วิธีสร้างตารางวิเคราะห์หลักสูตร

การสร้างตารางวิเคราะห์หลักสูตร(table of specification) หรือตารางวิเคราะห์รายวิชา เป็นวิธีการสร้างข้อสอบที่อาศัยการวิเคราะห์หลักสูตร โดยพิจารณาจุดมุ่งหมายของหลักสูตร และเนื้อหาคำอธิบายรายวิชาในหลักสูตร แล้วสรุปและตีความหมายจุดมุ่งหมายในหลักสูตรที่กว้างมาทำให้แคบหรือเฉพาะมากขึ้น ในการพิจารณาเนื้อหานั้นจะพิจารณาว่าต้องการเน้นหรือวัดในพฤติกรรมใดบ้าง มีน้ำหนักพฤติกรรมเท่าไร พฤติกรรมที่ใช้จะยึดตามแนวคิดของบลูม (Bloom) ซึ่งเป็นพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย (cognitive domain) ประกอบไปด้วยพฤติกรรมด้านความรู้-ความจำ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และการประเมินค่า

 

ขั้นตอนการสร้างตารางวิเคราะห์หลักสูตร มีวิธีการดังนี้

1. ตั้งกรรมการชุดหนึ่งจำนวนตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป โดยจะต้องเป็นผู้ที่สอนในรายวิชานั้น ๆ หรือเป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในรายวิชานั้นเป็นอย่างดี

2.กรรมการจัดลำดับความสำคัญของเนื้อหาในแต่ละบทโดยพิจารณาจากแผนการสอน หรือคู่มือครู เนื้อหาบทใดใช้เวลาในการสอนมากให้จัดอันดับความสำคัญเป็นอันดับ 1 ส่วนเนื้อหาบทใดใช้เวลาในการสอนน้อยก็จัดอันดับความสำคัญรองลงมา (อันดับความสำคัญอาจอยู่ในอันดับเดียวกันก็ได้)

3. พิจารณาเนื้อหาในแต่ละบทว่าควรเน้นพฤติกรรมด้านใดบ้าง (พฤติกรรมความรู้ ความจำ ความเข้าใจ การนำไปใช้...) โดยพิจารณาออกมาในรูปของคะแนนจากคะแนนเต็ม 10 คะแนนของแต่ละช่องพฤติกรรมซึ่งจะยึดหลักการที่ว่าพฤติกรรมใดสำคัญมากก็ให้น้ำหนักคะแนนมาก ทั้งนี้ ให้พิจารณาควบคู่ไปกับน้ำหนักคะแนนหรืออันดับความสำคัญของแต่ละบทด้วย

4. นำน้ำหนักคะแนนของแต่ละพฤติกรรมจากกรรมการทุกคนมาเฉลี่ย แล้วนำไปใส่ใน
ตารางเฉลี่ยวิเคราะห์พฤติกรรม ดังตัวอย่าง

ตาราง 2.1 ตารางเฉลี่ยวิเคราะห์พฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย วิชา ส.ป.ช. ชั้น ป.3 ภาคเรียนที่ 1

พฤติกรรม

ชื่อเรื่อง

ความรู้ความจำ (10)

ความเข้าใจ (10)

การนำไปใช้ (10)

การ

วิเคราะห์

(10)

การสัง- เคราะห์

(10)

การประ- เมินค่า

(10)

รวม

อันดับ

บ.1 สิ่งมีชีวิต

6

5

-

2

1

-

14

1

บ.2 ชีวิตในบ้าน

4

4

2

-

-

1

11

2

บ.3 สิ่งมีชีวิตที่อยู่รอบตัวเรา

5

3

2

1

-

-

11

2

บ.4 ชาติไทย

4

2

-

-

-

-

6

4

รวม

19

14

4

3

1

1

42

 

 

5. จากตารางในข้อ 4 เป็นเพียงตารางเฉลี่ยของกรรมการ ดังนั้น เพื่อให้ตารางวิเคราะห์พฤติกรรมง่ายต่อการนำไปใช้ในการออกข้อสอบ จึงควรทำให้เป็นตาราง 100 ซึ่งใช้วิธีการเทียบบัญญัติไตรยางศ์ โดยให้พิจารณาคะแนนรวมในแต่ละบทก่อน เพื่อให้อันดับความสำคัญของเนื้อหาแต่ละบทคงเดิม

 

ตาราง 2.2 ตาราง 100 วิชา ส.ป.ช. ชั้น ป.3 ภาคเรียนที่ 1

 

พฤติกรรม

ชื่อเรื่อง

ความรู้ความจำ

ความเข้าใจ

การนำไปใช้

การ

วิเคราะห์

การสัง เคราะห์

การประ เมินค่า

รวม

อันดับ

บ.1 สิ่งมีชีวิต

14

12

-

5

3

-

34

1

บ.2 ชีวิตในบ้าน

9

10

5

-

-

2

26

2

บ.3 สิ่งมีชีวิตที่อยู่รอบตัวเรา

12

7

5

2

-

-

26

2

บ.4 ชาติไทย

9

5

-

-

-

-

14

4

รวม

41

34

10

7

3

2

100

 

 

