บทที่ 5 การทำงานกับสไลด์เพื่อการนำเสนอ

 

พื้นฐานการสร้างสไลด์พรีเซนเตชั่น

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ในการสร้างงานพรีเซนเตชั่น PowerPoint สามารถแสดงมุมมอง (View) ที่แตกต่างกันได้ 5 แบบ

โดยแต่ละมุมมองมีประโยชน์ สำหรับลักษณะการใช้งานที่แตกต่างกัน โดยให้ Click mouse ปุ่มที่อยู่ซ้ายล่างของจอภาพ เพื่อ

เปลี่ยนเป็นมุมมองที่ต้องการได้ ซึ่งแต่ละมุมมองมีรายละเอียด ดังนี้


Normal View
เป็นมุมมองพื้นฐานซึ่งแบ่งจอภาพการทำงานเป็น 3 ส่วน คือ หน้าต่างหลัก หน้าต่างเค้าร่าง หน้าต่างบันทึกย่อ

Outline View
มุมมองนี้จะการแสดงเนื้อหาที่ใช้ในการนำเสนอเพียงอย่างเดียวสำหรับให้เราจัดเรียงลำดับหัวข้อและแก้ไขข้อความหรือ เพิ่มประเด็นที่ต้องการได้ง่าย


Slide View

เป็นมุมมองที่ใช้ในการปรับแต่งองค์ประกอบต่างๆ ในแต่ละสไลด์ เช่น รูปแบบตัวอักษร และสีที่ใช้

Slide Sorter View
เป็นมุมมองที่แสดงสไลด์ทั้งหมด ในงานพรีเซนเตชั่น โดยจะแสดงสไลด์ทั้งหมดเรียงกันตามลำดับ ตั้งแต่สไลด์แผ่นแรก จนถึงสไลด์แผ่นสุดท้าย ทำให้เรามองเห็นสไลด์ได้พร้อมกัน และจัดเรียงลำดับแผ่นสไลด์ที่สร้าง เพิ่มสไลด์แผ่นใหม่ หรือลบ สไลด์ได้ง่าย

Slide Show
เป็นมุมมองที่เราใช้แสดงงานพรีเซนเตชั่นให้กับผู้ชม เราอาจใช้มุมมองนี้เพื่อให้แน่ใจว่างานนำเสนอถูกต้องเรียบร้อยดี

แนวคิดในการใช้มุมมองต่างๆ ใน Power Point

เนื่องจากแต่ละมุมมอง ใน Power Point มีประโยชน์ สำหรับใช้สร้างสไลด์ที่แตกต่างกัน ดังนั้นการเลือกใช้มุมมองต่าง ๆ อย่างเหมาะสมในแต่ละขั้นตอนการทำงาน จะช่วยให้งานมีประสิทธิภาพโดยผู้เขียนขอเสนอแนวคิด ดังนี้

เรียกข้อมูลที่ Saveไว้กลับมาใช้งาน
เมื่อกลับเข้าสู่ PowerPoint เราสามารถเรียกงานที่ Save ไว้กลับมาใช้ได้
1. เลือก จากแถบเครื่องมือหรือใช้คำสั่ง File>Open (แฟ้ม>เปิด หรือกดปุ่ม<Ctrl+O>)
2. ระบุตำแหน่งเก็บงานที่ต้องการเปิดในช่อง Lookin: (มองหาใน)
3. Click mouse เลือกไฟล์ที่ต้องการเปิด
4. Click mouse ปุ่ม

พื้นฐานการสร้างสไลด์พรีเซนเตชั่น

เราสามารถสร้างงานพรีเซนเตชั่นได้ โดยใช้วิธีที่กล่าวถึง ในบทที่ 1 สำหรับในหัวข้อนี้จะกล่าวถึงพื้นฐานในการสร้าง พรีเซนเตชั่น โดยเริ่มจากงานที่มีเพียงสไลด์เปล่า จากนั้นเราจะกำหนดเค้าโครงให้กับสไลด์ และแทรก หรือเพิ่ม สไลด์ใหม่นี้ลงในงานพรีเซนเตชั่นของเรา

