คำศัพท์

                                                             Web browser                                                            CMS

                                                             Web Hosting                                                             DNS

                                                             Client server                                                          Home page

                                                                   URL                                                                     Anchor

                                                                   FPT                                                                      HTML

1. Web browser

Web browser เว็บเบราว์เซอร์ (อังกฤษ: Web browser) เบราว์เซอร์ หรือ โปรแกรมค้นดูเว็บ คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเว็บที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอล ที่จัดเก็บไว้ที่เว็บเซอร์วิซหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์หรือระบบคลังข้อมูลอื่น ๆ โดยโปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนเครื่องมือในการติดต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ (WWW.) มาตรฐาน โปรแกรมค้นดูเว็บเชื่อมโยงกับเว็บเซิร์ฟเวอร์ผ่านมาตรฐานหรือโพรโทคอลการรับส่งข้อมูลแบบ เอชทีทีพี ในการส่งหน้าเว็บ หรือเว็บเพจ ปัจจุบันเอชทีทีพีรุ่นล่าสุดคือ 1.1 ซึ่งสนับสนุนโดยโปรแกรมค้นดูเว็บทั่วไป ยกเว้นอินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ที่ยังสนับสนุนไม่เต็มที่ ที่อยู่ของเว็บเพจเรียกว่ายูอาร์แอล หรือยูอาร์ไอ ซึ่งรูปแบบมักจะเริ่มต้นด้วยคำว่า http:// สำหรับการติดต่อแบบเอชทีทีพี โปรแกรมค้นดูเว็บส่วนมากสนับสนุนการเชื่อมต่อรูปแบบอื่นนอกจากนี้ เช่น ftp:// สำหรับเอฟทีพี (FTP) https:// สำหรับเอชทีทีพีแบบสนับสนุนการเข้ารหัสข้อมูลเพื่อความปลอดภัย เป็นต้น รูปแบบของไฟล์สำหรับเว็บเรียกว่าเอชทีเอ็มแอล (HTML) และสนับสนุนไฟล์รูปแบบอื่นๆ เช่น รูปภาพ (JPG, GIF, PNG) หรือเสียง เป็นต้น แหล่งอ้างอิง https:///i/ & Stewart, William. "Web Browser History". สืบค้นเมื่อ 2008-02-02. & Top 5 Desktop browser on Sept 2016". StatCounter. สืบค้นเมื่อ 2016-12-29.                                             

                                                                                        Go to Top

2. Web Hosting

Web Hosting เว็บโฮสติ้ง คือ พื้นที่การใช้งานในอินเทอร์เน็ต สำหรับเว็บไซต์ทั่วไป โฮสติ้งมีลักษณะที่เปรียบเทียบได้เหมือนกับ ฮาร์ดดิสก์ ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา ฉะนั้นถ้าคุณมีพื้นที่การใช้งานโฮสติ้งที่มาก คุณก็จะสามารถเก็บ ไฟล์, รูปภาพ, เอกสาร และอื่นๆ ได้มากตามไปด้วยเช่นกัน บางครั้งเราอาจเรียกได้หลายแบบเช่น โฮสติง โฮสติ้ง เว็บโฮสติ้ง โฮสต์ แต่ทั้งหมดก็มีความหมายเหมือนกัน แหล่งอ้างอิง https://th.wikipedia.org/wiki/

                                                                                        Go to Top

3. Client server Client/server

Client server Client/server คือ การที่มีเครื่องผู้ให้บริการ (server) และเครื่องผู้ใช้บริการ (client) เชื่อมต่อกันอยู่ และเครื่องผู้ใช้บริการได้มีการติดต่อร้องขอบริการจากเครื่องผู้ให้บริการ เครื่องผู้ให้บริการก็จะจัดการตามที่เครื่องผู้ขอใช้บริการร้องขอ แล้วส่งข้อมูลกลับไป เครือข่ายแบบ Client / server เหมาะกับระบบเครือข่ายที่ต้องการเชื่อมต่อกับเครื่องลูกข่ายจำนวนมาก โดยการรองรับจำนวนเครื่องลูกข่าย (Client) อาจเป็นหลักสิบ หลักร้อย หรือหลักพัน เพราะฉะนั้นเครื่องที่จะนำมาทำหน้าที่ให้บริการจะต้องเป็นเครื่องที่มี ประสิทธิภาพสูง เนื่องจากถูกต้องออกแบบมาเพื่อทนทานต่อความผิดพลาด (Fault Tolerance) และต้องคอยให้บริการทรัพยาการให้กับเครื่องลูกข่ายตลอดเวลา โดยเครื่องที่จะนำมาทำเป็นเซิร์ฟเวอร์อาจเป็นคอมพิวเตอร์แบบเมนเฟรม มินิคอมพิวเตอร์ หรือไมโครคอมพิวเตอร์ก็ได้ แหล่งอ้างอิง http://www.kmitl.ac.th & http://web.ofebia.com

