IPSTAR - satellite (ดาวเทียม) - DEMO

Maecenas vitae congue augue,
nec volutpat risus.
Go to content

Main menu:

IPSTAR

เครือข่ายสื่อสารข้อมูลความเร็วสูงผ่านดาวเทียมระบบ iPSTAR

        โครงการดาวเทียม iPSTAR หรือ โครงการ Broadband Satellite เป็นโครงการที่บริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด ( มหาชน) ได้เริ่มคิดค้นพัฒนาเทคโนโลยีของไอพีสตาร์มาตั้งแต่ 2540 เพื่อรองรับการใช้งานด้านบรอดแบนด์ผ่านดาวเทียมโดยตรง ซึ่งเทคโนโลยีของไอพีสตาร์ จัดเป็นเทคโนโลยีบรอดแบนด์ผ่านดาวเทียมที่ก้าวหน้ามากที่สุดในโลก และบริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด ( มหาชน) ได้ทำการจดสิทธิบัตรเทคโนโลยีไอพีสตาร์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ดาวเทียม iPSTAR มีกำหนดการเริ่มให้บริการประมาณต้นปี 2547 และมีพื้นที่ให้บริการครอบคลุมทวีปเอเชีย และออสเตรเลีย ซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีแนวโน้มกาขยายตัวทางด้านโทรคมนาคมอย่างรวดเร็ว และเป็นตลาดเป้าหมายที่สำคัญของโครงการ iPSTAR Broadband Satellite

IPSTAR คืออะไร

        IPSTAR เป็นบริการ อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ผ่านทางช่องสัญญาณ ดาวเทียม แบบ สองทาง (Two-ways Broadband Internet) ซึ่งมีการเชื่อมต่อแบบตลอดเวลา (Always on) ทั้งนี้ในส่วนของชุดอุปกรณ์ Terminal ได้ถูกออกเแบบมาพิเศษ ให้สามารถ ใช้งาน ได้กับดาวเทียมหลายประเภท ทั้งนี้ไม่ได้ผูกติด ว่าจะต้องนำมา ใช้งานกับดาวเทียม IPSTAR เท่านั้น ในการเปิดให้บริการ IPSTAR ในประเทศไทย จะดำเนินการ ผ่านทางช่องทางการจัดจำหน่ายของผู้ให้บริการทางอินเตอร์เนต เพื่อรองรับความต้องการ ในการบริการ อินเทอร์เน็ต ที่หลากหลาย ด้วยคุณสมบัติของเทคโนโลยีดาวเทียม จะทำให้บริการ IPSTAR สามารถเปิดให้บริการ อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (Broadband Internet) ได้ทั่วประเทศ สามารถติดตั้งได้รวดเร็ว และสะดวกในการใช้งาน

ลักษณะการทำงานของ IPSTAR

        ลักษณะการให้บริการของ IPSTAR จะมีลักษณะการทำงาน คล้ายคลึง กับการ เชื่อมต่อ ใช้งานอินเทอร์เน็ต ผ่านสื่อสัญญาณ ประเภทอื่น เพียงผู้ใช้บริการทำการติดตั้งชุดอุปกรณ์ IPSTAR Terminal และทำการ เชื่อมเข้ากับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือการเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยจะเป็นการรับ-ส่งข้อมูลตรง ระหว่างอุปกรณ์ปลายทาง และระบบเครือข่าย หลักของ ผู้ให้บริการทางอินเตอร์เนตไม่ว่าชุดอุปกรณ์จะอยู่ ณ จังหวัดใด

         ด้วยการออกแบบระบบที่มีประสิทธิภาพ ประกอบกับระบบการบริหารช่องสัญญาณ จึงทำให้สามารถนำบริการ IPSTAR มาประยุกต์ และใช้งาน ควบคู่กับ Application ต่างๆ หรือลักษณะการใช้งานที่ค่อนข้างหลากหลาย ทั้งในลักษณะ การ ใช้งาน ในองค์กรขนาดใหญ่ที่มีจำนวนผู้ใช้งาน และความต้องการในช่องสัญญาณขนาดใหญ่ องค์กรขนาดกลางที่มีการใช้งานในระดับปกติ หรือองค์กรขนาดเล็ก (SME) ที่มีความต้องการ ในการใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง เฉพาะในบางช่วงเวลา จากรูปภาพแสดงการทำงาน ของระบบ จะเห็นได้ว่าบริการ IPSTAR มีความยืดหยุ่นค่อนข้างสูงในการที่จะนำประยุกต์ ใช้ในธุรกิจต่างๆ

