การวิเคราะห์ข้อสอบตามแนวคิดอิงเกณฑ์

การประเมินตามแนวคิดอิงเกณฑ์เป็นการทดสอบเพื่อเปรียบเทียบความสามารถของผู้เรียนกับเกณฑ์ที่เป็นมาตรฐานว่าอยู่ในระดับถึงมาตรฐานที่ยอมรับหรือไม่ การตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบตามแนวคิดนี้ มีวิธีหาค่าความยากของข้อสอบ เช่นเดียวกับแนวคิดแบบอิงกลุ่ม เพียงแต่ค่าความยากนั้น ไม่ได้ถือว่าข้อสอบที่ยากหรือง่าย เป็นข้อสอบที่ไม่ดีแต่จะเน้นการวัดตรง
จุดประสงค์เป็นสำคัญ ดังนั้น ข้อสอบที่วัดตรงตามจุดประสงค์และเป็นข้อสอบที่ง่ายหรือยากก็ถือว่าเป็นข้อสอบที่ดี

 

อำนาจจำแนกของข้อสอบ (discrimination) ตามแนวคิดอิงเกณฑ์

อำนาจจำแนกของข้อสอบ หมายถึง ประสิทธิภาพในการจำแนกระดับความสามารถของ
ผู้เรียนรู้แล้ว (กลุ่มรอบรู้) กับผู้ที่ยังไม่เรียน (กลุ่มไม่รอบรู้)

การวิเคราะห์ข้อสอบเป็นรายข้อตามแนวคิดอิงเกณฑ์ จะมุ่งเน้นหาค่าอำนาจจำแนกของ
ข้อสอบ โดยถือว่าข้อสอบอิงเกณฑ์ที่ดี ควรมีค่าอำนาจจำแนกดี (สมศักดิ์ สินธุระเวชญ์. 2522 : 11-13) การหาค่าอำนาจจำแนกข้อสอบรายข้อแบบอิงเกณฑ์ ในที่นี้ จะนำเสนอ 2 วิธี คือ วิธีของคริสปีนและเฟลด์ลูเซน (Kryspin and Feldluson) และวิธีของเบรนแนน (Brennan)

1. การหาค่าอำนาจจำแนกตามวิธีของคริสปีน และเฟลด์ลูเซน (Kryspin and Feldluson)

คริสปีน และเฟลด์ลูเซน (Kryspin and Feldluson) ได้เสนอการหาค่าอำนาจจำแนกที่เรียกว่าดัชนี S (index of sensitivity) หรือดัชนีความไวในการวัด ซึ่งมีสูตรดังนี้ (สำเริง บุญเรืองรัตน์. 2527 : 88)

 

 

 

สูตร (สำหรับตัวถูก)

 

เมื่อ S แทน ค่าอำนาจจำแนกของข้อสอบ

RA แทน จำนวนคนตอบถูกหลังสอน

RB แทน จำนวนคนตอบถูกก่อนสอน

T แทน จำนวนคนที่เข้าสอบทั้งสองครั้ง

 

 

การแปลความหมายค่า S (กรณีตัวถูก)

การพิจารณาคุณภาพของข้อสอบในด้านความไว พิจารณาตามระดับค่า S ดังนี้

 

 

ตาราง 7.4 เกณฑ์การพิจารณาคุณภาพของข้อสอบในด้านความไว (index of sensitivity)

 

ค่า S

ความหมาย

1.00

เป็นข้อสอบที่ดี เป็นไปตามทฤษฎี

.80 ถึง .99

เป็นข้อสอบที่ดี หาได้ในเชิงปฏิบัติ

.30 ถึง .79

เป็นข้อสอบที่พอใช้ได้

.00 ถึง .29

เป็นข้อสอบที่ไม่ดี ควรตัดทิ้ง

-1.00 ถึง .00

เป็นข้อสอบที่ใช้ไม่ได้ ควรตัดทิ้ง

 

 

ในการพิจารณาค่าอำนาจจำแนก (S) ถ้าค่า S เป็นบวกใกล้ +1.00 หมายถึง การเรียนการสอนบรรลุตามเป้าหมาย คือ ก่อนเรียนผู้เรียนไม่มีความรู้ หลังจากเรียนแล้วปรากฏว่ามีความรู้ตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ แต่ถ้าค่า S เป็นลบใกล้ -1.00 หมายถึง ก่อนเรียนผู้เรียนมีความรู้ แต่เมื่อเรียนจบเนื้อหาแล้วปรากฏว่าผู้เรียนกลับไม่มีความรู้เลย

 

 

ตัวอย่าง 7.5 ในการสอบก่อนสอนและหลังสอน วิชาสถิติเบื้องต้นกับนักเรียนจำนวน 5 คนจำนวน 20 ข้อ ดังนี้

