วิสัยทัศน์ 
          
        กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นกระทรวงหลักด้านการผลิตสินค้าเกษตรและอาหารของโลก ผู้บริโภคปลอดภัย เกษตรกรไทยมั่นคง

ภารกิจ/พันธกิจ

          1. วิจัย พัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการเกษตร
          2. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการผลิตทางการเกษตร
          3. ส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรและอาหารให้ได้มาตรฐานสากล
          4. ส่งเสริมสถาบันเกษตร สนับสนุนเกษตรกรให้พึ่งพาตนเองได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดี อาชีพมั่นคง       


เป้าประสงค์

           1. การผลิตทางการเกษตรสอดคล้องกับการตลาดและปลอดภัยต่อผู้บริโภค
           2. เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตและฐานะดีขึ้น        


ประเด็นยุทธศาสตร์

           1. การผลิตทางการเกษตร
           2. ความเป็นอยู่ของเกษตรกร
           3. การบริหารจัดการองค์กรภาครัฐ
       


ยุทธศาสตร์กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์ ดังนี้

                   - การเพิ่มผลิตภาพ
                   - การสร้างมูลค่าเพิ่ม
                   - การนำสินค้าเกษตรและอาหารสู่ตลาดโลก
                   - การทำให้เกษตรกรกินดีอยู่ดี
                   - การเพิ่มประสิทธิภาพระบบการบริหารจัดการ


          การเพิ่มผลิตภาพ

                   เพิ่มผลผลิตอย่างมีคุณภาพ โดย

                   - วิจัย พัฒนาและสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม
                   - พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการผลิต ดิน น้ำ
                   - ถ่ายทอดเทคโนโลยี : หนึ่งตำบล หนึ่งฟาร์มตัวอย่าง
                   - บริหารจัดการสินค้าเกษตรโดยมีเจ้าภาพ (CPO)
                   - ร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อผลิตภายใต้กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจ (ECS)

                    
            การสร้างมูลค่าเพิ่ม

                   เพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร โดย

                   - ส่งเสริมระบบการจัดการคุณภาพ
                   - เปลี่ยนการผลิตสินค้าที่มีมูลค่าต่ำไปสู่สินค้าที่มีมูลค่าสูง
                   - ส่งเสริมการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร
                   - พัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์
                   - สร้าง Country Image ด้านสินค้าเกษตรและอาหารของไทย       
     
 
            การนำสินค้าเกษตรและอาหารสู่ตลาดโลก

                    สนับสนุนการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารให้คนไทย คนทั่วโลก บริโภคมาตรฐานเดียวกัน โดย

                   - เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางการตลาด
                   - สร้างความปลอดภัยทางอาหาร (Food Safety) จากระดับไร่นาถึงโต๊ะอาหาร (Food Farm to Table)
                   - พัฒนาขีดความสามารถรัฐวิสาหกิจ
                   - พัฒนาขีดความสามารถของสหกรณ์และรัฐวิสาหกิจชุมชน
                   - บูรณาการการผลิตและการตลาดกับกระทรวงอุตสาหกรรม
และกระทรวงพานิชน์

            การทำให้เกษตรกรกินดีอยู่ดี

                   กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะจัดระเบียบทัพใหม่ ยึดเกษตรกรเป็นศูนย์กลางการพัฒนาเชิงรุก โดย

                   - จัดที่ดินทำกินให้กับเกษตรกร
                   - แปลงสินทรัพย์ให้เป็นทุน
                   - ฟื้นฟูอาชีพให้เกษตรกรมีรายได้เพียงพอกับการครองชีพ
                   - ยกระดับเกษตรกรสู่ผู้ประกอบการการเกษตร
                   - ประกันความเสื่ยงในกระบวนการผลิตของเกษตรกร

                   

