้ว
ใส่ความภิกษุทั้งหลายว่า มีความลำเอียงเพราะความพอใจ มีความลำเอียงเพราะ
ความขัดเคือง มีความลำเอียงเพราะความหลง มีความลำเอียงเพราะความกลัว
ภิกษุนั้นไม่ยอมสละเรื่องนั้น สงฆ์สวดสมนุภาสน์เธอเพื่อให้สละเรื่องนั้น ท่านรูปใด
เห็นด้วยกับการสวดสมนุภาสน์ภิกษุชื่อนี้เพื่อให้สละเรื่องนั้น ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่าน
รูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑๓. กุลทูสกสิกขาบท บทภาชนีย์

ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่ ๓ ว่า
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ฯลฯ ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
ภิกษุชื่อนี้สงฆ์สวดสมนุภาสน์แล้วเพื่อให้สละเรื่องนั้น สงฆ์เห็นด้วย เพราะ
ฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
[๔๓๙] จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย
จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ต้องอาบัติสังฆาทิเสส เมื่อเธอต้องอาบัติสังฆาทิเสส
อาบัติทุกกฏ(ที่ต้อง) เพราะญัตติ อาบัติถุลลัจจัย(ที่ต้อง) เพราะกรรมวาจา ๒ ครั้ง
ย่อมระงับไป
คำว่า เป็นสังฆาทิเสส ความว่า สำหรับอาบัตินั้น สงฆ์เท่านั้นให้ปริวาส ชัก
เข้าหาอาบัติเดิม ให้มานัตและเรียกเข้าหมู่ คณะทำไม่ได้ ภิกษุรูปเดียวก็ทำไม่ได้
ฉะนั้น จึงตรัสว่า “เป็นสังฆาทิเสส”
คำว่า เป็นสังฆาทิเสส นั้น เป็นการขนานนาม เป็นคำเรียกหมวดอาบัตินั้น
โดยอ้อมนั่นเอง เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกว่า “เป็นสังฆาทิเสส”

บทภาชนีย์

[๔๔๐] กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ไม่สละ ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสส
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ ไม่สละ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ไม่สละ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ต้องอาบัติ
ทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๔๗๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑๓. กุลทูสกสิกขาบท บทสรุป

อนาปัตติวาร

ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๔๔๑] ๑. ภิกษุยังไม่ถูกสวดสมนุภาสน์
๒. ภิกษุผู้ยอมสละ
๓. ภิกษุวิกลจริต
๔. ภิกษุต้นบัญญัติ

กุลทูสกสิกขาบทที่ ๑๓ จบ

บทสรุป

[๔๔๒] ท่านทั้งหลาย ธรรมคือสังฆาทิเสส ๑๓ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้น
แสดงแล้ว คือ ๙ สิกขาบทแรกต้องอาบัติในขณะที่ล่วงละเมิดทีเดียว ๔ สิกขาบท
หลังต้องอาบัติเมื่อสวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง ภิกษุต้องอาบัติข้อใดข้อหนึ่งแล้ว รู้
อยู่แต่ปกปิดไว้สิ้นจำนวนวันเท่าใด ภิกษุนั้นพึงอยู่ปริวาสด้วยความไม่ปรารถนาสิ้น
วันเท่านั้น ภิกษุอยู่ปริวาสแล้วต้องประพฤติวัตรเพื่อมานัตสำหรับภิกษุเพิ่มขึ้นอีก ๖
ราตรี ภิกษุผู้ประพฤติมานัตแล้วถูกสงฆ์เรียกเข้าหมู่ในสีมามีภิกษุสงฆ์ ๒๐ รูป ถ้า
ภิกษุสงฆ์ ๒๐ รูป ขาดไปแม้เพียง ๑ รูป เรียกภิกษุนั้นเข้าหมู่ ภิกษุนั้นไม่เป็นอัน
สงฆ์เรียกเข้าหมู่ และภิกษุเหล่านั้นควรถูกตำหนิ นี้เป็นการทำที่สมควรในกรรมนั้น
ข้าพเจ้าขอถามท่านทั้งหลายในธรรมคือสังฆาทิเสส ๑๓ สิกขาบทนั้นว่า
“ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ”
ข้าพเจ้าขอถามเป็นครั้งที่ ๒ ว่า “ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ”
ข้าพเจ้าขอถามเป็นครั้งที่ ๓ ว่า “ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ”
ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วในธรรมคือสังฆาทิเสส ๑๓ สิกขาบทนี้ เพราะฉะนั้น
จึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้

เตรสกัณฑ์ จบ


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑๓. กุลทูสกสิกขาบท รวมสิกขาบทที่มีในสังฆาทิเสสกัณฑ์