         ไอพีสตาร์ได้รับการออกแบบ ให้มีระบบรับ-ส่งสัญญาณความเร็วสูง ที่มีสมรรถภาพและเสถียรภาพเป็นเลิศ พร้อมระบบบริหาร ช่องสัญญาณอันทรงประสิทธิภาพ จึงทำให้สามารถนำบริการไอพีสตาร์ มาประยุกต์ใช้งานควบคู่กับการประยุกต์ใช้งานต่างๆ ได้อย่างหลากหลาย อาทิ เช่น การรับ-ส่งข้อมูลขนาดใหญ่, การประชุมทางไกลด้วยภาพผ่านทางอินเตอร์เน็ต , การประยุกต์ใช้งานด้านเสียง (Voice Service), การแพร่สัญญาณภาพ และเสียงสู่เครือข่ายอินเตอร์เน็ตภายในองค์กร (Broadcasting), การสร้างเครือข่ายอินเตอร์เน็ตแบบไร้สาย ภายในอาคารสำนักงานหรืออาคารที่พักอาศัย ไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดใหญ่ ที่มีผู้ใช้งานจำนวนมาก และต้องการใช้ช่องสัญญาณขนาดใหญ่ , องค์กรขนาดกลางที่มีการใช้งานในระดับปกติ หรือองค์กรขนาดเล็ก (SME) ที่ต้องการใช้งานอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงเฉพาะในบางช่วงเวลา

รูปแบบของบริการ IPSTAR แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ

1. STAR LINK (Corporate FIX Bandwidth)

2. STAR EXPRESS (Broadband Access for Home SME)

–    IP STAR HOME

–    IP STAR SME

–   IP STAR COPORATE

IPSTAR LINK

         ลักษณะการทำงาน (Corporate Internet Access) เป็นการให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่มีรูปแบบการเชื่อมต่อแบบเดียวกันกับการเชื่อมต่อผ่านสื่อ แบบคู่สายเช่า (Leased Line) แต่เปลี่ยนมาใช้สื่อเชื่อมต่อด้วยอุปกรณ์และช่องสัญญาณดาวเทียมแทน และใช้บริการที่คุณภาพใกล้เคียงกัน ซึ่งถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง สำหรับกลุ่มลูกค้าที่ต้องการใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในพื้นที่ห่างไกลหรือบริการแบบคู่สายเช่าไปไม่ถึง สามารถขอใช้บริการ ได้ทุกพื้นที่ทั่วประเทศ  

ข้อดีของบริการ
–     สามารถได้รับบริการอินเทอร์เน็ตเต็มประสิทธิภาพ

–      พื้นที่ให้บริการครอบคลุมทั่วประเทศ

–      ติดตั้งได้สะดวก และรวดเร็ว  

กลุ่มเป้าหมาย : กลุ่มลูกค้าองค์กรที่มีความต้องการในการใช้บริการอินเทอร์เน็ตในปริมาณสูง



STAR EXPRESS (Broadband Access for SME)

            ลักษณะการทำงานเป็นการให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ผ่านทางเครือข่ายดาวเทียม โดยรูปแบบบริการถูกออกแบบมาเพื่อให้บริการในลักษณะของ* Shared Bandwidth* ด้วยการออกแบบระบบการให้บริการในลักษณะของการบริหารช่องสัญญาณ ทำให้ผู้ใช้บริการสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยเป็นอัตราส่วนการ Shared Bandwidth ที่เหมาะสมกับพฤติกรรมการใช้งานของลูกค้าเป้าหมาย ด้วยบริการในรูปแบบนี้ผู้ใช้บริการสามารถได้ใช้บริการในระดับความเร็วที่สูงสุด ตั้งแต่ 256-2048 Kbps. (Best Effort) ในกรณีที่ช่วงเวลาดังกล่าวมีผู้เข้ามาใช้งานน้อย ถึงปานกลาง

ข้อดีของบริการ

– สามารถใช้บริการอินเทอร์เน็ต ได้สูงสุด 2 MB (Best Effort) ภายใต้ระบบ การบริหารช่องสัญญาณ ที่มีประสิทธิภาพ

– พื้นที่ให้บริการครอบคลุมทั่วประเทศ

– ติดตั้งได้สะดวกและรวดเร็ว

– สามารถเลือกระดับอัตราความเร็วได้ตั้งแต่ 256/128 Kbps ถึง 1024/512 Kbps.

