เครื่องเงิน

 Page : 1  2

        เงิน คือ ธาตุชนิดหนึ่ง เป็นโลหะสีขาวมีลักษณะแข็ง สามารถตีเป็นแผ่นหนาบางหรือเปลี่ยนรูปทรง

และหลองละลายให้อ่อนตัวได้ มีราคารองลงมาจากธาตุทองคำ เงินพบในธรรมชาติทั่วไป มีทั้งชนิดก้อน

และชนิดผงที่ปนอยู่ในดินทราย มนุษย์รู้จักนำเงินมาใช้ประโยชน์นานพอกับการนำทองคำมาใช้ การทำ

เครื่องเงินของไทยมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยเฉพาะเครื่องประดับเงินในสมัยอยุธยา เป็นเครื่องประดับ

สำหรับชนชั้นกลางและเด็ก ต่างกับเครื่องประดับทองซึ่งเป็นเครื่องประดับของชนชั้นสูง เช่น กษัตริย์หรือ

คหบดีมียศศักดิ์ แต่เครื่องเงินที่เป็นภาชนะใส่ของเป็นของใช้สำหรับชนชั้นสูงเช่นกัน โดยเฉพาะเจ้าเมือง

ทางเหนือของประเทศไทย นิยมใช้ภาชนะเครื่องเงิน การทำเครื่องเงินของชาวเหนือ ในอดีตเป็นหัตถ-

กรรมพื้นบ้านทำใช้เฉพาะในครอบครัว ต่อมาได้แพร่หลายทำกันอย่างกว้างขวาง ปัจจุบันมีโรงงานทำ

เครื่องเงินผลิตเป็นสินค้าจำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ เครื่องเงินส่วนใหญ่ทำเป็นเครื่องประดับ

และเครื่องใช้ประจำบ้าน เช่น ขัน พาน ถาด เชี่ยนหมาก ตลับแป้ง

       เงิน 100 % คือโลหะเงินล้วนไม่ผสมกับโลหะอื่นใด มีความอ่อนตัวสูง เงิน 90 % คือเงินผสมโลหะ

อื่น  มีความแข็งกว่าเงิน 100 % นิยมใช้ำทเครื่องประดับหรือภาชนะใส่ของที่ต้องการความแข็งแรงพอ

สมควร เช่น กำไลข้อมือ เข็มขัด กล่องใส่บุหรี่ ถาน พาน กลวิธีการทำเครื่องเงินสามาถแยก ได้ดังนี้ 

คือ

           1. การหุ้ม  หมายถึง การตีหรือรีดเงินเป็นแผ่นบาง ๆ แล้วนำมาหุ้มหรือคลุมวัตถุสิ่งของต่าง ๆ ให้

ดูเหมือนว่าวัตถุนั้นทำด้วยเงินทั้งหมด การเลี่ยมคือวิธีหุ้มอย่างหนึ่ง แต่หุ้มเฉพาะของ เช่น เลี่ยมพระ

เลี่ยมของภาชนะ เป็นต้น

           2. การดุน  หมายถึง การตีหรือรัดแผ่นเงินให้เป็นแผ่นบาง ๆ แล้วใช้เครื่องมือกดบนผิวหน้าโลหะ

ให้เกิดเป็นรอยลวดลาย เรียกว่า ลายดุนหรือรูปดุน

           3. การหล่อ หมายถึง การทำแม่พิมพ์ แล้วนำโลหะเงินที่หลอมละลายเทลงในแม่พิมพ์ให้เป็นรูป

และลวดลายตามแม่พิมพ์

           4. การแกะลาย หมายถึง การทำลวดลายโดยใช้วัตถุมีคม เช่น สิ่ว แกะให้เกิดเป็นลาดลาย ลวด

ลายที่ได้จากการแกะสลักเป็นลายนูน ภาชนะเครื่องเงินของจังหวัดเชียงใหม่ นิยมทำลวดลายนูนมากกว่า

กลวิธีอื่น

           5. กะไหล่  หมายถึง การเคลือบสิ่งที่เป็นโลหะด้วยเงินหรือทอง โดยการหลอมละลายให้โลหะเงิน

หรือทองเหลว แล้วนำไปทาหรือเคลื่อบให้ติดบนโลหะอื่น

           6. การคร่ำ หมายถึง การเอาเงินฝังเป็นลวดลายลงในโลหะ เทคนิคการคร่ำมีทั้งโลหะที่เป็นเงิน

และทองคำ เรียกว่า คร่ำเงินและคร่ำทอง นิยมทำกับภาชนะมีคม เช่น ด้ามมีดหรือฝักมีดในสมัยโบราณ

           ลวดลายที่นำมาใช้ประกอบกับเครื่องเงิน นิยมประยุกต์จากศิลปะไทย เช่น ลายกระจัง ลายกนก

เทคนิคในการทำเครื่องเงินเหมือนกับกรทำเครื่องทอง ช่างทำเครื่องเงินได้จะทำเครื่องทองได้เช่นกัน

แต่ก็มักจะแยกช่างประจำเครื่องเงิน เครื่องทองไม่ปะปนกัน เพราะช่างทองจะเป็นช่างที่มีความประณีต

มากกว่าช่างเงิน

Page : 1  2

 


< Home

Copyright © 2000  Mr.Kanchana Pumnual. All rights reserved.

Revised : เมษายน 29, 2543 .

Hosted by www.Geocities.ws

1