สร้างสไลด์แผ่นใหม่
เมื่อใดที่มีการสร้างแผ่นสไลด์ใหม่ ก็จะปรากฏหน้าต่างที่แสดง AutoLayout ซึ่งเป็นเค้าโครงอัตโนมัติ สำหรับการสร้าง สไลด์ที่มีให้เราเลือกใช้ถึง 24 แบบด้วยกัน โดยในแต่ละแบบนั้นจะมีแนวทางเฉพาะในการจัดวางองค์ประกอบข้อมูลในสไลด์ เช่น ข้อความ รูปภาพ กราฟ และตารางข้อมูล
1. หลังจากสร้างงานพรีเซนเตชั่นโดยแล้ว ให้ Click mouse ที่ปุ่ม เพื่อสร้างสไลด์ใหม่ในงานนั้น
2. เลือกรูปแบบการวางสไลด์จาก AutoLayout โดย Click mouse เลือกการจัดวางองค์ประกอบสไลด์ที่ใกล้เคียงกับที่เรา ต้องการมากที่สุด
3. Click mouse ปุ่ม
4. จะปรากฏสไลด์ที่มีเค้าโครงตามที่กำหนด
5. ให้เรากำหนดองค์ประกอบต่าง ๆ ตามเค้าร่าง (องค์ประกอบเหล่านี้จะมีอธิบายในบทต่อ ๆไป) โดยจะสังเกตเห็นว่าภาย ในสไลด์จะมีสัญลักษณ์ที่ใช้องค์ประกอบต่างๆ ในสไลด์ ดังนี้

 

แทนชื่อ
แทนข้อความที่มีสัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย
แทนรูปภาพ
  แทนตารางข้อมูล
แทนกราฟ
แทนแผนผังองค์กร
แทนไฟล์เสียง และไฟล์วิดีโอ (Media Clip)
แทนองค์ประกอบที่เป็นวัตถุ (Object)


6. ถ้าหากเราต้องการสร้างสไลด์ใหม่เพิ่มต่อไปให้เรา Click mouse ที่ปุ่ม แล้วทำตามขั้นตอน ในการสร้างสไลด์ใหม่ กำหนดเค้าโครง และจัดองค์ประกอบต่างๆ เหมือนกับขั้นตอนที่ 2 - 4

แทรกสไลด์ใหม่แผ่นใหม่
หากเราพบว่าเนื้อหาในบางส่วนในงานพรีเซนเตชั่นที่กำลังสร้างอยู่ยังไม่ครบถ้วน ก็สามารถแทรกสไลด์แผ่นใหม่ เพื่อ เพิ่มเนื้อหาเข้าไปได้ โดยแนะนำให้ใช้มุมมอง Slide Sorter View เพราะจะแสดงสไลด์ได้หลายแผ่นพร้อมกันบนจอภาพ ทำให้ เราเลือกตำแหน่องที่ต้องการแทรกสไลด์แผ่นใหม่ได้
1. ในมุมมอง Slide Sorter View ให้ Click mouse เลือกตำแหน่งที่ต้องการจะแทรก สไลด์
2. เลือกคำสั่ง Insert>New Slide (แทรก>สร้างภาพนิ่ง) เพื่อแทรกสไลด์แผ่นใหม่
3. ในหน้าต่าง New Slide (การสร้างภาพนิ่ง) ให้เราเลือกเค้าร่างที่ต้องการใช้กับสไลด์ใหม่
4. Click mouse ปุ่ม
5. จะปรากฏสไลด์ใหม่ที่แทรกอยู่ในตำแหน่งที่เราต้องการ

เคลื่อนย้ายสไลด์ไปในตำแหน่องที่ต้องการ
หากเราเห็นว่า ลำดับการนำเสนอสไลด์นั้นไม่ต่อเนื่องกันเท่าที่ควร ก็สามารถเคลื่อนย้ายสไลด์ให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะ
สมได้โดยมีขั้นตอน ดังนี้
1. Click mouse แสดงมุมมอง Slide Sorter View
2. Click mouse เลือก Slide ที่ต้องการจะย้ายตำแหน่ง
3. Drag mouse วางสไลด์ลงในตำแหน่งที่ต้องการ
4. ปล่อยเมาส์สไลด์ก็จะย้ายไปยังตำแหน่งที่กำหนด

