บทที่ 4

การใช้งาน Selection

ก่อนเริ่มการแก้ไขและตกแต่งรูปภาพ จำเป็นต้องเรียนรู้เกี่ยวกับการสร้าง Selection บนรูปภาพ ซึ่ง Selection เป็นการกำหนดพื้นที่สำหรับทำงานพื้นที่ที่ต้องการตัดรูปภาพเฉพาะส่วนที่ต้องการใช้งาน จึงถือได้ว่า Selection เป็นคำสั่งสำหรับการทำงานเบื้องต้นในการตกแต่งรูปภาพ

รูปแบบการกำหนดพื้นที่ Selection

การกำหนด Selection สามารถทำได้ 3 รูปแบบ คือ

1. Geometric Selection เป็นวิธีกำหนด Selectionโดยการสร้างเป็นรูปเลขาคณิตประกอบด้วย

- Rectangular Marquee Tool ใช้สำหรับการเลือกพื้นที่รูปสี่เหลี่ยม

- Elliptical Marquee Tool ใช้สำหับเลือกพื้นที่รูปวงกลม

- Single Row Marquee Tool ใช้สำหรับการเลือกพื้นที่ที่มีขนาดกว้าง 1 พิกเซล (Pixel)

- Single Column Marquee Tool ใช้สำหรับการเลือกพื้นที่ที่มีขนาดยาว 1 พิกเซล (Pixel)

2. Freehand Selection เป็นวิธีการกำหนด Selection โดยการสร้างรูปทรงแบบอิสระโดยการใช้เครื่องมือคลิกเลือกไปตามจุดต่าง ๆ ของรูปภาพจนเกิเดเป็นรูปทรงที่ต้องการ ประกอบด้วย

- Lasso Tool ใช้สำหรับการเลือกพื้นที่เป็นรูปร่างต่าง ๆ โดยอิสระ โดยการคลิกเมาส์ค้างและลากเมาส์เพื่อร่างรูปทรงอย่างอิสระ

- Ploygonal Lasso Tool ใช้สำหรับการเลือกพื้นที่โดยการกำหนดจุดและจะมีเส้นตรงเชื่อมต่อจุดแต่ละจุดบนรอบพื้นที่ที่กำหนด

- Magenetic Lasso Tool สำสำหรับการเลือกพื้นที่โดยผสมผสาานระหว่างการทำงานนของคำสั่ง Lasso Tool และ Ploygonal Lasso Tool เพียงแค่วาดเมาส์ตามกรอบของรูปภาพอย่างอิสระ โปรแกรมจะกำหนดจุดรอบพื้นที่ให้โดยอัตโนมัติ

 

 

 

 

 

3. Color - Based Selection เป็นวิธีการกำหนด Selection โดยการใช้ค่าสี โดยใช้เครื่องมือ Magic Wand Tool ซึ่งจะทำงานโดยการกำหนด Selection ให้กับพื้นที่ที่มีสีคล้ายหรือใกล้เคียงกับสีที่กำหนด ซึ่งจะช่วยลดเวลาในการทำงานได้มากเพราะโปรแกรมจะทำการกำหนดพื้นที่โดยอัตโนมัติและได้พื้นที่ที่แม่นยำ โดยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือกำหนดพื้นที่ทีละส่วน

การเลือกรูปแบบ Selection มาใช้ในการทำงานนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะของพื้นที่ที่ต้องการใช้งาน ได้แก่ หากต้องการกำหนดพื้นที่เป็นรูปวงหลม ควรใช้เครื่องมือ Ploygonal Lasso Tool หากต้องการกำหนดพื้นที่โดยเลือกพื้นที่ที่มีสีเดียวกันหรือใกล้เคียงกันควรใช้เครื่องมือ Magic Wand เป็นต้น

การสร้าง Selection

การสร้าง Selection ด้วยรูปทรงเลขาคณิต (Geometric Selection)

การสร้าง Selection ด้วยรูปทรงเลขาคณิตเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด โดยการเลือกเครื่องมือที่เหมาะสมกับพื้นที่ที่ต้องการ และคลิกเมาส์ลากกำหนดขนาดของเครื่องมือให้พอดีกับพื้นที่ที่เลือก มีวิธีการดังนี้

1. เปิดไฟล์รูปภาพที่ต้องการใช้งานขึ้นมา

2. คลิกขวาที่เครื่องมือ (Rectanggular Marquee) และคลิกเลือกเครื่องมือ (Elliptical Marquee) บนแถบเครื่องมือ (Tool Box) เพื่อสร้าง Selection รูปวงกลม

3. คลิกเมาส์ค้างโดยเริ่มจากมุมด้านใดด้านหนึ่งของพื้นที่และลากเมาส์บนพื้นที่ที่ต้องการเลือก

การสร้าง Selection รูปทรงอิสระด้วย Lasso Tool

1. เปิดไฟล์รูปภาพที่ต้องการใช้งานขึ้นมา

2. คลิกเลือกเครื่องมือ Lasso Tool บนแถบเครื่องมือ Tool Box

3. คลืกเมาส์ที่จุดเริ่มต้นและคลิกลากเมาส์ไปรอบพื้นที่ที่ต้องการ

การสร้าง Selection รูปทรงอิสระด้วย Polysonal Lasso Tool

1. เปิดไฟล์รูปภาพที่ต้องการใช้งานขึ้นมา

2. คลิกขวาที่เครื่องมือ Lasso Tool บนแถบเครื่องมือ Tool Box และคลิกเลือก Polysonal Lasso Tool