รวมสิกขาบทที่มีในสังฆาทิเสสกัณฑ์

สังฆาทิเสสกัณฑ์มี ๑๓ สิกขาบท คือ
๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท ว่าด้วยการจงใจทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน
๒. กายสังสัคคสิกขาบท ว่าด้วยการถูกต้องกายกับมาตุคาม
๓. ทุฏฐุลลวาจาสิกขาบท ว่าด้วยการพูดเกี้ยวหญิง
๔. อัตตกามปาริจริยสิกขาบท ว่าด้วยการให้บำเรอความใคร่ของตน
๕. สัญจริตตสิกขาบท ว่าด้วยการชักสื่อ
๖. กุฏิการสิกขาบท ว่าด้วยการก่อสร้างกุฎี
๗. วิหารการสิกขาบท ว่าด้วยการสร้างวิหาร
๘. ปฐมทุฏฐโทสสิกขาบท ว่าด้วยภิกษุขัดเคืองมีโทสะ สิกขาบทที่ ๑
๙. ทุติยทุฏฐโทสสิกขาบท ว่าด้วยภิกษุขัดเคืองมีโทสะ สิกขาบทที่ ๒
๑๐. สังฆเภทสิกขาบท ว่าด้วยการทำสงฆ์ให้แตกกัน
๑๑. สังฆเภทานุวัตตกสิกขาบท ว่าด้วยภิกษุประพฤติตามและกล่าวสนับสนุน
ภิกษุผู้ทำสงฆ์ให้แตกกัน
๑๒. ทุพพจสิกขาบท ว่าด้วยภิกษุเป็นคนว่ายาก
๑๓. กุลทูสกสิกขาบท ว่าด้วยภิกษุผู้ประทุษร้ายตระกูล

สังฆาทิเสสกัณฑ์ จบ


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๓. อนิยตกัณฑ์] ๑. ปฐมอนิยตสิกขาบท นิทานวัตถุ

๓. อนิยตกัณฑ์

ท่านทั้งหลาย ธรรมคืออนิยต ๒ สิกขาบทเหล่านี้ มาถึงวาระที่จะยกขึ้นแสดง
เป็นข้อ ๆ ตามลำดับ

๑. ปฐมอนิยตสิกขาบท
ว่าด้วยการนั่งในที่ลับตากับหญิงสองต่อสอง
เรื่องพระอุทายี

[๔๔๓] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระอุทายีเป็นพระประจำ
ตระกูลในกรุงสาวัตถี ไปมาหาสู่ตระกูลทั้งหลาย สมัยนั้น หญิงสาวตระกูลอุปัฏฐาก
ของท่านพระอุทายีอันมารดาบิดาได้ยกให้ชายหนุ่มตระกูลหนึ่ง เวลาเช้าวันหนึ่ง
ท่านพระอุทายีครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรไปที่ตระกูลนั้น ครั้นถึงแล้วถาม
ชาวบ้านว่า “หญิงสาวชื่อนี้ไปไหน”
ชาวบ้านตอบว่า “เขายกให้ชายหนุ่มตระกูลโน้นไปแล้ว เจ้าข้า”
ตระกูลนั้นก็เป็นอุปัฏฐากของท่านพระอุทายี ท่านจึงไปที่นั้นถามว่า “หญิง
สาวชื่อนี้อยู่ไหน”
ชาวบ้านตอบว่า “นางนั่งอยู่ในห้องเจ้าข้า”
ท่านพระอุทายีเข้าไปหาหญิงสาวนั้น นั่งบนอาสนะที่กำบังในที่ลับพอจะทำการได้
เจรจา กล่าวธรรมเหมาะแก่กาลกับหญิงสาวนั้นสองต่อสอง

นางวิสาขามิคารมารดาตำหนิพระอุทายี

สมัยนั้น นางวิสาขามิคารมารดา มีบุตรหลานมาก มีบุตรหลานล้วนไม่มีโรค
ได้รับยกย่องว่าเป็นมิ่งมงคล พวกชาวบ้านเชิญนางวิสาขาไปบริโภคเป็นคนแรกใน
งานบุญ งานมหรสพ งานฉลอง นางวิสาขามิคารมารดาได้รับเชิญไปสู่ตระกูลนั้น นาง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๔๗๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๓. อนิยตกัณฑ์] ๑. ปฐมอนิยตสิกขาบท พระบัญญัติ