การสไลด์จากไฟล์อื่นมาใช้
หากสไลด์ที่เราจะสร้างขึ้นใหม่ มีรูปแบบคล้ายกับสไลด์ที่เราเคยสร้างมาก่อน ในงานนำเสนออื่นเราจะไม่ต้องเสียเวลาที่จะ
ต้องสร้างสไลด์ใหม่ทั้งหมดแต่สามารถนำสไลด์จากไฟล์อื่นมาใช้ได้ โดยแทรกสำเนาสไลด์นั้นในงานของเราได้เลยจากนั้นเรา ก็จะปรับแต่งสไลด์นั้นให้มีเนื้อหาและองค์ประกอบต่างๆ ตามต้องการ
1. ในมุมมอง Slide Sorter View ให้ Click mouse เลือกตำแหน่งที่จะต้องการวาง สไลด์
2. เลือกคำสั่ง Insert>Slide from Files (แทรก>ภาพนิ่งจากแฟ้ม)
3. กำหนดชื่อและตำแหน่งที่เก็บไฟล์
4. Click mouse เลือกภาพที่ต้องการจะแทรกลงไปในงานของเรา
5. Click mouse ที่ปุ่ม เพื่อแทรกสไลด์ลงในงานพรีเซนเตชั่นของเรา ถ้าเราต้องการแทรกสไลด์ทั้งหมดให้ Click mouse ที่ปุ่ม
6. Click mouse ที่ปุ่ม เพื่อปิดหน้าต่างการทำงานของคำสั่ง
7. สไลด์ที่เราเลือกจะถูกแทรกเข้าไปในงานพรีเซนเตชั่นของเรา

เริ่มต้นโดยการจัดเรียงข้อความในมุมมองเค้าร่าง (Outline View)
ในการสร้างงานพรีเซนเตชั่นนั้น ในขั้นแรกเราจะต้องวางโครงร่าง สำหรับสไลด์แต่ละแผ่น ซึ่งประกอบด้วยหัวข้อหลัก หัวข้อรอง และเนื้อหา ซึ่งเราทำได้อย่างสะดวก โดยใช้มุมมอง Outline View ที่ทำให้การจัดลำดับในการนำเสนอเนื้อหามีความ ครบถ้วน เพราะการใช้มุมมองนี้ทำให้เราเปลี่ยนตำแหน่งหรือจัดเรียงลำดับความสำคัญของหัวข้อได้ตามที่เราเห็นว่าเหมาะสม
ก่อนที่เราจะเริ่มเข้าใจการจัดเรียงหัวข้อนั้น เราควรจะมาทำความรู้จักกับมุมมอง Outline View กันก่อน ซึ่งมีส่วน ประกอบที่สำคัญ ดังนี้
1. Click mouse ที่ปุ่ม เพื่อเปลี่ยนเป็นมุมมอง Outline View
2. แสดงหน้าต่างการทำงานในมุมมองของ Outline View
3. จะปรากฏแถบเครื่องมือ Outlining สำหรับใช้ในการปรับแต่งหัวข้อ และเนื้อหาความต่าง ๆ หากว่าในหน้าต่างของเราไม่มีแถบ เครื่องนี้ ให้เลือกคำสั่ง View>Toolbar>Outlining (มุมมอง>แถบเครื่องมือ>เค้าร่าง)

กำหนดชื่อเรื่องของสไลด์

ถ้าเราเริ่มสร้างงานพรีเซนเตชั่น โดยเลือก File>New (แฟ้ม>สร้าง) หรือ Click mouse ที่ปุ่มและเข้าสู่มุมมองของ Outline ก็จะพบ ที่เป็นไอคอนแทนสไลด์แผ่นแรกในงานพรีเซนเตชั่นซึ่งเราสามารถกำหนดหัวข้อของสไลด์ได้
สไลด์แต่ละแผ่นนอกจากประกอบด้วย ชื่อเรื่องแล้วยังจะประกอบด้วยหัวข้อ และหัวข้อย่อยรวมทั้งเนื้อหาต่าง ๆ หลังจากที่ เราได้กำหนดชื่อเรื่องของสไลด์ไปแล้ว ต่อไปเราจะมากำหนดหัวข้อ และข้อความที่อยู่ในสไลด์
1. เลื่อน ไว้หลังชื่อเรื่องแล้ว Click mouse
2. กดคีย์บอร์ดปุ่ม <Enter> จะสัญลักษณ์ แทนสไลด์แผ่นใหม่
3. Click mouse ปุ่ม ในแถบเครื่องมือ Outlining เพื่อเลื่อนสไลด์ใหม่ที่สร้างไปทางขวาซึ่งจะเป็นการลดความสำคัญลงเป็น หัวข้อของสไลด์แผ่นเดิม
4. พิมพ์หัวข้อที่ต้องการและกดคีย์ <Enter>
5. สังเกตว่าถ้าเรากด <Enter> หลังชื่อของหัวข้อ โปรแกรมจะสร้างหัวข้อใหม่ให้เราโดยอัตโนมัติแต่ถ้าเรากด <Enter> หลังชื่อเรื่องก็จะสร้างเป็นสไลด์แผ่นใหม่แทน