กลุ่มเป้าหมาย  : เหมาะสำหรับกลุ่มลูกค้าองค์กร ขนาดเล็ก หรือหน่วยงานที่มีความต้องการในการ ใช้อินเทอร์เน็ต ในระดับน้อย


รูปแบบการเชื่อมต่อ STAR EXPRESS   (Broadband Internet Access)

          ข้อควรทราบ : บริการ STAR Express เป็นบริการบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียมที่ถูกออกแบบมา ให้มีขนาด ของช่องสัญญาณ ในขารับ มากกว่าขนาดของช่องสัญญาณในขาส่ง และเป็นรูปแบบบริการแบบ Shared Bandwidth   จึงทำให้ไม่เหมาะ กับการใช้งานบางประเภท อาทิเช่น การติดตั้ง Web Server, Mail Server ที่เน้นการส่งออกมากกว่ารับ หรือโปรแกรม ประเภทต่างๆ ที่จะต้องมีการส่งข้อมูลออกไปจำนวนมาก ๆ และต่อเนื่อง อาทิเช่น CCTV, VDO Conference , Streaming Server (VDO and Audio) , etc.  เพราะการใช้งานในรูปแบบดังกล่าว จะมีผลกระทบ ต่อความเร็ว ในการ ใช้งานอินเทอร์เน็ตของท่านเอง

ลักษณะรูปแบบของการใช้งานบน Application ผ่านไอพีสตาร์

1. เครือข่ายเสมือนเฉพาะภายในองค์กร Virtual Private Network (VPN)

           เครือข่ายเสมือนเฉพาะภายในองค์กร Virtual Private Network (VPN) ไอพีสตาร์ สามารถสร้างเครือข่ายเสมือนเฉพาะภายในองค์กรที่เรียกว่า VPN เพื่อเป็นการเชื่อมโยงระหว่างอุปกรณ์ปลายทาง (Terminal) ต่างๆ กับภายในเครือข่ายขององค์กรหรือระหว่างสาขา โดยผ่านอินเตอร์เน็ต บนเครือข่ายไอพีสตาร์ ที่สามารถสร้างช่องทางพิเศษ สำหรับการสื่อสารภายในเครือข่ายขององค์กร เสมือนการมีเครือข่ายส่วนตัวโดยไม่ต้องเช่าคู่สาย และทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย ในการเช่าวงจรได้เป็นอย่างมาก และเครือข่ายยังมีความสามารถสูง สำหรับนำมาประยุกต์การใช้งานประเภทนี้ จึงเหมาะสำหรับองค์กร ที่ต้องการ เครือข่ายส่วนตัวที่มีความปลอดภัยของข้อมูล โดยการเข้ารหัส (Encoder) หรือการใช้งานบน Protocol (IP) Platform การนำ IPSTAR ไปประยุกต์ใช้งานกับ VPN นี้ ทำให้องค์กรสามารถนำช่องสัญญาณที่เปิดใช้งานนำมาใช้บริการแบบ Star Net ที่ ซีเอส ล็อกซอินโฟ ให้บริการไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดและประหยัด ค่าใช้จ่ายให้แก่องค์กรเป็นอย่างมาก
เนื่องจากไอพีสตาร์ สามารถออกแบบและนำเอาช่องสัญญาณรวมมาจัดสรรให้เหมาะสมกับการความต้องการใช้งานจริงของทั้งองค์กรได้ โดยแต่ละสาขาที่ทำการเชื่อมต่อกับสำนักงานใหญ่สามรถ Login เข้าไปใช้ช่องสัญญาณได้เมื่อมีความต้องการใช้งาน หากสาขากใดยังไม่จำเป็นต้องใช้งาน ณ เวลานั้น ช่องสัญญาณดาวเทียมสามารถสำรองไว้ให้สาขาอื่นๆ เข้ามาใช้งานได้ ทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดสำหรับองค์กรขนาดใหญ่

ไอพีสตาร์สามารถรองรับ การใช้งาน VPN ในรูปแบบต่างๆ ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ได้แก่

 -  Access VPN สำหรับพนักงานภายในองค์กรที่ทำงานนอกสถานที่ให้สามารถเข้าถึงเครือข่าย องค์กรเพื่อใช้งานได้เสมือนอยู่ภายในสำนักงาน
 -  Intranet VPN สำหรับการสื่อสารและการใช้ข้อมูลกลางร่วมกันระหว่างสำนักงานใหญ่และสำนักงานสาขาต่างๆ เสมือนเครือข่ายร่วมกันในองค์กร
 -  Extranet VPN สำหรับการสื่อสารระหว่างองค์กรกับบุคคลอื่นภายนอกองค์กร ซึ่งอาจเป็นผู้จำหน่ายสินค้า และบริการ (Supplier) พันธมิตรทาง        ธุรกิจ หรือกลุ่มลูกค้าขององค์กรก็ได้

จุดเด่นของ ไอพีสตาร์ สำหรับเครือข่ายเสมือนเฉพาะภายในองค์กร

–   การทำเครือข่ายส่วนตัวบนไอพีสตาร์ ไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงตำแหน่งที่ตั้งขององค์กร หรือสาขาว่าจะต้องมีเครือข่ายสายเข้าไปถึง สามารถขยายเครือข่ายสาขาจาก LAN ในพื้นที่เล็กๆ เป็น WAN ในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ

–   ที่สำนักงานใหญ่ขององค์กร ควรมีวงจรเช่าต่อเข้าหา Gateway IPSTAR ผ่าน VPN-enabled router เพื่อรองรับการเชื่อมต่อระหว่างสำนักงานสาขาที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล กับสำนักงานใหญ่ด้วยการเชื่อมต่อสัญญาณผ่านดาวเทียม ไอพีสตาร์ ในลักษณะการขึ้นลงเพียงครั้งเดียว

–     ช่องสัญญาณไอพีสตาร์ สามารถนำมาปรับเปลี่ยน และใช้งานร่วมกันตามความต้องการของผู้ใช้ ดังนั้นองค์กร จึงสามารถเช่าช่องสัญญาณเท่ากับปริมาณที่ใช้จริง เช่น เช่าช่องสัญญาณ 1 Mb. สำหรับการใช้งาน 20 สาขา ซึ่งแต่ละสาขาจะได้ความเร็วและคุณภาพตามที่ต้องการ

–   ไอพีสตาร์สามารถรองรับการใช้งานที่ต้องการช่องสัญญาณระบบ IPSTAR สามารถนำมาใช้ในการเชื่อมโยงสาขาต่าง ๆ ภายในเครือข่ายขององค์กร ไปยังศูนย์ กลางข้อมูลกับสำนักงานใหญ่ ผ่านสถานีเกตเวย์ของ IPSTAR ด้วยวงจรเช่าคู่สาย ( Leased Line) เชื่อมต่อมายัง ซีเอส ล็อกซอินโฟ ดังแสดงใน รูปข้างล่างนี้


2.      การประชุมทางไกลผ่านดาวเทียม IPSTAR fot Video Conferencing (VDC)

          การประชุมทางไกลด้วยภาพผ่านดาวเทียม (Video Conference : VDC ) จัดเป็นการประยุกต์ใช้งานที่สำคัญอย่างหนึ่งในการให้บริการบรอดแบรนด์ ระบบ ระบบ IPSTAR ยังสนับสนุนมาตรฐาน H.323 สำหรับ VDC อีกทั้งการควบคุม และจัดสรรช่องสัญญาณรวมตลอดจนความยืดหยุ่นและรวดเร็วในการปรับความเร็ว ตามความต้องการใช้งานของ ระบบ IPSTAR ทำให้การใช้งาน VDC จากเดิมที่เคยมีความยุ่งยากในการติดตั้งอุปกรณ์ และมีค่าบริการค่อนข้างแพง อีกทั้งความเร็วในการส่งข้อมูลถูกจำกัด เปลี่ยนมาเป็นความสะดวก รวดเร็ว ราคาถูก และสามารถประชุมทางไกลจาก ที่ใดก็ได้ ในลักษณะ Client/Server ผ่าน IP Network ของ IPSTAR นอกจากนี้ IPSTAR ยังมีจุดเด่นความสามารถด้าน Broadcast และ Multicast ทำให้สามารถแพร่ภาพและ ข้อมูลไปยังเครือข่ายหรือสาขา ที่มีจำนวนอุปกรณ์ปลายทางจำนวน มาก สามารถรับสัญญาณภาพพร้อมกันได้

จุดเด่นของการทำงาน VDC

–  ราคาประหยัด และถูกกว่าการให้บริการแบบอื่นๆ หากเปรียบเทียบกับ การใช้งานผ่านระบบอื่นๆ แบบเดิม อย่างมาก

–   การติดตั้งง่าย ต่อจุดติดตั้ง 1 จุด สามารถติดตั้งได้เสร็จภายใน 1 วัน

–    หากเป็นการให้บริการแบบ Multicast คุณภาพของสัญญาณ ข้อมูล ที่ได้รับทุกสาขาปลายทาง สามารถรับสัญญาณได้เหมือนกัน และคุณภาพเดียวกัน

–   ระบบ IPSTAR สามารถนำมาประยุกต์ใช้งานร่วมกับระบบปฏิบัติการร่วมกับการควบคุมการประชุมได้ เช่น การเพิ่ม/ลด จำนวนผู้เข้าประชุม , การแบ่งห้องประชุมออกเป็นหลายๆ ห้อง และใช้ไฟล์งานเข้าประชุมร่วมกันพร้อมๆ กัน

–     ไอพีสตาร์รองรับการใช้งาน Video Conference ในแบบแม่ข่าย / ลูกข่าย ( Client/Server ) ที่กำลังแพร่หลายได้  (รายละเอียดรูปภาพประกอบ)



3. มัลติมีเดีย (Multimedia)