3. คลิกเมาส์ที่จุดเริ่มต้น เลื่อนเมาส์ไปยังตำแหน่งต่อไปและคลิกเมาส์ที่กำหนดจุดจนกระทั่งรอบพื้นที่ที่ต้องการ

การสร้าง Selection รูปทรงอิสสระด้วย Magenetic Lasso Tool

1. เปิดไฟล์รูปภาพที่ต้องการใช้งานขึ้นมา

2. คลิกขวาที่เครื่องมือ Lasso Tool บนแถบเครื่องมือ Tool Box และคลิกเลือก Magenetic Lasso Tool

3. คลิกเมาส์บริเวณจุดเริ่มต้น และเลื่อนเมาส์ไปรอบพื้นที่ที่ต้องการโดยไม่ต้องคลิกเมาส์ค้าง โปรแกรมจะกำหหนดจุดรอบพื้นที่ให้โดยอัตโนมัติการ

การสร้าง selection


ขั้นที่1 เตรียมภาพเอาไว้เลย ในตัวอย่างนี้ใช้ภาพดอกกุหลาบสีชมพู

 


 

 

 

 

 

ขั้นที่2 ทำการ selection รอบๆบริเวณดอกกุหลาบดอกใหญ่
(เพื่อเป็นการกำหนดบริเวณของภาพ ที่เราจะใช้ color range)

 

 

 

 

 

 

 

ขั้นที่3 จากนั้นให้เราเลือกเมนู select \color range จะมีวินโดวส์ใหม่เกิดขึ้นดังภาพ

 

 

 

 

 

 

 

เมนูย่อย select แบ่งเป็นสามส่วน

- ส่วนที่1 (sampled colors) หน้าตาเครื่องมือนี้เหมือนตัว eye dropper
(ตัวเลือกสี) ที่เราเคยใช้กันบ่อยๆ มีเอาไว้เลือกสีบริเวณที่เราคลิ้กลงไป
ถ้าต้องการเพิ่มสีที่จะทำการ selection ให้มากขึ้น ให้เลือก eyedropper บวก ถ้าอยากลดสี
ให้เลือก eyedropper ลบ เวลาเราเลือกส่วนนี้ จะมีoption ย่อยเพิ่มเข้ามาด้วยก็คือ Fuzziness
มีหน้าที่คือไว้กำหนดความกว้างของช่วงสี (range)

- ส่วนที่2 (red,cyan,green,yellow,magenta) มีหน้าที่ไว้เลือกสีที่ต้องการจะ select ว่าจะเอาสีแดง
เหลือง เขียว ฯลฯ เราสามารถเลือกได้ครั้งละสีเท่านั้น

- ส่วนที่3 (highlights,midtones,shadows) เอาไว้เลือก selection ตามบริเวณของภาพ
ส่วนที่เป็น high light, shadows หรือ midtones

ในบทความนี้เราจะใช้ แบบที่ 1กัน sampled colors ให้เราทำการใช้ eyedropper
เลือกบริเวณที่เป็นดอกกุหลาบให้หมด โดยให้ใช้ eyedropper บวก และ eye dropper ลบ
ควบคู่ไปด้วย จะเกิดบริเวณสีขาวขึ้น นั่นก็คือบริเวณที่จะเกิด selection นั่นเอง

ขั้นที่4 กด ok จบแล้ว เราจะได้ selection

การบันทึก Selection

การสร้าง Selection แบบ Freehand Selection เป็นวิธีที่ยากที่สุดเนื่องจากผู้ใช้ต้องใช้ความพยายามและใช้สมาธิในการสร้าง Selection ให้มีขนาดพอดีกับพื้นที่ที่เลือก ซึ่งอาจต้องใช้เวลานาน และหากต้องการนำ Selection เดิมไปใช้ในโอกาสต่อไป ผู้ใช้อาจต้องเสียเวลาในการกำหนด Selection ใหม่เพื่อการใช้งานแต่ละครั้ง

ดังนั้น เพื่อความสะดวกในการใช้งานผู้ใช้สามารถบันทึก Selection ที่สร้างไว้แล้วเก็บไว้ในโอกาสต่อไปได้ โดยมีขั้นตอนดังนี้

1. หลังจากสร้าง Selection ตามต้องการเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้คลิกคำสั่ง Select บนเมนูหลัก (munu Bar) และคลิกเลือก Save Selection

2. จะปรากฏหน้าต่าง Save Selection ซึ่งใน Destination จะมีการกำหนดรายละเอียดต่าง ๆ ของ Selection ไว้ ให้กำหนดชื่อของ Selection ในช่อง Name

3. คลิก OK

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

4. โปรแกรมจะทำงานบันทึก Selection ไว้ในพาเลท Channels ซึ่งสามารถคลิกดู Selection ที่เก็บไว้ได้

5. บันทึกขั้นตอนการทำงานต่าง ๆ เก็บไว้ในชื่อ Tespic28_1

6. เมื่อต้องการเรียก Selection ที่บันทึกเก็บไว้ขึ้นมาใช้งาน ให้เปิดไฟล์ Tespic28_1.psd ขึ้นมา

7. คลิกที่คำสั่ง Selection บนเมนูหลัก (Menu Bar) และคลิกเลือก Load Selection

8. จะปรากฏหน้าต่าง Load Selection ให้เลือก Selection ที่ต้องการเปิดจากช่อง Channal สำหรับในที่นี้คือ Photo

9. คลิก OK เพื่อตกลงเปิด Selection

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 

 

 

 

 

 

 

 

Hosted by www.Geocities.ws

1