ความรู้เกี่ยวกับสถานีฐาน องค์ประกอบของสถานีฐาน พิกัดที่ตั้งของสถานีฐาน ติดต่อ

องค์ประกอบของสถานีฐาน

  1. เสาสัญญาณ ตัวเสาตัวนี้มีราคาแพง

  2. สายอากาศ (Antenna) เอาไว้ รับ/ส่งสัญญาณคลื่นวิทยุ ตามทิศทางที่หันไป

  3. สาย feeder เป็นสายนำสัญญาณที่มาจากสายอากาศเข้ามาที่อุปกรณ์ BTS

  4. surg protection ไว้กันภัยที่เกิดจาก ฟ้าผ่า

  5. อุปกรณ์ BTS เป็นตัวกลางในการรับ/ส่ง สัญญาณ ระหว่าง เครือข่าย กับผู้ใช้งาน

    เพื่อควบคุมการทำงานระหว่าง สถานีฐานกับเครื่องโทรศัพท์ ที่อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบของสถานี

  6. rectifier สำหรับแปลงไฟให้กับตัวอุปกณ์ภายในสถานีฐาน เพราะอุปกรณ์ต่างๆ

    ไม่ได้ใช้ไฟกระแสสลับ (AC) โดยตรง

  7. battery สำรอง สำหรับป้องกันในกรณีที่ไฟฟ้าดับ ซึ่งโดยปกติจะสามารถจ่ายไฟให้กับอุปกรณ์

    ในสถานีฐานได้ประมาณ 2-3 ชั่วโมง เพื่อให้ทันต่อการแก้ไขปัญหา

  8. .อุปกรณ์สื่อสัญญาณ (Transmission) เป็นอุปกรณ์ที่นำสัญญาณจากภายนอกสถานีฐาน

    ซึ่งเป็นสัญญาณที่วิ่งในเครือข่ายของระบบเข้ามาที่สถานีฐานโดยจะนำไปต่อเข้ากับ อุปกรณ์สถานีฐาน

  9. แอร์ เนื่องจากอุปกรณ์ทั้งหลายในสถานีฐาน เมื่อทำงานอยู่จะมีความร้อนมาก อุปกรณ์ต่าง ๆ ร้อนมาก

    อาจทำให้เสียได้ เลยต้องเปิดแอร์ด้วย ปกติจะใช้ 2 ตัวสำหรับสลับกันเปิดใช้งานและในกรณีที่เสียไป 1 ตัว

  10. .ชุดอุปกรณ์ควบคุมไฟฟ้า เช่น เบรกเกอร์ เพื่อจ่ายไฟฟ้า AC เข้ามายังอุปกรณ์สถานี

    แต่จะเข้าไปที่ rectifier เพื่อแปลงไฟให้เหมาะสมก่อน

    สถานีฐานจะมีลักษณะเเละรูปเเบบของเสาที่เเตกต่างกันออกไปซึ่งจะขึ้นอยู่กับการติดตั้งให้เหมาะสมกับสภาพเเวดล้อมข้อบังคับในเรื่องต่างๆโดยสามารถเเยกรูปเเบบต่างๆได้ดั้งนี้

    แบบ Self Support

    รูปแบบของเสาโทรคมนาคมประเภทนี้เป็นเสาสูง มีฐานที่กว้างใหญ่ รองรับอุปกรณ์ทุกขนาดได้ดี นิยมใช้ในไทย มีความสูง 30 -120 เมตร มีหลายแบบตามการใช้งาน มีทั้ง 3 ขา 4 ขา มีบันไดให้ปีน

    ด้านในเสา มีแพรตฟอร์มให้พักเป็นระยะ มีความแข็งแรงมั่นคงมาก โดยถูกออกแบบให้ตั้งยืนได้ด้วยตนเอง ไม่ต้องมีสายยึดโยงกับโครงเสากับพื้นที่ติดตั้ง จึงมีความเหมาะสมสำหรับการติดตั้งเสา

