พืชผักต้านมะเร็ง

แนวคิดที่เกี่ยวกับการกิน เพื่อป้องกันโรคและรักษาสุขภาพ ให้ดีสามารถได้รับการ ยืนยัน

จากงาน วิจัยทางวิทยาศาสตร์ว่าเป็นแนวคิดที่ ถูกต้อง สามารถช่วยลดอัตราการเกิดมะเร็งได้ในระดับหนึ่ง

ต่อไปนี้ คืออาหารพืชผักที่มีสมบัติต้านมะเร็ง ที่ไม่ควรมองข้ามไป

 

 มะเขือเทศ

มะเขือเทศได้รับการจัดให้อยู่ในอันดับ1ของ บรรดาอาหารเพื่อสุขภาพ ใน

มะเขือเทศมีกรดพี คูมาริก(p – Coumaric acid) และกรดคลอโรจีริก (Chlorogenic

Acid) อยู่เป็นจำนวนมาก กรดเหล่านี้จะแย่งจับกับไนไตรท์แล้วขจัดออกจาก

ร่างกาย ก่อนที่ไนไตรท์จะไปจับกับเอมีนส์กลายเป็นสารที่ก่อมะเร็งชื่อไนโตร

ซามีนส์ การทานมะเขือเทศสดอย่างน้อย7ครั้งต่อสัปดาห์ จะลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก ปอด และกระเพาะลงได้ครึ่งหนึ่ง

 

พริก

สารแคปไซซิน ในพริกช่วยลดพิษของสารก่อมะเร็งได้ช่วยไม่ให้มีการจับตัวระหว่างไนไตรท์กับเอมีนส์ซึ่งจะ

กลายเป็นสารอันตราย พริกยิ่งเผ็ดเท่าไรก็ยิ่งมีแคปไซซินมากเท่านั้น

 

ส้มและมะนาว

ในส้มและมะนาวมีสารลิโมนีน (Limonene)อยู่เป็นจำนวนมากซึ่งมีส่วนในการกระตุ้นเอนไซม์ในร่างกายให้เพิ่มขึ้นเพื่อสลายสารก่อมะเร็ง และกระตุ้นให้เซลล์ภูมิคุ้มกันที่มีหน้าที่ฆ่าเซลล์มะเร็งมีความกระปรี้กระเปร่าขึ้น

 

กระเทียม กระเทียมช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร บางงานวิจัยระบุว่าสามารถลดได้

ถึง40%เมื่อกินมากพอ สาร S- allylmercaptocysteine ช่วยลดการเกิดมะเร็งในต่อมลูกหมาก(50%) และกระเทียมยังช่วยเพิ่ม ระดับเอนไซม์ที่จะทำหน้าที่ล้างพิษของสารก่อมะเร็ง สารนี้จะมีขึ้นเมื่อทุบกระเทียมให้แตกก่อนแล้ววางทิ้งไว้10 นาทีก่อนจะนำไปใช้ ไม่ควรกินกระเทียมขณะท้องว่างอาจจะเกิดระคายเคือง คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้องได้

 

รากชะเอม

พืชชนิดนี้มีความหวานมากกว่าน้ำตาล50เท่า มีสารสำคัญที่ชื่อ กลีไซร์ไรซิน(glycyrrhisin) ที่จะช่วยปกป้องจากสารก่อมะเร็ง

 

ถั่วเหลือง มีสารต้านมะเร็งในปริมาณค่อนข้างสูง ที่ช่วย ลดความเสี่ยงจากการเป็นมะเร็งที่เนื่องมาจากฮอร์โมนเช่น มะเร็งเต้านม นอกจากนี้ ถั่วเหลืองมีสารคล้ายฮอร์โมนเพศหญิงไปแข่งกับฮอร์โมนในร่างกาย เข้าสู่เซลล์โดยจับกับหน่วยรับบนเซลล์ที่เดียวกัน แต่สารนี้เมื่อส่งสัญญาณให้เซลล์เจริญเติบโตนั้นมีเพียง 1 ใน 1,000 เท่านั้น ทำให้เซลล์เจริญเติบโตน้อยลง ลดการเจริญเติบโตของเนื้องอก และป้องกันการเกิดมะเร็งสำหรับผู้ชาย ช่วยลดการเกิดมะเร็งที่ระบบสืบพันธุ์ อีกทั้งยังเป็นแหล่งโปรตีนชั้นเยี่ยม