                                                                                       Go to Top

4. URL

URL ตัวชี้แหล่งในอินเทอร์เน็ต หรือ โปรแกรมชี้แหล่งทรัพยากรสากล (อังกฤษ: Uniform Resource Locator, Universal Resource Locator) เรียกโดยย่อว่า ยูอาร์แอล (อังกฤษ: URL) คือตัวระบุแหล่งทรัพยากรสากล (URI) ประเภทหนึ่ง ซึ่งใช้สำหรับระบุแหล่งที่อยู่ของทรัพยากรที่ต้องการ และมีกลไกบางอย่างสำหรับดึงข้อมูลทรัพยากรนั้นมา ในการใช้ในเอกสารทางเทคนิคและการอภิปรายทั่วไป มักจะใช้ยูอาร์แอลแทนความหมายที่คล้ายกับยูอาร์ไอ ซึ่งไม่ใช่ความหมายที่ถูกต้องและอาจทำให้เกิดความสับสน ในภาษาพูดทั่วไป ยูอาร์แอลอาจหมายถึง ที่อยู่บนเว็บ หรือ ที่อยู่อินเทอร์เน็ต ก็ได้ ซึ่งปกติแล้วเรามักพิมพ์ยูอาร์แอลในแถบที่อยู่ของเว็บเบราว์เซอร์เพื่อเรียกข้อมูลจากเว็บไซต์ แหล่งอ้างอิง URL Specification & World Wide Web History & URL Syntax

                                                                                        Go to Top

5. FTP

FTP เอฟทีพี หรือ เกณฑ์วิธีถ่ายโอนแฟ้ม (อังกฤษ: FTP: File Transfer Protocol) เป็นโพรโทคอลเครือข่ายชนิดหนึ่ง ใช้สำหรับแลกเปลี่ยนและจัดการไฟล์บนเครือข่ายทีซีพี/ไอพีเช่นอินเทอร์เน็ต เอฟทีพีถูกสร้างขึ้นด้วยสถาปัตยกรรมแบบระบบรับ-ให้บริการ (client-server) และใช้การเชื่อมต่อสำหรับส่วนข้อมูลและส่วนควบคุมแยกกันระหว่างเครื่องลูกข่ายกับเครื่องแม่ข่าย โปรแกรมประยุกต์เอฟทีพีเริ่มแรกโต้ตอบกันด้วยเครื่องมือรายคำสั่ง สั่งการด้วยไวยากรณ์ที่เป็นมาตรฐาน แต่ก็มีการพัฒนาส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ขึ้นมาสำหรับระบบปฏิบัติการเดสก์ท็อปที่ใช้กันทุกวันนี้ เอฟทีพียังถูกใช้เป็นส่วนประกอบของโปรแกรมประยุกต์อื่นเพื่อส่งผ่านไฟล์โดยอัตโนมัติสำหรับการทำงานภายในโปรแกรม เราสามารถใช้เอฟทีพีผ่านทางการพิสูจน์ตัวจริงด้วยชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน หรือเข้าถึงด้วยผู้ใช้นิรนาม นอกจากนี้ยังมีทีเอฟทีพี (Trivial File Transfer Protocol) ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับเอฟทีพีที่ลดความซับซ้อนลง แต่ไม่สามารถควบคุมให้ทำงานประสานกันได้ และไม่มีการพิสูจน์ตัวจริง แหล่งอ้างอิง https://th.wikipedia.org/wiki/