ได้เห็นท่านพระอุทายีนั่งบนอาสนะที่กำบังในที่ลับพอจะทำการได้กับหญิงสาว ครั้น
เห็นแล้วจึงกล่าวกับท่านพระอุทายีว่า “พระคุณเจ้า การที่ท่านนั่งบนอาสนะที่กำบัง
ในที่ลับ พอจะทำการได้กับมาตุคามสองต่อสองเช่นนี้ ไม่เหมาะ ไม่สมควร ท่านไม่
ปรารถนาด้วยธรรมนั้นก็จริง ถึงอย่างนั้น ชาวบ้านที่ยังไม่เลื่อมใสก็ทำให้ เชื่อยาก”
ท่านพระอุทายี แม้ถูกนางวิสาขาว่ากล่าวตักเตือนก็ไม่เชื่อ
นางวิสาขาจึงออกไปบอกเรื่องนั้นให้ภิกษุทั้งหลายทราบ
บรรดาภิกษุผู้มักน้อยสันโดษ ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า
“ไฉนท่านพระอุทายีจึงนั่งบนอาสนะที่กำบังในที่ลับพอจะทำการได้กับมาตุคามสอง
ต่อสองเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิท่านพระอุทายีโดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำ
เรื่องนี้กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามท่านพระอุทายีว่า “อุทายี ทราบว่า เธอนั่งบนอาสนะที่กำบังในที่ลับพอจะ
ทำการได้กับมาตุคามสองต่อสอง จริงหรือ” ท่านทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษ การกระทำของเธอไม่สมควร ไม่
คล้อยตาม ฯลฯ โมฆบุรุษ ไฉนเธอจึงนั่งบนอาสนะที่กำบังในที่ลับพอจะทำการได้กับ
มาตุคาม สองต่อสองเล่า โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้
เลื่อมใส ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง ดังนี้

พระบัญญัติ

[๔๔๔] ก็ ภิกษุใดนั่งบนอาสนะที่กำบังในที่ลับพอจะทำการได้กับมาตุคาม
สองต่อสอง อุบาสิกามีวาจาเชื่อถือได้ ได้เห็นภิกษุนั่งกับมาตุคามนั้นแล้วกล่าว
โทษด้วยอาบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดาอาบัติ ๓ อย่าง คือ ปาราชิก สังฆาทิเสส
หรือปาจิตตีย์ ภิกษุนั้นยอมรับการนั่ง พึงถูกปรับด้วยอาบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๔๗๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๓. อนิยตกัณฑ์] ๑. ปฐมอนิยตสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

บรรดาอาบัติ ๓ อย่าง คือ ปาราชิก สังฆาทิเสส หรือปาจิตตีย์ อีกอย่างหนึ่ง
อุบาสิกาผู้มีวาจาเชื่อถือได้นั้น กล่าวโทษด้วยอาบัติใด ภิกษุนั้นพึงถูกปรับด้วย
อาบัตินั้น อาบัตินี้ชื่อว่า อนิยต

เรื่องพระอุทายี จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๔๔๕] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีภาคตรัสว่า ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ที่ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า มาตุคาม ได้แก่ หญิงมนุษย์ ไม่ใช่นางยักษ์ ไม่ใช่นางเปรต ไม่ใช่สัตว์
ดิรัจฉานตัวเมีย หญิงมนุษย์นั้นโดยที่สุดกระทั่งเด็กหญิงซึ่งเกิดในวันนั้น หญิงโตกว่า
นี้ไม่ต้องกล่าวถึง
คำว่า กับ คือ โดยความเป็นอันเดียวกัน
คำว่า สองต่อสอง ได้แก่ ภิกษุกับมาตุคาม
ที่ชื่อว่า ที่ลับ ได้แก่ ที่ลับตาและลับหู ที่ชื่อว่า ที่ลับตา หมายถึง ที่ซึ่งเมื่อ
บุคคลขยิบตา ยักคิ้วหรือผงกศีรษะขึ้น ใครๆ ก็ไม่สามารถแลเห็นได้ ที่ชื่อว่า ที่ลับหู
หมายถึง ที่ซึ่งไม่มีใครสามารถได้ยินถ้อยคำที่พูดกันตามปกติได้
อาสนะที่ชื่อว่า ที่กำบัง คือ อาสนะที่กำบังด้วยฝา บานประตู เสื่อลำแพน ม่าน
ต้นไม้ เสา หรือพ้อมอย่างใดอย่างหนึ่ง
คำว่า พอจะทำการได้ คือ อาจจะเสพเมถุนธรรมกันได้
คำว่า นั่ง หมายความว่า เมื่อมาตุคามนั่ง ภิกษุนั่งใกล้หรือนอนใกล้ เมื่อ
ภิกษุนั่ง มาตุคามนั่งใกล้หรือนอนใกล้ หรือนั่งทั้งสองคน หรือนอนทั้งสองคน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๔๗๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๓. อนิยตกัณฑ์] ๑. ปฐมอนิยตสิกขาบท บทภาชนีย์

