สมบัติของแอลเคน
ก. สมบัติทางกายภาพ
1. แอลเคนมีทั้งก๊าซ ของเหลวและของแข็งคือ CH4 ถึง C4H10 เป็นก๊าซ C5H12 ถึง C17H36 เป็นของเหลว และC18H38 ขึ้นไปเป็นของแข็ง
2. ไม่นำไฟฟ้าทั้งในสถานะก๊าซ ของเหลวและของแข็งเพราะเป็นโมเลกุลโคเวเลนต์
3. ไม่ละลายน้ำ หรือตัวทำละลายที่โมเลกุลมีขั้ว ที่สภาพขั้วของโมเลกุลสูง อื่นๆ แต่ละลายได้ในตัวทำ-ละลายที่โมเลกุลไม่มีขั้ว เช่น คาร์บอนเตตระคลอไรด์ ( CCI4 ) เบนซีน ( C6H6 ) อีเทอร์ เป็นต้น เพราะเอลแคนเป็นสารประกอบที่มีโมเลกุลไม่มีขั้ว
4. มีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำ แต่ความหนาแน่นเพิ่มขึ้นตามขนาดของโมเลกุล ดังนั้นเมื่อผสมกับน้ำจะลอยอยู่เหนือน้ำ
5. มีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดต่ำ เพราะโมเลกุลไม่มีขั้ว จึงยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงแวนเดอร์วาลส์ชนิด
ลอนดอนเพียงอย่างเดียว
6. แอลเคนเมื่อมีมวลโมเลกุลเพิ่มขึ้น จะมีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดสูงขึ้น เพราะเมื่อมวลโมเลกุลเพิ่มขึ้น มี แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล ( แรงลอนดอน ) แข็งแรงขึ้น และพบว่าจุดเดือดจะเพิ่มขึ้นประมาณ 20-30 ํC ต่อจำนวนคาร์บอนอะตอมที่เพิ่มขึ้น 1 ตัว ( ยกเว้นแอลเคนที่ขนาดโมเลกุลเล็กๆ ) แต่การเพิ่มของจุดหลอมเหลวไม่สม่ำเสมอเหมือนการเพิ่มจุดเดือด

รูป แสดงความสัมพันธ์ระหว่างจุดเดือดกับจำนวน
คาร์บอนอะตอมของไฮโดรคาร์บอน

7. แอลเคนที่มีมากกว่า 1 ไอโซเมอร์ ไอโซเมอร์ที่มีโครงสร้างเป็นโซ่ตรง จะมีจุดเดือดสูงกว่าไอโซเมอร์ที่มีโครงสร้างเป็นแบบโซ่กิ่ง และถ้ามีกิ่งมากขึ้นจะมีจุดเดือดต่ำลงมากขึ้นด้วย

 

NEXT !



 

 

Hosted by www.Geocities.ws

1