 

 

ข้อที่

1

2

3

 

20

ชื่อนักเรียน

RB

RA

RB

RA

RB

RA

   

RB

RA

1. นก

/

/

/

/

/

       

/

2. ไก่

/

/

/

/

/

       

/

3. แมว

/

/

/

/

/

       

/

4. เสือ

/

/

 

/

/

       

/

5. ช้าง

/

/

 

/

/

       

/

รวมคนถูก

5

5

3

5

5

0

   

0

5

S

0

.40

-1.00

 

1.00

ผลการพิจารณา

เป็นข้อสอบที่ไม่ดี ควรตัดทิ้งเพราะง่ายมาก

เป็นข้อสอบที่พอใช้ได้

เป็นข้อสอบที่ใช้ไม่ได้ ควรตัดทิ้ง

 

เป็นข้อสอบที่ดี เป็นไปตามทฤษฎี

 

 

วิธีใช้ดัชนี S มีดังนี้

1. ใช้ในกรณีที่มีการทดสอบ 2 ครั้ง คือ ก่อนสอน และหลังสอน

2. หาค่าอำนาจจำแนกตัวถูกโดยใช้ดัชนี S แต่ถ้าจะหาค่าอำนาจจำแนกตัวลวงด้วยควรใช้สูตร ดังนี้

 

สูตร (สำหรับตัวลวง)

 

เมื่อ S แทน ค่าอำนาจจำแนกของข้อสอบของตัวลวงนั้น

RA แทน จำนวนคนที่ตอบของตัวลวงนั้นหลังสอน

RB แทน จำนวนคนที่ตอบตัวลวงนั้นก่อนสอน

T แทน จำนวนคนที่เข้าสอบทั้งสองครั้ง

การพิจารณาคุณภาพของข้อสอบในด้านความไว ในกรณีของตัวลวงพิจารณาเป็นราย
ตัวเลือก ดังนี้

2.1 ค่า RA ยิ่งน้อยเท่าไรยิ่งดี

2.2 ถ้าค่า S เป็นลบ เป็นตัวลวงที่ไม่ดี ต้องแก้ไขปรับปรุง

2.3 ถ้าค่า S เป็นบวก เป็นตัวลวงที่ใช้ได้

 

2. การหาค่าอำนาจจำแนกตามวิธีของเบรนแนน (Brennan)

เบรนแนน (Brennan) ได้เสนอสูตรในการหาค่าอำนาจจำแนกของข้อสอบแล้วตั้งชื่อเป็นดัชนีบี (discrimination index B) การหาค่าอำนาจจำแนกวิธีนี้จะสอบครั้งเดียวจากกลุ่มตัวอย่างเดียว แล้วแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ที่สอบได้คะแนนผ่านเกณฑ์ และกลุ่มผู้ที่สอบได้คะแนนไม่ผ่านเกณฑ์ มีสูตรดังนี้ (Brennan. 1972 : 292)

 

สูตร (สำหรับตัวถูก)

 

เมื่อ B แทน ค่าอำนาจจำแนกของข้อสอบ

U แทน จำนวนคนทำข้อสอบข้อนั้นถูกของกลุ่มที่ผ่านเกณฑ์

L แทน จำนวนคนทำข้อสอบข้อนั้นถูกของกลุ่มที่ไม่ผ่านเกณฑ์

N1 แทน จำนวนคนที่สอบผ่านเกณฑ์

N2 แทน จำนวนคนที่สอบไม่ผ่านเกณฑ์

 

 

การแปลความหมายค่าดัชนีบี (B-index)

 

ตาราง 7.5 เกณฑ์การแปลความหมายค่าดัชนีบี (B-index)

 

ค่า (B-index)

หมายความว่าข้อสอบนั้นสามารถ

+1.00

บ่งชี้ผู้รอบรู้-ไม่รอบรู้ ได้ถูกต้องทุกคน

.50 ถึง .99

บ่งชี้ผู้รอบรู้-ไม่รอบรู้ ได้ถูกต้องเป็นส่วนใหญ่

.20 ถึง .49

บ่งชี้ผู้รอบรู้-ไม่รอบรู้ ได้ถูกต้องเป็นบางส่วน

.00 ถึง .19

บ่งชี้ผู้รอบรู้-ไม่รอบรู้ ได้ถูกต้องน้อยมาก หรือไม่ถูกต้อง

ติดลบ

บ่งชี้ผู้รอบรู้-ไม่รอบรู้ ผิดพลาด หรือตรงข้ามกับความจริง

 

 

ข้อสอบที่ถือว่ามีคุณภาพจะต้องมีค่าอำนาจจำแนกตามแนวคิดของเบรนแนน(B-index) ตั้งแต่ .20 ขึ้นไป (บุญชม ศรีสะอาด, นิภา ศรีไพโรจน์ และนุชวนา ทองทวี. 2528 : 130)