         IPSTAR เป็นระบบเครือข่ายดาวเทียมที่ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับการใช้งานกับบริการบรอดแบนด์ความ เร็วสูงโดยเฉพาะ ทำให้ผู้ใช้งานผ่านเครือข่าย IPSTAR สามารถเข้าสู่โลกของข้อมูลข่าวสาร การเรียนรู้ และความ บันเทิงต่างๆ แบบ Multimedia ได้อย่างรวดเร็วและไม่มีขีดจำกัดด้านความเร็วของสื่ออีกต่อไป อีกทั้งยังเป็นบริการ ที่มีการเชื่อมต่อแบบตลอดเวลา(Always on) และสามารถให้บริการบรอดแบนด์แบบ 2 ทาง บน Internet Protocol (IP) Platform เพื่อใช้ในการเข้าอินเตอร์เน็ตตามปกติ รวมถึงการใช้งานอื่นๆ บน IP Platform

จุดเด่นของการใช้งาน

-   ไอพีสตาร์เป็นระบบเครือข่ายดาวเทียมที่สามารถให้บริการบรอดแบนด์แบบ 2 ทาง บน Internet Protocol (IP) Platform เพื่อใช้ในการเข้า                อินเทอร์เน็ตตามปกติ รวมถึงการใช้การประยุกต์ใช้งานอื่นๆ บน IP Platform
-   การต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ต เป็นแบบ “Always on”
-   อุปกรณ์ปลายทางของไอพีสตาร์สามารถใช้ในการรับส่งข้อมูลได้ด้วยอัตราเร็วสูงสุดถึง 8 Mbps ในด้านรับ และ 2.5 Mbps ในด้านส่ง
-  ไอพีสตาร์จึงสามารถรองรับการสื่อสารทั้งข้อมูล ภาพ และเสียงได้ โดยไม่ถูกจำกัดด้วยความคับคั่งของข่ายสายภาคพื้นดิน และยังช่วยให้ผู้ใช้งาน      สามารถเข้าสู่เครือข่าย IP จากที่ใดๆ ก็ได้ในกรณีที่ข่ายสายภาคพื้นดินยังไปไม่ถึง
-   ผู้ใช้สามารถใช้ไอพีสตาร์ร่วมกับการประยุกต์ใช้งานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาผ่านอินเทอร์เน็ต (E-learning), การถ่ายทอดสด (Live                   Broadcast), การเลือกรับชมรายการวิดีทัศน์ตามความต้องการ(Video on Demand), การประชุมทางไกลด้วยภาพผ่านดาวเทียม (Video                 Conference), คอมพิวเตอร์เกมส์(Interactive Computer Games), การดาวน์โหลดข้อมูล และอื่นๆ
-   ความเร็วในการรับส่งข้อมูลด้วยอุปกรณ์ปลายทางของไอพีสตาร์สามารถกำหนดได้    สอดคล้องกับความต้องการใช้งาน    และเพื่อให้การใช้           แบนด์วิดท์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

ตัวอย่างรูปแบบการให้บริการของไอพีสตาร์


ระบบ บริการIPSTAR ในประเทศไทย

         เป็นโครงการ Sattellite Broadband Internet Access ของบริษัทชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน)มีเป้าหมายที่จะสร้าง Platform Network สำหรับอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงแก่ผู้ใช้บริการ  ในช่วง Last Mile (ตรงถึงบ้าน/สำนักงาน)
โครงการ IP Star แบ่งเป็น 2 ระยะ
– ระยะที่ 1 ใช้ช่องสัญญาณย่าน Ku band บนดาวเทียมไทยคม 1และ 2 เปิดให้บริการ
   ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2543
– ระยะที่ 2 จะเริ่มเปิดให้บริการหลังจากส่งดาวเทียม IP Star ขึ้นสู่วงโคจรประมาณ ต้นปี 2548

ขอบเขตของงานบริการในประเทศไทย

        ให้บริการในเขตกรุงเทพฯ ปริมณฑล และภูมิภาค โดยทำการติดตั้งทดสอบ และเชื่อมโยงระบบสื่อสัญญาณดาวเทียม IP Star กับเครือข่ายของผู้บริการอินเตอร์เนต เช่น Frame Relay และ Internet เป็นต้น การขยายตัวของบริการมีโอกาสเพิ่มสูง เนื่องจากการให้บริการไม่มีข้อจำกัดทางด้านระยะทางของพื้นที่ที่สามารถให้บริการได้ อีกประการหนึ่งคือโครงข่ายสื่อสัญญาณทางสายด้วยใยแก้วนำแสงหรือ สายทองแดง ยังขาดแคลนและไม่มีหน่วยงานใดในประเทศไทยจัดหาได้ครอบคลุมทั่วประเทศ และ เพียงพอที่จะรองรับได้ทันกับโครงการในปัจจุบันที่เกิดขึ้นตามนโยบายของรัฐบาลได้ ภารกิจภายหลังจากการเปิดให้บริการคือ การบำรุงรักษาอุปกรณ์การแก้ไข และซ่อมบำรุงอุปกรณ์ การจัดหาอุปกรณ์เพื่อการสับเปลี่ยน ทดแทนกับอุปกรณ์ที่เสียเพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง และมีอุปกรณ์ที่เพียงพอต่อความต้องการใช้บริการของลูกค้า