ที่ชื่อว่า มีวาจาเชื่อถือได้ ถือ หญิงผู้บรรลุผล๑ ผู้ตรัสรู้ธรรม ผู้เข้าใจศาสนาดี
ชื่อว่า อุบาสิกา ได้แก่ หญิงผู้ถึงพระพุทธเป็นสรณะ ถึงพระธรรมเป็นสรณะ
ถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ
คำว่า ได้เห็น คือ ได้พบ
อุบาสิกามีวาจาเชื่อถือได้ กล่าวโทษด้วยอาบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดา
อาบัติ ๓ อย่าง คือ ปาราชิก สังฆาทิเสส หรือปาจิตตีย์ ภิกษุยอมรับการนั่ง พึงถูก
ปรับ อาบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดาอาบัติ ๓ อย่าง คือ ปาราชิก สังฆาทิเสส หรือ
ปาจิตตีย์ อีกประการหนึ่ง อุบาสิกาผู้มีวาจาเชื่อถือนั้นกล่าวโทษด้วยอาบัติใด ภิกษุ
นั้นพึงถูกปรับด้วยอาบัตินั้น

บทภาชนีย์
ปฏิญญาตกรณะ ๒
เห็นกำลังนั่งเสพเมถุน

[๔๔๖] ถ้าอุบาสิกานั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ากำลังนั่งเสพ
เมถุนกับมาตุคาม” และภิกษุนั้นก็ยอมรับการนั่งนั้น พึงปรับตามอาบัติ
ถ้าอุบาสิกานั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ากำลังนั่งเสพเมถุนกับ
มาตุคาม” ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “อาตมานั่งจริง แต่ไม่ได้เสพเมถุนธรรม” พึง
ปรับอาบัติเพราะนั่ง
ถ้าอุบาสิกานั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ากำลังนั่งเสพเมถุนกับ
มาตุคาม” ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “อาตมาไม่ได้นั่ง แต่นอน” พึงปรับอาบัติ
เพราะนอน

เชิงอรรถ :
๑ หญิงผู้บรรลุผล หมายเอาหญิงผู้ได้โสดาปัตติผลเป็นอย่างต่ำ (ดู วิ.อ. ๒/๔๔๕/๑๓๕)
๒ คำว่า ปฏิญญาตกรณะ แปลว่า ทำตามรับ ได้แก่ปรับอาบัติตามปฏิญญาของจำเลยผู้รับความจริง,
สารภาพความจริง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๔๗๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๓. อนิยตกัณฑ์] ๑. ปฐมอนิยตสิกขาบท บทภาชนีย์

ถ้าอุบาสิกานั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ากำลังนั่งเสพเมถุนกับ
มาตุคาม” ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “อาตมาไม่ได้นั่ง แต่ยืนอยู่” ไม่พึงปรับอาบัติ

เห็นกำลังนอนเสพเมถุน

[๔๔๗] ถ้าอุบาสิกานั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ากำลังนอน
เสพเมถุนกับมาตุคาม” และภิกษุนั้นยอมรับการนอนนั้น พึงปรับตามอาบัติ
ถ้าอุบาสิกานั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ากำลังนอนเสพเมถุนกับ
มาตุคาม” ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “อาตมานอนจริง แต่ไม่ได้เสพเมถุน” พึง
ปรับอาบัติเพราะนอน
ถ้าอุบาสิกานั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ากำลังนอนเสพเมถุนกับ
มาตุคาม” ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “อาตมาไม่ได้นอน แต่นั่งอยู่” พึงปรับอาบัติ
เพราะนั่ง
ถ้าอุบาสิกานั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ากำลังนอนเสพเมถุนกับ
มาตุคาม” ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “อาตมาไม่ได้นอน แต่ยืนอยู่” ไม่พึงปรับอาบัติ

เห็นกำลังนั่งถูกต้องกาย

[๔๔๘] ถ้าอุบาสิกานั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ากำลังนั่งถูก
ต้องกายกับมาตุคาม” และภิกษุนั้นยอมรับการนั่งนั้น พึงปรับตามอาบัติ
ถ้าอุบาสิกานั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ากำลังนั่งถูกต้องกายกับ
มาตุคาม” ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “อาตมานั่งจริง แต่ไม่ได้ถูกต้องกาย” พึงปรับ
อาบัติเพราะการนั่ง ฯลฯ “อาตมาไม่ได้นั่ง แต่นอนอยู่” พึงปรับอาบัติเพราะนอน
ฯลฯ “อาตมาไม่ได้นั่ง แต่ยืนอยู่” ไม่พึงปรับอาบัติ