 
            การเพิ่มประสิทธิภาพระบบการบริหารจัดการ

                   ปรับโครงสร้างองค์กรใหม่ โดย

                   - พัฒนาบุคลากรทุกระดับ พัฒนาเกษตรตำบลให้เป็นเกษตรกรตำบล CEO
                   - พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย
                   - สร้างฐานข้อมูลด้านการเกษตรที่ดีที่สุดในประเทศไทย
                   - สร้างระบบเตือนภัยพิบัติทางการเกษตรล่วงหน้า
                   - เพิ่มประสิทธิภาพและความโปร่งใสด้านการบริหารจัดการ



 

วิสัยทัศน์ 
          
           กาญจนบุรีเป็นแหล่งผลิตสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพได้มาตรฐานสากล ผลิตอาหารที่ปลอดภัยศูนย์กลางการวิจัยและพัฒนาด้านวิชาการ ให้บริการอย่างกว้างไกล เพิ่มรายได้ให้เกษตรกร

ภารกิจ/พันธกิจ

           1. เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรให้สามารถแข่งขันสู่ตลาดภายนอก ทั้งในด้านความหลากหลายและคุณภาพ
ของสินค้า
           2. สร้างมูลค่าเพิ่มจากสินค้าเกษตร โดยการพัฒนากระบวนการผลิตในทุกขั้นตอนพัฒนาการบริหารจัดการโครงสร้าง
พื้นฐานด้านการแปรรูปและการตลาดให้ประโยชน์สูงสุด
           3. เสริมสร้างให้เกษตรกร องค์กรเกษตรกร ชุมชน มีแหล่งเงินทุนและได้รับการบริการจากภาครัฐอย่างทั่วถึงพัฒนา
การรวมกลุ่มของเกษตรกรให้ดำเนินกิจกรรมอย่างเข้มแข็งและยั่งยืน
           4. ส่งเสริมให้บุคลากรในภาคเกษตรทั้งภาครัฐและเกษตรกรเข้าถึงงานวิจัยและพัฒนาด้านการเกษตรแบบ มี ส่วนร่วม
โดยใช้ระบบสารสนเทศอย่างสะดวกรวดเร็วตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ให้สามารถบริหารจัดการสินทรัพย์แหล่งเงินทุนให้เกิดความมั่นคงในอาชีพ
           5. กระจายอำนาจของภาครัฐไปสู่ประชาชน ให้โอกาสประชาชนในการบริหารกิจการบ้านเมืองเกิดความโปร่งใสี


วัตถุประสงค์

           1. เพื่อให้เกษตรกรผลิตสินค้าให้มีคุณภาพได้มาตรฐานสามารถแข่งขันในตลาดภายนอกได้
           2. เพื่อเพิ่มรายได้ของเกษตรกรให้สูงขึ้น ปรับปรุงระบบการผลิต ลดต้นทุน แปรรูปผลผลิต เพื่อเพิ่มมูลค่าของ
ผลิตผลทางการเกษตร มีผลตอบแทนต่อหน่วยการผลิตสูงขึ้น
           3. เพื่อให้เกษตรกร องค์กรเกษตรกร ชุมชน เข้าถึงแหล่งเงินทุน การแปลงทรัพย์สินเงินทุน และการบริการ
ภาครัฐอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม
           4. เพื่อให้บุคลากรในภาคเกษตรเข้าถึงแหล่งวิชาการและเทคโนโลยีงานวิจัยและพัฒนา และปรับใช้ในการ
ประกอบอาชีพเกษตรกรรมของตนอย่างเหมาะสม รวมทั้งสามารถบริหารจัดการสินทรัพย์ให้เกิดความยั่งยืน
           5. เพื่อให้เกษตรกร องค์กรเกษตรกร ประชาชนมีโอกาสในการบริหารจัดการวางแผนการผลิตด้วยตนเอง