การใช้อินเทอร์เน็ตสำหรับแหล่งธุรกิจ ที่ทำงาน และที่อยู่อาศัย

  -  บริการของไอพีสตาร์เป็นเครือข่ายส่งตรงถึงผู้ใช้ปลายทาง (last-mile access) ซึ่งสนับสนุนการเชื่อมต่อกับระบบการเข้าถึงผู้ใช้งานราย                  บุคคล(last-inch) เพื่อเพิ่มความสะดวกในการใช้อินเทอร์เน็ต
  -  การใช้งานแบนด์วิดท์ของไอพีสตาร์จะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพด้วยการใช้งานร่วมกันระหว่างผู้ใช้งานในกลุ่ม
  - ไอพีสตาร์ให้ความยืดหยุ่นในการใช้แบนด์วิดท์ ช่วยให้ผู้ใช้งานมีโอกาสเชื่อมต่ออินเทอร์ตามความต้องการของแต่ละบุคคล ด้วยอัตราเร็วที่สูงกว่า      ปกติได้ (Burstable Speed – On Demand)
  - ให้ความสะดวกและรวดเร็วแก่ผู้ให้บริการ หรือ Service Provider ในการให้บริการอินเทอร์เน็ตพร้อมบริการเสริม ในจุดให้บริการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น      เขตสำนักงาน เขตที่พักอาศัย ย่านธุรกิจต่างๆ
  - ไอพีสตาร์ช่วยให้ผู้ใช้งานที่มีบริการโรมมิ่งอินเทอร์เน็ต สามารถเข้าสู่อินเทอร์เน็ตได้ในที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นบ้าน สำนักงาน และจุดที่เป็นแหล่ง            ธุรกิจพาณิชย์ต่างๆ (Hotspots)

สัดส่วนทางการตลาดสำหรับการใช้อินเทอร์เน็ตของกลุ่มผู้ใช้งาน

 -  MTU (Multi-Tenant Unit) หรือแหล่งที่ทำงาน เช่น อาคารสำนักงาน นิคมอุสาหกรรม  
 -  MDU (Multi-Dwelling Unit) หรือแหล่งที่อยู่อาศัย เช่น คอนโดมิเนียม อพาร์ตเมนท์
 -  Hotspots หรือแหล่งธุรกิจพาณิชย์ เช่น สนามบิน โรงแรม ศูนย์การค้า โรงพยาบาล

การเข้าถึงผู้ใช้งานรายบุคคล แบ่งออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่

  -   LAN: Category 5 cable: สำหรับอาคารที่มีการวางสาย LAN อยู่แล้ว (Broadband Ready)
สายโทรศัพท์ : สำหรับที่พักอาศัยหรืออาคารที่มีคู่สายโทรศัพท์อยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องวางสาย LAN ใหม่ ก็สามารถใช้โทรศัพท์พร้อมกับการเล่นอินเทอร์เน็ตได้ โดยอาศัยระบบที่ออกแบบมาช่วยในการเข้าถึงบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตผ่านสายโทรศัพท์ เช่น Mini DSLAM (Digital Subscriber Line Access Multiplexer), อุปกรณ์ HPNA (Home Phoneline Network Alliance)
  -   ระบบไร้สาย : สำหรับการเข้าสู่อินเทอร์เน็ตตามที่สาธารณะต่างๆ (Hotspots) เช่น สนามบิน ศูนย์การค้า โรงแรม หอพัก หรือแม้แต่อาคารสำนักงานที่มีการวางระบบ LAN อยู่แล้วโดยไม่ต้องมีการเดินสายเคเบิล โดยใช้เทคโนโลยีสำหรับ Wireless Access เช่น Standard Wireless LAN: IEEE 802.11a, 802.11b, Non-standard wireless LAN, Home RF, Bluetooth
  -   สายไฟฟ้า : สำหรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านสายไฟฟ้าภายในบ้านหรืออาคาร สามารถใช้กับการประยุกต์ใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ เช่น ระบบการอ่านมาตรวัดไฟฟ้าอัตโนมัติ(Automatic Meter Reading: AMR), บ้านอัจฉริยะ(Home Automation), เครื่องใช้ไฟฟ้าอัจฉริยะ(Smart Appliances)
  -   ระบบเคเบิลทีวีที่ใช้สาย coaxial: สำหรับโรงแรมหรืออาคารที่มีการเดินสายเคเบิลทีวีอยู่แล้ว

สรุป : มาทำความรู้จักกับ IPSTAR กันเถอะ!