วิธีคำนวณ

1. คำนวณจำนวนข้อสอบในแต่ละบท โดยการเทียบบัญญัติไตรยางศ์ เช่น

ต้องการข้อสอบทั้งหมด 42 ข้อ ออกในบทที่ 1 จำนวน = 14 ข้อ

ต้องการข้อสอบทั้งหมด 100 ข้อ ออกในบทที่ 1 จำนวน = (14x100)/42= 33.33 ข้อ

ในบทที่ 1 จะออกข้อสอบประมาณ 34 ข้อ

ในบทอื่น ๆ ใช้วิธีคำนวณแบบเดียวกัน

2. คำนวณจำนวนข้อสอบในแต่ละพฤติกรรม เช่น พฤติกรรมความรู้ความจำในบทที่ 1

ต้องการข้อสอบทั้งหมด 42 ข้อ ออกข้อสอบพฤติกรรมนี้ = 6 ข้อ

ต้องการข้อสอบทั้งหมด 100 ข้อ ออกข้อสอบพฤติกรรมนี้ = (6x100)/42 = 14.28 ข้อ

เพราะฉะนั้นออกข้อสอบในพฤติกรรมด้านความรู้-ความจำในบทที่ 1 จำนวน 14 ข้อ

ส่วนในพฤติกรรมอื่น ๆ ในแต่ละบท มีวิธีคำนวณ เช่นเดียวกัน

3. กรณีที่คำนวณจำนวนข้อเสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่ผลรวมไม่ถึง 100 ข้อ ให้พิจารณาปรับเพิ่มจำนวนข้อในแต่ละช่องพฤติกรรมที่มีจุดทศนิยมมาก ๆ ก่อน ปรับให้ได้จำนวน 100 ข้อส่วนกรณีที่ผลรวมเกิน 100 ข้อ ให้พิจารณาปรับลดจำนวนข้อจากช่องพฤติกรรมที่มีจุดทศนิยม น้อย ๆ ที่

ปัดขึ้นออกไปก่อนจนเหลือ 100 ข้อ

4. ในการออกข้อสอบจริง ๆ ให้ใช้วิธีเทียบบัญญัติไตรยางศ์จากตาราง 100 แล้วให้เพิ่มจำนวนข้อสอบให้มากกว่าที่ต้องการจริงประมาณ 20-50 % โดยให้กระจายไปในทุก ๆ บทอย่างเป็นสัดส่วน เช่น ต้องการข้อสอบจริง 40 ข้อ ควรออกข้อสอบประมาณ 48-60 ข้อ เผื่อไว้เพราะว่าเมื่อนำไปทดสอบแล้วต้องนำข้อสอบมาหาคุณภาพ จะมีข้อสอบบางข้อที่ต้องตัดทิ้งไปเนื่องจากไม่ได้คุณภาพ

บทสรุป

1. พฤติกรรมทางการศึกษาเป็นพฤติกรรมที่พึงประสงค์ ซึ่งกำหนดไว้ในจุดมุ่งหมายของการศึกษา ที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนภายหลังจากผ่านกระบวนการการศึกษาแล้ว พฤติกรรมทางการศึกษามี 3 ด้าน คือ พฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับความสามารถทางสมอง เรียกว่าพฤติกรรมด้าน
พุทธิพิสัย พฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกนึกคิด เรียกว่า พฤติกรรมด้าน จิตพิสัย และพฤติกรรมที่เกี่ยวกับทักษะการเคลื่อนไหว เรียกว่า พฤติกรรมด้านทักษะพิสัย

2. จุดมุ่งหมายของหลักสูตร เป็นเป้าหมาย หรืออุดมการณ์ หรือปรัชญาที่มุ่งหวังที่กำหนดไว้เป็นแนวทางในการปฏิบัติภารกิจทางการศึกษา เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามที่ต้องการในการดำเนินงานเกี่ยวกับการศึกษา

3. จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม เป็นจุดประสงค์ที่ระบุพฤติกรรมของผู้เรียนไว้ล่วงหน้าว่าจะให้ผู้เรียนเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใดภายหลังผ่านการเรียนแล้ว

4. ตารางวิเคราะห์หลักสูตรหรือตารางวิเคราะห์รายวิชา เป็นแนวทางในการสร้างข้อสอบวิธีหนึ่ง โดยยึดเนื้อหารายวิชา จุดประสงค์ และพฤติกรรมทางการศึกษาเป็นหลัก

 

 

บรรณานุกรมประจำบทที่ 2

 

รวีวรรณ อังคนุรักษ์พันธุ์. การวัดทัศนคติเบื้องต้น. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 2533.

วิชาการ, กรม. กระทรวงศึกษาธิการ. คู่มือการประเมินผลการเรียนตามหลักสูตรประถม

ศึกษา พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ :

โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว, 2535.

 

. คู่มือหลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533).

กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา, 2534 ก.

 

. หลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533).

กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2534 ข.

สวัสดิ์ ประทุมราช. แนวคิดเชิงทฤษฎี การวิจัย การวัดและประเมินผล. กรุงเทพฯ :

คณะศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันระดับบัณฑิตศึกษา ภาควิชาวิจัยการศึกษา

คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531.

อุทุมพร จามรมาน. การวัดและประเมินการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษา เล่มที่ 3.

พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : ฟันนี่พับบลิชชิ่ง, 2530.

Bloom, Benjamin S. and Others. Handbook on Formative and Summative Evaluation

of Student Learning. NewYork : McGraw-Hill, Inc., 1971.

Norman E. Gronlund. Measurement and Evaluation in Teaching. 5th ed. NewYork :

Macmillan, 1985.

                               แบบทดสอบ

            Back          Home

Hosted by www.Geocities.ws

1