ความรู้เกี่ยวกับสถานีฐาน องค์ประกอบของสถานีฐาน พิกัดที่ตั้งของสถานีฐาน ติดต่อ
ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์

สถานีฐาน คืออะไร

สถานีฐาน (Base Station : BS) หรืออาจเรียกว่าที่ตั้งเซลล์ (Cell Site) นั้นเป็นสถานที่ที่ติดตั้งเครื่องรับ-ส่งสัญญาณ เพื่อเชื่อมต่อสัญญาณวิทยุที่อยู่ระหว่างระบบสื่อสารแบบไร้สาย

และอุปกรณ์สื่อสารไร้สาย จำนวนของสถานีฐานเป็นปัจจัยที่จำเป็นมากสำหรับการสื่อสารแบบไร้สาย เพราะเซลล์แต่ละเซลล์บนเครือช่ายจะต้องส่งสัญญาณผ่านสถานีฐาน

สถานีฐาน มีกี่ประเภท

ระบบสถานีฐาน (Base Station System : BSS) นั้นเเบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

1. BASE STATION CONTROLLER (BSC) คือ ชุมสายหนึ่งที่ทำหน้าที่ควบคุมเกี่ยวกับคลื่นวิทยุในระบบ เช่น ควบคุมการ HANDOVER จัดการเกี่ยวกับช่องสัญญาณวิทยุต่างๆ และเก็บข้อมูลเกี่ยวกับเซลล์

คอยควบคุมกำลังส่งสัญญาณของสถานีฐานและโทรศัพท์เคลื่อนที่ BSCจะควบคุม BTS หลาย ๆ BTS อุปกรณ์ควบคุมสถานีฐาน (Base Station Controller: BSC)ทำหน้าที่ควบคุมการจัดสรรทรัพยากรหลักนั้น

ก็คือช่องสัญญาณความถี่ในกลุ่มสถานีฐาน ควบคุมการสร้างเส้นทางเชื่อมต่อเพื่อใช้ในการสนทนาต่อผ่านสถานีฐานไปยังเครื่องโทรศัพท์ลูกข่ายโดยติดต่อสื่อสารกับชุมสายโทรศัพท์เคลื่อนที่อุปกรณ์ BSC

ในการบริหารการทำงานอุปกรณ์ BTS ทั้งหมดทำให้ชุมสายสามารถรองรับจำนวนผู้ใช้งานมากขึ้น จำนวนของอุปกรณ์ BSCในเครือข่ายหนึ่งจะมีอยู่เท่าใดนั้นก็ขึ้นอยู่กับการออกแบบของผู้วางระบบแต่ละราย

โดยทั่วไปแล้ว BSC แต่ละตัวจะมีความสามารถรองรับจำนวนสถานีฐานที่ถูกควบคุมอยู่ จำนวนอุปกรณ์รับ-ส่งสัญญาณความถี่ของสถานีฐานทั้งหมดยังขึ้นอยู่กับรูปแบบการเชื่อมต่อของสถานีฐาน สรุปหน้าที่

ของ BSC มีดังนี้

  1. จัดการเกี่ยวกับช่องสัญญาณวิทยุ

  2. จัดการเกี่ยวกับ RF Link

  3. จัดการเกี่ยวกับ Frequency Hopping

  4. ควบคุมกำลังส่งของ MS และ BTS

  5. ควบคุมคุณภาพ และระดับกำลังงานของสัญญาณในช่องสัญญาณที่ใช้งาน

  6. จัดการเกี่ยวกับการทำ Handover

2. BASE TRANSCEIVER STATION (BTS) ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการติดต่อสื่อสารโดยตรงระหว่างเครื่องโทรศัพท์ลูกข่าย (MS) กับเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่โดยใช้คลื่นวิทยุในการติดต่อสื่อสารต้อง

ทำงานร่วมกับอุปกรณ์ BSC และชุมสายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ส่วนประกอบของสถานีฐานสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วนหลักๆด้วยกัน ส่วนแรกได้แก่ส่วนของระบบควบคุมการทำงานและการติดต่อสื่อสารกับอุปกรณ์

BSC ส่วนที่เหลือเป็นภาคการจัดการสื่อสารทางคลื่นความถี่วิทยุ สำหรับการติดต่อสื่อสารกับเครื่องลูกข่าย หน้าที่โดยทั่วไปของ BTS มีดังนี้

  1. รายงานเกี่ยวกับคุณภาพช่องสัญญาณที่ไม่มีการใช้งานให้ BSC ทราบ

  2. ทำการเข้ารหัสช่องสัญญาณ (Channel Code) และถอดรหัส (Decode)

  3. เอ็นคริปชั่น (Encryption)

  4. ทำการซิงโครไนซ์ (Synchronize) กับ MS

    สถานีฐานมากกว่าแล้วดีอย่างไร

    สถานีฐานแต่ละที่จะมีข้อจำกัดในเรื่องของการรองรับจำนวนผู้ใช้งานซึ่งยิ่งสถานีฐานเยอะจะยิ่งรองรับผู้ใช้งานได้มากขึ้น ยกตัวอย่างเช่นเคยไหมหาร้านทานข้าวที่ที่คนเยอะๆ หิ้วท้องเดินมาแบบหิวๆ

    เลยมองไปข้างหน้าเพื่อหาร้านพอเห็นเเผงอาหารเเล้วพูดว่า โห…แผงอาหารมีหลับสิบ แต่คนกระพริบตารอเข้าคิวมีหลักร้อย ยืนรอกันไป เมื่อไหร่จะถึงคิวเราว้า มันก็คล้ายๆกับจำนวนสถานีฐานนี่แหล่ะครับ

    การเพิ่มสถานีฐานเป็นการเพิ่มแหล่งกำเนิดหรือตัวจ่ายข้อมูลให้มากขึ้น ดังนั้นถ้าเครือข่ายไหนมีสถานีฐานมากขึ้น เครือข่ายนั้นก็จะสามารถที่จะรองรับการใช้งานผู้ใช้งานได้มากขึ้น สามารถใช้งาน internet

    ได้รวดเร็วขึ้น สามารถ download ได้เร็วขึ้น เหมือนกับเราเพิ่มครัวให้คนรอกินนี่ล่ะครับ พอเพิ่มปั๊บ..อาหารเสร็จเร็วขึ้น ทุกคนได้อิ่มยิ้มกันทุกคน