ไอพีสตาร์คืออะไร?
    ดาวเทียมบรอดแบนด์ Thaicom-4 (IPSTAR) เป็นดาวเทียมที่มีปริมาณการรับส่งข้อมูลสูงที่สุดดวงแรกของโลก และเป็นหนึ่งในดาวเทียมที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่เคยมีการส่งขึ้นสู่วงโคจร ดาวเทียมนี้ได้รับการออกแบบให้สามารถสื่อสารได้สองทาง ด้วยความเร็วสูงบนแพลตฟอร์ม Internet Protocol นอกจากนี้ ยังเป็นดาวเทียมชนิด hybrid Ku-/Ka-band ดวงแรก ซึ่งครอบคลุมความถี่ย่าน Ku-band ที่กว้างที่สุดจากดาวเทียมดวงเดียว การผสมผสานระหว่างระบบอวกาศและระบบภาคพื้นดินของดาวเทียมบรอดแบนด์ ทำให้การให้บริการบรอดแบนด์และโซลูชั่นสำหรับภาครัฐและภาคธุรกิจ รวมทั้งอุตสาหกรรมโทรคมนาคมและวิทยุกระจายเสียงมีความคุ้มค่า

ไอพีสตาร์มีประโยชน์อย่างไรบ้าง?
   ไอพีสตาร์เป็นเจ้าของใบอนุญาตการใช้งานคลื่นความถี่ใน 14 ประเทศในเอเชียแปซิฟิก สามารถปรับระดับความถี่ได้เต็มช่วงคลื่น และช่วยให้สามารถขยายตลาดได้ในระดับประเทศ ดาวเทียมที่มีปริมาณการรับส่งข้อมูลสูงนี้ได้รับการยอมรับจากทั้งตลาดผู้บริโภคและผู้ใช้งานในกลุ่มตลาดเฉพาะทาง ผู้ประกอบการและผู้ให้บริการสามารถเปลี่ยนจากดาวเทียมทั่วไปมาเป็นระบบ IPSTAR Broadband Satellite ได้อย่างง่ายดาย – เพื่อความสามารถในการแข่งขันและความยืดหยุ่นที่เพิ่มขึ้น ด้วยคุณภาพการบริการ (QoS) ที่สูง ณ ต้นทุนที่ต่ำกว่า ข้อได้เปรียบทางต้นทุนของไอพีสตาร์ที่มีเหนือกว่าดาวเทียมแบบเก่า รวมทั้งศักยภาพที่สามารถนำมาใช้ได้ทันที และใบอนุญาตการใช้คลื่นความถี่ใน 14 ประเทศ ทำให้ผู้ประกอบการสามารถขยายฐานผู้ใช้บริการได้ในระดับประเทศ

ไอพีสตาร์สามารถให้บริการด้านการกระจายสัญญาณได้หรือไม่?
   "ได้" นอกจากการให้บริการดาวเทียมเพื่อส่งข้อมูลที่ใช้ระบบ IP แล้วไอพีสตาร์ยังให้บริการด้านการกระจายสัญญาณที่หลากหลาย ซึ่งสามารถทำได้ด้วยลำคลื่นที่มีกำลังการกระจายได้ทั่วประเทศและต้นทุนการส่งที่ต่ำ ลำคลื่นการกระจายเสียงของไอพีสตาร์ครอบคลุมประเทศออสเตรเลีย กัมพูชา จีน อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ ไต้หวัน และประเทศไทย กรุณาติดต่อเราเพื่อรับข้อมูลเพิ่มเติมและตรวจสอบการให้บริการในประเทศของคุณ

ไอพีสตาร์สามารถเชื่อมต่อผู้ใช้งานได้กี่ราย?
   ดาวเทียมบรอดแบนด์ Thaicom-4 (IPSTAR) สามารถเชื่อมต่อผู้ใช้งานบรอดแบนด์ได้ถึง 2 ล้านคน หรือผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือ 20-30 ล้านรายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

ไอพีสตาร์มีผลงานอะไรบ้าง?
  ไอพีสตาร์มีผลการดำเนินงานที่น่าประทับใจนับตั้งแต่การส่งขึ้นสู่วงโคจรในปี 2005 ไม่ว่าจะเป็นการกู้ระบบสื่อสารในพื้นที่ที่เกิดภัยพิบัติ การศึกษาทางไกลสำหรับโรงเรียนนับพันแห่ง โครงข่ายการสื่อสารภาคพื้นดิน 2G/3G สำหรับเครือข่ายโทรศัพท์มือถือหรืออินเตอร์เน็ตความเร็วสูงสำหรับที่พักอาศัยจำนวนนับไม่ถ้วนทั่วทั้งภูมิภาคเอเชีย ตัวอย่างเช่น ไอพีสตาร์เป็นผู้ให้บริการเครือข่าย VSAT ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ด้วยจำนวนผู้ใช้งานมากกว่า 120,000 รายและกำลังเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างต่อเนื่อง