ชาเขียว ใบชาเขียวได้มาจากการนำยอดใบชาสดผ่านกระบวนการอบเพื่อลดความชื้นโดยไม่ผ่านการหมัก จึงมีสารกลุ่ม Polyphenol เหลืออยู่จำนวนมาก สารนี้ต่อต้านอนุมูลอิสระได้มากกว่าวิตามินอี 20 เท่า และมากกว่าวิตามินซีถึง 500เท่า ใบชาเขียวมีสารพอลิฟินอล ซึ่งเป็นสารแอนติออกซิแดนท์ที่มีบทบาทในการป้องกันโรคมะเร็ง งานวิจัยจากสถาบันวิจัยแห่งชาติญี่ปุ่นแสดงให้เห็นว่า สารเคทีซิน(catechin) ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักในแทนนินของชาเขียวสามารถลดอุบัติการของโรคมะเร็งได้ ดื่มชาเขียววันละ 4 แก้ว ช่วยลดอัตราเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง ชาแก่ทำให้ท้องผูก ดื่มก่อนนอนอาจทำให้ไม่หลับ ชงชาไว้นานจะมีแทนนินออกมามากทำให้มีรสฝาดไม่น่าดื่ม ปริมาณเหมาะสมจะช่วยย่อยอาหาร ควรใช้น้ำเดือดใส่ในใบชา 1 ช้อนชา ตั้งทิ้งไว้ 3-5 นาทีก่อนดื่ม

 

กะหล่ำดอก เป็นผักตระกูลมัสตาร์ด มีสารที่สามารถดึงสารก่อมะเร็งออกจากเซลล์ โดยมี

สารซัลโพราเฟน ซึ่งไปลดการผลิตเอนไซม์ที่จะไปทำอันตรายสารพันธุกรรม DNAในเซล

พืชวงศ์นี้รวมทั้ง บร็อคโคลี คะน้า และกะหล่ำต่างๆ กะหล่ำดิบมีวิตามินซีสูง มีธาตุโพแตสเซี่ยม กำมะถัน และเส้นใยมาก

 

กะหล่ำปลี ใบมีสารไดไทโอลไทออนส์ และสารกลูโคซิโนเลท เมื่อแตกตัวจะเป็นสารต้านมะเร็ง ออกฤทธิ์โดยเฉพาะต่อต้านกับมะเร็งลำไส้ แต่หากกินมากไปจะทำให้เกิดคอหอยพอกได้ เพราะมีสารไปกั้นการดูดซึมไอโอดีนที่ต่อมไทรอยด์ ผู้เป็นโรคไทรอยด์ไม่ควรบริโภคมากเพราะไปลดระดับไทรอยด์ฮอร์โมนในเลือดหากกินติดต่อกันนานๆ มีอีกหลายสี เช่นสีม่วงแดง ห้ามรับประทานกะหล่ำสีแดงสดๆเพราะมีเหล็กสูงมาก จะทำให้ท้องผูก

 

ขึ้นฉ่ายหรือคื่นไฉ่ มีสารต้านมะเร็ง เช่น ทาไลด์และโพลีอเซทิลีนทำให้สารก่อมะเร็งหมดฤทธิ์โดยเฉพาะ

ที่เกิดจากบุหรี่มีฤทธ์ลดการสร้างอสุจิช่วยคุมกำเนิดลดอัตราการตั้งครรภ์

บางคนอาจแพ้ได้หากกินก่อนหรือหลังการออกกำลังกายอย่างหนัก

 

คะน้า อยู่ในวงศ์เดียวกันกับ ผักกวางตุ้ง กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก ผักกาดขาว บร็อคโคลี และผักกาดหัว คะน้ามีสารอินโดลส์ยับยั้งการเกิดมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งที่เต้านม โดยการไปจับกับฮอร์โมนเพศหญิงเอสโตรเจนซึ่งกระตุ้นการเกิดเนื้องอก และมะเร็งลำไส้ มีสารต้านอนุมูลอิสระเบต้าแคโรทีนและวิตามินซีสูงมาก ทำให้มีคุณสมบัติในการต้านมะเร็งที่มีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ยังมีพืชผักอีกหลายชนิดที่มีคุณสมบัติในการต่อตัานมะเร็ง เช่น ขมิ้น ข่า เมล็ดข้าวโพด ขิง แครอท ชะพลู ดีปลี ตะไคร้ แตงกวา ใบบัวบก ผักชี ผักชีฝรั่ง ฟักทอง ใบมะกรูด มะเขือยาวหรือมะเขือม่วง มะระจีน มะระขี้นก มันเทศ ต้นหอมและหอมใหญ่ โหระพา เป็นต้น

 

ย้อนกลับ

Hosted by www.Geocities.ws

1