เส้นบอกแนว
ถ้าในสไลด์มีองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น ภาพ หรือข้อความที่เราต้องการจัดเรียงให้เป็นระเบียบในแนวเดียวกัน การใช้เส้น บอกแนวจะช่วยในการเปรียบเทียบตำแหน่งขององค์ประกอบเหล่านี้ได้
1. เลือกคำสั่ง View>Guide (มุมมอง>เส้นแบ่งแนว) จะปรากฏเส้นบอกแนวที่แสดงอยู่ในทางแนวนอนและแนวตั้ง
2. เราสามารถปรับตำแหน่งของเส้นบอกแนวนอนและแนวตั้ง เช่น ถ้าเรา Click mouse เลือกเส้นบอกแนวค้างไว้ตัวชี้เมาส์ จะ เปลี่ยนเป็นรูป ต่อจากนั้นให้ Drag mouse ปรับเส้นบอกแนวให้อยู่ในตำแหน่งที่ต้องการได้

การใส่ข้อความลงในสไลด์
ถ้าเราใช้ AutoLayout สร้างสไลด์ ก็จะปรากฏกรอบเค้าโครงที่เรียกว่า PlaceHolder สำหรับให้เราพิมพ์ข้อความเข้าไปใน สไลด์ได้
1. เลื่อน ไปในกรอบ PlaceHolder ตัวชี้จะเปลี่ยนเป็น แล้ว Click mouse
2. กรอบข้อความที่ต้องการให้ปรากฏในสไลด์
ในกรณีที่เราต้องการเพิ่มข้อความบนพื้นที่ส่วนอื่นของสไลด์ที่อยู่นอกบริเวณ Placeholder หรือเราสร้างสไลด์เปล่าที่ไม่มี Placeholder เลย และต้องการเพิ่มข้อความก็ให้ เราพิมพ์ข้อความเข้าไปเองได้ โดยใช้ปุ่ม ที่อยู่บนแถบคำสั่ง Drawing (รูปวาด) ดังตัวอย่างหากเราต้องการเพิ่มหัวข้อย่อยข้อความเพิ่มเติม ในพื้นที่เปล่าของสไลด์
1. Click mouse ปุ่ม ที่แถบคำสั่ง Drawing ถ้าแถบเครื่องมือนี้ไม่ปรากฏให้ใช้คำสั่ง View > Toolbar > Drawing (มุมมอง> แถบเครื่องมือ>รูปวาด) แสดงแถบเครื่องมือนี้ได้
2. เลื่อนตัวชี้เมาส์ที่มีสัญลักษณ์เป็น ไปยังตำแหน่งที่ต้องการใส่ข้อความลงในสไลด์แล้ว Click mouse
3. พิมพ์ข้อความ หากต้องการขึ้นย่อหน้าใหม่ให้กด <Enter> เมื่อพิมพ์ข้อความเสร็จสิ้นแล้วให้ Click mouse ในสไลด์ตรง บริเวณนอกพื้นที่ที่พิมพ์ข้อความนั้น

การเลือกข้อความและการทำงานกับกล่องข้อความ

จากวิธีป้อนข้อความลงในสไลด์ จะเห็นได้ว่าข้อความจะถูกจำกัดในบริเวณสี่เหลี่ยมที่เรา เรียกว่า กล่องข้อความ ซึ่งเรา สามารถที่จะย้ายตำแหน่ง
ปรับขนาดกล่องข้อความให้เหมาะสมได้ โดย Click mouse เลือกกล่องข้อความ และใช้เมาส์ลากย้าย ตำแหน่ง หรือปรับขนาดได้ตามต้องการ

ปรับขนาดกล่องข้อความ

 

 

 

หมุนพร้อมกับกด <Shift> ค้างไว้ จะหมุนข้อความได้ครั้งละ 15 องศา
หมุนพร้อมกับกด <Ctrl> ค้างไว้ จะเปลี่ยนแกนของการหมุนจากกึ่งกลางข้อความ
ให้แกนของการหมุนเป็นมุมตรงกันข้ามกันกับมุมที่เรา Drag mouse อยู่เมื่อใดที่เราต้องการแก้ไข หรือเพิ่มเติมข้อความ
ในกล่องข้อความ ให้เราเริ่ใโดยการเลือกกล่องข้อความที่ต้องการ ต่อจากนั้นให้ Click mouse เลือกข้อความที่ต้องการแก้ไข หรือ เพิ่มเติมอีกครั้งหนึ่ง ดังนี้