บริการของไอพีสตาร์ครอบคลุมพื้นที่ใดบ้าง?
   ปัจจุบันไอพีสตาร์ให้บริการดาวเทียมที่ครอบคลุมพื้นที่ใน 13 ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ได้แก่ ประเทศออสเตรเลีย กัมพูชา จีน อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย สหภาพพม่า นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ ประเทศไทย และเวียดนาม

บริการ VSAT เป็นบริการที่มีราคาแพงใช่หรือไม่?
   บริการของดาวเทียมบรอดแบนด์ไอพีสตาร์ไม่สามารถนำไปเปรียบเทียบกับบริการ VSAT แบบเก่าได้ ก่อนยุคของไอพีสตาร์การใช้อินเตอร์เน็ตผ่านดาวเทียมมีต้นทุนการดำเนินการที่สูงมาก แต่ดาวเทียมบรอดแบนด์ไอพีสตาร์ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของ bandwidth โดยมีต้นทุนการให้บริการที่ต่ำกว่าอย่างมาก ส่งผลให้มีข้อได้เปรียบทางการแข่งขันเหนือกว่าดาวเทียมแบบเก่าและแบบ VSAT ในด้านความคุ้มทุนในการส่งข้อมูลเสียง วีดีโอ และข้อมูล

ดาวเทียม THAICOM-4 (IPSTAR) มีอายุการให้บริการนานเท่าใด?
   ดาวเทียม Thaicom-4 (IPSTAR) คาดว่าจะมีอายุการให้บริการมากกว่า 15 ปี

ไอพีสตาร์เปิดให้บริการที่ใดบ้าง?
   บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงของไอพีสตาร์สำหรับผู้ใช้งานในที่พักอาศัยและผู้ใช้งานที่เป็นธุรกิจขนาดเล็ก ให้บริการผ่านเครือข่ายที่ครอบคลุมของผู้ให้บริการที่ได้รับอนุญาตและได้รับการรับรองใน 13 ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กรุณาติดต่อผู้ให้บริการท้องถิ่นในพื้นที่ของคุณ ถ้าคุณเป็นผู้ใช้งานภาคธุรกิจหรือผู้ใช้งานภาครัฐ ผู้ให้บริการโทรคมนาคม หรือผู้ประกอบกิจการกระจายเสียง กรุณาติดต่อเราโดยตรงผ่านแบบฟอร์มในเว็บไซต์

ไอพีสตาร์ให้บริการด้วยความเร็วเท่าใด?
   ปัจจุบันไอพีสตาร์ให้บริการด้วยความเร็วในการดาวน์โหลดสูงสุด 5 Mbps และความเร็วในการอัพโหลดสูงสุด 4 Mbps สำหรับการใช้งานที่แตกต่างกันไปตามแอพพลิเคชั่นและบริการที่ต้องการใช้ bandwidth ที่หลากหลาย*

บริการบรอดแบนด์ของไอพีสตาร์เชื่อถือได้มากเพียงใด?
   ลูกค้าเกือบ 250,000 รายในเอเชียแปซิฟิกที่ใช้บริการบรอดแบนด์ดาวเทียมของไอพีสตาร์ด้วยระบบการใส่รหัสและการปรับแต่งคลื่นขั้นสูงและความได้เปรียบเชิงระบบอื่นๆ ทำให้ไอพีสตาร์ได้รับการยอมรับด้านความน่าเชื่อถือที่น่าประทับใจ และโดยความเป็นจริงแล้วไอพีสตาร์ให้บริการด้วยคุณภาพการบริการ (QoS) ที่ได้รับการยอมรับและมีปัญหาที่เกิดจากสภาพอากาศน้อยมากเมื่อเทียบกับระบบ VSAT แบบเก่า

*ระดับความเร็วสูงสุดไม่สามารถกระทำได้ในกรณีที่มีการดาวน์โหลดและอัพโหลดพร้อมกัน ในกรณีดังกล่าวความเร็วสูงสุดในการรับส่งในการดาวน์โหลดและอัพโหลดพร้อมกัน คือ 4 Mbps และ 2 Mbps ตามลำดับ

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit.
+00 012 345 678
+00 012 345 678 (fax)
Lorem Ipsum
Dolor sit amet, 12
12345 Consectetur
(Adipiscing)
Back to content | Back to main menu