เห็นกำลังนอนถูกต้องกาย

ถ้าอุบาสิกานั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ากำลังนอนถูกต้องกาย
กับมาตุคาม” และภิกษุนั้นยอมรับการนอนนั้น พึงปรับตามอาบัติ


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๓. อนิยตกัณฑ์] ๒. ทุติยอนิยตสิกขาบท บทภาชนีย์

ถ้าอุบาสิกานั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ากำลังนอนถูกต้องกาย
กับมาตุคาม” ถ้าภิกษุกล่าวอย่างนี้ว่า “อาตมานอนจริง แต่ไม่ได้ถูกต้องกาย” พึง
ปรับอาบัติเพราะนอน ฯลฯ “อาตมาไม่ได้นอนแต่นั่งอยู่” พึงปรับอาบัติเพราะนั่ง
ฯลฯ “อาตมาไม่ได้นอน แต่ยืนอยู่” ไม่พึงปรับอาบัติ

เห็นนั่งในที่ลับ

[๔๔๙] ถ้าอุบาสิกานั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านั่งบนอาสนะ
ที่กำบังในที่ลับพอจะทำการได้กับมาตุคามสองต่อสอง” และภิกษุนั้นยอมรับการนั่ง
นั้น พึงปรับอาบัติเพราะนั่ง ฯลฯ “อาตมาไม่ได้นั่ง แต่นอนอยู่” พึงปรับอาบัติ
เพราะนอน ฯลฯ “อาตมาไม่ได้นั่ง แต่ยืนอยู่” ไม่พึงปรับอาบัติ

เห็นนอนในที่ลับ

[๔๕๐] ถ้าอุบาสิกานั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านอนบนอาสนะ
ที่กำบังในที่ลับพอจะทำการได้กับมาตุคามสองต่อสอง” และภิกษุนั้นยอมรับการ
นอนนั้น พึงปรับอาบัติเพราะนอน ฯลฯ “อาตมาไม่ได้นอน แต่นั่งอยู่” พึงปรับอาบัติ
เพราะนั่ง ฯลฯ “อาตมาไม่ได้นอน แต่ยืนอยู่” ไม่พึงปรับอาบัติ
คำว่า อนิยต คือ ไม่แน่ว่าจะเป็นปาราชิก เป็นสังฆาทิเสส หรือเป็นปาจิตตีย์
[๔๕๑] ภิกษุยอมรับการไป ยอมรับการนั่ง ยอมรับอาบัติ พึงปรับตามอาบัติ
ภิกษุยอมรับการไป ไม่ยอมรับการนั่ง ยอมรับอาบัติ พึงปรับตามอาบัติ
ภิกษุยอมรับการไป ยอมรับการนั่ง ไม่ยอมรับอาบัติ พึงปรับอาบัติเพราะนั่ง
ภิกษุยอมรับการไป ไม่ยอมรับการนั่ง ไม่ยอมรับอาบัติ ไม่พึงปรับอาบัติ
ภิกษุไม่ยอมรับการไป ยอมรับการนั่ง ยอมรับอาบัติ พึงปรับตามอาบัติ
ภิกษุไม่ยอมรับการไป ไม่ยอมรับการนั่ง ยอมรับอาบัติ พึงปรับตามอาบัติ
ภิกษุไม่ยอมรับการไป ยอมรับการนั่ง ไม่ยอมรับอาบัติ พึงปรับอาบัติเพราะนั่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๔๗๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๓. อนิยตกัณฑ์] ๒. ทุติยอนิยตสิกขาบท นิทานวัตถุ

ภิกษุไม่ยอมรับการไป ไม่ยอมรับการนั่ง ไม่ยอมรับอาบัติ ไม่พึงปรับอาบัติ

ปฐมอนิยตสิกขาบท จบ

๒. ทุติยอนิยตสิกขาบท
ว่าด้วยการนั่งในที่ลับหูกับหญิงสองต่อสอง
เรื่องพระอุทายี

[๔๕๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระอุทายีคิดว่า “พระผู้มีพระ
ภาคทรงห้ามการนั่งบนอาสนะที่กำบังในที่ลับพอจะทำการได้กับมาตุคามสองต่อสอง”
จึงนั่งเจรจา กล่าวธรรมเหมาะแก่กาลกับหญิงสาวคนเดิม