กำหนดข้อความเป็นตัวหนา ตัวเอน ขีดเส้นใต้ และการใส่เงา

นอกจากการกำหนดรูปแบบและขนาดของตัวอักษรแล้ว การทำให้ตัวอักษรที่แสดงใน สไลด์เป็น ตัวหนา ตัวเอน ขีดเส้น ใต้หรืกษณะที่ผสมกันไป ก็จะทำให้สไลด์ดูน่าสนใจยิ่งขึ้น
1. เลือกข้อความที่ต้องการ โดยการ Drag mouse ทับข้อความนั้น
2. Click mouse เลือกจากแถบเครื่องมือ

กำหนดตัวหนาให้กับข้อความ
กำหนดตัวเอียงให้กับข้อความ
ขีดเส้นใต้ให้กับข้อความ
สร้างเงาให้กับข้อความ


จัดข้อความให้อยู่กึ่งกลาง ชิดซ้าย หรือชิดขวา
โดยปกติเมื่อเราพิมพ์ข้อความในสไลด์ ข้อความนั้นก็จะถูกจัดชิดซ้ายกล่องข้อความ หากเราต้องการ เปลี่ยนให้ข้อความถูก จัดอยู่กึ่งกลาง ชิดซ้าย หรือชิดขวาก็สามารถทำได้ ดังนี้
1. ใช้เมาส์เลือกข้อความที่ต้องการจัดวางใหม่
2. Click mouse เลือกจากแถบข้อมูล

ให้ข้อมูลถูกจัดชิดซ้าย
ให้ข้อมูลถูกจัดกึ่งกลาง
ให้ข้อมูลถูกจัดชิดขวา
ให้ข้อมูลถูกจัดให้เต็ม

WordArt (อักษรศิลป์)

การเพิ่ม WordArt ลงในสไลด์
WordArt หรือ อักษรศิลป์ เป็นรูปแบบของตัวอักษรที่ถูกออกแบบให้มีความสวยงาม มีไว้เพิ่มความสวยงามให้กับสไลด์ ของเรา ซึ่งสามารถทำได้ดังนี้


 

 

 

การเปลี่ยนพื้นหลังสไลด์
ในการสร้างสไลด์ด้วย Template หรือ จากการสร้างด้วย AutoContent Wizard เราจะสังเกตได้ว่า สีที่ใช้ตกแต่งสไลด์นั้น ดูกลมกลืนสวยงาม ทั้งนี้เนื่องจากการใช้สีในส่วนต่าง ๆ ของสไลด์ได้ถูกออกแบบโดยผู้ชำนาญงานด้านศิลปะโดยเฉพาะ แต่ถ้า เราต้องการปรับแต่งรายละเอียดของพื้นหลังก็ทำได้ทั้งในสไลด์ที่สร้างด้วย Template และสไลด์เปล่า
การใส่สี หรือไล่โทรสี ในพื้นหลัง
การใส่ Texture (พื้นผิว) ในพื้นหลัง
การใส่ Pattern (ลวดลาย) ในพื้นหลัง
การใส่ Picture (ภาพ) ในพื้นหลัง

การเปลี่ยนสี หรือไล่โทนสี ในพื้นหลัง
เราสามารถเปลี่ยนสีที่พื้นหลังสไลด์ได้ เช่น เปลี่ยนจากสีขาวเป็นสีอื่น หรือต้องการเน้นข้อความในสไลด์ โดยเปลี่ยนมา ใช้สีพื้นอ่อน แทนสีเข้ม
1. Click mouse ปุ่มขวาบริเวณที่ว่างในสไลด์ แล้วเลือก Background (พื้นหลัง)
2. Click mouse ที่ปุ่ม จะแสดงสีต่างๆ ในรายการให้เราเลือก
3. Click mouse เลือกสีที่ต้องการ
4. ถ้าพื้นหลังของสไลด์นี้มีลวดลายที่มาจากการใช ้ Template เราสามารถยกเลิกลวดลายนั้นได้ โดย Click mouse ให้มี เครื่องหมายถูกในช่อง Omit background graphics from master (ไม่ใช้พื้นหลังกราฟิกจากต้นแบบ) มิฉะนั้นสีพื้นที่เราเลือกไว้จะถูกรองพื้นบนลวดลายของ Template
5. Click mouse ปุ่ม สำหรับเปลี่ยนสีพื้นสไลด์ทุก ๆ แผ่น
Click mouse ปุ่ม สำหรับเปลี่ยนสีพื้นเฉพาะสไลด์แผ่นที่กำลังทำงานอยู่
6. สไลด์จะมีพื้นหลังตามที่เรากำหนด

