การสังเคราะห์แอลกอฮอล์ในอุตสาหกรรม
          แอลกอฮอล์หลายชนิดมีความสำคัญต่อการอุตสาหกรรมโดยอาจใช้เป็นตัวทำละลายหรือเป็นสารมัธยัตร์ในการสังเคราะห์สารประกอบต่างๆ ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะบางตัวเท่านั้น

         เมทานอล (CH3OH)

        เดิมสังเคราะห์โดยการกลั่นไม้ชนิดหนึ่งที่เรียกว่าไม้แอลกอฮอล์เมื่อไม่มีอากาศอยู่ด้วย

           ปัจจุบันสังเคราะห์จากการรวมตัวกันระหว่างคาร์บอนมอนอกไซด์กับไฮโดรเจนที่อุณหภูมิสูงภายใต้ความดันเมื่อมีตัวเร่งอยู่ด้วย แต่เมทานอลประมาณ 50 % ที่ได้จะถูกออกซิไดส์เป็นฟอร์มาลดีไฮด์

        ส่วนใหญ่จะใช้เมทานอลเป็นตัวทำละลายสำหรับชะแล็กและวานิช ปัจจุบันนี้มีการนำไปผสมในนํ้ามันเติมรถยนต์

       เอทานอล (CH3CH2OH)

        สังเคราะห์ได้จากปฏิกิริยาการเติมนํ้า (ไฮเดรชัน , hydration) ของเอทิลีน เมื่อมีกรดเป็นตัวเร่ง หรือจากขบวนการหมักนํ้ตาลและแป้ง

          เอทานอลที่ได้จากหมักสารตั้งต้นที่ต่างกันจะมีชื่อเรียกต่างกัน เช่น

                            นํ้าองุ่น (กลูโคส)        เรียกว่า       ไวน์

                            มันฝรั่ง (แป้ง)           เรียกว่า        วอดกา
                           ข้าวบาร์เลย์หรือฮอพ    เรียกว่า        เบียร์

                เอทานอลที่ได้จากกระบวนการหมักนี้จะมีประมาณ 12 % เท่านั้น ดังนั้น ในการทำวิสกี , รัม , วอดกา , ยินและอื่นๆ ซึ่งมีปริมาณแอลกอฮอล์ 40-60% นั้นต้องนำผลผลิตที่ได้จากการหมักทั้งหมดมากลั่นเพื่อเพิ่มปริมาณเอทานอล

                เอทานอลที่ใช้เป็นตัวทำละลายมักจะเป็น 95 % เอทานอล 5% นํ้า  ส่วนเอทานอลสัมบูรณ์ (absolute  ethanol, 100%) ได้จาการลั่นแบบ อะซีโอโทรพิก   (azerotropic  distillation)  กับเบนซีน หรือแคลเซียมออกไซด์

Hosted by www.Geocities.ws

1