นางวิสาขามิคารมารดาตำหนิพระอุทายี

แม้ครั้งที่ ๒ นางวิสาขามิคารมารดาได้รับเชิญไปสู่ตระกูลนั้น ได้เห็นท่านพระ
อุทายีนั่งในที่ลับกับหญิงสาวสองต่อสอง จึงกล่าวกับท่านพระอุทายีว่า “พระคุณเจ้า
การที่ท่านนั่งในที่ลับกับหญิงสาวเช่นนี้ ไม่เหมาะ ไม่สมควร ท่านไม่ปรารถนาเมถุนก็จริง
ถึงอย่างนั้น ชาวบ้านที่ยังไม่เลื่อมใสก็จะทำให้เชื่อยาก”
ท่านพระอุทายีถูกนางวิสาขาว่ากล่าวตักเตือนก็ไม่เชื่อ
นางวิสาขาจึงออกไปบอกเรื่องนั้นให้ภิกษุทั้งหลายทราบ
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนท่าน
พระอุทายีจึงนั่งในที่ลับกับหญิงสาวสองต่อสองเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิท่าน
พระอุทายีโดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามท่านพระอุทายีว่า “อุทายี ทราบว่า เธอนั่งในที่ลับกับหญิงสาวสองต่อสอง
จริงหรือ” ท่านทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า
“โมฆบุรุษ ไฉนเธอจึงนั่งในที่ลับกับหญิงสาวสองต่อสองเล่า โมฆบุรุษ การกระทำ


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๓. อนิยตกัณฑ์] ๒. ทุติยอนิยตสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

อย่างนี้มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลาย
ยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง ดังนี้

พระบัญญัติ

[๔๕๓] ก็ สถานที่ไม่ใช่อาสนะที่กำบัง ไม่พอจะทำการได้ แต่เป็นสถาน
ที่พอจะพูดเกี้ยวมาตุคามด้วยวาจาชั่วหยาบได้ ก็ภิกษุใดนั่งบนอาสนะเช่นนั้น
ในที่ลับกับมาตุคามสองต่อสอง อุบาสิกามีวาจาเชื่อถือได้ ได้เห็นภิกษุนั่งกับ
มาตุคามนั้นแล้วกล่าวโทษด้วยอาบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดาอาบัติ ๒ อย่าง
คือ สังฆาทิเสส หรือปาจิตตีย์ ภิกษุยอมรับการนั่ง พึงถูกปรับด้วยอาบัติอย่าง
ใดอย่างหนึ่ง บรรดาอาบัติ ๒ อย่าง คือ สังฆาทิเสส หรือปาจิตตีย์ อีก
อย่างหนึ่ง อุบาสิกาผู้มีวาจาเชื่อถือได้นั้นกล่าวโทษด้วยอาบัติใด ภิกษุนั้นพึงถูก
ปรับด้วยอาบัตินั้น อาบัตินี้ชื่อว่า อนิยต

เรื่องพระอุทายี จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๔๕๔] คำว่า ก็ สถานที่ไม่ใช่อาสนะที่กำบัง อธิบายว่า อาสนะเปิดเผยคือ
ที่ไม่ได้กำบังด้วยฝา บานประตู เสื่อลำแพน ม่านบัง ต้นไม้ เสา หรือพ้อมอย่างใด
อย่างหนึ่ง
คำว่า ไม่พอจะทำการได้ คือ ไม่อาจจะเสพเมถุนกันได้
คำว่า แต่เป็นสถานที่พอจะพูดเกี้ยวมาตุคามด้วยวาจาชั่วหยาบได้ คือ
อาจพูดเกี้ยวมาตุคามด้วยคำชั่วหยาบ
คำว่า ก็... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
คำว่า บนอาสนะเช่นนั้น คือ บนอาสนะเห็นปานนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๔๘๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๓. อนิยตกัณฑ์] ๒. ทุติยอนิยตสิกขาบท บทภาชนีย์

