การวิเคราะห์ข้อสอบอัตนัย

การวิเคราะห์ข้อสอบอัตนัยจะต้องทำการแบ่งกลุ่มนักเรียนที่เข้าสอบออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มเก่ง (กลุ่มสูง) และกลุ่มอ่อน (กลุ่มต่ำ) โดยใช้เทคนิค 25 % ของจำนวนนักเรียนที่เข้าสอบ วิธีการคำนวณจะต้องใช้สูตรของ D.R.Sabers (1970) ดังนี้

ดัชนีค่าความยาก (PE) มีสูตร ดังนี้

 

 

 

ดัชนีค่าอำนาจจำแนก (D) มีสูตร ดังนี้

 

 

 

เมื่อ PE แทน ดัชนีค่าความยาก

SU แทน ผลรวมของคะแนนกลุ่มเก่ง

SL แทน ผลรวมของคะแนนกลุ่มอ่อน

N แทน จำนวนผู้เข้าสอบของกลุ่มเก่ง หรือกลุ่มอ่อน (เฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง)

Xmax แทน คะแนนที่นักเรียนทำได้สูงสุด

Xmin แทน คะแนนที่นักเรียนทำได้ต่ำสุด

D แทน ดัชนีค่าอำนาจจำแนก

 

ตัวอย่าง 7.6 แบบทดสอบอัตนัยฉบับหนึ่งหลังจากที่นำไปทดสอบกับนักเรียนและตรวจให้คะแนนแล้วจึงทำการแบ่งนักเรียนออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มเก่ง และกลุ่มอ่อนด้วยเทคนิค 25 %

จากข้อมูลในตารางข้างล่างเป็นคะแนนของข้อสอบข้อที่ 1 (ซึ่งมีคะแนนเต็มเท่ากับ 5 คะแนน) จงหาค่าความยากและอำนาจจำแนก

 

คะแนน

กลุ่มเก่ง

 

คะแนน

กลุ่มอ่อน

 

f

fx

   

f

fx

5

3

15

 

5

0

0

4

5

20

 

4

1

4

3

2

6

 

3

3

9

2

0

0

 

2

5

10

1

0

0

 

1

0

0

0

0

0

 

0

1

0

รวม

10

45

 

รวม

10

23

 

 

ข้อสอบอัตนัยข้อที่ 1 มีค่าความยากเท่ากับ 0.68

 

ข้อสอบอัตนัยข้อที่ 1 มีค่าอำนาจจำแนกเท่ากับ 0.46

 

การแปลความหมาย การแปลความหมายค่าความยาก และอำนาจจำแนกของข้อสอบ
อัตนัย จะใช้หลักการเช่นเดียวกันกับการวิเคราะห์ข้อสอบแบบอิงกลุ่ม

 

บทสรุป

การตรวจสอบคุณภาพแบบทดสอบ เป็นการตรวจสอบว่าแบบทดสอบนั้น ๆ มีคุณภาพดีเพียงใด หลังจากที่นำแบบทดสอบไปใช้ และตรวจให้คะแนนแล้ว การตรวจสอบคุณภาพแบบทดสอบจะกระทำใน 2 ลักษณะ คือ การตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบรายข้อ หรือการวิเคราะห์ข้อสอบ มีจุดมุ่งหมายเพื่อพิจารณาความยาก (difficulty) และค่าอำนาจจำแนก (discrimination) ส่วนการตรวจสอบคุณภาพแบบทดสอบทั้งฉบับนั้น มีจุดมุ่งหมายเพื่อพิจารณาความเที่ยงตรง (validity) และ ความเชื่อมั่น (reliability)

การวิเคราะห์ข้อสอบ มีแนวคิดในการหาคุณภาพ 2 แนวคิด คือ การวิเคราะห์ข้อสอบตามแนวคิดอิงกลุ่มและอิงเกณฑ์ โดยการวิเคราะห์ข้อสอบตามแนวคิดอิงกลุ่มจะพิจารณาในเรื่องความยากและอำนาจจำแนก ส่วนการวิเคราะห์ข้อสอบตามแนวคิดอิงเกณฑ์จะพิจารณาเฉพาะค่าอำนาจจำแนกเท่านั้น

 

บรรณานุกรมประจำบทที่ 7

 

ชวาล แพรัตกุล. เทคนิคการวัดผล. กรุงเทพฯ : วัฒนาพานิช, 2516.

บุญชม ศรีสะอาด, นิภา ศรีไพโรจน์และนุชวนา ทองทวี. การวัดผลและประเมินผลการศึกษา.

มหาสารคาม : โรงพิมพ์ปรีดาการพิมพ์, 2528.

บุญเรียง ขจรศิลป์. หลักการวัดผลและประเมินผลการศึกษา. ภาควิชาการศึกษา

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2527.

ไพศาล หวังพานิช. การวัดผลการศึกษา. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช, 2526.

รัตนา ศิริพานิช. หลักการสร้างแบบสอบวัดทางจิตวิทยาและทางการศึกษา. กรุงเทพฯ :

เจริญวิทย์การพิมพ์, 2533.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. เทคนิคการวัดผลการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : ชมรมเด็ก, 2539.

สมนึก ภัททิยธนี. การวัดผลการศึกษา. กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์, 2537.

สมศักดิ์ สินธุระเวชญ์. การประเมินผลอิงกลุ่มและอิงเกณฑ์. กรุงเทพฯ : เอกสารทางวิชาการ

ฝ่ายส่งเสริมมาตรฐานการศึกษา สำนักทดสอบการศึกษา กรมวิชาการ, 2522.

สวัสดิ์ ประทุมราช. แนวคิดเชิงทฤษฎี การวิจัย การวัดและประเมินผล. กรุงเทพฯ :

คณะศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันระดับบัณฑิตศึกษา ภาควิชาวิจัยการศึกษา คณะครุศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531.

สำเริง บุญเรืองรัตน์. ทฤษฎีการวัดและประเมินผลการศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักทดสอบ

ทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, 2527.

อนันต์ ศรีโสภา. การวัดและประเมินผลการศึกษา. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช, 2525.

Brennan, R.L. "A Generalized Upper-Lower Item Discrimination Index," Educational

and Psychological Measurement. 32 : 289-303 ; Summer, 1972.

Ebel, Robert L.. Essentials of Education Measurement. 3rd ed. Englewool Cliffs, N.J.

Prentice-Hall, 1979.

Kubiszyn, Tom. Educational Testing and Measurement : Classroom Applicational

and Practice. Glenview, will., Scott, Foresman and Company, 1984.

Norman E. Gronlund. Measurement and Evaluation in Teaching. 5th ed. NewYork : Macmillan, 1985.

Wiersman, William. Educational Measurement and Testing. 2nd ed. Boston :

Allen and Bacon, 1990.

                    แบบทดสอบ

                    Back         Home

Hosted by www.Geocities.ws

1