เป้าหมาย

           1. เกษตรกรผลิตสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพได้มาตรฐานสากล
           2. เพื่อเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร โดยเพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคเกษตรของจังหวัด ร้อยละ 2 ในปี 2549
           3. เกษตรกรมีแหล่งเงินทุนในการดำเนินกิจกรรมการเกษตรอย่างพอเพียงและทั่วถึง
           4. บุคลากรการเกษตรทั้งเกษตรกรและบุคลากรภาครัฐมีแหล่งความรู้ในการประกอบอาชีพและได้รับการ
บริการภาครัฐ อย่างกว้างไกล และครบถ้วนตามความต้องการ
           5. เกษตรกรมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการวางแผนพัฒนาการเกษตรในท้องถิ่นของตนเอง
           6. ส่งเสริมให้เกษตรกรมีความมั่นคงในอาชีพ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

กลยุทธ์ / แนวทางการพัฒนาการเกษตรจังหวัดกาญจนบุรี

         ยุทธศาสตร์กาเพิ่มผลิตภาพ ( Productivity )

                  มุ่งเน้นการเพิ่มปริมาณและคุณภาพของผลผลิตทางการเกษตร โดยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทรัพยากรเพื่อการผลิต ส่งเสริมการวิจัย พัฒนาและสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม การพัฒนาองค์ความรู้และส่งเสริมการผลิตที่มีประสิทธิภาพ มีรายละเอียดดังนี้
                  (1) การพัฒนารายสินค้า ส่งเสริมการผลิตตามระบบเกษตรดีที่เหมาะสมในสินค้าที่มีศักยภาพ ดังนี้
                           - ด้านพืช เช่น อ้อย,ข้าว,ถั่วเหลือง ฯลฯ
                           - ด้านประมง เช่น กุ้งก้ามกราม,ปลานิล,การแปรรูปสินค้าประมง ฯลฯ
                           - ด้านปศุสัตว์ เช่น โคนม,โคขุน,แพะเนื้อ ฯลฯ
                  (2) การพัฒนาโดยใช้พื้นที่และเกษตรกรเป็นศูนย์กลาง ซึ่งเป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญ เช่น การก่อสร้างแหล่งน้ำ การขยายพื้นที่ชลประทาน แล้วจะมีการพัฒนาอาชีพเกษตรกรในพื้นที่ให้ตรงกับความต้องการของเกษตรกร

         ประกอบด้วยแนวทางสำคัญ ดังนี้

                  1.1 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทรัพยากรเพื่อการผลิต
พื้นที่การเกษตรของจังหวัดกาญจนบุรี ส่วนใหญ่อยู่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรขาดแหล่งน้ำ สำหรับการทำการเกษตร ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรไม่มีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นต้องสนับสนุนแหล่งน้ำให้เกษตรกรในพื้นที่ที่ศักยภาพให้เกษตรกรได้รับประโยชน์อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม


        แผนงาน/โครงการที่สำคัญ
                           1.1.1 โครงการพัฒนาอาชีพเกษตรในเขตโครงการสูบน้ำท่าล้อ
                           1.1.2 โครงการพัฒนาแหล่งน้ำและส่งเสริมอาชีพเกษตรกรห้วยลำขลุง
                           1.1.3 โครงการพัฒนาแหล่งน้ำและส่งเสริมอาชีพเกษตรหนองหูช้าง
                           1.1.4 โครงการศูนย์บริการการพัฒนาและสวนไม้ดอกไม้หอมไทย

                  1.2 ส่งเสริมและพัฒนาระบบการผลิตสินค้าเกษตรรายสินค้า
ส่งเสริมและพัฒนาให้เกษตรกรผลิตสินค้าเกษตรที่มีศักยภาพเป็นรายสินค้าทั้งด้านพืช ปศุสัตว์ ประมง ให้เกษตรกรใช้ทรัพยากรที่เหมาะสมสนับสนุนให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยชีวภาพเพื่อผลิตสินค้าเกษตรที่ปลอดภัย โดยการบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

