บทที่ 3

การจัดการรูปภาพเบื้องต้น

สิ่งสำคัญก่อนเริ่มการตกแต่งรูปภาพ คือ ผู้ใช้จะต้องรู้จักการจัดการรูปภาพเนื่องจากคำสั่งเหล่านี้มีความจำเป็นเพื่อให้การควบคุมการทำงานมีความสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

การเปิดไฟล์รูปภาพ

การเปิดไฟล์รูปภาพเป็นขั้นตอนแรกในการเริ่มต้นใช้งานโปรแกรม ผู้ใช้จะต้องเปิดรูปภาพที่ต้องการใช้งานก่อนจึงจะเริ่มต้นการทำงานในขั้นตอนอื่น ๆ ได้

1. คลิกที่เมนู File บนเมนูหลัก และคลิก Open

2. จะปรากฏหน้าต่าง open ให้คลิกเลือกตำแหน่ง

ของโฟล์เดอร์ที่ต้องการเปิดไฟล์โดยการคลิกที่ลูกศร look in

จากนั้นให้เลือกโฟล์เดอร์ที่ต้องการ

3. คลิกเลือกไฟล์รูปภาพที่ต้องการเปิด

โดยสามารถคลิกรูปภาพเมาส์ที่รูปภาพเพื่อดู Preview

ด้านล่างว่าเป็นรูปที่ต้องการใช้งานหรือไม่

4. คลิกปุ่ม open

การปรับมุมมอง

เพื่อความสะดวกในการปรับแต่งรูปภาพ บางครั้งเราอาจต้อง

การขยายหรือย่อขนาดของรูปภาพเพื่อให้เห็นรายละเอียดต่าง ๆ

ของภาพได้ชัดเจน เราสามารถทำการปรับมุมมองของรูปภาพ

ได้โดยใช้เครื่องมือ Zoom

1. คลิกที่เครื่องมือ Zoom tool ในแถบเครื่องมือ

2. คลิกเมาส์บนรูปภาพในบริเวณที่ต้องการซูม

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

3. ภาพบริเวณที่ต้องการขยายจะถูกซุมเข้าทำให้ภาพขยายขึ้น

4. เมื่อต้องการย่อภาพลง ให้กดปุ่ม Alt ที่คีย์บอร์ดแล้วใช้เมาส์คลิกบริเวณที่ต้องการย่อ

5. ภาพบริเวณที่ต้องการย่อจะถูกซูมเข้าทำให้ภาพเล็กลง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

การปรับขนาดรูปภาพ

รูปภาพที่นำมาใช้อาจมีขนาดเล็กเกินไปหรือใหญ่เกินไปไม่เหมาะสมกับการใช้งานจึงจำเป็นต้องแก้ไขขนาดของรูปภาพ

พื่อให้ได้ขนาดตามความต้องการ

1. เปิดไฟล์รูปภาพที่ต้องการใช้งานขึ้นมา

2. เปิดไม้บรรทัดขึ้นมาโดยคลิกที่ Menu bar คลิกเลือก View และ คลิกเลือก Rulers

3. วางเมาส์บนไม้บรรทัดและคลิกขวาเลือก Inches เพื่อกำหนดให้หน่วยวัดของไม้บรรทักเป็นนิ้ว

4. จะเห็นไดว่าขนาดของรูปภาพด้านล่างเป็น 22*16.5 นิ้ว

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

5. วางเมาส์บนกระดานสีน้ำเงินบนกระดานวาดภาพ คลิขวาและเลือก Image size

6. เปลี่ยนหน่วยวัดใน Document size ให้เป็นนิ้ว (Inches)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

7. คลิกเครื่องหมายถูกหน้าช่อง Resample Image ออก เพื่อไม่ให้โปรแกรมบีบอัดรูปภาพ

8. กำหนดความละเอีดของภาพในช่อง Resolution

ซึ่งมีค่าเป็นจำนวนพิกเซลต่อนิ้ว ภาพที่มีความคมชัด

มากที่สุดจะมีจำนวนพิกเซลสูงสุดซึ่งจะมีผลทำให้

ขนาดของภาพเล็กลงด้วย ส่วนภาพที่มีความคมชัดน้อยที่สุดจะ

มีจำนวนพิกเซลน้อยที่สุดและจำนวนของภาพก็จะมีขนาดใหญ่

 

การย้อนขั้นตอนการทำงาน

สิ่งที่เราพบบ่อยที่สุดในการใช้โปรแกรม Adobe Photoshop คือ เมื่อทำงานไปแล้วผู้ใช้รู้สึกไม่พอใจในผลงานที่ทำ ต้องการย้อนกลับไปยังขั้นตอนก่อนหน้าสามารถทำได้ 2 วิธีดังนี้

การย้อนขั้นตอนการทำงานโดยใช้ Step Backward

โดยการคลิกที่คำสั่ง Edit บนเมนูหลัก และคลิกเลือก step backward โปรแกรมจะย้อนกลับไปยังขั้นตอนก่อนหน้า และหากย้อนกลับไปแล้วต้องการกลับมายังขั้นตอนการทำงานล่าสุดเหมือนเดิมก็สามารถทำได้โดยการคลิกคำสั่ง Edit บนเมนูหลัก และคลิกเลือก Step Forward

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

การย้อนขั้นตอนการทำงานโดยใช้ History Palette

เป็นวิธีการย้อนขั้นตอนการทำงานที่ง่ายกว่าการใช้คำสั่ง Step Backward

เพราะผู้ใช้สามารถขั้นตอนการทำงานเพียงคลิกเลือกขั้นตอนที่ต้องการ

ย้อนกลับในพาเลท History และสามารถดูการเเสดงผลได้ในพื้นที่ทำงาน

ที่แสดงรูปภาพที่ใช้งานอยู่

การบันทึกงาน

หลังจากแก้ไขและตกแต่งรูปภาพที่ต้องการแล้ว ต้องการบันทึกผลงานที่ทำเก็บไว้เพื่อนำไปใช้งานต่อไปสามารถทำได้ตามขั้นตอนต่อไปนี้

1. คลิกเมาส์ที่คำสั่ง File บนเมนูหลัก (Menu Bar) และคลิกเลือกคำสั่ง Save as..

2. จะปรากฏหน้าต่าง Save as ให้เลือกตำแหน่งของโฟล์เดอร์ที่ต้องการบันทึกไฟล์งานเก็บไว้ โดยการคลิกที่ลูกศร Save in เพื่เลือกโฟล์เดอร์

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

3. กำหนดชื่อไฟล์ที่ต้องการบันทึกใน File name

4. เลือกชนิดของไฟล์ที่ต้องบันทึก โดยการคลิกที่ปุ่มลูกศร Format เพื่อเลือกชนิดของไฟล์

5. กดปุ่ม Save เพื่อบันทึกงาน

 

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Hosted by www.Geocities.ws

1