ประวัติศาสตร์เครื่องเงินและเครื่องถม

Page : 1  2  3

       แต่ที่แน่นอนนั้นในสมัยรัชกาลที่ 2 เมือนครศรีธรรมราชทำศึกชนะเมืองไทรบุรี  ได้เกณฑ์พวก

มาลายูมาตั้งบ้านเรือนที่นครศรีธรรมราช มีพวกช่างฝีมือมาหลายพวก  ทั้งแขกพื้นเมืองและแขกผู้ดี

เจ้าเมืองนครฯ  ได้ให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้ตัวเมือง  พวกช่างทอง  ช่างเงิน  เครื่องประดับ อยู่บริเวณริม

คลองข้างสนามหน้าเมืองตะวันตก  หรือบริเวณหลังสโมสรข้าราชการในปัจจุบัน ช่างโลหะประเภททอง

เหลืองให้เฝ้าสวนมะพร้าวหลังวัดมหาธาตุฯ  ช่วงทอผ้าอยู่ตำบลมะม่วงสองต้น แขกไทรบุรีสอนชาวเมือง

ให้รู้จักทอผ้ายกจนผ้ายกเมืองนครฯ  มีชื่อเสียงตลอดมา  และในคราวนี้เองที่เจ้าพระยานครได้มานำครู

สอนเครื่องถมไปสอนแขกมาลายูจนเครื่องถมได้ปักหลักเติบโตเหนียวแน่นติดต่อกันตลอดมาในนาม

" ถมนคร"

ต้นไม้ทองเงิน “ภปร” พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมาหาภูมิพลอดุยเดช ถวายเป็นพุทธบูชาเนื่องในโอกาสที่เสด็จพระราชนำเนินเยี่ยมพสกนิกรภาคใต้ พุทธศักราช 2502 สูง 35 ซม. (พร้อมกันนี้มีต้นไม้ทองเงิน “สก” แบบเดียวกันอีก 1 คู่) ,วัดพระมหาธาตฯ นครศรีธรรมราช

        สมัยรัชกาลที่ 3 เจ้าพระยานคร(น้อย) ได้นำเครื่องเสลี่ยงหรือพระราชยานถมและพระแท่นถมออก

ขุนนางมาถวายเมื่อเดือน 7 พ.ศ. 2343

        สมัยรัชกาลที่ 4 เจ้าพระยานคร(น้อยกลาง) ก็นำเรือพระที่นั่งกราบถมกับพระเก้าอี้ถมมาถวาย

        สมัยรัชกาลที่ 5 โปรดให้เจ้าพระยานคร(หนูพร้อม) ทำพระที่นั่งพุดตานถมสำหรับตั้งในท้องพระโรง

กลาง  พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท

        สมัยรัชกาลที่ 5 นี้ งานศิลปและประณีตศิลป์ได้เจริญงอกงามตามพระราชนิยมสมัยนั้นสืบต่อมา

อย่างหลากหลาย

 

มีช่างทองช่างเงินจากยุโรปเข้ามาในสมัยนี้

        ช่างจีนที่เริ่มเข้ามาค้าขายตั้งแต่รัชกาลที่ 2,3,4 ก็เริ่มเติบโตขึ้นในสมัยนี้  ศิลปงานช่างหลายอย่าง

ได้รับความนิยมอย่างสูงในนาม "ช่างเซี่ยงไฮ้" เช่นช่างไม้ เฟอร์นิเจอร์  ตู้เก่า ๆ ที่มีเป็นของหายากใน

สมัยนี้

         มีช่างกวางตุ้ง 20 - 30 ครอบครัว  เข้ามาทำเครื่องเงินชั้นสูง รู้จักกันในนามช่างเซี่ยงไฮ้  ทั้ง ๆ ที่

มาจากกวางตุ้ง

         มีช่างชาวพม่าจากเมืองท่าตอนที่รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดให้ราชฑูตพม่านำเข้ามาในราชสำนักใน

กรุงเทพฯ  และได้ขึ้นไปตั้งรกรากอยู่ที่เชียงใหม่ในเวลาต่อมา

 

กล่องหมากเงินลงยากะไหล่ทอง มีตราจุลจอมเกล้า ฯ มีตัวอักษรว่า

 เราจะบำรุงตระกูลวงศ์ให้เจริญ งานพระบรมราชาภิเษก ปีระกา

 เบญจศกศักราช 1235 กล่องขึ่นบรรจุพระเกศารัชกาลที่ 6 สูง 4

 ซม. กว้าง 9.5 ซม.ยาว 15.5 ซม. พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ

 พระนคร

มีตัวอย่างการตั้งร้านทอง-เงินในสมัยนี้ที่น่าสนใจ

         Mr.Grahlert  ชาวเยอรมันได้เข้ามาเป็นช่างทองและออกแบบเครื่องประดับต่าง ๆ ถวายรัชกาลที่