                                                                                       Go to Top

6. CMS

CMS ระบบจัดการเนื้อหา (Content management system, CMS) คือระบบซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ที่ใช้เพื่อจัดระเบียบ และส่งเสริมการทำงานในหมู่คณะ ให้สามารถสร้างเอกสาร หรือเนื้อหาสาระอื่นๆ โดยมากแล้ว ระบบจัดการเนื้อหา มักจะเป็นเว็บแอปพลิเคชัน ซึ่งใช้จัดการเว็บไซต์และเนื้อหาบนเว็บ และมีไม่น้อยที่ระบบจัดการเนื้อหาต้องใช้ซอฟต์แวร์พิเศษบนเครื่องเครื่องลูกข่าย เพื่อใช้แก้ไขและสร้างบทความต่างๆ ระบบจัดการเนื้อหา ในตลาดซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์มีทั้งแบบที่ทำเพื่อการค้าและแบบ โอเพนซอร์ส เนื้อหาที่อยู่บนระบบอาจจะเป็นเนื้อหาที่เป็น ข้อความตัวอักษร ไฟล์รูปภาพ ไฟล์เสียง ไฟล์ภาพเคลื่อนไหว ไฟล์วิดีโอ หรือไฟล์เอกสารอื่นๆ ก็ได้ แหล่งอ้างอิง https://th.wikipedia.org/wiki/

                                                                                       Go to Top

7. DNS

DNS ระบบการตั้งชื่อโดเมน หรือ ดีเอ็นเอส (อังกฤษ: Domain Name System: DNS) เป็นระบบที่ใช้เก็บข้อมูลของชื่อโดเมน (โดเมนเนม) ซึ่งใช้ในเครือข่ายขนาดใหญ่อย่างอินเทอร์เน็ต โดยข้อมูลที่เก็บมีหลายอย่าง แต่สิ่งสำคัญคือความสัมพันธ์ระหว่างชื่อโดเมนนั้นๆ กับหมายเลขไอพีที่ใช้งานอยู่ คำว่าดีเอ็นเอสสามารถหมายถึง บริการชื่อโดเมน (Domain Name Service) ก็ได้ ส่วนเครื่องบริการจะเรียกว่า เครื่องบริการชื่อ หรือ เนมเซิร์ฟเวอร์ (name server) ประโยชน์ที่สำคัญของดีเอ็นเอส คือช่วยแปลงหมายเลขไอพีซึ่งเป็นชุดตัวเลขที่จดจำได้ยาก (เช่น 207.142.131.206) มาเป็นชื่อที่สามารถจดจำได้ง่ายแทน (เช่น wikipedia.org) แหล่งอ้างอิง https://th.wikipedia.org/wiki/