การใส่เอฟเฟคให้กับพื้นหลังสไลด์

นอกจากการใช้สีพื้นเรายังสามารถไล่โทนสีพื้นหลังให้ดูพิเศษแปลกตามากขึ้น หรือจะกำหนดลวดลายให้กับพื้นหลังสไลด์ ได้ โดยหลังจากขั้นตอนที่ 2 ให้เลือกคำสั่ง Fill Effects (เติมลักษณะพิเศษ) เราจะพบกับหน้าจอที่มีแท็ปต่างๆ ดังนี้
Gradient ไล่โทนสี
Texture กำหนดพื้นผิว
Pattern กำหนดลวดลาย
Picture ใช้ภาพเป็นพื้นหลัง

ไล่โทนสีพื้นหลังของสไลด์ (Gradient)
เมื่อเรา Click mouse แท็ป Gradient (ไล่ระดับสี) จะเป็นการกำหนดให้ไล่โทนสีพื้นหลังของสไลด์ ซึ่งมีรายละเอียดที่เรา กำหนด ดังนี้
ในช่อง Colors เราสามารถกำหนดจำนวนสีที่จะใช้ได้โดย Click mouse เลือก
One Colors (สีเดียว) ใช่สีเดียวไล่โทน โดยกำหนดสีที่ใช้ได้ในช่อง Color (สี) และความเข้มของสีได้จากแถบเลื่อน
Two Colors (สองสี) ใช้สองสีในการไล่โทนโดยให้เราเลือกสีแรกที่ใช้ในช่อง Color1 (สี1) และสีที่สองในช่อง Color2 (สี2)
Presets (สีที่กำหนดไว้) ใช้ชุดสีที่ PowerPoint กำหนดไว้ ให้เราลองเลือกชื่อชุดสีได้จากช่อง Preset colors (สีที่กำหนด ไว้) และลองดูผลลัพธ์ที่ได้ในช่อง Sample (ตัวอย่าง) ก่อนนำมาใช้
ในช่อง Shading styles (ลักษณะของการแรงเงา) ให้เราเลือกลักษณะของการไล่โทนสีได้ตามต้องการ โดยจะมีรูปตัว อย่างแสดงผลลัพธ์ให้เห็นในช่อง Variants ให้ Click mouse เลือกวิธีไล่สีได้ ในกรณีที่มีหลายแบบ
เมื่อเรา Click mouse ปุ่ม จะเป็นการกลับไปสู่หน้าต่างการทำงานของ Fill Effects (เติมลักษณะพิเศษ) เราจะเห็นรูปแบบ การไล่โทนสีที่เลือกเอาไว้ในภาพตัวอย่าง

การใส่ลวดลายในพื้นหลัง (Pattern)
การ Click mouse แท็ป Pattern (ลวดลาย) จะเป็นการใส่ลวดลายให้กับพื้นหลัง โดยมีลวดลายให้เราเลือกใช้ได้มากมาย
ในช่อง Pattern (ลวดลาย) ให้ Click mouse เลือกสีให้กับ Pattern โดยกำหนดทั้งสีพื้น และสีที่ลวดลายของ Pattern จาก นั้น Click mouse เลือกรูปแบบPattern ที่ต้องการ
สุดท้ายให้เรา Click mouse ปุ่ม จะเป็นการกลับไปสู่หน้าต่างการทำงานของ Fill Effects (เติมลักษณะพิเศษ) เราจะเห็น สไลด์ที่มีสีพื้นหลังตกแต่งด้วยพื้นผิวที่เรากำหนด

การใช้รูปภาพเป็นพื้นหลังสไลด์ (Picture)

นอกจากนี้เราสามารถนำภาพมาตกแต่งพื้นหลังของสไลด์โดย Click mouse แท็ป Picture(รูปภาพ) และกำหนดไฟล์ภาพที่จะนำมาใช้ได้ ดังนี้
Click mouse ที่ปุ่ม เพื่อค้นหาไฟล์ที่เป็นรูป ซึ่งปรากฏ Select Picture ไดอะล็อกบ็อกซ์ เลือกไฟล์ที่ต้องการ และ Click mouse ปุ่ม สังเกตภาพตัวอย่างแสดงในกรอบ Picture
เมื่อเรา Click mouse ปุ่ม จะเป็นการกลับไปสู่หน้าต่างการทำงานของ Fill Effects เราจะเห็นสไลด์ที่มีพื้นหลังตกแต่งด้วย ภาพที่เราเลือก