5 เมื่อ พ.ศ. 2433  ต่อมาได้ตั้งร้านของตนเองชื่อ F.Grahlert & Co. อยู่ที่ถนนบ้านตะนาว ใกล้สี่กั๊กเสา

ชิงช้า  มีแคตาล็อคให้เลือกทั้งแบบไทยแบบฝรั่ง

         ต่อมานายพงษ์ ศิริสัมพันธ์  ซึ่งเคยเป็นช่างทองหลวงจนได้รับแต่งตั้งเป็นหลวงสุวรรณกิจชำนาญ  

และได้ทำงานให้กับบริษัทของนาย Grahlert แล้วออกมาตั้งร้านของตนเองเป็นร้านทองรูปพรรณ 

ร้านแรกของไทยชื่อ "อาภรณ์สภาคาร" กิจการรุ่งเรืองเป็นที่นิยมของเจ้านายชั้นสูง  ร้านนี้รุ่งเรืองมาก

ขนาดทำให้ร้านเดิมของนาย Grahlert อับเฉาลงจนต้องปิดกิจการไปในที่สุด

          ร้านอาภรณ์สภาคารมีคนงานกว่า 50 คน ซึงนับว่าไม่น้อยเลยในสมัยนั้น  มีทั้งช่างเขมร แขกครัว

จากบางลำพู  จีนและไทย  คนจีนทำพวกเครื่องเงินและนาก  แขกเป็นช่างแกะ ช่างไทยทำหน้าที่ผังเพชร

พลอย  ผู้หญิงทำหน้าที่ขัด  ลงยา  และถักสร้อย นอกนั้นผู้ชายทำทั้งหมด

         ทองสมัยนั้นซื้อจากบ้านหม้อและสะพานหัน เพชรพลองซื้อจากร้านฝรั่ง เช่นจากห้าง บี.กริม.

แอนด์โก   ส่วนเงินจะมีส่งมาจากจีน  จน พ.ศ. 2494  ร้านอาภรณ์สภาคารก็หยุดกิจการลง เนื่องจากลูก

หลานของผู้ก่อตั้งไม่ได้สืบทอด ร้านนี้คือ ร้าน ลิตเติล โฮม เบเกอรี่ที่ถนนวรจักรนั่งเอง

          ถึงสมัยรัชกาลที่ 6  เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา)  ได้เริ่มฟื้นฟูงานหัตถ

กรรมขึ้น  ได้ตั้งกองช่างแกะไม้ขึ้น และต่อมาก็ตั้งแผนกช่างถมขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2453 ซึ่งก็ได้เจริญงอกงาม

ต่อไปในสาขาช่างอื่น ๆ รัชกาลที่ 6 พระราชทานนามว่า "โรงเรียนเพาะช่าง" ซึ่งแผนกช่างถมก็ได้ทดลอง

ศึกษาปรับปรุงงานถมจนเจริญก้าวหน้า ต่อมาเจ้าฟ้ากรมขุนเพชรบูรณ์อินทราชัยผู้บัญชาการโรงเรียน

เพาะช่างได้คิดดัดแปลงการทำถมโดยใช้วิธีการทำสกรีนลายเส้น  แทนที่การใช้มือแกะสลัก วิธีนี้เรียกว่า

"ถมจุฑาธุซ"  แพร่หลายมาจนถึงปัจจุบัน  ขณะนี้โรงเรียนเพาะช่างได้ยุบแผนกช่างถมไปแล้ว

          แต่ที่นครศรีธรรมราช  เจ้าคุณพระรัตนธัชมุนี ผู้เคยเป็นเจ้าคณะมณฑลและเป็นผู้จัดการศึกษา

มณฑลนครศรีธรรมราช  ได้ตั้งโรงเรียนสอนวิชาช่างถมขึ้นในวัดท่าโพธิ์ พ.ศ. 2456 หลังจากที่ถมนครได้

ตกต่ำมาระยะหนึ่ง  ท่านได้สละเงินจ่ายครูผู้สอน และดำเนินการมาหลายปี  ต่อมากระทรวงศึกษาฯ รับเป็น

โรงเรียนศิลปหัตกรรมของกระทรวงมาจนทุกวันนี้ก็มีการสอนวิชาช่าง ถม

         ในสมัยรัลกาลที่ 7 เครื่องถมนครก็ย้อยหลังกลับมาปักหลักเติบโตในกรุงเทพฯ อีกวาระหนึ่งภาย

การเปลี่ยนแปลงการปกครองปี 2475 เพียง 2 เดือน คนกลุ่มหนึ่งจากนครศรีธรรมราชนำโดย

นายสมจิตต์ เที่ยงธรรม  ก็เปิดร้าน "ไทยนคร"  ขึ้นที่เชิงสะพานเฉลิมวันชาติ ใกล้ ๆ  กับบ้านพานถม

โบราณนั่นเอง

Page : 1  2  3

 


< Home

Copyright © 2000  Mr.Kanchana Pumnual. All rights reserved.

Revised : เมษายน 28, 2543 .

Hosted by www.Geocities.ws

1