    โทรคมนาคมบนบริเวณที่มีพื้นที่จำกัดตั้งอยู่บนพื้นดินแนวราบ เสาโทรคมนาคมแบบนี้ต้องสามารถยืนได้อย่างนิ่งและมั่นคง เพื่อรองรับแรงลมพายุ และสามารถรับน้ำหนักอุปกรณ์ส่งสัญญาณได้

    มากกว่าเสาโทรคมนาคมคมรูปแบบอื่นๆซึ่งจะทำให้การรับและส่งสัญญาณโทรคมนาคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    แบบ Guyed Tower

    รูปแบบของเสาโทรคมนาคมประเภทนี้เป็น โครงเหล็กที่เชื่อมชิ้นส่วนเหล็กให้เป็นโครงเสา ถูกออกแบบมาให้เป็นงานเสาที่ต้องมีสลิงยึดโยงไว้ 3 ด้านยึดโยงโครงเหล็กกับฐานรากอีกทอดหนึ่ง

    เพื่อทำหน้าที่ช่วยรับแรงลม ดังนั้น เสาโทรคมนาคม แบบ Guyed Tower จึงจำเป็นต้องใช้พื้นที่บริเวณกว้างสำหรับการติดตั้ง ซึ่ง Guyed Tower เป็นเสาสูง ซึ่งอาจจะมีความสูงตั้งแต่ 30 เมตร

    ถึง 60 เมตรที่ตั้งบนพื้นดินแนวราบ โดยเสาโทรคมนาคมประเภทนี้

    แบบ Guyed Mast

    รูปแบบของเสาโทรคมนาคมประเภทนี้เป็น โครงเหล็กที่เชื่อมชิ้นส่วนเหล็กให้เป็นโครงเสา ถูกออกแบบมาให้เป็นงานเสาที่ต้องมีสลิงยึดโยงไว้ 3 ด้านยึดโยงโครงเหล็กกับฐานรากอีกทอดหนึ่ง

    เหมือนกับ Guyed Tower เสาโทรคมนาคม แบบ Guyed Tower จึงจำเป็นต้องใช้พื้นที่บริเวณกว้างสำหรับการติดตั้งเช่นกัน แต่ Guyed Mast จะติดตั้งบนชั้นดาดฟ้าของอาคารแทน มีความสูง

    ตั้งแต่ 30 เมตร ถึง 60 เมตร

    แบบ Pole

    รูปแบบของเสาโทรคมนาคมประเภทนี้ได้ถูกออกแบบมาให้มีเสาหลักที่มีแกนเดียว มีขนาดเล็ก มีลักษณะเสาเป็นแบบ 3 ขา กางออกติดกับพื้น ซึ่งสามารถติดตั้งในบริเวณที่มีพื้นที่จำกัด โดยเฉพาะ

    อย่างยิ่งนิยมใช้บนชั้นดาดฟ้าของอาคารในชุมชนเมือง เนื่องจากสามารถติดตั้งได้ง่ายและรวดเร็วกว่าเสาโทรคมนาคมประเภทอื่นๆ ทั้งนี้ การเลือกใช้รูปแบบของเสาประเภทนี้ ต้องคำนึงถึงความสูง

    ของอาคารที่ติดตั้งและทิศทางการติดตั้งของเสาอากาศเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการรับส่งสัญญาณซึ่งโดยปกติเสาอากาศสามารถรับส่งสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อน ที่ได้ในระดับความสูงประมาณ

    20 เมตรจากระดับพื้นดินโดยไม่มีสิ่งกีดขวางทิศทางของสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ี่ โดยมีความสูงตั้งแต่ 3 เมตร ถึง 15 เมตร

    ค่าย AIS ก็จะนิยมใช้เป็นแบบเสา Self Support เป็นส่วนใหญ่

    ค่าย Dtac ก็จะนิยมใช้เป็นแบบ Guyed Mast Tower เป็นส่วนใหญ่

    ค่าย TrueMove ก็จะมีคละเคล้ากันทั้งแบบSelf Support และแบบ Guyed Mast Tower แต่ว่าแบบ Self Support จะมีมากกว่า

    TOT ส่วนใหญ่ก็จะเป็น Self Support