กำหนดสีที่ใช้ใน Color Scheme ด้วยตนเอง
นอกจากการใช้ Color Scheme (โครงร่างสีภาพนิ่ง) ตามที่มีให้เลือกในรายการ เราสามารถกำหนดสีที่ใช้ได้เอง โดย PowerPoint จะใช้สีพื้นฐาน 8 สีสำหรับแต่ละส่วนของสไลด์ ซึ่งได้ถูกนำมาจัดเข้าชุดกันโดยผู้เชียวชาญเพื่อให้สไลด์ที่ได้ดูสวงาม
หลังจากใช้คำสั่ง Slide Color Scheme (โครงร่างสีภาพนิ่ง) ให้ Click mouse แท็ป Custom (กำหนดเอง) เราจะพบกับ รายการสีที่ประกอบกันเป็น Color Scheme ดังนี้
เมื่อใดที่เราต้องการเปลี่ยนสีที่ใช้ให้ Click mouse ปุ่ม ต่อจากนั้นให้ Click mouse เลือกสี ซึ่งจะมีกรอบ New แสดงสีที่ เลือกใหม่เทียบกับกรอบ Current ซึ่งแสดงสีเดิมที่ใช้อยู่ที่มุมขวาด้านล่างของหน้าจอ หลังจากกำหนดสีแล้วให้ Click mouse ปุ่ม จะกลับไปสู่หน้าจอ Color Scheme อีกครั้งหนึ่ง

การใช้ Template
นอกจากการนำ Template มาใช้สร้างสไลด์ ใน AutoContent Wizard หรือการสร้างสไลด์ใหม่แล้ว เราสามารถกำหนด Template ให้กับพื้นหลังของสไลด์ได้ หรือจะเปลี่ยนจากแบบที่ใช้อยู่เป็นอีกแบบหนึ่งก็ได้
1. Click mouse ปุ่มขวาบริเวณที่ว่างในสไลด์ แล้วเลือก Apply Design Template (ใช้ออกแบบแม่แบบ) หรือ เลือก Format>Apply Design (ใช้ออกแบบแม่แบบ)
2. Click mouse เลือก Templateที่ต้องการนำมาใช้ ในช่องขวามือจะแสดงตัวอย่างให้เราเห็น
3. Click mouse ปุ่ม เพื่อนำ Template นั้นมาใช้ตกแต่งสไลด์

การใส่ข้อความส่วนหัว และส่วนท้ายสไลด์ (Hearder and Footer)

ในการนำเสนอข้อมูลด้วยสไลด์ บ่อยครั้งที่เราต้องการให้มีข้อความบางอย่างปรากฏที่ส่วนหัว และส่วนท้ายสไลด์ทุกแผ่น เช่น หัวข้อสไลด์ที่บรรยาย ชื่อบริษัท/ชื่อผู้บรรยาย อีเมล์แอดเดรส วันเวลาและหมายเลขลำดับสไลด์เป็นต้น ซึ่งมีขั้นตอน ดังนี้
1. เลือกคำสั่ง View>Header And Footer (มุมมอง>หัวกระดาษ และท้ายกระดาษ)
2. Click mouse แท็ป Slide (ภาพนิ่ง) เพื่อกำหนดข้อความส่วนหัวและส่วนท้ายของ สไลด์
3. Click mouse ที่ Date and Time (วันและเวลา) ถ้าต้องการใส่วันเวลาลงในสไลด์ สังเกตตำแหน่งที่ใส่ลงในสไลด์ได้ ใน ช่อง Preview ถ้าต้องการให้แสดงวันที่และเวลาปัจจุบันเลือก Update automatically (เลือกภาษาและปฏิทินที่แสดงว่า เป็นพุทธ ศักราช หรือคริสตจักรราชได้ในช่อง Language และ Calendar Type) แต่ถ้าต้องการกำหนดเองเลือก Fixed และพิมพ์วัน และ เวลาที่ต้องการ
4. Click mouse เลือก Slide number (หมายเลขภาพนิ่ง) ถ้าต้องการใส่เลขแสดงลำดับสไลด์สังเกตตำแหน่งที่ใส่ลงในสไลด์ ในกรอบ Preview (แสดงตัวอย่าง)
5. Click mouse ที่ Footer (ท้ายกระดาษ) เพื่อเพิ่มข้อความในส่วนท้ายของสไลด์ และพิมพ์ข้อความที่ต้องการได้ในช่องว่าง
6. ถ้าเราไม่ต้องการให้สไลด์หน้าแรกแสดงข้อความที่เรากำหนดให้เลือก Don't show on title slide (ไม่แสดงบนชื่อภาพ นิ่งแรก)