ที่ชื่อว่า มาตุคาม ได้แก่ หญิงมนุษย์ ไม่ใช่นางยักษ์ ไม่ใช่นางเปรต ไม่ใช่สัตว์
ดิรัจฉานตัวเมีย แต่เป็นหญิงที่รู้เดียงสา สามารถรับรู้ถ้อยคำสุภาษิต ทุพภาษิต คำ
หยาบและคำสุภาพ
คำว่า กับ คือ โดยความเป็นอันเดียวกัน
คำว่า สองต่อสอง ได้แก่ ภิกษุกับมาตุคาม
ที่ชื่อว่า ที่ลับ ได้แก่ ที่ลับตาและลับหู ที่ชื่อว่า ที่ลับตา หมายถึง สถานที่ซึ่ง
เมื่อบุคคลขยิบตา ยักคิ้ว หรือผงกศีรษะขึ้นใครๆ ก็ไม่สามารถเห็นได้ ที่ชื่อว่า ที่ลับหู
หมายถึง ที่ซึ่งไม่มีใครสามารถได้ยินถ้อยคำที่พูดกันตามปกติได้
คำว่า นั่ง หมายความว่า เมื่อมาตุคามนั่ง ภิกษุนั่งใกล้หรือนอนใกล้ เมื่อ
ภิกษุนั่ง มาตุคามนั่งใกล้หรือนอนใกล้ หรือนั่งทั้งสองคน หรือนอนทั้งสองคน
อุบาสิกาชื่อว่า มีวาจาเชื่อถือได้ คือ หญิงผู้บรรลุผล ผู้ตรัสรู้ธรรม ผู้เข้าใจ
ศาสนาดี
ที่ชื่อว่า อุบาสิกา ได้แก่ หญิงผู้ถึงพระพุทธเป็นสรณะ ถึงพระธรรมเป็นสรณะ
ถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ
คำว่า ได้เห็น คือ ได้พบ
อุบาสิกามีวาจาเชื่อถือได้ กล่าวโทษด้วยอาบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดาอาบัติ
๒ อย่าง คือ สังฆาทิเสส หรือปาจิตตีย์ ภิกษุยอมรับการนั่ง พึงถูกปรับอาบัติอย่างใด
อย่างหนึ่ง บรรดาอาบัติ ๒ อย่าง คือ สังฆาทิเสส หรือปาจิตตีย์ อีกประการหนึ่ง
อุบาสิกาผู้มีวาจาเชื่อถือได้นั้น กล่าวโทษด้วยอาบัติใด ภิกษุนั้น พึงถูกปรับด้วย
อาบัตินั้น

บทภาชนีย์
ปฏิญญาตกรณะ
เห็นกำลังนั่งถูกต้องกาย

[๔๕๕] ถ้าอุบาสิกานั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ากำลังนั่งถูก
ต้องกายกับมาตุคาม” และภิกษุนั้นก็ยอมรับการนั่ง พึงปรับตามอาบัติ


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๓. อนิยตกัณฑ์] ๒. ทุติยอนิยตสิกขาบท บทภาชนีย์

ถ้าอุบาสิกานั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ากำลังนั่งถูกต้องกายกับ
มาตุคาม” ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “อาตมานั่งจริง แต่ไม่ได้ถูกต้องกาย” พึงปรับ
อาบัติเพราะนั่ง
ถ้าอุบาสิกานั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ากำลังนั่งถูกต้องกายกับ
มาตุคาม” ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “อาตมาไม่ได้นั่ง แต่นอนอยู่” พึงปรับอาบัติ
เพราะนอน
ถ้าอุบาสิกานั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ากำลังนั่งถูกต้องกายกับ
มาตุคาม” ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “อาตมาไม่ได้นั่ง แต่นอนอยู่” ไม่พึงปรับอาบัติ

เห็นกำลังนอนถูกต้องกาย

ถ้าอุบาสิกานั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ากำลังนอนถูกต้องกายกับ
มาตุคาม” และภิกษุนั้นยอมรับการนอนนั้น พึงปรับตามอาบัติ ฯลฯ “อาตมานอนจริง
แต่ไม่ได้ถูกต้องกาย” พึงปรับอาบัติเพราะนอน ฯลฯ “อาตมาไม่ได้นอน แต่นั่งอยู่”
พึงปรับอาบัติเพราะนั่ง ฯลฯ “อาตมาไม่ได้นอน แต่ยืนอยู่” ไม่พึงปรับอาบัติ

ได้ยินกำลังนั่งพูดเกี้ยว

ถ้าอุบาสิกานั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ดิฉันได้ยินพระคุณเจ้ากำลังนั่งพูดเกี้ยว มาตุ
คามด้วยวาจาชั่วหยาบ” และภิกษุนั้นยอมรับการนั่ง พึงปรับตามอาบัติ
ถ้าอุบาสิกานั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ดิฉันได้ยินพระคุณเจ้ากำลังนั่งพูดเกี้ยวมาตุ
คามด้วยวาจาชั่วหยาบ” ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “อาตมานั่งจริง แต่ไม่ได้พูด
เกี้ยวหญิงด้วยวาจาชั่วหยาบ” พึงปรับอาบัติเพราะนั่ง ฯลฯ “อาตมาไม่ได้นั่ง แต่
นอนอยู่” พึงปรับอาบัติเพราะนอน ฯลฯ “อาตมาไม่ได้นั่ง แต่ยืนอยู่” ไม่พึงปรับ
อาบัติ

ได้ยินกำลังนอนพูดเกี้ยว

ถ้าอุบาสิกานั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ดิฉันได้ยินพระคุณเจ้ากำลังนอนพูดเกี้ยว
มาตุคามด้วยวาจาชั่วหยาบ” และภิกษุนั้นยอมรับการนอน พึงปรับตามอาบัติ ฯลฯ