                                                                                      Go to Top

8. Home page

Home page โฮมเพจ (home page) หมายถึง เว็บเพจหน้าแรกที่ปรากฏของแต่ละเว็บไซต์ เว็บเพจหน้าแรกที่ปรากฏของแต่ละเว็บไซต์ ชื่อ URL ของเว็บไซต์ (เช่น http://...) เมื่อเปิดเว็บไซต์นั้นขึ้นมา โฮมเพจ ก็จะเปรียบเสมือนกับเป็นสารบัญและคำนำที่เจ้าของเว็บไซต์นั้นได้ สร้างขึ้นเพื่อใช้ประชาสัมพันธ์องค์กรของตน นอกจากนี้ ภายในโฮมเพจก็อาจมีเอกสารหรือข้อความที่เชื่อมโยงต่อไปยังเว็บเพจอื่นๆอีกด้วย ในหน้าโฮมเพจของเว็บไซต์ มักประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้ 1.โลโก้ (logo) คือสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เข้าชมสามารถจดจำเว็บไซต์ของเราได้ นอกจากนี้แล้วโลโก้ยังช่วยให้เว็บไซต์ของเราดูมีเอกลักษณ์อีกด้วย 2. เมนูหลัก (link menu) เป็นจุดที่เชื่อมโยงข้อมูลที่สำคัญ ซึ่งรวบรวมไว้ในรูปแบบของปุ่มเมนู หรือข้อความที่ผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์สามารถรับรู้เรื่องราวที่น่าสนใจของเว็บไซต์ได้ ควรมีข่าว ใหม่ๆ เนื้อหาใหม่ๆมาตลอด 3. โฆษณา (Banner) เป็นส่วนที่สำคัญอีกเช่นเดียวกัน เพราะเว็บไซต์ที่มีโฆษณาจะช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ ความน่าเชื่อถือ และช่วยกระตุ้นความสนใจเพราะมักใช้ภาพเคลื่อนไหว (Gif Animation)ประกอบซึ่งจะทำให้เว็บไซต์ของเราดูตื่นตาตื่นใจมากขึ้น จากการวิจัยพบว่าภาพเคลื่อนไหวยังช่วยให้เว็บไซต์ของเราดูน่าสนใจมากยิ่งขึ้นถึง 30% แต่ไม่ควรมีโฆษณามาก เกินไปและควรจัดวางตำแหน่งให้เหมาะสมอีกด้วย 4. ภาพประกอบและเนื้อหา (content) เป็นส่วนที่ให้สาระความรู้กับผู้เข้าชม ซึ่งเนื้อหาที่ให้จะต้องมีขนาดพอเหมาะไม่สั้นหรือยาวจนเกินไป ควรมีการปรับเนื้อหาให้ใหม่ทันกับปัจจุบันอยู่ตลอด เวลา จัดวางเนื้อหาให้เหมาะสมกับผู้ที่เข้ามาชมเนื้อหา และการมีภาพที่เกี่ยวข้องประกอบอยู่ยิ่งจะทำให้เว็บไซต์เป็นที่น่าสนใจมากยิ่งขึ้น 5. การใช้สีให้เหมาะสมกับหน้าโฮมเพจ (color)เพราะสีแต่ละสีจะให้ความรู้สึกที่มีผลด้านอารมณ์กับผู้เข้าชมในลักษณะที่แตกต่างกันไป แหล่งอ้างอิง http://www.kscs.ac.th/nipapat/30.html   Go to Top

9. Anchor

Anchor แองเคอร์ ในระบบงานพิมพ์เอกสาร แองเคอร์จะแสดงเป็นรูปสมอเรือ ซึ่งปรากฏอยู่ใกล้ๆหรือถัดจากย่อหน้าข้อความถ้าข้อความมีการแทรกเพิ่ม มีผลทำให้ย่อหน้าเลื่อนไปอยู่หน้าถัดไป แองเคอร์ก็จะเลื่อนตามไปด้วย สำหรับในเอกสาร HTML แองเคอร์จะเป็นเครื่องหมายที่ใช้ลิงก์ไปยังตำแหน่งอื่นๆ Anchor เทมเพลต (Anchor) แทรกตัว ระบุส่วนหัวของ HTML (anchor names) อย่างน้อยหนึ่งรายการหรือมากกว่า ในหน้าเว็บ สถานที่เหล่านั้นจะสามารถเชื่อมโยงกับการใช้ ไวยากรณ์ได้ ชื่อ Anchor ที่มีอักขระ ที่แสดงในตารางด้านขวาจะไม่ทำงานตามที่คาดหมาย อย่างไรก็ตามอักขระเหล่านี้สามารถถูกแทนที่ ด้วยรหัส "& #" ที่แสดงไว้ที่นี่ หรือสัญลักษณ์ท่อ (pipe) และเครื่องหมายเท่ากับสามารถทำงานรอบกับ {{ ! }} และ {{ = }} ตามลำดับ รหัส Markup เช่น<sup></sup>และ<sub></sub>(ยกและห้อย) ไม่สามารถใช้ อักขระอื่น ๆ ส่วนใหญ่รวมทั้งช่องว่างและเครื่องหมายวรรคตอนไม่ใช่ปัญหา ชื่อของ anchor ควรมีเอกลักษณ์เฉพาะในหน้าเว็บและไม่ควรทำซ้ำชื่อหัวเรื่องใด ๆ เบรกแบบซ้ำจะไม่ทำงานตามที่คาดไว้เนื่องจาก#locationลิงก์เชื่อมโยงไปยังจุดยึดแรกที่มีชื่อนั้น แอ็กทีฟซ้ำทำให้ HTML ไม่ถูกต้อง คุณสามารถตรวจสอบเบรกซ้ำกันโดยทำงานหน้าผ่านW3C Markup การตรวจสอบการให้บริการถ้าแม่แบบจะถูกเพิ่มชื่อส่วนแล้วรหัสจะปรากฏในสรุปการแก้ไขเมื่อส่วนที่มีการแก้ไขในขณะที่"/* {{anchor Issues}}Limitations */ New issue " ซึ่งสามารถแก้ไขได้โดยการลบรหัสเทมเพลตจากสรุปการแก้ไขก่อนที่จะมีการบันทึกการเปลี่ยนแปลง อย่างไรก็ตามการแก้ไขนี้แบ่งส่วนของลิงก์ในประวัติการแก้ไขบทความ พิจารณาใช้ {{subst: anchor comment}} หลังจากชื่อส่วนเพื่อสร้างความคิดเห็น HTML แจ้งเตือนผู้แก้ไขอื่น ๆ เพื่อจุดประสงค์ของ anchors ที่ใช้ในลักษณะนี้ดังนั้นพวกเขาจึงไม่ย้าย anchor ออกจากหัวเรื่องส่วนเมื่อสังเกตเห็นผลกระทบที่เป็นอันตราย ในสรุปการแก้ไขของตน ลิงก์ Anchor มีความละเอียดอ่อนในบางเบราว์เซอร์ดังนั้นจึงควรเชื่อมโยง anchor ทั้งหมดกับ case sensitive แหล่งอ้างอิง http://www.kingrpg.net/2010/05/anchor.html & https://th.wikipedia.org/wiki/Anchor     

