ประวัติศาสตร์เครื่องเงินและเครื่องถม

Page : 1  2  3

           การใช้เงินในอดีตตั้งแต่เริ่มแรกยุคประวัติศาสตร์นั้น มีหลักฐานการใช้เงินในฐานะที่เป็นเงินตรา

และเครื่องพุทธบูชาบางอย่าง ส่วนการใช้เงินในฐานะที่เป็นสิ่งของเครื่องใช้ที่รู้จักกันทุกวันนี้นั้นพอจะลำ

ดับความเป็นมาจากหลักฐานหลายอย่างต่อเนื่องกันมาแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 15-16

         มีตำนานสิงหนวัติเล่าว่าสมัยนั้นมีต้นตระกูลไทยสายลาวจกอพยพลงมาจากสวรรค์  โดยมีบันใดเงิน

ทอดลงมา  พอตั้งบ้านเรือนแล้วก็เอาบันไดนั้นมาทำเป็นแท่นรองนั่งปกครองบ้านเมืองที่เรียกว่า

"เมืองเงินยวง"

 

สลุงหาบลาย 12 นักษัตรในของรูปปลิง

 (ภาษาพื้นเมืองเรียกว่าโขงปลิง) มีลายดอกทานตะวันประกอบตัวสัตว์

 สูง 19 ซม. ปากกว้าง 33 ซม. อายุหลายสิบปี. 

วัวลายศิลป์ เชียงใหม่

สลุงหาบลายสิบสองนักษัตร ประกอบด้วยดอกกระถินและดอกบัวในของปลิง

 สูง 18 ซม. ปากกว้าง 33 ซม.

 อายุหลายสิบปี วัวลายศิลป์ เชียงใหม่

        พุทธศตวรรษที่ 18 มีประวัติค่อนข้างแน่นอนว่าการช่างเงินเริ่มขึ้นทางภาคเหนือ โดยพระเจ้าเม็ง

รายโปรดให้สถาปนาวัดกานโถมขึ้นในเวียงกุมกาม ได้ไปเอาช่างต่าง ๆ จากพระเจ้าราชาธิราชที่แคว้น

พุกามอังวะ รวมทั้งช่างเงินด้วย และช่างเงินเหล่านั้นได้เปิดทำการขึ้นในอาณาจักรล้านนาต่อมา

          สมัยสุโขทัย  การใช้เงินคงจะแพร่หลายมาก  ดังศิลาจารึกหลักที่ 1 ที่ว่า ในสมัยพ่อขุนรามกำแหง

นั้น  "ใครใคร่ค้าช้างค้าม้าค้า ใครใคร่ค้าเงินค้าทองค้า"

          สมัยอยุธยา  การช่างเงินเจริญถึงขีดสุด  มีเอกสารจากหอหลวงเรื่องคำให้การขุนหลวงวัดประดู่

ทรงธรรมว่า "ถนนย่านป่าขันเงิน มีร้านขายขัน ขายผอบ ตลับ  ซองเครื่องเงินและถมยาดำ  กำไลมือ

กำไลเท้า ปิ่นซ่น  ปิ่นเข็ม  กระจับปิ้ง พริกเทศ ขุนเพ็ด  สายสอิ้ง  สังวาลทองคำขี้รัก แลสายลวด ชื่อตลาด

ขันเงิน"  โลหะเงินในสมัยนั้นจนถึงต้นรัตนโกสินทร์ได้มาจากการนำข้าวไปขายกับจีนและเอาเงินมา

          กฏหมายตราสามดวงในสมัยพระบรมไตรโลกนาถระบุว่ามีเจ้าเมือง 20 เมืองต้องส่ง "ดอกไม้

ทองเงิน"  มี "เจียดเงินถมยาดำ"  เป็นเครื่องยศอย่างหนึ่งของขุนนางศักดินา 10,000 ในพระราชพิธี

บางอย่าง  มีการตั้งเสาฉัตร 9,7,6,5,3,2,1 ชั้น  เป็น "บัวหงายคันเงินคันทองคันนาก" และมี 

"กลอนเงิน"  แล้วยังมีการจ่ายค่าจ้างข้าราชสำนักเป็นเงินทองนาก

          มีพงศาวดารกล่าวว่า สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงส่งเครื่องราชบรรณาการเป็นเงินเป็นถมไป

ยังพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ส่งไม้กางเขนถมทองไปถวายสันตะปาปาที่กรุง

โรม

 

กาน้ำถมทอง ฝายอดสามชั้นเป็นทองคำ ของนางสวาท พิพิธภักดี ,ภาพจากสถาบันทักษัณคดีศึกษา

กาน้ำถมทองลายรักร้อย พวยกามีจุกปิด ขาเป็นปุ่มสี่ขา สูง 21.5 ซม. ปากกว้าง 6.3 ซม. สมัยรัตนโกสินทร์, นายเสนออนุบาล โกสะโยดมอบให้พิพธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระนคร

         ศิลาจารึกที่ศาสเจ้าเมืองลพบุรี (พุทธศตวรรษที่ 16-ประชุมศิลาจารึกภาค 2 ) ก็กล่าวถึงอ่างเงิน

ตลับเงิน

          สมัยรัตนโกสินทร์ ในกรุงเทพฯ  มีช่างหลวงและมีช่างพื้นเมืองอยู่ที่บ้านพานต่อกับบ้านถมยา ชื่อว่า

บ้านพานถม  อยู่ริมคลองคูเมืองนอกกำแพงพระนคร  แถวสะพานเฉลิมวันชาติ  มีบริเวณต่อเนื่องกับบ้าน

พานถมเรียกว่า บ้านหล่อ  บ้านพานถมทำเครื่องถม พาน ขัน ผอบเครื่องสำอางยอกปริกบุทอง  ลงยาฝัง

พลองสีแดง  บ้านหล่อแห่งนี้หล่อเชี่ยนหมาก  เต้าปูน  คนละแห่งกับบ้านช่างหล่อที่ฝั่งธนฯ  ซึ่งหล่อ

พระพุทธรูป  บ้านพานถมนี้ปัจจุบันไม่มีการทำเครื่องถมมานานแล้ว  แต่มีประวัติมาตั้งแต่ครั้งรัตน

โกสินทร์ต้น ๆ หรืออาจถึงปลายช่วงอยุธยา

           เครื่องถมที่ทำด้วยเงินหรือทองนี้  โบราณเรียกว่า "ถมปรักมาศ"  บ้านพานถมในกรุงเทพฯ นั้น

มีบางคนคิดว่าอพยพมาจากนครศรีธรรมราชตั้งแต่สมัยราชกาลที่ 1

          

Page : 1  2  3


	


< Home

Copyright © 2000  Mr.Kanchana Pumnual. All rights reserved.

Revised : เมษายน 28, 2543 .

Hosted by www.Geocities.ws

1