เครื่องถม

Page : 1  2

แกะลวดลายเป็นร่องและถมให้เต็ม

      เครื่องถม คือภาชนะ เครื่องใช้ เครื่องประดับตกแต่ง ซึ่งแกะสลักผิวโลหะเงินหรือทอง แล้วใส่ผงโลหะ

ผสมคือ ตะกั่ว ทองแดง และเงิน หลอมรวมกันแล้วนำไปบดละเอียด ใส่น้ำประสานทองและโรยแทรกลง

ไปในลายโลหะที่แกะ หลอมละลายด้วยความร้อน โลหะผสมที่แทรกลงไปจะละลายเป็นสีดำ ถมลายที่แกะ

จนเต็ม เครื่องถมนิยมทำกับโลหะที่เป็นเงินมากกว่าโลหะชนิดอื่น ถ้าจะนำโลหะอื่นมาทำจะชุบให้เป็นสี

เงินเสียก่อน แต่ความคงทนไม่เหมือนโลหะที่เป็นเงินแท้  เครื่องถมที่ทำอยู่มี 2 ชนิดคือ เครื่องถมดำกับ

เครื่องถมทอง

       การทำเครื่องถมของไทย มีหลักฐานว่ามีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

แต่มีหลักฐานว่า ศิลปะเครื่องถมของโรมันเป็นเครื่องถมเก่าแก่ที่สุดในโลก มีกรรมวิธีในการทำคล้าย

เครื่องถมของไทย จึงมีการสันนิษฐานกันว่าเครื่องถมมาสู่ประเทศไทยได้ 2 ทางคือ โดยชาวโปรตุเกตซึ่ง

เข้ามาค้าขายกับไทย ในสมัยสมเด็จพรารามาธิบดีที่ 2 ซึ่งเข้ามาอยู่ทางแถบหัวเมือง นครศรีธรรมราช

ปัตตานี มะริด หรือชาวอินเดียเป็นผู้นำเข้ามา เพราะมีการติดต่อค้าขายกับอินเดียที่นครศรีธรรมราช

และเครื่องถมก็กำเนิดที่นครศรีธรรมราชเป็นแห่งแรก

       เครื่องถมของไทยทั้งในสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ ได้ทำกันมาอย่างต่อเนื่อง ในกรุงเทพมหานคร

มีหมู่บ้านชื่อ บ้านพานถม ใกล้สะพานเฉลิมวันชาติ ถนนพระสุเมรุ มีอาชีพทำเครื่องถมขายทั้งหมู่บ้าน 

หมู่บ้านนี้อพยพมาจากนครศรีธรรมราชในสมัยราชกาลที่ 1

 

 

กรรมวิธีในการทำเครื่องถมมี 5 ขั้นตอน คือ

           1. การทำน้ำยาถม ใช้โลหะ 3 ชนิดคือ ตะกั่ว ทองแดง เงิน หลอมรวมกันในเบ้าหลอม ซัดด้วย

กำมะถันเหลืองให้โลหะผสมขึ้นสีดำ  แล้วนำไปบดจนละเอียด เรียกผลละเอียดนี้ว่า "น้ำยาถม" น้ำยาถมที่

ดีจะมีสีดำขึ้นเงาเหลือบสีเงิน

           2. การเคาะขึ้นรูป เป็นการเตรียมรูปทรงโลหะ การเคาะขึ้นรูปจะมีแม่แบบหรือหุ่น ขัดผิวโลหะ

ให้เรียบด้วยกระดาษทรายน้ำ

           3. การแกะสลัก การแกะสลักจะเขียนลวดลายทั้งหมดด้วยหมึกก่อน แล้วจึงสลักลายให้เป็นร่องลึก

บริเวณที่แกะสลักเป็นร่องคือบริเวณที่จะใส่น้ำยาถมลาย ลายที่นิยมได้แก่ ลายไทย เช่น ลายกนก กระจัง

ดอกไม้

           4. การถมลาย การใส่น้ำยาถมต้องใส่ให้เต็ม เกลี่ยให้เสมอกัน และเป่าให้ความร้อนด้วยเครื่อง

เป่าแล่นความร้อนจะทำให้น้ำยาที่ถมละลายไหลเกาะติดกับโลหะเงิน

           5. ขัดแต่งลาย ผิวของโลหะเมื่อถูกความร้อน อาจจะขรุขระหยาบเป็นเม็ด ด้วยน้ำยาถมหรือน้ำ

ประสานกระเด็นต้องขัดด้วยกระดาษทรายให้ผิวโลหะเรียบสะอาด แล้วขัดซ้ำด้วยถ่านไม้เนื้ออ่อนให้ผิว

ขึ้นเงา หากลวดลายที่ปรากฏเข็งไม่อ่อนช้อย ช่างแกะจะแกะต่อเติมลายเส้นเบา ๆ บนโลหะได้อีก

เรียกว่าการแกะนี้ว่า "แกะแร"  แล้วขัดให้ขึ้นเงาเป็นมันด้วยผ้านุ่มผสมยาดิน

          การทำเครื่องถมในปัจจุบัน นิยมใช้กรดกันให้เป็นลวดลายแทนการแกะสลักด้วยมือ ทำให้ได้ผล

งานไม่สายงามประณีต ที่จังหวัดนครศรีธรรมราชยังคงใช้วิธีทำเครื่องถมแบบเดิมอยู่ อันเป็นการรักษา

กรรมวิธีและคุณภาพของศิลปะพื้นบ้านไว้เป็นอย่างดี 

Page : 1  2

 


< Home

Copyright © 2000  Mr.Kanchana Pumnual. All rights reserved.

Revised : เมษายน 28, 2543 .

Hosted by www.Geocities.ws

1