                                                                                        Go to Top

10. HTML

HTML เอชทีเอ็มแอล (อังกฤษ: HTML: Hypertext Markup Language ภาษามาร์กอัปข้อความหลายมิติ) เป็นภาษามาร์กอัปหลักในปจจุบันที่ใช้ในการสร้างเว็บเพจ หรือข้อมูลอื่นที่เรียกดูผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์ ซึ่งตัวโค้ดจะแสดงโครงสร้างของข้อมูล ในการแสดง หัวข้อ ลิงก์ ย่อหน้า รายการ รวมถึงการสร้างแบบฟอร์ม เชื่อมโยงภาพหรือวิดีโอด้วย HTML (Hyper Text Markup Language) เป็นภาษามาตรฐานสากลที่ใช้นำเสนอข้อมูลแบบผสมผสานในการสื่อสารแบบ World-Wide-Web :WWW ( Web) ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายของเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วโลก (Internet) รูปแบบหนึ่ง ข้อมูลในรูปแบบต่างๆ ไม่ ว่าจะเป็นข้อความ รูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว หรือ อื่นๆ จะถูกเชื่อมโยงเข้าหากัน ด้วยชุดคำสั่งต่างๆ เพื่อให้แสดงผลออกมาคล้ายกับ สิ่งพิมพ์ สไลด์ หรือ แบบมัลติมีเดีย ซึ่งเป็นภาษาคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่ง ที่มีโครงสร้างการเขียนโดยอาศัยตัวกำกับ (Tag) ควบคุมการแสดงผลข้อความ, รูปภาพ หรือวัตถุอื่นๆ ผ่านโปรแกรมเบราเซอร์ แต่ละ Tag อาจจะมีส่วนขยายที่เรียกว่า Attribute สำหรับระบุ หรือควบคุมการแสดงผล ของเว็บได้ด้วย HTML เป็นภาษาที่ถูกพัฒนาโดย World Wide Web Consortium (W3C) จากแม่แบบของภาษา SGML (Standard Generalized Markup Language) โดยตัดความสามารถบางส่วนออกไป เพื่อให้สามารถทำความเข้าใจและเรียนรู้ได้ง่าย และด้วยประเด็นดังกล่าว ทำให้บริการ WWW เติบโตขยายตัวอย่างกว้างขวางตามไปด้วย เอกสาร HTML จะมีองค์ประกอบหลักๆ อยู่ 2 ส่วน คือ •ข้อความที่ต้องการให้แสดงบนจอภาพ • ข้อความที่เป็นคำสั่ง แหล่งอ้างอิง https://sites.google.com 

                                                                                      Go to Top

                                                                                                  Previous page