ถมตะทองและถมทอง

Page : 1  2  3

ถมตะทองและถมทอง

      ถมตะทองก็คือการนำทองคำบริสุทธิ์ผสมปรอทมาทาตามเนื้อเงินของถมเงิน เพื่อให้ได้เครื่องถมพื้น

ดำที่มีลายสีทอง การ "ตะทอง" เป็นภาษาเรียกกรรมวิธีดังกล่าวซึ่งได้ใช้เป็นชื่อเรียกเครื่องถมที่ตะทอง

เป็นแท่ง ๆ ว่า "ถมตะทอง"

      ถมตะทอง จึงเป็นเครื่องถมที่มีพื้นลายสีดำและมีดอกดวงลวดลายเป็นสีเงินสลับสีทองเป็นแห่งๆ ตาม

แต่ช่างจะเลือกสรร

      ส่วนถมทองนั้น เป็นเช่นเดียวกับถมตะทอง คือใช้ทองผสมปรอททาตามเนื้อเงินของถมเงินจนเป็นสี

ทองทั่วไปทั้งหมด ไม่เหลือสีเงินไว้เลย วิธีนี้ทำขึ้นเพื่อให้ภาชนะถมเงินนั้น ๆ ดูเหมือนทองคำ เพราะทอง

มีราคากว่าเงิน และถมทองก็มีคารากว่าถมเงินธรรมดามาก ในปัจจุบันถมทองแพงกว่าเงินราว ๆ 3 เท่า

      ถมตะทองที่วิจิตรพิศดาร ทำยากกว่าถมทอง ดูแล้วเพลิดเพลินเจริญตาเป็นอย่างยิ่ง

      ถมตะทองหรือถมทองที่มีคุณภาพดี เนื่อทองจะติดแน่น ใช้งานนับร้อยปีก็ไม่หลุดลอกหรือจางสีง่าย

ช่างที่ดีจะใช้ทองบริสุทธิ์มากกว่าทอง 100 % ทั่วไป มีคาราแพงกว่าทอง 100% เพราะได้นำทอง 

100% มาขจัดฝุ่นผงต่าง ๆ จนหมดสิ้นก่อนจะนำมาทำทองเปียก

 

 

วิธีถมตะทอง-ถมทอง

       1. การเตรียมเนื้อทอง (เปียกทอง) ใช้ทองคำบริสุทธิ์ไม่ต่ำกว่า 99 % จำนวนพอดีที่จะใช้รัดหรือทุบ

ให้บางที่สุดที่จะบางได้ หั่นเป็นฝอยละเอียดแล้วบดเป็นผง ล้างให้สะอาด เทปรอทบริสุทธิ์ลงคลุกเคล้วกับ

ผงทองในครกหิน  กวนจนทองกับปรอทเป็นเนื้อเดียวกัน เมื่อได้ที่ดีแล้วจะข้นและเหนียวเรียกว่า 

"ทองเปียก" เก็บไว้ใช้ต่อไป

       2. เตรียมเครื่องเงินที่ผ่านการลงยาถมมาถึงขั้นขัดผิว ก่อนแกะแร นำมาเช็ดถูด้วยมะกรูด หรือ

มะนาวขจัดไฝ่ฝ้าหรือไขมันซึ่งจะทำให้เนื้อทองเปียกจับผิวไม่สะดวก

       3. ใช้สำลีชุบทองเปียกถูทาส่วนที่เป็นผิวเงินที่จะตะทอง 3-4 ครั้ง

       4. อดีต นำเครื่องเงินถมทองนั้นไปตากแดดหรืออบความร้อนอ่อน ๆ บนเตาผิงประมาณ 6 ซม.

ปัจจุบันใช้เตาฟู่  อบให้ร้อนจัด (แต่ระวังอย่าให้ยาถมละลาย) ปรอทจะระเหยออกหมดเหลือแต่เนื้อทอง

เคลือบติดกันเนื้อเงิน

       5. นำไปขัดเงาฟอกผิวด้วยน้ำยาขัดขักเงา ให้ผิวเกลี้ยงและสุกใสขึ้น

       6. สลักหรือเพลาลายเป็นกรรมวิธีเดียวกับ "แกะแร" ในการทำถมเงิน มีราละเอียดต่างๆ กันเล็กน้อย

 

        การเพลาลาย  คือการตกแต่งส่วนละเอียดลงบนผิวด้วยการใช้สิ่วเดินเส้นรูปนอกของลาย ภาษาช่าง

เรียกว่า เหยียบพื้นให้ยุบกว่าลายบนเล็กน้อย

        การแกะแร เป็นขั้นเดียวกับการเพลาลาย  แต่วิธีการต่างกันเล็กน้อย คือ ใช้มีดหรือสิ่วเล็ก ๆ แกะ

หรือแรเป็นลวดลาย เมื่อแกะแรได้ที่แล้วจะมองเห็นร่องลายที่แกะแรไว้เป็นเงาวิบวับในยามสะท้อน แสง

หรือเคลื่อนไหว ทำให้ดูมีชีวิตชีวาเป็นอย่างยิ่ง

         โดยทั่วไปการแกะแรจะสูญเสียเนื้อเงินออกไปบ้าง เพราะเป็นการขุดเปิดเนื้อเงินขึ้นมารับแสง

สะท้อน แต่การเพลาลายจะกดเนื้อเงินลงไปเป็นร่องละเอียด ไม่สูญเสียเนื่อเงิน

         เครื่องประดับถมเงินชิ้นเล็ก ๆ ที่ทำเพื่อการส่งออกสมัยใหม่นิยมวิธีแกะแรมากว่าการเพลาลาย

         การเพลาลายนิยมใช้กับถมทอง แกะแรใช้กับถมเงิน

        7. เมื่อเพลาลายแล้วก็ทำความสะอาด ขัดเงาอีกครั้ง เป็นอันเสร็จ

Page : 1  2  3

 


< Home

Copyright © 2000  Mr.Kanchana Pumnual. All rights reserved.

Revised : เมษายน 28, 2543 .

Hosted by www.Geocities.ws

1