เครื่องเงิน

Page : 1  2

วัสดุอุปกรณ์สำหรับทำเครื่องเงิน

        การทำภาชนะเครื่องเงินมีหลายกลวิธี วิธีแกะลายหรือสลักลายเป็นวิธีหนึ่ง ซึ่งนิยมใช้ทำเป็นภาชนะ

ใส่ของ เช่น ขันน้ำ ขันใส่ข้าว เครื่องเงินทางภาคเหนือ รูปทรงและลวดลายมีลักษณะเฉพาะไม่เหมือน

ภาชนะเครื่องเงินที่ทำจากแหล่งอื่น ปัจจุบันเงินที่นำมาใช้ทำ เป็นเงินทีสั่งซื้อมาจากโรงงานหรือเป็นเงิน

ซึ่งสั่งมาจากพม่าและอินเดีย อุปกรณ์ที่ใช้ทำเครื่องเงินเป็นอุปกรณ์พื้นบ้าน

            1. อุปกรณ์ทุบ  ได้แก่ ค้อนเหล็กขนาดต่างๆ แท่นเหล็กหรือทั่งเหล็กสำหรับรองเคาะ

            2. อุปกรณ์ขัด ได้แก่ แปรงทองเหลือ ตะไบ หินขัดหรือกระดาษทรายน้ำ มะขามเปียก

            3. อุปกรณ์แกะลาย ได้แก่ แท่นสำหรับแกะลายทำด้วยชัน เครื่องมือแกะลาย

       ชันที่ใช้เป็นแท่นสำหรับตอกลาดลาย และชันละลายแล้วเททำเป็นแท่นหรือเทลงในภาชนะ

 

หลอมและขึ้นรูป

       วิธีหลอมเงินของชาวเหนือ นำเงินซึ่งตัดเป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่ลงในเบ้า เบ้าหลอมนี้ทำด้วยดินเผามี

ลักษณะกลม นำไปเผาในเตาสูบลม ในขณะเผาเติมดินประสิวกับสารข้าวตอกลงไปเพื่อให้เงินอ่อนตัว

ละลายเร็ว  ก่อนเทเงินใส่ผงถ่านลงไปเพื่อไม่ให้เงินติดเบ้า เมื่อเงินหลอมละลายดีแล้วเทลงในแม่พิมพ์

ซึ่งเรียกว่า "เบ้า" ก่อนเทเงินลงไปให้ใส่น้ำมันก๊าดลงไปในเบ้าก่อน แล้วจึงเทเงิน เงินจะลุกใหม้ เป็นวิธี

ไล่อากาศและทำให้เนื้อเงินจับกันแน่น

        นำเงินที่หลอมแล้วไปจุ่มในกรอกำมะถันและนำไปล้างในน้ำมะขามเปียก ขัดด้วยแปลงทองเหลือง

จากนั้นนำไปรีดด้วยเครื่องรีดโลหะหรือทุบให้เป็นแผ่น และทุบเคาะขึ้นรูปร่างตามที่ต้องการ เช่น ทุบเคาะ

ขึ้นรูปร่างตามที่ต้องการ เช่น ทุบให้เป็นรูปขัน รูปถาด ก่อนการทุบเคาะขึ้นรูปต้องเผาเงินให้ร้อนก่อน

ความร้อนจะทำให้เงินอ่อนตัวทุบง่าน

        นำไปขัดให้ขึ้นเงาด้วยแปรงทองเหลืองกันน้ำมะขามเปียก แล้วขัดซ้ำด้วยผงหินขัดหรือกระดาษ

ทรายน้ำ จากนั้นจึงนำไปแกะลายเพื่อสร้างลวดลายประดับตกแต่งให้สวยงามต่อไป

 

 

แกะสลักลวดลาย

        การแกะสลักลวดลายจะใช้เครื่องมือประเภทสิ่วหรือเครื่องมือแกะสลัก ตอกสลักค้อน ให้เกิดความ

สูงต่ำเป็นลวดลาย การแกะสลักลายมี 2 วิธี คือ การแกะสลักลายด้านในและการแกะสลักลายด้านนอก

การแกะสลักลายด้านในจะทำก่อนการแกะสลักลายด้านนอก การแกะสลักลายด้านในเป็นการวางโครง

ส่วนรวมของลวดลายทั้งหมดและการแกะสลักลายด้านนอก เป็นการตกแต่งส่วนละเอียกของลวยหรือเน้น

ความสูงต่ำของลวดลาย

        ในกรณีที่ภาชนะมีรูปทรงแบน เช่น ถาด หลังจากเคาะขึ้นรูปทรงแล้ว วางถาดเงินบนแท่นรองซึ่งทำ

ด้วยชัน ด้านหน้าจะวางแนบกับแท่นรอง และตอกลายจากด้านหลังให้ลายนูนออกมา เมื่อได้ลวดลายส่วน

รวมทั้งหมด จึงตอกตกแต่งด้านหน้าให้ประณีตสวยงามอีกครั้งหนึ่ง

        ถ้าภาชนะรูปทรงลึก เช่น ขัน วางภาชนะบนแผ่นรองที่ทำด้วยชัน ตอกลายจากภายในออกมา ความ

นูนของลายจะนูนน้อยหรือมากขึ้นอยู่กับน้ำหนักที่ตอกลงไป เมื่อได้ส่วนรวมของลายทั้งหมดแล้ว ใส่ชัน

ละลายลงไปภาชนะ ตอกตกแต่งลวดลานด้านนอก เมื่อตอกลวดลายเสร็จแล้ว เอาชันออกจากภาชนะ โดย

ลนไฟให้ร้อน จนกว่าาชันจะละยายหลุนออก แล้วนำมาขัดผิวที่ขรุขระให้เรียบด้วยกระดาษทรายน้ำ ส่วน

ขอบที่เป็นรอยคมขรุขระขัดให้เรียบด้วยตะใบละเอียด วิธีขัดจะขัดไปทางเดียว ไม่ขันกลับไปกลับมาจะทำ

ให้เสียเนื้อเงินมาก

       เมื่อขัดเรียบร้อยแล้ว นำมาต้มด้วยน้ำผสมกรดกำมะถัน เพื่อให้เงินขาวสะอาด และขัดซ้ำอีกครั้งด้วย

แปรงทองเหลือง ผสมน้ำบู่หรือน้ำมะขามเปียก เพื่อให้ผิวเป็นมันวาวและสวยงามน่าใช้

Page : 1  2

 


< Home

Copyright © 2000  Mr.Kanchana Pumnual. All rights reserved.

Revised : เมษายน 29, 2543 .

Hosted by www.Geocities.ws

1