7. Click mouse ปุ่ม เพื่อให้มีผลกับสไลด์ทุกแผ่น หรือ Click mouse ปุ่ม เพื่อใส่ข้อความนี้เฉพาะในสไลด์แผ่นที่เรากำลัง ทำงานอยู่

ในหน้าจอ Header and Footer
(หัวกระดาษและท้ายกระดาษ) ถ้าเราเลือกแท็ป Note And Handout (บันทึกย่อ และเอกสารประกอบคำบรรยาย) จะเป็น การกำหนด Header And Footer ลงในแผ่นจดบันทึกและ Handout ซึ่งเป็นเอกสารสรุปเนื้อหาสไลด์ที่เราสั่งพิมพ์สำหรับแจกผู้ฟังการบรรยาย

ทำงานกับ Note Master
การสร้าง Note Master มีความหมายเช่นเดียวกับการสร้าง Slide Master คือ การสร้างต้นแบบให้กับบันทึกย่อสำหรับผู้บรรยาย ซึ่งมีวิธีการดังนี้คือ
1. เลือกคำสั่ง View>Master>Notes Master (มุมมอง>ต้นแบบ>ต้นแบบบันทึกย่อ) เป็นสไลด์ต้นฉบับในมุมมอง Note Page View
2. กำหนดรูปแบบทั้งหมดในบันทึกย่อต้นฉบับ
3. ออกจาก Notes Master โดย Click mouse ที่ปุ่มมุมมองที่อยู่ด้านล่างซ้ายของจอภาพปุ่มใดปุ่มหนึ่ง หรือ Click mouse ที่ ปุ่ม ที่แถบเครื่องมือ Master (ต้นแบบ)

การสร้าง Template ไว้ใช้งาน
นอกจากการนำ Template ที่มีอยู่ใน PowerPoint มาใช้เราสามารถสร้าง Template ไว้ใช้งานได้เอง เริ่ม โดยสร้างสไลด์ และตกแต่งในแบบที่เราต้องการ ตั้งแต่ สีพื้นหลัง และรูปแบบตัวอักษร เป็นต้น จากนั้นให้เราสั่ง Save สไลด์นี้ในรูปแบบของ Template เพื่อไว้ใช้งานต่อไป
1. เปิดสไลด์แผ่นที่จะสร้างเป็น Template
2. เลือกคำสั่ง File>Save As (แฟ้ม>บันทึกเป็น)
3. ตั้งชื่อ Template ลงในกรอบ File name (ชื่อแฟ้ม)
4. Click mouse ที่กรอบ Save as type (เก็บเป็นชนิด) จากนั้นเลือกชนิดของไฟล์ที่จะ Save เป็น Design Template เพื่อสั่ง Save สไลด์แผ่นนี้เป็น Template
5. กำหนดตำแหน่งเก็บสไลด์นี้ไว้ในโฟล์เดอร์ Presentation Designs ซึ่งเป็นที่รวมTemplate ทั้งหมด เพื่อให้ Template ของเราปรากฏรวมอยู่กับ Template อื่นๆ ของ PowerPoint ทำให้เรียกใช้ได้ง่าย
6. Click mouse ปุ่ม

ตกแต่งสไลด์ด้วยภาพ

แถบเครื่องมือวาดรูป
เราสามารถวาดรูปในสไลด์ด้วยแถบเครื่องมือวาดรูป ซึ่งเราเปิดแถบเครื่องมือวาดรูป ใน PowerPoint ได้ โดยใช้คำสั่ง View>Toolbars>Drawing (มุมมอง>แถบเครื่องมือ>รูปวาด) สำหรับหน้าที่ของปุ่มต่างๆ บนแถบเครื่องมือพอสรุปได้ดังนี้
รูปวาด สีเส้น
หมุนอิสระ

รูปวาด สีเส้น
หมุนอิสระ ลักษณะเส้น
รูปร่างอัตโนมัติ ลักษณะเส้นประ
เส้น ลักษณะลูกศร
ลูกศร เงา
สี่เหลี่ยม 3 มิติ
วงรี    

 

 

 

 

 



 

 

 

 

Hosted by www.Geocities.ws

1