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๓. อนิยตกัณฑ์] ๒. ทุติยอนิยตสิกขาบท บทภาชนีย์

“อาตมานอนจริง แต่ไม่ได้พูดเกี้ยวมาตุคามด้วยวาจาชั่วหยาบ” พึงปรับอาบัติเพราะ
นอน ฯลฯ “อาตมาไม่ได้นอน แต่นั่งอยู่” พึงปรับอาบัติเพราะนั่ง ฯลฯ “อาตมาไม่
ได้นอน แต่ยืนอยู่” ไม่พึงปรับอาบัติ

เห็นนั่งในที่ลับ

[๔๕๖] ถ้าอุบาสิกานั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านั่งในที่ลับกับ
มาตุคามสองต่อสอง” และภิกษุนั้นก็ยอมรับการนั่ง พึงปรับอาบัติเพราะนั่ง ฯลฯ
“อาตมาไม่ได้นั่ง แต่นอนอยู่” พึงปรับอาบัติเพราะนอน ฯลฯ “อาตมาไม่ได้นั่ง แต่
ยืนอยู่” ไม่พึงปรับอาบัติ

เห็นนอนในที่ลับ

ถ้าอุบาสิกานั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านอนในที่ลับกับมาตุคาม
สองต่อสอง” และภิกษุนั้นยอมรับการนอน พึงปรับอาบัติเพราะนอน ฯลฯ “อาตมา
ไม่ได้นอน แต่นั่งอยู่” พึงปรับอาบัติเพราะนั่ง ฯลฯ “อาตมาไม่ได้นอน แต่ยืนอยู่”
ไม่พึงปรับอาบัติ
คำว่า แม้นี้ พระผู้มีพระภาคตรัสเทียบสิกขาบทก่อน
คำว่า อนิยต คือ ไม่แน่ว่าจะเป็นสังฆาทิเสส หรือเป็นปาจิตตีย์
[๔๕๗] ภิกษุยอมรับการไป ยอมรับการนั่ง ยอมรับอาบัติ พึงปรับตาม
อาบัติ
ภิกษุยอมรับการไป ไม่ยอมรับการนั่ง ยอมรับอาบัติ พึงปรับตามอาบัติ
ภิกษุยอมรับการไป ยอมรับการนั่ง ไม่ยอมรับอาบัติ พึงปรับอาบัติเพราะ
การนั่ง
ภิกษุยอมรับการไป ไม่ยอมรับการนั่ง ไม่ยอมรับอาบัติ ไม่พึงปรับอาบัติ
ภิกษุไม่ยอมรับการไป ยอมรับการนั่ง ยอมรับอาบัติ พึงปรับตามอาบัติ
ภิกษุไม่ยอมรับการไป ไม่ยอมรับการนั่ง ยอมรับอาบัติ พึงปรับตามอาบัติ


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๓. อนิยตกัณฑ์] ๒. ทุติยอนิยตสิกขาบท รวมสิกขาบทที่มีในอนิยตกัณฑ์

ภิกษุไม่ยอมรับการไป ยอมรับการนั่ง ไม่ยอมรับอาบัติ พึงปรับอาบัติเพราะ
การนั่ง
ภิกษุไม่ยอมรับการไป ไม่ยอมรับการนั่ง ไม่ยอมรับอาบัติ ไม่พึงปรับอาบัติ

ทุติยอนิยตสิกขาบท จบ

บทสรุป

[๔๕๘] ท่านทั้งหลาย ธรรมคืออนิยต ๒ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว
ข้าพเจ้าขอถามท่านทั้งหลายในธรรมคืออนิยต ๒ สิกขาบทนั้นว่า “ท่าน
ทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ”
ข้าพเจ้าขอถามเป็นครั้งที่ ๒ ว่า “ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ”
ข้าพเจ้าขอถามเป็นครั้งที่ ๓ ว่า “ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ”
ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วในธรรมคืออนิยต ๒ สิกขาบทนี้ เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง
ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้

รวมสิกขาบทที่มีในอนิยตกัณฑ์

อนิยตกัณฑ์มี ๒ สิกขาบท คือ
๑. ปฐมอนิยตสิกขาบท ว่าด้วยการนั่งในที่ลับตากับหญิงสองต่อสอง
๒. ทุดิยอนิยตสิกขาบท ว่าด้วยการนั่งในที่ลับหูกับหญิงสองต่อสอง
พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐและผู้มีความคงที่ ทรงบัญญัติไว้ดีแล้ว

อนิยตกัณฑ์ จบ


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๑ วินัยปิฎกที่ ๐๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑ จบ





eXTReMe Tracker