เครื่องถม

Page : 1  2  3

ความหมาย

         ตามตำราฝรั่ง เครื่องถมอาจทำด้วยทองหรือเงินหรือทองแดงก็ได้ แต่สำหรับไทยแล้วมักเป็นเงิน

เพียงอย่างเดียว ถ้าทำด้วยทองก็มักเป็นลงยา หรือถ้าทำด้วยทองแดงก็มักเป็นถมปัด

          สิ่งที่คนไทยเรียกกันว่าถมปัดนั้น แท้จริงไม่ใช่เครื่องถม แต่เป็นทองแดงลงยาสีต่างๆ เช่น เดียว

กับการลงยาทั่วไปบนโลหะเงินหรือทองหรืออื่นๆ ในบ้านเรา

          เครื่องถมไทย ในที่นี้คือโลหะเงินที่ลงยาถมสีดำตามร่องลายต่าง ๆ 

          หมายความว่า ยาถมมีสีดำเพียงสีเดียว และยาถมที่ได้มาตรฐานจะต้องมีโลหะเงินผสมอยู่ไม่ต่ำ

กว่าร้อยละ 8 ของน้ำหนัก

          การลงยาถม เห็นแต่ลงตามร่องลายของภาชนะที่เป็นเงิน ภาชนะถมจะมีสีดำเป็นพื้นลาย มีสีเงิน

เป็นลวดลาย ไม่เคยเห็นยาถมสีดำเป็นตัวลายและสีเงินเป็นร่องลาย ต่างกับการลงยาสีซึ่งอาจลงยาเป็น

ร่องลายหรือตัวลายก็ได้และลงยาได้หลายสี

          โลหะเงินที่จะทำเครื่องถมที่มีมาตรฐาน ต้องเป็นเงินที่มีโลหะอื่นผสมไม่เกิน้อยละ 7.5 ของน้ำ

หนัก  เงินที่เจือโลหะอื่นมากกว่านั้นจะทำถมที่มีคุณภาพไม่ได้มาตรฐาน คืออาจถมไม่ติดหรือติดแต่หลุด

ลอกง่าย ถ้าเป็นเงินต่ำกว่า 50 % แล้วอาจถมไม่ติดเลย

          เครื่องถมที่ดี น้ำยาถมจะต้องจับติดเนื้อเงินจนสนิทแนบแน่นเป็นเนื้อเดียว จะกระทบกระแทก

อย่างไรก็ไม่หลุดง่าย ถ้าหลุดหรือกระเทาะออกช่างถมจะเรียกว่า "ถมร้าว"

          เครื่องถมทั่วไปมี 2 ชนิด คือถมเงินหรือถมธรรมดา หรือถมดำ และถมทอง

          ถมทอง คือถมเงินที่ใช้วิธีตะทองหรือเปียกทอง ทำให้ลายสีเงินเป็นสีทองตามทองทีแต้มไว้

 

 

ขั้นตอนการผลิต

         การทำยาถม ยาถมมีส่วยผสมของโลหะเงิน ทองแดง และตะกั่ว ตามสูตรเฉพาะของช่างถมแต่

ละคนซึ่งมักปิดสูตรของตนเป็นความลับ  บางคนใช้เงิน 3 ส่วน ทองแดง 5 ส่วน ตะกั่ว 6 ส่วน กำมะถัน 14 

ส่วน  บางคนใช้เงิน 1 ส่วน ตะกั่ว 6 ส่วน กำมะถัน 13 ส่วน บางคนใช้เงิน 15 ส่วน ทองแดง 25 ส่วน 

ตะกั่ว 30 ส่วน  อย่างไรก็ตาม มาตรฐานของน้ำยาถมในที่นี้ต้องมีโลหะเงินผสมอยู่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 8

ของน้ำหนัก

          1. นำเงิน ทองแดง ตะกั่ว ตามสูตรที่ต้องการใส่ในเบ้าหลอมมีฝาปิด ใส่ในเตาสูบ ใช้ความร้อย

300 องศาเซลเซียส นานประมาณ 4 ชม.

          2. ซัดด้วยกำมะถันเหลือจนหมดฟองและฝ้า  จะได้น้ำยาถมสีดำใส

          3. เทลงเบ้าจานทิ้งไว้จนแห้ง  ยาถมจะเป็นของแข็งสีดำขึ้นเงาสีน้ำเงินอ่อน เนื้อคล้ายโลหะแต่ทุบ

ให้แตกละเอียดได้  มีจุดหลอมเหลวต่ำกว่าเงินหรือทอง

          4. เมื่อได้ยาถมแล้ว ในอดึนจะนำมาบดหรือป่นในครกจนเป็นเม็ดเล็กเท่าเม็ดงาเก็บไว้ใช้ แต่ใน

ปัจจุบันจะนำมาหล่อเป็นแท่งเก็บไว้ใช้

Page : 1  2  3

 


< Home

Copyright © 2000  Mr.Kanchana Pumnual. All rights reserved.

Revised : เมษายน 28, 2543 .

Hosted by www.Geocities.ws

1