 

การวิเคราะห์ข้อสอบโดยใช้ ดัชนีบี (B-index) มีวิธีการดังนี้ (สมนึก ภัททิยธนี. 2537 : 161)

1. นำแบบทดสอบไปทดสอบกับนักเรียนที่ต้องการวัด

2. ตรวจให้คะแนนข้อสอบแต่ละข้อ และรวมคะแนนไว้

3. ใช้จุดตัดหรือคะแนนการผ่านเกณฑ์ แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มรอบรู้(ผู้ที่ได้คะแนนผ่านเกณฑ์) กับกลุ่มไม่รอบรู้ (ผู้ที่ได้คะแนนไม่ผ่านเกณฑ์)

4. รวมจำนวนคนรอบรู้ (N1) และผู้ไม่รอบรู้ (N2)

5. นับจำนวนคนรอบรู้ที่ตอบถูก(U : upper) และนับจำนวนคนที่ไม่รอบรู้ที่ตอบถูก (L : lower) ในแต่ละข้อ

6. คำนวณหาค่าอำนาจจำแนก (B)

 

ตัวอย่าง 7.6 นำแบบทดสอบอิงเกณฑ์แบบ 5 ตัวเลือก จำนวน 10 ข้อ ซึ่งวัดในจุดประสงค์เดียวกันไปทดสอบกับนักเรียน 10 คน โดยใช้เกณฑ์การตัดสินผู้รอบรู้ (ผู้ผ่านเกณฑ์) 80% จงหาค่าอำนาจจำแนกของข้อสอบรายข้อ

 

 

กลุ่ม

ชื่อ

ข้อ

รวม

   

1

2

3

 

10

 

 

รอบรู้

1.หนึ่ง

2.หน่อย

3.เปิ้ล

4.ชมพู่

5.เขียว

6.หวาน

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

0

1

1

 

1

1

1

1

0

0

10

10

9

8

8

8

 

U

6

6

5

 

4

 

ไม่รอบรู้

1.แมว

2.ไก่

3.หมู

4.เสือ

1

1

1

1

1

0

0

1

1

1

1

0

 

0

1

0

1

7

6

4

4

 

L

4

2

3

 

2

 
 

B

.00

.50

.08

 

.17

 

 

วิธีการคำนวณหาค่า B-index

จากสูตร

ข้อ 1 : ข้อ 2 :

ส่วนข้ออื่น ๆ มีวิธีการคำนวณเช่นเดียวกัน

 

สรุปผลการวิเคราะห์

ข้อสอบข้อที่ 1 : เป็นข้อสอบที่ไม่ดี เพราะบ่งชี้ผู้รอบรู้-ไม่รอบรู้ ได้ถูกต้องน้อยมาก

ข้อสอบข้อที่ 2 : เป็นข้อสอบที่ดี เพราะบ่งชี้ผู้รอบรู้-ไม่รอบรู้ ได้ถูกต้องเป็นส่วนใหญ่

ข้อสอบข้อที่ 3 : เป็นข้อสอบที่ไม่ดี เพราะบ่งชี้ผู้รอบรู้-ไม่รอบรู้ ได้ถูกต้องน้อยมาก

ข้อสอบข้อที่ 10 : เป็นข้อสอบที่ไม่ดี เพราะบ่งชี้ผู้รอบรู้-ไม่รอบรู้ ได้ถูกต้องน้อยมาก

สรุปได้ว่าข้อสอบที่ควรคัดเลือกไว้คือ ข้อ 2 ส่วนข้อที่ควรตัดทิ้ง คือ ข้อที่ 1,3 และ 10

 

วิธีการใช้ B-index มีดังนี้

1. ใช้หาค่าอำนาจจำแนกข้อสอบตามแนวคิดอิงเกณฑ์ โดยจะทำการสอบหลังเรียนครั้งเดียว

2. การวิเคราะห์ตัวเลือกที่เป็นตัวถูกใช้สูตรข้างต้น ส่วนการวิเคราะห์ตัวลวง ให้ใช้สูตร ต่อไปนี้

 

 

สูตร (สำหรับตัวลวง)

 

เมื่อ B แทน ค่าอำนาจจำแนกของข้อสอบ

U แทน จำนวนคนที่สอบผ่านเกณฑ์ตอบตัวลวงนั้น

L แทน จำนวนคนที่สอบไม่ผ่านเกณฑ์ตอบตัวลวงนั้น

N1 แทน จำนวนคนที่สอบผ่านเกณฑ์

N2 แทน จำนวนคนที่สอบไม่ผ่านเกณฑ์

 

        Back            Next

 

Hosted by www.Geocities.ws

1