        แผนงาน/โครงการที่สำคัญ
                           1.2.1 โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว
                           1.2.2 โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อย
                           1.2.3 โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลัง
                           1.2.4 โครงการส่งเสริมการเลี้ยงโคขุน (โคมัน)
                           1.2.5 โครงการพัฒนาและปลูกสร้างสวนยาง
                           1.2.6 โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตถั่วเหลือง
                           1.2.7 โครงการส่งเสริมการผลิตละหุ่งครบวงจร

         ยุทธศาสตร์การสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added)

                   เพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้าเกษตรเศรษฐกิจที่มีศักยภาพให้มีมูลค่าสูงขึ้น ส่งเสริมการจัดการคุณภาพในการผลิตสินค้าเกษตรและอาหาร โดยการคัดเกรดสินค้า ส่งเสริมวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว (Post Harvest) การแปรรูปสินค้า พัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ (Product and Packaging Designs) เพื่อสร้างซึ่งสินค้าเกษตรและอาหารของจังหวัดให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายและสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ผู้บริโภค

         ประกอบด้วยแนวทางสำคัญ ดังนี้

                  2.1 สนับสนุนกระบวนการผลิตเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มใช้กับสินค้าเกษตร
ส่งเสริมและพัฒนาให้เกษตรกรผลิตสินค้าเกษตรให้มีความหลากหลายมีคุณภาพปลอดภัยในทุกขั้น
ตอนการผลิต มีการผลิตที่มีประสิทธิภาพ เช่นการผลิตตามระบบเกษตรดีที่เหมาะสม (GAP) เกษตรอินทรีย์ ( Organic Farm )


        แผนงาน/โครงการที่สำคัญ
                  
         2.1.1 โครงการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตภาคเกษตรกรรมตามกระบวนการเกษตรอินทรีย์
                  
         2.1.2 โครงการส่งเสริมการผลิตพืชผักปลอดภัยจากสารพิษ

                  2.2 การแปรรูปสินค้าเกษตร
ส่งเสริมและพัฒนาให้เกษตรกร กลุ่มองค์กรเกษตรกร แปรรูปสินค้าเกษตรเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรให้สูงขึ้น สนับสนุนให้มีตลาดกลางสินค้าเกษตร เป็นแหล่งรวบรวมสินค้าเกษตรเพื่อให้ผู้ผลิตพบผู้บริโภคโดยตรง


        แผนงาน/โครงการที่สำคัญ
                           2.2.1 โครงการผลิตเอทานอลจากอ้อย,มันสำปะหลัง
                           2.2.2 โครงการจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรแปรรูปสัตว์น้ำ
                           2.2.3 โครงการพัฒนาการเลี้ยงแพะเนื้อ
                           2.2.4 โครงการศูนย์สาธิตการเลี้ยงปลาสวยงาม

         ยุทธศาสตร์การนำสินค้าเกษตรและอาหารสู่ตลาดโลก

                   มุ่งเน้นการขยายกำลังการผลิตและปรับปรุงคุณภาพสินค้าเกษตรและอาหารให้ได้มาตรฐานทั้งในประเทศและต่างประเทศ สร้างความปลอดภัยทางอาหาร (Food Safety) รวมทั้งสร้างมาตรฐานโรงงานผลิตอาหาร โรงฆ่าสัตว์ การจดทะเบียนฟาร์มและเขตการผลิตพืชเศรษฐกิจที่เหมาะสม (Zoning) ส่งเสริมตลาดสินค้าเกษตรและอาหารในจังหวัด ในประเทศ และต่างประเทศ โดยเน้นกระบวนการผ่านสถาบันเกษตรกรและสหกรณ์เป็นเครือข่ายการตลาด รวมทั้งบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

         ประกอบด้วยแนวทางสำคัญ ดังนี้

                  
3.1 ตรวจสอบปรับปรุงคุณภาพสินค้าเกษตร
ส่งเสริมและพัฒนาให้เกษตรกรผลิตสินค้าเกษตรที่ปลอดภัยตามระบบเกษตรดีที่เหมาะสม ตรวจสอบและรับรองคุณภาพสินค้าเกษตรให้เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค

        แผนงาน/โครงการที่สำคัญ
                           3.1.1 โครงการตรวจสอบฟาร์มเลี้ยงกุ้งก้ามกราม
                           
3.1.2 โครงการตรวจสอบฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำ

                  3.2 เสริมสร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกรและบริการข้อมูลข้าวสารทางการเกษตร
ส่งเสริมให้เกษตรกรมีการรวมกลุ่มเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกร รวมทั้งพัฒนากลุ่มองค์กรเกษตรกร ที่มีอยู่เดิมให้พัฒนาและบริการข้อมูลข่าวสารทางการเกษตรให้เกษตรกรเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูล

        แผนงาน/โครงการที่สำคัญ
                           3.2.1 โครงการจัดตั้งกลุ่มเลี้ยงปลาในกระชังเพื่อการส่งออก
                           
3.2.2 โครงการศูนย์เครือข่ายข้อมูลสารสนเทศระดับอำเภอ ตำบล

            ยุทธศาสตร์ทำให้เกษตรกรกินดีอยู่ดี

                  มุ่งเน้นการพัฒนาโดยยึดเกษตรกรเป็นศูนย์กลางการพัฒนา ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรเพื่อการผลิตให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืน จัดสรรทรัพยากรอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม และส่งเสริมการทำการเกษตรแบบพอเพียงเลี้ยงชีพ ส่งเสริมการทำการเกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรอินทรีย์ ฯลฯ

         ประกอบด้วยแนวทางสำคัญ ดังนี้ี้

                  4.1 ส่งเสริมการผลิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง
ส่งเสริมให้เกษตรกรรายย่อยให้ดำเนินการผลิตการเกษตรแบบพอเพียงตามแนวเกษตรทฤษฎีใหม่ เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน รวมทั้งส่งเสริมการรวมกลุ่มของเกษตรกร

        แผนงาน/โครงการที่สำคัญ
                           4.1.1 โครงการวิสาหกิจชุมชน
                           4.1.2 โครงการแก้ไขปัญหาความยากจนของเกษตรกร โดยใช้แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
                           4.1.3 โครงการพัฒนาประมงในจังหวัดกาญจนบุรี


                  4.2 ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ
ส่งเสริมและพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ เช่น แหล่งน้ำธรรมชาติให้เกิดประโยชน์ให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน

        แผนงาน/โครงการที่สำคัญ
                           4.2.1 โครงการเพิ่มผลผลิตกุ้งก้ามกรามในแหล่งน้ำ
                           4.2.2 โครงการสร้างแหล่งอาศัยพ่อแม่พันธุ์สัตว์น้ำ
                           4.2.3 โครงการปลาไทยคืนถิ่น

สรุปภาพรวมงบประมาณตามแผนยุทธศาสตร์เกษตรจังหวัดกาญจนบุรี

ยุทธศาสตร์
ประมาณการงบประมาณ
ปี 2548 - 2551
A.การเพิ่มประสิทธิภาพ
508,967,508
B.ยุทธศาสตร์มูลค่าเพิ่ม ( Value Added )
83,478,794
C.การนำสินค้าเกษตรและอาหารสู่ตลาดโลก
8,570,898
D.ทำให้เกษตรกรกินดีอยู่ดี์
35,792,948
รวม
636,810,148
inebottom2.gif (576 bytes)
Copyright@2003 All Rights Reserved
สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดกาญจนบุรี
  ศาลากลางจังหวัดกาญจนบุรี ชั้น4 อ.เมือง จ.กาญจนบุรี 71000
โทรศัพท.์ 0-3451-6894-5 โทรสาร. 0-3451-6894

Email : [email protected]
Hosted by www.Geocities.ws

1